คู่มือดำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

Page 1

แนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่น และตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


คู่มือด�ำเนินงาน แนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2557 จ�ำนวน 4,000 เล่ม บรรณาธิการ :  นิลภา จิระรัตนวรรณะ  สุคนธ์ วรรธนะอมร กองบรรณาธิการ :  อมรา พรสุรการ ณิสรา พรมแก้วงาม ประทุม จ�ำปา นันทชัย ภู่โพธิ์เกตุ ชนาธิป แซ่ตั๋น วนิดา แดงเพลิง

จิรณัฐกานต์ อินตบุตร นงคราญ เชื้อทอง วิมาลา สุขทองสา อังสุมาลิน มั่นคั่ง อัญญาณี วันภักดี ชวาล แก้วลือ

อุมาวดี ภูมิศักดิ ์ วนัฐธิฌา เพียค�ำ  สุภาพร ทองสุข แก้วใจ สุธงษา  พะนอ วันมูล

คณะผู้อ�ำนวยการพัฒนา : ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ขนิษฐา นันทบุตร จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย :  ส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99/8 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2343 1500 www.thaihealth.or.th และ www.punsook.org พิมพ์ที่ : บริษัท มาตา การพิมพ์ จ�ำกัด MATA KARNPHIM CO.,LTD. 77 / 261 หมู่ 4 ต.บางคูรัด อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110 โทร. / โทรสาร 02-923-5725, 089-775-9892


คูแนวทางและวิ ่ มื อ ด�ำเนิธนี กงานาร

ของครอบครัวอบอุ่น และตั้งครรภ์ในวัยรุ ่ น


ค�ำน�ำ “ครอบครัว” เป็นสถาบันและกลไกทางสังคมที่มีความจำ�เป็นจะต้องได้ รับการกระตุน้ ให้มคี วามตระหนักและมีสว่ นร่วมในการ “สร้างพลเมือง” อันเป็น พลังของสังคม มีปัญหาระดับครอบครัวที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาสังคมให้ มีความเข้มแข็งจนเป็นฐานของความมั่นคงของประเทศ เช่น การที่ครอบครัว ไม่มคี วามสามารถเพียงพอทีจ่ ะทำ�ให้สมาชิกในครอบครัวลด ละ เลิก อบายมุข ซึ่งเป็นเป้าหมายของผู้ประกอบธุรกิจมอมเมา การที่ครอบครัวขาดความมั่นคง ทางด้านเศรษฐกิจ มีรายได้นอ้ ย ก็จะทำ�ให้มกี ารตัดสินใจของสมาชิกในครอบครัว ในการประกอบอาชีพที่ทำ�ลายสถาบันครอบครัว เป็นต้น “การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยและมีแนวโน้ม จะเพิ่มทวีขึ้นในภาพรวมของประเทศ โดยที่มีข้อเสนอในโอกาสต่าง ๆ ของ คนทำ�งานในเรื่องนี้และผู้ที่เป็นเจ้าภาพในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน อย่างเช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ว่าจะต้องไปแก้ไขหรือป้องกันในระดับ “ครอบครัว”


คูม่ อื ดำ�เนินงานแนวทางและวิธกี ารสร้างครอบครัวอบอุน่ และการ ดูแลการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จึงได้จัดทำ�ขึ้นเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ที่มีความสนใจได้นำ�ใช้ในการสร้าง ครอบครัวอุบอุน่ ทีน่ ำ�ไปสูก่ ารลดการตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ และการดูแลเยียวยาวัยรุน่ ทีต่ ง้ั ครรภ์ คูม่ อื ฯ นี้ เกิดจากการประมวลข้อมูลและองค์ความรูจ้ ากประสบการณ์ ในพืน้ ทีแ่ ละหลักวิชาการ จากนัน้ ออกแบบเป็น “ชุดกิจกรรม” ทีเ่ รียกชือ่ เล่นว่า​  “เมนู” เพือ่ ให้มคี วามสะดวกและง่ายต่อการนำ�ไปสูก่ ารปฏิบตั ใิ นพืน้ ที่ โดยเฉพาะ พื้นที่เขตรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นสมาชิกเครือข่ายร่วม สร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ จำ�นวนไม่น้อยกว่า 100 แห่ง จะได้สนับสนุนและ ส่งเสริมให้ใช้คู่มือฯ นี้

ศูนย์สนับสนุนวิชาการและการจัดการเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ของ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก มีนาคม 2557


สารบัญ

1 9 31

บทน�ำ

ชุดกิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศักยภาพ สมาชิกครอบครัวและอาสาสมัคร

ชุดกิจกรรมที่ 2 การพัฒนากองทุนสนับสนุนเครือข่าย ครอบครัวอบอุ่น


ชุดกิจกรรมที่ 3 การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ของพื้นที่

ชุดกิจกรรมที่ 4 การจัดการสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อครอบครัวอบอุ่น และการดูแลตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

ชุดกิจกรรมที่ 5 การพัฒนาระบบบริการ แบบมีส่วนร่วม

45 73 93



บทน�ำ 1. เหตุผลและความส�ำคัญ แนวทางและวิธกี ารสร้างครอบครัวอบอุน่ และการดูแลการตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ มีจดุ มุง่ หมายเพือ่ ให้เกิดการพัฒนารูปแบบการดูแลสมาชิกครอบครัวในการจัดการ กับสถานการณ์การตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ โดยใช้ฐานคิดการพัฒนาแบบองค์รวมและ การพัฒนาวัยรุน่ เชิงบวก เพือ่ ให้นำ�ไปสูก่ ารสร้างครอบครัวอบอุน่ ให้เกิดวงจรชีวติ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาสังคม การจัดการสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ มีความจำ�เป็นต้อง อาศัยหลายปัจจัยเกื้อหนุน ทั้งจากภายในครอบครัว เพื่อนบ้าน และชุมชน เป็นการจัดการระดับพืน้ ที่ มีการนำ�ใช้ทนุ และศักยภาพของพืน้ ทีแ่ บบมีสว่ นร่วม ให้เกิดกลไกการจัดการ ได้แก่ 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ทีม่ บี ทบาทภารกิจ หลักในการดูแลประชาชนในท้องถิ่นที่ใกล้ชิดที่สุด สร้างกระบวนการทำ�งาน ร่ ว มกั บ องค์ ก รภาคี อื่ น  ๆ 2) หน่ ว ยงานภาครั ฐ เช่ น โรงพยาบาลส่ ง เสริ ม​ สุขภาพตำ�บล โรงเรียน เป็นต้น 3) ภาคประชาชน ได้แก่ แกนนำ�ชุมชน กลุม่ อาสาสมัคร และทีส่ ำ�คัญคือ “ครอบครัว” กลไกต่าง ๆ เหล่านีม้ คี วามแตกต่าง กันของข้อมูล สถานการณ์ บริบท สังคมวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ นำ�ไปสู่ การจัดการความรู้ที่เป็นแนวทางปฏิบัติระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อ จัดการกับปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมปัจจัยบวกที่มีผลต่อการพัฒนาวัยรุ่นเป็น แนวคิดทีถ่ กู ปฏิบตั แิ ละได้รบั การพิสจู น์แล้วว่าจะช่วยลดอัตราการตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ ลดการออกจากการศึกษากลางคัน

����

1


แผนสุขภาวะชุมชนและเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ร่วมกัน จัดทำ�แนวทางและวิธกี ารสร้างครอบครัวอบอุน่ และการดูแลการตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ โดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้งและยึดแนวทางการดำ�เนินงานตามทิศทาง เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ระยะ 10 ปี (2555 – 2564) ของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม​ สุขภาพ (สสส.) และการดำ�เนินงานของแผนสุขภาวะชุมชนประจำ�ปี 2557 ทีจ่ ะ พัฒนารูปแบบการบูรณาการทุนและศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการ กับวิกฤต ปัญหาภายในชุมชนและภาวะคุกคามจากภายนอกชุมชน โดยใช้ โครงสร้างการจัดการชุมชนท้องถิ่นทั้งในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่ องค์กรชุมชน และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ เป็นทุนและศักยภาพที่ จะต้องมีการสานพลังและลดช่องว่างอันที่จะทำ�ให้ไม่สามารถเชื่อมโยงและ เสริมพลังกันในการขับเคลื่อนงาน กิจกรรม และนโยบายสาธารณะของชุมชน ท้องถิ่น รวมถึงการประสานและจัดการกับข้อเสนอการพัฒนาจากองค์กร ภายนอกที่มาสนับสนุนให้บูรณาการเข้าสู่ระบบการจัดการของชุมชนท้องถิ่น อย่างมีประสิทธิภาพและก่อประโยชน์ตอ่ ขบวนการร่วมสร้างชุมชนท้องถิน่ น่าอยู่

2

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


2. ชุดกิจกรรม (เมนู) จากองค์ความรู้ด้านวิชาการ งานวิจัย กฎหมาย แผนงานต่าง ๆ ที่ เกีย่ วข้องและการสอบทานรูปธรรมการจัดการกับปัญหาของพืน้ ที่ จึงได้กำ�หนด ให้มีการดำ�เนินงานการเรียนรู้แนวทางและวิธีการสร้างครอบครัวอบอุ่นและการ ดูแลการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็น 5 ชุดกิจกรรม (เมนู) ดังนี้

ชุดกิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศักยภาพสมาชิกครอบครัวและอาสาสมัคร เป็นการพัฒนาอาสาสมัครให้มีบทบาทร่วมกันดูแล ป้องกันและแก้ไขปัญหา ครอบครัวในชุมชนอาจมีวิธีการทำ�งานได้หลายลักษณะ อาทิ อาสาสมัครที่​ มาจากสมาชิกแต่ละครัวเรือน ร่วมกันวางแผนออกแบบให้มีการดำ�เนินงาน มี การบริหารจัดการกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นในลักษณะคณะทำ�งาน ศูนย์พฒ ั นาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ซึง่ มีเครือข่ายกลุม่ ครอบครัวเป็นสมาชิก และอยูใ่ นความดูแลและสนับสนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ อาสาสมัคร มีการทำ�หน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชน ในหมู่บ้าน / ตำ�บล ในการสำ�รวจ ข้อมูล วางแผน และประสานความร่วมมือจากหน่วยราชการ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน และองค์กรประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับ ครอบครัว การพัฒนาทักษะชีวติ ครอบครัวและวัยรุน่ การจัดกิจกรรมและพืน้ ที่ สร้างสรรค์ เสริมสร้างอาชีพ การทำ�งานของอาสาสมัครสิง่ ทีท่ อ้ งถิน่ ต้องให้การ สนับสนุน คือ การพัฒนาศักยภาพ และการดูแลให้มกี ำ�ลังใจในการอาสาอย่าง ต่อเนื่อง

����

3


ชุดกิจกรรมที่ 2 การพัฒนากองทุนสนับสนุนเครือข่ายครอบครัวอบอุ่น ชุดกิจกรรมนี้อาจเป็นลักษณะของการสนับสนุนกองทุนต่าง ๆ ที่จัดตั้งอยู่แล้ว มีการดำ�เนินงานที่สนับสนุนครอบครัวหรือเครือข่ายครอบครัว อีกลักษณะหนึ่ง คือ เป็นกองทุนทีจ่ ดั ตัง้ เพือ่ สนับสนุนช่วยเหลือครอบครัว หรือเครือข่ายครอบครัว โดยมีหลักการสำ�คัญเพือ่ เน้นการสร้างความพร้อมของหมูบ่ า้ นและชุมชนในการ บริหารจัดการกองทุนการเงิน ที่จะสร้างให้เกิดประโยชน์ต่อครอบครัวในชุมชน ของตนเอง หรืออีกนัยหนึ่งเราจะเห็นได้ว่ากองทุนชุมชนได้สร้างบทบาทการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในชุมชน และเป็นแหล่งสนับสนุนการสร้างการพัฒนา อาชีพและยกระดับรายได้ของครัวเรือน กล่าวคือเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน ให้ประชาชนนำ�ไปใช้ในวิถีชีวิต การพัฒนาการดำ�เนินงานของกองทุนโดยจัด สวัสดิการสนับสนุนครอบครัวหรือเครือข่ายครอบครัวเป็นการเสริมสร้างภูมคิ มุ้ กัน และเชื่ อ มโยงทางเศรษฐกิ จ และสั ง คม สามารถดึ ง สั ม พั นธภาพสมาชิ ก ใน ครอบครัวแบบดั้งเดิมในอดีตคืนสู่สังคมปัจจุบัน ที่มี ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อแม่ พี่น้อง ลูกหลาน สร้างโอกาสดำ�เนินชีวิตครอบครัวอยู่ด้วยกันแบบพร้อมหน้า พร้อมตาสามารถเป็นครอบครัวที่อบอุ่น และกองทุนที่ตั้งในพื้นที่ชุมชนใน ปัจจุบันที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาครอบครัว เช่น กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เป็นแหล่งเงินทุน​หมุนเวียนแบบดอกเบี้ยตํ่าหรือปลอดดอกเบี้ย ในการพัฒนา อาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้เพื่อการพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพ และ สวั ส ดิ ก ารให้ แ ก่ ส ตรี รวมถึ ง การพั ฒ นาศั ก ยภาพสตรี แ ละเครื อ ข่ า ยสตรี การพัฒนาบทบาทสตรี การสร้าง​ภาวะผู้นํา และการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ เชื่อมโยงไปสู่ครอบครัว เป็นต้น หรือชุมชนให้ความสำ�คัญ เห็นปัญหา และ ความต้องการ จึงมีแนวทางการจัดตั้งกองทุนพัฒนาสถาบันครอบครัวร่วมกัน ซึ่งจะเป็นความมั่นคงในการดำ�เนินงานกองทุนและสามารถพัฒนารูปแบบไปสู่ สถาบันทางการเงินต่อไปได้

4

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


ชุดกิจกรรมที ่ 3 การบริหารจัดการแบบมีสว่ นร่วมของพืน้ ที่ ชุดกิจกรรมนี้ เป็นการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่ในการสร้างครอบครัวอบอุ่น เน้นให้องค์กรภาคประชาชน หรือองค์กรในชุมชน ต้องเป็นแกนหลักในการ บริหารจัดการชุมชนของตนเอง จะด้วยกระบวนการอาสาสมัครมาร่วมกัน ดูแล พร้อมด้วย​การประสานความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ทัง้ หน่วยราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน และองค์กรประชาชน เพื่อร่วม ป้องกันและแก้ไขปัญหาครอบครัวในชุมชน ในบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการนำ�ข้อมูลตำ�บล นำ�ข้อมูล คืนสูห่ มูบ่ า้ น เพือ่ ให้หมูบ่ า้ นได้รบั ทราบปัญหาและร่วมกันหาแนวทางการแก้ไข โดยเสนอโครงการในการประชาคมหมู่บ้านเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งในส่วนแผนพัฒนาสามปี เทศบัญญัติ งบประมาณของ สปสช. ซึ่งหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขมีบทบาทเข้ามาให้ ความรูแ้ ละร่วมพัฒนาสถาบันครอบครัว และชุมชนเองสามารถสร้างเป็นกติกา มาตรการทางสังคมหมูบ่ า้ น เป็นการรณรงค์การสร้างครอบครัวอบอุน่ ส่วนหนึง่ รวมถึงศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน หรือ ศพค. ร่วมทำ�หน้าที่เป็นตัวแทน ของประชาชน ในหมู่บ้าน / ตำ�บล ในการสำ�รวจข้อมูล วางแผนด้วยเช่นกัน

����

5


ชุดกิจกรรมที่ 4 การจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อครอบครัวอบอุ่นและ การดูแลตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในชุมชนให้เอือ้ ต่อสุขภาวะ ของสมาชิกครอบครัว และวัยรุ่นในกลุ่มตั้งครรภ์ เป็นการสร้างการมีส่วนร่วม อย่างน้อยจาก 4 องค์กรหลักในพื้นที่เช่นกัน คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคประชาชน องค์กรท้องที่ และหน่วยงานภาครัฐ (โรงเรียน หน่วยบริการ สุขภาพ ฯลฯ) โดยสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สามารถจัดการ 2 ส่วน คือ 1) การจัดการพื้นที่ให้สมาชิกครอบครัวได้มีโอกาสทำ�กิจกรรมที่เอื้อต่อ สุขภาพร่วมกัน ตัง้ แต่ในครอบครัวทีเ่ ป็นสิง่ แวดล้อมแรกในการหล่อหลอมสมาชิก ซึง่ พ่อ แม่เป็นบุคคลสำ�คัญเป็นครูคนแรกทีต่ อ้ งคอยเอาใจใส่ในการอบรมสัง่ สอน ไม่วา่ จะเป็นความประพฤติ กริยามารยาท การแสดงความกตัญญูรกู้ ารแทนคุณ และการอยูใ่ นสังคมอย่างมีความสุข ด้วยการเป็นต้นแบบทีด่ ขี องพ่อแม่ ให้เวลา ที่มีคุณภาพในการสร้างบรรยากาศในการทำ�กิจกรรมร่วมกัน เช่น ประกอบ อาหาร ดูทวี ี ปลูกต้นไม้ สอนการบ้านลูก เป็นต้น นำ�ไปสู ่ “ครอบครัวอบอุน่ ”  ที่ก่อให้เกิดการดูแลกลุ่มวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ได้และพร้อมที่จะสร้างครอบครัวอบอุ่น

6

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


ต่อไป ในสถาบันการศึกษาตั้งแต่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งปัจจุบันสามารถเป็น แหล่ ง วิ ท ยากรให้ ค วามรู้ กั บ ผู้ ป กครองในการร่ ว มกั น สร้ า งเด็ ก ให้ มี คุ ณ ภาพ และการจัดพืน้ ทีใ่ นชุมชนให้สมาชิกครอบครัวทำ�กิจกรรมสร้างสรรค์รว่ มกัน เช่น การออกกำ�ลังกาย การเล่นดนตรี การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เป็นต้น และ อีกด้านหนึ่งเป็นการจัดการพื้นที่จุดเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ 2)  การจัดสภาพแวดล้อมทางสังคมซึ่งเป็นลักษณะโครงสร้างที่เป็น นามธรรม ลักษณะของการจัดการคือการสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มทำ� กิจกรรมร่วมกันทั้งที่เป็น​กลุ่มระดับครอบครัว และการรวมกลุ่มของบุคคล ดังนั้นการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างครอบครัวอบอุ่นและการดูแล ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อาจจะมีรูปแบบของการจัดการพื้นที่สร้างสรรค์ในการทำ� กิจกรรมร่วมกัน การสนับสนุนให้เกิดการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว และ การจัดรณรงค์ให้เกิดการจัดการพื้นที่หนุนเสริมให้เกิดครอบครัวอบอุ่น และ การดูแลตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เสมือนได้รับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันต่อภัยสังคม

����

7


ชุดกิจกรรมที ่ 5 การพัฒนาระบบบริการแบบมีสว่ นร่วม เป็นการจัดบริการ ทีท่ กุ ภาคส่วนร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบตั ิ ร่วมรับผลประโยชน์ โดยเริม่ จาก การมองเห็นข้อมูลร่วมกันจากปัญหา และความต้องการร่วมกัน ของผูใ้ ห้บริการ และผู้รับบริการ การพัฒนาระบบบริการจำ�เป็นต้องเท่าทันสถานการณ์ปัญหา ของครอบครัวแตกแยกเพิม่ มากขึน้ ทำ�ให้ครอบครัวขาดความอบอุน่ ซึง่ มีปจั จัย หลายอย่าง เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ต้องไปทำ�งานทีอ่ น่ื เพือ่ หารายได้มาจุนเจือ ครอบครัว ความซือ่ สัตย์ของสามี ภรรยา และความไม่เข้าใจกันระหว่างบุคคล ในครอบครัว เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำ�ให้เกิดปัญหาของการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร สิง่ ทีส่ ำ�คัญทีส่ ดุ คือการเลีย้ งดูตงั้ แต่แรกเกิด การมีความรักความผูกพันระหว่าง ครอบครัว จะทำ�ให้เป็นภูมคิ มุ้ กันของครอบครัว การได้รบั การดูแลจากทุกภาคี ในชุมชนและเครือข่ายในการจัดระบบบริการ ให้ครอบคลุมปัญหา และความ ต้องการกลุ่มเป้าหมาย และ ในมิติของรักษา ส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟู ที่นำ�ไปสู่การลด และสร้างระบบบริการ สำ�หรับครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ ในวัยรุ่น

8

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


ชุดกิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศักยภาพสมาชิกครอบครัวและอาสาสมัคร

ก รณีศึกษา : ฐานเรียนรู้ที่ 1 การพัฒนาทักษะชีวิต ฐานเรียนรู้ที่ 2 การฝึกอบรมอาชีพ (Home base) ฐานเรียนรู้ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัคร



เมนู 1

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการพัฒนาศักยภาพ สมาชิกครอบครัวและอาสาสมัครเกี่ยวกับ รูปแบบ / วิธีการดำ�เนินงาน ทุนทางสังคมของชุมชนท้องถิน่ สิง่ ทีส่ นับสนุน สิง่ ทีเ่ ป็นอุปสรรคต่อการ ดำ�เนินงาน และแนวทางการดำ�เนินงานในอนาคต 2. เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรู้การพัฒนา ศักยภาพสมาชิกครอบครัวและอาสาสมัครจากประสบการณ์การดำ�เนิน การที่ผ่านมาของพื้นที่ 3. เพื่อให้มีชุดความรู้การพัฒนาศักยภาพสมาชิกครอบครัวและ อาสาสมัคร นำ�ไปประยุกต์ใช้ได้ตามบริบทพื้นที่

การพัฒนาศักยภาพสมาชิกครอบครัวและอาสาสมัคร

11


ขอบเขตเนื้อหา การพัฒนาศักยภาพสมาชิกครอบครัวและอาสาสมัคร มีฐานคิดในการ พัฒนาที่มีจุดมุ่งหมายยกระดับแนวคิดของบุคคลในครอบครัวและอาสาสมัคร โดยมีกระบวนการค้นหาทุนทางสังคมและศักยภาพ อาสาสมัคร และกลุ่ม เป้าหมาย วิธีการพัฒนาศักยภาพ การนำ�ใช้ ติดตามประเมินผลการพัฒนา ศักยภาพ และดำ�เนินงานขยายผลให้กบั เครือข่ายโดยจัดเวทีจดั การความรู้ และ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาศักยภาพสมาชิกครอบครัวและอาสาสมัคร ประกอบด้วยการ เรียนรู้ 3 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ การพัฒนาทักษะชีวิตครอบครัวและวัยรุ่น การฝึกอบรมอาชีพ (home base) และ การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครชุมชน 1) การพัฒนาทักษะชีวิตครอบครัวและวัยรุ่น เป็นกระบวนการส่งเสริม ให้บุคคลมีความสามารถขั้นพื้นฐานในการปรับตัวและเลือกทางเดินชีวิตที่ เหมาะสมตามองค์ประกอบอย่างน้อย 4 ด้านคือ 1) การตระหนักรู้และเห็น คุณค่าในตนเองและผู้อื่น 2) การคิดวิเคราะห์และตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ 3) การจัดการกับอารมณ์และความเครียด 4) การสร้างสัมพันธภาพทีด่ กี บั ผูอ้ นื่ 1 มีลักษณะกิจกรรม 1.1) การพัฒนาสมาชิกครอบครัว กลุ่มวัยรุ่น และอาสาสมัครให้มี ศักยภาพในการดูแลกลุม่ วัยรุน่ ไม่ให้อยูใ่ นสถานการณ์ตงั้ ครรภ์ในวัยรุน่ และเน้น การมีคุณธรรมและจริยธรรม

1

12

แ นวคิดการพัฒนาทักษะชีวติ . เข้าถึงจาก http://lifeskills.obec.go.th/lifeskills.php เมือ่ วันที ่ 9 กุมภาพันธ์ 2557 คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


เมนู 1

1.2) พัฒนาให้เด็ก เยาวชน และครอบครัว มีศักยภาพ ในการ บริโภคสื่ออย่างรู้เท่าทันถึงอิทธิพลของสื่อที่จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมโดยตรง ทั้งต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม 2) การฝึกอบรมอาชีพ (home base) หมายถึง การให้หรือ เพิ่มพูนความรู้ ฝีมือและทัศนคติที่จะทำ�ให้ผู้รับการฝึกสามารถทำ�งาน ในสาขาอาชีพที่รับการฝึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีการเรียก ค่าฝึกหรือค่าตอบแทน2 มีการค้นหาบุคคล กลุ่มในพื้นที่ที่มีภูมิความรู้ ในแต่ละอาชีพ สำ�รวจสถานการณ์ความต้องการผลิตภัณฑ์ และจัด ฝึกอบรมอาชีพให้สมาชิกครอบครัว และวัยรุ่นตั้งครรภ์ให้ดำ�เนินการ สร้างรายได้ที่บ้าน มีลักษณะกิจกรรม 2.1) การสนับสนุนอาชีพในพื้นที่ที่มีผู้มีความชำ�นาญ เป็น ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความต้องการของตลาด ให้มีโอกาสสามารถถ่ายทอด ฝึกให้สมาชิกในครอบครัว และกลุม่ ตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ ดำ�เนินการได้ทบี่ า้ น 2.2) จัดให้มกี ารฝึกอาชีพ ตามความสนใจและความถนัดแก่ ครอบครัวแม่วยั รุน่ เพือ่ ให้สามารถพึง่ ตนเองได้ทงั้ ในปัจจุบนั และอนาคต

2

พระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกอาชีพ พ.ศ. 2537

การพัฒนาศักยภาพสมาชิกครอบครัวและอาสาสมัคร

13


3) การพั ฒ นาศั ก ยภาพอาสาสมั ค รชุ ม ชน เป็ นกระบวนการค้ น หา อาสาสมัครชุมชน ค้นหาต้นแบบที่มีรูปธรรมเรื่องครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ ในวัยรุ่น เช่น การให้คำ�ปรึกษาวัยรุ่นในพื้นที่ป้องกันตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จัดดูแล แม่วัยรุ่น เป็นต้น มีวิธีการพัฒนาศักยภาพโดยการฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การประชุมและเปลี่ยนเรียนรู้ การศึกษาจากเอกสาร ตำ�รา สื่อต่าง ๆ รวมถึง มีการหล่อเลี้ยงให้อาสาสมัครมีกำ�ลังใจ สามารถดำ�เนินการได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การยกย่องให้ความสำ�คัญ การจ่ายค่าตอบแทน เป็นต้น มีลกั ษณะกิจกรรม 3.1) การสนับสนุนการรวมกลุ่มช่วยเหลือดูแลกันในชุมชน โดยการ เพิ่มกลุ่มอาสาสมัครในการช่วยเหลือ ให้คำ�ปรึกษากลุ่มวัยรุ่น 3.2) ค้นหาอาสาสมัครชุมชน ครอบครัวต้นแบบที่มีรูปธรรมเรื่อง ครอบครัวอบอุน่ และตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ ให้มที กั ษะ การสร้างพลังอำ�นาจ การให้ คำ�ปรึกษาให้ดูแลอย่างเป็นระบบสำ�หรับการดูแลครอบครัว และวัยรุ่นในพื้นที่ ป้องกันตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จัดดูแลแม่วัยรุ่น เป็นต้น 3.3) กำ�หนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพ และการหล่อเลี้ยงให้ อาสาสมัครดำ�เนินการช่วยเหลือดูแลกลุม่ วัยรุน่ ทีม่ โี อกาสตัง้ ครรภ์ ขณะตัง้ ครรภ์ และ แม่วัยรุ่นให้สร้างครอบครัวที่อบอุ่น 3.4) จัดเวทีสร้างแกนนำ�เยาวชนที่สามารถให้คำ�ปรึกษา ให้ความรู้ ด้านคุณธรรม และจริยธรรม เช่น จัดค่ายแกนนำ�เยาวชน จัดเวทีสญ ั จร เป็นต้น 3.5) องคกรปกครองสวนทองถิ่นสนับสนุนงบประมาณการดําเนิน งานดานครอบครัวและตั้งครรภ์ในวัยรุ่นใหแกชุมชน พรอมพัฒนาศักยภาพ และสงเสริมบทบาทของแกนนําชุมชน แกนนําครอบครัว อาสาสมัครต่าง ๆ ใน ชุมชน (เชน อสม. อพม. คณะทํางานศูนยพัฒนาครอบครัวในชุมชน อปพร.) ใหมีสวนรวมในการเฝาระวังดูแลเพื่อ ปองกันและแกไขปญหาครอบครัว

14

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


ฐานเรี ยนรู้ที่ 1 การพัฒนาทักษะชีวิตครอบครัวและวัยรุ่น

❛  กรณีศึกษา ขยะสวยช่วยสังคม...ช่วยพัฒนาทักษะชีวิต ❜ องค์การบริหารส่วนต�ำบลนํ้าสวย  อ�ำเภอเมือง จังหวัดเลย

วันทนีย์ ดวงศรี


1. ที่มาการพัฒนา ปัจจุบันขยะที่เกิดจากมนุษย์จะเป็นปัญหาที่แก้ไขยาก ดังนั้น ทางกลุ่มจึงมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ จากกระป๋องเครื่องดื่มซึ่งไม่มีคุณค่าแล้ว จึงได้หาวิธีการนำ�มารีไซเคิล ซึง่ ทางโรงเรียนบ้านสูบได้หาวิธกี ารประดิษฐ์ของใช้จากกระป๋องเครือ่ งดืม่ ที่ไม่มีคุณค่าแล้ว นำ�มาเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน ในรายวิชา งานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาที่ 2 โดยนำ�มาประดิษฐ์เป็นของใช้ต่าง ๆ เช่น กล่องกระดาษทิชชู กระเป๋าโทรศัพท์ ตะกร้าอเนกประสงค์ แจกัน การประดิษฐ์ของใช้จากกระป๋องเครื่องดื่มสมารถนำ�มาเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ประกอบกับกระป๋องเครื่องดื่มเป็นวัสดุที่ ย่อยสลายยากจึงเป็นการลดภาวะโลกร้อนด้วย

16

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


ปี พ.ศ. 2554 ทางกลุ่มมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์งานประดิษฐ์จาก วัสดุเหลือใช้ซึ่งไม่มีคุณค่าแล้ว จึงได้หาวิธีการนำ�มารีไซเคิลใหม่ โดยมีการ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ และดำ�เนินการตามขั้นตอนในการประดิษฐ์ ชิ้นงาน ผลผลิตที่ได้ คือ กล่องใส่กระดาษทิชชู ตะกร้าเอนกประสงค์ กล่อง ใส่ของใช้ กระเป๋าโทรศัพท์ แจกัน ทางนักเรียนมีรายได้เสริมจากการขายสินค้า การใช้เวลาว่างใช้เป็นประโยชน์และช่วยแก้ไขปัญหาขยะในชุมชนและโรงเรียน อีกด้วย

เมนู 1

ปี พ.ศ. 2555 การผลิตโดยไม่มกี ารรวมกลุม่ มีแต่นกั เรียนในโรงเรียน เท่านัน้ เป็นผูผ้ ลิต ไม่มกี ารจัดตัง้ กลุม่ แหล่งจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ยงั ไม่เพียงพอ และยังไม่เป็นที่นิยมของตลาด สมาชิกแต่ละคนจึงประสบปัญหาในการจัดหา แหล่งจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ กลุม่ จึงมีแนวคิดจัดตัง้ กลุม่ ขยะสวยช่วยสังคม เพือ่ ลดปัญหาดังกล่าว ผลลัพธ์ มีจดั ตัง้ กลุม่ ขยะสวยช่วยสังคมขึน้ มีจดั หาแหล่ง จำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ การประชาสัมพันธ์ ชักชวนให้ประชาชน เข้าร่วมเป็นสมาชิก กลุ่ม ขยะสวยช่วยสังคม ●

ปี พ.ศ. 2556 กลุ่มยังขาดงบประมาณในการผลิตภัณฑ์และยังขาด แหล่งจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ ซึง่ ไม่มหี น่วยงานราชการเข้ามาสนับสนุนง​ บประมาณ และส่งเสริมในการจัดหาตลาด ทำ�ให้การจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ไม่ขยายตัวเท่าทีค่ วร ทางกลุ่มจึงมีการระดมทุนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีรูปแบบหลากหลายมาก ยิ่งขึ้น จัดหาแหล่งจำ�หน่ายสินค้ามากขึ้น การประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ ผลิตภัณฑ์

การพัฒนาศักยภาพสมาชิกครอบครัวและอาสาสมัคร

17


2. แนวคิดในการด�ำเนินงาน การดำ�เนินงาน กลุม่ สามารถประดิษฐ์ของใช้ทเี่ กิดประโยชน์ เป็นการฝึก สมาธิและความรับผิดชอบในการทำ�งานจนเกิดความชำ�นาญ ฝึกการใช้ความ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ เน้นการฝึกปฏิบัติจริงหรือฝึกหัดทำ�ในยามว่างเพื่อเป็นงาน อดิเรก อย่างน้อยก็อาจจะได้สงิ่ ของไว้ตกแต่บา้ น หรือเป็นของฝากเพือ่ นฝูงและ ญาติมิตร มีรายได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เกิดความสามัคคีในโรงเรียนและ ชุมชน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว กลุ่มเป็นสถานที่ในการจัด กิจกรรมอบรมถ่ายทอดให้ความรู้กับคนในชุมชน อีกทั้งสมาชิกของกลุ่มเข้าไป อบรมให้ความรู้กับเด็กและเยาวชนที่โรงเรียนต่าง ๆ ในรายวิชาโครงงานและ กลุ่มที่สนใจในการทำ�กระเป๋า ตะกร้า เป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ ให้กับกลุ่มต่าง ๆ อนุรักษ์ภมู ิปัญญาอันดีงามของคนรุ่นก่อนให้เด็กและเยาวชน ได้รบั รู้ เช่น การทำ�กระเป๋า การทำ�ทีแ่ ขวนผ้าพันคอ งานเชือ่ มทำ�งานเชือ่ มกับ กลุม่ ต่าง ๆ ในตำ�บลนํา้ สวย อาทิ กลุม่ ขยะสวยช่วยสังคม กลุม่ ถักไหมพรมรวม จำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ในงานเทศกาลต่าง ๆ และในการออกบูทขายสินค้า มีความรู้ และความชำ�นาญสามารถถ่ายทอดและเป็นวิทยากรบอกเล่าเรือ่ งราวภูมปิ ญ ั ญา ท้องถิ่นให้กับผู้ที่สนใจศึกษาได้เป็นผู้ที่มีความรู้และสมัครใจในการทำ�กระเป๋า และของใช้ในครัวเรือน

18

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


เมนู 1

3. ผลผลิตและผลลัพธ์ ผลที่เกิดขึ้น 1) เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพในชุมชน 2) เกิดการนำ�ใช้ ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดเป็นมูลค่า 3) เกิดการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ในชุมชน ท้องถิ่น และมีการถ่ายทอดแนวทางการสร้างอาชีพเหล่านั้นให้กับคนในชุมชน 4) เกิดเป็นเครือข่ายอาชีพที่มีความเข้มแข็ง สู่เศรษฐกิจที่ดีขึ้นในชุมชนท้องถิ่น เกิดกลุม่ ขยะสวยช่วยสังคม เพือ่ ผลิตวัสดุทเี่ หลือใช้ จำ�หน่ายหารายได้เสริมเพือ่ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เกิดอาชีพ เกิดรายได้เพือ่ ส่งเสริมให้สมาชิกมีความรู้ ความสามารถในการผลิตได้เรียนรูก้ ารทำ�งานเป็นกลุม่ และยังเกิดความรักความ สามัคคีภายในกลุม่ ในตำ�บลนํา้ สวยมีผลิตภัณฑ์รปู แบบทีห่ ลากหลายประชาชน ในหมูบ่ า้ นมีรายได้เสริมจากการจำ�หน่ายทีเ่ พิม่ ขึน้ มีจ�ำ นวนผูส้ บื ทอดภูมปิ ญ ั ญา ท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ เกิดเด็ก เยาวชน และประชาชนทัว่ ไปมีความรูค้ วามชำ�นาญในการทำ�ผลิตภัณฑ์ มากขึน้ ประชาชนในหมูบ่ า้ นใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กบั ตนเองและครอบครัว และเป็นการสานสัมพันธ์สายใยรักในครอบครัวโดยการทำ�กิจกรรมร่วมกันได้ ทำ�ให้มตี ลาดรองรับมีมาตรฐานมีความสามัคคีกนั ในกลุม่ และชุมชน คุณภาพชีวติ ของคนในชุมชนดีขึ้น

การพัฒนาศักยภาพสมาชิกครอบครัวและอาสาสมัคร

19


ฐานเรี ยนรู้ที่ 2 การฝึกอบรมอาชีพ (home based)

❛  กรณีศึกษา สร้างอาชีพ สร้างรายได้ พร้อมดูแลครอบครัว ❜ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนํ้าสวยเมคราเม่ องค์การบริหารส่วนต�ำบลนํ้าสวย  อ�ำเภอเมือง จังหวัดเลย

แก้วใจ สุธงษา


เมนู 1

1. ที่มาการพัฒนา ในปี พ.ศ. 2554 มีประชาชนในชุมชนที่ว่างงานเพราะรอการ ปลูกพืชตามฤดูกาลทีเ่ ป็นอาชีพหลัก ส่วนมากจะเป็นกลุม่ สตรีทวี่ า่ งงาน จึงได้มีการรวมตัวกันของกลุ่มสตรีแม่บ้านที่ชอบในงานทำ�กระเป๋ามี ความต้องการเรียนรู้งานฝีมือเมคราเม่ และมีความสนใจที่จะหารายได้ ในช่วงว่างงาน ได้ติดต่อหน่วยงานศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดเลย จั ด หาวิ ท ยากรที่ มี อ งค์ ค วามรู้ ม าให้ ค วามรู้ แ ละฝึ ก ปฏิ บั ติ ให้ กั บ กลุ่ ม ติดต่อหน่วยงานสำ�นักงานเกษตรอำ�เภอเมืองเลยในการจัดหาช่องทาง​ การตลาดในการจำ�หน่ายสินค้า ติดต่อหน่วยงานสำ�นักงานพัฒนาชุมชน อำ�เภอเมืองเลย และสำ�นักงานพาณิชย์จงั หวัดเลย ให้ความรูใ้ นการทำ� และการบรรจุผลิตภัณฑ์ให้มีความสวยงาม จึงทำ�ให้เกิดกลุ่มนํ้าสวย เมคราเม่ กลุ่มสตรีมีความสามารถในการทำ�ผลิตภัณฑ์จากเมคราเม่

การพัฒนาศักยภาพสมาชิกครอบครัวและอาสาสมัคร

21


พ.ศ. 2555 ผลิตภัณฑ์ของกลุม่ มีจ�ำ นวนน้อย ไม่หลากหลาย สมาชิก ในกลุ่มจึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำ�บลนํ้าสวย เพือ่ พัฒนาศักยภาพแกนนำ� และเพิม่ ผลิตภัณฑ์ให้มคี วามหลากหลาย จึงมีการ ศึกษาดูงานนอกสถานที่ที่อำ�เภอหนองหินและอำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเลย และ ขอรับการสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนรูใ้ ห้กบั สมาชิกในกลุม่ ผลิตภัณฑ์ยงั ไม่เป็น ที่รู้จักของประชาชนทั่วไปกลุ่มจึงได้มีการรวมสินค้าและเอกสารเพื่อที่จะขอ จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนกับสำ�นักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเลยและมีการ พัฒนามาตรฐานของสินค้าให้ยกระดับเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ของตำ�บล ทำ�ให้ เกิดเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนํ้าสวยเมคราเม่ มีผลิตภัณฑ์รูปแบบที่หลากหลาย สมาชิกกลุ่มมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น

พ.ศ. 2556 ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มไม่ผ่านการคัดเลือกเป็นผลิตภัณฑ์  OTOP เพราะมีปญ ั หาในเรือ่ งของเอกสารยังไม่พร้อมและพอสำ�หรับการประเมิน แต่กลุ่มไม่ได้เสียกำ�ลังใจในการดำ�เนินงาน องค์การบริหารส่วนตำ�บลนํ้าสวย จึงได้สนับสนุนงบประมาณในการเรียนรูข้ องคนในชุมชน จึงได้ประสานกลับกลุม่ วิสาหกิจชุมชนนํ้าสวยเมคราเม่เปิดสถานที่กลุ่มเป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรม อบรมถ่ายทอดให้ความรู้กับคนในชุมชน อีกทั้งสมาชิกของกลุ่มเข้าไปอบรม ให้ความรู้กับเด็กและเยาวชนที่โรงเรียนต่าง ๆ ในรายวิชาโครงงานและกลุ่มที่ สนใจในการทำ�กระเป๋า ค่าตอบแทนการเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ ให้กับกลุ่มต่าง ๆ โดยแบ่งเข้ากลุ่ม 70% เพื่อเป็นการสมทบทุนในการดำ�เนิน กิจกรรมของกลุม่ และให้ตวั เอง 30% ในการหล่อเลีย้ งตัวเอง เพือ่ ให้เป็นทีร่ จู้ กั กับประชาชนทัว่ ไปให้มากขึน้ สมาชิกของกลุม่ จึงมีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์

22

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


เมนู 1

ทาง Social Network (Facebook, www.นํ้าสวยเมคราเม่.com) ลูกค้าของกลุ่ม ก็จะช่วยในการประชาสัมพันธ์ด้วยการบอกปากต่อปาก จึงทำ�ให้ประชาชนใน หมู่ บ้ า นที่ เป็ น สมาชิ ก มี ร ายได้ เ สริ ม จากการทำ � กระเป๋ า จำ � หน่ า ยที่ เพิ่ ม ขึ้ น มีจำ�นวนผู้สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น

2. แนวคิดในการด�ำเนินงาน มีการรวมตัวกันของกลุ่มสตรีแม่บ้านที่มีเวลาว่างหลังจากการเก็บเกี่ยว พืชผล จัดจำ�หน่ายและประดิษฐ์กระเป๋า ของใช้ในครัวเรือนโดยใช้วัสดุจาก เชือกดัดฝาง ถ่ายทอดภูมปิ ญ ั ญาและความรูใ้ ห้กบั ผูท้ สี่ นใจ ไม่วา่ จะเป็นในกลุม่ ของกลุ่มสตรีด้วยกันเอง ประชาชนทั่วไปโดยใช้สถานที่ของกลุ่มทำ�กิจกรรม หรือแม้แต่เด็กและเยาวชนทีไ่ ปให้ความรูใ้ นโรงเรียน โดยมีส�ำ นักงานศูนย์พฒ ั นา ฝีมอื แรงงาน จังหวัดเลยให้การสนับสนุนหาวิทยากรอบรมให้ความรู้ สำ�นักงาน เกษตรอำ�เภอเมืองเลย หาตลาดในการจำ�หน่าย สำ�นักงานพัฒนาชุมชนอำ�เภอ เมืองเลยและสำ�นักงานพาณิชย์จงั หวัดเลย ให้การสนับสนุนอบรมให้ความรูเ้ พือ่ เพิม่ ศักยภาพให้กบั สมาชิกในกลุม่ ในการทำ�ผลิตภัณฑ์ องค์การบริหารส่วนตำ�บล นํา้ สวยสนับสนุนในด้านงบประมาณในการศึกษาดูงานนอกสถานทีแ่ ละสนับสนุน อุปกรณ์การเรียนรูแ้ ก่สมาชิก เพือ่ ทำ�ให้กลุม่ รูจ้ กั การทำ�งานเป็นระบบกลุม่ รวมถึง การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และหาช่องทางการตลาด กลุ่มจึงได้มีการพัฒนา คุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นการพัฒนาและสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น มีคุณภาพ มีจุดเด่น มีเอกลักษณ์ เป็นที่รู้จักและได้ให้รองรับมาตรฐาน จึงได้ ขอจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน กลุม่ จึงได้ยกระดับเป็นวิสาหกิจชุมชนนํา้ สวย เมคราเม่ ทะเบียนเลขที่ 442011010035

การพัฒนาศักยภาพสมาชิกครอบครัวและอาสาสมัคร

23


3. ผลผลิตและผลลัพธ์ เกิ ด กลุ่ ม วิ ส าหกิ จ ชุ ม ชนนํ้ า สวยเมคราเม่ ในตำ � บลนํ้ า สวย มี ผลิตภัณฑ์รูปแบบที่หลากหลายประชาชนในหมู่บ้านมีรายได้เสริมจาก การทำ�กระเป๋าจำ�หน่ายที่เพิ่มขึ้น มีจำ�นวนผู้สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มมากขึ้น เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปมีความรู้ความชำ�นาญในการผลิต มากขึ้น ประชาชนในหมู่บ้านใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กับตนเองได้ ทำ�ให้มีตลาดรองรับมีมาตรฐาน มีความสามัคคีกันในกลุ่มและชุมชน คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น

24

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


ฐานเรี ยนรู้ที่ 3 พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครชุมชน

❛  กรณีศึกษา พลังอาสาสมัคร ร่วมพัฒนาครอบครัวเข้มแข็ง ❜ องค์การบริหารส่วนต�ำบลจอมบึง  อ�ำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี

วรวีร์ คานภู่  พัฒอมรมล โพธิช์ ัย


1. ที่มาการพัฒนา เกิดจากความต้องการสร้างจิตอาสา ความรักความสามัคคีของ คนในครอบครัว พร้อมทั้งเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกใน ครอบครัวให้ ร่วมคิด ร่วมทำ� ร่วมแก้ไข จนสามารถอยูร่ ว่ มกันได้อย่าง มีความสุข เนื่องจากตำ�บลจอมบึงมีความหลากหลายของปัญหาทาง สังคมในเขตพื้นที่ จึงจำ�เป็นต้องปรับปรุงแก้ไขในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ผู้สูงอายุมีอาการซึมเศร้าเนื่องจากขาดการเอาใจใส่จากลูกหลาน เด็ก และเยาวชนขาดการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัวจนนำ�ไปสู่ปัญหาเรื่อง ยาเสพติด ปัญหาผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ปัญหาชู้สาวนำ�ไปสู่ความ ขัดแย้งในครอบครัว ล้วนแต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นปัญหา ที่มาจากสถาบันครอบครัว

26

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


2. แนวคิดในการด�ำเนินงาน เมนู 1

2.1  กลุ่มอาสาสมัครดูแลครอบครัวตำ�บลจอมบึง มีการดำ�เนินงาน เป็นรูปแบบคณะกรรมการของศูนย์พัฒนาครอบครัวระดับหมู่บ้านและตำ�บล ผ่านกระบวนการทำ�ประชาคมคัดเลือกผู้มีจิตอาสาของหมู่บ้านและให้ผู้ที่เป็น ประธานศูนย์ฯ ของหมู่บ้านเป็นตัวแทนดำ�เนินงานดูแลครอบครัวของตำ�บล ร่วมกับเจ้าหน้าที่จาก องค์การบริหารส่วนตำ�บลจอมบึง ตำ�แหน่งนักพัฒนา ชุมชน เป็นที่ปรึกษา และคอยประสานงานเรื่องการจัดกิจกรรมต่าง ๆ กับ คณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัว มีการประชุมคณะกรรมการทุก 1 เดือน มีการรวมกลุ่มกันทำ�งานเน้นจิตอาสาและความสามัคคี มีการรับสมัครสมาชิก เพิ่มเพื่อสร้างการยอมรับของคนในชุมชนตำ�บลจอมบึงและการขยายเครือข่าย การรวมกลุ่มของชุมชนอื่นเพื่อสร้างสาธารณะประโยชน์ร่วมกัน 2.2 ค้นหาและใช้ข้อมูล กลุ่มอาสาสมัครดูแลครอบครัวตำ�บลจอมบึง มีการใช้ขอ้ มูลปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ของตนเอง โดยรวบรวมปัญหาความต้องการของ ชุมชน จากการประชุมประชาคมของผูน้ �ำ ชุมชนและแกนนำ�ในหมูบ่ า้ น การสังเกต พฤติกรรมของเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ในโรงเรียน และในชุมชน นำ�ข้อมูลสถานการณ์ต่างในชุมชน นำ�มารวบรวม และวิเคราะห์ร่วมกันกับ คณะกรรมการเพื่อนำ�มาจัดทำ�แผนงานในการดำ�เนินงานและกิจกรรมที่สอดรับ กับปัญหาและความต้องการของครอบครัวในชุมชน

การพัฒนาศักยภาพสมาชิกครอบครัวและอาสาสมัคร

27


2.3 การดูแลครอบครัวที่ต้องการความช่วยเหลือ ครอบครัวที่อยู่ใน สภาวะยากลำ�บาก อาทิ การดูแลครอบครัวผู้ติดเชื้อโดยการประสานความ ช่ ว ยเหลื อ ให้ มี อ าชี พ มี เงิ นทุ นช่ ว ยเหลื อ เบื้ อ งต้ น การดู แ ลครอบครั ว ผู้ ติ ด ยาเสพติดโดยการค้นหาสาเหตุปัญหาของครอบครัว ประสานงานส่งเต่อเพื่อ บำ�บัดรักษา และติดตามเยี่ยมเพื่อให้กำ�ลังใจอย่างต่อเนื่อง การช่วยเหลือ ครอบครัวยากจนโดยการทำ�ประชาคมใช้ดอกผลจากกองทุนหมู่บ้านเป็นทุน การศึกษาสำ�หรับนักเรียนยากจนที่มีความตั้งใจในการเรียนเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย อุปกรณ์ และกิจกรรมการเรียน 2.4 การจัดกิจกรรมโครงการ ครอบครัวอบอุ่นวันอาทิตย์ หนึ่งวัน หนึ่งตำ�บล โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นที่องค์การบริหารส่วนตำ�บลจอมบึง ใน กิจกรรมนั้นเปิดโอกาสให้ครอบครัวได้มาทำ�บุญร่วมกัน มีการพูดคุยกันภายใน ครอบครัวมากยิง่ ขึน้ การทำ�กิจกรรมร่วมกันทำ�ให้เกิดความสามัคคีในครอบครัว เพือ่ ลดปัญหาความขัดแย้งทีเ่ กิดขึน้ ในครอบครัวตามแนวคิด “ครอบครัวเหมือน กับต้นไม้ เปรียบเสมือนรากแก้ว ถ้ารากแก้วมีความอุดมสมบูรณ์ จะทำ�ให้ต้นไม้ สวยงามด้วย ดังนั้นทุกอย่างต้องเริ่มจากครอบครัว”

28

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


เมนู 1

2.5 การพัฒนาศักยภาพ มีกระบวนการดำ�เนินงานในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ 1) การเข้ารับอบรมการดูแลครอบครัว การดูแลผู้สูงอายุ การดูแล เด็กเยาวชน ที่จัดขึ้นโดยสำ�นักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดราชบุรี สำ�นักส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 (สสว.4) จังหวัดนครปฐม 2) การศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำ�มาปรับใช้ในหมู่บ้านตนเอง และ 3) การประชุมร่วมกันของคณะกรรมการเพือ่ แลกเปลีย่ นประสบการณ์การทำ�งาน สรุปปัญหาการดำ�เนินงานเพื่อหาแนวทางการแก้ไขร่วมกัน

3. ผลผลิตและผลลัพธ์ ชุ ม ชนรั บ รู้ ปั ญ หา มี ส่ ว นร่ ว มในการดู แ ลครอบครั ว ที่ ป ระสบสภาวะ ยากลำ�บาก ลดปัญหาความขัดแย้งของครอบครัวเกิดเป็นครอบครัวที่เข้มแข็ง มีการพึ่งพาตนเอง

รางวัลที่ได้รับ นางสาววรวีร ์ คานภู่ ประธานศูนย์พฒ ั นาครอบครัวตำ�บลจอมบึง ได้รับรางวัลอาสาสมัครดีเด่นระดับอำ�เภอ สาขาป้องกันยาเสพติดใน ชุมชน และ สตรีดีเด่นระดับอำ�เภอ ปี พ.ศ. 2556

การพัฒนาศักยภาพสมาชิกครอบครัวและอาสาสมัคร

29



ชุดกิจกรรมที่ 2 การพัฒนากองทุนสนับสนุนเครือข่าย ครอบครัวอบอุ่น

ก รณีศึกษา : ฐานเรียนรู้ที่ 1 ก ารพัฒนากองทุนและ สถาบันการเงินของชุมชน ฐานเรียนรู้ที่ 2 การจัดตั้งกองทุนเพื่อการ ส่งเสริมครอบครัวอบอุ่น



วัตถุประสงค์ เมนู 2

1. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการพัฒนากองทุน สนับสนุนเครือข่ายครอบครัวอบอุน่ เกีย่ วกับ รูปแบบ / วิธกี ารดำ�เนินงาน ทุนทางสังคมของชุมชนท้องถิน่ สิง่ ทีส่ นับสนุน สิง่ ทีเ่ ป็นอุปสรรคต่อการ ดำ�เนินงาน และแนวทางการดำ�เนินงานในอนาคต 2. เพือ่ รวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรูก้ ารพัฒนา กองทุนสนับสนุนเครือข่ายครอบครัวอบอุน่ จากประสบการณ์การดำ�เนินการ ที่ผ่านมาของพื้นที่ 3.  เพื่ อ ให้ มี ชุ ด ความรู้ ก ารพั ฒ นากองทุ น สนั บ สนุ น เครื อ ข่ า ย ครอบครัวอบอุ่นนำ�ไปประยุกต์ใช้ได้ตามบริบทพื้นที่

การพัฒนากองทุนสนับสนุนเครือข่าย ครอบครัวอบอุ่น

33


ขอบเขตเนื้อหา การพัฒนากองทุนสนับสนุนเครือข่ายครอบครัวอบอุ่น หมายถึง ความ ร่วมมือและการร่วมบริหารจัดการระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ หน่วยงานภาครัฐ สนับสนุนให้ภาคประชาชน ร่วมกันดำ�เนินการและบริหาร จัดการ เพือ่ การส่งเสริมสุขภาพ1 โดยกิจกรรมทีเ่ กิดขึน้ นัน้ มีองค์กรภาคประชาชน เป็นหลักดำ�เนินการจัดตัง้ กองและจากการพัฒนากองทุนการสนับสนุนการทำ�งาน เครือข่ายครอบครัวอบอุน่ จัดสวัสดิการสำ�หรับครอบครัวทีต่ อ้ งการความช่วยเหลือ และการดูแลวัยรุ่นตั้งครรภ์ ประกอบด้วยการเรียนรู้ 2 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ 1) การพัฒนากองทุนและสถาบันการเงินของชุมชน 2) การจัดการกองทุนเพื่อ การส่งเสริมครอบครัวอบอุ่น

1) การพัฒนากองทุนและสถาบันการเงินของชุมชน ในชุมชนมีรูปธรรมกองทุนและสถาบันการเงินชุมชนดำ�เนินการเรื่องการ ออมและสวัสดิการ ได้มีแนวทางการจัดสรรเงินสนับสนุนกิจกรรมเครือข่าย ครอบครัวอบอุน่ และกิจกรรมการดูแลกลุม่ เป้าหมายตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ ส่งเสริม งานครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพื่อใหบริการทางการเงินที่สามารถ ตอบสนองความตองการแกประชาชนในชุมชนตามวัตถุประสงค์ที่กำ�หนดไว้2 มีลักษณะกิจกรรม

ส �ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. เข้าถึงจาก http://www.nhso.go.th/FrontEnd/ page-network เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 2  หลักการพัฒนากองทุนเป็นสถาบันชุมชน ส�ำนักงานกองทุนหมูบานและชุมชนเมืองแหง ชาติ. เข้าถึงจากwww.villagefund.or.th/multimedia/atthamon/Financial.pdf. เมื่อ 17  กุมภาพันธ์ 2557 1

34

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


เมนู 2

1.1) ส่งเสริมกองทุนต่าง ๆ ในชุมชนให้จัดสวัสดิการสนับสนุนการ ดำ�เนินงานของอาสาสมัครที่ให้การช่วยเหลือครอบครัว และดูแลเฝ้าระวัง ความเสี่ยงของกลุ่มวัยรุ่น 1.2) กำ�หนดแนวทางกองทุนในการจัดสรรเงินสนับสนุนกิจกรรม เครือข่ายครอบครัวอบอุน่ และกิจกรรมการดูแลกลุม่ เป้าหมายตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ 2) การจัดตั้งกองทุนเพื่อการจัดสวัสดิการครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ ในวัยรุน่ ชุมชนมีการจัดตัง้ กองทุนเพือ่ ดำ�เนินเฉพาะทีม่ กี ารรวมสมาชิกเครือข่าย ครอบครัว ในการดำ�เนินการพัฒนากองทุนสำ�หรับจัดสวัสดิการช่วยเหลือ และสร้างความเข้มแข็งให้ครัวครอบอบอุน่ และการตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ มีลกั ษณะ กิจกรรม 2.1) ครอบครั ว รวมกลุ่ ม จั ด ตั้ ง กองทุ นที่ มี ก ารออมเงิ น และจั ด สวัสดิการช่วยเหลือ สนับสนุนการจัดการปัญหาและความต้องการของครอบครัว และตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2.2) สนับสนุนให้เกิดแหล่งทุนในการสนับสนุนอาสาสมัครในการ ดูแลให้การช่วยเหลือกลุ่มวัยรุ่นในชุมชน 2.3) สนับสนุนให้แหล่งเรียนรูด้ า้ นเศรษฐกิจให้การช่วยเหลือครอบครัว และมารดาวัยรุ่นให้มีรายได้ทั้งในระยะตั้งครรภ์และหลังคลอด

การพัฒนากองทุนสนับสนุนเครือข่าย ครอบครัวอบอุ่น

35


ฐานเรี ยนรู้ที่ 1 การพัฒนากองทุนและสถาบันการเงินของชุมชน

❛  กรณีศึกษา กองทุนหมู่บ้านหินดาด หมู่ที่ 8 ต�ำบลวังใหม่  อ�ำเภอนายาอาม จังหวัดจันทบุรี ❜ องค์การบริหารส่วนต�ำบลวังใหม่  อ�ำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี


1. ที่มาการพัฒนา

การพัฒนากองทุนสนับสนุนเครือข่าย ครอบครัวอบอุ่น

เมนู 2

กองทุนหมู่บ้านหินกอง ตั้งอยู่ที่ศาลากลางบ้าน หมู่ 8 ตำ�บลวังใหม่  อำ�เภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี มีสมาชิก ทั้งหมด 490 คน มีกรรมการ บริหารกองทุนทัง้ หมด 15 คน เริม่ ก่อตัง้ เมือ่ วันที ่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2544 โดย ได้ รั บ เงิ น สนั บ สนุ นกองทุ นจากรั ฐ บาลที่ ก ระจายให้ แต่ ล ะหมู่ บ้ า น จำ � นวน  1,000,000 บาท โดยโอนเงินเข้ามาที่ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์ การเกษตร และมีการเปิดรับสมัครสมาชิกในหมู่บ้าน โดยมีนายวินัย พูนผล เป็นคนดำ�เนินการ พ.ศ. 2544 – 2545 การบริหารกองทุนประสบผลสำ�เร็จ (AAA) ตามกฎของกระทรวงมหาดไทยได้ทุนจัดสรรเพิ่มอีก 100,000 บาท ต่อมาได้มี การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล พ.ศ. 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณ เพือ่ เพิม่ ทุนแก่กองทุนหมูบ่ า้ นฯ จากงบประมาณไทยเข้มแข็งของรัฐบาลเป็นเงิน  400,000 บาท ปี 2555 กองทุนได้ท�ำ โครงการขอเพิม่ ทุนอีก และได้รบั การอุดหนุน จากรัฐบาลในปี 2556 จำ�นวน 1,000,000 บาท จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ของกองทุน เพื่อให้เกิดการออม เพื่อให้เกิดเงินทุนหมุนเวียน เพื่อให้เกิด การสร้างงาน เพื่อใช้หนี้นอกระบบ เพื่อปลูกสำ�นึกให้สมาชิกมีความซื่อสัตย์ ไม่เห็นแก่ตัวและมีความสามัคคี และเพื่อพัฒนาสมาชิกให้เป็นคนดีมีคุณธรรม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ขยัน อดทน และมีความรับผิดชอบ สร้างเสริม สำ�นึกความเป็นชุมชนและท้องถิ่น ชุมชนเป็นผู้กำ�หนดอนาคตและจัดการ หมู่บ้าน เกื้อกูลประโยชน์แก่ผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้าน เชื่อมโยงกระบวนการ เรียนรูร้ ว่ มกันระหว่างชุมชน ราชการ เอกชน ด้วยการประชาคม และกระจาย อำ�นาจให้ชุมชน เพื่อพัฒนาประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน

37


2.แนวคิดในการด�ำเนินงาน โครงสร้างทางกายภาพ ศาลาประชาคมหมูบ่ า้ นหมู ่ 8 เป็นทีท่ �ำ การของ กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน ม.8 ใช้ประโยชน์ในการประชุมของสมาชิกในกลุ่ม โดย ประธานกลุม่ ขออนุญาตจากผูน้ �ำ ชุมชนในการขอใช้สถานทีเ่ พือ่ ดำ�เนินการประชุม ให้กับสมาชิกได้รับทราบข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงของกลุ่ม ใช้ ทุกวันที ่ 10 ของทุกเดือน เพือ่ ประชุมสมาชิก มีการรับฝากเงินออม และสมาชิก นำ�เงินทีก่ มู้ าจ่าย รวมทัง้ ให้สมาชิกกูย้ มื เงินเพือ่ การลงทุนและใช้จา่ ยในครัวเรือน เป็นทีใ่ ช้ตรวจสอบบัญชีของกลุม่ จากบุคคลภายนอกมาเป็นผูต้ รวจ คณะกรรมการ มีการจัดทำ�บัญชี รายรับ – รายจ่าย ประจำ�เดือน ส่วนในเรื่องปัญหาของการ ปฏิบัติงานนั้น ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีปัญหา เพราะการทำ�งานของสมาชิกและ คณะกรรมการทำ�งานด้วยความซือ่ สัตย์และมีความตรงต่อเวลา หอกระจายข่าว หมู่บ้าน เป็นแหล่งสนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์ ข้อมูลของกองทุน โครงสร้างทางสังคม ผู้นำ�หมู่บ้าน เป็นที่ปรึกษาในการดำ�เนินกิจกรรม ต่าง ๆ ของกลุม่ และร่วมเป็นสมาชิกและคณะกรรมการของกองทุน ช่วยในเรือ่ ง ประสานการทำ�งานกับหน่วยงานอืน่  ๆ นอกพืน้ ทีต่ �ำ บลบางปิด สำ�นักงานกองทุน หมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่ได้รับมอบหมาย ให้ดูแลเกี่ยวกับแหล่งเงินทุน 1 ล้านบาท ให้กับกลุ่มกองทุนหมู่บ้าน หมู่ 1

38

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


เมนู 2

เพื่อนำ�มาบริหารจัดการภายในกลุ่ม การจัดตั้งกองทุน การจัดทำ�ประชาคม การคัดเลือกคณะกรรมการกองทุน การจัดอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการ กองทุนที่อำ�เภอ เรื่องการเงิน การบัญชี การระดมทุน การปล่อยกู้ การเรียก เงินกู้คืน การติดตามเร่งรัด

ศักยภาพระดับบุคคล ได้แก่ นายวินัย พูลผล สมาชิกองค์การบริหาร ส่วนตำ�บลวังใหม่ เป็นประธานกองทุนหมู่บ้าน มีหน้าที่บริหารจัดการกองทุน ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการจัดสวัสดิการแก่สมาชิกของกองทุน นายอุทิศ  จั น โทภา ผู้ ใหญ่ บ้ า นหมู่ ที่  8 เป็ นคณะกรรมการกองทุ น หมู่ บ้ า น มี ห น้ า ที่ ตรวจสอบและให้ค�ำ ปรึกษาแนะนำ�การบริหารงานกองทุน นายสุเทพ เสมสฤษดิ์ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำ�บลวังใหม่ เป็นรองประธานกองทุน มีหน้าที่ ร่ ว มบริ ห ารจั ด การกองทุ น ส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาศั ก ยภาพการจั ด สวั ส ดิ ก าร แก่สมาชิก นางสาวระวิวรรณ บุญธรรม ครูผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัดคลองลาว เป็นเลขานุการกองทุน มีหน้าที่ บันทึกการประชุม และรายงาน การประชุมแก่คณะกรรมการและสมาชิก

การพัฒนากองทุนสนับสนุนเครือข่าย ครอบครัวอบอุ่น

39


3. ผลผลิตและผลลัพธ์ มีทุนหมุนเวียน สร้างงานสร้างรายได้แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ สร้ า งความสามั ค คี มี ส วั ส ดิ ก ารรั ก ษาพยาบาลและเสี ย ชี วิ ต มี ทุ น การศึกษาให้กบั บุตรหลานทีอ่ อม มีทนุ ในการพัฒนาอาชีพให้กบั สมาชิก กองทุน เป็นสมาชิกคนเดียวจะได้รับสวัสดิการทั้งครอบครัว อยู่อย่าง พอเพียง ทุกคนภูมิใจ อนาคตพึ่งตนเองอย่างภูมิใจ สร้างคนรุ่นใหม่ ให้แข็งแรงเรียนรู้ร่วมกัน ห่างไกลยาเสพติด

40

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


ฐานเรี ยนรู้ที่ 2 การจัดตั้งกองทุนเพื่อการส่งเสริมครอบครัวอบอุ่น

❛  กรณีศึกษา กองทุนสวัสดิการเพื่อครอบครัว ❜ องค์การบริหารส่วนต�ำบลสมุด  อ�ำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

ธัญลักษณ์ ดังคนึก  พิพฒ ั น์ พึ่งตน  มงคล ปิยพร


1. ที่มาการพัฒนา ด้วยนโยบายของรัฐบาลส่งเสริมการพัฒนาของชุมชน ด้วยการ ที่ต้องการให้ชุมชนดำ�เนินการและมีความยั่งยืน ดังนั้น องค์การบริหาร ส่วนตำ�บลสมุด จึงได้รเิ ริม่ จัดตัง้ กองทุนขึน้ มาในปี พ.ศ. 2552 ชือ่ กองทุน สวัสดิการชุมชนตำ�บลสมุด (ออมวันละบาท) ได้จดทะเบียนเป็นกองทุน ในปี 2553 การทีก่ องทุนฯ เติบโตได้นนั้ มาจากความร่วมมือของคนใน ชุมชนเป็นหลักที่ต้องการให้มีการจัดสวัสดิการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ สมาชิกในชุมชนและต้องการให้มีการออมในครอบครัว ด้วยการออม วันละ 1 บาท ต่อคน การทีจ่ ะเป็นสมาชิกของกองทุนนัน้ สามารถเป็น ได้ทกุ เพศทุกวัย สมาชิกเริม่ ต้นของกองทุนมี 500 คน ทุนเริม่ ต้น 182,500 ​ บาท และได้รับการอุดหนุนงบประมาณจาก อบต.สมุด 175,000 บาท ในการจัดตัง้ ครัง้ แรก ปัจจุบนั มีทนุ  1,081,976 บาท มีสมาชิก 1,200 คน

42

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


เมนู 2

การทีก่ องทุนฯ เติบโตได้นนั้ ส่วนหนึง่ ได้รบั การสนับสนุนการจัดตัง้ และ งบประมาณจาก อบต. สมุ ด และเมื่ อ มี ก ารดำ � เนิ นงานที่ เป็ น รู ป ธรรมแล้ ว กองทุนฯ จึงได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ โดยการที่กองทุนฯ นำ�เสนอโครงการของขอรับงบประมาณ แต่ที่สำ�คัญที่สุด คือ คนในชุมชนตำ�บลสมุด ที่ได้เล็งเห็นความสำ�คัญที่จะ ให้ครอบครัวมีการออมเงิน และมีการช่วยเหลือกันด้วยการจัดสวัสดิการ

2. แนวคิดในการด�ำเนินงาน ●

กองทุนสวัสดิการชุมชนตำ�บลสมุด มีการบริหารงานในกองทุนโดย คณะกรรมการที่มาจาก คนในชุมชนตำ�บลสมุด และการออมเงินจากสมาชิก ด้วยการออมวันละ 1 บาท เป็นการออมเงินของครอบครัว ●  มีการจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิก เช่น เมื่อมีเด็กแรกเกิดก็จะมีการ มอบเงินเพือ่ รับขวัญ 500 บาท ค่าคลอดบุตรของมารดา 300 บาท เมือ่ สมาชิก เจ็บป่วย ช่วยค่ารักษาพยาบาลเดือนละ 100 บาทไม่เกิน 10 คืน / ปี ●  เมื่ อ มี ก ารเสี ย ชี วิ ต จะมี ก ารช่ ว ยเหลื อ ในเรื่ อ ง พวงหรี ด และการ สวดอภิ ธ รรม 1,300 บาท ถ้ า เป็ นงานศพปลอดเหล้ า จะได้ รั บ  2,000 บาท ถ้าสมาชิกทีเ่ สียชีวติ เป็นสมาชิกกองทุนฯ ครบ 6 ปีจะได้รบั เงินสงเคราะห์ 2,500  บาท และจะเพิ่มขึ้นปีละ 2,500 บาท

การพัฒนากองทุนสนับสนุนเครือข่าย ครอบครัวอบอุ่น

43


การที่กองทุนฯจะไปช่วยในเรื่องของครอบครัวอบอุ่นได้นั้น ก็เนื่องจาก บุคคลที่ดำ�เนินการทั้งของกองทุนและ ศพค. เป็นคน ๆ เดียวกัน ดังนั้นในการ ดำ�เนินการจัดกิจกรรมของศูนย์พฒ ั นาครอบครัวส่วนมากจะไม่ได้ใช้งบประมาณ ในการดำ�เนินงานจากกองทุนฯ แต่จะเป็นความร่วมมือของสมาชิกในชุมชน มากกว่าเช่น โครงการพัฒนาศักยภาพของครอบครัว มีกิจกรรมในเรื่องการ ปลูกฝังวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยการที่ผู้ปกครอง พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย จูงมือลูกหลานเข้าวัด, การจัดกิจกรรมร่วมกัน โดยการเข้าค่ายของพ่อแม่ ร่วมกับลูก เป็นต้น ส่วนกองทุนจะส่งเสริมในเรื่องการออมเงินของครอบครัว และการจัดสวัสดิการให้ การที่จะสร้างความอบอุ่นในครอบครัวนั้น ส่วนหนึ่งไม่จำ�เป็นต้องใช้ งบประมาณแต่ใช้ทนุ ทีม่ อี ยูแ่ ล้วในสังคม คือ คนในครอบครัว และความร่วมมือ ของคนในชุมชน

3. ผลผลิตและผลลัพธ์ 1) สร้างการออมเงินในครอบครัว และการช่วยเหลือซึง่ กันและกัน ของคนในชุมชน 2) จากการให้ความร่วมมือของคนในชุมชนตำ�บลสมุด ทำ�ให้ได้ รับเลือกเป็นตำ�บลสานใยรักแห่งครอบครัว ซึง่ ได้สง่ เสริมให้สมาชิกในชุมชน ดำ�เนินวิถีชีวิต แบบหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทำ�ให้เกิดความร่วมมือของ คนในครอบครัวที่จะทำ�กิจกรรมร่วมกัน ทำ�ให้เกิดความสัมพันธ์อันดีใน ครอบครัว ลดปัญหาความขัดแย้งของคนในครอบครัวและในชุมชน

44

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


ชุดกิจกรรมที่ 3 การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่

ก รณีศึกษา : ฐานเรียนรู้ที่ 1 การพัฒนาระบบข้อมูล ฐานเรียนรู้ที่ 2 รูปธรรมเครือข่าย สมัชชาครอบครัว ฐานเรียนรู้ที่ 3 สร้างกฎ กติกา ระเบียบ ข้อบัญญัติสนับสนุนครอบครัว อบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น



วัตถุประสงค์ 1. เพือ่ แลกเปลีย่ นเรียนรูป้ ระสบการณ์ดา้ นการบริหารจัดการแบบ มีสว่ นร่วมของพืน้ ทีเ่ กีย่ วกับ รูปแบบและวิธกี ารดำ�เนินงาน ทุนทางสังคม ของชุมชนท้องถิ่น สิ่งที่สนับสนุน สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการดำ�เนินงาน และแนวทางการดำ�เนินงานในอนาคต

เมนู 3

2. เพื่อวิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรู้การบริหารจัดการ แบบมีส่วนร่วมของพื้นที่จากประสบการณ์การดำ�เนินการที่ผ่านมาของ พื้นที่ 3. เพื่อให้มีชุดความรู้การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่ นำ�ไปประยุกต์ใช้ได้ตามบริบทพื้นที่

การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่

47


ขอบเขตเนื้อหา การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนงานครอบครัว อบอุน่ การมีโครงสร้างการทำ�งานทีเ่ ป็นการขับเคลือ่ นงานครอบครัวอบอุน่ และ ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น มีรูปธรรมการจัดการ กระบวนการที่ประชาชนในครอบครัว ที่มีบุตรวัยรุ่น กลุ่มวัยรุ่น เข้าร่วมในกระบวนการหรือขั้นตอนต่าง ๆ ของการ บริหาร ตั้งแต่การรับรู้ข้อมูลการปฏิบัติงาน การร่วมแสดงทัศนะความคิดเห็น การร่วมเสนอปัญหาและความต้องการของครอบครัว และ กลุม่ วัยรุน่ ตัง้ ครรภ์ การร่วมคิดแนวทางการแก้ไขปัญหา การร่วมในกระบวนการตัดสินใจ การร่วม ดำ�เนินการ และการร่วมติดตามประเมินผล รวมทัง้ การร่วมรับผลประโยชน์จาก การพัฒนา ประกอบด้วยการเรียนรู ้ 3 ฐานการเรียนรู้ 1) การพัฒนาระบบข้อมูล 2) รูปธรรมเครือข่าย สมัชชาครอบครัว และ 3) สร้างกฎ กติกา ระเบียบ ข้อบัญญัติสนับสนุนครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

48

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


1) การพัฒนาระบบข้อมูล มีกระบวนการการพัฒนาระบบข้อมูล ประกอบ ด้วยวิธกี ารจัดเก็บและบันทึก การค้นหาทุนทางสังคมและศักยภาพ (key mobilize / ​ องค์กร)ที่ดำ�เนินการด้านครอบครัว อบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ความต้องการ ปัญหา และวิธีการจัดการ มีลักษณะกิจกรรม 1.1) จัดทำ�ฐานข้อมูลวัยรุน่ กลุม่ เสีย่ ง พร้อมข้อมูลด้านความรู้ พฤติกรรม ประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับความเสี่ยงทางเพศ

เมนู 3

1.2) การพัฒนาระบบข้อมูล ด้วยวิธกี ารจัดเก็บและบันทึกในการค้นหา ทุนทางสังคมและศักยภาพ (key mobilize / องค์กร)ที่ดำ�เนินการด้านครอบครัว อบอุน่ และตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ สถานการณ์ความต้องการ ปัญหา และวิธกี ารจัดการ 1.3) การพัฒนาแผนสุขภาพเพื่อการดูแลประชากรกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้กระบวนการค้นหา วิเคราะห์ เรียนรู้ และนำ�ใช้ข้อมูลในการดูแล

การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่

49


2) รูปธรรมเครือข่าย สมัชชาครอบครัวอบอุน่ และตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ การ ดำ�เนินงานครอบครัวอบอุน่ ทีม่ สี มาชิกครอบครัวอบอุน่ รวมกลุม่ ดำ�เนินกิจกรรม ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมการทำ�งาน พัฒนาศักยภาพครอบครัว มีสมัชชาครอบครัว และพร้อมทั้งจัดทำ�แผนที่เครือข่ายครอบครัว มีลักษณะกิจกรรม 2.1) รวมกลุ่มสมาชิกครอบครัวระหว่างหมู่บ้าน หรือต่างตำ�บล ดำ�เนินกิจกรรมร่วมกันพัฒนานวัตกรรมการทำ�งาน พัฒนาศักยภาพครอบครัว มีสมัชชาครอบครัว และพร้อมทั้งจัดทำ�แผนที่เครือข่ายครอบครัว 2.2) การรวมกลุ่มของครอบครัวหรือตัวแทนของครอบครัวและภาค ประชาชนจากทุกภาคส่วนของสังคม เพือ่ ระดมความคิดเห็นและแลกเปลีย่ นการ เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์

50

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


3) การสร้างกฎ กติกา ระเบียบข้อบัญญัตทิ อ้ งถิน่ สนับสนุนครอบครัว อบอุน่ และตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ องค์กรหลักในพืน้ ที่ และ เครือข่ายครอบครัวร่วมกัน สร้างกฎ กติกา ระเบียบ จัดทำ�มาตรการป้องกัน เช่น ปัญหาของครอบครัว ป้องกันการตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ การดูแลวัยรุน่ ตัง้ ครรภ์ และเด็กแรกเกิดจากวัยรุน่ 1 มีกระบวนการจัดทำ�ข้อบัญญัติสนับสนุนการดำ�เนินการครอบครัวอบอุ่นและ การดูแลการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เช่น การทำ�ประชาคม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน เป็นต้น2 มีลักษณะกิจกรรม 3.1) พัฒนากฎ กติกา สำ�หรับครอบครัวที่มีการส่งเสริมพัฒนา ครอบครัวตามวงจรชีวิตครอบครัว (Family Life Cycle) และมีระบบสวัสดิการ ทางสังคม ที่เอื้อให้เกิดครอบครัวอบอุ่น

เมนู 3

3.2)  สนับสนุนการพัฒนากติกา ข้อตกลงนโยบายสาธารณะที่ เกีย่ วข้องกับการดูแล เฝ้าระวัง ป้องกันความเสีย่ งทางเพศในวัยรุน่ ได้แก่ การ ติดตั้งตู้ถุงยางอนามัยหยอดเหรียญ การรวมกลุ่มของวัยรุ่นในจุดเสี่ยง เป็นต้น

น โยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาครอบครัวพ.ศ. 2547 - 2556 ส�ำนักงานกิจการสตรีและ สถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. เข้าถึงจาก  http://www.m-society.go.th/document/edoc เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2557 2  ผาสุข แก้วเจริญตาและคณะ รูปแบบการพัฒนาศักยภาพพ่อแม่และวัยรุน่ ในการป้องกัน ปัญหาเพศสัมพันธ์ของวัยรุน่ ชัน้ มัธยมศึกษาตอนต้นในพืน้ ทีจ่ งั หวัดอุตรดิตถ์ วารสารระบบ บริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว October 2012 – January 2013 1

การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่

51


ฐานเรี ยนรู้ที่ 1 พัฒนาระบบข้อมูล

❛  กรณีศึกษา การใช้ข้อมูลช่วยเหลือดูแล ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ❜ เทศบาลต�ำบลเกาะคา  อ�ำเภอเกาะคา จังหวัดล�ำปาง

ณิสรา พรมแก้วงาม ชวาล แก้วลือ


1. ที่มาการพัฒนา

การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่

เมนู 3

เทศบาลตำ�บลเกาะคาได้ตระหนักดีว่า การที่จะมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ นั้น ต้องอาศัยพลังการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ดังนั้นกระบวนการ สร้างการมีสว่ นร่วมและการสร้างจิตสำ�นึกสาธารณะจึงเป็นเรือ่ งทีส่ �ำ คัญ ภายใต้แนวคิดการบริหารจัดการแบบครอบครัวเดียวกันและมุง่ สูส่ งั คมที่ ชาวเกาะคาไม่ทอดทิ้งกัน ศูนย์พัฒนาครอบครัวเทศบาลตำ�บลเกาะคา เป็นอีกกลุ่มหนึ่ง ทางสังคมทีเ่ กิดขึน้ จากการพบปัญหาความอ่อนแอของสถาบันครอบครัว ปัญหาเด็กและเยาวชนที่เติบโตอย่างมีความเสี่ยงจากกระแสสังคม กระแสบริโภคนิยมและปัญหาผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มถูกทอดทิ้งเพิ่มขึ้น จึงมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อทำ�ความเข้าใจปัญหาสาธารณะของคน​ ในชุมชนร่วมกันในเขตเทศบาลตำ�บลเกาะคา โดยมุ่งหวังที่จะยกระดับ คุณภาพชีวติ ของประชาชนและร่วมกันสร้างครอบครัวอบอุน่ ในเทศบาล ตำ�บลเกาะคา ทำ�ให้ครอบครัวเกิดความอบอุ่น ลดปัญหาครอบครัว และลดความขัดแย้งในสังคม การดำ�เนินงานของศูนย์พฒ ั นาครอบครัวมีการบริหารจัดการแบบ มีสว่ นร่วม ให้ชมุ ชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาสถาบันครอบครัวและ ด้วยกระบวนการส่งเสริมการเรียนรูถ้ งึ สถานการณ์ปญ ั หาสังคมชุมชน และ กระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบให้แก่ครอบครัว โดยเริม่ จากการ

53


สร้างครอบครัวต้นแบบจากครอบครัวอาสาสมัคร มีกิจกรรมดำ�เนินการ ทีห่ ลากหลาย เช่น กิจกรรมทีใ่ ห้คณะกรรมการของแต่ละหมูบ่ า้ นประสาน งานในการให้ความช่วยเหลือครอบครั ว ที่ มี ปั ญ หา กิ จ กรรมร่ ว มกั บ เทศบาลตำ�บลเกาะคาในการออกเยี่ยมครอบครัวทีไ่ ด้รบั ความเดือดร้อน โดยให้การช่วยเหลือเบือ้ งต้นซึง่ ได้รบั การสนับสนุนจาก คณะกรรมการสตรี อำ�เภอเกาะคา กิจกรรมครอบครัวเข้มแข็ง เป็นต้น และมีการแลก เปลีย่ นเรียนรูโ้ ดยให้คนในชุมชนเข้าใจกันและรูจ้ กั กันมากขึน้

2. แนวคิดในการด�ำเนินงาน ●

การใช้ขอ้ มูล จากการบูรณาการฐานข้อมูลระหว่างเทศบาลตำ�บล เกาะคากับสำ�นักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำ�ปาง ทีง่ านด้านครอบครัว โดยนำ�ข้อมูลของครอบครัวทีป่ ระสบปัญหามาเป็นประเด็น ในการสร้างการเกิดความตระหนักของผูท้ มี่ จี ติ อาสาในการเข้ามาดำ�เนินกิจกรรม ของศูนย์ฯ โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ลดปัญหาครอบครัวลงและเพิม่ ความเข้มแข็ง กับครอบครัวให้มากขึ้นโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ซึ่งจากการดำ�เนิน กิจกรรมทำ�ให้จำ�นวนครอบครัวที่ประสบปัญหาน้อยลงและเกิดการสร้างความ สัมพันธ์ในครอบครัวมากขึ้น

54

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


การจั ด การคน คณะทำ�งานมาจากคนที่มีจิตอาสาในแต่ละ หมู่บ้านในเขตเทศบาลตำ�บลเกาะคา ที่มีความสนใจมาทำ�งานด้านครอบครัว ร่วมกันมีการพบปะพูดคุยกัน และมีกจิ กรรมการแลกเปลีย่ นเรียนรูก้ นั ครอบครัว มีสมาชิกกลุ่มที่มาร่วมทำ�งานหลากหลาย มีกรรมการดำ�เนินงานศูนย์ โดย สมาชิกในกลุ่มเป็นผู้คัดเลือกประธานศูนย์ฯ ให้มีหน้าที่การดูแลทั่วไปในด้าน การจัดกิจกรรมของศูนย์และสมาชิกทั้งหมดเป็นคณะกรรมการศูนย์มีหน้าที่ ในการดำ � เนิ นงาน จั ด กิ จ กรรมและประสานงานการช่ ว ยเหลื อ ครอบครั ว ที่ มีปัญหา

3. ผลผลิตและผลลัพธ์

การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่

เมนู 3

การทำ�งานของศูนย์พฒ ั นาครอบครัวได้ประสานความร่วมมือกับเครือข่าย คุ้มครองเด็กและครอบครัว เข้มแข็งเพื่ออำ�นวยประโยชน์สูงสุดให้กับชุมชน ผลจากการทำ�งานทำ�ให้เกิดการสร้างความรัก ความเข้าใจและ ลดปัญหาที่ เกิดขึ้นภายในครอบครัว และยังทำ�ให้คนในชุมชน มีความรัก ความสามัคคี มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ก่อเกิดการรวมพลังที่มีศักยภาพร่วมกันในการ พัฒนาชุมชนในรูปแบบของเครือข่ายศูนย์พัฒนาครอบครัว ในชุมชนเทศบาล ตำ�บลเกาะคาและนำ�ไปสูก่ ารเป็นครอบครัวต้นแบบและสังคมทีเ่ ข้มแข็ง การทำ�งาน ของศูนย์พัฒนาครอบครัว ได้ผสานความร่วมมือกับเครือข่ายคุ้มครองเด็กและ ครอบครัวเข้มแข็ง เพื่ออำ�นวยประโยชน์สูงสุดให้กับชุมชน และมีการส่งเสริม กิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่สร้างสรรค์

55


รางวัลที่ได้รับ

1. รางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ดีเด่นด้านสตรีและครอบครัว ประจำ�ปี 2550 - 2552 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ 2. รางวัลองค์กรที่ทำ�คุณประโยชน์แก่ผู้อยู่ในภาวะยากลำ�บาก ดีเด่น ปี 2552 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 3. รางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลงานดีเด่นด้านสตรี และครอบครัวต่อเนือ่ ง 3 ปีซอ้ น ประจำ�ปี 2553 - 2555 กระทรวงพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 4. รางวัลสุดยอดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลงานดีเด่น ด้านสตรีและครอบครัว ประจำ�ปี 2556 กระทรวงพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์

56

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


ฐานเรี ยนรู้ที่ 2 พัฒนาระบบข้อมูล

❛  กรณีศึกษา ครอบครัวเฉพาะ (กลุ่มคุณแม่วัยใส) ❜ ศูนย์พัฒนาครอบครัวระดับต�ำบลผาอินทร์แปลง  อ�ำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย

วิมาลา สุขทองสา


1. ที่มาการพัฒนา ศูนย์พัฒนาครอบครัว (ศพค.) ระดับพื้นที่ตำ�บลผาอินทร์แปลง เริม่ ดำ�เนินการตัง้ แต่ พ.ศ. 2550 ทำ�หน้าทีเ่ ป็นศูนย์กลาง การรวมตัวของ คนในชุมชนทีม่ าจากกลุม่ ต่าง ๆ เพือ่ สนับสนุนการมีสว่ นร่วมในการดูแล ป้องกัน ให้คำ�ปรึกษาเกี่ยวกับครอบครัว เป็นการสร้างกลไกในการ ทำ�งานของชุมชน เพื่อพัฒนาครอบครัวให้เข้มแข็ง โดยมีคณะทำ�งาน  ศพ.ค ระดับหมูบ่ า้ น และระดับตำ�บล รวมทัง้ ประสานภาคีเครือข่ายงาน ด้านครอบครัว เช่น วัด โรงเรียน โรงพยาบาลในระดับตำ�บล โดยการ กำ�กับดูแลและสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป

58

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


2. แนวคิดในการด�ำเนินงาน การดำ�เนินการแหล่งข้อมูลกลุ่มครอบครัวเฉพาะ มีแนวคิดการจัดการ ดังนี้ กลุม่ เยาวชนเป็นกลุม่ ให้ขอ้ มูล ผูน้ �ำ ชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำ� หมู่บ้าน ทำ�หน้าที่รวบรวมข้อมูล รพ.สต. ในตำ�บล ให้ข้อมูลกลุ่มคุณแม่วัยใส เจ้าหน้าที่ อบต. ออกเยี่ยมชุมชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีปัญหาทางด้านสังคม

เมนู 3

การเยีย่ มบ้านกลุม่ ครอบครัวเฉพาะ มีแนวทางดังนี้ เริม่ ต้นมีการแนะนำ�ตัว เจ้าหน้าที ่ อสม. อพม. คณะทำ�งาน ศพค. ในการเยีย่ ม การสร้างความไว้วางใจ และการให้คำ�ปรึกษาหารือกับครอบครัวเฉพาะ การนำ�ข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อครอบครัวเฉพาะ มีแนวทาง ดังนี้ ●  เจ้าหน้าที่แจกแจงข้อมูลในเบื้องต้นที่เกิดจากสถานการณ์จริง

ที่ออกเยี่ยมบ้าน ●  แบ่งโซนการออกเยี่ยมครอบครัวเฉพาะ เป็น 3 โซน ร่วม 19  ครอบครัว ●  การได้มาซึง่ เป็นข้อมูลทีเ่ ป็นจริง ตามทีไ่ ด้สอบถาม และจากการ สัมภาษณ์ในเรื่องต่าง ๆ

การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่

59


การติดต่อประสานงานกับกลุ่มครอบครัวเฉพาะ ●  การประชาสัมพันธ์ในกลุ่มครอบครัวเฉพาะเรื่องการจัดกิจกรรม ●  กิ จ กรรมเกิ ด ได้ จ ากการประสานร่ ว มมื อ กั น ในกลุ่ ม ครอบครั ว เฉพาะ และคณะทำ�งานได้ออกเยี่ยมบ้านประชาสัมพันธ์การจัด กิจกรรม เข้าร่วมประชุม เสวนาในกลุม่ ครอบครัวเฉพาะได้เข้าใจ ตรงกัน ●  กิ จ กรรมแผนที่ เดิ นดิ นของครอบครั ว เฉพาะ ได้ พ บปะพู ด คุ ย กลุ่มเพือ่ น และปรึกษาหารือกันว่ากลุ่มของตนเองต้องการอะไร โดยมีความต้องการหลากหลาย ●  กิจกรรมครอบครัวเฉพาะ กลุ่มมีแผนร่วมกันในการจัดกิจกรรม ต่าง ๆ ในระยะเวลาต่อไปของการเปลี่ยนแปลงได้ตามความ เหมาะสมของสถานการณ์

60

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


3. ผลผลิตและผลลัพธ์

การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่

เมนู 3

จากการนำ�ใช้ข้อมูลสถานการณ์ เป็นข้อมูลในการทำ�งานตาม ภารกิจภายใต้การกำ�กับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านกลไก การพั ฒ นาศู น ย์ พั ฒ นาครอบครั ว ในระดั บ ตำ � บล บรรจุ แ ผน 3 ปี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านงานสวัสดิการสังคมโดยทั่วถึง มีเทศบัญญัติในปีงบประมาณ 2556 - 2558 ได้แก่ โครงการสถาบัน ครอบครัวในชุมชม กิจกรรมจูงลูกจูงหลานเข้าวัด กิจกรรมครอบครัว อบอุ่น กิจกรรมยุติความแรงต่อเด็กและสตรี โครงการสภาเด็กและ เยาวชนในระดับตำ�บล กิจกรรมเยาวชนจิตอาสา กิจกรรมเยาวชน อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมครอบครัวเฉพาะ (คุณแม่วัยใส)

61


ฐานเรี ยนรู้ที่ 3 รูปธรรมเครือข่าย สมัชชาครอบครัว

❛  กรณีศึกษา ถอดบทเรียน  กระบวนการท�ำงานเรื่องเพศในชุมชน ❜ มูลนิธิขวัญชุมชน จังหวัดสุรินทร์

สุธาทิพย์ ชูก�ำแพง


1. ที่มาการพัฒนา สถานการณ์ปญ ั หาทีเ่ กีย่ วข้องกับเรือ่ งเพศสำ�หรับเยาวชนในชนบท เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็น อัตราการ ติดเชือ้ เอชไอวี (เอดส์), การถูกกระทำ�รุนแรงทางเพศ, ความเสีย่ งต่อเรือ่ ง เพศ ความรุนแรงในครอบครัว, ความรุนแรงของปัญหาที่เกิดจากสุรา และการตัง้ ครรภ์ทไี่ ม่พร้อม ฯลฯ ซึง่ สถานการณ์เหล่านีส้ ง่ ผลกระทบต่อ การดำ�รงชีวิตของเด็ก เยาวชน และครอบครัวในสังคม

การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่

เมนู 3

ในปีพ.ศ. 2549 – 2554 มูลนิธขิ วัญชุมชนรวบรวมข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้อง กับประเด็นสุขภาวะทางเพศระดับจังหวัด พบว่า อัตราการติดเชือ้ เอชไอวี ในกลุ่มเยาวชนมีสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีเยาวชนที่ติดเชื้อรายใหม่ และพบว่าวัยรุ่นหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมเป็นจำ�นวนมาก จากสถิติของ สำ�นักงานเขตการศึกษาพืน้ ทีพ่ บว่าเด็กทีอ่ ยูใ่ นวัยเรียนระดับมัธยม 1 – 3 อยูใ่ นอันดับหนึง่ ในห้าของภาคอีสาน สถิตจิ ากสาธารณสุขจังหวัดสุรนิ ทร์ ระบุว่า ในปี 2553 เยาวชนหญิงที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีมาคลอด ณ  โรงพยาบาลชุมชนมีจำ�นวนถึง 2,045 คน (ไม่รวมอำ�เภอเมืองสุรินทร์)

63


จากเหตุผลดังกล่าว จึงเกิดการพัฒนาโครงการเพื่อเป็นการช่วยแก้ไข ปัญหาและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชน ในการดูแลลูกหลานในชุมชน ให้มี ความปลอดภัยทางเพศ สร้างทัศนคติ มุมมองเรือ่ งสุขภาวะทางเพศ โดยมีการ ดำ�เนินงานตั้งแต่ปี 2553 - 2557 ใน “โครงการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมี ส่วนร่วม เพื่อหารูปแบบการทำ�งานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศสำ�หรับเยาวชน” และพัฒนาต่อยอดงานมาเป็น “โครงการเพศปลอดภัย สร้างได้โดยชุมชน” มีเป้าหมายเพือ่ สร้างความเข้าใจ กับเด็ก เยาวชน ครอบครัว และกลไกต่าง ๆ ในตำ�บลท่าสว่าง ให้มีความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจ โดยกระบวนการ สร้างเครือข่ายภายในตำ�บล ในการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ เพื่อลดปัญหา การตั้งครรภ์ไม่พร้อมและปัญหาเรื่องเพศที่ไม่ปลอดภัยของเยาวชนในชุมชน

2.แนวคิดในการด�ำเนินงาน กระบวนการแสวงหาความรู้ ใช้งานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  (Participatory Action Research: PAR) เป็นเครือ่ งมือในการขับเคลือ่ นการทำ�งาน เพื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเพศและวิถีเพศของคนในชุมชน พื้นที่ปฏิบัติการ ตำ�บลท่าสว่าง อ. เมือง จ. สุรินทร์ ระหว่างปี 2553 - 2557 โดยมีกระบวนการ ดังนี้

64

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


ระยะที่ 1 การเตรียมการ ●

ลงพืน้ ที่ ประสานงาน ชีแ้ จงเป้าหมาย วัตถุประสงค์ของโครงการฯ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น คือ โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำ�บล องค์การบริหารส่วนตำ�บล และผู้นำ�ชุมชน ●

ค้นหาทีมนักวิจัยคนใน โดยการรับสมัครจากเยาวชนในโรงเรียน

จัดกระบวนการกลุม่ พูดคุย (Focus group) เพือ่ ร่วมค้นหาสถานการณ์ ปัญหาของพื้นที่ตำ�บลท่าสว่าง จำ�นวน 6 ครั้ง ในกลุ่มเยาวชน, ผู้ปกครอง ในหมู่บ้าน (โซนเหนือและโซนใต้), กลไกชุมชน, และเยาวชนท้องไม่พร้อม

ระยะที่ 2 พัฒนาศักยภาพบุคลากรในโครงการ อบรมปรับเปลี่ยนฐานคิด มุมมองเรื่องเพศ และ สุขภาวะทางเพศ สำ�หรับแกนนำ�เยาวชน เพื่อปรับจูนมุมมองทัศนคติเรื่องเพศ

เมนู 3

●  ●

อบรมปรับเปลี่ยนฐานคิด มุมมองเรื่องเพศ และ สุขภาวะทางเพศ สำ�หรับคณะทำ�งาน / กลไกชุมชน ●

อบรมทักษะการเก็บข้อมูล การวิจยั เชิงปฏิบตั กิ ารแบบมีสว่ นร่วม (PAR) สำ�หรับนักวิจยั คนใน (เรียนรูท้ ฤษฎี พร้อมปฏิบตั กิ ารจริงในพืน้ ที่ โดยใช้เครือ่ งมือ การเก็บข้อมูลศึกษาชุมชนคือ แผนที่เดินดิน ปฏิทินชุมชน ผังประวัติศาสตร์ และการสัมภาษณ์เชิงลึก)

การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่

65


อบรมสร้างสรรค์ชุมชนและสร้างทีมทำ�งานสำ�หรับแกนนำ�เยาวชน  (นักวิจยั คนใน) จากทัง้  3 โรงเรียน เพือ่ เตรียมทีมสำ�หรับกระบวนการปฏิบตั กิ าร  Action ในชุมชน ●

ปฏิบัติการ... ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลในชุมชน นั ก วิ จั ย คนใน (ที ม นั ก วิ จั ย วั ย โจ๋ ) จาก 3 โรงเรี ย น จำ � นวน 30 คน ลงพืน้ ที่ เก็บข้อมูลโดยใช้เครือ่ งมือการศึกษาชุมชน ใน 3 หมูบ่ า้ น โดยมีประเด็น ในการศึกษา 2 ประเด็น คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของชุมชน 2) วิถีชีวิต / วิถีเพศ ความรัก สมัยรุ่นปู่ย่าตายาย รุ่นพ่อแม่ และวัยรุ่นปัจจุบัน หลังจากนี้ จัดเวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการศึกษาข้อมูล หลังการ ศึกษาข้อมูลในชุมชน เพื่อร่วมกันคิด วิเคราะห์ปัจจัยของความแตกต่างของ ข้อมูล ทีไ่ ด้จากแต่ละกลุม่ วัย ทีน่ �ำ มาซึง่ มุมมอง ทัศนคติ และพฤติกรรมเรือ่ ง เพศ / วิถเี พศ ทีต่ า่ งกัน และจัดเวทีคนื ข้อมูลงานวิจยั สูช่ มุ ชน โดยทีมนักวิจยั หลัก ได้นำ�ผลการศึกษาข้อมูลของทีมนักวิจัยคนในมานำ�เสนอต่อชุมชนและกลไก ชุมชน

66

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


ระยะที่ 3 ปฏิบัติการ Action ในชุมชน ●

แกนนำ�เยาวชน (นักวิจัยวัยโจ๋) จำ�นวน 20 คน จัดตั้งกลุ่มละคร ชุมชน ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องวิถีเพศของวัยรุ่น และการสร้างความปลอดภัยทางเพศ ออกตระเวนเล่นละครทัง้ ในโรงเรียน และ หมู่บ้าน เพื่อสร้างกระแสการรับรู้ให้กับชุมชนทั่วไป ●

แกนนำ�เยาวชน (นักวิจยั วัยโจ๋) จัดตัง้ กลุม่ แกนนำ� “เพือ่ นช่วยเพือ่ น”  จัดกิจกรรมสื่อสารกลุ่มย่อยให้กับเพื่อน ๆ และน้อง ๆ ในโรงเรียน เพื่อสร้าง ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยการใช้สื่อหนังสั้น สื่อละคร แลก เอกสารความรู้ต่าง ๆ มีกจิ กรรมค่ายครอบครัวแกนนำ� สร้างความเข้าใจ การสือ่ สารเชิงบวก กับลูกวัยรุ่น

เมนู 3

มีการจัดกิจกรรม “บ้านเรียนวิถีเพศในชุมชน” เปิดพื้นที่ในหมู่บ้าน ให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมถึงเด็ก เยาวชนและบุคคลทั่วไปในชุมชน ได้มีพื้นที่ ในการพูดคุย สื่อสาร สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศอย่างรอบด้าน

การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่

67


3. ผลผลิตและผลลัพธ์ 1) เกิดกลุ่มผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ระดับตำ�บล โดยมีกลุม่ เยาวชน ครอบครัว และกลไกต่าง ๆ ในชุมชน มีความเข้าใจ เปิดมุมมอง ทัศนคติเรื่องเพศ สามารถสื่อสารและพูดคุยเรื่องเพศได้ อย่างสะดวกใจมากขึ้น 2) พบสถานการณ์การสือ่ สารเรือ่ งเพศในครอบครัว และ ชุมชน และมีการเปิดพื้นที่พูดคุยเรื่องนี้เพิ่มขึ้น และ มีความรู้สึกที่ไม่ใช่ว่า จะต้องเป็นเรื่องปกปิด

68

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


ฐานเรี ยนรู้ที่ 4 สร้างกฎ กติกา ระเบียบ ข้อบัญญัติ สนับสนุนครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

❛  กรณีศึกษา สร้างจิตส�ำนึกร่วมมือแก้ไขปัญหา ❜ องค์การบริหารส่วนต�ำบลแจ้ซ้อน  อ�ำเภอเมืองปาน จังหวัดล�ำปาง

นงคราญ เชื้อทอง


1. ที่มาการพัฒนา เครือข่ายเยาวชน มีแนวคิดจากการสร้างจิตสำ�นึกของคนในชุมชน ที่เน้นหนักในกลไกของการบริหารจัดการปัญหาภายในท้องถิ่นตามหลัก ธรรมาภิบาล ให้สามารถเข้าถึงชุมชนได้อย่างใกล้ชิด โดยอาศัยเวที​ ขว่างผญ๋าในระบบการสื่อสารเป็นเวทีในการเปิดโอกาสให้ทุกคน แสดง ความคิดเห็นถึงปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ในชุมชนและแนวทางในการแก้ไขปัญหา เป็นที่ขยาย แนวคิดการจัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาไปยัง ไปยังชุมชน ในเขตตำ�บลแจ้ซ้อนและพื้นที่ใกล้เคียง สร้างจิตสำ�นึกในการร่วมมือกัน แก้ไขปัญหาให้เป็นกระบวนการทีเ่ กิดขึน้ จากแรงผลักดันในชุมชนด้วยกันเอง เพื่อให้ชุมชนร่วมรณรงค์สร้างภูมิคุ้มกันในครัวเรือน และปลูกจิตสำ�นึก ให้คนในชุชนเคารพในสิทธิ์ของผู้อื่นให้เกียรติซึ่งกันและกัน เป็นชุมชนที่ ร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มของทุนสังคมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

70

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


2. แนวคิดในการด�ำเนินงาน ●

การใช้ข้อมูล เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสำ�คัญกับการ จัดการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้หญิงที่ทุกข์ยากและด้อยโอกาสในสังคม ให้การ ศึกษาและผลิตสือ่ ทีเ่ หมาะสมแก่ผหู้ ญิงในสาขาอาชีพต่าง ๆ สนับสนุนสิทธิของ ผู้หญิงตามที่ได้ระบุไว้ในปฏิญญาสากลขององค์การสหประชาชาติ วิจัยและ เผยแพร่ขอ้ มูลทีเ่ กีย่ วกับผูห้ ญิงและดำ�เนินโดรงการต่าง ๆ เพือ่ การพัฒนาผูห้ ญิง ร่วมมือกับองค์กรสาธารณประโยชน์ อืน่  ๆ ส่งเสริมสิทธิผบู้ ริโภค สือ่ สารมวลชน และใช้สื่อสารมวลชนเพื่อสาธารณประโยชน์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้สนใจ การจัดการคน มีการรับสมัครสมาชิกจากตำ�บลแจ้ซอ้ น อำ�เภอเมือง ปาน มีเยาวชนสมัครเป็นสมาชิก กระจายอยู่ทั่วไปในเขตตำ�บลและได้จัดตั้ง คณะกรรมการ 1 ชุด

เมนู 3

การจัดการทุน ปี 2542 มีการสนับสนุนทุนจากหลายองค์กร เช่น มูลนิธิเพื่อนหญิง สำ�นักงานศูนย์สตรีศึกษา สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) องค์การบริหารส่วนตำ�บลเมืองปาน องค์การบริหาร ส่วนตำ�บลบ้านขอ สำ�นักงานเอดส์ประเทศไทย เครือข่ายเยาวชนอำ�เภอเมือง ปานอุดหนุนเงินในการขยายผลสู่น้อง ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี

การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่

71


3. ผลลัพธ์และผลผลิต จากการดำ�เนินงานของเครือข่ายเยาวชนอำ�เภอเมืองปานส่งผลให้ เกิดการแก้ไขปัญหาเด็กและสตรีในชุมชนอย่างเป็นระบบ ประชาชน เห็นคุณค่าของตนเอง รักและเคารพสิทธิข์ องผูอ้ นื่ คนในชุมชนเกิดความ รักความสามัคคี เกิดสำ�นึกรักท้องถิ่น เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานของ คนในและนอกชุมชน

72

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


ชุดกิจกรรมที่ 4 การจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อ ต่อครอบครัวอบอุ่นและการดูแลตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

ก รณีศึกษา : ฐานเรียนรู้ที่ 1 การจัดพื้นที่สร้างสรรค์ ฐานเรียนรู้ที่ 2 การสร้างสัมพันธภาพ ครอบครัว ฐานเรียนรู้ที่ 3 การจัดรณรงค์



วัตถุประสงค์ 1.  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการจัดการสภาพ แวดล้อมที่เอื้อต่อครอบครัวอบอุ่นและการดูแลการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของ พื้นที่เกี่ยวกับ รูปแบบและวิธีการดำ�เนินงาน ทุนทางสังคมของชุมชน ท้องถิน่ สิง่ ทีส่ นับสนุน สิง่ ทีเ่ ป็นอุปสรรคต่อการดำ�เนินงาน และแนวทาง​ การดำ�เนินงานในอนาคต 2. เพือ่ รวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรูก้ ารจัดการ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อครอบครัวอบอุ่นและการดูแลการตั้งครรภ์ใน วัยรุ่นของพื้นที่จากประสบการณ์การดำ�เนินการที่ผ่านมาของพื้นที่

การจัดการสภาพแวดล้อมฯ

เมนู 4

3. เพือ่ ให้มชี ดุ ความรูก้ ารจัดการสภาพแวดล้อมทีเ่ อือ้ ต่อครอบครัว อบอุ่นและการดูแลการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของพื้นที่ นำ�ไปประยุกต์ใช้ได้ ตามบริบทพื้นที่

75


ขอบเขตเนื้อหา การจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อครอบครัวอบอุ่นและการดูแลการ ตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ เป็นรูปธรรมการดำ�เนินกิจกรรมของชุมชนท้องถิน่ ทีส่ นับสนุน และส่งเสริมให้มีการปรับปรุง หรือการพัฒนาโครงสร้างต่าง ๆ ดังนี้ 1) โครงสร้างทางกายภาพ เช่น อาคารสถานที่ พืน้ ทีท่ �ำ กิจกรรม พืน้ ที่ เรียนรู้ สวนสาธารณะสำ�หรับพบปะสังสรรค์ การพักผ่อนหย่อนใจ การออก กำ�ลังกาย และอุปกรณ์ เครื่องมือในการดูแลช่วยเหลือครอบครัวและวัยรุ่น ตั้งครรภ์ เป็นต้น 2) โครงสร้างทางสังคม เป็นการสนับสนุนให้มีกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ การ จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดการปัญหา การรวมกลุ่ม อาสาสมัครในการช่วยเหลือครอบครัวแม่วัยรุ่น และวัยรุ่นท้อง ที่เอื้อต่อการ จัดการในชุมชนท้องถิ่นที่มุ่งสนับสนุนให้เกิดความเข้มแข็งการทำ�งานครอบครัว อบอุน่ และการจัดการดูแลตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ 1 เช่น สนับสนุนให้มกี ลุม่ กิจกรรม ต่าง ๆ การจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดการปัญหา การ รวมกลุม่ อาสาสมัครในการช่วยเหลือครอบครัวแม่วยั รุน่ และวัยรุน่ ท้อง เป็นต้น การเรียนรู้ในฐานนี้ประกอบด้วย​การเรียนรู้ 3 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ 1) การจัดพื้นที่สร้างสรรค์ 2) การสร้างสัมพันธภาพครอบครัว และ 3) การ จัดรณรงค์ ดังนี้

1

76

น โยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาครอบครัวพ.ศ. 2547 - 2556 ส�ำนักงานกิจการสตรีและ สถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. เข้าถึงจาก http://www.m-society.go.th/document/edoc เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2557 คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


1) การจัดพื้นที่สร้างสรรค์ เป็นการสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนร่วม กันพัฒนาพื้นที่ โครงสร้างทางกายภาพ และโครงสร้างทางสังคมที่สนับสนุน กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เช่น การมีพื้นที่ขายของสร้างรายได้ กิจกรรมทาง ศาสนา งานประเพณี การจัดตั้งชมรมกีฬา และการลดพื้นที่เสี่ยงที่ก่อให้เกิด พฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น มีลักษณะกิจกรรม 1.1) การสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนร่วมกันพัฒนาพืน้ ที่ สนับสนุน กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เช่น กิจกรรมทางศาสนา งานประเพณี การจัดตั้ง ชมรมกีฬา

เมนู 4

1.2) การลดพื้นที่เสี่ยงที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ ในวัยรุ่น โดยจัดให้มีการเฝ้าระวังจัดการพื้นที่เป็นแหล่งรวมของเยาวชนนอก โรงเรียน 2) สร้างสัมพันธภาพครอบครัว การจัดกิจกรรมที่กอ่ ให้เกิดสัมพันธภาพ ของสมาชิกในครอบครัวทีห่ ล่อหลอมบุตร หลานให้มแี นวคิดสร้างสรรค์ ใช้ชวี ติ ในสังคมทีเ่ ป็นผลดีตอ่ สุขภาพ โดยเฉพาะหลีกเลีย่ งสถานการณ์ตง้ั ครรภ์ในวัยรุน่ มีลักษณะกิจกรรม 2.1) สนับสนุนกิจกรรมทีก่ อ่ ให้เกิดสัมพันธภาพของสมาชิกในครอบครัว ที่หล่อหลอมบุตร หลานให้มีแนวคิดสร้างสรรค์ ใช้ชีวิตในสังคมที่เป็นผลดีต่อ สุขภาพ โดยเฉพาะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

การจัดการสภาพแวดล้อมฯ

77


3) การจัดรณรงค์ สร้างค่านิยม ส่งเสริมภูมิปัญญา ปรับทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรม มีการจัดกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มบุคคล ครอบครัว มีกระบวนการการสือ่ สารทีก่ อ่ ให้เกิดผลกระทบระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้เกิดแนวคิดสร้างคุณค่าของเด็กที่เกิดมาจากแม่วัยรุ่น2 ตัวอย่าง การรณรงค์เช่น สร้างค่านิยมของชุมชนให้เห็นถึงคุณค่าของเด็กทุกคนที่เกิดมา (เด็กทุกคนเป็นเด็กของชุมชน) สร้างกระแสเพื่อปรับทัศนคติ ค่านิยมเรื่องเพศ และการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พลิกฟื้นภูมิปัญญาในการสร้างค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม เป็นต้น มีลักษณะกิจกรรม 3.1) การจัดกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มบุคคล ครอบครัว มีกระบวนการการสือ่ สารทีก่ อ่ ให้เกิดผลกระทบระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้เกิดแนวคิดสร้างคุณค่าของเด็กทีเ่ กิดมาจากแม่วยั รุน่ ตัวอย่างเช่น สร้างค่านิยม ของชุมชนให้เห็นถึงคุณค่าของเด็กทุกคนทีเ่ กิดมา (เด็กทุกคนเป็นเด็กของชุมชน) สร้างกระแสเพื่อปรับทัศนคติ ค่านิยมเรื่องเพศ และการป้องกันการตั้งครรภ์ ในวัยรุ่น พลิกฟื้นภูมิปัญญาในการสร้างค่านิยมคุณธรรม จริยธรรม เป็นต้น

2

78

ข วัญตา ตุ้มหิรญ ั และคณะ, จิตตินนั ท์ เดชะคุปต์ สภาพการด�ำเนินชีวติ ครอบครัวพ่อแม่ วัยรุน่ และบริการทางสังคมส�ำหรับครอบครัวเอกสารประกอบงานประชุมวิชาการครอบครัว ศึกษา ปี 2553 “ร่วมคิด ร่วมเรียนรู้ สู้วิกฤตครอบครัวไทย” 11 - 12 กุมภาพันธ์ 2553  ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


ฐานเรี ยนรู้ที่ 1 การจัดพื้นที่สร้างสรรค์

❛  กรณีศึกษา พื้นที่สร้างความสุขที่กาดคนวัง ❜ เทศบาลต�ำบลวังชิ้น  อ�ำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่

สุพจน์ ยานะผูก,  ปฏิพล จอมดวง  วิรชั  เครือค�ำ,  สามารถ ขันค�ำ


1. ที่มาการพัฒนา เทศบาลตำ�บลวังชิ้นได้ดำ�เนินงานของโครงการศูนย์พัฒนาและ สถาบันครอบครัวเมื่อปีพ.ศ. 2552 ได้มีระบบบริหารจัดการโดยมีชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์ฯ ปี 2555 ศูนย์พัฒนาและสถาบันครอบครัวเทศบาลตำ�บลวัง ได้มกี จิ กรรมในการแสดงออกของเด็กและเยาวชนมีพนื้ ทีท่ จี่ ะให้เด็กและ เยาวชนแสดงออกซึ่ ง เทศบาลตำ � บลได้ จั ด ให้ มี พื้ นที่ ส ร้ า งสรรค์ คื อ กิจกรรมเวที “ถนนคนเดิน” ทุกวันพฤหัสบดีสุดท้ายของเดือนซึ่งจะมี เด็กได้ทำ�กิจกรรมที่ชอบ เช่น การละเล่นหรือการแสดงออกต่าง ๆ ทีต่ นเองถนัดหรือการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ การจัดเวทีการประชุม /  อบรมให้ ค วามรู้ ให้ กั บ ค่ า ยเด็ ก และเยาวชน เวที ก ารประกวดต่ า ง ๆ ในพื้นที่เทศบาลตำ�บลวังชิ้นก่อเกิดการรวมพลังที่มีศักยภาพร่วมกัน ในการพัฒนาชุมชนในรูปแบบของศูนย์พัฒนาและสถาบันครอบครัว

80

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


2. แนวคิดในการด�ำเนินงาน ●

จัดแข่งขันฟุตซอลเยาวชนต่อต้านยาเสพติดประจำ�ปี ให้ เยาวชนทุกหมูบ่ า้ นมีกจิ กรรมร่วมกัน โดยติดต่อกับผูใ้ หญ่บา้ นนำ�เยาวชน มาแข่งขัน ●  กิจกรรมสร้างสรรค์ “กาดคนวัง...ใครใคร่ซื้อ..ซื้อ ใครอยาก ขาย...ขาย ใครอยากเล่น...เล่น” ดำ�เนินการทุกวันพฤหัสบดีสุดท้ายของ เดือน ให้ชาวบ้านนำ�สินค้ามาจำ�หน่าย เด็กนักเรียนในเขตอำ�เภอทุกแห่ง หมุนเวียนมาแสดง เช่น การฟ้อนเล็บ ตีกลองสะพัดชัย วงดนตรีลกู ทุง่ ประกวดร้ อ งเพลง ประกวด  ​“ แม่ เ ฮี ย น”  ผู้ ห ญิ ง ที่ มี ค รอบครั ว แล้ ว สมัครเข้าประกวด ประกวดส้มตำ�ลีลา เพื่อครอบครัวได้มีกิจกรรม ร่วมกัน มีการประชาสัมพันธ์ทางวิทยุชุมชน เสียงตามสาย

3. ผลผลิตและผลลัพธ์

การจัดการสภาพแวดล้อมฯ

เมนู 4

เทศบาลตำ�บลวังชิน้ มีวธิ กี าร กระบวนการการทำ�งานส่งผลให้เกิดการ สร้างความรัก ความเข้าใจและลดปัญหาที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว และยัง ทำ�ให้คนในชุมชน มีความรัก ความสามัคคี มีการช่วยเหลือซึง่ กันและกัน ก่อ เกิดการรวมพลังที่มีศักยภาพร่วมกันในการพัฒนาชุมชนในรูปแบบของศูนย์ พัฒนาสถาบันครอบครัวในชุมชนเทศบาลตำ�บลวังชิน้ ลดและแก้ไขปัญหาความ รุนแรงในครอบครัว การทำ�งานของศูนย์พฒ ั นาสถาบันครอบครัว ได้ผสานความ ร่วมมือสภาเด็กและเยาวชน จากการทำ�งานทำ�ให้เกิดการสร้างความรัก ความ

81


เข้าใจและลดปัญหาที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว และยังทำ�ให้คนในชุมชน มี ความรัก ความสามัคคี มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ก่อเกิดการรวมพลังที่มี ศักยภาพร่วมกันในการพัฒนาชุมชนในรูปแบบของศูนย์พฒ ั นาสถาบันครอบครัว ในชุมชนเทศบาลตำ�บลวังชิ้นนำ�ไปสู่การเป็นครอบครัวสังคมที่เข้มแข็ง ลดและ แก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และมีการส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ในพืน้ ที่ สร้างสรรค์

รางวัลที่ได้รับ ได้รบั ใบประกาศเกียรติคณ ุ ผ่านการประเมินศูนย์พฒ ั นาครอบครัว ระดับดีระดับประเทศในปี 2556

82

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


ฐานเรี ยนรู้ที่ 2 สร้างสัมพันธภาพครอบครัว

❛  กรณีศึกษา ต้นทุนครอบครัวที่ไม่ต้องซื้อหา แต่มีคุณค่ามหาศาล ❜ เทศบาลเมืองวังนํ้าเย็น  อ�ำเภอวังนํ้าเย็น จังหวัดสระแก้ว

จิรณัฐกานต์ อินตบุตร,  ประทุม จ�ำปา,  วนิดา แดงเพลิง


1. ที่มาการพัฒนา เด็กในช่วงปฐมวัย (0 - 5 ปี) เป็นวัยที่มีรากฐานการเจริญเติบโต ทัง้ ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปญ ั ญาอย่างรวดเร็วและ เป็นวัยทีม่ คี วามสำ�คัญเหมาะสมทีส่ ดุ ในการอบรมเลีย้ งดูเพือ่ ปูพนื้ ฐานให้ เด็กมีพฒ ั นาการทัง้  4 ด้าน อย่างเหมาะสมกับวัย สถาบันครอบครัวเป็น สถาบันแรกที่เป็นจุดเริ่มต้นให้กับเด็กในทุกสิ่งของการสร้างความเจริญ เติบโตทุกด้าน ซึง่ ครอบครัวในสังคมปัจจุบนั มีขนาดเล็กลงเป็นครอบครัว เดีย่ ว และความสัมพันธ์ในครอบครัวยังลดน้อยลงตามไปด้วย ส่งผลให้ ครอบครัวขาดโอกาสในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างถูกต้องและ เหมาะสม ทางด้านกาย จิต อารมณ์ สังคม ก่อให้เกิดปัญหาตามมา ในอนาคต สูญเสียเงินประเทศชาติในการแก้ไขปัญหา และเสียเวลาใน การพัฒนาประเทศชาติ เพราะฉะนั้นจำ�เป็นต้องให้ความรู้และส่งเสริม การเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดกับพ่อแม่ผู้ปกครองอย่างถูกต้อง เพื่อสร้างเสริมให้เกิดความรักความอบอุ่นในครอบครัว

84

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


เทศบาลเมืองวังนํา้ เย็น เป็นศูนย์กลางกิจกรรมศูนย์ 3 วัยสานสายใยรัก แห่งครอบครัว จังหวัดสระแก้ว โดยมีการดำ�เนินงานร่วมกับทุกภาคส่วน ซึ่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองวังนํ้าเย็นดำ�เนินกิจกรรมเสวนาให้ความรู้ ผูป้ กครอง นำ�ร่องตามโครงการ IQ EQ เด็กปฐมวัย ของกรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข ตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ประสบผลสำ�เร็จ ตามเป้าหมาย ผูป้ กครองสามารถมีสว่ นร่วมกับศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็กในการเลีย้ ง ดูและส่งเสริมพัฒนาการบุตรหลาน และสร้างพื้นฐานครอบครัวอบอุ่นได้อย่าง ถูกต้อง

2. แนวคิดในการด�ำเนินงาน 1) จัดกิจกรรมในรูปแบบเวทีเสวนาแลเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ ระหว่างวิทยากร และผูป้ กครองด้วยกัน ศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก จำ�นวน 5 แห่ง  ๆ ละ  2 ครั้ง

การจัดการสภาพแวดล้อมฯ

เมนู 4

ครั้งที่ 1 ประกอบด้วยเรื่อง (1) การส่งเสริมและตรวจประเมินพัฒนาการ เด็กตามแบบประเมินอนามัย 55 (2) การดูแล ป้องกันการเกิดอุบัติ การณ์ภาวะแทรกซ้อนโรคติดต่อในเด็ก (3) อุบตั เิ หตุในเด็ก การป้องกัน และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น (4) การติดตามภาวะโภชนาการในเด็ก (ชั่งนํ้าหนักวัดส่วนสูงและการบันทึกนํ้าหนักส่วนสูง และตรวจเกณฑ์ ภาวะทางโภชนาการ) (5) การส่งเสริมเด็กทีม่ ภี าวะโภชนาการตํา่ และเกิน เกณฑ์ (6) การดูแลสุขภาวะในช่องปาก ในเด็กปฐมวัย

85


ครั้งที่ 2 ประกอบด้วยเรือ่ ง (1) คุณธรรมประจำ�ครอบครัว ในเรือ่ งบทบาท ของสามีและภรรยา และ หน้าทีข่ องพ่อแม่ในครอบครัว (2) ปัจจัยพืน้ ฐาน ของครอบครัวที่ดี (3) วิธีการแก้ปัญหาพฤติกรรมเด็ก (4) การส่งเสริม พัฒนาการให้กับลูกรัก (5) ประโยชน์ของการเล่านิทาน

2) จัดรายการ “โรงเรียนพ่อแม่สานรักดอกไม้เบิกบาน” ทุกวันเสาร์ ช่วง เวลา 14.30 – 16.00 น. ทางการกระจายเสียงแบบไร้สายเทศบาลเมืองวังนํา้ เย็น คลื่น 106.25 MHZ ณ ศูนย์กระจายเสียงเทศบาลเมืองวังนํ้าเย็น คลื่น 106.25 ​ MHZ ตั้งอยู่ที่ศูนย์ 3 วัยสานสายใยรักแห่งครอบครัวเทศบาลเมืองวังนํ้าเย็น อำ�เภอวังนํ้าเย็น จังหวัดสระแก้ว

86

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


3. ผลผลิตและผลลัพธ์ 1) ผูป้ กครองและผูด้ แู ลเด็กของศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็กเทศบาลเมืองวังนํา้ เย็น มีความรู้ความเข้าใจในการสร้างครอบครัวอบอุ่นและการส่งเสริมพัฒนาการ บุตรหลาน 2) ประชาชนได้รับเกร็ดความรู้การดูแลครอบครัวและบุตรหลาน จาก รายการ “โรงเรียนพ่อแม่สานรักดอกไม้เบิกบาน” ทุกวันเสาร์ เวลา 14.00 - 16.30 น. คลื่น 106.25 MHZ ณ ศูนย์ 3 วัยสานสายใยรักแห่งครอบครัว ดำ�เนินรายการ โดย นางสาวจิรณัฐกานต์ อินตบุตร ตำ�แหน่ง นักวิชาการศึกษา 3) เด็กปฐมวัยได้การปูพื้นฐานพัฒนาการ และได้รับการอบรมเลี้ยงดู อย่างเหมาะสมจากครอบครัว ส่งผลให้มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง

เมนู 4

4) รายการ “โรงเรียนพ่อแม่สานรักดอกไม้เบิกบาน” ได้รบั รางวัลชนะเลิศ สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ดีเด่น (สื่อวิทยุ) จังหวัดสระแก้ว ประจำ� ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 จากสำ�นักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว เพื่อร่วม เป็นเครือข่ายเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมภายใต้แนวคิด “ขจัดสื่อร้าย ขยายสื่อดี” 5) อสม. นมแม่สายใยรัก ได้รบั รางวัล อสม.ดีเด่น สาขานมแม่สายใยรัก ระดับภาคกลาง และจะประกวดในระดับประเทศในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 ต่อไป

การจัดการสภาพแวดล้อมฯ

87


ฐานเรี ยนรู้ที่ 3 การจัดรณรงค์

❛  กรณีศึกษา ศูนย์พัฒนาครอบครัว ต�ำบลชากไทย  อ�ำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ❜ เทศบาลต�ำบลชากไทย  อ�ำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี


1. ที่มาการพัฒนา

การจัดการสภาพแวดล้อมฯ

เมนู 4

ศูนย์พฒ ั นาครอบครัวตำ�บลชากไทย เริม่ จัดตัง้ ปี พ.ศ. 2548 จาก นโยบายของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดย ตำ�บลชากไทยเป็นตำ�บลนำ�ร่องของจังหวัดจันทบุรี ภายใต้แนวคิด “สร้างโอกาสให้ชมุ ชนได้เรียนรูแ้ ละมีสว่ นร่วมในการพัฒนาสถาบันครอบครัว ในชุมชนของตนเอง” ทั้งนี้เนื่องจากภาวะสังคมปัจจุบัน เป็นสังคมที่ ต่างคนต่างอยู่ และสถานการณ์ครอบครัวไทย เป็นครอบครัวเดี่ยว มากขึ้น ซึ่งต่างจากในอดีตที่เป็นครอบครัวขยาย มีปู่ ย่า ตา ยาย ช่วยดูแลลูกหลาน สือ่ ต่าง ๆ ยัว่ ยุให้ครอบครัวมีความเปราะบางมากขึน้ ภาวะเศรษฐกิจและค่านิยมที่ให้ความสำ�คัญกับมูลค่ามากกว่าคุณค่า ทำ�ให้ครอบครัวส่วนใหญ่ขาดการเอาใจใส่ดแู ล นัน่ หมายถึงสายสัมพันธ์ แห่งความสุข ความอบอุ่นภายในครอบครัวต้องขาดหายไป เด็กและ ผู้สูงอายุคือผู้ที่ได้ผลกระทบมากที่สุด โดยผู้สูงอายุนั้นมีความหวังที่จะ ให้ลูกหลานมาดูแลเอาใจใส่ในยามวัยชรา ส่วนเด็กที่เป็นบุตรหลาน ก็ตอ้ งการคำ�ชีแ้ นะสัง่ สอนทีถ่ กู ต้อง และความรักความเข้าใจอย่างใกล้ชดิ จากพ่อแม่ เมื่อพ่อแม่ไม่สามารถให้ในสิ่งดังกล่าวนี้ได้ เด็กเหล่านั้น จึงต้องไปหาทีพ่ งึ่ ทางอืน่ เพือ่ ทดแทนสิง่ ทีข่ าดหายไป ทัง้ ในเรือ่ งของการ คบเพื่อนไปในทางที่ผิด การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และหลายคนไม่สามารถ เรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

89


2. แนวคิดในการด�ำเนินงาน การทำ�งานของศูนย์ฯ เน้นสร้างการมีสว่ นร่วมจากทุกภาคส่วน ทัง้ ภายใน และภายนอกตำ�บลมีการประชุมคณะกรรมการทุก 2 เดือน มีกจิ กรรมทีด่ �ำ เนินการ ดังนี้

1) กิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์ ที่เปิดโอกาสให้ครอบครัว ได้มีส่วนร่วม ออกแบบกิจกรรมร่วมกับ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในการดำ�เนินการ เช่น ค่าย ครอบครัว 2 วัน 1 คืน โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว เป็นต้น 2) กิจกรรมวัยใสใส่ใจธรรมะ ศูนย์พัฒนาครอบครัว ร่วมกับโรงเรียน บ้านชากไทยและโรงเรียนบ้านเนินมะหาด ให้ผู้ปกครองและนักเรียน จูงมือไป ทำ�บุญที่วัดทุกวันพระ 3) “บอกข่าว...เล่าเรือ่ ง” เป็นจดหมายข่าวทีเ่ ทศบาลเป็นผูด้ �ำ เนินการจัดทำ� มีคอลัมน์ ครอบครั ว อบอุ่ น โดยศู น ย์ พั ฒ นาครอบครั ว ใช้ เป็ น สื่ อ ในการ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของศูนย์ ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ หรือความเสี่ยงของวัยรุ่นในปัจจุบัน และให้ความรู้เรื่องกฎหมายที่ควรรู้

90

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


4) กิจกรรมให้ปรึกษาและลดเหตุรนุ แรงในครอบครัวและไกล่เกลีย่ ความ ขัดแย้งของครอบครัวและชุมชน 5) การจัดกิจกรรมโครงการเพือ่ นช่วยเพือ่ น โดยเข้าไปเยีย่ มบ้านและแจก ถุงยังชีพ เพื่อเป็นการแสดงนํ้าใจให้กับผู้ยากไร้ได้มีกำ�ลังใจในการดำ�เนินชีวิต 6) การจัดกิจกรรมโครงการเยี่ยมบ้านคนชราและผู้ติดเชื้อ HIV เพื่อมอบ เงินช่วยเหลือและประสานขอรับการช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ

การจัดการสภาพแวดล้อมฯ

เมนู 4

7) การจัดกิจกรรมโครงการเสริมทักษะเด็กวัยเรียน ด้วยการจัดอบรมการ ทำ�แม่พิมพ์ปนู ปลาสเตอร์ให้กับเด็กในพื้นที่ ที่มีอายุ 10 - 12 ปี เพื่อให้เด็กได้ใช้ เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และสามารถหารายได้ดว้ ยตนเองซึง่ จะช่วยลดภาระค่า ใช้จ่ายของผู้ปกครอง

91


3. ผลผลิตและผลลัพธ์ ดังนี้

จากการทำ�งานของศูนย์ฯ ทำ�ให้เกิดผลลิตและผลลัพธ์จากการดำ�เนินงาน

1) กลุม่ เป้าหมาย 3 กลุม่ ประกอบด้วยกลุม่ เด็ก และเยาวชนก่อนสมรส กลุ่มครอบครัวปกติ กลุ่มครอบครัวมีปัญหา ได้รับการดูแล แก้ไขปัญหาและ พัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยการสนับสนุนงบประมาณผ่านศูนย์พัฒนาครอบครัว ให้น�ำ ไปใช้ด�ำ เนินกิจกรรมตามความเหมาะสมของพืน้ ที่ ส่งผลให้กลุม่ เป้าหมาย ทั้ง 3 กลุ่ม ได้พัฒนาความสัมพันธ์และสายใยความรักของครอบครัวอย่าง แน่นแฟ้น เป็นครอบครัวที่เข้มแข็ง 2) จากการดำ�เนินกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์พัฒนาครอบครัวนั้นได้เกิด คุณค่าทางจิตใจ ดังนี้ (1) ผูต้ ดิ เชือ้ HIV ได้มีความมั่นใจในการดำ�รงชีวิตโดย ไม่ถูกรังเกียจทำ�ให้ลดความตึงเครียดในจิตใจ (2) ผู้สูงอายุ ได้รู้สึกมีคุณค่า มากขึน้ และรูส้ กึ อบอุน่ ทีไ่ ด้รบั การช่วยเหลือ และการให้ก�ำ ลังใจจากคณะทำ�งาน ศูนย์พัฒนาครอบครัว (3) เด็ก ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนในครอบครัว มากขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากกิจกรรมโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว และค่าย ครอบครัว

92

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


ชุดกิจกรรมที่ 5 การพัฒนาระบบบริการแบบมีส่วนร่วม

ก รณีศึกษา : ฐานเรียนรู้ที่ 12 ก ารจัดระบบการเชื่อมต่อ อย่างบูรณาการ ฐาเรียนรู้นที่ 13 การจัดบริการที่เป็นมิตร ฐานเรียนรู้ที่ 14 การพัฒนารูปแบบ (model) ศูนย์ครอบครัว



วัตถุประสงค์ 1. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการพัฒนาระบบ บริการแบบมีสว่ นร่วมของพืน้ ทีเ่ กีย่ วกับ รูปแบบ / วิธกี ารดำ�เนินงาน ทุน ทางสังคมของชุมชนท้องถิ่น สิ่งที่สนับสนุน สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการ ดำ�เนินงาน และแนวทางการดำ�เนินงานในอนาคต 2. เพือ่ รวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรูก้ ารพัฒนา ระบบบริการแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่จากประสบการณ์การดำ�เนินการ ที่ผ่านมาของพื้นที่

เมนู 5

3.  เพื่อให้มีชุดความรู้การพัฒนาระบบบริการแบบมีส่วนร่วม ของพื้นที่ นำ�ไปประยุกต์ใช้ได้ตามบริบทพื้นที่

การพัฒนาระบบบริการแบบมีส่วนร่วม

95


ขอบเขตเนื้อหา การพัฒนาระบบบริการแบบมีส่วนร่วม เป็นการดำ�เนินงานจัดบริการ ภายในชุมชนท้องถิน่ ทีเ่ ป็นกิจกรรมสำ�หรับส่งเสริมครอบครัวอบอุน่ และการดูแล กลุม่ เป้าหมายวัยรุน่ ทีเ่ ป็นกลุม่ เสีย่ งต่อการตัง้ ครรภ์ วัยรุน่ ตัง้ ครรภ์ และแม่วยั รุน่ โดยมีแนวคิดการทำ�งานแบบมีส่วนร่วมจาก 4 องค์กรหลักในพื้นที่ ที่สนับสนุน และส่งเสริมให้เกิดครอบครัวอบอุ่นการจัดการดูแลวัยรุ่นตั้งครรภ์ และแม่วัยรุ่น ให้สามารถเข้าถึงการช่วยเหลือดูแลทางด้านสุขภาพทีจ่ �ำ เป็นในทุกสภาวะสุขภาพ ในการพัฒนาข้อมูลของเครือข่ายตำ�บลสุขภาวะผ่านการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า การวิจยั เชิงชาติพนั ธุว์ รรณนาแบบเร่งด่วน (RECAP) เพือ่ ศึกษาทุนทางสังคมและ ศักยภาพของชุมชน และใช้เครื่องมือการพัฒนาระบบข้อมูลตำ�บล (TCNAP) เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของชุมชนเกี่ยวกับครอบครัววัยรุ่นและ ตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ นำ�ใช้ขอ้ มูล โดยเน้นการสร้างการมีสว่ นร่วมจากทุกภาคส่วน ได้แก่ แกนนำ�วัยรุ่น วัยรุ่นตั้งครรภ์ แม่วัยรุ่น ผู้ดูแล อาสาสมัคร แกนนำ� ผู้นำ�ชุมชน บุคลากรของหน่วยงาน องค์กรในพื้นที่ และผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ครอบครัววัยรุ่นสถานการณ์ปกติ สถานการณ์ฉุกเฉินของวัยรุ่น ตัง้ ครรภ์ การฟืน้ ฟูสภาพ การฝึกทักษะอาชีพ และการศึกษาต่อทัง้ ในและนอก ระบบ ต้องครอบคลุมทุกกลุม่ ประชากรเป้าหมาย คือครอบครัวทีม่ สี มาชิกวัยรุน่ วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ และแม่วัยรุ่น ประกอบด้วย 3 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่

96

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


1) การจัดระบบการเชือ่ มต่ออย่างบูรณาการ เป็นการจัดระบบบริการของ องค์กรหลักในพืน้ ทีท่ มี่ กี จิ กรรมการดูแลช่วยเหลือครอบครัว และกลุม่ เป้าหมาย ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ทั้งในสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์ฉุกเฉิน และการ พัฒนาระบบการช่วยเหลือส่งต่ออย่างบูรณาการทุกภาคส่วน ลดขั้นตอนให้ สัน้ ลง ช่วยเหลือวัยรุน่ ได้เร็วขึน้ และไม่เกิดปัญหาซํา้ โดยมีบริการหลายช่องทาง1 มีลักษณะกิจกรรม 1.1) การจัดระบบบริการขององค์กรหลักในพื้นที่ที่มีกิจกรรมการดูแล ช่วยเหลือครอบครัว และกลุม่ เป้าหมายตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ ทัง้ ในสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์ฉุกเฉิน 1.2) การพัฒนาระบบการช่วยเหลือส่งต่ออย่างบูรณาการทุกภาคส่วน ลดขัน้ ตอนในสัน้ ลง ช่วยเหลือวัยรุน่ ได้เร็วขึน้ และไม่เกิดปัญหาซํา้ โดยมีบริการ หลายช่องทาง 1.3) สถานศึกษาจัดให้มีระบบการดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นที่ประสบปัญหา ตั้งแต่ระยะก่อนตั้งครรภ์และหลังตั้งครรภ์อย่างต่อเนื่องและครอบคลุม

เมนู 5

1.4) การจัดให้มบี ริการดูแลสุขภาพและเพิม่ ทักษะการดูแลตนเอง ให้กบั กลุ่มวัยรุ่น ครอบครัว อาสาสมัครในชุมชน

1

ค ่มู อื มาตรฐานศูนย์พฒ ั นาครอบครัวในชุมชน เข้าถึงจาก http://sorporkor.women-family. go.th.เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2557 การพัฒนาระบบบริการแบบมีส่วนร่วม

97


2) การจัดบริการที่เป็นมิตร เป็นการออกแบบบริการที่ตอบสนองปัญหา และความต้องการของครอบครัว และวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยง วัยรุ่นตั้งครรภ์ แม่วัยรุ่น โดยการมีสว่ นร่วมจากหลายภาคส่วนทีเ่ กีย่ วข้อง คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ หน่วยบริการสุขภาพในพืน้ ที่ โรงเรียน แกนนำ�ภาคประชาชน ตัวแทนครอบครัว แกนนำ�วัยรุ่น พร้อมทั้งมีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจ ร่วมกันของทุกภาคส่วน 2.1) การจัดบริการในทุกสถานที่ในชุมชนท้องถิ่น ที่สมาชิกครอบครัว กลุม่ เป้าหมายการตัง้ ครรภ์ในวัยรุน่ เข้าถึงได้ใน (ในสถานประกอบการ ในสถาน บริการ ในชุมชน) ที่มีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วม 2.2) บริการให้ค�ำ ปรึกษาหรือสายด่วนสำ�หรับกลุม่ วัยรุน่ ทีป่ ระสบปัญหา 2.3) จัดช่องทางการสือ่ สารและกระจายข่าวสารด้านสุขภาพทีค่ รอบคลุม ความเสีย่ งจากการมีเพศสัมพันธ์ผลกระทบทีเ่ กิดจากการมีเพศสัมพันธ์ ให้ความรู้ ด้านการประกอบอาชีพ ให้ความช่วยเหลือมารดาวัยรุน่ และครอบครัวให้มรี ายได้ ทัง้ ในระยะตัง้ ครรภ์และหลังคลอด

98

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


2.4) การจัดให้มีโครงสร้างสถานที่ที่เอื้อต่อการบริการสำ�หรับกลุ่มวัยรุ่น ได้แก่คลินิกที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นที่เป็นสัดส่วน 2.5) เพิม่ ทักษะครูในการจัดการเรียนการสอนทักษะชีวติ ในสถานศึกษา ในทุกสังกัดอย่างต่อเนื่องและครอบคลุม

เมนู 5

3) การพัฒนารูปแบบ (model) ศูนย์ครอบครัว เป็นการจัดตั้งศูนย์ พัฒนาครอบครัว ทีม่ อี งค์ประกอบด้านโครงสร้างคณะกรรมการ แผนปฏิบตั งิ าน การวางแผนติดตามการทำ�งาน การพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมการทำ�งานอย่าง ต่อเนือ่ งในการพัฒนาศักยภาพครอบครัวอบอุน่ และดูแลกลุม่ เป้าหมาย (วัยรุน่ แม่วัยรุ่น ลูกของแม่วัยรุ่น)2 มีลักษณะกิจกรรม การจัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัว ที่มีองค์ประกอบด้านโครงสร้างคณะ กรรมการ แผนปฏิบตั งิ าน การวางแผนติดตามการทำ�งาน การพัฒนาต่อยอด นวัตกรรมการทำ�งานอย่างต่อเนือ่ งในการพัฒนาศักยภาพครอบครัวอบอุน่ และ ดูแลกลุ่มเป้าหมาย (วัยรุ่น แม่วัยรุ่น ลูกของแม่วัยรุ่น) สนับสนุนองค์กรภาคประชาชนจัดการดูแลส่งเสริมให้ครอบครัวอบอุ่น และจัดการดูแลตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

2

ศ ูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ส�ำนักส่งเสริมสถาบันครอบครัว ส�ำนักงานกิจการสตรี และสถาบันครอบครัว .เข้าถึงจาก http://sorporkor.women-family.go.th/?page_id=107 เมือ่   17 กุมภาพันธ์ 2557

การพัฒนาระบบบริการแบบมีส่วนร่วม

99


ฐานเรี ยนรู้ที่ 1 การจัดระบบการเชื่อมต่ออย่างบูรณาการ

❛  กรณีศึกษา รูปแบบพัฒนาบริการเชิงรุก เชื่อมต่อบริการเชิงรับ อ�ำเภอปากพลี ❜ กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลปากพลี จังหวัดนครนายก

อังศุมาลิน มั่นคั่ง


1. ที่มาการพัฒนา

เมนู 5

จากการดำ�เนินงานในคลินกิ ฝากครรภ์ของโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ สังเกตเห็นหญิงตัง้ ครรภ์ทมี่ าฝากครรภ์มอี ายุนอ้ ยลงและมีจ�ำ นวนเพิม่ ขึน้ จึงรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ​ ตํ่ากว่า 20 ปี มีถึง 37 % ในปี 2552 ซึ่งสูงที่สุดในเขตภาคตะวันออก ทีมงานของโรงพยาบาลจึงดำ�เนินการโครงการวัยรุ่นเกาะหวายก้าวไกล ใฝ่ดี เพือ่ ส่งเสริมทักษะชีวติ ให้เยาวชนทีร่ ว่ มโครงการเพือ่ ป้องกัน ปัญหา ดังกล่าวติดต่อกัน 3 ปี โดยปรับกิจกรรมและสถานที่ กลุ่มเป้าหมาย ในการจัดโครงการตามข้อมูลทีว่ เิ คราะห์ได้ในแต่ละปี โดยใช้ชอื่ โครงการ วัยรุน่ ปากพลีกา้ วไกลใฝ่ดี ในปีตอ่  ๆ มา ผลการดำ�เนินงานพบว่า ร้อยละ ของหญิงตัง้ ครรภ์อายุตาํ่ กว่า 20 ปีลดลงในระยะแรก ต่อมาก็เป็นปัญหา เหมือนเดิม

การพัฒนาระบบบริการแบบมีส่วนร่วม

101


ทีมงานจึงทำ�การศึกษาเชิงลึกในรูปแบบงานวิจยั เชิงปริมาณเพือ่ หาสาเหตุ และปัจจัยทีท่ �ำ ให้เยาวชนมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ในโรงเรียนมัธยมประจำ�อำ�เภอ และวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์หญิงตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20 ปีในคลินิก ฝากครรภ์ สามี และผู้ปกครอง เพื่อศึกษาถึงทัศนคติของแต่ละคนที่มีต่อการ ตัง้ ครรภ์กอ่ นวัยอันควร จากผลการวิจยั พบว่าปัจจัยทีท่ �ำ ให้เยาวชนมีเพศสัมพันธ์ ก่อนวัยอันควรคือความสัมพันธ์ในครอบครัว ฐานะเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม โดยเยาวชนที่อยู่ในครอบครัวแตกแยก มีการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรมากกว่า ในครอบครัวที่อยู่ครบทั้งพ่อและแม่ โดยสมาชิกในครอบครัวแตกแยกมีส่วน สนับสนุนให้เยาวชนมีครอบครัวในขณะที่ยังศึกษาอยู่เพื่อหารายได้ช่วยเหลือ ครอบครัว จากข้อมูลทีไ่ ด้ทมี งานเห็นว่าปัญหาเกิดจากหลายสาเหตุทม่ี หี ลายภาคส่วน เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงพัฒนารูปแบบบริการศูนย์บริการที่เป็นมิตรสำ�หรับวัยรุ่น เน้นเชิงรุกเชื่อมโยงกับโรงเรียนจัดเป็นศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นในโรงเรียน ประสาน ส่วนท้องถิ่นและสำ�นักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อพัฒนา ศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาล เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาและป้องกันในชุมชนต่อไป

102

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


2. แนวคิดในการด�ำเนินงาน

เมนู 5

ทีมงานสาธารณสุขทำ�การศึกษาข้อมูลในรูปของงานวิจัยเชิงคุณภาพ และ R2R เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงโดยการศึกษาปัจจัยที่ทำ�ให้เยาวชนมี เพศสัมพันธ์ในวัยเรียน และสัมภาษณ์วยั รุน่ ตัง้ ครรภ์ สามี ผูป้ กครองเพือ่ ทราบ ทัศนคติของแต่ละคนในเรื่องการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร คัดแยกกลุ่มเยาวชน เป็นกลุ่ม ปกติ เสี่ยง และมีปัญหา เพื่อให้การป้องกันและแกไขปัญหาได้ เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย คืนข้อมูลให้กับชุมชน ส่วนท้องถิ่น จัดกิจกรรม โครงการรักปลอดภัยในวัยทีน ในลักษณะของฐานเรียนรูเ้ รือ่ งเพศศึกษาและการ คุมกำ�เนิด ทักษะชีวิต การวางแผนงานกิจกรรม สนับสนุนงบประมาณให้กับ เยาวชนกลับไปจัดกิจกรรมในโรงเรียนและชุมชน คิดนวัตกรรมโครงการแก้ปญ ั หา มานำ�เสนอในมหกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้.ที่จัดขึ้นเพื่อติดตามความก้าวหน้า ประกวดโครงงานหรือนวัตกรรมด้านเพศศึกษาของเยาวชน และผลักดันให้ เยาวชนได้นำ�เสนอผลงานในเวทีระดับอำ�เภอและจังหวัดเพื่อสร้างความมั่นใจ และความภาคภูมิใจให้เยาวชน

การพัฒนาระบบบริการแบบมีส่วนร่วม

103


พัฒนาระบบบริการเชิงรุกในสถานศึกษาและโรงงานโดยจัดศูนย์เพือ่ นใจ วัยรุน่ ให้เยาวชนสามารถเข้ารับบริการกับเยาวชนด้วยกันเองได้งา่ ยและสะดวก ขึ้ น ด้ ว ยกิ จ กรรมที่ เหมาะสมตามกลุ่ ม เป้ า หมายที่ คั ด แยกโดยมี บุ ค ลากร สาธารณสุขให้ค�ำ ปรึกษาทางโทรศัพท์ เมือ่ พบรายทีม่ ปี ญ ั หา ส่งต่อเข้าศูนย์พง่ึ ได้ หลั ง จากนั้น โรงพยาบาลประสานความช่ ว ยเหลื อ จากส่ ว นท้ อ งถิ่ น และ สำ�นักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

3. ผลผลิตและผลลัพธ์ จากการดำ�เนินงานพบว่า หญิงตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรยังคงเป็นปัญหา ด้านสาธารณสุขจากการกำ�หนดตัวชีว้ ดั เชิงผลกระทบ ได้แก่ ร้อยละหญิงตัง้ ครรภ์ อายุน้อยกว่า 20 ปีน้อยกว่า 20 มีผลการดำ�เนินงานดังแผนภูมิ

40

37.3

36.1

35 30

24.2

25

19.31

20

21.56

15 10 5 0 2551

2552

2553

2554

2555

แผนภูมิแสดงร้อยละของมารดาอายุตํ่ากว่า 20 ปี อ�ำเภอปากพลี 104

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


เมนู 5

และได้มีการปรับตัวชี้วัดเป็นอัตรามารดาอายุ 15 - 19 ปี ไม่เกิน 50 ต่อ พันประชากร ทำ�ให้ตัวเลขดีขึ้นและไม่เป็นปัญหา ซึ่งในความจริงผลกระทบใน ชุมชน การตัง้ ครรภ์กอ่ นวัยอันควรไม่เป็นปัญหาสำ�หรับชุมชนหรือเยาวชน และ จากการติดตามเชิงคุณภาพพบว่าหญิงตั้งครรภ์อายุ 15 - 19 ปี ที่มาฝากครรภ์ มีความพร้อมในการตัง้ ครรภ์ มีครอบครัว และมีอาชีพร้อยละ 73 มีเพียงร้อยละ  27 ที่ตั้งครรภ์ขณะกำ�ลังศึกษา ทีมงานติดตามต่อถึงทารกที่คลอดจากมารดา อายุนอ้ ย ไม่พบภาวะพร่องออกซิเจนของทารกแรกเกิด มารดาไม่มภี าวะตกเลือด หลังคลอด และนํ้าหนักของเด็กแรกเกิดไม่ตํ่ากว่า 2,500 กรัม ผลกระทบเชิงสังคมทีเ่ กิดจากการดำ�เนินงานคือ เยาวชนมีความร่วมมือ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของตนเองมากขึ้น มีความภาคภูมิใจที่ได้เป็น ส่วนร่วมของชุมชนและชุมชนให้การยอมรับ ในภาคชุมชนเองเห็นความสำ�คัญ ของปัญหามากขึ้น มีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาโดยเริ่มจากครอบครัวและ ให้โอกาสเยาวชนได้แสดงความสามารถ มีทัศนคติที่ดีต่อเยาวชนเพิ่มขึ้น และ ในภาคราชการหน่วยงานต่าง ๆ มีการสนับสนุนด้านต่าง ๆ ตามศักยภาพเพิม่ ขึน้ ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาเพิ่มขึ้นในทุกภาคส่วน

การพัฒนาระบบบริการแบบมีส่วนร่วม

105


ฐานเรี ยนรู้ที่ 2 การจัดการบริการที่เป็นมิตร

❛  กรณีศึกษา ร่วมสร้าง ร่วมแก้ไข ปัญหาภัยสุขภาพ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ❜ ต�ำบลวังนํ้าเย็น  อ�ำเภอวังนํ้าเย็น จังหวัดสระแก้ว

จิรณัฐกานต์ อินตบุตร, ประทุม จ�ำปา,  วนิดา แดงเพลิง


1. ที่มาการพัฒนา

เมนู 5

จากสถานการณ์ ปี พ.ศ. 2554 ในจังหวัดสระแก้ว พบว่ามีหญิง ตั้งครรภ์ ที่อายุน้อยกว่า 20 ปี เป็นลำ�ดับที่ 10 ของประเทศ ในระดับ จังหวัด อำ�เภอวังนํ้าเย็น เป็นลำ�ดับที่ 1 และในระดับตำ�บล ตำ�บล วังนํา้ เย็น เป็นลำ�ดับที ่ 1 ซึง่ มีทงั้ หมด 4 ตำ�บล จากสถิตกิ ารฝากครรภ์ ที่โรงพยาบาลวังนํ้าเย็น พบว่า ในปี พ.ศ. 2553 หญิงตั้งครรภ์ ที่อายุ  14, 18 ปี ติดโรคเอดส์ ในปี พ.ศ. 2554 มีเด็กหญิงแม่อายุ 11 ปี จากการ วิเคราะห์ข้อมูล พบว่า หญิงตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20 ปี ขาดความรู้ เรือ่ งทักษะชีวติ เพศศึกษา / โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกัน การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร จากปัญหาที่เกิด จึงได้นำ�ข้อมูลมาวิเคราะห์และหาแนวทาง วางแผนป้องกัน โดยภาคีเครือข่ายในอำ�เภอวังนํา้ เย็น ซึง่ มีเทศบาลเมือง วังนํ้าเย็น สถานศึกษา โรงพยาบาลวังนํ้าเย็น ผู้นำ�ชุมชน และ อสม. โดยมี เทศบาลเมืองวังนํ้าเย็น ให้การสนับสนุนงบประมาณในการ ดำ�เนินโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ ก่อนวัยอันควรในตำ�บลวังนํ้าเย็น

การพัฒนาระบบบริการแบบมีส่วนร่วม

107


2. แนวคิดในการด�ำเนินงาน การดำ�เนินงานในการวางแผนแก้ไขปัญหาในการดูแลและป้องกันการ ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร มีการดำ�เนินงานโดยเครือข่าย ดังนี้

ในโรงพยาบาล 1) วิเคราะห์ปญ ั หา จัดทำ�โครงการเพือ่ ขอรับงบประมาณสนับสนุน จากเทศบาลเมืองวังนํ้าเย็น 2) จัดประชุมเครือข่าย เพื่อชี้แจงปัญหา และร่วมกันวางแผน แก้ไขปัญหา 3) จั ด ประชุ ม หน่ ว ยงานและผู้ รั บ ผิ ด ชอบที่ เ กี่ ย วข้ อ งเพื่ อ หา แนวทางการแก้ไขและการป้องกัน 4) แต่งตั้งคณะกรรมการดำ�เนินงาน อนามัยเจริญพันธ์ โดยมี ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลวังนํ้าเย็น เป็นประธาน 5) แต่งตั้งทีมงานผู้รับผิดชอบ จำ�นวน 4 คน ในคลินิกเพื่อนใจ วัยรุ่นในโรงพยาบาลวังนํ้าเย็น

108

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


เมนู 5

6) จัดตั้งคลินิกให้คำ�ปรึกษา “เพื่ อใจวั ย รุ่ น ”  ในโรงพยาบาล วังนํา้ เย็น โดยให้บริการแบบ Online 24 ชม. 0806320974 และ Work In ในวันและเวลาราชการ 7) จัดตัง้ ตูถ้ งุ ยางอนามัยในโรงพยาบาลวังนํา้ เย็น และในหมูบ่ า้ น 8) ออกให้ความรูเ้ รือ่ งทักษะชีวติ เรือ่ งเพศศึกษา และการป้องกัน การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ในโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ และโรงเรียน เครือข่ายในอำ�เภอวังนํ้าเย็น และอำ�เภอวังสมบูรณ์ 9) คืนข้อมูลความรู้สู่ชุมชนให้แก่ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง เด็กก่อน วัยอันควร แจ้งสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเน้นให้สร้างความรัก ความผูกพันในครอบครัวการปรับเปลีย่ นความคิดและให้ความรูเ้ รือ่ งการ ป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 10) จัดอบรมให้ความรู้โรงเรียนพ่อแม่ในหมู่บ้าน / ชุมชน 11) สรุปวิเคราะห์ขอ้ มูลจากแบบสอบถามนำ�มาวางแผนต่อเนือ่ ง

การพัฒนาระบบบริการแบบมีส่วนร่วม

109


ในโรงเรียน 1) จัดทำ�ยุทธศาสตร์แนวทางการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ใน วัยเรียน โดยการจัดประชุมผู้บริหาร ครูผู้ดูแลเด็ก เด็กนักเรียน และ เครือข่าย เพื่อร่วมวางแผนแก้ไขและชี้แจงการดำ�เนินงาน 2) เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลวังนํ้าเย็น ดำ�เนินการออกไปให้ความรู้ เรือ่ งทักษะชีวติ เรือ่ งเพศสัมพันธ์ การป้องกันการตัง้ ครรภ์ และโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ ให้กบั นำ�เรียน ในระดับอุดมศึกษา มัธยมศึกษา และ ระดับชั้นประถมศึกษา จำ�นวน 8 โรงเรียน โดยแบ่งแยกชาย – หญิง 3) จัดอบรมนักเรียนเป็นแกนนำ� “เพือ่ นใจวัยรุน่ ” เพือ่ ไปให้ความรู้ แก่เพื่อนนักเรียนและมุม “เพื่อใจวัยรุ่นในโรงเรียน” 4) โรงพยาบาลวังนํ้าเย็น ติดตามการดำ�เนินงานของนักเรียน แกนนำ�ที่อบรมไปแล้ว

110

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


เมนู 5

5) ติดตั้งตู้ถุงยางอนามัยหยอดเหรียญในโรงเรียนบ้านวังบูรพา ตามโครงการติดตัง้ ตูถ้ งุ ยางอนามัยในโรงเรียนบ้านวังบูรพา ซึง่ เป็นโรงเรียน ขยายโอกาส นำ�ร่องแห่งแรกของจังหวัดสระแก้ว เนือ่ งจากมีนกั เรียนท้อง ในวัยเรียน ผูอ้ �ำ นวยการโรงเรียนมีแนวความคิดตอบรับการป้องกันดีกว่า แก้ปญ ั หา โดยทำ�ประชาคมในหมูบ่ า้ น โดยภาคีเครือข่ายและผูป้ กครอง ร่วมกันดำ�เนินโครงการ 6) จัดตั้งนักเรียนแกนนำ�เครือข่าย “เพื่อนใจวัยรุ่น” ในโรงเรียน ตามโครงการเครือข่ายเพือ่ นใจวัยรุน่ ในโรงเรียน ซึง่ ต่อยอดมาจาก ​“คลินกิ เพือ่ นใจวัยรุน่ ” โดยจัดตัง้ ศูนย์เพือ่ นใจวัยรุน่ ในโรงเรียนวังนํา้ เย็นวิทยาคม และสร้างแกนนำ�ให้เข้ารับการอบรมจนมีความสามารถในการ เป็น เครือข่ายให้ความรู้กับวัยรุ่นในโรงเรียนในพื้นที่ได้ (แบบพี่สอนน้องจาก เด็กที่เคยตั้งครรภ์มาแล้ว นำ�มาร่วมกิจกรรม) ประชาสัมพันธ์ความรู้ สุขภาวะเยาวชน ผ่าน FM 106.25 ของเทศบาลเมืองวังนํ้าเย็น โดย  อสม. และการให้ความรู้ทักษะชีวิตของนักเรียนแกนนำ�ในโรงเรียน ใน ช่วงเวลาพักกลางวัน

การพัฒนาระบบบริการแบบมีส่วนร่วม

111


3. ผลผลิตและผลลัพธ์ ●

มี เครื อ ข่ า ยนั ก เรี ย นแกนนำ � จิ ต อาสาเพื่ อ นใจวั ย รุ่ น เป็ น วิ ท ยากร ให้ความรู้นักเรียนในพื้นที่และโรงเรียนในเครือข่ายอำ�เภอใกล้เคียง ●  สถิติหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม ในตำ�บลวังนํ้าเย็นลดลง ●  เยาวชนมีทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยง ป้องกันและรักนวลสงวนตัว ●  มีชอ ่ งทางการสือ่ สาร ปรึกษาและประชาสัมพันธ์ความรูอ้ นามัยเจริญ พันธุ์และทักษะชีวิตกับเยาวชน ●  ครอบครัวและชุมชนเกิดความรักความผูกพัน ดูแลช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน ●  คลินิก “เพื่อนใจวัยรุ่น” โรงพยาบาลวังนํ้าเย็น โดยให้บริการแบบ  Online 24 ชม. 0806320974 และ Work In ในวันและเวลาราชการ ●  มีการดำ�เนินโครงการ / กิจกรรมอบรมให้ความรูเ้ รือ ่ งอนามัยเจริญพันธุ์ และทักษะชีวิตแก่นักเรียนในโรงเรียน / ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ●  มีการประชาสัมพันธ์ความรูเ้ รือ ่ งทักษะชีวติ การป้องกันการตัง้ ครรภ์ ก่อนวัยอันควร จากภาคีเครือข่าย อสม. ผ่านช่องทางวิทยุ FM 106.25, ดีเจน้อย ในโรงเรียน โรงพยาบาลประชาสัมพันธ์ ●  ได้รบ ั ประกาศเกียรติคณ ุ คลินกิ  “เพือ่ นใจวัยรุน่ ” แห่งแรกของจังหวัด สระแก้ว ประจำ�ปี พ.ศ. 2556

112

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


ฐานเรี ยนรู้ที่ 3 พัฒนารูปแบบ (Model) ศูนย์ครอบครัว

❛  กรณีศึกษา กลไกสุขภาวะทางเพศ…เข้าถึง เข้าใจวัยรุ่น ❜ องค์การบริหารส่วนต�ำบลโป่งงาม  อ�ำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

ถวิล สุริยะ อาภา หน่อตา


1. ที่มาการพัฒนา จากข้อมูลของโรงพยาบาลแม่สายพบว่า มีเด็กผู้หญิงท้องใน วัยเรียนจำ�นวน 64 คน ในปี 2554 และมีเด็กและเยาวชนทีม่ อี ายุตาํ่ กว่า  15 ปี ที่มีเชื้อเอชไอวี / เอดส์ มากถึง 140 ราย (ไม่นับผู้ที่ไม่เปิดเผย) จากตัวเลขดังกล่าว มีความเป็นไปได้ว่าเยาวชนเป็นกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยง ต่อปัญหาดังกล่าว เนื่องจากขาดทักษะชีวิต ขาดความรู้และความ ตระหนักในการดูแลสุขภาวะทางเพศของตนเอง และยังรับรู้ข้อมูล สุขภาวะทางเพศโดยเฉพาะการคุมกำ�เนิดและการป้องกันโรงติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ทไี่ ม่ถกู ต้อง ทำ�ให้มเี ด็กผูห้ ญิงทีต่ งั้ ครรภ์ และต้องออกจาก โรงเรียนเพื่อคลอด และถึงแม้ว่ามีนโยบายให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์สามารถ เรียนได้ แต่เด็กก็อายเพื่อนและครู เด็กจึงเลือกย้ายโรงเรียนเมื่อคลอด ทำ�ให้ต้องหยุดเรียนหรือเรียนไม่ต่อเนื่อง บางส่วนไม่เรียนต่อและเข้าสู่ ตลาดแรงงานที่มีรายได้น้อย เป็นเหตุให้คุณภาพชีวิตของทั้งตัวเองและ ลูกไม่ดนี กั เด็กอีกส่วนหนึง่ เลือกทีจ่ ะทำ�แท้งอย่างไม่ปลอดภัยทำ�ให้เกิด อันตรายแก่ชีวิต

114

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


ศูนย์พัฒนาครอบครัว ตำ�บลโป่งงาม จึงได้ริเริ่มก่อตั้งกลไกคนทำ�งาน สุขภาวะทางเพศในตำ�บลโป่งงาม โดยมีองค์กรทัง้ ภาครัฐและเอกชนมาร่วมเป็น คณะทำ�งาน ภายใต้ชอ่ื  “กลไกสุขภาวะทางเพศโป่งงาม” เพือ่ ทำ�งานส่งเสริมสุขภาวะ ทางเพศที่ดีให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่

2. แนวคิดในการด�ำเนินงาน 1) สร้างกลไกเพือ่ ให้เกิดความเข้าใจในการป้องกันและช่วยเหลือเด็กท้อง ในวัยเรียนด้วยความเข้าใจโดยการจัดเวทีสร้างความร่วมมือกับภาคีตา่ ง ๆ และ จัดเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจประเด็นการตั้งครรภ์ในเด็กวัยเรียน เพื่อพัฒนา ศักยภาพคนทำ�งาน

การพัฒนาระบบบริการแบบมีส่วนร่วม

เมนู 5

2) สร้างแกนนำ�เยาวชนในโรงเรียนเพือ่ ช่วยเพือ่ น ให้ค�ำ ปรึกษา และเป็น สื่อให้คำ�ปรึกษา สรรหาแกนนำ�เยาวชนและพัฒนาศักยภาพแกนนำ�เยาวชนให้ มีความรูเ้ รือ่ งอนามัยเจริญพันธุ์ สุขภาวะทางเพศ ความรับผิดชอบ การถ่ายทอด ภาวะผูน้ �ำ , สนับสนุนให้เกิดกลุม่  / ชมรมให้ความรูแ้ ละคำ�ปรึกษาสุขภาวะทางเพศ ในโรงเรียนและสนับสนุนให้แกนนำ�เยาวชนได้จดั กิจกรรมให้กลุม่ เยาวชนในท้องถิน่ เช่น กิจกรรมอบรม หนังสัน้ การ์ตนู ช่วยเหลือและส่งเสริมเด็กทีห่ ลุดจากวงจร การศึกษาให้มโี อกาสกลับเข้ามาเรียนหรือ ทักษะอาชีพเลีย้ งตนโดยลงพืน้ ทีเ่ ยีย่ ม บ้านแม่วัยรุ่น เสริมความมั่นใจและให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ และจัดกิจกรรม อบรมเสริมทักษะอาชีพเพือ่ เป็นทางเลือกในการดำ�รงชีวติ ส่วนแม่วยั รุน่ ทีพ่ ร้อม ศึกษาต่อก็ได้ประสานงานกับสถานศึกษาในพื้นที่เพื่อรับเด็กกลับเข้าเรียน

115


3. ผลผลิตและผลลัพธ์ 1) เกิดกลไกคนทำ�งานเรื่องสุขภาวะทางเพศ มีการรวมกลุ่ม จัดตัง้ ศูนย์ประสานงาน มีการทำ�งานสอดประสานกันระหว่างภาคี ภาคี มีความรู้เรื่องนโยบายเกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศ 2) เกิดสื่อและกิจกรรมจากเยาวชนเพื่อเยาวชน เช่น หนังสั้น การ์ตูน กิจกรรมศิลปะ 3) เกิดชมรมให้เยาวชนได้มีสถานที่ทำ�งาน รับคำ�ปรึกษา และ เป็นศูนย์ประสานงานการทำ�งานของภาคี 4) เกิดกิจกรรมฝึกอาชีพร่วมกับศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง

116

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


ฐานเรี ยนรู้ที่ 4 พัฒนารูปแบบ (Model) ศูนย์ครอบครัว

❛  กรณีศึกษา การดูแลครอบครัว... ตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงเชิงตะกอน ❜ อบต. เชิงดอย  อ�ำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

มงคล ชัยวุฒิ


1. ที่มาการพัฒนา พ.ศ. 2548 นายมงคล ชัยวุฒิ (นายกอบต. เชิงดอย ตำ�แหน่ง ในขณะนั้น) พบสถานการณ์ปัญหาท้องในวัยรุ่นของเด็กวัยรุ่นในตำ�บล และผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ติดเชื้อ HIV และ เด็กกำ�พร้า กอร์ปกับมีแนวความคิดในการพัฒนาคุณภาพชีวติ ของ ประชาชนอย่างยัง่ ยืน เป็นทุนเดิม จึงทำ�ให้เกิดความคิดในการเก็บข้อมูล เพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มคนดังกล่าว ต่อมาสำ�นักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ จ. เชียงใหม่ ได้ให้การสนับสนุนจัดตั้งศูนย์ พัฒนาครอบครัวและชุมชนตำ�บลเชิงดอยขึ้น โดยมีนายมงคล ชัยวุฒิ  (นายกอบต. เชิงดอย ตำ�แหน่งในขณะนัน้ ) เป็นประธาน มีคณะกรรมการ จำ�นวน 19 คน เป็นตัวแทนจาก ท้องที่ ท้องถิ่น และองค์กรชุมชน ในตำ � บลเชิ ง ดอย และมี ที่ ป รึ ก ษาประกอบด้ ว ยพระครู ศ รี ป ทุ ม รั ก ษ์ เจ้าอาวาสวัดปทุมสราราม ผอ. โรงพยาบาลดอยสะเก็ด ผอ. โรงเรียน ร้องขีเ้ หล็ก ดำ�เนินการภายใต้แนวคิด “เราจะดูแลกันและกัน ตัง้ แต่ตง้ั ครรภ์ จนถึงเชิงตะกอน” ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลตำ�บลเชิงดอย มีกจิ กรรมและโครงการทีส่ �ำ คัญ เป็นทีย่ อมรับของคนในพืน้ ทีเ่ ป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถตอบสนองต่อปัญหาความเดือดร้อนของคนในชุมชน ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน จะช่วยเติมเต็มการให้ความ ช่วยเหลือและสนับสนุนในส่วนที่รัฐบาลเข้าไม่ถึง เติมเต็มส่วนที่ขาด ร่วมสร้างชีวิตที่เป็นสุขให้กับคนในตำ�บล

118

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


2. แนวคิดในการด�ำเนินงาน ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลตำ�บลเชิงดอยจะทำ�หน้าที่ ที่สำ�คัญ 3 ประการ

1) สำ�รวจปัญหาด้านครอบครัวในพื้นที่หมู่บ้าน / ตำ�บล ซึ่งเป็นการสำ�รวจ และจัดทำ�ข้อมูลเพือ่ ให้ทราบว่า แต่ละหมูบ่ า้ นมีกลุม่ บุคคลเป้าหมายทีต่ อ้ งการ ความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ มากน้อยเพียงไร เพือ่ ให้ศนู ย์พฒ ั นาครอบครัวในชุมชน ได้วางแผน ในการจัดทำ�กิจกรรมทีส่ อดคล้องกับความต้องการของกลุม่ เป้าหมาย ได้แก่ จำ�นวนครอบครัวยากจนที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ จำ�นวนครอบครัวที่มี เด็กเล็ก (อายุแรกเกิด – 6ปี) จำ�นวนครอบครัวทีม่ เี ยาวชน (อายุ 15 - 25 ปี) ก่อน สมรส จำ�นวนครอบครัวทีม่ กี ารหย่าร้าง จำ�นวนครอบครัวทีผ่ สู้ งู อายุอยูต่ ามลำ�พัง จำ�นวนครอบครัวที่ต้องดูแลผู้พิการ

การพัฒนาระบบบริการแบบมีส่วนร่วม

เมนู 5

2) เฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านครอบครัว ซึง่ ศูนย์พฒ ั นาครอบครัว จะทำ�หน้าที่ในการวางแผนเพื่อจัดทำ�กิจกรรม ด้านการพัฒนาครอบครัว ที่ สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดี ให้แก่สมาชิกในครอบครัวในหมู่บ้าน / ตำ�บล และเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด และความรุนแรงในครอบครัว เช่น ผลการสำ�รวจข้อมูล แนวทางกิจกรรมทีศ่ นู ย์ พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลตำ�บลเชิงดอยควรจัดทำ� มีจำ�นวนครอบครัว ยากจนทีไ่ ม่สามารถ ช่วยตนเองได้ ประสานงาน เทศบาลตำ�บลเชิงดอย หรือ อำ�เภอดอยสะเก็ด เพื่อประสานงานหน่วยงานในกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ให้ความช่วยเหลือ / สงเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ของ

119


ทางราชการ มีการให้ความรู้แก่เยาวชนด้านครอบครัว เพื่อเตรียมความพร้อม สำ�หรับการมีครอบครัว การให้ความรูก้ บั พ่อ แม่ หรือผูป้ กครอง ในวิธกี ารและ บทบาทการเลี้ยงดูบุตรหลานที่เป็นวัยรุ่น การจัดกิจกรรมนันทนาการแก่วัยรุ่น ครอบครัวทีต่ อ้ งดูแลผูพ้ กิ าร การให้ความรูว้ ธิ ดี แู ล และช่วยเหลือผูพ้ กิ ารทีถ่ กู ต้อง มีจ�ำ นวนครอบครัวทีผ่ สู้ งู อายุอยูต่ ามลำ�พัง การให้ความรูด้ า้ นการดูแลผูส้ งู อายุ การให้ความรู้ด้านสุขอนามัยของผู้สูงอายุ การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ

3) การพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันครอบครัว หมายถึง ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลตำ�บลเชิงดอยเป็นผู้ริเริ่มจัดทำ�กิจกรรม หรือ ให้ค�ำ แนะนำ�ปรึกษาแก่ประชาชนในหมูบ่ า้ น / ตำ�บล ตามผลการสำ�รวจข้อมูล เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัว ต่าง ๆ มีสัมพันธภาพที่ดี มีความรักใคร่สมานฉันท์รู้จักวิธีการสื่อสารภายในครอบครัวที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนสมาชิกในครอบครัวมีความเอื้อเฟื้อและดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ซึ่งจะนำ�ไปสู่ครอบครัวเข้มแข็งต่อไป

120

คู่มือด�ำเนินงานแนวทางและวิธีการของครอบครัวอบอุ่นและตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


3. ผลผลิตและผลลัพธ์ 1) ประชาชนในตำ�บลเชิงดอย จำ�นวน 7,200 คน ได้รับการดูแลให้ กำ�ลังใจในกรณีที่มีญาติเสียชีวิตทำ�ให้ญาติผู้เสียชีวิตมีขวัญกำ�ลังใจ

เมนู 5

2) ผู้สูงอายุในตำ�บลจำ�นวน 1,071 คน ผู้พิการจำ�นวน 189 คนและ ผู้ป่วยติดเตียง ได้รับการดูแล เยี่ยมเยืยน ให้กำ�ลังใจ ตรวจสุขภาพการเสริม ทักษะความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ทำ�ให้มีสุขภาพจิตดีขึ้น สามารถดูแล ตัวเองได้และลดภาระของคนในครอบครัว

การพัฒนาระบบบริการแบบมีส่วนร่วม

121


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.