หนังสือข่าวทหารอากาศ ฉบับเดือน กันยายน 2559

Page 1



(หมดเขตสิ้นเดือน ธันวาคม 2559 เทานั้น)



พระราชดํารัส “...ความสามัคคีและความถือตัวว่าเป็นไทยนี้ เป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุด เพราะเป็นมรดกที่ ตกทอดมาจากบรรพบุรษุ ของเรา และเป็นปัจจัยสำ�คัญทีท่ �ำ ให้เรารวมกันอยูไ่ ด้ ให้เราดำ�รงชาติ ประเทศและเอกราชสืบมาได้ ทุกคนควรจะได้พยายามรักษาความเป็นไทย และความสามัคคีนี้ ไว้ให้มั่นคงในที่ทุกแห่ง อย่ายอมให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดมาทำ�ลายได้...” พระราชดำ�รัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๖


บทอาเศียรพาทพระบรมราชชนก เนื่องในวันมหิดล ๒๔ กันยายน ๒๕๕๙

พระชนกนวมินทร์ปิ่นกษัตริย์ ทรงเป็นแพทย์สดใสด้วยไมตรี พระเมตตาบารมีศรีประเทศ พระราชทานจอมกษัตริย์ฉัตรนรินทร์ สองพระองค์ธงชัยไทยเทิดยิ่ง สง่างามน้ำ�พระทัยหาใดปาน องค์มหิดลน้ำ�พระทัยห่วงใยนัก ทรงห่วงใยราษฎรพรอุดม ทรงนำ�แพทย์แผนใหม่พระทัยมุ่ง ศิริราชเริ่มต้นเป็นผลงาน ทรงหาทุนส่งศึกษาวิชาเวช ทั้งวิชาพยาบาลการวิธี ทุกวันนี้พระคุณายังปรากฏ ทรงจัดตั้ง “ทุนมหิดล” ผลพระคุณ นามมหิดลสว่างไสวไปทั้งโลก ซึ้งพระคุณบุญญามาช้านาน ขอคุณพระไตรรัตน์จรัสศรี พระสถิตหนใดจงไพบูลย์

แจ่มจรัสด้วยพระคุณบุญราศี พระบารมีพระมหิดลล้นแผ่นดิน คุณคุ้มเกศชาวไทยดั่งใจถวิล คุ้มธานินทร์เด่นรัตน์ชัชวาล ทรงเป็นมิ่งเป็นขวัญล้วนกล่าวขาน โลกกล่าวขานเป็นนิตย์จิตนิยม ทั้งรักทั้งเมตตาคุณค่าสม จึงสั่งสมการรักษาพยาบาล เลิศรุ่งศรีประเทศเขตสถาน โลกกล่าวขานแซ่ซ้องสดุดี ณ ต่างประเทศเห็นคุณบุญราศี นำ�วิถีสู่ไทยเพิ่มไพบูลย์ พระโอรสจอมกษัตริย์จรัสหนุน นับเป็นบุญยิ่งใหญ่หาใดปาน เป็นโชคของคนไทยอย่างไพศาล ทุกสถานทั่วไทยไม่เสื่อมคุณ เทพทั่วฟ้าธาตรีศรีไอศูรย์ คุ้มพระคุณทุกทิพาราตรีเทอญ

สำ�นึกในพระกรุณาคุณ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้จัดทำ�หนังสือข่าวทหารอากาศ (น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ประพันธ์ถวาย)


ข่าวทหารอากาศ

คณะผู้จัดทำ�หนังสือข่าวทหารอากาศ

หนังสือข่าวทหารอากาศ

เจ้าของ

ความเป็นมา

กองทัพอากาศ

หนังสือข่าวทหารอากาศ เป็นนิตยสารรายเดือนของกองทัพ อากาศ เริ่มดำ�เนินการเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓ ขึ้นกับกรมข่าวทหารอากาศ มีนาวาอากาศเอก สกล รสานนท์ เป็นบรรณาธิการคนแรก ดำ�เนินการ โดยทุนของข้าราชการทหารอากาศ ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๙๘ ได้โอนกิจการ มาอยู่ในความอำ�นวยการของกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ตามคำ�สั่ง ทอ. (เฉพาะ)ที่ ๕๘๐/๙๘ ลง ๒๓ ธ.ค.๒๔๙๘ ๑ ม.ค.๒๕๕๓ ได้เข้าอยู่ในกิจการสวัสดิการกองทัพอากาศ กำ�กับดูแลโดยคณะอนุกรรมการบริหารวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์กองทัพ อากาศ ตามอนุมัติ ผบ.ทอ./ประธานกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ เมื่อ ๒๘ ธ.ค.๕๒ กำ�หนดให้ใช้ระเบียบคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพ อากาศ ว่าด้วยการบริหารวารสารและสือ่ สิง่ พิมพ์กองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๕๒

ที่ปรึกษา

พล.อ.อ.สมศักดิ์ วรฉัตร พล.อ.ต.หญิง มาลี ดิษฐบรรจง

พล.อ.ท.ประพัตรา ตัณฑ์ไพโรจน์ พล.อ.ต.หญิง สุมาลี ฤทธิบุตร

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

พล.อ.ต.ธนบดี อุตะมะ พล.อ.ต.น้อย ภาคเพิ่ม น.อ.ไววิทย์ เสือดี น.อ.ศุภโชติ ชัยวงษ์ น.อ.กานต์ชนก หันหาบุญ น.อ.วันชัย บุญภักดี

พล.อ.ต.นพดล บุญมั่น พล.อ.ต.สำ�เริง พูลเพิ่ม น.อ.ขวัญกล้า นกเอี้ยงทอง น.อ.วันชัย พึ่งเจียม น.อ.หญิง วิภาดา ชนไมตรี น.อ.ณรงค์ศักดิ์ พิชิตชโลธร

ภารกิจ

ผู้อำ�นวยการ

ดำ�เนินกิจการหนังสือข่าวทหารอากาศ ให้เป็นไปตามนโยบายของ คณะอนุกรรมการบริหารวารสารและสือ่ สิง่ พิมพ์กองทัพอากาศ มีผอู้ �ำ นวยการ หนังสือข่าวทหารอากาศ (จก.ยศ.ทอ.) เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

พล.อ.ท.ฌเณศ ชลิตภิรัติ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ

รองผู้อำ�นวยการ

วัตถุประสงค์

พล.อ.ต.คุณทร มณีเขียว เสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ น.อ.อัมพร ทองถม รองเสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ผู้จัดการ น.อ.สหัสชัย มาระเนตร ผู้ช่วยผู้จัดการ น.ท.ชาญยุทธ รัตนสาลี กองบรรณาธิการ บรรณาธิการ พล.อ.ท.ฌเณศ ชลิตภิรัติ ผู้ช่วยบรรณาธิการ น.อ.หญิง ธัญญาภรณ์ พันธุ์เพ็ง น.ท.ชาญยุทธ รัตนสาลี ประจำ�กองบรรณาธิการ น.อ.หญิง วรรณิภา ยี่ประชา น.อ.นิพนธ์ ก่อสินค้า น.อ.หญิง วัลภาภรณ์ มูลละ น.ท.สินธพ ประดับญาติ น.ท.หญิง วรรณวิไล เนียมวงษ์ น.ท.หญิง ยุพเรศ วงศ์มีศักดิ์ พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห์ กองจัดการ น.อ.อุรุพงษ์ แสงจันทร์ น.ท.หญิง สุภาวดี โคตรเวียง ร.อ.สุวัฒน์ ประชากูล พ.อ.อ.หญิง เศาวณี พุกน้อย พ.อ.อ.หญิง เฉลา แก้วยศ นาง อมรา หัตถมาศ

๑. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในกิจการทั่ว ๆ ไป ๒. เพือ่ แลกเปลีย่ นแสดงความคิดเห็นในด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม อันจะ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ๓. เพื่อเผยแพร่กิจการกองทัพอากาศ

การดำ�เนินงาน

๑. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น ที่เป็น ประโยชน์ในการพัฒนากองทัพและส่วนรวม ๒. เรื่องที่นำ�ลงในหนังสือข่าวทหารอากาศ - ต้องไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์/นโยบาย กองทัพอากาศ - ต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ บุคคล หรือ ส่วนรวม - ต้องได้รับการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะกรรมการ พิจารณาเรื่องของสำ�นักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ

กำ�หนดการเผยแพร่

นิตยสารรายเดือน

สำ�นักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ www.airforcemagazine.rtaf.mi.th ห้อง ๑๐๑ อาคารหอสมุดกองทัพอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กทม. ๑๐๒๑๐ โทร. ๐-๒๕๓๔-๔๔๗๑, ๐-๒๕๓๔-๔๒๔๑ แฟกซ์ ๐-๒๕๓๔-๔๔๗๑

พิมพ์ที่ บริษัท ปรีชาธร อินเตอร์พริ้น จำ�กัด ๔/๕ ซอย รามอินทรา ๔๒ แยก ๘ แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กทม. ๑๐๒๓๐ โทร. ๐-๒๙๓๐-๗๐๕๓-๔ แฟกซ์ ๐-๒๙๓๐-๗๐๕๐ ค่าสมาชิกภายนอกปีละ ๓๕๐ บาท (รวมค่าส่ง) สั่งจ่าย ปณ.คลองถนน ๑๐๒๒๒

ความคิดเห็นของผู้เขียนในหนังสือฉบับนี้ ไม่มีส่วนผูกพันกับทางราชการแต่ประการใด ภาพที่ลงในหนังสือข่าวทหารอากาศนำ�มาจาก google.com ออกแบบปก : น.ท.สินธพ ประดับญาติ/จ.ท.หญิง รัฐพร เตชะสินทวี E-mail: rtafmag@gmail.com


ารบัญ

ปีที่ ๗๖ ฉบับที่ ๙ เดือนกันยายน ๒๕๕๙

๙ บทบรรณาธิการ ๑๐ ภาพเก่าเล่าเรือ่ ง ...ฒ.ผู้เฒ่า ๑๑ ประโยชน์สุขของแผ่นดิน : ข้าวแห่งราชันย์ ขวัญแห่งปวงชน ...ตามรอย ๑๔ ก้าวสู่ความยั่งยืน ROYAL THAI AIR FORCE ...พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง ๑๙ Life Cycle Management & Life Cycle Cost ต่อการพัฒนาการส่งกำ�ลังบำ�รุงของกองทัพอากาศ ...สนง.วิเคราะห์ข้อมูลส่งกำ�ลังบำ�รุง กบ.ทอ. ๒๕ นิทานปรัชญา : เหยือกเต็มรึยัง ? ...อรชร ๒๗ การพัฒนาเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ในอนาคต ...พ.อ.อ.จำ�นงค์ ศรีโพธิ์ ๒๗

๓๕ มุ่งมั่นพัฒนา สร้างคุณค่าให้กองทัพอากาศ ๖๘ ปี กรมช่างโยธาทหารอากาศ ...ปชส.ชย.ทอ. ๓๗ KM ชย.ทอ. “ผลการประเมินผู้รับจ้าง เพื่อเป็น ฐานข้อมูลสำ�หรับผู้บริหารระดับสูง” ...น.ท.นิธิวัฒน์ โต๊ะนาค ๔๐ เดินเร็ว - แกว่งแขน พิชิตพุง ...แรมโบ้ ๔๓ AGM-154 JSOW The World’s First Network-Enabled Weapon ...น.ท.วัชรพงษ์ กลีบม่วง ๔๙ นภาธิปัตย์ทัศนะ : ก้าวสู่กองทัพอากาศในอนาคต ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีระบบ Cloud Computing ...ฝ่ายวิชาการ นทน.เสธ.รุ่นที่ ๖๐

๔๓

๕๖ One Stop Service ...ศบส.กพ.ทอ. ๕๙ รอบรูเ้ ทคโนโลยีป้องกันประเทศ : ฐานปล่อยอากาศยานไร้คนขับลอยฟ้า ...สทป. ๖๕ ก้าวหน้า ก้าวไกล ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ๖๘ ปี กรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ ...ปชส.สอ.ทอ. ๖๗ ภาษาไทยด้วยใจรัก : ตรึงใจไกลบ้าน ...นวีร์ ๖๙ เฉลย CROSSWORD มีรางวัล เดือน ก.ค.59 ...อ.วารุณี ๗๐ CROSSWORD ...อ.วารุณี ๗๓ เวลาการ์ตูน ...มิสกรีน ๗๕ มุมสุขภาพ : World Heart Day ...น.ต.นพ.สุรินท์นาท เจริญจิตต์ และ พญ.ศศิผกา สินธุเสน รพ.บน.๒๓ ๗๘ รอบรู้อาเซียน : เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประชาคมอาเซียน ...@Zilch ๗๙ ครูภาษาพาที : การเมืองและการเลือกตั้ง ประเทศสหรัฐอเมริกา 2559 ...Christian Soldier ๘๓ เฉลย CROSSWORD เดือน ก.ย.59 ...อ.วารุณี ๘๔ ธรรมะประทีป : พุทธวิธีในการทำ�งาน ...กอศ.ยศ.ทอ. ๘๕ มุมกฎหมาย : ทรัพย์สินของพระ ...น.อ.วันชัย ม้าสุวรรณ ๘๗ ขอบฟ้าคุณธรรม : เป็นผู้เอาเปรียบผู้อื่นให้น้อยที่สุด ...1261 ๙๐ แบบสอบถามความพึงพอใจหนังสือข่าวทหารอากาศ ๙๑ โครงการช้างเผือก 2560 ๙๒ ในรั้วสีเทา


บทบรรณาธิการ สวัสดีครับ สมาชิกหนังสือข่าวทหารอากาศทุกท่าน เดือนกันยายน เป็นเดือนสุดท้ายของปีที่ข้าราชการหลายท่านครบวาระเกษียณอายุราชการ คณะผู้จัดทำ�หนังสือข่าว ทหารอากาศตระหนักดีวา่ ข้าราชการทุกท่านได้ปฏิบตั หิ น้าทีท่ รี่ บั ผิดชอบอย่างเต็มกำ�ลังความสามารถ ด้วยความวิรยิ ะ อุตสาหะ ทุม่ เทแรงกาย แรงใจ รวมทัง้ เสียสละความสุขส่วนตน เพือ่ ปฏิบตั ภิ ารกิจทีไ่ ด้รบั มอบหมายให้ส�ำ เร็จลุลว่ งไปด้วยดีอย่างมีประสิทธิภาพ สมความมุ่งหมายของทางราชการ คณะผู้จัดทำ�ฯ ในนามของกองทัพอากาศ ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งหลายในสากลโลก จงดลบันดาลให้ทุกท่านประสบความสุข มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อายุยืนยาว ดำ�เนินชีวิตหลังวัยเกษียณ อย่างมีความสุข วันที่ ๒๔ กันยายนของทุก ๆ ปี วันมหิดล เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย” ผู้ทรงบำ�เพ็ญพระราชกรณียกิจบังเกิดเป็นคุณประโยชน์ ต่อวงการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศเป็นอเนกนานัปการ คณะผูจ้ ดั ทำ�ฯ ขอน้อมนำ�บทประพันธ์ในฉบับ บทอาเศียรพาท พระบรมราชชนก เนื่องในวันมหิดล ปกฉบับนี้คณะผู้จัดทำ�ฯ ขอเชิดชูเกียรติ พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ คนที่ ๒๓ ซึ่งท่านเพียบพร้อม ไปด้วยความรู้ ความสามารถ คุณธรรมจริยธรรม และความมุ่งมั่นที่จะนำ�กองทัพอากาศไปสู่การเป็นกองทัพอากาศชั้นนำ� ในภูมิภาค One of the Best Air Forces in ASEAN อย่างเป็นรูปธรรม โดยจัดทำ�แผนพัฒนาการศึกษาอย่างเป็นระบบและ พัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลและองค์กร (Human and Organization) ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ตลอดจน พัฒนากำ�ลังพลสายวิทยาการต่าง ๆ เพื่อดำ�รงขีดความสามารถของกองทัพอากาศ ดังบทความของท่านเรื่อง ก้าวสู่ความยั่งยืน ROYAL THAI AIR FORCE ซึ่งท่านจะอยู่ในใจของชาวกองทัพอากาศตลอดไป บทความเรื่องเด่นประจำ�ฉบับ AGM-154 JSOW The World's First Network-Enabled Weapon เป็นระบบ อาวุธนำ�วิถีระยะไกลกว่า ๑๐๐ กิโลเมตร ที่ติดตั้งระบบเครือข่ายเป็นแบบแรกของโลก ซึ่งตอกย้ำ�ถึงความสำ�คัญของระบบเครือข่าย ที่เป็นหัวใจสำ�คัญของระบบอาวุธที่ใช้ในการปฏิบัติการทางทหารในปัจจุบัน และบทความที่หลายประเทศให้ความสนใจเรื่อง การพัฒนาเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ในอนาคต โดยกล่าวถึงแผนการปรับปรุง Gripen Version 20 ของ ทอ.สวีเดน เพื่อ เพิม่ ขีดความสามารถในการปฏิบตั ภิ ารกิจและความอยูร่ อดจากการปฏิบตั กิ ารรบ นอกจากนีย้ งั มีบทความทีม่ สี าระและน่าสนใจ อีกหลายเรื่อง ขอเชิญสมาชิกทุกท่านพลิกอ่านตามอัธยาศัย สำ�นักงานหนังสือข่าวทหารอากาศขอเชิญชวนสมาชิกทุกท่าน ตอบแบบสอบถามในหน้าที่ ๙๐ หรือที่ http://www. airforcemagazine.rtaf.mi.th ซึ่งท่านสามารถส่งแบบสอบถามได้ถึง ๓๑ ต.ค.๕๙ คณะผู้จัดทำ�ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับ ความร่วมมือจากสมาชิกและขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือมา ณ โอกาสนี้  บรรณาธิการ




ภาพเก่าเล่าเรื่อง ฒ.ผู้เฒ่า

บ.ข.๖ (Bristol Bulldog)

บ.ข.๘ (Heikel HD43)

วันที่ ๙ กันยายน ๒๔๗๔ กรมอากาศยาน ได้รับเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๖ (บ.ข.๖) จากประเทศอังกฤษ จำ�นวน ๒ เครื่อง เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๗ (บ.ข.๗) จากประเทศสหรัฐอเมริกา จำ�นวน ๒ เครื่อง และเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๘ (บ.ข.๘) จากประเทศเยอรมนี จำ�นวน ๒ เครื่อง ในขณะเดียวกัน ได้มีการดัดแปลงเครื่องบินนิเออปอรต์ เดอลาจ จากแบบเดิมที่ใช้ไม้อัดมาประกอบลำ�ตัว เป็นการใช้โครงโลหะบุด้วยผ้าเพื่อสะดวกแก่การรักษาและซ่อม และได้ทำ�การทดลองบินสำ�เร็จเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๔๗๔

บ.ข.๗ (Boeing 100E) แหล่งข้อมูล : ๔ แผ่นดินราชวงศ์จักรี ๑๐๐ ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ


กันยายน ๒๕๕๙

ข่าวทหารอากาศ


ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙


กันยายน ๒๕๕๙

ข่าวทหารอากาศ


ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙


กันยายน ๒๕๕๙

ข่าวทหารอากาศ


ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙


กันยายน ๒๕๕๙

ข่าวทหารอากาศ


ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙


สนง.วิเคราะห์ข้อมูลส่งกำ�ลังบำ�รุง กบ.ทอ. “การส่งกำ�ลังบำ�รุง คือ สะพานทีเ่ ชือ่ มต่อระหว่าง เศรษฐกิจของชาติกับการดำ�เนินยุทธวิธีของกำ�ลังรบใน สนาม ดังนัน้ ระบบส่งกำ�ลังบำ�รุงจะต้องมีความเหมาะสม และสอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจของชาติ และแนวคิดด้าน ยุทธวิธี รวมถึงสภาพแวดล้อมของกำ�ลังรบ” เป็นแนวคิด ด้านการส่งกำ�ลังบำ�รุงของ Rear Admiral Henry E. Eccles แห่งกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันกองทัพ สหรัฐฯ ยังคงนำ�แนวคิดและทฤษฎีนี้มาใช้อยู่ ความสำ�เร็จของการปฏิบตั ภิ ารกิจด้านยุทธการ นั้น เกิดจากระบบส่งกำ�ลังบำ�รุงที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งต้อง คำ�นึงถึงความเป็นไปได้ทางด้านงบประมาณ อันเชือ่ มโยง กับสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศและเมือ่ นำ�แนวคิด ดังกล่าวมาพิจารณาในบริบทของกองทัพอากาศจะเห็นได้ ว่ามีความสอดคล้องกับนโยบายผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ พ.ศ.๒๕๕๙ ด้านส่งกำ�ลังบำ�รุง ข้อ ๔.๑ ซึง่ กำ�หนดให้กองทัพ อากาศนำ�แนวคิดการบริหารยุทโธปกรณ์ตลอดอายุการ ใช้งาน (Life Cycle Management : LCM) มาใช้ในการ จัดหา ใช้งาน และดูแลรักษายุทโธปกรณ์ทกี่ องทัพอากาศ กำ�หนด รวมทัง้ วิเคราะห์ขอ้ มูลส่งกำ�ลังบำ�รุงทีส่ �ำ คัญ โดย

มีหวั ใจสำ�คัญ คือ ความคุม้ ค่า (Cost-Effectiveness) การ จัดหา การใช้งาน และการดูแลรักษา โดยพิจารณาต้นทุน ของยุทโธปกรณ์นนั้ ตลอดอายุการใช้งาน (Life Cycle Cost : LCC) ซึ่งมี ๔ ส่วน ประกอบด้วย ต้นทุนจัดหา ต้นทุน การส่งกำ�ลังและซ่อมบำ�รุง ต้นทุนปฏิบัติการ และต้นทุน ในการปลดประจำ�การ/จำ�หน่าย กรมส่งกำ�ลังบำ�รุงทหารอากาศ ได้ตระหนักถึง ความสำ�คัญในการนำ�นโยบายผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ มา ปฏิบตั ใิ ห้เป็นรูปธรรม โดยได้น�ำ แนวคิด LCM และ LCC มา ประยุกต์ใช้อย่างต่อเนือ่ ง จนได้รบั ผลสัมฤทธิเ์ ป็นทีน่ า่ พึง พอใจ และได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ ดังจะเห็นได้ จากบทความเรื่อง "Implementing LCM within Royal Thai Air Force - from seed to blossoming lotus" เขียนโดย ดอกเตอร์แพททริก อัลเฟรดสัน ซึ่งเผยแพร่ผ่าน เว็บไซต์ของบริษทั ซิสเตอคอน (Systecon : บริษทั ทีป่ รึกษา ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลชั้นนำ�ของประเทศสวีเดน) เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๙ ได้กล่าวถึงประสบการณ์จากการเฝ้า สังเกตและติดตามการพัฒนาของการสร้างองค์ความรูแ้ ละ การวิเคราะห์ข้อมูลส่งกำ�ลังบำ�รุงของกองทัพอากาศ ทั้งนี้


๒๐ ข่าวทหารอากาศ ทางบริษัทได้รับการติดต่อจากองค์การบริหารยุทโธปกรณ์ แห่งประเทศสวีเดน (Försvarets materielverk: FMV) ภายใต้โครงการจัดซื้อเครื่องบิน บ.ข.๒๐/ก (Gripen 39 C/D) ให้เป็นผูถ้ า่ ยทอดองค์ความรูด้ า้ นการส่งกำ�ลังบำ�รุง ให้กบั กองทัพอากาศอย่างต่อเนือ่ งนับตัง้ แต่ปี พ.ศ.๒๕๕๕ ๒๕๕๗ รวมถึงสัญญาทีก่ รมส่งกำ�ลังบำ�รุงทหารอากาศได้วา่ จ้างให้เป็นทีป่ รึกษาเพิม่ เติมระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๘ - ๒๕๕๙ กรมส่งกำ�ลังบำ�รุงทหารอากาศ (สำ�นักงานวิเคราะห์ ข้อมูลส่งกำ�ลังบำ�รุง) เห็นว่าบทความดังกล่าว ได้นำ�เสนอ ขั้นตอนและรายละเอียดในการนำ�แนวคิด LCM และ LCC มาประยุกต์ใช้ในกองทัพอากาศ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนและ ประสบผลสำ�เร็จ ซึ่งบทความนี้ไม่เพียงแต่เป็นแนวทางใน การพัฒนากิจการด้านการส่งกำ�ลังบำ�รุงเท่านัน้ แต่ยงั แสดง ให้เห็นถึงแนวทางการพัฒนาองค์กรสมัยใหม่ เพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งสามารถนำ�ไปประยุกต์ ใช้กับหน่วยงานอื่น ๆ ได้อีกด้วย ผู้เขียนจึงได้ทำ�การแปล และเรียบเรียงข้อมูล พร้อมสรุปเนื้อหาสำ�คัญของการนำ� แนวคิด LCM และ LCC มาประยุกต์ใช้ในกองทัพอากาศ โดย เปรียบเทียบแต่ละขัน้ ตอนเสมือนระยะเวลาของการปลูกบัว ซึ่งแบ่งเป็น ๓ ระยะ ได้แก่ ระยะการเพาะเมล็ดพันธุ์ ระยะ ดอกบัวเบ่งบาน และระยะส่งเสริมพันธุบ์ วั ให้เจริญเติบโต ดังนี้  ระยะการเพาะเมล็ดพันธุ์ ในปี พ.ศ.๒๕๕๔ บริษัทซิสเตอคอน (Systecon) ได้รบั การติดต่อจากองค์การบริหารยุทโธปกรณ์แห่งประเทศ สวีเดน (FMV) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลสวีเดนที่ดูแล รับผิดชอบแผนงานถ่ายทอดเทคโนโลยี ตามข้อตกลงจัดซือ้ เครื่องบิน Gripen 39 C/D ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาล สวีเดน ซึ่งในขณะนั้นกองทัพอากาศแจ้งความประสงค์ ต้องการปรับปรุงทักษะและขีดความสามารถด้านการส่งกำ�ลัง บำ�รุงและการวิเคราะห์ข้อมูลส่งกำ�ลังบำ�รุง ทางบริษัทฯ ได้ มอบหมายให้ ดร.แพททริก อัลเฟรดสัน (ที่ปรึกษาอาวุโส) ทำ�หน้าที่แปลงความประสงค์ของกองทัพอากาศมาสู่การ ปฏิบตั อิ ย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการวางแผน ออกแบบวิธกี าร

กันยายน ๒๕๕๙ สร้างโมเดล จัดทำ�หลักสูตรและกำ�หนดเครื่องมือที่ใช้ใน การฝึกอบรม ดร.แพททริก ฯ ให้ความเห็นว่าความประสงค์ของ กองทัพอากาศดังกล่าว ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากความคิด เพียงชั่วครั้งชั่วคราว หากแต่เกิดจากการที่บุคลากรของ กองทัพอากาศจำ�นวนหนึ่งได้รับการศึกษาและบ่มเพาะ แนวความคิดดังกล่าวมาก่อนหน้านี้แล้วหลายปี รวมถึง มีการดำ�ริในเรื่องนี้จากนายทหารชั้นผู้ใหญ่หลาย ๆ ท่าน ในขณะเดียวกันบริษทั ซิสเตอคอนซึง่ เป็นบริษทั ทีม่ ผี ลงาน พิสูจน์มานานปีว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นผู้นำ�ในด้าน การให้คำ�ปรึกษาการส่งกำ�ลังบำ�รุงที่มีขีดความสามารถ และเป็นที่ไว้วางใจที่จะสามารถดำ�เนินงานได้ตามความ ประสงค์ของกองทัพอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงได้กำ�หนดแผนงานถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านส่งกำ�ลัง บำ�รุงสำ�หรับกองทัพอากาศขึ้น โดยมีองค์ประกอบของ แผนงานที่สำ�คัญ ๓ ส่วน คือ ๑. การจัดหาซอฟต์แวร์ เพื่อสร้างโมเดลและ วิเคราะห์ขอ้ มูลส่งกำ�ลังบำ�รุงขัน้ สูง รวมถึงการฝึกทักษะใน การใช้งานซอฟต์แวร์ดงั กล่าว (Software OPUS SUITE) ๒. การให้ความรู้ เรือ่ งการบริหารพัสดุตลอดอายุ การใช้งาน (Life Cycle Management: LCM) หลักการ สำ�คัญ วิธีวิเคราะห์ โดยแบ่งการพัฒนาความรู้ออกเป็น ๕ โมดุล ได้แก่ ๒.๑ การบริหารพัสดุตลอดอายุการใช้งาน (Life Cycle Management) ๒.๒ หลักความคุม้ ค่า (Cost-Effectiveness) การออกแบบของระบบสนับสนุน และการใช้ซอฟต์แวร์ OPUS10 ๒.๓ การจัดหาตามหลักพิจารณาต้นทุนตลอด อายุการใช้งาน (LCC- Based Acquisition) การสร้างรูป แบบต้นทุน และการใช้ซอฟต์แวร์ CATLOC ๒.๔ การสนับสนุนการส่งกำ�ลังบำ�รุงแบบ บูรณาการ (ILS) การวิเคราะห์การสนับสนุนการส่งกำ�ลัง บำ�รุง (LSA) Logistics Support Analysis Record (LSAR)


กันยายน ๒๕๕๙ และการจัดเตรียมข้อมูลการวิเคราะห์ ๒.๕ ประสิทธิภาพในการปฏิบตั กิ ารของระบบ การสร้างแบบจำ�ลอง (Simulation) และการใช้ซอฟต์แวร์ SIMLOX ๓. การสนับสนุนการวิเคราะห์ขอ้ มูลส่งกำ�ลังบำ�รุง ในโครงการจัดหาของกองทัพอากาศ (Analysis Support) ดร.แพททริก ฯ ได้เน้นย�้ำ ว่าในบรรดาองค์ประกอบ ของแผนงานถ่ายทอดเทคโนโลยีดา้ นส่งกำ�ลังบำ�รุงดังกล่าว ข้างต้นนัน้ องค์ประกอบส่วนทีส่ าม คือ การสนับสนุนการ วิเคราะห์ขอ้ มูลส่งกำ�ลังบำ�รุงในโครงการจัดหาของกองทัพ อากาศ นับว่าเป็นส่วนทีก่ อ่ ให้เกิดคุณค่าต่อการพัฒนาขีด ความสามารถการส่งกำ�ลังบำ�รุงของกองทัพอากาศเป็น อย่างยิ่ง (Extremely Valuable) พร้อมได้กล่าวว่าการ ริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาองค์กรในหลาย ๆ กรณีประสบ ความล้มเหลว สาเหตุสำ�คัญประการหนึ่งคือ ความยาก ในการแปลงทฤษฎีมาสู่การปฏิบัติ ทฤษฎีต้องถูกหลอม รวมกับวัฒนธรรมองค์กรและรู้โดยองค์กร สำ�หรับกรณี ของกองทัพอากาศนั้นได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ใน เรื่องการบริหารพัสดุตลอดอายุการใช้งาน (LCM) และ ได้รับประสบการณ์จากการนำ�องค์ความรู้ดังกล่าวไป ปฏิบตั จิ ริง โดยมีผเู้ ชีย่ วชาญคอยเป็นผูใ้ ห้ขอ้ เสนอแนะและ คำ�ปรึกษาอย่างใกล้ชิด ตลอดระยะเวลา ๒ ปี แผนงานถ่ายทอดองค์ ความรูข้ อง ดร.แพททริก ฯ ได้รบั การยอมรับจาก FMV และ กองทัพอากาศ โดยอบรมให้กบั ข้าราชการกองทัพอากาศ กว่า ๑๐๐ ครัง้ ซึง่ ฝึกอบรมชุดแรกเมือ่ เดือนมีนาคม ๒๕๕๕ จนถึงเดือนมิถุนายน ๒๕๕๗  ระยะดอกบัวเบ่งบาน ดร.แพททริก ฯ ได้ทำ�การเปรียบเทียบว่าการนำ� LCM มาใช้ในกองทัพอากาศนั้นเป็นเสมือนการเดินทาง ผจญภัยทีน่ า่ ตืน่ เต้น ซึง่ ส่งผลลัพธ์ทนี่ า่ สนใจเป็นอย่างยิง่ คือ  กองทัพอากาศได้จัดตั้ง สำ�นักงานวิเคราะห์ ข้อมูลส่งกำ�ลังบำ�รุง (Logistic Analysis Office: LAO)

ข่าวทหารอากาศ ๒๑ ในปี พ.ศ.๒๕๕๗ ขึ้นมาทำ�หน้าที่ประเมิน วิเคราะห์ และ ให้ขอ้ เสนอแนะด้านส่งกำ�ลังบำ�รุง เพือ่ การตัดสินใจทีส่ �ำ คัญ สำ�หรับโครงการต่างๆ ของกองทัพอากาศ โดยปัจจุบัน สำ�นักงานฯ ประกอบด้วยข้าราชการ จำ�นวน ๑๐ คน  กองทัพอากาศ ได้แก้ไขระเบียบพัสดุว่าด้วย การจัดซื้อจัดจ้าง ในส่วนการจัดซื้อจัดจ้างยุทโธปกรณ์ สำ�คัญ กำ�หนดให้นำ�ต้นทุนตลอดอายุการใช้งาน (LCC) มาประกอบการพิจารณาด้วยโดยมีสำ�นักงาน LAO เป็น หน่วยวิเคราะห์และให้ข้อเสนอแนะดังกล่าว ในปัจจุบนั กองทัพอากาศได้น�ำ หลักการ LCM และ การวิเคราะห์ต้นทุนตลอดอายุการใช้งาน (LCC) มาใช้กับ โครงการจัดซือ้ จัดจ้าง รวมถึงการปรับปรุงขีดความสามารถ ของยุทโธปกรณ์ทปี่ ระจำ�การหลาย ๆ โครงการ อย่างต่อเนือ่ ง  ระยะส่งเสริมพันธุ์บัวให้เจริญเติบโต ปัจจัยสำ�คัญทีท่ �ำ ให้กองทัพอากาศประสบความ สำ�เร็จในการนำ�หลัก LCM มาประยุกต์ใช้ สรุปได้ดังนี้  ปรัชญาการบริหารตามหลัก LCM ได้รับการ ส่งเสริมและสนับสนุนอย่างเข้มแข็งจากผูบ้ งั คับบัญชาและ ผู้เกี่ยวข้องของกองทัพอากาศ  กองทัพอากาศได้จัดสรรทรัพยากรที่จำ�เป็น สำ�หรับสำ�นักงาน LAO รวมถึงสำ�นักงาน LAO ได้รับ มอบหมายอำ�นาจหน้าที่อย่างเหมาะสม  ความเชี่ยวชาญและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ LCM และการวิเคราะห์ข้อมูลส่งกำ�ลังบำ�รุงของบริษัทซิส เตอคอน สามารถนำ�ไปใช้สนับสนุนการตัดสินใจที่สำ�คัญ สำ�หรับกองทัพอากาศได้อย่างแท้จริง พิสจู น์ได้จากประโยชน์ ทีไ่ ด้รับในกระบวนการตัดสินใจในหลาย ๆ โครงการของ กองทัพอากาศ  ความเชือ่ มัน่ ความไว้วางใจ การให้การสนับสนุน และความร่วมมือระหว่างกองทัพอากาศและบริษทั ซิสเตอคอน ที่เป็นไปอย่างดีเยี่ยม  การพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำ�เร็จทีแ่ ท้ จริงนัน้ มิใช่เพียงการฝึกอบรมให้เสร็จตาม Power Points


๒๒ ข่าวทหารอากาศ เท่านัน้ แต่หมายถึงการเป็นทีป่ รึกษา การเป็นพีเ่ ลีย้ ง การให้ คำ�แนะนำ� และการนำ�ไปประยุกต์ใช้ได้ในโลกของความเป็น จริง  บทส่งท้ายจากสำ�นักงานวิเคราะห์ข้อมูลส่งกำ�ลัง บำ�รุง (LAO) การส่งกำ�ลังบำ�รุง เป็นปัจจัยสำ�คัญประการหนึ่ง ที่จะรับประกันความสำ�เร็จในการปฏิบัติภารกิจของกองทัพ อากาศ โดยเฉพาะด้านยุทธการ ซึ่งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงกองทัพอากาศจึงเป็น ความจำ�เป็นทีต่ อ้ งพัฒนาองค์ความรูด้ า้ นการส่งกำ�ลังบำ�รุง ให้ทนั สมัยสอดคล้องกัน ไม่วา่ จะเป็นในเรือ่ ง แนวคิด หลักการ วิธีการปฏิบัติ โดยใช้ประโยชน์จากความง่ายในการเข้าถึง

กันยายน ๒๕๕๙ แหล่งขององค์ความรู้ผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ การ ถ่ายทอดเทคโนโลยีของโครงการจัดหาต่าง ๆ และเมื่อ องค์ความรู้ดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์ แล้วว่า เป็นประโยชน์และนำ�ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็น รูปธรรม ควรค่าแก่การรักษาและพัฒนาให้เกิดประโยชน์ แก่กองทัพยิ่ง ๆ ขึ้นไป สำ�นักงานวิเคราะห์ข้อมูลส่งกำ�ลังบำ�รุง จึงได้รับ องค์ความรู้ในการวิเคราะห์ข้อมูลส่งกำ�ลังบำ�รุงตามหลัก LCM มาใช้ประโยชน์ ซึ่งส่งผลดีต่อกองทัพอากาศได้ อย่างเป็นรูปธรรม และได้รับการมอบหมายจากผู้บังคับ บัญชาระดับสูงให้ทำ�หน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลส่งกำ�ลังบำ�รุง ในโครงการจัดหาทีส่ �ำ คัญเกือบทุกโครงการอย่างต่อเนือ่ ง โดยเฉพาะการวิเคราะห์ในด้านต้นทุนพัสดุตลอดอายุ


กันยายน ๒๕๕๙

การใช้งาน (Life Cycle Cost: LCC) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดถึง ความเชื่อมั่นของผู้บังคับบัญชาและขีดความสามารถ ของสำ�นักงานวิเคราะห์ข้อมูลส่งกำ�ลังบำ�รุง ที่พิสูจน์ให้ เห็นจากโครงการจัดหาที่ผ่านมา เบื้องหลังความสำ�เร็จ คือความมุ่งมั่นของข้าราชการกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง ของ กรมส่งกำ�ลังบำ�รุงทหารอากาศ ที่ได้อุทิศทั้งแรงกาย แรงใจ สติปญั ญา บ่มเพาะความรูแ้ ละประสบการณ์อย่างต่อเนือ่ ง โดยใช้ระยะเวลาหลายปี และมีผู้บังคับบัญชาระดับสูง ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนือ่ งเช่นกัน หากจะเปรียบก็เหมือน กับการนำ�เมล็ดพันธุ์บัวมาบ่มเพาะและประคับประคอง จนผลิดอกเบ่งบานชวนมอง อย่างไรก็ตามในความสำ�เร็จที่ได้รับก็ยังมีความ น่าเป็นห่วงเกิดขึ้นมาพร้อมกันด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า

ข่าวทหารอากาศ ๒๓

ข้าราชการกรมส่งกำ�ลังบำ�รุงทหารอากาศ ที่ได้รับมอบ หมายให้มาปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นสำ�นักงานวิเคราะห์ขอ้ มูลส่งกำ�ลัง บำ�รุงนั้น โดยมาภายใต้คำ�สั่งของหน่วยเพื่อปฏิบัติหน้าที่ อีกหน้าที่หนึ่ง เพิ่มเติมจากหน้าที่รับผิดชอบในตำ�แหน่ง ทีป่ ระจำ� ดังนัน้ เมือ่ ถึงระยะเวลาหนึง่ คงต้องมีการโยกย้าย ไปประจำ�ตำ�แหน่งอื่น ๆ ตามวิถีทางการรับราชการ จึง ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะสามารถดำ�รงความต่อเนื่อง ในการทำ�หน้าที่ในสำ�นักงานวิเคราะห์ได้นานเพียงใด อีกทั้ง ตำ�แหน่งที่ได้รับบรรจุแต่งตั้งนั้น ย่อมต้องการผู้ประจำ� ตำ�แหน่งปฏิบตั หิ น้าทีต่ ามภารกิจทีร่ ะบุในตำ�แหน่งเช่นเดียวกัน ไม่นบั รวมถึงผลกระทบทีจ่ ะเกิดขึน้ จากการประเมินผลการ ปฏิบัติงานตามวงรอบของกองทัพอากาศ ที่อาจส่งผลต่อ การพิจารณาความก้าวหน้าในการรับราชการ


๒๔ ข่าวทหารอากาศ สำ�นักงานวิเคราะห์ขอ้ มูลส่งกำ�ลังบำ�รุง ได้ตระหนัก ถึงปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงได้พยายามจัดทำ�คูม่ อื การปฏิบตั ิ งานและจัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการวิเคราะห์ ข้อมูลส่งกำ�ลังบำ�รุงแก่ขา้ ราชการกองทัพอากาศอย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ ต้องการให้กองทัพอากาศสามารถดำ�รงองค์ความรูแ้ ละ ขีดความสามารถด้านการวิเคราะห์ขอ้ มูลด้านส่งกำ�ลังบำ�รุง ให้คงอยูก่ บั กองทัพอากาศต่อไป แต่อย่างไรก็ตามสำ�นักงาน วิเคราะห์ขอ้ มูลส่งกำ�ลังบำ�รุงและผูเ้ ชีย่ วชาญได้บง่ ชีว้ า่ การ สานต่อองค์ความรู้และขีดความสามารถดังกล่าว ต้องการ ผูป้ ฏิบตั งิ านเต็มเวลาและมีการเรียนรูอ้ ย่างต่อเนือ่ ง ภารกิจ ในการวิเคราะห์ขอ้ มูลส่งกำ�ลังบำ�รุงจึงจะสามารถรับประกัน

กันยายน ๒๕๕๙ ความสำ�เร็จได้ นับว่าเป็นความท้าทายสำ�หรับกองทัพ อากาศในการหาแนวทางที่เหมาะสม เพื่อจะดำ�รงขีด ความสามารถด้านการวิเคราะห์ขอ้ มูลส่งกำ�ลังบำ�รุงทีม่ อี ยู่ ในปัจจุบนั ให้คงอยูต่ อ่ ไปอย่างไร มิฉะนัน้ แล้วความสำ�เร็จ ของสำ�นักงานวิเคราะห์ขอ้ มูลส่งกำ�ลังบำ�รุงทีเ่ กิดขึน้ ก็คง เป็นเสมือนดอกบัวทีเ่ บ่งบานให้ชนื่ ชมได้เพียงไม่กฤี่ ดูกาล ซึ่งมิอาจรับประกันได้ว่าจะมีโอกาสได้เติบโตเบ่งบาน ได้อกี ครัง้ ในฤดูกาลหน้าหรือไม่ หากไม่มพี นื้ ทีข่ องสวนที่ อุทิศให้เมล็ดพันธุ์บัวดังกล่าวได้ฝังตัว เติบโต อย่างยั่งยืน เพือ่ จะได้มโี อกาสผลิดอกออกผลให้เจ้าของสวนได้ชนื่ ชม ตลอดไป 

แหล่งข้อมูล - Hell, Robert. “Logistics in the Life Cycle Management: The Philosophy and Principles”. Paper presented as a part of Technology Transfer – Logistics and Composites Course 1, Bangkok, Thailand, 11 January 2010. - Joint Publication 4-0, Joint Logistics, 16 October 2013 หน้า I-1.http://www.dtic.mil/doctrine / new_pubs/jp4_0.pdf, 2 August 2016. Systecon. “Implementing LCM within Royal Thai Air Force – from seed to blossoming lotus”. - (online). http://www.systecon.se/news/2016/implementing-lcm-within-royal-thai-air-force - from-seed-to-blossoming-lotus, 5 June 2016.


ชายหนุ่มคนหนึ่งได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยเอกชน เพื่อ ให้เป็นวิทยากรพิเศษสอนวิชาปรัชญาให้กับนักศึกษาปริญญาโท อรชร เขาเตรียมการสอนอยูห่ ลายวัน จึงตัดสินใจจะสอนนักศึกษาเหล่านัน้ ด้วยแบบฝึกหัดง่าย ๆ แต่แฝงไว้ดว้ ยข้อคิด เขาเดินเข้ามาในห้องเรียน พร้อมด้วยของสองสามอย่างบรรจุอยู่ในกระเป๋า เมื่อได้เวลาเรียน เขาหยิบเหยือกแก้วขนาดใหญ่ขึ้นมา แล้วใส่ลูกเทนนิสลงไปจนเต็ม “พวกคุณคิดว่าเหยือกเต็มหรือยัง ?” เขาหันไปถามนักศึกษาปริญญาโท ซึง่ แต่ละคนมีสหี น้าครุน่ คิดว่า อาจารย์ หนุ่มคนนี้จะมาไม้ไหนก่อนจะตอบพร้อมกันว่า “เต็มแล้ว” เขายิ้มไม่พูดอะไรต่อ หันไปเปิดกระเป๋าหยิบกระป๋องใส่กรวดออกมาแล้วเทกรวดเม็ดเล็ก ๆ จำ�นวนมากลงไป ในเหยือกพร้อมกับเขย่าเหยือกเบา ๆ กรวดเลื่อนไหลลงไปอยู่ระหว่างลูกเทนนิสอัดจนแน่นเหยือก เขาหันไปถามนักศึกษาอีกว่า “เหยือกเต็ม หรือยัง ?” นักศึกษามองดูอยูพ่ กั หนึง่ ก่อนจะหันมาตอบ “เต็มแล้ว” เขายังยิ้มเช่นเดิม หันไปเปิดกระเป๋าหยิบ เอาถุงทรายใบย่อมขึน้ มา และเททรายจำ�นวนไม่นอ้ ย ใส่ลงไปในเหยือก เม็ดทรายไหลลงไปตามช่องว่าง ระหว่างกรวดกับลูกเทนนิสได้อย่างง่ายดาย เขาเททราย หมดถุงแล้วเขย่าเหยือกจนเม็ดทรายอัดแน่นจนแทบ ล้นเหยือก เขาหันไปถามนักศึกษาอีกครั้ง “เหยือกเต็มหรือยัง ?” เพือ่ ป้องกันการหน้าแตก นักศึกษาปริญญาโทเหล่านัน้ หันมามองหน้าและปรึกษากันอยูน่ าน หลายคนเดินก้าว เข้ามาก้ม ๆ เงย ๆ มองเหยือกตรงหน้าอาจารย์หนุ่มอยู่หลายครั้ง มีการปรึกษาหารือกันเสียงดังไปทั้งห้องเรียน จวบจน เวลาผ่านไปเกือบห้านาที หัวหน้ากลุม่ นักศึกษาจึงเป็นตัวแทนเดินเข้ามาตอบอย่างหนักแน่นว่า “คราวนีเ้ ต็มแน่นอนครับ”


๒๖ ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙ “แน่ใจนะ” อาจารย์ถาม “แน่ซะยิ่งกว่าแน่อีกครับ” คราวนี้เขาหยิบ น้ำ�อัดลม สองกระป๋องออกมา จากใต้โต๊ะ แล้วเทใส่เหยือกโดยไม่รีรอ ไม่นานน้ำ�อัดลม ก็ซมึ ผ่านทรายลงไปจนหมด ทัง้ ชัน้ เรียนหัวเราะฮือฮากัน ยกใหญ่ เขาหัวเราะอย่างอารมณ์ดี “ไหนพวกคุณบอกว่า เหยือกเต็มแน่ ๆ ไง” เขาพูดพร้อมกับยกเหยือกขึ้น

ผมอยากให้พวกคุณทุกคนจดจำ�บทเรียนในวันนี้ไว้ว่า เหยือก ใบนี้ก็เหมือนชีวิตคนเรา ลูกเทนนิส เปรียบเหมือนเป็นเรื่องสำ�คัญที่สุดในชีวิต เช่น ครอบครัว คู่ชีวิต การเรียน สุขภาพ ลูก บิดามารดา และเพื่อน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่คุณต้องสนใจอย่างจริงจังสูญเสียไปไม่ได้ เม็ดกรวด เหมือนสิ่งสำ�คัญ รองลงมา เช่น งาน บ้าน รถยนต์ ทราย ก็คือ เรื่องอื่น ๆ ที่เหลือเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราจำ�เป็นต้องทำ� แต่เรามักจะหมกมุ่นอยู่กับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ เหยือกนีเ้ ปรียบกับชีวติ ของคุณ ถ้าคุณใส่ทรายลงไปก่อน คุณจะมัวหมกมุน่ อยูก่ บั เรือ่ งเล็ก ๆ น้อย ๆ อยูต่ ลอดเวลา ชีวิตเต็มจนไม่มีที่เหลือให้ใส่กรวด ไม่มีที่เหลือให้ใส่ลูกเทนนิสแน่นอน ชีวิตของคนเราทุกคน ถ้าเราใช้เวลาและปล่อยให้ เวลาหมดไปกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เราจะไม่มีที่ว่างในชีวิตไว้สำ�หรับเรื่องที่สำ�คัญกว่า เพราะฉะนั้น ในแต่ละวันของชีวิต เราต้องให้ความสนใจกับเรือ่ งทีท่ �ำ ให้ตวั เราและครอบครัวมีความสุข ใช้ชวี ติ เล่นกับลูก ๆ หาเวลาไปตรวจร่างกาย พาคูช่ วี ติ กับลูกไปพักผ่อนในวันหยุด พากันออกกำ�ลังกาย เล่นกีฬาร่วมกันสักชั่วโมงสองชั่วโมง เพื่อสุขภาพและความสัมพันธ์ที่ดี ในชีวิต พาบิดามารดาไปเที่ยวพักผ่อนหรือรับประทานอาหาร โทรศัพท์หาเพื่อนบ้างให้รู้ว่าเรายังคิดถึงและเป็นห่วงอยู่ เราต้องดูแลเรื่องที่สำ�คัญที่สุดจริง ๆ ดูแลลูกเทนนิสของเราก่อนเรื่องอื่นทั้งหมด หลังจากนั้นถ้ามีเวลาเหลือเราจึงเอามา สนใจกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา นักศึกษาคนหนึ่งยกมือขึ้นถาม “แล้วน้ำ�ที่อาจารย์เทใส่ลงไปล่ะครับ หมายถึงอะไร ?” เขายิม้ พร้อมกับบอกว่า “การทีใ่ ส่น�้ำ ลงไปเพราะอยากให้เห็นว่า ไม่วา่ ชีวติ ของเราจะวุน่ วายสับสนเพียงใด ในความสับสน และวุ่นวายเหล่านั้น คุณยังมีที่ว่างสำ�หรับการแบ่งปันน้ำ�ใจให้กันเสมอ”

แล้วเหยือกของคุณล่ะเต็มหรือยัง ?

แหล่งข้อมูล : วารสารช่อคูณ กองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ


เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ.2016 บริษัท Saab ผู้ผลิตเครื่องบินขับไล่ Gripen เปิดตัวเครื่องบินรุ่น Gripen E ที่นั่งเดี่ยวรุ่นล่าสุดจากโรงงานการผลิตที่ Linköping โดยเครื่องบินขับไล่ Gripen E หมายเลข 39-8 เป็นเครื่องบินขับไล่ ที่นั่งเดี่ยวเครื่องแรกจากจำ�นวน 3 เครื่อง สร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์นำ�ไปใช้ทดสอบตามโครงการ โดยหลังจากพิธี เปิดตัวอย่างเป็นทางการเครือ่ งบินเครือ่ งนีจ้ ะถูกส่งไปยังแผนกการบินทดสอบ (flight test department) และกำ�หนด จะเริ่มทำ�การบินทดสอบก่อนสิ้นปี สำ�หรับเครื่องบินขับไล่ Gripen E อีก 2 เครื่อง (หมายเลข 39-9 และ 39-10) อยู่ ระหว่างประกอบโครงสร้างลำ�ตัวในสายการผลิต ซึง่ เครือ่ งบินทีใ่ ช้ในการทดสอบ 1 เครือ่ ง เป็นของบราซิล แต่จะทำ�การ ทดสอบอยูท่ สี่ วีเดนเป็นเวลาประมาณ 1 ปี ก่อนทีจ่ ะส่งมอบไปยังโรงงานแห่งใหม่ Gavião Peixoto ของบริษทั Embraer ที่สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ซึ่งเป็นหุ้นส่วนในการผลิตเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F ให้กับกองทัพอากาศบราซิล บ.ขับไล่ Gripen E หมายเลข 39-8


หุ่นจำ�ลอง บ.ขับไล่ Gripen E ทอ.บราซิล

เครือ่ งบินขับไล่รุ่น Gripen E/F ได้รบั การสัง่ ซื้อจากกองทัพอากาศ 2 ประเทศ ได้แก่ ราชอาณาจักรสวีเดนและ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล รวมจำ�นวน 96 เครือ่ ง โดยกองทัพอากาศสวีเดนสัง่ ซือ้ เฉพาะรุน่ Gripen E ทีน่ งั่ เดีย่ ว จำ�นวน 60 เครื่อง กำ�หนดจะได้รับเครื่องบินเข้าประจำ�การในปี ค.ศ.2018 - 2027 จะสามารถประกาศความพร้อมรบขั้นต้น (Initial Operational Capability: IOC) ในปี ค.ศ.2021 โดยจะเป็นเครื่องบินขับไล่ติดตั้งซอฟต์แวร์มาตรฐาน MS21 และคาดว่าจะประกาศสถานะความพร้อมรบเต็มขีดความสามารถ (full capability) ในปี ค.ศ.2023 เมื่อซอฟต์แวร์ มาตรฐาน MS22 ได้รับการพัฒนาและมีความพร้อมใช้งาน สำ�หรับกองทัพอากาศบราซิลสั่งซื้อเครื่องบินรุ่น Gripen E จำ�นวน 28 เครื่อง และ Gripen F จำ�นวน 8 เครื่อง โดยเครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศบราซิลอย่างน้อย 15 เครื่อง จะดำ�เนินการประกอบจากโรงงานการผลิตของบริษัท Embraer กำ�หนดได้รับมอบเครื่องบินจากปี ค.ศ.2019 - 2024 และจะประจำ�การไปจนถึงปี ค.ศ.2050 บริษทั Saab คาดหวังว่ากองทัพอากาศบราซิลจะจัดหาเครือ่ งบินขับไล่ Gripen E/F เข้าประจำ�การเพิ่มเติม รวมจำ�นวนทั้งสิ้น 108 เครื่อง นอกจากนี้กองทัพเรือบราซิลอาจจะสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่รุ่น Sea Gripen ปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเครื่องบินเพื่อนำ�ไปใช้ปฏิบัติภารกิจทดแทนเครื่องบินโจมตี แบบ A-4 Ku Skyhawk ในอนาคตบริษัทผู้ผลิตเชื่อมั่นว่าเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F จะได้รับการจัดหาไปใช้งานประมาณ 400 - 450 เครื่อง โรงงานการผลิตของบริษัท Saab และบริษัท Embraer มีศักยภาพที่จะผลิตเครื่องบินได้ปีละ 25 - 30 เครื่อง เพียงพอ สำ�หรับตอบสนองคำ�สั่งซื้อและส่งมอบเครื่องบินให้กับกองทัพอากาศที่จะจัดซื้อไปใช้งานได้ภายในกำ�หนด ในงานเปิดตัวเครือ่ งบินขับไล่ Gripen E เครือ่ งแรก ผูบ้ ริหารระดับสูงของบริษทั Saab ได้ออกมาเปิดเผยว่าบริษทั Saab จะยังคงทำ�การผลิตและดำ�เนินการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่รุ่น Gripen C/D ควบคู่ไปกับเครื่องบิน Gripen E/F รุน่ ใหม่กว่า เนือ่ งจากกองทัพอากาศบางประเทศอาจจะไม่ตอ้ งการขีดความสามารถทางการรบและสมรรถนะทางการบิน ที่เพิ่มขึ้นของเครื่องบินขับไล่รุ่น Gripen E/F เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องบินรุ่น C/D ได้แก่ พิสัยบินไกลกว่า ติดตั้งอาวุธ และอุปกรณ์เซนเซอร์ตรวจจับเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า และขีดความสามารถด้านอื่น ๆ โดย Jerker Ahigvist หัวหน้าโครงการเครื่องบินขับไล่ Gripen (Head of the Gripen program) เปิดเผยว่า สามารถส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ให้กองทัพที่สั่งซื้อได้ภายใน 18 เดือน หลังจากลงนามในสัญญาซื้อขาย แต่บริษัทฯ ยังไม่สามารถกำ�หนดได้ว่าจะ ยังเสนอขายเครือ่ งบินขับไล่รนุ่ C/D ต่อไปอีกนานเท่าไหร่ เพราะมีกองทัพอากาศบางประเทศโดยเฉพาะกองทัพอากาศ ขนาดเล็กเห็นว่าขีดความสามารถทางการรบของเครือ่ งบินรุน่ C/D สามารถนำ�ไปใช้ปฏิบตั ภิ ารกิจทดแทนเครือ่ งบินขับไล่ รุ่นเก่าจากบริษัทผู้ผลิตรัสเซียได้อย่างครบถ้วนและดีเยี่ยม และยังคงเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ใช้งานได้เป็นอย่างดีต่อไปอีก 10 ปี


กันยายน ๒๕๕๙

ข่าวทหารอากาศ ๒๙

ในงานเปิดตัวเครื่องบินขับไล่ Gripen E หมายเลข 39-8 ภายในงานยังมีการนำ�เครื่องบินขับไล่ Gripen C หมายเลข 261 ของกองทัพอากาศสวีเดน มาตั้งแสดงให้แขกที่เชิญร่วมงานได้ชม ซึ่งเครื่องบินหมายเลข 261 ได้รับการ ปรับปรุงโดยติดตั้งซอฟต์แวร์มาตรฐาน MS20 (Materiel System 20) และฮาร์ดแวร์ตามโครงการที่มีชื่อว่า Gripen Version 20 โดยเพิ่มขีดความสามารถทางการรบอากาศ-สู่-อากาศ ด้วยจรวดนำ�วิถีอากาศ-สู่-อากาศ ประเภท BVR (Beyond Visual Range: BVR) แบบ Meteor ของบริษัท MBDA และการโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินด้วยระเบิดนำ�วิถี GBU-39 Small Diameter Bomb (SDB) ของบริษัท Boeing ขนาด 250 ปอนด์ (110 กิโลกรัม) เครื่องบินขับไล่ Gripen C/D จำ�นวน 6 ฝูงบิน ของกองทัพอากาศสวีเดนที่ได้รับการปรับปรุงกำ�หนดมีความพร้อมปฏิบัติภารกิจ ในปีหน้า ซึ่งในปัจจุบันนักบินขับไล่ Gripen สังกัด Tactical Development Unit JAS39 Gripen หรือ TU JAS อยู่ ระหว่างดำ�เนินการพัฒนาขีดความสามารถทางยุทธวิธี ภายใต้ framework ของการประเมินค่าทางยุทธการ (Operation Evaluation: OPEVAL) ของเครื่องบินขับไล่ Gripen ซึ่งได้รับการติดตั้งซอฟต์แวร์มาตรฐาน MS20 จากนั้นจะรายงาน ผลการประเมินค่า ซึ่งจะถูกนำ�ไปประกอบเป็นหนึ่งของกระบวนการตัดสินใจของกองทัพก่อนที่จะเริ่มต้นปฏิบัติการ ด้วยเครื่องบินขับไล่ Gripen MS20 โดยในฤดูใบไม้ผลิปีนี้ (ค.ศ.2016) เครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ประจำ�การอยู่ใน กองทัพอากาศสวีเดน ทัง้ หมดจะได้รบั การปรับปรุงตามแผนงาน Gripen Version 20 หรือ MS20 upgrade ซึง่ เป็นการ เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจ และเพิ่มความอยู่รอดจากการปฏิบัติการรบ โดยได้รับการติดตั้งระบบอาวุธ และอุปกรณ์อื่น ๆ ประกอบด้วย - จรวดนำ�วิถีอากาศ-สู่-อากาศ พิสัยไกล ประเภท Beyond Visual Range (BVR) แบบ Meteor โดย Pierre Ziherl ซึ่งเป็นนักบินและผู้อำ�นวยการของ TU JAS ให้ความเห็นว่า เป็นจรวดนำ�วิถีอากาศ-สู่-อากาศ ที่ดีที่สุด และทันสมัยที่สุด (Meteor is the best and most modern air-to-air missile) มีระยะยิงไกลกว่า 100 กิโลเมตร (63 ไมล์) ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ramjet เดินทางเข้าสู่เป้าหมายด้วยความเร็วมากกว่า 4 มัค จรวดนำ�วิถี Meteor

บ.ขับไล่ Gripen C หมายเลข 261


บ.ขับไล่ Gripen C MS20

สามารถนำ�มาใช้งานในระบบเครือข่าย (Network-enabled) โดยติดตั้งระบบ Datalink เชื่อมโยงข้อมูลเป้าหมายกับ เครือ่ งบินขับไล่ทยี่ งิ จรวดนำ�วิถเี ข้าต่อตีเป้าหมาย ทำ�ให้สามารถปรับปรุงข้อมูลเป้าหมาย เปลีย่ นเป้าหมายทีจ่ ะเข้าโจมตี ได้ถ้าหากต้องการ รวมทั้งสามารถรับข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ ได้ ขณะจรวดนำ�วิถีเดินทางไปยังเป้าหมาย เครื่องบินขับไล่ แบบ Gripen มีระบบ Two-way datalink จึงทำ�ให้สามารถรับข้อมูลจากจรวดนำ�วิถี Meteor เช่น การทำ�งานและ สถานภาพการเคลื่อนที่ ข้อมูลเป้าหมายอื่น ๆ ที่ตรวจพบ และการแจ้งเป้าหมายจากการตรวจจับโดยระบบติดตาม เป้าหมาย (Seeker) กองทัพอากาศสวีเดนเป็นกองทัพแรกที่ได้รับจรวดนำ�วิถีอากาศ-สู่-อากาศ แบบ Meteor มาใช้งาน กับเครือ่ งบินขับไล่ Gripen C/D เมือ่ ปี 2015 ก่อนกองทัพอากาศฝรัง่ เศส (เครือ่ งบินขับไล่ Rafale) เยอรมัน สเปน อิตาลี และอังกฤษ (เครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon) แต่อย่างไรก็ตาม กองทัพอากาศสวีเดนยังไม่เคยนำ�มาติดตั้งเป็น อาวุธในภารกิจวิ่งขึ้นสกัดกั้นเร่งด่วน (Alert sorties) เนื่องจากยังไม่มีความพร้อมเรื่องยุทธวิธีในการรบ

ระเบิดนำ�วิถี GBU-39 SDB และจรวดนำ�วิถี Meteor


กันยายน ๒๕๕๙

ข่าวทหารอากาศ ๓๑

- ระเบิดนำ�วิถี GBU-39 Small Diameter Bomb (SDB) ขนาด 250 ปอนด์ ของบริษัทผู้ผลิต Boeing สหรัฐอเมริกา ระเบิดนำ�วิถี GBU-39 เป็นระเบิดประเภท precision-guided glide bomb มีความแม่นยำ�สูง สามารถ ใช้อาวุธเข้าโจมตีเป้าหมายทีอ่ ยูห่ า่ งออกไปไกลกว่า 110 กิโลเมตร (60 ไมล์ทะเล) ความแม่นยำ� (Circular Error Probable: CEP) ตกห่างจากตำ�แหน่งที่ชี้เป้าภายในรัศมี 5 - 8 เมตร แต่สามารถเพิ่มความแม่นยำ�ให้สูงขึ้นโดยการใช้ GPS ปรับตำ�แหน่ง เป้าหมายก่อนนักบินใช้อาวุธ เครื่องบินขับไล่ Gripen สามารถบรรทุกไปได้จำ�นวนสูงสุด 16 ลูก ระเบิดนำ�วิถี GBU-39 มีชุดปีกเพิ่มระยะทาง "Daimond Back" ทำ�ให้สามารถร่อนไปโจมตีเป้าหมายที่อยู่ห่างออกไปไกลกว่า 100 กิโลเมตร แม้ว่าจะเป็นระเบิดนำ�วิถีขนาดเล็ก แต่มีอำ�นาจทะลุทะลวงสูง สามารถเจาะแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็กหนา 3 ฟุต (0.91 เมตร) เทียบเท่ากับอำ�นาจทะลุทะลวงของระเบิดนำ�วิถขี นาด 2,000 ปอนด์ แต่มรี ศั มีท�ำ ลายในวงแคบ พืน้ ทีโ่ ดยรอบเป้าหมาย ที่ทำ�การโจมตีไม่ได้รับความเสียหายจากแรงระเบิด - ชุดป้องกันอันตรายจากเคมี ชีวะ รังสี และนิวเคลียร์ (Chemical, Biological, Radiological and Nuclear: CBRN) ป้องกันนักบินไม่ให้ปนเปื้อนขณะปฏิบัติภารกิจในสภาวะแวดล้อมทางการรบที่มีการใช้อาวุธเคมี ชีวะ รังสี และนิวเคลียร์ นอกจากนี้ยังทำ�ให้เจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินสามารถขจัดการปนเปื้อนให้กับเครื่องบินได้อย่างมี ประสิทธิภาพทันทีที่เครื่องบินลงจอด

- ระบบ Automatic Ground Collision Avoidance System (Auto GCAS) พัฒนาโดยทีมงาน Skunk Works ของบริษัท Lockheed Martin สหรัฐอเมริกา เป็นระบบที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยชีวิตนักบิน โดยจะทำ�การ แจ้งเตือนอันตรายให้นักบินทราบเมื่อเครื่องบินใกล้จะชนพื้น ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากสาเหตุนักบินหมดสติเนื่องจากการ กระทำ�ของแรง จี ทำ�ให้ไม่สามารถทำ�การควบคุมการบินได้ หรือนักบินให้ความสนใจกับเป้าหมายมากเกินไปจนกระทัง่ เครื่องบินเกือบจะชนพื้นดินหรือภูมิประเทศที่กีดขวาง ถ้าหากนักบินไม่สามารถทำ�การแก้ไขหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องที่จะ หลีกเลี่ยงการชนพื้นได้ทันเวลา ระบบ Auto GCAS จะทำ�งานเองโดยอัตโนมัติ โดยทำ�การบินควบคุมให้เครื่องบิน


๓๒ ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙

ปรับหมุนลำ�ตัวให้อยู่ในตำ�แหน่งตั้งขึ้นแล้วไต่ขึ้นด้วยแรงดึง 5 จี จนกระทั่งปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตาม นักบินสามารถ เข้ามาทำ�การควบคุมเครื่องบินแทนระบบ Auto GCAS ได้ทุกขณะ โดยระบบป้องกันการชนพื้นอัตโนมัติรวม function "Pilot Activated Recovery System (PARS)" เพือ่ ให้นกั บินทีไ่ ม่มคี วามคุน้ เคยเข้าทำ�การควบคุมระบบแก้ไขอัตโนมัติ ได้โดยตัวเอง การพัฒนาระบบ Auto GCAS กองทัพอากาศสวีเดนร่วมกับกองทัพอากาศสหรัฐฯ เริ่มดำ�เนินการโครงการ มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1998 โดยทำ�การทดสอบการทำ�งานและประสิทธิภาพของระบบกับเครื่องบินขับไล่ F-16D Block 25 กองทัพอากาศสวีเดนจะนำ�ระบบ Auto GCAS ทีพ่ ฒ ั นาขึน้ ไปติดตัง้ กับเครือ่ งบินขับไล่ Gripen เพือ่ ป้องกันอุบตั เิ หตุจาก การชนพืน้ หรือภูมปิ ระเทศ เนือ่ งจากการฝึกบินตามปกตินกั บินเครือ่ งบินขับไล่ Gripen จะบินต�่ำ เหนือภูมปิ ระเทศทีเ่ ป็น แนวเทือกเขาเพียง 100 ฟุตเท่านั้น ในขณะที่กองทัพอากาศสหรัฐฯ ต้องการลดการสูญเสียเครื่องบินขับไล่จากอุบัติเหตุ ขณะนักบินนำ�เครือ่ งบินบินเข้าไปในสภาพภูมปิ ระเทศให้ได้ถงึ 90% โดยข้อมูลจากกองทัพอากาศสหรัฐฯ มีอากาศยานสูญเสีย จากอุบัติเหตุชนพื้นโดยรวม 26% เฉพาะเครื่องบินขับไล่ F-16 การสูญเสียจากสาเหตุการชนพื้นมีสัดส่วนสูงถึง 75% กองทัพอากาศสหรัฐฯ คาดการณ์จากประวัติอากาศยานอุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้นว่า ระบบ Auto GCAS จะทำ�ให้ลดการสูญเสีย นักบิน 10 คน เครื่องบิน 14 เครื่อง และงบประมาณ 530 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตลอดอายุการใช้งานที่เหลืออยู่ของ เครื่องบินขับไล่ F-16 ทั้งหมดที่ประจำ�การอยู่ในกองทัพ ระบบ Auto GCAS ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ แบบ F-16 C/D Block 40/50 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ จำ�นวนมากกว่า 440 เครื่อง จากที่มีประจำ�การทั้งหมด 631 เครื่อง สำ�หรับ เครื่องบินที่ยังไม่ได้รับการติดตั้งจะทยอยเข้ารับการดำ�เนินการที่ฐานทัพอากาศ Luke AFB รัฐ Arizona ในฐานะส่วนหนึ่ง ของโครงการปรับปรุงซอฟท์​์แวร์เครื่องบินที่มีชื่อว่า M6.2+Operational Flight Program (OFP) กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ นำ�เครื่องบินขับไล่ F-16 C/D ติดตั้งระบบ Auto GCAS มาใช้ปฏิบัติภารกิจตั้งแต่ปี ค.ศ.2014 เป็นต้นมา โดยมีรายงาน เหตุการณ์จากกองทัพอากาศสหรัฐฯ ยืนยันว่า นักบินขับไล่ F-16C คนหนึ่งรอดชีวิตมาได้จากการระบบ Auto GCAS


การทำ�งานของระบบ Auto GCAS

โดยอุบัติการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ.2014 เครื่องบินขับไล่ F-16C ปฏิบัติการจากฐานทัพอากาศ แห่งหนึ่งในจอร์แดนเพื่อปฏิบัติภารกิจโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินใน Operation Inherent Resolve (การแทรกแซง ด้วยการปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ในอิรักและซีเรีย) - เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดด้วย Digital Aided Close Air Support หรือ DACAS ในการปฏิบัติภารกิจโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินโดยผ่านระบบสื่อสารดิจิทัลระหว่างกองกำ�ลัง ภาคพื้นดินและเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D เป็นการสนธิการสนับสนุนการรบด้วยกำ�ลังทางอากาศเข้ากับกำ�ลังรบ ภาคพื้นดิน โดยทหารภาคพื้นดินสามารถแจ้งพิกดั เป้าหมาย ทิศทางการเข้าโจมตี และข้อมูลอืน่ ๆ ทำ�ให้นักบินสามารถ ปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็ว นอกจากเพิ่มขีดความสามารถทางการรบและเพิ่มความอยู่รอดปลอดภัยในการปฏิบัติการรบดังกล่าวข้างต้น โครงการ Gripen Version 20 ของกองทัพอากาศสวีเดนยังเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงขีดความสามารถของอุปกรณ์ เซนเซอร์และอุปกรณ์ภารกิจอืน่ ๆ ได้แก่ ปรับปรุงโหมดการทำ�งานของเรดาร์ควบคุมการยิง เพิม่ ขีดความสามารถในการ เชื่อมต่อของ Link 16 และเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจในเวลากลางคืนด้วยกระเปาะ SPK 39 Modular Reconnaissance Pod II เครื่องบินขับไล่ Gripen C/D รุ่นที่จะผลิตให้กับกองทัพอากาศ ประเทศที่สั่งซื้อในอนาคตหรือการปรับปรุง ขีดความสามารถของเครื่องบิน Gripen C/D ที่มีประจำ�การอยู่ในปัจจุบัน นอกจากซอฟต์แวร์ MS20 บริษัท Saab ยังเสนอนำ�เรดาร์ควบคุมการยิงรุ่น PS-05/A Mk4 รุ่นใหม่มาติดตั้งใช้งานทดแทนเรดาร์รุ่น PS-05/A MK3 รุ่นปัจจุบัน รวมทัง้ เสนอการปรับปรุงเรดาร์รนุ่ MK3 ของเครือ่ งบินขับไล่ Gripen C/D ของกองทัพอากาศสวีเดนและกองทัพอากาศ ต่างประเทศเป็นรุ่น MK4 ที่มีความทันสมัยและประสิทธิภาพการทำ�งานสูงขึ้น โดยบริษัท Saab ได้เปิดเผยโครงการ พัฒนาเรดาร์ควบคุมการยิง PS-05/A Mk4 เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ.2015 ทำ�การบินเรดาร์ต้นแบบกับเครื่องบิน ขับไล่ Gripen D เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ.2015 บริษัทผู้ผลิตอ้างว่าเรดาร์ควบคุมการยิง Mk4 รุ่นใหม่ สามารถตรวจจับ เป้าหมายในอากาศได้ไกลกว่าเรดาร์ Mk3 รุ่นเก่า 100% ที่ระดับเพดานต่ำ� และ 40% ที่ระดับเพดานบินสูง และคาดว่า จะเพิ่มขึ้นเป็น 150% ในการสู้รบอากาศ-สู่-อากาศ ที่ระดับเพดานบินสูง (High-altitude air-to-air engagement) ในสถานการณ์สู้รบในปี ค.ศ.2017 เมื่อระบบเรดาร์ได้รับการพัฒนาเสร็จสมบูรณ์ สามารถใช้งานร่วมกับจรวดนำ�วิถี อากาศ-สู่-อากาศ ประเภท BVR เช่น Raytheon AIM-120-C7 AMRAAM (Advanced Medium Range-Air-to-Air Missile) และ Meteor ได้เต็มขีดความสามารถและระยะยิงไกลสุดของจรวดนำ�วิถีทั้งสองแบบ นอกจากนี้ยัง เพิ่มขีดความสามารถในการตรวจจับเฮลิคอปเตอร์และเป้าหมายที่มขี นาดภาคตัดขวางสะท้อนสัญญาณเรดาร์ต่ำ� (low Radar Cross Section: RCS) และปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้งานในโหมดอากาศ-สู่-พื้น ข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศให้รายละเอียดว่า เรดาร์รุ่น Mk4 สามารถตรวจจับเป้าหมายที่มีภาคตัดขวาง สะท้อนสัญญาณเรดาร์ขนาด 0.1 ตารางเมตร (ขนาดใกล้เคียงกับจรวดนำ�วิถีอากาศ-สู่-อากาศ หรือเครื่องบินขับไล่ Stealth) ได้ทรี่ ะยะไกลเท่ากับเรดาร์รนุ่ Mk3 สามารถตรวจจับเป้าหมายขนาด 4 ตารางเมตร (ขนาดเท่ากับอากาศยาน ไร้คนขับประเภท Medium-Altitude, Long-Endurance unmannedaircraft: MALE) การทำ�งานอากาศ-สู่-พื้น


เรดาร์รุ่น Mk4 เพิ่มโหมดการทำ�งาน Synthetic Aperture Radar (SAR) อีก 2 โหมดคือ สร้างภาพแผนที่ที่ให้ความ ละเอียดชัดเจนสูงทีร่ ะดับ 3 เมตร และต�่ำ กว่า 1 เมตร เพิม่ ประสิทธิภาพการทำ�งานในโหมด Moving Target Indication (MTI) และเพิ่มโหมดการทำ�งานในทะเลเป็นโหมด Sea Search (ค้นหาในทะเล) ซึ่งได้รับการออกแบบให้สามารถตรวจจับ เรือรบขนาดเรือเร็วโจมตีได้ที่ระยะไกลเป็น 2 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับเรดาร์รุ่น Mk3 บริษัท Saab ไม่มีแผนจะติดตั้งเรดาร์ทำ�งานด้วยระบบ Active Electronically Scanned Array (AESA) เข้า กับเครื่องขับไล่รุ่น Gripen C/D เนื่องจากความต้องการในเรื่องระบายความร้อนจำ�เป็นต้องทำ�การดัดแปลงภายใน ลำ�ตัวการติดตั้งเรดาร์รุ่น Mk4 หรือการปรับปรุงดัดแปลงเรดาร์รุ่น Mk3 สู่รุ่น Mk4 สามารถติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D โดยไม่จำ�เป็นต้องทำ�การดัดแปลงโครงสร้างลำ�ตัวและระบบระบายความร้อน บริษัท Saab ได้พูดคุย กับกองทัพอากาศสวีเดนเพื่อทำ�การดัดแปลงเรดาร์ควบคุมการยิงให้กับเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ที่มีประจำ�การ 100 เครื่อง สู่รุ่น Mk4 เพราะกองทัพอากาศสวีเดนจะได้รับเครื่องบินขับไล่ Gripen E ซึ่งได้รับการติดตั้งเรดาร์ควบคุม การยิงรุ่น Raven ES-05 ทำ�งานด้วยระบบ AESA มาปฏิบัติภารกิจทดแทนครบหลังปี ค.ศ.2025 ไปแล้ว ทั้งนี้เนื่องจาก สถานการณ์ดา้ นการทหารทีเ่ กิดขึน้ ในภูมภิ าค ในปัจจุบนั รัสเซียแสดงท่าทีเป็นภัยคุกคามด้วยกำ�ลังทางทหาร โดยเฉพาะ กำ�ลังทางอากาศมีการบินละเมิดน่านฟ้าหรือบินเข้าใกล้น่านฟ้าสวีเดนหลายครั้ง ทำ�ให้กองทัพอากาศสวีเดนจำ�เป็น ต้องเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันภัยคุกคามทางอากาศจากอากาศยานของข้าศึก โดยเรดาร์รุ่น Mk4 จะทำ�ให้ เครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ซึ่งได้รับการปรับปรุงซอฟต์แวร์ MS20 สามารถใช้ร่วมกับจรวดนำ�วิถี Meteor ได้อย่าง เต็มประสิทธิภาพในการใช้อาวุธเข้าต่อตีเป้าหมาย และที่สำ�คัญบริษัท Saab เชื่อว่าหากกองทัพอากาศสวีเดนตัดสินใจ ทำ�การดัดแปลงเรดาร์ควบคุมการยิงให้กับเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ตามข้อเสนอของบริษัท จะนำ�ไปสู่การขาย เครือ่ งบินให้กบั กองทัพอากาศต่างประเทศได้เพิม่ เติม หรือมีกองทัพอากาศทีป่ ระจำ�การด้วยเครือ่ งบินขับไล่ Gripen C/D ให้ความสนใจปรับปรุงเรดาร์รุ่น Mk3 สู่รุ่น Mk4 เช่นเดียวกับกองทัพอากาศสวีเดน ซึ่งเรดาร์ควบคุมการยิง PS-05/A Mk4 เป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ของบริษัท Saab ที่จะทำ�ให้สามารถเสนอขายเครื่องบินขับไล่รุ่น Gripen C/D ต่อไป ได้จนถึงกลางปี ค.ศ.2020 เนื่องจากบริษัทฯ จะไม่สามารถผลิตเครื่องบิน Gripen E/F ให้กับกองทัพอากาศชาติอื่นได้ นอกจากราชอาณาจักรสวีเดนและสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลจนกระทั่งถึงปี 2022  แหล่งข้อมูลและภาพ - Bill Sweetman. Gripen radar upgrade aimed at Sweden and exports.Aviation Week. April 27, 2015. - Craig Hoyle. Gripen customers offered major radar enhancement.Flightglobal. April 28, 2015. - Craig Hoyle. Picture : Saab rolls out first Gripen E fighter. Flighglobal. May 18, 2016. - Craig Hoyle. Analysis :How Saab broke the mould with evolved Gripen E. Flighglobal.May 19, 2016. - Craig Hoyle. Meteor introduction transforms Swedish air defence. Fligtglobal. May 19, 2016. - Guy Norris. Ground Collision Avoidance System ‘Saves’ First F-16 In Syria. Aviation Week.February 5, 2015. - New capabilities in the upgraded Gripen aircraft. Swedish FMV;Issued April 26, 2016. - Superior ability gives deterrent effect. Defense-aerospace.com. May 27, 2016.


มุ่งมั่นพัฒนา สร้างคุณค่าให้กองทัพอากาศ ๖๘ ปี กรมช่างโยธาทหารอากาศ

พล.อ.ต.ชลิต รัมมะวาส จก.ชย.ทอ. น.อ.เรืองวิทย์ ศรีนวลนัด รอง จก.ชย.ทอ.

น.อ.เลอสรวง รอดเดช เสธ.ชย.ทอ.

ตลอดระยะเวลา ๖๘ ปีนับตั้งแต่วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๑ ที่กรมช่างโยธาทหารอากาศได้รับ การสถาปนาให้เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ ได้มี การดำ�เนินการเกี่ยวกับกิจการช่างโยธา การสนามบิน การดับเพลิงและกู้ภัย และการพัสดุช่างโยธา รวมทั้ง มีหน้าทีจ่ ัดการความรู้ ควบคุม ประเมินผล และตรวจตรา กิจการในสายวิทยาการด้านช่างโยธา มีเจ้ากรมช่างโยธา ทหารอากาศ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ ชย.ทอ.ได้ปฏิบัติภารกิจตอบสนองต่อนโยบาย และภารกิจที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ ภายใต้ขดี จำ�กัดด้านงบประมาณและกำ�ลังพล ตามนโยบาย

ปชส.ชย.ทอ. ผูบ้ งั คับบัญชาระดับสูงของ ทอ.โดยกำ�หนดแนวทางในการ พัฒนาหน่วยไว้ ๒ แนวทางด้วยกัน คือ การพัฒนาจากบน ลงล่าง (TOP - DOWN APPROACH) ซึ่งเป็นการพัฒนา ที่ผู้บังคับบัญชาได้กำ�หนด เป้าหมาย ทิศทาง และกลยุทธ์ ในการบริหารโครงการ และการพัฒนาจากระดับล่างขึน้ บน (DEVELOPMENT FROM BELOW OR BUTTOM - UP APPROACH) ซึ่งเป็นการพัฒนาบุคลากรและทรัพยากร โดยมีเป้าหมายในการใช้ทรัพยากรและบุคลากรเท่าที่มี อยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการปลูกฝังจิตสำ�นึกให้ บุคลากรทุกคนมีสว่ นร่วมและให้ความร่วมมือในการพัฒนา


๓๖ ข่าวทหารอากาศ

ผลการดำ�เนินงานที่ผ่านมาในรอบปี ๕๘ - ๕๙ ทีส่ �ำ คัญ อาทิ โครงการปรับวางทีต่ งั้ โรงเรียนนายเรืออากาศ นวมินทกษัตริยาธิราช โครงการปรับวางที่ตั้งโรงเรียน จ่าอากาศ อำ�เภอตาคลี งานก่อสร้างอาคารรับรองบุคคลสำ�คัญ ท่าอากาศยานทหาร ๒ ดอนเมือง งานก่อสร้างอาคารที่พัก อาศัยข้าราชการที่ เขต ๖ (หลังสถานีรถไฟดอนเมือง) งาน ก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยข้าราชการที่ ชอ.บางซื่อ งาน ดำ�เนินการพลังงานทดแทนด้านพลังงานแสงอาทิตย์ งาน ก่อสร้างอาคารคลังเก็บพัสดุเก็บวัตถุระเบิดที่ บน.๔ งาน ปรับปรุงผิวทางวิ่ง ทางขับที่ บน.๒ และบน.๕ งานตกแต่ง การออกร้านกาชาดของสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ งาน ก่อสร้างธนาคารเมล็ดพันธุ์พืชที่ สร.ดอยอินทนนท์ และ งานอาคารหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ สร.ดอยอินทนนท์ จากนโยบาย ผบ.ทอ.ประจำ�ปี ๒๕๕๙ ได้กำ�หนด ให้หน่วยงานทุกหน่วย ตระหนักถึงความสำ�คัญในการพัฒนา กองทัพอากาศเพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์อย่างเป็นรูปธรรม โดย

กันยายน ๒๕๕๙

เฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติงานของกองทัพอากาศ ต้อง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมาตรฐาน เพื่อดำ�รงขีด ความสามารถของกองทัพอากาศในการป้องกันประเทศ การรักษาความมัน่ คงภายในและการสนับสนุนรัฐบาลใน การพัฒนาประเทศ ซึ่ง ชย.ทอ.ได้นำ�นโยบายดังกล่าวมา กำ�หนดเป็นแนวทาง การปฏิบตั งิ าน โดยมุง่ เน้นการปฏิบตั ิ ตามแผนแม่บท และยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศ ซึ่ง นำ�มาเป็นเครื่องมือในการบริหารงานของหน่วยและ มุ่งมั่นในการสร้างความยั่งยืน เพื่อการพัฒนาและดำ�รง ขีดความสามารถของกองทัพอากาศ ดังนั้นการพึ่งพา ตนเอง การสร้างองค์ความรู้ การสร้างมาตรฐานการ ทำ�งาน และความปลอดภัยเป็นสิ่งจำ�เป็นอย่างยิ่ง สมกับ วิสยั ทัศน์ ของกรมช่างโยธาทหารอากาศ ทีว่ า่ “มุง่ พัฒนา ระบบงานให้เป็นมาตรฐานสากล และพัฒนาบุคลากร ให้มคี วามรูค้ วามสามารถ ปฏิบตั งิ านได้อย่างมืออาชีพ รวดเร็ว และมีคุณภาพ” 


น.ท.นิธิวัฒน์ โต๊ะนาค กวก.ชย.ทอ.

“การพัฒนาระบบงานให้เป็นมาตรฐานสากล และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ ปฏิบัติงานได้อย่างมืออาชีพ รวดเร็ว มีคุณภาพ”  วิสัยทัศน์ของกรมช่างโยธาทหารอากาศ กองทัพอากาศได้กำ�หนดวิสัยทัศน์ “กองทัพอากาศชั้นนำ�ในภูมิภาค (One of the Best Air Forces in ASEAN)” รวมทั้งเจตนารมณ์ของผู้บัญชาการทหารอากาศ ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๙ ที่ตระหนักถึงความสำ�คัญในการ พัฒนากองทัพอากาศ เพือ่ มุง่ สูว่ สิ ยั ทัศน์อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิง่ การปฏิบตั งิ านของกองทัพอากาศต้องเป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพและมาตรฐาน และได้กำ�หนดนโยบายเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานและเป็นเครื่องมือในการ บริหารของแต่ละส่วนราชการ เพื่อสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาและดำ�รงขีดความสามารถของกองทัพอากาศ ซึ่งการ พึ่งพาตนเอง การสร้างองค์ความรู้ การสร้างมาตรฐานการทำ�งาน และความปลอดภัย เป็นสิ่งจำ�เป็นอย่างยิ่ง กรมช่างโยธาทหารอากาศ ได้นำ�วิสัยทัศน์ เจตนารมณ์ และนโยบายของผู้บัญชาการทหารอากาศ ดังกล่าวมา ปฏิบตั ิ โดย พล.อ.ต.ชลิต รัมมะวาส จก.ชย.ทอ. ได้วางนโยบายทีจ่ ะพัฒนาระบบฐานข้อมูลของกรมช่างโยธาในทุกด้าน ซึ่งท่านได้เห็นถึงความสำ�คัญและปัญหาในการติดตามงานขององค์กรเกี่ยวกับการบริหารสัญญาจ้าง เนื่องจากในแต่ละปี กรมช่างโยธาทหารอากาศ มีหน้าที่ดูแลจัดการ บริหารสัญญาจ้าง ปีละประมาณ ๒,๕๐๐ ล้านบาท และมีแนวโน้มที่จะ เพิ่มขึ้นทุกปี อีกทั้งเป็นงานที่ส่งผลกระทบในหลายส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารทางยุทธการ ซึ่งมีความสำ�คัญ เร่งด่วน และเป็นเรื่องลับ


๓๘ ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙

ทีมงาน KM ของ ชย.ทอ. โดย กลุ่มรังนก (The Nest) ได้ประชุมและระดมความคิดในประเด็นนี้ ได้ข้อสรุปว่า การจัดทำ�ฐานข้อมูลของผู้รับจ้าง เป็นองค์ความรู้ที่องค์กรจำ�เป็นต้องมี ซึ่งข้อมูลลักษณะนี้ไม่เคยถูกรวบรวมขึ้นเป็น รูปธรรมเพื่อการใช้งานอย่างจริงจังมาก่อน โดยเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ หาวิธีการในการรวบรวมข้อมูล พัฒนา จนเป็น ที่มาของเรื่อง “ผลการประเมินผู้รับจ้าง เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำ�หรับผู้บริหารระดับสูง” วัตถุประสงค์ในการจัดทำ� เพือ่ ให้ได้ขอ้ มูลทีใ่ ช้ในการตัดสินตกลงใจของผูบ้ ริหารระดับสูง โดยใช้ “หลักธรรมาภิบาล” ซึ่งไม่มุ่งเน้นการได้เปรียบ เสียเปรียบ แต่ใช้หลักของการทำ�งานร่วมกัน บนฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้ และเพื่อตอบสนอง ยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศในข้อที่ ๔ เรื่อง การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ โดยมีคำ�ขวัญประจำ�กลุ่ม คือ “ฐานข้อมูลของเครือข่าย คือ ปัจจัยขององค์กร” การจัดทำ�เริ่มแรก คือ การสร้างและแสวงหา ความรู้ และจัดการความรู้ให้เป็นระบบ โดยรวบรวมความรู้ จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เช่น ระเบียบ คำ�สั่ง ข้อคิดเห็น พูดคุย และรูปแบบการประเมินของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ คล้ายคลึงกัน สอบถาม แลกเปลี่ยนกับผู้รู้ในสาขาต่าง ๆ เช่น นายทหารคุมงาน วิศวกร สถาปนิก ผูบ้ ริหารโครงการ ก่อสร้างต่าง ๆ โดย ชย.ทอ.ได้ด�ำ เนินการจัดอบรมสัมมนา ทางวิชาการ สายวิทยาการช่างโยธา เรื่อง “การควบคุม งานก่อสร้าง” โดยผู้เข้าร่วมสัมมนา ประกอบด้วย นายทหาร ควบคุมงาน สายวิทยาการต่าง ๆ กบ.ทอ. สตน. นายทหาร พระธรรมนูญ คณะกรรมการตรวจการจ้าง โดยใช้กระบวนการในการคิดวิเคราะห์ ดังนี้  การคิดเชิงวิเคราะห์ แสดงถึงการทำ�งานในส่วนใดที่ผู้รับจ้างยังขาดอยู่  ความคิดเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้การทำ�งานร่วมกันระหว่างราชการกับเอกชนเกิดประโยชน์มากที่สุด ไม่ใช่ เพื่อการจับผิด  ความคิดครบทั้งกระบวนการ กลั่นกรองผลที่ได้ เพื่อให้การใช้ข้อมูลเกิดประสิทธิผลมากที่สุด  การคิดในภาพรวมทั้งระบบ การคัดเลือก การบริหารงาน การป้องปราม และการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ


สรุปผลจากการอบรมสัมมนาทางวิชาการ ได้หวั ข้อทีจ่ �ำ เป็นต่อการประเมินผูร้ บั จ้าง เพือ่ เป็นฐานข้อมูลสำ�หรับ ผู้บริหารระดับสูง ดังนี้ - การเตรียมการของการก่อสร้าง - การบริหารจัดการที่หน้างานก่อสร้าง - ผู้ควบคุมงานของผู้รับจ้าง - การประเมินภาพรวมของผู้รับจ้าง - การประเมินด้านเครื่องจักร เครื่องทุ่นแรง - ช่าง แรงงาน - สรุปผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง - ข้อเสนอแนะ การแก้ไขและปรับปรุง โดยหัวข้อการประเมินดังกล่าว ตอบวัตถุประสงค์ของเรื่องนี้ ตามหลักธรรมาภิบาล ๖ ประการ ดังนี้ ๑. หลักนิติธรรม ได้รูปแบบการประเมินที่ถูกต้อง เป็นธรรม มีการบังคับใช้อย่างเสมอภาค เพื่อคัดกรอง ผู้รับจ้าง ที่ไม่มีคุณภาพออกจากระบบงานของทางราชการ โดยแสดงเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ๒. หลักคุณธรรม ได้ผลการประเมินที่ถูกต้อง ส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนา และความซื่อสัตย์ ในการ ทำ�งานของผู้รับจ้าง ๓. หลักความโปร่งใส ใช้ในการตัดสินใจในการคัดเลือกผู้รับจ้างอย่างโปร่งใส ๔. หลักความมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมรับรู้ และเสนอความคิดเห็น ในผลที่เกิดขึ้น เพื่อการบริหาร จัดการ ทำ�ให้ใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า และได้งานที่มีคุณภาพร่วมกันระหว่างผู้รับจ้างและกองทัพอากาศ ๕. หลักความพร้อมรับผิดชอบ ทำ�ให้ตระหนักในสิทธิ หน้าที่ ความสํานึกรับผิดชอบต่องาน ต่อสังคม กระตือรือร้น ในการแก้ปัญหา ยอมรับทั้งผลดีและผลเสีย เพื่อป้องปรามการทำ�งานที่ไม่มีคุณภาพและไม่มีคุณธรรมของผู้รับจ้าง ๖. หลักความคุ้มค่า เพื่อให้การบริหารจัดการ การใช้งบประมาณ และทรัพยากรที่มีจํากัดอย่างคุ้มค่า และ ได้ผลงานที่มีคุณภาพ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ ในปัจจุบันผู้ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ได้คือ จก.ชย.ทอ. รอง จก.ชย.ทอ. และ เสธ.ชย.ทอ. เท่านั้น และถ้าหน่วยงานใด ต้องการข้อมูล ต้องขออนุมัติจาก จก.ชย.ทอ. เพราะข้อมูลที่ได้จากการประเมินนี้เป็นข้อมูลชั้นความลับ (ลับมาก) ประโยชน์ที่ได้รับ สามารถนำ�ไปใช้ในการบริหารการก่อสร้าง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล และนำ�ไปใช้ ในหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น กบ.ทอ. สตน.ทอ. หรือนอกหน่วยงาน ทอ. เช่น ชย.ทร. ยย.ทบ. สตง. เป็นต้น จากผลงานดังกล่าวส่งผลให้ กลุ่มรังนก (The Nest) ได้รับรางวัล Innovation Award ประเภท KM ในงาน มหกรรมคุณภาพ กองทัพอากาศ ครั้งที่ ๓๒ ประจำ�ปี ๒๕๕๘ โดยทางกลุ่มรังนก (The Nest) ยังคงพร้อมที่จะสร้างผลงาน ที่จะเป็นประโยชน์ต่อกิจการของกรมช่างโยธาทหารอากาศ และกองทัพอากาศต่อไป เพราะเราทุกคนในทีมเชื่อว่า “จุดเริ่มต้นของความรู้ คือการค้นพบบางสิ่งที่เรายังไม่เคยรู้” 


เดินเร็ว แกว่งแขน พิชิตพุง แรมโบ้ รูห้ รือไม่วา่ ทุกวันนีม้ คี นไทยรูปร่าง ท้วมถึงระดับอ้วนมากถึง 17 ล้านคน และ เสียชีวิตจากโรคอ้วนปีละ 20,000 คน อีกทั้ง 1 ใน 3 ของประชากรที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เป็นโรคอ้วนลงพุง ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไป รวมทั้ง ไม่มีเวลาออกกำ�ลังกายหรือมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ ซึ่งล้วนส่งผลต่อ สุขภาพและเพิ่มความเสี่ยงให้เป็นโรคอ้วนลงพุงมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม วัยทำ�งานทีส่ ่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่นั่งนานติดต่อกันเกิน 2 ชั่วโมง และต้องเผชิญ กับความเครียดจากการทำ�งานตลอดเวลา  อ้วนลงพุงอันตรายอย่างไร ?

อ้วนลงพุง เกิดจากการมีไขมันสะสมในช่องท้องปริมาณมาก ยิง่ มีรอบพุงมากเท่าไหร่ไขมันยิง่ สะสมในช่องท้อง มากเท่านั้น ไขมันที่สะสมนี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับจนเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนจำ�พวกโรคไม่ติดต่อ หรือ NCDs (Non-Communicable diseases) ที่มีอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ (Cardiovascular & Cerebrovascular Diseases ) โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) โรคอ้วนลงพุง (Obesity) ดังนัน้ เพือ่ ป้องกันไม่ให้ความอ้วนมาเข้าใกล้พงุ ของเรา จึงควรดูแลสุขภาพของตนเอง ด้วยการลุกขึน้ มาขยับร่างกาย ทำ�กิจกรรมทางกายให้มากขึ้น โดยการออกกำ�ลังกายแบบคาร์ดิโอ ด้วยการเดินและการแกว่งแขน นายภคพงศ์ วิเศษสินธุ์ วิทยากรจากเครือข่ายคนไทยไร้พงุ กล่าวว่า “การออกกำ�ลังกายแบบคาร์ดโิ อ เป็นการ ออกกำ�ลังกายทีท่ �ำ ให้หวั ใจของเราเต้นเร็วขึน้ ทำ�ให้รา่ งกายเผาผลาญพลังงานได้อย่างดีเยีย่ ม ทัง้ พลังงานทีพ่ งึ่ ได้รบั เข้าไป และพลังงานที่สะสมอยู่ในตัวเราในรูปแบบไขมัน ซึ่งเป็นการออกกำ�ลังกายแบบต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาทีขึ้นไป เช่น การวิ่ง ปั่นจักรยาน แอโรบิค ว่ายน้ำ� หรือแม้แต่ การเดินเร็ว และการแกว่งแขน ก็ถือเป็นการออกกำ�ลังกายแบบคาร์ดิโอ ชนิดหนึ่งทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ง่าย สะดวก ประหยัด ปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและความเครียดแก่ร่างกาย” คู่มือ ลดพุง ลดโรค ฉบับประชาชน ได้แนะนำ�วิธี การเดิน โดยเริ่มจากการเดินช้า ค่อย ๆ เดิน แบบค่อยเป็น ค่อยไป ไม่ต้องรีบประมาณ 3 - 5 นาที เมื่อเริ่มรู้สึกชินให้เพิ่มความเร็วในระดับที่พอรู้สึกเหนื่อย คือยังทักทายพูดคุยได้ ตามปกติ แล้วเดินอีกราว 25 - 30 นาที จากนั้นในช่วงท้ายให้ชะลอความเร็วลง ก่อนเดินอีก 3 - 5 นาที แล้วค่อยหยุด


ข่าวทหารอากาศ ๔๑

กันยายน ๒๕๕๙

และควรเดินให้ได้ระยะทาง 2.5 - 3.5 กิโลเมตร หรือ 10,000 ก้าวต่อวัน แต่ถ้ารู้สึก ว่าการนับก้าวยุ่งยากเกินไป แนะนำ�ให้จำ�แบบ ง่าย ๆ ว่า ควรเดินนาน 30 นาที และหากรู้สึก เหนื่อยหอบในระดับที่พูดเป็นคำ� ๆ ขาดช่วง ให้ชะลอฝีเท้าลง แต่ถ้าเป็นมาก ให้หาที่นั่งพัก ควรเริ่มทำ�จาก 3 วันต่อสัปดาห์ และเพิ่มถึง สูงสุด 5 - 6 วันต่อสัปดาห์ สำ�หรับการแกว่งแขน การบริหาร ร่างกายด้วยการแกว่งแขน จะส่งผลให้เลือดลม ภายในไหลเวียนได้สะดวก ไม่ติดขัด เพราะใต้ หัวไหล่หรือรักแร้นนั้ เป็นชุมทางต่อมน�้ำ เหลือง การกระตุน้ ให้น�้ำ เหลืองไหลเวียนดีขนึ้ นัน้ จึงต้อง พึง่ พิงการออกกำ�ลังกาย ซึง่ การแกว่งแขนจะช่วย ให้ตอ่ มน�้ำ เหลืองได้ขยับและทำ�ให้น�้ำ เหลือง ไหลเวียนไปทั่วร่างกายได้ดียิ่งขึ้นส่งผลทำ�ให้ สุขภาพแข็งแรงตามมา  แกว่งแขน ให้ถูกวิธี ทำ�ได้ง่าย ๆ

1. ยืนตรง เท้าสองข้างแยกออกจากกันให้มีระยะห่างเท่ากับหัวไหล่ 2. ปล่อยมือทั้งสองข้างลงตามธรรมชาติ อย่าเกร็ง ใช้นิ้วมือชิดกัน หันอุ้งมือไปข้างหลัง 3. เกร็งท้องน้อยเข้า เอวตั้งตรง เหยียดหลัง ผ่อนคลาย กระดูกลำ�คอ ศีรษะ และปากผ่อนคลาย ตามธรรมชาติ

แยกเท้าให้มีระยะห่าง 1 ช่วงไหล่

ออกแรงแกว่งแขนไปด้านหลัง แล้วปล่อยให้เหวี่ยงกลับมา


๔๒ ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙

4. จิกปลายนิ้วเท้ายึดเกาะพื้น ส้นเท้าออกแรงเหยียบลงพื้นให้แน่น ให้แรงจนกล้ามเนื้อโคนเท้า โคนขา และ ท้องตึง ๆ เป็นใช้ได้ 5. บั้นท้ายควรให้งอขึ้นเล็กน้อย ระหว่างบริหารต้องหดก้น หรือขมิบทวารหนัก คล้ายยกสูงให้หดเข้าไปใน ลำ�ไส้ 6. ตามองตรงไปจุดใดจุดหนึ่ง สลัดความคิดฟุ้งซ่านกังวลออกให้หมด ทำ�สมาธิให้รู้สึกอยู่ที่เท้า 7. แกว่งแขนไปข้างหน้าเบาหน่อย ทำ�มุม 30 องศากับลำ�ตัวแล้วแกว่งไปหลังแรงหน่อยทำ�มุม 60 องศากับ ลำ�ตัว จะทำ�ให้เกิดแรงเหวี่ยงนับเป็น 1 ครั้ง โดยปล่อยน้ำ�หนักมือให้เหมือนลูกตุ้มแกว่งแขนไปมาโดยเริ่มจากทำ�วันละ 500 ถึง 1,000 - 2,000 ครั้ง ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ทั้งนี้ การบริหารแกว่งแขนแต่ละครั้ง ควรใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 10 นาทีต่อครั้ง และอย่างน้อยรวม 30 นาทีต่อวัน นอกจากนี้ยังมีเทคนิคง่าย ๆ จาก สสส. ที่เห็นถึงความสำ�คัญของกิจกรรมทางกายและอยากให้คนไทย มีสุขภาวะที่ดี ได้ให้คำ�แนะนำ�ว่าควรแกว่งแขนวันละประมาณ 30 นาที หรือ การเดินเร็ว 10 นาที แล้วพูดขณะ ที่เดินว่า “มดตัวน้อยตัวนิด มดตัวน้อยตัวนิด มดมีฤิทธิ์น่าดู ยู้ฮู” หากพูดได้ดี หายใจปกติ แปลว่า สมรรถภาพทาง ร่างกายปกติ หากพอพูดได้ หายใจแรง แปลว่า สมรรถภาพทางร่างกายปกติ แต่หากพูดไม่ได้ หายใจหอบ แปลว่า สมรรถภาพทางร่างกายอ่อนแอ ทราบอย่างนี้แล้ว ลองนำ�สายวัดมาวัดพุง โดยเส้นรอบพุงต้องไม่เกินส่วนสูงหารสอง หากเกินนั่นหมายถึง คุณเข้าข่าย “ภาวะอ้วนลงพุง” ต้องปรับพฤติกรรมการกิน ลดทอดลดมัน เพิ่มผักผลไม้ และเพิ่มกิจกรรมทางกาย ให้ไว ๆ ก่อนที่โรคต่าง ๆ จะถามหา

แหล่งข้อมูลและภาพ : คู่มือ ลดพุง ลดโรค ฉบับประชาชน จาก เครือข่ายคนไทยไร้พุง โดย สำ�นักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาวะ (สสส.)


น.ท.วัชรพงษ์ กลีบม่วง ในช่วงสงครามโลกครัง้ ที่ 2 การโจมตีเป้าหมายภาคพืน้ ด้วยเครือ่ งบินทิง้ ระเบิด นับว่ามีสว่ นสำ�คัญพลิกโฉมหน้า ของการรบ ซึ่งในท้ายที่สุดนำ�ไปสู่การยุติสงคราม แต่ในขณะเดียวกันปัจจัยที่เป็นอุปสรรคสำ�คัญของการใช้เครื่องบิน ทิ้งระเบิดคือ ระยะทางระหว่างสนามบินถึงเป้าหมาย เช่น การโจมตีเป้าหมายบนแผ่นดินของประเทศญี่ปุ่นจำ�เป็นที่จะ ต้องมีสนามบินอยูใ่ นระยะทีร่ องรับการปฏิบตั กิ ารของเครือ่ งบินทิ้งระเบิด และอุปสรรคที่ส�ำ คัญอีกประการคือ การต่อต้าน ของกำ�ลังรบภาคพื้น ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้กับเครือ่ งบินทิ้งระเบิดเป็นอย่างมาก ในช่วงปลายของสงครามโลกครั้ง ที่ 2 กองทัพบกของญีป่ นุ่ ได้มกี ารพัฒนาบอลลูนติดระเบิด เพือ่ ทำ�ลายเป้าหมายภาคพืน้ และสร้างความโกลาหลบนแผ่นดิน ของสหรัฐอเมริกา แนวความคิดในการพัฒนาบอลลูนติดระเบิดในครั้งนั้น เพื่อใช้โจมตีเป้าหมายที่อยู่ห่างออกไปจาก ญี่ปุ่นคือ สหรัฐฯ และแคนาดา ซึ่งไม่จำ�เป็นต้องใช้เครื่องบินรบหรือมีสนามบินที่รองรับการปฏิบัติการใกล้กับสหรัฐฯ เพียงแต่อาศัยกระแสลมกรด ทีอ่ ยูส่ งู ในชัน้ บรรยากาศ ช่วยพัดพาให้บอลลูนติดระเบิดจำ�นวนมากลอยไปเหนือดินแดนของ สหรัฐฯ และแคนนาดา แต่ทว่ากลับไม่เกิดผลกระทบต่อ สหรัฐฯ หรือแคนาดาแต่อย่างใด เนื่องจากบอลลูน ส่วนใหญ่จะตกลงในพืน้ ทีโ่ ล่งไม่มคี นอยูอ่ าศัยหรือ ในป่า การใช้บอลลูนติดระเบิดอาจเป็นก้าวแรกของ การใช้อาวุธปล่อยระยะไกล (Standoff Weapon) ที่เข้าโจมตีเป้าหมายได้เองจากระยะไกล การพัฒนาระบบอาวุธอากาศสูพ่ นื้ ทีส่ ามารถ ปล่อยได้จากระยะไกลและสามารถเข้าหาเป้าหมาย ได้อย่างแม่นยำ� โดยหลายค่ายผู้ผลิตทั่วโลกยังคง มีอย่างต่อเนือ่ งเพือ่ ให้สามารถตอบสนองต่อรูปแบบ ของภัยคุกคามและวิธีการรบที่เปลี่ยนไป สำ�หรับ


๔๔ ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙

อาวุธปล่อยระยะไกลอย่างจรวดร่อนของค่ายฝั่งสหรัฐฯ เช่น บริษัท Raytheon ที่มีการพัฒนาออกมาหลายรุ่นคือ AGM-154 Joint Standoff Weapon หรือนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า JSOW (เจซอว์)

JSOW เป็นจรวดร่อนที่มีลักษณะแตกต่างจากอาวุธนำ�วิถีหรือจรวดโดยทั่วไปคือ จะมีปีกที่สามารถกางออก เมื่ออาวุธถูกปล่อย (ปีกกางสุด 2.7 ม.) ทำ�ให้สามารถร่อนในอากาศได้ไกลถึง 22 กม.เมื่อถูกปล่อยจากอากาศยาน ่ำ และไกลถึง 130 กม.เมือ่ ปล่อยจากอากาศยานในระดับสูงที่ 40,000 ฟุต และในรุน่ ทีม่ กี ารติดตัง้ ส่วนขับเคลือ่ น ในระดับต� JSOW-ER นั้นสามารถปล่อยได้ไกลถึง 300 nmi ประมาณ 556 กม. มีความยาว 4.1 ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.3 ม. สำ�หรับในส่วนของลำ�ตัวจะเป็นทรงสี่เหลี่ยมที่ภายในสามารถบรรจุอาวุธที่เป็นระเบิดแบบต่าง ๆ โดยขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่น ซึ่งจะทำ�ให้น้ำ�หนักในแต่ละรุ่นแตกต่างกันโดยจะมีน้ำ�หนักในช่วง 483 - 497 กก. การพัฒนาในรุ่นแรกนั้นเกิดขึ้นราว 21 ปี ประมาณในปี 1995 ซึง่ เป็นโครงการพัฒนาร่วมกันระหว่างกองทัพเรือและกองทัพอากาศสหรัฐฯ โดยเข้าประจำ�การ ในปี 1999 สำ�หรับ JSOW รุ่นแรกคือ AGM-154A ซึ่งภายในลำ�ตัวติดตั้งลูกระเบิดพวงแบบ BLU-97/B เพื่อทำ�ลายเป้าหมาย ภาคพื้นเช่น อากาศยานบนลานจอด รถถัง ยานเกราะ และฐานยิงอาวุธนำ�วิถีต่อสู้อากาศยาน มีการใช้ระบบนำ�วิถีแบบ เฉื่อย (INS: Inertial Navigation System) ที่จะให้ข้อมูลความสูงและความเร็วกับระบบอาวุธและระบบนำ�วิถีด้วยพิกัด ดาวเทียม (GPS: Global Positioning System) ซึ่งเพิ่มความแม่นยำ�ในการเข้าสู่เป้าหมาย ต่อมาได้มีการพัฒนามาสู่รุ่น AGM-154A-1 โดยปรับเปลี่ยนในส่วนของอาวุธที่บรรจุภายในลำ�ตัวของ JSOW จากลูกระเบิดพวงเป็นลูกระเบิดแบบ ทะลุทะลวง BLU-111/B เพื่อใช้ทำ�ลายเป้าหมายที่เป็นที่มั่นแข็งแกร่ง เช่น ฐานบัญชาการ บังเกอร์ เป็นต้น JSOW รุน่ ทีไ่ ด้รบั การพัฒนาต่อมาคือ AGM-154B ซึง่ โครงสร้างภายนอกทัง้ หมดจะเหมือนกับรุน่ แรก เพียงแต่ เปลี่ยนอาวุธภายในลำ�ตัวเป็น BLU-108/B จำ�นวน 6 ชุด โดยเน้นการทำ�ลายเป้าหมายภาคพื้นที่มีเกราะป้องกัน เช่น รถถัง รถยานเกราะ


สำ�หรับ JSOW รุน่ ต่อมาทีไ่ ด้รบั การพัฒนาคือ AGM-154C ซึง่ ในรุน่ นีไ้ ด้มงุ่ เน้นการพัฒนาเพือ่ ทำ�ลายเป้าหมาย ที่ซ่อนอยู่ใต้ดิน เช่น ฐานบัญชาการใต้ดิน จึงได้มีการเปลี่ยนอาวุธที่บรรจุภายในลำ�ตัวโดยนำ�หัวรบแบบ Broach ขนาด 500 ปอนด์ โดยมีความแตกต่างกับหัวรบแบบทะลุทะลวงทั่วไปคือการทำ�งานของหัวรบแบบ 2 ขั้นตอน : ซึ่งเมื่อระเบิด กระทบเป้าหมายหัวรบแบบ Shaped Charge จะทำ�การเจาะผนังคอนกรีต (หนาถึง 1.5 ม.) จากนั้นหัวรบในส่วนที่สองเมื่อ ทะลุเข้าไปภายในเป้าหมายแล้ว จะเกิดการระเบิดเพือ่ ทำ�ลายสิง่ ทีอ่ ยูภ่ ายในเป้าหมาย นอกจากนัน้ ยังได้มกี ารพัฒนาใน ส่วนการนำ�วิถีโดยเพิ่มการนำ�วิถีด้วย Imaging Infrared เพื่อนำ�วิถีเข้าสู่เป้าหมายในระยะก่อนถึงเป้าหมาย


๔๖ ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙ เปรียบเทียบอาวุธภายในลำ�ตัว JSOW แต่ละรุ่น

JSOW รุ่นล่าสุดที่ได้รับการพัฒนาคือ AGM-154C1 ซึ่งผ่านกระบวนการทดสอบกับเป้าหมายบนพื้นและบน ผิวทะเลเมื่อกลางปี 2016 ที่ผ่านมา การพัฒนาในรุ่นนี้ได้มีการเพิ่มระบบ Two-Way Data Link แบบ Link 16 เพื่อ ตอบสนองต่อความต้องการของ ทร.สหรัฐฯ ทีต่ อ้ งการระบบอาวุธทีส่ ามารถใช้งานผ่านระบบเครือข่ายและโจมตีเป้าหมาย ทางทะเลที่เคลื่อนที่ได้ในระยะไกลมากกว่า 100 กม. อาจนับได้ว่า JSOW ในรุ่นนี้เป็นระบบอาวุธระยะไกลเกินกว่า 100 กม.ที่มีการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นรุ่นแรกของโลก สำ�หรับระบบ Data Link นี้จะช่วยให้ JSOW สามารถรับข้อมูล เป้าหมายล่าสุดจากทั้งอากาศยานที่ปล่อยและอากาศยานหรือส่วนควบคุมอื่น ๆ นอกจากนั้นยังสามารถที่จะยกเลิกเป้าหมาย หรือเลือกเป้าหมายใหม่ได้ระหว่างที่ JSOW ถูกปล่อยออกไปแล้ว ในส่วนของระบบนำ�วิถี จากรุ่น AGM-154C ที่ได้มี การนำ� Imaging Infrared มาใช้ในการนำ�วิถเี ข้าสูเ่ ป้าหมายในระยะสุดท้ายก่อนถึงเป้าหมายนัน้ ในรุน่ นีไ้ ด้มกี ารใส่ขอ้ มูล รูปร่างของเรือรบซึ่งเป็นเป้าหมายลงในระบบฐานข้อมูลภายใน JSOW ทำ�ให้สามารถเปรียบเทียบภาพที่สร้างจากรังสี อินฟราเรดเพื่อระบุเป้าหมายได้ โดย JSOW รุ่นล่าสุดนี้คาดว่าจะพร้อมเข้าประจำ�การในปี 2018 อากาศยานที่สามารถติดตั้ง JSOW ได้มีหลาย แบบเช่น B-1B, B-2A, B-52H, F-16, F-15E, F/A-18C/D, F/A-18E/F, F-35 และ Jas-39 Gripen สำ�หรับประเทศ ที่มี JSOW ประจำ�การอยู่นั้นนอกจากสหรัฐฯ แล้วยังมี ออสเตรเลีย แคนาดา ฟินแลนด์ กรีซ เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ซาอุดิอาระเบีย ตุรกี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สำ�หรับประเทศในอาเซียนที่มี JSOW ประจำ�การคือ ประเทศสิงคโปร์


กันยายน ๒๕๕๙

ข่าวทหารอากาศ ๔๗

JSOW ติดตั้งกับ บ.F/A-18

แนวโน้มการพัฒนาของ JSOW ขึ้นอยู่กับความต้องการของกองทัพเรือและกองทัพอากาศสหรัฐฯ ซึ่งทำ�ให้ เห็นทิศทางของสหรัฐฯ ที่ให้ความสำ�คัญต่อภัยคุกคามในแต่ละช่วงเวลาโดยผ่านการพัฒนาระบบอาวุธ เช่น การพัฒนา JSOW รุ่น AGM-154A ที่ใช้ระเบิดพวงหรือระเบิดย่อยนั้น แสดงให้เห็นถึงภัยคุกคามที่เป็นกำ�ลังรบภาคพื้น ที่มีบทบาท สำ�คัญ เช่น รถถัง ฐานอาวุธต่อสู้อากาศยาน ในรุ่น AGM-154C ได้มีการเปลี่ยนหัวรบเป็นแบบที่มีขีดความสามารถในการทะลุทะลวงเพื่อใช้ทำ�ลาย ฝ่ายข้าศึกซึ่งมีฐานบัญชาการหรือหลบซ่อนการโจมตีอยู่ใต้ดิน ซึ่งมีการใช้ JSOW จำ�นวนมากในการทำ�ลายเป้าหมาย ภาคพื้นในปฏิบัติการ Iraq Freedom เมื่อปี 2003 และสำ�หรับรุ่นที่พัฒนาล่าสุดนั้น จะเน้นไปที่การโจมตีเป้าหมาย เคลื่อนที่บนผิวทะเล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภัยคุกคามที่สหรัฐฯ กำ�ลังให้ความสนใจอยู่นั้นคือภัยคุกคามทางทะเล ที่อาจ เป็นกำ�ลังทางเรือทีส่ ามารถต่อต้านกำ�ลังทางอากาศและกำ�ลังทางเรือของสหรัฐฯ ได้ ดังนัน้ การพัฒนา JSOW โดยติดตัง้ ระบบเครือข่าย Link 16 เพื่อให้อาวุธสามารถรับและปรับเปลี่ยนข้อมูลของเป้าหมายได้ตลอดเวลาที่ร่อนอยู่ในอากาศ รวมทั้งสามารถปล่อยได้ในระยะไกล จึงตอบโจทย์ในการทำ�ลายเป้าหมายทางทะเลที่มีศักยภาพในการตอบโต้ทั้งกำ�ลัง ทางอากาศและกำ�ลังทางเรือของสหรัฐฯ ได้


๔๘ ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙

JSOW เป็นระบบอาวุธที่มีการพัฒนามาอย่างยาวนานและตอบสนองต่อความต้องการในการปฏิบัติภารกิจ เพือ่ ต่อต้านภัยคุกคามทีเ่ ปลีย่ นแปลงอยูต่ ลอดเวลา และยังเป็นระบบอาวุธนำ�วิถรี ะยะไกลกว่า 100 กม.ทีต่ ดิ ตัง้ ระบบเครือข่าย เป็นแบบแรกของโลกอีกด้วย ตอกย้ำ�ถึงความสำ�คัญของระบบเครือข่ายที่เป็นหัวใจสำ�คัญในการส่งเสริมประสิทธิภาพ ของระบบอาวุธที่ใช้ในการปฏิบัติการทางทหารในปัจจุบัน  แหล่งข้อมูลและภาพ - สำ�นักอุตุนิยมวิทยาการบิน: www.aeromet.tmd.go.th - AGM-154 Joint Standoff Weapon (JSOW), United States of America. http://www.airforce-technology.com/ projects/agm-154-joint-standoff-weapon-jsow/ - BLU-97/B Combined Effects Bomb (CEB).:www.globalsecurity.org/military/systems/munitions /blu-97.htm - BLU-111/B.: http://fas.org/man/dod-101/sys/dumb/blu-111.htm - BLU-108/B Submunition.: http://www.globalsecurity.org/military/systems/munitions/blu-108.htm - James Hart. WWII History. Hot Air “Fire Balloons”: Japan’s Project Fugo.April 2015 - Raytheon to build more than 500 hard-target-penetrating missiles in $180.4 million contract: http://www. militaryaerospace.com/articles/2015/07/target-penetrating-missiles.html - Richard Scott, JSOW C-1 achieves IOC. HIS Jane’s 360: http://www.janes.com/article/61636/jsow-c-1achieves-ioc [2016 July 15]


(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

ฝ่ายวิชาการ นทน.เสธ.รุ่นที่ ๖๐

 นวัตกรรมและเทคโนโลยีระบบ Cloud Computing Cloud Computing เป็นแนวคิดการใช้งานทางด้าน IT (Internet Technology) รูปแบบหนึ่งที่ผู้ใช้สามารถ เข้าถึงทรัพยากรทางด้านคอมพิวเตอร์ เช่น Server, Storage, Application ต่าง ๆ ตามต้องการได้ โดยผ่านเครือข่าย Network หรือ Internet

ภาพที่ ๕ แสดงแนวคิดการใช้งาน Cloud Computing

จากภาพที่ ๕ จะเห็นว่าด้านในก้อนเมฆคือ ทรัพยากรของผู้ให้บริการที่มีทั้ง Hardware และ Software ซึ่ง ทำ�งานบน Hardware ของผู้ให้บริการเช่นกัน ผู้ใช้บริการหรือผู้ใช้งานเพียงแค่เชื่อมต่อเข้าไปใช้ผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตด้วยเว็บบราวเซอร์บนอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป Notebook โทรศัพท์มือถือ และ Tablet เป็นต้น


๕๐ ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙

หลักการของ Cloud Computing คือ การย้ายการประมวลผลบน PC หรือ Server มาเป็นการประมวลผล บนการทํางานของกลุม่ Servers ทีเ่ ชือ่ มโยงกันผ่านทางระบบเครือข่าย โดยกลุม่ Servers เหล่านัน้ ได้รบั การควบคุมและ บริหารจัดการอย่างเป็นรูปแบบ ที่สําคัญผู้ให้บริการสามารถกําหนดระดับประสิทธิภาพให้กับผู้ใช้งานที่จะใช้บริการ ได้จากหลักการดังกล่าว Cloud Computing จึงจัดอยูใ่ นรูปแบบการกระจายการบริหารจัดการทรัพยากร (Distributed Resource Management) ซึ่งการทํางานในลักษณะนี้ทําให้ Cloud Computing สามารถจัดสรรทรัพยากรเครือข่าย ทั้งหมดที่ต้องใช้การประมวลผลให้กับบริการที่มีระดับความต้องการแตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการ บริการเพื่อตอบรับความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องสามารถยืดหยุ่นได้เป็นหลัก

ภาพที่ ๖ แสดงการเปรียบเทียบการใช้งาน IT ในปัจจุบันกับแนวคิดการใช้งาน Cloud Computing

ระบบ Cloud Computing นั้น เกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่สำ�คัญคือ คอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย และ อินเทอร์เน็ต โดยมีวิวัฒนาการดังแสดงในภาพที่ ๗ สถาปัตยกรรมระบบ Cloud Computing ประกอบด้วย ๖ ส่วนสำ�คัญ ได้แก่ ๑. Cloud Server - Servers ที่มีจํานวนมหาศาลเชื่อมต่อเข้าด้วยกันผ่านระบบเครือข่าย โดยใช้ซอฟต์แวร์ เสมือน (Virtualization) ในการทํางาน ๒. User Interaction Interface ทำ�หน้าที่รับการขอบริการจากผู้ใช้งานในรูปแบบ Web Protocol ๓. Services Catalog ทำ�หน้าที่จัดเก็บรายการ Services ต่าง ๆ ๔. System Management ทำ�หน้าที่กำ�หนดทรัพยากรที่เหมาะสมเมื่อมีผู้ขอเรียกใช้บริการ ๕. Provisioning Services - System Management ทำ�หน้าที่จัดหา จัดเตรียม และจองทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อส่งให้ผู้ที่เรียกใช้ ๖. Monitoring and Metering ทำ�หน้าที่ตรวจสอบข้อมูลการใช้งานเพื่อเก็บค่าบริการหรือเก็บข้อมูลสถิติ เพื่อปรับปรุงระบบต่อไป


กันยายน ๒๕๕๙

ข่าวทหารอากาศ ๕๑

ภาพที่ ๗ แสดงวิวัฒนาการในอดีตของเทคโนโลยีก่อนจะมาเป็นระบบ Cloud Computing

สรุปคุณลักษณะที่สำ�คัญของระบบ Cloud Computing ประกอบไปด้วย ๑. On-demand Self-service หมายถึง ผู้ใช้สามารถเปิดใช้บริการได้ทันทีเมื่อต้องการ เพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ๒. Broad Network Access หมายถึง ความสามารถเข้าถึงทรัพยากรคอมพิวเตอร์จากที่ใดก็ได้ โดยผ่าน อุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น คอมพิวเตอร์ Notebooks โทรศัพท์มือถือ และ Tablets เป็นต้น ๓. Resource Pooling หมายถึง ทรัพยากรที่ให้กับผู้ใช้บริการมาจากทรัพยากรรวม (Pool of Resources) ๔. Rapid Elasticity หมายถึง สามารถเพิ่ม ลด ทรัพยากรที่ต้องการใช้ได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการ ประเภทของ Cloud Computing ๑. Private Cloud คือ ระบบที่ทำ�งานอยู่บน Cloud และบริหารจัดการโดยบริษัทหรือองค์กร เพื่อการใช้งาน ภายในองค์กรเท่านั้น ผู้ให้บริการและผู้ใช้สามารถควบคุมและปรับปรุงระบบความปลอดภัยได้ด้วยตนเอง ๒. Public Cloud คือ ระบบทีท่ �ำ งานอยูบ่ น Cloud แบบสาธารณะทีด่ แู ลจัดการโดยผูใ้ ห้บริการภายนอกผ่าน อินเทอร์เน็ต ผู้ใช้จะมีสิทธิในการควบคุมที่จำ�กัดขึ้นอยู่กับการมอบสิทธิของผู้ให้บริการ Public Cloud มีทั้งบริการที่ เสียค่าใช้จ่าย เช่น Windows Azure, SQL Azure และบริการฟรี เช่น Windows Live ๓. Community Cloud คือ ระบบที่สร้างขึ้นมาระหว่างองค์กรเป็นเครือข่ายสังคมเฉพาะกลุ่มที่มีความสนใจ หรือต้องทำ�งานร่วมกันสามารถเข้าใช้งานได้ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานหรือใช้ในการแก้ไขปัญหา ๔. Hybrid Cloud คือ ระบบที่ผสมผสานระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud ทำ�ให้สามารถทำ�งาน เชื่อมต่อกันได้ ผู้ใช้สามารถขยายศูนย์ข้อมูลไปยัง Public Cloud เพื่อการใช้งานเฉพาะอย่าง และสามารถกลับมาใช้ Private Cloud ได้เมื่อต้องการ


๕๒ ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙

ภาพที่ ๘ แสดงประเภทของ Cloud Computing ทั้ง ๔ แบบ

จากแนวคิดและคุณลักษณะของระบบ Cloud Computing ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีประโยชน์ นอกจากสามารถนำ�มาใช้เพื่อแก้ปัญหาสถานการณ์วิกฤตด้านข้อมูลสารสนเทศในอนาคต ของ ทอ.ได้แล้วยังสอดคล้องกับนโยบายของผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ ประจำ�ปี พ.ศ.๒๕๕๙ นโยบายเฉพาะข้อที่ ๖ ด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระบุให้พัฒนาระบบเครื่องแม่ข่ายแบบคลาวด์ของกองทัพอากาศ ทั้งนี้สามารถ วิเคราะห์ประโยชน์ที่ ทอ.จะได้รับจากการนำ�แนวคิดระบบ Cloud Computing มาประยุกต์ใช้ ดังนี้ ๑. ระบบ Cloud Computing สามารถรองรับกับปริมาณข้อมูลมหาศาลและสลับซับซ้อนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากในระบบ Cloud มีการนำ�กลุ่มคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงระดับเครื่อง Server และอุปกรณ์บันทึกข้อมูล จำ�นวนมากมาจัดสรรทรัพยากรให้ใช้งานร่วมกัน การคำ�นวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จำ�นวนหลาย ๆ ตัว พร้อม ๆ กัน ทำ�ให้ใช้เวลาในการประมวลผลน้อยลง ส่งผลให้วงรอบในการตัดสินใจของผู้บังคับบัญชาเร็วขึ้น ทำ�ให้ระบบบัญชาการ และควบคุมของ ทอ.มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ๒. ระบบ Cloud Computing ช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อจัดหาคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง ซึ่งมีราคาแพง รวมไปถึงอุปกรณ์อะไหล่ซ่อมบำ�รุงต่าง ๆ เนื่องจากใช้การจัดสรรทรัพยากรร่วมกัน นอกจากนี้ยังช่วย ขจัดปัญหาในการหาพื้นที่เพื่อรองรับการขยาย Data Center ของ ทอ.ในอนาคต ๓. ระบบ Cloud Computing ช่วยลดภาระหน้าที่ให้แก่เจ้าหน้าที่ ทอ. ซึ่งต้องคอยบริหารจัดการกับข้อมูล ที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับแนวทางการแก้ปัญหาบุคลากรที่ทำ�งานในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของ ทอ.ในปัจจุบันซึ่งมี จำ�นวนจำ�กัด ๔. ระบบ Cloud Computing ช่วยลดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของบุคลากรใน ทอ.เนื่องจาก สามารถเข้าไปใช้งานซอฟต์แวร์ในระบบ Cloud แทนได้ เช่น Google Form เป็นบริการของ Google ที่ช่วยสร้าง แบบสอบถาม Online หรือบริการ Application Google Docs เป็นต้น


กันยายน ๒๕๕๙

ข่าวทหารอากาศ ๕๓

๕. ระบบ Cloud Computing ช่วยเพิม่ ความยืดหยุน่ ในการทำ�งาน เช่น ในการประกาศผลสอบคัดเลือกบุคคล ภายนอกเข้ารับราชการใน ทอ. ซึง่ ช่วงเวลานัน้ เว็บไซต์ของ ทอ.ต้องรองรับปริมาณการเข้ามาใช้งานของประชาชนทัว่ ไป เป็นจำ�นวนมาก การจัดซื้อจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภท Web-Server รวมถึงอุปกรณ์ IT อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหา เว็บไซต์ของกองทัพอากาศล่ม จึงไม่คุ้มค่า อีกทั้งยังต้องใช้ระยะเวลา การใช้งานระบบ Cloud Computing กับผู้ให้บริการ จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม โดยจ่ายค่าบริการจำ�นวนหนึ่งเพื่อขอใช้งานระบบ Cloud Computing และเมื่อกลับสู่ สถานการณ์ปกติก็สามารถยกเลิกการใช้บริการได้ เป็นต้น ๖. แนวคิดในการแบ่งปันทรัพยากรข้อมูลในระบบ Cloud Computing ยังช่วยส่งเสริมกองทัพอากาศในการ ก้าวไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)  การนำ�ระบบ Cloud Computing มาประยุกต์ใช้ในกองทัพอากาศ เบื้องต้นแนวคิดระบบ Cloud Computing สามารถนำ�มาใช้ร่วมกับ Data Center ของ ทอ.ในการประมวลผล ร่วมกันและใช้ระบบ Cloud Computing สำ�รองเฉพาะข้อมูลทีไ่ ม่เป็นความลับ เช่น ข้อมูลในระบบ e-learning เป็นต้น ต่อมาสามารถนำ� Data Center ของหน่วยงานในกระทรวงกลาโหมทั้งหมด ได้แก่ กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เป็นต้น มาจัดกลุ่มในลักษณะแบบ Community Cloud เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการป้องกันประเทศ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มกลุ่มหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับความ มั่นคงแห่งชาติ เช่น สำ�นักนายกรัฐมนตรี สำ�นักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำ�นักงานตำ�รวจแห่งชาติ และกระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น และสุดท้าย ทอ.รวมถึงหน่วยงานราชการทั้งหมด อาจจำ�เป็นต้องเชื่อมต่อ ระบบ Cloud Computing กับองค์กรเอกชนภายนอก เพือ่ ประสิทธิภาพในการระดมสรรพกำ�ลังของชาติทงั้ มวลในยาม สงคราม ทั้งด้านข้อมูลข่าวสารและด้านการส่งกำ�ลังบำ�รุงต่อไปในอนาคต

ภาพที่ ๙ แสดงแนวคิดการนำ� Data Center ของหน่วยงานแต่ละหน่วยในกระทรวงกลาโหม ที่กระจัดกระจายมาจัดกลุ่มให้อยู่ในระบบ Cloud Computing


 ข้อพิจารณาและข้อเสนอแนะให้กับกองทัพอากาศ ระบบ Cloud Computing มีข้อพิจารณาที่สำ�คัญ คือ ๑. ระบบ Cloud Computing จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด จำ�เป็นต้องใช้งานผ่านเครือข่ายที่เสถียร และมี Bandwidth ที่มากพอสมควร ปัจจุบันจากข้อมูลของ กสท.สอ.ทอ. พบว่า เครือข่ายในบางจุดยังมีปัญหา เช่น ภาคเหนือ ทอ.ยังไม่มีเครือข่ายหลัก (Backbone) เป็นของตนเอง หรือเครือข่ายภาคใต้ของ ทอ.สายไฟเบอร์ออฟติคขาด มีสภาพ ชำ�รุด เป็นต้น ดังนั้น ทอ.จึงควรพัฒนาระบบเครือข่ายของกองทัพอากาศให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งนอกจากจะทำ�ให้ การใช้งานระบบ Cloud Computing มีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยรองรับการใช้งานระบบบัญชาการและควบคุมของ ทอ. รวมถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น ๆ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้อีกด้วย ๒. ระบบ Cloud Computing ใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ทั้งเครือข่าย ภายในหน่วยงานและนอกหน่วยงาน (Internet) เหมือนใยแมงมุม แม้จะเป็นการใช้ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกันให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด แต่อย่างไรก็ตามระบบดังกล่าวก็จำ�เป็นต้องพิจารณาให้มากถึงเรื่อง ความปลอดภัยดังนี้ ๒.๑ ควรใช้งานในลักษณะของ Private Cloud และ Community Cloud ซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่า การใช้งานในลักษณะ Public Cloud ๒.๒ ควรมีการแบ่งแยกข้อมูลให้ชัดเจนระหว่างข้อมูลที่เป็นความลับและข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้ เพื่อ ให้สามารถเลือกพิจารณาการใช้งานระบบ Cloud ได้อย่างเหมาะสม ๒.๓ ควรนำ�เทคโนโลยีการเข้ารหัสมาใช้งานร่วมกับระบบ Cloud ซึง่ ปัจจุบนั มีผลงานของนักวิจยั และพัฒนา ของ ทอ.ในเรื่องการเข้ารหัสอยู่แล้ว สามารถนำ�มาพิจารณาใช้งานได้อย่างเป็นรูปธรรม ๒.๔ สาเหตุหนึ่งที่สำ�คัญของการถูกโจมตีด้านไซเบอร์ คือ การไม่ระมัดระวังในการรักษาความปลอดภัย ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรในกองทัพเอง โดยเราจะสังเกตได้จากพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้งาน เช่น การ ชอบเข้าเว็บไซต์ที่มีความเสี่ยง การถ่ายโอนข้อมูลจาก Thumb Drive โดยไม่สแกนไวรัส การไม่ติดตั้ง Antivirus หรือ Antimalware ไว้ในเครื่อง เป็นต้น ทั้งหมดนี้ทำ�ให้มีความเสี่ยงที่จะถูกคุกคามด้านไซเบอร์ เช่น การแฮกข้อมูลหรือ การเจาะระบบ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อให้กองทัพอากาศพร้อมในการเข้าสู่โลกของ "Cloud" จึงควรกำ�หนดมาตรการและ ส่งเสริมให้บุคลากรตระหนักในภัยคุกคามด้านไซเบอร์พร้อมกันไปด้วย เช่น ส่งเสริมให้ข้าราชการปฏิบัติตามนโยบาย


กันยายน ๒๕๕๙

ข่าวทหารอากาศ ๕๕

และแนวทางปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศของ ทอ.อย่างเคร่งครัด ตามอนุมัติ ผบ.ทอ. เมื่อ ๘ มี.ค.๕๖ ซึ่งมีรายละเอียด เช่น เรื่องการใช้งานอินเทอร์เน็ต กำ�หนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและเครื่อง คอมพิวเตอร์พกพาก่อนทำ�การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อใช้งานโปรแกรมเข้าชมเว็บไซต์ (Web Browser) ต้องมีการ ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสและทำ�การอุดช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการในเครื่องตนเองก่อนการใช้งานเว็บไซต์ หรือผู้ ใช้งานต้องไม่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกองทัพอากาศเพื่อหาประโยชน์ในเชิงธุรกิจส่วนตัวและการเข้าสู่เว็บไซต์ที่ไม่ เหมาะสม เช่น เว็บไซต์ที่ขัดต่อศีลธรรม เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่ขัดต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือเว็บไซต์ที่เป็นภัย ต่อสังคม เป็นต้น ๒.๕ ควรมีการสำ�รองข้อมูลที่สำ�คัญอยู่เสมอ โดยสามารถใช้ Data Center ของ ทอ.เป็นที่เก็บสำ�รองข้อมูล  บทสรุป นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางทหารในด้านเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารนั้นได้ถูกนำ�มาใช้ในสงครามตั้งแต่อดีต มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคแห่งสงครามข้อมูลข่าวสารอย่างแท้จริง นวัตกรรมหนึ่งที่มีความน่าสนใจคือ แนวคิดในเรื่อง Cloud Computing เป็นแนวคิดการใช้งานทางด้าน IT ทีผ่ ใู้ ช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรทางด้านคอมพิวเตอร์ตามต้องการ ได้โดยผ่านเครือข่ายหรือ Internet เป็นการดึงศักยภาพร่วมในการประมวลผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำ�ให้การ ตัดสินใจและการบัญชาการของผู้บังคับบัญชาเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ถึงแม้ระบบ Cloud Computing อาจทำ�ให้ระดับการรักษาความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ลดลง แต่ก็แลกมา ด้วยความคุ้มค่าหลายอย่างดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งในอนาคต ทอ.ไม่อาจหลีกเลี่ยงกระแสนวัตกรรมสมัยใหม่ เพราะ แม้แต่กองทัพสหรัฐฯ เองก็ยังต้องหันมาให้ความสนใจกับการใช้งานระบบ Cloud Computing ดังนั้น ทอ.ควรต้อง เตรียมพร้อมทั้งในด้านระบบสารสนเทศ เครือข่าย และบุคลากร ให้สอดคล้องกับนวัตกรรมในอนาคต ซึ่งกองทัพอากาศจะ ต้องก้าวไปสู่ "Air Force Cloud…"  แหล่งข้อมูลและภาพ - United States Airforce. Air Force Doctrine Document 2-5 Information Operation. 1998 - United States Department of Defense. Cyber Security and Reliabilityin a Digital Cloud. 2013 - Earle Rice Jr. Overview of the Persian Gulf War, 1990. 2009 - NIST (National Institute of Standards and Technology).Final Version of NIST Cloud Computing Definition Published. [ออนไลน์]. (๒๕ ตุลาคม๒๕๕๔) เข้าถึงได้จาก: http://www.nist.gov/itl/csd/cloud-102511.cfm/ [๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙] - พล.อ.อ.พุฑฒิ มังคละพฤกษ์. ISR: Intelligence Surveillance and Reconnaissance. ๒๕๕๗ - น.อ.นิวัติ เนียมพลอย. ระบบบัญชาการและควบคุม (Command and Control System). [ออนไลน์]. (๒๕๕๓) เข้าถึงได้จาก: https://nniwat.wordpress.com/2010/06/17/ระบบบัญชาการและควบคุม-command-a/ [๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙] - อชิรวิทย์ เหลืองวิไล. Why we move to cloud?. [ออนไลน์]. (๒๕๕๔) เข้าถึงได้จาก: http://department.utcc.ac.th/ocs/mdownload/doc_download/18--cloud-computing.html/ [๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙] - อัคริมา บุญอยู่ และนภดล แก้วบรรพต. Cloud Computing คืออะไร?. [ออนไลน์]. (มิถุนายน ๒๕๕๘) เข้าถึงได้จาก: http://lib3.dss. go.th/fulltext/dss_knowledge/bsti-6-2558-cloud.pdf/ [๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙] - รศ.ยุทธ อัครมาส. การสื่อสารด้วยไฟฟ้า. [ออนไลน์]. (๒๕๕๙) เข้าถึงได้จาก: http://oho.ipst.ac.th/bookroom/snet7/pe09.htm/ [๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙] - กองสื่อสารโทรคมนาคม กรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ - โปรแกรม HRIS (Human Resource Information System) ข้อมูล ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙ - https://en.wikipedia.org/wiki/Cloud_computing - CAT Telecom Public Company Limited. Cloud Computing Technology - https://sites.google.com/site/korwten/home/ijkokpp - https://triple9.co.th/2015/09/15/ว่าด้วยเรื่อง-cloud-computing/


One Stop Service ศูนย์บริการกำ�ลังพลแบบเบ็ดเสร็จ กรมกำ�ลังพลทหารอากาศ ศบส.กพ.ทอ. ปัจจุบันนี้ คำ�ว่า "One Stop Service" คง เป็นคำ�ที่หลาย ๆ ท่านได้ยินจนคุ้นหู ในแทบทุกองค์กรไม่ว่า จะเป็นภาครัฐหรือเอกชน ต่างให้ความสำ�คัญกับคำ� ๆ นี้ เป็นอย่างมาก กล่าวคือ เป็นการให้บริการแบบจุดเดียว เบ็ดเสร็จ โดยการนำ�งานบริการทัง้ หมดทีเ่ กีย่ วข้องซึง่ มีหลาย หน่วยงานรับผิดชอบมารวมอยูใ่ นสถานทีแ่ ห่งเดียวกัน เป็น ลักษณะของการส่งต่องานระหว่างกันและเสร็จสิ้นในจุด ให้บริการเพียงจุดเดียว โดยมีวตั ถุประสงค์ เพือ่ ให้บริการแก่ ผู้มาติดต่อได้รับความสะดวกและรวดเร็วขึ้น กองทัพอากาศ โดยอดีตผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ (พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง) ได้เล็งเห็นถึงความสำ�คัญ จึงมี แนวคิดรวมการให้บริการด้านสิทธิกำ�ลังพล ด้านสวัสดิการ และด้านการเงิน เบ็ดเสร็จในจุดบริการเดียวกัน ทัง้ นีเ้ นือ่ งจาก กองทัพอากาศตระหนักถึงความสำ�คัญมาโดยตลอดว่า เมือ่ ครัง้ ทีข่ า้ ราชการทุกท่านยังรับราชการอยูน่ นั้ ได้เสียสละและ อุทศิ ตนในการปฏิบตั หิ น้าทีร่ าชการอย่างเต็มความสามารถ และหลังจากที่ท่านเกษียณอายุราชการไปแล้วยังฝากผล งานไว้เป็นคุณูปการแก่กองทัพอากาศตลอดมา จึงสมควร ได้รับการดูแล อำ�นวยความสะดวกในการติดต่อเกี่ยวกับ สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ดังกล่าวตามที่กฎหมายกำ�หนด ดังนั้น นโยบายของ พล.อ.อ.ประจิน จัน่ ตอง ผูบ้ ญั ชาการทหารอากาศ พ.ศ.๒๕๕๖ จึงกำ�หนดให้เกิดการบูรณาการงานด้านสิทธิ

กำ�ลังพล ด้านการเงินและด้านสวัสดิการแบบเบ็ดเสร็จ ภายใต้แนวความคิดการให้บริการแบบ "One Stop Service" เพื่อให้ผู้เกษียณอายุราชการ ข้าราชการนอก ประจำ�การ ทอ. และทายาทที่มาติดต่อ โดยมีหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมกำ�ลังพลทหารอากาศ กรมการ เงินทหารอากาศ และกรมสวัสดิการทหารอากาศ ได้มา อยูใ่ นสถานทีเ่ ดียวกัน โดยใช้ชอื่ ว่า “ศูนย์บริการกำ�ลังพล แบบเบ็ดเสร็จกองทัพอากาศ” ทีเ่ ริม่ ให้บริการตัง้ แต่ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๖ เป็นต้นมา

ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๘ รมว.กห. อนุมัติให้แก้ไขอัตรา ทอ.๕๒ และจัดตั้ง “ศูนย์ บริการกำ�ลังพลแบบเบ็ดเสร็จ กรมกำ�ลังพลทหาร อากาศ (ศบส.กพ.ทอ.)” ที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑


เมษายน พ.ศ.๒๕๕๙ ให้เป็นหน่วยขึ้นตรงกับกรมกำ�ลังพล ทหารอากาศ โดยมี พล.อ.ท.วิเชียร ธรรมาธร เจ้ากรม กำ�ลังพลทหารอากาศ เป็นผู้บังคับบัญชาและ น.อ.ชูพงศ์ อารีประชาภิรมย์ เป็นผู้อำ�นวยการ ซึ่งมีภารกิจในการ อำ�นวยการ ประสานงาน กำ�กับการ และดำ�เนินการด้าน สิทธิกำ�ลังพล การเงิน และสวัสดิการของผู้เกษียณอายุ ราชการ ข้าราชการนอกประจำ�การ ทอ. และทายาท ให้ สามารถเข้าใช้บริการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว จากภารกิจข้างต้น ศบส.กพ.ทอ. ได้วางแนวทาง การปฏิบัติงานและการให้บริการในเรื่องต่าง ๆ มากมาย อาทิ การรับรายงานตัวเพือ่ รับเงินเบีย้ หวัดบำ�นาญ การเบิก เงินสวัสดิการการรักษาพยาบาล สวัสดิการการศึกษาบุตร การแจ้งข้อมูลบุคคลในครอบครัวเพื่อขอรับสิทธิจ่ายตรง การรักษาพยาบาล การขอรับเงินบำ�เหน็จดำ�รงชีพกรณี ผู้รับบำ�นาญมีอายุตั้งแต่ ๖๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป การย้าย ประเภทนายทหารกองหนุนมีเบีย้ หวัดเพือ่ ขอรับบำ�เหน็จ บำ�นาญ การขอมีบตั รทหารผ่านศึก การฌาปนกิจสงเคราะห์ การฌาปนสถาน การขอไฟพระราชทานเพลิงศพ การขอ หนังสือรับรองในกรณีตา่ ง ๆ เช่น การขอรับหนังสือรับรอง สิทธิในบำ�เหน็จตกทอดเพื่อเป็นหลักทรัพย์ค้ำ�ประกัน

การกู้เงินจากสถาบันการเงิน การขอหนังสือรับรองรายได้ การขอหนังสือรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล การขอ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ทีจ่ า่ ย การขอหนังสือรับรอง สถานภาพการเป็นข้าราชการบำ�นาญ และการขอหนังสือ สอบสวนทายาท รวมไปถึงการให้บริการแก่ทายาทของ ผู้เกษียณอายุราชการ ข้าราชการนอกประจำ�การ ทอ.ที่ เสียชีวติ ในการขอรับเงินบำ�เหน็จตกทอดและเงินช่วยพิเศษ เป็นต้น ศบส.กพ.ทอ. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้เกษียณ อายุราชการ ข้าราชการนอกประจำ�การ ทอ. และทายาท ควรได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมอื่น ๆ จากที่ทางราชการ กำ�หนด จึงประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งหน่วยงาน ของรัฐบาลและเอกชน เพื่อมาให้บริการด้านต่าง ๆ อาทิ การบริการด้านการให้คำ�แนะนำ�ในการกู้เงินจากสถาบัน การเงินต่าง ๆ โดยนำ�สิทธิในบำ�เหน็จตกทอดใช้เป็นหลัก ทรัพย์ค้ำ�ประกัน การกู้เงิน บริการการจองที่พักสถานที่ ท่องเที่ยวของ ทอ. บริการโครงการการท่องเที่ยว บริการ โครงการการประกันชีวติ และบริการรับชำ�ระภาษีเงินได้จาก สำ�นักงานสรรพากร เพื่อให้สามารถใช้บริการได้เบ็ดเสร็จ ในจุดเดียว


ศูนย์บริการกำ�ลังพลแบบเบ็ดเสร็จ กรมกำ�ลังพลทหารอากาศ ได้ปลูกฝังจิตสำ�นึกของเจ้าหน้าทีท่ กุ คนให้มจี ติ บริการ ถึงแม้ว่าจะรู้ว่าทุกท่านสามารถดูแลตัวเองได้ก็ตาม แต่เราก็อยากช่วยท่าน โดยคำ�นึงอยู่เสมอว่า “ไม่ว่าเวลาจะล่วงเลยไป นานเท่าใด กองทัพอากาศก็ไม่เคยลืมว่าครั้งหนึ่งท่านคือ บุคคลที่ได้ทำ�งานเพื่อกองทัพอากาศด้วยความเต็มใจ ศูนย์บริการ กำ�ลังพลแบบเบ็ดเสร็จ กรมกำ�ลังพลทหารอากาศ จะยืนหยัดเพือ่ ทำ�หน้าทีด่ แู ลทุกข์สขุ ของท่าน รวมทัง้ ทายาทของท่าน ผู้เสียสละแม้ชีวิตเพื่อกองทัพอากาศตลอดไป” ดังคำ�ขวัญที่ว่า “ทำ�งานด้วยใจ พร้อมให้บริการ”  (ติดตามชมวีดิทัศน์แนะนำ�ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=A5LDEYkB5sU)

น้อย

เกร็ด ก ็ ล เ ด็

เกร

วิธีดับไฟไหม้กระทะ อย่างปลอดภัย

น.ท.นภ อัศภาภรณ์ ชย.ทอ.

หากเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้กระทะ วิธีดับไฟที่ปลอดภัย ควรปฏิบัติดังนี้ ๑. ห้ามเอาน�้ำ ราดลงในกระทะโดยเด็ดขาด เพราะน�้ำ มีน�้ำ หนักมากกว่าน�้ำ มัน เมือ่ น�้ำ ได้รบั ความร้อนจากน�้ำ มัน จะระเหยกลายเป็นไอน้ำ� ซึ่งจะดันน้ำ�มันออกนอกกระทะ และเมื่อเจออากาศที่มีออกซิเจนช่วยให้ไฟติดก็จะทำ�ให้ไฟ เกิดการลุกลามจนเกิดระเบิดขึ้น ๒. อย่าตกใจ ให้เดินไปปิดแก๊สที่ปุ่มปิดหรือวาล์วถังแก๊สอย่างระมัดระวัง ๓. นำ�ผ้าผืนใหญ่หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ขนาดพอที่จะคลุมกระทะได้ชุบน้ำ�ให้ทั่ว คลุมปิดกระทะเพื่อให้ไฟ ดับ รอจนกว่าจะเย็น


รอบรู้เทคโนโลยีป้องกันประเทศ

สทป. การปฏิบตั กิ ารทางอากาศยุทธวิธแี ละทางยุทธศาสตร์ในปัจจุบนั ต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายและภัยคุมคาม จากอาวุธต่อสู้อากาศยานที่มีสมรรถนะสูงขึ้นทั้งในด้านของความแม่นยำ�และระยะยิงหวังผล เช่น ระบบป้องกันภัย ทางอากาศแบบ S-300 ที่ติดตั้งด้วยจรวดนำ�วิถีพื้นสู่อากาศ (Surface to Air Missile) แบบ 9M96E2 สามารถค้นหา และติดตามเป้าหมายทีอ่ ยูห่ า่ งออกไป 200 กิโลเมตร การส่งเครือ่ งบินโจมตีหรือเครือ่ งบินลาดตระเวนเข้าไปในเขตข้าศึก จึงตกอยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่ทวีสูงขึ้น ส่งผลให้ในห้วงทศวรรษที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับหลากหลาย รูปแบบและคุณลักษณะ ส่วนใหญ่อากาศยานไร้คนขับเหล่านี้จะขึ้นบินจากทางวิ่งที่สนามบิน เช่น MQ-9 Reaper หรือ X-47B ที่ออกแบบมาให้ขึ้นบินและลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบิน จนกระทั่งล่าสุด Defense Advanced Research Projects Agency (DARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศในสังกัดกระทรวงกลาโหม สหรัฐฯ ได้ออกมาแถลงถึงแผนการศึกษาความเป็นไปได้กับแนวความคิดในการใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ หรือเครื่องบินลำ�เลียงเป็นฐานบินลอยฟ้าสำ�หรับปล่อยและนำ�กลับ หรือ Launch and Recovery อากาศยานไร้คนขับ ขนาดเล็ก หลักการและเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังแนวความคิดนี้เกิดจากการที่ทาง DARPA เล็งเห็นว่ากองทัพมีโดรน ทางยุทธวิธีขนาดเล็กสำ�หรับภารกิจ Intelligence Surveillance Reconnaissance (ISR) อยู่เป็นจำ�นวนมาก แต่ด้วย ข้อจำ�กัดในเรือ่ งของระยะเวลาปฏิบตั กิ ารและรัศมีท�ำ การ หากกองทัพสามารถปล่อยอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กเหล่านีจ้ าก เครือ่ งบินทิง้ ระเบิดทางยุทธศาสตร์หรือเครื่องบินลำ�เลียงครัง้ ละหลาย ๆ ลำ� ลึกเข้าไปในเขตน่านฟ้าของข้าศึกได้ จะช่วย ต่อระยะปฏิบัติการให้ได้ไกลออกไปจากเดิม และเพิ่มอัตราการอยู่รอดและความสำ�เร็จในการปฏิบัติภารกิจได้อีกด้วย


๖๐ ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙

อีกทั้งยังเป็นการประหยัดงบประมาณหากเทียบกับอากาศยานไร้คนขับที่มีขนาดใหญ่ที่บินได้ไกลแต่มีมูลค่าสูง นอกจากนี้ ยังเป็นการแสวงประโยชน์จากเทคโนโลยี Payload ที่มีความทันสมัยและนวัตกรรมด้านการทำ�งานร่วมกันแบบเป็นฝูง ของอากาศยานไร้คนขับ (Swarm UAV) รวมทั้งการทำ�งานร่วมกันแบบเป็นทีมระหว่างอากาศยานไร้คนขับกับอากาศยาน ที่มีคนขับ (Manned - Unmanned Teaming) อีกด้วย คุณลักษณะของอากาศยานไร้คนขับเหล่านี้จะมีอายุการใช้งานโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 20 ครั้ง โดยภายหลังการใช้งาน แต่ละครัง้ จะได้รบั การบำ�รุงรักษาอุปกรณ์ทชี่ �ำ รุดหรือได้รบั ความเสียหาย ตัวอย่างเช่น การเปลีย่ นลำ�ตัว เครือ่ งยนต์หรือ อุปกรณ์บรรทุก (Payload) ซึ่งจะใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมไม่เกิน 24 ชั่วโมง ก่อนที่จะทำ�ภารกิจครั้งต่อไป ทั้งนี้ ทาง DARPA กำ�ลังพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำ�รุงต่อครั้งว่ามีความคุ้มค่ามากน้อยเพียงใด อีกทั้งยังได้กำ�หนดให้ อากาศยานไร้คนขับที่ใช้ควรมีน้ำ�หนักไม่เกิน 100 ปอนด์ มีความแข็งแรง ทนทาน สามารถนำ�กลับมาใช้งานได้หลายครั้ง มีขนาดพอเหมาะในการจัดเก็บภายในพื้นที่ระวางหรือ Bomb bay และที่สำ�คัญต้องมีราคาถูก สำ�หรับอากาศยานไร้คนขับ ที่มีคุณลักษณะสอดรับกับข้อกำ�หนดนี้มีอยู่หลายรุ่น ตัวอย่างเช่น Coyote Turais และ Scan Eagle เป็นต้น เหล่านี้ เป็นอากาศยานที่สามารถนำ�กลับมาใช้งานได้ใหม่และรุ่นที่ได้รับการผลิตขึ้นมาให้ใช้งานเพียงครั้งเดียวในลักษณะที่เป็น สิ่งอุปกรณ์สิ้นเปลือง  Coyote Coyote ที่ได้รับการออกแบบจากหน่วยงานวิจัยและพัฒนา Office of Naval Research สังกัดกองทัพเรือ สหรัฐฯ และผลิตโดย BAE Systems ตัวอากาศยานสามารถพับเก็บอยูใ่ นทีบ่ รรจุทรงกระบอก วิธกี ารใช้งานจะถูกปล่อย ้ำ (ฮ.ปด.) เมือ่ พ้นจากตัวเครือ่ งร่มชูชพี ออกจากเครือ่ งบินลาดตระเวนทางทะเล (บ.ลว.) หรือเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำ�น� จะกางออก หลังจากนั้นปีกและปีกหางจะกางออก และระบบขับเคลื่อนจะเริ่มทำ�งานในการบินเข้าไปยังพื้นที่เป้าหมาย ในส่วนของอุปกรณ์บรรทุกเป็นประเภท electro-optical (EO) หรือ infrared (IR) ลำ�ตัวมีความยาว 0.91 เมตร ปีกกาง 1.47 เมตร น้ำ�หนัก 5.9 กิโลกรัม มีระยะเวลาทำ�การ 90 นาที และเพดานบินสูงสุดที่ 20,000 ฟุต รัศมีปฏิบัติการ 20 ไมล์


กันยายน ๒๕๕๙

ข่าวทหารอากาศ ๖๑

 Turais มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Wing and Bomb Bay Launched Unmanned Air Vehicle (WBBL-UAV) ได้รับออกแบบโดย Naval Air Systems Command (NAVAIR) สังกัดกองทัพเรือสหรัฐฯ เพื่อใช้ในภารกิจ ISR และ การปราบเรือดำ�น้ำ� ตัวอากาศยานจะถูกติดตั้งไว้บริเวณปีกและ Bomb bay บินต่อเนื่องได้เป็นเวลานาน 6 ชั่วโมง ความเร็วสูงสุด 200 นอต รัศมีทำ�การ 150 ไมล์ทะเล มีระบบขับเคลื่อนแบบ turbojet และการร่อนลงจอดด้วยร่มชูชีพ ที่ผ่านมาได้การบินทดสอบแล้วเสร็จในปี ค.ศ.2009

 Scan Eagle รุ่น compressed Carriage Scan Eagle เป็นหนึ่งในอากาศยานไร้คนขับ ขนาดเล็กทางยุทธวิธที ไี่ ด้รบั การคัดเลือกนำ�ไปประจำ�การใน กองทัพหลายประเทศ โดยทัว่ ไปทำ�การขึน้ บินทางแท่นส่ง และลงจอดด้วยตาข่ายแต่สำ�หรับในรุ่น Compressed Carriage ได้รับการจ้างออกแบบและผลิตโดยหน่วยงาน Air Force Research Laboratory (AFRL) ในสังกัด กองทัพอากาศสหรัฐฯ เพือ่ ให้สามารถปล่อยจากอากาศยาน เรือผิวน�้ำ และเรือดำ�น� ้ำ ตัวอากาศยานมีน�้ำ หนัก 48 กิโลกรัม ปีกกาง 3.3 เมตร ปฏิบัติภารกิจต่อเนื่องได้ 24 ชั่วโมง


๖๒ ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙

 Switchblade เป็นอากาศยานไร้คนขับที่ได้รับการออกแบบมาให้ทำ�งานเป็นอาวุธนำ�วิถีใช้งานเพียงครั้งเดียว ขับเคลื่อนด้วย มอเตอร์ไฟฟ้าและมีระบบนำ�ร่องด้วย GPS ลำ�ตัวมีความยาว 0.61 เมตร น้ำ�หนัก 2.7 กิโลกรัม รัศมีทำ�การ 10 กิโลเมตร ปฏิบัติภารกิจต่อเนื่องได้ 10 นาที มีระดับเพดานบินสูงสุดที่ 15,000 ฟุต

 Devil Killer Devil Killer ผลิตและออกแบบโดยบริษัท Korea Aerospace Industries (KAI) สำ�หรับใช้งานในลักษณะของ อาวุธนำ�วิถี โดยจะทำ�การปล่อยจากท่อบรรจุทตี่ ดิ ตัง้ ไว้บนยานยนต์หรือเรือ การขึน้ บินจะอาศัยแรงดันอากาศภายในท่อ เพือ่ ส่งอากาศยานออกไป ก่อนทีร่ ะบบขับเคลือ่ นแบบมอเตอร์ไฟฟ้าจำ�นวนสองตัวจะรับหน้าทีข่ บั เคลือ่ นอากาศยานต่อไป ยังเป้าหมาย Devil Killer มีความยาว 1.5 เมตร ปีกกาง 1.3 เมตร น้ำ�หนัก 25 กิโลกรัม ระยะปฏิบัติการ 40 กิโลเมตร มีระบบนำ�ร่องด้วย GPS และ INS


ข่าวทหารอากาศ ๖๓

กันยายน ๒๕๕๙

 ฐานบินลอยฟ้า สำ�หรับอากาศยานทีค่ าดว่าจะใช้เป็นฐานบินลอยฟ้าสำ�หรับลำ�เลียงอากาศยานไร้คนขับ ได้แก่ เครือ่ งบินทิง้ ระเบิด ทางยุทธศาสตร์ B-1 Lancer และ B-52 Stratofortress และเครื่องบินลำ�เลียง C-130 ซึ่งเครื่องบินแต่ละรุ่นจะได้รับ การดัดแปลง แต่ทั้งนี้การดัดแปลงจะต้องไม่กระทบกระเทือนกับโครงสร้างโดยรวมของอากาศยาน สำ�หรับเครื่องบิน B-1 Lancer เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดในทางยุทธศาสตร์สำ�หรับทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ มีน้ำ�หนักวิ่งขึ้นสูงสุด 210 ตัน เพดานบินสูง กว่า 30,000 ฟุต พื้นที่ระวางหรือ Bomb Bay สำ�หรับบรรทุกลูกระเบิด 3 ส่วน ได้แก่ Forward, Intermediate และ AFT ซึ่งแต่เดิมสามารถติดตั้งลูกระเบิดแบบ Mk-82 ขนาด 500 ปอนด์ ได้จำ�นวน 84 ลูก หรือ JDAM ขนาด 2,000 ปอนด์ จำ�นวน 24 ลูก ต่อมาภายหลังจากที่ได้รับการอัพเกรดแท่นติดตั้งแบบ Multiple Ejector Rack ทำ�ให้สามารถติดตั้ง JDAM ได้มากถึง 48 ลูก ความสามารถในการบรรทุกที่สูงขึ้น ส่งผลให้แต่ละเที่ยวบินมีความคุ้มค่าและประหยัดมากขึ้น ลดความจำ�เป็นในการกลับมายังฐาน เครื่องบิน B-1 สามารถทำ�ความเร็วสูงสุดได้ในย่าน Supersonic ที่ 1.25 มัค บรรทุกน้ำ�หนักได้กว่า 50 ตัน

B-1 Lancer สำ�หรับในส่วนของ B-52 Stratofortress เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดที่มีประวัติอันยาวนานมากว่า 6 ทศวรรษ เป็นไอคอนแห่งนภานุภาพอันน่าเกรงขามและน่าสะพรึงกลัว ภารกิจหลักของเครือ่ ง B-52 คือ การทิง้ ลูกระเบิดนิวเคลียร์ มีระบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ 8 เครื่อง น้ำ�หนักวิ่งขึ้นสูงสุด 220 ตัน ระยะปฏิบัติการ 8,600 ไมล์ ที่ผ่านมา Bomb Bay ของ B-52 ถูกออกแบบมาให้รองรับอาวุธปล่อยแบบนำ�วิถแี ละไม่น�ำ วิถี ในปัจจุบนั ภารกิจ B-52 มีความหลากหลาย มากยิ่งขึ้นโดยได้รับการปรับปรุงให้รองรับกับภารกิจใหม่ ๆ เช่น การลาดตระเวนและสงครามอิเล็กทรอนิกส์

B-52 Stratofortress


๖๔ ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙

 การนำ�กลับ (Recovery) สำ�หรับขัน้ ตอนการ Recovery หรือการนำ�กลับของอากาศยานไร้คนขับมายังฐานบินนัน้ ถือเป็นประเด็นสำ�คัญ ที่ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาศึกษาถึงความเป็นไปได้ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีแนวคิดในการประยุกต์ใช้เทคนิคการเติมน้ำ�มัน กลางอากาศ หรือ In Flight Refuelling (IFR) คือการใช้สายส่งในการปล่อยและนำ�กลับอากาศยานไร้คนขับ โดยโอกาส ทีใ่ ช้เป็นยานลำ�เลียงในกรณีนคี้ อื เครือ่ งบิน C-130 ซึง่ จะมีอากาศยานไร้คนขับติดตัง้ ไว้ในกระเปาะทีใ่ ต้ปกี เทคนิคนีไ้ ด้ถกู มองว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัยเนื่องจากอากาศยานไร้คนขับจะถูกลากจูงกลับเข้าสู่กระเปาะเก็บในระยะที่ปลอดภัย (Safety Zone) โดยจะมีระบบการสื่อสารระหว่างเครื่องบินและอากาศยานไร้คนขับเพื่อใช้ในการรับส่งข้อมูลและค่าต่าง ๆ เช่น ความเร็ว ทิศทางและตำ�แหน่ง เพื่อใช้ในการคำ�นวณเส้นทางการนำ�กลับมายังเครื่องบินลำ�เลียง มีการใช้การนำ�ร่อง ด้วยแสงอินฟราเรดเพื่อปรับตำ�แหน่งและท่าทางการบินได้อย่างแม่นยำ� และอีกหนึ่งมาตรการความปลอดภัยคือ ระบบ Collision Avoidance เพือ่ หลีกเลีย่ งการชนกันกลางอากาศ ข้อดีของแนวคิดนีค้ อื การใช้เทคนิคทีผ่ า่ นการทดสอบ ทดลอง และถูกนำ�มาใช้งานในทางปฏิบัติ แต่ข้อจำ�กัดของเทคนิคนี้คือ จำ�นวนของอากาศยานที่สามารถบรรทุกได้

แนวคิดการ Recovery

ลำ�ดับขั้นตอนการ Recovery

โดยสรุป โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งโครงการวิจัยและพัฒนาด้านอากาศยานไร้คนขับที่จะมาพลิกโฉมรูปแบบ การใช้งานและการปฏิบัติภารกิจของอากาศยานไร้คนขับ ด้วยการบูรณาการเทคโนโลยี นวัตกรรมและทรัพยากรต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แล้วนำ�มาหลอมรวมและพัฒนาให้กลายมาเป็นขีดความสามารถและหลักนิยมใหม่ เป็นการใช้อากาศยาน ไร้คนขับขนาดเล็กที่ผลิตออกมาเป็นจำ�นวนมาก มีระบบควบคุมการบินแบบอัตโนมัติที่มีความแม่นยำ�สูงและมีมูลค่า ่ำ สามารถทำ�งานร่วมกันแบบเป็นฝูง (Swarm) และเป็นการทำ�งานแบบเป็นทีมอากาศยานทีม่ คี นขับและอากาศยาน ต่อลำ�ต� ไร้คนขับ เพือ่ แสวงหาความได้เปรียบเหนือข้าศึก อย่างไรก็ดี คงต้องจับตาดูความก้าวหน้าของโครงการนีต้ อ่ ไป เนือ่ งจาก ยังมีประเด็นทางเทคนิค โดยเฉพาะในเรือ่ งของการนำ�กลับ (Recovery) ทีจ่ ะต้องทำ�การวิจยั และพัฒนาเพือ่ หาหนทางที่ เหมาะสมที่สุด สำ�หรับวันนี้แนวความคิดดังกล่าวอาจจะเป็นเพียงความเพ้อฝัน แต่สำ�หรับองค์การ DARPA ที่มีทุนวิจัย ประจำ�ปีสูงถึงปีละเกือบสามพันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณหนึ่งแสนล้านบาท มองว่านี่คือ มหากาพย์เรื่องใหม่ของ การปฏิรูปการปฏิบัติการทางอากาศแห่งทศวรรษหน้า  แหล่งข้อมูลและภาพ : http://www.piasecki.com/turais.php#http://www.navaldrones.com/Turais.html


ปชส.สอ.ทอ. ตลอดระยะเวลา ๖๘ ปี กรมสือ่ สารอิเล็กทรอนิกส์ ทหารอากาศ ได้มีการปรับโครงสร้างการจัดส่วนราชการ มาอย่างต่อเนือ่ งจาก “หมวดสัญญาณ” ในปี พ.ศ.๒๔๖๑ เป็น “กรมสื่อสารทหารอากาศ” ในปี พ.ศ.๒๔๙๑ และ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๑ จนถึง ปี พ.ศ.๒๕๕๒ กองทัพอากาศได้พิจารณาปรับโครงสร้าง การจัดส่วนราชการใหม่อกี ครัง้ โดยรวมกรมอิเล็กทรอนิกส์ ทหารอากาศและงานบางส่วนของกรมการลาดตระเวนทาง อากาศ ให้อยูใ่ นความรับผิดชอบของกรมสือ่ สารทหารอากาศ และเปลีย่ นชือ่ ใหม่เป็น “กรมสือ่ สารอิเล็กทรอนิกส์ทหาร อากาศ” ขึน้ ตรงต่อกองทัพอากาศ โดยมี พล.อ.ท.กอบชัย คงปรีชา เป็นเจ้ากรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ คนปัจจุบัน สอ.ทอ. มีภารกิจ วางแผนการปฏิบัติ อำ�นวยการ ประสานงาน ติดตาม กำ�กับการพัฒนา และดำ�เนินการ เกีย่ วกับกิจการสือ่ สารอิเล็กทรอนิกส์ กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ มาตรวิทยา และการพัสดุสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งมีหน้าที่จัดการความรู้ ควบคุม ประเมินผล และตรวจตรากิจการในสายวิทยาการด้าน สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์

สอ.ทอ. มีหน่วยขึ้นตรงทั้งหมด ๑๑ หน่วย โดยมี นโยบายการปฏิบตั งิ านสนับสนุนยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ทั้ง ๕ ด้าน ได้แก่ การพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบัน พระมหากษัตริย์ การเสริมสร้างสมรรถนะและความ พร้อมในการป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงของ รัฐ การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ และการสนับสนุนการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของรัฐบาล โดย มุง่ เน้นทีย่ ทุ ธศาสตร์ดา้ นที่ ๒ คือ การเสริมสร้างสมรรถนะ และความพร้อมในการป้องกันประเทศตามวิสัยทัศน์ของ กองทัพอากาศในการเป็นกองทัพอากาศชั้นนำ�ในภูมิภาค (One of the Best Air Forces in ASEAN) ซึ่งใช้ หลักการการใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operations) ในการขับเคลื่อน เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ตาม วิสยั ทัศน์ของกองทัพอากาศทีก่ �ำ หนดไว้ โดยมีปจั จัยสำ�คัญ ๖ ด้าน ซึ่งประกอบด้วย Sensor, Shooters, Network, C2, Human & Behavior and Support & Service ซึ่ง ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นกลไกที่สำ�คัญในปัจจัย ทั้ง ๖ ด้านนี้


๖๖ ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙

ดังนั้นกรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ จึงได้ก�ำ หนดแนวทางการปฏิบตั แิ ละจัดทำ�แผนทีก่ ลยุทธ์ขนึ้ เพือ่ เป็นเครือ่ งมือในการขับเคลือ่ นการดำ�เนินกิจการด้าน การสือ่ สารอิเล็กทรอนิกส์และสนับสนุนการเป็น “กองทัพ อากาศชั้นนำ�ในภูมิภาค One of the Best Air Forces in ASEAN” 


ภาษาไทยด้วยใจรัก

นวีร์ ...ฉันไม่ได้แต่งให้ปับลิกอ่าน...เป็นหนังสือฉันมีไปถึงลูก ฉันยอมให้เธอเป็นผู้รวบรวมข้อความเอาไปลงพิมพ์... ส่วนคอปิไรต์ฉนั ให้ลกู หญิงน้อย ขอให้ลงทะเบียนไว้ดว้ ย...หนังสือฉบับนีฉ้ นั ให้ชอื่ ว่า ไกลบ้าน...หนังสือฉบับนีจ้ ะปรากฏว่า เป็นหนังสือฉันแต่ง จำ�เป็นต้องให้เป็นภาษาไทยอย่างดี ข้อความข้างต้นนี้คือ พระราชหัตถเลขาตอนหนึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีถึง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ เกี่ยวกับพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ที่ทรงมีถึง สมเด็จ พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้านิภานพดล (หญิงน้อย) เมือ่ ครัง้ เสด็จพระราชดำ�เนินประพาสยุโรป ครัง้ ที่ ๒ ใน พ.ศ.๒๔๕๐ จำ�นวน ๔๓ ฉบับ รวมหน้าหนังสือ ๑,๘๕๐ หน้า เมื่อกลับคืนมาถึงพระนครเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๐ มีรับสั่งว่า พระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์นี้ทรงอนุญาตให้ผู้อ่ืนอ่านบ้าง เมื่อผู้ที่ได้อ่านรู้สึกสนุกเพลิดเพลินและเห็นคุณค่าของ พระราชหัตถเลขานี้ก็อยากให้เป็นที่แพร่หลาย และขอพระราชทานพิมพ์เผยแพร่ จึงรับสั่งให้สมเด็จฯ กรมพระยา- ดำ�รงราชานุภาพ เป็นผู้จัดพิมพ์เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๕๐ พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้านนี้ เป็นร้อยแก้วจดหมายเหตุรายวัน ในลักษณะพ่อเล่าถึงสิ่งที่ได้พบเห็นให้ลูกได้เห็น ภาพตามที่ได้พบเห็นมา นับตั้งแต่ลงเรือพระที่นั่งจักรีออกจากกรุงเทพมหานคร โดยทางเรือและรถไฟผ่านประเทศ ต่าง ๆ ได้แก่ สิงคโปร์ อิตาลี สวิสเซอร์แลนด์ เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ เบลเยี่ยม เดนมาร์ก และนอร์เวย์ ทั้งนี้จะทรง แทรกแนวพระราชดำ�ริและพระวินิจฉัยส่วนพระองค์ต่อสิ่งที่ได้ทรงพบเห็นและเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งล้วนสะท้อนให้เห็น ทัศนคติ สภาพบ้านเมือง สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนแต่ละประเทศ เพื่อมุ่งหวังให้รับเอาแนวคิดและ สิ่งที่ได้พบเห็นเป็นแนวทางทำ�ให้ประเทศชาติมีเอกราช และทำ�ให้พสกนิกรอยู่ดีมีสุข ตลอดไป สิ่งต่าง ๆ ที่ได้ทรงพบเห็น จะทรงเล่าอย่างละเอียดด้วยการบรรยายและพรรณนาอย่างมีภาพพจน์ เช่น ในพระราชหัตถเลขา ฉบับที่ ๗ ตอนเสด็จประพาสแอคแควเรียม เมืองเนเปิล (อักขรวิธีคงแบบเดิม) ...แอคแควเรียมนี้ตั้งอยู่สุดของสวน ซึ่งต่อกับโฮเต็ลรอยัลใกล้ทะเล ต้องผ่านโฮเต็ลไป คราวก่อนได้เดินไป ดูถึง ๒ ครั้ง คราวนี้ไม่มีอะไรแปลกขึ้นสักอย่างเดียว เหมือนกับอย่างเดิม เว้นแต่ดูไม่จืด ตั้งต้นเข้าทางหุ้มกลองตึกนี้ เขาก่อเป็นผนังกันรอบ แล้วกั้นเป็นห้อง ๆ เอากระจกบังด้านข้างในไว้ที่ขังน้ำ� แสงสว่างลงทางข้างบนรอบผนังนอกชั้นหนึ่ง รอบผนังในประธานชั้นหนึ่ง จึงแลเห็นเป็นน้ำ�ไปทั้งสองข้าง เราเดินไปในหว่างกลางอยู่ในที่มืด ปลาอยู่ในที่สว่างจึงไม่ แลเห็นเรา ห้องที่ปัน ๆ ไว้นั้น ๒๖ ห้อง ด้วยกัน เขาเลือกเอาปลาที่อาหารเหมือนกัน ที่อยู่อย่างเดียวกัน ไว้ตามพวก ที่จะปนกันได้ อาหารนั้นปลาซาดินสด ๆ เป็นพื้น นอกนั้นก็มีอาหารละเอียดบ้าง เช่น พวกปะการังที่ไหวไปมาไม่ได้ ชั่วแต่กระดิกเมื่อเวลากินอาหาร ฤาตัวยุ่มย่าม จะเป็นปลาก็ไม่ใช่ หอยก็ไม่ใช่ ซึ่งพวกเราเรียกว่า นกเค้าแมว เพราะ เวลานั่งงอมืองอตีนอยู่ในน้ำ�เหมือนนกเค้าแมว...ปลาบางตัวชอบซุก ๆ นอนซ้อน ๆ กันอยู่ ฤานอนอยู่บนต้นปะการัง ในน้ำ� ซึ่งอ่อนเยิ่น กระดิกตัวก็ไหว ดูมันจะเบาเต็มที ซ้อนกันลงไปสองสามตัวก็ไม่เห็นว่าไรกัน มีกุ้งทะเลใหญ่ตัวหนึ่ง น่าดูเต็มที สีก็เป็นสีน้ำ�เงินอ่อนงาม เจ้าพวกกุ้งทั้งปวงที่เดินถอยหลังกรูด ๆ ตะกรามมากกว่าเพื่อน ปลาซาดินทั้งตัว


๖๘ ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙

ทิ้งลงไปกอดไว้ ตามไล่แย่งกันโดดโหย่ง ๆ ตะพาบน้ำ�เพิ่งได้แลเห็นว่ามันว่ายน้ำ�อย่างไร มันไม่ได้ว่ายแบน ๆ เช่น คะเนว่า จะเป็นเช่นนั้น ว่ายทั้งตัว เอาหัวขึ้น สองมือตะกาย เวลาจะหยุดพัก ไม่ใช่ลงไปแบน ๆ อยู่กับพื้น เอาหลังแหมะเข้ากับ ฝาเฝืองอะไรก็ได้ แล้วทิ้งเค้เก้ลอยอยู่เช่นนั้น ไม่เห็นลงถึงดิน...มีปลาหลายพวกที่ขี้เกียจต้องเอาไม้แหย่จึงจะกระดิก แต่ถึงกระดิกก็ยังทำ�ท่าขี้เกียจอยู่เช่นนั้น ในพวกขี้เกียจนี้มีปลาหมึกซึ่งมีเพิ่มเติมโทษะเข้าอยู่นั้น พอถูกตัวเข้าก็พ่นน้ำ�ดำ� ออกมาเป็นหมึกจริง ๆ เต็มไปทั้งอ่าง… คณะของพระองค์เป็นคนไทยกลุ่มแรกที่ได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์ ทั้งสิ่งประดิษฐ์และสิ่งธรรมชาติ ฉะนั้นพระองค์ จึงทรงใช้โวหารแบบอุปมาอุปไมยเล่าถึงสิ่งเหล่านั้นอย่างละเอียด เพื่อให้คนอื่นเห็นภาพตาม เช่น เรื่องโทรศัพท์ ทรงเล่าว่า ...ทำ�นายกันได้ว่า นานไปจะมีเครื่องเตเลโฟนสักเท่านาฬิกาพก พกไปไหน ๆ ได้ เมื่อจะพูดกับใครก็พูดไปที่ นาฬิกาพก และเอาหูฟังที่นาฬิกาพกจะรู้กันได้...(สมัยนั้น โทรศัพท์มีไม่ถึง ๕๐๐ เครื่อง แต่ละเครื่องใหญ่โตมโหฬาร และต้องใช้กับหม้อแบตเตอรี่เครื่องละ ๔ หม้อ คนที่ยังไม่ทราบเรื่องความก้าวหน้าของโทรศัพท์ก็คงจะนึกภาพไม่ออก จนพระองค์เปรียบว่า เหมือนกับนาฬิกาพก) เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นตลาดใหญ่ แต่ผู้คนจำ�นวนมากมุงชมพระบารมีของพระองค์ ทำ�ให้ทรงเข้าชม ตลาดไม่ได้ ก็ทรงเปรียบว่าตลาดนั้น ...ยาวเท่ากับตลาดสงขลา...แต่เข้าไปไม่ได้เพราะผู้คนจะมุงยิ่งกว่ามีโนรา ๕ วง... เมื่อทรงเห็นคลองใหญ่ก็จะทรงเปรียบว่า เหมือนคลองบางกอกใหญ่ เมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นหิมะในสวิสเซอร์แลนด์ ก็ทรงอดไม่ได้ที่จะทรงเปรียบเปรยให้เห็นภาพว่า ...ฝนตก วันนี้มีลูกเห็บตกลงมา ดุ๊กไปกำ�มาให้ดู กว่าจะขึ้นมาถึงก็เล็กเสียแล้ว เขาว่าตกลูกโต ๆ เท่าหมากดิบ...วันนี้เป็นอย่างพ่อบอก เป็นฟอง ไม่ใช่อย่างใสเป็นแก้วอย่างที่เป็นน้ำ�แข็งเมื่อเวลาพ่ออยู่เมืองมิลัน... อีกตอนหนึ่ง เมื่อพระองค์และคณะเสด็จไปถึงนอร์เวย์ทรงทอดพระเนตรเห็นพระอาทิตย์เที่ยงคืนที่ North Cape ก็ทรงบรรยายให้ผู้ที่ไม่ได้ตามเสด็จได้เห็นภาพพจน์ด้วย การใช้ภาพพจน์ที่น่ากล่าวถึงอีกตอนหนึ่งคือ ตอนที่กล่าวถึงทะเลแดง ความว่า ...ช่องบ๊าบเอลเมนเด็บ แปลว่า ทะเลน้ำ�ตา เพราะในทะเลแดงนี้มีศิลาใต้น้ำ�มาก แต่ก่อนถ้าเรือมาญาติพี่น้องรู้แล้วก็ร้องไห้ กลัวจะมาเป็นอันตราย บ้านช่องนั้นเป็นทะเลแดง ที่มาอยู่ไม่ใคร่เห็นฝั่ง มีลมเย็นกว่าวานนี้ นกบูบียังคงบินว่อนอยู่ริมเรือ มันเหนื่อยขึ้นมา มันก็หยุดนอนลอยเสียบนน้ำ� หายเหนื่อยก็บินไปใหม่ ไม่เห็นจับบนเรืออย่างหม่อมราโชทัยว่า... พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้านนี้ จึงเป็นจดหมายเหตุรายวันทำ�นองสารคดีท่องเที่ยวที่น่าอ่าน ประกอบด้วย พระราชดำ�ริและพระราชวิจารณ์อนั สุขมุ คัมภีรภาพเกีย่ วกับถิน่ ฐานบ้านเมือง แทรกไปกับพระราชกิจรายวันทุกวัน ซึง่ มี ทั้งการรักษาพระองค์ การเยือนประมุขประเทศต่าง ๆ รวมทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนชั้นสูงและชั้นสามัญ และเรื่อง สนุกสนานน่าขบขันต่าง ๆ นอกจากนั้นยังทรงถ่ายทอดให้ผู้อ่านได้ร่วมรู้เห็นเกี่ยวกับสิ่งแปลกใหม่ต่าง ๆ ด้วยสำ�นวน วรรณศิลป์ ซึ่งล้วนสะท้อนความเป็นนักปราชญ์และนักวิจารณ์ของพระองค์ ทำ�ให้ผู้อ่านตรึงใจพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน ตลอดมา  


ข่าวทหารอากาศ ๖๙

กันยายน ๒๕๕๙

เฉลย CROSSWORD ฉบับเดือน ก.ค.๕๙ อ.วารุณี

รายชื่อผู้โชคดี ๓ ท่าน ดังนี้ ๑. น.ท.จิรยุทธ ๒. ร.อ.พงษ์ศักดิ์ ๓. ร.ท.เกียรติศักดิ์

แช่มวงษ์ สตน.ทอ. ประภัสสรพงศ์ บน.๒ ดินแดง กบ.ทอ.

โทร. ๒-๒๒๘๔ โทร. ๕-๐๑๑๐ โทร. ๒-๑๙๐๐

กรุณาติดต่อรับรางวัล ๆ ละ ๓๐๐ บาท จากสำ�นักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ ห้อง ๑๐๑ ชั้น ๑ อาคารหอสมุดกองทัพอากาศ ภายใน ต.ค.๕๙ โทร. ๒-๔๒๔๑


ฉบับเดือน ก.ย.๕๙ อ.วารุณี


ข่าวทหารอากาศ ๗๑

กันยายน ๒๕๕๙

Across 1. Now we still listen to a ........... or a small piece of electrical equipment that is used in radios and televisions. 7. If you are invited to the party, you should not .............. across the table while eating, it is impolite. 10. These days, the elderly women who want to be still beautiful often go to have ............. injections by the beauty doctors. 11. A : Since, which ............. will you take to Italy? B : Oh, it belongs to Thailand. 13. An abbreviation for "Overdraft, Overdrawn." 14. Not different 15. This is the punch bowl for the children, there is ............. alcohol. 16. Now the thieves try to break ............. (an abbreviation for Automated Teller Machine) to take money out. 19. For the above No., do you have any ............. or opinion to get rid of them? 21. Almost kids like to ............., jump up and down on the beds, it makes them funny. 23. .................., I agree with No.21 Across 25. They like to .................... hunting in the thick forest. 26. For me, I like to swim ............... the sea. 27. Eat, ............., eaten

28. An abbreviation for the eight month of a year. 30. Keep away from the black smoke which comes from a pipe at the end or ................ of that infront car. 32. Thank you for warning me, I have just seen the ............ of it over the air. 34. The waste of gas can wake you sick or ............ . 35. ............... a matter of fact, the owner must be fined. 37. When the mixtured of cement ............... or being firm the carpenters continue building the floor. 38. His grandma often calls the ............ boy to come in but he ignores as well as shows his bad manner. 42. An abbreviation for "Standard Time". 44. Coat a set of ................ or equipment with oil to prevent rust. 45. ................... begin means to start. 46. Last year, my husband had to drive to Phayathai Place so we always see the ............ monument or the winner one 48. Eating ................ or a large round fruit with a thick yellow or green skin makes us less warm. 49. I, ..........., you etc. 50. I was surprised by its ...................... of this vocabulary. 51. James, you must be deligent as the sun, it must ................. every day.


๗๒ ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙

Down 1. Phanida, you should go to the airport so early because the ............... may be heavy. 2. If you ............... at the airport early, you can have much more time to relax. 3. ............. is a very good or holy person who is given special respect after death by the Christian. 4. .............., saw, seen 5. .............. is a musical instrument that is made of wood. 6. Paul is going to buy a new fishing ............ to fish in a river. 7. She ............. her bag anytime she placed on any table, that's why she often buys the new one. 8. We will have a vacation after the final ...................... . 9. We ............... oxygen to breath but we want pure water to drink. 12. I have .............. money to travel Europe. 16. ................ is a curved line, part of a circle. 17. Opposite of "daughter" 18. ................. are the male and female cows on a farm.

20. Some people will be ............... after drinking alcohol, they like to fight with others. 21. To tie or fasten 22. Tidy 24. ..........., she, it etc. 28. Our boss is a great ............. or useful to the office. 29. If you feel too cool, you should jump .......... and down. 31. My coffee is not sweet, please give me a .............. bit of sugar. 33. ............... what time will you pick me up? 35. To ................. means to promise. 36. Christ could not join my birthday party because he was on ................., he had to work. 39. The same as No.25 Across 40. We want to live in ............... sweet home. 41. An abbreviation for "Monday" 43. Look at that clock, ............ is beautiful. 45. ................ is smaller than city. 47. Run, ............., run

เฉลยหน้า ๘๓


เวลาการ์ตูน มิสกรีน THE BORN LOSER

ภาพ ๑ - เกิดอะไรขึ้นกับช่างคนเก่งที่จะมาซ่อมของชำ�รุดที่บ้านเราล่ะ ? ภาพ ๒ - เขาโทรมาบอกว่าอาทิตย์นี้มาไม่ได้ ภาพ ๓ - เขายังซ่อมรถให้ว่งิ ไม่ได้เลย ! handyman (n.) to fix broken (adj.) to come over (idm) to get sth + Ving

- คนที่ทำ�อะไรได้หลายอย่าง อย่างที่เราเรียกว่า สารพัดช่าง (a man who is good at doing practical jobs inside and outside the house) - ซ่อมแซม (to repair, to mend) - เป็นคำ�คุณศัพท์ที่มาจากกริยาช่อง ๓ ของ break (แตก, หัก) เมื่อใช้ broken แปลว่า ได้แตก, หัก ไปแล้ว Ex. broken leg (ขาหัก) และ broken mug (ถ้วยแตก) เป็นต้น - เป็นสำ�นวน แปลว่า มาหาที่บ้าน (to come to someone's house) สำ�นวนนี้ใช้บ่อย Ex. I'd like you to come over this Sunday. We'll have a picnic in my backyard. (ฉันอยากเชิญเธอไปที่บ้านวันอาทิตย์นี้น่ะ เราจะมี ปิกนิกกันที่สนามหลังบ้าน) - เป็นสำ�นวน (idm) แปลว่า ทำ�ให้คนหรือสิ่งของกระทำ�สิ่งใดสิ่งหนึ่ง (to make sb or sth doing sth)


๗๔ ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙

ANDY CAPP

ภาพ ๑ - ฉันเพียงต้องออกจากบ้านน่ะ - โฟลทำ�ให้ฉันโกรธมากเลย - ทำ�ไมล่ะ ภาพ ๒ - เธอพยายามจะย้ายตู้เสื้อผ้า และส่งเสียงอื๊ดอ๊าดน่ารำ�คาญจริง ๆ just - ในที่นี้แปลว่า เพียงแต่, เท่านั้น (only) Ex. I always go to Funture Park, just to enjoy window shopping. (ฉันมักจะไปฟิวเจอร์พาร์คเพียงเพื่อเดินดู ของสนุก ๆ เท่านั้น) How come? - เป็นภาษาพูด ใช้แทน "Why?" to try - ในที่นี้แปลว่า พยายามทำ� (to make an effort to do sth) Ex. She tired hard to solve the problem. (เธอพยายามอย่างหนักที่จะแก้ปัญหานั้น) อีกความหมายหนึ่ง คือ ทดลองทำ� (to do sth to see if it is good) Ex. I'm trying the new coffee. (ฉันกำ�ลังลองกาแฟใหม่นี่) annoying (adj.) - น่ารำ�คาญ (irritating) หรือทำ�ให้โมโห grunting (adj.) - ในที่นี้ แปลว่า เสียงต่ำ�ที่เปล่งจากลำ�คอ จากการใช้ความพยายามทำ�สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือ เจ็บปวด 


มุ มสุขภาพ น.ต.นพ.สุรินท์นาท เจริญจิตต์ พญ.ศศิผกา สินธุเสน รพ.บน.23

World Heart Day

โรคหัวใจและหลอดเลือด กำ�ลังเป็นปัญหา สาธารณสุขระดับโลกและประเทศไทยในขณะนี้ สำ�หรับประเทศไทยปี 2558 มีอัตราการตายของ โรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ที่ 96.33 ต่อประชากร 100,000 คน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือด จำ�นวน 18,922 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 2.2 คน ซึ่งเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในวันที่ 29 กันยายนของทุกปี สมาพันธ์หัวใจโลก กำ�หนดให้เป็นวันหัวใจโลก (World Heart Day) เพื่อให้ ทุกประเทศรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน ตระหนักและเร่ง ป้องกันปัญหาโรคหัวใจ เนื่องจากเป็นสาเหตุการเจ็บป่วย และการเสียชีวิตของประชากรก่อนวัยอันควร


การดูแลหัวใจด้วยหลัก 3 ปัจจัย และ 4 วิธี 3 ปัจจัยทำ�ลายหัวใจ 1. การรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำ�ตาลสูง 2. การไม่ออกกำ�ลังกาย 3. การสูบบุหรี่ 4 วิธีปกป้องหัวใจ 1.

เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อหัวใจ

    

2.

เพิ่มสัดส่วนของผักผลไม้ให้มากขึ้น ลดการบริโภคเกลือให้น้อยกว่า 5 กรัมต่อวัน หรือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน ลดมัน หลีกเลี่ยงไขมันชนิดทรานส์ (มาร์การีน อาหารทอดซ้ำ� เบเกอรีอบ) ลดการบริโภคไขมันอิ่มตัว (ไขมันสัตว์) ลดอาหารที่มีแป้งและน้ำ�ตาล หลีกเลี่ยงอาหารสำ�เร็จรูป หรืออาหารที่ได้รับการปรุงแต่ง

เมื่อเจอบุหรี่ต้องบอกปฏิเสธว่า “ ไม่ ”

 เลิกสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่ต่อจากผู้อื่น เป็นการลดอัตราเสียชีวิตจากโรคหัวใจ


3. แค่ขยับ = ออกกำ�ลังกาย    

ควรออกกำ�ลังกายอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง และอย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ โดยออกกำ�ลังกายให้รู้สึกเหนื่อยระดับปานกลาง อย่าหักโหมจนเหนื่อยมาก การออกกำ�ลังกายไม่จำ�เป็นต้องไปเล่นกีฬาเท่านั้น แต่สามารถทำ�ได้ทุกที่ เช่น ทำ�งานบ้าน ทำ�สวน ตั้งเป้าหมายที่สามารถทำ�ได้ และค่อย ๆ เพิ่มการออกกำ�ลังกายให้มากขึ้นเรื่อย ๆ ตามเป้าหมาย ไม่จำ�เป็นต้องหักโหมในคราวเดียว หากิจกรรมที่ทำ�ให้ได้ออกกำ�ลังกายมากขึ้น เช่น ขี่จักรยานไปทำ�งานแทนการขับรถ การขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟท์หรือบันไดเลื่อน เป็นต้น

4. รู้สภาพร่างกายของตนเอง

 ถ้าสามารถปฏิบัติตามหัวข้อด้านบนได้ จะลดการเกิดโรคหัวใจลงได้ แต่ก็จำ�เป็นที่จะต้องรู้จักร่างกายของตนเองมากขึ้น  ควรไปที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำ�หนัก และวัดส่วนสูง เพื่อหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) รวมถึงควรตรวจไขมันในเลือด น้ำ�ตาลในเลือด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนการดำ�เนินชีวิต ของตนเองได้อย่างเหมาะสม ทั้ง 7 ข้อที่กล่าวมา ไม่ใช่เรื่องยากสำ�หรับคนที่มีความตั้งใจจริง แต่ที่สำ�คัญคือ ผลดีจะเกิดขึ้นได้ จะต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนเป็นกิจวัตรและต้องอาศัยเวลา

แหล่งข้อมูลและภาพ : http://www.bangkokhealth.com/


รอบรู้...อาเซียน

ASEAN Community Little Tidbits เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประชาคมอาเซียน Vietnam Festival Guide

@Zilch

Tet Trung Thu, Mid-Autumn Festival “เต๊ดจุงทู” เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง หรือ เทศกาลไหว้พระจันทร์

The festival is held on the 15th day on the 8th lunar month (often in late September or early October). The Mid-Autumn celebration is an opportunity for family members to reunite and share everything together in their year. In this festival, the children are provided with many nice lanterns - star lanterns, flower lanterns. The main point of the Mid-Autumn is that children use the beautiful lanterns, wear funny masks, perform fantastic lion dances, and sing folklore songs in the house grounds or in the streets when the moon is rising. Moreover, people hold the competition showcased moon cakes (known as bánh trung thu). Typical moon cakes are round pastries with a beautiful imprint on top, enveloping sweet, dense fillings such as bean paste and fruits, and may contain one or more whole salted egg yolks in their center as the symbol of the full moon. Moon cakes are the specific cakes and are only on this festival. They symbolize luck, happiness, health and wealth on the Mid-Autumn day.

เทศกาลนี้ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ� เดือน ๘ ตาม ปฏิทนิ จันทรคติ (อยูใ่ นช่วงปลายเดือนกันยายน หรือต้นเดือน ตุลาคม) เป็นช่วงเวลาทีส่ มาชิกในครอบครัวมารวมตัวกันและ แลกเปลี่ยนเรื่องราวต่าง ๆ ในปีที่ผ่านมาเทศกาลนี้โคมไฟ รูปดาว รูปดอกไม้ และอื่น ๆ อีกมากมายจะถูกจัดเตรียมไว้ ให้เด็ก ๆ สิ่งสำ�คัญของเทศกาลนี้คือ ขณะที่พระจันทร์กำ�ลัง ขึน้ เด็ก ๆ จะถือโคมไฟรูปร่างต่าง ๆ หรือใส่หน้ากากตัวตลก ร่วมขบวนแห่เชิดสิงโตและร้องเพลงพืน้ บ้านร่วมกันในบริเวณ ลานบ้านหรือบนท้องถนน นอกจากนีย้ งั มีการประกวด “ขนม บั๊นจุงทู” (bánh trung thu) หรือขนมเปี๊ยะไหว้พระจันทร์ ซึง่ เป็นขนมรูปร่างกลม ลวดลายสวยงาม ใส่ไส้ถวั่ ผลไม้ และ ไข่แดงเค็มอยู่ตรงกลาง อันเป็นสัญลักษณ์ของพระจันทร์ เต็มดวง ขนมไหว้พระจันทร์เป็นขนมพิเศษที่ทำ�ขึ้นสำ�หรับ เทศกาลนี้เท่านั้น เป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี ความสุข สุขภาพ และความมั่งคั่งในวันกลางฤดูใบไม้ร่วง

แหล่งข้อมูลและภาพ : http://www.accent.ac.nz/elto/articles/mid-autumn-festival-vietnam


Christian Soldier ประเทศสหรัฐอเมริกามีพรรคการเมืองใหญ่หลัก ๆ สองพรรค คือ พรรคเดโมแครต และพรรครีพับลิกัน การเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. presidential election) ในขั้นแรก แต่ละพรรคจะต้อง สรรหาตัวแทนของพรรค (the party’s nominee) ที่จะลงชิงตำ�แหน่งประธานาธิบดีก่อน สำ�หรับผู้ลงชิงตำ�แหน่ง (candidate) ตัวแทนพรรคเดโมแครตที่โดดเด่นคือ นางฮิลลารี คลินตัน (Hillary Clinton) ซึ่งปัจจุบันก็ได้ทราบผล กันแล้วว่านางฮิลลารี คลินตัน ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตเพื่อลงชิงตำ�แหน่งประธานาธิบดี

ผู้สมัครลงชิงตำ�แหน่งตัวแทนพรรคเดโมแครต (Democrat Candidates)


๘๐ ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙

ผู้สมัครลงชิงตำ�แหน่งตัวแทนพรรครีพับลิกัน (Republican Candidates) ส่วนผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ลงชิงตำ�แหน่ง ประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกันคือ นักธุรกิจชื่อ นายโดนัลด์ ทรัมพ์ (Donald Trump) กระบวนการสรรหาตัวแทนของพรรคเพื่อลง ชิงตำ�แหน่งประธานาธิบดีหรือกระบวนการเลือกตัง้ ขั้นต้น (Primary Election) โดยรัฐต่าง ๆ จะจัดให้มี การเลือกตั้งขั้นต้นภายในพรรคการเมือง ซึ่งมีอยูส่ อง แบบ คือ แบบคอคัส (Caucus) และแบบไพรเมอรี (Primary) การเลือกตัง้ ทัง้ สองแบบมีเป้าหมายทีจ่ ะกำ�หนด จำ�นวนคณะผู้เลือกตั้ง (delegates) ที่จะไปลงคะแนน เลือกตัวแทนพรรคเข้าชิงตำ�แหน่งประธานาธิบดีในการ ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรค โดยในการเลือกตั้งแบบ คอคัส ผู้สมัครแต่ละคนจะได้จำ�นวนคณะผู้เลือกตั้งตาม สัดส่วนของคะแนนเสียงสนับสนุนที่ได้ ในขณะที่การ เลือกตั้งแบบไพรเมอรี ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงสูง ที่สุดจะได้จำ�นวนคณะผู้เลือกตั้งของรัฐนั้นไปทั้งหมด

นายโดนัลด์ ทรัมพ์ (Donald Trump)


กันยายน ๒๕๕๙

ข่าวทหารอากาศ ๘๑

ภายหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้งขั้นต้นภายในพรรคที่จัดขึ้นในทุกรัฐแล้ว คณะกรรมการพรรคแห่งชาติ ทั้ง คณะกรรมการพรรคเดโมแครตแห่งชาติ (Democratic National Committee) และคณะกรรมการพรรครีพับลิกัน แห่งชาติ (Republican National Committee) จะกำ�หนดจัดให้มกี ารประชุมใหญ่ของพรรค (National Convention) เพือ่ ให้คณะผูเ้ ลือกตัง้ ลงมติยนื ยันเลือกบุคคลทีจ่ ะมาเป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการของพรรคเพือ่ ชิงตำ�แหน่งประธานาธิบดี จึงนับว่าเป็นการสิ้นสุดกระบวนการเลือกตั้งขั้นต้น เพื่อเริ่มต้นสู่กระบวนการเลือกตั้งทั่วไป (general election) การเลือกตั้งขั้นต้นแบบคอคัสและไพรเมอรีนี้จะจัดขึ้นในช่วงระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายนของปีที่จะ เลือกตั้งทั่วไป ส่วนความแตกต่างระหว่างแบบคอคัสและไพรเมอรีคือ ถ้าเป็นการลงคะแนนเสียงแบบไพรเมอรีจะจัด โดยเจ้าหน้าที่ของมลรัฐนั้น ๆ แต่ถ้าเป็นการลงคะแนนเสียงแบบคอคัส จะจัดขึ้นโดยพรรคการเมืองต่าง ๆ เอง ดังนั้น ความต่างอยู่ที่ใครเป็นผู้จัดการเลือกตั้ง แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบคอคัสและไพรเมอรีต่างก็เป็นการเลือกตั้งทางอ้อม กล่าวคือ ประชาชนที่ไปลงคะแนนเสียงไม่ได้เลือกผู้ที่จะเป็นตัวแทนที่จะลงชิงตำ�แหน่งประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกันหรือ พรรคเดโมแครตโดยตรง แต่จะเลือกตัวแทน (delegates) ที่จะเป็นผู้เข้าไปร่วมการประชุมใหญ่ของพรรค (Party’s National Convention) แล้วตัวแทนที่ประชาชนเลือกในแบบคอคัสหรือไพรเมอรีเหล่านั้นนั่นเองจะเป็นผู้เสนอชื่อ ตัวแทนที่จะลงชิงตำ�แหน่งประธานาธิบดีของพรรคอีกครั้งหนึ่ง

ข้อสังเกตคือ มลรัฐที่จัดการเลือกตั้งแบบคอคัสหรือไพรเมอรีเป็นลำ�ดับแรก ๆ อย่างเช่น รัฐไอโอวา (Iowa) รัฐนิวแฮมป์เชอร์ (New Hampshire) และมลรัฐขนาดเล็กอื่น ๆ จะมีผลสำ�คัญต่อการแข่งขันในการ เลือกตั้ง ในขณะที่มลรัฐที่จัดการเลือกตั้งแบบคอคัสหรือไพรเมอรีในลำ�ดับหลัง ๆ อย่างเช่น รัฐแคลิฟอร์เนีย (California) และมลรัฐขนาดใหญ่อื่น ๆ ที่จะจัดให้ลงคะแนนเสียงช่วงท้ายคือ เดือนมิถุนายน ซึ่งจะไม่มีผล สำ�คัญอะไร เพราะผลจะเป็นที่รู้ไปก่อนหน้านั้นแล้ว


๘๒ ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙

เมื่อผ่านขั้นตอน (process) การสรรหาตัวแทนที่จะลงชิงตำ�แหน่งประธานาธิบดีได้แล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการ เลือกประธานาธิบดี โดยการเลือกตั้งประธานาธิบดีนั้นจะจัดขึ้นในวันอังคารหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายน (the Tuesday after the first Monday in November) กระบวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกันเป็นการเลือก ตั้งทางอ้อม (indirect vote) นั่นคือ ประชาชนไม่ได้ไปเลือกประธานาธิบดีที่พวกเขาชอบโดยตรง แต่จะไปลงคะแนนที่ เรียกว่า Popular Vote เพื่อเลือกคณะผู้เลือกตั้งที่เรียกว่า Electoral College ก่อน โดยมลรัฐใหญ่ ๆ เช่น แคลิฟอร์เนีย (California) เทกซัส (Texas) นิวยอร์ก (New York) ฟลอริดา (Florida) เพนซิลวาเนีย (Pennsylvania) ก็จะมีจำ�นวน Electoral College มากตามไปด้วย และเมื่อประชาชนเลือกคณะผู้เลือกตั้งหรือ Electoral College เสร็จแล้ว ประมาณเดือนธันวาคม คณะผู้เลือกตั้งนี้ก็จะไปลงคะแนนเสียงเลือกประธานาธิบดีอีกทีหนึ่งเรียกว่า Electoral Vote ซึ่งประชาชนจะทราบก่อนลงคะแนน Electoral Vote แล้วว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดี เพราะว่าคณะผู้เลือกตั้ง แต่ละคนจะประกาศให้ประชาชนทราบอยู่แล้วว่าเขาจะเลือกประธานาธิบดีคนไหน

ที่กล่าวมาเป็นความรู้เรื่องการเมืองการปกครองรวมทั้งการเลือกตั้งที่กำ�ลังเริ่มเข้มข้นขึ้นทุกทีของประเทศ สหรัฐอเมริกา ประเทศมหาอำ�นาจของโลก ต้องติดตามกันต่อไปว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดีตอ่ จากนายบารัค โอบามา หวังว่าสาระความรูน้ จี้ ะเป็นประโยชน์ท�ำ ให้เข้าใจการเมืองการปกครองและระบบการเลือกตัง้ ของประเทศสหรัฐอเมริกา มากขึ้น  แหล่งข้อมูลและภาพ - https://en.wikipedia.org/wiki/United_States_presidential_primary - https://en.wikipedia.org/wiki/United_States_presidential_election - http://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/about/politicy_usa/ - http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000084806 - http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000027981 - www.en.wikipedia.org


ข่าวทหารอากาศ ๘๓

กันยายน ๒๕๕๙

เฉลย CROSSWORD ฉบับเดือน ก.ย.๕๙ อ.วารุณี


ธรรมะ

ประทีป

กอศ.ยศ.ทอ.

พุทธวิธีในการทำ�งาน

คำ�ถามว่า “ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน” แต่ผลของงานที่จัดว่ามีค่านั้น ต้องเป็นผลงานที่มีประโยชน์แก่ตนเองและ คนส่วนมาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทำ�งานที่เรียกว่า บำ�เพ็ญพุทธกิจทุกวัน โดยทรงแบ่งเวลาทำ�งานออกเป็น ๕ ระยะ คือ - เวลาเช้า เสด็จออกบิณฑบาต (ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ) - เวลาเย็น ทรงแสดงพระธรรมเทศนา (สายณฺเห ธมฺมเทสนํ) - เวลาหัวค่ำ� ทรงประทานโอวาทแก่ภิกษุ (ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ) - เวลาเที่ยงคืน ทรงตอบปัญหาเทวดา (อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหณํ) - เวลาเช้ามืด ทรงเล็งญาณตรวจดูผู้ที่ควรจะโปรด (ปจฺจูเส ว คเตกาเลภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ) ทรงบำ�เพ็ญอย่างนี้ทุกวัน ตลอดเวลา ๔๕ พรรษา แม้ในวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพก่อนปรินิพพานเล็กน้อยก็ทรง โปรดสุภัททะให้สำ�เร็จอรหัตผล เป็นสักขีสาวกองค์สุดท้ายที่ทันได้เห็นพระองค์ ฉะนั้นพระชนม์ชีพของพระองค์ จึงทรงกล่าวได้ว่า เป็นชีวิตเพื่อชาวโลก เพื่อประโยชน์ของปวงชนสมกับที่ว่าเสด็จอุบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อทรงอนุเคราะห์แก่ชาวโลกทุกชั้นวรรณะทั้งเทวดาและ มนุษย์ งานทีท่ �ำ ให้คนมีคา่ มีราคา นอกจากจะเป็นประโยชน์แก่ตนเองและมหาชนแล้ว ต้องเป็นงานทีช่ อบธรรม เรียกว่า สัมมา กัมมันตะ แม้งานที่ยึดเป็นอาชีพก็ต้องเป็นอาชีพที่ชอบธรรม ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม เรียกว่า สัมมาชีพ ไม่ใช่มิจฉาชีพ งานดังกล่าวนั้น บางคนก็ทำ�สำ�เร็จ บางคนก็ทำ�ไม่สำ�เร็จ ที่ไม่สำ�เร็จเรียกว่า งานอากูล คือ คั่งค้างไม่เป็นมงคล เพราะ ขาดคุณสมบัติ ๔ ประการ ซึ่งเรียกว่า อิทธิบาทธรรม ๔ คือ ฉันทะ พอใจรักใคร่ในงานนั้น รักงาน ไม่เบื่องาน คนรักงานทำ�งานสนุกเพลิดเพลิน วิริยะ เพียรประกอบงานนั้น เพียรพยายาม หมั่นขยันทำ�งาน จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในงานนั้น สนใจงาน รับผิดชอบงาน ไม่ทอดทิ้งธุระในงาน วิมังสา หมั่นตรึกตรองพิจารณาเหตุผลในงานนั้น คิดหาวิธีทำ�งานให้ได้ผลมาก ใช้เวลาน้อย ทำ�งานตามแผน และวิจัยผลงานที่ทำ� สรุป ผู้ทำ�งานตามพุทธวิธีนี้ ต้องมีคุณสมบัติคือ กิจนิสัย ๔ ประการ ได้แก่ รักงาน สู้งาน สนใจงาน และเข้าใจงาน ผู้มีธรรมทั้งสี่ประการนี้ ย่อมทำ�งานสำ�เร็จลุล่วงเป้าหมาย การงานไม่ผิดพลาด ประกอบกิจได้ผลสมความตามมุ่งหมาย เป็น อุดมมงคลคือ เจริญด้วยลาภ ยศ สุข และสรรเสริญ 


มุมกฎหมาย

น.อ.วันชัย ม้าสุวรรณ พระภิกษุหรือสงฆ์ คือ บรรพชิตในพุทธศาสนา โดยการแปลงสถานะจากอุบาสกผู้เลื่อมใสศรัทธาในธรรมะ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยทำ�การปลงผมห่มผ้ากาสาวพัสตร์ (ผ้าเหลือง) ปฏิบัติธรรม ภาวนา รักษาศีล ๒๒๗ ข้อ มุ่งแสวงหาความหลุดพ้น ออกจากโลกียสุข ละเสียซึ่งความโลภ ความโกรธ ความหลง พุทธศาสนิกชนจึงให้ ความเคารพศรัทธาดัง่ ดวงแก้วดวงหนึง่ แต่กม็ จี �ำ นวนไม่นอ้ ยสำ�หรับผูท้ เี่ ข้าอุปสมบทด้วยเหตุผลอืน่ จนมีค�ำ กล่าวติดปาก กันว่า บวชตามประเพณี บวชหนีทหาร บวชผลาญข้าวสุก บวชสนุกตามเพือ่ น การบวชด้วยเหตุผลอืน่ ทีม่ ใิ ช่เพราะศรัทธา จึงมักพบพระภิกษุจำ�นวนไม่น้อยที่มีจริยวัตรไม่สมกับเป็นสงฆ์ ไม่รักษาศีลของสงฆ์ให้ครบถ้วน ยิ่งกว่านั้นยังพบว่ามีการ กล่าวอ้างแสดงธรรมะแก่ญาติโยมที่ก็ไม่รู้อะไรเลย ซึ่งเป็นการกล่าวการแสดงที่ไม่ต้องด้วยธรรมะของพระพุทธองค์ที่ บันทึกอยู่ในพระไตรปิฎก อันเป็นที่เสื่อมเสียต่อพระพุทธศาสนา และเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ผู้ห่มเหลืองดังกล่าวจึงไม่อาจ ถือได้ว่าเป็น “สงฆ์” แต่เป็นเพียง “สมมุติสงฆ์” เท่านั้น อย่างไรก็ดี แม้พระภิกษุผู้มุ่งแสวงหาความหลุดพ้นจากกิเลส และหลุดพ้นจากวัฏสงสาร แต่ในทางโลกกฎหมายก็ยงั ยอมให้พระภิกษุถอื ครองทรัพย์สนิ ได้ อาจด้วยเหตุเพราะการเกิดขึน้ ของบุญวิธีหนึ่ง แม้จะได้ผลไม่มากนักด้วย “ทาน” ก็ตาม พระภิกษุท่านก็อาจใช้ทรัพย์สินเพื่อวัตถุดังกล่าวก็เป็นได้ ดังได้กล่าวข้างต้นว่ากฎหมายยอมให้พระภิกษุถือครองมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้ แต่การได้มาซึ่งทรัพย์สิน การจำ�หน่าย และการตกทอดทางมรดกของพระภิกษุจะมีความแตกต่างไปจากบุคคลทั่วไป ดังบัญญัติไว้ในประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนี้ มาตรา ๑๖๒๒ “พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้ สึกจากสมณเพศมาเรียกร้องภายในกำ�หนดอายุความตามมาตรา ๑๗๕๔ แต่พระภิกษุนั้นอาจเป็นผู้รับพินัยกรรมได้” มาตรา ๑๖๒๓ “ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่ มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิล�ำ เนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จ�ำ หน่ายไปในระหว่าง มีชีวิตหรือโดยพินัยกรรม” มาตรา ๑๖๒๔ “ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็นสมบัติของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของบุคคลนัน้ หรือบุคคลนัน้ จะจำ�หน่ายโดยประการใดตามกฎหมายก็ได้” จากบทกฎหมายดังกล่าว จึงขอสรุปสาระสำ�คัญที่ควรทราบดังนี้ การรับมรดก พระภิกษุสามารถเป็นทายาทสืบมรดกของเจ้ามรดกได้ ทัง้ ในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะ ทายาทผูร้ บั พินยั กรรมเช่นเดียวกับบุคคลทัว่ ไป แต่มขี อ้ จำ�กัดว่า ถ้ารับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมแล้ว หากเกิดกรณี ข้อพิพาทต้องฟ้องคดีเรียกเอาทรัพย์มรดก เช่น บรรดาทายาทอื่นไม่ยอมแบ่งให้ตามสิทธิของกฎหมาย พระภิกษุนั้น จะฟ้องคดีต่อศาลได้จะต้องสึกจากสมณเพศเสียก่อน และต้องฟ้องคดีเสียภายในกำ�หนดอายุความมรดก (ภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก หรือภายใน ๑๐ ปี นับแต่วันที่เจ้ามรดกตาย)


๘๖ ข่าวทหารอากาศ

กันยายน ๒๕๕๙

เงื่อนไขเช่นนี้ใช้บังคับเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น ไม่ใช้บังคับกับสามเณร แม่ชี ปะขาว และพราหมณ์ นักบวช นักพรต ในศาสนาอื่นด้วย แต่ในกรณีพระภิกษุได้รับมรดกในฐานะทายาทผู้รับพินัยกรรม ถ้าทายาทอื่นไม่ยอมแบ่งให้ตามสิทธิ พระภิกษุนั้นก็สามารถฟ้องคดีต่อศาลได้โดยไม่ต้องสึกจากสมณเพศก่อน นอกจากนั้นหากเป็นกรณีฟ้องคดีในเหตุอื่น ไม่ใช่ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดก เช่น ฟ้องเพื่อติดตามเอาทรัพย์คืนจากผู้ที่เอาทรัพย์นั้นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ ฟ้องเพื่อสงวนรักษาทรัพย์มรดกก็สามารถฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องสึกจากสมณเพศก่อน (คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๗๗๙/๘๕) การได้มาซึ่งทรัพย์สิน พระภิกษุสามารถรับทรัพย์สินไว้ได้ และการได้รับทรัพย์สินของพระภิกษุนั้นจะมีผลต่อ การใช้ การจำ�หน่าย จ่าย โอน และการตกไปแห่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นเมื่อพระภิกษุมรณภาพ ดังนี้ การได้รับทรัพย์สินในระหว่างอยู่ในสมณเพศ ทรัพย์สินที่พระภิกษุได้รับมาในระหว่างที่บวชเป็นพระภิกษุ พระภิกษุนั้นจะจำ�หน่ายไปอย่างใด จะยกให้ผู้ใด หรือจะทำ�พินัยกรรมยกให้ผู้ใดก็ได้ (คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๖๔๓๓/๔๖) แต่เมื่อพระภิกษุนั้นมรณภาพ ให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของวัดที่เป็นภูมิลำ�เนาของพระภิกษุนั้น คำ�ว่า “วัด” ซึ่งเป็น ภูมิลำ�เนานั้น หมายความรวมถึงสำ�นักสงฆ์ด้วย (พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ มาตรา ๓๑) พระทุกรูปต้องระบุภูมิลำ�เนาไว้ในหนังสือสุทธิ โดยเหตุที่กฎหมายบัญญัติให้ทรัพย์สินตกเป็นสมบัติของวัด ที่เป็นภูมิลำ�เนาของพระภิกษุ และโดยนัยของกฎหมายได้นิยามคำ�ว่า “ภูมิลำ�เนา” หมายถึง ที่อยู่เป็นแหล่งสำ�คัญ ดังนั้น พระภิกษุอาจไม่ได้มีภูมิลำ�เนาอยู่ยังวัดที่ระบุไว้ในหนังสือสุทธิก็ได้ ถ้าพระภิกษุนั้นอยู่วัดอื่นเป็นแหล่งสำ�คัญมากกว่าอยู่ วัดทีร่ ะบุเป็นวัดภูมลิ �ำ เนา (คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๕๖๔/๓๖) แต่ในกรณีพระภิกษุขณะมรณภาพไม่มวี ดั หรือสำ�นักสงฆ์สงั กัด ทรัพย์มรดกของพระภิกษุนั้นย่อมตกเป็นของแผ่นดิน และทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาระหว่างที่อยู่ในสมณเพศนี้ เจ้าหนี้ สามารถบังคับคดีชำ�ระหนี้ได้ และหากพระภิกษุนั้นมีคู่สมรสทรัพย์สินที่ได้มานั้นย่อมเป็นสินสมรสด้วย และในกรณีที่ พระภิกษุมรณภาพโดยได้ทำ�พินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่วัด เมื่อพระภิกษุมรณภาพ ทรัพย์สินตามพินัยกรรมนั้น ย่อมตกเป็นของวัดทันทีโดยผลของกฎหมาย ถ้าทรัพย์สินตามพินัยกรรมนั้นเป็นที่ดินก็ย่อมตกเป็นที่ธรณีสงฆ์ทันทีด้วย เช่นกัน เจ้าหนี้จะบังคับคดีชำ�ระหนี้ไม่ได้ (พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฯ มาตรา ๓๕) และผู้ใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับ วัดไม่ได้ (พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฯ มาตรา ๓๔) เช่น นาย ก ได้ครอบครองที่ดินแปลงที่พระภิกษุ ส ระบุไว้ในพินัยกรรมยกให้ แก่วัด โดยนาย ก ได้ครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเรื่อยมา เมื่อพระภิกษุ ส มรณภาพ ที่ดินแปลงดังกล่าวย่อมตกเป็นที่ธรณีสงฆ์ทันที นาย ก จะอ้างว่าที่ดินแปลงดังกล่าวตนได้กรรมสิทธิ์โดยการ ครอบครองปรปักษ์มาจนครบกำ�หนด ๑๐ ปี แล้วไม่ได้ การได้รับทรัพย์สินมาก่อนอุปสมบท ทรัพย์สินที่พระภิกษุได้รับมาก่อนอุปสมบท และเมื่อได้อุปสมบทแล้ว พระภิกษุนนั้ สามารถจำ�หน่าย จ่าย โอน จะยกให้ผใู้ ด หรือจะทำ�พินยั กรรมยกให้ผใู้ ดก็ได้ และเมือ่ พระภิกษุนนั้ มรณภาพ ทรัพย์สนิ เหล่านัน้ ของพระภิกษุไม่ตกเป็นของวัด แต่จะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือทายาทผูร้ บั พินยั กรรมเช่นเดียวกับ กรณีของบุคคลธรรมดาทั่วไปที่เสียชีวิต ธรรมะของพระพุทธองค์เป็นข้อแนะนำ�แนวทางปฏิบตั เิ พือ่ การพ้นทุกข์โดยจิตไม่ฟงุ้ ซ่าน ปรุงแต่งอารมณ์ เกิดอุปาทานกับความโลภ ความโกรธ และความหลง แม้การปฏิบตั จิ ะเป็นเพียงขัน้ โสดาบันไม่ถงึ กับบรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็ยงั ประโยชน์ให้เกิดความสุข ความสงบ แก่ตนเอง แก่ผอู้ นื่ รวมทัง้ สังคม แต่ในทางโลกกฎหมายยอมให้พระภิกษุสามารถ ครอบครองเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ ด้วยเหตุนี้จึงมักมีเรื่องวุ่นวาย เกี่ยวกับพระภิกษุอยู่ไม่หยุดหย่อน...


 เป็นผู้เอาเปรียบผู้อื่นให้น้อยที่สุด  ตอนเย็น ๆ ก่อนที่พระอาทิตย์จะลับขอบฟ้า ผู้เขียนมักจะชอบมานั่งเล่นรับลมเย็น ๆ อยู่ข้างบ้าน มองดูนกนางแอ่นโฉบเฉี่ยวหาอาหาร ซึ่งก็คือแมลงที่ บินอยู่ตามพงหญ้าหลังบ้าน การเข้าโจมตีเหยื่อของนก นางแอ่นพร้อมกันหลาย ๆ ตัวนั้น เปรียบเสมือนเครื่อง บินเข้าโจมตีเป้าหมายทางทะเลพร้อม ๆ กันทีละหลาย สิบเครื่อง เพื่อที่จะกินแมลงให้ได้ พวกนกต้องบินหลบ กันเองในอากาศให้ได้ บางทีกม็ เี ป้าหมายตัวเดียวกัน ต้อง เบรกกันกลางอากาศ ต้องบินพลิกแพลงด้วยความเร็วสูง ทีเดียว ดูไปก็เพลินดีหากไม่คิดอะไร มีอยู่วันหนึ่งตอน สาย ๆ กลับจากการออกกำ�ลังตอนเช้า ผูเ้ ขียนมานัง่ ทีเ่ ดิม เห็นนกนางแอ่นกำ�ลังบินโจมตีแมลงกันอย่างสนุกสนาน เช่นเคย ทำ�ให้รวู้ า่ พวกนกนีค่ งหาอาหารกันทัง้ วัน ดูไปก็คดิ ไปว่า นกนางแอ่นนีช่ า่ งโหดร้าย รังแกผูอ้ อ่ นแอกว่าทีไ่ ม่ม ี ทางสู้ ขณะกำ�ลังดูเพลิน ๆ ก็ปรากฏว่า มีเจ้าเหยีย่ วตัวใหญ่ บินโฉบลงมาจากต้นไม้เข้าโจมตีนกนางแอ่นกลางอากาศ ให้เห็นแบบจะจะ มันจัดการนกนางแอ่นไปได้หนึ่งตัว เจ้าเหยีย่ วก็คงมองนกนางแอ่น เหมือนทีน่ กนางแอ่นมองแมลง แน่ ๆ เลย หากจะคิดว่าเรือ่ งทีเ่ ห็นนีเ่ ป็นเรือ่ งของธรรมชาติ ก็คดิ ได้และยอมรับได้ ในกรณีของแมลง นกนางแอ่น และ เหยี่ยว ที่อยู่กันแบบใครใหญ่ ใครอยู่ ใครพลาดเป็นเหยื่อ แต่จากการติดตามข่าวสารบ้านเมือง ผูเ้ ขียนมองว่าสังคม ของคนเราก็ไม่ต่างจากนี้มากนัก ทั้ง ๆ ที่คนเราควรจะมี คุณธรรมมากกว่าสัตว์เหล่านี้ แต่ถา้ จะเขียนว่าคนเราไม่ควร ทำ�เหมือนสัตว์เหล่านี้ก็ดูจะดัดจริตไปหน่อย ทุกสิ่งบน

โลกใบนี้ก็เป็นอย่างนี้ด้วยกันทั้งนั้น ถ้ายังงั้นเอากันแค่ว่า เราจะพยายามเอาเปรียบผู้อื่นให้น้อยที่สุดดีกว่า ซึ่งเป็น หัวข้อที่จะคุยกันในวันนี้ เพราะเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐาน ที่สำ�คัญมากของมนุษย์ การเอารัดเอาเปรียบ แปลว่า การพยายามทำ�ให้ ตนเองได้ประโยชน์มากกว่าที่ควรจะได้ โดยใช้กำ�ลังหรือ อำ�นาจที่มีเหนือกว่า ที่จริงการที่นกนางแอ่นโฉบกินแมลง และเหยีย่ วไล่กนิ นกนางแอ่น มันก็เป็นเรือ่ งของห่วงโซ่อาหาร


๘๘ ข่าวทหารอากาศ

ในระบบของธรรมชาติที่เราเรียกกันว่า ระบบนิเวศวิทยา ของโลกใบนี้ ซึ่งตรงนี้ผู้ขียนได้กล่าวไปแล้วว่า เป็นเรื่องที่ ยอมรับได้ แต่เราก็ไม่เคยเห็นนกนางแอ่น กินนกนางแอ่น หรือเหยี่ยวจับเหยี่ยวด้วยกันเองมากินเป็นอาหาร แสดงว่า ในพวกเดียวกันมันไม่กนิ กันเอง ส่วนมันจะเอารัดเอาเปรียบ กันหรือไม่ ข้อนีผ้ เู้ ขียนไม่ทราบจริง ๆ แต่หลายครัง้ ทีผ่ เู้ ขียน นั่งดูพวกมด ที่มันช่วยกันแบก ฉุด ลากเศษอาหารกลับไป ที่รังของมัน ผู้เขียนไม่เห็นมดตัวไหนจะมีท่าทีเอาเปรียบ เพือ่ นมดด้วยกัน ทุกตัวขยันขันแข็งช่วยกันทำ�งานจนสำ�เร็จ ผู้เขียนจึงสรุปเอาตรงนี้ว่าสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ พวกเดียวกัน มันไม่น่าจะคิดเอารัดเอาเปรียบกัน แต่เรื่องนี้ไม่ใช่แน่นอน ในสังคมของคน ซึ่งอยู่กันด้วยการเอารัดเอาเปรียบกัน ตลอดเวลา เวลาเราขับรถไปบนถนน ก็จะพบเห็นเสมอว่า ถนนทีม่ ี ๒ ช่องจราจร แต่มกั จะมีรถคันที่ ๓ คันที่ ๔ ขับแทรก ไปในช่องแคบ ๆ และสุดท้ายก็ไปชะลอติดกันอยูท่ ดี่ า้ นหน้า ขับรถไปดี ๆ ก็จะมีรถจอดขวางอยู่ข้างหน้าทั้ง ๆ ที่เป็นที่ ห้ามจอด คนเดินบนทางเท้า เดิน ๆ ไปเจอหาบเร่แผงลอย ตั้งขวาง จนต้องลงไปเดินกันบนถนน แถมมีร้านก๋วยเตี๋ยว ข้างทาง สาดน้ำ�ล้างชามผ่านหน้าไปหลบกันแทบไม่ทัน

กันยายน ๒๕๕๙

มีคนเคยถามผู้เขียนว่า ถนนทุกสายสร้างด้วยภาษีของ คนไทย แสดงว่าทุกคนมีสทิ ธิใช้ถนนได้ คำ�ว่าทุกคนคือ คนทีม่ รี ถยนต์กใ็ ช้ถนนได้ คนมีรถมอเตอร์ไซค์กใ็ ช้ได้ คนมีรถจักรยานก็ใช้ได้ แม้คนทีไ่ ม่มรี ถอะไรเลยก็ใช้เดินได้ แต่ในความเป็นจริง ไม่ได้เป็นอย่างนั้น เวลารถสิบล้อ วิ่งมา เขาเป็นเจ้าของถนน นี่ยกตัวอย่างเรื่องถนนเรื่อง เดียว หากดูเรื่องอื่น ๆ เช่น การไปติดต่อสถานที่ราชการ ต่าง ๆ การไปโรงพยาบาล การค้าขาย การทำ�ธุรกิจ การ เข้าแถวต่อคิว ฯลฯ เราจะพบว่า คนทีไ่ ม่ยอมทำ�ตามกติกา ที่สังคมวางไว้ คนที่ชอบใช้อำ�นาจ ใช้อภิสิทธิ์เอาเปรียบ ผู้อื่น มักจะได้สิทธิและประโยชน์ของส่วนรวมไปก่อน ที่น่าแปลกใจก็คือ ไม่ว่านกนางแอ่น เหยี่ยว หรือ มด ที่กล่าวมาแล้ว พวกสัตว์เหล่านั้นจะไม่ทำ�อย่างนี้กับ พวกเดียวกัน แต่ทำ�ไมคนเราจึงทำ�กันเองอย่างนี้  สาเหตุของการคิดเอาเปรียบผู้อื่น สัญชาตญาณการเอาตัวรอดในตัวของทุก ๆ คน ทำ�งานอยู่ตลอดเวลา เพราะธรรมชาติกำ�หนดมาอย่างนี้ ในประเด็นนี้ น่าจะเข้าใจได้ แต่มดก็ต้องมีสัญชาตญาณนี้


กันยายน ๒๕๕๙ เหมือน ๆ คน ทำ�ไมมดมันจึงไม่เอาเปรียบกัน ผู้เขียน ตอบคำ�ถามนีว้ า่ ก็เพราะคนทีเ่ อาเปรียบกัน ไม่ใช่เผ่าพันธุ์ เดียวกัน ถ้าตอบแบบนี้ก็จะเกิดคำ�ถามว่า ทำ�ไมคนไม่ใช่ เผ่าพันธุเ์ ดียวกัน เพราะใคร ๆ ก็พดู ว่า คนเราบนโลกใบนี้ ทุกคนเป็นเผ่าพันธุเ์ ดียวกัน ถ้าดูทสี่ ายพันธุ์ รูปร่างหน้าตา คนนั้นมาจากสายพันธุ์เดียวกัน แต่ผู้เขียนกำ�ลังพูดถึงใจ ของคน ใจของคนนัน้ ไม่ได้สง่ ต่อกันด้วยยีนส์ หรือ ดีเอ็นเอ แต่ใจของคนนั้น มันเกิดจากการปรุงแต่งของข้อมูลใน สมองและสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวในขณะใดขณะหนึ่ง นักคิดในสมัยก่อนจึงแบ่งใจของคนแบบหยาบ ๆ ออกเป็น ๖ สายพันธุ์ ได้แก่  เปรต คือ สภาวะที่จิตใจของคนที่กำ�ลัง เต็มไปด้วยความหิว ความอยาก ความต้องการ เต็มไปด้วย ความโลภ อยากได้ อยากมี อยากเป็น อยากครอบครอง ต้องการสิ่งต่าง ๆ มาเป็นของตน  อสุรกาย คือ สภาวะที่จิตใจ กำ�ลังเต็มไป ด้วยความโมโห โกรธ มองโลกในแง่ร้าย อยากฆ่า อยาก ทำ�ลาย อยากให้สิ่งที่ตนไม่ชอบพินาศไปให้เร็วที่สุด  เดียรัจฉาน คือ สภาวะจิตใจของคนที่ไม่คิด ไม่รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ มึน ๆ ซึม ๆ ทำ�ตามสัญชาตญาณ เหมือนสิงสาราสัตว์ทั่ว ๆ ไป  มนุษย์ คือ สภาวะจิตใจของคนที่มีเหตุ มีผล คิดพิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทางสายกลาง  เทวดา คือ สภาวะจิตใจของคนที่สมหวัง พอใจ เบิกบานใจ มองโลกสวย  พรหม คือ สภาวะจิตใจของคนที่มีเมตตา สงสาร ใจกว้าง พร้อมที่จะให้อภัยและให้โอกาส ด้วยเหตุนี้ ในวันหนึง่ ๆ ใจคนเราจึงเป็นได้หลาย สายพันธุ์ แม้ร่างกายจะคล้าย ๆ กัน แต่ใจนั้นต่างกันโดย สิ้นเชิง คนที่กำ�ลังยืนเข้าคิวรอรถไฟฟ้าจึงเกิดการคิวแตก อยูเ่ สมอ การจราจรจึงเป็นจลาจลอย่างทีเ่ ราพบเห็น เพราะ บนถนนมีคนหลายสายพันธุ์ ไม่ได้เป็นสายพันธุ์เดียวกัน เปรียบเหมือนมดต่างสายพันธุ์ ที่กัดกันตายได้ทั้งรัง

ข่าวทหารอากาศ ๘๙

อย่างทีเ่ ราได้พบเห็นกันบ่อย ๆ เมือ่ ใจของคนเราเป็นได้ถงึ ๖ สายพันธุ์ โดยที่ไม่มีใครรู้ว่าคนที่ยืนอยู่ข้าง ๆ เราเป็น สายพันธุ์ไหน หน้าที่ของเราคงดูที่ตัวของเราเองดีกว่า ว่า ตอนนี้เราอยู่สายพันธุ์ไหน เพราะเราเองก็สามารถเป็นได้ ทัง้ ๖ สายพันธุ์ เช่น ถ้าเรากำ�ลังโกรธอยู่ เราก็เป็นอสุรกาย กำ�ลังอยากได้ อยากมีอยู่ เราก็เป็นเปรต ถ้าเราทำ�กราฟ ตัวเราเอง ตั้งแต่เช้าถึงค่ำ� เราอาจจะเป็นเปรตบ้าง เป็น อสุรกายบ้าง เป็นเดียรัจฉานบ้างก็ขอให้น้อย ๆ หน่อย เป็น เทวดาบ้าง เป็นพรหมบ้าง ก็อย่าให้มากนัก แต่ขอให้เป็น มนุษย์นาน ๆ หน่อย เราจะได้อาศัยอยู่ในสังคมได้อย่างมี ความสุข เพราะเราจะเป็นผูเ้ อาเปรียบผูอ้ นื่ ไม่มากนัก หาก พยายามไปเรือ่ ย ๆ เราก็อาจเป็นผูท้ เี่ อาเปรียบผูอ้ นื่ น้อยทีส่ ดุ และเมือ่ เราทุกคนช่วยกันทำ�เรือ่ งนี้ สังคมของเราก็จะสงบสุข ถ้ามีคนทำ�บ้างไม่ท�ำ บ้าง สังคมก็วนุ่ วาย ถ้าไม่มใี ครยอมทำ� ก็จะมีทั้งเปรต อสุรกาย เดียรัจฉาน มนุษย์ เทวดา พรหม อยูแ่ น่นรถไฟฟ้าขบวนเดียวกัน นับว่าเป็นกรรมร่วมกันทัง้ สังคม น่าอายสิงสาราสัตว์ทงั้ หลายทีม่ องเราอยู่ 


ีมรางวัล

แบบสอบถามความพึงพอใจ หนังสือข่าวทหารอากาศ

คำ�ชี้แจง แบบสอบถามฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำ�รวจความพึงพอใจและนำ�ผลการสำ�รวจมาใช้ในการพัฒนาปรับปรุง หนังสือข่าวทหารอากาศ (กรุณาใส่เครื่องหมาย  ในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่าน) ยศ - ชือ่ - สกุล .................................................... อายุ.............. ปี หน่วยงาน ................................................ โทรศัพท์ .........................

๑. ท่านติดตามหนังสือข่าวทหารอากาศจากแหล่งใด (ตอบได้มากกว่า ๑ ข้อ) หนังสือข่าวทหารอากาศ www.airforcemagazine.rtaf.mi.th ๒. แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือข่าวทหารอากาศ ระดับความพึงพอใจ หัวข้อการประเมิน มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย (๕)

(๔)

(๓)

(๒)

น้อยที่สุด (๑)

ด้านรูปแบบ

๑. การจัดรูปแบบมีความเหมาะสม ทันสมัย ๒. การออกแบบมีสีสัน สวยงาม น่าอ่าน ๓. ขนาดและตัวอักษรชัดเจน อ่านง่าย ๔. ภาพและเนื้อหามีความสัมพันธ์กัน

ด้านเนื้อหา

๕. ข้อมูลถูกต้อง น่าเชื่อถือ ทันสมัย และทันเหตุการณ์ ๖. มีความหลากหลาย ครอบคลุมในทุกด้าน ๗. การใช้ภาษาและคำ�สะกดถูกต้องตามหลักพจนานุกรม ๘. เพิ่มพูนความรู้และสามารถนำ�ไปใช้ประโยชน์ได้

๓. ท่านได้นำ�ข้อมูลที่ได้จากหนังสือข่าวทหารอากาศไปใช้ประโยชน์อย่างไร (ตอบได้มากกว่า ๑ ข้อ) ใช้เป็นแนวทางในการดำ�เนินชีวิต ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง (อภิปราย/รายงาน/การเรียนการสอน ฯลฯ) ใช้ในการทำ�งาน อื่น ๆ (ระบุ) .............................................................................. ๔. ท่านชื่นชอบบทความด้านใด (สถาบันพระมหากษัตริย์ กิจการ ทอ. วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การทหาร การศึกษา/วิชาการ และสังคมจิตวิทยา) ............................................................................................................................. ...................................................................................................................................................................................................... ๕. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ............................................................................................................................................................. .....................................................................................................................................................................................................  ขอขอบคุณที่กรุณาให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อหนังสือข่าวทหารอากาศ  กรุณาส่งแบบสอบถามคืนที่สำ�นักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ หอสมุดกองทัพอากาศ โทรสาร ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑ หรือ สามารถตอบแบบสอบถามได้ที่ www.airforcemagazine.rtaf.mi.th หมายเหตุ ผู้ตอบแบบสอบถาม มีสิทธิ์รับรางวัล สมุดบันทึกประจำ�วันทหารอากาศ ปี ๒๕๖๐ จำ�นวน ๑ ชุด (๑ ชุด มี ๒ เล่ม) โดยวิธีจับสลาก ๑๕ รางวัล ส่งแบบสอบถามภายใน ๓๑ ต.ค.๕๙ ผู้ส่งแบบสอบถามสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้รับรางวัลได้ที่ หนังสือข่าวทหารอากาศ ฉบับเดือน ธ.ค.๕๙ หรือ www.airforcemagazine.rtaf.mi.th



ทูลกระหมอมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงโปรดเกลาฯ ให พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง ผบ.ทอ. และ พล.อ.ต.หญิง อุดมลักษณ สนแจง นายกสมาคมแมบาน ทอ. เขาเฝารับพระราชทานพระพุทธรูปหลวงพอโสธรหินออน พรอมชุดเบญจรงค ในโอกาสครบเกษียณอายุราชการของ ผบ.ทอ. ณ อาคารจอดอากาศยานเลขที่ ๔๔๒๖ ดอนเมื​ือง

พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง ผบ.ทอ. รับเยี่ยมคำนับจาก H.E. Mr.Brian John Devidson เอกอัครราชทูตวิสามัญผูมีอำนาจเต็ม แหงสหราชอาณาจักร ประจำประเทศไทย ในโอกาสแนะนำตัว เขารับตำแหนงใหม เพื่อประสานความรวมมือและเสริมสรางความสัมพันธระหวางกองทัพทั้งสองประเทศใหดียิ่งขึ้น ณ หองรับรองพิเศษ ๑ บก.ทอ. เมื่อ ๓ ส.ค.๕๙

พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง ผบ.ทอ. รับเยี่ยมคำนับจาก Lt.Col.Nadia Piercy ผูชวยทูตทหารฝรั่งเศส ประจำกรุงเทพฯ เพื่อแนะนำตัวเนื่องในโอกาสเขารับตำแหนงใหม เพื่อการประสานความรวมมือและเสริมสรางความสัมพันธระหวางกองทัพทั้งสองประเทศใหดียิ่งขึ้น ณ หองรับรองพิเศษ ๑ บก.ทอ. เมื่อ ๑ ส.ค.๕๙


พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง ผบ.ทอ. และ พล.อ.ต.หญิง อุดมลักษณ สนแจง นายกสมาคมแมบา น ทอ. รวมงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคลแดสมเด็จพระนางเจาฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อ ๙ ส.ค.๕๙

พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง ผบ.ทอ. ในฐานะกรรมการสภาลูกเสือไทยและนายกสมาคมสโมสรลูกเสืออากาศกิตติมศักดิ์ รวมถายภาพกับคณะอดีตผูบังคับบัญชากองทัพอากาศ ผูบริหารสถานศึกษาและลูกเสือ เนตรนารีเหลาอากาศ จาก รร.ฤทธิยะวรรณาลัย ๑ และ ๒ รร.ดอนเมืองจารุจินดา รร.สีกัน และ รร.ดอนเมืองทหารอากาศบำรุง เพื่อประกอบจัดทำหนังสือที่ระลึกการชุมนุมลูกเสืออากาศแหงชาติ ครั้งที่ ๑ ณ หองรับรองพิเศษ ๑ บก.ทอ. เมื่อ ๒ ส.ค.๕๙

พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง ผบ.ทอ. ตอนรับ พล.อ.อ.ตัน ดาโตะ สรี โรสลาน บิน ซาอัท ผบ.ทอ.มาเลเซีย ในโอกาสเดินทางมารวมกิจกรรมเสริมสรางความสัมพันธระหวาง ทอ. - ทอ.มาเลเซีย (Senior Officer Bilateral Engagement: SOBE ) ณ สนามกอลฟ ทอ.(ธูปะเตมีย) อ.ลำลูกกา จว.ปทุมธานี ระหวาง ๑๓ - ๑๔ ส.ค.๕๙


พล.อ.ท.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน รอง เสธ.ทอ.(ยก.) ผูแทน/ผบ.ทอ. รับเยี่ยมคำนับจาก Mr.Mohamad Elkany bin Ahmad ประธานกรรมการบริหารกลุมบริษัท NADI (National Aerospace and Defence Industries) และคณะ เพือ่ หารือเรือ่ งโครงการปรับปรุงอุปกรณอเิ ล็กทรอนิกสสำหรับเครือ่ งบินลำเลียงแบบที่ ๘ ของกองทัพอากาศ (The Avionics Upgrade Program for C-130 aircraft of RTAF) ณ หองรับรองพิเศษ ๑ บก.ทอ. เมื่อ ๕ ส.ค.๕๙

พล.อ.อ.ทวิเดนศ อังศุสิงห ผช.ผบ.ทอ. และ คุณสาริณี แสงประสิทธิ์ กรรมการผูอำนวยการใหญ บริษัท วิทยุการบินแหงประเทศไทย จำกัด ไดใหเกียรติเขารวมการสัมมนากับ นศ.วทอ. เรื่อง “หวงอวกาศ ปจจัยสำคัญของกำลังอำนาจแหงชาติ ยุคไทยแลนด 4.0” โดยมี พล.อ.ท.ฌเณศ ชลิตภิรัติ จก.ยศ.ทอ. และ พล.อ.ต.นอย ภาคเพิ่ม ผบ.วทอ.ฯ ใหการตอนรับ ณ หองบรรยาย วทอ.ยศ.ทอ. เมื่อ ๑๑ ส.ค.๕๙

พล.อ.อ.ธีรฉัตร กระโจมแกว ผทค.พิเศษ ทอ./ประธานอนุกรรมการบริหารวารสารและสื่อ สิง่ พิมพ ทอ. เปนประธานการประชุม คณอก.บริหารวารสารและสือ่ สิง่ พิมพ ทอ. ครัง้ ที่ ๘/๕๙ ณ หองประชุม ศบภ.ทอ. เมื่อ ๑๕ ส.ค.๕๙

พล.อ.ท.ฌเณศ ชลิตภิรตั ิ จก.ยศ.ทอ. เปนประธานในพิธที ำบุญตักบาตร พิธถี วายราชสดุดี และ เปดโครงการเฉลิมพระเกียรติ ๑๒๘๔ ณ บริเวณหนาอาคาร บก.ยศ.ทอ. เมือ่ ๑๑ ส.ค.๕๙


พล.อ.ท.ฉัตรชัย บุญญานุรักษ ผบ.รร.นนก. พรอมนายทหารและ นนอ. รอยดวงแหงความ จงรักภักดี แปรอักษรแหงความจงรักภักดี “รักแม” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจาฯ พระบรมราชินนี าถ เนือ่ งในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ ลานอเนกประสงค รร.นนก. เมื่อ ๑๐ ส.ค.๕๙

พล.อ.ท.ชาญฤทธิ์ พลิกานนท ผบ.อย. เปนประธานคณะกรรมการตรวจสอบความพรอมรบ และทดสอบแผนปองกันที่ตั้ง ทอ. ณ ตอ.รอ.อย. เมื่อ ๒ ส.ค.๕๙

พล.อ.ต.สรกฤต มังสิงห ผอ.สนภ.ทอ. รับการเยี่ยมคำนับจาก พล.อ.ต.โด ดึ๊ก มิง รอง เสธ.ทอ. และปองกันภัยทางอากาศเวียดนาม พรอมคณะ รวมหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณดาน งานนิรภัยของทั้งสองประเทศ ณ สนภ.ทอ.

พล.อ.ต.อนุตตร จิตตินันทน รอง จก.พอ. เปนประธานในพิธีเปดงานวันแมแหงชาติ ๒๕๕๙ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจาฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ระหวาง ๑๐ - ๑๑ ส.ค.๕๙

พล.อ.ต.รัชชาพงษ สมนาม ผบ.รร.การบิน เปนประธานในพิธีทำบุญตักบาตร สวดมนต เจริญภาวนาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจาฯ พระบรมราชินนี าถ เนือ่ งในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ วิหารพระพุทธศรีนภาภิธรรม รร.การบิน เมื่อ ๑๐ ส.ค.๕๙

พล.อ.ต.วินยั จันทรเปลง รอง ผบ.รร.นนก./ผูแ ทน ผบ.รร.นนก. ใหการตอนรับ Lt.Col.MAH KOK LEON และคณะนายทหาร ทอ.มาเลเซีย ในโอกาสเยีย่ มชมกิจการ รร.นนก. ตามโครงการ แลกเปลี่ยนการเยือนระหวาง ทอ. และ ทอ.มาเลเซีย ณ รร.นนก.


น.อ.ระวิน ถนอมสิงห ผบ.บน.๑ เปนประธานในพิธที ำบุญบำเพ็ญกุศล เฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระนางเจาฯ พระบรมราชินนี าถ เนือ่ งในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ วิหารพระพุทธทีปงกร บน.๑ เมื่อ ๕ ส.ค.๕๙

น.อ.อังคาร อินทรา ผบ.บน.๔ เปนประธานในพิธีถวายราชสดุดี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระนางเจาฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ บน.๔ เมื่อ ๑๑ ส.ค.๕๙

น.อ.วสุ มโนสิทธิศักดิ์ ผบ.บน.๖ เปนประธานในพิธีทำบุญตักบาตร ขาวสาร อาหารแหง ถวายเปนพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจาฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องใน โอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ บริเวณหนาอาคาร บก.บน.๖ เมื่อ ๑๐ ส.ค.๕๙

น.อ.เจษฎา แทงทองคำ ผบ.บน.๒ พรอมขาราชการ รวมบันทึกเทปโทรทัศนถวายพระพร เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจาฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ หอประชุมกานตรัตน บน.๒

น.อ.สรวิชญ สุรกุล ผบ.บน.๕ นำขาราชการ ลูกจาง พนักงานราชการ และทหารกองประจำการ บน.๕ เขารวมกิจกรรมปลอยพันธุสัตวน้ำเฉลิมพระเกียรติฯ ณ บริเวณริมเขื่อนดานหนา อบจ. ประจวบคีรีขันธ เมื่อ ๑๒ ส.ค.๕๙

น.อ.สมใจ ชัยวงษ ผบ.บน.๗ เปนประธานในพิธเี ปดโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ “รอบรัว้ รอบดาน หนาบาน นามอง” รวมกับ แขวงการทางสุราษฎรธานี พุนพิน พัฒนาทำความสะอาดบริเวณดานหนา บน.๗ เมือ่ ๑๐ ส.ค.๕๙


น.อ.นิสิต โขเมษฐวัฒน ผบ.บน.๒๑ พรอมขาราชการ รวมพิธเี ฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจาฯ พระบรมราชินนี าถ เนือ่ งในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ หอประชุมไพรพะยอม ม.ราชภัฏอุบลราชธานี เมือ่ ๑๒ ส.ค.๕๙

น.อ.ธนเสฏฐ ธรรมอำนวยกิจ ผบ.บน.๒๓ รวมบันทึกเทปโทรทัศนถวายพระพรเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจาฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ รวมกับ นายชยาวุธ จันทร ผวจ.อุดรธานี พรอมดวย หน.สวนราชการ จว.อุดรธานี ณ สถานีวทิ ยุโทรทัศนแหงประเทศไทย อ.เมือง จว.ขอนแกน

น.อ.นิสิต โขเมษฐวัฒน ผบ.บน.๒๑ ใหการตอนรับ น.อ.วัฒนศักดิ์ เพิ่มทรัพย รอง ผอ. กวก.พอ.ทอ. พรอมคณะ ประเมินและพัฒนาศูนยฟนฟูสมรรถภาพผูติดยาเสพติด บน.๒๑ ณ ศูนยฟนฟูสมรรถภาพผูติดยาเสพติด บน.๒๑ เมื่อ ๑๑ ส.ค.๕๙

น.อ.ชาตินนท สทานไผท ผบ.บน.๔๑ เปนประธานในกิจกรรมรำวงยอนยุคเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๗๐ ป และสมเด็จพระนางเจาฯ พระบรมราชินีนาถ เฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ ทกท.บน.๔๑ เมื ่ อ ๕ ส.ค.๕๙

น.อ.พฤทธิ์ ตึกสุอนิ ทร ผบ.บน.๕๖ เปนประธานเปดกิจกรรมพัฒนาทำความสะอาด เฉลิมพระเกียรติ สมเด็ จ พระนางเจ า ฯ พระบรมราชิ น ี น าถ เนื ่ อ งในโอกาสมหามงคลเฉลิ ม พระชนมพรรษา ครบ ๗ รอบ ๑๒ สิ ง หาคม ๒๕๕๙ ณ หนารานคาสวัสดิการ บน.๕๖ เมื่อ ๑๐ ส.ค.๕๙

น.อ.อรรณพ นงคชะนา รอง ผบ.บน.๕๖ ใหการตอนรับ คณะกองทัพอากาศประเทศ มาเลเซีย ภารกิจแลกเปลี่ยนการวางกำลัง บ.ขับไล (FCD: Fighter Cross Deployment) ณ ลานจอดอากาศยาน ฝูงบิน ๕๖๑ บน.๕๖ เมือ่ ๘ ส.ค.๕๙





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.