สืบสานประเพณี
»‚ãËÁ‹àÁ×ͧ ตุงลานนา ๑๕ เมษายน ไมใชวันพระญาวัน (วันเถลิงศก) อีกแลว
ศูนยวัฒนธรรมศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา
สืบฯสานฯปาเวณีปีลฯใหมฯ่เมิอฯง สืบสานประเพณีปีใหม่เมือง ศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้ว บรรณาธิการ
ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
เน
คำฯบอฯกแจ้งฯ คาบอกแจ้ง ประเพณี ปีใหม่สงกรานต์ ถือว่าเป็นประเพณีที่ร่วมกันในภาคพื้น ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในภาคพื้นทวีป ในกลุ่มประเทศที่ เคยได้รับวัฒนธรรม หรืออิทธิพลของพม่า โดยเฉพาะจุลศักราช ในครั้งนี้ เป็นการนาข้อสงสัยของหลายท่านที่เคยประสบมาในช่วง หลายปีที่ผ่านมา ที่ว่าวันพระญาวันเคลื่อนไป และเกิดปัญหาในการดาเนิน กิจกรรมทางความเชื่อในช่วงสงกรานต์ นามาซึ่งการถกเถียง บาทีอาจถึงขั้น ทะเลาะเบาะแว้งอย่างรุนแรง ในฉบับนี้จึงกล่าวถึงที่มาที่ไปและชี้ให้เห็นถึง ความจริงและความสาคัญในข้อนี้ให้เป็นที่ประจักษ์โดยเบื้องต้น นอกจากนี้แล้วยังนาความรู้เรื่องตุงล้านนา โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ลิปิกร มาแก้ว ได้ศึกษาค้นคว้าพร้อมกับขั้นตอนวิธีทาที่ละเอียดและสามารถ ลองทาตามขั้นตอนที่แจ้งไว้ในเล่มนี้ได้ อย่างไรก็ดี ปีใหม่ปีจุลศักราช ๑๓๗๘ ปีรวายสันก็เคลื่อนมาถึง ก็ ขอให้ทุกท่านมีความสุขสวัสดิมงคล ประสบผลสาเร็จด้วยตามความมุ่งมาด ปรารถนาทุกสิ่งทุกประการด้วยเทอญ ด้วยจิตคาระวะ ศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้ว เมษายน ๒๕๕๙
๓
สารบัญฯ สารบัญ คาบอกแจ้ง สารบัญ ๑๕ เมษายน ไม่ใช่วันพระญาวัน (วันเถลิงศก) อีกแล้ว ทุงล้านนา หนังสือปลีใหม่เมืองล้านนา จุลลสกราช ๑๓๗๘ ตัว ปลีรวายสัน คร่าวนางเทวดาผู้รับเอาขุนสังขานต์ไป
๔
๓ ๔ ๕ ๑๕ ๓๓ ๔๑
15่เมษาย฿นฯ่บ่ฯ่ใชวันฯพรฯยฯาวันฯแถมฯแลฯวฯ ๑๕ เมษายน ไม่ใช่วันพระญาวัน (วันเถลิงศก) อีกแล้ว ศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้ว
*
เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันทุกปี ตั้งแต่เริ่มมีการฟื้นฟูองค์ความรู้เรื่อง ประเพณีสงกรานต์ล้านนา เป็นต้นมา เมื่อผลที่ ไ ด้ไม่ตรงกับสิ่งที่เคยปฏิบัติ กันมาร่วมมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามที่ เริ่ ม ออกประกาศวั น หยุ ด สงกรานต์ ในวั น ที่ ๑๓ – ๑๕ เมษายน ตาม ประกาศสานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กาหนดเวลาทางานและวันหยุดราชการ พ.ศ. ๒๔๙๑ และจะใช้วันหยุดนี้เป็นหลักเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน (แม้นว่า บางปีจะมีการเปลี่ยนแปลง ลด หรือเพิ่มวันหยุดบ้าง แต่ก็ใช้วันที่ ๑๓ เป็น วันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา และวันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิง ศก อยู่ ตลอดเรื่อยมาไม่มีการเปลี่ยนแปลง) เมื่อดาเนินกิจกรรมและพิธีกรรมในวันที่ ดังกล่าวสืบๆ กันมาโดยยึดเอาวันหยุดราชการเป็นหลักเสียแล้ว ก็มักจะเกิด ความเคยชิ น และทึกทั กเอาว่าสิ่ งนั้นเป็นสิ่ง ที่ถูก ต้อง แม้ว่า ขณะนั้ นจะมี ประกาศสงกรานต์ฉ บับ ส่ว นกลาง ที่พิ มพ์ แจกโดยธนาคารออมสิน หรื อ ประกาศสงกรานต์ที่พิมพ์ในท้องถิ่นก็ตามที วันหยุดสงกรานต์จะไม่มีปัญหาเลย หากไม่ได้ มีความเชื่อเรื่อง วัน และพิธีกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างภาคกลางของไทย
*
นักวิชาการศึกษา ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
๕
สงกรานต์ ข องล้ า นนา ประกอบด้ ว ยความเชื่ อ พิ ธี ก รรมที่ หลากหลายที่จาเพาะเจาะจงในแต่ละวัน การลักลั่นของประกาศสงกรานต์ กับวันหยุด ราชการจึ งเป็นปัญหาใหญ่ตั้งแต่พระสงฆ์ ปู่อาจารย์ ชาวบ้า น แทบจะทุกพื้นที่ จนบางครั้งเกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันในกลุ่ม แบ่งฝักแบ่ง ฝ่ายในการไปวัด หรือพิธีกรรม โดยบางส่วนยึดตามวันหยุดราชการและที่ เคยปฏิบัติกันมา และบางส่วนยึดตามประกาศสงกรานต์
การประชุมเสวนาในเรื่องปัญหาของสงกรานต์ล้านนา หลายต่อหลายครั้ง
สิ่งที่ลักลั่นกันนั้นคือ วันพระญาวัน หรือวันเถลิงศกเคลื่อนจากเดิม คือวันที่ ๑๕ เมษายน เป็นวันที่ ๑๖ เมษายน และทาให้วันที่ ๑๕ เมษายน กลายเป็นวันเน่า ทาให้การดาเนินตามกิจกรรมที่ต้องอิงตามความเชื่อของแต่ ละวันนั้นดูจะวุ่นวายโกลาหลกันอย่างมาก ดังที่เกิดปรากฎการณ์ดัง กล่าว ในช่วงที่ผ่านมา แม้กระทั่งปัจจุบันนี้ก็ตาม การประกอบกิจกรรมตามความเชื่อแต่ละวัน ล้วนสัมพันธ์กับความ เชื่อมั่นและศรัทธาของชาวล้านนาเป็นอย่างยิ่ง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
๖
วันสังขานต์ล่อง ถือเป็นวันที่ทาความสะอาดครั้งใหญ่ของบ้าน ซัก ผ้า ปัดกวาดสิ่งสกปรก ชาระล้างรูปเคารพ โดยเฉพาะการดาหัวตนเองดังใน ประกาศสงกรานต์ที่ระบุไว้ว่าต้องเป็นวันสังขานต์ล่องไว้ว่า “ในวันสังขานต์ ไพนั้นจุ่ง หื้อครูบาอาจารย์ เจ้านายท้าวพระญา เสนาอามาตย์ ข้าราชการ ไพร่ ราษฎอรทังมวล เอากันไพสู่โปกขรณี แม่น้า เค้าไม้ใหญ่ จอมปลวกใหญ่ หนทางไฅว่สี่เส้นสุมกัน อว่ายหน้าไสู่ทิสสะหนใต้ อาบองค์สรงเกศเกล้าเกสี ปลีนี้สรีอยู่ที่ปาก หื้อเอาน้้าอบน้้าหอมเช็ดปาก กาลกิณีอยู่ดัง จังไรอยู่หลัง หื้อเอาน้้าหมิ้นสัมป่อยเช็ดฅว่างไพเสีย แล้วกล่าวคาถาว่า “อม สิริมา มหาสิริ มา เตช ยส ลาภา อายุ วณฺณา ภวนฺตุเม” ดังนี้ แล้วลอยจังไรในที่ทังหลาย ฝูงนั้น แล้วจิ่งมานุ่งผ้าครัวผืนใหม่ แล้วทัดทรงเซิ่งดอกกาแกด อันเปนดอกไม้ นามปลี ค็หากจักมีอายุทีฆายืนยาวไพชะแล”และทาความสะอาดรอบวัด และหมู่บ้าน
การนาผ้าไปซักที่แม่น้าในวันสังขานต์ล่อง
๗
วันเน่า เป็นวันที่เตรียมของไปทาบุญที่วัด จัดแจงอาหารคาว-หวาน ขนทรายใส่ขัน ก่อเจดีย์ทราย ไม่กระทาพิธีมงคลใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากถือว่า เป็นวันเน่า หากทาพิธีมงคลในวันนี้จักต้องอับโชคตลอดทั้งปี และเป็นวันถือ ต้องสารวมกาย วาจา ใจให้ปราศจากการทาสิ่งไม่ดี เว้นในการด่าทอส่อเสียด เป็นต้น
ขนทรายใส่วัดในวันเน่า
วันพระญาวัน ถือว่าเป็นวันดีที่สุดของปี เป็นวันที่ไปวัดทาบุญ และ จัดพิธีมงคลต่างๆ เช่นขึ้นบ้านใหม่ เปิดร้านใหม่ ถวายไม้ค้าต้นโพธิ์ เปลี่ยน ขันครู สักหมึก กินอ้อผญา เป็นต้น และเป็นวันแรกในการสักการะดาหัวขอ ขมาพระสงฆ์ ผู้เฒ่าผู้แก่
การไปไหว้พระทาบุญที่วัดในวันพระญาวัน ๘
วันปากปี เป็นวันที่ทาการส่งเคราะห์ และรับโชคในวันนี้ มีการกิน แกงขนุนกันทุกบ้าน ด้วยเชื่อว่าจะช่วยเกื้อหนุนค้าชูตลอดปี และมีการดาหัว ผู้เฒ่าผู้แก่ และบุคคลที่เคารพต่อยาวไปจนหมดทุกคน หรือตลอดสิ้นเดือน เมษายนก็มี
การบูชาข้าวลดเคราะห์ในวันปากปี
จะเห็นว่ากิจกรรมของแต่ละวันมีความหลากหลาย และมีแบบแผน อย่างชัดเจน บางพื้นที่อาจจะมีรายละเอียดพิธีที่แตกต่างกันไปตามแต่ละ พื้นที่ ทั้งในล้านนาเอง และเมืองต่างๆ ที่มีประเพณีสงกรานต์ เช่นเมียนมา (ในเขตต่างๆ ของเมียนมา รัฐฉาน เชียงตุง ) สิบสองปันนา และลาว ที่มักจะ มีพิธีที่ผูกกับวันเหล่านี้ เมื่อศึกษาในประเทศเพื่อนบ้าน พบว่ามักไม่ค่อยมีปัญหาเท่ากับทาง ล้านนาของไทย ที่มีสองระบบคือระบบตามการคานวณ และระบบวันหยุด กระด้าง ในเมืองต่างๆ จะยึดตามประกาศสงกรานต์ที่ออกมาในแต่ละปี เช่น ในประเทศลาว จะประกาศวันหยุดสงกรานต์ตามประกาศสงกรานต์ของปี นั้นๆ ส่วนในประเทศเมียนมา ก็จะมีการหยุดสงกรานต์ยาวถึง ๑๐ วัน ๙
โดยความเป็นจริง วันเถลิงศก หรือว้นพระญาวัน ไม่ได้หยุดนิ่ง และ นั บ วั น ก็ จ ะเคลื่ อ นไปเรื่ อ ยๆ ตามคั ม ภี ร์ ที่ ใ ช้ สื บ กั น มาในทุ ก ประเทศที่ มี เทศกาลสงกรานต์มาใช้คานวณวันเถลิงศก นั่นคือ “คัมภีร์สุริยยาตร” และ ใช้การเปลี่ยนศักราชโดยใช้ “จุลศักราช” (เมียนมาศักราช) เป็นสาคัญ จาก การคานวณตามคัมภีร์นับจานวนวันตั้งแต่วันตัดศักราช คือวันที่สัง ฆราชา บุพโพโสรหัน สึกแล้วขึ้นครองราชย์ในเวลาที่ราศีมีนย้ายไปสู่ราศีเมษ มา จนถึงปัจจุบัน แล้วเทียบกับปฏิทินทางสุริยคติว่าตรงกับวันใด จานวนวันนับ แต่วันตัดศักราชมาจนถึงปัจจุบัน เรียกว่า “หรคุณ” ในคั มภี ร์สุ ริย ยาสตร์ ให้สู ตรการคานวณหาหรคุณ วัน พระญาวั น หรือ อหังคณะวันสักราชขึ้น ไว้ว่า “สักกชาติตั้งแล้ว ๒๙๒๒๐๗ คูณ ๓๗๓ บวกปลาย แล้ว ๘๐๐ หาร ลัพธ์นั้น ๑ บวก เปนอหังคณะวันสักราชขึ้นแล ตราไว้ก่อนแล” หรือ หรคุณวันพระญาวัน
หรคุณวันเน่า
๑
ผลลัพธ์ของ
จุลศักราช ๒๙๒๒๐๗ ๘๐๐
๓๗๓
+๑
หรือตามสูตรที่พระครูอดุลสีลกิตติ์ได้แจ้งไว้คือ หรคุณวันพระญาวัน = ผลลัพธ์ของ ((จุลศักราช x ๓๖๕.๒๕๘๗๕) + ๑.๔๖๖๒๕)
นอกจากนั้นหาว่าปีนั้นมีวันเน่ากี่วัน ให้เอาหรคุณวันพระญาวันปีนี้ ตั้ง ลบด้วยหรคุณวันพระญาวันปีก่อน หากลบแล้วได้ผลลัพธ์ ๓๖๕ วัน วัน นั้นมีวันเน่า วันเดียว หากได้ผลลัพธ์ ๓๖๖ วัน ปีนั้นมีวันเน่า ๒ วัน
๑๐
สาหรับปีจุลศักราช ๑๓๗๘ นี้ คานวณได้ว่า มีวันเน่า ๒ วัน จากนั้น จึงหาหรคุณวันต่างๆ คือ หรคุณวันพระญาวันตั้ง ลบออก ๑ เป็นหรคุณวัน เน่า วันที่ ๒, ลบออก ๒ วันหรคุณวันเน่า วันที่ ๑ และลบออก ๓ เป็นหรคุณ วันสังขานต์ล่อง แล้วมาเทียบกับปฏทินทางสุริยคติว่าจะตรงกับวันที่เท่าไร ดังนี้ หรคุณวันสังขานต์ล่อง หรคุณวันเน่า วันถ้วน ๑ หรคุณวันเน่า วันถ้วน ๒ หรคุณวันพระญาวัน
๕๐๓๓๒๕ ๕๐๓๓๒๖ ๕๐๓๓๒๗ ๕๐๓๓๒๘
ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๙ ตรงกับวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๙ ตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๙ ตรงกับวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๙
แต่วันประกาศหยุดราชการสงกรานต์ยังคงเป็นแบบเดิม คือ วันมหาสงกรานต์ (วันสังขานต์ล่อง) วันเนา (วันเน่า) วันเถลิงศก (วันพระญาวัน)
คือวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๙ คือวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๙ คือวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๙
เมื่อเรานับย้อนดูวันวันเถลิงศก ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน และดู ล่ว งไปในอนาคตช้ างหน้ า จะเห็น ถึง การเปลี่ย นแปลงว่ า วั นเถลิ ง ศก ได้ เคลื่อนออกไปเรื่อยๆ ดังที่ขนานดุสิต ชวชาติ ประธานชมรมปักขทืนล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ได้สารวจและรวบรวมวันเถลิงศก (วันพระญาวัน ในพุทธ ศตวรรษที่ ๒๕ – ๒๗ ไว้ดังนี้ วันเถลิงศกในพุทธศตวรรษที่ ๒๕ (พ.ศ.๒๔๐๑ – ๒๕๐๐) ปี ที่ เ ถลิ ง ศกตรงกั บ ๑๕ เมษายน คื อ พ.ศ.2443 – 2473, 2475 – 2477, 2479 – 2481, 2483 – 2485, 2491 – 2493, 2495 – 2497 และ 2499 – 2500 รวมทั้งสิ้น 48 ปี
๑๑
ปีที่เถลิงศกตรงกับวันที่ 16 เมษายน คือ พ.ศ.2474, 2478, 2482, 2486, 2490, 2494 และ 2498 รวมทั้งสิ้น 7 ปี วันเถลิงศกในพุทธศตวรรษที่ 26 (พ.ศ.2501 – 2600) ปี ที่ วั น เถลิ ง ศกตรงกั บ วั น ที่ 15 เมษายน คื อ พ.ศ.2503 – 2504, 2507 – 2508, 2511 – 2512, 2515 - 2516, 2519 – 2520, 2523 – 2524, 2527, 2531, 2535, 2539, 2543, 2547, 2551 และ 2555 รวมทั้งสิ้น 20 ปี ปี ที่ วั น เถลิ ง ศกตรงกั บ วั น ที่ 16 เมษายน คื อ พ.ศ.2501 – 2502, 2505 – 2506, 2509 – 2510, 2513 – 2514, 2517 – 2518, 2521 – 2522, 2525 – 2526, 2528 – 2530, 2532 – 2534, 2536 – 2538, 2540 – 2542, 2544 – 2546, 2548 – 2550, 2552 – 2554, 2556 – 2585 (ช่วงนี้จะเสถียรอยู่วันที่ 16 เมษายนถึง 30 ปี), 2587 – 2589, 2591 – 2593, 2595 – 2597, 2599 – 2600 รวมทั้งสิ้น 76 ปี ปีที่วันเถลิงศกตรงกับวันที่ 17 เมษายน คือ พ.ศ.2586, 2590, 2594 และ 2598 รวม ๔ ปี วันเถลิงศกในพุทธศตวรรษที่ 27 (พ.ศ.2601 – 2700) ในพุทธศตวรรษที่ 27 ยังมีวันพระญาวันตรงกับวันที่ 16 เมษายน คือ พ.ศ.2601, 2603 – 2605, 2607 – 2609, 2611 – 2613, 2615 – 2616, 2619 – 2620, 2623 – 2624, 2627 – 2628, 2631 – 2632, 2635 – 2636 และ 2639 – 2640 รวมทั้งสิ้น 28 ปี
๑๒
ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 27 นี้ จะมีวันพระญาวันส่วนใหญ่ตรง กับวันที่ 17 เมษายน และในปลายพุทธศตวรรษที่ 27 ก็จะมีวันพระญาวัน ตรงกับวันที่ 18 เมษายน ต่อไปอีกวันหนึ่ง เมื่อเคลื่อนไปเป็นร้อย เป็นหลายพันปีต่อไป วันสงกรานต์อาจจะ ตรงกับช่วงฤดูฝนกลางพรรษาก็ได้ หากไม่มีการตัดศักราชใหม่ จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า วันมหาสงกรานต์ วันเนา และวันเถลิง ศก ไม่ได้หยุดนิ่งตายตัวอยู่บนปฏิทินตามประกาศวันหยุดราชการของรัฐบาล โดยอาศัยการคานวณตามคัมภีร์สุริยยาสตร์ โดยใช้ร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน ของเรานี้ทั้งหมด หากไม่มีการปรับเปลี่ยนทั้งระบบความคิดของคนรุ่นเก่า ปรับ เปลี่ย นการยึ ดโยงกั บวั นหยุดราชการแล้ ว สุด ท้ายก็อ าจจะถู กน าไป อธิบายหรือเป็นจาเลยในความเดือนร้อนอุปัทวภ้ยที่อาจจะเกิดมีภายหน้าก็ เป็นได้
ปักตุงบูชาเจดีย์ทราย
๑๓
แนวทางที่อาจจะเป็นทางออกทั้งในระดับบนและระดับล่างได้แก่ หากเป็ น ไปได้ รั ฐ บาลควรออกประกาศวั น หยุ ด สงกรานต์ ต ามประกาศ สงกรานต์ ที่ อ อกมา เพื่ อ ความสอดคล้ อ งกั บ วิ ถี ชี วิ ต และวั ฒ นธรรมของ ท้อ งถิ่น หรื อ ผู้ น าในชุ มชนหมู่ บ้ าน ตกลงกั น ร่ วมปฏิบั ติ กิจ กรรมในช่ ว ง สงกรานต์ตามประกาศสงกรานต์ของแต่ละปี หากเลี่ ยงไม่ไ ด้ในที่สุ ดแล้ว ก็ยึดตามคนหมู่ มากเมื่ อเป็นกิ จกรรม ร่วมกับคนส่วนใหญ่ (หน้าหมู่) หากเป็นกิจกรรมส่วนตัวแล้ว เช่น ขึ้นบ้าน ใหม่, เปิดร้านใหม่ , กินอ้อผญา ฯลฯ ก็จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตรงตามวัน พระญาวันที่แท้จริง ให้สมกับเฝ้ารอมาตลอดทั้งปี แต่อย่าลืมว่า วันพระญาวันไม่ใช่วันที่ ๑๕ เมษายนอีกต่อไป... เอกสารอ้างอิง ยุทธพร นาคสุข. ๒๕๕๙. หนังสือปีใหม่เมืองล้านนา จุลศักราช ๑๓๗๘. เชียงใหม่: ชมรมปักขทืนล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้ว. ๒๕๕๘. ปีใหม่สงกรานต์ เนื่องในงานสืบสานประเพณีปีใหม่ ประจาปี ๒๕๕๘. เชียงใหม่: ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา สนั่น ธรรมธิ. ๒๕๕๓. ปีใหม่ล้านนา. เชียงใหม่:สุเทพการพิมพ์ สานักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่. ๒๕๕๖. ประเพณีปี๋ใหม่เมือง. เชียงใหม่:กลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สานักงานวัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่ โสภณธรรมานุวัฒน์,พระครู บรรณาธิการ. ๒๕๕๔. สุริยยาตร แล จุฬามณีสาร. เชียงใหม่: ทุนนิธิเพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมเวียงไชยสงคราม อาเภอเชียงดาว อดุลสีลกิตติ์,พระครู. การทาหนังสือปีใหม่. เอกสารประกอบการบรรยาย “ปีใหม่เมือง (มหาสงกรานต์) ในภูมิภาคอาเซียน” วันศุกร์ที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๙ มหาวิทยาลัยพายัพ
๑๔
ทุงล้านฯนาฯ ตุงล้านนา*
ผศ.ลิปิกร มาแก้ว**
ประวัติความเป็นมาของตุง คาว่า “ตุง” ในล้านนามีความหมายเช่นเดียวกับ “ธง” ในภาษาไทย กลาง และมีลักษณะตรงกับ “ปฎากะ” ของอินเดีย คือเป็นแผ่นวัสดุ ส่วนบน แขวนติดกับเสา ห้อยชายเป็นแผ่นยาวลงมา ตุง ในภาษาไทยใหญ่เรียก “ตา ข่อน” ภาษาพม่าเรียก “ตะขุ่น” ตุง หมายถึงเครื่องประดับตกแต่งใช้ประกอบพิธีกรรมชนิดหนึ่ง ที่มี บทบาทและความเป็นมาที่ยาวนาน ตุง เป็นสิ่งที่ทาขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ทั้งในงาน มงคลและงานอวมงคล โดยมีขนาดรูปร่าง และรายละเอียดด้านวัสดุแตกต่าง กันไปตามความเชื่อในพิธีกรรม ตลอดจนตามความนิยมในแต่ละท้องถิ่นด้วย วัสดุที่ใช้ทาตุง มีดังนี้ ๑. ผ้าหรือฝ้าย เช่น ตุงไชย ตุงใย เป็นต้น ๒. ไม้ เช่น ตุงกระด้าง ตุงไม้ เป็นต้น ๓. กระดาษหรือพลาสติก เช่น ตุงพระญายอ ตุงใส้หมู ตุงสิบสอง ๔. โลหะ เช่น ตุงเหล็ก ตุงตอง ตุงทองคา ตุงจืน เป็นต้น ๕. วัสดุอื่นๆ เช่น ตุงข้าวเปลือกข้าวสาร ตุงดิน ตุงทราย เป็นต้น
*
จากหนังสือ ศิลปวัฒนธรรมล้านนากับวิทยาเขตภาคพายัพ , ๒๕๔๑
**
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
๑๕
จุดประสงค์ของการทาตุงในล้านนาดังนี้ คือ ถวายเป็นพุทธบูชา สร้างให้แก่ตนเองและผู้ล่วงลับไปแล้ว จะได้ พ้นจากเวรกรรมและได้ขึ้นสวรรค์ ประดับประดาศาสนสถาน ศาสนวัตถุ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง เช่นงานปอยหลวง เป็นต้น เพื่อสะเดาะเคราะห์ ขจัดภัยพิบัติต่างๆ ให้หมดสิ้นไป โดยเฉพาะ ภัยที่เชื่อว่าเกิดจากภูตผีปีศาจ หรือบาปกรรมทั้งหลาย ใช้ในทางไสยศาสตร์ ทาเสน่ห์บูชาผีสางเทวดา ใช้ในพิธีกรรมและเทศกาลต่างๆ เช่นพิธี สวดมนต์ พิธีสื บชาตา การขึ้ น ท้ า วทั้ ง สี่ การตั้ ง ธรรมหลวง งานปอยหลวง ทอดกฐิ น ประเพณี สงกรานต์ ประเพณีเกี่ยวกับการตาย ตุงจาแนกตามการใช้งานมีดังนี้ ๑. ตุงที่ใช้ประดับตกแต่งสถานที่ ที่มีงานสมโภชฉลองถาวรวัตถุ ทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดความสวยงาม เป็นเครื่องหมายนาทางไปสู่ บริเวณงาน และใช้ในงานมงคลต่างๆ ดังนี้ ตุงไชย (ตุงไจย) เป็นตุงขนาดใหญ่ รูปสี่เหลี่ยมผืนยาว ถือว่ายิ่งยาว ยิ่งมีอานิสงส์มาก ตุงไชยทาด้วยผ้า เส้นฝ้าย เส้นไหม ซึ่งจะทอเป็นใยโปร่ง มี การตกแต่งประดับประดา บ้างก็ถักทอเป็นลวดลายต่างๆ อย่างสวยงาม ถ้า ผืนยาวมาก มักใช้ไม้ไผ่ลาโต เป็นเสาตุง ใช้ในงานเฉลิมฉลองต่างๆ ชาวบ้าน จะช่วยกันทาตุงไชยมาปักเรียงรายตามสองข้างทางที่จะเข้าสู่วัด การที่นาตุง ไชมาปัก เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับ นอกจากได้ปั กสองข้าง
๑๖
ทางที่เข้าวัดแล้ว ยังมีการประดับไว้รอบศาสนสถาน ศาสนวัตถุที่ทาพิธีฉลอง กันด้วย ตุงใย (ตุงใยแมงมุม ) คือตุงที่ทาด้วยเส้นด้าย หรือเส้นไหมผูกกัน คล้ายใยแมงมุม เพื่อใช้ในพิธีสาคัญทางศาสนาเช่นเดียวกับตุงไชย หรือแขวน ไว้ในวิหารหน้าพระประธานถวายเป็นพุทธบูชา การทาตุงชนิดนี้ขี้นอยู่กับ ความนิยมของแต่ละหมู่บ้าน ตุงกระด้าง เป็นตุงทีทาด้วยวัสดุคงรูป ผืนตุงทาด้วยไม้แกะสลักบ้าง ปูนปั้นบ้าง หรือบางครั้งก็เป็นโลหะแผ่นฉลุลาย นอกจากนี้ยังมีการประดับ ตกแต่งด้วยกระจก ปั้นปูนเป็นลวดลายต่างๆ หรือฉลุเป็นลวดลายประดับบน ผื น ตุ ง ตุ ง กระด้ า งนี้ ผู้ สร้ า งมั ก เป็ น ผู้ มี บ รรดาศั ก ดิ์ สู ง หรื อ มี ฐ านะทาง เศรษฐกิจดีพอ เพราะวัสดุที่ใช้ ตั้งแต่ผืนธงจนการประดับตกแต่งมีราคาสูง และต้องใช้ช่างฝีมือที่ประณีต ซึ่งการสร้างก็เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ตุงขอนงวงช้าง หรือตุงขอนก๋ม มีลักษณะเป็นวงแหวน ทาด้วยไม้ ไผ่ มัดโยงกันเป็นปล้องหุ้มด้วยกระดาษสีต่างๆ มักผูกติดไว้บริเวณหน้าพระ ประธาน ตุงตัวเปิ้ง คือตุงประจาปีเกิด เป็นตุงทาด้วยกระดาษหรือผ้า ทอ ,พิมพ์ หรือเขียนเป็นรูปสัตว์ประจาปีเกิด นิยมปักบนเจดีย์ทรายในเทศกาล สงกรานต์ หรือแขวนไว้บริเวณหน้าพระประธาน ตุงราว หรือตุงขนาดเล็กมักทาด้วยกระดาษฉลุ เป็นลวดลายบนผืน ตุง รูปทรงสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมแบบยาว บางครั้งตัดเป็นรูปคล้ายรูปคน ใช้แขวนเชือกเป็นแนวยาวสลับสีกัน โยงตามเสาของศาลาธรรม หรือปะรา พิธี หรือในวิหารที่มีพิธีกรรมทางศาสนา
๑๗
ตุงตะขาบ ตุงจระเข้ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีรูปตะขาบ หรือจระเข้ อยู่บนผืนตุง ใช้ในงานทอดกฐิน ตุ ง ดอกบ้ ว ง หรื อ ตุ ง ใส้ ห มู เป็ น ตุ ง ที่ มี รู ป ร่ า งจอมแห ท าจาก กระดาษสีต่างๆ ผูกติดกิ่งไม้ หรือก้านไม้ไผ่เล็กๆ ตุงนี้ใช้ในเทศกาลสงกรานต์ โดยปักบนเจดีย์ทราย หรือประดับบนเครื่องไทยทานต่างๆ ตุงค่าคิง เป็นตุงที่มีรูปร่างยาว แคบ ความยาวเท่ากับความสูงของ ผู้ทาพิธี ผืนตุงทาด้วยกระดาษสีขาว อาจตกแต่ง ลวดลายด้วยกระดาษเงิน กระดาษทอง ตุ ง ค่า คิ ง ใช้ ในงานขึ้ นบ้ า นใหม่ที่ มี พิ ธี สื บชาตา พิธี ส ะเดาะ เคราะห์ หรือปักบูชากองเจดีย์ทราย ตุ ง พระบฏ เป็ น ตุ ง ที่ มี ลั ก ษณะเป็ น ผื น ผ้ า ใบ หรื อ กระดาษรู ป สี่เหลี่ย มผืน ผ้า มีข นาดต่า งๆ ส่ว นมากประมาณ ๘๐ x ๑๐๐ เซนติเ มตร กรอบทั้งสี่ด้านทาด้วยไม้ ทาให้ตึง ตุงพระบฏ จะเป็นรูปพระพุทธรูปประทับ ยืน ปางลีลา หรือปางเปิดโลก ลักษณะของการใช้งานตุงพระบฏ ใช้ประดับ ไว้ ด้ า นหลั ง ของพระประธานในโบสถ์ นอกจากใช้ ป ระดั บ สองข้ า งพระ ประธานแล้ว บางแห่งใช้กับพิธีกรรม ความเชื่ออีกด้วย เช่นตุงพระบฏที่ใช้ใน พิธีเลี้ยงปู่แสะย่าแสะ ที่บ้านแม่เหียะ อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ๒. ตุงที่ใช้ในการประกอบพิธีงานอวมงคล ตุงสามหาง เป็น ตุง ที่อ าจเรีย กชื่ อว่ า ตุง รู ปคน หรื อตุง ผีต าย ใช้ สาหรับนาหน้าศพไปสู่สุสานหรื อเชิงตะกอน เป็นตุง ที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อรวม ลัก ษณะแทนตัว ตนคนเราไว้ด้ วยกัน คือ ส่ว นหั วและลาตัว คื อส่ วนที่ก าง ออกมาเป็นแขน ขา ซึ่งบางท่านกล่าวว่าเป็นคตินิยมที่เกี่ยวกับการเวียนว่าย
๑๘
ตายเกิด เพื่อเน้นธรรมานุสติถึงความหลุดพ้น ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตุงชนิดนี้บางท้องที่ (ลาปาง) เรียก ตุงฮ่างคน หรือตุงอ้องแอ้ง ตุงแดง , ตุงผีตายโหง , ตุงค้างแดง มีความยาว ๔ – ๖ ศอก กว้าง ประมาณ ๑ คืบเศษ แบ่งความยาวออกเป็น ๕ ท่อน ชายด้านล่างทาเป็น สามชาย ประดับตกแต่งให้สวยงาม ใช้ในพิธีสูตรถอนศพที่ตายผิดปกติ เช่น ตายเพราะอุบัติเหตุต่างๆ จะปักตุงไว้บริเวณที่ตายและก่อเจดีย์ทรายเท่ากับ อายุของผู้ตาย ปักช่อน้อยบนเจดีย์ทรายให้ครบ เมื่อเห็นตุง แดง และกอง ทรายช่อน้อย ณ จุดใด ก็หมายถึงว่าบริเวณดังกล่าวมีคนตายไม่ดีไม่งาม ตุงเหล็ก ตุงตอง เป็นตุงที่ทาด้วยแผ่นสังกะสี หรือแผ่นทองเหลือง ขนาดเล็ก ยาวประมาณ ๑ คืบ กว้างประมาณ ๒ นิ้ว มีคันตุงทาด้วยเส้นลวด หรือไม้ไผ่ก็ได้ ส่วนมากจะทาอย่างละ ๑๐๘ อัน มัดติดเป็นพวง โดยทาฐาน ตั้งไว้ หรือบางแห่งจะวางไว้บนโลงศพ เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ชาวบ้านมักจะนามา ไว้ที่วัด ตามฐานชุกชี เมื่อจาเป็นต้องใช้งานอีก ก็ไม่ต้องทาขึ้นมาใหม่ ตุงขอนนางผาน มีลักษณะเป็นตุงขนาดเล็ก ประดับอยู่ที่ปลายทั้ง สองข้างของก้านไม้เล็กๆ ที่ติดขวางบนตุงผืนใหญ่เป็นระยะๆ บางครั้งทาเป็น รูปทรงคล้ายพู่ห้อย ตุงนี้ทาเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายที่ฐานะยากจน หรือไร้ ญาติ ๓. ตุงที่ใช้ประกอบการเทศน์ จะใช้ประกอบในพิธีงานเทศกาลตั้ง ธรรมหลวง ในเดือนยี่เพ็ง (วันเพ็ญเดือนสิบสองภาคกลาง) หรือการเทศน์ มหาชาติ โดยการปักตุงดังกล่าวนี้ในกัณฑ์เทศน์ หรือประดับอาคารที่มีการ เทศน์ เช่น โบสถ์ วิหาร หรือศาลาบาตร เป็นต้น ทั้งนี้ ตามคติความเชื่อของ คนล้านนา ที่ทาตุงประกอบการเทศน์ขึ้น ก็เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเชื่อ ว่าจะได้อานิสงส์มาก ๑๙
ตุงที่ใช้ในการประกอบการเทศน์ สอดคล้องกับการเทศน์ธรรมเรื่อง ต่างๆ ในทศชาติ ดังนี้ ๑. ตุงดิน ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์แรก คือ เตมิยชาดก ๒. ตุงทราย ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ ๒ คือ ชนกกุมาร ๓. ตุงไม้ ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ ๓ คือ สุวรรณสาม ๔. ตุงจืน ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ ๔ คือ เนมิราช ๕. ตุงเหียก ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ ๕ คือ มโหสถ ๖. ตุงเหล็ก ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ ๖ คือ ภูริทัต ๗. ตุงตอง ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ ๗ คือ จันทกุมารชาดก ๘. ตุงข้าวเปลือก ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ ๘ คือ นารถชาดก ๙. ตุงข้าวสาร ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ ๙ คือ วิธูรบัณฑิต ๑๐. ตุงเงิน ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ ๑๐ คือเวสสันดร ๑๑. ตุงคา ใช้ประกอบการเทศน์เรื่อง สิตธาตถ์ หรือสิตธาตถ์ออกบวช ช่อ คือตุง ชนิ ดหนึ่ง แต่มี ขนาดเล็ก เรียกชื่อตามลักษณะการใช้ง าน หรื อ รูปทรง ช่อ น้อ ย เป็นช่อขนาดเล็ก ใช้ปักเจดีย์ทรายในเทศกาลสงกรานต์ , ในการสะเดาะเคราะห์, การสืบชาตา, การขึ้นท้าวทั้งสี่, การถวายเป็นพุทธ บูชา ช่อ น าทาน ใช้ กั บเครื่อ งไทยทานหรื อ ปัก บนฟ่ อ นหญ้ า คาพร้ อ ม ธนบัตร แห่ในงานพิธีต่างๆ เช่น ผ้าป่า กฐิน ปอยหลวง ช่อ ช้าง ทาด้วยผ้าแพรสีต่างๆ ปักดิ้นอย่างสวยงาม ใช้ถือนาหน้า ครัวทาน หรือใช้ปักสลับกับตุงไชยในงานปอยหลวง ๒๐
คนล้านนา มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องอานิสงส์ของการสร้างตุงว่า ผู้ที่ สร้างตุง ถวายเป็ นพุทธบู ชาจะไม่ ตกนรก ได้เกิด ในสวรรค์ชั้นดาวดึง ส์ ถ้ า กลับมาเกิดในโลกมนุษย์ก็จะได้เป็นใหญ่ เป็นโต ถ้าสร้างอุทิศให้ผู้ตาย ผู้ตาย ก็จะพ้นจากการไปเป็นเปรต หลุดพ้นจากบาปกรรมที่ทาไว้ จากความเรื่อง ดังกล่าวนี้ ทาให้ชาวล้านนานิยมสร้างตุงกันทุกชั้นวรรณะ ซึ่งรูปแบบของตุง จะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับฐานะทางสังคมเจ้าของพิธี พื้นฐานความเชื่อ ของสังคม วัสดุและความสามารถของคนในท้องถิ่น ในการที่จะนาเอาวัสดุที่ มีมาประดับตุงโดยใช้เทคนิควิธีการต่างๆ ในคัมภีร์ใบลานเรื่อง อานิสงส์ทานตุง ฉบับวัดแม่ตั๋ง ตาบลแม่พริก อาเภอแม่พริก จังหวัดลาปาง ได้กล่าวถึงอานิสงส์การสร้างเสาตุง และเสา หงส์ บู ช าพระพุ ท ธเจ้ า ว่ า จะได้ ผลบุ ญ จากอบายภู มิ ไปเกิ ด ยั ง สวรรค์ ชั้ น ดาวดึงส์ หางตุง กวัดแกว่งในยามลมพัด หากพัดแกว่งไปทางทิศตะวันออก ผู้สร้างตุงก็จักได้เป็นจักรพรรดิราช หากพัดไปในทางทิศอาคเนย์จักได้เป็น มหาเศรษฐี พัดไปทางทิศทักษิณจักได้เป็นเทวดาชั้นมหาราชิก พัดไปทิศหรดี จัก ได้เ ป็ นพระยาประเทศราช พั ด ไปทางทิ ศปั จ ฉิม จั กได้ เป็ น พระปัจ เจก โพธิญาณ หากพัดไปทางทิศพายัพจักได้ทรงปิฏกทั้ง ๓ พัดไปทิศอุดรจักได้ เป็นท้าวมหาพรหม พัดไปทิศอีสานจักได้เป็นสมเด็จอมรินทราธิราช หากพัด ลงด้ า นล่ า งจั ก ได้ เ ป็ น ใหญ่ ใ นโลกนี้ หากพั ด ขี้ น บนอากาศจั ก ได้ เ ป็ น พระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง และจักได้พบพระศรีอาริยเมตตรัย อีกเรื่องเล่าว่า “ยังมีนายพรานผู้หนึ่ง เล่าเนื้อมาตั้งแต่อายุ ๑๕ ปี จนถึงอายุได้ ๔๘ ปี วันหนึ่งเข้าป่าเพื่อจะล่าเนื้อ บัง เอิญไปถึงวัดศรีโคมคา ได้เห็นพระปฏิมากรองค์ใหญ่ ประดับตุงเป็นพุทธบูชา เมื่อยามลมพัดต้อง เกิดความสวยงามก็พึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อกลับมาถึงบ้านก็จัดแจงหาผ้ามา ๒๑
ทาตุงแล้วเอาไปบูชาพระองค์ใหญ่นั้น ครั้นนายพรานผู้นี้ตายไป พระยายม ราชมิทันได้พิจารณาก็เอาโยนลงนรก ในทันใดนั้น ตุง ที่นายพรานเคยทาเพื่อ ถวายพระประธานองค์ใหญ่นั้นก็พันเอาตัวนายพรานพ้นจากนรกเสีย พระยา ยมราชพิจารณาดูแล้ว ก็บอกให้นายพรานขึ้นไปบนสวรรค์” จากคติ ความเชื่อเหล่านี้ ทาให้ เราพบรูปลัก ษณ์ของตุง เป็นพุท ธ ศิล ป์ส าคั ญ ในวั ด ต่า งๆ ของล้ านนาอย่ างหลากหลาย และชาวล้ านนาใน ปัจจุบัน ยังคงนิยมสร้างตุงเพื่อใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ทั้งทางพุทธศาสนา และ ประเพณีเกี่ยวกับการตาย งานเทศกาล และงานเฉลิมฉลองต่างๆ ตามคติ ความเชื่อดั้งเดิม การทาตุงกระดาษ ตุงใส้หมู, ตุงค่าคิง, ช่อนาทาน, ลายดอกประดับตุง อุปกรณ์ในการทาตุง กระดาษว่าวคละสี (ควรเลือกสีที่สว่าง และตัดกัน หรือสีตามที่ชอบ) กระดาษสา กระดาษทอง, กระดาษเงิน, กระดาษสีเขียว, กระดาษสีแดง กระดาษแข็ง กาวลาเท็กซ์ กรรไกร เข็ม – ด้าย ไม้ไผ่แขวนตุง
๒๒
การทาตุงใส้หมู, ตุงใส้ช้าง, ตุงพระญายอ, ตุงดอกบ้วง ๑. นากระดาษว่าวที่สีตัดกัน ๒ แผ่น มาซ้อนกัน ควรเลือกสีที่สว่าง ตัดกัน จะทาให้สวยงาม ถ้าต้องการให้สีไหนอยู่ด้านนอก ให้ซ้อนไว้ด้านบน แล้วพับเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตัดส่วนที่เหลือออกตามภาพ
๒. พับกระดาษตามขั้นตอนดังนี้ ๒.๑ พับเข้าหากัน
๒.๒ พับอีกครึ่งหนึ่ง
๒.๓ พับทบอีกครึ่งหนึ่ง
๒.๔ พับด้านบนลงตามภาพ
๒๓
๓. ตั ด ส่ ว นปลายให้ เ ป็ น ลวดลายชายธง สามเหลี่ยมให้สวยงาม ๔. ตั ด ให้ สลั บ ไปมา ด้ า นขวาง อย่ า ให้ ข าด เหลื อไว้ ประมาณ ๐.๕ เซนติ เมตร จนถึ งด้ านบนสุ ด เหลื อ ไว้ ป ระมาณ ๓ เซนติ เ มตร เพื่ อ ท าหั ว ตุ ง ตั ด กระดาษแข็งเป็นวงกลมไว้ร้อยด้าย ๕. เมื่อตัด เสร็จแล้วคลี่ออก ใช้ก ระดาษแข็ ง เป็นวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑ นิ้วทากาว ติดตรงกลาง เมื่อคลี่ออกแล้วให้กลับด้าน สะบัดเบาๆ เพื่อให้กระดาษทิ้งตัวลง จะดูซ้อนกันสวยงาม ร้อยด้าย ติดกระดาษแข็ง ด้านบนของหัวตุง ผูกติดปลายไม้ไผ่ที่ เตรียมไว้
การตัดช่อนาทาน อุปกรณ์ในการทาช่อนาทาน กระดาษว่าว หรือกระดาษสาบาง กรรไกร ไม้ไผ่ กาว, ด้าย ๒๔
๑. ช่อนาทานรูปเทวดา หรือ รูปคน ๑.๑ น ากระดาษว่ า วสี ตั ด แบ่ ง เป็ น รู ป สี่เหลี่ยมผืนผ้า ตามขนาดที่ต้องการ
๑.๒ พับกระดาษทบ ๑ ครั้ง เพื่อตัดให้ได้ ๒ ข้างเท่ากัน
๑.๓ ตัดตามรูปที่ร่างไว้ ส่วนมากจะตัดเป็ น รู ป ร่ า งของคนหรื อ เทวดา แล้ ว แต่ จ ะ ประดิษฐ์ตามจินตนาการ ๑.๔ คลี่ออกเป็นรูปแบบ ซ้าย ขวา เท่ากัน ตามที่กาหนดไว้แล้ว ร้อยด้ายผูกติดปลายไม้ ไผ่ ปักในของที่จะถวายพระ
๒๕
๒. ช่อนาทานรูปสามเหลี่ยมชายธง ๒ . ๑ ตั ด ก ร ะ ดาษ แบ่ ง ครึ่ ง ให้ เ ป็ น รู ป สามเหลี่ ย ม ตั ด ชายทั้ ง สองข้ า ง ให้ เ ป็ น ลวดลายที่สวยงาม
๒.๒ พับสามเหลี่ยมมุมซ้าย ทับซ้อนกันเพื่อ จะตัดให้เป็นรูปลายดอกในช่อนาทาน
๒.๓ พับทบอีก ๑ ครั้ง จากซ้ายไปขวา
๒.๔ พั บ ลงอี ก ๑ ครั้ ง เพื่ อ ให้ เ ป็ น รู ป สามเหลี่ยมขนาดเล็กลง และจะทาให้การ ตัดลายดอกมีความละเอียดมากยิ่งขึ้น
๒๖
๒.๕ ใช้กรรไกร ตัดด้านข้างออกทั้ง ๒ ข้าง ให้ เ ป็ น ลวดลายรู ป กระจั ง โดยแบ่ ง ช่ ว ง จังหวะของช่องไฟให้สวยงาม
๒.๖ คลี่ ก ระดาษออก จะเป็ น ลวดลายที่ สวยงามตามที่ ก าหนดไว้ ถ้ า จะท าให้ มี ลวดลายเพิ่มขึ้น ให้เหมาะสมกับขนาดของ ช่อนาทาน ให้พับในบริเวณต้องการเพิ่มลาย แล้วตัดออกให้เป็นรูปดอก ก็ จะได้ลวดลาย เพิ่มเติมและสวยงาม ใช้กาวทาไม้ไผ่ นาช่อ นาทานที่เสร็จแล้ว ติดบนไม้ไผ่ ตกแต่งด้าม ไม้ไผ่โดยตัดกระดาษพันให้สวยงาม
การทาตุงค่าคิง และลายดอกประดับตุง อุปกรณ์ในการทาตุง กระดาษสา กระดาษทอง, กระดาษเงิน, กระดาษสีเขียว, กระดาษสีแดง กาวลาเท็กซ์ กรรไกร ไม้ไผ่, ด้าย
๒๗
น ากร ะ ดาษสา ขน าด กว้างประมาณ ๘ นิ้ว ความยาวให้ วัด จากความสูง ของผู้ท า หรือ ผู้ ที่ ต้ อ งการให้ ท า พั บ ครึ่ ง ให้ เ ท่ า กั น แล้ ว ร่ า ง ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ตุ ง เ ป็ น ล ว ด ล า ย ใ ห้ ส ว ย ง า ม ต า ม จิ น ตนาการ แต่ ใ ห้ มี ส ามส่ ว นคื อ ส่วนหัวตุ ง ตัวตุ ง และหางตุง ตั ด ลวดลายดอกต่ างๆ ประดั บตั ว ตุ ง และใช้ ก ระดาษทอง หรื อ เงิ น ติ ด ขอบด้านข้าง ตกแต่งให้สวยงาม ใช้ไม้ไผ่ผูกเชือกร้อยตุง (ดังรูป) ส่วนหัวตุง ใช้กระดาษแข็งตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมติด ด้านหลังเพื่อทาให้ตึง การทาลายประดับตุง ลายแก้วชิงดวง ๑ . พั บ ค รึ่ ง ข อ ง ก ร ะ ด า ษ สี่เหลี่ยมผืนผ้า
๒. พั บ ปลายบน ซ้ า ยขวาเข้ า หา กึ่งกลาง เป็นรูปสามเหลี่ยม
๒๘
๓. พับทบกันเป็นรูปสามเหลี่ยมมุม ฉาก ๔. พับทบอีกครั้งแล้วคลี่ออกแล้วจะ ได้ลวดลายที่ละเอียดมากขึ้น เป็นรูป แฉกหลายแฉก ๕. วาดลวดลายให้ ส วยงามบน กระดาษแล้ว ตั ด ถ้ า ต้ องการลายที่ แตก ต่ า ง สามาร ถที่ จ ะ ทดลอ ง จิ น ตนาการ ออกแบบลวดลายไป เรื่อยๆ อาจจะได้ลวดลายที่แปลกดู งดงาม ๖. จะได้ลายแก้วชิงดวงที่สาเร็จแล้ว
๒๙
การทาลายก๋ากอก ประดับตุง และตัวอย่างการตัดลายแบบต่างๆ ๑. ตัดกระดาษทอง กระดาษเงิน หรือ กระดาษสีเขียว กระดาษสีแดง ฯลฯ ที่ ต้องการเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แล้วพับ ลงมาตามแนวเฉียง
๒. พับปลายสามเหลี่ยม ซ้ายและขวา เข้าหาตรงกลาง
๓. พับแล้วจะได้ลักษณะดังรูป เป็นรูป สามเหลี่ยม ตัดลวดลายตามที่กาหนด ให้ ส วยงาม สามารถทดลองตั ด ตาม จินตนาการ จะได้ลวดลายที่แปลกตา สวยงาม และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ ในการประดับตกแต่งอื่นๆ ได้อีกหลาย อย่าง เช่น จานรองแก้ว หรือจานรอง ผลไม้ เป็นต้น
๓๐
ตัวอย่างการตัดลวดลายต่างๆ
๓๑
เอกสารอ้างอิง “ตุง”. เอกสารประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่, ๒๕๓๗ ทรงศักดิ์ ปรางวัฒนากุล. มรดกผ้า : ภูมิปัญญาคนไทย. กรุงเทพฯ: สานักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ, ๒๕๓๕ วิลักษณ์ ศรีป่าซาง. สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ ฉบับต้นแบบ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรม วัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพานิชย์, ๒๕๓๘ เสถียร ณ วงค์รักษ์. “การตัดตุง” เอกสารประกอบการฝึกอบรมการตัดตุง ณ สานักส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๔๐
๓๒
หนฯ่ังสืปลฯ่ีใหมฯ่เมิอฯงล้านฯนาฯ่จุลลฯสกรฯาชฯ่1378่ต฿วฯ่ปลฯ่ีรวฯายฯสันฯ หนังสือปลีใหม่เมืองล้านนา จุลลสกราช ๑๓๗๘ ตัว ปลีรวายสัน พระพุทธสกราช ๒๕๕๙ – ๒๕๖๐ พระวัสสา ปลีวอกอัฏฐศก หอรคุณวันสังขานต์ล่อง หอรคุณวันเน่า วันถ้วน๑ หอรคุณวันเน่า วันถ้วน๒ หอรคุณวันพระญาวัน หอรคุณวันปากปี หอรคุณวันปากเดือน หอรคุณวันปากยาม
๕๐๓๓๒๕ วันพระญาวัน จุลลสักกราช ๑๓๗๘ ๕๐๓๓๒๖ มาสเกณฑ์ ๑๗๐๔๔ ๕๐๓๓๒๗ อวมาน ๕๖๖ ๕๐๓๓๒๘ อักกพล ๗๘๑ ๕๐๓๓๒๙ อุจจพล ๑๗๔๗ ๕๐๓๓๓๐ ติถี ๙ ๕๐๓๓๓๑ วาร ๗
ปกติมาส อธิกวาร อธิกสุรทิน
ภาพเขียนขุนสังขานต์ โดย พงษ์พรรณ เรือนนันชัย ๓๓
มัง คลวุฒิก าลานุกาละ สังกรมสวัสสติ สิริสุภมั สตุ จุลลสกราชได้ ๑๓๗๗ ตัว มะแมฉนา กัมโพชพิสัย ในคิมหันตอุตุ จิตตมาส ศุกลปักขะ สัตต มี วุธวารไถง ไทยภาสาว่าปลีรวยสัน เดือน ๗ ออก ๗ ฅ่า ไทยวันดับเป้า ติถี ๖ ตัว นาทีติถี ๕๓ พระจันท์จรณยุติโยคโสดสรเด็จเข้าเทียวทัน นักขัตตรืกษ์ ตัวถ้วน ๖ ชื่อ อารทะ คือ ดาวหมากแขง ปรากฏในมิถุนวาโยรวายสี นา ทีรืกษ์ ๑๓ ตัว เสี้ยงยามตูดเดิก็เข้าสู่ยามกลองเดิก็ ปลาย ๒ ลูกมหานาที ปลาย ๓ บาทน้า ปลาย ๑ พิชขนา ปลาย ๒ ปาณะ ปลาย ๑๐ อักขระ คือ ว่าได้ ๒๐ นาฬิกา ๓๖ นาที ๓๖ วินาที พร่าว่าได้วันพุธที่ ๑๓ เมษายน พระ พุทธ สกราช ๒๕๕๙ ยามนั้ น รวิ สั ง กรมะ คื อ ว่ า พระสุ ริ ย อาทิ ต ย์ ท รงวั ต ถาภอรณ์ เครื่องประดับดั่งแก้วอินทนิล สุบกระโจม ต่างกระจอนหู ประดับด้วยแก้ว อินทนิล นิรมิตต์ตนหื้อมีมือ ๔ เบื้อง มืองเบื้องซ้ายกล้าบนทือน้าต้นแก้ว มือ เบื้องขวากล้าบนทือปืน (ธนู) เมืองเบื้องซ้ายพายลุ่มแป้นไว้ มือเบื้องขวาลุ่ม แป้นไว้ นั่งพับพะแนงเชิงสรเด็จมาบนหลังนกยูงดา ลุกจากหนปุพพะไพสู่หน ทักขิณะ สรเด็จลีลาศย้ายจากมีนประเทสไพสู่เมษรวายสี ทางโคณวิถีเช้าใกล้ เขาสิเนโรคือเขาพระสุเมรุราช ขณะยามนั้นยังมีนางเทวดาตน ๑ ชื่อว่าสุริน ทะ ทือ ดอกกาแกดอั นเปนดอกไม้ นิมิต ต์น ามปลี มาอยู่ถ้ าดารับ เอาขุ นสั ง ขานต์ไ พ ปลีนี้ท้าวพระญา สมณชีพราหมณ์และสัตต์ ๔ ตีน จักมีคาเดือน เนื้อร้อนใจ งัวจักตายเปนร่า เหตุตามคาถาว่า “พุทฺเธภาโน จ สงฺกรม ปลฺ ลงฺ เกน ปฏิคโห สมณพฺราหฺมโณ มหาโทสา ภวิสฺสเร” ควรสืบชาตาบ้านเมือง ปูชายังเคราะห์บ้านนามเมืองตามอุปเทสเสียเทิอะ จิ่งจักพั้นแล ในวันสังขานต์ไพนั้นจุ่งหื้อครูบาอาจารย์ เจ้านายท้าวพระญา เสนา อามาตย์ ข้าราชการ ไพร่ ราษฎอรทังมวล เอากันไพสู่โปกขรณี แม่น้า เค้าไม้ ๓๔
ใหญ่ จอมปลวกใหญ่ หนทางไฅว่สี่เส้นสุมกัน อว่ายหน้าไสู่ทิสสะหนใต้ อาบ องค์ ส รงเกศเกล้ า เกสี ปลี นี้ ส รี อ ยู่ ที่ ป าก หื้ อ เอาน้ าอบน้ าหอมเช็ ด ปาก กาลกิณีอยู่ดัง จังไรอยู่หลัง หื้อเอาน้าหมิ้นสัมป่อยเช็ดฅว่างไพเสีย แล้วกล่าว คาถาว่า “อม สิริมา มหาสิริมา เตช ยส ลาภา อายุ วณฺณา ภวนฺตุเม” ดังนี้ แล้วลอยจังไรในที่ทังหลายฝูงนั้น แล้วจิ่งมานุ่งผ้าครัวผืนใหม่ แล้วทัดทรงเซิ่ง ดอกกาแกด อันเปนดอกไม้นามปลี ค็หากจักมีอายุทีฆายืนยาวไพชะแล เดือ น ๗ ออก ๘ ฅ่า พร่าว่าได้วันประหัสที่ ๑๔ เมษายน พระ พุทธสกราช ๒๕๕๙ ไทยว่าวันรวายยี และเดือน ๗ ออก ๙ ฅ่า พร่าว่าได้ วันสุกร์ที่ ๑๕ เมษายน พระพุทธสกราช ๒๕๕๙ ไทยวันเมืองเหม้า สอง วันนี้เปนวันปูติ คือว่าวันเน่า ในวันเน่าทัง ๒ นั้น บ่ควรจักกะทาเซิ่งมังคละ กัมม์อันใดสักเยื่อง อย่าหื้อฅนทังหลายมีใจขุ่นมัวกวนเกลาด้วยปาปกัมม์ทัง หลาย มีต้นว่า ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร อย่าได้ผิดถ้องร้อง เถียงกัน หื้อมีสมัคคฉันทากับด้วยกัน พร้อมเพียงกันชาระยังหอเรือน บ้าน ชอง กวาดซายดายหญ้า เผี้ยวข่วงแก้วอาราม ข่วงไม้สรี เจติยะ พระธาตุเจ้า ขนซายใส่วัด ค็จักมีผลานิสงส์กว้างขวางมากนักชะแล เดือน ๗ ออก ๑๐ ฅ่า เปนวันพระญาวัน พร่าว่าได้วันเสาร์ที่ ๑๖ เมษายน พระพุทธสกราช ๒๕๕๙ ไทยวันเปิกสี ติถี ๙ ตัว นาทีติถี ๕๘ ตัว พระจันท์จรณยุตติโยดโสดสรเด็จเทียวเข้าเทียมทันนักขัตตรืกษ์ตัวถ้วน ๙ ชื่อว่า อสิเลสะ คือว่าดอกฅอกม้า เทวตาปรากฏในกรกัฏ อาโปรวายสี นา ทีรืกษ์ไ ด้ ๑๒ ตัว เสี้ ยงยามเดิก็ สู่ยามตูด รุ่ง ปลาย ๑ มหานาที ปลาย ๑ บาทน้า ปลาย ๑๐ พิชชนา ปลาย ๒ ปาณะ ปลาย ๑๐ อักขระ คือว่าได้ เวลา ๐๐ นาฬิกา ๓๔ นาที ๑๒ วินาที ยามนั้นสกราชขึ้นแถมตัว ๑ จิ่งเปน ๑๓๗๘ ตัว ปลีรวายสันแล ๓๕
ปลีนี้ได้เสส ๑๐ ชื่อปุสสยวัสสะ หมารักษาปลี หมูรักษาเดือน ฟาน รักษาป่า จักเข้รักษาน้า จันทิมเทวบุตต์รักษาอากาส ทกรักขะรักษาแผ่นดิน ผู้ยิงเปนใหญ่แก่ฅนทังหลาย หมาเปนใหญ่แก่สัตต์ ๔ ตีน ไก่เปนใหญ่แก่สัตต์ ๒ ตีน ไม้สักเฅียนเปนใหญ่แก่ไม้จิง ไม้รวกเปนใหญ่แก่ไม้กลวง หญ้าฅมบาง เปนใหญ่แก่หญ้าทังหลาย ดอกกาแกดเปนพระญาแก่ดอกไม้ โอชารสดินบ่มี หลาย ขวันเข้าอยู่ไม้ข่อย หื้อเอาไม้ข่อยมาแปลงคันเข้าแรก ไม้เพาเปนใหญ่ แก่ไม้ตันไม้กลวงทังมวล ผีเสื้ออยู่ไม้ข่อย ผีเสื้ออยู่ไม้อันใดอย่าได้ฟักฟันตัด ปล้ายังไม้อันนั้น คันว่าจักกะทามังคละกัมม์เยื่องใด หื้อได้ปูชาผีเสื้อ อันอยู่ ต้นไม้นั้นเสียก่อนแล้วจิ่งกะทา ค็จักสมริทธีแล นาคขึ้นน้า ๔ ตัว บันดาลหื้อฝนตก ๔๐๐ ห่า ชื่อพุธาธิปติ จักตกใน เขาสัตตปริภัณฑ์ ๑๙๑ ห่า ตกในป่าหิมพานต์ ๑๓๓ ห่า ตกในมนุสสโลก เมืองฅน ๗๖ ห่า เทวดาวางเครื่องประดับหนอุตตระ คือว่าทิสะหนเหนือ ปาปเคราะห์ตกหนอาคไนย คือทิสะวันออกแจ่งใต้ ปาปลัคนาตกหนพยัพ คือทิสะวันตกแจ่งเหนือ ในทิสะทัง ๓ นี้ ยามกะทามังคละกัมม์และอาบน้า ดาหัวชาระตนตัว อย่าได้อว่ายหน้าไพต้องบ่ดีแล อตี ต วรพุ ท ธสาสนาคลาล่ ว งแล้ ว ๒๕๕๘ พระวั ส สา ปลาย ๑๑ เดือน ปลาย ๑๐ วัน นับแต่วันพระญาวันฅืนหลัง อนาคตวรพุทธสาสนาอัน จักมีมาพายหน้าบ่หน้อย ยังอยู่แถม ๒๔๔๑ พระวัสสา ปลายซาววัน นับแต่ วัน ปากปลี ไ พพายหน้ า ตามชิ นกาลมาลิ นี สัง เกต เหตุเ อาบวกสมกั นเตม ๕๐๐๐ พระวัสสาบ่เสส ตามฎีกาชินกาลมาลินีมหาพิลางคสัมมิหรสีเจ้า หาก วิสัชชนาแปลงสืบๆ มานั้นแล ปริโยสาน สมตฺตาฯ ดร.ยุทธพร นาคสุข สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เปนผู้ริจจนาปล่านแปลงแต่งแต้มทานายพยากอรณ์ฯ ๓๖
ประกาศสงกรานต์ไทยใหญ่
๓๗
ประกาศสงกรานต์พม่า
๓๘
ประกาศสงกรานต์ไทลื้อ – ไทขืน
๓๙
ประกาศสงกรานต์ลาว
๔๐
ครฯ่าวฯนาฯงฯเทวดาผู้รับฯอูฯาขุรสฯกรฯานตฯ่ไพ คร่าวนางเทวดาผู้รับเอาขุนสังขานต์ไป สลุงเงิน ยามสุริยา ไคลคลาคลาดฅ้าย เสด็จจระ โคณวิถี ขุนสังขานต์ ใสงามบ่เส้า คันไปวันทิตย์ บุญมีหน่อชั้น ยกย่างย้าย วันออกนั้นหนา มือขวาดอกบัว ซ้ายโล่จอมเจ้า นางธังสี บ่ผิดแผกเพี้ยน รับองค์หน่อเนื้อ เรืองริทธิ์ส่องใส ตามในธัมม์ อานิสงส์เฝื้อฝั้น คันไปวันจันทร์ ขี่ช้างเผือกน้อม กาบัวขาวพร้อม สองเบื้องแสงใส ไปหนวันตก ปัจฉิมะได้ นางมโนรา ก็ได้ฟงั่ ฟ้าว มือถือดอกไม้ แต่งแต้มแกมเหลา คือว่าพระญา ดอกไม้แท้ไส้ คันไปวันคาร ราชสีห์เปนพื้น จากอุตรทิศ ล่องลงจิ่มไกล นางมัณฑะ เจ้าใบหน้าเกลี้ยง ๔๑
ยกย่างย้าย จากมีนรวายสี เข้าสู่ธานี รวายสีเมษเจ้า ยามลีลา เมื่อนั้น ทรงยืนบนหั้นอาชา ตามทางมรรคา เสด็จไต่เต้า ใสสว่างเสี้ยงเรียบเมี้ยน นั่งถ้าแล้วลุกยืนไป ยามองค์ท่านไป รวายสีเมษหั้น ที่ได้ขีดแต้มแต่งย้อม ดั้นจากด้าวยาวไป ขาวนวลยวงใย อยู่แท้ใจ้ใจ้ ตามขียาแห่งท้าว มานอนอยู่ถ้ารับเอา เปนดอกเมืองเรา บ่แม่นดอกใต้ ใสใยยองฟ่องฟื้น พาขุนเจ้าเราไป หนอีสานไชย ไขปันหื้อเสี้ยง มาคองอยู่ถ้าบ่คร้าน
คันไปวันพุธ เจ้าสายดอกพ้าน สองมือลุ่มนั้น แพนไว้บ่กา ลุกหนบุพพา ทักขิณผ่านแผ้ว มีนางสุรินทะ เทวีหน่อไธ้ สองมือหน่อชั้น แก้วแก่นงามขา รับต้อนองค์ สังขานต์ยาตร์เต้า คันไปวันผัด แต่งตนงามแล้ว ยัวริยาตร์ ทั่วด้าวทังขง ขวาถือหมากนับ เผิกซ้ายจอดจั้ง นางกัญญา ค่อยเนาะหน่องน้าว เหมาะม่อยเนื้อ หื้อตามประสงค์ ดอกไม้นามปี ตามมีชู่ห้อง คันไปวันศุกร์ สังขานต์เลิศล้า จากอาคไนย์ทิศ พอกพลิกตนกลาย ขวาบนแว่นแก้ว ประคาเป็นต้า มีนางลิตา ธิดาเจื่องชั้น นางนึ่งน้อย มานั่งเจียรจา รอบสีเนโร ม่อนดอยจอมเหง้า คันไปวันเสาร์ ขอจักกล่าวชี้ มือสี่ขอนนั้น ขวาคอนหอกไหว ขวาลุ่มลูกศร กงกอนซ้ายเข้า
๔๒
สังขานต์ขี่นกยูงดา ขวาบนศรธรรม ซ้ายน้าต้นแก้ว ตามคัมพีร์ธัมม์ออกไว้ มาอยู่ถ้าองค์ฅา ถือปุปผาอัน นามปีเป็นเจ้า ปางเมื่ออั้นบ่แฅล้ว อาชาม้าแก้วเหลืองทรง ท้าวพระองค์ สู่หนเหนือตั้ง พาดตักแห่งองค์ท่านท้าว นั่งฅุบเข่าถ้าดาองค์ นาฏอนงค์ เชียงครานหยั่นหย้อง นางเอามาชูช่วยค้า ขึ้นขี่กล้าทังฅวาย ก็ยาตรยาย หนพยัพหว่ายหน้า ซ้ายบนผาลาหอกนั้น หื้อมารับต้อนสังกรา รับสุริยา ที่คลาไต่เต้า ปางมหาสังกรานต์เทื่อนี้ ขีแ่ รดแก้วเรืองไร ซ้ายลุ่มกาใบ ดาบในมือเจ้า สู่หนหรดีแห่งทิศ
นางยามา องค์ครานเซื้อมชิด รับพระอาทิตย์ ตามความประสงค์ ขวบไหนปีใด เจ้าไหมต่าด้าย คามีแถมหลาย หากหมายยอบยั้ง บทบาทนี้ ขอประนมกร
๔๓
จุกยืนอยู่ถ้าดาองค์ สมมติเป็นองค์ สังขานต์ท่องผ้าย จักล่องลงไปละลั้ง บ่สุดบ่เสี้ยงคาวอน ปลงหาบวางคอน ลงก่อนเท่าอี้ฯ
ภาพวาดประเพณีสงกรานต์เมืองเชียงตุง วัดยางเกี๋ยง
ครัวดาหัวปีใหม่ ๔๔
เจาของ : ศนู ยวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา ที่ปรึกษา : ชัยปฐมพร ธนพัฒนปวงวัน, วิภาพรรณ ติปญโญ, คชานนท จินดาแกว บรรณาธิการ : ศักดิ์นรินทร ชาวงิ้ว กองบรรณาธิการ : อไุ รพร ดาวเมฆลับ พิสูจนอักษร : วันทนา มาลา ออกแบบจัดทํารูปเลม : ธนพล มูลประการ พิมพที่ : สถาบันถายทอดเทคโนโลยีสชู มุ ชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา
ศูนยวัฒนธรรมศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา ๑๒๘ ถ.หวยแกว ต.ชางเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม ๕๐๓๐๐ โทรศัพท ๐๕๓-๙๒๑๔๔๔ ตอ ๑๖๐๐ , ๑๖๐๑ โทรสาร ๐๕๓-๙๒๑๔๔๔ ตอ ๑๖๐๐ Website: http://rmutlculture.rmutl.ac.th E-mail: rmutlculture1@gmail.com Facebook : ศวธ.มทร.ลานนา Fanpage : ศูนยวัฒนธรรมศึกษา มทร.ลานนา