(หมดเขตสิ้นเดือน ธันวาคม 2559 เทานั้น)
พระบรมราโชวาท “…การทำ�งานใหญ่ ๆ ทุกอย่าง ต้องการเวลามาก กว่าจะทำ�สำ�เร็จ ผู้ที่เริ่มโครงการ อาจไม่ทันทำ�ให้สำ�เร็จโดยตลอดด้วยตนเองก็ได้ ต้องมีผู้อื่นรับทำ�ต่อไป ดังนั้น ไม่ควร ยกเอาเรือ่ งใครเป็นผูเ้ ริม่ งาน ใครเป็นผูร้ บั ช่วงงานขึน้ เป็นข้อสำ�คัญนัก จะต้องถือผลสำ�เร็จ ที่จะเกิดจากงานเป็นใหญ่ยิ่งกว่าสิ่งอื่น...”
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๔
โอ้องค์พระปิยมหาราช ต่างยึดมั่นในพระคุณพูนทวี ยังอบอุ่นในอกมิผกผัน แม้ทุกข์ร้อนผ่อนคลายมลายลง เชื่อกันว่าพระสยามเทวานั้น จึงศักดิ์สิทธิ์สมประสงค์จำ�นงใน ทรงบำ�เพ็ญบารมีศรีประเทศ พระเมตตามากล้นท้นทวี ทรงเลิกทาสให้ประจักษ์เป็นหลักฐาน ประพาสต้นล้นฤดีทวีตาม ทั้งด้านการศึกษาพาสดศรี อาณาจักรพุทธจักรหลักสมบูรณ์ ปิโยรสพระนัดดาสง่าศรี นำ�ชาติไทยเลิศรัตน์จรัสจินต์ สู่สวรรคาลัยไปนานนัก คุณพระองค์เลิศล้ำ�ธรรมอุดม ขอคุณพระไตรรัตน์จรัสศรี โปรดคุ้มครองพระองค์พระทรงชัย
ไทยทั้งชาติเทิดทูนบุญราศี ที่มากมีสุดประมาณมาจารลง มหัศจรรย์พระบารมีที่ประสงค์ คุณพระองค์ป้องปัดขจัดภัย อย่างแม้นมั่นคือพระองค์ไม่สงสัย ต่างสดใสร่มเย็นเพ็ญฤดี คุณคุ้มเกศครบถ้วนล้วนสดศรี สมบูรณ์ที่พระกรุณาสง่างาม คุณตระการทั่วไปในสยาม ส่งผลงามแก่ไทยยิ่งไพบูลย์ พระบารมีสว่างไสวดุจไอศูรย์ ยิ่งเพิ่มพูนพระบารมีศรีแผ่นดิน พระบารมีประสิทธิ์เป็นนิจศีล สมถวิลเป็นนิตย์จิตนิยม ไทยต่างรักทูนเทิดประเสริฐสม น้อมบังคมถวายพรอมรชัย เทพทั่วฟ้าธาตรีอสงไขย สถิตใดคุ้มครององค์จงนิรันดร์
สำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้จัดทำ�หนังสือข่าวทหารอากาศ (น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ประพันธ์ถวาย)
ข่าวทหารอากาศ
คณะผู้จัดทำ�หนังสือข่าวทหารอากาศ เจ้าของ
กองทัพอากาศ
ที่ปรึกษา
พล.อ.อ.สมศักดิ์ วรฉัตร พล.อ.ต.หญิง มาลี ดิษฐบรรจง
พล.อ.ท.ประพัตรา ตัณฑ์ไพโรจน์ พล.อ.ต.หญิง สุมาลี ฤทธิบุตร
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
พล.อ.ต.ธนบดี อุตะมะ พล.อ.ต.น้อย ภาคเพิ่ม น.อ.ไววิทย์ เสือดี น.อ.ศุภโชติ ชัยวงษ์ น.อ.กานต์ชนก หันหาบุญ น.อ.วันชัย บุญภักดี
พล.อ.ต.นพดล บุญมั่น พล.อ.ต.สำ�เริง พูลเพิ่ม น.อ.ขวัญกล้า นกเอี้ยงทอง น.อ.วันชัย พึ่งเจียม น.อ.หญิง วิภาดา ชนไมตรี
ผู้อำ�นวยการ
พล.อ.ท.ฉัตรชัย บุญญานุรักษ์ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ
รองผู้อำ�นวยการ
พล.อ.ต.คุณทร มณีเขียว เสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ น.อ.อำ�นวย สมวงศ์ รองเสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ผู้จัดการ น.อ.สหัสชัย มาระเนตร ผู้ช่วยผู้จัดการ น.ท.ชาญยุทธ รัตนสาลี กองบรรณาธิการ บรรณาธิการ พล.อ.ท.ฉัตรชัย บุญญานุรักษ์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ น.อ.หญิง ธัญญาภรณ์ พันธุ์เพ็ง น.ท.ชาญยุทธ รัตนสาลี ประจำ�กองบรรณาธิการ น.อ.นิพนธ์ ก่อสินค้า น.ท.หญิง วรรณวิไล เนียมวงษ์ น.ท.หญิง สุภาวดี โคตรเวียง ร.ต.หญิง ณัฐธฌา สนแจ้ง พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห์ กองจัดการ น.อ.อุรุพงษ์ แสงจันทร์ ร.อ.สุวัฒน์ ประชากูล พ.อ.อ.หญิง เศาวณี พุกน้อย พ.อ.อ.หญิง เฉลา แก้วยศ นาง อมรา หัตถมาศ
หนังสือข่าวทหารอากาศ
ความเป็นมา
หนังสือข่าวทหารอากาศ เป็นนิตยสารรายเดือนของกองทัพ อากาศ เริ่มดำ�เนินการเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓ ขึ้นกับกรมข่าวทหารอากาศ มีนาวาอากาศเอก สกล รสานนท์ เป็นบรรณาธิการคนแรก ดำ�เนินการ โดยทุนของข้าราชการทหารอากาศ ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๙๘ ได้โอนกิจการ มาอยู่ในความอำ�นวยการของกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ตามคำ�สั่ง ทอ. (เฉพาะ)ที่ ๕๘๐/๙๘ ลง ๒๓ ธ.ค.๒๔๙๘ ๑ ม.ค.๒๕๕๓ ได้เข้าอยู่ในกิจการสวัสดิการกองทัพอากาศ กำ�กับดูแลโดยคณะอนุกรรมการบริหารวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์กองทัพ อากาศ ตามอนุมัติ ผบ.ทอ./ประธานกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ เมื่อ ๒๘ ธ.ค.๕๒ กำ�หนดให้ใช้ระเบียบคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพ อากาศ ว่าด้วยการบริหารวารสารและสือ่ สิง่ พิมพ์กองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๕๒
ภารกิจ
ดำ�เนินกิจการหนังสือข่าวทหารอากาศ ให้เป็นไปตามนโยบายของ คณะอนุกรรมการบริหารวารสารและสือ่ สิง่ พิมพ์กองทัพอากาศ มีผอู้ �ำ นวยการ หนังสือข่าวทหารอากาศ (จก.ยศ.ทอ.) เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในกิจการทั่ว ๆ ไป ๒. เพือ่ แลกเปลีย่ นแสดงความคิดเห็นในด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม อันจะ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ๓. เพื่อเผยแพร่กิจการกองทัพอากาศ
การดำ�เนินงาน
๑. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น ที่เป็น ประโยชน์ในการพัฒนากองทัพและส่วนรวม ๒. เรื่องที่นำ�ลงในหนังสือข่าวทหารอากาศ - ต้องไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์/นโยบาย กองทัพอากาศ - ต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ บุคคล หรือ ส่วนรวม - ต้องได้รับการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะกรรมการ พิจารณาเรื่องของสำ�นักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ
กำ�หนดการเผยแพร่
นิตยสารรายเดือน
สำ�นักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ www.airforcemagazine.rtaf.mi.th ห้อง ๑๐๑ อาคารหอสมุดกองทัพอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กทม. ๑๐๒๑๐ โทร. ๐-๒๕๓๔-๔๔๗๑, ๐-๒๕๓๔-๔๒๔๑ แฟกซ์ ๐-๒๕๓๔-๔๔๗๑
พิมพ์ที่ บริษัท ปรีชาธร อินเตอร์พริ้น จำ�กัด ๔/๕ ซอย รามอินทรา ๔๒ แยก ๘ แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กทม. ๑๐๒๓๐ โทร. ๐-๒๙๓๐-๗๐๕๓-๔ แฟกซ์ ๐-๒๙๓๐-๗๐๕๐ ค่าสมาชิกภายนอกปีละ ๓๕๐ บาท (รวมค่าส่ง) สั่งจ่าย ปณ.คลองถนน ๑๐๒๒๒
ความคิดเห็นของผู้เขียนในหนังสือฉบับนี้ ไม่มีส่วนผูกพันกับทางราชการแต่ประการใด ภาพที่ลงในหนังสือข่าวทหารอากาศนำ�มาจาก google.com ออกแบบปก : ร.ต.หญิง ณัฐธฌา สนแจ้ง/จ.ท.หญิง รัฐพร เตชะสินทวี E-mail: rtafmag@gmail.com
ส
ารบัญ
ปีที่ ๗๖ ฉบับที่ ๑๐ เดือนตุลาคม ๒๕๕๙
๙ บทบรรณาธิการ ๑๐ ภาพเก่าเล่าเรือ่ ง ...ฒ.ผู้เฒ่า ๑๑ ประโยชน์สุขของแผ่นดิน : แก้มลิง... ปฏิบัติการรับมือกับสายน้ำ� ...ตามรอย ๑๔ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ลำ�ดับที่ ๒๔ ๑๖ วิหารพระพุทธเมตตานภากาศประทานพร ...ปชส.ชย.ทอ.
๕๙
น.อ.ณัฐวุฒิ สามไพบูลย์, Ph.D.
๑๖
ปชส.ชย.ทอ.
๑๙ มหกรรมการจัดการความรู้ นวัตกรรมและกิจกรรม พัฒนาคุณภาพ ทอ. ครั้งที่ 33 ...กคพ.สปพ.กพ.ทอ. ๒๕ หน่วยงานดีเด่น ทอ. ปี ๕๙ ...น.ท.หญิง ศศิรดา มณีนาค ๒๗ เทคโนโลยีเลเซอร์ ...น.อ.หญิง ชมพูนุท พูลสนอง ๓๔ นภาธิปัตย์ทัศนะ : วิเคราะห์สงครามทางอากาศ กรณีศึกษา : "Pearl Harbor" ...ฝ่ายวิชาการ นทน.เสธ.ทอ.รุ่นที่ ๖๐ ๔๑ องค์กรระดับดีเลิศด้านการตรวจสอบภายใน ๓๐ ปี สำ�นักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ ...ปชส.สตน.ทอ. ๔๓ ห้วงอวกาศกับการครอบครองของ ทอ.สหรัฐฯ ...น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์ ๔๙ เตรียมความพร้อมสำ�หรับทหารยุคใหม่ ...พล.ท.ทวี แจ่มจำ�รัส
๕๕ วัฒนธรรมขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ ทอ. : ค่านิยมหลัก ทอ. ...น.ท.หญิง อัจฉรา นุตตะโร, Ph.D. ๕๙ Phishing ภัยร้ายใกล้ตัว ...น.อ.ณัฐวุฒิ สามไพบูลย์, Ph.D. ๖๔ เตรียมตัวก่อนไปสวรรค์ ...น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ๖๗ ปริศนาอักษรไขว้ ประจำ�เดือน ต.ค.๕๙ ...มีน ๖๙ เวลาการ์ตูน ...มิสกรีน ๗๑ ครูภาษาพาที : 5 คำ�คมสร้างแรงบันดาลใจ จากภาพยนตร์ ...PJ the Piglet ๗๕ มุมสุขภาพ : สะเก็ดเงิน...ไม่ติด และไม่ผิด ...น.ต.นพ.สุรินท์นาท เจริญจิตต์ และ พญ.ศศิผกา สินธุเสน รพ.บน.23 ๗๘ รอบรู้อาเซียน : เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประชาคมอาเซียน ...@Zilch ๗๙ ภาษาไทยด้วยใจรัก : ถามมา - ตอบไป ...นวีร์ ๘๑ เฉลยปริศนาอักษรไขว้ ประจำ�เดือน ส.ค.๕๙ ...มีน ๘๒ มุมกฎหมาย : ความผิดหลายกรรม ...น.อ.วันชัย ม้าสุวรรณ ๘๖ ขอบฟ้าคุณธรรม : ผู้ปกครองต้องมองเห็นโลก ...1261 ๙๐ แบบสอบถามความพึงพอใจหนังสือข่าวทหารอากาศ ๙๑ โครงการช้างเผือก 2560 ๙๒ ในรั้วสีเทา
บทบรรณาธิการ สวัสดีครับ สมาชิกหนังสือข่าวทหารอากาศทุกท่าน คณะผู้จัดทำ�หนังสือข่าวฯ ในนามของกองทัพอากาศ ขอแสดงความยินดีกับ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ที่ได้รับ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ด�ำ รงตำ�แหน่งผูบ้ ญั ชาการทหารอากาศ คนที่ ๒๔ และขอแสดงความยินดีอกี ครัง้ กับผูบ้ งั คับบัญชา ระดับสูงทุก ๆ ท่าน ที่ได้รับพระราชทานยศและตำ�แหน่งสูงขึ้น วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙ วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ� เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันสำ�คัญทางพระพุทธศาสนา อีกวันหนึง่ เนือ่ งจากเป็นวันสิน้ สุดระยะเวลาจำ�พรรษาครบ ๓ เดือนของพระสงฆ์เถรวาท ในวันนีพ้ ระสงฆ์จะทำ�สังฆกรรมปวารณา ออกพรรษา จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนพร้อมใจกันร่วมทำ�บุญตักบาตรเทโว ฟังธรรมเทศนา และรักษาอุโบสถศีล วันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุก ๆ ปี วันปิยมหาราช เป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งพระบรมจักรีวงศ์ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมี พระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทรงปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า คณะผู้จัดทำ� หนังสือข่าวฯ ขอน้อมรำ�ลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ในบทอาเศียรพาทพระปิยมหาราชสดุดี ฉบับนีป้ กเป็นภาพของบทความเรือ่ งเด่น ห้วงอวกาศกับการครอบครองของ ทอ.สหรัฐฯ ทีก่ ล่าวถึงการพัฒนาเทคโนโลยี ห้วงอวกาศและความได้เปรียบในการปฏิบัติการรบ โดยใช้ดาวเทียมทางทหารเป็นตัวประสานและชี้เป้าหมายเพื่อป้องกัน ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นต่อดาวเทียมสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมีบทความเรื่อง เทคโนโลยีเลเซอร์ ที่กล่าวถึงประโยชน์ของการใช้ เลเซอร์โดยเฉพาะด้านการทหาร เช่น อาวุธนำ�วิถี ซึ่งระบบอาวุธเลเซอร์นี้มีความเร็ว แม่นยำ� ปลอดภัย และใช้เจ้าหน้าที่ในการ บังคับเครื่องควบคุมที่น้อยกว่า และบทความที่มีบทบาทในชีวิตประจำ�วันที่เกี่ยวข้องกับวิธีการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตเพื่อดู ข้อมูลที่สำ�คัญเฉพาะบุคคลและสามารถนำ�รหัสผ่านไปใช้ประโยชน์ ทำ�ให้ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพ ซึ่งสมาชิกสามารถ อ่านรายละเอียดได้ในเรื่อง Phishing ภัยร้ายใกล้ตัว และนอกจากนี้ยังมีเรื่องที่มีสาระน่าสนใจอีกหลายเรื่อง ขอเชิญสมาชิกทุกท่าน อ่านได้ตามอัธยาศัย สำ�นักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ ได้จัดทำ�แบบสอบถามความพึงพอใจของสมาชิกฉบับนี้เป็นฉบับสุดท้าย จึงขอ เชิญชวนสมาชิกทุกท่าน ตอบแบบสอบถามในหน้าที่ ๙๐ หรือที่ http://www.airforcemagazine.rtaf.mi.th ซึ่งท่านสามารถ ส่งแบบสอบถามได้ถึง ๓๑ ต.ค.๕๙ คณะผู้จัดทำ�หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือจากสมาชิกและขอขอบคุณที่ให้ความ ร่วมมือมา ณ โอกาสนี้ บรรณาธิการ
ภาพเก่าเล่าเรื่อง ฒ.ผู้เฒ่า
วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๘ ในขณะที่ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข เป็น ผบ.ทอ. รัฐบาลมอบหมายให้กองทัพอากาศ จัดเครื่องบินลำ�เลียงแบบที่ ๘ นำ�สิ่งของประกอบด้วยเต็นท์ยกพื้นขนาดครอบครัว ๓๐ หลัง ผ้าห่มนวม ๔,๐๐๐ ผืน ผ้าห่มไหมพรม ๖,๐๐๐ ผืน และเวชภัณฑ์อีก ๑,๐๐๐ กล่อง ไปมอบให้รัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน เพื่อช่วยเหลือ ประชาชนที่ประสบภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งร้ายแรง
แหล่งข้อมูล : ๔ แผ่นดินราชวงศ์จักรี ๑๐๐ ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ
ในอดีต ปกติชาวเมืองจังหวัดชุมพรตองเผชิญกับสภาพอากาศที่เอาแนนอนไมไดโดยเฉพาะ ในฤดูฝนทีอ่ าจมีพายุเขาหลายระลอก แตทกุ วันนีผ้ คู นทีน่ ก่ี ลับไมไดหวาดผวาดังเชนหลายสิบปในอดีต เพราะพวกเขามั่นใจวาสามารถรับมือกับสายน้ำไดมากขึ้น ปญหาอุทกภัยเปนปญหาใหญของเมือง ชุมพรที่ทุกปหนวยงานตาง ๆ ตองติดตามสถานการณอยางใกลชิด หนึ่งในนั้น คือ โครงการ ชลประทานชุมพร ซึ่งเปนหนวยงานที่รับผิดชอบดานการจัดสรรน้ำโดยตรง สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำใหน้ำทวมนอกจากมรสุมแลว สาเหตุ สวนหนึ่งก็เพราะวาพื้นที่ขางบนเปนแหลงของภูเขา พอฝนตกหนัก เกิดน้ำปา ปริมาณตนไมในปามีนอย น้ำที่จะไหลชะดิน ชะอะไร ตาง ๆ มาเร็ว แตพอมาถึงในเมือง มาเจอบานเรือน สิง่ กีดขวางตาง ๆ น้ำก็เลยยกระดับสูงขึน้ ทวมทุกป ทัง้ นีเ้ พราะมีเสนทางระบายน้ำ ที่จำกัด ทำใหกรมชลประทานตั้งรับดวยการขุดคลองเพิ่ม เพื่อชวยแบงน้ำจากคลองทาตะเภา
คลองสำคัญสายหนึ่งที่อยูระหวางดำเนินงานในขณะนั้นคือ คลองหัววัง - พนังตัก ซึ่งจะลัดออกสูทะเล ดวยระยะทาง ๘ กิโลเมตร โดยยังเหลือระยะทางที่ขุดคางอยูอีก ๑,๔๖๐ เมตร ตามกำหนดเดิมจะใชเวลาขุดประมาณ ๑ ป ทวาหลังจากพายุ ซีตาถลมเมืองชุมพร พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงมีพระราชกระแสรับสั่งใหกรมชลประทานเรงขุดใหเสร็จสิ้นภายใน ๑ เดือน ในขณะนั้นยังไมมีใครรูแนชัดถึงเหตุผลของพระองคทาน แตทุกฝายตางก็ทำตามหนาที่อยางแข็งขันในทามกลางอุปสรรคตาง ๆ โดยเฉพาะการทำงานในชวงฤดูฝนที่สภาพดินกลายเปนเลน เพียง ๒ วันหลังจากขุดคลองสายนี้เสร็จ เหตุการณไมคาดฝนก็เกิดขึ้น เกิดมีพายุลนิ ดาเขามาถลมชุมพรอีก พวกเราก็งงวาพระบาทสมเด็จพระเจาอยูห วั ทรงทราบไดอยางไร คลองหัววัง - พนังตัก ชวยไว ไมทวมเลยตอนนั้น ระบายน้ำไดหมด ก็เปนสิ่งมหัศจรรยมากในพระอัจฉริยภาพดานอุตุนิยมวิทยา ไมนาเปนไปไดเลย ที่วาทานจะ ทรงทราบลวงหนาวาภายใน ๓๐ - ๔๐ วัน จะมีพายุอกี ลูกหนึง่ เขาชุมพร และนีค่ อื เหตุผลทีพ่ ระองคทา นรับสัง่ ใหเรงขุดคลองนัน่ เอง เพราะทรงคาดการณวาคลองสายนี้จะชวยใหประชาชนของพระองคตั้งรับกับภัยธรรมชาติได
แนวพระราชดำริในการแกไขปญหาอุทกภัย นอกจากหาทางลัดในการเรงระบายน้ำออกสูทะเลดังเชน การขุดคลองหัววัง - พนังตัก แลว อีกวิธีหนึ่งคือ การเพิ่มพื้นที่รับน้ำ หรือที่พวกเราคุนเคยกันในชื่อของโครงการ “แกมลิง” ในป พ.ศ.๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงพระราชทานพระราชดำริครั้งแรก หลักการของ แกมลิง จำลองมาจากลักษณะเวลาที่ลิงกินอาหาร คือ รีบกินแลวกักตุนไวในกระพุงแกมกอนจะคอย ๆ กลืน เชนเดียวกับสายน้ำที่ไหลเขาไปพักในบึงน้ำขนาดใหญ กอนที่จะคอย ๆ ระบายออกสูทะเลนั่นเอง แกมลิงแหงแรก ตามแนวพระราชดำริ คือ โครงการสระเก็บน้ำพระราม ๙ สำหรับกักเก็บน้ำจากแมน้ำเจาพระยาที่เขามาทางคลอง รังสิต เพื่อใชเจือจางน้ำเสียในกรุงเทพฯ และชวยการเกษตรของราษฎรในพื้นที่ภาคกลางตอนลาง แกมลิงจึงเปน วิธีการบริหารจัดการน้ำอยางเปนระบบ โดยการทำงานรวมกันระหวางลำคลองสาขาตาง ๆ และแกมลิงเทากับเปน การแกไขปญหาในภาพรวมอยางเปนระบบ ผลลัพธที่เกิดขึ้น คือ คนชุมพรไมตองประสบกับปญหาน้ำทวมอีก ที่สำคัญนี่ยังเปนตนแบบการจัดสรรน้ำในอีกหลายแหง แมชาวชุมพรจะยังตองอยูก บั ความเอาแนเอานอนไมไดของฟาฝน แตพวกเขาก็มน่ั ใจและเชือ่ วารับมือได ไมใชดว ยวิธกี ารเอาชนะธรรมชาติหรือปาฏิหาริยใ ด ๆ หากแตเปนการเรียนรูธ รรมชาติอยางเขาใจและอยูร ว มกัน อยางสมดุล
พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ลำ�ดับที่ ๒๔ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๑๖ และ นักเรียน นายเรืออากาศ รุ่นที่ ๒๓ เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๑ รับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย รุ่นที่ ๑๐ เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๑๖ ในปี พ.ศ.๒๕๑๖ โรงเรียนนายเรืออากาศ รุน่ ที่ ๒๓ และได้รบั ทุนไปศึกษา ณ โรงเรียนนายร้อยรวม ประเทศญีป่ นุ่ รุน่ ที่ ๒๖ ต่อมาเข้ารับการฝึกและสำ�เร็จหลักสูตร ศิษย์การบินโรงเรียนการบิน กำ�แพงแสน จังหวัดนครปฐม เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ และสำ�เร็จโรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับ ฝูงบิน รุ่นที่ ๖๔ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ ๓๖ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ ประเทศญี่ปุ่น รุ่นที่ ๔๑ นอกจากการฝึกศึกษาในหลักสูตรทางทหารแล้วยังได้เข้ารับการศึกษาในหลักสูตรต่าง ๆ ทัง้ ภายในและต่างประเทศ ทีส่ �ำ คัญ เช่น หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๔ และสถาบันวิทยาการพลังงาน รุ่นที่ ๕ เข้ารับราชการครั้งแรกในตำ�แหน่งนักบินประจำ�หมวดบิน ๒ ฝ่ายยุทธการ ฝูงบิน ๑๐๑ กองบิน ๑ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ ตำ�แหน่งที่สำ�คัญ ท่านเคยดำ�รงตำ�แหน่งที่สำ�คัญในส่วนกำ�ลังรบ ในสายงานด้านยุทธการ ด้านการศึกษา และด้านการข่าว ดังนี้ เป็นนายทหารการฝึก ฝ่ายยุทธการ ฝูงบิน ๑๐๒ กองบิน ๑ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๓๑ - ๒๕๓๖ นายทหารฝ่ายเสนาธิการ กองฝึกภาคอากาศ กรมยุทธการทหารอากาศ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๓๖ - ๒๕๓๙ รองผู้อำ�นวยการ กองการวิจัยและพัฒนาการรบ กรมยุทธการทหารอากาศ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๓๙ - ๒๕๔๑ รองผู้อำ�นวยการกองการศึกษา
วิทยาลัยการทัพอากาศ สถาบันวิชาการทหารอากาศชัน้ สูง กองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๔๑ ถึง ๒๕๔๔ ผู้อำ�นวยการกองนโยบายและแผน กรมข่าวทหารอากาศ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๔๔ - ๒๕๔๘ นายทหาร ฝ่ายเสนาธิการประจำ�กรมข่าวทหารอากาศ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๔๘ - ๒๕๔๙ รองเจ้ากรมข่าวทหารอากาศ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๔๙ - ๒๕๕๐ รองผูบ้ ญ ั ชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ สถาบันวิชาการทหารอากาศชัน้ สูง กองบัญชาการ ฝึกศึกษาทหารอากาศ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๐ - ๒๕๕๑ ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ สถาบันวิชาการ ทหารอากาศชั้นสูง กองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๑ - ๒๕๕๒ เจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๒ - ๒๕๕๕ ผูช้ ว่ ยเสนาธิการทหารอากาศฝ่ายยุทธการ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๕ - ๒๕๕๖ รองเสนาธิการ ทหารอากาศ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๖ - ๒๕๕๗ และเป็นเสนาธิการทหารอากาศ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๗ - ๒๕๕๙
ราชการพิเศษ - สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ - ตุลาการศาลทหาร - สมาชิกสภากลาโหม - กรรมการบริหาร สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) - กรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำ�กัด (มหาชน) - กรรมการ บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำ�กัด
ผลงานเด่น - ได้รับการคัดเลือกเป็นบุคคลดีเด่นของสถาบันวิชาการทหารอากาศชั้นสูง กองบัญชาการฝึกศึกษา ทหารอากาศ ประจำ�ปี ๒๕๔๔ - ได้รับการคัดเลือกเป็นบุคคลดีเด่นของกองทัพอากาศ ประจำ�ปี ๒๕๔๔ - ได้รบั เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการทหาร ความมัน่ คง ประวัตศิ าสตร์ การสงครามและเทคโนโลยีทางทหารจากสถาบันต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
วิหารพระพุทธเมตตา นภากาศประทานพร ปชส.ชย.ทอ. หนึง่ ในโครงการจัดสร้างอาคารในปีงบประมาณ ปี พ.ศ.๒๕๕๙ เป็นความภาคภูมใิ จ ซึง่ ชย.ทอ.ได้จดั ทำ�ขึน้ ตามนโยบายของผู้บังคับบัญชา และบรรลุผลสำ�เร็จตาม วัตถุประสงค์ คือ โครงการจัดสร้าง “วิหารพระพุทธเมตตา นภากาศประทานพร” บริเวณสวนสุขภาพกองทัพอากาศ (ท่าดินแดง) โดยประกอบด้วย วิหารพระ พร้อมลาน เดินจงกรมเวียนเทียน มีการปรับปรุงภูมิสถาปัตยกรรม ให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมของสวนสุขภาพโดยรอบ การจัดสร้าง “วิหารพระพุทธเมตตานภากาศ ประทานพร” สำ�หรับประดิษฐานพระพุทธรูปพร้อม บรรจุพระบรมสารีริกธาตุประจำ�กองทัพอากาศ ณ สวน สุขภาพกองทัพอากาศ (ท่าดินแดง) เริ่มจากการดำ�ริของ พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๘ เพื่อเป็นสถานที่บำ�เพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ ในวันสำ�คัญ ทางพุทธศาสนาและเป็นที่สักการะบูชา เพื่อให้เกิดสิริมงคล และส่งเสริมศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาแก่ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ตลอดจนประชาชนทั่วไป “วิหารพระพุทธเมตตานภากาศประทานพร” ได้เริ่มดำ�เนินการออกแบบและก่อสร้างด้วยความร่วมมือร่วมใจ ที่เปี่ยมล้นด้วยพลังศรัทธาของข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ กองทัพอากาศ และผู้มีจิตศรัทธา โดยเป็นอาคาร โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด ๕.๐๐ ม. x ๗.๕๐ ม. ทรงสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ ก่อสร้างพร้อมติดตั้งด้วย ลวดลายโลหะหล่อ ลงรักปิดทอง สลักเสลาจากช่างฝีมืออย่างวิจิตรบรรจงสำ�หรับประดิษฐานองค์พระพุทธรูป และมี การติดตั้งระบบประทีปโคมไฟอย่างงดงามในยามค่ำ�คืน รวมทั้งระบบประปา ระบายน้ำ�และการปรับภูมิทัศน์โดยรอบ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความงดงามของสถาปัตยกรรม ก่อให้เกิดพลังศรัทธาแก่สาธารณชน
ตุลาคม ๒๕๕๙
ข่าวทหารอากาศ ๑๗
องค์พระพุทธรูปภายใน “วิหารพระพุทธเมตตานภากาศประทานพร” รังสรรค์โดยพระครูสันติ พนารักษ์ (พระอาจารย์บรรลา อตตสนโต) เจ้าอาวาสวัดสาแพะพนาราม (พระพุทธศิลาสาธุ) อ.แจ้ห่ม จว.ลำ�ปาง แกะสลักจาก หินแกรนิตสีฟ้าเขียวก้อนใหญ่ชิ้นเดียว ขนาดหน้าตัก ๑๒๐ ซม. สูง ๑๘๐ ซม. หนา ๗๐ ซม. พร้อมแท่นดอกบัว ด้วยการ แกะสลักอย่างวิริยะและพลังสมาธิขั้นสูงของพระอาจารย์ รวมทั้งได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรรจุอยู่ภายในที่ยอดโมฬี “วิหารพระพุทธเมตตานภากาศประทานพร” ได้ เริม่ ดำ�เนินการจัดทำ�แบบและก่อสร้างตัง้ แต่ ตุลาคม ๒๕๕๘ มีพธิ กี ารเคลือ่ นย้ายองค์พระพุทธเมตตานภากาศประทานพร จากวัดสาแพะพนาราม จว.ลำ�ปาง โดย ขส.ทอ. และมีพธิ กี าร ชะลอองค์พระซึ่งแกะสลักจากหินก้อนใหญ่น้ำ�หนักกว่า ๔ ตัน ขึ้นประดิษฐานที่หอพระเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๙ ด้วยความร่วมแรงร่วมใจจากเจ้าหน้าที่ใน หลายหน่วยงานของกองทัพอากาศ มี ชย.ทอ.เป็นผูว้ างแผนหลัก และจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ในพิธีการอัญเชิญ การจัดสร้างวิหารพระได้ด�ำ เนินการเสร็จสมบูรณ์ มีความสวยและสง่างามสำ�เร็จตามวัตถุประสงค์ โดยมีพิธี เฉลิมฉลอง อันประกอบด้วยพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธเมตตานภากาศประทานพร จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๙ และได้จัด ประกอบพิธสี �ำ คัญทางพระพุทธศาสนาขึน้ เป็นครัง้ แรกคือ พิธเี วียนเทียนเนือ่ งในวันอาสาฬหบูชา เมือ่ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๙
๑๘ ข่าวทหารอากาศ
ตุลาคม ๒๕๕๙
“วิหารพระพุทธเมตตานภากาศประทานพร” จึงถือเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของผลงานที่ ชย.ทอ.จัดสร้างขึ้น และทุกหน่วยงานของกองทัพอากาศ ได้ให้ความร่วมมือพร้อมใจประสานงานกัน เพื่อจัดสร้างศาสนสถาน อันเป็นสิ่ง ล้ำ�ค่านี้ คงอยู่คู่กับกองทัพอากาศตลอดไป
มหกรรมการจัดการความรู้ นวัตกรรมและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ ทอ. ครั้งที่ 33 กคพ.สปพ.กพ.ทอ. งานมหกรรมการจัดการความรู้ นวัตกรรมและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ ทอ.ครั้งที่ 33 ประจำ�ปี พ.ศ.2559 จัด ขึ้นเมื่อวันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2559 ณ หอประชุมกองทัพอากาศ ตามคำ�ขวัญที่ได้รับรางวัลชนะเลิศปี 58 ว่า “ทอ. ก้าวล้ำ� ชั้นนำ�ในภูมิภาค ด้วยศักยภาพ KM สู่ LO” โดยมี พล.อ.อ.ทวิเดนศ อังศุสิงห์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ (ยุทธบริการ) เป็นประธานในพิธีเปิด มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 529 คน เป็น นขต.ทอ.จำ�นวน 367 คน บุคลากร หน่วยงานภายนอก ทอ.จากกองทัพบก กองทัพเรือ สำ�นักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง การท่าอากาศยานดอนเมือง หอการค้าไทย และสมาคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำ�นวน 25 คน และผู้สนใจจำ�นวน 162 คน โดยผู้เข้าร่วมงาน จะได้รับความรู้ ความเข้าใจ จากการเผยแพร่ผลงาน KM และ QCC ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีและเห็นภาพการดำ�เนินการ ขับเคลื่อนการจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่การเป็นกองทัพอากาศแห่งการเรียนรู้ภายในปี พ.ศ.2560
๒๐ ข่าวทหารอากาศ
ตุลาคม ๒๕๕๙
ภายในงานประกอบด้วยการจัดบอร์ดนิทรรศการของคณะอนุกรรมการขับเคลือ่ น ทอ.ให้เป็นองค์การแห่งการ เรียนรู้ นวัตกรรมและพัฒนาคุณภาพ ทอ. และมีการสาธิตการใช้โปรแกรม DIMS จัดการความรู้ของกรมช่างอากาศและ กรมการเงินทหารอากาศ และการใช้โปรแกรม Moodle จัดการความรูข้ องสำ�นักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ การจัดบอร์ด นิทรรศการผลงานที่ได้รับรางวัล 17 บอร์ด โดยแบ่งเป็นประเภท KM 10 บอร์ด ประเภท QCC 7 บอร์ดจากผลงานที่ ส่งประกวด 88 กลุ่มของ 42 หน่วยงาน ซึ่งผ่านการคัดเลือกประเภท KM 22 กลุ่มจาก 74 กลุ่ม และประเภท QCC 14 กลุ่ม จาก 17 กลุ่ม รวมถึงการนำ�เสนอผลงานบนเวทีผ่านจอ LED ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นผลงานการสร้างสื่อการเรียนรู้ เรื่องการติดตั้งจอ LED Display ของกรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ โดยนำ�เสนอตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง “การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่ฝูงบินที่ปฏิบัติการบนพื้นฐานแห่งองค์ความรู้โดยฝูงบิน 404 กองบิน 4 และเรื่อง “ระบบ ประเมินผลการปฏิบัติงานภายในกรมกำ�ลังพลทหารอากาศตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่” ของ กรมกำ�ลังพลทหารอากาศ การนำ�เสนอผลงานที่ได้รับรางวัลระดับ Excellent Innovation ประเภท KM ของกองบิน 7 และ ประเภท QCC ของกองบิน 2 และประเภท KM และ QCC ของกองบิน 4 การนำ�เสนอผลงานระดับ Innovation ของกรมพลาธิการทหารอากาศ พร้อมมีพิธีมอบโล่ ใบประกาศเกียรติคุณและรางวัลประเภทต่าง ๆ ซึ่งมีการถ่ายทอดสด กระจายสัญญาณทางเคเบิล้ ทีวี ทอ.ไปยังหน่วยทีต่ งั้ ดอนเมือง ช่องสำ�รวจโลก ระบบแอนะล็อกช่อง 12 และระบบดิจทิ ลั ช่อง 26 รวมถึงถ่ายทอดสดผ่านสัญญาณ Intranet ไปยังกรมช่างอากาศ (บางซื่อ) กองบินต่าง ๆ และโรงเรียนการบิน
ตุลาคม ๒๕๕๙
ข่าวทหารอากาศ ๒๑
รายละเอียดรางวัลประเภทต่าง ๆ มีดังนี้ 1. รางวัลกลุม่ กิจกรรมทีเ่ สริมสร้าง ทอ.ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ นวัตกรรมและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ ทอ.ประเภทเครือ่ งมือการจัดการความรู้ หรือเครือ่ งมือ KM และประเภทเครือ่ งมือควบคุมคุณภาพ หรือเครือ่ งมือ QCC โดยคณะอนุกรรมการตัดสินผลงานที่เสริมสร้างกองทัพอากาศ ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ นวัตกรรมและกิจกรรม พัฒนาคุณภาพ ได้ตรวจติดตามและตัดสินผลงานในปี 2559 จาก นขต.ทอ. ทีส่ ง่ ผลงานกลุม่ กิจกรรมเข้าประกวดจำ�นวน 91 กลุ่ม/ 42 หน่วยงาน โดยแบ่งเป็นกลุ่มประเภทเครื่องมือควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circle: QCC) จำ�นวน 17 กลุ่ม/ 10 หน่วยงาน และกลุ่มประเภทเครื่องมือ การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) จำ�นวน 74 กลุ่ม/ 42 หน่วยงาน ซึ่งในการตัดสินกลุ่มกิจกรรมได้มีการนำ�เสนอผลงานในรอบที่ 1 ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาร้อยละ 70 ขึ้นไป โดยแบ่งเป็นกลุ่มประเภท QCC จำ�นวน 14 กลุ่ม และกลุ่มประเภท KM จำ�นวน 47 กลุ่ม และในรอบที่ 2 ได้ตัดสินผลงานที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาร้อยละ 80 ขึ้นไป ให้เป็นกลุ่มกิจกรรมที่ได้รับรางวัลผลงานประเภท QCC และ KM ดังนี้ รางวัลผลงานประเภท QCC มี 3 ระดับ คือ - ระดับ Excellent Innovation Award จำ�นวน 2 รางวัล ได้แก่ กลุ่ม AGE WING 2 สังกัด บน.2 และกลุ่ม Cobra Risk สังกัด บน.4 - ระดับ Innovation Award จำ�นวน 5 รางวัล ได้แก่ กลุ่ม Thunder Bolt สังกัด บน.6 กลุ่มดับเพลิงสัมพันธ์ สังกัด บน.7 กลุ่ม MAIN GEAR สังกัด บน.21 กลุ่ม Maintenance 1 สังกัด บน.21 และกลุ่ม Happy Rotor สังกัด ชอ. - ระดับ Value Award จำ�นวน 3 รางวัล ได้แก่ กลุ่ม Safety สังกัด บน.4 กลุ่ม Fabrication สังกัด ชอ. และกลุ่ม Electronic สังกัด สอ.ทอ.
๒๒ ข่าวทหารอากาศ รางวัลผลงานประเภท KM มี 3 ระดับ คือ
- ระดับ Excellent Innovation Award จำ�นวน 2 รางวัล ได้แก่ กลุ่ม Weather Wing 4 Development สังกัด บน.4 กลุ่ม Shark FOM Awakens สังกัด บน.7
- ระดับ Innovation Award จำ�นวน 8 รางวัล ได้แก่ กลุ่มดวงดารา สังกัด กพ.ทอ. กลุ่ม POPL Team สังกัด กพ.ทอ. กลุ่ม DGS ACMI สังกัด บน.1 กลุ่ม WING 1 RESCUE TEAM สังกัด บน.1 กลุ่ม Sim Wing 4 สังกัด บน.4 กลุ่ม SMART Base Operation Wing 4 สังกัด บน.4 กลุ่ม Mission Impossible สังกัด พอ. กลุ่ม RTS สังกัด พธ.ทอ.
ตุลาคม ๒๕๕๙
ตุลาคม ๒๕๕๙
ข่าวทหารอากาศ ๒๓
- ระดับ Value Award จำ�นวน 12 รางวัล ได้แก่ กลุ่มเข็มวินาที สังกัด กพ.ทอ. กลุ่ม Endeavor Pilots สังกัด รร.การบิน กลุ่ม COBRA JMPS START สังกัด บน.4 กลุ่มพลังช่างอากาศ สังกัด บน.23 กลุ่ม Center Point สังกัด บน.23 กลุ่ม ATS-KM สังกัด ชอ. กลุ่มเขาสามยอด สังกัด สพ.ทอ. กลุ่ม Blood Safety Team สังกัด พอ. กลุ่ม HEALTH SUPERVISION TEAM สังกัด พอ. กลุ่ม Mentor to Mentee : M2M Team สังกัด พอ. กลุ่ม CADET WING สังกัด รร.นนก. กลุ่ม GUARDIAN สังกัด สวบ.ทอ.
2. รางวัลคะแนนบอร์ดนิทรรศการยอดนิยม จากบอร์ดที่ได้รับรางวัลระดับ Excellent Innovation Award และระดับ Innovation Award ทั้งหมด 17 บอร์ด (KM 10 บอร์ด และ QCC 7 บอร์ด) มีกลุ่มบอร์ดนิทรรศการที่ได้รับรางวัลที่ 1 - 5 ตามลำ�ดับ คือ กลุ่ม AGE Wing 2 บน.2 กลุ่ม Mission Impossible สังกัด พอ. กลุ่ม RTS จาก พธ.ทอ. กลุ่มดวงดาราจาก กพ.ทอ. และกลุ่ม Happy Rotor สังกัด ชอ. 3. รางวัลผู้ประพันธ์บทเพลงและวีดิทัศน์ประกอบบทเพลง RTAF KM - ผู้ที่ได้รับรางวัลประพันธ์บทเพลง คือ จ.อ.สุจินต์ กุลชนะรงค์ สังกัด ดย.ทอ.อย.ทอ. - ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศวีดิทัศน์ประกอบบทเพลง คือ พ.อ.อ.จักรพันธ์ อยู่จันทร์ กลุ่ม Observation KM สังกัด คปอ. และผู้ที่ได้รับรางวัลชมเชย คือ จ.ท.ชวภณ สนทิม กลุ่ม Smart Base Operations Wing 4 สังกัด บน.4
๒๔ ข่าวทหารอากาศ
ตุลาคม ๒๕๕๙
4. รางวัลสื่อการเรียนรู้ KM - ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ กองกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์กรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ทหารอากาศ - ผู้ที่ได้รับรางวัลชมเชย คือ พ.อ.อ.ณิชพน เชื้อปรางค์ สังกัด บน.4 - ผู้ที่ได้รับรางวัลพิเศษ (นำ�เสนอภาพรวม KM ในระดับ ทอ.) คือ ร.ต.หญิง รัฐธินี สุทธิผลไพบูลย์ สังกัด สอ.ทอ.
ผลการประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดงานมหกรรมการจัดการความรู้ นวัตกรรมและกิจกรรมพัฒนา คุณภาพ ทอ.ครั้งที่ 33 จากแบบสอบถามผู้ร่วมงานจำ�นวน 196 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 53.41 พบว่า การจัดงานในภาพรวม อยู่ในระดับดีมากค่าเฉลีย่ 4.28 โดยมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมคือ ควรเพิ่มขัน้ ตอนการดำ�เนินการขับเคลื่อนของหน่วยที่ได้รบั รางวัลลงในสูจบิ ตั ร เพือ่ เป็นตัวอย่างแนวทางให้หน่วยอืน่ ๆ และควรเพิม่ พืน้ ทีแ่ สดงบอร์ดนิทรรศการให้มากขึน้ สำ�หรับ ผลการรับชมการถ่ายทอดสดกระจายสัญญาณผ่านเคเบิ้ลทีวี ทอ.พบว่า อยู่ในระดับดีมาก และผ่านสัญญาณ Intranet พบว่า อยู่ในระดับดี แต่ยังมีปัญหาเรื่องสัญญาณเสียงมาช้ากว่าสัญญาณภาพ จากผลงานที่ได้รับรางวัลทุกผลงาน สามารถดาวน์โหลดได้ที่ kmrtaf.rtaf.mi.th.หรือเข้าหน้าเว็บไซต์ ทอ. km.is.rtaf.mi.th. การจัดงานมหกรรมการจัดการความรู้ นวัตกรรมและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพครั้งที่ 33 ถือเป็น อีกก้าวสำ�คัญของกองทัพอากาศ ขอให้กำ�ลังพลทุกหน่วยจัดทำ� KM ด้วยจิตสำ�นึกไม่ใช่เพราะถูกบังคับ และให้มีการนำ� องค์ความรูไ้ ปใช้ให้เกิดประโยชน์กบั ทอ.อย่างมีคณ ุ ค่า โดยหัวหน้าหน่วยต้องปลูกฝัง กระตุน้ และให้ก�ำ ลังใจผูป้ ฏิบตั งิ าน ให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจ ไม่ท้อแท้ต่อการสร้างความรู้ท่ีสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศและต้องให้เกิด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีระหว่างหน่วยงานเพื่อความสำ�เร็จลุล่วงอย่างมีคุณภาพ แหล่งข้อมูลและภาพ - คณะกรรมการจัดงานมหกรรมการจัดการความรู้ นวัตกรรมและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ ทอ. (สูจิบัตรงาน) - งานมหกรรมการจัดการความรู้ นวัตกรรมและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพครั้งที่ 33 ประจำ�ปี 2559
น.ท.หญิง ศศิรดา มณีนาค “หน่วยงานดีเด่น ทอ.” เป็นคำ�ใหม่สำ�หรับชาวทหารอากาศ เนื่องจากที่ผ่านมา ทอ.จะมีแค่การคัดเลือก บุคคลดีเด่นของ ทอ.เท่านั้น แต่ในปี ๕๙ พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง อดีต ผบ.ทอ. กำ�หนดให้มีการพิจารณาหน่วยงาน ดีเด่นระดับ นขต.ทอ. โดยประเมินผลงานในมิติต่าง ๆ จากคำ�รับรองการปฏิบัติราชการของหน่วยตามตัวชี้วัดและ ค่าเป้าหมาย เพื่อเป็นการส่งเสริมการทำ�งานเป็นทีมของหน่วย และเป็นแบบอย่างการปฏิบัติงานที่ดีแก่หน่วยงาน จากนั้น ได้ดำ�เนินการแต่งตั้ง คณก.พิจารณาคัดเลือกหน่วยงานดีเด่น ทอ. โดยมี ผช.ผบ.ทอ.(กษ.) เป็นประธานกรรมการ เมื่อ ๑๒ ก.พ.๕๙ พล.อ.อ.เผด็จ วงษ์ปิ่นแก้ว ผช.ผบ.ทอ./ประธาน คณก.ฯ (ตำ�แหน่งในขณะนั้น) ได้จัด ประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางในการดำ�เนินงาน และกำ�หนดแนวทางการพิจารณาคัดเลือกหน่วยงานดีเด่น ทอ.ปี ๕๙ โดยพิจารณาคัดเลือกจากส่วนราชการทีจ่ ดั ทำ�คำ�รับรองการปฏิบตั ริ าชการกับ ผบ.ทอ.ปี ๕๙ จำ�นวน ๔๔ หน่วย ด้วยเกณฑ์ ตัวชี้วัดจำ�นวน ๑๐ ตัวชี้วัด ครอบคลุม ๓ มิติ คือ มิติการปฏิบัติตามพันธกิจ มิติการพัฒนาหน่วย และมิติการปกครอง บังคับบัญชา และมีการกำ�หนดแต้มต่อของตัวชี้วัดแต่ละประเภทตามสัดส่วนความท้าทายในการกำ�หนดตัวชี้วัดของ นขต.ทอ. โดยกำ�หนดค่าแต้มต่อตามประเภทตัวชี้วัด ๔ แบบ คือ ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ เป็นการวัดผลลัพธ์ของงาน ได้ชัดเจนและมีความท้าทายมาก มีแต้มต่อเป็นบวก ๐.๐๒๕ ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ เป็นการวัดในสิ่งที่เป็นรูปธรรม ไม่มี แต้มต่อ ตัวชี้วัดระดับขั้นตอน และตัวชี้วัดสำ�เร็จ-ไม่สำ�เร็จ ซึ่งมีความท้าทายน้อยมีแต้มต่อเป็นลบ ๐.๐๑๕ (เฉพาะ ตัวชี้วัดมิติการปฏิบัติตามพันธกิจ และมิติการพัฒนาหน่วยที่หน่วยเลือก รวม ๕ ตัวชี้วัด)
การคัดเลือกหน่วยงานดีเด่น ทอ. ได้นำ�ข้อมูลจากการรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำ�รับรองฯ ของ นขต.ทอ. ปี ๕๙ โดยใช้ค่าเฉลี่ยคะแนนจากรายงานผลการประเมินตนเองรอบ ๔ เดือน และรอบ ๑๐ เดือน สำ�หรับรอบ ๔ เดือน (คิดเป็นร้อยละ ๔๐) ใช้คะแนนจาก ๕ ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายของหน่วย ตัวชี้วัดภาษา อังกฤษ ตัวชี้วัดการจัดการเรื่องร้องทุกข์ร้องเรียนเรื่องทั่วไป ตัวชี้วัดการจัดการเรื่องร้องทุกข์ร้องเรียนเรื่องปัญหาหนี้สิน และตัวชี้วัดระดับความสำ�เร็จในการดำ�เนินงานด้านยาเสพติดของหน่วย ส่วนรอบ ๑๐ เดือน (คิดเป็นร้อยละ ๖๐) ใช้คะแนนจาก ๑๐ ตัวชี้วัด จากนั้นจัดลำ�ดับหน่วยงานที่มีคะแนนสูงสุด ๔ ลำ�ดับแรก (กรณีที่หน่วยมีคะแนนสูงสุด เท่ากัน ให้ถือว่าเป็นหน่วยงานดีเด่นทั้งคู่) เพื่อให้ คณก.ฯ พิจารณาคัดเลือกหน่วยงานดีเด่น ทอ.จำ�นวน ๑ หน่วย และ หน่วยงานระดับดี ทอ.จำ�นวน ๓ หน่วย พร้อมทั้งรายงานผลการพิจารณาคัดเลือกหน่วยงานดีเด่น ทอ. เพื่อขออนุมัติ ผบ.ทอ.ต่อไป คณก.ฯ ได้ร่วมกันพิจารณาคัดเลือกหน่วยงานดีเด่น ทอ.ปี ๕๙ โดยนำ�คะแนนรายงานผลการปฏิบัติราชการ ตามคำ�รับรองการปฏิบัติราชการของ นขต.ทอ.ปี ๕๙ รอบ ๔ เดือน และรอบ ๑๐ เดือน รวมกันเป็นคะแนนรวมของ หน่วยพร้อมทั้งปรับแต้มต่อตามประเภทตัวชี้วัด จากนั้นจัดลำ�ดับหน่วยงานที่ได้คะแนนสูงสุด ๑๐ ลำ�ดับประกอบด้วย สลก.ทอ. สบ.ทอ. กร.ทอ. สนภ.ทอ. อย. รร.การบิน บน.๔ บน.๗ พธ.ทอ. และ สน.ผบ.ดม พร้อมแจ้งให้หน่วยงาน ส่งเอกสารหลักฐานประกอบตัวชี้วัดการรายงานผลการปฏิบัติราชการของหน่วยปี ๕๙ รอบ ๑๐ เดือน จากนั้น สพร.ทอ. ตรวจสอบเอกสารหลักฐานฯ โดยกำ�หนดหลักเกณฑ์การให้คะแนนเอกสารหลักฐานฯ ได้แก่ ๑. ความถูกต้อง (คิดเป็นร้อยละ ๕๐) ได้แก่ การจัดเก็บข้อมูลเป็นไปอย่างมีระบบ สามารถระบุผู้รับผิดชอบ และแหล่งที่มาได้อย่างชัดเจน รวมทั้งสามารถตรวจสอบยืนยันความถูกต้องกับหน่วยงานเจ้าของข้อมูลได้ ๒. ความครบถ้วน (คิดเป็นร้อยละ ๕๐) ได้แก่ การมีข้อมูลเอกสารหลักฐานตามรายการสารบัญที่หน่วยแจ้งมา ครบถ้วน จากนั้นนำ�คะแนนที่ปรับแต้มต่อตามประเภทตัวชี้วัดและคะแนนการตรวจเอกสารหลักฐานฯ มารวมกัน โดยให้ ความสำ�คัญกับคะแนนทีห่ น่วยงานรายงานและเอกสารหลักฐานประกอบตัวชีว้ ดั อย่างเท่าเทียมกัน โดยผลคะแนนเฉลีย่ หน่วยงานดีเด่น ทอ. เรียงตามลำ�ดับคะแนน ๔ อันดับ ได้แก่ รร.การบิน ผลคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๙๕.๕๙, พธ.ทอ. ผลคะแนนเฉลีย่ ร้อยละ ๙๒.๒๐, บน.๔ ผลคะแนนเฉลีย่ ร้อยละ ๙๐.๒๓ และ สน.ผบ.ดม.ผลคะแนนเฉลีย่ ร้อยละ ๘๖.๓๕ สุดท้าย คณก.ฯ สรุปผลการพิจารณาคัดเลือกหน่วยงานดีเด่น ทอ.ปี ๕๙ ได้แก่ - หน่วยงานดีเด่น ทอ. จำ�นวน ๑ หน่วย ได้แก่ รร.การบิน - หน่วยงานระดับดี ทอ. จำ�นวน ๓ หน่วย ได้แก่ พธ.ทอ. บน.๔ และ สน.ผบ.ดม.
น.อ.หญิง ชมพูนุท พูลสนอง สพ.ทอ. เลเซอร์ (LASER) ย่อมาจากข้อความว่า Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation หมายถึง การขยายแสงด้วยการกระตุ้นให้แผ่รังสี ซึ่งเป็นการอธิบายถึงกระบวนการผลิตแสงเลเซอร์ ที่เกิดจาก สองกระบวนการหลัก ๆ คือ การเปล่งแสงแบบถูกกระตุ้น (Stimulated Emission) และการขยายสัญญาณแสง (Light Amplification) เลเซอร์มคี ณ ุ สมบัติ 4 ประการ คือ เป็นแสงสีเดียว (มีคา่ ความยาวคลืน่ เดียว) เฟสเดียวกัน มีความพร้อมเพรียง (Coherence) มีความเข้มสูง (จำ�นวนโฟตอนต่อหนึง่ หน่วยพืน้ ทีส่ งู ) และมีล�ำ แสงในทิศทางแนวเดียว จึงใช้เป็นมาตรฐาน ในงานที่ต้องการความแม่นยำ�
แสงทั่วไปมีหลายความถี่ความเข้มแสงไม่สม่ำ�เสมอ
แสงเลเซอร์มีความถี่เดียวและความเข้มแสงสม่ำ�เสมอ
รูปแสดงโครงสร้างพื้นฐานของเครื่องกำ�เนิดเลเซอร์
5 mW green, red, violet/blue laser beam
๒๘ ข่าวทหารอากาศ
ตุลาคม ๒๕๕๙
โดยทั่วไปประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ตัวกลางเลเซอร์ (Laser medium) เป็นวัสดุที่ให้แสงเลเซอร์ซึ่งอาจเป็น แก๊ส ของแข็ง ของเหลว หรือสารกึ่งตัวนำ� ออปติคัลเรโซเนเตอร์ (Optical resonator) เป็นส่วนประกอบเครื่องกำ�เนิด ้ำ ประกอบด้วย กระจกสองแผ่นวางหันหน้าเข้าหาตัวกลางเลเซอร์ และ เลเซอร์ทที่ �ำ ให้เกิดการปล่อยแสงแบบถูกกระตุน้ ซ� แหล่งกำ�เนิดพลังงาน (energy source) เลเซอร์แบ่งตามชนิดตัวกลางได้ดังนี้ 1. เลเซอร์ก๊าซ (Gas Laser) เช่น CO2 Laser, Argon Laser, Xenon Laser, He-Ne Laser 2. เลเซอร์เป็นแท่งผลึกแข็ง (Solid State Laser) เช่น Nd: YAG Laser, Ruby Laser 3. เลเซอร์ของเหลว (Liquid Laser) เช่น Rhodamin 6G Laser 4. เลเซอร์เป็นสารกึ่งตัวนำ� Semiconductor Laser เช่น Diode Laser ชนิดต่าง ๆ เทคโนโลยีเลเซอร์นำ�มาใช้ประโยชน์ได้มากมายหลายด้าน เช่น การทหาร การบิน การแพทย์ ความงาม และ อุตสาหกรรมต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ภาพพระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา ที่วาดภาพด้วยการฉายแสงเลเซอร์ชนิด Argon Laser (เลเซอร์แสงสีเขียวขนาด 20 วัตต์) โดยการสแกนภาพต้นแบบของพระพุทธรูปไว้ในคอมพิวเตอร์ บันทึก โปรแกรมไปยังสแกนเนอร์และฉายภาพไปปรากฏบนหน้าผาเขาชีจรรย์ อ.สัตหีบ จว.ชลบุรี
การควบคุมการยิงเลเซอร์วาดภาพบนเขาต้องทำ�ในเวลากลางคืนเพื่อการมองเห็นที่ชัดเจนคนงานโรยตัว ด้วยเชือกลงมาจากยอดเขาแล้วใช้สฝี นุ่ วาดแต้มเป็นจุดตามทีแ่ สงเลเซอร์ก�ำ หนดไว้ พระพุทธรูปทีแ่ กะสลักบนหน้าผา เขาชีจรรย์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดความสูง 109 เมตร หน้าตักกว้าง 70 เมตร ฐานบัวสูง 21 เมตร รวม 130 เมตร โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มีพระมหากรุณาธิคณ ุ โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตพระราชทานนาม พระพุทธรูปว่า “พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา” มีความหมายว่า “พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดา ที่รุ่งเรืองสว่าง ประเสริฐ ดุจดังมหาวชิระ”
ตุลาคม ๒๕๕๙
ข่าวทหารอากาศ ๒๙
ด้านอุตสาหกรรม เลเซอร์เป็นแสงที่มีความเข้มสูงสามารถเจาะทะลุโลหะได้ จึงนำ�มาใช้เป็นเครื่องมือ ตัด เจาะ เชื่อม วัสดุต่าง ๆ ได้คมชัดและขนาดเล็กมาก โดยใช้เลเซอร์ที่มีกำ�ลังสูง เช่น เลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เช่น การเชื่อมขาตัวเก็บประจุ การเชื่อมแผงวงจร สำ�หรับอุตสาหกรรม การก่อสร้าง เมือ่ ติดตัง้ เลเซอร์ไว้บนกล้องทีโอโดไลต์จะสามารถกำ�หนดแนวนอนและแนวตัง้ ของอาคารได้ รวมไปถึงการ ก่อสร้าง การวางท่อน้ำ�มัน ท่อก๊าซ และอุโมงค์ ด้านสื่อสารโทรคมนาคม เลเซอร์ไดโอดถูกนำ�มาใช้เป็นตัวส่งสัญญาณผ่านเส้นใยแก้วนำ�แสง เพื่อใช้ถ่ายทอด สัญญาณโทรทัศน์ โทรศัพท์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ แสงเลเซอร์นี้จะไม่มีสัญญาณรบกวน มีความจุข้อมูลสูง เพราะความถี่ สูงกว่าคลื่นวิทยุ ทำ�ให้เส้นใยแก้วนำ�แสงเส้นหนึ่งสามารถจุคู่สายโทรศัพท์ได้เป็นพัน ๆ คู่สาย ด้านการแพทย์ ใช้เลเซอร์ในการรักษาทางการแพทย์และจักษุแพทย์ ซึ่งการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ทำ�ให้แพทย์ไม่ ต้องสัมผัสเนือ้ เยือ่ โดยตรงลดโอกาสการติดเชือ้ อีกทัง้ ความร้อนจากเลเซอร์ชว่ ยฆ่าเชือ้ และทำ�ให้เลือดหยุดไหลได้ดี การ ยิงแสงเลเซอร์เพื่อรักษาอาการที่บริเวณตา เช่น ต้อหิน ต้อกระจก เลเซอร์ที่ใช้ได้แก่ เลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ เลเซอร์ อาร์กอน การเลือกใช้เลเซอร์แบบต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับว่าอวัยวะที่ต้องการผ่าตัดมีความสามารถในการดูดกลืนแสงสีอะไรและ ขนาดกำ�ลังของเลเซอร์ เช่น เส้นเลือดแดงจะดูดกลืนสีแดงได้น้อย จึงใช้เลเซอร์แสงสีเขียวที่ได้จากเลเซอร์ก๊าซอาร์กอน ซึ่งอาจจะใช้เป็นตัวนำ�แสงเลเซอร์ไปยังบริเวณอวัยวะที่จะผ่าตัด หรือใช้แสงเลเซอร์ผ่านกล้องจุลทรรศน์ผ่าตัด และใช้ ลบรอยแผลเป็นต่าง ๆ ไฝ ปาน บริเวณผิวหนัง เนื่องจากบริเวณจุดด่างดำ�ต่าง ๆ มีสีคล้ำ�กว่าเซลล์ปกติเมื่อได้รับการ ฉายแสงเลเซอร์จะดูดกลืนแสงเลเซอร์ได้มากกว่าเซลล์ปกติทำ�ให้รอยคล้ำ�จางไป นอกจากนี้ยังใช้เลเซอร์ในการแสดงคอนเสิร์ต นิทรรศการ อุปกรณ์สำ�นักงาน เช่น เลเซอร์พอยเตอร์ (ใช้ใน ห้องบรรยาย) เป็นเลเซอร์กำ�ลังต่ำ�ที่ทำ�จากสารกึ่งตัวนำ�ขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรีเปล่งแสงสีแดง เครื่องพิมพ์เลเซอร์ พรินเตอร์ เครื่องวิดีโอเลเซอร์ดิสก์ เครื่องอ่านบาร์โค้ด ฯลฯ
Laser target designator
3D LASER SCANNER for aerospace industry
ด้านการทหาร ใช้ในการวัด ตรวจสอบควบคุม และการวิจัยทางทหาร เนื่องจากเลเซอร์เป็นลำ�แสงขนาน เคลือ่ นทีไ่ ด้ไกล มีความแม่นยำ� แสงเลเซอร์จงึ นำ�มาประยุกต์ใช้เป็นเครือ่ งมือวัดระยะทาง เพือ่ ควบคุมระบบการยิง ชีเ้ ป้า หรือตรวจหาเป้าหมาย ได้แก่ อาวุธนำ�วิถี เช่น AGM-65E (Maverick) นำ�วิถีด้วยเลเซอร์ จรวดบุคคลต่อสู้อากาศยาน แบบ RBS-70 ลูกระเบิดนำ�วิถีด้วยแสงเลเซอร์ (LGB)
๓๐ ข่าวทหารอากาศ
Army launching an RBS-70 missile
ตุลาคม ๒๕๕๙
Eurofighter Typhoonperform laser guided bomb (2 GBU-16 plus 1 Laser Designation Pod)
RBS-70 เป็นจรวดนำ�วิถีพื้นสู่อากาศ ประกอบด้วยชุดเครื่องเล็ง ชุดขาตั้ง และจรวดแบบ MK2 & BOLIDE (Range 7 & 8 Km. Height coverage 4 & 5 Km.) พร้อมท่อบรรจุจรวด ระบบนำ�วิถีด้วยลำ�แสงเลเซอร์ (Laser Beam Riding) โดยเจ้าหน้าที่เป็นผู้เล็งและบังคับการติดตามเป้าหมายผ่านกล้องเล็ง (Telescope) ชุดเครื่องเล็งประกอบด้วย เครื่องส่งเลเซอร์ (Laser transmitter) แบบไดโอด-เลเซอร์ซึ่งส่งลำ�แสงเลเซอร์ไปที่เป้าหมาย และชุดเลเซอร์ที่ส่วนท้าย ของจรวดจะรับแสงเลเซอร์ท่ีส่งมาจากเครื่องเล็งเป็นสัญญาณควบคุมจรวดให้วิ่งไปตามเส้นกลางทางสัญญาณนั้นเข้าสู่ เป้าหมาย Bolide missile : 1.Laser receiver 2.Rudders 3.Wings 4.Solid engine 5.Safety adapter 6.Warhead 7.Impact fuse 8.Time fuse 9.Electronics& gyroscope 10. Nozzle 11.Battery & power electronics
ลูกระเบิดนำ�วิถีด้วยแสงเลเซอร์ (Laser Guided Bomb) ได้แก่ GBU-12 (500 lb), GBU-16 (1000 lb), GBU-10 (2000 lb) พัฒนามาจากลูกระเบิดแบบธรรมดาประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ลูกระเบิดขนาดต่าง ๆ เช่น MK-82, MK-83, MK-84 ชุดนำ�วิถี (Computer Control Group: CCG) ชุดหาง (Airfoil Group) และชุดชนวน โดยประกอบ CCG เข้ากับส่วนหัวลูกระเบิดและประกอบชุดหางกับส่วนท้ายลูกระเบิด ชุดนำ�วิถี (CCG) ทำ�หน้าทีต่ รวจรับแสงเลเซอร์ที่ สะท้อนมาจากเป้าหมาย และส่งสัญญาณไฟฟ้าไปควบคุมปีกทีอ่ ยูด่ า้ นหน้าเพือ่ บังคับทิศทางลูกระเบิดเข้าสูเ่ ป้าหมาย ซึง่ เป้าหมายจะถูกชีด้ ว้ ยแสงเลเซอร์จากอุปกรณ์ชเี้ ป้า เช่น LTDS (Laser Target Designator System) หรือกระเปาะ
ตุลาคม ๒๕๕๙
ข่าวทหารอากาศ ๓๑
ชี้เป้าด้วยแสงเลเซอร์ เช่น Sniper, Litening III โดยใช้ระบบ Pulse coding ตั้งรหัสเดียวกันทั้งในอุปกรณ์ชี้เป้า และ Seeker Seeker จะติดตามเฉพาะเป้าหมายที่ชี้โดยอุปกรณ์ชี้เป้าเท่านั้น ระบบนี้ใช้ตัวเลข 1 ถึง 8 กำ�หนด รหัสเป็น 3 หรือ 4 ตัวเลขขึ้นอยู่กับอุปกรณ์เลเซอร์ และรหัสนี้สัมพันธ์กับ Pulse Repetition Frequency (PRF) ในเครื่องบินลำ�เดียวสามารถโจมตีเป้าหมายหลายเป้าหมายต่อเนื่องกันโดยตั้งรหัสต่างกันใน Dropping laser guided weapons
Paveway II seeker
เทคโนโลยีลูกระเบิดนำ�วิถีเป็นการปรับปรุงระบบนำ�วิถี และชุดอุปกรณ์ (Bomb kits) โดย Pave way II เป็นรุ่น LGB retractable wings, Paveway III เป็นรุน่ Low level laser guided ่ำ และ Long standoff bomb (LLLGB) ออกแบบใช้กบั เพดานบินต� ranges ทั้งสองรุ่นสามารถ Prefight selectable coding. นอกจากนี้ลูกระเบิดที่ติดตั้งชุดอุปกรณ์ JDAM (Joint Direct Attack Munition) สามารถแปลงระเบิดธรรมดาเป็นระเบิด ที่ใช้ได้ทุกกาลอากาศอย่างแม่นยำ� ประกอบด้วยชุดพวงหาง 4 ครีบ Paveway III gimbaled laserseeker เพื่อใช้ติดกับส่วนท้ายของลูกระเบิด และส่วนโครงสร้างเล็ก ๆ รอบส่วนกลางลูกระเบิดเพือ่ ให้เกิดความเสถียรในการเคลือ่ นที่ มีระบบนำ�วิถที งั้ แบบทีใ่ ช้พกิ ดั ตำ�แหน่งดาวเทียม เลเซอร์ ชี้เป้าหมาย และภาพจากรังสีอินฟราเรด เช่น GBU-31 เป็นระเบิดแบบ MK84 ขนาด 20,000 ปอนด์
Sniper Advanced Targeting
Litening III Targeting and Navigation Pod
๓๒ ข่าวทหารอากาศ
ตุลาคม ๒๕๕๙
เทคโนโลยีในปัจจุบันได้พัฒนาเป็นแบบ Hybrid multimode seeker เช่น Paveway IV GBU-54 Laser JDAM ขนาด 500 ปอนด์ ซึ่งประกอบ DSU-38/B laser seeker ที่ส่วนหัวลูกระเบิดและ GPS/ Inertial guidance tail kit ส่วนท้ายลูกระเบิด Sniper ATP เป็นระบบ Multi-spectral advanced sensors ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30.5 ซม. ความยาว 252 ซม. น้ำ�หนัก 202 กก. ติดตั้งกับ บ. แบบต่าง ๆ เช่น F-15, F-16, F-18, B-1, B-52, A-10 ประกอบด้วย Mid-wave FLIR (640x512), LGB dual-mode laser, Precise geo-location for weapon, Visible-light HDTV, Laser spot tracker, Laser marker, Video data link and a digital data recorder สามารถตรวจจับ ชี้เป้า ค้นหาและติดตาม อัตโนมัติ โดยใช้ระบบเลเซอร์มาร์กเป้าหมายจุดเล็ก ๆ ได้จากระยะไกล สนับสนุนระบบอาวุธที่มีการนำ�วิถีด้วยระบบ GPS และระบบเลเซอร์ต่อเป้าหมายนิ่งและเป้าหมายที่เคลื่อนที่ โดยภาพมีความละเอียดสูงและความคมชัดในการ เล็งเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ� สามารถเชื่อมต่อข้อมูลแบบรวมการสนับสนุนปฏิบัติการกองกำ�ลังอากาศผสม ภารกิจ ลาดตระเวนร่วมกับระบบอื่น ๆ Litening III เป็นกระเปาะชี้เป้าและเครื่องช่วยเดินอากาศ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40.6 ซม. ความยาว 220 ซม. น้ำ�หนัก 208 กก. ติดตั้งกับ บ. แบบต่าง ๆ เช่น F-16, F-15, F/A-18, AV-8B, A-10, B-52, F-5, F-4, Tornado, EF2000, Mirage-2000, Jaguar, JAS39 Gripen ประกอบด้วย FLIR (640x480), CCD Camera 1K, Inertial Navigation System (INS), Dual wavelength laser (DPL) designator, Laser spot detector/tracker, Laser marker for joint missions, Accurate delivery of LGB and GPS-guided munition, Long-range data and video downlink สามารถค้นหา ติดตาม ระบุต�ำ แหน่งเป้าหมายทีพ่ นื้ ดิน ในอากาศ และในทะเลด้วยระบบเลเซอร์ ชี้เป้าหมายได้ทั้งกลางวันกลางคืนในสภาพอากาศต่าง ๆ
Boeing YAL-1 Airborne Laser
ปืนเลเซอร์ (HEL MD)ติดตั้งบนรถ
ปืนใหญ่เลเซอร์ HEL
ข่าวทหารอากาศ ๓๓
ตุลาคม ๒๕๕๙
การวิจัยและพัฒนา มีการใช้เลเซอร์ในงานวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างกว้างขวาง ได้แก่ อาวุธ เลเซอร์ โดยเลเซอร์ต้องมีกำ�ลังสูงกว่า 10 กิโลวัตต์ขึ้นไป เลเซอร์ที่ใช้เป็นอาวุธทำ�ลายเป้าหมาย เช่น รถถังและเครื่องบิน ได้แก่ CO2 gasdynamic laser, Chemical laser, Free electron laser เป็นต้น โดยเป้าหมายการพัฒนาคือ การทำ�ให้มีขนาดเล็กและน้ำ�หนักเบาเพื่อสามารถติดตั้งกับ เครื่องบินรบ เฮลิคอปเตอร์ เรือรบและรถบรรทุกได้ เช่น ระบบอาวุธเครื่องบิน Boeing YAL-1 ออกแบบในปีพ.ศ.2547 เป็นชนิด Megawatt-classchemical oxygen iodine laser ติดตั้งภายใน บ. Boeing747-400F สำ�หรับต่อต้านอาวุธนำ�วิถีในระยะ 600 กม. และ 2 kw Target illuminator laser สำ�หรับติดตามเป้าหมาย, Advanced Tactical Laser (ATL) Aircraft เป็นโครงการ ติดตั้งอาวุธเลเซอร์กับ บ. โดยติดตั้งบนแท่นหมุนได้ที่ส่วนใต้ท้องเครื่องบิน C-130 H ชนิด High-energy chemical laser สามารถปรับทิศทาง จับเป้าหมายและยิงแสงเลเซอร์พลังงานสูงไปยังเป้าหมายที่พื้นดิน
ระบบอาวุธเลเซอร์ LaWS
ระบบอาวุธเลเซอร์ LaWS (Laser Weapons System) ที่ติดตั้งบนเรือ USS Ponce ลักษณะคล้าย กล้องโทรทรรศน์ ใช้เวลาในการพัฒนาและทดสอบมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 (งป.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) สามารถติดตาม การเคลื่อนที่ของเป้าหมาย และยิงลำ�แสงเลเซอร์ซึ่งมีกำ�ลังแรงเพียงพอที่จะเผาไหม้ทะลุเหล็ก อากาศยานไร้คนขับ หรือเรือ โดยใช้หลักการปล่อยอนุภาคโฟตอนจากปฏิกิริยาทางไฟฟ้าด้วยการกระตุ้นแร่อิตเทรียม (Yttrium) ก่อให้เกิด อนุภาคโฟตอนหรือแสงที่มีความเข้มข้นสูง พลังงาน 30 กิโลวัตต์นำ�ไปปฏิบัติการจริงเมื่อปี พ.ศ.2557 ปืนเลเซอร์ HEL MD (High Energy Laser Mobile Demonstrator) ติดตั้งบนรถบรรทุก 8 ล้อ กำ�ลัง 500 แรงม้า พลังงานไฟฟ้า 10 กิโลวัตต์อาวุธชนิดนี้ป้องกันหน่วยทหารจากจรวด ลูกปืนใหญ่และอากาศยานไร้คนขับ ด้วยการ ยิงโดยใช้ลำ�แสงเลเซอร์ ซึ่งมีความแม่นยำ�และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงพอที่จะสกัดกั้นอาวุธดังกล่าว องค์กรป้องกัน ประเทศเยอรมนีได้เปิดตัวอาวุธล่าสุด ปืนใหญ่เลเซอร์ HEL (High energy Laser) กำ�ลัง 50 กิโลวัตต์ ซึ่งเป็นเลเซอร์ นำ�วิถี 20 กิโลวัตต์ และเลเซอร์หลัก 30 กิโลวัตต์ HELได้ผ่านการทดสอบการใช้งานแล้ว สามารถตัดเหล็กหนา 15 มม. ที่ระยะ 1 กม.และยิงเลเซอร์ได้ไกลสุด 177 กม.ตรวจจับเป้าหมายเคลื่อนที่ขนาดเล็กเพื่อสกัดกั้นลูกกระสุนขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว ได้ ประเทศต่าง ๆ ได้พยายามพัฒนาอาวุธเลเซอร์มาโดยตลอด เพราะเป็นระบบอาวุธทีม่ คี วามเร็วและความ แม่นยำ� ปลอดภัยกว่าอาวุธทั่วไปที่ใช้วัตถุระเบิดและหัวรบระเบิด ค่าใช้จ่ายในการใช้งาน และ จนท.ในการบังคับ เครื่องควบคุมน้อยกว่า ซึ่งปัจจุบันหน่วยทหารของสหรัฐและชาติพันธมิตรยังไม่สามารถป้องกันอาวุธเหล่านี้ได้ โดยเทคโนโลยีนี้จะมีบทบาทสำ�คัญในการปฏิบัติทางทหารในอนาคต
นภาธิปัตย์ทัศนะ
ฝ่ายวิชาการ นทน.เสธ.ทอ.รุ่นที่ ๖๐ “หากต้องต่อสู้กับศัตรู กำ�ลังทางอากาศสามารถโจมตีจุดศูนย์กลางที่เป็นความอยู่รอดของข้าศึก โดยไม่ต้อง เอาชนะกำ�ลังทางบกหรือกำ�ลังทางเรือของข้าศึกก่อน” วิลเลีย่ ม มิทเชล ได้กล่าวถึงทฤษฎีบทนีไ้ ว้กอ่ นจะได้รบั การพิสจู น์ ว่าเป็นจริงในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นบุกโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์ของสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 การโจมตีในวันนัน้ นอกจากจะมีบทเรียนใหม่ในเรือ่ งการใช้ก�ำ ลังทางอากาศเกิดขึน้ แล้ว ยังได้เปลีย่ นโฉมหน้าของยุทธการ การรบทางทะเลไปตลอดกาล บทความนี้จะทำ�การศึกษายุทธการเพื่อวิเคราะห์ประเมินผลลัพธ์ของการปฏิบัติการ ทางอากาศตลอดจนบทเรียนที่ได้รับและนำ�มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป ก่อนอื่น เราควรทราบสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ก่อนเกิดสงคราม เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ขณะนั้น ย้อนกลับไปเมือ่ ปี ค.ศ.1931 กองทัพญีป่ ุ่นได้ใช้ขอ้ อ้างในการทีร่ างรถไฟใกล้กบั เมืองมุกเดน (เสิน่ หยาง) ถูกลอบวางระเบิด เข้าโจมตีเขตแมนจูเรียของจีนและยึดเป็นอาณานิคมของตน รัฐบาลจีนได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อองค์กรสันนิบาตชาติแล้ว จึงมีมติให้ญี่ปุ่นถอนทหารออกไปจากดินแดนจีน แต่ญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะดำ�เนินการตามมติดังกล่าวฯ และถอนตัวออกจาก การเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติใน ค.ศ.1933 ต่อมาใน ค.ศ.1937 ญี่ปุ่นได้ยกกองทัพเข้ายึดครองเมืองหลวงของ จีนในเวลานั้น คือ “นานกิง (Nanking)” และทำ�การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวจีนไปกว่า 300,000 คน สหรัฐฯ จึงเรียกร้อง ให้ประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การสันนิบาตชาติร่วมกันคว่ำ�บาตรทางการค้ากับญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นการสกัดกั้นการได้มาซึ่ง ทรัพยากรต่าง ๆ โดยเฉพาะน้ำ�มันและแร่เหล็กที่ต้องนำ�เข้าจากสหรัฐฯ ต่อมาญี่ปุ่นทำ�สนธิสัญญากับเยอรมันและอิตาลี กลายเป็นฝ่ายอักษะโดยมีสาระสำ�คัญที่วา่ “หากไตรภาคีนี้ทำ�สงครามกับประเทศอื่นใด อีกสองประเทศจะร่วมให้ความ ช่วยเหลือ” และเมือ่ เยอรมันบุกเข้ายึดกรุงปารีสของฝรัง่ เศส ญีป่ นุ่ จึงใช้เป็นข้ออ้างในการบุกเข้ายึดพืน้ ทีข่ องฝรัง่ เศส ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทอี่ ดุ มไปด้วยทรัพยากรซึง่ ญีป่ นุ่ ต้องการ แต่เส้นทางเดินเรือจากมาตุภมู แิ นวหลังมายังแนวรบของ พื้นที่ส่วนหน้าบนคาบสมุทรอินโดจีนของญี่ปุ่นอาจตกอยู่เป็นอันตรายได้ ถ้าสหรัฐฯ ที่ให้การสนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตร ส่งกองเรือเข้ามาขัดขวางปฏิบัติการทางทะเลหรือบุกยกพลเข้ามาโจมตีญี่ปุ่น ดังนั้นญี่ปุ่นจึงพยายามใช้การเจรจา ทางการทูต เพื่อจะตกลงทำ�สัญญาไม่เป็นภัยต่อกันกับสหรัฐฯ (คล้ายที่เยอรมันเคยทำ�กับรัสเซีย) ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ
ข่าวทหารอากาศ ๓๕
ตุลาคม ๒๕๕๙
บ่ายเบีย่ งไม่รบั ข้อเสนอ เสมือนเป็นการบีบให้ญปี่ นุ่ ต้องใช้มาตรการขัน้ สุดท้ายเพือ่ กำ�จัดแสนยานุภาพบนภาคพืน้ แปซิฟกิ ของสหรัฐฯ ซึ่งนายพลยามาโมโตวางแผนการที่จะใช้กองเรือบรรทุกเครื่องบินปฏิบัติการแบบลับ ๆ เข้าโจมตีกองเรือ และระบบส่งกำ�ลังบำ�รุงบนเกาะโออาฮู อันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือหลักในเพิร์ลฮาเบอร์โดยใช้เส้นทางการเดินเรือตามภาพ
ภาพที่ 1 เส้นทางเดินเรือของญี่ปุ่น (คิโด บุไต) ที่มา http://totallyhistory.com/attack-on-pearl-harbor/
การปฏิบัติการครั้งนี้ นายพลยามาโมโตมอบหมายให้พลเรือโทชูอิชิ นากุโมะเป็นผู้บัญชาการกองเรือ ใช้เส้นทาง เดินเรือทางตอนเหนือใกล้กับอลาสกาที่มีคลื่นลมแรง เพื่อใช้ป้องกันการตรวจจับจากสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังให้งดใช้ วิทยุสอื่ สารในการติดต่อระหว่างกองเรือคงใช้เฉพาะสัญญาณธงเท่านัน้ ญีป่ นุ่ สามารถลอบนำ�กองทัพเรือเดินทางไปจนถึง ระยะที่เหมาะสมในการโจมตี คือประมาณ 250 ไมล์ทะเลจากเพิร์ลฮาเบอร์ เพื่อให้พ้นระยะปฏิบัติการของเครื่องบิน ทะเล และการตรวจจับของกองเรือสหรัฐฯ รวมทั้งเป็นช่วงวันเวลาที่ต้องการคือเช้าตรู่ของวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 ตามเวลาท้องถิน่ และส่งเครือ่ งบินไปโจมตีกองเรือสหรัฐฯ แบบไม่ให้ตงั้ ตัว ผลของการรบญีป่ นุ่ ได้รบั ชัยชนะอย่างงดงาม สูญเสียเครื่องบินเพียง 29 เครื่อง ขณะที่สหรัฐฯ เสียหายอย่างหนักสูญเสียเรือประจัญบาน 4 ลำ� และเสียหายขนาดหนัก อีก 4 ลำ� สูญเสียเรือลาดตระเวนและเรือพิฆาต อย่างละ 3 ลำ� เครื่องบินถูกทำ�ลาย 77 เครื่อง ชำ�รุด 128 เครื่อง โดยส่วนใหญ่ถูกทำ�ลายขณะจอดอยู่ที่พื้นดิน แต่ไม่สามารถทำ�ลายเรือบรรทุกเครื่องบิน 2 ลำ� ซึ่งเดินทางออกจาก เพิร์ลฮาเบอร์ไปก่อนการโจมตี นอกจากนี้คลังน้ำ�มันเชื้อเพลิงและอู่ซ่อมเรือมิได้ถูกโจมตี สหรัฐฯ จึงสามารถใช้เวลาไม่นาน ในการกู้และซ่อมแซมเรือ จากข้อมูลยุทธการเพิร์ลฮาเบอร์โดยสังเขป สามารถวิเคราะห์จากมุมมองของทั้ง 2 ฝ่าย คือสหรัฐฯ และญี่ปุ่น โดยแบ่งเป็นระดับ (ยุทธศาสตร์ ยุทธการ และยุทธวิธ)ี เริ่มต้นจากระดับยุทธศาสตร์ ในมุมมองของสหรัฐฯ การประกาศ คว่ำ�บาตรทางเศรษฐกิจกับญี่ปุ่น มีจุดประสงค์หลักเพื่อขัดขวางและลดทอนแสนยานุภาพกองกำ�ลังจักรวรรดิญี่ปุ่น ในแปซิฟกิ เพราะญีป่ นุ่ เป็นประเทศทีไ่ ม่มที รัพยากรภายในประเทศทีส่ �ำ คัญโดยเฉพาะน�้ำ มันและแร่เหล็ก การคว�่ำ บาตร ทางเศรษฐกิจจึงเป็นหนทางที่สหรัฐฯ เลือกใช้แทนการประกาศสงครามกับญี่ปุ่นโดยตรง เพราะขณะนั้นประชาชนของ สหรัฐฯ ยังไม่ได้สนับสนุนการทำ�สงครามกับญีป่ นุ่ แต่การทีญ ่ ปี่ นุ่ โจมตีเพิรล์ ฮาเบอร์ท�ำ ให้สหรัฐฯ มีความชอบธรรมและ ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนของตน
๓๖ ข่าวทหารอากาศ
ตุลาคม ๒๕๕๙
ในมุมมองของญี่ปุ่น เมื่อพิจารณาแผนที่ยุทธศาสตร์ในภาพที่ 2 จะเห็นว่า การที่ญี่ปุ่นจะครอบครองทรัพยากร ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้นนั้ จำ�เป็นต้องแย่งชิงมาจากชาติตะวันตกซึง่ เป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ ดังนัน้ ภัยคุกคามทีส่ �ำ คัญ ของญี่ปุ่นก็คือกองเรือแปซิฟิกของสหรัฐฯ ที่อยู่ในเพิร์ลฮาเบอร์ ซึ่งจำ�เป็นต้องถูกกำ�จัดหรือทำ�ให้สูญเสียศักย์สงคราม ทางทะเลที่จะเข้าขัดขวางการเข้ายึดครองดินแดนของญี่ปุ่น
ภาพที่ 2 พื้นที่ยึดครองของญี่ปุ่นและชาติอื่น ๆ ที่มา: www.awesomestories.com/asset/view/Japanese-Attacks-Not-Just-Pearl-Harbor
ต่อไปเป็นการวิเคราะห์ในระดับยุทธการ ญี่ปุ่นถูกจำ�กัดจำ�นวนเรือรบตามสนธิสัญญาวอชิงตัน (Washington Naval Treaty) ทำ�ให้ญี่ปุ่นมีจำ�นวนเรือรบได้เพียงอัตรา 5 : 5 : 3 จึงมิอาจเทียบสมุทรานุภาพของสหรัฐฯ และอังกฤษได้ พร้อมกับความเชื่อที่ว่าญี่ปุ่นไม่คิดที่จะโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์ซึ่งอยู่ไกลมากกว่า 3,000 ไมล์ทะเล หรือเลวร้ายที่สุดคือ การ เข้าโจมตีฐานปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ในฟิลิปปินส์ อีกทั้งการจะส่งกองเรือรบมาโจมตีโดยที่ไม่ถูกตรวจจับได้ เป็นไปได้ยาก ประกอบกับอ่าวที่จอดเรือน้ำ�ตื้นมากประมาณ 12 เมตร (30 - 40 ฟุต) ดังแสดงในภาพที่ 3 การโจมตีของ เครื่องบินทิ้งระเบิดตอร์ปิโดไม่น่าเป็นไปได้ ทำ�ให้ขาดการระวังป้องกันดังเช่นไม่มีการนำ�ตาข่ายป้องกันตอร์ปิโดมาใช้ ป้องกันกองเรือที่จอดเรียงรายอยู่ในเพิร์ลฮาเบอร์
ตุลาคม ๒๕๕๙
ข่าวทหารอากาศ ๓๗
ภาพที่ 3 แสดงภาพจำ�ลองการโจมตีเรือสหรัฐอเมริกาด้วยตอร์ปิโดปกติจากเครื่องบินญี่ปุ่น ที่มา: www.popsci.com/technology/article/2012-12/vintage-popsci-pearl-harbor
ในมุมมองของญีป่ นุ่ นัน้ เมือ่ กำ�หนดให้มกี ารโจมตีกองทัพเรือทีเ่ พิรล์ ฮาเบอร์ ฝ่ายเสนาธิการกองทัพญีป่ นุ่ จึงต้องคิดหาเป้าหมายในการโจมตี โดยจากข้อมูลความเสียหายของกองเรือสหรัฐฯ สามารถวิเคราะห์ได้วา่ ญีป่ นุ่ มุง่ ทำ�ลาย เรือประจัญบานเพราะในสมัยนั้นเรือประจัญบานเป็นกำ�ลังรบหลักที่ใช้ในการโจมตีทางทะเล หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น Center of Gravity ในปฏิบัติการครั้งนี้ แต่ไม่ได้ทำ�ลายคลังเชื้อเพลิงและอู่ซ่อมเรืออันเป็น Critical Requirement อีกทั้งขัดขวางการใช้งานท่าเรือ ซึ่งเป็น Critical Capability ทั้งนี้สหรัฐฯ ได้มีการจอดเรือเรียงกันขนานแนวชายฝั่ง เพือ่ ป้องกันการวินาศกรรม โดยทีต่ �ำ แหน่งการจอดของเรือดังกล่าวง่ายต่อการถูกโจมตีทางอากาศจึงถือว่าเป็น Critical Vulnerability นอกจากนี้ เมื่อพิจารณากำ�ลังรบทางอากาศของสหรัฐฯ เทียบกับญี่ปนุ่ พบว่า ญีป่ ุ่นใช้วิธรี วมกำ�ลังของเครือ่ งบิน ในการเข้าโจมตีเครื่องบินกว่า 400 เครื่อง ถูกส่งเข้าปฏิบัติการในครั้งนี้ ในขณะที่กำ�ลังทางอากาศส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ นัน้ ไม่มโี อกาสได้เข้าต่อสูเ้ นือ่ งจากจอดอยูบ่ ริเวณสนามบินและถูกทำ�ลายก่อนทีจ่ ะนำ�เครือ่ งบินวิง่ ขึน้ ถือว่าญีป่ นุ่ จึงเป็น ฝ่ายครองอากาศอย่างสมบูรณ์ทำ�ให้ได้รับชัยชนะอย่างง่ายดาย ต่อไปเป็นการวิเคราะห์ในระดับยุทธวิธเี กีย่ วกับการป้องกันการโจมตีของสหรัฐฯ มีการติดตัง้ เรดาร์เพือ่ ตรวจจับ ภาคอากาศโดยใช้หลักการป้องกันภัยทางอากาศเช่นเดียวกับอังกฤษในการสัง่ ใช้เครือ่ งบินสกัดกัน้ ขึน้ ทำ�การป้องกันการ โจมตีทางอากาศถือเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่สำ�หรับสหรัฐฯ ในเวลานั้น ในส่วนของการป้องกันการโจมตีทาง ทะเลในส่วนของพื้นที่ระยะไกล (ชั้นนอก) ใช้กองเรือบรรทุกเครื่องบินปฏิบัติการลาดตระเวนทางทะเลโดยเน้นพื้นที่ ทางตะวันตกของเกาะ Oahu ในส่วนของพื้นที่ระยะใกล้ (ชั้นใน) ใช้กองเรือปราบเรือดำ�น้ำ� โดยเน้นบริเวณช่องทางเข้าออก ของเพิร์ลฮาเบอร์อย่างแน่นหนาทำ�ให้เรือต่าง ๆ ในเพิร์ลฮาเบอร์ไม่จำ�เป็นต้องมีการขึงตาข่ายป้องกันตอร์ปิโด ด้านฝั่งญี่ปุ่นได้จัดขบวนเรือบรรทุกเชื้อเพลิงไปในกองเรือบรรทุกเครื่องบินและเติมเชื้อเพลิงเพื่อต่อระยะ การเดินเรือหลังจากนัน้ ได้แยกขบวนกลับญีป่ นุ่ ในการเลือกวันโจมตีนนั้ ญีป่ นุ่ เลือกปฏิบตั กิ ารในเช้าวันอาทิตย์ซงึ่ เป็นวัน พักผ่อนของคนอเมริกนั นายพลยามาโมโตวางแผนการโจมตีเพือ่ โจมตีเป้าหมายหลักคือ เรือรบ โดยเฉพาะเรือประจัญบาน
๓๘ ข่าวทหารอากาศ
ตุลาคม ๒๕๕๙
และเรือบรรทุกเครื่องบิน นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายทำ�ลายสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ เช่น สนามบิน อู่ซ่อมเรือและคลังเชื้อเพลิง เพื่อให้สหรัฐฯ ไม่มีความสามารถในการตอบโต้กลับ ในการปฏิบัติการแบ่งเป็นระลอก ระลอกที่ 1 เพื่อเข้าโจมตีเรือ ประจัญบาน เครื่องบิน และสนามบิน ทำ�ให้สามารถลดศักยภาพที่เป็นอันตรายต่ออากาศนาวีของญี่ปุ่น ด้วยการโจมตี แบบ Surprise Attack ทำ�ให้เกิดความตื่นตระหนก เสียขวัญกำ�ลังใจและความเป็นอิสระในการปฏิบัติการตามหลักการ ครองอากาศของดูเอต์ ระลอกที่ 2 เป็นการขยายผลการทำ�ลายจากระลอกที่ 1 เมื่อเริ่มถูกต่อต้านจากฝ่ายสหรัฐฯ ทำ�ให้ เครือ่ งบินของญี่ปนุ่ เสียหายรวม 29 เครือ่ ง ซึง่ ส่วนใหญ่เป็นการสูญเสียจากการโจมตีระลอกที่ 2 แต่ถือได้ว่าเป็นชัยชนะ อย่างงดงามด้านยุทธวิธี ในส่วนการโจมตีระลอกที่ 3 นั้น ต้องการขจัดศักยภาพในการฟื้นฟู ด้วยการทำ�ลายคลังน้ำ�มัน และเป้าหมายที่เหลือ แต่เนื่องจาก พลเรือโทนะกุโมะกลัวการสูญเสียเพิ่มเติมจากการโต้กลับจากเรือบรรทุกเครื่องบิน ของสหรัฐฯ ซึ่งตอนนั้นญี่ปุ่นไม่ทราบว่ากองเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯ อยู่ที่ใด จึงไม่ได้สั่งให้มีการโจมตีระลอกที่ 3 ตามแผนที่ นายพลยามาโมโตกำ�หนดไว้ นอกจากนี้ ในการปฏิบัติการครั้งนี้ ญี่ปุ่นยังได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ในปฏิบัติการ ได้แก่ ตอร์ปิโดน้ำ�ตื้น ระเบิด เจาะเกราะ และเครือ่ งบินขับไล่ซโี ร่มาใช้งาน สำ�หรับตอร์ปโิ ดน�้ำ ตืน้ นัน้ ญีป่ นุ่ นำ�ตอร์ปโิ ดทีม่ อี ยูม่ าประกอบเพิม่ แผ่นไม้ให้ เป็นทุ่นเสริมตอนท้ายของตอร์ปิโดไม่ให้จมลงพื้นทะเล เนื่องจากเป็นท่าเรือน้ำ�ตื้น และนำ�กระสุนปืนใหญ่เรือมา เป็นต้นแบบในการผลิตระเบิดเจาะเกราะสำ�หรับทิ้งเพื่อทำ�ลายเรือประจัญบานที่มีเกราะหนา และดาดฟ้าเรือมีจำ�นวน หลายชั้น เนื่องจากการจอดเรียงกันของเรือประจัญบาน ทำ�ให้ไม่สามารถใช้ตอร์ปิโดโจมตีเรือประจัญบานได้ทุกลำ� เรือที่ อยู่แถวที่สองต้องใช้การทิ้งระเบิดเพื่อโจมตี ยิ่งไปกว่านั้น ในการที่ญี่ปุ่นมีความคิดนอกกรอบในการผลิตเครื่องบินที่ มีน้ำ�หนักเบา ระยะทำ�การไกล มีความคล่องตัวสูง ทำ�ให้เครื่องบินซีโร่ได้เปรียบเครื่องบินขับไล่ต่าง ๆ ของสหรัฐฯ แต่ แลกมากับการที่ไม่มีเกราะป้องกันนักบินและถังน้ำ�มันเชื้อเพลิง จากการที่ได้กล่าวมาทั้งหมดสามารถสรุปบทเรียนที่ได้จากยุทธการเพิร์ลฮาเบอร์ ได้ดังนี้ 1. ต้องอย่าทะนงตน ในด้านของสหรัฐฯ มองว่า ญี่ปุ่นไม่มีขีดความสามารถเพียงพอที่จะเข้ามาโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์ เพราะเป็น ประเทศขนาดเล็ก ถูกจำ�กัดทรัพยากร มีจำ�นวนเรือรบที่น้อยกว่า ซึ่งถูกกำ�หนดตามสนธิสัญญาวอชิงตัน โดยกำ�หนด อัตราส่วนกำ�ลังทางเรือของสหรัฐฯ อังกฤษ และญี่ปุ่น เป็น 5 : 5 : 3 สหรัฐฯ จึงขาดการป้องกันที่รัดกุมและต้องพ่ายแพ้ ในยุทธการเพิร์ลฮาเบอร์ ในด้านญี่ปุ่น จากการที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเคยได้รับชัยชนะเหนือกองทัพของจักรวรรดิรัสเซีย ทำ�ให้ ญี่ปุ่นก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำ�นาจแทนรัสเซีย และในเหตุการณ์นี้เช่นกันทำ�ให้คิดว่าตนเองสามารถรบชนะประเทศใหญ่ได้ จึงก่อให้เกิดการโจมตีที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ซึ่งขาดการวิเคราะห์โดยรอบด้านไม่ว่าจะเป็นกำ�ลังการผลิตที่แตกต่างกันหรือ เทคโนโลยีที่ต่างกันมาก ทำ�ให้การรบในระยะยาวของสงครามแปซิฟิกญี่ปุ่นกลายเป็นฝ่ายปราชัยไปในที่สุด 2. ต้องไม่ประมาท ในด้านของสหรัฐฯ เจ้าหน้าที่เรดาร์สามารถตรวจจับเครื่องบินรบของญี่ปุ่นที่เข้ามาทางตอนเหนือของเกาะ Oahu แต่ประมาทไม่แจ้งเตือนด้วยเข้าใจว่าเป็นฝ่ายเดียวกัน อีกทัง้ ไม่มกี ารใช้ตาข่ายป้องกันตอร์ปโิ ดเพราะเห็นว่าเพิรล์ ฮาเบอร์ เป็นท่าเรือน�้ำ ตืน้ ดังนัน้ ตอร์ปโิ ดไม่อาจใช้งานได้ในการโจมตีกองเรือ ยิง่ ไปกว่านัน้ ในเช้าตรูก่ อ่ นการโจมตีเรือปราบเรือดำ�น�้ำ ของ สหรัฐฯ สามารถจมเรือดำ�น้ำ�ญี่ปุ่นที่เข้ามาสอดแนมอยู่บริเวณปากทางเข้า-ออกเพิร์ลฮาเบอร์เพียงประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนการโจมตีแต่กลับมิได้มีการเพิ่มระดับการระวังป้องกันของกองเรือต่าง ๆ ที่จอดเรียงรายอยู่ในเพิร์ลฮาเบอร์เลย
ตุลาคม ๒๕๕๙
ข่าวทหารอากาศ ๓๙
ท้ายที่สุดสหรัฐฯ ได้บทเรียนราคาแพงที่แลกด้วยกว่า 2,000 ชีวิตของทั้งทหารพลเรือน อากาศยานกว่า 100 เครื่อง และเรือกว่า 10 ลำ� จากความประมาทครั้งนี้ ในด้านของญีป่ นุ่ ประมาทขีดความสามารถในการฟืน้ ฟูและกำ�ลังการผลิตของสหรัฐฯ เมือ่ ทำ�การโจมตีแล้ว ไม่ท�ำ ลายขีดความสามารถในการฟื้นฟูกองเรือ ได้แก่ คลังเชือ้ เพลิง อูซ่ ่อมเรือ สิง่ อำ�นวยการทางเรือ (Naval Facilities) กลายเป็นมหันตภัยต่อการขยายวงไพบูลย์ของญี่ปุ่นในเวลาต่อมา 3. ต้องคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่เสมอ การมีนวัตกรรมใหม่ ๆ ทำ�ให้ข้าศึกไม่สามารถคาดเดายุทธวิธีการรบของเราได้ จะสังเกตได้จากการที่ญี่ปุ่น คิดค้นตอร์ปิโดน้ำ�ตื้นและนำ�เทคโนโลยีลูกระเบิดเจาะเกราะที่มีประสิทธิภาพสูงมาใช้ นอกจากนี้การพัฒนาเครื่องบิน ขับไล่แบบซีโร่ ที่มีสมรรถนะสูงทำ�ให้ได้เปรียบในการรบอย่างมาก และญี่ปุ่นยังคงแนวคิดเช่นนี้จนกระทั่งปัจจุบัน เช่น การผลิตเครื่องบินรบด้วยเทคโนโลยีของตนเอง เป็นต้น ถึงแม้ว่าราคาอาจจะสูงกว่าการซื้อจากต่างประเทศ แต่การมี เทคโนโลยีเป็นของตนเองเป็นหลักประกันได้ว่า เมื่อเกิดภาวะสงครามประเทศจะไม่ขาดยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการรบ 4. ต้องศึกษาประวัติศาสตร์สงครามและนำ�บทเรียนที่ได้รับมาใช้ ญีป่ นุ่ อาศัยศึกษาประวัตศิ าสตร์สงครามอ่าวทารันโต ในปี ค.ศ.1940 ระหว่างอังกฤษกับอิตาลี ในสงครามนัน้ อังกฤษได้ใช้ตอร์ปโิ ดเพือ่ ทำ�ลายเรือรบของอิตาลี แต่ไม่ประสบความสำ�เร็จเท่าทีค่ วร ตอร์ปโิ ดมากกว่าครึง่ หนึง่ จมติดใต้ ก้นทะเลที่มีลักษณะตื้นคล้ายเพิร์ลฮาร์เบอร์ นอกจากนี้ญี่ปุ่นเคยทำ�สงครามกับกองเรือรัสเซียด้วยการใช้ประโยชน์จาก ช่องแคบบริเวณปากอ่าว เช่น การรบทีพ่ อร์ตอาเธอร์ ใช้วธิ กี ารจมเรือขวางปากทางเข้า-ออกและการรบทีช่ อ่ งแคบสึชมิ ะ ทำ�ให้กองเรือรัสเซียถูกบีบให้เข้าเส้นทางแคบจนถูกระดมยิงและแพ้ในยุทธภูมิสึชิมะ ซึ่งในการรบครั้งนี้ญี่ปุ่นพยายาม นำ�ยุทธวิธีนี้กลับมาใช้ด้วยการจมเรือของสหรัฐฯ ที่ปากอ่าวแต่ไม่ประสบความสำ�เร็จ เพราะผู้บังคับการเรือ Nevada ตระหนักว่าหากเรือในบังคับการของตนถูกจมจะปิดขวางช่องทางการเดินเรือเข้า-ออกเพิร์ลฮาร์เบอร์ จึงพยายาม บังคับเรือ Nevada เข้ามาเกยตื้นบริเวณชายฝั่งแทน ยิง่ ไปกว่านัน้ การทีส่ หรัฐฯ นำ�เรือรบมาจอดใกล้กนั เพราะกลัวการถูกวินาศกรรมแต่กลับเป็นจุดอ่อนทำ�ให้ ถูกโจมตีได้งา่ ย ซึง่ ในอดีตจิวยีเ่ คยวางแผนร่วมกับขงเบ้งในการใช้แผนนีโ้ จมตีกองทัพเรือของโจโฉทีผ่ กู ติดกันในศึกผาแดง ๕. ต้องปฏิบัติตามคำ�สั่งของผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด การไม่ทำ�ตามที่ผู้นำ�ได้ตัดสินตกลงใจ จากเหตุการณ์ที่ พลเรือโทนากุโมะผู้ควบคุมกองเรือถล่มเพิร์ลฮาร์เบอร์ กลัวการสูญเสียจึงไม่ได้ดำ�เนินการการโจมตีระลอกที่ 3 ในการโจมตีคลังน้ำ�มัน อันเป็นปัจจัยหลักในการฟื้นตัวของกองเรือ สหรัฐฯ ทำ�ให้สหรัฐฯ สามารถฟืน้ กองกำ�ลังของตนได้และเป็นปัจจัยหลักอันนำ�ไปสูก่ ารพ่ายแพ้สงครามของญีป่ นุ่ ในทีส่ ดุ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการไม่ปฏิบัติตามคำ�สั่งของผู้บังคับบัญชานั่นเอง ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยนั้น จอมพล ป.พิบูลสงครามเคยกล่าวไว้ว่า “เชื่อผู้นำ� ชาติพ้นภัย” เมื่อผู้นำ� หรือผู้บังคับบัญชาตัดสินใจอย่างไร ฝ่ายเสนาธิการหรือผู้ตามต้องปฏิบัติตามการตัดสินใจนั้น ถึงแม้ว่าจะเห็นด้วยหรือ ไม่เห็นด้วยก็ตาม 6. ต้องเข้าใจวิสัยทัศน์ผู้นำ� จากการที่ พลเรือโทนากุโมะมีหน้าที่คุมกองเรือเข้าปฏิบัติการตามแผนของนายพลยามาโมโต แต่สามารถ ดำ�เนินการได้เพียง 2 ระลอก เนื่องจากได้ทำ�ลายกองเรือซึ่งเป็นเป้าหมายหลักไปแล้วและไม่ทำ�การโจมตีต่อเพราะเกรง ความสูญเสีย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการชนะในระดับยุทธวิธีเท่านั้น แต่ยังไม่สามารถเอาชนะได้ในระดับยุทธศาสตร์
๔๐ ข่าวทหารอากาศ
ตุลาคม ๒๕๕๙
เพราะไม่ได้โจมตีความสามารถในการฟื้นฟูของกองเรือสหรัฐฯ เนื่องด้วยความเข้าใจในแผนการทำ�สงครามที่แตกต่างกัน ระหว่างผู้นำ�ในการวางแผนและผู้ปฏิบัติที่มักมองเห็นเฉพาะสิ่งที่ตนเองเกี่ยวข้องหรือมีหน้าที่รับผิดชอบเท่านั้น มิได้ ตระหนักถึงสถานการณ์หรือเข้าถึงมุมมองในภาพใหญ่ เฉกเช่นที่ผู้บังคับบัญชาเห็น การศึกษาประวัตศิ าสตร์สงครามช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์สงครามนัน้ ๆ โดยนำ�บทเรียนและความผิดพลาด ทีเ่ กิดขึน้ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ประกอบการวางแผนปฏิบตั กิ ารทางทหารต่าง ๆ โดยต้องไม่มองข้ามความสำ�คัญ ของงานด้านข่าวกรอง หมัน่ ประเมินติดตามสถานการณ์ภยั คุกคามต่าง ๆ ผ่านมุมมองจากตัวอย่างบทเรียนและความผิดพลาด เพือ่ เตรียมการป้องกันและเสริมสร้างศักยภาพความพร้อมทีจ่ ะรับมือกับสถานการณ์ความขัดแย้งทีอ่ าจลุกลามบานปลาย กลายเป็นสงครามขึ้นมาได้ ทั้งนี้ตั้งแต่เริ่มต้นศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมา แทบไม่เคยมีวันใดเลยที่โลกใบนี้จะไม่มีสงคราม หรือความรุนแรง แหล่งข้อมูลและภาพ - ฉัตรนคร องคสิงห์. หลั่งเลือดที่นานกิง. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ.สำ�นักพิมพ์มติชน. 2549 - เทอดพงศ์ ชูชีพวัฒนา.นาวาอากาศเอก.สธ. 3106 การก่อกำ�เนิดทฤษฎีและแนวคิดการใช้กำ�ลังทางอากาศ. หน้า ๘๓ - ปรีชา ศรีวาลัย, พลอากาศตรี. สงครามโลกครั้งที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ.โอเดียนสโตร์. 2546 - ภคเดช ภัควันต์, เรืออากาศเอก. ข้อมูลและภาพถ่ายจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สงคราม Pearl Harbor. เมือง Honoluluเกาะ Oahu มลรัฐ Hawaii ประเทศสหรัฐอเมริกา. 2551 - ภคเดช ภัควันต์, นาวาอากาศตรี. ข้อมูลและภาพถ่ายจากพิพิธภัณฑ์นายพลเรือNimitz.เมือง Fredericksburg มลรัฐ Texas ประเทศสหรัฐอเมริกา. 2555 - สว่าง ผลเจริญ, นาวาโท. ยุทธการถล่มเพิร์ลฮาเบอร์. กรุงเทพฯ.สำ�นักพิมพ์สายฝน. 2544 - สุริยะ พรสุริยะ. “สงครามญี่ปุ่น-รัสเซีย”. [ออนไลน์]. 2559. เข้าถึงได้จากhttp://www.baanjomyut.com/ library/japanese_war_russian/01.html[๘ เมษายน ๒๕๕๙] - แหล่งรวมเอกสาร Electronic Books โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ. “Russo Japanese War.และAtlas of Air Warfare, Pearl Harbor: December 1941”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://www.elearning.rtaf.mi.th/acsc/ mod/folder/view.php?id=292[27 พฤศจิกายน 2558] - C.Perter Chen. “Attack on Pearl Harbor”. [ออนไลน์]. 2558. เข้าถึงได้จากhttp://ww2db.com/battle_ spec.php?battle_id=17[๘ เมษายน 2559] - Evil Razer.กรณีพิพาทมุกเดน. [ออนไลน์]. 2555. เข้าถึงได้จากwwiirazer.blogspot.com/2012/01/blogpost_05.html[11 เมษายน 2559] - MyFristBrian.com.การรุกรานแมนจูเรียของญี่ปุ่น. [ออนไลน์]. 2557. เข้าถึงได้จาก http://www.myfirstbrain. com/student_view.aspx?id=92240[27 มีนาคม 2559] - PearlharborOahu.com“Pearl Harbor Maps – Attack Maps & Island Maps”. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://pearlharboroahu.com/pearl-harbor-maps/[27 มีนาคม 2559] - Thai PBS. สารคดี สงครามโลกครั้งที่ 2 มุมมองทางอากาศ. [ออนไลน์]. 2558. เข้าถึงได้จากcuptv.com/ play/168/28540/สุดยอดสารคดีโลก/15-มีนาคม-2558-สงครามโลกครั้งที่-2-มุมมองทางอากาศ
องคกรระดับดีเลิศ
ดานการตรวจสอบภายใน ๓๐ ปี สำ�นักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ ปชส.สตน.ทอ. การตรวจสอบภายในมีขอบเขตการทำ�งานที่ต้องครอบคลุมทุกภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบของหัวหน้า ส่วนราชการ ซึ่งแตกต่างจากการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทำ�ผิด หรือร่วมรับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินยั ในการปฏิบตั งิ านทัว่ ไปมักจะมีการรายงานผล เพือ่ เป็นเครือ่ งมือในการควบคุมและแจ้งผลการปฏิบตั งิ าน แต่ ผูบ้ ริหารก็ไม่อาจมัน่ ใจได้วา่ ผูใ้ ต้บงั คับบัญชาและ/หรือหน่วยงานในการกำ�กับดูแลได้ปฏิบตั งิ านเป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและนโยบายที่วางไว้อย่างจริงจังและสม่ำ�เสมอหรือไม่ การตรวจสอบภายในจึงเข้ามาเป็น “ผู้ช่วย” ในการที่จะ ตรวจสอบและสอบทานการปฏิบตั งิ านว่าหน่วยงานในการกำ�กับดูแลได้ปฏิบตั งิ านเป็นไปตามกฎระเบียบ ข้อบังคับและ นโยบาย รวมทัง้ แผนงานทีไ่ ด้วางไว้หรือไม่ ตลอดจนให้ค�ำ ปรึกษาและข้อเสนอแนะในการป้องกันความเสีย่ งทีอ่ าจทำ�ให้ การปฏิบัตงิ านไม่เป็นไปตามเป้าหมาย การกำ�กับดูแลองค์กรที่ดี (Good Governance) ความโปร่งใสในการปฏิบตั งิ าน เพื่อป้องกันการเสียผลประโยชน์ การมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและ ผลประโยชน์ส่วนรวม (Conflict of interest) หรือการเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของทางราชการ ซึ่งเป็นประเด็น ปัญหาทางการบริหารภาครัฐในปัจจุบันที่เป็นบ่อเกิดของปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในระดับที่รุนแรงขึ้น และยัง สะท้อนปัญหาการขาดหลักธรรมาภิบาลและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ โดยระบบการตรวจสอบภายใน จะมี ผู้ที่ได้รับมอบหมายหรือได้รับคำ�สั่งให้เป็นผู้ตรวจสอบภายในของหน่วยงาน ซึ่งมีหน้าที่ให้ความมั่นใจว่าผู้บริหาร ระดับสูงจะได้รบั ข้อมูลด้านความเสีย่ งและจุดอ่อนอย่างครบถ้วน พร้อมทัง้ ให้ความเชือ่ มัน่ ต่อฝ่ายบริหารอย่างตรงไปตรงมา ว่ามีการประเมินความเสี่ยงตามจริงและครอบคลุมเรื่องที่สำ�คัญ อีกทั้งให้คำ�ปรึกษาและข้อเสนอแนะให้มีการปรับปรุง เพื่อทำ�ให้ระบบการทำ�งานดีขึ้น นับเป็นเวลากว่า ๓๐ ปีมาแล้ว ที่ระบบงานตรวจสอบภายในถูกจัดให้มีขึ้นในกองทัพอากาศ โดยได้มีการ สถาปนาเป็นสำ�นักงานตรวจบัญชีทหารอากาศในวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๙ และเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ หน้าที่ และความรับผิดชอบทีไ่ ด้รบั จึงมีการปรับเปลีย่ นโครงสร้างของหน่วยงาน พร้อมกับเปลีย่ นชือ่ เป็น “สำ�นักงานตรวจสอบ ภายในทหารอากาศ” ตลอดระยะเวลา ๓๐ ปีที่ผ่านมา สำ�นักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศได้เสริมสร้างระบบ การตรวจสอบภายใน ให้เป็นกลไกสำ�หรับผู้บริหารในการบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับหลักการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ด้วยการพัฒนาและปรับปรุงระบบงานตรวจสอบภายใน ให้เป็นไปตามมาตรฐาน การตรวจสอบ ภายในทีก่ รมบัญชีกลางกำ�หนด และมาตรฐานสากลการตรวจสอบภายใน รวมทัง้ มีการนำ�เทคโนโลยีดา้ นการตรวจสอบ ทีม่ คี วามทันสมัยและเป็นทีย่ อมรับโดยทัว่ ไปมาใช้ในการตรวจสอบ วิเคราะห์ขอ้ มูล รายงานผลข้อมูล เพือ่ ทีจ่ ะระบุความเสีย่ ง หรือสิ่งผิดปกติในการตรวจสอบภายในให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
๔๒ ข่าวทหารอากาศ
ตุลาคม ๒๕๕๙
การที่สำ�นักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศมุ่งพัฒนา ปรับปรุงระบบงานตรวจสอบภายในและผู้ตรวจสอบ ภายในกองทัพอากาศอย่างต่อเนือ่ ง ส่งผลให้กองทัพอากาศได้รบั รางวัลต่าง ๆ อย่างต่อเนือ่ ง โดยในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ สำ�นักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ ได้เข้ารับการประเมินการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายในภาครัฐ และเป็น ๑ ใน ๑๗ หน่วยงาน จากจำ�นวนทั้งหมด ๑๓๓ หน่วยงาน ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินการประกันคุณภาพงาน ตรวจสอบภายในภาครัฐในระดับ “เป็นไปตามมาตรฐานระดับดี” และในปีเดียวกันนั้น กระทรวงการคลังได้จัดให้มีการ คัดเลือกและมอบรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศในการบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง ครั้งที่ ๒ โดยกองทัพอากาศ ได้รับเกียรติให้รับรางวัล “ประกาศเกียรติคุณด้านการตรวจสอบภายในภาครัฐ ระดับดีเลิศ” จากนายกรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี ทำ�เนียบรัฐบาล เมื่อ ๙ ก.ย.๕๘ ซึ่งมีเพียง ๒ หน่วยงาน จากส่วนราชการทั่วประเทศที่ผ่านการคัดเลือก ให้ได้รับรางวัลนี้ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ กระทรวงการคลังได้จัดให้มีการคัดเลือกและมอบรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศ ในการบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง ครั้งที่ ๓ โดยกองทัพอากาศ ได้รับเกียรติให้รับรางวัล “ประกาศเกียรติคุณ ด้านการตรวจสอบภายในภาครัฐ ระดับดีเลิศ” ต่อเนือ่ งเป็นปีที่ ๒ จากนายกรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี ทำ�เนียบรัฐบาล เมื่อ ๒๖ ส.ค.๕๙ ที่ผ่านมา และเช่นเดียวกับปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ที่มีเพียง ๒ หน่วยงาน จากส่วนราชการทั่วประเทศ ที่ผ่านการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลนี้คือ กรมบัญชีกลางและกองทัพอากาศ
พล.อ.ต.วสันต์ อยู่ประเสริฐ ผอ.สตน.ทอ. รับรางวัล “ประกาศเกียรติคุณด้านการตรวจสอบ ภายในภาครัฐ ระดับดีเลิศ” จาก พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เมื่อ ๒๖ ส.ค.๕๙
จากรางวัลที่ได้รับเป็นสิ่งยืนยันได้ว่า สำ�นักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศได้รักษาและพัฒนาคุณภาพ การปฏิบตั งิ านตรวจสอบภายในทีเ่ ป็นไปตามมาตรฐานให้คงอยูอ่ ย่างต่อเนือ่ ง ซึง่ สำ�นักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างระบบงานตรวจสอบภายในกองทัพอากาศให้มีความ ก้าวหน้า เกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ เป็นที่น่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับให้เป็นหน่วยงานตรวจสอบภายใน ภาครัฐชั้นแนวหน้าของประเทศ สำ�นักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ จะมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต พร้อมนำ�ความเจริญก้าวหน้าในสายวิชาชีพตรวจสอบภายในและเทคโนโลยีทมี่ ปี ระสิทธิภาพมาสูก่ องทัพอากาศ ตลอดจน ตัง้ ใจทีจ่ ะรักษามาตรฐานการปฏิบตั งิ านตรวจสอบภายในให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับมีนโยบายในการพัฒนา งานตรวจสอบภายในให้มมี าตรฐานเทียบเท่าสากลต่อไป ตามวิสยั ทัศน์ทวี่ า่ “เป็นหน่วยงานหลักของกองทัพอากาศ ที่ดำ�เนินการตรวจสอบภายในแบบมืออาชีพตามมาตรฐานสากล ที่สร้างความพึงพอใจให้กับผู้บังคับบัญชาและ ผู้รับการตรวจ เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ภารกิจของกองทัพอากาศ”
จากบทความ “กองทัพอากาศสหรัฐฯ กับการปรับตัวเข้าสู่ยุคของข้อมูล” ที่กล่าวถึงแนวคิดในการนำ�ข้อมูล จากระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Data Link) มาใช้ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการครองความเหนือชั้นของการใช้ กำ�ลังทางอากาศ (Air Superiority) สำ�หรับการรบของ ทอ.สหรัฐฯ อันถือเป็นส่วนแรกที่มีความสำ�คัญและเกี่ยวข้องกับ วิวฒ ั นาการของกองทัพอากาศในอนาคต ทีจ่ ะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร (ICT) เข้าไปเพิม่ ความสามารถ ในการปฏิบัติงาน ในนี้จะขอกล่าวถึงส่วนที่มีความสำ�คัญไม่แพ้กัน ซึ่งนายทหารระดับสูงของ ทอ.สหรัฐฯ หลายคนมองว่า เป็นสิ่งจำ�เป็นสำ�หรับการรบในยุคของข้อมูลก็คือ การครอบครองห้วงอวกาศ ของ ทอ.สหรัฐฯ (Space Dominance) ที่ถือเป็นภารกิจหลักมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1982 ซึ่งการรบในสงครามอ่าวเปอร์เซีย ค.ศ.1991 ทอ.สหรัฐฯ แสดงให้คนทั่วโลกได้เห็น ถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการครอบครองห้วงอวกาศ ด้วยการใช้ความสามารถของดาวเทียมในการติดต่อสื่อสารและ แลกเปลี่ยนข้อมูล (SATCOM) ทำ�ให้สหรัฐฯ ได้ชัยชนะอย่างรวดเร็ว ณ ปัจจุบัน ทอ.สหรัฐฯ กำ�ลังเผชิญหน้ากับอนาคต ที่จะถูกท้าทายจากอำ�นาจที่ครอบครองห้วงอวกาศอยู่จากฝ่ายตรงกันข้าม โดยในเดือนเมษายน ค.ศ.2015 พล.อ.อ. John E. Hyten หัวหน้าหน่วยบัญชาการยุทธทางอวกาศ ให้สมั ภาษณ์กบั นักข่าวทีร่ ฐั วอชิงตัน ดี.ซี. ถึงความสามารถใน ห้วงอวกาศ ของ ทอ.สหรัฐฯ ด้วยการใช้ดาวเทียมทหาร GPS เป็นตัวประสานและชีเ้ ป้าหมาย ทีถ่ อื เป็นข้อได้เปรียบทำ�ให้ การปฏิบัตกิ ารของหน่วยต่าง ๆ ในสนามรบ สามารถเชือ่ มต่อเข้าเป็นระบบเดียวกัน ในสถานการณ์ดังกล่าว ทอ.สหรัฐฯ จำ�เป็นต้องคงความได้เปรียบในห้วงอวกาศไว้จากฝ่ายตรงกันข้าม อาทิ จีนชาติในเอเชียทีท่ า้ ทายอำ�นาจของ ทอ.สหรัฐฯ ที่ครอบครองอยู่ โดยพัฒนาอาวุธที่สามารถทำ�ลายดาวเทียมได้ในห้วงอวกาศ (Anti - Satellite Weapon) ซึ่งในเวลา 25 ปีที่ผ่านมา ทอ.สหรัฐฯ สามารถวางใจได้ว่ามีเทคโนโลยีอวกาศที่ก้าวไกลกว่าทุกชาติ แต่ในเวลานี้ขอบเขตการทิ้งห่าง คู่แข่งที่เคยเชื่อมั่นมาโดยตลอดกลับถูกทำ�ให้ระยะห่างลดลงเรื่อย ๆ จึงเป็นอีกเรื่องที่น่าศึกษาและควรค่าแก่การเรียนรู้ โดยมีมุมมองและรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
๔๔ ข่าวทหารอากาศ
ความเหนือกว่าในห้วงอวกาศ
ตุลาคม ๒๕๕๙
ข้อมูลมาจาก U.S. Air Force Magazine ฉบับเดือนกันยายน ค.ศ.2015 ในบทความ "Defended Space" เขียนโดยคุณ Rebecca Grant ทีก่ ล่าวถึง ความพยายามทีจ่ ะใช้หว้ งอวกาศ ซึง่ เริม่ ขึน้ ตัง้ แต่กลางศตวรรษที่ 20 และเติบโต อย่างรวดเร็วระหว่าง ค.ศ.1960 - 1970 ในปี ค.ศ.1980 สหภาพโซเวียต (Soviet Union) ได้เริ่มแสดงแสนยานุภาพที่ เป็นภัยคุกคามต่อดาวเทียมสหรัฐฯ ที่โคจรรอบโลก หลังจากที่กำ�แพงเบอร์ลินถูกทำ�ลายลงและติดตามมาด้วยการล่ม สลายของสหภาพโซเวียตทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับนโยบายในห้วงอวกาศของสหภาพโซเวียตได้เปลี่ยนไป ภัยคุกคามต่อ ดาวเทียมสหรัฐฯ ที่เคยเกิดขึ้นในห้วงอวกาศแทบจะไม่หลงเหลือ ในช่วงปี ค.ศ.1989 - 2007 เทคโนโลยีอวกาศในด้าน ต่าง ๆ ได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ทุ่มงบประมาณในจำ�นวนที่มาก เพียงเพื่อความเหนือกว่า ในห้วงอวกาศ (Space Superiority) ประกอบกับผลที่ได้รับจากเทคโนโลยีอวกาศในด้านต่าง ๆ อาทิ การสื่อสาร (Communication) การเป้าหมาย (Positioning) และการนำ�ทาง (Navigation) เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซียในปี ค.ศ.1991 การแทรกแซงของนาโตในโคโซโวเมือ่ ปี ค.ศ.1998 สงครามต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ ในอัฟกานิสถาน ปี ค.ศ.2001 และเป้าหมายของสหรัฐฯ ในการพัฒนาระบบป้องกันขีปนาวุธพิสยั ไกล ซึง่ แสดงให้เห็นถึงการนำ�เทคโนโลยี อวกาศมาใช้ในทางทหารของสหรัฐฯ สิง่ ทีโ่ ดดเด่นของประโยชน์ทจี่ ะได้รบั จากการครอบครองห้วงอวกาศก็คอื ความได้เปรียบ ในการปฏิบัติการรบ ที่เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซียในปี ค.ศ.1991 ในวันแรก ๆ ของการทิ้งระเบิดใส่กรุงแบกแดดนั้น กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ใช้ดาวเทียมทางทหารในห้วงอวกาศเป็นตัวประสานและชี้เป้าหมายในภาพรวมเป็น “ครั้งแรก ของสงครามอวกาศ (First Space War)” โดยคุณ Michael W. Wynne อดีตเลขานุการของ ทอ.สหรัฐฯ เปรียบเทียบ ให้เห็นสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นต้องใช้เครื่องบินทิ้งระเบิด B-17 จำ�นวน 1,500 เครื่อง เพื่อทิ้งระเบิด 9,000 ลูก ในการ ทำ�ลายเป้าหมายเพียงเป้าเดียว
ณ ปัจจุบนั เครือ่ งบินทิง้ ระเบิด B-2 (Spirit Bomber) สามารถทีจ่ ะโจมตีเป้าหมายจำ�นวน 80 เป้าหมายทีต่ า่ งกัน ในภารกิจเดียวด้วยระเบิดนำ�วิถที เี่ ข้าสูเ่ ป้าหมายต่าง ๆ ได้โดยดาวเทียมทหาร GPS จากห้วงอวกาศ (Weapons Guided by GPS) ซึง่ ความได้เปรียบในการปฏิบตั กิ ารรบของสหรัฐฯ ดังทีไ่ ด้กล่าวล้วนเป็นแรงผลักดันให้จนี ทีม่ เี ทคโนโลยีอวกาศ มาเป็นชาติทสี่ ามของโลก มุง่ ทีจ่ ะพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของตัวเองอย่างต่อเนือ่ งให้มคี วามทันสมัยและเทียบเท่าสหรัฐฯ ในมุมมองของ พล.อ.อ.Xu Qiliang อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศจีนกล่าวไว้ตอนไปเยือนอินเดียว่า “ห้วงอวกาศเป็น พื้นที่ที่จีนจะต้องรักษาและปกป้องไว้ในยามที่จีนต้องทำ�การรบ” ซึ่งการพัฒนาในยุคแรกจีนได้รับการถ่ายทอดความรู้ จากอดีตสหภาพโซเวียต หลังจากนั้นมาจีนก็สามารถพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศได้ด้วยตัวเองด้วยการก่อตั้งสถาบันและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน ตัวอย่างเช่น ศูนย์วิจัยและพัฒนาการส่งยานอวกาศ สถานีควบคุมภาคพื้นดิน โรงงานก่อสร้างยานอวกาศ ทั้งนี้ด้วยเป้าหมายที่จีนต้องต่อสู้เพื่อให้ได้มาของความเหนือกว่าในห้วงอวกาศที่จะเกิดขึ้น กับจีนในอนาคต ซึ่งหลังจากที่จีนได้ประสบความสำ�เร็จในการส่งมนุษย์อวกาศคนแรกไปโคจรในห้วงอวกาศ จีนยังส่ง มนุษย์อวกาศอีก 2 คน ไปโคจรในห้วงอวกาศเป็นรอบที่สองในปี ค.ศ.2005 ความสามารถในเทคโนโลยีอวกาศของ จีนนั้น เริ่มแสดงแสนยานุภาพที่เป็นภัยคุกคามต่อดาวเทียมสหรัฐฯ ที่โคจรรอบโลก จากความสามารถในการพัฒนา อาวุธทีส่ ามารถทำ�ลายดาวเทียมได้ในห้วงอวกาศ จีนได้โชว์ความสำ�เร็จให้โลกได้เห็นด้วยการสาธิตยิงอาวุธขึน้ ไปทำ�ลาย ดาวเทียมตรวจอากาศที่หมดอายุของตัวเองในปี ค.ศ.2007 โดยคุณ Phillip C. Saunders และ น.อ.Charles D. Lutes (USAF) ได้ทำ�การวิเคราะห์เรื่องนี้ลงวารสาร Joint Forces Quarterly ในเวลานั้นว่า “ณ ปัจจุบันดาวเทียมที่โคจรอยู่ ่ำ (LEO) ความสูงจากผิวโลกระยะ 300 - 700 ไมล์นนั้ อยูใ่ นพิสยั ของอาวุธทีส่ ามารถทำ�ลายดาวเทียม รอบโลกในระดับต� ได้ในห้วงอวกาศ (Anti - Satellite Weapon) ทั้งนี้รวมทั้งดาวเทียมของ ทอ.สหรัฐฯ ที่ใช้ในภารกิจต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การสอดแนม (Reconnaissance) การตรวจตรา (Surveillance) การพยากรณ์อากาศ (Meteorology)
และในการสำ�รวจหาข้อมูลบนพื้นโลกจากห้วงอวกาศ (Remote Sensing) ซึ่งการกระทำ�ดังกล่าวของจีนถือเป็น ภัยคุกคามอย่างมากต่อดาวเทียมสหรัฐฯ” ในมุมของ ทอ.สหรัฐฯ นั้นได้พัฒนาอาวุธที่สามารถทำ�ลายดาวเทียมได้ ในห้วงอวกาศ โดยได้สาธิตการยิงอาวุธดังกล่าวขึ้นไปทำ�ลายดาวเทียมสอดแนมของสหรัฐฯ ที่หยุดปฏิบัติงานแล้ว ซึ่ง ทำ�ได้สำ�เร็จในปี ค.ศ.2008 หลังจากความสำ�เร็จในการยิงอาวุธขึ้นไปทำ�ลายดาวเทียมได้ในปี ค.ศ.2007 จีนยังคงพัฒนา เทคโนโลยีอวกาศกันอย่างต่อเนือ่ งเห็นได้จากในปี ค.ศ.2013 จีนทดลองปล่อยจรวดขึน้ ไปสูว่ งโคจรของดาวเทียมได้สงู ทีส่ ดุ โดยห่างจากพื้นโลก 30,000 กิโลเมตร ทางทฤษฎีถือเป็นการทดสอบเทคโนโลยีอวกาศของจีนสำ�หรับต่อต้านดาวเทียม ที่โคจรอยู่ในระดับสูง (GEO) ซึ่งได้สร้างความกังวลให้กับดาวเทียมสื่อสารทหาร (Milstar) ของ ทอ.สหรัฐฯ ที่โคจรรอบโลก ในระดับสูง (GEO) Milstar นั้นจัดเป็นดาวเทียมสื่อสารทหารที่มีประสิทธิภาพและที่สำ�คัญอำ�นวยความสะดวกในการ ติดต่อสื่อสารให้แก่ กองกำ�ลังทางทหารสหรัฐฯ จากข้อมูลรายงานของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เกี่ยวกับกองกำ�ลังทาง ทหารของจีนปี ค.ศ.2015 (Pentagon’s 2015 Annual Report) ได้กล่าวไว้ว่า “จีนยังคงพยายามอย่างต่อเนื่องในการ พัฒนาอาวุธที่มีความสามารถในการจำ�กัดหรือป้องกันการใช้ดาวเทียมของฝ่ายตรงกันข้ามในช่วงการปฏิบัติ การรบ ตัวอย่างเช่น การพัฒนาดาวเทียมทีใ่ ช้ในการรบกวนสัญญาณ (Satellite Jammers) และการพัฒนาอาวุธพลังงาน ตรง (Directed Energy Weapon) ที่สามารถยิงทำ�ลายขีปนาวุธที่มีต้นทุนในการผลิตที่สูงกว่าพลังงานเหล่านี้” ซึ่งจีน เองก็ยังไม่ออกมาแจ้งให้ทราบถึงความสามารถของอาวุธที่ใช้ในห้วงอวกาศนั้น (Space Weapons Capability) ว่ามี อะไรบ้าง ที่สำ�คัญสิ่งหนึ่งที่นักการทหารของจีนได้แสดงความคิดเห็นไว้อย่างน่าสนใจคือ “ในช่วงที่จีนต้องทำ�การรบ การทำ�ลายดาวเทียมทหาร GPS ของฝ่ายตรงกันข้ามได้นั้น จะช่วยลดความสามารถและลดความแม่นยำ�ของอาวุธนำ� วิถีที่เข้าสู่เป้าหมายได้ด้วยดาวเทียมทหาร GPS ของฝ่ายตรงกันข้าม” ซึ่งคุณ Deborah Lee James เลขานุการของ ทอ.สหรัฐฯ คนปัจจุบัน ได้กล่าวไว้ในการประชุมประจำ�ปีของสถาบันอวกาศสหรัฐฯ ในหัวข้อ "Defended Space"
ตุลาคม ๒๕๕๙
ข่าวทหารอากาศ ๔๗
รัฐโคโลราโด เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ.2015 ที่ผ่านมาว่า “ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทอ.สหรัฐฯ ปราศจากคู่แข่งเข้ามา แทรกแซงในการครอบครองห้วงอวกาศ จากความสำ�เร็จการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของจีนในปัจจุบัน ทำ�ให้เกิดการ แข่งขันในด้านความเหนือกว่าในห้วงอวกาศ ซึง่ ถึงเวลาแล้วที่ ทอ.สหรัฐฯ จะต้องออกมาปกป้องห้วงอวกาศ เพือ่ ป้องกัน ภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นต่อดาวเทียมสหรัฐฯ” ในมุมมองของผู้เขียนนโยบายป้องกันห้วงอวกาศ (Self-Defense) อยู่ ในความรับผิดชอบของ พล.อ.อ.John E. Hyten หัวหน้าหน่วยบัญชาการยุทธทางอวกาศ ประกอบไปด้วยการปล่อย ดาวเทียมสอดแนมประสิทธิภาพสูง 2 ดวง ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบและแจ้งเตือนสิ่งที่เกิดขึ้นต่อดาวเทียมสหรัฐฯ ที่โคจร อยูใ่ นระดับสูง (GEO) ยานอวกาศรุน่ ใหม่ X-37B (Spaceplane) อันถือเป็นส่วนสำ�คัญในการวิจยั และพัฒนาเทคโนโลยี อวกาศใหม่ ๆ ให้แก่ ทอ.สหรัฐฯ และทีส่ �ำ คัญนัน้ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เพิม่ งบประมาณให้กบั การป้องกันห้วงอวกาศ (Self-Defense Budget) จำ�นวน 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อนำ�ไปเพิ่มประสิทธิภาพในการบัญชาการและควบคุม แบบ Real-Time ของ ทอ.สหรัฐฯ สำ�หรับการป้องกันภัยคุกคามทีอ่ าจเกิดขึน้ ในห้วงอวกาศ ซึง่ ทัง้ หมดนีจ้ ะช่วยป้องกัน ภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นต่อดาวเทียมสหรัฐฯ จากฝ่ายตรงกันข้าม ประกอบกับผลที่ได้รับตามมาน่าจะทำ�ให้ ทอ.สหรัฐฯ ยังคงความสามารถในการครอบครองห้วงอวกาศได้ต่อไปในอนาคต
ข้อคิดที่ฝากไว้
ห้วงอวกาศเป็นสนามแข่งขันใหม่ที่มีศักยภาพ ซึ่งการแข่งขันในห้วงอวกาศไม่ได้จำ�กัดวงอยู่แค่สหรัฐอเมริกา และรัสเซียเท่านั้น ทั้งจีน ญี่ปุ่น อินเดีย และสหภาพยุโรป ต่างก็ได้พยายามพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของตัวเอง หันกลับ มามองประเทศไทยใช่ว่าจะไม่มีหน่วยงานที่ดูแลด้านห้วงอวกาศเลย เรามีสำ�นักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิ สารสนเทศ (สทอภ.) ที่เน้นการใช้ดาวเทียมในการสำ�รวจหาข้อมูลบนพื้นโลก (Remote Sensing) แต่ถ้าจะไปแข่งขัน หรือพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศเหมือนหลายประเทศข้างต้นนัน้ อาจไม่ใช่นโยบายหลักของประเทศไทย แต่ในอนาคตอันใกล้ กับการเกิดขึน้ ของหน่วยงานใหม่ทมี่ หี น้าทีด่ า้ นอวกาศโดยตรง เราอาจได้เห็นการนำ�เทคโนโลยีอวกาศมาใช้ในทางทหาร ที่บ้านเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง…Military Space Operations…ที่จะต้องติดตามกันต่อไป
พล.ท.ทวี แจ่มจำ�รัส สภาพสังคมปัจจุบนั นี้ มีความเจริญก้าวหน้า มีการแข่งขันทางด้านวิชาการรวมทัง้ เทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึน้ มากมาย ซึ่งต่อไปนี้นายทหารสังกัดกระทรวงกลาโหมทุกคนจะยึดมั่นถือมั่นในความรู้และปริญญาบัตรที่ได้รับจากสถานศึกษา เพียงอย่างเดียวนัน้ คิดว่าไม่นา่ จะเพียงพออย่างแน่นอน จากประสบการณ์ในการรับราชการของผูเ้ ขียนทีไ่ ด้รบั คำ�แนะนำ� สั่งสอน อบรม ตักเตือน จากผู้บังคับบัญชา นายทหารชั้นผู้ใหญ่ เพื่อน พี่ น้อง ลูกน้อง และบุคคลนอกวงการทั้งหลาย จึงได้รวบรวมบันทึกไว้และนำ�มาเป็นข้อเสนอแนะในการเตรียมความพร้อมสำ�หรับทหารยุคใหม่ไว้ ๒ ภาค คือ ภาคความรู้ และภาคการปฏิบัติงานและปฏิบัติตน ซึ่งสามารถทำ�ควบคู่กันได้ เพื่อรองรับหน้าที่สำ�คัญในอนาคตรวมไปถึงวัน หลังเกษียณอายุด้วย ภาคความรู้
นายทหารสังกัดกระทรวงกลาโหมยุคใหม่ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาการทหารอยู่เดิมแล้ว สมควรทีจ่ ะต้องแสวงหาความรูเ้ พิม่ เติมในศาสตร์ตา่ งสาขาระดับสูงขึน้ เพือ่ สามารถนำ�มาประยุกต์ใช้รว่ มกับการปฏิบตั ิ ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพส่งผลดีทั้งต่อองค์กรและตัวบุคคล ได้แก่ ๑. การศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอก ถือเป็นเรื่องสำ�คัญมากอันดับแรกที่จะต้องทำ�ในขณะที่อายุ และวัยยังเกื้อกูล อย่ารอให้วัยร่วงโรยจะทำ�ได้ยาก ปัจจุบันนี้ข้าราชการพลเรือนในทุกกระทรวง ทบวง กรม ส่วนใหญ่ จบปริญญาโทในสาขาต่าง ๆ ๙๕% เมื่อเทียบกับข้าราชการของ กห. ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ที่ค่อนข้างจะห่างกันพอสมควร ถึงแม้วา่ จะมีผทู้ กี่ �ำ ลังศึกษาอยูใ่ นระดับปริญญาโทและเอกอยูแ่ ล้วแต่ไม่มากนัก นายทหารทุกท่านควรศึกษาต่อถ้าทำ�ได้ ซึ่งสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยเปิดและปิดของภาครัฐและเอกชน ได้เปิดทำ�การสอนหลากหลายสาขาวิชา ในและนอกเวลาราชการ ทั้งใน กทม. ปริมณฑลและภูมิภาค โดยไม่ให้มีผลกระทบกับการปฏิบัติราชการปกติ
๕๐ ข่าวทหารอากาศ
ตุลาคม ๒๕๕๙
แต่ตอ้ งเสียสละเวลาและทุนทรัพย์สว่ นตัว แทนทีจ่ ะใช้เวลาดังกล่าวให้หมดไปโดยไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ซึง่ ใช้เวลาอย่างน้อย ๑ ปีครึ่งถึง ๒ ปี ก็จะได้เป็นมหาบัณฑิตในสาขาที่ตนเองชอบ และถ้ามีโอกาสก็ควรศึกษาต่อในระดับดุษฎีบัณฑิต เนือ่ งจากในปัจจุบนั การปฏิบตั ริ าชการเป็นแบบบูรณาการมีความเชือ่ มโยงกับหลายหน่วยงาน ทัง้ ภาคราชการ และภาคเอกชน ทั้งในและนอกพื้นที่ ความเชื่อมั่นในตัวบุคคลเป็นสิ่งสำ�คัญมาก ที่ทำ�ให้การประชุมหรือการปฏิบัติงาน ร่วมกันบรรลุผลสำ�เร็จตามภารกิจ ซึ่งการที่มีวุฒิทางการศึกษาเพิ่มขึ้นจะเป็นตัวช่วยที่สำ�คัญ ทหารมิใช่มีแต่พละกำ�ลัง แต่ยังต้องมีความรู้และปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานตลอดเวลา ดังนั้นความรู้ระดับมหาบัณฑิตจึงมีความจำ�เป็นอย่าง มากเมื่อมีตำ�แหน่งสูงขึ้น ในปัจจุบันผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ว่าจะเป็นพนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ� พลทหารกองประจำ�การ นายทหาร ประทวน และนายทหารสัญญาบัตรจากหลายแหล่งกำ�เนิด มีจำ�นวนไม่น้อยที่มีวุฒิปริญญาโท ผู้ใต้บังคับบัญชา เหล่านั้นจะเชื่อมั่นในตัวผู้นำ�อย่างท่านได้สนิทใจอย่างไรในเมื่อผู้บังคับบัญชามีวุฒิการศึกษาน้อยกว่า เพราะฉะนั้นถ้ามี เวลา โอกาส และเงินทุน ควรศึกษาต่อในสาขาทีเ่ กีย่ วข้องกับงานหรือสาขาทีช่ อบ ซึง่ ความสำ�เร็จนี้จะเห็นผลเด่นชัดในอนาคต แน่นอน ๒. การฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษ เป็นเรื่องสำ�คัญที่สอง ปัญหาสำ�คัญในการใช้ภาษาอังกฤษของนายทหารสังกัด กระทรวงกลาโหม คือ การฟังไม่รู้เรื่องและพูดโต้ตอบไม่ได้ ระบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในบ้านเรา ทุกสถาบัน จะมุ่งเน้นเรื่องไวยากรณ์เป็นหลัก ซึ่งไม่ค่อยได้ใช้และมีความจำ�เป็นในชีวิตประจำ�วันน้อยมาก ถึงแม้จะมีการสอนวิชา ภาษาอังกฤษในทุกสถาบันอยู่แล้ว แต่ไม่น่าจะเพียงพอ อาจจะต้องฝึกฟัง พูด เขียน เพิ่มเติมจากเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ นสพ.ภาษาอังกฤษ เข้าเรียนหลักสูตรสั้น ๆ ของสถาบันการสอนของรัฐหรือเอกชนที่มีเปิดสอน แพร่หลาย หรือซื้อเทปภาษาอังกฤษในระดับต่าง ๆ (Volume) จากศูนย์ภาษาของเหล่าทัพหรือกองทัพไทย ฯลฯ โดย ฝึกฟังตลอดเวลาขณะที่อยู่บ้านหรือเวลาพักผ่อนในที่ทำ�งาน การฝึกภาษาอังกฤษที่ดีก็คือ การฟัง ฟัง และฟัง ให้ ซึมซับเข้าไปในหูเองโดยอัตโนมัติ อาจต้องใช้เวลามากพอสมควร ที่สำ�คัญภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางใช้ในการติดต่อ สื่อสารทั่วโลก โดยเฉพาะหลักสูตรการศึกษาของ รร.ทหาร ต่าง ๆ ของกองทัพบก ประเทศสหรัฐอเมริกาที่เคยให้ทุน การศึกษาแก่นายทหารไทยนั้น เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงเวลาหลายปีมานี้ การสอบแข่งขันวิชาภาษาอังกฤษของนายทหาร ชายจากหลายสถาบันกับนายทหารหญิงที่จบจากมหาวิทยาลัย ปรากฏว่านายทหารหญิงมักจะสอบได้ทุนไปเรียน ต่างประเทศ และมีจ�ำ นวนไม่นอ้ ยของแต่ละเหล่าทีเ่ ปิดโอกาสให้ทหารหญิงเข้าสอบได้ ในการสอบวิชาภาษาอังกฤษต้อง เตรียมตัวแต่เนิ่น ๆ อย่างน้อย ๑ ถึง ๓ ปี จึงจะสอบผ่านเกณฑ์ ECL 70% - 80% (สนามสอบเดิมที่จัสแมกไทย ถ.สาธร กทม.) การฝึกศึกษา การสัมมนา และการเยี่ยมชมดูงานวิชาทหารสาขาวิทยาการต่าง ๆ ในต่างประเทศจำ�เป็นต้องใช้ ภาษาอังกฤษทั้งนั้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ตนเอง และปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกสมาคมกลุ่มประเทศ อาเซียน มีประชากรหลากหลายชนชาติเข้ามามีความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆ มากขึ้น การใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง จึงยิ่งมีความจำ�เป็นต้องใช้มากในการติดต่อสื่อสารระหว่างการปฏิบัติงาน ดังนั้นทุกคนต้องทบทวนฝึกฝนฟังและ พูดภาษาอังกฤษตั้งแต่วันนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในอนาคตและสามารถนำ�ไปใช้หลังเกษียณอายุราชการได้ ๓. การเรียนวิชากฎหมายเพิ่มเติม เป็นเรื่องสำ�คัญที่สาม เนื่องจากในปัจจุบันการบริหารราชการแผ่นดินของ รัฐบาล ทุกกระทรวง ทบวง กรม และภาคธุรกิจเอกชน จะใช้กฎหมายเป็นหลัก ทัง้ เรือ่ งการปกครองและปฏิบตั งิ านได้ยดึ ถือ กฎหมายเป็นใหญ่ ไม่วา่ จะพูด จะทำ� โดยอ้างอิงกฎหมายทัง้ สิน้ กฎหมายจะเข้าไปแทรกทุกกิจการของสังคมและทุกวงการ ตัง้ แต่กฎหมายลำ�ดับศักดิส์ งู สุด ได้แก่ รัฐธรรมนูญ ลำ�ดับศักดิร์ องลงมาทีม่ ฐี านะเท่ากัน ได้แก่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ
ตุลาคม ๒๕๕๙
ข่าวทหารอากาศ ๕๑
พ.ร.บ. (พระราชบัญญัติ) คำ�สั่งของ หน.คณะปฏิวัติ/รัฐประหาร ฯลฯ และกฎหมายลำ�ดับรองมีศักดิ์ต่ำ�ลงมาอีก ได้แก่ พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กฎ ระเบียบ คำ�สั่ง ฯลฯ ถ้านายทหารมีความรู้ทางด้านกฎหมายติดตัวจะทำ�ให้เกิดความ น่าเชื่อถือ และสามารถนำ�มาประยุกต์ใช้ในขณะรับราชการได้ทุกโอกาส ไม่ว่าจะเป็นการประชุม การเสนอข้อคิดเห็น การตัดสินใจ ฯลฯ เพราะทุกอย่างจะมีผลทางด้านกฎหมายทั้งสิ้น โดยเฉพาะการปฏิบัติงานทางด้านการบริหารต่าง ๆ ของ ทางราชการจะมีการตรวจสอบโดยหน่วยงานอื่น เช่น ปปช. ปทท. สตง. ฯลฯ เมื่อพบข้อผิดพลาดเนื่องจากไม่ปฏิบัติ ตามกฎหมายอาจต้องรับทัณฑ์และโทษ สำ�หรับวิชาความรูท้ างด้านการทหารนัน้ ก็สามารถนำ�วิชากฎหมายมาประยุกต์ ใช้ได้ก่อนเกษียณอายุราชการ และเมื่อเกษียณอายุราชการแล้วไม่ว่านายทหารจะไปทำ�งานในภาคธุรกิจเอกชนหรือ การเมืองในระดับต่าง ๆ ต้องใช้กฎหมายทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นถ้าเรียนรู้ไว้โดยใช้เวลานอกราชการเข้าศึกษาในคณะ นิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยปิด (ภาคค่ำ�/นอกเวลาราชการ) และในมหาวิทยาลัยเปิด ได้แก่ ม.รามคำ�แหง และ มสธ. หรือในมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ รวมทั้งมหาวิทยาลัยเอกชนทั้งใน กทม. ปริมณฑล และภูมิภาค โดยใช้เวลา อย่างน้อย ๓ - ๔ ปี ทั้งนี้ต้องมีความตั้งใจจริงและอดทน เพราะการสอบวัดผลวิชากฎหมายใช้การเขียนอธิบายใน สมุดคำ�ตอบอย่างเดียวไม่มีเลือกข้อถูกผิดหรือวงกลม เมื่อจบการศึกษาได้ปริญญานิติศาสตร์บัณฑิตแล้ว อาจไปอบรม วิชาชีพทนายความหรือเรียนหลักสูตรเนติบัณฑิตไทย (น.บ.ท.) เพิ่มเติมอีกก็ได้ ซึ่งจะสามารถทำ�งานเป็นที่ปรึกษาใน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำ�งานด้านการเมืองไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรี คณะกรรมการ หรือ ตำ�แหน่งทางการเมืองต่าง ๆ เช่น สส. สว. หรือ สนช. สปช. สปท. และการเมืองท้องถิ่น ฯลฯ ยิ่งมีความจำ�เป็นมาก เพราะฉะนั้นนายทหารที่สนใจควรตัดสินใจเสียแต่เนิ่น ๆ เช่นเดียวกัน ความสุขในขณะรับราชการและเมือ่ เกษียณอายุราชการแล้วคือ การไม่มคี ดีความทุกประเภททีต่ อ้ งไปขึน้ โรง ขึ้นศาล ความรู้ทางด้านกฎหมายมีส่วนช่วยท่านได้แน่นอน ภาคการปฏิบัติงานและปฏิบัติตน
ถือเป็นหัวใจสำ�คัญในการรับราชการของนายทหารทุกคน ไม่ว่าจะในหรือนอกเวลาราชการที่จะต้องพบเจอ ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ จำ�นวนมาก หลากหลายรูปแบบ โดยผู้เขียน ได้รวบรวมไว้ตั้งแต่ขณะเป็นทหารชั้นผู้น้อยจนเติบโตในตำ�แหน่งที่สูงขึ้นและมีโอกาสสัมผัสกับการปฏิบัติงานทุก ระดับตั้งแต่พลทหารกองประจำ�การ ทหารพราน นักเรียนทหาร ลูกจ้างประจำ� พนักงานราชการ นายทหารประทวน นายทหารสัญญาบัตร ทั้งชาย - หญิง รวมทั้งผู้บังคับบัญชาและนายทหารชั้นผู้ใหญ่หลายระดับจำ�นวนมาก ทั้งในหน่วย ทีจ่ �ำ กัดเหล่าและไม่จ�ำ กัดเหล่า หน่วยกำ�ลังรบ สนับสนุนการรบ และสนับสนุนการช่วยรบ ฯลฯ ในตำ�แหน่งฝ่ายอำ�นวยการ ฝ่ายเสนาธิการ และผู้บังคับหน่วยหลักตลอดชีวิตการรับราชการ มีความเจริญในหน้าที่ราชการตามปกติปานกลาง พอสมควร จึงขอนำ�มาถ่ายทอดเป็นข้อเสนอแนะไว้ ด้วยสำ�นวนดั้งเดิมแบบไทย ๆ ดังนี้ ๑. หลักในการปฏิบัติราชการ ๓ ประการ - ต้องทำ� - ทำ� - และทำ�งานตามภารกิจหน้าที่ของตนเองให้สำ�เร็จโดยไม่มีข้อแม้ - ต้องรักสามัคคี ซื่อสัตย์ จริงใจ และจงรักภักดีต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา - ต้องจัดสวัสดิการและต่อสู้เพื่อสิทธิโดยชอบธรรมให้ผู้ใต้บังคับบัญชา
๕๒ ข่าวทหารอากาศ
ตุลาคม ๒๕๕๙
๒. การปฏิบัติราชการต้องทำ�พร้อมไปด้วยกัน ๓ ประการ - การปฏิบัติงานตามภารกิจ - การพัฒนาหน่วย - การบำ�รุงขวัญกำ�ลังพล ๓. การปฏิบัติตัวของกำ�ลังพลทุกระดับ - จะต้องใช้คุณธรรมและความดี (คิด พูด ทำ�) ให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำ�ได้ในทุกโอกาส - จะต้องใช้ความเป็นผู้นำ�และเป็นตัวอย่างที่ดี ให้แก่กำ�ลังพลทุกประเภท - จะต้องเสียสละเพื่อส่วนรวม และพูดความจริงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราชการทุกครั้ง ๔. ตัวอย่างสุภาษิตเตือนใจในขณะปฏิบัติราชการ - นายดึง ลูกน้องดัน ผู้เสมอกันให้การสนับสนุน - ปากเป็นเอก เลขเป็นโท โบราณว่า - พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำ�ลึงทอง - ทำ�ดี แต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกิน - ไม่ฆ่าลูกน้อง ไม่ฟ้องนาย ไม่ขายเพื่อน (จะใช้ได้ในบางโอกาส ที่มีความจำ�เป็นจริง ๆ เท่านั้น ที่ไม่อาจ หลีกเลี่ยงได้) - หนทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน - รบกับนาย ต้องพ่ายแพ้ทุกเวลา - ยิ้มแย้มแจ่มใส ตั้งใจสนทนา วาจาไพเราะ สงเคราะห์เอื้อเฟื้อ ขาดเหลือคอยดูแล - รู้จักอิ่ม รู้จักดี รู้จักมี รู้จักพอ รู้จักขอ รู้จักให้ - เอาชนะผู้สูงศักดิ์ ด้วยความอ่อนน้อม เอาชนะผู้ต่ำ�ต้อย ด้วยการสงเคราะห์และเอื้อเฟื้อ - บุญคุณต้องทดแทน แค้นต้องเมตตา ความรู้คู่เปรียบด้วย กำ�ลังกายเฮย สุจริตคือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง ปัญญาประดุจดัง อาวุธ คุมสติต่างโล่ป้อง กาจแกล้ว กลางสนาม - รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ - ความประพฤตินำ�หน้า วิชาการตามหลัง - อ่านคนให้ออก บอกคนให้ได้ ใช้คนให้เป็น และเน้นคุณธรรม ๕. ตัวอย่างเทคนิคแนวทางการปฏิบัติตน ถือเป็นองค์ประกอบสำ�คัญอย่างหนึ่งที่อาจไม่มีระบุไว้ในตำ�รา เล่มใด ๆ แต่ในความเป็นจริง จำ�เป็นต้องใช้ตลอดชีวิตราชการให้เจริญรุ่งเรืองและราบรื่น การสร้างมิตรภาพที่ดีแก่ ผู้ที่เกี่ยวข้องทุก ๆ คน ไม่ว่าจะเป็นผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนครอบครัว บางท่านมี ความรู้ดีท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด เพราะขาดทักษะในเทคนิคแนวทางในการปฏิบัติตน ทำ�ให้เกิดอุปสรรคสำ�คัญในชีวิต รับราชการ ผู้เขียนจึงขอเสนอตัวอย่าง ดังนี้
ตุลาคม ๒๕๕๙ เกินสมควร
ข่าวทหารอากาศ ๕๓
- ใช้ระบบเงินสด ไม่เป็นหนี้สินลูกน้องเด็ดขาด และไม่เป็นหนี้สินบุคคลภายนอก และสถาบันการเงินที่ - เก็บหอมรอมริบ มัธยัสถ์ ไม่ตระหนี่ ตั้งตัวตั้งแต่อายุและยศน้อย ๆ - ไม่เล่นการพนันจนติด และไม่ดื่มสุราเป็นอาจิณ - เลือกเล่นกีฬาที่ชอบและถนัด - การขอความช่วยเหลือจากคนอื่นต้องไปด้วยตนเอง - ใช้คำ�พูดที่เหมาะสมให้เกียรติ อย่าดูถูกเหยียดหยามศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคน - ต้องสบตากับคู่สนทนาตลอดเวลา - เป็นผู้ให้และช่วยเหลือโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน - รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ไม่อาฆาตพยาบาท - เรื่องภายในอย่าพยายามนำ�ออก เรื่องภายนอกอย่าพยายามนำ�เข้า - อย่าเป็นคนหน้าไหว้หลังหลอก - ไม่นินทาใส่ร้ายผู้อื่นลับหลัง - เคารพมติที่ประชุม ไม่วิพากษ์วิจารณ์ - ระวังบุคคลสนิทรอบข้างเป็นพิษ - มีเพลงประจำ�ตัว - คิดว่าตนเองไม่ใช่ตัวประกอบในการแข่งขัน - เสียเรื่องเงิน จะเสียทุกอย่าง - เรื่องผู้หญิง เมื่อเรียนผูกก็ต้องเรียนแก้ - อย่าหูเบา เชื่อคนง่าย - ตรงต่อเวลานัดหมาย - เลือกคู่ครองที่เหมาะสม - ไม่นำ�ครอบครัวมายุ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน - เป็นผู้นำ�ของครอบครัวในเรื่องความสุขและความเป็นอยู่ - ปกป้องและรักศักดิ์ศรีของเหล่า “ทหารที่ตนเองสังกัด” ด้วยดวงใจและจิตวิญญาณ - แสดงตนเป็นตัวอย่าง มีความเสียสละ มีความยุติธรรมในหัวใจ - การติดต่อกับผู้บังคับบัญชาควรพบด้วยตนเองดีที่สุด หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ (ถ้าไม่ได้รับอนุญาต) - หาความรู้ใส่ตัวเสมอ - ให้ความสำ�คัญต่องานที่แสดงออกถึงความเศร้าโศกเสียใจมากกว่างานสังสรรค์รื่นเริง - การติดต่อประสานงานราชการ หลีกเลี่ยงการใช้ยศและตำ�แหน่งเข้าไปบีบบังคับ - ประกอบสัมมาอาชีพอื่น ๆ ที่สุจริต - ยึดถืองานเป็นหลัก ตัวบุคคลเป็นรอง - ประจบสอพลอนายด้วยการทำ�งานอย่างเต็มที่ - ให้ความสนใจเรื่องส่วนตัว และช่วยเหลือนายอย่างเต็มใจ ในโอกาสอันควร
๕๔ ข่าวทหารอากาศ
ตุลาคม ๒๕๕๙
จากการเตรียมความพร้อมดังกล่าวมาในขณะรับราชการ สิ่งที่จะได้รับก็คือ ความภาคภูมิใจที่ตลอดเวลาได้ ทำ�คุณประโยชน์แก่หน่วยงานของตนเอง สังคม และประเทศชาติ และหลังเกษียณอายุราชการแล้ว จากอายุ ๖๐ - ๑๐๐ ปี ขึน้ ไป ซึง่ เป็นระยะเวลาอีกนานพอควร ท่านจะเป็นผูส้ งู อายุทมี่ คี ณ ุ ค่า ไม่อยูอ่ ย่างโดดเดีย่ ว ยังมีลกู น้องหรือเพือ่ นร่วมงาน คอยช่วยเหลือหรือดูแล สิง่ ทีม่ นุษย์ทกุ คนต้องการในวัยหลังเกษียณก็คอื การตอบแทนคืนให้แก่สงั คม ในหลาย ๆ บทบาท ซึ่งอาจทำ�ด้วยจิตสาธารณะก็ได้ เช่น เป็นคร ู- อาจารย์ผู้สอนหนังสือ เป็นที่ปรึกษาหน่วยงานรัฐและเอกชน เป็นนักคิด นักเขียน ถ่ายทอดวิชาการ และประสบการณ์ไว้ให้แก่คนรุ่นหลัง ฯลฯ ยกตัวอย่างของผู้เขียนเกษียณอายุราชการ มา ๖ ปีแล้ว เคยได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการข้าราชการทหาร (กขท.) ผู้ทรงคุณวุฒิของกระทรวงกลาโหม เป็น อนุกรรมการและที่ปรึกษาในหลายคณะทำ�งานด้านต่าง ๆ ของ สว./สนช. เป็นที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นที่ปรึกษา ผูอ้ �ำ นวยการศูนย์คณ ุ ธรรม เป็นทีป่ รึกษาองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นทีป่ รึกษาบริษทั รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำ�กัด เป็น คณะอนุกรรมการตรวจสอบแก้ไขปัญหาการถือครองทีด่ นิ แปลงใหญ่และผูไ้ ม่ยอมเข้าสูก่ ระบวนการปฏิรปู ทีด่ นิ ของ สปก. กระทรวงเกษตร เป็นที่ปรึกษาของการไฟฟ้านครหลวง เป็นที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ฯลฯ มีความสนุกกับการทำ�งาน ในแต่ละวันที่ได้เสนอข้อคิดเห็น ข้อเขียน คิด พูด และทำ� เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมส่วนรวมจนกว่าชีวิตจะหาไม่ และเพื่อความสุขของผู้สูงวัยทุกคน
นายทหารสังกัดกระทรวงกลาโหมทุก ๆ ท่าน ลองพิจารณาดู ถ้าคิดว่าข้อใดเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน หมู่คณะ และตนเอง ต้องรีบตัดสินใจทำ�เลยและสามารถทำ�ได้ในทุกโอกาสจนกว่าชีวิตจะหาไม่ ความสุขและความสำ�เร็จจะเกิดขึ้น ได้ดว้ ยตัวของตัวเอง ทุกอย่างไม่มขี ายถ้าอยากได้ตอ้ งทำ�เอง แต่จะไปได้กา้ วไกลแค่ไหนอยูท่ บี่ ญ ุ ทำ�และกรรมแต่งด้วย ขอให้ทุกท่านโชคดีตลอดไป และบทความนี้ไม่สงวนสิทธิ์ ถ้าท่านผู้อ่านใดจะนำ�ไปทดลองปฏิบัติก็ได้ ความสุขและ ความสำ�เร็จไม่มากก็น้อยจะเกิดกับท่านอย่างแน่นอน
วัฒนธรรมขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ ทอ.: ค่านิยมหลัก ทอ.
น.ท.หญิง อัจฉรา นุตตะโร, Ph.D.
“กองทัพอากาศชัน้ นำ�ในอาเซียนภายในปี ๒๕๖๒” คือ วิสยั ทัศน์ของกองทัพอากาศ ทีผ่ ลักดันให้กองทัพอากาศ ต้องมีการกำ�หนดพันธกิจ ยุทธศาสตร์ รวมทั้งแนวคิดการพัฒนาในหลายรูปแบบ ได้แก่ การใช้ระบบสารสนเทศในการ ปฏิบัติงาน (Digital Air Forces) ระหว่างปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๘ พัฒนาการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Air Force) หรือการใช้ระบบ Digital ในการปฏิบัติการตามภารกิจ โดยเฉพาะการปฏิบัติการทางอากาศ ให้สามารถรับส่งข้อมูลและสื่อสารได้ครบถ้วนตลอดเวลาพร้อมกันหลายหน่วยในเวลาเดียวกัน ดังนั้นกองทัพอากาศ ต้องดำ�เนินการพัฒนาองค์ประกอบหลัก ได้แก่ ๑) การบัญชาการและการควบคุม (C2: Command and Control) ๒) ระบบการตรวจจับ (Sensors: Radar, Airborne Early Warnings, UAV) ๓) ผู้ปฏิบัติ/หน่วยปฏิบัติ (Shooter: อากาศยานรบ อากาศยานต่าง ๆ หน่วยยิง) ๔) เครือข่าย (Network: ICT, Radio, Tactical Data link) ๕) สนับสนุน และบริการ (Support and Service: การส่งกำ�ลัง การขนส่ง) และ ๖) ทรัพยากรบุคคลและองค์การ (Human and Organization: บุคลากร การจัดองค์การ วัฒนธรรมองค์การ) ซึ่งเราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าองค์ประกอบหลักที่สำ�คัญ ที่สุดคือ บุคลากรและวัฒนธรรมองค์การ เนื่องจากบุคลากรเป็นผู้ควบคุม สั่งการ และบริหารจัดการให้องค์ประกอบ ด้านอืน่ สมบูรณ์แบบ กล่าวได้วา่ ปัจจัยทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ในการดำ�รงขีดความสามารถของกองทัพอากาศคือ กำ�ลังพลกองทัพอากาศ ซึง่ ต้องสามารถปฏิบตั งิ านกับยุทโธปกรณ์เดิมและยุทโธปกรณ์ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องดำ�รงองค์ความรูแ้ ละ มาตรฐานการปฏิบตั งิ านเดิมเพือ่ ให้เกิดความปลอดภัยในขณะทีต่ อ้ งเรียนรูเ้ ทคโนโลยีของยุทโธปกรณ์ใหม่เพือ่ ให้สามารถ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่าและยั่งยืนบนพื้นฐานของความปลอดภัย
๕๖ ข่าวทหารอากาศ
ตุลาคม ๒๕๕๙
การพัฒนากำ�ลังพลกองทัพอากาศด้วยการสร้างวัฒนธรรมองค์การ
“ค่านิยม” คือ สิง่ ทีบ่ คุ ลากรในองค์การมีความเชือ่ ว่าเป็นสิง่ ดี ควรยึดถือปฏิบตั ิ ส่วน “วัฒนธรรม” คือ พฤติกรรม ทีส่ ร้างขึน้ จากคนในองค์การผ่านการเรียนรูซ้ ึ่งกันและกัน จนเป็นธรรมเนียมปฏิบตั ิในองค์การ กล่าวได้ว่า ค่านิยมจาก ภายในบุคคลก่อให้เกิดธรรมเนียมปฏิบตั เิ ป็นวัฒนธรรม ปัจจุบนั มีหลักฐานทางวิชาการยืนยันว่า “วัฒนธรรมองค์การ” ประกอบด้วย ๑) บรรทัดฐานที่เป็นคุณลักษณะพื้นฐานของบุคคล ๒) ค่านิยม และ ๓) วิถีของกลุ่มคนในองค์การ มีอทิ ธิพลต่อผลการดำ�เนินการขององค์การโดยตรงทำ�ให้องค์การส่วนใหญ่ให้ความสำ�คัญกับการกำ�หนด “ค่านิยมขององค์การ” เนื่องจากค่านิยมหลักจะผลักดันให้บุคลากรแสดงพฤติกรรมเชิงบวกที่พึงปฏิบัติเพื่อสร้างวัฒนธรรมที่องค์การต้องการ (Desired Corporate Culture) นำ�ไปสู่ผลสัมฤทธิ์ขององค์การ และส่งผลให้บุคคลภายนอกรวมทั้งบุคลากรภายใน มองเป็นวัฒนธรรมองค์การ (Corporate culture) ดังนั้น การพัฒนาค่านิยมหลักขององค์การให้กลายเป็นพฤติกรรม ของบุคลากรในองค์การ จนฝังรากลึกในระดับ DNA เป็นสุดยอดปรารถนาของผู้บริหารระดับสูงของทุกองค์การ
ค่านิยมหลักขององค์การทีน่ า่ ศึกษา ได้แก่ ค่านิยมหลักของกองทัพอากาศประเทศสหรัฐอเมริกา คือต้องซือ่ สัตย์ ให้บริการผู้อื่นก่อน และทำ�ทุกภารกิจให้สมบูรณ์แบบ (Integrity first, Service before self และ Excellent in all we do) ส่วนค่านิยมหลักของกองบัญชาการกองทัพไทย คือ ความเป็นทหารอาชีพ ความจงรักภักดี ความกล้าหาญและ การทำ�งานเป็นทีม (PLCT: Professionalism, Loyalty, Courage, Teamwork) ค่านิยมหลักของบริษัท การบินไทย จำ�กัด (มหาชน) คือ THAI: Teamwork and Trust, Happiness and Hospitality, Awakening and Accountability, Inspiration and Integrity เป็นต้น การจัดทำ�ค่านิยมหลักของกองทัพอากาศ
การจัดทำ�ค่านิยมหลักของกองทัพอากาศเริม่ ดำ�เนินการในปี พ.ศ.๒๕๔๙ โดยคณะอนุกรรมการจัดทำ�นโยบาย การกำ�กับดูแลองค์การทีด่ ี ซึง่ มี ผช.เสธ.ทอ. (ตำ�แหน่งในขณะนัน้ ปัจจุบนั ปรับเป็น รอง เสธ.ทอ.) เป็นประธานอนุกรรมการ และ ผอ.กคพ.สปพ.กพ.ทอ.เป็นอนุกรรมการและเลขานุการมีหน้าที่จัดทำ�และทบทวนค่านิยมหลัก (Core Value) ความสามารถหลัก (Core Competency) และวัฒนธรรมของ ทอ. และอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ พัฒนาระบบราชการกองทัพอากาศ มีขั้นตอนดังนี้ ๑) ศึกษาและทบทวนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมหลัก ได้แก่ แนวคิดค่านิยมหลักของหน่วยงานในต่างประเทศ หน่วยงานในประเทศบทความที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมหลัก จากนั้น
ตุลาคม ๒๕๕๙
ข่าวทหารอากาศ ๕๗
นำ�เข้าพิจารณาในทีป่ ระชุมอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการหลายครัง้ เพื่อเป็นข้อมูลเบือ้ งต้นในการสกัดเป็น (ร่าง) แนวคิดค่านิยมหลักของกองทัพอากาศ (ร่าง) แนวคิดค่านิยมหลักของ ทอ.ได้ผ่านการนำ�เรียนขอรับ ข้อคิดเห็นจากผู้บริหารระดับสูงของ ทอ.ในขณะนั้น ได้แก่ ผบ.ทอ. (พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก) ผช.ผบ.ทอ. (พล.อ.อ.ณพฤษภ์ มัณฑะจิตร) เสธ.ทอ.(พล.อ.อ.สุกำ�พล สุวรรณทัต) และผู้บริหารส่วนการศึกษา ได้แก่ ผบ.รร.นอ. (พล.อ.ท.ม.ล. สุปรีชา กมลาศน์) นอกจากนี้ ได้จัดทำ� หัวข้อสัมมนาเพื่อรวบรวมผลการสัมมนาจากสถาบันการศึกษาหลัก ของ ทอ.มาใช้ประกอบการจัดทำ�ค่านิยมหลักของ ทอ. ได้แก่ ผลการ สัมมนานักศึกษา วทอ.ยศ.ทอ. และ ผลการสัมมนา นทน.เสธ.ยศ.ทอ. นอกจากนี้ เพื่อให้ค่านิยมของ ทอ.มาจากการมีส่วนร่วมของบุคลากร ทอ.อย่างแท้จริง คณอก.ฯ ได้จดั ให้มกี ารทำ�ประชาพิจารณ์ผา่ นกระดาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉลองพระองค์ สนทนา (Webboard) ใน Website กรมกำ�ลังพลทหารอากาศ จนกระทัง่ เครื่องแบบทหารอากาศ ได้ขอ้ สรุปเพือ่ นำ�เรียน ผบ.ทอ.ประกอบด้วย การขออนุมตั คิ า่ นิยมหลัก และขอความร่วมมือในการรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้กำ�ลังพลหน่วยรับทราบและถือปฏิบัติ รวมถึงการปลูกฝัง ค่านิยมหลักให้กับกำ�ลังพล ทอ.ผ่านหลักสูตรการศึกษาและการฝึกอบรมต่าง ๆ ของ ทอ. ตามหนังสือ ก.พ.ร.ทอ. ที่ กห ๐๖๐๑.๖(๒)/๔๓๔ ลง ๒๘ ก.ค.๕๔ และ ผบ.ทอ.อนุมัติค่านิยมหลักของ ทอ. เมื่อ ๘ ส.ค.๕๔ เพื่อเป็นแนวทางให้ กำ�ลังพลของกองทัพอากาศได้ยึดถือปฏิบัติร่วมกัน อันเป็นอัตลักษณ์ของทหารอากาศไทย ค่านิยมหลักของ ทอ. (RTAF core values) ที่มาของค่านิยมหลักของ ทอ. จากคำ�ปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพลของทหารซึ่งทหารอากาศทุกคนต้องผ่านพิธี กระทำ�สัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพลก่อนเข้ารับราชการเป็นทหารอาชีพบ่งบอกได้ถึงความซื่อสัตย์จงรักภักดี และ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของทหารที่พร้อมสละชีพเพื่อธำ�รงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ ภายใต้ การปกครองระบอบประชาธิปไตยและการปกครองบังคับบัญชาตามระบบทหารดังนั้น ค่านิยมหลักของ ทอ. มุ่งหวัง ให้กำ�ลังพลกองทัพอากาศมีแนวทางยึดถือปฏิบัติร่วมกัน หรือมีจิตสำ�นึกในความเป็นทหารอากาศ (Air-Minded) อันเป็น เอกลักษณ์ของทหารอากาศไทย ใช้คำ�ย่อว่า "AIR" ดังนี้ ๑. Airmanship (ความเป็นทหารอากาศ) หมายถึง การแสดงออกถึงความเป็นทหารอากาศที่มีระเบียบวินัย รู้หลักการ ขั้นตอน และมีทักษะในการปฏิบัติงาน มีความเชี่ยวชาญในงานที่รับผิดชอบอย่างมืออาชีพ มีความตระหนัก รู้ในตนเอง สามารถตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมภายใต้ความเสี่ยงในทุกสถานการณ์ และสามารถทำ�งานเป็นทีมเพื่อ ผลสัมฤทธิ์ของงาน ๒. Integrity and Allegiance (ความซือ่ สัตย์และความจงรักภักดี) หมายถึง มีความยึดมัน่ ในระบบเกียรติศกั ดิ์ มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ กล้ากระทำ�ในสิ่งที่ถูกต้อง มีคุณธรรมจริยธรรม มีความ ซื่อตรง ดำ�รงไว้ซึ่งคุณธรรม และมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ พร้อมเปิดใจรับความคิดเห็นของผู้อื่น
๕๘ ข่าวทหารอากาศ
ตุลาคม ๒๕๕๙
๓. Responsibility (ความรับผิดชอบ) หมายถึง ความรับผิดชอบต่อตนเอง องค์การ สังคม และประเทศชาติ เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจสัมฤทธิ์ผลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำ�นึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม สร้างค่านิยมก่อเกิด วัฒนธรรมนำ�สู่วิสัยทัศน์ ปัจจุบันองค์การที่ประสบความสำ�เร็จ คือองค์การที่ตระหนักและเห็นความสำ�คัญของการสร้างวัฒนธรรม องค์การเชิงบวกและใช้เป็นเครือ่ งมือทางการบริหารในการพัฒนาองค์การ หรือเรียกว่า “จากพฤติกรรมนำ�สูค่ วามสำ�เร็จ ขององค์การ” โดยปัจจัยสำ�คัญที่ทำ�ให้การสร้างวัฒนธรรมองค์การส่งผลต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ ประกอบด้วย ๑) ผู้นำ� ให้ความสำ�คัญ (Leadership) ๒) การสื่อสารค่านิยมที่หลากหลาย (Communication) ๓) มีการจูงใจให้บุคลากร เห็นความสำ�คัญ (Motivation) ๔) สร้างจิตสำ�นึกให้เกิดพันธะผูกพันจนบุคลากรปฏิบัติตามธรรมชาติ และ ๕) มีความ สม่ำ�เสมอในการดำ�เนินการ (Consistency) เส้นทางการสร้างค่านิยมหลัก ทอ. (RTAF Core Values Road Map) เริ่มต้นจากการทำ�ให้บุคลากรทุกคน ตระหนักรูอ้ ยูต่ ลอดเวลาว่า กำ�ลังปฏิบตั ติ วั สอดคล้องกับค่านิยมส่วนบุคคล และค่านิยมองค์การ รวมทัง้ สอดคล้องใน ประเด็นใดบ้าง เพื่อผลักดันค่านิยมองค์กรให้กลายเป็นกรอบความคิด (Mindset) ในการปฏิบัติงานของกำ�ลังพลทุกคน ส่วนบทบาทของผูร้ ณรงค์คา่ นิยม (Change Agent) ขององค์การ หมายถึงกรมกำ�ลังพลทหารอากาศ ประกอบด้วย การกำ�กับ ดูแลการดำ�เนินการของหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ การปลูกฝังและกระตุ้นการยึดถือค่านิยมหลัก (AIR) ผ่านกิจกรรม การฝึกอบรม ฝึกศึกษาในหลักสูตร PME การสังสรรค์ การเผยแพร่ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ อาทิ เว็บไซต์ เสียงตามสาย โปสเตอร์ การแต่งเพลง หรือจัดประกวดต้นแบบผู้มีค่านิยมหลักของ ทอ. (Role model) เพื่อผลักดันและเชิญชวนให้ กำ�ลังพลปฏิบัติตามค่านิยมหลักจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์การ ทอ. ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่ากิจกรรมที่มีผลต่อการสร้าง ค่านิยมองค์การ ควรเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงสอดประสาน และสามารถนำ�ไปปฏิบัติได้จริง เพราะหัวใจสำ�คัญของ การทำ�ให้บุคลากรมีพฤติกรรมสอดคล้องกับค่านิยมองค์กรนั้น ควรเป็น Mindset ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ “ไม่ใช่ การบังคับ” ดังนัน้ หากกำ�ลังพล ทอ.ร่วมแรงร่วมใจกันในการดำ�เนินการเช่นนีจ้ ะเป็นการสร้างแนวปฏิบตั ทิ ดี่ อี ย่างยัง่ ยืน เพราะวัฒนธรรมที่ดีจะนำ�พาองค์การสู่ความเป็นเลิศ และทำ�ให้โอกาสการบรรลุวิสัยทัศน์การเป็น "One of the Best Air Forces in ASEAN" อยู่ใกล้แค่เอื้อม
“กำ�ลังพลเป็นแกนนำ� เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ” (ฉบับหน้าติดตามเรื่อง วัฒนธรรมขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ ทอ. : สมรรถนะหลัก ทอ.)
ความสะดวกสบายในการใชชีวิตในโลกออนไลนที่สามารถติดตอ สื่อสารตลอดจนทำธุรกรรมประเภทตาง ๆ ที่ตองการไดอยางรวดเร็ว กลายเปนสิ่งปกติที่หลายคนเกิดความเคยชินและขาดไมได สิ่งสำคัญ ในการบงบอกตัวตน (Identity) ของผูคนในโลกออนไลน ไดแก ชื่อบัญชี ผูใช (User Account Name) ของการใหบริการประเภทตาง ๆ เชน ชื่อ บัญชีอีเมล ชื่อบัญชี Facebook ชื่อบัญชีธนาคารอิเล็กทรอนิกส (e-banking) เปนตน นอกจากนี้ในการพิสูจนเพื่อยืนยันตัวตนของผูใชงานสวนใหญก็มักใชรหัสผาน (Password) เฉพาะของแตละบัญชีที่ผูใชงานเปนผูตั้งขึ้น เปนตัวยืนยันตัวตนที่แทจริงของผูใชงาน และในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวของ กับการเงินตาง ๆ ก็จะมีเรื่องของหมายเลขบัตรเครดิต วันหมดอายุของบัตร วงเงินในบัตร หรือหมายเลขดานหลังบัตรเครดิต เขามา เปนปจจัยสำคัญดวยเสมอ ปจจุบันมีผูคนจำนวนมากมายนับไมถวนที่ใชงานบริการตาง ๆ ในโลกออนไลนอยูเสมอ และการใชบริการตาง ๆ นั้น ก็สามารถกระทำไดทันทีหากปอนคาชื่อบัญชีผูใชและรหัสผานไดอยางถูกตอง เชนเดียวกันการสั่งซื้อสินคาออนไลนตาง ๆ ก็สามารถกระทำไดทันทีหากปอนคาเกี่ยวกับบัตรเครดิตไดถูกตอง ทำใหขอมูลเกี่ยวกับชื่อบัญชีผูใชงาน รหัสผาน และบัตรเครดิต เปนสิ่งที่มีความสำคัญอยางยิ่ง
จากการที่เข้าใช้งานบริการต่าง ๆ นั้นสามารถกระทำ�ได้โดยง่ายผ่านชื่อบัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่าน (และข้อมูล บัตรเครดิตกรณีมีการชำ�ระค่าสินค้าหรือบริการ) ทำ�ให้เกิดมีกลุ่มของผู้ไม่ประสงค์ดีที่แสวงหาประโยชน์จากผู้อื่นด้วย การขโมยข้อมูลสำ�คัญ ๆ ดังกล่าวไป แล้วนำ�ไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมแต่สามารถสร้างประโยชน์บางอย่างให้กับตัวเองได้ จึงเกิดมีพฤติกรรมของการพยายามให้ได้มาซึ่งข้อมูลดังกล่าวขึ้นในหลากหลายรูปแบบ แต่สิ่งที่ น่าตกใจก็คือ วิธีการ ในการที่จะให้ได้มาซึ่งข้อมูลสำ�คัญเฉพาะบุคคลดังกล่าวนั้น ปัจจุบันอาจจะไม่มีความจำ�เป็นที่จะต้องใช้วิธีการแฮก ด้วยการเจาะระบบที่มีความสลับซับซ้อนอีกต่อไปแล้ว เพราะในหลายกรณีศึกษาระบุว่าสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการนั้นสามารถ ได้มาง่ายกว่าที่คิดด้วยการหลอกลวงเอาจาก “คน” โดยที่แทบจะไม่ต้องลงทุนหรือลงแรงอะไรมากเลย ผู้ไม่ประสงค์ดี ต้องการอะไร ? สิง่ ทีเ่ หล่าผูไ้ ม่ประสงค์ดตี อ้ งการนัน้ ก็คอื ชือ่ บัญชีผใู้ ช้งาน (User Account Name) และ รหัสผ่าน (Password) เพื่อใช้ทำ�การล็อคอินเข้าไปใช้งานบริการนั้น ๆ ในฐานะของผู้ใช้บริการ (ตัวปลอม) สำ�หรับในกรณีที่เป็นการสั่งซื้อสินค้า หรือบริการต่าง ๆ ทางอินเทอร์เน็ต ผู้ไม่ประสงค์ดีก็จะต้องการ “ข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิต” ด้วยเช่นกัน
เพื่ออะไร ? ตรงนีส้ �ำ คัญ เพราะหากเรามองภาพไม่ออกว่า จะเกิดอะไรขึน้ หากข้อมูลบัญชี ผูใ้ ช้งาน รหัสผ่าน ข้อมูลบัตรเครดิต ถูกขโมยไปได้ส�ำ เร็จ ก็คงไม่มคี วามตระหนักรูใ้ นภัย อันตรายที่เพียงพอ ประเด็นแรก หากเป็นชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านที่ใช้กับบริการของ ธนาคารแบบออนไลน์ ก็คงชัดเจนว่าการโอนเงินหรือสัง่ จ่ายใด ๆ ก็จะสามารถกระทำ�ได้ ทันที โดยที่กระบวนการยับยั้งหรือยกเลิกธุรกรรมนั้น ๆ กระทำ�ไม่ทัน ทำ�ให้เกิดความ สูญเสียขึ้นและถึงแม้ว่าจะสามารถพิสูจน์ทราบในภายหลังได้ว่า ผู้ใช้บริการไม่ได้เป็น ผู้กระทำ�ธุรกรรมนั้น ๆ แต่ในเงื่อนไขของการรับบริการแบบออนไลน์ต่าง ๆ ก็มักจะมี ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าผู้ให้บริการจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ในกรณีที่เกิด จากการรั่วไหลของข้อมูล (ที่ไม่ได้มาจากความผิดพลาดของผู้ให้บริการ !!!)
ตุลาคม ๒๕๕๙
ข่าวทหารอากาศ ๖๑
เงื่อนไขการให้บริการ - ธนาคารแห่งประเทศไทย... 2. การกระทำ�ใด ๆ ทีก่ ระทำ�ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือการนำ�ข้อมูลใด ๆ ทีไ่ ด้จากบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) ของผู้ใช้บริการ ไม่ว่าการกระทำ�นั้นจะเกิดขึ้น โดยผูใ้ ช้บริการหรือบุคคลอืน่ ใด ผูใ้ ช้บริการตกลงให้ถอื ว่าเป็นการกระทำ�ทีถ่ กู ต้องสมบูรณ์ของผูใ้ ช้บริการ และผูใ้ ช้บริการยินยอมรับผิดชอบ ในการกระทำ�ดังกล่าวเสมือนว่าผู้ใช้บริการเป็นผู้กระทำ�ด้วยตนเอง 3. ผูใ้ ช้บริการตกลงว่าธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ตอ้ งรับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ทีเ่ กิดขึน้ หรืออาจเกิดขึ้นกับผูใ้ ช้บริการ หรือบุคคล ภายนอกจากการเข้าใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ว่าโดยเหตุประการใด...
ประเด็นต่อมา หากเป็นชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านของบัญชี อีเมล Facebook LINE หรือบริการทางด้านการติดต่อสื่อสารอื่น ๆ ผู้ไม่ประสงค์ดีก็สามารถที่จะเข้าไปดูข้อมูลอื่น ๆ ทั้งหมดที่อยู่ภายใน บริการนั้น ๆ ที่เป็นของผู้รับบริการได้ เช่น เรียกดูอีเมลที่ผ่าน ๆ มา เรียกดูขอ้ มูลประวัตผิ ใู้ ช้งาน เรียกดูประวัตกิ ารโพสต์ การแชทได้ เป็นต้น ทำ�ให้สามารถที่จะได้มาซึ่งข้อมูลสำ�คัญอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เช่น ประวัติการ จับจ่ายใช้สอย ประวัตกิ ารเดินทาง ประวัตกิ ารพบปะสนทนา และทีส่ �ำ คัญ คือ สามารถที่จะได้มาซึ่งข้อมูลของคู่สนทนาหรือของกลุ่มสนทนาของ เจ้าของบัญชีผู้ใช้งานนั้นได้อีกด้วย โดยในหลายกรณี ผู้ไม่ประสงค์ดี จะล็อคอินเข้าใช้งานและปลอมตัวเป็นเจ้าของตัวจริง แล้วส่งเมลหรือ ข้อความสนทนาไปยังเพือ่ นหรือกลุม่ เพือ่ น เพือ่ สร้างเรือ่ งว่าตนเองมีความลำ�บากต้องใช้เงินและหลอกให้โอนเงิน เป็นต้น ซึ่งภาพข่าวทางสื่อต่าง ๆ ก็พิสูจน์อย่างชัดเจนว่า มีผู้หลงเชื่อแล้วโอนเงินหรือให้ความช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ อยู่เสมอ เนื่องจากคิดว่าเป็นเพื่อนของตนเองและกำ�ลังมีความเดือดร้อนจริง ๆ นอกจากนี้จุดอ่อนหนึ่งที่สำ�คัญของผู้ใช้ บริการออนไลน์โดยทัว่ ไปก็คอื มักจะใช้รหัสผ่านตัวเดียวกันกับบัญชีผใู้ ช้บริการประเภทอืน่ ๆ ด้วย (ไม่อยากจำ�รหัสผ่าน หลายตัว) ทำ�ให้การได้มาซึ่งชื่อบัญชีและรหัสผ่านผู้ใช้งานเพียงอันเดียว สามารถต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพในอีก หลายบริการที่ผู้ใช้บริการตัวจริงใช้บริการอยู่ ในบางกรณีที่ผู้ไม่ประสงค์ดีจะส่งเมลหรือข้อความสนทนาไปในลักษณะ ที่ไม่เหมาะสมด้วยความคึกคะนอง เช่น ส่งเมลหรือข้อความแชทไปหาเจ้านายของผู้เป็นเจ้าของบัญชีผู้ใช้งานตัวจริง ในลักษณะ ต่อว่า ฯลฯ ก็จะทำ�ให้เกิดผลกระทบในเชิงลบขึ้นมาได้เช่นกัน ที่น่ากลัวไปกว่านั้นก็คือ การที่ผู้ไม่ประสงค์ดี ทำ�การล็อคอินเข้าไปในระบบแล้วพยายามยกสิทธิก์ ารใช้งานของตัวเองเพิม่ มากขึน้ ตามกรรมวิธกี ารแฮกเจาะระบบ โดย หากสามารถหาข้อมูลในกลุม่ ของผูใ้ ช้บริการได้มากขึน้ และสามารถยกระดับสิทธิก์ ารใช้งานได้จนถึงระดับผูค้ วบคุมและ ดูแลระบบ (System Administrator) แล้วละก็ ข้อมูลทั้งหมดในระบบการให้บริการ ก็จะตกอยู่ในมือของผู้ไม่ประสงค์ดี ทันที !!! หลอกยังไง ? ช่องทางหลอกลวงที่นิยมใช้เป็นช่องทางหลอกลวงบนฐานของ Social Engineering ซึ่งหมายถึง มุ่งเป้าไปที่ การลวงบุคคลเป็นหลัก ได้แก่ การลวงทางเว็บไซต์ (Website Phishing) การลวงทางอีเมล (e-mail Phishing) และ การลวงทางโพสต์หรือข้อความแชทต่าง ๆ (Social Network Phishing) โดยมักจะทำ�การหลอกลวงแบบสัมพันธ์กัน ดังนี้...
๖๒ ข่าวทหารอากาศ
ตุลาคม ๒๕๕๙
ผู้ไม่ประสงค์ดีจะใช้วิธีการปลอมแปลงเว็บไซต์ (การลวงทางเว็บไซต์) ขึ้นมา โดยทำ�ให้มีลักษณะที่เหมือนกัน กับเว็บไซต์จริงอย่างแยกไม่ออก หรือมีลักษณะที่ดูแล้วน่าเชื่อถือว่าเป็นเว็บไซต์จริงของผู้ให้บริการ เช่น สร้างเว็บไซต์ ปลอมของธนาคาร ผู้ให้บริการอีเมล ผู้ให้บริการการฝากเก็บไฟล์บนคลาวด์ ผู้ให้บริการอื่น ๆ ออนไลน์ต่าง ๆ เป็นต้น แล้วสร้างโดเมนเนม (ปรากฏอยู่ใน URL) ที่ดูแล้วสื่อถึงความเป็นเว็บไซต์จริงของผู้ให้บริการ โดยมักมีคำ�ที่ระบุถึง ผู้ให้บริการจริงแฝงรวมอยู่ด้วยเพื่อหลอกให้ผู้เปิดเว็บไซต์เชื่อและกรอกข้อมูลสำ�คัญ ๆ ที่ต้องการลงไป โดยจะนำ�ลิงค์ (หลอกลวง) ไปเผยแพร่โฆษณาแฝงตามที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะเว็บท่าประเภทอโคจร ในลักษณะของ Hyperlink ที่หาก ไม่สังเกตและระมัดระวังให้ดี จะไม่ทราบว่าเมื่อกดที่ลิงค์แล้วจะเชื่อมต่อไปยังที่ใด นอกจากนี้ยังแฝงส่งลิงค์ (หลอกลวง) ไปกับข้อความในอีเมล (การลวงทางอีเมล) ตลอดจนสือ่ การโพสต์หรือแชทต่าง ๆ (การลวงทางโพสต์หรือข้อความแชท) ในโลกเครือข่ายสังคมออนไลน์อีกด้วย หากผู้ใช้บริการไม่สังเกตและมีความระมัดระวังที่เพียงพอก็จะตกเป็นเหยื่อของ กลุ่มมิจฉาชีพพวกนี้ทันที !!!
น่ากลัวกว่านั้นคือ ? ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเป็นการหว่านพืชแบบไม่หวังผลเฉพาะ ในลักษณะของการแอบแฝงส่งลิงค์หลอกลวงไป ยังผูค้ นจำ�นวนมากเท่าทีจ่ ะหาชือ่ บัญชีผใู้ ช้บริการประเภทต่าง ๆ มาได้ และรอคอยการติดกับดักของกลุม่ คนทีข่ าดความ ระมัดระวังมาหลงเชื่อแล้วกรอกข้อมูลสำ�คัญ ๆ ส่งกลับมาให้ แต่จากผลการสำ�รวจวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งาน อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์ของกลุม่ ผูบ้ ริหารระดับสูงทีม่ กั จะอยูใ่ น Baby Boomer Generation (เกิดช่วง ปี 1946 - 1964) และผู้บริหารระดับกลางที่มักจะอยู่ใน X Generation (เกิดช่วงปี 1965 - 1980) พบว่า สองกลุ่มนี้มี ความรูเ้ ท่าทันหรือระแวดระวังภัยอันตรายออนไลน์คอ่ นข้างน้อย ทำ�ให้ตกเป็นกลุม่ เป้าหมายของการหลอกลวง และถือ เป็นประเภทหลอกลวงแบบเฉพาะเจาะจง (Spear Phishing) ที่มุ่งเป้าเฉพาะไปที่บุคคลสำ�คัญระดับสูงขององค์กร โดย ผลกระทบจะเกิดมากในกรณีนี้ เนื่องจากว่าผู้บริหารระดับสูงจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่สำ�คัญ ๆ เป็นจำ�นวนมาก อีกทั้งยัง มักเป็นกลุ่มที่มีสิทธิ์ในการเรียกดูข้อมูลสำ�คัญ ๆ ต่าง ๆ ขององค์กรได้ทั้งหมดอีกด้วย...
ตุลาคม ๒๕๕๙
ข่าวทหารอากาศ ๖๓
สังเกตอย่างไรว่าหลอกลวง ? หลักการง่าย ๆ คือ หากมีอีเมล ข้อความ โพสต์ ฯลฯ เข้ามาแจ้งให้เปิดลิงค์ตามที่ระบุให้ แล้วกรอกข้อมูล ชื่อบัญชีผู้ใช้งานกับรหัสผ่าน (และข้อมูลบัตรเครดิต) เพื่อยืนยันการใช้งานอีกครั้ง อันเนื่องมาจากการปรับปรุงเครื่องแม่ข่าย ฯลฯ ให้ระมัดระวังไว้ก่อนเสมอ ! เพราะโดยปกติผู้ให้บริการตัวจริงจะมีระบบสำ�รองข้อมูลบัญชีของผู้ใช้งานทั้งหมดไว้เสมอ โดยไม่ต้องร้องขอให้กรอกข้อมูลเพื่อยืนยันใด ๆ นอกจากนี้อาจโทรศัพท์ (หรือติดต่อด้วยช่องทางการสื่อสารอื่นที่เป็น คนละช่องทางกับช่องทางที่สงสัยว่าได้รับเรื่องหลอกลวงเข้ามา) ติดต่อไปยังผู้ให้บริการแล้วสอบถามถึงเรื่องราวของ ความจำ�เป็นในการกรอกข้อมูลนั้น ๆ ประกอบด้วยอีกทางหนึ่ง เพื่อความปลอดภัย
มักมีการแจ้งให้สังเกต URL ของลิงค์ต่าง ๆ ให้ดีว่าเป็นของจริงหรือไม่ ตรงนี้เว็บบราวเซอร์ในปัจจุบันนั้น แสดงผลของลิงค์ที่อยู่หรือ URL ไว้ที่ ๆ อยู่ของเว็บด้วย โดยคำ�ที่เป็นสีดำ�จะแสดงถึงโดเมนจริงของเว็บนั้น ๆ ทำ�ให้เรา สามารถใช้ประโยชน์จากจุดนี้ในการสังเกตว่าใช่เว็บที่แท้จริงหรือไม่ หากคำ�ที่แสดงถึงผู้ให้บริการ (เช่น VISA, Yahoo, Google) ไม่มีปรากฏเป็นตัวสีดำ�ในโดเมนในที่อยู่ของเว็บ แต่ไปปรากฏเป็นส่วนเสริมต่าง ๆ ก็ให้พึงระวังว่าเว็บไซต์นั้น น่าจะเป็นเว็บไซต์หลอกลวงไว้ก่อนเสมอ... โดเมนจริงของหน้าเว็บ
นอกจากนี้ลิงค์ประเภทที่มาในลักษณะของข้อความที่เชื่อมกับ Hyperlink (ลิงค์ที่จะเปิดเมื่อคลิกที่ข้อความ) ก็ให้สังเกตและระมัดระวังดี ๆ โดยลองลากเมาส์ไปวางบริเวณเหนือข้อความนั้น ๆ เพื่อดูว่าจะลิงค์ไปยังหน้าเว็บไซต์ใด ก่อนกดที่ลิงค์นั้นก่อนทุกครั้ง ...เพราะความตระหนักรู้และการระมัดระวังจะช่วยป้องกันการตกเป็นเหยื่ออันตรายได้ !
แหล่งข้อมูลและภาพ - www.kasikornbank.com - www.kasikornbank.com
น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ เวลาจะเดินทางไปไหนทัง้ ไกลและใกล้ เราจะต้อง มีการเตรียมตัวมากบ้างน้อยบ้างเป็นธรรมดา ถ้าไปไกลก็ตอ้ ง เตรียมมาก เสื้อผ้า อาหาร ของใช้จำ�เป็น เช่น หยูกยารักษา โรค เป็นต้น ถ้าไปใกล้ ๆ ก็เตรียมน้อย แต่ก็ควรมีติดตัว ไปบ้าง เช่น ยาลม ยาดม ยาหม่อง และน้ำ�ดื่ม เผื่อฉุกเฉิน จะได้หยิบฉวยได้ทันที คนเราเดินทางข้ามภพข้ามชาติมาแล้วมากมาย ทุกท่านได้ผา่ นการเตรียมตัวมาแล้ว คนละหลายครัง้ หลายภพ หลายชาติ มิเช่นนั้นก็คงมิได้มาเกิดเป็นมนุษย์สุดประเสริฐ อย่างทุกวันนี้ แต่ไม่ควรลืมว่าการมาของเราครั้งนี้ก็เหมือน ครัง้ ก่อน ๆ คือชัว่ คราวทุกสิง่ ทุกอย่างชัว่ คราวหมด บ้านช่อง จะงดงามขนาดไหน จะราคาแพง ๒๐ ล้าน ๓๐ ล้าน ๑๐๐ ล้าน หรือ ๑,๐๐๐ ล้าน ก็ชั่วคราว รถไม่ว่ายี่ห้ออะไร ก็ชั่วคราว สามี ภรรยาสุดที่รัก ก็ชั่วคราว ลูก หลาน-เหลน ก็ชั่วคราวทั้งหมด ไม่มียกเว้น มิใช่ทำ�ให้ท่านใจหายหรือ ตกอกตกใจอะไร ก็กฎธรรมดาที่เป็นเช่นนั้นจริง ๆ ไม่มีใคร หลีกพ้นได้ จึงมีหนทางเดียวที่ควรทำ� ก็คือ การเตรียมตัว ก่อนไป เตรียมใจก่อนจาก ถ้าจะถามว่าควรเตรียมเมือ่ ไร เตรียมวันไหน วันอธิบดี ธงชัย จะเตรียมวันพฤหัสย้าย หรือดาวพุธเข้า ก็ตอบได้ ทันทีว่า เตรียมตั้งแต่บัดนี้ เวลานี้ และเดี๋ยวนี้ เพราะการ เตรียม ไม่มีพิธีรีตองอะไร ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรเลยด้วยซ้ำ� หากเตรียมเป็น ไม่ต้องนิมนต์พระวัดดังไม่ดังอะไรก็เตรียมได้
ใช้ชวี ติ อย่างปกติธรรมดา ไม่ตอ้ งถึงกับนุง่ ขาวห่มขาวอะไร เพียงแต่ทำ�ใจ ฝึกใจ ให้เข้าแนวทางเท่านั้น ก่อนอืน่ ให้ยอมรับสภาพความเป็นจริงแห่งชีวติ เสียก่อนว่า คนเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่สามารถ หลีกพ้นได้ เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่สามารถหลีกพ้นได้ เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่สามารถหลีกพ้นได้ เรามี การพลัดพรากจากของรักคนรักเป็นธรรมดา ไม่สามารถ หลีกพ้นได้ และเรามีกรรมเป็นของตน เราทำ�กรรมอันใด ไว้ดกี ต็ าม ชัว่ ก็ตาม เราจะต้องเป็นผูไ้ ด้รบั ผลของกรรมนัน้ ไม่เร็วก็ช้า ไม่สามารถหลีกพ้นได้ ๕ ข้อนี้ พระพุทธเจ้า ทรงสอนไว้ให้พิจารณาเป็นประจำ� ทุกวัน ๆ บ่อย ๆ เข้าไว้ จะได้ไม่ประมาทมัวเมา หลงระเริงไปกับโลกมากมายนัก เวลาประสบกับสิ่งนั้น ๆ เช่น การพลัดพราก เป็นต้น จะได้ ไม่ต้องเศร้าโศกเสียใจ อาลัย อาวรณ์ให้มากเกินไป ทุกท่านคงเคยไปงานศพ เป็นญาติบา้ ง เพือ่ นบ้าน บ้าง ครูบาอาจารย์บา้ ง บางทีกเ็ ป็นพระ บางครัง้ ก็เป็นหมอ บางครั้งเป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นสาว บางคราวเป็นผู้ใหญ่ อาจเคยพบเห็น คนเฒ่าคนแก่ ร้องไห้คร่ำ�ครวญถึงลูก ถึงหลาน ถึงน้องที่จากไปอย่างไม่มีวันกลับ ก่อนวัยอัน ควร จะด้วยเหตุอะไรก็แล้วแต่ เราคงมีความรูส้ กึ คล้าย ๆ กันว่า ท่านไม่ค่อยได้คิด พิจารณาถึงหลัก ๕ ข้อที่กล่าว ข้างต้นเท่าไรนัก เพราะถ้าคิดพิจารณาบ่อย ๆ คงไม่เป็น เช่นนั้น เรียกว่า แก่เฒ่าแล้วยังไม่เตรียมตัวอะไรเลย
ตุลาคม ๒๕๕๙ ท่านผู้อ่าน ท่านที่เคารพ เรื่องการเตรียมตัว เตรียมใจ เป็นเรื่องที่สำ�คัญมาก เพราะพระพุทธเจ้าสอน ไว้ว่า ถ้าตายในขณะโลภมาก โลภรุนแรง ก็จะไปเป็น เปรต เพราะความโลภเป็นภูมิของเปรต ถ้าโกรธมาก ก็ ไปนรก ถ้าลุ่มหลง หลงลูก หลงหลาน หลงสมบัติ หลง สุนัข หลงแมว หลงนก หลงหนู (บางประเภท) ก็ไปเกิด ในภูมิสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งง่ายมากที่จะไปสู่ภพภูมิที่ว่า หาก มิได้คิดมิได้พิจารณาให้ดี แต่ก็มีบางคนอิจฉาสุนัข อยาก เกิดเป็นสุนัข เป็นแมว ผู้เขียนเคยประสบพบมากับตนเอง ได้เห็นมาผู้หลักผู้ใหญ่ด้วยคุยกันเรื่องนี้ว่า เกิดเป็นสุนัข สบาย เจ้านายรัก ไปไหน ก็พาไป อุม้ ไป พะเน้าพะนอพูดจา อ่อนหวาน ได้กนิ แต่ของดี ๆ บางทีเจ้าของก็ปอ้ น ยกขึน้ หอม เวลานอนก็พานอนด้วย นอนกอดอะไรทำ�นองนั้น ก็คงได้ เป็นสมใจ เพราะตัง้ ใจจะเป็น แต่กข็ ออวยพรให้เป็นสุนขั ที่ น่ารัก เฉลียวฉลาดก็แล้วกัน แต่อย่าลืมว่า สุนขั หรือ แมว อายุไม่ยืนยาว ความน่ารักก็อยู่ไม่นาน ๕ - ๖ ปี ก็คงหมด ความน่ารัก แก่แล้วเขาก็คงเอาไปปล่อยวัด เป็นธุระ พระสงฆ์และบาปหนัก เป็นคนดีกว่า ทำ�บุญให้มาก อย่าเป็น คนโหดร้าย อย่าเป็นคนมือไว อย่าเป็นคนใจเร็ว อย่าเป็น คนปากไว อย่าปล่อยให้สุรายาเสพติดพาไป ให้เป็นคนมี สติปัญญาดี พูดดี คิดดี ทำ�ดี ก็แล้วกัน
ข่าวทหารอากาศ ๖๕ ถ้าไม่อยากเป็นเปรต ไม่ต้องอิจฉาใคร ไม่ต้อง ตระหนี่กีดกันคนทำ�ทานทำ�บุญ ไม่นำ�ทรัพย์ส่วนรวม ไปเป็นของตน แม้แต่จะเป็นของเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ติฉิน นินทา ว่าร้ายพระสงฆ์ องค์เณร ครูบาอาจารย์ ไม่ยุยงให้ แตกสามัคคี โดยเฉพาะพระสงฆ์ อย่าไปยุยงอะไรท่าน ไม่ทำ�แท้งหรือสนับสนุนการทำ�แท้ง ไม่ด่าว่าคนทำ�บุญ ทำ�ความดีท�ำ ประโยชน์แก่สว่ นรวม ไม่ใช้อบุ ายทุจริตในการ ค้าขาย เช่น โกงตาชั่ง เป็นต้น ไม่ประทุษร้ายพ่อแม่ และ คนในครอบครัวในวงศ์ตระกูล ไม่ท�ำ บุญด้วยของเหลือเดน ไม่ออกเงินกู้ เรื่องเปรตที่ว่ามานี้ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ) วัดอัมพวัน สิงห์บุรี ท่านสอนไว้ และยังสอน อีกว่า ไม่พอใจคนโน้นคนนี้ด้วยอำ�นาจโทสะ ตายขณะนั้น ลงนรกไปเลย ทำ�บุญทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สร้างโบสถ์ สร้างศาลา ยกช่อฟ้าหน้าบัน แต่มักโกรธ ก็ต้องลงนรก ไปก่อน ผิดหวังแน่นอนด้วยอำ�นาจโทสะ ท่านยังสอนต่อว่า อำ�นาจโมหะ ตายไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน หาสติปัญญามิได้ ตายจากสัตว์เดรัจฉานกลับมาเกิดเป็นมนุษย์กไ็ ร้สติปญั ญาที่ จะเรียนหนังสือได้ อย่าทำ�อารมณ์อย่างนัน้ เลย ควรแก้ปญั หา ปัจจุบันเสียให้ทันเวลา
๖๖ ข่าวทหารอากาศ
ตุลาคม ๒๕๕๙
หลวงพ่อจรัญ ยังได้สอนต่อว่า ถ้ามี ปาณาติบาต ติดตัว ๖๐% ไปชาติหน้าจะเป็นคนขี้โรค ง่อยเปลี้ยเสียขา อัมพฤกษ์ อัมพาต ถูกเขาตี ถูกเขาฆ่า ถ้ามี อทินนาทาน ติดตัว ๖๐% รับรองถูกปล้น ถูกไฟไหม้บ้าน ถ้ามี กาเม ติดตัว ๖๐% ภรรยาหรือสามี ก็นอกใจเราไปมีกิ๊ก มีอะไร วุน่ วายหมด ถ้ามุสา ติดตัวติดวิญญาณไป ๖๐% จะถูกหลอก ถ้าสุราเมรัย ติดตัวติดวิญญาณไป ๖๐% จะปัญญาอ่อน วิกลจริต ท่านผู้อ่านที่เคารพ มีเทพธิดาองค์หนึ่ง มีวิมาน ทองบนสวรรค์ พระโมคคัลลานะ ไปพบถามว่า ทำ�อะไรได้ วิมานทอง ครัง้ แรกนางก็อดิ ออดไม่กล้าตอบ เพราะอาย แต่ ด้วยความเคารพพระมหาเถระ จึงบอกความจริงว่า เป็นเพื่อน
กับนางวิสาขามหาอุบาสิกา เห็นนางวิสาขาสร้างพระอาราม ถวายพระพุทธเจ้า ก็ได้แต่ยกมืออนุโมทนา สาธุดใี จ ปลืม้ ใจ ส่วนการถวายได้ถวายเพียงผ้าเช็ดเท้า ๑ ผืน เท่านั้นเอง ทำ�ให้ได้วิมานทองบนสวรรค์ทุกวันนี้เข้าใจว่านางยังคง เป็นเทพธิดาอยู่บนวิมานทองบนสวรรค์ ก่อนจบขอฝากง่าย ๆ คือ ให้ทานก่อนกิน ถือศีล ก่อนนอน สวดมนต์สวดพรเป็นประจำ�ทุกค�่ำ คืนเป็นวิถพี ทุ ธ ท่านจะมีแต่ความสุขความเจริญ ก่อนหลับตานอน ยกมือ พนมขึ้นไหว้ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา ครูอปุ ชั ฌาย์อาจารย์ ท่านจะไปสวรรค์อย่างมัน่ คงไม่ตอ้ ง ห่วงใย หรือจะถือคติอย่างหลวงพ่อคูณ ปริสทฺโธ ก็ได้ ยิ่งเอามันยิ่งหมด ยิ่งสละเสียให้หมดมันยิ่งได้
ประจำ�เดือน ต.ค.๕๙ มีน
๑. ให้หาคำ�มาเติมในช่องว่างทั้งแนวตั้งและแนวนอน โดยดูจากความหมายที่ให้มา ๒. แต่ละช่องเติมได้ ๑ ตัวอักษร สระบน สระล่าง และวรรณยุกต์ ให้เติมไว้กับตัวอักษรเดียวกัน ส่วนสระหน้าและสระหลัง ให้แยกช่องต่างหาก
๖๘ ข่าวทหารอากาศ แนวตั้ง
ตุลาคม ๒๕๕๙
แนวนอน
๑. วันทำ�บุญครบ ๗ วันของผู้ตาย ๒. ภาชนะชนิดหนึ่งสำ�หรับภิกษุสามเณรใช้รับอาหาร บิณฑบาต ๓. อาการที่ยกมือไหว้ถี่ผงก ๆ ๔. เงิน ๕. สูดเอากลิ่น ๖. ป่า ดง ๗. หมอผี หมอเวทมนตร์ ๘. เอาเปลือกหรือผิวออกมาเป็นแผ่น ๆ ๙. อาคารทรงไทย ปล่อยโถง ไม่กั้นฝา ใช้เป็นที่พักหรือ ใช้ประโยชน์การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑๒. หมู่คน ๑๕. แสงสว่าง รัศมี ๑๗. ส่วน ๑ ใน ๖๐ ของนาที ๒๐. การนั่งขัดสมาธิ ๒๑. ซากศพ ๒๒. ดวงตา ๒๔. ถุงบาตรที่มีสายคล้องบ่า ๒๕. ทำ�ให้ออกจากสิ่งที่ผูกอยู่หรือติดอยู่ ๒๗. ผู้ร้ายที่ลักขโมยหรือปล้นสะดมภ์ทรัพย์สินผู้อื่น ๒๙. การสงคราม การรบพุ่ง ๓๐. สดใส งดงาม ๓๑. ชะมด ๓๕. คิ้ว ๓๘. เรื่อยไป ไม่ขาดสาย ๓๙. แสงสว่าง
(เฉลยอยู่หน้า ๘๕)
๑. ไม้ล้มลุก ไม่มีลำ�ต้นปรากฏบนพื้นดิน ใบเป็นกาบยาว ให้ใยใช้ทำ�สิ่งทอ ผลมีตาโดยรอบ กินได้ ๖. บัว ใจ พระนารายณ์ ๑๐. ชื่อปาล์มชนิดหนึ่ง ผลใหญ่กลมโตเป็นทะลาย ภายในผลมีเมล็ดเรียกว่าเต้า เนื้อในนิยมกินสดหรือ กินกับน้ำ�เชื่อม ๑๑. ไม้เถา ดอกสีขาวเป็นช่อ กลิ่นคล้ายข้าวใหม่ ๑๓. น้องของพ่อ ๑๔. ข้าวที่ทำ�บุญอุทิศให้คนตาย ๑๖. นิ่งอยู่ไม่ได้ เร่าร้อน ๑๗. ไม่ปกติ ๑๘. ประเสริฐ ยอดเยี่ยม ๑๙. สิ่งที่สร้างหรือทำ�ยื่นลงไปในน้ำ�สำ�หรับขึ้นลง ๒๐. ไม้เถาดอกเล็ก สีคราม ๒๑. ตัด เพื่อให้แตกใหม่ ๒๓. รถประจำ�ตำ�แหน่งสมเด็จพระสังฆราชหรือ รถเชิญพระพุทธรูปสำ�คัญ ๒๖. ไม่อยู่นิ่ง อังไฟเพื่อให้ร้อนแต่ผิว ๆ หรือให้สุก ๒๗. ใช้กลอุบายหรือเล่ห์เหลี่ยมหลอกลวง ๒๘. เนินดินเล็ก ๆ ๒๙. พระราชกุมารที่ได้รับการอภิเษกหรือรับแต่งตั้ง อยู่ในตำ�แหน่งที่จะสืบราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ต่อไป ๓๒. หมดท่า ยุติ ๓๓. เสื้อชั้นในหญิง ใช้ยกเต้านมเพื่อให้ได้รูปทรง ๓๔. ทาง สาย แถว ๓๖. การทรงไว้ ทั่วไปไม่เลือกหน้า ๓๗. ซื่อตรง ซื่อสัตย์ ๔๐. กลุ่มของต้นไม้ที่เกิดจากรากหรือเหง้าเดียวกัน ๔๑. การยึดไว้ การทรงไว้ ๔๒. รั้วสี่เหลี่ยมภายในเพนียดใช้ล้อมช้าง ทำ�ด้วยซุง ปักเรียงรายพอให้คนลอดเข้าออกได้ มีไม้ตีพาดเสา เหล่านั้นให้ยึดติดกันโดยรอบ ๔๓. ชื่องูขนาดเล็ก ลำ�ตัวไล่เลี่ยกับดินสอดำ� ส่วนใหญ่ สีน้ำ�ตาลอมเทามีลาย ไม่มีพิษ
เวลาการตูน BEETLE BAILEY
ภาพ
มิสกรีน
- นึกภาพดูนะ : ทหารจำ�นวนเป็นพันรวมตัวกัน การยิงสลุต ๒๑ นัด และนายถูกเรียกขึ้นไปอยู่หน้าแถวที่นั่งผู้ร่วมพิธี ดนตรีบรรเลงเพลงชาติ ท่านนายพลมอบรางวัลให้นาย สำ�หรับผลงานกวาดพื้นดีเด่น... - จ่าแกจะพยายามทุกหนทางแหละ (ที่จะให้บีทเทิ่ลจอมขี้เกียจลุกขึ้นมาทำ�งานน่ะ)
troops (n.) to assemble grandstand (n.) anthem (n.) award (n.) to try anything (pron.)
- กองทหารจำ�นวนมาก (a large group of soldiers) - รวมตัวกัน (to gather, to get together) ออกเสียงว่า "เออะเซ้มเบิ่ล" - ที่นั่งจัดเป็นแถวสำ�หรับชมพิธีหรือการแข่งกีฬา - เพลงที่มีความสำ�คัญต่อประเทศหรือองค์กร เช่น national anthem (เพลงชาติ) และ Olympic anthem (เพลงโอลิมปิค) เป็นต้น ออกเสียงว่า "แอ๊นเธิ่ม" - รางวัล (a prize) ที่มอบให้สำ�หรับผลงานดีเด่นของบุคคล ออกเสียงว่า "เออะวอร์ด" - พยายามทำ�สิ่งใดสิ่งหนึ่ง (to make an attempt or effort to do or get sth) - ในที่นี้ ให้ความหมายว่า “อะไรก็ได้หรือทุกสิ่ง” Ex. I am so hungry that I can eat anything. (ฉันหิวมากจนทานได้ทุกอย่าง)
๗๐ ข่าวทหารอากาศ
ตุลาคม ๒๕๕๙
ANDY CAPP
ภาพ ๑ - ฉันทำ�กุญแจบ้านหาย เลยถูกล็อคอยู่ข้างนอก ภาพ ๒ - ฉันแน่ใจว่ามีกุญแจสำ�รองอยู่นี่ จะได้เลี่ยงไม่ต้องปลุกโฟล ภาพ ๓ - โฟล - กุญแจสำ�รองอยู่หนาย ? to lose - ในที่นี้ แปลว่า ทำ�หาย Ex. He always loses his cell phone. (เขาทำ�มือถือหายเป็นประจำ�) กริยาช่อง ๒ และ ๓ คือ lost สำ�นวน (idm) ที่เห็นใช้บ่อย คือ to be lost หรือ to get lost แปลว่า หลงทาง Ex. We often get lost in this city. (เราหลงทางกันบ่อย ๆ ในเมืองนี้) to be locked out - เข้าบ้านหรือสถานที่ทำ�งานไม่ได้ (not allowed to get in a place) spare (adj.) - ส่วนที่เกิน, ส่วนที่สำ�รองไว้ใช้ (extra) ได้แก่ spare parts (ชิ้นอะไหล่), spare time (เวลาว่าง), spare clothes (เสื้อที่เผื่อไว้ใช้) เป็นต้น to save sb from doing sth - หลีกเลี่ยงที่จะทำ�สิ่งที่ยากหรือไม่ดี (to avoid doing sth difficult or unpleasant) Ex. Call for an appointment, it will save you from waiting. (คุณโทร. ไปนัดก่อน จะได้ไม่ต้องคอย)
ครูภาษาพาที
5 คําคมสรางแรงบันดาลใจจากภาพยนตร 5 Inspirational Movie Quotes
PJ the Piglet
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษมีหลากหลายวิธี หนึ่งในวิธีเหล่านั้นคือการเรียนผ่านภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศ ซึ่งให้ทั้งความบันเทิงเพลิดเพลินใจ และสาระไปพร้อม ๆ กัน ผู้เขียนมักใช้เวลายามว่างเลือกชมภาพยนตร์ทั้งเก่าและใหม่ เพื่อเป็นการผ่อนคลายและฝึกฝนภาษาอังกฤษไปในตัว มีหลายคนถามว่าจะเรียนรู้ได้อย่างไร คำ�ตอบคือคุณต้องปรับ วิธีการชมภาพยนตร์ โดยในช่วงแรก คุณอาจชมภาพยนตร์ในระบบเสียงภาษาไทยหรือพากย์ไทยก่อนเพื่อให้เข้าใจ เนื้อเรื่อง เมื่อเข้าใจเรื่องราวดีแล้ว ให้ชมภาพยนตร์เรื่องเดิมซ้ำ� แต่ครั้งนี้เลือกระบบเสียงในฟิล์มหรือเสียงภาษาอังกฤษ (soundtrack) พร้อมคำ�บรรยายประกอบ (subtitles) ภาษาไทยแทน เมือ่ ชมหลาย ๆ ครัง้ ก็จะเริ่มชินกับการออกเสียง และสำ�เนียงของเจ้าของภาษา และหากใช้วธิ กี ารเดียวกันนีก้ บั ภาพยนตร์อกี หลาย ๆ เรือ่ ง ก็จะซึมซับประโยคทีค่ ล้าย ๆ กัน จากสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งรับรองเลยว่าคุณจะได้มากกว่าแค่ความบันเทิงแน่นอน นอกจากความบันเทิงและความรู้ภาษาอังกฤษแล้ว ภาพยนตร์หลาย ๆ เรื่องยังแฝงข้อคิดดี ๆ ในการดำ�เนินชีวิต ไว้ให้กับผู้ชมด้วย หลายเรื่องเล่าถึงชีวิตความเป็นไปของผู้คนอย่างตรงไปตรงมา ในขณะที่อีกหลายเรื่องร้อยเรียงเรื่องราว ชีวติ อย่างอ้อม ๆ เพือ่ ให้ผชู้ มได้ลองคิดในมุมมองทีแ่ ตกต่างกันออกไป สิง่ เหล่านีไ้ ด้ท�ำ ให้ผเู้ ขียนชืน่ ชอบการชมภาพยนตร์ ต่างประเทศเป็นชีวิตจิตใจ เพราะนอกจากจะได้เห็นโลก สังคม และวิถีชีวิตของคนที่อยู่คนละมุมโลกแล้ว ผู้เขียนบท ภาพยนตร์แต่ละเรือ่ งยังได้สอดแทรกคำ�คมทีค่ อยเตือนสติและสร้างแรงบันดาลใจ (inspiration) ให้ผเู้ ขียนทุกครัง้ ผ่าน การแสดงออกทางความคิดและคำ�พูดของตัวละคร ดั่งเช่นในภาพยนตร์ห้าเรื่องที่ผู้เขียนโปรดปรานมากเป็นพิเศษจาก อีกหลายร้อยเรื่องที่ชื่นชอบที่ผู้เขียนเลือกมาเล่าสู่กันฟังในครั้งนี้ เริม่ กันทีภ่ าพยนตร์แนวหนังรักเบาสมอง (romantic comedy) น่ารัก ๆ อย่างเรื่อง The Princess Diaries ที่ มีชอื่ ภาษาไทยว่า บันทึกรักเจ้าหญิงมือใหม่ เล่าเรือ่ งราวของ เด็กสาวแสนเฉิม่ ธรรมดา ๆ คนหนึง่ ชือ่ มีอา (Mia) ทีว่ นั หนึง่ ได้รบั รูว้ า่ แท้ทจี่ ริงแล้วตนเองเป็นถึงเจ้าหญิงรัชทายาท (heir to the throne) ของประเทศเล็ก ๆ ในยุโรป เรื่องราววุ่น ๆ จึงเริม่ ขึน้ กับสารพัดบทเรียนทีเ่ ธอต้องเรียนรูเ้ พือ่ เป็นเจ้าหญิง ทีส่ มบูรณ์แบบให้ได้ภายในเวลาเพียงสองสัปดาห์กอ่ นกำ�หนด เข้ารับตำ�แหน่งรัชทายาท แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นแนว เบาสมอง แต่ก็มีข้อคิดดี ๆ สอดแทรกไว้ด้วยจากฉากที่เพื่อนของมีอาแสดงความเห็นในแง่ลบต่อภาพลักษณ์ของมีอา ที่เปลี่ยนไป มีอาดูดีและสวยขึ้นแต่เพื่อนของเธอไม่ชอบ มีอาซึ่งอึดอัดใจกับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ใช่ตัวของเธอเองอยู่แล้ว จึงร้องไห้เสียใจ พี่เลี้ยง (nanny) ร่างใหญ่ของเธอจึงเข้ามาให้ข้อคิดเตือนใจเธอว่า
๗๒ ข่าวทหารอากาศ
ตุลาคม ๒๕๕๙
“No one can make you feel inferior without your consent.” ไม่มีใครทำ�ให้เรารู้สึกต่ำ�ต้อยได้ หากว่าเราไม่ยินยอม
ดังนั้น ทุกอย่างอยู่ที่ตัวของเราเอง หากใครว่าอะไรเรา แต่เรา ไม่โอนอ่อนคล้อยตามไปเสียอย่าง ก็ไม่เกิดทุกข์ ต่อด้วยภาพยนตร์เรื่องที่สองซึ่งเป็นแนวชีวิต (drama) อย่างเรื่อง Stepmom หมายถึง แม่เลี้ยง แต่ มีชื่อในภาษาไทยว่า สองสายใย หนึ่งนิรันดร์ เล่าเรื่องราว เกีย่ วกับผูห้ ญิงสองคน คนหนึง่ เป็นแม่แท้ ๆ ของลูกสองคน แต่แยกทางกับสามีแล้ว ส่วนอีกคนหนึง่ เป็นคนรักใหม่ของ สามีซึ่งก้าวเข้ามารับบทบาทเป็นแม่เลี้ยงของเด็ก ๆ ทั้ง สองคน จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นเมื่อผู้เป็นแม่แท้ ๆ พบว่าตัวเอง เป็นโรคมะเร็งและจะมีชวี ติ อยูไ่ ด้อกี ไม่นาน ทัง้ ตัวสามีเอง และผูห้ ญิงสองคนนีจ้ งึ ต้องหันหน้าเข้าหากัน โดยผูเ้ ป็นแม่ แท้ ๆ ก็ตอ้ งมาร่วมมือกับแม่เลีย้ งเพือ่ ช่วยกันดูแลลูก ๆ ให้ มีความสุข โดยเฉพาะในยามทีผ่ เู้ ป็นแม่ทแี่ ท้จริง ไม่ได้มชี วี ติ อยู่บนโลกนี้แล้ว ลูก ๆ จะได้ไม่รู้สึกว่าชีวิตของตนขาดอะไรไป ภาพยนตร์เรื่องนี้ให้แง่คิดดี ๆ เกี่ยวกับชีวิตไว้ในฉากหนึ่ง ที่ตัวละครผู้เป็นแม่และสามีของเธอมีปากเสียงกันที่สถานีตำ�รวจ เนื่องจากผู้เป็นแม่โกรธที่คนรักใหม่ของสามีหรือ แม่เลี้ยง พลัดหลงกับลูกชายคนเล็กของเธอ สามีของเธอเลยแย้งว่า “People make mistakes. You should forgive.” คนเราสามารถทำ�ผิดพลาดกันได้ คุณควรรู้จักให้อภัย ข้อผิดพลาดเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่บนโลกใบนี้ไม่มีความสมบูรณ์ตลอดเวลา ทุกอย่างมีทั้งขาว และดำ� มีทั้งบวกและลบ มีทั้งถูกต้องและผิดพลาด ทุกคนทำ�ผิดพลาดกันได้ ดังนั้น ถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้น เราควร ลดทิฐิและให้อภัยกันเพื่อการเริ่มต้นใหม่ที่ดีกว่า ภาพยนตร์เรื่องที่สามคือ Apollo 13 ผ่าวิกฤตอวกาศ ซึ่งเป็น ภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริง (based on true story) เกี่ยวกับการ เดินทางไปยังดวงจันทร์อีกครั้งด้วยยาน อพอลโล 13 (Apollo 13) เพื่อ เป็นการตอกย้ำ�ความสำ�เร็จของยาน อพอลโล 11 (Apollo 11) ที่สามารถ นำ�มนุษย์อวกาศคนแรก (the first astronaut) นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) ลงเหยียบบนดวงจันทร์ได้ แต่ทว่าภารกิจ (mission) ของ
ตุลาคม ๒๕๕๙
ข่าวทหารอากาศ ๗๓
ยาน อพอลโล 13 กลับไม่เป็นไปอย่างที่ได้ วางแผนไว้ เนื่องจากยานดังกล่าวประสบ อุบตั เิ หตุ ทำ�ให้ยานบริการ (service module) เกิดการระเบิดขึ้นระหว่างเดินทางไปยัง ดวงจันทร์ ส่งผลให้ภารกิจหลักถูกยกเลิก และเปลีย่ นภารกิจเป็นการนำ�นักบินอวกาศ ทัง้ สามคนกลับสูโ่ ลกอย่างปลอดภัยในภาวะ วิกฤต ภาพยนตร์เรือ่ งนีน้ �ำ แสดงโดยนักแสดง ชื่อดังอย่าง ทอม แฮงคฺส์ (Tom Hanks) ซึ่งเราคุ้นเคยกับผลงานของเขาเป็นอย่างดี และเป็นผูก้ ล่าวประโยคฮิตติดปากคนทัว่ โลก จากบทบาทตัวละครในภาพยนตร์เรือ่ งนีค้ อื “Houston, we have a problem.” (ฮูสตัน เรามีปัญหาแล้ว) ที่ถูกนำ�เอามาใช้ล้อเลียน (parody) ในผลงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบทเพลงหรือบทพูดในภาพยนตร์ก็ตาม แต่สิ่งที่เฉียบคมไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ยังมีคำ�คมจากฉากที่เจ้าหน้าที่ ระดับสูงขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือนาซา (NASA) กำ�ชับเจ้าหน้าที่ภาคพื้นคนอื่น ๆ ให้ตั้งใจ และร่วมมือช่วยกันหาทางแก้ไขข้อขัดข้องที่เกิดขึ้นบนยาน อพอลโล 13 ว่า “Let's not make things worse by guessing.” อย่าทำ�ให้อะไรเลวร้ายลงด้วยการคาดเดา เพราะการคาดเดาเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ให้หาเหตุผลและใช้สติพิจารณาตรองดูว่าปัญหาเกิดจากอะไร และควร ทำ�อย่างไรให้แก้ไขปัญหาได้จริง นอกจากนี้ ยังเป็นการทำ�ให้สถานการณ์ดีขึ้นแทนที่จะแย่ลงตามไปด้วย ภาพยนตร์เรือ่ งทีส่ เี่ ป็นเรือ่ งทีท่ า่ นผูอ้ า่ นคุน้ เคยกันดีอย่าง Spider-Man หรือไอ้แมงมุม ภาพยนตร์เกี่ยวกับยอดมนุษย์ที่ แต่งขึ้น (fictional superhero) เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับหนุ่มคงแก่เรียน (nerd) แต่ขี้อาย (shy) ผู้ถูกแมงมุมอาบกัมมันตภาพรังสีกัดใน ระหว่างทีม่ กี ารศึกษาทดลองทางวิทยาศาสตร์อยู่ ทำ�ให้เขามีความ สามารถพิเศษเหนือมนุษย์ และหลังจากทีเ่ ขาได้สญ ู เสียลุงอันเป็น ที่รัก (the loved one) ไปในอาชญากรรม (crime) เขาจึงตัดสินใจ ใช้พลังพิเศษนี้ต่อกรกับเหล่าอาชญากร (criminal) ในเมือง แน่นอนว่า คำ�คมยอดฮิตตลอดกาลคงไม่พน้ ไปจากความพิเศษของพลังทีไ่ ด้มา ซึ่งเป็นฉากที่ลุงได้กล่าวไว้กับเขาก่อนถูกโจรฆ่าตาย นั่นก็คือ “With great power comes great responsibility.” พลังอันยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง
๗๔ ข่าวทหารอากาศ
ตุลาคม ๒๕๕๙
ดังนั้น เมื่อคุณมีอำ�นาจในการทำ�อะไรบางอย่างได้ จงแน่ใจว่าคุณได้ใช้มันเพื่อทำ�ประโยชน์แก่ผู้อ่ืน (If you have ability to do something, make sure that you do it for good of others.) เรื่องสุดท้ายคือ At First Sight เป็นสำ�นวนหมายความว่า รักแรกพบ หรือในชือ่ ภาษาไทยคือ จุดไฟรัก เติมไฟฝัน เป็นภาพยนตร์ แนวชีวิตโรแมนติก (romantic drama) เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชาย พิการทางสายตาตั้งแต่เด็กมีอาชีพหมอนวด เป็นคนคิดบวก (to think positively) และใช้ใจ “มอง” โลกเป็นบวกเสมอ วันหนึ่งเขา ได้พบรัก (to fall in love with) กับสาวที่มีอาชีพการงานมั่นคง เธอช่วยหาหนทางในการรักษาตาให้กลับมามองเห็นได้อีกครั้ง แต่ เมือ่ ถึงวันทีช่ ายตาบอดผูน้ กี้ ลับมามองเห็นได้อกี ครัง้ ทุกสิง่ ทุกอย่าง ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปรับตัวเข้ากับสังคม เนือ่ งจากไม่เคยเห็นการแสดงออกทางสีหน้า (facial expression) ของผูค้ นรอบข้างจริง ๆ ว่าเขาคิดเช่นไรกันอยู่ เพราะช่วงเวลาทีผ่ า่ นมา ชายตาบอดใช้แต่จินตนาการ (imagination) หรือประสาทสัมผัส ส่วนอื่น ๆ รับรู้แทนดวงตา เขาอ่านหนังสือไม่ออก และไม่รู้สึกว่า สิง่ ทีไ่ ด้เห็นด้วยตาอย่างท้องฟ้านัน้ สวยงามเฉกเช่นอย่างทีเ่ ห็นในใจ ของตัวเองเมื่อตอนตาบอด ช่วงเวลาเหล่านั้นจึงกลายเป็นเรื่องที่น่าอึดอัดใจยิ่ง ดังที่พระเอกได้กล่าวไว้ช่วงหนึ่งในตอนท้าย ของภาพยนตร์ว่า ถ้าเลือกได้ก็คงจะไม่เลือกกลับมามองเห็นอีก ซึ่งก็เป็นไปตามที่ต้องการเนื่องจากการผ่าตัดไม่ได้ให้ผล ถาวร คำ�คมจากภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวคือ “You will see a lot of things, but they will mean nothing to you if you lose sight of the thing you love.” คุณจะได้เห็นสิ่งต่าง ๆ มากมาย แต่นั่นจะไม่มีความหมายใด ๆ เลย ถ้าหากว่าคุณไม่ได้มองเห็นสิ่งที่คุณรัก เปรียบเหมือนกับเวลาที่เราอยากได้ของชิ้นหนึ่งมาก แต่เมื่อได้รับมาแล้วก็ไม่ได้รู้สึกชอบหรือรักของชิ้นนั้นเลย กลับกลายเป็นไร้ความหมายไป ดังนั้น ไม่ว่าจะทำ�สิ่งใด ขอให้ออกมาจากความรู้สึกและหัวใจ สิ่งนั้นถึงจะมีคุณค่าขึ้นมา จริง ๆ หวังว่าคำ�คมดี ๆ จากภาพยนตร์ห้าเรื่องโปรดของผู้เขียนที่ได้นำ�เสนอไป คงสร้างแรงบันดาลใจให้ท่านผู้อ่าน ในการดำ�เนินชีวิตกันเป็นอย่างดี แล้วพบกันใหม่ สวัสดี แหล่งข้อมูลและภาพ - http://minnymovieswords.blogspot.com/2013/06/blog-post.html - Pinterest
สะเก็ดเงิน...
ไม่ติด และไม่ผิด
มุ มสุขภาพ น.ต.นพ.สุรินท์นาท เจริญจิตต์ พญ.ศศิผกา สินธุเสน รพ.บน.23
ทุกวันนี้หลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้จัก โรคสะเก็ดเงินรือโรคเรื้อนกวางกันไปแล้ว ทั้ง ๆ ที่เมื่อเทียบ ต่อประชากรจำ�นวน 100 คน จะมีผู้ป่วยเป็นโรคนี้ถึง 2 - 3 คน การป่วยเป็นโรคนี้ ส่งผลกระทบต่อ จิตใจของผู้ป่วยและผู้คนในสังคมรอบข้างเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคที่ใครพบเห็นอาจจะแสดง ท่าทีรังเกียจ และส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกขาดความมั่นใจในการดำ�รงชีวิต จนถึงเกิดภาวะของโรคซึมเศร้าขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้เราจำ�เป็นต้องรู้จักโรคสะเก็ดเงินอย่างถูกต้องและเข้าใจผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินให้มากขึ้น โดยองค์การอนามัยโลกได้กำ�หนดให้ ทุกวันที่ 29 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันสะเก็ดเงินโลกหรือ World Psoriasis Day
อาการของโรคสะเก็ดเงิน ลักษณะเด่นของโรคนี้ คือ มีผื่นเป็นปื้นแดง มีขุยสีขาวหนา กระจายตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นที่หนังศีรษะ ข้อศอก เข่า ก้นกบ หรือ กระจายทั่วทั้งตัว นอกจากนี้ในผู้ป่วยร้อยละ 40 ยังพบความผิดปกติได้ที่เล็บ เช่น ผิวของเล็บเป็นหลุม เล็ก ๆ เล็บหนาผิดปกติ และข้ออักเสบร่วมด้วยได้ มักเกิดโรคในช่วงอายุ 15 - 30 ปี เกิดขึ้นได้ในผู้ชาย และผู้หญิงเท่า ๆ กัน
สาเหตุของโรคสะเก็ดเงิน เกิดจาก “หลายปัจจัยประกอบกัน” 1. ปัจจัยทางพันธุกรรม เป็นเพียงสาเหตุหนึ่ง ไม่จำ�เป็นที่บิดามารดาต้องป่วยเป็นโรคนี้เสมอไป 2. ปัจจัยกระตุ้นภายนอกอื่น ๆ เช่น การแกะเกา โรคติดเชื้อ ยาบางชนิด การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และความเครียด ซึ่งหากสามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็จะสามารถควบคุมอาการของโรค โดยเฉพาะ อย่างยิ่งทุกงานวิจัยชี้ชัดว่า แอลกอฮอล์มีส่วน เกี่ยวข้องกับการกำ�เริบของโรคสะเก็ดเงิน
ลักษณะการกระจายของผื่นที่พบบ่อยมี 2 แบบ แบบแรก เป็นผื่นนูนขนาดหยดน้ำ�หรือเหรียญ กระจาย ทั่วตัว มักเกิดในระยะเวลาสั้น ๆ พบบ่อยในเด็ก หลัง ทุเลาจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ผื่นชนิดนี้ จะค่อย ๆ จางหายได้เองหากได้รับการรักษาการติด เชื้อให้หายแล้ว แต่มีโอกาสกลับเป็นซ้ำ�อีก
แบบที่สอง เป็นผื่นเรื้อรังเฉพาะที่ บริเวณซึ่งมีการ เสียดสี เช่น ข้อศอก ข้อเข่า หลัง สะโพก หนังศีรษะ เป็นผื่นขนาดใหญ่ ผื่นจะขยายค่อยเป็นค่อยไปและอาจ หายได้เองแต่ช้า อาจต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสม ผื่นสะเก็ดเงินเมื่อหายจะไม่เหลือรอย ในบางรายเมื่อ ผื่นหายจะเป็นรอยดำ�และค่อยปรับเป็นผิวปกติภายหลัง
วิธีรักษาโรคสะเก็ดเงิน หากสงสัยว่าเป็นโรคสะเก็ดเงินควรปรึกษาแพทย์ โดยแพทย์จะให้การรักษาไปตามชนิดและ ความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงิน มีหลายวิธี เช่น การฉายแสง (Phototherapy) การใช้ยาทา (Topical therapy) การใช้ยาแบบ Systemic therapy และการใช้ยาชีวบำ�บัด (Biological therapy )
วิธีป้องกันโรคสะเก็ดเงิน โรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกัน แต่สิ่งที่ทำ�ได้คือการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น ภาวะความเครียด ความอ้วน และรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อลดโอกาสติดเชื้อต่าง ๆ สาระน่ารู้ของโรคสะเก็ดเงิน 1. “ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้” กล่าวคือ โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคเรื้อรัง มีอาการเห่อและสงบสลับ กันไป ขึ้นกับการรักษาที่เหมาะสม และการควบคุมปัจจัยกระตุ้นภายนอกต่าง ๆ 2. “ไม่กลายเป็นมะเร็ง” 3. ที่สำ�คัญที่สุดคือ “โรคสะเก็ดเงินไม่ใช่โรคติดต่อและไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค” ดังประโยคที่ว่า “Touch me, I’m touched” หรือ “สะเก็ดเงิน…ไม่ติด และไม่ผิด” นั่นเอง ในปัจจุบันมีสถานพยาบาลและโรงเรียนแพทย์ หลายแห่ง รวมถึงโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ สามารถให้การรักษาผู้ป่วย โรคสะเก็ดเงินได้ ซึ่งการดูแลผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินนั้น จำ�เป็นต้องร่วมกันทั้งทีมแพทย์ ตัวผู้ป่วยเอง ญาติ และ ทุกคนในสังคมให้มีความรู้ ความเข้าใจในโรคสะเก็ดเงิน อย่างถูกต้อง ซึ่งจะทำ�ให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวอยู่ร่วม กับโรคสะเก็ดเงินได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี แหล่งข้อมูลและภาพ - สาขาวิชาตจวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล - https://www.facebook.com/Thaipsoriasisgroup/?fref=ts - http://www.thaihealth.or.th/tag/สะเก็ดเงิน
รอบรู้...อาเซียน
ASEAN Community Little Tidbits เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประชาคมอาเซียน Laos Festival Guide
@Zilch
That Luang Festival งานบุญนมัสการพระธาตุหลวง
That Luang Festival is dubbed as the most significant festival of the year in Laos. It is held at the most religious monument of Pha That Luang. This is one of the Buddhist festivals which lasts from three to seven days during the full moon of the month of October or November depending on the Lunar Calendar. The festival starts off by a procession of colorful candle wax formed like that of the castle, people joined by bringing tons of flowers, and a troop with drums and trumpets. Then after, thousands of monks gathered around the stupa to do the Taak Baat which is an art ritual. Various activities such as traditional tikhy, picnics and ends of with a fireworks display. แหล่งข้อมูลและภาพ - http://event-carnival.com/laos/that-luang-festival - http://www.ounon19.com/culture3.htm
งานบุญนมัสการพระธาตุหลวงได้รบั การขนานนาม ว่าเป็นงานบุญทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ แห่งปีของสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว (สปป.ลาว) จัดขึ้นที่พระธาตุหลวง ซึ่งเป็น ศาสนสถานที่มีความสำ�คัญที่สุดของ สปป.ลาว งานบุญนี้ จัดขึ้นเป็นเวลาสามถึงเจ็ดวันในช่วงพระจันทร์เต็มดวงของ เดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปฏิทินจันทรคติ งานบุญดังกล่าวเริม่ ด้วยการแห่ปราสาททำ�จากขีผ้ งึ้ หลากสีสนั ประชาชนนำ�ดอกไม้เข้าร่วมขบวนแห่เป็นจำ�นวนมากมาย มหาศาล และมาพร้อมกับขบวนกลองและแตร หลังจากนั้น พระสงฆ์หลายพันรูปมารวมตัวกันรอบพระเจดีย์เพื่อเริ่มพิธี ตักบาตร นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ได้แก่ การละเล่น ตีคลี การพักผ่อนหย่อนใจนอกบ้าน และจบด้วยการแสดง ดอกไม้ไฟ
ภาษาไทยด้วยใจรัก
นวีร์ มีผู้สนใจถามความหมายของชื่อเฉพาะที่คงได้จากละครโทรทัศน์ ซึ่งผู้เขียนขอตอบในคอลัมน์นี้คือ กช แปลว่า ดอกบัว นารา แปลว่า รัศมี รสา แปลว่า ผู้มีรส (มาจากคำ�ว่า รส) อัญชลินทร์ แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งการไหว้ หรือ มีการไหว้เป็นใหญ่ มาจากคำ�ว่า อัญชลี (การประนมมือ การไหว้) สนธิกับคำ�ว่า อินทร์ (ผู้เป็นใหญ่) ธีริทธิ์ แปลว่า นักปราชญ์ผู้มีฤทธิ์ มาจากคำ�ว่า ธีร (นักปราชญ์) สนธิกับคำ�ว่า อิทธิ (ฤทธิ์) คำ�ถามเกี่ยวกับการเขียนมีมากมาย เช่น คำ�ว่า อธิษฐาน และ อธิฏฐาน คำ�ใดถูกต้อง คำ�ตอบ คือ เขียนถูกต้องทั้ง ๒ คำ� และคำ�ทั้ง ๒ คำ� ก็มีความหมายเหมือนกัน คือหมายความว่า ความตั้งใจ มุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงแต่ว่า อธิษฐาน เป็นคำ�ที่มาจากภาษาสันสกฤต ส่วนคำ�ว่า อธิฏฐาน เป็นคำ�ที่มาจากภาษา บาลี (เรามักคุน้ กับคำ�ว่า อธิษฐาน มากกว่า เมือ่ มีละครโทรทัศน์เรือ่ ง บ่วงอธิฏฐาน จึงแปลกตาและคิดว่าเขียนผิดหรือเปล่า) คำ�ว่า ฯพณฯ พณฯ ฯ พณ คำ�ใดเขียนถูกต้อง ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ หน้า ๘๐๒ และหนังสืออ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (แก้ไขเพิ่มเติม) พิมพ์ครั้งที่ ๒๒ หน้า ๑๑๗ เขียนว่า ฯพณฯ อ่านว่า พะนะท่าน เป็นคำ�นำ�หน้าชื่อ หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ชั้นรัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น (ย่อมาจากคำ� พณหัว พณหัวเจ้า พณหัวเจ้าท่าน) สำ�นวน หัวมังกุท้ายมังกร หัวมังกุฎท้ายมังกร สำ�นวนใดเขียนถูกต้อง หัวมังกุท้ายมังกร เป็นสำ�นวนที่เขียนถูกต้อง สำ�นวนนี้หมายความว่า ทำ�สิ่งที่ผิดไปจากเดิม คือผิดจาก แบบแผนหรือธรรมเนียมที่มีมาแต่ก่อนไม่เข้ากัน ขัดกันในตัว คำ�ว่า มังกุ เป็นชื่อเรือชนิดหนึ่ง เป็น เรือต่อ ที่มีรูปยาว มีกระดูกงูใหญ่รปู เหมือนโขมดยา หัวเป็นสามเส้า กับแปลว่า เป็นรูปสัตว์ในนิยายชนิดหนึง่ ทำ�ให้เข้าใจว่า เรือมังกุ คงจะ มีหัวเป็นรูปสัตว์ ส่วนมังกร ก็เป็นเรือชนิดหนึ่ง เป็นเรือพระที่นั่ง ซึ่งมีหัวเรือหรือโขนเรือเป็นรูปมังกร ทั้งเรือมังกุและ เรือมังกร คงจะเป็นเรือโขนซึ่งเป็นเรือที่มีหัวเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ สมัยโบราณคงจะมีเรือชนิดหนึ่งซึ่งหัวเรือทำ�เป็นรูปสัตว์ ที่เรียก มังกุ แต่ท้ายเรือทำ�เป็นรูปอย่างมังกร รูปร่างจึงดูแปลก เพราะหัวเรือมีลักษณะอย่างหนึ่ง ท้ายเรือมีลักษณะ อีกอย่างหนึ่ง ดูขัดกันไม่กลมกลืนกัน จึงได้เรียก หัวมังกุท้ายมังกร ต่อมาคำ� หัวมังกุท้ายมังกร จึงเป็นสำ�นวนหมายถึง อะไรที่ในตัวมีลักษณะต่างกัน ไม่เป็นไปตามที่ควรเป็น คือเข้ากันไม่ได้ ขัดกันในตัว ดังกล่าวแล้วข้างต้น
๘๐ ข่าวทหารอากาศ
คำ�ว่า แม่ม่าย กับ แม่หม้าย คำ�ใดเขียนถูกต้อง
ตุลาคม ๒๕๕๙
คำ�ตอบ คือ เขียนถูกต้องทั้ง ๒ คำ� (จาก ไขปัญหาภาษาไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๓ แก้ไข เพิ่มเติม หน้า ๓๒) คำ�ว่า เสื้อม่อห้อม เสื้อม่อฮ่อม และเสื้อหม้อห้อม คำ�ใดเขียนถูกต้อง คำ�ตอบ คือ เขียนถูกต้องทั้ง ๓ คำ� หมายถึง เสื้อคอกลมแขนสั้น ผ่าอกตลอด มักย้อมสีน้ำ�เงินเข้มหรือดำ� คำ�ว่า เส้นจัน เส้นจันท์ เส้นจันทน์ และเส้นจันทร์ คำ�ใดเขียนถูกต้อง คำ�ตอบ คือ เส้นจันท์ (จาก ไขปัญหาภาษาไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๓ แก้ไขเพิ่มเติม หน้า ๓๒) คำ�ที่ออกเสียงว่า จัน มีคำ�พ้องเสียงมากมาย ดังนี้ จัน ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลสุกสีเหลืองหอม กินได้ ชนิดรูปกลมแป้นกลางบุ๋ม ไม่มีเมล็ด เรียก ลูกจันอิน ชนิดลูกกลมรี มีเมล็ด เรียกว่า ลูกจันโอ นอกจากนี้ ยังใช้เขียนในคำ�ว่า ดอกจัน (เครือ่ งหมาย*) โจษจัน จันโจษ (พูดอึง พูดกันเซ็งแซ่ เล่าลือกันอื้ออึง ในบทกลอนใช้ จรรโจษ ก็มี) จันท์ จันทร์ ดวงเดือน (จันท์ เป็นคำ�ที่มาจากภาษาบาลี จันทร์ เป็นคำ�ที่มาจากภาษาสันสกฤต) จันทวาร หรือ จันทรวาร คือ วันจันทร์ (โสมวารก็เรียก) จันทน์ ชื่อพรรณไม้บางชนิดที่มีเนื้อไม้ ดอก หรือผลหอม ใช้ทำ�ยาหรือปรุงเครื่องหอม จันทน์หอม หรือ จันทน์ชะมด ขึ้นตามป่าดิบหรือเขาหินปูน เป็นไม้ขนาดใหญ่ เนื้อไม้หอม จันทน์ผา หรือ จันทน์แดง เป็นไม้ขนาดกลาง ขึ้นตามเขาหินปูน เนื้อไม้ที่สารลงมีสีแดง จันทน์หอม หรือ จันทน์ชะมด เป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เนื้อไม้หอม จันทน์ขาว หรือ จันทนา เป็นไม้ต้นขนาดกลาง เนื้อไม้หอม จันทน์กะพ้อ เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ดอกขาวหอมคล้าย น้ำ�มันจันทน์ จันทน์เทศ เป็นไม้ต้นขนาดกลาง รกหุ้มเมล็ด มีกลิ่นหอมฉุน เรียก ดอกจันทน์ เมล็ดมีกลิ่นหอมฉุนเช่นกัน เรียกลูกจันทน์ ใช้เป็นเครื่องเทศ (ไม่ใช่ลูกจันที่มีผลสุกสีเหลือง) จัณฑ์ ดุร้าย หยาบช้า เกรี้ยวกราด ราชาศัพท์เรียกสุราว่า น้ำ�จัณฑ์ จรรย์ ความประพฤติ กริยาที่ควรประพฤติ นิยมใช้ในทางที่ดี เช่น พรหมจรรย์ (การถือพรตบางอย่าง เช่น เว้นเมถุน) เป็นต้น ใช้ว่า จรรยา ก็ได้ เช่น มีจรรยา (มีความประพฤติดี) ผู้เขียนยินดีมากที่มีผู้สนใจถาม ถือเป็นเรื่องของ ภาษาไทยด้วยใจรัก
เฉลยปริศนาอักษรไขว
ประจําเดือน ส.ค.๕๙
รายชื่อผู้โชคดี ๓ ท่าน ดังนี้ ๑. น.ท.หญิง ชุติมา ๒. ร.ท.สวง ๓. ร.ท.หญิง กีรติ
กุลวัฒน์ ไชยมงคล กีรานนท์
กบ.ทอ. สพ.ทอ. สปช.ทอ.
มีน
โทร. ๒-๑๙๐๗ โทร. ๒-๕๐๙๒ โทร. ๒-๒๐๑๕
กรุณาติดต่อรับรางวัล ๆ ละ ๓๐๐ บาท จากสำ�นักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ ห้อง ๑๐๑ ชั้น ๑ อาคารหอสมุดกองทัพอากาศ ภายใน พ.ย.๕๙ โทร. ๒-๔๒๔๑
มุมกฎหมาย
น.อ.วันชัย ม้าสุวรรณ คำ�ว่า “กรรม” เป็นคำ�สันสกฤตที่ไทยนำ�มาใช้ในหลายทาง ถ้าใช้ในทางระเบียบของภาษาไทยจะหมายถึง “ผู้ที่ถูกกระทำ�” ถ้าใช้ในทางกฎหมายหรือใช้ในทางพุทธศาสนาจะหมายถึง “การกระทำ�” เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกัน อยู่บ้าง เช่น “กรรม” ในความหมายทางพุทธศาสนาจะมี ๒ กรรม คือ กรรมดี (กุศลกรรม) กับกรรมชั่ว (อกุศลกรรม) ส่วน “กรรม” ในความหมายทางกฎหมายมีกรรมเดียว คือ กรรมของการกระทำ�ความผิด แต่ถ้ามีหลายกรรมก็หมายความว่า ผู้ที่กระทำ�ให้เกิดกรรมนั้น ๆ จะต้องได้รับโทษรวมทุกกรรมมากขึ้น ก่อนปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.๒๕๒๖) มีคดีอาญาหลายคดีที่จำ�เลยได้กระทำ�ความผิดต่อเนื่องกันนับร้อยครั้ง และศาลก็ได้ปฏิบัติตามที่กฎหมาย บัญญัติ โดยพิพากษาให้ลงโทษจำ�เลยทุกกรรมทุกกระทงความผิด และเมื่อนำ�โทษมารวมกันทุกกรรมทุกกระทงความผิด เข้าด้วยกันแล้ว จำ�เลยจึงต้องรับโทษจำ�คุกเป็นร้อยเป็นพันปี ระเบียบวิธีของกฎหมายอาญาในการลงโทษผู้กระทำ�ความผิดจะถือหลักการกระทำ�ความผิดเป็นครั้ง ๆ หรือ เป็นกรรมความผิดไป การกระทำ�ความผิดที่สำ�เร็จเสร็จสิ้นไปในแต่ละครั้ง กฎหมายบัญญัติคำ�เรียกว่า “กรรม” เช่น กระทำ�ความผิดสำ�เร็จเสร็จสิ้น ๓ ครั้ง ก็เรียกว่ากระทำ�ความผิดรวม ๓ กรรม คำ�ว่ากรรมในทางกฎหมายจึงเปรียบเสมือน กับเป็นคำ�ลักษณะนามในภาษาไทยก็ไม่ผดิ แต่ในทางภาษาพูดจะเรียกว่ากระทงความผิดก็ได้ ซึง่ ก็มคี วามหมายไม่ตา่ งกัน และบ่อยครัง้ ทีศ่ าลใช้ทงั้ สองคำ�นีร้ วมกันไปในคำ�พิพากษา เช่น “...การกระทำ�ของจำ�เลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษทุกกระทงความผิดไป...” นอกจากนั้น ในบริบทของกฎหมายแล้ว การกระทำ�ความผิดที่สำ�เร็จเสร็จสิ้น ไปครัง้ หนึง่ อันเป็นความผิดกรรมหนึง่ นัน้ ก็อาจเกิดเป็นความผิดขึน้ ได้หลายบทหรือหลายฐานความผิดก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ กฎหมายกำ�หนดให้ลงโทษเพียงบทเดียวหรือฐานความผิดเดียวคือ บทความผิดหรือฐานความผิดทีม่ อี ตั ราโทษหนักทีส่ ดุ ซึ่งระเบียบวิธีการลงโทษที่กล่าวมานี้ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้ มาตรา ๙๐ “เมือ่ การกระทำ�ใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบททีม่ โี ทษ หนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำ�ความผิด” มาตรา ๙๑ “เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำ�การอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรม เป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่วา่ จะมีการเพิม่ โทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่กต็ าม เมือ่ รวมโทษทุกกระทง แล้ว โทษจำ�คุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำ�หนด ดังต่อไปนี้ (๑) สิบปี สำ�หรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำ�คุกอย่างสูงไม่เกินสามปี (๒) ยี่สิบปี สำ�หรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำ�คุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี (๓) ห้าสิบปี สำ�หรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำ�คุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาล ลงโทษจำ�คุกตลอดชีวิต”
ตุลาคม ๒๕๕๙
ข่าวทหารอากาศ ๘๓
จากบทบัญญัติข้างต้น กฎหมายได้วางระเบียบการลงโทษในกรณีการกระทำ�ของจำ�เลยเกิดเป็นความผิดขึ้น หลายกรรม และในกรณีเกิดเป็นความผิดกรรมเดียวแต่ในความผิดกรรมเดียวนั้นเกิดเป็นความผิดขึ้นหลายบทหรือ หลายฐานความผิด ในกรณีแรกกฎหมายให้ศาลลงโทษจำ�เลยทุกกรรมทุกกระทงความผิดไป ส่วนในกรณีหลังซึ่งเป็น ความผิดกรรมเดียวแต่เป็นความผิดหลายบทหรือหลายฐานความผิดก็ให้ศาลลงโทษจำ�เลยในบทความผิดหรือฐานความผิด ที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวหรือฐานเดียว แต่ความสำ�คัญของบทกฎหมายดังกล่าวอยู่ที่ว่า การกระทำ�ความผิด อย่างใดจึงจะถือว่าเป็นความผิดกรรมเดียวหรือเป็นความผิดหลายกรรม เพราะการพิจารณาวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อตัวจำ�เลยโดยตรงในการรับโทษ ซึง่ จากแนวคำ�วินจิ ฉัยของศาลฎีกาพอสรุปเป็นหลักในการพิจารณาได้ ดังนี้ หลักการกระทำ� โดยพิจารณาจากการกระทำ�ของผู้กระทำ�ความผิดทางกายภาพเป็นหลัก นับแต่เริ่มลงมือ กระทำ�ความผิดจนสิ้นสุดการกระทำ�ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยการกระทำ�ความผิดนั้นไม่ทับซ้อนหรือต่อเนื่องกันกับ ความผิดที่เกิดขึ้นต่อมาในภายหลัง ตัวอย่าง ก. จำ�เลยมีอาวุธปืนทีไ่ ม่มที ะเบียนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รบั ใบอนุญาต เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธ ปืน ฯลฯ มาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง และมีอาวุธปืนมีทะเบียนทีเ่ ป็นของผู้อนื่ ไว้ในความครอบครองด้วยอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯลฯ มาตรา ๗๒ วรรคสาม จำ�เลยมีไว้ในคราวเดียวกันและเป็นความผิดตามกฎหมายในบทมาตรา เดียวกัน การกระทำ�ของจำ�เลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว (คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๒๙๑๐/๕๓) เมื่อจำ�เลยพกอาวุธปืน ติดตัวโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯลฯ มาตรา ๘ ทวิ วรรคหนึ่ง อีกกรรมหนึ่ง การกระทำ�ของจำ�เลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน (คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๑๓๓๖/๕๓) ข. จำ�เลยกับพวกร่วมกันใช้ก้อนหินปาใส่บ้านผู้เสียหายได้รับความเสียหาย เป็นผลที่เกิดจากการกระทำ� เดียวกันกับการที่จำ�เลยกับพวกใช้ก้อนหินปาใส่บ้านผู้เสียหายโดยเจตนาประสงค์จะทำ�ร้ายผู้เสียหายทั้งสาม การกระทำ� ของจำ�เลยกับพวกจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท (คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๑๙๖๙๑/๕๕) ค. ขณะที่ นาย ส กับน้องชายจำ�เลยชกต่อยกัน จำ�เลยได้ใช้ปืนยิง นาย ส ๑ นัด จากนั้นจำ�เลยถือปืนวิ่งไปหา นาย พ ซึ่งยืนอยู่ห่างออกไป ๑ วาเศษ แล้วใช้อาวุธปืนตีศีรษะนาย พ ๑ ครั้ง และยิงที่ศีรษะอีก ๑ นัด นาย พ ล้มลง จำ�เลยวิ่งกลับไปยิงนาย ส อีก ๒ - ๓ นัด โจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาของนาย พ และเป็นแม่ยายนาย ส เห็นเหตุการณ์ จึงวิง่ หนีไปจากทีเ่ กิดเหตุ จำ�เลยวิง่ ตามและใช้อาวุธปืนยิงโจทก์รว่ ม ๑ นัด แต่กระสุนไม่ถกู เมือ่ โจทก์รว่ มล้มลง จำ�เลยได้ ใช้อาวุธปืนทุบตีโจทก์รว่ มได้รบั บาดเจ็บ การกระทำ�ของจำ�เลยเป็นความผิดหลายกรรม (คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๑๕๕๙/๒๖) หลักเจตนา โดยพิจารณาจากเจตนาหรือความประสงค์ของผู้กระทำ�ความผิดว่าผู้กระทำ�ความผิดมีเจตนา เดียวหรือหลายเจตนาแยกจากกันในการกระทำ�ความผิด ตัวอย่าง ก. จำ�เลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ๑ นัด แล้วกลับบ้าน ต่อมาในคืนเดียวกันจำ�เลยทราบว่าผู้ตายยังไม่ตาย จึง ย้อนกลับมาใช้ไม้ตีผู้ตายจนผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น ก็ด้วยเจตนาเดียวกันคือเจตนาฆ่าผู้ตาย เมื่อได้กระทำ�ต่อเนื่อง ใกล้เคียงกัน จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท (คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๓๓๘๙/๒๙) ข. จำ�เลยสัง่ จ่ายเช็คแต่ละฉบับชำ�ระหนีร้ ายเดียวกัน ย่อมเห็นเจตนาของจำ�เลยได้วา่ ประสงค์ให้จา่ ยเงินตาม เช็คแต่ละฉบับแยกจากกันเป็นคนละส่วนคนละจำ�นวน แม้จำ�เลยจะลงวันที่สั่งจ่ายวันเดียวกัน และธนาคารปฏิเสธ การสั่งจ่ายวันเดียวกัน การกระทำ�ของจำ�เลยก็เป็นความผิดหลายกรรม (คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๔๔๑๐/๓๖)
๘๔ ข่าวทหารอากาศ
ตุลาคม ๒๕๕๙
ค. จำ�เลยมีอาวุธมีดเข้าไปถึงเตียงนอนผู้เสียหายขณะผู้เสียหายหลับอยู่ จำ�เลยยังไม่ได้ทำ�ร้ายผู้เสียหาย เพิ่งจะ ทำ�ร้ายผูเ้ สียหายเมื่อผู้เสียหายตืน่ เพือ่ ให้พน้ จากการถูกจำ�เลยบีบคอ ย่อมเห็นเจตนาของจำ�เลยได้วา่ จำ�เลยบุกรุกเข้าไป ในเคหสถานของผู้เสียหายมิได้มีเจตนาตั้งแต่แรกเพื่อจะเข้าไปทำ�ร้ายผู้เสียหาย การกระทำ�ของจำ�เลยจึงเป็นความผิด สองกรรม (คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๓๙๘๗/๒๖) (ข้อสังเกต หลักกฎหมายเรื่อง “กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา” นั้น ในคดีสองเรื่อง อาจเห็นว่ามีข้อเท็จจริงเหมือนกัน แต่ผลของคำ�พิพากษาต่างกัน แต่ทั้งนี้หากพิจารณาข้อเท็จจริงให้ดีแล้วจะเห็นว่า ข้อเท็จจริงนัน้ มิได้เหมือนกันเลย จึงทำ�ให้เห็นถึงเจตนาของจำ�เลยทีแ่ ตกต่างกัน และเกิดผลในข้อกฎหมายทีแ่ ตกต่างกัน ตัวอย่าง ขณะผู้เสียหายนอนอยู่ในห้องยังไม่หลับ จำ�เลยเข้ามานั่งยอง ๆ ที่ปลายเท้า ผู้เสียหายถามว่ามาทำ�ไม จำ�เลยก็ ห้ามมิให้สง่ เสียงมิเช่นนัน้ จะเชือดคอ แล้วจำ�เลยใช้มอื ซ้ายจับมือขวาผูเ้ สียหาย ใช้มอื ขวาทีถ่ อื มีดกดหัวเข่าผูเ้ สียหาย ศอก ผู้เสียหายไปถูกลูกคนเล็กร้องขึ้น พอผู้เสียหายพูดว่าสามีผู้เสียหายมา จำ�เลยก็หนีไป เช่นนี้ การกระทำ�ของจำ�เลยเป็น ความผิดฐานบุกรุกและเป็นความผิดฐานกระทำ�อนาจาร แต่เป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท (คำ�พิพากษา ฎีกาที่ ๘๒๙/๓๒) หลักไม่เกินคำ�ขอ เป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่ได้กำ�หนด ห้ามศาลมีคำ�พิพากษาหรือมีคำ�สั่งเกินไปกว่าคำ�ขอ หรือที่มิได้กล่าวมาในคำ�ฟ้อง และได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๒ และประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๒ หลักดังกล่าวในส่วนของความผิดอาญา จะมีผลต่อจำ�เลยในกรณีจำ�เลย กระทำ�ความผิดหลายกรรม แต่โจทก์บรรยายฟ้องรวมการกระทำ�เป็นความผิดกรรมเดียว หรือระบุคำ�ขอท้ายฟ้องขอให้ ลงโทษกรรมเดียว แม้ศาลจะเห็นว่าการกระทำ�ของจำ�เลยเป็นความผิดหลายกรรม ศาลก็จะลงโทษจำ�เลยทุกกรรม ทุกกระทงความผิดไม่ได้ ตรงกันข้ามหากการกระทำ�ของจำ�เลยเป็นความผิดกรรมเดียว แต่โจทก์บรรยายฟ้องแยกออก เป็นข้อ ๆ เพือ่ ให้เห็นว่าเป็นความผิดหลายกรรม ศาลก็ตอ้ งพิพากษา ให้เป็นไปตามบทกฎหมายว่าการกระทำ�ของจำ�เลย เป็นความผิดกรรมเดียว ตัวอย่าง ก. โจทก์ฟ้องว่า จำ�เลยกับพวกร่วมกันใช้ด้ามปืนยาวเป็นอาวุธตีทำ�ร้ายร่างกาย นายเจ๊ก นายพวง และ นายจันทร์ หลายครั้งโดยเจตนาฆ่า ขอให้ลงโทษตาม ปอ.มาตรา ๒๘๘, ๘๐, ๒๘๘, ๘๓ เป็นฟ้องขอให้ลงโทษจำ�เลย กรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำ�เลยกับพวกร่วมกันตี นายเจ๊ก ผู้ตายก่อน แล้วตี นายพวง ผู้ตาย กับ นายจันทร์ ผู้เสียหาย หลายครั้งตามลำ�ดับ ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำ�ความผิดหลายกรรม ศาลจะลงโทษจำ�เลย ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไม่ได้ เพราะเกินคำ�ฟ้อง (คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๓๖/๒๒) ข. โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องแยกการกระทำ�ความผิดของจำ�เลยเป็นความผิดสำ�เร็จแต่ละกรรมเป็นกระทง ความผิดอย่างไร คงบรรยายฟ้องรวมกันมาว่าจำ�เลยมีเครือ่ งวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยมิได้รบั อนุญาตและจำ�เลย นำ�เครือ่ งวิทยุดงั กล่าวไปใช้โดยไม่ได้รบั อนุญาต ซึง่ ไม่สามารถแยกการกระทำ�ทัง้ สองอย่างออกต่างหากจากกันได้ เพราะ การกระทำ�ความผิดฐานใช้เครื่องวิทยุฯ นั้น อาจเกิดขึ้นในวาระเดียวกันกับความผิดฐานมีเครื่องวิทยุฯ ได้ การกระทำ� ความผิดของจำ�เลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว (คำ�พิพากษาฎีกาที่ ๑๐๔๔/๓๖) หลักเจตนารมณ์ของกฎหมาย ความผิดอาญาบางฐานความผิด แม้การกระทำ�ของจำ�เลยจะต้องด้วยหลัก ของการกระทำ�หรือหลักของเจตนา อันเห็นได้ว่าเป็นการกระทำ�ความผิดกรรมเดียวก็ตาม แต่หากความผิดนั้นได้กระทำ�ขึ้น จะส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและประเทศชาติอย่างรุนแรงแล้ว รัฐก็มีนโยบายเอาจริงเอาจังเพื่อจะ ป้องกันและปราบปรามการกระทำ�ความผิดนั้น ตัวอย่าง จำ�เลยมีเมทแอมเฟตามีน จำ�นวน ๑,๕๖๐ เม็ด ไว้ในครอบครอง เพื่อจำ�หน่าย และจำ�เลยได้จำ�หน่ายเมทแอมเฟตามีน จำ�นวน ๘๐๐ เม็ด จากจำ�นวนที่จำ�เลยมีอยู่นั้นให้แก่สายลับที่
ข่าวทหารอากาศ ๘๕
ตุลาคม ๒๕๕๙
ล่อซื้อ การกระทำ�ของจำ�เลยเป็นความผิดสำ�เร็จฐานมีเมทแอมเฟตามีน จำ�นวน ๑,๕๖๐ เม็ด ตั้งแต่แรกที่มีไว้ใน ครอบครองเพือ่ จำ�หน่ายแล้ว เมือ่ จำ�เลยนำ�เมทแอมเฟตามีนดังกล่าวออกจำ�หน่ายไม่วา่ มากน้อยเพียงใด ก็เป็นความผิด ขึ้นอีกกระทงหนึ่ง การกระทำ�ของจำ�เลยจึงเป็นความผิดหลายกรรม (คำ�พิพากษาฎีกา ๑๓๔๘๗/๕๓ (ที่ประชุมใหญ่), ๒๖๙๐/๕๕)
เฉลยปริศนาอักษรไขว้ ประจำ�เดือน ต.ค.๕๙
มีน
ผู้ปกครองต้องมองเห็นโลก ผูเ้ ขียนต้องสูญเสียบุคคลในครอบครัวและคนรูจ้ กั ทีส่ นิทสนมไป ๖ คน ในเวลาไล่เลีย่ กัน คือ พ่อซึง่ จากไปด้วย วัยชรา พี่ชายซึ่งจากไปอย่างกะทันหันด้วยโรคเส้นเลือด ในสมองแตกและน้าทีป่ ว่ ยมานาน กับคนทีร่ จู้ กั สนิทสนมกัน อีก ๓ คน แม้จะยอมรับว่าสิ่งทั้งปวงเป็นไปตามเหตุปัจจัย แต่ก็ยังมีความรู้สึกสูญเสียเหมือนกัน ชีวิตคนเราก็ต้องเป็น แบบนีท้ กุ คน จะเร็วหรือช้าก็เป็นเรือ่ งของเหตุปจั จัยทีเ่ กีย่ วข้อง หรือที่เรียกกันว่าแล้วแต่กรรมที่แต่ละคนทำ�มาตั้งแต่เกิด จนถึงปัจจุบัน (ขอเพียงเท่านี้ ไม่นอกเหนือจากนี้ เพราะ เท่านี้ก็สามารถอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ได้ครบแล้ว) ตาม บ้านนอกนัน้ การจัดงานศพไม่เหมือนกับใน กทม. ซึง่ แต่ละวัน จะมีการสวดเฉพาะตอนเย็นเท่านั้น แต่ต่างจังหวัดจะมี การเลี้ยงพระเช้า กลางวัน และมีการสวดตอนเย็น สำ�หรับ แขกที่มาในงานจะมีอาหารเลี้ยงทั้งเช้า กลางวัน เย็น ทุกวัน
จนกว่ า จะเผา พอสวดเสร็ จ ก็ จ ะมี อ าหารกล่ อ งและ น้ำ�แจก หากจัดงาน ๕ วัน ๗ วัน ก็คูณ ๓ มื้อเข้าไป การ ดูแลพระไม่วุ่นวายเหมือนการดูแลแขกเหรื่อ เพราะเป็น การปิดหมู่บ้านเลี้ยงอาหารกันเลย ผู้เขียนนึกว่ามีแต่ แถวบ้านของผูเ้ ขียนเท่านัน้ แต่เมือ่ ได้พดู คุยกับพรรคพวก เพื่อนฝูง จึงทราบว่าทุกจังหวัดก็คล้าย ๆ กัน ยกเว้นใน ตัวอำ�เภอเมืองบางวัดเท่านัน้ ทีเ่ ริม่ ทำ�อย่างใน กทม. ผูเ้ ขียน มีความเห็นทีแ่ ตกต่างอย่างมากในเรือ่ งนี้ แต่จะไม่ขอกล่าว ในที่นี้ เอาเป็นว่าประเพณีเป็นแบบนี้ก็แล้วกัน ผู้เขียน กลับไปสนใจประเด็นว่า ทำ�ไมเป็นอย่างนี้ และมีอะไรเป็น ข้อดีขอ้ เสียในเรือ่ งนีบ้ า้ ง จากการเดินไปวัดทุกวันก็มองไป คิดไป และสิ่งที่ได้พบก็ต้องยอมรับเลยว่า มีเรื่องดี ๆ อยู่ ในประเพณีนี้มาก จึงเป็นเรื่องที่จะคุยกันในวันนี้
ตุลาคม ๒๕๕๙ คุยกันเรื่องข้อเสียก่อนเลย ต้องยอมรับว่างาน แบบนีใ้ ช้เงินมากจริง ๆ มากอย่างไม่นา่ เสียชีวติ เลย เพราะ การเลีย้ งอาหารคนทัง้ หมูบ่ า้ น โดยไม่รวู้ า่ ใครจะมาหรือไม่มา ในเวลาใดบ้างนั้น มันคาดเดาไม่ถูกจริง ๆ จึงต้องมีการ ทำ�อาหารเผื่อไว้เยอะ ๆ เหลือก็ตักใส่ถุงให้เอากลับไป รับประทานกันที่บ้านอีก ถือว่าเป็นการทำ�บุญ และทำ�ทาน ไปในเวลาเดียวกัน การแจกอาหารกล่องเหมือนวัดใน กทม. น่าจะง่ายกว่ากันเยอะ ข้อเสียอีกข้อหนึง่ ก็คอื บางแห่งหรือหลาย ๆ แห่ง ในชนบท มีการเล่นการพนันและดืม่ สุรา เครือ่ งดองของเมา กันในงาน เจ้าภาพต้องเลีย้ งดูเหล้ายาปลาปิง้ กันจนจบงาน ทีจ่ ริงข้อเสียสองข้อนีก้ ใ็ หญ่เพียงพอทีจ่ ะเลิกประเพณีแบบนี้ ไปได้แล้ว แต่มันเลิกไม่ได้ เพราะมันมีข้อดีปนอยู่ด้วยใน ทุก ๆ ช่วงเวลา ทีนี้เราลองมาดูข้อดีของประเพณีแบบนี้ กันบ้าง ๑. คนเราก่อนจะเสียชีวิต ส่วนใหญ่ก็จะมีการ เจ็บป่วยก่อน หากไปอยู่โรงพยาบาลก็มีผู้มาเยี่ยมเยียน ให้กำ�ลังใจกัน คนในเมืองนั้นนอกจากญาติพี่น้องแล้วก็ จะมีผู้ร่วมงานบ้าง เพื่อนร่วมรุ่น ร่วมสถาบัน แวะเวียน กันมาเยี่ยมเยียน แต่คนบ้านนอกทำ�ไร่ ทำ�นา ทำ�สวน ไม่มีเพื่อนร่วมรุ่นร่วมงาน มีแต่ต้นข้าว ต้นมะพร้าว ต้นเงาะ ต้นมังคุด สวนยาง และเพือ่ นร่วมทำ�นาทำ�สวนทีอ่ ยูล่ ะแวก เดียวกัน เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยก็นอนอยู่บ้านรักษาแบบไทย ๆ ใช้ยาหม้อ ยาต้ม หรือยาหมอตี๋ เป็นส่วนใหญ่ และคน
ข่าวทหารอากาศ ๘๗ ในหมู่บ้านมักจะมาเยี่ยมเยียนกันต่อเมื่อรู้ข่าวว่าใคร เจ็บไข้ได้ป่วย ขนาดบางครั้งต้องไปรักษาพยาบาลอยู่ที่ โรงพยาบาลในจังหวัดใกล้เคียง ก็ยังมีเพื่อนฝูงผู้ที่ชอบพอ ขับรถหรือยอมลงทุนเช่ารถตามไปเยี่ยมให้กำ�ลังใจกันถึง โรงพยาบาล ผู้เขียนลองนึกดูว่าทำ�ไมถึงเป็นแบบนั้น ก็ได้ คำ�ตอบว่า อาจจะเป็นเพราะการต่อสูเ้ พือ่ ดำ�รงชีวติ ในชนบท ทำ�ไร่ ทำ�นา ทำ�สวน ผู้คนในหมู่บ้านจะต้องร่วมแรงร่วมใจ กัน ทำ�ให้มีความผูกพันกันเหนียวแน่น พวกเขาต้องต่อสู้ กับภัยธรรมชาติร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฝนแล้ง น้ำ�ท่วม ไฟป่า หรือพายุ ล้วนเป็นปัญหาใหญ่เกินกว่าที่ใครจะต่อสู้ ได้เพียงลำ�พัง หากพายุพัดมาทำ�ให้บ้านช่องพัง พวกเขาก็ ช่วยกันซ่อม ใครเดือดร้อนมากก็ช่วยกันก่อน เดือดร้อน น้อยก็ชว่ ยทีหลัง ไฟป่ามาก็ชว่ ยกันดับ ชาวบ้านจึงมีความ ผูกพันในความเป็นอยูร่ ว่ มกัน ใครเจ็บใครป่วยก็ชว่ ยกันดูแล มันไม่มีเหตุผลอื่นจริง ๆ ที่พวกเขาจะเช่ารถไปเยี่ยมเพื่อน บ้านที่เจ็บป่วยอยู่ที่โรงพยาบาลไกล ๆ เป็น ๑๐๐ กม. แต่ พวกเขาก็ทำ�กันเป็นเรื่องปกติ ๒. เมื่อถึงคราวที่เกิดมีคนเสียชีวิตขึ้นมา เขาไม่มี ฌาปนกิจสงเคราะห์มาจัดการให้ทกุ อย่างเป็นเรือ่ งทีเ่ พือ่ นบ้าน จะเข้ามาช่วยกัน ผูเ้ ฒ่าผูแ้ ก่มาจัดการอาบน� ้ำ แต่งตัว บรรจุโลง พวกเขาจะทำ�กันเอง อย่างเก่งก็ไปตามสัปเหร่อมาช่วย ซึง่ สัปเหร่อก็เป็นคนในหมูบ่ า้ นนัน่ เอง พวกเขาจะมาช่วยจัดการ เรื่องต่าง ๆ ให้ เพราะญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตก็เสียใจกับ เรื่องที่เกิดขึ้นมากพออยู่แล้ว จะเอาแรงที่ไหนมาทำ�
๘๘ ข่าวทหารอากาศ ๓. ไปวัด เมื่อจัดการทุกอย่างแล้ว ก็ต้องไปคุยกับ หลวงพ่อที่วัด เพราะเหตุนี้ทุกหมู่บ้านจึงมีวัด มีศาลาเพื่อ ประกอบพิธีการทางศาสนาต่าง ๆ ใครอยากจะจัดงานศพ ที่บ้านก็ต้องคุยกับหลวงพ่อเรื่องการสวดศพ ซึ่งการสวดใน บางครัง้ อาจมีหลาย ๆ งานพร้อมกัน หากพระทีว่ ดั ในหมูบ่ า้ น มีไม่พอก็ต้องมีการติดต่อนิมนต์พระจากวัดในหมู่บ้าน ใกล้เคียงมาช่วย เมื่อมีผู้คนมาช่วยกันจัดการเรื่องต่าง ๆ ก็ ต้องมีการเลี้ยงข้าวปลาอาหารกัน ซึ่งจะไม่เลี้ยงก็คงไม่ได้ เพราะคนมาช่วยก็หิวเหมือนกัน จะให้ไปทานกันที่ไหน จึง เป็นที่มาของการเลี้ยงอาหารให้แก่ผู้คนที่มาในงานทุกมื้อ ๔. พิธีสวด คนบ้านนอกส่วนใหญ่ทำ�ไร่ ทำ�นา ทำ� สวน ช่วงว่างของเขาก็คือ ช่วงพักทานข้าว เช้า กลางวัน เย็น หลายคนจึงถือโอกาสมาร่วมงานศพในช่วงทีพ่ กั นี้ จึงมี ธรรมเนียมการเลีย้ งข้าวปลาอาหารให้แก่ผทู้ มี่ าร่วมงานกัน ทั้งสามมื้อดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ทำ�ให้ง่ายคือ ใครมาเวลาใด ก็ได้ตามสะดวก ๕. การเตรียมอาหาร หากจัดงานทีว่ ดั วัดส่วนใหญ่ ก็จะมีโรงครัว มีถ้วยชาม จาน ช้อน ถาด เตา หม้อ กระทะ ของวัด หากไปจัดที่บ้านก็ต้องยืมอุปกรณ์การทำ�ครัวต่าง ๆ นี้จากวัด วัดจึงต้องมีสิ่งเหล่านี้ไว้ครบถ้วน ซึ่งส่วนใหญ่ก็ได้ มาจากการบริจาคของชาวบ้านในหมูบ่ า้ นนัน่ เอง แล้วใครจะ เป็นคนทำ�อาหาร แต่ละงานเจ้าภาพก็จะต้องหาแม่ครัวและ ลูกมือซึ่งก็เป็นคนในหมู่บ้าน ทั้งคนแก่ คนหนุ่ม คนสาว ในหมู่บ้านมาช่วยกัน ก่อเตาไฟ ตำ�น้ำ�พริก ขูดมะพร้าว
ตุลาคม ๒๕๕๙ ล้างผัก ล้างจาน หั่นผัก ปรุงอาหาร จัดโต๊ะเก้าอี้ ฯลฯ มีการแบ่งงานกัน ทำ�ตามความถนัด ทำ�ไปก็พูดคุยกัน ไปถามสารทุกข์สุขดิบกันไป บ้างก็หยอกเย้ากันไป เป็น สังคม เป็นโรงเรียน เป็นที่ฝึกงานของคนรุ่นต่อ ๆ ไปใน หมู่บ้านได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนนั่งมองแล้วประทับใจมาก เมื่อทำ�อาหารเสร็จ ผู้หญิงจะเตรียมสำ�รับอาหารสำ�หรับ ถวายพระ ซึ่งแบ่งเป็นสำ�รับของคาว สำ�รับของหวาน และผลไม้ พวกเด็กหนุ่ม ๆ ก็จะช่วยกันยกสำ�รับอาหาร ไปเตรียมไว้ถวายพระ ทุกคนได้ฝึกงานกันถ้วนหน้า เมื่อ พระฉันเสร็จ ก็ถึงเวลาที่ชาวบ้านที่มาร่วมงานจะได้ทาน อาหารร่วมกันบ้าง เมื่อทานเสร็จ การเก็บล้างก็เป็นงาน ใหญ่ทตี่ ามมา แต่เขาก็แบ่งงานกันทำ�และช่วยกันทำ�อย่าง ไม่บกพร่อง เป็นอย่างนี้ทุก ๆ มื้อ จนเสร็จงาน ซึ่งอาจจะ เป็น ๓ วันหรือ ๕ วันก็แล้วแต่เจ้าภาพ ซึ่งก็นับว่าเป็น โชคดีของเด็ก ๆ ในหมู่บ้านที่ได้ฝึกงาน ได้ช่วยเหลือกัน และเข้าใจงานของสังคมได้เป็นอย่างดี ๖. เปรตก็มา งานอย่างนี้ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเป็น คนดี เป็นคนเสียสละไปเสียหมด หลายคนทำ�จนเบื่อ หลายคนทำ�ด้วยความสนุก หลายคนมาเพือ่ หาประโยชน์ แต่ก็มีอีกหลาย ๆ คนที่ไม่ช่วยทำ�อะไรทั้งนั้น มาเพื่อ ทานอย่างเดียว มาทุกมือ้ อาหาร ไม่สนใจพระเจ้าอะไรทัง้ นัน้ แต่ชาวบ้านเขาก็ไม่แสดงความรังเกียจกัน ผูเ้ ขียนเห็น เขาเฉย ๆ กับคนเหล่านี้ จะเห็นได้ว่าคำ�สอนของศาสนา ก็จะมีเปรตอยูใ่ นทุก ๆ คำ�สอน มองกันให้ดี ๆ สังคมมนุษย์ ก็เป็นอย่างนี้มาตลอดเวลาหลายหมื่นปี จนเป็นที่ยอมรับ กันว่า ในสังคมคนแต่ละคนพัฒนาจิตใจได้ไม่เท่ากันแต่ก็ สามารถอยู่ร่วมกันได้ ๗. นักการเมืองก็มา ที่ไหนมีงานศพที่นั่นจะ มีนักการเมืองระดับต่าง ๆ ทั้งระดับท้องถิ่น และระดับ จังหวัดแล้วแต่หน้าตาของเจ้าภาพ ในทุก ๆ งานศพใน ตำ�บล ในหมู่บ้านไหน ๆ จะเป็นสูตรสำ�เร็จที่นักการเมือง ระดับต่าง ๆ จะมาฝึกงาน พบปะชาวบ้าน มาหาเสียง หาข้อมูล หาช่องทางและหาโอกาส งานอื่นพลาดได้ แต่ งานศพพวกเขาไม่เคยพลาด
ตุลาคม ๒๕๕๙ ๘. พิธีย้ายศพ ในการนำ�ศพขึ้นเมรุนั้น หลาย ๆ พืน้ ทีย่ งั ใช้วธิ ใี ห้คนแบกโลงศพ ซึง่ ส่วนใหญ่กจ็ ะให้เด็กหนุม่ ในหมูบ่ า้ นทีแ่ ข็งแรงได้แสดงความเข้มแข็งและความกล้าหาญ ในการทำ�งานนี้ ๙. พิธที อดผ้าบังสุกลุ เป็นงานพิธที ลี่ ะเอียดอ่อน มาก ผูเ้ ขียนไปร่วมพิธแี ละเป็นประธานทอดผ้าบังสุกลุ อยู่ บ่อย ๆ โดยไม่รู้สึกอะไร เพราะผู้ใต้บังคับบัญชาเขาเชิญ ไปเป็นเกียรติให้เขา แต่พองานของญาติตวั เองรูส้ กึ วุน่ วาย พอสมควรต้องถามผู้เฒ่าผู้แก่กันเลยว่าจะเรียงลำ�ดับใคร ก่อนหลัง เพราะในหมู่บ้านมีผู้อาวุโสหลายท่าน หากทำ� ผิดลำ�ดับจะขัดใจกันได้ง่าย ๆ ๑๐. การเผาจริงและการเก็บกระดูก เป็นงานของ ญาติพี่น้องผู้เสียชีวิตกับสัปเหร่อ และพระที่วัด หลายแห่ง
ข่าวทหารอากาศ ๘๙ นำ�เถ้าถ่านไปลอยอังคาร แต่ผู้เขียนได้รับคำ�แนะนำ�จาก พระให้นำ�เถ้าถ่านไปใส่ต้นไม้ที่ผู้เสียชีวิตชอบหรือปลูกไว้ ให้งอกงามออกดอกออกผล เป็นการกลับคืนสู่ธรรมชาติ อีกครั้งของผู้เสียชีวิต ๑๑. งานหลวง ในจำ�นวนผู้ที่จากไปนี้มีผู้ที่ได้รับ พระราชทานเพลิงศพ โดยสำ�นักพระราชวังมาจัดการให้ ตั้งแต่พระราชทานน้ำ�หลวงอาบศพ การบรรจุโลงศพ การ ติดตั้งโกศ และเครื่องประดับโกศ รวมทั้งรับเป็นเจ้าภาพ งานสวด ซึ่งทำ�ให้ผู้เขียนได้ทราบว่า ถ้าเราจะจัดงานเท่าที่ สำ�นักพระราชวังรับเป็นเจ้าภาพ และพระราชทานเพลิงศพ ในวันต่อไปเลย ทางสำ�นักพระราชวังก็จะจัดการให้จนเสร็จ โดยที่ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงไม่ต้องเป็นเจ้าภาพเลย เป็นความรู้ ที่น่าศึกษาอีกเรื่องหนึ่ง
ทั้งหมดที่ผู้เขียนเล่ามาคือ วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น ในเรื่องของงานศพ ยังมีประเพณีของไทยอีกมากมาย ทั้งงานแต่งงาน งานบวช งานขึ้นบ้านใหม่ ทำ�บุญเลี้ยงพระ รวมไปถึงประเพณีใหญ่ ๆ เช่น ออกพรรษา สงกรานต์ ตรุษจีน ตรุษไทย ฯลฯ การเรียนรู้และทำ�ความเข้าใจให้ลึกซึ้ง นับเป็นเรื่องที่สำ�คัญเพราะการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น ละเอียดอ่อนยิ่งนัก การที่จะให้ข้าราชการแต่ละระดับทุ่มเททำ�งานให้กองทัพอากาศ ผู้บังคับบัญชาต้องดูแลพวกเขา ด้วยความเข้าใจในวิถีชีวิตอย่างแท้จริง ดังคำ�ที่ว่า “ผู้ปกครองต้องมองเห็นโลก”
ีมรางวัล
แบบสอบถามความพึงพอใจ หนังสือข่าวทหารอากาศ
คำ�ชี้แจง แบบสอบถามฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำ�รวจความพึงพอใจและนำ�ผลการสำ�รวจมาใช้ในการพัฒนาปรับปรุง หนังสือข่าวทหารอากาศ (กรุณาใส่เครื่องหมาย ในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่าน) ยศ - ชือ่ - สกุล .................................................... อายุ.............. ปี หน่วยงาน ................................................ โทรศัพท์ .........................
๑. ท่านติดตามหนังสือข่าวทหารอากาศจากแหล่งใด (ตอบได้มากกว่า ๑ ข้อ) หนังสือข่าวทหารอากาศ www.airforcemagazine.rtaf.mi.th ๒. แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือข่าวทหารอากาศ ระดับความพึงพอใจ หัวข้อการประเมิน มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย (๕)
(๔)
(๓)
(๒)
น้อยที่สุด (๑)
ด้านรูปแบบ
๑. การจัดรูปแบบมีความเหมาะสม ทันสมัย ๒. การออกแบบมีสีสัน สวยงาม น่าอ่าน ๓. ขนาดและตัวอักษรชัดเจน อ่านง่าย ๔. ภาพและเนื้อหามีความสัมพันธ์กัน
ด้านเนื้อหา
๕. ข้อมูลถูกต้อง น่าเชื่อถือ ทันสมัย และทันเหตุการณ์ ๖. มีความหลากหลาย ครอบคลุมในทุกด้าน ๗. การใช้ภาษาและคำ�สะกดถูกต้องตามหลักพจนานุกรม ๘. เพิ่มพูนความรู้และสามารถนำ�ไปใช้ประโยชน์ได้
๓. ท่านได้นำ�ข้อมูลที่ได้จากหนังสือข่าวทหารอากาศไปใช้ประโยชน์อย่างไร (ตอบได้มากกว่า ๑ ข้อ) ใช้เป็นแนวทางในการดำ�เนินชีวิต ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง (อภิปราย/รายงาน/การเรียนการสอน ฯลฯ) ใช้ในการทำ�งาน อื่น ๆ (ระบุ) .............................................................................. ๔. ท่านชื่นชอบบทความด้านใด (สถาบันพระมหากษัตริย์ กิจการ ทอ. วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การทหาร การศึกษา/วิชาการ และสังคมจิตวิทยา) ............................................................................................................................. ...................................................................................................................................................................................................... ๕. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ............................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................................................................... ขอขอบคุณที่กรุณาให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อหนังสือข่าวทหารอากาศ กรุณาส่งแบบสอบถามคืนที่สำ�นักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ หอสมุดกองทัพอากาศ โทรสาร ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑ หรือ สามารถตอบแบบสอบถามได้ที่ www.airforcemagazine.rtaf.mi.th หมายเหตุ ผู้ตอบแบบสอบถาม มีสิทธิ์รับรางวัล สมุดบันทึกประจำ�วันทหารอากาศ ปี ๒๕๖๐ จำ�นวน ๑ ชุด (๑ ชุด มี ๒ เล่ม) โดยวิธีจับสลาก ๑๕ รางวัล ส่งแบบสอบถามภายใน ๓๑ ต.ค.๕๙ ผู้ส่งแบบสอบถามสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้รับรางวัลได้ที่ หนังสือข่าวทหารอากาศ ฉบับเดือน ธ.ค.๕๙ หรือ www.airforcemagazine.rtaf.mi.th
พล.อ.สมหมาย เกาฏีระ ผบ.ทสส. เปนประธานในการประชุม ผบ.เหลาทัพ ครั้งที่ ๖ ประจำปงบประมาณ ๒๕๕๙ โดยมี พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง ผบ.ทอ. พรอมดวย ผบ.ทบ. ผบ.ทร. และ ผบ.ตร. เขารวมประชุม ณ หองประชุม บก.ทท. เมื่อ ๒ ก.ย.๕๙
พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง ผบ.ทอ. เขารวมการประชุม ผบ.ทอ. อาเซียน ครั้งที่ ๑๓ ในหัวขอ “แนวทางปฏิบัติทางอากาศเพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค (ASEAN AIR DIPLOMACY TO MAINTAIN REGIONAL PEACE AND SECURITY)” โดย ทอ.อินโดนีเซีย เปนเจาภาพ ณ เมือง YOGYAKARTA สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ระหวาง ๖ - ๘ ก.ย.๕๙
พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง ผบ.ทอ. เปนประธานในพิธีประดับเครื่องหมายความสามารถในการบิน ทอ. และมอบประกาศนียบัตรนักบินประจำกอง แกศิษยการบิน น.สัญญาบัตร รุนที่ ๑๓๗-๕๘-๑ ที่สำเร็จการฝกอบรมตามหลักสูตรศิษยการบิน จำนวน ๓๒ คน ณ หองรับรอง ทอ. เมื่อ ๕ ก.ย.๕๙
พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง ผบ.ทอ. ตรวจเยี่ยมอำลา นขต.ทอ. นอกที่ตั้ง ดม. ตามกองบินตาง ๆ และ รร.การบิน เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ โดยมี ผบ.กองบิน และ ผบ.รร.การบิน ใหการตอนรับ
พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง ผบ.ทอ. รับการแสดงความขอบคุณจากคณะนายทหารที่ไดรับโปรดเกลาฯ พระราชทานยศสูงขึ้น โดยมี พล.อ.อ.จอม รุงสวาง เสธ.ทอ. เปนผูแทนมอบ ณ หองรับรอง ทอ. เมื่อ ๑๒ ก.ย.๕๙
พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง ผบ.ทอ. มอบรางวัลใหแก นขต.ทอ.ทีม่ ผี ลการปฏิบตั ริ าชการตามคำรับรอง การปฏิบตั ริ าชการของ นขต.ทอ. ประจำป ๒๕๕๙ โดยมอบรางวัลหนวยงานดีเดนกองทัพอากาศ ใหแก รร.การบิน และมอบประกาศนียบัตรหนวยงานระดับดีกองทัพอากาศ ใหแก พธ.ทอ. บน.๔ และ สน.ผบ.ดม. ในการประชุม ทอ. ครัง้ ที่ ๘/๕๙ ณ หองประชุม ทอ. เมือ่ ๓๑ ส.ค.๕๙
พล.อ.อ.วัธน มณีนยั รอง ผบ.ทอ. ใหการตอนรับ Dato’ Sri Mohammad Najib bin Tun Abdul Razak นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอยางเปนทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาลเพือ่ เขารวมการประชุมประจำประหวางนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี มาเลเซีย ครัง้ ที่ ๖ ณ ทอท.๒ บน.๖ เมื่อ ๘ ก.ย.๕๙
พล.อ.อ.นิทัศน ศิริมาศ หน.คณะ ฝสธ.ประจำ ผบช./ประธานกรรมการตรวจรับพัสดุ พรอมกรรมการตรวจรับพัสดุรวมในการตรวจรับขั้นสุดทาย (Final Acceptance) กับ บริษัท Boeing และบริษัท Fokker Services เพื่อตรวจสอบการตกแตงภายในของเครื่องบิน แบบ Boeing 737-800 ณ ราชอาณาจักรเนเธอรแลนด ระหวาง ๒๐ - ๒๖ ส.ค.๕๙
พล.อ.ท.ณัฐพงษ วิรยิ ะคุปต จก.กร.ทอ. ใหการตอนรับ Dr. phil. Anne Schulz Senior Academic Director ผูอำนวยการอาวุโสฝายวิชาการ การสื่อสารและประชาสัมพันธ ศูนยกิจการสาธารณะ กองทัพสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี พรอมคณะ เยีย่ มชมกิจการดานการสือ่ สารและประชาสัมพันธ กร.ทอ. ตามโครงการความรวมมือทวิภาคระหวาง กห. - กห.สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี ประจำป ๒๕๕๙ เมื่อ ๖ ก.ย.๕๙
พล.อ.ท.ภานุพงศ เสยยงคะ จก.ยก.ทอ. ประดับเครือ่ งหมาย “ครึง่ ปก” ศิษยการบินชัน้ มัธยม ฝูงบิน ๖๐๔ บน.๖ ใหแก ร.ต.หญิง ชลนิสา สุภาวรรณพงศ และ ร.ต.หญิง สิรธี ร ลาวัณยเสถียร ศิษยการบินหญิง ทอ. ซึง่ ทำการบินเดีย่ วดวยเครือ่ งบิน CT4B หรือ บฝ.แบบที่ ๑๖ ณ บน.๖ เมือ่ ๕ ก.ย.๕๙
พล.อ.ท.ฌเณศ ชลิตภิรตั ิ จก.ยศ.ทอ. พรอมคณะ ตรวจเยีย่ มการฝกการบริหารสถานการณวกิ ฤติ ในระดับยุทธศาสตร ของ นศ.วทอ.รุน ที่ ๕๐ ปการศึกษา ๒๕๕๙ โดยมี พล.อ.ต.นอย ภาคเพิม่ ผบ.วทอ.ยศ.ทอ. ใหการตอนรับ ณ อาคาร Maintenance บน.๑ เมือ่ ๖ ก.ย.๕๙
น.อ.พลวัตร อินทรวิเศษ ผบ.กรม.นนอ.รอ.รร.นนก. เปนประธานในพิธีปดการฝกความพรอม ปฏิบัติหนาที่ นนอ.ผูบังคับบัญชาใหกับ นนอ.ชั้นปที่ ๔ รุนที่ ๖๑ เมื่อ ๘ ก.ย.๕๙
พล.อ.ท.ชาญฤทธิ์ พลิกานนท ผบ.อย. เปนประธานในการเปดการสัมมนาสายวิทยาการ อย. ครั้งที่ ๓/๕๙ โดยมี หน.นขต.อย.และ ผบ.พัน อย. ทั้งที่ตั้งดอนเมือง.และ ผบ.พัน.อย. บน.ตางจังหวัด เขารวมสัมมนาฯ ณ โรงแรมเจาพระยาปารค รัชดา กรุงเทพฯ เมือ่ ๑๔ ก.ย.๕๙
น.อ.ยุทธนา สุรเชษฐพงษ ผบ.กรม สห.ทอ.สน.ผบ.ดม./เลขานุการอนุกรรมการดานการ ปราบปรามและการขาวศูนยอำนวยการปองกันและปราบปรามยาเสพติด ทอ. พรอมคณะ ตรวจเยีย่ มศูนยปฏิบตั กิ ารปองกันและปราบปรามยาเสพติด บน.๒๑ โดยมี น.อ.นิสติ โขเมษฐวัฒน ผบ.บน.๒๑ ใหการตอนรับ ณ หองประชุมนภาอาสน เมื่อ ๑๒ ก.ย.๕๙
น.อ.สรวิชญ สุรกุล ผบ.บน.๕ เขารับมอบเครือ่ งหมายรับรองมาตรฐานการทองเทีย่ วไทย ประจำป ๒๕๕๘ ซึง่ บน.๕ เปนสถานประกอบการรับรองมาตรฐานแหลงทองเทีย่ วทางธรรมชาติ ประเภท ชายหาดดีเดน จาก คุณกอบกาญจน วัฒนวรางกูร รมว.กก. ณ หองบางกอกคอนเวนชัน่ เซ็นเตอร โรงแรมเซ็นทารา แกรนด แอท เซ็นทรัลเวิลด กรุงเทพฯ เมือ่ ๕ ก.ย.๕๙