บทบรรณาธิการ
สวัสดีครับ ข่าวประกันคุณภาพฉบับนี้ เป็นฉบับแนะนำ�ผู้บริหารของงานประกันคุณภาพมหาวิทยาลัย แนวคิด การทำ�งาน เกณฑ์การประกันคุณภาพด้านการศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แนวทางในอนาคต มหาวิทยาลัย กำ�ลังจะใช้เกณฑ์ ใหม่ของที่ประชุมอธิการบดี ที่เรียก CUPT-QA สำ�หรับการประเมินระดับหลักสูตร และใช้เกณฑ์ EdPEx สำ�หรับคณะและสถาบัน มีเรื่องราวดีๆในฉบับที่จะเล่าให้ฟัง เป็นเรื่องเส้นทางสู่อาจารย์ตัวอย่างของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ด้านการ เรียนการสอน ประจำ�ปี 2557 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ประสิน จันทร์วิทัน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ แนวคิดในการทำ�งาน ปัจจัยแห่งความสำ�เร็จ ข้อคิดที่จะฝากถึงบุคลากรรุ่นใหม่ สิ่งประทับใจและความ พึงพอใจในการปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องราวของนวัตกรรมหลอดเลือดจำ�ลองโดย นางสาวสุชาธินี ทองเนื้อนวล, นางสาวธิษตยา รัตนเตโช, นางสาวศิรีนาถ มณีรัตน์, สิบเอกปฏิภาณ เอกเจริญกุล จากศูนย์การเรียนรู้ ทางการพยาบาล กลุ่มงานแผนงาน สารสนเทศ และเทคโนโลยีการศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ โดยใช้แนวคิดตามวงจร คุณภาพ P-D-C-A ผลการดำ�เนินงานการพัฒนานวัตกรรมหลอดเลือดจำ�ลองนี้ เป็นผลงานของบุคลากรสายสนับสนุน สามารถผลิตชิ้นงานบรรลุตามเป้าหมาย ผ่านการทดสอบขั้นต้นจากครูพยาบาลคลินิกพบว่ามีประสิทธิภาพในการใช้งานดี มีต้นทุนการผลิตต่ำ�กว่าหุ่นจำ�ลองที่คณะซื้อใช้อยู่ ในปัจจุบัน กิจกรรมสำ�นักงานประกันคุณภาพ โครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการพัฒนาหน่วยงานตามเกณฑ์รางวัล คุณภาพแห่งชาติ (TQA) ประจำ�ปีการศึกษา 2557 วันที่ 27-28 เมษายน 2558 ณ ห้องประชุม 1 อาคารศูนย์กีฬาและ สุขภาพ วิทยาเขตหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีผู้เข้าร่วมจำ�นวน 60 คน ผลการดำ�เนินงาน ผู้เข้าร่วมอบรม ได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่อง TQA และนำ�ไปประยุกต์ ใช้ ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมทั้งหมด 4.07 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติ การ “การบริหารหลักสูตรอย่างมีคุณภาพ และการเขียนรายงานผลการดำ�เนินงาน (SAR ระดับหลักสูตร)” วันที่ 27-28 พฤษภาคม 2558 ณ ห้อง Convention Hall ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรพงศ์แก่นอินทร์ มีผู้เข้าร่วมจำ�นวน 627 คน ผลการดำ�เนินงาน ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่อง การ เขียน SAR ระดับหลักสูตร ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมทั้งหมด 4.07 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพ การศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีการศึกษา 2557” ณ โรงแรมลีการ์เด้นส์พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ประกอบไปด้วย 3 หลักสูตร มีผู้เข้าร่วมจำ�นวน 437 คน ผลการดำ�เนินงาน พบว่าผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจ เรื่องตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะและสถาบัน/ระดับหลักสูตร ประจำ�ปีการศึกษา 2557
และทักษะความรู้สำ�หรับเป็นผู้ประเมินฯ ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมระดับคณะ 4.27 ระดับหลักสูตร 4.12 โครงการอบรม เลขานุการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีการศึกษา 2557 วันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ณ ห้องประชุม 1 (ชั้น 2) อาคารศูนย์กีฬาและสุขภาพ วิทยาเขตหาดใหญ่ มีผู้เข้าร่วมจำ�นวน 166 คน ผลการดำ�เนิน งาน ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่อง ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายใน ปีการศึกษา 2557 และ ทักษะการเป็นเลขานุการประเมินคุณภาพภายใน ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม : 4.14 โครงการอบรมการใช้งานระบบ CHE QA Online มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีการศึกษา 2557 ณ ห้อง 107 ศูนย์คอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มีผู้เข้าร่วมจำ�นวน 35 คน ผลการดำ�เนินงาน ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่อง การใช้งาน ระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพ (CHE QA Online) ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม 4.29 แนะนำ� บุคลากรใหม่สำ�นักงานประกันคุณภาพ น้องมด นางสาวศศิประภา ทองคำ� ทำ�หน้าที่ เลขานุการที่ประชุม ด้านประกันคุณภาพ พัฒนาตัวบ่งชี้/เกณฑ์ที่เหมาะสมกับหน่วยงานจัดการเรียนการสอน และจัดทำ�รายงานประจำ�ปีระดับ มหาวิทยาลัย ขอบคุณ เจ้าหน้าที่สำ�นักงานประกันทุกท่าน รวมทั้งบุคลากร ที่มีส่วนช่วยผลักดัน ดำ�เนินการ และเป็นกำ�ลังสำ�คัญ ในการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ธวัช ชาญชญานนท์ บรรณาธิการ
สารบัญ เรื่อง หน้า แนะนำ�ผู้บริหาร “ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ“
1
CUPT-QA
2
เส้นทางสู่อาจารย์ตัวอย่างของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ด้านการเรียนการสอน ประจำ�ปี 2557
3-6
นวัตกรรมหลอดเลือดจำ�ลอง
7-9
กิจกรรมสำ�นักงานประกันคุณภาพ
10-14
แนะนำ�บุคลากรใหม่สำ�นักงานประกันคุณภาพ
15
แนะนำ�ผู้บริหาร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ ประวัติส่วนตัว/ประวัติการทำ�งาน รองศาสตราจารย์นายแพทย์ธวัช ชาญชญานนท์ จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วุฒิบัตรความรู้ความชำ�นาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาวิสัญญีวิทยา จากคณะ แพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และอนุมัติบัตร อนุสาขาวิสัญญีวิทยาเพื่อการผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือดใหญ่และทรวงอก (Cardiovascular and Thoracic Anesthesia) จากแพทยสภา บรรจุเข้ารับราชการ ที่ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งแต่ปี 2535 ดำ�รงตำ�แหน่ง หัวหน้าภาควิชาวิสัญญีวิทยา 8 ปี (2547-2555) อดีตหัวหน้าศูนย์คุณภาพ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ปัจจุบันยังทำ�หน้าที่อื่นๆ เช่น บรรณาธิการวิสัญญีสาร ผู้เยี่ยมสำ�รวจของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การ มหาชน) กรรมการประจำ�คณะแพทยศาสตร์ ปัจจุบัน อาจารย์วิสัญญีแพทย์ รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ แนวคิดในการดำ�เนินงาน ให้ความสำ�คัญกับคนที่อยู่ตรงหน้า งานที่อยู่ตรงหน้า ทำ�ทีละชิ้น ทีละงาน ด้วยความตั้งใจ ตามปณิธานของพระ ราชบิดา “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง” คติในการทำ�งาน การทำ�งานคือการเรียนรู้ คนเราสามารถเรียนรู้ ได้ตลอดเวลา anywhere anytime เช่นเดียวกับงานประกัน คุณภาพ ถือเป็นงานใหม่ที่ท้าทายความสามารถในการเรียนรู้ ปัจจัยแห่งความสำ�เร็จ การทำ�งานเป็นทีมที่มีเป้าหมายเดียวกัน การมองเชิงระบบ การมุ่งเน้นผู้รับบริการ การมุ่งเน้นคุณภาพ และ คุณธรรม สิ่งที่จะฝากถึงบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา มีภารกิจอันยิ่งใหญ่ ในการผลิตบัณฑิต การทำ�วิจัย การ บริการวิชาการ ชี้นำ�สังคมและทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรม เรากำ�ลังจะเดินไปด้วยกัน ร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีๆให้เกิดขึ้นกับ สังคมไทย มุ่งสู่อนาคตเทียบเคียงสมรรถนะกับประเทศอื่นๆ การทำ�หน้าที่ของแต่ละคนอย่างเต็มความสามารถ การ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง การทำ�งานเป็นทีม จะทำ�ให้มหาวิทยาลัยบรรลุเป้าหมาย ความสำ�เร็จ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
CUPT-QA โดย : ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ รองศาสตราจารย์ นพ. ธวัช ชาญชญานนท์
CUPT-QA คื อ การประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาระดั บ อุ ด มศึ ก ษาสำ � หรั บ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาในกลุ่ ม ที่ ป ระชุ ม อธิ ก ารบดี แห่งประเทศไทย (ทปอ.) และที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐ (ทอมก) ภายใต้ชื่อ The Council of the University Presidents of Thailand Quality Assurance (CUPT QA) ประกอบด้วยเกณฑ์และระบบการประเมิน คุณภาพที่ ใช้แนวคิดของการประเมินเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องสู่ความเป็นเลิศและสามารถแข่งขันได้ ใน ระดับสากลทั้งในระดับหลักสูตร ระดับคณะหรือเทียบเท่าและระดับสถาบัน ในระดับหลักสูตรใช้เกณฑ์ AUN-QA (ASEAN University Network-Quality Assurance) ภาคภาษาไทยซึ่ง ต่างกับ AUN-QA สากลพียงเรื่องของภาษาเท่านั้น แต่ยังคงใช้เกณฑ์ระบบการประเมินและการพัฒนาผู้ประเมินเช่นเดียว กับ AUN-QAสากล การใช้ภาษาไทยเพื่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายซึ่งเป็นองค์ประกอบสำ�คัญของการดำ�เนินการ ให้สัมฤทธิผล
สาระสำ�คัญของ AUN-QA ที่มุ่งเน้น Expected Learning Outcome (ELO) และการประเมิน 7 ระดับที่มี ระดับสูงสุดคือระดับ world class นั้น สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีที่มีผลต่อการดำ�รงชีวิต ของประชาคมโลก หลักสูตรจึงไม่สามารถละเลยที่จะผลิตบัณฑิตให้มี competence เหมาะสมกับภาวการณ์ที่เกิดขึ้น อีก ทั้ง AUN-QA มีลักษณะเป็นเกณฑ์ (criteria) ที่กำ�หนดเพียงแนวทาง (guideline) เพื่อการดำ�เนินงานอย่างเป็นระบบเพื่อ การผลิตบัณฑิตตาม ELO ดังนั้นแม้ภาวการณ์จะเปลี่ยนไป เกณฑ์จะถูกเปลี่ยนน้อยมาก ทำ�ให้หลักสูตรสามารถพัฒนาได้ อย่างต่อเนื่อง ในระดับคณะและสถาบันนั้น ด้วยตระหนักว่าสถาบันการศึกษามีการดำ�เนินกิจการได้ โดยอิสระ สามารถพัฒนา ระบบบริหาร และการจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการ การประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของสถานศึกษา จึงควรมีการคำ�นึงถึงความมุ่งหมายและหลักการการจัดการศึกษาในแต่ละระดับ การดำ�เนินการตามเกณฑ์ที่มีลักษณะเป็นแนวทางของ Education Criteria for Performance Excellence (EdPEx) จึง เหมาะกับความหลากหลายของบริบทของแต่ละสถาบันอุดมศึกษา
เส้นทางสู่อาจารย์ตัวอย่างของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ด้านการเรียนการสอน ประจำ�ปี 2557 โดย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ.ประสิน จันทร์วิทัน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประวัติส่วนตัว ภูมิลำ�เนาอยู่ที่อ.เมือง จ.สงขลา คู่สมรส รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ อภิณพ จันทร์วิทัน มีบุตร 2 คน คือ ทันตแพทย์หญิง สุรัสวดี จันทร์วิทันและแพทย์หญิงสุภัจรีย์ จันทร์วิทัน ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2516 สำ�เร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนคณะราษฎรบำ�รุง จังหวัดยะลา พ.ศ. 2520 สำ�เร็จการศึกษาได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การแพทย์) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2522 สำ�เร็จการศึกษาได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2522 – 2523 เป็นแพทย์ฝึกหัด โรงพยาบาลหาดใหญ่ พ.ศ. 2523 – 2526 แพทย์ประจำ�บ้าน สาขากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2524 ได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขากุมารเวชศาสตร์ พ.ศ. 2526 สำ�เร็จการศึกษาได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำ�นาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขา กุมารเวชศาสตร์ จากแพทยสภา
พ.ศ. 2528 อบรมด้านทารกแรกเกิด ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2531 Fellowship in Neonatology, Princess Magaret Hospital, Perth, Australia. พ.ศ. 2539 ได้รับประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความชำ�นาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขากุมาร เวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำ�เนิด จาก ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2542 ศึกษาดูงานด้านทารกแรกเกิด สถาบัน St. John’s Regional Medical Center, Springfield และ ที่ St. Louis Children’s Hospital, St.Louis, Missouri, USA. พ.ศ. 2547 ได้รับหนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำ�นาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขากุมาร เวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำ�เนิด จากแพทยสภา
ประวัติการทำ�งาน/ผลงาน หลังจากจบการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง สาขากุมารเวชศาสตร์ ได้เริ่มปฏิบัติงานเป็นอาจารย์เมื่อปีพ.ศ.2526 ภาระงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนที่สำ�คัญ มีดังนี ้ พ.ศ. 2526-2557 หัวหน้าสาขาวิชาทารกแรกเกิด พ.ศ. 2530-2535 รองหัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ พ.ศ. 2536-2540 หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ พ.ศ. 2544-2548 หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ พ.ศ. 2545-2557 ประธานรายวิชา 388-361 วงจรชีวิตมนุษย์ พ.ศ. 2551-2557 อนุกรรมการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน Palliative care หลักสูตรแพทยศาสตร บัณฑิต พ.ศ. 2551-2557 อนุกรรมการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเวชจริยศาสตร์ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2547-2558 อนุกรรมการฝึกอบรมและสอบเพื่อวุฒิบัตรฯ อนุสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและ ปริกำ�เนิด ของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ได้ทำ�งานบริการวิชาการแก่สังคม โดยเป็นประธานจัดอบรมวิชาการและเป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านการ ดูแลทารกแรกเกิดแก่บุคลากรทางการแพทย์ของภาคใต้ และในที่การประชุมวิชาการของชมรมกุมารเวชศาสตร์ทารกแรก เกิดฯทุกปีตั้งแต่ปีพ.ศ.2546 และเป็นประธานจัดโครงการพัฒนาเครือข่ายด้านสมรรถนะการดูแลทารกแรกเกิดแก่แพทย์ และพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนนำ�ร่องของจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2551-2553 ผลงานวิชาการ: มีงานวิจัยที่ ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ เป็นชื่อแรก 5 เรื่อง ชื่อรอง 28 เรื่อง และได้ร่วมในงาน เขียนหนังสือ/ตำ�รา 17 เรื่อง
แนวคิดในการทำ�งาน เมื่อจะทำ�งานอะไรก็ต้องรู้ว่าหน้าที่หรือบทบาทของเราเป็นอย่างไร เช่น เมื่อเป็นอาจารย์แพทย์หน้าที่หลัก คือ การจัดการเรียนการสอนและสอนเพื่อให้ ได้บัณฑิตแพทย์ที่มีคุณภาพและคุณธรรม สามารถนำ�ความรู้และทักษะไปปฏิบัติ งานได้จริง ด้านการบริการผู้ป่วยที่มีมาตรฐานทันสมัยและด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และการสร้างผลงานวิชาการ/ งานวิจัยเพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ในสาขาวิชาที่ถนัดแก่แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ ในวิชาชีพ เดียวกัน เพื่อให้มีการศึกษาต่อเนื่อง และได้นำ�ความรู้ ไปพัฒนาการดูแลผู้ป่วยที่รับผิดชอบต่อไป ซึ่งบทบาทในแต่ละด้าน ควรพัฒนาขึ้นตามความรู้และประสบการณ์จากอายุงานที่มากขึ้น มีการประเมินตนเองและผลการทำ�งานว่าได้ผลลัพธ์ ตามเป้าหมายหรือไม่ และมีการปรับปรุงและพัฒนาตนเองและงานที่ทำ�อย่างสม่ำ�เสมอ
ด้านการจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษา ท่านมีแนวทางหรือวิธีการอย่างไร งานสอนที่รับผิดชอบส่วนใหญ่อยู่ ในชั้นคลินิก ซึ่งการสอนให้นักศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่หลักสูตรต้องการ นั้น จะดูว่านักศึกษามีพื้นฐานความรู้ระดับไหน เราอยากให้นักศึกษาได้เรียนรู้อะไรแค่ ไหน ก็จัดการสอนให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ และเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงแก่นของเรื่องนั้นๆ และสามารถนำ�ไปใช้ ในการปฏิบัติงานได้จริง สำ�หรับ เนื้อหาปลีกย่อยหรืออย่างละเอียดนั้น นักศึกษาสามารถหาเพิ่มเติมได้ ไม่ยากและค้นคว้าได้จากหลายๆทาง ในวิชาชีพ แพทย์ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาก่อนหรือหลังปริญญา นอกจากนักศึกษาต้องมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแล้ว จะต้อง มีทักษะทางหัตถการและมีจริยธรรมแห่งวิชาชีพด้วย ดังนั้นจำ�เป็นต้องมีการสอนศิลปะในการดูแลผู้ป่วยที่ต้องคำ�นึงถึงจิต วิญาณของผู้ป่วยและครอบครัวด้วย ในการสอนจะยกประเด็นให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ และแสดงให้เห็น เพื่อให้เกิด ความเข้าใจในวิถีชีวิตของผู้ป่วยแต่ละคน นอกจากนี้การเป็นแบบอย่างในการคิดหรือ การตัดสินใจ การตรวจผู้ป่วย การ มีปฏิสัมพันธ์และการสื่อสาร กับผู้ป่วยและครอบครัว ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ ใช้ เพื่อทำ�ให้นักศึกษาเกิดเจตคติที่ดี ในการ ดูแลผู้ป่วยต่อไป รางวัลที่ ได้รับ - รางวัลอาจารย์แพทย์ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ประพฤติดีเด่นในเชิงคุณธรรม จริยธรรม ประจำ�ปีการศึกษา 2552 จาก แพทยสภา - เกียรติบัตรเนื่องในวันเชิดชูครูสงขลานครินทร์ “อาจารย์ที่เป็นที่รักและศรัทธาของนักศึกษา” จากมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ พ.ศ.2553 - รางวัลอาจารย์ตัวอย่างดีเด่น ด้านบริการและวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2554 - รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นด้านสร้างคุณประโยชน์แก่สังคมและสถาบัน สมาคมศิษย์เก่าคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ.2557 - รางวัล อาจารย์ตัวอย่างดีเด่นด้านการเรียนการสอน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2557 - เกียรติบัตรเนื่องในวันแห่งคุณค่าสงขลานครินทร์ “อาจารย์ที่เป็นที่รัก ชื่นชม และศรัทธาของศิษย์เก่าคณะ แพทยศาสตร์” มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ.2557 - รางวัลอาจารย์ตัวอย่างด้านการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ.2557 ปัจจัยแห่งความสำ�เร็จ ถ้าความสำ�เร็จ หมายถึง ผลสัมฤทธิ์ของงานที่ทำ� มีความเห็นว่าเมื่อเรามีวัตถุประสงค์ ในการทำ�งานและ กระบวนการทำ�งานที่ชัดเจนแล้ว ผลที่ ได้จะดีแค่ ไหน คิดว่าปัจจัยสำ�คัญอยู่ที่ความตั้งใจหรือ ความชอบในงานที่ทำ� ที่ จะทำ�ให้เราอยู่กับงานนั้นและมีพลังกายพลังใจที่จะปรับปรุงหรือพัฒนางานหากยังไม่ถึงเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่อง ปัจจัย ต่อมาคือการได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆที่ทำ�ให้สามารถทำ�งานได้ง่ายและดีขึ้น สุดท้าย คือ บรรยากาศของการ ทำ�งานไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือของผู้ร่วมงานในหน่วยงาน ผู้บริหารองค์กร ที่เข้าใจและเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น ให้เสนอสิ่งที่คิดว่าดีมีประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาศักยภาพตนเอง บุคลากรในหน่วยงาน ตลอดจนงานที่รับผิด ชอบได้ตลอดเวลาและพร้อมให้การสนับสนุน
ท่านจะฝากอะไรถึงบุคลากรรุ่นใหม่ สิ่งที่อยากฝาก คือ ทำ�งานในทุกๆวันให้ดีและเต็มศักยภาพ อาจมีอุปสรรคบ้างแต่ถือว่าเป็นโอกาสให้เราได้พัฒนา ความคิดในการแก้ปัญหาและการทำ�งาน และนั่นหมายถึงประสบการณ์ที่มีคุณค่าที่จะติดตัวเราไปอีกนาน สำ�หรับอาจารย์ รุ่นใหม่ นอกจากงานในฐานะนักวิชาการเฉพาะด้านตามที่จบมาแล้ว จะต้องทำ�หน้าที่เป็น อาจารย์ ในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและเจตคติที่ดี ในวิชาชีพแก่นักศึกษาด้วย เพื่อให้นักศึกษามีสมรรถนะที่จะทำ�งาน ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้งานที่สำ�คัญอีกบทบาทหนึ่งของอาจารย์ ในยุคปัจจุบัน ที่ต้องให้ความสำ�คัญและ ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาตนเองไว้ตั้งแต่วันนี้เพื่อความสำ�เร็จในวันข้างหน้า คือ การสร้างองค์ความรู้จากงานวิจัย สู่สังคม สิ่งประทับใจและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สิ่งที่ประทับใจและพึงพอใจในการปฏิบัติงานที่นี่ คือ การได้ทำ�งานในคณะแพทยศาสตร์ที่มีวัฒนธรรมองค์กรมุ่ง เน้นคุณภาพ ยอมรับการเปลี่ยนแปลง มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและพร้อมรับการประเมิน ได้ทำ�งานทั้งการเป็นกุมาร แพทย์ทารกแรกเกิดและการเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาทั้งก่อนและหลังปริญญาในเวลาเดียวกัน ตลอดสามสิบกว่าปีที่ ได้ทำ� ได้มี โอกาสทำ�ในสิ่งที่อยากทำ�ได้เต็มที่ ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ร่วมงาน โอกาสที่ดีและการสนับสนุนในการ ทำ�งานจากผู้บริหารมาตลอด นอกจากนี้ ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆในการเป็นอาจารย์ของคณะฯ ไม่ว่าในฐานะ ของความเป็นครู ความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาทางการแพทย์ การบริหารจัดการและทักษะอื่นๆอีกหลายอย่าง ตลอดจน ประสบการณ์ต่างๆที่ ได้รับทำ�ให้สามารถดำ�รงตนและทำ�งานให้กับองค์กรอย่างมีความสุขจวบจนเกษียณ และปัจจุบันยัง ได้ โอกาสปฏิบัติงานต่อในฐานะอาจารย์พิเศษของภาควิชากุมารเวชศาสตร์ด้วย
นวัตกรรมหลอดเลือดจำ�ลอง โดย : นางสาวสุชาธินี ทองเนื้อนวล, นางสาวธิษตยา รัตนเตโช, นางสาวศิรีนาถ มณีรัตน์, สิบเอกปฏิภาณ เอกเจริญกุล ที่ปรึกษาโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปราณี พงศ์ไพบูลย์, นางสาวจรรยา ชูจันทร์ ศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล กลุ่มงานแผนงาน สารสนเทศ และเทคโนโลยีการศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ รายวิชาเทคนิคทางการพยาบาล เป็นรายวิชาพื้นฐานที่นักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิตชั้นปี ที่ 2 ต้องเรียนรู้ทฤษฎีและฝึกทักษะกิจกรรมพื้นฐานทางการพยาบาลต่าง ๆ ที่ศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล (NLRC) อย่างไรก็ตามมีบางทักษะที่นักศึกษาต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เช่น การแทงหลอดเลือดดำ�ซึ่งเป็นหัตถการ พยาบาลสำ�คัญที่พบได้บ่อยในโรงพยาบาล ที่ผ่านมานักศึกษาพยาบาลได้รับการฝึกทักษะดังกล่าวเพียง 3 ชั่วโมงตามที่ กำ�หนดไว้ ในรายวิชา ซึ่งอาจไม่เพียงพอกับความต้องการของนักศึกษา แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา คณะได้จัดให้มีศูนย์การเรียน รู้ด้วยตนเองประจำ�หอพักนักศึกษาพยาบาล แต่ยังพบว่าช่วงเวลาของการบริการไม่ค่อยตรงกับเวลาว่างของนักศึกษา และอุปกรณ์ที่มีอยู่มีจำ�นวนจำ�กัดเนื่องจากราคาแพง(ประมาณ 5,000 บาทต่อชิ้น) ทำ�ให้ ไม่เพียงพอใช้กับจำ�นวนนักศึกษา ที่มีจำ�นวน 170 คน สภาพการณ์ดังกล่าวนี้อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในทักษะการแทงหลอดเลือดดำ�ของนักศึกษา เมื่อขึ้นฝึกปฏิบัติและให้บริการโดยตรงกับผู้รับบริการในโรงพยาบาล นักศึกษาเกิดความกลัว เครียดเมื่อต้องกระทำ�การ แทงหลอดเลือดดำ� ทำ�ให้มีการแทงหลอดเลือดดำ�ไม่ตรงตำ�แหน่ง และผู้รับบริการอาจรู้สึกไม่พึงพอใจหรือปฏิเสธการให้ นักศึกษาทำ�หัตถการดังกล่าวได้ ศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาลเห็นความสำ�คัญและประโยชน์ของการให้นักศึกษาได้มี โอกาสฝึกปฏิบัติด้วย ตนเองในกิจกรรมดังกล่าวอย่างทั่วถึง ศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาลจึงสนใจในการพัฒนานวัตกรรมหลอดเลือดจำ�ลอง เพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ได้มีอุปกรณ์หลอดเลือดจำ�ลองนำ�ไปใช้ ในการฝึกทักษะการแทงหลอดเลือดดำ�ได้ด้วยตนเอง วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อให้นักศึกษาพยาบาลมีหลอดเลือดจำ�ลองใช้สำ�หรับฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ในการใช้งานหลอดเลือดจำ�ลองของนักศึกษาพยาบาล ตัวชี้วัดและเป้าหมายของโครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ 1. นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 และนักศึกษาพยาบาลชั้นปีอื่นๆที่มีความสนใจจะฝึกปฏิบัติด้วยตนเองใน กิจกรรมการแทงเส้นเลือดดำ� ร้อยละ 80 มีหลอดเลือดจำ�ลองใช้สำ�หรับฝึกปฏิบัติการด้วยตนเอง 2. นักศึกษาพยาบาลมีความพึงพอใจในการใช้หลอดเลือดจำ�ลอง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
งบประมาณ ในการประดิษฐ์นวัตกรรมหลอดเลือดจำ�ลองในครั้งนี้ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 200 บาท ต่อชิ้น กระบวนการ (Process) หรือการปฏิบัติงานตามแผน (Deploy) คณะทำ�งานได้มีกระบวนการปฏิบัติงานคุณภาพเพื่อพัฒนาหลอดเลือดจำ�ลอง ทั้งหมด 3 วงจร ดังนี้ วงจรที่ 1 หลอดเลือดจำ�ลอง เลือดเทียม และแผ่นรอง 1) การวางแผน (Plan: P1) จัดหาวัสดุที่มีอยู่ ในหน่วยงานมาประดิษฐ์ตัวหลอดเลือดจำ�ลอง 2) การปฏิบัติ (Do: D1) นำ�หลอดเส้นยางที่มีอยู่มาตัดเป็นเส้นยาว แล้วปิดหัวท้ายหลอดเส้นยาง และนำ�สีผสมอาหาร ผสมน้ำ�(เลือดเทียม)เพื่อใส่ ในท่อของเส้นยาง และนำ�หลอดเลือดจำ�ลองมาวางลงบนแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด
3) การติดตามตรวจสอบ (Check: C1) ทดสอบโดยการดูดเลือดเทียมออกจากเส้นเลือดจำ�ลอง พบว่าสามารถดูดและ ฉีดสารน้ำ�ได้ อีกทั้งไม่มีรอยรั่วตรงจุดที่ถอนเข็มออก บริเวณจุกปิดหัวท้ายเส้นยางยังคงปิดแน่นดีเช่นเดิม ซึ่งได้มีการนำ� นวัตกรรมชิ้นนี้ ไปเสนอในเวทีของโครงการพัฒนางานของคณะพยาบาลศาสตร์ เมื่อตุลาคม2557 ผู้ทรงคุณวุฒิได้ ให้ ข้อคิดเห็นว่า ควรปรับให้มีฐานและผิวปกคลุมหลอดเลือดจำ�ลองที่มีลักษณะใกล้เคียงกับความเป็นจริง 4) การปรับปรุงแก้ ไข (Act: A1) จัดทำ�ฐานให้มั่นคงและผิวปกคลุมหลอดเลือดจำ�ลองโดยให้มีลักษณะใกล้เคียงกับ ความเป็นจริง วงจรที่ 2 ท่อนแขนและผิวปกคลุมหลอดเลือดจำ�ลอง 1) การวางแผน (Plan: P2) ออกแบบและจัดหาวัสดุที่สามารถตัดและปรับแต่งให้มีลักษณะโค้งเหมือนแขนของคนจริง เช่น มีนิ้ว ข้อมือ ข้อพับและผิวปกคลุมหลอดเลือดต้องมีลักษณะผ้ายืดบางๆ และมีสีคล้ายผิวคน 2) การปฏิบัติ (Do: D2) นำ�โฟมมาตัดแต่งให้มีสภาพคล้ายท่อนแขน ทาเคลือบด้วยน้ำ�ยางพารา พร้อมฝังหลอดเลือด จำ�ลองลงในร่องโฟมให้แน่นตามหลักกายวิภาค (Anatomy) หลังจากนั้นปิดทับด้วยถุงน่องสีน้ำ�ตาลสองชั้น(แทนผิวหนัง) เพื่อปกคลุมหลอดเลือดดังกล่าว 3) การติดตามตรวจสอบ (Check: C2) จากการตรวจสอบ พบว่ามีฐานมั่นคง ไม่หักง่าย และถุงน่องเย็บปิดปกคลุม คล้ายผิวหนัง และได้นำ�ความก้าวหน้าของนวัตกรรมไปนำ�เสนอในโครงการเวทีคุณภาพ คณะพยาบาลศาสตร์ ในเดือน มกราคม 2558 ผู้ทรงคุณวุฒิได้ ให้ข้อคิดเห็นว่า ควรปรับปรุงให้ผิวหนังมีลักษณะเหมือนคนจริงมากขึ้น เนื่องจากถุงน่อง มีความโปร่งบางและไม่หนาพอเหมือนผิวหนัง ทำ�ให้มองเห็นหลอดเลือดได้ง่ายเกินความเป็นจริงและเส้นถุงน่องฉีกขาด ง่ายเมื่อถอนเข็มฉีดออก 4) การปรับปรุงแก้ ไข (Act: A2) ปรับผิวหนังและมีความหนาเพิ่มขึ้น
วงจรที่ 3 ผิวหนังปกคลุม 1) การวางแผน (Plan: P3) เชิญเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีทางการศึกษามาร่วมออกแบบผิวหนัง โดยมีการปรึกษาผู้ เชี่ยวชาญด้านยางพาราเกี่ยวกับทำ�แผ่นยางเพื่อเป็นผิวหนังปกคลุม 2) การปฏิบัติ (Do: D3) ทำ�ผิวหนังโดยนำ�น้ำ�ยางพารามาผสมกับสี โปสเตอร์ ตากแดดให้แห้ง และนำ�มาปิดคลุมท่อน แขนและหลอดเลือดจำ�ลอง 3) การติดตามตรวจสอบ (Check: C3) นำ�หลอดเลือดจำ�ลองที่มีผิวหนังปกคลุมไปให้ครูพยาบาลคลินิก จำ�นวน 5 คนทดลองใช้ ซึ่งทุกท่านให้ข้อคิดเห็นว่า สามารถใช้งานได้ดีเหมือนจริงเพียงแต่มีบางตำ�แหน่งของเส้นเลือดจำ�ลอง เช่น ข้อพับที่ข้อมือที่เมื่อดูดเลือดออกมาไม่ดีหากวางในแนวราบ จึงควรมีหมอนหนุนเล็กๆ บริเวณข้อมือหรือปรับบริเวณข้อมือ ให้มีลักษณะเป็นทางลาดลงมาเล็กน้อย และปรับผิวหนังให้มีลักษณะสวยงาม 4) การปรับปรุงแก้ ไข (Act: A3) ปรับบริเวณข้อมือให้มีส่วนเว้าลงมากขึ้นและตกแต่งให้สวยงามต่อไป
ผลการดำ�เนินงาน การพัฒนานวัตกรรมหลอดเลือดจำ�ลองนี้ผลงานแรกในปีที่ 1 ของการพัฒนาด้านการเรียนการสอนโดยบุคลากรสาย สนับสนุนสามารถผลิตชิ้นงานบรรลุตามเป้าหมายของตัวชี้วัดที่กำ�หนดไว้ คือ จำ�นวน 5 ชิ้น ซึ่งหลอดเลือดจำ�ลองดังกล่าว ได้ผ่านการทดสอบขั้นต้นจากครูพยาบาลคลินิกพบว่ามีประสิทธิภาพในการใช้งานดี มีต้นุทนการผลิตต่ำ�กว่าหุ่นจำ�ลองที่ คณะซื้อใช้อยู่ ในปัจจุบัน ซึ่งหลอดเลือดจำ�ลองนี้นี้จะถูกนำ�ไปพัฒนาต่อเนื่องและทดลองใช้ ในระยะที่ 2 และที่ 3 ของปี ต่อๆไป สรุปและข้อเสนอแนะ การฝึกทักษะทางการพยาบาลโดยปฏิบัติด้วยตนเองเป็นกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องที่สำ�คัญที่นักศึกษาพึง ต้องมีเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลให้แก่ผู้รับบริการในโรงพยาบาลและชุมชนต่อไปนวัตกรรมหลอด เลือดจำ�ลองเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ได้ ในการฝึกทักษะการพยาบาลในการแทง หลอดเลือดดำ�ของผู้รับบริการเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคและหรือรักษา การพัฒนานวัตกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้การนำ�วัสดุ ธรรมชาติในภาคใต้และสิ่งของที่มี ใช้หรือเหลืออยู่ ในหน่วยงาน มาจัดทำ�อย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอนโดยอาศัยหลัก วิชาการและประสบการณ์ ความคิดเชิงสร้างสร้างของบุคคลที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับการได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารทุก ระดับ ส่งผลให้การพัฒนานวัตกรรมหลอดเลือดจำ�ลองสามารถสร้างสำ�เร็จได้ อย่างไรก็ตามหลอดเลือดจำ�ลองดังกล่าว ยังคงต้องการการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา การพยาบาลต่อไป
กิจกรรมสำ�นักงานประกันคุณภาพ โครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการพัฒนาหน่วยงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) ประจำ�ปีการศึกษา 2557 วันที่ 27-28 เมษายน 2558 ณ ห้องประชุม 1 อาคารศูนย์กีฬาและสุขภาพ วิทยาเขตหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีผู้เข้าร่วมจำ�นวน 60 คน เป้าหมาย : 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) และมีประสบการณ์การประยุกต์ ใช้เกณฑ์ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) ในองค์การ 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีการวิเคราะห์และการแสดงความคิดเห็น ทำ�ให้มองเห็นโอกาสในการพัฒนาองค์กร 3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีการเรียนรู้แบบก้าวกระโดด โดยการเรียนรู้องค์กรอื่นๆ กระบวนการ : อบรมทฤษฎี มีการแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ โดยมีวิทยากรผู้ช่วยให้คำ�แนะนำ�อย่างทั่วถึง มีการนำ�เสนอผลงานของ แต่ละกลุ่ม และถามคำ�ถาม เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการดำ�เนินงาน : ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่อง TQA และนำ�ไปประยุกต์ ใช้ ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมทั้งหมด : 4.07
กิจกรรมสำ�นักงานประกันคุณภาพ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารหลักสูตรอย่างมีคุณภาพ และการเขียนรายงานผลการดำ�เนินงาน (SAR ระดับหลักสูตร)” วันที่ 27-28 พฤษภาคม 2558 ณ ห้อง Convention Hall ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรพงศ์ แก่นอินทร์ มีผู้เข้าร่วมจำ�นวน 627 คน เป้าหมาย : 1. เพื่อทำ�ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรประจำ�ปีการ ศึกษา 2557 2. เพื่อทราบกระบวนการบริหารหลักสูตรให้มีคุณภาพ 3. เพื่อทราบแนวทางการการเขียนรายงานผลการดำ�เนินงานระดับหลักสูตร 4. เพื่อเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำ�ปีการศึกษา 2557 กระบวนการ : อบรมทฤษฎี มีการแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ โดยมีวิทยากรผู้ช่วยให้คำ�แนะนำ�อย่างทั่วถึง มีการนำ�เสนอผลงานของ แต่ละกลุ่ม และถามคำ�ถาม เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการดำ�เนินงาน : ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่อง การเขียน SAR ระดับหลักสูตร ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมทั้งหมด : 4.07
กิจกรรมสำ�นักงานประกันคุณภาพ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีการศึกษา 2557” ณ โรงแรมลีการ์เด้นส์ พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ประกอบไปด้วย 3 หลักสูตร มีผู้เข้าร่วมจำ�นวน 437 คน 1. ระดับคณะและสถาบัน จัดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 ณ ห้องสันติภาพ ชั้น 7 2. ระดับหลักสูตร รุ่นที่ 1 จัดเมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2558 ณ ห้องสันติภาพ ชั้น 7 3. ระดับหลักสูตร รุ่นที่ 2 จัดเมื่อวันที่ 3-4 กรกฎาคม 2558 ณ ห้องเก้าแสน ชั้น 9 เป้าหมาย : 1. เพื่อทำ�ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะและสถาบัน/ระดับ หลักสูตร ประจำ�ปีการศึกษา 2557 2. เพื่อทราบหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน พ.ศ.2557 3. เพื่อทำ�หน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะและสถาบัน/ระดับหลักสูตร ได้อย่างมีคุณภาพและ มาตรฐาน 4. เพื่อเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำ�ปีการศึกษา 2557 กระบวนการ : อบรมทฤษฎี มีการแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ โดยมีวิทยากรผู้ช่วยให้คำ�แนะนำ�อย่างทั่วถึง มีการนำ�เสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม และถามคำ�ถาม เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการดำ�เนินงาน : ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะและ สถาบัน/ระดับหลักสูตร ประจำ�ปีการศึกษา 2557 และทักษาความรู้สำ�หรับเป็นผู้ประเมินฯ ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมระดับคณะ : 4.27 ระดับหลักสูตร : 4.12
กิจกรรมสำ�นักงานประกันคุณภาพ โครงการอบรมเลขานุการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีการศึกษา 2557 วันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ณ ห้องประชุม 1 (ชั้น 2) อาคารศูนย์กีฬาและสุขภาพ วิทยาเขตหาดใหญ่ มีผู้เข้าร่วมจำ�นวน 166 คน เป้าหมาย : 1. เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมมีความรู้ความสามารถและทักษะในการทำ�หน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการประเมิน คุณภาพภายในที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน 2. เพื่อพัฒนาเลขานุการคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้เต็มศักยภาพ กระบวนการ : อบรมทฤษฎี มีการแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ โดยมีวิทยากรผู้ช่วยให้คำ�แนะนำ�อย่างทั่วถึง มีการนำ�เสนอผลงานของแต่ละ กลุ่ม และถามคำ�ถาม เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการดำ�เนินงาน : ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่อง ตังบ่งชี้และเกณฑืการประเมินคุณภาพภายใน ปีการศึกษา 2557 และทักษะการเป็นเลขานุการประเมินคุณภาพภายใน ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม : 4.14
กิจกรรมสำ�นักงานประกันคุณภาพ โครงการอบรมการใช้งานระบบ CHE QA Online มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีการศึกษา 2557 ณ ห้อง 107 ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มีผู้เข้าร่วมจำ�นวน 35 คน เป้าหมาย : 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้เกี่ยวกับการใช้งานระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพ (CHE QA Online) กระบวนการ : อบรมการใช้งานระบบทดลอง โดย สกอ. มีการกรอกข้อมูลทั้งในระดับคณะและระดับหลักสูตร ผลการดำ�เนินงาน : ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่อง การใช้งานระบบฐานข้อมูลด้านการประกัน คุณภาพ (CHE QA Online) ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม : 4.29
แนะนำ�บุคลากรใหม่สำ�นักงานประกันคุณภาพ ชื่อ-นามสกุล : นางสาวศศิประภา ทองคำ� ชื่อเล่น : มด ตำ�แหน่ง : นักวิชาการศึกษา
หน้าที่รับผิดชอบ : 1. การพัฒนาระบบประกันคุณภาพเข้าสู่ระบบบริหารของมหาวิทยาลัย 2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านประกันคุณภาพกับหน่วยงานภายในและภายนอก 3. เลขานุการที่ประชุมด้านประกันคุณภาพ 4. พัฒนาตัวบ่งชี้/เกณฑ์ ที่เหมาะสมกับหน่วยงานจัดการเรียนการสอน 5. จัดทำ�รายงานประจำ�ปีระดับมหาวิทยาลัย 6. จัดโครงการพัฒนาบุคลากรและบริการวิชาการด้านประกันคุณภาพ 7. รับผิดชอบงานอื่นๆ ที่ ได้รับมอบหมาย
พันธกิจ (Mission) yyพันธกิจ 1 พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นสังคมฐานความรู้บนพื้นฐานพหุวัฒนธรรมและหลักเศรษฐกิจพอเพียงโดยให้ผู้ ใฝ่รู้ ได้มี โอกาสเข้าถึงความรู้ ในหลากหลายรูปแบบ yyพันธกิจ 2 สร้างความเป็นผู้นำ�ทางวิชาการในสาขาที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของภาคใต้ และเชื่อมโยงสู่เครือ ข่ายสากล yyพันธกิจ 3 ผสมผสานและประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานประสบการณ์การปฏิบัติสู่การสอนเพื่อสร้างปัญญา คุณธรรม สมรรถนะและโลกทัศน์สากลให้แก่บัณฑิต วัฒนธรรม (Culture) ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง (Our Soul is for the Benefit of Mankind) ค่านิยม (Core Values) ค่านิยม PSU P-Professionalism
S-Social responsibility
U-Unity
ความหมาย ร่วมแรงร่วมใจ รับผิดชอบต่อสังคมอย่างมืออาชีพ 1. ใฝ่รู้ เสาะหาวิชา สร้างปัญญาสังคม 2. ถูกต้อง มีมาตรฐาน รวดเร็ว 3. มุ่งมั่น ทุ่มเท และมีจิตสาธารณะ 1. เป็นที่พึ่ง และชี้นำ�สังคม 2. แลกเปลี่ยน และแบ่งปัน 3. บ่มเพาะคนดี สู่สังคม 1. มีความรักและสำ�นึกร่วมเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร 2. ผลักดันองค์กรสู่เป้าหมายร่วม 3. ร่วมกันทำ�งานด้วยความเต็มใจเสียสละ และอดทน
อัตลักษณ์ (Identity) นักศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม เอกลักษณ์ (Uniqueness) มหาวิทยาลัยวิจัย พฤติกรรมคุณลักษณะด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษา ซื่อสัตย์ มีวินัย เปี่ยมน้ำ�ใจ ใฝ่จิตสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ประกาศพฤติกรรมคุณลักษณะด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษา (ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2554) ไว้ดังนี้ 1. มีจิตสาธารณะ มีความเสียสละ มีน้ำ�ใจ มีความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น และช่วยเหลือสังคม 2. มีวินัย ประพฤติปฏิบัติตนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย กฎหมาย และสังคม 3. มีความซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา และปฏิบัติตรงต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ และไม่ทำ�ให้เสียชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย
คณะผู้จัดทำ� คณะผู้จัดทำ� ที่ปรึกษา รองอธิการบดีฝ่ายบุคคลและประกันคุณภาพ นพ.บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา บรรณาธิการ
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ รศ.นพ.ธวัช ชาญชญานนท์
กองบรรณาธิการ
นางสาวกิตติยา แสะอาหลี นางสาวขจรพรรณ ชัยเดช นางสาววรรณวิมล นาคะ นางสาวสิริอร ตระกูลเมฆี นายวรรธนัย พุ่มประไพ นางสาวศศิประภา ทองคำ�