จิตวิทยา: ความรู้ฉบับพกพา

Page 1


จิตวิทยา: ความรู้ฉบับพกพา • ณัฐสุดา เต้พันธ์ แปล จากเรื่อง Ps y c h o l ogy : A V e r y S hor t I n t r o duc t i o n โดย Gillian B u t l e r และ F r e d a M c M a n u s พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ o p e n w o r l d s , ตุลาคม 2558 ราคา 250 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ภรณ์ทิพย์ ปิยฤทธิพงศ์ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์ • บรรณาธิการเล่ม ฐณฐ จินดานนท์ บรรณาธิการต้นฉบับ กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์ ออกแบบปก w r ongd e s i g n • จัดท�ำโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 604/157 ถนนสาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2 - 6 1 8 - 4 7 3 0 e m a il: o pe n w o r l d s t h a i l a n d @g m a i l . c o m fa c e b o o k : w w w . f a c e b o o k . c o m / o p e n w o r l d s twitte r: w w w . t w i t t e r . c o m / o p e n w o r l d s _ t h we b s i t e : w w w . o p e n w o r l d s . i n . t h จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 - 2 7 3 9 - 8 0 0 0 โทรสาร 0 - 2 7 5 1 - 5 9 9 9 we b s i t e : h t t p : / / w w w . s e - e d . c o m /


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล หมายเลขโทรศัพท์ 02-618-4730 และ 097-174-9124 หรือ Email: openworldsthailand@gmail.com

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ บัตเลอร์, จิลเลียน. จิตวิทยา: ความรู้ฉบับพกพา.-- กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2015. 240 หน้า. 1. จิตวิทยา. I. แม็กมานัส, เฟรดา, ผู้แต่งร่วม. II. ณัฐสุดา เต้พันธ์, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง. 150 ISBN 978-616-7885-20-9 • Thai language translation copyright 2015 by openworlds publishing house /Copyright © 2014 by G i l l i a n B u t l e r a n d F r e d a M c Manus All Rights Reserved. Ps y c h o lo g y : A Ve ry Sh o r t I n t r o d u c t i o n , b y G i l l i a n B u t l e r a nd Fr eda McManu s wa s o rig in a lly pu b l i s h e d i n E n g l i s h i n 2 0 1 4 . This translation is published by arrangement with Oxford University Press t hrou g h T u ttle -M o ri Ag e n c y C o . , L t d . The T h a i e d itio n is tra n s l a t e d b y N a t t a s u d a T a e p h a n t a n d published by open wo rld s p u b lis h in g h o u s e , 2 0 1 5 . จิตวิทยา: ความรู้ฉบับพกพา ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 2014 แปลและจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด ตามข้อตกลงกับสานักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ภาพปก: Ru b in ’s v a s e โดย E d g a r J o h n R u b i n ( 1 8 8 6 - 1 9 5 1 )



สารบัญ

. ค�ำน�ำผู้แปล : 8 1. จิตวิทยาคืออะไร? แล้วจะศึกษาเรื่องนี้ได้อย่างไร? : 14 2. อะไรเข้ามาในจิตใจของเรา? การรับรู้ : 36 3. สิ่งใดบ้างคงอยู่ในจิตใจ? การเรียนรู้และความจ�ำ : 58 4. เราใช้สิ่งที่อยู่ในจิตใจของเราอย่างไร? การคิด การให้เหตุผล และการสื่อสาร : 80 5. ท�ำไมเราจึงท�ำสิ่งที่เราท�ำ? แรงจูงใจและภาวะอารมณ์ : 102 6. พัฒนาการมีแบบแผนตายตัวหรือไม่? จิตวิทยาพัฒนาการ : 124 7. เราสามารถจ�ำแนกประเภทบุคคลได้หรือไม่? ความแตกต่างระหว่างบุคคล : 146 8. จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อสิ่งต่างๆ ผิดปกติ? จิตวิทยาอปกติ : 168 9. เรามีอิทธิพลต่อกันได้อย่างไร? จิตวิทยาสังคม : 192 10. จิตวิทยามีไว้เพื่ออะไร? : 214 อ้างอิง : 228 อ่านเพิ่มเติม : 234 ประวัติผู้เขียน : 237 ประวัติผู้แปล : 239


สารบัญภาพประกอบ

. 1. วิลเลียม เจมส์ (1842-1910) 16 2. สาขาวิชาต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านการรู้คิด 25 พิมพ์ซํ้าจากที่พิมพ์ใน Cognitive Revolution: a historical perspective. TRENDS in Cognitive Science, 7. Miller, G.A. (2003) โดยได้รับอนุญาต จาก Elsevier 3. ลูกบาศก์เนกเกอร์ 37 4. ส้อมเสียงของปีศาจ 38 5. ภาพแจกันของรูบิน 44 6. การเห็นตัว H ก่อนตัว S 45 7. ภาพลวงตาโดมิโน 47 พิมพ์ซํ้าจากที่พิมพ์ใน Making up the Mind: How the Brain Creates our Mental World. Frith, Chris. (2007) Oxford, Blackwell 8. Paris in the spring 53 9. การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ�จากอีกมุมมอง “เพื่อนเอย เหมือนเราจะ วางเงื่อนไขให้เจ้าคนนี้ได้แล้ว ทุกครั้งที่ฉันกดคาน เขาจะหย่อนอาหารลง มา” 66 © Randy Taylor 10. การให้สัญญาณรางวัลโดยเซลล์ประสาทโดพามีน 107 Wolfram Schultz, Reward Signaling by Dopamine Neurons (Neuroscientist, 7 (4), 293-302) copyright © 2001 by SAGE Publications พิมพ์ซํ้าโดยได้รับอนุญาตจาก SAGE Publications 11. ภาพถ่ายการ์กอยล์ 114 © Oxford Picture Library/Chris Andrews 12. ความผูกพันในลิง 136 © Harlow Primate Laboratory, University of Wisconsin


13. “คุณสร้างกระท่อมไม่เป็น คุณไม่รู้วิธีหารากไม้ที่กินได้ และคุณไม่รู้อะไร เลยเรื่องการทำ�นายสภาพอากาศ พูดอีกอย่างก็คือ คุณทำ�แบบวัด IQ ของ เราได้ แย่มาก! ” 155 ScienceCartoonsPlus.com 14. คำ�ถามวัดเชาวน์ปัญญาที่เป็นธรรมทางวัฒนธรรม 155 15. ประเภทบุคลิกภาพของอายเซงก์ 163 จาก Eysenck, H.J. and Rachman, S 1965. The Causes and Cures of Neurosis. London, Routledge and Kegan Paul Ltd. ผลิตซํ้าโดยได้รับอนุญาตจาก The HJ Eysenck Memorial Fund 16. CBT คือการมองสิ่งต่างๆ ในแนวทางใหม่ 186 Copyright © The E.H. Shepard Trust ผลิตซํ้าโดยได้รับอนุญาตจาก Cutis Brown Group Ltd, London 17. การต่อต้านความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ 200 จาก Scientific American, Vol. 193, No. 5, 1955. ผลิตซํ้าโดยได้รับ อนุญาต Copyright © 1995, Scientific American, Inc. All rights reserved 18. การทดลองการเชื่อฟังคำ�สั่งของมิลแกรม 204 จากภาพยนตร์เรื่อง Obedience © 1968 by Stanley Milgram; copyright renewed 1993 by Alexandra Milgram and distributed by Alexander Street Press


8

Psychology

ค�ำน�ำผู้แปล

.

จิตวิทยาคืออะไร? จิตวิทยาเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร? จิตวิทยาเป็นเรือ่ งของผูป้ ระสบปัญหาในชีวติ เท่านัน้ หรือ?

หลายท่านอาจมีค�ำถามเหล่านี้อยู่ในใจ ในฐานะที่ผู้แปล คลุกคลีอยู่ในแวดวงจิตวิทยา ก็เคยหวังว่าจะมีหนังสือสักเล่ม ที่สามารถตอบค�ำถามเหล่านี้ สื่อสารให้ผู้คนเข้าใจถึงเรื่องราวน่า ตืน่ ตาตืน่ ใจจากการเรียนรูแ้ ละความเข้าใจเกีย่ วกับมนุษย์ และช่วย ให้ผู้คนเข้าใจจิตวิทยาอย่างถ่องแท้ เมื่อส�ำนักพิมพ์ openworlds ติดต่อมาว่าสนใจจะให้แปลหนังสือ Psychology: A Very Short Introduction ของ Gillian Butler และ Freda McManus ทีจ่ ดั พิมพ์ โดยส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ผู้แปลก็ได้อ่านหนังสือ เล่มดังกล่าว จึงพบว่าหนังสือเล่มนี้สามารถสื่อสารความเข้าใจ ในเรื่ อ งจิ ต วิ ท ยาได้ อ ย่ า งชั ด เจน และตอบค� ำ ถามที่ เ กริ่ น ไว้ ข้างต้นได้


A

Very Short Introduction

9

หากกล่าวโดยสรุป จิตวิทยาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการ ศึกษากระบวนการคิด การรับและการแสดงความรูส้ กึ ซึง่ เป็นการ ศึกษาเพือ่ ท�ำความเข้าใจกระบวนการภายในของมนุษย์ ตลอดจน การท�ำความเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์รวมกลุ่ม กัน รวมถึงการศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ และความผิดปกติ ที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น โดยการศึ ก ษาทั้ ง หมดนี้ ตั้ ง อยู ่ บ นกระบวนการ ทีเ่ ป็นวิทยาศาสตร์ และหนังสือเล่มนีก้ ค็ รอบคลุมประเด็นทัง้ หมด ที่กล่าวมา หนังสือเล่มนี้ต่างจากต�ำราเรียนแสนน่าเบื่อ เพราะ ผู้เขียนได้เรียบเรียงเนื้อหาไว้อย่างน่าสนใจ มีมุมมองที่ชวนให้ ผู้อ่านคิดตาม โดยใช้ตัวอย่างจากสถานการณ์จริง ตลอดจนงาน ศึกษาวิจัยที่น่าสนใจทั้งหลาย อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรู้ ทางจิตวิทยาได้อย่างชัดเจน ส�ำหรับผูแ้ ปลแล้ว หนังสือเล่มนีโ้ ดดเด่นด้วยการรวบรวม มุมมองทางจิตวิทยาตัง้ แต่ยคุ บุกเบิก จนถึงยุคปัจจุบนั ทัง้ ยังคาดการณ์ถงึ ความก้าวหน้าทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต ประกอบกับตัวอย่าง จากงานวิจัยชิ้นส�ำคัญ ชวนให้ผู้อ่านเกิดความสนใจ และสัมผัสได้ ถึงเรือ่ งราวน่าตืน่ ตาตืน่ ใจของการศึกษาวิจยั ทางจิตวิทยาได้อย่าง แท้จริง เมื่อผู้อ่านอ่านหนังสือเล่มนี้จบ ท่านจะเข้าใจความหมาย ของจิตวิทยา และน�ำความรู้ด้านจิตวิทยาอันหลากหลายมาใช้ได้ ในชีวิตประจ�ำวัน ผู ้ แ ปลขอขอบคุ ณ ส� ำ นั ก พิ ม พ์ openworlds ที่ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในการเผยแพร่ ค วามเข้ า ใจเรื่ อ งศาสตร์ จิ ต วิ ท ยาใน


10

Psychology

ประเทศไทย ตลอดจนโอกาสในการแปลหนังสือเล่มนี้ โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ฐณฐ จินดานนท์ และ กิตติพงศ์ สนธิสมั พันธ์ ทีม่ สี ว่ นช่วย อย่างยิ่งในการปรับปรุงต้นฉบับจนส�ำเร็จลุล่วง ขอบคุณ วีระกิตติ์ เด่นแก้ว ที่เอื้ออาทรและเปิดโอกาสให้ท�ำในสิ่งที่รักเสมอมา ท้าย ที่สุด ขอขอบคุณทุกท่านที่เกี่ยวข้องและท�ำให้งานชิ้นนี้สมบูรณ์

ณัฐสุดา เต้พันธ์




จิตวิทยา •

ความรู้ฉบับพกพา

PSYCHOLOGY • A Very Short Introduction by

Gillian Butler & Freda McManus

แปลโดย

ณัฐสุดา เต้พันธ์


บทที่ 1

/ จิตวิทยาคืออะไร? แล้วจะศึกษาเรื่องนี้ได้อย่างไร?


A

Very Short Introduction

15

ในปี 1890 วิลเลียม เจมส์ (William James) (ภาพประกอบ 1) ผู้เป็นทั้งแพทย์ นักปรัชญาชาวอเมริกัน และหนึ่งในผู้ริเริ่มการ ศึกษาจิตวิทยาสมัยใหม่ ให้คำ� จ�ำกัดความจิตวิทยาว่าเป็น “ศาสตร์ แห่งจิตใจ” (the science of mental life) และค�ำจ�ำกัดความนี้ ก็ยงั คงเป็นจุดเริม่ ต้นของการท�ำความเข้าใจศาสตร์ดา้ นจิตวิทยา ในปัจจุบัน เราทุกคนล้วนมีจิตใจ ดังนั้นเราจึงพอจะเข้าใจได้ว่า ค�ำค�ำนี้หมายถึงอะไร ถึงแม้เราจะสามารถศึกษาเรื่องนี้ได้โดย ทดลองกับหนูหรือลิง รวมถึงมนุษย์ อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้น แนวทางการศึกษาสมองแบบใหม่ และการ ท�ำความเข้าใจการท�ำงานและโครงสร้างของสมอง ท�ำให้เราได้รบั ข้อมูลที่น่าสนใจอย่างยิ่งเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตใจของเรา เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น ณ ปัจจุบัน ท�ำให้เราสามารถสังเกตและ วัดค่ากิจกรรมต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในสมองได้อย่างเป็นวัตถุวสิ ยั (objective) แต่ถงึ กระนัน้ ก็มอี กี หลายเรือ่ งทีเ่ รายังไม่รเู้ กีย่ วกับความ สัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์แบบอัตวิสยั (subjective) กับสมอง และนักจิตวิทยาก็ยงั คงตัง้ สมมติฐาน (หรือการคาดเดาจากข้อมูล) เกี่ยวกับวิธีที่สิ่งที่เป็นอัตวิสัยกับสิ่งที่เป็นวัตถุวิสัยเชื่อมโยงกัน


16

ภาพประกอบ 1 วิลเลียม เจมส์ (1842-1910)

Psychology


A

Very Short Introduction

17

เช่นเดียวกับนักจิตวิทยาส่วนใหญ่ วิลเลียม เจมส์ ให้ ความสนใจจิตวิทยาของมนุษย์เป็นพิเศษ โดยเขาคิดว่ามัน ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐานจ�ำนวนหนึ่ง นั่นคือ ความคิด และความรูส้ กึ สิง่ แวดล้อมทางกายภาพในแต่ละเวลาและสถานที่ รวมทั้งวิธีการรับรู้เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้ ส�ำหรับเรา แต่ละคน ความรูด้ งั กล่าวมาจากการทีป่ จั เจกมีปฏิสมั พันธ์กบั โลก และจากความคิดกับความรูส้ กึ ทีเ่ ชือ่ มโยงกับประสบการณ์เหล่านี้ ด้วยเหตุนจี้ งึ เป็นเรือ่ งง่ายทีเ่ ราจะตัดสินเรือ่ งทางจิตวิทยาโดยใช้ ประสบการณ์ของเราเป็นเกณฑ์ชี้วัด เราท�ำตัวเป็นนักจิตวิทยา สมัครเล่นเวลาทีเ่ ราเสนอความคิดเห็นเกีย่ วกับปรากฏการณ์ทาง จิตวิทยาอันซับซ้อน เช่น การล้างสมองท�ำได้จริงหรือไม่ หรือการ แสดงความคิดเห็นว่าเหตุใดคนอืน่ จึงมีพฤติกรรมอย่างทีพ่ วกเขา ท�ำ เช่น คิดว่าเขาถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม รู้สึกไม่มีความสุข หรือ ยอมแพ้ต่ออุปสรรคในการท�ำงาน อย่างไรก็ตาม ปัญหาเกิดขึ้น เมื่อคนสองคนเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแตกต่างกัน จิตวิทยาตามแบบ (formal psychology) พยายามหาวิธีช่วยเราตัดสินว่าค�ำอธิบาย ใดน่าจะถูกต้องมากที่สุด หรือเพื่อตอบให้ได้ว่าแต่ละค�ำอธิบาย ใช้ได้ภายใต้สภาพการณ์ใด งานของนักจิตวิทยาช่วยให้เรา แยกแยะระหว่างข้อมูลภายในซึ่งเป็นอัตวิสัย กับข้อเท็จจริงซึ่ง เป็นวัตถุวสิ ยั หรือก็คอื การแยกแยะระหว่างสิง่ ทีเ่ ราคิดไว้กอ่ นว่า น่าจะเป็นเช่นนั้น กับสิ่งที่เป็นจริงตามหลักวิทยาศาสตร์ ตามค�ำจ�ำกัดความของ วิลเลียม เจมส์ จิตวิทยาหมายถึง ศาสตร์ที่เกี่ยวกับจิตใจ จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ที่เราสามารถ ศึกษาข้อมูลจากสมองของมนุษย์ทยี่ งั มีชวี ติ ได้โดยตรง ดังนัน้ นัก


18

Psychology

จิตวิทยาจึงศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ และน�ำข้อมูลที่สังเกตได้ มาพัฒนาสมมติฐานเกี่ยวกับกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมองของ เรา ในปัจจุบนั เรามีองค์ความรูท้ างด้านการท�ำงานของสมองมาก ขึน้ ซึง่ ความรูเ้ หล่านีเ้ ป็นพืน้ ฐานทางวิทยาศาสตร์ในการท�ำความ เข้าใจเรื่องเกี่ยวกับจิตใจในบางแง่มุม นี่เป็นเรื่องน่าตื่นเต้น แต่ก็ยังคงมีอีกหลายเรื่องที่รอการค้นพบ ก่อนที่จะกล่าวอ้าง ได้ว่าสามารถอธิบายความหลากหลายของประสบการณ์ต่างๆ และการแสดงออกซึ่งความหวัง ความกลัว ความปรารถนา หรือ พฤติกรรมของเราในห้วงประสบการณ์ที่หลากหลาย ตั้งแต่การ ให้ก�ำเนิดไปจนกระทั่งการชมเกมฟุตบอล นอกจากนี้ จิตวิทยา ยังเกี่ยวข้องกับวิธีการที่สิ่งมีชีวิต ซึ่งมักหมายถึงมนุษย์ ใช้ความ สามารถทางสมองหรือทางจิตใจในการด�ำรงชีวิตบนโลกใบนี้ ซึ่ง วิธกี ารต่างๆ นัน้ แปรเปลีย่ นตามลักษณะของสภาพแวดล้อมทาง สังคมและทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลงไป ทฤษฎีวิวัฒนาการ ชี้ว่าหากสิ่งมีชีวิตไม่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยน ไปเรื่อยๆ พวกมันก็จะสูญพันธุ์ไปในที่สุด (ซึ่งกลายมาเป็น ค�ำกล่าวที่ว่า “ถ้าไม่ปรับตัวก็อยู่ไม่ได้” และ “ผู้ที่เหมาะสมที่สุด เท่านัน้ จึงจะอยูร่ อด”) ทีผ่ า่ นมา มนุษย์เราถูกก�ำหนดเส้นทางโดย กระบวนการปรับตัวดังกล่าว และจะยังคงเป็นแบบนีต้ อ่ ไปเรือ่ ยๆ นี่ ก็ ห มายความว่ า มี ค� ำ อธิ บ ายเชิ ง วิ วั ฒ นาการส� ำ หรั บ วิ ธี ก าร ท�ำงานของสมองและจิตใจ ตัวอย่างเช่น เหตุผลที่เราสังเกตเห็น วัตถุเคลือ่ นทีไ่ ด้ดกี ว่าวัตถุทอี่ ยูน่ งิ่ อาจเป็นเพราะความสามารถนี้ มีประโยชน์กับบรรพบุรุษของเราในการระแวดระวังหลบเลี่ยง อันตรายจากสัตว์นักล่าทั้งหลาย ส�ำหรับนักจิตวิทยา รวมถึงนัก


A

Very Short Introduction

19

วิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ การตระหนักถึงเหตุผลเหล่านี้มีความ ส�ำคัญอย่างมาก การศึกษาจิตวิทยามีความยุ่งยากแฝงอยู่ เนื่องจาก การท�ำงานของจิตใจเป็นสิ่งที่ไม่อาจสังเกตได้เหมือนกับการ ท�ำงานของเครื่องยนต์ แต่ทว่าข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ควร เป็นวัตถุวิสัยและพิสูจน์ได้ นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาเทคนิค เฉพาะทางแสนปราดเปรื่องเพื่อศึกษาลงลึกถึงรายละเอียด โดย เทคนิคบางอย่างจะน�ำเสนอในหนังสือเล่มนี้ ในชีวิตประจ�ำวัน เรารับรู้เรื่องเหล่านี้ได้เพียงทางอ้อม และต้องอนุมานจากสิ่งที่ สังเกตเห็นได้ อาจกล่าวได้วา่ ความพยายามในการศึกษาจิตวิทยา ก็เหมือนกับการเล่นเกมปริศนาอักษรไขว้ มันประกอบด้วยการ ประเมินและการตีความค�ำใบ้ต่างๆ แล้วจึงใช้ความรู้ที่มีเติมเต็ม สิง่ ทีข่ าดหายไป นอกจากนี้ ค�ำใบ้ทงั้ หลายก็มาจากการเฝ้าสังเกต อย่างตั้งใจ โดยอิงกับมาตรวัดที่เที่ยงตรง การวิเคราะห์ตามหลัก วิทยาศาสตร์อย่างเคร่งครัด และการตีความโดยใช้หลักตรรกะ เหตุผล ซึ่งพร้อมเผชิญการตรวจสอบของสาธารณะ ในบรรดา สิ่งที่เราต้องการรู้เกี่ยวกับจิตวิทยา มีเพียงส่วนเดียวที่เราวัดได้ โดยตรง นั่นก็คือเรารับรู้ เรียนรู้ จดจ�ำ คิด แก้ปัญหา รู้สึก พัฒนา แตกต่างจากคนอื่นอย่างไร และวิธีที่สิ่งเหล่านี้มีปฏิสัมพันธ์กัน โดยกิจกรรมทั้งหมดนี้ ถูกก�ำหนดจากหลายปัจจัย (multiply determined) ซึ่งหมายความว่ามีหลายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ กิจกรรมดังกล่าว ไม่ใช่มีเพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ลองนึกถึงทุกสิ่งที่อาจมีผลต่อการตอบสนองของคุณในสถานการณ์หนึ่งๆ เช่น การหลงทางในต่างเมือง ทั้งนี้ในการค้นหา


20

Psychology

ว่าปัจจัยใดบ้างที่มีความส�ำคัญ เราต้องก�ำจัดปัจจัยรบกวน (confounding factor) ทั้งหลายเสียก่อน ในสาขาจิตวิทยา ปฏิสมั พันธ์อนั ซับซ้อนเป็นบรรทัดฐาน แทนที่ จ ะเป็ น ข้ อ ยกเว้ น และการท� ำ ความเข้ า ใจก็ ขึ้ น อยู ่ กั บ พั ฒ นาการของทฤษฎี แ ละเทคนิ ค ที่ ล ะเอี ย ดรั ด กุ ม จิ ต วิ ท ยา มีเป้าหมายเดียวกันกับหลายศาสตร์ คือเพื่อบรรยาย ท�ำความ เข้าใจ และท�ำนายกระบวนการของสิง่ ทีศ่ กึ ษา เมือ่ บรรลุเป้าหมาย ดังกล่าว เราจะสามารถเข้าใจธรรมชาติของประสบการณ์ได้ดขี นึ้ และน�ำความรู้นั้นมาใช้ในทางปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น การค้นพบ ในสาขาจิตวิทยาน�ำมาใช้ประโยชน์ได้มากมายหลากหลาย ตัง้ แต่ การพัฒนาวิธีการสอนเด็กอ่านหนังสือที่ได้ผลกว่าเดิม การ ออกแบบแผงควบคุมอุปกรณ์เครื่องจักรต่างๆ ที่ช่วยลดความ เสีย่ งของการเกิดอุบตั เิ หตุ ไปจนถึงการเยียวยาผูท้ ที่ กุ ข์ตรมจาก อารมณ์โศกเศร้า ประวัติศาสตร์ของการศึกษาจิตวิทยา แม้จะมีการอภิปรายเกี่ยวกับค�ำถามทางด้านจิตวิทยา มาเป็นเวลาหลายศตวรรษ แต่การศึกษาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เพิง่ จะเกิดขึน้ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 นักจิตวิทยาในยุคแรกเริม่ ใช้ การไตร่ตรองภายใน (introspection) หรืออีกนัยคือการ ค�ำนึงคิดถึงประสบการณ์ที่ตนเองได้รับ เพื่อหาค�ำตอบให้กับ ค�ำถามเชิงจิตวิทยา การศึกษาจิตวิทยาในช่วงแรกมีเป้าหมาย คือการระบุโครงสร้างทางจิตใจ แต่หลังจากการตีพิมพ์ผลงาน


A

Very Short Introduction

21

ของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) เรื่อง ก�ำเนิดสปีชีส์ (The Origin of Species) ในปี 1859 ขอบเขตของจิตวิทยา ก็ขยายครอบคลุม โครงสร้าง (Structure) รวมถึง หน้าที่การ ท�ำงาน (Function) ของจิตส�ำนึก (consciousness) นักจิตวิทยา ในยุคปัจจุบนั ยังคงให้ความสนใจโครงสร้างและหน้าทีก่ ารท�ำงาน ของจิตใจเป็นหลัก แต่การศึกษาด้วยการไตร่ตรองภายในนั้น มีขอ้ จ�ำกัดทีช่ ดั เจน ดังทีเ่ ซอร์ ฟรานซิส กาลตัน (Francis Galton) ชีใ้ ห้เห็นว่ามันปล่อยให้เรา “เป็นเพียงคนไร้นำ�้ ยาผูเ้ ฝ้าดูเศษเสีย้ ว การท�ำงานโดยอัตโนมัตขิ องสมอง” ขณะที่ วิลเลียม เจมส์ กล่าวว่า การพยายามศึกษาจิตใจด้วยการไตร่ตรองภายในนั้นเหมือน กับ “การจุดเตาอย่างรวดเร็วเพียงเพื่อให้เห็นว่าความมืดเป็น เช่นใด” นักจิตวิทยาในยุคปัจจุบันจึงสร้างทฤษฎีโดยอิงกับการ สังเกตปรากฏการณ์ที่พวกเขาสนใจอย่างรัดกุม เช่น พฤติกรรม ของบุคคลและการท�ำงานของสมองของพวกเขา แทนที่จะค�ำนึง คิดถึงประสบการณ์ของตนเอง ในปี 1913 จอห์น วัตสัน (John Watson) ตีพิมพ์ ค�ำประกาศแนวคิดพฤติกรรมนิยม (general behaviourist manifesto) ส�ำหรับจิตวิทยา ซึ่งย�้ำชัดว่าหากจิตวิทยามุ่งหมาย จะเป็นวิทยาศาสตร์ ข้อมูล ต่างๆ ที่รองรับต้องพร้อมส�ำหรับการ ตรวจสอบ การมุ่งศึกษาพฤติกรรมที่สังเกตได้ แทนที่จะเป็น เหตุการณ์ภายในจิตใจ (ซึ่งสังเกตไม่ได้) เชื่อมโยงกับทฤษฎี การเรียนรู้และการย�้ำความส�ำคัญของวิธีการสังเกต ตลอดจน การทดลองที่น่าเชื่อถือ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังคงมีอิทธิพลต่อสาขาวิชา จิตวิทยาในยุคปัจจุบัน


22

Psychology

แนวทางพฤติกรรมนิยมเสนอว่าพฤติกรรมทัง้ หมดเป็น ผลของการวางเงือ่ นไข (conditioning) ซึง่ ท�ำการศึกษาได้โดยการ ระบุ สิง่ เร้า (stimulus) และการสังเกต การตอบสนอง (response) ต่อสิง่ เร้า หรือทีเ่ รียกว่า จิตวิทยาแบบเอส-อาร์ (S-R psychology) นักจิตวิทยาแนวพฤติกรรมนิยมในช่วงแรกไม่ได้ให้ความส�ำคัญ กับสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างกลางของทัง้ สองฝัง่ หรือทีเ่ รียกว่า ตัวแปร จัดกระท�ำ (intervening variables) แต่หลังจากนัน้ มันก็กลายเป็น ที่มาส�ำคัญของสมมติฐานในการทดลอง การทดสอบสมมติฐาน เหล่านี้ท�ำให้นักจิตวิทยาสามารถพัฒนาทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวกับ โครงสร้าง หน้าที่ และกระบวนการท�ำงานของจิตใจได้ละเอียด รัดกุมมากขึ้นเรื่อยๆ แนวคิ ด หลั ก อี ก สองประการที่ ท รงอิ ท ธิ พ ลอย่ า งยิ่ ง ในการพัฒนาวงการจิตวิทยาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มาจาก จิตวิทยาแนวเกสทัลท์ (Gestalt psychology) และ จิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) นักจิตวิทยาสายเกสทัลท์ในเยอรมนีตั้งข้อ สังเกตที่น่าสนใจจ�ำนวนหนึ่งเกี่ยวกับวิธีการจัดการกระบวนการ เชิงจิตวิทยา พวกเขาแสดงให้เห็นว่าประสบการณ์ของคนเรานัน้ ต่างไปจากสิง่ ทีค่ าดไว้ หากอิงแต่กบั เพียงคุณสมบัตทิ างกายภาพ ของสิ่งเร้าภายนอก และสรุปว่า “องค์รวมย่อมเหนือกว่าผลรวม ของส่วนย่อย” (the whole is greater than the sum of the parts) ตัวอย่างเช่น เมื่อมีดวงไฟสองดวงที่อยู่ไม่ห่างกันกะพริบในเวลา ใกล้เคียงกัน สิ่งที่เราเห็นคือไฟ 1 ดวงเคลื่อนที่ระหว่างจุด 2 จุด (ภาพยนตร์ก็ท�ำงานในลักษณะนี้) การตระหนักว่ากระบวนการ ท�ำงานของจิตใจส่งผลต่อธรรมชาติของประสบการณ์ ช่วยวาง


A

Very Short Introduction

23

พื้ น ฐานส� ำ หรั บ การพั ฒ นา จิ ต วิ ท ยาการรู ้ คิ ด (cognitive psychology) ในยุคปัจจุบัน ซึ่งจิตวิทยาสาขานี้ศึกษาเกี่ยวกับ กระบวนการภายในดังกล่าว ทฤษฎีของ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เกีย่ วกับ ประสบการณ์ในวัยเด็กที่ส่งอิทธิพลต่อเนื่อง และโครงสร้าง เชิงทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เขาเรียกว่า อีโก้ (ego), อิด (id) และ ซูเปอร์อีโก้ (superego) ให้ความส�ำคัญกับกระบวนการท�ำงาน ของ จิตไร้ส�ำนึก (unconcious) โดยกระบวนการดังกล่าว ซึ่ง รวมถึงความต้องการและความปรารถนาที่อยู่ในจิตไร้ส�ำนึก และไม่เป็นที่ยอมรับ สามารถอนุมานได้จากความฝัน การเผลอ หลุดปากพูด และจากกิริยาท่าทาง โดยคิดกันว่ากระบวนการ ดังกล่าวมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ ตั้งสมมติฐานว่าความขัดแย้งในระดับจิตไร้ส�ำนึกเป็นสาเหตุ หลักของความทุกข์ทางจิตใจ (psychological distress) ซึ่งนัก จิตวิเคราะห์พยายามบรรเทาอาการโดยช่วยให้บุคคลแสดงออก ซึ่งความรู้สึกของตน และโดยการตีความบนพื้นฐานของทฤษฎี อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการทางจิตใจที่สังเกต ไม่ได้เหล่านี้ก็ไม่ได้ชัดเจนหรือเจาะจงเพียงพอจนกระทั่งน�ำไปสู่ การท�ำนายที่สามารถทดสอบได้ อันที่จริง จิตวิทยาสาขาที่เป็น เชิงวิทยาศาสตร์และเชิงการตีความนั้นมีการพัฒนาแยกจากกัน ในภายหลัง จิตวิทยาในยุคสมัยปัจจุบันอยู่ในช่วงเวลาที่น่าตื่นตา ตื่นใจ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะจิตวิทยามีการแบ่งเป็นสาขาย่อย มากมาย ทุกวันนี้เรารู้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการที่เกิดขึ้นในใจ


24

Psychology

“โดยไม่รู้ตัว” มากขึ้น แต่เราใช้ทฤษฎีอื่นเพื่ออธิบายการค้นพบ เหล่านี้ จิตวิทยาไม่ได้เป็นเพียงวิชาเดียวทีม่ งุ่ หาค�ำตอบว่าเราจะ ใช้วิธีใดศึกษาเรียนรู้สิ่งที่เราไม่อาจสังเกตได้โดยตรง (ลองนึกถึง วิชาฟิสิกส์และชีวเคมี) ความก้าวหน้าทางทฤษฎีและเทคโนโลยี ช่วยให้กระบวนการนี้ง่ายขึ้น และพัฒนาการดังกล่าวก็เปลี่ยน ธรรมชาติของจิตวิทยาในฐานะที่เป็นวิทยาศาสตร์ และยังคง ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง การใช้เครื่องมือวัดและ อุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์ทที่ นั สมัย รวมทัง้ วิธกี ารทางสถิตทิ พี่ ฒ ั นา ขึน้ ท�ำให้นกั จิตวิทยาสามารถวิเคราะห์ขอ้ มูลปริมาณมหาศาลและ ตัวแปรจ�ำนวนมาก การสังเกตการท�ำงานของสมองอย่างการใช้ เครือ่ งสแกน fMRI และการศึกษาจิตใจในฐานะ ระบบประมวลผล ข้อมูล ท�ำให้นักจิตวิทยาค้นพบแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับการท�ำงาน ของสมองและจิตใจที่ไม่อาจสังเกตได้มาก่อน ดังนั้นเราจึงบ่งชี้ ได้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองในช่วงที่เกิด การรับรู้ ความสนใจ การคิด และการตัดสินใจ ในปัจจุบัน นัก จิตวิทยาสามารถตัง้ สมมติฐานโดยอิงกับข้อมูลทีไ่ ด้มาจากวิธกี าร สังเกตที่มี ความเที่ยง (reliable) และ ความตรง (valid) และการ วัดทีถ่ กู ต้องแม่นย�ำ การพัฒนาในด้านต่างๆ เหล่านีเ้ ป็นการปฏิวตั ิ วงการจิตวิทยาในฐานะ “ศาสตร์แห่งจิตใจ” และท�ำให้นกั จิตวิทยา ร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ได้มากมายหลายสาขา ตั้งแต่เคมี ไปจนกระทั่งวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์


A

Very Short Introduction

25

จิตวิทยาในฐานะศาสตร์ด้านการรู้คิด ศาสตร์ดา้ นการรูค้ ดิ (cognitive science) เป็นการศึกษา เชิงสหศาสตร์เกี่ยวกับจิตใจและกระบวนการท�ำงานของจิตใจ ซึ่งผลจากการศึกษาก็แผ่ขยายไปอย่างรวดเร็ว จนกล่าวได้ว่า เป็นการสร้าง “การปฏิวัติด้านการรู้คิด” (cognitive revolution) ภาพประกอบ 2 เป็นการปรับแผนภาพของ จอร์จ เอ. มิลเลอร์ (George A. Miller) ในปี 2003 เพื่อแสดงให้เห็นถึงการที่ศาสตร์ ต่างๆ รวมถึงจิตวิทยา มีสว่ นในการให้กำ� เนิดศาสตร์ดา้ นการรูค้ ดิ ดังนัน้ งานของนักจิตวิทยาในปัจจุบนั จึงเชือ่ มโยงอย่างใกล้ชดิ กับ งานของนักวิทยาศาสตร์สาขาอื่น และตัวอย่างหนึ่งที่งานของ

ปรัชญา จิตวิทยา

ภาษาศาสตร์

ปัญญาประดิษฐ์

มานุษยวิทยา ประสาทวิทยาศาสตร์

ภาพประกอบ 2 สาขาวิชาต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านการรู้คิด


26

Psychology

นักจิตวิทยามีส่วนช่วยเหลือก็คือการศึกษาระบบประสาทอย่าง เป็นวิทยาศาสตร์ นั่นคือ ประสาทวิทยาศาสตร์ (neuroscience) ดังที่ เอริก คานเดล (Eric Kandel) เจ้าของรางวัลโนเบล กล่าวว่า ประสาทวิทยาศาสตร์ด้านปัญญาเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับการรับรู้ การกระท�ำ ความจ�ำ ภาษา และการเลือกสนใจ ซึ่งล้วนเป็น ประเด็นหลักที่นักจิตวิทยาให้ความสนใจศึกษา เป้าหมายของ ประสาทจิตวิทยาด้านปัญญา คือการท�ำความเข้าใจว่าโครงสร้าง และหน้าที่การท�ำงานของสมองมีความสัมพันธ์กับกระบวนการ ทางจิตวิทยาอย่างไร อย่างไรก็ตาม บางสิ่งที่นักจิตวิทยาให้ความสนใจก็ ไม่อาจท�ำความเข้าใจได้ดว้ ยการใช้วธิ กี ารทางวิทยาศาสตร์ทมี่ อี ยู่ และคนจ�ำนวนหนึง่ ก็กล่าวว่ามันไม่อาจท�ำได้ดว้ ยซ�ำ้ ตัวอย่างเช่น จิตวิทยาแนว มนุษยนิยม (Humanistic psychology) ให้ความ ส�ำคัญอย่างยิ่งกับประสบการณ์เฉพาะของปัจเจก เช่นเดียวกับ วิธกี ารเชิงคุณภาพ (qualitative method) และวิธกี ารเชิงปริมาณ (quantitative method) กล่องข้อความ 1 แสดงให้เห็นวิธีการ หลักๆ ทีน่ กั จิตวิทยาใช้เป็นประจ�ำ และการน�ำแนวทางเหล่านีม้ า ประยุกต์ใช้ร่วมกันมักให้ผลเป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น เราต่อยอด วิธีการศึกษาเชิงปริมาณอย่างการใช้แบบสอบถามได้ด้วยการ เพิ่ ม องค์ ป ระกอบเชิ ง คุ ณ ภาพเข้ า ไปในการศึ ก ษาวิ จั ย เช่ น ผลลัพธ์จากแบบสอบถามอาจบอกเราว่าผูป้ ว่ ยทีไ่ ด้รบั การบ�ำบัด ด้วยวิธแี บบ A มีการพัฒนามากกว่าผูป้ ว่ ยทีไ่ ด้รบั การบ�ำบัดด้วย วิธีแบบ B ทว่าการวิเคราะห์เชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์แบบ กึ่งมีโครงสร้าง (semi-structured interview) จะช่วยให้เราเข้าใจ


A

Very Short Introduction

27

ได้ว่าวิธีการบ�ำบัดแบบ A มีส่วนช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างไร และ วิธีการบ�ำบัดต่างๆ มีผลต่อผู้ป่วยอย่างไร ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ เราขัดเกลาแนวทางการช่วยเหลือให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ศาสตร์ใดๆ จะดีแค่ไหน ขึน้ อยูก่ บั ข้อมูลทีน่ ำ� มาใช้อา้ งอิง ดังนั้นนักจิตวิทยาจึงต้องมีความเป็นวัตถุวิสัยในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และการตีความ รวมทั้งการใช้วิธีการทางสถิติและ การตีความผลที่ได้จากการวิเคราะห์ ตัวอย่างต่อไปนี้จะแสดง ให้เห็นว่าแม้ข้อมูลที่รวบรวมมาจะมีความเที่ยงและมีความตรง ความผิดพลาดก็อาจเกิดขึน้ ได้งา่ ยจากวิธที เี่ ราตีความข้อมูล เช่น ถ้ามีการรายงานว่าร้อยละ 90 ของผู้ที่กระท�ำรุนแรงต่อเด็ก เป็น ผูถ้ กู กระท�ำรุนแรงในช่วงทีต่ นเองอยูใ่ นวัยเด็กเช่นกัน จากข้อมูล ดังกล่าว ก็เป็นเรื่องง่ายที่คนจะคิดว่าคนส่วนใหญ่ที่ถูกกระท�ำ รุนแรงในวัยเด็กจะกลายเป็นผู้กระท�ำรุนแรงต่อเด็กเสียเอง และ ในความเป็นจริง ความเห็นเช่นนีก้ ม็ กั ปรากฏในสือ่ อย่างไรก็ตาม การตีความข้อมูลที่ได้รับแบบนี้ไม่ถูกต้องตามตรรกะ เพราะคน ส่วนใหญ่ที่ถูกกระท�ำรุนแรงไม่ได้กระท�ำพฤติกรรมนั้นซ�้ำ ดังนั้น ในฐานะนักวิจัย นักจิตวิทยาต้องเรียนรู้ที่จะน�ำเสนอข้อมูลอย่าง เป็นวัตถุวิสัย โดยไม่ท�ำให้เกิดความเข้าใจผิด รวมทั้งต้องเรียนรู้ วิธตี คี วามข้อเท็จจริงและตัวเลขทีผ่ อู้ นื่ รายงานด้วย ซึง่ การจะท�ำ เช่นนีไ้ ด้ ต้องอาศัยการคิดเชิงวิทยาศาสตร์และเชิงวิพากษ์ขนั้ สูง


28

Psychology

กล่องข้อความ 1 วิธกี ารศึกษาหลักๆ ทีน่ กั จิตวิทยาใช้ การทดลองในห้องปฏิบัติการ: สมมติฐานการวิจัย ที่มาจากทฤษฎีจะถูกทดสอบภายใต้เงื่อนไขควบคุม ต่างๆ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอคติ (bias) ทั้งในการ เลือกผู้เข้าร่วมการวิจัยและการวัดตัวแปรที่ศึกษา ผล ที่ได้จากการศึกษาควรท�ำซ�้ำได้ แต่อาจไม่สามารถ สรุปผลเป็นการทัว่ ไปส�ำหรับสถานการณ์จริงนอกห้อง ทดลอง การศึกษาแบบนี้รวมถึงการสังเกตการท�ำงาน ของสมอง การทดลองภาคสนาม: สมมติ ฐ านการวิ จั ย จะถู ก ทดสอบนอกห้องปฏิบตั กิ าร ภายใต้เงือ่ นไขทีใ่ กล้เคียง กั บ ความเป็ น จริ ง มากขึ้ น แต่ ก ารทดลองแบบนี้ จ ะ ควบคุมสภาพภายนอกได้น้อยกว่า ท�ำซ�้ำได้ยากกว่า หรืออาจไม่สามารถน�ำไปใช้กบั สภาพแวดล้อมอืน่ ๆ ได้ การศึกษาความสัมพันธ์: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปร 2 ตัวขึ้นไปว่าสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใด เช่น ระดับการอ่านกับระยะเวลาของความสนใจ นีเ่ ป็น วิธีวิเคราะห์ข้อมูลมากกว่าจะเป็นการเก็บข้อมูล การสังเกตพฤติกรรม: การศึกษาแบบนี้ต้องเริ่มจาก


A

Very Short Introduction

การให้คำ� จ�ำกัดความพฤติกรรมทีจ่ ะศึกษาอย่างชัดเจน และวิธีการสังเกตก็ควรจะเชื่อถือได้ ทั้งนี้ สิ่งที่สังเกต จะต้องเป็นตัวแทนของพฤติกรรมที่สนใจศึกษาอย่าง แท้จริง การศึ ก ษารายกรณี : การศึ ก ษาวิ จั ย แบบนี้ เ ป็ น ประโยชน์อย่างยิง่ โดยเฉพาะการติดตามศึกษาผลจาก การที่สมองได้รับความเสียหาย ซึ่งจะเป็นบ่อเกิดของ แนวคิดส�ำหรับงานวิจัยในอนาคต และส�ำหรับการวัด พฤติกรรมเดียวกันซ�้ำๆ ภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่างกัน การศึ ก ษาโดยให้ ผู ้ ต อบรายงานเองและโดยใช้ แบบสอบถาม: การศึ ก ษาแบบนี้ ใ ห้ ข ้ อ มู ล ที่ เ ป็ น อัตวิสยั บนพืน้ ฐานของความเข้าใจทีบ่ คุ คลมีตอ่ ตนเอง (หรือการไตร่ตรองภายใน) และความน่าเชื่อถือของ การศึกษาวิจัยแบบนี้เกิดขึ้นผ่านการออกแบบการ ทดสอบที่ดี และการใช้แบบทดสอบที่มีมาตรฐานกับ กลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ที่เป็นตัวแทนของประชากร การส�ำรวจ: การศึกษาวิจัยแบบนี้มีประโยชน์ส�ำหรับ การรวบรวมแนวความคิ ด ใหม่ ๆ และส� ำ หรั บ การ ศึกษาตัวอย่างการตอบสนองของกลุ่มประชากรที่นัก จิตวิทยาให้ความสนใจ

29


30

Psychology

การสัมภาษณ์: การศึกษาแบบนี้เป็นการเข้าถึงแหล่ง ข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่ง สามารถน�ำไปใช้เพื่อให้เกิดความเข้าใจกระบวนการ ต่างๆ ที่เป็นรากฐานของพฤติกรรม แขนงหลักๆ ของจิตวิทยา เป็ น ที่ ถ กเถี ย งกั น ว่ า จิ ต วิ ท ยาไม่ เ ป็ น วิ ท ยาศาสตร์ เนื่องจากไม่มีกระบวนทัศน์หลัก (paradigm) หรือหลักการ เชิงทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของวิชา ทว่าประกอบไปด้วยการรวม ส�ำนักแนวคิดเข้าด้วยกันอย่างหลวมๆ อย่างไรก็ตาม ลักษณะ ดังกล่าวของจิตวิทยาคงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อันเนื่องมา จากลักษณะของประเด็นหลักที่ศึกษา การศึกษาด้านสรีรวิทยา ชีววิทยา หรือเคมีของสิง่ มีชวี ติ เป็นการมุง่ เน้นศึกษาเรือ่ งเฉพาะ ทาง ซึง่ นักจิตวิทยาท�ำไม่ได้ เพราะ นักจิตวิทยาสนใจกระบวนการ การท�ำงานของจิตใจ ซึ่งไม่สามารถแยกออกจากองค์ประกอบ ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต ด้วยเหตุดังที่เราพอจะคาดได้ จิตวิทยาจึง มีแนวทางการศึกษาที่หลากหลาย ตั้งแต่แบบที่เน้นความเป็น ศิลป์ ไปจนถึงแบบทีเ่ น้นความเป็นวิทยาศาสตร์ และแขนงต่างๆ ในจิตวิทยาก็ราวกับว่าเป็นคนละศาสตร์อย่างสิ้นเชิง โดยกล่อง ข้อความ 2 ได้ไล่เรียงแขนงหลักๆ ของการศึกษาจิตวิทยา ในทาง ปฏิบตั ิ แขนงต่างๆ มีสว่ นทับซ้อนกันมาก เช่นเดียวกับทีจ่ ติ วิทยา ทับซ้อนกับศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง


A

Very Short Introduction

กล่องข้อความ 2 แขนงหลักๆ ในการศึกษาจิตวิทยา อปกติ: การศึกษาความผิดปกติทางจิตและวิธีการ เอาชนะสิ่งเหล่านั้น พฤติกรรม: เน้นเรื่องพฤติกรรม การเรียนรู้ และการ รวบรวมข้อมูลจากสิ่งที่สังเกตได้โดยตรง ชีววิทยา (และการศึกษาในสัตว์เพือ่ เปรียบเทียบ): การ ศึกษาจิตวิทยาของสิง่ มีชวี ติ สปีชสี ต์ า่ งๆ แบบแผนทาง กรรมพันธุ์ และปัจจัยก�ำหนดพฤติกรรม การรูค้ ดิ : มุง่ หาค�ำตอบว่าข้อมูลต่างๆ ถูกเก็บ ประมวลผล เข้าใจ และใช้อย่างไร พัฒนาการ: สิง่ มีชวี ติ ต่างๆ มีการเปลีย่ นแปลงอย่างไร ตลอดช่วงชีวิต ความแตกต่างระหว่างบุคคล: ศึกษาคนกลุ่มใหญ่เพื่อ จ�ำแนกและเข้าใจลักษณะต่างๆ โดยทัว่ ไป เช่น เชาวน์ปัญญาหรือบุคลิกภาพ สรีรวิทยา: ศึกษาอิทธิพลระหว่างสภาพทางสรีรวิทยา

31


32

Psychology

กับจิตวิทยา รวมถึงการท�ำงานของประสาทสัมผัส ระบบประสาท และสมอง สังคม: ศึกษาพฤติกรรมทางสังคมและปฏิสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลกับกลุ่ม ญาติใกล้ชิดของจิตวิทยา มีศาสตร์บางศาสตร์ที่ผู้คนมักสับสนกับจิตวิทยา ซึ่งก็ พอจะเข้าใจได้ หนึ่ ง จิ ต วิ ท ยาไม่ ใ ช่ จิ ต เวชศาสตร์ (psychiatry) จิตเวชศาสตร์เป็นแขนงหนึ่งของแพทยศาสตร์ ซึ่งช�ำนาญด้าน การช่วยให้คนไข้หายจากอาการผิดปกติทางจิต ดังนั้นศาสตร์นี้ จึงมุ่งเน้นไปที่สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น ซึ่งได้แก่อาการป่วยทางจิต และความทุกข์ทางจิตใจ นักจิตวิทยาใช้ทักษะที่มีเพื่อให้บริการ แบบคลินกิ แต่นกั จิตวิทยาไม่ใช่แพทย์ และพวกเขาผสานความรู้ หลากหลายเกีย่ วกับกระบวนการท�ำงานและพัฒนาการของจิตใจ ที่ปกติ เข้ากับการพินิจปัญหาและความทุกข์ทางจิตใจ โดยปกติ นักจิตวิทยาไม่สามารถสัง่ ยาได้ แต่นกั จิตวิทยามีความเชีย่ วชาญ ในการช่วยให้คนเข้าใจ ควบคุม หรือปรับเปลี่ยนความคิดหรือ พฤติกรรม เพื่อลดความตรอมตรมและความทุกข์ทางใจ สอง ผู ้ ค นมั ก สั บ สนระหว่ า งจิ ต วิ ท ยากั บ จิ ต บ� ำ บั ด (psychotherapy) จิตบ�ำบัดเป็นค�ำกว้างๆ ทีห่ มายถึงวิธกี ารบ�ำบัด


A

Very Short Introduction

33

ทางจิตวิทยาประเภทต่างๆ แต่ไม่ได้เฉพาะเจาะจงไปที่ประเภท ใดประเภทหนึ่ ง แม้ จ ะมี บ ่ อ ยครั้ ง ที่ ค� ำ ว่ า จิ ต บ� ำ บั ด ถู ก ใช้ เ พื่ อ หมายถึงการบ�ำบัดแนวจิตวิเคราะห์ (psychodynamic) และแนว มนุษยนิยม (humanistic) แต่ค�ำนี้ก็ถูกใช้อธิบายวิธีการอื่นๆ ทั่วไปด้วย เช่น จิตบ�ำบัดตามแนวการรู้คิด-พฤติกรรมนิยม ซึ่ง ขยายตัวอย่างมากเมื่อไม่นานมานี้ สาม มีศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอีกมากมายนอกเหนือจาก จิต-ประสาทวิทยา (neuro-psychology) ที่นักจิตวิทยาอาจ ร่วมงานด้วยหรือท�ำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งรวมถึงแบบวัดทาง จิตวิทยา (psychometrics) จิต-สรีรวิทยา (psycho-physiology) และภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา (psycho-linguistics) นอกจากนี้ นักจิตวิทยายังมีส่วนในศาสตร์กว้างๆ ที่ก�ำลังพัฒนาขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์การรู้คิดและเทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) หรือความพยายามในการท�ำความ เข้าใจประเด็นทางจิต-สรีรวิทยาของปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ความเครียด ความล้า หรือโรคนอนไม่หลับ จิตวิทยาอาจเป็น ที่รู้จักอย่างแพร่หลายในการใช้เชิงคลินิก แต่จริงๆ แล้วนั่นเป็น เพียงแขนงย่อยแขนงหนึ่งในศาสตร์ที่กว้างใหญ่กว่านั้นมาก วัตถุประสงค์และโครงสร้างของหนังสือเล่มนี้ วัตถุประสงค์หลักของหนังสือเล่มนี้คือเพื่ออธิบายและ แสดงให้เห็นว่าท�ำไมทุกวันนีจ้ ติ วิทยาจึงมีความน่าสนใจ มีความ ส�ำคัญ และมีประโยชน์ ด้วยเหตุที่นักจิตวิทยาส่วนใหญ่สนใจ


34

Psychology

เรื่องมนุษย์ ตัวอย่างที่เอ่ยถึงในหนังสือเล่มนี้ส่วนใหญ่จึงมาจาก จิตวิทยามนุษย์ อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนีจ้ ะเริม่ ต้นอธิบายจาก ข้อสมมติว่าเงื่อนไขทางจิตวิทยาขั้นต�่ำซึ่งอะมีบาหรือพืชไม่มี คือการมีระบบควบคุมจิตใจ ซึ่งช่วยให้สิ่งมีชีวิตด�ำเนินชีวิตและ รังสรรค์โลกใบนี้ เมื่อสมองและระบบประสาทมีวิวัฒนาการจน เพียงพอทีจ่ ะใช้เป็นศูนย์ควบคุมได้ มันต้องท�ำบางเรือ่ งได้ นัน่ คือ การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโลกภายนอก ติดตามข้อมูลเหล่านั้น เก็บ ข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง และใช้ข้อมูลเพื่อจัดระเบียบพฤติกรรม โดยพูดหยาบๆ ได้ว่าเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการมากขึ้น และมีสิ่งที่ ไม่ต้องการน้อยลง สิ่งมีชีวิตต่างๆ มีวิธีการที่แตกต่างกัน (เช่น มีอวัยวะประสาทสัมผัสที่แตกต่างกัน) กระนั้นก็มีกระบวนการ บางอย่างที่เหมือนกัน แม้จะต่างสปีชีส์ (เช่น การเรียนรู้บาง ประเภทและการแสดงอารมณ์บางแบบ) สิง่ ทีน่ กั จิตวิทยาให้ความ ส�ำคัญมากประการหนึ่งคือการหาค�ำตอบว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ อย่างไร ดังนั้นบทที่ 2-5 จะเป็นการมุ่งตอบค�ำถามที่ส�ำคัญที่สุด 4 ข้อ ซึ่งนักจิตวิทยาตั้งไว้ ได้แก่ อะไรเข้ามาในจิตใจของเรา? สิ่งใดบ้างคงอยู่ในจิตใจ? เราใช้สิ่งที่อยู่ในจิตใจของเราอย่างไร? และท�ำไมเราจึงท�ำสิง่ ทีเ่ ราท�ำ? ค�ำถามเหล่านีต้ งั้ ขึน้ เพือ่ แสดงให้ เห็นวิธที นี่ กั จิตวิทยาค้นคว้าเรือ่ งกระบวนการทีเ่ กีย่ วข้องกับการ รับรู้และความใส่ใจ (บทที่ 2) การเรียนรู้และความจ�ำ (บทที่ 3) การคิด การให้เหตุผล และการสือ่ สาร (บทที่ 4) และแรงจูงใจและ ภาวะอารมณ์ (บทที่ 5) เนื้อหาทั้งหมดอธิบายวิธีที่กระบวนการ เหล่านี้ท�ำงานให้กับเรา และมุ่งเน้นสิ่งที่เป็นเรื่องทั่วไป นั่นคือ กระบวนการที่เราและคนอื่นมีเหมือนกัน ซึ่งวัตถุประสงค์ก็เพื่อ


A

Very Short Introduction

35

บรรยาย “เฟอร์นิเจอร์ทางจิตใจ” (mental furniture) ของเรา โดย มองไปที่สมมติฐานบางประการที่นักจิตวิทยาสร้างขึ้น ตลอดจน โมเดลบางอย่างทีน่ กั จิตวิทยาพัฒนาขึน้ เพือ่ อธิบายสิง่ ทีส่ งั เกตได้ นักจิตวิทยาให้ความส�ำคัญกับความแตกต่างระหว่าง บุคคล และปัจจัยที่ส่งผลต่อความหลากหลายอันประจักษ์ชัด หากเราต้องการเข้าใจผู้คนมากขึ้น เราต้องแยกสิ่งที่เป็นอิทธิพล ทั่วไปออกจากอิทธิพลเฉพาะบุคคล ถ้ามีเพียงแบบแผนและ กฎเกณฑ์ทั่วไป และทุกคนล้วนมีเฟอร์นิเจอร์ทางจิตใจเหมือน กัน เราทุกคนก็คงมีสภาพทางจิตใจเหมือนกัน ซึ่งนั่นไม่ใช่ ความจริง แล้วเราจะอธิบายความแตกต่างระหว่างคนแต่ละคน อย่างไร และเราจะเข้าใจความแตกต่าง ความยากล�ำบาก และ การมีปฏิสัมพันธ์ของคนด้วยวิธีไหน บทที่ 6 จะตอบค�ำถามที่ว่า พัฒนาการของมนุษย์มีแบบแผนตายตัวหรือไม่? บทที่ 7 มุ่ง ศึกษาความแตกต่างของแต่ละบุคคล และตั้งค� ำถามว่า เรา สามารถจ�ำแนกบุคคลเป็นกลุ่มๆ ได้หรือไม่? บทที่ 8 ตั้งค�ำถาม ว่า จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้น? และมุ่งศึกษา จิตวิทยาเรื่องความอปกติทางจิต ในบทที่ 9 ค�ำถามก็คือ มนุษย์ เรามีอิทธิพลต่อกันได้อย่างไร? และบทนี้มีการบรรยายเรื่อง จิตวิทยาสังคมด้วย และสุดท้าย บทที่ 10 เราถามว่า จิตวิทยา มีไว้เพื่ออะไร? โดยเราได้บรรยายเรื่องการประยุกต์ใช้จิตวิทยา ในภาคปฏิบัติ และเสนอแนวคิดต่างๆ ซึ่งเป็นความก้าวหน้า ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.