โครงการอนุรักษ์ภาพถ่ายฟิล์มกระจกโบราณ เพื่อพัฒนาสู่งานออกแบบภายในพิพิธภัณฑ์ Conservation The Ancient Wet Plate Collodion For Developing To Museum Interior Design Project
ชื่อโครงการ
โครงการศูนย์อนุรักษ์การถ่ายภาพฟิล์มกระจก โบราณ เพื่อพัฒนาสู่งานออกแบบภายใน
ประเภทของงานวิจัย
MUSEUM (INTERIOR DESIGN)
ผู้ดำเนินงานวิจัย
นางสาวธนันต์ ด้วงสะดียิ่งเจริญ รหัส. 5708514 นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะศิลปะและการออกแบบ สาขาออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยรังสิต
ที่ปรึกษาโครงการวิจัย
อาจารย์คงรัฐ สุนทรโรจน์พัฒนา (อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก) อาจารย์บัณฑิต เนียมทรัพย์ (อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม)
ที่มาของโครงการ ภาพถ่ายฟิล์มกระจกโบราณ เป็นต้นกำเนิดแรกของภาพถ่าย ประมาณ ค.ศ.1820-1830 ภาพถ่ายฟิล์มกระจกคือการนำกระจกที่โปร่งแสง มาฉาบสารเคมีอันตราย จำพวกสารที่ใช้ทำระเบิดสารหน และไซยาไนด์ที่ ใช้ทำยาพิษ ทำให้เป็นกระจกไวแสง จึงจะมีภาพออกมาเรียกว่า “ภาพถ่าย ฟิล์มกระจก” ภาพถ่ายฟิล์มกระจกโบราณนับว่าเป็นภาพแห่งประวัติศาสตร์ และเกียรติภูมิด้านภาพถ่ายฟิล์มกระจกโบราณของชาติไทย เพราะเป็น ภาพของคนไทย ซึ่งรัชกาลที่ 4 ได้เป็นผู้บุกเบิกการถ่ายฟิล์มกระจกเป็น รายแรกในสยาม ภาพถ่ายฟิล์มกระจกโบราณ จะมีการนำมาจัดทำเป็นคลังข้อมูลเพื่อ ใช้จัดทำสื่อการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ เผยแพร่ให้เด็กและเยาวชน รวมถึงประชาชนคนที่รักในการถ่ายภาพ ได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติ ศาสตร์ ผ่านภาพถ่ายโบราณได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งจะเป็นการดำเนินงานสอด คล้องกับ “โครงการศูนย์อนุรักษ์การถ่ายภาพฟิล์มกระจกโบราณเพื่อพัฒนา สู่งานออกแบบภายใน” ซึ่งจะมีผลงานภาพถ่ายบุคคล ภาพถ่ายเหตุการณ์ สำคัญ และสถานที่ต่างๆ ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ไว้มากมาย ล้วนแล้ว แต่เป็นผลงานอันล้ำค่า เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ ลำดับเหตุการณ์ของประวัติศาสตร์ไทยได้อย่างลึกซึ้ง
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการออกแบบการจัดพื้นที่และการใช้งานให้เกิดประโยชน์อีกทั้ง ทฤษฎีขั้นตอนการทำงานของกล้องถ่ายภาพในสมัยก่อน เพื่อนำไปประกอบในงาน ออกแบบตกแต่งภายในที่จะทำ “โครงการศูนย์อนุรักษ์การถ่ายภาพฟิล์มกระจก โบราณเพื่อพัฒนาสู่งานออกแบบภายใน” เป็นสถานที่ซึ่ง 1.นำกระบวนการการเกิดภาพฟิล์มกระจกโบราณมาประยุกต์ใช้ในการเล่าเรื่อง 2.เป็นสถานที่ที่ให้ผู้ที่สนใจและรักในการถ่ายภาพ เข้ามาศึกษา 3.เพื่อเป็นสถานที่สร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้ที่สนใจในการถ่ายภาพฟิล์มกระจก
ผลที่คาดหวังว่าจะได้รับ
1.เพื่อทำให้ทราบถึงกระบวนการเกิดภาพฟิล์มกระจกว่ามีความเป็นมาอย่างไร 2.เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการถ่ายภาพในรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 3.เพื่อเป็นสถานที่สร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้ที่สนใจและรักในการถ่ายภาพฟิล์มกระจก 4.เพื่อเป็นสถานศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการถ่ายภาพฟิล์มกระจกโบราณ
ขอบเขตการศึกษา
1.ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการอนุรักษ์กล้องถ่ายภาพโบราณและการอนุรักษ์ภาพถ่าย ฟิล์มกระจกโบราณ 2.ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ และการทำ Workshop
กล้องใหญ่หรือกล้องวิว (Studio Camera or View Camera) กล้องใหญ่ (Studio Camera : เรียกตามการใช้งาน) หรือกล้องวิว (View Camera : เรียกตามระบบการทำงาน) เป็นกล้องที่ประดิษฐ์มาตั้งแต่เริ่มแรกการคิดการบันทึกภาพเป็น กล้องที่นิยมใช้ตามร้านถ่ายรูปแบบธุรกิจที่มีมานาน 40-50 ปี และก็ถูกละเลยหรือถูกนวัตกรรม ใหม่ๆ มาทดแทนจนแทบสูญพันธ์ยกเว้นสำหรับผู้ที่รักการถ่ายภาพแบบเฉพาะทางเท่านั้นที่ยัง มีใช้กันอยู่ กล้องชนิดนี้มีขนาดใหญ่โตมีน้ำหนักมาก มีขั้นตอนการถ่ายที่ยุ่งยากเสียเวลา ยิ่งถ้า จะนำไปใช้ภายนอก Studioยิ่งเป็นเรื่องยากทั้งขนาดและวิธีการถ่ายจึงไม่เหมาะที่จะนำไปใช้ งานภายนอกห้องถ่ายรูป หรือ studio การใช้กล้องจำเป็นต้องมีขาตั้งทั้งใหญ่ๆ และ Tripod ที่แข็งแรงรองรับตัวกล้องส่วนตัว กล้องยังเป็นการทำงานแบบโบราณ ที่เห็นได้ชัดคือตัว “กระโปรง” ที่ทำหน้าที่เป็นห้องมืด การ ทำงานอาศัยกลไกทั้งหมดที่เลนส์ตัวหน้า ด้านหลังเป็นกระจกฝ้ารับภาพเพื่อจัด composition และ focus เพื่อให้สามารถมองภาพได้ชัดเจนในขณะปรับความคมชัด เมื่อได้ที่แล้วจึงใส่ฟิล์ม ลงไปก่อนจะลั่นชัตเตอร์
ฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้เป็นฟิล์มแผ่นมีขนาดตามขนาดของกล้อง เช่น 2 x 3 นิ้ว 5 x 7 นิ้ว 8 x 10 นิ้ว และ 11 x 14 นิ้ว เมื่อถ่ายรูปเสร็จสามารถถอดฟิล์มออกได้ทันที เพราะเป็นแผ่นเดี่ยวๆ ไม่ได้เป็นม้วน
ข้อเสียของกล้องชนิดนี้ ภาพที่เกิดขึ้นที่ช่องมองภาพนั้นจะมีลักษณะหัวกลับและกลับซ้ายขวา ภาพจะไม่ชัดเจนดังนั้นผู้ถ่ายภาพต้องใช้ผ้าสีดำคลุมข้างหลังกล้องบนช่องมองภาพ และคลุมศีรษะผู้ใช้ให้สามารถมองภาพได้ชัดเจน ข้อดีของกล้องชนิดนี้ สามารถปรับใช้ได้หลายอย่างเพื่อให้ได้ภาพที่มีคุณภาพสูงมากโดยการปรับแผง เลนส์และผนังด้านหลังในขณะปรับกล้องขึ้นลงหรือปรับซ้าย-ขวาให้สัมพันธ์กันได้ เพื่อแก้ไขหรือควบคุมการคลาดเคลื่อนของเลนส์กล้องฟิล์ม กล้องฟิล์มกับกล้องดิจิตอลคุณค่าต่างกันอย่างไร กล้องฟิล์มคมชัดกว่ากล้องดิจิตอลมาก กล้องฟลูเฟรมที่มีเซนเซอร์ 24x36 มิล ถ้าเปรียบเทียบเป็นกระดาษ A4 กล้องฟลูเฟรมจะมีขนาดแค่ 1:100 ของกล้องฟิล์ม ถ้าฟลูเฟรม 30 ล้านพิกเซล กล้องฟิล์มก็คือ 3 พันล้านพิกเซล เพราะฉะนั้นกล้อง ฟิล์มจะมีขนาดใหมญ่กว่ากล้องดิจิตอลมากหรือเทียบกันไม่ได้เลย มีความคมชัด กว่าและความละเอียดมากกว่า
ฟิล์มกระจกแบบ Dry Plate Negative ร้านถ่ายรูปช่วงก่อนปี 2510
ฟิล์มกระจกจะวางซ้อนกันในกล่องโดยมีกระดาษดำคั่นเพื่อกันฟิล์มเป็นรอย และจะ มีตำหนิบนแผ่นกระจกเพื่อให้เราคลำในความมืดเพื่อให้รู้ว่าด้านไหนเป็นด้านน้ำยา ไวแสง ด้านไหนเป็น Film Base
ลักษณะกล้องที่ใช้ถ่าย Dry Plate แผ่นไม้ที่เห็นวางซ้อนกันเรียกว่า Magazine เก็บฟิล์มแผ่นละ 1 รูป
คุณภาพที่ได้จะคมชัดมาก เพราะ Negative มีขนาดใหญ่ไม่ต้องขยาย
Dry Plate ที่เห็นถือว่าเป็นรุ่นใหม่ ส่วนรุ่นเก่ากว่านั้น เรียกว่า Wet Plate หมายถึง เวลาเราเคลือบสารไวแสงที่กระจกแล้วเราต้อง Lorem ipsum ถ่ายตอนฟิล์มเปียกๆ เลยเพราะถ้าปล่อยให้เนื้อฟิล์มแห้ง ฟิล์มจะฟ๊อก (เสีย) ถ่ายไม่ได้ (รัชกาลที่ 5 ก็ทรงถ่ายแบบ Wet Plate) กระบวนการถ่ายภาพฟิล์มกระจกใบราณอยู่ในช่วงยุค 1830's ดังนั้น ในยุคนั้น ไม่มีคำว่า “ภาพถ่าย” สิ่งเดียวจากการที่เห็นคน บันทึกภาพ เเละฝังมันลงไปในกระจกสามารถมองเห็นได้เลย ภาพบนกระจกเป็นได้ทั้ง Negative คือฟิล์มที่ใช้อัด เเละ Positive คือเเบบใช้ดูเป็นภาพได้เลยในภาพเดียวกัน ความละเอียดใหญ่กว่ากล้องดิจิรุ่นใหม่หลายเท่า เวลาในการขึ้นภาพเเค่ 10 วินาที (เร็วกว่าโพราลอยด์)
ฉายาลักษณ์สยามภาพถ่ายโบราณ พ.ศ. 2403 - 2453
ฉายาลักษณ์สยามภาพถ่ายโบราณ
2367 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) การถ่ายภาพได้เข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก ปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ครองราชย์ พ.ศ. 2367 - 2394
2388 สังฆราชปาลเลอกัวซ์ (Jean-Baptiste Pallegoix) และ บาทหลวงลาร์โนดี (Abbe Larnaudie) นำกล้องและอุปกรณ์เข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก หลังจากนั้นได้ช่วยถ่ายทอดวิชาถ่ายรูปให้แก่คนไทย
2403 ช่ า งถ่ า ยภาพชาวไทยคนแรก พระยากระสาปนกิ จ โกศล (โหมด อมาตกุ ล ) มี ช ื ่ อ เสี ย งในการถ่ า ยภาพและเป็ น ที ่ ย อมรั บ โดยทั ่ ว ไปในสมั ย นั ้ น
2399
(ครองราชย์ พ.ศ. 2394-2411)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เป็นพระองค์แรกที่ทรงยอมถ่ายภาพพระบรมฉายาลักษณ์ ทำให้การถ่ายภาพ เริ่มได้รับความนิยม ประชาชนนิยมการถ่ายภาพเจริญรอยตามพระองค์มากขึ้น
ฉายาลักษณ์สยามภาพถ่ายโบราณ
2406 หลวงอั ค นี น ฤมิ ต ร (จิ ต ร) หรื อ ฟรานซิ ส .จิ ต ร ช่ า งภาพหลวงสมั ย รั ช การที ่ 4 และ 5 เป็ น ช่ า งภาพอาชี พ คนแรก ที ่ ต ั ้ ง ร้ า นถ่ า ยรู ป ขึ ้ น รั บ จ้ า งถ่ า ยเป็ น การถาวรของสยาม
2408
จอห์น ทอมสัน (John Thomson) เดินทางมาสยามเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2408 ในสมัยรัชกาลที่ 4 เขาได้เข้าเฝ้าและถ่ายพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ ถ่ายรูปพระราชพิธีโสกันต์ของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
ครองราชย์ 2411-245)
2450
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงสนพระทัยการถ่ายรูปเป็นอันมาก และได้ยกย่องให้เป็น “พระบิดาแห่งการถ่ายภาพไทย”
2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) และสมัยต่อๆ มา ร้านถ่ายรูปหลายร้านจึงนิยมเอาคำว่า “ฉายา” ใส่ไปในชื่อร้านด้วย เช่น ฉายานรสิงห์ ฉายาอรุณลักษณ์ ฉายาสงขลา ฉายาจิตรกร เป็นต้น
แอบเบ้ ลาร์โนดี (Abbe Larnaudie) พ.ศ. 2388 - 2410
พระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404
แอบเบ้ ลาร์โนดี (Abbe Larnaudie) พ.ศ. 2388 - 2410
คำอธิบาย: “ภาพบุคคลที่ดูแปลกตาของเจ้าจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากซ้ายไปขวาคือ เจ้าจอมมารดาเขียน เจ้าจอมมารดาวาด (ภายหลังเป็นเท้าวรจันทร์) และเจ้าจอมมารดาสุ่น (ภายหลังเป็นท้าวนิดาพิจาริณี) ในชุดเครื่องแบบทหารมหาดเล็กมีลักษณะ คล้ายกระโปรงชาวสกอต เจ้าจอมมารดาทั้งสามได้เคยขี่ม้าร่วมในขบวนแห่ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” คอลเล็กชั่น: Tropenmuseum, Linnaeusstraat 2, 1092 CK อัมสเตอร์ดัม
ปีแอร์ รอซีเอร์ พ.ศ. 2404
ชื่อภาพ: วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ สยาม (ปัจจุบันคือ ประเทศไทย) วันที่: ฟิล์มเนกาทีฟนำมาล้างในปี พ.ศ. 2404 และ พ.ศ. 2405 เทคนิคการล้างภาพ: พิมพ์แบบซิลเวอร์อัลบูมินเงินจากฟิล์มกระจก คอลเล็กชั่น: ศูนย์สถาปัตยกรรมแค
ปีแอร์ รอซีเอร์ พ.ศ. 2404
คำอธิบาย: ภาพของคนสามคนในเครื่องแต่งกาย ถ่ายในโรงละคร คอลเล็กชั่นเดิม: จ๊ากส์-ฟิลิปป์ พอตโต คอลเล็กชั่นใหม่: พิพิธภัณฑ์กวายบร็องลี่ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส วันที่: พ.ศ. 2403 - 2412
ปีแอร์ รอซีเอร์ พ.ศ. 2404
ชื่อภาพ: “บ้านสยาม” คอลเล็กชั่น: พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาแห่งชาติ, Steenstraat 1, 2312 BS เมืองไลเดน
คาร์ล บิสมาร์ค พ.ศ. 2404 - 2405
คำอธิบาย: ดาแกร์. คาร์ล เฮนริค (คาดว่า เป็นเจ้าของภาพ); “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหากษัตริย์พระองค์แรก ฉายร่วมกับพระโอรสพระองค์น้อยๆ”
คาร์ล บิสมาร์ค พ.ศ. 2404 - 2405
ฟรานซิส จิตร พ.ศ. 2406
คำอธิบาย: “วัดสระเกศ สร้างขึ้นเพื่อพระราชพิธีตัดจุกพระโอรสของพระเจ้าอยู่หัว” ภาพนี้ถ่ายในเดือนมกราคม พ.ศ. 2408 มีลักษณะเป็น Ghost Images (ภาพฟุ้งๆ) ทั้ง ในกลุ่มผู้คนทีอยู่ด้านหน้าและจะมีลักษณะที่เด่นชัดขึ้นด้านหน้าเขาจำลอง เขาไกร ลาสในงานพิธีโสกันต์ เขาไกรลาสจำลองในงานพิธีโสกันต์ในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุลงกรณ์ นับเป็นงานราชพิธีที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. 2509 เขาไกรลาสเป็นสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมไทยที่สร้างขึ้นชั่วคราวสำหรับ พระราชพิธีนี้ อันสมมติว่า เป็นที่ประทับของพระอิศวร ที่เป็นประธานของเทพเจ้าใน ลัทธิพราหมณ์ เสมือนว่าเสด็จลงมาให้พรให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอมีความเจริญรุ่ง เรือง
ฟรานซิส จิตร พ.ศ. 2406
ชื่อภาพ: ร่มเงาของต้นไม้ “แม่น้ำหรือเจ้าพระยา อยู่ตรงข้ามกับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” ภาพเกาะน้อยหรือเกาะขนาดเล็กกลางแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่หน้าวัดอรุณฯ จะเห็นเก๋งจีนน้อยหลังหนึ่งและมีต้นอินทผลัมสอง หรือสามต้นขึ้นอยู่ เกาะนี้ถูกขุดลอกทิ้งไปโดยกองทัพเรือ เพราะกีดขวางการกลับลำของเรือรบ
ฟรานซิส จิตร พ.ศ. 2406
“พระเจดีย์และวัดที่เห็นอยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำ” ภาพวัดปทุมวนาราม (วัดสระปทุม) เป็นวัดในสายธรรมยุติกนิกายที่รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. 2400 ด้วยทรงมีพระราชประสงค์จะให้เป็น วัด “อรัญวาสี” จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดหนองน้ำขนาดใหญ่ปลุกดอกบัว สระบัวนี้เชื่อมต่อบางกะปิ คลองอรชร และคลองแสนแสบ น่าเสียดาย ที่เมื่อมีการตัดถนนพระราม 1 ได้ทับถมสภาพของวัดที่เคยมีน้ำล้อมรอบ
ฟรานซิส จิตร พ.ศ. 2406
“สถานที่สร้างขึ้นเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว” ณ ห้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410
ฟรานซิส จิตร พ.ศ. 2406
“เจ้าชายน้อยแห่งสยาม” พระรูปของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพนี้ฉายเมื่อมีพระชันษา 11 ปี ขณะที่เข้าพระราชพิธีโสกันต์ในฉลองพระองค์เต็มตามโบราณในราชประเพณี เอกสารจากพิพิธภัณฑ์กวายบร็องลี่ในกรุงปารีสได้ระบุว่า ภาพถ่ายนี้ได้้ถ่ายในช่วง พ.ศ. 2409 หรือก่อนหน้านั้น
ภาพระหว่าง พ.ศ. 2406 - 2416 “กรุงเทพฯ แนวกำแพงพระราชวังและพื้นที่ฝึก” ภาพถนนหน้าพระบรมมหาราชวัง (ปัจจุบันคือ ถนนสนามไชย)
“พระราชวังเก่าของพระอนุชาของพระเจ้าอยู่หัว” (เจ้าฟ้าองค์น้อย) “เจ้าฟ้าองค์น้อย” คือ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระอนุชา ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเมื่อท่านยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จฯ เจ้าฟ้า ปัจจุบันนี้คือ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร
ภาพระหว่าง พ.ศ. 2406 - 2416 “พระราชวังของพระเจ้าอยู่หัวพระองค์แรก” พระที่นั่งอาภารณ์ภิโมกข์ปราสาท ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง จะเห็นทิม คดหรือศาลารอเฝ้าฯ ของข้าราชการในเวลามีพระราชพิธี ต่างๆ อยู่ทางซ้าย ซึ่งปัจจุบันรื้อออกไปแล้ว
“พระราชวังของพระเจ้าอยู่หัวองค์ที่สอง ภาพบางส่วน” พระที่นั่งสนามจันทร์ในวังหน้า หรือพระที่นั่งสำราญราชจรรยา ภายในเขตพระราชฐานชั้นกลาง พระราชวังบวรสถานมงคล พระที่นั่งองค์นี้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง เลียนแบบพระที่นั่งสนามจันทร์ในพระบรมมหาราชวังตามรับ สั่งรัชกาลที่ 4
ภาพระหว่าง พ.ศ. 2406 - 2416
ผลงานภาพถ่ายจาก พ.ศ. 2416-2423 “ชาวสยามเล่นลูกเต๋า” กลุ่มชายหนุ่มชาวสยามกำลังนั่งเล่นการพนัน ชนิดหนึ่ง เรียกว่า ดวด เป็นการเล่นเดินแต้ม ด้วยเบี้ยหอยจั่น (Cypraea moneta Linnaeus) หอยกาบเดียวชนิดหนึ่ง ผิวเป็นมัน โดยผู้เล่น ได้ทอดไปตามตาของกระดานดวด มีการเล่น ดวดอย่างแพร่หลายในภาคกลาง มักเล่นแก้ เหงาในงานต่างๆ อุปกรณ์ในการเล่นดวด 1 สำรับ ประกอบด้วย กระดานไม้พร้อมโกรกกราก กระบอกเทดวด 2 กระบอก เบี้ยจัน 11 ตัว คือ เป็นเบี้ยสำหรับ ไว้เป็นตัวเดินฝ่ายละ 3 ตัว เป็นเบี้ยสำหรับ กระบอกทอดดูแต้ม 5 ตัว การเล่นดวดถือเป็น การพนันชนิดหนึ่งครั้งอดีต ปัจจุบันยังมีกฎหมายเกี่ยวกับการเล่นพนัน ดวดอยู่ จัดเป็นการพนันตามบัญชี ข ทุกคนในภาพล้วนไว้ผมทรงมหาดไทย บางคน มียาสูบม้วนเหน็บที่หู อัลบั้มภาพ: ฟราสซิส จิตรและจอร์น ทอมสัน
ผลงานภาพถ่ายจาก พ.ศ. 2416-2423
“พระสงฆ์ชาวสยาม” การถ่ายภาพพระสงฆ์ในพุทธศาสนาคงเป็นเรื่องของอาชีพที่ต้องทำ เมื่อมีพระสงฆ์มาจ้างให้ถ่ายภาพ ซึ่งเป็นที่นิยมกันในหมู่พระสงฆ์ ที่บวชว่า ควรจะถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึก พระสงฆ์ในภาพนี้ห่มจีวรแบบห่มดอง พาดสังฆาฏิที่บ่าลงมา เป็นการแต่งกายของพระภิกษุ ในเวลาที่ต้องทำพิธีในวันพระหรือเวลาที่ต้องลงโบสถ์สวดมนต์เพราะฉะนั้นนี่คือท่านั่งเวลาอยู่ในอุโบสถ์เพื่อประกอบพิธี
จอห์น ทอมสัน พ.ศ. 2408
“พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ เมื่อวันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 2408” (หอสมุดเวลคัม กรุงลอนดอน หมายเลข 19052i)
จอห์น ทอมสัน พ.ศ. 2408
“นางรำชาวสยาม” ห้องสมุดเวลคัม ลอนดอนที่ 19498i
จอห์น ทอมสัน พ.ศ. 2408
“สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ สยามมกุฎราชกุมาร” พระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ก่อนที่จะเสด็จ ขึ้นครองราชย์ในกาลต่อมานี้เป็นหนึ่งในภาพบุคคลชาวสยามของจอห์น ทอมสัน ได้รับการระลึกถึงมากที่สุด สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ทรงยืนกับ ไม้ค้ำพระศอเพื่อให้ทรงนิ่งได้ดีขึ้น โดยจะเห็นรากของไม้ค้ำนี้ได้อย่างชัดเจน ทรง วางพระหัตถ์ซ้ายไว้บนโต๊ะใกล้ๆ ยังทรงมีพระโมสีที่แสดงให้เห็นว่ายังไม่ด้เข้า พระราชพิธีโสกันต์ ทรงมีพระพักตร์ที่สุขุมและสง่า ราวกับว่ากำลังคิดบางอย่างดู เด่นจากสีเข้มด้านหนัง ทรงทอดพระเนตรไปยังบางสิ่งที่ไกลออกไป ภาพซึ่งได้เป็นหนึ่งในผมงานยอดเยี่ยมที่สุดของทอมสัน
ฟิล์มกระจกมีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 4 จนถึงรัชกาลที่ 7 สามารถแยกเนื้อหาสำคัญของข้อมูลต่างๆ ออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ภาพบุคคล ภาพสถานที่ ภาพเหตุการณ์ ภาพเบ็ดเตล็ด ซึ่งเหตุการณ์สถานที่หรือประเพณีบางอย่าง ไม่มีปรากฏในปัจจุบันแล้ว ฟิล์มกระจก เหล่านี้จึงเป็นประจักษ์พยานประเภทเดียวที่ยังคงเหลืออยู่ ซึ่งกำลังเลือนหายไปตาม กาลเวลา เรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตเป็นกระจกที่สะท้อนถึงความเป็นตัวตนในปัจจุบันไม่ว่าจะ เป็นความเจริญรุ่งเรืองหรือตกต่ำทางด้านเศรษฐกิจ ความผันผวนทางด้านการเมือง การเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรม ประเพณีและความเป็นอยู่ประกอบกับเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนทั้งทางความคิดและวัฒนธรรมอย่างมหาศาลและด้วย ความมักง่ายในการรับค่านิยมที่หลากหลายได้สร้างคลื่นกระทบต่อหลักใน การดำเนินชีวิตของคนไทยอย่างรุนแรงท้ายที่สุดทำให้ความศรัทราต่อคุณค่าความ เป็นไทยลดลง
วิธีเก็บรักษา ฟิล์มกระจกแต่ละแผ่นมีอายุยาวนาน มีสภาพเปราะบาง ง่ายต่อการชำรุด หากให้บริการด้วยการสัมผัสฟิล์มกระจกโดยตรงอาจเสี่ยง ต่อการชำรุดเสียหาย ควรเก็บรักษาไว้ในที่ที่ไม่มีแสงแดดโดยตรง ควรเก็บรักษาไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าศูยน์องศา ควรเก็บไว้ในที่ที่มีความชื้นน้อย (ความชื้นสัมพัทธ์น้อย กว่า 40%) มีอุณหภูมิที่พอเหมาะประมาณ 10-25 (C) และมีแสงน้อย ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการเก็บภาพที่ได้มาตราฐาน
สถานที่ตั้งโคงการ
สำนึกพิมพ์คณะรัฐมนตรี และราชกิจจานุเบกษา
สถานที่ตั้งโคงการ
สำนึกพิมพ์คณะรัฐมนตรี และราชกิจจานุเบกษา
1
2
3
5
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
4.
60
A B c
60
ที่จอดรถ
4.
5.9 0
D E
ี่จอ
5.9 0
้าท
งเข
ทา
F
ถ ดร
G 0 5.9
5.9 0
H
0 4.7
4.7 0
I
PLAN 1ST FLOOR SCALE
1:100
1
2
3
5
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
4.
60
A B c
60
4.
5.9 0
D E 5.9 0
F G H 5.9 0
0 5.9 0 4.7
4.7 0
I
PLAN 2ND FLOOR SCALE
1:100
1
2
3
5
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
4.
60
A B c
60
4.
5.9 0
D E 5.9 0
F G H 5.9 0
0 5.9 0 4.7
4.7 0
I
PLAN 3RD FLOOR SCALE
1:100
(พื้นที่รวมทั้งหมดของโครงการ 2,500 ตรม.)
TOILET CAFE MINI EXHIBITION SEAT CAMERA RECEPTION GIFT SHOP STORAGE
TOILET LIBRALY WORK SHOP STORAGE
TOILET MUSEUM STORAGE
DARKROOM
BANGKOK CITYCITY GALLERY
พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ (Museum of Imaging Technology)
MAIIAM Museum