ผาสิงห์

Page 1



ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต ขวัญเรียม จิตอารีย์


Healthy Planet สุขคดีท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการเรียนรู้ ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต เรื่องและภาพ ขวัญเรียม จิตอารีย์ ออกแบบปกและรูปเล่ม ขวัญเรียม จิตอารีย์ ภาพประกอบ ธรรมรัตน์ โภคัย พิสูจน์อักษร ภินันทา พิมพ์ครั้งที่ 1 มกราคม 2556 เลข ISBN บรรณาธิการอ�ำนวยการ ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ กองบรรณาธิการ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3) จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2343 1500 www.thaihealth.or.th และ www.punsook.org ด�ำเนินการผลิตโดย เสือกระดาษการพิมพ์ 447 หมู่ 1 ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 50170 โทรศัพท์ 081 7245332


“ มีอาชีพการงานท�ำให้ ได้อยู่ที่บ้าน มีเพื่อนบ้านที่คอยช่วยเหลือจุนเจือกัน แค่นี้ก็มีความสุขแล้ว ”

ป้าบัวผิน นักท�ำไม้กวาด


ค�ำน�ำ ท่ามกลางกระแสวิกฤติเศรษฐกิจโลกครั้งใหญ่ เป็นประวัติการณ์ในรอบหลายสิบปี ท�ำให้เกิดการตั้ง ค�ำถามว่า วิกฤตินี้จะใหญ่ขึ้นอีกเพียงใด จะยืดเยื้อขนาด ไหน และวิกฤตินี้จะส่งผลกระทบต่อสังคมไทยชุมชน หมู่บ้านไทยมากน้อยเพียงใด ความวิตกดังกล่าวอาจจะ ไม่เกิดขึ้นเลย หากปัจจุบันชุมชนหมู่บ้านไทยไม่ถูกลาก เข้าสู่ระบบการผลิตเพื่อขาย นักวิชาการหลาย ๆ ท่าน ได้วิเคราะห์ถึงระบบ เศรษฐกิจของประเทศไทยว่า ในระบบทุนนิยมยังคง มี อี ก ระบบด� ำ รงอยู ่ ใ นลั ก ษณะคู ่ ข นาน นั่ น คื อ ระบบ เศรษฐกิจชุมชน หรืออาจจะกล่าวเป็นศัพท์สมัยใหม่ ได้ว่าระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ในอดี ต ชุ ม ชนหมู ่ บ ้ า นจะมี วิ ถี ชี วิ ต ที่ เรี ย บง่ า ย เน้นความพอเพียง มีครอบครัวเป็นหน่วยการผลิต การ ช่ ว ยเหลื อซึ่ ง กั น และกัน มีน�้ำใจเป็นพื้นฐานของชีวิต มีพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นระบบการจัดการในชุมชน และ ให้ความส�ำคัญแก่บรรพบุรุษ ผู้เฒ่าผู้แก่ ครอบครัว ต่อมาหลังจากรัฐและระบบทุนนิยมได้เข้าไปมี อิทธิพลต่อชุมชนการผลิตเชิงเดี่ยว และลัทธิบริโภคนิยม


ท�ำให้ชาวบ้านมีรายจ่ายที่เป็นตัวเงินมากขึ้น เพียงเท่านั้น ยังไม่พอ สิ่งที่ท�ำลายความเข้มแข็งของชุมชนมากที่สุด คือ รัฐและทุนเข้าไปถ่ายโอนทรัพยากรจากระบบชุมชน หมู่บ้าน ยิ่ ง รั ฐ และทุ น เข้ า ไปกอบโกยมากเท่ า ไร ชุ ม ชน หมู ่ บ ้ า นไทยยิ่ ง ประสบความอ่ อ นแอ ค� ำ พู ด ดั ง กล่ า ว ไม่ใช่ค�ำพูดลอย ๆ ที่ไม่มีหลักฐานรองรับ หากแต่เมื่อ กวาดตาไปทั่วแผ่นดินไทยหลังการประกาศแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมมากว่า 40 ปี จะมีสักกี่ชุมชนที่คนใน ชุมชนไม่ประสบปัญหาความยากจน ไม่ประสบปัญหา สิ่งแวดล้อม หรือไม่ประสบปัญหาสุขภาพ จากสถานการณ์ดังกล่าว ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ สั ง คมไทยควรกลั บ มาเน้ น การพั ฒ นาที่ ไ ม่ ม องแต่ มิ ติ ประสิทธิภาพ การสร้างมูลค่าและก�ำไร หรือการตลาด ด้านเดียว แต่ควรจะเป็นเพื่อประโยชน์ของชุมชนและ สังคม เราไม่ ค วรลดทอนผู ้ ค นลงไปเป็ น เพี ย งตั ว เลข หากควรเป็นเพื่อส่งเสริมศักยภาพและศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ ค�ำตอบส�ำหรับค�ำถามข้างต้นนี้คงจะต้องช่วยกัน ค้นหา ไม่ว่าจะใช้ระยะเวลานานเท่าไร คณะผู้จัดท�ำ



9

ขวัญเรียม จิตอารีย์

คน‘ดุ’‘ก�ำลังดี’ ที่ ผาสิงห์

1

ฉันมาถึงสถานีขนส่งน่านขณะแดดสายยังไม่ แรงเท่าใดนัก เสื้อกันหนาวที่แม่รื้อจากตู้ให้แต่เช้าถูก ม้วนยัดใส่เป้ แม่คา้ ขายข้าวหลามก�ำลังคุยกันถึงหมอก ที่คลุมเมืองในเช้าวันนี้ “หน้าหนาวมาละเน้อ” ลุงคนขับรถรอบเวียงพูด เสียงดังอย่างคนอารมณ์ดีขณะเดินยืดเส้นยืดสายรอ ผูโ้ ดยสาร หน้าฝนท�ำท่าจะรีบไปตั้งแต่กลางเดือนตุลา หลายคนยิ้มรับลมหนาวที่ก�ำลังมาพร้อมกับนักท่อง เที่ยวที่จะเพิ่มมากขึ้นจากปีที่แล้วและปีก่อนหน้า 1 ภาษาเหนือ “ดุ” หมายถึง มุ่งมั่น อดทน “ก�ำลังดี” หมายถึง แข็งแรง มีพละก�ำลัง


10

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

‘เมืองน่าน’ หรือทีเ่ รียกกันติดปากว่า ‘เมืองนาน’ นั้ น มี ที่ ม าจากความห่ า งไกลและเส้ น ทางคดเคี้ ย ว เลีย้ วลัดไปตามหุบเขา ระยะทางเจ็ดร้อยกิโลเมตรจาก กรุงเทพฯ อาจต้องใช้เวลาเดินทางนานถึง 9 ชั่วโมง อีกทั้งไม่ใช่เมืองผ่านไปสู่จังหวัดอื่น จะถึงน่านได้ต้อง ตั้งใจมาเท่านั้น น่านจึงยังด�ำรงตนในฐานะเมืองสงบ เงียบเรียบง่ายเรื่อยมา ทว่าปลายทางของฉันวันนี้อยู่ เลยตัวเมืองออกไปอีก ระหว่างรอเวลานัดหมาย ฉันเลือกข้าวหลามไส้ สังขยาผสมเผือกและงาเป็นข้าวเช้าที่อิ่มอร่อยพอดี แม่ค้าบอกว่าอีกไม่กี่วันจะถึงงานแข่งเรือยาวนัดปิด สนามแล้วนะ ใจฉันนึกไปถึงยามบ่ายในห้องเรียนบน อาคารเรียนชั้นสี่ สูตรเคมีขยุกขยิกหงิกงอบนกระดาน ด�ำ เสียงนับจังหวะหนักแน่นของฝีพายหนุ่มที่จ�้ำพาย พร้อมเพรียงดังให้ได้ยินแต่ไกล นอกกรอบหน้าต่างแล เห็นเรือยาวขึน้ ล่องล�ำน�ำ้ ตลอดบ่าย ล�ำน�ำ้ สายเดียวกัน กับที่ขบวนเรือของพญากรานเมือง ผู้สืบเชื้อสายพญา ภูคาได้ขนข้าย้ายครัวจากวรนครหรือเมืองปัวมาตั้ง เมืองใหม่บริเวณภูเพียงแช่แห้ง ด้วยความอาลัยในบ้าน เก่าเมืองเดิม วงดนตรีปซ่ี อในขบวนเรือจึงได้แต่งล�ำน�ำ


ขวัญเรียม จิตอารีย์

ขับค�ำซอบอกลาเมืองเก่าเล่าถึงการเดินทางสูเ่ มืองใหม่ จนกลายเป็นซอล่องน่านให้ขับขานกันมาถึงทุกวันนี้ สายน�้ำยังไหลเอื่อยเช่นเดิมหรือไม่ จะช้าลงหรือเร็วขึ้น สักแค่ไหนหนอ โทรศัพท์มือถือดังขึ้น เสียงจากปลายสายบอก ว่าสักครูจ่ ะมีคนมารับ ไม่ถงึ ห้านาทีพสี่ าวคนหนึง่ ก็เดิน ยิ้มมาแต่ไกล “กะว่าไผ แต๊ ๆ ก็เป็นคนบ้านเดียวกัน” ฉันกับพี่ต้อมทักทายกันด้วยค�ำเมืองส�ำเนียงน่านที่มัก ถูกเพือ่ นแซวเสมอว่าจะดุไปถึงไหน เพราะส�ำเนียงชาว เราจะเร็วและห้วนสั้น ไม่หวานเหมือนแถวเชียงใหม่ ฉันเลือกทีจ่ ะคิดว่านีเ่ ป็นค�ำชมเชียวนะ เพราะค�ำว่า ‘ดุ’ ในภาษาถิ่นล้านนาหมายถึงมุ่งมั่น อดทน คนน่านจึง ล้วนแต่เป็นคนดุด้วยกันทั้งนั้น ได้ยินมาว่า ผาสิงห์ จุดหมายปลายทางของเราคนดุได้เรื่องอยู่เหมือนกัน แต่จะเป็นเรื่องอะไรนั้นต้องอดใจไว้ถามเจ้าบ้าน

11



ขวัญเรียม จิตอารีย์

๑ แอ่วอู้ เรื่องปู่หละหึ่ง

เราออกจากตั ว เมื อ งมุ ่ ง ไปตามทางหลวง หมายเลข 1080 เส้ น ทางน่ า น – ท่ า วั ง ผา ร่ ม รื่ น ด้ ว ยต้ น ไม้ ข นาบข้ า งสลั บ กั บ หมู ่ บ ้ า นและสวนฝรั่ ง บนเนินเขา ประมาณ 10 กิโลเมตรก็มาถึงบ้านผาตูบ ภูเขาหินปูนที่ตั้งตระหง่านเป็นเหมือนป้ายบอกทาง ขนาดใหญ่ พี่ต้อมเลี้ยวซ้ายเข้าซอยข้างโรงพยาบาล ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพต� ำ บลผาสิ ง ห์ ไ ปเพี ย ง 200 เมตรก็ ถึงหน้าองค์การบริหารส่วนต�ำบลผาสิงห์พอดิบพอดี เจ้าหน้าที่ อบต. ก�ำลังทยอยเข้าที่ท�ำงาน พ่อแม่มาส่ง ลูก ๆ หน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผาตูบที่อยู่ตดิ ๆ กัน หลังจากสับสนกับชื่อและต�ำแหน่งแห่งที่อยู่พักหนึ่ง ฉันจึงสรุปได้ว่า ที่ท�ำการ อบต. ผาสิงห์นั้นตั้งอยู่ใน หมู่บ้านผาตูบใกล้ ๆ กับวนอุทยานถ�้ำผาตูบ ส่วนบ้าน ผาสิงห์และดอยผาสิงห์อยู่เลยออกไป

13


14

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

‘บ้ า นผาตู บ ผาสิ ง ห์ ’ เป็ น ชื่ อ เรี ย กขานชุ ม ชน ถิ่นแถบนี้ตามลักษณะภูเขาที่ตั้งเด่นเป็นสง่า ผาตูบ หมายถึงผาที่เอียง ส่วนผาสิงห์เรียกตามรูปร่างที่ดู คล้ายสิงห์ เชื่อกันว่าที่นี่เป็นชุมชนดั้งเดิม จากค�ำเล่า ขานของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ว่า ใครจะเข้าไปค้าขายในเมือง ต้องผ่านเส้นทางนี้ ทั้งเมืองปัว บ่อเกลือ ท่าวังผา ถ้า หาบข้าวไปขายก็ตอ้ งแวะพักค้างคืนทีบ่ า้ นห้วยส้มป่อย เสียก่อน ตอนเช้าจึงค่อยออกเดินทางเข้าเมือง จาก หมูบ่ า้ นเล็ก ๆ หลายหมูบ่ า้ นทีก่ ระจายตัวเลียบเส้นทาง ดั ง กล่ า วรวมกั น เข้ า เป็ น ต� ำ บลผาสิ ง ห์ ในสมั ย ของ พ่อก�ำนันอินปั๋น พันอินธิ ช่วงปี พ.ศ. 2475 มีหลักฐาน บันทึกว่าบ้านผาตูบมีผู้อยู่อาศัย 40 กว่าหลังคาเรือน น้อยกว่าปัจจุบนั ถึงสิบเท่า การระเบิดภูเขาหินเพือ่ สร้าง ถนนท�ำให้ตำ� บลผาสิงห์ขยายตัว ประชากรเพิม่ มากขึน้ ใน พ.ศ. 2539 สภาต�ำบลผาสิงห์ก็ได้รับการยกฐานะ เป็นองค์การบริหารส่วนต�ำบลผาสิงห์ พื้นที่ 87 ตารางกิโลเมตรขององค์การบริหาร ส่วนต�ำบลผาสิงห์ครอบคลุม 9 หมู่บ้าน มี 5 หมู่บ้าน อยู ่ ร ่ ว มในเขตเทศบาลเมื อ ง ได้ แ ก่ บ้ า นทุ ่ ง เศรษฐี บ้ า นมงคลนิ มิ ต ร บ้ า นดอนสวรรค์ บ้ า นสวนหอม และบ้ า นฟ้ า ใหม่ ส่ ว นอี ก 4 หมู ่ บ ้ า นอยู ่ ใ นเขต องค์การบริหารส่วนต�ำบลผาสิงห์ กล่าวคือ บ้านผาสิงห์


ขวัญเรียม จิตอารีย์

บ้านห้วยส้มป่อย บ้านผาตูบ หมู่ 1 และหมู่ 7 ท�ำให้ ต�ำบลผาสิงห์มีลักษณะชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท อาชีพ และวิถชี วี ติ ของผูค้ นทีน่ จี่ งึ แตกต่างกันออกไป ทัง้ ค้าขาย รับจ้าง รับราชการ เปิดบ้านเช่า หอพัก และเกษตรกรรม เป็นต้น แม้จะอยูใ่ นเขตเทศบาล ชาวบ้านส่วนหนึง่ ก็ยงั คงท�ำการเกษตร เช่น ท�ำนา ปลูกผัก และเลีย้ งสัตว์ ส่วน หมู่บ้านในเขต อบต. ผาสิงห์ ส่วนใหญ่จะท�ำสวนผลไม้ เช่น ฝรั่ง มะม่วง ล�ำไย ตลอดจนพืชไร่ที่ปลูกกันอย่าง กว้างขวาง ทีก่ นิ พืน้ ทีก่ ว้างขึน้ ทุกวันคงหนีไม่พน้ ข้าวโพด นอกจากนี้ยังมีสวนยางพาราซึ่งอีกไม่กี่ปีคงโตพอให้ เจ้าของสวนกรีดได้

15


แหล่งเรียนรู้ต�ำบลผาสิงห์ ทางหลวงหมายเลข 1080 ไป อ.ปัว- อ.ท่าวังผา ต�ำบลบ่อ

ต�ำบลสะเนียน

3

10 14

บ้านผาสิงห์ ม.4

13

4

2

6 5 24 9 25 18

วนอุทยานถ�้ำผาตูบ

23 12

1

7

ต�ำบลเมืองจัง

ดอยผาสิงห์

20 บ้านผาตูบ ม.7 บ้านผาตูบ ม.1

8 17

บ้านห้วยส้มป่อย ม.2

บ้านทุ่งเศรษฐี ม.5 บ้านมงคลนิมิตร ม.6 ต�ำบลถืมตอง

บ้านดอนสวรรค์ ม.8

22

19

บ้านสวนหอม ม.3

15 16 21 11 ต�ำบลไชยสถาน

บ้านฟ้าใหม่ ม.9

26

เทศบาลเมืองน่าน


1 การช่วยเหลือฉุกเฉิน 2 การบริหารจัดการเพื่อสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม 3 กลุ่มออมทรัพย์สัจจะหมู่ 4 4 กลุ่มออมทรัพย์สัจจะหมู่ 7 5 กลุ่มกองทุนสวัสดิการชุมชนวันละบาท ต�ำบลผาสิงห์ 6 กลุ่มการเรียนรู้ตามอัธยาศัย (กศน.) 7 สุนทรียภาพกายจิตสู่เศรษฐกิจพอเพียง 8 สุขภาวะเพื่อการเรียนรู้ 9 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผาตูบ 10 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผาสิงห์ 11 กลุ่มเรียนรู้การท�ำก้อนเชื้อเห็ด 12 การสืบชะตาสะเดาะเคราะห์ 13 ประเพณีห้าเป็งขึ้นถ�้ำผาตูบ 14 หมอสู่ขวัญ 15 กลุ่มกลองยาว 16 กลุ่มคนปั๋น 17 กลุ่มท�ำไม้กวาดปลอดสารพิษ หมู่ 1 18 กลุ่มน�้ำยาอเนกประสงค์ หมู่ 7 19 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมูแดดเดียวและแคบหมู 20 กลุ่มอาชีพผู้สูงอายุ 21 กลุ่มผักปลอดสารพิษ หมู่ 3 22 กลุ่มแอโรบิกต�ำบลผาสิงห์ 23 สมุนไพรยาจู้ 24 กลุ่ม อสม. ต�ำบลผาสิงห์ 25 กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน 26 กลุ่มผักปลอดสารพิษ หมู่ 9


18

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

การจะท�ำความรู้จักต�ำบลผาสิงห์ชนิดล้วงลึก นัน้ ต้องอาศัยเจ้าของพืน้ ทีผ่ รู้ จู้ ริง ผูใ้ หญ่พรชัย ไชยตัน หรือพ่อหลวงชัย พ่อหลวงบ้านผาตูบ หมู่ 7 พาพวกเรา ย้อนไปไกลถึงเรื่องราวตั้งแต่ครั้งอดีตกาลนานชาติ “ก�ำบะเก่าเปิ้นเล่าว่า.......” (ค�ำโบราณเขาเล่าว่า) แค่ เปิดเรื่องก็น่าสนใจแล้ว ว่ากันว่า .... มีชายผู้หนึ่งเรียกกันว่า ปู่หละหึ่ง ก�ำลังไถคราดนาอยู่ เมื่อเจอก้อนหินก็เก็บใส่กระบุงไว้ พอไถนาเสร็จก็หาบกระบุงเดินทางมาที่นี่ ยิ่งเดินยิ่ง เหน็ดเหนือ่ ยเมือ่ ยล้า ปูห่ ละหึง่ รูส้ กึ ว่าหินทีห่ าบมาหนัก ขึน้ ทุกที ๆ ในทีส่ ดุ ตะแกก็หาบต่อไปไม่ไหว จึงทิง้ หินลง ก้อนหินเหล่านั้นเองที่กลายมาเป็นดอยผาตูบ ผาสิงห์ รวมทั้ ง ดอยเล็ ก ดอย น้ อ ยอื่ น ๆ รอบต� ำ บล ผาสิงห์จวบจนทุกวันนี้ “บ่ฮู้ว่าปู่หละหึ่ง จะตัวใหญ่ตัวหลวงสัก เท่าใดเนาะ” พ่อหลวง ชัยตั้งค�ำถามท้ายเรื่อง

พ่อหลวงชัย พรชัย ไชยตัน


ขวัญเรียม จิตอารีย์

เสน่ห์ของเรื่องเล่ายังอยู่ที่ภาคต่อซึ่งน่าติดตาม ไม่แพ้กัน พ่อหลวงชัยเล่าต่อไปว่า บางต�ำนานบอกว่า แท้ทจี่ ริงแล้วเป็นเพราะระหว่างเดินทาง ปูห่ ละหึง่ ดันไป ถามนกถัวหัวหงอกว่า “อีกไกลมัย้ กว่าจะถึงเมืองน่าน?” นกตัวนั้นมองปู่หละหึ่งที่ก�ำลังเหนื่อยล้าก่อนตอบว่า “ข้าบินมาจนหัวหงอกแล้วยังไปไม่ถึงเลย” ปู่หละหึ่ง มองดูขนสีขาวบนหัวนกพลันรูส้ กึ อ่อนอกอ่อนใจขึน้ มา จนทิง้ หินไว้ จากไปแต่ตวั ไม่มใี ครรูว้ า่ ปูห่ ละหึง่ เดินทาง ไปถึงไหน แต่รอ่ งรอยการเดินทางของเขาปรากฏให้เรา เห็นที่นี่ ส่วนผาตูบนัน้ มีเหตุทมี่ าจากนกหัสดีลงิ ค์ นกใน ต�ำนานสัตว์ปา่ หิมพานต์ซงึ่ ล�ำตัวเป็นนก แต่สว่ นหัวเป็น ช้าง มีพละก�ำลังมากเท่ากับช้างห้าเชือก นกหัสดีลิงค์ ตัวนี้ได้บินมาเกาะยังภูเขาลูกหนึ่ง น�้ำหนักมหาศาล ของมันท�ำให้เขาลูกนัน้ ค่อย ๆ เอียงหรือตูบลงมากลาย เป็นดอยผาตูบนั่นเอง เราฟังพ่อหลวงชัยเพลิน ๆ จนชักอยากไปดูของ จริงให้เห็นกับตา แต่วา่ ต้องรอไกด์นำ� เทีย่ วของเราสอบ เสร็จเสียก่อน

19



ขวัญเรียม จิตอารีย์

๒ มัคคุเทศก์น้อยพาเที่ยว

มัคคุเทศก์น�ำเที่ยวที่พวกเรารอคอยไม่ใช่เจ้า หน้าที่หรือชาวบ้านที่เป็นผู้ใหญ่ ‘น้องมิ้น’ ด.ญ.นริศรา ปาลาว นักเรียนชัน้ ม.2 โรงเรียนบ้านผาตูบ คือไกด์นอ้ ย ที่จะพาเราเที่ยวถ�้ำผาตูบ น้องมิ้นบอกว่าอีกสองวันจะ ปิดเทอมแล้ว เพื่อนไกด์ที่เหลือก�ำลังขะมักเขม้นท�ำ ข้อสอบอยู่ที่โรงเรียน เดินจากที่ท�ำการ อบต. ผาสิงห์ออกไปไม่กี่สิบ เมตรก็ถึงเขตวนอุทยานถ�้ำผาตูบ น้องมิ้นบอกว่าปกติ จะมาถ�้ำกันทุกเสาร์อาทิตย์ ถ้ามีนักท่องเที่ยวก็จะช่วย เป็นไกด์แนะน�ำ แต่ถา้ ไม่มกี เ็ อากีตาร์ขนึ้ ไปร้องเพลงกัน ที่จุดชมวิว เราก้าวตามน้องมิ้นขึ้นไปบนเส้นทางลาด ชัน อากาศค่อย ๆ เย็นลงตามความหนาแน่นของป่าไม้

21


ระหว่างเดิน น้องมิ้นเล่าถึง ‘กลุ ่ ม มั ค คุ เ ทศก์ น ้ อ ย’ ว่ า เริ่ ม ต้ น จากการที่ เ ธอและ เพื่อน ๆ ชอบขึ้นไปเที่ยวเล่นที่ถ�้ำ เป็นประจ�ำและอาสาเป็นมัคคุเทศก์โดย สมั ค รใจ เมื่ อ คุ ณ ครู ยุ ท ธพล ฟั ก มงคล ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนบ้านผาตูบทราบเข้าก็เห็นว่า เป็นกิจกรรมทีด่ ี จึงชวนเด็ก ๆ มาตัง้ กลุม่ มัคคุเทศก์นอ้ ย น�ำเที่ยวถ�้ำผาตูบ เพื่อให้เด็ก ๆ ที่เป็นไกด์ด้วยใจรักอยู่ แล้วและเด็กที่สนใจได้ฝึกเป็นไกด์น�ำเที่ยวอย่างเต็มตัว


ขวัญเรียม จิตอารีย์

“ได้ฝกึ พูดภาษาอังกฤษด้วยค่ะ ถ้าค�ำไหนพูดไม่ ได้กจ็ ะพูดภาษาไทย ไกด์ทมี่ ากับนักท่องเทีย่ วต่างชาติ จะช่วยสอนอีกที สนุกดีค่ะ” นอกจากจะได้ฝกึ ทักษะการพูดแล้ว เรือ่ งส�ำคัญ ที่ครูยุทธพลตั้งใจให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้คือประวัติศาสตร์ บ้านของตน เพราะเชื่อว่าจะท�ำให้รู้จักและรักบ้านเกิด มากขึ้น เด็ก ๆ มีผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านเป็นแหล่งข้อมูล ชั้ น ยอดอยู ่ แ ล้ ว โดยไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งสื บ ค้ น จากกู เ กิ้ ล ทุกวันนี้จึงไม่มีเด็กบ้านผาตูบคนไหนไม่รู้จักปู่หละหึ่ง กับก้อนหินมหึมาของเขา ปั จ จุ บั น กลุ ่ ม มั ค คุ เ ทศก์ น ้ อ ยมี ไ กด์ ป ระจ� ำ อยู ่ 5 คน เรี ย นตั้ ง แต่ ชั้ น ป.1 - ม.3 ทางกลุ ่ ม มี การประสานงานกับวนอุทยานถ�้ำผาตูบ มีการจัดท�ำป้ายประจ�ำตัวไกด์ จัดคิวใน การน�ำเทีย่ วโดยค่าตอบแทนจากนักท่อง เที่ยวจะหักเข้ากลุ่มร้อยละ 20 เพื่อเป็น ค่าใช้จา่ ยในการซือ้ ไฟฉาย หมวก หรื อ ของใช้ อื่ น ที่ จ� ำ เป็ น พวกเขาไม่ได้ตั้งราคาค่าจ้าง แต่ ด ้ ว ยความน่ า รั ก ช่ า งคุ ย ของ มัคคุเทศก์นอ้ ยแต่ละคน ค่าตอบแทน แต่ละครั้งถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียว น้องมิ้น นริศรา ปาลาว

23


เรามาถึงถ�้ำเจดีย์แก้วเป็นที่แรก บริเวณปากทาง เข้ามีบ่อหินซึ่งหากมองละเอียด ๆ จะพบว่าผิวของหิน ในบ่อมีรอยหยักเป็นคลื่นคล้ายน�้ำไหล ด้านในสุดมี หินก่อตัวเป็นรูปคล้ายเจดีย์ เราใช้เวลาอยู่ในถ�้ำเล็ก ๆ แห่งนี้ไม่นานนัก ก่อนย้อนสู่เส้นทางหลักมุ่งหน้าไป ถ�้ำพระอันมีหลืบผาลักษณะคล้ายถ�้ำเล็กถ�้ำน้อยเรียง รายตลอดทาง น้องมิ้นชี้ป้ายบอกทางไปถ�้ำเบี้ยซึ่งเรา ตั้งใจว่าจะแวะตอนขากลับ นับระยะทางจากที่ท�ำการ วนอุ ท ยานมาถึ ง ถ�้ ำพระเพียงแค่ 340 เมตรเท่านั้น แต่พอเดินจริง ๆ ก็เหนื่อยใช้ได้ ใจฉันนั้นอยู่ที่ถ�้ำบ่อน�้ำ ทิพย์ เสียดายตอนที่ไปยังไม่เปิดให้เข้า คนไม่คุ้นเคย กับป่ากับดอยคงต้องเดินนาน ไม่เหมือนคนที่นี่หรอก พ่อหลวงชัยปรามาสเราไว้อย่างนี้ แถมท้าให้มาพิสจู น์ อีกทีตอนงานประเพณีห้าเป็งขึ้นถ�้ำผาตูบ


ขวัญเรียม จิตอารีย์

งานนี้ถือเป็นงานส�ำคัญของชาวต�ำบลผาสิงห์ เลยทีเดียว จัดในช่วงขึ้น 15 ค�่ำของเดือน 5 เหนือ หรือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี มีการท�ำพิธี บวงสรวงสักการะเจ้าหลวงผาตูบทั้งสี่พระองค์ ได้แก่ เจ้าหลวงแสนสุภา เจ้าพระยาไชย เจ้าพระยาแก้ว และ เจ้ามหาอุปเสน โดยจัดติดต่อกันเป็นเวลาสามวัน สามคืน มีการออกร้านของแต่ละหมู่บ้านและกลุ่ม ต่าง ๆ การแสดงทางวัฒนธรรม การประกวดนางงอมนายงอมซึ่ ง เป็ น ผู ้ สู ง อายุ สุ ข ภาพจิ ต สุ ข ภาพกายดี การประกวดร้องเพลงพื้นบ้าน การแข่งตีกลองยาว ของเยาวชน จนถึงการแข่งถักตอก ผู้มาร่วมงานจึง ไม่ได้มีแค่ชาวต�ำบลผาสิงห์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง ชาวบ้านจากต�ำบลอื่นและอ�ำเภอใกล้เคียงเดินทางมา ร่วมงานบุญงานบันเทิง เลือกซือ้ สินค้าชุมชน และเทีย่ ว ชมถ�้ำไปในตัว โดยเฉพาะจุดชมวิวที่มองเห็นได้ทั้ง ต�ำบลผาสิงห์และตัวเมืองน่าน การเดิ น ขึ้ น ถ�้ ำ ในงานประเพณี ห ้ า เป็ ง ขึ้ น ถ�้ ำ ผาตูบนี้ ส่วนใหญ่มจี ดุ มุง่ หมายเพือ่ ขึน้ ไปไหว้พระทีถ่ ำ�้ พระและถ�้ำบ่อน�้ำทิพย์ ถ�้ำทั้งสองแห่งนี้มีพระพุทธรูป เก่าแก่ที่ชาวบ้านเคารพบูชาประดิษฐานอยู่ ถ�้ำบ่อน�้ำ ทิพย์ซงึ่ มีโถงกว้างราว 30 ตารางวานัน้ ใต้ชอ่ งลมทีท่ ะลุ จากยอดเขาอันมีหินย้อยระย้าอยู่นั้นมีพระพุทธรูปชื่อ

25


พระเจ้าทันใจประดิษฐานอยู่ แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเริ่ม มีมาตั้งแต่สมัยใด และยังมีบ่อน�้ำทิพย์ซึ่งเป็นบ่อน�้ำ รูปไข่ป้อมมีน�้ำปริ่มบ่อตลอดปี ชาวบ้านนับถือเป็น บ่อน�ำ้ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ว่ากันว่าในอดีตหากปีไหนเกิดภัยแล้ง พืชผักเหี่ยวเฉาเพราะไม่ได้น�้ำฝน ผู้ใหญ่บ้าน ก�ำนัน พระสงฆ์และศรัทธาญาติโยมต้องขึ้นไปท�ำพิธีขอน�้ำ จากเจ้าหลวงในถ�้ำบ่อน�้ำทิพย์ พระจะเทศน์เรื่องห้วย หนองบึงน�้ำ เรียกว่าธรรมปลากั้ง พอเทศน์จบก็ใช้ผ้า จีวรเก่าปัดฝุ่นที่เกาะอยู่ในบ่อหิน ฝุ่นฟุ้งขึ้นมาไม่ทัน จางหาย บ่ อ แห้ ง ๆ ก็ปรากฏน�้ำซึม ออกมาจนเต็ม เมื่อเดินกลับจากถ�้ำลงมายังไม่ทันถึงหมู่บ้าน เมฆฝน จะตั้งเค้าครึ้มไล่หลังมาทันที แรงศรัทธานี้เองท�ำให้ การเดินขึ้นดอยระยะทางเกือบ 2 กิโลเมตรกลายเป็น เรื่องไม่เกินก�ำลัง ผู้คนจากต่างที่หลายวัยจึงยังคง รวมกลุ่มกันเดินขึ้นถ�้ำผาตูบอย่างเนืองแน่นทุกปี


ขวัญเรียม จิตอารีย์

ส่วนถ�ำ้ พระนัน้ ว่ากันว่าเมือ่ พ.ศ. 2475 เจ้านาย ท่านหนึ่งชื่อขุนหลวงมนัสรบิลได้อัญเชิญพระพุทธรูป มาประดิษฐานไว้ในถ�้ำและจัดงานเฉลิมฉลองอยู่สาม วันสามคืน ผู้คนต่างพากันมากราบไหว้บูชา ถ�้ำแห่งนี้ จึงได้ชื่อว่าถ�้ำพระจนถึงวันนี้ พ่อหลวงชัยเล่าให้ฟัง ก่อนขึ้นมาว่าลูกหลานของขุนหลวงมนัสรบิลยังมา ไหว้พระท�ำบุญที่นี่แทบทุกปี “ใกล้ จ ะถึ ง ถ�้ ำ พระแล้ ว ค่ ะ อี ก นิ ด เดี ย วเอง” น้องมิ้นให้ก�ำลังใจ เราเดินมาถึงป้ายบอกทางที่ติด เรียงลงมาบนต้นไม้ใหญ่ ถ�้ำพระ ป่าหนองน่าน และ ถ�้ำบ่อน�้ำทิพย์ ป้ายล่างสุดมีลูกศรแยกไปทางซ้าย ร่องรอยทางเดินหายเข้าไปในหมู่ไม้ เราเดินเลาะไป ตามหินผาก้อนใหญ่ที่วางซ้อนสลับอย่างกับจับวาง เสียงนกร้องจิ๊บ ๆ รอบตัวพอช่วยคลายเหนื่อย เฟิร์น

27


ก้านด�ำเติบโตในซอกหิน ดอกไม้สีแดงชูช่อตัดสีเขียว ของป่า ขณะเสียงหมู่บ้านแว่วผ่านป่ามาจากเบื้องล่าง ทางเดินแคบเข้ามาและสิ้นสุดลงตรงโพรงหินที่เบียด บังกันคล้ายที่เล่นซ่อนหาของเด็ก ในที่สุดเราก็มาถึง ถ�้ำพระ ภาพแรกที่ฉันเห็นคือโพรงถ�้ำซึ่งเปิดออกเป็น หน้าผาแลดูคล้ายหน้าต่างบานใหญ่ มีพระพุทธรูปหนึง่ องค์ประดิษฐานอยูร่ มิ หน้าผาซึง่ ทางวนอุทยานอัญเชิญ มาไว้เมือ่ ไม่กปี่ มี านี้ เราเดินเข้าไปกลางโถงกว้างราว 50 ตารางวา แสงจากปล่องด้านบนสาดส่องลงมากระทบ หินงอกหินย้อยเกิดเงาซ้อนสลับน�ำสายตาไปสู่พระ ปฏิมาอีกองค์ซึ่งประดิษฐานอยู่ใต้เงาหินโค้งคลุมสงบ สงัดตัง้ แต่ครัง้ ขุนหลวงมนัสรบิลอัญเชิญมาไว้เมือ่ แปด สิบปีที่แล้ว


หลังจากไหว้พระเสร็จเรียบร้อย ก่อนออกจากถ�ำ้ น้องมิ้นไม่ลืมบอกให้เคาะระฆังที่ห้อยอยู่ริมผา 3 ครั้ง พร้อมกับอธิษฐานในใจ ยิ่งเสียงระฆังดังเท่าไหร่ ค�ำ อธิษฐานจะเป็นจริงมากเท่านั้น แต่ละคนจึงกระหน�่ำ เคาะกันแบบไม่ออมแรง ลมเย็นพัดลอดเข้ามา มอง ออกไปเห็นผืนป่าหนองน่านเขียวขจีอยูเ่ บือ้ งล่าง ฉันคิด อยากไปให้ถึงถ�้ำบ่อน�้ำทิพย์ แต่พ่อหลวงชัยเตือนไว้ว่า ถ้าไปตอนนี้คงต้องคล�ำทางลงมาเป็นแน่ ขากลับ ไกด์นอ้ ยพาเราแวะปากถ�ำ้ ตะเคียนซึง่ มี ไม้ตะเคียนต้นใหญ่อยู่ข้างใน เล่ากันว่าวันดีคืนดีจะมี คนเห็นผูห้ ญิงคนหนึง่ บริเวณนี้ พวกเราไม่อยากทักทาย แม่นางตะเคียนก็เลยรีบเผ่นลงมา ยังเหลือถ�้ำอีกแห่ง ที่เก็บไว้ชมตอนขาลงนั่นคือถ�้ำเบี้ย ฉันลองเข้าไปดู


แต่กลับมองไม่เห็นหินรูปเงินเบีย้ บนผนัง พวกเราลืมพก ไฟฉายมาเสียสนิท การเทีย่ วถ�ำ้ จะลืมอุปกรณ์สำ� คัญนี้ ไม่ได้เลย เรามาถึงทีท่ ำ� การวนอุทยานราวบ่ายสีโ่ มงกว่า ใช้เวลาเดินทางทัง้ หมดประมาณ 1 ชัว่ โมงครึง่ น้องมิน้ บอกว่าถ้าจะเที่ยวทุกถ�้ำต้องใช้เวลาสัก 1 วัน แต่ถ้าจะ ให้สนุกต้องมาตอนงานประเพณีห้าเป็งขึ้นถ�้ำผาตูบ ว่าแล้วมัคคุเทศก์น้อยก็เชิญชวนพวกเราล่วงหน้า


ก่อนกลับ พวกเราแวะไปกราบเจ้าหลวงผาตูบ ที่ ศ าลเจ้ า หลวงซึ่ ง ตั้ ง อยู ่ ใ นเขตที่ ท� ำ การวนอุ ท ยาน น้องมิน้ เล่าว่า คนต�ำบลผาสิงห์หากใครก�ำลังจะสอบเข้า เรียนต่อหรือเข้าท�ำงาน หรือมีเรื่องเดือดร้อนทุกข์ใจ ใด ๆ ก็จะมาบนบานศาลกล่าวที่นี่ จากนั้นเจ้าหลวงจะ ช่ ว ยปั ด เป่ า คลายทุ ก ข์ แ ละดลบั น ดาลให้ ส มความ ปรารถนา


32

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

ความเชือ่ และความศรัทธาต่อเจ้าหลวงผาตูบซึง่ สืบทอดมาหลายชั่วอายุคนคือสิ่งหนึ่งซึ่งช่วยบ่มเพาะ หล่อเลี้ยงชาวผาสิงห์ให้ด�ำรงตนอยู่ในวิถีอันดีงามมา โดยตลอด แม้วา่ ยุคสมัยจะเปลีย่ นแปลงไป ผืนป่าของ ที่นี่ยังอุดมสมบูรณ์เช่นเก่าก่อน ดอยป่าซางยังเป็น สถานทีห่ ย่อนใจของผูส้ มัครรักใคร่สตั ว์นกั สูต้ วั เล็ก เช่น ด้วงกว่าง ส่วนเลียงผาสัตว์ซึ่งชาวบ้านถือกันว่าเป็น สัตว์เลี้ยงของเจ้าหลวงนั้นยังคงหากินอยู่ในป่าดอย ผาตูบราวสิบกว่าตัวโดยไม่มีใครคิดล่า เนื่องจากเกรง ว่ า เมื่ อ ลั่ น ไกออกไปแล้ ว สั ต ว์ ที่ ล ้ ม ลงอาจกลายมา เป็นผู้ล่าโดยอ�ำนาจเร้นลับ ศรัทธาในเจ้าหลวงผาตูบ ท�ำให้กฎเกณฑ์ความเชื่อซึ่งไม่เคยถูกตราในรูปลักษณ์ ข้อห้ามหรือกฎหมายเหล่านี้ ได้รบั การยึดถือและปฏิบตั ิ สื บ ต่ อ มามิ ไ ด้ ข าด เชื่ อ กั น ว่ า คื น วั น เพ็ ญ ถ้ า ได้ ยิ น เสียงเลียงผาร้องดังมาจากดอยผาตูบ นั่นหมายถึง ค�ำตักเตือนของเจ้าหลวง อาจมีเหตุรา้ ยหรือการท�ำผิด ศีลธรรมของคนในพืน้ ที่ กิจบ้านการเมืองต่าง ๆ จึงต้อง มีการบอกกล่าวเจ้าหลวงทุกครั้ง ดอยผาตูบจึงมิใช่ แค่ภูเขาหินปูนจากก้อนหินของปู่หละหึ่งเท่านั้น แต่ เป็นทั้งศูนย์รวมจิตใจและแหล่งทรัพยากรของผู้คน แตกหน่อต่อยอดสูก่ ารสร้างสรรค์เรียนรูอ้ ย่างทีเ่ ราก�ำลัง จะค้นดูต่อไป




ขวัญเรียม จิตอารีย์

เมื่อดอกเห็ดบาน ความรู้ที่ไม่ใช่แค่จินตนาการ

บางครัง้ ความสนใจใคร่รใู้ นเรือ่ งใดเรือ่ งหนึง่ อาจ น�ำพาเราไปรูจ้ กั เรือ่ งราวดี ๆ อีกหลายเรือ่ ง ทีบ่ า้ นสวน หอม ชุมชนหนึ่งของต�ำบลผาสิงห์ เรื่องราวหนึ่งซึ่ง กระตุ้นความสนใจใคร่รู้ของเราได้รับการเปิดเผยโดย ชายผู้เคยเป็นคนต่างถิ่น ก่อนที่เวลาจะเปลี่ยนให้เขา กลายเป็นคนผาสิงห์ หลังจากนั้นบ้านของเขาก็ได้ กลายมาเป็นแหล่งเรียนรู้ส�ำคัญของต�ำบล “ถ้าอีกสองสามวันฝนจะตกจะรู้เลยทันที ดูได้ จากเห็ดทีแ่ ข่งกันแทงดอกออกมาให้เห็นเยอะกว่าปกติ เป็นอย่างนี้ทุกครั้งไม่เคยพลาด”

35


36

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

สุชาติ จิตต์บรรจง หรือพี่ชาติ เจ้าของบ้านเล่า เรือ่ งการพยากรณ์อากาศรูปแบบใหม่จากประสบการณ์ การเพาะเห็ดให้เราฟัง ก้อนเชื้อเห็ดในถุงตรงหน้า เห็ด นางฟ้าภูฏานก�ำลังแข่งกันบาน ชวนให้จินตนาการถึง ความกรอบนุ่มหอมหวาน เขาบอกเราว่าจะท�ำเห็ดออรินจิ เห็ดหอม เห็ด นางฟ้า เห็ดโคนน้อยหรือเห็ดอะไรก็ได้ทงั้ นัน้ ว่าแล้วก็ ฉีกเห็ดนางฟ้าภูฏานตรงกลางดอก ชี้ให้เราดูส่วนที่จะ เอาไปเพาะเป็นเชื้อ “ไม่ยาก ไม่ยากเลย คนที่มาหัดท�ำที่นี่ ทุกคน ท�ำได้หมด ออกไปท�ำก้อนเชื้อเห็ด ท�ำโรงเพาะเห็ดเก็บ เห็ดขายได้เลย” “ท�ำได้จริง ๆ เลยเหรอพี”่ ฉันถามอย่างลังเล เขา ยืนยันด้วยการระบุชื่อกลุ่มและชุมชนต่าง ๆ ที่เข้ามา เรียนรู้ แล้วกลับไปทดลองท�ำจนประสบผลส�ำเร็จ “ผมจะแนะน�ำผูท้ เี่ ข้ามาเรียนรูใ้ ห้เข้าใจได้งา่ ย ๆ ไม่ตอ้ งเสียเวลาลองผิดลองถูกเอง สูตรขีเ้ ลือ่ ยแบบไหน ให้ดอกเยอะดอกใหญ่ เก็บไว้ใช้ได้นาน อันไหนข้าม ขั้นตอนได้หรือมีวิธีการที่ดีกว่า ผมก็จะแนะน�ำ มันจะ ท�ำให้เริ่มต้นได้เร็วขึ้น” เริม่ ต้นด้วยการถ่ายทอดความรูอ้ ย่างเข้าใจง่าย พร้อมฝึกลงมือปฏิบัติเป็นสิ่งที่พี่ชาติให้ความส�ำคัญ


ขวัญเรียม จิตอารีย์

ที่สุด เพราะการเริ่มต้นถูกต้องหมายถึงความเสี่ยงที่ ลดน้อยลง ท�ำให้คนเพาะเห็ดมือใหม่มีความมั่นใจ มากขึ้น เมื่อดอกเห็ดบาน คนเพาะจะรู้ว่าเขาท�ำได้ และรู้ว่าควรท�ำอย่างไรต่อ แต่ส�ำหรับตัวผู้สอน การ เพาะเห็ดทีง่ า่ ยแสนง่ายในวันนีใ้ ห้ความรูส้ กึ ตรงกันข้าม เมื่อเทียบกับวันแรก ๆ ย้อนไปเมือ่ 15 ปีทแี่ ล้ว ความสนใจใคร่เลีย้ งนก กระทาพาชายคนหนึ่งเดินทางไปดูงานถึงอ�ำเภอวิเศษ ไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง ทว่าระหว่างนั้นเขาบังเอิญ เห็นคนแก่สองสามคนก�ำลังอัดขีเ้ ลือ่ ยลงในถุงพลาสติก โดยใช้มือและค้อนไม้ เมื่อไถ่ถามจึงรู้ว่าพวกเขาก�ำลัง อัดก้อนเชื้อเห็ดกันอยู่ ‘ขนาดคนแก่ยังท�ำได้’ เป็ น ความคิ ด ที่ ท� ำ ให้ สุ ช าติ สนใจการเพาะเห็ดขึ้นมา การ ถ่ายทอดความรูจ้ ากผูเ้ พาะเห็ด แบบครบวงจรเริม่ ต้นและจบ ลงภายในเวลา 2 ชั่วโมง เวลานัน้ สุชาติพยายามท�ำ ความเข้ า ใจก้ อ นเชื้ อ เห็ดและกระบวนการ เพาะเห็ดให้ได้มากทีส่ ดุ พี่ชาติ สุชาติ จิตต์บรรจง

37


เมื่อกลับมาถึงน่าน เขาก็เริ่มต้นเพาะเห็ดด้วย การท�ำก้อนเชื้อเห็ดก่อนเป็นอันดับแรก เขาใช้ขี้เลื่อย ไม้ เ นื้ อ อ่ อ นหมั ก กั บ ยู เ รี ย เพื่ อ ให้ เ กิ ด การย่ อ ยสลาย หมั่นกลับขี้เลื่อยไปมาทุกวันเพื่อป้องกันการเกิดก๊าซ แอมโมเนี ย ปกติ แ ล้ ว การเพาะเห็ ด จะใช้ ขี้ เ ลื่ อ ยไม้ ยางพาราซึ่งมีคุณภาพดีกว่า แต่ที่น่านต้องสั่งมาจาก จังหวัดระยองหรือนครศรีธรรมราช ปัญหาเรื่องต้นทุน และค่าขนส่งท�ำให้เขาต้องพลิกแพลงวิธกี ารต่าง ๆ และ ทดลองท�ำด้วยตนเอง ค่าจ้างแรงงาน พ.ศ. นั้นคือ วันละ 80 บาทต่อคน เมื่อท�ำเองทั้งหมดไม่ไหว สุชาติ ก็ยอมตัดใจจ้างแรงงานเพิม่ อีกสามคน ช่วยกันอัดก้อน เชื้อเห็ดได้คนละ 20 ก้อนต่อวัน และนึ่งก้อนเชื้อด้วย ถังสองร้อยลิตร 10 ถัง โรงเพาะเห็ดโรงแรกของเขาสามารถบรรจุก้อน เชื้อได้ถึงหนึ่งหมื่นกว่าถุง แต่สุชาติมองข้ามปัญหา เรือ่ งทีต่ อ้ งเปลีย่ นก้อนเชือ้ เห็ดพร้อมกันไป ในทีส่ ดุ หลัง


ขวัญเรียม จิตอารีย์

จากเรียนรู้และแก้ไขแล้ว เขาก็ปรับแยกเป็นโรงเล็ก บรรจุก้อนเชื้อเพียง 3,000 ถุงแทน นอกจากนั้นยังมี เห็ดนางรมดอกใหญ่เท่าจานข้าวที่เกิดจากการทดลอง ผสมกากถัว่ เหลืองลงในก้อนเชือ้ เห็ด ซึง่ ลูกค้าเข้าใจว่า เป็นเห็ดแก่จงึ ไม่ยอมซือ้ สุชาติคอ่ ย ๆ ปรับปรุงก้อนเชือ้ จนได้เห็ดทีถ่ กู ใจผูบ้ ริโภค โรงเพาะเห็ดเริม่ เข้าทีเ่ ข้าทาง ทุกอย่างก�ำลังไปได้ดี จนกระทัง่ ถึงหน้าร้อน ช่วงเวลา ทีเ่ ห็ดออกดอกน้อยทีส่ ดุ และต้องการการดูแลเอาใจใส่ อย่างถีถ่ ว้ นทัง้ เรือ่ งความชืน้ และสภาพอากาศ ก้อนเชือ้ เห็ดทั้ง 30,000 ก้อนของสุชาติกลับต้องมีอันเป็นไป กลายเป็นก้อนขี้เลื่อยยุ่ยเละอยู่ในมือคนเพาะ เกิด ความผิดพลาดบางอย่างขึ้น หากเขาถ่ายทอดความรู้ ชัดเจนพอ ลูกน้องคงไม่ปล่อยให้นำ�้ เข้าปากถุง เขาคง ไม่ต้องทิ้งก้อนเชื้อเห็ดทั้ง 30,000 ก้อนไปอย่างน่า เสียดายเช่นนั้น จากโรงเพาะเห็ดที่ว่างเปล่า สุชาติคิดที่จะลด ต้นทุนด้วยการว่าจ้างช่างมาท�ำเครื่องอัดก้อนเชื้อเห็ด โดยถอดแบบจากรูปภาพซึ่งเพื่อนเกษตรกรน�ำมาฝาก เครือ่ งอัดก้อนเชือ้ เห็ดนีส้ ามารถใช้การได้ แม้จะส่งเสียง

39


40

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

กึงกังอย่างกับมีรถไฟวิ่งในบ้าน ต่อมาเขาแก้ปัญหา โดยเปลี่ยนมาใช้ลูกปืนขับเคลื่อนกลไก เครื่องจึงเดิน ราบรื่นขึ้น เมื่อบ้านกลับสู่ความเงียบสงบ อุปกรณ์ ล�ำดับต่อมาที่ต้องปรับคือถังนึ่ง เดิมถังสองร้อยลิตรที่ ใช้อยูน่ นั้ จุกอ้ นเชือ้ เห็ดได้เพียง 100 ก้อน ต้องนึง่ พร้อม กันถึง 10 ถัง การขนถ่ายฟืนและควบคุมไฟ 10 เตา เป็นเรื่องยากล�ำบากเกินกว่าจะท�ำตามล�ำพัง ต่อมา การเรียนรู้เพิ่มจากกลุ่มผู้เพาะเห็ดจังหวัดแพร่ก็ท�ำให้ เขาได้แนวคิดดัดแปลงแท็งก์น�้ำทรงสี่เหลี่ยมมาเป็น ถังนึ่งที่มีความจุถึง 700 ก้อนต่อถัง

หลังจากแก้ปญ ั หาเรือ่ งถังนึง่ เสร็จเรียบร้อยยังมี ปัญหาเกี่ยวกับเตาให้ขบคิดต่อ ท�ำอย่างไรไฟจึงจะลุก สม�่ำเสมอ หลังจากใคร่ครวญอยู่นาน วันหนึ่งสุชาติก็ ตัดสินใจขับมอเตอร์ไซค์ออกจากน่านตั้งแต่ 8 โมงเช้า


ขวัญเรียม จิตอารีย์

เพือ่ ค้นหาค�ำตอบ เขากลับมาบ้านในเวลา 3 ทุม่ พร้อม กับแบบเตาน�้ำมันขี้โล้หรือน�้ำมันเตาจากอ�ำเภอลอง จังหวัดแพร่ ซึ่งให้ไฟแรงกว่า ไม่ต้องเสียเวลาคุมฟืน อีกต่อไป สุชาติเริ่มขายอุปกรณ์การเพาะเห็ดตลอด กระบวนการ แต่กลับมีผู้ซื้อน้อยราย ค่าใช้จ่ายพุ่ง พรวดขึ้นจากการสร้างเตา ทุนและแรงที่ลงไปจึงแทบ จะสูญเปล่า เขาตัดสินใจอย่างเด็ดขาดว่าต้องเลิกเพาะ เห็ด แม้ว่าจะทุ่มเทเวลาทั้งหมดไปนานถึงห้าปีก็ตาม

สุ ช าติ พ าครอบครั ว เดิ น ทางเข้ า กรุ ง เทพฯ ภูมิล�ำเนาเดิมใน พ.ศ. 2546 ไม่น่าเชื่อว่าเมืองใหญ่ แห่งนี้กลับพาเขาคืนสู่การเพาะเห็ดที่คุ้นเคยอีกครั้ง เขาได้ท�ำงานในโครงการของสภากรุงเทพมหานคร ในฐานะวิ ท ยากรสอนเรื่ อ งเห็ ด ฟางแก่ ผู ้ ส นใจใน วันหยุดเสาร์อาทิตย์ การศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ท�ำให้ความรู้เรื่องการเพาะเห็ดของ

41


42

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

สุชาติเพิ่มพูนขึ้น ระหว่างชีวิตด�ำเนินไปในเมืองใหญ่ นัน้ สุชาติมองดูลกู ๆ ทีเ่ ติบโตขึน้ ท่ามกลางสังคมเมือง อันสับสนวุ่นวาย ห้วงยามนั้นเองที่สุชาติหวนคิดถึง ชีวิตสงบสุข ณ เมืองน่าน และวันข้างหน้าของลูก ทั้งสอง ในที่สุดเขาจึงตัดสินใจกลับมาเริ่มต้นใหม่ที่ น่านอีกครั้งใน พ.ศ. 2550 การเริ่ ม ต้ น ครั้ ง นี้ มิ ใ ช่ ก ารเริ่ ม จากศู น ย์ ทว่ า เป็นการต่อยอดจากรากฐานเดิมบวกกับความร่วมมือ ของคนในชุ ม ชน หลั ง จากสุ ช าติ เ สนอแนวคิ ด เรื่ อ ง โรงเพาะเห็ดก็มีชาวบ้านบ้านสวนหอมจ�ำนวนไม่น้อย สนใจร่วมทุน จากเงินต้นเพียง 2,000 บาท สามารถ สร้างโรงเพาะเห็ดขนาด 3,000 ก้อนทีท่ กุ คนเป็นเจ้าของ


ขวัญเรียม จิตอารีย์

สุชาติเป็นหัวเรือใหญ่ รับหน้าที่ถ่ายทอดความรู้แก่ เพื่อนสมาชิก เมื่อดอกเห็ดบาน ข่าวคราวของกลุ่ม เพาะเห็ ด บ้ า นสวนหอมก็ เ ป็ น ที่ รั บ รู ้ ไ ปทั่ ว มี ก ลุ ่ ม ชาวบ้านรวมทัง้ หน่วยงานทัง้ ในอ�ำเภอเมืองและอ�ำเภอ รอบนอกสนใจเข้ามาเรียนรู้ การถ่ายทอดความรู้ของ สุชาติค่อย ๆ ขยายออกไปทั้งในและนอกพื้นที่ ขณะ เดียวกันสมาชิกก็มีการขยายผล กลับไปเพาะเห็ดที่ บ้านของตน สร้างรายได้ในระดับครัวเรือนอีกทาง “ตอนนี้กลุ่มเริ่มขยาย สมาชิกที่ท�ำเป็นแล้วต่าง แยกย้ายออกไปท�ำเอง ผมขายอุปกรณ์ในการท�ำเห็ด ให้ กั บ ผู ้ ส นใจด้วย สรุป แล้วเรารู้จักคนท�ำเห็ดแทบ ทั้งหมดในจังหวัดน่าน มีอะไรก็ปรึกษาบอกเล่าให้กัน ฟัง ช่วยแนะน�ำตลาด หรือใครท�ำก้อนเชือ้ ส่งขายไม่ทนั ก็ให้กลุ่มอื่นช่วย ใครท�ำแล้วไม่มีที่ลงก็มาบอกกัน”

43


“หลายปีกอ่ นผมได้มโี อกาสเข้าไปสอนการเพาะ เห็ดในเรือนจ�ำ ทุกวันจะมีนักเรียน 4 คนจากเรือนจ�ำ ออกมานึ่งก้อนเชื้อเห็ดที่นี่ ใช้เวลาตั้งแต่ 8 โมงถึง 10 โมง หมุ น เวี ย นกั น มาจนจบคอร์ส เดี๋ยวนี้หลายคน ออกมาท�ำก้อนเชื้อเห็ดขาย เพาะเห็ดขาย ยังโทรฯ มา ทักทาย โทรฯ มาปรึกษาอยู่บ่อย ๆ เขาสามารถท�ำเป็น อาชีพได้ ขอแค่ให้รู้ว่าท�ำยังไง รู้แล้วทุกคนท�ำได้หมด ไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งยากเหมื อ นที่ เ ราคิ ด เอาเอง” สุ ช าติ เ ล่ า ประสบการณ์ถ่ายทอดครั้งพิเศษให้พวกเราฟัง นอกจากเป็นแหล่งเรียนรูแ้ ล้ว ทีน่ ยี่ งั เป็นพืน้ ที่ กระจายรายได้ ใ ห้ กั บ ผู ้ สู ง อายุ แ ละเยาวชนซึ่ ง ใช้ เวลาว่างเข้ามาช่วยผลิตก้อนเชื้อเห็ด เห็ดในฟาร์ม ‘ส. จิตต์บรรจง’ แห่งนี้ถูกส่งไปร่วมโครงการอาหาร กลางวันของโรงเรียนในอ�ำ เภอบ่อเกลือและอ�ำเภอ


ขวัญเรียม จิตอารีย์

เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ผ่านการสนับสนุนของ ส�ำนักงานจัดหางานจังหวัดน่านอีกด้วย “อยากได้เงินก้อนหรืออยากได้เงินทุกวัน” พีช่ าติ ตั้งค�ำถามกับพวกเรา “ถ้าอยากได้เงินก้อนก็ท�ำก้อนเชื้อเห็ดขาย 1 ก้อนราคา 7 บาท วันหนึ่งท�ำ 300 ก้อน ครึ่งหนึ่งเป็น ก�ำไร อีกครึ่งหนึ่งเป็นทุน ถ้าอยากได้เงินทุกวันก็เก็บ เห็ดขายกิโลฯ ละ 60 บาท ไปตลาดแป๊บเดียวเดีย๋ วหมด แล้ว”

“เป็นความรู้ที่ไม่ต้องสร้างจินตนาการ ถ้าเรารู้เราก็ท�ำได้”

ค�ำพูดทิง้ ท้ายของพีช่ าติยนื ยันเรือ่ งการถ่ายทอด ความรู้ซึ่งปฏิบัติได้จริง ไม่เพียงช่วยสร้างอาชีพ แต่ยัง สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ตลอดจนส่งต่อ ความรูน้ นั้ ไปยังคนกลุม่ ต่าง ๆ ในสังคม พืน้ ทีเ่ รียนรูแ้ ห่ง นี้จึงเป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ อีกทั้งสามารถ ที่จะเป็นผู้สร้าง ‘แหล่งเรียนรู้’ ที่ดีเพื่อการสร้างสรรค์ ชุมชนที่เป็นสุขร่วมกันดุจดังที่สุชาติได้กระท�ำมาแล้ว

45



ขวัญเรียม จิตอารีย์

๔ ฟ้าใหม่ในวันที่ไร้สารพิษ

ถ้าย้อนเวลาไปเมื่อ 40 ปีที่แล้ว คงประหลาด หากมีใครคิดตั้งกลุ่มผักปลอดสารพิษหรือคิดเอามุ้ง ไปกางให้ผัก ด้วยคนสมัยก่อนรู้จักใช้แค่ปุ๋ยคอก แทบ ไม่รู้จักปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าแมลง ปัจจุบันความรู้เรื่อง การเลื อ กซื้ อ หรือ ล้างสารพิษออกจากผักกลายเป็น สิ่งจ�ำเป็น แต่ที่บ้านฟ้าใหม่ หมู่ 9 ต�ำบลผาสิงห์ แปลง ผักของเกษตรกรยังปลอดภัยเหมือนเมื่อ 40 ปีก่อน “ถ้าลูกร้องไห้งอแง พ่อจะขูไ่ ปเลยว่าถ้าร้องไห้อกี จะแกงผักกาดให้กินนะ เท่านั้นแหละเงียบเลย” พ่อสวัสดิ์ สมศักดิ์ หรือพ่ออุ๊ยหวัด เล่ามุขตลก ยืนยันความเป็นชุมชนคนปลูกผักมาแต่ดงั้ เดิม หลังบ้าน เห็นแปลงผักยาวสุดขอบรั้ว พ่อเฒ่าเล่าต่อว่า ลูก ๆ ที่ กลัวแกงผักกาดนักหนาร�่ำเรียนจนจบได้งานได้การ ท�ำเพราะผักพวกนี้ทั้งนั้น ชาวบ้านฟ้าใหม่และบ้าน

47


48

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

สวนหอมนัน้ ส่วนใหญ่มอี าชีพปลูกผักขาย บ้านฟ้าใหม่ เพิง่ แยกตัวจากบ้านสวนหอมเมือ่ พ.ศ. 2547 นีเ่ อง ทว่า วิถีชีวิตของคนสองหมู่บ้านก็ยังคงเดิม “น่าจะสักประมาณปี 20 – 21 ตอนนั้นไฟฟ้ายัง ไม่ เ ข้ า ตอนเย็ น เสี ย งเครื่ อ งสู บ น�้ ำ ที่ ใ ช้ น�้ ำ มั น จะดั ง กระหึ่ ม ไปทั้ ง หมู ่ บ ้ า นยั ง กั บ เฮลิ ค อปเตอร์ ล งทั้ ง ฝู ง ฝุ ่ น ละอองยาฆ่ า แมลงที่ แ ต่ ล ะบ้ า นพ่ น แปลงผั ก จะ ปลิวคลุ้งไปทั่ว เหม็นจนมึนหัว ตอนเย็นไม่ค่อยมีใคร อยากจะเข้ามาบ้านนีห้ รอก” ค�ำบอกเล่าของพ่ออุย๊ หวัด บ่งบอกความเปลี่ยนแปลงในวิถีเกษตรกรรม เมื่อใช้ยาฆ่าแมลงอย่างต่อเนื่อง บรรดาแมลง ศัตรูพชื กลับดือ้ ยา ชาวสวนต้องเพิม่ ยาให้หนักขึน้ ไปอีก พิษร้ายยิง่ รุนแรงกว่าเก่า ผืนดินเสือ่ มคุณภาพ ร่างกาย ผู้ปลูก คนในชุมชนกลายเป็นที่รองรับสารพิษ ราว พ.ศ. 2539 สาธารณสุ ข จั ง หวั ด ได้ เ ข้ า มาตรวจวั ด สารเคมีในร่างกาย พบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่มีสารพิษ ตกค้ า งอยู ่ เ กิ น กว่ า มาตรฐานก� ำ หนด พวกเขาเริ่ ม ตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมีที่เกิดกับตนเองและ คนในหมู่บ้าน รวมถึงที่ส่งต่อไปยังผู้บริโภคทั้งในเขต อ� ำ เภอเมื อ งและอ� ำ เภอข้ า งเคี ย งผ่ า นพ่ อ ค้ า แม่ ค ้ า คนกลางทีเ่ ข้ามารับซือ้ ผักตัง้ แต่เช้ามืด ก่อนจะกระจาย สู่ร้านค้าในแต่ละหมู่บ้าน


ขวัญเรียม จิตอารีย์

เกษตรกรชาวสวนผักบ้านฟ้าใหม่เริ่มต้นแก้ ปัญหาด้วยการรวมกลุ่มทดลองปลูกผักปลอดสารพิษ ตามโครงการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แม้ว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะเป็นเรื่องยาก เพราะการเลิก สารเคมีและยาปราบศัตรูพืชท�ำให้ชาวสวนหวาดกลัว โรคพืชและแมลงศัตรูพชื ทีจ่ ะมาท�ำอันตรายผัก แต่พวก เขาก็ไม่ยอมใจอ่อนกลับไปท�ำเกษตรอันตรายแบบเก่า

พ่ออุ๊ยหวัด สวัสดิ์ สมศักดิ์

49


พ.ศ. 2542 สมาชิกกลุม่ ได้ไปเรียนรูก้ ารปลูกผัก กางมุ ้ ง ที่ อ� ำ เภอแม่ ริ ม จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ โดยการ สนั บ สนุ น ของกรมวิ ช าการเกษตร เมื่ อ กลั บ มาก็ ไ ด้ ทดลองปลูกผักกางมุ้งป้องกันแมลงศัตรูพืช และติดไฟ ล่อแมลงเพื่อก�ำจัดแมลงโดยไม่ต้องใช้สารเคมี พร้อม กับเข้าร่วมโครงการอยู่ดีมีสุขของต�ำบลผาสิงห์ ฝึก อบรมท�ำปุ๋ยอินทรีย์และน�้ำหมักชีวภาพ รวมไปถึงยา ก�ำจัดแมลงศัตรูพืชจากสมุนไพรในท้องถิ่น


ขวัญเรียม จิตอารีย์

“ตอนเป็นบ้านสวนหอมก็ลองท�ำยาฆ่าแมลงกัน ใช้กระเทียม พริก เหล้าขาว ใบสะเดา ใบข่า หญ้า สาบเสื อ และหญ้ า หนอนตาย เป็ น ครั้ ง แรกที่ ใ ช้ กลัวหนอนแมลงไม่ตาย เคยใช้แต่ยาฆ่าแมลงที่เป็น สารเคมี ยังไม่แน่ใจว่าจะได้ผล พ่นแล้วพ่นอีก พ่นไป เยอะมาก ทีนี้ตายจริง ตายหมดเลยทั้งหนอน แมลง ผัก” พ่ออุ๊ยหวัดเล่ากลั้วเสียงหัวเราะ ข้อสงสัยว่าน�้ำยาจากสมุนไพรจะมีคุณภาพใน การก�ำจัดแมลงได้เทียบเท่ากับน�้ำยาเคมีหรือไม่นั้น พิสจู น์ดว้ ยการทดลองจนรูแ้ จ้งเห็นจริงตาม ๆ กันไป ส่ง ผลให้ความเชือ่ มัน่ ในวิถเี กษตรธรรมชาติเพิม่ ขึน้ ทวีคณ ู เรื่องหนึ่งที่กลุ่มเกษตรปลอดสารบ้านฟ้าใหม่และบ้าน สวนหอมจ�ำได้ดคี อื ข่าวลือว่าพวกเขาดูดส้วมมารดผัก เนื่องจากผักที่พวกเขาปลูกนั้นต้นใหญ่ ใบกว้าง ก้าน อวบ น่ารับประทาน “เกษตรจั ง หวั ด ส่ ง เครื่ อ งโม่ ม าให้ หอยเชอรี่ มีเยอะ ช่วยกันเก็บ ช่วยกันขนใส่รถ ทั้งโม่ทั้งหมัก ต้องช่วยกันท�ำหลายคน ครบก�ำหนดก็แจกจ่ายน�ำ้ หมัก หอยเชอรี่ ใ ห้ ส มาชิ ก เอาไปรดผั ก จนเกิ ด มี ข ่ า วลื อ นี่แหละ” พ่ออุ๊ยหวัดเล่าพร้อมรอยยิ้ม

51


52

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

การท�ำน�้ำหมักชีวภาพเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ กลุ ่ ม ปลู ก ผั ก ปลอดสารพิ ษ ท� ำ กั น มาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง หลังจากแยกเป็นบ้านฟ้าใหม่ ทางกลุ่มได้เข้าร่วม โครงการพั ฒ นาศั ก ยภาพหมู ่ บ ้ า นและชุ ม ชนหรื อ โครงการเอสเอ็มแอล (SML) ใน พ.ศ. 2551 และได้รับ งบประมาณ 40,000 บาท ส�ำหรับท�ำน�้ำหมักชีวภาพ น�้ำยาก�ำจัดแมลงศัตรูพืช และปุ๋ยหมัก แบ่งปันกัน ภายในกลุม่ โดยมีเกษตรต�ำบลผาสิงห์คอยให้คำ� แนะน�ำ ทั้ ง ยั ง มี ก องทุ น ให้ ส มาชิ ก กู ้ ยื ม ลงทุ น ท� ำ การเกษตร ด้วยระบบระเบียบที่บริหารจัดการกันอย่างเข้มแข็ง ท�ำให้กลุม่ ผักปลอดสารบ้านฟ้าใหม่ไม่ขาดแคลนปัจจัย การผลิตและพืชผักที่มีทั้งคุณภาพและความปลอดภัย เกษตรกรชาวสวนผักที่นี่จึงไม่จ�ำเป็นต้องขนผักไปขาย ที่ตลาดเหมือนเมื่อก่อน เพราะลูกค้ามารับซื้อถึงบ้าน ส่วนชาวชุมชนที่ไม่ได้เพาะปลูกก็สามารถซื้อหาผัก จากแปลงผักใกล้บา้ นด้วยความรูส้ กึ มัน่ ใจว่าปลอดภัย แน่นอน ทุกวันนีก้ ลุม่ ผักปลอดสารบ้านฟ้าใหม่มไิ ด้หยุด อยู ่ กั บ ที่ ประสบการณ์ จ ากอดี ต และองค์ ค วามรู ้ ที่ เพิ่มพูนช่วยให้พวกเขามองไกลถึงวิถีเกษตรในวันข้าง หน้า ไม่ไกลจากบ้านพ่ออุ๊ยหวัดคือโรงเลี้ยงไก่ ลาน บ้านหลังถัดไป สมาชิกหลายคนก�ำลังผสมขี้เลื่อยอัด


ก้อนเชื้อเห็ดกันอยู่ บริเวณเดียวกันมีโรงเพาะเห็ดที่ยัง มีดอกเห็ดหลงเหลืออยู่ภายใน พ่ออุ๊ยหวัดแจงว่าทาง กลุ่มก�ำลังริเริ่มท�ำการเกษตรปลอดสารแบบครบวงจร เริ่มต้นทีละเล็กละน้อย ไม่นานก็คงเห็นผล ฉันถามว่า พ่ออุ๊ยกะเวลาเกษียณตัวเองจากแปลงผักตอนอายุ เท่าไหร่ พ่อเฒ่าวัย 68 ตอบโดยไม่ต้องเสียเวลาคิดว่า ปลูกไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะไม่มีแรง ทุกวันนี้แค่คนบ้าน เราบอกว่ากินผักที่ไหนก็ไม่ไว้ใจเท่าผักที่ปลูกในบ้าน เราเอง คนปลูกก็มีความสุขแล้ว ภาวะความสุขของ คนแต่ละที่ละแห่งอาจแตกต่างกันไป แต่ส�ำหรับชาว ฟ้าใหม่ ครัวที่หล่อเลี้ยงพวกเขาด้วยอาหารปลอดภัย และน�้ ำ ใจที่ ห ยิ บ ยื่ น ให้ กั น ไม่ ข าดนั้ น เพี ย งพอแล้ ว ส�ำหรับสิ่งที่เรียกว่าความสุข



ขวัญเรียม จิตอารีย์

‘คนปั๋น’ การแบ่งปันที่ไม่สิ้นสุด

‘ปั๋น’ เป็นค�ำในภาษาถิ่นเหนือ หมายถึงการ แบ่งปันเช่นเดียวกับค�ำว่า ‘ปัน’ ในภาษากลาง แม้ว่า ส�ำเนียงเสียงพูดจะผิดเพี้ยนกันไปบ้าง แต่การแบ่งปัน คือรากฐานวิถีไทย ไม่ว่าแห่งหนต�ำบลใด ‘กลุ่มคนปั๋น’ เป็นชื่อที่ชาวสวนหอมเรียกขาน ผู้คนซึ่งแวะเวียนมาที่วัด นานวันเข้า ค�ำค�ำนี้ก็กลาย มาเป็นค�ำพูดติดปาก ใครที่เข้าวัดมาท�ำกิจกรรมต่าง ๆ หรือปรึกษาหารือกิจการงานวัดและหมู่บ้านก็จะถูก เรียกว่าคนปัน๋ วันนีค้ นปัน๋ เติบโตเป็นกลุม่ ชุมชนเข้มแข็ง รวมเอาคนหลากกลุม่ หลายวัยเข้าด้วยกัน ชาวสวนหอม ทุกคนจึงล้วนได้ชื่อเป็นคนปั๋นด้วยกันทั้งสิ้น

55


56

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

พระอธิ ก ารศราวุ ฒิ สุ ข วั ฒ โน เจ้ า อาวาสวั ด สวนหอม หมู ่ ที่ 3 ผู ้ มี ส ่ ว นส� ำ คั ญ ในการก่ อ ตั้ ง และ หนุ น เสริ ม กลุ ่ ม คนปั ๋ น มาตั้ ง แต่ แ รกกล่ า วถึ ง ที่ ม า ของกลุ่มว่า “ค่อย ๆ เริ่มกันมา 4-5 ปีแล้ว ไม่ได้มีรูปแบบ ตายตัว แล้วแต่ว่าใครอยากท�ำอะไร คนปั๋นก็เลยมีคน หลายวัย ทั้งคนเฒ่าคนแก่ แม่บ้าน พ่อบ้าน เด็กบ้าง วัยรุ่นบ้าง ที่เข้ามาวัดเพราะอยากท�ำอะไรร่วมกัน” ด้วยความทีว่ ดั สวนหอมเป็นพืน้ ทีศ่ นู ย์กลางของ คนในชุมชน นอกจากการเข้าวัดฟังธรรมของผูเ้ ฒ่าผูแ้ ก่ และพ่ อ บ้ านแม่ เรื อ นในวันพระแล้ว การเข้าวัด ของ ชาวสวนหอมยั ง รวมไปถึ ง การประชุ ม ปรึ ก ษาหารื อ การงานต่าง ๆ ของหมู่บ้าน ตลอดจนการเข้ามาฝึกหัด ฝึกฝนงานช่างแขนงต่าง ๆ เช่น ช่างแกะสลัก ช่างจัดดอกไม้ บายศรี หมอสู่ขวัญ หรือเรียกขวั ญ ช่ า งตั ด ตุ ง ต้ อ งดอก (ฉลุ ล ายกระดาษ) ช่ า งฟ้ อ น และกลุ ่ ม กลองยาว เป็ น ต้ น ศรั ท ธาวั ด สวนหอมในนาม กลุ่มคนปั๋นจึงเป็นการรวมช่าง พุทธศิลป์และพื้นถิ่นมากฝีมือ พระอธิการศราวุฒิ สุขวัฒโน


ขวัญเรียม จิตอารีย์

เจ้าอาวาสวัดสวนหอมวางมือจากงานแกะสลัก พระพุ ท ธรู ป ไม้ หยิ บ กระดาษสาสี ข าวฉลุ ล วดลาย งามงดออกมาบอกเราว่านี่คือศิลปะการต้องดอก คือ การฉลุ ล วดลายลงบนกระดาษ ใช้ส�ำหรับ ประดับ ตกแต่งในงานพิธตี า่ ง ๆ หนึง่ ในการเรียนรูเ้ ชิงพุทธศิลป์ ของกลุ่มคนปั๋น

ย้อนกลับไปเมื่อ พ.ศ. 2549 ปีนั้น โครงการ ฝึ ก สอนงานช่ า งพุ ท ธศิ ล ป์ ไ ด้ จั ด ฝึ ก อบรมโดยการ สนั บ สนุ น จากองค์ ก ารศึ ก ษาวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก (UNESCO) พระอธิการศราวุฒิได้เข้าร่วมเรียนรู้ตั้งแต่การตัดตุง ต้ อ งดอก การแกะสลั ก ไปจนถึ ง การลงรั ก ปิ ด ทอง หลังจากการฝึกอบรมเสร็จสิน้ ท่านก็นำ� มาถ่ายทอดให้ แก่กลุม่ แม่บา้ น เนือ่ งจากเป็นกลุม่ ทีป่ ระดิษฐ์งานศิลป์ ส�ำหรับใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ของวัดอยู่เดิม

57


58

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

การฝึ ก ฝนอย่ า งจริ ง จั ง ท� ำ ให้ ฝ ี มื อ การตั ด ตุ ง และต้องดอกของกลุ่มแม่บ้านพัฒนาขึ้นจนมีชื่อเสียง เป็นทีร่ จู้ กั มีการติดต่อจ้างงานจนเกิดเป็นรายได้ให้กบั กลุ่ม ต่อมาชาวบ้านที่มีความรู้ความช�ำนาญในงาน ช่างแขนงต่าง ๆ เช่น ช่างแกะสลักหัวเรือ ช่างท�ำดอกไม้ บายศรี หมอสู่ขวัญ ช่างฟ้อน เป็นต้น ได้เข้ามาร่วม กิจกรรมที่วัดสวนหอม การได้พบปะพูดคุย ช่วยเหลือ งานต่าง ๆ ของวัดและหมู่บ้านร่วมกัน ส่งผลให้ความ สัมพันธ์ของคนในชุมชนแนบแน่นขึ้น งานช่างฝีมือเก่า แก่ที่เคยถูกละเลยก็ได้รับการฟื้นฟู วัดกลายมาเป็น พื้นที่ร่วม เป็นจุดศูนย์รวมของทุกคน ‘กลุ่มคนปั๋น’ ก่อ ตั้งขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะใน พ.ศ. 2550 นั่นเอง เด็กและเยาวชนคือสมาชิกชุมชนที่กลุ่มคนปั๋น ให้ความส�ำคัญ ด้วยเห็นร่วมกันว่าเป็นวัยทีเ่ สีย่ ง ผูใ้ หญ่ สามารถป้องกันด้วยการชีน้ ำ� พวกเขาเข้ามาสูเ่ ส้นทางที่ ถูกต้อง กลุม่ กลองยาวของเยาวชนบ้านสวนหอมจึงเริม่ มีขึ้นในปีต่อมา กลองยาวที่เสื่อมสภาพจากการไม่ได้ใช้งานถูก น�ำมาซ่อมแซม ขึ้นหน้ากลองใหม่ เด็กชายหลายคน เข้ามาฝึกหัดตีกลองโดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้สอน เด็ก ๆ จะมาฝึ ก ซ้ อ มร่ ว มกั น ทุ ก เย็ น จนกลายเป็ น กิ จ วั ต ร นอกจากจะฝึกตีแล้วยังได้ฝึกซ่อมแซมกลองอีกด้วย


ขวัญเรียม จิตอารีย์

พระอธิการศราวุฒิกล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงของพ่อ แม่หลังจากเริ่มกิจกรรมว่า “พ่อแม่เห็นลูกเข้าวัดก็สบายใจ ถ้าลูกมาวัด พ่อแม่ก็จะมาด้วย จากที่เคยกลัวว่าเด็กจะไปติดเกม หรือไปมีเรื่องชกต่อยกับเด็กบ้านอื่น พ่อแม่ก็เบาใจ มีการมีงานในหมูบ่ า้ นเรา พลังมวลชนทีเ่ ข้ามาช่วยกัน ก็เพิ่มมากขึ้น” ภายในระยะเวลาไม่ถึงสองปี กลุ่มกลองยาวที่ ฝึกฝนกันมาอย่างต่อเนือ่ งก็ได้มโี อกาสเข้าร่วมแสดงใน กิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน เช่น งานทอดกฐิน งานสรง น�้ำพระธาตุ งานห้าเป็งขึ้นถ�้ำผาตูบและงานบุญต่าง ๆ

59


60

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

ต่ อ มาใน พ.ศ. 2553 ก็ ไ ด้ รั บ รางวั ล ชนะเลิ ศ จาก การแข่งขันตีกลองยาวประจ�ำปีที่วัดพระธาตุแช่แห้ง อ�ำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ท�ำให้เด็ก ๆ มีกำ� ลังใจยิง่ ขึน้ นอกจากฝึกตีกลองยาวแล้ว พวกเขา ยังได้ฝึกตีกลองปู่จา กลองล้านนา โบราณ ขณะที่หมู่บ้านอื่น การตี กลองปูจ่ าเป็นหน้าทีข่ องพ่อบ้าน หรื อ ผู ้ เ ฒ่ า ผู ้ แ ก่ แต่ ที่ นี่ ม อบ หมายให้ กั บ กลุ ่ ม เยาวชน ซึ่ ง เป็ น ความภาคภู มิ ใ จ ของบ้านสวนหอม ส่งผล ให้เด็ก ๆ หมั่นฝึกฝนจน สามารถชนะเลิ ศ การประกวด ตี ก ลองยาว ใน พ.ศ. 2555 อีกครั้ง


ขวัญเรียม จิตอารีย์

ปั จ จุ บั น กลุ ่ ม กลองยาวมี ส มาชิ ก 10 คน มี สามเณรร่วมฝึก 5 รูป สินน�้ำใจที่ได้รับจากการแสดง แต่ละครั้งนั้นสร้างรายได้แก่กลุ่มและสามารถแบ่งเป็น เงินกองกลางส�ำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในกิจกรรมต่าง ๆ รางวัลอาจเป็นเป้าหมายหนึ่งของความส�ำเร็จ แต่การฝึกฝนตนเองเป็นเป้าหมายทีพ่ ระอธิการศราวุฒิ เห็นว่าส�ำคัญยิ่งกว่า หัวเรือพญานาคขนาดเล็กแกะ สลักจากไม้บางอันฝีมือยังไม่ประณีตนัก แต่หากมอง ว่านี่เป็นผลงานของเยาวชนก็นับเป็นการเริ่มต้นที่ดี ท่านเจ้าอาวาสบอกเราว่า งานที่ต้องใช้ความประณีต จะท�ำให้เด็กรู้จักอดทน รู้คุณค่าของสิ่งที่ท�ำ หัวเรือ

61


62

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

ขนาดจิ๋วเหล่านี้หลังจากลงสีให้สวยงามแล้วสามารถ ต่อยอดเป็นสินค้าทีร่ ะลึก หรืออาจเป็นอาชีพเสริมให้กบั พวกเขาได้ในวันหน้า ขณะที่กลุ่มเยาวชนชายก�ำลังคึกคัก เยาวชน หญิงก็ไม่นอ้ ยหน้า กลุม่ แม่บา้ นได้ฝกึ หัดฟ้อนล่องน่าน แก่เด็กและเยาวชนหญิงจนสามารถออกงานได้ไม่แพ้ กลุม่ กลองยาว ช่างฝีมอื แขนงต่าง ๆ ก็พฒ ั นาฝีมอื ของ ตนและถ่ายทอดให้แก่ผู้สนใจอย่างต่อเนื่อง ลานวัด บ้านสวนหอมจึงไม่เคยเงียบเหงา ความร่วมมือร่วมใจ กันเช่นนี้ท�ำให้กลุ่มคนปั๋นได้รับการสนับสนุนทั้งจาก หน่วยงานท้องถิ่นและเอกชน เป็นพลังหนุนเสริมให้ กลุ่มสร้างสรรค์งานศิลป์และสานสัมพันธ์คนในชุมชน ให้เหนียวแน่นต่อไป


ขวัญเรียม จิตอารีย์

วั น นี้ ‘คนปั ๋ น ’ จึ ง ไม่ ใ ช่ แ ค่ ก ลุ ่ ม ชาวบ้ า นที่ สร้างสรรค์งานช่างพุทธศิลป์ ทว่าเป็นกลุ่มซึ่งแบ่งปัน พื้นที่และความหมายของการเป็นสมาชิกชุมชนแก่กัน เด็ ก และเยาวชนได้รับ การปกป้อ งจากปัญหานานา ประการด้วยศิลปะ การเปิดโอกาสและการยอมรับจาก ผู้ใหญ่ ขณะเดียวกันพวกเขาก็ได้เสริมสร้างพลังแก่ ลุงป้าน้าอาด้วยการสืบทอดศิลปวัฒนธรรม การเรียนรู้ ร่วมกันนี้เป็นหัวใจส�ำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างชุมชนที่ เข้มแข็งในทุก ๆ ด้าน ความเป็นคนปั๋นจึงถูกส่งต่อและ แบ่งปันกันไปไม่สิ้นสุด

63



ขวัญเรียม จิตอารีย์

สิบตาเห็น ไม่เท่ามือท�ำ จากดอกหญ้าสู่อาชีพ

หากกล่าวถึงเศรษฐกิจชุมชน หลายคนอาจนึก ถึงภาพร้านค้าในชุมชนกับสินค้าโอทอปแค่นั้น แต่อัน ที่จริงยังมีผู้คนที่ขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลัง ที่บ้านผาตูบ หมู่ 1 ระบบเศรษฐกิจชุมชนของทีน่ พี่ ฒ ั นาขึน้ มาได้ดว้ ย ต้นทุนส�ำคัญ นั่นคือ พลังผู้คนและทรัพยากรอันมีอยู่ ตามธรรมชาติ สาว ๆ โครงการสุขภาวะ มัคคุเทศก์น�ำทางและ พี่ต้อมรับหน้าที่สารถีพาฉันเลาะเลียบแนวรั้วซึ่งคลุม ด้วยเถาฟักทองอวดดอกสีเหลืองไปยังบ้านหลังหนึ่ง “ถ้าบอกป้าเร็วหน่อย ป้าจะแกงหน่อไม้รอ จะได้ กินข้าวด้วยกัน” ป้าบัวผิน ไชยยา เจ้าของบ้านต้อนรับ ด้วยรอยยิ้ม

65


66

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

“แกงหน่อไม้ใส่น�้ำปู๋เหมือนคราวที่แล้วเนาะป้า คิดแล้วยังอยากกินอยูเ่ ลย” ใครบางคนพูดขึน้ น�ำ้ ปูห๋ รือ น�้ำปูเป็นของคู่กับหน่อไม้ คนเมืองบอกว่ามันเป็นจู๊ (ชู้) กัน ป่าเขาอันอุดมแห่งดอยผาตูบท�ำให้คนที่นี่มี เมนูอาหารจากหน่อไม้ให้กนิ ตลอดฤดูฝน เราเปิดวงคุย เรื่องอาหารการกินพอหอมปากหอมคอ ก่อนจะเข้า เรื่องอาชีพที่ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนคนบ้านผาตูบ บริเวณบ้านป้าผินมีไม้กวาดพร้อมใช้งานติด ราคาด้ามละ 25 บาท รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ในการผลิต วางเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบ ดอกก๋งที่คัดแยกไว้และ ที่มัดเป็นแพวางอยู่บนชั้น ด้ามไม้กวาดมัดรวมกันใน ตะกร้า จักรอุตสาหกรรมหนึ่งหลังและเครื่องจักรที่ ยังไม่ทราบว่าใช้ท�ำอะไรอีกเครื่องตั้งอยู่ใกล้ ๆ ฉันมอง พลางนึกเดาขั้นตอนการท�ำไม้กวาดอยู่ในใจ หญิงวัยกลางคนอีกคนเดินมา ทราบภายหลัง ว่าชื่อป้าจ� ำเนียร สุทายศ ป้าสองคนเป็นพี่น้องกัน นั่นเอง และคือผู้ริเริ่มท�ำไม้กวาดเหล่านี้ กลุ่มอาชีพบ้านผาตูบแห่งนี้ก่อตั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2547 แล้ว เริ่มจากการท�ำไวน์กระชายด�ำก่อนแล้ว เปลี่ยนมาเป็นขนมขบเคี้ยว ต่อมามีความจ�ำเป็นต้อง ผลิตในระบบอุตสาหกรรมขนาดเล็กทีไ่ ด้มาตรฐาน ต้อง ใช้ เ งิ น ลงทุ น ถึ ง สองแสนบาท ท� ำ ให้ ก ลุ ่ ม ปิ ด ตั ว ลง ชั่วคราว


ต้นก๋ง มีชื่อสามัญว่า Bamboo Grass ชือ่ วิทยาศาสตร์คอื Thysanoleana maxima Kuntze วงศ์ POACEAE เป็นพืชจ�ำพวกหญ้า ล�ำต้นตรง คล้ายต้นไผ่ ใบมีรูปขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อ ที่ ป ลาย แตกกิ่ ง ย่ อ ย บนก้ า นดอกมั ก จะมี ด อก สองดอก มีผลเป็นเม็ดเล็ก ๆ ปลิวตามแรงลมได้ดี ต้นก๋งมีชอื่ เรียกหลายชือ่ เช่น ตองกง เค้ยหลา เลาแล้ง หญ้ากาบไผ่ใหญ่ หญ้าไม้กวาด และหญ้ายูง


68

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

“คนบ้านเราส่วนใหญ่ท�ำไร่ข้าวโพด จะให้เอา เงิ น มากมายขนาดนั้ น มาลงทุ น คงท� ำ ไม่ ไ ด้ กลุ ่ ม อาชี พ ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น แม่ บ ้ า นหรื อ ไม่ ก็ ผู ้ สู ง อายุ ที่ อ ยู ่ กับบ้านเฉย ๆ จะไปท�ำไร่ทำ� นาเหมือนคนหนุม่ ก็ไม่ไหว” ป้าบัวผินเล่าย้อนถึงปัญหาและอุปสรรคในครั้งนั้น “สักปี 50 – 51 นี่แหละ ป้าสองคนคิดกันว่า เราน่าจะลองท�ำไม้กวาดดูสิ บ้านเรามีแต่ป่าแต่เขา ดอกก๋งมีอยู่ทุกที่ หลังดอยผาตูบมีเยอะเลย คนที่อื่น อย่างแพร่ ปราจีนบุรี เขาก็ขนึ้ มาซือ้ ก๋งบ้าน เรา ถ้าเราเจ้าบ้านไม่ คิดท�ำก็เสียดายของ วั ต ถุ ดิ บ ทุ ก อย่ า งหา ได้จากบ้านเราทัง้ นัน้ ”

ป้าจ�ำเนียร สุทายศ


ป้าบัวผิน ไชยยา

การวิเคราะห์ความเป็นไปได้บนพื้นฐานความ เป็นจริงท�ำให้สองพี่น้องมองเห็นช่องทางเริ่มต้นอาชีพ ใหม่ ดอยผาตูบที่เห็นแต่เล็กแต่น้อยมีทรัพยากรให้ หยิบยืมมาใช้ได้ทกุ เมือ่ เมือ่ เตรียมวัสดุอปุ กรณ์สำ� หรับ ท�ำไม้กวาดพร้อมแล้ว ทั้งสองพี่น้องจึงเริ่มทดลองท�ำ “ลองท�ำกันอยู่สองปี ดีบ้างไม่ดีบ้าง อันแรก ๆ ที่ท�ำกวาดแล้วยังต้องกวาดไอ้ที่มันร่วงออกมาซ�้ำอีก บางอันหลุดออกมาเป็นก�ำ ๆ ก็มี ป้าเลยลองไปหาซื้อ ไม้กวาดที่ขายอยู่ทั่วไปว่าแต่ละอันต่างกันยังไง ท�ำไม อันนี้ถึงแข็งแรงกว่าอันนี้ เอามาแกะดูว่าเขาท�ำยังไง ของเราท�ำผิดตรงไหน”


การทดลองท�ำไม้กวาดด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้ง วิเคราะห์ขอ้ ดีและข้อด้อยในงานของตนท�ำให้ปา้ บัวผิน และป้าจ�ำเนียรเรียนรูว้ า่ การมัดดอกก๋งเป็นก�ำนัน้ หลุด ง่ายกว่าการเย็บเป็นแพติดกับกก (กระจูด) ก่อนจะเกีย่ ว ลวดร้อยเข้าด้วยกัน นับตั้งแต่นั้น การท�ำไม้กวาดของ ทั้งสองก็ค่อย ๆ พัฒนาขึ้น แต่ก็ยังไม่ดีพอส�ำหรับขาย ทั้งสองจึงพยายามฝึกฝนปรับปรุง จนกระทั่งสามารถ ขายไม้กวาดคุณภาพดีที่ใคร ๆ ต่างก็พูดถึงได้ในที่สุด ป้าบัวผินเดินเข้าไปหยิบไม้กวาดเก่า ๆ สองด้ามออกมา จากในบ้าน “ดูอนั นีไ้ ม้กวาดครู” ป้าบัวผินอวดฝีมอื พร้อมกับ ลูบดูรอยเย็บมัดเมื่อหลายปีที่แล้ว ป้าจ�ำเนียรหยิบมา พลิกดูทั้งสองด้าน


ขวัญเรียม จิตอารีย์

“อันนีเ้ ย็บมือ มัดยังไม่ถกู วิธี ดูสิ เข้าสลักยังเอา เชือกออกด้านนอกอยู่เลย” สองพี่น้องหัวเราะกับผลงานชิ้นแรก ๆ ไม้กวาด อีกด้ามที่วางเคียงกันเป็นไม้กวาดที่เพื่อนบ้านซื้อไป ใช้ ป้าบัวผินบอกว่าขอเขามาเก็บไว้ดู ระหว่างไม้กวาด ทั้งสองอัน ฉันมองเห็นการฝึกฝน ความพยายามนับ ครั้งไม่ถ้วนของพวกเขา การจะท�ำอะไรสักอย่างให้ดี อย่างทีต่ งั้ ใจไม่ใช่เรือ่ งง่าย ใช่เพียงแค่พยายาม แต่ตอ้ ง อาศัยความอดทนด้วย หลังจากทีไ่ ม้กวาดของป้าจ�ำเนียรและป้าบัวผิน กลายมาเป็นสินค้าที่คนบ้านผาตูบเชื่อมั่นว่าใช้ได้ดี มีความทนทาน ก็เป็นช่วงเวลาเดียวกับทีท่ งั้ สองคิดค้น หาวิธีการท�ำงานที่ง่ายขึ้น “ถ้าดึงด้วยแรงมือ วันหนึ่งท�ำได้ 7–8 ด้ามก็ เหนื่อยแล้ว ป้าก็เลยเปลี่ยนมาเป็นวิธีดึงกับหลัก ท�ำได้ เยอะขึน้ ไม่ตอ้ งออกแรงมาก” ป้าจ�ำเนียรชีใ้ ห้ดหู ลักไม้ ที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ ส่วนจักรยี่ห้อจูกิ (Juki) ที่ดูสมบุกสมบันไม่แพ้ เจ้าของนั้น ป้าบัวผินบอกว่าซื้อมาในราคา 11,000 บาท ตั้งแต่ พ.ศ. 2552 เพราะการเย็บด้วยมือนอกจาก จะใช้เวลานานแล้ว ไม้กวาดยังไม่แผ่กว้างเท่ากับเย็บ ด้วยจักร เมื่อสามารถผลิตไม้กวาดคุณภาพดีและใช้

71


72

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

เวลาน้อยลงจ�ำนวนไม้กวาดที่ได้ก็เพิ่มขึ้น จากที่ขาย ในต� ำ บลผาสิ ง ห์ ก็ ข ยายตลาดไปในตั ว เมื อ งน่ า น โดยเริ่มจากงานถนนคนเดินก่อน เมื่อไม้กวาดของ สองพีน่ อ้ งเริม่ เป็นทีร่ จู้ กั บ้านผาตูบก็ได้รบั งบประมาณ สนับสนุนจากโครงการอยู่ดีมีสุข กลุ่มอาชีพที่ยุติไป ถึง 5 ปี จึงมีโอกาสเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง จากงบประมาณ 30,000 บาท น�ำมาบริหาร จัดการเป็นค่าวัตถุดิบและอุปกรณ์ส�ำหรับสมาชิกทั้ง 12 คน มีป้าบัวผินและป้าจ�ำเนียรรับหน้าที่ถ่ายทอด ความรู้ เริ่มตั้งแต่คัดแยกคุณภาพดอกก๋งไปจนถึงขั้น


ตอนสุดท้ายคือการมัดลวดเข้าด้ามไม้กวาด มีการ แบ่ ง หน้ า ที่ รั บ ผิ ด ชอบตามความถนั ด และเวลาว่ า ง ของสมาชิก ความพิถีพิถันในแต่ละขั้นตอนการผลิต ท�ำให้ไม้กวาดของกลุ่มอาชีพบ้านผาตูบเป็นสินค้า ขึน้ ชือ่ ของชุมชน ทัง้ อบต. ผาสิงห์ โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพต�ำบล และโรงเรียนต่าง ๆ ต่างช่วยกันอุดหนุน มีลูกค้าจากนอกพื้นที่เข้ามาสั่งไม้กวาดจนผลิตไม่ทัน ต่อมาโครงการบริการซ่อมสร้างเพื่อชุมชนจากสาขา วิชาช่างกล วิทยาลัยเทคนิคน่าน ก็ได้เข้ามาให้ความ ช่ ว ยเหลื อ ด้ ว ยการออกแบบเครื่อ งกดอัด ลวดเสียบ ไม้กวาดแทนการใช้มือ ไม้กวาดของกลุ่มอาชีพบ้าน ผาตู บ จึ ง ได้ รั บ การต่ อ ยอดพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ นมี คุณภาพดียิ่งขึ้นไป


74

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

ในส่วนของการขยายเงินลงทุนนั้นได้รับการ สนั บ สนุ น เงิ น กู ้ จ� ำ นวน 50,000 บาท แบบไม่ คิ ด ดอกเบีย้ จาก อบต. ผาสิงห์ ท�ำให้สามารถผลิตไม้กวาด ได้มากขึ้น มีการรับซื้อวัตถุดิบจากสมาชิกในชุมชน เช่น ไม้รวกและดอกก๋ง ผู้สูงอายุและผู้ที่ว่างเว้นจาก งานในไร่นาสามารถเข้ามารับจ้างท�ำไม้กวาดในขัน้ ตอน ต่าง ๆ เช่น คัดแยกดอกก๋งกิโลกรัมละ 5 บาท ลิดดอก ก๋ ง กิ โ ลกรั ม ละ 3 บาท ส� ำ หรั บ รายได้ จ ากการขาย ไม้กวาดนั้นจะหักเข้ากลุ่มด้ามละ 1 บาท “เมื่อก่อนป้าคิดนะว่าจะเอาไปขายที่ไหนดี เรา เอาใส่หลังมอเตอร์ไซค์ไปตัง้ ขายริมทางดีมยั้ พอมีกลุม่ มาช่ ว ยกั น ผู ้ ซื้ อ บางคนเขาก็ ม ารั บ ซื้ อ ถึ ง บ้ า น ถ้ า ขนไปขายถนนคนเดิน 200-300 อัน หมดทุกครั้ง ตอน งานขึ้นพระธาตุแช่แห้งก็ขายได้วันละ 200-300 อัน เหมือนกัน ตอนนีห้ า้ งนราฯ เขาก็มาติดต่อรับซือ้ ไปขาย” ป้าบัวผินพูดถึงห้างสรรพสินค้าเก่าแก่ประจ�ำเมือง น่านที่ก�ำลังจะเป็นลูกค้ารายใหม่ เมื่อถามเรื่องการ ประชาสัมพันธ์ ป้าจ�ำเนียรให้ค�ำตอบว่า “ติดเบอร์โทรศัพท์ไว้ทดี่ า้ มเท่านัน้ เอง ลูกค้าส่วน ใหญ่รวู้ า่ ไม้กวาดของกลุม่ เราใช้ดใี ช้ทน เขาก็ตามมาซือ้ อย่างตอนเทศกาลเข้าพรรษา คนบ้านเราทีก่ ลับมาบ้าน เขาก็จะซื้อกลับไปเป็นของฝาก”


ขวัญเรียม จิตอารีย์

คุยกันอยู่นาน เราเลยพักยกกันด้วยมะเฟือง หวานที่เนสกับส้มเก็บมาจากในสวนซึ่งพืชผักสวนครัว นานาชนิดก�ำลังดกงาม ป้าบัวผินบอกว่าทางกลุม่ ไม่ได้ ท�ำแค่ไม้กวาด แต่ยงั ชวนกันปลูกผักปลอดสารพิษด้วย ผักที่ได้แบ่งกันกินบ้าง แบ่งขายในหมู่บ้านบ้าง ส่วน ขยะที่เหลือจากการท�ำไม้กวาดนั้นก็ไม่ทิ้ง แต่น�ำมาท�ำ ปุ๋ยหมักใช้ในสวนครัวต่อ นอกจากนี้ ป ้ า ทั้ ง สองยั ง รั บ หน้ า ที่ วิ ท ยากร ถ่ายทอดความรูเ้ กีย่ วกับการท�ำไม้กวาดแก่ผสู้ นใจทัง้ ใน และนอกพื้นที่ รวมถึงเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านผาตูบ ว่าแล้วป้าจ�ำเนียรก็สาธิตวิธีท�ำไม้กวาดให้เราดู

75


76

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

“อย่างเด็กเผ่าม้งบางคนที่ป้าสอน พอเขาท�ำได้ เขาก็อยากเอาไม้กวาดทีท่ ำ� ไปอวดพ่อแม่ทบี่ า้ น ถ้าเขา สอนต่อได้ พ่อแม่เขาก็ท�ำเป็น ถ้ามีคนอยากรู้ ป้าก็ อยากสอน” ป้าจ�ำเนียรเล่าทั้งที่มือยังสาละวนอยู่กับ การตอกลวดมัดดอกก๋งเข้าด้วยกัน เสร็จแล้วป้าบัวผิน ก็รับช่วงไปดึงเข้าด้ามกับหลักไม้ต่อ “เพื่ อ นบ้ า นบางคนก็ พู ด นะว่ า ท� ำ ท� ำ ไมให้ ดี นักหนา ใช้เท่าไหร่มันก็ไม่หลุด ใช้เป็นปีก็ยังไม่หลุด ก�ำลังรอให้มันสั้นอยู่นี่ อยากซื้อใหม่ก็ไม่ได้ซื้อสักที” ป้าจ�ำเนียรพูดขณะเย็บไม้กวาดเสร็จเรียบร้อยพอดี ขากลับ ขณะพีต่ อ้ มขับรถผ่านรัว้ ใบเขียวทีช่ ยู อด ชูดอกทักทาย ฉันไพล่นึกไปถึงรั้วที่ปักเศษแก้วและ เหล็กแหลมในเมืองใหญ่ แม้แต่รั้วก็บอกอะไรได้ตั้ง มากมาย ดูเหมือนว่ารั้วของคนที่นี่มีไว้เพื่อแบ่งปัน มากกว่าจะปิดกัน้ ดุจเดียวกับความรูแ้ ละประสบการณ์ ที่แบ่งปันผ่านป้าทั้งสอง เริ่มจากความรู้และทักษะ อาชีพ สู่การกินดีอยู่ดี ใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ความสุขจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป


ขวัญเรียม จิตอารีย์

77



ขวัญเรียม จิตอารีย์

๗ น�้ำยามหัศจรรย์ ของแม่บ้านตัวจริง

คงปฏิเสธไม่ได้วา่ ผลิตภัณฑ์ทำ� ความสะอาดได้ กลายมาเป็นสิ่งจ�ำเป็นในชีวิตประจ�ำวันของทุกครัว เรือน ซึ่งหมายถึงค่าใช้จ่ายที่ทุกบ้านจ�ำเป็นต้องจ่าย แต่แม่บ้านบ้านผาตูบกลับพบทางออกที่ทั้งประหยัด และสามารถท�ำได้ด้วยตัวเอง “กลุ่มสตรีเมืองน่านเขาเข้ามาอบรมให้ความรู้ เรือ่ งการท�ำน�ำ้ ยาล้างจานในต�ำบลผาสิงห์เมือ่ ปี 52 โดย ให้สง่ ตัวแทนเข้าร่วมหมูบ่ า้ นละ 2 คน บังเอิญว่าพีส่ าว ของป้าไปเข้าร่วม ได้น�้ำยามาสองขวด เขาก็แบ่งให้ป้า เอามาลองใช้ด้วย คุยกันว่ามันก็ใช้ได้ดีนะ เงินที่ลงทุน ท�ำก็ไม่เยอะ น่าจะท�ำใช้เองได้”

79


80

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

ฉลอง ทาสิงห์ หรือป้าแต้ม เล่าถึงครั้งแรกที่ ทดลองใช้น�้ำยาล้างจานซึ่งผลิตโดยกลุ่มแม่บ้านที่เพิ่ง ผ่านการอบรม ด้วยปริมาณทีม่ ากและคุณภาพทีด่ กี ว่า ท�ำให้แม่บ้านหลายคนสนใจอยากท�ำใช้เองบ้าง จากสมาชิก 8 คน เงินทุนเริ่มต้น 800 บาท หลังจากทดลองท�ำน�้ำยาล้างจานจนประสบผลส�ำเร็จ แล้วก็มกี ารฝึกอบรมท�ำน�ำ้ ยาอเนกประสงค์เพือ่ ต่อยอด ผลิตภัณฑ์ให้ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายยิ่งขึ้น โดย ศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 20 จังหวัดน่าน เป็นผู้จัด วิ ท ยากรมาจากบ้ า นดอนสวรรค์ หมู ่ 8 และบ้ า น มงคลนิมิตร หมู่ 6 นั่นเอง หลังจากฝึกอบรมเป็นระยะ เวลา 30 วัน ทางกลุ่มจึงเริ่มท�ำน�้ำยาอเนกประสงค์ อย่างเป็นทางการ พร้อมกับสมาชิกใหม่ที่มีทั้งเด็กและ เยาวชนเพิ่มขึ้นมารวมเป็น 20 คน

ป้าแต้ม ฉลอง ทาสิงห์


ขวัญเรียม จิตอารีย์

“ที่ท�ำน�้ำยาอเนกประสงค์กันนี้ ตอนแรกคิดถึง การน�ำไปใช้ในครัวเรือน จะช่วยให้แม่บา้ นประหยัดค่า ใช้จา่ ยในส่วนนีล้ งไปบ้าง ท�ำไปท�ำมาอยากให้คนบ้าน เราได้ลองใช้กเ็ ลยคิดท�ำขาย เผือ่ เขาใช้แล้วรูส้ กึ ว่าดีจริง จะได้ใช้ต่อ หรือไม่ก็ลองท�ำเอง” ป้าแต้มเล่าถึงที่มาขณะด้านหลังมีผลิตภัณฑ์ จากน�้ำยาอเนกประสงค์เรียงราย ทั้งน�้ำยาล้างจาน สบู่เหลว แชมพู น�้ำยาซักผ้า จัดวางไว้อย่างเป็น ระเบี ย บ บ้ า นป้ า แต้ ม จึ ง เป็ น ทั้ ง ที่ ท� ำ การกลุ ่ ม และ ร้ า นขายน�้ ำ ยาอเนกประสงค์ ที่ ผ ลิ ต ขึ้ น ลู ก ค้ า ส่ ว น ใหญ่เป็นคนในหมู่บ้านนั่นเอง

81


82

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

ฉันลองใช้น�้ำยาล้างมือขวดเล็ก อย่างแรกที่ สัมผัสได้คือกลิ่นหอมสดชื่น อย่างที่สองคือใช้ล้างมือ ได้สะอาดหมดจด ป้าแต้มบอกว่าขวดเล็ก ๆ นี้ท�ำไว้ ส�ำหรับให้ผู้สนใจทดลองก่อนจะซื้อไปใช้จริง หรือจะ เข้าร่วมกลุ่มก็ได้ คุณยาย คนหนึ่งเดินเข้ามาซื้อน�้ำยา ล้างจาน แกเลือกหยิบขวด ที่ไม่ติดป้ายสินค้าไป “ขายให้คนที่นี่เป็นที่รู้กันว่าป้ายไม่ จ�ำเป็น บางคนแพ้ผงซักฟอกที่ซื้อ ตามท้องตลาด ใช้แล้วมือลอกบ้าง เป็นผื่นบ้าง ลองเอาของกลุ่มไปใช้ ลืมเรื่องแพ้สารเคมีไปเลย บางคน กลั บ มาบอกว่ า ใช้ น�้ ำ ยาของกลุ ่ ม แล้วถึงใจจริง ๆ โดยเฉพาะถุงเท้า ขาวสะอาดยิ่งกว่าโอโม เคล็ดไม่ลับ ของความขาวนีอ้ ยูท่ นี่ ำ�้ สับปะรดกับ น�้ำมะเฟืองหมัก ถ้าลองนึกกันให้ดี ปูย่ า่ ตายายเราเมือ่ ก่อนก็ใช้มะเฟือง ขัดเล็บหลังด�ำนาเสร็จ”


ขวัญเรียม จิตอารีย์

การน�ำเอาภูมิปัญญาพื้นบ้านมาปรับใช้ท�ำให้ พืชสมุนไพรท้องถิ่นถูกน�ำมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า โดยเฉพาะมะกิ้วหรือมะกรูด สมุนไพรที่หาได้ง่ายใน บ้านผาตูบ ส่วนมะขามเปียกก็หาซือ้ ได้ภายในหมูบ่ า้ น นอกจากมะเฟือง มะขามเปียกและมะกิว้ แล้ว ยังมีขมิน้ ส่วนผสมส�ำคัญในสบู่เหลวที่มีคุณสมบัติช่วยให้ผิว เนียนนุ่ม เมื่อถึงเวลาท�ำสบู่เหลว สมาชิกแต่ละคนจะ ขนขมิ้นมาจากบ้าน สิ่งที่ต้องลงทุนเพิ่มมีเพียงสาร ตั้งต้นและบรรจุภัณฑ์เท่านั้น

สมุนไพรบางชนิดนั้นต้องหมักเตรียมไว้ก่อน จะน�ำมาท�ำน�้ำยาชนิดใดชนิดหนึ่ง สมาชิกจึงต้องมี การพบปะพู ด คุ ย กั น อยู ่ เ สมอ หลั ง จากตระเตรี ย ม วัตถุดบิ ครบถ้วนแล้ว ทางกลุม่ จะแบ่งคนออกเป็นสอง ทีม สลับกันท�ำน�้ำยาเดือนละครั้งโดยดูจากปริมาณ น�้ำยาที่เหลือแต่ละประเภท ช่วงเวลาท�ำจัดตามความ สะดวกของสมาชิก ไม่ว่างตอนกลางวันก็เปลี่ยนมา เป็นกลางคืน

83


84

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

รายรับรวมของกลุ่มแต่ละปีจะปันผลครั้งหนึ่ง เยาวชนที่ต้องการหารายได้พิเศษสามารถรับน�้ำยา อเนกประสงค์ไปขายในราคาโหลละ 120 บาท แบ่งให้ คนขาย 20 บาท รายได้ทั้งหมดจะน� ำมาปันผลให้ สมาชิกเฉพาะที่เป็นเด็กและเยาวชนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ป้ า แต้ ม บอกว่ า การเปิ ด โอกาสให้ เ ด็ ก ๆ เข้ า ร่ ว ม นอกจากจะเป็นการกระจายรายได้ให้พวกเขาแล้ว ยังถือเป็นการกระจายความรู้ สร้างฐานอาชีพด้วย “เด็กอยูบ่ า้ นเฉย ๆ ช่วงปิดเทอม อยากมาหัดท�ำ น�้ำยากับกลุ่ม ป้าก็รับเข้ามาเป็นสมาชิกเหมือนผู้ใหญ่ พอเด็กท�ำเป็นเขาก็เอาไปสอนพ่อแม่ได้ บางทีกจ็ บั กลุม่ กันมาขอให้เราไปสอน อย่างหลานป้าเขาก็สอนเพื่อน ท�ำน�้ำยาล้างจานที่โรงเรียน บางครั้งครูก็ชวนทางกลุ่ม ไปสอนเด็ก เดี๋ยวนี้โรงเรียนผาสิงห์ก็ท�ำน�้ำยาล้างจาน ใช้เอง”


การถ่ายทอดความรู้แบบไม่หวงวิชาส่งผลให้ น�้ำยาอเนกประสงค์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ในหมู ่ บ ้ า นผาตู บ ด้ ว ยต้ น ทุ น ที่ ต�่ ำ ท� ำ ให้ ก ลุ ่ ม น�้ ำ ยา อเนกประสงค์สามารถขายผลิตภัณฑ์ตา่ ง ๆ ได้ในราคา ย่อมเยา หากใครจะท�ำใช้เองก็สามารถแบ่งซื้อสาร ตั้งต้นจากกลุ่มได้


86

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

นอกจากน�้ำยาอเนกประสงค์แล้ว กลุ่มยังท�ำ แหนมขายในช่ ว งวั น พระ กล่าวคือ เดือ นละ 2 ครั้ง สมาชิกที่ต้องท�ำงานกลางวัน กลางคืนก็จะมาช่วยกัน มัดแหนมเป็นห่อเล็ก ๆ พอดีคำ� แล้วร้อยเป็นพวงเหมาะ ส�ำหรับท�ำบุญวันพระ ช่วงไหนที่มีเวลาเหลือก็จะนัด หมายกันไปหาซื้อกล้วยดิบมาท�ำกล้วยฉาบฝากขาย ตามร้านค้าในหมู่บ้านอีกทาง กิจกรรมเสริมนี้ช่วยเพิ่ม รายได้ไม่น้อยให้แก่กลุ่ม จากความมุ่งหวังว่าน�้ำยา อเนกประสงค์จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน มาถึง วั น นี้ ช าวผาตู บ ได้ ใ ช้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ท� ำ ความสะอาดที่ มีคุณภาพ ปลอดภัย รายจ่ายลดลง แถมยังมีช่องทาง อาชีพใหม่ ๆ จากการเผยแพร่ความรู้โดยสมาชิกกลุ่ม เศรษฐกิจชุมชนจึงกระจายตัวจากร้านค้าสูท่ กุ ครัวเรือน


ขวัญเรียม จิตอารีย์

87



ขวัญเรียม จิตอารีย์

๘ ผู้ใหญ่หัวใจละอ่อน แม่บัวผากับยาจู้

เมือ่ ยุคสมัยเปลีย่ น ภูมปิ ญ ั ญาพืน้ บ้านไม่นอ้ ย กลายเป็นสิ่งสูญค่าล้าสมัย และอาจเลือน หายไปพร้อมกับหน้าที่ คุณค่า และความ ศรัทธาของผู้คน การจะคงภูมิปัญญา พื้นถิ่นไว้ในวิถีสมัยใหม่ไม่อาจท�ำ ได้ดว้ ยการบันทึกและรวบรวมไว้ เท่านั้น แต่ควรได้แสดงและ ท� ำ หน้ า ที่ ผ ่ า นวิ ถี ชี วิ ต ดั ง เช่น แม่บวั ผา สิทธิ หมอ ยาสมุนไพรพื้นบ้าน แห่ ง บ้ า นผาสิ ง ห์ ก�ำลังท�ำอยูข่ ณะนี้

89


90

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

“ตอนนั้นแม่ยังเป็นละอ่อนน้อย พ่อไปเก็บยา ที่ไหนก็จะหลอกให้ไปด้วย หลอกให้หาใบไม้เหมือน ที่พ่อหา แม่ดูแล้วจ�ำไว้ หาเก็บมาเทียบกับของพ่อว่า เหมือนกันรึเปล่า แล้วแม่ก็ยังจ�ำได้จนถึงวันนี้” ถ้าไม่ได้ติดตามพ่อเข้าป่าขึ้นเขาลงห้วยหายา สมุนไพรตัง้ แต่อายุ 7 ขวบ แม่บวั ผา สิทธิ คงไม่มโี อกาส รูว้ า่ ต้นไม้ใบหญ้าแต่ละชนิดมีสรรพคุณทางยาอย่างไร จากวัยเด็กมาถึงวันนี้ แม่บวั ผาอายุลว่ งเข้าสูว่ ยั 70 แล้ว วิชาความรูเ้ รือ่ งยาสมุนไพรทีพ่ อ่ อินต๊ะ รินอินทร์ ผูเ้ ป็น บิดาถ่ายทอดมา ช่วยให้แม่บัวผาได้ท�ำหน้าที่รักษา อาการเจ็บไข้ได้ป่วยของชาวบ้านตั้งแต่ครั้งบ้านเมือง ยังไม่เจริญก้าวหน้าจนถึงยุคที่โรงหมอโรงยามีอยู่ทั่ว เมือง แม่บัวผาศึกษาต�ำรายาแขนงต่าง ๆ ตั้งแต่การ เจ็บป่วยเล็กน้อยจนถึงการท�ำคลอดทีต่ อ้ งใช้ทงั้ ความรู้ ประสบการณ์และความช�ำนิช�ำนาญ “ตอนนั้นแม่เพิ่งจะอายุ 24 มีคนมาตามที่บ้าน ให้ไปช่วยท�ำคลอด เพราะเมื่อก่อนบ้านเรามันไกล จะไปหาหมอสมัยใหม่ก็ไม่ทัน แม่ไปถึงคนท้องก็ร้อง โอดโอยอยู่ แม่ตั้งขันน�้ำมนต์ให้เขาดื่ม เรารู้ว่าถ้าเขา


ขวัญเรียม จิตอารีย์

ก�ำลังใจดีก็จะมีแรงเบ่ง คลอดง่าย คลอดเสร็จแม่ก็เอา ผิวไม้ไผ่ตดั สายรกเอาเด็กมาอาบน�ำ้ ใส่กระด้ง หลังจาก นั้นใครเจ็บไข้มาตามเราก็ต้องไป” แม่บัวผาเล่าถึงการ ดูแลรักษาผู้ป่วยครั้งอดีต ขณะที่เวลาหมุนไปข้างหน้า บ้านเมืองเปลี่ยน แปลง ความป่วยไข้เปลีย่ นมือผูร้ กั ษาจากหมอพืน้ บ้าน เป็นหมอสมัยใหม่ แต่แม่บวั ผาก็ยงั คงรักษาความรูเ้ รือ่ ง ยาสมุนไพรไว้ ทั้งยังมีการประยุกต์ปรับเปลี่ยนให้เข้า กับยุคสมัย หากใครมาเยือนจะเห็นห้องเล็ก ๆ ข้างบ้าน เป็นทีอ่ บยาสมุนไพรซึง่ แม่บวั ผาท�ำขึน้ คนบ้านผาสิงห์ ถ้าไม่สบายก็จะมาอบยาที่นี่

91


92

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

การรักษาด้วยการอบยาสมุนไพรเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2540 จากการเจ็บป่วยของตัวแม่หมอเองที่เรียก ว่า ‘อาการลมผิดเดือน’ ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการกินของ แสลงขณะอยู่ไฟ แม่บัวผาได้ปรับเปลี่ยนวิธีการรักษา จากการฝนสมุนไพรใส่นำ�้ ดืม่ ของบิดามาเป็นการอบตัว ด้วยสมุนไพร พ่อค�ำ สุทธิ สามีของแม่บัวผาจึงพลอย ได้เรียนรู้เรื่องสมุนไพรจากการออกเสาะหาตัวยาให้ ภรรยา แม่บัวผาอาการดีขึ้นจนหายเป็นปกติในที่สุด หลังจากนัน้ เมือ่ สมาชิกในครอบครัวไม่สบายก็ไม่ตอ้ ง ออกไปหาหมอข้างนอกอีก คนในชุมชนต่างเชื่อถือยา สมุนไพรของแม่บัวผาที่มีการคิดค้นตัวยาใหม่ ๆ อยู่ ตลอดเวลาทั้งที่อายุของผู้รักษาเพิ่มขึ้นทุกวัน

แม่บัวผา สิทธิ


ขวัญเรียม จิตอารีย์

สมุนไพรยาจู้คือการน�ำสมุนไพรหลายชนิดมา ใส่รวมกันในห่อผ้า และใส่ก้อนอิฐที่เผาให้ร้อนลงไป ‘จู้’ หมายถึงประคบ วิธีรักษาด้วยยาจู้ก็คือใช้ห่อผ้า สมุนไพรดังกล่าวกดทับลงไปบนร่างกายส่วนทีเ่ จ็บป่วย ภายหลั ง แม่ บั ว ผาได้ เ ปลี่ ย นจากการเผาอิ ฐ มาเป็ น การอุน่ ให้รอ้ นแทน ในการรักษานัน้ แม่หมอบัวผาไม่ได้ คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ เพียงแต่ผู้ป่วยหรือญาติจะต้องไป หาตัวยามาตามค�ำแนะน�ำ วิธีการนี้ท�ำให้ความรู้เรื่อง ยาสมุนไพรได้รับการส่งต่อ ส�ำหรับพืชสมุนไพรที่หา ยากนัน้ แม่บวั ผาก็ได้เสาะหามาปลูกไว้ ท�ำให้บา้ นแม่ บัวผากลายเป็นอีกหนึ่งแหล่งเรียนรู้ของต�ำบลผาสิงห์

93


94

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

นอกจากนั้น ที่นี่ยังเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับ ชุมชนของโรงเรียนผาสิงห์ ซึง่ เด็ก ๆ ให้ความสนใจและ เข้ามาเรียนรู้อย่างสนุกสนาน หากใครไปเยือนจะเห็น ยาสมุนไพรนานาชนิดติดป้ายชื่อและสรรพคุณก�ำกับ ส�ำหรับเป็นสือ่ การเรียนรูแ้ ก่ผสู้ นใจทีแ่ ม่บวั ผาจัดท�ำขึน้ นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรที่ปลูกไว้รอบบ้านและที่ตาก แห้งเก็บไว้ หน้าเรือนมีครกไม้อันใหญ่ใช้ส�ำหรับต�ำยา บ้านหลังนี้จึงเปรียบเสมือนสถานบริการสุขภาพเบื้อง ต้นของคนผาสิงห์ ภูมิปัญญามิใช่เพียงค�ำพูดสวยหรู อีกต่อไป แต่เป็นสิ่งที่เรียนรู้และใช้ในชีวิตได้จริง


ขวัญเรียม จิตอารีย์

95



ขวัญเรียม จิตอารีย์

ถักตอกสานใจ ผู้สูงวัยบ้านผาตูบ

แม้ไม่มีข้อก�ำหนดว่าผู้สูงอายุบ้านผาตูบ หมู่ 7 ต้องมารวมตัวกันที่นี่ แต่ทุกวันศาลาเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน หลังนี้แทบไม่เคยร้างผู้คน “มานั่งเล่น นั่งคุยกันที่นี่ประจ�ำ คุยกันไปซะป๊ะ เรื่อง บางทีคุยกันเพลิน คนจักตอกก็จักเพลิน ลืมกิน ข้าวเที่ยงกันก็มี ต้องคอยเตือนกันบ่อยๆ” ธีรพล วงศรีรกั ษ์ หรือตาพล ประธานกลุม่ อาชีพ ผู้สูงอายุเล่าให้ฟังถึงวิถีปกติของผู้สูงวัยบ้านผาตูบ ยายวิไล คู่ชีวิตของตาพลนั่งอยู่ถัดกัน ใกล้กันนั้นไผ่ ข้าวหลามปล้องหนาถูกผ่าเป็นซีกเล็ก ๆ ขนาดสองนิ้ว ตอกเส้นบางวางแยกไว้บนเก้าอี้ ยายอัมพรก�ำลังใช้มดี ฉีกไผ่ซีกออกเป็นแผ่นบาง ป้าอีกคนก�ำลังพับตอกเส้น เล็กเจ็ดเส้นสอดสานไปมา

97


98

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

“คนหนุ่มบ้านเฮาบางคนก็ออกไปท�ำงานนอก บ้าน ส่วนใหญ่เช้ามาก็เข้าไร่เข้าสวน กว่าจะกลับก็เย็น บางคนกลับเอามืดค�่ำ คนแก่อยู่บ้าน จะท�ำงานหนักก็ ไม่ไหว อยากช่วยแบ่งเบาภาระลูกหลาน ตอกนี่แหละ ที่พอช่วยได้บ้าง” กลุม่ อาชีพผูส้ งู อายุบา้ นผาตูบก่อตัง้ ขึน้ ในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2552 โดยโครงการวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า รวม ทั้ ง โครงการพั ฒ นารู ป แบบการจั ด สวั ส ดิ ก ารสั ง คม ส�ำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ต�ำบลผาสิงห์ เข้ามามีบทบาท ในการพัฒนาศักยภาพผูส้ งู วัยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ


ขวัญเรียม จิตอารีย์

ธรรมสัญจร (อุย๊ จูงหลานเข้าวัด) การแข่งกีฬาผูส้ งู อายุ การประชาสัมพันธ์ขา่ วสารผูส้ งู อายุผา่ นเสียงตามสาย ของหมู่บ้าน กิจกรรมเหล่านี้ท�ำให้คนเฒ่าคนแก่เริ่ม มองเห็นศักยภาพของตน จึงก่อตั้งเป็นกลุ่มอาชีพขึ้น โดยได้รับงบประมาณจากโครงการกู้ยืมของผู้สูงอายุ จ�ำนวน 12,000 บาท เป็นทุนตั้งต้น หลังจากชักชวน เพื่อนพ้องจนได้สมาชิกที่สนใจทั้งหมด 14 คน ทุกคน ตกลงปลงใจกันว่าจะเย็บหมวกขายในชุมชน ป้ามาลี คนสานตอกเล่าเรือ่ งการแข่งขันถักตอก ในงานขึ้นถ�้ำผาตูบปีที่ผ่านมาให้เราฟัง หน้าศาลามี หมวกตอกสานพร้อมใส่สนนราคาใบละ 25-30 บาท หากไม่ นั บ ขั้ น ตอนการ ตัดไม้ไผ่มาจากป่า การแช่ และผึ่ ง ตอกให้ แ ห้ ง เพื่ อ เย็บเป็นหมวกในขั้นตอน สุดท้ายนั้น กระบวนการ ท� ำ หมวกเกิ น ครึ่ ง เกิ ด ขึ้ น ในศาลาแห่งนี้ ตาพลบอก ฉันว่าไม้ไผ่ทุกปล้อง ตอก ทุ ก เส้ น ล้ ว นได้ ม าจาก ดอยผาตูบทั้งสิ้น

99


100

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

“ถ้ า คนบ้ า นเราต้ อ งซื้ อ ตอกเหมื อ นที่ อื่ น ต้ น ทุ น อาชี พ คงเพิ่ ม ขึ้ น เพราะตอกแห้ ง พร้ อ มถั ก ตอนนี้ ร าคากิ โ ลกรั ม ละ 80 บาท ต่อไปอาจจะแพงขึน้ กว่านีก้ ไ็ ด้ มี เ หมื อ นกั น นะที่ ขึ้ น ไปตั ด มา ขายเยอะ ๆ อย่างนี้ต่อไปเราจะ ล�ำบากกันทัง้ บ้าน” ความกังวลใจ ของตาพลเผยผ่านค�ำบอกเล่า ไม่นา่ เชือ่ เลยว่าตอกทีถ่ กั ๆ กันอยูน่ มี้ รี ถบรรทุก หกล้อบ้าง สิบล้อบ้าง มารับซื้อถึงที่ ทั้งจากเชียงใหม่ ล�ำพูน และผู้ซื้อบางรายที่มาไกลถึงชัยนาท ตอกเส้น ที่นี่คิดราคาเส้นละ 7.50 บาท ตอกถักหนึ่งเส้นจะมี 10 พับ ความยาวพับละ 22 นิ้ว ผู้สูงอายุที่ถักตอกเป็น รายได้เสริมจะมีรายได้ต่อคนประมาณเดือนละ 300400 บาท ถ้าใครไม่รบี ขาย เก็บสะสมไปเรือ่ ย ๆ เหมือน หยอดกระปุกออมสิน ขายครั้งเดียวร้อยเส้นก็จะได้ ราคาสูงกว่านั้น จ�ำนวนเงินทีไ่ ด้อาจไม่มากมายอะไร แต่สำ� หรับ คุณตาคุณยายเหล่านี้ สิง่ ทีไ่ ด้มากกว่านัน้ คือความเข้า อกเข้าใจทีเ่ พือ่ นสมาชิกมีให้แก่กนั บ่อยครัง้ ทีค่ วามไม่ สบายใจ หดหู่เศร้าหมองบรรเทาเบาบางลงได้ด้วย การพูดคุยกับเพื่อนฝูงวัยเดียวกัน นอกจากการพบปะ


ขวัญเรียม จิตอารีย์

กันเป็นประจ�ำจะช่วยคลายเครียด คลายความเบื่อ หน่ายแล้ว กลุม่ ยังช่วยสร้างกิจกรรมใหม่ ๆ ขึน้ มาด้วย “เมื่อก่อนข้างศาลานี้เป็นแปลงผักปลอดสาร พิษ” ตาพลชี้ไปยังกองดินสูงท่วมหัวที่ก�ำลังปรับพื้นที่ เตรี ย มก่ อ สร้ า งที่ ท� ำ การองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บล ผาสิงห์แห่งใหม่ เมื่อฉันถามถึงศาลา จุดนัดพบของ กลุ่ม ตาพลยิ้มก่อนตอบว่า “กลุม่ อาจจะได้ทที่ ำ� การใหม่กไ็ ด้นะ อยูต่ ดิ ๆ กับ อบต. ใหม่นี่เลย”

ตาพล ธีรพล วงศรีรักษ์

101


102

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

ตาพลบอกต่ออีกว่า ถ้าเป็นไปได้อยากพัฒนา ผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น สร้างสรรค์ กิจกรรมกับชุมชนให้มากขึน้ เพราะวัยของเรายังท�ำอะไร ได้อีกเยอะ ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพของตน กลุ่มผู้สูง อายุบ้านผาตูบจึงไม่ปล่อยให้ตัวเองซึมเซาไปกับวัยที่ เพิ่มขึ้น แต่เลือกใช้ประสบการณ์ชีวิตที่มีมากกว่าวัยอื่น มาสร้างกิจกรรมอันมีคณ ุ ค่า นอกจากสานตอกและปลูก ผักปลอดสารพิษแล้ว ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังเข้าร่วม กิจกรรมกับกลุ่มน�้ำยาอเนกประสงค์ กลุ่มออมทรัพย์ ตลอดจนกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ กิจกรรมที่ ส�ำคัญอีกอย่างคือ การเข้าร่วมกับกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ของชมรมผู้สูงอายุต�ำบลผาสิงห์ออกช่วยเหลือคนเฒ่า คนแก่ที่เจ็บป่วย ยากไร้ พิการหรืออยู่ตามล�ำพัง โดย การเยี่ ย มเยี ย นและให้ค วามรู้แก่ญาติเรื่อ งการดูแ ล ผูส้ งู วัยผ่านโครงการอาสาสมัครดูแลผูส้ งู อายุ (อผส.) ซึง่ ฝึกอบรมโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลผาสิงห์


ขวัญเรียม จิตอารีย์

103

มุมมองที่เปิดกว้างรวมทั้งการเปิดรับ ความคิดใหม่ ๆ ท�ำให้ผู้สูงอายุกลุ่มนี้เลือกที่จะ สร้างสรรค์กิจกรรมดี ๆ เพื่อชุมชนต่อไป

“เราเป็นกลุ่มคนอายุมาก ที่อายุงานยังน้อย ต้องพยายามกันต่อไป”



ขวัญเรียม จิตอารีย์

๑๐

เงินออม ฮอมน�้ำใจ

‘58,140’ ไม่ใช่รหัสลับเลขเด็ดทีต่ อ้ งกะเก็งซือ้ ให้ ได้ในงวดนี้ แต่เป็นยอดเงินทีค่ ณะกรรมการออมทรัพย์ บ้านผาสิงห์ หมู่ที่ 4 ต้องเก็บให้ครบในวันที่ 10 ของ ทุกเดือน เพื่อให้เหรัญญิกของกลุ่มน�ำไปฝากธนาคาร ก่อน 10 โมงเช้า “ตอนเช้าชาวบ้านจะน�ำเงินมาฝาก กรรมการ เขียนสมุดเงินฝากแทบไม่ทัน ต้องเข้าแถว ปกติเราจะ ได้ยอดครบ 58,140 บาทตัง้ แต่เช้า เป็นแบบนีม้ าตัง้ แต่ ปี 50 จนถึงวันนี้ไม่เคยเปลี่ยน” ป้าพยอม สุริยศ เล่าถึงกลุ่มออมทรัพย์ที่เริ่ม ก่อตั้งใหม่อีกครั้งใน พ.ศ. 2550 หลังจากที่ยุติไปด้วย ไม่มียอดฝากเพิ่มจากสมาชิก

105


106

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

“บ่เจื้อใจ๋กันแต้ บ่มีใครเอามาฝากกันหรอกเงินทอง”

แน่นอนว่าความไว้เนื้อเชื่อใจที่ป้าพยอมเอ่ยถึง คือเหตุผลส�ำคัญทีจ่ ำ� เป็นส�ำหรับการตัง้ กลุม่ ออมทรัพย์ อีกครัง้ ‘เงินทองไม่เข้าใครออกใคร’ เป็นค�ำพูดทีไ่ ด้ยนิ ได้ฟังกันบ่อย ๆ ฉันไล่สายตาตามระเบียบของกลุ่ม ออมทรัพย์บ้านผาสิงห์ทีละข้อ รายชื่อคณะกรรมการ พร้อมหน้าทีร่ บั ผิดชอบเขียนติดไว้บนกระดานแผ่นใหญ่ ทีท่ ำ� การกลุม่ ไม่ใช่บา้ นของป้าพยอม พ่อสุข หรือพีน่ ก ซึ่งเป็นคณะกรรมการ แต่อาศัยพื้นที่บ้านพักของปลัด ชัยยุทธ รักษาบุญ ปลัด อบต. ผาสิงห์ และคุณอัญชนา รักษาบุญ หรือที่คนที่นี่เรียกว่าป้านาย ทั้งสองเป็นที่ ปรึกษาและผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์ และก็คงด้วย ความไว้เนื้อเชื่อใจ แม้ว่าปลัดชัยยุทธจะท�ำงานอยู่ ที่ อบต. และป้านายไปต่างจังหวัด บ้านหลังนี้ก็ยังเปิด ต้อนรับคนผาสิงห์ที่แวะเวียนกันมาตลอดเหมือนกับ ว่าทุกคนเป็นเจ้าของที่แห่งนี้ร่วมกัน ด้ ว ยวิ ถี ชี วิ ต และความสั ม พั น ธ์ ข องผู ้ ค นที่ เกาะเกี่ยวกันด้วยความเป็น ‘คนบ้านเดียวกัน’ ท�ำให้ โจทย์ที่ยาก เช่น ‘ความไว้ใจ’ กลายเป็นเรื่องที่ไม่ยาก เกินไปนัก พ่อสุข สุวรรณรัตน์ เล่าถึงการท�ำงานของ คณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์ซึ่งคัดเลือกมาจากเวที


ขวัญเรียม จิตอารีย์

ประชาคมหมู่บ้านว่า ช่วงเริ่มต้นก่อนเปิดรับสมาชิก กลุ่ม คณะกรรมการทุกคนมีหน้าที่สร้างความเข้าใจ เรื่องระบบออมทรัพย์ต่อสมาชิกชุมชน ต้องชี้แจงให้ ชาวบ้ า นแต่ ล ะคนเห็ น ถึ ง ระบบการจั ด การและ ผลประโยชน์ที่ทุกคนจะได้รับ กรรมการทุกคนเผยแพร่ ข้อดีของการออมไม่หยุดหย่อนทุกโอกาสที่เอื้ออ�ำนวย ไม่ว่าจะเป็นงานบวช งานแต่ง งานศพ ไปวัดไปวา เรื่ อ งออมทรั พ ย์ นั บ เป็ น เรื่ อ งส� ำ คั ญ ที่ ทุ ก คนต้ อ งเร่ ง สร้างความเข้าใจ

ป้าพยอม สุริยศ พ่อสุข สุวรรณรัตน์

107


“หมู่เฮาคณะกรรมการจะเข้มแข็งใส่ใจกันแต๊ๆ ถ้าคนบ้านเฮามาฮอมโตยกันบ่ว่าจะเป็นอย่างใด คณะ กรรมการก็จะประคับประคองกลุม่ ออมทรัพย์ไปหือ้ ได้”

ด้วยค�ำยืนยันมัน่ เหมาะของคณะกรรมการกลุม่ ออมทรัพย์ทั้ง 16 คน จ�ำนวนสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ บ้านผาสิงห์จากการเปิดรับครัง้ แรกอยูท่ ี่ 164 คน ความ ไม่มั่นใจว่ากลุ่มออมทรัพย์จะเป็นไปได้จริงท�ำให้ชาว บ้านส่วนใหญ่ยงั ลังเลทีจ่ ะเข้าร่วม แต่ดว้ ยระเบียบวินยั ที่คณะกรรมการและสมาชิกยึดถือปฏิบัติร่วมกันอย่าง เคร่งครัดท�ำให้ต่อมาหลายคนตัดสินใจเข้าร่วม ยอด เงินฝากจึงเพิ่มจ�ำนวนขึ้นมากพอที่จะจัดสรรเป็นเงินกู้ แก่สมาชิกได้ในเวลาต่อมา


ขวัญเรียม จิตอารีย์

จากเงินฝากหุน้ ละ 20 บาท สมาชิกหนึง่ คนฝาก ได้ไม่จำ� กัดจ�ำนวนหุน้ มีการปันผลคืนทุก 4 ปี เมือ่ ฝาก เงินครบ 6 เดือน สามารถกู้ยืมได้ในอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 1 บาทต่อเดือน ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่า เงินกู้นอกระบบซึ่งเริ่มต้นที่ร้อยละ 5 บาทต่อเดือน ท�ำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ซึ่งมีอาชีพเกษตรกรมองเห็น ช่องทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินทุนและหนี้สิน จากดอกเบีย้ เงินกูเ้ ดิมทีพ่ อกพูนขึน้ รวมถึงความจ�ำเป็น ในการต้องใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเล่าเรียนของบุตรหลาน หรือความเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นกับคนในครอบครัว เงินกูย้ มื ของกลุม่ ออมทรัพย์สามารถช่วยอุดช่องปัญหา นีแ้ ละคลายความหนักใจลงได้ การออมเริม่ เป็นเรือ่ งที่ ชาวผาสิงห์พากันพูดถึงและจ�ำเป็นส�ำหรับทุกคนไม่ว่า เด็กหรือผู้ใหญ่ “อย่างคนแก่ที่ไม่มีรายได้อะไรก็อาศัยการถัก ตอก เส้นละ 7 บาท 50 สตางค์นี่แหละ ถ้าใกล้วันฝาก เงินจะเห็นแม่อุ๊ยหอบตอกไปขายกันละ บางคนก็หา พวกหน่อไม้บ้าง หัวปลีบ้างมาขาย ได้สักหุ้นสองหุ้น ก็ว่าถือดีแล้ว ทุกคนเริ่มมองเห็นว่าการออมเป็นเรื่อง จ�ำเป็น” ป้าพยอมเล่าถึงการออมทีค่ นบ้านผาสิงห์ใส่ใจ ปฏิบัติเพิ่มขึ้น

109


110

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

ส่วนการกู้ยืมนั้น พี่สุกัลยา ค�ำพร หรือพี่นก คณะกรรมการฝ่ายเงินกู้เล่าว่าสามารถกู้ได้มากน้อย ตามจ�ำนวนหุน้ และยอดเงินฝาก และสามารถกูฉ้ กุ เฉิน ได้ในวงเงินไม่เกิน 20,000 บาท ส�ำหรับค่าเทอมและ ค่ารักษาพยาบาล หากใครไม่ต้องการกู้ยืม เงินที่ฝาก ทุกเดือนก็จะกลายเป็นเงินออม สิ้นปีก็จะได้รับเงิน ปันผล เมื่อฝากครบ 2 ปีแล้วจะได้รับเงินต้นคืนพร้อม ดอกเบี้ย (หลังจากฝากครบ 4 ปีแรกไปแล้ว) ส่วนการ ออมรอบใหม่จะเริ่มต้นอีกครั้งในปีหน้า (พ.ศ. 2556) เมือ่ ถามถึงวินยั ในการฝากทีต่ รงเวลาถึงขัน้ ต้อง เข้าแถวรอคิว เราอดไม่ได้ที่จะถามว่า มีบ้างไหมที่ขาด ฝาก ? และการคืนเงินที่กู้ยืมไปมีปัญหาบ้างหรือไม่ ? “ต้องยอมรับกันเลยนะว่าการคืนเงินไม่เคยมี ปัญหา ถึงเวลามาจ่ายครบ ส่วนการฝากทางกลุ่มจะ ประกาศล่วงหน้า 2 วัน แต่ละคนจะถือสมุดเงินฝากมา เลย ส่วนใหญ่ในหนึ่งครอบครัวจะฝากกันทุกคน บาง ครอบครัวออกไปท�ำงานต่างจังหวัด พ่อแม่พนี่ อ้ งจะเอา เงินมาฝากให้ ใกล้วนั ฝากเขาจะโอนเงินกันเข้ามา ส่วน ใหญ่จะครบกันตัง้ แต่วนั ที่ 9 วันที่ 10 ให้เวลาถึง 10 โมง ใครเกิน 10 โมงจะถูกกาแดงไว้ เขาค่อนข้างจะกลัว กากบาทสีแดงเพราะมันมีผลต่อการพิจารณาเงินกู้


ขวัญเรียม จิตอารีย์

สมาชิกของเราเลยมีวินัยกันมาก” พี่นกเล่าพร้อมกับ กางสมุดเงินฝากให้ดู ไม่มีกากบาทสีแดงให้เห็นแม้แต่ รายเดียว หากนับเวลาจาก พ.ศ. 2550 จนมาถึง พ.ศ. นี้ (2555) รวมระยะเวลา 6 ปี ปัจจุบันจ�ำนวนสมาชิกคือ 367 คน จากยอดแรก 12,000 บาท วันนี้ยอดเงินฝาก เพิ่มขึ้น 58,140 บาททุก ๆ เดือน ยอดรวมทั้งหมดอยู่ ที่สองล้านกว่าบาท ครัวเรือนอีกไม่กี่หลังที่ยังไม่ได้เข้า ร่ ว มก็ ก� ำ ลั ง จะเป็ น สมาชิ ก ในปี ห น้ า ถึ ง ตอนนั้ น คน ผาสิงห์ก็จะเป็นนักออมกันทุกบ้าน

111


112

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

การออมท�ำให้เกิดการเรียนรูแ้ ละวิธคี ดิ ต่อระบบ การใช้จ่ายเงิน โดยเฉพาะการท�ำบัญชีครัวเรือนที่กลุ่ม สาธารณสุขหมู่บ้านได้เข้ามาฝึกสอนให้กับแต่ละบ้าน พี่นกเล่าถึงวิธีการจัดการเงินของคนที่นี่ให้ฟังว่า “ถ้าได้เงินมาเขาจะแบ่งออมก่อน แล้วค่อยจ่าย ส่วนที่เหลือตามความจ�ำเป็น บางคนไม่เคยรู้เลยว่าใช้ จ่ายอะไรไปบ้าง เงินมาแล้วหายไปไหน ตอนนีร้ กู้ นั แล้ว” การรูจ้ กั วางแผนใช้จา่ ยน�ำมาสูก่ ารรูจ้ กั วางแผน ชีวิต หลายคนสามารถส่งเสียลูกหลานจนจบปริญญา ตรีผ่านการฝากเงินกู้เงินกับกลุ่ม ป้าค�ำ สมาชิกกลุ่ม ออมทรัพย์รุ่นแรกที่กู้เงินมาลงทุนเลี้ยงหมู เป็ด ไก่ บอกใครต่อใครว่า “ดีทบี่ า้ นเรามีกลุม่ ออมทรัพย์ ถ้าไม่ ได้กลุ่มออมทรัพย์ก็คงแย่” ส่วนสมาชิกราว 50 คนที่ไม่เคยใช้สิทธิในการกู้ ยืมนั้นบอกว่า “คนบ้านผาสิงห์เราไม่มีอะไรจะช่วยกัน ก็มีแต่เงินออมทรัพย์นี่แหละ สงสารคนที่ท�ำไร่ใส่สวน ให้เขากู้ไปลงทุนเถอะ จะได้มีเงินมีทองส่งลูกเรียน”


ขวัญเรียม จิตอารีย์

113


114

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

“มีลุงคนหนึ่งเดินผ่านที่นี่ทุกวัน เดินไปซื้อเหล้า ป้านายเห็นทุกวัน แกก็ลองคุยด้วย คุยกันบ่อยเข้าป้า นายเลยชวนฝากเงิน เหล้าขวดละ 40 บาท ป้านายขอ เก็บฝากให้ 20 บาท เดี๋ยวนี้จากเคยกินทุกวันก็เบามา บ้าง ลุงแกอยากเอาเงินมาฝากมากกว่า”


ขวัญเรียม จิตอารีย์

พี่นกเล่าถึงจุดเริ่มต้นซึ่งที่ปรึกษาของกลุ่มได้ ริเริ่มท�ำให้ทุกคนเห็น กลุ่มออมทรัพย์จึงเริ่มโครงการ ปลูกฝังการออมแก่เด็ก ๆ ชั้นอนุบาลของศูนย์พัฒนา เด็กเล็กบ้านผาสิงห์ ออมสินกระบอกไม้ไผ่ที่เด็กแต่ละ คนเป็นเจ้าของมีก�ำหนดผ่าตอนสิ้นปี ใครที่ออมเงินได้ มากทีส่ ดุ จะมีรางวัลให้ ส่วนออมสินของกลุม่ ผูใ้ หญ่คอื ข้องทีก่ ลุม่ ผูส้ งู อายุกำ� ลังเร่งมือจักสานส�ำหรับแจกครัว เรือนละ 1 ใบ คาดว่าสิน้ ปีนที้ กุ ครัวเรือนในบ้านผาสิงห์ จะได้รับข้องออมสินครบทั้งหมด และเริ่มออมเงินได้ ในปีหน้า พ่อสุขบอกว่าข้องที่ดูเหมือนข้องใส่ปลานี้ ทางกลุม่ ออกแบบมาเป็นพิเศษ ไม่สามารถเปิดฝาออก ได้ง่าย ๆ เพราะร้อยลวดไว้อย่างแน่นหนา ใครที่แอบ ล้ ว งหยิ บ เงิ น จะถู ก ผิ ว ไม้ ที่ ซ ่ อ นไว้ ข ้ า งในบาด ข้ อ ง ออมสิ น ของคนบ้ า นผาสิ ง ห์ จึ ง มี ไ ว้ ส� ำ หรั บ ออมเงิ น ให้เต็มเพียงประการเดียวเท่านั้น

115


116

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

ถ้าถามคนบ้านผาสิงห์ว่าพวกเขาได้อะไรจาก กลุ่มออมทรัพย์ ค�ำตอบคงมากมายเกินกว่าจะนับ ด้ ว ยระบบออมทรั พ ย์ ไ ด้ เ ข้ า ไปมี ส ่ ว นในทุ ก มิ ติ ชี วิ ต ของคนบ้านผาสิงห์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใคร ด�ำรงชีวิต แบบไหน และคงปฏิเสธไม่ได้ว่าความสุขของคนบ้าน ผาสิ ง ห์ นั้ น ระบบออมทรั พ ย์ มี ส ่ ว นอย่ า งส� ำ คั ญ ยิ่ ง จากเรื่องเงินแปรไปสู่ความเห็นอกเห็นใจ การพึ่งพา อาศัย และความรับผิดชอบร่วมกัน พลังร่วมนี้เองที่ ท�ำให้บ้านผาสิงห์เป็นชุมชนที่เข้มแข็งมีสุขภาวะอย่าง แท้จริงทั้งกายและใจ



ฝากค�ำ

คงไม่มอี ะไรดีไปกว่าการได้ใช้ชวี ติ อย่างมีความสุข ทว่าปัจจุบันค�ำว่า ‘ความสุข’ ดูเหมือนเป็นสิ่งที่หาได้ยาก ยิ่งกว่าเงินทอง คนจ�ำนวนไม่น้อยมุ่งท�ำงานหาเงิน หวัง ก่อร่างสร้างชีวิตที่มีความสุข แต่ขณะเดียวกันพวกเขา กลับหลงลืมว่าโลกที่รายล้อมตัวเราแต่ละคนอยู่นั้นคือ สิ่งที่ประกอบสร้างทั้งสุขและทุกข์ แหละเพราะเรามิได้ ด�ำรงชีวิตอยู่เพียงล�ำพัง ทว่าอยู่ร่วมในสังคมในชุมชน ความสุขของเราจึงขึ้นอยู่กับสภาวะของสังคมหรือชุมชน ที่อยู่รอบตัวเราด้วย ‘สภาวะ’ นี้เองที่จะก่อให้เกิดความ เปลี่ยนไม่ว่าจะในทางสุขหรือทุกข์ จากเรื่องราวของชาวผาสิงห์จะเห็นได้ว่า หลาย ต่ อ หลายครั้ ง สภาวะของปั ญ หาน� ำ พาซึ่ ง องค์ ค วามรู ้ ความร่วมแรงร่วมใจ ความเสียสละ และทางออกทีด่ กี ว่า เดิ ม สิ่ ง ที่ เ รามองเห็ น ในวั น นี้ เ ป็ น เพี ย งภาพภาพหนึ่ ง


ขวัญเรียม จิตอารีย์

ระหว่างการเดินทางไปสูว่ นั ข้างหน้า การเรียนรูแ้ ละร่วม สร้างจากฐานชุมชนเป็นหัวใจส�ำคัญที่ท�ำให้คนผาสิงห์ รู้จักตนเอง รู้ว่าความสุขของพวกเขาคืออะไร คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการได้ใช้ชีวิตอยู่ในชุมชน ทีช่ ว่ ยเหลือเกือ้ กูลกัน มีสภาพแวดล้อมทีด่ ี มีเพือ่ นบ้าน ที่ห่วงใย มีอาหารปลอดภัย มีอาชีพการงานเลี้ยงตน มีการศึกษา มีญาติพี่น้องพร้อมหน้า มีภูมิปัญญาและ ประเพณีวัฒนธรรมอันมีคุณค่าให้เรียนรู้ ชุมชนทีเ่ ป็นสุขอาจมีอะไรอืน่ อีกมากมายเกินกว่า จะกล่าวอ้างได้หมด ความสุขของคนแต่ละทีล่ ะแห่งอาจ ไม่เหมือนกัน และมิได้จ�ำกัดอยู่เพียงรูปแบบใดรูปแบบ หนึ่งเท่านั้น ฉันพบว่าชุมชนเป็นสุขนั้นเชื่อมร้อยผู้คน และทุกมิติของชีวิตเข้าด้วยกัน ความสุขไม่ได้เกิดจาก ใครคนหนึง่ หากแต่อาศัยพลังการมีสว่ นร่วมของสมาชิก ทุกคนบนรากฐานของชุมชนนั้นเอง ต�ำบลผาสิงห์เป็นเพียงชุมชนชุมชนหนึ่งไม่แตกต่างจากที่อื่น แต่หากได้แวะมาเยือน ได้นั่งลงทักทาย พู ด คุ ย จะรู ้ ว ่ า เราทุ ก คนและทุ ก ชุ ม ชนสามารถสร้ า ง ‘สุขภาวะ’ ขึ้นได้ คงดีไม่น้อย หากใครหลายคนได้มาเที่ยวผาสิงห์

119




ความสุข ของคนผาสิงห์ “ความสุขของคนผาสิงห์ก็คือ การที่ทุกคนได้รับสวัสดิการสังคมถ้วนหน้า โดยอยู่บนพื้นฐานการจัดสวัสดิการให้กับตนเอง เพื่อน และสังคม เมื่อเราได้รับแล้วมีการแบ่งปัน และส่งต่อให้กับคนอื่น ๆ ในชุมชน ในสังคมต่อไป ก็เหมือนเราได้ร่วมกันสร้างความสุข และนี่แหละจะน�ำไปสู่การมีความสุขอย่างแท้จริง”


ภานุวุธ บูรณพรหม นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลผาสิงห์


“บ้านเราดีตรงที่อากาศบริสุทธิ์ มีแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติที่ ยังอุดมสมบูรณ์ และยังมีแหล่งเรียนรู้ของกลุ่มต่าง ๆ ที่น่าจะเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนที่พัฒนาให้ยั่งยืนต่อไป” พ่อหลวงชัย พ่อหลวงบ้านผาตูบ หมู่ 7

ป้าพยอม นักบริหารเงินออมบ้านผาสิงห์

“ความสุขอยู่ที่คนบ้านเรา มีความสามัคคีปรองดอง เหมือนพี่เหมือนน้อง มีการงานช่วยเหลือกัน ใครเจ็บเป็นป่วยไข้ มีคนห่วงใยเยี่ยมเยือน จะเป็นความทุกข์หรือ ความสุขมีคนร่วมแบ่งปัน ไปไหนมีคนทักทาย ถามไถ่ทุกข์สุขกันตลอด”


“กินอิ่ม นอนอุ่น หลับดี ฝันดี ก�ำลังกายดี ก�ำลังใจดี ดี ใจที่เพื่อนบ้านไว้ ใจ อยากกินผักปลอดภัยก็ มาหาเรานี่แหละ เขาบอกว่า ซื้อกินที่ ไหนก็ไม่ ไว้ ใจ เท่าของคนบ้านเรา” พ่ออุ๊ยหวัด นักปลูกผักแห่งบ้านฟ้าใหม่

“ความสุขของคนผาสิงห์คงเป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีอะไรเราทุกคนช่วยกัน สิ่งส�ำคัญคือเราเน้นการมีส่วนร่วม ของคนในชุมชนมากกว่าอย่างอื่น”

ป้าแต้ม ผู้ช�ำนาญการน�้ำยาอเนกประสงค์


126

ผาสิงห์ ความสุขแห่งชีวิต

เพลงศักยภาพชุมชน

ค�ำร้อง-ท�ำนอง เรียบเรียงดนตรี ขับร้องโดย

วสุ ห้าวหาญ ศราวุธ ทุ่งขี้เหล็ก ฟางแก้ว พิชญาภา, ศราวุธ ทุ่งขี้เหล็ก, สมชาย ตรุพิมาย

หนึง่ สมองสองมือทีม่ ี รวมเป็นหลายความคิดดี ๆ ออกมายืนตรงนี้ ท�ำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน ไม่ ว ่ า จะอยู ่ ที่ ไ หน เราเป็ น คนไทยเปี ่ ย มความ สามารถ เป็นก�ำลังของประเทศชาติ พัฒนาบ้านเมือง ก้าวไกล เป็นคนเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ก็รักเมืองไทย ด้วยกันทั้งนั้น (สร้อย) หากเราร่วมมือร่วมใจ ท�ำสิ่งไหนก็ไม่เกินแรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรงร่วมมือ สร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมองที่เรา แบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ อยู่ชนบทห่างไกล ท�ำนาท�ำไร่ พอเพียงเลี้ยงตัว ใช้ชมุ ชนดูแลครอบครัว ใช้ครอบครัวดูแลชุมชน ปูพนื้ ฐาน จากหมู่บ้านต�ำบล สร้างแปลงเมืองไทยให้น่าอยู่ดังฝัน


ขวัญเรียม จิตอารีย์

ชุมชนท้องถิ่นบ้านเราเรียนรู้ร่วมกันเพื่อการพัฒนา ชุมชนท้องถิ่นบ้านเราเรียนรู้ร่วมกันช่วยกันพัฒนา อยูต่ ามเมืองใหญ่เมืองหลวง หัวใจทุกดวงซ่อนไฟ มุง่ มัน่ ก้าวออกมาจากรัว้ ทีก่ นั้ จับมือกันท�ำเพือ่ เมืองไทย คนละมือสองมือคือน�ำ้ ใจ โอบกอดชุมชนไว้ดว้ ยความสุข ยืนนาน หนึง่ สมองสองมือทีม่ ี รวมเป็นหลายความคิดดี ๆ ออกมายืนตรงนี้ ท�ำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน หากเราร่ ว มมื อ ร่ ว มใจ ท� ำ สิ่ ง ไหนก็ ไ ม่ เ กิ น แรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรงร่วมมือ สร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมองที่เรา แบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ ด้วย มุ ม มองที่ เ ราแบ่ ง ปั น ใช้ ค วามคิ ด สร้ า งสรรค์ ใ ห้ เ ต็ ม ศักยภาพ

127



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.