The Act of Killing
การสังหารกับประวัติศาสตร์ของผู้ชนะ การสังหารและกวาดล้างคอมมิวนิสต์ โดยผู้กำกับ โจชัว ออพเพนไฮเมอร์ เชิญกลุ่มคนที่เคยก่อเหตุสังหารมา “แสดงหนัง” เพื่อแสดงให้เห็นว่า “ประวัติศาสตร์แห่งการสังหารหมู่” มีหน้าตาอย่างไรในความทรงจำของพวกเขา ทั้งนี้สารคดีมีการเล่าเรื่องผ่าน อันวาร์ คองโก หนึ่งในผู้นำของหน่วยพรีแมน ที่สังหารโหดกับผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น คอมมิวนิสต์ ภายใต้รัฐบาลเผด็จการทหารซูฮาร์โต้ ผ่านปากคำของ คองโกผู้นำของกลุ่มอันธพาลการเมืองในยุคนั้น ผู้ ที่เป็นผู้ลงมือสังหารผู้คนจำนวนมากด้วยตนเองตามใบสั่งของผู้มีอำนาจทางการเมืองของประเทศ และภาพยนต์ใน ฐานะที่เป็น Cinemato film มันเป็นการทำ propaganda อยู่แล้ว ทั้งนี้ หนังซ้อนหนัง หนังแท้ หนังเทียม มันจึงมีมิติ ที่ต่างกันของไปแง่ของของบริบทการเล่าเรื่อง ที่นำไปสู่ประเด็นที่เจอในหนัง the Act of killing !
ประเด็นในหนัง ประเด็นแรกคือการตอกย้ำด้วยการคลี่พรมถึงการสังหารโหด มันเผยให้เห็นความโหดเหี้ยมของฝ่าย ฟรีแมนในการสังหารคอมมิวนิสต์ เหมือนค่อยๆคลายปมที่อยู่ในใจของ คองโก ที่สังหารโหดเหยื่อที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น คอมมิวนิสต์การสังหารที่คองโก เน้นซ้ำๆในเรื่อง คือการตัด การบั่นคอด้วยลวดที่ค่อยๆเสียดสีกับคอจนคอขาด กระเด็น แสดงถึงพลังของตนที่ดูเท่ห์ และ ดูแข็งแกร่งเหมาะสม ควรค่าแก่การเป็นผู้นำ เป็นวิธีที่คองโกพูดแล้วยิ้มซึ่ง รู้สึกได้ถึงความมีอำนาจและภาคภูมิใจกับการกระทำนั้นมาก การสังหารโหดของคองโก บางเทคนิคเป็นภาพจำจาก การดูหนังฮอลลีวูดในยุคนั้น การต่อสู่ การกำกับ อารมณ์ของนักแสดงที่มีต่อกล้อง และให้ฆาตกรมาเล่นเป็น "พระเอก" หนังแก๊งสเตอร์แบบฮอลลิวู้ดพูดได้ว่า การกระทำเหล่านี้เป็นภาพจำมาจากประเทศมหาอำนาจอย่าง อเมริกา ที่ใช้ความรุนแรง เป็น propaganda จากการดูหนัง มาสู่การกระทำ และสารคดีเรื่องนี้ก็ทำการ propaganda ให้คนอินโดนีเซียได้เข้าใจว่า คอมมิวนิสต์นั้นไม่ดีใช้งานเขียนทางประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือทั้งในรูปหนังสือ ประวัติศาสตร์, แบบเรียนประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังสร้างความทรงจำผ่านสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ตัวหนังสือ ได้แก่ภาพยนตร์ อนุสาวรีย์ วันสำคัญ และพิธีกรรม เป็นต้น “เราคือเสรีชนหาใช่อันธพาล ประเทศของเราต้องการเสรีชน”
คิดว่าประโยคที่เจอในหนังนี้เป็นของฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่ต้องการว่ารัฐบาลอินโดนีเซียถึง การปกครองของประเทศ สิ่งที่ รัฐบาลของอินโดนีเซียกล่าวถึงฝ่ายพรีแมนทุกคน ให้มีการเชิดหน้าชูตา ทำการบันทึกความทรงจำของผู้ชนะและผู้มี อำนาจยกย่องพวกเขาเหล่านั้นว่าเป็นวีรบุรษกู้ชาติในการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ ไม่มีใครอยากลบล้างประวัติศาสตร์ที่ จารึกว่าตนอยู่ในเหตุการณ์ฆ่าล้างที่สำเร็จทำให้ประเทศสงบสุขและคิดว่าการฆ่าครั้งนั้นเป็นเรื่องธรรมดา เป็นหน้าที่ จะคิดมากทำไม ไม่ว่าจะเป็นระดับรัฐมนตรี หัวหน้าและกลุ่มเยาวชนปัญจศีลในชุดลายพรางหรือลายเพลิงไฟสีส้ม นัก หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นผู้ตระหนักในหน้าที่ของตนด้วยการทำให้พวกคอมมิวนิสต์ดูเลว สื่อสารมวลชนทางการที่ถามอัน วาร์ คองโก ถึงแรงบันดาลใจในวิธีการฆ่า (ซึ่งน่าประหลาดใจว่ามันเป็นคำถามที่ถามโดยคนในศตวรรษที่ 21) ที่พูดถึง การเชิดชู ยกย่องยินดีถึงการฆ่ากวาดล้างคอมมิวนิสต์อีกหรือ ? การ propaganda ว่าคอมมิวนิสต์เป็นกลุ่มที่ไม่ดี เป็นกลุ่มที่ไม่มีศาสนามาชโลมหัวใจ คิดแต่จะทำลายชาติ ต้องการ ให้ชาติล้มจม แม้แต่ผู้หญิงก็หาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ที่สามารถปลุกมนต์ดำทำลายชาติได้ มีแต่หัวก้าวหน้าทีใ่ น อันธพาล คือเสรีชน ต้องการสร้างความขัดแย้งให้บ้านเมืองอยู่ตลอดเวลา เช่น บางคนเป็นพวกนำความคิดเรื่องความเป็นธรรม ไปเผยแพร่แก่ชาวนา บางคนต่อต้านภาพยนต์อเมริกาเพราะชื่อว่ามอมเมาผู้คน และ การต่อต้านคอมมิวนิสต์ในยุคนั้น สื่อในยุคนั้นจึงรับใช้ทหารอย่างเต็มพิกัด หนังสือพิมพ์คือสื่อชั้นดีที่เป็นตัวขับเคลื่อนแนวคิด ที่ไม่ว่าพวกคอมมิวนิสต์จะ พูดอะไร สิ่งสำคัญของหนังสือพิมพ์คือ การบดขยี้ แพร่กระจายความรู้สึกเกลียดชังคอมมิวนิสต์ไปยังสาธารณะชนให้ มากที่สุด ่ ความทรงจําส่วนบุคคล (personal memory) เป็นการจัดวางหรืออ้างถึงอดีตของปัจเจกบุคคลซึ่งมักกล่าวถึงสิ่งที่ ตนเองกระทําในเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน ดังนั้น การจดจําเหตุการณ์ต่างๆ ของปัจเจกก็คือ การรับรู้เกี่ยวกับ ตนเองอย่างชัดเจน การพูดถึงความทรงจําในอดีตของปัจเจกจึงเป็นการอธิบายการรับรู้ลักษณะและศักยภาพของ ตนเองในปัจจุบัน การรับรู้ตนเองของปัจเจกจึงมีความสําคัญ เพราะจะทําให้ปัจเจกสามารถเข้าถึงข้อเท็จจริงและอัต ลักษณ์ของตนเองในอดีตที่แตกต่างจากคนอื่นได้ อันวาร์ คองโก เลือกที่จะสำนึกผิด ? ในช่วงท้ายๆ ของหนังสารคดี เขาสวมบทบาทเป็นเหยื่อที่ถูกลวดรัดคอในหนัง ซ้อนหนังที่ถูกหลอกให้สร้าง ระหว่างอยู่ในบ่วงลวดรัด เขาค้นพบความรู้สึกของเหยื่อนับพันที่เคยฆ่า เขาดูหนังที่ตัวเอง ถ่ายทำ น้ำตาคลอ เขาบอกว่า ตนหวาดกลัวบาปกรรม ทั้งหมดเขาพูดต่อหน้ากล้องถ่ายหนังสารคดีของนักทำหนังเขา หวนกลับไปยังสถานที่เคยฆ่า สำรอกเอาความทรงจำบาดแผล (ในฐานะผู้กระทำ) ในท้องออกมา หนังในหัวของอันวาร์ คองโก ได้จบลงแบบแฮปปี้เอนดิ้ง สมบูรณ์แบบ ตามสูตรหนังในรสนิยมของเขาแต่ตอนจบของ The Act of Killing หนังสารคดีที่เขาได้สวมบทเป็นตัวเอกอย่างไม่รู้ตัว กลับไม่เป็นเช่นนั้น มันเป็นตอนจบที่ก่อให้เกิดการเริ่มต้นชำระ สะสางประวัติศาสตร์ที่ไม่ถูกเล่ามาช้านาน มากกว่าจะเป็นจุดจบแบบมีสุข.
วิเคราะห์ Media athics ใน the Act of killing ประเด็นแรกที่เกิดคำถามต่อการทำสารคดีเรื่องนี้ของโจซัวคือ โจซัว กล้าที่จะพูดแทนคนอินโดนีเซียได้อย่างไร ? ใน เรื่องการเมือง และการฆ่าล้างคอมมิวนิสต์ ตัวโจซัวเองมาจาก ประเทศมหาอำนาจอย่างอเมริกาซึ่งไม่เอาคอมมิวนิสต์ อยู่แล้ว มีการตีความเองว่าคอมมิวนิสต์ไม่ดี ทำไมถึงคิดว่าคอมมิวนิสต์ไม่ดี ? ต่อมาการทำสารคดีเรื่องนี้เป็นการทำ หนังซ้อนหนัง เรียกได้ว่า หนังจริงและ หนังหลอกก็ว่าได้ หนังจริงคือการตามติดทุกเหตุการณ์ ทุกประเด็น การติดตาม คองโกไปทุกที่ การเก็บภาพ เบื้องหลัง การรับรู้ชื่อ รับรู้สถานะ สถานภาพ ผู้ชมรับรู้ตัวตนของผู้สังหารในเหตุการณ์ จริงๆ ซึ่งมะนคือการเปิดเผยแบบสุดติ่ง มันทำให้เราเห็นการจับจ้อง จ้องมองสถานการณ์ที่เฉื่อยชาที่ดำเนินการไป เรื่อยๆผ่านสายตาของโจซัว สายตาของผู้ปกครองอยู่ทุกขณะ การเข้ามาของโจซัวในการกำกับเรื่องนี้ คือการหลอกนัก
แสดง การหลอกกลุ่มที่เคยก่อสังหารคอมมิวนิสต์มาแสดง โดยหลอกว่า จะเชิดชูกลุ่มของพวกท่าน ว่ามีความแน่วแน่ ในการช่วยเหลือประเทศ ให้อินโดนีเซียอยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้เพราะหน่วยพรีแมน ต่อมาคือ การตอกย้ำของโจซัวต่อพวกเขา ในบรรดามือสังหารการเล่าเหตุการณ์ซ้ำๆ แสดงสิ่งที่พวกเขาเคยทำซ้ำๆ ฉายหนังที่พวกเขาแสดงให้พวกเขาดู ฉายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงให้มือสังหารดู บางฉากตัวมือสังหารยังต้องสวม บทบาทเหยื่อผู้ถูกสังหารเองด้วย ซึ่งมองในมุมมองของสื่อ สื่อเล่นการโจมตีในหลายๆด้านในเรื่องผัสสะ ทั้งการดู การ ฟัง การเล่นหนัง การสัมผัสลวดที่ใช้ในการบั่นคอ มันจี้ใจดำ ทำให้คองโกเองมีแอบร่ำไห้ อาจจะรู้สึกผิดต่อเหตุการณ์ที่ เขาเคยทำมา นึกถึงบาปกรรม แต่สุดท้ายอำนาจรัฐชนะความกลัว การPropaganda ของรัฐมันสำเร็จในการยุยง ว่าการฆ่าคอมมิวนิสต์ถือเป็นการทำดีเพื่อชาติ จริยธรรมในหนัง ต่อมาคือ การรื้อฟื้นเรื่องราวในอดีตเพื่อนำมาตอกย้ำความเป็นปัจจุบัน เมื่อผู้แสดงคือกลุ่มคนที่ เคยสังหารโหดในเหตุการณ์ฆ่าล้างคอมมิวนิสต์ เรื่องราวในประวัติศาสตร์มันยังคงเป็นแผลเป็นให้กับพวกเขา มันยังพอ ทุเลาความเจ็บปวด หากโจซัวพยายามทำให้แผลเป็นนั้นอักเสบขึ้นมาอีกครั้ง โดยการกระตุ้น การนำผู้แสดงมาแสดง เหตุการณ์นั้นๆเอง ผ่านการจำลองบรรยากาศ บทสนทนา การทรมาน แสดงให้เห็นความหวาดกลัว การไล่ล่าสังหาร หรือกระทั่งการให้ผู้สังหารเป็นเหยื่อเสียเอง เพื่อ ต้องการให้บรรดาผู้สังหารคิดว่าที่ตนคิดมาตลอดว่าเป็นผู้ชนะกลับ รู้สึกไม่ใช่ ยิ่งไปกว่านั้นมันแย่ มันคือมโนสำนึกในฐานะความเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา ที่พวกเขาได้ฆ่าอย่างโหดเหี้ยม ทารุณ จริยธรรมในด้านสื่อ อีกประเด็น รู้สึกประหนึ่งว่านั่งอยู่ในห้องทดลองทางจิตวิทยา สังเกตแววตาและเรื่องเล่าที่หลุด จากปากนักฆ่าอย่างอันวา คองโก และเพื่อนสนิทในระหว่างที่พวกเขาย้อนความทรงจำไปถึงการกระทำของตนเอง คือ ผู้กำกับ กำกับ คองโก จนท้ายที่สุดทำให้เขาเองจากที่เคยเข้มแข็งกลับค่อยๆอ่อนล้าลง มันสร้างผลกระทบต่อจิตใจ ของเขาอย่างลึกซึ้ง เช่น ฉากที่เขาพาไปดูพื้นที่ที่เคยสังหารโหด เมื่อเขาพูดไปตัวเขาเองก็อยากจะกระอัก เหมือนจะ อ้วกอยู่ตลอดเวลา บ้างก็ไอแบบทรมาน และยิ่งๆค่อยตอกย้ำเหตุการณ์ร่างกายยิ่งต้องสร้างภาวะมาต่อต้านเพื่อแสดง ให้เห็นว่าการพูดถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิด ณ ที่แห่งนี้ มันทรมานร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมาก เขาต้องกลับมามองตัว เองเสียใหม่ เสียใจในการกระทำในอดีต นี่คือ สิ่งที่เป็นจริยธรรมในสื่อต้องการจริงๆหรือ ภายใต้จิตใต้สำนึกลึกๆ ของคองโกแล้วตระหนักถึงการกระทำและเสียใจกับมันจริงหรือป่าว อาจจะเป็นเพราะว่า การที่กล้องจับจ้อง การ เป็นนักแสดงของเขาอาจจะเก่งกาจและรู้ว่าควรที่จะแสดงออกอย่างไร ตอนจบของหนังควรเป็นอย่างไร และสุดท้ายที่สุดคิดว่าสารคดีเรื่องนี้ มีการโจมตีอินโดนีเซีย แฉให้คนทั้งโลก ให้ผู้ชมได้รับรู้ ตัวตน ชื่อเสียง คำกล่าว ขานถึงฝ่ายพรีแมนที่กระทำการโหดเหี้ยม สำหรับโลกตะวันตก ชาติที่ปกครองแบบประชาธิปไตยมองการฆ่าผู้บริสุทธิ์ ที่ถูกประทับตราว่าชอบธรรม ซ้ำยังได้รับการยกย่องจากรัฐและสาธารณะชนว่า เป็นสิ่งที่ถูกย่อมสร้างความตื่น ตระหนกให้ผู้ชมอย่างยิ่ง ชวนให้คนดูคิดตามและกลัวการกระทำของฝ่ายฟรีแมนในอินโด ชวนให้ตั้งคำถามว่า สังคม ประเภทไหนกันที่สามารถเฉลิมฉลองอาชญากรรมสังหารมนุษย์เช่นนี้ได้อย่างหน้าชื่นตาบาน และผู้ที่เดือดร้อนกับ สารคดีเรื่องนี้คือ รัฐบาลอินโดนีเซียที่ภาพลักษณ์ต่อประชาคมโลกต้องเสียหายเพียงเพราะคนในประเทศไม่กี่คนเผย ความลับ เผยความจริงที่เี้ยมโหดออกมาประจักษ์ มันเปิดบาดแผลของสังคมที่ถูกกดโดยรัฐและสื่อของรัฐมาตลอด สื่อ จึงทำหน้าที่รื้อประวัติศาสตร์ที่ไม่คลี่คลาย ให้ได้รับการไต่สวนข้อเท็จจริงและแสวงหาความเป็นธรรมให้กับผู้ที่สูญเสีย กลับมาพูดคุยในสังคมอินโดนีเซียอีกครั้ง
The Look of Silence "หน้าตาของความเงียบ" ความทรงจำกับความรุนแรงแห่งรัฐ The Look of Silence ได้เก็บขมวดปมคำถามเรื่องความทรงจำและความรู้สึกของเหยื่อและผู้ที่มีส่วนร่วมใน เหตุการณ์กวาดล้างคอมมิวนิสต์ออกมาได้อย่างน่าสนใจและมีมิติ เข้าใจง่าย การทำความเข้าใจเหตุการณ์ผ่าน ครอบครัวของอาดี ชายผู้มีอาชีพทำแว่นตา และมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับโจซัว ดังนั้น The Look of Silence มีเรื่องราวที่เกี่ยวพันระหว่างเหยื่อและผู้กระทำอย่างเรื่อยๆ ผ่านคำตอบที่เงียบงันและการโยนความผิดให้ ผู้คนอื่นอยู่เรื่อยๆ เปรียบเปรยได้ดั่ง ‘ความเงียบงัน’ ที่อาดีและคนดูจับจ้องผ่านสารคดีเรื่องนี้ มันคือประวัติศาสตร์ที่ ถูกทำให้ลืม เรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นและถูกกลบฝังบิดเบือน ทั้งด้วยโฆษณาชวนเชื่ออันเข้มแข็งเป็นระบบหรือความกลัวที่ ประทับแน่นอยู่ในความทรงจำของผู้เคยตกเป็นเหยื่อสังหาร เฉกเช่นที่ปรากฏชัดผ่านแม่ของอาดี หญิงชราอายุเกือบ ร้อยปีที่ยังไม่อาจลบความเลวร้ายที่เคยเกิดขึ้นไปจากความทรงจำได้ ราวกับเธอถูกสาปให้ใช้ชีวิตอยู่กับมันเนิ่นนานชั่ว กัลป์ การเดินทางตามหาความจริงของพี่ชาย ผู้กลายเป็นเหยื่อจากเหตุการณ์การกวาดล้างกลุ่มคอมมิวนิสต์ในประเทศ อินโดนีเซีย ตามคำบอกเล่าของแม่ผู้ยังคงหลงเหลือตะกอนของความหวาดกลัวและความเสียใจมาจนถึงปัจจุบัน อาดี ได้พบปะกับมือสังหารที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในครั้งนั้น เพื่อถามคำถามง่าย ๆ ว่า "ทำไมถึงต้องฆ่าพี่ชายเขา" คำ ตอบที่ได้กลับไร้ซึ่งเสียง ซึ่งคำตอบที่ไร้ซึ่งเสียงนี่เองี่มันทำให้คนดูคิดว่าผู้ที่สัมภาษณ์คิดอะไรในใจอยู่ กลัวการบันทึก ข้อมูลไป หรือ กลัวการถูกกล่าวหาว่าเป็นฆาตกร เป็นสายให้ใครรึเปล่า? สายตากล้องและสายตาอาดีที่จับจ้องเขามัน ทำให้คำตอบที่อยู่ในใจจริงๆพูดออกมาได้ไม่หมด เป็นจิตวิทยาที่เกิดขึ้นในขณะสัมภาษณ์ ความจริงที่รู้จากผู้เป็นแม่ อาจจะไม่ใช้คำตอบที่เกิดขึ้นจริงในเหตุการณ์การฆ่าล้างกลุ่มคอมมิวนิสต์ที่เคยเกิดขึ้นจริง คนที่ฆ่าพี่ชายของอาดีอาจจะไม่ใช่กลุ่มที่อาดีไปสัมภาษณ์แต่การตีความมันคือการเหมารวม การอยู่ร่วมเป็นชุมชน ทางการเมืองกว่า ทั้งหมดคือกลุ่มคนที่ร่วมอุดมการณ์เดียวกัน พวกเขาคือคนที่ร่วมกันฆ่าพี่ชายของเขา การสัมภาษณ์ จึงดำเนินการไปเรื่อยๆแบบเฉื่อยชาโยนความผิดกันไปมา จนหาคำตอบไม่ได้ จนท้ายที่สุดอาดีก็กลับไปหาแม่ชราที่
บ้าน ซึ่งโรคชราที่แม่เผชิญอยู่นั้น อาจจะทำให้ความทรงจำเลือนลางและสร้างความทรงจำขึ้นมาให้หลอกให้อาดี ตีความประวัติศาสตร์ที่ผิดก็เป็นได้ ภาษาภาพที่มันถูกทำงานในสารคดีคือ ใช้การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องเป็นหลัก ในส่วนที่เป็นการแสดง "ภาพจำลอง" การฆ่า ก็เป็นลักษณะปกติ (เหมือนเวลาตำรวจไทยนำผู้ต้องหาไปทำแผนประกอบการรับสารภาพ ณ สถานที่เกิดเหตุ ต่างกันตรงที่อดีตฆาตกรที่จำลองเหตุการณ์ให้โจซัวดู ไม่มีความรู้สึกเสียใจอะไร หลายคนยังเล่าไป หัวเราะไป) มันแสดงให้เห็นว่า ความรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นประวัติศาสตร์นั้น เมื่อรื้อฟื้นหรือถูกพูดถึงอีกครั้ง ความทรงจำร่วมมันยัง จำได้แต่เพียงมันพล่าเลือน อารมณ์ ความรู้สึกมันจางหายไปตามกาลเวลา เพราะพวกเข้าคืดว่า เขาคือผู้ชนะ คือผู้ที่ ช่วยชาติในการกอบกู้เอกราช เมื่ออยู่หน้ากล้องสิ่งที่ทำคือ การกระทำของผู้ครองประวัติศาสตร์ที่ จารึกไว้ว่า พวกเขา คือ ผู้ชนะ ภาษาภาพมันถูกทำงานในรูปแบบที่โจซัวคิดไว้นั่นคือ ภาพมักจะมีบุคคลหรือสถานที่อยู่กึ่งกลาง(เหมือนรายการทีวีที่ เชิญคนมาสัมภาษณ์) โดยเว้นระยะรอบข้างไว้เสมอ เพื่อสื่อถึงความว่างเปล่า โดดเดี่ยว ไม่สบายใจ หรือใช้ภาพ ระยะใกล้ เพื่อสื่อถึงความรู้สึกของอาดี และมือสังหาร ผ่านสีหน้าและแววตา ที่สำคัญ ความเงียบ จากบทสนทนา ที่สร้างความปั่นป่วนให้กับเราอย่างต่อเนื่องตลอด มันเริ่มรุกล้ำความรู้สึกจากสายตา สีหน้า คำพูด ของอาดี
วิเคราะห์ Media athics ใน The Look of Silence ถูกตั้งคำถามในเชิงจริยธรรม เพราะตัวเขาในฐานะผู้กำกับก็ยอมรับเองว่า เขาจงใจมีส่วนที่ ‘ผลัก’ ให้อาดีเผชิญหน้ากับ หัวหน้าหน่วยสังหารผู้เป็นตัวละครสำคัญในหนัง ในช่วงเวลาที่ทั้งอาดีและแม่ตัดสินใจว่า ‘พอแล้ว’ กับการเคาะประตู บ้านเหล่าฆาตกรนี้เพื่อหาความจริง รวมไปถึงการสื่อสารผ่านสัญญะที่ชัดเจนทั้งการวัดสายตาให้มือสังหาร ไปจนถึง การให้อาดีนั่งดูฟุตเตจเกี่ยวกับการสังหารหมู่ หรือบางส่วนจากสารคดี The Act of Killing ในความเงียบงัน จนทำให้ คนดูต้องก่ำกึ่งสงสัยอีกครั้ง ว่าตนเองรู้สึกสะเทือนใจไปกับเรื่องจริงอันชวนช็อก หรือเป็นเพราะมันคือกลวิธีในการเล่า เรื่องแบบภาพยนตร์ของโจซัวกันแน่ จริยธรรมสื่อในหนัง ต่อมาคือ โจซัวนำพาอาดีไปสัมภาษณ์กับบุคคลที่หลากหลายที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการก่อเหตุความ รุนแรง มีการเปิดเผยชื่อ เปิดเผยเรื่องราว หน้าที่การงาน เรื่องราวในอดีตให้ผู้ที่สัมภาษณ์ขุดคุ้ยมันออกมาโดยที่เจ้าตัว เองถูกบังคับให้พูด สายตาของผู้สัมภาษณ์มีแววตาหวาดกลัวและกลัวการให้คำตอบ เพราะมีกล้องของโจซัวควบคุมเค้า อยู่ อาดีต้องการให้กลุ่มคนที่สัมภาษณ์ออกมารับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่ทำ ซึ่งแน่นอนว่าการกระทำ หรือ ผลตอบรับที่ แต่ละคนแสดงมานั้นแตกต่างกันไป จะเห็นได้ว่าครอบครัวที่มีฐานะดีกว่า จะไม่ขอโทษกลับโมโหอาดีที่ให้เล่าเรื่องราว ที่มันเกิดขึ้นนานแล้ว และหวลกลับมาด่าเขาอีก แต่ครอบครัวในฐานะใกล้เคียงกลับอาดี กลับรู้สึกผิด ร้องไห้กับสิ่งที่ เขาเล่า มีการสำนึกผิดและเข้าใจหัวอกมนุษย์ด้วยกัน กอดกันร้องไห้ ขอโทษอาดี ซึ่งกล้องจับภาพช่วงเวลานี้ได้นาน ที่สุด เสมือนกับอาดีเจอเพื่อนร่วมอุดมการณ์ ที่คิดเหมือนเขา สุดท้ายแล้วตัวหนังมีการเผยให้คนทั้งโลกเข้าใจว่า อินโดนีเซียมีความอ่อนด้อย ความรู้ไม่เท่าทันทางการเมือง และมี ความสำเร็จของการโฆษณษชวนเชื่อที่ทำงานในฐานะกล่อมประสาทให้ผู้คนอินโดนีเซียเกลียดกลัวคอมมิวนิสต์ จนต้อง ลงมือฆ่าและทำลายชีวิตของอีกฝ่ายยหนึ่ง ซึ่งอาจจะรวมถึงครอบครัวหรือญาติพี่น้องร่วมหมู่บ้านกันด้วย หนังทั้งสอง เรื่องถูกห้ามฉายในประเทศอินโดนีเซีย เพราะรัฐบาลในประเทศและนักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ของอินโดนีเซีย ห้ามฉายหนัง เป็นเพราะไม่อยากให้คนในชาติเข้าใจประวัติศาสตร์ที่ผิดๆและมองรัฐไม่ดี เปรียบกับภาพยนต์ที่ห้ามฉาย ในไทยเพราะขัดต่อความมั่นคงของชาตินั่นเอง