สำรบัญ เวียงเจ็ดลิน ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๒ (๒๕๕๕)
คำบอกแจ้ง
คาบอกแจ้ง
๑
เล่าขานตานานลอยกระทงสาย จังหวัดตาก
๒
เมื่อล้านนาเขียนตานานต่อต้านสยาม
๗
ปุปผาล้านนา : งิ้วดอกแดง
๑๕
ลาดับขบวนเสด็จพระราชชายา เจ้าดารารัศมี คราวเสด็จเยือน นครเชียงใหม่ ปี ๒๔๕๑ จากค่าวซอของท้าวสุนทรพจนกิจ (ใหม่บุญมา): ตอนที่ ๒ ๑๘ ปิ่น...ด้วยเกล้าเหนือหัว
๓๐
เวียงเจ็ดลิน เป็นวารสารข้อมูลทาง ศิ ล ปวั ฒ นธรรม ที่ ท างศู น ย์ วั ฒ นธรรมศึ ก ษา มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคลล้ า นนา ร่วมกับศูนย์วัฒนธรรมศึกษา ในทุกพื้นที่ของ มหาวิ ท ยาลั ย ได้ ท าการศึ ก ษา ค้ น คว้ า เรียบเรียง เพื่อเป็นการนาความรู้นั้น ไปสู่ ผู้ที่ สนใจและบุคคลทั่วไปให้ได้รับทราบข้อมูลอัน เป็นประโยชน์ในการศึกษา สามารถนาไป พัฒนาต่อยอดได้ ในฉบั บ นี้ จึ ง ได้ น าเสนอเรื่ อ งราวที่ หล าก หล าย ทั้ ง วั ฒ นธร รม พื้ น ถิ่ น ที่ ข อ ง มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ การวิเคราะห์ตานาน และ สถานที่ ส าคั ญ ในประวั ติ ศ าสตร์ ใ นการเสด็ จ เยือนนครเชียงใหม่ของพระราชชายาเจ้าดารา รัศมี พร้อมเรื่องราวที่น่าสนใจ ติดตามได้ใน “เวียงเจ็ดลิน” ฉบับนี้ ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
“เวียงเจ็ดลิน” เจ้ำของ : ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่ปรึกษำ: ผศ.ลิปิกร มาแก้ว, อ.สุชาดา อรุณศิโรจน์, ดร.ภาณุพงศ์ จงชานสิทโธ, อ.สมบัติ
เสนีย์วงค์ ณ อยุธยา, อ.ชวรินทร์ คามาเชียว, อ.สุพจน์ ใหม่กันทะ, น.ส.วิภาพรรณ ติปัญโญ และ หัวหน้าศูนย์วัฒนธรรมศึกษา ทุกเขตพื้นที่ บรรณำธิกำร: ศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้ว กองบรรณำธิกำร: วันทนา มาลา, อุไรพร ดาวเมฆลับ พิสูจน์อกั ษร: อ.ชวรินทร์ คามาเขียว, อ.สุพจน์ ใหม่กันทะ ออกแบบจัดทำรูปเล่ม: ธนพล มูลประการ พิมพ์ที่: Maxx International Corporation, Thailand. ๑๔ ถ.ศิริมังคลาจารย์ ซ.สายน้าผึง้ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ๕๐๒๐๐ ๑
เล่ำขำนตำนำนลอยกระทงสำย จังหวัดตำก
*
รัฐพล ภุมรินทร์พงศ์
ประเพณี ล อยกระทงสายของจั ง หวั ด ตาก เป็ น ประเพณี ที่ น าเอาหลั ก ทาง พระพุทธศาสนา และภูมิปัญญาชาวบ้าน มาผนวกเข้ากับศิลปวัฒนธรรมได้อย่างกลมกลืน จน แสดงออกมาเป็นรูปธรรมที่โดดเด่น และปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งมีเอกลักษณ์โดด เด่น แตกต่ างจากการลอยกระทงของท้ องถิ่ น อื่น เพราะใช้ส่ว นประกอบที่ สาคั ญคื อกระทงที่ ประดิษฐ์จากกะลามะพร้าวเป็นส่วนใหญ่ และการลอยที่เป็นจังหวะสม่าเสมอ ตามลาน้าปิงเป็น สายยาวคดเคี้ยวเรียงเป็นแถวแสงไฟระยิบระยับตลอดลาน้า และมีการพัฒนารูปแบบ สืบทอดต่อ กันมาแต่โบราณจากชุมชนท้องถิ่นเล็กๆ ขยายเป็นประเพณีล อยกระทงสายไหลประทีป ๑,๐๐๐ ดวง ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งมีรูปแบบ โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดตาก
*
๒
หัวหน้าศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มทร.ล้านนา ตาก
องค์ประกอบที่สาคัญของกระทงสายก็คือกระทงที่ทาจากกะลามะพร้าว หรือเรียกอีก อย่างว่า “กระทงตาม” เหตุที่มีการนาเอากะลามาเป็นส่วนประกอบนั้น เนื่องมาจากชาวเมือง ตาก มีการนาเอามะพร้าวมาแปรรูปทาเป็นอาหารว่าง ที่เรียกว่า “เมี่ยง” โดยถือเป็นอาหาร พื้นเมืองที่ชาวเมืองตากนิยมรับประทานเป็นประจาหลังอาหาร ซึ่งมีมะพร้าว ถั่วลิสง ใบเมี่ยง หมัก เป็นส่วนประกอบหลัก เมื่อขูดเอาเฉพาะเนื้อมะพร้าวมาทาแล้ว จะเหลือส่วนกะลามะพร้าว ถูกทิ้งไว้ในบริเวณบ้านเป็นจานวนมาก ไม่มีการนาเอามาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ชาวบ้านจึง คิดค้นและได้ทดลองนากะลาด้านที่ไม่มีรูมาทาเป็นกระทงขึ้นโดยจะนาเอากะลามาขัดถูจนสะอาด ตกแต่งลวดลายสวยงาม ภายในกะลาใส่ ด้ายดิบ ที่ฟั่นเป็น “รูปตีนกำ” (นาด้ายขาวมาล้วงเส้น ดายให้เป็น ๙ เส้น ฟั่นเป็นไส้เทียน) แล้วหล่อชุบด้วยเทียนขี้ผึ้งเพื่อให้เกิดความเหนียวและแข็งตัว ก่อน จากนั้นเทเทียนลงในกะลาแล้วรอให้เทียนแข็งตัว ซึ่งเทียนขี้ผึ้งนั้นนามาจากเทียนจานา พรรษาที่พระสงฆ์จุดเพื่อทาพิธีสวดมนต์ในโบสถ์วิหารตลอดสามเดือน โดยหลังจากออกพรรษา ชาวบ้านจะนาเทียนขี้ผึ้งเหล่านั้นมาหล่อใส่ในกะลา ซึ่งถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์และเป็นศิริมงคลแก่ ผู้นาไปลอย ครั้นถึงวันเพ็ญ เดือนสิบสอง (วันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๒ ตามปฏิทินทางจันทรคติ) จึง นามาลอยต่อกันเป็นสายตามลาน้าปิง (คลังปัญญาไทย, ๒๕๕๕)
เมื่อถึงเวลาพลบค่าคณะศรัทธาจากคุ้มหมู่บ้านต่างๆ จะพากันแห่ขบวนกระทงของตน พร้อมกับมีการร้องราทาเพลงและการบรรเลงดนตรีเป็นที่สนุกสนานมายังจุดปล่อยกระทงสาย อันเป็นสะพานไม้เล็กๆ ที่ทอดยาวจากริมฝั่งไปยังกลางลาน้าปิง ซึ่งนอกจากกระทงกะลาที่เตรียม ๓
มาเป็นจานวนมากแล้ว ยังมี "กระทงนา" หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแพผ้าป่าน้า ซึ่งอาจทาจากต้น กล้ วย ประดั บด้ ว ยดอกไม้ธู ปเที ยน ธงทิว หลากสี หรื อบางชุ มชนอาจจั ดเป็ นรู ปแบบกระทง ประณีตสวยงามประดับด้วยตะเกียงไฟ โดยในแพหรือกระทงบรรจุหมากพลู บุหรี่ ขนม ผลไม้ และเครื่องกระยาบวช โดยมีเจตนาเพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทและบูชาพระแม่คงคา ตลอดจน อุทิศให้กับ คนยากจนที่เ ก็บกระทงนี้ไ ปได้ นอกจากนี้ก็ ยังมี องค์ ประกอบที่สาคัญอี กอย่ างคื อ “กระทงปิดท้าย” ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นมาคล้ายกับรูปแบบกระทงนา หรือผ้าป่าน้าแต่มีขนาดเล็กกว่า เพื่อใช้ลอยปิดท้ายสายกระทงหลังจากลอยกระทงกะลาครบจานวนที่เตรียมมาแล้ว
๔
๑
เมื่อแต่ละคณะเริ่มทาการลอยกระทงสาย ก็จะมีการทาพิธีจุดธูปเทียนบูชาแม่คงคาเพื่อ ขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้า ราลึกจิตอธิษฐานบูชารอยพระพุทธบาทพระพุทธเจ้า และ สุดท้ายก็อธิษฐานเพื่อลอยทุกข์โศก โรคบาปให้ตัวเองและครอบครัว จากนั้นคณะศรัทธาจาก หมู่บ้านต่างๆ ก็จะเตรียมประจาที่เพื่อปล่อยกระทงสายออกไปให้สวยงามที่สุดเท่าที่จะทาได้ โดย เริ่มจากกระทงนาหรือแพผ้าป่าน้า จะถูกจุดไฟขึ้นและลอยเป็นอันดับแรก ต่อมาก็จะเป็นกระทง ตาม เมื่อครบจานวนนับพันใบแล้วก็จะ นากระทงปิดท้ายลงลอย เป็นอันสิ้นสุดสายกระทงนั้น โดยคณะชุมชนต่างๆ ต้องแบ่งสมาชิกออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อทาหน้าที่แต่ละด้าน เริ่มจากกลุ่มในการ เตรียมกระทงกะลามาวางเรียงแถว ให้กลุ่มต่อมาเป็นผู้ จุดไฟขึ้นในกระทง จากนั้นสมาชิกที่นั่ง เรียงเป็นแถวจะค่อยๆ ลาเลียงรับส่งกระทงที่จุดไฟติดดีแล้วไปตามแถวสู่กลุ่มสุดท้ายที่ทาหน้าที่ ปล่อยกระทงกะลา ซึ่งการปล่อยกระทงกะลาลงยังสายน้านี้คณะศรัทธาแต่ละสายกระทงจะมี เคล็ดลับในการปล่อยแตกต่างกันไปและถือเป็นความลับของแต่ละคณะซึ่งมีเทคนิคเฉพาะตัวที่ แตกต่างกัน โดยบางกลุ่มอาจใช้คนลงไปยืนเรียงแถวอยู่ในน้าหลายๆ คน เพื่อกันกระแสน้าที่ไหล ผ่านแล้วค่อยๆ ปล่อยอย่างเป็นจังหวะ บางกลุ่มอาจปล่อยกระทงจากบนท่าน้าก็ได้ ซึ่งแต่ละ กระบวนการถือเป็นภูมิปัญญาและความสามัคคีของชุมชนนั้นๆ กระทงทีป่ ล่อยลงสายน้าจะต้องมี ความต่อเนื่อง สว่างไสว เป็นแนวเส้นที่คดโค้งไปตามกระแสน้าเป็นแนวยาวสุดสายตา หากการ ปล่อยกระทงขาดตอนไม่ต่อเนื่อง หรือการปล่อยกระทงไม่เป็นแถวเป็นแนว ความสวยงามของ กระทงสายก็จะลดน้อยลงไป นอกจากนี้ก็จะมีการส่งเสียงเชียร์และร้องราทาเพลงประกอบการ ปล่อยกระทงอย่างสนุกสนานด้วย
๕
ซึ่งการลอยตามกันเป็นสายของกระทงนี้ ถือเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของกระทงสาย เมืองตาก เนื่องจากแม่น้าปิงที่ไหลผ่านช่วงจังหวัดตากจะมีสันทรายใต้น้า ทาให้เกิดเป็นร่องน้า ทอดยาวตามธรรมชาติ เมื่อนา กระทงกะลา ลงลอย กระทงกะลาจะไหลไปตามร่องน้าดังกล่าว ทาให้ดูเป็นสายอย่างต่อเนื่อง คดเคี้ยวไปจนสุดสายตา (เทศบาลเมืองตาก, ๒๕๕๔) ซึ่งไฟในกะลา จะส่องแสงระยิบระยับเป็นสายตามลาน้าสวยงาม ซึ่งจะเห็นได้ว่าการลอยกระทงสายนั้นถือเป็น ประเพณีที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ของชาวเมืองตาก ที่หาชมที่ไหนไม่ได้ จึงควรที่จะมีการอนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาและประเพณีที่ดีงามนี้ไว้ตลอดไป ๚๛ รำยกำรอ้ำงอิง คลังปัญญาไทย. ๒๕๕๔. ประเพณีลอยกระทงสำย จังหวัดตำก(Online). http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เทศบาลเมืองตาก. ๒๕๕๔. งำนประเพณีลอยกระทงสำยไหลประทีป ๑,๐๐๐ ดวง ชิงถ้วยประรำชทำน พระบำทสมเด็จพระเจ้ำอยู่หัวฯ ประจำปี ๒๕๕๔. ม.ป.ท. (เอกสารจัดพิมพ์เผยแพร่พิเศษฯ) มหาวิทยาลัยนเรศวร, คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. ภาควิชามนุษย์ศาสตร์. ๒๕๔๗. ศิลปวัฒนธรรม ท้องถิ่นจังหวัดตำก. พิษณุโลก: ภาควิชามนุษย์ศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, (อัดสาเนา)
๖
นัต แม่กุ หรือพระญาเมกุฏิสุทธิวงศ์ ภาพจาก"The thirty-seven nats, a phase of spirit-worship prevailing in Burma"
๗
เมื่อล้ำนนำเขียนตำนำนต่อต้ำนสยำม*
**
ศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้ว
ล้านนาเป็ นดิน แดนที่อุด มไปด้วยตานานและเรื่ องเล่า ที่สั่งสมกั นมา ด้ว ยล้า นนามี ปราชญ์หลายท่าน ที่ได้ฝากผลงานมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ล้านนาในอดีตยังเป็นศูนย์กลาง พุทธศาสนาในภูมิภาคแห่งนี้และกระจายตัวออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ จารีตการแต่งตานานก็ยัง แพร่หลายไปทุกพื้นที่ ทั้งตานานเมือง ตานานศาสนสถาน ตานานบุคคล จึงมีอยู่ทุกพื้นที่ ส่วนใน ยุคหลัง การที่เขียนตานานขึ้นมาใหม่นั้น ก็น้อยเต็มที ส่วนใหญ่ก็มีเขียนตานานสืบต่อตานานเดิม โดยเพิ่มเนื้อหาเข้าไป นักประวัติศาสตร์แต่เดิม มักมองตานานเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะหลายเรื่องมักมี ปาฏิหาริย์เกินจริงอยู่เนือง ๆ แต่ปัจจุบันเมื่อใช้วิธีการวิพากษ์มาใช้กับการอ่านเอกสารเหล่านี้ ทา ให้มองเห็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ในระหว่างบรรทัดที่ผู้เขียนได้ซ่อนสารบางประการไว้ ตลอดถึงอารมณ์ ความเชื่อ และจุดประสงค์ ซึ่งยากนักจะเห็นได้ในตัวอักษรแต่ละตัว ที่บางครั้งตัวอักษรที่บอก ข้อ ความที่ ทาให้เ ห็ น ว่า เหลวไหล ไร้ ส าระ กลายเป็ น กลลวงที่ ท าให้ เ อกสารเหล่า นั้ น อยู่ ร อด ปลอดภัยมาจนทุกวันนี้ และธารงสารที่ซ่อนไว้นั้นคงอยู่ ตานานชิ้ นหนึ่งที่ น่าสนใจ นั่นคือ “ตานานพระแม่ กุ ” หรือในชื่ออื่น ๆ เช่น ตานาน เชียงใหม่, ตานานพื้นเมืองล้านนาเชียงใหม่ เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ปริวรรตออกมาเป็นอักษรไทย แล้ ว ทั้ ง นั้ น และยั ง มี ก ารพิ ม พ์ ซ้ าทั้ ง ในรู ป แบบของหนั ง สื อ ที่ ร ะลึ ก และเรื่ อ งเล่ า ลงในแถบ บันทึกเสียงอีกด้วย ตานานแม่กุ มีอะไรที่ขัดแย้งกับเอกสารหลักอื่นเป็นอย่างยิ่ง มากเสียจนคิดว่าเรื่องนี้ หยิบเรื่องนั้นเรื่องนี้ มายากันจนเละ แทบจะหาสารอะไรใหม่ๆ ไม่ได้ เนื้อความโดยย่อ มีดังนี้ ในสมัยของพระแม่กุ มาครองเมืองเชียงใหม่ ได้ทาพิธีต่อหน้าภิกษุและเสนาทั้งหลาย ไม่ ว่าจะไปลอยเคราะห์ที่วัดหมื่นทุม สรงน้ามูรธาภิเษก ที่วัดเจ็ดลิน นุ่งผ้าขาวที่วัดพระจัน รับศีลที่ วัดเชียงหมั้น สืบชะตาที่วัดเชียงยืน แล้วเสด็จเข้ามาทางประตูช้างเผือก ในครานั้ น เมื อ งเชี ย งใหม่ มี อ าณาเขตกว้ า งขวาง ทิ ศ เหนื อ ถึ งเชี ย งแสนหลวง ทิ ศ ตะวั น ออกถึ งน้ าของ(น้ าโขง) ทิ ศ ใต้ ถึ งเมื อ งระแหง และด้ า นตะวั น ตกจรดน้ าคง(สาละวิ น ) *
ปรับปรุงจากบท “วิพากษ์ตานานแม่กุ” ใน เว็บไซด์โลกล้านนา และ “สารลับจากตานานพระแม่กุ” เอกสาร อัดสาเนา ** นักวิชาการศึกษา ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
๘
บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข มีความเจริญอย่างมากถึงขั้นที่ว่า มีบ่อเงิน บ่อทอง ตลอดถึงสินแร่ต่าง ๆ ล้วนมีอยู่อุดม น้าท่าสมบูรณ์ ทั้งห้วยแก้ว และหนองบัวเจ็ดกอ ผู้คนอยู่ในศีล กินในธรรม บูชาสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ประจาเมือง เป็นต้นว่า พระธาตุดอยสุเทพ พระสิงห์ พระยาช้างเผือก พระยาราชสีห์ อยู่ ไม่ขาด ความเจริญของล้านนาเชียงใหม่ล่วงไปถึงกษัตริย์ แห่งอยุธยา อังวะ และเมืองห้อ (จีน) แต่ละเมืองจึงหวังที่จะช่วงชิงเอาเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๐๕๖ ห้อยกทัพจะมาเอาเมืองเชียงใหม่ ครั้งนั้นกษัตริย์ล้านนาเชียงใหม่ให้ พญาแสนหลวง เป็นหัวหน้าทาพิธีสวดมังคละ และพลีกรรมบูชาอารักษ์และเชนเมืองทุกแห่ง ทา ให้ข้าศึกเจ็บล้มตายไปมาก และแตกพ่ายไปในที่สุด ถัดจากนั้น ๙ ปี มีพระยาม่าน(พม่า)คนหนึ่งชื่อ มังทราตุจอ เอาบรรณาการมาถวาย กษัตริย์เชียงใหม่ พระแม่กุจึงเอามาเป็นคนสนิทให้ดูแลการงานบ้านเมือง มังทราตุจอก็ให้ปิดทาง น้าห้วยแก้ว สร้างกู่เก็บกระดูกคล้ายเจดีย์ ๓ แห่ง สร้างวัดตรงทิศตะวันออกเฉียงใต้ ปล่อยน้า ออกจากหนองบัวเจ็ดกอให้แห้ง เอาศพออกทางประตูช้างเผือก ซึ่งพระแม่กุก็ไม่ได้ห้ามปราม อีก ทั้งยังไม่ฟังคาเตือนจากขุนนางต่าง ๆ ละจารีตเก่าแบบแผนเดิมทิ้งไป ด้วยเหตุนี้ ทาให้บ้านเมืองร้อนร้าย เกิดโกลาหล มังทราตุจอ ก็ส่งข่าวไปยังน้องที่ เมือง อังวะชื่อ มังหลุงล้าง ว่าเมืองเชียงใหม่ชะตาขาดแล้ว ให้บอกกษัตริย์รีบยกพลมาชิงเอาเมืองได้เลย
มังหลุงหลว้าง ปรากฏในสมัยพระเจ้าติโลกราช ไม่ใช่ในสมัยพระแม่กุ ภาพจาก: หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่
๙
จากนั้นมังหลุงล้างก็เดินทางมาเชียงใหม่อีก และได้ใกล้ชิดกับพระแม่กุเช่นเดียวกับ พี่ชาย และได้บอกให้พระแม่กุสร้างเวียงใหม่อมเวียงเก่า เหมือนกั บราหูอมจันทร์ไว้ พร้อมกับ ท าลายแท่ น บู ชาฟานเผื อ ก พร้ อ มกั บ ห้ า มไม่ ใ ห้ บู ชาเสื้ อ เมื อ ง อารั ก ษ์ เ มื อ ง เป็ น ต้ น ท าเอา บ้านเมืองเดือดร้อนกันไปทุกหย่อมหญ้า ขุนนางเก่าหากว่าไปผิดใจกับสองคนพี่น้อง มังทราตุจอ กับ มังหลุงล้างแล้ว ก็อาจจะถูกฆ่าได้ จนทาให้ขุนนางหลายคนรวมตัวกัน มีพระยาแสนหลวงเป็นเค้า และพระยาสามล้าน พระยาจ่าบ้านและพระยาเด็กชาย พระยาแขก พระยาชัย อามาตย์มงคล พระยาสุลวะลือชัย พระยามังคละสุภอักษร พระยาเมฆะมงคล พระยาศรีชัยชนะมงคล พระยาปราบสงคราม ต่างพา กันกราบบังคมทูลพระแม่กุ บอกว่าบ้านเมืองร้อนร้าย เพราะเอาคนต่างเมืองมาเป็นขุนนาง ทาให้ เกิด “ขึด” ขึ้นหลายอย่าง ซึ่งโหรหลวงได้ชี้แจงขึดต่าง ๆ ไว้ ๑๑ รายการดังนี้ ๑. เอาศพออกประตูช้างเผือกแล้วเอี้ยวผ่านแจ่งหัวริน เป็นการเหยียบอายุเมือง ๒. ไม่ไปบูชาพระยาช้างเผือกสองตัวหัวเวียงและพระยาราชสีหะสองตัวหัวเวียง ๓. สร้างเวียงใหม่อมเวียงเก่าเป็นองค์ราหูคาบเวียง ๔. ก่อกู่หื้อเหมือนเจดีย์ไว้กับเมืองสามแห่ง ๕. ให้คนไปรบกวนให้หนองบัวเจ็ดกอนั้นแห้ง น้าห้วยแก้วก็หื้อไปอุดเสีย ๖. สร้างวัดไว้กับเวียงหลัง ๑ ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเวียง ๗. เอาไม้โลงผีที่เอาไปทิ้งแล้วนั้น เอากลับมาเข้าเมืองอีก ๘. เอาขอนผีเผายังน้าและเกาะทราย ๙. คนทั้งหลายไม่พลีกรรมบูชายังเทพดาอารักษ์ เชนบ้านเชนเมือง เสาหินอินทขีล และกุมภัณฑ์ทั้งหกตน และปู่แสะย่าแสะดอยเหนือดอยใต้ ๑๐. ถึงเดือน ๙ เดือน ๑๐ เดือน ๑๑, ๑๒ ก็ได้เกณฑ์คนทั้งหลายไปฟันไม้ใหญ่ แต่ เดือน ๙ ออกจนถึงเดือน ๑๒ ดับจึงจักเลิกออกมาอยู่ยังบ้าน ในเดือน ๕, ๖, ๗, ๘ นั้นก็ไม่ไปฟัน ๑๑. มหาราชเจ้าให้คนพาลไปเก็บส่วย ขุนนางทั้งหลายก็บอกให้พระแม่กุยกเลิกการกระทาที่เป็น “ขึด” ดังกล่าวเสีย พระแม่กุ ก็ยังคงวางเฉย แม้นว่าจะชี้แจงถึงสามครั้งก็ยังเฉย ต่างก็ตัดพ้อต่อว่าต่าง ๆ นานา ในที่สุด เทวดาอารักษ์ ก็ขึ้งโกรธ จึงบันดาลให้บ้านเมืองเดือดร้อน เกิดภัยธรรมชาติไม่ ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว แผ่นดินแยก น้าแห้ง ฝนแล้ง เกิดลางร้ายต่าง ๆ ขึ้นมากมาย
๑๐
ขณะที่บ้านเมืองเกิดภัยพิบัตินั้น มังทราตุจอ กับโป่มังหลุงล้าง มีจดหมายไปถึงกษัตริย์ อังวะ กษัตริย์อังวะก็เลยให้ ฟ้าสุทโธธัมมิกราช เดินทางมาเอาเมืองเชียงใหม่ ก็ได้ยกทัพมาตั้งไว้ นอกเมือง และดูชะตาเมืองเชียงใหม่ว่าขาดวันไหน ก็จักเข้าวันนั้น วันที่ชะตาเมืองเชียงใหม่ขาดมาถึง คือวันหกเพ็ญ ก็ยกทัพเข้าเวียงโดยง่ายดาย เพราะ ชาวเชี ยงใหม่อ ดอยากไม่มี แรงที่จ ะต่ อสู้ ขัด ขืน ส่ วนมังหลุ งล้ างก็ ได้ ทาการ ตัด ศีร ษะกษั ตริ ย์ เชียงใหม่พร้อมกับเผาหอคา ตลอดถึงบ้านเรือนชาวบ้านเสียหายอย่างมาก พอฟ้าสุทโธได้เมืองเชียงใหม่แล้ว ก็ออกนอกเมือง ไปยังจอมทอง และได้นาเอา พระ บรมสาริกธาตุเจ้าศรีจอมทองกลับพม่า จึงทาการเก็บรักษาอย่างดี แล้วจึงเดินทางกลับ แต่พอไป ได้ระยะทางหนึ่ง พระธาตุเจ้าก็เสด็จกลับมายังจอมทองที่เดิม ส่ ว นไพร่ พ ลที่ ห นี ไ ด้ บ้ า งก็ ห นี ไ ปเมื อ งอยุ ธ ยาบ้ า ง เมื อ งล าปางบ้ า ง เมื อ งน่ า นบ้ า ง กระจายทั่วไป ส่วนทางล้านช้างเมื่อได้ยินข่าวเชียงใหม่แตก ก็รีบขึ้นมาเชียงใหม่ ได้นาเอาพระ แก้วมรกตกลับไปด้วย แต่ครั้งแรก พระแก้วเสด็จหนีกลับมายังเชียงใหม่ จนครั้งที่สอง ทางล้าน ช้างจึงให้ขุนนางมาอาราธนานิมนต์พระแก้วไปยังล้านช้าง ในปี พ.ศ. ๒๑๓๔ ในวันเพ็ญเดือนแปด จากเรื่ องย่อ ของตานาน ก็ ค งจะเห็ นได้ ว่า ข้ อ มูล ที่ ขั ด แย้ งกั น กับ หลั ก ฐานอื่ น นั้น มี มากมายหลายประการ ดังนี้ ประกำรที่ ห นึ่ ง เอาเหตุ ก ารณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในสมั ย ต่ า ง ๆ มาให้ ป รากฏในสมั ย นี้ เช่ น เหตุการณ์ห้อมาตกศึก ที่เกิดในสมัยพระญาสามประหยาฝั่งแกน, ใส้ศึกม่าน ชื่อมังหลุงหลว้าง ใน สมัยพระญาติโลกราช, การสร้างกาแพงเมืองชั้นนอกที่เป็นรูปราหูอมจันทร์ ที่สร้างมาตั้งแต่ก่อน พ.ศ. ๒๐๖๐ เพราะปรากฏในโคลงนิราศหริภุญชัย , พระยาสุลวฤๅชัย และพระยาปราบสงคราม ปรากฏอยู่ในรายนามขุนนางของพระแม่กุ, เจติยะหลวงกลางเวียงถล่ม ในสมัยมหาเทวีจิระ ประภา, เจ้าฟ้าสุทโธปราบล้านนา ที่ปรากฏในช่วง พ.ศ. ๒๑๖๘ ก็มาปรากฏในช่วงเสียเมื อง เชียงใหม่ ๒๑๐๑ เป็นต้น
เจติยะหลวงกลางเวียง ที่ล่มลงมาในสมัยมหาเทวีจิระประภา
๑๑
ประกำรที่สอง เหตุการณ์คลาดเคลื่อนจากตานานอื่นอยู่หลายเรื่อง เช่น สมัยพระแม่กุ ก่อนที่จะเข้ามาของข้าศึกนั้นมีความมั่งคั่ง ทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์ทางการเมืองของเมืองเชียงใหม่สมัย นั้นวุ่นวาย และสภาพเศรษฐกิจย่าแย่ , กล่าวถึงว่าตอนพม่าตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อเข้าเมืองได้ก็ตัด คอพระแม่กุเสีย ทั้งๆ ที่ตอนที่บุเรงนองตีเชียงใหม่ได้ ก็ให้พระแม่กุครองเมืองต่อเพียงแต่ให้ขึ้นต่อ หงสาวดี เป็นต้น ตานานเรื่องนี้ มีลักษณะคล้ายกับว่าเป็นการนาเอาเรื่องราวหลาย ๆ ส่วนจากการรับรู้ จากคาบอกเล่า จากตานานเดิมที่เคยได้อ่าน (แต่ไม่ได้นาข้อสนเทศนั้นมามาคัดลอกต่อ) นามา ประติดประต่อกัน ทาให้มีความขัดแย้งกันเองของเรื่องราวไม่ว่าจะเป็นศักราชในคราวศึกกับฮ่อ หรือแม้แต่เรื่องราวการกระทาขึดเมืองก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นการเขียนจากความทรงจา(ที่สับสน) ความสาคัญของตานานเรื่องนี้ ก็คือว่าผู้เขียนพยายามที่จะอธิบายถึงสาเหตุของการ สิ้ น สุ ด ความรุ่ งเรื อ งของอาณาจั ก ร โดยการที่ ผู้ น าขาดคุ ณ ธรรม ศี ล ธรรม ไม่ ตั้ งอยู่ ใ นจารี ต บ้านเมือง ไม่ตั้งอยู่ทศพิธราชธรรม อันเป็นธรรมสาหรับผู้ปกครอง บ้านเมืองจึงเกิดอาเพศขึ้น ซึ่ง การอธิบายแบบนี้ มักพบได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นคราวรัชสมัยแห่งพระมหาไชยชนะ แห่งเมืองโยนก นาคพันธุ์สิงหนวัติล่มลงกลายเป็นหนองน้า ที่เรียกว่าหนองหล่ม หรือเวียงนารัฏฐะ ที่ล่มด้วยการ ทีเ่ จ้าเมืองนามว่าพระยามุนินทพิชชะตัดสินให้ลูกที่ตีแม่เป็นฝ่ายถูก เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังกล่าวถึงสาเหตุสาคัญที่ทาให้เสียเมืองอยู่ สองส่วน คื อ การมี ไ ส้ ศึ ก มาจากพม่ า ที่ ท าให้ เ มื อ งอ่ อ นแอลง และการกระท าสิ่ ง ที่ เ รี ย กว่ า “ขึดเมือง” ที่ส่งผลให้กับคนทั้งเมือง ในตานานพระแม่กุฉบับนี้ บอกว่า มีทั้งหมดอยู่ ๑๑ ประการ แต่ทั้งนี้ก็ล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากความอ่อนแอของพระเจ้าแผ่นดินเชียงใหม่อยู่นั่นเอง แต่ก็ไม่ได้ให้ภาพของพระแม่กุที่ไม่ดีเพียงอย่างเดียว ในตอนแรกให้ภาพของกษัตริย์ที่ ดารงตนอยู่ในศีลในธรรม ปฏิบัติตามรีตบ้านคลองเมืองทุกประการ จนบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองเฉก เช่นครั้งยุคทองของล้านนา หากคิดในช่วงของการเขียนตานานเรื่องนี้ ว่าอยู่ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๓๒ – ๒๔๖๗ จะเป็น ยุคที่สยามเข้ามามีอานาจในล้านนามากขึ้น จากเหตุการณ์ศึกพระยาปราบสงคราม ในปี ๒๔๓๒ ก็เป็นเหตุการณ์ที่ทาให้เห็นถึงการเข้ามาของสยาม แล้วทาให้บ้านเมืองเดือดร้อนจากการเก็บภาษี ให้เหมือนกับส่วนกลางของพระองค์เจ้าโสณบัณฑิตย์และข้าหลวงพิเศษคนต่อ ๆ มาที่มาประจาใน ล้านนาเชียงใหม่ ที่จะต้องเสียภาษีเป็นประจาทุกปี กอปรกับให้พวกเจ้าภาษีนายอากรประมูล ภาษีหมาก มะพร้าว พลู ในอัตราที่สูง และยิ่งหลังปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ทางสยามได้มาสถาปนาระบบ มณฑลเทศาภิบาลขึ้น ทาให้เจ้าหลวง หรือเจ้าเมืองประเทศราชต่าง ๆ ไม่มีอานาจในท้องถิ่น แต่ ขุนนางจากสยามมีอานาจในการควบคุมทิศทาง การบริหารงานภายในเมืองต่าง ๆ มากขึ้น และ “ระบบเจ้า” ก็ล่มสลายลงในที่สุด
๑๒
หอพระยาปราบสงคราม ณ ตาแหน่งบ้านเดิมของพระยาปราบสงคราม บ้านสันป่าสัก ต.หนองจ๊อม อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ภาพจาก http://www.facebook.com/media/set/?set=a.199136743487298.49347.100001729209285
ฉะนั้นจากตานานดังกล่าว ผู้เขียนเห็นว่า หากถอดชื่อ ถอดยศ ถอดเครื่องแต่งกาย ของมังทราตุจอ กับ มังหลุงล้าง แล้วใส่ชื่อ ใส่ตาแหน่งแบบทางสยาม การกระทาก็ไม่ต่างกันกับ ขุนนางหรือเชื้อพระวงศ์จากสยามเลย ที่เข้ามามีบทบาทและควบคุมพระแม่กุดังในตานานได้ว่าไว้ ซึ่งการนี้ อาจเป็นการต่อต้านอานาจจากสยามที่มีอิทธิพลเหนือแผ่นดินล้านนา แต่การต่อต้านจะ กระทาโดยเปิดเผย ก็นับว่าเสี่ยงเอาการอยู่ จึงนามาเขียนเป็นตานานพระแม่กุ ที่เสียเมืองให้กับ พม่า ดังที่อานาจของเจ้าหลวง สูญเสียให้กับรัฐบาลส่วนกลาง นอกจากนี้ การที่เข้ามาควบคุมทางการเมือง แล้วก็ยังมาครอบงาทางวัฒนธรรมด้วย ซึ่ง นาเอาวัฒนธรรม จารีตจากสยามเข้ามาเผยแผ่ในดินแดนล้านนา ทาให้มีการต่อต้าน ดังที่บรรดา สมณะ ขุนนางของพระแม่กุ ต้องยื่นฎีกาถวาย แต่พระแม่กุก็ไม่ตอบรับข้อเรียกร้องนั้นได้ ซึ่งหาก เทียบกันแล้วก็เท่ากับไม่มีทางที่จะเปลี่ยนแปลงแนวทางการรับเอาวัฒนธรรมจากสยามได้เลย ซึ่งในตอนหนึ่งของตานานแม่กุกล่าวว่า “รีตไผก็พอรีตมัน รีตเมืองอังวะก็พอเมืองอังวะ รีตเมืองอโยธิยาก็มีพอเมืองอโยธิยาแล รีตคูลวาก็มีพอเมืองคูลวา รีตห้อก็มีพอเมืองห้อแล รีต เมืองพิงค์เชียงใหม่เรานี้มีเชื้อใด ก็ขอพอมีธรรมเมตตามหาราชเจ้ากษัตริย์จุ่งอนุญาตเอาตามรี ต เก่ารอยหลัง มีเชื้อใดก็ขอกับตาม อย่าได้ละจารีตฮีตฮอยเก่าหลังนั้นแท้เทอะ”
๑๓
อนึ่ง “ขึดเมือง” ที่ในตานานบอกว่ามีอยู่ด้วยกัน ๑๑ ประการนั้น ก็อาจจะเป็นผลมา จากการสร้างภาพการต่อต้านอานาจอิทธิพลจากสยาม โดยถือว่า อานาจ ประเพณี จารีตที่เข้ามา กับสยามนั้น เป็น “ขึด” ที่ทาให้บ้านเมืองล่มจมก็เป็นได้ และการเสียเมืองเชียงใหม่ในสมัยพระแม่กุ จึงนามาเป็นเครื่องมือในการต่อต้านอานาจ จากสยามนั่นเอง ๚๛
การเลี้ยงดง หรือการพลีกรรมบูชาปู่แสะย่าแสะที่เคยถูกห้ามในตานาน
๑๔
ปุปผำล้ำนนำ: ดอกงิ้ว :
บุบผฯฯาล้านฯนาฯ ดอฯกงิวฯ้ สลุงเงิน
ในยามเช้าของฤดูหนาว ยามที่หมอกเหมยขาวเป็นม่าน หยดน้าค้างเกาะพราวอยู่บน ยอดหญ้า ใยแมงมุมมองเห็นเป็นเส้นสายลายทอด้วยน้าค้างที่เกาะขาวพราว ความงามในยามเช้า ของฤดูหนาวจะเปล่งประกายเมื่อแสงอาทิตย์ยามอุทัยมาสาดต้องตกกระทบ ประหนึ่งประกาย เพชรที่ธรรมชาติได้ปรายโปรยทิ้งไว้ ท่ามกลางม่านหมอกที่หนาทึบ มองเห็นต้นไม้ใหญ่เป็นเงาตะคุ่ม หากแต่ปลายยอดโดด เด่นด้วยสีแดงทั่วกิ่งก้านยองลา ท้าท้ายความหนาวเหน็บของยามเช้า แม้ว่ายามเช้านั้นจะหนาว เหน็บเพียงไร แต่ใต้ต้น งิ้วนั้นก็คลาคล่าไปด้วยเด็ก ๆ ที่ตื่นแต่เช้ามืดมารอเก็บดอกที่ร่วงหล่น ตลอดคืนที่ผ่านมา ใครตื่นก่อนมาก่อน ก็ได้มาก หากใครตื่นสายและมาทีหลังก็ไม่ต้องหวังเลยว่า จะมีหลงเหลือ จะมีก็แต่ที่กาลังร่วงหล่นลงใหม่ ๆ แต่ก็ต้องแย่งชิงกัน แม้ไม่ได้ก็ไม่โกรธขึ้ ง แต่ก็ หมายมาดไว้ว่า ‘พรุ่งนี้ ต้องมาก่อนใครเพื่อน’
๑๕
ยามหนาวที่ดอกงิ้วบาน เป็นฤดูที่เด็ก ๆ ตามท้องทุ่งชนบทสนุกสนาน ไม่ว่ายามเช้า หรือยามตะวันเที่ยง ในวันหยุดที่ไม่ต้องไปโรงเรียนก็จะออกไปช่วยพ่อแม่ทางานตามทุ่งหรือไม่ก็ นาควายออกไปเลี้ยงตามท้องนาที่ตอนนี้เหลือแต่ซังข้าวที่เก็บเกี่ยวไปเมื่อเข้า สู่ฤดูหนาว ในช่วงที่ ปล่อยให้ควายและเล็มหญ้า ก็เป็นคราวเดียวกันที่เด็กมาประสุมชุมนุมกัน เพื่อเล่นกันตามประสา เด็ก หรือก็ไปสอดเสาะหาผักไม้ไซ้เครือ เพื่อเป็นอาหารสาหรับตอนเย็น และที่ขาดไม่ได้ก็คือ ต้อง ไปเก็บดอกงิ้วที่ร่วงหล่นกล่นดินนั้น แล้วเอากลีบดอกทิ้งเหลือแต่เส้นเกสรของดอก เมื่อได้มาก ๆ จึงนาเครือเขาเถาวัลย์มาร้อยดอกงิ้วเป็นพวง ยิ่งได้พวงใหญ่ ก็เป็นดีอวดอ้างในหมู่เพื่ อนฝูง หาก บ้านไหนที่เลี้ยงหมู ก็เอาไปทั้งกลีบดอกสีแดงเป็นพวง กลีบดอกงิ้วนี้นาไปต้มเป็นอาหารหมูได้อีก ด้วย เป็นการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า ไม่ต้องทิ้งไปให้เสียเปล่า เกสรดอกงิ้วที่ได้มานั้นก็จะนามาตากแห้ง แล้วจะเก็บไว้ได้นาน ชาวบ้านล้านนารู้จักนา เกสรดอกงิ้วที่ตากแห้งไปประกอบอาหาร ไม่ว่าจะใส่แกงแค หรือใส่น้าเงี้ยวเพื่อกินกับขนมจีน จน บางแห่งเรียกน้าเงี้ยวว่า น้างิ้ว เนื่องด้วยใส่ดอกงิ้วลงไปเป็นส่วนประกอบ หากอาหารเหล่านี้ขาด ดอกงิ้วไป จะเรียกว่าแกงแค หรือน้าเงี้ยว ก็ไม่สนิทใจนัก เพราะว่าส่วนสาคัญได้ขาดหายไป ไม่ สมบูรณ์เติมเต็ม ดอกงิ้วแดงฉาน เหมือนดวงไฟที่ลุกโชนอยู่ตามกิ่งไม้นี้ บางแห่งเรียกว่า งิ้วดอกแดง หรือ งิ้วหลวง ตามแต่ท้องถิ่นที่จะเรียกแตกต่างกัน หรือในเอกสารโบราณจะเรียกว่า สิมพลี (ฉิมพลี) หรือพวกฝรั่งเรียกว่า Red Cotton Tree หรือ Kapok Tree แม้ว่าจะเรียกว่าอย่างไรแต่ ก็เรียกต้น Bombax ceiba Linn. ในชื่อวิทยาศาสตร์อย่างเดียวกัน ในละแวกบ้านเราพบได้ทั่วไป ในประเทศไทย (ยกเว้นภาคใต้) จนถึงอินเดีย ยูนานในจีน แม้แต่ในอาฟริกา หรือ ออสเตรเลีย ยัง ปรากฏว่ามีต้นงิ้วขึ้นอยู่ด้วย
๑๖
ลาต้น รวมถึงกิ่งก้านสาขาของต้นงิ้ว มีหนามที่แหลมและคมอยู่ทั่วลาต้น การที่มีหนาม อันแหลมนี้เองที่กลายเป็นเครื่องมือทรมานผู้ใจบาปหยาบช้าที่ผิดผัวผิดเมียผู้อื่นไม่ตั้งมั่นอยู่ในศีล ข้อ ๓ ใน สิมพลีนรก ซึ่งหนามงิ้วอันเป็นเครื่องทรมานนี้ยาวถึง ๑๖ องคุลี ( ๑ องคุลี ยาวเท่ากับ ๑ ข้อนิ้วมือ ) ชาย – หญิงผู้มีใจบาปนั้นได้มาทรมานอยู่ในนรกนี้ เมื่อปีนขึ้นไปก็โดนกาปากเหล็ก จิก หากจะลงมาก็เจอยมบาลเอาหอกทิ่มแทง ได้รับความทุกข์ทรมานอยู่ในนรกนี้จนสิ้นอายุขัย ส่วนเนื้อไม้ นั้นมีน้าหนักเบา ซึ่งคล้ายกับไม้ คอร์กของฝรั่ง จึงนิยมนามาทา ฟ่อมเบ็ด หรือทุ่นเบ็ด บ้างก็นามาขุดให้กลวงเพื่อทาไหข้าว นอกจากนี้ สล่าหรือช่างก็นิยมนาไม้งิ้วมาทา เป็นไม้แบบหรือพิมพ์สาหรับหล่อเสาปูน อีกด้วย ส่วนเด็ก ๆ ก็ได้ของเล่นจากไม้งิ้วนี้ด้วยเช่นกัน เป็นต้นว่า ดาบ ล้อกลิ้ง โดยฝีมือของพ่อ หรือ พ่ออุ้ย ซึ่งจะกลายเป็นสื่อสัมพันธ์ของบุคคลต่างวัย ในครอบครัวอีกทางหนึ่ง ส่วนผลงิ้วดอกแดงนี้ จะออกเป็นฝัก มีเมล็ด และปุยงิ้วอยู่ภายใน ปุยงิ้วนี้เป็นเส้นใยสี ขาว สวยและเป็ นเงา กว่างิ้ วสายหรือนุ่ นมาก สมัยก่ อนนิ ยมนามายัด หมอน สะลีที่ นอน แต่ ปัจจุบันต้นงิ้วดอกแดงนี้มีน้อย ทาให้ต้องใช้ปุยนุ่นหรืองิ้วสายแทน เพราะปุยนุ่นหาได้ง่ายและมีใน ปริมาณที่มาก เพียงพอต่อความต้องการ แม้ว่าคุณภาพจะต่ากว่าปุยงิ้วก็ตาม ความสวยของปุยงิ้ว ทาให้นึกถึงความงามของนางพิมพา อันอยู่ในชาดกเรื่อง “ก่ากา ดา” หรือ พิมพาขะนุ่นงิ้ว ซึ่งพระอินทร์ให้เทพธิดานางหนึ่งลงมาปฏิสันธิในผลงิ้ว เพื่อมาเป็นเนื้อ คู่ของ “ก่ากาดา” เมื่อผลงิ้วแตกออกมา ปรากฏเป็นหญิงงามนางหนึ่งที่มีผิวพรรณวรรณะผุดผ่อง ดั่งทองทา จึ่งได้ชื่อว่า “พิมพา” หรือ “พิมพาขะนุ่นงิ้ว” อันเป็นที่เกิดแห่งนาง ไม่ว่าจะเป็น ยาง ราก เปลือก ใบ มีสารอาหารต่าง ๆ ที่สาคัญมากมาย และผู้ เฒ่าผู้แก่ ผู้มีผญาปัญญา อันสั่งสมกันมา จึ่งนาส่วนต่าง ๆ มาเป็นสมุนไพร เช่น ราก นามาเข้ายาหรือเป็น ส่วนประกอบของยาผงขาว ฯลฯ ใบนามาเข้ายาลมเกี่ยว เป็นต้น ต้นงิ้วในกาลปัจจุบันนี้ ดอกแดงก็แดงฉานอยู่เปล่าดาย ดอกที่ตกก็ปล่อยทิ้งให้เน่า ไม่มี เด็กมาแย่งกันเก็บดอกงิ้ว ต้นงิ้วถูกทิ้งไว้เพียงเดียวดาย รอวันที่จะถูกโค่น เพื่อสนองต่อความเจริญ ทางวัตถุที่นับวันจะขยายวงกว้างออกไปอย่างไม่มีขีดจากัด สิมพลีวันแว่นผ้ง เพลิงพุ่งเพียงสาขา ติณณะแฝกเฝือฅา แขมขวากเลาอ้ออ้อม
ผายผกา กลีบเอ่ ล่าวล้อม ฅมบาด บางเอ่ คู่ออ้ มอกเรียม ( จาก โคลงนิราศหริภญ ุ ไชย )
๑๗
ลำดับขบวนเสด็จ พระรำชชำยำเจ้ำดำรำรัศมี ครำวเสด็จเยือนนครเชียงใหม่ ปี พ.ศ.๒๔๕๑ จำกค่ำวซอของ ท้ำวสุนทรพจนกิจ (ใหม่บุญมำ) * ชวรินทร์ คำมำเขียว *
หัวหน้างานวิชาการ ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และอาจารย์ประจา สาขาภาษาตะวันออก คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่
๑๘
(ต่อจำก เวียงเจ็ดลิน ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒) วันที่ ๒๕ มีนาคมขบวนเรือที่นั่งเคลื่อนออกจากบ้านนาเรื่อยไปจนถึงซุงซะ ทรงแวะ นมัสการพระธาตุเจดีย์ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้า จากนั้นขบวนเรือที่นั่งได้เดินทางต่อเรื่อยมาจนถึง พลับพลาบ้านโสมงในช่วงค่าจึงทรงหยุดประทับแรมที่พลับพลาบ้านโสมง ๑ คืน รุ่งขึ้น ๗ โมงเช้า ขบวนเรือที่นั่งได้เคลื่อนออกจากพลับพลาบ้านโสมงผ่านแก่งส้มป่อยต่อไปจนถึงหาดข้าวตอกจึง ทรงหยุดพักเพื่อเสวยพระกระยาหารเช้า จากนั้นทรงออกเดินทางต่อผ่านแควขามป้อม (แก่งแคว มะขามป้อม) ผาพะทืน ในช่วงนี้แม่น้าปิงแคบลงมากจึงทาให้กระแสน้าเชียวกรากขบวนเรือ ที่นั่ง ต้องใช้แรงงานคนฉุดชักเป็นจานวนมากจึงสามารถผ่านแก่งขึ้นมาได้ เมื่อผ่านแก่งขึ้นมาได้แล้ว ขบวนเรือที่นั่งได้ออกเดินทางต่อเรื่อยไปจนกระทั่งเข้าเขตป่าคาจึงทรงหยุดพักเสวยพระกระยา กลางวัน ถึงช่วงบ่ายขบวนเรือ ที่นั่งจึงออกเดินทางต่อผ่านผามันคันเป็ด ทละหลวง (แก่งตะละ หลวง) จนถึงเกาะปลาไหลจึงทรงหยุดพักเพื่อ ประทับแรมเป็นเวลา ๑ คืน รุ่งเช้าขบวนเรือที่นั่ง เคลื่อนออกจากเกาะปลาไหลผ่านแก่งกวางเรื่อยมาจนถึงแก่งฟานจึงทรงหยุดพักเพื่อเสวยพระ กระยาหารกลางวัน ซึ่งการเดินทางในช่วงนี้ต้องใช้เวลาที่ยาวนานเพราะแต่ละสถานที่นั้นมี ระยะทางที่ไกลกันมาก
แก่งอกม้า ภาพจาก: ยุทธ เดชคารณ. ล่องแก่งแม่นาปิ ้ ง
๑๙
ภายหลังจากที่เสวยพระกระยาหารกลางวันเรียบร้อยแล้ว ช่วงบ่ายขบวนเรือ ที่นั่งได้ ออกเดินทางต่อผ่านทละน้อย (แก่งตะละน้อย) เรื่อยไปจนถึงเกาะกือ (เกาะเกลือ) ในช่วงค่า ขบวนเรือที่นั่งทั้งหมดจึงหยุดพักเพื่อทรงประทับแรม ๑ คืน และที่เกาะเกลือหลวงนเรศได้มาเฝ้า ทูลละอองพระบาท โดยในระหว่างที่ประทับแรมที่เกาะเกลือนั้นกวีได้กล่าวว่าขบวนเรือ ที่นั่งต้อง เผชิญกับโขลงช้างป่าที่ลงมากินน้าเป็นเหตุให้เกิดความโกลาหลวุ่นวายไปทั่ว ทุกคนในที่นั้นต่าง หวาดผวาจนต้องหนีเอาตัวรอดเหตุด้วยความกลัวที่จะถูกโขลงช้างป่าทาร้าย รุ่งเช้าขบวนเรือ ที่ นั่งเคลื่อนออกจากเกาะเกลือการเดินทางในช่วงนี้ขบวนเรือ ที่นั่งต้องผ่านแก่ง (พืดหินที่หรือโขด หินที่ที่ขีดขวางทางน้า) และวังน้า (ห้องน้าลึก) ตลอดจนเทือกเขาน้อยใหญ่สองฝากแม่น้ามากมาย ขบวนเรือที่นั่งทวนไปตามกระแสลาน้าปิงเรื่อยมาผ่านผาเสื้อเต้น (แก่งเสือเต้น) แก่งสบ เทาะ (สบเตาะ) ผาออ (แก่งผาออ) แก่งผาแอก แก่งรัน ผาดา แก่งอกม้า แก่งผาขว้าง (ผา ขวาง) แก่งปากเวียก (ปากเวียด) แก่งผาหมอน แก่งผาสิงห์ (วังสิงห์) เรื่อยมาจนถึงวังเงือกในช่วง ค่าจึงทรงประทับแรมที่วังเงือก ๑ คืน รุ่งเช้า ๐๗.๐๐ น. ขบวนเรือที่นั่งเคลื่อนออกจากวังเงือก ผ่านแก่ง สองแคว แก่งโกงกียน แก่งชุม หาดขี้งัว (ขี้วัว) แก่งพัง ล่วงเลยมาจนถึงวังกวาว ณ ที่ นั้น ทรงมีพระดาริที่จะสลักพระนามไว้ที่ต้นตะเคียนเพื่อเป็นพระอนุสรณ์แห่งการเสด็จพระดาเนิน มาถึง จึงมีพระบัญชาให้พระราชนายกเป็นธุระจัดการสลักพระนามไว้บนต้นตะเคียนนั้น จากนั้น ขบวนเรื อ ที่ นั่งได้อ อกเดิน ทางต่อผ่ านแก่งวังเกีย งจนมาถึงผาเหล็ก ไหลในช่ว งค่าจึงทรงหยุ ด ประทับแรมที่ผาเหล็กไหล ๑ คืน รุ่งเช้าขบวนเรือที่นั่งเคลื่อนออกจากผาเหล็กไหลผ่านแก่งฟ้าปืน ในระหว่างนั้นได้ทรงทอดพระเนตรความงดงามของดอยหลวง ขบวนเรือ ที่นั่งลองตามลาน้า ขึ้นมาจนถึงแก่งอาบนาง ณ ที่นี้กวีได้พรรณนาถึงความเป็นมาของชื่อแก่งว่า เมื่อครั้งที่พระนาง จามเทวีเสด็จ โดยทางเรือขึ้นมาจากละโว้ได้ผ่านหน้าผานี้ ครั้งนั้นได้ทรงอธิษฐานขอให้มีน้า บริสุทธิ์ไหลออกมาจากผาหินเพื่อให้พระนางได้อาบและดื่มกิน สถานที่แห่งนี้จึงได้รับการขนาน นามว่าแก่งอาบนางสืบมา ขบวนเรือที่นั่งทวนขึ้นมาตามลาน้าปิงเรื่อยมาผ่านบ้านหาดอ้ายเมือง จนถึงวังเฮยจึงหยุดประทับพักแรม ๑ คืน
๒๐
แก่งอาบนาง ภาพจาก: บุญเสริม สาตราภัย. ล้านนาเมื่อตะวา
รุ่งเช้ าขบวนเรือ ที่ นั่ง เคลื่อ นออกจากบ้า นวั งเฮยผ่า นบ้ า นหาดสบตืน หาดผาบิ น ซึ่งบริเวณนี้คนถ่อเรือและนายท้ายต้องอาศัยความชานาญและความระมัดระวังเป็นพิเศษด้วย เพราะเป็นช่วงที่มีวังน้าและโขดหินน้อยใหญ่เป็นจานวนมาก ถัด จากหาดสบตื่นและหาดผาบิน ขบวนเรือที่นั่งได้ทวนขึ้นมาตามลาน้าเรื่อยมาจนถึงแก่งอุมหลุ ทรงมีรับสั่งให้กลุ่มพ่อค้าที่โดย เสด็จในขบวนซึ่งมีความชานาญในการถ่อเรือสารวจดูร่องน้าเพื่อให้ขบวนเรือ ที่นั่งทั้งหมดผ่านได้ โดยสะดวกและปลอดภัย ขบวนเรือที่นั่งเดินทางต่อเรื่อยมาจนถึงเกาะชุม ค่าวันนั้นทรงประทับ แรมที่เกาะชุม ๑ คืน รุ่งเช้าขบวนเรือที่นั่งเคลื่อนออกจากบ้านเกาะชุมลองขึ้นตามลาน้าเรื่อยมา จนถึงแก่งสร้อยซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแก่งขนาดใหญ่และอันตรายมากที่สุดแก่งหนึ่งในลาน้าปิง ซึ่งการที่ ขบวนเรือที่นั่งจะผ่านแก่งนี้ขึ้นไปได้นั้นกวีได้พรรณาไว้ว่าต้องอาศัยกาลังคนเป็นจานวนมากใน การฉุดชักเรือให้พ้นจากโขดหินและกระแสน้าอันเชี่ยวกราก และเมื่อผ่านแก่งสร้อยมาได้แล้ว ขบวนเรือที่นั่งได้ทวนกระแสน้าขึ้นตามลาน้าปิงต่อเรื่อยมาผ่านแก่งจาง ผางวง วังสิงหลวง ผา มุย ผาแต้ม หาดอ้ายเจ็ด ผาหลวง จนถึงเกาะกระในช่วงค่าจึงทรงประทับแรมที่เกาะกระ ๑ คืน ซึ่งกวีได้พรรณนาถึงสภาพธรรมชาติโดยรอบบริเวณนั้นว่าเต็มไปด้วยพงป่า หน้าผา และ โขดหินน้อยใหญ่เป็นจานวนมาก
๒๑
แก่งอมหลุ ภาพจาก: ยุทธ เดชคารณ. ล่องแก่งแม่นาปิ ้ ง
แก่งสร้อย ภาพจาก: ยุทธ เดชคารณ. ล่องแก่งแม่นาปิ ้ ง
ครั้นรุ่งสางขบวนเรือที่นั่งเคลื่อนออกจากเกาะกระผ่านอุมกอง ผางวังโป่ง ดอยหลวง จนถึงแก่งพวงเสลียมทรงประทับแรมที่แก่งพวงเสลียม ๑ คืน วันรุ่งขึ้นขบวนเรือ ที่นั่งเคลื่อน จากแก่งพวงเสลียมผ่านหาดน้อย ผาเผิ้ง แก่งค้อนแก่งขอน มาจนถึงแก่งก้อเวลาเย็นจึงทรง ประทับแรมที่แก่งก้อ ๑ คืน เช้าวันรุ่งขึ้นขบวนเรือที่นั่งเคลื่อนออกจากแก่งก้อผ่านผาแดง หาด หยวก ผาบัว อุมหลุ บ้านน้อย ผากระบือ หาดเสี้ยว ผาเตา เกาะโยง ผาฮอก งิ้วเถ้า จนเข้า ๒๒
เขตบ้านมืดกาในตอนเย็น ณ ที่นั้นมีพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์รับเสด็จ พร้อมกันนี้ข้าหลวง ได้ล่องลงไปเฝ้ารับเสด็จยังพลับพลาที่ประทับทรงมีรับสั่งถามถึงเรื่องราชการงานเมืองต่าง ๆ รุ่งขึ้นเวลา ๐๗.๐๐ น. ขบวนเรือที่นั่งเคลื่อนออกจากพลับพลาบ้านมืดกาผ่านผาเพียบ สบหาดหิน เมื่อขบวนเรือที่นั่งลอยลาผ่านดอยเกิ้งได้ทรงยกพระหัตถ์ขึ้นนมัสการพระธาตุดอยเกิ้ง ขบวนเรือที่นั่งล่วงเลยจากดอยเกิ้งผ่านบ้านชั่ง บ้านหนอง ผาหีดหลวง สบตาน โดยกวีได้กล่าวถึง ภาพเหตุการณ์ที่ปรากฏในระหว่างนั้นว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนักที่มีน้ามีกระแสน้าป่าหลากใน หน้าแล้งพัดเอาซากขอนไม้ขวางเต็มลาน้า แต่ขบวนเรือ ที่นั่งก็ผ่านพ้นมาได้โดยปลอดภัยด้วย เพราะพระบารมีโดยแท้ ขบวนเรือที่นั่งขึ้นมาจนถึงบ้านท่าเดื่อในช่วงค่าจึงทรงประทับแรมที่ พลับพลาบ้านท่าเดื่อ ๑ คืน เช้าวันรุ่งขึ้นขบวนเรือ ที่นั่งเคลื่อนออกจากพลับพลาบ้าน ท่าเดื่อ ผ่านโท่งปราสาท วังทอง วังตอน บ้านน้อย บ้านหน้าแก่ง จนเวลาประมาณบ่าย ๒ โมงขบวน เรือพระที่จึง ขึ้นมาถึงบ้านแอ่นอุ้ม ทรงหยุดพักที่พลับพลาบ้านแอ่นอุ้ ม ก่อนเคลื่อนขบวนต่อ ๑ เรื่อยไปจนถึงบ้านหนองอี่ปุ้ม และห้วยทรายตามลาดับกระทั่งถึงเมืองฮอด ในตอนค่า ค่านั้นจึง ทรงหยุดประทับพักแรมที่พลับพลาเมืองฮอด ซึ่งในระหว่างที่ทรงประทับแรมที่เมืองฮอดนั้นทรง โปรดเกล้า ฯ ให้มีการเลี้ยงอาหารแก่ข้าราชการที่มาเฝ้ารับเสด็จ วั นที่ ๑๓ มีนาคมได้เสด็จพระ ดาเนินไปบาเพ็ญพระราชกุศลถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ณ วัดเมืองฮอด และที่เมืองฮอดได้ทรง ถ่ายเรือที่นั่ง และในการนี้เจ้าอินทวโรสสุริยงศ์ได้ดาเนินล่วงหน้าขึ้นไปก่อนเพื่อเตรียมความพร้อม ในการรับเสด็จ
วัดพระธาตุดอยเกิ้ง ภาพจาก : http://www.weekendhobby.com/offroad/pajero/picture/81255021244.JPG ๑
อ.ฮอด จ.เชียงใหม่
๒๓
ผาวิ่งชู้ ภาพจาก: http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/867/26867/images/tumnan/pachu.JPG
จากเมืองฮอดขบวนเรือที่นั่งออกเดินทางต่อเรื่อยมาจนถึงผาวิ่งชู้ ในตอนนี้กวีได้เล่าถึง ตานานความเป็นมาของชื่อผาว่า มีชายหญิงคู่หนึ่งไม่สมหวังในความรักด้วยเพราะถูกกีดกันจาก พ่อแม่ของฝ่ายหญิง ฝ่ายชายจึงพาฝ่ายหญิงควบม้าหนีกระทั่งมาถึงบริเวณหน้าผาดังกล่าวทั้งสอง จึงได้ตัดสินใจควบม้ากระโจนลงจากหน้าผาจมหายไปในลาน้าปิง สถานที่แห่งนี้จึงได้ชื่อว่าผาวิ่งชู้ นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ล่วงพ้นจากผาวิ่งชู้ขบวนเรือที่นั่งเดินทางขึ้นตามลาน้าปิงเรื่อยมาผ่าน ท่า ๑ หนองหลวง วังแดง ผาแตน ออมแก้ว ฟ้าย่อ ขบวนเรือที่นั่งขึ้นมาถึงสบแจม ในเวลาค่านั้นจึง ทรงหยุดประทับแรมที่พลับพลาสบแจม ๑ คืน
วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ๑
๒๔
สบแจม หมายถึง บริเวณที่น้าแจมไหลมาบรรจบกับแม่น้าปิง
เช้าวันรุ่งขึ้นขบวนเรือที่นั่งเคลื่อนออกจากพลับพลาสบแจมผ่านท่างัว และห้วยทราย ตามลาดับ จนมาถึงดอยไก่เขี่ยในเวลาเที่ยง ขบวนเรือที่นั่งเดินทางต่อเรื่อยมาจนถึงบ้านแปะ ท่า ผา แม่สอย ห้วยม่วงหลวง วังหัวควาย และท่าขะแจะในช่วงค่า ทรงประทับแรมที่ท่าขะแจะ ๑ คืน รุ่งเช้าเวลา ๐๗.๐๐ น. ขบวนเรือที่นั่งเคลื่อนออกจากท่าขะแจะ ขึ้นตามลาน้าปิงเรื่อยมาผ่าน บ้านหนองปลาซะวาย บ้านสบเทียะ บ้านสบกลาง บ้านวังพาง (วังปาน) ตามลาดับจนมาถึง ๑ จอมทองจึงทรงประทับแรมที่พลับพลาจอมทอง ๑ คืน รุ่งเช้าล่วงเข้าเดือนเมษายนเวลา ๙ โมง เช้ามีพระสงฆ์จานวน ๑๓ รูปมาเจริญพระพุทธมนต์โอกาสนี้ทรงถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแด่ พระสงฆ์ที่มาเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อเป็นพระกุศล ในช่วงบ่ายได้ทรงวอ เสด็จพระดาเนินไปยัง วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง เพื่อทรงสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ณ ที่นั้นทรงถวายดอกไม้ธูป เทียนเพื่อเป็นพุทธบูชา ภายหลังจากประทับพักแรมที่จอมทองแล้วขบวนเรือ ที่นั่งเคลื่อนได้ออก จากจอมทองผ่านสบลี้ ฝั่งหมิ่น บ้านถง หนองห่าย ท่าลี่ วังผาง วังธาร ขามป้อม ดอยคอม ดอย ๒ หล่อ ดอยน้อย ที่พี้ สองแคว สบขาน ที่ท่าพี้สองแควนี้กวีได้พรรณนาความไว้ว่าเป็นที่หวาดกลัว ยิ่งนักเมื่อได้พบกับ ชาวบ้านที่เป็นโรคเรื้อน ขบวนเรือที่นั่งเดินทางเรื่อยมาจนถึง วังพร้าวค่านั้น ทรงหยุดประทับแรมที่วังพร้าว ๑ คืน
น้าแม่ปิง มุมมองจากบนวัดพระธาตุดอยน้อย
๑ ๒
อ.จอมทอง จ. เชียงใหม่ อ. ดอยหล่อ จ. เชียงใหม่
๒๕
รุ่งเข้าขบวนเรือที่นั่งเคลื่อนออกจากวังพร้าวที่ประทับผ่าน วังไฮ หนองดู่ ที่หนองดู่ มี การจัดซุ้มและปักธงช้าง (ธงชาติ) ตลอดริมสองฝั่งแม่น้าพร้อมกันนี้ได้จัดให้มีการประโคมฆ้อง กลองเพื่อเป็นรับเสด็จอย่างสมพระเกียรติ ซึ่งกวีได้พรรณาความในตอนนี้ไว้ว่าเต็มไปด้วยสีสนั และ ความสวยงามตลอดจนเป็นที่รื่นเริงสนุกสนาน ล่วงพ้นจากหนองดู่ขบวนเรือ ที่นั่งเดินทางมาถึง ๑ สบกวง ทรงประทับพักแรมที่สบกวง ๑ คืน ระหว่างนั้นเจ้าอินทยงยศโชติเจ้าผู้ครองนครลาพูน ๒ พร้อมด้วยผู้ติดตามได้มาเฝ้ารับเสด็จ ช่วงค่าได้เสด็จพระดาเนินไปในงานฉลองวิหารวัดต้นงิ้ว การนี้ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นเงินจานวน ๑๐๐ บาท เพื่อเป็นพระกุศล วันรุ่งขึ้นเสด็จจากพลับพลาที่ประทับไปยังบ้านแม่ค้า (แม่ก๊า) ซึ่งกวีได้พรรณนาความ ในตอนนี้ไว้ว่า นามบ้านแม่ค้านั้นหาได้สมดั่งนามไม่ ด้วยเพราะหาได้ปรากฏมีสินค้าครัวดีให้เห็น แต่อย่างใด จากนั้นขบวนเรือที่นั่งได้ออกเดินทางต่อผ่านร้องงัวเถ้า สบกุ้ม (สบกุ้ง) สบปะ หนอง ช้าง ท่าขี้น าค ท่าแสนยศ สบแม่เมืองเมง จนถึงสบร้องต้นยาง ขบวนเรื อ ที่นั่งจึง หยุดพั ก จากนั้นทรงออกเดินทางต่อผ่านท่าขี้เหล็ก ล่วงมาจนถึงแม่คักขบวนทรงหยุดประทับแรม ๑ คืน ซึ่งบริเวณที่เรือที่นั่งจอดประทับพักแรมนั้นกวีกล่าวว่าเป็นทุ่งนาของอุปราชา (เจ้าอุปราช) เจ้าแก้ วนวรัฐพระภาดา เช้าวันที่ ๗ เมษายน ขบวนเรือที่นั่งออกเดินทางต่อผ่านปากเหมือง บ้านวังสรี (วังสิงห์คาใต้) ซึ่งกวีได้พรรณนาความไว้ในตอนนี้ว่า การเดินเรือในช่วงนี้มีความสะดวกสบายมาก ด้วยเพราะน้าในแม่น้าปิงมีมากและไม่มีสิ่งขีดขวางใดที่จะเป็นเหตุให้ขบวนเรือที่นั่งต้องติดขัด ขบวนเรือที่นั่งขึ้นมาตามลาน้า ผ่านป่างิ้วงาม ซึ่งเป็นหมู่บ้านตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้าปิง กระทั่งถึงบ้านท่าใหม่อิ บ้านป่าแดด บ้านแม่ขาหวาก และท่าวังตาล ทรงประทับพักแรมที่ท่าวัง ตาล ๒ คืน จากนั้นขบวนเรือที่นั่งออกเดินทางต่ อถึงท่าต้นพิน หนองหอย และกรมป่าไม้เป็น ลาดับสุดท้าย เช้า วัน ที่ ๙ เมษายน ณ คุ้ มหลวงนครเชียงใหม่ เจ้า อิน ทวโรรสสุ ริย วงศ์ พร้ อมด้ว ย บรรดาเจ้านายเครือญาติตลอดจนข้าราชการ และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อ เตรียมความพร้อมในรับเสด็จเข้าเวียง การนี้เจ้าอินทวโรสสุริยวงศ์ได้มีบัญชา ให้จัดเตรียมขัน ดอกไม้ธูปเทียน เพื่อเชิญเสด็จเข้าเวียงตามประเพณี ซึ่งการรับเสด็จครั้งนี้กวีได้พรรณาความไว้ว่า เป็นงานที่ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ โดยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายด้วยดี ทั้งฝ่ายข้าราชการ และ ชาวเมืองมีการจัดแห่ขบวนแฟนซีเป็นรูปต่าง ๆ ตลอดจนขบวนแห่ช้างม้าที่ประดับประดาไปด้วย ภู่เงินภู่ทองที่งดงาม ขบวนแห่ฆ้องแห่กลอง ขบวนแตรเดี่ยวแตรวง เป็นที่สนุกสนานครึกครื้นและ ตื่นตาตื่นใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็นยิ่งนัก
๑ ๒
๒๖
บ้านสบทา อ. ป่าซาง จ. ลาพูน วัดท่าต้นงิ้ว ต. ปากบ่อง อ. ป่าซาง จ. ลาพูน
เมื่อได้ฤกษ์ขบวนได้เคลื่อนจากคุ้มหลวงไปยังกรมป่าไม้ที่ประทับเพื่อเชิญเสด็จเข้าเวียง โดยตลอดสองฝากฝั่งถนนท่าแพมีการประดับประดาด้วยธงช้าง ธงทิวสีสันต่าง ๆ ตลอดจนผ้า แพรพรรณที่สวยสดงดงาม ซึ่งงานรับเสด็จครั้งนี้เป็นที่ตื่นตาตื่นใจของชาวเวียงยิ่งนักดังที่กวีได้ พรรณาภาพเหตุการณ์ในวันนั้นไว้ว่า คนในเวียงทัง้ เด็กเล็กเด็กโตชายหญิงหนุ่มเฒ่าต่างก็มาเฝ้ารอ ชมพระบารมีและขบวนเสด็จตลอดสองข้างทางด้วยความตื่นเต้น เว้นเพียงก็แต่คนตาบอดและคน พิการเท่านั้นที่ไม่มีโอกาสได้มาชมพระบารมี เมื่อขบวนเคลื่อนมาถึงกรมป่าไม้ที่ประทับแล้ว ทรง รับขันข้าวตอกดอกไม้ตามประเพณี กวีได้พรรณาความในตอนนี้ไว้ว่าในวันที่เสด็จเข้าเวียงนั้นทรง ฉลองพระองค์ด้วยพระภูษาและเครื่องประดับอัญมณีที่งดงาม และล้าค่า ซึ่งล้วนแต่มีค่ามหาศาล สมกับพระบารมียิ่งนัก ลาดับต่อจากนั้นทรงขึ้นประทับบนวอเพื่อเข้าขบวนเชิญเสด็จ ซึ่งประกอบไปด้วยขบวน แฟนซีจากหมวดกรมต่าง ๆ กว่า ๓๐ ขบวน นาด้วยขบวนธงรัศมี ตามด้วยช้างเผือก ลาดับ ต่อมาเป็นขบวนที่ ๓ ของแขกสุรสีให้แขกพาหังขี่เรือใบโห่ร้องยินดี ขบวนที่ ๔ เป็นขบวนของ พระศรีวิชัยข้าหลวงประจานครเชียงใหม่ จาลองเหตุการณ์ครั้งพระนางจามเทวีเสด็จเมืองลาพูน ขบวนที่ ๕ เป็นขบวนของอัยการแต่งกายเป็นเพชพพาธร (วิทยาธร) เก็บ มัคกลีผล (มักกะลีผล) ในป่าหิมพานต์ ขบวนที่ ๖ เป็นขบวนของข้าราชการมหาดไทยแต่งจาลองเหตุการณ์ พระญามัง รายสร้างเวียงเชียงใหม่ ขบวนที่ ๗ เป็นของข้าราชการสรรพากรแต่งกาย และจาลองเหตุการณ์ ตอนพระอุเทนดีดพิณเอาช้าง และแสดงตลก ขบวนที่ ๘ เป็นขบวนของข้าราชการฝ่ายพระคลัง จัดขบวนจาลองตอน พระเจ้ากือนาแต่งช้างมงคลไปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบนดอยสุเทพ ขบวนที่ ๙ เป็นขบวนข้าราชการฝ่ายธรรมการแต่งรูปขบวนเป็นนิทานชาดกเรื่องจันทโครพกับ นางโมรา ขบวนที่ ๑๐ เป็นขบวนของกองโยธาแต่งขบวนตามความในวรรณคดีเรื่องสังข์ ทองตอน เงาะกับรจนาในกระท่อมน้อย ขบวนที่ ๑๑ เป็นลาดับขบวนของไปรษณีย์ แต่งขบวนเป็นบท ละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนองคตถือสารไปกรุงลงกา ขบวนที่ ๑๒ เป็นขบวนของขมุตีฆ้องตีกลอง ขบวนที่ ๑๓ เป็นขบวนของข้าราชการฝ่ายศาลฟ้อนราแห่บอกไฟใหญ่ ขบวนที่ ๑๔ เป็นขบวน ทหารบกโชว์การฝึกทหาร ขบวนที่ ๑๕ เป็นขบวนของตารวจภูธรเดินในรูปแบบสวนสนาม ขบวนที่ ๑๖ เป็นลาดับขบวนของอาเภอเมืองแต่งรูปขบวนตามความในเรื่องรามเกียรติ์ ตอนหนุมานตามนางสีดา ขบวนที่ ๑๗ เป็นขบวนของอาเภอดอยสะเก็ดแต่งขบวนเป็นแฟนซีคน ดอย ขบวนที่ ๑๘ เป็นขบวนของอาเภอสันทรายแต่งขบวนตามนิทานชาดกล้านนาเรื่องหงส์หิน ตอนไปรับย่าจากป่า ขบวนที่ ๑๙ เป็นขบวนของแขวงแม่ออน แต่งขบวนเป็นเรื่องเล่าตานานเรื่อง เมขลาล่อแก้ว ขบวนที่ ๒๐ เป็นขบวนของอาเภอแม่ริมแต่งขบวนตามตานานเรื่องพระพุทธบาทสี่ รอย ขบวนที่ ๒๑ เป็นขบวนของแขวงแม่แตงแต่งขบวนตามวรรณคดีเรื่องอิเหนาตอนบุษบาเสี่ยง เทียน ขบวนที่ ๒๒ เป็นขบวนของแขวงแม่วาง ขบวนที่ ๒๓ เป็นขบวนของ มูเซอ คุ่ย ค้อ ถิ่น แซะ อะเขอ จากเชียงดาวและเมืองพร้าว ขบวนที่ ๒๔ เป็นขบวนลัวะ และยางห้วยจากอาเภอ ๒๗
สะเมิง ขบวนที่ ๒๕ เป็นขบวนปล่อยงิ้วของนายบุญยืน ขบวนที่ ๒๖ เป็นขบวนฟ้อนแอ่นและตี กลองมองเชิงของชาวเงี้ยว ขบวนที่ ๒๗ เป็นขบวนกางจ้องและขับร้องของคนพม่า ขบวนที่ ๒๘ และ ๒๙ เป็นขบวนช่างฟ้อนและบุตรเจ้านายขี่ม้า ขบวนที่ ๓๐ และ ๓๑ เป็นลาดับขบวนแตร วงและแห่ฆ้องแห่กลอง ขบวนที่ ๓๒ เป็นขบวนฟ้อนหอกฟ้อนดาบ ขบวนที่ ๓๓ เป็นลาดับขบวน หลวง (ทรงวอ) ซึ่งกวีได้กล่าวพรรณาไว้ว่าทรงวอทองงดงามสมพระเกียรติยิ่งนัก ยากหาผู้ใดจะมา เทียบเทียมได้ ต่อถึงขบวนที่ ๓๓ เป็นขบวนมหาดเล็ก และตารวจหลวงซึ่งนาโดยพลตรีพระยา อนุชิตชาญไชย ส่วนขบวนที่ ๓๔ ขบวนสุดท้ายได้แก่ขวนของเจ้า อินทวโรสสุริยวงศ์ ขี่ม้าคุม ขบวนตามขบวน ขบวนทั้งหมดเคลื่อนไปตามถนนท่าแพผ่านข้ามคูเมืองเมื่อถึงประตูท่าแพได้จัดให้มี พระสงฆ์ประพรมน้าพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยกวีได้พรรณาความถึงเหตุการณ์ใน ตอนไว้ว่าทั่วทั้งเวียงเต็มไปด้วยเสียงดุริยนาฏดนตรีกึกก้อง ขบวนเคลื่อนไปถึงคุ้มเก่ากลางเวียง แล้วเลี้ยวซ้ายออกประตูช้างเผือกจากนั้นเลี้ยวขวาอ้อมกลับไปยังคุ้มหลวงดังเดิม เมื่อเสด็จถึงคุ้ม หลวงทรงเข้าประทับยังพลับพลาเพื่อทอดพระเนตรริ้วขบวนทั้งหมดอีกครั้ง และหลังจากที่ได้ทอดพระเนตรขบวนต่าง ๆ เรียบร้อยแล้วเหล่าบรรดาเจ้านายสาย เครือญาติ ตลอดจนข้าราชการพ่อค้าคหบดี รวมไปถึงชาวเวียงเชียงใหม่ทุกผู้ทุกคน ทุกเพศทุกวัย ต่างก็มาเข้าเฝ้าเพื่อชื่นชมพระบารมีเป็นจานวนมาก ชาวเวียงทั้งหลายที่ทราบข่าวต่างพากัน หลั่งไหลมาจากทุกหัวบ้านเพื่อเฝ้าชื่นชมพระบารมี ซึ่งกวีได้พรรณนาไว้ว่ามีตั้งแต่ชาวบ้านช่างฆ้อง บ้านฮ่อม บ้านเชียงแสน บ้านพันแหวน บ้านหมื่นตูม บ้านศรีภูมิ บ้านกู่เต้า บ้านสวนดอก บ้าน เชียงยืน บ้านป่าเป้า บ้านเมืองเลน บ้านกะต้า บ้านเมืองสาต บ้านเมืองกาย บ้านวัวลาย บ้าน ช้างค้า บ้านยางกวง บ้านป่าพร้าว บ้านน้าปู บ้านวัดเกศ บ้านท่าศรีโขง บ้านแจ่งกู่เรือง บ้านหัว รินน้าบ้วน บ้านหม้อคาตวง บ้านควรค่าม้า ซึ่งทุกเพศทุกวัยทุกผู้ทุกคน ต่างก็ไม่พลาดที่จะมาเฝ้า ชมพระบารมี ทั้งนี้กวีได้เน้นย้าภาพของเหตุการณ์ความตื่นเต้นและความดีใจของชาวเชียงใหม่ที่ จะได้มาเฝ้าชมพระบารมีอีกครั้งโดยสรุปความได้ว่า “หลายคนมาทั้งที่แต่งตัวไม่เสร็จ เมี่ยงไม่ทัน อม ผมไม่ทันเกล้า ลูบแป้งไม่ทั่วหน้า หรือแม้กระทั่งไม่พลาดที่จะเกล้าผมตามแบบพระราชนิยม โดยกว่า ได้เกล่า เยาะเย้ ยว่าไม่ไ ด้เหมาะสมกับตนเองเลย กระทั่งความตอนหนึ่งที่ก ล่าวไว้ว่ า เว้นเสียแต่หมา หมู หนู แมว เท่านั้นที่อยู่เฝ้าบ้าน” และเมื่อเวลามาถึงเจ้าอินทวโรสสุริยงวงศ์ พร้อมด้วยพระยาสุรสีหวิสิษฐ์ศักดิ์ตลอดจนเจ้านาย ข้าราชการทั้งจากกรุงเทพและเวียงเชียงใหม่ รวมไปจนถึงประชาชนที่รวมกันอยู่ ณ ที่นั้นจึงได้พร้อมใจกันถวายพระพรชัยมงคลเพื่อแสดงให้ เห็นถึงความจงรักภักดีอย่างสูงสุด
๒๘
เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ ภาพจาก : นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
เสร็ จจากการจั ดริ้ วขบวนรับเสด็ จแล้ ว เจ้า อิน ทวโรสสุริย งวงศ์ท รงมีดาริใ ห้จัด การ บายศรีทูลพระขวัญ โดยมีบัญชาให้เจ้านายเครือญาติทั้งหลายได้ร่วมแรงร่วมใจ ตลอดจนจัดสรร งานไปตามหน้าที่เพื่อให้งานนี้สาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี การนี้ได้จัดให้มีการจัดทาบายศรี พร้อม ด้วยเครื่องสักการะหัวหมู ตลอดจนของคาวขวานตามแบบอย่างโบราณประเพณี รวมไปถึงมีการ จัดซื้อแม่ช้างในราคา ๕,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นของทูลพระขวัญด้วย เมื่อได้ฤกษ์จึงเคลื่อนขบวนจาก คุ้มเจ้าราชวงศ์ไปยังคุ้มหลวงที่ประทับ ซึ่งเมื่อขบวนไปถึงยังคุ้มหลวงแล้วพิธีการสาคัญต่าง ๆ ก็ เริ่มขึ้น มีการเรียกพระขวัญตลอดจนถวายด้ายผูกข้อพระกรตามแบบอย่างที่ปฏิบัติมาแต่โบราณ ตลอดจนมีการบรรเลงเพลงปี่พาทย์บรรยากาศในวันนั้น อบอวลไปด้วยความรักและความอบอุ่น ในหมู่เครือญาติ ช่วงค่าได้จัดให้มีการเลี้ยงอาหารและมีการแสดงละครตามแบบอย่างในราชสานัก การนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ที่ชุมนุมอยู่ ณ ที่นั้นเข้าเฝ้าอย่างถ้วนหน้า วันต่อมาได้เสด็จพระดาเนินไปนมัสการพระอัฐิพระชนกและพระชนนี ล่วงถึงวันที่ ๑๓ เมษายนทรงมีพระประสงค์ที่จะเสด็จพระดาเนินไปนมัสการศาสนาสถานที่สาคัญของเวียง เชียงใหม่ ตามความที่ปรากฏในคร่าวซอ ดังนี้ เสด็จพระดาเนินไปวัดป่าเป้า วัดเชียงยืน วัดเจดีย์ หลวง วัดหม้อคาตวง วัดเชียงมั่น วันต่อมาเสด็จยัง วัดพระสิงห์ วัดไชยชนะ วัดนันทา วัดสวน ดอก วัดพระเจ้าเก้าตื้อ และวันสุดท้ายยังเสด็จวัดเกศการาม วัดเจ็ดยอด และวัดพระธาตุดอยสุ เทพเป็นสถานที่สุดท้าย ๚๛
๒๙
ปิ่น...ด้วยเกล้ำเหนือหัว สุพจน์ ใหม่กันทะ
*
ผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ ของดินแดนอันแสนไกล สิบสองปันนา เมืองลา เมืองยอง เมือง หลวงพระบาง เมืองเชียงตุง ตลอดจนเมืองเหนือ ดินแดนล้านนา ต่างมีประวัติศาสตร์ความ เป็นมาที่ยาวนานยังทรงคุณค่า อีกทั้งบอกเล่าเรื่องราวของบรรพชนที่ได้ต่อสู้กับสิ่งต่างๆ มากมาย คงหลงเหลือรูปแบบ สถาปัตยกรรม งานหัตถศิลป์ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องชาว “ไท” ทุก ชนชั้น ทุกกลุ่มชาติพันธุ์ จากวิถีชีวิตที่อุดมสมบูรณ์ของชาวล้านนา การนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เช่นผีปู่ย่า ผีป่า ผีขุน น้า ผีเสื้อวัด ผีเสื้อบ้าน ผีเสื้อเมือง ฯลฯ อันอยู่รายล้อมทุกเส้นหญ้าเหนือหน้าแผ่นดิน ล้วนมีผี ทั้งสิ้น โดยที่คาว่า “ผี” นั้นแปลความได้ตั้งแต่วิญญาณ ไล่เรียงไปจนถึงเทวดา เทพเจ้า หรือแม้แต่ ข้อกาหนดในสังคมต่างๆ ด้วย ผี มีทั้งที่เป็นผีดีและผีร้าย แต่ทั้งสองก็สามารถที่จะผันแปรเปลี่ยนไปมาได้ ผีดีเช่น ผีบรรพบุรุษ การนับถือผีบรรพบุรุษเป็นความเชื่อในกลุ่ม “ไท” ทั้งหลายอยู่ แล้วบางทีก็เรียก ผีด้า บางทีก็เรียกผีปู่ย่า บางท้องถิ่น ก็เรียกผีปู่ตา ก็มี แต่คือการนับถือผีบรรพ บุรุษ ที่ลูกหลานให้ความเคารพ และบวกกับความเกรงกลัวไปด้วย เพราะผีปู่ย่าจะช่วยเหลือ ลูกหลานที่ปฏิบัติตามจารีต คลองวัตรต่างๆ และจะลงโทษลูกหลานที่ทาผิดจารีตประเพณีต่างๆ
สาวผีกละ ผีที่ชาวไทยวน - ไทลื้อ - ไทขืน หวาดกลัว ภาพจาก: นิทรรศการงานจุมผี สะหลีลา้ นนา ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เชียงใหม่ *
หัวหน้างานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และ อาจารย์ประจาสาขาสิ่งทอและเครื่องประดับ คณะศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา ภาค พายัพ เชียงใหม่
๓๐
ในบางกรณี ผีปู่ย่าก็อาจจะกลายเป็นผีกละ (อ่านว่า ผี-กะ) ได้ หรือผีที่รับมา หรือซื้อมา ด้วยความประสงค์เรื่องหนึ่งเรื่องใดก็ตาม ที่เชื่อว่า เมื่อเลี้ยงดูแล้วจะอานวยให้เกิดสิ่งที่ปรารถนา ได้ หากเมื่อใดที่ไม่ได้เลี้ยงดี พลีถูก ก็จะกลายเป็นผีที่ชาวล้านนาเกรงกลัวที่สุด นั่นคือ “ผีกละ” ผีกละจะไปเข้าสิงคนอื่น อย่างเบาก็เรียกกินขอกินอาหารต่างๆ เป็นที่อับอายแก่เจ้าตัวผู้เลี้ยงผี อย่างหนักก็อาจจะทาอันตรายผู้เข้าสิงจนถึงแก่ความตายได้ ดังนั้น คนกลุ่ม “ไท” จึงมีความกลัวผี และหาทางหลีกหนีสิ่งชั่วร้ายอย่างที่สุด โดยหาที่ พึ่ง หรือสิ่งที่ปกปักรักษา เพื่อกันภูตผีปีศาจทั้งหลาย และให้ชีวิตประสบพบเจอแต่สิ่งที่ดี สร้าง ขวัญและกาลังใจให้กับผู้คน
ปิ่นเมืองยองผูกติดตะกรุด ที่ประดับศีรษะ กับมวยผมวิดว้อง ภาพจาก: รชตฯ หิรัญญ์
ดังเช่น “ปิ่น” ของกลุ่มชาว “ไท” ที่มีความสวยงามของรูปทรง บ่งบอกถึงชาติพันธุ์ แยกออกเป็ น ดั ง นี้ ปิ่ น ชาวยอง ปิ่ น ล้ า นนา ปิ่ น ขื น มี ลั ก ษณะสามเหลี่ ย ม คล้ า ยกั บ มงกุ ฎ พระพุทธเจ้า อันหมายถึงยอดเขาพระสุเมรุแ ละเขาบริวารอยู่รายรอบ จากยอดแหลมของปิ่น แสดงถึงความเพียรพยายามของช่างที่ประดิษฐ์คิดค้น ความประณีตของงานศิลป์ ปิ่นบางชิ้น ประดับด้วยอัญมณีที่บ่งบอกถึงสถานะของผู้ใช้ ว่ามีฐานะดี มีอันจะกิน ถึงแต่งหย้องครัวงาม มี ราคาค่าสิน วัสดุที่ใช้ทาปิ่นคือโลหะ เช่น ทอง เงิน นาก มีความคงทน ถาวร สวยงาม สามารถขัดให้ ขึ้นเงาได้อย่างงดงาม ในเชิงอุดมคติ “ปิ่น” เป็นของสูง ใช้ประดับมวยผม กันภูตผีปีศาจ สังเกตจากปิ่นของ ชาวลื้อชาวยองในเมืองม้า เมืองลา เขตจังหวัดเชียงตุง รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์ จะมีตะกรุด ๓๑
หรือยันต์ ซ่อนไว้ในมวยผมหรือโชว์ความงดงามของโลหะผสมฝ้ายสีแดง ในขั้นแรก ที่ผู้เขียนได้ เห็นนั้นก็ยังนึกสงสัยว่าคืออะไร ต่อเมื่อได้สอบถาม จึงได้ความว่าเป็นยันต์กันผีกละ และเรื่อง ผีกละกับท้องถิ่นแถบนั้น ก็ยังมีความเข้มข้นอยู่มากกว่าล้านนาในปัจจุบัน จากวั ฒนธรรมการใช้ปิ่ นของชาว “ไท” แต่ ล ะชาติพัน ธุ์บ่งบอกถึงความเชื่อ ความ สวยงาม การแสดงถึงสถานะของผู้ใช้ รสนิยม ที่มีความลงตัว สวยงาม ตามแบบฉบับของแต่ละ ชาติพันธุ์๚๛
แม่ค้าชาวไทลื้อเมืองลาเกล้าผม ปักปิ่นผูกตะกรุด และเสียบดอกมหาหงส์ ภาพจาก: รชตฯ หิรัญญ์
๓๒