สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 1
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม สุทธิโชค จรรยาอังกูร
เลขมาตรฐานสากลประจ�ำหนังสือ 978-616-393-019-4 พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2558 บรรณาธิการอ�ำนวยการ ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ อาหะมะ วายะ บรรณาธิการ กฤตพจน พงศ์ถิรประสิทธิ์ กองบรรณาธิการ สุพิศ เจริญวงศ์ ช่างภาพ กฤตพจน พงศ์ถิรประสิทธิ์ ศิลปกรรม พรทิวา ไวยครุฑธา ออกแบบปก อรกุล แก้วหิรัญ พิสูจน์อักษร ปรียนันท์ ตั้งพุทธิพงศ์ ประสานงานการผลิต ชัชฎาพร ณ บางช้าง จัดพิมพ์โดย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (ส�ำนัก 3) อาคารเรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99/8 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 02-343-1500 www.thaihealth.or.th www.punsook.org, www.facebook.com/punsook ด�ำเนินการผลิตโดย หจก. จู๊ซ อัพ มีเดีย แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น เลขที่ 7 ซอยรามค�ำแหง 44 แยก 2 ถนนรามค�ำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ 10240
ค�ำน�ำ รศ.ดร.ขนิษฐา นันทบุตร ผู้อ�ำนวยการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้กล่าว เอาไว้ว ่า “องค์ก รปกครองส่ว นท้อ งถิ่ น ต้อ ง สร้างกระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้อง พึ่งพาความรู้จากหน่วยราชการ หรือความรู้ จากองค์กรการศึกษาอืน ่ ต้องบอกตัวเองว่า เรา คือสถาบันที่สร้างความรู้ให้กับคนอื่นได้ ชี้น�ำ สังคมได้ นี่เป็นเหมือนการปฏิรูปการเรียนรู้ ปฏิรูปให้เห็นโอกาสที่จะท�ำให้ชุมชนท้องถิ่น ไม่ต ้อ งเป็น ผู ้ต ามอี ก ต่อ ไป เป็น การเปลี่ ย น วาทกรรมของการเรียนรู้โดยสิ้นเชิง” สิ่งที่ รศ.ดร.ขนิษฐา กล่าวนั้น เรียกให้ กระชับสั้น คือการใช้องค์ความรู้ที่ได้รับการ เก็บสะสมภายในพืน ้ ทีม ่ าสร้างประโยชน์ให้กบ ั ชุ ม ชนท้อ งถิ่ น ซึ่ ง เป็น ฐานรากที่ ส� ำ คั ญ ของ การพั ฒ นาประเทศ เป็น ที่ ม าให้ส� ำ นั ก งาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (ส�ำนัก 3) ได้เข้ามาสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิน ่
ทั่ ว ประเทศในการส� ำ รวจทุ น และศั ก ยภาพ ถอดบทเรี ย น ตลอดจนสร้า งบุ ค ลากรที่ มี ความสามารถในการน� ำ ใช้ และถ่า ยทอด องค์ความรู้ทไี่ ด้รบ ั การสังเคราะห์มาแล้วอย่างดี เพือ่ กระจายองค์ความรู้เหล่านัน ้ แก่เพือ่ นเครือข่าย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศต่อไป ที่สุดแล้ว เมื่อท้องถิ่นสามารถท�ำได้ดังว่า ก็ยงิ่ ทวีความเข้มแข็งให้กบ ั ชุมชนท้องถิน ่ อันเป็น การสร้างคุณภาพความเป็นอยูท ่ ด ี่ ใี ห้เกิดขึน ้ ได้ ซึ่ ง เวลานี้ ก ระบวนการทุ ก อย่า งได้ด� ำ เนิ น มา ระยะหนึ่งแล้ว พัฒนาการของพื้นที่แต่ละแห่ง ได้รบ ั การยืนยันเป็นทีป ่ ระจักษ์ว่า สร้างผลกระทบ ด้านดีในหลากหลายมิติให้กับชุมชนท้องถิ่น ยิ่งกับพื้นที่ต�ำบลใน 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้ อันเป็นพื้นที่สีแดง นี่จึงเป็นโอกาสของ ทัง้ ตัวพืน ้ ที่ และเป็นโอกาสของเครือข่ายร่วมสร้าง ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ที่จะได้ร่วมมือกันศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ‘องค์ความรู้’ ของดินแดนนี้ ให้เป็นทีป ่ ระจักษ์ และเจือจางความเข้าใจผิดๆ ที่คนทั่วไปมีต่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้...
6 | บทน�ำ ‘สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม’ 10 | สัมภาษณ์
อาหะมะ วายะ นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลตะปอเยาะ : 3 จุดเน้น อาชีพ การศึกษา และการมีส่วนร่วม
14 | บริหารจัดการตามวิถีมุสลิม 16 | สภาซูรอ 18 | มัสยิดสานใจ 22 | ตะปอเยาะเอฟซี 24 | มัสยิดดารูลฮุดา มัสยิดต้นแบบ 28 | จัดการภัยพิบัติแบบบ้านๆ
30 | สวัสดิการชุมชน 32 | กองทุนจัดการศพผู้สูงอายุ
34 | เศรษฐกิจชุมชน
36 | เกษตรพอเพียง บ้านบลูกาสนอ 40 | กลุ่มซาลาเปาทอด 44 | ศิลปาชีพย่านลิเภา 48 | ศิริฟาร์มแพะบลูกาสนอ 50 | เครื่องส�ำอางนมแพะ 52 | กลุ่มส่งเสริมอาชีพสตรีบ้านกูยิ
54 | การศึกษา ‘วิชาชี วิต’
56 | อิสลามแบบเข้ม แบบโรงเรียนบ้านบูเกะบากง 60 | ศูนย์อัล-อีมามอัสซาฟีอี ท่องจ�ำอัลกุร-อ่านนิลการีม 64 | มือโฆษณาแห่งตะปอเยาะ 66 | โรงเรียนบ้านบลูกาสนอ
70 | การดูแลสุขภาพชุมชน 72 | นวดแผนโบราณและยาสมุนไพร 74 | ชมรมผู้สูงอายุบ้านบลูกาสนอ
76 | วัฒนธรรม
78 | สภากาแฟตะปอเยาะ 80 | ปัญจักสีลัต
82 | อาหารการกิน 84 | ร้านกะยะห์ 86 | บ้านอาเดีย
88 | พักผ่อนหย่อนกาย
90 | โฮมสเตย์บ้านก�ำนัน 92 | โฮมสเตย์มะรอซี 94 | (รักษ์) น�้ำตกพุเสด็จ
บทน�ำ
‘สู่ ตะปอเยาะ
ท่องไปในวิถีมุสลิม’ Introduction
6 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
ประตูสู่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่เคยปิด เลย หากแต่เป็นฝุ่นหรือหมอกควันที่มาปิดพราง ดินแดนนี้อยู่เป็นระยะ แต่นานวันเข้า หมอกควันที่ เคยทอดตั ว หนา ฝุ ่น ควั น ที่ เ คยร้อ น ก็ เ จื อ จาง เบาบางลง หากผิดกับความคิด หรือภาพจ�ำของ บุคคลภายนอกที่มีต่อดินแดนนี้ ซึ่งยังคงเห็นแต่ เพียงม่านควันอันร้อนแรง ผ่านภาพสะท้อนตาม หน้าหนังสือพิมพ์...
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 7
8 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
ช่วงเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมา พื้นที่แห่งนี้จึงทอดตัวอยู่อย่างสมถะ ไม่ได้พึ่งพา ปัจจัยภายนอก ใช้ชวี ต ิ อย่างเรียบง่าย บนวิถเี กษตรกรรม และสัมมาชีพเสริมอืน ่ ๆ จากภูมิปัญญาที่มีในพื้นที่ พื้นที่ต�ำบลตะปอเยาะมีนาข้าว พืชสวนยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิ จหลัก นาข้าวของทีน ่ ี่ จะเริม ่ ช้ากว่าภูมภ ิ าคอืน ่ เพราะฝนรูดม่านหลังทีอ ่ น ื่ ส่วนยางพารานัน ้ วันนี้ราคาตกต�่ำ และมีแนวโน้มจะเป็นเช่นนั้นอีกยาวนาน ชาวบ้านที่นี่จึงต่างมี อาชีพเสริมตามก�ำลังและศักยภาพ ทีโ่ ดดเด่นเลยก็มกี ารสานย่านลิเภา อันเนือ ่ งมาจาก พระราชเสาวนีย์แห่งองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นอกจากนี้ ก็มีกลุ่มท�ำขนม กลุ่มเลี้ยงแพะ หรือการท�ำเกษตรผสมผสาน เป็นต้น คนตะปอเยาะเกื อ บร้อ ยละร้อ ยนั บ ถื อ ศาสนาอิ ส ลาม มี เ พี ย งหนึ่ ง หรื อ สองครอบครัวเท่านั้นที่เป็นไทยพุทธ ซึ่งวิถีของอิสลามเป็นวิถีของการแบ่งปัน สังคมของที่นี่จึงไม่มีภาพของการแข่งขัน ด้วยทุกคนด�ำรงชีวิตด้วยความพอดี อันเห็นได้จากหลายต่อหลายครัง้ ทีพ ่ วกเขาเอ่ยถึงแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่ามกลางสภาวการณ์ทเี่ ป็นอยู่ คนทีน ่ รี่ ้ด ู วี ่า ต้องสร้างการจัดการตนเองให้ได้ เพราะไม่มีใครแล้วที่จะเข้าใจสภาพพื้นที่ดีไปกว่าพวกเขาเอง โดยสิ่งส�ำคัญที่คน ตะปอเยาะมองเห็นเป็นภาพเดียวกัน คือเรื่องการศึกษา ด้วยพวกเขาตระหนักดี ว่า ต้องปลูกเพาะความรู้ให้กบ ั เยาวชน และทีส ่ ำ� คัญคือต้องเป็นไปในครรลองเดียว กับศาสนาอิสลาม เด็กๆ ที่ต�ำบลตะปอเยาะจึงเรียนทั้งความรู้ทั่วไป กับเรียน ศาสนาควบคู่กัน พวกเขามองเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ก�ำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นเสาหลักว่าเป็นก�ำลัง ส�ำคัญในการสร้างการจัดการตนเอง แต่ทงั้ นีก ้ ไ็ ม่ลม ื ประชากรกลุ่มอืน ่ ๆ อาทิ กลุ่ม ผู้สูงอายุ หรือกลุ่มผู้ใหญ่วัยประกอบสัมมาชีพที่ได้พูดถึงไป โดยมีการสนับสนุน ช่วยเหลือในด้านต่างๆ ตามก�ำลัง นัน ่ เป็นเรือ ่ งราวทีไ่ ด้รบ ั รู้มา จากบ้านหนึง่ สู่อก ี บ้าน ทุกคนต้อนรับอย่างเป็นมิตร ขณะที่ระหว่างทางสัญจรไปยังที่ต่างๆ ยังคงมีด่านตรวจเป็นจุด มีในทุกหมู่บ้าน ซึ่งต่อค�ำถามของเรื่องราวเหล่านี้ ค�ำตอบที่ได้ยังคงเป็นรอยยิ้ม เป็นกาแฟสักแก้ว เป็นหมากสักกระดานและเมือ ่ ถึงเวลาพวกเขาก็จะไปมัสยิด เป็นศาสนิกชนทีซ่ อ ื่ ตรง ต่อพระศาสดา และเป็นคนต�ำบลตะปอเยาะที่ร่วมกันสร้างการจัดการตนเอง วันนี้ความจริงที่แท้เป็นอย่างไร คนในพื้นที่รู้ดีที่สุด แต่น่าเสียดายที่พวกเขา ไม่มีโอกาสบอกเล่าเรื่องราวของตัวเอง การเดินทางสู่ตะปอเยาะครั้งนี้ จึงเป็น เสมือนบันทึกบทหนึ่งที่ผู้คนเล่าขาน และมีเรา ในฐานะเพื่อนเป็นผู้จดบันทึก เพื่อ มาเล่าสู่กันฟังอีกทอดหนึ่ง โดยพยายามถ่ายทอดออกมาด้วยความซื่อตรงที่สุด... สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 9
สัInterview มภาษณ์
10 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
3 จุ ดเน้น
อาชี พ การศึกษา และการมีส่วนร่วม อาหะมะ วายะ นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลตะปอเยาะ นายกองค์กรบริหารส่วนต�ำบลตะปอเยาะเป็นคนหนุ่มวัย 30 ปีเศษ อารมณ์ดี วางตัวเรียบง่าย ต้อนรับแขกผู้มาเยือนด้วยความเป็นกันเอง ในชุดละหมาดสีขาว ทันทีทพ ่ี บหน้า เขาทักทายเราด้วยธรรมเนียมของ คนพุทธ ขณะที่เราก็ยกมือไหว้ตามความเคยชิน กว่าจะรู้จักวิธีการ ทักทายตามธรรมเนียมอิสลาม ก็ใช้เวลาไประยะหนึ่งแล้ว เราใช้เวลาพูดคุยกันราวชั่วโมงที่ห้องประชุมองค์การบริหาร ส่วนต�ำบลตะปอเยาะ บรรยากาศเป็นไปด้วยดี ‘สบาย สบาย’ ตามแบบ ฉบับของ อาหะมะ วายะ นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลตะปอเยาะ
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 11
“ผมต้อ งการแก้ไ ขปัญ หาเรื่ อ งปากท้อ ง ของชาวบ้าน เพือ ่ ให้เขามีชวี ต ิ ความเป็นอยู่ทด ี่ ี ขึน ้ ” อาหะมะ วายะ เอ่ยขึน ้ ระหว่างการสนทนา ถึงเรื่องราวของพื้นที่ตะปอเยาะ เป็นเวลาเกือบ 3 ปีแล้ว ทีอ ่ ดีตสถาปนิกผู้นี้ ลงสู่สนามการเมือง และประสบความส�ำเร็จ ทันทีเมื่อลงสมัครชิงต�ำแหน่งนายกองค์การ บริหารส่วนต�ำบลตะปอเยาะ ด้วยความที่ประชากรเกือบทั้งหมดเป็น คนไทยมุสลิม มีเพียงครัวเรือนเดียวทีเ่ ป็นไทย พุทธ เนือ ่ งจากคนจีนทีเ่ คยอาศัยอยู่อพยพย้าย ออกนอกพื้ น ที่ ภ ายหลั ง เกิ ด เหตุ ก ารณ์ใ น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงท�ำให้การบริหารทีน ่ ่ี ขับเคลื่อนได้ง่าย โดยเฉพาะในเรื่องของการ สร้างความเข้าใจ โดยใช้มัสยิดเป็นตัวกลาง ด้วยผู้น�ำศาสนาที่นี่มีอิทธิพลทางความคิดกับ ชาวบ้านค่อนข้างสูง กิจกรรมต่างๆ ที่ อบต.ท�ำ ต่างมีศาสนา เชื่อมร้อยทั้งสิ้น โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา ซึ่ง นายกฯ มองว่าเป็นกลไกส�ำคัญทีจ่ ะท�ำให้พน ี่ ้อง ในพืน ้ ทีเ่ กิดการพัฒนา และสามารถต่อยอดไป สู่เรือ ่ งอืน ่ ๆ ได้อก ี มาก ทัง้ เรือ ่ งเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม 12 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
“ถ้าเราจะยกระดับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น เราต้องเติมความรู้ให้เขา เพือ ่ สร้างการตกผลึก ทางความคิดจากการใช้เหตุและผล สมัยที่ผม ยังไม่เป็นนายกฯ คนที่นี่เขาไม่ค่อยสนใจเรื่อง การศึกษา จะมุ่งไปแต่เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน เป็นหลัก ทั้งที่ความจริง เรื่องการศึกษา เรื่อง คุณภาพชีวต ิ เรือ ่ งเด็กและเยาวชน เรือ ่ งผู้สงู อายุ ก็มีความส�ำคัญไม่แพ้กัน เพราะฉะนั้นตอนที่ ผมลงสมัครรับเลือกตัง้ นโยบายแรกทีเ่ สนอเลย ก็คอ ื สิง่ ทีย ่ งั ไม่มี เราจะท�ำให้มี ส่วนสิง่ ทีม ่ แ ี ล้ว เราก็จะท�ำให้มันดีขึ้น” อาหะมะว่า จากการท�ำงานอย่างต่อเนือ ่ ง จึงเกิดความ เปลี่ยนแปลงในพื้นที่ ที่สังเกตได้ชัดคือเรื่อง มาตรฐานการศึกษาที่สูงขึ้น โดยเฉพาะเรื่อง ภาษาอั ง กฤษ ด้ว ยยุ ค นี้ เ ป็น ยุ ค ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน ประกอบกับจังหวัดนราธิวาส มีพรมแดนติดอยู่กบ ั ประเทศมาเลเซีย จึงจ�ำเป็น ต้องพัฒนาความรู้ด้านภาษา แน่นอนว่าโรงเรียน ของ สพฐ. มีหลักสูตรภาษาอังกฤษอยู่แล้ว แต่ ของทีต ่ ะปอเยาะ ภาษาอังกฤษได้รบ ั การบรรจุ เข้าไปในโรงเรียนตาดีกา (โรงเรียนสอนศาสนา อิสลามเบื้องต้น) แล้ว เพื่อรองรับกับความ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่เพียงภาษาอังกฤษเท่านั้น ภาษาที่ 5 ก็ เป็นอีกเรือ ่ งทีน ่ ายกฯ ให้ความสนใจ โดยมีการ ส่งเสริมให้คนเรียนภาษาจีนมากขึน ้ จากเดิมที่ มีเพียงภาษาไทย มลายู อาหรับ และอังกฤษ เพราะคนในประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์มี คนจีนอาศัยอยู่เป็นจ�ำเป็นมาก ยิ่งรู้ภาษาจีน ด้วย ยิ่งสร้างความได้เปรียบมากขึ้น
“เรื่ อ งภาษามลายู เราไม่ห ่ว งอยู ่แ ล้ว เพราะเป็นภาษาถิ่น พูดกันติดปาก แต่เรามอง ว่าการค้าขายในชายแดน ตามพืน ้ ทีส ่ ไุ หงโก-ลก พ่อค้าทีม ่ าจากมาเลเซียพูดภาษาจีนกัน เพราะ ฉะนั้นถ้าพูดจีนได้ก็มีโอกาสมากขึ้น ที่ส�ำคัญ ไม่ใ ช่แ ค่ค วามรู ้เ ท่า นั้ น แต่เ ราต้อ งสร้า ง กระบวนการคิดให้เกิดขึ้นด้วย ไม่เช่นนั้นเขาก็ จะถูกหลอกอยู่เรื่อยไป” เช่นเดียวกับปัญหาเรือ ่ งปากท้อง ประชาชน กว่า ร้อ ยละ 80 ของที่ นี่ ท� ำ สวนยางพารา เพราะฉะนัน ้ ช่วงทีร่ าคายางพาราตกต�ำ่ เช่นวันนี้ คนทีน ่ จี่ งึ มีปัญหาเรือ ่ งสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ กันมาก แน่นอนว่า การแก้ไขปัญหาเรื่องราคา ยางโดยตรงคงเป็น ไปไม่ไ ด้ แต่น ายกฯ ก็ พยายามสร้างนโยบายอืน ่ ๆ อย่างการท�ำอาชีพ เสริ ม เพื่ อ ท� ำ ให้ป ัญ หาทุ เ ลาลง และวาง แนวทางเพื่อต่อยอดไปสู่ความยั่งยืนได้ “ตอนนี้เราพยายามฟื้นฟูกลุม ่ ที่เคยหยุด ไปแล้วให้กลับมาใหม่ อย่างกลุ่มเลีย ้ งแพะ การ แปรรูปนมแพะ หรือบางกลุ่มทีเ่ ขาไม่ได้รวมกัน เราก็เข้าไปสนับสนุนเพื่อให้เขามีพลังมากขึ้น เช่น กลุ่มผู้สงู อายุ กลุ่มแพทย์แผนโบราณ โดย จัดสรรงบประมาณเข้าไปช่วย ผ่านการอบรม ฝึกอาชีพ ส่วนกลุ่มที่มีพลังอยู่แล้ว ก็ต้องยก จุ ด เด่น ให้ป รากฏชั ด ยิ่ ง ขึ้ น เพราะในพื้ น ที่ ตะปอเยาะมีหลายกลุ่มทีโ่ ดดเด่น และมีผลงาน ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ แต่ไม่เคยมีใครหยิบขึ้นมา แสดงให้เห็นสักที เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของ อบต.ที่จะต้องยื่นมือเข้ามาช่วยด้วย”
ขณะที่เรื่องที่ดน ิ ท�ำกินก็เช่นเดียวกัน ต้อง ยอมรับว่า พืน ้ ทีต ่ ะปอเยาะมีทด ี่ น ิ ท�ำกินค่อนข้าง น้อย เพราะด้านหนึ่งติดกับพื้นที่ป่า อุทยาน บูโด-สุไหงปาดี ท�ำให้ประชาชนไม่สามารถ เข้าไปใช้ได้ แต่ตอนนีก ้ ม ็ ก ี ลุ่มเคลือ ่ นไหวเข้าไป ช่ว ยพู ด คุ ย โดยเราก็ พ ร้อ มสนั บ สนุ น เต็ ม ที่ เพราะก่อนหน้านี้ พื้นที่อีกฝั่งที่เคยเป็นป่าพรุ ซึ่ ง เป็น ของนิ ค มบาเจาะ ก็ มี ก ารขอพื้ น ที่ ใ ห้ ประชาชนได้ท�ำเกษตรกรรมไปบ้างแล้ว นอกจากนี้ นายกฯ มองว่า การมีส่วนร่วม ของทุ ก ภาคส่ว นในสั ง คมเป็น สิ่ ง ที่ จ ะน� ำ พา ความเจริ ญ มาสู ่ต� ำ บลแห่ง นี้ ไ ด้อ ย่า งยั่ ง ยื น เพราะฉะนั้ น ฝ่า ยท้อ งถิ่ น ที่ นี่ จึ ง ไม่เ น้น การ ผู ก ขาดความคิ ด โครงการต่า งๆ ที่ มี ผ ลต่อ ประชาชน จ�ำเป็นต้องได้รบ ั ความเห็นชอบ เพือ ่ ให้ตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาได้ อย่างตรงจุด “ผมคิ ด อย่า งเดี ย วว่า ตั ว เองเป็น เพี ย ง ตั ว เชื่ อ มที่ ค อยประสานแต่ล ะกลุ ่ม ให้ไ ปถึ ง เป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ เพราะฉะนั้นการตื่นตัว ของเขาจึงเป็นปัจจัยที่ส�ำคัญมาก เขาต้องมา ร่วมคิดกับเราไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม คือ เปลีย ่ นจากความเป็นประชาชนธรรมดาให้เป็น พลเมื อ ง ที่ ส� ำ คั ญ เราโชคดี เ พราะเรามี ผู ้น� ำ หลายกลุ่มอยู่ในพื้นที่ เช่น ประธานกรรมการ อิสลามจังหวัดนราธิวาส ศิลปินพื้นบ้าน ผู้น�ำ ทางศาสนาอี ก หลายต่อ หลายคน ซึ่ ง บุ ค คล เหล่านี้เอง ที่มีส่วนช่วยเสริมความเข้มแข็งให้ เกิดขึน ้ ในพืน ้ ที”่ นายกฯ อาหะมะทิง้ ท้ายถึงการ ท�ำงานของตัวเองด้วยรอยยิ้ม... สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 13
บริหาร จั ดก าร ตามวิถีมุสลิม
14 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
วิ ถี ชี วิ ต ของคนนั บ ถื อ อิ ส ลามนั้ น มี ค วาม น่าสนใจ ด้วยหลักศาสนาอิสลามนัน ้ มีระเบียบ วิถท ี ค ี่ ่อนข้างเคร่งครัด แต่กบ ั การบริหารรัฐกิจ แล้ว ก็ยังคงยึดโยงอยู่กับหลักกฎหมายของ ประเทศ มีระบบบริหารจัดการทีเ่ หมือนกับพืน ้ ที่ อืน ่ ๆ เว้นเสียแต่ว่าส�ำหรับทีน ่ ี่ มัสยิดจะเข้ามา มีบทบาทค่อนข้างมาก ในฐานะศูนย์รวมใจของ ผู้คน ทัง้ เป็นศูนย์กลางของการด�ำรงชีวต ิ ⛅
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 15
สภาซู รอ
“...และจงปรึ ก ษาหารื อ กั บ พวกเขาใน กิจกรรมทั้งหลาย ครั้นเมื่อเจ้าได้ตัดสินใจแล้ว ก็จงมอบหมายแด่อัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์ ทรงรั ก ใคร่ผู ้ม อบหมายทั้ ง หลาย...” (อาลี อิมรอน 159) ถ้อยค�ำที่กล่าวไว้ในบทบัญญัติของคัมภีร์ อัลกุรอาน ซึ่งเล่าถึงแนวทางการปฏิบัติงานใน องค์กร ว่าควรใช้หลักการบริหารแบบปรึกษา หารือกัน เพือ ่ ให้งานนัน ้ ประสบความส�ำเร็จไป ด้วยดี และนั่นนับเป็นหัวใจส�ำคัญที่องค์การ บริหารส่วนต�ำบลตะปอเยาะ ในยุคสมัยของ นายกฯ อาหะมะ วายะ หยิ บ ขึ้ น มาใช้เ ป็น กุญแจส�ำคัญในการบริหาร ค�ำว่า ‘ซูรอ’ นี้ หมายถึงการปรึกษาหารือกัน เพราะฉะนั้ น สภาซู ร อ จึ ง เป็น พื้ น ที่ ที่ ผู ้ค น หลากหลายเข้ามาประชุมพูดคุย แลกเปลี่ยน ความคิดซึ่งกันและกัน “ตอนนั้ น นายกฯ มี ค วามคิ ด ว่า จะท� ำ อย่างไรให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด ทั้ง การร่วมคิด และสร้างกระบวนการ โดยมีผู้นำ� ่ ท�ำงานร่วมกัน ทัง้ ฝ่ายศาสนา ปกครอง ท้องถิน ในที่ สุ ด จึ ง รวมบุ ค คลเหล่า นี้ ม าอยู ่ใ นกลุ ่ม เดี ย วกั น และมี ก ารประชุ ม ปรึ ก ษาหารื อ ใน รู ป แบบของสภา” อั ส มี มะยู โ ซ๊ะ หั ว หน้า 16 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
ส�ำนักงานปลัด อบต.ตะปอเยาะกล่าว ปัจ จุ บั น สภาซู ร อมี 2 ระดั บ คื อ ระดั บ หมู ่บ ้า น ซึ่ ง จะมี ผู ้ใ หญ่บ ้า น ผู ้ท รงคุ ณ วุ ฒิ ประธานประชาคม อิหม่ามในพื้นที่ รวมไปถึง ตัวแทนประชาชน ร่วมประชุมกันน�ำเสนอเรือ ่ ง ต่างๆ ภายในหมู่บ้าน เช่น ปัญหาเรื่องอาชีพ ปัญ หาอาชญากรรม หรื อ มี ค วามต้อ งการ งบประมาณเพิ่มเติม เพื่อท�ำกิ จกรรมต่างๆ โดยจะมีความร่วมมือกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ทหาร ต�ำรวจ หรือ อบต. เพื่อเดินหน้า ต่อไปได้เร็ว อีกส่วนคือสภาซูรอระดับต�ำบล ส่วนนี้มี กรรมการทั้งหมด 25 คน มี นายก อบต. เป็น ประธานกรรมการ ส่วนกรรมการประกอบด้วย บุคลากรจาก อบต. เช่น รองนายกฯ ปลัด อบต. นิติกร แล้วก็มีสมาชิกสภา อบต. ผู้ทรงคุณวุฒิ จากหมู ่บ ้า นต่า งๆ พั ฒ นาการอ� ำ เภอยี่ ง อ ผู้อำ� นวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล เกษตรกรประจ� ำ ต� ำ บล ผู ้จั ด การไฟฟ้า ส่ว น ภูมภ ิ าคอ�ำเภอยีง่ อ ปลัดอ�ำเภอ ท้องถิน ่ อ�ำเภอ ยี่งอ ผู้อำ� นวยการโรงเรียนทุกโรงในเขตต�ำบล ผู้รบ ั ใบอนุญาตหรือผูแ ้ ทนโรงเรียนเอกชนสอน ศาสนาในพืน ้ ที่ ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประธานหรือ รองประธานประชาคมหมู่บ้านต่างๆ โต๊ะอิหม่าม
ประจ� ำ มั ส ยิ ด ต่า งๆ ฯลฯ ซึ่ ง เข้า มามี ห น้า ที่ ส� ำ คั ญ ในการท� ำ แผนงบประมาณท้อ งถิ่ น ข้อบัญญัติต่างๆ ในพื้นที่ รวมไปถึงปัญหาซึ่ง ไม่สามารถแก้ไขในระดับหมู่บ้านได้ “งบประมาณที่ ท าง อบต. ตั้ ง ได้ แล้ว สามารถแก้ป ัญ หาได้ก็ จ ะจั ด ตั้ ง ให้ เช่น ถ้า หมู่บ้านหนึ่งไม่มีรายได้ ท่านนายกฯ ก็จะให้ งบประมาณส่ง เสริ ม อาชี พ ถ้า เป็น ปัญ หา อาชญากรรมก็จะท�ำงานร่วมกับต�ำรวจ ส่วนเรือ ่ ง ยาเสพติด ก็จะดึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ แล้วหาทางออกร่วมกัน โดยใช้กระบวนการ ซูรอนี้” หัวหน้าส�ำนักปลัดขยายความ ทัง้ นีจ้ ะมีการประชุมทุกเดือน ที่ อบต. การ ตัดสินใจใดๆ จะอิงเสียงส่วนใหญ่และความเห็น ของกรรมการ เพราะทีน ่ ี่ ‘ยึดหลักศาสนา สร้าง การมีส่วนรวม เชิดชูผู้สำ� เร็จ’ ตลอดระยะเวลาเกือบ 3 ปีที่เกิดสภาซูรอ ขึน ้ นับว่าสร้างความเปลีย ่ นแปลงให้เกิดขึน ้ กับ พื้นที่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะความมีส่วนร่วม
ของประชาชนที่เพิ่มพูนขึ้น ด้วยทุกคนต่างมี ส่ว นร่ว มในการก� ำ หนดทิ ศ ทางของท้อ งถิ่ น ไม่ใช่ว่าการตัดสินใจทั้งหมดจะอยู่ที่คนกลุ่ม เดี ย วอี ก ต่อ ไป เนื่ อ งจากการใช้วิ ธี ก ารเดิ ม บางทีก็ไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการ หรือแก้ ปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง ดังจะเห็น จากหลายโครงการที่เกิดขึ้นและหายไปอย่าง รวดเร็ว ขณะเดี ย วกั น ที่ นี่ ยั ง เป็น เวที ที่ มี ค วาม หลากหลาย เพราะกรรมการในสภาฯ เกีย ่ วเนือ ่ ง และครอบคลุ ม ทุ ก กลุ ่ม ไม่ว ่า จะเป็น เรื่ อ ง เกษตรกรรม การพัฒนาด้านต่างๆ ทัง้ โครงสร้าง พื้นฐาน หรือคุณภาพชีวิต เท่ากับว่าปัญหา ความเดือดร้อนของประชาชนได้สะท้อนไปสู่ บุคคลทีม ่ ห ี น้าทีร่ บ ั ผิดชอบโดยตรง จึงสามารถ แก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนีป ้ ระชาชน ยังสามารถตรวจสอบการท�ำงานของภาครัฐ และท้องถิ่นได้อย่างใกล้ชิดด้วย...
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 17
มัสยิดสานใจ
18 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
เวลาราวทุ่มนิดๆ ชายหนุ่มนับสิบชีวิตมา รวมตัว ณ มัสยิดนูรุลอิฮซาน แห่งบ้านบลูกา หมู่ที่ 3 เพื่อมาละหมาดอย่างพร้อมเพรียงกัน ด้ว ยท่า ที ส งบนิ่ ง ซึ่ ง เป็น เวลาเกื อ บสาม ทศวรรษแล้ว ที่ มั ส ยิ ด แห่ง นี้ ถื อ ก� ำ เนิ ด ขึ้ น ใน ฐานะศูนย์รวมจิตใจของคนในพื้นที่เสมอมา
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 19
หะมะ ดาโอะ
“หลายคนเรี ย กที่ นี่ ว ่า เป็น มั ส ยิ ด สานใจ เพราะทีน ่ เี่ ป็นศูนย์รวมในการสร้างความสามัคคี หลายๆ อย่าง เช่น ช่วงเดือนรอมฎอน ก็จะมี การเปิดบวช (เปิดปอซอ หรือละศีลอด โดยทัว่ ไป จะละศีลอดหลังพระอาทิตย์ตกดิน ซึง่ จะมีเวลา ทีแ ่ น่นอนแตกต่างกันไปในแต่ละวัน) พร้อมกัน ขณะเดียวกัน ถ้าไม่ใช่เดือนรอมฎอนก็จะมีการ ท�ำกิ จกรรมอย่างอื่น ทั้งการนะวะ หรือการ ขัดเกลาเยาวชน มีการบรรยายธรรม สอนเรือ ่ ง ของศาสนา รวมถึ ง การสอนอ่า นอั ล กุ ร อาน ด้วย” หะมะ ดาโอะ อิหม่ามประจ�ำมัสยิด นูรุลอิฮซาน เล่าให้ฟังผ่านล่ามภาษามลายู ทีน ่ ใี่ ห้ความใส่ใจในเรือ่ งความร่วมไม้รว่ มมือ ของทุกคน สัมผัสได้จากหลายๆ กิจกรรมที่มี เพียงที่นี่แห่งเดียวที่ท�ำ อย่างเช่นเวลามีคน เสียชีวิต ปกติต้องมีคนมาเฝ้าศพ ซึ่งหากเป็น ที่อื่นก็จะใช้วิธีจ้าง แต่ที่นี่ใช้จิตอาสา โดยจะมี การจัดเวรกันเฝ้าศพตลอดเวลาที่ศพตั้งอยู่ที่ มัสยิด เช่นเดียวกับทุกวันศุกร์ทม ี่ ก ี ารละหมาด ใหญ่ ผู ้ช ายทุ ก คนต้อ งออกมาท� ำ ละหมาด ร่วมกัน ซึ่งนี่ก็เป็นการจุดประกายให้เยาวชน เข้าร่วมด้วย 20 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
“ทุกสัปดาห์จะมีการขัดเกลา เช่น หากเรา เป็นคนขี้เกียจละหมาด พอถึงวันศุกร์ก็จะรู้สึก ขึ้ น มาว่า ถ้า ไม่ล ะหมาดก็ จ ะเป็น บาปนะ นอกจากนีเ้ รายังมีการประชาสัมพันธ์กน ั ตลอด ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบวช หรือการท�ำกิจกรรม อาซูรอนาบีก็จะท�ำที่นี่เหมือนกัน” ส�ำหรับกิ จกรรมอาซูรอนาบี มีที่มาจาก การเกิดน�ำ้ ท่วมใหญ่สมัยท่านนาบี สร้างความ เสียหายแก่ทรัพย์สินและไร่นาของประชาชน อย่างถ้วนหน้า หลายคนไม่มอ ี าหารประทังชีวต ิ ท่านนาบีเลยประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของเหลือพอ รับประทานมารวมกองกัน แล้วน�ำทั้งหมดมา กวนเข้าด้วยกัน เพือ ่ ให้ทก ุ คนได้รบ ั ประทาน ซึง่ ชาวบ้านที่นี่ก็น�ำอาหารทั้งคาวและหวานมา รวมกัน โดยการกวนนี้จะใช้คนในหมู่บ้านมา ช่ว ยกั น คนละไม้ค นละมื อ เพื่ อ สร้า งความ สามัคคีและความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน “อาซูรอนีเ้ ราท�ำเป็นของหวาน คือในเดือน 10 ของอิสลาม จะมีการท�ำอาซูรอกันวันหนึ่ง จะวันไหนก็ได้ โดยเราจะมีการไปหยิบของจาก ในบ้าน เช่น คนนัน ้ มีกล้วย คนนีม ้ ถี วั่ ฉันมีขา้ วสาร
ซูมียา ดาโอะ
ก็ เ อามาใส่ใ นถาดเดี ย วกั น แล้ว เราก็ ต อ ้ ง ช่วยกันกวนจนได้อาซูรอขึน ้ มา” ซูมย ี า ดาโอะ ครู ส อนภาษาอั ง กฤษ ในฐานะของลู ก สาว โต๊ะอิหม่ามช่วยอธิบาย นอกจากนี้ยังมีการสอนกีรออาตี หรือการ อ่านคัมภีร์อัลกุรอาน ทุกเย็นวันจันทร์-ศุกร์ มี การสอนตาดีกา หรือหลักการด�ำเนินชีวต ิ อิสลาม เบื้องต้น ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และยังมีระบบ เสียงตามสาย มีบรรยายเรื่องศาสนาอิสลาม ทุกวันศุกร์-อาทิตย์ ก่อนละหมาดตอนเช้า นอกจากนี้ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา มัสยิด หมู ่ 3 ยั ง มี ก ารสอนภาษาอั ง กฤษ ในช่ว ง โรงเรียนปิดภาคเรียน ในช่วงเดือนเมษายน จัดสอนต่อเนื่องกัน 10 วัน โดยเน้นบทสนทนา ปัจ จุ บั น มี เ ด็ ก มาเรี ย นประมาณ 40 คน มี การบ้านให้ท�ำ โดยซูมียาจะเป็นคนตรวจและ ประเมินความรู้ของแต่ละคนว่าเป็นเช่นใด นีเ่ ป็นเพียงเสีย ้ วเดียวของกิจกรรมทัง้ หมด ที่มัสยิดแห่งนี้ได้จัดขึ้น ซึ่งด้วยความร่วมมือ เช่นนี้เอง ที่ท�ำให้มัสยิดแห่งนี้ได้กลายมาเป็น แหล่งเรียนรู้ให้กับพื้นที่อื่นๆ ได้เข้ามาศึกษา...
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 21
ตะปอเยาะเอฟซี ถึ ง จะได้ชื่ อ ว่า ชมรมฟุ ต บอล แต่ ความจริงแล้วเบื้องลึกของชมรมนี้มีอะไร อีกมากที่หลายคนไม่รู้
มูฮัมหมัดรอซี ปูตะมะ ประธานชมรม ฟุตบอลตะปอเยาะเอฟซี บอกว่าทีมฟุตบอลนี้ ก่อตัง้ ขึน ้ มาตัง้ แต่ปี 2551 โดยเริม ่ แรกตัง้ ใจจะ ท�ำเป็นทีมเยาวชน แต่ทำ� แล้วไม่ได้ผล เพราะ เยาวชนสนแต่เรือ ่ งกีฬาอย่างเดียว เรือ ่ งอืน ่ ไม่สน ก็เลยเปลีย่ นกลุ่มเป้าหมายมาท�ำกับกลุ่มผู้สงู อายุ แทน โดยชักชวนด้วยการเชิญรับประทานอาหาร เริม ่ ต้นมีคนมาร่วมประมาณ 20 คน มีการลงเตะ เป็นประจ�ำทุกเดือน แข่งครึ่งละประมาณ 10 นาที เดือนหนึ่งไม่ต�่ำกว่า 2 ครั้ง ซึ่งพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่องฟุตบอลอาวุโส เป็นที่นิยมมาก ที่ ส� ำ คั ญ กิ จ กรรมนี้ ยั ง เป็น การพั ฒ นา ศักยภาพของบุคคลไปในตัว อย่างเมื่อก่อน ผู้อาวุโสหลายคนไม่ค่อยละหมาด แต่พอแข่ง ไปแล้ว จะมี ช ่ว งเวลาที่ นั ก เตะต้อ งละหมาด นักฟุตบอลสูงวัยจึงต้องละหมาดโดยปริยาย นอกเหนื อ จากการพั ฒ นาด้า นกี ฬ าแล้ว ชมรมนี้ยังตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการรวม กลุ่มชาวบ้านให้เป็นปึกแผ่นและกลายมาเป็น พลังทางสังคมอีกด้วย “สาเหตุจริงๆ ที่ท�ำเพราะต้องการแก้ไข เรือ ่ งถนนหนทาง เพราะทีบ ่ ้านตะปอเยาะ หมู่ที่ 1 ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อเต็มไปหมด แล้วชาวบ้าน เดือดร้อนกันมามากกว่า 20 ปี บางครั้งก็ไป 22 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
มูฮัมหมัดรอซี ปูตะมะ
หาผู้หลักผู้ใหญ่ ซึง่ รับผิดชอบอยู่ แต่กไ็ ม่ได้รบ ั การตอบรับ ถูกปฏิเสธมาตลอด ด้วยเหตุผลว่า ไม่มีงบประมาณ เราก็เลยกลับมาคิดว่าจะท�ำ อย่างไรดี แล้วช่วงนัน ้ เราไม่มช ี มรมอะไรเลย ก็ เลยตั้งชมรมฟุตบอล เพราะคนที่นี่ชอบเตะ บอล” มูฮัมหมัดรอซี เล่า หลายคนอาจยังสงสัยว่าสองเรือ ่ งนีเ้ ชือ ่ มโยง กันอย่างไร มูฮม ั หมัดรอซี จึงฉายภาพเพิม ่ เติม ว่า ชมรมนี้ เ ป็น เครื่ อ งมื อ ในการขั บ เคลื่ อ น กิจกรรมต่างๆ ของชาวบ้าน รวมไปถึงเป็นพลัง ในการดันปัญหาต่างๆ ให้หน่วยงานภายนอก รับทราบ เพราะช่วงทีม ่ ก ี ารรวมตัวก็จะมีพด ู คุย ถึงปัญหาที่เกิ ดขึ้น และชักชวนให้เห็นความ ส�ำคัญว่า หากปล่อยให้ปัญหาเป็นแบบนีจ้ ะส่ง ผลเสียอย่างไร “เรามีการจัดอบรมจริยธรรมกันเดือนละ ครัง้ โดยร่วมกับโต๊ะอิหม่าม มานอนกินอยู่ร่วมกัน ที่มัสยิดดารุลอามาน ก่อนนอนมีรับประทาน อาหาร สร้างไมตรี สร้างความสามัคคี ตืน ่ ตีสาม เชิญนักวิชาการมาบรรยายธรรม แล้วรุ่งขึน ้ ก็มี การเชิญประธานคณะกรรมการอิสลามประจ�ำ จังหวัดนราธิวาส ซึง่ อยู่ทต ี่ ะปอเยาะมาร่วมด้วย ซึง่ กิจกรรมเหล่านีเ้ ราจะแจ้งไปทีอ ่ ำ� เภอ ทหาร ต�ำรวจ เพื่อไม่ให้เกิดความแตกตื่นหรือคิดว่า เราปลุกระดมอะไร” มูฮม ั หมัดรอซีขยายความ
เมือ ่ ท�ำกิจกรรมมากขึน ้ ก็ทำ� ให้กลุ่มมีพลัง เพียงพอที่จะเรียกร้องบอกความต้องการได้ “ตอนปี 2557 เราเชิญ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ซึง่ ตอนนัน ้ ยังเป็นเลขา ศอ.บต. (ศูนย์อำ� นวยการ บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้) ให้มารับประทาน อาหารทีบ ่ ้านกับชาวบ้านเพือ ่ สร้างความสัมพันธ์ กับชุมชน แต่ระหว่างเดินทางมา ท่านก็ได้เห็น ว่าถนนหนทางนั้นเป็นอย่างไร หลังจากนั้นเรา ก็นำ� เสนอปัญหาต่างๆ ที่เราต้องเจอ หลังจาก นั้นไม่กี่วัน ทาง ศอ.บต.ก็ให้งบประมาณผ่าน โยธาธิการจังหวัด เพือ ่ ปรับปรุงถนนจนสามารถ สัญจรได้อย่างสะดวกสบายเช่นวันนี้” นอกจากนี้ การช่ว ยเหลื อ ตั ว เองก็ เ ป็น สิ่งส�ำคัญมาก เรื่องไฟฟ้า เมื่อก่อนที่หมู่ 1 จะ ดับตลอด เพราะมีต้นไม้เยอะมาก กิ่งล้มพาด สายไฟ ก็มก ี ารระดมสมาชิกชมรมกว่า 60 คน มาช่วยกันตัดต้นไม้ทพ ี่ าดกิง่ หรือรบกวนสายไฟ ออกให้หมด ส่วนแผนการในอนาคตนั้น ประธานบอก ว่า เรื่องกีฬายังเน้นมากเหมือนเดิม โดยจะมี การสนับสนุนกีฬาใหม่ๆ และจะหันกลับไปเน้น ที่กลุ่มเยาวชนมากขึ้น เช่น ปิงปอง หรือแม้แต่ ฟุตบอลเองก็ตาม เพราะทุกวันนีเ้ ยาวชนได้เห็น การขับเคลือ ่ นของผู้สงู อายุแล้ว ก็น่าจะเกิดแรง บันดาลใจทีอ ่ ยากท�ำดีเพือ ่ สังคมขึน ้ มาเช่นกัน... สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 23
มัสยิดดารู ลฮุ ดา มัสยิดต้นแบบ
ด้ว ยความที่ ห มู ่ที่ 1 บ้า นตะปอเยาะ (ตะโละมีญอ) มีพื้นที่กว้างใหญ่กว่าบ้านอื่น บวกกับความไม่สมบูรณ์ของพื้นถนน ท�ำให้ ชาวบ้านอีกฟากหนึง่ ตัดสินใจระดมเงินทุนเพือ ่ สร้า งมั ส ยิ ด แห่ง ใหม่ขึ้ น มาแทนในปี 2531 โดยใช้เวลาสร้างอยู่ปีเต็มๆ จึงแล้วเสร็จ โดยมี บือราเฮง สามะแต เป็นโต๊ะอิหม่ามประจ�ำ มัสยิด ทว่าความน่าสนใจของมัสยิดแห่งนี้ ไม่ใช่ เพียงแค่การเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนเท่านัน ้
24 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
แต่ยั ง สั ม พั น ธ์ไ ปถึ ง วิ ธี ก ารบริ ห ารมั ส ยิ ด ที่ สามารถยกระดับชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะกับ กลุ ่ม คนที่ เ คยเป็น กลุ ่ม เสี่ ย งให้ก ลายเป็น พลเมืองที่คุณภาพ ช่วงแรกมีการเชิญวิทยากรจากต่างถิ่นมา บรรยายความรู้ความเข้าใจทางศาสนา เมื่อ ผู ้ค นเริ่ ม เข้า มั ส ยิ ด มากขึ้ น ทางโต๊ะ อิ ห ม่า ม รวมไปถึงนักวิชาการในพื้นที่ก็คอยท�ำหน้าที่ บรรยายธรรมอย่างต่อเนือ ่ งสัปดาห์ละหนึง่ ครัง้ รวมไปถึงการจัดประชุมชาวบ้าน เพื่อช่วยกัน เยียวยาปัญหาต่างๆ ในพื้นที่
หนึ่งในผลงานที่ถือเป็นรูปธรรมที่สุด คือ ศูนย์อบรมจริยธรรมดารูลฮุดา ซึง่ เปิดด�ำเนินการ มาตั้งแต่ปี 2548 เป็นแนวคิดของโต๊ะอิหม่าม ที่อยากให้มีการศึกษาศาสนาในพื้นที่มากขึ้น โดยเริ่มแรกเป็นโรงเรียนสอนตาดีกา สามารีหย๊ะ สาอิ ครูผู้สอนประจ�ำศูนย์ อบรมจริยธรรมดารูลฮุดา เล่าว่าหลักสูตรนี้ แบ่ง การสอนออกเป็น 8 กลุ ่ม สาระวิ ช า ประกอบด้วยวิชาศาสนบัญญัติ วิชาศาสนประวัติ วิชาจริยธรรม วิชาอัลกุรอาน วิชาภาษามลายู และรูมี วิชาภาษาอาหรับ วิชาหลักศรัทธา และ วิชาคัดลายมือ โดยการเรียนนีจ้ ะเป็นระดับช่วง ชั้นต้น เรียนด้วยกัน 6 ปี “เรื่องช่วงชั้น เทียบได้กับช่วงชั้นประถม ของสายสามัญ โดยอายุก็อาจจะใกล้เคียงกัน เพราะหลังจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก็จะมี การสอบ I-Net (Islamic National Educational Test) หรื อ การทดสอบ ทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอิสลามศึกษา จัดโดย สมศ. (ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา) แต่สิ่งหนึ่งที่ต่าง จากแบบสามัญ คือเรามีซำ�้ ชัน ้ ซึง่ เด็กทีส ่ อบตก ก็ไม่สิทธิ์สอบ I-Net ซึ่งคนที่สอบผ่านเราจะมี วุ ฒิ บั ต รให้ สามารถเอาไปศึ ก ษาต่อ กั บ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในระดับ ตอนกลางและปลาย”
บือราเฮง สามะแต
สามารีหย๊ะ สาอิ
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 25
อันวาร์ ตวันตีมุง
นอกจากการพั ฒ นาด้า นการเรี ย นแล้ว ปัจ จุ บั น ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการส่ง เสริ ม การศึกษาเอกชน (สช.) ยังเข้ามาตรวจสอบ คุณภาพของครูด้วย โดยคะแนนของ I-Net จะ เป็นตัวชี้วัดว่า การสอนในโรงเรียนตาดีกานั้น เป็นอย่างไร ซึง่ ทีศ ่ น ู ย์อบรมจริยธรรมดารูลฮุดา สามารถผลิตนักเรียนจนติดอันดับของอ�ำเภอ ยี่งอ ขณะที่ตัวของสามารีหย๊ะเองก็ได้รับการ ยกย่อ งให้เ ป็น ครู ผู ้ส อนดี เ ด่น ระดั บ อ� ำ เภอ ประจ�ำปี 2556 ปัจจุบน ั ศูนย์อบรมจริยธรรมดารูลฮุดาเปิด เรียนทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เปิดสอนตัง้ แต่ 8 โมง ครึง่ จนถึง 4 โมงเย็น ไม่มก ี ารเก็บค่าเรียนใดๆ เพราะทาง สช. เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องเงินเดือน ครู เดือนละ 3,000 บาท มัสยิดแห่งนี้ยังมีการสอนกีรออาตี หรือ สอนการอ่านภาษาอาหรับ เปิดสอนราวๆ ปี 2553 เป็นการสอนช่วงเย็นหลังละหมาดเวลา 18.30 นาฬิ ก าทุ ก วั น ยกเว้น วั น ศุ ก ร์ แบ่ง ห้องเรียนออกเป็น 2 ห้อง คือห้องเด็กอายุ ตัง้ แต่ 7-12 ปี อีกห้องเป็นผู้ใหญ่ เก็บค่าเรียน คนละ 20 บาทต่อเดือน
26 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
“ตอนทีเ่ ริ่มท�ำกีรออาตีเมื่อประมาณ 4-5 ปีก่อน ชุมชนเราเคยมีปัญหา เอาง่ายๆ ตั้งแต่ เด็กวัยรุ่นไม่ได้เรียน แล้วยิ่งพวกเด็กเกเรนะ ศาสนาก็ไม่เรียน สามัญพอเรียนชัน ้ มัธยมศึกษา ปีท1ี่ -2 ก็ออกกลางคัน มีปัญหาเรือ ่ งยาเสพติด ทีนผ ี้ ้ป ู กครองกับคณะกรรมการมัสยิดก็เลยมา นัง่ คุยกันว่า หมู่บ้านเราจะอยู่ในลักษณะนีไ้ ม่ได้ แล้ว เพราะสถานการณ์มน ั รุนแรงจนมีชอ ่ื เสียง ในด้านลบมากๆ เราก็เลยจุดประกายด้วยการ ไปดู ง านที่ มั ส ยิ ด บ้า นเหนื อ จั ง หวั ด สงขลา
เพราะที่ นั่ น เขาจั ด การชุ ม ชนดี โดยมี ค ณะ กรรมการมัสยิดเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งของเราก็ เด่นเรื่องศาสนาเหมือนกัน แต่อาจจะมีปัญหา เรื่ อ งการสื่ อ สารที่ บ กพร่อ ง ท� ำ ให้ร ะบบมี ปัญหา เลยมีการเปิดกีรออาตีขึ้นมา ซึ่งเรา พยายามท� ำ ให้ส นุ ก ด้ว ยการแทรกกิ จ กรรม หลายๆ อย่างลงไป ให้เขาอยากมาเรียนมาก ขึ้น” อันวาร์ ตวันตีมุง ประธานกลุ่มมัสยิด ต้นแบบเล่าให้ฟัง การสอนกี ร ออาตี นี้ นอกจากจะท� ำ ให้ เยาวชนได้ใ ช้เ วลาว่า งให้มี ป ระโยชน์ ยั ง เป็นการปลูกความรักเรือ ่ งศาสนาให้ปรากฏขึน ้ ตั้งแต่วัยเยาว์ ที่ส�ำคัญหลายๆ ครั้งเวลาที่เด็ก เข้าไปเรียน ผู้ปกครองบางคนก็จะมานัง่ รอ บางคน อ่านภาษาอาหรับไม่ออกก็ถือโอกาสไปเรียน ด้วยเลย ซึ่งบางคนไม่ได้เรียนก็มาพูดคุยกับ โต๊ะอิหม่ามเพื่อแลกเปลี่ยนความคิด เวลามี ปัญหาอะไรก็สามารถคุยได้เลย บางครัง้ ก็รวม ผู้ปกครองเป็นกลุ่มแล้วพูดคุย
การพู ด คุ ย ท� ำ ให้ห ลายๆ เรื่ อ งในชุ ม ชน ปรากฏชัดขึน ้ ตัวอย่างเช่น ปัญหาเรือ ่ งเศรษฐกิจ รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย ทางมัสยิดเลยเจียด เงินส่วนหนึง่ ประมาณ 30,000 บาท เพือ ่ เปิด เป็นสหกรณ์ร้านค้า เริ่มแรกใช้วิธีจ้างคนมา ดูแล ท�ำได้ประมาณ 2 ปี ปรากฏว่าขาดทุน ทุนเหลือไม่ถงึ 2,000 บาท จนคณะกรรมการ มัสยิดอยากจะขายกิจการให้คนในชุมชน แต่ ภายหลังเมือ่ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2557 คณะครู ตาดีกาขอเข้ามาบริหารเอง ก็เลยยกให้ ซึ่งครู ก็มานั่งวิเคราะห์ปัญหาและค่อยๆ แก้ปัญหา ไปทีละจุด จนสหกรณ์พลิกฟื้นขึ้นมาได้ “จุดเด่นของครูคอ ื มีความซือ ่ สัตย์ ไม่ม่งุ เน้น ก�ำไร และท�ำด้วยจิตอาสาทีแ ่ ท้จริง แล้วก�ำไรที่ ได้กเ็ อาไปเลีย ้ งอาหารกลางวันเด็กตาดีกา และ ในแต่ละเดือนจะเปิดตลาดดุอา หรือตลาดนัด ค�ำสอน คือแทนทีเ่ ด็กจะซือ ้ สินค้าด้วยเงิน ก็ซอ ื้ ด้วยการท่องดุอาแทน ซึง่ การท�ำแบบนีย ้ งิ่ ท�ำให้ เด็กมีความสนุกและท่องจ�ำค�ำสอนได้ง่ายขึ้น” คุณครูสามารีหย๊ะเสริมให้ฟัง
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 27
จัดการภัยพิบัติแบบบ้านๆ โลกร้อนขึ้น ภัยพิบัติที่หลายคนไม่คาดคิด จึงผุดขึน ้ เต็มไปหมด ทัง้ น�ำ้ ท่วม พายุเข้า ดินถล่ม และอีกมากมายหลายเรือ ่ ง แต่ทด ี่ จู ะใกล้ตวั คน ตะปอเยาะทีส ่ ด ุ คงหนีไม่พ้นเหตุการณ์ดน ิ ถล่ม ที่อ�ำเภอบันนังสตา และศรีสาคร เมื่อปี 2553 ภายหลังเหตุการณ์ครั้งนั้น คน 3 จังหวัด ชายแดนภายใต้จึงร่วมจัดตั้งเครือข่ายจัดการ ภัยพิบต ั ภ ิ าคใต้ตอนล่างขึน ้ มา โดยมีการอบรม ที่จังหวัดปัตตานี เพื่อเรียนรู้และเตรียมพร้อม รั บ มื อ สถานการณ์ต ่า งๆ โดยมี ตั ว แทนจาก ต� ำ บลไปเข้า ร่ว ม 2 คน ซึ่ ง หนึ่ ง ในนั้ น ก็ คื อ
28 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
เรือตรีศิริ เกตุกิ่ง อดีตราชนาวีของเมืองไทย “ตอนนั้นเราไปฝึกกับผู้ใหญ่บ้านโกเมศร์ ทองบุญชู แห่งต�ำบลเกาะขันธ์ อ�ำเภอชะอวด จั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราชถึ ง แนวทางในการ จัดการ ถ้าภัยมาทางน�้ำจะท�ำอย่างไร ถ้าดิน ถล่ม จะท� ำ อย่า งไร ฝึก ปฏิ บั ติ เ หมื อ นจริ ง เป็นการอบรม 5 วัน แล้วก็กลับมาในพื้นที่ ประชุมสมาชิกที่เป็นจิตอาสาที่จะท�ำงานร่วม กับเรา ทั้งที่เป็น อสม. และไม่เป็น อสม. ได้มา หมู่บ้านละ 4 คน รวมแล้ว 20 คน โดยการ รวมตัวครั้งนี้ไม่ได้ค่าตอบแทน หลังจากนั้นก็
จะมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์ภัยพิบัติเข้ามาอบรมที่ อบต.ตะปอเยาะ พออบรมเสร็จเราก็อยู่ไปตาม ปกติ มีอะไรก็คุยกัน โดยเฉพาะในช่วงเดือน ตุ ล าคมหรื อ พฤศจิ ก ายน ก็ เ ริ่ ม คุ ย กั น แล้ว ประชาสัมพันธ์ว่าถ้าเกิดภัยขึ้นให้รีบแจ้งมาที่ เรา โดยเรามีศูนย์ช่วยเหลือภัยพิบัติเครือข่าย ภาคประชาชนต�ำบลตะปอเยาะ อยู่ที่ อบต. ซึง่ แต่ก่อนอยู่ที่บ้านผม แต่เพิ่งย้ายไปได้ไม่นาน” ศูนย์จะมีโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง ส่วนใหญ่ คนแจ้งมักจะรับมือกับสถานการณ์ไม่ไหวแล้ว แต่ทั้งนี้น�้ำท่วมก็ยังไม่ร้ายแรงเท่ากับไฟไหม้ ป่าพรุ ซึ่งอยู่ที่ส่วนท้ายของหมู่ที่ 1 โดยเกิดขึ้น ทุกปี ช่วงเดือนเมษายน ซึ่งน�ำ้ ที่ใช้ดับนั้น ทาง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวง มหาดไทยได้เข้ามาขุดให้แล้ว “น�ำ้ ท่วมส่วนใหญ่ไม่ถงึ 3 ชัว่ โมงก็ลงแล้ว แต่ถ้าไฟพรุนั้นรุนแรงมาก อย่างปี 2558 นี้ ยังน้อย เมื่อปี 2557 นี้หนักเลย ส่วนใหญ่การ รับมือเราจะใช้ อพปร. เป็นหลัก ส่วนกลุ่มผู้หญิง ก็เสิร์ฟน�้ำ ดูแลสวัสดิการ ซึ่งวิธีการจัดการนี้ ส่วนใหญ่ทาง อบต.จะเตรียมการไว้แล้ว เมื่อ เกิดเหตุ ก็ใช้รถดับเพลิง ซึ่งตรงนี้จะมีหลาย หน่วยงานเข้ามาช่วย เราเหมือนหน่วยเสริมไป ช่วยเขา พอหลังเกิดเหตุ บทบาทอาจจะน้อย หน่อย เพราะเราไม่สามารถไปปลูกป่าทดแทน ได้ เนือ ่ งจากเป็นพืน ้ ทีท ่ ม ี่ เี จ้าของ เราก็ได้แต่ให้ ค�ำแนะน�ำว่า ต้องเตรียมน�้ำไว้บ้าง ไม่ใช่ปล่อย ออกไปหมด”
เรือตรีศิริ เกตุกิ่ง
ส่วนการกระจายข่าวสารเครือข่าย เรือตรีศริ ิ บอกว่า ช่วงทีเ่ กิดภัยจะมีการส่งข่าวแจ้งชาวบ้าน โดยอาศั ย มั ส ยิ ด เป็น สื่ อ กลาง พร้อ มกั บ ประสานงานกับก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้านถึงมาตรการ ดูแล เพราะหน่วยงานปกครองจะมีมิสเตอร์ เตือนภัย ช่วยท�ำหน้าที่ติดตามตามจุดต่างๆ โดยเฉพาะริมเขาซึ่งเป็นจุดเสี่ยง ขณะที่ เ รื่ อ งวาตภั ย ยอมรั บ ว่า ค่อ นข้า ง จัดการยากกว่าอุทกภัย เพราะคาดการณ์ไม่ได้ ว่าจะมาจุดไหน คาดได้แต่ว่าจะมาหลังช่วง ไฟป่าคือเดือนพฤษภาคม แต่ทางกลุ่มอาศัย ภูมิปัญญาของคนโบราณที่เชื่อว่าต้นไม้ โดย เฉพาะไม้ประดู่สามารถบังลมได้ และลดความ เสียหายทีอ ่ าจจะเกิดขึน ้ จึงรณรงค์ให้ชาวบ้าน ปลูกพืชประเภทนี้มากขึ้น อย่างไรก็ดี หากให้สรุปถึงภาพรวมการ ท�ำงานในพื้นที่ แกนน�ำกลุ่มยอมรับว่า คนที่ ท�ำงานด้านจิตอาสาเริ่มมีน้อยถอยลงเรื่อยๆ เพราะต้องอาศัยใจ กาย และอาจจะรวมไปถึง เงินด้วย แต่สำ� หรับพวกเขาแล้ว ผลทีไ่ ด้กลับมา ก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะอย่างน้อยๆ ก็มีส่วนช่วย แจ้งข่าวยามมีเหตุ รวมไปถึงช่วยเหลือในยาม ภัยพิบัตินั้นหนักหน่วงกว่าที่คาดการณ์... สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 29
สวัสดิการชุมชน Welfare
30 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
สวั ส ดิ ก ารหนึ่ ง ที่ ชุ ม ชนคนอิ ส ลามมี ใ ห้ แก่กั น ซึ่ ง เหมื อ นกั น กั บ ของชาวพุ ท ธ คื อ สวัสดิการความช่วยเหลือญาติผู้เสียชีวิต ซึ่งที่ ต�ำบลตะปอเยาะมาในรูปของกองทุนจัดการ ศพผู ้สู ง อายุ ที่ พ ร้อ มมอบความช่ว ยเหลื อ ให้กับครอบครัวสมาชิก ยามที่วาระสุดท้ายได้ ด�ำเนินมาถึง... ⛅
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 31
กองทุนจัดการศพผู ้สูงอายุ ว่าด้วยงานศพ ไม่ว่าจะศาสนาใด ก็ใช้จ่าย เงิ น กั น ไม่น ้อ ยทั้ ง นั้ น ผู ้สู ง อายุ ที่ ต ะปอเยาะ เล็งเห็นความจริงในข้อนี้ เลยรวมตัวกันเพื่อ เตรียมความพร้อมให้แก่งานศพของตัวเอง วาเฮง มะกาเจ เหรัญญิกกองทุนจัดการ ศพผู้สูงอายุ ต�ำบลตะปอเยาะ และ คอลีเย๊าะ กาเดย์ นั ก พั ฒ นาชุ ม ชน อบต.ตะปอเยาะ ในฐานะผู้ประสานงานกองทุนฯ เล่าให้ฟังถึง ที่มาที่ไปของกลุ่มนี้ว่า ปกติผูส ้ ูงอายุจะได้เงิน ช่วยเหลือจากรัฐเป็นประจ�ำทุกเดือน เพราะฉะนัน ้ จึงได้มก ี ารหักเงินจ�ำนวนนีป ้ ีละ 200 บาท เพือ ่ เป็นกองกลาง หรือเงินช่วยเหลือในงานศพ โดยก่อตั้งเป็นกองทุนฯ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2550 มีสมาชิกเริ่มแรก 522 คน “ทาง อบต.มีโครงการอบรมพัฒนาคุณภาพ ผู ้สู ง อายุ ทุ ก เดื อ นเมษายน แล้ว ผู ้สู ง อายุ จ ะ ออกมา ก็เก็บเงิน 200 บาททีเดียวในวันนั้น เลย” คอลีเย๊าะกล่าว ส�ำหรับการจ่ายเงินนัน ้ ทางกองทุนฯ จะน�ำ เงินสดให้ญาติผ้เู สียชีวต ิ เลย โดยจ่ายให้ศพละ 5,000 บาท จากเดิมทีใ่ ห้ 4,000 บาท เพราะ
32 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
ยอดสมาชิกผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็น 997 คน หรือมากถึงร้อยละ 90 ของจ�ำนวนผู้สงู อายุ ทั้ ง หมด โดยปัจ จุ บั น มี เ งิ น หมุ น เวี ย นอยู ่ ประมาณ 190,000 บาท ในงานศพตามธรรมเนี ย มอิ ส ลามจะมี ขั้นตอนค่อนข้างมาก ตั้งแต่แจ้งญาติ แจ้งผู้นำ� ศาสนา แจ้งผู้น�ำพื้นที่ให้มาที่บ้าน แล้วยังต้อง ค�ำนวณเวลา เพราะต้องจัดการให้แล้วเสร็จใน 24 ชั่วโมง เตรียมชุดห่อศพ ทั้งส�ำลี ผ้าขาว เพื่อท�ำความสะอาดศพ จากนั้นห่อผ้าขาว น�ำ ศพไปที่มัสยิด แล้วละหมาดให้กับผู้เสียชีวิต เป็นครั้งสุดท้าย เมื่อเสร็จจึงน�ำไปไว้ที่กุโบร์ หลายครั้งเจ้าภาพต้องให้สินน�้ำใจ อย่าง คนมาละหมาดให้ เจ้าภาพก็เตรียมเงินใส่ซอง 20 บาทบ้าง 50 บาทบ้าง หรือ 100 บาทบ้าง ตามฐานะของแต่ละครอบครัว แล้วยังต้องให้ ข้าวสาร 1 ลิตร ไข่ 2 ฟอง แก่ทุกคนที่มา อย่างไรก็ดี ทาง อบต. ก็เข้ามาช่วยสนับสนุน เป็น บางเรื่ อ ง เช่น ให้ข ้า วสาร 1 กระสอบ รวมไปถึงพวกอุปกรณ์แต่งศพทั้งหลาย เช่น ส�ำลี เครื่องหอม ผ้าขาว ไม้กระดาน
ปัจ จุ บั น กองทุ น ค่า จั ด การศพผู ้สู ง อายุ บริหารงานในรูปแบบของคณะกรรมการ 10 คน ซึ่งมาจากหมู่บ้านละ 2 คน โดยสมาชิกใน แต่ละหมู่เลือกกรรมการโดยตรง เพื่อให้ได้คน ที่ ไ ว้ว างใจมากที่ สุ ด โดยกรรมการจะมี ก าร ประชุมกันทุก 2 เดือน เพื่อติดตามว่าในแต่ละ เดื อ น กองทุ น ฯ มี ค วามเคลื่ อ นไหว หรื อ มี ปัญหาอะไรบ้าง เพราะโดยเฉลี่ยแล้ว 1 เดือน จะมีผู้เสียชีวิต ราวๆ 4 คน ส่วนกระบวนการเบิกเงินนั้น กรรมการ 2 ใน 3 สามารถเบิ ก เงิ น มาเก็ บ ได้ค รั้ ง ละ 20,000 บาท แต่ไม่เกิน 30,000 บาท โดย ผู้ทม ี่ ส ี ท ิ ธิมาขอรับ ได้แก่ คณะกรรมการชมรม ผู้สงู อายุตำ� บลตะปอเยาะ คู่สมรสของผูเ้ สียชีวต ิ บุตรของผู้เสียชีวิต หลานหรือผู้ที่ดูแล และ สมาชิกในท้องถิ่นหรือคณะผู้บริหาร โดยตาม กฎแล้ว ต้อ งมี ห ลั ก ฐาน ประกอบไปด้ว ยใบ มรณะบัตรของผู้เสียชีวิต บัตรประชาชนของ ผู้ยื่นขอ แบบค�ำร้องขอเบิกเงิน “ปัจ จุ บั น เวลามี ผู ้เ สี ย ชี วิ ต กรรมการ กองทุ น จะรี บ ไปที่ บ ้า นนั้ น ทั น ที เพื่ อ น� ำ เงิ น ค่าศพนี้ไปมอบให้ เพื่อเขาจะได้มีเวลาจัดการ ซือ ้ ของ เตรียมงานได้ทน ั ที” คอลีเย๊าะทิง้ ท้าย...
วาเฮง มะกาเจ
คอลีเย๊าะ กาเดย์
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 33
เศรษฐกิจชุมชน Community’s Economy
34 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
ดังที่ อาหะมะ วายะ นายกองค์การบริหาร ส่วนต�ำบลตะปอเยาะ ได้บอกไปแล้ว ถึงความส�ำคัญ ในเรือ ่ งของการสร้างอาชีพ ด้วยในภาวะทีร่ าคายาง ตกต�่ ำ แบบนี้ ผู ้ค นจ� ำ ต้อ งมี ช อ ่ งทางหารายได้ เพิม ่ เติม เพือ ่ มาเป็นส่วนเสริมให้ชวี ต ิ ความเป็นอยู่ ภายในครอบครัวดีขน ึ้ ซึง่ เรือ ่ งราวทีก ่ ำ� ลังจะหยิบยก ขึ้ น มาบอกเล่า ต่อ ไปนี้ คื อ ภาพเพี ย งไม่กี่ ภ าพ ทีส่ ะท้อนวิถเี ศรษฐกิจของทีน ่ ี่ ซึง่ อย่างน้อยก็เพียงพอ ทีจ่ ะช่วยให้เข้าใจบริบทของพืน ้ ทีแ่ ห่งนีม ้ ากยิง่ ขึน ้ ⛅
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 35
เกษตรพอเพียง บ้านบลูกาสนอ บ้านพักหลังย่อมๆ รายล้อมไปด้วยพืชผักสวนครัว ผลไม้ หลาก หลายชนิด ร่มรืน ่ เรียบง่าย เป็ดไก่สง่ เสียงพร้อมกับเดินออกมาต้อนรับ ขับสู้ทันทีที่ย่างกรายเข้ามาหน้ารั้วบ้าน
36 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 37
อาแว หูสูดู และภรรยา
เกษตรกรมือฉมัง อาแว หูสูดู ซึ่งปัจจุบัน ควบต� ำ แหน่ง ประธานอาสาสมั ค รเกษตรกร ต�ำบลตะปอเยาะ เล่าว่าเมือ ่ ปี 2553 ชาวบ้าน ที่นี่มีปัญหาเรื่องรายได้กันเยอะ ด้วยความที่ อยากจะช่วยเพิ่มรายได้ และลดค่าใช้จ่ายใน ครัวเรือน จึงริเริม ่ โครงการเกษตรพอเพียง เพือ ่ ให้ชาวบ้านมีงานท�ำ โดยการท�ำงานเน้นไปที่ 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ ด้านประมง ด้านปศุสัตว์ และ ด้านเกษตร “ผมเริ่มปลูกพืชทุกอย่างที่เรากิน ทั้งพริก แตงโม ข้าวโพด ข้าว ปาล์ม ลองกอง ยางพารา แล้วก็เลีย ้ งปลาดุก ปลานิล ปลาตะเพียน เลีย ้ ง ไก่ 12 ตัว เลี้ยงเป็ดเทศบ้าง ท�ำอยู่คนเดียว เพื่ อ ให้ช าวบ้า นรู ้ว ่า ท� ำ ได้ แต่วั ว ผมไม่เ ลี้ ย ง เพราะถ้าเลีย ้ งแล้วไปไหนไม่ได้ ต้องดูแลตลอด ต่อมาทางเกษตรอ�ำเภอก็เข้ามาเสนอโครงการ ขอให้ผมช่วยเป็นแรงหนึง่ โดยเขาให้ผมท�ำหน้าที่ คล้ายๆ เป็นต้นแบบ และคอยประชาสัมพันธ์ ข่าวคราวต่างๆ อย่างเช่น เดือนนีจ้ ะมีโครงการ อะไรบ้าง ผมก็อาศัยมัสยิดเป็นหอกระจายข่าว” อาแวว่า
38 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
ความร่ว มมื อ ระหว่า งหน่ว ยงานรั ฐ กั บ อาแวจึงได้กลายเป็นศูนย์กลางความช่วยเหลือ ชาวบ้า นผู ้ท� ำ เกษตรกรรม โดยทางเกษตร อ� ำ เภอจะคอยหาปุ ๋ย พื ช พั น ธุ ห ์ ลายชนิ ด รวมไปถึงพันธุ์ไก่ แจกจ่ายผ่านอาแวลงมายัง เกษตรกรสวนยางทีต ่ ้องเผชิญกับราคาผลผลิต ตกต�่ำ “ เ ร า ต ้อ ง ก า ร ใ ห ้เ ข า ใ ช ้ชี วิ ต ต า ม วิ ถี เศรษฐกิจพอเพียง ท�ำเองใช้เอง ถ้าเหลือใช้ สามารถน�ำไปขายได้ เพิม ่ รายได้ให้แก่ครัวเรือน ด้วย ทีส่ ำ� คัญการท�ำงานของเราเน้นการรวมกลุ่ม ท�ำพร้อมกันเป็นเครือข่าย อย่างล่าสุดที่ลงไป ท�ำ ก็คอ ื แตงโม ซึง่ ตอนนีช ้ าวบ้านหลายคนเริม ่ ท�ำแล้ว โดยผมเข้าไปวิทยากรให้ความรู้ แต่ถ้า จะท� ำ เองคนเดี ย วก็ ไ ม่เ ป็น ไร เราก็ ส ่ง เสริ ม เหมือนกัน” ผู้อาวุโสแห่งหมู่ที่ 4 บ้านบลูกาสนอ กล่าว ปัจจุบน ั มีชาวบ้านเข้ามาขอความช่วยเหลือ จากอาแวจ�ำนวนมาก ทั้งคนหมู่บ้านเดียวกัน และต่างหมู่บ้าน ซึง่ เขาก็ยน ิ ดีช่วยเหลือ หลายครัง้ เขาได้พาเกษตรกรในพืน ้ ทีไ่ ปดูงานทีศ ่ น ู ย์ศก ึ ษา การพัฒนาพิกลุ ทอง อันเนือ ่ งมาจากพระราชด�ำริ จังหวัดนราธิวาส ไปดูการปลูกพืชสวนต่างๆ
เพื่ อ ให้เ กษตรกรแห่ง ต� ำ บลตะปอเยาะเกิ ด แรงบันดาลใจที่จะกลับมาพัฒนาตัวเอง เพื่อ ความยั่งยืนของชีวิต “ ผ ม คิ ด ว ่า เ ป ็น ห น ้า ที่ ข อ ง เ ร า ที่ ต ้อ ง ช่ว ยเหลื อ ชาวบ้า น อย่า งล่า สุ ด ผมก็ ไ ปเป็น วิทยากรที่โรงเรียนบ้านบลูกาสนอ ไปสอนให้ เขาเห็ น ความส� ำ คั ญ ของการพึ่ ง พาตั ว เอง” เกษตรกรตัวอย่างกล่าวย�ำ้ ก่อนจบการสนทนา
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 39
กลุ่มซาลาเปาทอด
กลิ่ น หอมของซาลาเปาทอดโชยอยู ่ใ ต้ ชายคาบ้านของ อาอีด๊ะ บุญญา ประธานกลุ่ม ซาลาเปาทอด โดยในช่ว งเดื อ นรอมฎอน สมาชิ ก กลุ ่ม มารวมตั ว ท� ำ ขนมตั้ ง แต่ฟ ้า ยังไม่สว่าง
40 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 41
อาอีด๊ะ บุญญา
บ้านของอาอีด๊ะ ตัง้ อยู่หมู่ที่ 4 บ้านบลูกาสนอ สมาชิกส่วนใหญ่ของกลุ่มมีทงั้ วัยสาว วัยกลางคน ไปจนถึงชรา ต่างคนต่างยิม ้ แย้มปั้นแป้ง ห่อไส้ กันไปเรื่อย “ทุ ก วั น นี้ ห ลั ก ๆ เราจะท� ำ ซาลาเปากั บ โดนัท โดยโดนัทจะท�ำตอนบ่าย แต่ตอนนี้เรา ติ ด ช่ว งเข้า บวช (รอมฎอน) ก็ เ ลยไม่ไ ด้ท� ำ โดนัท” ประธานกลุม ่ ซาลาเปาทอดกล่าวขึ้น ระหว่างพาชมกรรมาวิธีทำ� ซาลาเปา เป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้ว ทีก ่ ลุ่มแม่บ้านหมู่ที่ 4 กว่า 20 ชีวิตมารวมตัวกัน เพื่อท�ำขนมขาย โดยอาอีด๊ะเล่าว่า แต่เดิมชาวบ้านกรีดยางเสร็จ ก็ไม่มงี านอืน ่ ท�ำ เลยเกิดความคิดหาอาชีพเสริม พูดคุยกับคนในพืน ้ ทีว่ ่าควรหากิจกรรมท�ำ เริม ่ แรก ก็ท�ำน�้ำยาซักผ้า เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน โดยรวมหุ้นคนละ 100 บาท ไปซือ ้ ถัง ซือ ้ หัวเชือ ้ แต่ทำ� แล้วขายไม่ค่อยดี เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ ยังนิยมใช้ผงซักฟอกมากกว่า แม่บ้านหมู่ที่ 4 จึงหากิจกรรมใหม่มาเสริม พอดี ส มาชิ ก คนหนึ่ ง ท� ำ งานอยู ่ที่ ส หกรณ์ โรงเรี ย นอั ต ตั ร กี ย ะห์ อิ ส ลามี ย ะห์ ซึ่ ง เป็น โรงเรียนในตัวเมือง พบว่าทีน ่ เี่ ป็นแหล่งระบาย สินค้าที่ดี จึงวิเคราะห์ดูว่า ยังขาดอะไรอยู่บ้าง 42 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
“เพื่ อ นเราเห็ น ว่า ยั ง ไม่มี ซ าลาเปากั บ โดนัท จึงกลับมาปรึกษาภายในกลุ่มว่า จะท�ำ ดีหรือไม่ ปรากฏว่าสมาชิกเห็นด้วย เลยแบ่งทุน และก� ำ ลั ง คนออกมาครึ่ ง หนึ่ ง เพื่ อ ท� ำ สิ น ค้า ประเภทขนม ส่วนอีกกลุ่มก็เลือกผลิตสินค้า พวกยาสมุ น ไพร โดยทั้ ง 2 กลุ ่ม นี้ ยั ง ใช้ กรรมการชุดเดียวกัน และบริหารงานร่วมกัน อยู่” อาอีด๊ะเล่า กระนั้นการท�ำขนมนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ต้อ งอาศั ย ทั ก ษะความรู ้แ ละความช� ำ นาญ รุสลีนา กาเรงสานา รองประธานกลุ่มฯ เสริมว่า ตอนนัน ้ เชิญวิทยากรซึง่ เป็นครูสอนท�ำขนมจาก ตัวอ�ำเภอยี่งอมาช่วยสอน “จ่ายค่าวิทยากรไปชั่วโมงละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 1,200 บาท เหลือเงินแค่ 800 บาท เอาไปลงทุนซื้อแป้ง ซื้อน�้ำตาล ท�ำนิดๆ หน่อยๆ เพราะเราใช้แรงงานคนล้วนๆ โดย โดนัทกับซาลาเปาที่ได้ เราบรรจุใส่ถุง ถุงละ 5 บาท ซาลาเปามี 2 ไส้ คือ ไส้เค็มกับไส้สังขยา ใส่ถุงละชิ้น แต่หากเป็นโดนัท ใส่ถุงละ 2 ชิ้น พอบรรจุเสร็จ ก็ไปขายที่โรงเรียนทุกเช้า หรือ บางทีมค ี นมาสัง่ เราก็รบ ั ท�ำ” รุสลีนาเล่าพลางชี้ ไปที่ เ ด็ ก นั ก เรี ย นหญิ ง คนหนึ่ ง ที่ ม ายื น รอ
“นั่นแหละคนส่งของ เป็นลูกหลานในกลุ่ม ไป โรงเรียนอยู่แล้ว ฝากไปส่งด้วยเลย” ส่วนวิธก ี ารท�ำซาลาเปาก็ไม่ยากอย่างทีค ่ ด ิ ประธานกลุ่มฯ ในฐานะหัวเรือใหญ่ บอกว่า ก่อ นอื่ น ให้เ ตรี ย มอุ ป กรณ์แ ละส่ว นผสมให้ พร้อม ทัง้ แป้งสาลีอเนกประสงค์ ผงฟู เนยขาว เกลือ เบกกิ้งโซดา แล้วก็ยีสต์ เอาทั้งหมดมา ผสมรวมกัน จากนั้นก็ตีไข่เข้าไปผสม พอได้ที่ ก็เอาใส่เครือ ่ งนวดแป้ง ซึง่ ได้รบ ั บริจาคมาจาก มูลนิธิเพื่อนหญิงและมูลนิธิรักษ์ไทย พอนวด เสร็จก็แบ่งแป้งออกเป็นก้อน ก้อนละ 2 ขีด เสร็จแล้วก็มาเตรียมส่วนผสมท�ำไส้ โดยหั่น มั น เทศออกเป็น ลู ก เต๋า จากนั้ น น� ำ ไปต้ม ให้ เปื่อย แล้วยกขึ้นสะเด็ดน�ำ้ น�ำน�ำ้ มันใส่กระทะ เอาหอมใหญ่มาคัว่ ให้เหลือง ใส่เครือ ่ งแกงเนือ ้ ลงไป ใส่ซอสปรุงรส ซีอวิ้ ขาว พริกไทยเล็กน้อย ผัดทั้งหมดจนแห้ง ตั้งไว้ให้อุณหภูมิลด น�ำเข้า ตู้เย็นไว้ก่อน ค่อยน�ำมาตักใส่แป้งที่เตรียมไว้ ชุบเกล็ดขนมปัง แล้วทอดอีกประมาณ 10 นาที โดยกระทะหนึ่งจะทอดได้ประมาณ 22 ลูก เมื่อทอดเสร็จให้ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้ว บรรจุใส่ถุง
นอกจากจะส่งไปขายทีโ่ รงเรียนแล้ว ยังส่ง ออกไปยังร้านน�ำ้ ชาในพืน ้ ที่ ราคาขายหน้าร้าน อยู่ที่ 5 บาท แต่ราคาส่งอยู่ที่ 4 บาท โดยจะ เก็บเงินสดทุกครั้ง ส่วนการแบ่งรายได้จะแบ่งตามการท�ำงาน ของแต่ละคน ท�ำมากได้มาก ท�ำน้อยได้น้อย โดยทุกวันนี้มีคนมาร่วมท�ำขนม 9 คน ส่วน สมุนไพรมี 11 คน จัดสรรรายได้ทก ุ 2-3 เดือน โดยเอาจ�ำนวนครั้งของการท�ำงานทั้งหมด ซึ่ง ปกติแล้ววันหนึ่งจะท�ำ 2 ครั้ง น�ำไปหารกับ ก�ำไรที่ได้ เป็นรายได้เฉลี่ยต่อครั้ง จากนั้นก็นำ� ตั ว เลขตรงนี้ ไ ปคู ณ การมาท� ำ กิ จ กรรมของ แต่ละคน ก็จะได้ตัวเลขรายได้ของแต่ละคน ออกมา นอกจากการแบ่ง รายได้แ ล้ว ตั้ ง แต่ป ี 2557 เป็นต้นมา เริ่มมีการส่งเสริมให้สมาชิก เริ่มเก็บออมสัจจะวันละบาท เพื่อให้สมาชิก กลุ่มใช้กู้ยืมในยามฉุกเฉิน ซึ่งปัจจุบันเก็บได้ แล้ว 8,000 บาท ซึ่งแม้จะเป็นจ�ำนวนที่มาก แต่ด้วยวินัยที่ดี เงินทุนก้อนนี้ก็เพิ่มพูนอย่าง ต่อเนื่อง และเป็นหลักประกันหนึ่งที่สามารถ บรรเทาความเดือดร้อนได้
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 43
ศิลปาชี พย่านลิเภา
จากพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่มีพระประสงค์จะ เห็นพสกนิกรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มี รายได้ มีงานท�ำ พร้อมกับสืบสานงานศิลป วัฒนธรรมให้คงอยู่ จึงได้มีพระราชด�ำรัสให้ มูลนิธส ิ ่งเสริมศิลปาชีพ ซึง่ ด�ำเนินการมาตัง้ แต่ ปี 2519 เข้ามาส่งเสริมอาชีพให้กับชาวบ้าน
44 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
มัยมูเนาะห์ ตอกอกาแจ หรือกะเนาะห์ ประธานกลุ่มศิลปาชีพย่านลิเภา เล่าว่าเธอได้รบ ั การถ่ายทอดวิชานีม ้ าจาก อาแอเสาะ สามะเต๊ะ ครู ค นแรกที่ พ ระราชิ นี ท รงส่ง มาสอนคน ในพื้นที่ โดยเริ่มแรกครูได้ไปสอนอยู่หมู่ที่ 4 บ้านบลูกาสนอ แม้จะมีคนจ�ำนวนมากเข้าไปศึกษา แต่มี ไม่กี่ ค นที่ มี ทั ก ษะ สามารถท� ำ ได้ส วยงาม กะเนาะห์เป็นกลุ่มผู้มีพรสวรรค์ การันตีด้วย ผลงานการสานย่านลิเภาจนได้รางวัลอันดับที่ 1 ของจังหวัดนราธิวาสถึง 3 ปีซ้อน จากการ ประกวดผลิตภัณฑ์จากย่านลิเภา เพือ ่ ถวายแด่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทีท ่ รงแปรพระราชฐานมา ประทับที่พระต�ำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ทาง ส�ำนักพระราชวังจึงเลือกให้กะเนาะห์เป็นครู มี
เงินเดือน มีสวัสดิการให้ โดยมีขอบเขตความ รับผิดชอบอยู่ที่หมู่ที่ 2 บ้านบูเกะบากง และ หมู่ที่ 3 บ้านบลูกา ด้วยหมู่ที่ 4 ซึ่งเป็นบ้าน ของกะเนาะห์ มี ยาโก๊ะ สามะเต๊ะ และภรรยา อารอพะ สามะเต๊ะ เป็นครูสอนอยู่ด้วย โดย ทัง้ สองคนนี้เป็นลูกศิษย์รุ่นแรกของอาแอเสาะ ส�ำหรับภารกิจของกะเนาะห์นน ั้ หลักๆ จะ มีสอนอยู่ 2 วัน คือวันพุธและวันเสาร์ มีคนมา เรียนประมาณ 100 คน ใช้เวลาเรียนประมาณ 4 เดือน สานภาชนะ อาทิ ผอบ ถาด แจกัน ฯลฯ รูปทรงมีทงั้ รูปทรงรี วงกลม และสีเ่ หลีย ่ ม โดยต้นทุนแทบไม่มีอะไรมาก เพราะต้นลิเภา นั้นมีกระจายอยู่เต็มป่า โดยหากต้องการสีด�ำ ก็เข้าไปที่ป่าพรุ แต่ถ้าต้องการสีขาวก็ไปหาที่ ป่ายางพารา
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 45
ส่วนวิธีสานนั้น ก่อนอื่นให้น�ำลิเภามาฉีก ออกเป็นเส้นๆ ประมาณ 3 ซี่ จากนั้นก็ใช้มีด ขูดเปลือกออกให้หมด แล้วท�ำเครื่องมือจาก ฝากระป๋อง โดยน�ำมาเจาะเป็นรู ประมาณ 5 รู ให้มขี นาดเรียงล�ำดับจากช่องใหญ่ไปช่องเล็ก น�ำลิเภาที่เป็นเส้นนั้นรูดทีละช่องจนถึงช่องที่ เล็กที่สุด เสร็จแล้วใช้กระดาษทรายเก็บพวก เศษเปลือกไม้ที่หลงเหลืออยู่
46 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
ว่ากันว่าเส้นลิเภาที่ดีควรจะมีความบาง เท่าเส้นผม โดยการสานนั้นจะน�ำเส้นหวายมา ขดเป็นวงรีเพือ ่ ท�ำก้นผลิตภัณฑ์ จากนัน ้ น�ำเส้น ลิ เ ภาที่ เ ตรี ย มไว้ม าสาน โดยใช้เ หล็ ก ปลาย แหลมเจาะที่หวายให้เป็นรู จากนั้นก็น�ำเส้น ลิ เ ภาสอดเข้า ไป ซึ่ ง การสานต้อ งใช้ค วาม ละเอียดและประณีตมาก เมือ ่ สานก้นเรียบร้อย ให้น�ำหวายมาขดเป็นวงรี วางให้ได้เหลี่ยมกับ ตัวก้น เพื่อขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ถ้าต้องการให้มี ลวดลาย เช่น ลายไทย หรือลายดอกไม้ ให้ใช้ วิธีสานกลับด้านเส้นลิเภา ซึ่งจะมีสีอ่อนกว่า เล็กน้อย
เมื่อสานเสร็จ ส่วนใหญ่มักจะน�ำไปติดกับ เครื่องทองเหลือง หรือไปติดหูหิ้วทองเหลือง ซึ่ ง ทางกะเนาะห์ไ ม่ไ ด้ท� ำ ขั้ น ตอนนี้ เพราะ ผลิตภัณฑ์ทไี่ ด้ ทัง้ จากตัวเองและลูกศิษย์จะถูก ส่งไปยัง ว่าที่ ร.ท.ดิลก ศิรวิ ล ั ลภ ตัวแทนเหล่า กาชาดจังหวัดนราธิวาส ซึง่ ได้รบ ั มอบหมายให้ ติดตามและดูแลโครงการอันเนื่องมาจากพระ ราชด�ำริ “ผลิ ต ภั ณ ฑ์ชิ้ น หนึ่ ง ใช้เ วลาท� ำ ประมาณ 3-4 เดือน คนทั่วไปซื้อไม่ได้ เพราะเราส่งเข้า วังอย่างเดียว โดยทางคุณดิลกจะเป็นผู้ดูแล เรื่องมาตรฐานสินค้าทั้งหมด บางชิ้นหากเส้น ห่างกันเกินไป หรือมีรอยขาวๆ เขาก็จะส่งคืน
มาให้แก้ไข ส่วนเรื่องราคา เราก็จะเป็นผู้เสนอ เข้าไป ซึ่งบางครั้งก็จะได้ราคาตามนั้น แต่ก็มี บ้างเหมือนกันทีร่ าคาลดลงบ้างจากทีข่ อ” ล่าม ภาษามลายู (จ�ำเป็น) จาก อบต.ตะปอเยาะ ช่วยถ่ายทอดสิ่งที่กะเนาะห์พูด แม้วันนี้งานสานย่านลิเภาจะไม่ใช่งานที่ สร้างรายได้ให้มากนัก เพราะถึงตัวสินค้าจะมี มูลค่าสูง แต่กใ็ ช้เวลานาน ทว่าส�ำหรับชาวบ้าน ตะปอเยาะหลายร้อยคนกลับมีความสุขทีไ่ ด้ทำ� ด้ว ยต่า งภาคภู มิ ใ จที่ ไ ด้เ ป็น ส่ว นหนึ่ ง ในการ สืบสานงานในพระราชเสาวนีย์แห่งองค์สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ...
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 47
ศิริฟาร์มแพะบลูกาสนอ
เรือตรีศิริ เกตุกิ่ง
หลายคนอาจไม่เชือ ่ ว่า ก่อนหน้านีส ้ ก ั สิบปี อาชีพการเลีย้ งแพะทีต ่ ะปอเยาะอยู่ในสถานการณ์ ลุ่มๆ ดอนๆ มีน้อยคนนักที่จะท�ำอาชีพแบบนี้ จริงจัง แต่กับคนโคราชซึ่งมาอยู่เป็นเขยที่นี่ กลับปลุกปั้นอาชีพนีใ้ ห้กลายมาเป็นแหล่งรายได้ ส�ำคัญในพืน ้ ที่ โดยเฉพาะหมู่ที่ 4 บ้านบลูกาสนอ เรือตรีศริ ิ กิง่ เกตุ ประธานวิสาหกิจชุมชน ศิริฟาร์มแพะบลูกาสนอ เล่าให้ฟังว่า แต่เดิม ไม่เคยรู้จักการเลี้ยงแพะเลย พอลาออกจาก ราชการมา เมื่อปี 2547 แม่ยายก็ให้แพะมา 2 ตัว เลยทดลองเลี้ยงดู เลี้ยงแบบปล่อยเลย ไม่สนว่าแพะจะกินอะไร ท�ำรั้วแบบง่ายๆ จน กระทัง่ แพะเริม ่ ขยายพันธุ์เองเรือ ่ ยๆ กลายเป็น 25 ตั ว จึ ง เริ่ ม รู ้แ ล้ว ว่า จะเลี้ ย งแบบปล่อ ย เหมือนเดิมไม่ได้ เพราะไปสร้างความเดือดร้อน แก่เพือ ่ นบ้าน ประกอบกับได้เข้าอบรมกับกรม ปศุสัตว์ และศึกษาต่อเพิ่มเติมที่มหาวิทยาลัย นราธิ ว าสราชนคริ น ทร์เ รื่ อ งปศุ สั ต ว์จ นจบ อนุปริญญา จึงมีความรู้เรื่องอาหาร และการ เลี้ยงสัตว์ ซึ่งได้น�ำมาปรับประยุกต์ใช้ในฟาร์ม แพะของตน “แพะเป็นสัตว์ 4 กระเพาะ เพราะฉะนั้น จะกินอาหารไม่เหมือนกับสัตว์อื่น ถ้ากินพืชที่ มียูเรียเยอะ แพะจะท้องอืดตาย หรือบ้านเรา 48 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
เป็นภาคใต้ จะเลี้ยงแบบภาคอีสานไม่ได้ ต้อง ยกคอกให้สูงขึ้น เพราะมันชื้น แพะไม่ชอบ อากาศชื้น” เรือตรีศิริว่า ในปี 2550 จึงมีการรวมพลคนที่สนใจใน เรือ ่ งการเลีย ้ งแพะ คัดเฉพาะคนทีส ่ มัครใจ รวม กลุ่มกันได้ 9 คน ส่วนใหญ่เป็นเครือญาติใน หมู่บ้าน โดยมีการปรึกษาหารือว่าจะจัดระบบ การเลี้ยงอย่างไร หรือใครมีความรู้อะไรก็มา ช่วยเหลือกัน แบ่งปันความรู้กัน เช่น หากแพะ ท้องอืด กินแค่ยาธาตุน�้ำแดงก็หายแล้ว และ เพือ ่ ความยัง่ ยืนก็ได้มก ี ารลงขันกันเดือนละ 50 บาท เพือ ่ น�ำไปซือ ้ ยา ซือ ้ เข็มมาใช้เวลาทีแ่ พะป่วย ตัง้ กลุ่มมาได้สก ั พักหนึง่ สมาชิกเริม ่ อยาก กู้เงินมาซื้อแพะเพิ่ม เลยตัดสินใจจดวิสาหกิจ ชุ ม ชน ลงหุ ้น เดื อ นละ 100 บาท เพื่ อ ซื้ อ เวชภัณฑ์ อาทิ ก้อนเกลือ แร่ธาตุ ลงขันอยู่ 3 ปี สุดท้ายไม่มใี ครได้กู้ เพราะทางกลุ่มเห็นแล้วว่า กู้ไปก็ไม่ค้ม ุ สู้เพาะพันธุ์กน ั ในกลุ่ม แล้วแบ่งซือ ้ แบ่งขายภายในดีกว่า อีกทั้งการซื้อพันธุ์แพะ จากภายนอกยังรอต้องให้แพะปรับตัวอย่างน้อย ก็ 6 เดือน จึงจะสามารถใช้งานได้ ปัจ จุ บั น แพะในกลุ ่ม นี้ จ ะเป็น แพะพั น ธุ ์ แองโกลนูเบียน ซึ่งเป็นแพะพันธุ์เนื้อ อีกส่วน เป็นพันธุ์ซาเนน ซึ่งเป็นพันธุ์นมที่เลี้ยงไว้เพื่อ
ผสมพันธุ์โดยเฉพาะ ด้วยการผสมต่างสายพันธุ์ จะท�ำให้แพะโตเร็ว ขณะเดียวกันก็ต้องป้องกัน ไม่ให้ลูกจากแม่ตัวเดียวกันผสมกันเอง เพราะ จะท�ำให้ตวั เล็กลงเรือ ่ ยๆ และต้องมีการเปลีย ่ น พ่อพันธุ์ใหม่ทุก 2 ปี “ถ้าตัวไหนเลี้ยงลูกไม่ดีแล้ว ผมก็จะคัด ออก ขายทั้งตัวเลย ปกติผมจะขายที่กิโลกรัม ละ 180 บาท แต่ถา้ เป็นแบบนี้ ราคาอาจจะถูก หน่อยเพราะหมดสภาพแล้ว ส่วนใหญ่แพะจะ อายุ 5 ปีขึ้นทั้งนั้น” ลูกค้าทีจ่ ะมาเลือกซือ ้ แพะเองทีฟ ่ าร์ม โดย มีเครือข่ายใหญ่อยู่ที่ บ้านทุ่งคา ต�ำบลระหาน
อ�ำเภอยีง่ อ และในอนาคต เรือตรีศริ ม ิ ค ี วามคิด อยากจะท�ำตลาดแปรรูป เพราะทุกวันนีม ้ ห ี ลาย หน่วยงานเข้ามาสนับสนุน เช่น ศูนย์วิจัยและ พัฒนาอาหารสัตว์ดูแลเรื่องหญ้าที่แพะจะกิน หรือพวกมูลแพะก็สามารถท�ำเป็นปุ๋ย เหมาะ ส�ำหรับปลูกแตงโม สุดท้ายนี้ เรือตรีศริ ไิ ด้ฝากเคล็ดลับข้อห้าม ส�ำหรับการเลี้ยงแพะจากประสบการณ์จริงว่า แพะที่นี่ห้ามเอาเท้าเขี่ยเด็ดขาด การพูดค�ำ หยาบใส่กเ็ หมือนกัน ทีส ่ ำ� คัญหากผูกเชือกแล้ว ห้ามกระชาก ห้ามตีเพราะทั้งหมดคือเหตุที่ ท�ำให้แพะป่วยและตายเร็ว...
49
เครื่องส�ำอางนมแพะ
ใครจะไปคิดว่าเพียงน�ำ้ นมแพะธรรมดาๆ จะสามารถต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ได้อีกหลาย สิบอย่าง ดังเช่นที่ ‘Malila’ แบรนด์ดังประจ�ำ ต�ำบลตะปอเยาะได้ทำ� เอาไว้ สุไฮลา แสงจันทร์ ประธานกลุ่มแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากนมแพะ เล่าว่า แต่เดิมที่นี่ขาย น�ำ้ นมดิบก่อน เวลาใครอยากได้กม ็ าซือ ้ ต่อมา ในปี 2549 ประสบปัญหานมแพะล้นตลาด ต้อ งวิ่ ง หาตลาดเพิ่ ม ซึ่ ง ไม่ใ ช่เ รื่ อ งง่า ยเลย เพราะหลายคนยังมีอคติกับนมแพะ กลัวจะมี กลิน ่ คาว อร่อยหรือเปล่า และต่อให้รบ ั ประกัน ว่าไม่มีปัญหาแน่นอน ก็ใช่ว่าจะเปลี่ยนความ คิดกันง่ายๆ พอปี 2551 จึงไปศึกษาหาความรู้เพิม ่ เติม เกีย ่ วกับการแปรรูปทีส ่ ถาบันสุวรรณวาจกกสิกจิ เพื่ อ ก ารค้น คว้า และพั ฒ น าป ศุ สั ต ว์แ ละ ผลิตภัณฑ์สัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลยทราบว่าความจริงแล้ว นมแพะสามารถ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อะไรต่างๆ ได้มากมาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความงาม “แรงจูงใจแรกๆ เลยก็คือ เวลามีคนมา เยี่ยมฟาร์มของเรา ด้วยที่นี่เป็นต้นแบบของ นราธิวาส เขาก็ถามว่าไม่มีสบู่นมแพะเหรอ ไม่มโี ลชัน ่ เหรอ เพราะเขาไปเห็นมาจากสระบุรี 50 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
ก็มผ ี ลิตภัณฑ์พวกนีข้ ายทีฟ ่ าร์ม เลยไปลงเรียน ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก�ำแพงแสน ไป อบรมเรือ ่ งเพิม ่ มูลค่าให้แก่นมแพะ ซึง่ เขาสอน ตัง้ แต่การพาสเจอร์ไรส์นม ท�ำเต้าฮวยฟรุตสลัด นมแพะ วุ้นนมแพะ โยเกิร์ตนมแพะ คุกกีน ้ มแพะ ส่วนพวกเครื่องส�ำอาง ก็จะมีสบู่นมแพะ ครีม นมแพะ โลชั่ น นมแพะ เรี ย นแล้ว กลั บ มา ประยุกต์ตามแบบของเรา อาจจะมีการเพิ่ม น�้ำนมเข้ามาหน่อย เพราะเรามีน�้ำนมของเรา เอง ท�ำแรกๆ ตั้งใจจะขายในฟาร์มเป็นหลัก คือเราท�ำเพื่อตอบโจทย์คนที่มาดูงาน กระทั่ง บังเอิญว่าทางพาณิชย์จังหวัดเชิญไปออกงาน Health & Beauty ที่สยามพารากอน เมื่อ ปี 2552 ซึง่ เราเอาสบู่ไปออกร้าน โดยตอนนัน ้ เราท�ำอยู่ 3 สูตร เป็นสูตรธรรมชาติ สูตรผสม ขมิ้ น ชั น สู ต รผสมมะขาม เอาใส่ถุ ง น่า รั ก ๆ เหมื อ นของช� ำ ร่ว ย คื อ เราไม่คิ ด จะใส่ก ล่อ ง เพราะเราต้องการคิดนอกกรอบ งานนั้นก็เป็น งานใหญ่มาก พวกนักธุรกิจต่างชาติมาดู” หลังจากนั้นประมาณ 2 เดือน ปรากฏว่า มีนก ั ธุรกิจจากยุโรปทีล ่ องซือ ้ ไปใช้ สนใจอยาก จะสั่งสบู่ไปใช้ที่โรงแรม ด้วยความที่ไม่รู้เรื่อง อะไรเลย ทัง้ การส่งออก การท�ำบรรจุภณ ั ฑ์ เลย จ�ำใจต้องปฏิเสธไป แต่นน ั่ ก็เป็นแรงผลักดันว่า
พรเทพ แสงจันทร์
สบู่นม ี้ ค ี ณ ุ ภาพ ก็เลยเริม ่ พัฒนาเรือ ่ งบรรจุภณ ั ฑ์ ให้มีความสวยงาม ปัจจุบันมี 5 สูตร 5 สี โดย 2 สูตรที่เพิ่มขึ้นมา คือผสมเปลือกมังคุด และ ผสมมะหาด โดยผู้สนใจสามารถโทรศัพท์มา สัง่ ได้ เพราะทีน ่ ไี่ ม่มห ี น้าร้าน แต่ยน ื ยันด้วยการ เป็นสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาว เมื่อปี 2553 นอกจากสบู ่แ ล้ว ทางกลุ ่ม ยั ง พั ฒ นา ผลิตภัณฑ์อีกหลายชนิด อาทิ โลชั่นโยเกิร์ต นมแพะ ซึ่งพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ ครีมบ�ำรุงนมแพะ สบู่รังไหมทอง ผสมนมแพะ ส�ำหรับขัดหน้า ซึ่งได้ร่วมวิจัยกับ ศูนย์หม่อนไหม ประจ�ำจังหวัดนราธิวาส กรม หม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย สินค้าชิน ้ นีไ้ ด้รบ ั คัดเลือกให้เป็น OTOP ระดับ 5 ดาวเมื่อปี 2555 และล่าสุดคือเซรั่มโปรตีน ผสมน�้ำแพะ “การทีเ่ ราจะผลิตสินค้าตัวใดตัวหนึง่ ขึน ้ มา ส่ว นใหญ่เ ป็น เพราะเสี ย งสะท้อ นจากลู ก ค้า เป็นทีม ่ าให้เราพยายามค้นคว้า และปรับสินค้า ตามความต้องการของตลาด” สุไฮราเล่า ส�ำหรับแรงงานที่เข้ามาช่วยท�ำ พรเทพ แสงจันทร์ รองประธานกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ จากน�ำ้ นมแพะ และเป็นฝ่ายการตลาด บอกว่า ส่วนใหญ่เป็นคนในพืน ้ ที่ โดยทางกลุ่มมีวธิ ก ี าร บริหารงานคล้ายๆ กับบริษัท โดยมีสมาชิก มาร่วมลงหุ้นประมาณ 10 คน แต่ละคนลงเงิน 1,000 บาท โดยประธานกลุ ม ่ จะเป็น คนที่ ลงเงินมากที่สุด ในฐานะของเจ้าของสถานที่ นอกจากนี้ยังมีงบประมาณจากภาครัฐมาช่วย
สุไฮลา ฮรา แสงจันทร์
หนุนเสริมอีก 100,000 บาท โดยน�้ำนมที่ใช้ ก็ซื้อมาจากสหกรณ์นมแพะดั้งเดิมนั่นเอง ส�ำหรับสหกรณ์นมแพะนั้น ปัจจุบันยังคง ด�ำเนินงานอยู่ ซึ่งทางสหกรณ์แจกจ่ายแพะ แม่พันธุ์ให้เกษตรกร 1 ตัว และเวลาตกลูกก็ คืนให้สหกรณ์ 1 ตัว ส่วนน�ำ้ นมทีไ่ ด้กข็ ายคืนให้ สหกรณ์อีกที โดยทางแบรนด์เครื่องส�ำอางจะ เป็นลูกค้ารายใหญ่ที่มาซื้อนมอีกที ส่วนวิธีแบ่งรายได้ของกลุ่มเครื่องส�ำอาง นัน ้ จะจ่ายให้ตามผลงานของแต่ละคน ท�ำมาก ได้มาก ท�ำน้อยได้น้อย คือมีทั้งค่าจ้างรายวัน วันละ 250 บาท บางคนก็ใช้ระบบเหมาจ่าย ไป โดยปีทผ ี่ ่านมาทางกลุ่มมีรายได้ 850,000 บาท และในช่วงปลายปีหลังจากหักค่าใช้จ่าย ต่างๆ หมดแล้ว ก็จะปันส่วนก�ำไรสุทธิกัน โดย แบ่งให้ผู้ถือหุ้นร้อยละ 30 คืนสมาชิกร้อยละ 15 สวัสดิการต่างๆ เช่น เวลาเจ็บป่วยต้องเข้า โรงพยาบาล จ่ายให้ครัง้ ละ 300 บาท คลอดบุตร มีเงินขวัญถุงให้ รวมแล้วคิดเป็นร้อยละ 15 ที่ เ ห ลื อ ก็ เ ข ้า ก อ ง ทุ น ก ล า ง จั ด กิ จ ก ร ร ม สาธารณประโยชน์ตา่ งๆ หรือบริจาคซะกาต เช่น ให้ทุนการศึกษา บริจาคให้มัสยิด ปัจจุบน ั กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากนมแพะ มีผ้ค ู นทัง้ ในและนอกพืน ้ ทีเ่ ข้ามาดูงานต่อเนือ ่ ง ล่าสุดก็มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนราธิวาส ราชนครินทร์ ด้านวิทยาศาสตร์มาร่วมฝึกงาน ด้วย ถือเป็นพื้นที่แห่งโอกาส และการเรียนรู้ที่ ไม่ธรรมดาจริงๆ... สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 51
กลุ่มส่งเสริมอาชี พสตรี บ้านกูยิ กิติมา มะสูละ
แม้จะเป็นเพียงอาคารซีเมนต์ขนาดย่อม ตั้งอยู่เพียงหลังเดียวกลางทุ่งข้าวภายในหมู่ที่ 5 บ้านกูยิ แต่ที่นี่ก็มีสินค้าหลายชนิด ไม่ว่าจะ เป็นเสื้อผ้า เครื่องประดับ ดอกไม้ประดิษฐ์ ผลงานเหล่านีเ้ กิดขึน ้ ด้วยฝีมอ ื ของแม่บา้ น กลุ่มเล็กๆ ที่หารายได้เสริมมาเลี้ยงชีวิตในยุค ที่ยางพาราราคาตกต�่ำ กิ ติ ม า มะสู ล ะ ประธานกลุ ่ม ส่ง เสริ ม อาชีพสตรี บ้านกูยิ ย้อนความให้ฟังว่า สมัยก่อน เธอรับจ้างผลิตสินค้าจากผ้าบาติก โดยท�ำอยู่ ภายในครอบครัว ไม่ได้มีลูกศิษย์ลูกหาที่ไหน เมื่อท�ำไปเรื่อยๆ ชาวบ้านก็เริ่มเห็น เริ่มสนใจ อยากจะท�ำบ้าง ปี 2546 เลยรวบรวมสมัคร พรรคพวกจ�ำนวนหนึ่ง ของบจากส�ำนักงาน ส่ง เสริ ม การศึ ก ษานอกระบบและการศึ ก ษา ตามอัธยาศัย หรือ กศน. ต�ำบลตะปอเยาะ มาจัด กิจกรรมอบรมเป็นเวลา 100 ชัว่ โมง มีสมาชิก เริ่มแรก 20 คน จากทั้งต�ำบล พอเรียนเสร็จ ชาวบ้านทีส ่ นใจก็เสนอให้มก ี ารรวมกลุ่มขึน ้ มา “การรวมกลุ่มนี้ ไม่ได้มีการลงเงิน ลงหุ้น คือใครมาท�ำงานกับเรา ก็จะจ้างเป็นชิ้นๆ ไป โดยเรามี ห น่ว ยงานเข้า มาช่ว ยอุ ด หนุ น พวก อุปกรณ์ต่างๆ ท�ำให้ชาวบ้านไม่ต้องลงทุนเอง สมาชิ ก หมุ น เวี ย นเปลี่ ย นไปเรื่ อ ยๆ บางคน แต่งงานไปก็เลิกท�ำ บางคนย้ายถิ่นฐาน แต่มี 52 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
คนใหม่ๆ เข้าไม่ขาดสาย” กิติมาเล่า ส�ำหรับผลิตภัณฑ์ทท ี่ างกลุ่มท�ำอยู่ในเวลา นี้ แบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน กลุ่มแรก คื อ ท� ำ ดอกไม้จ ากผ้า ใยบั ว เช่น ดอกไม้จั ด แจกัน ดอกไม้เป็นช่อ ดอกไม้ติดเข็มกลัด ฯลฯ กลุ่มที่ 2 เป็นผลิตภัณฑ์จากผ้าบาติก ทัง้ ผ้าชิน ้ ผ้าตัดชุด ผ้าเช็ดหน้า ชุดนอน กางเกง เสื้อ ส�ำเร็จ เสื้อยืดลายบาติก ภาพประดับฝาผนัง ผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ฯลฯ กลุ่มที่ 3 คือการ พับผ้าชุดขันหมาก ซึ่งก็จะมีทั้งการพับกระเช้า ดอกไม้ พับกระเช้าผลไม้ พับเป็นปลาหมึก พับชุดกาน�ำ้ พับนกยูง ฯลฯ และกลุ่มสุดท้าย เป็นผลิตภัณฑ์จากเสื่อกระจูดและเตยหนาม เช่น กระเป๋าแบบด�ำงา แฟ้มเอกสาร การติดลาย เดคูพาจ กระเป๋าเอกสาร ฯลฯ ส่ว นค่า จ้า งนั้ น จะให้เ ป็น ขั้ น ๆ ไป ตาม ความยากง่ายของงาน เช่น บางคนถนัดเขียน ลาย โดยการเขียนเทียน ให้เมตรละ 20 บาท หากถนัดระบายสี ให้เมตรละ 25 บาท แต่ถ้า ใครถนัดทัง้ หมดจะรับท�ำทัง้ ชิน ้ ก็ไม่มป ี ัญหา ได้ ค่าจ้างทั้งสองส่วน โดยหน่วยงานที่เข้ามาช่วย สนับสนุนทุนรอน ก็มต ี งั้ แต่องค์การบริหารส่วน ต�ำบลตะปอเยาะ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์อย่าง ผ้า สีบาติก น�้ำยากันสีตก กศน. สนับสนุนงบ ในการอบรมอย่างต่อเนื่อง เพราะกิติมาเป็น
วิทยากรที่ กศน. เชื้อเชิญให้สอนเป็นประจ�ำ “เมือ ่ ปี 2557 เราเห็นวัตถุดบ ิ หลายๆ อย่าง สามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น เตยหนาม ก็เลยเอามาให้ชาวบ้านลองพัฒนาเป็นสินค้าดู โดยเราไม่ไ ด้เ ป็น คนสอนเอง แต่ก็ จ ะเป็น ตั ว แทนไปพู ด คุ ย กั บ หน่ว ยงาน เช่น ศู น ย์ พิกล ุ ทอง หรือ กศน.ให้เขาจัดหาครูมาให้ แล้ว สมาชิกคนไหนสนใจก็ไปเรียน แล้วมาท�ำ สินค้า บางตั ว ผลิ ต เสร็ จ แล้ว ก็ จ ะมี ร ้า นค้า มารั บ ไป ขายต่อ แต่เราจะไม่ท�ำเก็บไว้มาก ใช้วิธีท�ำ ตามออเดอร์เป็นหลัก” ประธานกลุ่มอธิบาย ส่วนสินค้าอันดับ 1 ของกลุ่มคือเสื้อยืด เพ้นท์ลายบาติก ซึ่งเป็นสินค้าตัวใหม่ของกลุ่ม ล่าสุดเพิ่งไปออกงาน 100 ปีนราธิวาสมา ใคร สนใจเราก็เพ้นท์ให้ดูสดๆ ส่วนที่เป็น OTOP 3 ดาวก็มีผ้าชิ้นไว้ตัดเสื้อ โดยการสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์แต่ละอย่างนัน ้ เกิดขึน ้ จากการไปเห็น ไปเรียนรู้ แล้วกลับมาพัฒนางานของตัวเอง ปัจจุบันสมาชิกที่ท�ำงานมีประมาณ 7-8 คน ส่วนใหญ่จะเป็นคนหมู่ที่ 5 บ้านกูยิ แต่ก็ จะมีจากหมู่อื่นด้วย เช่น หมู่ที่ 3 บ้านบลูกา และคนไหนที่ ส นใจแต่ไ ม่มี ค วามรู ้ม าเลย ประธานกลุม ่ ก็พร้อมจะแบ่งปันความรู้ให้ เพือ ่ ให้ ชาวบ้านสามารถต่อยอดเป็นอาชีพได้ต่อไป...
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 53
การศึกษา ‘วิ ช าชี วิ ต ’ Education
54 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
การศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นมี ความแตกต่างจากพืน ้ ทีอ ่ น ื่ ๆ ค่อนข้างมาก อย่างทีต ่ ำ� บล ตะปอเยาะนั้น ผู้คนมากกว่าร้อยละ 99 นับถือศาสนา อิ ส ลาม ฉะนั้ น การเรี ย นการสอนจึ ง มี ทั้ ง ระบบสามั ญ ควบคู่ไปกับการสอนศาสนา ทีน ่ ี่จงึ มีทงั้ โรงเรียนเอกชน ที่สอนวิชาทั่วไปควบคู่กับการสอนศาสนา มีโรงเรียน สังกัด สพฐ. ซึ่งเวลานี้ก็เริ่มปรับระบบ มีการน�ำหลัก ศาสนาเข้ามาสอนด้วย นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนตาดีกา ที่สอนเสริมเรื่องหลักศาสนาอิสลาม และศูนย์กีรออาตี ซึ่งสอนการอ่านอัลกุรอาน ⛅
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 55
อิสลามแบบเข้ม
แบบโรงเรียนบ้านบู เกะบากง
ทีน ่ เี่ ป็นโรงเรียนเก่าแก่ ซึง่ มีประวัตศ ิ าสตร์ สืบย้อนไปไกลถึงปี 2472 ในวันนี้โรงเรียน บู เ กะบากงคื อ ต้น แบบส� ำ คั ญ ของการศึ ก ษา แบบบู ร ณาการ ที่ เ ข้า ใจถึ ง บริ บ ทของพื้ น ที่ อย่างแท้จริง ต่วนสตอพา ซือนิ ผู้อ�ำนวยการโรงเรียน บูเกะบากง อธิบายว่า โรงเรียนนี้ด�ำเนินการ สอนในรู ป แบบอิ ส ลามแบบเข้ม เนื่ อ งจาก ส�ำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้น พืน ้ ฐาน (สพฐ.) เล็งเห็นว่าโรงเรียนของรัฐทีอ ่ ยู่
56 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เริ่มมีเด็กเรียน น้อย ด้วยคนในชุมชนเองมีความต้องการให้ บุตรหลานได้เรียนแบบสามัญและศาสนาด้วย เนื่องจากที่ผ่านมาคาบเรียนศาสนาอิสลามมี เพี ย ง 2 ชั่ ว โมงต่อ สั ป ดาห์ จึ ง ร่ว มกั บ ศู น ย์ อ�ำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ออกแบบหลักสูตรการเรียน อีกแบบหนึ่ง ในปี 2551 โดยน�ำวิชาอิสลาม ศึกษาเข้าไปเรียนควบคู่กบ ั กลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั่วไป
ต่วนสตอพา ซือนิ
จากการเรียนวิชาศาสนา 1 รายวิชา เพิ่ม เป็น 8 รายวิชา โดยเนือ ้ หาทีเ่ พิม ่ เติมขึน ้ มานัน ้ ประกอบไปด้วย การอ่านพระคัมภีร์อล ั กุรอาน วจนะของท่า นนบี มู ฮั ม หมั ด ศาสนบั ญ ญั ติ จริยธรรมคุณธรรม ศาสนประวัติ ภาษาอาหรับ ภาษามลายู และหลักศรัทธา “เราเพิ่มการเรียนศาสนาอิสลามเป็น 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยเพิ่มจากเวลาในตาราง สอนปกติ ขณะเดี ย วกั น ก็ ต ้อ งเพิ่ ม บุ ค ลากร เข้ามาด้วย ส่วนคุณสมบัติของคนที่จะมาสอน ตรงนี้ได้ ต้องจบปริญญาตรีด้านศาสนาด้วย และสามัญด้วย ซึง่ โรงเรียนจะเป็นผู้คด ั เลือกเอง โดยแต่ละปีทางกระทรวงจะส่งครูมาให้คนหนึง่ เช่น ปี 2551 เราเปิดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทาง สพฐ. ก็ให้เราเปิดรับครูมาคนหนึง่ ปัจจุบน ั มีครูรวม 6 คน บางคนก็เป็นพนักงาน บางคน ก็เป็นครูอัตราจ้างรายชั่วโมง หรือรายเทอม โดยเราแบ่งเวรของครูเป็น 2 ห้องต่อ 1 คน เพราะเรามีชั้นเรียนละ 2 ห้อง” รุสมัน หะยีมะลี ครูอิสลามศึกษา ช่วย เสริมว่า ข้อดีของการเรียนแบบนี้ อย่างหนึง่ คือ เด็ ก ไม่จ� ำ เป็น ต้อ งไปเรี ย นโรงเรี ย นตาดี ก า เพิม ่ เติม เพราะฉะนัน ้ เด็กจะมีเวลาว่างมากขึน ้ วันเสาร์-อาทิตย์สามารถอยู่กับครอบครัวได้ โดยเมือ ่ เรียนจบก็จะมีประกาศนียบัตรให้ 2 ใบ สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 57
ใบหนึ่งเป็นของสายสามัญ อีกใบเป็นของสาย ศาสนา เพราะฉะนั้นเด็กที่สนใจสายศาสนาก็ สามารถไปต่อ โรงเรี ย นเอกชนสอนศาสนา ได้เลย ที่ส�ำคัญ ตลอดระยะเวลา 7 ปีมานี้ ยังพยายามปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสม เช่น ส่งครูไปศึกษาภาษามลายูเพิ่มเติมที่ประเทศ มาเลเซีย 1 เดือน ซึ่งที่ผ่านมาได้ส่งไปแล้ว หลายคน “ตั้งแต่เราเป็นอิสลามแบบเข้ม สังเกตว่า พฤติ ก รรมของเด็ ก เปลี่ ย นไปในทางที่ ดี ม าก เพราะหลั ก ศาสนาอิ ส ลามนั้ น เกี่ ย วเนื่ อ งกั บ กิจกรรมในการด�ำรงชีวต ิ ประจ�ำวัน เช่น ศาสนา อิสลามจะเน้นในเรือ ่ งความสะอาด เพราะเป็น ส่ว นหนึ่ ง ของศรั ท ธา เป็น วจนะ ที่ ส� ำ คั ญ สามารถตอบโจทย์ข อง สพฐ. ได้ เพราะมี นักเรียนเพิม ่ ขึน ้ ” ผู้อำ� นวยการอธิบายเพิม ่ เติม พร้อมย�้ำถึงปณิธาน “เด่นด้วยดูอา มารยาทดี มีความสะอาดงดงามตามวิถีอิสลาม” นอกจากการสอนเรื่องศาสนาจะเด่นแล้ว ที่นี่ยังจัดบริการการศึกษาแก่เด็กแอลดี หรือ เด็กที่อยู่ในสภาวะบกพร่องในการเรียนรู้ โดย มีเด็กที่อยู่ในข่ายนี้มากถึง 39 คน กูราณีย์ซส ั ซือนิ ครูพเี่ ลีย ้ งเด็กแอลดี เล่า ว่า โครงการนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2555 โดยเป็น นโยบายของ สพฐ. ทีต ่ ้องการให้โรงเรียนแต่ละ 58 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
โรงเรียนคัดเด็กกลุ่มนีอ ้ อกมา ซึง่ หากพิจารณา ตามความบกพร่อ งของเด็ ก ตามที่ ก ระทรวง ศึกษาธิการก�ำหนดจะมีอยู่ 9 ประเภทด้วยกัน อาทิ เด็ ก ที่ บ กพร่อ งการเรี ย นรู ้ เช่น อ่า น หนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้ตามเกณฑ์ หรือการคิดค�ำนวณมีปัญหา ฯลฯ โดยคนหนึ่ง อาจจะเป็นเพียง 1-2 อย่าง หรือเป็นทัง้ หมดเลย “เขตพื้นที่การศึกษามองว่าโรงเรียนเรา น่าจะเป็นต้นแบบให้แก่ที่อื่นได้ เพราะเรามี ความพร้อมทุกๆ อย่าง อาคารสถานที่ก็มี ครู ก็พร้อมให้ความช่วยเหลือ ซึง่ วิธก ี ารนัน ้ ขัน ้ แรก เราจะประเมิ น เด็ ก ด้ว ยการคั ด กรองแบบ KUS-SI ก่อน โดยเราจะถามครูแต่ละห้องว่า เด็ ก คนไหนมี แ นวโน้ม จะเป็น แอลดี ครู ก็ จ ะ คัดเลือกมา บางคนผู้ปกครองจะมีหนังสือติด มาเลย เมื่อครูคัดมาแล้ว ก็จะท�ำการทดสอบ ว่าเป็นจริงหรือไม่ จากนั้นก็ส่งรายชื่อไปที่เขต เขตจะส่งต่อไปที่ กรุงเทพฯ ต่อมาเราก็น�ำเด็ก คนนีม ้ าดูแลกันอย่างใกล้ชด ิ สักเทอมหนึง่ ทัง้ นี้ เราจะไม่มก ี ารแยกเด็กออกเด็ดขาด เพราะเด็ก แอลดีสามารถพัฒนาได้ โดยจะใช้วิธีให้เด็ก หาเวลาว่างมาเรียนกับเราเพิม ่ เติม ซึง่ ก่อนจะท�ำ เราต้องประชุมกับผู้ปกครองด้วย ว่าเด็กของท่าน เป็น อย่า งนี้ ซึ่ ง ส่ว นใหญ่จ ะยอมรั บ เพราะ ต้องการให้ลูกกลับมามีพัฒนาการเป็นปกติ”
กูราณีย์ซัส อธิบาย ที่นี่มีสโลแกนให้เด็กกลุ่มนี้ว่า ‘เรียนชีวิต ไม่ได้เรียนวิชา’ เพื่อเน้นให้เด็กออกสู่สังคมได้ สามารถช่ว ยเหลื อ ตั ว เองได้ พร้อ มกั น นั้ น โรงเรียนยังจัดศูนย์การเรียนรู้โดยเฉพาะ ซึง่ จะ มีทงั้ ห้องสมุด ห้องแต่งตัว ของเล่น นอกจากนัน ้ ก็ จ ะมี ก ารกระตุ ้น พั ฒ นาการเด็ ก ผ่า นการใช้ สีสันที่หลากหลาย เพราะเด็กแอลดีจะเรียนรู้ ด้วยการใช้ความจ�ำ นอกจากการเรียนการสอนแล้ว อีกหนึ่ง ผลงานรูปธรรมทีโ่ รงเรียนแห่งนีท ้ ำ� คือการผลิต น�้ำดื่ม ผู้อ�ำนวยการเล่าว่า แต่ก่อนที่นี่มีปัญหา เรื่องน�้ำไม่เพียงพอ กรมทรัพยากรน�้ำบาดาล เลยให้งบประมาณ พร้อมเข้ามาช่วยเจาะน�้ำ บาดาลให้ แต่พอเจาะแล้วมีไม่เพียงพอที่จะ เลี้ยงคนทั้งหมู่บา้ น ก็เลยใช้วิธีน�ำนี้บรรจุขวด แล้วน�ำไปขาย เพือ ่ เป็นทางเลือกให้ชาวบ้านได้ บริโภคน�ำ้ สะอาดและราคาถูก โดยปัจจุบน ั มีนำ�้ บรรจุขวดอยู่ 2 ประเภท คือขวดขุ่น ราคา 5 บาท และถัง 20 ลิตร ราคา 33 บาท โดยโรงเรียน มี ร ายได้ป ระมาณหมื่ น กว่า บาทต่อ เดื อ น สามารถน�ำมาพัฒนาโรงเรียนต่อไป “ส่วนเด็กๆ นั้นดื่มฟรี มีให้กดกันตามจุด ต่างๆ ในโรงเรียน” ผู้อ�ำนวยการสรุปพร้อม รอยยิ้ม
รุสมัน หะยีมะลี
กูราณีย์ซัส ซือนิ
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 59
ศูนย์อัล-อีมามอัสซาฟี อี ท่องจ�ำอัลกุร-อ่านนิลการีม การเข้า ถึ ง พระคั ม ภี ร ์อั ล กุ ร อานถื อ เป็น ภารกิจส�ำคัญที่ชาวมุสลิมทุกคนพึงปฏิบัติ แต่ อุปสรรคอย่างหนึง่ ทีเ่ ป็นสิง่ กีดขวางส�ำคัญ คือ ภาษาที่ไม่คุ้นเคย ด้วยเหตุนี้ นัซรีน มอสาแม ข้าราชการครูจากโรงเรียนบ้านบลูกาสนอ จึง เปิดสอนการอ่านพระคัมภีร์ที่บ้าน เพื่อสอน การอ่านภาษาอาหรับให้แก่เยาวชน และชาวบ้าน ที่อ่านตัวอักษรไม่เป็น
60 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 61
การสอนอ่า นภาษาอาหรั บ แบบดั้ ง เดิ ม หรือทีเ่ รียกว่า ‘บัฆดาดียะห์’ ซึง่ เป็นระบบจาก ประเทศอิรก ั นัน ้ เรียนยาก เพราะใช้วธิ อ ี ่านแบบ สะกดค�ำ หรืออ่านตามปากของครูผ้ส ู อน ซึง่ ครู ส่วนมากก็จะอ่านจากพระคัมภีร์ไปเลย ผลก็คอ ื ผู้เรียนส่วนใหญ่มีปัญหา เพราะไม่สามารถ จดจ� ำ สิ่ ง ที่ เ รี ย นมาแล้ว ได้ เพราะไม่รู จ้ ั ก พยัญชนะ อธิบายๆ ง่ายคือ เรียนข้างหน้า ลืมข้างหลัง ด้วยเหตุนี้ ครูจงึ ต้องหาวิธก ี ารอ่าน ทีแ่ ตกต่างออกไป ซึง่ วิธห ี นึง่ ทีน ่ ่าสนใจคือ การอ่าน แบบกี ร ออาตี ที่ มี ต ้น แบบมาจากประเทศ อินโดนีเซีย เพราะเป็นการเรียนที่เริ่มจากการ อ่านพยัญชนะ สระก่อน แล้วค่อยขยายเป็นค�ำ เป็นประโยค ซึ่งถือเป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีให้ แก่นักเรียน นัซรีนเปิดการสอนอ่านพระคัมภีร์อลั กุรอาน ให้กับชาวบ้าน ในลักษณะของงานจิตอาสา ไม่มี ก ารเก็ บ ค่า เรี ย นเล่า เรี ย น โดยมี เ ด็ ก มา เรียนประมาณ 10-15 คน จนต่อมานายก องค์ก ารบริ ห ารส่ว นต� ำ บลในเวลานั้ น สนใจ 62 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
ในหลักสูตรกีรออาตีที่นัซรีนสอน เพราะเห็น เป็น หลั ก สู ต รลั ด อ่า นเข้า ใจง่า ย เข้า ใจเร็ ว สามารถอ่านพระคัมภีร์ได้รวดเร็วกว่าระบบเก่า ถึงเท่าตัว จึงส่งเสริมให้มีการเปิดศูนย์อย่าง จริงจังขึ้นมา “การเรียนกีรออาตีนน ั้ ง่ายกว่า เมือ ่ ก่อนเด็ก ทีจ่ บชัน ้ ประถมศึกษาปีที่ 6 หากเรียนระบบเก่า อาจจะอ่านพระคัมภีร์ได้แค่ 2 คน แต่ถ้าเป็น ระบบใหม่ จะเพิม ่ เป็น 8 คน” นัซรีนยกตัวอย่าง ง่ายๆ ด้ว ยเหตุ นี้ นั ซ รี น จึ ง รวบรวมเพื่ อ นที่ จ บ การศึ ก ษาจากสหรั ฐ อาหรั บ เอมิ เ รตส์ และ หลักสูตรอิสลามศึกษาในประเทศไทย รวม 3 คน มาจัดตั้งเป็นศูนย์อัล-อีมามอัซซาฟีอี ท่องจ�ำ อัล-กุรอานนิลการีม (ระบบกีรออาตี) เพือ ่ สอน การอ่า นแบบกี ร ออาตี โดยได้ง บสนั บ สนุ น จากมูลนิธิเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาสังคม อ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยศูนย์ฯ เปิด ด�ำเนินการเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2552 มี นักเรียนเข้าศึกษาจ�ำนวน 180 คน เก็บค่าเรียน
นัซรีน มอสาแม
เดือนละ 40 บาท ส่ว นเนื้ อ หาการเรี ย นการสอนจะแบ่ง หนังสือออกเป็น 5 เล่ม แต่ละเล่มจะมีความ ยากง่ายแตกต่างกันไป โดยเล่มที่ 1 เนื้อหาจะ เป็น เรื่ อ งพยั ญ ชนะกั บ สระ เล่ม ที่ 2 เริ่ ม มี การสะกดค�ำ ผสมค�ำ เล่มที่ 3 ผสมค�ำย่อยๆ ให้เป็นกลุ่มค�ำ เล่มที่ 4 ก็จะเป็นเรือ่ งค�ำเหมือนกัน แต่จะซับซ้อนกว่า ผสมตัวอักษรมากกว่า และ เล่มที่ 5 จะเป็นเรื่องของประโยค เมื่อเรียน แต่ละเล่มจบ จะมีการทดสอบ หากผ่านทั้ง 5 เล่ม ก็ จ ะมี เ ล่ม พิ เ ศษอี ก เล่ม เป็น เล่ม เสี ย ง ท�ำนองคล้องจอง ส่วนเรื่องความหมายนั้นจะ เรียนต่อที่โรงเรียนอีกที ปัจจุบน ั ศูนย์อล ั -อีมามอัซซาฟีอี มีนก ั เรียน 180 คน ครู จ� ำ นวน 14 คน โดยใช้ร ะบบ ครู 1 คน ต่อเด็ก 15 คน ได้รับการสนับสนุน งบประมาณจากองค์ก ารบริ ห ารส่ว นต� ำ บล ตะปอเยาะ จ�ำนวน 60,000 บาท เพื่อเป็น สินน�้ำใจของครู ส่วนการแบ่งนักเรียนจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
หลั ก ๆ คื อ กลุ ่ม เด็ ก ส่ว นใหญ่รั บ ตั้ ง แต่ชั้ น อนุบาล 2 จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดย เด็กประถมนั้น ก่อนเรียนจะมีการทดสอบว่า เด็ ก คนนั้ น มี ค วามรู ้ถึ ง ขั้ น ไหน เพื่ อ จะได้จั ด การศึกษาในเล่มที่ตรงกับระดับความรู้ เรียน ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 18.30-20.30 น. กลุ่มที่ 2 คือผู้ใหญ่ และผู้สงู อายุ ส่วนใหญ่อายุ ประมาณ 70 ปีขึ้นไป จัดสอนทุกวันอาทิตย์ ตัง้ แต่ 13.30-15.00 น. วันละประมาณ 10 คน นอกจากการเรียนระบบกีรออาตีแล้ว ศูนย์ อัล-อีมามอัซซาฟีอียังให้ความส�ำคัญในเรื่อง จริ ย ธรรมด้ว ย โดยมี ก ารสอนการละหมาด วันละ 5 เวลา มีการฝึกให้นักเรียนปฏิบัติตาม แบบอย่า งของท่า นนบี มู ฮั ม หมั ด รวมไปถึ ง การท่องจ�ำซูเราะห์ หรือบทสวดต่างๆ เช่น ซูเราะห์ยาซีน อัซ-ซัจดะห์ และอัล-มุลก ุ ฺ เพราะ ที่ นี่ จ ะมี กิ จ กรรมอ่า นซู เ ราะห์เ ป็น ประจ� ำ ทุกวันที่ 15 ของเดือน ซึง่ ทัง้ หมดนีก ้ เ็ พือ ่ เตรียม ความพร้อมสู่การเป็นศาสนิกชนที่ดี เปี่ยมล้น ไปด้วยศรัทธาและจริยธรรม... สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 63
มือโฆษณา แห่งตะปอเยาะ
ซูมียา ดาโอะ
เมื่อไม่นานมานี้ ทาง อบต.ตะปอเยาะได้ ติดต่อขอเข้าร่วมโครงการ TYC (TOT Young Club เด็กไทยมีดี ใช้ไอทีเพื่อชุมชน) ซึ่งเป็น กิจกรรมให้เยาวชนใช้เทคโนโลยีสร้างสื่อ โดย ร่ว มมื อ กั บ โรงเรี ย นดารุ ล กุ ร อานิ ล การี ม โรงเรียนเอกชนระดับชั้นมัธยมศึกษา ซึ่งเป็น โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามประจ�ำต�ำบล มา ร่วมท�ำโครงการด้วยกัน “โครงการนี้ เ ข้า มาเมื่ อ ปี 2557 โดยมี วัตถุประสงค์ให้นักเรียนเป็นผู้ประชาสัมพันธ์ ชุมชน ทาง อบต.ติดต่อมา ก็เลยสนับสนุน เพราะเราเห็นว่า เด็กเขาชอบใช้โทรศัพท์กน ั อยู่ แล้ว ทัง้ โทรทัง้ แชท ซึง่ มันไม่ได้สร้างประโยชน์ อะไรกับชุมชน ดังนัน ้ ถ้าเขาได้ใช้เครือ ่ งมือนีม ้ า ช่วยประชาสัมพันธ์ว่าอะไรคือของดีของเด่นใน ชุมชนก็น่าจะมีประโยชน์กว่า” ซูมียา ดาโอะ ครูประจ�ำโรงเรียนกล่าว เริ่มแรก ทางโรงเรียนได้เปิดรับสมัครเด็ก นักเรียน โดยมีคุณสมบัติว่า ต้องเรียนที่นี่ และ ใช้ชีวิตอยู่ภายในต�ำบลตะปอเยาะ จากนั้นก็ คัดเลือกจนเหลือ 10 คน เพื่อส่งไปอบรมที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ที่นั่นเยาวชนได้เรียนรู้การท�ำเฟซบุก ๊ เพจ การ ถ่ายรูป การน�ำเสนอและแบ่งปันเรื่องราวบน เพจ ฝึกใช้โปรแกรมตัดต่อ การอัพโหลดวีดิโอ 64 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
ลงเว็บไซต์ YouTube โดยอบรมอยู่ 3 วัน 2 คืน พอกลับมาก็เริ่มต่อยอดทันที “เราไปถ่ายรูปกิจกรรมหมู่บ้าน ส่วนข้อมูล นั้นทาง อบต. มีเป็นฐานข้อมูลอยู่แล้ว เราน�ำ ข้อมูลนั้นมาต่อยอดอีกที เช่น สินค้าอย่างสบู่ นมแพะ ย่านลิเภา หรือซาลาเปาทอด เราก็ไป ถ่ายรูปกัน โดยมีรุ่นพี่ TYC เข้ามาเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งนอกจากจะมาดูแล ยังเอาอุปกรณ์ที่จ�ำเป็น ทั้ง แฟลชไดร์ฟ ซิมการ์ดมาให้ เพื่อใช้กันใน กลุ่ม” นูรูห์ บินนิเตะ นักเรียนชั้น ม.5 กล่าว หน้าที่ของเด็ก แต่ล ะคนจะไม่เ หมื อ นกั น บางคนเป็น คนถ่า ยภาพ บางคนถ่า ยวี ดิ โ อ บางคนรับหน้าทีเ่ ป็นพิธก ี ร เพราะสือ ่ ทีอ ่ อกมา ไม่ไ ด้มี เ พี ย งแค่ภ าพนิ่ ง เท่า นั้ น แต่ยั ง มี ค ลิ ป วีดิโอด้วย ซึ่งสารคดีที่ท�ำไปแล้วก็เป็นเรื่องที่ เกีย ่ วกับการเลีย ้ งแพะตามวิถเี ศรษฐกิจพอเพียง เชื่อมโยงกับวิชาสังคมศึกษา โดยงานทั้งหมด ได้รบ ั การเผยแพร่บนเฟชบุ๊ก ‘TYC ชุมชนบ้าน ตะปอเยาะ’ ซึ่งปัจจุบันมียอดคนกดถูกใจแล้ว ประมาณ 1,000 คน
ส่วนระยะเวลาการท�ำกิจกรรมนั้น พี่ใหญ่ ของโรงเรียนอย่าง เสาฟี สาเมาะ เสริมว่า หลั ก ๆ จะท� ำ ช่ว งวั น หยุ ด ศุ ก ร์แ ละเสาร์ (โรงเรียนที่นี่หยุดการเรียนการสอนในวันศุกร์ และเสาร์) นอกจากนั้ น ก็ มี กิ จ กรรมเสริ ม หลักสูตรบ้า ง เช่น อบต.จั ด กิ จ กรรมอบรม ถ่า ยภาพ หรื อ ขอให้ช ่ว ยผลิ ต โปสเตอร์ ประชาสัมพันธ์ “ถ้า สิ น ค้า ในชุ ม ชนได้ไ ปออกงาน พวก เด็กๆ กลุ่มนี้ ก็จะไปช่วยกันถ่ายภาพ และ ลงข่าวประชาสัมพันธ์ ซึ่งตอนนี้เราวางแผน ต่อยอดเรื่อยๆ เพราะเราท�ำ MOU กับ TOT ไว้หลายปี ขณะเดียวกันก็ตั้งใจว่า จะเอาสาระ ความรู้ด้านเศรษฐกิ จพอเพียงนี้มาบูรณการ เข้ากับกลุ่มสาระวิชาสังคมศึกษา เช่น เรื่อง น�้ ำ นมแพะ เราจะไปถ่า ยท� ำ วิ ธี ก าร ว่า ท� ำ อย่างไร มีประโยชน์อย่างไร ซึ่งจะพยายาม ถ่ายทอดกันแบบรุ่นต่อรุ่น ล่าสุดเราก็ตงั้ ชมรม อิ ส ลามไอที ดึ ง น้อ งๆ ที่ ส นใจเข้า ร่ว มเป็น สมาชิก เพือ ่ ให้เกิดความต่อเนือ ่ งของกิจกรรม” ครูซูมียาสรุปความตั้งใจ
โรงเรียนบ้านบลูกาสนอ
66 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
เดินเข้าไปในโรงเรียนบ้านบลูกาสนอ หมู่ที่ 4 จะพบความร่มรื่นที่รับประทานได้ เพราะ ที่ นี่ ใ ห้เ ด็ ก นั ก เรี ย นท� ำ เกษตรกรรม ปลู ก ผั ก หลายสิบแปลง เรียงรายรอท่าให้ดูแลรดน�้ำ ยังไม่ทน ั ทีภ ่ าพความคิดจะเปลีย ่ น น้องๆ ก็เดิน หยอกล้อกันมา ในมือถือบัวรดน�้ำ ก่อนเดิน ลงไปตักน�ำ้ ทีบ ่ ่อขุดข้างแปลงผัก ซึง่ ในบ่อนีม ้ ป ี ลา หลากหลายชนิด รอเก็บเป็นอาหารกลางวัน
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 67
ภาพทีเ่ ห็นนี้ เกิดขึน ้ จากความสมัครสมาน สามัคคีของบรรดาครูและนักเรียนที่อยากให้ โรงเรียนของพวกเขากลายเป็นศูนย์เรียนรู้ด้าน เศรษฐกิ จพอเพียง ซึ่งความมุ่งหวังดังกล่าว ไม่ได้ไกลเกินเอื้อมแล้ว ทั้งยังไม่ได้ตอบโจทย์ ด้านการเกษตรเท่านัน ้ แต่ยงั ตอบโจทย์การใช้ชวี ต ิ ให้มีคุณค่า โดยพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด นิอม ู า ดือราแม รองผู้อำ� นวยการโรงเรียน บ้า นบลู ก าสนอ เล่า ว่า โครงการนี้ เ ริ่ ม ต้น มาจากทางจังหวัดนราธิวาสได้จด ั งบประมาณ มาให้ตั้งแต่ปี 2555 เพื่อท�ำโครงการเกี่ยวกับ อาหารกลางวันของนักเรียน ซึ่งจะมีการอบรม ทั้งครูและนักเรียน โดยครู 2 คน คือตัวเขากับ เล็ก แมะเต๊ะ หัวหน้าผู้รับผิดชอบโครงการ คนปัจจุบน ั กับยุวเกษตรกรอีก 15 คน ไปดูงาน ที่ ศู น ย์ศึ ก ษาการพั ฒ นาพิ กุ ล ทอง อั น เนื่ อ ง
68 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
มาจากพระราชด�ำริ จังหวัดนราธิวาส เป็นเวลา 2 วัน ซึง่ ได้แนวทาง และแรงบันดาลใจกลับมา ท�ำที่โรงเรียน พออบรมเสร็จครู 2 คนก็แยกไปอบรมต่อ ที่โครงการลูกพระดาบส สมุทรปราการตาม พระราชด�ำริ อีก 12 วัน ได้ความรู้เรือ ่ งปลูกผัก เพาะเห็ ด จั ด การกั บ ระบบชลประทาน ซึ่ ง สามารถมาปรับใช้กับโรงเรียนได้เป็นอย่างดี “หลั ง กลั บ มาเราปรั บ แปลงเกษตรเดิ ม ของเรา เพราะเราท�ำส�ำหรับเรียนอย่างเดียว จึ ง ท� ำ โครงการของบประมาณไปที่ จั ง หวั ด ได้มา 200,000 บาท มาปรับปรุงบ่อปลา เพราะมันเป็นบ่อเก่าแล้วมีแต่นำ�้ เสีย ส่วนพวก แปลงผั ก ก็ ซื้ อ พั น ธุ ์พื ช มาลง หลั ง จากนั้ น เราก็ ไ ด้ง บสนั บ สนุ น เรื่ อ ยมาปีล ะ 40,000 บาท” นิอูมา เล่า
นิอูมา ดือราแม
ส่ว นการแบ่ง หน้า ที่ ใ นการท� ำ งาน รอง ผู้อำ� นวยการบอกว่า เรือ ่ งช่วงอายุเป็นสิง่ ส�ำคัญ หากเป็นเด็กเล็ก ป.1-3 จะให้ดูแลเรื่องง่ายๆ ไปก่อน เช่น รดน�้ำใส่ปุ๋ยสมุนไพร ช่วยเหลือ งานรุ่นพี่ตามก�ำลัง ส่วนเด็กโต ป.4-6 เป็น ผู้รับผิดชอบหลัก ตั้งแต่ดูแลแปลงผัก บ่อปลา เพราะสิ่งนี้อยู่ในหลักสูตรวิชาเรื่องเศรษฐกิจ พอเพี ย ง โดยความรั บ ผิ ด ชอบ 3-4 คน ต่อแปลง ซึ่งจะมีครูเป็นผู้ดูแลช่วยเหลือด้าน อุ ปกรณ์ ส่วนพวกพันธุ์พืช มี เ กษตรอ�ำ เภอ ประมงอ�ำเภอมาช่วยจัดการ อย่างล่าสุด ก็เอา พันธุ์ปลาดุก ปลาไน ปลานิล มาให้ ส่วนปลา หมอเทศ โรงเรี ย นก� ำ ลั ง ด� ำ เนิ น การขอรั บ สนับสนุนอยู่ โดยปลาทีเ่ ลีย ้ งนีไ้ ม่ได้ขาย เพราะ ตั้งใจใช้สำ� หรับอาหารกลางวันของนักเรียน ส่วนพวกผัก พืชสมุนไพรนี้ ขายได้ กินเอง ด้วย โดยที่นี่จะมีสหกรณ์เล็กๆ ซึ่งเกิดขึ้นจาก การรวมเงินของเด็กและครูคนละ 10 บาท จ�ำหน่ายผักสดๆ ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 15.10-
15.40 น. ทั้งผักบุ้ง แตงกวา ผักยาว คะน้า หัวหอม เห็ดนางฟ้าภูฐาน โดยเงินที่ได้ก็น�ำ กลั บ มาหมุ น เวี ย นใช้ท� ำ กิ จ กรรม เป็น ค่า น�้ ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายจิปาถะ ล่าสุดทางรองผู้อำ� นวยการยังแอบเกริ่นๆ มาว่า นอกจากพืชสวนครัวแล้ว จะเริม ่ ส่งเสริม ให้ปลูกไม้ยืนต้นบ้าง ทั้งมะนาว มะละกอ เพื่อ ให้เ ด็ ก ได้ฝ ึก กิ จ กรรมที่ ห ลากหลาย และ สามารถน�ำผลผลิตไปต่อยอดได้ จากความตั้ ง ใจจริ ง ของคณะครู แ ละ นักเรียน 254 คน จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าท�ำไม เมือ ่ ปี 2557 โรงเรียนบ้านบลูกาสนอ ถึงได้รบ ั การยกย่องให้เป็นโรงเรียนดีเด่นด้านโครงการ พัฒนาและขยายผลโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชด�ำริ ระดับอ�ำเภอ เพราะการบูรณาการ เรือ ่ งวิถชี วี ต ิ อย่างลงตัว คือปัจจัยส�ำคัญทีท ่ ำ� ให้ นักเรียนที่นี่เติบโตอย่างมีคุณภาพ และรู้จัก พึ่งพาตนเอง...
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 69
การดู แ ล
สุ ข ภาพชุ ม ชน Health
70 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
สุขภาพของคนผู้คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยงั คงต้องพึง่ พาความร่วมมือ ของทั้งท้องที่ ท้องถิ่น และหน่วยงานรัฐในพื้นที่ เพื่อจัดการการดูแลสุขภาพ โดยทีน ่ ม ี่ โี รงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล 1 แห่ง ซึง่ คอยเป็นศูนย์กลางในการ ดูแลรักษาพยาบาลเบือ ้ งต้น ทัง้ เป็นผู้ผลักดันกิจกรรมร่วมกับ อบต. ผู้ใหญ่บ้าน อสม. เพื่อสร้างการดูแลสุขภาพ ในพื้นที่ให้ครอบคลุมมากที่สุด ⛅
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 71
นวดแผนโบราณ และยาสมุ นไพร เอกสิทธิ์ บืองาฉา
ณ บ้านไม้หลังหนึ่งในหมู่ที่ 2 บ้านบูเกะ บากง ชายผู ้ห นึ่ ง ก� ำ ลั ง ลงแรงบี บ นวดคนไข้ ด้วยความทะมัดทะแมง “ปกติ ผ มรั บ นวดเพื่ อ รั ก ษาอย่า งเดี ย ว ไม่รับนวดเพื่อผ่อนคลาย หรือนวดสุขภาพ” เอกสิทธิ์ บืองาฉา หรือทีช่ าวบ้านเรียกติดปาก ว่า หมอเอก เจ้าบ้านเอ่ยขึ้น ย้อนกลับเมื่อปี 2543 เอกสิทธิ์เคยตั้ง กลุ่มสมุนไพรขึน ้ ในพืน ้ ทีอ ่ ำ� เภอยีง่ อ ด้วยความ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านนี้ จากที่เคยไป เรียนไกลถึงประเทศมาเลเซีย ก่อนมาเพิ่มพูน ความรู้กับพระอาจารย์หนู ที่วัดทุ่งคา “ผมอยากให้ชาวบ้านที่มีความรู้อยู่แล้ว ดั้งเดิม หรือชาวบ้านที่สนใจเข้ามาอยู่ด้วยกัน มีอะไรจะได้ปรึกษาหารือกัน แต่ทำ� ได้ไม่นานก็ ล้มไป เพราะว่าเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึน ้ ” ในระหว่า งนั้ น เอกสิ ท ธิ์ หั น ไปประกอบ วิ ช าชี พ ด้า นเภสั ช กรรม เนื่ อ งจากเขามี ใบอนุ ญ าตประกอบโรคศิ ล ปะแผนโบราณ สาขาเภสัชกรรม เลยมาเปิดร้านยา ร้านนวด รักษาเล็กๆ น้อยๆ อยู่พักใหญ่ จนปี 2557 ด้วยความต้องการที่จะอนุรักษ์และถ่ายทอด วิชาที่รำ�่ เรียนมา จึงเกิดความคิดว่าน่าจะกลับ มาตัง้ กลุ่มอีกครัง้ แต่กลุ่มนีเ้ ป็นแค่การรวมคน ภายในต�ำบล ไม่ใช่รวมทัง้ อ�ำเภอแบบครัง้ ก่อน 72 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
“ผมอยากให้เกิดการเรียนรูข ้ น ึ้ มีการเผยแพร่ ความรู้ที่มีอยู่ ใครรู้อะไรมาก็แชร์มา ที่สำ� คัญ ยั ง เป็น การอนุ รั ก ษ์ส มุ น ไพรและการแพทย์ พื้นบ้าน เพราะฉะนั้นคนที่มาหาผม หลักๆ ก็ จะมารักษาโดยตรง อีกส่วนหนึง่ จะมาถามเรือ ่ ง สุขภาพ เรื่องของยา เรื่องของสมุนไพร ส่วน สุดท้ายคือมาขอเรียนโดยตรง สอนกันแบบเพือ ่ น อย่างก่อนหน้านี้ผมเป็นครู ผมให้อย่างเดียว เขาเลยไม่ได้คด ิ ว่าตัวเองต้องมีสว่ นร่วม แบบนี้ ไม่ดี แต่ถ้าเกิดการรวมตัวแล้ว เขาเรียนแล้ว ไปถ่า ยทอดต่อ ท้า ยที่ สุ ด ศาสตร์ต รงนี้ มั น ก็ ไม่หายไป อย่างศาสตร์เก่าๆ หายไปหมดแล้ว ทั้งหมองู หมอกระดูก” ทีส ่ ำ� คัญชาวบ้านบางคนปรุงยาโดยไม่ร้จู ริง บางคนเอาไปต้มในปี๊บบ้าง ซึ่งการรวมกลุ่ม ตรงนี้ จ ะท� ำ ให้เ กิ ด การแนะน� ำ ซึ่ ง กั น และกั น และท�ำให้กระบวนต่างๆ ปลอดภัยยิง่ ขึน ้ ขณะ เดียวกันการให้ความรู้ต้องให้ทั้งหมด จะให้ เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ ไม่เช่นนั้นอาจจะ เกิดอันตรายตามมา เช่น การนวดถ้าไม่รู้จริง นวดไม่ได้เด็ดขาด เพราะเกิดกดผิดไปอาจจะ ท�ำให้คนไข้พิการได้ “คนเฒ่าคนแก่หลายคนเขามีความรู้ด้าน สมุนไพร บดยา ทีนี้ผมก็ช่วยดูว่ามันถูกต้อง ไหม สะอาดหรือเปล่า ขณะเดียวกันเขาก็จะ
ถ่ายทอดประสบการณ์ เช่น ต�ำรับยาพื้นบ้าน แก้แมลงสาบกัดต่อย มีดบาด อาการปวดหัว ซึง่ พอเขาให้มาแบบนี้ ผมก็เขียนไว้ เขาบอกมา 1 อย่าง ผมก็อาจจะให้เขา 3 อย่าง แค่นี้เขาก็ พอใจแล้ว แต่ถ้าเขามาขอวิชาดื้อๆ เลย ผม ต้องพิจารณาก่อน จะถามก่อนว่าเขาจะเรียน ไปท�ำอะไร หากในตระกูลญาติพน ี่ ้องเคยท�ำมา และเขาอยากได้ความรู้ไปสืบทอด แบบนีผ ้ มให้ แต่ถ้าขอดือ ้ ๆ เพือ ่ หาเงินเข้ากระเป๋า แบบนีผ ้ ม ไม่ให้ ส่วนคนที่เจ็บป่วย ผมให้ โดยตอนนี้ผม มีชมรมชื่อ ‘สมุนไพรหมอเอก’ เข้ามาถามได้ เพราะทุกวันนี้ผมมีตำ� รา 700 กว่าเล่ม และมี ที่ ตั ด ข่า วท� ำ เป็น แฟ้ม จั ด เป็น หมวดหมู ่อี ก ประมาณ 10 กว่าเล่ม สามารถมาเรียนรู้ได้ หรืออ้างอิงการรักษาได้ สิ่งที่เราอยากให้มาก ทีส ่ ด ุ คือเผยแพร่ความรู้ เพราะเราไม่อยากเก็บ ไว้คนเดียว” ปัจจุบน ั กลุ่มนวดแผนไทยและพืชสมุนไพร มีสมาชิกอยู่ประมาณ 15 คน ซึ่งส่วนใหญ่มี ความเรื่องสมุนไพรอยู่บ้าง แต่ยังไม่มีความ ช�ำนาญพอที่จะรักษาคนได้ ซึ่งต้องอาศัยการ ฝึก ฝนอี ก นานพอสมควร โดยตั ว ยาที่ ค นมา เรียนรู้มากทีส ่ ด ุ คืออาการเกีย ่ วกับเส้น ปวดข้อ รองลงมาคื อ สมรรถภาพทางเพศ นอกนั้ น ก็จะมีโรคเบาหวาน ไต หัวใจ ที่ไปหาหมอ แผนปัจ จุ บั น ไม่ห าย กั บ อาการหมอนรอง กระดูกทับเส้น ส่วนวิธีรักษานั้น เอกสิทธิ์จะไม่เน้นการ ปรุงให้ แต่จะใช้วิธีท�ำให้ดู แล้วไปฝึกเอาเอง เพราะจะท�ำให้คนไข้จดจ�ำได้มากกว่า อย่างโรค ความดัน หลักๆ ก็ให้เอาใบเตย 3 ใบ ใบ มะกรูด 1 กิ่งเล็ก 15 ใบ และกาฝากมะม่วงที่ ตัดกิ่งมาตากให้แห้ง มาต้มรวมกัน กินก่อน
อาหาร เช้า เที่ยง เย็น ประมาณ 5 วัน อาการ จะเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ “ตอนนี้ผมไม่ได้ตั้งตัวว่าเป็นหมอโดยตรง เพราะผมยังไม่พร้อม ทัง้ เรือ ่ งสถานที่ อุปกรณ์ และงบประมาณในการจัดสถานที่ คนทีม ่ านวด ก็นอนอยู่ที่ชานหน้าบ้าน” ทุกวันนีน ้ อกจากเปิดบริการนวดรักษาแล้ว เอกสิ ท ธิ์ ยั ง รั บ หน้า ที่ เ ป็น วิ ท ยากรให้ค วามรู ้ เรื่องยาสมุนไพร ไม่ว่าจะเป็น กศน. ตัวอ�ำเภอ ยี่ ง อ และกรมคุ ม ประพฤติ ส่ว นในอนาคต เขาตั้งใจว่าจะพัฒนาเรื่องยาให้ดีขึ้น เพราะ ปัจจุบน ั ยาต้มทีม ่ อ ี ยู่ รสชาติมก ั ไม่ค่อยดี แต่ถ้า มี ก ารน� ำ ยาไปบดแล้ว อั ด เม็ ด กลั บ มาเป็น แคปซูลจะช่วยให้การกินยาง่ายขึ้น...
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 73
ชมรมผู ้สูงอายุ บ้านบลูกาสนอ
ผู ้สู ง อายุ อ ยู ่บ ้า นเฉยๆ ก็ ต ้อ งรู ้สึ ก เหงา เป็น ธรรมดา โรงพยาบาลส่ง เสริ ม สุ ข ภาพ ต� ำ บลตะปอเยาะก็ เ ลยถื อ โอกาสชั ก ชวนให้ คนเฒ่า คนแก่อ อกมารวมตั ว พร้อ มตั้ ง เป็น ชมรมขึน ้ มา ตั้งแต่ปี 2551 โดยอาศัยจังหวะที่ พวกเขารวมตัวท�ำกองทุนจัดการศพผู้สูงอายุ จับต่อยอดกิจกรรมด้านสุขภาพเสียเลย ผู้สูงอายุจากหลายหมู่บ้านเริ่มมีกิจกรรม ท�ำร่วมกันต่อเนื่อง โดยมีผู้สูงอายุลงทะเบียน ทัง้ หมด 240 คน ปัจจุบน ั มี เจ๊ะนะมอ ซาและซา เป็นประธานชมรม อยุทธ มือเส๊าะ ผู้อำ� นวยการโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพต�ำบลตะปอเยาะ และ นูรีซัน เตะตานิ ง เจ้า พนั ก งานทั น ตสาธารณสุ ข ช�ำนาญงาน ร่วมกันถ่ายทอดเรือ ่ งราวของผู้สงู อายุ ว ่า เป้า หมายของกิ จ กรรมนี้ ก็ เ พื่ อ ให้ เกิ ด การดู แ ลผู ้สู ง อายุ ใ นระยะยาว โดยที ม สหวิ ช าชี พ ที่ ห ลากหลาย ขณะเดี ย วกั น กรรมการก็จะประชุมเป็นประจ�ำทุกเดือน เพือ ่ วางแผนกิ จ กรรมที่ จ ะท� ำ ต่อ ไป ทั้ ง กิ จ กรรม เยี่ ย มบ้า น เพื่ อ นดู แ ลเพื่ อ น ซึ่ ง ผู ้สู ง อายุ จ ะ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สพ. ไปเยีย ่ มเยียนผู้สงู อายุ ที่อยู่ติดเตียง ดูแลตัวเองไม่ได้ โดยไปแนะน�ำ เทคนิ ค การดู แ ลตั ว เองให้กั บ ญาติ หรื อ ตั ว ผู้ป่วยเอง ว่าควรท�ำอย่างไร 74 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
“ทีมจะเข้าไปตรวจสุขภาพ วัดความดัน เบาหวาน เดื อ นละครั้ ง แล้ว ก็ ส าธิ ต การ ออกก�ำลังกายด้วยตัวเอง อย่างพวกยางยืด ซึง่ เป็น นวั ต กรรมที่ ส ามารถสร้า งสรรค์เ อง จากวัสดุเหลือใช้ในบ้าน หรือการดูแลสุขภาพ ช่องปาก การแปรงฟัน การดูแลฟันปลอม ส่วน กลุ ่ม ผู ้สู ง อายุ เ ขาจะช่ว ยไปให้ก� ำลั ง ใจเพื่ อ น ซึ่งพอไปเยี่ยม เขาจะดีใจมาก” นูรีซันกล่าว ขณะที่ผู้อ�ำนวยการ รพ.สต.เสริมว่า เรื่อง สุ ข ภาพช่อ งปาก ถื อ เป็น กิ จ กรรมหนึ่ ง ที่ โรงพยาบาลให้ค วามส� ำ คั ญ เพราะเรื่ อ งนี้ สัมพันธ์กับหลักศาสนาอิสลาม “คนมุ ส ลิ ม เขามี ภู มิ ป ัญ ญาเรื่ อ งการใช้ ส มุ น ไ พ ร แ ก ้ป ว ด ฟ ัน โ ด ย ใ ช ้ไ ม ้สุ กี แ ท น แปรงสีฟัน เวลาละหมาดจะพกใส่กระเป๋าไป แล้วเราก็เข้าไปช่วยเสริมทักษะการแปรงฟันให้ ถูกวิธี และนอกจากเรื่องฟัน เรายังส่งเสริม เรื่องสุขภาพจิตด้วย เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่ จะมุ่งไปทางธรรมแล้ว เพราะฉะนั้นเวลาเขามี บรรยายธรรม เราก็จะขอแทรกเรือ ่ งสุขภาพลง ไปด้วย อย่างเรื่องการแปรงฟันนี้ เราก็ใช้เรื่อง การแปรงฟันของท่านนบีเข้ามา” นอกจากนี้ กลุ ่ม ผู ้สู ง อายุ ยั ง ลงไปท� ำ กิจกรรมกับเยาวชน เช่น สอนปลูกพืชสมุนไพร สอนเรื่องศาสนาแก่เด็กและเยาวชน ถือเป็น
นูรีซัน เตะตานิง
การสร้า งเสริ ม ความสั ม พั น ธ์ภ ายในชุ ม ชน ให้แข็งแกร่งมากขึ้น ปัจ จุ บั น ชมรมผู ้สู ง อายุ บ ้า นบลู ก าสนอ ได้รับสนับสนุนเรื่องงบประมาณจากกองทุน หลักประกันสุขภาพต�ำบลตะปอเยาะ และยัง ได้จากการบริจาคตามก�ำลังศรัทธาของสมาชิก โดยได้รั บ ความอนุ เ คราะห์ส ถานที่ ร วมพล
อยุทธ มือเส๊าะ
จากคณะกรรมการประจ�ำมัสยิดบลูกาสนอ “ถึงวันนีเ้ ขาจะแข็งแกร่งระดับหนึง่ แต่ต้อง ยอมรับว่าการด�ำเนินงานหลายๆ อย่างทาง รพ.สต. ต้องลงไปช่วย อย่างเรื่องงบประมาณ ก็ต้องช่วยประสานให้ เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ ไม่ใช่ข้าราชการบ�ำนาญ เป็นชาวบ้านทั่วไป” ผู้อ�ำนวยการอยุทธกล่าวทิ้งทาย
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 75
วัฒนธรรม Culture
สิ่งหนึ่งที่สังเกตจากการมาเยือนต�ำบลตะปอเยาะคือ การได้ให้เห็นวัฒนธรรมทีส ่ อดร้อยอยู่กบ ั วิถชี วี ต ิ ประจ�ำวัน จากทุกที่ที่ไปเห็น และสัมผัส ล้วนมีเรื่องราวให้เก็บเกี่ยว แต่ท่ีหนึ่งที่เรายังไม่ได้พาไป สถานที่ซึ่งเป็นภาพสะท้อน ของวิถีขีวิตผู้คนที่นี่ คือสภากาแฟ ซึ่งมีอยู่ในทุกหมู่บ้าน กับอีกเรื่องราวการละเล่นอย่างปัญจักสีลัต ⛅
76 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 77
สภากาแฟตะปอเยาะ
ยามค�่ำคืนหลังจากเสร็จกิจธุระกันแล้ว ผู้ชายส่วนใหญ่จะ ขี่รถเครื่อง หรือไม่ก็ขี่จักรยานมายังร้านกาแฟในหมู่บ้าน เพื่อ พูดคุยกับเพือ ่ นฝูง เล่นหมากรุก และเป็นการพบปะแบบกันเอง ระหว่างผู้น�ำกับชาวบ้าน ด้วยในเวลาเช่นนี้ ไม่มีใครถือยศ ถื อ ต� ำ แหน่ง ทั้ ง เรื่ อ งที่ มี ส าระ หรื อ เรื่ อ งข� ำ ขั น เคล้า ไปกั บ กลิ่นกาแฟ และเสียงพูดคุยภาษามลายู
78 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
มาบานี กาเร็งสานา
อัมนะ มะสากา
อย่างร้านพี แห่งบลูกาสนอ หมู่ที่ 4 มี มาบานี กาเร็งสานา ชายสูงวัยผู้เป็นเจ้าของ ร้าน ก�ำลังวุ่นวายอยู่กับงานของตน หลังเสิร์ฟ กาแฟ หรือชาแล้ว เขาจะนัง่ ลง เปลีย ่ นบทบาท จากคนขายมานั่ ง เป็น ลู ก ค้า ให้มี บ างช่ว งที่ ลูกค้าเรียกให้เติมน�ำ้ ร้อนในกาให้ เขาก็จะหยิบ ไปเติม แล้วกลับมานั่งลงที่เก่า แน่นอนแม้จะ ฟังไม่ออกว่าพวกเขาพูดคุยเรือ ่ งอะไร แต่กร็ ้ส ู ก ึ ได้ว่าการสนทนาครั้งนี้มีรสชาติเหลือเกิน เช่นเดียวกับร้าน Amnah กาแฟโบราณ ของ อัมนะ มะสากา ทีห ่ มู่ 1 ก็คก ึ ครืน ้ ไม่แพ้กน ั ผู้เฒ่าหลายคนจับกลุ่มคุยกัน วัยกลางคนนัง่ อยู่ อีกฟาก เบื้องหน้าเป็นแก้วกาแฟ เราลองสั่งมาชิมดู จึงรู้ว่าคนที่น่ีกินหวาน มาก ดีที่ทุกร้านมีนำ�้ ร้อนให้เติม จึงใช้เจือจาง ความหวานลง สักครู่เราได้รับการเชื้อเชิญให้ ลองเดิ นหมาก ตอนตอบรับ ค� ำก็แ น่ใจว่าคง พ่ายแพ้ แล้วก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ร้า นกาแฟที่ ต ะปอเยาะมี อ ยู ่ทุ ก หมู ่บ า้ น บางหมู่มีมากกว่าหนึ่ง แต่ละร้านพอมีก�ำไร อยู่ได้ ด้วยทุกร้านยังคงใช้ฟืนมาสุมไฟ และ ใช้ใจชงกาแฟ... สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 79
ปั ญจักสีลัต
ศิ ล ปะการต่อ สู ้ซึ่ ง อยู ่คู ่กั บ ดิ น แดน 3 จั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ม านานนั บ ศตวรรษ ถือเป็นศิลปะที่ยังคงอยู่คู่กาลเวลา แม้จะถูก สัน ่ คลอนไปบ้างก็ตาม ตามจ�ำนวนของผู้แสดง ที่เริ่มลดน้อยถอยลงเรื่อยๆ จากสารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่มที่ 16 ระบุว่าค�ำว่า สีลต ั หรือทีไ่ ทยมุสลิมบางส่วน เรียก บือดีกา เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่า เน้นให้เห็นลีลาการเคลื่อนไหวอย่างสง่างาม โดยเกิ ด ขึ้ น ครั้ ง แรกเมื่ อ ราว 400 ปีก ่อ น ที่ เ กาะสุ ม าตรา ประเทศอิ น โดนี เ ซี ย และมี การดัดแปลงแก้ไขท่าทางลีลาให้เข้ากับยุคสมัย บ้างก็ว่าค�ำนี้มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต เพราะดินแดนมลายูในอดีตถูกผนวกให้เป็น ส่ว นหนึ่ ง ของอาณาจั ก รศรี วิ ชั ย ซึ่ ง เดิ น ตาม วัฒนธรรมของอินเดีย โดยรากศัพท์คำ� ว่า สีลต ั ที่ว่านั้น คือการต่อสู้ด้วยน�้ำใจนักกีฬา ผู้เรียน วิชานี้ต้องมีศิลปะมีวินัยที่จะน�ำกลยุทธ์ไปใช้ ป้องกันตัว ไม่ใช่ทำ� ร้ายผู้อื่นให้เดือดร้อน
80 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
ฮาเบ มะแซ มือเล่นปัญจักสีลัตรุ่นใหญ่ และ ฟิกรี ยีราหา ปัญจักสีลัตรุ่นใหม่ เล่าว่า ในปัจจุบันนี้ต�ำบลนี้มีคนสืบสานวัฒนธรรมนี้ อยู่ราวๆ 12 คน แบ่งเป็นรุ่นใหญ่ 4 คน รุ่นใหม่ อีก 8 คน ส่วนที่เหลืออยู่ในต�ำบลลูโบะบายะ ซึ่ ง อยู ่ติ ด กั บ พื้ น ที่ ต ะปอเยาะ เพราะฉะนั้ น เวลาที่มีงานใหญ่ ต้องการคนแสดงเพิ่ม ทั้ง 2 ต�ำบลนี้ก็จะมารวมตัวกัน ฮาเบร� ำ ลึ ก ถึ ง ความหลั ง ว่า เขาเริ่ ม เล่น ปัญจักสีลัตมาตั้งแต่อายุ 13 ขวบ โดยครูชื่อ ดาโต๊ะมามุ ซึ่งเป็นคนตะปอเยาะ เป็นผู้สอน “ครูไม่ได้เปิดเป็นโรงเรียน อาศัยใครชอบ ก็มาเรียนรู้ได้ เริ่มแรกมีคนมาเรียนพร้อมกัน 20 คน เรียนเพื่อป้องกันตัว ใช้เวลาเรียนอยู่ 6 เดือนเต็ม ถึงจะเล่นได้เชีย ่ วชาญ วิชาทีเ่ รียน จะคล้ายๆ มวยไทย เป็นวิชา 1-2-4 โดยคนที่ อยากมาเรี ย นต้อ งขอฝากตั ว เป็น ศิ ษ ย์ก ่อ น มี ค ่า ครู จ� ำ นวน 12 บาท ก็ เ อาไปให้พ ร้อ ม เครือ ่ งหมากพลู พอเรียนเก่งแล้ว ฝึกส�ำเร็จแล้ว
ก็ให้เอาไก่ย่าง 1 ตัว ข้าวเหนียว 4 สี แดง ขาว เหลือง เขียว พร้อมหมากพลูอก ี ชุด เงิน 12 บาท ให้ครู ครูกจ็ ะท�ำพิธถ ี ่ายพลังให้ แล้วก็อ่านดูอา ให้ฟัง” ฮาเบซึ่งเวลานี้เป็นครูกล่าวต่อ ส่ว นขั้ น ตอนการฝึก ก็ จ ะมี ตั้ ง แต่วิ ธี ก ้า ว เดินหน้า ถอยหลัง ท่าร�ำ การปล่อยหมัด ตีเข่า ใช้ศ อก ครบถ้ว น ส่ว นใหญ่จ ะเรี ย นทุ ก คื น หยุดวันเดียวคือวันศุกร์ และการแสดงแต่ละ ครัง้ จะมีการไหว้ครู มีดนตรีประกอบเป็นดนตรี มลายู ใช้เครื่องดนตรี 4 อย่าง คือ ฆ้อง กลอง เล็ก กลองใหญ่ และปี่ชวา ขณะที่พื้นที่ในการแสดง ก็จะเป็นงานบุญ ต่างๆ ของศาสนา เช่น งานแต่งงาน งานเข้าสุหนัต รวมไปถึงงานรืน ่ เริงต่างๆ โดยค่าจ้างขึน ้ อยู่กบ ั ระยะการเดินทาง เช่น หากไปแสดงที่จังหวัด ยะลา ประมาณ 100 กิโลเมตร ราคา 7,000 บาท ต่อ 8 คู ่ โดยคนแสดงก็ จ ะได้ค ่า จ้า ง ประมาณ 300 บาท ส่วนช่วงเดือนรอมฎอน ทีมปัญจักสีลต ั จะหยุดพัก ไม่มก ี ารฝึกซ้อมหรือ แสดง เพราะเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 81
อาหารการกิน Where to eat
82 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
ช่ว งเดื อ นที่ ไ ปเยื อ นต� ำ บลตะปอเยาะ เป็น เดื อ น รอมฎอน ร้านค้าอาหารทั้งต�ำบลต่างปิดกันถ้วนหน้า แต่ ถึ ง กระนั้ น ในช่ว งบ่า ยอ่อ นๆ ไล่ไ ปจนถึ ง ช่ว งก่อ น พระอาทิ ต ย์ต กดิ น ร้า นค้า ต่า งๆ ก็ พ ากั น ขนอาหาร หลากหลายชนิด เพื่อให้ผู้คนได้ออกมาซื้อหาไว้ ส�ำหรับ เปิด ปอซอในตอนเย็ น ซึ่ ง ก็ นั บ ว่า เป็น โชคดี ที่ ไ ด้เ ห็ น บรรยากาศของเดือนศักดิ์สิทธิ์ ที่มีเสน่ห์ มีความน่าสนใจ และทีส ่ ำ� คัญยังได้ร่วมเปิดปอซอ หรือละศีลอดไปพร้อมกัน กับพวกเขาด้วย ⛅
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 83
ร้านกะยะห์ ผ่านหน้าทางเข้าหมู่ที่ 3 บ้านบลูกา ถ้า ไม่แวะร้านข้างหน้ารับรองจะเสียใจ เพราะถึง จะเพิง่ เปิดร้านเมือ ่ กันยายน 2557 แต่ร้านนีเ้ ขา มีช่ืออยู่ตั้งแต่สมัยอยู่อ�ำเภอสุไหงโก-ลกแล้ว โดยเจ้าของร้านก็ไม่ใช่ใครทีไ่ หน ซีย๊ะ บินตีอแว หรือกะยะห์ พีส ่ าวของก�ำนันต�ำบลตะปอเยาะ นั่นเอง เดิมร้านนี้เปิดมาประมาณ 20 ปีแล้ว แต่ ด้วยความคิดถึงพี่สาว ก�ำนันก็เลยชักชวนมา ให้เปิดที่นี่ สุขฤทัย ประทุมทัย ลูกสะใภ้ของ กะยะห์บ อกว่า จุ ด เด่น ของร้า นนี้ ต ้อ งยกให้ ต้มย�ำทะเลกับข้าวผัด แต่ถา้ ใครจะรับประทาน อาหารมุ ส ลิ ม ก็ ไ ม่ผิ ด หวั ง เพราะมี ค รบทั้ ง ไก่กอและ ซุปเนือ ้ ข้าวย�ำ ปลาราดพริก แกงกะหรี่ “เราเน้นเรื่องความสะอาดและกะทิมาก เป็นพิเศษ อย่างน�้ำกะทิเราจะท�ำเอง ตากเอง คั้นเองหมด เพราะฉะนั้นน�้ำกะทิเราจะข้นกว่า รสชาติอาหารก็จะกลมกล่อมกว่า” ซีย๊ะว่า ส� ำ หรั บ ร้า นกะยะห์จ ะเปิด บริ ก ารทุ ก วั น ตัง้ แต่ 9 โมงครึง่ จนถึง 6 โมงเย็น ส่วนในเดือน รอมฎอนจะเปิดขายตั้งแต่ช่วงบ่าย...
84 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
ซีย๊ะ บินตีอแว
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 85
บ้านอาเดีย แม้จะเพิ่งเปิดร้านมาได้ไม่ถึงปี แต่ที่ร้าน อาเดีย ก็มค ี นติดใจขอฝากตัวเป็นลูกค้าประจ�ำ กันเพียบ เพราะไม่ว่าจะเจ้าของร้านจะหยิบจับ ท�ำอะไรเป็นอาหารก็ดูจะอร่อยไปซะหมด “เราใช้ของดี มีคุณภาพจริงๆ แม้จะราคา สูงกว่าที่อื่นสักหน่อยก็ตาม” ราเฟีย บุญชม อดีตเคยอยู่กรุงเทพฯ แต่เพิง่ กลับมาใช้ชวี ต ิ อยู่ ที่นราธิวาสกล่าวถึงที่มาของความอร่อย บ้า นอาเดี ย มี เ มนู สุ กี้ ก ระทะร้อ นเป็น ตั ว ชูโรง ที่เรียกว่าจัดเต็มทั้งเครื่อง ทั้งผัก ทั้งเนื้อ ในราคาเพียง 50 บาท แล้วยังมีอาหารตามสัง่ ประเภทอื่นๆ ให้เลือกรับประทาน แต่ในช่วง รอมฎอนจะท�ำของขายเล็กๆ น้อยๆ “ช่วงรอมฎอน กะห์ท�ำบางเมนูขาย เช่น ขนมจีบ สาคูไส้ไก่ ปอเปี๊ยะสด ก๋วยเตีย ๋ วหลอด แต่ไม่ทำ� เยอะ ส่วนใหญ่ทส ี่ งั่ ก็จะเป็นพวกลูกค้า ประจ�ำ” ขนมจี บ ของบ้า นอาเดี ย อั ด แน่น ไปด้ว ย เนือ ้ กุ้งผสมกับเนือ ้ ไก่ ขาย 5 ลูก 30 บาท บวก ด้วยน�้ำจิ้มสูตรพิเศษ ส่วนก๋วยเตี๋ยวหลอดก็ แน่นเครื่องแน่นรส เสิร์ฟพร้อมน�้ำจิ้มสูตรเด็ด สนนราคาจ่ายเท่ากันคือ 30 บาทเท่านั้น “กะห์เอาสูตรมาจากกรุงเทพฯ พอกลับมา บ้าน ก็ว่างๆ เลยลองท�ำร้านดู” ราเฟียว่า ร้านอาเดีย เปิดทุกวันตั้งแต่ 10 โมงเช้า ถึง 5 โมงครึ่ง ร้านตั้งอยู่เขตหมู่ที่ 2 ตัวร้านอยู่ ติดถนน ใกล้ๆ กับ รพ.สต.ตะปอเยาะ... 86 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
ราเฟีย บุญชม
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 87
พั ก ผ่ อ น หย่อนกาย หย่อนกาย
stay
88 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
คนอิสลามไม่รู้สึกรังเกียจกับการต้อนรับเพื่อนต่าง ศาสนา ทั้งกับดินแดนตะปอเยาะนี้ พวกเขากลับแสดง ความรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับแขกต่างถิ่นที่บ้าน ของเขา พร้อมจัดหาข้าวปลาอาหาร เลี้ยงดูมิได้ตกหล่น ทัง้ ทีน ่ เี่ ป็นช่วงเดือนรอมฎอน อาหารการกินในตอนเช้าหา ยากเต็มที ⛅
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 89
โฮมสเตย์บ้านก�ำนัน หากใครมาต�ำบลตะปอเยาะแล้วไม่แวะ บ้า นก� ำ นั น แหนบทองค� ำ ประจ� ำ ปี 2557 สุชาติ ดือราแม ที่บ้านบลูกา หมู่ที่ 3 ถือว่า ยังมาไม่ถึงต�ำบลตะปอเยาะ เพราะทีน ่ น ี่ อกจากจะเป็นบ้านพักทีใ่ หญ่โต โอ่โ ถงแล้ว ยั ง เป็น ที่ ร วมตั ว ของเหล่า ผู ้น� ำ ฝ่ายปกครอง ผู้นำ� ท้องถิน ่ ยามทีพ ่ น ื้ ทีต ่ ะปอเยาะ มีแขกบ้านแขกเมือง ทางนายกองค์การบริหาร ส่วนต�ำบลจึงพอน�ำมาฝากฝังไว้กับก�ำนัน จุดเด่นของบ้านพักนีน ้ อกจากจะรับประกัน
90 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
ความปลอดภั ย เต็ ม ร้อ ย เพราะมี ชุ ด รั ก ษา ความปลอดภัยขนาดย่อมๆ ด้วยเป็นที่ตั้งของ ศูนย์ด�ำรงธรรม ห้องนอนพักสบาย ทั้งชั้น 1 และ 2 ส่วน ห้อ งน�้ ำ ก็ แ บ่ง เป็น ห้อ งส้ว มและห้อ งอาบน�้ ำ ไม่ปะปนกัน ทุกเย็นวันจันทร์ จะมีตลาดนัดมาเปิดท้าย ขายของบริ เ วณหน้า บ้า นก� ำ นั น ทั้ ง ของสด ของแห้ง อาหารคาว อาหารหวาน อาหาร ส�ำเร็จรูป มาเลือกซื้อกันได้ตามสบาย ถือเป็น ที่พักที่เรียกว่าครบเครื่องเสียจริง
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 91
โฮมสเตย์มะรอซี
92 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
นอกจากจะเป็น ประธานชมรมฟุ ต บอล อาวุโสแล้ว ทีบ ่ ้านของ มูฮม ั หมัดรอซี ปูตะมะ ยังได้ชอ ื่ ว่าบ้านพักชัน ้ เลิศ ด้วยความกว้างขวาง มีทุกสิ่งพร้อมสรรพ ซึ่งเจ้าบ้านบอกว่า อยาก มากี่คน ก็มาได้เลย ไม่ต้องเกรงใจ ในบ้านมีห้องนอนติดเครื่องปรับอากาศ 3 ห้อง แต่ที่เด็ดกว่าต้องยกให้ห้องน�้ำ เพราะ ที่นี่มีรวมกัน 6 ห้องเลยทีเดียว แถมที่ผ่านมา เคยผ่า นศึ ก หนั ก อย่า งการประชุ ม ชมรม ฟุตบอล และการประชุมอืน ่ ๆ มาแล้วมากมาย นอกจากห้อ งนอน ห้อ งน�้ ำ ที่ พ ร้อ มแล้ว ที่นี่ยังมีกิจกรรมเสริมอีกเพียบ ทั้งตีปงิ ปอง เล่นฟุตบอล แต่ทเ่ี ด็ดสุดต้องยกให้เรือ ่ งอาหาร เพราะแม่บ้านทีน ่ เี่ ขามีฝีมอ ื ด้านนีเ้ ป็นพิเศษ ยิง่ ของหวาน ทัง้ เค้ก ทัง้ ขนม รสชาติดท ี งั้ นัน ้ ส่วน ของคาวอย่าง ข้าวย�ำ ก็อร่อยไม่แพ้กัน “ผมเป็น คนชอบสั ง คม จะอยู ่กี่ วั น ผม ไม่เคยมีปัญหา เพราะฉะนั้นก็เลยจัดบ้านให้ สามารถรองรับคนได้เยอะๆ ที่ส�ำคัญผมถือ หลักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เพราะผมเคยไปอยู่ ที่ ป ระเทศอี ยิ ป ต์ม าพั ก หนึ่ ง ได้รั บ การดู แ ล เอาใจใส่เ หมื อ นเป็น ญาติ พี่ น ้อ งเหมื อ นกั น เพราะศาสนาอิสลามจะเน้นมากเรื่องการดูแล แขกโดยไม่แ บ่ง แยก” มู ฮั ม หมั ด รอซี เ ล่า ถึ ง การดูแลแขกของตัวเองอย่างมีความสุข
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 93
(รักษ์) น�้ำตกพุ เสด็จ ต�ำบลตะปอเยาะไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าตื่นตาตื่นใจนัก เพราะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และพืน ้ ทีอ ่ ยู่อาศัย ขณะทีม ่ ส ั ยิดต่างๆ ก็ได้พาชมกันไปแล้ว ยังดีทวี่ ่าต�ำบลตะปอเยาะมีนำ�้ ตก แห่งหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่บ้านบลูกาสนอ หมู่ที่ 4 และคนที่นี่ก็ไม่ลืมที่จะพาเราไปเยี่ยมเยือน
หากนึ ก ถึ ง แหล่ง ท่อ งเที่ ย วประจ� ำ ต� ำ บล ตะปอเยาะ รับรองว่าชื่อน�้ำตกพุเสด็จจะต้อง ผุ ด ขึ้ น มาเป็น ล� ำ ดั บ แรกๆ แน่น อน เพราะ สายน�้ ำ ตกและความร่ม รื่ น ของบรรยากาศ ท� ำ ให้เ ป็น แหล่ง พั ก ผ่อ นชั้ น ดี สามารถขี่ รถเครื่องมาโดยใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที ว่าที่ ร.ต.รุสพี มะดีเยาะ เลขานุการกลุ่ม อนุรักษ์น�้ำพุเสด็จ เล่าให้ฟังว่า นอกจากน�้ำตก แล้ว ที่นี่ยังเป็นแอ่งน�้ำสาธารณะที่คนในพื้นที่ หมู่ที่ 4 บ้านบลูกาสนอใช้ประโยชน์มานาน จน เมื่ อ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้า อยู ่หั ว ได้เ สด็ จ พระราชด�ำเนินมาในพืน ้ ที่ ก็ได้มาเยีย ่ มเยือนที่ ธารน�ำ้ แห่งนี้ ทางชุมชนเลยมีมติพฒ ั นาพืน ้ ทีน ่ ี้ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว พร้อมกับตั้งชื่อธารน�ำ้ ว่า ‘น�ำ้ พุเสด็จ’
94 | สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม
มาภายหลัง เนือ ่ งจากช่วงฤดูแล้ง น�ำ้ ในแอ่ง มีปริมาณน้อย มีการทับถมของใบไม้และขยะ ที่ ช าวบ้า นน� ำ มารั บ ประทานขณะมาเที่ ย ว ขัดขวางทาง ประกอบกับมีการเปลี่ยนแปลง ทางกายภาพ เพราะหมูท ่ ี่ 4 มีโครงการตัดถนน ผ่านไปจังหวัดยะลา รอมลี สาละ ชาวบ้านซึ่ง ท� ำ กิ จ กรรมในพื้ น ที่ ม านาน เล็ ง เห็ น ปัญ หา เลยรวมกลุ่มคนที่มีจิตอาสาจ�ำนวน 13 คน มาจัดกิ จกรรมท�ำศาลา แบ่งเวรกันเก็บขยะ ส่วนด้านบนก็มีการปลูกสวนผลไม้ ไม้ยืนต้น เพื่อรักษาตาน�้ำให้สะอาด เพื่อให้ประชาชน สามารถน�ำไปใช้อุปโภคบริโภค และใช้เพื่อ การเกษตรสืบไป
สู่ตะปอเยาะ ท่องไปในวิถีมุสลิม | 95
ที่อยู ่ส�ำหรับติดต่อ องค์การบริหารส่วนต�ำบลตะปอเยาะ ถนนเพชรเกษม หมู่ที่ 2 ต�ำบลตะปอเยาะ อ�ำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส 96180 เบอร์โทรศัพท์ 0-7353-6075