ปุจฉาวิสัชนา เดือนมิถุนายน 2560

Page 1

ปุจฉา - วิสัชนา มิถุนายน 2560


หยุดที่ใจในปัจจุบัน ผู้ถาม : หลังจากฟังหยุดที่ใจ จบที่ใจแล้ว ทำให้ เกิดความเข้าใจที่ถ่ายทอดออกมาว่า ธรรมแท้ ๆ ต่างจากธรรมที่เอามาพูดกันอย่างไร เพราะจบที่ใจจึงจบได้จริง เพราะแท้จริงไม่มีอะไร ในนั้นเลย จะว่าไม่ต้องเดินทางก็ใช่ เพราะไม่มีผู้ ต้องเดินทาง เส้นทางความจบที่แท้จริงจึงไม่ได้จบ จากการใช้สังขาร ไม่ได้จบจากการใช้ความปรุง แต่ง ไม่ได้จบจากการรู้มากเข้าใจมาก แต่จบออก มาจากใจที่ไม่ปรุงแต่ง ความไม่ปรุงแต่งนั้นมีอยู่ แล้ว เต็มอยู่แล้ว สมบูรณ์อยู่ในตัวแล้ว ไม่มีสิ่งใด ต้องเติมเข้าไปได้อีก ไม่ได้ต้องไปพยายามหาด้วย ความเข้าใจ ไม่ได้ต้องไปพบด้วยการค้นหา ไม่ได้ ต้องไปพบด้วยวิธีปรุงแต่งใด ๆ ทั้งสิ้น แต่พบ เพราะจบการปรุงแต่งดิ้นรนทะยานอยากทั้งหลาย ทั้งมวลในใจ


แต่เมื่อใดก็ตามที่ยังไม่เข้าใจในธรรมแท้ ๆ เมื่อ นั้นก็ยังต้องปรุงแต่ง เมื่อนั้นก็ยังต้องดิ้นรนค้นหา เมื่อนั้น ก็ต้องพยายามทำความเข้าใจ วนกันไปไม่จบไม่สิ้น จนกว่าเมื่อไหร่ที่เข้าใจตัวใจหรือเข้าไปถึงใจจริง ๆ เมื่อ นั้นก็จะรู้เองว่า มันจบของมันอยู่แล้วในตัวเอง เพราะไม่มี ใครต้องจบอะไรอีก มันเกิดมันดับของมันอยู่แล้ว เพียง แค่ ... หยุดที่ใจในปัจจุบันเท่านั้นเอง

หลวงตา : เมื่อเรารู้แจ้งแล้ว ต้องหาอุบายคุยกับลูกเมีย ให้เข้ารู้แจ้งด้วย แต่มิใช่บังคับให้เขาฟังเราสอนนะ ผู้ถาม : กราบขอบพระคุณหลวงตาครับ ตอนนี้ผมดีขึ้น เยอะเลยครับ ผมกลับไปทบทวนคำสอนหลวงตาที่ว่า ให้ สังเกตดูที่ใจว่ามันจะไปเอาอะไรไหม ตอนนี้ใจมันมีกิเลส จะไปมีไปเอาอะไรไหม ทำให้คอยดูจิตดูใจของตนเอง ตลอดเวลา ว่าขณะปัจจุบันนี้มันจะไปเอาไปเป็นอะไรหรือ เปล่า ถ้ามันจะไปเอาจะไปเป็นอะไร ก็รู้เฉย ๆ ซึ่งอาการดู ดังกล่าวเป็นเหมือนกับการพูดกับตัวเอง จิตมันพูด


ผลของการปฏิบัตินี้ทำให้เวลาอยู่กับครอบครัว แล้วผมแบ่งเวลาให้ครอบครัวทำให้ไม่เครียด ไม่กังวล ว่าจะทำให้เสียเวลา (เหมือนกับที่หลวงปู่ชาถูกอาจารย์ ของท่านใช้ให้เย็บผ้า แล้วท่านกังวลว่าทำให้เสียเวลา เดินจงกรมครับ) เพราะเมื่อถึงเวลาอยู่กับครอบครัวแล้ว เกิดกังวลขึ้นมาก็จะถามตัวเองว่าขณะนี้จะไปเอาอะไร มันก็จะตอบว่าจะปฏิบัติธรรมเพื่อความก้าวหน้า นั่นคือ จะไปเอาอะไรแล้ว มันเป็นกิเลสครับ เมื่อรู้ว่ามันเป็น กิเลสก็รู้อยู่เฉย ๆ แต่ใจมันก็ดูใจของมันอยู่ ไม่ได้มี อะไรเกิดขึ้นครับแต่จิตรู้สึกปกติดีครับ ผมขอกราบ ขอบคุณพ่อแม่ครูอาจารย์ที่เมตตาเป็นห่วงครับ ผมจะ พยายามปฏิบัติตามที่หลวงตาสอนต่อไปเรื่อย ๆ ครับ

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560


ให้ฝึกปล่อยวางอย่างต่อเนื่อง ผู้ถาม : ตอนนี้ศิษย์เข้าใจคำว่ารู้ที่ไม่มีตัวตน กับรู้ด้วย ใจแล้วครับ ก็ปฏิบัติอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ และอยากเรียน ถามหลวงตาว่าสามารถสลับไปปฏิบัติสมถกรรมฐานได้ ไหมครับ หลวงตา : ให้ฝึกปล่อยวางอย่างต่อเนื่องจะดีกว่านะ เพราะท่านยังมีความอยาก ความเครียด อยู่ภายใน ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560


อวิชชาดับเพราะสิ้นหลงยึดสังขาร ผู้ถาม : อวิชชาเป็นสังขารหรือวิสังขารครับ หลวงตา : อวิชชาเป็นสังขาร จึงดับได้ ผู้ถาม : ขอบพระคุณครับหลวงตา ถ้าอวิชชาเป็น สังขาร แล้วเราสามารถรู้สึกถึงมันได้เหมือน วิญญาณขันธ์ ไหมครับ ถ้าเรารู้สึกถึงมันได้เราก็จะ ดับได้ง่าย หรือรู้สึกถึงมันได้แค่ในทางอ้อม คือไป ดับที่ความยึดแล้วอวิชชาก็จะดับไปเอง หลวงตา : ถูกต้องแล้ว หรือสามารถสังเกตเห็นได้ ว่ายังมีพฤติกรรมที่พยายามทำอะไรเพื่อ เช่น เพื่อให้จิตของเราโปร่ง โล่ง เบา สบาย สงบ นิ่ง ว่าง


หรือเพื่อให้ตัวเรารู้แจ้ง หรือเพื่อให้ตัวเราบรรลุนิพพาน หรือมีความหงุดหงิด ดิ้นรน ผลักไสอารมณ์ที่ไม่ ชอบใจ หรือเกลียดทุกข์ รักสุข ดีรัก ชั่วชัง เป็นต้น หรืออวิชชาก็เกิดจากหลงยึดถือเอาสังขาร (ความปรุงแต่งหรือขันธ์ห้า) มาเป็นตัวเรา แล้วเอาตัว เราไปเป็นผู้คิด หรือปรุงแต่งแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ โดยไม่ได้เป็นใจที่ไม่อาจคิดหรือปรุงแต่งได้ คือเป็นวิ สังขารหรืออสังขตธาตุ ถ้าสิ้นหลงยึดถือสังขาร หรือสิ้นหลงคิด หรือ หลงปรุงแต่งแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ก็จะเป็นใจที่ไม่ อาจคิดหรือปรุงแต่งได้โดยอัตโนมัติ อวิชชาก็จะดับ เพราะเป็นใจที่อาจไม่ปรุงแต่ง จึงไม่อาจยึดถือได้ อวิชชาเป็นสังขาร จึงดับได้ ผู้ถาม : ชัดเจนแจ่มแจ้งครับหลวงตา ศิษย์จะตั้งใจ ปฏิบัติต่อไป กราบขอบพระคุณครับหลวงตา ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560


ปฏิบัติสติปัฏฐานสี่ คือ ให้มีปัญญาปล่อยวางขันธ์ห้า ผู้ถาม : แนวที่หลวงตาสอนแบบนี้จะใช่สติปัฏฐานสี่ ไหมคะ หลวงตา : หลวงตาก็สอนอยู่ในสติปัฏฐานสี่ คือ มีสติ ปัญญา สักแต่ว่ารู้ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตใน จิต ธรรมในธรรม ก็คือ ให้ปล่อยวางขันธ์ห้า หรือ ร่างกายจิตใจของตัวเราเอง คือ ให้มีสติปัญญาปล่อยวางสังขารที่ปรุงแต่ง คือร่างกายจิตใจของตนเอง เห็นว่าไม่ใช่ตัวตนของเรา จริง ๆ เป็นตัวสมมติ มีความไม่เที่ยงตลอดเวลา เกิด ตั้งอยู่เพียงชั่วคราวแล้วดับไป ไม่หลงยึดมั่นถือมั่น ร่างกายว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา เป็นตัวตนของเรา หรือ หลงยึดมั่นถือมั่นจิตปรุงแต่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา หรือเป็นตัวตนของเรา คือยอมรับว่าร่างกายไม่เที่ยง ต้องตาย แตก ดับ


แต่หลงยึดถือผิด ๆ ว่า มีตัวเรา หรือมีตัวตน ของเราอยู่ในตัวเรานี้ เมื่อไม่สิ้นหลงยึดถือที่ผิด ๆ ทั้ง ๆ ที่ในร่างกายของเราก็ไม่มีตัวตนของเรา ดังนั้น เมื่อขันธ์ห้าแตกดับ แต่ความหลงยึดถือร่างกาย และ จิตใจว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา หรือเป็นตัวตนของเรายัง ไม่สิ้น จึงหลงเหลือความหลงรู้สึกว่ามีตัวเรา หรือ เหลือตัวเราไปเกิดให้เป็นทุกข์อีก และทุกขณะปัจจุบัน เมื่อหลงว่ามีเรา ตัวเรา หรือตัวตนของเรา ก็จะหลงเอาตัวเราไปคิดปรุงแต่ง หลงรัก หลงชัง ให้เกิดกิเลส ตัณหา และความทุกข์ สิ้นหลงยึดถือว่ามีเรา ตัวเรา หรือตัวตนของ เรา ก็สิ้นหลงคิดปรุงแต่งเอาตัวเราไปยึดถือ ก็สิ้น กิเลส ตัณหา และความทุกข์

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2560


สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดับไป ผู้ถาม : การที่เราจะรู้อะไรนั้น ย่อมมีเหตุแห่งการกระทบ จึงจะรู้ได้ เมื่อรู้ได้แล้ว สุขก็ดีหรือจะเป็นความทุกข์ก็ดี ผู้มีสติขณะใดขณะหนึ่ง ก็ควรกำหนดรู้ว่าอะไรมากระทบ ที่ทำให้เรารู้ แล้วก็กำหนดรู้สิ่งที่มากระทบนี้อีกทีว่ามัน ดับหรือยัง ถ้าเรามีสติไม่ลืมหลง เราจะเห็นสิ่งที่มา กระทบนั้นมันดับทันที เพราะความจริงมีอยู่ว่า เกิดที่ไหน ก็ดับที่นั่น ดังนั้นใจก็จะรู้และเห็นความไม่เที่ยง เมื่อใจรู้ และเห็นความไม่เที่ยง ไม่มีตัวไม่มีตนถือครองไม่ได้ ใจ ก็จะละได้เอง ผมเข้าใจถูกไหมครับหลวงตาครับ หลวงตา : ถูกแล้ว ให้เพียรเห็นความไม่เที่ยง ไม่มีแก่น สารสาระ เป็นทุกข์ ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ ไม่มีตัวตน คงที่ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่มีตัว ตนของเราอยู่ในตัวเรา ทั้งร่างกายและจิตใจ รวมทั้งสิ่ง ที่มากระทบแล้วเอาเข้ามาคิดปรุงแต่งในใจ เป็นเพียง สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามเหตุปัจจัย สิ่งทั้งหมดนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดาเมื่อสิ้นเหตุปัจจัย “ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง สัพพันตัง นิโรธธัมมันติ” ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2560


ถ้ากลัวว่าจะตาย แสดงว่ายังหลงยึดถือ ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาค่ะ จากการดูจิตตอนนี้ มันรู้สึกถึงใจ เข้าใจจากใจแล้วค่ะว่าตัวเราไม่มี เพราะ มันหาตัวเราไม่ได้ ตัวเราไม่มีที่อยู่ อาการ, ความรู้ และความรู้สึกทุกอย่างคือขันธ์ห้าทั้งหมด ที่ต้องอาศัย เค้าไปจนกว่าจะสิ้นสังขาร แม้แต่ตัวที่เข้าใจว่าตัวเรา ไม่มีก็คือสังขาร บางครั้งเวลาปล่อยวางรู้สึกเหมือนตัว จะแตกหรือมีอะไรจะพุ่งออกมา มันเหมือนร่างกายมัน รับไม่ไหวค่ะ แต่หนูก็เข้าหาผู้รู้ไม่สนใจอาการ สักพัก อาการนี้ก็จะหายไปค่ะ หลวงตา : ให้มันแตกกระจายออกไปหมดไม่เหลือตัว เหลือตน อย่ากลัวว่าจะตายนะ ถ้ากลัวว่าจะตาย แสดงว่ายังหลงยึดถือ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2560


ปล่อยวางแม้สติ สมาธิ และปัญญา ผู้ถาม : ก่อนที่นิพพานจะเข้าสวม ต้องปล่อยวาง สังขารตัวสุดท้าย ซึ่งก็คือสติด้วยหรือเปล่าครับ หลวงตา หลวงตา : สติมีอยู่ เพื่อความปล่อยวาง แต่ไม่มีผู้ ยึดถือสติ เรียกว่าปล่อยวางแม้สติ สมาธิ และปัญญา ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2560


อาศัยตัวเราเป็นเครื่องอ่านจิตอ่านใจ ตลอดเวลา แต่ไม่มีใครยึดถือ ผู้ถาม : กราบขอโอกาสส่งการบ้านค่ะหลวงตา การภาวนาคือการที่เราทำตัวเป็นเหมือน เครื่องอ่าน เครื่องอ่านย่อมมีหน้าที่อย่างเดียวคือ "อ่าน" เครื่องอ่านย่อมคิดไม่ได้ ปรุงต่อไม่ได้ พยายามทำอะไรไม่ได้ ทำได้แค่ "อ่าน" อ่านอะไร ? ก็อ่านความคิด อ่านสิ่งที่เกิดดับ อยู่ในใจเรา วันใดที่เครื่องอ่านพัฒนาขึ้นจนกลายเป็น เครื่องอ่านชั้นเลิศสมบูรณ์แบบ สามารถอ่านทุก ๆ ความคิด ทุก ๆ ความชอบ ไม่ชอบ เกลียด กลัว ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ความพยายามจะ ไปทำอะไรเพื่ออะไร ความปรารถนาทุก ๆ ปรารถนาที่ซ่อนอยู่ภายในใจของเรา


โดยเครื่องอ่านทำหน้าที่แค่อ่าน ไม่ต้อง พยายามปล่อยวางหรือไล่ดับความคิด เพราะเมื่อมัน อ่านความคิดใหม่ก็ย่อมเป็นการปล่อยวางความคิด เก่าโดยอัตโนมัติ วันที่เครื่องอ่านทำหน้าที่ของมันได้ อย่างสมบูรณ์แบบ เมื่อนั้นเราก็พ้นทุกข์ กราบหลวงตาด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ หลวงตา : สาธุ ดูให้ดีนะเครื่องอ่านประมวลผลได้หรือ เปล่า ถ้าเครื่องอ่านประมวลผลได้ ก็เพียงอาศัยมี เครื่องอ่านจิตอ่านใจตลอดเวลา แต่ไม่มีใครยึดถือ เครื่องอ่านนั้น ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2560


หยุดที่ใจ จบที่ใจ ผู้ถาม : ศรัทธาพระพุทธเจ้า ผมปรารถนาพ้นทุกข์ โดยศึกษาคำสอน เพื่อเดินตามทางที่พระองค์ทรง เมตตาชี้แนะไว้ให้มาตลอดชีวิต เข้าใจหลวงตาหมดทุกคำสอน พูดออกมา ได้ทุกฉากตอน แต่ไม่พ้นทุกข์ เพราะไม่ยอมหยุด ตอนนี้รู้แจ้งแล้วว่า แค่หยุดที่ใจเราเอง อยู่กับใจ ตนเองที่ไม่เอาไม่หวังอะไรอีกแล้ว ไม่ต้องรู้ต้องเห็น อะไรเป็นพิเศษ ไม่ดิ้นรนหาวิธีใดอีกแล้ว ... พอแล้ว จึงหยุด หยุดที่ใจเรา สงบ จบที่ใจ น้อมกราบเท้า หลวงตาที่เคารพอย่างสูง หลวงตา : สาธุ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2560


อย่าทิ้งรู้ แต่ไม่ยึดรู้ ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาเจ้าค่ะ ลูกได้กราบ เรียนหลวงตาในคอร์สที่ศาลาธรรมปทุมธานีว่า จะ เพียรรู้ละปล่อยวางออกจากความชอบความชังทุก ขณะจิต ทุกขณะอารมณ์ปัจจุบัน กลับมาจากคอร์สลูก ก็มีสติตั้งที่ใจที่หลวงตาสอน รู้ละปล่อยวางไปทุก ขณะปัจจุบันไม่ได้ขาด กระทบแล้วพูดพากษ์บ่น หรือ มีอาการกระเพื่อมวาบ ๆ ใด ก็รู้ละปล่อยวางไป เมื่อคืนขณะที่เดินจงกรมลูกก็เพียรสังเกตรู้ละวางไป ขณะที่สังเกตอยู่มันรู้เข้าใจอะไรขึ้นมา มันก็จะมีผู้รู้ที่รู้ ซ้อนไปอีกที ที่มันปรุงมีเรารู้ เรารู้ เรารู้ ... ลูกก็รู้ ละวางต่อไป


จนขณะหนึ่งมันเหมือนความรู้สึกบางอย่างที่มัน เห็นว่าสุดไอ้ความปรุงตัวเรา ตัวเรา ตัวเรา ... มันไม่มี อะไรอีก มันเหมือนสุดขอบแล้ว มันเหมือนหลุดจากโลก ออกมาข้างนอก เหมือนโลกนั้นมันปรุงซ้อน ๆ กันอยู่ แต่ ข้างนอกนั้นมันเงียบ มันไม่เคลื่อนไหว แต่มันก็รับรู้อยู่ แต่ข้างนอกนั้นไม่มีตัวเรานะเจ้าคะ เห็นแป๊บขณะหนึ่งมัน ก็ปรุงต่อ ต่อสิ่งที่รับรู้นั้นต่อ ลูกขอกราบเรียนถามหลวงตาว่า หน้าที่ต่อไป ของลูกคือปรุงอะไรก็รู้ละปล่อยวางต่อไปใช่ไหมเจ้าคะ หรือหากลูกเห็นผิดอย่างไร กราบหลวงตาชี้แนะสอนสั่ง ด้วยเจ้าค่ะ


และลูกกราบขอขมาโทษที่รบกวนธาตุขันธ์ หลวงตาเจ้าค่ะ ลูกจะตั้งใจประพฤติดำรงตนในศีล ใน ธรรม และปฏิบัติบูชาคุณพระพุทธเจ้า พ่อแม่ครู อาจารย์ และบูชาคุณหลวงตาที่เมตตาสู้ตรากตรำธาตุ ขันธ์เพื่อพร่ำสั่งสอนพวกเราทุกคนจนกว่าชีวิตจะหาไม่ เจ้าค่ะ น้อมกราบหลวงตาเจ้าค่ะ หลวงตา : รู้อย่างนั้นแหละ เขามีอาการหรือมีสภาวะ อย่างใดก็ได้แต่แค่รู้ หรือ อยู่กับรู้ หรือ อยู่กับใจของ เจ้าของ ที่มีแต่รู้ที่ไม่มีตัวใจหรือไม่มีตัวรู้ ไม่อาจคิด หรือไม่อาจปรุงแต่งได้ รู้ไม่คิด คิดไม่ใช่รู้ ไม่เอาใจของเจ้าของไปอยู่ กับอะไร เป็นใจที่รู้ซื่อ ๆ ไม่เป็นคนคิด แต่รู้ทุกคิดไม่ ติดไป และไม่หักหาญ และไม่พยายามไปดู หรือ พยายามไปรู้อะไร


ได้แต่แค่สักแต่ว่ารู้ ไม่มีผู้เสวย ไม่มีผู้ยึดมั่น ถือมั่น ไม่มีความคาดหมายยึดถือว่าอยากจะให้ เป็นอะไร หรือ เพื่อจะไปเอาอะไร ไม่มีผู้ยึดถือทั้งสิ่ง ที่ถูกรู้ และ ผู้รู้ ว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา เป็นตัวตนของ เรา หรือมีตัวเราเป็นผู้รู้ อย่าทิ้งรู้ แต่ไม่ยึดรู้ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2560


ได้แต่แค่รู้ ไม่แม้แต่พยายาม รักษาผู้รู้ไว้ ปล่อยวางหมด ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตา ขออนุญาตสรุป แนวทางในการปฏิบัติธรรมดังนี้ และขอความเมตตา หลวงตาแนะนำค่ะ 1. สำหรับผู้ฝึกใหม่ในการปฏิบัติธรรมเริ่มจาก การฝึกให้มีสติ ด้วยหลักคือ บริกรรมเป็นพุทโธ / พอง หนอ ยุบหนอ ระหว่างที่ฝึกเมื่อมีความคิดหรือภาพเกิด ขึ้น รู้แล้วดึงกลับมาที่หลักคือพุทโธ ในขั้นนี้จะไม่เห็น การพากษ์ในหัว 2. เมื่อฝึกจนได้สติระดับหนึ่ง ตอนนั่งสมาธิ จะ เห็นการพากษ์เกิดขึ้น เช่น กายเบา กายร้อน ทุกข์ สุข หรือเห็นคิดโน่นนี่นั่น แล้วว่าง แล้วมีการพากษ์ใหม่ แล้วว่าง สลับไปมาแบบนี้จนเราตายจากโลกนี้


3. กรณีเดินจงกรม เมื่อผัสสะกับสิ่งใดก็จะ เกิดการพากษ์ในเรื่องนั้น ๆ แล้วว่าง สลับแบบนี้ไป จนตาย 4. กรณีรู้ที่ปรมัตถ์ที่กาย แล้วรู้สึกหนักเบา สบายหรือทุกข์ จะมีเสียงพากษ์ตามเบา หนัก สบาย หรือทุกข์ (ก่อนที่จะได้รู้จักหลวงตา จะจมหรือไหลไป กับปรมัตถ์ โดยไม่มีเสียงพากษ์ค่ะ) หลวงตา : รู้เห็นเสียงพากษ์ในใจ อย่างต่อเนื่องไม่ ขาดสาย ได้แต่แค่สักว่ารู้ สักว่าเห็น ไม่มีผู้เสวย คือ ไม่หลงติดไป ไม่คล้อยตาม ไม่หักหาญ ไม่ ทำลาย ... จนในที่สุดได้แต่แค่รู้ ไม่แม้แต่พยายาม จะรักษาผู้รู้หรือรักษาตัวเองไว้ ปล่อยวางหมด ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2560


อย่าอยู่กับของตาย ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาเจ้าค่ะ เมื่อวานนี้ ได้ฟังคำสั่งสอนของหลวงตา ทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเจ้าค่ะ * ไม่มี - มี - ไม่มี จากที่ไม่มีเราในโลกนี้ ก็เกิดการรวมธาตุทั้ง 4 จากพ่อกับแม่จนเป็นวิญญาณขันธ์ แล้วตามด้วย วิญญาณธาตุ จนเกิดมาเป็น “เรา” จนถึงวันนี้และ จนถึงวันตาย แล้วจะมีอะไรหละ ? “เรา” ไม่มี จริง ๆ เป็นแค่การรวมกันของธาตุเท่านั้น แล้วทำไมยังมา มัวยึดถือกันอยู่


* วิญญาณขันธ์ - วิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์ ก็คือขันธ์ห้าของเรานั้นเอง รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ ที่บอกว่า “ของเรา” ก็เพราะว่าเป็น “เรา” ที่ยึดถืออยู่นั่นเอง รูป (ร่างกาย) หรืออายตนะภายใน ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ รับรู้ อายตนะภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ หรือ “สิ่งที่ถูกรู้” แล้ววิญญาณหรือที่เรียกว่า “เรา” ก็เกิด เวทนา สัญญาและสังขาร คิดปรุงแต่งไป ตามนิสัยหรือสันดานที่สั่งสมกันมาของแต่ละคน * วิญญาณธาตุ ก็เกิดมาพร้อมกันกับวิญญาณ ขันธ์หรือ “เรา” แต่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน เพราะเรารู้จัก แต่ “เรา” ซึ่งเป็นผู้คิดปรุงแต่ง ไม่เคยรู้จักวิญญาณธาตุ หรือ “ผู้รู้” ซึ่งมีหน้าที่ “รู้” เท่านั้น รู้ รู้และก็รู้ “รู้” ทุกอย่าง ที่เรา “ปรุงแต่ง” ไม่ว่าเราจะปรุงแต่งหรือคิด หรือทำ อะไรทุกอย่าง “ผู้รู้” จะรู้ทุกอย่างของ “เรา” ไม่ว่าจะเป็น ความลับสุดยอดแค่ไหน


* ผู้รู้ไม่พูด จนได้มาพบพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย ท่านได้เมตตาสั่งสอนให้รู้จัก “ผู้รู้” ให้รู้ว่านอก จาก “เรา” ผู้ปรุงแต่งแล้ว ยังมีผู้รู้ที่รู้ทุกคิดที่สังขารปรุง แต่ง แต่ “ผู้รู้ไม่พูด” ผู้รู้ไม่ทำอะไรทั้งนั้นนอกจาก “รู้” ทางพ้นทุกข์ก็คือ ต้องอยู่กับผู้รู้ ให้รู้ทุกอย่างที่คิดหรือที่ ปรุงแต่งอย่าง “กัดติดจดจ่อหรือไม่ทิ้งรู้” ด้วยความ เป็นกลาง หรือที่หลวงตาสอนอยู่บ่อย ๆ ว่า “รู้ซื่อ ๆ” * ของตาย ของไม่ตาย วิญญาณขันธ์ซึ่งเป็นธาตุมารวมกันที่เกิดขึ้น ตั้ง อยู่แล้วก็ดับไป จัดเป็น “ของตาย” เพราะเกิด ดับอยู่ ตลอดเวลา ทำหน้าที่ปรุงแต่งหรือคิด ส่วนวิญญาณธาตุ ทำหน้าที่รู้ คิด - รู้ คิด - รู้ คิด - รู้ มันจะเกิดขึ้นอย่าง นี้ตลอดเวลาและตลอดไปที่เรายังมีชีวิตอยู่


หน้าที่ของเราคือไม่ว่าวิญญาณขันธ์หรือ “เรา” จะคิด หรือปรุงแต่งอะไรก็ตาม ให้วิญญาณธาตุหรือ “ผู้รู้” เขา ทำหน้าที่รู้ของเขาไป ซึ่งผู้รู้นี้จัดเป็น “ของไม่ตาย” เพราะจะตามติดเราไปตลอดทุกภพทุกชาติจนกว่าเรา จะพ้นทุกข์ไปเป็นความว่างในจักรวาล ผู้ปฏิบัติผู้ไปหลงคิดว่าเป็นตัวเรา เป็นตัวตน ของเราก็เหมือนกำลังอยู่กับ “สิ่งที่ถูกรู้หรือของตาย” หรือจะอยู่กับ “ผู้รู้หรือของไม่ตาย” เราต้องคิดได้เอง ... กราบเท้าหลวงตาด้วยความเคารพอย่างสูงสุด เจ้าค่ะ หลวงตา : สาธุ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2560


มีใจย่อมตามได้ ไร้ใจจะตามที่ไหน ? ผู้ถาม : กราบเท้าหลวงตาค่ะ อ่านเรื่องนี้แล้วเหมือน กับที่หลวงตาสอน ส่งมาให้เผื่อจะมีประโยชน์ค่ะ มีใจย่อมตามได้ ไร้ใจจะตามที่ไหน ? กาลครั้งหนึ่งมีพระกรรมฐานผู้เคร่งครัดนามว่า จินปี้ฟง (

) ท่านปฏิบัติธรรมบรรลุภูมิขั้นสูง

สามารถเข้าฌานตัดกระแสความคิดได้ เมื่อตัดกระแส ความคิดได้ใจจึงว่างเปล่า จึงไม่มีผู้ใดสามารถพบ "ใจ" ของท่านได้ ฮ่องเต้ทราบว่าท่านสำเร็จธรรมขั้นสูง จึงเกิดความเลื่อมใสถวายบาตรหยกเลื่อมทอง (จินปี้) ให้กับท่าน เมื่อได้รับพระราชทานของชั้นเลิศ พระ อาจารย์เกิดความยินดียิ่ง จนเผลอลืมสติเกิดความยึด มั่นถือมั่น


วันหนึ่ง ถึงวาระที่อายุขัยท่านได้หมดลง พญายมราชจึงสั่งให้ยมทูต 2 ตนมาเชิญดวง วิญญาณท่านไป ขณะนั้น ไต้ซือจินปี้ฟงกำลังเข้า ฌานลึก แม้นร่างกายอยู่ที่วัด แต่ยมทูตกลับ ค้นหาดวงจิตของท่านไม่พบ หลังจากหารือกันสัก พักทั้งคู่จึงไปขอความช่วยเหลือจากภุมเทวดา หรือเจ้าที่เจ้าทางแถว ๆ นั้น เมื่อบอกเล่าสาเหตุที่มาขอความช่วยเหลือ แล้ว ภุมเทวดาจึงตรองดูอยู่พักหนึ่ง แล้วบอกกับ ยมทูตว่า ไต้ซือจินปี้ฟงมิได้ยึดติดกับสิ่งอันใด แต่ ก็ใช่ว่าจะพ้นจากตัณหาอุปาทานไปเสียทั้งหมด ยังมีบาตรหยกทองอันล้ำค่านั่นไงเล่า หากพวก เราหาบาตรนั่นให้พบแล้วลองเคาะเบา ๆ สัก 3 ครั้ง ท่านได้ยินเข้าจะต้องออกจากฌานมาแน่ ๆ


ยมทูตจึงไปนำบาตรล้ำค่าออกมาแล้วเคาะเบา ๆ ครั้นไต้ซือได้ยินเสียงก็ตื่นขึ้นหลุดจากฌาน ท่านจึง ซักถามที่มาที่ไป ครั้นทราบว่าตื่นขึ้นมาเพราะเสียง เคาะบาตร ท่านก็เกิดสังเวชในตัวเองว่า นี่เราปฏิบัติ ธรรมมานานหลายปี แต่กลับยังไม่พ้นจากสังสารวัฏ เวียนเกิดเวียนตาย เหตุเพราะยึดมั่นถือมั่นในบาตรอัน นี้แท้ ๆ ไต้ซือจินปี้ฟงจึงร้องขอกับยมทูตว่าก่อนจะ ติดตามไปนรกภูมิ ท่านขอทำอะไรสักอย่างเป็นครั้ง สุดท้าย เมื่อยมทูตอนุญาต ท่านจึงหยิบบาตรล้ำค่ามา แล้วทุ่มลงกับพื้นจนแตกเป็นเสี่ยง ๆ จากนั้นจึงเข้า วิปัสสนากรรมฐาน คราวนี้ไม่มีอะไรให้ยึดติดอีก ไต้ซือจินปี้ฟงดับ หมดสิ้น ไม่เหลือใจให้ใครมาตามล่า พ้นสังสารวัฏไป ตลอดกาล ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2560


ปล่อยวางให้หมดตลอดเวลา ก็จะพบ พุทธะ (ใจ) ที่ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มีตัวตน ผู้ถาม : ครั้งก่อนที่เคยไปกราบหลวงตา และเรียน หลวงตาว่า เห็นสังขาร จิต ปรุงขึ้นจากความว่าง มัวแต่ดีใจว่าเห็นแล้ว หลวงตาได้เมตตาสอนว่า ให้ รักษาศีล 5 โลกวัชชะแล้วปัณณัตติวัชชะ ก็ท่องไป แต่ไม่เข้าใจค่ะ โลกวัชชะยังทำไม่ได้ และไม่เข้าใจ ที่ว่าปัณณัตติวัชชะหมายถึงให้สำรวมใจให้มากขึ้น ใช่หรือไม่คะ หลวงตา : ให้มีความเป็นอยู่ดังนี้ ทั้งการคิด การ พูด การกระทำ คือ ตนเองก็ตำหนิตนเองไม่ได้ โลกวัชชะ คือ โลกก็ตำหนิไม่ได้


ปัณณัติวัชชะ คือ ผู้รู้ก็ตำหนิไม่ได้ จะคิด พูด ทำสิ่งใดในที่ลับหรือที่แจ้ง ให้มีหิริโอตตัปปะ คือ ความละอายแก่ใจ เกรงกลัวต่อบาป ทั้งนี้ เพื่อ ให้ สำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเข้ามาหา ใจผู้รู้ ไม่หลงส่งจิตออกนอก เพลินใจติดไปกับสิ่งที่ ถูกรู้หรืออารมณ์ที่ถูกรู้ทุกขณะปัจจุบัน หลงอดีต คือธรรมเมา หลงอนาคต คือ ธรรม เมา หลงปัจจุบัน คือธรรมเมา ให้สักแต่ว่ารู้กาย รู้จิต ทุกขณะจิตปัจจุบัน หรือ ปล่อยวางร่างกาย หรือกายเนื้อ เพราะเห็นว่า ไม่เที่ยง ต้องแก่ เจ็บ ตาย และ ปล่อยวางจิตต สังขารหรือกายจิต คือ ให้เห็นว่าผู้คิด ผู้แสดงกริยา อาการต่าง ๆ เป็นของเกิดดับ หรือเป็นของตาย ให้ ปล่อยวางให้หมดตลอดเวลา อย่าไปหลงเอาตัวผู้ คิด ผู้มีอารมณ์ว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา หรือเป็นตัวตน ของเรา


เมื่อปล่อยวางกายเนื้อและกายจิต ก็จะพบใจที่ ไม่อาจคิด ไม่อาจปรุงแต่งได้ เรียกว่าพุทธะ ซึ่งไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มีตัวตน ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2560


ไม่มีอะไรยึดถืออะไร ธรรมชาติคง ดำเนินไปตามปกติ จนกว่าสิ้นสังขาร ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาครับ ผมฟังเรื่อง กาย เนื้อกายจิตเป็นของตาย อย่าอยู่กับของตาย แล้วมี ท่านหนึ่งอธิบายว่าความจริงตัวเราไม่มีอยู่จริง เราจึง ไม่จำเป็นต้องหาวิธีการต่าง ๆ ไปทำลายมัน โดนใจ ผมมากครับ ความจริงที่ผ่านมาผมก็เป็นคนหนึ่งที่ พยายามหาวิธีทำลายตัวตนตลอดมา ผมเข้าใจว่าการเห็นจิต การดูจิตนั่นก็เป็นอุบาย หนึ่งในการวางตัวตน เมื่อเราเข้าใจแล้วว่าความจริง ตัวเราไม่มีอยู่จริง ทั้งสังขารและวิสังขารไม่ใช่เราทั้งสิ้น ก็ไม่มีสิ่งใดที่จะไปเอาทั้งสิ้น ไม่มีแม้แต่จะไปเอา วิสังขารหรือนิพพาน


ทุกวันที่กายนี้ยังมีชีวิตอยู่เราเพียงแต่รู้มัน เห็นมัน มันจะเกิดอาการอย่างใดเกิดขึ้นในกายเนื้อ หรือจิตก็เพียงแต่รู้มัน เห็นมัน อยู่กับมันไปตามปกติ ธรรมดาเท่านั้นเอง ผมเข้าใจถูกต้องไหมครับหลวงตา ผมจะต้อง ทำอะไรเพิ่มเติมอีกไหมครับหลวงตา ผมคิดว่าไม่ จำเป็นต้องเพิ่มหรือลดไปอีกแล้วครับ แต่เพื่อความ มั่นใจครับหลวงตา หลวงตา : ถูกต้องแล้ว สังขารกายเนื้อ สังขารกาย จิต และผู้รู้ (วิสังขาร) คงทำหน้าที่ของเขาตามปกติ ธรรมชาติ ไม่มีอะไรยึดถืออะไร ไม่มีตัวตนของเรา ยึดถืออะไร ธรรมชาติคงดำเนินไปตามปกติ จนกว่า สิ้นสังขาร ก็จะมีแต่วิสังขารเท่านั้น ผู้ถาม : ผมเข้าใจแล้วครับหลวงตา ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2560


ให้เข้าใจถึงใจ ผู้ถาม : เกล้า ฯ ... สดับคลิปธรรมทั้ง ๒ แล้วรำลึกได้ ถึง *สัมมาสมาธิ ... อริยมรรคองค์ที่ ๘ / ฌานที่๔ ที่ จบว่า *อุเปกขาสติปาริสุทธึ (ธิง) ซึ่งเกล้า ฯ สำคัญความในว่า ... เป็นทางสายกลาง เหมือนดั่งปฏิรู้บริสุทธิ์ ... ที่พูดถึงกัน อนึ่ง ... อายตนะ (รู้เฉพาะทาง) และเบญจขันธ์ ก็ ทำหน้าที่ตามธรรมชาติบัญญัติ ... ทำหน้าที่ของขันธ์ล้วน ๆ ไม่มีเจ้าของ ผู้รู้ ... ก็รู้บริสุทธิ์ ... ตามหน้าที่ของผู้รู้ อยู่ร่วมปฏิชีวิตกัน ... ต่างอันต่างอยู่ ... ไม่ก้าวก่าย ... หน้าที่เฉพาะทาง ของใครของมัน ผิดถูกประการใด โปรดได้สอนสั่ง กราบเรียนมา ด้วยเกล้า ฯ หลวงตา : สาธุ ถูกต้องแล้ว ให้ถึงใจนะ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2560


ขยันให้ต่อเนื่องทุกขณะจิตปัจจุบัน ไม่หลงไปส่งจิตออกนอก ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาค่ะ ด้วยพลังความ เมตตาที่หลวงตามอบให้ในวันสุดท้ายของคอร์ส รู้สึก รับรู้ถึงความปรารถนาที่จะให้ลูกศิษย์ทุกคนพ้นทุกข์ พ้น ทุกข์ สำหรับตัวเองยอมรับว่า เดี๋ยวรู้ เดี๋ยวก็หลงอีกแล้ว สวิงไปมา อย่างที่หลวงตาเห็นจริง ๆ ทั้งที่มีความตั้งใจ มากที่จะเดินอยู่บนเส้นทางพ้นทุกข์ด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่เดินไปแต่ข้างหน้า ด้วยความไม่รู้ ไม่แน่ใจ การปฏิบัติที่ผ่านทุกขั้นตอน หลวงตาตักเตือนว่า กล่าวมานั้นเป็นความจริงทุกประการในโทษภัยที่เกิดขึ้น กับตัวเอง ทุกเช้าเย็นที่หลวงตาอบรมสั่งสอน รู้ ๆ หลง ๆ ส่งจิตออกนอกไปถึงอดีตที่ผ่านไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่ มา ปัจจุบันก็ขาดสติหลงลืมทำให้หลวงตาต้อง เหน็ดเหนื่อยในธาตุขันธ์ ขอขมาและขออโหสิอีกครั้งค่ะ


ในช่วงแรกที่ฟังธรรมคืนสุดท้ายจบลง ใจห่อ เหี่ยวที่ทำให้หลวงตา ต้องเหน็ดเหนื่อยในธาตุขันธ์ ก็กลับมาตั้งใจฟังแต่ละตอนจนถึงเรื่องจบซะที ซึ่ง คำสอนแนะนำการปฏิบัติให้กับคุณป้าวัย 85 เป็น ธรรมที่เข้าสู่ใจ รู้สึกถึงใจที่ฟูขึ้น เข้าใจวิธีที่หลวงตา ให้ทำความเพียรขยันให้ต่อเนื่องจดจ่อ ในทุกขณะ จิตปัจจุบัน ไม่หลงไปส่งจิตออกนอก ซึ่งวิธีการอ่าน และฟังที่หลวงตาเมตตาแนะนำจะช่วยไม่ให้ฟุ้งซ่าน อีก ก็เป็นการบ้านที่รับมาและก็จะน้อมนำมาปฏิบัติ กราบขอบพระคุณ หลวงตา และด้วยบุญ กุศลที่ตั้งใจปฏิบัติมาขอให้หลวงตามีธาตุขันธ์เข้ม แข็งปราศจากโรคภัยเบียดเบียนค่ะ


คิดกับรู้ เปรียบเหมือนบ้านสองหลัง, กายจิต กายเนื้อ เป็นของตาย อย่าอยู่กับของตาย, เรื่องไต้ ซือกับบาตร และเรื่อง ต้นโพธิ์ กับกระจกเงา เข้า ถึงใจที่หงอย ๆ หลง ๆ ให้ตื่นรู้และมีกำลังใจค่ะ หลวงตา : สาธุ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2560


ให้มีสติปัญญาน้อมพิจารณาเห็น ความไม่เที่ยงของร่างกาย และจิตใจ อย่างต่อเนื่อง ผู้ถาม : กราบนมัสการค่ะหลวงตา เวลาโยมนั่งสมาธิ ทำไมโยมพิจารณาอะไรไม่ออกคะ บางทีนั่ง ๆ ไปก็ เงียบหายไปเฉย ๆ ค่ะ ส่วนมากจะเงียบ ๆ เฉย ๆ ค่ะ บางทีก็ทุกข์มาก ๆ บางทีทุกข์ก็ดับไป แต่ปัญญาไม่ เกิดค่ะ หลวงตา : จิตไปติดนิ่งเฉย ให้รู้สึกตัวขึ้นมา แล้วให้มี สติปัญญาน้อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงของร่างกาย และจิตใจ อย่างต่อเนื่อง ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2560


เพียรปฏิบัติให้ถึงใจ ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาครับ วันนี้ผมว่างเลย เขียนการบ้านเรื่องวิธีเห็นจิตส่งหลวงตาต่อจากคราวที่ แล้ว ที่ผมเคยส่งไปก่อนหน้านี้ แล้วหลวงตาเมตตาให้ ไปพิจารณาต่อเพื่อให้ถึงใจเสียก่อน แต่คราวนี้ผม เขียนไม่ออกเลยครับ ... ก็เมื่อผมเข้าใจแล้วว่าความ จริงตัวเราไม่มี (ซึ่งแม้จะไม่ถึงใจก็ตาม แต่ก็พอเป็น แนวทางได้ครับ) แล้วก็เลยไม่รู้จะไปหาวิธีดูจิตไปทำไม เพราะการดูจิตเป็นวิธีการหนึ่งในการปล่อย วางตัวตน ความจริง เราไม่ต้องทำอะไรเลย แค่รู้แค่ เห็นอาการของกาย อาการของจิตเพียงเท่านี้ รู้ว่ามัน เกิดอาการอะไรขึ้น เพียงแค่รู้มันเท่านั้นเอง ที่ผ่านมา ผมหลงหาวิธีการต่าง ๆ นานา เพื่อที่จะทำลายตัวตน ทั้งการนั่งสมาธิ ทั้งการดูจิต แต่ทั้งหมดเป็นการกระทำ เพื่อที่จะไปเอาการทำลายตัวตน (ซึ่งไม่มีจริง) มันจึง เป็นการปฏิบัติเพื่อที่จะไปเอา ซึ่งสวนทางกับพระ นิพพานอย่างที่หลวงตาสอน


เมื่อเราไม่มีตัวตน ก็ไม่มีอะไรที่เราจะไปเอา หรือไม่เอา ก็เพียงแต่อยู่กับชีวิตไปตามปกติ รู้มัน เห็นมัน เท่านั้น ทุกวันนี้ผมก็เลยใช้ชีวิตอยู่กับการรับ รู้ร่างกายตามปกติ รับรู้ความคิดตามปกติ แต่มันผิด ปกติจากก่อนหน้านี้ครับ ก่อนหน้านี้เมื่อเห็นจิต จิตก็จะทบทวนตรวจ สอบหาเหตุผล เช่นว่า เราหลงอยู่หรือไม่ เรากำลังจะ ไปเอาอะไร ไม่เอาอะไรหรือไม่ ทำอย่างนี้ผิดหรือไม่ แต่ปัจจุบันเมื่อร่างกายเกิดอาการอะไรรับรู้ถึงจิต เมื่อ จิตคิดอะไรก็รับรู้เพียงว่ามันเป็นจิตปรุงแต่ง ทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นที่จิต เป็นจิตปรุงแต่ง ทันทีที่เกิดอะไรขึ้นที่จิต และมีสติอยู่ จิตก็จะบอกตัวเองทันทีเลยว่านี่เป็นจิต ปรุงแต่ง แล้วมันก็จะบอกตัวเองต่อไปอีกว่า ไอ้ที่บอก ตัวเองอยู่นี่ก็เป็นจิตปรุงแต่ง ที่กำลังเขียนอยู่นี่ก็เป็น จิตปรุงแต่ง ... ผมจึงขอกราบเรียนหลวงตาเพื่อกราบ ขอโทษหลวงตาที่ไม่ได้ส่งการบ้านนานครับ


อีกประการหนึ่งที่ช้าเพราะผมเพียรปฏิบัติเพื่อจะ ให้ถึงใจตามที่หลวงตาเมตตาสั่งสอน ถ้าผมสามารถ เขียนออกมาได้เมื่อใดผมจะเขียนส่งมาให้หลวงตา พิจารณาครับ หลวงตา : สาธุ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2560


พิจารณาร่างกายอย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดสาย เพื่อให้สิ้นหลงยึดมั่นถือมั่น ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาเจ้าค่ะ การน้อมพิจารณา เห็นตัวเองเน่าเปื่อยผุพัง จะต้องคิดนำพิจารณาก่อนใช่ ไหมคะ คือเริ่มแต่สเปิร์มของพ่อ ผสมไข่ของแม่ไปจน กระทั่งเกิดแก่เจ็บตายอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ทำ บ่อย ๆ ทำบ่อย ๆ ทำบ่อย ๆ จนเกิดปัญญาเห็นเองและ ปล่อยวาง ใช่ไหมคะ หลวงตา : สาธุ ให้พิจารณาร่างกายในแง่มุมต่าง ๆ ที่ โดนใจ ถึงใจ เพื่อให้สิ้นหลงยึดมั่นถือมั่นว่าร่างกายนี้ เป็นเรา เป็นตัวเรา เป็นตัวตนของเรา หรือมีตัวตนของ เราอยู่ในร่างกายนี้ พิจารณาให้เห็นเป็นของไม่เที่ยง เกิดมาจากการผสมปรุงแต่ง มีความแก่ เจ็บ ตาย เน่า เปื่อยผุพัง กลับไปเป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และ ธาตุรู้ที่ ว่างเปล่าตามเดิม พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดสาย ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2560


จิตเห็นจิตคือมรรค ผู้ถาม : เมื่อจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูอย่างแท้จริง ขณะนั้นจิตจะไม่ไหลไปตามอารมณ์ที่ถูกรู้ นั่นคือ เมื่อมี การกระทบ (ผัสสะ) เกิดขึ้นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และทางใจ จิตจะรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วไม่ไปเสวย อารมณ์นั้น ขณะนั้นไม่ว่าอารมณ์จะเกิดมาทางตา ทาง หู ทางจมูก ทางลิ้น หรือทางกาย ทั้งหมดจะต้องส่ง ตรงมาถึงใจ อันนี้เป็นธรรมชาติการทำงานของขันธ์ ห้า ฉะนั้นเมื่อเราตั้งสติไว้ที่ประตูใจโดยไม่ต้องไป ตามรักษาที่ทางประตูอื่นอีก 5 ประตู (ประตูตา ประตูหู ประตูจมูก ประตูลิ้น ประตูกาย) เพียงแค่ตั้งสติรักษา จิตไว้ที่ใจก็ ถือว่ารักษาได้ครบทุกประตู


เมื่อสติตั้งอยู่ที่ใจ รู้อยู่ที่ใจ ก็จะสังเกตเห็นได้ ว่า จิตที่เข้าไปรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ แล้วปรุงแต่ง โดยทำงานร่วมกับเวทนา สัญญา สังขารนั้น แสดงออกมาเป็นการคิด นึก ตรึก ตรอง ปรุงแต่ง มี กริยาอาการใดเกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อจิตและเจตสิกทำงานแล้วก็ดับไปเกิด เป็นจิตดวงใหม่ และเจตสิกตัวใหม่สืบต่อเนื่องกัน อย่างเร็วมาก เป็นเพียงปรากฏการณ์ตาม ธรรมชาติของขันธ์ห้า ไม่มีสิ่งใดที่น่าหลงเข้าไป ยึดถือ ถึงแม้ดูเหมือนว่าจิตจะรู้แล้วพูดกับตัวเองอยู่ ข้างในตลอดเวลาก็ให้ปล่อยวาง หลายคนสงสัยว่า จิตเห็นจิตคือจิตมันเห็นตัวเองหรือ


จริง ๆ จิตเห็นจิตคือมรรคนั้น จิตเห็นจิตก็คือ จิตที่เป็นผู้รู้หรือใจนั่นแหละ (บางทีเรียกธาตุรู้) เป็นผู้ เห็นว่าจิต (วิญญาณขันธ์) เมื่อรู้แล้วปรุงแต่งว่าอย่างไร พูดง่าย ๆ ก็คือ ใจที่ไม่ปรุงแต่งซึ่งไม่เกิดดับ มาเห็นจิต ที่ปรุงแต่งที่เกิด ๆ ดับ ๆ นี้ โดยต่างคนต่างอยู่ไม่ยุ่ง เกี่ยวกัน เป็นเพียงธรรมชาติทั้งคู่ คือจิตที่ปรุงแต่งได้เมื่อรับรู้ก็ทำงานร่วมกับ เวทนา สัญญา สังขาร เกิดความคิด นึก ตรึก ตรอง ปรุงแต่ง ส่วนใจที่เป็นผู้รู้ที่ไม่ปรุงแต่งก็จะรู้เห็นว่ามีจิต (รวมเจตสิก) ปรุงแต่งเกิด ๆ ดับ ๆ อยู่ เมื่อเกิดปัญญา อย่างแท้จริงจะเห็นว่าทุกสิ่งเป็นเพียงธรรมชาติไม่มี สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา อยู่ในนั้น


คือธรรมชาติที่ปรุงแต่งได้ก็แสดงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ต่อหน้าต่อตา ส่วนธรรมชาติที่ไม่ปรุงแต่ง นั้นไม่ปรากฏให้เห็นได้ แต่รับรู้ได้ว่ามีอยู่ เพราะมี “รู้" เหมือนเวลาที่เราแอบไปทำอะไรในที่ลับไม่มีใครเห็น แต่ถ้าถามว่าคนอื่นไม่มีใครรู้ แล้วใครหละที่รู้ว่าแอบ ทำอะไร เราก็จะตอบว่าก็ตัวเราเองนั่นแหละที่รู้ได้ว่าตัว เราแอบทำอะไร "รู้" ตัวนั้นนั่นแหละ “รู้" ที่มาเห็นขันธ์ ห้าทำงานนั่นแหละ และเมื่อสติ สมาธิ ปัญญาแก่กล้าขึ้นก็จะพบ ความจริงของ “รู้" ตัวนี้ ตัวที่ทำให้มีความรู้สึกว่าไม่ เกิดไม่ดับนั่นแหละ แต่ในขั้นนี้เราจะสามารถจิตเห็นจิต อยู่ตลอดเวลาได้ ก็ด้วยวิธีที่ว่าต้องตั้งสติไว้ที่ใจ พ่อแม่ ครูอาจารย์จึงเพียรบอกให้ทุกคนมีสติตั้งที่ใจ ดังเช่น คำสอนของหลวงปู่ทา จารุธัมโม ที่ว่า


"สติตั้งที่ใจ

ดูอยู่ที่ใจ

มองอยู่ที่ใจ

เห็นอยู่ที่ใจ

เพ่งอยู่ที่ใจ กำหนดอยู่ที่ใจ

สติตั้งที่ใจ

ดูอยู่ที่ใจ

กำหนดอยู่ที่ใจ

พิจารณาอยู่ที่ใจ อิริยาบท 4 ยืน เดิน นั่ง นอน

สติอันเดียว

ก็ไม่หลาย" ตอนนี้หนูสังเกตเห็นว่า “ใจ" นั่นแหละคือตัว อวิชชา เพราะมันเป็นจุดศูนย์รวมของทุกอย่าง ทุก สิ่งกระจายออกมาจากจุดนี้ และที่สังเกตได้อีก อย่าง คือ มัน "ยึด" ความรู้เจ้าค่ะ ไม่ได้ยึดว่างหรือ ไม่ว่าง ตอนนี้ไม่ว่าจะมีเสียงปรุงแต่งยุกยิกข้างใน ก็ไม่ไปสนใจ บางครั้งยังหลงเชื่อตามไป แต่บาง ครั้งรู้โดยไม่รู้ความหมายของเสียง เป็นเพียงรู้ที่ กลืน ๆ แต่มียุกยิกที่ไม่มีความหมาย และมีธรรม ขึ้นมาว่า "ทำไมต้องรู้อะไรมากมายเพื่อเข้าถึงความ ไม่ต้องรู้อะไร " ขณะนั้นทุกสิ่งที่ปรากฏไม่มีความ หมายเจ้าค่ะ หลวงตา : สาธุ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560


อย่าปล่อยให้การรู้เห็น ขาดวรรคขาดตอน ผู้ถาม : กราบขอโอกาสรบกวนหลวงตาอีกครั้งค่ะ คือหลังจากที่เห็นอสุภะก็พยายามพิจารณา วันแรก ทำได้ดี เห็นหนอนหล่นจากปากเวลาสวดมนต์หรือ แม้แต่อ้าปากกินข้าว สติอยู่กับการพิจารณาอสุภะ ได้ดี แต่วันรุ่งขึ้นมีเพื่อนมาอยู่ด้วยเจ็ดวัน ต้องดูแล ทำให้การภาวนาแผ่วลง เมื่อเพื่อนกลับไปการพิจารณาอสุภะมันไม่คม ค่ะ พยายามดูแบบอื่น ๆ ให้ใจมันลง มันเริ่มกลับมา เห็นร่างกายเน่าเปื่อยไม่ถึงขนาดเผาเป็นเถ้าถ่านอีก เหมือนมองไม่ทะลุ แต่มีสติอยู่กับการดูกายแบบนี้ ได้พอควร


แต่เวลานั่งสมาธิก่อนนอนสักยี่สิบนาทีก็ไม่ เห็นกายเน่า แต่นิ่งสบายอยู่กับลมหายใจ ทำให้ สับสนมากค่ะ ไม่ทราบว่าควรแก้ไขอย่างไรให้ตรง ทาง (ทุกวันนี้ไม่ค่อยหลงไปกับอะไรแล้วค่ะ) กราบ ขอบพระคุณค่ะ หลวงตา : ถ้ารู้เห็นอสุภกรรมฐานหรือมรณานุสติ ชัดเจนแก่ใจแล้ว ต้องเร่งพิจารณากัดติดจดจ่ออย่าง ต่อเนื่องไม่ขาดสาย ต้องไม่คลุกคลีหมู่คณะ ไม่ เพลินใจไปกับสิ่งใด ๆ เพราะจะทำให้การรู้เห็นขาด วรรคขาดตอนไป แล้วจะกลับมารู้เห็นชัดเจนได้ยาก ต้องเพียรต่อไปนะ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560


ต้องรู้หรือต้องละ ? ผู้ถาม 1 : ผมเข้าใจว่าถ้ารู้ซื่อ ๆ จิตจะเป็นกลางกับกิเลส แล้วจะเห็นเองว่ากิเลสมีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ ได้ จะเห็นไตรลักษณ์ ครับ ผู้ถาม 2 : ความเห็นที่ 2 เจ้าค่ะ ทุกข์ให้ “รู้” สมุทัยให้ “ละ” กิเลสเป็นสมุทัย จึงต้อง “ละ” กิเลส แต่การ “ละ” นั้นทำอย่างไรเล่า ? เราจะบังคับกดข่มให้กิเลสมันหายไปเช่นนั้นหรือ ? หรือเราจะ “ละ” ด้วยการดูมันอย่างซื่อ ๆ จนมัน ดับไปเอง ถ้าเราคิดจะ “ละ” ด้วยการบังคับกดข่ม สิ่งที่จะต้อง มีคือตัวประธานที่จะเป็นผู้ทำการ “ละ” นี้ นั่นคือต้องมี “ตัว เรา” ถ้า “ละ” ด้วยการดูเฉย ๆ รู้ซื่อ ๆ ก็ไม่ต้องทำกรรม อะไร ไม่ต้องมีประธาน ไม่ต้องมีเรา โปรดพิจารณา


หลวงตา : ถ้ารู้ได้เฉย ๆ หรือสักแต่ว่ารู้ แสดงว่าไม่จม ไปกับความคิดและอารมณ์ จนเป็นกิเลสและความทุกข์ ถ้ารู้แล้ว แต่ยังจมอยู่กับกิเลสและความทุกข์ แสดงว่าหลงมีตัวเราไปยึดถือ ถ้าหลงยึดถือ อย่างนี้ต้องทำอย่างไรให้หลุดจากที่ไปจม อยู่ในความคิดและอารมณ์ทันที จะรู้อยู่เฉย ๆ ไม่ได้ แต่ถ้าแค่รู้ หรือ รู้ซื่อ ๆ หรือ สักแต่ว่ารู้ แล้วไม่ หลงมีตัวตนของเราเข้าไปติดหรือไปยึดถือสิ่งใด แสดง ว่าเป็นผู้มีสติ ปัญญาอย่างแท้จริง อย่างนี้ ก็อยู่กับรู้ หรือแค่รู้ ไม่ต้องพยายามทำอะไร เพราะมันจะเป็นหลงดิ้นรน ผลักไส ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2560


ขันธ์ห้า + อวิชชา ผู้ถาม : ขอสอบถามหลวงตาครับ ขอถามว่าไม่ทราบ ผมเข้าใจถูกหรือเปล่า เวทนา + วิญญาณขันธ์ = ตัวเราสุข ตัวเราทุกข์ สังขาร + วิญญาณขันธ์ = ตัวเราคิด ตัวเราโกรธ ตัวเราพอใจไม่พอใจ วิญญาณธาตุ = ผู้ที่รู้ตัวเรา คิด พูด ทำ อยู่ตลอด เวลา ในที่ลับที่แจ้ง หาตัวตนไม่เจอ (แต่ไม่บริสุทธิ์ เพราะมีอวิชชา) การปฏิบัติ ต้องใช้สติ สมาธิปัญญาในขันธ์ห้ามา สังเกต รู้ซื่อ ๆ จนปล่อยวางขันธ์ห้า (สังขาร) อวิชชาที่ ติดมากับวิญญาณธาตุ (วิสังขาร) จะดับไป ก็จะเป็น วิญญาณธาตุที่บริสุทธิ์เป็นนิพพาน แบบนี้เข้าใจถูกไหม ครับ


หลวงตา : เวทนา + วิญญาณขันธ์ + อวิชชา = มีตัวเรา สุข ทุกข์ เวทนา + วิญญาณขันธ์ = คงมีแต่อาการสุข ทุกข์ ไม่มีตัวเรารู้สึกสุข ทุกข์ สังขาร + วิญญาณขันธ์ + อวิชชา = ตัวเรา คิด ตัวเราปรุงแต่ง ตัวเรามีความทุกข์กับอารมณ์ หรืออาการต่าง ๆ สังขาร + วิญญาณขันธ์ = อาการคิด อาการ ต่าง ๆ = ไม่มีผู้ทุกข์ นอกนั้น ถูกต้องแล้ว ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2560


ความหลงรู้สึกว่ามีตัวเราเป็น "อวิชชา" ผู้ถาม : สองวันที่ผ่านมานี้ศิษย์รู้สึกร่างกายอ่อนเพลีย มากยังไม่ทราบสาเหตุ และไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยอย่าง อื่น นอนพักแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น ก็ยังปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐานอยู่เช่นเดิม ไม่ทราบเกี่ยวกับพลังที่พึ่งรู้สึกที่ เกิดตรงช่องท้องหรือเปล่า แต่ก็ไม่ได้ทำอะไรกับมันก็แค่ สักแต่ว่ารู้ มีแค่ครั้งหนึ่งที่เอามือขวาจับมือซ้าย แล้ว อธิษฐานจิตให้พลังในเวียนจากมือขวาไปมือซ้าย ด้วย ความอยากรู้ แต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่ามีอะไรเกิดขึ้น แล้วถ้าไม่ ได้เกี่ยวกับพลังแล้ว สามารถชักนำพลังมารักษาอาการ อ่อนเพลียที่เป็นอยู่ตอนนี้ได้หรือไม่ เลยขอความเมตตา หลวงตาช่วยแนะนำหน่อยครับว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร ต่อไป


หลวงตา : เป็นเพราะหลงรู้สึกว่ามีตัวเราว่างเปล่า เบา สบาย ให้ปล่อยวางตัวเราผู้รู้ หรือปล่อยวางผู้รู้ ไม่ หลงยึดถือว่าผู้รู้เป็นเรา เป็นตัวเรา เป็นตัวตนของเรา หรือตัวเราเป็นผู้รู้ ให้เห็นว่าความหลงยึดถืออย่างนั้น เป็น "อวิชชา" มันจะยังมีตัวตนพาให้เกิดตาย เป็น กิเลสและความทุกข์ ความหลง รู้สึกว่าเราอ่อนเพลียก็เป็นความ หลงมีตัวเราอ่อนเพลีย ความจริงมีแต่อาการ อ่อนเพลีย ไม่มีตัวเราอ่อนเพลีย เมื่อหลงว่ามีตัวเรา อ่อนเพลีย ก็จะปรุงแต่งต่อว่าเราเป็นอะไร จะรักษา อย่างไรตัวเราจึงจะหาย ก็จะหลงปรุงแต่งเป็นเรา เป็นตัวเราต่อเนื่องกันไปยกใหญ่ ซึ่งล้วนแต่เป็น "อวิชชา"


ผู้ถาม : เวลาที่อ่อนเพลีย สิ่งที่ต้องเห็นคือว่าจิตบ่น อะไรอยู่ถูกไหมคะ หลวงตา : เมื่อมีอาการว่างเปล่า เบาสบาย หรือมี อาการหมดแรง อ่อนเพลีย ให้ถามว่าใครเป็นผู้รู้ อาการเหล่านั้น ก็จะได้คำตอบว่าตัวเราเป็นผู้รู้ ผู้คิด ตรึกตรอง ผู้วิตกกังวล ก็ให้ปล่อยวาง ตัวเราผู้คิด ผู้ วิตกกังวล ผู้รู้ ให้เห็นว่าเป็นจิตหรือวิญญาณขันธ์ ซึ่ง เป็นสังขารหรือสิ่งปรุงแต่ง ทำหน้าที่ร่วมกับ เวทนา สัญญา สังขาร และส่งต่อจิตหรือวิญญาณขันธ์ตัวใหม่ ๆ ต่อ ๆ กันไป ซึ่งล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อเห็นว่าความรู้สึกว่าตัวเราเป็นผู้รู้ ผู้รู้สึก ผู้ คิดตรึกตรอง ผู้วิตกกังวลเป็นสังขารปรุงแต่ง ก็จะ ปล่อยวางความหลงยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา เป็นตัวตนของเรา หรือตัวเราเป็นผู้รู้ ผู้รู้สึก ผู้คิดตรึก ตรอง ผู้วิตกกังวล ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2560


ทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาให้รับรู้ได้ เป็นขันธ์ห้าทั้งหมด ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาเจ้าค่ะ ลูกเห็นชัดขึ้น แล้วว่า สิ่งที่หลวงตาพยายามบอกพยายามสอนศิษย์ ทุกคนคืออะไร ลูกเห็นแล้วว่ามันมีแต่ขันธ์ห้า ทั้งหมดเลยที่ เกิดขึ้นเปลี่ยนหน้าเข้ามา ทุกอย่างที่เข้ามาหรือเกิด ขึ้นมาให้รับรู้ได้มันเป็นขันธ์ห้า ทั้งหมด แม้แต่ผู้ไป คอยสังเกต ผู้ไปคอยรู้ ผู้ไปคอยเข้าใจ หรือแม้แต่ สติ สมาธิ ปัญญา หรือ ผู้รู้ หรือกระทั่งผู้ปล่อยวางก็ล้วน เป็นขันธ์ห้า ทั้งสิ้น แต่ต้องอาศัยสติ สมาธิ ปัญญามาเรียนรู้ให้ เข้าใจการทำงานของธรรมชาติของร่างกายจิตใจนี้ และเข้าใจที่หลวงตาสอนว่าธาตุรู้มันทำอะไรไม่ได้ เลย ไม่สามารถถูกรู้ได้ ไม่ปรากฏอาการ ตัวมันทำ อะไรไม่ได้เลยได้แต่รู้เท่านั้น เมื่อมีสิ่งปรากฏให้รับรู้ ก็ได้แต่รู้ และหายไปอย่างไร้ร่องรอย


ส่วนอาการที่มีการขยับตัวเคลื่อนไหวใด ๆ ต่อ การรับรู้นั้น มันไม่ใช่ธาตุรู้ แต่คือขันธ์ห้าที่ทำงานไป ตามธรรมชาติของมัน หน้าที่ของลูกต่อไปก็คือ ใช้สติ สมาธิ ในขันธ์ ห้าที่ฝึกมา เพื่อเรียนรู้ให้เข้าใจ และเมื่อเข้าใจก็จะค่อย ๆ วางความยึดมั่นถือมั่นในรูปนามกายใจนี้ไปได้ อันนี้เป็นความเข้าใจของลูกในตอนนี้ หากมีสิ่ง ใดที่เห็นผิดไปจากความเป็นจริง กราบขอความ เมตตาหลวงตาชี้บอกทางให้ลูกด้วย และลูกขอกราบ ระลึกบูชาในพระคุณและความเมตตาอันไม่มีประมาณ ของหลวงตาเจ้าค่ะ และกราบขอขมาโทษที่รบกวน ธาตุขันธ์หลวงตาและจะเดินทางตามทางที่หลวงตาชี้ ทางบอกสอนต่อไป กราบหลวงตาเจ้าค่ะ หลวงตา : สาธุ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560


เพราะ “ค้น” ไม่ “แค่รู้” ผู้ถาม : กราบขอบพระคุณอย่างสูงเจ้าค่ะ ด้วยนิสัย สันดานของหนูที่สั่งสมมา เวลาไม่รู้จริงมันจะไม่ ยอม "วาง" มันจะค้นจนรู้ครบแล้วค่อยวาง มันจึง ติดค้นคว้าแง่มุมนั้นนี้ เพราะถ้าไม่รู้จนลงแก่ใจมัน ก็ไม่วางจริง เมื่อวานตอนอาบน้ำเสร็จอยู่ ๆ มันก็โพล่งว่า ไอ้ค้นน่ะ มันค้นมานับไม่ถ้วน แต่ “แค่รู้” ให้มัน ตลอดยังไม่เคย สังเกตดูตอนนี้มันปล่อยสบายขึ้น เจ้าค่ะ กราบขอบพระคุณอย่างสูงนะเจ้าคะ ที่ เมตตาชี้แนะหนูมาตลอด หลวงตา : สาธุ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560


เพราะหลงไปพยายาม ปรับแต่งขันธ์ห้า ผู้ถาม : กราบเรียนหลวงตาครับ กระผมได้มีโอกาส เข้าไปกราบหลวงตาครั้งแรกที่บางบอน หลวงตาเมตตา แนะนำสั่งสอนผมว่าปฏิบัติผิด จิตติดนิ่งแช่ เฉย แล้ว ให้ผมอ่านศึกษาทำความเข้าใจใหม่ในหนังสือจบซะที ทำให้ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนี้และทบทวนตัว เอง และเห็นความผิดพลาดของผม ซึ่งผมไม่เคยรู้หรือ เฉลียวใจมาก่อนเลย ว่าไปพยายามปรับขันธ์ห้าของตัว เองให้สงบ เข้าใจผิดมาก ๆ ว่าตัวเองรักษาศีล นั่งสมาธิ เป็นความสงบนั่นคือเป้าหมาย ยึดจิตใจคิดดี ทำดี เป็น ความสุข พอจิตใจฟุ้งซ่านหรือคิดไม่ดีก็พยายามปรับ แก้ เมื่อปรับได้ก็ยิ่งเชื่อยิ่งหลงไปกันใหญ่


ที่ผ่านมาผมปฏิบัติโดยไม่มีครูบาอาจารย์ แนะนำ เป็นแต่ศึกษาจากตำราในช่องทางต่าง ๆ และ ลงมือปฏิบัติ เข้าใจเอาเองว่าตัวเองมาถูกทาง เพราะ เคยใช้ชีวิตในทางอบายภูมิมา เห็นทางตรงข้ามก็เชื่อ มั่นว่าต้องใช่แน่นอน เดินมาไกลมาก จนจิตติดยึด ความเชื่อนี้นานมาก นับว่าเป็นบุญของกระผมที่ได้รับ ความกรุณาจากหลวงตาที่เตือนสติให้รู้สึกตัว มิเช่นนั้น คงเป็นทุกข์ เป็นปัญหาใหญ่สำหรับผมแน่ ๆ ผมขอกราบขอบพระคุณหลวงตาอย่างสูงครับ นับแต่นี้จะขอแก้ไขหาทางออกจากห้องขังของตัวเอง ตามที่หลวงตาชี้แนะและตั้งจิตอธิษฐานขอให้ได้มี โอกาสเข้ากราบขอคำชี้แนะจากหลวงตาอีก หลวงตา : สาธุ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560


เห็นภพภูมิอื่นได้ในตนเอง ผู้ถาม : ถ้าอยากเห็นพญานาคกับยักษ์ทำอย่างไร ครับ หลวงตา : ถ้านอนเลื้อยมาก ขี้เกียจ ก็เป็นพญานาค หรืองูในร่างมนุษย์ ถ้าเอาแต่ใจตนเองมีแต่ความโกรธ เช่น ทะเลาะกับพ่อแม่ กับเพื่อน ก็เป็นยักษ์ในร่างมนุษย์ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560


เพราะหลงมีตัวเรา ไปพยายามช่วยเหลือตัวเรา ผู้ถาม : หลวงตาคะ เหมือนรอบนี้บทเรียนที่ได้จาก การหลงวนกลับไปหนีอาการเวทนาที่เกิดขึ้นทางกาย จนยอมยินดีจะเอาตัวเองไปแช่นิ่งเฉย เพื่อหนีทุกข์ เหมือนเดิม ๆ อีกตามอนุสัยเก่า ๆ แต่พี่ท่านหนึ่งมาอธิบายถึงการภาวนาที่หนูทำ มันมีเหตุมาจากการที่หนูคิดว่าการลงมือภาวนาจริง ไปแล้วโดยไม่กลับมาทบทวนโยนิโสกำกับใจตัวเอง ให้เข้าใจ มีสัมมาทิฏฐิที่ตรงเสมอ แต่รอบนี้ทบทวน ความเห็นได้ไวขึ้นว่า หนูพยายามมองตัวเองว่า อาการเจ็บปวดมีเวทนา มันเป็นอาการหนึ่งที่เกิดจาก ธาตุขันธ์มันผุดขึ้นมาเองเหมือนความคิด พอเกิด อาการอะไรขึ้นมา ทีหลังก็เริ่มไปพยายามจะรู้ จะมอง ให้เวทนามันเป็นธาตุขันธ์ ลืมไปว่าจริง ๆ มันเป็นการ พยายามไปทำอะไรที่มันมากเกินไป


ที่จริงมันไม่ต้องทำอะไรมากกว่ารู้เฉย ๆ เท่านั้น พอจะเห็นจุดที่พลาดในการภาวนาจริง ๆ บ้างแล้วค่ะ ว่า ถึงจะมีความเข้าใจแค่ไหน เมื่อพิจารณาเองจริง ๆ ใน ปัจจุบันขณะนั้น ต้องอาศัยทั้งสติปัญญาและกัดติด ปัญญาที่หลวงตาพยายามสอนตลอดจริง ๆ กราบเท้า หลวงตาที่พยายามชี้แนวทางกับลูกศิษย์มาตลอดค่ะ ต่อ ไปจะเพียรกัดติดและพิจารณาละความยึดต่อไปค่ะ หลวงตา : สาธุ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560


อย่าหลงไปติดแช่ อยู่ในอารมณ์เบาสบาย ผู้ถาม : กราบหลวงตาเจ้าค่ะ ตอนนี้ลูกฝึกสติตามรู้ ในขันธ์ห้าในปัจจุบันค่ะ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับลูกตอน นี้คือ ลูกรู้สึกเบื่อกับการที่จะพูดคุยกับคนอื่น เวลา ลูกสนทนากับคนอื่นบางครั้งก็รู้สึกปวดหัวเจ้าค่ะ แต่ตอนนี้ลูกก็ยังไม่เห็นอาการยุกยิกในใจเจ้าค่ะ ได้แต่รู้อาการ ความรู้สึกอารมณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เจ้าค่ะ ลูกทำแบบนี้ถูกไหมเจ้าคะ หลวงตา : ไปติดแช่อยู่ในอารมณ์เบาสบาย และไม่ ชอบอารมณ์ที่ไม่โปร่ง โล่ง เบา สบาย สงบ นิ่ง ว่าง จึงทำให้ไม่เห็นความคิดหรือจิตปรุงแต่ง ต้องรู้ที่ผู้รู้ อารมณ์เบาสบาย แล้วจะเห็นคิดหรือจิตปรุงแต่งที่ ติดกับผู้รู้ได้ ถ้าติดอารมณ์เบาสบาย จะไปซับ ความเครียดของคนอื่นมาทำให้ปวดหัวได้ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2560


รู้จิตหรือธรรมารมณ์ตามธรรมชาติ เหมือนกับการเห็นรูป ผู้ถาม : ทำไมขณะเวลานอนหลับจิตเป็นสภาวธรรม เกิดดับวางเองทั้งหมด แต่พอตื่นใหม่ ๆ ก็เริ่มมี อารมณ์ปรุงแต่งเกิดขึ้นเล็กน้อย แล้วก็เพิ่มมากขึ้น ส่วนจิตที่เห็นสภาวธรรมเกิดดับวางก็ยังมีพร้อมกัน แต่ไม่เต็มที่เหมือนตอนหลับ เหมือนถอยหลังออก ไปแล้วให้ความคิดปรุงอารมณ์มาอยู่หน้าแทนคะ หลวงตา : ขณะกายหลับ จิตปรุงแต่งในขันธ์ห้าเกิด เอง ดับเอง โดยไม่มีเจตนาคิดปรุงแต่ง และความรู้ ก็รู้จิตนั้นขึ้นมาเอง โดยไม่มีการปรุงแต่งรู้ ก็จะ ไม่มีผู้เสวยหรือผู้ยึดถือ ก็จะไม่มีกิเลสและความ ทุกข์ในขณะนั้น


กรณีนี้จะเหมือนกับนอนไม่หลับ เพราะมีความ ตื่นรู้อยู่กับจิตปัจจุบันอย่างเป็นธรรมชาติ แต่แท้จริง ร่างกายหลับอยู่ แต่ถ้าเป็นความฝัน จะเป็นการหลับ และหลงคิดปรุงแต่ง ขณะตื่นนอนเป็นการหลงคิด หลงปรุงแต่ง และหลงปรุงแต่งรู้ ต้องฝึกให้กายตื่นอยู่และมีความรู้เหมือนตอน กายหลับ คือมีแต่จิตหรือธรรมารมณ์ที่เกิดเองดับเอง โดยไม่มีเจตนาคิดปรุงแต่ง และรู้จิตหรือธรรมารมณ์ นั้นเองตามธรรมชาติ เหมือนกับการเห็นรูป หรือ การ ได้ยินเสียง ถ้าจะตั้งใจคิดอะไร ต้องตั้งใจคิดด้วย ความรู้ตัว ไม่หลงจมไปกับเรื่องที่คิด ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2560


รู้โดยไม่มีตัวเราไปรู้ ผู้ถาม : กราบขอโอกาสส่งการบ้านหลวงตาค่ะ คือตอน นี้หนูเข้าใจว่า เราต้องรู้ทันความคิดของตัวเอง คือตอน ก่อนหน้านี้หนูเอาตัวเราไปรู้เเล้วมันก็เหนื่อย หนูเลย รู้สึกขี้เกียจขึ้นมา เลยเอาตัวเราไปติดสบายทำให้เป็น การเเช่ค่ะ ตอนนี้หนูเลยลองฟังเเทร็คของหลวงตาที่อาส่งมา ค่ะ เลยพอจะเข้าใจว่า เราต้องรู้โดยไม่มีตัวเราไปรู้ รู้ ซื่อ ๆ ไม่ต้องไปเสวยมัน เพราะเราห้ามความคิดของเรา ไม่ได้ ให้มันเกิดเเล้วก็ดับไปของมันเองตามปกติ ธรรมชาติ เวลาช่วงที่นึกได้ มีสติ หนูก็รู้ความคิดของตัว เองค่ะ ตอนนี้อาจจะมีเผลอไปบ้าง เเต่ก็เริ่มเร็วขึ้น มีสติ มากขึ้นค่ะ


ตามที่หลวงตาบอกหนูว่า นี่เป็นโอกาสทอง หนูก็ได้เห็นเหมือนกัน เพราะมันเป็นโอกาสที่หนูจะ ได้รู้ว่าการเเช่เป็นอย่างไร จะได้ไม่ไปตกในการเเช่ อีกค่ะ กราบขอบพระคุณหลวงตาที่เมตตาหนูมาตั้งเเต่เล็ก ค่ะ หลวงตา : สาธุ สาธุ ดี ดี ดีมากนะ ด.ญ.ติ๊เนย อายุ 12 ขวบ ส่งการบ้าน น่าชื่นชม ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2560


สิ้นหลงยึดกาย หลงยึดจิต ก็จะเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ผู้ถาม : ในขณะปัจจุบันที่ขันธ์ห้ายังไม่ดับ เราสามารถ รู้สึกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติได้หรือเปล่า ครับ กราบขอบพระคุณหลวงตามาก ๆ ครับ หลวงตา : ได้ซิ ถ้าสิ้นยึดกาย สิ้นยึดจิต (นามขันธ์) หรือ สิ้นหลงยึดขันธ์ห้าว่าเป็นเรา ตัวเรา ตัวตนของเรา หรือมีตัวเราเป็นผู้รู้ หรือเป็นผู้คิด หรือเป็นผู้แสดง กริยาอาการต่าง ๆ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2560


เมื่อเราไม่มี เหตุใดยังพยายาม หาวิธีการพ้นทุกข์ให้แก่ตัวเรา ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาครับ ผมขอกราบเรียน หลวงตาเกี่ยวกับความคืบหน้าในการปฏิบัติครับ ความจริงจะว่าคืบหน้าก็ว่าไม่ได้เพราะมันก็ยังทรง ๆ ขาดบ้างได้บ้างอยู่ครับ บางทีก็หลงไปคิดว่าตัวเองจะ ปฏิบัติอย่างไรดี ตัวเองอยู่ในขั้นตอนไหน ผมก็เลย คิดวางหลักการปฏิบัติของตัวเองไว้ เอาไว้อ่านตอกย้ำ บ่อย ๆ ครับ หลักดังกล่าวนี้ผมเอามาจากที่หลวงตา สอนครับ ถึงผมจะคิดว่าหลักการปฏิบัติของผมถูกต้อง ตามที่หลวงตาสอนแล้ว ผมก็อดที่จะกังวลไม่ได้ว่าถูก ต้องจริง ๆ หรือไม่ จึงขอกราบหลวงตาเมตตา พิจารณาให้ด้วยครับ


1. อยู่กับรู้ ให้มีสติอยู่กับรู้ (รู้ว่าจิตคิดอะไร อยู่) มันจะคิดอะไรก็ตาม คิดดี คิดชั่ว คิดเรื่องอะไร ก็ตาม ให้รู้ว่ามันคิดก็พอ สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นเองดับ เอง ไม่มีผู้ทำให้เกิด ไม่มีผู้ทำให้ดับ ไม่มีผู้เสวย ไม่ช่วยมันคิด ไม่ดูด ไม่ผลัก ไม่หนีไม่สู้ สักแต่ว่า รู้ ให้กัดติดจดจ่อตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องไม่ขาด สาย (ความรู้สึกโปร่ง โล่ง เบาสบาย ความรู้สึก อึดอัด ความรู้สึกต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้น ผู้รู้จะรู้ว่ามีความรู้สึกอย่างไร ให้อยู่กับรู้ตัวนี้ ผู้รู้ มันรู้ว่าเราคิดอะไร ก็ให้อยู่กับรู้ตัวนี้ อะไรที่ถูกรู้ได้ นั้นเป็นสิ่งที่ถูกรู้ทั้งนั้น ไม่ใช่ผู้รู้ มีวิธีเดียวที่จะไปถึง ผู้รู้ได้ คือปล่อยวางสิ่งที่ถูกรู้ทั้งหมดเสีย


การพยายามทำให้ไม่ปรุงแต่ง การพยายาม ทำให้นิ่งหรือทำให้ว่าง ความดิ้นรนที่จะออกจาก ทุกข์ ความปรุงแต่งต่าง ๆ ความรู้สึกว่าเป็นตัวเราที่ พยายามจะเอาตัวเราออกจากอะไร ตัวเราจะไปเอา อะไรหรือไม่ หรือความคิดที่ตรวจสอบตัวเองว่า ขณะนี้เรากำลังมีกิเลสจะไปเอาอะไร ไม่เอาอะไร หรือไม่ ล้วนเป็นสังขารปรุงแต่ง เป็นสิ่งที่ถูกรู้ทั้ง สิ้น ให้ปล่อยวางมัน คือรู้ว่ามันเป็นสังขารปรุง แต่ง ความจริงไม่มีเราตั้งแต่ต้นแล้ว มีเพียงกาย เนื้อ กายจิต และธาตุรู้รวมกันอยู่ผสมกับความหลง ว่าสิ่งที่รวมกันอยู่นี้คือ "เรา" เราจึงหวงแหนมัน ต่อ มาเมื่อเราต้องการพ้นทุกข์จึงหาวิธีการต่าง ๆ มา ทำลาย เพื่อที่กำจัดตัวตนของ "เรา" ซึ่งแท้จริงไม่มี อยู่จริง วิธีการต่าง ๆ เหล่านั้นล้วนอยู่ในวังวนแห่ง ความหลงทั้งสิ้น เราจะไม่หลงทำลายสิ่งที่ไม่มีจริง อีกต่อไป


เราเพียงแต่รู้ว่ากายเนื้อนี้ก็สักแต่เป็นกายเนื้อ ทำงานไปตามหน้าที่ของมัน ส่วนกายจิตก็คือกายจิต เป็นสังขารปรุงแต่งก็ทำงานไปตามหน้าที่ของมัน กายเนื้อจะเป็นอย่างไร กายจิตจะคิดอย่างไร เรา เพียงแต่รู้มันแต่ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับมัน ส่วนผู้รู้นี้ก็ เป็นเพียงธาตุรู้ก็ทำหน้าที่รู้ของมันไป ก็เพียงเท่านั้น) "กายเนื้อก็คือกายเนื้อเมื่อเกิดอาการทางกาย ขึ้นอย่างไรก็เป็นเพียงอาการของกาย ส่วนกายจิตไม่ ว่าเกิดอาการอย่างไรขึ้น มันคือสังขารปรุงแต่งทั้งสิ้น ทั้งกายเนื้อและกายจิตไม่มีส่วนไหนที่เป็นเราเลย" 2. ข้าพเจ้าหลงค้นหาวิธีกำจัดตัวตนมานาน แสนนาน ความจริงไม่มีวิธีทำลายสิ่งที่ไม่มี แท้ที่จริง ตัวตนไม่มีอยู่จริง ทั้งสังขารและวิสังขารไม่ใช่เราทั้ง นั้น แค่เพียงเรารู้ก็จบสิ้น


3. เมื่อรู้ว่าความจริงตัวเราไม่มีอยู่จริง ที่แท้ เราหลงยึดธาตุสี่ขันธ์ห้าว่าเป็นเรา เราเพียงแต่รู้มัน เห็นมัน มันจะเกิดอาการอย่างไร นั่นเป็นเรื่องของมัน เท่านี้ก็เพียงพอต่อการอยู่ในโลกอย่างไม่เป็นทุกข์ แล้ว หลวงตา : สังขารกายเนื้อ สังขารกายจิต และผู้รู้ (วิ สังขาร) คงทำหน้าที่ของเขาตามปกติธรรมชาติ ไม่มี อะไรยึดถืออะไร ไม่มีตัวตนของเรายึดถืออะไร ธรรมชาติคงดำเนินไปตามปกติ จนกว่าสิ้นสังขาร ก็ จะมีแต่วิสังขารเท่านั้น กายและจิตที่คิด ที่ปรุงแต่ง เป็นธรรมชาติ ปรุงแต่งที่เกิดเองดับเอง ไม่ใช่เรา ตัวเรา หรือตัวตน ของเรา


เมื่อตัวเราไม่มี หรือไม่มีเรา ตัวเรา หรือตัวตนของ เรา ดังนั้นตัวเราที่รู้สึกว่าเรามีความคืบหน้าในการ ปฏิบัติ ทรง ๆ อยู่ หรือตัวเราถอยหลังหรือไม่คืบหน้า ล้วนแต่เป็นสังขารหรืออาการที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่เรา ตัวเรา หรือตัวตนของเรา เมื่อเราไม่มี หรือ ไม่มีตัวเรา นอกจากร่างกาย และจิตใจที่คิดหรือปรุงแต่งได้แล้ว ก็เป็นธาตุรู้ที่ไม่มีตัว ตน ไม่อาจมีกริยาอาการใดได้ มีแต่รู้ที่ไม่มีตัวตน ไม่มี กริยาหรืออาการใดเลย แล้วทำไมยังพยายามหาวิธีการ พ้นทุกข์ให้ตัวเรา ทำไมยังหาถูก กลัวผิดให้ตัวเราอยู่อีก ทำไมยังพยายาม ๆ ๆ ๆ ๆ ... อยู่อีก


ปล่อยวางหมดทุกขณะ ไม่มีผู้เอา ไม่มีผู้ได้ ไม่มีผู้ถึง ไม่มีผู้เป็นอะไร มีแต่ธรรมชาติเขาเป็น อย่างนั้นเอง คือธรรมชาติใดที่ปรุงแต่ง (สังขาร) ย่อมเกิดเองดับเองเป็นธรรมดา ส่วนใจหรือผู้รู้หรือ ธาตุรู้ไม่ปรากฏ สิ้นผู้เสวย สิ้นผู้ยึดมั่น สิ้นผู้จะเอา สิ้นความ อยากได้ อยากเอา อยากเป็น อยากบรรลุ อยากถึง แม้อยากนิพพาน สิ้นความปรารถนา หรือ ดับความ อยากสนิทไม่มีส่วนเหลือ ก็พ้นทุกข์ทันที ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560


ปล่อยวางทุกอย่างแม้แต่ตัวใจ ผู้ถาม : กราบขอโอกาสส่งการบ้านครับหลวงตา วันนี้ในขณะที่ผมนั่งปฏิบัติประจำวันอยู่นั้น ไม่ว่าจะ มีความรู้สึกสุข ทุกข์ ในร่างกาย มีเหตุการณ์ใน อดีตปรากฏขึ้นมาในใจ หรือมีความคิดปรุงแต่งที่ จะต้องทำสิ่งนั้นให้ดี สิ่งนี้ให้ดี ปรากฏขึ้นในใจ ผม ก็เพียงมีสติรู้ทุกขณะที่มีสิ่งต่าง ๆ ปรากฏขึ้นมา ภายในจิตใจ และปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นไป แม้บางขณะจิตจะมีการเข้าไปแทรกแซง แต่เมื่อ ได้สติผมก็จะระลึกถึงคำสอนที่หลวงตาเน้นย้ำเสมอ ว่า "สติตั้งที่ใจ รู้ที่ใจ ดูที่ใจ สังเกตที่ใจ ปล่อยวาง ที่ใจ" โดยผมเพียรอย่างนี้เรื่อย ๆ ไปครับหลวงตา


หลวงตา : ปล่อยวางสังขาร คือร่างกายจิตใจที่ปรุง แต่ง เกิดดับ คิดและแสดงกริยาหรืออาการต่าง ๆ ไป ให้หมดตลอดเวลา ถ้ารู้สึกว่ามีตัวเราเป็นผู้ดู ผู้รู้ ผู้เห็น ผู้ปล่อย วาง ก็ให้ปล่อยวางไปให้หมดด้วยตลอดเวลา ไม่เอา อะไร ไม่เหลืออะไรไว้ในใจ แม้แต่ใจก็ต้องปล่อยวาง ไปเสีย ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560


ทิ้งความสงสัย ไม่เอาอะไรเลย ปล่อยวางหมด ผู้ถาม : ขณะนี้ ศิษย์ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยสัก แต่ว่ารู้ แล้วคำสอนคลิปของหลวงพ่อชา สุภัทโท ที่ หลวงตาเมตตาโพสต์มาอันล่าสุด ที่บอกให้ปฏิบัติ โดยทำให้จิตรวมเป็นหนึ่งกับลมหายใจ ศิษย์ลอง ปฏิบัติดูก็รู้สึกว่าทำได้ แต่พอใจมันรู้สึกปลงปล่อย วาง ก็เลยไม่รู้สึกอยากจะปฏิบัติให้จิตรวมกับลม หายใจ เหมือนกับเป็นการตั้งใจที่จะทำมากกว่า เลย อยากขอคำชี้แนะจากหลวงตาครับ หลวงตา : ทิ้งความกังวล ความสงสัยไปให้หมด ไม่ ว่าจะปฏิบัติอย่างไร จะมีสภาวะใดในทุกขณะปัจจุบัน ให้แค่รู้ ไม่กังวล ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่เอาอะไรเลย ปล่อยวางหมด และไม่ยึดถือว่าตัวเราเป็นผู้รู้ คงได้ แต่แค่รู้ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560


อยู่กับแค่สักแต่ว่ารู้ ไม่ไปอยู่กับว่าง ผู้ถาม : จิตไม่จับเวทนาก็ไม่ทุกข์ใช่ไหมคะหลวงพ่อ หลวงตา : เวทนาเป็นอารมณ์ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทนอยู่ สภาพเดิมไม่ได้ ไม่อาจยึดถือให้สุขสบายหน้าเดียวได้ สุขกับทุกข์เหมือนหางงูกับหัวงู เป็นงูตัวเดียวกัน หาก ยึดสุขย่อมโดนทุกข์กัดเอา ต้องปล่อยวางความสุข สบาย คือไม่ไปจับยึดหางงูไว้ ก็ไม่ถูกงูกัดให้เป็นทุกข์ แท้จริงตัวตนของผู้ยึด หรือตัวตนของเราก็ไม่มีอยู่จริง เมื่อไม่มี ย่อมไม่มีผู้ยึดให้เป็นทุกข์ ผู้ถาม : สาธุค่ะ ใช้วิธีรู้แล้วละ ได้ไหมคะ จิตไม่จับรู้ ไปอยู่ที่ว่างได้ไหมคะ หลวงพ่อ หลวงตา : อยู่กับแค่สักแต่ว่ารู้ ไม่ไปอยู่กับว่าง เพราะจะยึดว่าง ทำให้เป็นทุกข์แรงเมื่อถูกกระทบ ว่าง ก็แค่รู้ ไม่ว่างก็แค่รู้ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2560


ยึดถือความไม่ยึดถือ หรือยึดถืออุเบกขา ไม่ใช่อุเบกขา ผู้ถาม : เมื่อตัวรู้เห็นว่าว่างก็สักแต่รู้ แล้วว่างไม่ปรุง อะไร เขายังว่างต่อสักพักก็เปลี่ยนเป็นสภาวะอย่างอื่น ตัวรู้ก็เห็นอยู่เฉย ๆ ไม่มีคำพูดแบบนี้เขาเรียกว่า อุเบกขาหรือเปล่าเจ้าคะหลวงตา สภาวะที่เกิดสักแต่ว่าเห็นเฉย ๆ ดูเฉย ๆ ทุก ๆ สภาวะที่เกิดขึ้นมาจากอายตนะหกตัว รู้เข้าใจว่ามัน ไม่เที่ยงโดยไม่มีจิตพูด แต่เข้าใจ แบบนี้ถือว่าทำถูก หรือยังเจ้าคะหลวงตา


หลวงตา : การคิด การพูด การกระทำ รวมทั้งสภาวธรรมที่ปรากฏแล้วดับไป รวมทั้งความรู้สึกว่าง ก็ เปลี่ยนไปทุกขณะปัจจุบัน เป็นขันธ์ห้า เป็นอนิจจัง ไม่ เที่ยง เป็นทุกขัง เป็นที่ขังทุกข์ ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ ต้องแก่เจ็บตาย จึงเป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา อย่าไปหลงยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา เป็นตัวตนของเรา หรือมีตัวเราอยู่ใน ร่างกายเนื้อนี้ ส่วนรู้เป็นวิญญาณธาตุหรือธาตุรู้ที่ไม่มีตัวตน ไม่มีรูปร่าง ไม่อาจมีกริยาหรืออาการใดได้ จึงไม่มี การเกิดดับ และไม่ใช่ขันธ์ห้า ได้แต่รู้ขันธ์ห้าตาม ความเป็นจริง ไม่อาจคิดปรุงแต่ง ยึดถือ แทรกแซง มี ความดิ้นรนทะยานอยาก หาถูกหาผิด หาเหตุหาผลได้ ธรรมชาติของเขาคงได้แต่แค่สักแต่ว่ารู้เท่านั้น เมื่อไม่ยึดถือจึงไม่มีกิเลสและความทุกข์ ความไม่ยึดถือ คืออุเบกขา แต่ถ้ายึดถือความไม่ยึดถือ หรือยึดถืออุเบกขา ไม่ใช่อุเบกขา ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2560


ไปหมายสภาวธรรมอันใดไว้ คือหลงยึดถือ ผู้ถาม : การปฏิบัติในรูปแบบจะมากขึ้นเอง เพราะอยู่ กับตัวผู้รู้ที่ไปรู้สภาวธรรม ที่ต่อเนื่องเกิดดับอยู่ตลอด เเต่ตัวรู้จะเด่นชัดกว่าปกติที่เราอยู่ในอิริยาบทสี่ ถูก ต้องนะคะ ถึงเขาจะเด่นอย่างใดก็รู้เห็นตามอาการ นั้น ๆ ไป จะสุขจะทุกข์ก็เข้าใจว่ามันไม่ใช่เรา ไม่มีตัว เราให้เห็น จะปรากฏแค่สบายมากกับสบายน้อย เท่านั้น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่จะไปเห็นมีแต่ว่า ความทุกข์ที่บีบคั้นของจิตที่ดิ้น ๆ อยู่ มันคืออาการ เข้าไปดูเวทนาในฌานหรือไม่เจ้าคะหลวงตา


หลวงตา : มันยึดสุข เลยเมื่อเกิดความทุกข์จึงดิ้นรน ผลักไส แม้อยู่ในฌานก็แค่สักแต่ว่ารู้ อยู่ในสภาวะ ปกติก็แค่สักแต่ว่ารู้ หลงยึดถือสภาวธรรมอันใด แม้แต่ความว่าง แม้แต่ความรู้แจ้ง หรือยึดถือผู้รู้หรือ เอาตัวเราไปรู้ ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์กับการไม่ ได้อย่างใจ ครั้นไม่อาจยึดถือให้เป็นอย่างใจได้ ก็ เกิดความทุกข์ เร่าร้อน หงุดหงิดรำคาญใจ ดิ้นรน ผลักไส ทุกข์กับความแปรปรวน ทุกข์กับความไม่ เที่ยง ผู้รู้หรือธาตุรู้ ไม่มีตัวตน ไม่มีรูปร่าง ไม่อาจมี กริยาหรืออาการใดได้ จึงไม่ปรากฏว่ารู้ชัดหรือไม่ชัด ที่ตัวเรา ไม่ปรากฏว่าผู้รู้เบาสบายมาก เบาสบาย น้อย


กรณีอย่างนี้หลงเอาตัวเราซึ่งเป็นขันธ์ห้าไปรู้ จึงปรากฏอาการหรือสภาวธรรมที่ตัวเราผู้รู้ได้ อาการต่าง ๆ ที่ปรากฏชัดที่ตัวเรานั้นเป็นขันธ์ห้า ให้ ปล่อยวางเสีย อย่าไปหมายสภาวธรรมอันใดไว้ หรือไปหลงยึดถือว่าจะให้เป็นอย่างไร มันจะหลง ยึดถือ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2560


"ผู้รู้" เป็นใจ "ผู้คิด" เป็นสัญญา และสังขาร ผู้ถาม : อาจารย์คะ ขออนุญาตค่ะ ช่วงสัปดาห์นี้ รู้สึกใจฟุ้งเยอะ สองวันมานี้เลยภาวนาพุทโธถี่ ๆ สลับกับการหายใจเข้าลึก ๆ แต่พอหลัง ๆ เริ่มลืม พุทโธ ดูแต่ลมหายใจ ผลคือเมื่อวานนั่งทำงาน เห็นความคิด เห็นตาที่เห็น รูป เห็นกายที่ขยับ เห็นว่าหูได้ยินเสียง เริ่มรู้ว่าการ เห็นนั้นเป็นคนละแบบกับการตั้งใจทำงาน ตั้งใจฟัง คนพูด และตั้งใจมอง ตั้งใจคิด อันที่เห็นตามที่ เขียนด้านบนคือคิดหรือรู้คะ หลวงตา : เป็นรู้นะ เพียรฝึกให้แค่รู้ แค่เห็นอย่างนั้น ด้วยความอดทน ไม่มีตัวตนของผู้รู้ ผู้รู้ไม่อาจคิด ผู้ คิดไม่รู้


”ผู้รู้" เป็นใจ ให้รู้ รู้ รู้ ............ จนเข้ามาถึงใจที่ ไม่อาจคิดได้ มีแต่รู้ "ผู้คิด" เป็นสัญญาและสังขาร ผ่านระบบการ ทำงานของสมอง ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2560


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.