บทแห่งความฝัน ที่พังพินาศ (DIALOGUE Bedtime Stories ) การเล่นกับความเป็นแฟนตาซี การกล่อมเกลาด้วยนิทานก่อนนอนเป็นการสยบเด็กที่ผู้ใหญ่นิยามขึ้น การ วิพากษ์คำขวัญวันเด็กว่าด้วยเรื่องคุณธรรม จริยธรรม การพูดถึงบทเรียนของรัฐที่กระทำในภาวะของความเป็นเด็ก “อนุบาล”การทำงานวิจัยเชิงวิพากษ์ในหัวข้อ“เสียงในโลกส่วนตัวของเด็กอนุบาล : แฟนตาซีและอุดมการณ์ครอบงำ ของรัฐ” มันจึงท้าทายอำนาจของรัฐในสถานะของพลเมืองตัวเล็กที่กำลังเผชิญหน้า ปะทะและสังสรรค์กันผ่านรูป แบบของ “บทละคอน” U U U ตัวฉันเอง เป็นพลเมืองของรัฐที่กระทำการทดลองวิพากษ์เรื่องของเด็ก ที่ไม่เด็ก เพราะการศึกษาเล่าเรียนใน โรงเรียนรัฐและยิ่งเป็นเด็กอนุบาลแล้ว คำว่าจุดเริ่มต้นของ อุดมการณ์มันครอบงำและทำงานง่ายมาก อุดมการณ์ที่ กล่าวถึงนั่นก็คือ อุดมการณ์รัฐ ครอบครัว สถาบัน ชายเป็นใหญ่ และรวมไปถึงอุดมการณ์ความคิดสร้างสรรค์ ตัวฉัน เองทำการเข้าใจอุดมการณ์ผ่านทางภาษาของเด็ก ด้วยวิธีวิทยาหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการจดความฝัน การ วิเคราะห์ภาพวาดลายเส้น การใช้เรื่องเล่าของเด็ก และการทำความเข้าใจเสียงของเด็กในรูปแบบของรัฐ นั่นคือ กิจกรรมในแต่ละช่วงวันที่เด็กทำ มันสอนเด็กให้เป็นพลเมืองเชื่องๆของรัฐได้ง่ายดายมาก บทท่องจำที่เกิดขึ้น เสียง ของบทสวดมนต์ที่มันปะทะกันของช่วงวัย ความมีระเบียบของห้องเรียนย่อส่วน ซึ่งงานวิจัยครั้งนี้ ได้ศึกษาแนวคิด เรื่องจิตไร้สำนึกผ่านโครงสร้างทางภาษา ของลากองที่หยิบยกมาใช้กับเด็ก(อนุบาล) มันทำให้ฉันมีความเข้าใจมาก ขึ้นว่า การทำงานของระบบสัญลักษณ์ทำงานอยู่รอบกายเราตลอดเวลาตั้งแต่แรกเกิด ทุกสิ่งที่อย่างที่เด็กจับต้อง มอง เห็น และเรียนรู้ไปจนระบบวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ วิถีชีวิต และความเชื่อออกมา มันคือภาษาที่ ประกอบสร้างตัวตนของเด็กคนหนึ่ง ผลิตซ้ำๆ ใส่ข้อมูลซ้ำๆ จนมันเข้ามามีอิธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของคนคน หนึ่ง ทำให้ความเป็นตัวตนของเด็กถูกจัดระเบียบตั้งแต่ย่างก้าวเข้าสู่โรงเรียนที่เรียกตนเองว่า “ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” !
U ฉันเองก็ไม่สามารถเรียก “เด็กเล็กอนุบาล” อย่างเต็มปากเต็มคำไม่ได้ว่า ผ้าขาวบริสุทธิ์ ยังไม่ถูกสิ่งใดปรุงแต่ง มันจึงไม่สามารถกลับไปว่างเปล่าดั่งผ้าขาวบริสุทธิ์เช่นเดิมได้อีก เช่นเดียวกับการเขียนทับรอยกระดาษแผ่นเดิมที่ดึง ออกแล้วยังคงร่องรอยเก่าไว้อยู่ โดยความว่างเปล่า (Nothingness) ที่เด็กอยู่ในครรภ์แม่ เมื่อความเป็นตัวตนของเด็ก ถูกสร้างขึ้นจากองค์ประกอบต่างๆของสังคม การก่อรูปของสรรพสิ่ง จึงไม่ใช่ผ้าขาวที่ว่างเปล่า โปร่งแสงอีกต่อไป หากแต่ทำให้เกิดความเข้าใจที่ว่า พื้นที่สีขาวที่แปรเปลี่ยนเป็นสีเทา ภาพของสังคม องค์ประกอบร่วม ถูกทำงาน ตลอด 24 ชั่วโมง มันตีกันและขณะชวนให้ลุ่มหลงสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ ตัวเด็กจึงมิได้มีแค่ร่างเดียวที่ห่อหุ้มเขาไว้ หากแต่ตัวของเด็กเองถูกปกคลุมด้วยหลายร่างในร่างเดียว หลากหลายไปด้วยวาทกรรมของสิ่งอื่นปกคลุม ผ่าน กระบวนการคลอดและบันทึกความทรงจำออกมา U ต่อมางานงานวิจัยชิ้นนี้สนใจในประเด็น การสะท้อน การปะทะ และตีกลับของวัฒนธรรมว่าด้วยแนวคิด เรื่องการ สะท้อนตนเอง (Reflextive) ของ Victor ternur ในเรื่องของกระบวนการสะท้อนตนเองผ่านการแสดง หรือ Performative Perflexivity เพื่อสะท้อนการปะทะกันของช่วงความจริงและจินตนาการ ช่วงเวลาของการสลายอำนาจ
ที่รัฐไม่สามารถช่วงชิงช่วงเวลานี้ของเราไปได้ ช่วงนี้ฉันเรียกมันว่า ช่วงแห่งการเปลี่ยนผ่านที่มีคาบเกี่ยวกันระหว่าง เรื่องเล่ากับจินตนาการเพราะมันเชื่อมโยงกับงานแสดงเข้าไว้ด้วยกัน ช่วงเปลี่ยนผ่าน(marginality) ฉันคิดว่ามันเป็น ช่วงเวลาที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะมันแยกออกจากความเป็นปกติของชีวิตประจำวัน เช่น การกิน การถ่าย การหลับ ในช่วง นี้บุคคลหรือกลุ่มคนที่ได้รับอนุญาตให้ปลดปล่อยตนเองออกจากแบบแผน วัฒนธรรม ประเพณีที่กดครอบอยู่ เป็นการชั่วคราว เพื่อจะได้มีอิสรภาพเพียงพอที่จะกระทำการมองย้อนสะท้อนตนเองและสังคม กระบวนการนี้ไม่ใช่ จะเรียบง่าย งดงาม แต่เต็มไปด้วยความรุนแรงที่แอบแฝง การอุปลักษณ์(Metaphor) มันนำพาผู้คนให้ไปสู่สภาวะของ ความสมมุติ ภาวะการสะลึมสะลือ เบลอ ความจริงที่เป็นสามัญสำนึกถูกแขวนไว้ชั่วคราว และนำความปรารถนา ความต้องการ ทีเล่นทีจริง ความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้เข้ามาปะทะสังสรรค์กันซึ่ง วิธีนี้ถูกโยงมาใช้กับบริบท ของงาน วิจัยที่ว่าด้วย “การร่ายบทละคอน” ที่แต่งขึ้นเพื่อกล่อมเกลาเด็ก คล้ายกับพิธีกรรมเปลี่ยนผ่านเชิงสังคมคือได้นำผู้คน มาอยู่ในสถานที่ที่ไม่คุ้นชิน ห่างไกลจากความเป็นปกติ มาสู่บรรยากาศของการรับชมละคอน มันเสมือนห้องเรียน ห้องหนึ่งที่ไม่มีครู แต่มีอำนาจที่มาล้อเล่นกับพวกเขาซึ่งเป็นเด็ก ความไม่มีระเบียบ ความวุ่นวาย มันสังสรรค์กัน ตลอดเวลา นี่คือสิ่งที่ตัวฉันเห็นในงานชิ้นล่าสุดที่มีชื่อว่า DIALOGUE Bedtime Stories “บทแห่งความฝัน ที่พัง พินาศ” U U
“ การร้อยเรียงเรื่องราว ด้วยถ้อยคำที่พินิจอ่านแนวคิด ลากองให้เด็กฟัง อธิบายศาสตร์แห่งความฝัน และความเชื่อของคนไทยสมัยโบราณ แต่งบทกวีที่ฟาดฟันการขบคิดของเด็ก ล้อการเมืองเรื่องห้อง เรียน และน้ำเสียงที่เป็นแฟนตาซี ฟังแล้วมืดมน ที่สุดท้ายแล้วเด็กคงฟังที่ฉันพูดไม่รู้เรื่องเป็นแน่”
U กระบวนการทำงานมันเล่นในเรื่องของ ความพล่าเลือน ภาวะสะลึมสะลือของสังคม ที่ถูกรัฐครอบงำไม่ว่าจะ ด้วยกระบวนการใดก็ตาม ภาวะที่มันไม่ชัดเจนย่อมแทรกซึมชุดความคิดได้ง่ายดาย ความคิดที่ว่าอาจนำไปสู่ กระบวนการเคลื่อนไหวและรวมตัวของอำนาจใดอำนาจหนึ่งในวันข้างหน้า การละเล่น พิธีกรรม มันจึงเป็นส่วน หนึ่งของการแสดงออกทางวัฒนธรรมผ่าน Mirror satge (การสะท้อนตัวเอง)ของเด็ก เหมือนกับได้นำเด็กเหล่านั้น เข้าสู่การเปลี่ยนผ่าน โดยให้เขาได้ละทิ้งสถานภาพเดิมที่ตนเป็นอยู่ ไปสู่สถานภาพใหม่ซึ่งก็คือการสวมบทบาททำให้ ช่องว่างของเวลามันมีช่วงที่ละทิ้งการควบคุมบังคับของสามัญสำนึก หรือเกิดการพยศกับระเบียบแบบแผนของ สังคมเป็นการชั่วคราว DIALOGUE Bedtime Stories “บทแห่งความฝัน ที่พังพินาศ” นำเสนอเรื่องเล่าก่อนเข้า นอน (Bedtime story) ถูกจำลองเรื่องราวมาจากชั้นเรียนอนุบาลของรัฐที่ควบคุมประชากรเด็กให้เป็นพลเมืองที่ เชื่องๆ การเรียนรู้ในแต่ละช่วงวันจึงเป็นเสมือนนิทานที่กล่อมเกลาให้เด็กหลับใหลไปกับคำสอน ห้องนอนแห่งนี้มัน จึงเป็นจุดรวมตัวกันของ ช่วงความจริง (Real) และช่วงของจินตนาการ(imaginary) ที่ทำงานได้ชัดที่สุด หรือพูดได้ ว่า นิทานก่อนนอน เสมือนห้องเรียนที่รวบรวมอุดมการณ์ความเชื่อ ทุกชุดมาไว้ด้วยกันและเกิดเป็น ระบบนิเวศใน จินตนาการที่โลดแล่นอยู่ใน “ความฝัน” U ท้ายที่สุดแล้วฉันสรุปงานวิจัยครั้งนี้ได้ว่า “ชุดอุดมการณ์” ที่ถูกพูดถึงในงานวิจัยมันไม่ได้น่ากลัว ในรูปแบบ ของการจับจ้อง จ้องมอง สร้างภาวะความกดดันให้เด็ก แต่ที่มันต้องการวิพากษ์คือ แนวคิดในเชิงนามธรรมที่ถกถียง
กันมาตลอด ชุดอำนาจความคิดที่เถียงกันไม่จบไม่สิ้น ในโลกของวรรณกรรม โลกวิชาการ ที่ผู้ใหญ่ยัดเยียดมันอยู่ทุก วัน ความยุ่งเหยิง กระอักกระอ่วนที่ว่ามันยังคงอยู่ในสังคมไทยนี้ไปเรื่อยๆ และด้านมืดของเด็กที่อยู่ในจิตใต้สำนึกจะ ถูกปลดปล่อยออกมาก็ต่อเมื่อ พื้นที่มันเอื้อให้เด็กได้ปลดปล่อย ความเกลียด ความกลัว ความบ้า ในช่วงขณะใดขณะ หนึ่งเพียงเท่านั้น เพราะท้ายที่สุด ก็ตกอยู่ในสถานะของการเป็นพลเมืองรัฐ เป็นทาสของวัฒนธรรมที่ปลุกฝังมาจน อยู่ในสมอง ที่เป็นอัตโนมัติไปเสียแล้ว หากเด็กคือผู้ใหญ่ย่อส่วน แล้วผู้ใหญ่ที่แย่งชิงศักดิ์ศรีและเสรีภาพในสังคม จน อยากกลับเป็นเด็กอีกครั้ง บ้างก็พูดว่า อยากย้อนวัย กลับไปเป็นเด็ก คำพูดนี้จึงผิด ใครนิยามว่าเด็กคือผ้าขาว ไม่มี อะไรให้คิดมาก ใครนิยามว่าเด็กก็คือเด็ก คิดได้แค่นี้แหละอย่าไปสนใจ ใครกันที่เฝ้ารอว่า เด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวัน หน้า เด็กฉลาด ชาติเจริญ นี่คือสิ่งประกอบสร้างทางสัมคมที่เป็นชุดอุดมการณ์สำเร็จรูป เด็กก็คือผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็แค่ ตัวใหญ่ แต่ทั้งคู่เรียนรู้ไปพร้อมกัน ฝึกไปพร้อมกัน นี่ต่างหากคือข้อสรุปของงานวิจัยที่ว่าด้วย อุดมการณ์และการ ครอบงำ U
U
U
U
U
U
U
U
U
U
U
U
เรวดี งามลุน (ผู้เขียน)