ท่องไปในเมืองปอน

Page 1

“เรามุ่งสร้างวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นให้สามารถ ใช้ทุ น และศั ก ยภาพของตนเองอย่า งเต็ ม ที่ แ ละ สร้างสรรค์ ด้วยการจัดการข้อมูลชุมชนในหลากหลาย ด้าน ซึ่งถือเป็น ‘แก่น’ และ ‘กลไก’ ส�ำคัญ ในการเอา พื้นที่เป็นฐานในการพัฒนา อันเป็นหนทางเดียวที่จะ สามารถพั ฒ นาชุ ม ชนท้อ งถิ่ น ได้อ ย่า งยั่ ง ยื น และ มีประสิทธิภาพ ภายใต้อต ั ลักษณ์และตัวตนของชุมชน” ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ท่องไปในเมืองปอน | 1


ท่องไปในเมืองปอน กฤตตฤณ, สุทธิโชค จรรยาอังกูร

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data กฤตตฤณ. ท่องไปในเมืองปอน.-- กรุงเทพฯ : ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), 2559. 96 หน้า. 1. แม่ฮ่องสอน--ภูมป ิ ระเทศและการท่องเทีย ่ ว. 2. แม่ฮ่องสอน--ความ เป็นอยู่และประเพณี. I. สุทธิโชค จรรยาอังกูร, ผู้แต่งร่วม. I. ชื่อเรื่อง. 915.9354 ISBN 978-616-393-047-7 เลขมาตรฐานสากลประจ�ำหนังสือ 978-616-393-047-7 พิมพ์ครั้งที่ 1     พฤษภาคม 2559 บรรณาธิการอ�ำนวยการ     ดวงพร เฮงบุณยพันธ์     สมชาย วงษ์จันทธนพงษ์ จิรพงศ์ เวฬุสาโรจน์ บรรณาธิการ     กฤตพจน พงศ์ถริ ประสิทธิ์ กองบรรณาธิการ     พรทิวา ไวยครุฑธา     ชลธิดา ค�ำทา ช่างภาพ     กฤตพจน พงศ์ถริ ประสิทธิ์ ศิลปกรรม     พรทิวา ไวยครุฑธา ออกแบบปก     อรกุล แก้วหิรัญ พิสูจน์อักษร     วรรณรัตน์ กล�ำ่ สมบัติ ประสานงานการผลิต     ชัชฎาพร ณ บางช้าง จัดพิมพ์โดย     ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ     โดยส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (ส�ำนัก 3) อาคารเรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99/8 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 02-343-1500 www.thaihealth.or.th www.punsook.org, www.facebook.com/punsook ด�ำเนินการผลิตโดย หจก. จู๊ซ อัพ มีเดีย แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น 200 ซอยเอกชัย 46 ถนนเอกชัย แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพฯ 10150 2 | ท่องไปในเมืองปอน


ค�ำน�ำ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน ่ อาจเป็นเฟือง ตั ว เล็ ก ๆ ภายในกลไกอั น สลั บ ซั บ ซ้อ นของ การปกครองในประเทศไทย เฟืองตัวเล็กแต่มี จ�ำนวนมากย่อมส่งผลต่อการขับเคลือ ่ นพัฒนา ลองเฟืองเหล่านีไ้ ม่มค ี ณ ุ ภาพ หรือมีข้อบกพร่อง ผลกระทบก็น่ากลัวไม่น้อย ตรงกั น ข้า มหากเฟือ งตั ว เล็ ก ๆ เหล่า นี้ ท�ำงานได้เต็มประสิทธิภาพ มีประสิทธิผลที่ดี ย่อมส่งให้คณ ุ ภาพชีวต ิ ความเป็นอยู่ของคนไทย ดีขึ้นอย่างแน่นอน เช่นนั้น องค์กรปกครอง ส่ว นท้อ งถิ่ น ทั่ ว ประเทศจึ ง ต้อ งตระหนั ก ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของการท� ำ งานร่ว มกั น เป็น องคาพยพใหญ่ ความเสื่อมของเฟืองตัวหนึ่ง อาจสะเทือนถึงระบบทั้งหมด นัน ่ เป็นทีม ่ าให้สำ� นักงานกองทุนสนับสนุน การสร้า งเสริ ม สุ ข ภาพ โดยส� ำ นั ก สนั บ สนุ น สุ ข ภาวะชุ ม ชนได้เ ข้า มาสนั บ สนุ น ส่ง เสริ ม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ช่วย ถอดบทเรียน ส�ำรวจทุนและศักยภาพ เพือ่ กระจาย องค์ความรู้เหล่านั้นต่อให้กับเพื่อนเครือข่าย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ

นอกจากนี้ ยั ง ต้อ งให้ค วามส� ำ คั ญ กั บ ประชาชน ดั ง ที่ ดวงพร เฮงบุ ณ ยพั น ธ์ ผู ้อ� ำ นวยการส� ำ นั ก สนั บ สนุ น สุ ข ภาวะชุ ม ชน ส� ำ นั ก งานกองทุ น สนั บ สนุ น การสร้า งเสริ ม สุ ข ภาพ ได้ก ล่า วไว้ว ่า หั ว ใจส� ำ คั ญ ในการ ขั บ เคลื่ อ นงานพั ฒ นาชุ ม ชนท้อ งถิ่ น อยู ่ที่ ประชาชนฐานราก หากประชาชนฐานราก ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถ ได้มีโอกาส แสดงศักยภาพในการพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอน ของตนเองภายใต้ค วามร่ว มมื อ ระหว่า ง 4 เสาหลักที่ประกอบด้วย ประชาชน ท้องที่ ท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐในแต่ละพื้นที่ กระบวนการเช่นนี้ย่อมน�ำไปสู่ความเข้มแข็ง ของบ้านเมืองในที่สุด ดังนัน ้ เมือ ่ ท้องถิน ่ สร้างกระบวนการเรียนรู้ จนถ่ายทอดได้ ประชาชนมีศก ั ยภาพ เป็นเฟือง ที่แข็งแกร่งในตัวเอง ผสานกับตัวหล่อลื่นจาก องค์กรวิชาการที่เข้ามาช่วยสนับสนุนส่งเสริม นั่ น คงท� ำ ให้ป ระเทศชาติ เ ข้ม แข็ ง และเป็น ค�ำตอบว่าท�ำไม เราจึงต้องให้ความส�ำคัญกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น...


6 | บทน�ำ 10 | กล่าวทักทายเจ้าบ้าน

สมชาย วงษ์จน ั ทธนพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลเมืองปอน: แก่นกลางวัฒนธรรม สู่การเชื่อมโยงทุกมิติ

16 | สู่หนองแห้ง และแม่ลาก๊ะ 18 | บ่อน�้ำพุร้อนบ้านหนองแห้ง 22 | ป่า-น�ำ้ -สัตว์ ในถิ่นปกาเกอะญอ 26 | เมล็ดพันธุ์ข้าว บ้านมะหินหลวง

30 | ท่องไปในเมืองปอน

32 | เมืองปอนโฮมสเตย์ 36 | ปฏิทินวัฒนธรรม ‘เมืองปอน’ 40 | CBT ท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อชุมชน 44 | ระบบเหมืองฝาย บ้านเมืองปอน 48 | สตรีตัดเย็บเสื้อไตบ้านเมืองปอน 50 | กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารดอกเอื้องงาม 52 | อาหารคนไต 54 | จองพารา ศิลปะเมืองปอน 56 | นักสานกุ๊บไต 58 | วัดเมืองปอน 59 | พิพิธภัณฑ์บ้านเฮินไต

4 | ท่องไปในเมืองปอน


60 | อาหารการกิน 62 | สวนอาหารเรือนฆาวี 64 | ก๋วยเตี๋ยวแม่โสภา

66 | จัดการทรัพยากรแบบคนเมืองปอน 68 | ทรัพยากร...จัดการได้ 70 | ประปาภูเขา บ้านท่าหินส้ม

74 | เกษตรกรรมยั่งยืน

76 | ไร่นาสวนผสม ลุงเขื่อง 80 | สวนวนเกษตร สวนเกษตรทฤษฎีใหม่ 84 | สวนหลังบ้าน ลุงบุญยศ

86 | การศึกษา ‘วิชาชี วิต’ 88 | โรงเรียนชุมชนบ้านเมืองปอน

92 | สุขภาพชุมชน

94 | ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย (บีบหยา)

ท่องไปในเมืองปอน | 5


บทน� ำ Introduction

6 | ท่องไปในเมืองปอน


“อากาศก� ำ ลั ง หนาวเลยที่ เ มื อ งปอน” เสี ย งปลายสายตอบกลั บ มาอย่า งอารมณ์ดี พร้อมส�ำทับว่า ในช่วงต้นเดือนธันวาคมที่เรา ก� ำ ลั ง จะไปนั้ น เป็น ช่ว งเวลาที่ เ มื อ งปอน สวยงาม และมีชีวิตชีวา

ท่องไปในเมืองปอน | 7


จุดเริม ่ ต้นการเดินทางของเราอยู่ทจี่ งั หวัด ล� ำ พู น เข้า สู ่อ� ำ เภอฮอด จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ เส้นทางคดเคี้ยวที่คู่ขนานไปกับล�ำน�้ำแม่แจ่ม ทีส ่ วยงาม ระหว่างทางเราแวะอุทยานแห่งชาติ ออบหลวงและสวนสน ซึ่งเป็นจุดที่ใครผ่านมา ก็ต้องถือโอกาสแวะชมสักหน่อย จากอ�ำเภอฮอด ถนนเส้นนี้น�ำเราสู่อำ� เภอ แม่ส ะเรี ย ง ซึ่ ง เป็น ด่า นแรกของจั ง หวั ด แม่ฮ ่อ งสอน ภาพความทรงจ� ำ บ่ง บอกว่า ครั้งหนึ่งเคยมาที่นี่ แต่แล้วก็เลือนหาย ด้วย ไม่ส ามารถเสาะหาหลั ก ฐานใดมายื น ยั น ต่อ จากแม่ส ะเรีย ง ก็เข้า สู่อ�ำเภอแม่ลาน้อ ย ก่อนจะเข้าสู่อ�ำเภอขุนยวม ซึ่งเป็นจุดหมาย ของการเดินทาง ระยะทางมากกว่า 300 กิ โ ลเมตร กับเส้นทางโค้งคดเคี้ยวทันทีที่เลยตัวอ�ำเภอ ฮอดมา ชวนให้มึนเวียนเล็กน้อยตามประสา ความไม่คุ้นชิน ซึ่งนี่ก็เป็นกิ ตติศัพท์ของการ เดินทางสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไม่ว่าจะเลือกใช้ เส้นทางใดก็ตาม ชื่ออ�ำเภอขุนยวมเป็นที่รู้จักมักคุ้นไม่แพ้ อ� ำ เภอปาย แต่ไ ม่โ ด่ง ดั ง เท่า แต่เ ส้น ทาง การเดินทางมายังขุนยวมก็เป็นเสน่ห์ดึงดูดให้ ใครต่อใครพากันมา ด้วยเส้นทางที่โอบล้อม

8 | ท่องไปในเมืองปอน

ด้วยทัศนียภาพงดงาม และสถานที่ท่องเที่ยว อย่า งดอยแม่อู ค อ น�้ ำ ตกแม่สุ ริ น ทร์ และ วั ด วาอารามต่า งๆ แต่ก ารเดิ น ทางของเรา มาหยุ ด อยู ่ที่ ต� ำ บลเล็ ก ๆ ชื่ อ น่า รั ก อย่า ง เมืองปอน ซึ่งสร้างชื่อให้ตัวเองด้วยการเป็น แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการเรียนรู้ แต่นี่ก็เป็นเพียงข้อมูลคร่าวๆ ที่เราหาอ่านมา เท่านั้น ถ้าเดินทางจากเส้นทางที่เราเลือก ต�ำบล เมืองปอนถือเป็นด่านหน้าของอ�ำเภอขุนยวม โดยมี บ ้า นหนองแห้ง หมู ่ที่ 9 เป็น ประตู สู ่ เมืองปอน ลัดเลาะไปอีกกว่า 10 กิโลเมตร จะถึงจุดนัดที่ ฟองจันทร์ ศิริน้อย หรือ ครูอู๊ด มารอเรา ครูอู๊ดเป็นประธานกลุ่มเมืองปอน โฮมสเตย์ และเราจะเข้าพักที่บ้านของเธอ เราตามมอเตอร์ไซค์ของครูอู๊ดเข้าไปใน หมู่บ้าน สังเกตว่า ผังเมืองของทีน ่ เี่ ป็นระเบียบ ทุ ก อย่า งวางเป็น สี่ เ หลี่ ย ม ถนนทุ ก สายตั ด เชื่อมกัน และมีล�ำเหมืองสายเล็กๆ ไหลผ่าน หมู่บ้าน แรกเราเข้าใจว่าท่อน�ำ้ ทิง้ แต่เปล่าเลย นั่นเป็นล�ำเหมืองเพื่อให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์ เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ที่วันนี้คือมรดก อันล�ำ้ ค่า


ครูอู๊ดน�ำเราเข้าบ้านโฮมสเตย์ เรือนพัก ของเราอยู่ด้านหลังตัวบ้านที่ครูอู๊ดอาศัยอยู่ คล้ายเป็นเรือนรับแขกโดยเฉพาะ เป็นเรือนไม้ ยกใต้ถุนสูง สะอาดสะอ้าน มีห้องพัก 2 ห้อง ตู ้เ ย็ น กาน�้ ำ ร้อ น กั บ ขนมและเครื่ อ งดื่ ม ที่ ครูอู๊ดเตรียมไว้รอท่า หลังพาแนะน�ำที่พักแล้ว ครูอู๊ดขอตัวไปเตรียมอาหาร แต่ช่วงสัน ้ ๆ นัน ้ เราได้เรียนรู้จากค�ำบอกเล่า ของครูอู๊ดว่า พื้นที่ต�ำบลเมืองปอนเป็นพื้นที่ ของ 3 กลุ่มชน ซึง่ มีไทใหญ่ ปกาเกอะญอ และ คนเมือง โดยกลุ่มไทใหญ่เป็นกลุ่มชนดั้งเดิม และกลุ ่ม ชนหลั ก ที่ อ าศั ย อยู ่ใ นเมื อ งปอน เช่นเดียวกับกลุ่มปกาเกอะญอ หากแต่กลุ่ม ปกาเกอะญอนี้ตั้งรกรากอยู่บนดอย ในหุบเขา ที่เดินทางเข้าถึงล�ำบาก แต่วันนี้บางส่วนได้ เดินทางมาท�ำกินยังพื้นราบ ส่วนคนเมืองเป็น คนต่างถิ่นที่เดินทางเข้ามาตั้งรกรากที่นี่ การท่องเทีย ่ วเชิงวัฒนธรรมและการเรียนรู้ จึงอยู่ทบ ี่ ้านหมู่ที่ 1 และ 2 บ้านเมืองปอน และ หมู่ที่ 3 บ้านหางปอน ซึ่งมีคนไทใหญ่อาศัย หนาแน่นเป็นหลัก โดยที่นี่มีปฏิทินวัฒนธรรม ของคนไทใหญ่ ที่ บ ่ง บอกวงจรวั ฒ นธรรม

ประเพณีในรอบปี นับเป็นชุมชนไทใหญ่เพียง ไม่กี่แห่งที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้ได้ ไม่เ สื่ อ มคลาย และปฏิ ทิ น วั ฒ นธรรมก็ จ ะมี ในส่วนของคนปกาเกอะญอด้วย ซึ่งครูอู๊ดว่า อดใจรอ เดี๋ยวคงจะได้พูดคุยกันอย่างจริงจัง ก่อนเดินหายเข้าไปในครัว ฟ้ายังไม่มืด และอาหารยังไม่พร้อม เรา เลยถือโอกาสเข้าไปส�ำรวจในตัวอ�ำเภอขุนยวม กั น เสี ย หน่อ ย แต่ต อนนั้ น ก็ เ ย็ น ย�่ ำ มากแล้ว ร้านรวงพากันทยอยปิด และสายเกินกว่าจะไป ชมทุ่งดอกบัวตอง จึงเป็นว่า ได้ขนมขบเคี้ยว มาเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น เมื่อกลับมาถึง ครูอู๊ดทยอยน�ำอาหารเย็น ขึ้นโต๊ะ ไม่นานเราก็พร้อมหน้ากัน ครูอู๊ดร่วม วงสนทนา เรื่องราวสัพเพเหระพรั่งพรูแบ่งปัน กัน มีหลายเรื่องราวที่อยากบอกเล่ากันเสีย ตั้งแต่ตรงนี้ หากแต่ยังไม่ถึงกาลอันเหมาะสม เลยขอหลับพักอีกสักคืน หมายมัน ่ ว่า เรือ ่ งราว ต่างๆ จะตกตะกอนอีกรอบหนึ่ง ค�ำ่ คืนอันเย็นสบาย เงียบสงบ มิหลงเหลือ สิ่งใดให้กังวล เราล้มตัวลงนอน และแทบจะ หลับไปในทันใด...

ท่องไปในเมืองปอน | 9


กล่าวทักทายเจ้าบ้าน

Say hello

กว่าจะลืมโค้งได้ต้องใช้เวลาคืนหนึง่ เต็มๆ นอนกั น แต่หั ว ค�่ ำ เครื่ อ งท� ำ ความเย็ น แบบ ไร้ส ายท� ำ งานดี เ หลื อ เกิ น ในเดื อ นธั น วาคม ค�ำ่ คืน ณ บ้านเมืองปอนสงบเงียบ ซุกตัวอยู่ใน อ้อมกอดแห่งขุนเขา ยังมิทน ั รู้สก ึ ว่าได้พก ั ผ่อน ความรับผิดชอบบางประการก็พาให้ต้องเปิด เปลือกตารับตะวัน แต่ร่างกายยังต้องการไออุ่น จากผ้าห่ม กระทัง่ ความรับผิดชอบฉุดให้ชน ั ตัว ลุกขึ้นฝ่าความหนาวไปจัดแจงธุระส่วนตัว เช้า นี้ เ ราต้อ งพบกั บ เจ้า บ้า นแห่ง ต� ำ บล เมืองปอน...

10 | ท่องไปในเมืองปอน


ท่องไปในเมืองปอน | 11


แก่นกลางวัฒนธรรม สู่การเชื่ อมโยงทุกมิติ

สมชาย วงษ์จันทธนพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลเมืองปอน

ช่วงเช้าเจ้าบ้านโฮมสเตย์ท�ำอาหารของ คนไทใหญ่ไว้คอยท่า มีความแปลกใหม่ให้เรา ได้เรียนรู้และลิ้มลอง แต่ด้วยความที่เช้านี้เรา ต้องรีบเดินทางไปพบกับเจ้าบ้าน เลยขอเก็บ เรื่องราวของอาหารเอาไว้ก่อน หลังมื้ออาหารไม่นาน กิตติศัพท์ วันทา ผู ้น� ำ ทางของเราก็ ม ารั บ ที่ ห น้า บ้า นพั ก เพื่ อ พาเราไปยังน�้ำพุร้อนบ้านหนองแห้ง หมู่ที่ 9 โดยเดินทางย้อนกลับไปทางอ�ำเภอแม่ลาน้อย ใช้เวลาราว 15 นาที ก็มาถึงที่หมาย “ทีน ่ เี่ ป็นแหล่งท่องเทีย ่ วหนึง่ ของเรา ไม่ใช่ ของนายทุนทีไ่ หน แต่เป็นของชุมชน เราจัดการ กันเอง” ผู้นำ� ทางบอกเราเช่นนั้น นับว่าเข้าท่าดีเหมือนกัน เพราะผลประโยชน์ ที่ได้ตอบแทนมาจะกลับสู่ชุมชน และชุมชนจะ รักและหวงแหนทรัพยากรนี้ไว้ ทันทีที่เราก้าวเท้าออกจากรถ กลิ่นไข่ต้ม ฉุ น กึ ก ลอยมาแตะจมู ก ผสมปนเปกั บ กลิ่ น ก� ำ มะถั น เป็น ของคู ก ่ ั น ไปแล้ว มี น�้ ำ พุ ร ้อ น ต้องท�ำกิจกรรมต้มไข่ สมชาย วงษ์จันทธนพงษ์ นายกองค์การ บริหารส่วนต�ำบลเมืองปอน มารออยู่ก่อนแล้ว เ ข า ส ว ม เ สื้ อ ยื ด ธ ร ร ม ด า ส อ ด ช า ย ไ ว ้ใ น 12 | ท่องไปในเมืองปอน

กางเกงยีนส์ คลุมทับด้วยเสื้อพื้นเมือง ซึ่งมี กระซิบว่ามาจากบ้านเมืองปอนนี่แหละ สวม รองเท้าสีนำ�้ ตาล ทัง้ หมดมวลชวนให้นก ึ ถึงภาพ ของคาวบอย เพียงแต่นายกฯ สมชายไม่ได้มี ซองปืนคาดอยู่ที่เอว เป็นเวลาเกือบ 10 ปีที่เขาด�ำรงต�ำแหน่ง นายกองค์ก ารบริ ห ารส่ว นต� ำ บลเมื อ งปอน จึงรู้เรื่องราวการพัฒนาของที่นี่เป็นอย่างดี “จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีแต่เขา มีทรัพยากร ธรรมชาติ ม าก เป็น เรื่ อ งเด่น ของต� ำ บลเรา การพัฒนาของเรามาเด่นในช่วง 4-5 ปีหลัง มานี้ โดยในช่วงปี 2556 ต�ำบลเมืองปอน เข้าร่วมโครงการต�ำบลสุขภาวะ ของส�ำนักงาน กองทุ น สนั บ สนุ น การสร้า งเสริ ม สุ ข ภาพ เวลานั้นเราเป็นเครือข่ายขององค์การบริหาร ส่วนต�ำบลแม่ปะ อ�ำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึง่ นัน ่ เป็นโอกาสในการพัฒนาพืน ้ ที่ โดยเฉพาะ ในส่วนของการเรียนรู้ เราเริ่มมีการส�ำรวจทุน ดั้ ง เดิ ม ทั้ ง ทรั พ ยากรทางธรรมชาติ คน กลุ่มองค์กรต่างๆ ท�ำให้เราเห็นว่า เอกลักษณ์ ที่ โ ดดเด่น ของเมื อ งปอนคื อ วั ฒ นธรรม ซึ่ ง สามารถเชื่อมโยงไปยังเรื่องอื่นๆ ได้” นายกฯ สมชาย ย้อนความ


ในพื้ น ที่ ต� ำ บลเมื อ งปอนประกอบด้ว ย 3 วัฒนธรรมจาก 3 กลุ่มชน มีชาวไทใหญ่ ชาวปกาเกอะญอ ซึ่ ง ถื อ เป็น กลุ ่ม ชนดั้ ง เดิ ม และมี ค นเมื อ งที่ ย ้า ยเข้า มาตั้ ง รกรากได้ร าว 2 ชั่วอายุคน โดยชาวไทใหญ่นี้จะกระจุกอยู่ ในหมู่ที่ 1 และ 2 บ้านเมืองปอน ส่วนชาว ปกาเกอะญอตั้งรกรากอยู่บนยอดดอยสูง ซึ่ง แต่ละชาติพน ั ธุ์อยู่ด้วยกันสมานสามัคคี และคง รักษาวัฒนธรรมของตนเองไว้อย่างเหนียวแน่น “คนไทใหญ่ยด ึ มัน ่ ในพระพุทธเจ้า เรือ ่ งศีล เรื่องธรรม ฉะนั้นทุกประเพณีเกี่ยวกับเรื่อง พวกนี้หมด อย่างช่วงเดือนสาม หากเป็นพิธี ของคนไทย คือการถวายข้าวมธุปายาส แต่ คนไทใหญ่จะเรียกว่า ‘ข้าวหย่ากู๊’ เป็นพิธีกิน ข้าวใหม่ ซึ่งจะไปสัมพันธ์กับวิถีการผลิต คือ เกี่ยวข้าวเสร็จจากนา ก็น�ำข้าวมาถวายพระ ก่อน แล้วค่อยน�ำมากินในครัวเรือน พอเดือน สี่ มีงานปอยส่างลอง หรือบวชลูกแก้ว เพราะ คนไทใหญ่มีความเชื่อเหมือนคนไทยว่า หาก ลูกบวช พ่อแม่จะเกาะชายผ้าเหลืองขึน ้ สวรรค์ ส่วนของคนปกาเกอะญอจะมีประเพณีมัดมือ เกีย ่ วข้าว หรือ ‘กีจ้ อ ื ’ จะมีการฆ่าไก่ ฆ่าหมู เพือ ่ น�ำมาปรุงอาหารกินร่วมกัน เรียกว่าเป็นระบบ

ความสัมพันธ์ในเครือญาติ เพราะเด็กๆ ที่ไป เรี ย นที่ อื่ น ก็ จ ะกลั บ มาเพื่ อ มากิ น ข้า วใหม่” นายกฯ สมชายเล่า จากความโดดเด่น ตรงนี้ ท� ำ ให้เ กิ ด การ ต่อ ยอดไปสู ่กิ จ กรรมอื่ น ๆ มากมาย ไม่ว ่า จะเป็นการผลิตเสือ ้ ไต ซึง่ เป็นเสือ ้ พืน ้ เมืองของ คนไทใหญ่ ร้านขนมในชุมชน จักสาน จองพารา รวมไปถึงกลุ่มโฮมสเตย์ ซึ่งกลุ่มนี้พัฒนามา ตั้งแต่ปี 2546 โดยมีแกนน�ำเป็นคนไทใหญ่ มีการท�ำเป็นระบบ ทั้งโฮมสเตย์ และกิจกรรม โดยจั ด เป็น ปฏิ ทิ น วั ฒ นธรรม เพื่ อ ให้ผู ้ม า เยี่ ย มเยื อ นได้ท ราบว่า ในแต่ล ะเดื อ นมี กิจกรรมใดบ้าง ด้วยเป็นการท่องเทีย ่ วเชิงอนุรก ั ษ์ ทีน ่ จี่ งึ มี กฎเหล็กว่า การท่องเที่ยวต้องไม่กระทบต่อ วิถช ี วี ต ิ ของผู้คนในต�ำบลเมืองปอน สอดคล้อง กั บ หลั ก คิ ด ของนายกฯ สมชาย ที่ เ น้น มา ตลอดว่า เงินไม่ใช่สิ่งส�ำคัญ เท่ากับรากฐาน ภู มิ ป ัญ ญาทางวั ฒ นธรรมที่ ถ ่า ยทอดจาก บรรพบุรุษ “เราต้องด�ำเนินตามแนวธรรม 3 ประการ คือธรรมชาติ ธรรมาภิบาล และวัฒนธรรม ซึ่ ง ถื อ เป็น หั ว ใจของการท� ำ งานพั ฒ นาพื้ น ที่ ท่องไปในเมืองปอน | 13


เมืองปอนตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทุกครั้งเวลา เราท�ำเรือ ่ งทีเ่ กีย ่ วกับประเพณีวฒ ั นธรรม จะมี การประชุมหารือ มีตวั แทนของผู้นำ� ชุมชน และ ปราชญ์ผู้รู้อีกหลายๆ ท่าน อาทิ เจ้าอาวาสวัด เมืองปอน ผูอ ้ ำ� นวยการโรงเรียนบ้านเมืองปอน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล มีการแบ่ง หน้า ที่ ว ่า ส่ว นไหนรั บ ผิ ด ชอบเรื่ อ งอะไร ซึ่ ง ทั้งหมดนี้เกิ ดขึ้นมาจากตัวชาวบ้านเป็นหลัก ส่ว น อบต. มี ห น้า ที่ ส นั บ สนุ น งบประมาณ ก�ำลังคน” นายกฯ สมชาย อธิบาย กระนัน ้ ต�ำบลเมืองปอนก็มจี ด ุ อ่อน เช่นเดียว กับพื้นที่อื่นๆ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพราะยัง มีพื้นที่อีกมากที่โครงสร้างพื้นฐานยังไม่พร้อม ตลอดจนระบบบริการด้านสุขภาพ และบริการ ด้านการศึกษา งบประมาณที่ได้ประมาณปีละ 20 กว่า ล้า นบาท จึ ง ต้อ งลงมาอุ ด ช่อ งโหว่ ในส่วนเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง “ด้ว ยลั ก ษณะภู มิ ศ าสตร์ข องเรา โดย เฉพาะพื้นที่บนดอย สาธารณูปโภคยังเข้าไป ไม่สมบูรณ์ อย่างบ้านมะหินหลวง หมู่ที่ 8 ไม่มี ไฟฟ้า แถมยังประสบปัญหาเรื่องน�ำ้ เนื่องจาก อยู ่สูงเกิ น ไป หากลงทุนต้องใช้ง บประมาณ มหาศาล เราจึงพยายามให้ชาวปกาเกอะญอ หย่อ มบ้า นท้า ยไม้ซ าง ซึ่ ง มี ป ระมาณ 23 หลังคาเรือน อพยพลงมาข้างล่างพร้อมจัดหา พื้นที่ใหม่ ซึ่งมีความพร้อมมากกว่าให้ และ พืน ้ ทีใ่ หม่นก ี้ ไ็ ม่ได้ห่างจากจุดเดิมเท่าไร ทีส ่ ำ� คัญ

14 | ท่องไปในเมืองปอน

เราอยากวางผั ง เมื อ งเป็น ระบบ เพื่ อ จะได้ พั ฒ นาเป็น ชุ ม ชนตั ว อย่า ง ซึ่ ง ที่ ตั้ ง ใจไว้ก็ อาจจะท�ำเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงแบบ ครบวงจร แต่ยั ง เป็น ไปได้ย ากที่ จ ะลงมา” นายกฯ สมชาย ฉายภาพคิดให้เห็น ส่วนเรือ ่ งเกษตรกรรมของต�ำบลเมืองปอน อาจไม่โดดเด่นเท่าใด เพราะพืน ้ ทีม ่ ากกว่าครึง่ เป็นเขา แต่ทน ี่ ่าชืน ่ ชม คือชาวบ้านทีน ่ ย ี่ งั คงวิถี ดัง้ เดิมในการผลิต ปลูกเพือ ่ กินเอง ส่วนทีเ่ หลือ ถึงน�ำไปขาย และส่วนใหญ่ทำ� กันเป็นครอบครัว ลูกเด็กตัวเล็กทีพ ่ อจะหยิบจับฟังความรู้เรือ ่ งก็ มาช่ว ย หรื อ ประเพณี ล งแขกก็ ยั ง มี ใ ห้เ ห็ น ซึ่งพืชยืนพื้นคือข้าว ลดหลั่นมาเป็นกระเทียม ถัว่ ลิสง ถัว่ เหลือง และข้าวโพด โดย 3 ชนิดหลัง ท�ำกันในพื้นที่บนเขา ส�ำหรับความเป็นอยู่โดยทั่วไปนั้น นายกฯ บอกว่า เมืองปอนเป็นพืน ้ ทีป ่ ลอดอาชญากรรม คดี ท� ำ ร้า ยร่า งกาย หรื อ ประทุ ษ ร้า ย ก่อ ความรุนแรง แทบจะไม่มีให้พบเห็น เพราะถึง ชาวบ้านที่นี่จะต่างชาติพันธุ์ ต่างศาสนา บาง ส่วนนับถือพุทธ และอีกมาก โดยเฉพาะบน ดอยนับถือศาสนาคริสต์ ทัง้ โรมันคาทอลิกและ โปรเตสแตนต์ และถือผี แต่นั่นไม่เป็นชนวน ที่น�ำมาซึ่งปัญหา ส่วนเรื่องการศึกษาและสาธารณสุข ยัง ต้อ งพั ฒ นากั น อี ก มาก แต่ทุ ก หมู ่บ ้า นก็ มี โรงเรียนระดับชัน ้ ประถมศึกษาของตัวเอง และ


มีโรงเรียนบ้านเมืองปอน หมู่ที่ 1 เป็นโรงเรียน ขยายโอกาส คอยรองรั บ เด็ ก จากบนดอย ขณะที่เรื่องการดูแลสุขภาพ ที่นี่ท�ำเป็นระบบ เครือข่าย โดยมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต�ำบลทั้ง 3 แห่ง เป็นตัวขับเคลื่อน มีหมอ ครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจ�ำ หมู่บ้านเป็นมดงาน ส�ำหรับแนวทางในอนาคต นายกฯ สมชาย บ อ ก ว ่า ต� ำ บ ล เ มื อ ง ป อ น ยั ง ใ ช ม ้ ิ ติ ท า ง วั ฒ นธรรมน� ำ ไปขยายสู ่มิ ติ อื่ น ๆ ต่อ ไป ซึ่ ง นอกจากการท่องเที่ยวแล้ว ยังมีการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการน�ำหลักความเชือ ่ มาผสมผสานเป็นหลักปฏิบัติ สร้างวัฒนธรรม การอนุรักษ์ ด้วยคนปกาเกอะญอมีความเชื่อ เรื่ อ งการกิ น อยู ่กั บ ป่า มี ป ระเพณี บ วชป่า บวชปลา ทางองค์ก ารบริ ห ารส่ว นต� ำ บล เมื อ งปอนจึ ง น� ำ เรื่ อ งนี้ ไ ปขยายต่อ ในกลุ ่ม คนไทใหญ่และคนเมือง ซึ่งอาศัยตามป่าหรือ ใกล้แ หล่ง น�้ ำ ด้ว ย เพื่ อ ให้ทุ ก คนมี ส ่ว นร่ว ม ในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อความเชื่อ เหล่านี้แข็งแรง ชาวบ้านจะเกิดความตระหนัก และร่วมมือกันปกป้องทรัพยากรของตนเอง ไม่ไหวเอนไปตามกระแสทุนนิยม หมู่ที่ 1 บ้านเมืองปอน

“การท่อ งเที่ ย วเป็น เพี ย งปลายทางของ การพัฒนาเท่านัน ้ เพราะการท่องเทีย ่ วของเรา เป็นการท่องเทีย ่ วโดยชุมชน เป็นเชิงวัฒนธรรม ฉะนั้นคนที่มาเที่ยวต้องท�ำตามระบบของเรา ไม่มี ก ารเปิด เพลงหรื อ ดื่ ม เหล้า คนที่ ม า ส่วนใหญ่จึงเป็นนักศึกษา อาจารย์ ที่มาเรียนรู้ เรื่องวิถีชีวิตวัฒนธรรม ที่ส�ำคัญเรามีบทเรียน เยอะ เนื่ อ งจากในอดี ต เราไปมองเรื่ อ งการ ท่องเที่ยว มองที่ตัวมูลค่าทางเศรษฐกิจ อย่าง ประเพณีบางอย่าง เขาท�ำเฉพาะช่วงเทศกาล เราก็จัดนอกเวลา เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ซึ่ง ถือว่าผิดประเพณีมาก เพราะประเพณีเหล่านัน ้ ผูกโยงความเชื่อ ชีวิต มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว” ส่วนเรือ ่ งอาชีพและรายได้ นายกฯ สมชาย เผยแนวทางว่า หลักๆ จะส่งเสริมความเข้มแข็ง จากฐานอาชี พ เดิ ม เพราะถึ ง อย่า งไรเรื่ อ ง เศรษฐกิ จ ยั ง มี ค วามส� ำ คั ญ สู ง สุ ด เนื่ อ งจาก สัมพันธ์กับปากท้อง ซึ่งเวลานี้เริ่มด�ำเนินการ ไปบ้างแล้ว โดยเฉพาะหมู่บ้านซึง่ อยู่ทส ี่ งู มีการ แนะน�ำพืชใหม่ๆ เพือ ่ ให้ทดลองปลูก รวมไปถึง การจัดหาตลาดให้ด้วย เพื่อรากฐานที่ยั่งยืน ของคนต�ำบลเมืองปอน...

หมู่ที่ 6 บ้านแม่ลาก๊ะ

หมู่ที่ 2 บ้านเมืองปอน

หมู่ที่ 7 บ้านท่าหินส้ม

หมู่ที่ 3 บ้านหางปอน

หมู่ที่ 8 บ้านมะหินหลวง

หมู่ที่ 4 บ้านป่าฝาง

หมู่ที่ 9 บ้านหนองแห้ง

หมู่ที่ 5 บ้านแม่ซอ

หมู่ที่ 10 บ้านแม่โข่จู

สัดส่วนของประชากร ในต�ำบลเมืองปอน

ไทใหญ่ คนเมือง ปกาเกอะญอ ท่องไปในเมืองปอน | 15


สู่หนองแห้ง และแม่ลาก๊ะ

To Nhong Hang & Mae La Ka

16 | ท่องไปในเมืองปอน


หลังจากพูดคุยกับนายกองค์การบริหารส่วนต�ำบล เราถือโอกาสส�ำรวจน�้ำพุร้อนหนองแห้งกันต่อ เป็น เวลาเดียวกับที่ผู้คนทยอยกันมา ทั้งยังมีคณะนักเรียน ยกกันมาเป็นคันรถ ท�ำให้บรรยากาศน�้ำพุร้อนวันนี้ คล้ายกับสวนน�้ำ เรามีเวลาที่นี่ราว 1 ชั่วโมง ก่อน เปลี่ยนโทนของการเดินทาง ผู้น�ำทางของเราจะพาขึ้น ไปยังใจกลางขุนเขา ซึง่ มีอยู่ 3 หมู่บ้าน คือบ้านแม่ลาก๊ะ หมู่ที่ 6 บ้านมะหินหลวงหมู่ที่ 8 และบ้านแม่โข่จู หมู ่ที่ 10 หนทางไม่ไ กลมาก แต่ผู ้น� ำ ทางของเรา บอกว่า คงจะใช้เวลามากกว่าค่อนวัน...

ท่องไปในเมืองปอน | 17


บ่อน�้ำพุ ร้อนบ้านหนองแห้ง

สมชาย วงษ์จันทธนพงษ์

อโนชา มุ่งมิตรภาพ 18 | ท่องไปในเมืองปอน

เด็กๆ กว่า 30 ชีวิตกรูกันลงไปในสระ ว่ายน�ำ้ ซึง่ เป็นน�ำ้ ทีม ่ าจากบ่อน�ำ้ ร้อนธรรมชาติ นอกจากที่สระ ยังต่อกระจายไปยังห้องแช่ตัว หลายสิบห้อง โดยบ่อน�ำ้ พุร้อนบ้านหนองแห้ง หมู่ที่ 9 อยู่ค่ช ู ม ุ ชนมานานหลายชัว่ คน และคน ทีน ่ ก ี่ ต ็ ระหนักถึงความส�ำคัญ จึงร่วมกันปกป้อง ดูแลทรัพยากรนี้ให้อยู่คู่ชุมชนนานเท่านาน สมชาย วงษ์จันทธนพงษ์ นายกองค์การ บริหารส่วนต�ำบลเมืองปอน เล่าให้ฟังว่า เมื่อ 20 ปีที่ แ ล้ว สมั ย ที่ เ ขายั ง เป็น ก� ำ นั น อยู ่ที่ นี่ ยังไม่มีการพัฒนาบ่อน�ำ้ พุร้อน เป็นเพียงจุดที่ น�้ำร้อนไหลซึมออกจากพื้นดิน ชาวบ้านน�ำไข่ หน่อ ไม้ม าต้ม หรื อ เอาขั น มาตั ก อาบบ้า ง เป็นครั้งคราว ต่อมาในราวปี 2536-2537 กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่ง เวลานั้ น มี ห น้า ที่ ดู แ ลอุ ท ยานแห่ง ชาติ แ ละ วนอุทยาน มีความประสงค์จะน�ำพืน ้ ทีต ่ รงนีไ้ ป ดู แ ล และพั ฒนาขึ้ นเป็นวนอุทยาน แต่ด้วย ความที่ชาวบ้านผูกพันกับพื้นที่นี้ อยากให้เป็น ของชุ ม ชน ความพยายามของภาครั ฐ จึ ง


ไม่เป็นผล และเพื่อให้แน่ใจ ทางผู้น�ำหมู่บ้าน จึงน�ำพื้นที่ตรงนี้ไปออกหนังสือส�ำคัญส�ำหรับ ที่หลวง (น.ส.ล.) เพื่อยืนยันกรรมสิทธิ์การใช้ ที่ดิน และป้องกันการบุกรุกที่ดิน “ตอนนัน ้ เขาบอกว่า ทางสภาต�ำบลดูไม่ได้ เขาขอรับไปดูแลเอง มีงบประมาณ มีก�ำลังคน เราเลยน�ำเรื่องเข้าที่ประชุม มีประเด็นหนึ่งที่ หยิบยกขึ้นมา คือถ้าให้เขาดูแล ชาวบ้านจะ เข้า ไปใช้ป ระโยชน์ไ ม่ไ ด้ พู ด คุ ย กั น อยู น ่ าน จนทางจังหวัดต้องลงมา ในที่สุดได้ข้อสรุปว่า ให้ชาวบ้านเป็นผู้ดูแล แต่ ณ เวลานั้นก็ยังไม่มี การพัฒนา เป็นแหล่งประโยชน์สาธารณะที่ ใครๆ ก็มาใช้ประโยชน์ได้” นายกฯ สมชายเล่า ผ่านมาจนกระทั่งปี 2551 ก�ำนันสมชาย ขึ้ น เป็น นายกองค์ก ารบริ ห ารส่ว นต� ำ บล เมื อ งปอน ได้มี ก ารต่อ ยอดพื้ น ที่ นี้ ใ ห้เ ป็น แหล่งท่องเที่ยว โดยได้รับงบประมาณจ�ำนวน 18 ล้า นบาท จากส� ำ นั ก งานพั ฒ นาการ ท่อ งเที่ ย ว (ปัจ จุ บั น เป็น กรมการท่อ งเที่ ย ว) กระทรวงการท่องเทีย ่ วและกีฬา นอกจากนีย ้ งั

ได้รับงบประมาณจากแผนยุทธศาสตร์จังหวัด อี ก ประมาณ 3 ล้า นบาท ซึ่ ง ทางผู ้บ ริ ห าร ท้อ งถิ่ น น� ำ มาพั ฒ นาถนนทางเข้า สร้า ง บ่อคอนกรีตล้อมรอบจุดที่น�้ำซึมออกมา และ สร้างอาคารท�ำการ พร้อมห้องแช่ตัว 6 ห้อง ขณะที่ อโนชา มุ่งมิตรภาพ เจ้าหน้าที่ จ�ำหน่ายบัตรและประชาสัมพันธ์ บ่อน�้ำพุร้อน บ้า นหนองแห้ง เสริ ม เพิ่ ม เติ ม ว่า ก่อ นที่ จ ะ ท� ำ การก่อ สร้า งมี ก ารท� ำ ประชาคมภายใน หมู่บ้าน เพื่อป้องกันความขัดแย้ง “เราแจ้ง ในที่ ป ระชุ ม ว่า เราจะก่อ สร้า ง ประมาณนี้ ทางชาวบ้านเห็นด้วยหรือไม่ เมื่อ ได้รั บ ความเห็ น ชอบจากชาวบ้า น จึ ง ค่อ ย ด�ำเนินการ บ่อแรกตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งนอกจาก เราแล้ว กรมทรัพยากรน�้ำบาดาลเข้ามาช่วย เจาะหาเพิ่มหลายแห่ง แต่ไม่เจอ เราจึงล้อม เฉพาะจุ ด ที่ มี น�้ ำ ซึ ม เข้า มา จนถึ ง ช่ว งหนึ่ ง บ่อนั้นตาย ก็คอยสังเกตว่าไปผุดต่อตรงไหน ซึ่ง ณ วันนี้ เรามีอยู่ 4 บ่อ ตายไป 3 บ่อ เหลือ 1 บ่อที่ยังเดือดอยู่ตลอด” อโนชาว่า ท่องไปในเมืองปอน | 19


20 | ท่องไปในเมืองปอน


น�้ ำ ที่ ซึ ม ออกจากบ่อ มี ค วามร้อ นถึ ง 80 องศาเซลเซี ย ส โดยมี ก ารต่อ ท่อ เข้า ไปยั ง ห้อ งแช่ตั ว รวมถึ ง ลงสระว่า ยน�้ ำ ซึ่ ง สร้า ง ในภายหลัง และเปิดท�ำการในเดือนตุลาคม ปี 2554 โดยในห้องรวมจะมีก๊อก 2 ก๊อกให้ ผู ้ใ ช้บ ริ ก ารได้เ ลื อ กผสมน�้ ำ ตามอุ ณ หภู มิ ที่ ตั ว เองชอบ และต่อ มาในปี 2557 อบต. เมืองปอนได้รบ ั งบประมาณมาเพิม ่ จึงก่อสร้าง ห้อ งแช่ตั ว เพิ่ ม อี ก 8 ห้อ ง เพื่ อ รองรั บ ความต้องการของนักท่องเที่ยว บ่อน�ำ้ พุร้อนบ้านหนองแห้ง เปิดด�ำเนินการ ทุ ก วั น ตั้ ง แต่ 8.30-19.00 น. และช่ว ง หน้าหนาว หากยังมีลก ู ค้าอยู่อาจจะเปิดยาวไป ถึง 21.00 น. ส่วนค่าบริการของห้องส่วนตัว คิดเป็นรายหัว ผู้ใหญ่หัวละ 50 บาท ส่วนเด็ก มี 2 ราคา คือเด็กเล็ก 10 บาท เด็กโต 20 บาท โดยช่วงที่คึกคักที่สุดคือฤดูหนาว ตั้งแต่ ปลายฝนต้นหนาวในเดือนตุลาคมยาวไปจนถึง เดือนกุมภาพันธ์ “สระน�้ำนี้เด็กๆ จะมาลงกันเยอะ เพราะ โรงเรียนแถวนี้ เขาจะพาเด็กมาเล่นน�ำ้ กัน โดย เรามีการเปลี่ยนน�้ำตลอด เพราะเราไม่ได้ใช้ ระบบน�ำ้ วน และพอเป็นน�้ำแร่ ตะไคร่ขึ้นง่าย” อโนชาเล่า นอกจากนี้ ยังได้ส่งน�้ำในบ่อไปตรวจสอบ ซึง่ พบว่า มีสารฟลูออไรด์ ช่วยให้อาบแล้วรู้สก ึ ผ่อนคลาย โดยเฉพาะเมือ ่ แช่ในเวลาทีเ่ หมาะสม คือประมาณ 15-20 นาที และยังมีสรรพคุณ อีกหลายอย่าง เช่น รักษาโรคผิวหนัง ทั้งสิว ผิวมัน ผิวหนังอักเสบ ผดผืน ่ ท�ำให้การไหลเวียน

ของโลหิ ต ดี ขึ้ น ช่ว ยกระตุ ้น ให้ร ่า งกายมี ภู มิ คุ ้ม กั น ต่อ โรคหวั ด ฯลฯ ทว่า มี ค� ำ เตื อ น ส�ำหรับผู้มโี รคประจ�ำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง ไม่ควรแช่เกิน 10 นาที และผู้ใดที่เพิ่งดื่มสุรา หรื อ ของมึ น เมา เจ้า หน้า ที่ ข อแนะน� ำ ให้ งดแช่น�้ำโดยเด็ดขาด ถ้าสังเกตหน้าทางเข้าอาคารท�ำการ จะพบ ร้านค้า ทัง้ อาหารและเครือ ่ งดืม ่ ซึง่ เป็นร้านของ คนในชุมชน โดยชุมชนไม่คิดค่าเช่า และยังมี บริการนวด โดยชาวบ้านในพื้นที่ คิดค่านวด ชั่ ว โมงละ 120 บาท และเพื่ อ ส่ง เสริ ม การ ท่องเที่ยวอย่างครบวงจร ทางองค์การบริหาร ส่ว นต� ำ บลจึ ง ได้พั ฒ นาพื้ น ที่ ร อบบ่อ ขึ้ น เป็น สวนหย่อมขนาดย่อมๆ พร้อมเปิดโอกาสให้ นักท่องเที่ยวที่อยากมาสัมผัสความงามของ พื้ น ที่ ม าตั้ ง เต็ น ท์ไ ด้โ ดยไม่เ สี ย ค่า ใช้จ ่า ย เพิม ่ เติม และยังสามารถเข้าไปใช้ห้องน�ำ้ ได้ฟรี อีกด้วย ปัจ จุ บั น บ่อ น�้ ำ พุ ร ้อ นบ้า นหนองแห้ง มี รายได้เฉลี่ยเดือนละ 10,000-20,000 บาท โดยร้อยละ 80 เข้าสู่องค์การบริหารส่วนต�ำบล เมืองปอน ส่วนทีเ่ หลือให้คน ื หมู่บ้านหนองแห้ง เพื่อท�ำโครงการอื่นๆ ภายในหมู่บ้าน อโนชาพาเราเดินส�ำรวจห้องแช่ตัวแต่ละ ห้อง ทั้งยังเชิญชวนให้ลองใช้บริการสักหนึ่ง ชั่วโมง แต่น่าเสียดาย ผู้น�ำทางของเราบอกว่า ต้องรีบเดินทางขึ้นเขา เพื่อกลับลงมาให้ทัน ก่อนมืด อโนชาจึงเดินมาส่งเราที่สวนหย่อม ที่ เ วลานี้ เ ปิด น�้ ำ พุ ไ ว้ต ้อ นรั บ นั ก ท่อ งเที่ ย ว พร้อมกับกลิ่นไข่ต้มที่ลอยมาส่งเราด้วย...

ท่องไปในเมืองปอน | 21


ป่ า-น�้ำ-สัตว์ ในถิ่นปกาเกอะญอ

เราแวะซือ ้ หาน�ำ้ ติดไว้หลังรถเผือ ่ กระหาย ก่อนมุ่งขึน ้ สู่บ้านแม่ลาก๊ะ ซึง่ อยู่ห่างออกไปราว 20-30 กิโลเมตร ฟังดูเหมือนใกล้ แต่ด้วย เส้นทางหินลูกรังและเป็นทางชันไต่ขึ้น ท�ำให้ เราไม่สามารถท�ำความเร็วได้เท่าไรนัก ทิวทัศน์ สองข้างทางชวนให้เพลิดเพลินดี ระหว่างทาง เราพบกั บ หญิ ง สู ง วั ย ชาวปกาเกอะญอ ซึ่ ง ขอร่ว มทางไปกั บ เรา ทั้ ง สองจั ด แจงตั ว เอง ขึ้นกระบะหลังอย่างทะมัดทะแมง ตลอดเส้น ทางที่ ร ถกระเด้ง กระดอนไป หญิงชราทั้งสองดูไม่สะทกสะท้าน ผิดกับเราที่ เริ่มวิงเวียน เราใช้เวลาราวหนึ่งชั่วโมงกว่า จน มาถึงช่วงหุบเขา ซึ่งเป็นที่ที่ชาวปกาเกอะญอ ตั้ ง รกรากกั น รถเคลื่ อ นตั ว ลงไปยั ง หมู ่บ ้า น ค่อยชะลอจนหยุดนิง่ หญิงชราทัง้ สองขอบคุณ ผู้นำ� ทางของเรา และเดินหายลับไปจากสายตา เดินดูบ้านเรือนที่สร้างขึ้นอย่างเรียบง่าย ยกกล้องขึ้นเก็บภาพไว้เพื่อการใช้งาน และไว้ สะกิดความทรงจ�ำในบางครัง้ จนเมือ ่ ชายหนุ่ม ไว้หนวดสวมเสื้อเชิ้ตกางเกงขาสั้นเดินเข้ามา ทักทาย แนะน�ำตัวกันจนรู้จก ั ว่าเขาชือ ่ ชาติ เป็น คนทีน ่ ี่ และมีหน้าทีก ่ ารงานใน อบต. แต่กระนัน ้ เขาก็ยังไม่ลืมว่า ตัวเป็นชาวเขาชาวไร่ 22 | ท่องไปในเมืองปอน


ชาติน�ำเราเข้าไปในบ้านของเขา แม่ของ ชาติเตรียมข้าวปลาอาหารไว้รอเรา เป็นมื้อ อาหารทีเ่ รียบง่าย มีไข่เจียวกับย�ำปลากระป๋อง แต่อร่อย เรากินอิ่มและนั่งพักสักครู่ ชาตินัด พ่อหลวงเอาไว้ ด้วยความที่ในใจกลางป่าเขา ไม่มี สั ญ ญาณโทรศั พ ท์ การไปพบเจอใคร สักคน ต้องนัดเอาไว้ก่อน เราไปถึงบ้านพ่อหลวง แต่ไม่มใี ครอยู่ ชาติ สืบจนได้ความว่า พ่อหลวงออกไปท�ำงานที่ไร่ เราขึ้นกระบะเพื่อไปตามหาพ่อหลวง ลัดเลาะ ไปตามไหล่เขา ขณะที่แดดก็เริ่มแผดแรงจน แสบตัว เราแวะจอดให้ชาติถามเบาะแสกับ ชาวเขา ได้ความว่าพ่อหลวงลงไปยังหุบเขาหนึง่ มองไปด้านล่างเห็นตอข้าวรอการย่อยสลาย เราเดินตามชาติไป ปัดป้องต้นหญ้าสูงที่เอน มาปิด หนทาง เมื่ อ มาถึ ง ก็ พ บเจอแต่พ้ื น ที่ เกษตรกรรมไร้ผู้คน ชาติให้เรารอ เพื่อรุดไป เสาะหาเบาะแสเพิ่ ม เติ ม กลั บ มาได้ค วาม เป็นมั่นเหมาะ ถึงต�ำแหน่งที่พ่อหลวงอยู่จริงๆ ผู้นำ� ทางขับรถเลาะลงมาด้วยความช�ำนาญ ดูสห ี น้าของเขายิม ้ แย้ม เขาคงชอบการผจญภัย ไม่กค ็ งชอบใจทีเ่ ห็นคนภาคกลาง 2 คน กับสาว เมืองเหนืออีก 1 คน สะพายข้าวของมาท�ำ สารคดีถึงกลางป่าเขา ผู้น�ำทางเรียกเราขึ้นรถ

เช่นเดียวกับชาติที่ดิ่งขึ้นกระบะหลัง “รถยนต์ที่ ม านี้ ต ้อ งมี ขั บ เคลื่ อ นสี่ ล ้อ เท่านั้น” ผู้นำ� ทางของเราบอก เขาพาเราลัดเลาะเข้าไปยังป่าลึก บนถนน ที่เรามั่นใจว่าคงไม่ใช่ถนน รถส่ายเอนไปมา และเคลื่อนตัวไปได้ช้า นั่งอยู่นานจนรถเริ่ม ชะลอและหยุ ด นิ่ ง เบื้ อ งหน้า เราเป็น ธารน�้ ำ ไหลแรง รถคงมาไกลได้เพียงเท่านี้ “ต่อจากนี้ต้องเดินข้ามไป” ชาติบอกเรา ด้วยส�ำเนียงของคนปกาเกอะญอ เราถอดรองเท้า แล้ว หิ้ ว ไป ธารน�้ ำ ไหล ค่อนข้างแรง อาศัยชาติกบ ั ผู้นำ� ทางคอยพาเรา ข้ามไป เมื่อข้ามมาถึงฝั่งนี้ เราพบกับชาวเขา คนหนึ่งเดินสวนมา บนไหล่มีฟางข้าวมัดใหญ่ พาดอยู ่ เดิ น มาอี ก เล็ ก น้อ ย พบอี ก 2 คน ก�ำลังมัดฟางข้าว พวกเขาเพิง่ ตีข้าวเสร็จกันไป ชาติ ถ ามชาวเขาที่ พ บเจอ แน่แ ท้แ ล้ว ว่า พ่อหลวงอยู่ลึกเข้าไปอีกหน่อย การเดิ น เท้า เปล่า ไปยั ง คั น นานั บ เป็น ประสบการณ์ทแ ี่ ปลกใหม่ แต่ทวิ ทัศน์โดยรอบ ก็ชวนให้เพลิดเพลินดี คงจะมีไม่กี่ครั้งในชีวิต ที่เราจะได้มาในที่แบบนี้ ครู่หนึ่งที่หล่นหายไป ในความคิดของตัวเอง เสียงชาติดังขึ้น เขาชี้ ไปยังห้างหลังหนึง่ ทีป ่ ลายนา พ่อหลวงอยู่ทน ี่ น ั่

ท่องไปในเมืองปอน | 23


เราดั้ น ด้น มาหาพ่อ หลวง เพื่ อ พู ด คุ ย เกีย ่ วกับเรือ ่ งการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ของที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ ต้นไม้ ล�ำน�้ำ และ ผองสัตว์ ซึ่งถ่ายทอดกันมาหลายต่อหลายรุ่น ไม่จำ� เพาะแต่ที่บ้านแม่ลาก๊ะ หมู่ที่ 6 เท่านั้น หากแต่ยงั รวมถึงบ้านมะหินหลวง หมู่ท่ี 8 และ บ้านแม่โข่จู หมู่ที่ 10 ชาญชัย มีเบญจมาศ คือพ่อหลวงแห่ง บ้า นแม่ล าก๊ะ หมู ่ที่ 6 เขาเล่า ให้เ ราฟัง ว่า ความคิ ด เรื่ อ งการอนุ รั ก ษ์ธ รรมชาติ นี้ อ ยู ่ใ น สายเลือดของชาวเขามานาน โดยเฉพาะเรื่อง ป่าไม้ ชาวปกาเกอะญอจะแบ่งพื้นที่ป่าออก เป็นโซน ประกอบด้วยป่าต้นน�้ำ ป่าเพื่อการ ประกอบอาชีพ ป่าใช้สอยสาธารณะ และป่า เดปอ หรือป่าสะดือ ซึ่งถือเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ห้ามใครบุกรุกเด็ดขาด เพราะตามประเพณี เมื่อผู้หญิงในเผ่าคลอดทารกออกมาคนหนึ่ง จะมี ก ารตั ด สายสะดื อ ด้ว ยผิ ว ไม้ไ ผ่ จากนั้ น ห่อรกบรรจุลงในกระบอกไม้ไผ่ พ่อของเด็กจะ น�ำรกนัน ้ ไปแขวนไว้บนต้นไม้ในป่าเดปอ ต้นไม้ ต้นนัน ้ จึงเปรียบเสมือนทีเ่ ก็บขวัญเด็ก หากใคร ไปตัด เชื่อว่าจะท�ำให้เด็กล้มป่วยหรือเสียชีวิต ได้ แต่ถ้าต้นไม้นน ั้ ตายลงหรือผุพงั ชาวบ้านจะ 24 | ท่องไปในเมืองปอน

ท�ำบุญ และหาต้นไม้ประจ�ำตัวให้ใหม่ และ ในวั นส�ำ คั ญ ที่ ห มู ่บ ้านจะมีกิ จกรรมบวชป่า บวชน�ำ้ ที่ทำ� มาต่อเนื่องกว่า 20 ปี จนกลาย เป็น ภู มิ ป ัญ ญาที่ ส ามารถขยายไปสู ่เ ชื้ อ ชาติ อื่นๆ ที่อยู่ในละแวกเดียวกัน “ป่าทีเ่ ราห้ามชาวบ้านตัดต้นไม้หรือเข้าไป ยุ ่ม ย่า มเด็ ด ขาด แม้แ ต่เ ห็ ด หรื อ สั ต ว์ป ่า ก็ ห้ามจับ คือป่าต้นน�ำ้ และป่าเดปอ หากใครฝ่าฝืน จะมีมาตรการลงโทษ แต่ด้วยความทีท ่ ก ุ คนเป็น ชนเผ่าเดียวกัน ความเชื่อต่างๆ จึงส่งผ่านกัน รุ่นต่อรุ่น ไม่มีใครกล้าท�ำ เพราะถ้าบุกรุกจะมี อันเป็นไป ส่วนป่าใช้สอย เราเปิดโอกาสให้ ชาวบ้านเข้าไปใช้ประโยชน์หาของป่าได้ แต่ไม่ใช่ เพื่อการค้า อย่างเช่น ตัดไม้ไปปลูกบ้านได้ ท�ำ ฟืนได้ แต่ก่อนตัดต้องแจ้งให้คณะกรรมการ ของหมู่บ้าน 15 คน รับทราบ ทั้งจ�ำนวนและ วัตถุประสงค์ เพือ ่ หาข้อสรุปอีกครัง้ ” พ่อหลวง ชาญชัยเล่า โดยมีชาติเป็นล่ามคอยช่วยเหลือ จากคติค วามเชื่อที่เป็นรากฐานเข้มแข็ง ท�ำให้ที่นี่มีความอุดมสมบูรณ์ มีน�้ำกิ นน�้ำใช้ ตลอดปี เนือ ่ งจากพืน ้ ทีต ่ ้นน�ำ้ ได้รบ ั การป้องกัน ไว้อ ย่า งดี โดยที่ นี่ ใ ช้ร ะบบถั ง พั ก และต่อ ท่อประปาจากภูเขาไปยัง 120 หลังคาเรือน


ชาญชัย มีเบญจมาศ

รวมประชากรกว่า 470 คน มีเจ้าหน้าที่คอย ดู แ ลระบบประปาภู เ ขาของหมู ่บ ้า น 1 คน ซึ่งแต่ละปี ผู้ดูแลจะได้รับค่าตอบแทนเป็นข้าว 1 ถัง ต่อ 1 ครัวเรือน ส� ำ หรั บ ไร่น า ชาวบ้า นสามารถสู บ น�้ ำ ห้วยแม่ลาก๊ะใช้ได้เลย ด้วยเป็นต้นน�้ำ ไหลดี และยังสะอาด โดยชาวปกาเกอะญอถือว่าน�้ำ เป็นของศักดิ์สิทธิ์ จึงไม่ทิ้งขยะลงไปเด็ดขาด สั ต ว์น�้ ำ อย่า งปลาก็ ไ ด้รั บ การอนุ รั ก ษ์ไ ว้ ในล�ำห้วยแม่ลาก๊ะมีปลาหลายชนิด แต่ที่เห็น เยอะมาก คื อ ปลาพลวง ทางผู ้น� ำ หมู ่บ ้า น รุ ่น บุ ก เบิ ก ได้น� ำ แนวคิ ด เรื่ อ งการจั ด การป่า เข้ามาใช้ มีการก�ำหนดเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา ความยาวตามล� ำ น�้ ำ ประมาณ 2 กิ โ ลเมตร ประหนึ่งเป็น ‘วังปลา’ โดยออกกฎหมู่บ้าน ชั ด เจน คื อ ห้า มจั บ ปลาในพื้ น ที่ น้ั น เด็ ด ขาด ไม่ว่าจะเป็นคนในหมู่บ้านหรือคนนอก “เราตั้ ง ใจอนุ รั ก ษ์พ ่อ พั น ธุ ์แ ม่พั น ธุ ์ป ลา เอาไว้ไม่ให้สญ ู หายไป โดยทีผ ่ ่านมามีการออก กฎระเบียบไว้ 6-7 ข้อ เพือ ่ ให้ทก ุ คนถือปฏิบต ั ิ ตั้งแต่ห้ามจับปลาในเขตอนุรักษ์ ถ้าจับ ปรับ ตัวละ 500 บาท ห้ามปล่อยเป็ดลงในน�้ำ ห้าม เด็กหรือคนนอกพื้นที่มาจับปลาเล่น เพราะ

ปลาจะเจ็บ ห้ามทิง้ ขยะ ห้ามใช้สารเคมีในพืน ้ ที่ 2 กิ โ ลเมตร และไม่ใ ช่เ พี ย งแค่ป ลาเท่า นั้ น สั ต ว์อื่ น ๆ ก็ ห ้า มจั บ เช่น เดี ย วกั น โดยเรามี คณะกรรมการหมู ่บ ้า นออกไปดู แ ลเสมอ สัปดาห์ละ 2 ครัง้ เพราะครัง้ หนึง่ มีหมาไปโดน สารพิษตาย แล้วมีคนโยนลงไปในน�ำ้ ปลากิน ซากแล้วตาย” ผู้ใหญ่บ้านเล่า ด้วยความเชื่อที่สั่งสมนี้เอง จึงกลายเป็น จิตส�ำนึกทีป ่ ลูกฝังมาสู่ลก ู หลานในพืน ้ ที่ แม้เด็ก หลายคนจะต้อ งลงจากดอย เพื่ อ ไปศึ ก ษา หาความรู ้ต ามโรงเรี ย นต่า งๆ แต่พ วกเขา ไม่เ คยละจิ ต ส� ำ นึ ก นี้ เมื่ อ กลั บ คื น สู ่ห มู ่บ ้า น ก็มาเป็นก�ำลังส�ำคัญในการอนุรักษ์ “ล�ำพังแค่การออกระเบียบคงไม่ได้ผล แต่ สิ่ ง ที่ ท� ำ ให้เ ราอยู ่ไ ด้คื อ จารี ต ดั้ ง เดิ ม คน ปกาเกอะญอเชื่อว่า ถ้าน�ำของจากป่าอนุรักษ์ ออกมา จะมีอันเป็นไป อย่างเห็ดในป่าอนุรักษ์ ดอกใหญ่ ถ้าเอาไปขายคงได้กิโลกรัมละ 300 บาท แต่ไม่มีใครเก็บไป เนื่องจากทุกคนให้ ความเคารพย�ำเกรง แม้ชาวบ้านทีน ่ จี่ ะมีหลาย ศาสนา แต่ค วามเชื่ อ ดั้ ง เดิ ม ยั ง อยู ่” ผู ้ใ หญ่ ชาญชัยกล่าวทิ้งท้าย

ท่องไปในเมืองปอน | 25


เมล็ดพันธุ ์ขา้ ว บ้านมะหินหลวง

26 | ท่องไปในเมืองปอน


สุขเกษม ชัยปรีชาเลิศ

เราลาผู ้ใ หญ่ช าญชั ย แล้ว เดิ น เท้า กลั บ ทางเดิม คิดถึงเรื่องเล่าที่ผู้ใหญ่เล่า ชวนให้ นึกถึงผืนป่าข้างล่าง และที่อื่นๆ ที่เคยไปมา กว่าจะอนุรักษ์ต้องรอให้หายไปมากโข บางที คติความเชื่อเรื่องความเกรงกลัวต่อธรรมชาติ ก็กลับเป็นเรื่องที่น่าสนใจในเวลานี้ เราลุ ย ข้า มล� ำ น�้ ำ กั น อี ก รอบ ขากลั บ ดู ง่ายดายกว่าเก่า คล้ายว่าเรามีประสบการณ์ ผู้น�ำทางของเราติดเครื่องยนต์รอ “ไหนๆ ก็มาไกลขนาดนี้แล้ว ลองไปทาง บ้า นมะหิ น หลวง แล้ว ออกแม่โ ข่จู ที่ จ ะมี ทางเชื่อมไปทางแม่ลาก๊ะพอดี” ผู้น�ำทางว่า เราเองถือว่ามีประสบการณ์แล้ว ไปต่ออีกก็คง ไม่เท่าไร รถยนต์เ คลื่ อ นตั ว พาเราแหวกป่า ฝ่า ดง บางช่วงตอนของทาง ชาติต้องลงจากกระบะ คว้าพร้าคู่ใจฟันไผ่ที่สูงเอนจนปิดทาง “จริงๆ ที่บ้านมะหินหลวง มีกลุ่มชาวเขา ที่อนุรักษ์พันธุ์ข้าว น่าสนใจดี อยากลองไป คุยไหม ไหนๆ ก็ผ่านไปแล้ว” ผู้นำ� ทางของเรา เชือ ้ เชิญ ขณะหยุดรถรอให้ชาติจด ั การกับต้นไผ่ เราไม่ลังเลสักนิด เวลามี ทางมี คนพร้อม ล่ามก็เช่นกัน ผู้น�ำทางจึงพาเราลัดเลาะผ่าน ทางอันแสนผจญภัย กระทั่งเลาะขึ้นมาจนถึง

ด�ำรง วนาวิไลกุล

ยอดดอยลูกหนึง่ เราเริม ่ มองเห็นบ้านเรือนของ หมู่บ้านมะหินหลวง ถนนหนทางเริ่มดีขึ้น ผู้นำ� ทางของเราถามทางกับชาติ เราก�ำลัง หาบ้า นผู ้ใ หญ่บ ้า น หมู ่ท่ี 8 เรามองตาม ปลายนิ้ ว ของชาติ เห็ น บ้า นหลั ง หนึ่ ง จั ด วาง ตัวเองท่ามกลางขุนเขา รถเคลื่อนตัวเข้าไปใน ตัวบ้าน ผู้คนดูประหม่ากับการมาถึงของเรา สุขเกษม ชัยปรีชาเลิศ พ่อหลวงของบ้าน มะหินหลวง ออกมาต้อนรับเรา ผู้นำ� ทางชี้แจง วัตถุประสงค์ ก่อนทีผ ่ ้ใู หญ่บ้านจะเข้าไปในบ้าน ประกาศเสี ย งตามสาย เป็น ภาษาของคน ปกาเกอะญอ เราฟังได้ความแค่ 2 พยางค์ คือ ด�ำรง แน่ละว่าต้องเป็นชื่อคน ไม่นานชายทีเ่ ราเชือ ่ ว่าชือ ่ ด�ำรงก็ขรี่ ถมาถึง พ่อ หลวงจั ด แจงชงกาแฟให้เ ราคนละถ้ว ย ก ่อ น นั่ ง ล ง พู ด คุ ย เ ร า ไ ด ้ท ร า บ ว ่า ช า ย ผิวคล�ำ้ แดดวัยกลางคน นัยน์ตากลมโต มีชอ ื่ ว่า ด�ำรง วนาวิไลกุล เป็นกรรมการหมู่บ้านที่นี่ และโชคดีที่เขาพูดภาษากลางได้พอตัว ‘ บื อ ปุ ลุ บื อ สุ คี บื อ ทอหล า บื อ บ อ บือหมือ ่ กิ’ นีเ่ ป็นชือ ่ พันธุ์ข้าวตามภาษาถิน ่ ของ คนปกาเกอะญอที่ ด� ำ รงบอกกั บ เรา ซึ่ ง เป็น พันธุ์ข้าวที่พวกเขาปลูกเลี้ยงปากท้องมานาน หลายชั่วอายุคน ท่องไปในเมืองปอน | 27


ด้ว ยวั ฒ นธรรมที่ ถ ่า ยทอดมาตั้ ง แต่ค รั้ ง บรรพบุ รุ ษ ชาวบ้า นยั ง คงประกอบอาชี พ เกษตรกรรม ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นภูเขา ประชาชนทีน ่ จี่ งึ ยังชีพด้วยการท�ำไร่ ซึง่ กว่าเรา จะเข้า ใจว่า ไร่ข องพวกเขา ไม่ใ ช่ไ ร่อ ้อ ย ไร่ ข้าวโพด ก็ใช้เวลาอยู่นานสองนาน ด้ว ยว่า แท้จริงแล้วคือไร่ข้าว ส่วนบ้านไหนมั่งมีหน่อย บ้า นนั้ น จะมี น า ซึ่ ง ก็ คื อ พื้ น ที่ ร าบส� ำ หรั บ ปลูกข้าว ว่า กั น ว่า ข้า วไร่นั้ น แตกต่า งจากข้า วนา เพราะข้าวภูเขาไม่สามารถไถเตรียมดินหรือ ปรับระดับได้เหมือนพืน ้ ทีร่ าบ ฉะนัน ้ ชาวเขาจึง ปลูกข้าวแบบหยอด คือใช้ไม้ปลายแหลมเจาะ ดินเป็นหลุมเล็กๆ ลึกประมาณ 3 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 นิ้ว โดยแต่ละหลุมจะห่างกัน ประมาณ 25 เซนติเมตร และหยอดเมล็ดพันธุ์ ประมาณ 5-8 เมล็ดต่อหลุม จากนั้นกลบดิน แล้วรอให้ฝนตกลงมา ด้วยน�ำ้ ไม่ขงั จึงใช้ระบบ ชลประทานทั่ ว ไปไม่ไ ด้ ต้อ งอาศั ย ความชื้ น จากดิน เพือ ่ ให้ข้าวเจริญเติบโตเป็นต้นออกมา พ่อหลวงสุขเกษม เสริมว่า ข้าวไร่จะต้อง ใช้พันธุ์ข้าวที่แตกต่างจากข้าวนาทั่วไป เพราะ ต้อ งเป็น พั น ธุ ์ที่ ท นแดด ทนฝน ทนศั ต รู พื ช มากกว่าข้าวนาอีกด้วย ส�ำหรับพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกกัน มีหลาย ประเภท อย่าง ‘บือปุลุ’ เมล็ดข้าวจะมีลักษณะ ค่อนไปทางกลม สมัยก่อนนิยมปลูกกันมาก เพราะคนที่ น่ี ไ ม่ค ่อ ยมี ข ้า วกิ น ข้า วชนิ ด นี้ จ ะ หุงขึ้นหม้อ มาช่วงหลังชาวบ้านปลูกข้าวได้ มากขึ้น ความนิยมจึงลดลง

28 | ท่องไปในเมืองปอน

ส่ว นพั น ธุ ์ ‘บื อ สุ คี ’ ปลายเมล็ ด มี สี ค ล�้ ำ หุ ง ไม่ขึ้ น หม้อ แต่ก ลิ่ น หอมกว่า แล้ว ยั ง มี ‘บือทอหลา’ ซึ่งลักษณะของต้นเป็นใบยาวๆ เก็บเกี่ยวได้ช้าเมื่อเทียบกับพันธุ์อื่นๆ แล้วก็มี ‘บือบอ’ เป็นพันธุ์เมล็ดแข็งเหมือนบือปุลุ และ ‘บือหมื่นกิ’ อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านจะระมัดระวังเรือ ่ ง การใช้พันธุ์ข้าว ไม่มีการทดลองหยอดพันธุ์ ที่ไม่เคยปลูก เพราะหากมีปัญหา นั่นหมายถึง ความเสียหาย “คนมี ไ ร่เ ล็ ก ๆ และไม่มี น าจะนิ ย มปลู ก บือปุลุมากที่สุด ตัวข้าวจะค่อนข้างแข็ง เคี้ยว แล้วมันดี ซึ่งเหตุผลที่มีหลายพันธุ์ เป็นเพราะ แต่ละคนชอบกินข้าวไม่เหมือนกัน บ้านหนึง่ มัก ปลู ก กั น 2-3 พั น ธุ ์ แล้ว คนที่ นี่ จ ะเน้น การ ปลูกข้าวเพื่อกินเท่านั้น เว้นแต่เหลือถึงค่อย ขาย ซึ่งส่วนมากจะพอดี เหลือประมาณ 2-3 ถังเท่านั้น ส่วนขายก็ขายกันในพื้นที่ข้างเคียง ซื้อไปให้ไก่บ้าง เพราะว่าไก่ชอบกินข้าวพันธุ์ บือปุลุ มันแข็งดี” ด�ำรงเล่า จากเมล็ดพันธุ์ต่อยอดไปสู่กิ จกรรมข้าว อื่นๆ ทั้งพิธีกรรมและการบริหารจัดการเพื่อ ความยั่งยืน หนึ่งในกระบวนการที่เห็นได้ชัด คื อ ที่ นี่ ไ ม่มี ใ ครเป็น เจ้า ของกรรมสิ ท ธิ์ ที่ ดิ น แบบผูกขาด แต่จะใช้วิธีการหมุนเวียนพื้นที่ เพาะปลูก โดยชาวบ้านจะแบ่งที่ดินออกเป็น 8 แปลงใหญ่ จากนัน ้ เลือกทีด ่ น ิ แปลงหนึง่ เพือ ่ ท�ำการเกษตร แล้วแบ่งแปลงย่อยๆ จัดสรร ให้แ ก่ส มาชิ ก ในหมู ่บ ้า นทั้ ง 113 ครั ว เรื อ น ซึ่ ง จะแบ่ง น้อ ยหรื อ มาก ขึ้ น อยู ่กั บ ขนาด


ครอบครัว พอถึงปีใหม่จะเวียนไปท�ำอีกแปลง หนึ่ง ท�ำเช่นนี้จนครบทั้ง 8 แปลง “ในแต่ละช่วงของการท�ำไร่ เราจะมีพธิ กี รรม อย่า งช่ว งเดื อ นเมษายน ซึ่ ง เป็น ช่ว งที่ เ ริ่ ม ปลูกข้าว ก่อนลงพันธุ์ข้าวเมล็ดแรก จะมีพิธี ผูกข้อมือ และท�ำแนวกันไฟ ซึ่งเป็นความเชื่อ ดั้ ง เดิ ม โดยมี ผู ้น� ำ ทางด้า นจิ ต วิ ญ ญาณของ หมู ่บ ้า นเป็น ผู ้ท� ำพิ ธี พอเดื อ นมิ ถุ น ายนจะมี พิธีผูกข้อมือสมาชิกในหมู่บ้านกันอีกรอบหนึ่ง และเมื่ อ ถึ ง ปลายเดื อ นตุ ล าคมถึ ง ต้น เดื อ น พฤศจิ ก ายนจะเป็น ฤดู เ ก็ บ เกี่ ย ว โดยพั น ธุ ์ บือปุลุจะเกี่ยวก่อนเป็นพันธุ์แรก หลังจากนั้น จึงเก็บเกี่ยวพันธุ์อื่นๆ จนแล้วเสร็จ เมื่อเก็บ เกี่ยวเสร็จจะมีพิธีปล่อยนกขึ้นสวรรค์ คล้าย เลีย ้ งข้าวให้ผี ทุกคนจะเข้ามาช่วย” ด�ำรงอธิบาย ที่ส�ำคัญชาวบ้านจะไม่หยอดแค่เมล็ดข้าว เพียงล�ำพัง แต่จะหยอดเมล็ดพันธ์ุผักสวนครัว ไปพร้อมๆ กัน ทั้งแตง เผือก มัน ซึ่งพืชพวกนี้ ออกผลเร็ว ชาวบ้านจะเก็บเกีย ่ วไปบริโภคก่อน อีกนวัตกรรมหนึ่งที่ชาวบ้านมะหินหลวง ช่ว ยกั น ท� ำ คื อ ธนาคารข้า ว ซึ่ ง เริ่ ม ต้น เมื่ อ ประมาณ 30 ปีกอ ่ น โดยการสนับสนุนของ กองทุนธนาคารข้าว ซึ่งอยูภ ่ ายใต้การบริหาร งานของมูลนิธิคริสเตียนบริการแบ๊บติสท์ มี วัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือคนทุกข์ยากที่ไม่มี ก�ำลังพอจะปลูกข้าวได้ เช่น คนพิการ คนเฒ่า คนแก่ ซึ่งสามารถมาเอาข้าวได้ฟรี รวมไปถึง คนที่ ป ลู ก ข้า วแล้ว ไม่พ อกิ น ขณะเดี ย วกั น ก็ เปิด โอกาสให้ค นหมู ่บ ้า นอื่ น ที่ อ ยู ่ใ กล้กั น สามารถกู้ข้าวไปรับประทานได้

ช่ว งแรกที่ เ ริ่ ม ท� ำ ชาวบ้า นน� ำ ข้า วที่ ไ ด้ หลังจากเก็บเกีย ่ วในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือน มกราคมเข้ามาฝากไว้ทธี่ นาคาร ครัวเรือนหนึง่ ต้องฝากทั้งหมด 10 ถัง เมื่อถึงช่วงที่ข้าวใน ยุ้งฉางเริ่มร่อยหรอ สามารถมายืมข้าวได้ โดย ให้แ จ้ง กั บ คณะกรรมการธนาคารข้า ว ซึ่ ง มี พ่อ หลวงเป็น ประธาน โดยผู ้ยื ม จะต้อ งเสี ย ดอกเบี้ยร้อยละ 10 ให้แก่ธนาคาร อธิบาย ง่ายๆ คือยืมข้าว 10 ถัง พอถึงช่วงเก็บเกี่ยว ได้ข้าวมา ต้องส่งคืนทั้งหมด 11 ถัง จากแนวทางการบริหารข้าวเช่นนี้ ท�ำให้ บ้า นมะหิ น หลวงมี ค วามมั่ น คงทางอาหาร ข้า วเต็ ม ยุ ้ง ฉางต่อ เนื่ อ งมาแล้ว หลายปี ซึ่ ง เวลานี้ ค ณะกรรมการก� ำ ลั ง คิ ด หาวิ ธี ร ะบาย ข้าวเก่า โดยวิธท ี ท ี่ ำ� กันอยู่ตอนนี้ คือยืมข้าวเก่า ออกไปกิน แล้วเอาข้าวใหม่มาเปลี่ยนแทน นอกจากธนาคารข้าวแล้ว ที่นี่ยังมีโรงสี ขนาดเล็กของชุมชน โดยชาวบ้านระดมเงิน จั ด ซื้ อ กั น มาเอง การสี แ ต่ล ะครั้ ง คิ ด ค่า ไฟ ่ ครัง้ ละ 7 บาท ซึง่ เงินนีจ้ ะน�ำเข้ากองกลาง เพือ เป็น ค่า ใช้จ ่า ยต่า งๆ เช่น ค่า ซ่อ มเครื่ อ งกล ส่วนเศษข้าวที่เหลือ เช่น ปลายข้าว ร�ำ แกลบ เจ้าของสามารถน�ำไปเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ได้ วิถชี วี ต ิ ลักษณะนี้ ท�ำให้ชาวบ้านมะหินหลวง แทบไม่มี ค ่าใช้จ ่ายใดๆ เพราะทุก คนมีชีวิต เรี ย บง่า ย ปลู ก เพื่ อ กิ น นั บ เป็น วิ ถี ดั้ ง เดิ ม ที่ ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งแทบหาไม่ได้อีกแล้ว ในสังคมปัจจุบัน หรือสังคมที่เรารู้จัก... ท่องไปในเมืองปอน | 29


ท่องไปในเมืองปอน Traveling in Muang Pon

30 | ท่องไปในเมืองปอน


เราเดินทางลงจากบ้านมะหินหลวง หมู่ที่ 8 ผ่าน บ้านแม่โข่จู หมู่ที่ 10 ระหว่างทางเราแวะถ่ายภาพ ชาวเขาในหมู่บ้านแม่โข่จู ดูบ้านเรือนที่มีแต่ความ เรียบง่าย สังเกตว่า ที่นี่นิยมสร้างบ้านตรงไหล่เขา เข้าใจว่า คงสร้างก่อนที่ถนนลูกรังจะมาถึง เลยเป็น ลักษณะเช่นนั้น เราเห็นลูกเด็กเล็กแดง เห็นการ ถนอมอาหาร พวกเขาไม่คุ้นกับกล้องเท่าไร เรายิ้ม ทั ก ทาย แต่กั บ วาจาต้อ งอาศั ย ชาติ ค อยช่ว ย เรา เดินทางกันต่อ ผ่านถนนที่ไม่แน่ใจว่าใช่ถนนหรือไม่ เหมื อ นจะเป็น เส้น ทางรถ แต่จ ากสภาพก็ ช วนให้ มัน ่ ใจว่า ไม่มรี ถผ่านเข้ามานานแล้ว เป็นเวลาเย็นย�ำ่ พอดีทเี่ ราลงมาถึงบ้านแม่ลาก๊ะ ส่งชาติกลับเข้าบ้าน กลับสู่วันพักผ่อนของเขา เราโบกมือลา ผู้น�ำทาง ของเราว่า ลงไปถึงถนนเส้นหลักน่าจะค�ำ่ พอดี แล้วก็เป็นเช่นนัน ้ จริงๆ เราถึงถนนหลวงตอนค�ำ่ ผู้น�ำทางพาเราไปกิ นข้าว ก่อนพาเข้าสู่โฮมสเตย์ เรามั่นใจว่า คืนนี้คงจะหลับลึกแน่ๆ เมื่อท้องอิ่ม ร่างกายเหนื่อยล้า และอากาศดีๆ แบบนี้ จะเป็น อย่างอื่นได้อย่างไร รุ่งเช้าผู้น�ำทางของเราติดธุระ แต่ก็มีคนมารับ เราพาไปที่ต่างๆ ในวันนี้จะเป็นการท�ำความรู้จัก เมืองปอน รู้จักการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม รู้จักกับ คนไทใหญ่ กับอะไรอีกหลายอย่าง เราคิดว่า...

ท่องไปในเมืองปอน | 31


เมืองปอนโฮมสเตย์

จุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยวภายในต�ำบล เมื อ งปอนมาจาก ‘โฮมสเตย์’ ซึ่ ง เรื่ อ งนี้ เราไม่ต ้อ งเดิ น ทางไปไหน แค่นั่ ง อยู ่ที่ โ ต๊ะ รับประทานอาหารเช้าเท่านัน ้ ด้วย ฟองจันทร์ ศิริน้อย หรือ ครูอู๊ด ประธานกลุ่มเมืองปอน โฮมสเตย์ คือเจ้าของบ้านที่เรามาพักด้วย ครูอ๊ด ู ย้อนความให้ฟังว่า ในราวปี 2546 การท่อ งเที่ ย วของต� ำ บลขุ น ยวมเริ่ ม ได้รั บ 32 | ท่องไปในเมืองปอน

ความนิ ย ม โดยมี ห มุ ด หมายส� ำ คั ญ อยู ่ที่ ทุ ่ง บั ว ตอง ณ ดอยแม่อู ค อ ทว่า พอมากั น เป็นจ�ำนวนมาก ที่พักเริ่มไม่เพียงพอ เกิดเป็น ปัญหาทิ้งไว้ให้ต้องครุ่นคิดกัน ปีต่อมา สุรพล สัตยารักษ์ นายอ�ำเภอ ขุ น ยวมในขณะนั้ น ได้ม าปรึ ก ษากลุ ม ่ ครู ซึง่ เคยท�ำงานร่วมกันว่า น่าจะเปิดบ้านพักของ แต่ละคนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว


ฟองจันทร์ ศิริน้อย

“ตอนนั้ น เราไม่รู ้ห รอกว่า โฮมสเตย์ คืออะไร ท่านอธิบายให้ฟังว่า เป็นการเปิดบ้าน เพือ ่ รองรับนักท่องเทีย ่ ว เหมือนเราเปิดบ้านให้ ญาติพัก จากนั้นก็เริ่มชวนคนในหมู่บ้านว่า มี ใครสนใจจะท� ำ บ้า ง ได้ม าทั้ ง หมด 5 หลั ง แล้ว ไปค้น หาว่า ในจั ง หวั ด แม่ฮ ่อ งสอนมี โฮมสเตย์อยู่ทไ่ี หนบ้าง ไปรู้ว่าทีต ่ ำ� บลแม่ละนา มี เลยลงขั น เหมารถกั น โดยมี น ายอ� ำ เภอ คอยประสานงาน เราไปดู เ พื่ อ ให้รู ้รู ป แบบ การต้อนรับ การเลีย ้ งอาหาร การจัดการภายใน บ้าน ซึ่งพอไปดูแล้ว ก็คิดว่าท�ำได้” ครูอู๊ดว่า หลังกลับมา ครูอู๊ดและเพื่อนเริ่มท�ำการ ปรั บ ปรุ ง บ้า น แต่ยั ง ไม่ทั น จะเสร็ จ สมบู ร ณ์ นายอ�ำเภอสุรพลก็ส่งแขกกลุ่มแรกเข้ามาให้ 50 คน ซึ่งทางกลุ่มปฏิเสธ เพราะยังไม่พร้อม “ถ้าไม่พร้อมสักที แล้วจะเริ่มได้เมื่อไร” นายอ� ำ เภอตอบกลั บ มาเช่น นั้ น เป็น แรงฮึ ด

ให้กลุ่มตัดสินใจระดมเงินคนละ 10,000 บาท เพื่อซื้อที่นอน มุ้ง รับนักท่องเที่ยวกลุ่มแรก โดยนายอ�ำเภอคอยสนับสนุนและประชาสัมพันธ์ ให้อย่างต่อเนือ ่ ง ทัง้ ยังผลักดันให้องค์การบริหาร ส่ว นต� ำ บลเมื อ งปอนอุ ด หนุ น งบประมาณ ช่วยเหลือปีละ 10,000 บาท ตั้งแต่ปี 2548 เมื่ อ พอเห็ น หนทาง ก็ เ ริ่ ม มี ผู ้ส นใจเข้า ร่ว ม มากขึ้น “เวลามี นั ก ท่อ งเที่ ย วมา เราจะมี ส มุ ด ให้แสดงความคิดเห็น โดยเราจะบอกทุกคน ก่อนเลยว่า ห้ามชมเรา เพราะถ้าชมแล้ว เรา ไม่รู ้ห นทางที่ ต ้อ งเดิ น ต่อ ไป แต่ถ ้า คุ ณ ติ เ รา เราสามารถแก้ไขปรับปรุง ซึ่งที่ผ่านมา เรา ถูกติเรื่องการต้อนรับ ด้วยความประหม่าบ้าง สะเพร่าบ้าง แล้วยังเรือ ่ งทีน ่ อน แก้วน�ำ้ ภาชนะ ที่ไม่พร้อม ซึ่งถ้าแขกมากันไม่มาก ก็อาศัย หยิบยืมจากบ้านอื่นมาช่วย” ท่องไปในเมืองปอน | 33


จนปี 2549 ส� ำ นั ก งานพั ฒ นาการ ท่อ งเที่ ย ว (ปัจ จุ บั น คื อ กรมการท่อ งเที่ ย ว) กระทรวงการท่อ งเที่ ย วและกี ฬ า เชิ ญ กลุ ่ม เมืองปอนโฮมสเตย์ไปอบรมทีต ่ ำ� บลบางเจ้าฉ่า จั ง หวั ด อ่า งทอง เพื่ อ เตรี ย มพร้อ มสู ่ก าร ประเมินมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย ซึ่งกลุ่มได้ ส่งตัวแทนเข้าร่วม 4 คน ใช้เวลาอบรม 5 วัน เต็ ม พอเสร็ จ กระบวนการ กลุ ่ม ได้ก ลั บ มา ปรั บ ปรุ ง เพื่ อ รอรั บ คณะกรรมการซึ่ ง เป็น ตั ว แทนจากภาคส่ว นต่า งๆ เช่น กระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงสาธารณสุข เข้ามาประเมิน ปรากฏว่าเพียงครั้งแรกก็ได้ รับการรับรองทั้งหมด 7 หลัง เมื่อได้รับมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย กลุ่มจึง สร้า งระบบหุ ้น ส่ว นขึ้ น มา ให้ส มาชิ ก ลงเงิ น คนละ 1,000 บาทไว้เป็นกองกลาง และเมื่อมี แขกมาพัก ต้องหักอีกร้อยละ 10 ของรายได้ เข้ากองกลาง เพื่อบริหารจัดการภายในกลุ่ม รวมถึงใช้ในกิ จกรรมสาธารณประโยชน์ ซึ่ง ด้วยพื้นฐานของสมาชิกหลายคนเป็นครู จึง ให้ทุนแก่นักเรียนที่ยากจนเสมอ ทว่าการที่กลุ่มจะเข้มแข็ง ต้องอาศัยการ มีส่วนร่วม จึงมีการปรึกษาหารือกันบ่อยครั้ง เพื่อหาจุดอ่อน รวมทั้งวิพากษ์ข้อเสนอแนะ ของแขกว่า จะน�ำมาปรับใช้ได้อย่างไร และ สิ่ งที่ ส�ำ คั ญที่สุด คือการแบ่งสั นปันส่ว นการ รับรองแขก ซึง่ กลุ่มจะใช้ระบบหมุนเวียนกันไป โดยมี ก ารก� ำหนดคิ ว บ้า นเอาไว้ชั ด เจน และ กรณีทแ ี่ ขกมาน้อย แต่ละบ้านจะรับหน้าทีด ่ แ ู ล กันเอง แต่ถ้ามาเป็นกลุ่มใหญ่ ทุกบ้านต้องมา 34 | ท่องไปในเมืองปอน

ช่วยกันรับแขก มีการแบ่งหน้าที่กันไป “เราเริ่ ม มี แ ขกเยอะขึ้ น เรื่ อ ยๆ เพราะ การท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอนเข้ามา ช่ว ย และช่ว งนั้ น เราออกโทรทั ศ น์บ ่อ ยมาก ทั้ ง ร า ย ก า ร ทั่ ว ถิ่ น แ ด น ไ ท ย พั น แ ส น รุ ้ง ทุ ่ง แสงตะวั น เมื อ งเรื อ งแสง คนค้น ฅน กบนอกกะลา โดยจุดส�ำคัญที่เรายึดถือ คือ ไม่ท�ำงานเชิงรุก แต่ทำ� งานเชิงรับ เพราะถ้ารุก มากเกินไป บริษัททัวร์ต่างๆ เข้ามา ก�ำหนด กฎเกณฑ์เงื่อนไขให้เรา ซึ่งเราไม่ต้องการ เรา ท�ำตามวิถข ี องตัวเอง ค่อยๆ เจริญเติบโต สิง่ ที่ เราได้ คือสิ่งที่ยังคงอยู่ นั่นคือชุมชนของเรา” ปัจจุบน ั กลุ่มเมืองปอนโฮมสเตย์ มีสมาชิก สามัญ 13 หลัง และสมาชิกสมทบอีก 20 หลัง ทั้งหมดอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 บ้าน เมื อ งปอน คิ ด ค่า บริ ก าร 350 บาทต่อ คน ต่อคืน โดยครอบคลุมทัง้ อาหารเช้า และอาหาร เย็น อย่างไรก็ดี การที่มีสมาชิกเพิ่มขึ้นกว่า เท่าตัว เป็นเพราะองค์การบริหารส่วนต�ำบล เมืองปอนรับโครงการของส�ำนักงานกองทุน สนั บ สนุ น การสร้า งเสริ ม สุ ข ภาพ (สสส.) เข้า มา ซึ่ ง ในเนื้ อ งานให้ อบต.เมื อ งปอน จั ด ตั้ ง โฮมสเตย์เ พื่ อ รองรั บ การเรี ย นรู ้ จึ ง ประชาสั ม พั น ธ์เ ชิ ญ ชวนให้บ ้า นต่า งๆ เปิด เป็นโฮมสเตย์ จึงเกิดสมาชิกสมทบเพิ่มเข้ามา รับแขกของ สสส. ซึง่ ครูอ๊ด ู ยอมรับว่า จะจัดการ ให้ส มาชิ ก สมทบทั ด เที ย มของเดิ ม ยั ง ต้อ ง ใช้เ วลา เพราะกลุ ่ม หลั ก ด� ำ เนิ น การมาเกิ น 10 ปีแล้ว แต่ก็พยายามเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแล จัดมาตรฐานให้ใกล้เคียงกันมากที่สุด


“แขกที่ เ ป็น นั ก ท่อ งเที่ ย วมากั น มากช่ว ง ตุ ล าคมถึ ง มกราคม สมาชิ ก บ้า นไหนที่ ยั ง ไม่ผ่านการประเมินมาตรฐาน เราจะให้รบ ั แขก เป็นครั้งคราว ค่อยๆ พัฒนากันไป โดยมีคณะ กรรมการกลุ่มเป็นผู้ประเมินในเบื้องต้นก่อน ซึ่งถ้าหลังนั้นไม่ผ่าน เราต้องประเมินเรื่อยๆ จนได้มาตรฐาน บางครัง้ เราต้องพาเขาไปนอน พาเข้าไปดู เพื่อให้รู้ว่าแบบไหนที่ได้คุณภาพ เครื่ อ งนอนเป็น อย่า งไร ห้อ งน�้ ำ ต้อ งสะอาด แค่ไหน ต้องมีสบู่ ผ้าเช็ดตัวส�ำรองไว้ให้ การ ปฏิบัติตัวในฐานะเจ้าบ้านต้องท�ำอย่างไร” แม้วั น นี้ ก ลุ ม ่ เมื อ งปอนโฮมสเตย์จ ะเป็น กลุ่มทีเ่ ข้มแข็งมากทีส ่ ด ุ กลุ่มหนึง่ ในพืน ้ ทีต ่ ำ� บล เมืองปอน แต่กระนัน ้ สมาชิกไม่เคยหยุดพัฒนา ตนเอง และพยายามหาต้นแบบทีโ่ ดดเด่น เพือ ่ เป็นแนวทางในการปรับปรุงโฮมสเตย์ให้ดีขึ้น บนพื้นฐานของการรักษาอัตลักษณ์ของพื้นที่ ที่สั่งสมมานานให้คงอยู่สืบไป... ท่องไปในเมืองปอน | 35


ปฏิทินวัฒนธรรม ‘เมืองปอน’

กัลยา รักจันทร์

นับเป็นผลพวงต่อยอดจากโฮมสเตย์ เมื่อ แขกที่ ม าพั ก ได้ถื อ โอกาสเดิ น ส� ำ รวจวิ ถี ชี วิ ต ของบ้านเมืองปอนไปด้วย ความสุกงอมทาง วั ฒ นธรรมที่ มี อ ยู ่ใ นตั ว จึ ง ได้ป ระจั ก ษ์แ ก่ สายตา แทบไม่ต้องปรุงแต่งอะไรเพิ่มเติม ค น ไ ท ใ ห ญ ่ตั้ ง ร ก ร า ก แ ล ะ อ ยู ่ที่ บ ้า น เมื อ งปอนมาหลายชั่ ว อายุ ค น ซึ่ ง คนกลุ ่ม นี้ มี ค วามเชื่ อ ที่ เ ข้ม แข็ ง ที่ ไ ด้รั บ อิ ท ธิ พ ลจาก ศาสนาพุ ท ธ และความเชื่ อ ของคนโบราณ ถึ งแม้ก าลเวลาจะผ่า นไป แต่วิ ถี ชี วิ ต ดั้ ง เดิ ม ที่ได้รับการปลูกฝังจากรุ่นสู่รุ่นยังคงอยู่ กลาย เป็นวัตรปฏิบัติ ซึ่ง ณ เวลานี้เป็นเอกลักษณ์ และความภาคภูมิใจของคนเมืองปอน 36 | ท่องไปในเมืองปอน

เมื่ อ มี ก ารเปิด โฮมสเตย์ภ ายในบ้า น เมืองปอน แขกที่มาก็ได้เรียนรู้เรื่องราวของ คนไทใหญ่ไ ปด้ว ย หลายครั้ ง มาพอดี กั บ เทศกาลส�ำคัญประจ�ำถิ่น ก็พาให้ได้ร่วมเป็น สั ก ขี พ ยาน จนเริ่ ม มี ชื่ อ เสี ย งระดั บ หนึ่ ง แขกเหรื่ อ ที่ ม าพั ก ไม่ต รงช่ว งจึ ง ขอให้จั ด พิ ธี ก รรมนั้ น ให้ช มเป็น ขวั ญ ตา ซึ่ ง เจ้า บ้า น โฮมสเตย์จั ด การให้ ด้ว ยหั ว ใจที่ เ ปี่ย มด้ว ย การบริการ แต่นั่นก็เป็นจุดบกพร่องที่เจ้าบ้าน โฮมสเตย์ห ลงลื ม ไป ด้ว ยคนไทใหญ่ยั ง เคร่งครัดในความเชือ ่ พิธก ี รรมจึงไม่ใช่มหรสพ เพือ ่ ความเพลิดเพลิน นัน ่ จึงเป็นเหตุให้แกนน�ำ จัดท�ำปฏิทินวัฒนธรรมขึ้น


กัลยา รักจันทร์ หรือ ครูแมว ในฐานะ ผู้บุกเบิกโฮมสเตย์ร่วมกับครูอู๊ด ได้เล่าให้เรา ฟังว่า ในช่วง 2 เดือนแรก คือ ‘เหลินเจ๋ง’ หรือ เดือนอ้าย และ ‘เหลินก�ำ๋ ’ หรือเดือนยี่ ชาวบ้าน จะไม่ท� ำ อะไร เพราะถื อ เป็น เดื อ นพั ก ของ คนไทใหญ่ กิ จ กรรมแรกของปีจ ะมาเริ่ ม ใน ‘เหลิ น สาม’ หรื อ เดื อ นสาม คื อ ประเพณี ‘หลู่ข้าวหย่ากู๊’ หรือถวายข้าวเหนียวแดง โดย ชาวนาจะน�ำข้าวใหม่ทเี่ พิง่ เก็บเกีย ่ วไปถวายวัด ด้วยเชือ ่ ว่าจะได้บญ ุ กุศล ตายไปเกิดบนสวรรค์ และเมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จ จะน�ำส่วนที่เหลือ ไปท� ำ ทานแก่ค นเฒ่า คนแก่ หรื อ ญาติ ส นิ ท มิตรสหาย และอีกประเพณีที่ท�ำในเดือนนี้ คือ

‘หลูก ่ อ ๋ งโหล’ เป็นการถวายฟืนเป็นพุทธบูชา ด้ว ยเดื อ นสาม ซึ่ ง ตรงกั บ เดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ อากาศจะค่อนข้างหนาว พอ ‘เหลินสี่’ หรือเดือนสี่ ชาวไทใหญ่จะ ท�ำประเพณี ‘ปอยส่างลอง’ หรือการบรรพชา ลูกชายเป็นสามเณรเป็นเวลา 1 เดือน เพราะ คนที่นี่เชื่อว่า การบวชคือการด�ำเนินตามรอย พระพุทธองค์ เป็นการท�ำบุญที่ยิ่งใหญ่ บวช แล้วพ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์ แต่ ถ้าบ้านไหนไม่มีบุตรชาย ใช้วิธีอุปถัมภ์ปัจจัย การบวชของลูกบ้านอืน ่ แทน โดยผู้สนับสนุนจะ ได้บุญตามไปด้วย

ท่องไปในเมืองปอน | 37


ช่วง ‘เหลินห้า’ หรือเดือนห้า คนไทใหญ่ จะท�ำพิธี ‘กั่นตอ’ หรือประเพณีสงกรานต์ ซึ่ง คนไทใหญ่จ ะให้ค วามส� ำ คั ญ กั บ การขอขมา บิดามารดา ญาติผู้ใหญ่ พร้อมกับน�ำเครื่อง ไทยทาน ซึ่ ง ประกอบไปด้ว ยขมิ้ น ส้ม ป่อ ย เสื้อผ้าใหม่ ผลไม้ เพื่อขอขมา นอกจากนี้ยัง สร้างสถานที่สรงน�้ำพระขึ้นมาเฉพาะ เรียกว่า ‘จองซอน’ โดยอั ญ เชิ ญ พระพุ ท ธรู ป จากวั ด มาประดิษฐานไว้ ณ จองซอน เพื่อให้ชาวบ้าน ที่เลื่อมใสศรัทธาได้สรงน�ำ้ พระ เพื่อความเป็น สิริมงคล ส่ว น ‘เหลิ น หก’ หรื อ เดื อ นหก มี พิ ธี ‘วานปะลีก’ หรือการท�ำบุญหมู่บ้านของคน ไทใหญ่ ท� ำ เฉพาะข้า งขึ้ น ของวั น พฤหั ส บดี เท่านั้น ยกเว้นว่าสัปดาห์นั้นมีคนในหมู่บ้าน

38 | ท่องไปในเมืองปอน

เสียชีวิต ชาวบ้านจะถือเป็นอาเพศ ต้องเลื่อน ออกไป ส� ำ หรั บ พิ ธี ก รรม เริ่ ม ตั้ ง แต่นิ ม นต์ พ ร ะ ส ง ฆ ์ไ ป ท� ำ พิ ธี เ จ ริ ญ พ ร ะ พุ ท ธ ม น ต ์ สี่ มุ ม เมื อ ง จากนั้ น ชาวบ้า นจะน� ำ น�้ ำ ขมิ้ น ส้มป่อย พร้อมทั้งดอกไม้ท�ำเป็นตาแหลว ใบ หนามเล็บแมว ใบผักกุ่ม ใบปานแข ใบถั่วแระ โดยน�ำใบหญ้าคามาท�ำเป็นเชือก ส�ำหรับน�ำไป แขวนไว้ทป ี่ ระตูบ้าน ในขณะทีท ่ ำ� พิธจี ะมีคนน�ำ ตาแหลวไปปักไว้ทห ี่ วั บ้าน ท้ายบ้าน ห้ามคนใน ออก ห้ามคนนอกเข้า เมื่อพิธีเสร็จจะยิงปืน เป็นสัญญาณให้รู้ทั่วกัน และจะมีเครื่องเซ่นใส่ กระทงใหญ่ เรียกว่า ‘สะตวง’ น�ำส่งทั้ง 8 ทิศ ต่อมาคือ ‘เหลินเจ็ด’ หรือเดือนเจ็ด ถึง ‘เหลิ น สิ บ ’ หรื อ เดื อ นสิ บ ก็ จ ะเข้า สู ่พิ ธี ‘ปอยจาก๊ะ’ ซึ่งเป็นการท�ำบุญให้แก่ผู้ทรงศีล


เนื่องในฤดูกาลเข้าพรรษา โดยคนไทใหญ่มี ความเชื่อว่า การท�ำบุญกับคนธรรมดา 100 ครั้ง ไม่เท่ากับท�ำบุญกับผู้ทรงศีล 1 ครั้ง และ จะไปค้างคืนที่วัดเพื่อปฏิบัติธรรมด้วย พอ ‘เหลินสิบเอ็ด’ หรือเดือนสิบเอ็ด ขึ้น 1 ค�่ำ ถึง 14 ค�่ำ จะมีพิธี ‘แฮนซอมโก่จา’ เป็นพิธี ท� ำ บุ ญ อุ ทิ ศ ส่ว นกุ ศ ลแก่ผู ว้ ายชนม์ใ นรอบปี ซึ่ ง จะมี ก ารถวายตุ ง ที่ วั ด เพื่ อ เป็น บั น ไดให้ ผู้ล่วงลับขึ้นสวรรค์ และพอถึง 15 ค�่ำ หรือวัน ออกพรรษา จะมี พิ ธี ‘ปอยเหลิ น สิ บ เอ็ ด ’ คนไทใหญ่จ ะท� ำ จองพาราไว้ท่ี ห น้า บ้า น ซึ่ ง เ ป รี ย บ เ ส มื อ น ซุ ้ม รั บ ส ม เ ด็ จ พ ร ะ สั ม ม า สั ม พุ ท ธเจ้า หลั ง จากโปรดมารดาที่ ส วรรค์ ชั้นดาวดึงส์ พร้อม ‘ก๊อกซอมต่อ’ หรือกระทง ใบตองถวายด้วย และสุ ด ท้า ย ‘เหลิ น สิ บ สอง’ หรื อ เดื อ น สิ บ สอง จะมี พิ ธี ‘ปอยหวั่ ง กะป่า ’ เป็น การ จ� ำ ลองเขาวงกต โดยได้แ รงบั น ดาลใจจาก มหาเวสสันดรชาดก ช่วงที่พระเวสสันดรไป บ� ำ เพ็ ญ เพี ย รในป่า เขาวงกต ซึ่ ง เต็ ม ไปด้ว ย เส้นทางสลับซับซ้อน ถ้าผู้ใดเข้าไปหาหรือไป ท�ำบุญก็ตาม หากไม่มีบุญแล้ว จะไม่สามารถ เข้าไปถึงอาศรมพระเวสสันดรได้ จะหลงทาง ไปมาอยู่ในป่าเขาวงกต นอกจากนี้ยังมีการ จ�ำลองปราสาทมหาวิหาร 8 หลัง ที่เศรษฐี ในสมัยนั้นสร้างถวายแด่พระพุทธเจ้าอีกด้วย ส� ำ ห รั บ วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค ์ข อ ง ป ร ะ เ พ ณี นี้ ก็ เพื่ อ ปลู ก ฝัง ให้เ ยาวชนได้เ รี ย นรู ้เ รื่ อ งราว พุทธประวัติ และยังเป็นการสร้างความสามัคคี

ให้เกิดขึ้นในชุมชน “กิ จ กรรมทั้ ง หมดถื อ เป็น วิ ถี ชี วิ ต ของ คนไทใหญ่ม านมนานแล้ว เพี ย งแต่เ รายั ง ไม่ท�ำให้เป็นระบบ หรือเขียนออกมาชัดเจน อย่างทุกวันนี้ จนกระทัง่ เมือ ่ ปี 2545 ทีเ่ ราเริม ่ มาส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยวมากขึ้น ก็เลย ก�ำหนดขึ้นเป็นปฏิทินวัฒนธรรมไทใหญ่ ซึ่ง ข้อดีของการท�ำปฏิทินวัฒนธรรม คือคนให้ ความสนใจมากขึน ้ เพราะก่อนหน้านีห ้ ลายคน ให้ค วามส� ำ คั ญ กั บ สิ่ ง เหล่า นี้ น ้อ ยลง อย่า ง จองพาราก็ เริ่ ม มี เลือนหาย เพราะคนคิดว่า ไม่ท�ำก็ได้ แต่พอเราย�้ำหรือพูดบ่อยๆ ก็เริ่มมี ความตืน ่ ตัวขึน ้ คนทีอ ่ ยากร่วมกิจกรรมมากขึน ้ ที่ผ่านมาเราท�ำ 3 อย่างพร้อมกัน คืออนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่ อย่างจองพารา เราให้ เด็กๆ ทีโ่ รงเรียนท�ำ ให้ปราชญ์ชาวบ้านมาสอน โดย อบต.สนั บ สนุ น งบประมาณ แล้ว แจก ทุกบ้านไปเลย ประเพณีกเ็ ริม ่ กลับมา” ครูแมว ฉายภาพที่ไปที่มาของปฏิทินวัฒนธรรม ปัจจุบน ั นอกจากประเพณีของชาวไทใหญ่ แ ล ้ว ยั ง มี ก า ร ผ น ว ก ป ร ะ เ พ ณี ข อ ง ช า ว ปกาเกอะญออีก 2 กิจกรรมลงในปฏิทินด้วย คือกิจกรรม ‘มัดมือ’ อันเป็นพิธีกรรมบูชาผี ก่อนที่จะปลูกข้าว และกิจกรรม ‘ลู่ข้าวใหม่’ หรื อ กิ น ข้า วใหม่ ซึ่ ง เป็น พิ ธี ก รรมหลั ง จาก เกี่ ย วข้า วเสร็ จ เรี ย บร้อ ย เพื่ อ ให้ส อดรั บ กั บ การท่อ งเที่ ย วเชิ ง วั ฒ นธรรมของเมื อ งปอน และสร้างส�ำนึกรักษ์วัฒนธรรมให้เกิดในจิตใจ ของคนต�ำบลเมืองปอนด้วย... ท่องไปในเมืองปอน | 39


CBT ท่องเที่ยวโดยชุ มชน เพื่อชุ มชน

40 | ท่องไปในเมืองปอน


เมื่อการท่องเที่ยวในเมืองปอนเริ่มเติบโต ขึ้นเรื่อยๆ ท�ำให้มีหน่วยงานหลายแห่งเข้ามา ช่วยเหลือและสนับสนุนชาวบ้าน เพื่อพัฒนา ศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หนึ่งในนั้นคือ สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน หรื อ CBT ซึ่ ง มี วั ต ถุ ป ระสงค์ห ลั ก ในการ สนับสนุนการท่องเที่ยวที่ค�ำนึงถึงความยั่งยืน ของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม โดยมี ชุมชนเป็นผู้กำ� หนดทิศทางและจัดการ ในฐานะ ของเจ้า ของพื้ น ที่ เพื่ อ ให้ผู ้ม าเยี่ ย มเยื อ น เกิ ด ความรู ้ และความเข้า ใจในพื้ น ที่ นั้ น ๆ อย่างแท้จริง กัลยา รักจันทร์ หรือ ครูแมว ในฐานะ ของผู ้ประสานงานกับสถาบั น เล่าว่า CBT เข้ามาสร้างเครือข่ายกับต�ำบลเมืองปอนเมื่อ ปี 2556 โดยเน้นการท�ำงานต่อยอดกับกลุ่ม โฮมสเตย์ และกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ “เขาเป็นฝ่ายทีเ่ ข้ามาหาเรา ซึง่ ข้อดีคอ ื เขา มีชื่อเสียงอยู่พอสมควร เพราะเขาสนับสนุน การท่องเที่ยวทั่วทุกภูมิภาค เขาแนะน�ำอะไร หลายๆ อย่าง เช่น สอนวิเคราะห์ว่า ชุมชน ของเรามีจด ุ เด่นจุดด้อยอะไร วิธจี ด ั ทัวร์เวลามี แขกต่า งประเทศ เช่น แขกฝรั่ ง แขกญี่ ปุ ่น แขกอินเดีย ควรจะจัดการอย่างไร แต่ว่าเรา ไม่ตน ื่ เต้น เพราะท�ำกันมานานแล้ว” ครูแมวว่า การท�ำงานร่วมกับสถาบันฯ จึงเป็นการ ประสานความร่ว มมื อ มากกว่า ความคิ ด หลายอย่างที่สถาบันฯ แนะน�ำ แต่ชาวบ้าน เห็นว่าไม่เหมาะสม หรือขัดกับแนวทางทีท ่ ำ� อยู่ ก็ ป ฏิ เ สธไป ตั ว อย่า งเช่น การให้ใ ส่เ สื้ อ ที ม กางเกงยี น ส์ แต่ช าวบ้า นเห็ น ว่า ควรใส่ชุ ด ไทใหญ่ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนมากกว่า ท่องไปในเมืองปอน | 41


กัลยา รักจันทร์

“ความร่วมมือคือ เปลี่ยนเขาให้เป็นเรา ไม่ใช่เปลี่ยนเราให้เป็นเขา เรื่องไหนที่เห็นว่าดี ก็ท�ำตาม อย่างเรื่องการพูดภาษาอังกฤษ เรา เห็นว่าดี พยายามฝึกฝน บทบาทหลักๆ ของ CBT คือพานักท่องเทีย ่ วเข้ามา ซึง่ เราต้องคอย ย�้ ำ กฎกติ ก าของเรา โดยเฉพาะเวลามี ง าน ประเพณี ครั้ ง หนึ่ ง เขาพาเด็ ก บั ง คลาเทศ เข้ามา แล้ววันนัน ้ เรามีการท�ำจองพารา ปรากฏ ว่า เด็กใส่กางเกงขาสัน ้ เข้ามา เราต้องรีบหาชุด ผ้าถุงส�ำหรับผู้หญิง และกางเกงขายาวส�ำหรับ ผู้ชาย ด้วยประเพณีของเรามีความละเอียด อ่อนมาก” ครูแมวอธิบาย ส�ำหรับรูปแบบของการจัดการท่องเที่ยว โดยชุ ม ชนทุ ก วั น นี้ ครู แ มวเล่า ว่า ได้แ บ่ง กิจกรรมเป็น 9 ฐานการเรียนรู้ คือ 1) คนไต กับใบตอง เป็นการเรียนรู้ว่า คนไต หรือไทใหญ่ ใช้ใบตองเพื่อท�ำอะไรบ้าง โดยส่วนใหญ่จะใช้ ท�ำ ‘ก๊อกซอมต่อ’ หรือกระทงส�ำหรับบูชาเจ้าที่ ผีสาง และพระพุทธเจ้า พร้อมเปิดโอกาสให้ นักท่องเที่ยวได้ฝึกเย็บกระทงด้วย 2) ขนมไต เ ป ็น ก า ร ไ ป ศึ ก ษ า วิ ธี ท� ำ ข น ม พื้ น ถิ่ น ข อ ง คนเมื อ งปอน เช่น ข้า วแตกปั้น ซึ่ ง ใช้เ ลี้ ย ง 42 | ท่องไปในเมืองปอน

ในเทศกาลปอยส่า งลอง 3) ดอกไม้ช าวไต เป็น การศึ ก ษาว่า เวลามีงานบุญ ชาวไตใช้ ดอกไม้อะไรประกอบพิธีกรรมบ้าง เช่น ดอก ก�๊ำก่อ ดอกสะเป่ 4) นิทานพื้นบ้านของคนไต ซึง่ จะมีเรือ ่ งราวต่างๆ เช่น ท�ำไมคนไตถึงถวาย ตุงในงานอวมงคลเท่านัน ้ 5) สถาปัตยกรรมไต โดยไปดูความสวยงามต่างๆ ของวัดเมืองปอน 6) ดนตรีพน ื้ บ้านชาวไต 7) อาหารไต ซึง่ จะท�ำ เฉพาะตอนเย็น 8) พิธีกรรมชาวไต เรียนรู้ ประเพณีต่างๆ ตามปฏิทินวัฒนธรรม และ 9) เสือ ้ ไต เรียนรู้วธิ ก ี ารปัก การท�ำกระดุม โดย พาไปดูที่กลุ่มประดิษฐ์เสื้อไต “เวลาที่นักท่องเที่ยวเข้ามา ทาง CBT จะแจ้งเลยว่า มากี่วัน ต้องการดูวัฒนธรรม เรื่องใดบ้าง แล้วเราสามารถจัดอะไรได้บ้าง ฉะนั้นกิจกรรมที่จัดแต่ละครั้งจะไม่ตายตัว ถ้า ตรงกับปฏิทินวัฒนธรรมของเรา จะพาไปร่วม ด้วย แต่ถ้าไม่ตรงกัน ก็ต้องตัดฐานที่ 8 ไป ซึ่ง อย่า งไรเสี ย ก็ ค งไม่ค รบทั้ ง 9 ฐานอยู ่แ ล้ว เพราะนั ก ท่อ งเที่ ย วโดยเฉพาะฝรั่ ง ไม่ช อบ เที่ยวทั้งวัน คือเช้าขึ้นมาคุณจะพาฉันไปไหน เราพาไปดูทุ่งนา พาไปดูเขาเกี่ยวข้าว กลับมา


10 โมง ดื่มน�้ำชา พอบ่ายพาไปดูท�ำขนมไต หลังเสร็จ เขาก็ไม่ไปไหนแล้ว พอตอนเย็นก็ เที่ยวตามอัธยาศัย ส่วนค่าบริการ เราจะคิด แพงขึน ้ มาหน่อย ประมาณ 550 บาท แพงกว่า คนไทย 200 บาท ซึง่ ทีเ่ ป็นเช่นนี้ เพราะปัจจัย ด้า นอาหาร สมมติ เ ราท� ำ ปลาเผา ถ้า เป็น คนไทย 1 ตั ว จะแบ่ง กั น กิ น แต่ฝ รั่ ง เขาจะ เอาไปเลยคนละตัว เราเลยคิดเท่ากันไม่ได้” ครูแมวอธิบาย ถ้าว่ากันตามความจริง ณ วันนี้ ด้วยฐาน ของความเชื่อ ธรรมชาติ และแนวคิดของคน กั บ ชุ ม ชนที่ แ ข็ ง แรง เมื อ งปอนสามารถจั ด การท่องเทีย ่ วโดยชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในตัวเอง โดยไม่ได้จำ� เป็นต้องพึง่ พิงหน่วยงาน ภายนอกมากนัก “สิ่ ง ที่ เ ราท� ำ แม้จ ะเป็น การท่อ งเที่ ย ว การบริ ก าร แต่เ ราใช้สิ่ ง ที่ มี ไม่ไ ด้แ ต่ง องค์ ทรงเครื่ อ งเพิ่ ม ฐานเดิ ม ล้ว นๆ เพิ่ ม มาคื อ การจั ด การ หรื อ การประสานงานมากกว่า วันนี้เราสามารถสร้างรายได้แก่ชุมชนเพิ่มขึ้น โดยไม่เ สี ย ตั ว ตน แบบนี้ ค รู แ มวว่า ยั่ ง ยื น ” ครูแมวกล่าวทิ้งท้าย...

ท่องไปในเมืองปอน | 43


ระบบเหมืองฝาย บ้านเมืองปอน

สุวิทย์ วารินทร์

ยามเดินทอดน่องไปในบ้านเมืองปอน จะ สั ง เกตเห็ น ล� ำ เหมื อ งคอนกรี ต ขนาดย่อ ม ไหลลั ด เลาะไปตามบ้า น คู ่ข นานไปกั บ ถนน แต่ล ะเส้น เหมื อ งที่ ว ่า นี้ ห ล่อ เลี้ ย งชี วิ ต ของ ชาวบ้าน ใช้รดผัก รดต้นไม้ เราเห็นคุณยายท่านหนึ่งก�ำลังใช้น�้ำจาก ล�ำเหมืองรดต้นไม้พอดี พลันที่หยิบกล้องขึ้น เก็ บ ภาพ คุ ณ ยายหั น มายิ้ ม ให้ด ้ว ยความ เป็นมิตร เราถามว่า คุณยายท�ำแบบนี้ทุกเช้า เลยหรือ ท่านพยักหน้าและผลิยิ้มเป็นค�ำตอบ ล�ำเหมืองนี้สะท้อนภูมิปัญญาดั้งเดิมของ คนเมืองปอนในการวางระบบชลประทาน เพือ ่ การปลูกข้าว ซึ่งกลายเป็นการบังคับทิศทาง ของการตั้ ง บ้า นเรื อ น ท� ำ ให้ผั ง เมื อ งของ บ้านเมืองปอนหมู่ที่ 1 และ 2 มีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ให้ใครต่อใครได้เข้ามาศึกษา หรือเยี่ยมชม สุวิทย์ วารินทร์ อดีตรองนายกองค์การ บ ริ ห า ร ส ่ว น ต� ำ บ ล เ มื อ ง ป อ น ซึ่ ง ศึ ก ษ า ประวั ติ ศ าสตร์พื้ น ถิ่ น มาต่อ เนื่ อ ง ร� ำ ลึ ก ถึ ง ค� ำ บอกเล่า ของปู ่ย ่า ตายายให้ฟ ัง ว่า ก่อ นที่ บรรพบุรุษจะมาตั้งรกรากอยู่ที่บ้านเมืองปอน 44 | ท่องไปในเมืองปอน

เคยตั้งรกรากอยู่บริเวณดอยเวียง ซึ่งอยู่ทาง ฝั่ง ตะวั น ออกของบ้า นเมื อ งปอนในปัจ จุ บั น พื้ น ที่ บ ริ เ วณดอยเวี ย งเป็น ที่ สู ง หากกล่า ว ในเรื่องของชัยภูมิในยุคที่มีการสู้รบกัน ก็ต้อง ถื อ ว่า เหมาะสมอย่า งยิ่ ง จนกระทั่ ง เมื่ อ ราว 200 ปีก่อน ชาวบ้านตัดสินใจอพยพหมู่บ้าน มาอยู ่ข า้ งล่า ง ด้ว ยเดิ น ทางไปไหนมาไหน ล�ำบาก ซึ่งการย้ายนี้ก็ต้องย้ายเสาหลักเมือง หรือใจบ้านลงมาด้วย “ใจบ้านนีเ้ ป็นสิง่ ทีช่ าวบ้านให้ความเคารพ บูชาอย่างมาก เวลาจะเดินทางไปไหน ก็ต้อง ไปไหว้ใจบ้านก่อน ถือเป็นศูนย์รวมของทุกคน เลยก็ว่าได้ และเมื่อย้ายลงมาแล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่ สมัยนั้นร่วมกันวาดผังเมืองขึ้น เพราะเล็งเห็น ว่า อี ก ไม่น านความเจริ ญ จะเข้า มาเรื่ อ ยๆ ฉะนั้นเพื่อให้แต่ละบ้านไปมาหาสู่กันสะดวก และสามารถดูแลความปลอดภัยได้ง่าย ก่อนที่ จะแบ่งทีด ่ น ิ หรือสร้างบ้าน ทุกคนต้องเสียสละ พื้ น ที่ ส ่ว นหนึ่ ง ส� ำ หรั บ ท� ำ ถนน นี่ จึ ง เป็น เหตุ ว่า ท�ำไมถนนที่นี่ถึงค่อนข้างกว้างขวาง และ บ้านเรือนถึงจัดเรียงกันเป็นบล็อกๆ สวยงาม เช่นนี้” สุวิทย์ว่า


ท่องไปในเมืองปอน | 45


46 | ท่องไปในเมืองปอน


เมื่ อ จั ด การที่ อ ยู ่อ าศั ย เรี ย บร้อ ย สิ่ ง ที่ บรรพบุรุษด�ำเนินการต่อ คือการจัดสรรพื้นที่ ท�ำมาหากิน โดยชาวบ้านทัง้ หมดจะได้ส่วนแบ่ง ที่ ดิ น ท� ำ กิ น ของตั ว เอง และจะมี น าพิ เ ศษ จัดแบ่งไว้ เรียกว่า ‘นาสวัสดิการ’ มีอยู่ 3 แปลง แปลงแรกเรียกว่า ‘นาเจ้าเมือง’ ขนาด 10 กว่าไร่ เจ้าเมืองมักปล่อยให้ชาวบ้านเช่าท�ำนา ซึ่งใน 10 ไร่ จะได้ข้าวราว 60-100 หลัง (หลัง คือ หน่วยตวงของไทใหญ่ โดย 1 หลัง = 104 กิโลกรัม) โดยชาวบ้านที่เช่านา ต้องน�ำ ข้าวมาให้เจ้าเมือง 9 หลัง นาแปลงที่ ส องเรี ย กว่า ‘นาหล่า สอ’ มี ขนาดประมาณ 4 ไร่ เป็นสวัสดิการให้คนที่ ท�ำงานประชาสัมพันธ์ของหมู่บ้าน และแปลง สุดท้าย เรียกว่า ‘นาจะเล’ ประมาณ 6 ไร่ เป็นนาส�ำหรับผู้ทท ี่ ำ� พิธก ี รรมทางศาสนา หรือ ผู้น�ำทางจิตวิญญาณ ปัจจุบน ั นี้ นาสวัสดิการ 2 แปลงหลังไม่อยู่ แล้ว เหลื อ เพี ย งนาเจ้า เมื อ ง ซึ่ ง เจ้า เมื อ ง คนปัจจุบันชื่อ ‘ปู่จอง’ เป็นผู้ที่ชาวบ้านให้การ ยอมรับ และคัดเลือกกันมา ครองต�ำแหน่งไป จนวาระสุดท้ายของชีวิต ระบบเหมื อ งฝายที่ เ ราเห็ น กั น ในบ้า น เมืองปอน เป็นเพียงปลายทาง ด้วยบรรดา ผู้สร้างวางระบบล�ำเลียงน�้ำจากต้นน�้ำ ให้ไหล ผ่านพื้นที่ท�ำกิน ก่อนเข้าสู่โซนตั้งบ้านเรือน “น�้ ำ ในเหมื อ งฝายมาจากล� ำ น�้ ำ ปอน ปัจ จุ บั น มี อ ยู ่ 4 เหมื อ ง คื อ เหมื อ งหลวง

เหมืองกลาง เหมืองยาง และฝายนาดอย โดย มีผ้ด ู แู ลและบริหารจัดการน�ำ้ เรียกว่า ‘แก่ฝาย’ คอยท� ำ ความสะอาดฝายก่อ นที่ จ ะลงนา รวมถึ ง เป็น ผู ้จั ด สรรน�้ ำ เข้า นาแต่ล ะบ้า น รวมทั้งเป็นผู้น�ำในการประกอบพิธีกรรม คือ การเลี้ยงผีฝาย โดยชาวบ้านแต่ละครัวเรือน จะต้อ งเสี ย ค่า ธรรมเนี ย มให้แ ก่ฝ ายเป็น ข้า ว 1 ควาย หรือ 26 กิโลกรัม ต่อผลผลิตข้าว 10 หลัง หรือ 1,040 กิโลกรัม และในกรณีที่ แก่ฝายเรียกชาวบ้านให้มาช่วยท�ำความสะอาด ฝาย ชาวบ้านทุกคนต้องมา หากไม่มาจะถูกปรับ 200 บาท” สุวิทย์อธิบาย ทุ ก วั น นี้ ยั ง คงมี แ ก่ฝ าย ด� ำ รงต� ำ แหน่ง วาระละ 3 ปี โดยเลือกจากชาวบ้านที่ท�ำนา และใช้น�้ำจากล�ำเหมืองจ�ำนวนราว 125 คน ซึ่งในจ�ำนวนนี้ มีผูใ้ ช้น�้ำจากเหมืองหลวงราว 40 คน เหมืองกลางราว 40 คน เหมืองยาง ราว 30 คน และฝายนาดอยราว 15 คน โดย สมาชิ ก ส่ว นใหญ่จ ะอยู ่ใ นบ้า นเมื อ งปอน หมู่ที่ 1 และ 2 เป็นหลัก และจากบ้านป่าฝาง หมู่ที่ 4 บ้างประปราย “ระบบเหมืองฝายเป็นสิ่งที่ชาวบ้านภูมิใจ ด้วยสร้างความเป็นอยู่ สร้างความชุ่มชื้น และ ท� ำ ให้เ มื อ งสวยงาม แตกต่า ง ที่ ผ ่า นมามี หลายหน่วยงาน พยายามเข้ามาบริหารจัดการ แทน แต่ชาวบ้านไม่ยอม เพราะสิ่งที่ท�ำอยู่นั้น ดีอยู่แล้ว ถ้ามาเปลีย ่ น ระบบภูมป ิ ัญญาดัง้ เดิม จะสูญหาย” สุวท ิ ย์ทิ้งท้าย...

ท่องไปในเมืองปอน | 47


สตรีตัดเย็บเสื้อไตบ้านเมืองปอน

สมพร กอบทวีกุศล

เสื้อไตของคนไทใหญ่ ถือเป็นเอกลักษณ์ หนึ่งที่มีความโดดเด่น ด้วยพันผูกกับวิถีชีวิต ของคนที่ นี่ และในปัจ จุ บั น ได้ก ลายเป็น เศรษฐกิ จชุมชนที่สามารถสร้างรายได้ให้กับ คนในชุมชน ปีๆ หนึ่งไม่น้อยกว่า 700,000 บาทเลยทีเดียว และที่ส�ำคัญ กัลยา รักจันทร์ หรือ ครูแมว ในฐานะแกนน�ำกลุ่มโฮมสเตย์ ได้น� ำ กลุ ่ม เศรษฐกิ จ นี้ ส ่ง เสริ ม การท่อ งเที่ ย ว ของบ้านเมืองปอน โดยบรรจุเป็นกิจกรรมหนึง่ ส� ำ หรั บ นั ก ท่อ งเที่ ย ว ให้ม าสั ม ผั ส เรี ย นรู ้ ภูมิปัญญานี้ รวมถึงซื้อหาเสื้อไตเป็นของฝาก หรือสวมใส่เอง สมพร กอบทวีกุศล เป็นเหรัญญิก เธอ เท้า ความที่ ม าของกลุ ่ม ให้ฟ ัง ว่า ก่อ นจะมา รวมตั ว กั น เป็น กลุ ่ม แต่ล ะคนมี อ าชี พ ปัก ผ้า เย็บผ้า ปักฉลุกันอยูแ ่ ล้ว ท�ำเป็นเสื้อไตแบบ ดั้งเดิมเหมือนสมัยที่ปู่ย่าตายายท�ำ จนกระทั่ง ปี 2545 สมาชิกรุ่นก่อตั้ง 3 คน คือ ช่อลัดดา สุ ป ิน ธรรม สุ ป วี ณ า วงศ์สุ ว รรณ และตั ว สมพรเอง เกิดความคิดว่า หากต่างคนต่างท�ำ เช่น นี้ โอกาสขยายกิ จ การและสร้า งรายได้ ให้มั่นคง คงเป็นไปได้ยาก ทั้งสามจึงรวมตัว จั ด ตั้ ง กลุ ่ม สตรี ตั ด เย็ บ เสื้ อ ไตบ้า นเมื อ งปอน ขึน ้ มา โดยมีช่อลัดดารับหน้าทีเ่ ป็นประธานกลุ่ม “เราคิ ด ว่า หากไม่ร วมกั น คนที่ มี ค วาม สามารถเย็ บ ได้ ปัก ได้ คงท� ำ ไปเรื่ อ ยๆ 48 | ท่องไปในเมืองปอน

มีอายุมากก็คงเลิก สูญหาย ไม่มีความยั่งยืน เพราะไม่มี ก ารแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ ซึ่ ง ตอน รวมตัวครั้งแรก มีสมาชิกอยู่ประมาณ 30 คน ด้วยแต่ละบ้านอยากให้ลก ู หลานมาเรียนรู้ด้วย โดยเราระดมหุ้นคนละ 500 บาท ได้เงินมา 15,000 บาท ถือว่าเยอะพอสมควร เราเอา เงินไปซือ ้ ผ้า เมตรละ 20-30 บาท” สมพรเล่า กลุ ่ม ด� ำ เนิ น งานมาเรื่ อ ย ทุ ลั ก ทุ เ ลตาม ประสา ท�ำเสื้อวางขายในบ้าน ผ่านระยะหนึ่ง ทางพัฒนาชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอนทราบข่าว จึ ง เข้า มาสนั บ สนุ น โดยกลุ ่ม รู ้ว ่า สมาชิ ก หลายคนยังไม่มท ี ก ั ษะการตัดการเย็บ จึงอยาก ได้เงินทุนสักก้อน เพื่อเป็นทุนในการฝึกอบรม ภายในกลุ่ม ทางพัฒนาชุมชนฯ จึงพาไปศึกษา ดูงานที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นเวลา 3 วัน และ ให้ง บอุ ด หนุ น มา 35,000 บาท เพื่ อ เป็น กองกลางซื้อผ้าในกลุ่ม “เราแบ่งเงินส่วนหนึง่ ไปซือ ้ ผ้า ส่วนทีเ่ หลือ เป็น ค่า จ้า ง โดยเราจ� ำ แนกงานเป็น ส่ว นๆ แต่ละส่วนได้ค่าจ้างไม่เท่ากัน อย่างคนที่สร้าง แบบกับคนตัด เราให้ 20 บาทต่อชิน ้ ส่วนใหญ่ เป็นคนเฒ่าคนแก่ แต่ตอนนีท ้ ำ� ไม่ค่อยไหวแล้ว เราต้องท�ำแทน ขณะที่คนเย็บ หรือคนที่ไป ต่อแขนต่อไหล่ ทุกวันนี้เราให้ 50 บาท และ สุดท้ายคือท�ำกระดุม 5 คู่ เสือ ้ ตัวหนึง่ จะได้ 40 บาท ถ้าเสื้อตัวใหญ่ มีกระดุม 6-7 คู่ เราให้


ตั ว ละ 50 บาท แต่ก็ มี 3-4 บ้า น ซื้ อ ผ้า จากเราไปท� ำ เองขายเอง เราบวกก� ำ ไร นิดหน่อย แต่โดยรวมถูกกว่าทีเ่ ขาจะไปซือ ้ เอง” เหรัญญิกกลุ่มอธิบาย ปัจจุบันกลุ่มสตรีฯ มีสมาชิกอยู่ 24 คน ในจ�ำนวนนี้เป็นคนเย็บ 4 คน ท�ำกระดุม 5 คน ที่เ หลื อ เป็นคนติดกระดุมกับ เสื้ อ โดยสิ นค้า ที่ ผ ่า นกระบวนการกลุ ่ม นั้ น จะใช้ชื่ อ ยี่ ห ้อ ว่า ‘ช่อลัดดา’ “ส�ำหรับเสื้อไตของกลุ่มมีอยู่หลายแบบ เช่น แบบดั้งเดิม เป็นคอกลม แล้วก็มีแบบไหล่ เลย เมื่อก่อนสมัยเป็นผ้าพื้น เราขายตัวละ 180-200 บาท แต่ทุกวันนี้เราเปลี่ยนมาใช้ ผ้าฝ้าย ต้นทุนสูงขึ้น จึงขายตัวละ 300-350 บาท อีกแบบเป็นคอจีน ลักษณะคล้ายๆ กับ แบบดั้งเดิม แต่มีการต่อแขนเสริมไหล่เพิ่มขึ้น มา ซึ่ ง แบบหลั ง นี้ เ ริ่ ม เป็น ที่ นิ ย มของลู ก ค้า นอกจากนีย ้ งั มีเสือ ้ ปักไทใหญ่ โดยเราใช้ผ้าไหม ปักลายฉลุ ขายอยู่ตวั ละ 1,000 บาท โดยกลุ่ม จะต้องจ่ายค่าปัก 200 บาท และค่าฉลุ 350 บาท แต่ถ า้ เป็น เสื้ อ ปัก อย่า งเดี ย ว ไม่ไ ด้ท� ำ ลายฉลุ ราคาเสื้อจะตกอยู่ที่ 700 บาท” อย่างไรก็ดี กว่าเสื้อไตจะเป็นที่รู้จักเช่น ทุกวันนี้ สมพรบอกว่า ต้องท�ำตลาดนานถึง 3 - 4 ป ีเ ล ย ที เ ดี ย ว ช ว่ ง นั้ น ต ้อ ง ห า วิ ธี ประชาสัมพันธ์ เช่น เวลาใครชวนไปอบรม สมาชิกจะใส่เสื้อไตไป เป็นการแนะน�ำตัว และ ถือโอกาสขายไปในตัว จนเริ่มเป็นที่รู้จัก ซึ่ง ต้องขอบคุณหน่วยงานต่างๆ ทีเ่ ข้ามาสนับสนุน เช่น องค์ก ารบริ ห ารส่ว นต� ำ บลเมื อ งปอน น�ำผลิตภัณฑ์ของกลุ่มไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ ส่วนองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็ ช ่ว ยน� ำ สิ น ค้า ไปวางในร้า นเฮ็ ด ก้อ เหลี ย ว

ขณะที่ พั ฒ นาชุ ม ชนก็ ส นั บ สนุ น ให้ก ลุ ่ม ส่ง ผลิตภัณฑ์ไปคัดสรรสินค้า OTOP ต่อเนือ ่ งกัน 3 ครั้ง ซึ่งกลุ่มได้รับ 4 ดาวมาโดยตลอด “ทุ ก วั น นี้ เ ดื อ นหนึ่ ง มี อ อเดอร์เ ข้า มา ประมาณ 300 กว่าตัว แต่เราท�ำไม่ค่อยทัน เพราะตัวหนึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 4-5 วัน และถ้าปักด้วย ยิ่งนานเข้าไปใหญ่ โดยกลุ่มมี รายได้เฉลี่ยเดือนละ 60,000 บาท จ�ำนวนนี้ เป็น ก� ำ ไรประมาณ 7,000-8,000 บาท เพราะเราไม่ได้ขายแพง” สมพรว่า ก�ำ ไรที่ ได้ม า กลุ่มจะกันครึ่งหนึ่งไว้เป็น กองกลางของกลุ่ม เพือ ่ ใช้เป็นค่าบริหารจัดการ ทั่ ว ไป อย่า งเช่น การประชุ ม หรื อ ไปดู ง าน ส่วนที่เหลือจะน�ำมาปันให้สมาชิกตามความ เหมาะสม โดยกลุ ่ม เน้น หลั ก ท� ำ มากได้ม าก ท�ำน้อยได้น้อย ขณะเดียวกันทุกๆ 3 เดือน จะมีการประชุมปรึกษากัน เพือ ่ ก�ำหนดแนวทาง ของกลุ่ม “เมื่อก่อนงานนี้เป็นเพียงอาชีพเสริม แต่ เวลานี้ ก ลายเป็น อาชี พ หลั ก ไปแล้ว เพราะ คนไหนที่ขยันมาก จะได้เงินสูงถึง 7,0008,000 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว ที่สำ� คัญเรา พยายามสอนเด็กรุ่นใหม่ๆ กับผู้ใหญ่ทวี่ ่างงาน ให้ท�ำเสื้อไต เพื่อให้เขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” เหรัญญิกกลุ่มทิ้งท้าย... ท่องไปในเมืองปอน | 49


กลุ่มแปรรู ปผลิตภัณฑ์อาหารดอกเอื้องงาม จุ ด เริ่ ม ต้น ของกลุ ่ม แปรรู ป ผลิ ต ภั ณ ฑ์ อาหารดอกเอื้องงามมาจากกล้วย ตามต่อมา ด้วยอะไรต่อมิอะไรอีกมาก สร้างอาชีพและ รายได้ให้กับคนในชุมชน ที่ส�ำคัญยังเป็นหนึ่ง ฐานการท่องเที่ยวประจ�ำบ้านเมืองปอนด้วย “เมื่ อ ก่อ นที่ เ มื อ งปอนมี ก ล้ว ยเยอะมาก ซึ่ ง พอขายไม่ไ ด้ร าคา พวกเรากลุ ่ม แม่บ ้า น เลยรวมตัวกัน เพือ ่ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพิ่มมูลค่าขึ้นมา” ฐิติรัตน์ ไพศาล ประธาน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร ดอกเอื้องงาม เกริ่นให้เราฟัง กลุ่มฯ เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2544 ในเวลานั้น มีสมาชิกเพียง 3 คนเท่านั้น ลงเงินกันคนละ 500 บาท รวมแล้ว 1,500 บาท เพื่อเป็นทุน ในการซื้อกล้วยจากชาวบ้าน ผลิตภัณฑ์แรกทีก ่ ลุ่มท�ำคือกล้วยกวน โดย ท�ำขายในหมู่บ้าน พอมีรายได้ ขณะเดียวกัน สมาชิกทั้ง 3 คน เริ่มตระเวนไปยังพื้นที่อื่นๆ เพื่ อ เรี ย นรู ้ก รรมวิ ธี แ ปรรู ป อาหารอื่ น ๆ เพิ่มเติม และเริ่มทดลองท�ำสินค้าใหม่ๆ ขึ้น โดยใช้บ้านของประธานเป็นศูนย์กลางการผลิต และจัดจ�ำหน่าย

50 | ท่องไปในเมืองปอน

ภายหลั ง จากเริ่ ม ต้น กลุ ่ม ได้เ พี ย งปีก ว่า กลุ่มมีความเข้มแข็งขึ้นตามล�ำดับ เริ่มสร้าง รายได้ ท�ำให้มีผู้สนใจอยากเข้าเป็นสมาชิก จึงเริ่มน�ำระบบหุ้นเข้ามาใช้ โดยสมาชิกต้อง ซื้อหุ้น หุ้นละ 100 บาท ขณะที่สมาชิกรุ่น ก่อตัง้ ได้รบ ั หุ้นตามเงินลงทุนทีล ่ งไว้ในครัง้ แรก โดยทุกวันนี้ กลุ่มมีสมาชิกทั้งหมด 26 คน บางคนปลูกผลไม้ส่ง บางคนเข้ามาเป็นผู้ผลิต ขนม บางคนทัง้ ปลูกทัง้ ผลิต โดยคนทีม ่ าท�ำงาน ที่กลุ่มจะได้รับค่าแรงวันละ 150 บาท กลุ ่ม ฯ ขึ้ น ทะเบี ย นเป็น วิ ส าหกิ จ ชุ ม ชน เมือ ่ ปี 2552 โดยใช้ตราสินค้าว่า ‘ดอกเอือ ้ งงาม’ ซึ่ ง เป็น ชื่ อ ของกลุ ่ม ผลิ ต อาหารในอดี ต ของ บ้านเมืองปอน ณ วันนี้ กลุ่มมีผลิตภัณฑ์ทงั้ หมด 24 ชนิด ส่ว นใหญ่ใ ช้วั ต ถุ ดิ บ ภายในชุ ม ชน สิ น ค้า ที่ ขายดี ที่ สุ ด คื อ ขนมข้า วแตกปั้น ซึ่ ง เป็น ขนมมงคลของจังหวัดแม่ฮ่องสอน นิยมใช้ใน งานปอยส่างลอง รองลงมาคือ แปโหย่ เป็น ขนมถั่วกวนกับน�ำ้ อ้อยและกะทิ นอกจากนี้ก็มี ผลไม้กวนตามฤดูกาล เช่น กล้วย กระเจี๊ยบ มะขามป้อม โดยสินค้าแต่ละชนิดได้รับการ ตรวจสอบจากสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีทะเบียน อย. เป็นที่เรียบร้อย “เราส่ง เสริ ม ให้ช าวบ้า นและสมาชิ ก ปลูกผลไม้ส่งเรา อย่างกล้วย เรารับซื้อหวีละ 5 บาท กระเจี๊ยบ กิโลกรัมละ 5 บาท แต่ถ้า แกะมาแล้ว ให้กิโลกรัมละ 10 บาท โดยเราจะ ซื้ อ จากสมาชิ ก ก่อ น ถ้า ไม่พ อค่อ ยซื้ อ จาก ชาวบ้านทั่วไป” ประธานว่า


ฐิติรัตน์ ไพศาล

แต่กว่าที่กลุ่มจะเข้มแข็งได้ขนาดนี้ ต้อง อาศั ย ความช่ว ยเหลื อ จากหลายฝ่า ย ทั้ ง องค์การบริหารส่วนต�ำบลเมืองปอน เกษตร อ�ำเภอขุนยวม ทีช่ ่วยสนับสนุนงบท�ำบรรจุภณ ั ฑ์ สติ๊กเกอร์ และยังมีส�ำนักงานสหกรณ์จังหวัด แม่ฮ่องสอนอุดหนุนเงิน 100,000 บาท เพื่อ สร้างโรงเก็บวัตถุดิบ และเป็นทุนหมุนเวียน ทุกวันนี้ร้านขนมของกลุ่มฯ จะเปิดบริการ ตั้งแต่ 8.00-17.00 น. “นอกจากที่ นี่ แ ล้ว ก็ ยั ง มี ร ้า นค้า ในตั ว จังหวัดแม่ฮ่องสอนรับไปขาย เช่น ร้านของ อบจ. หรือคนในหมู่บ้านทีไ่ ปเปิดร้านก๋วยเตีย ๋ ว ในตัวจังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมไปถึงตามคิวรถ ด้วย แต่หลักๆ เราจะท�ำไม่เยอะมาก คือให้ เพียงพอส�ำหรับ 1 สัปดาห์ เว้นแต่จะมีออเดอร์ เข้ามาเท่านั้น” ประธานว่า ส�ำหรับการจัดสรรรายได้ของกลุ่ม ฐิตริ ต ั น์ อธิบายว่า เงินก�ำไรที่ได้มาจะแบ่งออกเป็น 4 ส่ว นเท่า ๆ กั น ส่ว นแรกเป็น ทุ น หมุ น เวี ย น ภายในกลุ่ม ส่วนต่อมาเป็นเงินปันผลให้แก่

สมาชิก มากน้อยขึ้นอยู่กับหุ้นของแต่ละคน ส่วนที่ 3 เป็นค่าบริหารจัดการ เช่น ค่าน�้ำ ค่า ไฟ และส่ว นสุ ด ท้า ย ส� ำ หรั บ บริ จ าคเป็น สาธารณประโยชน์ อาทิ งานบุญประเพณี หรือ งานวันเด็ก อย่างไรก็ดี การขายสินค้าอย่างเดียวนั้น ไม่ส ามารถสร้า งความมั่ น คงในชี วิ ต ของ สมาชิกได้ ทางกลุ่มจึงริเริ่มโครงการออมเงิน วันละบาทมาตั้งแต่ปี 2552 ท�ำกันเรื่อยมาจน มียอดเงินออมสูงร่วม 100,000 บาท และ น�ำมาต่อยอดให้สมาชิกในกลุ่มกู้ยืมไปท�ำทุน หรือบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า “เราอยู่ได้ มีกินมีใช้ ไม่เดือดร้อน แล้ว ขนมของเราหลายอย่าง ก็เป็นขนมพืน ้ เมือง ซึง่ นอกจากสร้า งรายได้ เรายั ง ช่ว ยเผยแพร่ วัฒนธรรมของคนไทใหญ่ให้เป็นที่รู้จัก อย่าง เวลามีคณะนักท่องเที่ยวมา ทางครูแมวก็มา ขอให้เราเป็นฐานเรียนรู้ ท�ำกิจกรรม สนุกดี เหมือนกัน” ประธานทิ้งท้าย...

ท่องไปในเมืองปอน | 51


อาหารคนไต

52 | ท่องไปในเมืองปอน


เราอยากบอกเล่าเรือ ่ งราวเกีย ่ วกับอาหาร ซึ่ ง เหมื อ นเป็น ประตู สู ่วั ฒ นธรรมของคนทุ ก เชื้อชาติ มีเอกลักษณ์มีความโดดเด่นแตกต่าง กันไป เราเลยอยากบอกเล่าเรื่องราวอาหาร ของคนไทใหญ่ เลยขอให้ ฟองจันทร์ ศิริน้อย หรือ ครูอู๊ด เล่าให้ฟัง เคล็ดลับความอร่อยของอาหารไทใหญ่ ครูอู๊ดบอกว่า สิ่งส�ำคัญนั้นอยู่ที่ ‘ถั่วเน่า’ “ถั่วเน่าเหมือนกะปิของคนภาคกลาง เรา เอาถัว่ เหลืองมาต้ม จากนัน ้ ทิง้ ให้สะเด็ดน�ำ้ น�ำ ไปหมักต่ออีกประมาณ 2 คืนจนราขึ้น แล้วน�ำ ไปบด ถ้าจะท�ำทรงเครือ ่ งก็ให้เตรียมเครือ ่ งมา ผสม แต่ถ้าอยากท�ำแบบธรรมดา พอบดเสร็จ เอามาตีเป็นแผ่น แล้วตากแห้งอีกรอบ เมือ ่ แห้ง ก็เก็บขึ้น เวลาจะท�ำอาหาร น�้ำพริกหรือแกง ค่อยน�ำมาปิ้ง แล้วต�ำใส่ลงไป” ครูอู๊ดว่า

นอกจากการใช้ถั่วเน่าเป็นวัตถุดิบส�ำคัญ ในการปรุงอาหาร ครูอ๊ด ู ยังเล่าถึงวิธถี นอมอาหาร ยอดนิยมของคนไต นัน ่ คือ ‘ขือ ่ ’ โดยผ่านอาหาร แสนอร่อยอย่าง ‘โถ่ขื่อ’ “การท�ำขือ ่ เราจะใช้ถวั่ ทีแ่ ก่จด ั มาตากแดด เก็บไว้ ส่วนโถ่ขื่อเหมือนแกงเม็ดถั่ว ถ้าเราจะ ท�ำโถ่ขอ ื่ ก็ให้นำ� มาต้มจนเปื่อย จากนัน ้ ต�ำพริก ใส่ เติมหมูย่าง กุ้งแห้ง หรือเนือ ้ ปลา และถัว่ เน่า ทิ้งไว้สักพักก็รับประทานได้” ครูอู๊ดอธิบาย อี ก เมนู ห นึ่ ง ที่ ค รู อู ๊ด แนะน� ำ เป็น พิ เ ศษ และยั ง เผยเบื้ อ งหลั ง การปรุ ง ทุ ก ขั้ น ตอนคื อ ‘ข่างปอง’ “ข่างปองนี้คือผักทอด ขั้นตอนแรก เรา ต้องท�ำเครื่องก่อน โดยใช้พริก เกลือ ตะไคร้ กระเที ย ม ขมิ้ น จากนั้ น น� ำ ไปคลุ ก เคล้า กั บ มะละกอ ฟักทอง กะหล�่ำ หรือฟักแม้วก็ได้ จากนั้นน�ำไปทอดในกระทะ จิ้มกับน�้ำจิ้ม และ กินคู่กับอาหารอย่างอื่น เช่น ผักกาดจอ” นอกจากนีย ้ งั มีนำ�้ พริก ‘น�ำ้ พริกหนังโก้’ ซึง่ กระบวนการท� ำ เริ่ ม จากน� ำ หนั ง ควายไปเผา แล้วน�ำไปขูด เพื่อเอาส่วนที่ไหม้ออกจนเหลือ แค่ห นั ง สี เ หลื อ ง จากนั้ น น� ำ ไปต้ม จนเปื่อ ย แล้ว น� ำ มาหั่ น ส่ว นตั ว น�้ ำ พริ ก จะมี ถั่ ว เน่า กระเทียมเจียว ใบชะมวง หรือส้มป่อง เอามา ซอย แล้วผสมคลุกเคล้ากับหนังควาย ยังมีเมนูอีกมากที่ครูอู๊ดอยากจะบอกกับ เรา แต่เราขอน�ำมาบอกเล่าพอเป็นกระสาย เท่านัน ้ ถ้าอยากรู้แบบถึงแก่นถึงแกน เห็นทีจะ ต้องมาเที่ยวที่เมืองปอนสักครา... ท่องไปในเมืองปอน | 53


จองพารา ศิลปะเมืองปอน ตาแหลงค�ำ คงมณี

ตรงข้า มกลุ ่ม แปรรู ป ผลิ ต ภั ณ ฑ์อ าหาร ดอกเอือ ้ งงาม เป็นบ้านของชายสูงวัย สร้างขึน ้ ด้ว ยไม้ จากการประเมิ น ด้ว ยสายตา อายุ อานามคงเก่า แก่เ กิ น 30 ปี ใต้ถุ น บ้า นมี เตียงไม้ พร้อมด้วยเครือ ่ งไม้เครือ ่ งมือวางกอง อยู่ ทั้งค้อน เข็ม กรรไกร กระดาษ ฯลฯ โดย ชายเจ้า ของบ้า นคื อ ตาแหลงค� ำ คงมณี เป็น ปราชญ์ช าวบ้า นวั ย เจ็ ด สิ บ กว่า ผู ้ก� ำ ลั ง ขะมักเขม้นตัดกระดาษเป็นรูปร่าง เมื่อไถ่ถามว่า “ก�ำลังท�ำอะไรอยู่” ผู้เฒ่า ตอบกลับอย่างอารมณ์ดีว่า “ก�ำลังเตรียมของ ไว้สอนเด็กๆ ท�ำจองพารา” ‘จองพารา’ เป็นพิธีกรรมความเชื่อของ คนไทใหญ่ โดยค�ำว่า ‘จอง’ แปลว่าวัด หรือ ปราสาท ส่วนค�ำว่า ‘พารา’ แปลว่า พระพุทธรูป หรือพระพุทธเจ้า ฉะนั้นค�ำว่า ‘จองพารา’ จึง หมายถึงปราสาทของพระพุทธเจ้า โดยชาวบ้าน ได้น� ำ ความเชื่ อ นี้ ไ ปผู ก โยงกั บ เหตุ ก ารณ์ที่ พระพุ ท ธเจ้า เสด็ จ จากสวรรค์ชั้ น ดาวดึ ง ส์

54 | ท่องไปในเมืองปอน

หลังจากไปโปรดพระมารดา เมื่อวันขึ้น 15 ค�่ำ เดือน 11 บ้านใดทีต ่ งั้ จองพารา ก็เปรียบเสมือน บู ช าพระพุ ท ธเจ้า ในปีนั้ น จะประสบแต่ ความสุข ความเป็นมงคล และสมหวังในการ ประกอบอาชีพ “เวลาออกพรรษา คนไทใหญ่จ ะตั้ ง จองพาราไว้ทห ี่ น้าบ้าน ข้างในจองพาราจะแบ่ง เป็นชั้นๆ ชั้นบนใส่ข้าวสุก ใส่ขนม เพื่อถวาย เทพเจ้าที่จะลงมาประทับในจองพาราชั้นบน ส่วนชัน ้ ล่างจะใส่กล้วย ผลไม้ เพือ ่ บูชาภูตผี ทัง้ ผีบ้านผีเรือน และผีบรรพบุรุษ” ตาแหลงค�ำว่า ส� ำ หรั บ จองพาราแต่ล ะหลั ง ใช้เ วลา ประดิ ษ ฐ์ป ระมาณ 2 วั น แต่ล ะบ้า นจะตั้ ง จองพาราไว้หน้าบ้านประมาณ 8 วัน เริม ่ ตัง้ แต่ วันขึ้น 14 ค�่ำ เดือน 11 หรือก่อนออกพรรษา โดยก่อนตั้งจะมีพิธีแห่รอบหมู่บ้าน อย่างไรก็ดี มาช่วงหลังๆ คนตั้งจองพารา เริ่มน้อยลง เพราะว่าการประดิษฐ์จองพารา แต่ละหลังเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จนในช่วง


ปี 2557 เป็นต้นมา องค์การบริหารส่วนต�ำบล เมื อ งปอน ได้ร ่ว มกั บ โรงเรี ย นชุ ม ชนบ้า น เมืองปอน สนับสนุนให้นก ั เรียนมาศึกษาวิธท ี ำ� จองพารา โดยมี ต าแหลงค� ำ เป็น วิ ท ยากร พร้อมกับอุดหนุนงบประมาณท�ำจองพาราแจก ประชาชนในพืน ้ ที่ โดยปีแรกท�ำแจก 100 หลัง และในปีถัดมาท�ำเพิ่มเป็น 200 หลัง “เด็กจะท�ำโครงสร้างไม้ไผ่ ส่วนตาจะฉลุ กระดาษตามแม่พิมพ์ เป็นลายดอกนอนเครือ ท� ำ เสร็ จ แล้ว น� ำ ไปให้ช าวบ้า นที่ ต ้อ งการ จองพาราไว้ตั้งหน้าบ้าน โดยมีเด็กๆ คอยน�ำ ไปส่งให้” ตาแหลงค�ำว่า จนวันนี้ เมือ ่ ถึงเวลา เราจะเห็นคนไทใหญ่ ตั้งจองพาราไว้หน้าบ้าน เพื่อบูชาตามศรัทธา และความเชือ ่ ทัง้ ยังเป็นการอนุรก ั ษ์ภม ู ป ิ ัญญา ทางวั ฒ นธรรม ที่ ส ะท้อ นอั ต ลั ก ษณ์ข อง คนไทใหญ่ให้คงอยู่สืบไป ทั้ ง ยั ง ท� ำ ให้บ ้า นของคุ ณ ตาแหลงค� ำ ไม่เงียบเหงาจนเกินไปนัก...

ท่องไปในเมืองปอน | 55


นักสานกุ๊บไต เราเดิ น ทางขยั บ ออกมายั ง บ้า นหมู ่ที่ 2 บ้า นเมื อ งปอน เพื่ อ มาดู ง านหั ต ถกรรม อย่างหนึ่งของคนไทใหญ่ ทันทีที่รถลัดเลาะ เข้ามายังรั้วบ้าน องปุ้น ไชยวิฑูรย์ ชายสูงวัย ผู้เป็นเจ้าของบ้านก็ออกมาต้อนรับ “คนไทใหญ่เ รี ย กว่า กุ ๊บ ไต” ลุ ง องปุ ้น ยื่นหมวกใบหนึ่งมาให้ชม กุ๊บไต คือหมวกพื้นบ้านไทใหญ่ ลักษณะ คล้ายกับงอบของภาคกลาง แต่รูปร่างเหมือน ดอกเห็ดทีย ่ งั บานไม่เต็มที่ มีจก ุ ตรงกลางคล้าย กรวยยื่นไปด้านบน ส่วนใหญ่สานจากไม้ไผ่ ชนิ ด เดี ย วกั บ ที่ เ อามาท� ำ ข้า วหลาม ซึ่ ง มี ลักษณะพิเศษ คือเนือ ้ เยือ ่ ข้างในจะเหนียว และ ทนทานมาก ชาวบ้านหลายคนจึงนิยมใช้ท�ำ ตอก และจักสานเป็นเครื่องใช้ต่างๆ “เมื่อก่อนลุงท�ำสวนกระเทียม แต่ว่าราคา อยู่ท่ีพ่อค้า เราต้องคอยถามพ่อค้าว่าจะซื้อ ราคาเท่าไร พอปี 2544 ลุงเลยตัดสินใจเลิก ทั้ ง ท� ำ นา ท� ำ สวน เปลี่ ย นมาท� ำ หมวกแทน คราวนี้ราคาอยู่ที่ลุงแล้ว ลุงบอก 300 บาท เขาก็ซื้อ 300 บาท ลุงบอก 400 บาท เขาก็ ซื้อ 400 บาท” ลุงองปุ้นว่า แม้จะเป็นเรือ ่ งท้าทายอยู่มาก เมือ ่ ตัดสินใจ เลิกอาชีพทีเ่ ลีย ้ งตัวมาค่อนชีวต ิ ทว่าด้วยทักษะ ที่ สั่ ง ส ม ม า ตั้ ง แ ต ่ส มั ย วั ย ห นุ ่ม บ ว ก กั บ จินตนาการทีม ่ อ ี ยู่ลน ้ เปี่ยม ท�ำให้ลงุ องปุ้นไม่มี ความหวั่นเกรงแม้แต่น้อย “หมวกที่ลุงท�ำนั้นไม่เหมือนที่อื่น คือปกติ กุ ๊บ ไตจะมี ล ายสอง ลายสาม ลายยกดอก ลายเจ็ดเต่า ลายงูเหลือม แต่ลุงมาประยุกต์ 56 | ท่องไปในเมืองปอน

องปุ้น ไชยวิฑูรย์

ลายใหม่ขึ้นมาเองเรียกว่า ลายดอกพิกุล เป็น ลายที่ ท� ำ ยาก คนอื่ น ท� ำ ไม่เ ป็น งานของลุ ง ก็ เ ลยขายดี ” ลุ ง องปุ ้น ว่า พลางยกหมวก ลายดอกพิกุลให้เราชม ลุงองปุ้นจะเข้าไปหาไผ่ในป่า เลือกล�ำที่ มีอายุระหว่าง 1-2 ปี โดยสังเกตจากต้นที่ใบ ยังไม่ขน ึ้ มาก และมีกาบห่ออยู่ตรงข้อทุกปล้อง เมื่อได้มาก็น�ำมาตัดเป็นเส้นเล็กๆ แล้วน�ำไป ตากแดดให้แห้ง 1 วัน จากนั้นน�ำมาเหลาเป็น เส้นตอก แล้วเริ่มสร้างโครง โดยหมวก 1 ใบ จะใช้ตอกประมาณ 80-200 เส้น แล้วแต่ ขนาดของหมวกที่จะท�ำ ส่วนเทคนิคการสาน ลุงองปุ้นแนะน�ำให้ เริ่ ม จากจุ ด ด้า นบนก่อ น จากนั้ น สานต่อ มา เรื่อยๆ ขวาทับซ้าย ซ้ายทับขวา จนได้หมวกที่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50 เซนติเมตร จากนัน ้ น�ำผ้ายางมารองด้านในของหมวก แล้ว ปิดหัวหมวกด้วยจุกทีส ่ านด้วยหวาย เสร็จแล้ว ใส่ขอบ ทาสี ลงแลคเกอร์ เป็นอันเรียบร้อย เราพยายามคิดภาพตาม แต่ก็ไม่ใช่เรื่อง ง่ายเลยจริงๆ ส�ำหรับสินค้าทีล ่ งุ องปุ้นผลิตเกือบทัง้ หมด จะเป็นกุ๊บลายดอกพิกุล ขณะที่ลายดั้งเดิมจะ


ผลิตเฉพาะตามที่ลูกค้าสั่งเท่านั้น เพราะคน ไม่นิยมเท่าไรนัก โดยลุงองปุ้นจะขายราคาส่ง ที่ 450 บาท ส่วนราคาขายปลีกอยู่ที่ 500 บาท มีร้านรับซื้อประจ�ำอยู่ทต ี่ ัวอ�ำเภอขุนยวม และตัวจังหวัดแม่ฮ่องสอน นอกจากนั้นยังมี ลูกค้าที่เคยเห็นผลงานของลุงจากงานแสดง สินค้าต่างๆ สั่งเข้ามาบ้างประปราย แต่ละเดือน ลุงองปุ้นกับภรรยาสามารถ สานหมวกได้ราว 50 ใบ นอกจากกุ๊บไต ลุง องปุ้นยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิ หมวกแก๊ป ซึ่ง ลุงองปุ้นใช้เวลาท�ำเพียง 1 วันเท่านั้น ใบหนึ่ง ขายอยู ่ที่ 400 บาท แล้ว ยั ง มี ห มวกทรง พระเจ้าตาก ขายใบละ 600 บาท ซึง่ หมวกทัง้ 2 แบบนี้ ลูกค้าต้องสัง่ จองเข้ามา เพราะท�ำยาก กว่ากุ๊บไตเสียอีก อย่า งไรก็ ดี แม้ก ารสานกุ ๊บ ไตจะสร้า ง รายได้เ ป็น กอบเป็น ก� ำ แต่ก ลั บ มี ผู ้สื บ ทอด น้อยเหลือเกิน “ที่ผ่านมาลุงพยายามถ่ายทอดวิชา แต่ หลายคนฝีมอ ื ไม่ถงึ คนซือ ้ เขาก็ไม่ชอบ” ลุงองปุ้น ทิ้ ง ท้า ยพร้อ มกั บ หยิ บ กุ ๊บ ไตมาสวมเป็น การ สาธิ ต เราเลยไม่ร อช้า จั ด การถ่า ยรู ป เก็ บ กลับมาเสียหน่อย... ท่องไปในเมืองปอน | 57


วัดเมืองปอน หลั ง จากคุ ย กั บ ครู อู ๊ด ในช่ว งเช้า ครู อู ๊ด แนะน�ำว่า ช่วงเย็นหากมีเวลา ให้เดินไปเที่ยว วัดเมืองปอน ซึ่งเดินย้อนจากบ้านครู วนขวา ตรงประตูโรงเรียน แล้วขวาอีกครัง้ เข้าสู่ถนนที่ อยู ข ่ นานกั น เราทราบภายหลั ง ว่า ชื่ อ ถนน ขุนปอนสถิต เดินไปไม่เกิน 100 เมตร จะพบ วัดเมืองปอนอยู่ทางซ้ายมือ ภายในบริเวณวัดอันร่มรื่นประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏส ิ งฆ์ หอสวดมนต์ และศาลาอเนกประสงค์ โดยภายในอุโบสถ มีพระประธาน และภาพวาดศิลปะพม่า วัดนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 2410 ตามประวัติวัด แจ้ง ว่า ผู ้ส ร้า งคื อ พระยาน้อ ยศรี ไ พศาล เจ้าเมืองปอน และนายจองหม่อง คฤหบดีใน หมู่บ้าน แต่ก่อนหน้านัน ้ ในราวปี 2397 ชาวบ้าน ได้ส ร้า งหอสวดมนต์แ ละศาลาการเปรี ย ญ ไว้ก่อนแล้ว ต่อมาในปี 2416 นายเติ๊กอ่อง ได้สร้าง กุ ฏิ ถ วาย 1 หลั ง และได้รั บ พระราชทาน วิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2498 วัดเมืองปอนถือเป็นวัดเก่าแก่ดั้งเดิมของ ชุ ม ชน ลั ก ษณะสถาปัต ยกรรมแบบไทใหญ่ วิ ห าร กุ ฏิ และศาลาการเปรี ย ญรวมกั น หลั ง เดี ย ว เป็น หลั ง คาไม้ ซ้อ นแบบยกคอ สองชั้น และมีชายคาสามตอน หรือที่เรียกว่า ‘หลั ง คาแบบสองคอสามชาย’ เฉพาะวิ ห าร มีหลังคาผสมระหว่างหลังคา ซ้อนขึน ้ แบบยอด ปราสาท ประดับตกแต่งด้วยไม้ฉลุ และโลหะ ฉลุลาย พร้อมตกแต่งรางผึ้งประดับด้านหน้า แบบฉลุลาย... 58 | ท่องไปในเมืองปอน


พิพิธภัณฑ์บ้านเฮินไต พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์บ ้า นเฮิ น ไต เป็น เรื อ นไม้ หลังย่อม ตัง้ อยู่ในพืน ้ ทีข ่ องวัดเมืองปอนเหนือ ภายในบรรจุข้าวของเครื่องใช้ของคนไทใหญ่ ในอดีต ทัง้ หม้อนึง่ ข้าว ครกกระเดือ ่ ง จาน ชาม ช้อ น รวมถึ ง จั ด แสดงเครื่ อ งแต่ง กายของ คนไทใหญ่ไว้ด้วย ทัง้ หมดได้รบ ั การจัดวางเพือ ่ เตือนสติ และบ่งบอกเรื่องราวแต่หนก่อนให้ คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ ทีเ่ รียกว่า ‘พิพธิ ภัณฑ์เฮินไต’ เพราะภาษา ไต เฮินก็คือ เรือน ซึ่งเรือนของคนไตก็มีความ โดดเด่นอยู่หลายอย่าง โดยเฉพาะการเลือก วั ส ดุ อ ย่า งไม้ไ ผ่ข นาดใหญ่ มาตั้ ง เป็น เสา วางคาน พืน ้ ฝาเรือน โครงสร้างหลังคา รัว้ และ อื่นๆ นอกจากไม้ไผ่ ยังนิยมใช้ไม้สัก ไม้แดง มาวางเป็นโครงสร้างหลักของตัวเรือน หลังคา มุงด้วยใบตองตึง หรือคาเขียว ซึ่งรองรับได้ ทุกสภาพอากาศ ด้วยสามารถลดเสียงดังเวลา ฝนตก หรือฤดูหนาวก็สามารถตัง้ เตาไฟในบ้าน ได้ ส่วนฤดูร้อน ช่วยให้ลมพัดเย็นสบาย และ ยังมีชานกว้าง ใช้เป็นทีน ่ งั่ พักผ่อนนอนหลับได้ อีกด้วย เฮิ น ไต จึ ง เป็น ภู มิ ป ัญ ญาที่ ยิ่ ง ใหญ่ข อง คนไทใหญ่ และยั ง เป็น บ่อ เกิ ด ส� ำ คั ญ ของ วัฒนธรรมอีกมากมาย ซึ่งหล่อเลี้ยงวิถีชีวิต คนเมืองปอนจนถึงปัจจุบัน

ท่องไปในเมืองปอน | 59


อาหารการกิน Where to eat

60 | ท่องไปในเมืองปอน


โฮมสเตย์มีอาหารให้ 2 มื้อ คือเช้าและเย็น ส่วนกลางวันนั้น ถ้าไม่ขอพิเศษกับทางโฮมสเตย์ บ้านเมืองปอนก็มรี ้านอาหารให้บริการ เป็นร้านของ ชาวบ้า นนี่ แ หละ ช่ว งที่ เ ราลั ด เลาะไปมาในบ้า น เมืองปอน ก็ไปใช้บริการอยู่หลายครั้ง...

ท่องไปในเมืองปอน | 61


สวนอาหารเรือนฆาวี

จิรวัฒน์ และ ฆารวี

แม้จะเพิง่ เปิดร้านเมือ ่ เดือนตุลาคม 2558 แต่ใ นต� ำ บลเล็ ก ๆ อย่า งต� ำ บลเมื อ งปอน สวนอาหารเรื อ นฆาวี ถื อ เป็น ร้า นอาหารที่ คอยเชิ ด หน้า ชู ต าต� ำ บลเมื อ งปอน ที่ มี เ ชฟ มากประสบการณ์ เคยท� ำ งานในโรงแรมที่ กรุงเทพมหานคร อย่าง จิรวัฒน์ รุตม์ชมพู ท� ำ หน้า ที่ ป รุ ง อาหารแต่ล ะอย่า งด้ว ยตั ว เอง โดยมี ฆารวี สุขใจ ภรรยาคอยเป็นผู้ช่วย “เราเคยเป็นเพื่อนกัน หรือเป็นแฟนกัน นั่นแหละ สมัยเรียน แต่ถึงเวลาก็แยกย้าย ผม เดินทาง ใช้ชีวิตหลายที่ กระทั่งวันหนึ่งเรามา เจอกันเพราะเฟซบุ๊ก ก็เริ่มกลับมาคุยกัน ผม เดินทางมาหาเขาที่นี่ ช่วงนั้นเทียวไปเทียวมา จนวันทีเ่ ราต่างมัน ่ ใจแล้ว ก็ลาออก แล้วมาเริม ่ ทีน ่ ”ี่ จิรวัฒน์เล่าเรือ ่ งราวชวนประทับใจให้เราฟัง ส�ำหรับชือ ่ ร้านฆาวี ก็มาจากชือ ่ ของภรรยา ซึ่ ง ที่ เ ลื อ กชื่ อ นี้ เพราะคนส่ว นใหญ่รู ้จั ก 62 | ท่องไปในเมืองปอน

ภรรยาของเขาเป็นอย่างดี ท�ำให้ง่ายต่อการ ประชาสั ม พั น ธ์ ส่ว นอาหารที่ ข ายนั้ น เป็น อาหารไทย 4 ภาค “เรามี ค รบทุ ก อย่า ง ทั้ ง อาหารทะเล อาหารป่า แต่ที่แนะน�ำเป็นพิเศษ คือเมนูปลา ทัง้ ปลาทอดสมุนไพร ปลานึง่ เต้าเจีย ้ ว พวกผัก เราปลูกเองส่วนหนึ่ง ทั้งตะไคร้ กะเพรา ไม่มี สารเคมีแน่นอน ที่ขาดก็ซื้อตลาด ซึ่งคนที่นี่ ปลูกผักปลอดสารกันหลายเจ้า ลูกค้าหลักๆ ของเราจะเป็นกลุ่มข้าราชการ กลุ่มครูอาจารย์ พนักงาน อบต. ชาวต่างชาติที่มาพักโฮมสเตย์ เพราะแต่ก ่อ นถ้า อยากจะกิ น อาหารแบบนี้ ต้องเดินทางเข้าไปถึงขุนยวม” สวนอาหารเรื อ นฆาวี ตั้ ง อยู ่ที่ ห มู ท ่ ี่ 1 บ้า นเมื อ งปอน เปิด ให้บ ริ ก ารทุ ก วั น ตั้ ง แต่ 8.00 น. ถึง 21.00 น. ไม่มีวันหยุด ที่สำ� คัญ คือราคาย่อมเยาเข้าถึงได้...


ท่องไปในเมืองปอน | 63


ก๋วยเตี๋ยวแม่โสภา

64 | ท่องไปในเมืองปอน


โสภา อยู่สุภาพ

ข้างๆ วัดเมืองปอน มีร้านก๋วยเตี๋ยวอยู่ ร้า นหนึ่ ง ตั้ ง ตู ้อ ยู ่ใ ต้ช ายคาของเรื อ นไม้เ ก่า เตาถ่านที่ก�ำลังแดงร้อนคอยเคี่ยวกร�ำน�้ำให้ เดือดปุด ข้างเตามีผก ั กาดหัน ่ เป็นชิน ้ น้อยแช่นำ�้ อยู ่ ในตู ้มี ห มู ต ้ม ตอนนั้ น เป็น ช่ว งพั ก เที่ ย ง ลูกค้าก�ำลังเข้า เราเองก็เช่นกัน กว่า 20 ปีบ นเส้น ทางของแม่ค ้า ขาย อาหาร โสภา อยู่สุภาพ ท�ำมาเกือบหมดแล้ว ตั้ ง แต่ข ้า วราดแกง อาหารตามสั่ ง จนถึ ง ก๋วยเตีย ๋ ว เหตุทเี่ ปลีย ่ นไม่ใช่เพราะท�ำไม่อร่อย หากแต่เพราะไม่ชอบอะไรที่จ�ำเจ “ก๋วยเตีย ๋ วนีท ้ ำ� มาได้ปีหนึง่ แล้ว ลองท�ำเอง ไม่ได้ไปร�่ำเรียนที่ไหน แต่เราตั้งใจท�ำทั้งหมู ทั้งเนื้อ ทั้งน�ำ้ ซุป และเครื่องใน เราเน้นให้มา อิ่มท้อง คุ้มกับราคา” แม่ค้าพูดไปขณะที่มือ เป็นระวิง เพราะลูกค้ายังคงมาอย่างต่อเนื่อง ส� ำ หรั บ เมนู ข ายดี โสภาบอกว่า ต้อ ง ก๋วยเตีย ๋ วรวม คือใส่ทง้ั หมู ทัง้ เนือ ้ ทัง้ เครือ ่ งใน เมื่อถามต่อถึงเหตุผล เธอหัวเราะก่อนจะโบ้ย ให้ไปถามคนกินว่าเพราะอะไรจึงติดใจ “น�้ำซุปของป้าไม่ต้องปรุงเลย แถมราคา ยังไม่แพงอีกด้วย แค่ 20 บาท พิเศษ 25 บาท” หนึ่งในลูกค้าเฉลยค�ำคอบ ร้านก๋วยเตี๋ยวแม่โสภา ข้างวัดเมืองปอน เปิดให้บริการทุกวัน ขายกันตัง้ แต่เช้า ขายหมด ก็ปด ิ เพราะที่ท�ำทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องของก�ำไร เพี ย งอย่า งเดี ย ว หากแต่เ ป็น ความสุ ข ใน วัยเกษียณด้วย “ป้าไม่ท�ำเยอะหรอก เราท�ำเล็กๆ น้อยๆ พออยู ่ไ ด้ จะได้ไ ม่ต ้อ งไปขอลู ก ขอหลาน” แม่โสภาทิ้งท้าย...

ท่องไปในเมืองปอน | 65


จัดการทรัพยากร แบบคนเมืองปอน Environmental activities

66 | ท่องไปในเมืองปอน


จากการอนุรักษ์บนยอดดอยที่เราพาไป เมื่ อ วั น ก่อ น ที่ เ มื อ งปอนยั ง มี ก ารอนุ รั ก ษ์ ทรัพยากรในที่อื่นๆ อีก เพราะถือเป็นสมบัติ ของคนที่นี่ ซึ่งทุกคนต่างรู้รักหวงแหน เพื่อ รักษาไว้ซึ่งสมดุลแห่งสรรพชีวิตทั้งมวล นอกจากนี้ ในจ�ำนวน 10 หมู่บ้านของ ต�ำบลเมืองปอน กลับมีอยู่หนึ่งหมู่บา้ น ที่มี ปัญหาเรื่องระบบน�ำ้ กินน�้ำใช้ ก่อเกิดเป็นการ บริหารจัดการ เพือ ่ จัดสรรน�ำ้ ควบคู่ไปกับการ อนุรก ั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ...

ท่องไปในเมืองปอน | 67


ทรัพยากร...จัดการได้

จิรพงศ์ เวฬุสาโรจน์

ด ้ว ย พื้ น ที่ ก ว ่า ค ่อ น ต� ำ บ ล เ มื อ ง ป อ น ปกคลุมไปด้วยป่า เขา ต้นไม้ ล�ำธาร ชีวิตของ ผู้คนทีน ่ จี่ งึ ผูกพันกับทรัพยากรธรรมชาติอย่าง ลึกซึ้ง อยู่ร่วมกัน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทว่าเมื่อความเจริญทางวัตถุเริ่มรุกคืบเข้ามา และส่งผลกระทบต่อความสมดุลของสรรพชีวต ิ ทรัพยากรธรรมชาติบางส่วนถูกท�ำลาย เพียง เพื่อรายได้เฉพาะหน้า โดยหลงลืมถึงผลเสียที่ ตามมาในระยะยาว จากผลกระทบนี้ เ องท� ำ ให้บ รรดาผู ้น� ำ ในพื้นที่ โดยเฉพาะ พระครูอนุวัตรสมณคุณ เจ้า อาวาสวั ด เมื อ งปอน และ บุ ญ ธรรม เที ย มจั น ทร์ ผู ้อ� ำ นวยการโรงเรี ย นชุ ม ชน บ้า นเมื อ งปอน ตั ด สิ น ใจระดมก� ำ ลั ง ภายใน ต� ำ บล ทั้ ง ฝ่า ยบริ ห ารอย่า งองค์ก ารบริ ห าร ส่ว นต� ำ บลเมื อ งปอน ก� ำ นั น ผู ้ใ หญ่บ ้า น โรงพยาบาลส่ง เสริ ม สุ ข ภาพต� ำ บล แกนน� ำ ชุมชน กลุ่มองค์กรต่างๆ ผู้น�ำศาสนา เพื่อ จัดตัง้ เป็นเครือข่ายจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมต�ำบลเมืองปอน เมื่อปี 2556 โดยมีภารกิจส�ำคัญ 2 อย่าง คือรักษาสิง่ ทีม ่ อ ี ยู่ และฟื้นฟูในส่วนที่เคยถูกท�ำลายไปแล้ว 68 | ท่องไปในเมืองปอน

“หลังจากเกิดเครือข่ายขึ้น ก็เริ่มรวมกลุ่ม ท�ำกิจกรรม ตัง้ แต่การบวชป่า โดยในแต่ละหมู่ จะมี ก ารปรึ ก ษาหารื อ กั น ว่า พื้ น ที่ ต รงไหน ควรได้รั บ การอนุ รั ก ษ์ จากนั้ น กั น พื้ น ที่ ป ่า ส่วนนัน ้ แล้วใช้พธิ ก ี รรมทางศาสนาเข้ามาช่วย จุ ด ไหนเป็น พุ ท ธ ก็ นิ ม นต์พ ระสงฆ์ไ ปสวด จุดไหนเป็นคริสต์ ก็เชิญบาทหลวงเป็นผู้ทำ� พิธี เพื่ อ ให้ป ระชาชนในพื้ น ที่ รั บ ทราบว่า ห้า ม บุกรุก ห้ามเข้าไปตัดต้นไม้ หรือล่าสัตว์ในพืน ้ ที่ ส่ว นนั้ น เป็น อั น ขาด ถ้า บุ ก รุ ก ก็ เ หมื อ นเป็น การลบหลู ่ศ าสนา” จิ ร พงศ์ เวฬุ ส าโรจน์ ปลั ด องค์ก ารบริ ห ารส่ว นต� ำ บลเมื อ งปอน ฉายภาพความร่วมมือให้ฟัง นอกจากการบวชป่าแล้ว ยังมีพิธีบวชน�้ำ บวชปลา ซึ่งวางกติกาคล้ายๆ กัน คือกันพื้นที่ แม่น�้ำจากจุดหนึ่งถึงจุดหนึ่ง โดยในระยะทาง ดังกล่าวนั้น ห้ามจับปลาเด็ดขาด ใครฝ่าฝืนจะ มีการลงโทษตามสมควร ซึ่งประเพณีเหล่านี้ ความจริงแล้วเป็นวิถีที่คนปกาเกอะญอท�ำมา นานแล้ว แต่เครือข่ายเห็นว่าเป็นแนวทางที่ดี และน่าจะประยุกต์ใช้กับพื้นที่โดยรวมได้


ผลจากความเอาจริงเอาจังของเครือข่าย ส่ง ผลให้ท รั พ ยากรที่ เ คยถู ก คุ ก คาม เริ่ ม กลั บ คื น สภาพที่ ค วรจะเป็น และประชาชน เริ่มตระหนักถึงความส�ำคัญของสิ่งแวดล้อม มากขึน ้ ขณะเดียวกันทางเครือข่ายก็เริม ่ พัฒนา แนวทางการท� ำ งานให้เ ป็น รู ป ธรรมมากขึ้ น ด้วยการจัดท�ำธรรมนูญ ทั้งระดับหมู่บ้านและ ต�ำบล เพือ ่ เป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันระหว่าง คนกับป่าอย่างสมดุล

“ในแต่ละปี พอถึงวันส�ำคัญ เช่น วันพ่อ หรือวันแม่ เราจะมีโครงการปลูกป่าทดแทนใน พื้ น ที่ เ สื่ อ มโทรม ซึ่ ง มี อ ยู ่ป ระมาณ 20 เปอร์เ ซ็ น ต์ใ นชุ ม ชน ท� ำ ต่อ เนื่ อ งจนหลายๆ พื้นที่เริ่มดีขึ้น นอกจากนี้เราใช้ TCNAP GIS หรือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อจับพิกัด พื้นที่ท�ำกินของชาวบ้าน ดูวา่ มีบา้ นไหนบ้างที่ บุ ก รุ ก พื้ น ที่ ป ่า จากนั้ น เราใช้ม าตรการทาง กฎหมายเข้ามาจัดการ” ปลัดฯ จิรพงศ์สรุป ภาพรวม... ท่องไปในเมืองปอน | 69


ประปาภูเขา บ้านท่าหินส้ม

70 | ท่องไปในเมืองปอน


ชุติกาญจน์ กาวิชัย

ถึ ง จะมี พื้ น ที่ ป ่า ภายในหมู ่บ ้า น แต่ท ว่า บ้า นท่า หิ น ส้ม หมู ่ที่ 7 ซึ่ ง ประกอบไปด้ว ย ประชากรจ�ำนวนร้อยกว่าหลังคาเรือน กลับ ต้อ งเผชิ ญ ปัญ หาไม่มี น�้ ำ กิ น น�้ ำ ใช้ใ นฤดู ร ้อ น ปัญหาเรือ ้ รังยาวนานต่อเนือ ่ งกันหลายปี ท�ำให้ ชุ ติ ก าญจน์ กาวิ ชั ย ในฐานะผู ้ใ หญ่บ ้า น จึงต้องหาทางบรรเทาทุกข์ของชาวบ้าน “ช่วงที่มีปัญหาหนักๆ แม่หลวงเป็นเพียง คณะกรรมการหมู่บ้าน และยังเป็นผู้หญิงด้วย พอออกความเห็ น ไป ก็ ไ ม่ค ่อ ยมี น�้ ำ หนั ก จนปัญหาเรื่องน�้ำสะสมขึ้นเรื่อยๆ ผู้ใหญ่บ้าน คนเก่ารับไม่ไหว ลาออกไป แม่หลวงได้รับ เลือกมาแทน ด�ำรงต�ำแหน่งตั้งแต่ปี 2555 ซึง่ นโยบายแรกทีท ่ ำ� คือระบบน�ำ้ ประปา เพราะ ชาวบ้า นต้อ งกิ น ต้อ งใช้ทุ ก วั น ” แม่ห ลวง เกริ่นน�ำ แม่หลวงตัดสินใจเดินขึ้นเขาห้วยโจร เพื่อ หาสาเหตุ ข องปัญ หาที่ แ ท้จ ริ ง แล้ว ก็ พ บว่า ชาวบ้านแผ้วถางป่าจนโกร๋น จนป่าไม่สามารถ กักน�้ำไว้ได้

ขณะเดียวกันระบบประปาภูเขาที่มีอยู่ก็ ไม่เ รี ย บร้อ ย เพราะมี เ พี ย งการน� ำ ท่อ ไปต่อ ตรงจุ ด ที่ น�้ ำ ไหล แต่ไ ม่มี ก ารตุ น น�้ ำ พอถึ ง ฤดูแล้งจึงไม่มีน�้ำใช้ ไม่เพียงเท่านั้น ยังวาง ตั ว ท่อ แบบมั ก ง่า ยไว้บ นพื้ น เวลามี ไ ฟป่า ท่อก็ได้รับความเสียหาย ส� ำ หรั บ แนวทางการแก้ป ัญ หาฉุ ก เฉิ น แม่หลวงระดมชาวบ้านมาช่วยท�ำฝายชะลอน�ำ้ ส�ำหรับกักน�้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง จากนั้นจึงเริ่ม สร้างแท็งก์ซีเมนต์ไว้พักน�้ำ ขนาดกว้าง 1.5 เมตร ยาว 1.8 เมตร สูง 2.5 เมตร ที่กระจาย อยู่ตามจุดต่างๆ 4 จุด และวางระบบท่อพีวีซี ล�ำเลียงน�้ำจากแท็งก์ซีเมนต์ โดยจัดเรียงท่อ ไล่ระดับขนาด จากใหญ่ลงไปหาเล็ก เพื่อให้ เกิดแรงดันน�ำ้ มากขึ้น ล่า สุ ด แม่ห ลวงยั ง มี แ ผนจะสร้า งแท็ ง ก์ เพิ่มอีก 1 หลัง ขนาดกว้าง 2.4 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 2.5 เมตร โดยได้งบประมาณ สนั บ สนุ น ค่า อุ ป กรณ์จ ากโครงการพั ฒ นา ศักยภาพของหมูบ ่ ้านและชุมชน หรือ SML และองค์การบริหารส่วนต�ำบลเมืองปอน ท่องไปในเมืองปอน | 71


“แท็งก์ทั้งหมดนี้ ชาวบ้านช่วยกันสร้างขึ้น ทั้ ง ข น หิ น ข น ท ร า ย ก ่อ ปู น ท� ำ เ อ ง ห ม ด นอกจากนี้ ยั ง มี ร ะบบผู ้ดู แ ลตั้ ง แต่ต ้น ทาง ไปจนถึงแท็งก์ 1 คน คนเปิดปิดน�ำ้ คอยดูแล ระบบปิด-เปิดน�ำ้ ระหว่างตี 5 ถึง 2 ทุ่มครึ่ง 1 คน คนเก็บเงินค่าน�้ำ 1 คน โดยเราจะคิด ค่าใช้นำ�้ หลังละ 30 บาทต่อเดือน แต่ถ้าเป็น หน่วยงานที่ใช้น�้ำเยอะ เช่น โรงเรียน ป่าไม้ และอนามัย เราเก็บ 750 บาทต่อปี ซึ่งเงินที่ เก็บได้ เราจ่ายให้ผู้ดูแลระบบประปา 1,600 บาท เพราะท�ำงานหนักที่สุด ส่วนอีก 2 คน ได้ค นละ 400 บาท เงิ น ที่ เ หลื อ ก็ เ ก็ บ เป็น กองกลาง ส�ำรองไว้กรณีทรี่ ะบบช�ำรุดเสียหาย” แม่หลวงอธิบาย นอกจากนี้ เพือ ่ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย 72 | ท่องไปในเมืองปอน

แม่หลวงกับคณะกรรมการที่ดูแลประปาภูเขา ยังร่วมกันจัดท�ำกฎกติกาการดูแลรักษาระบบ ประปาภูเขา รวมไปถึงทรัพยากรธรรมชาติ ซึง่ เป็นต้นก�ำเนิดของแหล่งน�้ำอีกด้วย “น�ำ้ ประปาทีน ่ ม ี่ โี อกาสเสียเหมือนกัน หาก น�ำ้ ป่ามาเยอะๆ จะท�ำให้นำ�้ แดงบ้าง ท่ออุดตัน บ้าง ซึ่งถ้าเกิดปัญหาแบบนี้ คนดูแลเขาจะมา แจ้ง แม่ห ลวง จากนั้ น เราจะประชาสั ม พั น ธ์ ต่อ ทุกบ้านจะออกมาช่วยกันท�ำความสะอาด นอกจากนี้ เรายั ง ดู แ ลล� ำ ห้ว ยให้ห ่า งจาก สารเคมี รวมถึงห้ามจับปลา ถ้าฝ่าฝืน เราปรับ ทันที 10,000 บาท” แม่หลวงว่า ผลจากการจั ด การน�้ ำ อย่า งเป็น ระบบ ท�ำให้คุณภาพชีวิตของชาวบ้านท่าหินส้มดีขึ้น ทุกครัวเรือนต่างก็มีน�้ำส�ำหรับอุปโภคบริโภค


ในทุกฤดู ขณะเดียวกัน กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ ยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ของผู้คนใน หมู่ที่ 7 ให้แน่นแฟ้นขึ้นด้วย หลังจากพูดคุยกัน แม่หลวงก็น�ำเราขึ้นไป ดูที่เขาห้วยโจร และไปดูแท็งก์แต่ละที่ พร้อม อธิ บ ายการท� ำ งานของแต่ล ะจุ ด ให้ฟ ัง อย่า ง ชัดเจน ก่อนกลับแม่หลวงยังไม่ลืมที่จะพาเรา ไปดูจุดอนุรักษ์พันธุ์ปลาของหมู่บ้านด้วย “น�้ำปลานี่ ก็มาจากแม่ลาก๊ะ ที่น้องไปดู เมื่อวาน” แม่หลวงบอกเรา ขณะทีเ่ ราก็พลันวาดแผนทีก ่ ารไหลของน�ำ้ ในหัว และก็ได้แต่ฉงนว่า บ้านแม่ลาก๊ะซึ่งอยู่ อี ก ฝั่ง ถนนของบ้า นท่า หิ น ส้ม ไฉนล� ำ น�้ ำ จึ ง บรรจบเป็นสายเดียวกันได้ แต่ก็นั่นแหละ มัน เป็นเช่นนั้น ตามที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้น... ท่องไปในเมืองปอน | 73


เกษตรกรรมยั่งยืน Sustainable agriculture

74 | ท่องไปในเมืองปอน


คนต� ำ บลเมื อ งปอนส่ว นใหญ่ยั ง คงด� ำ รงชี พ ด้วยการท�ำเกษตรกรรม ท�ำนา ท�ำไร่ ตามที่ท�ำกิน ที่ครอบครัวถือครอง และด้วยความที่วิถีทางแห่ง เกษตรกรรมในปัจ จุ บั น มี ค วามหลากหลาย จึ ง ปรากฏรูปแบบให้เห็นแตกต่างกันไป ตามแต่เหตุ ปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะทางภูมิประเทศ ประสบการณ์และจุดยืนของเกษตรกร เราได้พบปะ กับเกษตรกร 3 คน ต่างลีลา ต่างสไตล์ เรามีโอกาส ได้พูดคุยกับพวกเขา และไปแอ่วอยู่ในแปลงเกษตร ที่มีทวิ ทัศน์สะกดใจเหลือคณา... ท่องไปในเมืองปอน | 75


ไร่นาสวนผสม ลุงเขื่อง

เราพบกับ เขื่อง วิลัย เกษตรกรอาวุโส จากบ้า นป่า ฝาง หมู ่ที่ 4 ผู ้เ ดิ น ทางมาไกล จากเมืองศรีสะเกษ เขาเติบโตในครอบครัว เกษตรกร แต่มี ชี วิ ต ยามเติ บ ใหญ่เ ป็น ช่า ง ก่อสร้าง สัญจรไปทั่วสารทิศของประเทศไทย ก่อนที่จะปักหลัก ณ ดินแดนแห่งขุนเขา และ พันโค้งอันลือชือ ่ ตัง้ แต่ปี 2520 จากนัน ้ จึงเริม ่ พัฒนาไร่นาสวนผสมของตนเอง จนสามารถ ส่งลูกๆ เรียนหนังสือจบปริญญา ระหว่างที่ พูดคุย นัยน์ตาของเขาเป็นประกายสุขฉายฉาด อยู่ในนั้น “ท� ำ งานรั บ เหมาก่อ สร้า งเรื่ อ ยมา จนปี 2535 ได้เงินมาก้อนหนึง่ ประมาณ 150,000 บาท เลยซื้อที่ดิน 6 ไร่ เพราะเดิมเราเป็น เกษตรกร พ่อแม่เป็นเกษตรกร แล้วลูกเราเอง โตขึ้ น เรื่ อ ยๆ หากพ่อ แม่เ ร่ร ่อ นอยู ่ข ้า งนอก คงไม่เหมาะ เลยตัดสินใจเลิกอาชีพก่อสร้าง มา ท�ำไร่ท�ำนาอย่างเดียว” ลุงเขื่องว่า 76 | ท่องไปในเมืองปอน

ในช่ว งแรกของชี วิ ต เกษตรกร ลุ ง เขื่ อ ง ตั ด สิ น ใจท� ำ นาเต็ ม พื้ น ที่ แต่ท� ำ แล้ว ขาดทุ น เพราะชาวบ้า นที่ นี่ ล ว้ นแต่ท� ำ นาเหมื อ นกั น ท�ำให้ผลผลิตออกมาแล้วหาตลาดยาก ในปี ถั ด มาลุ ง เขื่ อ งจึ ง เปลี่ ย นแผนใหม่ ด้ว ยการ ท�ำนาเพียง 2 ไร่ ผลผลิตที่ได้วิ่งเข้าสู่ยุ้งฉาง ของครอบครั ว ซึ่ ง ครอบครั ว ของลุ ง เขื่ อ งมี ด้วยกัน 10 ชีวิต ส่วนอีก 4 ไร่ที่เหลือ ลุงเขื่อง เลือกปลูกพืชปลูกผักผสมผสานเรื่อยมา ทั้ง ถัว่ ฝักยาว ดอกกะหล�ำ่ มะเขือยาว และมันเทศ “ข้าวในจังหวัดแม่ฮ่องสอนขายยาก เลย ปลูกผัก ท�ำในที่ของตัวเอง ไม่บุกรุกป่า และ เป็น การสนองพระราชด� ำ ริ เ รื่ อ งเศรษฐกิ จ พอเพียงของพระเจ้าอยู่หัวฯ ด้วย เชื่อไหมว่า วันหนึง่ ๆ ผมมีรายได้ตงั้ แต่ 200-1,000 บาท เริม ่ ต้นขายในอ�ำเภอขุนยวมเป็นหลัก แต่ตอนนี้ ขายทัว่ จังหวัดแม่ฮ่องสอนแล้ว ลูกค้าโทรมาสัง่ ไว้ มีทั้งคนไทย และคนพม่า” ลุงเขื่องเล่า


เขื่อง วิลัย

ท่องไปในเมืองปอน | 77


78 | ท่องไปในเมืองปอน


ความน่าสนใจอย่างหนึง่ ของไร่นาสวนผสม ที่นี่ คือการปลูกพืชเป็นวัฏจักร และมีปฏิทินที่ ชัดเจนว่า ในแต่ละเดือนจะท�ำอะไรบ้าง เช่น ข้า วนาปีบ นพื้ น ที่ 2 ไร่ ปลู ก ตั้ ง แต่เ ดื อ น สิงหาคมถึงเดือนธันวาคม ได้ผลผลิตประมาณ 1,400 กิโลกรัม ส่วนมะเขือยาว ใช้พื้นที่ปลูก ประมาณ 3 ไร่ ปลูกตัง้ แต่เดือนพฤศจิกายนถึง เดือนมิถุนายน ได้ผลผลิตประมาณ 10 ตัน สร้างรายได้ประมาณ 70,000 กว่าบาท พอ ปลูกมะเขือยาวเสร็จ ต่อด้วยดอกกะหล�่ำทันที นอกจากนี้ยังมีมันเทศ ซึ่งปลูกตลอดทั้งปี ได้ ผลผลิตประมาณ 1 ตัน สร้างรายได้ประมาณ 24,000 บาท รวมๆ แล้วในปีหนึง่ ลุงเขือ ่ งจะ มีรายได้เฉลี่ยประมาณปีละ 150,000 บาท “ปฏิทน ิ ปลูกพืชนี้ ผมถอดมาจากหัวใจ ใช้ ประสบการณ์ข องตั ว เองสร้า งขึ้ น อย่า ง มะเขือยาว 5,000-6,000 ต้น ก่อนสิ้นปีผม จะรีบปลูกให้เสร็จ แล้วจะเริม ่ เก็บผลผลิตตัง้ แต่ กลางเดือนมีนาคมของทุกปี จนถึงสิ้นเดือน มิถุนายน มะเขือยาวนี้ คนบนดอยเขาชอบกิน แต่เ ขาปลู ก ไม่ไ ด้ เนื่ อ งจากแห้ง แล้ง หรื อ อย่างข้าว ปัจจุบันผมปลูกอยู่ 2 ตัว คือมะลิ พันธุ์ 105 และไรซ์เบอร์รี่ ที่สำ� คัญ ที่นี่ไม่ใช้ ปุ๋ยเคมี ไม่มย ี าฆ่าแมลง ผมใช้วธิ ป ี ลูกเลีย ่ งเอา ประมาณวั น ที่ 30 เมษายน ถึ ง วั น ที่ 10 พฤษภาคม ต้องวางกล้าข้าวให้เสร็จ พอเดือน สิงหาคมถึงเดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงที่เพลี้ย กระโดดสีน�้ำเงินระบาด แต่ต้นข้าวของผมสูง

2 เมตรกว่าแล้ว เริ่มเป็นข้าวแก่ มันกินไม่ได้ ข อ งแ บ บ นี้ อ ยู ่ที่ ช ่ว งเวล า” ลุ ง เขื่ อ งเล ่า ภูมิปัญญาจากประสบการณ์ของตัวเองด้วย ความภาคภูมิใจ นอกจากข้าวและพืชผักแล้ว ลุงเขื่องยัง เลีย ้ งปลานิล ปลาทับทิม ปลาดุก ปลาช่อน โดย ได้ค วามคิ ด มาจากการไปเยี่ ย มชมโครงการ แม่ฟ้าหลวงที่จังหวัดเชียงราย เมื่อปี 2547 ซึ่ ง ที่ นั่ น มี ก ารขุ ด บ่อ เลี้ ย งปลาในพื้ น ที่ น า พอกลับมาบ้าน ลุงเขื่องไม่รอช้า ท�ำให้มีปลา ส�ำหรับอุปโภคบริโภคตลอดทั้งปี และที่เหลือ สามารถน� ำ ไปขาย สร้า งรายได้ป ีห นึ่ ง ราว 20,000 บาท ด้วยภูมิปัญญาอันโดดเด่นท�ำให้ลุงเขื่อง ได้รั บ รางวั ล เกษตรกรดี เ ด่น จากหน่ว ยงาน ต่างๆ มากมาย และพืน ้ ทีไ่ ร่นาสวนผสมยังเป็น พื้ น ที่ ดู ง านของผู ้ค นทั้ ง ในและต่า งประเทศ อย่างล่าสุด มีนก ั ศึกษาจากประเทศอินโดนีเซีย เข้ามาขอความรู้ ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของ ลุงเขื่องอย่างหนึ่ง “ปัจจุ บั นผมไม่มีหนี้สินแล้ว มีเงินเหลือ ท�ำบ้าน ส่งลูกเรียนจนจบปริญญา” ลุงเขื่อง ทิ้งท้ายพร้อมรอยยิ้ม ก่อนน�ำเราเดินลัดเลาะ ที่นาผืนแล้วผืนเล่า จนถึงผืนที่ติดเชิงเขา ซึ่ง ห่า งจากบ้า นลุ ง เขื่ อ งประมาณ 500 เมตร ทิ ว ทั ศ น์โ ดยรอบสะกดให้เ ราจ� ำ นนต่อ ความ งดงาม และแปลงเกษตรที่อยู่ตรงหน้า ก็พาให้ เราจ�ำนนต่อความพากเพียรของชายคนหนึง่ ... ท่องไปในเมืองปอน | 79


สวนวนเกษตร สวนเกษตรทฤษฎีใหม่

สุวิทย์ วารินทร์

80 | ท่องไปในเมืองปอน


หลังจากพูดคุยเรื่องเหมืองฝาย เราตาม สุวท ิ ย์ วารินทร์ อดีตรองนายกองค์การบริหาร ส่วนต�ำบลเมืองปอนมายังไร่นาสวนผสมขนาด 11 ไร่ เลาะเลียบถนนหลังโรงเรียนชุมชนบ้าน เมืองปอน ที่มีล�ำเหมืองขนาบขนานไปตลอด เส้นทาง เป็นถนนที่ไปเชื่อมต่อกับบ้านป่าฝาง หมู่ที่ 4 เลยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล บ้านเมืองปอนไปเล็กน้อย ช่ว งเวลานั้ น เป็น ช่ว งเวลาหลั ง เก็ บ เกี่ ย ว เราเห็ น บรรยากาศของผู ้ค นที่ ย กครั ว กั น มา ตีข้าวแล้วน�ำใส่กระสอบ สวนของสุวิทย์ยังไม่ ถึงขั้นตอนนั้น เขาเพิ่งเก็บเกี่ยว แล้วมัดเป็น ก�ำๆ วางไว้ ข้าวของเขาเป็นข้าวไรซ์เบอร์รี่ นับเป็นเวลามากกว่า 20 ปีแล้วที่ชายผู้นี้ ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงแนวทางการท�ำเกษตร ของตนเอง จากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ที่เอาแน่

เอานอนไม่ได้ สู่การปลูกพืชแบบผสมผสาน ที่ อ ย่า งน้อ ยก็ ส ามารถการั น ตี ป ากท้อ งของ ครอบครัว “ตอนนั้นเป็นปี 2530 เกษตรอ�ำเภอได้ เข้ามาถ่ายทอดเกษตรทฤษฎีใหม่ให้ฟัง เขา แนะให้แบ่งที่นาออกมา 5 ไร่ เพื่อปลูกพืชสวน ต่างๆ เช่น มะขามหวานเพชรบูรณ์ ลิ้นจี่ ล�ำไย รวมทัง้ ขุดบ่อเลีย ้ งปลาด้วย แต่พอท�ำประมาณ 4-5 ปี ก็ เ จอปัญ หา มะขามหวานเป็น โรค ราน�้ำค้าง มารู้ภายหลังว่า เราปลูกในพื้นที่ ชื้นเกินไป ทั้งยังมีค้างคาวมาท�ำลาย” สุวิทย์ ย้อนความให้ฟัง ทว่า ถึ ง จะล้ม เหลว สุ วิ ท ย์ก ลั บ ไม่เ คย ท้อ ถอย เพราะเขาเชื่ อ ว่า แนวทางที่ ท� ำ นั้ น ถูกต้องแล้ว อย่างน้อยก็มผ ี ลลัพธ์ทพ ี่ อให้ชน ื่ ใจ ด้วยฝรัง่ ทีป ่ ลูกไว้นน ั้ งดงาม สามารถน�ำกลับมา ขายในชุมชน สร้างรายได้เป็นกอบเป็นก�ำ

ท่องไปในเมืองปอน | 81


กระทั่ ง ปี 2542 ส� ำ นั ก งานกองทุ น สนับสนุนการวิจย ั (สกว.) ได้เข้ามาท�ำโครงการ ละเลิกสารเคมี รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดกลุ่ม ตลาดสีเขียวขึ้นในพื้นที่อำ� เภอขุนยวม จังหวัด แม่ฮ ่อ งสอน ในฐานะของแกนน� ำ เกษตรกร สุวิทย์ไม่ลังเลที่จะเข้าร่วม เขาตัดสินใจเลิก ปุ ๋ย เคมี ยาฆ่า แมลง และหั น มาใช้ส มุ น ไพร ในการดูแลรักษาแปลงเกษตร โดยมีเป้าหมาย ส�ำคัญ คือให้ผลผลิตที่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค ขณะเดี ย วกั น เขายั ง มี โ อกาสเข้า เยี่ ย มชม โครงการพั ฒ นาที่ ดิ น ต่า งๆ อี ก มากมาย หนึ่งในนั้นคือการท�ำวนเกษตร วนเกษตร คือระบบเกษตรกรรมที่น�ำเอา หลั ก สมดุ ล บนความหลากหลายและยั่ ง ยื น ของระบบป่าธรรมชาติมาเป็นแนวทางในการ ท�ำเกษตรกรรม เน้นการปลูกพืชผสมผสาน ในพื้ น ที่ เ ดี ย ว จนมี ค วามหลากหลายทาง ชีวภาพได้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด โดย ให้ค วามส� ำ คั ญ กั บ การปลู ก ไม้ยื น ต้น ไม้ผ ล และไม้ใช้สอยต่างๆ รวมทั้งจัดองค์ประกอบ 82 | ท่องไปในเมืองปอน

การผลิตให้มีความหลากหลายมากที่สุด พื ช ที่ ป ลู ก ในสวนวนเกษตรของสุ วิ ท ย์มี ตั้งแต่ เพกา กระชาย ลองกอง ลิ้นจี่ เสาวรส เงาะ ชมพู่ กล้วย มะหลอดหวาน (มีเฉพาะใน จังหวัดแม่ฮ่องสอน) มะพร้าวน�ำ้ หอม ชา กาแฟ และยั ง มี บ ่อ เลี้ ย งปลาดุ ก ปลาไน ปลาช่อ น ปลานิล ปลากระดี่ ด้วย “ตอนแรกๆ ที่ท�ำ ยอมรับว่าเจอปัญหา ค่อ นข้า งเยอะ โดยเฉพาะเรื่ อ งศั ต รู พื ช แต่ โชคดี ที่ ผ มมี โ อกาสได้ไ ปดู ง านโครงการของ สันติอโศกที่อ�ำเภอขุนยวม ที่นั่นเขาสอนเรื่อง การปรับปรุงที่ดิน การใช้นำ�้ หมัก ใช้สารขับไล่ แมลง เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราบิวเวอเรีย ผมลองเอามาใช้ ก็ได้ผลดี” สุวิทย์ว่า นอกจากนี้ เพือ ่ ให้แนวคิดการท�ำวนเกษตร มีความยั่งยืน สุวิทย์จึงได้ชักชวนเพื่อนบ้าน ในหมู่ที่ 1, 2 และ 4 ให้หันมาจัดการที่ดินใน ลักษณะเดียวกัน ซึ่งมีผู้ตอบรับแนวทางนี้อยู่ ร่วม 10 คน โดยมีการแลกเปลีย ่ นประสบการณ์ เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


ผลผลิตที่ได้ในแปลงวนเกษตร สุวิทย์จะ กันเอาไว้กน ิ เอง อีกส่วนน�ำมาจ�ำหน่ายในต�ำบล เมื อ งปอน และถ้า มี ม ากพอ เขาจะน� ำ ไป จ�ำหน่ายที่ตลาดสีเขียว หน้ากรมพัฒนาที่ดิน อ�ำเภอขุนยวม แม้รายได้ที่เกิ ดขึ้นจากสวนวนเกษตรจะ ตกเพียงปีละ 10,000 กว่าบาท แต่ส�ำหรับ ชายผู้นี้ สิง่ ทีไ่ ด้รบ ั กลับมานัน ้ คุ้มค่าแล้ว เพราะ ทุกวันนี้ เขาแทบไม่ต้องซื้ออาหาร ด้วยสวนที่ เขาลงแรงได้กลายเป็นตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งมี ทุ ก อย่า ง ทั้ ง ผั ก ผลไม้ และปลาให้เ ลื อ ก รับประทาน เราเดินตามเขาเข้ามา จากทุ่งข้าวของเขา ลั ด เลาะเข้า มาในส่ว นที่ เ ป็น ไม้ยื น ต้น นานา อัศจรรย์ใจเหลือเกินว่า ภาพของทุ่งนากว้าง เลือนหายไป คล้ายเราเข้าสู่ป่าดิบชืน ้ ภายในมี อะไรต่อมิอะไร และแสงแดดที่แผดกล้าก็ไม่ สามารถท�ำอะไรในนี้ได้ ด้วยมีแต่ความสงบ ร่ม เย็ น และสรรพชี วิ ต ก� ำ ลั ง ท� ำ งานของมั น หลังจากที่ชายผู้นี้ได้ท�ำงานของเขาแล้ว... ท่องไปในเมืองปอน | 83


สวนหลังบ้าน ลุงบุ ญยศ

ร้อยตรีบุญยศ ผอนวล และภรรยา

ตรงข้า มกั บ หมู ่บ ้า นเมื อ งปอน ฝั่ง นี้ ภูมิประเทศเป็นเทือกเขา ดินแห้งแข็ง ขาดน�ำ้ หลายจุ ด ยั ง เป็น หิ น อยู เ่ ลย แต่ถึ ง กระนั้ น เราก็ ไ ด้เ ห็ น รอยยิ้ ม ผลิ พ รายบนใบหน้า ของ ร้อยตรีบญ ุ ยศ ผอนวล ข้าราชการทหารผู้ออก ราชการก่อนก�ำหนดมาตั้งแต่ปี 2555 แล้ว หันมาเป็นเกษตรกร เขาน�ำเราขึ้นไปยังยอดดอย ที่ซึ่งเคยปลูก ข้าวโพด แต่เวลานี้ถอนออกหมดแล้ว เราเห็น ทิ ว ทั ศ น์ข องบ้า นเมื อ งปอนจากข้า งบนนี้ ดูสวยงาม สมถะอยู่กลางสายแดด พื้ น ที่ ส ่ว นหนึ่ ง ข้า งล่า งนั้ น ลุ ง บุ ญ ยศ ปรั บ แล้ว ปลู ก พื ช นานาชนิ ด โดยหลั ก เป็น มะนาว และมีพืชสวนครัวอย่างชะอม ไม้ผล อย่างมะละกอ ขนุน ฝรั่ง ละมุด “คนเป็น ทหารมาก่อ น ออกก� ำ ลั ง กาย ตลอด พอออกราชการมา ก็อยากหาอะไรท�ำ ยามว่าง เผอิญภรรยาผมมีที่ดินตรงนี้ไร่กว่าๆ เลยตัดสินใจปลูกผักกินเอง” ลุงบุญยศว่า 84 | ท่องไปในเมืองปอน


ลุงบุญยศไม่คด ิ ถึงรายได้ เพราะถือว่าเป็น สิ่งที่ท�ำแล้วมีความสุข จึงไม่ร้อนรนไปพึ่งพา สารเคมีให้สิ้นเปลือง ลองผิดลองถูกไปตาม ประสา ท�ำทุกอย่างตามใจ ด้วยรักชอบทางนี้ ตัง้ แต่สมัยเป็นทหารพราน คลุกคลีกบ ั ชาวบ้าน แต่ทำ� ไปท�ำมา พื้นที่เริ่มใหญ่ขึ้น เมื่อน้องชาย ของภรรยายกที่ดินของตัวเองที่อยู่ติดกันให้ รวมกลายเป็นที่ดินผืนใหญ่กว่า 20 ไร่ “ทีข ่ องน้องชาย เดิมเป็นป่าเสือ ่ มโทรมอยู่ บนเขา ผมเลยขยายพืน ้ ทีป ่ ลูกมะนาวเพิม ่ แล้ว ท�ำบ่อเก็บน�้ำ โดยดึงน�้ำจากล�ำห้วยข้างล่าง ขึ้นมา ใช้เวลาอยู่เป็นปีถึงเริ่มเก็บผลผลิตได้ โดยเราตัง้ ใจให้มะนาวออกนอกฤดู ในช่วงเดือน มี น าคมถึ ง เดื อ นเมษายน เพราะเป็น ช่ว งที่ มะนาวขาดตลาด เก็บไปขายตลาดในหมู่บ้าน บ้า ง ที่ ต ลาดในอ� ำ เภอขุ น ยวมบ้า ง แล้ว ก็ มี ฝากไปกับเกษตรอ�ำเภอ ตามเครือข่ายเกษตร อินทรีย์” ลุงบุญยศเล่า อย่า งไรก็ ดี เมื่ อ เริ่ ม ปลู ก เพื่ อ จ� ำ หน่า ย สิ่งที่ลุงบุญยศต้องท�ำ คือการแสวงหาความรู้ เพิ่มเติม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงสุด ฉะนั้นแนวทางบางอย่างที่ตั้งใจ จ�ำต้องปรับ เปลี่ ย นตามสถานการณ์ อย่า งความตั้ ง ใจ ที่ จ ะท� ำ สวนอิ น ทรี ย ์ทั้ ง หมด ก็ เ ริ่ ม เป็น ไปได้ ยากขึ้ น มะนาวที่ ป ลู ก เป็น โรคแคงเกอร์ ท�ำให้ผิวมะนาวขรุขระคล้ายขี้กลาก ขายไม่ได้

ต้องถอนทิ้งทั้งต้น จ�ำต้องพ่นยาป้องกันโรค แคงเกอร์ และหนอนไชใบ ปัจจุบันสวนหลังบ้านของลุงบุญยศ ขยาย อาณาเขตเกือบครบ 20 ไร่ และไม่นานมานี้ พีช่ ายภรรยาซึง่ เคยเป็นเกษตรกรท�ำไร่ข้าวโพด ก็ยกที่ดินให้อีก เพราะป่วยท�ำไม่ไหว ซึ่งที่ดิน ใหม่นี้อยู่บนยอดดอย ต้องใช้เวลาปรับปรุง เนื่องจากมีสารเคมีสะสมค่อนข้างมาก เลย ตัดต้นข้าวโพด ตัดหญ้ามากองทิง้ ไว้ เพือ ่ ให้ดน ิ ได้ฟื้นฟูตัวเอง คาดว่าภายในสองปี ดินน่าจะ กลับมาสู่สภาพเดิม นอกจากการปลู ก พื ช แล้ว อี ก หนึ่ ง สิ่ ง ที่ ลุ ง บุ ญ ยศภาคภู มิ ใ จ คื อ การรวมกลุ ่ม เพื่ อ น เกษตรกรกว่า 30 คน ผลิ ต สารชี ว ภั ณ ฑ์ ใช้กันเอง และบ้านของลุงยังเป็นที่ท�ำการของ ‘ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ต�ำบลเมืองปอน’ ซึง่ มีภารกิจส�ำคัญในการสังเกต รวมถึงแจ้งข่าว การระบาดของแมลงศัตรูพืชแก่เกษตรอ�ำเภอ ขุ น ยวม เพื่ อ จะได้ห าวิ ธี ป ้อ งกั น และจั ด การ ได้ทันท่วงที “เกษตรอ� ำ เภอเอาสปอร์แ ห้ง ของเชื้ อ บาซิ ล ลั ส มาให้ศึ ก ษา เพราะเชื้ อ ตั ว นี้ มี สรรพคุณในการก�ำจัดเชื้อรา โรครากเน่า ซึ่ง เชือ ้ พวกนีเ้ ป็นสารอินทรีย์ไม่มอ ี น ั ตราย เวลาพ่น ไม่ต้องปิดปากปิดจมูก เป็นของจากธรรมชาติ” ลุงบุญยศกล่าวทิ้งท้ายอย่างอารมณ์ดี...

ท่องไปในเมืองปอน | 85


การศึกษา ‘วิชาชีวิต’ Education

การมาที่โรงเรียนชุมชนบ้านเมืองปอนนั้น เป็นความบังเอิญของเราโดยแท้ ด้วยไม่อยู่ใน จุดหมายของเรามาก่อน แต่เพราะครูอู๊ด และ ครู แ มวสอนหนั ง สื อ อยู ่ที่ นี่ ท� ำ ให้เ รารู ้ว ่า โรงเรียนแห่งนี้มีเรื่องราวที่น่าสนใจซ่อนอยู่...

86 | ท่องไปในเมืองปอน


ท่องไปในเมืองปอน | 87


โรงเรียนชุ มชนบ้านเมืองปอน

แม้จ ะเป็น เพี ย งโรงเรี ย นเล็ ก ๆ ที่ มี เ ด็ ก ทั้ ง หมด 216 คน แต่โ รงเรี ย นชุ ม ชนบ้า น เมืองปอน โรงเรียนเก่าแก่ซงึ่ ก่อตัง้ ในปี 2446 แห่ง นี้ ยั ง เป็น ศู น ย์ร วมของเด็ ก จากหมู ่บ ้า น ต่างๆ ในต�ำบล เหตุเพราะที่นี่เป็นโรงเรียน ขยายโอกาสเพียงแห่งเดียวในพืน ้ ที่ ทีส ่ ำ� คัญยัง เป็นโรงเรียนประจ�ำ ให้นักเรียนที่อยู่ห่างไกล พักอาศัยโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย นั่ น จึ ง เป็น ค� ำ ถามที่ เ กิ ด ขึ้ น ในใจเรา ว่า เหตุ ใ ด ท� ำ ไม และอย่า งไร โรงเรี ย นรั ฐ ที่ มี งบประมาณจ�ำกัดจ�ำเขี่ย จึงสามารถจัดสรร บริการเช่นนี้ได้ เรื่องของเรื่องเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2535 เมื่อ โรงเรียนตัดสินใจขยายโอกาสทางการศึกษา จากชั้ น ประถมศึ ก ษาปีที่ 6 ไปจนถึ ง ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปีที่ 3 ตามนโยบายการศึ ก ษา ภาคบั ง คั บ ของกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร และ ด้วยความที่โรงเรียนแห่งนี้ เป็นโรงเรียนที่มี ความพร้อมเพียงแห่งเดียว เด็กๆ จากต�ำบล เมื อ งปอน ทั้ ง จากหมู ่บ ้า นบนที่ ร าบ และ หมู่บ้านบนดอย จึงมารวมกันอยู่ที่นี่ 88 | ท่องไปในเมืองปอน


ครูอู๊ด และครูแมว

เมื่อเป็นเช่นนั้น เด็กๆ จากบนยอดดอย ทั้งบ้านแม่ลาก๊ะ บ้านมะหินหลวง และบ้าน แม่โข่จู ซึ่งเป็นชาวปกาเกอะญอ ต้องเดินทาง มาเรียนข้างล่าง และการเดินทางไปกลับทุกวัน เป็น สิ่ ง ที่ เ ป็น ไปไม่ไ ด้ ทางโรงเรี ย นชุ ม ชน บ้านเมืองปอนจึงต้องจัดสรรทีพ ่ ก ั อาศัยให้เด็ก กลุ่มนี้ด้วยการเปลี่ยนบ้านพักครูที่ไม่มีคนอยู่ ให้เ ป็น อาคารนอนของเด็ ก ๆ โดยปัจ จุ บั น นี้ มีอยู่ 4 หลัง “ตอนนีเ้ รามีเด็ก 216 คน เป็นเด็กบนดอย ประมาณ 96 คน” กัลยา รักจันทร์ หรือ ครูแมว บอกกับเรา เมื่อเด็กกิ นนอน ย่อมหมายถึงภาระอีก มากมายที่ตามมา ทั้งค่าอาหาร เครื่องนอน ค่าน�ำ้ ค่าไฟ ซึ่งโชคดีที่ได้รับความอนุเคราะห์ จากหน่วยงานต่างๆ เช่น ส�ำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และมูลนิธิต่างๆ ทว่าเป็นความช่วยเหลือที่คอ ่ นข้างจ�ำกัด และ โรงเรียนต้องหาวิธบ ี ริหารจัดการให้ลงตัวทีส ่ ด ุ

“เด็ ก หอ 96 คนนี้ กิ น ข้า วกั น เยอะ ประมาณมือ ้ ละถัง แต่ปัญหาส�ำคัญกว่านัน ้ คือ ทาง สพฐ. ไม่ให้เบิกค่าอาหารวันเสาร์และวัน อาทิตย์ แต่ทีนี้เด็กจ�ำนวนมากไม่ได้กลับบ้าน ในวันหยุด อยู่ยาวเป็นเทอม แรกๆ เราขอให้ ผู้ปกครองบริจาคข้าวเข้ามาเทอมละหนึ่งถัง แต่พอท�ำจริงๆ แล้วไม่ได้ เขายินดีให้ข้าว แต่ เราต้องขับรถขึ้นดอยเพื่อขนลงมาที่โรงเรียน ซึ่งไม่คุ้มค่าน�้ำมัน เลยต้องเปลี่ยนวิธี เอางบ ค่าอาหาร 5 วัน มาเฉลี่ยให้ได้ 7 วัน และ กับข้าว จากที่เมื่อก่อนให้เด็กท�ำกันเอง ตอนนี้ เปลี่ยนมาจ้างแม่ครัวท�ำ ทั้งอาหารกลางวัน ของนักเรียนทัง้ โรงเรียน และมือ ้ เช้ากับมือ ้ เย็น ของนักเรียนหอพัก” ฟองจันทร์ ศิริน้อย หรือ ครูอู๊ด ช่วยเสริม นอกจากเรื่ อ งอาหาร ยั ง มี เ รื่ อ งความ ปลอดภัย แต่ละคืนจะมีครู 2 คน กับภารโรง 1 คน อยู่เวร คอยดูแลความเรียบร้อย ท�ำงาน แบบจิตอาสา ไม่มีเบี้ยเลี้ยงพิเศษ ท่องไปในเมืองปอน | 89


90 | ท่องไปในเมืองปอน


ไม่เพียงเท่านั้น ด้วยความที่วันหยุดเสาร์อาทิตย์เป็นช่วงเวลาสั้นเกินไป จนผู้ปกครอง รู้สึกไม่คุ้มค่า เพราะกลับวันศุกร์บ่าย หรือวัน เสาร์เช้า วันอาทิตย์กต ็ ้องล่องลงมาแล้ว ท�ำให้ โรงเรี ย นต้อ งปรั บ ตารางวั น หยุ ด ในบางครั้ ง เช่น การเปิดสอนในวันหยุดราชการบางวัน และไปชดเชยด้วยการปิดเรียนทีเดียว 4-5 วัน ซึ่ ง ผู ้ป กครองที่ มี บ ้า นอยู ่บ นพื้ น ราบก็ เ ข้า ใจ และยินยอมในเงื่อนไขดังกล่าว “หลายคนสงสั ย ว่า ท� ำ ไมไม่ใ ห้โ รงเรี ย น ข้างบนปรับเป็นขยายโอกาส ไม่ใช่ไม่อยากท�ำ แต่ทำ� ไม่ได้ ด้วยต้องมีครูประจ�ำเอกครบทั้ง 8 สาระ เพราะเกี่ยวกับการวัดผลระดับชาติ และ ถ้ามีครูครบ แต่มีเด็กอยู่แค่ 50 คน ก็ไม่คุ้มค่า อีก” ครูแมวว่า จ�ำเพาะแค่ที่เป็นอยู่ในเวลานี้ ก็มีความ แตกต่างระหว่างเด็กที่อยูบ ่ นดอยกับเด็กที่อยู่ บนพื้นราบ โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ อย่าง โรงเรียนยอดดอยวิทยา มีครู 3 คน คนหนึ่ง สอนพร้อมกัน 2 ชั้น แล้วไม่มีครูเอกภาษา อังกฤษ เมือ ่ เด็กลงมาเรียนต่อ ทางครูต้องปรับ

ให้นั ก เรี ย นหอพั ก เรี ย นหนั ง สื อ กลางคื น เพิ่มเติม ทุกวิชาสลับกันไป ตั้งแต่ 19.0021.00 น. เว้นวันศุกร์กับวันเสาร์ เพื่อให้เด็ก กลุ่มนี้เรียนทันเด็กพื้นราบ ครูอู๊ดเล่าเพิ่มเติมอีกว่า เมื่อเด็กหอไม่ได้ กลับบ้านวันเสาร์และวันอาทิตย์ เด็กหลายคน จึงใช้โอกาสนี้หารายได้พิเศษ เช่น หักข้าวโพด ซักเสื้อผ้า โดยนายจ้างต้องเข้ามาขออนุญาต กับทางโรงเรียนก่อน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม นักแสดงน้อย มัคคุเทศก์น้อย ซึ่งครูแมวจะ ฝึกเด็กให้รู้จักรับแขกบ้านแขกเมือง และยัง เป็นการฝึกทักษะภาษาอังกฤษอีกทางด้วย “เด็กทีน ่ ี่ ไม่ว่าจะเป็นเด็กเมืองหรือเด็กดอย จะมีพื้นฐานด้านวัฒนธรรม เพราะเรามีชมรม ศิลปะการแสดง มีค่ายวัฒนธรรมที่เราเชิญ ปราชญ์ชาวบ้านมาให้ความรู้ เพื่อที่เด็กจะได้ เรี ย นรู ้ร ายละเอี ย ดปลี ก ย่อ ย เช่น งานพั บ งานตัดใบตอง ท�ำขนมไต รวมไปถึงพิธีกรรม ต่า งๆ เพื่ อ ให้เ ขาสามารถน� ำ ความรู ้ที่ ไ ด้ไ ป อธิบาย หรือน�ำเสนอกับนักท่องเทีย ่ ว” ครูแมว กล่าวทิ้งท้าย... ท่องไปในเมืองปอน | 91


สุขภาพชุมชน Health

ต� ำ บลเมื อ งปอนมี เ รื่ อ งเล่า เกี่ ย วกั บ การ ดู แ ลสุ ข ภาพที่ ไ ม่เ หมื อ นที่ ใ ดที่ เ ราเคยพบ เห็นมา ด้วยที่นี่เป็นพื้นที่ป่าเขา ความเจริญ ก้าวย่างอย่างเชื่องช้า จึงยังคงมีผู้คนที่กักเก็บ ภูมิปญ ั ญาพื้นบ้านไว้ บางเรื่องรอผู้สืบทอด เข้ามาศึกษา แต่กับบางเรื่อง ก็คล้ายจะรอวัน สูญหาย...

92 | ท่องไปในเมืองปอน


ท่องไปในเมืองปอน | 93


ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย (บีบหยา)

“…ในสมั ย พุ ท ธกาลมี ห มอรั ก ษาโรค ท่า นหนึ่ ง ชื่ อ ว่า ‘เจ่ห ว่า ก๊ะ ’ กล่า วว่า เป็น หมอเทวดาทีส ่ ามารถยือ ้ ความตายจากยมบาล ได้ ทุกคนทีห ่ มอท่านนีใ้ ห้การรักษาจะต้องหาย ต่อ มาเกิ ด เหตุ ก ารณ์พ ระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้า ประชวรเพราะฉันอาหารผิดส�ำแดง อาเจียน เป็นพระโลหิต เจ่หว่าก๊ะทราบเรือ ่ งจึงได้เตรียม สมุนไพรอย่างดีเพือ ่ ไปรักษาพระพุทธองค์ ทว่า ก่อนหน้านีต ้ ถาคตได้ตรัสรับการอาราธนาของ พญามารว่า จะเข้า สู ่พ ระนิ พ พาน เมื่ อ หมอ มาถึงจึงทรงปฏิเสธ สร้างความเสียใจให้แก่ เจ่ห ว่า ก๊ะ ยิ่ ง นั ก เมื่ อ เดิ น ทางกลั บ บ้า นที่ เมืองปอน หมอจึงโยนยาสมุนไพรในถุงย่าม ทิ้ ง ไปตามป่า เขา ส่ง ผลให้ป ่า เมื อ งปอน เต็มไปด้วยยารักษาโรคมากมาย...” 94 | ท่องไปในเมืองปอน

จากต�ำ นานหมอเมืองปอนที่เล่าขานต่อ กันมา จนวันนี้ ก็ยังมีหลักฐานประจักษ์ชัด ถึง ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่คนเมืองปอนใช้รักษาโรค ท่ามกลางวิทยาการสมัยใหม่ที่เริ่มจะเข้ามา มีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พรชัย อ่อนสด พยาบาลวิชาชีพช�ำนาญการ โรงพยาบาลส่ง เสริ ม สุ ข ภาพต� ำ บลบ้า น เมืองปอน เล่าว่าแพทย์แผนไทยถือเป็นหนึง่ ใน บริการของ รพ.สต.บ้านเมืองปอน โดยในปี 2554 พรศรี พุทธิมา ผู้อ�ำนวยการ รพ.สต. ได้พา อสม. จ�ำนวน 40 คน ไปอบรมการนวด แผนไทย ตามหลักสูตรของกรมพัฒนาฝีมือ แรงงาน จ� ำ นวน 120 ชั่ ว โมง เพื่ อ เสริ ม ศั ก ยภาพในการดู แ ลคนพิ ก าร ผู ้สู ง อายุ ที่ ติดเตียงติดบ้าน ในหมู่ที่ 1 ถึงหมู่ที่ 5


พรชัย อ่อนสด

เมื่อมีบุคลากรที่พอมีความรู้ ทาง รพ.สต. จึ ง เริ่ ม ต่อ ยอดกิ จ กรรมเพิ่ ม เติ ม อาทิ อบ สมุนไพร นวดประคบสมุนไพร โดยได้แพทย์ แผนไทยจากโรงพยาบาลขุนยวมมาให้ความรู้ พรชั ย เล่า ต่อ อี ก ว่า ในจ� ำ นวน อสม. ทั้งหมด มี ศรีเพ็ญ สายบัว เพียงคนเดียวที่ ผ่านการอบรมการนวดแผนไทย 330 ชั่วโมง จากวิ ท ยาลั ย พยาบาลบรมราชชนนี นคร ล� ำ ปาง ท� ำ งานเป็น ผู ้ช ่ว ยแพทย์แ ผนไทยที่ รพ.สต. นอกจากนี้ยังมีผู้ช่วยอีก 2 คน คือ ละมัย ปัญญาหม้อ และ เพิม ่ ศักดิ์ ตุ้ยตามพันธ์ ประจ�ำอยู่ที่โรงพยาบาลทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ “จั น ทร์ พุ ธ ศุ ก ร์ ทั้ ง 3 คน จะคอย ให้บ ริ ก ารที่ รพ.สต. ส่ว นวั น อั ง คารและวั น พฤหัสบดี จะเป็นวันลงพื้นที่” พรชัยว่า ในวันท�ำการที่ รพ.สต. งานนวดแผนไทย จะให้บริการเฉลี่ยวันละ 4 คน โดยผู้รับบริการ จะต้องเสียค่าใช้จ่าย หากเป็นการอบสมุนไพร คิดราคา 20 บาทต่อคน ถ้าเป็นการนวด และ ผู้รับบริการสามารถเบิกได้ จะคิดค่าบริการ ชั่ ว โมงละ 150 บาท ส่ว นผู ้ถื อ บั ต รทอง สามารถใช้สท ิ ธิได้ ซึง่ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มหลัง และทุกคนก็มักหยอดตู้บริจาคตามศรัทธา

อย่างไรก็ดี ในปี 2557 รพ.สต. ได้ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนต�ำบลเมืองปอน ค้นหา ปราชญ์ชาวบ้านทีม ่ ค ี วามรู้ด้านแพทย์แผนไทย จนมาพบภูมิปัญญา ‘บีบหยา’ หรือการนวด แบบไต ซึ่ ง เป็น การนวดรั ก ษาโรค โดย ในปัจจุบน ั มีปราชญ์ชาวบ้านด้านนีเ้ พียง 3 คน คือ คุณยายหลาน คณาสวรรค์ คุณยายเป๋ง สุปันนะ และ คุณยายเล็ก เดชเจริญ เอกลักษณ์สำ� คัญของการบีบหยา คือการ บีบจากเส้น เพราะฉะนั้นผู้นวดต้องรู้จักเส้น แต่ละเส้น ว่าบีบเส้นไหนส่งผลอะไรต่อร่างกาย โดยรูปแบบการบีบนัน ้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) เอ็นเคร่ง คือเส้นตึง หมอจะนวดเพื่อให้ เส้นคลาย 2) เอ็นขี่ ซึง่ ใช้รก ั ษากรณีเกิดอาการ ปวดเพราะเคลื่ อ นไหวผิ ด ท่า ท�ำ ให้เ ส้น เอ็ น เกยขี่กัน หมอจะใช้มือเขี่ยเอ็นให้คลายออก จากกัน และ 3) เอ็นปะแล็ด คือเอ็นอยู่ผิดที่ หมอจะคล�ำดู แล้วบีบจัดให้เข้าที่ ฉะนั้นคนที่มีอาการปวดสะบัก เส้นขาติด ไหล่ยึ ด หรื อ ปวดเอว จึ ง มั ก ใช้ก ารบี บ หยา เข้ามาช่วยรักษา ทว่าด้วยความทีห ่ มอบีบหยา ส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโส ทาง รพ.สต. จึงสนับสนุน ให้มี ก ารถ่า ยทอดความรู ้ต ่า งๆ แก่ อสม. ส่ง ผลให้ป ัจ จุ บั น มี ผู ้ที่ บี บ หยาเป็น มากกว่า 20 คนแล้ว ท่องไปในเมืองปอน | 95


นอกจากการบีบหยา ทีน ่ ย ี่ งั มีหมอสมุนไพร เด่นอยู่ 4 ท่าน คือ ตาเหม่ก๊ะ รักสุขส�ำราญ ลุ ง จาย นภาทอง ตาสิ ง โต สุ ป ัน นะ และ ยายอวน จันทร์ต๊ะค�ำ ซึ่งความรู้ของปราชญ์ เหล่านี้ ทาง รพ.สต. ได้น�ำมารวบรวมไว้เป็น ต� ำ รั บ สมุ น ไพร ส� ำ หรั บ เป็น แนวทางเสริ ม การรักษาโรคทั่วๆ ไป ด้วยทาง รพ.สต. มี แผนการสร้างศูนย์แพทย์แผนไทย รวมไปถึง ผลิตยาสมุนไพรต่างๆ “ตอนนี้ ที่ เ ราท� ำ ไปแล้ว คื อ การน� ำ ยา สมุนไพร 13 ชนิดมาผสมกันเพื่อเป็นตัวยา ส� ำ หรั บ การอบ ยาอบของเรามี ส รรพคุ ณ ในการรักษาด้วย โดยทีน ่ ม ี่ ค ี วามเชือ ่ ว่า ผู้หญิง ที่คลอดบุตรใหม่ มักจะมีอาการผิดเดือน หรือ เวลาได้รับของแสลงเข้าไป เวลาฝนตกจะรู้สึก หนาวไปถึงกระดูก หรือปวดหัวเรื้อรังไม่หาย ก็ จ ะใช้ย าอบตั ว นี้ ช ่ว ยบรรเทา แต่ย านี้ มี ข้อจ�ำกัดส�ำหรับคนที่เป็นโรคความดันโลหิต สูง” พรชัยเล่า หมอแผนไทยอี ก กลุ ่ม ที่ อ ยู ่คู ่เ มื อ งปอน

96 | ท่องไปในเมืองปอน

มานาน คือหมอจัดกระดูกและต่อกระดูก ซึ่ง ถื อ เป็น ภู มิ ป ัญ ญาที่ อ าศั ย ความเชื่ อ เฉพาะ บุคคล ไม่ได้นำ� มาใช้ใน รพ.สต. ปัจจุบันเหลือ อยู่เพียง 2 คน คือ คุณตาจึง ไชยวิฑูรย์ และ ลุงองปุ้น ไชยวิฑูรย์ บุตรชาย “หมอจั ด กระดู ก นี้ เ ป็น ความเชื่ อ ที่ อ ยู ่ใ น ชุ ม ชน ผมเคยเห็ น กรณี ห นึ่ ง เด็ ก ตกต้น ไม้ แขนหั ก ไปโรงพยาบาล หมอเข้า เฝือ กให้ แต่เข้าได้ไม่นาน รู้สึกปวดร้อน คัน อยู่ไม่สุข สบาย ผู้เป็นแม่เลยเอาเฝือกออก แล้วพาไปหา ลุงองปุ้น ปรากฏว่าจากเดิมที่ต้องเข้าเฝือก 3 เดือน กลายเป็นรักษาแค่เดือนเดียวก็หายแล้ว คื อ แกใช้ส มุ น ไพรมาพอก จากนั้ น ก็ น� ำ ไม้ เป็นซี่ๆ มาห่อคลุมไว้อีกที แต่ว่าภูมิปัญญานี้ ไม่ค่อยมีผ้ส ู บ ื ทอดเท่าไรนัก เพราะเขาถือเคล็ด ที่ ว ่า คนที่ เ รี ย นต้อ งหั ก แขน หรื อ ขาตั ว เอง เสียก่อน ไม่เช่นนั้นหากเรียนส�ำเร็จไปแล้ว จะ ต้องขาหัก แขนหัก ภูมิปัญญานี้จึงไม่สามารถ จัดเข้ามาในระบบโรงพยาบาลได้ แต่เราก็เชื่อ และให้ความเคารพ” พรชัยกล่าวทิ้งท้าย...


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.