จายหาญ สตูดิโอ การเข้ามาของยุคที่เรียกได้ว่า new media การติดต่อสื่อสารและอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ครบครันกับผู้คนทั่วโลกบวกกับ รูปแบบการใช้ชีวิตทำให้คนส่วนมาก มองไปที่เมืองหลวง ตัวเมือง ที่พร้อมรับความทันสมัยเหล่านี้ แต่กลับมองข้ามการ ทำงานของ New Media ที่มันเกิดขึ้นในตะเข็บชายแดนว่ามันมีพัฒนาการและรูปแบบการเข้าถึงอย่างไร ไม่ใช่การใช้ เครื่องมือที่ทันสมัย ไม่ใช่การเสพข่าวสารที่ทันท่วงที แต่เป็นการบังคับให้พวกเขาต้องเรียนรู้และใช้สื่อในรูปแบบของ New Media เพื่อนำมาประกอบอาชีพและความอยู่รอดในรูปแบบทุนนิยมสมัยใหม่ พืนที่ที่จะถูกกล่าวถึงมันมีการ ทำงานของสื่อ New Media ในรูปแบบของชาวไทใหญ่ที่ต่างออกไปจากวิถีไลฟ์สไตล์ในรูปแบบคนเมือง ที่ไม่ใช่ใช้สื่อ เพื่อความบันเทิง และผ่อนคลาย แต่กลับกันการใช้สื่อของที่นี่จะถูกใช้ในรูปแบบของความคิดและวิธีการเรียนรู้เพื่อสิ่งที่ ตนรักและเลี้ยงชีพ ที่แห่งนี้คือ "บ้านเทอดไทย ต.ดอยแม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย" การเดินทางไปเก็บเสียงตามแนวชายแดนทำให้ทีมงานพบปะกับชาวบ้านเรียนรู้วิถีชีวิตของคนที่นั่นมากมาย แม้เพียง เวลาอันน้อยนิดกลับทำให้เราดึงความสนใจที่โดดเด่นสำหรับหมู่บ้านเทอดไทยนี้ออกมาได้คือ ร้านตัดผมเล็กๆใน หมู่บ้านที่ไม่ใช่เพียงร้านตัดผมธรรมดาๆหน้าร้านดึงความสนใจของเราด้วยป้ายไวนิลเสมือนโปรโมทศิลปินนักร้องท่าน หนึ่ง และหน้าร้านเองก็มีแผ่นซีดีเพลงของพี่ผู้ชายในป้ายและอัลบั้มเพลงของไทใหญ่ มองไปในร้านเราจึงรู้ว่าพี่ที่อยู่ใน ป้ายเป็นพี่ที่กำลังตัดผมอย่างขมักเขม้น จึงได้มีโอกาสพูดคุยและทำความรู้จักกับพี่ "จายหาญ" เรียกได้ว่าเป็นศิลปิน แห่งบ้านเทอดไทยเลยก็ว่าได้ ที่เรายกย่องพี่จายหาญให้เป็นศิลปินแห่งบ้านเทอดไทย เป็นเพราะ พี่จายหาญรับทำสื่อ แทบทุกอย่างในหมู่บ้านเทอดไทย ทั้งการถ่ายวิดีโอ การตัดต่อวิดีโอ รวมถึงตัวพี่จายหาญยังเป็น นักแสดง นักร้องและ นักแต่งเพลง ที่ทำอัลบั้มเองและขายเองในหมู่บ้านเทอดไทย ทำให้ในหมู่บ้านไม่มีใครที่ไม่รู้จักพี่จายหาญในฐานะนัก ร้องที่มีร้านตัดผมรวมอยู่ด้วย เพลงไทใหญ่ที่ถูกร้องผ่านเส้นเสียงของพี่จายหาญมันมีพลังและมีความหมายทุกตัวอักษรที่เปล่งผ่านบทเพลง คำร้อง ความหมายมีเรื่องราวที่ตัวพี่จายหาญเองอยากส่งผ่านให้คนฟัง จากม้วนเทปม้วนแรกที่จ้างทำและได้ออกมาไม่ดีจึงเป็น จุดเริ่มต้นที่ทำให้พี่จายหาญ เรียนรู้วิธีการตัดต่อ ด้วยการนั่งดู ทำความเข้าใจ ฝึกหัดในทุกๆวันจนกระทั่งสามารถ ควบคุมเองได้หมดจนถึงทุกวันนี้ มันเกิดจากความคิดที่ไม่ท้อถอย การเรียนรู้เทคโนโลยี วิธีการที่ไม่ต้องใช้คู่มือในการ ศึกษาวิธีการตัดต่อ การทำกราฟฟิกบนปกอัลบั้มเพลงหรือแม้แต่การถ่ายทำ MV เพลง ทั้งหมดเป็นวิธีการเรียนรู้แบบ ครูพักรักจำแทบทั้งสิ้น เมื่อเสร็จหนึ่งอัลบั้มพี่จายหาญก็นำมาวางขายที่ร้านตัดผมของตนและupload ลงช่องทาง สื่อสารonline อย่างเช่น Youtube เพื่อให้เราได้มีโอกาสได้ดูผลงานที่ผ่านมาของพี่จายหาญ ซึ่งมันก็สร้างความ ประทับใจให้คนดูเป็นอย่างมาก ประโยคหนึ่งที่พี่จายหาญพูดคือ "ไม่สามารถยืนขาเดียวได้ ต้องทำหลายอย่างเพื่อความอยู่รอด" นี่อาจจะเป็นความคิด ที่ทำให้พี่จายหาญจดจำและทำทุกอย่างเองรวมถึงการมีใจรักในสิ่งที่ตนทำ รับงานนอกอยู่บ่อยครั้ง อาทิงานแสดง ที่พี่ จายหาญเองก็ทำด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการควงกระบอง และการแสดงหนังของไทใหญ่ ทำให้เห็นว่า ศิลปินไทใหญ่ คนนี้เป็นที่น่ายกย่องคนหนึ่ง ทั้งรูปแบบของความคิดและวิธีการดำรงชีวิต ถึงแม้จะอยู่ในประเทศไทยแต่ยังรักษา ประเพณีและวัฒนธรรมของไทใหญ่ผ่านบทเพลง ท้วงทำนองการร้องอยู่ตลอดเวลา จึงไม่แปลกที่จะทำให้พี่จายหาญควบคุม สตูดิโอ ดูแลการทำงานทั้งหมดด้วยตนเองได้ ทำให้ New media ถูกจัดการ ได้อย่างลื่นไหลในชุมชนที่ไม่ได้โหยหาเทคโนโลยีจนบ้าคลั่งแต่โหยหาเทคโนโลยีเพื่อความอยู่รอด และใจรักที่จะเรียนรู้ และใช้มันอย่างคุ้มค่าที่สุด นี่เป็นสิ่งที่น่านับถือและชื่นชม เป็นแบบอย่างของการเรียนรู้สื่อและวิธีการสร้างสรรค์ผล งานสำหรับเยาวชนในปัจุบัน เพราะการทำงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ล้ำค่าอยู่ตลอดเวลา แต่ เป็นการใช้วิธีการคิดควบคู่กับการทำงานที่พัฒนาไปเรื่อยๆจนเกิดกระบวนการ NEW MEDIA ขึ้น