6-nra2-main-education-140255

Page 1

เอกสารหลัก สมัชชาปฏิ รปู ระดับชาติ ครัง้ ที่ ๒ ระเบียบวาระที่ ๒.๖

สมัชชาปฏิ รปู ๒/ หลัก ๖ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

การปฏิ รปู การศึกษา : ปรับทิ ศทางการศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพและลดความเหลื่อมลํา้ ในสังคม สถานการณ์และปัญหาในการจัดการศึกษาของประเทศ ๑. เมือ่ มองสังคมไทยและการศึกษาไทยทีผ่ า่ นมาจะเห็นได้วา่ การศึกษาไทยนัน้ อยูบ่ นพืน้ ฐาน กระบวนทัศน์ การจัดการที่มองว่า “ รัฐเป็ นผู้ให้ ประชาชนเป็ นผู้รบั รัฐเป็ นผู้รู้ ประชาชนเป็ นผู้ ต้องการความรู้ ” เป็ นการจัดด้วยมาตรฐานเดียวบนเส้นทางเดียวสูก่ ารศึกษาสูงสุดคือระดับอุดมศึกษา เป็ นการศึกษาที่ไม่ตอบสนองผูเ้ รียนที่มคี วามต้องการพิเศษ เป็ นการศึกษาที่เน้นความรูส้ ําเร็จรูป มากกว่ากระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อรูจ้ กั ตัวเอง สังคมและโลก เป็ นการศึกษาทีไ่ ม่สร้างอุปนิสยั ทีด่ งี าม (character formation) ให้มากพอให้คนไทย เป็ นการศึกษาทีไ่ ม่สร้างวินยั การทํางาน การเห็นคุณค่าการ ทํางานและทักษะการทํางานทีด่ ี (work habits, values and skills) กระบวนทัศน์การศึกษาไทยยังมีฐาน อยู่บนความเชื่อว่า “การศึกษาสามารถเรียนจบ ได้ความรู้สาํ เร็จรูป ใช้ ได้พอทัง้ ชี วิต” การศึกษา ของเราจึงเน้น “การเรียนในระบบที่ ผกู อยู่กบั ปริ ญญาหรือการรับรองวุฒิทางการศึกษา มากกว่า การเรี ย นรู้ต ลอดชี วิ ต และการเรี ย นรู้ที่ ใ ช้ ง านได้ จ ริ ง ” สัง คมไทยได้ใ ห้คุ ณ ค่ า กับ วุ ฒ ิก ารศึก ษา มากกว่าการทํางานได้หรือการมีประสบการณ์และการเป็ นคนดีมาเป็ นเวลายาวนาน เราจึงได้เห็นคนทีม่ ี วุฒกิ ารศึกษาสูงได้รบั ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมมากกว่าคนดีท่ใี ช้ชวี ติ เป็ น ได้ผลตอบแทน มากกว่าชาวบ้านทีม่ คี วามรูแ้ ต่ไม่มปี ริญญา ๒. เรายังได้เห็นถึงวิธกี ารจัดการศึกษาที่ยงั ติดอยู่ในกรอบคิดของระบบโรงเรียน และกรอบ เนื้อหาหลักสูตรและวิธวี ดั ผลประเมินผลจากส่วนกลางทีไ่ ม่อาจตอบโจทย์ในชีวติ จริงของชุมชนท้องถิน่ และไม่อ าจเสริม สร้า งความใฝ่รู้และทัก ษะการเรีย นรู้ท่ีแท้จิงให้แ ก่ค นไทยทัง้ มวลได้ กระบวนทัศ น์ การศึกษาไทยยังคงเป็ น “การศึกษาที่ ผกู อยู่กบั ระบบโรงเรียน” ขาดการเปิ ดรับการมีส่วนร่วมของ สังคมทําให้ชีวิตการเรียนรู้ของคนไทยจํากัดอยู่แค่ในห้องเรียน ไม่เชื่อมโยงสู่ชีวิตจริงที่มคี รอบครัว ชุมชนและสังคมซึง่ ต่างเป็ นผูม้ ตี น้ ทุนการเรียนรูจ้ ากประสบการณ์ในชีวติ จริงและยังเป็ นการการศึกษาที่ เน้น “การแข่งขันแบบแพ้คดั ออก” ทีส่ ร้างปญั หาเด็กทีห่ ลุดออกจากระบบการศึกษาจํานวนมาก อีก ทัง้ ยังบ่มเพาะท่าทีท่ผี ดิ ต่อการเรียน เป็ นท่าทีทเ่ี น้น “การเรียนเพื่อสอบให่ผ่านมากว่าเรียนเพื่อรู้” เป็ น ท่ า ทีท่ีเ น้ น “การแข่ ง ขัน มากว่ า การแบ่ง ปั น ” และสร้า งข้อ ได้เ ปรีย บให้แ ก่ เ ด็ก ที่มีฐ านะทาง เศรษฐกิจสังคมดีกว่า นอกจากนี้การศึกษาเรายังเป็ น “การศึกษาที่ปฏิ เสธสื่อและสภาพแวดล้อมต่อ การเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพประชากร” ทัง้ ๆที่โลกยุคใหม่การส่งผ่านความรูล้ ้วนผ่านสื่อ เทคโนโลยีไร้สายเป็ นส่วนใหญ่และทีส่ าํ คัญงานวิจยั ด้านการพัฒนาสมองต่างชีว้ ่า ความฉลาดของคนนัน้ ครึง่ หนึ่งมาจากพันธุกรรมแต่อกี ครึง่ หนึ่งมาจากสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดู แต่เราก็ยงั เพิกเฉยกับ เอกสารหลัก ๖ การปฏิรปู การศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพือ่ สร้างคุณภาพและลดความเหลือ่ มลํ้าในสังคม

หน้า ๑/๑๕


๓. การศึกษาทีผ่ ่านมายังเน้นความสําคัญของรัฐในฐานะผูม้ บี ทบาทหลักในการจัดการศึกษา แม้จะเริม่ มีแนวคิดของการกระจายอํานาจ แต่ในภาพรวมการจัดการก็ยงั ครอบงําด้วยวิธคี ดิ หลักสูตร มาตรฐาน งบประมาณ ระบบบริหารจัดการทีถ่ ูกออกแบบโดยรัฐและบริหารการจัดการจากส่วนกลาง แม้เริม่ มีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ท่เี ปิ ดโอกาสให้มกี ารจัดการศึกษา ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและ ทางเลือกทีห่ ลากหลาย แต่ในภาพรวมการดําเนินงานก็ยงั มีความอ่อนแอ เพราะขาดการสนับสนุ นอย่าง เป็ นระบบ ยิง่ ไปกว่านัน้ คือการศึกษาทีร่ ฐั จัดยังเป็ นการศึกษาทีห่ ย่อนประสิทธิภาพในการจัดการและยัง เผชิญกับปญั หาการคอรัปชันเงิ ่ นงบประมาณทางการศึกษา ยังไม่อาจเป็ นระบบบริหารจัดการทีด่ ที ม่ี ี หลักธรรมภิบาลเป็ นเครือ่ งกํากับการทํางาน ั หาในเชิง วิธีคิด ในการจัด การศึก ษาที่ก ล่ า วไปทัง้ หมด ทํา ให้ ๔. จากสถานการณ์ แ ละป ญ สังคมไทยต้องเผชิญกับผลกระทบและปญั หาทีต่ ามมา และส่งผลเป็ นรูปธรรมต่อคุณภาพ ประสิ ทธิ ภาพ และความเท่าเทียมในโอกาสในการจัดการศึกษาหลายประการ ได้แก่ ๔.๑ ปัญหาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ : ปญั หาคุณภาพการศึกษาเริม่ ตัง้ แต่การศึกษา ขัน้ พืน้ ฐาน ทีโ่ รงเรียนและสถาบันการศึกษายังมีคุณภาพหลากหลายตัง้ แต่ ๑) โรงเรียนดีมคี ุณภาพทีม่ กั เป็ นโรงเรียนขนาดใหญ่ในเขตเมือง ๒) โรงเรียนทีม่ คี ุณภาพระดับปานกลางที่ยงั ต้องการการส่งเสริม และพัฒนาคุ ณภาพ ๓) โรงเรียนที่ด้อยคุณภาพที่ส่วนใหญ่เป็ นโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลางที่ ต้องการมาตรการการจัดการพิเศษในการยกระดับคุณภาพ และ ๔) โรงเรียนในพืน้ ทีห่ ่างไกลที่ยงั เป็ น ความจําเป็ นของชุมชนและต้องการการหนุ นเสริมให้มคี ุณภาพอย่างยังยื ่ น ปญั หาความไม่เท่าเทียมเกิด จากการที่โรงเรียนดีมคี ุณภาพยังกระจายออกไปไม่ทวถึ ั ่ งทุกท้องถิ่น กดดันให้พ่อแม่ท่พี อมีกําลังทาง ั หาครอบครัว และป ญ ั หาสัง คมตามมา เศรษฐกิจ ส่ง ลู ก เข้า มาเรีย นในเมือ งใหญ่ เป็ น ป จั จัย สร้า งป ญ ในขณะที่พ่อแม่ท่ยี ากจนก็ขาดทางเลือกและมักต้องให้ลูกเรียนในโรงเรียนที่ดอ้ ยคุณภาพกว่า ซึ่งส่วน ใหญ่เป็ นโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลางค่อนข้างเล็กดังทีก่ ล่าวข้างต้น ซึง่ มีจํานวนนักเรียนโดยเฉลีย่ ตํ่ากว่า ๒๐๐ คนและมีจํานวนอยู่ถึงราว ๒๐,๐๐๐ แห่ง จากข้อมูลของสํานักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในรอบที่ ๒ โรงเรียนเหล่านี้อกี กว่าร้อยละ ๓๐ ยังไม่ผ่านการรับรอง หรือมีคุณภาพอยู่เพียงในระดับพอใช้ สถาบันการอาชีวศึกษาเองหลานร้อยแห่งทัวประเทศก็ ่ เผชิญ ปญั หาการขาดผูเ้ รียนเนื่องจากค่านิยมพ่อแม่ผปู้ กครองทีน่ ิยมส่งลูกเรียนระดับปริญญา บวกกับลักษณะ การจัดการศึกษาระดับอาชีวศึกษาเองทีย่ งั ไม่อาจเชื่อมต่อการจัดการศึกษาของตนเข้ากับภาคการผลิต จริงและตลาดแรงงานได้อย่างเต็มที่ ทําให้การขาดกําลังคนทีม่ คี ุณภาพในระดับอาชีวศึกษาได้กลายเป็ น ปญั หาสําคัญของประเทศ ส่วนการศึกษาระดับอุดมศึกษาเองในสถาบันกว่า ๒๐๐ แห่งก็เผชิญปญั หา คุณภาพเช่นกันจากการเร่งเติบโตเชิงปริมาณในการรับนักศึกษาจนไม่อาจคุมคุณภาพได้ รวมทัง้ การ ขาดการวางแผนมหภาคด้านกําลังคนทีม่ ปี ระสิทธิภาพทําให้เกิดปญั หาซ้อนในเรื่องบัณฑิตว่างงานหรือ ต้องทํางานตํ่าระดับอีกด้วย

เอกสารหลัก ๖ การปฏิรปู การศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพือ่ สร้างคุณภาพและลดความเหลือ่ มลํ้าในสังคม

หน้า ๒/๑๕


๔.๒ ปั ญหาความด้อยโอกาสในการเข้าถึงประโยชน์ แห่งการศึกษา : ในระบบ การศึกษาของเรายังมีคนอีกมากมายทีจ่ บชีวติ การเรียนรูไ้ ปโดยทีไ่ ม่อาจใช้การศึกษาให้เป็ นประโยชน์ใน การพัฒนางานและคุณภาพชีวติ ได้ โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายสําคัญในการจัดการศึกษาทีอ่ าจจะเป็ นจุด เปลีย่ นของการปฏิรปู ประเทศไทยคือกลุ่มเป้าหมายนอกระบบการศึกษา (non-age group) และกลุ่มเด็ก ด้อยโอกาสนอกระบบโรงเรียน แต่ละกลุ่มมีขนาด ความหลากหลาย และความต้องการที่แตกต่างกัน เฉพาะกลุ่มวัยแรงงานเกือบ ๔๐ ล้านคน แยกเป็ นแรงงานในภาคเกษตรราว ๑๒ ล้านคน แรงงานใน ภาคอุตสาหกรรมราว ๑๑ ล้านคน แรงงานในภาคการผลิตและบริการอื่นๆ ในเขตเมืองอีกราว ๗ ล้าน คน ทีเ่ หลือเป็ นแรงงานทีเ่ ป็ นลูกจ้างภาครัฐและแรงงานทีป่ ระกอบการอิสระ โดยเป็ นแรงงานทีไ่ ม่ได้รบั ความคุม้ ครองและไม่มหี ลักประกันทางสังคมจากการทํางานหรือเรียกว่าแรงงานนอกระบบกว่าร้อยละ ๖๐ และมีระดับการศึกษาเพียงประถมศึกษาถึงเกือบร้อยละ ๗๐ และทีผ่ า่ นมารัฐยังไม่มกี ลไกทีม่ พี ลังพอ ในการนําการเรียนรูท้ ด่ี เี ข้าไปถึงกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ซง่ึ ส่วนใหญ่ยงั ต้องการการเรียนรูเ้ พื่อพัฒนาทักษะ ของตนหรือเพือ่ สร้างความก้าวหน้าในชีวติ ๔.๒.๑ ส่วนเด็กด้อยโอกาสนอกระบบการศึกษานัน้ มีการคาดประมาณจากสถิติ ระดับการศึกษาของแรงงานวัย ๑๘-๒๔ ปี ทม่ี อี ตั ราส่วนผูท้ จ่ี บการศึกษาระดับ ป.๖ หรือตํ่ากว่าสูงถึงร้อย ละ ๑๔ หรือกว่า ๑ ล้านคนและหากรวมเด็กทีอ่ อกกลางคันในช่วงมัธยมต้นก่อนจบการศึกษาภาคบังคับ คือ ม.๓ ซึง่ จากสถิตขิ องสํานักส่งเสริมการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ยังมีเด็กกลุ่มนี้อยู่ในระบบกศน.อีกไม่ต่อกว่า ๒๐๐,๐๐๐ คน เมื่อรวมถึงเด็กด้อยโอกาสที่ไม่ได้เรียน หนังสือ เด็กชายขอบตกสํารวจที่อยู่ห่างไกลกลุ่มต่ างๆ น่ าจะประมาณได้ว่ามีเด็กนอกระบบที่ขาด โอกาสกลุ่มนี้อยูไ่ ม่ต่ํากว่า ๒ ล้านคน และนอกจากจะเป็ นเด็กทีข่ าดโอกาสในการพัฒนาแล้ว ยังเป็ นเด็ก กลุ่มเสีย่ งต่อปญั หาสังคมอีกมากมายที่จะตามมา ทัง้ ปญั หาอาชญากรรมความรุนแรง ปญั หาแม่วยั รุ่น เป็ นต้น ๔.๓ ปั ญหาการขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ชุมชน ท้ องถิ่ น : การจัดการ ศึกษาทีผ่ า่ นมายังอยูใ่ นกรอบทีก่ ําหนดโดยหน่ วยงานรับผิดชอบในส่วนกลางเป็ นส่วนใหญ่ แม้จะมีความ พยายามสนับสนุ นการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรูท้ อ้ งถิน่ แต่กย็ งั ไม่ประสบ ความสําเร็จเท่าที่ควร เหตุเพราะการขาดการมีส่วนร่วมจากชุมชนท้องถิ่นอย่างจริงจัง ทัง้ ในเชิงการ จัดการและทรัพยากร ขาดการลงทุนพัฒนาเนื้อหาชุดความรูท้ อ้ งถิน่ ทีม่ าจากฐานของชุมชนท้องถิน่ และ ภูมปิ ญั ญาชาวบ้านที่จะตอบโจทย์การพัฒนาท้องถิน่ ได้ทงั ้ ในมิตขิ องศักดิ ์ศรีทางวัฒนธรรมที่เท่าเทียม มิตขิ องคุณภาพการศึกษา มิตคิ ุณธรรมความดี และมิตขิ องการสร้างโอกาสและความหวังในการมีงานทํา ในท้องถิ่น การริเริม่ และรักษาให้กระบวนการเรียนรู้ท้องถิ่นเช่นนี้เจริญงอกงามต่ อไปได้ต้องกลไก สนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐ ซึง่ จะต้องคลีค่ ลายกฎระเบียบด้านการจัดงบประมาณสนับสนุ น รวมทัง้ ต้องมีการยืดหยุน่ เกณฑ์มาตรฐานการจัดการศึกษาและการวัดผลประเมินผลเพื่อการศึกษาต่อและการมี งานทํา เพื่อให้กลุ่มที่จดั การศึกษาทางเลือกหลากหลายรูปแบบ ตัง้ แต่การศึกษาสําหรับเด็กกลุ่มเสีย่ ง การศึกษาสําหรับเกษตรกร ไปจนถึงการศึกษาสําหรับผูส้ งู อายุสามารถเติบโตเป็ นกําลังสําคัญให้แก่การ ปฏิรปู การศึกษาระดับท้องถิน่ ได้ เอกสารหลัก ๖ การปฏิรปู การศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพือ่ สร้างคุณภาพและลดความเหลือ่ มลํ้าในสังคม

หน้า ๓/๑๕


๔.๔ ปัญหาการไม่ใช้สื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ค้มุ ค่า : เด็กและเยาวชนตลอดจน แรงงานรุน่ ใหม่ทเ่ี ติบโตมาพร้อมกับโลกของอินเตอร์เน็ตและมือถือใช้เวลาไปกับสื่อสมัยใหม่เหล่านี้ถงึ วัน ละ ๖-๗ ชัวโมง ่ แต่ส่วนใหญ่เป็ นไปเพื่อความบันเทิงและปฏิสมั พันธ์ทางสังคมมากกว่าเพื่อการเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง ส่วนกลุ่มแรงงานวัยผู้ใหญ่ท่ตี กขอบเทคโนโลยีก็ขาดแรงจูงใจและกลไกกระตุ้นที่ เหมาะสมทีจ่ ะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้ได้เต็มที่ แม้รฐั บาลจะมีการ ลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐานด้านนี้ค่อนข้างมากร่วมกับภาคเอกชน รวมไปถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่ สามารถแพร่ขยายเข้าถึงทุกพืน้ ทีเ่ ขตเมืองของประเทศก็ตาม แต่กย็ งั ขาดการจัดการให้เกิดเนื้อหาและ กระบวนการเรียนรูผ้ า่ นสือ่ เหล่านี้ไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้ รวมทัง้ ครูและบุคลากรทางการศึกษาเอง ก็ยงั ขาดการส่งเสริมทีแ่ รงพอในการนําเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้ในห้องเรียนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๔.๕ ปั ญ หาระบบบริ หารจัด การจากส่ ว นกลางที่ ไ ม่ อ าจช่ ว ยกระตุ้ น ความ เปลี่ยนแปลง : ระบบการบริหารจัดการการศึกษาในภาพรวมยังเป็ นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนการ ปฏิรูป ทุก ประเด็นที่กล่ า วมา ทัง้ การรวมศูนย์อํา นาจในการบริห ารจัด การการเงินและบุ ค ลากรไว้ท่ี หน่วยงานต้นสังกัดทัง้ ในส่วนกลางและในระดับเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษามากเกินไป รวมทัง้ การขาดการลงทุน ในกลไกส่งเสริมความพร้อมขององค์กรปกครองส่ว นท้องถิ่นที่น่าจะเข้ามารับ ถ่ ายโอนภาระการจัด การศึกษาลงไปสูท่ อ้ งถิน่ ได้มากขึน้ ตลอดจนอุปสรรคจากกฎระเบียบด้านงบประมาณการศึกษาทีช่ ุมชน ท้องถิน่ ยังมีสว่ นร่วมจัดการได้น้อย สิง่ เหล่านี้ทาํ ให้ความพยายามทีจ่ ะสร้างความเท่าเทียมในโอกาสและ คุณภาพการศึกษาจากฐานชุ มชนท้องถิ่นยังยากที่จะเป็ นผลสําเร็จได้ นอกจากนี้ ระบบการวัด และ ประเมินผลเพือ่ การศึกษาต่อและการมีงานทําในระดับชาติกจ็ ะเป็ นปญั หาคอขวดสําคัญทีเ่ ป็ นอุปสรรคต่อ การริเริม่ และเติบโตของกระบวนการการจัดศึกษาทางเลือกในชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ที่อาจถูกมองเป็ น เพียงการเรียนรูต้ ามอัธยาศัยทีไ่ ม่อาจรับรองมาตรฐานการศึกษาได้ และเสียโอกาสในการเชื่อมต่อหรือส่ง ต่อผูเ้ รียนจากระบบการเรียนรูน้ ้ีเข้าสู่ตลาดแรงงานสมัยใหม่ทย่ี งั ต้องอาศัยการรับรองความรูแ้ ละทักษะ เป็ นเงื่อนไขสําคัญ การปฏิรูประบบการวัดผลประเมินผลระดับชาติเพื่อการเทียบโอนผลการเรียนเพื่อ การศึกษาต่อและการมีงานทําจึงจําเป็ นต้องได้รบั การเปลีย่ นแปลงอย่างมากควบคูไ่ ปด้วย ๔.๖ ปัญหาระบบการเงิ นและงบประมาณที่ไม่ส่งผลต่อคุณภาพและความเท่าเทียม : ปจั จุบนั ระบบการเงินการคลังทางการศึกษายังเป็ นระบบทีอ่ งิ ฐานผูผ้ ลิตหรืออุปทานเป็ นหลัก (supplyside financing) ทําให้ไม่อาจกระตุ้นการแข่งขันด้านคุณภาพ และไม่อาจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ผูด้ อ้ ยโอกาสได้อย่างเท่าเทียมและเป็ นธรรม เมื่อบวกกับข้อเท็จจริงของระบบราชการการศึกษาที่ยงั ขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ รวมถึงปญั หาการคอรัปชันในวงการศึ ่ กษาที่ยงั คงมีอยู่ ทําให้ งบประมาณเพื่อ การศึก ษาของประเทศที่มีจํ า นวนสูง กว่ า สามแสนล้า นบาทต่ อ ปี และเป็ น สัด ส่ ว น งบประมาณเพื่อการศึกษาต่องบประมาณรายจ่ายของรัฐทีไ่ ม่น้อยหน้าไปกว่าประเทศใดๆ ในโลก กลับ ไม่สง่ ผลต่อคุณภาพและความเท่าเทียมกันทางการศึกษา การปฏิรปู ระบบการเงินการคลังทางการศึกษา ของประเทศจึงเป็ นยุทธศาสตร์สาํ คัญยิง่ ยวดต่อการขับเคลื่อนความเปลีย่ นแปลงทัง้ ในหน่ วยงานของรัฐ เอง ตลอดจนการขับเคลื่อนการมีสว่ นร่วมของทุกภาคส่วนในการเข้ามาร่วมรับผิดชอบการจัดการศึกษา

เอกสารหลัก ๖ การปฏิรปู การศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพือ่ สร้างคุณภาพและลดความเหลือ่ มลํ้าในสังคม

หน้า ๔/๑๕


กระบวนทัศน์ ใหม่เพื่อการแก้ปัญหาการศึกษาของชาติ ๕. กระบวนทัศน์การจัดการศึกษาไทยในอนาคตจะต้องหมายถึง “การศึกษาเพื่อสอนชี วิต และศักดิ์ ศรีความเป็ นมนุษย์” ทําให้คนรุ่นใหม่มคี วามฉลาดในการใช้ชวี ติ มีความใฝ่รู้ เท่าทันความ เปลีย่ นแปลงและอยูไ่ ด้อย่างมีศกั ดิ ์ศรี มิใช่เป็ นการศึกษาทีส่ ร้างประชาชาติทม่ี แี ต่ความรูห้ รือวุฒบิ ตั รแต่ ไม่อาจเผชิญหรือแก้ไขปญั หาในชีวติ จริงได้ หรือมีจติ ใจคับแคบ ไม่สามารถอยู่ร่วมกันท่ามกลางความ หลากหลายทางวัฒ นธรรมได้ ในการนี้ การจัด การศึก ษาจะต้อ งเป็ น “การศึ ก ษาเริ่ ม จากฐาน ประชาชน” ตัง้ แต่การโจทย์การศึกษาทีต่ อ้ งการบนบริบทและพืน้ ทีท่ แ่ี ตกต่าง มีเงินมีทรัพยากร มีการ จัดการและความรับผิดชอบทีห่ มายรวมถึงทุกคนเป็ นเจ้าของการศึกษาและเป็ นหุน้ ส่วนการเรียนรูข้ องกัน และกัน มีการจัดหลักสูตรและชุดความรูแ้ บบเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพืน้ ที่ (area-based) กระบวนการเรียนรู้ เกิดขึ้นทุกที่ทุกเวลาเป็ นกระบวนการเรียนรู้ท่ไี ม่จํากัดแค่ในห้องเรียน มีครูและวิทยากรจากผู้มี ประสบการณ์จริง มีการประเมินผลเพื่อการพัฒนาโดยคํานึงถึงความหลากหลายของผูเ้ รียน พร้อมๆ กับ มีโรงเรียนมีหลายแบบเพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เป็ นกระบวนทัศน์ ใหม่ท่ยี งั ต้องเน้น “การศึ กษาและการพัฒนาผู้อยู่นอกวัยเรียน หลากหลายช่ วงวัยและกําลังแรงงาน” เป็ น การศึกษาทีอ่ อกแบบเฉพาะไม่ตดิ กับหลักสูตรการศึกษาพืน้ ฐาน แต่สามารถเชื่อมโยงระหว่างกัน และ ไปสู่มาตรฐานฝี มอื มีการจัดกระบวนการเรียนรูส้ นุ ก สะดวก ท้าทายผูอ้ ยู่นอกวัยเรียน แรงจูงใจให้ ชุมชนและสถานประกอบการจัด พร้อมๆ กับการให้แรงจูงใจสําหรับผูเ้ รียน ทัง้ ค่าวิชา การประกัน ความก้าวหน้าและความสะดวกในการเข้าเรียน ๖. ด้วยเหตุน้ี กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาจึงต้องวางเป้าให้ “การศึกษาเป็ นการเรียนรู้ ที่ เริ่ มจากรากฐานครอบครัวและเรียนรู้ต่อเนื่ องไปตลอดชี วิต” นัน่ คือการเปลี่ยนมุมมองใหม่จาก การศึกษาทีด่ ูเหมือนจะมีเพียง single function เป็ นไปเพื่อการเดียวคือการแสวงหาวุฒบิ ตั รเพื่อเป็ น ใบเบิกทางให้ชวี ติ มาเป็ นการเรียนรูท้ ่ี multi-function เพื่อตอบโจทย์และความต้องการทีห่ ลากหลายใน ชีวิตคนไทยทัง้ เพื่อการงาน คุณภาพชีวิต และการมีส่วนร่วมต่ อสังคม ในการนี้ การศึกษาจึงต้องมี “หลาย function หลาก actor” เพื่อการจัดการศึกษาที่มีคณ ุ ภาพอย่างครบถ้วนทัง้ วงจรของชีวิต คนตัง้ แต่การวางรากฐานชีวิตช่วงปฐมวัยให้เด็กไทยทุกคนผ่านความร่วมมือกับครอบครัวและ ชุมชน การสร้างความเป็ นพลเมืองและมนุษย์ที่สมบูรณ์ตลอดจนทักษะความรู้พืน้ ฐานผ่านระบบ โรงเรียน การเรียนรู้เพื่อการมีงานทําสําหรับผู้เรียนในระดับอาชี วศึกษาและอุดมศึกษาที่ต้องมี กลไกและพื้นที่ การเรียนรู้ร่วมกับตลาดแรงงานและภาคการผลิ ตต่ างๆ อย่างเข้มข้น ไปจนถึง การเรียนรู้ตลอดชี วิตสําหรับกลุ่มเป้ าหมายนอกวัยเรียน (non-age group) ที่ ต้องอาศัยสื่ อ สมัยใหม่หลากหลายรูปแบบเป็ นเครื่องมือส่ งเสริ ม การจัดการศึ กษาจึ งต้ องเปลี่ ยนจากการ เรียนรู้ที่ตีบตันเป็ นการเรียนรู้หลายทางเลือก ตัง้ แต่เป้าหมาย วิธกี าร ผูจ้ ดั ผูเ้ รียน วิธปี ระเมินและ แหล่งทรัพยากร เป็ นการศึกษายุคใหม่ท่มี คี วามเท่ าเที ยมในคุณภาพเพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถ เอกสารหลัก ๖ การปฏิรปู การศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพือ่ สร้างคุณภาพและลดความเหลือ่ มลํ้าในสังคม

หน้า ๕/๑๕


๗. ในแง่ของกระบวนทัศน์ใหม่ในเชิงระบบการบริหารจัดการการศึกษานัน้ จากสถานการณ์ ปญั หา และกระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดการศึกษาทัง้ หมดทีก่ ล่าวมา ล้วนชีใ้ ห้เห็นว่าสังคมไทยต้องการ ระบบบริหารจัดการใหม่ทางการศึกษาด้วยเช่นกัน เป็ นระบบบริหารจัดการทีก่ ระทรวงศึกษาธิการหรือ ภาครัฐทีจ่ ดั การศึกษาจะต้อง “ตัวเล็ก ใจใหญ่ มองการณ์ไกล เครือข่ายทัวแผ่ ่ นดิ น” เป็ นการศึกษาที่ จะกระจายอํานาจ เน้นการมีสว่ นร่วมรับผิดชอบของครอบครัว ท้องถิน่ และประชาคม ลดการจัดการหรือ การวางกรอบการจัดการศึกษาโดยรัฐ เป็ นการศึกษาทีร่ ฐั เปลีย่ นบทบาทจากผูจ้ ดั การศึกษา (education service provider) เป็ นผูส้ ง่ เสริมคุณภาพและระดมทรัพยากรและเป็ นการศึกษาทีม่ ี “ธรรมาภิ บาลใน ระบบการศึกษา” เป็ นระบบทีส่ ร้างความเป็ นธรรมทัง้ ในการบริหารจัดการ ตลอดจนความเป็ นธรรมของ การส่งเสริมการเรียนรูใ้ ห้กบั คนทุกเพศทุกวัยให้ได้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม นอกจากนี้ ยังจะต้องมียุทธศาสตร์ทช่ี ดั เจนในการทําให้ “ครูเป็ นทางเลือกของคนเก่ง” ด้วยการสร้างแรงจูงใจคน รุ่น ใหม่ม าเป็ น ครูท ัง้ เรื่อ งการได้โ อกาสได้ร บั การบรรจุ เงิน ค่ า ตอบแทนพิเ ศษ ฯลฯ มีก ารส่ง เสริม ความสามารถสหวิชาชีพของครูเพื่อดึงดูดคนดีคนเก่งมาเป็ นครู อีกทัง้ การปฏิรูประบบผลิต พัฒนา สนับสนุน ประเมินครูเพือ่ ให้มคี รูเก่งครูคุณภาพอยูใ่ นทุกหนทุกที่ เพือ่ เสริมสร้างความเท่าเทียมในโอกาส ของการเข้าถึงการศึกษาทีม่ คี ุณภาพแก่ประชาชนอย่างทัวถึ ่ ง และท้ายทีส่ ุด ในมิตขิ องการบริหารจัดการ นี้ กระบวนทัศน์ใหม่ทถ่ี อื ประโยชน์ของผูเ้ รียนเป็ นทีต่ งั ้ จะต้องปฏิรูปวิธกี ารจัดสรรงบประมาณทีเ่ น้นให้ “เงิ นอยู่ในมือประชาชน เงิ นตามตัวผู้เรียน” งบประมาณเพื่อลดความเหลื่อมลํ้าผ่านการกระจาย อํานาจและงบประมาณเพื่อให้ผู้จดั การศึกษาในท้องถิ่นต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียม มีระบบการจัด งบประมาณบนฐานความจําเป็ น (Needs-Based) ตามกลุ่มเป้าหมายทีจ่ าํ เป็ นและมีคามต้องการพิเศษ และความสามารถในการจัดการ (Absorptive Capacity) ที่โปร่งใส่ตรวจสอบได้ รวมถึงต้องทําให้ งบประมาณนัน้ เป็ นงบประมาณตามผูเ้ รียน (Demand-Side Financing) เพือ่ ผูเ้ รียนทุกคน แนวทางในการปฏิ รปู การศึกษาของชาติ ๘. การส่ ง เสริ ม การพัฒ นาเด็ก ปฐมวัย 0-5 ปี เพื่ อเป็ นการวางรากฐานการพัฒ นาที่ มันคงให้ ่ เด็กไทยทัง้ ในด้านร่างกาย สติ ปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยมีมาตรการทีเ่ ป็ นรูปธรรมที่ อย่างน้อยต้องครอบคลุมสาระสําคัญดังต่อไปนี้ ๘.๑ การพัฒนาศูนย์เด็กเล็กและสถานศึ กษาที่ มีการจัดการศึ กษาระดับปฐมวัย (๐-๖ ปี ) ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ นและหน่ วยงานระดับพืน้ ที่ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สํานักงาน เขตพืน้ ทีป่ ระถมศึกษา สํานักงานพัฒนาสังคมและความมันคงของมนุ ่ ษย์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจํา หมูบ่ า้ น (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจําตําบล (รพสต.) โรงพยาบาลชุมชนระดับอําเภอ เพื่อ เอกสารหลัก ๖ การปฏิรปู การศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพือ่ สร้างคุณภาพและลดความเหลือ่ มลํ้าในสังคม

หน้า ๖/๑๕


๘.๒ การพัฒ นาการเรี ย นรู้ข องครอบครัว ในการเลี้ ย งดูบุ ต รหลานของพ่ อ แม่ ผู้ปกครองยุคใหม่ โดยเฉพาะการดูแลในช่วง 0-2 ปี ทีม่ คี วามสําคัญต่อการพัฒนาโครงสร้างสมอง และสมรรถนะการเรียนรูพ้ น้ื ฐานของเด็กโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหนือสถาบันวิชาการในพืน้ ที่ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่ วยงานสาธารณสุขจัดทําหลักสูตร ชุดความรู้ ตลอดจนข้อมูลข่าวสารใน รูปแบบต่างๆ เพือ่ ส่งเสริมการเรียนรูข้ องพ่อแม่ผปื กครองทีม่ ที ม่ี ลี กู เล็ก ๘.๓ การพัฒนาการเรียนรู้ของพ่อแม่ผปู้ กครองและครอบครัวที่เป็ นกลุ่มเป้ าหมาย เฉพาะนั น่ คื อกลุ่มพ่อแม่ผ้ปู กครองที่ เป็ นแรงงานในโรงงานและแรงงานในเมืองที่มเี วลาให้ลูก ค่อนข้างน้อย เน้นการมีสว่ นร่วมของครอบครัวและชุมชนโดยการสนับสนุนของภาครัฐและท้องถิน่ ในการ นําการเรียนรูเ้ กีย่ วกับการดูแลเด็กปฐมวัยให้มคี ุณภาพเข้าไปถึงกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ ๘.๔ การสนับสนุนของรัฐด้วยมาตรการเสริ มเพิ่ มเติ มตามความจําเป็ นผ่านกองทุน และหน่ วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ การจัดทําถุงของขวัญเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ทีป่ ระกอบด้วยข้อมูล ความรู้ ของเล่น และสื่อส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายและสมองของเด็กปฐมวัย การส่งเสริมและพัฒนา มาตรฐานความปลอดภัยของสนามเด็กเล่นและชุมชนเพือ่ ลดอัตราการเกิดอุบตั เิ หตุกบั เด็กเล็ก เป็ นต้น ๘.๕ การผลักดันนโยบายและมาตรการในการให้เด็กเมื่ออายุถึง 3 ขวบหรือเมื่อถึง วัยที่ เหมาะสมตามหลักพัฒนาการเด็ก ให้ ได้ รบั การวิ นิจฉั ยภาวะการเรี ยนรู้แต่ เนิ่ นๆ (early detection) เพื่อให้พ่อแม่ ผูด้ ูแลเด็ก ครู และผูท้ เ่ี กี่ยวข้องสามารถจําแนกเด็กทีม่ คี วามต้องการพิเศษ ออกจากเด็กทัวไปได้ ่ เช่น เด็กที่มภี าวะบกพร่องการเรียนรู้ (learning disability) หรือเด็กที่มี อัจฉริยภาพ (gifted child) เป็ นต้น เพื่อการส่งต่อหน่วยงานบริการหรือการพัฒนาแผนการเรียนรูเ้ ฉพาะ บุคคล (Individual Education Plan - IEP) ต่อไป ทัง้ นี้โดยประสานและผลักดันผ่านสํานักงานเขตพืน้ ที่ ประถมศึกษาและหน่ วยงานสาธารณสุขในแต่ละจังหวัด ดังตัวอย่างโครงการนํ าร่องะดับพืน้ ทีท่ ป่ี ระสบ ความสํา เร็จ มาแล้ว ที่จงั หวัด นครสวรรค์ท่ีส ามารถวินิจ ฉัย และจํา แนกเด็ก ที่มีค วามพิก ารและภาวะ บกพร่องการเรียนรูไ้ ด้ทงั ้ จังหวัดมาแล้ว เป็ นต้น ๙. การส่งเสริ มการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขัน้ พื้นฐานและการเพิ่ มโอกาสให้แก่เด็ก ด้อยโอกาสนอกระบบและเด็กกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษาเพื่อสร้างโอกาสที่เท่าเทียมให้เด็กทุก คนในการเรียน การมีงานทํา และการมีชีวิตที่ มนคง ั ่ โดยมาตรการที่เป็ นรูปธรรมที่อย่างน้อยต้อง ครอบคลุมสาระสําคัญดังต่อไปนี้ ๙.๑ การพัฒนาการจัดการศึกษาขัน้ พื้นฐานให้มีทงั ้ คุณภาพ (quality) และการ ตอบสนองความเป็ นจริ งในท้องถิ่ น (relevance) โดยให้หลักสูตรมีความยืดหยุ่นมากขึน้ เน้ นการบูร ณาการบนฐานท้ องถิ่ น การพัฒนาเนื้อหาสาระการเรียนรูท้ อ้ งถิน่ จากชุมชน ภายใต้บริบททางสังคม วัฒ นธรรมท้ อ งถิ่ น /จัง หวัด เช่ น หลัก สู ต รชุ ม ชนศึ ก ษา ท้ อ งถิ่ น ศึ ก ษา จัง หวัด ศึ ก ษา หลัก สู ต ร ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ เป็ นต้น โดยมีการยืดหยุ่นทัง้ การจัดการหลักสูตรและคาบเวลาเรียนสําหรับ เอกสารหลัก ๖ การปฏิรปู การศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพือ่ สร้างคุณภาพและลดความเหลือ่ มลํ้าในสังคม

หน้า ๗/๑๕


๙.๒ การจัดการโรงเรียนขนาดเล็กให้ เป็ นโรงเรียนที่ มีประสิ ทธิ ภาพและคุณภาพ โดยวางแนวทางจัดการหลายรูปแบบตามศักยภาพแต่ ละพื้นที่ เช่น การรวมกลุ่มโรงเรียนเป็ น เครือ ข่ า ยเพื่อ หนุ น เสริม การพัฒ นาคุ ณ ภาพซึ่ ง กัน และกัน และสามารถจัด การศึ ก ษาได้ อ ย่ า งมี ประสิท ธิภาพในเชิงการลงทุ น และอัตราส่ว นครูต่ อนัก เรียน รวมถึงการดึงภาคส่ว นต่ างๆ ในชุมชน ท้องถิน่ เข้ามาร่วมให้การสนับสนุ นและปูทางไปสู่การมี “โรงเรียนดีทุกตําบล” ทีเ่ ริม่ เห็นแบบอย่างทีด่ ี แล้วบ้างในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ ยังควรผลักดันการถ่ายโอนโรงเรียนหรือกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ทีม่ ศี กั ยภาพบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง เป็ นต้น ๙.๓ การพัฒนาโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่รวมทัง้ โรงเรียนในพืน้ ที่เฉพาะที่ มีความพร้อมให้ เป็ นโรงเรียนนิ ติ บุคคลเต็มรูปเพื่อส่งเสริ มความเป็ นเลิ ศทางวิ ชาการและการ เตรียมเด็กทีม่ ขี ดี ความสามารถเข้าสูก่ ารเรียนระดับสูงเพื่อเป็ นกําลังปญั ญาของประเทศต่อไป ทัง้ นี้ โดย เน้นให้โรงเรียนทีม่ คี วามพร้อมเหล่านี้มอี สิ ระในการบริหารจัดการการเงิน บุคลากร วิชาการของตนเอง แต่เน้ นให้มกี ารจํากัดขนาดชัน้ เรียนเพื่อรักษาคุณภาพ และมีการประกันโอกาสและการให้ ทุนแก่ นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้มีโอกาสเข้าเรียนอย่างเท่าเทียม ๙.๔ การสนั บสนุ นและพัฒนาให้ ครูสามารถใช้ สื่อและเทคโนโลยี เพื่อการเรียนรู้ โดยการปรับหลักสูตรและพัฒนาวิธกี ารสอนของครูให้เอือ้ ต่อการให้ผเู้ รียนเรียนรูผ้ ่านสื่อและเทคโนโลยี สมัยใหม่ได้มากขึน้ รวมถึงการปรับวิธกี ารวัดผล ประเมินผล และรับรองผลการเรียนเพื่อเทียบโอนผล การเรียนทีม่ สี อ่ื เทคโนโลยีเป็ นฐานเข้ากับการเรียนในระบบได้อย่างสะดวกและมีมาตรฐานทีเ่ ชื่อถือได้ ๙.๕ การขับเคลื่อนการจัดตัง้ กองทุนสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้เพื่อการผลิ ต และพัฒนาทัง้ เนื้ อหาและสื่อเพื่อส่งเสริ มการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย เน้นการพัฒนาและใช้ส่อื มัลติมเี ดียเพื่อการเรียนรู้ มีการจัดทําแผนทีค่ ลังความรูต้ ่างๆ เพื่อเป็ นสื่อส่งเสริมการค้นหาความรู้ และ เน้นการส่งเสริมการสร้างและการแปลงและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพือ่ การเรียนรูใ้ นท้องถิน่ ๙.๖ การลงทุ นในการวิ จ ยั เชิ ง ยุทธศาสตร์เ พื่ อการพัฒนาการศึ กษา ทัง้ ในหน่ ว ย งานวิจยั และกองทุนวิจยั ทีม่ อี ยู่ ไปจนถึงการจัดตัง้ สถาบันวิ จยั ระบบการเรียนรู้แห่งชาติ เพือ่ เป็ นหน่ วย ประสานและสนับสนุ นการวิจยั เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในลักษณะต่างๆ เช่น การสังเคราะห์ชุดความรู้ ท้องถิน่ เพือ่ พัฒนาการศึกษา การพัฒนานวัตกรรมเชิงระบบในการจัดการศึกษา เป็ นต้น ๙.๗ การพัฒนากลไกระดับชาติ ในการฝึ กอบรมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการ การศึกษา และสนับสนุ นการสร้างเครือข่ายพืน้ ทีใ่ นการจัดการความรูค้ รูและบุคลากรทางการศึกษาใน ทุกรูปแบบ รวมถึงการสนับสนุ นเครือข่ายมหาวิทยาลัยในท้องถิน่ ทีม่ คี ณะวิชาทีเ่ กี่ยวข้องให้เข้ามามี บทบาทในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้แก่ทอ้ งถิน่ ให้มากยิง่ ขึน้ เอกสารหลัก ๖ การปฏิรปู การศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพือ่ สร้างคุณภาพและลดความเหลือ่ มลํ้าในสังคม

หน้า ๘/๑๕


๙.๘ การพัฒนาการศึ กษาและระบบดูแลสําหรับกลุ่มเป้ าหมายเฉพาะ เพื่อสร้าง โอกาสการเรียนรูแ้ ละการพัฒนาตนเองตามศักยภาพอย่างเท่าเทียม อันจะเป็ นการลดความเหลื่อมลํ้าใน สังคมในระยะยาว ซึง่ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายสําคัญดังนี้ ๙.๘.๑ กลุ่มผูอ้ ยู่นอกวัยเรียนหรือกลุ่มแรงงาน ซึง่ มีจาํ นวนแรงงาน ๑๕-๖๐ ปี ใน กลุ่มนี้ประมาณ ๓๘ ล้านคน โดยเน้นกลุ่มลูกจ้างแรงงานในโรงงานและภาคธุรกิจต่างๆ กว่า ๑๑ ล้านคน ซึง่ เป็ นแรงงานทีม่ กั ขาดโอกาสทีจ่ ะเรียนรูเ้ พือ่ ยกระดับวุฒกิ ารศึกษาหรือระดับทักษะฝี มอื ของตน ภายใต้ สภาพการณ์เช่นนี้ จึงน่าจะมีการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เข้าไปถึงแรงงานเหล่านี้ อย่างทัวถึ ่ ง เช่น การส่งเสริมให้มีศูนย์การเรียนในโรงงาน การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อ และเทคโนโลยี สารสนเทศ ตลอดจนการพัฒนาอาชีพเสริมต่างๆ รอบโรงงาน เป็ นต้น ทัง้ นี้ โดยอาศัยความร่วมมือกับ ผูป้ ระกอบการเจ้าของธุรกิจทีต่ อ้ งการพัฒนาฝี มอื แรงงานหรือลดอัตราการสูญเสียแรงงาน โดยรัฐอาจให้ แรงจูงใจแก่ผปู้ ระกอบการเจ้าของธุรกิจทีม่ กี ารลงทุนในเรื่องนี้ เช่น การนํ าค่าใช้จ่ายเพื่อการเรียนรูข้ อง แรงงานมาหักภาษีได้ในอัตราส่วนทีส่ ูงขึน้ (เช่นจากปจั จุบนั ๑ เท่าเพิม่ เป็ น ๒ เท่า) ทัง้ นี้ เพื่อเป็ นการ เพิม่ ทัง้ โอกาสการมีงานทําในระดับที่สูงขึน้ ให้แก่แรงงาน อีกทัง้ เป็ นกลไกการเพิม่ แรงงานที่มคี วามรู้ ให้แก่ประเทศเพือ่ เสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคการผลิตต่างๆ ในอนาคต ๙.๘.๒ กลุ่ม เกษตรกรและลูก หลานเกษตรกร เน้ น การให้ก ารศึก ษาและการ ส่งเสริมการเรียนรูแ้ ก่ทงั ้ กลุ่มเกษตรกรในภาคเกษตรดัง้ เดิมผ่านกลไกการศึกษานอกระบบโรงเรียนและ การศึกษาตามอัธยาศัยผ่านเครือข่ายการเรียนรูช้ ุมชนโดยรัฐให้การสนับสนุ น นอกจากนี้ ยังต้องเน้น การส่งเสริมการเรียนรูส้ าํ หรับเกษตรกรและลูกหลานเกษตรกรยุคใหม่ทม่ี กี ารทําไร่ทํานาเองน้อยลง แต่ เก็บผืนนาไร่สวนไว้ในลักษณะจ้างทําแทนหรือวานทําในหมู่เครือญาติทม่ี คี วามเสีย่ งต่อการขาดทุนและ การสูญเสียพืน้ ทีท่ ํากินไปในทีส่ ุด การส่งเสริ มการเรียนรู้ของเกษตรกรและลูกหลานเกษตรกรยุค ใหม่จึงต้องเน้ นทัง้ ชุดความรู้ที่ครบวงจรตัง้ แต่ความเข้าใจเรื่องการจัดการนา การตลาด การลด ต้นทุนการผลิ ต การเพิ่ มผลิ ตภาพ ไปจนถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับการรวมกลุ่มเป็ นวิ สาหกิ จชุมชนที่ เกษตรกรร่วมกันเป็ นเจ้าของเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการผลิ ตและเพิ่ มอํานาจต่ อรองให้ แก่ เกษตรกรรายย่อย โดยต้องอาศัยการทํางานอย่างบูรณาการระหว่างหน่ วยงานและภาคส่วนต่างๆ ที่ เกีย่ วข้องทัง้ ภาคชุมชนท้องถิน่ ภาครัฐ ภาควิชาการ ตลอดจนหน่วยงานทีจ่ ดั การศึกษาในระบบและนอก ระบบโรงเรียน และเครือข่ายชุมชนเกษตรกรทีม่ คี วามเข้มแข็งผ่านแกนนําปราชญ์ชาวบ้านในท้องถิน่ ๙.๘.๓ กลุ่มเด็กแรงงานต่างด้าว ซึง่ น่ าจะมีจํานวนไม่ต่ํากว่า ๕๐๐,๐๐๐ คนจาก การคาดประมาณจํานวนแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยทัง้ ที่จดทะเบียนถูกต้องและที่เป็ นแรงงานผิด กฎหมายทีน่ ่ าจะมีจํานวนรวม ๔-๕ ล้านคน โดยมุ่งการจัดการศึกษาบนหลักสิทธิมนุ ษยชนและการจัด การศึกษาบนฐานพหุวฒ ั นธรรมที่มรี ูปแบบหลากหลายทัง้ ในระบบโรงเรียนของรัฐที่มสี ทิ ธิได้รบั เงิน อุดหนุ น รายหัว อย่า งทัวถึ ่ ง ตามกฎหมาย การจัดในรูปศูนย์ก ารเรีย นในชุม ชนและศูนย์ก ารเรีย นใน โรงเรียน ตลอดจนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เน้นการสอนบนฐานภาษาและ วัฒนธรรมชาติพนั ธุ์ กับภาษาและวัฒนธรรมไทยควบคู่กนั ไปเพื่อสร้างโอกาสให้เด็กเหล่านี้สามารถ เข้าถึงการศึกษาทีม่ คี ุณภาพและได้รบั การพัฒนาเต็มศักยภาพไม่วา่ จะในฐานะสมาชิกของสังคมไทยหรือ เอกสารหลัก ๖ การปฏิรปู การศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพือ่ สร้างคุณภาพและลดความเหลือ่ มลํ้าในสังคม

หน้า ๙/๑๕


๙.๘.๔ กลุ่มเด็กนอกระบบการศึกษา เน้นการศึกษาทางเลือกและการศึกษานอก ระบบเพือ่ สร้างโอกาสการเรียนและการมีงานทําให้แก่เด็กทีห่ ลุดออกจากระบบโรงเรียนด้วยสาเหตุต่างๆ ในการนี้ ยัง อาจเน้ น การมีส่ ว นร่ ว มจากชุ ม ชนท้อ งถิ่น ผ่า นการส่ ง เสริม รูป แบบการจัด การศึก ษาที่ หลากหลาย และการสนับสนุนให้เกิ ดกลไกจัดการศึกษาจากภาคส่วนต่างๆ เช่น โรงเรียน ชุมชน บ้านเรียน ศูนย์การเรียนชุมชน ศูนย์การเรียนในสถานประกอบการ และศูนย์การเรียนรู้เฉพาะ อาชี พต่ างๆ โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมอย่างเข้มแข็งในการดูแลลูกหลานของ ชุ ม ชนของตนเอง นอกจากนี้ ยัง ควรสนั บ สนุ น ให้มีก ารวิจ ัย ติด ตามสภาวการณ์ เ ด็ก นอกระบบ การศึกษาอย่างจริงจัง เพื่อเป็ นฐานข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ทงั ้ ระดับชาติและระดับพืน้ ที่ในการขับเคลื่อน การแก้ปญั หาและการพัฒนาการศึกษาเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ต่อไป ๙.๘.๕ กลุ่มเด็กด้อยโอกาสและเด็กกลุ่มเสี่ ยงต่ อการล้มเหลวทางการเรียน รวมถึงเด็กยากจน เด็กพิการ เด็กทีม่ ภี าวะบกพร่องการเรียนรู้ เด็กเร่รอ่ น เด็กลูกคนงานก่อสร้าง เด็กติด ยาเสพติด แม่วยั รุ่น เด็กกระทําความผิด เป็ นต้น ที่มจี ํานวนรวมกันกว่า ๕ ล้านคนกระจายตัวอยู่ตาม พืน้ ที่ต่างๆ ทัง้ ในเมืองและชนบท โดยเฉพาะกลุ่มเด็กยากจนที่รายได้ครอบครัวต่อปี ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาทซึง่ มีจาํ นวนถึง ๓ ล้านคนจากสถิตขิ องสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน และกลุ่มเด็กที่ มีภาวะบกพร่องการเรียนรู้ (LD / สมาธิสนั ้ / ออทิสติค) เด็กด้อยโอกาสเหล่านี้อาจจะต้องมีมาตรการ ตอกยํา้ การประกันโอกาสการศึกษา (Affirmative Action) ตัง้ แต่เล็กให้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนที่ มีคุณภาพตัง้ แต่ ระดับปฐมวัยถึงการศึกษาขัน้ พื้นฐานและการศึกษาเพื่อเตรียมคนเข้าสู่อาชี พ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย รวมไปถึงการประกันโอกาสในสถาบันอุดมศึกษาชัน้ นําเพื่อให้สดั ส่วนภูมหิ ลัง นิสติ นักศึกษาในสถาบันชัน้ นําเหล่านี้เป็ นสัดส่วนภูมหิ ลังเดียวกันกับภาพประชากรของประเทศ เพื่อให้ คนยากจนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาทีม่ คี ุณภาพที่จะเปลี่ยนแปลงชีวติ และขยับฐานะทางสังคมได้อย่าง แท้จริง ๙.๙ การพิ จารณาค่ าใช้ จ่ายต่ อหัวทางการศึกษา (unit cost) ใหม่เพื่อเพิ่ ม ประสิ ทธิ ภาพและความเป็ นธรรม โดยอาจคิดค่าใช้จ่ายต่อหัวทีเ่ ป็ นค่าใช้จ่ายดําเนินการ (operating cost) ทีร่ วมทัง้ ค่าใช้สอยในการดําเนินงานและเงินเดือนค่าตอบแทนครู โดยมีการคํานวณค่าใช้จ่ายต่อ หัวเพิม่ เป็ นพิเศษสําหรับโรงเรียนหรือสถานศึกษาเฉพาะกลุ่มเป้าหมายหรือเฉพาะพืน้ ที่เพื่อความเท่า เทียมเป็ นธรรมทัง้ ในมิตขิ องโอกาสและมิตขิ องการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ๙.๑๐ การส่งเสริ มผู้ด้อยโอกาสให้ สามารถเรียนฟรีไปจนถึงระดับการศึกษาสูงสุด ตามศักยภาพ โดยอาจใช้แนวคิด “บัตรทอง” ทางการศึกษาสําหรับกลุ่มผูย้ ากไร้ดอ้ ยโอกาสในสังคมให้

เอกสารหลัก ๖ การปฏิรปู การศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพือ่ สร้างคุณภาพและลดความเหลือ่ มลํ้าในสังคม

หน้า ๑๐/๑๕


๙.๑๑ การทบทวนระบบเงิ นกู้ยืมทางการศึกษา เน้นการรือ้ ฟื้ นระบบเงินกูย้ มื ทีอ่ งิ ฐาน รายได้ในอนาคต (Income Contingency Loan – ICL) ทีเ่ คยมีความพยายามมาในอดีต โดยให้มกี าร ปรับปรุงเงื่อนไขการบริหารจัดการให้มปี ระสิทธิภาพยิง่ ขึน้ รวมถึงการมีมาตรการแทรกแซงเพื่อประกัน โอกาสและให้ลาํ ดับความสําคัญแก่ผดู้ อ้ ยโอกาสทีม่ รี ะดับรายได้ต่ํากว่าเกณฑ์ทก่ี าํ หนดด้วย ๙.๑๒ การปรั บ ปรุ ง ระบบการตรวจสอบทางการเงิ นการคลั ง (financial accountability) และภาวะรับผิ ด (liability) ทางการบริ หารการศึกษา ให้มปี ระสิทธิภาพและความ เข้มข้นยิง่ ขึ้นเพื่อต่อสู้กบั ปญั หาการคอรัปชันเงิ ่ นงบประมาณทางการศึกษา ตัง้ แต่ระดับสถานศึกษา ขึน้ มาจนถึงระดับหน่ วยงานกลาง เพื่อให้การใช้ทรัพยากรงบประมาณสามารถเข้าถึงตัวผูเ้ รียนและเป็ น ประโยชน์สงู สุดต่อผูเ้ รียน ๑๐. การส่งเสริ มการศึกษาเพื่อการมีงานทํา ทัง้ ในมิ ติของการมีความรู้ ทักษะทางอาชีพ ที่จาํ เป็ น ตลอดจนการมีคณ ุ ลักษณะที่เหมาะสม (human qualities) ต่อการทํางานในโลกยุคใหม่ โดยมีมาตรการทีเ่ ป็ นรูปธรรมทีอ่ ย่างน้อยต้องครอบคลุมสาระสําคัญดังต่อไปนี้ ๑๐.๑ การปรับปรุงแนวทางการจัดการศึกษาขัน้ พื้นฐานเพื่อส่งเสริ มการมีงานทํา โดยจะต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างการศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตาม อัธยาศัย เพื่อให้เด็กที่เรียนอยู่สามารถออกไปทํางานโดยถือเป็ นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ หรือคนที่ ทํางานอยู่สามารถกลับเข้ามาเรียนเพิม่ เติมความรูไ้ ด้โดยสะดวก ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนรูท้ กั ษะ อาชีพ ที่ส อดคล้อ งกับ ศัก ยภาพและฐานทรัพ ยากรของท้อ งถิ่น โดยเฉพาะแนวคิด เรื่อ งการสร้า ง “สัมมาชี พ” ที่มคี วามพอเพียงและไม่ทําลายสิง่ แวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิน่ ตลอดจน การส่งเสริมกลไกการพัฒนาและหนุ นเสริมครูภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ ครูชุมชน เพื่อให้สามารถจัดการเรียนรู้ ตามวิถขี องแต่ละท้องถิน่ ได้อย่างมีคุณภาพ โดยมีการปรับวิธกี ารวัดและประเมินผลการเรียนรูด้ า้ นอาชีพ ให้สามารถเทียบโอนประสบการณ์การเรียนรูแ้ ละการทํางานทีห่ ลากหลายมาเป็ นคุณวุฒทิ างการศึกษาได้ ๑๐.๒ การส่งเสริ มการอาชี วศึกษาที่ มีรูปแบบหลากหลายขึ้น ทัง้ การบูรณาการการ สอนอาชีพในระดับมัธยมสําหรับโรงเรียนทัวไป ่ การเพิม่ จํานวนสถาบันอาชีวศึกษาระดับสูงกว่ามัธยมใน พืน้ ทีช่ นบท ไปจนถึงการพัฒนาสถาบันอาชีวศึกษาทีม่ คี วามเป็ นเลิศตามแนวทางเดียวกันกับการพัฒนา โรงเรียนมหิดลวิทยานุ สรณ์ในระดับการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน โดยเน้นรูปแบบการเรียนรูบ้ นฐานการทํางาน จริง (Work-based Learning) และรูปแบบสหกิจศึกษา (Cooperative Education) ร่วมกับผูป้ ระกอบการ ภาคธุรกิจเพื่อให้แรงงานรุ่นใหม่มคี วามรูท้ กั ษะทีท่ นั กับภาคการผลิตสมัยใหม่ทม่ี กี ารแข่งขันสูงได้อย่าง แท้จริง ทัง้ นี้ โดยดําเนินการควบคู่ไปกับการรณรงค์ทางสังคมให้คนรุ่นใหม่เห็นคุณค่าการทํางานและ การมีรายได้ตงั ้ แต่เยาว์วยั มากกว่าการมุ่งเรียนแต่ปริญญาบัตรที่ไม่อาจนํ าไปสู่การมีอาชีพที่ดีอย่าง แท้จ ริง ได้ รวมถึง การปลู ก ฝ งั คุ ณ ลัก ษณะที่ดีข องโลกการทํา งานยุ ค ใหม่ เช่ น ความคิด ริเ ริ่ม การ แก้ปญั หา การทํางานเป็ นทีม เป็ นต้น โดยต้องสร้างความร่วมมือกับผูป้ ระกอบการในการประกันการได้

เอกสารหลัก ๖ การปฏิรปู การศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพือ่ สร้างคุณภาพและลดความเหลือ่ มลํ้าในสังคม

หน้า ๑๑/๑๕


๑๐.๓ การส่งเสริ มการปฏิ รปู การจัดการอุดมศึกษาที่หลากหลายรูปแบบและภารกิ จ ทัง้ การอุดมศึกษาเพื่อความเป็ นเลิศด้านการวิจยั สร้างความรูเ้ พื่อการพัฒนาการผลิต การจ้างงาน และ การเพิม่ มูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ไปจนถึงการจัดอุดมศึกษาท้องถิน่ เพื่อความเข้มแข้ง ทางเศรษฐกิจ บนฐานทุนทางสังคมวัฒนธรรมของท้องถิน่ เอง นอกจากนี้ ในกรณีสถาบันอุดมศึกษาทีม่ ี ศักยภาพควรมีการส่งเสริมให้เป็ นศูนย์กลางการพัฒนาทางวิชาการและการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของพืน้ ทีต่ ามแนวคิด “หนึ่ งมหาวิ ทยาลัย หนึ่ งจังหวัด” ทีร่ วมถึงการจัดรูปแบบเครือข่ายส่งเสริม และพัฒนาการเรียนรูบ้ นฐานการจัดการเชิงพืน้ ที่ (area-based management) ทีม่ มี หาวิทยาลัยเป็ นพี่ เลีย้ งทางวิชาการในการพัฒนาการเรียนรูข้ องชุมชนท้องถิน่ ไปสูเ่ ป้าหมายการพัฒนาชองพืน้ ที่ ๑๐.๔ การพัฒ นาบทบาทของวิ ท ยาลัย ชุม ชน ให้เ ป็ น รอยต่ อ ระหว่ า งการศึก ษาขัน้ พืน้ ฐานกับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยังคงเอกลักษณ์และขีดความสามารถที่เข้มแข็งในการ จัดการเรียนการสอนทีย่ ดื หยุ่นหลากหลายเพื่อสนองความต้องการของท้องถิน่ โดยเฉพาะจุดเด่นของ การสร้างและรักษากําลังคนไว้กบั ท้องถิน่ การส่งเสริมพัฒนาอาชีพท้องถิน่ และการฟื้นความเข้มแข็งและ ศรัทธาต่อการดํารงอยูอ่ ย่างมันคงทั ่ ง้ ทางเศรษฐกิจและสังคมของคนในทุกชุมชนท้องถิน่ ๑๑. การส่ งเสริ มการศึ กษาทางเลื อกเพื่ อให้ เ ด็ก ประชาชนและชุมชนมี ทางเลื อกที่ หลากหลายในการเรี ยนรู้ที่จะสามารถตอบสนองความต้ องการในชี วิตและศักยภาพในการ พัฒนาตนเองได้ อย่างแท้ จริ ง โดยมีมาตรการที่เป็ นรูปธรรมที่อย่างน้อยต้องครอบคลุมสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้ ๑๑.๑ การผลักดันให้มีการดําเนิ นการด้านสิ ทธิ และโอกาสทางกฎหมายสําหรับการ จัด การศึ ก ษาทางเลื อ กรูป แบบต่ า งๆ แก่ บุ ค คลและองค์ก รตามที่ร ะบุ ไ ว้ต ามมาตรา ๑๒ แห่ ง พระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๔๕ ซึง่ ให้สทิ ธิแก่บุคคลและ องค์กรตามที่ระบุไว้ในกฎหมายในการจัดการศึกษาขัน้ พืน้ ฐานได้ แต่หากยังมีปญั หาในการตีความข้อ กฎหมายทีเ่ ห็นว่าการศึกษาทางเลือกทีจ่ ดั การศึกษาในระดับพืน้ ฐานซํ้าซ้อนกับการจัดการศึกษาของรัฐ ทําให้มกี ารจํากัดสิทธิ ขอบเขต และพื้นที่ในการจัดการศึกษาทางเลือก ซึ่งจะต้องมีการผลักดันการ แก้ปญั หาข้อกฎหมายนี้เพื่อให้การศึกษาทางเลือกเจริญเติบโตต่อไปได้ ทัง้ นี้ การผลักดันด้านกฎหมาย ยัง ควรรวมไปถึง การผลักดันร่า งพระราชบัญญัติก ารศึก ษาทางเลือก พ.ศ......... เพื่อ คุ้มครองสิท ธิ ส่ ง เสริม สนั บ สนุ น การจัด การศึก ษาทางเลือ กได้อ ย่ า งเป็ น รู ป ธรรมยิ่ง ขึ้น ซึ่ง เป็ น ไปตามนั ย ของ รัฐธรรมนู ญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๐๓ ที่กําหนดให้รฐั ออกกฎหมายลูก คุม้ ครองและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพทางการศึกษาของประชาชน ซึง่ ครอบคลุมถึงการศึกษาทางเลือกตามที่ ถูกระบุอยูใ่ นมาตรา ๔๙ วรรค ๓ แห่งรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน ๑๑.๒ การผลักดันให้ หน่ วยงานที่ เกี่ยวข้องเร่งดําเนิ นมาตรการส่งเสริ มการศึกษา ทางเลือก อาทิ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน (สพฐ.) ให้เร่งดําเนินการตามแนวทางการ ปรับใช้หลักสูตรแกนกลางทีม่ กี ารจัดทําร่างในรายละเอียดไว้แล้ว ทีจ่ ะเปิ ดโอกาสให้สถานศึกษาสามารถ เอกสารหลัก ๖ การปฏิรปู การศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพือ่ สร้างคุณภาพและลดความเหลือ่ มลํ้าในสังคม

หน้า ๑๒/๑๕


๑๑.๓ การส่ งเสริ มความร่วมมือระหว่างภาคส่ วนต่ างๆ กับบุคล กลุ่มบุคคล และ องค์กรที่ จดั การศึกษาทางเลือก ซึ่งมีการจําแนกเป็ นกลุ่มเฉพาะ ๗ กลุ่ม ได้แก่ ๑)กลุ่มการจัด การศึกษาโดยครอบครัว ๒)กลุ่มการจัดการศึกษาโดยสถาบันศาสนา ๓)กลุ่มครูภูมปิ ญั ญา ๔)กลุ่มการ จัดการโดยองค์กรพัฒนาชุมชน/ภาคประชาสังคม ๕)กลุ่มการจัดการศึกษาทีอ่ งิ ระบบของรัฐเชื่อมกับ ระบบโรงเรียน ๖)กลุ่มการเรียนรูอ้ สิ ระ และ ๗)กลุ่มทีพ่ ฒ ั นาสือ่ ทางเลือกและแหล่งเรียนรูท้ างเลือกต่างๆ โดยให้มกี ารจัดการความรูเ้ กีย่ วกับการศึกษาทางเลือกเพือ่ สนับสนุนการเรียนรูผ้ า่ นรูปแบบทีห่ ลากหลาย เหล่านี้ให้ขยายตัวเกิดประโยชน์ในวงกว้างต่อไป ๑๑.๔ การสนั บสนุนการพัฒนาสื่อและคลังความรู้ท้องถิ่ น รวมถึงการใช้ส่อื พืน้ บ้าน กลไกสื่อสารสาธารณะในท้องถิน่ เพื่อส่งเสริมการเรียนรูท้ างเลือกทีห่ ลากหลาย และการเรียนรูต้ ลอด ชีวติ ให้แก่ประชาชนทุกช่วงวัย ๑๑.๕ การส่งเสริ มงานวิ จยั เกี่ยวกับรูปแบบที่เหมาะสมของการศึกษาทางเลือกเพื่อ ตอบสนองกลุ่ ม เป้ าหมายต่ า งๆ เช่น การประมวลและพัฒ นาชุ ด ความรู้เ พื่อพัฒ นาหลักสูต รและ กระบวนการเรียนรู้ท้องถิ่น ซึ่งอาจนํ าไปสู่การมีหลักสูต รชุมชนศึก ษา ท้องถิ่นศึกษา จังหวัดศึก ษา หลักสูตรประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ทีก่ ว้างขวางและหลากหลายยิง่ ขึน้ เป็ นต้น ทัง้ นี้ โดยรวมถึงการสนับสนุ น ให้มพี น้ื ทีว่ จิ ยั /พืน้ ทีท่ ดลองนําร่องการจัดการศึกษาทางเลือกรูปแบบใหม่ๆ อีกด้วย ๑๑.๖ การส่งเสริมหน่ วยงาน/สถาบันวิชาการในการฝึ กอบรมและพัฒนาคนทํางานด้าน การศึกษาทางเลือก โดยเน้นการฝึ กอบรมและพัฒนาบนฐานท้องถิน่ ที่มาจากภาคส่วนต่างๆ ตลอดจน การมีระบบพีเ่ ลีย้ งและอาสาสมัครทางการศึกษา รวมถึงการพัฒนาวิทยากรท้องถิน่ เพื่อเกือ้ หนุ นการจัด การศึกษาทางเลือกในระดับท้องถิน่ ๑๑.๗ การเปิ ดพืน้ ที่การเรียนรู้/พืน้ ที่สาธารณะเพื่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางเลือก อย่ า งกว้ า งขวาง โดยรัฐ ให้ก ารสนั บ สนุ น และลงทุ น ร่ ว มกับ ท้อ งถิ่น ในการเปิ ด พื้น ที่ก ารเรีย นรู้ท่ี หลากหลายเหล่านี้ เช่น พิพธิ ภัณฑ์ท้องถิ่น แหล่งเรียนรูป้ ระวัติศาสตร์ท้องถิ่น ศูนย์การเรียนรูอ้ าชีพ ท้องถิน่ เป็ นต้น รวมไปถึงการจัดทําแผนทีก่ ารเรียนรู้ คู่มอื แหล่งเรียนรูเ้ พื่อเป็ นเครื่องมือประมวลแหล่ง

เอกสารหลัก ๖ การปฏิรปู การศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพือ่ สร้างคุณภาพและลดความเหลือ่ มลํ้าในสังคม

หน้า ๑๓/๑๕


๑๑.๘ การส่ ง เสริ ม และพัฒ นากลไกประสานและสนั บ สนุ น การจัด การศึ ก ษา ทางเลือก เช่น สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกทีไ่ ด้จดั ตัง้ ขึน้ เป็ นนิตบิ ุคคลตามกฎหมาย โดยมีเครือข่าย ศูนย์ประสานการศึกษาทางเลือกระดับภาค ๔ ภาค ให้สามารถเป็ นกลไกประสานและส่งเสริมการจัด การศึกษาทางเลือกในพืน้ ทีต่ ่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิง่ ขึน้ ในอนาคต ๑๑.๙ การแก้ ไ ขกฎหมายหรื อ กฏระเบี ย บที่ เ กี่ ย วข้ อ งเพื่ อ ให้ ร ฐั สามารถให้ ก าร สนับสนุนองค์กร กลุ่มบุคคล บุคคลในการจัดการศึกษาทางเลือกได้อย่างกว้างขวางยิ่ งขึ้น เน้น การสนับสนุ นองค์กรพัฒนาเอกชนและกลุ่มประชาสังคม ชมรมครูท่ไี ม่เป็ นนิติบุคคล เป็ นต้น เพื่อให้ องค์กรหรือกลุ่มบุคคลและบุคคลเหล่านี้สามารถริเริม่ และสร้างความหลากหลายของรูปแบบการเรียนรู้ ให้แก่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ควบคู่ไปกับการปรับระบบวัดผลประเมินผลและรับรองความรูด้ งั ที่กล่าวไป แล้ว เพือ่ ให้การศึกษาทางเลือกขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและเป็ นประโยชน์สงู สุดต่อผูเ้ รียน ๑๒. การส่ งเสริ มภาคชุมชนท้ องถิ่ นให้เป็ นกลไกที่ มีบทบาทสําคัญยิ่ งขึ้นในการปฏิ รูป การศึกษา โดยมีมาตรการทีเ่ ป็ นรูปธรรมทีอ่ ย่างน้อยต้องครอบคลุมสาระสําคัญดังต่อไปนี้ ๑๒.๑ การแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่ มบทบาทการจัดการและ อํานาจด้านการบริ หารงบประมาณและบุคลากรในการจัดการศึกษาให้แก่ชุมชนท้องถิ่ น เน้นการ พัฒนารูปแบบ “คณะกรรมการการศึกษาจังหวัด” หรือ “คณะกรรมการการศึกษาท้องถิ่ น” ทีร่ ฐั ให้ การสนับสนุ นส่งเสริมและมีการกํากับติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างตัวแบบการบริหารจัดการ การศึกษาในระดับท้องถิน่ ทีม่ ปี ระสิทธิภาพและความยังยื ่ นบนฐานการมีสว่ นร่วมของประชาชน ๑๒.๒ การแก้ ไขกฎหมายและกฎระเบีย บที่ เกี่ ย วข้ อ งเพื่ อเพิ่ มอํานาจการบริ หาร จัดการให้ กบั คณะกรรมการสถานศึ กษาเพื่อสร้างแบบอย่างการบริ หารจัดการที่ ดีระดับฐาน โรงเรียน (school-based management)โดยเน้นการมีกลไกติดตามสนับสนุ นและตรวจสอบอย่าง จริงจังและต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ทีส่ ามารถขยายผลไปสูท่ ุกพืน้ ทีไ่ ด้ ๑๒.๓ การส่ ง เสริ ม บทบาทของภาคประชาสัง คมให้ มี ส่ ว นร่ ว มกัน ในการจัด การศึกษาของท้องถิ่ น เน้นการเสริมสร้างพลังของภาคประชาชนในระดับชุมชนท้องถิน่ ให้สามารถเข้า มามีส่วนร่วมในการริเริม่ การวางแผน การดําเนินการ ตลอดจนการติดตามตรวจสอบและคานอํานาจ อย่างสร้างสรรค์กบั องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ทีพ่ งึ มีบทบาทให้การสนับสนุ นหรือร่วมจัดการศึกษาเพื่อ ท้องถิน่ ของตนอย่างกว้างขวางยิง่ ขึน้ ในอนาคต ๑๒.๔ การส่งเสริ มบทบาทของภาคเอกชนในการจัดการศึกษา โดยได้รบั การอุดหนุ น หรือลดหย่อนภาษีทางการศึกษา สร้างแรงจูงในการลงทุนทางการศึกษา และมีมาตรการสนับสนุ นให้ เอกชนเข้าไปจัดการศึกษาในพืน้ ทีห่ า่ งไกลหรือการศึกษาเฉพาะกลุ่มเป้าหมายมากยิง่ ขึน้ รวมถึงการทีร่ ฐั ยังจะต้องมีบทบาทสําคัญในการกํากับติดตามด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาที่เป็ นไปอย่างเท่า เทียมระหว่างสถานศึกษาของรัฐและเอกชน

เอกสารหลัก ๖ การปฏิรปู การศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพือ่ สร้างคุณภาพและลดความเหลือ่ มลํ้าในสังคม

หน้า ๑๔/๑๕


๑๒.๕ การปรับปรุงมาตรการการคลังทางการศึกษาและการจัดการงบประมาณและ ทรัพ ยากรเพื่ อ เป็ นเงื่ อ นไขสร้ า งความเปลี่ ย นแปลงต่ อ ความเท่ า เที ย มและเป็ นธรรมทาง การศึกษาและการส่งเสริ มการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เน้นระบบการจัดสรรงบประมาณ/เงินต่อ หัวตามตัวผูเ้ รียน และการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณลงไปสูฐ่ านพืน้ ที/่ ท้องถิน่ ทีต่ อ้ งเกิดขึน้ ควบคู่ ไปกับการพัฒนากลไกการจัดการระดับท้องถิน่ ไม่ว่าจะอยูใ่ นรูปแบบของคณะกรรมการการศึกษาจังหวัด หรือ คณะกรรมการการศึก ษาท้อ งถิ่น โดยการสนับ สนุ นให้มีก ารแก้ไ ขกฏหมายหรือ กฏระเบีย บที่ เกีย่ วข้องเพือ่ การกระจายอํานาจการจัดการงบประมาณและทรัพยากรให้แก่ชุมชนท้องถิน่ ๑๒.๖ การส่งเสริ มให้เกิ ดการใช้ทรัพยากรและทุนวัฒนธรรมของท้องถิ่ น ตลอดจน ทรัพยากรของท้ องถิ่ นในการเข้ามาร่วมจัดการศึกษา โดยรัฐอาจให้แรงจูงใจผ่านกลไกของรัฐเอง หรือกองทุนทีร่ ฐั ตัง้ ขึน้ ในรูปเงินทุนสมทบ (matching funds) ให้แก่ทอ้ งถิน่ ต่างๆ ทีแ่ สดงเจตน์จาํ นงค์ใน การพัฒนาการศึกษาหรือการพัฒนาคุณภาพชีวติ ให้แก่คนในท้องถิน่ ของตน ประเด็นพิ จารณาของสมัชชาปฏิ รปู ระดับชาติ ขอให้สมัชชาปฏิรปู ระดับชาติ พิจารณาเอกสารสมัชชาปฏิรปู ๒. ร่างมติ ๖

---------------------------------------------------------------

เอกสารหลัก ๖ การปฏิรปู การศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพือ่ สร้างคุณภาพและลดความเหลือ่ มลํ้าในสังคม

หน้า ๑๕/๑๕


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.