เส้นทางจิตเห็นจิต e book

Page 1


อวิชชา คือ ความยึดถือตัวตน ตัวเรา ของเรา เป็นเชื้อแห่งการ เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร เป็นตัวเริ่มต้นแห่งวงจรปฏิจจ สมุปบาท ซึ่งนําไปสู่ตัณหา (ความดิ้นรน ทะยานอยาก) อุปาทาน (ความยึดถือ) ไปจนถึง ภพ ชาติ และทุกข์ ในที่สุด

วงจรกิเลสในปฏิจจสมุปบาท ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน โดยมีอวิชชาเป็นตัวเริ่มต้น หากสิ้นกิเลส (อวิชชา ตัณหา อุปาทาน) ก็คือ การพ้นทุกข์
 อวิชชา ก็มาจาก ความไม่รู้เท่าทัน จึงหลงคิดปรุงแต่งไปตามความ เคยตัวเคยใจในการคิด การพูด การกระทํา ด้วยความยึดถือเพิ่ม มากขึ้นเรื่อยๆ มาหลายภพชาติจนถึงปัจจุบัน ประหนึ่งดอกเบี้ยทบต้น

การพูด การกระทําที่เป็นไปในทางยึดถือ ก็มาจากความคิดในทางที่ ยึดถือ ดังนั้น ความคิดจึงเป็นเหตุสําคัญ ที่นําไปสู่การสิ้นกิเลส (สิ้น อวิชชา ตัณหา อุปาทาน) เป็นการพ้นทุกข์ หรือนําไปสู่การเพิ่มกิเลส (อวิชชา ตัณหา อุปาทาน) เป็นเหตุให้เกิดทุกข์


เพราะไม่มีสติ รู้เห็น หรือ รู้เท่าทัน จิตที่กําลังคิดปรุงแต่งในปัจจุบัน ขณะ และไม่มีปัญญา เห็นตามความเป็นจริงว่า จิตที่กําลังคิดปรุงแต่ง อยู่ในปัจจุบันขณะนั้นๆ เป็นเพียงสังขาร เป็นมายา เป็นเพียงความ ปรุงแต่ง ไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มีแล้วก็หายไป ไม่ใช่เรา ตัวเรา หรือ ของเรา (เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
 เมื่อไม่มีสติ ปัญญา จึงหลงคิดปรุงแต่ง หรือ หลงยึดถือจิตที่กําลังคิด ปรุงแต่งในปัจจุบันขณะ ว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเรา เป็นตัวเรา หรือ เป็นของเรา
 ดังนั้นจึงต้องอาศัยความเพียรอย่างหนัก เพื่อฝึกให้มีสติ รู้เห็น หรือ รู้เท่าทัน จิตที่กําลังคิดปรุงแต่งในทุกปัจจุบันขณะ และมีสติ ปัญญา รู้ เห็น หรือรู้เท่าทัน จิตที่กําลังคิดปรุงแต่งในทุกปัจจุบันขณะว่า จิตที่ กําลังคิดปรุงแต่งในทุกปัจจุบันขณะ ไม่ใช่ตัวตน หรือ ไม่มีตัวตน เป็นเพียงมายา ปรุงแต่งขึ้นมา แล้วก็ดับไป ไม่ใช่เป็นเรา เป็นตัว เรา หรือ เป็นของเรา
 เมื่อมีสติ ปัญญา รู้เท่าทัน และ รู้เห็นตามความเป็นจริง จนใจยอมรับ ตามความเป็นจริง (ยถาภูตญาณทัสสนะ) ว่า จิต ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ เรา ตัวเรา หรือ ของเรา ของเขา เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
 หลังจากนั้น ก็ได้แต่ สักแต่ว่ารู้เห็นจิต หรือ ไม่มีผู้ยึดถือจิตที่กําลัง คิดปรุงแต่งในทุกปัจจุบันขณะนั้น อีกต่อไป

เมื่อสิ้นผู้หลงยึดถือ ก็จะสิ้นอวิชชา

เมื่อไม่เป็นอวิชชา ก็จะไม่เป็น ตัณหา ทุกข์

อุปาทาน...ภพ ชาติ..และ


แม้ว่าจะไม่มีผู้ยึดถือกาย (รูป) และจิต (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
 แต่ถ้า.....
 หลงยึดถือ ผู้รู้ ทั้งผู้รู้ที่เป็นสังขาร และผู้รู้ที่เป็นวิสังขาร ก็ยังเป็น อวิชชา ตัณหา อุปาทาน...ภพ ชาติ..ทุกข์
 จิต หรือ วิญญาณ ก็จะเป็นตัวตนในขณะที่หลงยึด หรือเป็นอวิชชา เมื่อธาตุแตก ขันธ์ดับ (ตาย) ถ้ายังไม่สิ้นหลงยึด จิตหรือวิญญาณก็ จะเหลือตัวตน ไปรับกรรมในภพใหม่ต่อไป
 
 ผู้รู้ที่เป็นสังขาร คือ วิญญาณขันธ์ ที่ทํางานร่วมกับเจตสิก คือ เวทนา สัญญา สังขาร ทุกปัจจุบันขณะ หรือ
 ผู้รู้ที่ปรุงแต่ง เกิดดับได้ เป็นขันธ์ห้า มีความถูกใจ ไม่ถูกใจ จําได้ หมายรู้ คิดปรุงแต่งได้
 ส่วน ผู้รู้ที่เป็นวิสังขาร คือ วิญญาณธาตุ หรือ ธาตุรู้ ที่มาผสมกับ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ แล้วเกิดเป็นนามรูป หรือ ขันธ์ห้า ขึ้นมา มีชื่อสมมติว่า ใจ หรือจิตเดิมแท้
 ถ้าหลงยึดถือว่า เราเป็นผู้รู้ หรือ ผู้รู้เป็นเรา ก็จะเป็น อวิชชา....
 หรือ หลงยึดถือผู้รู้ ซึ่งเป็น ใจ หรือจิตเดิมแท้ ว่าเราเป็นผู้รู้ หรือผู้ รู้เป็นเรา
 หรือ เมื่อมีอาการของใจอย่างไร ก็หลงยึดถือเอาอาการเหล่านั้น มา เป็นใจของเรา เช่น ใจของเราโปร่ง โล่ง เบา สบาย หรือใจของ เราว่าง หรือ เราสบายใจ เราไม่สบายใจ
 อย่างที่กล่าวนี้ ก็ไม่พ้นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน...ภพ ชาติ..ทุกข์ สรุป ต้องสิ้นยึดถือโดยถาวรสิ้นเชิง ในสิ่งเหล่านี้ คือ
 1. รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่สัมผัสกาย) และธรรมารมณ์
 (อารมณ์ที่ถูกรู้)


2. จิตที่กําลังคิดปรุงแต่งในทุกปัจจุบันขณะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ และ
 3. ผู้รู้ ทั้งผู้รู้ที่เป็นสังขาร และผู้รู้ที่เป็นวิสังขาร
 จึงจะสิ้น อวิชชา..ตัณหา อุปาทาน...ภพ ชาติ..ทุกข์ โดยถาวรสิ้นเชิง



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.