ข่าวประกันคุณภาพ ม.อ. 3/2558

Page 1



บทบรรณาธิการ

ข่าวฉบับนี้ ได้นำ�เนื้อหาเกี่ยวกับ การประกันคุณภาพระดับคณะ ที่เรียกว่า EdPEx มาเล่าสู่กันฟัง อะไรคือบทบาท ของเกณฑ์ คุณลักษณะสำ�คัญของเกณฑ์ ระบบการประเมิน การใช้เครื่องมือลีน (lean tools) ในการทำ�ให้กระบวนการ ผอมเพรียว ไร้ ไขมัน เช่น 5ส ระบบป้องกันความผิดพลั้งด้วย poka yoke เครื่องมือที่ทำ�ให้เลื่อนไหลต่อเนื่อง เป็นต้น ในเล่ม ยังพูดถึงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำ�ปี พ.ศ. 2558 เกี่ยวกับการประกันคุณภาพ เนื้อหาประกอบด้วย การประกันคุณภาพการศึกษาไทย โดย ดร. เทียนฉาย กีรนันท์ ก้าวข้ามขีดจำ�กัด สู่สหัสวรรษแห่ง คุณภาพ ASEAN QA framework for higher education กลยุทธ์สู่ UI greenmetric world university ranking บทบาท ใหม่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรับผิดชอบคุณภาพการศึกษา บทบาทคณะกรรมการสถานศึกษาแบละสมาคมู้ ปกครองกับการประกันคุณภาพผลผลิต บุคลากรสายสนับสนุนต้นทุนความสำ�เร็จ การคึกษาพิเศษกับทิศทางการพัฒนา คุณภาพ เป็นต้น

หวังว่าข่าวฉบับนี้ จะมีเนื้อหาที่น่าสนใจและยังประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านทุกท่าน รองศาสตราจารย์ธวัช ชาญชญานนท์ บรรณาธิการ


สารบัญ เรื่อง หน้า EdPEx

1-2

Lean Tool

3-6

การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ การประกันคุณภาพการศึกษา ประจำ�ปี พ.ศ. 2558

7-12


EdPEx โดย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ EdPEx คือเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติฉบับการศึกษา มาจาก education criteria for performance excellence คือ เกณฑ์ด้านการศึกษาสำ�หรับความเป็นเลิศ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมีนโยบายในการใช้เกณฑ์นี้ เพื่อพัฒนาคุณภาพของคณะ ต่างๆในมหาวิทยาลัย รวมทั้งการพัฒนาระดับสถาบัน เกณฑ์ EdPEx เป็นเกณฑ์ที่ ใช้ ในการประเมินองค์กรในภาพรวม อยู่บนกรอบของการดําเนินงานที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ สามารถใช้ประเมินได้ทั้งระดับคณะและสถาบัน เป็นเกณฑ์ความเป็น เลิศเดียวกันกับระบบอื่นๆ ที่ ได้มีการริเริ่มใช้ ในภาคสวนต่าง ๆ ได้แก่ PMQA, SEPA, HA, TQA, SELF การประเมิน องค์กรด้วยเกณฑ์ EdPEx เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ขององค์กร และค้นหาโอกาสในการปรับปรุง เพื่อจัดทําแผนพัฒนา องค์กร เป็นกลไกสร้างให้เกิดการบูรณาการ เพื่อขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ ค้นหาแนวทางและวิธีการใน การสร้างนวัตกรรมในการปรับปรุง วัตถุประสงค์ของ สกอ. ในการใช้เกณฑ์ EdPEx เพื่อพัฒนาเกณฑ์ ให้เหมาะกับบริบทของสถาบันอุดมศึกษาไทย ส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี การจัดระดับเทียบเคียง และดําเนินงาน ที่เป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาไทยในการก้าวสู่ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดด ส่งเสริมสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษา พัฒนาคุณภาพการศึกษา ระบบการบริหารจัดการด้วยเกณฑ์ EdPEx ที่สามารถเทียบได้ ในระดับสากล บทบาทของเกณฑ์ EdPEx 1. ช่วยปรับปรุงวิธีการดําเนินงานของสถาบัน 2. เพิ่มขีดความสามารถ และผลลัพธ์ ให้ดีขึ้น 3. ช่วยกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารและแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ 4. เป็นเครื่องมือ สร้างความเข้าใจและบริหารจัดการผลการดําเนินการของสถาบัน ชี้แนะแนวทางการจัดทําแผน กลยุทธ์ และเปิดโอกาสการเรียนรู้ คุณลักษณะสําคัญของเกณฑ์ 1. มุ่งเน้นผลลัพธ์ 2. ไม่กําหนดวิธีการ และสามารถปรับใช้ ให้เหมาะสมได้ 3. มุ่งเน้นความต้องการของสถาบัน 4. สนับสนุนมุมมองเชิงระบบ เพื่อให้เป้าประสงค์สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กร 5. สนับสนุนการตรวจประเมินที่เน้นเป้าประสงค์


ระบบการประเมินของ EdPEx เป็นการประเมินภาพรวมในระดับองค์กร เพื่อดูระดับพัฒนาการ และการ เปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เน้นกระบวนการที่เป็นระบบและข้อมูลของตัวชี้วัด แบ่งการประเมิน เป็น 2 ส่วน ได้แก่ กระบวนการ (หมวด 1 – 6) และผลลัพธ์ (หมวด 7) ส่วนประกอบพื้นฐานในการประเมิน (SAR) 1. โครงร่างองค์การ (Organizational Profile, OP) ประกอบด้วย พื้นฐานด้านสภาพแวดล้อมขององค์การ ความ สัมพันธ์กับกลุ่มต่าง ๆ ในระดับองค์การ สภาพการแข่งขันและความท้าทาย 2. ระบบปฏิบัติการทั้ง 6 ส่วน (System Operation) ประกอบด้วย ระบบผู้นํา การวางแผนกลยุทธ์ การมุ่งเน้น ลูกค้าและตลาด การวัดการวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคลากร การจัดการกระบวนการ 3. ผลลัพธ์ (Results) ได้แก่ ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ด้านกา รนําองค์การและธรรมาภิบาล ด้านงบประมาณ การเงิน และตลาด ค่านิยมของเกณฑ์ มีทั้งหมด 11 ประการ ได้แก่ แผน นำ� (การนําองค์การอย่างมีวิสัยทัศน์ การมุ่งเน้นอนาคต ความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง มุมมองเชิงระบบ) ทำ�เป็น (ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นผู้เรียน การให้ความสําคัญกับพนักงานและพันธมิตร ความคล่องตัว การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ และการ สร้างคุณค่า) เน้นการเรียนรู้ (การเรียนรู้ขององค์การและแต่ละบุคคลการจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง การจัดการเพื่อนวัต กรรม) ขั้นตอนการใช้เกณฑ์ EdPEx 1. เรียนรู้เกณฑ์ และความหมายของนิยามต่าง ๆ 2. วิเคราะห์องค์กร โดยเริ่มจากบริบทสําคัญ 3. จัดทําร่างระบบงานต่าง ๆ 4. ประเมินตนเอง เพื่อค้นหาสิ่งที่ต้องปรับปรุง 5. จัดทําแผนพัฒนาองค์กร พร้อมกําหนดเป้าหมาย 6. ประเมินความก้าวหน้า และผลการปรับปรุง 7. ประเมินตนเองทุกปี เพื่อดูความก้าวหน้าของระบบ


Lean Tool โดย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ Lean Tool ก่อนจะพูดถึง เครื่องมือลีน ขอให้ความหมายก่อน ลีน หมายถึง การกำ�จัดหรือลดความสูญเปล่า (Wastes) ออก จากกระบวนการทำ�งาน เพิ่มคุณค่า (Value) ตามความต้องการของลูกค้า และทำ�ให้ขั้นตอนการทำ�งานไหลลื่น (Flow) โดยไม่ติดขัด และปรับปรุงให้ดีกว่าเดิมยิ่งๆ ขึ้นไปอีก เพื่อให้สมบูรณ์ที่สุด เป็นแนวทางที่เป็นระบบ ประยุกต์ ใช้กับห่วงโซ่ คุณค่า (value chain) ด้วยเป้าหมายที่สายธารของกระบวนการธุรกิจโดย กำ�จัดความสูญเปล่า (waste) ใช้ lean techniques ส่งผลให้ลด Lead time (เวลาตั้งแต่เริ่มกระบวนการจนส่งมอบผลิตภัณฑ์ ให้ลูกค้า) และ Productivity ดีขึ้น • ทำ�ไมต้องลีน เพราะกระบวนการทำ�งานเราไม่ผอมเพรียว (ไม่ลีน) มีการติดขัด คอขวด (ไม่ ไหล ไม่ลื่น) ลูกค้า ต้องรอนาน ไม่รู้ว่างานจะเสร็จเมื่อไหร่ ไม่ประกันเวลา และมีงานค้าง (work in process) คนทำ�งานเครียด ลูกค้าไม่พึง พอใจ ไม่มีประสิทธิภาพ และมีความสูญเปล่า (wastes) • เครื่องมือลีน ประกอบด้วย สามส่วน ได้แก่ 1. พื้นฐานการปฏิบัติงานที่สม่ำ�เสมอ (การฝึกอบรม, งานที่เป็น มาตรฐาน, เข้าไปดูในสถานที่จริง (Genchi Genbutsu) แผนที่สายธารแห่งคุณค่า (VSM), การจัดการโดยใช้หลักการมอง เห็น (5 ส.) การดูแลทรัพยากรเชิงรุก 2. เครื่องมือที่ทำ�ให้ลื่นไหลอย่างต่อเนื่อง 3. เครื่องมือที่ทำ�ให้คุณภาพฝังในระบบ (Built in Quality) ดังรูป


5ส. ถือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือลีน เพื่อให้มีการปฏิบัติงานที่สม่ำ�เสมอ ตั้งแต่สะสาง สะดวก สะอาด/ตรวจ สอบความผิดปกติ สร้างมาตรฐาน และสร้างวินัย (ดังรูป)

พลาด

ระบบที่ป้องกันความผิดพลั้ง (Poka-Yoke) ที่เกิดจากความไม่ ได้ตั้งใจ หรือ พลั้งเผลอ มีจุดประสงค์คือ 1. ป้องกัน ไม่ ให้ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้เลย หรือเกิดขึ้นได้ยากมาก จุดประสงค์คือ zero defects 2. ในกรณีที่อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้น มีระบบเตือนหรือต้องแก้ ไขโดยรวดเร็วก่อนเกิดความผิด automatically detecting defects. ดังรูป


การควบคุมที่เห็นได้ชัดเพื่อบ่งชี้ความผิดพลั้ง สำ�หรับ Toyata ใช้คำ�ว่า jido หมายถึง เครื่องจักรที่มีอุปกรณ์พิเศษ เพื่อให้สามารถหยุดการทำ�งาน เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นได้ การหยุดกระบวนการทำ�งาน ทันที เมื่อพบปัญหาเกี่ยวกับ คุณภาพ หรือความผิดพลาด เครื่องมือหลายชนิดในทางการแพทย์ จะส่งสัญญาณเตือน เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้น เพื่อ ให้ผู้รับผิดชอบรีบแก้ ไขสาเหตุ เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในขั้นตอนการทำ�งาน เครื่องจักร หรือคนทำ�งาน จะหยุดงาน ทันที พร้อมกับมีสัญญาณ ซึ่งอาจจะเป็น ป้าย แสงไฟ หรือเสียง (หรือใช้วิธีดึงสายบังคับ Andon เพื่อให้หยุดการทำ�งาน) เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้อง ผู้รับผิดชอบรีบมาแก้ ไขความผิดพลาดให้ถูกต้องโดยรวดเร็ว ก่อนที่จะทำ�งานต่อไป งานที่ผิดพลาดเล็ก น้อย ที่ปล่อยให้ผ่านไป อาจทำ�ให้ผลงานสุดท้ายไม่สมบูรณ์ ต้องทิ้งหรือต้องเริ่มทำ�ใหม่ เกิดความสูญเปล่า และสิ้นเปลือง มาก ปัญหาที่เกิดขึ้นต้องได้รับการวิเคราะห์ หาสาเหตุ เพื่อป้องกันไม่ ให้เกิดขึ้นอีก เครื่องมือที่ทำ�ให้เลื่อนไหลต่อเนื่อง ได้แก่ ทีมที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Common Goal) การจัดเตรียมที่รวดเร็ว (Quick setup) คือ การเตรียมเครื่องมือและสถานที่ เอกสารอย่างรวดเร็ว เพื่อพร้อมที่จะปฏิบัติงาน รวมถึงการปรับ เปลี่ยน เพื่อทำ�กิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป การทำ�ให้รอบเวลาทำ�งาน (cycle time) ให้ ใกล้เคียงกับ Takt Time ทำ�ให้ ไม่มีงานค้าง (ดังรูป) ขั้นตอนการปรึกษา (consultation) มีรอบเวลาการทำ�งาน 30 นาที ซึ่งมากกว่า Takt Time (18 นาที) ทำ�ให้ ไม่สามารถทำ�งานได้ทัน

การปรับระดับงานให้ ใกล้เคียงกัน (Work Load Leveling) หมายถึง การปรับการผลิต/การให้บริการให้สม่ำ�เสมอ หลีกเลี่ยงการทำ�งานในปริมาณที่แปรปรวน เพื่อควบคุม cycle time และไม่ทำ�ให้บุคลากรหรือเครื่องจักรเกิดความ ล้า กำ�จัดภาวะงานล้นมือ Leveling เป็นปัจจัยสำ�คัญที่จะทำ�ให้การดำ�เนินการตามวิธี lean ประสบความสำ�เร็จ การก ระจายงานไม่ ให้เกินความสามารถของผู้ทำ�งานหรือเครื่องมือ เพื่อให้สามารถไหลลื่นโดยไม่ติดขัด ตัวอย่าง Leveling in healthcare เช่น การกระจายผู้ป่วยที่ต้องการเจาะ lab ตามช่วงเวลา ระบบนัดผู้ป่วยตามช่วงเวลา เป็นต้น Match demand to Supply การลด batch คือ การทำ�งานต่อเนื่องเมื่อมีชิ้นงานครบ ลดขนาดของหมู่ที่ดีที่สุดคือ ทำ�ให้ ไหลลื่นที ละ 1 (one piece Flow) ถ้าไม่สามารถทำ�ให้ ไหลลื่นทีละ 1 ก็ ให้ลดขนาดของหมู่ ให้น้อยสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น การรอ เอกสาร แฟ้ม ปริมาณหนึ่ง แล้วค่อยจับคู่เอกสารหรือทำ�สัญลักษณ์ ทำ�ให้มีการอในระบบ และระบบดึง (Pull system) คือทำ�งานตามปริมาณที่ลูกค้าต้องการ ส่งงานเมื่อหน่วยงานถัดไปพร้อมหรือเป็นการประสานงานหรือสร้างระบบให้ขั้นถัด ไป แจ้งให้รู้ว่าพร้อมแล้วจึงส่งงานไป ทำ�ให้ ไม่มีการรอที่สูญเปล่า สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ�งานได้มากขึ้น


การใช้ cell concept ทำ�ให้ มีงานค้างในแต่ละกระบวนการน้อยลง ใช้พื้นที่น้อยลง เพิ่มผลผลิต และคุณภาพ มี การสื่อสารในทีมมากขึ้น และเห็นความผิดพลาดได้ง่าย ทำ�ได้ โดย ในแต่ละกระบวนการทำ�งานอยู่ชิดกัน ในลักษณะ ที่มี ระยะห่างระหว่างสถานีทำ�งานน้อยที่สุด ผู้ ให้บริการมีความรู้ ในงานที่ทำ� (Multi-skill) ลดการทำ�งานเป็นชุดให้เหลือน้อย ที่สุด กระบวนการทำ�งานให้อัตโนมัติไม่ต้องรอการอนุมัติ มีมาตรฐานการทำ�งาน checklist, visual management, mistake proofing


การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ การประกันคุณภาพการศึกษา ประจำ�ปี พ.ศ. 2558 โดย : นางสาวกิตติยา แสะอาหลี, นางสาวขจรพรรณ ชัยเดช, นางสาววรรณวิมล นาคะ และ นายวรรธนัย พุ่มประไพ บุคลากรสำ�นักงานประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พิธีเปิดโดย รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) การวัดและประเมินผลถือเป็นภารกิจหลักที่มีความสำ�คัญในการสะท้อนคุณภาพของการดำ�เนินงานที่เป็นที่ยอมรับ และน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นหลักมาตรฐานสากลที่นิยมปฏิบัติกันทั่วโลก ในการวัดและประเมินผลให้ครบวงจร ต้องมีการประเมิน คุณภาพภายใน ซึ่งดำ�เนินการโดยสถานศึกษาทำ�หน้าที่การควบคุม ตรวจสอบ และประเมินตนเอง โดยหน่วยงานต้นสังกัด ให้การสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง ส่วนการประเมินคุณภาพภายนอกโดย สมศ. ทำ�หน้าที่เพื่อตรวจ สอบและยืนยันคุณภาพสถานศึกษาตามเกณฑ์ที่กำ�หนด รวมถึงรายงานผลการประเมินต่อหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อนำ�ผลไป ปรับปรุง พัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง การประกันคุณภาพการศึกษาไทย (ศ.กิตติคุณ ดร.เทียนฉาย กีระนันท์) การประกันคุณภาพการศึกษาตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำ�หนดไว้ 2 เรื่อง คือ การประกัน คุณภาพภายในที่สถานศึกษาจะต้องดำ�เนินการตามกรอบของต้นสังกัดที่กำ�หนด โดยเน้นที่กระบวนการและปัจจัยนำ�เข้า แต่ยังไม่ครอบคลุมถึงเรื่องการกำ�หนดมาตรฐานด้านผลลัพธ์และผลผลิต ส่วนการประเมินคุณภาพภายนอกโดย สมศ. นั้น เห็นว่าควรต้องมีการประเมินทุกปี แทนการประเมิน 1 ครั้งในทุก 5 ปี เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของการจัดการศึกษา และควรมีการเปิดเผยผลการประเมินต่อสาธารณชน ทั้งนี้เพื่อให้การศึกษาของประเทศขับเคลื่อนไปข้างหน้า กระทรวง ศึกษาธิการ หน่วยงานต้นสังกัด สถานศึกษา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และ สมศ.ต้องร่วมมือกันทั้งการจัดการศึกษาระดับการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา เพื่อร่วมกันกำ�หนดเกณฑ์การประเมิน และพัฒนาไปถึงขั้นการ รับรองวิทยฐานะ มากกว่าการรับรองมาตรฐานเหมือนที่ผ่านมา ก้าวข้ามขีดจำ�กัด สู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ การทำ�งาน มักมีปัญหาและอุปสรรคเสมอ การเปลี่ยนมุมมอง ปรับวิกฤตให้เป็นโอกาส นำ�ปัญหา อุปสรรคมาส ร้างเป็นพลัง สร้างโอกาสในการจัดการศึกษา การประกันคุณภาพจึงเป็นเครื่องมือสำ�คัญในการก้าวข้ามขีดจำ�กัด โดยจะ สะท้อนให้เห็นจุดเด่น และจุดที่ควรพัฒนาของสถานศึกษา การดำ�เนินการเพื่อให้การศึกษามีคุณภาพและมาตรฐาน มีหลัก สำ�คัญ 3 ประการ ดังนี้ 1. QD : Quality Development การพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2. QE : Quality Enhancement การส่งเสริมคุณภาพการศึกษา และ 3. QF : Quality Framework กรอบการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้ กระบวนการ ก้าวข้ามขีดจำ�กัด ต้องเริ่มต้นจากการปรับความคิด เปลี่ยนการกระทำ� สร้างความหวัง ปลุกพลังส่วนรวม และร่วมสร้าง เครือข่ายเพื่อก้าวข้าวจากปัญหา สู่ปัญญาที่ยั่งยืน


ปฏิรูปการศึกษาให้ ได้ผลต้องตั้งต้นจากผลการประเมิน การปฏิบัติงานของสถานศึกษาเป็นสิ่งที่ทำ�คู่ขนานไปกับการประเมิน เพราะหากขาดการประเมินก็จะไม่ทราบผล การดำ�เนินงานของบุคลากร ไม่ทราบปัญหา อุปสรรค และไม่ก่อให้เกิดข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ ไข เมื่อไม่มีการแก้ ไข ก็จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการปฏิรูป คือ การเก็บไว้ ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และปรับเปลี่ยนให้ ได้สิ่งที่พึงประสงค์มี คุณภาพ การปฏิรูปการศึกษาจึงต้องพัฒนาองค์ประกอบจากการปรับเปลี่ยนหลักสูตร ปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ของ ผู้เรียน ปรับเปลี่ยนการวัดและประเมินผลของผู้สอน การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และสร้างผลสัมฤทธิ์จากการเรียนรู้ อย่างมีคุณภาพ ซึ่งการจะปรับเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้ ก็ต้องเริ่มจากการประเมินสิ่งที่เป็นอยู่ และนำ�ผลประเมินมาพิจารณาเพื่อ พัฒนาหรือปรับปรุงแก้ ไขต่อไป ครู : หัวใจของการประกันคุณภาพ ครูเป็นผู้มีบทบาทสำ�คัญอย่างยิ่งต่อการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูจึงต้องมีคุณภาพจึงจะเป็นผู้ สร้างคุณภาพให้เกิดขึ้นได้ ครูต้องมีความรักในอาชีพของการพัฒนาคน รู้จักแนะนำ�การเรียนรู้ การสอบ การเป็น Coach และเป็น Mentor ครูต้องเข้าใจเป้าหมายของการพัฒนาคน และกำ�หนดเป้าหมายในการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ ผลผลิต คือ คุณลักษณะของผู้เรียนที่ต้องการ รวมถึงการสอนด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเทคนิค ผสมผสาน กระบวนการถ่ายทอดความรู้ตั้งแต่การบรรยายไปจนถึงการฝึกอบรมนอกจากนี้ยังมีการบันทึกการสอน และประเมินผล การสอนอย่างสม่ำ�เสมอเพื่อนำ�มาใช้ ในการพัฒนาการสอนให้มีประสิทธิภาพ การประกันคุณภาพเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การประเมินจะส่งผลต่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ถ้าการประเมินนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ซึ่งองค์ ประกอบสำ�คัญของการพัฒนาคุณภาพ ขึ้นอยู่กับ ๓ สิ่ง ได้แก่ ผู้ประเมิน ผู้ถูกประเมิน และเครื่องมือที่ ใช้ ในการประเมิน หากสถานศึกษาพบว่าจุดใดที่ควรพัฒนาก็ ให้หากลยุทธ์ที่จะมาใช้ ในการพัฒนาจุดด้อยนั้น แล้วนำ�ไปบรรจุไว้ ในแผนประจำ� ปีหรือแผนยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา ซึ่งจะส่งผลให้สถานศึกษาเกิดการพัฒนาได้ การประเมินจะมีประโยชน์มากหากว่า สถานศึกษาได้มีการนำ�เอาผลการประเมินไปใช้ ในการปรับปรุงพัฒนา เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติที่แท้จริง และวิธีการที่ สถานศึกษาสามารถนำ�ไปใช้ ในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาได้แก่ การทำ� “Daily Management” คือ การพุด คุยกันทุกวัน และนำ�สาระสำ�คัญจากการพูดคุยไปสู่การปฏิบัติ จนเกิดผลสำ�เร็จตามประเด็นและเป้าหมายที่กำ�หนดไว้ บทบาทใหม่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. เทศบาล และ กทม.) ในการรับผิดชอบคุณภาพการศึกษา การจัดการศึกษาของไทยมีวิวัฒนาการจากการศึกษาส่วนท้องถิ่น ก่อนที่ส่วนกลางเข้ามารับผิดชอบในสมัยที่มีการ ทรวงธรรมการและต่อมาเป็นกระทรวงศึกษา ปัจจุบันมีการกระจายอำ�นาจจากการศึกษาสู่ท้องถิ่นซึ่งต้องเริ่มจากความ เข้มแข็งของท้องถิ่น โดยสามารถนำ�ต้นทุนในท้องถิ่นมาประยุกต์ ใช้ และมีเป้าหมายให้ผู้เรียนกลับไปรับใช้ท้องถิ่น ตัวอย่าง เช่น เทศบาลนครภูเก็ตได้มีการจัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย โดยมีผลสัมฤทธิ์เป็นที่ประจักษ์ แม้ โรงเรียนเทศบาล จะเลือกผู้เรียนไม่ ได้แต่สามารถจัดการศึกษาตามความถนัดได้ และกระจายอำ�นาจการจัดการศึกษานี้ ต้องคำ�นึงถึงการเชื่อมโยง สถานศึกษา ครอบครัว และชุมชน โดยผู้ปกครองรู้ถึงผลสัมฤทธิ์ของการเรียน และสถานศึกษา เน้นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพเพื่อความเสมอภาคมากกว่าความเป็นเลิศ


บทบาทคณะกรรมการสถานศึกษาและสมาคมผู้ปกครอง กับการประกันคุณภาพผลผลิต พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กำ�หนดหลักการจัดระบบบริหารการศึกษาให้มีเอกภาพด้าน มาตรฐานและนโยบายกระจายอำ�นาจไปสู่พื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเพิ่มรูปแบบ การบริหารโดยคณะบุคคล (คณะกรรมการ) เพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชน (Stakeholders) ทุกระดับ ทั้งในส่วนกลาง เขตพื้นที่ และสถานศึกษา โดยในระดับสถานศึกษาได้กำ�หนดให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน และผู้เกี่ยวข้องในชุมชนท้องถิ่น มีอำ�นาจหน้าที่กึ่งเชิงบริหารและกึ่งการให้คำ�แนะนำ� คำ�ปรึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้ เรียนเป็นสำ�คัญ และมีสมาคมผู้ปกครองและครูเป็นองค์กรสมาชิกเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาและการบริหารงานของ สถานศึกษา โดยสร้างความ เข้าใจอันดีระหว่างผู้ปกครองและครู อันจะก่อให้เกิดความร่วมมือในการส่งเสริมมาตรฐาน การศึกษาและสวัสดิภาพของผู้เรียน เพื่อการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง บุคลากรสายสนับสนุนต้นทุนความสำ�เร็จ บุคลากรสายสนับสนุนถือเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทสำ�คัญและจำ�เป็นต่อการดำ�เนินงานของสถานศึกษาในการ สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของคณาจารย์ ทั้งนี้ บุคลากรสายสนับสนุนควรมี โอกาสในการเติบโตในสายงานมีความ สามารถทั้งด้านวิชาการ และวิชาชีพ ดังนั้น แนวทางการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนควรเน้นการพัฒนาในด้านความคิด สร้างสรรค์ ความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล รวมถึงการสร้างทศนคติที่ดีต่อความเชื่อมั่งในความสามารถของตนเองที่จะ เป็นส่วนหนึ่งในการประสบความสำ�เร็จของสถานศึกษา การศึกษาพิเศษกับทิศทางการพัฒนาคุณภาพ การจัดการศึกษาพิเศษต้องให้ความสำ�คัญตั้งแต่ระดับปฐมวัยซึ่งหากพบปัญญาตั้งแต่ต้น จะทำ�ให้มี โอกาสในการ สร้างพัฒนาการ ของเด็กได้ โดยมีแนวทางในการพัฒนานโยบายของรัฐในการจัดการศึกษาพิเศษอย่างเป็นระบบและต่อ เนื่อง ได้แก่ การจัดการศึกษาทางเลือกให้กับเด็กพิเศษ การพัฒนาสิ่งอำ�นวยความสะดวกสำ�หรับเด็กพิเศษแต่ละประเภท การพัฒนาครู ผู้ช่วยเด็กพิเศษ และนักเรียนในการเรียนร่วม การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพความ พิการในแต่ละด้าน การฝึกการใช่ชีวิตอิสระ และพึ่งตนเองให้ ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ และการเข้ามามีส่วนร่วมในการ พัฒนาของหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่น หลักสูตรสร้างชีวิต ศิษย์คุณภาพ หลักสูตรนับว่ามีความสำ�คัญต่อการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง เพราะหลักสูตรไม่ ได้เป็นแค่ตัวหนังสือ เพียงอย่างเดียว แต่มีองค์ประกอบที่สำ�คัญหลายอย่างที่ครอบคลุมทั้งด้านการดำ�เนินการ และการวิจัยและพัฒนา ซึ่ง หลักสูตรที่ดีนั้นควรมีลักษณะที่ง่าย ชัดเจน และปฏิบัติได้ โดยคำ�นึงถึงการเรียนมากกว่าการสอน ให้ผู้เรียนได้รู้วิธีการที่ จะนำ�ไปสู่การปฏิบัติ มีทักษะการใช้ชีวิตโดยเป็นคนที่คิดเป็น มีความสามารถในการพูด เรียนรู้ที่จะต้องควบคุมอารมณ์ของ ตนเอง และสามารถจัดการอารมณ์ของคนอื่นได้ นอกจากนี้ หลักสูตรที่ดีจะต้องมีองค์ประกอบที่สำ�คัญ ๓ ส่วน คือ มีองค์ ประกอบเชิงวิชาการ วิชาชีพและวิชาคน และที่สำ�คัญจะต้องยอมรับให้มีกระบวนการประเมินเข้ามาช่วยในการสะท้อนผล การพัฒนาเพื่อส่งผลให้การเรียนการสอนมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น


การประเมิน Online การประเมินออนไลน์ หมายถึง กระบวนการประเมินผลระบบใหม่ โดยรายงานผลด้านคุณภาพด้วยเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการประเมินและเพิ่มความโปร่งใส โดยข้อมูลต้องถูกต้องและเป็นจริงประโยชน์ที่ ได้ รับคือการลดภาระด้านเอกสาร เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการดำ�เนินงาน อีกทั้งประโยชน์ ในภาพรวม ทำ�ให้สามารถใช้ ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการจัดทำ�นโยบายและช่วยเหลือปรับปรุงพัฒนาสถานศึกษาต่อไป ทั้งนี้สถานศึกษาต้องปรับแนวคิด และเตรียมตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสำ�นักงานฯ และผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดจนหน่วยงานต้นสังกัด ต้องจัดเตรียม ระบบฐานข้อมูลที่รองรับข้อมูลใหม่จากสถานศึกษาและการนำ�ข้อมูลจากหน่วยงานกลางที่มีอยู่แล้วมาใช้ โดยจ้องออกแบบ โครงสร้างโปรแกรมเพื่อการพัฒนาร่วมกันต่อไป พลังศิษย์เก่า หัวใจสำ�คัญในการพัฒนาสถานศึกษาและสร้างคุณค่าให้องค์กร สิ่งสำ�คัญเบื้องต้นในการรวบรวมรายชื่อศิษย์เก่า คือ การทำ�ระเบียนประวัติของศิษย์เก่าแต่ละสถาบัน ศิษย์เก่า มีบทบาทในการพัฒนาสถาบันและสังคมเป็นอย่างมาก เช่น การให้ข้อมูลด้านความต้องการของตลาดแรงงานว่าในขณะ นี้ต้องการแรงงานลักษณะใด ซึ่งจะนำ�มาสู่การปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดได้ การยกย่อง ศิษย์เก่าที่ประสบความสำ�เร็จในชีวิตมาเป็นแบบอย่าง ทำ�ให้เกิดแรงดึงดูดให้คนสนใจที่จะเข้าศึกษาในสถาบันนั้นๆ เพิ่ม มากขึ้น การให้ความช่วยเหลือต่อสังคมในด้านต่างๆ กระบวนการสร้างให้ศิษย์เก่าในแต่ละสถาบันให้กลับมาพัฒนาสถาบัน ของตนเอง ต้องเริ่มจากการสร้างกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้เรียน ครูอาจารย์ ในขณะที่เรียน ทำ�ให้เกิดความผูกพันให้กับ ศิษย์เก่านั้นและกลับมาช่วยพัฒนาสถาบันและสังคมต่อไป แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาสาขาวิชาสู่การแข่งขันระดับเวที โลก ปัจจัยสำ�คัญในการขับเคลื่อนสาขาวิชาไปสู่เวที โลกจากกรณีศึกษาผู้แทน ๓ สถาบัน ได้แก่ คณะพาณิชยศาสตร์ฯ จุฬาฯ มีกลไกสำ�คัญ ได้แก่ 1) คณะ/หลักสูตร ซึ่งจะประกอบด้วย ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นิสิตปัจจุบัน ศิษย์เก่า ภาคธุรกิจมีความตั้งใจจริงและให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง 2) การมี โครงสร้างพื้นฐานที่ดี 3) มีระบบที่ปรึกษาที่ดี และ 4) มีการจักตั้งสำ�นักงานรับรองมาตรฐานระดับนานาชาติ กรณีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มจท. ลาดกระบัง มุ้งเน้นการนำ� เทคโนโลยี มาประยุกต์ ใช้ ในการเรียนการสอน ได้แก่ (1) ทักษะทางด้านวิชาการและทักษะการปฏิบัติ และ และ (2) ทักษะ ภาษาโดยทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ ๒๑ส่วนคณะเกษตร ม.เกษตรฯ ใช้กลไกขับเคลื่อนในการยกระดับมาตรฐานด้วย การพัฒนาคุณภาพอาจารย์ การสร้างเครือข่ายคุณภาพในระดับนานาชาติ และการเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนการ สอนลงในระดับนานาชาติ สอนในระดับนานาชาติ โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการจัดการเรียนการสอนเป็น ภาษาอังกฤษ คุณภาพการศึกษามีปัญหา อะไรคือสาเหตุ คุณภาพการศึกษาของประเทศไทย ยังมีความแตกต่างกันอยู่มาก เห็นได้จากผลการทดสอบทางการศึกษาในด้าน ต่างๆผลการประกันคุณภาพภายในและผลการประเมินคุณภาพภายนอกซึ่งในต่างประเทศก็พบปัญหาเรื่องคุณภาพการ ศึกษาด้วยเช่นกัน ปัญหาสำ�คัญของการศึกษาไทย คือ มีการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวม ไม่มีการคัดแยกผู้เรียน ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการเรียนวิชาภาคบังคับมากเกินไปนอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องทุจริตคอรัปชั่นทางการ ศึกษา ระบบบริหารจัดการทางการศึกษา รวมทั้ง เรื่องระบบการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ควรจะต้อง มีการจัดเวทีเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแล้วนำ�มาจัดความสำ�คัญเพื่อนำ�ไปสู่การพัฒนาคุณภาพการ ศึกษาให้ตรงกับสภาพจริงและยั่งยืนต่อไป


เหลือบมอง คุณภาพการศึกษาไทย ปัญหาการศึกษาไทย คือไม่สามารถสร้างผู้เรียนให้เรียนอย่างมีความสุข มีพัฒนาการสมวัย คิดวิเคราะห์ และ กล้าแสดงออกซึ้งเป็นคุณลักษณะสำ�คัญที่จะสะท้อนถึงคุณภาพการศึกษา เช่น ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย ครูยัง ไม่เข้าใจพัฒนาการและจิตวิทยาเด็กเพียงพอ เน้นเพียงการคัดลอกมือ บวกเลข แต่ขาดการพัฒนาความมั่นใจในตัวเองของ เด็ก ความมั่นใจของเด็ก ครูจึงต้องเตรียมผู้เรียนไปจนถึงกระบวนการในการพัฒนาผู้เรียนให้ครอบคลุมในระดับครอบครัว ของเด็ก ดังนั้น ครูฝึกทักษะด้านการกำ�กับตนเอง ประเมินด้วยตนเอง นอกจากการสร้างโรงเรียนทางเลือก เกิดปัญหา ด้านการศึกษาที่ ไม่เป็นธรรมแก่เด็กยากจน จากการที่จัดการศึกษาอยู่ภายใต้ระบบราชการแบบศูนย์กลางการจัดการที่ กระทรวงศึกษาธิการไม่กระจายอำ�นาจไปยังท้องถิ่น ดังนั้น ควรลดอำ�นาจส่วนกลางแล้วให้ท้องถิ่นจัดการศึกษาด้วยตนอง การประเมินผู้เรียนเป็นคนดี คุณธรรมพื้นฐานในการประเมินผู้เรียนเป็นคนดีนั้นจำ�เป็นต้องกำ�หนดคุณลักษณะที่สามารถวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยกำ�หนดจากคุณธรรมพื้นฐานของเด็กไทยใน ๕ ประการ ประกอบด้วย ความซื้อสัตย์ ความมีวินัย ความเสียสละ ความ พอเพียง และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สำ�หรับการวัดพฤติกรรมผู้เรียนเป็นคนดี มีอยู่หลากหลายวิธี อาทิ วิธีการสังเกต จากเพื่อนร่วมชั้น จากผู้ปกครอง และการประเมินโดยครูอาจารย์ผู้สอน ซึ่งมีความใกล้ชิดกับผู้เรียน นอกการนี้สถานศึกษา ควรมี โอกาสในการเลือกวิธีการประเมินผู้เรียนมากกว่าที่ต้องประเมินตามเกณฑ์ที่กำ�หนด และส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนดี ควรเริ่มปลูกฝังตั้งแต่การศึกษาในระดับปฐมวัยต่อเนื่องจนถึงระดับอุดมศึกษา โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน การศึกษาไทยกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การศึกษากับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เป็นของคู่กัน การพัฒนาการศึกษาไทยให้มีความคิดสร้างสรรค์ อย่างยังยืนนั้นต้องผลักดันให้ครูและเยาวชนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต คิดต่างคิดใหม่และคิดต่อยอด เพราะกระบวนการดัง กล่าวเป็นปฏิกิริยาสำ�คัญในการขับเคลื่อน ความคิดสร้างสรรค์ ได้อย่างน่าสนใจ นอกจากนั้นการศึกษาไทยต้องทำ�ให้ครู และเด็กเกิดความรัก คือรักก่อนรู้ เมื่อเกิดความรักจะไม่ปฏิเสธ ความรู้ เกิดความรู้ เกิดความคิดสร้างสรรค์ก่อให้เกิดสิ่ง ใหม่อย่างแท้จริง การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทุกภาคส่วนและทุกมิติ เริ่มการศึกษาปฐมวัยเพื่อ ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ได้อย่างมั่นคงที่สุด หน่วยประเมินและผู้ประเมินในยุคปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูป คือ การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ที่กระทบกับหลายฝ่าย ในศตวรรษแรก คือ การเกิดระบบประกัน คุณภาพเพื่อเป็นการประกันให้กับผู้บริโภค ผู้ประเมินจึงต้องพัฒนาตนเองให้ Smart คือ ต้องพัฒนาความรอบรู้ตลอดเวลา ให้เท่าทันโลก ต้องรู้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และบริบทของสถานศึกษา รวมทั้งการพัฒนาความรู้ด้าน IT เพื่อ ที่จะสามารถให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์และนำ�ไปใช้ ได้จริง หน่วยประเมินในฐานะผู้ดูแลผู้ประเมินภายนอกจึงต้องทำ� หน้าที่จัดการความรู้ ความเข้าใจ และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ให้กับผู้ประเมินอย่างสม่ำ�เสมอและเป็นปัจจุบันรวมถึงการ ควบคุม ดูแล จรรยาบรรณให้ผู้ประเมินทำ�หน้าที่ ได้อย่างเป็นกัลยาณมิตรและมีประสิทธิภาพ แบ่งปันประสบการณ์การยกระดับมาตรฐานมหาวิทยาลัย การยกระดับมาตรมหาวิทยาลัย ควรคำ�นึกถึงปัจจัยสำ�คัญ ดังต่อไปนี้ 1) คุณลักษณะและคุณภาพของผู้เรียนโดย การส่งเสริมทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 2) การมั่งให้มหาวิทยาลัยไปสู่ความเป็นเลิศด้วยการ ตั้งเป้าหมาย กำ�หนดนโยบายที่ชัดเจน วางแผนยุทธศาสตร์ และการสื่อสารนโยบายสู่การปฏิบัติ และ 3) การบกระดับ คุณภาพชีวิตในภูมิภาค ควรมั่งเน้นการนำ�ผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ เพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่เป็นสำ�คัญ


Joint-accreditation ทางเลือกการประเมินรอบสี่ดานการอาชีวศึกษา จาการประเมินคุณภาพภายนอกทั้ง 3 รอบ ปรากฏว่า สถานศึกษาจำ�นวนหนึ่งที่ ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับ “ดีมาก” ซึ้งเป็นสถานศึกษาที่มีศักยภาพ มีความสามารถในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติได้ ด้วยเหตุนี้ สมศ. จึงได้จัดทำ�โครงการ Joint Accreditation ร่วมกับ Taiwan Assessment and Evaluation Association (TWAEA) เพื่อเป็นการเปิดโอกาสแก่สถานศึกษา แลกเปลี่ยนมุมมองของหน่วยงานประกันคุณภาพจากต่างประเทศ มาปรับใช้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สำ�หรับการประเมินคุณภาพภายนอกแบบ Joint Accreditation ถือเป็นทางเลือกที่น่า สนใจของสถานศึกษาในระดับอาชีวศึกษา เพราะสิ่งที่สถานศึกษาจะได้รับ คือ การสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียนและบุคลากร เพื่อการพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษาให้เป็นที่ยอมรับและการสร้างสถานศึกษาให้เป็นคุณภาพที่เข้มแข็ง QMR/QMC/QAC กุญแจสำ�คัญสู่ความสำ�เร็จระบบประกันคุณภาพ การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ การประเมินและการกำ�หนดนโยบาย โดยสถานศึกษาควรออกแบบระบบประกันคุณภาพของตนเองให้ง่ายต่อการปฏิบัติงานและมีการทำ�งานร่วมกันของ 3 ฝ่าย คือผู้แทนฝ่ายบริหารในสถานศึกษา (QMR) ซึ่งทำ�หน้าที่ติดตามรวบรวมและดูแลการประกันคุณภาพ คณะกรรมการ บริหารคุณภาพ (QMC) ซึ้งทำ�หน้าที่กำ�หนดนโยบายและร่วมกันทบทวนนโยบาย และ คณะกรรมการตรวจประเมิน คุณภาพของแต่ละสถานศึกษา (QAC) การทำ�งานร่วมกันของทั้ง ๓ ฝ่าย เป็นกุญแจสำ�คัญที่ทำ�ให้ระบบประกันคุณภาพ บรรลุวัตถุประสงค์และประสบความสำ�เร็จ


พันธกิจ (Mission) yyพันธกิจ 1 พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นสังคมฐานความรู้บนพื้นฐานพหุวัฒนธรรมและหลักเศรษฐกิจพอเพียงโดยให้ผู้ ใฝ่รู้ ได้มี โอกาสเข้าถึงความรู้ ในหลากหลายรูปแบบ yyพันธกิจ 2 สร้างความเป็นผู้นำ�ทางวิชาการในสาขาที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของภาคใต้ และเชื่อมโยงสู่เครือ ข่ายสากล yyพันธกิจ 3 ผสมผสานและประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานประสบการณ์การปฏิบัติสู่การสอนเพื่อสร้างปัญญา คุณธรรม สมรรถนะและโลกทัศน์สากลให้แก่บัณฑิต วัฒนธรรม (Culture) ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง (Our Soul is for the Benefit of Mankind) ค่านิยม (Core Values) ค่านิยม PSU P-Professionalism

S-Social responsibility

U-Unity

ความหมาย ร่วมแรงร่วมใจ รับผิดชอบต่อสังคมอย่างมืออาชีพ 1. ใฝ่รู้ เสาะหาวิชา สร้างปัญญาสังคม 2. ถูกต้อง มีมาตรฐาน รวดเร็ว 3. มุ่งมั่น ทุ่มเท และมีจิตสาธารณะ 1. เป็นที่พึ่ง และชี้นำ�สังคม 2. แลกเปลี่ยน และแบ่งปัน 3. บ่มเพาะคนดี สู่สังคม 1. มีความรักและสำ�นึกร่วมเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร 2. ผลักดันองค์กรสู่เป้าหมายร่วม 3. ร่วมกันทำ�งานด้วยความเต็มใจเสียสละ และอดทน

อัตลักษณ์ (Identity) นักศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม เอกลักษณ์ (Uniqueness) มหาวิทยาลัยวิจัย พฤติกรรมคุณลักษณะด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษา ซื่อสัตย์ มีวินัย เปี่ยมน้ำ�ใจ ใฝ่จิตสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ประกาศพฤติกรรมคุณลักษณะด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษา (ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2554) ไว้ดังนี้ 1. มีจิตสาธารณะ มีความเสียสละ มีน้ำ�ใจ มีความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น และช่วยเหลือสังคม 2. มีวินัย ประพฤติปฏิบัติตนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย กฎหมาย และสังคม 3. มีความซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา และปฏิบัติตรงต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ และไม่ทำ�ให้เสียชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย


คณะผู้จัดทำ� คณะผู้จัดทำ� ที่ปรึกษา รองอธิการบดีฝ่ายบุคคลและประกันคุณภาพ นพ.บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา บรรณาธิการ

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ รศ.นพ.ธวัช ชาญชญานนท์

กองบรรณาธิการ

นางสาวกิตติยา แสะอาหลี นางสาวขจรพรรณ ชัยเดช นางสาววรรณวิมล นาคะ นางสาวสิริอร ตระกูลเมฆี นายวรรธนัย พุ่มประไพ นางสาวศศิประภา ทองคำ�


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.