รักที่ขอนแก่น Cemetery of Splendour (2015)
ภาพยนต์เรื่องนี้ไม่ได้ถูกห้ามฉายในไทย แต่เลือกที่ไม่ฉายในไทย เพราะ การแสดงให้เห็นถึงสังคมไทยในแง่ของความ บาดหมาง ระหว่าง สังคมคนจน vs รัฐบาลทหารที่วางอำนาจ ซึ่งมีความยุ่งเหยิงมากขึ้นหลังจากรัฐประหารครั้งล่าสุด หลังรัฐประหาร ทำให้ผู้กำกับเลือกที่จะไม่นำภาพยนต์เรื่องนี้มาฉายในไทย ถ้ามันขัดกับความมั่นคงของชาติแล้ว การ ฉายภาพยนต์คงไม่ใช่แค่สุนทรียศาสตร์ในการดู แต่จะเป็นการโจมตีกันของการรักชาติที่มากเกินความเป็นปกติของ กรรมการดูแลและควบคุมหนังที่ฉายในไทย วิเคราะห์ Media ethics (จริยศาสตร์ในฐานะของสื่อภาพยนต์) สิ่งที่เห็นในหนังเรื่องนี้ ประเด็นแรก เป็นเรื่องของพื้นที่และการครอบงำของรัฐ เรื่องของ พื้นที่ ที่ทำไมต้องเลือกเป็นภาคอีสาน และทำไมต้องใช้คนอีสาน(ชาวบ้าน)ในการดำเนินเรื่องราว (มันไม่ใช่ แค่ตัวผู้กำกับที่ผูกพันธ์กับพื้นที่ตั้งแต่เด็ก) แต่มันยังรวมถึงการนิยามว่า คนอีสานยังขาดสวัสดิการหลายส่วนจากทาง ภาครัฐ เป็นคนจน เป็นภูมิภาคที่ต้องพึ่งตนเอง พึ่งสวัสดิการของรัฐในการจัดการพื้นที่ และมีค่ายทหารเยอะกว่าทุก ภูมิภาค พื้นที่ในชนบทส่วนมากจึงได้ทหารมาช่วยในการก่อสร้างโรงเรียน (ในฉากแรกที่เป็นการขุดดิน) สร้างสิ่งอำนวย ความสะดวก ดังนั้นความสัมพันธ์ของพื้นที่จึงขยายเครือข่ายไปยังความสัมพันธ์ทางด้านจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่ด้วย ชาวบ้านมีความเป็นมิตรกับทหาร ไปมาหาสู่กัน ฉะนั้น จึงไม่แปลกใจที่ชาวบ้านจะให้ลูกสาวตนแต่งงานกับทหาร เพราะทหารมีความขยันขันแข็ง สู้ชีวิต ช่วยเหลือพวกเค้า การแอบชอบพอกัน แต่งงานอยู่กินกันจึงเป็นเรื่องปกติ และ เมื่อการเข้ามาของทหารหนุ่มในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างป้าเจน จึงทำให้มิติของหนังถูกตีความออกมาหลายประเด็น ด้วยกัน ในเรื่องแทบไม่มีคำว่าพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะเลย เพราะทุกๆพื้นที่มันถูกจับจ้องอยู่ตลอดเวลา ทั้งเวลาหลับ (ของหทาร) และเวลาตื่น กระทั่งมิติของความฝันที่ผสมปนเปกันอยู่ในเรื่อง ล้วนคือรูปแบบของการแผ่ขยายของ อำนาจรัฐ ภาษาภาพในหนังชวนให้มองเห็นถึงความธรรมดาสามัญของชนบท บ้านเมือง โรงเรียน สวนสาธารณะที่
จังหวัดขอนแก่น มันดูธรรมดามาก หรือพูดได้ว่ามันเหมือนเรามองทัศนียภาพ ตึกรามบ้านเรือน ท้องทุ่ง นั่งเล่นริม แม่น้ำไม่มีใครมาจัดรูปแบบให้มันหรอก มันเป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างมา ถ้าจ้องมองเพียงชั่วแล่นคงจะตีความได้อย่างนี้ แต่มากกว่านั้นทุกพื้นที่มันคือสิ่งที่รัฐจัดวางให้ผู้คน ซึ่งเป็นชาวบ้านรวมถึงฉากสวนสาธารณะที่มีความประหลาด พิสดารนั้น การเดินกันขวักไขว่เร่งรีบไขว้ไปมาของผู้คน (ทำให้ภาษาภาพในฉากนี้เสมือนการPerformanceของนัก แสดง) ทำให้ค้นพบว่า ความเป็นทัศนียภาพแบบธรรมชาติให้มานั้นไม่มีอยู่จริง แม้แต่ป่าเขา ห้วย หนอง บึง มันล้วน แล้วแต่ถูกจัดการด้วยพื้นที่และการแผ่ขยายอำนาจของรัฐผ่านการครอบครองพื้นที่ทั้งนั้น ยกตัวอย่าง พื้นที่ในหนัง ที่เป็นโรงพยาบาล มีเตียงคนไข้ มีพยาบาล ซึ่งมันกลับแปลกใจว่า ในที่ที่ควรเป็นโรงพยาบาล แต่ที่จริงมันเป็นโรงเรียนยังมีกระดานดำ บอร์ดจัดแสดงภาพประกอบการเรียนการสอน โรงเรียนที่เป็นพื้นที่ของการ ศึกษา กลับถูกแทนที่ด้วยการกลายเป็นสถานที่พักฟื้นซึ่งมีแต่ความหลับไหล (การหลับไม่ก่อการเรียนรู้) แต่การหลับ เป็นการไม่เรียนรู้จริงหรือ ในโรงเรียนเก่าที่ยังแขวนภาพจอมพลสฤษดิ์ หนังบอกเป็นนัยว่าการนอนหลับคือการได้กลับ เข้าไปยังอดีตชาติของตัวเองอีกครั้ง การนอนหลับฝันกลายเป็นการเรียนรู้ที่จะรำลึกอดีต ไม่ใช่อดีตธรรมดา แต่เป็น อดีตข้ามภาพชาติ และดูเหมือนเอาเข้าจริงๆ ในโรงเรียน โรงพยาบาลแห่งนี้ไม่มีใครอยากให้ใครตื่น ทุกคนต้องการการ หลับ หรือทำให้หลับต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกระทั่งขนาดต้องสั่งซื้อเครื่องมือช่วยให้หลับฝันดีมาประจำไว้รายเตียง เครื่องมือซึ่งเปล่งประกายเป็นไฟสีในยามหลับ ตอนแปดโมงเช้าเคารพธงชาติ มันอาจเปล่งประกายเป็นสีน้ำเงิน บาง ครั้งก็สลับแดงเหลืองขาว แต่บ่อยครั้งที่สุด สมราคานายทหาร มันจะเปล่งสีเขียว สีเรื่อเรืองของการหลับฝันดี ซึ่งเรื่อ เรืองออกไปกระทั่งนอกพื้นที่ของโรงเรียน/โรงพยาบาล หากท่วมไหลไปในยังสวนสาธารณะ ป้ายรถเมล์ แม้แต่โรงหนัง ห้างร้าน สีของไฟเรื่อเรืองแบบเดียวกับที่เราเห็นป้ายไฟรายทาง ป้ายที่มีอยู่ทุกที่ สีเรื่อเรืองของหลอดที่ไม่เคยหลับไหล มอบความสว่างชวนฝันทั้งในยามหลับและยามตื่น สว่างเป็นพิเศษอย่างน้อยสองสามครั้งต่อปี รังสีอาบไล้ไปทุกพื้นที่ และพื้นที่ของรัฐสมัยใหม่ (โรงเรียน /โรงพยาบาล) นั้นที่แท้แล้วไม่ใช่พื้นที่ของประชาชน ไม่ใช่แม้แต่พื้นที่ของรัฐ เพราะโรงเรียน/โรงพยาบาลแห่งนี้ที่จริงแล้วตั้งอยู่บนพื้นที่ซึ่งเป็นสุสานของพระราชาดึกดำบรรพ์ การหลับไปจึงกลาย เป็นการแสดงให้เห็นถึงรัฐที่ไร้อำนาจแข็งขืน ในพื้นที่ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ เป็นเพียงผู้อาศัย ทั้งหมดทั้งมวลจึงมีแต่การ หลับฝันดีเท่านั้นที่เป็นเครื่องเยียวยา ความฝันที่พาผู้คนกลับไปเชื่อมโยงกับราชาโบราณ ไปเป็นข้ารับใช้ไพร่ฟ้า ใน ขณะเดียวกันพื้นที่ของโรงเรียนใหม่ ก็กลายเป็นพื้นที่ที่ถูกครอบครงโดยปูนปั้นไดโนเสาร์ และห้องสมุดอาเซียนก็ว่าง โล่งและถูกครอบครองด้วยธงจำลองมากกว่าหนังสือ กระทั่งพื้นที่ที่ป้าเจนมีส่วนร่วมอย่างเช่นสวนสาธารณะในเมือง ยังคงไม่ใช่ของป้าเจน แม้ป้าเจนจะมีกล้วยไม้ปลูกเองปักชื่อของตัวเอง แต่ป้าเจนก็ได้รู้ว่า อาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลนี่ เป็นท้องพระโรงของพระราชา ภาษาภาพในฉากนี้ทำให้เห็นว่าป้าเจนซึ่งไม่เคยเห็นพื้นที่ทับซ้อนนี้มาก่อน เดินตามนาย ทหารในร่างทรงที่พาทัวร์ปราสาทของพระราชา พื้นที่ที่มองไม่เห็นที่แท้เปิดเผยตัวอยู่ในพื้นที่ที่มองเห็น แย่งความ หมายไป และในที่สุดชวนเชื่อให้ป้าเจนได้มองเห็นตามอย่างที่นายทหารมองเห็น การมองเห็นที่มองไม่เห็น และเมื่อ มองเห็นแล้วเราก็จะมองเห็น ริมหนองน้ำก็เช่นกันเป็นพื้นที่วุ่นวายของการขัดขืน ของความไม่สงบในการเล่นเก้าอี้ ดนตรีของวัยรุ่น แต่เมื่อมองเห็น ภาพสงบที่แท้ของคนริมน้ำ คือภาพของทุ่งนา เมืองอุดมสมบูรณ์เพียงพอที่ไม่ต้อง ประดับประดาด้วยเพชรพลอย มีแต่เพียงทุ่งนาอันอุดมดังที่ป้าเจนมองเห็น ‘ศูนย์กลางอาณาจักร’ (ซึ่งคนดูไม่ได้รับ อนุญาตให้มองเห็นแบบเดียวกับป้าเจน ) ความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ VS ความเป็นวิทยาศาสตร์ โลกของชาวบ้านที่แยกขาดจากกันระหว่างความเป็นทางการ ความเป็นวิทยาศาสตร์ กับชีวิตรายวันที่วนเวียนอยู่กับสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ การพูดกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ิชิดใกล้ (สองเจ้าแม่ ,คู่รักชาวอเมริกัน) มักใช้ภาษาอีสานสงวนไว้กับ การพูดกันเอง พูดกับคนที่รู้จักสนิทสนม แม้แต่พยาบาลในโรงพยาบาล ยัังสื่อสารกันเป็นภาษาอีสานที่ทำให้มีความ ใกล้ชิดและเป็นกันเองมากขึ้น
คำถามที่ตามมาคือ ความเป็นศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ในยุคนี้กับคนที่อยู่ที่นั่น มันยังเป็นโลกที่แม้แต่พยาบาล หมอ ยังใช้ยาสมุนไพร และทำสมาธิร่วมกัน ณ โรงพยาบาลแห่งนั้น ในขณะที่ภาษาทางการสำเนียงกรุงเทพเอาไว้ใช้พูดกับ คนที่มี ‘ศักดิ์’เหนือกว่า เช่นคุณหมอประสาน หรือไม่ก็เอาไว้ใช้ โฆษณาชวนเชื่อ (สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางไกล) แบบพี่จี๊ดขาย ครีม คุณหมอสมาธิ การพูดกลางบ้างอีสานบ้างของป้าเจนกับอิฐนายทหารชาวใต้ จึงเป็นการกระโดดข้ามไปมาทั้งใน ฐานะคนคนละพื้นเพไปจนถึงหน้าที่ทางการอย่างเช่น ผู้ดูแล และ คนไข้ ลูกกับแม่ หรือคู่รักต่างวัย ภาษาของการกระ โดดข้ามไปมา จึงกำหนดชนชั้นของผู้คนที่นั่นไปโดยไม่รู้ตัว วิถีความเป็นบ้านๆของคนในภาคอีสาน กับความเชื่อของสังคมชาวบ้าน ส่วนใหญ่เป็นความเชื่อที่ผสมผสาน ระหว่างผี บรรพบุรุษ และความเชื่อที่เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องต่อกันมา เชื่อว่าผีบรรพบุรุษเป็นผู้คุ้มครอง ลูกหลาน ในครอบครัวให้อยู่เย็นเป็นสุข
ในพื้นที่ระหว่างการมองไม่เห็นและการมองเห็นนี้เอง (เราอาจเรียกว่าพื้นที่ระหว่างการหลับและการฝัน ไม่เกี่ยวกับ การตื่น) ทางเลือกที่คนอย่างป้าเจน เหลือให้มี พื้นที่ของป้าเจนจริงๆ จึงเป็นศาลเจ้าแม่สองนาง (ที่ดูเหมือนจะเป็น พื้นที่ของคนอื่นๆด้วยเพราะมีคนมาร้องเพลง มารำพลอง กันอย่างดาษดื่น) พื้นที่ของป้าเจนคือการผูกตัวเองไว้กับ ความศักดิ์สิทธรอบพื้นบ้านที่ไม่อิงกับความศักดิ์สิทธิ์แบบทางการของรัฐ พื้นที่ของการแสวงหาตัวตน พัฒนาตัวเอง ผ่านทางการขายครีม ยาสมุนไพรแปะก๊วย เก๋ากี้ พื้นที่ตามมีตามเกิดซึ่งเราพอจะบอกได้ว่ามันเดินทางมาถึงในรูปแบบ เดียวกับเครื่องช่วยให้ฝันดี มันคือโฆษณาชวนเชื่อระดับล่าง ที่กล่อมให้ฝันดีไม่ต่างกันกับการฝึกสมาธิหรือการท่อง อดีตชาติ กระทั่งในพื้นที่ที่เป็นส่วนตัวที่สุดอย่างร่างกาย นายทหารและป้าเจนยังไม่ได้เป็นเจ้าของ เรือนร่างของป้าเจน คือความพร่อมพิการที่ต้องการการรักษา(จากบรรดายากล่อมฝันทั้งหลาย) ขณะที่นายทหาร นั้นไม่แม้แต่กระทั่ง สื่อสารโดยร่างกายของตนเองได้ เขาจึงต้องอาศัยการเข้าทรงผ่านร่างของสาวพลังจิต เพื่อสื่อสารกับป้าเจน ในฉากท่อง ท้องพระโรงนี่เอง ‘รักที่ขอนแก่น’ ได้ดำเนินไปสู่จุดสูงสุด กล่าวคือการร่วมรักผ่านทางร่างทรง และน้ำแปะก๊วย ในฉาก นี้ นายทหารในร่างของหญิงสาว กับป้าเจนได้กลายเป็นอันหนึ่งอันเดียว ป้าเจนซึ่ง ‘เกิดมาเพื่อรักทหาร’ ได้ครอบ ครองนายทหารสมใจ ตรงนี้เองที่ป้าเจนตื่นขึ้น และได้พบว่ามันอาจจะเป็นหรือไม่เป็น อีกหนึ่งความฝันดีที่ไม่มีจริง ในประเทศที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของพื้นที่ใดๆเลย เป็นเพียงสัตว์เซลล์เดียวแหวกว่ายเวิ้งฟ้า เป็นเพียงผู้อยู่อาศัยไม่ส่ง การบ้าน การตื่นนำพาแต่เรื่องโหดร้ายถาโถมมา (ครั้งเดียวที่ป้าเจนอาจจะตื่นคือการเดินในความมืด และบอกว่า ‘i’m the one who awake here’ โรงเรียนกลายเป็นพื้นที่รกร้างและความหนักอึ้งในจิตใจของการกลัวการถูกลงโทษที่ไม่
ส่งการบ้าน แม้มันจะผ่านมานานแสนนาน การหลับจึงดีกว่าการตื่น แต่การหลับไม่ดีพอเท่ากับการหลับฝันดี และ เครื่องมือกล่อมฝันดีนั้นมีมากมายทั้งในระดับยิ่งใหญ่อย่างไฟสี ไปจนถึงระดับดีไอวาย อย่างเช่น ครีมสมุนไพรทำเอง หรือการฝึกหัดสมาธิเบื้องต้นและเมื่อป้าเจนค้นพบว่าทั้งหมดคือการหลับฝัน กระทั่งการถลึงตา เบิกตากว้างไม่กระ พริบ ความรู้สึกเหมือนเวลาที่เราง่วงนอนแต่เราพยายามอดทนไม่ให้เปลือกตาเราปิด เพียงชั่วขณะของป้าเจนที่มอง เด็กๆ เด็กๆของวันสิ้นโลก กองดินที่ถูกขุดจนพินาศราวกับหลุมฝังศพ แต่ทั้งหมดเป็นความฝัน เป็นฝันดีที่ถูกมอบให้ ถูกส่งให้ ถูกยัดเยียดให้ และการฝันนอกความฝันดีที่ถูกสั่งมากลายเป็นความสิ้นหวังและความเศร้าก็เท่านั้นเอง จริยธรรมของสื่อ (Media Ethics) ในหนัง พื้นที่และการครอบงำของรัฐ / ภาษาและชนชั้นในสังคมไทย / วิทยาศาสตร์และความงมงาย พื้นที่และการครอบงำของรัฐ หนังมีความเป็นวิถีชาวบ้าน ฉบับบ้านๆ ฉบับของคนอีสาน พื้นที่ความเป็นอยู่ที่มันแสนจะธรรมดา ความรกร้างของ พื้นที่ การจัดระเบียบพื้นที่ทุกอย่างทำเป็นแบบแผนเราไม่ได้ใส่ใจกับการจัดรูปแบบผังเมือง แต่การควบคุมโครงสร้าง การจัดวางทุกอย่างมันอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ (รัฐบาลทหาร) มันปลูกฝัง ครอบงำเราอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอำนาจ และการครอบงำมันทำงานตั้งแต่ ในโรงเรียนที่มีความเก่าที่ออกแบบมาเพื่อกล่อมเกลาเด็กให้อยู่ในะเบียบสังคม กลับ ถูกกลายเป็นโรงพยาบาลโดยรัฐบาลทหารที่มาใช้พื้นที่ได้อย่างง่ายดาย ภายในโรงพยาบาลไม่มีแม้แต่ทีวี มีเพียงเครื่อง มือช่วยฝันดี ซึ่งชาวบ้านไม่ได้คัดค้านการนำเข้ามาของเครื่องมือนี้ ไม่มีใครต่อต้าน ทุกคนเห็นดีเห็นงาม มีการนั่งสมาธิ ในโรงพยาบาลที่ทำร่วมกัน มันเสมือนกำลังอธิฐานจิตใหผู้คนที่เจ็บป่วยฟื้นขึ้นมา มันจึงเป็นโฆษณาชวนเชื่อที่ชวนให้ ชาวบ้านเคลิ้มไปกับมัน กลุ่มคนชนชั้นล่างให้เคลิ้มตามกับความเจริญที่เข้ามา กับกลุ่มคนที่พวกเขาคิดว่า มีความรู้ที่ สูงกว่า มียศฐาบรรดาศักดิ์ที่พร้อมมาช่วยพวกเขา พื้นที่ที่เป็นอยู่จึงไม่ใช่พื้นที่ของพวกเขาแม้กระทั่งลมหายใจในขณะ นั่งสมาธิยังถูกกลบด้วยเสียงนางพยาบาลที่พูดถึงการกำหนดลมหายใจเข้าออกอยู่ตลอดเวลา ภาษาในหนังกำหนดชนชั้นของผู้คน ในหนังมีการสื่อสาร เป็นภาษาท้องถิ่น (ภาษาอีสาน) และ ภาษาทางการ จะเห็นว่าภาษาอีสานสงวนไว้พูดกันเอง คนที่ รู้จักสนิทสนม แม้แต่ในโรงพยาบาล ยังสื่อสารกันด้วยภาษาอีสานระหว่างคนป่วยและนางพยาบาลของท้องถิ่น มันดู ใกล้ชิดและเป็นกันเองมากขึ้น การบนบานศาลกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เจ้าแม่ที่ชาวบ้านนับถือ การขายครีมผิวขาวที่ตัวแทน ของคนท้องถิ่นนำมาขายยังถูกใช้เป็นภาษาอีสาน ในขณะที่ภาษาทางการสำเนียงกรุงเทพ หรือภาษาที่เรามองว่าเป็น ทางการ เอาไว้ใช้พูดกับคนที่มี ‘ศักดิ์’เหนือกว่า เช่นคุณหมอประสาน หรือไม่ก็เอาไว้ใช้ โฆษณาชวนเชื่อ (สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทางไกล) นั่นคือเครื่องช่วยฝันดีที่ถูกส่งมาจากอเมริกา คุณหมอประสาน การพูดคุยของป้าเจนกับทหารที่บ้างก็พูด ทางการบ้างก็พูดอีสาน มันทำให้โยงไปพูดประเด็นเรื่องชนชั้นในหนังได้ว่า ภาษาเป็นส่วนหนึ่งที่จัดการระเบียบ และ ความรู้ของชาวบ้าน ชนชั้นล่างหรือคนในท้องถิ่นมีการบูชา กลุ่มคนที่เหนือกว่า ฉลาดกว่า เคารพสถานะของตัวเองไป ใช้ภาษาทางการ ภาษาสุภาพเพียงชั่วครู่เพื่อบอกถึงการเคารพและยอมจำนนต่ออำนาจและความฉลาดของคนคนนั้น ไว้ ภาษาภาพในหนังเห็นว่า ทำไมทหารไม่ใช่คนนอีสานโดยกำเนิดแต่กลับเป็นคนใต้ชื่อนายอิฐ ที่ป้าเจนดูแล ป้าเจน สื่อสารกับนายอิฐเป็นภาษาทางการ นั่นแสดงให้รู้ว่า ทหารที่มาดูแลชาวบ้าน คือกลุ่มคนที่มี ศักดิ์เหนือกว่า จนชาว บ้านนับถือ ดูแล และปรนนิบัติอย่างดี จริยศาสตร์ในการมอง การฟังภาษาพูดท้องถิ่นของคนอีสานเมื่อไปอยู่กรุงเทพ จึงเป็นสิ่งที่แปลก และถูกมองว่าเป็นกลุ่มคนชนชั้นล่างที่หนีความยากจนมาหาความเจริญ และเมื่อต้องทำงานภาษา ของพวกเขาจึงเปลี่ยนไป เปลี่ยนไปพูดภาษาทางการ(ภาษาคนกรุงเทพ) ในการสื่อสาร ความเป็นจริยศาสตร์ของสื่อมัน จึงถูกทำงานภายใต้การเหยียดภาษาและความเป็นท้องถิ่นอยู่มากในเรื่องของการเท่าเทียมกันของผู้คนในท้องถิ่น