รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ

Page 1

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


รายงานความคืบหน้า การดำเนินงาน ตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และ มติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


รายงานความคืบหน้าการดำเนินงาน ตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และ มติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕ ที่ปรึกษา คณะกรรมการติดตามการดำเนินงาน ตามมติสมัชชาปฏิรูป คณะจัดทำ สำนักงานปฏิรูป พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน ๒๕๕๕ จำนวน ๓,๐๐๐ เล่ม พิมพ์ที่ บริษัท อัพทรูยู ครีเอท นิว จำกัด จัดพิมพ์โดย สำนักงานปฏิรูป (สปร.) ๑๒๖/๑๔๖ ชั้น ๔ อาคาร ๑๐ ชั้น สถาบันบำราศนราดูร ซ.ติวานนท์ ๑๔ ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๒-๙๖๕๙๕๓๑-๓ โทรสาร ๐๒-๙๖๕๙๕๓๔

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


คำนำ

การประชุมสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๒๔ – ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๔ มีฉันทามติในประเด็นต่างๆ รวม ๘ ประเด็น ที่ผ่านการ วิเคราะห์ปัญหา และสรุปข้อเสนออย่างกระชับ ชัดเจนและเป็นรูปธรรม จึง เป็นความจำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องใช้มติอันเป็นฉันทามติของสมัชชาปฏิรูป ไปติดตาม ขับเคลือ่ นและผลักดันให้เกิดการเปลีย่ นแปลงเชิงระบบและโครงสร้าง เพือ่ ให้เกิดความเป็นธรรมและลดความเหลือ่ มล้ำในสังคมไทย ซึ่งหากมติสมัชชา ปฏิรูปถูกนำไปปฏิบตั จิ นส่งผลกระทบต่อชีวติ ผูค้ นแล้ว “สมัชชาปฏิรูป” จะเป็น กระบวนการและเครื่องมือที่ทรงพลังและมีคุณค่ายิ่ง การติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ จำนวน ๘ มติ ประกอบด้วย มติที่ ๑ การปฏิรูปการจัดสรร ทรัพยากรที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน มติที่ ๒ การปฏิรูปโครงสร้างการ จัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มติที่ ๓ การคื น ความเป็ น ธรรมให้แก่ ประชาชนในกรณีที่ดิน และทรัพยากร มติที่ ๔ การปฏิรูประบบประกันสังคม เพื่อความเป็นธรรม มติที่ ๕ การสร้างระบบหลักประกันในการดำรงชีพและ ระบบสังคมที่สร้างเสริมสุขภาวะแก่ผู้สูงอายุ มติที่ ๖ การสร้างสังคมที่คนไทย อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน มติที่ ๗ การปฏิรูปการกระจายอำนาจเพื่อเสริมสร้าง และพัฒนาศักยภาพการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และ มติที่ ๘ ศิลปวัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์ และเยียวยาสังคม

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


ผลการดำเนินงานของทั้ง ๘ มติ ดังกล่าวมีความคืบหน้าของการ ดำเนินงานที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ แม้จะ พบว่ามีอุปสรรคในการดำเนินงานอยู่บ้าง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีส่วนที่แสดง ถึงความตั้งใจ ความเพียรพยายามของภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะภาคประชา สังคมในการดำเนินงาน เพื่อมุ่งให้เกิดผลที่จะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และ สังคมเป็นหลัก อย่างไรก็ตามผลการดำเนินงานดังกล่าวนับเป็นบทเรียนสำคัญในการ พัฒนาแนวทางการนำมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งรวมถึง การบูรณาการการทำงานของหน่วยงาน องค์กรทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ สร้างกระบวนการ เรียนรู้ ความเข้าใจ และสำนึกร่วมด้วยความเป็นกัลยาณมิตร และพร้อมที่จะ ช่วยกันหาแนวทางที่เหมาะสมต่อไป คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูป พฤษภาคม ๒๕๕๕

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


สารบัญ

บทนำ ๑. ความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ • มติที่ ๑ การปฏิรูปการจัดสรรทรัพยากรที่ดินอย่างเป็นธรรม และยั่งยืน • มติที่ ๒ การปฏิรูปโครงสร้างการจัดการทรัพยากรทะเล และชายฝั่ง • มติที่ ๓ การคืนความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนในกรณีที่ดิน และทรัพยากร • มติที่ ๔ การปฏิรูประบบประกันสังคมเพื่อความเป็นธรรม • มติที่ ๕ การสร้างระบบหลักประกันในการดำรงชีพและระบบ สังคมที่สร้างเสริมสุขภาวะแก่ผู้สูงอายุ • มติที่ ๖ การสร้างสังคมที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน • มติที่ ๗ การปฏิรูปการกระจายอำนาจเพื่อเสริมสร้างและ พัฒนาศักยภาพการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม • มติที่ ๘ ศิลปวัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์และเยียวยาสังคม ๒. มติ สมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕ และ แนวทางการติดตามการดำเนินงานตามมติฯ ๓. รายชื่อคณะกรรมการติดตามการดำเนินงาน ตามมติสมัชชาปฏิรูป

หน้า ๑ ๔ ๔ ๑๐ ๑๘ ๒๓ ๒๘ ๔๐ ๕๐ ๕๓ ๖๔ ๗๓

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


บทนำ

การปฏิรปู ประเทศไทย เป็นเรือ่ งทีป่ ระชาชนในสังคมไทยต้องร่วมมือกัน กำหนดทิ ศ ทางและร่ ว มมื อ กั น ขั บ เคลื่ อ นไปในทิ ศทางเดียวกัน เพื่ อ สร้ าง ความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบและโครงสร้างต่างๆ ในประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชนและชุมชน ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ และภาครัฐที่มุ่งไปสู่การ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย เสริมสร้างสมรรถนะ และพลังปัจจัย ที่จะช่วย ขับเคลือ่ นสังคมไทยให้มคี วามเข้มแข็ง อยูเ่ ย็นเป็นสุข มีศกั ดิศ์ รี และความเป็นธรรม อันจะนำไปสู่ความสมานฉันท์ สันติสุข และความเจริญมั่นคงในบ้านเมือง คณะ รัฐมนตรีจงึ มีการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิรปู พ.ศ. ๒๕๕๓ ขึน้ ภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว ข้อ ๑๐ (๓) ได้กำหนดให้ คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) ทำหน้าที่ จัดสมัชชาปฏิรูประดับชาติ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง และสนับสนุนให้มีการจัดสมัชชาปฏิรูปเฉพาะพื้นที่ และเฉพาะประเด็น เพือ่ เป็นเครือ่ งมือในการเชือ่ มประสานให้ทกุ ภาคส่วนในสังคม ได้แลกเปลีย่ นเรียนรูร้ ว่ มกันอย่างกว้างขวางบนฐานของปัญญา และความสมานฉันท์ เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการปฏิรูปประเทศไทย ที่มีเป้าหมาย ร่วมในการสร้างความเป็นธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม จึงได้แต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินการจัดสมัชชาปฏิรูป (คจสป.) เป็นกลไกดำเนินการ โดยมีนายแพทย์สวุ ทิ ย์ วิบลุ ผลประเสริฐ เป็นประธานกรรมการ ซึง่ ได้จดั สมัชชา ปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๔ - ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๔ ณ อิมแพ็ค คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ที่ประชุมได้มี ฉันทามติ ๙ มติ เป็นมติในประเด็นต่างๆ รวม ๘ มติ และมติที่ ๙ เป็นการ

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


กำหนดประเด็นที่จะขับเคลื่อนต่อไปในการประชุมสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ และ ๓ ใน ปีต่อๆ ไป ดังนี้ มติที่ ๑ การปฏิรปู การจัดสรรทรัพยากรทีด่ นิ อย่างเป็นธรรมและยัง่ ยืน มติที่ ๒ การปฏิรูปโครงสร้างการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มติที่ ๓ การคืนความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนในกรณีที่ดิน และ ทรัพยากร มติที่ ๔ การปฏิรูประบบประกันสังคมเพื่อความเป็นธรรม มติที่ ๕ การสร้างระบบหลักประกันในการดำรงชีพและระบบสังคม ที่สร้างเสริมสุขภาวะแก่ผู้สูงอายุ มติที่ ๖ การสร้างสังคมที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน มติที่ ๗ การปฏิรูปการกระจายอำนาจเพื่ อ เสริมสร้างและพัฒนา ศักยภาพการจัดการตนเองของชุ มชนท้องถิ่น สร้างความ เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม มติที่ ๘ ศิลปวัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์และเยียวยาสังคม มติที่ ๙ ระเบียบวาระในการพิจารณาสมัชชาปฏิรปู ระดับชาติ ครัง้ ที่ ๒ และ ๓ ภายหลังจากที่สมาชิกสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ได้ให้ฉันทามติเห็นชอบ ทั้ง ๙ มติแล้ว ได้มีการนำความเห็นและข้อสังเกตจากสมาชิกไปมอบต่อ คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) และให้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อ วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ซึ่ง คณะรัฐมนตรี มีมติ ดังนี้

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


๑) รับทราบมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ รวม ๘ มติ และข้อเสนอการปฏิรปู โครงสร้างอำนาจ ของคณะกรรมการ ปฏิรูป โดยให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งให้หน่วยงาน และพรรคการเมืองต่างๆ ได้ทราบมติ และข้อเสนอดังกล่าว ๒) ให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประสานหน่วยงานต่างๆที่ เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาประเด็นมติสมัชชา และข้อเสนอ ซึ่งจะ มีผลกระทบในวงกว้าง ซึง่ บางเรือ่ งได้มกี ารดำเนินการไปแล้ว เช่น โฉนดชุมชน ภาษี ที่ ดิ น บางเรื่ อ งมี ข้ อ เสนอให้ ป รั บ ปรุงเรื่องที่ ดำเนินการอยู่ บางเรือ่ งมีผลกระทบในวงกว้าง เช่น การปรับโครงสร้าง ทางการเมือง และกระบวนการยุตธิ รรม การเสนอให้ยบุ การปกครอง ส่วนภูมิภาค หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อ งหรื อ พรรคการเมืองใดมี ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมให้ส่งมายังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อ นำเสนอคณะรัฐมนตรีภายใน ๕ สัปดาห์ ต่อมา ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ประธานกรรมการ สมัชชาปฏิรูป ได้มีคำสั่ง คสป.ที่ ๑/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูป ขึ้น โดยมีนายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ เป็นประธาน ได้ทำการติดตามความคืบหน้า ในการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ เมื่อ วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๕ และได้นำเสนอผลการติดตามการดำเนินงานมติ สมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๓๐ - ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕ ว่าได้มกี ารดำเนินการตามมติอย่างไรบ้าง นอกจากนีร้ ะหว่างการประชุม ติดตามมติสมัชชาปฏิรปู ภาคส่วนต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องได้เสนอความคืบหน้าเพิม่ เติม อีกด้วย ความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติ มีดังนี้ รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


๑. ความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรปู ระดับชาติ ครัง้ ที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔

มติที่ ๑ การปฏิรูปการจัดสรรทรัพยากรที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน

ข้อ ๑ เห็นชอบหลักการของการจัดการที่ดิน ดังนี้ ๑.๑ ที่ดินเป็นสมบัติของชาติ ที่พึ ง จั ด การภายใต้หลักการ การเป็นเจ้าของร่วมระหว่างรัฐ องค์กรชุมชนสาธารณะ และปัจเจกบุคคล ๑.๒ การเคารพสิทธิของประชาชนและของชุ ม ชนในการมี ส่วนร่วมกับรัฐเพื่อกำหนดกลไกในการเข้าถึง การใช้ประโยชน์ การอนุรักษ์ การบำรุงรักษา และการได้รบั ประโยชน์จากทีด่ นิ อีกทัง้ ในการคุม้ ครองส่งเสริมและ รักษาคุณภาพสิง่ แวดล้อมตามบทบัญญัตแิ ห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๖๖ และ ๖๗ โดยการสร้างและส่งเสริมการมีสว่ นร่วม และ กระจายอำนาจในการจัดการทรัพยากรโดยประชาชน ชุมชน และท้องถิ่น ข้อ ๒ ขอให้ คสป. เสนอ ครม. รัฐสภา และพรรคการเมืองต่างๆ ดำเนินการผลั ก ดั น ให้ มี ก ฎหมายรั บ รองสิ ท ธิ ใ นการจั ด การที่ ดิ น ของชุมชน รวมถึงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการที่ดิน ให้รับรองสิทธิของชุมชน ในการมีส่วนร่วมจัดการที่ดิน ข้อ ๓ ขอให้ คสป. เสนอต่อ ครม. เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ระหว่างประชาชนกับรัฐในเรื่องการใช้ประโยชน์จากที่ดิน โดย ๓.๑ ให้การรับรองสถานภาพ การเข้ า อยู่ อ าศั ย และทำกิน อย่างถูกต้องตามกฎหมายในพื้นที่ของรัฐที่มีข้อพิพาทอยู่ในปัจจุบัน โดยการ จัดให้มรี ะบบการออกโฉนดชุมชนโดยเร็ว ทัง้ นีก้ ารออกโฉนดชุมชนจะต้องเป็นไป ๔

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


โดยมีกระบวนการที่โปร่งใส และให้หน่วยงานของรัฐยุติการขับไล่ จับกุม ใน ระหว่างการดำเนินการจัดให้มีโฉนดชุมชนโดยเร็ว ๓.๒ ให้ส่งเสริม สนับสนุนกระบวนการจั ด ทำโฉนดชุมชน ด้วยการให้ชมุ ชน ท้องถิน่ และรัฐ ร่วมกันดำเนินการจัดทำแนวเขตโดยใช้ระบบ GIS กำหนดกติกา การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน การอนุรักษ์ การควบคุมกำกับ ดูแล ที่ดิน ป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติ มิให้ถูกบุกรุกทำลายโดยเร็ว ๓.๓ ให้มกี ารแต่งตัง้ คณะกรรมการยกร่าง พ.ร.บ. โฉนดชุมชน โดยเร็วทีส่ ดุ โดยมอบหมายให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีกรรมการ ประกอบด้วย ตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำโฉนดชุมชน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาชน จำนวนไม่นอ้ ยกว่า ๑ ใน ๓ ของคณะกรรมการ แทนการใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดให้มี โฉนดชุมชน พ.ศ.๒๕๕๓ ความคืบหน้าการดำเนินงาน (ข้อ ๓.๑, ๓.๓) ๑) ประชาชนในพื้นที่พิพาทร่วมกับเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเจรจา ต่อรองกับรัฐบาลชะลอการจับกุมในพื้นที่ที่มีการพิพาทเรื่อง บุกรุกที่ดินรัฐ ๒) ปัจจุบันมี ๒ ชุมชนที่ดำเนินการตามโครงการโฉนดชุมชน คือ ชุมชนบ้านคลองโยง จ.นครปฐม และชุมชนบ้านแม่อาว จ.ลำพูน ที่มีหนังสืออนุญาตให้ดำเนินการโฉนดชุมชน และ อีก ๕๓ ชุมชนที่มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการแล้ว แต่ยังไม่มี หนังสืออนุญาต เนือ่ งจากมีความล่าช้าในการได้รบั อนุญาตและ ส่งมอบพื้นที่จากหน่วยงานที่รับผิด ชอบดูแลพื้นที่นั้นๆ อยู่ และในปั จ จุ บั น ยั ง มี ชุ ม ชนจำนวน ๔๓๕ ชุ ม ชนที่ ร อการ

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


พิจารณาดำเนินงานโฉนดชุมชน ซึ่ ง มี ค วามเห็ น จากภาค ประชาสังคมว่า การขออนุญาตใช้พื้นที่แต่ละแห่งนั้น ควร มอบให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานที่ขอใช้พื้นที่แทน ชุมชน ซึ่งจะทำให้การอนุมัติให้ใช้พื้นที่มีความรวดเร็วขึ้น ๓) คณะรั ฐ มนตรี เ ห็ น ชอบร่ า งระเบี ย บสำนั ก นายกรั ฐ มนตรี ว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.... โดยร่าง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เป็นการปรับปรุงองค์ประกอบ ของคณะกรรมการประสานงานเพื่ อ จั ด ให้ มี โ ฉนดชุ ม ชน (ปจช.) ตามข้อ ๔ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การจั ด ให้ มี โ ฉนดชุ ม ชน พ.ศ.๒๕๕๓ โดยเพิ่ ม รองนายก รัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ และให้รฐั มนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึง่ นายกรัฐมนตรี มอบหมายเป็นรองประธานกรรมการ ๔) ร่าง พ.ร.บ.โฉนดชุมชน พ.ศ.... ยังไม่มีความก้าวหน้าในเรื่อง การตรากฎหมาย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีคณะกรรมการยกร่าง พ.ร.บ. โฉนดชุมชน พ.ศ... และยังไม่มีหน่วยงานใดมีหน้าที่ ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวตามกฎหมาย ๕) ปั จ จุ บั น คณะรั ฐ มนตรี มี ก ารแต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการจั ด การ ที่ดินเชิงระบบ ลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์ที่ดิน และทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕ ความคืบหน้าการดำเนินงาน (ข้อ ๓.๒) กระบวนการส่งเสริมการจัดทำโฉนดชุมชนในขณะนี้ดำเนินการ โดยชุมชนที่มีองค์กรพัฒนาเอกชนสนับสนุน รัฐยังไม่ได้มีบทบาทส่งเสริม และยังไม่ได้จัดทำแนวเขตแต่อย่างใด ๖

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


ข้อ ๔ ขอให้ คสป. เสนอต่อ ครม. และรัฐสภาเพื่อดำเนินการแก้ไข ปัญหาการกระจายการถือครองที่ดินที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้ ๔.๑ จำกัดขนาดการถือครองที่ดิน โดย ๔.๑.๑ สนับสนุนการจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า โดยให้เร่งรัดการออกกฎหมายการจัดเก็บภาษี ที่ดินให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว ๔.๑.๒ ให้มีก ฎหมายจำกั ด การถื อ ครองที่ ดิ น รายละ ไม่เกิน ๕๐ ไร่ สำหรับส่วนทีเ่ กินให้มมี าตรการ จัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าตามประเภทของ การใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทั้งนี้ให้มีการศึกษา เกีย่ วกับการกำหนดอัตราภาษีทเี่ หมาะสมสำหรับ แต่ละประเภทของการใช้ประโยชน์ตอ่ ไป และ ศึกษาขอบเขตการใช้ทดี่ นิ ในแต่ละประเภทด้วย ความคืบหน้าการดำเนินงาน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง : ได้มีการเสนอ พ.ร.บ. ภาษีที่ดิน และสิ่งปลู กสร้ า ง สู่ ก ารพิ จ ารณาของคณะรั ฐ มนตรี แต่ ค ณะรั ฐ มนตรี ไม่ยืนยันร่างเกิน ๑๘๐ วันจึงตกไปตามกฎหมาย ซึ่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวมีเรื่อง อัตราภาษี ก้ า วหน้าแต่เป็นภาษีอัตราก้าวหน้าตามราคาที่ดิน ไม่ใช่ภาษี ก้าวหน้าเชิงปริมาณการถือครอง ซึง่ ขณะนีเ้ ตรียมเสนอให้รฐั มนตรีกระทรวง การคลังพิจารณาเห็นชอบ ก่อนยืน่ ร่างเข้าสูก่ ารประชุมคณะรัฐมนตรี อีกครัง้ ภาคประชาสังคม : ให้ข้อสังเกตว่าควรมีการศึกษาเรื่องภาษีอย่าง จริงจัง หากสังคมไทยจะมีภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า จะก้าวหน้าตามขนาด การถือครองที่ดิน หรือก้าวหน้าตามมูลค่าการถือครองที่ดิน หรือการใช้ ประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อม หากมีการเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้าแล้วจะ ช่วยเหลือผู้คนในสังคมไทยได้กว้างขวางมากขึ้น รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


๔.๒ มอบหมายให้ชมุ ชนท้องถิน่ ดำเนินการปรับปรุงฐานข้อมูล ทีด่ นิ และประเมินราคาทีด่ นิ ใหม่ให้ตรงกับการใช้ประโยชน์ทดี่ นิ โดยให้ประชาชน และชุมชนมีสว่ นร่วมในการจัดทำ รวมทัง้ ให้มกี ารเปิดเผยข้อมูลการถือครองที่ดิน ทั่วประเทศภายในเวลา ๑ ปี ๔.๓ ให้กระทรวงการคลังศึกษาเพิม่ เติม เรือ่ งการจัดเก็บภาษี มูลค่าส่วนเพิม่ ของทีด่ นิ ตลอดจนการจัดให้มกี ฎหมายภาษีมลู ค่าส่วนเพิม่ ภายใน เวลา ๑ ปี ๔.๔ สนับสนุนการจัดตั้งธนาคารทีด่ นิ โดยขอให้รฐั บาลเร่งรัด ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตัง้ สถาบันบริหารจัดการธนาคารทีด่ นิ (องค์การมหาชน) พ.ศ.…. ที่เสนอโดย สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สามารถมีผลบังคับ ใช้โดยเร็วภายในเวลา ๑ ปี ความคืบหน้าการดำเนินงาน มี ก ารออกพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสถาบั น บริ ห ารจั ด การที่ ดิน (องค์การมหาชน) พ.ศ.๒๕๕๔ ทีเ่ สนอโดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ และมีผลบังคับใช้วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๔ ซึง่ ขณะนีอ้ ยู่ระหว่างการพิจารณาแต่งตัง้ คณะกรรมการสถาบัน บริหารจัดการธนาคารที่ดิน คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป : โดยคณะกรรมการการจัดสรร ทรัพยากรเพื่อความเป็นธรรม ดำเนินการศึกษาเรื่องแนวทางการจัดตั้ง ธนาคารที่ดิน (ทางเลือก) ซึ่งขณะนี้ได้มีการศึกษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และ มีข้อเสนอทางเลือกรูปแบบในการบริหารจัดการธนาคารที่ดิน จำนวน ๕ ทางเลือก คือ ทางเลือกที่ ๑ มีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร มีสำนักงาน ภาคและสำนักงานจังหวัด ซึ่งผู้ที่ต้องการที่ดินในจังหวัดนั้นๆ มาติดต่อกับ ๘

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


สำนักงานจังหวัดโดยตรง ทางเลือกที่ ๒ มีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร แล้วมีสาขา คือ สหกรณ์การเกษตรที่สมัครเข้าเป็นสาขาของธนาคารที่ดิน ในพื้นที่ของ จังหวัดต่างๆ ทัว่ ประเทศตามกฎเกณฑ์ทคี่ ณะกรรมการธนาคารทีด่ นิ กำหนด ดำเนินการให้แก่ผู้ต้องการที่ดินที่เป็นสมาชิกของแต่ละสหกรณ์การเกษตร นั้น ทางเลือกที่ ๓ มีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร แล้วมีสาขา คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สมัครเข้าเป็นสาขาของธนาคารที่ดินใน พื้นที่ของจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศตามกฎเกณฑ์ที่คณะกรรมการธนาคาร ที่ดินกำหนด รับดำเนินการให้แก่ผู้ไร้ที่ดินทำกิ น ที่ มี ภู มิ ลำเนาอยู่ในเขต องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น นั้นๆ ทางเลือกที่ ๔ มีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร แล้วมีสาขา คือ ชุมชน/กลุ่ ม ออมทรัพย์ ที่กระจายอยู่จำนวนมากทั่วประเทศที่สมัคร เข้าเป็นสาขาของธนาคารที่ดินตามกฎเกณฑ์ที่คณะกรรมการธนาคารที่ดิน กำหนด รับดำเนินการให้แก่ผู้ไร้ที่ดินทำกินเป็นสมาชิกของชุมชน/กลุ่ม ออมทรัพย์นั้นๆ ทางเลือกที่ ๕ มีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร ไม่มีการจัดตั้ง สาขาในต่างจังหวัด แต่จ้างหน่วยงานต่างๆ ที่รับดำเนินการแทนในลักษณะ ตั ว แทนของธนาคารที่ ดิ น ตามกฎเกณฑ์ ที่ ค ณะกรรมการธนาคารที่ ดิ น กำหนด ซึ่งในปัจจุบันอาจจะเป็นธนาคารของรัฐ ธนาคารพาณิชย์ สหกรณ์ อปท. ชุมชนกลุ่มออมทรัพย์ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ดินแปลงที่เกษตรกรต้องการ รับดำเนินการให้แก่ผู้ต้องการที่ดิน จากการประชุมการติดตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๓๐-๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕ มีรายงานความคืบหน้า เพิ่มเติมดังนี้ รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


๑. เรื่องสถาบันธนาคารที่ดิน การดำเนินการของภาคราชการอาจ จะเกิดความล่าช้ า และไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาในพื้นที่ จึงได้มีการ รวมกลุ่มดำเนินการเรื่องธนาคารที่ดินของภาคประชาชน โดยการระดมทุน จากสมาชิกและขอรับบริจาค เพือ่ ทีจ่ ะไปซือ้ ทีด่ นิ นำมาจัดตัง้ เป็นพืน้ ทีน่ ำร่อง ของภาคประชาชนในเรือ่ งของการจัดการทีด่ นิ และการจัดทำโฉนดชุมชน ๒. เรื่องยกร่าง พ.ร.บ. โฉนดชุมชน ที่ต้องเสนอผ่านทางสภาฯ ขณะนี้เริ่มมีการรวมกลุ่ม เพื่อเชิญภาคส่วนต่างๆ มาปรึกษาหารือ เตรียม การยกร่างในส่วนของภาคประชาชนแล้ว ๔.๕ สนับสนุนการแก้ไขพระราชบั ญ ญั ติ ก ารเช่ า ที่ ดิ นเพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ.๒๕๒๔ โดยขอให้กระทรวงมหาดไทยเร่งรัดการดำเนินงาน ดังกล่าว ๔.๖ ขอให้เร่งรัดการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีให้เกิด การสิ้นสภาพนิคมสหกรณ์ในเขตชุมชน มติที่ ๒ การปฏิรูปโครงสร้างการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง ข้อ ๑ เห็นชอบในหลักการที่ว่า “ทรัพยากรทะเลและชายฝั่งเป็น ทรัพยากรสาธารณะของชาติ ที่ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงโดยชอบ การบริหาร จัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง ต้องตั้งอยู่บนหลักธรรมาภิบาล สอดคล้อง กับรัฐธรรมนูญ ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนร่วมกันบริหารจัดการให้สอดคล้องกับวิถชี วี ติ ชุมชน โดยมุง่ ประโยชน์ ของคนส่วนใหญ่ มุ่งแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความ เป็นธรรมทางสังคม บนหลักความมั่นคงของระบบนิเวศ และความหลากหลาย ๑๐

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


ทางชีวภาพ ซึ่งมีความสำคัญต่อเสถียรภาพของระบบนิเวศทางทะเล และเพื่อ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ความคืบหน้าการดำเนินงาน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง : อยู่ระหว่างติดตามเอกสาร มติที่ส่งคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการตามรายละเอียดของมติสมัชชาปฏิรูป ระดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีผู้รับผิดชอบดำเนินการ โดยตรง แต่เห็นชอบในหลักการทั่วไป ข้อ ๒ ขอให้คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปเสนอ ให้คณะรัฐมนตรีมี มติย กเลิ ก แผนพั ฒ นาชายฝั่ ง ทะเลทั่ ว ทุ ก ภาค หรื อ โครงการพิ เ ศษใดๆ ที่ กำหนดไว้ และที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และขอให้มีการเร่งรัดการ ดำเนินการตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๒ เรื่องแผน พัฒนาที่ยั่งยืนบนฐานการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมกรณี ภาคใต้ รวมทั้งจัดให้มีกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลทั่วทุกภาค ของประเทศไทยขึ้นใหม่ ด้วยกระบวนการที่มีส่วนร่วมจากผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประชาชนในพื้นที่ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเศรษฐานะ และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มีการศึกษาผลกระทบทาง ด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม ความคืบหน้าการดำเนินงาน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง : ดำเนิ น การเผยแพร่มติ ให้กับเครือข่ายภาคีบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ รับผิดชอบ ๒๔ จังหวัด เครือข่ายภาคใต้ : รณรงค์เผยแพร่ให้กับเครือข่ายภาคประชาชน

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๑๑


ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ให้ทราบมติสมัชชาปฏิรูป (ขับเคลื่อนในระดับจังหวัด และภาคใต้) เครือข่ายรักษ์อ่าวไทยตอนบน ๗ จังหวัด : สัมมนาคัดค้าน นโยบายการถมทะเลและแผนพัฒนาชายฝัง่ เมือ่ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ จ.เพชรบุรี มีมติเห็นชอบร่วมกันคัดค้าน “ปฎิบัติการเพชรเกษม ๔๑” : หยุดแผนการพัฒนาอุตสาหกรรม และการทำแบบเลื่อนลอยในภาคใต้ หมายเหตุ ปัจจุบันยังไม่มีการยกเลิกแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลทั่วทุกภาค หรือ โครงการพิเศษใดๆ และหน่วยงานทางราชการให้ความเห็นว่า งบประมาณ ของบางโครงการมีอยู่แล้ว เช่น กรมประมง และกระทรวงคมนาคม การ ยกเลิกแผนดังกล่าวควรจะมีการศึกษาอย่างละเอียด (เกรงว่าจะไม่สามารถ ยกเลิกได้ทนั เวลา เนือ่ งจากมีหน่วยงานทีม่ แี ผนและงบประมาณลงไปปฏิบตั งิ าน ในพื้นที่) ข้อ ๓ ขอให้คณะกรรมการสมัชชาปฏิรปู เสนอต่อรัฐบาลเพื่อกำหนด และมีแผนงานและมาตรการที่เข้มข้น จริงจัง มีระยะเวลา รวมทั้งงบประมาณ ที่ชัดเจน ในการจัดการที่เกี่ยวกับทรัพยากรทะเล และชายฝั่ง ดังนี้ ๓.๑ เร่งตรวจสอบเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย กำหนดพื้นที่สาธารณะที่ห้ามออกเอกสารสิทธิ์ ประกาศยกเลิก การออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินที่น้ำทะเลท่วมถึงถาวร และยกเลิกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ทิ้งร้างเนื่องจากถูกกัดเซาะลงทะเลให้เป็นที่สาธารณะ โดยให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นและชุมชนร่วมกันบริหารจัดการ

๑๒

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


๓.๒ ยกเลิก ไม่ต่อสัญญาที่ดินของรัฐที่ให้เอกชนเช่า ยึดคืน พื้นที่สาธารณะ สันทราย ชายหาด ถนน ทะเล ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน ๓.๓ ห้ามปิดกั้นชายหาดสาธารณะและยึดครองทะเลหรือ ทรัพยากรทะเลและชายฝั่งโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และมีบทลงโทษทางอาญา ที่สูงขึ้น ๓.๔ ให้นโยบายการกัดเซาะชายฝั่ ง เป็ น นโยบายแห่ งชาติ จั ด ตั้ ง กองทุ น ชดเชยการป้ อ งกั น การกั ด เซาะชายฝั่ ง ให้ กั บ ชุ ม ชนที่ ไ ด้ รั บ ผล กระทบจากการกัดเซาะชายฝั่ง ให้ก่อสร้างระบบป้องกันแบบอ่อน ที่สอดคล้อง กับธรรมชาติ และให้หยุดการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแบบอื่น ไว้ก่อน จนกว่าจะมีแผนและผลการศึกษาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และเป็นที่ ยอมรับตามหลักวิชาการ ๓.๕ กำหนดเขตถอยร่นจากชายฝั่งเป็นเขตห้ามและควบคุม การก่อสร้างที่จะก่อผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล จั ด ทำพื้ น ที่ คุ้ ม ครอง ระบบนิเวศชายฝั่งและทะเล ความคืบหน้าการดำเนินงาน ยังไม่มีความคืบหน้าและยังมีข้อจำกัดในการดำเนินงาน ๓.๖ ให้ เร่ ง รั ด ประกาศเขตพื้ น ที่ คุ้ ม ครองชายฝั่ ง ทะเลให้ ครอบคลุมพื้นที่สำคัญๆ ตามผลการศึกษาทางวิชาการของชายฝั่งทะเลโดยเร็ว โดยชี้ แจงให้ ป ระชาชนและท้องถิ่น ให้เข้าใจในมาตรการจั ด การของพื้นที่ คุ้มครอง และให้มีการจัดทำผังการใช้พื้นที่ชายฝั่งทะเล ที่ผ่านกระบวนการมี ส่วนร่วมจากชุมชนท้องถิ่นอย่างชัดเจนและครอบคลุม โดยก่อนประกาศใช้ ต้องแจ้งรูปแบบที่เป็นผลสรุปให้ชุมชนทราบก่อน รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๑๓


ความคืบหน้าการดำเนินงาน เครือข่ายประมงและพื้นที่ชายฝั่ง : ผลักดันร่วมกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ประกาศพื้นที่คุ้มครองในหลายพื้นที่ โดยเป็นบทบัญญัติท้องถิ่นที่ บัญญัตภิ ายใต้กฎหมายหลัก (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ทีใ่ ห้อำนาจท้องถิน่ ในการบัญญัตแิ ละบังคับใช้ได้ในท้องถิน่ นั้นๆ เช่น ต.โคกขาม สมุทรสาคร โดยห้ามเรืออวนรุน เรือคราดหอย ฯลฯ ๓.๗ เร่งรัดผลักดันกฎหมายส่งเสริมบริหารจัดการทรัพยากร ทะเลและชายฝั่ง โดยนำร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งฉบับ ๑๓๓ มาตรา ที่ประชาชนร่วมกันร่างนำเข้าสู่คณะรัฐมนตรี พิจารณาออกกฎหมายบังคับใช้โดยเร่งด่วนเพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ในการรั บ รองสิ ท ธิ ชุ มชน ในการจัดการทรัพยากรทะเลอย่ า งยั่ งยืน ตามที่ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ รวมทั้งมีการควบคุมมิให้มีการปล่อย น้ำเสียและของเสียลงทะเล และมีการโซนนิ่งเขตอุตสาหกรรมเขตชายฝั่งทะเล เขตท่องเที่ยว เขตอนุรักษ์ มีโฉนดชุมชนแก้ไขปัญหาที่ตั้งถิ่นฐานและทำกินของ ชุมชนชายฝั่ง ความคืบหน้าการดำเนินงาน เครือข่ายประมงและพืน้ ทีช่ ายฝัง่ : ดำเนินการยืนยันเสนอกฎหมาย เพื่อให้รัฐบาลนำเข้าสู่สภาฯ อยู่ในช่วงดำเนินการ สมาคมสมาพั น ธ์ ช าวประมงพื้ น บ้ า นแห่ ง ประเทศไทย และ องค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรประมง : ได้ ด ำเนิ น การจั ดเวทีสัมมนาระดับภาคเพื่อแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ ระดม ความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. เพือ่ ให้ พ.ร.บ. ที่ เ กี่ ย วข้ อ งมีสาระ เนื้อหาที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากร ๑๔

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


ทะเลและชายฝั่งบนฐานระบบนิเวศ การรับรองสิทธิชุมชน ส่งเสริมการ บริหารจัดการทรัพยากรฯ ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมการบริหารจัดการ ทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง และกฎหมายประมงแห่งชาติ พ.ศ....... ซึ่ง จากการประชุมได้มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. จาก ๑๓๓ มาตรา ที่คณะ กรรมการกฤษฎีกาตีความและให้ข้อท้วงติงมา ทางเครือข่ายฯ ได้ปรับปรุง แก้ไข เหลือประมาณ ๕๒ มาตรา ขณะนี้ได้เห็นชอบ และอยู่ระหว่างการ เข้าชือ่ ของประชาชนเสนอกฎหมาย ๑๐,๐๐๐ รายชือ่ เพือ่ ยืน่ เสนอกฎหมาย คู่ขนาน สภาพัฒนาการเมือง ภายใต้สถาบันพระปกเกล้า : ได้นำร่าง กฎหมายดังกล่าวไปขยายผลภารกิจเรื่องการให้สิทธิพลเมือง ซึ่งมีการจัด ประชุมในรูปแบบต่างๆ หลายพื้นที่

๓.๘ นำร่าง พ.ร.บ. การประมง พ.ศ. ... ฉบั บ ใหม่ เข้าสู่ การประชุมสภาผู้แทนราษฎรในการประชุมปัจจุบัน หรือโดยเร็วที่สุด รวมทั้ง จัดสรรเงินทุนหมุนเวียน สนับสนุนกลุ่มประมงพื้นบ้าน ความคืบหน้าการดำเนินงาน คณะรัฐมนตรี : เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ. การประมง พ.ศ.... ตามที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕ ขณะนีก้ ำลังเสนอคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร เพือ่ กำหนด วาระพิจารณากฎหมาย ของรัฐสภา เครือข่ายภาคประชาชน : เสนอ ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายประมงของภาคประชาชน โดยใช้ช่องทาง ๑๐,๐๐๐ รายชื่อ

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๑๕


๓.๙ มอบหมายให้หน่วยงานราชการที่ดูแลในเรื่องการรักษา ผลประโยชน์ของชาติทางทะเลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ที่มีความพร้อมเป็น หน่วยงานหลักในการบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกันกับหน่วยงานราชการอื่น ที่เกี่ยวข้อง โดยให้ มี อำนาจในการบังคับบัญชา และมีอำนาจในการบังคับใช้ กฎหมายในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในทะเล และจัดตั้งองค์กร ภาคีที่มคี วามพร้ อ มทางด้านบุคลากรให้มีหน้าที่ศึกษา ค้นคว้า และจัดการ ความรู้เกี่ยวกับทะเล รวมทั้งจัดทำยุทธศาสตร์ทะเล เพื่อเป็นแนวทางในการ แสวงประโยชน์ และปกป้องการใช้ทะเลอย่างยั่งยืน ความคืบหน้าการดำเนินงาน สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ : มีการศึกษาเรื่องการจัดตั้ง หน่วยยามฝั่งเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางทะเลของชาติ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง : ได้มีการจัดตั้งและส่งเสริม ให้มีคณะทำงานเครือข่ายภาคีบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในพื้นที่เป้าหมายรับผิดชอบ ๒๔ จังหวัด ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างกำลัง ดำเนินการ ๓.๑๐ ใช้แผนแม่บทการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง และแผน แม่บททะเลไทย ในการบริหารจัดทรัพยากรทะเลและชายฝัง่ อย่างจริงจัง ภายใน ระยะเวลา ๓-๕ ปี โดยมีการร่วมมือกับองค์กรภาคีที่เกี่ยวข้อง ความคืบหน้าการดำเนินงาน กรมประมง : ได้ดำเนินการจัดทำแผนแม่บทการจัดการทะเลไทย โดยดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๒ - ๒๕๕๕ ขณะนี้ได้ดำเนินการระยะที่ ๑ แล้ว รวมทั้งสิ้น ๕๐ โครงการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการขั้นที่ ๒ ๑๖

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


ปี พ.ศ.๒๕๕๖ - ๒๕๕๙ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝัง่ : ได้ดำเนินการจัดทำแผนการ จัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่งเป็นรายทรัพยากร โดยการมีส่วนร่วมของ ประชาชน แต่ยงั ไม่มแี ผนการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝัง่ ในภาพรวม เครือข่ายประมงพืน้ บ้านภาคใต้ : ได้จดั ทำโครงการปฏิรูปโครงสร้าง การจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อยู่ระหว่างดำเนินโครงการ คณะกรรมการการจัดสรรทรัพยากรเพื่อความเป็นธรรม : ได้ ทำการศึกษาการบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีการกัดเซาะ ข้อ ๔ สมาชิกสมัชชาปฏิรูป องค์กรชุมชน และเครือข่ายภาคีการ พัฒนา จะร่วมกันดำเนินการสนับสนุนการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ทรัพยากร ทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน ด้วยการสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากร ทะเลและชายฝั่งของชุมชน อปท. และภาคีที่เกี่ยวข้อง การที่จะไม่บริโภค สินค้าหรือการใช้บริการธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเล ที่ละเมิดต่อกฎหมาย ละเมิดสิทธิชุมชน ไม่ใช้บริการที่พักของผู้ประกอบการ ท่องเที่ยวที่ครอบครองที่ดินโดยมิชอบ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทรัพยากรทะเลและ ชายฝั่ง ความคืบหน้าการดำเนินงาน ทุกหน่วยงานภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม และภาคีเครื อ ข่ ายภาคประชาชน : ได้มีการดำเนิ นการร่วมกันในการ สนับสนุน การอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ทรัพยากรทะเลและชายฝั่งอย่าง ยั่งยืน

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๑๗


ข้อ ๕ ขอให้ส่วนราชการ ชุมชน องค์กรพั ฒ นาเอกชน และภาค เอกชนดูแลรักษาทรัพยากรทางทะเล โดยกระบวนการประชาชนมีส่วนร่วม ใช้ทรัพยากรได้อย่างยั่งยืน โดยจัดให้มีโครงการหรือพื้นที่นำร่องโครงการ หรือ พื้นที่นำร่องด้านการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง เพื่อเป็นกรณีตัวอย่าง ในการนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป ความคืบหน้าการดำเนินงาน คณะกรรมการการจัดสรรทรัพยากรเพื่อความเป็นธรรม : ได้มี การจัดทำโครงการ Best Practices การบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่ อย่างมีสว่ นร่วม กรณีจงั หวัดตรัง และจังหวัดตราด ภายใต้โครงการขับเคลื่อน การปฏิรปู การจัดการทรัพยากรอย่างยัง่ ยืน เพือ่ ก่อให้เกิดการสร้างสิทธิชมุ ชน สังคมได้รบั ประโยชน์จากการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรมมากขึน้

มติที่ ๓ การคืนความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนในกรณีทดี่ นิ และทรัพยากร

ข้อ ๑ เห็นด้วยและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของกระทรวง ยุติธรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิรูปที่ดินและทรัพยากร และขอให้ คณะรัฐมนตรีถือเป็นนโยบายสำคัญ และมีมติเห็นชอบการดำเนินการดังกล่าว ข้อ ๒ ให้คณะกรรมการสมัชชาปฏิรปู เสนอต่อคณะรัฐมนตรี รัฐสภา คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พรรคการเมืองต่างๆ ประธานศาลฎีกา คณะ กรรมการตุลาการ อัยการสูงสุด และองค์กรที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการ ดังนี้ ๒.๑ ให้ออกพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม และพิจารณา ปรับปรุงพระราชบั ญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย ค่าทดแทน และค่าใช้จ่าย ๑๘

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


แก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๔ โดยให้มีกลไกการพิจารณาที่มีความเป็น อิสระ ยืดหยุ่น คล่องตัว ประชาชนเข้าถึงง่าย และมีทรัพยากรเพียงพอ ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงยุติธรรม : เตรียมปรับปรุงระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้ ว ยกองทุ น ยุ ติธรรม พ.ศ.๒๕๔๙ และปรับปรุ ง พ.ร.บ. ค่ า ตอบแทน ผู้เสียหาย ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๔ และนำ กระบวนการยุตธิ รรมชุมชนมาใช้แก้ไขข้อพิพาทคดีเกีย่ วกับทีด่ นิ และทรัพยากร คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป : โดยคณะทำงานเครือข่ายวิชาการฯ ร่วมกับสำนักงานปฏิ รู ป (สปร.) เตรี ย มการจั ด เวที ภู มิ ภ าค และสมัชชา เฉพาะประเด็ น เรื่องการปฏิรูปกองทุนยุติธรรม (พิ จ ารณาร่ า ง พ.ร.บ. กองทุนยุติธรรม พ.ศ....) ภายในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕ ๒.๒ ให้เกิดการปฏิรปู กลไกการทำงานในกระบวนการยุตธิ รรม ภายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) โดยนำกระบวนการพิจารณาคดีที่หลากหลาย โดยไม่ใช้ระบบกล่าวหามาใช้ เช่น การใช้ระบบไต่สวนทั้งระบบ (กฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาและกฎหมาย วิธีพิจารณาคดีแพ่ง) การเดินเผชิญสืบของผู้พิพากษา การพิจารณาหลักฐาน บุคคล หรือหลักฐานทางประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ การใช้กระบวนการยุตธิ รรมชุมชน หรือการจัดตั้งองค์กรอิสระที่มีความชำนาญในข้อพิพาทคดีเกี่ยวกับที่ดินและ ทรัพยากร เพื่อทำหน้าที่ดูแลที่ดินและทรัพยากร โดยกระตุ้นให้กลไกต่างๆ ที่มี อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการพิจารณาคดีทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ บนฐานของความเป็นธรรม ๒.๓ ให้มีการจัดตั้งศาลเฉพาะ เพื่ อ พิ จ ารณาพิ พากษาคดี เกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากร โดยใช้ระบบไต่สวนที่มีกระบวนการพิจารณาที่ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๑๙


ความคืบหน้าการดำเนินงาน ๑) ในปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดดำเนินการเรื่องศาลเฉพาะ แต่ที่ ประชุมมีขอ้ เสนอว่า ถ้าจะผลักดันเรื่องจัดตั้งศาลเฉพาะ น่าจะเป็นหน้าที่ ของสำนั ก งานศาลยุติธรรม หรือสำนักงานกิจการยุ ติ ธ รรม (กระทรวง ยุติธรรม) ซึ่งการจัดตั้งแผนกที่พิจารณาเรื่องที่ดินและทรัพยากรน่าจะตรง กว่าจัดตั้งศาลใหม่ เช่น ตัวอย่างศาลปกครองแผนกคดีสิ่งแวดล้อม อย่างไร ก็ตามควรมีการศึกษายกร่างกฎหมาย วิธีการพิจารณาคดีความที่ดินและ ทรัพยากรฯ ๒) สปร.ประสานความร่วมมือกับคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ๓) สปร. สนับสนุนให้เครือข่ายปฏิรูปที่ดินดำเนินโครงการศึกษา เชิงปฏิบัติการ เพื่อค้นหาแนวทางปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เรื่องคดี ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ เรื่อง “กระบวนการยุ ติ ธรรม ปัญหา และ แนวทางแก้ไข กรณีคดีความเรื่องที่ดิน และทรัพยากรธรรมชาติ” ซึ่งใน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินงานรวบรวมกรณีพิพาทและคดีที่ดินจาก แหล่งข้อมูลต่างๆ เลือกกรณีปัญหาเพื่อศึกษาเชิงลึก ๒.๔ ให้ คสป. เสนอต่อ ครม. ให้กระทรวงมหาดไทยและ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม รวมทัง้ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง และ ภาคีตา่ งๆ เป็นเจ้าภาพในการแก้ไขกฎหมาย เรือ่ งกระบวนการออกเอกสารสิ ทธิ์ รวมไปถึงยกเลิกและปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่เป็นธรรม หรือที่เป็นอุปสรรคในการคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชน เช่น กฎหมาย ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินสาธารณะ อุทยานฯ กฎหมายป่าไม้ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๑ เพื่อให้สอดคล้องกับ ข้อเท็ จ จริ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น รวมทั้งฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ อ ย่ า งเป็ น ธรรม โดย ๒๐

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


ดำเนินการให้สำเร็จเป็นรูปธรรม ภายใน ๑๘๐ วัน ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : ได้ดำเนินงาน ในการสำรวจเพื่อปรับปรุง โดยการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมมาประกอบการ พิจารณา แต่ภาคประชาชนยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกับการใช้ภาพถ่าย ดาวเทียม ๒.๕ ให้มีการสำรวจพื้นที่ในส่วนที่อยู่อาศัย และพื้นที่ทำมา หากินตามข้อเท็ จ จริงที่จะออกเอกสารสิทธิ์ให้ เพื่อให้มีความชัดเจนในการ ครอบครองในการบริหารจัดการพื้นที่ร่วมกันอย่างเหมาะสมตามข้อเท็จจริง และแก้ไข พ.ร.บ. หรือกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับที่ดินที่ยังไม่ปรับปรุง โดยการใช้ กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม : แจ้งว่าการสำรวจ ที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินเป็นงานปกติที่ได้มีการดำเนินการอยู่แล้ว ๒.๖ ดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดื อดร้อนของประชาชน ในกรณีที่ดินที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมอย่างเร่งด่วน โดยพิจารณาแก้ปัญหาเป็น แต่ละกรณี ตามกลไก และกระบวนการที่กฎหมายกำหนด ดังนี้ ๒.๖.๑ คดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ให้มีการ พักโทษ ลดโทษ และคุมประพฤติ นอกจากนี้ ให้ระงับ และทบทวนการคิดค่าเสียหายในกรณี คดีโลกร้อน รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๒๑


๒.๖.๒ คดีที่ดินที่อยู่ระหว่า งการพิ จ ารณา ให้ มี ก าร จำหน่ า ยคดี ชั่ ว คราว อนุ ญ าตให้ ป ระชาชน ผู้ต้องหา และครอบครั ว อยู่ อ าศั ย ทำกิ นใน ที่ดินเดิม โดยในระยะเร่งด่วนขอให้สามารถใช้ บุคคล หรือกองทุนยุ ติ ธ รรมในการค้ ำ ประกัน ตัวแทนหลั ก ทรั พ ย์ อี ก ทั้ ง เน้ น การพิ จ ารณา พฤติกรรมของผู้ต้องหาแทนการใช้หลักทรัพย์ ค้ำประกัน รวมทั้งให้มีการตรวจสอบการออก เอกสารสิทธิ์ในที่ดินด้วย โดยตั้งคณะกรรมการ กลางที่ มี ส่ ว นร่ ว มจากชุ ม ชนตรวจสอบให้ แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน ๒.๖.๓ กรณีปัญหาที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ให้ระงั บ การดำเนิ น การใดๆ ที่ เ ป็ น การเพิ่ม ความเดือดร้อน และความรุนแรงกับประชาชน โดยให้ ร ะงั บ การจั บ กุ ม ประชาชนที่ อ ยู่ อ าศั ย และทำกิ น ในพื้ น ที่ ที่ มี ข้ อ พิ พ าทที่ มิ ใ ช่ ก าร แผ้วถางหรือบุกเบิกป่าใหม่ รวมถึงระงับการ ขยายพืน้ ทีท่ กี่ ำลังจะเป็นข้อพิพาทระหว่างชุมชน กับโครงการพั ฒ นาของภาครัฐ หรื อ เอกชน จนกว่าจะมีการแก้ไขปั ญ หา หรื อ มี ข้ อ พิ สูจน์ เสร็จสิน้ และพืน้ ทีท่ กี่ ำลังดำเนินการโฉนดชุมชน ทั้งนี้ให้ ค ำนึ ง ถึ ง กฎหมายผั ง เมือง ในส่วนของ การวางผังเมืองรวมที่ครอบคลุมทั้งชนบทและ เมือง ๒๒

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


ความคืบหน้าการดำเนินงาน สปร. สนับสนุนเครือข่ายปฏิรูปที่ดิน ทำการศึกษาวิจัย โครงการ “ศึกษาเชิงปฏิบัติการเพื่อค้นหาแนวทางการปฏิรูปกระบวนยุติธรรม เรื่อง คดีด้านที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ” พร้อมการขับเคลื่อนของเครือข่าย เพื่อให้ยกเลิกการคิดค่าเสียหายในคดีโลกร้อน เพราะไม่สอดคล้องตามหลัก วิชาการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเขียนคำร้องเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เครือข่ายภาคประชาชน : มีการขับเคลื่อนจากเครือข่ายเพื่อให้ ดำเนินตามข้อ ๒.๖.๑ ถึง ๒.๖.๓ ที่ดินทำกิน

๒.๗ ขอให้ออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรมผู้ที่บุกรุกป่ากรณีไม่มี

ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงยุตธิ รรม : ได้จดั ทำแนวทางโครงการศูนย์ชว่ ยเหลือลูกหนี้ และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องที่ดิน มติที่ ๔ การปฏิรูประบบประกันสังคมเพื่อความเป็นธรรม ข้อ ๑ ให้รฐั บาล สภาผูแ้ ทนราษฎร วุฒสิ ภา และพรรคการเมืองต่างๆ ร่วมกัน เร่งดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ. ประกันสังคมให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปี ในประเด็นต่อไปนี้ ๑.๑ ด้านความครอบคลุม ให้ขยายความครอบคลุมไปถึง แรงงานทุกคนทั้งแรงงานในระบบและนอกระบบ รวมทั้งแรงงานข้ามชาติ ทั้งนี้ ความครอบคลุมในเรื่องสิทธิประโยชน์ของกลุ่มแรงงานข้ามชาติจำเป็นต้อง พิจารณาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและการทำงานของกลุ่มนี้ด้วย รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๒๓


๑.๒ ด้านกลไกการบริหาร ๑.๒.๑ ให้สำนักงานประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ ภายใต้ การกำกับของรัฐ โดยมี เ ลขาธิ ก ารที่ได้รับการ แต่งตั้งโดยตรงจากคณะกรรมการประกันสังคม ๑.๒.๒ ให้มีระบบและกลไกการสรรหาคณะกรรมการ ประกันสังคม ทัง้ ฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายผูแ้ ทนผูป้ ระกันตน และผูท้ รงคุณวุฒทิ ชี่ ดั เจน โปร่งใส และมีสว่ นร่วม อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกตั้ง ผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนจากผู้ประกันตนโดยตรง ๑.๓ ด้า นกลไกการลงทุ น ให้ มี ค ณะกรรมการลงทุน ที่มี องค์ประกอบทั้งฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายผู้แทนผู้ประกันตน และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มี คุณสมบัติเหมาะสม กระบวนการได้มา และวาระการดำรงตำแหน่งที่ชัดเจน โปร่งใส ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการเกี่ยวกับการ จัดหาผลประโยชน์ของกองทุน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายประกันสังคม และ แผนการลงทุนที่คณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบ ๑.๔ ให้มกี ารเปิดเผยข้อมูลการประกันสังคม และการดำเนินการ ของกองทุนประกันสังคมต่อรัฐสภาปีละครัง้ และให้ประชาชนทัว่ ไป และผูป้ ระกันตน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยสะดวก และให้มเี วทีรบั ฟังความคิดเห็นจากผู้ประกันตน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ๑.๕ กำหนดเพิ่มเติมใน พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ...... ให้มี คณะกรรมการตรวจสอบการดำเนิ น งานของคณะกรรมการประกั น สั ง คม คณะกรรมการลงทุนและสำนักงานประกันสังคม ทีม่ อี งค์ประกอบทัง้ ฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายผู้แทนผู้ประกันตน และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มาจากการสรรหา โดยให้ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียมีสิทธิเข้าชื่อเสนอถอดถอนคณะกรรมการต่างๆ ได้ ตามหลักฐานเชิง ประจักษ์อย่างเหมาะสม และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ๒๔

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


ความคืบหน้าการดำเนินงาน ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับแก้ไข (ฉบับภาคประชาชน) : อยู่ในระหว่างการรอลำดับในการเข้าสู่การพิจารณาจากสภาฯ ซึ่งขณะนี้ (๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕) ถูกจัดเป็นเรื่องด่วนลำดับที่ ๙ ข้อ ๒ ให้คณะกรรมการประกันสังคมปรับปรุง และพัฒนาระบบ สวัสดิการทางสังคม ยกเว้นด้านสุขภาพสำหรับประชาชนทุกกลุ่มทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพสูงสุด ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการประกันสังคมจั ด ให้ มี ก ารศึ ก ษาและวิ จั ย เรื่องความเป็นธรรม ทั้งการจ่ายเงินสมทบ และการได้รับสิทธิประโยชน์ โดยให้ เป็นการศึกษาจากนักวิชาการผูไ้ ม่มสี ว่ นได้สว่ นเสียใดๆ ทัง้ สิน้ และให้คณะกรรมการ ประกันสังคมมีการนำข้อมูลที่ได้ไปรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกันตน เพื่อใช้ พัฒนาระบบประกันสังคมให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น ข้อ ๔ ให้รัฐบาล และสำนักงานประกันสังคมเร่งดำเนินการนำเงิน สมทบด้านสุขภาพจากผู้ประกันตนไปใช้สำหรับสิทธิประโยชน์อนื่ โดยให้รัฐบาล เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเรื่องสุขภาพสำหรับผู้ประกันตน ข้อ ๕ ให้ คสป. สนับสนุนให้มีการจัดสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็น เรื่องการบริหารจัดการระบบการจัดบริการสุขภาพสำหรับผู้ประกันตน และ การพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ คุณภาพ และมาตรฐานการรักษา และวิธีการ เข้าถึงบริการให้ เ ท่ าเทียมกับระบบประกันสุขภาพอื่นๆ ทั้งนี้ให้เอื้อต่อการ เข้าถึงบริการอย่างมีคุณภาพของผู้ประกันตน รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๒๕


ความคืบหน้าการดำเนินงาน คสป. โดยคณะกรรมการจัดสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็นฯ ร่วมกับ สำนักงานปฏิรูป (สปร.) ได้ดำเนินการจัดเวทีรับฟัง ๔ ภาค ๔ เวที และ จัดสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็น : การบริหารจัดการระบบการจัดบริการ สุขภาพสำหรับผู้ประกันตน เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ กทม. ซึ่งที่ประชุมมีมติดังนี้ ๑. ให้รัฐบาล และสำนักงานประกันสังคม เร่งดำเนินการตามมติ สมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ มติที่ ๔ ข้อ ๔ โดยให้นำเงิน สมทบด้านสุขภาพไปเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่นของผู้ประกันตนภายใน ๖ เดือน ๒. ให้รัฐบาล ๒.๑ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเรื่องสุขภาพของผู้ประกันตน โดยใช้ ระบบภาษีเช่นเดียวกับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ๒.๒ จัดสรรงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวให้กับผู้ประกันตนตาม โครงสร้างอายุให้เท่าเทียมกับผู้มีสิทธิในระบบหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ ๒.๓ ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิในการได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น เมื่อได้รับความเสียหายจากบริการสาธารณสุข ๓. ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รับบริหาร จัดการให้บริการสุขภาพกรณีเจ็บป่วยนอกงานสำหรับผู้ประกันตน ภายใน ๖ เดือน นับตั้งแต่ที่ประชุมสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๕ มี มติรับทราบ ๔. กรณี สปสช. รับโอนการให้บริการสุขภาพ กรณีเจ็บป่วยนอกงาน ของผู้ประกันตน ให้ สปสช.ดำเนินการภายใต้หลักการต่อไปนี้ ๔.๑ จั ด ระบบการให้ บ ริ ก ารด้ า นสุ ข ภาพให้ มี ค วามยื ด หยุ่ น สอดคล้องกับวิถีชีวิตการทำงานของผู้ประกันตน ๒๖

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


๔.๒ ผู้ประกันตนสามารถเลือกใช้บริการจากสถานพยาบาลที่ ตนใช้บริการอยู่เดิม กรณีที่ต้องรับการรักษาต่อเนื่อง ณ วันที่มีการถ่ายโอนภารกิจ ๔.๓ ผู้ประกันตนเลือก หรือเปลี่ยนสถานพยาบาลหลักได้ตาม สิ ท ธิ ใ นระบบหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ ต ามความ เหมาะสม จำเป็นและสอดคล้องกับวิถีชีวิต และที่ตั้งของ สถานที่ทำงาน ๒ ครั้ง/ปี ๔.๔ ยาและเวชภั ณ ฑ์ ต้ อ งมี บั ญ ชี ร ายการยาเดียวกัน และ มาตรฐานการบริการสาธารณสุขที่ผู้ประกันตนได้รับ ต้อง มีคุณภาพและมาตรฐานเดียวกันกับผู้รับบริการในระบบ หลักประกันอื่น โดยเฉพาะสวัสดิการข้าราชการ ๕. ให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ร่วมกับสำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีหน้าที่จัดหาหน่วยบริการทั้งภาครัฐ และภาค เอกชนที่จะเข้าร่วมเป็นหน่วยบริการคู่สัญญา เพื่อร่วมเฉลี่ยความเสี่ยงและ ลดค่าใช้จ่ายในภาพรวม โดยหน่วยบริการคู่สัญญาต้องมีผู้มีสิทธิของทั้งสอง ระบบในสัดส่วนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ และ ดำเนินการภายใน ๖ เดือน ๖. ให้มกี ารจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย ของผูป้ ระกันตน ไว้เช่นเดิม ๗. ให้คงเงินสมทบกองทุนประกันสังคม และนำเงินสมทบด้านบริการ ทางการแพทย์ไปเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านอื่น คือ กรณีชราภาพ ทดแทนการ ขาดรายได้จากกรณีเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีว่างงาน ทุน การศึกษาสำหรับบุตร หรือให้ผู้ประกันตนเลือกสิทธิประโยชน์ได้ตามข้อ ตกลงของผู้ประกันตน ๘. ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) บริหารเรื่อง รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๒๗


หลักประกันสุขภาพ โดยมีตัวแทนสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ตัวแทน นายจ้าง และตัวแทนลูกจ้าง ซึง่ มาจากการเลือกตัง้ ของผูป้ ระกันตนโดยตรง ในสัดส่วนที่เหมาะสม เป็นธรรม โดยคำนึงถึงสัดส่วนของหญิงและชายที่ ใกล้เคียงกันตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ในคณะ กรรมการบริหาร สปสช.ด้วย ๙. ให้ผอู้ ำนวยการสำนักงานปฏิรปู รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชา ปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๓ มติที่ ๕ การสร้างระบบหลักประกันในการดำรงชีพและระบบสังคมที่ สร้างเสริมสุขภาวะแก่ผู้สูงอายุ ข้อ ๑ ให้รัฐบาลกำหนดเป็นนโยบาย และวิ สั ย ทั ศ น์ ร ะยะยาวว่า “สังคมไทย มี ห ลั ก ประกั น การดำรงชี พ ในระดั บ ที่ พ อเพี ย ง และมี ร ะบบ สวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ” ข้อ ๒ ขอให้รัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงการพั ฒ นาสั ง คมและ ความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงการคลังเป็นเจ้าภาพ ร่วมกับกระทรวง ศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิ จ และสังคม แห่งชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับและ ส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย ทำงานร่วมกั บ คณะกรรมการปฏิรูป คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป สภาผู้สูงอายุ องค์กรภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง และผูท้ เี่ กี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อดำเนินการ ดังนี้ ๒๘

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


๒.๑ พัฒนารูปแบบและระบบการเงินการคลังเพือ่ หลักประกัน ในยามสูงอายุที่หลากหลายสำหรับทุกคน ครอบคลุมทั้งระบบบำนาญพื้นฐาน ทีอ่ า้ งอิงเส้นความยากจน การออมในระดับชุมชนและการจัดระบบหลักประกัน ด้านการเงิน โดยกองทุนภาครัฐ และสถาบันการเงินเอกชน โดยรัฐให้การ สนับสนุนทางการเงินแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรอื่นๆ ในระดับ ที่เหมาะสมเป็นธรรมและมีความยั่งยืนในระยะยาวต่อเนื่อง ความคืบหน้าการดำเนินงาน สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภั ย : บริ ษั ท ประกั น ชี วิ ต มี โ ครงการส่ ง เสริ ม การออมด้ ว ยการ ทำประกันชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ เช่น บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต บริษัท อเมริกันอินเตอร์ เนชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (เอไอเอ) เป็นต้น สถาบั น พั ฒ นาองค์ ก รชุ ม ชน (องค์ ก ารมหาชน) : กองทุน สวัสดิการชุมชน กองทุนสัจจะออมทรัพย์ ฯลฯ ๒.๒ พัฒนาระบบสวัสดิการสังคมทีส่ ร้างเสริมสุขภาวะผูส้ งู อายุ โดยให้มีรูปแบบที่หลากหลาย ความคืบหน้าการดำเนินงาน ภายใต้พระราชบัญญัติผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๖ จำนวน ๒๔ มาตรา มีสาระสำคัญ ๔ เรื่อง ได้แก่ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ สิทธิ ผู้สูงอายุ การลดหย่อนภาษี และกองทุนผู้สูงอายุ สำนักนายกรัฐมนตรี : มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนด หน่วยงานรับผิดชอบในการดำเนินงานตาม พ.ร.บ. ผูส้ งู อายุ พ.ศ.๒๕๔๖ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข : การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่จัดไว้ รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๒๙


กระทรวงศึกษาธิการ : การศึกษา การศาสนา และข้อมูลข่าวสารที่เป็น ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต กระทรวงวัฒนธรรม : การจัดบริการเพื่อ อำนวยความสะดวกด้านพิพิธภัณฑ์โบราณสถาน หอจดหมายเหตุ และการ จัดกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม กระทรวงแรงงาน : การ ประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม กระทรวงคมนาคม : การอำนวย ความสะดวกและความปลอดภัยโดยตรงแก่ผู้สูงอายุในยานพาหนะ และ การช่วยเหลือด้านค่าโดยสารยานพาหนะ กระทรวงยุติธรรม : การให้คำ แนะนำ ปรึกษาดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องในทางคดี กระทรวงมหาดไทย : การอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยโดยตรงแก่ผู้สูงอายุในอาคาร การสงเคราะห์ เ บี้ ย ยั ง ชี พ ตามความจำเป็ น อย่ า งทั่ ว ถึ ง และเป็ น ธรรม กระทรวงการท่องเทีย่ วและกีฬา : การจัดบริการเพือ่ อำนวยสถานทีท่ อ่ งเที่ยว และการจัดกิจกรรมกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ : การพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ทางสังคม การรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายหรือชุมชน การอำนวยความ สะดวกและความปลอดภัยโดยตรงแก่ผู้สูงอายุในบริการสาธารณะอื่น การ ช่วยเหลือผู้สูงอายุซึ่งได้รับอันตรายจากการถูกทารุณกรรมหรือถูกแสวงหา ผลประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือถูกทอดทิง้ การให้คำแนะนำ ปรึกษา ดำเนินการอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้องในทางการแก้ไขปัญหาครอบครัว การจัดทีพ่ กั อาศัย อาหาร และเครือ่ งนุง่ ห่มให้ตามความจำเป็นอย่างทัว่ ถึง รวมถึงการสงเคราะห์ ในการจัดการศพตามประเพณี ฯลฯ กระทรวงสาธารณสุข : มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๘ ให้สถานบริการจัดช่องทางเฉพาะผู้สูงอายุ แยกจากผู้รับบริการทั่วไปใน แผนกผู้ป่วยนอก รวมทั้งการกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการให้บริการ โดยปิดประกาศและประชาสัมพันธ์ กระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้ สถานบริ ก ารในสังกัดทุกแห่ง จัดระบบการดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการทั้งใน ๓๐

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


สถานบริการและในชุมชน เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๕ เป็นต้นไป โดยให้โรงพยาบาลทุกแห่งปรับปรุงอาคารสถานที่ ทั้งห้องน้ำ ทางลาด ที่ จอดรถ ให้ผู้สูงอายุใช้ได้อย่างปลอดภัย และให้เปิดช่องบริการทางด่วน “๗๐ ปีไม่มีคิว” ทุกจุดบริการ ทั้งห้องบัตร ห้องตรวจ ห้องยา เพื่อให้ ผู้สูงอายุได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็ว และมีหน่วยบริการพิเศษผู้สูงอายุ ได้แก่ บริการให้คำปรึกษา ชมรมผู้สูงอายุ และบริการตรวจประเมินสุขภาพ ส่วนการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เน้นทำงานเชิงรุก ดูแลทั่วถึง โดยให้สถานบริการทุกแห่ง สำรวจจำนวนผู้สูงอายุทุกหมู่บ้าน ชุมชนทุกแห่ง และให้ตรวจคัดกรองสุขภาพกาย ประเมินความสามารถในการ ทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานแต่ละคน และตรวจประเมินภาวะซึมเศร้า และภาวะสมองเสื่อม ให้เสร็จภายในเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๕ และขึ้น ทะเบียนให้ครบ ๑๐๐เปอร์เซ็นต์ เพื่อออกติดตามเยี่ยมให้การดูแลต่อเนื่อง ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และจัดหมอใกล้บ้าน ใกล้ใจ มีเจ้าหน้าทีอ่ อกไปดูแลสุขภาพกาย-จิตทีบ่ า้ น (Home Health Care) รวมทั้งจัดช่องทางให้บริการดูแลปรึกษาทางโทรศัพท์กรณีป่วยฉุกเฉินและ จะจัดบริการสายด่วน ๑๖๖๙ จัดรถพยาบาลนำส่งโรงพยาบาลฟรีทั้งหมด กระทรวงศึกษาธิการ : มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๕๔๗ ให้มีการจัดบริการข้อมูลข่าวสารให้ครอบคลุมการศึกษาในระบบ การศึกษา นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทัง้ การทำฐานข้อมูลทางการศึกษา การฝึกอบรมสำหรับผู้สูงอายุ ให้มีการจัดบริการการศึกษาอย่างต่อเนื่องทั้ง ๓ ระบบให้แก่ผู้สูงอายุ สนับสนุนสื่อทุกประเภทให้มีรายการสำหรับผู้สูงอายุ ส่งเสริมให้หน่วยงานสถานศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุ ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น ให้ มี ก ารจั ด ศู น ย์ ก ารเรี ย นรู้ ใ นชุ ม ชนแก่ ผู้ สู ง อายุ คุ้มครองการผลิ ต สื่ อ ความรู้ แ ละสื่ อ อิ เ ลคโทรนิ ค ส์ ใ ห้ แ ก่ ผู้ สู ง อายุ จัดทำ หลักสูตรเกี่ ย วกั บ ผู้สูงอายุ ใ นการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานถึ ง อุ ด มศึกษา รวมทั้ง รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๓๑


ส่งเสริมและสนั บ สนุ น ให้ มี ก ารผลิ ต งานวิ จั ย เพื่ อ เพิ่ ม พู น องค์ ค วามรู้ ด้ าน ผู้สูงอายุ กระทรวงวัฒนธรรม : มีประกาศกระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ.๒๕๔๘ จัดให้มีมาตรฐานการให้บริการอำนวยความสะดวกและปลอดภัยสำหรับ ผู้สูงอายุในพิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน หอจดหมายเหตุ หอศิลป์ และสถานที่ จัดกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ลดอัตราค่าเข้าร่วมกิจกรรมฯ ตามความเหมาะสม ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมฯ รณรงค์ให้ประชาชน เน้นถึงความสำคัญและตระหนักถึงการให้ความช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก และปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุในพิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน หอจดหมายเหตุ หอศิลป์ และสถานที่จัดกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม กระทรวงแรงงาน : มีประกาศกระทรวงแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๗ ให้ สำนักจัดหางานทุกแห่งจัดให้มเี จ้าหน้าทีใ่ นการให้คำปรึกษาแนะนำเกีย่ วกับ ข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงาน และบริการจัดหางานทีต่ รงความต้องการผูส้ งู อายุ จัดอบรมทักษะอาชีพให้แก่ผู้สูงอายุตามอัธยาศัย จัดให้มีศูนย์กลางข้อมูล ทางการอาชีพและตำแหน่งงานสำหรับผูส้ งู อายุเป็นการเฉพาะ ณ สำนักงาน จัดหางานทุกแห่ง จัดหาอาชีพตามสมควรให้แก่ผสู้ งู อายุ สนับสนุนส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการฝึกอาชีพ และ ประกอบอาชีพทีเ่ หมาะสมแก่ผสู้ งู อายุ โดยให้ได้รบั สิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงการคลัง : ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร พ.ศ.๒๕๔๘ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๑๓๖) ให้มีการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดู บิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดา มารดา ของสามีหรือภริยาผู้มีเงินได้ กระทรวงคมนาคม : ประกาศกระทรวงคมนาคม พ.ศ.๒๕๔๗ ให้ มีการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยโดยตรงแก่ผู้สูงอายุ ในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับการขนส่งสาธารณะในความรับผิดชอบ การลดอัตราค่าโดยสาร ๓๒

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


ยานพาหนะตามความเหมาะสม และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ รณรงค์ให้ประชาชนเน้นถึงความสำคัญและตระหนักถึงการให้ความช่วย เหลืออำนวยความสะดวก และความปลอดภัยแก่ผู้สูงอายุในการโดยสาร ยานพาหนะและขนส่งมวลชน กระทรวงยุติธรรม : ประกาศกระทรวงยุติธรรม พ.ศ.๒๕๔๘ ให้ กรมคุ้ ม ครองสิ ท ธิ แ ละเสรี ภ าพเป็ น หน่ ว ยงานหลั ก ในการดำเนิ น การให้ บริการผู้สูงอายุด้วยความสะดวกรวดเร็วเป็นกรณีพิเศษ การให้คำแนะนำ ปรึกษาให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และประสานงานกับสภาทนายความ ในการจัดหาทนายความว่าต่างแก้ตา่ งคดี ประสานหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง เพื่อ ขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่พึงมีและความจำเป็น เผยแพร่และให้ความรู้ เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพตามที่กฎหมายกำหนดแก่ผู้สูงอายุ สำหรับการ ขอรับบริการในเขตกรุงเทพมหานคร และนนทบุรี สามารถติดต่อที่สำนักงาน ช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา คลินิกยุติธรรม กรมคุม้ ครองสิ ท ธิและเสรีภาพ หรือศูนย์บริการร่ ว ม กระทรวงยุ ติ ธ รรม ส่วนจังหวัดอื่นๆ ขอรับบริการที่สำนักงานยุติธรรมจังหวัด ให้อาสาสมัคร คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเป็นเครือข่ายในการให้คำแนะนำปรึกษาและ เผยแพร่ความรู้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : ประกาศกรม อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ.๒๕๔๗ ให้ผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน ๖๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย ให้ได้รับการยกเว้นค่าบริการเข้าไป ในอุทยานแห่งชาติทุกแห่ง โดยผู้สูงอายุที่ได้รับการยกเว้นต้องแสดงบัตร ประจำตัวประชาชน กระทรวงมหาดไทย : ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่าย เงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพของ อปท. พ.ศ.๒๕๔๘ และ ๒๕๕๒ รวมทั้ง การออกกฎกระทรวงกำหนดสิง่ อำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการ รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๓๓


หรือทุพพลภาพและคนชรา พ.ศ.๒๕๔๘ กระทรวงการท่องเทีย่ วและกีฬา : ประกาศกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา พ.ศ.๒๕๔๗ กำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ส่งเสริมการจัดบริการเพื่ออำนวยความสะดวก และให้สิทธิสำหรับผู้สูงอายุ ทุกคนในสถานที่ ท่ องเที่ยวหรือสนามกีฬา หรือสถานออกกำลังกายอื่นๆ กำหนดมาตรฐานการบริการอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุในสถานที่ ท่องเที่ยวหรือสนามกีฬาหรือสถานออกกำลังกายอื่นๆ ดำเนินการประสาน เพื่ออำนวยความสะดวก ความปลอดภัย และลดอัตราการเข้าชม เข้าร่วม กิจกรรม รวมทั้งการส่งเสริมการจัดกิจกรรมท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการ สำหรับผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ : ประกาศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ.๒๕๔๘ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคุ้มครอง การส่งเสริมและการ สนับสนุนการพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การ รวมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายหรือชุมชน ให้สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพ และพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.) เป็นหน่วยงาน หลักดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานอืน่ ให้ พมจ. ส่งเสริม สนับสนุนด้านความรู้ ความเข้าใจ การให้คำปรึกษา ตลอดจนทรัพยากรด้านบุคลากร และวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อให้การดำเนินงานด้านการพัฒนาตนเอง และการพัฒนาสังคม ให้ผู้สูงอายุ ใ นชุ ม ชนเข้มแข็งและสามารถดำเนินการได้ ด้ วยตนเอง และ สท. ประสานกับ กทม. ให้ พมจ. และหน่วยงานในสังกัด พม. ประสานงาน ส่งเสริม และสนับสนุนเชื่อมโยงเครือข่ายงานด้านการพัฒนาตนเอง และ การพัฒนาสังคมผูส้ งู อายุในชุมชนระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด และ สท. ประสานกับ กทม. ให้ พมจ. ประสาน อปท. ในการสรรหาและจัดทำ ทะเบียนผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ๓๔

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


รวมทั้ง ส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดภูมิปัญญาแก่สังคมต่อไป และ สท. ประสานกับ กทม. ให้ สท. จัดทำทะเบียนองค์กรผู้สูงอายุ และองค์กรที่ ทำงานด้านผู้สูงอายุ เพื่อประโยชน์ในการประสานงานและสร้างเครือข่ายใน ทุกระดับ ประกาศกระทรวงการพั ฒ นาสั ง คมและความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ พ.ศ.๒๕๔๘ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคุ้มครอง การ ส่ ง เสริ ม และการสนั บ สนุ น การอำนวยความสะดวกและความปลอดภั ย โดยตรงแก่ผู้สูงอายุในการบริการสาธารณะให้ พมจ. ดำเนินการฯ ให้กรม พัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) และหน่วยงานในสังกัด ดำเนินการฯ ให้ สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) สนับสนุนศูนย์พัฒนา ครอบครั ว ในชุ ม ชน (ศพค.) เป็นศูนย์เฝ้าระวัง ปั ญ หาของผู้ สู ง อายุ แ ละ ครอบครัว ให้การเคหะแห่งชาติจัดสถานที่และให้มีอุปกรณ์สำหรับบริการ ผูส้ ู ง อายุ ที่ อ ยู่ อ าศัยในพื้นที่ของชุมชนการเคหะแห่ ง ชาติ ให้ สท. เป็น ศูนย์กลางในการประสานขอความร่วมมือ รวมทั้งรณรงค์และ ปชส. ให้ อพม. อำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุในหมู่บ้า น โดยทำหน้าที่รับเรื่อง สอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น ประสาน พมจ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องฯ ประกาศกระทรวง พม. เรื่องกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนการช่วยเหลือผู้สูงอายุ ซึ่งได้รับอันตรายจากการถูกทารุณกรรม หรือถูกแสวงหาผลประโยชน์โดย มิชอบ ด้วย กม.หรือถูกทอดทิ้ง และการให้คำแนะนำปรึกษา ดำเนินการอื่น ที่เกี่ยวข้องในทางการแก้ไขปัญหาครอบครัวใน กทม. แจ้ง พส. และ หน่วยงานรัฐอื่นๆ เพื่อประสานนักสังคมสงเคราะห์ ช่วยเหลือจังหวัดอื่น ให้ อพม. หรือ พมจ. หรือ หน่วยงานอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ ประสานนักสังคมสงเคราะห์ ช่วยเหลือ ดำเนินการช่วยเหลือด้วยวิธีการในกรณีต่างๆ ดังนี้ กรณีผู้สูงอายุ ถูกทารุณกรรม กรณีผู้สูงอายุถูกแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ด้วย กม. รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๓๕


กรณีผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ประกาศกระทรวง พม. พ.ศ.๒๕๔๘ เรื่อง กำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่ อ นไขการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนการจัด ที่พักอาศัย อาหาร และเครื่องนุ่งห่มให้ตามความจำเป็นอย่างทัว่ ถึง รวมทั้ง เงินช่วยเหลือ ๒,๐๐๐ บาท ๓ ครั้งต่อปี สิ่งของ ศูนย์บริการผู้สูงอายุ สถานสงเคราะห์คนชรา ประกาศกระทรวง พม. เรื่องกำหนด หลั ก เกณฑ์ วิธีการและ เงื่อนไขการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนการสงเคราะห์ในการ จัดการศพตามประเพณี พ.ศ.๒๕๕๒ (ยกเลิกฉบับปี พ.ศ.๒๕๔๗) ดำเนินการการให้บริการสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ โดยกิจกรรม ประกอบด้วย การส่งเสริมการจัดกิจกรรมทางสังคมผู้สูงอายุ การให้บริการ ในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ และการให้บริการในศูนย์ บริการผู้สูงอายุ รวมทั้งการเสริมสร้างโอกาสใช้ความรู้และประสบการณ์ ของผู้สูงอายุ เพื่อทำประโยชน์และสร้างรายได้ มีการดำเนินงาน ดังนี้ ๑) การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุในชุมชน โดยจัด กิจกรรมเรียนรูก้ ารก้าวสูผ่ สู้ งู วัย เป็นการให้ความรู้ และแลกเปลีย่ นประสบการณ์ ในการพัฒนาตนเองโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ให้ความรู้ด้านการดูแล สุขภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ศาสนา และเพิ่มทักษะการเสริมรายได้ ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างปลอดภัยและมีความสุข ๒) การจัดกิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์ โดยให้ผสู้ งู อายุและครอบครัว เข้าร่วมค่ายกิจกรรมด้านนันทนาการ และให้ความรูค้ วามเข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อสามารถปรับตัวให้เข้ากับสมาชิกครอบครัวในวัยต่างกันได้ ทำให้ผสู้ งู อายุ อยู่ร่วมกับครอบครัวได้อย่างปกติสุข ๓) การส่งเสริมให้ชมุ ชนมีสว่ นร่วมในการพัฒนาทีอ่ ยูอ่ าศัยแก่ผสู้ งู อายุ โดยการปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย สถานที่จัดกิจกรรมของผู้สูงอายุ เพื่อ ๓๖

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


ให้ผสู้ งู อายุมสี ภาพความเป็นอยูท่ ปี่ ลอดภัย เหมาะสมกับสภาพร่างกาย และ มีสิ่งสาธารณะประโยชน์ในการทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน ๔) การให้บริการในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิ ก ารสั ง คมผู้ สูงอายุ โดยศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จำนวน ๑๒ แห่ง ใน ๘ จังหวัด มีภารกิจหลัก ๖ ภารกิจ คือเป็นศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศงาน ด้านสวัสดิการสังคม ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนา ศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์การ จัดสวัสดิการสังคมผูส้ งู อายุแบบสถาบัน ศูนย์การจัดสวัสดิการสังคมในชุมชน และศูนย์บริการให้คำแนะนำปรึกษาและส่งต่อ ๕) การให้บริการในรูปแบบศูนย์บริการผู้สูงอายุ โดยจัดบริการ สวัสดิการสังคม ให้แก่ผู้สูงอายุที่อยู่ในครอบครัวและชุมชน ได้เข้ามาใช้ บริการทีจ่ ดั ให้ภายในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผูส้ งู อายุ จ.ขอนแก่น ได้แก่ ด้านสุขภาพอนามัย กายภาพบำบัด สังคมสงเคราะห์ กิจกรรมเสริม รายได้ กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมเสริมความรู้ และ กิจกรรมทางศาสนา นอกจากนี้ได้จัดบริการออกหน่วยเคลื่อนที่ เพื่อออก เยี่ยมเยียนผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านในชุมชนต่างๆ นำข้อมูลข่าวสารบริการไป เผยแพร่ ให้บริการในด้านคำแนะนำและการรักษาพยาบาลเบือ้ งต้น ตลอดจน การช่วยเหลือผูส้ งู อายุทปี่ ระสบปัญหาความเดือดร้อน ๖) การส่งเสริมค่านิยมการใช้จ่ายเพื่อสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน เป็นการให้ความรู้ด้านการใช้จ่ายเงินและการออม เพื่อการจัดสวัสดิการ สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน และเป็นการเสริมสร้างค่านิยม และพฤติกรรมการ ดำรงชีวิตที่เกินพอดี มาเป็นการลดรายจ่ายวันละ ๑ บาท เป็นประจำทุกวัน ของทุกคนในครอบครัว ร่วมกับเพื่อนบ้าน และระดับชุมชน ๗) การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุเพื่อการพัฒนางาน ด้านสวัสดิการสังคม เป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในการใช้ ภูมิปัญญาสร้างอาชีพและรายได้ โดยเปิดช่องทางให้ผู้สูงอายุเผยแพร่ความรู้ รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๓๗


ประสบการณ์และภูมิปัญญาให้แก่ชุมชน รวมทั้งเป็นการสร้างรายได้จาก ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ และสร้างความตระหนักในคุณค่าของตนเอง ๘) การเสริมสร้างศักยภาพการใช้ภูมิปัญ ญาผู้ สู ง อายุ เป็ น การ ส่ ง เสริ ม ให้ ผู้ สู ง อายุ ที่ มี ศั ก ยภาพเป็ น อาสาสมั ค รในการดู แ ลผู้ สู ง อายุ ที่ อ่อนแอ ที่มีภาวะสุขภาพเรื้อรัง ไม่มีผู้ดูแล ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ในชุมชน โดยกระทรวงฯ ให้การสนับสนุนอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุ เป็น ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุ เดือนละ ๓๐๐ บาท ๒.๓ พิจารณาแนวทางการแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ว่าด้วยการเลิกจ้างงานด้วยเหตุมีอายุเกิน โดยไม่ได้คำนึงหรือประเมินความ สามารถในการทำงานอย่างเป็นธรรม ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงแรงงาน : ใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ไม่ได้ มีการกล่าวถึงการเลิกจ้างงานด้วยเหตุมีอายุเกิน โดยไม่ได้คำนึงหรือประเมิน ความสามารถในการทำงานอย่างเป็นธรรม ๒.๔ เร่งรัดการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออม แห่งชาติ พ.ศ.... ในรัฐสภา เพื่อให้มีผลบังคับใช้โดยเร่งด่วน ความคืบหน้าการดำเนินงาน สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ สำนัก งานส่ ง เสริ ม สวัสดิภาพ และพิทักษ์ เ ด็ ก เยาวชน ผู้ ด้ อ ยโอกาส และผู้ สู ง อายุ กระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ : ได้มีการตรากฎหมาย พ.ร.บ. กองทุ น การออมแห่ ง ชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ มี ผ ลบั ง คั บ ใช้ ตั้ ง แต่ วันที่ ๑๒ ๓๘

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


พฤษภาคม ๒๕๕๔ เรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีสาระดังนี้ ๑) สถานะของกองทุนเป็นหน่วยงานของรั ฐ และมี ฐ านะเป็น นิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ๒) ขอบเขตครอบคลุมผู้มีสิทธิเป็นสมาชิก กอช. จะต้องเป็นบุคคล สัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า ๑๕ ปี แต่ไม่เกิน ๕๐ ปีบริบูรณ์ และไม่อยู่ใน กองทุนตามกฎหมายอื่น ที่ได้รับเงินสมทบจากรัฐหรือนายจ้าง แสดงความ จำนงพร้ อ มจ่ า ยเงินเข้ากองทุน โดยผู้ออมจ่ า ยสะสมและรั ฐ จ่ า ยสมทบ ตามอัตราที่กำหนด เมื่ออายุครบ ๕๐ ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินบำนาญ ชราภาพจนสิ้ น อายุขัย ส่งผลให้ มี ค วามมั่ น คงทางรายได้ ข องประชาชน เพื่อให้สามารถรองรับระดับการดำรงชีพ การมีรายได้เพื่อการใช้จ่ายอย่าง ต่อเนื่องในวัยสูงอายุ กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อยู่ระหว่าง ดำเนิ น การจั ด ตั้ ง กองทุ น การออมแห่ ง ชาติ ประกอบด้ ว ยการสรรหา เลขาธิการคณะกรรมการ กอช. การขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำ ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ ได้รับจำนวน ๒๒๕ ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายในการ ดำเนิ น งานในการจัดหาสถานที่ทำการ วางระบบสำนักงาน และระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ จัดจ้างบุคลากรของกองทุน และจัดซื้ อ ครุภัณฑ์ต่างๆ เพือ่ ให้กองทุนพร้อมเปิดรับสมาชิกเมื่อพ้น ๓๕๐ วันนับแต่วันที่กฎหมาย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป และจัดสัมมนาตามจังหวัดต่างๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชน ตระหนักถึงความสำคัญของการออมเงินเพื่อใช้ในยามชราภาพ และ ประชาสั ม พั น ธ์ ก องทุ น ให้ ป ระชาชนได้ ท ราบถึ ง ช่ อ งทางการสมั ค รเป็ น สมาชิกกองทุน เข้าใจหลักเกณฑ์ต่างๆ ของกองทุน และเตรียมพร้อมในการ เป็นสมาชิกและออมกับกองทุนเมื่อกองทุนเปิดรับสมาชิก

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๓๙


๒.๕ พัฒนาแนวทางการสร้างเสริมบทบาทของผู้สูงอายุเพื่อ ธำรงไว้เป็นทุนทีเ่ กือ้ กูลสังคม รวมทัง้ การส่งเสริมกิจกรรมผูส้ งู อายุและครอบครัว อย่างหลากหลาย ข้อ ๓ ขอให้หน่วยงานของหลักในภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้ง อปท. ร่วมกัน จัดหามาตรการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ มติที่ ๖ การสร้างสังคมที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ข้อ ๑ เห็นชอบให้จัดทำวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ นโยบาย แผนงาน และกลไก “สร้างสังคมที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ซึ่งหมายถึง การทำให้ ทุกคนได้เข้ามาอยูใ่ นพืน้ ทีท่ างสังคม และทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกันได้อย่างมี ศักดิ์ศรี ไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อกันและกัน ได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกัน ในการ เข้าถึงสิทธิ ทรัพยากร และการใช้ประโยชน์จากสถานที่ บริการ และข้อมูลข่าว สารต่างๆ ได้อย่างเสมอภาค ข้อ ๒ เห็นชอบและให้ความสำคัญกับหลักการ ๔ ประการ ที่จะ “สร้างสังคมที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ทุก คนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ การส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการ เลือกปฏิบตั ิโดยไม่ เ ป็นธรรมต่อบุคคล การสร้างความมั่นคงทางด้านการคลัง เพื่อการพัฒนาสังคมอย่างต่อเนื่อง และการสร้างพลังจิตอาสา โดยการมีส่วน ร่วมอย่างกว้างขวางของภาคประชาชน และภาคส่วนต่างๆ

๔๐

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


ความคืบหน้าการดำเนินงาน คสป. โดย คณะกรรมการเครือข่ายคนพิการเพื่อการปฏิรูป ได้มี การขับเคลือ่ นในประเด็นของ “การสร้างสังคมทีค่ นไทยอยูเ่ ย็นเป็นสุขร่วมกัน” โดยได้ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่าย ที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้ ๑) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วม กับภาครัฐ และองค์กรด้านคนพิการ จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวติ คนพิการ แห่งชาติ ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙ โดยคณะรัฐมนตรี เห็นชอบ หลักการและมีมติเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๔ กำหนดวิสัยทัศน์ของ แผนฯ (สอดคล้องกับมติสมัชชาปฏิรูป) “คนพิการดำรงชีวิตอิสระร่วมกับ ทุกคนในสังคมอย่างมีความสุข สามารถเข้าถึงสิทธิอย่างเสมอภาคและ เท่าเทียมกัน” ประกอบด้วย ๕ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ส่งเสริม การเข้าถึงสิทธิอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อคนพิการ และผู้ดูแลคนพิการ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ สร้างสภาพแวดล้อม พัฒนาเทคโนโลยี และข้อมูลข่าวสารทีค่ นพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ สร้างเสริมพลังอำนาจให้แก่คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ส่งเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งขององค์กรด้านคนพิการและเครือข่าย ยุทธศาสตร์ที่ ๕ สร้างเสริมเจตคติเชิงสร้างสรรค์ตอ่ ความพิการและคนพิการ ๒) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ : มีการ พัฒนาการสร้างพลังจิตอาสา ผ่านกระบวนการอาสาสมัคร ได้แก่ อาสา สมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อาสาสมัครช่วยเหลือคนพิการ อาสาสมัครดูแลผูส้ งู อายุ และได้มีการเรียนรู้บทบาทขององค์กรด้านจิตอาสา ต้นแบบ คือ มูลนิธิฉือจี้ ประเทศไต้หวัน และเครือข่ายองค์กรจิตอาสา อาทิ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม มูลนิธิกระจกเงา กลุ่ม YIY สหทัยมูลนิธิ เครือข่ายพัทธกา มูลนิธิสุขภาพไทย บางกอกฟอรั่ม Thai Rural Net กลุ่ม รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๔๑


อาสารักษ์ธรรมชาติ มูลนิธบิ รู ณะชนบทแห่งประเทศไทย เป็นต้น รวมถึงมีการ ศึกษาวิจยั และถอดบทเรียนเกีย่ วกับจิตอาสา เรือ่ ง “การให้และอาสาสมัคร” สรุปสาระสำคัญ คือ จิตอาสา เป็นความต้องการให้ผู้อื่น ตั้งแต่การให้เงิน ให้ของ จนกระทัง่ ให้แรงงาน แรงสมอง หรือทีเ่ รามักเรียกว่า อาสาสมัคร เพื่อ ช่วยให้ผู้อื่น หรือสังคมมีความสุขมากขึ้น การให้ หรือเสียสละนี้สามารถทำ ไปได้จนถึงการเสียสละความเป็นตัวตนหรืออัตตา ๓) สถาบันสร้างเสริ ม สุ ข ภาพคนพิการ : มี ก ารจั ด พิ ม พ์ คู่มือ จิตอาสา สำหรั บ ผู้ ไ ม่ พิ ก ารในความดี เป็ น การถอดบทเรี ย นการทำงาน จิตอาสากับความพิการไม่วา่ จะเป็นการทำงานกับเพือ่ นคนพิการ ประเภทต่างๆ การส่งเสริมอาสาสมัครทำงานร่วมกับคนพิการ ไปจนถึงส่งเสริมคนพิการ มาทำงานจิตอาสาเพื่อช่วยเพื่อน ๔) เครือข่ายคนพิการเพือ่ การปฏิรปู ร่วมกับภาคส่วนทีเ่ กีย่ วข้อง ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ สมาคม สภาคนพิ ก ารทุ ก ประเภทแห่งประเทศไทย ภาคี เ ครื อ ข่ า ย ได้ แ ก่ คณะ อนุกรรมาธิการด้านคนพิการ วุฒิสภา คณะกรรมการเครือข่ายคนพิการเพื่อ การปฏิรูป สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและ เอกชนที่เกี่ยวข้อง จัดสัมมนาสมัชชาคนพิการ “พลังคนพิการสร้างสังคม อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” จำนวน ๘ โซนภาค ๗๗ จังหวัด และมีการนำเสนอ มติเครือข่ายคนพิการระดับชาติ ครั้งที่ ๑ กำหนด ๔ ประเด็น ประกอบด้วย (๑) การส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมโดยไม่เลือก ปฏิบัติต่อคนพิการ (๒) การสร้างสภาพแวดล้อม พัฒนาเทคโนโลยี และ ข้อมูลข่าวสารที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ (๓) กองทุน ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ/กองทุนด้านการพัฒนาสังคม และ (๔) การจัดการสถานการณ์ภัยพิบัติในประเทศไทย โดยมติสมัชชาคนพิการ “พลังคนพิการสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ๔๒

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


ข้อ ๓ ขอให้ คสป.เสนอต่อรัฐบาล รัฐสภา และพรรคการเมืองต่างๆ เร่งรัดการปรับปรุง หรือออกกฎหมายใหม่ เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่ เป็นธรรมต่อบุคคล โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเปราะบางให้แล้วเสร็จภายในเวลา ๓ ปี พัฒนากลไกป้องกันและขจัดการเลือกปฏิบตั ิ ทีม่ สี ว่ นร่วมอย่างกว้างขวาง และมีประสิทธิภาพ รวมทัง้ ส่งเสริมมาตรการเชิงบวกเพือ่ การขจัดการเลือกปฏิบัติ ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ : ดำเนินการ ปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยการยกระดับอนุกรรมการฯ ให้เป็นคณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติ ต่อคนพิการ ขณะนี้ กฎหมายอยูร่ ะหว่างการพิจารณาของสภาผูแ้ ทนราษฎร กระทรวงศึกษาธิการ : กำหนดมาตรการเชิงบวก โดยการจัดระบบ ให้มหาวิทยาลัยกำหนดโควต้าให้คนพิการสามารถเข้าเรียนได้และไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่าย โดยให้มหาวิทยาลัยเรียกเก็บจาก สกอ. กระทรวงแรงงาน : กำหนดให้สถานประกอบการจ้างงานคนพิการ ในอัตราส่วน ๑๐๐ : ๑ ถ้าหากไม่ปฏิบตั ติ าม มีการกำหนดมาตรการเชิงบวก แทนการรับคนพิการเข้าทำงาน ได้แก่ การจัดสัมปทาน, จัดสถานที่จำหน่าย สินค้า, ฝึกอาชีพ, หรือซื้อผลิตภัณฑ์คนพิการ เป็นต้น กระทรวงสาธารณสุข : กำหนดให้มีการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ที่ ตอบสนองความจำเป็นของคนพิการแต่ละประเภท เครือข่ายคนพิการเพื่อการปฏิรูป : จัดสัมมนาประเด็นการเลือก ปฏิบตั ติ อ่ คนพิการและบุคคลทัว่ ไป พร้อมทัง้ ได้มกี ารยกร่าง พ.ร.บ. ขจัดการ เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล พ.ศ. ..... (สอดคล้องมาตรา ๓๐ ตาม รัฐ ธรรมนู ญ แห่ งราชอาณาจั ก รไทย พ.ศ.๒๕๕๐) เรี ย บร้ อ ยแล้ว อยู่ ระหว่างดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๔๓


ข้อ ๔ ขอให้รัฐบาล หน่วยงานองค์กรทุกภาคส่วนกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการตาม พันธกิจของตน เพื่อนำไปสู่การเร่งดำเนินการสร้าง สภาพแวดล้อมที่ทุกคนเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้จริง ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงศึกษา : มีการผลักดันเป็นนโยบาย คือ ให้สถานศึกษาที่ สร้างอาคาร ให้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารให้กับนักเรียนผู้พิการ (ประสบผลสำเร็จมากในระดับอุดมศึกษา) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ : โดยการ สนับสนุนค่ า ใช้ จ่ า ยให้กับศาลากลางจังหวัด (ในการปรั บ ปรุ ง สิ่ ง อำนวย ความสะดวก) ใน ๒๐ จังหวัดๆ ละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท การจัดประกวดสถานที่ ที่จัดสิ่งอำนวยความสะดวกดีเด่น มอบรางวัลในวันคนพิการสากล และการ สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการปรับสภาพบ้านที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ หลังละ ๒๐,๐๐๐ บาท กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ : โดยการออกกฎกระทรวง และระเบียบฯ รับรองการเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อมูล ข่าวสาร และการสือ่ สาร รวมถึงการให้คนพิการยืมเครือ่ งมือเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก และการกำหนดมาตรฐานของ E-book ในการ เข้าถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของคนพิการ กระทรวงคมนาคม : โดยการออกระเบียบสิ่งอำนวยความสะดวก ให้กับผู้สูงอายุและคนพิการในการเดินทาง (ทางบกและทางน้ำ) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) : จัดบริการล่ามทางไกลให้กับ คนหูหนวก เพือ่ สามารถติดต่อสือ่ สารในการดำรงชีวติ ประจำวัน (ศูนย์บริการ ถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย Thailand Telecommunication ๔๔

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


Relay Service : TTRS) และบริการหนังสือเดซีท่ างโทรศัพท์ กระทรวงสาธารณสุข : กำหนดมาตรฐานสถานพยาบาลเกี่ยวกับ สิ่งอำนวยความสะดวกให้ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้ ข้อ ๕ ขอให้ คสป.เสนอต่อ ครม. เพื่อผลักดันให้มีการปฏิรูประบบ การคลังเพื่อสังคม ด้วยมาตรการสำคัญ ดังนี้ ๕.๑ ปรับสัดส่วนสลากกินแบ่งรัฐบาล และจัดสรรรายได้เข้า กองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรกลุ่มเปราะบางต่างๆ ตามความเห็นของ คสป. โดยจัดสรรให้ก่อนหลังตามความพร้อมในด้านการบริหารจัดการกองทุน ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ : โดย คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ มีมติให้ ปรั บ สั ด ส่ ว นสลากกินแบ่งรัฐบาล และจัดสรรรายได้ เข้ า กองทุ น พั ฒ นา คุณภาพชีวิตประชากรกลุ่มเปราะบางต่างๆ ร่วมกับมติของสมัชชาปฏิรูป ระดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ เสนอ เข้าคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี มีมติรับทราบ แต่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ เนื่องจากมีการเปลี่ยนรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ : มีการเสนอขอรับการจัดสรรรายได้จาก การจำหน่ายสลากการกุศลจากกองสลาก (พันล้านบาท) เพื่อเข้าไปสมทบ กองทุนการศึกษาของคนพิการ ขณะนีอ้ ยูร่ ะหว่างการพิจารณาจากกระทรวง การคลัง

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๔๕


๕.๒ การใช้เงินรายได้ดังกล่าวของทุกกองทุนที่ได้รับจัดสรร ให้มุ่งส่งเสริมนวัตกรรมด้านการพัฒนาสังคม การพัฒนาคุณภาพชีวิต และ การเสริมพลังอำนาจกลุ่มประชากรเฉพาะที่มีความเปราะบาง ส่งเสริมและ สนับสนุนความเข้มแข็งขององค์กรด้านเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม มาตรการเชิงบวกเพื่อขจัด การเลือกปฏิบัติ สนับสนุนนวัตกรรมการจัดการสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ ทำให้ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริง รวมทั้งสนับสนุนการลดหรือจำกัด การเล่นการพนันและอบายมุข ทุกประเภทและทุกรูปแบบ ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ : ดำเนินการ ส่งเสริมนวัตกรรมโดยกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ - ด้านการส่งเสริมสิทธิของคนพิการ ได้ แ ก่ ด้ า นบริการล่าม ภาษามือ ปรับสภาพทีอ่ ยูอ่ าศัย สิทธิผชู้ ว่ ยคนพิการ การปรับสภาพแวดล้อม ในอาคารสถานที่ต่างๆ การช่วยเหลือทางกฎหมาย (จัดหาทนายความ) การฝึกอบรมผู้ ดู แ ลคนพิ ก าร และผู้ ช่ ว ยคนพิ ก าร อาสาสมัครคนพิการ โดยเฉพาะกรณี ก ารเลือกปฏิบัติ - ด้านการส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรคนพิการให้มีเครือข่าย ทุกจังหวัด และให้ทุกองค์กรมีมาตรฐาน - ด้านการส่งเสริมภาคธุรกิจเพื่อสังคมด้านคนพิการ เพื่อให้คน พิการสามารถเป็นผู้ประกอบการได้ - ด้านการส่งเสริมการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการสมทบงบประมาณดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

๔๖

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


ข้อ ๖ ให้ คสป. ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง ที่ประกอบด้วย ตัวแทนจากภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ และภาคประชาสังคมทุกกลุม่ ทีเ่ กีย่ วข้อง เพื่อทำหน้าที่ ๖.๑ ศึกษาและให้ข้อเสนอแนะรูปแบบการบริหารกองทุนที่ เหมาะสม และผลักดันให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหาร กองทุนทั้ง ๕ ประกอบด้วย กองทุนเด็กเยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และ สวัสดิการสังคม ให้แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน ๑ ปี เพื่อทำให้การบริหาร กองทุนดังกล่าวแต่ละกองทุน เป็นไปอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ บรรลุ ผลตามเจตนารมณ์ และหากมีความจำเป็นต้องตราร่ า งกฎหมายใหม่ ก็ให้ ยกร่างกฎหมายขึ้นมานำเสนอด้วย ความคืบหน้าการดำเนินงาน คณะกรรมการเครือข่ายคนพิการเพือ่ การปฏิรปู : เตรียมการจัดตัง้ “มูลนิธิสถาบันวิจัยแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” ทำหน้าที่ในการศึกษาวิจัยร่วมกับสถาบันอื่น รวมถึงศึกษา รวบรวมความรู้ เกี่ยวกับคนพิการสำหรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ การส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษา วิจยั และพัฒนางานอันเกีย่ วกับคนพิการทุกประเภท และสนับสนุนพัฒนาศักยภาพของสถาบันและ/หรือบุคคลด้านการวิจัยเพื่อ การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มีการสนับสนุนการเผยแพร่องค์ความรู้ และข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และเป็น ศูนย์กลางในการประสานงานของหน่วยงาน องค์กร และ/หรือสถาบันต่างๆ ที่ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับคนพิการทุกประเภท คณะกรรมการกองทุนด้านการพัฒนาสังคม : แต่งตั้งโดยคณะ กรรมการสมัชชาปฎิรูป (คสป.) ประกอบด้วยตัวแทนจากภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ และภาคประชาสังคมทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนทำงาน รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๔๗


ระหว่ า งภาคี เ ครื อ ข่ายทั้ง ๕ เครือข่าย (เด็กและเยาวชน สตรี ผู้ สูงอายุ คนพิการ สวัสดิการสังคม) กับคณะกรรมการขับเคลื่อนกองทุนด้านการ พัฒนาสังคมภายใต้การสนับสนุนงบประมาณการขับเคลือ่ นจากสำนักสนับสนุน สุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก ๙) สำนักงานคณะกรรมการกองทุน สร้างเสริ ม สุ ข ภาพ (สสส.) กำหนดโจทย์การศึก ษาวิ จั ย การดำเนิ นงาน ของกองทุนต่างๆ และได้มอบหมายนักวิชาการจากคณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นนักวิจยั หลักร่วมกับนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งในขณะนี้ อยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อเสนอโครงการตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ โดยการจัดเวทีประชุมร่วมระหว่างเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องอย่าง ๖.๒ ศึกษาและให้ข้อเสนอแนะกลไกระบบการคลังเพื่อสังคม ในรูปแบบต่างๆ เพื่อการหารายได้เข้ากองทุนอย่างยั่งยืน ๖.๓ ดำเนินการศึกษาและผลักดันการแก้ไข พ.ร.บ. สำนักงาน สลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.๒๕๑๗ ให้เป็นไปตามหลักการในข้อ ๕.๑ ข้างต้นให้ แล้วเสร็จภายในเวลา ๑ ปี เพื่อทำให้กลไกด้านการคลังที่จะมาสนับสนุนการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรที่มีความ เปราะบางเหล่านี้ มีความมั่นคงและยั่งยืน ความคืบหน้าการดำเนินงาน คณะกรรมการเครือข่ายคนพิการเพื่อการปฏิ รู ป ดำเนิ น การ ขับเคลื่อนกลไกการคลังเพื่อการหารายได้เข้ากองทุน ดังนี้ ๑) ศึกษาและให้ข้อเสนอแนะกลไกการคลังเพื่อการหารายได้เข้า กองทุน อยูร่ ะหว่างสรรหานักวิชาการมาดำเนินการวิจยั ตามกรอบการศึกษา วิจัยที่กำหนดไว้ ๔๘

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


๒) ศึกษาและผลักดันการแก้ไข พ.ร.บ. สำนักงานสลากกินแบ่ง รัฐบาล พ.ศ.๒๕๑๗ สำนั ก สนั บ สนุ น สุ ข ภาวะประชากรกลุ่ ม เฉพาะ (สำนัก ๙) สำนักงานคณะกรรมการกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในนามคณะกรรมการขับเคลื่อนกองทุนด้านการพั ฒ นาสังคม ได้ให้การ สนั บ สนุ น นั ก วิ ช าการจากศู น ย์ ก ฎหมายสุ ข ภาพและจริ ย ศาสตร์ คณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการศึกษาวิจัย ซึ่งมีกรอบการ ศึกษาใน ๔ ประเด็น คือ (๑) เพื่อศึกษาทบทวนกฎหมายจัดตั้งกองทุนที่ จัดเก็บรายได้จากธุรกิจการพนันกรณีล็อตเตอรี่ (lotteries) ในต่างประเทศ (๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน หรืออุปสรรค ปัญหาในการจัดตั้ง กองทุ น พั ฒ นาสั ง คมที่ มี ที่ ม าจากการจั ด เก็ บ เงิ น จากการจำหน่ า ยสลาก กินแบ่งฯ ของไทย (๓) ออกแบบแนวทางการจัดตั้งกองทุนที่จัดเก็บรายได้ จากการจำหน่ายล็อตเตอรี่ โดยอาศัยข้อมูลทางวิชาการจากต่างประเทศ โดยคำนึ ง ถึ ง บริ บทของประเทศไทย (๔) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการ แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.๒๕๑๗ ในเรื่องการจัดตั้งกองทุนที่มีแนวคิดจากต่างประเทศที่ได้ศึกษา

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๔๙


มติที่ ๗ การปฏิรูปการกระจายอำนาจเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพ การจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น สร้างความเป็นธรรมและลดความ เหลื่อมล้ำในสังคม ข้อ ๑ ขอให้ คสป. เสนอต่อ ครม. มอบหมายให้คณะกรรมการ กระจายอำนาจให้ แ ก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สถาบันพัฒนา องค์กรชุมชน และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ร่วมเป็นแกนประสานกับ หน่วยงานที่ เ กี่ ย วข้ องทั้งหมด ร่วมกันดำเนิ น การให้ เ ป็ น ไปตามมติ ส มั ชชา สุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๓ และมติสมัชชาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการ ปฏิรูป เมื่อวันที่ ๒-๓ มีนาคม ๒๕๕๔ ๑.๑ ให้มีการตรา พ.ร.บ. สภาการปกครองท้องถิ่นแห่งชาติ โดยเน้นสัดส่วนของผู้แทนภาคประชาชน ผู้แทนสภาท้องถิ่น ผู้แทนผู้บริหาร ท้องถิ่น ตัวแทนข้าราชการส่วนท้องถิ่น ไม่น้อยกว่าสองในสาม และมีสัดส่วน หญิงและชายที่ใกล้เคียงกันตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มาตรา ๘๗ วรรคท้าย หรือที่เหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ ๑.๒ เสนอให้ อปท. มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาทรัพยากรและ สิง่ แวดล้อมในท้องถิน่ การปฏิรปู และการจัดการทีด่ นิ การพัฒนาสังคม โดยเฉพาะ สำหรับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และ ผู้พิการ และการดูแลคุณภาพชีวิตของ แรงงานในท้องถิ่น ๑.๓ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพัฒนาระบบการเลือกตั้ง ท้องถิน่ โดยให้มกี ารนับคะแนนรวมทีเ่ ขตการเลือกตัง้ และมีการจัดสรรจำนวนผู้แทน ตามสาขาอาชีพ และกลุ่มผลประโยชน์ และเพิ่มสัดส่วนของ ผู้แทนจากสภา องค์กรชุมชน และสภาวิชาชีพอื่นๆ ให้เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นไม่น้อยกว่า ๒ คน ๑.๔ เห็นชอบให้ประชาชนเข้าร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตรวจสอบ ร่วมกำกับ และรับรองผลของการกำหนดนโยบายในระดับพื้นที่ และให้คน ๕๐

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


ท้องถิ่นมาเป็นบุคลากรภายใต้การบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ๑.๕ ให้มกี ลไกที่เป็นอิสระที่มีภาคประชาชนมากกว่าครึง่ หนึง่ กำกับการอภิบาลระบบราชการ และการคัดเลือกผู้บริหารทั้งในส่วนกลาง ส่วน ภูมิภาค และท้องถิ่น ข้อ ๒ ขอให้ คสป. ดำเนินการ ดังนี้ ๒.๑ เสนอต่อ ครม. ให้แต่งตั้งคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนภาคประชาชน อปท. ข้าราชการท้องถิ่น คณะกรรมการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณา ยกร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ๔ ฉบับ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการกระจายอำนาจ ให้แล้วเสร็จตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ๒.๒ ร่วมกับสมาชิกสมัชชาปฏิรูปผลักดันและติดตามผลการ ดำเนินการในข้อ ๑ โดยให้สมาคมองค์กรปกครองท้องถิ่นทั้ง ๓ สมาคม (ซึ่ง ได้แก่ สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาต เทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย) เป็นองค์กรประสานงาน ๒.๓ ตัง้ คณะกรรมการพัฒนาระบบการจัดการตนเองของชุมชน ท้องถิ่น ตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๓ และให้มีองค์ประกอบใน สัดส่วนที่เหมาะสม ของผู้แทนจากองค์กรชุมชน สภาองค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนา กลุ่มอาชีพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง องค์กรภาคีต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ และคำนึงถึงสัดส่วนหญิงชาย โดยมีสัดส่วน องค์กรชุมชน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ให้ทำหน้าที่ศึกษาและพัฒนาข้อเสนอ กลไก และกระบวนการ ที่นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพและบทบาทของชุมชน ท้องถิ่นให้สามารถจัดการตนเองในทุกระดับ รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๕๑


๒.๔ ร่วมกับเครือข่ายสมัชชาปฏิรูป เสนอต่อ ครม. และ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้จัดระบบการเงินการคลัง เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินลงสู่พื้นที่ โดยมี ชุมชนเป็นตัวตั้งอย่างแท้จริง และมีกลไกระบบงบประมาณที่เป็นอิสระ มีภาค ประชาชนมากกว่าครึง่ หนึง่ กำกับในทุกระดับ ตัง้ แต่ระดับชาติจนถึงระดับชุมชน ข้อ ๓ ให้มี คสป. ในระดับพื้นที่ ทำหน้าที่เสนอข้อมูลกระบวนการ พัฒนาท้องถิ่นและสะท้อนปัญหาในแต่ละท้องถิ่น ความคืบหน้าการดำเนินงาน คสป. โดยคณะกรรมการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการ ปฏิรูป : ดำเนินการจัดสมัชชาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูป ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ โดยเป็นการดำเนินงานร่วมกัน ของสมาคม ๘ สมาคม คือ ๑. สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย ๒. สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ๓. สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ๔. สมาคมข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย ๕. สมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย ๖. สมาคมข้าราชการส่วนตำบลและเทศบาล ๗. สมาพันธ์ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ๘. สมาคมสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ และกรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย มีมติให้การสนับสนุนการออกกฎหมายใหม่ ๔ ฉบับ เพื่อรองรับ หลักการกระจายอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ ดังนี้ ๕๒

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


๑) ร่างประมวลกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒) ร่างกฎหมายกำหนดแผนและขัน้ ตอนการกระจายอำนาจสูอ่ งค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ๓) ร่างกฎหมายรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๔) ร่างกฎหมายระเบียบบริหารข้าราชการท้องถิน่ ทีใ่ ช้อยูใ่ นปัจจุบัน และฉบับร่างที่ตกไป และมีมติจากที่ประชุมสมัชชาองค์กรปกครองส่วนถิ่น เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ความคืบหน้าเพิ่มเติมจากที่ประชุมสมัชชาปฏิรูปฯ ครั้งที่ ๒ : ได้มี การประสานงานกับคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ซึ่งคณะกรรมการปฏิรูป กฎหมาย ได้ให้ความสำคัญ คือ เรื่องการกระจายอำนาจ และเรื่องกฎหมาย เกี่ยวกับการจัดการ และการแก้ไขปัญหาที่ดินเป็ น สาระสำคัญที่ให้ความ สำคัญเป็นอันดับแรก นอกจากนี้ยังเสนอให้เพิ่มองค์กรของแรงงานท้องถิ่น เข้าไปด้วย เพิ่มเป็น ๙ สมาคม มติที่ ๘ ศิลปวัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์และเยียวยาสังคม ข้อ ๑ การใช้พลังของศิลปวัฒนธรรม ในการเยียวยาและพัฒนาสังคม ๑.๑ ขอให้ คสป. เสนอต่อ ครม. กำหนดให้กระทรวงและ หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง กำหนดแผนและดำเนินการตามแผนการใช้พลังของ ศิลปวัฒนธรรมทุกสาขา (ร่วมสมัยและพื้นบ้าน) วรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ และศิลปะการแสดง เพื่อเสริมการทำงานในภารกิจหลักเพื่อส่งเสริม เยียวยา และกล่อมเกลาจิตใจผู้คนในสังคมมอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม กำกับดูแล งานศิลปวัฒนธรรมที่ออกสื่อ เพื่อให้เด็กและเยาวชนเข้าใจศิลปวัฒนธรรม และ ประวัติศาสตร์ไม่ให้ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๕๓


ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงวัฒนธรรม : ได้มีกรอบนโยบายในการดำเนินงานตาม มติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ดังนี้ ๑) การจัดทำแผนการใช้ศลิ ปวัฒนธรรมทุกสาขาในการเยียวยา และ กล่อมเกลาจิตใจผู้คนในสังคม โดยได้มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบ ๒) การกำกับดูงานความเบี่ยงเบนของศิลปวัฒนธรรมที่เผยแพร่ ผ่านสื่อ โดยได้มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบ กองวัฒนธรรม กระทรวงการต่างประเทศ : ได้มกี ารนำศิลปวัฒนธรรม เผยแพร่สเู่ วทีโลกโดยประสานกับกระทรวงวัฒนธรรม ซึง่ เป็นหน่วยงานหลัก ในการขับเคลื่อนงานศิลปวัฒนธรรม สำนั ก งานเสริ ม สร้ า งเอกลั ก ษณ์ ข องชาติ : สำนั ก งานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีนโยบายที่สอดคล้องกับมติ ได้แก่ บทบาท หน้าที่ของหน่วยงานในการอนุ รั ก ษ์ ฟื้ น ฟู ส ถาบั น หลั ก ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึง่ มีกจิ กรรม อาทิ นวัตกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวีดีทัศน์ สารคดีเกี่ยวกับประวัติพระราชกรณีกิจ โดยมีการออกอากาศในวันพระราชสมภพ สารคดี เ อกลั ก ษณ์ ไ ทย ซึ่ ง ออกอากาศทางช่อง ๙ อสมท. และรายการสถานีวิทยุ ออกอากาศช่วงเช้า ในวันอาทิตย์ เป็นต้น ปัญหาและอุปสรรคทีเ่ กิดขึน้ คือ การนำสือ่ ไปออกอากาศจะขึ้นอยู่ กับทางสถานีโทรทัศน์ว่าจะนำสื่อไปออกอากาศช่วงเวลาไหน แต่จะพบว่า จะนำไปออกช่วงเวลาที่ไม่มีผู้ชม ทั้งที่เป็นเนื้อหาที่มีความรู้หรืออาจนำสื่อ ไปออกอากาศช่ อ ง ๑๑ ซึ่งมีผู้ชมน้อย จะผลักดัน อย่ า งไรให้ สื่ อ ทางศิลป วัฒนธรรมไปออกอากาศช่วงเวลาที่มีผู้ชมมาก โดยเสนอว่าหน่วยงานที่จะ ผลักดันควรน่าจะเป็น กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ กสทช.

๕๔

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร : มีน โยบายที่ ส อดคล้องกับมติ ได้แก่ การจัดโครงการลู ก เสื อ เครื อ ข่ า ย อิน เตอร์เน็ต (Cyber Scout) การอบรมอาสาสมัครเด็กและเยาวชน วิทยากรแกนนำ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจการใช้ ICT อย่างสร้างสรรค์ ป้องกันตนเองจากภัยพิบัติในโลกไซเบอร์ และปลอดภัยในโลกออนไลน์ ๑.๒ ขอให้สถาบันการศึกษาทั้งรัฐและเอกชนทุกแห่ง ชุมชน และหน่ ว ยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้ศิลปวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการช่วยแก้ไข ปัญหาสังคมเร่งด่วน การส่งเสริมการเรียนรู้เท่าทัน การสร้างภูมิคุ้มกัน การ บำบัดแก้ไขพฤติกรรมและอารมณ์ การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ และให้สถาบัน การศึกษาในท้องถิ่ นพัฒนาหลักสูตรศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้าง ความเข้าใจสังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่ ความคืบหน้าดำเนินงาน กระทรวงวัฒนธรรม : ได้มีกรอบนโยบายในการดำเนินงานตาม มติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ดังนี้ ๑) การใช้ศิลปวัฒนธรรมเป็นเครื่องมื อ ในการแก้ ไขปั ญ หาทาง สังคม โดยได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานรับผิดชอบ ๒) การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรศิลปวัฒนธรรมให้กับ สถานศึกษาในท้องถิ่น โดยได้มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงศึกษาธิการ : ได้มีการกำหนดเนื้ อ หาเกี่ ย วกั บ ศิลป วัฒนธรรมเป็นสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรของกระทรวงศึกษา ๑.๓ ขอให้สำนักงานคณะกรรมการกิจกรรมการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ทำหน้าที่จัดสรร รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๕๕


และกำกับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ และ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ อื่นๆ กำกับดูแลสื่อ รวมทั้งสื่อพื้นบ้าน ชุมชน ท้องถิ่น ให้มีรายการเกี่ยวกับ ศิลปวัฒนธรรม เพื่อเยียวยาและพัฒนาสังคมอย่างน้อย ร้อยละ ๒๕ ของการ นำเสนอทัง้ หมด และทำให้คนทุกกลุม่ สามารถเข้าถึงได้ เช่น เพิม่ ตัวบรรยายภาพ และจอล่ามภาษามือ เพื่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นธรรม

ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงวัฒนธรรม : ได้มอบหมายหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องรับผิดชอบ สำนักงานสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ ข องชาติ สำนักงาน ปลัดสำนัก นายกรั ฐมนตรี : มีนโยบายที่สอดคล้ อ งกั บ มติ ตามบทบาท หน้าที่ของหน่วยงาน ได้แก่ มีหน้าที่ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูสถาบันหลักของ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีกิจกรรมการทำสารคดี อาทิ นวัตกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวีดีทัศน์ สารคดี เกี่ยวกับประวัติพระราชกรณีกิจโดยมีการออกอากาศในวันพระราชสมภพ สารคดีเอกลักษณ์ไทย ออกอากาศทางช่อง ๙ และรายการสถานีวิทยุ ออกช่วงเช้าวันอาทิตย์

๑.๔ ขอให้เลิกการใช้ศลิ ปวัฒนธรรมทีล่ อ้ เลียนกลุม่ เปราะบาง

ความคืบหน้าการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้ กระทรวงวัฒนธรรม : กำกั บ ดู แ ล และเฝ้ า ระวั ง ในการใช้ ศิลปวัฒนธรรมไปในแนวทางที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง โดยได้มอบหมาย ให้หน่วยงานรับผิดชอบ

๕๖

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


๑.๕ ให้หน่ ว ยงาน/ภาคี เ ครื อ ข่ า ยที่ เ กี่ ย วข้อง ร่วมยกร่าง ยุทธศาสตร์ชาติในประเด็นศิลปวัฒนธรรม ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงวัฒนธรรม : การประเมินและทบทวนแผนแม่บท วัฒนธรรมแห่ ง ชาติในระยะครึ่งแผนโดยได้มอบหมายให้ เ ป็น สำนั ก งาน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมรับผิดชอบ ข้อ ๒ การบริหารจัดการให้ศิลปวัฒนธรรมดำรงอยู่อย่างมีพลังและ เป็นเอกลั ก ษณ์ แ ละเป็นอิสระ ขอให้ คสป. สนั บ สนุ น การจั ด ตั้ ง สมั ช ชา ศิลปวัฒนธรรมภาคประชาชน หรือกลไกอิสระทีศ่ ลิ ปินเป็นเจ้าของ มีส่วนในการ บริหารจัดการและได้รับการสนับสนุน จากภาครัฐ อปท. และองค์กรอื่นๆ สมัชชาศิลปวัฒนธรรมภาคประชาชน มีภารกิจหลัก ดังนี้ ๒.๑ สนับสนุนให้เกิดองค์กร ภาคีเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมของ ชุมชน ๒.๒ สนับสนุนให้เกิดพืน้ ทีก่ ารวิจารณ์ศลิ ปวัฒนธรรมทุกแขนง ในสื่อสาธารณะและเวทีชุมชน ๒.๓ สนับสนุนให้มกี ารจัดทำและดำเนินการแผนพัฒนาผู้สร้าง และผู้เสพ ๒.๔ สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสมัชชาผู้ดูหนังแห่งชาติ ๒.๕ สนับสนุนให้มีพื้นที่สาธารณะเพื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชน ๒.๖ ส่งเสริมให้เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้สู่เวทีโลก เพื่อ ให้ต่างชาติ รับรู้ความสวยงาม สติปัญญาของคนในชาติ และส่งเสริมผลในแง่ เศรษฐกิจและสังคม ๒.๗ ภารกิจอื่นๆ ที่สมัชชาปฏิรูประดับชาติ เห็นสมควร รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๕๗


ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงวัฒนธรรม : ได้มีการผลักดันให้เกิดการจัดตั้งสมัชชา ศิลปวัฒนธรรมภาคประชาชนโดยได้มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบ คสป. โดย คณะกรรมการเครือข่ายศิลปินเพื่อการปฏิรูป : ได้วาง กลไกสนับสนุนให้เกิดองค์กรภาคีเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมของชุมชนโดย พื้นที่เป็นเจ้าของ ให้มีพื้นที่สาธารณะเพื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชน และได้มี การคัดเลือกพื้นที่นำร่อง ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน หนองบัวลำภู สุรินทร์ ราชบุรี สงขลา และลำพูน โดยมีแนวทางและวิธีการดำเนินงาน ได้แก่ การ ประสานและสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ โดยเฉพาะอย่างยิง่ องค์การ บริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นหน่วยงานสำคัญในการอนุรักษ์ ฟืน้ ฟู และ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากศิลปะแขนงต่างๆ เพื่อ“การสร้างจิตสำนึกใหม่ ทำเมืองไทยให้น่าอยู่” โดยการคงอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี และ ภูมปิ ญ ั ญาของแต่ละชุมชนท้องถิ่น ด้วยการเปิดพื้นที่สาธารณะด้านศิลปะ วัฒนธรรม โดยประชาชน เพือ่ ประชาชน ในรูปแบบต่างๆ โดยออกแบบ กิจกรรมด้าน วรรณศิลป์ คีตศิลป์ ทัศนศิลป์ และการคัดเลือกคณะทำงาน ระดับจังหวัดจากตัวแทนของศิลปินทั้ง ๔ แขนง รวมทั้งนักวิชาการและ แต่งตั้งประธาน ในแต่ละจังหวัดนำร่อง ซึ่งกิจกรรมประกอบไปด้วย ๑) ประชุมเตรียมการเพื่อทำความเข้าใจกับบุคคลที่เกี่ยวข้องใน จังหวัดเพื่อพัฒนาวิสัยทัศน์ กรอบการทำงาน เตรียมการประชุมแกนนำผู้เกี่ยวข้อง กลไกการจัดการ ๒) เวทีสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ได้แก่แกนนำและ ผู้เกีย่ วข้องในพืน้ ทีท่ กุ ภาคส่วน (อบจ./เทศบาล ศิลปิน ประชาคม นักวิชาการ เยาวชน) ในพื้นที่ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก ศิลปะแขนงต่างๆ เพื่อ“การสร้างจิตสำนึกใหม่ ทำเมืองไทยให้น่าอยู่” เพื่อ

๕๘

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


กำหนดแนวคิด และกิจกรรมในพื้นที่ เพื่อพัฒนากรอบ รูปแบบ กลไก การ ดำเนินการในพื้นที่ที่เป็นรูปธรรม ๓) ปฏิบตั กิ ารในพื้นที่ (ต่อเนื่องทั้งปี) งบหนุนเสริมร่วมกับ อบจ. ระหว่างดำเนินกิจกรรม อาทิ ค่าวิทยากรเสริมจากส่วนกลาง/ค่าเดินทาง การแสดงระหว่างภาค/ค่าเดินทางกรรมการลงพืน้ ที/่ ค่าวิเคราะห์ประเมินผล ร่วมกับทีมวิชาการพื้นที่/ค่าจัดประชุมปรับแผนการดำเนินงานเป็นระยะ เป็นต้น ข้อ ๓ การสนับสนุนทุนการดำเนินงานพัฒนาศิลปวัฒนธรรมภาค ประชาชน ๓.๑ ให้ อปท. จัดสรรงบประมาณ สนับสนุน ศิลปวัฒนธรรม ภาคประชาชนทุกแขนง อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงวัฒนธรรม : ได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์การทำงานด้าน วัฒนธรรมกับท้องถิ่น โดยได้มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบ และมีการ จัดทำความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้การสนับสนุน และจัดสรรงบประมาณเพือ่ ดำเนินด้านศิลปะและวัฒนธรรม โดยได้มอบหมาย ให้หน่วยงานรับผิดชอบ ได้แก่ ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ๓.๒ ขอให้ คสป.เสนอ ครม. ออกกฎหมายจัดตั้ง “กองทุน สนับสนุนศิลปวัฒนธรรมภาคประชาชน” ซึ่งมีแหล่งทุนที่ชัดเจน และยั่งยืน โดยให้มีผู้แทนจากสมัชชาศิลปวัฒนธรรมภาคประชาชนทุกภูมิภาคหรือกลไก อิสระตามข้อ ๒ มีส่วนร่วมในการบริหารกองทุน รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๕๙


ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงวัฒนธรรม : ได้มกี ารศึกษาความพร้อมและความเป็นไปได้ ในการจัดตัง้ กองทุนสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมภาคประชาชน โดยได้มอบหมาย ให้หน่วยงานรับผิดชอบ ๓.๓ ให้ อปท. และหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น กระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรม เป็นเจ้าภาพร่วม ในการดำเนินการเร่งรัดการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เชิงรุกด้านการเสริมสร้าง ศักยภาพเด็ก เยาวชนและครอบครัวในกระบวนการเรียนรู้เท่าทันสื่อ รวมถึง การสนับสนุนด้านงบประมาณ และนโยบายทีห่ นุนเสริมการทำงานอย่างมีส่วนร่วม ของภาคประชาสังคม ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงวัฒนธรรม : ได้มกี ารขับเคลือ่ นยุทธศาสตร์เชิงรุกด้านการ เสริมสร้างศักยภาพเด็กเยาวชน และครอบครัวในกระบวนการเรียนรู้ เท่าทัน สื่อ โดยได้มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบ ๓.๔ ให้รัฐสนับสนุนทุนแก่สถาบันการศึกษาที่เป็นแหล่งผลิต บัณฑิตที่ร่วมผลิตสื่อที่สร้างสรรค์ ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงวัฒนธรรม : ได้มีการสนับสนุ น การดำเนิ น งานด้าน การผลิตสื่อสร้างสรรค์แก่สถาบันการศึกษา โดยได้มอบหมายให้หน่วยงาน รับผิดชอบ

๖๐

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


ข้อ ๔ ให้หน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแลงานศิ ล ปวั ฒ นธรรม เช่น กระทรวงวัฒนธรรม ทำงานร่วมกับ อปท. สนับสนุนงานศิลปวัฒนธรรมของ ภาคประชาชน อย่างจริงจังและเข้มแข็ง ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงวัฒนธรรม : ได้ดำเนินการสนับสนุนการดำเนินงานด้าน การผลิตสื่อสร้างสรรค์แก่สถาบันการศึกษาโดยได้มอบหมายให้หน่วยงาน รับผิดชอบ ข้อ ๕ ขอให้รฐั บาลมอบหมายหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ดำเนินการ ดังนี ้ ๕.๑ จัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรให้การรับรองวุฒิการศึกษา ให้กับศิลปิน ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงวัฒนธรรม : ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง หน่วยงานหรือองค์กรในการรับรองวุฒิการศึกษาให้กับศิลปินได้มอบหมาย ให้หน่วยงานรับผิดชอบ

๕.๒ ดูแลด้านลิขสิทธิแ์ ละการแสดงดนตรีให้มคี วามสงบเรียบร้อย

ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงวัฒนธรรม : ได้ประสานความร่วมมือกับกรมทรัพย์สิน ทางปัญญาเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านลิขสิทธิ์ ได้มอบหมายให้หน่วยงาน รับผิดชอบ รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๖๑


๕.๓ ส่งเสริมงานศิลปวัฒนธรรมให้เป็นกลไกในการสร้างสังคม พหุวัฒนธรรมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริง รวมถึงขจัดการ ผูกขาดทางวัฒนธรรม ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงวัฒนธรรม : ได้มีการวิจัยและศึกษาการใช้งานวัฒนธรรม เป็นกลไกในการสร้างสังคมพหุวัฒนธรรม และได้มีมอบหมายให้หน่วยงาน รับผิดชอบ ๕.๔ เฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้งานศิลปวัฒนธรรมถูกใช้เป็น เครื่องมือในการกดขี่ ล่วงละเมิด การเอารัดเอาเปรียบทางสังคม และการเลือก ปฏิบัติ ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงวัฒนธรรม : ได้มีการสร้างกลไกและขยายเครือข่ายการ เฝ้าระวังทางวัฒนธรรมให้มีความเข้มแข็ง และได้มีมอบหมายให้หน่วยงาน รับผิดชอบ ๕.๕ ส่งเสริมให้ศิลปวัฒนธรรมสะท้อนภาพลักษณ์ที่แท้จริง ของกลุ่มคนในสังคม เช่น เด็ก เยาวชน สตรี เป็นต้น ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงวัฒนธรรม : ได้มีการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพในการ สร้างสรรค์งานศิลปะและวัฒนธรรม และได้มมี อบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบ

๖๒

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


๕.๖ ให้กระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ประสานงานหลัก เพื่อให้ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องทัง้ ภาครัฐและภาคประชาสังคมได้พฒ ั นาศิลปินผู้สร้างงาน ให้มีความรับผิดชอบต่องานที่สร้างออกมา โดยให้คำนึงถึงผลกระทบทางลบที่ จะเกิดขึ้นกับสังคมด้วย ความคืบหน้าการดำเนินงาน กระทรวงวัฒนธรรม : ได้มีการจัดทำจรรยาวิ ช าชี พ ของศิ ล ปิน ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ และได้มีมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบ และ เตรียมความพร้อมในการจัดทำแผนงานโครงการให้สอดคล้องกับมติทปี่ ระชุม สมัชชาปฏิรปู ระดับชาติ เพือ่ เตรียมการรายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาปฏิรูป ได้มีกรอบในการดำเนินงาน ได้แก่ ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม จากการดำเนินงานของภาพรวมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในมติ ที่ ๘ มีปัญหาอุปสรรคดังนี้ ข้อจำกัดในเรื่องของโครงสร้างกลไกภาครัฐ การหาศูนย์รวมค่อนข้างยาก ซึง่ ถ้ามีการปรับเปลีย่ นผูบ้ ริหารจะเป็นเรื่องยาก ในการประสานเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ซึ่งไม่ใช่คนเดิมที่เคยมาเข้าร่วมการประชุม ก่อให้เกิดความไม่ต่อเนื่องของการขับเคลื่อนในมติ และแต่ละหน่วยงานมี ข้อจำกัดในเรื่องของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องแต่ละมติ ซึ่งไม่ได้มีคำสั่งจาก คณะรัฐมนตรีในการให้หน่วยงานกระทรวง ทบวง กรมดำเนินงาน

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๖๓


๒. มติสมัชชาปฏิรปู ระดับชาติ ครัง้ ที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕ และแนวทาง การติดตามการดำเนินงานตามมติฯ

การประชุมสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม – ๑ เมษายน ๒๕๕๕ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ที่ประชุมได้มีฉันทามติ ๖ มติ เป็นมติในประเด็นต่างๆ ดังนี้ มติที่ ๑ การปฏิรูประบบแรงงานและสวัสดิการ : การเพิ่มอำนาจ ต่อรองของแรงงาน การปรับโครงสร้างค่าจ้าง การเพิ่ม ผลิตภาพ และคุ้มครองแรงงาน มติที่ ๒ การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ : สู่ ก ารปรั บ ดุ ล อำนาจที่ เหมาะสมระหว่างรัฐบาลกับชุมชนท้องถิ่น มติที่ ๓ การปฏิรูประบบเกษตรกรรม : เพื่อความเป็นธรรมและ ความมั่นคงทางอาหาร มติที่ ๔ การปฏิรูประบบการเมือง : พัฒนาความเข้มแข็งของ พลเมืองเพื่อปฏิรูปประเทศไทย มติที่ ๕ การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดิน : การบริหาร จัดการที่ดิน มติที่ ๖ การปฏิรูปการศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพื่อสร้าง คุณภาพ และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งภายหลังการประชุมสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕ คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูป ได้ดำเนินการ จัดทำ Mapping บุคคล หน่วยงาน องค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งการ ยกร่างเส้ น ทางการดำเนิ น งานเพื่ อ บรรลุ ผ ลของแต่ละมติ และได้จัดให้มี การประชุมคณะอนุกรรมการวิชาการ คณะทำงานวิชาการแต่ละประเด็น เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะทำงาน ๖๔

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


วิชาการแต่ละประเด็นได้พิจารณาบุคคล หน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ระดมความคิ ด เห็ น ในการขั บ เคลื่ อ นติ ด ตามมติ ส มั ช ชาปฏิ รู ป ระดั บ ชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕ ซึ่งผลการประชุม ได้สรุปเป็นแนวทางในการดำเนินงาน การติดตามฯ ดังนี้ แนวทางการติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรปู ระดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๕ ๑. คณะกรรมการติดตามฯ ควรเป็นแกนหลักในการเชื่อมประสาน และแสวงหาความร่วมมือกับบุคคล หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ในการ ดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูป ดังนี้ มติที่ ๑ การปฏิรูประบบแรงงานและสวัสดิการ : การเพิ่มอำนาจ ต่อรองของแรงงาน การปรับโครงสร้างค่าจ้าง การเพิ่มผลิตภาพ และคุ้มครอง แรงงาน องค์กรอิสระ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาครัฐและ องค์การมหาชนอื่นๆ

- คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) - ธนาคารแห่งประเทศไทย - สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย - สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย - ธนาคารต่างๆ - สถาบันการศึกษาต่างๆ เช่น คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฯลฯ ทีม่ คี วามเชี่ยวชาญ ด้านแรงงาน - กระทรวงศึกษาธิการ - สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน (คณะกรรมการค่าจ้าง) กระทรวงแรงงาน - กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๖๕


- กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน - กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน - สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน - กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ - สำนักนโยบายการออมและการลงทุน กระทรวงการคลัง - สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง - ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) - กระทรวงสาธารณสุข - แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภาคประชาสังคม - คณะกรรมการเครือข่ายแรงงานเพื่อการปฏิรูป - สหภาพแรงงาน - สมาคมนายจ้าง - คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย - องค์กรแรงงาน - องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) มติที่ ๒ การปฏิรปู โครงสร้างอำนาจ : สูก่ ารปรับดุลอำนาจทีเ่ หมาะสม ระหว่างรัฐบาลกับชุมชนท้องถิ่น องค์กรอิสระ ภาครัฐและ องค์การมหาชนอื่นๆ ๖๖

- สำนักนายกรัฐมนตรี - สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี - กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


ภาคประชาสังคม

- กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย - สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ - กระทรวงการคลัง - สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) - สภาพัฒนาการเมือง (สพม.) - สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย - สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย - สมาคมข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด แห่งประเทศไทย - สมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย - สมาคมข้าราชการส่วนตำบลและเทศบาล - สมาพันธ์ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล แห่งประเทศไทย - สมาคมสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - คณะกรรมการเครือข่ายองค์กรชุมชนเพือ่ การปฏิรูป - คณะกรรมการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการปฏิรูป

มติที่ ๓ การปฏิรูประบบเกษตรกรรม: เพื่อความเป็นธรรมและความ มั่นคงทางอาหาร องค์กรอิสระ - คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ภาคเอกชน - สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ภาควิชาการ - ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช - คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๖๗


ภาครัฐและ องค์การมหาชนอื่นๆ ภาคประชาสังคม ๖๘

- สำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์ - กระทรวงการคลัง - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ - กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและ เกษตรกรรมยั่งยืน สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - กระทรวงอุตสาหกรรม - กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย - กระทรวงศึกษาธิการ - กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ - สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ - สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร - สำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตร - คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบ เกษตรกรรมยั่งยืน (กกย.) - มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) - มูลนิธิชีววิถี - สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน - มูลนิธิเกษตรกรรมธรรมชาติ - มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค - เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก - เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษ - มูลนิธิสายใยแผ่นดิน - คณะกรรมการเครือข่ายปฏิรปู เพือ่ คุณภาพชีวติ เกษตรกร

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


มติที่ ๔ การปฏิรูประบบการเมือง : พัฒนาความเข้มแข็งของพลเมือง เพื่อปฏิรูปประเทศไทย องค์กรอิสระ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาครัฐและ องค์การมหาชนอื่นๆ ภาคประชาสังคม

- คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) - คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) - องค์การสื่อสารมวลชนต่างๆ - สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ - สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - สำนักนายกรัฐมนตรี - กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย - กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย - กระทรวงศึกษาธิการ - สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) - สภาพัฒนาการเมือง (สพม.) - สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) - สถาบันพระปกเกล้า - คณะกรรมการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการปฏิรูป - คณะกรรมการเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อการปฏิรูป - กลุ่มจังหวัดขับเคลื่อนจังหวัดจัดการตนเอง

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๖๙


มติที่ ๕ การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดิน : การบริหาร จัดการที่ดิน องค์กรอิสระ ภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคประชาสังคม

๗๐

- คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) - สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย - สำนักนายกรัฐมนตรี - กรมที่ดิน กระทรวงหาดไทย - กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง - กองบริหารจัดการทีด่ นิ สำนักงานนโยบายและแผน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ - กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - สำนักนโยบายและแผนการใช้ทดี่ นิ กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ - สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) - เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย - ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P MOVE)

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


มติที่ ๖ การปฏิรปู การศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพือ่ สร้างคุณภาพ และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม องค์กรอิสระ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาครัฐและ องค์การมหาชนอื่นๆ ภาคประชาสังคม

- คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) - ธนาคารต่างๆ เช่น ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ - บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCG) - กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี - กระทรวงศึกษาธิการ - กระทรวงวัฒนธรรม - กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และ พัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.) - สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) - สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา - สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.) - ภาคีเครือข่ายด้านการศึกษา ครอบครัว ชุมชน สื่อ - สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย - ภาคีเครือข่ายด้านต่างๆ

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๗๑


๒. คณะกรรมการติดตามฯ พิจารณาดำเนินการแต่ ง ตั้ งคณะทำงาน ขับเคลือ่ นมติในแต่ละมติ โดยมีองค์ประกอบทีม่ าจากภาคส่วนต่างๆ และผู้แทน คณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็น ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะอนุกรรมการวิชาการ ภายใต้คณะกรรมการดำเนินการจัดสมัชชาปฏิรูป (คจสป.) ๓. คณะกรรมการติดตามฯ ดำเนินการ ในกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ ๓.๑ จัดให้มีการประชุมบุคคล หน่วยงาน องค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม อย่างเป็นหุ้นส่วน อาจจัดให้มีการ ประชุมในแต่ละระดับ ได้แก่ เป็นระดับบริหารองค์กร ระดับปฏิบัติงาน โดย เน้นการกำหนดเป้าหมาย และทำแผนปฏิบัติการร่วมกัน ๓.๒ สนับสนุนให้มีเวทีรับฟังความคิดเห็น เช่น ร่าง ปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม เป็นต้น ๓.๓ สนับสนุนการจัดสมัชชาเฉพาะประเด็น เช่น สมัชชาปฏิรูป เฉพาะประเด็นการปฏิรูป กองทุนยุติธรรม การศึกษา กฎหมายที่ดิน เป็นต้น ๓.๔ ร่วมกับคณะทำงานขับเคลื่อนในแต่ละมติ ทำการ mapping ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การ mapping องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการ จัดการตนเองในเรื่องต่างๆ เช่น การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม การจัดการ ภัยพิบัติ เป็นต้น ๔. สนับสนุนให้มีการสื่อสารสังคม โดยการดำเนินงานร่วมกับคณะ กรรมการการสื่อสารเพื่อการปฏิรูป ทำการสื่อสารสังคม เพื่อสร้างความเข้าใจ ให้กับกลุม่ เป้าหมายต่างๆ เช่น องค์กรปกครองส่ว นท้องถิ่น ชุมชนแรงงาน เป็นต้น ด้วยการนำเสนอ Best Practices และอื่นๆ ๕. คณะกรรมการติดตามฯ สนับสนุนทรั พ ยากร ได้ แ ก่ วิ ชาการ บุคลากร และงบประมาณ อย่างเหมาะสมในการขับเคลื่อนมติสมัชชาปฏิรูป ของภาคีเครือข่ายต่างๆ เช่น คณะกรรมการเครือข่าย ๑๔ คณะ ภาคีเครือข่าย เจ้าของประเด็น เป็นต้น ๗๒

รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


๓. รายชือ่ คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามมติ สมัชชาปฏิรปู

(สำเนา) คำสั่งคณะกรรมการสมัชชาปฎิรูป ที่ ๑ / ๒๕๕๕ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูป

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิรปู พ.ศ.๒๕๕๓ ข้อ ๙ กำหนดให้มีคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป และ ข้อ ๑๐ (๕) ให้อำนาจคณะ กรรมการสมัชชาปฏิรูปแต่งตั้ง คณะกรรมการเฉพาะประเด็น หรือเฉพาะด้าน คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปมอบหมาย นั้น เพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบและโครงสร้างต่างๆ ในประเทศไทย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เสริมสร้างสมรรถนะและพลังปัจจัย ทีจ่ ะช่วยขับเคลื่อนสังคมไทยให้มีความเข็มแข็ง อยู่เย็นเป็นสุข มีศักดิ์ศรีและ ความเป็นธรรม อันจะนำไปสูค่ วามสมานฉันท์ สันติสขุ และความเจริญมัน่ คงของ ประเทศชาติ จึงแต่งตั้งผู้มีรายนามดังต่อไปนี้ เป็นคณะกรรมการติดตามการ ดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรปู โดยมีองค์ประกอบ หน้าทีแ่ ละอำนาจ ดังนี้ ๑. องค์ประกอบ ๑.๑ นายชูชัย ศุภวงศ์ ประธานกรรมการ ๑.๒ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี หรือผู้แทน กรรมการ ๑.๓ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ กรรมการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือผูแ้ ทน ๑.๔ นายมานิตย์ ประพันธ์ศิลป์ กรรมการ ๑.๕ นายสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ กรรมการ ๑.๖ รองผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูป กรรมการ (นางวณี ปิ่นประทีป) ๑.๗ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูป กรรมการ (นางสาวพัชรา อุบลสวัสดิ์) รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕

๗๓


๗๔

๑.๘ นางสาวสมพร อิทธิเดชพงศ์ กรรมการและ เลขานุการ ๑.๙ นางสาวรัฐวรรณ เฮงสีหาพันธ์ กรรมการและ ผูช้ ว่ ยเลขานุการ ๒. หน้าที่และอำนาจ ๒.๑ กำหนดกรอบการติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูป ๒.๒ แสวงหาความร่วมมือจากองค์กร ภาคีเครือข่ายและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูป ๒/๒.๓... ๒.๓ ติดตามผลการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูป และรายงาน ต่อสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ตามความเหมาะสม ๒.๔ ให้ขอ้ เสนอต่อคณะกรรมการสมัชชาปฏิรปู เกีย่ วกับการดำเนินงาน ตามมติ สมัชชาปฏิ รปู ระดับชาติ สมัชชาปฏิรปู เฉพาะประเด็น และการดำเนินการ ขับเคลือ่ นมติสมัชชาปฏิรปู ขององค์กร ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ๒.๕ แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินงานที่ เ กี่ยวข้ อ งหรื อ ต่ อ เนื่อง ตามความจำเป็นและเหมาะสม ๒.๖ ปฏิบตั งิ านอืน่ ๆ ตามทีค่ ณะกรรมการสมัชชาปฏิรปู มอบหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ (ลงชื่อ) ประเวศ วะสี (ศาสตราจารย์ประเวศ วะสี) ประธานกรรมการสมัชชาปฏิรูป รับรองสำเนาถูกต้อง (ลงชื่อ) วณี ปิ่นประทีป (ดร.วณี ปิ่นประทีป) รองผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูป วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๕


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.