หากถามว่าการปฏิบัติธรรมคืออะไร เพื่ออะไร คงมีหลากหลาย คําตอบ แล้วแต่ความเข้าใจและความคาดหวังของแต่ละคน บาง คําตอบ คงจะเป็น "เพื่อการพ้นทุกข์" เพราะทุกคนที่ยังเวียนว่ายตาย เกิดล้วนเคยประสบกับความทุกข์ ดังนั้นความต้องการพ้นทุกข์ พ้น จากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร จึงเป็นที่มาของการปฏิบัติ ธรรม
ด้วยความไม่เข้าใจความหมายของ "การพ้นทุกข์" และคําตรัสของ พระพุทธองค์ว่า "นิพพานัง ปรมัง สุขัง" ที่แปลว่านิพพานเป็นสุข อย่างยิ่ง ทําให้เกิดความเข้าใจผิดว่า นิพพาน คือ ความสิ้นทุกข์ หรือ ไม่มีความทุกข์ มีแต่ความสุข ซึ่งนําไปสู่การปฏิบัติที่ผิดพลาดและ หลงทาง "การมีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์" นั้นไม่มีทางเป็นจริงได้ เพราะ ความสุขและความทุกข์ย่อมเป็นของคู่กัน เป็นธรรมดาของโลก ทั้งสุขและทุกข์ล้วนเป็นสังขาร มีการเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลง และดับไป ตามเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเวทนาขันธ์ เป็นหนึ่งในขันธ์ห้า ความสุขของพระนิพพานที่พระพุทธองค์ตรัสนั้น ไม่ใช่ความสุขที่เป็น เวทนาในขันธ์ห้าอย่างที่เข้าใจผิดกัน แต่เป็นความสุขที่เหนือสุข เหนือ ทุกข์ เพราะเมื่อนิพพานหรือพ้นทุกข์ คือ สิ้นอวิชชา สิ้นความยึดถือ ขันธ์ห้า รวมทั้งเวทนาด้วย จึงเป็นการพ้นไปจากความเป็นตัวตน ภาวะแห่งความพ้นทุกข์ยังมีทั้งความสุข ความทุกข์ ตามปกติธรรมดา ของขันธ์ห้า เพียงแต่ "ไม่มีตัวตน ไม่มีผู้เสวยความสุข ความทุกข์" เท่านั้น จึงไม่เรียกว่า สิ้นทุกข์ แต่เรียกว่า "พ้นทุกข์" นิพพาน จึงหา ใช่ความสุขที่ไร้ความทุกข์ อย่างที่ปุถุชนเข้าใจ
หน้า 1
แท้จริงแล้วการปฏิบัติธรรม คือ การเรียนรู้ ทําความเข้าใจความจริง ของธรรมชาติ รวมทั้งตัวเรา อันจะนําไปสู่การปล่อยวางความยึดถือ ทั้งปวง พระพุทธองค์ทรงค้นพบความจริงของธรรมชาติว่า ธรรมชาติ ทั้งหมดมีเพียงสองสิ่งเท่านั้น คือ สังขาร และวิสังขาร โดยทั้งสองสิ่ง เป็นธรรมชาติที่อยู่ด้วยกันแต่เป็นอิสระต่อกัน
สังขาร หมายถึง ธรรมชาติฝ่ายที่มีการปรุงแต่งประกอบกันขึ้นตาม เหตุปัจจัย และมีลักษณะ 3 ประการ คือ ไม่เที่ยง (อนิจจัง) ต้อง เปลี่ยนแปลง เพราะทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ (ทุกขัง) และ ไม่มีตัวตน ที่แท้จริงไม่ใช่ตัวตน ตัวเรา ของเรา (อนัตตา)
วิสังขาร หมายถึง ธรรมชาติฝ่ายที่ไม่ปรุงแต่ง มีเพียงสิ่งเดียว เท่านั้น คือ ใจ หรือ ธาตุรู้ มีคุณสมบัติคือ ไม่มีรูปร่าง ไม่มีอะไร ปรากฏให้รับรู้ทางอายตนะภายใน คือ ประตูตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่เกิดไม่ดับ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการไป ไม่มีการมา ไม่มีการตั้งอยู่หรือหยุดอยู่ เป็นเหมือนความว่างเช่นเดียวกับความ ว่างของธรรมชาติจักรวาล เป็นที่รองรับการเกิดดับเปลี่ยนแปลงของ สังขาร และไม่ใช่ตัวตน ตัวเรา ของเรา
ทุกสิ่งในธรรมชาติจักรวาลทั้งหมด ทั้งภายนอกร่างกาย รวมทั้ง ร่างกายจิตใจ ล้วนเป็นสังขาร มีเพียงสิ่งเดียวที่ไม่ใช่สังขาร นั่นคือ ใจ หรือธาตุรู้ หรือ วิญญาณธาตุ
หน้า 2
ที่กล่าวว่าสังขารและวิสังขาร เป็นธรรมชาติที่อยู่ด้วยกัน แต่เป็นอิสระ ต่อกัน ดังเช่น ชีวิตหรือขันธ์ห้า ที่เกิดจากรูปขันธ์กับนามขันธ์ (เวทนา ขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ วิญญาณขันธ์) ซึ่งเป็นสังขาร และ ใจ (ธาตุรู้ หรือวิญญาณธาตุ) ซึ่งเป็นวิสังขาร อยู่ด้วยกัน ทํางาน ร่วมกัน
ชีวิตหรือขันธ์ห้านี้ ประกอบขึ้นจากธาตุของธรรมชาติทั้งสิ้น ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ และธาตุรู้ โดยที่ไม่มีส่วนใดเป็น ของเราเลย ดังนั้นชีวิตจึงเป็นสิ่งที่ขอยืมธรรมชาติมาใช้ เป็นเพียง ปรากฏการณ์ ธรรมชาติที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปตามเหตุปัจจัยปรุงแต่ง จึงไม่ใช่เรา ตัวเรา ของเรา แต่ด้วยอวิชชาหรือความไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ยอมรับตามความเป็นจริงนี้ จึงหลงยึดถือว่ามีความเป็นตัวตน ตัวเรา ของเราอยู่จริง ซึ่งความหลง นี้นําเราไปสู่การเกิดเป็นชีวิตในภพชาติใหม่เรื่อยไป โดยอวิชชาที่ติด มากับธาตุรู้ที่ยังไม่บริสุทธิ์จึงเกิดเป็นปฏิสนธิวิญญาณ สร้างร่างกาย จิตใจ เป็นชีวิตที่มีความรู้สึกว่า เป็นตัวตน ตัวเรา ของเราขึ้น และไม่ ว่าเกิดมากี่ภพกี่ชาติ ไม่ว่าเกิดเป็นอะไร เป็นมนุษย์ เทวดา เปรต อสุรกาย สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน ฯลฯ ก็มีความเป็นตัวตน ตัวเรา ของเราติดมาด้วยเสมอ และเป็นเช่นนี้มาอย่างยาวนาน เป็นอนันตกาล
หน้า 3
ในเมื่อมีความหลงเป็นตัวเรา จึงมีความพยายามรักษาความเป็น ตัวเรา หวงแหนตัวเรา ทําทุกอย่างก็เพื่อตัวเรา ซึ่งนําไปสู่การ ปรุงแต่ง ยึดถือตัวตน ตัวเรา ของเรา และดิ้นรน ทะยาน อยาก ไขว่คว้าสิ่งต่างๆ ทั้ง เกียรติยศ เงิน ทอง สมบัติ ความสุข มาให้ ตัวเรา แม้มาปฏิบัติธรรมก็เพื่อไขว่คว้าความสิ้นทุกข์ ความสุข ความ สบายใจ มาให้แก่ตัวเรา จึงเป็นตัณหา อุปาทาน ทําให้เกิดทุกข์ วงจร ปฏิจจสมุปบาทจึงหมุนวนไม่จบสิ้น
พระพุทธองค์ทรงค้นพบเข้าใจความจริงของธรรมชาติ อันเป็นปกติ ธรรมดานี้ และนํามาอธิบายบอกสอนให้สัตว์ทั้งหลายที่หลงผิด ไม่รู้ ตามความเป็นจริง ให้ได้รู้ เข้าใจ และเห็นตามความเป็นจริงว่า แท้จริงแล้วไม่มีใคร ไม่มีเขา ไม่มีเรา ไม่มีตัวตนที่แท้จริง เพราะไม่ เคยมีเรามาตั้งแต่แรก ดังนั้น จึงไม่มีใครติดอยู่ในทุกข์ ไม่มีใครต้อง ออกจากทุกข์
ความพ้นทุกข์ แท้จริงก็คือ การรู้ เข้าใจ เห็นจริงจนแจ้งแก่ใจ นําไปสู่ การสิ้นหลง สิ้นยึดถือตัวตน ตัวเรา ของเราในขันธ์ห้า สิ้นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน หมดความดิ้นรน ทะยานอยาก ยึดถือ ทําเพื่อตัวเรา อีกต่อไป เป็นการตัดวงจรปฏิจจสมุปบาท จบภพชาติ จบการเวียนวน พ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง จบด้วยการสิ้น "ตัวเรา"
หน้า 4
การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง จึงมีแต่การ "ปล่อยวาง" เพื่อสิ้นความหลง ยึดถือขันธ์ห้าว่า เป็นตัวตน ตัวเรา ของเรา จนเข้าใจถึงใจ เป็นความ ไม่มีอะไร ไม่เป็นอะไร การปล่อยวาง หมายถึง การรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น และยอมรับตามความ เป็นจริงของสิ่งนั้น โดยไม่มีการกระทําหรือการพยายามไปแก้ไข ปรับ เปลี่ยน ให้เป็นอย่างที่เราต้องการ การปล่อยวางขันธ์ห้านั้น ย่อมวางด้วยสติปัญญาเป็นลําดับๆ ไป ปัญญาในขั้นต้น เกิดจากการอ่าน การฟังมาจากผู้อื่น เรียกว่า สุตมย ปัญญา แล้วนํามาไตร่ตรองด้วยเหตุและผล ทั้งพิจารณาความจริง ที่ แสดงตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง จนเข้าใจในเหตุปัจจัยด้วยตนเอง (โยนิโส มนสิการ) เป็นปัญญาในขั้น จินตามยปัญญา ทั้งต้องรู้เห็นจริง อย่าง แจ่มแจ้งถึงใจ เป็นจริงที่ใจ เป็นปัญญาในขั้น ภาวนามยปัญญา เมื่อปล่อยวางทั้งสังขารและวิสังขารได้หมดสิ้น หรือ สิ้นผู้เสวย สิ้น ผู้ยึดมั่นถือมั่น ทั้งสังขารและวิสังขาร เป็น วิมุตติญาณทัสสนะ และ เป็น ปัญญาพุทธะ คือ เป็นผู้รู้แจ้ง คือ รู้จริง รู้พ้น รู้สิ้นยึดในสังขาร และวิสังขาร รู้ตื่น คือ ตื่นจากความหลงด้วยอวิชชามานาน รู้เบิกบาน สิ้นกิเลสและพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง
โดยเส้นทางการปล่อยวาง จะเป็นการปล่อยวางจากสิ่งที่หยาบไปสู่ สิ่งที่ละเอียด อันได้แก่
หน้า 5
1. ปล่อยวางรูปขันธ์ (ร่างกาย) ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นและเข้าใจได้ง่ายว่า รูป เกิดจากการรวมกันของ ธาตุดิน จากสเปิร์มของพ่อ และธาตุน้ำ จากไข่ของแม่ เติมด้วยธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ ของ ธรรมชาติ ที่ได้รับจากอาหาร อากาศ และสิ่งแวดล้อมภายนอก
รูปขันธ์เป็นสังขาร ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลง มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตนที่แท้จริง และไม่ใช่ตัวตน ตัวเรา ของเรา จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดถือให้เป็นทุกข์
การปล่อยวางย่อมเป็นไปตามจริตนิสัยและวาสนา (แนวทางที่เคย ปฏิบัติในภพชาติก่อน) บางคนอาจถนัดการพิจารณากายเป็นอสุภะ สกปรก เน่าเปื่อย แตกสลาย เห็นความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนแจ่มแจ้งถึงใจปล่อยวางขันธ์ห้า ก็เป็นได้เช่นกัน 2. ปล่อยวางนาม (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ วิญญาณ ขันธ์หรือจิต) การปล่อยวางนาม เป็นการปล่อยวางสิ่งที่เป็นนามธรรม ซึ่งถูกรับรู้ที่ ประตูใจ โดยธรรมชาติของวิญญาณขันธ์หรือจิต จะทํางานร่วมกับเจตสิก คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ อยู่ตลอดเวลา คือ
หน้า 6
เมื่อเกิดมีการกระทบ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ซึ่งเป็นอายตนะ ภายในขึ้น วิญญาณขันธ์หรือจิตจะทําหน้าที่เป็นผู้รู้ รับรู้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ ซึ่งเป็นอายตนะภายนอก แล้วจะส่งต่อการ รับรู้นั้น และทํางานร่วมกับ เวทนาขันธ์ เกิดเวทนา ถูกใจ ไม่ถูกใจ หรือ ไม่ถึงกับถูกใจไม่ถูกใจขึ้น แล้วส่งต่อการรับรู้เวทนานั้น และทํา งานร่วมกับสัญญาขันธ์ เกิดสัญญา การจําได้หมายรู้ขึ้น แล้วส่งต่อ การรับรู้สัญญานั้น และทํางานร่วมกับสังขารขันธ์ เกิดสังขาร การคิด นึกปรุงแต่งขึ้น และส่งต่อการรับรู้สังขารนั้น ทํางานต่อเนื่องไปอีก
โดยการทํางานของขันธ์ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปเช่นนี้ตลอดชีวิต แต่ ด้วยการทํางานที่เร็วมากกว่าความเร็วแสง ทําให้กระบวนการทํางาน ของธรรมชาตินี้ เกิดดับ ส่งต่อกันอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็วมาก จน ไม่สามารถรับรู้รายละเอียดการเกิดดับได้ จึงรับรู้ได้เหมือนเกิดขึ้น พร้อมๆ กัน
โดยจะเห็นว่าเมื่อมีการรับรู้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ แล้วผู้รู้ (วิญญาณขันธ์/จิต) จะมีการคิดนึก ตรึกตรอง ปรุงแต่ง พูด พากษ์ กระทําอาการต่างๆ อยู่ในใจตลอดเวลา หากไม่ขาดสติหลงไป กับความคิด หรือหลงเหม่อเผลอเพลินไปกับอายตนะภายนอก
ดังนั้น สติ จึงเป็นสิ่งสําคัญตลอดเส้นทางของการปล่อยวาง
หน้า 7
เส้นทางการปล่อยวางนามขันธ์ จากสิ่งที่หยาบไปสู่สิ่งที่ละเอียด หรือ ปล่อยวางจากภายนอกสู่ภายใน คือ ในช่วงแรกหากยังไม่สามารถ เข้าหา และปล่อยวางผู้รู้ (วิญญาณขันธ์/จิต) ได้ ต้องเริ่มจากปล่อยวาง อายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ โดยการมีสติรู้สึกตัว ไม่หลงส่งจิตออกนอก ไปอยู่กับสิ่งที่ถูกรู้เหล่านั้น โดยเฉพาะไม่หลงติดไปกับธรรมารมณ์ อันได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร
ในขั้นมีสติปล่อยวางสิ่งที่ถูกรับรู้ต่างๆ และไม่หลงติดไปกับเวทนา สัญญา สังขาร นี้ ยังมีการยึดถือผู้รู้ (วิญญาณขันธ์/จิต) เป็นตัวเรา เพราะเป็นการเอาตัวเราที่เป็นผู้รู้ ไปปล่อยวางสิ่งอื่น ยังไม่ได้ปล่อย วางผู้รู้ (วิญญาณขันธ์/จิต) เท่ากับปล่อยวางไม่ครบทั้งห้าขันธ์
การปล่อยวางขั้นละเอียด คือ ต้องปล่อยวางผู้รู้ (วิญญาณขันธ์/จิต) ที่มีความรู้สึกว่าเป็นตัวเรานี้ โดยการเข้าหาผู้รู้ และให้มีสติรู้สึกตัว มารู้ เห็นตัวเราที่เป็นผู้รู้ (วิญญาณขันธ์/จิต) ที่คิดนึก ตรึกตรอง ปรุง แต่ง พูด พากษ์ กระทําอาการต่างๆ อยู่ในใจตลอดเวลา ในขณะที่ กระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ และ มีปัญญาเห็น ว่าทั้งหมดนั้น เป็นสังขาร คือ เกิดเอง ดับเอง มีความเปลี่ยนแปลง ทน อยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และไม่ใช่ตัวตน ตัวเรา ของเรา จึงปล่อยวาง สังขารเหล่านั้นทั้งหมด จึงจะสามารถปล่อยวางวิญญาณขันธ์ (ผู้รู้/จิต)
หน้า 8
ดังคําพูดของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ว่า "พบผู้รู้ ปล่อยวางผู้รู้" ซึ่งผู้รู้ (วิญญาณขันธ์/จิต) นี้ ก็คือ ขันธ์ห้าตัวสุดท้าย และในเมื่อวิญญาณ ขันธ์ (ผู้รู้/จิต) ทํางานร่วมกับ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และอาศัยรูปขันธ์ การปล่อยวางวิญญาณขันธ์ (ผู้รู้/จิต) ดังนี้ จึง เป็นการปล่อยวางขันธ์ห้าครบทุกขันธ์ หากไม่ได้เข้าหาผู้รู้ (วิญญาณขันธ์/จิต) ดังนี้ แต่ส่งออกไปอยู่กับ อายตนะภายนอก คือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ โดย เฉพาะอารมณ์โปร่ง โล่ง ว่าง เบา สบาย ที่มีผู้ปฏิบัติจํานวนมาก ไปติดอยู่ คือ มีตัวเราเป็นผู้เสวย เสพอารมณ์นั้น การปฏิบัติเช่นนี้ เท่ากับเดินทางตรงข้ามพระนิพพาน ดังคําพูดพ่อแม่ครูบาอาจารย์ว่า "จิตส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลแห่งจิตส่งออกนอกเป็นทุกข์" จะไม่ สามารถพ้นทุกข์ได้ แต่กลับเดินอยู่ในทางแห่งทุกข์ สมุทัย
ดังนั้นจึงต้องเข้าหาผู้รู้ พบผู้รู้ และปล่อยวางผู้รู้ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ให้ได้ ดังคําพูดพ่อแม่ครูบาอาจารย์ว่า "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็น มรรค ผลแห่งจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ" จึงเป็นทางแห่ง อริยมรรคเพื่อการพ้นทุกข์อย่างแท้จริง
หน้า 9
หากไม่สามารถเห็นตัวเราที่เป็นผู้รู้ คิดนึก ตรึกตรอง ปรุงแต่ง พูด พากษ์ กระทําอาการต่างๆ อยู่ในใจได้ ให้ "เข้าหาผู้รู้" โดยการถาม ตัวเอง ในขณะที่รับรู้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ว่า ใคร เป็นผู้รู้รูป ใครเป็นผู้รู้เสียง ใครเป็นผู้รู้กลิ่น ใครเป็นผู้รู้รส ใครเป็น ผู้รู้สัมผัส ใครเป็นผู้รู้ธรรมารมณ์ ซึ่งจะทําให้เข้าใจและตอบตัวเองได้ ว่า ตัวเรานี้เป็นผู้รู้สิ่งต่างๆ เหล่านั้น ผู้อื่นย่อมไม่รู้ด้วย ซึ่งจะทําให้ พบตัวเราผู้รู้นี้ได้ รวมทั้งขณะที่เห็นว่ามีแต่ความว่าง แต่ไม่เห็นความ คิด แสดงว่ามีตัวเราไปติดอยู่กับธรรมารมณ์ ก็ให้เข้าหาผู้รู้ โดยการ ถามตัวเองว่าใครเป็นผู้รู้ความว่าง เช่นเดียวกัน
3. ปล่อยวางวิสังขาร (ใจ) เมื่อปล่อยวางสังขารทั้งหมด รวมทั้งผู้รู้ ซึ่ง เป็นสังขารตัวสุดท้าย ก็จะพบวิสังขาร (ใจ) โดยอัตโนมัติ เพราะเมื่อ พ้นจากสังขารทั้งมวลก็ย่อมเป็นวิสังขาร แต่คําว่าเป็นนั้น ไม่ได้ หมายความว่าอะไรกลายเป็นอะไร ไม่ได้หมายความว่า ตัวเรากลาย เป็นวิสังขาร แต่หมายถึง ความไม่มีอะไร ไม่เป็นอะไร ที่บริสุทธิ์ ว่าง เปล่า และ เป็นอิสระอย่างแท้จริง เพราะพ้นจากโลก พ้นจากการปรุง แต่งอย่างสิ้นเชิง จึงไม่รู้สึกว่า มีเรา เป็นอะไร หรือ มีใครเป็นอะไร อย่างแท้จริง มีแต่ธรรมชาติที่แสดงตัวอยู่อย่างนั้น โดยไม่มีความ เป็นตัวเราอยู่ที่ใดเลย
หน้า 10
แม้มีความรู้สึกเป็นตัวเราอยู่ ก็เห็นเป็นเพียงสังขารปรุงแต่ง ความเป็นตัวเราอย่างแท้จริง
ไม่มี
เมื่อการปฏิบัติมาถึงจุดนี้ จึงไม่มีใคร ต้องไปทําอะไรให้เป็นอะไรอีก ต่อไป มีแต่ความเป็นเองของขันธ์ห้าตามธรรมชาติ ไม่รู้สึกว่ามีตัวตน ตัวเรา ของเรา สิ้นการกระทําทางใจ สิ้นการปรุงแต่ง สิ้นการปฏิบัติ อะไรให้เป็นอะไร คือว่างจากงานอย่างแท้จริง
ตรงนี้ถ้าผู้ปฏิบัติไม่แม่นยําในทางพ้นทุกข์จริง เมื่อพบใจ (วิสังขาร) แล้วอาจหลงผิดไปยึดถือใจ (วิสังขาร) เป็นตัวเรา หรือมีตัวเราเป็น วิสังขาร เป็นความหลงผิดที่ละเอียดมาก เพราะกลับเป็นการสร้างตัว เราขึ้นมาใหม่ เกิดมี "ตัวตน" มายึดถือใจ (วิสังขาร) หากรู้สึกว่ายังมี ตัวเราเป็นเช่นนี้ ยังมีการกระทําทางใจที่มีตัวเรารองรับ หรือ ยังยึดถือ สิ่งใดอยู่ แม้ว่ายึดถือใจ (วิสังขาร) หรือยึดถือความไม่ยึดถือ ก็เท่ากับ เป็นความยึดถือนั่นเอง เมื่อยังหลงยึดถืออยู่ จึงแปลว่ายังมี "ตัวตนผู้ ยึดถือ" จึงยังไม่สิ้นจากความเป็นตัวตน ยังไม่พ้นอวิชชา ความหลง ผิดที่ละเอียดเช่นนี้ หากไม่มีครูบาอาจารย์ ที่แม่นยําในเส้นทางการ ปฏิบัติและรู้จริงชี้แนะให้ ย่อมทําให้ผู้ปฏิบัติหลงเนิ่นช้าไปอีกนาน จนถึงข้ามภพข้ามชาติ หรืออาจทําให้เข้าใจผิดว่าพ้นทุกข์แล้วก็เป็น ได้
ดังนั้นจึงขอเน้นย้ำว่า การเดินในทางแห่งอริยมรรคเพื่อการพ้นทุกข์ มี เพียงปล่อยวางเสียทุกสิ่ง ทั้งสังขารทั้งหมด ทั้งวิสังขาร ไม่อาจยึดถือ สิ่งใดได้เลย มีสติปัญญาตลอดสาย ที่เห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่รับรู้เป็น เพียงปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ดําเนินไปโดยปราศจากตัวตน เป็นทาง ที่เดินทาง
หน้า 11
สู่ความไม่มี ไม่เป็น ไม่ได้อะไร ไม่มีทั้งตัวเรา ไม่มีทั้งจุดหมาย และ ไม่มีทั้งผู้เดินทาง
เมื่อเข้าใจแจ่มแจ้งจนถึงใจเช่นนี้ แต่ชีวิตยังดํารงอยู่ ธาตุขันธ์ยังไม่ แตกดับ สังขารและวิสังขาร ก็ย่อมทํางานร่วมกันตามปกติธรรมชาติ โดยสังขารมีการเกิด ดับ เปลี่ยนแปลง อยู่ในใจที่ว่างเปล่าดุจความ ว่างของธรรมชาติ ทั้งสังขารและวิสังขาร เป็นธรรมชาติที่ไม่มีตัวเรา อยู่ในนั้น และไม่มีตัวเราอยู่ในที่ใดเลย เป็น "ความไม่มีอะไร ไม่เป็น อะไร" มีชีวิตอยู่อย่างปกติ ธรรมดา เป็นเพียงสักแต่ว่ารู้ คือ อยู่กับ ใจที่มีความรู้อยู่ในตัวเอง ว่าทุกปัจจุบันขณะ "สิ้นผู้ยึดถือ" หรือ "สิ้น ผู้เสวย" เป็นชีวิตที่อยู่กับใจ กินกับใจ นอนกับใจ ไปไหนก็ไปกับใจ และตายไปกับใจที่เป็นธรรม ที่ไม่เกิด ไม่ตาย เมื่อชีวิตถึงคราวตาย ธาตุขันธ์แตกดับ สังขารและวิสังขารก็จะกลับ คืนสู่ธรรมชาติ โดย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ กลับคืนสู่ ธรรมชาติ และหมุนเวียนปรุงแต่งเป็นสังขารอื่นๆ ต่อไป ส่วนธาตุรู้ที่ บริสุทธิ์จากอวิชชา เป็นรู้แบบพุทธะที่รู้แจ้ง สิ้นกิเลสและพ้นทุกข์โดย สิ้นเชิง ก็จะกลืนหายไปเป็นหนึ่งเดียวกับความว่างของธรรมชาติ จักรวาลอย่างเป็นอมตะนิรันดร์
หน้า 12
ความเข้าใจดังกล่าวข้างต้น ถือเป็นพื้นฐานที่สําคัญสําหรับผู้ที่จะเริ่ม ปฏิบัติธรรมในทางแห่งอริยมรรค ผู้เดินทางจึงต้องศึกษาเส้นทาง อย่างละเอียดจนเข้าใจถ่องแท้เสียก่อน แล้วจึงออกเดินทาง โดย อาศัย สติปัญญา ศรัทธา ความเพียร รวมทั้งคอยสอบถาม ขอคําแนะ นําจากผู้รู้ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ ที่ท่านเคยเดินทางผ่านมาแล้วเป็น ผู้ชี้แนะ แก้ไข ข้อผิดพลาดต่างๆ ให้
อย่างไรก็ตามความรู้ ความเห็นที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด หากขาดการ ปฏิบัติจะเป็นแค่เพียง "สัญญา" จําได้ เข้าใจได้ แต่จะไม่เป็นจริงที่ ใจ ถึงใจ จนกว่าท่านจะได้ลงมือปฏิบัติจริง จนรู้จริง เห็นจริง และ เป็นจริง หรือตราบใดที่ทุกอย่างที่รู้แล้วเห็นแล้ว เข้าใจแล้ว ถูกวาง ลงอย่างสิ้นเชิง ทั้งปัญญา ทั้งความเข้าใจใดๆ ก็ตาม เพราะท่าน เข้าใจและเป็นใจนั้นเสียเองแล้ว ท่านก็จะหมดข้อสงสัย และไม่ต้อง ถามใครอีกต่อไป ...เป็นความสงบ สันติ ว่างเปล่า ไร้ตัวตน...
หน้า 13