Museum Without Walls
แนวคิด มองย้อนไปถึงรากฐานความเป็นพิพิธภัณฑ์นั้น ในประเทศไทยถูกให้ความหมาย เป็นเพียงสถานที่เก็บรักษาความเป็น “ชาติ” ในรูปแบบสิ่งของ ตามรากศัพท์จากภาษาบาลี- สันสฤต คำว่า “วิวิธ” เป็นคำวิเศษณ์ แปลว่า ต่างๆกัน สมาส กับคำว่า “ภัณฑ์” เป็นคำนาม แปลว่า สิ่งของเครื่องใช้ พิพิธภัณฑ์จึงเป็นสิ่งแช่นิ่ง ไม่เคลื่อนไหวตามความเปลี่ยนแปลง อดีตที่แช่นิ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลง เรื่องราวที่ถูกบอกเล่าในพิพิธภัณฑ์ของไทย กลับบอกถึงอดีตอันยิ่งใหญ่ นำเสนอ เรื่องเล่าที่เป็น Grand narrative สะท้อนให้เห็นถึงการพยายามรวบรวม สร้าง “ความเป็นไทย” การเข้าร่วม นิทรรศการทั้งในและต่างประเทศจึงมีเป้าหมายที่สอดคล้องกันคือ “บอกเล่า” ต่อทั้งภายนอกภายในว่า “ความเป็น ไทย” นั้นเป็นอย่างไร แต่เอาเข้าจริงแล้ว อดีตก็เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ แต่อดีตที่เก็บไว้นี้ต่างเป็นประวัติศาสตร์ร่วม ของชาติ เป็นอดีตของคนในสังคมทุกคนๆเช่นกัน แต่อดีตของชาติที่ถูกเก็บไว้นี่มีความสำคัญไฉน เพราะอดีตนี้ถูกเล่าผ่านจากบุคคล ชนชั้น สังคมหนึ่งๆที่สำคัญมากหรือ เปล่า ? หากพิพิธภัณฑ์ให้ความสำคัญต่อการรักษาอดีตใดอดีตหนึ่งมากกว่าการอยู่ร่วมกันของอดีตอีกหลายแห่ง แล้ว อดีตของแต่ละคน แต่ละชีวิต ที่ประกอบสร้างเป็นโลกทั้งใบ อดีตที่แต่ละคนมี ต่อความทรงจำ ต่อข้าวของ เรื่องเล่า มันไม่สำคัญหรือ ? การกลายเป็น Museum Without Walls กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ไร้กำแพงแล้ว ทำไมเราไม่ลองฟังเรื่องเล่า อดีตจาก คนอื่นๆ จากตัวของชุมชนที่อยู่โดยรอบพิพิธภัณฑ์กลางเอง จากสิ่งของอดีตของบุคคลอื่นๆ ที่มีประวัติศาสตร์ที่ต่าง ออกไปจากที่เราเคยรับรู้ ดังนั้นเมื่อมันสลายเส้นพรมแดนออกมาจากกำแพงที่ว่าแล้ว มันไม่ได้ถูกนิยามว่าผู้เล่าเป็นบุคคลสำคัญ เป็นศิลปิน แต่ เป็น ใครก็ได้ ความทรงจำใหม่จะถูกผู้คนอื่นร่วมกันสร้าง ร่วมกันเล่าใหม่ พิพิธภัณฑ์ที่ไม่มีกำแพงไม่ทำให้คนเข้ามา แต่ สลายความสำคัญของอะไรบางอย่างต่างหากที่ทำให้คนมีโอกาสเท่าๆกัน ไม่ว่าจะทำ จะเล่า หรืออะไรก็ตาม จึงจะนำ ไปสู่ Museum Without Walls ที่แท้จริง เนื้อหาและโครงเรื่อง การลงพื้นที่สำรวจโดยรอบพิพิธภัณฑ์บริเวณเขตอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ถูกรายล้อมไปด้วยสิ่งปลูก สร้างและพื้นที่ที่ถูกจัดสรรเพื่อเป็นแหล่งเศรษฐกิจ การลงพื้นที่ทำให้รู้จักคุณป้าคนหนึ่งที่อาศัยอยู่หลังรั้วพิพิธภัณฑ์ บ้านไม้สองชั้นที่ดูมีอายุ คุณตาที่นอนบนม้านั้งหน้าบ้าน ยายแก่ที่นั่งขายน้ำผลไม้ในซอยที่ไม่ค่อยมีรถ ทำให้รู้โดยพลัน ว่านี้คือชุมชนที่ยังคงเหลือ พื้นที่ชุมชนเล็กๆ อยู่กันในซอกซอยที่มีแต่ผู้เฒ่าผู้แก่ มีบ้านอยู่ติดวัด ป้าได้เล่าถึงที่มาที่ไปของชุมชนและเรื่องเล่าซุบซิบ นินทา ชาวบ้าน ภูติผี และผู้นำ เรื่องราวเหล่านี้อยู่ในความทรงจำของป้าและคนในพื้นที่ อดีตของป้าไม่ได้ถูกให้ความ สำคัญ หรือควรค่าแก่การศึกษาสำหรับใคร แต่เรื่องเล่าของป้าได้ไปทับซ้อนกับเรื่องเล่าประวัติศาสตร์ในพิพิธิภัณฑ์ข้าง บ้านป้า ประวัติศาสตร์ที่ป้าไม่เคยมีตัวตนอยู่
เรื่องของแมวที่ชอบแอบไปนอนใต้ถุนพิพิธภัณฑ์สมัยยังไม่ได้ปรับปรุง เรื่องเล่าการยิงตัวตายของผู้ว่าเนื่องจากคอรัปชั่น เงินวันเด็กในพื้นที่หลังพิพิธภัณฑ์ เรื่องผีสาวนางสนมที่เดินไปมาช่วงตีสองตีสามบริเวณวัดดวงดี ที่เด็กเห็นกันบ่อยและ พากันหวาดกลัว การขึ้นครองราชของพระภิกษุใกล้บ้าน กษัตริย์ไทยที่เข้ามามีบทบาทสร้างวัดข้างพิพิธภัณฑ์ หรือแม้ กระทั่งความทรงจำเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ข้างบ้านป้า ที่ป้าก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเคยเดินเข้าไปไหม เรื่องเล่าต่างๆของป้าจะถูกสร้างขึ้นมาใหม่ผ่านหนังสั้นกึ่งสารคดี ด้วยการตีความใหม่ผ่านการแสดง ซ้อนทับ สลับกัน ไปมากับอีกเส้นเรื่องของเรื่องอื่น ประวัติศาสตร์ ตำนาน นิทาน และอื่นๆ ที่เลือกสรรมา ผ่านรูปแบบของ text เนื้อหา เสียงประกอบ และ การแสดง (Performance) ทุกอย่างจะผสมปนแป แยกขาดกันไม่ออก เป็นเสมือนเรื่องเดียวกัน ผ่านสื่อหนังสั้นที่จะให้ความหมายของประวัติศาสตร์นี้ใหม่ ที่จะไปหยอกล้อกับความเป็นพิพิธภัณในพื้นที่เดิมเองด้วย ประเภทหนัง : Mockumentary ประวัติผู้ส่งงาน เรวดี งามลุน ปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 สาขา สื่อศิลปะและออกแบบสื่อ ( Media Arts and Design) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยา กัณทาพันธุ์ ปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 สาขา สื่อศิลปะและออกแบบสื่อ ( Media Arts and Design) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกลุ่ม Untitled for film. ผลงานที่ผ่านมา ภาพยนต์สั้น : หลานยายและเรื่องเล่าผีโพง เข้ารอบสุดท้าย รางวัลช้างเผือก หนังสั้นมาราธอนครั้งที่ 17 https://www.youtube.com/watch?v=RQOZMMtmlBA ภาพยนต์สั้น : ฮูลาฮูป - รองชนะเลิศ yes it me ผู้หญิงคุมได้ - รางวัลช้างเผือก หนังสั้นมาราธอนครั้งที่ 18 https://www.youtube.com/watch?v=8lf_IogCkfE&index=1&list=PLavUxSIA5tmAqUeJN-rbLB5Q_5s7EGr1 ภาพยนต์สั้น : Sandy Sandies หนังสั้นโครงการ More than เมีย https://www.youtube.com/watch?v=boqosUfKchY