ความมั่นคงทางอาหารของชุมชน

Page 1

5 ครั้งที่

ก า ร ป ร ะ ชุ ม

ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย

ความมั่นคงทางอาหาร ของชุมชน

13 ธันวาคม 2554

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน


นับหนึ่ง

กับ ศ.นพ.ประเวศ วะสี

ประธานกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ เวทีชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทยเกิดขึ้น เพราะเราเชื่อว่า ประเทศที่รวมศูนย์ อำนาจอยู่ที่ส่วนกลางไปไม่รอด ก่อให้เกิดปัญหาร้อยแปด ทั้งความขัดแย้ง คอร์รัปชั่น การขาดสมรรถนะของภาครัฐ ที่รวมศูนย์ และความรุนแรงต่างๆ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) เสนอว่า ต้องปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ซึ่งสิ่งสำคัญคือ การให้ชุมชนจัดการ ตนเอง ท้องถิ่นจัดการตนเอง และจังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งตอนนี้ทั้งหมดกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และพวกองค์กร ส. ต่างๆ ก็ลงไปทำงานขับเคลื่อน เราโชคดีที่คุณสมพร ใช้บางยาง (กรรมการสมัชชาปฏิรูป และประธานคณะกรรมการ ปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูป) เข้ามาช่วยทำงานเรื่องนี้ วิกฤติน้ำท่วมใหญ่ที่เพิ่งผ่านพ้นไป ทำให้เห็นว่า กลไกภาครัฐล้มเหลว จะกล่าวอะไรรุนแรงกว่านี้ก็ยัง

ชะงักอยู่ แต่เราคงเห็นกันทั่ว แปลว่า ถ้าชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งจะสามารถเผชิญวิกฤติได้ เรื่องอุทกภัยจึงเป็นการ ปฏิรูปไปในตัว ทำให้คนรู้ว่าต้องพึ่งกันเอง ต้องทำกันเอง ไปรอรัฐอยู่ไม่ได้ เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ทั่วไปหมด นี่คือ กระบวนการปฏิรูป การปฏิรูปประเทศเราเน้นที่ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง อันนี้ไปไกลกว่า คำว่า “กระจายอำนาจ” เพราะ บางครั้งกระจายไปแล้วไม่รู้ว่า รับได้หรือไม่ กระจายจริงไหม หรือรับไปแล้วจัดการได้หรือเปล่า แต่ชุมชนจัดการ ตนเองเลยไปถึงว่า จัดการได้ดว้ ย การจัดการได้นเ้ี ป็นเรือ่ งสำคัญ ซึง่ จะจัดการ 2 เรือ่ งใหญ่ๆ คือ 1) จัดการพัฒนาอย่าง บูรณาการ ซึง่ จะทำให้เกิดความมัน่ คงยัง่ ยืน และ 2) จัดการเชิงนโยบาย สามารถสังเคราะห์และขับเคลือ่ นนโยบายได้ เรื่องชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง มีองค์ประกอบต่างๆ หลายประการที่เราพยายามติดตามอยู่ และมาคราวนี้เป็น เรื่องความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งกำลังเป็นวิกฤติใหญ่ ทั้งประเทศสหรัฐอเมริกาหรือยุโรป ต่างก็แก้ปัญหาไม่ได้ นอกจากนี้ภัยธรรมชาติที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งลมพายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ต่างๆ นานา ผลอย่างหนึ่ง คือ การขาดแคลนอาหาร ราคาอาหารขณะนีแ้ พงขึน้ ทัว่ โลก ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ซึง่ จะก่อให้เกิดจลาจลและสงคราม ถ้าเราไปดูจลาจลในที่ต่างๆ ถึงแม้จะเป็นการจลาจลในนามของประชาธิปไตย แต่หากพิจารณาให้ลึกแล้ว จะพบว่า เกิดจากการที่คนไม่มีรายได้ ไม่มีงานทำ และอาหารราคาแพงขึ้น ซึ่งตายลูกเดียว ทีนีป้ ระเทศไทย จุดแข็ง คือเรื่องอาหาร เราสามารถผลิตอาหารได้เหลือกินเหลือใช้ ถ้าสามารถรักษาตรงนี้ไว้ได้ ถึงโลกจะวิกฤติ เราก็ไม่ เป็นไร นี่จึงถือเป็นเรื่องสำคัญ และควรจะไปสู่การรับรู้ของผู้คนโดยกว้างขวาง เพราะคนมักจะพูดว่า เกษตรกรรมไม่ สำคัญแล้ว อุตสาหกรรมสำคัญกว่า แต่เวลาที่อุตสาหกรรมเจ๊งทีมันไปเลย จึงต้องรักษาฐานไว้ให้ได้ นี่เป็นเรื่องของ การสร้างฐานประเทศให้เข้มแข็ง จึงเป็นที่มาของเรื่อง “บทบาทขององค์กรชุมชนท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมในการ จัดการความมั่นคงทางอาหารของชุมชน”


บทนำเสนอ ความมั่นคงทางอาหารในสถานการณ์สากล และนโยบายการเกษตรของรัฐบาลในปัจจุบัน โดย รศ.สมพร อิศวิลานนท์ สถาบันคลังสมองของชาติ

ความมั่นคงทางอาหาร (Food security) นับวันจะเป็นประเด็นที่ทวีความสำคัญมากขึ้นต่อสังคมโลก โดยเฉพาะในประเทศที่มีความจำเป็นต้องพึ่งพิงการนำเข้าอาหารเป็นหลักใหญ่ ดังจะเห็นจากกรณีของประเทศ มาดากัสการ์ในทวีปแอฟริกา ซึ่งบริษัทแดวู ลอจิสติกส์ ของเกาหลีใต้ได้เข้าไปเช่าที่ดินระยะยาวเพื่อลงทุนเป็นหมื่นๆ ไร่ ส่วนประเทศทางตะวันออกกลางก็มีการมาเช่าที่ดินแถวประเทศพม่า กัมพูชาและลาว เพื่อใช้เป็นแหล่งผลิตอาหาร ทางด้านประเทศไทย ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน แต่ก็มีนอมินี (Nominee) อยู่ในบางพื้นที่ ความไม่มีเสถียรภาพทางอาหาร มีเค้าลางที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น และทำให้เกิดคำถามตามมาว่าทำไมความ พยายามในการลดความไม่มั่นคงทางอาหารจึงไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์จากองค์การอาหารและ เกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO: Food and Agriculture Organization of the United Nations) และสถาบัน ต่างๆ ทำนายว่า ภายใน 10 ปีข้างหน้าเรามีโอกาสจะได้เห็นปรากฏการณ์อาหารมีราคาแพงขึ้นอย่างแน่นอน และ จะสร้างผลกระทบต่อผู้ยากจนที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอ หลายประเทศจึงพยายามปรับตัวในเรื่อง ของนโยบายการเกษตร บางประเทศมีการปรับตัวไปสู่การพึ่งพิงการผลิตภายในประเทศ (Self-sufficiency) ขณะที่ บางประเทศก็พยายามสร้างกลไกการพึ่งพิงการจัดหาจากตลาด (Self-reliance) เพื่อให้มีอาหารเพียงพอ หากเราดูดัชนีราคาอาหารในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา จะพบว่า ช่วงก่อนสงครามโลก ที่มีความเดือดร้อนจน กระทั่งนำไปสู่สงคราม จะมีการแย่งชิงอาหารเกิดขึ้น ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ข้าวก็มีราคาแพง เหตุผลสำคัญ ที่ประเทศญี่ปุ่นไม่ยอมเปิดเสรีเรื่องข้าว เพราะสมัยสงคราม คนญี่ปุ่นเจ็บช้ำใจมากจากการที่ต้องกินข้าวผสม กรวดทราย ฉะนั้นสินค้าข้าวจึงเป็นรายการสุดท้ายที่เขาจะยอมให้มีการเปิดเสรี เนื่องจากถือเป็นความมั่นคงของชีวิต และเมื่อมาดูดัชนีในปี 2551 ตอนที่เกิดวิกฤติอาหาร ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น กราฟมีการกระโดดอย่างรวดเร็ว ซึ่งอันที่จริง วิกฤติในปีนั้นเกิดจากความตื่นตระหนก เพราะประเทศจีนและอินเดียมีสต็อก (Stock) ข้าวที่ลดลง ไม่ ได้เกิดจากการขาดแคลนอาหารจริง อย่างไรก็ตามจะเห็นว่า ราคาอาหารมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก (Climate change หรือ Global Warming) ที่รุนแรง ขึ้น ก็ได้สร้างผลกระทบต่อการผลิตอาหารเช่นกัน อิทธิพลของเอลนีโญ (El Niño) และลานีญา (La Niña) ก่อให้เกิดความเสี่ยงขึ้นในภาคการเกษตร เพราะการสูญเสียเนื่องจากภัยธรรมชาติ


อีกประเด็นหนึ่งที่มีการกล่าวถึงกันคือ สถานการณ์ราคาพลังงานจากฟอสซิล (Fossil energy) ที่มีความ เชื่อมโยงกับพืชอาหารและพืชพลังงาน จะเห็นว่า ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น สะท้อนถึงความหายาก (Scarcity) ของแหล่งทรัพยากรที่อยู่ใต้ดินซึ่งใกล้จะหมดไป ขณะที่การขุดพบแหล่งใหม่ๆ ก็ทำได้จำกัด เพราะฉะนั้นสิ่งที่มนุษย์ กำลังพยายามทำคือ การผลิตน้ำมันบนดิน โดยการนำพืชอาหารส่วนหนึ่งไปเป็นพืชพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ เอทานอล (Ethanol) หรือไบโอดีเซล (Biodiesel) ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้เอทานอลที่ทำจากข้าวโพด และไบโอดีเซลที่ทำจากถั่วเหลือง เรื่องนี้มีการกำหนด เป็นนโยบายอย่างชัดเจน ดังที่ผ่านมาจะเห็นว่า ข้าวโพดมีราคาสูงขึ้น เพราะประเทศสหรัฐอเมริกามีความต้องการ อย่างต่อเนื่องที่จะนำข้าวโพดไปใช้ในการผลิตเอทานอล ภายใต้สโลแกน Go for Bio-energy นั่นคือความพยายาม จะให้ทุกประเทศหันมาสนใจเรื่องพลังงานชีวภาพ โดยเฉพาะเรื่องของเอทานอล เพราะเมื่อเอทานอลมีราคาสูงขึ้น รัฐบาลก็จะได้เสียงจากเกษตรกร โดยที่ไม่ต้องไป Subsidy (การให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน) แต่ใช้ตลาดน้ำมัน เป็นตัวยกระดับผลิตผลทางการเกษตร ข้อมูลจาก IMF (The International Monetary Fund) เดือนสิงหาคม 2553 ถึงมิถุนายน 2554 พบว่า ราคาข้าวโพดนั้นมีการเปลี่ยนแปลงของราคาเพิ่มขึ้นเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ (+135.17) รวมทั้งราคาธัญพืชอื่นๆ อย่าง ข้าวสาลี น้ำมันปาล์มและถั่วเหลือง ก็เพิ่มขึ้นสูงเช่นกัน ข้อมูลเหล่านี้เป็นการสะท้อนถึงอุปสงค์ของการนำพืชอาหาร ไปเป็นพืชพลังงาน จะเห็นว่า ธัญพืชที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นพลังงานชีวภาพได้ราคาจะถูกยกสูงขึ้นทันที โดยเฉพาะ เมื่อปีที่แล้ว (ปี 2553) น้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์มขาดแคลน ก็เป็นผลมาจากการทำงานของกลไกตลาดที่ทำให้ สินค้าเหล่านี้หายไปจากตลาด ซึ่งปรากฏการณ์นี้ส่งผลให้พืชอาหารอีกส่วนหนึ่งที่นำไปใช้ในการบริโภคถูกกดดันใน เรื่องของราคาตามมา อีกเรื่องที่เป็นประเด็นสำคัญคือ การเพิ่มจำนวนขึ้นของประชากรโลก ในปี ค.ศ.2010 มีประชากรอยู่ 6.5 พันล้านคน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 9 พันล้านคนในปี ค.ศ.2050 ซึ่งประชากรที่เพิ่มขึ้นก็จะสร้างแรงกดดันเรื่องความ ต้องการอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน FAO ได้รายงานว่า สภาวะที่เป็นอยู่ปัจจุบัน มีคนประมาณ 800 ล้านคนที่อยู่ในสภาพหิวโหย มีอาหารไม่ เพียงพอในการบริโภค ในจำนวนนี้กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในแอฟริกาและเอเชีย เด็กในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและ ยากจนเหล่านี้กว่า 1 ใน 3 เติบโตภายใต้ภาวะการขาดสารอาหาร และมีรายงานว่า เด็กๆ จำนวนกว่า 6 ล้านคนต่อปี ต้องตายเพราะการขาดอาหาร (Blanch field et al., 2008) ความมั่นคงทางอาหารจึงไม่ใช่ประเด็นเรื่องของความเพียงพอ หรือการจัดให้มีอยู่เท่านั้น แต่นิยามจาก คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุไว้ว่าหมายถึง “การเข้าถึงอาหารที่มีอย่างเพียงพอสำหรับการบริโภคของ ประชาชนในประเทศ อาหารมีความปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมตามความต้องการ ตามวัยเพื่อมี สุขภาวะที่ดี รวมทั้งการมีระบบการผลิตที่เกื้อหนุนรักษาความสมดุลของระบบนิเวศวิทยาและความคงอยู่ของฐาน ทรัพยากรอาหารทางธรรมชาติของประเทศ ทั้งในภาวะปกติหรือภัยพิบัติต่างๆ” (พระราชบัญญัติคณะกรรมการ อาหารแห่งชาติ 2551)


คำว่า ความมั่นคงทางอาหาร จึงครอบคลุมบริบทต่างๆ ดังนี้คือ การมีอยู่อย่างเพียงพอ (Availability) สามารถเข้าถึงได้ (Accessibility) มีกระจายอยู่ทั่วไป (Distribution) มีความปลอดภัย (Safety) และมีความ

ยั่งยืน (Sustainability) จะเห็นได้ว่า ความมั่นคงทางอาหารเป็นคำที่มีหลากหลายมิติอยู่ในตัวเอง ซึ่งในแต่ละประเทศก็มีการใช้ บริบทของความมั่นคงทางอาหารที่แตกต่างกัน ประเทศที่กำลังพัฒนาจะมองเรื่องการมีอยู่อย่างเพียงพอและสามารถ เข้าถึงได้เป็นหลักใหญ่ ส่วนประเทศพัฒนาแล้วจะมองถึงความปลอดภัยและความยั่งยืนที่เกิดขึ้น สถานภาพความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย ประเทศไทยยังเป็นผู้ส่งออกอาหารที่สำคัญ 1 ใน 10 ของโลก จัดอยู่ในกลุ่มของประเทศที่ผลิตอาหารมากเป็นพิเศษ (Food Surplus Country) และมีสัดส่วนของอัตรา การพึ่งพาตนเองทางอาหาร (Food Self-sufficiency Ratio) ที่สูง เพราะในภาพรวมของประเทศถือว่า ประเทศไทย มีส่วนเกินด้านการผลิตอาหาร โดยปี 2553 เราส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารมูลค่าประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท ประเทศไทยมีความโชคดีกว่าหลายประเทศ เนื่องจากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาเรามีอัตราการเพิ่มขึ้นของ ประชากรค่อนข้างน้อย และอัตราของพื้นที่ต่อคน (Man-Land Ratio) ยังต่ำอยู่ การใช้พื้นที่ในการผลิตอาหารจึง ยังมีเหลือมาก อย่างเช่น ข้าวเปลือก ซึง่ มีการผลิตประมาณ 31 ล้านตันต่อปี แต่มกี ารใช้บริโภคภายในประเทศเพียงแค่ ครึง่ หนึง่ ทีเ่ หลือก็จะส่งออก ขณะทีป่ ระเทศอินเดียและจีนผลิตเพือ่ บริโภคภายในประเทศมากถึงประมาณร้อยละ 80 - 90 ตาราง ข้อมูลการผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศไทย ปี 2552/53 รายการ ข้าวในรูป ข้าวโพด ถั่วเหลือง อ้อยในรูป มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ของข้าวสาร ของน้ำตาล ในรูปของน้ำมันปาล์ม การผลิต 20.89 4.62 0.19 6.93 30.09 1.35 การใช้ภายในประเทศ 11.27 4.21 1.87 2.27 8.75 1.65 การส่งออกสุทธิ +9.62 -0.41 -1.68 +4.66 +16.0 -0.41 ที่มา : คำนวณจากฐานข้อมูลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

จากตารางจะเห็นว่า การผลิตและใช้ภายในประเทศของพืชบางชนิดเรามีส่วนเกิน (Surplus) อยู่ (ในช่อง การส่งออกสุทธิ ตัวเลขที่มีค่าเป็นบวกหมายถึง สินค้าที่มีการส่งออก และตัวเลขที่มีค่าติดลบหมายถึง สินค้าต้องมี การนำเข้า) ซึ่งสินค้าเกษตรที่มีการส่งออกคือ ข้าวในรูปของข้าวสาร อ้อยในรูปของน้ำตาล และมันสำปะหลัง ขณะที่ ข้าวโพดตอนนี้เริ่มขาดแคลน เพราะมีการนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ เนื่องจากภาคปศุสัตว์ของเราขยายตัวได้ดี ส่วน ถั่วเหลืองนั้นเราขาดแคลนมานานแล้ว รวมทั้งปาล์มน้ำมันในรูปของน้ำมันปาล์มก็เริ่มมีความขาดแคลนเช่นกัน


อย่างไรก็ตาม การมีอย่างพอเพียง (Availability) และในราคาที่ยอมรับได้หรือหาซื้อได้ (Affordability) มีความสำคัญเพียงส่วนหนึ่ง แต่การสร้างความมั่นคง ปลอดภัย และมีความยั่งยืน เป็นนโยบายที่สำคัญของความ มั่นคงทางอาหารที่จะต้องสร้างให้เกิดขึ้น การผลิตพืชอาหารของไทย เรามีพื้นที่การเกษตรประมาณ 120 ล้านไร่ (ปี 2552) หรือ 40 เปอร์เซ็นต์ของ เนื้อที่ประเทศ ซึ่งใช้เพาะปลูกพืชที่สำคัญ เช่น ข้าว พืชไร่ ไม้ยืนต้น และพืชสวน โดยเป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าว 59.5 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทำการเกษตรทั่วประเทศ ผู้ประกอบอาชีพทำการเกษตรในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร รายเล็กๆ ประมาณ 4.7 ล้านครัวเรือน มีพื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยต่อครัวเรือน อยู่ที่ประมาณ 22 ไร่ และมีรายได้เฉลี่ย ประมาณ 2 หมื่นบาทต่อครัวเรือน ซึ่งพื้นที่การเกษตรของไทยในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมานั้นมีเพิ่มขึ้น แต่สัดส่วน ของการใช้พื้นที่ในการเพาะปลูกข้าวอยู่ในภาวะที่ลดน้อยถอยลง ทางด้านการเข้าถึงอาหาร (Food access) แม้ว่าประเทศไทยจะพยายามสร้างชื่อว่าเป็น “ครัวของโลก” และ มีผลผลิตส่วนเกินในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก แต่ถ้าเราลงไปในชนบทไกลๆ บางพื้นที่ก็ยังเห็นคนอดอยากขาดแคลน อาหารอยู่ โดยเฉพาะการบริโภคเพื่อให้ได้พลังงานและธาตุอาหารที่จำเป็น ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากในภาคเหนือและ ภาคอีสาน หากนำเรื่องความยากจนทางอาหาร (Food poverty) มาเป็นตัววิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลรายงานผลการ สำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES: Socio-Economic Survey) ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มาแบ่งประเภท (Classify) ดูตามเส้นความยากจน (Poverty line) ที่เกิดขึ้น จะเห็นว่า 87 เปอร์เซ็นต์ของคนที่ ยากจนทางอาหารอยู่ในกลุ่มของครัวเรือนเกษตร และ 54 เปอร์เซ็นต์เป็นครัวเรือนที่ปลูกข้าว เหตุผลที่คนปลูกข้าว ยังยากจนและขาดแคลนอาหาร เพราะเขามีที่ดินขนาดเล็กประมาณ 1-2 ไร่ การจะปลูกไว้เพื่อกินเองย่อมจะไม่เพียง พออยู่แล้ว หรือในบางพื้นที่เป็นนาน้ำฝน (ข้าวที่ปลูกฤดูนาปี อาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ) ก็จะมีความแห้งแล้ง ทำให้ การผลิตอาหารไม่พอเพียง แรงขับเคลือ่ นในอดีตทีท่ ำให้เกิดการเปลีย่ นแปลงในโครงสร้างการเกษตรซึง่ ส่งผลมาถึงปัจจุบนั มี 3 เรือ่ ง หลักคือ 1) การชลประทาน 2) การพัฒนาโครงสร้างการตลาดและระบบการขนส่ง และ 3) การลงทุนวิจยั ทางการเกษตร ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเกษตรของรัฐ เริ่มจากมีการชลประทานสมัยใหม่ ในปี 2494 เมื่อมีการจัดทำโครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ 1 ซึ่งในปัจจุบันมีพื้นที่ชลประทาน 24 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ 1

โครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ เป็นโครงการพัฒนาลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพื่อการเพาะปลูกสำหรับพื้นที่ราบภาคกลางสองฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยา เรื่อยลงมาตั้งแต่ชัยนาทถึงอ่าวไทย เดิมการเพาะปลูกในเขตพื้นที่ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ปีที่ฝนแล้ง เกษตรกรในอดีตจึงได้รับความเดือดร้อนอยู่เสมอ จึงได้มีแผนการก่อสร้างโครงการเจ้าพระยาใหญ่ ตั้งแต่ปี 2445 แต่ก็ ประสบปัญหาถูกระงับเรื่อยมา จนปี 2491 ขณะที่หลายประเทศประสบภาวะขาดแคลนอาหาร องค์การอาหารและการเกษตร แห่งสหประชาชาติ (FAO: Food and Agriculture Organization of the United Nations) จึงได้พิจารณาถึง ความจำเป็นของโครงการเจ้าพระยาใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โดยกรมชลประทานได้เริ่มเตรียมงานเมื่อปี 2494 และก่อสร้าง เขื่อนเจ้าพระยา พร้อมกับระบบส่งน้ำในปี 2495 จนแล้วเสร็จในปี 2500 (http://th.wikipedia.org)


เพาะปลูกพืช อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงที่นับเป็นก้าวสำคัญเริ่มขึ้นตั้งแต่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2506 - 2509) เป็นต้นมา ทำให้มีการลงทุนในการพัฒนาถนนเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ พัฒนาโครงสร้างทางการตลาดและระบบการขนส่งสินค้าเกษตรให้ก้าวหน้าพร้อมกับการลดลงของ ต้นทุนการตลาด ทำให้การผลิตสินค้าเกษตรสามารถแข่งขันได้ดขี น้ึ และมีการขยายตัวของการผลิตสินค้าเกษตรตามมา ขณะที่ด้านการลงทุนวิจัยทางการเกษตรที่ผ่านมา กรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำการ วิจัยทางการเกษตรเพื่อการค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ จากช่วงปี 2514 - 2518 ถึงช่วงปี 2543 - 2548 การลงทุนวิจัยใน ข้าวเพิ่มจาก 146.48 ล้านบาท เป็น 278.72 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 1 เท่าตัว แต่อัตราการขยายตัวของการ ลงทุนในข้าวช่วงเกือบทศวรรษที่ผ่านมากลับไม่เพิ่มมากนัก จึงทำให้เกิดความไม่มั่นใจต่ออนาคตของประเทศไทย ปัจจัยที่เป็นความกังวลต่อภาคการเกษตร หากพิจารณาจากอัตราเจริญเติบโตหรือขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth Rate/ GDP: Gross Domestic Product คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) ของภาค การเกษตร จะพบว่า ด้อยกว่าภาคอุตสาหกรรม สะท้อนถึงการเติบโตที่อยู่ในอัตราต่ำและมีแนวโน้มถดถอยลงใน แต่ละปี ส่งผลให้รายได้ของคนหดตัว ในขณะที่คนที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมและบริการมีอัตราการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจที่สูง รายได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นั่นคือ เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า คนที่อยู่ในภาคการเกษตรย่อมจะ สู้ไม่ไหว ความเปลี่ยนแปลงในเรื่องสภาพภูมิอากาศได้เพิ่มความเสี่ยงที่พืชผลจะเสียหาย ค่าความแปรปรวน (Variation) ของน้ำฝนมีสูงขึ้น ซึ่งย่อมจะกระทบและสร้างความเสียหายให้แก่พืชบางชนิดในบางพื้นที่ รวมทั้งปัญหา การขาดแคลนน้ำ และปัญหาภัยน้ำท่วมก็ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ดังปรากฏการณ์ที่เห็นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เรื่องการลงทุนวิจัยด้านการเกษตรซึ่งควรได้รับการสนับสนุนก็มีสัดส่วนที่ลดลง โดยเฉพาะงบประมาณ ลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา (R & D: Research & Development) ในภาคการเกษตรไทยอยู่ในระดับต่ำ แผนภาพ เปรียบเทียบงบประมาณลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนาภาคการเกษตรของแต่ละประเทศ เปอร์เซ็นต์

0.25 Thailand (2004)

2.54

2.64

Taiwan (2004)

Korea (2003)

0.69 Malaysia (2004)

ที่มา: Bangkok Post Mid Year Economic Review, July, 2008


การวิจัยทางภาคการเกษตรนั้นจัดอยู่ในกล่องสีเขียว (Green Box) 2 เป็นการลงทุนที่ถือว่าไม่ผิดกติกา ทางการค้า ซึ่งรัฐบาลต่างๆ ก็จะใช้วิธีการโยนเงินลงไปในกล่องสีเขียวนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวิจัย การพัฒนาตลาด การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการชลประทาน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบ เมื่อเปรียบเทียบงบประมาณลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนาของแต่ละประเทศดังแผนภาพ จะพบว่า ประเทศเกาหลีใต้ซึ่งกำลังจะเปิดตลาด มีการใส่งบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาลงไปในภาคการเกษตรเยอะ มาก สูงถึง 2.64 เปอร์เซ็นต์ ของ GDP ถึงแม้ที่ผ่านมา เราจะเห็นเกษตรกรเกาหลีใต้ออกมาเดินขบวนประท้วง แต่ จริงแล้วภายในประเทศของเขาจัดระบบเป็นอย่างดี มีความเข้มแข็งเพราะใช้ระบบสหกรณ์เป็นตัวตั้ง ศูนย์การค้า ใหญ่ๆ ก็สู้ไม่ได้ เพราะเขาใช้ระบบสหกรณ์มาเปิดเป็นศูนย์การค้า มีธนาคารเกษตรกรของตนเอง ฉะนั้นถึงจะเปิดเสรี ทางการค้าเขาก็ไม่กลัว เพราะต้านอยู่ มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของเกษตรกรสูง ขณะทีป่ ระเทศไต้หวันก็มงี บประมาณด้านการวิจยั และพัฒนา 2.54 เปอร์เซ็นต์ ของ GDP เดีย๋ วนีฝ้ รัง่ พันธุ์ ต่างๆ พัฒนามาจากไต้หวัน หรือถ้าใครไปสนามบินไต้หวันตอนนี้เขาก็กำลังจัดแสดงเรื่องพันธุ์กล้วยไม้ที่ตนพัฒนา ขึ้นมาอย่างเต็มที่ ส่วนประเทศมาเลเซีย มี 0.69 เปอร์เซ็นต์ ของ GDP แต่เมื่อมาดูตัวเลขของประเทศไทยมี

งบประมาณด้านนี้เพียง 0.25 เปอร์เซ็นต์ ของ GDP ซึ่งถือว่าน้อยมาก ทางด้านงบวิจัยในเรื่องข้าวที่รัฐจัดสรรให้กับกรมการข้าว ในปี 2553 งบประมาณโดยเฉลี่ยมีแค่ 173

ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อมูลค่าการส่งออกเพียง 0.10 เปอร์เซ็นต์ เท่านัน้ เอง ซึง่ แทบจะใช้ทำอะไรไม่ได้ และแตกต่าง อย่างสิ้นเชิงเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเงินที่ใช้ในการอุดหนุนให้กับเกษตรกร ในปี 2553/54 เพื่อใช้จ่ายเงินในโครงการ ประกันรายได้ขั้นตํ่ากว่า 67,580 ล้านบาท ยิ่งเรานำเงินไปใช้กับนโยบายประชานิยมมากเท่าไหร่ ก็เหมือนการ ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ความเข้มแข็งในเรื่องของระบบจึงไม่เกิดขึ้น สมัยก่อนเวลาไปประชุมเรื่องข้าวในต่างประเทศ เราจะเห็นอธิบดีของประเทศไทยนั่งหัวโต๊ะ แต่ในระยะหลัง มีแค่ประเทศจีนกับเวียดนามเท่านั้น ที่สำคัญ ขณะนี้นักวิจัยที่อยู่ในกรมการข้าวต่างก็กำลังจะเกษียณไปหมดแล้ว

2

องค์การการค้าโลกจำแนกการอุดหนุนสินค้าเกษตรภายในประเทศออกเป็น 3 กล่องซึ่งคล้ายคลึงกับระบบสัญญาณไฟ จราจร แนวคิดนี้มาจากข้อเสนอของประเทศสหรัฐอเมริกาในระหว่างการเจรจารอบอุรุกวัยในปี 2532 ภายหลังเมื่อประเทศภา คีแกตต์สามารถบรรลุความตกลงว่าด้วยการเกษตรในปี 2535 การจัดประเภทดังกล่าวปรับเปลี่ยนเป็นกล่องสีอำพัน (Amber Box) ซึ่งเป็นการอุดหนุนสินค้าเกษตรที่มีผลบิดเบือนการค้าและการผลิต กล่องสีฟ้า (Blue Box) ซึ่งเป็นการ อุดหนุนเพื่อจำกัดการผลิตที่มีผลบิดเบือนไม่มากหรือไม่มีเลย และกล่องสีเขียว (Green Box) ซึ่งเป็นการอุดหนุนผ่าน โครงการบริการของรัฐบาลที่ไม่มีผลบิดเบือนการค้า ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกมีพันธกรณีในการลดการอุดหนุน สินค้าเกษตรภายในประเทศที่อยู่ในกล่องสีอำพัน และคงระดับการอุดหนุนในกล่องสีฟ้าไว้ แต่สามารถอุดหนุนสินค้าเกษตร ตามเงื่อนไขของกล่องสีเขียวได้ (โครงการจับกระแสองค์การการค้าโลก (WTO Watch), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ วิจัย, เอกสารข่าวฉบับที่ 21, พฤศจิกายน 2551)


เพราะฉะนั้นความเข้มแข็งในการวิจัยภาคเกษตรของเรากำลังทรุดลงเรื่อยๆ และจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ความ มั่นคงทางอาหาร และหลายเรื่องที่จะตามมา ศักยภาพการแข่งขันของภาคการเกษตรในประเทศไทยอยูใ่ นภาวะถดถอย ข้อมูลจากสำนักบัญชีประชาชาติ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่า ผลิตภาพการผลิตรวม (TFP: Total Factor Productivity) 3 ของสาขาเกษตรกรรมติดลบ เพราะการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาเกิดจากการเพิ่มปริมาณ (จำนวน) ของปัจจัย การผลิตเป็นหลักโดยไม่ได้เน้นถึงการเพิ่มคุณภาพของปัจจัยที่ใช้ให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น แสดงให้เห็นว่า ศักยภาพ ทางด้านการสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีของเราง่อยเปลี้ยไปหมดแล้ว เนื่องจากเราลงทุนทางด้านการวิจัยน้อย ถึง ส่งคนไปเรียนต่อ ก็ต้องหนีไปทำงานประเทศอื่น เพราะกลับมาแล้วทำอะไรไม่ได้ นักวิจัยจึงหายหมด มีแต่นักเดิน ขบวนเพิ่มมากขึ้น สภาวะความมีจำกัดของทรัพยากรการผลิต จะทำให้การพัฒนาตามแนวทางเดิมมีผลิตภาพจากการผลิตลด ลงและส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต เมื่อตลาดมีการแข่งขันมากขึ้นในอนาคตจะทำให้การผลิตหลายๆ อย่างของไทยไม่สามารถแข่งขันได้ หากยังจำกันได้ เมือ่ ปี 2535 ประเทศไทยเป็นผูน้ ำในการผลักดันให้ลดภาษีการนำเข้าข้าวเป็น 0 เปอร์เซ็นต์ 4 แต่เมื่อเวลาเปิดเสรีทางการค้ามาถึงจริง เรากลับไม่กล้าเปิด เพราะเราไม่ใช่เสือที่เคยเดินอย่างสง่าผ่าเผย แต่กำลัง หลบภัย ตลาดข้าวในอาเซียนตอนนี้กลายไปเป็นของประเทศเวียดนามหมดแล้ว จะเห็นได้จากปริมาณการส่งออก ข้าวไปอาเซียนของไทยอยู่ที่ 0.83 ล้านตัน ขณะที่เวียดนามมีปริมาณส่งออกข้าวไปอาเซียนสูงถึง 2.62 ล้านตัน เนื่องจากต้นทุนของเวียดนามต่ำกว่าไทยเท่าตัว อีกด้านหนึ่งภายในประเทศเราก็ยังต้องพยายามแก้ปัญหาไม่ให้ข้าว ของกัมพูชาเข้ามาสวมสิทธิจำนำข้าวไทย 5

3

ผลิตภาพการผลิตรวม (TFP: Total Factor Productivity) หมายถึง การวัดอัตราการเจริญเติบโตหรือขยายตัวทาง เศรษฐกิจ (GDP Growth Rate) ที่เกิดขึ้น จากส่วนที่มิได้มาจากการเพิ่มของปัจจัยการผลิต อันได้แก่ ทุน แรงงาน และ ที่ดิน (สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2551) แต่ประสิทธิภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้นมาจากปัจจัยเชิง คุณภาพของการผลิตโดยรวม เช่น การใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ในการผลิต, การใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพดีขึ้น, การสูญ เสียของวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากการผลิตน้อยลง, การจัดการสายการผลิต เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น, คุณภาพของแรงงานสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การฝึกอบรม การสอนงาน การทำงานเป็นทีมที่ดีขึ้น ฯลฯ (สำนักวิจัย เศรษฐกิจอุตสาหกรรม, ม.ป.ป.) 4 อาเซียนได้มีการตกลงจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA: ASEAN Free Trade Area) ตั้งแต่ปี 2535 โดยมี การตกลงลดภาษีสินค้ามากมาย และข้าวก็เป็นหนึ่งในสินค้าที่จะมีการลดภาษี และเปิดตลาด ซึ่งประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะ ต้องเปิดตลาดข้าวภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2553 (www.kasetporpeang.com) 5 ขบวนการลักลอบขนข้าวเปลือกจากประเทศกัมพูชาเข้ามาสวมสิทธิเกษตรกรที่จะเข้าโครงการรับจำนำของรัฐบาล หลังจากที่ พื้นที่เพาะปลูกของไทยได้รับความเสียหายอย่างหนักจากเหตุอุทกภัย (http://www.manager.co.th)


ขณะเดียวกันความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติก็มีมากขึ้น แหล่งที่เคยเป็นธนาคารอาหาร (Food bank) ตามธรรมชาติของคนชนบทขาดหายไป และมีต้นทุนในการเข้าถึงแหล่งอาหารที่จำเป็นของครัวเรือนสูงขึ้น ความหลากหลายทางชีวภาพถูกทำลาย มลภาวะทางนํ้าขยายตัวสร้างผลกระทบต่อแหล่งนํ้าตามธรรมชาติ และ คุณภาพนํ้าที่เสื่อมโทรมส่งผลกระทบต่อการผลิตทางการเกษตร ตลอดจนการหดตัวของพื้นที่ป่าไม้สร้างผลกระทบ ต่อสภาพแวดล้อมในชนบท ในขณะทีเ่ กษตรกรส่วนใหญ่อยูใ่ นภาวะสูงวัย และคนหนุม่ สาวต่างละทิง้ ภาคการเกษตร ปัจจุบนั เกษตรกรมี จำนวนลดลง ขณะที่อายุของเกษตรกรขยายตัวมากขึ้น มีแต่คนแก่ (ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป) ความจริงที่ เกิดขึ้น ณ ขณะนี้ ลูกหลานทางภาคอีสานเป็นคนส่งเงินไป Subsidy ให้พ่อแม่ปลูกข้าว จะเกี่ยวข้าว จะไถนา ก็เอา เงินจากลูกที่ทำงานกรุงเทพฯ ส่งไปให้ โดยพ่อแม่มีหน้าที่อยู่เฝ้าที่ และเก็บข้าวไว้กินในยุ้งฉางเท่านั้น สิ่งเหล่านี้ส่ง ผลกระทบให้เกิดการขาดแคลนแรงงานและทำให้มีค่าจ้างแรงงานที่สูง ขณะเดียวกันที่ดินก็ถูกทิ้งให้รกร้างว่างเปล่า เพิ่มมากขึ้น ปัจจัยที่เป็นความกังวลต่อภาคการเกษตรไทยประการสุดท้ายคือ การปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นของต้นทุนการ ผลิตอย่างต่อเนื่อง ค่าใช้จ่ายในปัจจัยการผลิต ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน แรงงาน ค่าปุ๋ยเคมี และค่าจ้างเครื่องจักรกล การเกษตร ปรับตัวสูงขึ้น ราคาปุ๋ยยูเรียเพิ่มขึ้น 114 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างปี 2510 - 2511 และเพิ่มขึ้นถึง 249 เปอร์เซ็นต์ จากปี 2546 - 2551 ในขณะที่อัตราค่าจ้างแรงงานในชนบทก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน เมื่อมาพิจารณาถึงนโยบายการเกษตรในปัจจุบัน พบว่า นโยบายของรัฐบาลไทยไม่เคยคิดเรื่องของการลด ต้นทุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต มีแต่เพียงการเพิ่มรายได้และเพิ่มราคาอย่างเดียว เพราะนักการเมืองชอบ ทำอะไรระยะสั้นๆ ที่เห็นผลเร็ว ไม่ชอบทำเรื่องที่ต้องใช้ระยะเวลายาวนาน ลักษณะของนโยบายในภาคการเกษตรไทย จะแบ่งเป็น 2 ด้านคือ นโยบายเกี่ยวกับราคา (Price Policy) เป็นนโยบายที่ใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดระดับราคาหรือสร้าง เสถียรภาพราคาต่อเกษตรกรหรือต่อผู้บริโภค เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในทางเศรษฐกิจหรือในทางการเมือง เช่น นโยบายรับจำนำผลิตผลเกษตร นโยบายประกันรายได้ขั้นตํ่าสำหรับเกษตรกร เป็นต้น นโยบายที่ไม่ใช่ราคา (Non-Price Policy) เป็นนโยบายที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างประสิทธิภาพ การผลิตและความอยู่ดีมีสุขของประชากรภาคเกษตร เช่น นโยบายชลประทาน นโยบายการวิจัยในภาคการเกษตร นโยบายปฏิรูปที่ดิน นโยบายสินเชื่อเกษตร เป็นต้น ที่ผ่านมา นโยบายที่เกี่ยวกับราคาถูกขับเคลื่อนอย่างโดดเด่นมาโดยตลอด ขณะที่นโยบายที่ไม่ใช่ราคา กลับไม่ค่อยมีการพูดถึง ทั้งที่รัฐบอกว่า ตั้งใจจะช่วยเกษตรกร ต้องการจะทำให้เกษตรกรเข้มแข็งและมีความยั่งยืน


ในระบบ ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะต้องมีการออกแบบ ไม่ใช่ใช้นโยบายแบบที่เรียกว่า วางนโยบายกันในวงสนทนา คืออยู่ๆ ก็ประกาศว่า จะรับจำนำข้าวเปลือกในราคาตันละ 15,000 บาท 6 แต่ฐานมาจากอะไรก็ไม่สามารถแจกแจงได้ ปัญหาสำคัญของภาคการเกษตรที่นำไปสู่การกำหนดนโยบายด้านราคา มีประเด็นที่สำคัญดังนี้ 1) การ ผลิตในภาคเกษตรกรรมขึ้นอยู่กับความเสี่ยงต่างๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยเฉพาะภัยธรรมชาติ ทำให้เกิดความ แปรปรวนในปริมาณสินค้าและราคา 2) ผลผลิตส่วนมากเป็นฤดูกาล และเน่าเสียง่าย เกษตรกรส่วนใหญ่จะขาย ผลผลิตไปทันทีหลังการเก็บเกี่ยว เพราะมีภาระเรื่องค่าใช้จ่ายและหนี้สิน ทำให้ได้ราคาตํ่า 3) สินค้าบางชนิดมีไม่ เพียงพอใช้ภายในประเทศและเพื่อให้มีการผลิตภายในประเทศ เป็นการทดแทนการนำเข้า ทั้งนี้อาจเป็นพืชใหม่ หรือ เป็นพืชที่ต้องการให้การสนับสนุน หากไม่มีการคุ้มครองแล้วจะแข่งขันสู้การนำเข้าสินค้าดังกล่าวไม่ได้ และ 4) การมี รายได้ตํ่าของเกษตรกร ทำให้มีฐานะยากจน การแทรกแซงราคาผลผลิตให้มีราคาที่สูงขึ้นจะช่วยยกระดับรายได้ให้ กับเกษตรกร ในกรณีของสินค้าข้าว เนื่องจากข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจและเกี่ยวข้องกับเกษตรกรจำนวนมาก มีครัวเรือนที่ ปลูกข้าวประมาณ 3.7 ล้านครัวเรือน มีสัดส่วนของพื้นที่เพาะปลูกมากเป็นอันดับ 1 ประมาณ 55 เปอร์เซ็นต์ (ประมาณ 67 ล้านไร่) ของพื้นที่เพาะปลูกพืชทั้งหมด เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมีกระจายอยู่ทั่วประเทศ และจำนวน ไม่น้อยมีรายได้ในระดับตํ่าหากเปรียบเทียบกับคนกลุ่มอื่นๆ ขณะเดียวกันข้าวยังเป็นพืชอาหารหลักของประชากรใน ประเทศ เป็นเรื่องของวิถีชีวิต รวมทั้งยังเป็นสินค้าเกษตรส่งออกที่มีความสำคัญ ความสนใจในการกำหนดนโยบาย เรื่องข้าวจึงยังถือเป็นตัวเอก การเลือกใช้นโยบายด้านราคาข้าว จะเป็นการแทรกแซงกลไกตลาดหรือบิดเบือนกลไกตลาดไปจากราคา สมดุล ตามลักษณะของอุปสงค์และอุปทานของตลาดในขณะหนึ่งๆ ซึ่งส่วนมากแล้วมักจะจัดให้มีขึ้นด้วยเหตุผลที่ อยู่บนพื้นฐานของการสร้างความเป็นธรรม (Equity) เป็นหลัก มากกว่ามุ่งหวังเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพ (Efficiency) โดยเฉพาะเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการรักษาและยกระดับรายได้เกษตรกรให้สูงขึ้นทัดเทียมกับ

ผู้ประกอบอาชีพอื่นๆ และเพื่อลดการเปลี่ยนแปลงของราคาและรายได้ของเกษตรกรในแต่ละปี เนื่องจากหากราคา เปลี่ยนแปลงมากจะมีผลต่อรายได้ของครัวเรือนตามมา โดยเฉพาะเมื่อราคาตกตํ่า

6

รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย ได้นำเสนอนโยบายการรับจำนำข้าว เปลือกแทนการรับประกันรายได้เกษตรกร โดยกำหนดราคาข้าวเปลือกไว้เกวียนละ 15,000 บาท และข้าวหอมมะลิเกวียนละ 20,000 บาท ควบคู่กับการออกบัตรเครดิตเกษตรกรเพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้ซื้อปัจจัยการผลิตทั้งเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง นํ้ามัน และค่าใช้จ่ายในการผลิตต่างๆ โดยใช้ผลผลิตเป็นหลักประกันให้สามารถกู้ได้ในวงเงินไม่เกิน 70 เปอร์เซ็นต์ของราคา ประกันผลผลิต (http://www.ptp.or.th/about/policy.aspx) 11


นโยบายพยุงราคาหรือประกันราคาข้าว เกิดจากการขยายตัวของอุปทานข้าวที่มีมากขึ้นในยุคของการ ปฏิวัติเขียว (The Green Revolution) 7 ช่วงทศวรรษ 2510 ซึ่งส่งผลต่อภาวะตกตํ่าของราคาข้าว ทำให้รัฐต้อง เข้าไปแทรกแซงกลไกตลาดข้าวเปลือกภายในประเทศ โดยเริ่มจากการเข้าไปพยุงราคา ด้วยการแทรกแซงกลไก ตลาดในช่วงฤดูเก็บเกีย่ วทีร่ าคาข้าวตกตํา่ (การพยุงราคา คือ การทีร่ ฐั บาลดำเนินการรับซือ้ ผลผลิตเฉพาะในบางท้องที่ เพื่อกระตุ้นให้ราคาตลาดสูงขึ้น) แต่เนื่องจากมีงบประมาณจำกัด โครงการดังกล่าวจึงไม่ประสบผลสำเร็จ และต่อมา ได้ยกเลิกไปพร้อมๆ กับการนำนโยบายรับจำนำข้าวเปลือกมาใช้แทน นโยบายการรับจำนำข้าวเปลือก นำมาใช้แก้ปัญหาราคาสินค้าข้าวตกตํ่าในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งจะมี ผลผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อให้สินเชื่อแก่เกษตรกรที่ต้องการเงินสดไปใช้ โดยนำข้าวเปลือกมาจำนำไว้ กับรัฐ นโยบายดังกล่าวช่วยพยุงไม่ให้ราคาระดับฟาร์มต้องลดตํ่าลงมาก เกษตรกรมีทางเลือกในการตัดสินใจที่จะ ขายข้าวเปลือกหลังเก็บเกี่ยว หรือจะเก็บข้าวเปลือกไว้รอจำหน่ายเมื่อราคาดี โครงการรับจำนำได้เข้ามาเป็นเครื่องมือในการบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินของเกษตรกร โดยการเริ่ม ทดลองของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เมื่อปี 2516 ซึ่งธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ย 3 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ระยะเวลาในการรับจำนำ 5 - 7 เดือน ถัดจากเดือนที่รับจำนำ หากเกษตรกรไม่มาไถ่ถอนข้าวจะ ตกเป็นของรัฐ โดยรัฐบาลจะชดเชยภาระการขาดทุนจากการขายข้าวเปลือกจำนำให้กับ ธ.ก.ส ในระยะแรกจะมีการ ดำเนินการเฉพาะปีที่มีปัญหาราคาผลผลิตตกตํ่า ซึ่งด้วยการรับจำนำตํ่ากว่าราคาตลาด ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของราคา พืชผล เพื่อให้คนที่เดือดร้อนเงินในช่วงเก็บเกี่ยวได้มีเงินไปใช้และสามารถไถ่ถอนคืนได้ โครงการดังกล่าวจึงไม่

ส่งผลต่อการบิดเบือนของกลไกตลาด แม้จะมีการขยายตัวของปริมาณการรับจำนำอย่างกว้างขวางมากขึ้นนับจาก ปี 2529/30 (โดยมีการเปลี่ยนแปลงให้โครงการรับจำนำกลายมาเป็นโครงการหลัก และผลักดันให้ ธ.ก.ส.เข้ามามี บทบาทในการรับจำนำข้าวเปลือกจำนวนมากเป็นครั้งแรก)

7

การปฏิวัติเขียว (The Green Revolution) คือการใช้เทคโนโลยีใหม่ เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืชร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมี สาร เคมีกำจัดศัตรูพืช ระบบชลประทาน เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ การปฏิวัติเขียวเข้ามาในไทยราวปี 2509 โดยนำข้าวปรับปรุง พันธุกรรมมาผสมกับพันธุ์ข้าวไทย เกิดข้าวพันธุ์ กข. ต่างๆ เป็นข้าวต้นเตี้ย ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมี ไม่ไวต่อช่วงแสงจึงปลูกได้ ตลอดปี ส่งผลให้เกษตรกรรมไทยเปลี่ยนไป จากปลูกเพื่อกิน-เหลือจึงขาย มาเป็นปลูกเพื่อขาย ระบบชลประทานและพันธุ์ ข้าวแบบใหม่ทำให้ชาวนาทำนาต่อเนื่องตลอดปี เกิดการจ้างแรงงาน มีแนวโน้มการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ เพราะประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมีในการเพิ่มผลผลิตนั้นลดลงเมื่อเวลาผ่านไป (จากปฏิวัติเขียวสู่พันธุวิศวกรรม, วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ, 2551)


การพัฒนาการของโครงการรับจำนำข้าวเปลือกเริ่มส่งผลกระทบ จากเดิมการจำนำยุ้งฉางจะให้สินเชื่อ 80-90 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ชาวนาชะลอการขายข้าว ต่อมาปี 2536/37 เริ่มมีการจำนำแบบใบประทวนสินค้า 8 จนปี 2543/44 รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เริ่มเพิ่มราคาจำนำเป้าหมาย 9 ให้สูง กว่าตลาด เกิน 100 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มงบจนกลายเป็นนโยบาย “ประกันราคาขั้นตํ่า” (คือไม่ได้ “แทรกแซง” หรือ “พยุง” ราคาข้าวโดยรับซื้อหรือรับจำนำข้าวเพียงบางส่วนในบางพื้นที่อย่างในอดีต) เพื่อเพิ่มรายได้ให้ชาวนา และ ยกระดับราคาต้นฤดู มาในปี 2544/45 ก็เริ่มมีการจำนำข้าวนาปรังเป็นครั้งแรก จนรัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เข้ามา เป็นรัฐบาล จึงมีการลดราคาจำนำลงใกล้เคียงราคาตลาด แต่เมื่อคุณสมัคร สุนทรเวช ขึ้นเป็นรัฐบาล ราคาจำนำก็สูง เป็นประวัติการณ์ 14,000 บาท ในฤดูนาปรัง 2551 (ทั้งที่ราคาข้าวในตลาดขณะนั้นอยู่ที่ 6,000-7,000 บาท) แม้ราคา ตลาดจะลดลงรวดเร็ว แต่รัฐบาลของคุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ยังคงราคาจำนำสูงกว่า ตลาดมาก คือ นาปี 2551/52 ราคา 12,000 บาท และนาปรัง 2552 ราคา 11,800 บาท กระทั่ง นาปี 2553 รัฐบาล ของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงได้ปรับนโยบายจากการรับจำนำเป็นประกันรายได้เกษตรกรปลูกข้าวขั้นตํ่า แต่แล้ว เมื่อมาถึง นาปี 2554 รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ได้ยกระดับราคาจำนำขึ้นมาเป็น 15,000 บาท สำหรับ ข้าวเปลือกความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์ ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้คือ ผลกระทบจากการยกระดับราคาจำนำสูงกว่าระดับราคาตลาด ทำให้กลไก ตลาดกลางเสียไป เมื่อตอนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 และ 6 เรามีแผนในการสร้างและพัฒนากลไก ตลาด ให้เกษตรกรมีอำนาจต่อรอง โรงสีไปซื้อข้าวจากตลาดกลาง เกษตรกรก็เอาข้าวมาขายที่ตลาดกลาง วัด ความชืน้ ของข้าวที่ 15 เปอร์เซ็นต์ ถ้าไม่ถงึ เกษตรกรก็เช่าพืน้ ทีต่ ลาดกลางในการตากข้าว มีการต่อรอง (Bargaining) เกิดขึ้น ทั้งโรงสีและเกษตรกรต่างได้ประโยชน์

8

ใบประทวนสินค้าหรือใบรับฝากสินค้า ใช้สำหรับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่ไม่มียุ้งฉางสามารถนำข้าวเปลือกไปฝากไว้ ที่เก็บหรือยุ้งฉางขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) หรือของโรงสีที่ อ.ต.ก. เช่าไว้ และนำใบประทวนสินค้าที่ อ.ต.ก. ออกให้ไปจำนำกับ ธ.ก.ส.ได้ (การวิวัฒนาการของนโยบายรับจำนำข้าวเปลือก, สมพร อิศวิลานนท์, กรุงเทพธุรกิจ 23 ส.ค. 54 ) 9 ราคาจำนำเป้าหมายหรือราคาเป้าหมายนำ คือ ราคาที่ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ที่เหมาะสมและมีเสถียรภาพ โดยคิดจาก รายได้เกษตรกรที่ควรจะได้รับในปีนั้น คำนึงถึงผลผลิตรวม และเปรียบเทียบรายได้รวมของเกษตรกรที่ผลิตสินค้าเกษตร แต่ละชนิด รวมถึงราคารายเดือนเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ซึ่งไม่รวมราคาที่สูงหรือตํ่าผิดปกติ (ประมวลนโยบายการจัดการ ผลผลิตทางการเกษตร การรับจำนำข้าว VS. การประกันรายได้เกษตรกร, BIOTHAI, 17 ก.ค. 54) 13


แต่พอมีโครงการรับจำนำที่สูงกว่าราคาตลาด เกษตรกรก็นำข้าวมาขายให้กับรัฐ ทำให้รัฐบาลกลายเป็น

ผู้รับซื้อรายใหญ่ในระบบการค้าข้าวเปลือก ในขณะเดียวกันตลาดกลางที่เคยเป็นแหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยนที่สำคัญ สำหรับตลาดข้าวเปลือกก็หายไป ท่าข้าวต่างๆ ที่เคยมี อย่างท่าข้าวกำนันทรง (ซึ่งเป็นตลาดกลางข้าวเปลือกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ) เดี๋ยวนี้ ไม่มีอีกแล้ว เพราะข้าวไปผ่านโรงสีหมด ท่าข้าวที่เหลืออยู่ก็เป็นของโรงสีเท่านั้น เมื่อกลไกตลาดกลางเสีย ที่พึ่งของ เกษตรกรก็ไม่มี อำนาจต่อรองที่เคยมีหายไป เกษตรกรก็ต้องจ้างรถขนข้าวไปส่งโรงสี เพราะไม่มีที่ตากข้าว เป็น ปัญหาด้านโลจิสติกส์ (Logistics - หมายถึง การจัดลำเลียงสินค้าเพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการกระจายสินค้า

ต่ำทีส่ ดุ ) เมือ่ เดินทางมาไกลก็ไม่อยากเสียเวลาขนกลับ สุดท้ายโรงสีกจ็ ะเป็นคนเคาะราคาได้ตามใจว่าจะให้เป็นเท่าไหร่ อยากจะให้เกษตรกรเรียกร้องให้กลไกตลาดในพื้นที่กลับคืนมา เพราะอย่างน้อย เกษตรกรก็จะได้มีสถานที่ ที่สามารถนำผลผลิตมาขาย และการมีตลาดจะทำให้เราผลักดันเรื่องเกษตรที่ยั่งยืนได้ ประเด็นต่อมาคือ เมื่อมีโครงการรับจำนำที่สูงกว่าราคาตลาด ส่งผลให้เกษตรกรนำข้าวเปลือกที่ผลิตได้มา เข้าโครงการรับจำนำสูงมากขึ้น ในขณะเดียวกัน การมาไถ่ถอนคืนของเกษตรกรกลับลดน้อยลง เป็นผลให้ข้าวหลุด จำนำตกเป็นของรัฐในจำนวนมาก จนเดี๋ยวนี้แทบไม่มีการไถ่ถอน จำนำแล้วทิ้งหมด ทั้งที่เมื่อก่อนจะมีการไถ่ถอน ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ข้าวที่ตกค้างอยู่ในสต็อกเหล่านี้ก็ต้องกลายเป็นภาระด้านงบประมาณของรัฐ การรับจำนำในระดับราคาสูงยังเป็นการจูงใจให้เกษตรกรเลือกการผลิตข้าวที่มีอายุสั้น ซึ่งมีคุณภาพตํ่า หากปล่อยนานออกไปก็จะเป็นการทำลายคุณภาพข้าวในตลาดของไทย ทำให้คุณภาพข้าวหลังการสีตกตํ่าลง เพราะ มีการเกี่ยวข้าวที่ยังไม่แก่ ขณะเดียวกันตลาดซื้อขายสินค้าข้าวล่วงหน้าก็ได้รับผลกระทบ รวมทั้งระบบการทุจริตใน การใช้งบประมาณของรัฐจะขยายตัวและมีการพัฒนาการในกลไกทุจริต ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร (ประธานสถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ) รายงานเมื่อปี 2552 ว่า งบประมาณที่ใช้จ่ายในโครงการรับจำนำนั้นมี มากถึง 1 แสนล้านบาท แต่กลับตกถึงมือเกษตรกรจำนวนน้อยมาก ซึ่งเมื่อดูตัวเลขภาระงบประมาณที่ใช้แทรกแซง สินค้าเกษตรสำคัญ ระหว่างปี 2547 - 2552 (รวมต้นทุนจำนำและค่าใช้จ่ายดำเนินการ) พบว่า งบแทรกแซงสินค้า เกษตรเป็น 8 เปอร์เซ็นต์ของ GDP เกษตรทั้งหมด และในปี 2552 รัฐใช้งบประมาณแทรกแซงเพิ่มขึ้น 2 เท่าจาก งบประมาณปี 2547 โดยข้าวถือเป็นสินค้าที่รัฐใช้งบแทรกแซงมากที่สุดถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ถ้าโครงการรับจำนำนี้ทำต่อเนื่องไป 5 ปี คาดการณ์ว่า ตลาดส่งออกข้าวจะกลายเป็นตลาดผูกขาดโดย รัฐบาลไทย เพราะเมื่อรัฐรับจำนำข้าวทุกเม็ด ปริมาณข้าวที่ออกมาเข้าโครงการจำนำก็จะสูงกว่าข้าวที่เข้าสู่ตลาดใน ปัจจุบัน จึงจะต้องมีการจัดตั้งเป็นบริษัทส่งออก แล้วใครจะเป็นคนเข้าไปดูแลในส่วนเหล่านี้ นี่เป็นเรื่องที่ต้องระวัง ศ.ดร.อัลมาร สยามวาลา (นักวิจารณ์เศรษฐศาสตร์และนักวิชาการเกียรติคุณ) เคยบอกว่า สิ่งที่กลัวที่สุดตอนนี้คือ


นโยบายดังกล่าวกำลังทำลายตลาดการค้าข้าวเปลือกและตลาดส่งออก 10 ถ้าตลาดส่งออกหมดไปเมื่อไหร่ สิ่งที่ กระทบก็คือ เกษตรกรในท้ายที่สุด เมื่อหันไปดูทางด้านของโครงการประกันรายได้ซึ่งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ภายใต้นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชา ชีวะ เคยนำมาใช้เป็นนโยบาย จะเห็นได้ว่า นโยบายดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการสร้างให้กลไก ตลาดในพื้นที่กลับคืนมา 11 การประกันรายได้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรทุกครัวเรือน รวมทั้งเกษตรกรที่ยากจนไม่มี ผลผลิตเหลือขายในตลาด และยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรขนาดเล็กให้มีรายได้ขั้นต่ำหากราคาข้าวตกต่ำจน ขาดทุน โดยที่รัฐบาลไม่ต้องซื้อข้าว ไม่จ้างสีแปรสภาพ และไม่ขายข้าว กระนั้นก็ดี การประกันรายได้ก็เป็นแค่เพียงการจ่ายส่วนต่าง (ระหว่างราคาประกันรายได้กับราคาอ้างอิง) รัฐบาลทำโครงการนี้ โดยที่ไม่ได้ใส่เงินลงไปในการพัฒนากลไกตลาด ไม่ได้จี้ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการใน ด้านต่างๆ อีกทั้งผมเคยบอกกับนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ (รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) ว่า หากทำเรื่องการประกัน รายได้ ต้องทำเรื่องการประกันภัยพืชผลด้วย เพื่อให้เกิดความมั่นคงที่ดีกับเกษตรกรและทำให้ประเทศอยู่ได้ แต่ พอประกันรายได้เสร็จ รัฐบาลก็ตีปี๊บว่าสำเร็จแล้ว สุดท้ายก็ถูกโรงสีทุบเอาเหมือนเดิม ผมถือว่า เป็นนโยบายที ่

10

รัฐบาลมักเชื่อว่าการที่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่จะทำให้เราสามารถใช้อำนาจทางการตลาดที่มีอยู่มากำหนดราคา ส่งออกให้สูงขึ้น แต่ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว แม้กระทั่งในตลาดผูกขาดที่มีผู้ขายเพียงรายเดียวหรือน้อยรายนั้น การใช้ อำนาจการผูกขาดในการตั้งราคาให้สูงขึ้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ขายลดปริมาณสินค้าที่ขายลงเท่านั้น ในทางกลับกัน ถ้าผู้ผลิตมี เป้าหมายที่จะขายสินค้าที่ผลิตให้หมดในขณะที่ผมมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทางเลือกเดียวของผู้ขายคือลดราคาลง ซึ่งถ้า รัฐบาลทำเช่นนั้น ก็ต้องขาดทุนจากส่วนต่างราคาที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ประเทศไทยไม่ได้มีฐานะเป็นผู้ผูกขาดตลาดข้าวของ โลก ที่ผ่านมา เมื่อใดก็ตามที่รัฐบาลประสบความสำเร็จในการทำให้ราคาข้าวในประเทศไทยแพงขึ้น เราก็มักจะสูญเสียตลาด ส่งออกให้กับประเทศคู่แข่ง (โครงการ “ประกันราคาข้าว” ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์, ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง, มติชน 5 ก.ย.54) 11 แนวคิดสำคัญของโครงการประกันรายได้คือ การที่รัฐบาลจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับตลาด และปล่อยให้ราคาที่ซื้อขายกันเป็น ไปตามกลไกตลาดอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้รู้ในหลายด้าน เช่น 1) บ่อยครั้งที่เกษตรกรขาย ได้ราคาต่ำกว่าราคาอ้างอิงที่รัฐบาลประกาศ เช่น ราคาอ้างอิง 8,500 บาท แต่ขายได้จริง 8,200 บาท เมื่อรวมกับเงินชดเชย ตันละ 1,500 บาท ทำให้เกษตรกรได้รับรายได้เพียงตันละ 9,700 บาท ไม่ถึง 10,000 บาทตามที่ประกาศ 2) มีการแจ้งสิทธิ เกินกว่าที่ทำจริง ซึ่งดูได้จากตัวเลขจำนวนข้าวเปลือกที่แจ้งจดทะเบียนเข้าร่วมโครงการประกันรายได้ที่สูงถึง 40 ล้านตันในปี เพาะปลูก 2553/54 ทั้งที่ผลผลิตข้าวเปลือกของประเทศจริงโดยปกติอยู่ที่ประมาณ 30 ล้านตัน 3) การปล่อยให้ราคาเป็นไป ตามกลไกตลาดทำให้ผู้ค้าข้าวรายใหญ่ซึ่งมีไม่กี่รายในประเทศสามารถคุมราคาตลาดในประเทศได้อย่างเต็มที่ เห็นได้จาก ส่วนต่างระหว่างราคาที่เกษตรกรขายได้และราคาที่ผู้บริโภคซื้อห่างกันอย่างมาก 4) งบประมาณที่รัฐต้องจ่ายโดยไม่ได้คืน และต้องจ่ายเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม (โครงการประกันรายได้เกษตรกร VS โครงการรับจำนำพืชผล, ศิวะ หงษ์นภา, ฐาน 15 เศรษฐกิจ 22 มิ.ย. 54)


ใส่กางเกง แต่ไม่ได้ใส่เสื้อ ทำไม่ครบ แต่ก็นับเป็นนโยบายที่ดี เพราะช่วยสนับสนุนกลไกตลาดข้าวในระดับต่างๆ เกษตรกรที่ปลูกข้าวและมาลงทะเบียนจะได้รับผลประโยชน์ทุกราย โดยที่รัฐไม่ต้องเก็บข้าวไว้ในสต็อก ทำให้ลดการ ทุจริตในขั้นตอนการดำเนินงาน นอกจากนี้ งบประมาณที่ใช้จ่ายไปในโครงการประกันรายได้เมื่อมองในแง่ของการกระจายรายได้นั้นตก ไปถึงมือของเกษตรกรมากกว่าโครงการจำนำราคาข้าว ผมได้มีโอกาสไปช่วย ศ.ดร.เมธี ครองแก้ว (กรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.) ทำงานเรือ่ งนี้ พบว่า โครงการรับจำนำ มีเกษตรกรเพียง 6 - 7 แสนครัวเรือนเท่านั้นที่ได้ประโยชน์จากโครงการ ขณะที่การประกันรายได้ มีเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์ 3.7 ล้าน ครัวเรือน โดยใช้งบประมาณขนาดเท่าๆ กัน นั่นคือเหตุผลว่า การประกันรายได้ทำให้เกิดการกระจายรายได้ไปที่ เกษตรกรได้ดีกว่า ขณะที่เงินในโครงการรับจำนำส่วนใหญ่จะไปตกอยู่ที่โรงสี อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายเงินภายใต้โครงการประกันรายได้ก็มีจำนวนมาก โดยเฉพาะหากราคาตลาดอยู่ใน ช่วงขาลงมากๆ รัฐจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเช่นกันที่จะมาจ่ายชดเชยในส่วนต่าง ซึ่งปี 2552/53 มีการใช้ เงินไป 47,843 ล้านบาท และปี 2553/54 ใช้เงินไป 67,580 ล้านบาท รวมทั้งยังมีผลกระทบต่อโครงสร้างการปลูกพืช อื่นๆ ในอนาคต หากรัฐยกระดับราคาเป้าหมายให้สูงขึ้นตลอดเวลา ตลอดจนเกษตรกรอาจจะขาดความสนใจในการ จัดการไร่นาและสร้างผลกระทบต่อคุณภาพข้าวตามมา มาถึงประเด็นเรื่องนโยบายการเปิดเสรีทางการค้าและการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประเทศไทย ได้เปิดเสรีการค้ากับกลุ่มประเทศอาเซียนนับตั้งแต่ 1 มกราคม 2553 ที่มีการลดภาษีสินค้าเกษตรทุกรายการสินค้า รวมถึงข้าวเป็น 0 เปอร์เซ็นต์ (ยกเว้น เมล็ดกาแฟ มันฝรั่ง ไม้ตัดดอก เนื้อมะพร้าวแห้ง ภาษีเหลือ 5 เปอร์เซ็นต์) และกำลังจะก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC: ASEAN Economic Community) ในปี 2558 นอกจาก นี้ยังมีการเจรจาลดภาษีภายใต้กรอบ FTA (Free Trade Area) ทวิภาคีในภูมิภาคอีกหลายกรอบ การเปิดเสรีทางการค้าจะทำให้ตลาดการค้าอาเซียนรวมกันเป็นตลาดเดียว รวมถึงตลาดสินค้าเกษตร ซึ่ง การเป็นฐานการผลิตเดียวกันอาจจะเอื้อประโยชน์เมื่อมองในแง่ของภาพรวม แต่ถ้าเรามองดูคนอีกกลุ่มหนึ่ง โดย เฉพาะในภาคการเกษตร ถ้าไม่มีการปรับตัวที่ดี โอกาสเหล่านี้ก็อาจจะกลายเป็นวิกฤติ โลกในยุคของการค้าเสรีอำนาจจะเป็นของผู้บริโภคมากกว่าผู้ผลิต การค้าจะไร้พรมแดน และจะมีการใช้ เครื่องมือที่ไม่ใช่ภาษี (Non-tariff barrier) มากีดกันทางการค้าเพิ่มมากขึ้น การแข่งขันในตลาดสินค้าจะเป็นการ แข่งขันในด้านคุณภาพ สินค้าที่ขาดคุณภาพจะถูกเบียดหายไปจากตลาดการค้า มาตรการทางการค้าจะให้ความสนใจ กับสุขอนามัยและความปลอดภัยของผูบ้ ริโภคเป็นสิง่ สำคัญ ไปพร้อมๆ กับมีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพ การแข่งขันที่ รุนแรงในตลาดการค้า ทำให้ผู้ผลิตต้องอาศัยเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในกระบวนการผลิตหรือต้องพึ่งพิงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตตํ่าลง และทำให้คุณภาพดีขึ้นด้วยต้นทุนที่ตํ่า


เกษตรกรถ้าปรับตัวได้ก็จะอาศัยเรื่องเหล่านี้เพื่อเข้าไปสู่ตลาดที่เป็นตลาดกลุ่มเฉพาะ (Niche Market) แต่ถ้าปรับตัวไม่ได้ ก็จะถูกเอาเปรียบ กลายเป็นของคละ หากเราไม่สร้างกลไกตลาดให้มีความเข้มแข็ง เกษตรกรรายใหญ่นั้นไม่น่าเป็นห่วงเพราะเขาได้ประโยชน์จากการเปิดตลาดการค้าเสรี รวมทั้งมีความ สามารถในการซื้อเทคโนโลยีและคนได้ แต่ผมมีความกังวลต่อเกษตรกรรายย่อย เพราะหาเทคโนโลยีได้ค่อนข้าง ลำบาก และการจะเข้าถึงตลาดก็ทำได้ยากและจำกัด ขณะนี้ตลาดกำลังเปลี่ยนทิศทาง ผู้บริโภคจะเป็นตัวส่งสัญญาณ ว่าต้องการอะไร และผู้ผลิตต้องทำตาม ถ้าเกษตรกรผลิตเหมือนเดิมอย่างที่เคยทำก็จะอยู่ไม่ได้ โดยเฉพาะเกษตรกร รายย่อยจะเกิดปัญหา ก้าวไม่ทันกับการตอบสนองของกลไกการตลาดสมัยใหม่ ภายใต้ระบบเช่นนี้ เกษตรกรจึงต้อง มีการรวมกลุ่มกัน ดังเช่นระบบสหกรณ์ในอดีต เพื่อมาต้านกระแสของการค้าเสรี สุดท้าย เป็นข้อหารือเชิงนโยบายเรื่องระบบเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) หากมองในระดับ สากล เกษตรพันธสัญญามีประสิทธิภาพในแง่ของการทำให้เกษตรกรรายเล็กๆ เข้าสู่ตลาดได้ แต่ในเมืองไทยยังมี ปัญหาเรื่องสัญญาที่มีความไม่เท่าเทียมและเป็นธรรม จึงต้องมีคนกลุ่มหนึ่งเข้าไปทำให้กลไกมันเกิดความยุติธรรม เพราะที่ผ่านมา ความเสี่ยงในการผลิตถูกปัดไปที่เกษตรกรทั้งหมด สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะต้องมีการศึกษาและนำข้อมูล มาเปิดเผย เพื่อให้ระบบของบรรษัทขนาดใหญ่เป็นระบบที่มีคุณธรรมมากขึ้น

17


มิติทางกฎหมายต่อสิทธิเกษตรกร และความมั่นคงทางอาหาร

โดย ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผมเข้ามาอยู่ในวงการความมั่นคงทางอาหารเนื่องจากทำวิทยานิพนธ์เรื่องสิทธิในการเข้าถึงอาหารของ ประชาชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักคือ ทำอย่างไรให้คนไม่อดอยาก หรือถ้าคนอดอยากแล้วจะทำอย่างไรให้สามารถแก้ ปัญหาของตนเอง รัฐ หรือสังคมได้

แผนภาพ การสำรวจความอดอยากหิวโหยทั่วโลก ปี ค.ศ.2009

จากแผนภาพการสำรวจเรื่องความอดอยากหิวโหยทั่วโลก ปี ค.ศ.2009 บริเวณเข้ม เป็นพื้นที่ซึ่งมีอัตรา การอดอยากมาก ไล่มาจนเป็นสีอ่อนคือ แทบไม่อดอยากเลย เมื่อมาดูส่วนของประเทศไทยพบว่า เราตกอยู่ในกลุ่ม ประเทศที่มีอัตราการอดอยาก 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งน่าตกใจ เพราะจากตัวเลขการส่งออกอาหาร ประเทศไทยถือเป็น ผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลก ข้อมูลนี้ทำให้ตกผลึกเรื่องหนึ่งคือ ปัญหาไม่ใช่การมีอาหารไม่เพียงพอ แต่ถ้าพูด ในภาษาของเกษตรกรรมยั่งยืนแล้ว ปัญหาที่แท้จริงคือ การขาดอธิปไตยเหนืออาหารที่ผลิตได้ ทำให้เกิดคำถามว่า

1) ทำไมเกษตรกรจำนวนมากผลิตอาหารได้ แต่ไม่สามารถเก็บอาหารไว้บริโภคเอง และ 2) ทำไมผู้บริโภคในประเทศ จึงไม่สามารถนำอาหารที่เกษตรกรในประเทศของตนผลิตมาบริโภคได้ นี่คือปัญหาใหญ่ที่เป็นประเด็นตั้งต้น


เมื่อลองทำการสำรวจวิจัย ก็มีงานออกมาชิ้นหนึ่ง ภายใต้ประเด็นที่ว่า ทำอย่างไรให้เกษตรกรมีความ สมบูรณ์ในชีวิต (อ่านรายละเอียดได้ในเอกสารเรื่อง “สิทธิเกษตรกร” (Farmers Rights) สิ่งที่หายไปจาก

ร่าง พ.ร.บ.สภาการเกษตรกรฯ) สรุปง่ายๆ คือ เวลาเราพูดว่าจะทำอย่างไรให้เกษตรกรมั่นคง สามารถผลิตอาหาร เพื่อตอบสนองตนเอง หรือตอบสนองผู้บริโภคในประเทศได้ จะต้องมีการประกันสิทธิใน 4 ประเด็น ดังนี้ 1) การถือครองปัจจัยการผลิตอย่างมั่นคง เช่น เมล็ดพันธุ์ ตัวอ่อน ที่ดิน ซึ่งถือเป็นปัจจัยพื้นฐาน เรื่องนี้ เกี่ยวข้องกับกฎหมายเรื่องระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ซึ่งประเทศไทยมีระบบกรรมสิทธิ์เพียงแค่ 2 แบบคือ ถ้าไม่ เป็นของคนธรรมดาหรือเอกชน ก็จะเป็นของรัฐไปเลย ซึ่งมีปัญหามาก อีกทั้งในปัจจุบัน เอกชนที่ถือครองปัจจัยการ ผลิตก็มีการกระจุกตัว สิ่งที่น่ากลัวกว่าคือ การที่ประเทศไทยมีการใส่งบประมาณในการพัฒนาเทคโนโลยีน้อย ทำให้ เทคโนโลยีเหนือปัจจัยการผลิตย้ายไปอยู่ที่บรรษัทอุตสาหกรรมเกษตรแทบทั้งหมด ผมจึงไม่ค่อยแปลกใจเท่าไหร่ เวลาที่เห็นตัวเลขงบวิจัยแค่ 173 ล้านบาท เพราะถ้าไปดูกลับกันในบรรษัทอุตสาหกรรมเกษตร อาจจะเป็นพันหรือถึง หมื่นล้านก็ได้ 2) ประชาชนหรือเกษตรกรต้องเข้าถึงสิทธิในทรัพยากรร่วมหรือทรัพยากรสาธารณะอย่างเพียงพอ เช่น ดิน น้ำ ป่า เราจึงต้องพูดเรื่องของสิทธิชุมชนเพื่อให้เกิดการจัดการทรัพยากรร่วมกัน นอกเหนือจากนั้น งบประมาณ ส่วนกลางของภาครัฐที่จัดสรรลงมา ส่วนใหญ่มักเป็นการไปแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่ค่อยลงมาที่ต้นเหตุคือ การ จัดการเรื่องปัจจัยการผลิต เทคโนโลยี และการส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนท้องถิ่น 3) การประกันความมั่นคงในผลตอบแทนที่ควรได้รับของชีวิตเกษตรกร ซึ่งมี 2 แบบด้วยกัน แบบที่ 1 คือ ผลิตแล้วกินเอง ซึ่งอยู่ในแนวทางของการพึ่งตัวเอง (Self-sufficiency) เกษตรกรต้องสามารถผลิตทุกอย่างเอง ได้ รวมถึงผู้บริโภคคนอื่นๆ ในประเทศด้วย ถึงจะพูดเช่นนี้แต่จริงๆ เราก็รู้ดีว่า จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ฉะนั้นจึง ต้องมีแบบที่ 2 คือ ความมั่นคงอันเนื่องมาจากการได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม เช่น เกษตรกรคนหนึ่งอาจจะทำการ ผลิตสินค้าอย่างหรือสองอย่าง อาทิ เลี้ยงหมูและปลูกข้าว เขาจะต้องสามารถขายข้าวแล้วได้ราคาดีจนกระทั่งนำไป แลกอย่างอืน่ ในชีวติ ได้อย่างเป็นธรรมและเพียงพอ รวมทัง้ ผูบ้ ริโภคเองก็ตอ้ งสามารถเข้าถึงอาหารได้ในราคาทีไ่ ม่แพงมาก นัก และมีคุณภาพอาหารที่ดี ซึ่งประเด็นนี้จะสืบเนื่องไปถึงงานเรื่องระบบเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) ที่จะวิเคราะห์ต่อไปในรายละเอียด 4) การอยู่ในระบบเกษตรที่สามารถรักษาวิถีการผลิตซึ่งสอดคล้องกับวัฒนธรรมของตน อันเป็นวิถีชีวิต ของเกษตรกรได้ นั่นคือ เป็นเกษตรกรรมที่ยังมีญาติและภูมิปัญญาหลงเหลืออยู่ ประเด็นหลังนี้เป็นสิ่งที่เราแทบ ไม่พบเมื่อไปเจอกับระบบเกษตรพันธสัญญา แต่ต้องวงเล็บกำกับไว้ว่า ไม่ใช่ระบบเกษตรพันธสัญญาทุกที่ในโลกจะ แย่อย่างนี้ หากหมายถึงเฉพาะระบบเกษตรพันธสัญญาที่อยู่ภายใต้บรรษัทเกษตรขนาดใหญ่ซึ่งใช้ระบบนี้อยู่ใน ประเทศไทย 19


ทำไมกล้าพูดเช่นนี้ เพราะงานวิจัยในช่วง 2 ปีหลังที่ทำร่วมกับ อ.ไพสิฐ พาณิชย์กุล (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ชื่อว่า โครงการเครือข่ายนักวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรในระบบพันธสัญญา เราได้พบข้อเรียกร้องจากฝ่ายขับเคลื่อนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนหรือเกษตรกรว่า ความพยายามที่จะ ขับเคลื่อนประเด็นเกษตรกรรมยั่งยืนนั้นมีมานานแล้ว แต่มักจะชนตอเรื่องหนึ่งอยู่ตลอดเวลาก็คือ เกษตรกรจำนวน มากไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตได้เพราะตกอยู่ในบ่วงหนี้ และพอมีหนี้ก็ต้องกระโดดเข้าสู่ระบบการเกษตร ที่ต้องการหาเงินสดหรือตัวเลข ซึ่งก็คือ เกษตรพันธสัญญา เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ต้องวิเคราะห์ให้ทะลุ ถ้าทะลุไปไม่ได้ แปลว่า ความหวังทีจ่ ะไปสูเ่ กษตรยัง่ ยืน เกษตรผสมผสาน ความพอเพียง ความมัน่ คงด้านอาหาร มันอาจจะไม่เกิดขึน้ งานวิจัยนี้เลือกทำใน 5 ประเด็นหลักคือ ระบบที่ใช้ผลิตหมู ไก่ ปลาน้ำจืด อ้อย และข้าวโพด ทำไม จึงเลือก 5 ตัวนี้ เพราะสินค้าทั้ง 5 ตัวมีการผลิตเชิงอุตสาหกรรมทั้งหมด และล้วนแล้วแต่ไปอยู่ในจานอาหารของ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ ทุกคนคงทราบดีว่า ตัวเลขการบริโภคข้าวนั้นลดลงตลอดเวลา แต่การบริโภคสินค้าพวกนี้กลับ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่เป็นบรรจุภัณฑ์เชิงอุตสาหกรรม ข้าวโพดกับอ้อยจะมามากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งแนวโน้ม ของหมูกับไก่ก็เช่นกัน แต่เราไม่ได้ตัดประเด็นเรื่องข้าว เพียงแต่มีคนศึกษาไว้มากแล้วจึงไม่ได้เลือกมาทำวิจัย เมื่อเราไปทำวิจัยเรื่องระบบการผลิตของสินค้า 5 ตัวดังกล่าว พบว่า มีลักษณะร่วมของเกษตรพันธสัญญา ที่ใช้อยู่ในประเทศไทย ณ ขณะนี้ สรุปได้ตามแผนภาพด้านล่าง ซึ่งเรียกว่า “บ่วงบาศก์พิฆาตเกษตรกรรม” เป้าหมาย

ภาพลักษณ์ การทุ่มงบประมาณโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เสริมภาพลักษณ์องค์กร

การแลกเปลี่ยน รัฐไม่ควบคุมพัฒนาการ แข่งขันให้ระบบตลาด

บรรษัทผูกขาด ช่องทางการ กระจายและ จำหน่ายสินค้า

กำหนด มาตรฐาน/ราคา บรรษัทกำหนด ราคามาตรฐาน ตามอำเภอใจ

เกษตรกรตกอยู่ ใต้อำนาจครอบงำ

เกษตรกรขาดทุน รัฐไม่ป้องกัน การผูกขาด

รัฐไม่ตรวจสอบ การฉ้อโกง มาตรฐาน และราคา

ไม่มีทางเลือกใน การซื้ออาหาร

ใช้ภาษีประชาชนมาเยียวยา

ความเสี่ยง

ผลักภาระความเสี่ยงให้ เกษตรกรทั้งหมด

ไม่รู้ว่าการผลิต ทำลายสิ่งแวดล้อม

ผู้บริโภคผลิต อาหารเองไม่ได้

ไม่รู้ว่าอาหาร ผลิตอย่างไร

ไม่ปรับผู้ก่อมลพิษทำลายสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน

การจัดการทรัพยากร

ไม่รู้ที่มา ของอาหาร ไม่รู้ว่าอาหาร ผลิตด้วยระบบใด

ไม่รู้ว่าอาหารเป็น หยาดเหงื่อ ของใคร

ทำเกษตรกรรม เชิงเดี่ยว

รุกเข้าทรัพยากรสาธารณะ อย่างมหาศาล

กลุ่มทุนใช้อำนาจและอิทธิพลในการ เข้าถึงทรัพยากร

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สูญเสียปัจจัย การผลิต

บ่วงบาศก์พิฆาตเกษตร

ไม่รู้ต้นทุนและ คุณภาพของ ไม่สามารถโต้แย้ง อาหาร มาตรฐานและราคา จ่ายภาระความ เสี่ยงโดยไม่รู้ตัว แบกรับความ เสี่ยงเต็มตัว

รัฐไม่คุ้มครองสิทธิ เกษตรกรในการเข้า ถึงปัจจัยการผลิต

เกษตรหวัง ปลดหนี้สิน

ซื่อสัตย์ต่อ ผู้บริโภคอยาก ได้อาหารถูก แบรนด์และ รู้สึกดีต่อบรรษัท คุณภาพดี

ซื้ออาหารแพง ไม่มีคุณภาพ

เกษตรกรต้องขาย ผลผลิตทั้งหมด ให้บริษัท

ต้นทุน, เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ ผูกขาด ปัจจัยการผลิต

เครือข่ายอุปถัมภ์ รัฐ+ ทุน, ภาษี, GDP

รัฐไม่ควบคุม การบิดเบือนข้อมูล

บรรษัทขูดรีดกำไรจากการบิดเบือนระบบตลาด

การกระจายสินค้า

บรรษัทหวังผลกำไร

เกษตรกรขาด ข้อมูลและ องค์ความรู้ เข้าสู่ระบบ สัญญาผูกมัด

จำนนและไร้ อำนาจต่อรอง

ระบบความสัมพันธ์ รัฐไม่แทรกแซง การเข้าทำสัญญา ที่ไม่เป็นธรรม

รัฐไม่เพิกถอนสัญญา ไม่เป็นธรรมและ ไม่สนับสนุนการ รวมกลุ่มเกษตรกร

ส่งเสริมเกษตรกรรมเชิงเดี่ยว

ข้อมูลข่าวสาร ทุ่มงบสนับสนุน การวิจัยสร้าง ความชอบธรรม ให้ ระบบเกษตร รัฐให้ข้อมูล ส่งเสริมเกษตรกร พันธะสัญญา เชิงพาณิชย์

บรรษัทควบคุมกระบวนการผลิตเชิง อุตสาหกรรมในทุกขั้นตอนเกินจำเป็น

ระบบ/วิ ธีการผลิต

บรรษัทสร้าง เครือข่าย อุปถัมภ์กับ เกษตรกร

บรรษัทเป็นเจ้าหนี้ บีบบังคับเกษตรกร ได้หลายรูปแบบ

อำนาจต่อรอง อ่าน วนขวา บรรษัทเกษตร ภาครัฐ เกษตรกร ผู้บริโภค


เหตุผลที่ทำแผนภาพออกมาเป็นบ่วงบาศก์ เพราะเราพบว่า วงจรนี้รอบมันเกิดซ้ำๆ อยู่ตลอดเวลา เช่น ถ้า เป็นหมู ใช้เวลา 6 เดือนจึงจะครบรอบแล้วเริ่มต้นใหม่ ถ้าเป็นไก่ประมาณ 48 - 49 วันก็จะเกิดวงจรนี้ซ้ำ ถ้าเป็นอ้อย จะยาวนานหน่อย หรือถ้าเป็นข้าวโพดก็จะเป็นรอบยาวนานประมาณ 3 - 4 เดือน ส่วนปลาจะอยูท่ ป่ี ระมาณ 40 - 60 วัน จากแผนภาพ วงนอกสุด คือ วงของบรรษัทธุรกิจเกษตร วงที่สอง คือ รัฐ ซึ่งเป็นคนกลางในการแก้ไข ปัญหา วงที่สาม คือ เกษตรกร และวงที่สี่ คือ ผู้บริโภค ซึ่งเป็นถือเป็นตัวจักรสำคัญที่ทำให้ระบบเกษตรพันธสัญญา หมุนไป แม้สินค้าแต่ละชนิดอาจจะมีความแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อย แต่แผนภาพนี้ต้องการยกตัวอย่าง นามธรรมเพือ่ ให้เห็นลักษณะร่วมของเหตุการณ์ทเ่ี กิดขึน้ ใกล้เคียงกัน โดยจะขอเล่าเป็น 12 ขัน้ ตอน ดังนี้ 1) เป้าหมาย 2) ต้นทุน, เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ 3) ข้อมูลข่าวสาร 4) ระบบความสัมพันธ์ 5) อำนาจต่อรอง 6) ระบบ/ วิธีการผลิต 7) การจัดการทรัพยากร 8) ความเสี่ยง 9) การกำหนดมาตรฐาน/ ราคา 10) การกระจายสินค้า 11) การแลกเปลี่ยน และ 12) ภาพลักษณ์ของระบบหรือบรรษัท ขั้นตอนที่ 1 เป้าหมาย แน่นอนว่า บรรษัทเกษตรประกอบการเพื่อหวังผลกำไร ทางด้านรัฐก็ต้องการสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับทุน เพราะการที่บรรษัทเติบโตนั้นเป็นที่มาของภาษี ซึ่งสามารถนำไปทำนโยบายต่างๆ ได้ รวมทั้งการเติบโตของบรรษัทยังไปช่วยดัน GDP ซึ่งถือเป็นผลงานของรัฐบาล พูดง่ายๆ คือ เป็นเรื่องประสิทธิภาพ และประสิทธิผลซึ่ง Win-Win ทั้ง 2 ฝ่าย ขณะที่เกษตรกรไม่ได้มุ่งหวังถึงขั้นนั้น แม้เขาอาจจะอยากรวยก็จริง แต่เหตุผลสำคัญของการกระโดดเข้ามาในระบบเกษตรพันธสัญญาก็เพราะหวังปลดหนี้ ส่วนผู้บริโภคก็อยากได้ อาหารคุณภาพดีและราคาถูก ขั้นตอนที่ 2 ต้นทุน, เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ ผู้บริโภคจำนวนมากผลิตอาหารเองไม่ได้ จะเห็นได้จากตัวเลข แรงงานในภาคการเกษตรที่ลดลงมาต่ำกว่าครึ่ง แสดงว่า คนที่ผลิตอาหารกินเองได้มีไม่ถึงครึ่งประเทศ และพอนอก ฤดูกาลเกษตร คนส่วนหนึ่งก็ต้องหายหน้าหายตาไปทำงานอย่างอื่น หมายความว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องซื้ออาหาร คำถามคือ อาหารมาจากไหน ก็ต้องไปหาเกษตรกร แล้วเกษตรกรมีปัจจัยการผลิตเหลืออยู่ไหม ส่วนใหญ่ในช่วงหลัง มานี้จะเหลือแค่ที่ดิน ซึ่งแค่นั้นก็ถือว่าหรูแล้ว แต่ที่เกษตรกรไม่มีคือ เมล็ดพันธุ์ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ อาหาร ปุ๋ย ซึ่ง เรื่องเหล่านี้รัฐไม่คุ้มครอง โดยเฉพาะส่วนของเมล็ดพันธุ์นั้นแทบจะไม่เคยได้ยินว่ารัฐทำอะไรบ้าง อย่างมากแค่มีการ ตั้งศูนย์เก็บเมล็ดพันธุ์ ซึ่งก็ถือว่าน้อย เพราะฉะนั้นบรรษัทจะเป็นผู้ผูกขาดปัจจัยการผลิต เรื่องเมล็ดพันธุ์ พันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ทั้งหมด ขั้นตอนที่ 3 ข้อมูลข่าวสาร จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า ที่ผ่านมา มีแต่ข้อมูลส่งเสริมการทำระบบ เกษตรพันธสัญญาทั้งหมด ไม่มีการวิจัยชิ้นไหนเลยที่บอกว่า ความเสี่ยงคืออะไร เงื่อนไขที่จะทำสำเร็จคืออะไร ขณะที่รัฐก็ส่งเสริมเกษตรเชิงพาณิชย์อยู่แล้ว นักส่งเสริม-นักวิชาการเกษตรก็กลายเป็นนายหน้าในการนำเรื่องพวกนี้ เข้าไปหาเกษตรกร เงื่อนไขของการขาดข้อมูลและองค์ความรู้นี้เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้เกษตรกรจำนวนมาก 21


กระโดดเข้าสู่ระบบอย่างขาดความระมัดระวัง เพราะมีคนพาไปขอกู้และกู้ได้ง่าย มีเมล็ดพันธุ์ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ปุ๋ย มาให้ก่อน เกษตรกรก็เลยตัดสินใจทำเพราะดีกว่าอยู่เฉยๆ ด้านผู้บริโภคเองก็ไม่ได้เชื่อมกับเกษตรกรโดยตรง จึงไม่รู้ว่าอาหารที่กินนั้นมาจากไหน ขั้นตอนที่ 4 ระบบความสัมพันธ์ เกษตรกรเข้าสู่ระบบสัญญาผูกมัด พอผูกมัดแล้วหากจะมีการแก้ไข สัญญาที่ไม่เป็นธรรม ระบบกฎหมายของไทยที่บัญญัติไว้ในเรื่องนี้กลับเป็นระบบที่แปลกที่สุดในโลกคือ ต้องมีการ ฟ้องร้องกันก่อน แล้วถึงจะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ยกเลิกได้ หมายความว่า จะต้องตั้งทนายขึ้นมาสู้เพื่อแก้ไข ข้อสัญญา ซึ่งในฐานะที่เป็นนักกฎหมายบอกได้เลยว่า ยากมาก นอกจากนี้ทางบรรษัทเกษตรเขายังมีนักกฎหมายอยู่ ในมือ และมีเครือข่ายอุปถัมภ์ที่เชื่อมโยงกับเกษตรกรเต็มไปหมด คนที่นำเรื่องนี้เข้าไปในชุมชน ส่วนใหญ่ก็คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน บริษัทห้างร้านในท้องถิ่น นี่คือระบบอุปถัมภ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในภาคชนบทไทย กำนันผู้ใหญ่บ้านที่ ไม่มีฐานะในเรื่องนี้ก็ต้องกระเด็นออกไป ซึ่งคนที่มาแทนก็คือ เจ้าของบริษัทเคมีและปัจจัยการผลิตเกษตร ส่วน ผู้บริโภคก็ไม่รู้ว่าอาหารที่กินผลิตด้วยระบบอะไร ขั้นตอนที่ 5 อำนาจต่อรอง บรรษัทเปลี่ยนรูปไปเป็นเจ้าหนี้ บีบบังคับเกษตรกรได้หลายรูปแบบ รัฐเองก็ไม่ เพิกถอนสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและไม่สนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกร ส่งผลให้เกษตรกรจำนนต่อระบบและไร้อำนาจ ต่อรอง สุดท้าย ผู้บริโภคก็กินอาหารโดยที่ไม่รู้ว่าอาหารเป็นหยาดเหงื่อและน้ำตาของใคร ขั้นตอนที่ 6 ระบบ/วิธีการผลิต รัฐส่งเสริมเกษตรกรรมเชิงเดี่ยว ซึ่งคนที่ห่วงใยเรื่องสิ่งแวดล้อมต่างก็พูด เป็นเสียงเดียวกันว่า เวลาทำอะไรอย่าทำเชิงเดี่ยว แต่เนื่องจากเกษตรกรต้องทำผลผลิตอย่างเดียวให้ได้เยอะๆ คนเลี้ยงหมูต้องเลี้ยงทีเดียว 500 - 600 ตัว โดยถ้าจะถอนทุนจริงๆ ต้องเลี้ยงถึง 1,200 ตัว ถามว่า หมู่บ้านแถวนั้น จะทนกลิ่นขี้หมูได้ขนาดไหนกัน ขั้นตอนที่ 7 การจัดการทรัพยากร กลุ่มทุนใช้อำนาจและอิทธิพลในการเข้าถึงทรัพยากร กรณีของข้าวโพด จะเห็นเด่นชัดที่สุด พี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์เคยเล่าว่า ตอนที่ทำเกษตรแบบไร่หมุนเวียนโดนจับตลอด แต่เมื่อไหร่ที่

เข้ามาอยู่ในร่มของเกษตรพันธสัญญาไม่มีใครยุ่ง เหมาภูเขาไปเลย 3 ลูก ส่งผลให้เกษตรกรรุกเข้าทำลายทรัพยากร สาธารณะอย่างมหาศาล รัฐก็ไม่ไปปรับผู้ก่อมลพิษทำลายสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน มาถึงผู้บริโภค ก็ยังคงไม่รู้ว่าตนเองมีส่วนช่วยในการผลิตที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ขั้นตอนที่ 8 ความเสี่ยง เมื่อเกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติหรือโรคระบาดขึ้น ในระบบเกษตรพันธสัญญามักมี การพูดกันมากว่าเป็นการร่วมทุน ซึ่งในทางกฎหมายหรือเชิงศีลธรรม การร่วมทุนจริงๆ จะต้องร่วมความเสี่ยง แต่ว่า ระบบกฎหมายที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เรียกว่า สัญญาจ้างทำของ หมายความว่า ถ้าระหว่างทางเกิดอะไรขึ้น เกษตรกรรับ เองทั้งหมด บรรษัทไม่เกี่ยว วิกฤติน้ำท่วมที่เพิ่งเกิดขึ้น เจ้าสัวซีพีถึงบอกได้ว่า บรรษัทของเขาไม่กระทบอะไรเลย ซึ่ง ก็ถูก เพราะคนที่ได้รับผลกระทบคือเกษตรกรที่ต้องเผชิญความเสี่ยงทุกทาง ขั้นตอนที่ 9 การกำหนดมาตรฐาน/ราคา ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะขายหรือรับซื้อคืน บรรษัทจะกำหนดราคา มาตรฐานตามอำเภอใจ เราเคยนำสัตวบาลเข้าไปดู เขาก็ไม่สามารถอธิบายได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ว่า ตกลงมันคือ อะไร มีลักษณะของการใช้ดุลพินิจเยอะมาก รวมทั้งมีการใช้อิทธิพลต่างๆ เพื่อบีบบังคับ


ผมเห็นด้วยว่าระบบเกษตรพันธสัญญามีข้อดีคือ เรื่องการกระจายสินค้าและการแลกเปลี่ยนให้ถึงผู้บริโภค โดยตรง (ขั้นตอนที่ 10 การกระจายสินค้า และขั้นตอนที่ 11 การแลกเปลี่ยน) ซึ่งเรื่องระบบโลจิสติกส์นี้เป็นปัญหา พื้นฐานของประเทศไทยอยู่แล้ว การคมนาคมขนส่งของเรานั้นแย่มาก ยิ่งเกิดภัยพิบัติยิ่งเห็นชัดว่า เรามีสินค้าแต่ไม่ สามารถกระจายสินค้าได้ นี่เป็นจุดสำคัญที่ทำให้เห็นว่า สาเหตุที่เกษตรกรไม่สามารถต่อรองได้จริงๆ เพราะเกษตรกรไม่สามารถคุม ได้ทั้งปัจจัยการผลิต การกระจายอาหารที่ผลิตได้ไปสู่ผู้บริโภค รวมทั้งไม่สามารถมีร้านค้าหรือตลาดในการขาย- แลกเปลี่ยนได้เอง ทำไมเรื่องเหล่านี้จึงถูกหลบซ่อนหรือกลบไว้ ไม่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาทวงถามความเป็นธรรมให้ชัดเจน ผมพบว่า การทำงานวิจยั ชิน้ นีต้ อ้ งพบกับแรงเสียดทานเยอะมาก เวลาทีส่ กู้ บั รัฐ บอกได้เลยว่า ง่าย อย่างมากรัฐก็แค่ขู่ แต่กับบรรษัทนั้นถึงเนื้อถึงตัว หมายถึง เขามีวิธีการในการหว่านล้อม ชักชวน ตัดแข้งตัดขา โดยการไปบี้กับ เกษตรกรที่เป็นหนี้อยู่ รวมทั้งการซื้อสื่อ จะเห็นว่า น้ำท่วมครั้งนี้ไม่ค่อยมีใครตั้งคำถามเลยว่า มันท่วมเพราะอะไร มีแต่ดราม่าว่า น้ำท่วมน่าเศร้าจัง แต่แทบไม่มีใครพูดว่า พื้นที่ซับน้ำที่กลายไปเป็นไร่ข้าวโพด ใครเป็นคนไปทำให้ มันเกิด ขั้นตอนที่ 12 ภาพลักษณ์ จึงถือเป็นประเด็นสำคัญ สุดท้าย ก็กลับมาลงเอยที่ขั้นตอนแรก บรรษัทเกิดกำไร รัฐก็ไม่ควบคุม ปล่อยให้มีการบิดเบือนข้อมูลกัน ต่อไป เกษตรกรก็อยู่ภายใต้อำนาจการครอบงำ ผู้บริโภคก็ชอบระบบนี้ เพราะดูโฆษณา CSR (Corporate Social Responsibility) บ่อย ทำให้รู้สึกดีกับบริษัท และชื่นชมที่เจ้าสัวได้เป็นเศรษฐีระดับโลก ประเด็นที่อยากฝากไว้ เป็นเรื่องของงานวิจัยชุดหนึ่งซึ่งยังไม่มีใครทำและจำเป็นต้องทำ เพราะจะไปช่วย ขับเคลื่อนงานอื่นๆ ในเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืนคือ การรวบรวมข้อมูลกรณีที่บรรษัทพยายามฟ้องร้องเพื่อปิดปากสื่อ หรือนักวิชาการ ว่าเคยมีประเด็นการต่อสู้กันถึงชั้นศาลหรือในกระบวนการของรัฐ แล้วจบลงที่ตรงไหน เพราะเวลา ทำงานพวกนี้จะมีคนจำนวนมากไม่กล้าพูด เพราะกลัวโดนฟ้อง อาจจะเป็นแค่ข้ออ้างหรือเปล่า ถ้าเราไขเรื่องนี้ให้ กระจ่าง และทำให้เกิดบรรทัดฐานว่า พูดเรื่องพวกนี้ไม่ต้องถูกฟ้อง หรือศาลยกฟ้อง ก็จะทำให้เกิดความมั่นใจกับคน จำนวนมาก และกล้าพูดความจริงมากขึ้น

23


การจัดการทรัพยากรและเกษตรกรรมยั่งยืน กับการจัดการความมั่นคงทางอาหารของชุมชน โดย กนกศักดิ์ ดวงแก้วเรือน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทา อ.แม่ ออน จ.เชียงใหม่

ตำบลแม่ทาเป็นชุมชนที่อยู่ในป่า มีพื้นที่ 7 หมื่นกว่าไร่ และประชากรประมาณ 5,000 คน อยู่ห่างจาก อำเภอแม่ออนราว 50 กิโลเมตร เราจึงเป็นชุมชนที่ต้องดูแลตัวเอง ทำให้ชาวบ้านมีความเข้มแข็งที่จะจัดการตัวเองได้ เพราะเป็นตำบลชายขอบ จากบริบทพื้นที่ 7 หมื่นกว่าไร่ เมื่อประมาณปี 2512 รัฐได้ขีดที่อยู่ให้เราเหลือแค่ประมาณ 5,000 ไร่ ที่เป็น พื้นที่ซึ่งเรามีเอกสารสิทธิ พอรัฐกันพื้นที่ให้อยู่แค่นี้ ที่เหลือเขาก็เอาไปปู้ยี่ปู้ยำ ทำสัมปทานป่าต่างๆ จึงเกิดความรู้สึก ว่า มันไม่มีความยุติธรรมในระดับพื้นที่ ตอนแรกนั้นชาวบ้านไม่รู้ข้อมูลข่าวสารว่า มาขีดเส้น ล่ามโซ่อะไรกัน แต่พอระยะเวลาผ่านไป คนเพิ่มขึ้น การขยายตัวต่างๆ เพิม่ ขึน้ เราก็เริม่ รูว้ า่ ชาวบ้านอาศัยอยูใ่ นพืน้ ทีส่ เี หลืองกับสีเขียว ซึง่ ถ้ามองในแง่กฎหมายประเทศไทย พื้นที่ส่วนสีเขียวจะเป็นพื้นที่ผิดกฎหมาย แต่พื้นที่บริเวณส่วนสีเขียวนั้นมีเยอะมาก ประมาณหมื่นกว่าไร่ และที่จริง แล้ว ชุมชนน่าจะมีพื้นที่อยู่ตามสิทธิประมาณ 1.5 หมื่นไร่ แต่เมื่อเอากฎหมายมาจับ เราจึงมีพื้นที่เหลืออยู่แค่

5,000 ไร่ นี่คือปัญหาที่ทำให้ตำบลแม่ทาต้องลุกขึ้นมาสู้ เพื่อจะพิสูจน์ว่าเราสามารถอยู่ได้ โดยการสร้างให้เป็นระบบ ร่วมกันทั้งหมด เราเริ่มต้นจากการพิสูจน์ว่า ทำอย่างไรชาวบ้านจึงจะสามารถอยู่ในพื้นที่ตรงนั้นได้อย่างมั่นคง เมื่อดูจาก ฐานในระดับครัวเรือน พบว่า ตำบลแม่ทามีทั้งเกษตรผสมผสานและเกษตรเชิงเดี่ยว เราจึงพยายามจะทำให้ระบบ ผสมผสานและระบบเชิงเดี่ยวอยู่ร่วมกันได้ ในปี 2529 - 2532 จึงมีการรวมกลุม่ โดยเริม่ ต้นจากเรือ่ งของปากท้องเพือ่ ให้มขี า้ วสำหรับบริโภคให้เพียงพอ และสร้างอำนาจต่อรองกับกลุม่ ทุนต่างๆ ในช่วงเวลานัน้ ถ้าใครรวมกลุม่ กันประชุมถือเป็นคนละข้างกันกับภาครัฐ เพราะ ยังไม่มีการส่งเสริมการรวมกลุ่มอย่างในปัจจุบัน มีแต่พวกองค์กรพัฒนาเอกชนที่เข้าไปชักชวนชาวบ้าน พอรวมกลุ่ม เสร็จมันก็นำไปสู่การแก้ปัญหาเรื่องการถูกเอารัดเอาเปรียบด้านต่างๆ เช่น ข้าวสาร พ่อค้าซื้อข้าวสารมาจำหน่ายให้เรา กระสอบละ 600 บาท แต่นำมาขาย 1,200 บาท เราก็รวมตัวไปซือ้ แก้ปญ ั หาจากปากท้องก่อน แล้วปัญหาเกษตรอืน่ ๆ จึงตามมา พอรวมกลุ่มเล็กๆ ระดับหมู่บ้านได้ เมื่อทำหลายๆ เรื่องเยอะเข้า ทั้งเรื่องข้าว ร้านค้า ธนาคารวัวต่างๆ ที่ เป็นธุรกิจพื้นฐานของชุมชน มีตลาด อะไรต่อมิอะไร จากนั้นพอโตขึ้น คนเยอะขึ้น ก็กลายมาเป็นคณะกรรมการ ระดับตำบล ระดับเครือข่าย นำไปสู่การต่อสู้เรื่องป่าชุมชน เรื่องการจัดการทรัพยากรต่างๆ


เดิมการเป็นคณะกรรมการนั้นไม่มีสถานะทางกฎหมาย ราชการไม่รองรับ เราจึงต้องใช้เวลาศึกษาระบบอยู่ ประมาณ 5 ปี เพื่อยกระดับคณะกรรมการซึ่งเป็นการรวมตัวอย่างหลวมๆ ของผู้นำทางธรรมชาติและชาวบ้าน ขึ้น มาเป็นระบบสหกรณ์ ซึ่งสหกรณ์ที่ตำบลแม่ทานั้นเป็นสหกรณ์จริงๆ ไม่ใช่สหกรณ์ประเภทที่มีสำนักงานใหญ่โต กรรมการได้โบนัสปีละหลายล้าน แต่สมาชิกกลับเป็นหนี้เป็นสิน เราพยายามที่จะผลักดันทำเรื่องสหกรณ์ตรงนี้ เพื่อ ไปขยับเรื่องต่างๆ ภายในชุมชน ตำบลแม่ทายึดเอาฐานของการเกษตรเป็นหลัก แล้วจึงไปขยับเรื่องโครงสร้างทั้งหมด ว่าทำอย่างไรให้เรื่อง ของทรัพยากร สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ อยู่ในการควบคุมของคนทั้งตำบล จนเกิดสถาบันพัฒนาทรัพยากร และเกษตรกรรมยั่งยืนแม่ทา ขึ้นมาเป็นตัวกลางในการควบคุมกลไกทั้งหมดของตำบล ระบบที่สร้างไว้ที่ตำบลแม่ทา เราใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง กฎหมายต่างๆ วางลงไว้ก่อน เอาพื้นที่ 7 หมื่นไร่มาดู ข้อมูลร่วมกัน แล้วชาวบ้านมาช่วยกันวางแผนขึงเส้นแบ่งพืน้ ทีเ่ พือ่ จัดโซนในการจัดการ ตอนนีเ้ ราไม่กลัวแล้ว ไม่กลัวนีไ้ ม่ ได้แปลว่า เราต้องการท้าทายอำนาจรัฐ แต่เราอยากจะลองจัดการตนเองดู

แผนภาพ ระบบท้องถิ่นแม่ทา

25


จากแผนภาพจะเห็นภาพรวมของระบบท้องถิ่นแม่ทา ส่วนภูเขาข้างบนที่เป็นต้นน้ำ ชุมชนกำหนดให้เป็นป่า อนุรักษ์ ถึงจะอยู่ในเขตป่าสงวนของรัฐอย่างไรก็ไม่สนใจ แต่เราจะกันไว้ประมาณ 4 - 5 หมื่นไร่ ห้ามชาวบ้านไปใช้ ประโยชน์จากป่า ถัดลงมาใกล้ชุมชนหน่อย เมื่อชาวบ้านต้องกิน ต้องใช้ไม้ ใช้น้ำประปาภูเขา มีพื้นที่เลี้ยงสัตว์ เราจึง กำหนดให้เป็นป่าใช้สอย ถ้าชาวบ้านจะนำไม้ไปใช้สร้างบ้าน ทำยุ้งข้าว ต้องขออนุญาตจากกรรมการป่า ถัดลงมาจะมี กันชนสำหรับป้องกันการบุกรุกป่าคือ ไร่และสวน ใช้สำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อสร้างรายได้ ลงมาอีกขั้นก็จะเป็น หมู่บ้าน ชุมชนต่างๆ และลงมาเป็นระบบเหมืองฝาย จนมาถึงที่นาบนพื้นที่ราบลุ่ม สิ่งสำคัญคือ เราต้องการรักษาระบบเหล่านี้ไว้ให้ได้เพราะเป็นเรื่องของความมั่นคงทางด้านอาหาร วันนี้ คนแม่ทามีพื้นที่ในการจัดการไม่เยอะ แต่เมื่อเรานำระบบนี้ลงไป ชาวบ้านมีความพึงพอใจ เพราะฐานตรงนี้มีการแบ่ง สรรปันส่วนให้เห็นว่า ถ้าคุณไปทำลายป่าใช้สอย ไม้ที่คุณจะนำมาสร้างบ้านก็ไม่มี คุณจึงต้องผลิตตรงนี้ ดังนั้นการ

จะผลิตตรงนี้ได้ ก็แสดงว่า คุณต้องมีระบบเกษตรที่สมดุล เพราะโดยเฉลี่ยแล้ว ชาวบ้านจะมีพื้นที่ประมาณ 6 ไร่ต่อ ครอบครัว ทำอย่างไรให้พื้นที่ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดแต่ต้องใช้ตลอดทั้งปีนี้ มีอาหารพอเพียง สามารถสร้างรายได้เพื่อ ใช้ในการส่งลูกเรียนได้ ระบบท้องถิ่นของแม่ทาที่ได้วางไว้นี้จึงเป็นระบบการเกษตรที่ชาวบ้านจะต้องมีองค์ความรู้ มากพอสมควร วันนี้ตัวระบบที่เราทำ เป็นระบบของชาวบ้านทั้งหมด และเมื่อมีการจัดระบบอย่างนี้ ทำให้เราสามารถจัดการ เรื่องการรุกรานของข้าวโพดได้ พื้นที่แม่ทาไม่มีการปลูกข้าวโพดเพื่อเลี้ยงสัตว์ เพราะการปลูกข้าวโพดอย่างน้อยต้อง ใช้พื้นที่ 50 ไร่ถึงจะอยู่ได้ แต่ถ้าทำเกษตรแบบที่เราวางระบบไว้ มีพื้นที่ 6 ไร่ต่อครอบครัวก็พออยู่พอกิน โดยเราจะ มีปราชญ์ชาวบ้านและหน่วยต่างๆ ลงไปสอนว่าควรจะผลิตอย่างไร จัดการระบบน้ำอย่างไร เพื่อให้เกิดการทำระบบ เกษตรกรรมยั่งยืน พอทำระบบนี้ที่เป็นการเกษตรซึ่งไม่ใช้สารพิษ สิ่งที่ตามมาคือ อาหาร สินค้าที่ส่งออกดีที่สุดของแม่ทา อันดับหนึง่ คือ ปูนา กิโลกรัมละ 100 บาท เพราะเมือ่ ไม่มกี ารใช้สารเคมี ก็มปี มู ปี ลาในนาข้าว เดีย๋ วนีถ้ า้ ใครอยากได้ปู อยากได้ลูกอ๊อด ภาษาเหนือเรียกว่า อีฮวก ก็ต้องมาซื้อจากแม่ทา เพราะมันอยู่ในน้ำที่สะอาด ไม่มีสารเคมี ซึ่งที่อื่น ไม่มีอย่างนี้แล้ว ตอนที่เราเก็บข้อมูลของป่า พบว่า ในตลาดทางเลือก พืชผักอินทรีย์ไม่ใช่สินค้ายอดนิยม แต่กลับเป็นของ หายากในจังหวัดเชียงใหม่พวกนี้ ไม่วา่ จะเป็นตัวหนอน หรือจิง้ หรีด เวลาเข้าไปในป่าก็มพี วกตัวด้วง ซึง่ ขายกิโลกรัมละ 200 บาท หรือหน่อไม้ ปีหนึ่งๆ เราเก็บขายได้ประมาณ 2 ล้านกว่าบาท ซึ่งทำแค่ 2 เดือนคือ กรกฎาคมกับสิงหาคม เป็นหน่อไม้จากป่าชุมชน รวมทั้งเห็ดถอบ (เห็ดเผาะ) ก็ขายได้ปีละประมาณ 3 - 4 ล้านบาท สิ่งเหล่านี้ได้กลายมาเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านอย่างเป็นกอบเป็นกำ เพราะมีราคาแพงมาก ซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดมาจากการที่เราไม่ใช้สารเคมี นี่คือความมั่นคงด้านอาหารของเรา ถ้ายังคงรักษาระบบตรงนี้ไว้ เราจะไม่ได้เงินจากแค่การทำสวนทำไร่ แต่ได้เยอะกว่านั้นคือ การได้ของที่เป็นผลผลิตจากป่า


ขณะที่ตลาดเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืน จากเมื่อก่อนเป็นแค่การเอาไปขายตลาดทางเลือก ตอนนี้ก็ได้พัฒนา กลายมาเป็นตลาด CSA (Community Supported Agriculture) มีการเชื่อมต่อผู้บริโภคโดยตรง คือ ผู้บริโภค เป็นคนส่งเงินมาให้เราผลิตอาหารให้ ระบบที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ชาวบ้านตระหนักว่า ที่จริงแล้วการมีพื้นที่เล็กๆ นั้นไม่สำคัญ แต่สำคัญที่การวาง ระบบที่ดี แล้วเราจะมีสิ่งที่ได้ตามมาอีกมหาศาล ที่อื่นเขาจะน้ำท่วม โรงงานปิด เกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ เราไม่ค่อยได้ รับผลกระทบ สามารถพึ่งพาตนเองได้ ถึงกระนั้น เราก็ไม่ได้ละทิ้งว่า พอสำเร็จแล้วจะหยุดอยู่แค่นี้ วันนี้ตำบลแม่ทามีความมั่นคงทางด้านอาหาร ทรัพยากร อาชีพ รายได้ และสุขภาพ แต่สิ่งที่เราจะสร้างต่อไปคือ ความมั่นคงทางด้านครอบครัว หลายคนบอกว่า มีทุกอย่างครบหมด แต่ว่าถ้าลูกไม่มาอยู่บ้านด้วย ก็ไม่มีใครสืบต่อ นี่คือปัญหาที่มีความสำคัญ ปัจจุบัน เราจึงกำลัง ทำเรื่องของ ทายาทเทวดา คือ การพยายามดึงเด็กกลับมาบ้าน เมื่อก่อนเวลาดึงเด็กกลับมาบ้าน เราก็อยากจะให้มาทำเหมือนรุ่นพ่อรุ่นแม่ แต่เมื่อพิจารณาดูแล้ว จริตของ เด็กถ้าจะให้เขามาจับจอบจับเสียมคงยาก อาจมีบ้างที่ทำได้ แต่ไม่มาก เราจึงเปลี่ยนแนวทาง ให้เขากลับมาช่วยดู เรื่องการตลาด ว่าจะทำอย่างไรให้สามารถเป็นทางออกของเกษตรกร มาดูเรื่องทรัพยากร เรื่องการท่องเที่ยวเชิง นิเวศ เรื่องของระบบการเมืองท้องถิ่น โดยใช้ทุนจากที่พ่อแม่รักษาไว้ มาช่วยสร้างและพัฒนาระบบใหม่ๆ นี่คือสิ่งที่ เราอยากจะสร้างความมั่นคงทางด้านครอบครัวไปควบคู่กัน นอกจากนี้ อาหารของเด็กนักเรียนตำบลแม่ทา ซึง่ มี 3 โรงเรียนและ 1 ศูนย์ เราก็ใช้พชื ผัก เนือ้ และข้าวจากใน ตำบลของเราทั้งหมด ไม่ได้สั่งจากข้างนอก เพราะเราต้องการเริ่มต้นจากเด็ก ให้เขาได้กินของดีๆ และปลอดภัย เราพยายามทำเรื่องของเด็ก เพื่อเป็นการเพาะปลูกต้นกล้า ในอนาคตยังมีโครงการที่อยากจะทำ ใช้คำว่า มหาวิทยาลัยทำกิน เมื่อเรียนจบ ม.6 เราอยากจะให้เด็กกลับมาเรียนต่อที่ชุมชนเรา ตอนนี้พยายามผลักดันอยู่ แต่ ผู้ใหญ่จำนวนมากยังติดใบปริญญาเพื่อจะเป็นศักดิ์เป็นศรีของครอบครัว แม้เราจะพยายามบอกว่า ไปเรียนอย่างนั้น ได้แต่ใบอย่างเดียว แต่มาเรียนตรงนี้ถึงจะได้สิ่งที่เป็นของจริง ถึงเขาจะเห็นดีเห็นงามด้วย แต่ก็ขอมีใบปริญญาให้ลูก ก่อนอยู่ดี การจะทำอย่างไรให้คนรุ่นใหม่มาเรียนรู้ที่เราเยอะๆ โดยที่มีใบรับรองให้ด้วย ตรงนี้เป็นสิ่งที่เรายังทะลุไป ไม่ได้

27


เวทีระดมคิด ดร.พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ

ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ความมั่นคงทางอาหารเป็นประเด็นที่ค่อนข้างซับ ซ้อน ไม่เหมือนการผลิตเพื่อบริโภค หรือการผลิตที่ไม่ได้ มีเครือข่าย การลงทุนมากมายอย่างสมัยก่อน ตอนนี้มัน มีเทคโนโลยี ทุน เข้ามาเกีย่ วข้อง และมีระบบการครอบงำ ในรูปแบบต่างๆ การทำเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ก้าวแรกมักจะ มองเรื่องการผลิตที่หลากหลาย ตัวอย่างของตำบลแม่ทา เห็นได้ชัดเจนว่า การผลิตที่หลากหลาย จะทำให้มีทาง เลือกเยอะ และมีความเสี่ยงน้อย เมื่อมีการผลิตที่หลาก หลาย สิ่งที่ตามมาโดยธรรมชาติคือ การพูดคุยแลก เปลี่ยน เพราะการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์แต่ละชนิดใช้ ทั ก ษะแตกต่ า งกั น ทำให้ เ กิ ด กระบวนการเรี ย นรู ้ ใ น สังคม การผลิตที่หลากหลายเป็นการพึ่งพาฐานทรัพยากร พันธุกรรม ซึ่งฐานทรัพยากรพันธุกรรมก็ผูกพันกับเรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายของระบบ การผลิต ผูกพันกับทุนภูมิปัญญาท้องถิ่น ทางตำบล 12

แม่ทาจึงพบว่า คนทีร่ เู้ รือ่ งป่า รูเ้ รือ่ งดิน จะรูอ้ ย่างละเอียด ประเด็นของภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ กับสิทธิชมุ ชนจึงไปด้วยกัน ทางคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มี การจัดทำหลักสูตรการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมีงานชิ้น หนึ่งเรียกว่า สิทธิท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่ง เกี่ยวข้องกับเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและระบบ การผลิตเหล่านี้ การมีฐานทรัพยากรพันธุกรรม การ ผลิตที่หลากหลาย จึงถือได้ว่า เป็นทุนสำคัญสำหรับการ ค้ำจุนระบบอาหารท้องถิ่น การต่อสู้เพื่อรักษาระบบ อาหารท้องถิ่น ณ ขณะนี้เองก็กำลังเป็นประเด็นระดับ สากลที่มีความสำคัญมาก เวลาพูดถึงความมั่นคงทางอาหาร เรามักจะให้คำ นิยามหรือกรอบคิดตาม FAO 12 คือ การเข้าถึง การมี อยู่ และการกระจาย ซึ่งมันยังเห็นไม่ชัดตราบเท่าที่ไม่มี ภาวะวิกฤติ การเกิดภาวะวิกฤติน้ำท่วมขึ้นในประเทศ ไทยครั้งนี้ จึงทำให้เรามองเห็นได้ชัดเจนว่า ประเทศไทย มีความสั่นคลอนมาก ในหลายระดับ ภาวะวิกฤตินั้นมองได้หลายอย่าง เรื่องที่ 1 คือ ความเสื่อมโทรมของฐานทรัพยากร เห็นได้จากการขยับ พื้นที่การปลูกข้าวโพดจากภาคอีสานขึ้นไปภาคเหนือ

ตอนล่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก จากจังหวัดลพบุรีไป เพชรบู ร ณ์ หล่ ม สั ก พิ ษ ณุ โ ลก 30 ปี ใ ห้ ห ลั ง ที ่ น ั ่ น เสื่อมโทรมหมด ตอนนี้ทางภาคเหนือก็ขยับไปที่จังหวัด แพร่ น่าน ส่วนของเชียงใหม่ ก็ขึ้นไปถึง อ.แม่แจ่ม

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO: Food and Agriculture Organization of the United Nations) ได้นิยามความหมายของ “ความมั่นคงทางอาหาร” โดยครอบคลุมถึงการที่ประชาชนมีปริมาณอาหารบริโภคที่เพียงพอ มี ความหลากหลายของประเภทอาหารที่ได้รับ เนื่องจากไม่มีอาหารธรรมชาติชนิดใดสามารถให้สารอาหารที่ร่างกายต้องการได้ ครบถ้วน และเป็นอาหารที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายถึงคุณค่าทางโภชนาการ สะอาด และปลอดภัย มีระบบการกระจายอาหารอย่าง ทั่วถึงเพื่อสามารถเข้าถึงอาหารโดยทั่วกัน (ความมั่นคงทางอาหารกับภาวะสุขภาพของเด็กไทย, เชษฐา มั่นคง, พฤษภาคม 2551)


คิดว่า อีกสักชั่วอายุคนก็คงจะหมด และไปดูเถิดว่า ความเป็นอยู่ของเกษตรกรในเพชรบูรณ์หรือพื้นที่ที่ปลูก ข้าวโพดเป็นอย่างไร เรียกว่า ลำบากมาก เป็นหนี้กันทั้ง นั้น นี่เป็นวงจรที่หลุดออกมายาก เป็นภาวะวิกฤติที่ กรุงเทพฯ หรือรัฐส่วนกลางมักมองไม่ค่อยเห็น และ เรื่องที่ 2 ภัยพิบัติจากธรรมชาติ สิ่งที่ท้าทาย คือ ภายใต้ภาวะวิกฤติ เกษตรยั่งยืนจะขยับและก้าว เดินอย่างไรเพื่อให้เกิดความมั่นคง อาจใช้คำว่า ความ ยืดหยุน่ การปรับตัว หรือความสามารถในการฟืน้ ฟูตวั เอง ต้องเข้าใจภาพรวมร่วมกันก่อนว่า ตอนนีค้ วามมัน่ คง ทางอาหารนอกจากจะอยู่ในภาวะวิกฤติแล้ว เรายังไม่ สามารถขยายพื้นที่ทำกินได้อีกต่อไป เพราะพื้นที่ป่าและ ชลประทานมีจำกัด ดังนั้นจะออกแบบการผลิตหรือการ บริโภคแบบไหนที่จะทำให้เกิดความมั่นคง และคิดอยู่ บนระบบการผลิตที่ไม่สามารถขยายพื้นที่ได้ ตำบล แม่ทาคือตัวอย่างหนึ่ง เขาจึงต้องทำระบบการวางแผน เป็นผังของตำบล ออกแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่าง ยั่งยืนโดยชุมชนมีส่วนร่วมบนฐานของความรู้และข้อมูล เชิงพื้นที่ ซึ่งทางสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3) สสส. ได้เข้าไปร่วมดำเนินการในเรื่องตำบลสุขภาวะ (โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการจัดการสุขภาวะโดยชุมชน) อยู่ในปัจจุบัน

ถ้านำองค์ประกอบของความมั่นคงทางอาหารมาไล่ เรียงดู ผ่านกรณีตัวอย่างของตำบลแม่ทา พร้อมกับตั้ง คำถามว่า ประเทศไทยมีความมั่นคงทางอาหารจริงหรือ โดยมีโจทย์คือ การจัดการตนเองเพื่อความมั่นคงทาง อาหาร จะพบได้ดังนี้ 1) ฐานทรัพยากรพันธุกรรม ไม่ใช่ทุกพื้นที่ที่มี ความสมบูรณ์ เพราะเราถูกระบบเกษตรพันธสัญญาที่ ปลูกเพื่อส่งออกทำลายฐานพันธุกรรมไปเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นเรื่องนี้จึงมีความเปราะบาง 2) รูปแบบการถือ ครองที่ดิน ทั้งที่เป็นบุคคลหรือโฉนดชุมชนต่างๆ เรื่องนี้ เราก็ยงั ไม่คอ่ ยดีนกั 3) ตลาดชุมชน ตอนนีม้ ตี ลาดสะดวก ซื้อเข้าไปครอบครองพื้นที่เพิ่มมากขึ้น แต่ตลาดชุมชนใน ท้องถิ่นก็ยังมีความเข้มแข็งอยู่ เห็นได้ชัดเจนในระหว่าง น้ำท่วม 4) ระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยในชุมชน ตอนนี้ มี เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่ม อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน) ที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยอาหารซึ่งทาง กรมอนามัยได้เข้าไปขับเคลื่อนอยู่ 5) ระบบการผลิต และการแปรรูปที่อยู่ในชุมชน เห็นได้ชัดจากสหกรณ์ การเกษตร ที่มีโรงสีแปรรูปข้าว หรือแปรรูปผลิตผลอื่นๆ เพื่อทำธุรกิจ แต่ก็ไม่ได้เข้มแข็งทุกแห่ง 6) การเชื่อมโยง ชุ ม ชนกั บ เครื อ ข่ า ยหรื อ องค์ ก รธุ ร กิ จ ภายนอก ยั ง มี ไม่มาก ซึ่งที่ตำบลแม่ทามีการเชื่อมโยงกับ สหกรณ์

กรีนเนท จำกัด (Green Net Cooperative) 13 ส่งออก

13

กรีนเนทเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำหน้าที่ด้านการตลาด เชื่อมประสานระหว่างเกษตรกรในเครือข่ายเกษตรกรรมทาง เลือก กลุ่มธุรกิจชุมชน และผู้บริโภค โดยเน้นการส่งเสริมและเผยแพร่แนวทางเกษตรกรรมอินทรีย์และพัฒนากระบวนการ ตลาดทางเลือก สร้างการมีส่วนร่วมของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ส่งเสริมการผลิตในลักษณะของการรวมกลุ่มธุรกิจชุมชนเพื่อ ผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการรวบรวมและคัดสรร ผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ หล่ า นี ้ ม าจำหน่ า ยในราคาที ่ เ ป็ น ธรรม (Fair Trade) โดยดำเนิ น งานในรู ป แบบของศู น ย์ ก ระจายสิ น ค้ า (Distribution Center) ซึ่งได้เริ่มดำเนินการนำผลผลิตจากกลุ่มชาวบ้านมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค อาทิ ผักปลอดสารพิษ จากกลุ่มเกษตรกรปลูกผักปลอดสารพิษแม่ทา จ.เชียงใหม่ ตั้งแต่ปี 2536 (http://www.greennet.or.th)

29


สินค้าเกษตรอินทรีย์ไปยังภายนอก เพราะฉะนั้นการ ผลิตของเขาจึงมีแรงจูงใจเพราะมีตลาดรองรับ ขณะทีท่ าง ตำบลสุขภาวะเองก็มีการมาพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้า ระหว่างตำบลกัน 7) นวัตกรรมทางการผลิตและการ บริหารจัดการ ยังมองไม่เห็นภาพชัดเจนนัก ของตำบล แม่ทา มีการสร้างความรับผิดชอบของผู้บริโภคในการ กำลังใจผู้ผลิต ผ่านการทำ CSA โดยมีการผลิตและจ่าย เงินครั้งละ 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 200 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท เพื่อที่จะนำผักและผลไม้สดๆ มาส่งให้กับ

ผู ้ บ ริ โ ภคทุ ก วั น พุ ธ และ 8) ความมั ่ น คงถาวรของ

ผลิตภาพ (Productivity) เช่น ผลผลิตและรายได้ จะ ต้ อ งสู ง พอและสามารถแข่ ง ขั น กั บ การออกไปทำงาน ข้างนอก กรณีของตำบลแม่ทาสามารถพิสูจน์ได้ว่า การ ทำเกษตรอิ น ทรี ย ์ ม ี ร ายได้ ต ่ อ วั น มากกว่ า 300 บาท ฉะนั้นจึงเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้คนไม่ออกไปทำงาน ข้างนอก ถ้าเรานำตัวอย่างจากชุมชนที่ประสบความสำเร็จใน การจัดการตนเองด้านความมัน่ คงทางอาหาร มาพิจารณา ผ่านองค์ประกอบเหล่านี้ และนำไปวัดผลในที่อื่นๆ จะ พบว่ า ความมั ่ น คงทางอาหารของเราสั ่ น คลอนและ เปราะบางมาก แม้ภาพรวมของประเทศอาจจะยังดีอยู่ โดยเฉพาะจากวิกฤติน้ำท่วมที่เกิดขึ้น เราจะเห็นได้ว่า เกษตรบรรษัทแทบจะทำอะไรไม่ได้ สิ่งที่ท้าทายและอยากจะเน้นย้ำคนที่ทำเกษตรยั่งยืน คื อ ภายใต้ ว ิ ก ฤติ จ ะสร้ า งความมั ่ น คงทางอาหารให้ กระจายอย่างทั่วถึงได้อย่างไร ถึงตอนนี้เราจะมีเครือข่าย แต่ระบบโลจิสติกส์ยัง ถือว่า อ่อนแอ ซึ่งภายใต้ภาวะปรกติที่บรรษัทครอบงำ หมด ผู้บริโภคยังมองไม่เห็น มีเพียงผู้บริโภคกลุ่มน้อยที่ สนับสนุนระบบอาหารท้องถิ่น ความสำคัญคือ ทิศทาง การทำงานกับกลุ่มผู้บริโภคเหล่านี้ ซึ่งตำบลสุขภาวะก็ได้

มีการขับเคลื่อนโดยถอดความรู้ท้องถิ่นมาแลกเปลี่ยน กับผู้บริโภค และการสร้างให้เกิดประชาคม สุดท้ายสิ่งที่สำคัญคือ ทำอย่างไรให้คนระดับต่างๆ เข้าใจว่า เราไม่ได้อยู่ในสถานะที่ดีอย่างที่คิด แม้ว่าจะมี อาหารมาก มีเงิน สามารถเข้าถึงอาหารได้จริง แต่นั่นเป็น ภาวะปรกติ ไม่ใช่ในภาวะวิกฤติ และนอกเหนือจากภัย ธรรมชาติ เรายังต้องมีการแข่งขันกับข้างนอก ซึ่งนโยบาย ของภาครัฐได้บั่นทอนศักยภาพการพึ่งตนเองลงไปมาก ดังนั้นจึงต้องมาทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย มีหลายภาค ส่วนมาร่วมมือ อย่างที่ ศ.ดร.ประเวศ วะสี ใช้คำว่า “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับระดับพื้นที่

นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ

อดีตผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และประธานเครือข่ายปฏิรูปเพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป

ขณะนี้ตำบลสุขภาวะที่ทางสำนักสนับสนุนสุขภาวะ ชุมชน (สน.3) สสส. กำลังดำเนินการอยู่ มีศูนย์เรียนรู้ ทั้งหมด 33 แห่ง มีตำบลเครือข่ายแต่ละพื้นที่อยู่ 20 แห่ง และมีตำบลขยายผลอีก 40 แห่ง ซึ่งในตำบลเครือ ข่ายหรือตำบลขยายผล หลายพื้นที่ก็ทำเรื่องเกษตรกรรม ยั่งยืน แต่ไม่มีพลังมากพอ ถ้าเรานำตัวอย่างเหล่านี้มา ขยายผลก็จะเป็นเรื่องดี ในฐานะที่ทำงานอยู่ในภาคของการเงินมาโดยตลอด อยากจะเรียนว่า จริงแล้ว เรามีทุนกระจายอยู่ในที่ต่างๆ เยอะ และรัฐบาลแต่ละยุคสมัยก็พยายามจะกระจายเงิน ลงไปในรูปแบบต่างๆ ตามนโยบายของแต่ละรัฐบาล แต่ การบริหารจัดการเงินยังไม่เหมาะสมจึงทำให้ทุนที่ลงไป นั้นกระจัดกระจาย


สมั ย ที ่ ด ำรงตำแหน่ ง เป็ น ผู ้ อ ำนวยการสำนั ก งาน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ อยู่เป็นระยะ เวลา 1 ปี ก็มีความพยายามผลักดันให้นำเงินกองทุน หมู่บ้านแห่งละประมาณล้านกว่าบาทที่รัฐบาลให้ลงมาไป พัฒนาให้ชุมชนเข้มแข็งและรวมตัวกันได้ในระดับตำบล รวมทั้งให้มีองค์กรท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อที่จะ สามารถดำเนินการต่อยอด ตลอดจนการพยายามทำ เรื่องแผนชุมชนต่างๆ ดังนั้นถ้าเราจะทำเรื่องข้อมูลชุมชน (ศ.ดร.ประเวศ วะสี ได้เสนอให้มีการตั้งสถาบันวิจัยเพื่อชุมชน และมี

นักวิชาการซึ่งเป็นเด็กรุ่นใหม่ในท้องถิ่นช่วยกันทำวิจัย และสังเคราะห์ข้อมูลในท้องถิ่น) ผู้เล่น (Player) ที่น่าจะ ทำเรื่องนี้ได้มี 2 ฝ่ายคือ อบต. (องค์การบริหารส่วน ตำบล) เพราะมีเครื่องไม้เครื่องมืออยู่ระดับหนึ่ง และผู้ที่ ให้การสนับสนุนคือ สถาบันการเงินชุมชน ทั้ง 2 ฝ่ายนี้มีเงินมากพอที่สามารถจะจ้างคนได้ โดย อบต.มี ง บประมาณของรั ฐ และการเก็ บ จากภาษี ต่างๆ ส่วนสถาบันการเงินชุมชนก็มีเงินจากที่ปล่อยให้ สมาชิกกู้ยืม ส่วนบรรดาคนที่ทำงานในสถาบันการเงิน ชุมชน ปัจจุบันก็เป็นลูกหลานของคนในชุมชนทั้งนั้น เพียงแต่มาทำในด้านของบัญชีการเงิน แต่เราสามารถให้ มีเพิ่มมาอีกคนหนึ่งเพื่อมาทำหน้าที่นักวิจัยและเก็บ ข้อมูล โดยทำงานร่วมกับ อบต. ข้อสำคัญคือ ห้าม ทำงานแยกกันเด็ดขาด ต้องทำงานร่วมกันพลังจึงจะเยอะ ขณะนี้บ้านเมืองเราไม่มีคนที่มีข้อมูลแบบรู้จริง และ ข้อมูลที่มีอยู่ก็ไม่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานสถิต ิ

แห่งชาติซึ่งทำสำรวจ 4 ปีครั้ง หรือสำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตรยิ่งแล้วใหญ่ แต่ถ้าเราให้ตำบลทำข้อมูลเอง ทั้งหมด เราจะรู้ข้อมูลการเกษตรในแต่ละตำบลอย่าง แท้จริง ขณะที่ อบต.ก็จะสามารถมองเห็นภาพทั้งหมด ของชุมชน แผนชุมชนกับแผนท้องถิ่นจึงเป็นเรื่องที่ สอดคล้องกัน

ระบบแบบนี้ทำได้โดยให้สถาบันการเงินชุมชนร่วม กั บ อบต.หรื อ เทศบาล เป็ น คนจ่ า ยเงิ น เอาเด็ ก จบ ปริญญาตรีที่ยังไม่มีงานทำ ซึ่งปีหนึ่งๆ มีหลายแสนคน กลับมาทำงานที่บ้านเกิด มาเป็นนักวิจัยชุมชน เราต้อง นำคนเหล่านี้มาฝึกทั้งการนำเสนองาน สรุปข้อมูล เป็น วิทยากรกระบวนการ (Facilitator) และไม่ต้องกลัวว่า เขาจะไม่พูดความจริงเพราะเป็นคนพื้นที่ รับเงินเดือน จากที่นั่น โดยนักวิจัยชุมชนจะต้องทำหน้าที่คอยเก็บ ข้อมูล เพื่อให้รู้ทรัพยากร รู้อาชีพ รู้รายได้ รู้ค่าใช้จ่าย และสามารถนำเรื่องบัญชีครัวเรือนของ สกว. (สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย) มาใช้ร่วมกัน เพื่อให้รู้ข้อมูล ของแต่ละครอบครัวทั้งหมด ว่ามีรายได้และรายจ่าย อย่างไร จนกระทั่งเกิดเป็นแผนชุมชน ระหว่างนั้นอาจจะ มีการมาประชุมทุก 3 เดือน 6 เดือนในที่ประชุมของ หมู่บ้านเพื่อคอยตรวจสอบตรวจทานข้อมูลกัน ถ้าเก็บ อย่างนี้เรื่อยๆ ไม่เกิน 3 ปีคนเหล่านี้จะเก่ง จริงๆ ข้อมูลนี้ทำได้ทุกเรื่อง แต่ถ้าจะทำเรื่องความ มั่นคงทางอาหาร ก็ต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ การผลิต อาหารจะต้องนึกถึงชุมชนก่อน ยึดหลักของในหลวงที่ว่า “ทุกครอบครัวต้องทำแบบพออยู่พอกิน อย่าเพิ่งคิดว่าจะ ไปขายใคร ให้เหลือถึงขาย” ถ้าราคามีการเปลี่ยนแปลงก็ จะได้ไม่รู้สึกอะไรมาก เพราะมันกลายเป็นส่วนเหลือ แต่มีข้อห้ามว่า ข้อมูลที่ทำแล้วต้องเก็บไว้ที่ชุมชน ก่อน ไม่ใช่ใครทำอะไรแล้วก็รบี ไปหอบข้อมูลกลับมา อันนี้ จะทำให้ชาวบ้านกลัว และไม่อยากให้ข้อมูล จากนั้น กระบวนการมันจะค่อยๆ ต่อยอด จะมีอาชีพหลักถูก พัฒนา เกิดการลดต้นทุน การทำการผลิตต่างๆ พอทำ เสร็จก็จะกลายเป็นบัญชีต้นทุนการผลิต จนกระทั่งไปถึง ผู้บริโภค ตามแนวทางที่ในหลวงบอกว่า “ทำแล้วห้ามไป ขายไกล เพราะไม่คมุ้ ค่าขนส่ง” เพราะฉะนัน้ อาหารท้องถิน่

31


ให้ขายที่นั่นก่อน เหลือแล้วถึงจะไปขายที่อื่น ซึ่งบัญชี ต้นทุนการผลิตจะช่วยในเรื่องนี้ได้ และถ้าจะขายออกไป ข้างนอก ก็ต้องมีตลาดเฉพาะ (Niche Market) ตลาดที่ทำได้ใกล้ตัวคือ โรงเรียน และวัด อาจจะมี การรณรงค์วา่ อาหารทีถ่ วายวัดต้องเป็นอาหารทีป่ ลอดภัย เป็นของดี คนก็จะกลัวบาป ดังนัน้ บ้าน วัด และโรงเรียน (บวร) จะช่ ว ยในเรื ่ อ งนี ้ ไ ด้ และอี ก ส่ ว นที ่ ส ำคั ญ คื อ

โรงพยาบาลชุมชน สสส.ทำเรื ่ อ งผู ้ ป ระกอบการทางสั ง คม (Social Enterprise) ถ้าเราหนุนเสริมโดยการให้เงินช่วยเหลือ (Grant) คนกลุ่มหนึ่งทำเรื่องวิจัยชุมชน และอีกกลุ่ม หนึ่งทำเรื่อง นักจัดการโลจิสติกส์ เอาพืชผักอาหารไป กระจายลงตามจุดต่างๆ ก็จะสามารถเก็บอาหารที่เหลือ นำไปส่งโรงพยาบาลชุมชนได้ กลุ่มนักจัดการโลจิสติกส์นี้จะต้องได้รับการฝึกฝน เพราะเขาต้องไปสร้างความเข้าใจกับโภชนากรในโรง พยาบาลว่า อาหารทีน่ ำมาส่งให้กบั โรงพยาบาล ไม่สามารถ จะผูกขาดได้ว่า ต้องส่งวันละกี่กิโลกรัม ไม่อย่างนั้นจะ ถูกปรับ ถ้าคิดอย่างนั้นชาวบ้านหนีหมด เพราะยังไม่ได้ ปลูกก็จะถูกปรับแล้ว แต่จะต้องบอกว่า ธรรมชาติของ

ที่นี่ ถึงฤดูนี้จะต้องกินผักชนิดนี้ ถ้าทำเช่นนี้ได้ก็จะช่วยจูงใจผู้บริโภคและเปิดตลาด ในโรงพยาบาลชุมชน กระตุ้นให้ผู้บริโภคในอำเภอนั้นๆ รับรู้ว่า สินค้าที่ขายในโรงพยาบาลได้จะต้องน่าเชื่อถือ หมอคงเชื่อว่าดี ระบบนี้ก็จะผนวกกับการเข้าไปถึงคนใน เมือง ที่เรียกว่า CSA ผูกผู้บริโภคให้เป็นเพื่อนกับผู้ผลิต สามารถจ่ายเงินและไปเยี่ยมเยือนกัน แต่สิ่งเหล่านี้จะ เกิดขึ้นได้ ต้องเติมส่วนที่ขาดคือ เรื่องของข้อมูล และ ช่องทางการนำอาหารของผู้ผลิตมาพบกับผู้บริโภค อยากฝากไว้ว่า ในช่วงอุทกภัยที่ผ่านมา ทำให้เห็น ชัดถึงปัญหาของระบบรวมศูนย์อาหาร พอเกิดวิกฤติขึ้น

อาหารในห้างขาดหมด แม้แต่นำ้ ก็ตอ้ งไปสัง่ ซือ้ จากประเทศ มาเลเซีย แต่ถา้ เราทำตรงนีใ้ ห้กลายเป็นเครือข่ายเส้นทาง ใครอยู่ตรงไหนทำตรงนั้น นอกจากต้องการอะไรที่พิเศษ จึ ง สั ่ ง จากที ่ ไ กลออกไป ระบบอาหารมั ่ น คง อาหาร ปลอดภัย ก็จะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ แต่ฐานตรงนี ้

ยังขาด เพราะเราพูดกันกี่ครั้งก็มักจะพูดแต่เรื่องข้างบน ไม่ค่อยได้พูดถึงส่วนที่จะเดินเรื่องอยู่ข้างล่างซึ่งเป็นฐาน สำคัญ

รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง

ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต

ปัญหาในระดับโลกและระดับประเทศยอมรับว่า ยัง มองไม่เห็นทางออก แม้ตัวอย่างจากตำบลแม่ทาอาจจะ เป็นโมเดลต้นแบบได้ แต่จากวิกฤติน้ำท่วมที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่า ไม่ใช่เพียงที่ใดที่หนึ่งประสบความสำเร็จ แล้วจะแพร่ไปทุกที่ได้อย่างรวดเร็ว จึงคิดว่า ถ้าเราลอง จับประเด็นที่ รศ.สมพร อิศวิลานนท์ จากสถาบันคลัง สมองของชาติ หยิบยกขึ้นมา น่าจะเป็นประโยชน์ในแง่ ของการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย เสถียรภาพทางอาหารของโลกในปัจจุบนั เป็นอย่างที่ รศ.สมพร นำเสนอหรือเปล่า นัน่ เป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งตัง้ คำถาม ก่อน ถ้าใช่ ถือว่าน่ากลัว โลกกำลังจะมีปัญหาเรื่องอาหารในอนาคต ราคา อาหารกำลังพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ และสังเกตดูว่า ประเทศที่มี ปัญหาเรื่องอาหารปัจจุบันนี้พยายามวิ่งไล่ซื้อที่ประเทศ อื่น เช่น ประเทศในตะวันออกกลาง เกาหลีใต้ ซึ่งภาพที่ เห็นมันทำท่าว่าจะเป็นจริง ขณะเดียวกันเรื่องของปัญหา โลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศของโลกก็ เป็นเรื่องที่ยากจะหลีกเลี่ยง ด้านการใช้พลังงานจาก ฟอสซิลเริ่มลดน้อยถอยลง แต่คนก็ไปแย่งพืชอาหารจาก ภาคเกษตร มาทำไบโอดีเซลหรือเอทานอล ขณะทีจ่ ำนวน


ประชากรก็ดูจะสูงขึ้นเรื่อยๆ พอมองภาพรวมแล้วกลับมาดูประเทศไทยทำให้ ใจหายวูบ รู้สึกไม่ค่อยสบายใจที่จะบอกว่า เราเป็น ประเทศที่ส่งออกสินค้าการเกษตร ประเด็นสำคัญอัน หนึ่งคือ คนที่ปลูกข้าวยังยากจน มีข้อมูลอีกส่วนหนึ่ง จาก ศ.ดร.อัลมาร สยามวาลา บอกว่า เดี๋ยวนี้คนที่ปลูก ข้าวส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายใหญ่ คำว่า เกษตรกรก็ หมายถึง คนที่เป็นเจ้าของที่ดินและมีการปลูกข้าว แต่จะ ปลู ก เองหรื อ ไม่ เ ป็ น อี ก เรื ่ อ งหนึ ่ ง และคนที ่ ป ลู ก ข้ า ว มีอายุมากขึ้น คือตายช้า แต่จำนวนน้อยลง ในที่สุดเราก็ จะเห็นภาพของท้องไร่ท้องนาที่มีคนแก่คอยดูแลที่นา ลูก ไม่อยู่ และส่งเงินส่วนหนึ่งมาเพื่อให้พ่อแม่ทำการเกษตร โดยจ้างแรงงานจากคนอื่น พอมาพูดถึงระบบตลาด ระบบเศรษฐกิจ เรากลับไป แทรกแซงให้มันทำงานไม่ได้ ด้วยการสร้างระบบจำนำ ข้าวให้สูงกว่าราคาตลาด ก็คือรัฐเป็นผู้ซื้อแต่เพียงราย เดียว เป็นเถ้าแก่รายใหญ่ และในที่สุดก็จะไปปู้ยี่ปู้ยำใน ระดับส่งออกอีก ตกลงแล้วประเทศเราจะเดินไปอย่างไร น่าเป็นห่วงที่คนซึ่งกำหนดนโยบายมองไม่เห็นภาพเหล่านี้ เลย ไม่เคยรูว้ า่ ความมัน่ คงทางอาหารของประเทศจะเป็น อย่างไรในอนาคต ทำให้เห็นภาพต่อว่า การวิจัยในภาคการเกษตรเพื่อ ลดต้นทุน ซึ่งเรื่องนี้จะทำให้ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออก สิ น ค้ า การเกษตรอย่ า งยั ่ ง ยื น และมี ค วามมั ่ น คงทาง อาหารได้ เราไม่ควรไปเล่นกับตลาด แต่ควรเล่นกับต้นทุน เพราะถ้าต้นทุนเราลดลง ตลาดต่างประเทศจะมีการแข่งขัน สูงอย่างไรก็ตามสามารถสู้ได้ เพราะประสิทธิภาพเราดี และของถูก แต่ถ้าไปเล่นกับการตลาดที่ 15,000 บาท สุดท้ายก็เจ๊งลูกเดียว อย่างไรก็ไปไม่รอด ยิ่งกว่านั้น ตัวเลขการวิจัยในภาคการเกษตรเราอยู่ที่ 0.25 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ขณะที่ อ.ทศพล ทรรศนกุล-

พันธ์ จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บอกว่า การวิจยั เรือ่ งเหล่านีอ้ าจจะไปอยูท่ ภ่ี าคเอกชน ถ้าเอกชนทำ วิจัยก็ยังคิดว่า เป็นโชคดีของประเทศ แต่กลัวว่า แม้แต่ เอกชนก็ไม่ทำ หรือทำเพื่อตัวเขาเอง วิจัยอะไรที่ได้ผล ระยะสั้น เพราะเขาจะไปทำเพื่อให้ภาพใหญ่ดีเพื่ออะไร มี แต่จะต้องวิจัยอะไรที่แคบและได้ประโยชน์ สามารถที่จะ ผูกขาดได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่พอจะเข้าใจ แต่รัฐกลับไม่มี วิสัยทัศน์ในเรื่องนี้เลย นอกจากนี้ยังมีเรื่องนโยบายการแทรกแซงตลาด (Market intervention) โดยไปแทรกแซงข้าวจากพม่า ลาว ประเทศต่างๆ ที่นำเข้ามา ซึ่งทำให้ยิ่งพังพินาศกันไป ใหญ่ และเมื่อมาดูข้อมูลในส่วนของมันสำปะหลัง ซึ่ง จับเรื่องนี้มาเป็นระยะเวลานาน พอเห็นข้อมูลปัจจุบันก็ ทำให้รสู้ กึ ตกใจ สมัยก่อนเราส่งออกมันสำปะหลังเพื่อนำ ไปใช้ ส ำหรั บ การเลี ้ ย งสั ต ว์ ท ี ่ ส หภาพยุ โ รป (EU: European Union) เป็นหลัก แต่เดี๋ยวนี้เราไม่ได้ส่ง ออกไปแม้แต่นิดเดียว เพราะส่งไปจีนเพื่อนำไปทำ

เอทานอลหมด เพราะฉะนั้นเรื่องอาหารสัตว์จึงน่าเป็น ห่วงอยู่ไม่น้อย เรือ่ งเหล่านีถ้ อื เป็นเรือ่ งสำคัญทีค่ วรต้องมีคนจับตาดู โดยเฉพาะว่า นโยบายของบ้านเราควรจะต้องดำเนินการ อย่างไร ไม่ควรดูแต่ระดับจุลภาค ซึ่งก็รู้สึกดีกับกรณี ของตำบลแม่ทา แต่อยากตามเรื่องระดับนโยบายซึ่ง สำคัญและเป็นปัญหามากกว่า

นายทวีป จูมั่น

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี

อยากให้ ธ.ก.ส. ปรับเปลี่ยนแนวความคิดใหม่ วัน นี้เกษตรกรยากจนเพราะต้องส่งลูกเรียน คนที่ทำนาไม่กี่

33


สิบไร่ไม่มีปัญญาที่จะส่งลูกเรียนระดับปริญญาได้ จึง ต้ อ งเป็ น หนี ้ เ ป็ น สิ น เศร้ า ใจว่ า เมื ่ อ ริ เ ริ ่ ม จะทำเรื ่ อ ง เคาน์ เ ตอร์ เ ซอร์ ว ิ ส (Counter Service) ในตำบล ปรากฏว่า ต้องให้เอาทรัพย์สินไปค้ำประกัน ทั้งที่มันควร จะเอาไปช่วยเรื่องการตลาด เพื่อดูว่า ถ้าทำเคาน์เตอร์ เซอร์วิสแล้วจะเก็บเงินที่ไหลออกจากตำบลได้เท่าไหร่ สินค้าที่เอามามีราคาถูกสู้กับตลาดได้ไหม เพราะนี่เป็น แนวคิดที่เสริมสร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็งโดยภาค ประชาชน นอกจากนี้ ธ.ก.ส.น่าจะคิดใหม่วา่ ถ้าทำนา 1 ร้อยไร่ อยากจะได้รถแทรกเตอร์สักคัน ให้ได้ไหมโดยที่ไม่ต้อง เอาที่นาไปค้ำประกัน แล้วมาตกลงกันว่าจะใช้จ่ายเท่าไหร่ ส่งเงินกี่ปี อย่าปล่อยให้เกษตรกรต้องไปอยู่ในวงจรของ ไฟแนนซ์ เรื่องราวเหล่านี้ต้องคิดกลับ อีกเรื่องคือ ศูนย์วิจัยชุมชน ซึ่งของไทยเรามีเยอะ แต่วิจัยไปแล้วไม่เคยได้ใช้ นี่คือประเด็นใหญ่ และ ศูนย์วิจัยชุมชนจะต้องวิจัยเรื่องทรัพยากรธรรมชาติใน ชุมชน เสร็จแล้วนำมาใช้ประโยชน์โดยให้ชุมชนเป็นคน จัดการ ในส่วนของประเด็นการกำหนดราคาข้าว ก็เป็นเรื่อง ที่เราไม่เคยพูดความจริงกัน ถามว่า เวลาส่งออกมีใคร เคยบอกไหมว่า พ่อค้าได้กำไรเท่าไหร่ ผมเคยคลุกคลีอยู่ ในวงการ ผู้ส่งออกรายหนึ่งบอกว่า ประมูลข้าวครั้งที่แล้ว เสียค่าใต้โต๊ะประมาณลูกละ 200 บาท (1 ลูก เท่ากับ 100 กิโลกรัม) ตอนนั้นมีข่าวออกมาบอกว่า อดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ จะยกเลิกการประมูลข้าว เพราะมีความไม่ชอบ มาพากล เขาบอกทันทีว่า เชื่อไหมว่า ยกเลิกไม่ได้ เพราะ พวกเขาจ่ายเงินไปแล้ว เพราะฉะนั้น ถามว่า ณ วันนี้ สนับสนุนให้ชาวนาส่งออกได้ไหม กองทุนส่งออกของ เกษตรกรมีหรือเปล่า รวมทั้งเรื่องการส่งออก ก็จะต้องมี ท่าส่งออกเป็นของเกษตรกรจริงๆ อีกส่วนหนึ่งคือ ต้อง

สนับสนุนการผลิตเพื่อการส่งออกโดยใช้เครือข่ายแต่ละ จังหวัดผ่านการกำหนดโควตา เรือ่ งทีต่ อ้ งรีบเร่งดำเนินการ มีอยู่ 2 - 3 เรือ่ ง เรือ่ งที่ 1 คือการเบี่ยงเบนกฎหมาย ที่ผ่านมา เราไม่เคยทำตาม รัฐธรรมนูญ เขียนกฎหมายลูกค้านรัฐธรรมนูญ ทั้งที่เรา บอกว่า กฎหมายลูกที่ค้านกฎหมายแม่นั้นใช้ไม่ได้ แต่ วันนี้เรากำลังใช้กฎหมายลูกที่ค้านกฎหมายแม่อยู่ เรื่องที่ 2 คือการยกเลิกการเข้าสารเคมีให้เร็วที่สุด จึงจะทำให้ เกิดเกษตรอินทรีย์เพื่อไปรองรับกับระบบการผลิตของ ครัวโลก และเรื่องที่ 3 ต้องเปิดเผยราคาขายจริง การจำนำหรือการประกันราคาข้าว เกษตรกรไม่ได้ 15,000 บาทเต็มจำนวนอย่างที่บอก เพราะเขากำหนด ความชื้นที่ 15 เปอร์เซ็นต์ เวลาขายจริงล้วนแต่เป็นข้าว 25 เปอร์เซ็นต์ทั้งนั้น พอนำไปตากความชื้นเหลืออยู่ที่ 15 เปอร์เซ็นต์ จึงจะได้ขา้ ว 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เกษตรกร ณ วันนี้ไม่มีปัญญาตากข้าว และการประกันราคาข้าวใน รอบทีแ่ ล้ว ก็ทำให้โรงสีรำ่ รวย เพราะราคากลางมาจากไหน ก็ตอบโจทย์ไม่ได้ ถ้าประกัน 15,000 บาท โรงสีซื้อ 8,000 บาท ต้องเติมเงินให้อีก 7,000 บาท อย่างนี้ เกษตรกรถึงจะได้เต็มและอยู่ได้ นอกจากนี้ เรื่องของสื่อ ณ วันนี้ทำเชิงธุรกิจมากไป สื่อต้องหันมาทำในเชิงสื่อสร้างสรรค์ ต้องมีการใส่ความ คิดให้กับชาวบ้านในเรื่องการบริโภคสื่อ ซึ่งท้องถิ่นจะ ต้องเข้ามารับผิดชอบเรื่องเหล่านี้ให้มากขึ้น

ศ.ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่

คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

ขอยกตัวอย่างชุมชน 2 - 3 ชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ ที ่ ม ี โ อกาสได้ ไ ปลงพื ้ น ที ่ ม า ชุ ม ชนแรกคื อ บนเขาที ่ อ.แม่แจ่ม ซึ่งข้าวโพดบุกขึ้นไป ที่ ต.บ้านทับเหลือเพียง


หมู่บ้านอมแรดหมู่บ้านเดียวของชาวปกาเกอะญอที่ยัง

ไม่ ไ ด้ ป ลู ก ซึ ่ ง ตอนนี ้ ก ำลั ง ถู ก กดดั น ให้ เ ร่ ง นำน้ ำ จาก ชลประทานเข้ามาเพื่อจะได้ปลูกข้าวโพดและมีรายได้ดี เป็นปัญหาเดียวกันกับ อ.ไชยปราการ และ อ.ฝาง ก็ตก อยู่ในวังวนของเรื่องลิ้นจี่ ซึ่งเกษตรกรไม่มีข้อมูล ขาย เท่าไหร่ก็ขาย เพราะปัญหาเรื่องโลจิสติกส์ เนื่องจาก ผลผลิตมีระยะเวลาสุกเพียงแค่ไม่กี่สัปดาห์ พูดง่ายๆ ว่า ไม่ว่าที่ไหนต่างก็ตกอยู่ในกับดักของระบบทุน มาถึงกลวิธีว่าจะเราอยู่กันอย่างไร ถ้ามองในระดับ โลกก็ถือว่าน่ากลัวมาก ผมเรียกว่า ทุนนิยมอำมหิต เพราะว่าไม่เห็นคนอยู่ในนั้นอยู่แล้ว แต่หัวใจสำคัญของ การที่จะฟื้นคืนขึ้นมาได้ มันฟื้นด้วยวิทยาการกับข้อมูล ทุกชุมชนของบ้านเราตอนนีม้ ปี ญ ั หาเรือ่ ง Generation Gap เด็กรุ่น Gen Y หรือ Z เราสื่อสารกับเขาไม่ค่อยรู้ เรื่องแล้ว เพราะเขาไม่ได้มองอย่างที่เรามอง แต่ว่า นี่เป็น โลกของเขาในวันข้างหน้า ดังนั้นไม่ว่าจะทำอะไรในการ ขับเคลื่อนเรื่องของความรู้ เด็กรุ่นใหม่ทุกวันนี้มีทักษะดี เราสามารถนำเขามาทำหน้าที่เป็นนักวิจัย ให้ข้อมูล ต่ า งๆ และทุ ก วั น นี ้ กสทช. (คณะกรรมการกิ จ การ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่ง ชาติ) ก็มีช่องทางที่จะส่งข้อมูลผ่านสัญญาณอินเทอร์เน็ต ไปยังโทรศัพท์มือถือ สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ ข้อมูลฟรี (Free Information Provider) หรื อ มี ดาวเทียมในชุมชนต่างๆ ที่สามารถรับสัญญาณข้อมูล ข่าวสารในเรื่องราคาพืชผลได้ การสร้างระบบให้เกิดการถ่ายโอนความรู้ (Knowledge transfer) ของแต่ละชุมชนก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ เพราะตอนนีย้ งั เป็นการเลียนแบบตามตัวบุคคล มาศึกษา ดู ง านแล้ ว เอากลั บ ไปทำ แต่ ใ นเชิ ง ของการเชื ่ อ มโยง นอกจากการรู้จักกันในเครือข่าย ต้องมีลักษณะที่มีความ

เป็นระบบมากขึ้น มองว่า ยังมีช่องว่างระหว่างชาวบ้าน กับ อบต.หรือเทศบาล และระหว่าง อบต.กับส่วนราชการ ที่อำเภอ ถ้าอย่างน้อย เราได้กลุ่มคนพวกนี้เข้ามาร่วม เพื่อช่วยในการให้บริการ (Provide) ข้อมูลก่อน ทำให้ ข้างล่างเกิดการเชื่อมโยงที่แข็งแรง เพื่อให้ชุมชนขยับ จากการแค่ยังชีวิตรอด (Survive) ไปสู่ความยั่งยืน (Sustain) ซึ ่ ง ทั ้ ง หมดจะส่ ง ผลให้ น โยบายในระดั บ มหภาคเปลี่ยนได้ในที่สุด

นายสังคม เจริญทรัพย์

คณะประสานงานองค์กรชุมชน (คปอ.) และที่ปรึกษาสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)

ระบบการจัดการทั้งหมดเป็นเรื่องที่สั่งสมมา และ ตอนนี้เรากำลังอยู่ในวังวนที่หากไม่หลุดพ้นจริงๆ หาก เราไม่สามารถรักษาพันธุกรรมทางอาหารของเราไว้ได้ เราคงจะหลุดจากแผ่นดินไทยแน่นอน นั่นคือเรื่องแรก เรือ่ งต่อมาคือ การรุกคืบของพืชพลังงานทดแทน เป็นการ รุกคืบอย่างมีจังหวะก้าว ผ่านกระบวนการทางวิชาการ ที่ ทำหน้าที่เป็นตรารับรองให้ มี โ อกาสได้ เ ดิ น ทางไปที ่ บ ้ า นบุ ก ลาง ต.บุ เ ปื อ ย อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี เพื่อไปดูงานเรื่องการบูรณาการ กองทุนการเงินไปสู่ชุมชนจัดการตนเองระดับหมู่บ้าน ทำให้ได้เห็นภาพของวิกฤติที่เกิดขึ้นกับผู้นำ เพราะแกน ที่ทำเรื่องนี้คือ ผู้ใหญ่บ้าน พอหลุดจากการเป็นผู้ใหญ่ บ้าน เพราะฐานการเมืองที่อยู่คนละขั้ว ทำให้กลุ่มที่นั่น ถึงกับจะแตกสลาย สิ่งนี้ทำให้เห็นภาพความแตกต่าง ระหว่างกระบวนการเรียนรู้ที่ผ่านทางแกนนำเพียงหนึ่ง คน กับกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่ม ซึ่งน่าจะ เป็นทางเลือกที่จะต้องสร้างไปให้ถึง 35


สถาบันหลายสถาบันที่มุ่งส่งเสริมให้ชาวบ้านมีความ

เข้มแข็งนั้น ลำบากมากที่จะขับเคลื่อนไปต่อในระดับ นโยบาย บางทีต้องไปง้อ ผมเป็นตัวแทนชาวบ้านก็รู้สึก ว่า ทำไมมันจึงยากนักหนา ไปคุยกับฝ่ายทางการที่เป็น

ผู้ว่าฯ นายอำเภอ เขาก็บอกว่า อย่าเพิ่งคุยเลย จะโดน ย้ายเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ขวัญหนีดีฝ่อไปหมด เรื่องสวัสดิการ ชุมชนทีเ่ คยทำมา ก็บอกว่า นายมาใหม่ไม่รวู้ า่ จะเอาอย่างไร รอดูก่อน ยิ่งสมัยที่นโยบาย SML (โครงการพัฒนา ศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน) ลงมาในชุมชนยิ่งเละไป กันใหญ่ เพราะมีอะไรก็ให้ส่งมาเลย เดี๋ยวให้เงินหมด โครงการแต่ละโครงการจึงล้วนแต่ขาดกระบวนการ คิดที่มาจากแผนชุมชน มาจากชาวบ้าน เวลาไปถาม อำเภอ เขาก็บอกว่า เข้าเงื่อนไขเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ซ้ำร้ายกว่านั้น บางอำเภอจะเบิกเงินได้ต้องให้เงินใต้โต๊ะ กับฝ่ายที่บอกว่า ให้เบิกได้ ทำไมจึงมีสิ่งเหล่านี้มากมาย เหลือเกิน เราน่าจะทำอะไรสักอย่างที่จะสร้างความเข้มแข็ง ของชุมชน ให้ชุมชนเกิดความมั่นใจ และลดเรื่องการ อุ ป ถั ม ภ์ ข องทางการลง ถ้ า วิ ธ ี ค ิ ด ของชาวบ้ า นยั ง ถู ก ครอบงำด้วยระบบอุปถัมภ์ไปเรื่อยๆ ความอ่อนแอก็ยิ่ง เพิ่มพูน เปรียบได้ว่า เรากำลังนั่งทำบุญกันในวัด คุยกัน ถึงเรื่องดีๆ ขณะเดียวกันก็จะมีขบวนแห่เข้ามา กินเหล้า นายสมคิด สิริวัฒนากุล เต้นระบำเถิดเทิงกัน คนจะไปทางไหนคิดดู เราจะเลือก คณะประสานงานองค์กรชุมชน (คปอ.) ทางไหนกันแน่ในสังคม การจะสร้างทางทีด่ ใี ห้กบั ประเทศ สิ่งหนึ่งที่พบในการทำงานคือ ความไม่จริงใจในการ เราจะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงระดับใดได้บ้าง น่าจะ ส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีการประเมินหลังจากที่มีการประชุมกันไปแล้วด้วย ถ้ามองกระบวนการจากทุนเดิมที่มีอยู่ จะเห็นว่า

อีกส่วนที่ได้ไปเรียนรู้คือ เรื่ององค์กรการเงิน ก่อน หน้านี้ไปชวนคนลาวที่น้ำงึมทำกลุ่มท้อนเงิน 14 ผ่าน สหพันธ์แม่หญิงลาว (สยล.) มาถึงปัจจุบัน ตอนนี้กลุ่ม

ดังกล่าว ใหญ่โต ขยายไปทัว่ ประเทศ แต่ขณะเดียวกันที่ อีสานซึ่งเป็นต้นแบบ พบว่า กลุ่มที่ทำกลับค่อยๆ เล็กลง ไปเรื ่ อ ยๆ ไม่ โ ตเหมื อ นกั บ ของประเทศลาว จึ ง เป็ น ประเด็นที่จะต้องนำกลับไปพิจารณาว่าเป็นเพราะอะไร การมีความรู้ทางด้านวิชาการแค่จากสถาบันเพียง อย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ หากต้องมีการกระตุ้นโดย ชุมชนท้องถิ่นที่จัดการตนเอง การจัดการความรู้ระดับ ข้างล่าง ตอนนีห้ ลายทีก่ ำลังทำกันอยู่ และมีพลัง จึงคิดว่า ถ้าเราจะสร้างความมั่นคงทางอาหาร รักษาแผ่นดินไว้ ให้กับลูกหลาน น่าจะต้องมี “สถานีกลาง” ที่ทำเรื่องนี้ อย่างเป็นระบบ เป็นศูนย์กลางข้อมูล มีการบูรณาการ ข้อมูลจากทุกฐาน จนเกิดเป็นแผนชุมชน ในลักษณะของ 1 แผน 1 ตำบล ซึ่งเชื่อมโยงกับเครือข่ายแผนชุมชนพึ่ง ตนเอง 4 ภาค และเชื ่ อ มร้ อ ยกั บ ทางสภาพั ฒ น์ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ) เพราะธนาคารโลกก็อยากจะเห็นเรื่องของแผน ชุมชน ที่เป็นแผนของทุกคนร่วมกัน เหล่านี้เป็นเรื่องที่ เรากำลังวางแผนในการขยับกันอยู่

14

กลุ่มท้อนเงิน เป็นกลุ่มออมทรัพย์ที่เกิดขึ้นจากโครงการความร่วมมือกันระหว่างสหพันธ์แม่หญิงลาว (สยล.) และสถาบัน พัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ที่ต้องการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านให้ดีขึ้น โดยปัจจุบันมีการจัดตั้งกลุ่มท้อนเงินไป แล้วกว่า 200 กลุ่ม 190 หมู่บ้านในประเทศลาว (มติชน, 15 ก.พ. 2550)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.