หนังสือข่าวทหารอากาศ ฉบับเดือน ธันวาคม 2558

Page 1






พระบรมราโชวาท “...ความจงรักภักดีตอ่ ชาตินนั้ คือ ความสำ�นึกตระหนักในคุณของแผ่นดินอันเป็น ที่เกิดที่อาศัย ซึ่งทำ�ให้บุคคลเกิดความภูมิใจในชาติกำ�เนิด และมุ่งมั่นที่จะธำ�รงรักษา ประเทศชาติไว้ให้เป็นอิสระ มั่นคง ความรู้สึกสำ�นึกเช่นนี้ จึงควรจะมีฝังแน่นในจิตใจ ของทหารทุกคน...” พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙


ข่าวทหารอากาศ

คณะผู้จัดทำ�หนังสือข่าวทหารอากาศ เจ้าของ

กองทัพอากาศ

ที่ปรึกษา

พล.อ.อ.สมศักดิ์ วรฉัตร พล.อ.ต.หญิง มาลี ดิษฐบรรจง

พล.อ.ท.ประพัตรา ตัณฑ์ไพโรจน์ พล.อ.ต.หญิง สุมาลี ฤทธิบุตร

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

พล.อ.ต.ธนบดี อุตะมะ พล.อ.ต.น้อย ภาคเพิ่ม น.อ.ไววิทย์ เสือดี น.อ.ศุภโชติ ชัยวงษ์ น.อ.กานต์ชนก หันหาบุญ น.อ.วันชัย บุญภักดี

พล.อ.ต.นพดล บุญมั่น พล.อ.ต.สำ�เริง พูลเพิ่ม น.อ.ขวัญกล้า นกเอี้ยงทอง น.อ.วันชัย พึ่งเจียม น.อ.หญิง วิภาดา ชนไมตรี น.อ.ณรงค์ศักดิ์ พิชิตชโลธร

ผู้อำ�นวยการ

พล.อ.ท.ฌเณศ ชลิตภิรัติ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ

รองผู้อำ�นวยการ

พล.อ.ต.คุณทร มณีเขียว เสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ น.อ.อัมพร ทองถม รองเสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ผู้จัดการ น.อ.สหัสชัย มาระเนตร ผู้ช่วยผู้จัดการ น.ท.ชาญยุทธ รัตนสาลี กองบรรณาธิการ บรรณาธิการ พล.อ.ท.ฌเณศ ชลิตภิรัติ ผู้ช่วยบรรณาธิการ น.อ.หญิง ธัญญาภรณ์ พันธุ์เพ็ง น.ท.ชาญยุทธ รัตนสาลี ประจำ�กองบรรณาธิการ น.อ.หญิง วรรณิภา ยี่ประชา น.อ.นิพนธ์ ก่อสินค้า น.อ.หญิง วัลภาภรณ์ มูลละ น.ท.สินธพ ประดับญาติ น.ท.หญิง ยุพเรศ วงศ์มีศักดิ์ พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห์ กองจัดการ น.ท.หญิง สุภาวดี โคตรเวียง ร.อ.สุวัฒน์ ประชากูล ร.ต.ชัดชัย ชาวดร พ.อ.อ.หญิง เฉลา แก้วยศ นาง อมรา หัตถมาศ

หนังสือข่าวทหารอากาศ

ความเป็นมา

หนังสือข่าวทหารอากาศ เป็นนิตยสารรายเดือนของกองทัพ อากาศ เริ่มดำ�เนินการเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓ ขึ้นกับกรมข่าวทหารอากาศ มีนาวาอากาศเอก สกล รสานนท์ เป็นบรรณาธิการคนแรก ดำ�เนินการ โดยทุนของข้าราชการทหารอากาศ ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๙๘ ได้โอนกิจการ มาอยู่ในความอำ�นวยการของกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ตามคำ�สั่ง ทอ. (เฉพาะ)ที่ ๕๘๐/๙๘ ลง ๒๓ ธ.ค.๒๔๙๘ ๑ ม.ค.๒๕๕๓ ได้เข้าอยู่ในกิจการสวัสดิการกองทัพอากาศ กำ�กับดูแลโดยคณะอนุกรรมการบริหารวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์กองทัพ อากาศ ตามอนุมัติ ผบ.ทอ./ประธานกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ เมื่อ ๒๘ ธ.ค.๕๒ กำ�หนดให้ใช้ระเบียบคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพ อากาศ ว่าด้วยการบริหารวารสารและสือ่ สิง่ พิมพ์กองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๕๒

ภารกิจ

ดำ�เนินกิจการหนังสือข่าวทหารอากาศ ให้เป็นไปตามนโยบายของ คณะอนุกรรมการบริหารวารสารและสือ่ สิง่ พิมพ์กองทัพอากาศ มีผอู้ �ำ นวยการ หนังสือข่าวทหารอากาศ (จก.ยศ.ทอ.) เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในกิจการทั่ว ๆ ไป ๒. เพือ่ แลกเปลีย่ นแสดงความคิดเห็นในด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม อันจะ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ๓. เพื่อเผยแพร่กิจการกองทัพอากาศ

การดำ�เนินงาน

๑. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น ที่เป็น ประโยชน์ในการพัฒนากองทัพและส่วนรวม ๒. เรื่องที่นำ�ลงในหนังสือข่าวทหารอากาศ - ต้องไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์/นโยบาย กองทัพอากาศ - ต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ บุคคล หรือ ส่วนรวม - ต้องได้รับการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะกรรมการ พิจารณาเรื่องของสำ�นักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ

กำ�หนดการเผยแพร่

นิตยสารรายเดือน

สำ�นักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ www.airforcemagazine.rtaf.mi.th ห้อง ๑๐๑ อาคารหอสมุดกองทัพอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กทม. ๑๐๒๑๐ โทร. ๐-๒๕๓๔-๔๔๗๑, ๐-๒๕๓๔-๔๒๔๑ Fax. ๐-๒๕๓๔-๔๔๗๑

พิมพ์ที่ บริษัท ปรีชาธร อินเตอร์พริ้น จำ�กัด ๔/๕ ซอย รามอินทรา ๔๒ แยก ๘ แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กทม. ๑๐๒๓๐ โทร. ๐๒-๙๓๐-๗๐๕๓-๔ แฟกซ์ ๐๒-๙๓๐๗๐๕๐ ค่าสมาชิกภายนอกปีละ ๓๕๐ บาท (รวมค่าส่ง) สั่งจ่าย ปณ.คลองถนน ๑๐๒๒๒

ความคิดเห็นของผู้เขียนในหนังสือฉบับนี้ ไม่มีส่วนผูกพันกับทางราชการแต่ประการใด ภาพที่ลงในหนังสือข่าวทหารอากาศนำ�มาจาก google.com ออกแบบปก : น.ท.สินธพ ประดับญาติ/จ.ท.หญิง รัฐพร เตชะสินทวี E-mail: rtafmag@gmail.com


ปีที่ ๗๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือน ธันวาคม ๒๕๕๘

สารบัญ

๓๑

๙ บทบรรณาธิการ ๑๐ ภาพเก่าเล่าเรือ่ ง ...ฒ.ผู้เฒ่า ๑๑ บทอาเศียรพาทพระภูมิพลมหาราชสดุดี ...น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ๑๒ ดวงใจไทยทั้งชาติ ...พชร ๑๕ ประโยชน์สุขของแผ่นดิน : เมืองน่าอยู่ ...ตามรอย ๑๙ บทบาทกองทัพอากาศกับการก้าวสู่ประชาคม อาเซียน ...น.ท.พร้อมรบ จันทร์โฉม ๒๖ บอดี้การ์ด ปฏิบัติการอารักขาบุคคลสำาคัญ ...พ.อ.อ.จักราพิชญ์ อัตโน ๓๑ IoT (สิ่งของสมองกล) กับทิศทางใหม่ ของโลก ...น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์ ๓๗ Fighting Club RTAFA ชมรมศิลปะป้องกันตัว รร.นนก. ...นนอ.เอกอัคร โพธิ์ทอง และ นนอ.ทศวรรษ สง่าเนตร ๔๑ ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน (ศบปพ.) ...พล.อ.อ.ปรีชา ประดับมุข ๔๗ อาวุธนำาวิถีพิสัยใกล้ (Short-Range Missiles) ...น.อ.อนุชา เครือประดับ สทป. ๕๔ ลชทอ.๒๗ สายวิทยาการสารสนเทศและ สงครามอิเล็กทรอนิกส์ของกองทัพอากาศ ...กนผ.สนผ.ทสส.ทอ. ๕๗ เรื่องเล่าจากแฟ้มการยุทธทางอากาศ ...พล.อ.อ.สมศักดิ์ วรฉัตร

๔๗

๖๑ ภาษาไทยด้วยใจรัก : คำานี้เขียนอย่างนี้ ...นวีร์ ๖๓ ปริศนาอักษรไขว้ ...มีน ๖๕ ครูภาษาพาที : ว่าด้วยเรื่อง... ก.เอ๋ย ก.ไก่ (ตอนที่ ๑) ...PJ the Piglet ๖๙ เวลาการ์ตูน ...มิสกรีน ๗๑ รอบรู้...อาเซียน : เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ประชาคมอาเซียน ...@ Zilch ๗๒ มุมสุขภาพ : รอบรู้เรื่องเอดส์ 360˚ ...STAR DESTINY ๗๔ เครื่องหมายโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ ...ปชส.รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ. ๗๕ จ่าอากาศ คือ หัวใจของกองทัพ ...กกศ.รร.จอ.ยศ.ทอ. ๗๘ งูในรังพญาอินทรี : ภารกิจตั้งรับ ในแอฟริกาเหนือ ...น.อ.วัชระ สกุลรัตน์ ๘๔ เฉลยปริศนาอักษรไขว้ ธ.ค.๒๕๕๘ ...มีน ๘๕ มุมกฎหมาย : ไม่ทำา พ.ร.บ. คุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ ชำาระภาษีรถประจำาปี ได้หรือไม่ ...ร.ท.ชานุวัฒน์ แสงสุวรรณ ๘๗ ขอบฟ้าคุณธรรม : เป็นคนทำางานเพื่อ จุดหมายของงาน ...1261 ๙๐ รายชื่อผู้โชคดีจากการตอบแบบสอบถามฯ ๙๑ ในรั้วสีเทา


บทบรรณาธิการ

สวัสดีครับ สมาชิกหนังสือข่าวทหารอากาศทุกท่าน

วันที่ ๕ ธันวาคมของทุกปีเป็น วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถ และพระอัจฉริยภาพในทุก ๆ ด้าน ทรงบำ�เพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ เพื่อประชาชนของพระองค์ ทัง้ ในยามบ้านเมืองปกติและในเวลาทีบ่ า้ นเมืองอยูใ่ นสภาวะเดือดร้อนจากภยันตรายต่าง ๆ ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก มีพระราชหฤทัยประกอบไปด้วยพระเมตตากรุณาอยูเ่ นืองนิตย์ ด้วยพระราชประสงค์จ�ำ นงหมายจะให้ประชาชนทัง้ หลาย มีความเจริญร่มเย็นเป็นสุขทั่วหน้า พระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจของคนไทยทั้งชาติ ดังบทความในฉบับ “ดวงใจ ไทยทั้งชาติ” จึงใคร่ขอเชิญชวนสมาชิกทุกท่านร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ ๕ ธันวาคม และเข้าร่วมกิจกรรม “ปัน่ เพือ่ พ่อ BIKE FOR DAD” ในวันศุกร์ท่ี ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๕.๐๐ น. ในโอกาสนี้คณะผู้จัดทำ�หนังสือข่าวทหารอากาศ ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัย ขอให้พระสยามเทวาธิราช ปกปักษ์รักษาพระองค์ท่าน ให้แคล้วคลาดจากภัยอันตรายใด ๆ ทั้งปวง ขอพระองค์ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย ตราบนานเท่านาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ฉบับนี้มีบทความที่น่าสนใจหลายเรื่อง อาทิ IoT (สิ่งของสมองกล) กับทิศทางใหม่ของโลก ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งของและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยผ่านระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งควบคุมการทำ�งานผ่าน แอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์บนสมาร์ทโฟน ทำ�ให้สะดวกและมีประโยชน์มากมายแก่ผู้ใช้ในโลกยุคดิจิทัล นอกจากนี้ยังมี บทความเกี่ยวกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยีอาวุธให้ติดตามในเรื่อง อาวุธนำ�วิถีพิสัยใกล้ (Short-Range Missiles) ทีม่ บี ทบาทสำ�คัญอย่างยิง่ ในการโจมตีทางอากาศทัง้ จากกองทัพอากาศ กองทัพเรือ นาวิกโยธิน และมีใช้เฉพาะประเทศ มหาอำ�นาจบางประเทศเท่านั้น และบทความที่เกี่ยวกับกองทัพอากาศเข้าไปมีส่วนช่วยเหลือรัฐบาล เพื่อแก้ไขปัญหา การกำ�กับดูแลและพัฒนาการบินพลเรือนของประเทศไทย เรื่อง ศูนย์บัญชาการแก้ปัญหาการบินพลเรือน (ศบปพ.) คณะผูจ้ ดั ทำ�หนังสือข่าวทหารอากาศ ขอขอบคุณสมาชิกทุกท่านทีไ่ ด้กรุณาตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ ทีม่ ตี อ่ หนังสือข่าวทหารอากาศ และขอน้อมรับคำ�แนะนำ�ทัง้ หมดไปพิจารณาและดำ�เนินการพัฒนาปรับปรุงให้ดยี งิ่ ๆ ขึน้ สมาชิกสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้โชคดีจากการตอบแบบสอบถามได้ที่หน้า ๙๐ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ อาเซียนจะก้าวสู่การเป็น ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งเป็น โอกาสดีที่จะได้แสดงให้โลกเห็นถึง ความเข้มแข็ง ความสามัคคี และการรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ดังคำ�ขวัญอาเซียน หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม (One Vision, One Identity, One Community)  บรรณาธิการ 


ภาพเก่าเล่าเรื่อง

ฒ.ผู้เฒ่า

วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๒๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรการแข่งขันใช้อาวุธทางอากาศ ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี โดยมี พลอากาศเอก ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศขณะนั้น ถวายการต้อนรับ

ที่มา : หนังสือ ๔ แผ่นดินราชวงศ์จักรี ๑๐๐ ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ


(

)


พชร ในป พ.ศ.๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวขึ้นครอง ราชสมบัติ ในขณะนั้นเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยยังคง บอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งขณะนั้นประเทศไทยยังดอย การพัฒนาในแทบทุกดาน คนเจ็บ คนปวย คนที่ไมรูหนังสือ มีอยู มากมาย ความทุกขยากปกคลุมไปทุกหยอมหญา พวกเขาแทบ ไมรูวา ชีวิตจะดีขึ้นกวาที่เปนอยูไดอยางไร พวกเขาไมเคยคาดฝน วาวันหนึ่งความชวยเหลือจะเดินทางมาถึง และพวกเขาไมเคยคิด เลยดวยวาจะไดเห็นพระเจาอยูหัวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียน ราษฎรไปทัว่ ทุกภูมภิ าคของประเทศ ไมเวนแมกระทัง่ พืน้ ที่ เสี่ยงภัยอันตรายจากการกอการรายในขณะนั้น ในพื้นที่ หางไกลนั้นเองทรงศึกษาสภาพทางภูมิศาสตรและสังคม ไปพรอม ๆ กัน ดวยพระราชประสงคที่จะเขาใจถึงความ เดือดรอนและความตองการของราษฎร ในที่สุดทรงพบวา ปญหาที่ราษฎรประสบตลอดมา คือ ความยากจน


ในปี พ.ศ.๒๔๙๕ โครงการพระราชดำ�ริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ�แห่งแรก คือ การสร้างอ่างเก็บน้ำ�เขาเต่า ก็เกิดขึ้น มีการสร้างถนนห้วยมงคล นำ�ความเจริญสู่ราษฎร อ.หัวหิน จว.ประจวบคีรีขันธ์ ปัจจุบันโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำ�ริมีมากกว่า ๔,๑๐๐ โครงการ เทียบกับระยะเวลาการครองราชย์กว่า ๖๐ ปีนั้น หากคิดตัวเลข คร่าว ๆ ก็คือ ๑ สัปดาห์ ต่อ ๑ โครงการ แต่ปัญหาของบ้านเมืองในเวลานั้นไม่ได้มีเพียงแค่ความอ่อนด้อยด้าน สาธารณูปโภคพื้นฐานและคุณภาพชีวิตเท่านั้น เพราะ ๑๐ ปีต่อมา คือ ช่วงเวลาที่ทรงเยียวยา หาวิธียุติความขัดแย้ง ทางความคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองของคนไทยด้วยกันเอง การทรงงานในการแก้ปัญหาให้ราษฎรเป็นงานที่ไม่มีวันหยุด และไม่ได้ทำ�เพื่อใครคนใดคนหนึ่ง อาจเป็น คนในอดีตพื้นที่สีแดง ที่เอาชนะความแห้งแล้งของดินแดนที่ราบสูง และหันมาอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืนได้ สำ�เร็จหรือเขาอาจเป็นคนบนดอยสูงที่กำ�ลังสร้างชีวิตใหม่ สู่วิถีทำ�กินแบบพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง ก็เปรียบเสมือนอาวุธที่ใช้ต่อสู้กับความยากจนได้อย่างประสบผลสำ�เร็จ ซึ่งมีพระราชดำ�ริ ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๗ แล้ว และต่อมาก็ได้ทรงพระราชทานย้ำ�อีก ด้วยทรงเห็นว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเตือนสติพวกเราให้มคี วามพอกินพอใช้เป็นพืน้ ฐานก่อนจะนำ�ไปสูเ่ ป้าหมาย คือ ความมั ่ น คงของประเทศ หากคนไทยทุกคน ทุกหน่วยงาน ทำ�ความเข้าใจ และเห็นคุณค่าในสิ่งที่พระองค์ ท่านทรงทำ� ทรงสอน โดยนำ�แนวทางพระราชดำ�ริจาก ๔,๑๐๐ โครงการไปใช้ ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งใดก็ตามแล้วประสบ ความสำ�เร็จ สามารถแก้ปัญหาความยากจน ทำ�ให้ชาวไทยรู้สึกตื้นตันใจที่สุดที่ได้เกิดในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว


เศรษฐกิจพอเพียง ทำ�ให้ทั่วโลกต้องหันมามองในสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับคนไทย ทฤษฎีของพระองค์เป็นเรื่องสากล มันเป็นเรื่องที่ใช้ที่ ไ หนก็ ไ ด้ จนกระทั่งองค์กรสากลนานาชาติได้ถวายรางวัลเพื่อแสดงการยอมรับว่า สิ่งที่พระองค์ทรงทำ�นั้น ไม่ได้ทำ�เพื่อคนไทยเท่านั้น แต่ทำ�เพื่อชาวโลกด้วย ดังนั้นองค์การสหประชาชาติจึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลและสดุดีพระเกียรติคุณ ดังคำ�กราบบังคมทูลของอดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ที่ว่า "รางวัลความสำ�เร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์นี้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีปณิธาน ที่จะส่งเสริมประสบการณ์และนำ�แนวทางการปฏิบัติในการนำ�ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันทรงคุณค่าอย่างหาที่สุดมิได้ของพระองค์ท่านมาช่วยจุดประกายแนวความคิดในปรัชญา ดังกล่าวสู่นานาประเทศต่อไป ในโอกาสนี้ข้าพระพุทธเจ้ามีความปลื้มปีติและภาคภูมิใจทูลเกล้า ทูลกระหม่อมถวายรางวัลความสำ�เร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่ใต้ฝา่ ละอองธุลพี ระบาท" พระองค์ท่ รงได้รับการสดุดีพระเกียรติคุณจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ UNDP ว่าพระองค์ทรงเป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา นักเผยแพร่แนวคิด และนักปฏิบัติ ที่เป็น ตัวอย่างที่ดีที่สุด ทรงเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของผู้นำ�ที่อาจไม่เหมือนใครในโลก แต่สิ่งทีโ่ ลก สามารถเรียนรูไ้ ด้จากพระองค์ คือ ความรักและแรงบันดาลใจอันยิง่ ใหญ่ในการทำ�ทุกอย่าง เพื่อความอยู่ดีมีสุขของพสกนิกรของพระองค์สมดังที่พระองค์ทรงเป็น "ดวงใจไทยทั้งชาติ"


ประโยชน์สุขของแผ่นดิน

เมืองน่าอยู่ ตามรอย

“...ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม อันเนื่องมาจากมลพิษ

หรือความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในที่หนึ่งที่ใดก็ตาม ย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงที่อื่น ๆ ด้วย เหตุนี้ทุกคนทุกประเทศในโลก จึงย่อมมีส่วนรับผิดชอบอยู่ด้วยกัน ทั้งในการแก้ไข ลดปัญหา และปรับปรุงสร้างเสริมสภาวะแวดล้อม ให้กลับคืนมาสู่สภาพ

อันจะเอื้อต่อการมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขของตนเองและเพื่อนมนุษย์...” พระราชดำ�รัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ด้วยพื้นที่เพียง ๑,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร แต่ต้องรองรับประชากรมากกว่า ๑๐ ล้านคน แทบทุกตารางนิ้ว ของกรุงเทพมหานคร จึงแออัดไปด้วยตึกรามบ้านช่อง โรงงานอุตสาหกรรม การเติบโตของเมืองสั่งสม ความไร้ระเบียบ เพราะขาดการวางผังเมืองตั้งแต่เริ่มต้น ปัญหาต่าง ๆ ในเขตชุมชนเมือง ล้วนกระทบถึงกัน ความซับซ้อนนี้ทำ�ให้การแก้ไขปัญหาไม่สามารถจบลงที่การเยียวยาเฉพาะจุด


อำ�เภอพระประแดง อีกฝั่งของแม่นำ�้ เจ้าพระยา แม่นำ�้ สายเดียวกับที่หล่อเลี้ยงเมืองกรุงเทพฯ กลับมี สภาพต่างออกไป ที่นี่กลายเป็นปอดของคนเมือง แม้ในช่วงเวลาที่เร่งด่วนรถราบนท้องถนนก็ยังไม่หนาแน่น แต่หากย้อนกลับไปเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว ภาพที่เห็นคงไม่ใช่แบบที่เห็นในปัจจุบัน หลายปีก่อนคนพระประแดง ต้องทนอยู่กับทุกข์ ไม่ต่างจากคนกรุงเทพฯ พวกเขาไม่เพียงเผชิญกับปัญหารถติดอย่างสาหัส การขาดพื้นที่สีเขียว แต่ยงั รวมถึงปัญหาน้�ำ ท่วมซึง่ เกิดขึน้ เป็นประจำ�ทุกปี หากมองจากภาพถ่ายดาวเทียมจะเห็นว่า อำ�เภอพระประแดง มีลักษณะคล้ายกระเพาะหมูโอบล้อมด้วยแม่น้ำ�เจ้าพระยา การเดินทางของสายน้ำ�ออกสู่ทะเลใช้เวลาประมาณ ๘ ชั่วโมง ดังนั้นเมื่อถึงฤดูน้ำ�หลากการระบายน้ำ�อาจไม่ทันช่วงเวลาที่น้ำ�ทะเลหนุนสูง บริเวณกระเพาะหมูแห่งนี้ จึงประสบปัญหาน้ำ�ท่วมขังเป็นประจำ�ทุกปี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำ�เนิน ทรงเปิดประตูระบายน้ำ�คลองลัดโพธิ์

ในปี พ.ศ.๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ได้พระราชทานพระราชดำ�ริ ให้หน่วยราชการทีเ่ กีย่ วข้อง ร่วมกันศึกษาและดำ�เนินการปรับปรุงขุดลอกคลองลัดโพธิ์ ซึ่งเป็นคลองสายเล็ก ๆ ที่ลัดจากแนวเหนือ - ใต้ของ คุง้ น้�ำ เจ้าพระยา พร้อมทัง้ ติดตัง้ ประตูกนั้ น้�ำ เพือ่ ป้องกัน น้ำ�ทะเลด้วยความยาวเพียง ๖๐๐ เมตร คลองลัดโพธิ์ ช่วยย่นระยะเวลาของสายน้ำ�ที่ออกสู่ทะเลจาก ๘ ชัว่ โมง เหลือเพียง ๑๐ นาที คลองลัดโพธิจ์ งึ ไม่เพียง ช่วยแก้ปญั หาให้กบั คนในชุมชนพระประแดงเท่านัน้ แต่ ยังช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยให้กับคนฝั่งกรุงเทพฯ ด้วย

ในปี พ.ศ.๒๕๕๔ เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่สำ�หรับคนไทย โครงการคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ ช่วยประชาชนที่อยู่ละแวกกรุงเทพฯ ในขณะนั้นคนพระประแดงค่อนข้างกังวลกับข่าวที่ออกมาตามหน้าสื่อ ว่าน้ำ�ท่วมระดับสูงมากจะต้องท่วมกรุงเทพฯ สำ�หรับคนพระประแดงในท้องถิ่น กรมชลประทานได้ให้ข้อมูล ดูแลปัญหาน้ำ�ท่วมเป็นอย่างดี เพราะพวกเขาทราบว่าปริมาณน้ำ�ที่ไหลจากประตูบางไทร มีความเร็วน้ำ� ๓,๙๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งประตูน้ำ�สามารถรับได้เกินกว่านั้น จะเห็นว่าในปีที่ผ่านมาพื้นที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ บางพลัด ราชบูรณะ คลองสาน ผ่านมาจนถึงพระประแดงไม่ประสบปัญหาเรื่องน้ำ�ท่วม


ภาพตำ�รวจจราจรโครงการพระราชดำ�ริ อุ้มทารกแรกเกิด

ตำ�รวจจราจรโครงการพระราชดำ�ริ กว่า ๑๐ ปีแล้วที่เหล่าตำ�รวจจราจรโครงการพระราชดำ�ริ ไม่เพียงทำ�หน้าทีเ่ อือ้ ให้การจราจรบนท้องถนนเป็นไปอย่างราบรืน่ แต่พวกเขายังรับบทบาท “แพทย์ท�ำ คลอด” ในยามทีห่ ลายชีวติ ไม่อาจรอสัญญาณไฟได้ นีเ่ ป็นหนึง่ ในโครงการทีเ่ กิดจากพระราชดำ�ริในการแก้ปญ ั หาการจราจร ปัญหาที่ขึ้นชื่อว่าแก้ไขยากที่สุดอีกปัญหาหนึ่งในกรุงเทพฯ “ตำ�รวจจราจร หน้าที่หลักก็คือ อำ�นวยการจราจร แก้ไขปัญหาจราจร พอลงไปยืนบนถนนปัญหาที่พวกเขาพบก็คือ มีผู้ป่วย หญิงตั้งครรภ์ใกล้จะคลอด ผู้บาดเจ็บ จากอุบัติเหตุ ที่เขาจะต้องนำ�ส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้เป็นทุนเริ่มต้น เพื่อให้กรมตำ�รวจนำ�ไปจัดทำ� โครงการเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร กรมตำ�รวจได้สนองพระบรมราชโองการนำ�กำ�ลังตำ�รวจจราจร ๑๕๐ คน ฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการช่วยคลอดฉุกเฉิน ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือการปั๊มหัวใจ ในผู้ป่วยโรคหัวใจ ทักษะต่าง ๆ เหล่านี้เขาก็ได้รับการถ่ายทอดมาจากแพทย์พยาบาลผู้ชำ�นาญการ” ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม ได้ช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นความตาย เฉพาะหน้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำ�ริในการแก้ไขปัญหาทั้งระบบ โดยเชื่อมโยงโครงข่าย คมนาคมจากในเมืองออกสู่ปริมณฑลและเขตอุตสาหกรรมต่าง ๆ ถนนวงแหวนอุตสาหกรรมเป็นถนนสายหนึ่ง ที่ช่วยคลี่คลายปัญหาการจราจรได้ เดิมพื้นที่กระเพาะหมูมีถนนหลักเพียงสายเดียว คือ ถนนเพชรหึงษ์ ในอดีต รถบรรทุกจำ�นวนมากข้ามแพมาจากพระประแดง ทำ�ให้การจราจรติดขัดในช่วงเวลาแห่งความเป็นความตาย หลายชีวิตก็ไม่อาจข้ามพ้นวิกฤตได้


โครงการถนนวงแหวนอุตสาหกรรม ทำ�ให้รถบรรทุกสามารถข้ามผ่านแม่น�้ำ ไปมาได้สะดวกขึน้ โดยไม่จ�ำ เป็น ต้องใช้เส้นทางด้านล่างเพื่อรอขึ้นแพขนานยนต์อีกต่อไป โครงการถนนวงแหวนอุตสาหกรรมยังเปรียบเสมือน จิก๊ ซอว์ตวั สุดท้ายซึง่ เชือ่ มโยงเส้นทางคมนาคมจากกรุงเทพฯ ออกสูป่ ริมณฑลตัง้ แต่พทุ ธมณฑล ผ่านทางคูข่ นาน ลอยฟ้าสะพานพระราม ๘ ถนนราชดำ�เนิน ถนนศรีอยุธยา บึงมักกะสัน ถนนพระราม ๙ ต่อไปจนถึงถนน สายกรุงเทพฯ - ชลบุรี สายใหม่ โดยแนวถนนทั้งหมดนี้ผู้ใช้ไม่ต้องจ่ายค่าผ่านทาง ตามสถิติของสำ�นักงานตำ�รวจ แห่งชาติ พบว่า อุบัติเหตุบนท้องถนนซึ่งเพิ่มปัญหาการจราจรติดขัดนั้นกว่า ๘๐% เกิดจากการไม่ปฏิบัติตาม กฎจราจร ทั้งการฝ่าไฟแดง การใช้ความเร็วกว่าอัตราที่กำ�หนดไว้ แนวพระราชดำ�ริในการแก้ปัญหา ที่ถือเป็นรากฐานความสงบสุขบนท้องถนน คือ การเคารพกฎจราจร อย่างเคร่งครัด ซึง่ รวมทัง้ ผูข้ บั ขี่ คนเดินถนน และเจ้าหน้าทีท่ เี่ กีย่ วข้อง หลายครัง้ ทีก่ ารแก้ไขปัญหาในเมือง พระองค์ ไม่ได้ใช้วธิ กี ารทีซ่ บั ซ้อน แต่ทรงมองปัญหาอย่างเป็นระบบ และใช้แนวพระราชดำ�ริในการจัดการตามหลักธรรมชาติ ตัวอย่างหนึ่ง คือ การแก้ปัญหาน้ำ�เสีย ทั้งด้วยวิธีการใช้น้ำ�ดีไล่น้ำ�เสีย การใช้พืชน้ำ� รวมถึงเครื่องจักรกลอย่างง่าย ๆ หลักการของพระองค์ทา่ น คือ ใช้เครื่องมือเติมอากาศให้กับน้ำ� เป็นทฤษฎีทถี่ ูกต้องชัดเจน น้ำ�เน่าเสีย เพราะ ออกซิเจนเป็นศูนย์กเ็ ติมอากาศให้กบั น้�ำ เครือ่ งมือง่าย ๆ ก็ทรงออกแบบ ทีเ่ ราเห็นเป็นเครือ่ งกังหันน้�ำ ชัยพัฒนา เริ่มแรกทรงออกแบบว่า ทำ�อย่างไรให้หมุนเพื่อตักน้ำ�ขึ้นมาโปรยในอากาศ ทฤษฎีอันนี้ทรงได้รับมาจากการ ที่ทรงเสด็จภาคเหนือ แล้วก็ไปทอดพระเนตรหลุก หลุกเป็นเครื่องมือประเภทภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่วิดน้ำ� เป็นเครื่องมือประเภทสูบน้ำ�ขึ้นที่สูง พระองค์ทรงใช้ทฤษฎีปรับจากหลุกมอเตอร์เล็ก ๆ ใส่เข้าไปหมุนตักน้ำ� ขึ้นมาโปรยในอากาศเพื่อเติมออกซิเจนในน้ำ� แนวพระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนเมืองนั้น ไม่ได้มุ่งเน้นให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเข้ามารับผิดชอบ หากแต่หัวใจสำ�คัญในการแก้ปัญหากับอยู่ที่ความร่วมมือ ของชุมชน เรื่องราวของชุมชนพระประแดง ชุมชนเมืองที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ทำ�ให้เข้าใจความหมายของ เมืองที่น่าอยู่ได้ “เมืองน่าอยู่” อาจไม่ใช่เมืองที่สะดวกสบาย การจราจรไม่ติดขัด มีสวนสาธารณะขนาดใหญ่ หรือแม่นำ้�ลำ�คลองที่ใสสะอาด หากแต่เมืองที่น่าอยู่เป็นเมืองที่คนในชุมชนมีจิตสำ�นึกความรับผิดชอบต่อการ ใช้พื้นที่สาธารณะ เพราะนี่คือ บ้านหลังใหญ่ของพวกเราทุกคน 


น.ท.พร้อมรบ จันทร์โฉม

“หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม” “One Vision, One Identity, One Community” (ต่อจากฉบับที่แล้ว)

จากการรวมตัวของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๔ จนในปัจจุบันมี สมาชิกจำ�นวน ๑๐ ประเทศ (บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม) ผูน้ �ำ ของแต่ละประเทศร่วมกันจัดตัง้ กลไกความร่วมมือ คือ การประชุมสุดยอดผูน้ �ำ อาเซียน และในปี ๒๕๕๐ มีมติยอมรับในหลักปฏิบัติเรียกว่า “กฎบัตรอาเซียน” เป็นเสมือนรัฐธรรมนูญแรกของอาเซียน อันเป็นแนวทางปฏิบตั ทิ เี่ ป็นรูปธรรม จากพัฒนาการทีม่ ขี นึ้ ในทุก ๆ ปีของการประชุมสุดยอดผูน้ �ำ อาเซียน จนกระทัง่ ในปี ๒๕๔๙ ได้มีการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนขึ้น ซึ่งเป็นก้าวแรกที่สำ�คัญในการยกระดับความร่วมมือ ทางทหารของอาเซียนให้เทียบเท่ากับความร่วมมือด้านอืน่ ๆ และในปี ๒๕๕๒ ทีป่ ระชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ได้รับรองแผนงานการจัดตั้งการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC Blueprint) โดยกำ�หนดไว้เป็นแนวทาง การดำ�เนินงาน ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๒ - ๒๕๕๘ กระทรวงกลาโหมได้จัดทำ�แนวทางปฏิบัติเพื่อรองรับแผนงานนี้ขึ้น และได้แจกจ่ายให้หน่วยขึ้นตรงสำ�นักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย และ ๓ เหล่าทัพ ใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติและดำ�เนินกิจกรรมในกรอบอาเซียนจนประสบความสำ�เร็จเมื่อปี ๒๕๕๖ ซึ่งสามารถ จัดการประชุม สัมมนา และการฝึกในประเทศ รวมทั้งได้จัดส่งกำ�ลังพลและยุทโธปกรณ์ เข้าร่วมการประชุม สัมมนา และเข้าร่วมการฝึกภาคสนามในความร่วมมือทุกด้านภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence Ministers’ Meeting: ADMM) และกรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรี กลาโหมอาเซียนประเทศคู่เจรจา (ASEAN Defence Ministers’ Meeting-Plus: ADMM-Plus) และกรอบ การประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum: ARF) เป็นต้น ในส่วนกลไกความร่วมมือของกองทัพอากาศนัน้ หลังจากทีร่ ฐั บาลริเริม่ แนวคิดในด้านความมัน่ คงอาเซียน และเริ่มมีการประชุม ADMM ครั้งที่ ๑ ในปี ๒๕๔๗ ไปแล้ว ในส่วนความร่วมมือระหว่าง ทอ. - ทอ.มิตรประเทศ ได้ริเริ่มการจัดการประชุม ผบ.ทอ.อาเซียน ด้วยเช่นกัน


๒๐ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

การประชุม ผบ.ทอ.อาเซียน ครั้งที่ ๑ จัดขึ้นเมื่อ ๒๗ มี.ค.๔๗ ณ ราชอาณาจักรไทย โดย พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา ผบ.ทอ.ขณะนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์และเสริมสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่าง ทอ.อาเซียน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความมั่นคงในภูมิภาคต่อไป โดยการประชุม ผบ.ทอ.อาเซียน ได้มีการ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ - ทอ.มาเลเซีย เป็นเจ้าภาพ ครั้งที่ ๒ ระหว่าง ๓ - ๕ ธ.ค.๔๘ - ทอ.อินโดนีเซีย เป็นเจ้าภาพ ครั้งที่ ๓ ระหว่าง ๒๑ - ๒๒ พ.ย.๔๙ - ทอ.ฟิลิปปินส์ เป็นเจ้าภาพ ครั้งที่ ๔ ระหว่าง ๑ - ๕ ก.ค.๕๐ - ทอ.สิงคโปร์ เป็นเจ้าภาพ ครั้งที่ ๕ ใน ๑๗ ก.พ.๕๑ มีการลงนามยืนยันข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง ทอ.อาเซียน ในการจัดการปัญหาการก่อการร้าย (Declaration of Support for ASEAN Air Forces Cooperation in Addressing Terrorism) - ทอ.บรูไน เป็นเจ้าภาพ ครั้งที่ ๖ ระหว่าง ๑๐ - ๑๓ ส.ค.๕๒ มีการลงนามยืนยันข้อตกลงในการ สนับสนุนระหว่าง ทอ.อาเซียน ในการจัดการกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ (Declaration of Support for ASEAN Air Forces Cooperation in Addressing Non-Traditional Security Threats) พร้อมกับได้กำ�หนดแผนการ ดำ�เนินงานของ ทอ.อาเซียนในรอบ ๓ ปี (AACC 3 Years Action Plan) - ทอ.เวียดนาม เป็นเจ้าภาพ ครั้งที่ ๗ ใน ๒๐ ส.ค.๕๓ ที่ประชุมฯ สรุปให้มีการดำ�เนินการในการ เพิ่มประสิทธิภาพของการฝึกอบรมร่วมกันและการฝึกร่วมผสม เสริมสร้างความร่วมมือภายในอาเซียนและ กับภาคีอนื่ ๆ ในการรักษาความปลอดภัยทางทะเล การก่อการร้าย ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทา ภัยพิบัติเพื่อสันติภาพ เสถียรภาพและการพัฒนา นอกจากนี้ ทอ.เวียดนาม เสนอให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือน ในระดับ ร.อ. - น.ต. มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสมัครสมานมิตรภาพความเข้าใจซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยน ข้อมูลและประสบการณ์ร่วมกันระหว่างบุคลากร ทอ.อาเซียนระดับ ร.อ. - น.ต. โดยมีการประชุม เยี่ยมเยือน และทัศนศึกษาเป็นสาระสำ�คัญ - ทอ.ได้วนกลับมาเป็นเจ้าภาพอีกครั้งในการประชุมฯ ครั้งที่ ๘ ณ โรงแรมดุสิตรีสอร์ท อ.หัวหิน จว.ประจวบคีรีขันธ์ ระหว่าง ๑๓ - ๑๔ มิ.ย.๕๔ โดย พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ.ขณะนั้น กำ�หนดประเด็นหลัก คือ การเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงของ ทอ.อาเซียน มุ่งสู่ประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ.๒๐๑๕ (Strengthening Security Cooperation of ASEAN Air Forces towards ASEAN Community 2015) ในครั้งนี้นับว่ามีความเคลื่อนไหวของกิจการอาเซียนมากที่สุดครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ทอ.ริเริ่มดำ�เนินความร่วมมือตาม แผนปฏิบัติการ ๓ ปี (AACC 3 Years Action Plan) ที่ได้ร่างขึ้นในการประชุมฯ ครั้งที่ ๖ ณ ประเทศบรูไน โดยนำ�แผนปฏิบัติการ ๓ ปี ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนมาเป็นแนวทาง โดยมุ่งเน้นให้ใช้ศักยภาพ และขีดความสามารถของกองทัพอากาศแต่ละประเทศสนับสนุนแผนดังกล่าว ผลลัพธ์ประการสำ�คัญที่เกิดขึ้น นอกจากมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมภิ าคแล้ว ประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีกลไกและเครือ่ งมือทีค่ รอบคลุม มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงในทุกรูปแบบ ประเด็นที่สำ�คัญมีดังนี้


 เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการทหารของภูมิภาค และความร่วมมือด้านความมั่นคง (Strengthen Regional Defence and Security Cooperation) โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการป้องกันประเทศ และ นโยบายด้านความมั่นคงและการพัฒนา เสริมสร้างความร่วมมือที่มีอยู่ รวมไปถึงพัฒนาความร่วมมือที่เป็นไป ได้ในด้านการป้องกันประเทศและด้านความมั่นคง  เสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนากลไกการประสานงานเพื่อการมีส่วนร่วมและพิจารณา การดำ�เนินการฝึกอบรมร่วมและการฝึกผสม การบรรเทาภัยพิบัติ และการปฏิบัติกรณีฉุกเฉิน โดย ทอ.อาเซียน จะสนับสนุนการฝึกแก้ปัญหาบนโต๊ะ (Table Top Exercise: TTX) ดำ�เนินการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนา และการฝึกผสม เกี่ยวกับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ สร้างกลไกการประสานงาน การติดต่อสื่อสาร ระหว่างกองทัพอากาศอาเซียนเพื่อให้ความช่วยเหลือในช่วงเวลาที่เกิดกรณีฉุกเฉิน และ สนับสนุน คณก.ประสานงานร่วม (Joint Coordinating Committee: JCC) ซึ่งอยู่ภายใต้การประชุมอย่าง ไม่เป็นทางการของ ผบ.ทสส.อาเซียน (ACDFIM) ในการดำ�เนินการใช้ทรัพยากรและขีดความสามารถของ กองทัพอากาศสนับสนุนในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ  ดำ�เนินการความร่วมมือด้านความมัน ่ คงทีม่ อี ยู่ โดยจัดทำ� ASEAN Air Forces Standard Maritime Surveillance SOP  แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการต่อต้านก่อการร้ายสากล และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ - ทอ.มาเลเซีย เป็นเจ้าภาพ ครั้งที่ ๙ ใน ๑๒ ก.ย.๕๕ ในครั้งนี้ ทอ.เสนอต่อที่ประชุมฯ เรื่อง การสร้าง ยุทธศาสตร์ความร่วมมือในการฝึกและศึกษาระหว่างสมาชิก ทอ.ในภูมภิ าค เพือ่ นำ�ไปสูส่ นั ติภาพและความมัน่ คง ของอาเซียน ซึ่งมีการวางแผนในรูปโครงการระยะยาว ๓ ปี (พ.ศ.๒๕๕๔ - ๒๕๕๖) ส่วนรูปแบบของศูนย์ชว่ ยเหลือ


๒๒ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

ด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ (Humanitarian Assistance and Disaster Relief: HA/DR) โดย ความร่วมมือดังกล่าวเริม่ จากการแลกเปลีย่ นองค์ความรูแ้ บบเครือข่ายและประสบการณ์ซงึ่ กันและกัน ผ่านความ ร่วมมือจากโครงการฝึกและศึกษาทางทหาร - ทอ.สปป.ลาว เป็นเจ้าภาพ ครั้งที่ ๑๐ ระหว่าง ๒ - ๔ พ.ย.๕๖ กำ�หนดหัวข้อการประชุมภายใต้หัวข้อ “Partners for Peace and Development” มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และบทเรียนต่าง ๆ ของ ทอ.อาเซียน เกี่ยวกับ HA/DR โดย ทอ.มีการจัดเตรียม RTAF Search & Rescue พร้อมบทบาทหน้าที่ โดยกองทัพอากาศ ได้พัฒนาระบบการค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่เสี่ยงภัยได้อย่างสมบูรณ์ โดยมีการฝึกอย่างสม่ำ�เสมอเพื่อทดสอบ แผนระบบการสั่งการ อุปกรณ์และบริภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และเพื่อฝึกการค้นหาและช่วยชีวิต ทั้งนี้ ทอ.มีการประสานงานติดต่อศูนย์คน้ หาและช่วยชีวติ แห่งชาติ ทีจ่ ดั ตัง้ ขึน้ ตามมติของรัฐบาลไทยเป็นศูนย์ประสานงาน การค้นหาและช่วยเหลือ เพื่อให้มีการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็วเป็นระบบ ซึ่ง ทอ.เสนอถึง ความเป็นไปได้ในการใช้ทรัพยากรของเหล่าทัพ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือในกิจการด้าน HA/DR เพื่อบรรเทาสาธารณภัยและรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในภูมิภาคในอนาคต - ทอ.เมียนมา เป็นเจ้าภาพ ครั้งที่ ๑๑ ระหว่าง ๒๔ - ๒๖ ก.ย.๕๗ การประชุมฯ ครั้งนี้ กำ�หนด หัวข้อ คือ ความร่วมมือด้านความมั่นคงเพื่อมุ่งสู่สันติภาพและความรุ่งเรืองของประชาคมอาเซียน (Defence Cooperation towards Peaceful and Prosperous ASEAN Community) ในการประชุมฯ เน้นถึง บทบาทสำ�คัญของกองทัพอาเซียนในการขยายความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ โดยการกล่าวถึงภัยคุกคาม ต่อความมั่นคงใหม่ ๆ รวมถึงการเน้นมาตรการป้องกัน อาทิ การสร้างความมั่นใจ ความโปร่งใส และการทูต เชิงป้องกัน นอกจากนี้ในการบินทางทหารเน้นการร่วมมือเชิงรุกและเชิงรับเพื่อต้านภัยคุกคามต่อความมั่นคง ที่ต้องเผชิญร่วมกัน โดยจัดตั้งกรอบการทำ�งานด้านการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (HA/ DR) เพื่อจัดการภัยคุกคามต่อความมั่นคงรูปแบบใหม่ด้วยความร่วมมือกันระหว่าง ทอ.อาเซียน ทั้งยังส่งเสริม การอบรม ฝึก สัมมนา และอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารร่วมกัน ตามแนวทางปฏิบตั ทิ ชี่ ดั เจนของทีป่ ระชุมรัฐมนตรีกลาโหม อาเซียน (ASEAN Defence Ministers' Meeting: ADMM) โดย ทอ.ได้เสนอให้จัดตั้งศูนย์ค้นหาและช่วยชีวิต อาเซียนและโครงการแลกเปลี่ยนนายทหารติดต่อระหว่างประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ รวบรวมข้อมูล และ เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ บ. ที่ประสบอุบัติเหตุและบรรเทาสาธารณภัย ต่ออุบตั ภิ ยั ทีอ่ าจเกิดขึน้ ซึง่ เป็นการสนับสนุนประชาคมอาเซียนทีจ่ ะมีขนึ้ ในปี ๒๕๕๘ และในทีป่ ระชุมฯ กำ�หนด ให้กองทัพอากาศแต่ละประเทศจัดทำ�ร่างมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงานด้านปฏิบัติการ การให้ความช่วยเหลือด้าน มนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (SOP of ASEAN Air Forces Cooperation Humanitarian Assistance and Disaster Relief) โดยมีการจัดทำ� Workshop เพื่อพิจารณาความสมบูรณ์ของเนื้อหา กำ�หนดให้ ทอ.เป็นเจ้าภาพ ในการจัดทำ� Workshop ณ ประเทศไทยและให้เสร็จสิน้ ก่อนการประชุมครัง้ ที่ ๑๒ ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา ในปี ๒๕๕๘


ธันวาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๒๓

- ทอ.กัมพูชา เป็นเจ้าภาพ ครั้งที่ ๑๒ ระหว่าง ๒ - ๕ ก.ย.๕๘ ได้กำ�หนดหัวข้อการประชุม คือ ความร่วมมือ และการประสานงานในการรักษาเสถียรภาพในภูมิภาค (Cooperation and Coordination to Maintain Regional Stability) กองทัพอากาศในประเทศกลุ่มอาเซียนตระหนักถึงประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ ทีส่ ่งผลกระทบในภูมิภาค เช่น ภัยธรรมชาติขนาดใหญ่ มลภาวะแวดล้อมเป็นพิษ ที่ส่งผลกระทบบริเวณกว้าง เน้นให้กองทัพอากาศในกลุม่ อาเซียนร่วมมือกัน โดยการแบ่งปันข้อมูล ประสบการณ์และความรู้ ผ่านการจัดการ ประชุม สัมมนาเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน ความไว้วางใจ และก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันมั่นคงระหว่างกองทัพอากาศในอาเซียน ทอ.ได้แสดงให้ชาติในอาเซียนทราบถึง บทเรียนแห่งความสำ�เร็จในภารกิจการสนับสนุนโครงการฝนหลวงของกองทัพอากาศ ซึ่งดำ�เนินการต่อเนื่อง มากว่า ๔๐ ปี รวมทั้งได้สนับสนุนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการทดลอง วิจัยและพัฒนากระสุนซิลเวอร์ ไอโอไดด์ ซึง่ สามารถนำ�มาใช้กบั เครือ่ งบินโจมตีแบบที่ ๗ สำ�หรับปฏิบตั ภิ ารกิจยับยัง้ พายุลกู เห็บ ช่วยให้ประหยัด งบประมาณและระยะเวลาในการจัดหาสารฝนหลวงได้เป็นอย่างดี ส่งผลช่วยบรรเทาทุกข์ประชาชนชาวไทย และได้การตอบรับจากประชาชนในภาพลักษณ์ที่ดีเสมอมา ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมากองทัพอากาศได้มีโอกาส ต้อนรับและแบ่งปันความรู้ด้านฝนหลวงให้แก่กองทัพอากาศในอาเซียน อาทิ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สหภาพเมียนมา และผูแ้ ทนจากสาธารณรัฐการ์ตา้ เป็นต้น ซึง่ ถือว่าเป็นก้าวทีจ่ ะนำ�ไปสูก่ ารกระชับความสัมพันธ์ทงั้ ในด้านความร่วมมือ และการรักษาความมั่นคงในภูมิภาค ในที่ประชุมฯ มีมติให้จัดทำ�เว็บไซต์ ทอ.อาเซียน โดยใช้ชื่อ “https://www.aseannirforces.org”


๒๔ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

จะเห็นได้ว่าหลังจากมีความร่วมมือกันในระดับกระทรวงกลาโหมแล้ว เกิดแรงกระตุ้นให้มีการพัฒนา ความร่วมมือของเหล่าทัพขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง เห็นได้จากการพัฒนาความร่วมมือของกองทัพอากาศอาเซียนในการ ริเริ่มการประชุมระดับผู้นำ�สูงสุดของกองทัพอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน และในแต่ละสาระ ของการประชุมฯ มีข้อตกลงร่วมกันระหว่างกองทัพอากาศอาเซียนอันเป็นผลให้เกิดกิจกรรมร่วมที่เป็นรูปธรรม อาทิ โครงการ ASEAN Junior Air Force Officer Interaction Program การสัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดทำ� ร่างมาตรฐานวิธปี ฏิบตั งิ านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบตั ขิ องกองทัพอากาศอาเซียน ณ ประเทศไทย ระหว่าง ๒๒ - ๒๖ มิ.ย.๕๘ และการประชุมผู้บัญชาการทหารอากาศอาเซียนที่จัดเป็นประจำ� ทุกปี เป็นต้น แม้วา่ กองทัพอากาศจะมีการฝึกร่วมกับประเทศในกลุม่ อาเซียนอยูเ่ ป็นประจำ�แล้วก็ตาม เช่น การฝึกผสม กับกองทัพอากาศมาเลเซีย ภายใต้รหัสการฝึก AIR THAMAL การฝึกผสมกับกองทัพอากาศอินโดนีเซีย ภายใต้ รหัสการฝึก ELANG THAINESIA การฝึกผสมกับกองทัพอากาศสิงคโปร์และกองทัพอากาศสหรัฐฯ ภายใต้รหัส การฝึก COPE TIGER เป็นต้น แต่ก็ยังไม่มีการฝึกร่วมแบบบูรณาการทั้งกองทัพอากาศ ๑๐ ประเทศพร้อมกัน นับจากนี้เป็นต้นไปกองทัพอากาศอาเซียนจะเริ่มเข้าสู่บริบทใหม่ ความร่วมมือกันในมิติของการช่วยเหลือด้าน มนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติเป็นจุดเชื่อมโยงที่เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย และสามารถปฏิบัติได้จริงอย่าง เป็นรูปธรรม ซึ่งหลังจากที่มีคู่มือปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานร่วมกัน อันเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ รวมถึงการ ผสมผสานความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกันให้เป็นหนึ่งเดียว ขั้นต่อมาคือ การฝึกบินเดินทางการเยือน (Goodwill Visit) เพือ่ เป็นการเข้าใจขัน้ ตอนการปฏิบตั ิในเรื่องของการสนับสนุนการบิน ระบบการส่งกำ�ลังบำ�รุง ทีม่ คี วามแตกต่างกัน และให้เกิดความคุน้ เคยในการวางแผนเคลือ่ นย้ายเพือ่ วางกำ�ลัง การบินเข้า - ออกสนามบิน จะทำ�ให้ทราบวิธีการปฏิบัติในการฝึกได้ทุกห้วงกิจกรรมอย่างถูกต้อง เรียบร้อยและปลอดภัย และลงมา ถึงขั้นการฝึกภาคปัญหาที่บังคับการ ตั้งแต่ระดับยุทธวิธีถึงยุทธการ โดยปกติจะเรียกการฝึกรูปแบบนี้ว่า การฝึก Table Top Exercise (TTX) ซึ่งเป็นการกำ�หนดสถานการณ์สมมติให้มีความคล้ายคลึงกับสถานการณ์แวดล้อม ปัจจุบัน เช่น การเกิดเหตุภัยพิบัติขนาดใหญ่ และจำ�เป็นต้องใช้กำ�ลังทางอากาศในการปฏิบัติการ เพื่อให้เกิด ความเข้าใจที่เป็นแนวทางเดียวกัน และเป็นการเตรียมการสำ�หรับการฝึกในภาคอากาศต่อไป ต่อมาคือ การฝึก


ธันวาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๒๕

ในระดับยุทธการถึงยุทธศาสตร์ คือ การฝึกภาคปัญหาที่บังคับการ Command Post Exercise (CPX) เป็นการ ย่อส่วนการฝึกในรูปแบบที่ทำ�ให้ผู้รับการฝึกเกิดความเข้าใจ และสามารถจินตนาการให้เห็นถึงภาพการปฏิบัติ ที่เสมือนจริงมากที่สุด โดยเน้นให้เกิดความเข้าใจการวางแผนในระดับนโยบาย สู่การออกคำ�สั่งยุทธการย่อย (Air Tasking Order: ATO) ทำ�ให้เกิดการรับรู้ถึงแผนการบินที่จะให้ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติภารกิจแต่ละเที่ยวบิน ได้อย่างสมบูรณ์ แม้ว่าการฝึกร่วมในระดับทวิภาคีทั้ง ๑๐ ชาติในอาเซียนยังไม่เกิดขึ้นในเวลานี้ ในฐานะที่เป็นกำ�ลัง ทางอากาศ จากจุดเริม่ ต้นเล็ก ๆ ในทุก ๆ ความสำ�เร็จ จำ�เป็นต้องเกิดจากความร่วมมือของกำ�ลังพลทหารอากาศ ทุกคน ในการที่จะนำ�ไปสู่หนทางแห่งความสำ�เร็จในอนาคตต่อไป

(ฉบับหน้าติดตาม การพัฒนาความร่วมมือของ ทอ. ในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๖ – ๒๕๕๘)


บอดี้การ์ด

ปฏิบัติการอารักขาบุคคลสำ�คัญ พ.อ.อ.จักราพิชญ์ อัตโน หลายศตวรรษมาแล้วที่การลอบสังหารเกิดขึ้นในสังคมของเรา ซึ่งไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสงครามต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ผู้นำ�ของรัฐในอดีตอย่าง มหาตมะคานธี และประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ต่างลาจากโลกนี้ ไปด้วยน้ำ�มือของนักฆ่าทั้งสิ้น แรงจูงใจมาจากความไม่พอใจส่วนตัว หรือแรงปรารถนาทะยานอยากขึ้นแทน ตำ�แหน่งผู้มีชื่อเสียงที่จากไป การลอบสังหารที่สั่นสะเทือนโลกคงหนีไม่พ้นการลอบปลงพระชนม์ อาร์คดยุค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรียในปี ๑๙๑๔ อันเป็นชนวนให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ และการสูญเสีย ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี้ ที่สั่นสะเทือนบัลลังก์ของบุคคลสำ�คัญทั่วโลก เหตุการณ์นี้ทำ�ให้เกิดการ ยกเครื่องระบบการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำ�คัญ (Very Important Person: VIP) เป็นการใหญ่ หน่วยงาน ด้านความมั่นคงและทีมงานอารักขา VIP ในกองทัพต่าง ๆ ทั่วโลก ต่างใช้การลอบสังหารเคนเนดี้เป็นกรณีศึกษา ให้บรรดาบอดี้การ์ดรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ว่า สิ่งใดควรทำ�ในการอารักขาชีวิตบุคคลสำ�คัญ กองทัพอากาศ ได้คัดเลือกผู้สมัครชาย - หญิง เข้าอบรมการอารักขา VIP ณ โรงเรียนการข่าว กรมข่าวทหารอากาศ โดยใช้ระยะเวลาเดือนครึ่งในการเรียนและฝึกฝนวิชาการต่าง ๆ (การสืบสวน จิตวิทยา เทคนิคการป้องกันตัว ฝึกการอารักขา) และฝึกทางกายภาพ ผูท้ ผี่ า่ นการประเมินผลจะถูกส่งตัวต่อไปฝึกการใช้อาวุธ ทีศ่ นู ย์ฝกึ ยิงปืนตำ�รวจทีจ่ งั หวัดนครปฐม เมือ่ เสร็จสิน้ จากการฝึกนีแ้ ล้วจะเป็นการฝึกรักษาความปลอดภัยสถานที่ ตามกองบินต่าง ๆ ในการฝึกมีการจำ�ลองสถานการณ์จริง ที่พยายามมุ่งเอาชีวิต VIP ให้ได้ ผู้เข้ารับการฝึกจะต้อง ตื่นตัวตลอดเวลา พยายามทำ�ตามหน้าที่ โดยแบ่งงานกันอย่างรัดกุม เพื่อหาหนทางแก้ไขสภาพเสมือนจริงนี้ ซึ่งการฝึกทั้งหมดนี้จะใช้เป็นโล่มนุษย์ในการคุ้มกัน VIP อาชีพอารักขา VIP มีทั้งเปิดเผยตนในเครื่องแบบพร้อมอาวุธและปกปิดตนนอกเครื่องแบบ ด้วยการ แต่งกายธรรมดาปะปนอยู่ในฝูงชนและแบบผสม คือ มีการวางกำ�ลังทั้งในเครื่องแบบและนอกเครื่องแบบ การวางกำ�ลังจะเป็นรูปวงกลม กล่าวคือ วงรอบชั้นใน มีเจ้าหน้าที่อยู่ใกล้ชิดกับบุคคลสำ�คัญ เพื่อแก้ไขเหตุการณ์ ได้ทันท่วงที วงรอบชั้นกลาง คือ บริเวณรอบพิธีหรือตัวอาคาร และวงรอบชั้นนอก มีสายตรวจเดินเท้าและ รถตรวจการณ์ต่าง ๆ แต่สำ�หรับหน่วย Secret Service ที่ทำ�หน้าที่พิทักษ์ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว เจ้าหน้าที่ ในเครื่องแบบยังมีหน่วยสนับสนุนพิเศษคอยให้การสนับสนุนภารกิจต่าง ๆ อีกด้วย เช่น ชุดต่อต้านการซุ่มยิง ชุดตรวจค้นวัตถุระเบิด ชุดตอบโต้ฉุกเฉิน และชุดตรวจจับอุปกรณ์ที่เป็นแม่เหล็ก


บอดี้การ์ดนอกเครื่องแบบสมัยใหม่ สวมเครื่องแบบที่มีช่องสำ�หรับเก็บซ่อนอุปกรณ์รวมถึงอาวุธต่าง ๆ ตามเสื้อและกางเกง สามารถหยิบออกมาใช้งานได้อย่างคล่องตัวและรวดเร็ว เช่น ปืนพก มีดพับ คีมตัดลวด ไฟฉาย วิทยุสื่อสาร และกล้องส่องทางไกล ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในการอารักขาพวกเขาจะสวมเสื้อเกราะ กันกระสุนที่มีคุณภาพ รูปแบบแนบเนียน โดยบุคคลทั่วไปไม่สามารถรู้ได้เลยว่านี่คือ เสื้อเกราะ เพราะทำ�เป็น เสื้อใช้สวมด้านในชุดปกติ และทำ�เป็นเสื้อคลุมสำ�หรับสวมด้านนอกเหมือนเสื้อแจ็กเกตทั่วไป นอกจากนั้น ยังมีกระเป๋าเอกสารที่สามารถปล่อยออกมาได้อย่างรวดเร็ว กลายเป็นแผ่นเกราะป้องกันกระสุนใช้บังร่างกาย ให้กับ VIP ได้เมื่อถูกโจมตี และเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของบอดี้การ์ด ก็คือ แว่นตากันแดด ตัวกระจกเป็นวัสดุ กันสะเก็ดระเบิดได้ เพือ่ ช่วยให้บอดีก้ าร์ดทีโ่ ดนโจมตียงั สามารถมองเห็น และทำ�การอารักขา VIP ต่อไปได้จนกว่า จะปลอดภัย นอกจากนี้แว่นตายังช่วยป้องกันสายตาของพวกเขาที่จ้องไปตามฝูงชนไม่ให้รู้ตัว หรือรู้สึกไม่ดี เมื่อถูกจ้องมอง สิ่งที่ผู้คนจะเห็นก็เพียงบอดี้การ์ดที่เคร่งขรึม ยกข้อมือที่มีไมโครโฟนติดอยู่ขึ้นมาพูดคุยติดต่อกัน รูปแบบของการจัดวางกำ�ลังรักษาความปลอดภัย มีความแตกต่างกันไปตามสภาพการณ์ เช่น ระดับ ความสำ�คัญของบุคคลทีอ่ ารักขา ระดับภัยคุกคาม ฯลฯ บอดีก้ าร์ดแต่ละคนจะมีความรับผิดชอบในแต่ละตำ�แหน่ง อย่างชัดเจน โดยปกติแล้วในการทำ�งานหนึ่งทีมจะมีหกคน น้อยที่สุดคือคนเดียว ถ้ามีตั้งแต่สองคนขึ้นไปจะมี หัวหน้าชุดติดตาม ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั ความต้องการของบุคคลสำ�คัญ แต่ถา้ เป็นการอารักขาบุคคลสำ�คัญระดับประเทศ หรือระดับโลก ตัวอย่างเช่น พระราชนิกูลหรือประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็ต้องใช้บอดี้การ์ดและกำ�ลังเจ้าหน้าที่ จากหน่วยเกี่ยวข้องต่าง ๆ วางกำ�ลังรูปวงแหวนจากจุดเริ่มต้นขยายออกไปรอบทิศทางจนเกือบหนึ่งกิโลเมตร เลยทีเดียว เรียกได้ว่าเป็นกองกำ�ลังติดอาวุธย่อย ๆ ขัน้ ตอนการปฏิบตั งิ านของบอดีก้ าร์ด มีความแตกต่างกันตามตำ�แหน่งหน้าที่ แผนงาน สถานที่ สถานการณ์ และสถานภาพของ VIP ซึ่งมากเกินกว่าจะเขียนได้ทั้งหมด ผู้เขียนจึงขอเน้นที่การปฏิบัติงานของบอดี้การ์ด เมื่อ VIP เข้าพัก เดินทาง พบปะชุมชน และการป้องกันการลอบสังหารเท่านั้น


๒๘ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

ก่อนที่บุคคลสำ�คัญจะเข้าพักในอาคารหรือโรงแรม บอดี้การ์ดจะสำ�รวจสถานที่ ระยะเวลาจากข้างล่าง ขึน้ ข้างบน ระหว่างชัน้ มีใคร รายชือ่ แขกของแต่ละชัน้ กระทัง่ ชือ่ พ่อครัวก็ตอ้ งทราบด้วย ตำ�แหน่งของเฟอร์นเิ จอร์ และแผนผังภายในอาคารจะช่วยให้พวกเขาเข้าสู่ด้านในสถานที่เป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว และสังเกตเห็นความ เปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติของการจัดวางสิ่งของได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะ ในเวลากลางคืนที่ผู้บุกรุกมักจะลอบเข้ามา ทีมอารักขาจะยืนยามตามจุดต่าง ๆ ทั้งทางเข้า - ออกทุกแห่ง เพื่อช่วย ป้องกันผู้บุกรุกเข้าถึง VIP ได้ และทีมตรวจสอบพื้นที่พำ�นักของ VIP จะใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตรวจหาเครื่องมือ สอดแนมต่าง ๆ โดยมีเครื่องดักฟังขนาดเล็กที่เรียกกันว่า บั๊ก (bug) ที่สามารถส่งคลื่นไปยังตัวรับได้ในระยะไกล ซึ่งมือสังหารอาจนำ�มาติดตั้งไว้ก่อน เพื่อหาข่าวเกี่ยวกับเป้าหมาย แบล็คเมล์ (Blackmail) หรือข่มขู่ ความเป็นส่วนตัวของ VIP เป็นสิ่งที่ต้องคำ�นึงถึง ทั้งลักษณะ บุคลิกภาพ โรคประจำ�ตัว รวมถึงกิจกรรม ยามว่าง ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้บอดี้การ์ดเรียนรู้กาลเทศะ มารยาท และปรับตัวเข้ากับ VIP ได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะ เป็นประโยชน์ในการวางมาตรการป้องกันอันตราย โดยไม่ให้ VIP รู้ตัวว่ากำ�ลังได้รับการอารักขาอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม VIP บางท่านไม่ใช่ผู้ที่ใคร ๆ จะมาชักจูงให้เชื่อได้โดยง่าย เช่น พระสันตะปาปา แห่งวาติกัน พระองค์โดนลอบยิง ระหว่างพูดคุยกับฝูงชนที่จัตุรัสเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม เมื่อ ๑๓ พฤษภาคม ๑๙๘๑ ก่อนการลอบสังหาร หน่วยข่าวกรอง สืบทราบถึงแผนการร้าย จึงถวายรายงานและให้คำ�แนะนำ�เรื่องความสำ�คัญของการอารักขาแก่พระองค์ แต่ไม่เป็นผล เพราะความเชือ่ มัน่ ในพระผูเ้ ป็นเจ้านัน่ เอง พวกเขาจึงจัดบอดีก้ าร์ดกลุม่ หนึง่ คอยถวายอารักขาโดยทีพ่ ระองค์ไม่รเู้ ลย แต่บอดีก้ าร์ดกลุม่ นีท้ �ำ งานไม่สะดวกนัก เนือ่ งจากถูกห้อมล้อมด้วยฝูงชนทีห่ นาแน่น โชคดีทแี่ พทย์ถวายการรักษา อย่างดีระหว่างทางไปโรงพยาบาล ทำ�ให้ช่วยชีวิตประมุขโรมันคาทอลิกได้ในที่สุด การนำ�แพทย์ประจำ�ตัว VIP ติดตามไปด้วยทุกครั้งที่มีการเดินทาง เป็นแนวคิดใหม่ที่ได้จากประสบการณ์จริง และมีการฝึกการปฐมพยาบาลให้กับบอดี้การ์ดจนกลายเป็น “ชุดแพทย์ ๑๐ นาที (Ten minute medicine)” เพือ่ ดูแลรักษาเบือ้ งต้นเมือ่ เกิดเหตุฉกุ เฉินก่อนจะถึงมือแพทย์ ส่วนแพทย์ประจำ�ตัวจะอยูใ่ นรถพยาบาลทีอ่ อกแบบ มาเป็นพิเศษ ปะปนอยู่ในหมู่รถหลายคันของขบวนรถ VIP ภายในรถมีเครื่องมือที่ทันสมัยสำ�หรับการรักษา บาดแผลจากการระเบิดและกระสุนปืน และยังมีเลือดสำ�รองไว้ด้วย


เมื่อบุคคลสำ�คัญเดินทางไปร่วมงานชุมนุมต่าง ๆ ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานมาก ก็คือ กำ�ลังพล ระดับภัยคุกคาม และจำ�นวนประชาชน รวมทั้งสื่อมวลชนที่ต้องการเข้าไปใกล้ VIP พวกเขาจะทำ�การป้องกัน การเข้าถึงตัว VIP โดยการตรวจคนเข้าออกพื้นที่อย่างเข้มงวด ควบคุมการเข้าออกด้วยบัตรประจำ�ตัว ตรวจค้นตัว ด้วยการสัมผัส กระบองโลหะ หรือผ่านซุ้มดักจับอาวุธ และประสานงานกับหน่วยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ซึ่งถือเป็นกุญแจสำ�คัญอย่างยิ่ง เนื่องจากข้อผิดพลาดที่ผ่านมาส่วนใหญ่เกิดจากการเตรียมรับมือกับภัยคุกคาม VIP โดยตรงเท่านั้น แต่สิ่งที่ขาดอยู่ก็คือ ขาดความช่วยเหลือด้านเทคนิคที่มีประสิทธิภาพจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงาน นำ�ไปสู่การสื่อสารที่ขาดตอนและล้มเหลวในการ จัดการอารักขาที่เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ การเดินทางของ VIP จะไม่มีแผนที่กำ�หนดตายตัว ไม่ใช้เส้นทางเดิมตลอดเวลา เพราะเสี่ยงต่อการ ลอบทำ�ร้าย เมื่อขบวนรถเคลื่อนออกจากที่หมายหนึ่งไปยังอีกที่หมายหนึ่ง ทีมอารักขาจะสื่อสารให้ขบวนทราบ ตลอดเวลา รถที่ใช้เป็นรถกันกระสุน เมื่อมีเหตุให้รถชะลอ เจ้าหน้าที่ติดตามจะต้องมาประกบรถของ VIP โดยเอามือ แตะรถไว้จนกว่าจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วพอสมควร แล้วจึงวิ่งกลับไปยังรถที่ประจำ�อยู่ ภายในขบวนอารักขา จะมีชดุ ต่อต้านการโจมตีตามไปด้วยทุกครัง้ ชุดนีเ้ ตรียมพร้อมอยูใ่ นรถยนต์โดยไม่เปิดเผยตัว และมีอาวุธพร้อมสรรพ เพือ่ รับมือกับการลอบสังหารหรือซุม่ โจมตี โดยจะเข้าปะทะเพือ่ ให้บอดีก้ าร์ดนำ�ตัว VIP ออกจากพืน้ ทีใ่ ห้เร็วทีส่ ดุ สิ่งที่บอดี้การ์ดเป็นกังวลก็คือ การลอบวางระเบิดรถยนต์ การรวบรวมข่าวสารและการวางแผนสำ�รวจล่วงหน้า เช่น เส้นทางหลัก เส้นทางรอง ยานพาหนะที่ VIP เลือกใช้ ระยะทางทีห่ มาย ข้อมูลเหล่านีม้ ปี ระโยชน์ในการประเมินสถานการณ์ ใช้วางมาตรการรักษาความปลอดภัย ทีร่ ดั กุม และปรับเปลีย่ นได้ตามสถานการณ์ทเี่ กิดขึน้ เพราะมือสังหารอาจมาในกลุม่ ผูป้ ระท้วงขัดขวางขบวนรถ ทำ�ให้อับอายโดยการขว้างปาปัสสาวะ อุจจาระ ลอบทำ�ร้าย หรือลักพาตัว อย่างที่เคยเกิดขึ้นกับ นายคาร์เรโร บลังโก้ นายกรัฐมนตรีสเปน เมื่อรถลีมูซีนกันกระสุนติดอาวุธเต็มพิกัดโดนระเบิดย่อยยับจากระเบิดที่ซ่อนไว้ ในอุโมงค์ใต้ถนน


เมื่อบุคคลสำ�คัญถูกลอบทำ�ร้าย บอดี้การ์ดคนแรกที่เห็นจะตะโกนแจ้งตำ�แหน่งของภัยที่เกิดขึ้นแล้ว เข้าดำ�เนินการต่อต้านทันที โดยใช้รา่ งกายเข้าบัง VIP ไว้ ดึงตัวบุคคลสำ�คัญให้ยอ่ ต่�ำ ลงรีบพาออกไปจากพืน้ ที่ และ ก้มศีรษะให้มากที่สุด เจ้าหน้าที่อีกส่วนกำ�บังด้านข้างและด้านหลังของบุคคลสำ�คัญ เพื่อนำ�ไปยังพื้นที่ปลอดภัย โดยเร็วจนกว่าจะพ้นจากพื้นที่สังหาร โลกยุคใหม่หลังสงครามเย็น คนที่บอดี้การ์ดต้องต่อกรด้วยไม่ใช่นักฆ่ามืออาชีพ หรือคนโรคจิตที่ คาดเดายาก แต่เป็นผู้ก่อการร้ายที่มีอาวุธและอุปกรณ์ที่ทันสมัย มีความรู้ ทักษะขั้นสูง ได้รับการฝึกให้ฆ่ามา โดยเฉพาะ และมียทุ ธวิธลี �้ำ หน้า ทำ�งานข้ามทวีปเหมือนกับเดินทางไปท่องเทีย่ ว มีอบุ ายลอบสังหารอย่างคาดไม่ถงึ ซึง่ วงการสายลับและอุตสาหกรรมอาวุธก็ตอบสนองเป็นอย่างดี ด้วยการพัฒนาอาวุธพิเศษขึน้ มาเพือ่ ลอบสังหาร โดยเฉพาะ เช่น ปืนปากกา และยาพิษไร้สีไร้กลิ่นออกฤทธิ์ระยะยาวอย่างแนบเนียนจนไม่มีใครคาดถึง อย่างที่ เคยเกิดขึ้นเมื่อปี ๒๐๐๖ นายอเล็กซานเดอร์ ลิทวิเนนโก้ (Alexander Litvinenko) สายลับรัสเซีย ถูกวางยาพิษ ที่ชื่อ Polonium-210 radiation poisoning ซึ่งเป็นสไตล์ที่มือสังหารของรัสเซียนิยมใช้กัน ผลก็คือ เขาเสียชีวิต โดยมีสารกัมมันตภาพรังสีอยูใ่ นร่างกาย ซึง่ แน่นอนว่า งานนีย้ อ่ มหาตัวผูก้ ระทำ�ความผิดหรือผูอ้ ยูเ่ บือ้ งหลังนีไ้ ม่ได้ มีการคาดการณ์กันว่าเหตุจูงใจให้ถูกปิดปากครัง้ นีม้ าจากการทีเ่ ขาเขียนหนังสือเกีย่ วกับ นายวลาดิมรี ์ ปูติน และ ได้เปิดโปงข้อมูลลับหน่วยเหนือของตนในกรณีลอบสังหารมหาเศรษฐีชาวรัสเซีย ชื่อ Boris Berezovsky นอกจากนี้ยังมีอาวุธปืนที่ใช้ยิงได้ทั้งระยะใกล้ไกลอย่างแม่นยำ� และมีอานุภาพทำ�ลายล้างสูง แต่ที่ นิยมใช้มากในวงการก่อการร้ายปัจจุบันก็คือ ระเบิดที่จุดฉนวนด้วยโทรศัพท์มือถือ ผู้ลงมือไม่จำ�เป็นต้องอยู่ ในเหตุการณ์ นัง่ ดูทวี ที บี่ า้ นแล้วกดปุม่ ระเบิดได้เลย พร้อมทัง้ รับชมผลงานของตนไปด้วย จะเห็นได้บอ่ ยในประเทศ ที่หน่วยรักษาความปลอดภัยยังล้าหลัง ก้าวตามไม่ทัน จะทำ�ได้แค่ออกมาประณามผู้ลงมือ และนั่งมองเหยื่อ เสียชีวิตรายแล้วรายเล่าอย่างสิ้นหวังที่จะทำ�อะไรให้ดีขึ้นได้ จากทีก่ ล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้วา่ การสร้างบุคลากรดูแลด้านความปลอดภัยของ VIP ไม่มคี �ำ ว่าสมบูรณ์แบบ เพราะหากมือสังหารต้องการทีจ่ ะสังหารผูน้ �ำ แล้ว ไม่วา่ อย่างไรเขาก็จะหาหนทางสังหารจนได้ ขึน้ อยูก่ บั ช่วงเวลา ที่เหมาะสมของเขา งานของบอดี้การ์ดจึงเป็นงานที่ต้องทำ�อยู่ตลอดเวลาด้วยความรอบคอบมากที่สุด โลกปัจจุบันนี้ภัยคุกคามสามารถเกิดขึ้นได้จากมูลเหตุที่หลากหลายรูปแบบ แม้แต่การต่อต้านกระแส โลกาภิวัตน์ก็สามารถเป็นเหตุให้เกิดภัยคุกคามขึ้นได้แก่ตัวผู้นำ� สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ จึงไม่อาจที่จะมองข้าม ได้เลย ในสายงานนี้ โลกของการเมืองการปกครองจะละเลยงานของบอดี้การ์ดไม่ได้ เพราะนั่นเท่ากับเชื้อเชิญ ให้ผู้ประสงค์ร้ายดำ�เนินการตามความประสงค์ของเขาได้ นั่นเอง  เอกสารอ้างอิง : - วายูน สุวรรณไชย. บอดี้การ์ดปฏิบัติการป้องกันมือสังหาร. สำ�นักพิมพ์อนิเมทกรุ๊ป. ธันวาคม, ๒๐๐๔ - กรกาญจน์ อรุณปลอด. อินไซด์บอดี้การ์ด: แกะรอยชีวิตของผู้หญิงอารักขา. กรุงเทพฯ, ๒๕๔๙


ในช่วงเวลา ๕๐ ปีที่ผ่านมา เราได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มาแล้วสองครัง้ ด้วยกัน และปัจจุบนั ในยุคดิจทิ ลั ทีม่ กี ารใช้งานอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายจัดว่าเป็นการ ก้าวเข้าสูก่ ารเปลีย่ นแปลงอีกครัง้ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สารทีก่ �ำ ลังเกิดขึน้ ถือเป็นทิศทางใหม่ ของโลก เรียกว่า Internet of Things (IoT) หรือ สิ่งของสมองกล ที่สิ่งของและอุปกรณ์สามารถเชื่อมโยง เข้าด้วยกัน โดยผ่านอินเทอร์เน็ตที่ข้อมูลถูกจัดไว้ในระบบคลาวด์คอมพิวติ้งและสามารถควบคุมการทำ�งาน ผ่านแอพพลิเคชัน่ หรือเว็บไซต์บนสมาร์ทโฟน อาทิ อุปกรณ์ครัวเรือนยุคใหม่สามารถสือ่ สารระหว่างกันได้ โดยที่


๓๒ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

เครือ่ งใช้ไฟฟ้าภายในบ้านนัน้ ผูใ้ ช้สามารถสัง่ เปิดได้จากนอกบ้าน ทำ�ให้เกิดรูปแบบการใช้งานใหม่ทเี่ ปลีย่ นแปลง ไปจากเดิม สามารถให้ความสะดวกและประโยชน์มากมายแก่ผู้ใช้ ซึ่งหลายคนเชื่อกันว่าจะเป็นคลื่นลูกที่สาม นำ�มาซึง่ การเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ในการใช้ชวี ติ อีกทัง้ ยังสร้างโอกาสใหม่ในทางธุรกิจ ณ ปัจจุบนั อินเทอร์เน็ต ได้ขยายบทบาทในชีวิตประจำ�วันของเรา ด้วยการเชื่อมต่อของทุกสิ่งเข้าด้วยกัน เห็นได้จากบริษัท Qualcomm ผูผ้ ลิตโปรเซสเซอร์ส�ำ หรับอุปกรณ์ไฮเทคพกพารายใหญ่ของโลก มองเห็นโอกาสในการขยายการผลิตโปรเซสเซอร์ จากกลุ่มสมาร์ทโฟนและสมาร์ทดีไวส์ ไปยังโปรเซสเซอร์ในกลุ่มอุปกรณ์สมาร์ทโฮม อันได้แก่ เครื่องซักผ้า ตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศ แม้แต่ Google ยักษ์ใหญ่ด้าน Search Engine ยังได้ทุ่มเงินจำ�นวนมากเข้าซื้อกิจการ “เนสท์แลบส์” (Nest Labs) ที่นับเป็นผู้นำ�ผลิตภัณฑ์ด้าน IoT ชั้นแนวหน้า เพื่อรองรับแผน IoT การเชื่อมอุปกรณ์ และทุกสิ่งเข้าด้วยกันของ Google ตั้งแต่โทรศัพท์พื้นฐานไปจนถึงอุปกรณ์สวมใส่และบ้านอัจฉริยะ ในภาพรวม ทั้งหมดจะสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้จริงในปี 2020 และคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 7.1 หมื่นล้านเหรียญ ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ความกังวลใจสูงสุดพุ่งเป้าไปที่ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวที่เกิดขึ้น การให้สิทธิ เข้าถึงข้อมูล ตลอดจนแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดา้ นการรักษาความปลอดภัยทีช่ าญฉลาด โดยบทความ ในฉบับมีมุมมองและรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้

 IoT จากฝันสู่ความจริง

ข้อมูลจากเว็บไซต์ www.ssanetwork.com/iot-internet-of-things ทุกวันนี้จะสังเกตได้ว่า ทุกอย่างรอบตัวเราถูกเชือ่ มโยงด้วยอินเทอร์เน็ต อาทิ เราใช้สมาร์ทโฟนเชือ่ มต่ออินเทอร์เน็ตเป็นเรือ่ งธรรมดา ในชีวติ ประจำ�วันและทำ�งานทุกอย่างได้โดยง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเพียงเครือ่ งเดียว การเกิดขึน้ ของนวัตกรรมอย่าง


ธันวาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๓๓

IoT ที่อุปกรณ์จะสื่อสารหรือส่งข้อมูลถึงกันเอง หรือ M2M (Machine-to-Machine Communication) ได้โดย ไม่ต้องมีมนุษย์มาสั่งการโดยตรง อาทิ ตู้เย็นสั่งอาหารหรือข้าวของที่ขาดไปได้เองโดยตรงกับระบบออนไลน์ชอปปิง (Online Shopping System) ถือเป็นสิ่งที่จุดประกายทางธุรกิจและมองถึงความเป็นไปได้ในการขยายการผลิต ในอนาคต แต่อาจส่งผลกระทบทางสังคมต่อความเป็นส่วนตัว (Privacy) ของผูค้ นทีไ่ ม่ตอ้ งการให้ระบบมารับรู้ขอ้ มูล การใช้ชีวิตประจำ�วัน บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายซิสโก้ (Cisco) ได้กล่าวว่าในปี 2015 มีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ กับอินเทอร์เน็ตถึง 25 ล้านชิ้น และในปี 2020 จะเพิ่มขึ้นเป็น 50 ล้านชิ้น จนกล่าวได้ว่าการเกิดขึ้นของ IoT ถือเป็นการก้าวเข้าสู่คลื่นลูกที่สามด้านไอซีที ที่นำ�มาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการใช้ชีวิต รวมทั้งสร้าง โอกาสใหม่ในทางธุรกิจ และในมุมมองของผู้เขียน IoT จะเกิดขึ้นจริงได้ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งในเรื่อง ของฮาร์ดแวร์ มาตรฐานด้านการออกแบบโปรโตรคอลของการทำ�งาน มาตรฐานด้านความปลอดภัยของข้อมูล (Security) นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy) และความเป็นเจ้าของข้อมูลที่ต้องถูกนำ�มาใช้ได้จริงในภาคของ การผลิต รวมถึงการทำ�งานระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สามารถมองเห็นและเชื่อมต่อถึงกันได้ ซึ่งในเวลาที่ผ่านมา Qualcomm บริษัทผู้ผลิตโปรเซสเซอร์สำ�หรับอุปกรณ์ไฮเทคพกพารายใหญ่ของโลกตื่นตัวในการรับมือกับการ เกิดขึ้นของ IoT โดยได้แถลงในงานแสดงสินค้า Consumer Electronics Show (CES) 2015 ที่ลาสเวกัส ประเทศสหรัฐฯ เมื่อเดือนมกราคม 2015 ว่า “มองเห็นโอกาสในการขยายการผลิตโปรเซสเซอร์จากกลุ่มสมาร์ทโฟน และสมาร์ทดีไวส์ไปยังโปรเซสเซอร์ในกลุ่มของอุปกรณ์สมาร์ทโฮม ตัวอย่างเช่น เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และสัญญาณกันขโมย”


๓๔ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

ที่ผ่านมา Google ยักษ์ใหญ่ด้าน Search Engine เป็นอีกบริษัทที่เข้ามาร่วมในการก้าวเข้าสู่ IoT โดย ทุ่มเงินมากถึง 3,200 ล้านเหรียญฯ ซื้อกิจการของ “เนสท์แลบส์” (Nest Labs) ผู้นำ�ด้านเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ และเครือ่ งตรวจจับควันในอาคารและครัวเรือน ซึง่ จุดเด่นของเนสท์แลบส์ คือ ติดตามการเคลือ่ นไหวของผูอ้ าศัย ในอาคารเพื่อจัดเก็บไว้ในระบบคลาวด์สำ�หรับนำ�ไปวิเคราะห์ข้อมูล เนสท์แลบส์นับเป็นผู้นำ�ผลิตภัณฑ์ด้าน IoT ชั้นแนวหน้า โดยประมาณว่าเนสท์แลบส์จะสามารถจำ�หน่ายอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิได้เดือนละ 85,000 ชิ้น จึงเชือ่ ได้ว่า Google ลงทุนจำ�นวนมากกับเนสท์แลบส์ในครัง้ นี้ เพื่อรองรับแผนการเชือ่ มอุปกรณ์และทุกสิง่ เข้าด้วยกัน ตัง้ แต่โทรศัพท์พนื้ ฐานไปจนถึงอุปกรณ์สวมใส่และบ้านอัจฉริยะ ถ้ามองกันให้ดถี อื เป็นความฉลาดของ องค์กร Qualcomm และ Google ที่เล็งเห็นอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งจะเป็นตลาดใหม่ที่ขับเคลื่อน IoT เพราะ อุปกรณ์ทั้งหมดจำ�เป็นต้องมีโปรเซสเซอร์เพื่อใช้ประมวลผล และเชื่อกันว่าในปี 2020 อุปกรณ์ IoT จะสามารถ ทำ�งานได้เสมือนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่มีโปรเซสเซอร์กำ�ลังสูงอยู่ในตัว และมีหน่วยความจำ�ที่มีประสิทธิภาพ มากพอที่จะเก็บข้อมูล รวมทั้งประมวลผลข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้อยู่ในอุปกรณ์ขนาดเล็กเหล่านี้ ทำ�ให้ตู้เย็นบอกเรา ให้ซอื้ ไข่ไก่เพิม่ หรือเครือ่ งปรับอากาศรูว้ า่ เราอยูจ่ ดุ ใดในบ้านและปรับอุณหภูมใิ ห้เราได้เองโดยอัตโนมัติ ทีส่ �ำ คัญ ไม่ตอ้ งแปลกใจทีอ่ ปุ กรณ์สวมใส่ (Wearable Device) เช่น สมาร์ทวอชท์หรือกำ�ไลข้อมือ จะให้ขอ้ มูลและสือ่ สาร กันเองหรือสื่อสารกับรถยนต์ของเราได้เองในอนาคต


ธันวาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๓๕

ความท้าทายของ IoT อยู่ที่การจัดการข้อมูลจำ�นวนมหาศาล (Big Data) ที่เกิดจากกิจกรรมของ IoT ซึง่ ต้องเริม่ ตัง้ แต่การรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ขอ้ มูล ซึง่ การจัดเก็บข้อมูลจำ�นวนมากนัน้ มีตน้ ทุนทีส่ ูง พบว่าผูน้ ำ�ค่ายดิจทิ ลั เกือบทุกรายต่างต้องสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ (Data Center) ขนาดใหญ่ เพือ่ การ บริหารและจัดการข้อมูลจำ�นวนมากนี้ อาทิ Google มีดาต้าเซ็นเตอร์จำ�นวน 6 แห่งในอเมริกา 3 แห่งในยุโรป 2 แห่งในเอเชีย และ 1 แห่งในอเมริกาใต้ การวิเคราะห์ข้อมูลจำ�นวนมากนับเป็นสิ่งสำ�คัญ เพื่อให้ IoT ทำ�งาน ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว จะเห็นได้วา่ IoT สร้างความกังวลทีม่ ตี อ่ ความเป็นส่วนตัวและการเป็นเจ้าของข้อมูล ที่นักพัฒนาบางกลุ่มมุ่งสนใจในขณะนี้ จนมีความคิดในการสร้างแพลตฟอร์มเพื่อพิสูจน์ความเป็นไปได้ในการ สื่อสารของ IoT ในโครงการที่ชื่อว่า “Omelette” ซึ่งได้กำ�หนดโมเดลการเป็นเจ้าของข้อมูลไว้กับบุคคล ด้วยการ แยกการเก็บข้อมูลนี้ออกจากระบบและผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อมูลส่วนตัวถูกเก็บไว้กับเจ้าของเท่านั้น และ จะถูกนำ�ไปใช้ได้เมื่อได้รับอนุญาต โดยจะไม่มีการเก็บข้อมูลไว้ที่อื่นนอกจากเก็บไว้ในอุปกรณ์ของเจ้าของข้อมูล เท่านั้น นับเป็นแนวคิดที่จะปกป้องข้อมูลความเป็นส่วนตัวและร่วมกันสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับ IoT ในมุมมอง ของ คุณจอห์น แมนดิชัน รองประธานฝ่ายการตลาดของฟอร์ติเน็ต (Fortinet) กล่าวว่า “บริษัทวิจัยไอดีซี ระบุ ตลาด IoT อุปกรณ์ทกุ ชนิดทีส่ ามารถเชือ่ มต่อได้บนอินเทอร์เน็ตในปี 2020 อาจจะมีมลู ค่าสูงถึง 7.1 หมืน่ ล้านเหรียญฯ และผู้จะขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของตลาด IoT ที่เป็นทิศทางใหม่ของโลกได้นั้นคงจะต้องหาจุดสมดุลระหว่างอุปกรณ์ ที่เชื่อมโยงในบ้านกับระบบการรักษาข้อมูลส่วนตัวที่เหมาะสม ตลอดจนฟังก์ชันการใช้งานที่สามารถตอบสนอง ไลฟ์สไตล์ได้อย่างสมบูรณ์”


๓๖ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

 ข้อคิดที่ฝากไว้ ถึงจะยังมีอุปสรรคและความท้าทายอีกมากกับ IoT (สิ่งของสมองกล) แต่ในเมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่จาก ทุกค่ายธุรกิจ ตลอดจนรัฐบาลหลายประเทศต่างเข้ามาร่วมในการก้าวเข้าสู่ IoT ที่เหลือคงเป็นเรื่องของเวลา ว่า IoT จะถูกพัฒนาจนใช้งานได้และเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันผ่านอินเทอร์เน็ต จนเกิดเป็นระบบ เศรษฐกิจแบบใหม่ที่สร้างโอกาสทางธุรกิจและความสะดวกในการใช้ชีวิตให้แก่ผู้ใช้ ซึ่งองค์กรในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน ภาครัฐ หรือหน่วยงานทางทหาร ได้นำ�ขีดความสามารถของ IoT มาช่วยในการบริหาร จัดการสินทรัพย์ การคำ�นวณ หรือประมาณการปริมาณการทำ�งาน รวมทั้งการพัฒนาสิ่งใหม่ โดยใช้ข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกรวบรวมผ่าน Sensors Technology แล้วส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาเก็บไว้ในฐานข้อมูลกลาง ผลที่ได้นั้น จะช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กบั การบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กร เช่น บริษทั Rolls Royce ได้ติดตั้ง Sensors มากับเครื่องยนต์ของเครื่องบิน แล้วส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับเครื่องยนต์กลับมา มอนิเตอร์ที่ภาคพืน้ ซึง่ ข้อมูลเหล่านีใ้ ช้เพื่อตรวจจับเฝ้าระวัง หากมีการทำ�งานผิดพลาดก่อนที่มันจะเกิดเหตุรา้ ยแรง ข้อมูลนี้ยังไว้ใช้สำ�หรับการวิเคราะห์และนำ�ไปสู่การป้องกัน เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุที่ทำ�ให้เกิดความเสียหายได้ ดังนัน้ IoT จึงเป็นสิง่ ทีไ่ ม่ควรถูกมองข้าม ผูบ้ ริหารทีม่ วี สิ ยั ทัศน์ควรมองหาหนทางทีจ่ ะนำ�เอา IoT มาสร้าง ประโยชน์แก่องค์กรให้ได้มากทีส่ ดุ อย่างไรก็ตามทิศทางใหม่ของโลกจะต้องก้าวเข้าสูย่ คุ IoT อย่างเต็มตัวในปี 2020 และประกอบกับเทคโนโลยี 5G กำ�ลังถูกเร่งมือและพัฒนาอย่างเข้มข้น เพือ่ รองรับความต้องการใช้งานในยุค IoT ได้อย่างสมบูรณ์ ที่สำ�คัญคงต้องถามตัวเองว่า “เราพร้อมหรือยัง สำ�หรับการปรับตัวครั้งสำ�คัญอีกครั้งที่จะนำ� IoT (สิ่งของสมองกล) มาใช้ในชีวิตประจำ�วันของเราในอนาคต ?”


นนอ.เอกอัคร โพธิ์ทอง และ นนอ.ทศวรรษ สง่าเนตร

ในปัจจุบันสังคมไทยยังคงเป็นสังคมที่มีปัญหาเรื่องของการใช้ความรุนแรง ซึ่งสามารถเห็นได้จาก ข่าวหนังสือพิมพ์หรือสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำ�ร้ายร่างกาย การจี้ การปล้น การชิงทรัพย์หรือ แม้กระทั่งการข่มขืน และเมื่อถึงคราวนาทีวิกฤตเหล่านั้นเกิดขึ้นกับตัวเรา นั่นหมายถึงวินาทีท่ีตัดสินความเป็น ความตายของชีวิต ซึ่งไม่มีใครสามารถช่วยเหลือเราได้นอกจากตัวเราเอง ดังนั้นเพื่อให้ท่านได้ทราบถึงหลักการ ในการเอาตัวรอด ถ้าหากได้ฝึกฝนเป็นประจำ�จนเกิดความเคยชิน ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว แต่เหนือสิ่งอื่นใดต้องมีสติ และควบคุมอารมณ์ตนเองให้ได้ ชมรมศิลปะป้องกันตัว โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช (Fighting Club RTAFA) จึงขอนำ� ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตัวเบื้องต้น (Basic Self Defense) มาแนะนำ�ให้ท่านได้ทราบ ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะ การแก้ไขสถานการณ์ ๒ เหตุการณ์ คือ ๑. กรณีถูกคนร้ายบีบคอจากท่ายืน/ท่านอน ๒. กรณีถูกคนร้ายล็อคคอ/รวบเอวจากด้านหลัง ๑. กรณีถูกคนร้ายบีบคอจากท่ายืน/ท่านอน - อย่าตืน่ ตระหนก ให้ตงั้ สติ และต้องเข้าใจว่าผูร้ า้ ยทีม่ าบีบคอเรานัน้ เขามัน่ ใจว่าเขานัน้ ตัวใหญ่กว่าหรือ แข็งแรงกว่าแน่นอนจึงกล้ามาบีบคอ ดังนั้นการที่เราจะฝืนแรงเขาคงจะทำ�ได้ยาก จึงต้องใช้วิธีหลบแรง - ในสถานการณ์ดังกล่าวไม่มเี วลาให้ตดั สินใจมากนัก ดังนัน้ วิธีการทีเ่ ราจะเลือกนำ�มาใช้แก้ไขจะต้องเร็ว ง่ายและได้ผล


๓๘ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

 วิธีการแก้ไขเมื่อถูกบีบคอขณะยืน

วิธีการแก้ไขที่ง่ายที่สุด คือ ให้ยกแขนขึ้นตรง ๆ ข้างใดข้างหนึ่ง จากนั้นให้หมุนตัว โดยให้แขนข้างที่ยก ตัดผ่านข้อมือของคนร้าย จากนัน้ ให้รบี หนีโดยเร็ว การทำ�ร้ายคนร้ายกลับนัน้ ไม่แนะนำ�ให้ชกต่อย แต่ควรพิจารณา ถึงจุดอ่อนทีจ่ ะทำ�ให้คนร้ายไม่สามารถวิง่ ตามเราได้หรือจุดทีส่ ามารถหยุดการเคลือ่ นทีข่ องคนร้ายได้เป็นอันดับแรก เช่น หัวเข่า หน้าแข้ง กล่องดวงใจ เป็นต้น  วิธีการแก้ไขเมื่อถูกบีบคอขณะนอน

วิธีการแก้ไขเมื่อถูกคนร้ายนั่งทับแล้วบีบคอ คือ ให้ชันเข่าขึ้นจนหน้าขาชิดกับหลังของคนร้าย นำ�มือ ข้างใดข้างหนึง่ จับข้อศอก และอีกข้างหนึง่ เกีย่ วทีข่ อ้ พับของแขนคนร้าย จากนัน้ ยกสะโพกขึน้ พร้อมกับดันข้อศอก คนร้ายให้น้ำ�หนักโถมไปด้านหน้าอย่างรวดเร็ว ในลักษณะพยายามจะนอนคว่ำ� แล้วรีบหนีให้เร็วที่สุด


ธันวาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๓๙

๒. กรณีถูกคนร้ายล็อคคอ/รวบเอวจากด้านหลัง - อย่าตื่นตระหนก ให้ตั้งสติ จัดท่าทางตนเองให้สามารถหายใจได้ และยืนหลังตรงไม่แอ่น - จงจำ�ไว้ว่า เมื่อเรายิ่งฝืน คนร้ายจะยิ่งใช้แรงมากขึ้น ดังนั้นออกแรงในจังหวะที่จำ�เป็น

 วิธีการแก้ไขเมื่อถูกล็อคคอจากด้านหลัง

วิธีการแก้ไขที่ง่ายที่สุด คือ การใช้มือข้างใดข้างหนึ่ง รั้งแขนที่ล็อคคอออกให้เราสามารถหายใจได้ แล้วใช้แขนดันข้อศอกของคนร้ายขึ้น พร้อมทั้งย่อตัวแล้วหมุนออก โดยถอนขาข้างที่ชิดตัวคนร้ายออกด้านหลัง ข้อเน้นย้ำ� ต้องทำ�อย่างรวดเร็ว โดยทิ้งน้ำ�หนักตัวลงในจังหวะเดียวกับการดันข้อศอกคนร้าย


๔๐ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

 วิธีการแก้ไขเมื่อถูกรวบเอวจากด้านหลัง

เมือ่ ถูกรัดตัวโดยรวบข้อศอกจากด้านหลังนัน้ ให้ใช้มอื กดมือของคนร้ายเข้าให้ตดิ ตัวเรา จากการทำ�เช่นนี้ แขนที่รัดจะเปิดออก จากนั้นให้ทำ�การย่อตัวให้ต่ำ�ใช้การทิ้งน้ำ�หนักตัวลง โดยก้าวขาออกด้านข้างเล็กน้อย แล้ว มุดออกด้านข้างพร้อมยกแขนขึ้นทั้งสองข้างเหมือนการถอดเสื้อ ถอนขาข้างที่ติดกับคนร้ายไปด้านหลังตามภาพ จากผู้ประสบเหตุการณ์พบว่า บางคนเคยถูกรุมทำ�ร้ายหรือถูกจี้ปล้น จากในและนอกบริเวณที่พักอาศัย จึงได้ติดต่อชมรมศิลปะป้องกันตัว รร.นนก.ให้ช่วยเปิดสอนศิลปะป้องกันตัว ซึ่งทางชมรมฯ ได้เปิดการฝึกศิลปะ ป้องกันตัวเบื้องต้นในวันอาทิตย์ ให้กับข้าราชการ ประชาชน และเยาวชนที่สนใจ ให้มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับ การป้องกันตัวเบื้องต้น สามารถป้องกันตนเองและทรัพย์สินส่วนตัว/ส่วนรวมได้ รวมทั้งชมรมฯ ยังได้มีโอกาส ช่วยเหลือสังคมและกองทัพอากาศอีกด้วย รายละเอียดเพิม่ เติมสามารถติดตามได้ที่ ชมรมศิลปะป้องกันตัว รร.นนก. Facebook: Fighting Club RTAFA


พล.อ.อ.ปรีชา ประดับมุข ปริมาณการบินในปี ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา ในแต่ละวันนั้นทั่วโลกมีจำ�นวนเฉลี่ยประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ เที่ยวบิน มีผู้โดยสารทั่วโลกเดินทางเฉลี่ยประมาณ ๑ ล้านคน มูลค่ารายได้จากการเดินทางทางอากาศทั่วโลกคิดเฉลี่ย ประมาณ ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท ในส่วนของประเทศไทยในแต่ละวันนั้นมีปริมาณการบินเฉลี่ย ๒,๕๐๐ เที่ยวบิน โดยมีผู้โดยสารเดินทางเฉลี่ยประมาณ ๑๓๐,๐๐๐ คน มูลค่ารายได้จากการเดินทางเฉลี่ยประมาณ ๒,๖๐๐ ล้านบาท ซึ่งการเติบโตอย่างรวดเร็วด้านการบินทำ�ให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจไร้พรมแดนขึ้น และส่งผลให้เกิดการจ้างงานขึน้ ภายในอุตสาหกรรมการบินทัง้ ทางตรงและทางอ้อมไม่ต�่ำ กว่า ๕๐๐ ล้านตำ�แหน่ง สร้างรายได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลกได้ถึง ๒.๒ ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ จากความเติบโตด้านการบินอย่างรวดเร็ว ทำ�ให้องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางระหว่างประเทศภาคีสมาชิกที่มีหน้าที่ในการ ออกกฎระเบียบและมาตรฐานข้อปฏิบัติด้านการบินพลเรือนระหว่างประเทศ อีกทั้งส่งเสริมและพัฒนาการบิน ท่าอากาศยาน ความปลอดภัยในการบิน และเครื่องอำ�นวยความสะดวกในการเดินอากาศ สำ�หรับการบินพลเรือน ระหว่างประเทศต้องเคร่งครัดต่อมาตรฐานความปลอดภัยเพิ่มขึ้น ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกของ ICAO จึงต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่ ICAO กำ�หนดไว้อย่างเคร่งครัด ปัจจุบัน ICAO มีภาคีสมาชิกทั่วโลกจำ�นวน ๑๙๑ ประเทศ มีการตรวจสอบกำ�กับดูแลความปลอดภัยสากลของประเทศภาคีสมาชิก เพื่อควบคุม ความปลอดภัยในการเดินอากาศให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลกโดยที่ ICAO ได้เข้ามาตรวจประเทศไทย เมื่อ ๑๙ - ๓๐ มกราคม ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา


๔๒ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

ผลการตรวจของ ICAO พบข้อบกพร่องในการกำ�กับดูแล ความปลอดภัยของกรมการบินพลเรือนจำ�นวน ๕๖๐ ข้อ จากการ ตรวจสอบทั้งหมดจำ�นวน ๑,๐๑๖ ข้อ เกี่ยวข้องกับ ๘ ด้าน คือ ด้านกฎหมาย ด้านโครงสร้าง ด้านการออกใบอนุญาตผู้ประจำ�หน้าที่ ในอากาศและการฝึกอบรม ด้านการปฏิบตั กิ ารบิน ด้านความสมควร การเดินอากาศ ด้านการตรวจสอบอากาศยานอุบตั เิ หตุและอุบตั กิ ารณ์ ด้านการให้บริการการเดินอากาศและด้านการบริการจราจรทาง อากาศ โดยเป็นข้อบกพร่องที่มีนัยสำ�คัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concern: SSC) ซึ่งไม่เป็นไป ตามมาตรฐานที่ ICAO กำ�หนด จำ�นวน ๓๓ ข้อ แบ่งเป็นข้อบกพร่องที่เกี่ยวกับด้านการปฏิบัติการบิน ๒๘ ข้อ เป็นเรือ่ งของการดำ�เนินการออกใบรับรองผูด้ �ำ เนินการเดินอากาศ ๑๕ ข้อ และการดำ�เนินการขนส่งสินค้าอันตราย และวัตถุอันตราย ๑๓ ข้อ ข้อบกพร่องที่เกี่ยวกับด้านความสมควรการเดินอากาศ ๕ ข้อ ICAO จึงได้ประกาศ ติดธงแดงให้กับประเทศไทย เมื่อ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘  ผลกระทบจากการตรวจพบข้อบกพร่องของ ICAO สายการบินของไทยอาจไม่สามารถเพิ่มเส้นทางบินไปต่างประเทศได้ ไม่สามารถร้องขอเพื่อให้บริการ ใหม่ได้ อาจไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้แบบเครื่องบินใหม่ได้ และเครื่องบินที่จดทะเบียนในไทยอาจถูกตรวจสอบ เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งสายการบินของไทยอาจจะไม่ได้รับอนุญาตในการให้บริการระหว่างท่าอากาศยานไทยและ สหภาพยุโรป


ธันวาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๔๓

ผลกระทบดังกล่าว ทำ�ให้ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกของ ICAO โดยเฉพาะกลุ่มสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และประเทศอื่น ๆ ซึ่งมีสายการบินของไทยที่ทำ�การบินไปยังประเทศนั้น ๆ เพิ่มมาตรการในการ ตรวจสอบและเพิ่มข้อจำ�กัดในด้านการบินมากขึ้น ซึ่งอาจมีการประกาศห้ามสายการบินของไทยบินเข้าน่านฟ้า ของสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และประเทศอื่น ๆ ได้ เนื่องจากกรมการบินพลเรือนไม่กำ�กับดูแลให้เป็นไป ตามมาตรฐานที่ ICAO กำ�หนด อาจทำ�ให้เกิดความเสียหายต่อรายได้ของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านล้านบาท โดยผลกระทบในภาครัฐคือ อาจทำ�ให้ประเทศภาคีสมาชิกขาดความเชื่อมั่นใน การกำ�กับดูแลความปลอดภัยด้านการบินและการลงทุนในอุตสาหกรรมการบินที่เติบโตอย่างรวดเร็วตามที่ได้ คาดหวังไว้ ในส่วนภาคเอกชนที่มีการนำ�เข้าและส่งออกสินค้าผ่านการขนส่งทางอากาศนั้น เมื่อไม่มีการกำ�กับ ดูแลให้เกิดความปลอดภัยแล้ว จะทำ�ให้ขาดความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในการรับส่งสินค้า อาจไม่มีการ ใช้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศผ่านสายการบินต่าง ๆ ของไทยอีกต่อไป ซึ่งทำ�ให้ขาดรายได้และกิจการต่าง ๆ ขาดความต่อเนื่องไม่สามารถดำ�เนินการในธุรกิจต่อไปได้ ส่งผลให้ประชาชนขาดรายได้เพราะขาดการจ้างงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนธุรกิจที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะส่งผลกระทบถึงระดับรากหญ้า ทำ�ให้ รายได้ประชาชาติไม่เป็นไปดังที่ตั้งไว้ สรุปกล่าวคือ หากการกำ�กับดูแลความปลอดภัยด้านการบินไม่เป็นไป ตามมาตรฐานที่ ICAO กำ�หนด และไม่รีบดำ�เนินการแก้ไขก็จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจของ ประเทศโดยรวม ขณะเดียวกัน สำ�นักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration: FAA) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการบินแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ได้มาตรวจสอบภายใต้โครงการ การประเมินความปลอดภัยด้านการบินระหว่างประเทศ สืบเนื่องจากประเทศไทยมีสายการบินที่มีเที่ยวบินทำ�การบิน เข้าสหรัฐอเมริกาด้วย FAA จึงใช้สิทธิตรวจสอบการกำ�กับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินของ กรมการบินพลเรือน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า สายการบินที่ทำ�การบินเข้าและออกประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับ ใบอนุญาตอย่างถูกต้องจากองค์กรกำ�กับดูแลของประเทศ และเป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือน ระหว่างประเทศ (ICAO) โดยได้เข้ามาตรวจประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๓ - ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘


๔๔ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

ผลการตรวจของ FAA พบข้อบกพร่อง (Findings) ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ICAO รวมทั้งสิ้น จำ�นวน ๓๕ ข้อ ใน ๓ กลุ่มงาน ได้แก่ กลุ่มงานทะเบียนและใบอนุญาต กลุ่มการปฏิบัติการบิน และกลุ่ม ความสมควรเดินอากาศ โดยเป็นข้อบกพร่องด้านบุคลากรผูต้ รวจสอบ (Inspector) ทีม่ ไี ม่เพียงพอ และมีคณ ุ สมบัติ ไม่ครบถ้วน ตามแบบอากาศยานที่มีอยู่ในประเทศไทย ข้อบกพร่องด้านการจัดทำ�แนวทางด้านเทคนิค และการ จัดเตรียมเครื่องมือและข้อมูลสำ�คัญด้านความปลอดภัยยังไม่ครบถ้วน ข้อบกพร่องด้านขั้นตอนการตรวจสอบ การปฏิบัติการของอากาศยานบางแบบไม่ครบถ้วน การตรวจสอบและแต่งตั้งผู้ทดสอบภาคอากาศนักบิน โดย เจ้าหน้าทีก่ รมการบินพลเรือนทีไ่ ม่มคี ณ ุ สมบัตใิ นแบบเครือ่ งบินนัน้ ๆ และข้อบกพร่องด้านการติดตามตรวจสอบ หน่วยฝึกการบิน หน่วยซ่อม และสายการบินต่างชาติที่บินเข้ามาประเทศไทยไม่ครบถ้วน  ผลกระทบจากการตรวจพบข้อบกพร่องของ FAA ประการที่ ๑ หากเป็นประเทศที่มีสายการบินทำ�การบินเข้าและออกประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่แล้ว จะไม่ได้รับอนุญาตให้เพิ่มเที่ยวบินและการให้บริการของสายการบินจะต้องถูกตรวจสอบจาก FAA อย่างเข้มงวด และหากเป็นประเทศทีย่ งั ไม่มสี ายการบินทำ�การบินเข้าและออกประเทศสหรัฐอเมริกา จะไม่ได้รบั อนุญาตให้เริม่ ทำ�การบินเข้าและออกประเทศสหรัฐอเมริกา ประการที่ ๒ สายการบินของประเทศนั้น ๆ จะถูกห้ามทำ� Code Share กับสายการบินของประเทศสหรัฐอเมริกา และประการที่ ๓ หากประเทศนั้น ๆ ไม่แก้ไขข้อบกพร่อง ในเวลาอันควร FAA จะแจ้งให้ Department of Transport: DOT ทราบว่า สายการบินของประเทศนั้น ๆ ไม่มี การกำ�กับดูแลความปลอดภัยในระดับทีส่ ามารถยอมรับได้และจะแนะนำ�ให้ DOT พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ให้สายการบินของประเทศนั้นทำ�การบินเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา การดำ�เนินการของกรมการบินพลเรือนตั้งแต่ ๓๑ มกราคม - ๑๐ กันยายน ๒๕๕๘ หลังจากที่ ICAO มาตรวจ เมื่อ ๑๙ - ๓๐ มกราคม ๒๕๕๘ นั้น กรมการบินพลเรือนได้จัดทำ�แนวทางในการแก้ไขข้อบกพร่อง โดยส่งให้ ICAO โดยปัจจุบัน ICAO เห็นชอบในแนวทางดังกล่าวเพียง ๒๘๐ ข้อ แต่ยังไม่ได้ดำ�เนินการแก้ไข ข้อบกพร่องที่มีนัยสำ�คัญทั้ง ๓๓ ข้อ เนื่องจากติดอุปสรรคจากสาเหตุหลักของปัญหา ๓ ประการ คือ ประการแรก ปัญหาด้านกฎหมายหลักของการบินพลเรือน ซึ่งแก้ไขยาก ทำ�ให้ไม่คล่องตัว ไม่รองรับต่อการเติบโตและการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้านการบิน และปัญหาด้านกฎหมายรอง ได้แก่ กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการ ดำ�เนินงานโดยเฉพาะในแต่ละเรื่อง ไม่สามารถออกกฎหมายได้ทันต่อเหตุการณ์ ประการที่สอง ปัญหาเรื่อง โครงสร้างด้านการบิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาโครงสร้างองค์กรที่ไม่เหมาะสมและไม่สามารถรองรับการ เติบโตต่อสถานการณ์ด้านการเดินอากาศในปัจจุบัน ทำ�ให้ส่งผลกระทบต่อประเด็นด้านอื่น ๆ เช่น อำ�นาจ หน้าที่ไม่ครอบคลุม จำ�นวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ไม่สะท้อนงาน และต้องสูญเสียบุคลากรไปให้ภาคเอกชน ถูกจำ�กัดให้อยู่ในกรอบราชการ งบประมาณไม่สะท้อนภาระงาน ประการสุดท้าย ปัญหาบุคลากรที่จะดำ�เนินงาน ในฝ่ายต่าง ๆ ขององค์กรมีไม่เพียงพอต่อด้านการเติบโตด้านการบินของสายการบินทีเ่ ติบโตขึน้ อย่างรวดเร็ว ได้แก่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการบิน เจ้าหน้าที่ตรวจสอบต่าง ๆ ของกลุ่มสมควรเดินอากาศ เจ้าหน้าที่วิศวกรรมการบิน


ธันวาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๔๕

เจ้าหน้าทีก่ ลุม่ ทะเบียน เมือ่ เทียบกับการเติบโตด้านการบินตัง้ แต่ปี ๒๕๔๗ กับปี ๒๕๕๗ จำ�นวนบุคลากรมีจ�ำ นวน น้อยมากไม่สามารถรองรับภาระงานทีส่ งู ขึน้ ได้ กรมการบินพลเรือนจึงไม่สามารถดำ�เนินการแก้ไขข้อบกพร่องที่ มีนัยสำ�คัญทั้ง ๓๓ ข้อได้ ICAO จึงได้ประกาศติดธงแดงให้กับประเทศไทยซึ่งจะต้องแก้ไขในระยะยาวต่อไป จากปัญหาดังกล่าว หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (หน.คสช.) เห็นว่าการตรวจพบข้อบกพร่อง ของ ICAO และ FAA ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการบินและการประกอบธุรกิจต่อเนื่องของ อุตสาหกรรมการบินของประเทศ ซึง่ เป็นปัญหาสำ�คัญระดับชาติ จึงต้องรีบแก้ไขโดยเร่งด่วนต่อไป กอปรกับ FAA ได้เข้ามาตรวจสอบอีกครั้งใน ๒๗ - ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา หากผลการตรวจไม่ผ่านมาตรฐาน จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อความเชื่อมั่นในการกำ�กับดูแลกิจการด้านการบินและความมั่นคงของประเทศ ในภาพรวมได้ ซึ่งกรมการบินพลเรือนไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยลำ�พัง หน.คสช.จึงได้สั่งการให้จัดตั้ง “ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน (ศบปพ.)” ตามคำ�สั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๗/๒๕๕๘ เมื่อ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๘ เพื่อแก้ไขปัญหาการกำ�กับดูแล และพัฒนาการบินพลเรือนของประเทศไทย โดยให้จดั ตัง้ สำ�นักงานขึน้ ทีอ่ าคารเฉลิมอากาศ ภายในกองบัญชาการ กองทัพอากาศ มีหน้าทีใ่ นการกำ�หนดนโยบายและแนวทางปฏิบตั ใิ นระดับรัฐบาล เกีย่ วกับการจัดทำ�แผนปฏิบตั กิ าร และให้ความเห็นชอบกับแผนปฏิบัติการในการแก้ไขปัญหา ปรับปรุงและพัฒนาการบินพลเรือนให้เป็นไปตาม มาตรฐานสากล รวมทั้งกำ�หนดแนวทางในการทำ�ความเข้าใจกับองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศและ หน่วยงานด้านการบินพลเรือนของประเทศสมาชิกขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมถึงสั่งการ กำ�กับดูแล ติดตาม และตรวจสอบการปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือนของกระทรวง คมนาคมและหน่วยงานในกำ�กับ ส่วนราชการ และหน่วยงานอื่นของรัฐให้เป็นไปตามนโยบาย รวมทั้งพิจารณา เสนอแนะ ปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งพัฒนากฎหมาย กฎและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา การบินพลเรือน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยให้ ผูบ้ ญั ชาการทหารอากาศ เป็นผูบ้ ญั ชาการศูนย์บญั ชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน (ผบ.ศบปพ.) มีอำ�นาจแทนนายกรัฐมนตรีในการแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน (คณก.ศบปพ.) จากหน่วยงานต่าง ๆ รวม ๑๒ คน ประกอบด้วย ผู้แทนกองทัพอากาศ ปลัดกระทรวงคมนาคม อธิบดีกรมการบิน พลเรือน ผูแ้ ทนสำ�นักงบประมาณ ผูแ้ ทนสำ�นักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ผูแ้ ทนสำ�นักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกา ผู้แทนสำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อมาช่วยเหลือกรมการบิน พลเรือนในการแก้ไขปัญหาด้านการบินพลเรือนให้เป็นมาตรฐานสากล โดยมี พล.อ.อ.ปรีชา ประดับมุข เป็น เลขานุการและหัวหน้าสำ�นักงานประสานงาน ศบปพ.ได้เริ่มดำ�เนินการแก้ไขปัญหาตั้งแต่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๘ ถึงปัจจุบัน ได้ประชุมเพื่อจัดลำ�ดับ ความสำ�คัญเร่งด่วนและกำ�หนดให้การแก้ปัญหาข้อบกพร่องที่ถูกตรวจพบจาก FAA เป็นความสำ�คัญลำ�ดับแรก และจะแก้ไขปัญหาของ ICAO ข้อตกลงร่วมระหว่างกรมการบินพลเรือน และ Japan Civil Aviation Bureau: JCAB และ European Aviation Safety Agency: EASA เป็นลำ�ดับต่อ ๆ ไป ในการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง


๔๖ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

ที่ FAA ตรวจพบนั้น ในระยะสั้น ศบปพ.ได้ประสานขอรับการสนับสนุนนักบินจากกองทัพอากาศและสายการบินต่าง ๆ ให้ครบทุกแบบที่มีการบินอยู่ ไปปฏิบัติหน้าที่ที่กรมการบินพลเรือนเพื่อแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วน ส่วนระยะยาว จะคัดสรรและฝึกอบรมบุคลากรเพิ่มเติม โดยทั้งนี้ได้ปรึกษาหารือและขอคำ�แนะนำ�ในการแก้ไขข้อบกพร่องจาก FAA โดยใกล้ชิดอย่างต่อเนื่อง สำ�หรับการแก้ไขปัญหาที่ถูกตรวจพบจาก ICAO นั้น ศบปพ.ได้ดำ�เนินการแก้ไขปัญหาในภาพรวม ดังนี้ ด้านโครงสร้าง ดำ�เนินการและกำ�กับดูแลตรวจสอบให้โครงสร้างการบินพลเรือนสามารถขับเคลื่อน และเป็นไปตามมาตรฐานการบินสากลตามที่ ICAO กำ�หนด โดยส่งบุคลากรจาก ทอ.เข้าไปช่วยในหน่วยงานต่าง ๆ ที่ จัดขึน้ ตามพระราชกำ�หนด (พ.ร.ก.) และกฎกระทรวงทีไ่ ด้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่ยงั ไม่มเี จ้าหน้าที่ บรรจุให้ปฏิบตั งิ าน ได้แก่ สำ�นักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย กรมท่าอากาศยานงานค้นหาและช่วยเหลือ อากาศยาน งานนิรภัยการบินและสอบสวนอากาศยานประสบอุบัติเหตุ ด้านกฎหมาย ดำ�เนินการและกำ�กับดูแลการแก้ไข พ.ร.บ.เดินอากาศให้ทันสมัย รองรับการปฏิบัติงาน จากการเติบโตด้านการบินไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทบั ซ้อน และให้สอดคล้องต่อกฎหมายหลักทีเ่ ป็นมาตรฐานสากล รวมถึงกฎหมายรองซึ่งเป็นกฎหมายภายใน ได้แก่ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นต้น ต้องมีการปรับแก้ไขให้เหมาะสม และสอดคล้องต่อไป ด้านบุคลากร ดำ�เนินการและกำ�กับดูแลแก้ไขปัญหาด้านบุคลากรอย่างเป็นระบบ ตัง้ แต่กระบวนการ คัดสรรบุคลากร กระบวนการฝึกอบรมบุคลากรทุกตำ�แหน่งให้มคี ณ ุ สมบัตคิ รบถ้วนและเพียงพอโดยเฉพาะตำ�แหน่ง ผูป้ ระจำ�หน้าทีใ่ นอากาศ และแต่งตัง้ ผูท้ มี่ คี ณ ุ สมบัตคิ รบถ้วนเป็นผูท้ ดสอบภาคอากาศนักบิน (Designated Check Pilot: DCP) ให้เป็นตามมาตรฐานสากล ด้านการออกใบรับรองผู้ดำ�เนินการเดินอากาศ เป็นกระบวนการออกใบรับรองให้กับผู้ดำ�เนินการ เดินอากาศ ได้แก่ สายการบินต่าง ๆ จำ�นวน ๔๑ สายการบิน เป็นสายการบินระหว่างประเทศ ๑๒ สายการบิน และในประเทศ ๒๙ สายการบิน ซึ่ง ศบปพ.จะกำ�กับดูแลให้สำ�นักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ตรวจสอบ และออกใบรับรองการเดินอากาศให้สายการบินใหม่ทงั้ หมดตามกระบวนการออกใบรับรองผูด้ �ำ เนินการเดินอากาศ ซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๖ เดือน เพื่อให้กระบวนการออกใบรับรองการเดินอากาศของไทยเป็นไป ตามมาตรฐานสากล ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มดำ�เนินการแล้ว ๔ สายการบิน  บทสรุป จะเห็นได้วา่ ในสิง่ ทีก่ ล่าวมานัน้ ด้านการปฏิบตั กิ ารบินของอากาศยานในปัจจุบนั ยังคงมีมาตรฐานสามารถ ทำ�การบินไปยังประเทศต่าง ๆ ได้ทั่วทุกภูมิภาคของโลกได้ปกติ แต่กระบวนการกำ�กับดูแลความปลอดภัย ด้านการบินพลเรือนของหน่วยงานที่รับผิดชอบยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ควรจะเป็น และไม่รองรับกับ ความเติบโตด้านการบินของโลก ซึง่ ศบปพ.มีความมุง่ มัน่ และตัง้ ใจทีจ่ ะกำ�กับดูแลและแก้ไขปัญหานีอ้ ย่างแท้จริง เพื่อที่จะยกระดับและพัฒนาให้การบินพลเรือนของประเทศไทยให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันและเป็นไป ตามมาตรฐานสากล พร้อมที่จะนำ�กิจการด้านการบินพลเรือนของชาติสู่การบินพลเรือนระดับโลกต่อไป


อาวุธนำ�วิถเี ริม่ มีบทบาทสำ�คัญอย่างเด่นชัดในการโจมตีทางอากาศ ตัง้ แต่สงครามอิรกั ครัง้ ที่ 1 (สงคราม อ่าวเปอร์เซีย) ในปี ค.ศ.1991 จนกระทั่งถึงการโจมตีทางอากาศในยุคปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน ตั้งแต่สงครามที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1999, 2001- 2003 คือ การลดจำ�นวนการใช้งานอาวุธไม่นำ�วิถี เช่น ลูกระเบิด อเนกประสงค์แบบ Mark82 เป็นต้น และในสงครามอ่าวเปอร์เซียนัน้ ทอ.สหรัฐฯ ใช้อาวุธไม่น�ำ วิถจี �ำ นวนมากกว่า 210,000 ลูก ในปี ค.ศ.2003 สงครามอิรักครั้งที่ 2 อาวุธไม่นำ�วิถีที่ใช้ในการโจมตีมีน้อยกว่า 10,000 ลูก หรือ ใช้มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของอาวุธทั้งหมด จนถึงปัจจุบัน จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่า อาวุธนำ�วิถีความแม่นยำ�สูงมีบทบาทสำ�คัญอย่างยิ่งในการโจมตีทางอากาศ ทั้งจากกองทัพอากาศ กองทัพเรือ และนาวิกโยธิน ซึ่งอาวุธนำ�วิถีส่วนใหญ่ที่ใช้ในการโจมตีเป็นอาวุธนำ�วิถีพิสัยใกล้ รวมทั้งทิศทางการพัฒนาอาวุธนำ�วิถีในตลาดโลกปัจจุบันก็เป็นอาวุธนำ�วิถีพิสัยใกล้ เช่น JDAM (Joint Direct Attack Munition) SDB (Small Diameter Bomb) LGB (Laser Guided Bomb) ฯลฯ ในขณะที่อาวุธนำ�วิถี พิสยั ไกล เช่น JASSM (Joint Air-to-Surface Standoff Missile) Tomahawk ฯลฯ มีเฉพาะประเทศมหาอำ�นาจ บางประเทศเท่านั้นที่ยังคงดำ�เนินการพัฒนาอยู่

Small Diameter Bomb (SDB)


๔๘ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

Laser Guided Bomb (LGB)

Tactical Tomahawk Land Attack Missile

Joint Air-to-Surface Standoff Missile (JASSM)


ธันวาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๔๙

 เทคโนโลยีในปัจจุบัน : ปัจจัยที่ส่งผลบวกต่อการพัฒนาอาวุธนำ�วิถีพิสัยใกล้ อาวุธนำ�วิถีพิสัยใกล้ เป็นอาวุธที่มีความแม่นยำ�ในระยะใกล้ สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ตอ้ งการข้อมูลเป้าหมายล่วงหน้า หรือระบบเครือข่ายในพืน้ ทีก่ ารรบ โดยเฉพาะเมือ่ ใช้งานโจมตีเป้าหมาย อยู่กับที่ หรือกองกำ�ลังภาคพื้นดินที่สามารถตรวจจับได้ในสถานที่ที่คุ้นเคย อาวุธแบบนี้ส่วนใหญ่ใช้ในการนำ�วิถี โดยใช้หลักการนำ�วิถีด้วยแรงเฉื่อย (Inertial Navigation) โดยการช่วยเหลือของระบบดาวเทียมบอกตำ�แหน่ง นำ�ร่องและเวลา (Positioning Navigation and Time: PNT) ซึ่งในปัจจุบันมีความแม่นยำ�ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ และมีให้บริการหลายระบบ เช่น ระบบ GPS (Global Positioning System) ของสหรัฐฯ ระบบ GLONASS (Global Navigation Satellite System) ของรัสเซีย ระบบ Baidou ของจีน และระบบ Galileo ของยุโรป ซึ่งจะทำ�งานอย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ.2019 นอกจากนี้ประเทศอื่น ๆ เช่น ฝรั่งเศส อินเดีย และญี่ปุ่น อยู่ระหว่าง การพัฒนาระบบดังกล่าว ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ในอนาคตอันใกล้ข้อมูลจากดาวเทียม PNT ที่อาวุธนำ�วิถีพิสัยใกล้ ต้องการใช้ในการนำ�วิถีจะมีอยู่ทุกหนแห่งของโลก นอกจากนี้เทคโนโลยีการนำ�วิถีอื่น ๆ เช่น Laser, Infrared, Millimeter Wave, LADAR (Laser Detection and Ranging) ฯลฯ ในปัจจุบนั มีอยูอ่ ย่างแพร่หลายและสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้งา่ ยขึน้ อุปกรณ์ ทีห่ าได้ทวั่ ไปตามท้องตลาด (Commercial-Off-The-Shelve Products) มีประสิทธิภาพสูงมากเพียงพอ ที่จะนำ�มาใช้ในการพัฒนาระบบควบคุมและนำ�วิถี ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวส่วนใหญ่จะนำ�มาใช้ในการนำ�วิถี ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่อาวุธจะทำ�ลายเป้าหมาย เพื่อทำ�ให้เกิดความแม่นยำ�เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ด้วยขีดจำ�กัดด้านเทคโนโลยีที่ลดลง ทำ�ให้หลายประเทศได้ดำ�เนินการพัฒนาอาวุธนำ�วิถีพิสัยใกล้ และ มีขีดความสามารถในความเป็นประเทศผู้ผลิต เช่น สหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ สวีเดน เกาหลีใต้ อิสราเอล อินเดีย และอิหร่าน จึงทำ�ให้เกิดการแข่งขันในท้องตลาดสูง ราคาต่อหน่วยลดลง ประเทศผู้ใช้งาน มีทางเลือกและสามารถครอบครองอาวุธนำ�วิถีพิสัยใกล้ได้มากยิ่งขึ้น  ความแตกต่างด้านสมรรถนะของอาวุธนำ�วิถีพิสัยใกล้และไกล ในปัจจุบันสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้ผูกขาดการโจมตีอย่างแม่นยำ�ด้วยอาวุธนำ�วิถีพิสัยไกล แต่ก็ ยังคงใช้งานอาวุธนำ�วิถีพิสัยใกล้เป็นจำ�นวนมาก ความแตกต่างที่สำ�คัญทางด้านสมรรถนะของอาวุธนำ�วิถีพิสัย ใกล้และอาวุธนำ�วิถีพิสัยไกลที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ระยะทางจากตำ�แหน่งที่อาวุธแม่นยำ�สูงถูกปล่อยหรือยิง ไปยังเป้าหมาย แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบันทำ�ให้ความแตกต่างเรื่องระยะจากเป้าหมายน้อยลง ในอดีต การโจมตีด้วยอาวุธนำ�วิถีพิสัยใกล้ นักบินต้องมองเห็นและโจมตีเป้าหมายที่มองเห็นได้ด้วยสายตา ดังตัวอย่างเช่น ในสงครามเวียดนามระหว่างปฏิบัติการ Linebacker I (พฤษภาคม ถึง ตุลาคม 1972) ลูกระเบิดนำ�วิถี ด้วยเลเซอร์ LGB (Laser Guided Bomb) ได้สร้างผลงานอย่างน่าตื่นเต้น ลูกระเบิดนี้เป็นอาวุธพิสัยใกล้มาก ถูกทิ้งจากเครื่องบิน F-4D โดยการทิ้งแบบ Dive-Bomb นักบินต้องครอบครองเป้าหมายด้วยสายตาโดยการ ชีเ้ ป้าด้วยแสงเลเซอร์ และนักบินทีน่ งั่ ด้านหน้าเป็นผูท้ งิ้ ลูกระเบิดโดยเล็งเป้าหมายผ่านศูนย์เล็งปืน แต่ในปัจจุบนั


เครื่องบิน F-22 บินที่ความเร็ว 1.5 มัค ความสูง 50,000 ฟุต สามารถทิ้งระเบิด SDB (Small Diameter Bomb) ที่ระยะห่างจากเป้าหมายที่ 70 ไมล์ทะเล ทั้ง LGB และ SDB เป็นอาวุธที่ไม่มีกำ�ลังขับเคลื่อนในตัวเอง เมื่อเทียบ กับอาวุธพิสัยไกลและโจมตีทางลึกในอดีต เช่น อาวุธนำ�วิถี T-16 ของ Martin Marietta หรือ T-22 ของ Vought ซึ่งพัฒนาในโครงการ Assault Breaker ของ Defense Advanced Research Projects Agency (DARPA)1 ในปลายปี ค.ศ.1970 อาวุธทั้งสองแบบมีระยะน้อยกว่าระยะไกลสุดของ SDB ดังนั้นจึงเป็นหลักการที่เข้าใจกัน โดยทั่วไปในปัจจุบันว่า ความแตกต่างในเรื่องระยะการโจมตีเป้าหมายระหว่างอาวุธพิสัยใกล้และพิสัยไกล ในปัจจุบันจึงไม่มีความชัดเจนมากมายนัก นอกจากนั้น สมรรถนะในเรื่องอำ�นาจการทำ�ลายเป้าหมายก็เป็นสิ่งสำ�คัญ อาวุธนำ�วิถีพิสัยใกล้ เช่น ลูกระเบิดนำ�วิถีด้วยเลเซอร์เป็นอาวุธแบบไม่ต้องการกำ�ลังขับเคลื่อนจึงสามารถบรรทุกหัวรบ (Warhead) ขนาดเกือบเท่าน้ำ�หนักของอาวุธ ในขณะที่อาวุธพิสัยไกลจำ�เป็นต้องบรรทุกเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน ระยะไกล ดังนั้นถ้าจำ�นวนหรือขนาดของหัวรบที่เท่ากัน อาวุธนำ�วิถีพิสัยไกลจึงต้องมีขนาดใหญ่กว่าอาวุธนำ�วิถี พิสัยใกล้ ซึ่งเมื่ออาวุธมีขนาดใหญ่ขึ้นการนำ�มาใช้งานก็ย่อมมีความยุ่งยากมากยิ่งขึ้น จากทีก่ ล่าวมาข้างต้น สมรรถนะทีส่ �ำ คัญของอาวุธนำ�วิถพี สิ ยั ใกล้และไกล ไม่มคี วามแตกต่างอย่างชัดเจน จึงเป็นเหตุผลหนึง่ ทีท่ �ำ ให้อาวุธนำ�วิถพี สิ ยั ใกล้ได้ถกู มาใช้งานอย่างแพร่หลายทัง้ ในสงครามทีผ่ า่ นมาและในอนาคต  ความคุ้มค่าในการใช้งานอาวุธนำ�วิถีพิสัยใกล้ ในอดีตที่ผ่านมาระยะของเป้าหมายจากตำ�แหน่งยิงหรือปล่อยอาวุธนำ�วิถีเป็นขีดจำ�กัดที่สำ�คัญ ในเรื่อง ความแม่นยำ� ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันทำ�ให้สามารถลดขีดจำ�กัดในเรื่องนี้ ความแม่นยำ�ในการใช้งานอาวุธนำ�วิถี ความแม่นยำ�สูง จึงไม่ได้ขนึ้ อยูก่ บั ระยะเป้าหมายจากตำ�แหน่งปล่อยยิงหรือทิง้ อีกต่อไป อย่างไรก็ตามราคา ต่อหน่วยของอาวุธนำ�วิถีความแม่นยำ�สูงที่มีความทันสมัยยังคงขึ้นอยู่กับระยะทางในการโจมตีเป้าหมาย ของอาวุธนำ�วิถีพิสัยไกล เช่น JASSM ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ที่สามารถโจมตีเป้าหมายที่ระยะประมาณ DARPA เป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1958 มีภารกิจหลัก ในการสร้างนวัตกรรมใหม่สำ�หรับงานด้านความมั่นคงของประเทศ 1


ธันวาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๕๑

500 ไมล์ทะเล และอาวุธนำ�วิถี Tomahawk ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ที่สามารถโจมตีเป้าหมายที่ระยะประมาณ 900 ไมล์ทะเล มีราคาแพงกว่า SDB และ JDAM กล่าวโดยสรุป JASSM มีราคาต่อหน่วยแพงมากกว่า JDAM ถึง 50 เท่า ด้วยราคาต่อหน่วยของอาวุธนำ�วิถพี สิ ยั ไกลทีแ่ พงกว่าอาวุธนำ�วิถพี สิ ยั ใกล้เป็นอย่างมาก แม้แต่ประเทศ ทีม่ คี วามร่�ำ รวยอย่างสหรัฐฯ และจีน ก็ยงั มีปญ ั หาเรือ่ งงบประมาณในการจัดหา อาวุธนำ�วิถพี สิ ยั ใกล้จงึ ได้รบั การ จัดหาเพื่อคงคลังและถูกนำ�มาใช้งานเป็นจำ�นวนมากในสงครามที่ผ่านมา  ระบบอากาศยานไร้คนขับติดอาวุธ : การเพิ่มประสิทธิภาพการโจมตีเป้าหมายระยะไกลด้วยอาวุธนำ�วิถี พิสัยใกล้ ในสงครามอัฟกานิสถานและอิรัก มีการพัฒนาการโจมตีอย่างแม่นยำ�ที่สำ�คัญอีกอย่างหนึ่ง โดยการ ใช้อากาศยานไร้คนขับควบคุมจากระยะไกลติดอาวุธ สหรัฐฯ ได้เริ่มพัฒนาอากาศยานที่ใช้นักบินควบคุม จากระยะไกล หรือที่เรียกว่า RPV (Remote Pilot Vehicle) สำ�หรับภารกิจการข่าวในตอนต้นของทศวรรษที่ 1960 RPV ในยุคแรก ๆ เช่น Ryan Fire Fly ในปี ค.ศ.1975 มีการเสนอแนวความคิดที่จะติดอาวุธให้กับ RPV สำ�หรับภารกิจการโจมตีเป้าหมาย โดยจะต้องติดตัง้ อาวุธความแม่นยำ�สูงยิงจากระยะไกล เพือ่ ทีจ่ ะทะลุทะลวงระบบป้องกันภัยทางอากาศของข้าศึก และในกรณีของเป้าหมายหลัก เช่น โรงกลั่นน้ำ�มัน ให้ทำ�การโจมตีแบบ “คะมิกะเซะ” (การโจมตีแบบพลีชีพ) ต่อเป้าหมายนัน้ อากาศยานไร้คนขับแบบแรกของสหรัฐฯ ที่ตดิ อาวุธ ได้แก่ อากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธบี ินนาน แบบ Tier II ซึ่งพัฒนาขึ้นในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 และต่อมามีชื่อเรียกว่า RQ-1/MQ-1 Predator ติดตั้ง SAR (Synthetic Aperture Radar) ซึ่งสามารถมองเห็นภาพพื้นดินที่มีเมฆปกคลุมได้ ด้วยการใช้ระบบ GPS อากาศยานไร้คนขับแบบ Predator ทำ�ให้เกิดความแม่นยำ�สูงในการกำ�หนดพิกัด และเป็นอากาศยานไร้คนขับ แบบแรกที่ทำ�ให้เกิดการควบคุมแบบนอกสายตาด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านดาวเทียม ในปี ค.ศ.1996 จากประสบการณ์การใช้อากาศยานไร้คนขับในบอสเนีย กองทัพอากาศสหรัฐฯ จึงได้จัด ตั้งฝูงบินลาดตระเวนทางอากาศที่ฐานทัพอากาศอินเดียนสปริง (Indian Springs Air Force Base) เพื่อควบคุม การทำ�งานของ Predator การพัฒนาติดตั้งอาวุธนำ�วิถี AGM-114 กับอากาศยานไร้คนขับแบบ Predator ได้ เริ่มต้นก่อนเหตุการณ์ 9/11 แต่การใช้งานที่แท้จริงเริ่มขึ้นในปี ค.ศ.2007 หลังจากที่กลุ่มอัลกออิดะฮ์โจมตีใน เหตุการณ์ดังกล่าว กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้เริม่ ประจำ�การอากาศยานไร้คนขับทีใ่ หญ่กว่าและเร็วกว่า แบบ MQ-9 Reaper อากาศยานไร้คนขับแบบนี้ สามารถบรรทุกอาวุธนำ�วิถีพิสัยใกล้แบบ Hellfire 14 ลูก หรือ ลูกระเบิดนำ�วิถีด้วย เลเซอร์ขนาด 500 ปอนด์ แบบ GBU-12 Paveway II จำ�นวน 2 ลูก หรือ ลูกระเบิดนำ�วิถีด้วย GPS แบบ GBU-38 หรือ ลูกระเบิดนำ�วิถี JDAM จำ�นวน 2 ลูก พร้อมกับอาวุธนำ�วิถี Hellfire จำ�นวน 4 ลูก


๕๒ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

MQ-9 Reaper

ระบบอากาศยานไร้คนขับติดอาวุธ ควบคุมการทำ�งานจากระยะไกล ติดตั้งอาวุธนำ�วิถีพิสัยใกล้ ความแม่นยำ�สูง สามารถตอบสนองการโจมตีทางอากาศต่อเป้าหมายในสงครามยุคปัจจุบนั และในทศวรรษต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสงครามระหว่างรัฐกับกองกำ�ลังที่ไม่ใช่รัฐหรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง สงครามการก่อการร้ายสหรัฐฯ ประสบความสำ�เร็จในปฏิบตั กิ ารโจมตีทางอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับต่อเป้าหมายสำ�คัญทัง้ ในอัฟกานิสถาน อิรกั และปากีสถาน ในปัจจุบนั หลายประเทศจึงได้มกี ารพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับติดอาวุธ ซึง่ อาวุธนำ�วิถี พิสัยใกล้เป็นองค์ประกอบสำ�คัญของการโจมตีทางอากาศในลักษณะนี้


ธันวาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๕๓

จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทั้งในประเด็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ความไม่แตกต่าง ทางด้านสมรรถนะ ราคาต่อหน่วย และอากาศยานไร้คนขับติดอาวุธ จึงเป็นเหตุผลสำ�คัญที่ทำ�ให้อาวุธนำ�วิถี พิสัยใกล้ (Short-Range Missiles) เป็นวิวัฒนาการของการโจมตีด้วยอาวุธความแม่นยำ�สูงในทศวรรษต่อไป ประเทศผูผ้ ลิตอาวุธนำ�วิถพี สิ ยั ใกล้ในปัจจุบนั ยังคงมุง่ มัน่ ทีจ่ ะพัฒนาอาวุธดังกล่าวให้มสี มรรถนะสูงยิง่ ขึน้ ได้แก่ การเพิ่มระยะของเป้าหมาย ความสามารถในการนำ�วิถีได้หลากหลายรูปแบบ (การใช้ระบบนำ�วิถีหลายระบบ ในอาวุธแบบเดียวกันหรือแม้แต่ลูกเดียวกัน) ความสามารถในการติดตั้งได้ทั้งกับอากาศยานแบบปกติและ อากาศยานไร้คนขับ เป็นต้น นอกจากนี้หลายประเทศที่เริ่มมีศักยภาพก็สนใจที่จะทำ�การวิจัยและพัฒนาอาวุธ นำ�วิถีพิสัยใกล้โดยอาศัยองค์ความรู้ที่แพร่หลายมากขึ้นและขีดจำ�กัดของเทคโนโลยีที่น้อยลง ทั้งเพื่อการพึ่งพา ตนเองและความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ดังนั้นใน 1-2 ทศวรรษต่อจากนี้ อาวุธนำ�วิถีพิสัยใกล้ จะมีจ�ำ นวนเพิม่ มากขึน้ ในทุกประเทศ และจะถูกนำ�มาใช้ในการโจมตีทางอากาศสำ�หรับสงครามหรือความขัดแย้ง ในทุกภูมิภาคของโลกต่อไป  เอกสารอ้างอิง : - Barry D. Watts, “The Evolution of Precision Strike”, The Center for Strategic and Budgetary, 2013.

- Barry D. Watts, “Six Decades of Guided Munitions and Battle Networks: Progress and Prospective”, The Center for Strategic and Budgetary, 2007.


ลชทอ.๒๗ สายวิทยาการสารสนเทศ และสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ของกองทัพอากาศ กนผ.สนผ.ทสส.ทอ. ตามโครงสร้างการจัดหน่วยราชการของกองทัพอากาศ ปี ๕๒ มีการรวมหน่วยงานทีม่ ลี กั ษณะงานเดียวกัน ไว้ดว้ ยกัน ให้ส�ำ นักงานเทคโนโลยีสารสนเทศทหารอากาศ (สท.ทอ.) รวมกับบางหน่วยงานของกรมอิเล็กทรอนิกส์ ทหารอากาศ (อท.ทอ.) และกองยุทธการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ กรมยุทธการทหารอากาศ (กยสท.ยก.ทอ.) โดยใช้ชอื่ ว่า กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สารทหารอากาศ (ทสส.ทอ.) ทำ�หน้าทีเ่ ป็นกรมฝ่ายเสนาธิการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สารของกองทัพอากาศ และกำ�กับดูแลฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ (ฝทสส.ศปก.ทอ.) ต่อมาในปี ๕๖ อนุมัติให้ ทสส.ทอ.เป็นส่วนราชการ หน.สายวิทยาการ รับผิดชอบ สายงานสารสนเทศและสงครามอิเล็กทรอนิกส์ และดำ�เนินการในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ๑. แต่งตั้ง คณก.พิจารณาระบบการแยกประเภทกำ�ลังพลของหน่วย กำ�หนด ลชทอ. และกำ�หนดการ บรรยายลักษณะความชำ�นาญทหารอากาศของ น.สัญญาบัตร และ น.ประทวน เพือ่ แสดงถึงเส้นทางการเจริญเติบโต ของกำ�ลังพลในสายวิทยาการที่รับผิดชอบ ๒. ควบคุมสถานภาพ และจำ�นวนกำ�ลังพลประจำ�การในความรับผิดชอบ ตลอดจนกำ�หนดหลักสูตรของ สายวิทยาการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งหรือเลื่อนระดับความชำ�นาญ ลชทอ. โดยพิจารณาเนื้อหาสาระของ หลักสูตรจากหน้าที่และความรับผิดชอบ ๓. ให้การศึกษา การฝึกและอบรมวิทยาการ การควบคุมและดำ�เนินการฝึกงานในสายวิทยาการ ตลอดจน เสนอแนะ การบรรจุ การย้ายหรือเลื่อนตำ�แหน่ง การเปลี่ยนเหล่า และ/หรือจำ�พวกทหาร และการปลดกำ�ลังพล ในสายวิทยาการที่รับผิดชอบ ๔. รายงานขอแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกแบบธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการแยกประเภท กำ�ลังพล รายงานขอแก้ไข ลชทอ.หน้าที่ ของ นขต.ทอ.ในสายงานทีเ่ กีย่ วข้อง ตลอดจนควบคุม ตรวจตราให้ค�ำ แนะนำ� กำ�ลังพลในสายวิทยาการที่รับผิดชอบ


ธันวาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๕๕

 เลขหมายความชำ�นาญทหารอากาศ (ลชทอ.) เลขหมายความชำ�นาญทหารอากาศ เป็นความชำ�นาญการทางทหารของข้าราชการ ทอ.ที่กำ�หนด ไว้ตามสายวิทยาการของตนเอง เป็นเครื่องมือในการแยกประเภทกำ�ลังพลว่ามีความสามารถ และระดับของความ สามารถ ในด้านต่าง ๆ โดยแต่ละคนสามารถมี ลชทอ.หลัก ได้ ๑ หมายเลข และ ลชทอ.รอง ได้ ๒ หมายเลข โดย ลชทอ.หลัก มี หน.สายวิทยาการของตนเองดูแลการแต่งตัง้ และบริหารกำ�ลังพลในสายวิทยาการทีต่ นปฏิบตั ริ าชการ อยู่ ส่วน ลชทอ.รอง เป็นการแสดงถึงความสามารถด้านอื่น ๆ ที่กำ�ลังพลนั้น มีความชำ�นาญและสามารถปฏิบัติ งานนอกเหนือจากความชำ�นาญหลักที่ได้รับ ทั้งนี้เลขหมายความชำ�นาญจะได้รับจากการศึกษาและการอบรม ก่อนการบรรจุเข้ารับราชการ หรือการบรรจุแรกเข้ารับราชการของกำ�ลังพล หรือการเข้ารับการอบรมในหลักสูตร ต่าง ๆ ที่ หน.สายวิทยาการให้การรับรอง และจะได้รบั การเลือ่ นความชำ�นาญตามหลักเกณฑ์ที่ หน.สายวิทยาการ กำ�หนด ลชทอ.หน้าที่ เป็นการกำ�หนดคุณลักษณะของข้าราชการที่จะมาดำ�รงตำ�แหน่งในอัตราเฉพาะกิจ ทอ. เพื่อให้ตรงกับลักษณะของงานในหน้าที่นั้น ซึ่ง ลชทอ.หน้าที่ กำ�หนดไว้ชัดเจนว่า ต้องการกำ�ลังพลที่มีความชำ�นาญ และระดับของความชำ�นาญด้านใด เพือ่ ให้การบรรจุและโยกย้ายกำ�ลังพลเป็นไปตรงตามความต้องการของตำ�แหน่ง ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีการกำ�หนดเลขหมายความชำ�นาญทหารอากาศ (ลชทอ.) ของสายวิทยาการนี้ โดยกำ�ลังพลที่บรรจุอยู่ในสายวิทยาการสารสนเทศและสงครามอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่มาจากสายวิทยาการ สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ (ลชทอ.๓๐) หรือเป็นกำ�ลังพลที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ สำ�เร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่ใกล้เคียง ในปี ๕๗ ระเบียบ ทอ.กำ�หนดให้ ทสส.ทอ.เป็น หน.สายวิทยาการ รับผิดชอบจำ�พวกทหารสารสนเทศ และสงครามอิเล็กทรอนิกส์ โดยระบุคุณสมบัติของจำ�พวกทหารสารสนเทศและสงครามอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในหน้าที่ด้านระบบสารสนเทศ สงครามอิเล็กทรอนิกส์และสงครามไซเบอร์ ที่เกี่ยวกับ การบริหารจัดการและปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ระบบบัญชาการและควบคุม สงครามอิเล็กทรอนิกส์ และสงครามไซเบอร์ ดังนั้น ทสส.ทอ.จึงกำ�หนด ลชทอ. ให้กับกำ�ลังพลในสายวิทยาการที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ระเบียบ ทอ.กำ�หนด รวมทั้งกำ�หนด ลชทอ.หน้าที่ ให้กับ ตำ�แหน่งในอัตราเฉพาะกิจ ทอ. เพือ่ ให้สอดคล้องกับลักษณะงานของตำ�แหน่งและสามารถกำ�หนดผูท้ จี่ ะดำ�รงตำ�แหน่ง ได้อย่างเหมาะสม โดยใช้ ลชทอ.๒๗ มีเลขหมายความชำ�นาญทหารอากาศ คือ ๑. นายทหารสัญญาบัตร ได้แก่ ลชทอ.๒๗๑๖ ลชทอ.๒๗๑๕ และ ลชทอ.๒๗๑๓ ๒. นายทหารประทวน ได้แก่ ลชทอ.๒๗๑๙๐ ลชทอ.๒๗๑๗๐ ลชทอ.๒๗๑๕๐ และ ลชทอ.๒๗๑๓๐


ในสายวิทยาการสารสนเทศและสงครามอิเล็กทรอนิกส์มีการแบ่งกลุ่มของตำ�แหน่งในการกำ�หนด ลชทอ.หน้าที่ ที่เกี่ยวข้องไว้ ๒ กลุ่ม คือ กลุม่ ที่ ๑ กลุม่ ตำ�แหน่งทีม่ ลี กั ษณะงานสายวิทยาการสารสนเทศและสงครามอิเล็กทรอนิกส์เป็นการเฉพาะ มีหน้าที่ปฏิบัติงานด้านสารสนเทศและสงครามอิเล็กทรอนิกส์โดยตรง ไม่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ของสายวิทยาการอื่น ในการปฏิบัติงานให้กำ�หนด ลชทอ.หน้าที่ เป็น ลชทอ.๒๗ เพียงหมายเลขเดียว เช่น ตำ�แหน่ง น. และ จนท. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตำ�แหน่ง น.และ จนท.สงครามอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น กลุ่มที่ ๒ กลุ่มตำ�แหน่งที่มีลักษณะงานของสายวิทยาการอื่น ประกอบกับสายวิทยาการสารสนเทศ และสงครามอิเล็กทรอนิกส์ในการปฏิบัติงาน หรือต้องมีองค์ความรู้และความเข้าใจในสายวิทยาการอื่นควบคู่ ไปกับสายวิทยาการสารสนเทศและสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ควรกำ�หนด ลชทอ.หน้าที่ ให้มี ๒ หมายเลข คือ ลชทอ.ของสายวิทยาการเดิม และ ลชทอ.๒๗ คู่กันไป เช่น ตำ�แหน่ง น.หรือ จนท.กรรมวิธีข้อมูล เป็นต้น

การปฏิบัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

การปฏิบัติด้านสงครามอิเล็กทรอนิกส์

ด้วยเหตุนี้ ทสส.ทอ.จึงต้องพัฒนาหลักสูตรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร เพือ่ สร้างมาตรฐาน ความรูข้ องกำ�ลังพลในสายวิทยาการให้สามารถปฏิบตั งิ านในหน้าทีท่ ไี่ ด้รบั มอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในเบือ้ งต้น มีการจัดทำ�หลักสูตรจำ�นวน ๒ หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรนายทหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ หลักสูตรเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ต่อมาได้ถูกปรับปรุงให้ครอบคลุมเนื้อหาด้านสงคราม อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สอดคล้องกับการเป็น หน.สายวิทยาการด้านสารสนเทศและสงครามอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากการจัดฝึกอบรมในหลักสูตรพื้นฐาน ๒ หลักสูตรแล้ว ยังมีแผนในการเปิดหลักสูตรเฉพาะ ในแต่ละด้านเช่น หลักสูตรสงครามอิเล็กทรอนิกส์ หลักสูตรการปฏิบัติการไซเบอร์ และหลักสูตรด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและคอมพิวเตอร์ โดยมีการขออนุมตั ใิ ห้มเี ครือ่ งหมายแสดงความสามารถด้านสารสนเทศและสงคราม อิเล็กทรอนิกส์ ให้กับกำ�ลังพล ทอ.และบุคคลที่มีความสามารถในด้านนี้ ทสส.ทอ.ในฐานะกรมฝ่ายเสนาธิการ และ หน.สายวิทยาการ ด้านสารสนเทศและสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ของ ทอ. ได้บริหารกำ�ลังพลทั้งหมดในสายวิทยาการ โดยการประสานงานและร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการกำ�หนด ลชทอ.หน้าที่ ในอัตราเฉพาะกิจ ทอ. และแต่งตั้ง ลชทอ.๒๗ ให้กับกำ�ลังพล ซึ่งในปี ๕๘ ทอ.ได้ ปรับปรุงอัตราเฉพาะกิจโดยกำ�หนด ลชทอ.หน้าที่ ๒๗ ให้กับตำ�แหน่งที่เกี่ยวข้องกับสายวิทยาการสารสนเทศ และสงครามอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งแต่งตั้ง ลชทอ.รอง ๒๗ ให้กับกำ�ลังพลที่ดำ�รงตำ�แหน่งดังกล่าว ทำ�ให้กำ�ลังพล เดิมที่ปฏิบัติงานอยู่ในตำ�แหน่งของสายวิทยาการสารสนเทศและสงครามอิเล็กทรอนิกส์สามารถปฏิบัติงานเดิม ต่อไปได้ รวมทั้งได้พัฒนาหลักสูตรและจัดการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ ทสส.ทอ.สามารถกำ�กับดูแล และ บรรจุกำ�ลังพลในตำ�แหน่งของสายวิทยาการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป


ที่มา : เนื้อเรื่องสำ�คัญมาจาก ประวัติการยุทธทางอากาศ กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส พ.ศ. 2483 - 2484 / กองทัพอากาศ 2519

ตอนที่ 5 ต่อจาก PILOT HEAVEN

 การรบที่เกาะช้าง (ต่อ) ส่วนทางฝูงบินตรวจการณ์นั้น ตอนบ่าย จ.ท.จำ�รัส ม่วงประเสริฐ นักบิน และ พลฯ จำ�นง เข็มอนุสุข พลปืนหลัง ได้ออกบินตรวจการณ์ตามหน้าที่โดยบินลาดตระเวนระหว่างเกาะช้าง เกาะกง เกาะกูด เมื่อถึงเกาะช้าง เวลาประมาณ 16.30 น. ได้เห็นเรือรบของเราไม่น้อยกว่า 4 ลำ� จอดรวมกันอยู่ในอ่าว ทหารเรือบนเรือกำ�ลัง รับประทานอาหาร เมื่อบินโฉบลงมาต่ำ�ได้เห็นทหารเรือบนเรืออย่างชัดเจน ใส่เสื้อคอกลมขาว กางเกงขาสั้น สีกากี ถือจานโบกไม้โบกมืออย่างรื่นเริง วันรุ่งขึ้น 17 ม.ค.84 เวลาตีห้าเศษที่ฝูงบินเนินพลอยแหวนท้องฟ้ายังมืดอยู่ ทหารอากาศได้ยินเสียง ปืนใหญ่ดังพรึม ๆ นักบินที่ไปลาดตระเวนตรวจการณ์เมื่อวานนี้ นึกทันทีว่าเรือรบของเราที่จอดอยู่ในอ่าว คงจะ ถูกจู่โจมและระดมยิงแน่ ๆ ฝูงบินขับไล่อิสระจันทบุรีไม่ได้รับการติดต่อจากกองทัพเรือเลย แต่จากเหตุการณ์นี้


๕๘ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

ร.อ.บุญนำ� ฯ รอง ผบ.ฝูง ซึ่งทำ�การแทนได้วิทยุด่วนรายงานถึงแม่ทัพอากาศสนามทราบ พร้อมทั้งขออนุมัติ ไปทำ�การโจมตี และเมื่อได้รับอนุมัติจากแม่ทัพอากาศสนาม ซึ่งตอบว่าอนุมัติให้โจมตีได้ถ้าจำ�เป็น จึงได้สั่งให้ พ.อ.ต.อนันต์ ฯ เวรเตรียมพร้อมนำ�เครื่องบินออกไป โดยเครื่องบินเตรียมพร้อมติดลูกระเบิดขนาด 50 กก. บินออก ไปยังเกาะช้าง และสั่งให้ ร.ท.ประสงค์ ฯ นำ�หมู่ที่ 2 ตามออกไป โดยมี จ.อ.อุทัย สังเนตร เป็นหมายเลข 2 และ จ.อ.หิรัญ ศิริพรรค เป็นหมายเลข 3 หัวหน้าหมู่ติดระเบิดขนาด 250 กก. เพียงเครื่องเดียว ลูกหมู่ทั้งสอง ติดระเบิดขนาด 50 กก. ร.ท.ประสงค์ ฯ ได้นำ�หมู่ที่ 2 วิ่งขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 08.00 น. เมื่อเครื่องบินขับไล่ หมูแ่ รกกลับลงมา ได้มารายงานว่า ร.ล.ธนบุรี ถูกเรือรบข้าศึกยิงไฟไหม้ ร.อ.ถนอม ปิณฑแพทย์ ผบ.ฝูงตรวจการณ์ ได้สั่งให้ พ.อ.ต.อัจน์ สุรีโยธิน เป็นหัวหน้าหมู่ จ.ท.จำ�รัส ม่วงประเสริฐ เป็นหมายเลข 2 บินไปตรวจการณ์ค้นหา เรือรบข้าศึก เมื่อพบก็ให้ทิ้งระเบิดทำ�ลายทันที ฝูงบินขับไล่อิสระจันทบุรี หมู่ที่ 2 ที่ ร.ท.ประสงค์ ฯ นำ�ไปนั้น ได้บินไปในระยะสูงประมาณ 3,000 เมตร ท้องฟ้ามีเมฆกระจายเต็มไปหมด เมื่อบินเลยเกาะช้างไปได้หน่อยก็เห็นเรือรบลามอตต์ ปิเกต์ ได้อย่างชัดเจน กำ�ลังแล่นโชน เห็นพรายน้ำ�ท้ายเรือเป็นทางขาวยาว มีเรือลำ�อื่น ๆ วิ่งขนาบข้างทั้งซ้ายขวา เรือรบลามอตต์ ปิเกต์ ลำ�ใหญ่มาก ใหญ่กว่าเรือที่แล่นขนาบข้างมา เข้าใจว่าคงจะปฏิบัติภารกิจเสร็จแล้ว และรวมกองเดินทางกลับ ร.ท.ประสงค์ ฯ ได้ส่งสัญญาณให้ลูกหมู่ดำ�ลงทิ้งระเบิด เรือรบลามอตต์ ปิเกต์ รู้ตัว จึงใช้ยุทธวิธีหลบเครื่องบิน โดยการแล่นตีวง ร.ท.ประสงค์ ฯ ได้ดำ�ลงด้วยมุมลบ 3 องศา เพราะการดำ�ลงด้วยมุม 90 องศา เครื่องบินยังคง อืดไปข้างหน้าจึงแก้เพื่อให้ดิ่งตรงเป้า แต่เรือรบข้าศึกก็รู้วิธีหลบหลีกตีวงหมุนไม่ให้เป็นเป้านิ่ง ร.ท.ประสงค์ ฯ ก็ต้องบิดเครื่องบินตาม บิดแรงก็ไม่ได้ เร็วก็ไม่ได้ ที่หมายมันเคลื่อนที่ไปเรื่อย ร.ท.ประสงค์ ฯ ดำ�ลงต่ำ�มากแล้ว จึงปลดลูกระเบิดขนาด 250 กก. ขณะนั้นปืนเรือข้าศึกได้ยิงสวนขึ้นมาเป็นการใหญ่ เห็นแนวกระสุนส่งวิถีเป็น ทางสวนขึ้นมาเนื่องจากดำ�ลงต่ำ�มาก เมื่อเวลาดึงเงยเครื่องขึ้นจึงต้องตกท้องช้างต่ำ� แล้วก็ดึงขึ้นไปคอยเกาะหมู่ ไม่เห็นตำ�บลที่ลูกระเบิดตก แต่ จ.อ.อุทัย ฯ หมายเลข 2 ซึ่งคอยอยู่ข้างบน ได้เห็นการดำ�ลงทิ้งระเบิดของหัวหน้าหมู่ ซึง่ ดำ�ลงต่�ำ มากจนเป็นห่วงและได้เห็นลูกระเบิดของหัวหน้าหมูต่ กลงกลางท้ายเรือรบลามอตต์ ปิเกต์ แต่ลกู ระเบิด คงด้าน เพราะเห็นมีฝุ่นขาวฟุ้งกระจายขึ้นมาแทนที่จะเป็นการระเบิด หมายเลข 2 และหมายเลข 3 ได้ดำ�ลง ทิ้งระเบิดตาม แต่ลูกระเบิดตกห่างจากเรือรบข้าศึกทางด้านท้ายเรือ หัวหน้าหมู่บินรอดูการทิ้งระเบิดอยู่ข้างบน เมื่อลูกหมู่ทิ้งระเบิดเสร็จแล้วก็บินขึ้นมาเกาะหมู่แล้วบินกลับ ขากลับผ่านทางแหลมงอบ เห็นเรือรบลำ�หนึ่งหงายท้อง เกยตื้นอยู่ ทราบภายหลังว่าเป็น ร.ล.ธนบุรี ส่วนฝูงตรวจการณ์นั้นก็ได้ยินเสียงปืนเรือเช่นกัน จึงได้ส่งหมู่ เครื่องบินตรวจการณ์ ซึ่งมี พ.อ.ต.อัจน์ ฯ เป็นหัวหน้าหมู่ และ จ.ท.จำ�รัส ฯ เป็นหมายเลข 2 ได้บินออกไปถึง เกาะช้างก่อนหน้า เครือ่ งบินฝูงขับไล่บนิ วนดูเห็น ร.ล.ธนบุรี เอียงกระเท่เร่ มีไฟลุกกลางลำ�เป็นควันดำ� มีเรือช้าง กระหนาบข้างอยู่ ได้บินวนดูรอบเกาะช้างไม่พบเรือข้าศึกจึงคิดว่าเรือรบข้าศึกคงรีบแล่นออกทะเลลึกแล้ว เพราะเกรงจะถูกเครื่องบินโจมตี จึงได้ถือเข็มตะวันตกบินออกตามไปกลางทะเลหลวง ทัศนวิสัยขณะนั้นค่อนข้างแย่


ธันวาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๕๙

มีเมฆในระยะต่ำ�เป็นจำ�นวนมาก มีช่องว่างเห็นพื้นน้ำ�ได้เป็นครั้งคราว ในที่สุดก็พบช่องว่าง เห็นเรือปืนขนาดใหญ่ ดาดฟ้ามีสแี ดงเรือ่ ๆ มีเรือสีขาวขนาบมาในระยะห่าง ข้างละ 3 ลำ� แล่นเป็นหน้ากระดาน เรือใหญ่น�ำ ล้�ำ หน้าเล็กน้อย รวม 7 ลำ� หัวหน้าหมู่จึงชี้ให้ดูและทำ�สัญญาณให้ลงโจมตี ขณะนั้นมีควันสีดำ�ลอยอยู่รอบเครื่องบิน นอกจาก ควันสีดำ�แล้วบางกลุ่มมีแสงไฟแลบด้วย ลูกควันดำ�สูงบ้างต่ำ�บ้าง รู้ทันทีว่าถูก ปตอ.ข้าศึกยิง บางลูกผุดขึ้นมา ทางซอกปีกจนทำ�ให้เครื่องบินเอียงวูบ มองลงไปข้างล่างเห็นแสงไฟจากเรือรบข้าศึกทั้ง 6 ลำ� แลบเป็นไฟเป็นระยะ พร้อมกัน หัวหน้าหมู่จึงให้สัญญาณดึงขึ้น ขณะนั้นเราบินด้วยระยะสูง 1,500 เมตร จึงดึงขึ้นมาในระยะสูง 2,000 เมตร ควันดำ�ทีแ่ ตกในอากาศค่อย ๆ ลดน้อยห่างออกไป หัวหน้าหมูไ่ ด้ให้สญ ั ญาณแยกกันลงโจมตี เมื่อดำ�ลงทิ้งระเบิด จ.ท.จำ�รัส ฯ นักบินหมายเลข 2 ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “เรือลามอตต์ ปิเกต์ หยุดเดินหน้า แต่กลับลำ�อยู่กับที่ กลับลำ�ได้คล่องอย่างเรือจ้าง ไม่พยายามที่จะให้หัวเรือหรือท้ายเรือของเราหันข้างให้ เมื่อดำ�ลงถึงระยะ 1,500 เมตร ก็พบกระสุนปืน ปตอ.ข้าศึกยิงต้านทานอย่างหนาแน่น จึงได้ปลดลูกระเบิดลงแล้วรีบดึงขึ้น” ไม่สามารถมอง เห็นตำ�บลระเบิดตกได้ เนื่องจากอยู่กลางอากาศเหนือทะเลหลวงอ้างว้างไปหมด ไม่มีที่สังเกตจึงไม่ทราบว่าอยู่ ทิศใด เมื่อขาบินออกมาถือเข็มตะวันตก ฉะนั้นนักบินจึงถือเข็มตรงข้าม คือ ทิศตะวันออกบินกลับ ขณะบินกลับมา มองเห็นชายฝั่งจังหวัดตราด ได้สวนทางกับฝูงบินตรวจการณ์ จำ�นวน 8 เครื่อง ซึ่ง ร.อ. ถนอม ปิณฑะแพทย์ ผบ.ฝูงตรวจการณ์ กำ�ลังบินติดตามออกไป จ.ท.จำ�รัส ฯ อยากจะบอกทิศทางของเรือรบข้าศึก แต่ก็ไม่สามารถ ส่งข่าวบอกได้และตามฝูงบินขับไล่นั้นไม่ทันเสียแล้ว เมื่อ น.ต.ประวาส ฯ ผบ.ฝูง ได้ทราบข่าวก็รีบเดินทางกลับ ดอนเมืองมาจังหวัดจันทบุรี และได้น�ำ ฝูงบินขับไล่ตดิ ตามออกไปอีก จนเกือบถึงเมืองเรียม ฐานทัพเรือของข้าศึก ก็ไม่พบเรือรบลามอตต์ ปิเกต์ จึงได้บินกลับซึ่งเป็นเวลาค่ำ�พอดี วันรุ่งขึ้น 18 ม.ค. 84 ตอนบ่าย กองทัพเรือได้วิทยุแจ้งมาว่า ขณะนี้เรือรบข้าศึกขนาดใหญ่มุ่งจะโจมตี แหลมสิงห์ ขอให้เครื่องบินไปช่วยเหลือด่วน ผบ.ฝูงบินขับไล่ จึงสั่งให้ ร.ท.ประสงค์ ฯ นำ�หมู่ออกไปโดยให้ ทุกเครื่องติดลูกระเบิดขนาด 250 กก. และกำ�ชับว่าคราวนี้ต้องทิ้งให้ถูก ร.ท.ประสงค์ ฯ จึงนำ�หมู่ไปด้วยระยะ ต่ำ� ๆ เพียง 500 เมตร เมื่อไปถึงแหลมสิงห์ เห็นเรือรบลำ�หนึ่งกำ�ลังแล่นเข้ามา จึงบินปราดเข้าไป พอใกล้ก็เห็น เป็น ร.ล.ศรีอยุธยา จึงได้บินผ่านเลยออกไปค้นหาเรือรบข้าศึกในท้องทะเล ค้นหาอยู่นานก็ไม่พบ จึงกลับมา รายงาน ผบ.ฝูง ซึ่ง ผบ.ฝูง ได้บอกว่า “พอเครื่องบินของเราบินขึ้นไปสักครู่ ทางกองทัพเรือโทรเลขมาบอกว่า เป็น ร.ล.ศรีอยุธยา ขอโทษด้วยทีส่ ง่ ข่าวผิด” และในวันรุง่ ขึน้ น.ท.ขุนรณนภากาศ ก็ได้น�ำ ฝูงบินนาโกย่า ไปโจมตี ทิ้งระเบิดเมืองเรียม ฐานทัพเรือข้าศึกเป็นการตอบแทน สำ�หรับการปฏิบัติการของฝูงบินขับไล่อิสระจันทบุรีนี้ ได้ประมวลเรื่องราวการปฏิบัติการของนักบิน ทั้งฝูงบินขับไล่และตรวจการณ์ซึ่งส่วนมากยังมีชีวิตอยู่ (ปีที่บันทึก พ.ศ. 2519) ทั้งจากการให้สัมภาษณ์และ ข้อเขียนที่ส่งตรงมายังคณะกรรมการฯ พร้อมทั้งข้อคิดเห็น ได้พิจารณาเห็นสมควรนำ�ลงไว้เพื่อเป็นหลักฐาน


1. การติดต่อสือ่ สารของเรามีขอ้ เสียอยูม่ าก เครือ่ งบินไม่มวี ทิ ยุ การติดต่อระหว่างฝูงบินกับกองเรือติดต่อ กันไม่ได้ และไม่เคยมีการติดต่อประสานงานกันเลย ระบบการรบร่วมไม่มี 2. เครื่องบินของเราสมัยนั้น เครื่องบินแบบ 17 ฮอว์ค 3 นับว่าดีที่สุดแล้ว แต่อุปกรณ์การบินมีอยู่เพียง เท่านั้น วิทยุก็ไม่มี ระบบการยิงปืนเป็นปัญหาสำ�คัญ เพราะปืนกลอากาศยิงลอดวงใบพัดของตนเอง ปรากฏ ผลเสียหายมาหลายเครื่องแล้ว 3. เครือ่ งบินทีใ่ ช้นเี้ ป็นเครือ่ งบินบก ไม่ใช่เครือ่ งบินทะเล การบินลึกออกห่างจากฝัง่ ไกล ๆ ไปในทะเลหลวง มีอันตรายอย่างยิ่ง แต่ฝูงบินขับไล่อิสระจันทบุรีก็ได้บินออกลาดตระเวนไปไกลในทะเลหลวง 4. การที่ไม่สามารถจมเรือรบข้าศึกได้ สธ.3 หรือแผนกยุทธการ ทอ. ในครั้งกระนั้น มีความเห็นว่า ทิ้งระเบิดสูงไป แต่นักบินผู้ทิ้งระเบิดสมัยนั้นได้แถลงว่า ได้ดำ�ทิ้งระเบิดถูกต้องตามหลักยุทธวิธีทุกประการ แต่ ที่เรือรบข้าศึกไม่จมนั้น เพราะลูกระเบิดขนาดใหญ่ที่ตกลงบนเรือนั้นมันด้าน ส่วนลูกระเบิดที่ตกข้างเรือนั้น ก็ขนาดเล็กไป อย่างไรก็ตามในการรบทีเ่ กาะช้างนี้ นับเป็นครัง้ แรกในประวัตศิ าสตร์ของชาติไทย ทีก่ �ำ ลังทางอากาศ เข้าปฏิบัติการรบต่อกองเรือรบข้าศึก และทำ�ให้กองเรือข้าศึกซึ่งอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบอยู่ขณะนั้นไม่กล้า ที่จะปฏิบัติการขยายผลต่อไป การปฏิบัติการของทหารอากาศแห่ง บน.ผสมพิเศษ จันทบุรีในครั้งนี้ จึงควร แก่การจารึกไว้เป็นเกียรติประวัติของกองทัพอากาศสืบไป  (ฉบับหน้าติดตาม การรบของหมู่บินฮอว์ค 75)


ภาษาไทยด้วยใจรัก

น ย ี ีน้เข

้ ี น ง า ่ อย

คำ�

นวีร์

ผูเ้ ขียนชอบกินอาหารชนิดหนึง่ ซึง่ หลายคนเขียนว่า ปอเปีย๊ ะ คำ�นีไ้ ม่มใี นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน มีแต่เปาะเปี๊ยะ โดยให้คำ�อธิบายว่า “ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง โดยนำ�แป้งสาลีมาทำ�ให้สุกเป็นแผ่นกลมบาง ๆ เรียกว่า แผ่นเปาะเปี๊ยะแล้วห่อถั่วงอกลวก หมูตั้งหรือกุนเชียง ชิ้นเต้าหู้ต้มเค็ม และแตงกวา ราดด้วยน้ำ�ปรุงรสข้น ๆ รสหวานเค็ม โรยหน้าด้วยเนื้อปู และไข่หั่นฝอย หรือห่อรวมไว้ในแผ่นเปาะเปี๊ยะก็ได้ กินกับต้นหอมและพริกสด เรียกว่า เปาะเปี๊ยะสด ชนิดที่ใช้แผ่นเปาะเปี๊ยะห่อไส้ที่ประกอบด้วยวุ้นเส้น ถั่วงอก เนื้อไก่หรือหมูสับ เป็นต้น ทีล่ วกสุก แล้วนำ�ไปทอดกิน กับ ผักสดต่าง ๆ เช่น ใบโหระพา สะระแหน่ และน้�ำ จิม้ ใสอมเปรีย้ ว เรียกว่า เปาะเปีย๊ ะทอด” คุณผู้อ่านคงเขียนและเรียกได้ถูกต้องนะ อาหารอีกชนิดหนึ่งที่มักจะเขียนผิดเสมอ เป็นอาหารที่ถือว่าเป็นยอดนิยมของประเทศ คือ แกงมัสมั่น (มัด-สะ-หมั่น) เป็นชื่อแกงชนิดหนึ่ง น้ำ�แกงข้น เป็นแกงอย่างมุสลิม ใช้เนื้อหรือไก่ เป็นต้น ชิ้นโต ๆ ปรุงด้วย เครื่องเทศ มีรสเค็มหวานและออกเปรี้ยวเล็กน้อย มักเขียนผิดเป็น มัสหมั่น ยังวนเวียนอยู่กับของกิน ผู้เขียนเห็นป้ายหน้าร้านอาหารเขียนว่า ปลาอินทรีย์แดดเดียวทอด ก็อด เอามาเขียนถึงไม่ได้ ปลาอินทรี ไม่ตอ้ งมี ย์ เป็นชือ่ ปลาทะเลขนาดใหญ่ ลำ�ตัวยาวเรียว แบน หัวแหลม ปากกว้าง ถ้าเขียน อินทรีย์ มี ย์ จะหมายถึง ร่างกายและจิตใจ เช่น สำ�รวมอินทรีย์ หรือแปลว่า สติปัญญา เช่น อินทรีย์แก่กล้า ตอนนี้ได้ชื่อของกินที่ถูกต้องมา ๓ คำ�แล้ว คือ เปาะเปี๊ยะ แกงมัสมั่น ปลาอินทรีแดดเดียว ขอกล่าวถึง คำ�อื่น ๆ ที่มักจะเขียนผิดบ้าง ข้าวกบหม้อ หมายถึง ข้าวแน่นหม้อ เต็มหม้อ (กบ หมายถึง แน่น เต็ม เช่น เลือดกบปาก) มักเขียนผิด เป็นข้าวกลบหม้อ (กลบ หมายถึง โรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง เช่น ดินกลบหน้า) กรวดน้ำ� หมายถึง แผ่ส่วนบุญด้วยวิธีหลั่งน้ำ� (แต่มีสำ�นวนว่า กรวดน้ำ�คว่ำ�ขันหรือกรวดน้ำ�คว่ำ�กะลา หมายความว่า ตัดขาด ไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย) มักเขียนผิดเป็น ตรวจน้ำ�


๖๒ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

กระหนก หมายถึง ลายไทย มักเขียนผิดเป็น กนก ซึ่งแปลว่า ทอง กากบาท (กา-กะ-บาด) หมายถึง ชื่อเครื่องหมายอย่างตีนกา (มีรูป + หรือ x หรือใช้ + เป็นเครื่องหมาย วรรณยุกต์บอกเสียงจัตวา) มักเขียนผิดเป็น กากะบาทหรือกากบาด ขบวนการ หมายถึง กลุม่ บุคคลทีร่ วมกันเพือ่ ดำ�เนินการอย่างใดอย่างหนึง่ มักเขียนผิดเป็น กระบวนการ ซึ่งหมายถึง กรรมวิธีหรือลำ�ดับการกระทำ�ซึ่งดำ�เนินต่อเนื่องกันไปจนสำ�เร็จ เข้ารีต หมายถึง เปลี่ยนไปถือศาสนาอื่น มักเขียนผิดเป็น เข้ารีด คทา หมายถึง ตะบอง มักเขียนผิดเป็น คธา ครอก หมายถึง ฝูงลูกสัตว์ที่เกิดร่วมกันในคราวเดียว มักเขียนผิดเป็น คลอก ซึ่งหมายถึง ไฟล้อมเผา ออกมาไม่ได้ งึมงำ� หมายถึง พูดหรือบ่นพึมพำ� มักเขียนผิดเป็น งึมงัม จัตุรมุข หมายถึง อาคารที่มี ๔ มุข มักเขียนผิดเป็น จตุรมุก จัตุรมุก หรือจตุรมุข (ผู้มี ๔ หน้า คือ พระพรหม) ฉันญาติ หมายถึง เสมอเหมือนญาติ มักเขียนผิดเป็น ฉันท์ญาติ ฉันท์ญาต หรือฉันญาต เชาวน์ หมายถึง ปฏิภานไหวพริบ มักเขียนผิดเป็น เชาว์ ซึ่งแปลว่า เร็ว โชห่วย หมายถึง ของชำ� ร้านของชำ� เป็นภาษาจีน มักเขียนผิดเป็น โชว์ห่วย ไชเท้า ไช้เท้า หมายถึง ผักกาดหัว เป็นภาษาจีน มักเขียนผิดเป็น ไชท้าว หรือ ไช้ท้าว คำ�นี้มีเรื่องเล่าถึงป้ายหน้าร้านขายอาหารแห่งหนึ่ง ซึ่งขายอาหารประเภทผัด ๆ เช่น ผัดไทย (เขียน ผัดไทย นะ ไม่ใช่ ผัดไท) ขนมผักกาด (ของคาวชนิดหนึ่ง ทำ�ด้วยแป้งผสมหัวผักกาด นึ่งให้สุก แล้วผัดกับถั่วงอก ผักกุยช่าย) เขาเขียนโฆษณาว่า ผัดไทย ขนมผักกาด ไช้เท้าผัด ไม่ทราบว่ามีจริงหรือไม่นะ ซ่าหริ่ม หมายถึง ชื่อขนมทำ�ด้วยแป้งถั่วเขียวลักษณะเป็นเส้นเล็ก ๆ และยาว มีหลายสี กินกับกะทิ ผสมน้ำ�เชื่อมใส่น้ำ�แข็ง มักเขียนผิดเป็น ซะหริ่ม ซาหริ่ม สลิ่ม โซม หมายถึง เปียก ทั่ว เช่น เหงื่อโซมกาย มักเขียนผิดเป็น โทรม ซึ่งหมายถึง เสื่อมสภาพเดิม ฌาน หมายถึง ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์ หรือการเพ่งอารมณ์จนจิตแน่วแน่ เป็นสมาธิแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ รูปฌาน กับ อรูปฌาน มักเขียนผิดเป็น ฌาณ ญาณ หมายถึง ปัญญาหยั่งรู้หรือกำ�หนดรู้ที่เกิดจากอำ�นาจสมาธิ หรือความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษ มักเขียนผิดเป็น ญาน ฉบับนี้ขอนำ�เสนอคำ�นี้เขียนอย่างนี้ เพียง ๒๑ คำ� ฉบับหน้าจะนำ�เสนอคำ�นี้เขียนอย่างนี้ เพิ่มเติมอีก และท่านผู้อ่านจะคิดได้ว่า เราเขียนคำ�นี้ผิดมานาน ซึ่งความจริงก็ไม่มีปัญหาอย่างใดถ้าเข้าใจกันได้ แต่ควรเขียน ให้ตรงตามหลักการที่ถูกต้อง  (อ่านต่อฉบับหน้า)


ปริศนาอักษรไขว้

ประจำ�เดือน ธันวาคม ๒๕๕๘

มีน

๑. ให้หาคำ�มาเติมในช่องว่างทั้งแนวตั้งและแนวนอน โดยดูจากความหมายที่ให้มา ๒. แต่ละช่องเติมได้ ๑ ตัวอักษร สระบน สระล่าง และวรรณยุกต์ ให้เติมไว้กบั ตัวอักษรช่องเดียวกัน ส่วนสระหน้าและสระหลัง ให้แยกช่องต่างหาก


๖๔ ข่าวทหารอากาศ  แนวตั้ง ๑. นา ที่นา ๒. ชื่อศรของอินทรชิตที่แผลงเป็นบ่วงนาค ๓. ผู้สำ�รวมอินทรีย์ พระภิกษุ ๔. ดวงตา ๕. ชื่อกับข้าวชนิดหนึ่งคล้ายห่อหมก ๖. ซัดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือ ห่อด้วยใบไม้ เช่น ใบตองแล้วปิ้งไฟ ๗. ทหารที่ทำ�หน้าที่ฝ่ายรบ ๘. เอกสารสัญญาที่ทำ�ขึ้นตามกฎหมายกำ�หนด เป็นคำ�ย่อ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กรมธรรม์ ๑๐. ชื่อพิธีเริ่มไถนา ๑๒. ประสมกัน ๑๔. กงที่มีรูสำ�หรับน้ำ�เดินที่ท้องเรือ ๑๖. เมฆ ๑๙. หญิงงาม ๒๑. อาการที่พูดยานคาง ๒๒. เอาฝ่ามือตบกันหลาย ๆ ครั้ง ให้เกิดเสียงเพื่อ แสดงความยินดี ๒๓. แผนภูมิเครือญาติ ๒๔. เศร้ารันทดใจเพราะต้องจากกัน เวลาพูดถึง มักทำ�ให้น้ำ�ตาไหล ๒๘. เอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ด้วยอาการซ่อนเร้น ๓๐. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มีดำ�เนินกลอนอย่างกาที่บินไป ๓๑. สายธนู ๓๔. ความรู้สึกตัว ๓๖. ลูกสาวคนที่ ๓ ๓๗. คำ�ที่พระสงฆ์ เรียก บิดามารดาของตนหรือ คนรุ่นเดียวกับบิดามารดาของตน ๔๑. ทำ�เครื่องหมายเป็นรูปกากบาท

ธันวาคม ๒๕๕๘

แนวนอน  ๑. นางพี่เลี้ยง ๔. นางงามเมื่อแรกรุ่น ๙. คนในวงวานที่ยังนับรู้กันได้ทางเชื้อสายฝ่ายพ่อ หรือฝ่ายแม่ ๑๐. กลอุบาย ๑๑. ใช้เรียกทองนอกหรือทองที่มีกะรัตต่ำ�ลงมา กว่าทองแท้ คือ มีโลหะอื่นเจือปน ๑๒. บำ�รุงเลี้ยงดูให้สมบูรณ์ ๑๓. ช้างสีดอหรือช้างตัวผู้ มีงาสั้น ๑๕. กลุ่มบุคคลที่รวมกันเพื่อทำ�การอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑๗. ชื่อไม้ไผ่ไม่มีหนาม ปล้องสั้น เนื้อหนา ใช้จักตอก ๑๘. ชื่อปาล์มชนิดหนึ่ง ใบใหญ่ ดอกแยกเพศ ผลใหญ่ กลมโตเป็นทะลาย ๒๐. สถานที่ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประชุมหรือ ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชนในชุมชนนั้น ๆ ๒๕. มุ่งพบ ไปพบ ๒๖. เครื่องเรือนที่ยึดเสาและรองตง ทำ�ด้วยไม้ เป็นต้น ๒๗. หมุนตัวตีศอกทางด้านหลัง เป็นท่ามวยไทยท่าหนึ่ง โดยปริยาย หมายความว่า ย้อนว่า ๒๙. ความยินดี ความรัก ๓๐. ดอกบัว ๓๒. ไม่ตรงตามแนว ไม่เป็นระเบียบ ๓๓. ชื่อซอชนิดหนึ่ง มีกะโหลกทำ�ด้วยกะลามะพร้าว ใช้หนังปิดด้านหนึ่ง มีสายสามสาย ๓๕. ลักษณะการพิมพ์ให้เป็นสีตั้งแต่สองสีขึ้นไป ๓๘. ญาติ (ภาษาปาก) ๓๙. มีกลีบชั้นเดียว ไม่ซ้อนกัน ๔๐. ยกย่อง สรรเสริญ ๔๒. ใช้จมูกสูดกลิ่น ๔๓. ดี ๔๔. พูด กล่าว (ภาษาถิ่นอีสานและพายัพ) ๔๕. ทักไว้ ท้วงไว้

(เฉลยอยู่หน้า ๘๔)


ครูภาษาพาที

ว่าด้วยเรื่อง... ก.เอ๋ย ก.ไก่ (ตอนที่ ๑) Sora

ผู้คนเถียงกันมานานแล้วว่าไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน ถ้าตอบว่าไก่เกิดก่อน บางคนก็จะแย้งว่าถ้าไม่มีไข่ แล้วไก่จะเกิดได้อย่างไร ? อ้าว!!! แล้วถ้าไม่มีไก่ ไข่จะมาจากไหนวนกันเป็นงูกินหางอยู่อย่างนี้ และในที่สุดก็มี นักวิจัยกลุ่มหนึ่งออกมาเฉลยปัญหาโลกแตก ซึ่งมีการเผยแพร่ข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษในโลกออนไลน์ ระบุว่า “Scientists finally concluded that the chicken came first, not the egg, because the protein which made egg shell was only produced by hens.” แปลเป็นไทยก็คือ “นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อสรุป แล้วว่าโปรตีนที่สร้างเปลือกไข่นั้น มีไก่เท่านั้นที่ผลิตออกมาได้” สรุปคือ ต้องมี “ไก่” ถึงจะสามารถมี “ไข่” ได้ ซึ่งเรื่องนี้ ว่าที่ร้อยตรี รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นเรื่องจริง ไก่สามารถสร้างโปรตีนชื่อว่า “Ovocledidin17” หรือตัวย่อ OC17 ซึ่งเป็นสิ่งจำ�เป็นในการเริ่มต้นและเร่งกระบวนการตกผลึกของเปลือกไข่ให้แข็ง เพื่อใช้เป็นบ้านของลูกเจี๊ยบ (chick) ตัวน้อยที่จะค่อย ๆ พัฒนาจากไข่แดง (egg yolk) และไข่ขาว (egg white) ซึ่งโปรตีน OC17 นี้ พบ ได้เฉพาะในรังไข่ (ovary) ของแม่ไก่เท่านัน้ จากการค้นพบนีน้ กั วิจยั จากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ (The University of Sheffield) และมหาวิทยาลัยวอร์ริค (The University of Warwick) ประเทศอังกฤษ จึงสรุปว่า ไก่เกิดก่อน เพราะต้องมีแม่ไก่ที่มีสาร OC17 ในรังไข่ก่อน แม่ไก่จึงออกไข่ได้


๖๖ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

ในขณะที่ศาสตราจารย์ จอห์น บรูคฟิลด์ จากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม (The University of Nottingham) ประเทศอังกฤษ ได้ออกมาโต้แย้งโดยอ้างอิงข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์วา่ สายพันธุกรรมจะไม่มวี นั เปลีย่ นแปลง ไปตลอดวงจรชีวิต (life cycle) ของสัตว์ ดังนั้นนกตัวแรกที่มีวิวัฒนาการมาเป็นลูกไก่จะต้องเกิดจากตัวอ่อน ภายในไข่มาก่อน และสิ่งมีชีวิตที่อยู่ภายในไข่ต้องมีดีเอ็นเอ (DNA) แบบเดียวกันกับลูกไก่ที่เกิดขึ้นมาด้วย ดังนั้น ไข่จึงเกิดก่อนไก่แน่นอน ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้สอดคล้องกับบทความในหนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์ “รู้ไว้ใช่ว่า” ที่เคย นำ�เสนอโดยนักวิชาการซึ่งให้คำ�ตอบว่า ไข่เกิดก่อนไก่แน่นอน เหตุผลก็คือ ไก่เป็นลูกหลาน (descendant) ของนกโบราณที่เรียกว่า “อาร์เคออปเทริกซ์” (Archaeopteryx) หรือรู้จักกันในภาษาเยอรมันว่า “อูร์ฟอเกิล” (Urvogel) นกต้นกำ�เนิดหรือนกชนิดแรกที่อาศัยอยู่บนโลกเมื่อ ๑๕๐ ล้านปีก่อน มันวางไข่ขยายพันธุ์และมี วิวัฒนาการจนมาเป็นบรรพบุรุษของไก่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามต้องขอบคุณนักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยที่ให้ความรู้แก่เรา ถึงแม้จะฟันธงหรือ ตอบไม่ได้เต็มปากว่าอะไรเกิดก่อนกัน แต่ที่แน่ ๆ เรามาหาคำ�ตอบกันดีกว่าว่า “มนุษย์เราเริม่ บริโภค ไก่กันมาแต่เมื่อไร” และ “อาหารจานเด็ดที่นิยม กันทั่วโลก” มีอะไรบ้าง

 สัตว์ปีก (poultry) คำ�ว่า “poultry” ออกเสียงว่า พัลทริ เป็นคำ� เรียกสัตว์ปีก เช่น ไก่ ไก่งวง เป็ด และห่าน ทั้งประเภท ที่เราเลี้ยงเพื่อการบริโภคเนื้อ เก็บไข่ หรือการนำ�ตับมา รับประทาน โดยเฉพาะตับห่านทีถ่ กู นำ�มาทำ�เป็นอาหาร จานเด็ดที่มีชื่อว่า ฟัวกาส์ (Foie Gras) ซึ่งเป็นอาหาร ยอดนิยมของชาวฝรั่งเศส ตลอดจนสัตว์ปีกที่บรรดา นายพราน (hunters) ล่ามาได้เพื่อการบริโภคเนื้อ อย่างนกพิราบ (pigeon) หรือไก่ป่า (wildfowl) ส่วนที่มาของคำ�ว่า poultry นั้นมาจากคำ�ว่า poule ในภาษาฝรั่งเศส อันมีที่มาจากคำ�ในภาษาละติน pullus ซึ่งมีความหมายว่า “สัตว์ตัวเล็ก” เหตุผลหนึ่ง ที่ทำ�ให้เรารับประทานเนื้อของสัตว์ปีกกันมากเพราะมีรสชาติดี และในสมัยก่อนการล่าสัตว์ปีกตัวเล็ก ๆ คงง่าย และอันตรายน้อยกว่าการล่าสัตว์ตัวใหญ่


ธันวาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๖๗

 เลือกรับประทานสัตว์ปีกชนิดใดดี (Different kinds of poultry to try) การเลี้ยงไก่และเป็ดเพื่อนำ�มาเป็นอาหารมีมานับพันปีแล้ว หลักฐาน (evidence) ทางประวัติศาสตร์ ชี้ว่าคนที่อาศัยอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำ�สินธุ (Sindhu) เมื่อ ๔,๐๐๐ ปีก่อน มีการเลี้ยงไก่เป็นอาหารแล้ว ส่วนห่าน เป็นสัตว์ที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในประเทศเยอรมนีก่อนคริสตกาล (BC: Before Christ) หลังจากนั้นมนุษย์ ก็เริม่ รูจ้ กั สัตว์เหล่านีแ้ ละพัฒนาการเลีย้ งเรือ่ ยมา ทำ�ให้เรามีทงั้ เนือ้ และไข่ไว้บริโภค จนในทีส่ ดุ สัตว์ปกี ก็กลายเป็น ที่นิยมอย่างแพร่หลาย และสัตว์ปีกที่คนเรานิยมรับประทานกัน มีดังนี้  ไก่ (chicken) เนือ้ ไก่เป็นเนือ้ ทีเ่ ราคุน้ เคยมากทีส่ ดุ ในบรรดาสัตว์ปกี ชนิดอืน่ ๆ หากใครเคยดูหนังจีนประเภทกำ�ลังภายใน เหาะเหินเดินอากาศ ฉากในหนังที่ขาดไม่ได้ก็คงเป็นฉากที่พระเอกกำ�ลังย่างไก่แล้วฉีกเนื้อไก่ยื่นให้นางเอก ถ้าเป็นพระเอกยื่นให้ นางเอกก็ม้วนเอียงอายขวยเขินพอเป็นพิธีก่อนจะรับมา แต่ถ้าเป็นผู้ร้ายตัวโกงอาจจะ ต้องใช้กำ�ลังบังคับจับใส่ปากสักเล็กน้อย แต่ถ้าย้ายอารมณ์เปลี่ยนโหมดมาที่ละครไทยก็คงไม่แพ้ไก่ย่าง (grilled chicken) แถมมาด้วยส้มตำ� เมนูสดุ คลาสสิกของสาวใช้จนถึงสาวฉันทนา หากเป็นวัยรุน่ ขึน้ มาหน่อยก็คงจะเป็น ไก่ทอด (fried chicken) ตามร้านอาหารจานด่วน (fast food) ที่ต่างยกให้ไก่เป็นอาหารจานหลักและตัวเด่น ในเมนู ดังนั้นไก่จึงเปรียบเสมือนตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์และความสุขของคนทุกระดับได้เป็นอย่างดี ประวัติความเป็นมาของไก่ซับซ้อน (complicated) พอสมควร เพราะมีประวัติยาวนานกว่า ๙๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ต้นกำ�เนิด (origin) ของไก่อยู่ที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บ้านเรานั่นเอง ก่อนขยายออก (expand) ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นอินเดียและจีน นอกจากนี้มีหลักฐานว่าในช่วงศตวรรษ ที่ ๔ ชาวอียิปต์ก็เลี้ยงไก่กันอย่างเป็นล่ำ�เป็นสัน ซึ่งว่ากันว่าพวกเขาเลี้ยงไก่กันเป็นพัน ๆ ตัวเลยทีเดียว หลังจากนั้นความนิยมในไก่ก็ได้แพร่ขยายเข้าสู่ยุโรปผ่านชาวกรีกและชาวโรมัน สมัยก่อนชาวนาส่วนใหญ่มักเลี้ยงไก่ไว้เพื่อเก็บไข่ มากกว่าทีจ่ ะเลีย้ งไว้เพือ่ รับประทานเนือ้ แต่กม็ บี างที ทีเ่ ชือดไก่รบั ประทานเมือ่ ไก่ไม่สามารถออกไข่ได้ รวมไปถึง เมื่อไก่มีอายุมากด้วยเหมือนกัน แต่เนื้อไก่แก่ค่อนข้าง เหนียว (tough) อาหารทีใ่ ช้ท�ำ ส่วนใหญ่จงึ ต้องใช้ความร้อน และเวลานาน อาหารที่นิยมทำ�จึงเป็นซุป (soup) และ สตู (stew) ด้วยเหตุนี้เองการเลี้ยงไก่จึงพัฒนามาเป็น เลีย้ งไว้เพือ่ เก็บไข่และรับประทานเนือ้ ควบคูก่ นั ไปด้วย สาเหตุที่ทำ�ให้เนื้อไก่เป็นที่ติดอกติดใจคงมาจากคุณสมบัติของเนื้อที่มีความนุ่ม (tender) ดูดซับเครื่องปรุง (seasoning) ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ปรุงอาหารได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นต้ม ผัด แกง ทอด ย่าง อบ นึ่ง โดยเฉพาะ เมื่อนำ�ไปต้มแล้วไม่มีกลิ่นสาบเหมือนเนื้อวัวหรือเนื้อเป็ด แถมยังหวานละมุนลิ้นอีกด้วย และที่สำ�คัญแม้แต่


๖๘ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

กระดูกก็ยงั มีประโยชน์ พวกเขาใช้โครงกระดูกติดเนือ้ ต้มทำ�น้�ำ สต๊อก (stock) ซึง่ เป็นน้�ำ ซุปสำ�หรับทำ�ซุปต่าง ๆ ให้มรี สชาติกลมกล่อมยิง่ ขึน้ เรียกว่าได้ประโยชน์ เกินคุ้มจริง ๆ แม้แต่พระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ กษัตริย์แห่งประเทศอังกฤษ ก็เป็น อีกผูห้ นึง่ ทีท่ รงโปรดปรานเนือ้ ไก่เป็นอย่างมาก จนกระทัง่ พระองค์ถกู โรคเกาต์ (gout) ถามหาเหมือนกัน  ห่าน (goose) ห่านเป็นสัตว์ปีกที่คนนิยมเลี้ยงกันมากที่สุดตั้งแต่โบราณและ เฟื่องฟูอย่างมากในสมัยโรมัน แต่ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยมีคนนิยมเลี้ยงอย่าง รูป พระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ ในสมัยก่อนเพราะวิธีการเลี้ยงค่อนข้างยากและต้องดูแลเป็นพิเศษเมื่อเทียบกับ กษัตริย์แห่งประเทศอังกฤษ การเลี้ยงไก่ อย่างไรก็ตามความนิยมในการรับประทานเนื้อห่านก็ไม่ได้ เลือนหายไปไหน เพราะเนื้อห่านยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดและมีราคาสูงพอ ๆ กับตับห่าน โดยเฉพาะช่วง เทศกาลคริสต์มาสหรืออีสเตอร์ (Easter) เนื้อห่านมีสีแดงเข้มและละเอียดกว่าเนื้อเป็ด เนื้อนุ่มรับประทานได้เต็มปากทุกคำ� เมนูที่ทำ�จากเนื้อห่าน มักประกอบด้วยส่วนผสมของซอสที่มีรสเปรี้ยวเพื่อ เพิ่มรสชาติ เช่น แอ๊ปเปิ้ล เบอร์รี่ต่าง ๆ (berries) ส่วน ทางฝรั่งเศสตอนใต้ก็มักจะนำ�เนื้อห่านใส่ในสตูถั่วหรือ คาสโซเลท์ (Cassoulet) ซึง่ นิยมรับประทานในช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เช่นเดียวกัน กับเมนูห่านอบซึ่งเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย มาถึงจุดนีเ้ ราก็คงจะทราบแล้วว่าสัตว์ปกี แต่ละ ชนิดนัน้ มีทมี่ าอย่างไรและเราเริม่ ต้นบริโภคกันมาตัง้ แต่ เมื่อไร ในฉบับหน้ามาดูกันว่าสัตว์ปีกชนิดใดที่ได้รับการจัดอันดับยอดนิยมในการรับประทานของเรากันบ้าง 

(อ่านต่อฉบับหน้า)

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : - http://www.google.co.th/ - http://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-1294341/Chicken-really-DID-come-egg-say-scientists.html - http://en.wikipedia.org/wiki/Poult - http://www.royin.go.th/?knowledges-category=thai-language-use&paged=63 - http://rirs3.royin.go.th/new-search/meaning-search-all.asp - http://www.biology.sc.chula.ac.th/people/


เวลาการ์ตูน

มิสกรีน

BEETLE BAILEY

ภาพ ๑ - เอานี่ไปส่งไปรษณียฺ์เดี๋ยวนี้เลย - เดี๋ยวครับ ภาพ ๒ - นายกำ�ลังทำ�อะไรอยู่ฮ้า ? - ผมไม่เคยทำ�งานอะไร โดยไม่อู้ซะก่อนน่ะครับ right away (idm) just a minute (idm) without (prep.) to goof off (idm)

- เป็นสำ�นวน แปลว่า ทันที (immediately, without delay) right off และ right now ก็ให้ความหมายเดียวกัน - เป็นสำ�นวนที่ใช้อยู่เสมอ เพื่อบอกให้คอยสักครู่ อาจจะใช้ just a moment หรือ just a second ก็ได้ Ex. Is Mr.Burns available? Just a second, please, I'll check. (คุณเบอร์นสฺว่างอยู่มั้ย ? โปรดคอยสักครู่ค่ะ ขอเช็คก่อน) - โดยปราศจาก (not having) จะใช้กับคำ�นามแท้หรือ gerund (Ving) Ex. He found that place without difficulty. (เขาหาสถานที่นั้นพบ โดยไม่มีความยุ่งยาก) และ You can't make an omelet without breaking eggs. (คุณทำ�ไข่เจียวไม่ได้โดยไม่ตอกไข่ให้แตก) - เป็นสำ�นวน แปลว่า อู้งาน (to spend your time doing nothing, especially when you should be working) อีกสำ�นวนหนึ่ง คือ to goof around (to mess around) แปลว่า ทำ�อะไรไร้สาระ (to spend your time doing silly or stupid things)


๗๐ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

THE BORN LOSER

ภาพ ๑ - ฉันจะจ่ายให้ ๑ ดอลลาร์นะ ถ้าเธอจะออกมาข้างนอกและช่วยฉันปลูกต้นไม้ - นานแค่ไหนครับ ? ภาพ ๒ - เธอก็ทำ�งานจนถึงเวลาอาหารกลางวันเท่านั้นแหละ - ตกลงครับ ! ภาพ ๓ - เฮ้, เธอจะไปไหนล่ะ ? - ไปทานกลางวันครับ ผมหิวแล้ว ! buck (n.) to plant deal (n.)

- เป็นคำ�ศัพท์ที่ใช้อย่างไม่เป็นทางการของ dollar Ex. The shirt costs ten bucks. (เสื้อเชิ้ตราคา ๑๐ ดอลลาร์) - ปลูกต้นไม้ ศัพท์ภาษาอังกฤษหลายคำ�ใช้คำ�นามเป็นกริยาได้ เช่น plant (ต้นไม้) - to plant (ปลูกต้นไม้), water (น้ำ�) - to water (รดน้ำ�ต้นไม้), house (บ้าน) - to house (จัดหาที่อยู่ให้) เป็นต้น - การตกลงทำ�ธุรกิจหรือทำ�สิ่งหนึ่งสิ่งใด (an agreement in business or in doing something) ในที่นี้พูดสั้นคำ�เดียว deal! หรือใช้เป็นประโยค It's a deal. (มันเป็นข้อตกลงนะ) นอกจากนั้น เราจะพบคำ�ว่า deal ใน a great deal หรือ a good deal แปลว่า มาก (much, a lot) Ex. They spent a great deal of money. (เขาใช้จ่ายเงินไปจำ�นวนมาก) 


รอบรู้...อาเซียน

ASEAN Community Little Tidbits เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประชาคมอาเซียน Vietnam Do's and Don'ts

@Zilch

http://www.guidevietnam.com/travel/vietnam-travel-tips.html

Vietnamese dress conservatively. Despite the heat, it’s best not to show off too much skin. If you do, especially girls, you’ll only draw stares from the locals. Don’t wear singlets, shorts, skirts or dresses, or revealing clothes to temples or pagodas.

When taking a ride by motorbike taxi (xe om) make sure your bag, if any, is not on display or easy to grab. Bag snatches, although still rare, are probably the most likely crime a tourist would encounter, and it raises the probability immensely if you are tailing a camera or a laptop in the wind.

Greetings are no different to western countries, there are no cultural formalities that as a foreigner you would be expected to know or practice.

Traditionally, Vietnamese people list their family name first, then their middle name, with their first (given) name listed as last. Family members use different given names, and the name reflects some meaning. Most names can be used for either gender.

ภาพจาก http://www.asialifemagazine.com/vietnam/

คนเวียดนามแต่งกายแบบเรียบร้อยมิดชิด แม้ว่า อากาศร้อนก็ไม่ควรแต่งกายเปิดเผยเนือ้ หนังมากเกินไป โดยเฉพาะ เด็กผู้หญิง หากสวมเสื้อผ้าไม่สุภาพ คนในละแวกนั้นจะจ้องคุณ อย่างไม่ละสายตา ห้ามสวมใส่เสื้อสายเดี่ยว กางเกงขาสั้น กระโปรง หรือเสื้อผ้าที่สั้นจนเกินไป เมื่อเข้าวัดหรือเที่ยวชม เจดีย์ เมื่อนั่งรถจักรยานยนต์รับจ้าง (หรือ เซ โอม) ควรเก็บ กระเป๋าให้มิดชิด ยากต่อการฉกฉวย ถึงแม้การวิ่งราวกระเป๋า สตางค์เกิดขึน้ ไม่บอ่ ยครัง้ แต่กม็ โี อกาสเกิดขึน้ ได้กบั นักท่องเทีย่ ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นกล้องและแล็ปท็อป

การทักทายของชาวเวียดนามไม่แตกต่างจากประเทศ ทางตะวันตก จึงไม่มธี รรมเนียมอะไรทีช่ าวต่างชาติจะต้องเรียนรู้ หรือปฏิบัติ ตามประเพณีแล้ว ชาวเวียดนามใช้นามสกุลขึน้ นำ�หน้า ตามด้วยชื่อกลาง และชื่อตัวอยู่ท้ายสุด สมาชิกในครอบครัว มีชื่อแตกต่างกัน โดยแต่ละชื่อจะมีความหมายในตัว ชือ่ ส่วนใหญ่ สามารถใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

ภาพจาก http://www.vietnam-culture.com/


รอบรู้เรื่อง ่

AIDS

ํ 360 STAR DESTINY

องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์กรเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ได้กำ�หนดให้

1 ธันวาคมของทุกปีเป็น “วันเอดส์โลก” (World AIDS Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงมหันตภัยที่ คร่าชีวิตมนุษย์ด้วยเชื้อไวรัส HIV (Human Immunodeficiency Virus) ที่ทำ�ให้ระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายลดต่ำ�ลงและเกิดโรคแทรกซ้อนจนถึงเสียชีวิต ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน ยังไม่สามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ มีเพียงแค่การรักษาด้วยยา ต้านเชื้อไวรัส เพื่อชะลอการทำ�ลายเซลล์เม็ดเลือดขาวและช่วยลดการแบ่งตัวของเชื้อ HIV เท่านั้น แต่ถ้าทราบสาเหตุที่ทำ�ให้เกิดโรคก็จะสามารถหยุดยั้งและป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ การติดเชื้อ HIV หยุดยั้งได้ โดยไม่ให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ 1. เพศสัมพันธ์ 2. เลือด เช่น ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ และ/หรือได้รับเลือดจากผู้ติดเชื้อ 3. จากแม่สู่ลูกในขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด หรือจากการดูดนม

อาการของโรคเอดส์ เริ่มแรก ผู้ติดเชื้อยังไม่มีอาการผิดปกติ แม้ผลเลือดจะเป็นบวกหลังได้รับเชื้อ ประมาณ 6 สัปดาห์ ต่อมาเริ่มมีอาการ เช่น เชื้อราในปาก ต่อมน้ำ�เหลืองโต งูสวัด ท้องเสียบ่อย น้ำ�หนักตัวลด มีตุ่มคันตามผิวหนัง และในที่สุดจะมีอาการของโรค เอดส์เต็มขั้น ที่ทำ�ให้เกิดการติดเชื้อและเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบรุนแรง เชื้อราขึ้นสมอง สมองเสื่อม มะเร็ง ฯลฯ ดังนั้นการรู้ตัวเร็ว รักษาเร็ว อาจไม่ต้อง

รับประทานยาไปตลอดชีวิต


โรคเอดส์ป้องกันได้

วิธีการที่จะช่วยป้องกันและหยุดยั้งการติดเชื้อ HIV คือ การปิดกั้นช่องทางการ ติดต่อโรคและปัจจัยเสี่ยงที่นำ�มาสู่โรค ได้แก่

ไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ HIV หรือผู้ป่วยโรคเอดส์ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรใช้ถุงยางอนามัย อย่างถูกวิธีทุกครั้ง ไม่ใช้เข็มฉีดยาหรือของมีคมร่วมกับผู้อื่น และไม่ดื่มเหล้า ไม่ใช้สารเสพติด ซึ่งจะทำ�ให้ขาดสติใน การยับยั้งชั่งใจและป้องกันตนเอง ตรวจเลือดและขอรับบริการปรึกษาเรื่องโรคเอดส์ก่อนแต่งงานและก่อนที่คิดจะมีบุตร หลีกเลี่ยงการรับเลือดโดยไม่จำ�เป็น หากมีความจำ�เป็น ต้องเป็นเลือดที่ผ่านการทดสอบว่า ปราศจากเชื้อไวรัส HIV แล้วแน่นอน

อย่างนี้ไม่ติดโรคเอดส์

ใกล้ชิดกัน กินอาหารยร่วมกัน ใช้ห้องน้ำ�ร่วมกันุงกัด

ไม่ติดเอดส์

ดังนั้นต้องสร้างความตระหนักและปลูกจิตสำ�นึกให้เห็นถึงอันตรายเงียบที่โรคนี้ยังคงแอบแฝงอยู่ในผู้ติดเชื้อ ที่ยงั ไม่แสดงอาการ ซึง่ ทุกคนต้องรูท้ นั เอดส์ เข้าใจและปฏิบตั ติ อ่ ผูต้ ดิ เชือ้ อย่างเห็นอกเห็นใจ เพราะเอดส์อยูร่ ว่ มกันได้ “ไม่ติด ไม่ตาย ไม่ตีตรา”

แหล่งที่มา :

- สำ�นักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค รู้ทันเอดส์ กรุงเทพฯ - แผนกควบคุมโรคติดต่อ กองเวชศาสตร์ป้องกัน กรมแพทย์ทหารอากาศ - ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

ปรึกษาเมื่อต้องการความช่วยเหลือ

โทร.1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์

มูลนิธิศูนย์ฮอทไลน์ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ รพ.บำ�ราศนราดูร

02-277-8811 02-372-2222 02-590-3737


เครื่องหมายโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ ปชส.รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ นานัปการแก่กองทัพอากาศและโรงพยาบาลทหารอากาศ โดย เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ใช้พระปรมาภิไธยชื่อโรงพยาบาลทหารอากาศว่า “โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช” โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ ได้ให้บริการรักษาพยาบาล แก่ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ ตลอดจนครอบครัว รวมทั้งประชาชนทั่วไป ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านอาคาร สถานที่ เครือ่ งมือทางการแพทย์ วิชาการ การเรียนการสอน และการผลิตบุคลากรวิชาชีพแพทย์ และพยาบาล ทำ�ให้การบริการรักษาพยาบาลเจริญก้าวหน้าในระดับตติยภูมิของประเทศ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ ได้กราบบังคมทูล พระกรุณาฯ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร.ภายใต้ พระมหาพิชัยมงกุฎมีพระรัศมี ภายในมีอุณาโลม เป็นเครื่องหมายของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน พระบรมราชานุญาต เครื่องหมายของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ได้พระราชทาน แก่บุคลากรของกองทัพอากาศ และโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ อย่างหาที่สุดมิได้


จ่าอากาศ คือ หัวใจของกองทัพ น.อ.กานต์ชนก หันหาบุญ ผบ.รร.จอ.ยศ.ทอ.

น.อ.วรชาติ ทองศิริ รอง ผบ.รร.จอ.ยศ.ทอ.

น.อ.ชำ�นาญ สุขทัศน์ เสธ.รร.จอ.ยศ.ทอ.

กกศ.รร.จอ.ยศ.ทอ.

๒๔ ธันวาคม โรงเรียนจาอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ โรงเรียนจ่าอากาศ เกิดจากการรวมกันของกองโรงเรียนต่าง ๆ ได้แก่ กองโรงเรียนช่างอากาศ กองโรงเรียนสื่อสาร กองโรงเรียนทหารราบ กองโรงเรียนการอาวุธ กองโรงเรียนการถ่ายรูป กองโรงเรียน จ่าอากาศพยาบาล และกองโรงเรียนพลาธิการ โดยใช้ชอื่ ว่า “กองโรงเรียนจ่าอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ” ขึ้นตรงต่อกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๔๙๕ ซึ่งถือเป็นวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน จ่าอากาศ สืบมา โดยมี น.อ.เทพ เกษมุติ เป็นผู้บังคับการกองโรงเรียนจ่าอากาศคนแรก ปัจจุบัน โรงเรียนจ่าอากาศ จัดการเรียนการสอนด้วยหลักสูตร (เก่า) คือ หลักสูตรประกาศนียบัตร โรงเรียนจ่าอากาศ พ.ศ.๒๕๔๘ ได้แก่ เหล่าทหารช่างอากาศ เหล่าทหารสื่อสาร และเหล่าทหารสรรพาวุธ ระยะเวลาการศึกษา ๓ ปี นจอ.สำ�เร็จการศึกษารุน่ สุดท้าย ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ เช่นเดียวกับ นจอ.เหล่าทหารแพทย์ หลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ ระดับต้น ปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๓ ส่วน นจอ.เหล่าทหารอากาศโยธิน และเหล่าทหารสารวัตร ยังคงศึกษาหลักสูตรเก่า คือ หลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ พ.ศ.๒๕๔๘ และหลักสูตรใหม่ คือ หลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ พ.ศ.๒๕๕๗ ในชั้นปีที่ ๑ และ ๒ โดยมี น.อ.กานต์ชนก หันหาบุญ เป็นผู้บังคับการ โรงเรียนจ่าอากาศ ผูส้ �ำ เร็จการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศ จะต้องมีคณ ุ สมบัตติ ามปรัชญาการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศ ทีก่ ล่าวว่า “ทักษะดี มีวนิ ยั ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคณ ุ ธรรม” ตามทีส่ ถาบันกำ�หนดค่านิยมหลักโรงเรียนจ่าอากาศ (ATTS Core Values) “จ่าอากาศ คือ หัวใจของกองทัพ” ซึ่งสามารถขยายความคำ�ว่า หัวใจ (Heart) สอดคล้องกับ ค่านิยมหลักของกองทัพอากาศ (AIR) ดังนี้ H = Honesty (ความซื่อสัตย์สุจริต) เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่น และศรัทธาในวิชาชีพ E = Efficiency (ความมีประสิทธิภาพ) เป็นผูม้ คี วามรู้ ความสามารถ ปฏิบตั งิ านได้อย่างมีประสิทธิภาพ A = Airmanship (ความเป็นทหารอากาศ) เป็นผูม้ รี ะเบียบวินยั ยึดมัน่ ในการปฏิบตั ติ นตามแบบธรรมเนียม ทหาร R = Responsibility (ความรับผิดชอบ) เป็นผู้มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง ต่อองค์การ ต่อสังคม และต่อประเทศชาติ T = Technology (ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี) เป็นผูม้ ขี ดี ความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ที่ทันสมัย


๗๖ ข่าวทหารอากาศ อาทิ

ธันวาคม ๒๕๕๘

นอกจากนี้ โรงเรียนจ่าอากาศ ยังสร้างผลงานจนได้รบั การยกย่องทัง้ ภายในและภายนอกกองทัพอากาศ

- รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ การแข่งขัน “Cyber Contest and Seminar 2015” ภายใต้ชื่อทีม Black Shadow เมื่อ ๑๙ พ.ค.๕๘

- รางวัลการนำ�เสนอผลงานวิจยั ดีเด่น ของสถาบันวิชาการ ป้องกันประเทศ ประจำ�ปี ๒๕๕๘ เมื่อ ๔ ส.ค.๕๘ เป็นผลงานวิจัย ดุษฎีนพิ นธ์ เรือ่ ง “กระบวนทัศน์การบริหารการศึกษา เพือ่ เตรียม กำ�ลังพลของกองทัพอากาศ” ผลงานของ น.ท.เสน่ห์ ฎีกาวงค์ - รางวัล Value Award ผลงาน KM ของ น.ท.รุ่งกิจ กมลกลาง และทีมงาน ครู อาจารย์ แผนกวิชา สามัญ กองการศึกษา โรงเรียนจ่าอากาศ เรือ่ ง “การพัฒนา ระบบการศึกษา โดยใช้ระบบศูนย์กลางเครือข่าย” ในงาน มหกรรมการจัดการความรู้ นวัตกรรม และกิจกรรมพัฒนา คุณภาพกองทัพอากาศ ครั้งที่ ๓๒ ประจำ�ปี ๕๘ เมื่อ ๒๗ ส.ค.๕๘ - รองชนะเลิศ อันดับ ๑ พร้อม เงินรางวัล ๓๐,๐๐๐ บาท ในการแข่งขัน เครื่องบินจำ�ลอง และวิทยุบังคับแบบ ปีกหมุน Thai PBS Quad Rotor “Champ of the Champ” เมื่อ ๘ - ๙ ส.ค.๕๘ ผลงานของ นจอ.เหล่าทหาร ช่างอากาศ ชั้นปีที่ ๓ ผลงานเหล่านี้ เป็นข้อยืนยันถึงการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศอย่างต่อเนื่อง ด้วยการนำ� ระบบประกันคุณภาพการศึกษามาใช้เป็นกระบวนการหนึง่ ของการบริหารการศึกษาภายใน ตามเกณฑ์การประเมิน คุณภาพการศึกษา สถาบันการศึกษาของกองทัพ (ต่ำ�กว่าปริญญาตรี) ซึ่งผลการดำ�เนินงาน โรงเรียนจ่าอากาศ ได้รับการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษา จากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกองทัพอากาศ อาทิ


คณะอนุกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของกองทัพอากาศ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ สำ�นักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. จากผลการประเมินที่ผ่านมา อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ซึ่งผลสรุปการตรวจประเมินดังกล่าว ประกอบด้วย ๗ มาตรฐาน ๔๔ ตัวบ่งชี้ ที่มุ่งเน้นการ พัฒนาคุณภาพการศึกษาที่จะเกิดขึ้นกับ “คุณภาพผู้สำ�เร็จการศึกษาที่มีความเป็นทหารอาชีพ” สมกับเป็น นายทหารประทวนหลักของกองทัพอากาศ เมื่อวันที่ ๑๘ ส.ค.๕๘ พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง ผบ.ทอ. ตรวจเยี่ยมกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ และ โรงเรียนจ่าอากาศ ตลอดจนได้ชมการเรียนการสอนและอาคารนอนนักเรียนจ่าอากาศ โดยมี พล.อ.ท.ฌเณศ ชลิตภิรัติ จก.ยศ.ทอ.และ น.อ.กานต์ชนก หันหาบุญ ผบ.รร.จอ.ยศ.ทอ. ร่วมให้การต้อนรับ ณ รร.จอ.ยศ.ทอ.

ในอนาคต โรงเรียนจ่าอากาศ จะได้มีการปรับย้ายไปอยู่ในพื้นที่ อ.ตาคลี จว.นครสวรรค์ ขณะนี้อยู่ ระหว่างการดำ�เนินการปรับภูมิทัศน์และก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ตามแผนสามารถย้ายหน่วยงานบางส่วนเบื้อง ต้นได้ประมาณปี ๒๕๖๕ และเมื่อวันที่ ๒๕ ส.ค.๕๘ พล.อ.อ.อานนท์ จารยะพันธุ์ รอง ผบ.ทอ.เป็นผู้แทน ผบ.ทอ.ทำ�พิธีเปิด “โครงการโรงเรียนจ่าอากาศกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติฯ ๘๓ พรรษามหาราชินี” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาส เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๓ พรรษา ณ พื้นที่โรงเรียนจ่าอากาศ (แห่งใหม่) อ.ตาคลี จว.นครสวรรค์ อนึ่ง ตลอดระยะเวลา ๖๓ ปีที่ผ่านมา ครบรอบวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนจ่าอากาศ ในวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ มีจำ�นวนศิษย์เก่าที่สำ�เร็จการศึกษาจากโรงเรียนจ่าอากาศในเหล่าทหารต่าง ๆ จำ�นวน ๓๒,๑๑๐ คน ในปัจจุบันศิษย์เก่าของโรงเรียนจ่าอากาศแต่ละรุ่นได้ร่วมกันสร้างชื่อเสียง และทำ�คุณประโยชน์ ให้แก่โรงเรียนจ่าอากาศอย่างต่อเนื่อง ด้วยความรักและความผูกพันต่อสถาบันที่ให้อนาคต ความก้าวหน้า และ ความมัน่ คงของชีวติ ในแต่ละปีจะมีการจัดงาน “คืนสูเ่ หย้าโรงเรียนจ่าอากาศ” เพือ่ ร่วมสังสรรค์และจัดกิจกรรม ดี ๆ รวมทั้งพัฒนาการศึกษาโรงเรียนจ่าอากาศให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป สมกับเป็นสถาบันหลักขั้นต้นของ กองทัพอากาศ ดังคำ�กล่าวที่ว่า “จ่าอากาศ คือ หัวใจของกองทัพ” 


ตอน ภารกิจตั้งรับในแอฟริกาเหนือ  การจู่โจมครั้งสุดท้าย วันที่ ๑๒ กันยายน ๑๙๔๒ หน่วย SBS (Special Boat Service) จำ�นวน ๒ ทีม (ทีมละ ๔ คน) ถูกส่งด้วยเรือดำ�น้ำ�เพื่อแทรกซึมเข้าไปบนเกาะโรห์เดส (อยู่ระหว่างเกาะครีตกับชายฝั่งของตุรกี) ภารกิจของทีม คือ ทำ�ลายเครื่องบินรบของเยอรมันและอิตาลี ทีมได้รับการสนับสนุนน้ำ�และอาหาร รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการ ป้องกันสนามบินจากชาวเกาะท้องถิ่น ทีมเข้าจู่โจมสนามบินมาร์ติซ่าและสนามบินคาลาโต้ โดยได้เล็ดลอด ผ่านแนวรั้วแล้ววางระเบิดที่เครื่องบิน รวมถึงคลังเชื้อเพลิงและคลังวัตถุระเบิด พวกเขารอจนถึงตอนเช้า เพื่อทำ�การประเมินผลงานตัวเอง ในรายงานระบุว่า “เครื่องบินหลายเครื่องถูกเผาทำ�ลาย” โดยไม่ระบุจำ�นวนแน่ชัด แต่จากรายงานประมาณได้ว่า เครื่องบินถูกทำ�ลาย ๒๐ เครื่อง หนึ่งวันต่อมา วันที่ ๑๓ กันยายน หน่วย LRDG ปฏิบัติการครั้งสุดท้าย ในแอฟริกาเหนือพวกเขาจู่โจมสนามบินบาซร์ โดยใช้ยุทธวิธีจู่โจมด้วยรถจี๊ป ครั้งนี้ พวกเขาขับรถจี๊ปผ่านประตูทางด้านหน้า สามารถทำ�ลายเครื่องบิน ๓๒ เครื่อง โรงเก็บเครื่องบิน และรถบรรทุกเชื้อเพลิงอีกจำ�นวนหนึ่งด้วย ในเดือนตุลาคม นายพลเบอร์นาร์ด มอนโกเมอรี่ ผบ.กองทัพบกที่ ๘ แห่งอังกฤษ เปิดยุทธการโจมตีกองกำ�ลังเยอรมัน ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของ


ธันวาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๗๙

เมืองเอล อลามีน จนเข้าปลายเดือนธันวาคม กองกำ�ลังสหราชอาณาจักรได้ผลักดันกองกำ�ลังเยอรมันไปจน ติดขอบฝั่งตะวันตกของอ่าวเสิร์ต โดยเข้ายึดสนามบินหลายแห่งที่ก่อนหน้านี้ถูกโจมตีโดยหน่วย SAS และ หน่วย LRDG การถอยร่นของเยอรมันครัง้ นีท้ �ำ ให้เกิดแนวรบใหม่ขนึ้ พืน้ ทีแ่ นวรบใหม่นกี้ ล่าวได้วา่ เป็นพืน้ ทีท่ หี่ นาแน่น ไปด้วยกองกำ�ลังต่าง ๆ เนือ่ งจากมีลักษณะเป็นชายฝั่งแคบ ๆ เรียงรายไปด้วยสนามบินฝ่ายอักษะ ล้อมรอบด้วย กองกำ�ลังภาคพืน้ เยอรมัน ความหนาแน่นของกำ�ลังข้าศึกบวกกับชาวเมืองท้องถิน่ ทีไ่ ม่เป็นมิตรกับอังกฤษ รวมถึง ภูมิประเทศทางตอนใต้ที่สุดโหดและยากลำ�บาก ทำ�ให้ยุทธการจู่โจมสนามบินที่กำ�ลังรุ่งต้องจบลง เดือนมิถุนายน ๑๙๔๓ หน่วย SBS ๓ ทีม แทรกซึมทางทะเลกลับเข้าไปยังเกาะครีต พวกเขาพบว่า สนามบินที่ทิมบากินั้นถูกปล่อยร้างอีกครั้ง ต่างจากข้อมูลการข่าวที่พวกเขาได้รับอย่างสิ้นเชิง หน่วย SBS อีกทีม ที่มีแผนเข้าโจมตีสนามบินเฮรักคลิออน แต่คนนำ�ทางชาวเกาะครีตเตือนว่าสนามบินนั้นแทบจะไม่ได้ถูกใช้เลย จึงแนะนำ�ให้ไประเบิดทำ�ลายคลังเชื้อเพลิงที่เมืองปีซ่าแทน ส่วนทีมที่ได้รับมอบหมายให้โจมตีสนามบิน คาสเทลี่ ปีดิเอโดส พบว่าสนามบินมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวดขึ้น ทหารยาม ๓ คน สับเปลี่ยนกันเฝ้าเครื่องบิน แบบ Stuka (บ.รบ ที่สำ�คัญมากของเยอรมัน) ยาม ๑ คน ทำ�หน้าที่เฝ้าเครื่องบิน ส่วนอีก ๒ คน นอนพักผ่อน อยู่ในเต็นท์ข้าง ๆ เครื่องบิน แต่อย่างไรก็ตาม ทีมได้ใช้เทคนิคการโจมตีเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของข้าศึก และ อาศัยช่องว่างเข้าวางระเบิดทำ�ลาย Stuka ๓ เครื่อง Ju-88 อีก ๑ เครื่อง และ บ.ตรวจการณ์อีก ๑ เครื่อง

ในเดือนกรกฎาคม ๑๙๔๓ หน่วย SBS จู่โจมสนามบินฝ่ายเยอรมันที่เมืองออตทาน่าและซาร์ดิเนีย สามารถทำ�ลายเครื่องบินไปได้หลายเครื่อง  วิเคราะห์การโจมตีสนามบิน ความสำ�เร็จของอังกฤษในการโจมตีสนามบินฝ่ายอักษะน่าทึ่งเป็นอย่างมาก พวกเขาสามารถทำ�ลาย เครือ่ งบินไปได้อย่างน้อย ๓๖๗ เครือ่ ง เชือ้ เพลิงอีกนับพันแกลลอน เครือ่ งยนต์อะไหล่อกี มากมาย ไม่รวมอาคาร อุปกรณ์ในการซ่อมบำ�รุง กระสุนและวัตถุระเบิด เป็นต้น ซึง่ เดือนมิถนุ ายนเพียงเดือนเดียว หน่วย SAS ก็สามารถ ทำ�ลายเครื่องบินเยอรมันได้ถึง ๘% ของที่มีทั้งหมดในแอฟริกาเหนือ


๘๐ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

ปฏิบตั กิ ารของหน่วย SAS กับหน่วย LRDG โดยทัว่ ไปนัน้ ประกอบด้วยกำ�ลังในระดับหมวด เมือ่ เคลือ่ นที่ เข้าใกล้เป้าหมาย พวกเขาจะแยกกันออกเป็นทีมโจมตีย่อย ๆ ทีมย่อยเหล่านี้เล็กมากจนถึงทีมละ ๒ คน และ ใหญ่มากถึง ๕๐ คน แต่ที่นิยมใช้มากที่สุด คือ ขนาด ๔ - ๖ คน จากประสบการณ์ของหน่วย SAS ค้นพบว่า ขนาดของทีม ๕ คน นั้นเหมาะต่อการโจมตีเป้าหมายมากที่สุด โดยมันเล็กพอที่จะพรางตัวเอง และใหญ่พอที่จะ สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ ผู้กองสเตอร์ลิ่งและเพื่อนนายทหารของเขานั้น ร่วมกันวางแผนทำ�ลายเครื่องบินอย่างพิถีพิถัน พวกเขา รู้ว่า “ปีกเครื่องบิน” เป็นส่วนที่ไม่สามารถเปลี่ยนสับไปสับมากันระหว่างเครื่องบินเครื่องหนึ่งกับเครื่องบิน เครื่องอื่น ๆ ได้ ดังนั้นในทุก ๆ ปฏิบัติการ พวกเขาบรรจงวางระเบิดไว้ที่ปีกเครื่องบินทั้งสิ้น ยังมีเรื่องน่าสนใจอีกว่า พวกเขาได้ทำ�การตั้งเวลาระเบิดไว้เท่ากันทุกลูกก่อนที่จะเข้าจู่โจม ซึ่งไม่มี แหล่งข้อมูลใดที่ให้คำ�ตอบในเรื่องนี้ แต่พอจะเดาเหตุผลของพวกเขาได้ว่ามีข้อดีคือ การทำ�เช่นนั้นจะส่งผลให้ เกิดระเบิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ส่วนข้อเสียคือ หากพวกเขาถูกขัดขวางระหว่างการจู่โจม อาจทำ�ให้เสี่ยงที่ต้อง แบกระเบิดที่ใกล้จะทำ�งานเต็มที่เอาไว้ในเป้หลัง แม้ว่าระเบิดทุกลูกจะมีสลักนิรภัยก็ตาม แต่การถูกขัดขวาง อาจทำ�ให้เกิดระเบิดขึ้นก่อนที่พวกเขาจะถอนตัวออกจากสนามบิน ดังนั้นการตั้งเวลาระเบิดไว้ก่อนในลักษณะนี้ ถือว่าอันตรายและเปล่าประโยชน์ หน่วย LRDG และหน่วย SAS ได้ผนวกขีดความสามารถของพวกเขาเข้ากับทะเลทรายได้อย่างน่าทึ่ง โดยเปลีย่ นจากทะเลทรายทีโ่ หดร้ายต่อสิง่ มีชวี ติ ให้กลายมาเป็นสวรรค์ของนักจูโ่ จมสนามบิน ในทางกลับกันกองกำ�ลัง ฝ่ายอักษะส่วนใหญ่ขาดทักษะและยุทโธปกรณ์ที่จำ�เป็นสำ�หรับการเคลื่อนย้ายหน่วยระยะไกล พวกเขาจำ�กัดตัวเอง ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งและคิดฝังหัวว่าไม่มีใครสามารถเล็ดลอดผ่านเส้นทางทะเลทรายได้ ซึ่งในเขตพื้นที่ราบ ของลิเบียเครื่องบินฝ่ายอักษะถือเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อหน่วย LRDG โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเช้าซึ่งเป็น เวลาถอนตัวหลังการจู่โจม แต่ช่วงเวลาดังกล่าว หน่วย LRDG จะหยุดเคลื่อนขบวนแล้วพรางตัวเอง ทำ�ให้ยาก ต่อการตรวจจับได้ ปฏิบัติการจู่โจมของหน่วยรบพิเศษอังกฤษ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในคืนวันหยุดสุดสัปดาห์ ถึงแม้ว่าการเลือก วันใดวันหนึ่งของสัปดาห์จะเป็นหนึ่งในข้อพิจารณาการจัดทำ�แผนยุทธการก็ตาม แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้อง พิจารณาร่วมด้วย เช่น การเชื่อมโยงของแผนโจมตีต่อยุทธศาสตร์ ความสัมพันธ์กับยุทธการอื่น ๆ หรือแม้กระทั่ง ห้วงเวลาข้างขึน้ ข้างแรม แต่กระนัน้ ดูเหมือนหน่วย SAS จะพยายามเปิดยุทธการของพวกเขาในวันหยุดสุดสัปดาห์ หากเป็นไปได้ ข้อเท็จจริงนี้ไม่มีหนังสือเกี่ยวกับหน่วย SAS เล่มใดกล่าวไว้เลย แต่คิดแบบเป็นเหตุเป็นผลได้ว่า พวกหน่วย SAS เลือกที่จะใช้การพักผ่อนของฝ่ายอักษะในวันหยุดให้เป็นประโยชน์ ซึ่งจากการจู่โจมที่ได้บันทึก วันปฏิบัติการไว้จำ�นวน ๔๔ ครั้ง มี ๓๐ ครั้ง ที่เกิดขึ้นในวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยประสบผลสำ�เร็จในการจู่โจม จำ�นวน ๓๐ ครั้ง จาก ๕๓ ครั้ง คิดเป็น ๕๗% ส่วนสาเหตุของการจู่โจมที่ไม่ประสบผลสำ�เร็จและไม่สามารถทำ�ลายเครื่องบินหรือยุทโธปกรณ์ใด ๆ ได้เลยนั้น เนื่องจากมีการป้องกันฐานบิน ๔๓% ไม่มีเครื่องบินประจำ�การอยู่ ๒๒% มีการแทรกซึม ๑๓%


ธันวาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๘๑

สภาพอากาศไม่เอื้ออำ�นวย ๑๓% และมีการป้องกันพื้นที่ส่วนหลัง ๙% สำ�หรับเทคนิคการจู่โจมด้วยรถจี๊ปที่คิดค้นขึ้นภายหลังนั้น ผู้กองสเตอร์ลิ่ง ผู้คิดค้นเทคนิคดังกล่าว ได้ให้ข้อคิดเห็นไว้ว่า “ผมทราบดีวา่ เมือ่ ฝ่ายเยอรมันเริม่ จับทางเราได้ เราก็จะพบกับความเสีย่ งมากขึน้ แน่นอนทีส่ ดุ พวกเขา ต้องเพิ่มกำ�ลังป้องกัน แต่พวกเยอรมันก็ทำ�เพียงแค่เพิ่มยามประจำ�จุดเป็นสองเท่า ซึ่งจะสร้างปัญหาให้กับการ เล็ดลอดเข้าไปของพวกเราแน่ เราจำ�เป็นต้องนำ�พวกเยอรมันให้ได้หนึ่งก้าว พวกเยอรมันรู้ดวี า่ เราต้องหนีไปทาง ทะเลทราย และในบางพืน้ ทีเ่ ส้นทางมีให้เลือกไม่มากนักหากพวกเขาใช้ก�ำ ลังพร้อมอาวุธวางปิดเส้นทางดังกล่าว จะทำ�ให้พวกเราแย่แน่ ๆ ดังนั้นหากเราสามารถทำ�ให้พวกเขาเดาทางเราไม่ได้ โดยการใช้ยุทธวิธีที่หลากหลาย ไม่รู้ว่าเราจะมาทางไหน ? มาอย่างไร ? พวกเราก็จะยังคงสร้างความสับสนไว้ในหัวของพวกเขาได้ต่อไป” มัลคล่อม เจมส์ นายทหารเสนารักษ์ประจำ�หน่วย กล่าวถึงสิ่งที่เยอรมันได้กระทำ�ดังที่ผู้กองสเตอร์ลิ่ง คาดการณ์ไว้ “ในตอนแรกพวกเยอรมันคิดว่า จะต่อต้านการทำ�ลายเครื่องบินด้วยการให้ทหารไปนอนเฝ้าใต้ปีกเครื่องบิน แต่ละเครือ่ ง แต่ตอ่ มาการสูญเสียชีวติ ของทหารทีน่ อนเฝ้าเครือ่ งบินก็ท�ำ ให้พวกเขารูว้ า่ นัน่ เป็นวิธที ผี่ ดิ การสูญเสียทหาร หนึ่งคนต่อการเสียเครื่องบินหนึ่งเครื่อง ทำ�ให้พวกเขาตัดสินใจเพิ่มกำ�ลังทหารยาม ซึ่งทำ�ให้เรายากลำ�บากมากขึ้น แต่การจูโ่ จมของเราก็ยงั คงได้ผล ต่อมาพวกเขาเริม่ ติดตัง้ ไฟส่องสว่างเพือ่ การค้นหาและบรรจุยานยนต์หมุ้ เกราะ ที่ติดตั้งไฟส่องสว่างในสนามบินหลัก ๆ สุดท้ายพวกเขาเริ่มวางกำ�ลังที่แข็งแกร่งไว้รอบ ๆ แนวรั้ว มาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ ผนวกกับการบินตรวจการณ์อย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้ปฏิบัติการของเรายากที่จะประสบความสำ�เร็จและนำ�มา ซึ่งความจำ�เป็นที่จะต้องปรับปรุงและพัฒนายุทธวิธีในการจู่โจมของพวกเราใหม่” ในเดือนกันยายน ๑๙๔๒ ฝ่ายเยอรมันมีการรบเชิงรุกที่จะไล่ล่าหน่วย LRDG ซึ่งเทคนิคที่นิยมมากก็คือ ส่งเครื่องบินขึ้นตามหาในตอนเช้าหลังจากการจู่โจม เมื่อเครื่องบินเหล่านี้ตรวจพบหน่วย LRDG เมื่อไร ก็มักที่ จะสร้างความเสียหายหนักให้เสมอ ยกตัวอย่างเช่น เช้าวันหนึ่งหลังการจู่โจมครั้งสำ�คัญที่ท่าเรือเบงกาซี่ ทีมของ ผู้กองสเตอร์ลิ่งถูกโจมตีด้วย บ.รบ และ บ.ทิ้งระเบิดจำ�นวนมาก ยานพาหนะ ๗๕% ถูกทำ�ลาย และทำ�ให้ ๑ ใน ๔ ของสมาชิกในทีมต้องเสียชีวิต  บทเรียนของฝ่ายอักษะ หลังความสำ�เร็จของการจูโ่ จมในเดือนกรกฎาคม ๑๙๔๒ ที่ทำ�ลายเครื่องบินฝ่ายอักษะมากกว่า ๑๐๐ เครื่อง กรมยานยนต์ หุ้มเกราะของเยอรมันก็พยายามจะค้นหาจุดนัดพบหลังการ โจมตีของหน่วย SAS แต่กค็ ว้าน้�ำ เหลว พวกเยอรมันวางกับระเบิด ไว้ตามเส้นทางทีค่ าดว่าหน่วย SAS จะใช้เข้าโจมตี แต่บอ่ ยครัง้ ก็เป็นฝ่ายเยอรมันเองทีพ่ ลาดไปเหยียบเสียเอง สูญเสียทัง้ กำ�ลังพล และยานพาหนะไปไม่น้อย ความพยายามเหล่านี้ถูกคิดค้นขึ้น


๘๒ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

เป็นการเฉพาะแต่ขาดการบูรณาการ คำ�ถามคือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันสนามบินของพวกเขา อะไรบ้าง ที่เยอรมันควรทำ� ?

 บทเรียนการรบ - การจัดหน่วย มองในเชิงโครงสร้างของกองกำ�ลังเยอรมันแล้ว มันควรจะดีกว่านี้มากถ้ากองกำ�ลังทางอากาศจะเป็น หน่วยขึ้นตรงต่อนายพลรอมเมล ในฐานะที่เป็น ผบ.ยุทธบริเวณ สายการบังคับบัญชาสองเส้นที่มักจะขนานกัน แบบไม่มวี นั บรรจบกันได้นี้ เป็นสาเหตุส�ำ คัญทีท่ �ำ ให้การยุทธร่วมทางอากาศ-ภาคพืน้ ไม่ประสบความสำ�เร็จ ถึงแม้ว่าหลักฐานสนับสนุนความเห็นนี้จะมีอยู่น้อย แต่ก็ชัดเจนคือ โครงสร้างการจัดที่จับเครื่องบินแยกกอง จากกำ�ลังภาคพื้นนั้น ทำ�ให้การประสานงานในพื้นที่ส่วนหลังต้องติด ๆ ขัด ๆ อีกทั้งความสัมพันธ์กับพันธมิตร ร่วมรบอย่างอิตาลีกม็ ปี ญ ั หาความตึงเครียดระหว่างสองประเทศทำ�ให้ขาดความร่วมมือกัน หน่วย SAS จึงสามารถ ใช้ประโยชน์จากความอ่อนด้อยในการประสานงานเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี พวกเขาแสร้งทำ�เป็นทหารอิตาเลี่ยน เมื่ออยู่ท่ามกลางทหารเยอรมัน และแสร้งทำ�เป็นทหารเยอรมันเมื่ออยู่ท่ามกลางทหารอิตาเลี่ยน นอกจากปัญหาเรือ่ งสายการบังคับบัญชาแล้ว ยังมีปญ ั หาเกีย่ วกับการประสานงานและการแบ่งเขต รับผิดชอบในการป้องกันสนามบินอีกด้วย กล่าวคือ เฉพาะเขตภายในสนามบินเท่านั้นที่เป็นเขตรับผิดชอบของ กองกำ�ลังทางอากาศ ทอ.เยอรมัน แต่พนื้ ทีส่ ว่ นหลังและพืน้ ทีท่ เี่ หลือทัง้ หมดอยูใ่ นความรับผิดชอบของกองกำ�ลัง ภาคพื้น ทบ.เยอรมัน ดูเผิน ๆ ก็น่าจะสมเหตุสมผล แต่ความจริงก็คือ การแบ่งพื้นที่ลักษณะนี้จะต้องพิจารณา ถึงช่องว่างทีอ่ าจเกิดขึน้ เมือ่ วางกำ�ลังจริง พืน้ ทีน่ ี้ ทอ. และ ทบ.เยอรมันขาดไป นอกจากนีก้ �ำ ลังทีอ่ ติ าลีมไี ว้ปอ้ งกัน สนามบินของตนก็ด้อยคุณภาพอีกด้วย  บทเรียนการรบ - ยุทธวิธี ในระดับยุทธวิธี การลาดตระเวนอย่างเข้มข้นบริเวณทางด้านใต้ของแนวชายฝั่งและทางที่ราบลิเบีย จะจำ�กัดการเคลื่อนไหวของหน่วย LRDG/SAS ได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดชุดซุ่มโจมตีในเวลากลางคืน บนเส้นทางที่คาดว่าพวกจู่โจมจะใช้เป็นเส้นทางในการเข้าถึงสนามบิน (๑๐ - ๓๐ ไมล์ ก่อนถึงสนามบิน)


ธันวาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๘๓

การใช้กับระเบิด ปืนกลหนัก และปืนต่อสู้รถถัง จะทำ�ให้เกิดอันตรายกับพวกจู่โจมที่นั่งมาในยานยนต์หุ้มเกราะได้ ส่วนที่สนามบิน สนามทุ่นระเบิด สุนัขทหาร ไฟส่องสว่าง และทหารยามประจำ�จุดที่เพิ่มมากขึ้น ก็ได้สร้าง ความยากลำ�บากให้กับการเล็ดลอดเข้ามาของข้าศึก ขอย้ำ�อีกครั้งว่า การซุ่มโจมตีในเวลากลางคืนและการวาง ชุดเสือป่าแมวเซา (Listening Post/ยามประจำ�ทีฟ่ งั การณ์) ในแนวลำ�ธารแห้งหรือในแนวเส้นทางทีค่ าดว่าข้าศึก จะเข้าถึงเส้นทางอื่น ๆ เป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพยิ่งในการหยุดยั้งหน่วย SAS ที่แทรกซึมด้วยการเดินเท้า มาตรการเชิงรับจากสมรภูมอิ นื่ ๆ ทีไ่ ด้รบั การพิสจู น์ แล้วว่าได้ผลคุ้มค่าที่จะนำ�มาใช้ในแอฟริกาเหนือด้วย เช่น การแยกเก็บและกระจายจุดจอดเครื่องบินในรีเวตเมนท์ จะทำ�ให้หน่วย SAS จำ�เป็นต้องใช้เวลาในการเผยตัว นานยิง่ ขึน้ และทำ�ให้การระเบิดเครือ่ งบินเครือ่ งหนึง่ ไม่สง่ ผล ไปยังเครื่องบินเครื่องอื่น ๆ ประเด็นที่สำ�คัญก็คือ ระเบิดที่ หน่วย SAS ทำ�การวางนัน้ มักจะเลือกวางไว้กบั เครือ่ งบินทีจ่ อด อยู่ใกล้กับคลังเก็บเชื้อเพลิง คลังอาวุธ และเครื่องบินเครื่องอื่น ๆ เห็นได้ชัดว่า การที่ฝ่ายเยอรมันถ่ายน้ำ�มันเชื้อเพลิง ออกจากถังเก็บในตัวเครื่องบินออกจนหมด มีส่วนสำ�คัญที่ทำ�ให้ความเสียหายไม่ลุกลามไปที่อื่น ๆ  ผลกระทบทางยุทธศาสตร์จากการโจมตีสนามบิน ปฏิบัติการของหน่วย SAS สร้างความสูญเสียเป็นอันมากต่อเครื่องบินและยุทโธปกรณ์ รวมถึงทำ�ให้ ปฏิบัติการต่าง ๆ ในสนามบินต้องสะดุดลง ผลงานของหน่วย SAS ในการทำ�ลายเครื่องบิน ๓๖๗ เครื่อง รวมถึง เชื้อเพลิง อาวุธยุทโธปกรณ์ และอะไหล่เครื่องบินอีกมากมาย ส่งผลต่อตัวเลขกำ�ลังทางอากาศเปรียบเทียบ และทำ�ให้เกิดภาวะขาดแคลน ซึ่งปฏิบัติการของหน่วย SAS ไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายให้กับเครื่องบินและ ยุทโธปกรณ์ หากแต่ยงั ทำ�ให้ก�ำ ลังทางอากาศและกำ�ลังทางภาคพืน้ ของฝ่ายเยอรมัน ต้องเบนเข็มจากภารกิจหลัก ของตนมาไล่ตามค้นหาผู้จู่โจมสนามบิน อีกทั้งยังต้องแบ่งกำ�ลังพลส่วนหนึ่งมาทำ�หน้าที่ทหารยามเพิ่มขึ้นด้วย นายพลรอมเมล กล่าวชื่นชมผู้กองสเตอร์ลิ่งว่า “เขาเป็นผู้บังคับหน่วยรบพิเศษทะเลทรายที่เปี่ยมด้วยความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ เขาได้สร้างความเสียหายให้กับเราได้มากกว่าหน่วยกำ�ลังใด ๆ ของอังกฤษทุกหน่วย (ที่มีขนาดเท่า ๆ กัน)” นายพลรอมเมล ยังยอมรับความล้มเหลวจากการที่ไม่ได้ดำ�เนินมาตรการสำ�คัญใดเลย ที่จะหยุดยั้งการจู่โจมของหน่วย SAS  บทสรุป ทหารรบพิเศษอังกฤษในแอฟริกาเหนือนั้นทำ�ให้เราเห็นว่า ความอดทนและความมุ่งมั่นของพวกเขา สามารถที่จะต่อกรกับกองทัพอากาศเยอรมันอันยิ่งใหญ่ได้ กองทัพอากาศสมัยใหม่ที่ต้องปฏิบัติการใน สภาพแวดล้อมทะเลทรายนั้น จะคิดไปเองไม่ได้ว่าทะเลทรายอันเวิ้งว้างและแห้งแล้ง หรือระยะทางอันยาวไกล


จากแนวข้าศึกจะป้องกันสนามบินให้รอดพ้นจากการโจมตีของหน่วยกำ�ลังขนาดเล็กได้ ยกตัวอย่าง ในสงครามอ่าว ปี ค.ศ.๑๙๙๐ - ๑๙๙๑ ฐานบินของสัมพันธมิตรหลายแห่ง ตั้งอยู่ใกล้กับอิรักและเยเมนมาก พวกอิรักพิสูจน์ตัวเอง แล้วว่า พวกเขามีแรงจูงใจต่�ำ ไม่มคี วามคิดสร้างสรรค์ และบ่อยครัง้ ทีแ่ สดงให้เห็นว่าเป็นข้าศึกทีด่ อ้ ยความสามารถ แต่อย่าเพิ่งไปทึกทักว่าข้าศึกในอนาคตจะอ่อนแอเหมือนพวกอิรักเสียทั้งหมด ข้าศึกในอนาคตอาจไม่จำ�เป็น ต้องใช้ยุทธวิธีเหมือนกับหน่วย SAS แต่อย่างไรก็ตามมาตรการต่อต้านการโจมตีสนามบินที่กล่าวไว้ตอนต้น ก็ยังสามารถนำ�มาใช้ประโยชน์ได้  (ฉบับหน้าติดตาม การโจมตีฐานบินเวียดนามและไทย)

เฉลยปริศนาอักษรไขว้ ประจำ�เดือนธันวาคม ๒๕๕๘

มีน


กรณีทเี่ จ้าของรถได้จดั ให้มกี ารประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจกับบริษทั ประกันภัย จะถือว่าได้รบั ยกเว้น ไม่ต้องจัดให้มีการประกันเพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.๒๕๓๕ หรือไม่ เนื่องจากตามมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กำ�หนดให้การประกันภัยผู้ประสบภัย จากรถเป็นเงื่อนไขในการรับจดทะเบียนรถยนต์หรือรับชำ�ระภาษีรถยนต์ประจำ�ปี ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก ในฐานะนายทะเบียนต้องทำ�การตรวจสอบก่อนที่จะรับจดทะเบียนรถยนต์หรือรับชำ�ระภาษีรถยนต์ประจำ�ปี คดีปกครองที่จะเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องของเจ้าของรถยนต์ที่ยื่นขอชำ�ระภาษีรถยนต์ประจำ�ปี และต่อทะเบียนรถ แต่เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกไม่ดำ�เนินการให้ เนื่องจากเจ้าของรถยังไม่ได้ทำ�ประกันภัย คุม้ ครองผูป้ ระสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.ภาคบังคับ) และกรมธรรม์ประกันภัยประเภทที่ ๓ (ภาคสมัครใจ) มีขอ้ ความ ระบุว่า “ไม่รวม พ.ร.บ.” และภายหลังจากที่กรมการขนส่งทางบกได้ปฏิเสธการต่อทะเบียนรถยนต์ เจ้าของรถยนต์ จึงได้อุทธรณ์คำ�สั่ง และอธิบดีกรมการขนส่งทางบกวินิจฉัยว่า กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่ไม่มี ความคุม้ ครองผูป้ ระสบภัยจากรถ ซึง่ มีขอ้ ความบนหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยว่า “ไม่รวม พ.ร.บ.” ไม่สามารถ ใช้ในการจดทะเบียนรถยนต์หรือชำ�ระภาษีรถยนต์ประจำ�ปี เจ้าของรถยนต์เห็นว่า การทำ�ประกันภัยรถยนต์ประเภทที่ ๓ กับบริษัทประกันภัยของเจ้าของรถยนต์ ครอบคลุมความเสียหายต่อผู้ประสบภัยและทรัพย์สินแล้ว และไม่ต้องมีการประกันความเสียหายสำ�หรับ ผู้ประสบภัยอีก จึงฟ้องอธิบดีกรมการขนส่งทางบกต่อศาลปกครองขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำ�สั่งเพิกถอน คำ�วินิจฉัยอุทธรณ์และให้เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกรับชำ�ระภาษีรถยนต์ประจำ�ปีและต่อทะเบียนรถให้แก่ เจ้าของรถยนต์ดังกล่าว


๘๖ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

คดีนี้จึงมีข้อพิจารณาว่า การที่เจ้าของรถยนต์ได้ทำ�ประกันภัยรถยนต์ประเภทที่ ๓ ถือเป็นการคุ้มครอง ผูป้ ระสบภัยจากรถตามพระราชบัญญัตคิ มุ้ ครองผูป้ ระสบภัยจากรถ พ.ศ.๒๕๓๕ แล้วหรือไม่ และการไม่รบั ชำ�ระ ภาษีรถยนต์ของเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกให้แก่เจ้าของรถยนต์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากตาม มาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.๒๕๓๕ บัญญัติให้รถที่เจ้าของรถได้จัดให้มีการ ประกันภัยความเสียหายต่อผูป้ ระสบภัย โดยเอาประกันภัยครอบคลุมความเสียหายต่อผูป้ ระสบภัยและทรัพย์สนิ ตามชนิด ประเภท และขนาดของรถที่กำ�หนดไว้ในกฎกระทรวงแล้ว ไม่ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหาย สำ�หรับผู้ประสบภัยอีก ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า เมื่อตารางกรมธรรม์ของผู้ฟ้องคดี (เจ้าของรถ) มีข้อความระบุชัดเจนว่า “ไม่รวม พ.ร.บ.” ย่อมอนุมานได้วา่ ประกันภัยรถยนต์ที่ผฟู้ ้องคดีทำ�ไว้กับบริษทั ประกันภัยคุ้มครองความเสียหาย ต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยแก่บุคคลภายนอก ซึ่งก็คือ ผู้ประสบภัยจากรถ เฉพาะส่วนที่เกินวงเงินสูงสุด ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.๒๕๓๕ และกฎกระทรวงกำ�หนดจำ�นวนเงินเอาประกันภัย ตามชนิด ประเภท และขนาดของรถ พ.ศ.๒๕๔๗ ซึ่งหากเกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยจากรถเป็นจำ�นวนเงิน ไม่เกินความเสียหายตามทีก่ �ำ หนดไว้กย็ อ่ มไม่อยูใ่ นความคุม้ ครองของกรมธรรม์ของผูฟ้ อ้ งคดี อีกทัง้ การมีขอ้ ความ ดังกล่าวยังเป็นการเน้นย้ำ�ให้ผู้ที่ทำ�ประกันภัยรถยนต์ รวมถึงผู้ฟ้องคดีเข้าใจได้ว่ากรณีมิใช่กรมธรรม์ที่ให้ความ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.๒๕๓๕ กำ�หนดไว้ แต่เป็น กรมธรรม์ทใี่ ห้ความคุม้ ครองเพิม่ เติมเฉพาะความเสียหายในส่วนทีเ่ กินจากความคุม้ ครองตามทีก่ ฎหมายกำ�หนดไว้ เท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าประกันภัยรถยนต์ที่ผู้ฟ้องคดีทำ�ไว้กับบริษัทประกันภัยเป็นการประกันภัยความเสียหาย สำ�หรับผู้ประสบภัยตามมาตรา ๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.๒๕๓๕ ดังนัน้ การทีเ่ จ้าหน้าทีก่ รมการขนส่งทางบกไม่รบั ชำ�ระภาษีประจำ�ปีรถยนต์ให้แก่ผฟู้ อ้ งคดี จึงเป็นคำ�สัง่ ที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีผลเท่ากับการวินิจฉัยอุทธรณ์ของอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ผู้ถูกฟ้องคดี) เป็นคำ�สั่ง ที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน คดีนี้เป็นอุทาหรณ์แก่ผู้ที่มีรถว่า เจ้าของรถนอกจากจะมีสิทธิเลือกความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถ โดยการทำ�ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจกับบริษัทประกันภัยต่าง ๆ ตามความต้องการและกำ�ลังเงินที่มีอยู่แล้ว ยังมีหน้าที่ต้องจัดทำ�ประกันภัยความเสียหายต่อผู้ประสบภัย (ภาคบังคับ) ตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัย จากรถ พ.ศ.๒๕๓๕ กำ�หนดไว้ ซึ่งการทำ�ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจดังกล่าว ไม่ถือเป็นการซื้อกรมธรรม์ ประกันภัยซ้ำ�ซ้อนอันจะทำ�ให้เจ้าของรถได้รับยกเว้นไม่ต้องทำ�ประกันภัยต่อผู้ประสบภัยแต่อย่างใด เว้นแต่เป็น กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่ได้รวมความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถไว้แล้ว (เทียบเคียงคำ�พิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๖๙๓/๒๕๕๗)


 เป็นคนทำ�งานเพื่อจุดหมายของงาน  ผู้เขียนอ่านผลสรุปของการจัดงานหนังสือแห่งชาติครั้งที่ผ่านมา ทำ�ให้ได้รู้ว่า แม้อยู่ในยุค Electronic book (e-book) แต่หนังสือของสำ�นักพิมพ์ต่าง ๆ ก็ยังขายได้ดี แสดงว่ายังมีคนชอบอ่านหนังสือเป็นเล่ม ๆ อยู่ แต่ผู้เขียนก็สงสัยว่า ตัวเองก็ไปเดินงานนี้มาด้วย แต่ไม่ได้หนังสือติดมือมาสักเล่ม แถมรายชื่อหนังสือขายดี ที่เขาพูดถึง ก็เป็นหนังสือที่อยากอ่านทั้งนั้น เลยต้องมาถามตัวเองว่า เพราะอะไรจึงไม่ได้ซื้อหนังสือกลับมาเลย จำ�ได้ว่าช่วงที่ไปเดินในงานหนังสือแห่งชาตินั้น เป็นช่วงที่ว่างไม่มีอะไรทำ� เห็นมีประกาศเชิญชวนในเว็บไซต์ ก็เลยแต่งตัวไป ไม่ได้คิด ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายอะไรทั้งนั้น ไปเดินเรื่อยเปื่อยจนเมื่อยแล้วก็กลับบ้านไม่ได้อะไรเลย แต่ถ้าตั้งใจจะไปซื้อหนังสือที่อยากอ่านคงไม่ต้องเดินจนเมื่อย เพราะตรงไปซื้อตามบู๊ธที่ขายได้เลย ทำ�ให้นึกขึ้นมา ได้ว่า การทำ�อะไรโดยมีจุดหมายนั้นมีความสำ�คัญมาก โดยเฉพาะการทำ�งานในกองทัพอากาศ จุดหมาย คือ จุดที่ต้องพยายามไปให้ถึง หรือจุดที่ตั้งใจจะให้บรรลุถึง ที่แปลกในความคิดผู้เขียน คือ คำ�นี้ภาษาอังกฤษใช้ตั้งหลายคำ� เช่น Purpose, Goal, Intention, Objective หรือแม้แต่คำ�ว่า Target ก็แปลว่า จุดหมาย ได้เช่นเดียวกัน ทีส่ �ำ คัญเวลาใช้ภาษาไทยมักมีค�ำ ว่า ปลายทาง พ่วงเข้ามาด้วย เช่น มีจดุ หมาย ปลายทาง ดูรวม ๆ แล้วเรื่องนี้จะต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย ๔ ประการ คือ มีความตั้งใจ มีความพยายาม มีต้นทาง และมีปลายทาง เราเริ่มมองเห็นแล้วว่า เรื่องนี้ชักจะขยายวงกว้างไปเรื่อย ๆ ถ้าถามใครสักคนว่า จุดหมายของชีวิตคุณคืออะไร คงต้องยกเอาข้อสรุปของ อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) ได้แก่ ๑. ต้องการรักษาชีวิตให้รอด ๒. ต้องการความปลอดภัย ๓. ต้องการความรัก ความเอาใจใส่ ๔. ต้องการมีชื่อเสียง ๕. ต้องการประสบความสำ�เร็จ จุดหมายเหล่านี้จะสำ�เร็จได้ คงต้องมีจุดหมายรอง ๆ ลงมาอีกมากมาย รวม ๆ แล้วแต่ละคนคงจะ มีจุดหมายของตนเองคนละหลายร้อยหรือหลายพันจุดหมาย เช่น จุดหมายในการรักษาชีวิตให้รอด ก็ต้องมี จุดหมายรองลงมา ได้แก่ การมีบ้านพักอาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค รายได้ที่เพียงพอ บ้านพักอาศัย ของแต่ละคนก็คงจะมีจุดหมายที่ต่างกันออกไป ทั้งสถานที่ รูปทรง ขนาด การจัดบ้าน เฟอร์นิเจอร์ สิ่งอำ�นวย ความสะดวกในบ้าน และอื่น ๆ อีกมากมาย ขนาดเรื่องที่อยู่อาศัยเพียงเรื่องเดียวก็ยังมีจุดหมายที่หลากหลาย


๘๘ ข่าวทหารอากาศ

ธันวาคม ๒๕๕๘

แต่ที่สำ�คัญ คือ ในแต่ละจุดหมายจะต้องมีต้นทาง มีความตั้งใจ มีความพยายาม และมีปลายทางดังที่กล่าวมาแล้ว น่าสนใจว่าแล้วคนเราแต่ละคนจะเอาความตัง้ ใจและความพยายามมาจากไหนตัง้ มากมายเพือ่ ตอบสนองจุดหมาย ของแต่ละคน ผู้เขียนคงไม่สามารถกล่าวถึงเรื่องราวของแต่ละคนได้ แต่อยากกล่าวถึงงานของกองทัพอากาศมากกว่า เพราะเราคิดง่าย ๆ ได้ว่า กำ�ลังพลของกองทัพอากาศมากกว่าสี่หมื่นคนนี้ คงมีจุดหมายต่าง ๆ ดังที่กล่าวมา ขณะเดียวกันภารกิจของกองทัพอากาศในการใช้กำ�ลังในการป้องกันประเทศนั้น มีเรื่องที่เกี่ยวข้องมากมายและ แต่ละเรื่องก็มีจุดหมายหลาย ๆ ระดับ ซึ่งกำ�ลังพลสี่หมื่นกว่าคนนี้แหละที่ต้องมีความตั้งใจและมีความพยายาม ทำ�งานเหล่านี้ให้สำ�เร็จเพื่อแลกกับเงินเดือน ปัญหาตรงนี้ก็คือ กำ�ลังพลแต่ละคน ตั้งแต่ผู้บริหารสูงสุด จนถึงพลทหาร มาปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจ และความพยายามที่จะบรรลุจุดหมายต่าง ๆ ของกองทัพอากาศหรือไม่ (หรือมาทำ�งานด้วยจุดมุ่งหมายส่วนตัว) หากไม่เช่นนั้นแล้วก็คงเป็นเหมือนผู้เขียนที่ไปเดินในงานหนังสือแห่งชาติจนเมื่อย แต่ไม่ได้หนังสือติดมือกลับมา สักเล่ม ทั้ง ๆ ที่มีหนังสือมากมายเป็นหมื่นเป็นแสนเล่ม

 องค์ประกอบสำ�คัญในการทำ�งานอย่างมีจุดหมาย ๑. ต้องมีศรัทธาในองค์กร การทีใ่ ครสักคนจะทุม่ เททำ�งานอย่างสุดกำ�ลังนัน้ เขาต้องรักและศรัทธาในองค์กร ของเขาอย่างเต็มหัวใจ จะเห็นได้ชดั ในนักกีฬาทีมชาติทเี่ ล่นอย่างสุดชีวติ เพราะความรักชาติ ต้องการสร้างชือ่ เสียง ให้กับประเทศชาติของตน ความรู้สึกอย่างนี้ เราจะสร้างให้กับข้าราชการของ ทอ. ได้หรือไม่ หากข้าราชการของเรา บางท่าน ทำ�งานไป ว่าหน่วยงานของตนไป คงเป็นเรื่องที่เจริญได้ยากทั้งส่วนตนและส่วนรวม


ธันวาคม ๒๕๕๘

ข่าวทหารอากาศ ๘๙

๒. ต้องมีจุดหมาย หรือเป้าหมายร่วมกัน ที่ถูกเขียนไว้อย่างชัดเจน และประกาศให้ทราบทั่วกัน เพราะ คนเราคิดไม่เหมือนกัน หากทำ�งานอยู่ด้วยกันแล้วต่างคนต่างคิดก็จะกลายเป็นต่างคนต่างทำ�ไปในที่สุด ตัวอย่างเช่น ทอ.มียุทธศาสตร์ในการเป็นกองทัพอากาศชั้นนำ�ในภูมิภาคอาเซียนอย่างชัดเจน ทุกคนก็ต้องทำ�ความเข้าใจ ในหน้าที่ของตน และตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ ทอ. ๓. ต้องมีวิธีการวัดผลที่ชัดเจน โปร่งใส เป็นไปได้ เป็นธรรม และทราบทั่วกัน ๔. เราต้องปรับเป้าหมายของชีวิตเราให้เข้ากับเป้าหมายขององค์กรให้ได้ เรื่องนี้ยากมากที่สุด เพราะ แต่ละคนมีจุดหมายของตนเองอยู่แล้ว และหลายคนเอาจุดหมายของตนเองไปรวมกับจุดหมายของคนอื่น อีกด้วย ยิ่งยุ่งกันใหญ่ เช่น บางคนอาจตั้งเป้าหมายไว้ว่าตุลาคมหน้า น่าจะได้ยศเพิ่มขึ้น ซึ่งการจะได้ยศ ได้ตำ�แหน่งสูงขึ้นก็คงต้องทำ�งานหนักขึ้น ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน ขณะเดียวกันก็อาจจะพูดคุย กับครอบครัว ภรรยาก็ตั้งเป้าหมายไปด้วยว่า สามีจะมียศมีตำ�แหน่งสูงขึ้น พ่อแม่ลูกหลานเกี่ยวพันกันไปหมด กลายเป็นเอาจุดหมายของตนเองและครอบครัวไปผูกกับงานและตำ�แหน่งหน้าที่ ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ อาจจะเกี่ยวข้องกัน หรือไม่ก็ได้ จึงเกิดเรื่องราวที่พิสดารพันลึกในระบบราชการ คือ งานไม่ทำ�แต่วิ่งหาตำ�แหน่งได้ หรือทำ�งานได้ แต่ไม่มตี �ำ แหน่งให้ เรือ่ งมันวุน่ วายทุกวันนี้ เพราะเอาจุดหมายของตัวเองไปผูกกับเรือ่ งอืน่ ๆ แทนทีจ่ ะมองเฉพาะ จุดหมายของงานและปรับตัวให้เหมาะสมกับการทำ�งานนั้น ๆ ส่วนจุดหมายส่วนตัวก็ต้องดูกำ�ลัง ความสามารถ โอกาส และจังหวะของแต่ละคนด้วย ทั้งสี่ประการนี้ คงเป็นเรื่องสำ�คัญ ในการทำ�งานของกองทัพอากาศ อย่างมี จุดหมายร่วมกัน ซึง่ จะเป็นพลังอันยิง่ ใหญ่ ในการพัฒนากองทัพอากาศของเรา ให้เจริญก้าวหน้าไปตามจุดหมายทีต่ งั้ ไว้

“ความสำ�เร็จที่แท้จริง ไม่ใช่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น แต่เป็นความตั้งใจ ที่มีจุดหมายร่วมกัน”



พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง ผบ.ทอ. รับมอบชอดอกไมจากผูแทน พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย องคมนตรี เพื่อแสดงความขอบคุณ ทอ. ที่ใหการสนับสนุน จนท.และอากาศยานในกิจกรรม “Thai Kid’s Spacer ลมหายใจแหงรักสูสามจังหวัดชายแดนภาคใต” เนื่องในโอกาสเฉลิม พระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจาอยูห วั ๘๘ พรรษา ณ บก.ทอ. เมือ่ ๔ พ.ย.๕๘

พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง ผบ.ทอ. เปนประธานในพิธถี วายผาพระกฐินพระราชทาน ณ วัดดอนเมือง เขตดอนเมือง กทม. เมื่อ ๑๐ พ.ย.๕๘

พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง ผบ.ทอ. รับเยี่ยมคำนับ General Soeung Samnang ผบ.ทอ.กัมพูชา เพื่อหารือขอราชการ ณ หองรับรองพิเศษ ๑ บก.ทอ. เมื่อ ๓ พ.ย.๕๘

พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง ผบ.ทอ. รับเยีย่ มคำนับ Major General Hang Byoung Joo รอง รมต.กห.ฝายกองกำลังและบริหาร สาธารณรัฐเกาหลี เพื่อหารือขอราชการ ณ หองรับรองพิเศษ ๑ บก.ทอ. เมื่อ ๔ พ.ย.๕๘

พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง ผบ.ทอ.และ พล.อ.ท.ประกิต ศกุณสิงห กรรมการ ผูจัดการบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด รวมลงนามบันทึกขอตกลงระหวาง กองทัพอากาศ กับ บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด ณ หองรับรองพิเศษ ๑ บก.ทอ.

พล.อ.อ.ตรี ท ศ สนแจ ง ผบ.ทอ. ในฐานะ ผบ.ศบปพ. บันทึกเทปโทรทัศนเพื่อออกอากาศ ในรายการ “เดินหนาประเทศไทย” เกี่ยวกับเรื่อง “การแกไขปญหามาตรฐานการบิน ของไทย (ICAO)” ณ หองรับรองพิเศษ ๑ บก.ทอ. เมื่อ ๓ พ.ย.๕๘


นายปานเทพ กลาณรงคราญ ประธานกรรมการ ป.ช.ช. มอบโลเชิดชูเกียรติยกยอง ผูประพฤติ ปฏิบัติตนชอบดวยความซื่อสัตยสุจริต ประจำป ๒๕๕๘ ใหแก พล.อ.อ.วัธน มณีนัย รอง ผบ.ทอ. ณ สำนักงานปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ (ป.ช.ช.) จว.นนทบุรี เมื่อ ๑๗ พ.ย.๕๘

พล.อ.อ.สุทธิพันธ กฤษณคุปต ปธ.คปษ.ทอ. เปนประธานในพิธีเปดการศึกษาหลักสูตร การทัพอากาศ ปการศึกษา ๒๕๕๙ โดยมี พล.อ.ท.ฌเณศ ชลิตภิรัติ จก.ยศ.ทอ. และ พล.อ.ต.นอย ภาคเพิม่ ผบ.วทอ.ยศ.ทอ.ใหการตอนรับและมอบโลเชิดชูเกียรติศษิ ยเกาดีเดน ของ วทอ.ฯ ป ๕๘ ใหแก พล.อ.ท.ประกิต ศกุณสิงห กรรมการผูจัดการบริษัท อุตสาหกรรม การบิน จำกัด ณ หองบรรยาย วทอ.ยศ.ทอ. เมื่อ ๒๙ ต.ค.๕๘

พล.ร.อ.ปวิตร รุจิเทศ ประธานกรรมการฝายลงทะเบียน และ พล.อ.อ.เผด็จ วงษปนแกว ผช.ผบ.ทอ.รวมประชุมเตรียมการจัดกิจกรรมจักรยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จ พระเจาอยูหัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา “ปนเพื่อพอ BIKE FOR DAD” ณ หองประชุม ฝสธ.(๑) เมื่อ ๒๙ ต.ค.๕๘

พล.อ.ท.สุรศักดิ์ ทุง ทอง รอง เสธ.ทอ.(ขว.) ผูแ ทน ผบ.ทอ. รับเยีย่ มคำนับ Brigadier General Milan Schulc ผชท.สาธารณรัฐเช็ก/กรุงเทพฯ เพือ่ แนะนำตัวเนือ่ งในโอกาสเขารับตำแหนงใหม ณ หองรับรองพิเศษ ๑ บก.ทอ. เมือ่ ๓ พ.ย.๕๘

พล.อ.ท.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน รอง เสธ.ทอ.(ยก.) ผูแทน ผบ.ทอ. รับเยี่ยมคำนับ Colonel Murat Sekizkardes ผชท.ตุรกี/กรุงเทพฯ เพื่อแนะนำตัวเนื่องในโอกาสเขารับตำแหนงใหม ณ หองรับรองพิเศษ ๑ บก.ทอ. เมื่อ ๓ พ.ย.๕๘

พล.อ.ท.ฌเณศ ชลิตภิรตั ิ จก.ยศ.ทอ./รองประธานอนุกรรมการบริหารวารสารและสือ่ สิง่ พิมพ ทอ. เปนประธานการประชุม คณอก.บริหารวารสารและสือ่ สิง่ พิมพ ทอ.ครัง้ ที่ ๑๑/๕๘ ณ หองประชุม ฝสธ.(๒) เมือ่ ๑๖ พ.ย.๕๘


พล.อ.ท.มานะ ประสพศรี รอง เสธ.ทอ. (กร., กษ.) เปนประธานการสัมมนา ปรับปรุงแผนบรรเทาสาธารณภัย ทอ. ณ เดอะไกด รีสอรท บางแสน จว.ชลบุรี ระหวาง ๓ - ๖ พ.ย.๕๘

พล.อ.ท.ภานุ พ งศ เสยยงคะ จก.ยก.ทอ.เป น ประธานในการแถลง แผนยุ ท ธการ ทอ.๙๙๙ โดยมี นขต.ทอ.ร ว มรั บ ฟ ง พร อ มแจกจ า ยแผน ณ หองประชุม ฝสธ.(๒) เมือ่ ๖ พ.ย.๕๘

พล.อ.ท.ธีรวุฒิ บุญเลิศ จก.ขว.ทอ.เปนประธานในพิธีเปดการอบรม เสมียน สน.ผชท.ทอ.ไทย/ตางประเทศ กอนไปปฏิบัติหนาที่ ป ๕๙ ณ หองประชุม บก.ทอ.๑ เมื่อ ๑๐ พ.ย.๕๘

พล.อ.ท.ฉั ต รชั ย บุ ญ ญานุ ร ั ก ษ ผบ.รร.นนก. ให โ อวาทแก นนอ.ตรี ภ พ วิศาลวณิชรัญ นนอ.ชั้นปที่ ๑ ในโอกาสลาศึกษาตอ รร.นายรอยออสเตรเลีย ADFA สาขา Computer Science ณ หองรับรอง ผบ.รร.นนก. เมื่อ ๔ พ.ย.๕๘

พล.อ.ท.ศักดา สุจริตธรรม จก.พอ.เปนประธานในพิธีทำบุญเนื่องใน วันสถาปนา พอ. พรอมทั้งอดีตผูบังคับบัญชา ขาราชการ ลูกจาง และพนักงานราชการ ณ บก.พอ. เมื่อ ๖ พ.ย.๕๘

พล.อ.ต.สุทัศน แสงเดชะ จก.กง.ทอ. และคณะ ตรวจเยี่ยมสายวิทยาการ การเงิ น บน.๒ โดยมี น.อ.เจษฎา แท ง ทองคำ ผบ.บน.๒ ให ก ารต อ นรั บ เมื่อ ๔ พ.ย.๕๘


พล.อ.ต.ศักดิพ์ นิ ติ พรอมเทพ จก.สบ.ทอ.และคณะ ตรวจเยีย่ มสายวิทยาการสารบรรณ สน.ผบ.ดม.ประจำป ๕๘ โดยมี พล.อ.ต.เฉลิมวงษ กีรานนท ผบ.ดม. ใหการตอนรับ ระหวาง ๓ - ๕ พ.ย.๕๘

พล.อ.ต.สันติ ศรีเสริมโภค ผอ.รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ. รับมอบเงินบริจาค เขาศูนยมะเร็ง รพ.ฯ จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท จาก คุณอุษณีย เฮงเจริญ เมื่อ ๓ พ.ย.๕๘

พล.อ.ต.รัชชาพงษ สมนาม ผบ.รร.การบิน เปนประธานการสัมมนาเชิงปฏิบตั กิ าร เรื่อง “การพัฒนาหลักสูตรการฝกบินโรงเรียนการบินสูมาตรฐานสากล” ณ โรงแรมเฟลิกซ ริเวอรแควรีสอรท จว.กาญจนบุรี เมือ่ ๑ พ.ย.๕๘

พล.อ.ต.พีระพล แกวมณีโชติ จก.พธ.ทอ. เปนประธานเปดการประชุมใหญสามัญ ประจำป ๕๘ ใหแกสมาชิก สอ.พธ.ทอ.จำกัด ณ หองประชุม พธ.ทอ.๒ เมื่อ ๓ พ.ย.๕๘

พล.อ.ต.วงศกร เปาโรหิ ต ย รอง ผบ.อย. เป น ประธานในพิ ธ ี เ ป ด การประชุ ม คณะกรรมการตรวจสอบความพร อ มรบ ป ๕๙ ณ ห อ งประชุ ม เจริ ญ จรั ม พร เมื่อ ๖ พ.ย.๕๘

น.อ.ระวิน ถนอมสิงห ผบ.บน.๑ เปนประธานในพิธีอำลาการปฏิบัติหนาที่ราชการ ของทหารกองประจำการ รุนป ๒๕๕๖ ผลัดที่ ๒ สังกัด บน.๑ ณ บริเวณลานจอด ขางหอบังคับการบิน บน.๑ เมื่อ ๒๙ ต.ค.๕๘


น.อ.สรวิชญ สุรกุล ผบ.บน.๕ พรอมดวย คุณนิรชา สุรกุล ประธานชมรมแมบาน ทอ. บน.๕ ไดนำ ขาราชการ รวมบันทึกเทปโทรทัศนถวายพระพรชัยมงคล แดพระบาทสมเด็จ พระเจาอยูห วั ณ สถานีวิทยุโทรทัศนแหงประเทศไทย จว.กาญจนบุรี เมือ่ ๒๙ ต.ค.๕๘

น.อ.นิสิต โขเมษฐวัฒน ผบ.บน.๒๑ รวมพิธีถวายผาพระกฐินพระราชทาน พระบาทสมเด็ จ พระเจ า อยู  ห ั ว ณ วั ด สระประสานสุ ข (วั ด บ า นนาเมื อ ง) ต.ไรนอย อ.เมือง จว.อุบลราชธานี เมือ ๗ พ.ย.๕๘

น.อ.ขจรฤทธิ์ แกวอำไพ ผบ.บน.๔๖ เปนประธานในพิธีจัดกิจกรรมปลูกตนไม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว เนื่องในโอกาส “วันพระบิดาแหง ฝนหลวง” ณ ศูนยกิจกรรม บน.๔๖ เมื่อ ๑๒ พ.ย.๕๘

น.อ.ธนเสฏฐ ธรรมอำนวยกิจ ผบ.บน.๒๓ ตอนรับ นายสุวทิ ย พิพฒ ั นวไิ ลกุล ประธาน สโมสรฟุตบอลอุดรธานีเอฟซี และ นายวัชรพล ขาวขำ ผูจัดการฯ พรอมรับเสื้อ และของที่ระลึก ณ หองรับรองราชสีห บน.๒๓ เมื่อ ๒ พ.ย.๕๘

น.อ.ชาตินนท สทานไผท ผบ.บน.๔๑ เปนประธานในพิธีอำลาการปฏิบัติหนาที่ราชการ ของทหารกองประจำการ รุนป ๒๕๕๖ ผลัดที่ ๒ ณ สนามฝก พัน อย.บน.๔๑ เมือ ๓๐ ต.ค.๕๘

น.อ.สมใจ ชัยวงษ ผบ.บน.๗ เปนประธานพิธีอำลาการปฏิบัติหนาทราชการของทหาร กองประจำการ รุนป ๒๕๕๖ ผลัดที่ ๒ ณ สนามฝกหนาอาคารรับกำลังจากสวนกลาง พัน อย.บน.๗ เมือ่ ๓๐ ต.ค.๕๘







Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.