หนังสือข่าวทหารอากาศ ฉบับเดือน ธันวาคม 2561

Page 1


บทอาเศียรวาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๑

ถึงห้าธันวาคมอุดมรัตน์ ราชสมภพจอมกษัตริย์มหัศจรรย์ องค์นวมินทร์ปิ่นกษัตริย์จรัสศรี พระเสด็จจากสวรรค์ชั้นบวร เพื่อบ�ำเพ็ญบารมีที่เลิศล�้ำ คือพ้นจากยากจนพ้นทุกข์ภัย ทรงเป็นปราชญ์ธาตุดินสินประสิทธิ์ ให้อยู่ดีมีกินสินพอเพียง ปราชญ์เรื่องน�้ำล�้ำกุศลผลประเสริฐ เขื่อนต่างต่างสร้างประโยชน์โชติตระการ พระคุณมีมากมายหลายสถาน ไทยทุกคนต่างเรียกพ่อด้วยพอใจ ห้าธันวาคมเวียนมาในครานี้ เป็นวันพ่อของปวงชนดลบันดาล ขอคุณพระไตรรัตน์จรัสศรี โปรดคุ้มครองพ่อหลวงในดวงใจ

วันประวัติชาติไทยไม่แปรผัน ปวงเทวัญสรรเสริญเจริญพร พระบารมีมากมายมิถ่ายถอน พร้อมพระพรอันประสิทธิ์ติดพระทัย ทรงน�ำชาติชนพ้นเงื่อนไข บรรลุถึงเส้นชัยใจพอเพียง พลิกวิกฤตปวงประชาพาแท้เที่ยง ดุจชุบเลี้ยงปวงประชาไปช้านาน ไทยต่างเทิดพระคุณบุญไพศาล เป็นผลงานในพระคุณบุญชาติไทย เกินจดจารลงสมุดสุดวิสัย เทิดพ่อหลวงในดวงใจไปเนิ่นนาน ต่างภักดีเรียกวันพ่อข้อกล่าวขาน สุขไพศาลแก่ไทยไม่เสื่อมคลาย เทพทั่วฟ้าราตรีอสงไขย สถิตใดคุ้มครององค์จงนิรันดร์

ปวงข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้าคณะผู้จัดท�ำหนังสือข่าว ทอ. น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ผู้ประพันธ์


บทอาเศียรวาท พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิตยิ าภา ๗ ธันวาคม ๒๕๖๑

พระองค์หญิงที่สวรรค์สุดสรรหา งามจากฟ้าสู่ไทยวิไลวรรณ เป็นพระเจ้าหลานเธอผู้เลอลักษณ์ พระบารมีเลิศล้นท้นอุรา พระมีบุญวาสนามาก�ำเนิด พระกรุณาสดใสในฤดี ราชกิจทุกจุดสุดล�้ำเลิศ ไม่ว่าเสด็จไปที่ใดใด องค์พัชรกิติยาภา เป็นมิ่งขวัญชาติไทยในพระคุณ พระนัดดาพระนวมินทร์ปิ่นกษัตริย์ เป็นมิ่งขวัญปวงประชาเป็นอาจิณ เจ็ดธันวาเวียนมาในคราสมัย ต่างตั้งจิตเทิดมั่นอัญชลี ขอคุณพระไตรรัตน์จรัสขวัญ โปรดคุ้มครองพระองค์ภาเป็นยาใจ

เสด็จมาสู่ไทยในมิ่งขวัญ พระองค์นั้นมั่นคงพระองค์ภา เกียรติศักดิ์เกียรติคุณจรูญค่า ปวงประชาจงรักและภักดี ก่อเกิดพระปรีชาสมราศี พระกรณีย์มีคุณบุญชาติไทย ทั้งเกิดประโยชน์สุขทุกสมัย ประโยชน์ให้แก่ชาติพิลาสคุณ งามสง่าสมพระนามความเกื้อหนุน ด้วยมีบุญบารมีศรีแผ่นดิน งามจรัสตามพระบาทชาติถวิล ทั่วแผ่นดินเทิดทูนพูนทวี ทุกดวงใจมั่นคงตรงราศี เพื่อเทิดทูนพระบารมีศรีชาติไทย ปวงเทวัญทุกทิศประสิทธิ์ใส ทุกกาลสมัยขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้จัดท�ำหนังสือข่าว ทอ. น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ผู้ประพันธ์


4

๕ธันวาคม

“วันดินโลก” กองทัพอากาศกับโครงการ พระราชด�ำริฝนหลวง คุณรู้หรือไม่ว่า วันที่ ๕ ธันวาคม นั้นเป็น “วันดินโลก” หรือ World Soil Day มาตั้งแต่ปี พุทธศักราช ๒๕๕๘ สืบเนือ่ งมาจากทีป่ ระชุมขององค์การอาหาร และการเกษตรแห่ ง สหประชาชาติ Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO) ครั้งที่ ๑๔๔ ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๕ ณ ส�ำนักงานใหญ่องค์การเกษตร และอาหารแห่งสหประชาชาติ กรุงโรม ประเทศอิตาลี ได้มีมติสนับสนุนและร่วมกันผลักดันให้มีการจัดตั้ง “วันดินโลก” ขึ้นตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี ซึง่ ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เพือ่ ร่วมเชิดชูพระอัจฉริยภาพด้าน การอนุรกั ษ์ และพัฒนาทรัพยากรดินของพระองค์ทา่ น ทีท่ รงปฏิบตั พิ ระราชกรณียกิจเกีย่ วกับการพัฒนาทีด่ นิ มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ปรากฏผลส�ำเร็จเป็นที่ ประจักษ์อย่างกว้างขวางทัง้ ในประเทศและนานาชาติ โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สตีเฟน นอร์ตคลิฟฟ์ (Emeritus Professor Dr.Stephen Nortcliff) กรรมการบริหารสหภาพวิทยาศาสตร์ทาง

ภาพศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สตีเฟน นอร์ตคลิฟฟ์ (Emeritus Professor Dr.Stephen Nortcliff) กรรมการบริหารสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม (The Humanitarian Soil Scientist)

ดินนานาชาติ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้า ทูลกระหม่อม ถวายรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อ มนุษยธรรม (The Humanitarian Soil Scientist) เป็นพระองค์แรกของโลก เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๖ และขอพระบรมราชานุญาต ให้วันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปีเป็น “วันดินโลก” โดยได้ ป ระกาศให้ ปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๕๘ เป็ น “ปีดินสากล” อย่างเป็นทางการ เพื่อยกระดับให้ “วันดินโลก” เป็นที่รู้จักแพร่หลายในระดับนานาชาติ


ข่าวทหารอากาศ

และให้ ช าวโลกได้ ต ระหนั ก ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของ ทรัพยากรดินที่มีต่อความมั่นคงทางอาหารของโลก โครงการพระราชด� ำ ริ ข องในหลวง รัชกาลที่ ๙ เพื่อแก้ปัญหาดิน ทั้งดินเปรี้ยว ดินลูกรัง ดินดาน ดินเค็ม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของการท�ำเกษตร นัน้ มีหลายโครงการด้วยกัน ซึง่ ล้วนแล้วแต่ฉายให้เห็น พระอัจฉริยภาพในการพัฒนาดินของพระองค์ท่าน อย่างแท้จริง นี่คือหนึ่งในหลายโครงการที่ยังเป็น คุณแก่แผ่นดินและผืนโลกจนทุกวันนี้

๑. “หญ้าแฝก” ก�ำแพงมีชีวิตพิทักษ์หน้าดิน

การอนุรกั ษ์ดนิ และฟืน้ ฟูพนื้ ทีด่ นิ เสือ่ มสภาพ ที่มีความลาดชันของไทย เช่น พื้นที่เชิงเขา ซึ่งเกิดจาก การชะล้างพังทลายของดิน จนดินสูญเสียธาตุอาหาร ขาดความอุ ด มสมบู ร ณ์ ข องดิ น พระบาทสมเด็ จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชด�ำริในการที่จะป้องกันการเสื่อมโทรม และการพังทลายของดินโดยใช้วถิ ธี รรมชาติ คือการใช้ หญ้าแฝก ซึ่งเป็นวิธีการแบบง่าย ๆ ประหยัด ที่ส�ำคัญ เกษตรกรสามารถท�ำได้เอง อย่างที่พระองค์ท่าน ทรงเน้นเสมอว่า กระบวนการพัฒนาดินนัน้ ประชาชน ที่ได้รับประโยชน์ ควรมีส่วนร่วมและลงมือลงแรงด้วย ตัวอย่างโครงการที่น�ำแนวพระราชด�ำริ เรื่องหญ้าแฝกไปใช้ เช่น โครงการฟื้นฟูดินเสื่อมโทรม

เขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี และ โครงการพัฒนาหญ้าแฝกในโครงการพัฒนาดอยตุง เป็นต้น

5


6

๒.“ทฤษฎีการแกล้งดิน” แก้ดินเปรี้ยว

อี ก หนึ่ ง ปั ญ หาใหญ่ ข องการเกษตรคื อ ดินเปรี้ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรในจังหวัด นราธิวาส ที่ประสบปัญหาดินเปรี้ยวหนักจนปลูกพืช ไม่ได้ผล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชด�ำริให้ทำ� การ ศึกษาวิจยั และพัฒนาดินพรุ เพือ่ แก้ไขปัญหาดินเปรีย้ ว ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส พระองค์ทรงแนะน�ำให้ใช้วธิ ี “การแกล้งดิน” คือ เริม่ จาก การแกล้งดินให้เปรีย้ วสุดขีด ด้วยการท�ำให้ดนิ แห้งและ เปียกสลับกัน เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดินพรุที่มี สารประกอบของก�ำมะถันทีจ่ ะท�ำให้ดนิ มีสภาพเป็นกรด จัดเมือ่ ดินแห้ง จากนัน้ ก็จงึ ท�ำการปรับปรุงดินทีเ่ ป็นกรด ๓. โครงการศูนย์ศกึ ษาวิชาการฟืน้ ฟูทดี่ นิ เสือ่ มโทรม จัดนัน้ ด้วยวิธกี ารต่าง ๆ ทีจ่ ะลดความเป็นกรดลงมาให้ เขาชะงุ้ม (อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ) จังหวัด ราชบุรี อยูใ่ นระดับทีจ่ ะปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว ฯลฯ เป็นศูนย์ศึกษาวิจัยและสาธิตวิธีการฟื้นฟู ปรับปรุงดินเสือ่ มโทรมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นรูปแบบและส่งเสริมอาชีพ เกษตรกรที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่โครงการ ได้เรียนรู้วิธีการจัดการดิน น�้ำ และพืชอย่างถูกต้อง มีความยั่งยืนไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะท�ำให้ เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น


ข่าวทหารอากาศ

๔. โครงการแก้ปญ ั หาดินทรายและดินดาน ทีศ่ นู ย์ ด้านเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์และโคนม รวมทั้ง ศึ ก ษาการพั ฒ นาห้ ว ยทรายอั น เนื่ อ งมาจาก ด้านอุตสาหกรรม เนือ่ งมาจากมีพระราชประสงค์ทจี่ ะ ให้ศนู ย์ศกึ ษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ท�ำหน้าทีเ่ สมือน พระราชด�ำริ จังหวัดเพชรบุรี จากผืนดินที่เคยอุดมสมบูรณ์ แต่ถูกบุกรุก ท�ำลายจนไม่เหลือป่าไม้และสัตว์ป่าในพื้นที่ แล้วยัง ส่งผลให้ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล ผืนดินแห้งแล้ง สภาพ พืน้ ดินเสือ่ มโทรมอย่างหนัก ปลูกพืชผักท�ำการเกษตร ไม่ได้ผล พระองค์ท่านจึงพระราชทานพระราชด�ำริ ให้พัฒนาพื้นที่บริเวณห้วยทราย เป็นศูนย์ศึกษาการ พัฒนาด้านป่าไม้อเนกประสงค์ โดยยึดแนวพระราชด�ำริ ให้ใช้ประโยชน์จากพืน้ ทีใ่ ห้สมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่ และสามารถฟื้นฟูให้มีศักยภาพในการท�ำ เกษตรกรรมและความเป็นอยู่ของประชากรได้อย่าง ต่อเนื่อง

๕. โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้แห่งนี้ พระองค์ท่านได้พระราชทานพระราชด�ำริให้พัฒนา ทรั พ ยากรธรรมชาติ ทั้ ง ด้ า นทรั พ ยากรต้ น น�้ ำ

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ที่ประชาชนจะเข้าไป เรียนรูแ้ ละน�ำไปปฏิบตั ไิ ด้ โดยในด้านดิน มีพระราชด�ำริ ให้ศึกษาพัฒนาสภาพดินในพื้นที่ที่มีความลาดชัน ซึง่ น�ำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ ให้เกิดประโยชน์ตอ่ ประชาชน อย่างสูงสุด โดยได้ท�ำการทดลองปลูกพืชที่เหมาะสม ทดสอบประโยชน์ของดินชนิดนีใ้ นรูปแบบอืน่ ๆ รวมทัง้ ศึกษาความยากง่ายในการชะล้างพังทลายของดิน เพือ่ หาวิธปี อ้ งกัน และเพือ่ ลดผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม ในระยะยาว ส่ ง ผลให้ ป ระชากรได้ มี พื้ น ที่ ท� ำ กิ น ที่ปลูกพืชเลี้ยงชีพและความเป็นอยู่ดีขึ้น

7


8

๖. โครงการชั่งหัวมัน จังหวัดเพชรบุรี

ราชมงคลธัญบุรี และบริษทั พระพายเทคโนโลยี จ�ำกัด จากพื้นดินกลางหุบเขาที่แห้งแล้งเพราะ ร่วมกันออกแบบติดตั้งกังหันลมและระบบจ�ำหน่าย เจ้าของเดิมปลูกต้นยูคาลิปตัสจนเสื่อมโทรม ในหลวง ไฟฟ้า จ�ำนวน ๒๐ ชุด ขนาดก�ำลังผลิตรวม ๕๐ KW รัชกาลที่ ๙ ทรงซื้อที่ดินจ�ำนวน ๒๕๐ ไร่ บริเวณอ่าง เก็บน�้ำหนองเสือ บ้านหนองคอไก่ ต�ำบลเขากระปุก อ�ำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทรงมีพระราชด�ำริ ให้ท�ำเป็นโครงการตัวอย่างด้านการเกษตร รวบรวม พันธุพ์ ชื เศรษฐกิจในพืน้ ทีจ่ งั หวัดเพชรบุรแี ละใกล้เคียง มาปลูกไว้ทนี่ ี่ ปัจจุบนั ได้จดั สรรท�ำการเกษตรแปลงพืช เศรษฐกิจที่ปลูกหลายชนิด อาทิ สับปะรด มะนาว มะพร้าว รวมทั้งมันเทศ นอกเหนือจากพืชเศรษฐกิจ ในพื้นที่ ก็ยังมีการปลูกไม้ผล พืชไร่ และพืชผักต่าง ๆ อาทิ แก้วมังกร ชมพู่เพชร กล้วย ฟักทอง กะเพรา โหระพา พริก ฯลฯ มีแปลงปลูกข้าว ทั้งข้าวเจ้าและ ข้าวเหนียว ปลูกยางพารา โดยทั้งหมดนี้จะเน้นไม่ให้ มีการใช้สารเคมี หรือหากต้องใช้ก็ต้องมีในปริมาณที่ น้อยที่สุด มีฟาร์มโคนม ฟาร์มไก่ และแปลงเกษตรที่ จัดเป็นสวนสวยให้คนที่แวะมาเยี่ยมชม นอกจากนี้ ได้สร้างกังหันลมผลิตไฟฟ้าขาย ให้กบั การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี


ข่าวทหารอากาศ

ได้ รั บ การสนั บ สนุ น งบประมาณบางส่ ว นจาก กองทัพบก และได้รบั พระราชทานวัวนมจากโครงการ ส่วนพระองค์สวนจิตรลดามาเลี้ยงไว้ที่นี่ โดยใช้พื้นที่ ใต้ กั ง หั น ลมเป็ น พื้ น ที่ ป ลู ก หญ้ า ส� ำ หรั บ เลี้ ย งวั ว ด้านหน้ามีร้านโกลเด้นท์เพลส ซึ่งเป็นร้านขายสินค้า ทางการเกษตรแบบปลอดสารพิษรวมถึงผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ ของโครงการ ๕ ธันวาคมของทุกปี จึงมีความหมาย ความส� ำ คั ญ เหลื อ คณานั บ ทั้ ง เป็ น วั น เฉลิ ม พระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในหลวง รัชกาลที่ ๙ วันพ่อแห่งชาติ และยังเป็น “วันดินโลก” ที่คนไทยล้วนน้อมร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ อันหาทีส่ ดุ มิได้พระองค์ผทู้ รงสถิตอยูใ่ นใจชาวไทย... นิรันดร์

9


10

๒ ๓ ๔ ๑๓ ๑๖ ๒๔ ๓๑ ๓๔ ๓๙ ๔๕ ๔๗ ๕๑ ๕๕ ๖๐ ๖๓ ๖๗ ๗๑ ๗๗ ๗๘ ๘๐ ๘๑ ๘๒ ๘๗ ๘๙

๙๑ ๙๗ ๙๙

สารบัญ

ปี ที่ ๗๙ ฉบั บ ที่ ๑๒ เดื อ นธั น วาคม ๒๕๖๑

อาเศียรวาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ อาเศียรวาท วันคล้ายวันประสูติ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา  น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ บทความ “๕ ธันวาคม วันดินโลก” บทความ “พลเมืองไทย ในวิถีประชาธิปไตย ภายใต้รัฐธรรมนูญ” มัชฌิมา การฝึก SIAM-BHARAT 2018  น.อ.พร้อมรบ จันทร์โฉม Red Eagle อินทรีแดงแผลงฤทธิ์ ตอน “Underwater Man....ภารกิจโหด โหมดใต้น�้ำ”  น.ต.ภฤศพงศ์ ซ้อนแก้ว อย่ากินถั่วในถ้วยนั้น  ว.วิทยา เป้าหมายด้านการศึกษา  น.ท.ไพฑูรย์ บุญศรี ASEAN Anti-Submarine Warfare Helicopters น.อ.พลวัตร อินทรวิเศษ ปริศนาอักษรไขว้ มีน ครูภาษาพาที ตอน การใช้เวลาอยู่ตามล�ำพังอาจส่งผลดีต่อสุขภาพ ของคุณ Le Professeur วิศวกรรมภูมิอากาศ สงครามแห่งอนาคตที่ยากต่อการ ตรวจการณ์ ร.อ.นรพงษ์ เอกหาญกมล ผลงานกลุ่มกิจกรรมที่เสริมสร้างกองทัพอากาศให้เป็นองค์การแห่งการ เรียนรู้ ประจ�ำปี ๒๕๖๑ ประเภทเครื่องมือ KM กลุ่ม เทพประทานธารา วีระกรรม ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ มุมต่างแดน ตอน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม น.อ.หญิง สุพรรณรัศม์ ราชวงศ์ หลักการสร้างวัฒนธรรมการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์ มุมท่องเที่ยว ตอน ทุลักทุเล จาก...ม่อนทูเล จนสุดทางที่..ม่อนคลุย กันตา เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประชาคมอาเซียน โตเกียวสกายทรี  @zilch เฉลย ปริศนาอักษรไขว้  มีน มุมสุขภาพ ธรรมะ ประทีป ตอน ผู้มีความกตัญญู  กอศ.ยศ.ทอ. ขอบฟ้าคุณธรรม ตอน เป็นผู้รู้จักความจน  1261 เวลาการ์ตูน  มีสกรีน ภาษาไทยด้วยใจรัก ตอน พระมหากรุณาธิคณ ุ ด้านภาษาไทย  นวีร์

ภาพข่าว ในรั้วสีเทา Japan Disaster Prevention Day 2 ร.อ.หญิง วิวัสวัน เปล่งวิทยา อุ่นไอรัก คลายความหนาว “สายน�้ำแห่งรัตนโกสินทร์”

๔ ๑๒ ๑๕ ๓๙ ๗๑


บทบรรณาธิการ สวั ส ดี ค รั บ ท่ า นผู ้ อ ่ า นที่ เ คารพทุ ก ท่ า น ในเดือนธันวาคมนี้มีวันส�ำคัญยิ่งส�ำหรับปวงชนชาว ไทยคื อ วั น ที่ ๕ ธั น วาคม ซึ่ ง เดิ ม เป็ น วั น เฉลิ ม พระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระองค์ทรง เป็นมิง่ ขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดมา ทรงบ�ำเพ็ญ พระราชกรณียกิจนานัปการ ในการท�ำนุบำ� รุงบ้านเมือง และบ�ำบัดทุกข์บำ� รุงสุขแก่พสกนิกร โดยมิได้ทรงย่อท้อ ต่อความยากล�ำบากหรืออุปสรรคใด ๆ เพือ่ ทรงน�ำความ มัน่ คงยัง่ ยืน และความก้าวหน้ามาสูป่ ระเทศชาติ แม้วา่ พระองค์จะเสด็จสวรรคตแล้ว แต่ก็ยังทรงเป็นศูนย์ รวมดวงใจ และเป็นทีเ่ คารพสักการะเทิดทูนของปวงชน ชาวไทยอย่างไม่มวี นั เสือ่ มคลาย เพือ่ เป็นการน้อมร�ำลึก ถึงพระมหากรุณาธิคณ ุ ของพระองค์ รัฐบาลได้ประกาศ ให้วนั ที่ ๕ ธันวาคม เป็น “วันชาติ” และ “วันพ่อแห่งชาติ” นอกจากนี้ องค์การอาหารและการเกษตร แห่ง สหประชาชาติยงั ได้มมี ติให้วนั ที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี เป็น “วันดินโลก” เพื่อเทิดเกียรติและร�ำลึกถึง พระอัจฉริยภาพของพระองค์ ที่ทรงเป็นจอมปราชญ์ ด้ า น “ดิ น ” โดยพระราชกรณี ย กิ จ จ� ำ นวนมาก ของพระองค์ทา่ น ต่างมุง่ เน้นไปทีก่ ารพัฒนาทรัพยากร ดินอย่างต่อเนือ่ ง เป็นรูปธรรม ยังผลให้การพัฒนาทีด่ นิ การปรับปรุงดินเสื่อมโทรมและดินที่มีปัญหา ด�ำเนิน ไปในทิศทางที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง แก่เกษตรกร เช่น การปลูกหญ้าแฝก เพือ่ อนุรกั ษ์หน้าดิน และป้องกันการพังทลายของดิน และทฤษฎีแกล้งดิน เพื่อแก้ปัญหาดินเป็นกรด เป็นต้น คณะผู้จัดท�ำ

หนังสือข่าวทหารอากาศ จึงได้อัญเชิญพระบรม ฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร ขึน้ เป็นภาพปกอีกวาระหนึง่ นอกจากนี้ ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันรัฐธรรมนูญ มีความส�ำคัญกล่าวคือ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร สยาม พ.ศ.๒๔๗๕ เพือ่ เป็นหลักในการปกครองประเทศ ให้แก่ประชาชนชาวไทย ต่อมามีการแก้ไขเพิม่ เติมตาม นามประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” ท�ำให้ชื่อ ของรัฐธรรมนูญต้องเปลี่ยนเป็นรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๒ เรื่องเด่นในฉบับ ได้แก่ วันดินโลก, การฝึก SIAM - BHARAT 2018, ASEAN Anti-Submarine Warfare Helicopter, Red Eagle อินทรีแดงแผลงฤทธิ์ ตอน Underwater Man ภารกิจโหดโหมดใต้นำ�้ (ตอนที่ ๑) ผลงานกลุม่ กิจกรรมทีเ่ สริมสร้างกองทัพอากาศ ให้เป็น องค์การแห่งการเรียนรู้ ประจ�ำปี ๒๕๖๑ ประเภท เครือ่ งมือ KM ชือ่ กลุม่ เทพประทานธารา และหลักการ สร้างวัฒนธรรมการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ นอกจากนีย้ งั มีอกี หลายบทความ และคอลัมน์ประจ�ำ ทีน่ า่ สนใจมากมาย เชิญท่านพลิกอ่านได้ตามอัธยาศัย บทบรรณาธิการ 


ข่าวทหารอากาศ คณะผูจ้ ดั ท�ำหนังสือข่าวทหารอากาศ เจ้าของ กองทัพอากาศ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ พล.อ.อ.ม.ร.ว.ศิริพงษ์ ทองใหญ่ พล.อ.อ.ธนนิตย์ เนียมทันต์ พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน

พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ พล.อ.อ.อมร แนวมาลี พล.อ.อ.ปอง มณีศิลป์ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง

ที่ปรึกษา พล.อ.อ.ธงชัย แฉล้มเขตร พล.อ.อ.ศักดิ์พินิต พร้อมเทพ พล.อ.ต.สหัสชัย มาระเนตร

พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร พล.อ.ต.หญิง สุมาลี ฤทธิบุตร

ผู้อ�ำนวยการ/บรรณาธิการ พล.อ.ท.พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย

เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ รองผู้อ�ำนวยการ

พล.อ.ต.ทศวรรณ รัตนแก้วกาญจน์ พล.อ.ต.ฐานัตถ์ จันทร์อ�ำไพ น.อ.กรกฎ ทิมไสว น.อ.สมพร แต้พานิช ผู้ช่วยบรรณาธิการ ผู้จัดการ

พล.อ.ต.ตรีพล อ่องไพฑูรย์

ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการ

น.อ.ธรรมรงค์เดช เจริญสุข น.อ.นินาท มูลจนะบาตร์

น.อ.สมพร แต้พานิช น.อ.อภิรัตน์ รังสิมาการ น.ท.สมภพ จันทร์ชูชื่น

ประจ�ำบรรณาธิการ

น.ท.หญิง สุภาวดี โคตรเวียง น.ท.หญิง มุตสิตา มาหะศักดิ์ น.ต.หญิง กรชิชา ด�ำเกิด พ.อ.อ.ธรรมวัฒน์ รัตนวิจารณ์ พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห์ พ.อ.อ.หญิง วาสนา รับสมบัติ น.ส.อุไรวรรณ บุญณรงค์ นางจันทร์สม ค�ำมา น.ส.ณัฐวดี ธ�ำรงวงศ์ถาวร

น.ท.หญิง ณัฐสินี เชื้อนุ่น น.ต.หญิง รัชนก เกิดสุข ร.อ.หญิง กันตา คุ้มจั่น พ.อ.อ.พันธกานต์ พูลผล พ.อ.อ.รักษิต ทองแย้ม จ.อ.หญิง ศุภวัลย์ กระจ่างนฤมลกุล นางประไพ เอี่ยมวุฒิ น.ส.รสสุคนธ์ บุญประเทือง

กองวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์ (เพื่อพลาง) ส�ำนักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรืิอนทหารอากาศ ส�ำนักงานชั่วคราว ห้อง ๑๐๑ อาคารหอสมุ ด กองทั พ อากาศ กรมยุ ท ธศึ ก ษาทหารอากาศ แขวงสนามบิ น เขตดอนเมือง กทม. ๑๐๒๑๐ โทร. ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑, ๐ ๒๕๓๔ ๔๒๔๑ แฟกซ์ ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑ ส่งบทความและภาพกิจกรรมได้ที่ e-mail: rtafmag@gmail.com

หนังสือข่าวทหารอากาศ ความเป็นมา หนังสือข่าวทหารอากาศ เป็นนิตยสารรายเดือนของกองทัพอากาศเริ่ม ด�ำเนินการเมือ่ ปี พ.ศ.๒๔๘๓ ขึน้ กับกรมข่าวทหารอากาศ โดย นาวาอากาศเอก สกล รสานนท์ เป็นบรรณาธิการคนแรก ด�ำเนินการโดยทุนของข้าราชการทหาร อากาศ ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๙๘ ได้โอนกิจการมาอยูใ่ นความอ�ำนวยการของกรมยุทธ ศึกษาทหารอากาศ ตามค�ำสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๕๘๐/๙๘ ลง ๒๓ ธ.ค.๒๔๙๘ ๑ ม.ค.๒๕๕๓ ได้เข้าอยู่ในกิจการสวัสดิการกองทัพอากาศ ก�ำกับดูแล โดยคณะอนุกรรมการบริหารวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์กองทัพอากาศ ตาม อนุมตั ิ ผบ.ทอ./ประธานกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ เมือ่ ๒๘ ธ.ค.๒๕๕๒ ก�ำหนดให้ใช้ระเบียบคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ ว่าด้วยการบริหาร วารสารและสื่อสิ่งพิมพ์กองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๕๒ ๑ ม.ค.๒๕๖๑ ได้เข้าอยู่ในการก�ำกับดูแลของกรมกิจการพลเรือน ทหารอากาศ ตามค�ำสั่ง ทอ. (เฉพาะ) ที่ ๑๓๖/๖๐ ลง ๒๖ ก.ย.๒๕๖๐

ภารกิจ ด�ำเนินกิจการหนังสือข่าวทหารอากาศ ให้เป็นไปตามนโยบายของผูบ้ ญั ชาการ ทหารอากาศ โดยมีผู้อ�ำนวยการหนังสือข่าวทหารอากาศ (จก.กร.ทอ.) เป็นผู้ บังคับบัญชารับผิดชอบ

วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในกิจการทั่วไป ๒. เพือ่ แสดงความคิดเห็นด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิง่ แวดล้อม อันจะเป็นประโยชน์ตอ่ ส่วนรวม ๓. เพื่อเผยแพร่กิจการของกองทัพอากาศ

การด�ำเนินงาน ๑. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ใน การพัฒนากองทัพอากาศและส่วนรวม ๒. เนื้อหาที่น�ำมาลงในหนังสือข่าวทหารอากาศ - ต้องไม่ขดั ต่อวัตถุประสงค์/นโยบายของผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ - ต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ บุคคล หรือ ส่วนรวม - ต้องได้รับการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะผู้จัดท�ำหนังสือข่าว ทหารอากาศ

ก�ำหนดการเผยแพร่ นิตยสารรายเดือน

พิมพ์ที่ บริษัท ที.เค.เอส. เทคโนโลยี จ�ำกัด (มหาชน) ๓๐/๘๘ หมู่ 1 ถ.เจษฎาวิถี ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ๗๔๐๐๐ โทร. ๐-๒๗๘๔-๕๘๘๘ แฟกซ์ ๐-๒๗๘๔-๕๘๕๘

อ่านบทความเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ www.airforcemagazine.rtaf.mi.th และ www.rtaf.mi.th บทความและความคิดเห็นของผู้เขียนในหนังสือฉบับนี้ ไม่มีส่วนผูกพันกับทางราชการแต่ประการใด ภาพบางส่วนในหนังสือ น�ำมาจาก google.com

ออกแบบปก : น.ส.รสสุคนธ์ บุญประเทือง


ข่าวทหารอากาศ

พลเมืองไทย ในวิถปี ระชาธิปไตย ภายใต้รฐั ธรรมนูญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระราชทาน รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทยฉบั บ ถาวร ใช้เป็นหลักในการปกครองของประเทศ ให้แก่ประชาชน ชาวไทย เพื่อเป็นการร�ำลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการ ปกครอง และพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน เป็ น ประจ� ำ ทุ ก ปี จ ะมี ก ารจั ด พระราชพิ ธี บ� ำ เพ็ ญ พระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งเป็น งานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน โดยมีพิธีการวาง พวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๗ และ มีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือนทัว่ ประเทศ โดยพร้อมเพรียงกัน เมื่อเรานึกถึงระบอบการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด เป็นทีแ่ น่นอนว่าเราต้องนึกถึง “อนุสาวรียป์ ระชาธิปไตย” ทีเ่ ป็นถาวรวัตถุทเี่ ป็นอนุสรณ์ให้นกึ ถึงการปกครองของ ประเทศ โดยมีลักษณะเป็นรูปหล่อลอยตัว ประกอบ

มัชฌิมา

ด้วยรูปเล่มรัฐธรรมนูญในสมุดไทย ประดิษฐานบน พานแว่นฟ้า สร้างด้วยทองแดง มีความสูง ๓ เมตร หนัก ๔ ตัน ตั้งบนฐานรูปทรงกลม ด้านบนโค้งกลม ลานอนุส าวรี ย์ ยกสูง มี บัน ไดโดยรอบ รอบนอก ลานอนุสาวรีย์มีครีบทรงแบน อยู่ ๔ ทิศ ที่โคนครีบ มีภาพแกะสลักลายปัน้ นูน และมีรวั้ เตีย้ ๆ กัน้ โดยรอบ ลานอนุสาวรีย์ รั้วนี้ใช้ปืนใหญ่โบราณจ�ำนวน ๗๕ กระบอก ฝั ง ดิ น โผล่ ท ้ า ยกระบอกขึ้ น มาเป็ น เสา คล้องโซ่เชื่อมต่อกัน โดยแต่ละองค์ประกอบล้วนมี สัญญะแห่งตัวเลขต่าง ๆ ดังนี้ ครีบ ๔ ด้าน สูงจากแท่นพื้น ๒๔ เมตร มีรัศมียาว ๒๔ เมตร หมายถึง วันที่ ๒๔ ซึ่งเป็น วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง พานรัฐธรรมนูญ ทีต่ งั้ อยูบ่ นยอดป้อมกลาง ตัวอนุสาวรีย์ สูง ๓ เมตร หมายถึง เดือน ๓ หรือ เดือน มิถุนายน (ขณะนั้นนับเมษายนเป็นเดือนแรกของปี) ตรงกับเดือนทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลงการปกครองสมัยนัน้ และหมายถึง อ�ำนาจอธิปไตยทัง้ ๓ ภายใต้รฐั ธรรมนูญ

13


14

คือ อ�ำนาจนิติบัญญัติ อ�ำนาจบริหาร และอ�ำนาจ ตุลาการ ปืนใหญ่จ�ำนวน ๗๕ กระบอก โดยรอบฐาน ของอนุสาวรีย์ ที่มีโซ่เหล็กร้อยไว้ หมายถึง ปีที่ท�ำการ เปลี่ยนแปลงการปกครอง (เลข ๗๕ เป็นเลขท้ายสอง หลักของปี พ.ศ.๒๔๗๕) ส่วนโซ่ที่ร้อยไว้ด้วยกัน หมายถึงความสามัคคีพร้อมเพรียงของคณะราษฎร ลายปั้นนูนที่ฐานครีบทั้ง ๔ เน้นถึงเรื่องราว การด�ำเนินงานของคณะราษฎรตอนที่นัดหมายและ แยกย้ า ยกั น ก่ อ การเปลี่ ย นแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ พระขรรค์ ๖ เล่ม ที่รายล้อมรอบป้อมกลาง ตัวอนุสาวรีย์ หมายถึง หลัก ๖ ประการของคณะราษฎร จากที่ผู้เขียนได้กล่าวไปนั้น คือ ถาวรวัตถุที่ ประชาชนส่วนใหญ่จะนึกถึงเมือ่ กล่าวถึง “รัฐธรรมนูญ” แต่หากนึกถึง “หน้าที่พลเมือง” ที่พึงกระท�ำใน รัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทยแล้ว ท่านผู้อ่านจะนึกถึง

สิ่งใดบ้างอาจกล่าวว่า นึกถึงรัฐบาลบ้าง อาจกล่าวว่า นึกถึงการเลือกตั้ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราควร นึกถึงสิง่ ใดทีจ่ ะท�ำให้เรือ่ งทีด่ ไู กลตัวเป็นเรือ่ งทีใ่ กล้ตวั เพราะแท้ทจี่ ริงแล้วรัฐธรรมนูญเป็นเรือ่ งของประชาชน ไทยทุกคน รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องก�ำหนดระเบียบแบบแผน บทบาทหน้าที่ สิทธิเสรีภาพทีป่ จั เจกบุคคล องค์กร สถาบันทางสังคม พึงกระท�ำ และพึงได้รบั จากการเป็นพลเมืองของประเทศ หากมีค�ำถามว่า “ในฐานะที่เราเป็นประชาชนของ ประเทศไทย ในวิถปี ระชาธิปไตย ภายใต้รฐั ธรรมนูญนี้ เราทุกคนจะสามารถท�ำหรือก�ำหนดบทบาทตนเอง อย่างไร ให้เรียกว่าเป็นพลเมืองที่ดี..?” ค�ำตอบ คือ เราต้องย้อนกลับไปดูเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ก�ำหนดบทบาทหน้าที่ สิทธิเสรีภาพ ดังนั้น สิ่งที่ประชาชนพึงกระท�ำ คือ การรู้จักบทบาทของ ตัวเองแล้วท�ำหน้าที่นั้น ๆ ให้สมบูรณ์


ข่าวทหารอากาศ

ในระดับปัจเจกชนนั้นสามารถยึดเอาค�ำ ส�ำคัญ ๕ ค�ำนี้ มาเป็นหลักและเป็นเครื่องก�ำหนด สิ่งพึงกระท�ำในการจะเป็น “พลเมืองไทย ในวิถี ประชาธิปไตย ภายใต้รัฐธรรมนูญ” ได้ ดังนี้ ๑. สถานภาพ คือ ต�ำแหน่งที่บุคคลได้รับ มาจากการเป็นสมาชิกทางสังคม แบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ สถานภาพที่ได้รับมาโดยก�ำเนิด เช่น ความเป็นลูก เป็นคนไทย และสถานภาพทางสังคม เช่น เป็นนักเรียน เป็นทหาร โดยสถานภาพเป็นสิง่ แรกทีเ่ ราควรทราบว่า เราอยู่ในสถานภาพใด ๒. บทบาท คือ การปฏิบตั ติ ามสิทธิและหน้าที่ ตามสถานภาพของตนเอง และเนือ่ งจากบุคคลมีหลาย สถานภาพในคนเดียว ท�ำให้บทบาทของบุคคลแปรผัน ไปตามสถานภาพในสถานการณ์ ตามสถานภาพนัน้ ๆ ๓. สิทธิ คือ อ�ำนาจหรือผลประโยชน์ของ บุคคลทีก่ ฎหมายได้ให้ไว้ เช่น สิทธิในการเลือกตัง้ สิทธิ รักษาพยาบาลของผู้ที่มีสถานภาพเป็นข้าราชการ ๔. เสรีภาพ คือ ความมีอสิ ระในการกระท�ำ ของบุคคลที่อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย เช่น เสรีภาพ ในการนับถือศาสนา เสรีภาพในการพูดและการเขียน ๕. หน้าที่ คือ ภาระรับผิดชอบของคนที่จะ ต้องปฏิบัติ เช่น หน้าที่ของบิดาที่มีต่อบุตร หน้าที่ของ ทหารที่ต้องรักษาอ�ำนาจอธิปไตยของบ้านเมือง ยกตัวอย่าง เช่น ผูเ้ ขียนมีสถานภาพในความ เป็นลูกมีบทบาทต้องเชือ่ ฟังค�ำสัง่ สอนไม่ทำ� สิง่ ทีไ่ ม่ดี ตัง้ ใจ ศึกษาเล่าเรียนและมีสิทธิที่จะได้รับการเลี้ยงดูจาก

บิดา - มารดาอยูภ่ ายใต้เงือ่ นไขทีว่ า่ ต้องได้รบั อิสรภาพ ตามสมควร โดยเมื่อบิดา มารดา แก่เฒ่าก็มีหน้าที่ จะต้องเลีย้ งดู โดยปฏิบัติหน้าที่ที่สัมพันธ์กับบทบาท ของลู ก ในขณะเดี ย วกั น ผู ้ เขี ย นมี ส ถานภาพ เป็นข้าราชการทหารมีบทบาททีจ่ ะต้องรักษาอธิปไตย ของชาติ เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และเชิดชู พระพุทธศาสนา โดยท�ำหน้าที่ที่สัมพันธ์กับบทบาท ทีไ่ ด้รบั ก็จะท�ำให้ได้รบั สิทธิและเสรีภาพทีผ่ ไู้ ด้รบั ราชการ ทหารพึงมีพึงได้ตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ ความยากของการน� ำ ๕ ค� ำ ส� ำ คั ญ นี้ มาปรับใช้คือ คนหนึ่งคนมีหลายสถานภาพและหลาย บทบาท การจะปฏิบัติตามหน้าที่ในแต่ละสถานภาพ ให้ สั ม พั น ธ์ กั น โดยไม่ ใ ห้ ขั ด แย้ ง กั น ในบางครั้ ง นั้ น นับเป็นเรื่องที่ยาก แต่มีข้อพิจารณาคือ หากเรา มีเป้าหมายร่วมกัน คือประโยชน์ของส่วนรวม เราจะ สามารถตระหนักว่า ในที่สุดแล้วเราจะเลือกจัดล�ำดับ ความส�ำคัญในการปฏิบัติตนอย่างไร หากเราคนไทยทุกคนยึดเอาค�ำส�ำคัญ ๕ ค�ำนี้ เป็นหลักในการปฏิบัติ การจะเป็นพลเมืองที่ดีตามวิถี ประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นก็นับว่าไม่ใช่เรื่อง ที่ ไ กลเกิ น ฝั น เรื่ อ งที่ ดี ง าม ประเทศที่ ส งบสุ ข เริ่มต้นได้จากที่ตัวเรา ดีกว่าที่เราจะเรียกร้องโหยหา สิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมและจัดการได้ เมื่อทุกคน ปฏิบัติหน้าที่ได้ดีถึงพร้อม สิ่งที่ดีต่าง ๆ จะเกิดขึ้น เพียงแค่เราเริ่ม

15


16

การฝึก SIAM-BHARAT 2018 น.อ.พร้อมรบ จันทร์โฉม

“We can not stop natural disaster but we can arm our self with knowledge and prepare advance to minimize dangerous and loss because when a disaster strikes, the time to plan and prepare would have passed.” เป็นประโยคที่เปรียบเสมือนการเตือนใจ ล่วงหน้า ให้ทุกคนได้ตระหนักรู้และเตรียมการเพื่อ ป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติหรือสิ่งใด ๆ ก็ตามเมื่อ เกิดแล้วจะส่งผลต่อการสูญเสียทรัพย์สินและชีวิต เพือ่ ทีจ่ ะได้เกิดความพร้อมในการรับมือกับภัยทีเ่ ข้ามา แม้การเตรียมป้องกันมิอาจสามารถพิทักษ์รักษาชีวิต และทรัพย์สินได้อย่างสมบูรณ์ แต่สามารถผ่อนหนัก เป็นเบา และช่วยลดการสูญเสียให้เกิดน้อยที่สุด เท่าที่จะท�ำได้ ด้วยหลักและแนวคิดกรอบความ ร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) กับประเทศอื่น นอกกลุม่ อาเซียนอีก ๖ ประเทศ ได้แก่ จีน ญีป่ นุ่ เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ประกอบกับหน้าที่

ตามยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๕๑ - ๒๕๖๒ ให้กองทัพอากาศเป็นกลไกหนึ่งของรัฐบาลในการ บริ ห ารประเทศตามแผนราชการแผ่ น ดิ น ได้ แ ก่ การปฏิบตั ภิ ารกิจนานาชาติ เพือ่ สันติภาพภายใต้กรอบ ของสหประชาชาติและหรือพันธมิตร เพือ่ มนุษยธรรม และเพื่อบรรเทาสาธารณภัยหรือภัยพิบัติร่วมกับ นานาชาติ และหรือองค์กรสากล ทั้งนี้ กองทัพอากาศ มีความร่วมมือกับกองทัพอากาศอินเดียเป็นระยะ เวลานาน ตั้งแต่โครงการแลกเปลี่ยนการเยือนอย่าง เป็นทางการ และความร่วมมือด้านการศึกษาในระดับ เสนาธิการ จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๕๓ เริ่มมีการ ประชุมคณะท�ำงานระดับฝ่ายอ�ำนวยการระหว่าง ทอ.กับ ทอ.อินเดีย (RTAF- IAF Air Staff Talks) ริเริ่ม


ข่าวทหารอากาศ

แนวคิ ด การยกระดั บ ความสั ม พั น ธ์ ใ ห้ แ น่ น แฟ้ น มากยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ การฝึก SIAM BHARAT 2016 เริ่มจากการฝึกแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ จ�ำลอง (Table Top Exercise : TTX) ภายใต้กรอบ แนวคิด “การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทา ภัยพิบัติ (HADR)” เป็นครั้งแรก ณ เมืองตริวันดรัม สาธารณรัฐอินเดีย (ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย) ในการฝึกครัง้ แรกเป็นเพียงการแลกเปลีย่ นแนวคิดและ การปฏิบตั กิ ารช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทา ภัยพิบตั ขิ องแต่ละประเทศภายใต้กรอบปัญหาทีก่ ำ� หนด ไว้ ซึ่งประกอบด้วย การปฏิบัติงานของกองทัพอากาศอินเดีย เมื่อเกิด ภัยพิบัติ ณ ชายฝั่งประเทศอินเดีย การปฏิบัติงานของกองทัพอากาศไทย เมื่อเกิด ภัยพิบัติ ณ ชายฝั่งประเทศไทย การปฏิบัติงานของกองทัพอากาศอินเดีย และ กองทัพอากาศไทย เมือ่ เกิดภัยพิบตั ิ ณ ชายฝัง่ ของ หมู่เกาะอันดามัน และนิโคบาร์

ในปี พ.ศ.๒๕๖๐ การฝึก SIAM BHARAT 2017 ครั้งที่ ๒ ณ จังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งนี้รูปแบบ การฝึกเป็นการฝึกปัญหาที่บังคับการ (Command Post Exercise : CPX) ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดจาก การฝึกครั้งที่ ๑ โดยแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ๑. ส่วนควบคุมการฝึก (Exercise Control Group : ECG) ปฏิบตั หิ น้าทีเ่ ป็นทัง้ หน่วยก�ำหนดปัญหา และผูร้ บั ค�ำตอบปัญหาพร้อมกันผ่านระบบปฏิบตั กิ าร ๒. ส่วนศูนย์ประสานงานทางทหารนานาชาติ (Multi - National Coordination Center : MNCC) เป็นส่วนของผู้เข้ารับการฝึกในการแก้ไขปัญหา และ ตอบข้อมูลผ่านทางระบบปฏิบัติการ ภายใต้กรอบ ปัญหาที่ก�ำหนดไว้ คือ เกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ในพื้นที่ เขตจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย โดยมีสถานการณ์ ตึกถล่ม ระบบการติดต่อสื่อสารถูกตัดขาด รวมทั้ง ระบบคมนาคมขนส่งภาคพื้นถูกจ�ำกัด จ�ำเป็นต้องใช้ ทีมค้นหาและช่วยชีวิตของเหล่าทัพและทีมแพทย์ ทหารเพื่อแก้ไขสถานการณ์ ทั้งยังจัดตั้งกลไกส�ำหรับ ความร่วมมือทางทหารระหว่างประเทศในการปฏิบัติ

17


18

การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ ในครั้งนี้ด้วย ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๖๑ การฝึก SIAM BHARAT 2018 ครั้งที่ ๓ ณ เมืองอัครา สาธารณรัฐ อินเดีย (อยู่ทางทิศใต้ของกรุงเดลี ประมาณ ๒๓๐ กิโลเมตร) ระหว่าง ๓ - ๑๔ ก.ย.๖๑ โดย นาวาอากาศเอก เสกสัณน์ ไชยมาตย์ รองผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักยุทธการ และการฝึก กรมยุทธการทหารอากาศ และ AIR VICE MARSHAL RAJESH ISSER AVSM VM (G) SOA, CAC IAF เป็ น ผู ้ อ� ำ นวยการฝึ ก ร่ ว ม มี ก� ำ ลั ง พล กองทัพอากาศไทยเข้าร่วมทั้งสิ้น ๒๑ คน โดยมี วัตถุประสงค์ของการฝึกในครั้งนี้ คือ เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือ และประสานงานร่วมกันภายใต้กลไกความร่วมมือ การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และบรรเทาภัยพิบัติ ของทั้งสองประเทศ และเป็นการเพิ่มพูนเสริมสร้าง ความสั ม พั น ธ์ แ ละความสามั ค คี ใ ห้ แ ก่ ก� ำ ลั ง พล ในทุกระดับของทั้งสองประเทศอีกด้วย


ข่าวทหารอากาศ

รู ป แบบการฝึ ก ได้ มี ก ารพั ฒ นาต่ อ ยอด เพิ่มขึ้นจาก ๒ ครั้งที่ผ่านมามากยิ่งขึ้น มีทั้งสิ้น ๓ รูปแบบ ซึ่งในครั้งนี้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การปฏิบัติงานการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และ บรรเทาภัยพิบัติจากหน่วยที่ปฏิบัติภารกิจที่ผ่านมา ดังนี้ ๑. การบรรยายสรุปและการแลกเปลีย่ น ข้อมูลด้านการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และบรรเทา ภัยพิบัติ ๑.๑ การบรรยายสรุปกลไกการปฏิบตั ิ งานการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และบรรเทาภัยพิบตั ิ ของสาธารณรัฐอินเดีย ๑.๒ การบรรยายสรุปกลไกการปฏิบตั ิ งานการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และบรรเทาภัยพิบตั ิ ของประเทศไทย และกองทัพไทย ๑.๓ บทบาทของกองทัพอากาศอินเดีย ในปฏิบัติการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และบรรเทา

ภั ย พิ บั ติ ในรั ฐ จามั ว - แคชเมี ย ร์ พ.ศ.๒๕๕๗ ซึ่งใช้อากาศยานอพยพประชาชนกว่า ๘๐,๐๐๐ คน ๑.๔ การใช้อากาศยานขนาดใหญ่ ในภารกิจการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และบรรเทา ภัยพิบัติ โดยกองทัพอากาศอินเดีย ๑.๕ การบริหารจัดการสือ่ สารมวลชน ระหว่างเกิดภัยพิบัติในประเทศไทย ๑.๖ การบริหารจัดการสือ่ สารมวลชน ระหว่างเกิดภัยพิบัติในประเทศอินเดีย ๑.๗ การปฏิบตั กิ ารแพทย์ทหารระหว่าง เกิดภัยพิบัติในประเทศอินเดีย ๑.๘ บทบาทของกองทัพอากาศไทย ในภารกิจค้นหาและช่วยเหลือนักฟุตบอลและครูฝกึ สอน ทีมหมูปา่ อะคาเดมี ซึง่ ติดอยูใ่ นถ�ำ้ หลวงขุนน�ำ้ นางนอน จังหวัดเชียงราย ระหว่าง ๒๕ มิ.ย. - ๑๕ ก.ค.๖๑ ๒. การฝึกแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ จ�ำลอง (Table Top Exercise : TTX) ภายใต้ปญ ั หา เกิ ด ภั ย พิ บั ติ ข นาดใหญ่ ท างตอนเหนื อ ของ

19


20

ประเทศอินเดีย โดยการฝึกครัง้ นี้ แบ่งออกเป็น ๒ กลุม่ ในแต่ละกลุ่มมีก�ำลังพลของทั้ง ๒ ประเทศรวมอยู่ ด้วยกัน โดยให้แต่ละกลุ่มระดมความคิดและน�ำเสนอ หนทางปฏิบัติของแต่ละกลุ่มให้ผู้ร่วมการฝึกได้เรียนรู้ ร่วมกัน ภายใต้สมมติฐานการน�ำก�ำลังทางอากาศไทย เข้าช่วยประเทศอินเดีย การฝึกระดมความคิดแก้ไข ปั ญ หารู ป แบบนี้ มี ก ารสื่ อ สารและแลกเปลี่ ย น ความคิดอย่างกว้างขวาง ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอน การปฏิ บั ติ ตั้ ง แต่ ก ารร้ อ งขอจากรั ฐ บาลอิ น เดี ย จนกระทั่งถึงการระดมสรรพก�ำลังและประกอบก�ำลัง

ของก� ำ ลั ง พล ทรั พ ยากรกองทั พ อากาศไทยเพื่ อ ออกนอกประเทศ เมื่อเดินทางถึงประเทศอินเดีย ในพืน้ ทีป่ ระสบภัยพิบตั แิ ล้ว ในส่วนของกองทัพอากาศ อินเดียจะทราบความต้องการในการด�ำรงขีดความ สามารถและการปฏิ บั ติ ง านได้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ งของ กองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศไทยจะเกิดการรับรู้ และการเตรียมพร้อมของกองก�ำลังไทยอย่างเป็น ขั้นตอน ก่อนถึงขั้นตอนการปฏิบัติงาน ณ ประเทศ ปลายทาง ๓. การฝึกปัญหาทีบ่ งั คับการ (Command Post Exercise : CPX) เป็นการฝึกต่อเนื่องจาก ขั้นตอนกองทัพอากาศไทยมาถึงประเทศปลายทาง และเริ่มการปฏิบัติการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และบรรเทาภัยพิบัติร่วมกับกองทัพอากาศอินเดีย ในการฝึกครั้งนี้แบ่งส่วนการฝึกเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ โดยแต่ ล ะส่ ว นจะประกอบด้ ว ยก� ำ ลั ง พลของ แต่ละประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและวางแผน การใช้ก�ำลังทางอากาศร่วมกัน กล่าวคือ


ข่าวทหารอากาศ

๓.๑ ส่วนควบคุมการฝึก (Exercise Control Group : ECG) ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ เ ป็ น ทั้ ง หน่วยก�ำหนดปัญหาและผู้รับค�ำตอบของปัญหา พร้อมกัน การติดต่อสือ่ สารแจ้งผูเ้ ข้ารับการฝึกผ่านทาง โทรศัพท์ การกรอกข้อมูลในเอกสารและแบบฟอร์ม ที่เกี่ยวข้อง ๓.๒ ส่วนศูนย์ประสานงานทางทหาร นานาชาติ (Multi - National Coordination Center : MNCC) เป็นส่วนของผู้เข้ารับการฝึกในการแก้ไข ปั ญ หาและตอบข้ อ มู ล ให้ กั บ ส่ ว นควบคุ ม การฝึ ก โดยการรายงานเป็นเอกสารและแบบฟอร์มทีเ่ กีย่ วข้อง ๓.๓ ส่วนหน่วยปฏิบตั กิ าร (Operations Group) เป็ น ส่ ว นที่ รั บ ข้ อ มู ล และค� ำ สั่ ง จากส่ ว น ศูนย์ประสานงานฯ และน�ำค�ำสัง่ มาจัดเรียงตามล�ำดับ ความส� ำ คั ญ ให้ มี ค วามเหมาะสมกั บ ทรั พ ยากร ที่ครอบครองเพื่อปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ซึง่ ประกอบด้วย การค้นหาและช่วยชีวติ (Search and Rescue) การอพยพประชาชนจากพื้นที่ตัดขาด (Mass Evacuation) การช่วยเหลือทางการแพทย์

ทหาร (Medical Support) การส่งทางอากาศยุทธวิธี (Airdrop Operations) และการกู้ภัยโดยเครื่องมือ พิเศษ (Special Tools and High Technology Equipment) ในขั้นตอนสุดท้ายนี้ ผู้เข้าร่วมการฝึก จะต้องวางแผนการใช้อากาศยานและก�ำลังพลที่มีอยู่ อย่างจ�ำกัด และกรอบระยะเวลาทีบ่ บี บังคับ ทัง้ ยังต้อง ค�ำนึงถึงภารกิจคาบเกี่ยวและต่อเนื่องในห้วงเวลา เดียวกัน เพื่อที่จะบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิด ประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด เมือ่ แต่ละส่วน ปฏิบัติภารกิจเสร็จเรียบร้อย จะรายงานกลับให้ศูนย์ ประสานงานฯ เป็นเอกสารและแบบฟอร์มทีเ่ กีย่ วข้อง ส�ำหรับโจทย์แก้ไขปัญหาของการฝึกปัญหา ที่บังคับการในครั้งนี้ ประกอบด้วย ๖ เหตุการณ์หลัก ในระยะเวลาต่อเนื่องกัน ให้ผู้เข้าร่วมการฝึกได้รับ การเรียนรู้ ดังนี้ ๑. การอพยพประชาชนจ�ำนวนมากในพืน้ ที่ ตัดขาด เนือ่ งจากน�ำ้ ท่วม : บทเรียนนีเ้ ป็นบทเรียนแรก ที่ท�ำให้ผู้เข้าร่วมการฝึกทั้งสองประเทศ ติดต่อสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลกันตลอดเวลา ในทุกระดับ

21


22

ตัง้ แต่การวางแผนขัน้ แรกของศูนย์ประสานงานฯ และ การวางแผนการใช้กำ� ลังทางอากาศของหน่วยยุทธการ ๒. การช่วยเหลือประชาชนและควบคุม เพลิงไหม้จากท่อแก๊สรั่ว : การค�ำนึงถึงสถานการณ์ ในเหตุการณ์หลักเพียงอย่างเดียว อาจส่งผลต่อการ รับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้ เพราะฉะนั้น การวางแผนส�ำรองและการออมก�ำลังมีส่วนส�ำคัญยิ่ง ในการปฏิบัติภารกิจระยะยาวและต่อเนื่อง ๓. การช่ ว ยเหลื อ ทางการแพทย์ ท หาร ในพื้นที่ประสบภัย : บุคลากรทางการแพทย์นับว่า มีความส�ำคัญและมีอย่างจ�ำกัด เมื่อความต้องการ ความช่วยเหลือมีมากกว่าขีดความสามารถในการ ให้ความช่วยเหลือ ย่อมต้องมีการบริหารจัดการ ทรัพยากรทางการแพทย์ที่มีอย่างจ�ำกัด เพื่อให้ได้ ประสิทธิผลสูงสุด ๔. การอพยพประชาชนออกจากพื้ น ที่ ไปยังเขตปลอดภัย : การบูรณาการความร่วมมือระหว่าง หน่วยงานข้างเคียง จะส่งผลให้เกิดความรวดเร็วและ แบ่งเบาภาระงาน จากงานที่มากและใช้เวลานาน

จะเป็นงานที่น้อยลงและใช้เวลาปฏิบัติได้รวดเร็ว มากยิ่งขึ้น ๕. การค้นหาและช่วยชีวิต หน่วยกู้ภัย ทีอ่ อกปฏิบตั ภิ ารกิจแต่เกิดอุบตั เิ หตุซำ�้ ซ้อน : เมือ่ หน่วย ปฏิบตั จิ ะต้องปฏิบตั ภิ ารกิจทีส่ ำ� คัญยิง่ กว่าและเร่งด่วน มากกว่าภารกิจหลัก จะท�ำให้ทราบถึงการวางแผนการ จัดการงาน การล�ำดับความส�ำคัญของงานและความ เป็นมืออาชีพของกิจการงานแต่ละหน่วยได้อย่างดี ๖. การค้นหาและช่วยชีวติ และการส่งกลับ เจ้าหน้าที่และเอกอัครราชทูตไทยประจ�ำกรุงนิวเดลี จากเหตุภยั พิบตั ิ : บทสุดท้ายของการฝึก เปรียบเสมือน ข้ อ สอบปลายภาค ให้ ผู ้ ป ฏิ บั ติ ไ ด้ น� ำ สิ่ ง ที่ เรี ย นรู ้ ตั้งแต่ต้นมาประยุกต์และดัดแปลงการใช้งานของ เครื่องมือที่มีอยู่อย่างจ�ำกัด การปฏิบัติงานให้เกิด การประสานสอดคล้อง และแข่งกับเวลา จะเป็น บทพิสูจน์ให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจกัน และความ มุ่งมั่นในการปฏิบัติภารกิจให้ส�ำเร็จได้อย่างปลอดภัย ในช่วงท้ายของการฝึก มีการสาธิตยุทโธปกรณ์ ของกองทัพอากาศอินเดียทั้งภาคพื้นและภาคอากาศ


ข่าวทหารอากาศ

ให้ทางกองทัพอากาศไทยได้เรียนรู้เพิ่มเติม ได้แก่ อุปกรณ์พิเศษส�ำหรับช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ ถูกตัดขาดและเขตทุรกันดาร ชมการสาธิตการใช้รอก กว้านช่วยชีวิตจากเฮลิคอปเตอร์แบบ ALH การแสดง การติดตัง้ เปลพยาบาลและการล�ำเลียงทางอากาศกับ บ.แบบ An-32 การถ่ายโอนเชือ้ เพลิงจาก บ.แบบ IL-78 ไปยังรถเติมเชือ้ เพลิง การใช้อปุ กรณ์ชว่ ยขนถ่ายภายใน บ.แบบ IL-76 เป็นการล�ำเลียงยุทโธปกรณ์ขนาดใหญ่ โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ขนถ่ายภาคพื้น และการแสดง อุปกรณ์ดับเพลิงแบบถังบรรจุใส่น�้ำ (Bambi Bucket) ติดตั้งกับ ฮ.แบบ Mi - 17 สิ่งที่ได้จากการฝึกในครั้งนี้ มิใช่เพียงแต่ การเสริมสร้างมิตรภาพ การเรียนรูว้ ฒ ั นธรรมและสังคม ของประเทศอินเดียเท่านั้น แต่ยังได้ทราบถึงกระบวน การคิดและวิธีคิดของนักการทหารกองทัพอากาศ อิ น เดี ย อี ก ด้ ว ย แม้ ว ่ า กองทั พ อากาศอิ น เดี ย จะมี

แสนยานุภาพในอันดับต้น ๆ ของโลก แต่การแสวงหา ความรู้เพิ่มเติม การแสวงหาพันธมิตร การแสวงหา แรงบันดาลใจ การแสวงหาวิธีปฏิบัติที่น�ำตนเองสู่ ความเป็นเลิศ และน�ำสิง่ ทัง้ หลายเหล่านีม้ าหล่อหลอม ให้เป็นตัวตนของประเทศอินเดีย นั่นแสดงให้เห็นถึง การน�ำหลายสิง่ หลายอย่างมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม กับสภาพแวดล้อมของตนเองได้อย่างดียิ่ง อาจกล่าว ได้ว่า ผู้คนอินเดียส่วนมาก ที่ได้รับการฝึกฝน อบรม เรียนรูม้ าอย่างดีแล้ว จะมีความสามารถในการประยุกต์ ใช้สิ่งรอบตัวให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉิน ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี สิง่ นีจ้ งึ เป็นทีส่ ำ� คัญทีไ่ ด้จากการฝึกในครัง้ นี้ และส�ำหรับ การฝึกผสม SIAM BHARAT ครั้งต่อไป จะเป็นอีกหนึง่ ในบทพิสูจน์ความเจริญเติบโตของกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศอินเดียในอนาคต

23


24

Red Eagle อินทรีแดง แผลงฤทธิ์

น.ต.ภฤศพงศ์ ช้อนแก้ว

“Underwater Man ....ภารกิจโหด โหมดใต้นำ�้ ”

สวัสดีทา่ นผูอ้ า่ นทุกท่านครับ จากเหตุการณ์ อันถือว่าเป็นประวัตศิ าสตร์หน้าหนึง่ ของประเทศไทย ถึงวีรกรรมภารกิจในการช่วยเหลือ ๑๒ นักเตะเยาวชน ทีมหมู่ป่าอะคาเดมี และ ๑ โค้ชผู้ฝึกสอน จนเกิดเป็น ชือ่ เสียงโด่งดังไปทัว่ โลก ณ ถ�ำ้ หลวง - ขุนน�ำ้ นางนอน อ�ำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ ๒๓ มิถนุ ายน - ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑ จากเหตุการณ์นี้ ท�ำให้เห็นถึงความก้าวหน้าของอุปกรณ์ที่ใช้ในการ ด�ำน�้ำเป็นอย่างมาก เพราะทั้งก�ำลังคนและอุปกรณ์ เทคโนโลยีพิเศษที่ช่วยในการหายใจใต้น�้ำทั่วทุก มุมโลกต่างหลั่งไหลเข้ามาเพื่อปฏิบัติการภารกิจ ช่วยเหลือกู้ภัยถ�้ำหลวงในครั้งนี้ เรียกได้ว่า ทีมหมูป่า ทัง้ ๑๓ คน นัน้ ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ “ความสามัคคี ของโลก” ไปเลยก็ว่าได้ ซึ่งในบทความครั้งนี้ผู้เขียน จึงขอน�ำเสนอความเป็นมาของอุปกรณ์ด�ำน�้ำ อันมี ความเป็นมาอย่างยาวนานและสามารถน�ำมาใช้งาน ทางการทหารอย่างไรได้บ้าง การด�ำน�้ำของมนุษย์มีพัฒนาการมาอย่าง ยาวนาน นับตัง้ แต่การบันทึกครัง้ แรกโดย “Herodotus” นั ก ประวั ติ ศ าสตร์ ช าวกรี ก ได้ ก ล่ า วถึ ง นั ก ด� ำ น�้ ำ ชื่อ “Scyllis” ผู้ซึ่งได้รับการว่าจ้างจากกษัตริย์ เปอร์เซียร์พระนามว่า “Xerxes” ให้ด�ำน�้ำกู้สมบัติ เมื่อ ๕,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชขึ้นมา โดยสามารถ ด�ำได้ลึก ประมาณ ๑๐๐ ฟุต และได้มีการบันทึกอีก หลักฐานหนึ่งว่า “เมื่อ ๕๐๐ ปี ก่อนคริสตกาล ชาวกรีกเคยได้ต่อสู้กับกองก�ำลังทหารชาวเปอร์เซีย

ภาพจ�ำลองการด�ำน�้ำของชาวอัสซีเรีย เมื่อ ๙๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช

ของกษัตริย์เซอเซียสที่ ๑ และได้ส่งทหารด�ำน�ำ้ เข้าไป ลักลอบตัดเชือกสายสมอเรือของกองเรือได้ส�ำเร็จ” ในเวลาต่อมาจึงได้เกิดการพัฒนาการด�ำน�ำ้ โดยถือว่าเป็นช่วงยุคแรก มนุษย์พยายามคิดค้นให้ การด�ำน�้ำสามารถลงได้ลึกและอยู่ได้นานมากขึ้น ดังนั้นจึงได้มีการน�ำเอาอากาศลงไปหายใจใต้นำ�้ ทั้ง แบบต่อท่อลงไปจากผิวน�ำ้ และแบบเอาถุงคลุมอากาศ ครอบไว้ทศี่ รี ษะ แต่วธิ ที งั้ ๒ นีไ้ ม่ได้ผลเท่าทีค่ วรเพราะ มีนกั ด�ำน�ำ้ ตายไปเป็นจ�ำนวนมากจากแรงกดดันมหาศาล ถึง ๒๐๐ ปอนด์ของน�้ำ จากนั้นจึงได้มีการพัฒนา เครื่องช่วยหายใจแบบถุงลมที่สามารถพกพาลงไป ใช้หายใจได้และสามารถใช้งานได้ดีอีกด้วย โดยที่ ถุงหายใจนัน้ จะท�ำมาจากหนังสัตว์ แต่กย็ งั ไม่สามารถ ด�ำน�้ำได้ลึกมากเท่าไร


ข่าวทหารอากาศ

นักด�ำน�้ำในชุดถุงหนังคลุมศีรษะ มีท่อหายใจต่อลงมาจากผิวน�้ำ

การด�ำน�ำ้ ในยุคกลาง ระหว่างปีคริสต์ศกั ราช ๑๕๐๐ – ๑๘๐๐ ได้มีการพัฒนาอย่างเด่นชัดมากขึ้น ในด้านการด�ำน�้ำ ด้วยการสร้าง Diving Bell ขึ้น โดย มี รู ป ร่ า งเหมื อ นระฆั ง ด้ า นล่ า งเปิ ด สู ่ ท ะเล เครื่ อ งแรกนั้ น จะมี ลั ก ษณะเป็ น ถั ง ขนาดใหญ่

แข็งแรง มีน�้ำหนักมากเพื่อให้จมลงในแนวดิ่งได้ง่าย เก็บกักอากาศไว้ส�ำหรับการหายใจของนักด�ำน�้ำ ได้ ห ลายชั่ ว โมง เหมื อ นหลั ก การคว�่ ำ แก้ ว เปล่ า แล้ ว กดลงในน�้ ำ พร้ อ มมี ส ายเคเบิ ล ไว้ ชั ก หย่ อ น จากทางพื้นดินลงไป โดยให้นักด�ำน�้ำกลั้นหายใจและ ออกไปปฏิบตั งิ านในช่วงระยะเวลาสัน้ ๆ หลังจากนัน้ จึงได้มีการพัฒนา Diving Bell เรื่อยมาเพื่อให้ นักด�ำน�้ำสามารถปฏิบัติงานได้นานขึ้น ด้วยการผลิต ถังอากาศเพื่อเติมอากาศให้กับตัว Diving Bell จนสามารถด�ำน�้ำได้นานถึง ๔ ชั่วโมง ที่ความลึก ๖๖ ฟุต โดยคิดค้นขึ้นได้ในปีคริสต์ศักราช ๑๕๓๑ และใช้ท�ำงานต่อมาอีกหลายร้อยปี จากนั้นในปีคริสต์ศักราช ๑๗๑๕ John Lethbridge ชาวอังกฤษ ได้พัฒนาชุดด�ำน�้ำเฉพาะ บุคคลแบบปิดทั้งตัวโดยใช้หนังชนิดที่มีความทนทาน คลุมทับถังอากาศ มีชอ่ งกระจกส�ำหรับมองและมีชอ่ ง ส�ำหรับสอดแขนทีก่ นั น�ำ้ ได้ ซึง่ ใช้การชักหย่อนจากเรือ เช่นเดียวกับ Diving Bell ชุดด�ำน�้ำนี้ใช้ในการด�ำน�้ำ เก็บกู้วัตถุมีค่าจากเรือที่จมในย่านยุโรป สามารถ ใช้งานได้อย่างสะดวกที่ความลึก ๖๐ ฟุต และใช้งาน ได้สูงสุดที่ความลึก ๗๒ ฟุต เป็นเวลานาน ๓๔ นาที

ชุดด�ำน�้ำในช่วงยุค John Lethbridge

เครื่องด�ำน�้ำแบบ DIVING BELL

ต่อมาในปลายศตวรรษที่ ๑๘ ถึงต้นศตวรรษ ที่ ๑๙ Augustus Siebe ได้พัฒนาชุดด�ำน�้ำให้มี ขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น โดยถือว่าเป็นช่วงเริ่ม เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ชุดด�ำน�้ำแบบ “Augustus Siebe” ซึ่งได้รับการยอมรับและใช้งานได้ผลอย่างแท้จริง จนในปีคริสต์ศักราช ๑๘๒๘ ได้มีการคิดค้นหมวก ด�ำน�้ำที่เรียกว่า “Helmet” ส�ำเร็จ มีช่องมองและ

25


26

มีทอ่ ส�ำหรับต่อกับแหล่งจ่ายอากาศจากบนบก โดยใช้ วิธีการครอบลงไปบนศีรษะของนักด�ำน�้ำโดยตรง จากนั้นอากาศจะไหลจากด้านบนลงไปสู่ตัวหมวก ส่ ว นอากาศที่ เ กิ น ก็ จ ะไหลออกไปทางด้ า นล่ า ง ของหมวก บริ เวณหั ว ไหล่ แต่ ยั ง มี ข ้ อ เสี ย ที่ ว ่ า หากนักด�ำน�้ำล้มลง น�้ำจะไหลเข้าไปในหมวกเร็วมาก ซึ่งเป็นอันตราย และได้มีการพิมพ์คู่มือการด�ำน�้ำ ด้วยชุด Deane เป็นครั้งแรกของโลก จึงได้เกิดชุด ด�ำน�้ำที่มีชื่อว่า “Augustus Siebe” รุ่น “MK V” ในปีคริสต์ศักราช ๑๙๐๕ และได้พัฒนามาจนถึง “รุ่น MK 12” ในปีคริสต์ศักราช ๑๙๘๐ ใช้ระบบ จ่ายอากาศจากทางภาคพื้น ทั้งนี้ได้มีความพยายาม พัฒนาระบบของการด�ำน�้ำเพื่อให้เกิดความคล่องตัว ในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องจนสามารถพัฒนา สรรสร้างอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจใต้น�้ำได้ทั้งแบบ ระบบวงจรปิด ระบบวงจรเปิด และแบบระบบ วงจรผสมในเวลาต่อมา ส�ำหรับการด�ำน�ำ้ ในประเทศไทยนัน้ เริม่ ต้น จากการที่กองทัพเรือได้จัดส่งนักท�ำลายใต้น�้ำที่ผ่าน การฝึกที่เกาะไซปันประเทศสหรัฐฯ ไปรับการฝึก หลักสูตรนักท�ำลายใต้น�้ำชั้นสูงในช่วงระหว่างวันที่ ๙ กั น ยายนถึ ง ๑๕ พฤศจิ ก ายน พ.ศ.๒๔๙๗ ซึ่งได้รับวิทยาการด้านการด�ำน�้ำมาเป็นครั้งแรกของ ประเทศไทย หลังจากนัน้ ได้ดำ� เนินการจัดตัง้ เป็นหมวด ท�ำลายใต้นำ�้ ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ และก�ำลังพลทีผ่ า่ นการ ฝึกเหล่านั้นได้ถ่ายทอดความรู้ด้านการด�ำน�้ำนี้ให้กับ ก�ำลังพลของกองทัพเรือทีเ่ ข้ารับการศึกษาในหลักสูตร นักท�ำลายใต้น�้ำ ที่เรียกว่า “มนุษย์กบ” หรือ หน่วย รบพิเศษทีม่ คี วามเชีย่ วชาญทัง้ ทางบก ทะเล อากาศ หรือ SEAL (Sea Air Land) โดยมีการถ่ายทอดต่อมา จากรุน่ สูร่ นุ่ จนหมวดท�ำลายใต้นำ�้ ได้รบั การขยายอัตรา ของหน่วยเป็นหน่วยสงครามพิเศษทางเรือใน ปี พุทธศักราช ๒๕๓๔ และได้รบั การขยายอัตราอีกครัง้ เป็นหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือใน ปี พุทธศักราช ๒๕๕๒ โดยได้รบั มอบภารกิจจากกองทัพ เรือให้ด�ำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานใต้น�้ำ

Augustus Siebe ลักษณะอุปกรณ์ช่วยในการด�ำน�้ำ โดยใช้สวมศีรษะ

การใส่ Augustus Siebe พร้อมกับชุด Deane

มาโดยตลอด ซึง่ การปฏิบตั งิ านทีส่ ำ� คัญมีมากมาย ทัง้ ด้านการส�ำรวจพื้นที่ทางน�้ำเพื่อจัดตั้งสถานีเรือ การ ส�ำรวจร่องน�ำ้ เพือ่ ใช้ในการก่อสร้างอาคาร การส�ำรวจ ค้นหาซากวัตถุโบราณส�ำคัญต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ใน การยุทธศาสตร์นั้น หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ทางเรือมีหน้าที่รับผิดชอบการปฏิบัติงานใต้น�้ำตั้งแต่ ระยะความลึก ๑๘ ฟุต ลงไปจากฝัง่ (ซึง่ ส�ำหรับ ตัง้ แต่ ๑๘ ฟุต ขึ้นมาจนถึงชายฝั่งเป็นความรับผิดชอบของ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน) ส�ำหรับการด�ำน�้ำในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น ๒ แบบหลัก ๆ ได้แก่ การด�ำน�้ำตื้น ที่เรียกว่า “Snorkeling Surface” เป็นการด�ำน�้ำในระดับ ความลึกที่ไม่ลึกมาก ประมาณ ๑๘ ฟุต มีอุปกรณ์


ข่าวทหารอากาศ

ส�ำคัญ ได้แก่ Snorkel Mask Fins เสื้อชูชีพ เป็นต้น เพื่อใช้ในการลอยตัว ซึ่งการด�ำน�้ำแบบนี้จะไม่มี ขั้นตอนยุ่งยากมาก ง่ายในการเรียนรู้และสามารถ ปฏิบัติได้ทันที โดยจะพบเห็นได้ง่ายตามสถานที่ ท่องเทีย่ วทะเลในพืน้ ทีต่ า่ ง ๆ ทีม่ กั จะให้นกั ท่องเทีย่ ว ด�ำน�้ำดูปะการังในบริเวณตื้น ๆ ส่วนอีกแบบ เรียกว่า “SCUBA” (Self Contained Underwater Breathing Apparatus) เป็นการด�ำน�ำ้ ประกอบเครือ่ ง ช่ ว ยหายใจใต้ น�้ ำ มี ทั้ ง การด� ำ น�้ ำ ในที่ เรี ย กว่ า “ระบบเปิด” และการด�ำน�้ำ “ระบบปิด” โดยในส่วนการด�ำน�ำ้ ของนักเรียนนักท�ำลาย ใต้นำ�้ จูโ่ จม จะมีการฝึกศึกษาในการด�ำน�ำ้ ระบบ CCR (Close Circuit Rebreather) โดยใช้เครือ่ งช่วยหายใจ ใต้นำ�้ ทีม่ ชี อื่ ว่า “Lar - V” ซึง่ จะเป็นการด�ำน�ำ้ ในลักษณะ วงจรปิดและนิยมใช้มากในการปฏิบตั กิ ารทางทหารเพือ่ ไม่ให้ขา้ ศึกมองเห็นฟองอากาศทีจ่ ะลอยขึน้ มาเหนือผิวน�ำ้ อุปกรณ์หลัก ๆ ประกอบด้วย ชุดด�ำน�ำ้ หรือเสือ้ ส�ำหรับ ปรับการลอยจมในการด�ำน�้ำ BCD (Buoyancy Control Device) Mask Fins ตะกั่วถ่วงน�้ำหนัก

เข็มขัดตะกั่ว ขวดอากาศ เรกกูเรเตอร์ (วาวล์เปิดปิด อากาศให้เข้าสู่วงจร) เม้าท์พีช (ปากคาบ) หมวก มีด ด�ำน�ำ้ Attack Board แผ่น State กับ ปากกา Buddy Line Hood หรือหมวกด�ำน�้ำ เป็นต้น ในปัจจุบันมี การด�ำน�้ำแบบ SNUBA (Self Non– Contained Underwater Breathing Apparatus) เป็นเครื่อง ช่วยฝึกผู้ที่จะด�ำน�้ำ SCUBA การฝึกด�ำน�ำ้ ด้วยเครือ่ งช่วยหายใจใต้นำ�้ นัน้ ถือว่าไม่ยากส�ำหรับบุคคลทั่วไป แต่อาจจะเป็นเรื่อง ล�ำบากส�ำหรับผู้ที่มีปัญหาสภาวะแพ้อากาศง่าย หรือ ก�ำลังเป็นหวัด หรืออาจเป็นคนชอบสูบบุหรี่ หรืออาจ เคยได้รับอุบัติเหตุที่มีความรุนแรงบนใบหน้ามาก่อน เนื่องจากความดันในหูส่วนกลางไม่เท่ากับความดัน ของอากาศหรือน�้ำภายนอก โดยปกติแล้วบริเวณ หูสว่ นกลางจะอยูใ่ นช่วงระหว่างกระดูกและเยือ่ แก้วหู ซึ่งจะมีอากาศอยู่ หูส่วนกลางนี้จะมีท่อ Eustachian เชื่อมต่อไปยังส่วนหน้าของล�ำคอ อากาศที่ผ่านไปมา ในท่อนี้เป็นตัวที่ช่วยปรับความดันในหูส่วนกลางให้ เท่ากับความดันอากาศภายนอก เมือ่ ใดก็ตามทีค่ วามดัน

การด�ำน�้ำโดยใช้เครื่องช่วยหายใจใต้น�้ำในระบบวงจรเปิด

27


28

ภายนอกสู ง กว่ า และท่ อ Eustachian ไม่ เ ปิ ด เยื่อหูจะถูกความกดอากาศกดเพิ่มขึ้น ท�ำให้เริ่มเว้า เข้ า ด้ า นใน จนเกิ ด อาการบวมและปวดบริ เวณ เยือ่ แก้วหูหรือเกิดอากาศทีเ่ รียกว่า “หูออื้ ” ซึง่ วิธกี าร แก้ไขนั้นท�ำได้ไม่ยากและมีหลายวิธี อาจจะใช้วิธีการ อ้าปากขยับขากรรไกรหรือกลืนน�้ำลาย ซึ่งจะท�ำให้ ผนังแก้วหูด้านในขยับและท่อ Eustachian เปิดออก เพื่อปรับสภาพแรงดันภายในกับภายนอกให้พอดีกัน หรือใช้วิธีการอุดจมูกและปิดปากไว้เพื่อเพิ่มความดัน อากาศในช่องปากและคอ ซึง่ จะท�ำให้ทอ่ Eustachian เปิดออกเช่นกัน หรือถ้าไม่ไหวจริงให้นักด�ำน�้ำที่ก�ำลัง ด�ำน�้ำหยุดการด�ำน�้ำในระดับความลึกนั้นก่อนเพื่อให้ แรงดันในหูค่อย ๆ ปรับให้พอดีกับแรงดันภายนอก จากนัน้ จึงค่อยด�ำน�ำ้ ต่อ ฉะนัน้ กรณีสำ� หรับคนไม่สบาย เป็นหวัดหรือแพ้อากาศง่ายก็จะท�ำยากสักหน่อย เพราะไม่สามารถปรับเคลียร์อากาศภายในโพรงจมูก และหูได้ทัน การฝึกในช่วงแรกนั้นส�ำหรับผู้ที่ยังไม่เคย ด�ำน�ำ้ แล้ว ถือว่าเป็นพืน้ ฐานมาก ๆ เริม่ ตัง้ แต่การเรียน ภาคทฤษฎี เรียนรู้โรคใต้น�้ำ ตารางด�ำน�้ำ หรือ DIVE TABLE (ตารางแสดงถึงปริมาณไนโตรเจน ที่มีอยู่ใน ร่างกายของนักด�ำน�้ำ หลังจากที่ความลึก – เวลา ได้ผ่านไปในการด�ำน�้ำครั้งหนึ่ง ๆ และยังบอกถึงเวลา และความลึกที่จะสามารถด�ำได้ในการด�ำครั้งต่อไป) รวมถึงเรียนรูอ้ ปุ กรณ์ทใี่ ช้ในการด�ำน�ำ้ ทัง้ หมด จากนัน้ จึงเริ่มฝึกการใช้อุปกรณ์ด�ำน�้ำในสระว่ายน�้ำที่ไม่ลึก

การฝึกด�ำค้นหาของใต้น�้ำ

มากสามารถยืนได้ก่อน โดยมีครูฝึกคอยดูแลอย่าง ใกล้ชิดพร้อมทั้งฝึกเรียนรู้การให้ทัศนะสัญญาณ ต่าง ๆ ระหว่างที่อยู่ใต้น�้ำในสระน�้ำด้วย เนื่องจาก เวลาเราอยู ่ ใ ต้ น�้ ำ จะไม่ ส ามารถพู ด คุ ย กั น ได้ เหมือนอยู่บนบก โดยการฝึกศึกษาทฤษฎีและความ สามารถการด�ำน�ำ้ พืน้ ฐานนีจ้ ะใช้เวลาอยูร่ าว ๆ ๕ – ๗ วัน (ส�ำหรับระยะเวลาต้องฝึกด�ำน�้ำจนสามารถ ด�ำในทะเลลึกได้จะอยู่ราว ๆ ไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน) เมื่อผู้รับการฝึกมีความรู้พื้นฐานแล้วครูฝึก ก็ จ ะเริ่ ม ท� ำ การฝึ ก นั ก ด� ำ น�้ ำ ใหม่ ใ นภู มิ ป ระเทศ โดยเป็นการด�ำน�ำ้ ในทะเลจริง ส่วนใหญ่แล้วจะเริม่ ฝึก ในระดับตื้น ๆ ก่อน ๗ – ๑๐ ฟุต นักด�ำน�้ำใหม่จะได้ รับความรู้สึกและสภาพการด�ำน�้ำในขั้นต้น และจาก นัน้ จะเริม่ ฝึกด�ำลึกลงไปเรือ่ ย ๆ ในการฝึกของหลักสูตร นักท�ำลายใต้น�้ำจู่โจม เมื่อถึงขั้นนี้ผู้รับการฝึกจะเริ่ม ท�ำการฝึกการด�ำน�้ำกับอาคารฝึกด�ำน�้ำที่มีชื่อว่า “หอด�ำน�้ำ”ที่มีความสูงประมาณ ๑๓ เมตร จากพื้น ระดับพื้นดิน เพื่อฝึกปรับสภาพร่างกายเมื่อต้องลงไป ใต้น�้ำที่มีความดันบรรยากาศสูงขึ้น (ทุก ๆ ๑๐ เมตร หรือ ๓๓ ฟุต ลงไปในน�้ำ ความดันจะเพิ่มขึ้น ๑ ATM (Atmospheric pressure) เท่ากับว่า ที่ก้นของหอ ด�ำน�้ำจะมีความดันบรรยากาศเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น ๑ ATM จากชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งเท่ากับ ๒ ATM ในระดับความลึก ๑๐ เมตร) โดยส�ำหรับในหลักสูตร นักท�ำลายใต้น�้ำจู่โจม ผู้รับการฝึกจะต้องท�ำการฝึก กับอาคารดังกล่าวอย่างเข้มข้น มีทั้งการฝึกแก้ปัญหา ต่าง ๆ ภายในหอด�ำน�้ำ อาทิ ฝึกเคลียร์แม็ส (Mask) ฝึกการถอดประกอบขวดอากาศใต้นำ�้ ฝึกแบ่งอากาศ หายใจกับเพื่อนในน�้ำ (Buddy Breathing) ฝึกการใช้ เม้าท์พีชหลักและเม้าท์พีชส�ำรองในน�้ำ ฝึ ก ถอดชุ ด ใส่ ชุ ด BCD (Buoyancy Compensator Device) ในน�้ำและใต้น�้ำ เป็นต้น โดยการฝึกที่ถือว่าหนักสุด คือ การฝึกด�ำน�้ำตัวเปล่า ลงไปยังก้นหอด�ำน�ำ้ เพือ่ ปฏิบตั ภิ ารกิจใต้นำ�้ และสามารถ ด�ำกลับขึน้ มาบนผิวน�ำ้ ได้ดว้ ยตัวเปล่า เช่นกัน ซึง่ ถือว่า เป็นขั้นการฝึกที่มีความโหดมากแต่ส�ำหรับพลเรือน


ข่าวทหารอากาศ

การด�ำน�้ำเพื่อปฏิบัติการทางทหาร

ทีม่ าขอใช้หอด�ำน�ำ้ ไม่ตอ้ งฝึกในขัน้ การด�ำด้วยตัวเปล่า นี้เพราะการฝึกลักษณะด�ำด้วยตัวเปล่านี้ เป็นการฝึก เพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจทางทหารเท่านั้น ทั้งนี้ หากไม่มีหอด�ำน�้ำเพื่อใช้ฝึกด�ำน�้ำแล้วก็ยังสามารถ ฝึกภายในห้อง Chamber แทนกันได้ซึ่งจะมีความ ปลอดภัยกว่า จากนั้นเมื่อนักด�ำน�้ำมีความช�ำนาญ กับการฝึกกับหอด�ำน�้ำมากแล้ว ระดับต่อไปจึงเริ่ม ท�ำการฝึกในทะเลที่ระดับความลึกที่มากขึ้น ตั้งแต่ ระดับความลึก ๖๐ ฟุต ๙๐ ฟุต จนถึงระดับความลึก ๑๒๐ ฟุต การด�ำน�ำ้ นัน้ ถือเป็นเรือ่ งสนุกและน่าท้าทาย แต่อีกสิ่งส�ำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องระมัดระวังส�ำหรับ การด�ำน�ำ้ นัน่ ก็คอื อาการใต้นำ�้ ทีอ่ าจเกิดขึน้ ได้ทกุ เมือ่ และกับทุกคน โดยอาการใต้นำ�้ นัน้ แบ่งออกเป็น ๒ แบบ ได้แก่ อาการใต้นำ�้ ทีต่ อ้ งรักษาโดยใช้หอ้ งปรับบรรยากาศ และอาการใต้นำ�้ ทีไ่ ม่ตอ้ งรักษาโดยใช้หอ้ งปรับบรรยากาศ ซึ่งแต่ละอย่างมีอะไรบ้างนั้นเราลองมาดูกัน อันดับแรก อาการทีไ่ ม่ตอ้ งรักษาโดยใช้หอ้ ง ปรับอากาศ ได้แก่ ๑. อาการไฮพอกเซีย เป็นสภาวการณ์ บกพร่องออกซิเจน ท�ำให้หมดสติจนถึงเสียชีวิต เกิด จากอากาศทีน่ กั ด�ำน�ำ้ ใช้หายใจไม่เพียงพอ หรืออากาศ หมด หรือขาดอากาศเนือ่ งจากอุปกรณ์การด�ำน�ำ้ ขัดข้อง ในการด�ำน�้ำแบบกลั้นหายใจ (Breath Hold Diving) หากนักด�ำน�้ำท�ำ Hyperventilation (ภาวะหายใจ

เร็วเกินไปหรือลึกมากกว่าปกติ) ก่อนด�ำเพื่อต้องการ ให้ด�ำได้นานขึ้นจะท�ำให้ขาดแรงกระตุ้นอยากหายใจ จากระดับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต�่ำ การหมดสติ มักเกิดขึ้นขณะใกล้ถึงผิวน�้ำ เนื่องจากแรงดันย่อย ของออกซิเจนจะลดลงอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า “Shallow Water Backout” ๒. คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ เนื่องจาก ควันไอเสียปนเปือ้ นในก๊าซทีใ่ ช้ในการหายใจ อาจเกิด จากการด�ำน�ำ้ วงจรปิด ในเครือ่ งด�ำน�ำ้ วงจรปิดมีอปุ กรณ์ ชือ่ เป็นไทยว่า “ปอดเทียม” เกิดการรัว่ หรือไม่สามารถ ดูดซับคาร์บอนได้ทำ� ให้ตอ้ งหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์ กลับเข้าไปในร่างกาย ๓. คาร์บอนไดออกไซด์เป็นพิษ (Hyper Capnea) หรือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คงั่ ในร่างกาย สาเหตุจากการท�ำงานหนัก การระบายอากาศไม่ดี การกลั้นหายใจ อุปกรณ์ขัดข้อง เช่น การไม่ท�ำงาน ของสารฟอกคาร์บอนไดออกไซด์ ท�ำให้เกิดอาการ ปวดมึนศีรษะ คลื่นไส้ สับสน หมดสติและเสียชีวิตได้ การบรรเทาภาวะนีเ้ มือ่ เกิดขึน้ ใต้นำ�้ ควรหยุดกิจกรรม ทั้งหมดที่ท�ำอยู่ เพื่อให้มี adequate ventilation หรือยกเลิกการด�ำน�้ำ ส่วนภาวะ Hypocapnea (คาร์บอนไดออกไซด์ต�่ำเกินไป) จะเกิดตามหลัง ภาวะ Hyperventilation มีอาการ ชา เกร็ง ปลายมือ ปลายเท้า มึนงง เวียนศีรษะ ควรยกเลิกการด�ำน�้ำ ๔. ออกซิเจนเป็นพิษ มักพบในนักด�ำน�้ำ ที่ใช้ระบบการด�ำแบบใช้อากาศหมุนเวียนกลับมา ใช้ใหม่ หรือระบบวงจรปิด (Closed Circuit หรือ Semi Closed Circuit System) หรือการหายใจด้วย ออกซิเจนภายใต้ความกดบรรยากาศสูง (ด�ำลึก เกินกว่า ๖๐ ฟุตน�ำ้ ทะเล) ซึง่ มีแรงดันย่อยของออกซิเจน ที่สูงมากเป็นเวลานาน จะท�ำให้เกิดอาการออกซิเจน เป็นพิษ (Oxygen Toxicity) แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ออกซิเจนเป็นพิษทีป่ อด และออกซิเจนเป็นพิษ ที่ประสาทส่วนกลาง ๕. อาการเมาไนโตรเจน (Nitrogen Narcosis) เกิดจากภาวะร่างกายมีไนโตรเจนมาก

29


30

อุปกรณ์ด�ำน�้ำ ได้แก่ Mask Fins ขวดอากาศ ,เรกูเรเตอร์ (วาวล์เปิดปิดอากาศให้เข้าสู่วงจร) เม้าท์พีช (ปากคาบ)

การฝึกปฏิบัติการโจมตีข้าศึกทางน�้ำ

เกินไป อาจมีภาวะจากร่างกายขับไนโตรเจนออก ไม่หมดเกิดการสะสมอยู่ในร่างกาย ๖. หายใจล�ำบาก เกิดจากความหนาแน่น ของก๊าซทีใ่ ช้หายใจนัน้ จะเพิม่ ขึน้ ตามความลึกของใต้นำ�้ ๗. การหายใจลึกและถี่ผิดปกติ (HyperVentilation) ๘. อาการเจ็ บ ปวดเนื่ อ งจากความดั น (Barotrauma) เนือ่ งจากฟองอากาศทีเ่ ราหายใจเข้าไป เกาะตามข้อต่าง ๆ ตามร่างกาย เมื่อเราขึ้นจากน�้ำ เร็วเกินไปจะท�ำให้ฟองอากาศขยายตัวและสลายไม่ทนั ท�ำให้เกิดเจ็บปวดตามข้อ

ชุดด�ำน�้ำวงจรปิดที่นิยมใช้ในการปฏิบัติการทางทหารปัจจุบัน

๙. อาการวิงเวียนใต้น�้ำ อาจเกิดจากการ เมาไนโตรเจนและออกซิเจน เช่น เราลงเร็วเกินไป ร่างกายปรับตัวไม่ทันหรือท�ำการป๊อบหูไม่ทัน ๑๐. Vertigo เป็ น อาการหลงอากาศ เกิดการมึนงงหลงสภาพการด�ำน�้ำ ไม่รู้ตรงไหน เป็นพื้นตรงไหนเป็นอากาศ

อ้างอิง http://www.vachiraphuket.go.th/hc/index.php?name=data&file=showdata&id=2 https://story.pptvhd36.com/@yuvadee/5b43099f2bed3

(อ่านต่อฉบับหน้า)


ข่าวทหารอากาศ

“อย่ากินถั่ว ในถ้วยนั้น”

ว.วิทยา

หลายสัปดาห์ก่อนผู้เขียนมีโอกาสได้ฟัง เรื่องเล่าจากมิตรชาวต่างชาติท่านหนึ่ง ท่านเล่า ให้ฟงั ว่า “มีชายหนุม่ คนหนึง่ เดินทางเข้าไปพบชายชรา ที่บริษัทเพื่อพูดคุยปรึกษาเรื่องธุรกิจ ระหว่างที่รอ ชายชราอยู่ที่โต๊ะรับแขก ชายหนุ่มก็เหลือบไปเห็น ถ้วยใส่ถั่วอยู่จ�ำนวนหนึ่งจึงลองหยิบถั่วนั้นขึ้นมาลอง กินดู ปรากฏว่าชายหนุ่มเมื่อได้กินถั่วก็รู้สึกอร่อย จนหยุดไม่ได้ จึงหยิบถั่วกินจนหมด กระทั่งชายชรา

ออกมาพบ ชายหนุ่มรู้สึกอายที่กินถั่วที่อยู่ในถ้วย จนหมด จึ ง กล่ า วขอโทษต่ อ ชายชราโดยบอกว่ า ตนรู้สึกว่าถั่วเหล่านี้มีรสชาติที่เค้าไม่เคยกินมาก่อน และอร่อยมากจนเขาอดใจไม่ได้เลยกินจนหมด แล้วจึง ถามกับชายชราว่า ท่านได้ถั่วนี้มาแต่ใด ชายชรายิ้ม แล้วบอกว่าตัวของท่านนั้นแก่แล้วฟันก็หักจนหมด กินของแข็ง ๆ ไม่ค่อยได้ ส่วนถั่วที่อยู่ในถ้วยพวกนั้น แต่ เ ดิ ม มั น เคลื อ บด้ ว ยช็ อ กโกแลต เนื่ อ งจากตน

31


32

ไม่มฟี นั เคีย้ ว จึงใช้วธิ ดี ดู เฉพาะช็อกโกแลตทีเ่ คลือบอยู่ ข้างนอกเท่านั้น ส่วนถั่วข้างในก็บ้วนทิ้งเอาไว้ในถ้วย ใบนั้นนั่นแหละ” สรุปแล้วรสชาติของถั่วที่ชายหนุ่ม บอกว่าอร่อยนักหนาก็คือ ถั่วที่เคลือบน�้ำลายของ ชายชรานั้นเอง แม้ว่าจะเป็นเรื่องตลกข�ำขัน แต่มิตร ชาวต่างชาติท่านนั้นก็ตบท้ายว่า เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า “อย่าคิดว่าอะไรมันจะเป็นอย่างที่เราเห็นเสมอไป” สิง่ ทีเ่ ราเห็น อาจไม่ใช่อย่างทีเ่ ราคิดเสมอไป อาจเป็นแนวความคิดหนึง่ ทีช่ ว่ ยให้เรามีความรอบคอบ ในการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ มิใช่ตัดสินเพียงแค่ดูจาก ภายนอก ผูเ้ ขียนขอยกตัวอย่างทีอ่ าจเห็นได้ชดั เจนมาก ยิ่ ง ขึ้ น เช่ น การแสดงมายากลของนั ก มายากล ซึ่ ง การแสดงโดยส่ ว นใหญ่ จ ะเป็ น การท� ำ ให้ ผู ้ ช ม เห็นและเชื่อว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นจริง แต่แท้จริงแล้วเป็น ความพยายามของนักมายากลที่ท�ำให้ผู้ชมเห็นและ คิดเช่นนัน้ การเสกให้คนหายไป การเสกให้ของลอยได้ การเสกดอกไม้ หรือแม้แต่การตัดคนออกเป็นสองท่อน แล้วยังกลับมามีชีวิตได้เหมือนเดิม ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ เห็นว่าเป็นอย่างนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ คนไม่ได้หายไปจริง ๆ แค่ถูกซ่อนอยู่หลังฉาก ของ ไม่ได้ลอยได้เองเพียงแต่มีอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบ เมื่ อ น� ำ ของไปวางแล้ ว จะท� ำ ให้ ดู เ หมื อ นลอยได้ การตัดคนเป็นสองท่อนก็เป็นเพียงการตัดกล่องเปล่า โดยที่คนไม่ได้ถูกตัดออกเป็นสองท่อนจริง ๆ

เมื่อออกจากโลกแห่งมายากลแล้วกลับมา สู่โลกแห่งความเป็นจริง ปัจจุบันการใช้สื่อโซเชียล มีเดียทีม่ กี ารแชร์สงิ่ ต่าง ๆ มากมาย ทัง้ ทีเ่ ป็นประโยชน์ ไร้ ป ระโยชน์ เป็ น เรื่ อ งจริ ง หรื อ ไม่ เ ป็ น เรื่ อ งจริ ง บางครั้งการเสพสื่อต่าง ๆ เหล่านี้โดยไม่ทันระวัง เรานั้นก็อาจตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวง หรือ ถูกท�ำให้เข้าใจผิดและน�ำไปสู่ความเสียหายที่อาจ เกิดขึ้นซึ่งอาจเป็นเพียงเล็กน้อยหรือมากมายจนเป็น ปัญหาใหญ่โตก็เป็นได้ การคิดให้รอบคอบโดยไม่ตัดสินจากเพียง สิ่งที่เห็นนั้นอาจเป็นเกราะป้องกันที่ดีที่สุด และควร ได้ ห มั่ น ฝึ ก ใช้ อ ยู ่ บ ่ อ ย ๆ ซึ่ ง การคิ ด แบบนี้ ไ ม่ ใช่ การคิดลบหรือมองโลกในแง่ลบ แต่เป็นการมอง สิ่งต่าง ๆ ให้เห็นและเข้าใจว่าแท้จริงแล้วเป็นเช่นไร เป็ น จริ ง อย่ า งที่ เ ห็ น หรื อ ไม่ เราอาจลองฝึ ก จาก สิ่งง่าย ๆ รอบตัวเราโดยผู้เขียนขอยกตัวอย่างกระปุก ออมสินกล่องมายากลที่หากมองแบบผิวเผินจะเห็น เป็ น กล่ อ งรู ป ทรงสี่ เ หลี่ ย มลอยอยู ่ ภ ายในกล่ อ ง แต่สามารถหยอดเหรียญจากบนกล่องได้ทั้งที่เป็น กล่องเปล่า แต่เมื่อสังเกตให้ดีจะเห็นว่าที่จริงแล้ว กล่องนั้นมีกระจกพาดเฉียงอยู่ครึ่งหนึ่ง และมีกล่อง รูปทรงสี่เหลี่ยมเพียงครึ่งเดียวแปะติดกับกระจก จึงท�ำให้เกิดเงาสะท้อนท�ำให้เห็นเป็นกล่องรูปทรง สี่เหลี่ยมทั้งลูกลอยอยู่ข้างใน ช่องหยอดเหรียญ


ข่าวทหารอากาศ

ผู้เขียนขอน�ำภาพสักสองภาพมาให้ลองค้นหาความจริงกัน

ภาพแรกเป็นต้นไม้แต่ได้ซอ่ นใบหน้าของคน ส�ำหรับภาพทีส่ อง อาจมองเห็นเป็นใบหน้า หลายคนไว้ในนั้น ลองดูสิว่าท่านเห็นใบหน้าทั้งหมด ผูช้ ายมีหนวดผมบาง แต่ถา้ ลองมองให้ดจี ะเห็นภาพที่ เท่าไหร่ทซี่ อ่ นในภาพนัน้ ถ้าเห็นน้อยกว่า ๖ หน้า อาจ ซ้อนอยูข่ า้ งในใบหน้า ถ้าดูแล้วไม่เห็นผูห้ ญิงใส่หมวกนัง่ ต้องลองดูใหม่อีกที หันหลังอยู่ รวมทัง้ ตอไม้ อาจต้องลองดูใหม่อกี เช่นกัน

“การมองเห็นสิ่งใดแล้วพยายามคิดพินิจ พิเคราะห์เพื่อหาว่าแท้จริงแล้วสิ่งนั้นเป็นอย่างที่เห็น หรือไม่ มีอะไรแอบแฝงหรือไม่ จะเป็นประโยชน์หรือ เป็นโทษกับเราหรือไม่นั้น นับว่าเป็นเครื่องมืออย่างดี ที่จะท�ำให้เราเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริงซึ่งมี ประโยชน์ตอ่ การตัดสินใจก่อนทีจ่ ะลงมือท�ำอะไร หรือ อย่างน้อย ๆ ก็ไม่ตอ้ งกินถัว่ ชุบน�้ำลายแบบชายหนุม่ ที่ ผู้เขียนกล่าวถึงในตอนต้น”

33


34

เป้ า หมาย ด้านการศึกษา น.ท.ไพฑูรย์ บุญศรี

การที่คนเรามาอยู่รวมกัน มันเป็นสังคม ทีต่ อ้ งมีกฎระเบียบ ข้อบังคับรวมกัน เพือ่ ทุกคนอยูร่ ว่ ม กันอย่างสงบสุขและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข แต่ใน ปั จ จุ บั น อะไร...อะไร...ก็ จ ะดู วุ ่ น วายไปหมด จะเดินเข้าวัดท�ำบุญใส่บาตร ท�ำจิตใจให้สงบผ่องใส สบายใจ ท�ำจิตใจให้ว่าง มีก�ำลังใจในการท�ำงานก็ต้อง เจอะเจอกับปัญหา...เงินทอนวัด ครั้ น จะเดิ น เข้ า ป่ า ต้ อ งการพั ก ผ่ อ น ชมธรรมชาติอันร่มรื่นสวยงาม ก็ต้องเจอกับปัญหา.. เสือด�ำ หรือไม่กป็ ญั หา...ป่าแหว่ง ถ้าจะวิเคราะห์แล้วสิง่ เหล่านี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ก็เพราะว่าบุคคลเหล่านี้ ขาดจิตสาธารณะ ขาดดุลยพินิจ ขาดการไตร่ตรอง ขาดความพอเหมาะ พอดี ขาดความคิดให้รอบคอบว่า ตัดสินใจท�ำไปแล้วจะเกิดผลดีผลเสียอย่างไร ไม่รักษา กฎระเบียบของสังคมที่วางไว้ สิ่งเหล่านี้ถูกปลูกฝังมา ตั้งแต่สถาบันครอบครัว และสถานศึกษาต่าง ๆ ซึ่งได้ ก�ำหนด สิง่ ส�ำคัญเหล่านีไ้ ว้ในวัตถุประสงค์ของหลักสูตร อย่างชัดเจน เรื่องนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษา ทีด่ ำ� เนินการบริหารจัดการสร้างคนให้เป็นไปตามความ ต้องการ ที่ก่อประโยชน์สูงสุดต่อหน่วยงาน กองทัพ และสังคม ประการทีส่ ำ� คัญของการศึกษาก็คอื เป้าหมาย ด้านการศึกษาไม่เพียงต้องการแต่คนเก่ง คนฉลาด เท่านัน้ ยังต้องการคนทีด่ มี คี ณ ุ ธรรม จริยธรรม ซือ่ สัตย์ สุจริต และเล็งเห็นประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นที่ตั้ง โดยมีหัวข้อดังนี้

๑. หน้าที่และลักษณะส�ำคัญทางด้านการศึกษา ๒. เป้าหมายด้านการศึกษา

ก่อนที่จะกล่าวถึงหน้าที่ด้านการศึกษา ก็ต้องมาพูดถึงเรื่องทั่ว ๆ ไปกันก่อนให้เข้าใจ สืบเนื่อง มาจากรัฐบาลต้องการพัฒนาประเทศ จากประเทศที่ มีรายได้ปานกลาง เป็นประเทศทีม่ รี ายได้สงู หรือพัฒนา แล้ว ลงมือท�ำแต่น้อยได้ผลตอบแทนสูง โดย เน้นการ ผลิตคนทีส่ ามารถใช้เทคโนโลยี และการสร้างนวัตกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ นั้นเป็นการบริหาร จัดการประเทศของรัฐบาล ในขณะที่เราเป็นสถาน ศึกษาที่สร้างคน ต้องบริหารจัดการจัดท�ำหลักสูตร ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคน ความต้องการของ หน่วยงาน และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ทีเ่ รา มักจะคุน้ หูวา่ “เราจะไม่ทงิ้ ใครไว้ขา้ งหลัง เราจะก้าว ไปพร้อม ๆ กัน” เป็นเชิงนโยบายของรัฐบาล แต่ทาง ด้านการศึกษา สถานศึกษายังคงเน้นที่โรงเรียน ครู นักเรียน และเนือ้ หาเป็นหลัก ท้ายสุดก็วดั ผล ให้นกั เรียน


ข่าวทหารอากาศ

ท่องจ�ำเนื้อหา กวดวิชา จากการปฏิบัติในอดีตที่ผ่าน มาหากเราย้อนหลังกลับไปก็จะพบกับการเรียนที่ เป็นห้อง KING ที่สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน และ มาในปัจจุบนั ก็เป็นห้องเตรียมและห้อง Gifted ทีเ่ ป็น ห้องเด็กเก่งสร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนเช่นกัน ซึ่งถูก คัดเลือกพิเศษเป็นห้องเด็กเก่ง แต่กเ็ ป็นเพียงส่วนน้อย ถ้าดูจากรูปสี่เหลี่ยม แต่รูปสามเหลี่ยมก็จะเป็นพื้นที่

ตรงตามความต้องการของหน่วยงาน กองทัพ และ สังคม ๒. การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) แบบองค์รวมบูรณาการ สร้างคน สร้างงาน สร้างชาติ ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ใน การศึกษาและการมีส่วนร่วมของบุคคลในครอบครัว ชุมชน องค์กร และสถาบันสังคมอืน่ ๆ อย่างมีคณ ุ ธรรม

KING เตรียม Gifted นักเรียนส่วนใหญ่ ทีไ่ ด้รบั การเรียนการสอน การสนใจ ที่ แ ตกต่ า งจากห้ อ ง Gifted เป็ น นั ก เรี ย นที่ มี แ ต่ การแข่งขันกันเรียนตลอดเวลา กวดวิชาตลอดเวลา แทบไม่มีเวลาเป็นของตนเอง และการเรียนรู้สังคม เป็นอย่างไร สังคมต้องการอะไรจนกลายเป็นผูม้ คี วามรู้ แต่ปฏิบตั ไิ ม่ได้ สวนทางกับนโยบายของรัฐบาลที่จะ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ดังนั้นก่อนอื่นที่จะก้าวสู่เป้าหมายเราต้อง มาศึกษาถึงหน้าทีแ่ ละลักษณะส�ำคัญทางด้านการศึกษา มิใช่เพียง การอ่านออก การเขียนได้ การคิดเลขเป็น เท่านั้น เราก้าวมาไกลถึง การศึกษาในยุค Thailand 4.0 จึงมีหน้าที่และลักษณะส�ำคัญทางด้านการศึกษา ดังนี้ ๑. การผลิตก�ำลังพล (Manpower) ต้อง เน้นประโยชน์ของผู้เรียน เรียนให้สนุก เล่นให้ได้ ความรู้ เปิดโอกาสให้วเิ คราะห์ แสดงความคิดเห็นอย่าง เป็นเหตุเป็นผลและถูกต้อง เกิดความเชือ่ มัน่ กับตนเอง

จริยธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต และด�ำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม อันดีงามของไทย สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งส�ำคัญที่จะน�ำพา ไปสู่การด�ำเนินชีวิตที่ยั่งยืน ๓. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) เป็นการยกระดับให้เป็นผูป้ ฏิบตั งิ านคุณภาพ (Knowledge Workers) โดยการน�ำเอาเทคโนโลยี เข้ามาบูรณาการในการเรียนการสอนเพิม่ มากขึน้ ท�ำให้ เด็กเกิดความสนใจ ทันต่อยุคสมัยมากขึ้น สอดคล้อง แนวคิ ด และนโยบายที่ ท� ำ ให้ เ กิ ด นวั ต กรรมใหม่ ของรัฐบาลได้ สาเหตุหนึ่งที่ต้องน�ำเรื่องนี้มาพูด ก็เพราะ ว่ามีเด็กเก่งเหล่านี้เดินทางไปเมืองนอกเมืองนา เพื่อ ไปแข่งขันทางด้านวิชาการระดับการศึกษาโลก หรือ ไม่ก็ในแถบอาเซียน ได้รับรางวัลเหรียญทองกลับมา เป็ น หน้ า เป็ น ตาให้ กั บ เยาวชนไทยและคนไทย ทั้ ง ประเทศ แต่ ใ นภาครวมระดั บ การศึ ก ษาโลก ๑๐ อันดับ กับมีผลดังนี้

35


36

๑. ฟินแลนด์ ๒. สิงคโปร์ ๓. สวิตเซอร์แลนด์ ๔. เกาหลีใต้ ๕. ฮ่องกง ๖. อิสราเอล ๗. เบลเยีย่ ม ๘. ไต้หวัน ๙. เนเธอร์แลนด์ ๑๐. ออสเตรเลีย


ข่าวทหารอากาศ

ส�ำหรับประเทศไทยของเราอยูอ่ นั ดับที่ ๕๕ จาก ๗๐ ประเทศ ซึ่งอาจจะดูห่างไกลเกินไปส�ำหรับ ประเทศไทยในระดับนานาชาติของการศึกษาโลก จากรูปภาพ ลองหันกลับมาดูระดับการศึกษา ของไทยในแถบภูมิภาคอาเซียน ในระดับการศึกษา พื้นฐาน อยู่อันดับที่ ๖ ส่วนการศึกษาในระดับมัธยม และอุดมศึกษา อยู่อันดับที่ ๘ มันเกิดอะไรขึ้นเสมือน สะท้อนให้เห็นว่า การศึกษาของไทยเราเป็นการ ตามล่าหาโรงเรียนที่ดีที่สุด หานักเรียนที่เก่งที่สุด หามหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด สอบให้ได้คะแนนสูงที่สุด

ทีช่ ดั เจนมุง่ สูเ่ ป้าหมายทีก่ ำ� หนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงข้ามกับประเทศไทยของเรา หนทางการปฏิบตั แิ ละ ระบบการบริหารจัดการกับเป้าหมายการศึกษาไป คนละทิศ คนละทาง ขาดความทัดเทียมในการเอาใจใส่ ดูแลเยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศ จึงส่งผลกระทบ ต่อปัญหาของประเทศตามมาถึงปัจจุบันถ้าหากยัง ไม่รีบแก้ไขก็จะส่งผลกระทบในอนาคตต่อไป กับการ มุ่งสู่เป้าหมายที่ก�ำหนดไว้แล้ว เราต้องมาท�ำความเข้าใจกับวิสัยทัศน์หรือ เป้าหมายของการศึกษาให้ชัดเจน เข้าใจตรงกันว่า

นีห่ รือเป้าหมายการศึกษาของไทยทีถ่ กู ก�ำหนดไว้แล้ว เราก�ำลังก้าวเข้าสู่เป้าหมายด้านการศึกษาที่แท้จริง หรือเพียงเป็นคู่ขนานกันกับเป้าหมาย ส่งฝันสลายให้ เด็กไทยจ�ำนวนมากต้องถูกทิง้ อยูไ่ ว้ขา้ งหลัง ทีเ่ ขาเหล่า นั้ น เป็ น เยาวชนกลุ ่ ม ใหญ่ ยั ง ขาดโอกาสเล่ า เรี ย น ที่เท่าเทียมกัน ขอยกตัวอย่างการศึกษาของประเทศ ฟินแลนด์ทตี่ ดิ อันดับที่ ๑ ของการศึกษาระดับนานาชาติ ทั้ง ๆ ที่เด็กของเขาส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการเล่น แต่ เล่นอย่างได้ความรู้ และมุมมองทางด้านการศึกษามี ระบบพิเศษที่ก�ำหนดไว้ ได้แก่ ไม่มีข้อสอบมาตรฐาน ไม่มกี ารแข่งขัน เชือ่ มัน่ ในครู และทุกโรงเรียนเท่าเทียม กัน โดยแนวทางการปฏิบตั แิ ละระบบการบริหารจัดการ

เราจะให้การศึกษาสร้างผลผลิตและผลลัพธ์อะไร ให้เกิดขึ้น โดยก�ำหนดเป็นห้วงระยะเวลาไว้เป็น ๓,...๙,...๒๐ ปีขา้ งหน้า ก็จะพบว่า เราอยากเห็นเด็กไทย มีลักษณะเฉพาะตัวหรือสมรรถนะ 3Rs 8Cs กล่าวคือ 3Rs ประกอบด้วย อ่านออก (Reading) เขียนได้ (WRiting) คิดเลขเป็น (ARithmetics) นอกจาก นี้ยังประกอบด้วย 8Cs ประกอบด้วยทักษะด้านการคิดอย่าง มีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการ สร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์

37


38

(Cross – Cultural Understanding) ทั ก ษะ ด้านความร่วมมือการท�ำงานเป็นทีม และภาวะผู้น�ำ (Collaboration Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ (Communication Information and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) ความมีเมตตา กรุณา วินยั คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) ซึง่ จะเห็นได้วา่ C ตัวสุดท้าย นี่คือสมรรถนะส�ำหรับคนรุ่นใหม่ เพื่อสร้างพื้นฐาน ของชีวิตและแสวงหาความรู้ในอนาคต โดยในสังคม ไทยได้เพิม่ C – Compassion ซึง่ เป็นลักษณะเฉพาะ ที่เป็นจุดเด่นของไทยแท้ ๆ คือความมีเมตตา กรุณา วินัย คุณธรรม จริยธรรม และยังจะหมายรวมไปถึง ความมีวฒ ั นธรรมแบบไทย ความเคารพเทิดทูนสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ประการต่ อ ไปคื อ ต้ อ งสร้ า งสั ง คมแห่ ง การเรียนรู้ให้เกิดขึ้น มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และ สร้างสังคมอุดมปัญญา ที่ทุกคนรู้จักแยกแยะผิดชอบ ชั่วดี คิดวิเคราะห์ อย่างมีเหตุมีผล รับฟังความคิดเห็น ของผูอ้ นื่ มีจติ วิญญาณประชาธิปไตยและจิตสาธารณะ ใช้สื่ออย่างเหมาะสม โดยเฉพาะสื่อโซเชียลมีเดีย ที่แพร่หลายในปัจจุบัน อ้างอิง กระทรวงศึกษาธิการ www.moe.go.th http://www.kroobannok.com/83243 https://www.weforum.org/agenda

ดังนั้น การที่เราจะก้าวสู่เป้าหมายที่เรา มุ่งหวังก็จะเป็นไปได้ยาก ถ้าจะก้าวไปสู่ความส�ำเร็จ จะต้องมุ่งมั่นและเชื่อมั่นในเป้าหมายที่เราจะก้าวไป ให้ถงึ วันนีเ้ ป้าหมายสุดท้าย หรือผลลัพธ์ของการศึกษา ถูกก�ำหนดไว้แล้ว เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ใน ส่วนการศึกษาต่าง ๆ ของ ทอ. ก็จ�ำเป็นต้องก�ำหนด เป้าหมายให้ชัดเจน และสอดคล้องครอบคลุม ให้ตรง ตามความต้องการของหน่วยงาน และกองทัพ เพื่อให้ เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากทางด้าน วิชาการด้านเดียว ที่แท้จริงแล้วข้อมูลบางส่วนจะได้ รับจากผู้ปฏิบัติงานน�ำมาประมวลกลั่นกรองให้เป็น เป้าหมายที่แท้จริง ขอยกตัวอย่างเช่น รร.นอส.ยศ. ทอ.มีหลักสูตรทีก่ ำ� หนดเป้าหมายไว้แล้ว แต่กเ็ ป็นเพียง มุมมองทางด้านวิชาการเท่านัน้ ยังขาดข้อมูลทีจ่ ำ� เป็น ในการก�ำหนดเป้าหมายให้เกิดประสิทธิภาพ จึงเป็น ทีม่ าของโครงการสัมมนาเชิงปฏิบตั กิ าร ความต้องการ ของ นขต.ทอ.ที่ มี ต ่ อ ผู ้ ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษาหลั ก สู ต ร นายทหารอากาศอาวุโส ก็คือความต้องการของ นขต.ทอ.ทีด่ แู ลควบคุมการปฏิบตั แิ ละการบริหารจัดการ ผูส้ ำ� เร็จการศึกษาโดยตรง น�ำมาประกอบกับเป้าหมาย ด้านการศึกษาทีก่ ำ� หนดไว้ให้ชดั เจนและสมบูรณ์ยงิ่ ขึน้ แต่วิธีการที่จะได้ข้อมูลมา ไม่ว่าสถานการณ์ข้างหน้า ที่เราจะก้าวไป อาจจะเกิดปัญหาหรืออุปสรรคต่าง ๆ นานา ถ้าเริ่มต้นท�ำแล้วได้รับผลลัพธ์เพียงการปรับ เปลี่ยนการด�ำเนินการหรือเป้าหมายได้บ้างในบาง ประเด็น เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ส�ำเร็จการ ศึกษาที่เราสร้างให้เขาเป็น Smart People ของ หน่วยงาน และประเทศชาติ ก็ให้ถือว่าเราประสบผล ส�ำเร็จแล้ว และวันนี้ขอฝากข้อคิดและก�ำลังใจให้แก่ ผู้สร้างทุกคน “สิ่งที่อันตรายที่สุดไม่ใช่การที่เราตั้ง เป้าหมายไว้สูงเกินไปแล้วตกลงมา แต่กลับเป็นการที่ เราตัง้ เป้าหมายไว้ตำ�่ เกินไปแล้วท�ำได้สำ� เร็จต่างหาก”


ข่าวทหารอากาศ

ASEAN Anti-Submarine Warfare Helicopters น.อ.พลวัตร อินทรวิเศษ

เรือด�ำน�้ำถือว่าเป็นเครื่องมือทางทหารเชิงรุก ในอดีตสมรภูมิเพิร์ลฮาเบอร์ (Pearl Harbor) กองทัพญี่ปุ่นได้ใช้เรือด�ำน�้ำจิ๋ว ๕ ล�ำ เข้าไปในอ่าวเพิร์ลฮาเบอร์และสร้างความสับสนในการติดต่อสื่อสาร ของสหรัฐอเมริกา ท�ำให้ฝูงบินขนาดใหญ่ของกองทัพญี่ปุ่นที่เข้าโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์ได้อย่างอิสระ ซึ่งท�ำให้ ภารกิจการโจมตีประสบความส�ำเร็จเป็นอย่างมาก ปัจจุบันเรือด�ำน�้ำยังสามารถไปในดินแดนข้าศึก โดยข้าศึกไม่รตู้ วั อยูใ่ นระยะทีส่ ามารถใช้อาวุธจรวดน�ำวิถรี ะยะไกลโจมตีเป้าหมายทีส่ ำ� คัญได้อย่างแม่นย�ำ

39


40

ปั จ จุ บั น ในภู มิ ภ าคอาเซี ย นมี เรื อ ด� ำ น�้ ำ เข้าประจ�ำการในหลายประเทศซึ่งถือว่าเป็นอาวุธ ในระดับยุทธศาสตร์ โดยเริ่มจากประเทศสิงคโปร์ ได้บรรจุเรือด�ำน�้ำ ๔ ล�ำ มาเลเซีย ๒ ล�ำ อินโดนีเซีย ๕ ล�ำ และเวียดนามจ�ำนวน ๖ ล�ำ ส่วนประเทศไทย ได้ลงนามในการจัดซือ้ เรือด�ำน�ำ้ จากจีน และฟิลปิ ปินส์

ก�ำลังด�ำเนินการในขัน้ ตอนการเลือกเรือด�ำน�ำ้ ในประเทศ ชั้นน�ำ ทั้งจากจีน เกาหลีใต้ รัสเซีย และฝรั่งเศส การป้องกันและปราบเรือด�ำน�้ำนั้นถือว่า เป็นสิ่งส�ำคัญมาก เพราะถ้าปราศจากเครื่องมือที่ดีจะ ท�ำให้เรือด�ำน�้ำของฝ่ายตรงข้ามสามารถเข้ามาปฏิบัติ การในน่านน�้ำได้อย่างอิสระ


ข่าวทหารอากาศ

กองทัพเรือฟิลิปปินส์ : เฮลิคอปเตอร์แบบ AW-159 AgustaWestland นามเรียกขาน WildCat ภารกิจต่อต้านเรือด�ำน�้ำประเทศอังกฤษเป็นผู้ผลิต ก�ำลังเครื่องยนต์ขนาด ๑,๓๖๒ แรงม้า บรรทุกน�้ำหนัก วิ่งขึ้นสูงสุด ๑ ตัน เรดาร์ Active Electronically Scanned Array (AESA) และติดตั้งระบบตรวจจับ Electro-Optic/Infrared บริเวณหัว ปฏิบตั ภิ ารกิจการบินลาดตระเวน การต่อต้านเรือด�ำน�ำ้ ต่อต้านเรือผิวน�ำ้ อเนกประสงค์ ระบบบัญชาการและควบคุม และการล�ำเลียง ติดตั้งจรวดน�ำวิถีอเนกประสงค์ขนาดเบา Martlet และตอร์ปโิ ด String Ray บรรจุเข้าประจ�ำการในปี ค.ศ.๒๐๑๘ จ�ำนวน ๒ เครือ่ ง มูลค่า ๑๐๐ ล้านปอนด์ รวมทั้งการฝึกนักบินและ เจ้าหน้าที่ซ่อมบ�ำรุง

กองทัพเรือเมียนมา : เฮลิคอปเตอร์แบบ AS-365 Eurocopter นามเรียกขาน Dauphin ประเทศ ฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิต ราคา ๑๐ ล้านเหรียญสหรัฐ มี ๒ เครื่องยนต์ คุณสมบัติทั่วไป นักบิน ๑ - ๒ คน สามารถ บรรทุกก�ำลังพลได้ ๑๒ คน น�้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด Maximum Take - off Weight (MTOW) ๙,๕๐๐ ปอนด์ น�้ำหนักตัวเปล่า ๕,๓๑๕ ปอนด์ ความเร็วสูงสุด ๑๙๐ ไมล์ต่อชั่วโมง ระยะการบินเดินทาง ๕๑๕ ไมล์ เพดานบิน ๑๙,๒๔๐ ฟุต อัตราการไต่ ๑,๗๕๐ ฟุตต่อนาที

41


42

กองทัพเรืออินโดนีเซีย : เฮลิคอปเตอร์แบบ AS-565MBe นามเรียกขาน Panther AS-565MBe เป็นเฮลิคอปเตอร์รุ่นใหม่ที่ใช้ทางทหารจากบริษัทแอร์บัส มีขนาดน�้ำหนักปานกลาง อเนกประสงค์ ๒ เครื่องยนต์ สนับสนุนการยกพลขึ้นบก การยิงสนับสนุน สงครามต่อต้านเรือด�ำน�้ำ การโจมตีภาคพื้นดิน การค้นหาและช่วยชีวิต และการส่งกลับผู้ป่วยทางอากาศ คุณสมบัติทั่วไป จ�ำนวนนักบิน ๑ - ๒ คน บรรทุกก�ำลังพลจ�ำนวน ๑๐ คน น�้ำหนักวิ่งขึ้นได้สูงสุด ๔,๓๐๐ กิโลกรัม ๒ เครื่องยนต์ ๘๕๒ แรงม้า ความเร็วสูงสุด ๓๐๖ กิโลเมตรต่อชั่งโมง เพดานบิน ๑๙,๒๔๒ ฟุต อัตราไต่ ๑,๗๕๐ ฟุตต่อนาที การติดตั้งอาวุธปืน Giat M621 20 mm (0.787 inch) cannon pods ติดตั้งจรวดขนาด 68 mm (2.677 inch) or 70 mm (2.756 inch) จรวดน�ำวิถีอากาศสู่อากาศ Matra Mistral และจรวดน�ำวิถีโจมตีภาคพื้นแบบ AS 15 TT จรวดน�ำวิถีท�ำลายรถถังแบบ HOT anti-tank และ ตอร์ปิโดต่อต้านเรือด�ำน�้ำ Mk46 หรือ Whitehead A.244/S

กองทัพเรือสิงคโปร์ : เฮลิคอปเตอร์ แบบ SH-70B Sikorsky นามเรียกขาน Seahawk สามารถ บินออกไปปฏิบัติภาระกิจระยะทาง ๑๐๐ ไมล์ และบินได้หลายชั่วโมง เป็นเฮลิคอปเตอร์นอเนกประสงค์ ทุกกาลอากาศ ภารกิจลาดตระเวน ค้นหาและช่วยชีวิต ติดตั้งจรวดน�ำวิถี อากาศสู่พื้น ต่อต้านเรือผิวน�้ำ และ ต่อต้านเรือด�ำน�้ำ ภารกิจต่อต้านเรือด�ำน�้ำจะติดตั้งอุปกรณ์ ARR-84 receiver และ RYS-1 Acoustic Processing Unit และ ARN-146 เครือ่ งแสดงต�ำแหน่งของเรือด�ำน�ำ้ ในห้องนักบิน โดยมี AN/ASQ-81 (V) 2 เป็นตัวตรวจจับ สัญญาณของเรือด�ำน�้ำ บรรทุกตอร์ปิโดแบบ ๔๖ จ�ำนวน ๒ ลูก หรือ MK50 ALT ขั้นสูงน�้ำหนักเบา สมรรถนะ อัตราการไต่ระดับ ๖,๓๙๐ ฟุตต่อนาที ความเร็วเดินทาง ๒๗๐ กิโลเมตรต่อชัว่ โมง บินได้ไกลสุด ๕๙๒ กิโลเมตร และสามารถบินได้สงู สุด ๑๗,๓๐๐ ฟุต บินได้นาน ๓ ชัว่ โมง น�ำ้ หนักวิง่ ขึน้ สูงสุด ๙,๙๒๖ กิโลกรัม


ข่าวทหารอากาศ

กองทัพเรือมาเลเซีย : เฮลิคอปเตอร์แบบ Super Lynx 300 Westland กองทัพเรือมาเลเซีย ได้สงั่ ซือ้ จ�ำนวน ๖ ล�ำ ซึง่ เป็นประเทศแรกทีไ่ ด้รบั เครือ่ งเมือ่ เดือนกันยายน ปี ค.ศ.๒๐๐๓ และครบทัง้ ๖ เครือ่ ง ในปีถัดมา ในห้องนักบินเป็น Glass Cockpit มีล้อส�ำหรับการลงสนาม สามารถรองรับน�้ำหนักการลงสนาม ด้วยอัตราการร่อน ๖ ฟุตต่อวินาที บรรทุกก�ำลังพลได้ ๙ คน หรือ ๑,๓๖๐ กิโลกรัม อาวุธติดตั้งจรวดน�ำวิถี SEA Skua จ�ำนวน ๔ ลูก เป็นจรวดน�ำวิถีแบบ Semi - Active เรดาร์ ติดตั้งเรดาร์รุ่น Seaspray ระยะตรวจจับ ๒๕ กิโลเมตร ติดตั้งตอร์ปิโดแบบ Mark44 Mark46 A244S และ Stingray มีระบบเรดาร์แจ้งเตือนรุน่ ATK AN/AAR-47 และมีระบบเป้าลวงด้วยความร้อน Selex M147 flare dispenser และ อุปกรณ์รบกวนอินฟราเรด Selex Sensors & Airborne System AN/ALQ-144A

กองทัพเรือเวียดนาม : เฮลิคอปเตอร์แบบ Ka-28 Kamov นามเรียกขาน Helix ภารกิจต่อต้าน เรือด�ำน�้ำ ประเทศรัสเซียเป็นผู้ผลิต ประเทศที่ใช้ ได้แก่ อินเดีย คิวบา ซีเรีย และจีน ภารกิจ Detect Track และ destroy เรือด�ำน�้ำที่ระยะลึกถึง ๕๐๐ เมตร ปฏิบัติการบินได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ระยะรัศมี ปฏิบัติการ ๒๐ กม. ติดตั้งเรดาร์ในการเดินทางและตรวจจับเป้าหมายเหนือน�้ำ มีอุปกรณ์ VGS-3 dipping sonar ในการตรวจจับเรือด�ำน�้ำ และยังมีระบบ IFF ที่สามารถจะพิสูจน์ฝ่ายด้วยตัวนักบินเอง (Interrogation friendor foe) อาวุธ มีต�ำแหน่งส�ำหรับติดตั้งได้ ๔ ต�ำแหน่ง จรวดน�ำวิถี ติดตั้งจรวด ระเบิด และกระเปาะ ปืนใหญ่ และติดตั้งตอร์ปิโด นอกจากนั้นยังติดตั้งปืนขนาด ๗.๖๒ มม. ๑,๘๐๐ นัด

43


44

สิงคโปร์

กองทัพเรือไทย : เฮลิคอปเตอร์แบบ SH-70B Sikorsky นามเรียกขาน Seahawk เหมือนกับกองทัพ

ประเทศในภูมภิ าคอาเซียนทีก่ ำ� ลังด�ำเนินการจัดหาเรือด�ำน�ำ้ เพือ่ เพิม่ ศักยภาพให้กบั กองทัพฟิลปิ ปินส์ แม้โครงการจัดหาเรือด�ำน�ำ้ ซึง่ มองหาเรือด�ำน�ำ้ จากประเทศรัสเซีย ฝรัง่ เศส เยอรมันและเกาหลีใต้ กองทัพเมียนมา มีโครงการในการจัดหาเรือด�ำน�ำ้ ไว้ปอ้ งกันประเทศเช่นกัน โดยมีแนวโน้มจะจัดหาเรือด�ำน�ำ้ จากจีน ส่วนกองทัพ เรือไทยนั้น ได้ลงนามในการจัดหาเรือด�ำน�้ำจากจีน โดยเซ็นสัญญาจ้างสร้างเรือด�ำน�้ำล�ำแรก เมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ ด้วยงบประมาณ ๑๓,๐๐๐ ล้านบาท เป็นเรือด�ำน�้ำดีเซล – ไฟฟ้า รุ่น Yuan Class S26T ทั้งโครงการ เป็นจ�ำนวนเงิน ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท จ�ำนวนเรือด�ำน�้ำ ๓ ล�ำ พร้อมระบบสนับสนุนต่าง ๆ


ข่าวทหารอากาศ

อักษรไขว้ ปริศนาอักษรไขว ประจ� ำเดือน ธันวาคม ๒๕๖๑ ประจําเดือน ธ.ค.๖๑

มีน

มีน

ค�ำสั่ง ๑. ให้หาค�ำมาเติมในช่องว่างทั้งแนวตั้งและแนวนอน โดยดูจากความหมายที่ให้มาแต่ละช่องเติมได้ ๑ ตัวอักษร คําสั่ง ๒. สระบน าง และวรรณยุ ให้เติมไว้กบั ตัวโดยดู อักษรเดี ยวกัน ส่วนสระหน้ ใหหาตัวอักสระล่ ษรมาเติ ม ทั้งแนวตัก้งต์และแนวนอน จากความหมายที ่ใหาและสระหลังให้แยกช่องต่างหาก ๑

๑๐ ๑๒

๑๙

๑๓

๑๔

๒๗

๒๒

๒๕

๒๖

๒๘

๒๙

๓๐

๓๑ ๓๒

๔๑

๓๕

๓๓ ๓๖

๓๙ ๔๒

๑๕

๒๑ ๒๔

๓๘

๑๗

๒๐

๒๓

๓๔

๑๑

๑๖ ๑๘

๓๗ ๔๐ ๔๓

45


46

๑. ชื่อสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ปีนักษัตร ซึ่งเป็นปีพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ๕. มีพษิ ก�ำเริบเนือ่ งจากแผล ๙. ท�ำ ฉาบ แตะ กะไหล่ ๑๐. แบ่งภาคมาเกิดในโลก (ใช้แก่พระนารายณ์) ๑๒. ไม่มที พ่ี งึ่ ซัดเซพเนจร ๑๔. ผูร้ จู้ กั รส ผูร้ จู้ กั รสในทางกวีและศิลปะต่าง ๆ ๑๖. แคลงใจ ชักจะสงสัย ๑๘. ชัน้ เชิงทีส่ ามารถเอาชนะอีกฝ่ายหนึง่ ได้อย่างเด็ดขาด ๒๑. หม้อน�ำ้ รูปต่าง ๆ คอยาว ๒๓. หนังสือว่าด้วยถ้อยค�ำในภาษาใดภาษาหนึง่ เรียงตาม ล�ำดับตัวอักษร ๒๖. โคนของต้นไม้ทล่ี ำ� ต้นถูกตัดหรือหักลงแล้ว ๒๗. (ส�ำนวน) บงการอยูเ่ บือ้ งหลัง ๒๘. แก่ดว้ ยอายุ ๓๐. ต่าง ๆ ๓๑. หน่วยทหารทีป่ ระกอบด้วยทหาร ๓ กองพล และมีทหาร หน่วยอืน่ ๆ เช่น หน่วยทหารช่าง หน่วยทหารสือ่ สาร หน่วยทหารรถถัง หน่วยทหารปืนใหญ่ เป็นส่วนประกอบ มีแม่ทพั เป็นผูบ้ งั คับบัญชา ๓๒. (ราชาศัพท์) ลูกชาย ๓๔. เทวดา ๓๖. พืน้ ทีร่ าบ ท�ำเป็นคันกัน้ น�ำ้ เป็นแปลง ๆ ส�ำหรับปลูกข้าว เป็นต้น ๓๗. ใช้เท้าวัด เหวีย่ ง หรือดีดไปอย่างแรง ๓๘. เอาสิง่ ของใส่ปากแล้วหุบไว้ ไม่กลืนลงไป ๓๙. (ภาษาพูด) ดีเด่นทีเดียว ๔๑. ใจ ๔๒. พืน้ ชัน้ ๔๓. งาม ดี

๑. ผูส้ นองคุณท่าน ๒. กระทบเรียดไป ๓. ชือ่ แพรชนิดหนึง่ ๔. แยง ๕. เนือ้ ความประโยชน์ ๖. ท�ำเครือ่ งหมายเป็นรูปกากบาท ๗. เปลีย่ นไปเปลีย่ นมาไม่แน่นอน ๘. ใช้สง่ิ มีคมฟันสิง่ ใดสิง่ หนึง่ เช่น ต้นไม้ ให้เป็นแผลหรือ เป็นรอยหรือเป็นทางเข้าไป ๑๑. งวงช้าง ๑๒. พระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ ชัน้ พระองค์เจ้า ทีท่ รงกรม ๑๓. สงคราม เสียง เสียงดัง ๑๕. ชือ่ สัตว์ในจินตนาการของจีน ถือว่ามีกำ� ลังมากและ หน้าตาดุรา้ ย ๑๗. ส่วนริมทัง้ สองข้างเรือ ๑๙. ชือ่ ต้นไม้ มีฝกั แบนใหญ่มาก ฝักอ่อนท�ำให้สกุ แล้วกินได้ เมล็ดใช้ทำ� ยา ๒๐. ลูกหญิง ๒๒. (ราชาศัพท์) ก�ำไลมือ ๒๔. น้อง ๒๕. กลุม่ โรคทีม่ ไี ข้สงู เป็นสัปดาห์ มีผนื่ ขึน้ ๒๗. เริม่ ตัง้ คอได้ ๒๙. เอียงเอนไปมา ๓๒. ไม่แน่นอน ๓๓. คราด ๓๕. ใจกลาง ส่วนส�ำคัญ ๔๐. ทรัพย์สมบัติ

(เฉลยหน้า ๗๘)


ข่าวทหารอากาศ

Le Professeur

Le Professeur

การใช้เวลาอยูต่ ามล�ำพังอาจส่งผลดีตอ่ สุขภาพของคุณ

(Being a Loner Maybe Good for Your Health) คนที่มีบุคลิกที่ชอบใช้เวลาอยู่กับตนเอง (Introverts) อาจยังไม่ทราบถึงผลดีจากการได้ใช้เวลา อยูค่ นเดียวตามล�ำพังว่า ก่อให้เกิดผลดีตอ่ ตัวคุณเองอย่างไรบ้าง แต่อย่างไรก็ตามคนทีม่ บี คุ ลิกทีช่ อบเข้าสังคม พบปะผู้คน (Extroverts) ก็ไม่มีความจ�ำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงบุคลิกลักษณะส่วนตัวของคุณแต่อย่างใด เพียงแต่ว่าเมื่อคุณอ่านบทความนี้แล้ว จะได้เริ่มหันมาหาเวลาให้ตัวเองได้ใช้ตามล�ำพังบ้าง เรามักจะได้ยินมาพอสมควรว่าการที่เราใช้เวลาอยู่คนเดียวจะท�ำให้เกิดความเหงาว้าเหว่ (Loneliness) หรืออาการซึมเศร้า (Depression) ได้ รวมทั้งยังสามารถเป็นเหตุน�ำไปสู่การมีอายุสั้นเสียชีวิต ก่อนวัยอันควร (Premature Death) ได้อกี ด้วย แต่จากการศึกษาวิจยั พบว่ามีขอ้ ดี (Benefit) จากการใช้เวลา อยู่คนเดียวตามล�ำพัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการท�ำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) สุขภาพจิตที่ดี (Mental Health) และแม้กระทั่งทักษะความเป็นผู้น�ำ (Leadership skills) การอยู่คนเดียวอย่างไรถึงเป็นผลเสีย อย่างไรจึงเป็นผลดี ในกรณีที่ก่อเกิดผลเสียต่อร่างกายหรือ จิตใจนั้นเป็นกรณีของการแยกตัวจากสังคม (Social Isolation) ในแบบรุนแรง (Extreme) ตัวอย่างเช่น นักโทษทีถ่ กู คุมขังตามล�ำพัง หรือเด็กก�ำพร้าทีอ่ ยูต่ ามล�ำพังในสถานเลีย้ งเด็กทีม่ สี ภาพแวดล้อมทีไ่ ม่ดี ในกรณี เหล่านี้ถือเป็นกรณีที่รุนแรง (Severe) และไม่ได้เกิดจากความสมัครใจ (Involuntary) ของผู้ที่อยู่ตามล�ำพัง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดผลเสียได้ แต่ส�ำหรับคนทั่วไปที่ชอบใช้เวลาอยู่ตามล�ำพังกับตัวเอง มีการศึกษาพบว่า มีขอ้ ดี (Upside) ของการอยู่ตามล�ำพังไม่วา่ จะเป็นผลดีต่อเรื่องชีวิตการท�ำงาน (Work lives) หรือต่อสุขภาพ ทางอารมณ์และจิตใจ (Emotional Well-Being) ผลดีทเี่ ห็นชัดเจนอย่างหนึง่ คือเรือ่ งของความ คิดสร้างสรรค์ (Creativity) ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบสองอย่าง อย่างแรกคือ ความไม่เหมือนหรือซ�ำ้ แบบใคร (Originality) และอย่าง ทีส่ องคือสิง่ นัน้ มีความเป็นประโยชน์ (Usefulness) ซึง่ คุณลักษณะที่จะท�ำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์หรือ จินตนาการได้กค็ อื ความมีใจเปิดกว้าง (Openness) ความเชื่อมั่น (Confidence) และความมีอิสระไม่ พึ่งพาอาศัยผู้อื่น (Independence) ซึ่งอาจรวมถึง การมี นิ สั ย ชอบอยู ่ ต ามล� ำ พั ง คนเดี ย ว มี ก ารศึ ก ษาวิ จั ย กั บ ผู ้ ที่ ท� ำ อาชี พ ศิ ล ปิ น และนั ก วิ ท ยาศาสตร์ พบว่าลักษณะที่เด่นชัด (Prominent Feature) ของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คือ การมีความสนใจ

47


48

ที่จะเข้าสังคมน้อย ตัวอย่างเช่น คนที่ท�ำงานเกี่ยวกับศิลปะซึ่งชอบอยู่ตามล�ำพัง มักจะใช้เวลาที่อยู่ตามล�ำพัง กับโลกภายในความคิด รวมทั้งประสบการณ์ส่วนตัว (Personal Experience) แล้วถ่ายทอดออกมาผ่านทาง งานศิลปะทีเ่ ป็นเช่นนีไ้ ด้เพราะการอยูต่ ามล�ำพัง (Solitude) ท�ำให้บคุ คลนัน้ เกิดการคิดใคร่ครวญ (Reflection) รวมทั้งการสังเกตสิ่งต่าง ๆ (Observation) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ท�ำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การแยกตัวออกจากผู้คน (Withdrawal) สามารถแบ่งออกได้เป็นสามประเภท คือ ประเภทแรก เป็นอาการขี้อาย (Shyness) ซึ่งเกิดจากความกลัว (Fear) หรือความกังวล (Anxiety) ประเภทที่สอง คือ การ หลีกเลีย่ งผูค้ นเพราะไม่ชอบเข้าสังคม และประเภททีส่ าม คือ การมีนสิ ยั ชอบอยูค่ นเดียวตามล�ำพัง (แต่สามารถ เข้าสังคมได้) ซึ่งประเภทที่สามนี้พบว่ามีข้อดีและไม่มีส่วนท�ำให้เกิดอาการก้าวร้าว (Aggression) ซึ่งอาการ ก้าวร้าวรุนแรงสามารถพบได้ในกลุ่มคนประเภทแรกและประเภทที่สองที่กล่าวมา บุคคลที่จัดอยู่ในแบบ ประเภทที่สามนั้นมีนิสัยส่วนตัวที่ชอบอยู่ตามล�ำพัง แต่พวกเขาก็ไม่รังเกียจและยังยินดีที่จะเข้าสังคมกับผู้คน ตรงนี้เป็นจุดส�ำคัญที่ท�ำให้แตกต่างจากประเภทแรกและประเภทที่สอง ตั้งแต่สมัยโบราณนานมาแล้ว คนมักจะเชื่อมโยงการแยกตัวตามล�ำพังหรือปลีกวิเวก (Isolation) กับการมีสมาธิมจี ติ ทีจ่ ดจ่อ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ชาติทมี่ วี ฒ ั นธรรม หรือศาสนาทีม่ กี ารปฏิบตั แิ บบฤาษีผถู้ อื สันโดษนัน้ เชื่อว่าการแยกตัวตามล�ำพังใช้เวลาอยู่กับตนเอง สามารถท�ำให้เกิดปัญญา (wisdom) หรือแม้กระทั่ง การรู้แจ้งได้ (Enlightenment) ประโยชน์ (Benefit) อีกประการของการ อยู่ตามล�ำพัง คือ ท�ำให้สมองของเราได้อยู่ในภาวะ พักสงบอย่างแท้จริง (Active Mental Rest) ซึง่ เกิด จากความนิง่ สงบในจิตใจทีเ่ กิดจากการอยูต่ ามล�ำพัง สิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เวลาที่เราอยู่กับ คนอื่น เนื่องจากเวลาที่เราอยู่กับคนอื่น สมองของ เราจะต้องสนใจจดจ่อ (Pay Attention) อยูก่ บั สิง่ ใด สิ่งหนึ่งนอกตัวเรา ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งรบกวนต่อความ นิ่งของจิตใจได้ แม้ว่าสิ่งรบกวนนั้นจะเป็นเรื่องดี ก็ตาม ดังนั้นการที่เราปล่อยให้ความคิดของเราได้โลดแล่นไปโดยที่จิตใจไม่ต้องพะวงกับสิ่งใดอย่างตอน อยูก่ บั คนอืน่ นัน้ จะท�ำให้กระตุน้ การท�ำงานของเครือข่าย (Network) ในสมองซึง่ ท�ำให้ความทรงจ�ำ (Memory) ดีขึ้น และเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่นได้ดี จึงสามารถกล่าวได้ว่า ช่วงเวลาที่เราอยู่คนเดียวตามล�ำพังนั้นกลับเป็น ผลดีในการช่วยให้เราเข้าสังคม (Socialize) และสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม (Social bond) กับผูอ้ นื่ ได้ดขี ึ้น Susan Cain ผู้แต่งหนังสือที่ชื่อว่า Quiet: The Power of Introverts in a World That Can’t Stop Talking ได้กล่าวว่า “ในทุกวันนี้ เรามักจะเชือ่ ว่าความคิดสร้างสรรค์ตอ้ งเกิดจากการทีเ่ ราเข้าสังคมเป็น ส่วนใหญ่ แต่แท้ทจี่ ริงแล้ว ความคิดสร้างสรรค์นนั้ เกิดจากการทีเ่ ราอยูใ่ นภาวะใคร่ครวญจดจ่อกับสิง่ ใดสิง่ หนึง่ (Deep Focus)” แต่เธอเชื่อว่าโดยธรรมชาตินั้น มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่เป็นสังคม (Social being) ซึ่งเมื่อเราถูกแวดล้อมด้วยผู้คน เราจะรับเอาความคิดเห็นหรือแนวคิดของคนรอบตัวนั้นมาใส่ในจิตใจเรา ซึ่งการที่เราจะเลือกเส้นทางเดินในชีวติ หรือตัดสินใจต่าง ๆ อย่างน้อยเราจ�ำเป็นต้องหาช่วงเวลาเป็นของตัวเอง ตามล�ำพังบ้าง


ข่าวทหารอากาศ

อย่างไรก็ตาม เส้นแบ่งระหว่างการอยู่ตามล�ำพัง และการแยกตัวที่ถือว่าเป็นอันตรายนั้นบางครั้ง ยังไม่ชัดเจน (Blurry) ซึ่งเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับระดับของความรุนแรงของแต่ละบุคคลกล่าวคือถ้าคนที่มีอาการ ไม่ใส่ใจไม่สนใจบุคคลรอบตัว และตัดขาดการติดต่อกับผู้คน (Cut off All Contact) ถือว่าเป็นสัญญาณที่ บอกว่ามีการเพิกเฉยไม่ใส่ใจต่อความสัมพันธ์ทางสังคมได้ (Neglect of Social Relations) ในทางกลับกัน การอยู่ตามล�ำพังในทางที่สร้างสรรค์ (Creative Unsociability) นั้น แตกต่างจากกรณีเพิกเฉยไม่ใส่ใจ ต่อความสัมพันธ์ทางสังคมอย่างสิน้ เชิง แท้ทจี่ ริงแล้ว มีข้อเสียต่อคนที่ไม่เคยใช้เวลาอยู่คนเดียวเลย เนือ่ งจากคนประเภทนีจ้ ะไม่คอ่ ยได้คดิ ใคร่ครวญกับ ตนเอง (Introspective) หรืออยู่ในภาวะตระหนัก รูใ้ นตัวเอง (Self-Aware) และไม่สามารถอยูใ่ นภาวะ ที่ผ่อนคลายอย่างเต็มที่ (Fully Relaxed) ได้อย่าง แท้จริง เว้นแต่จะหาเวลาบางครัง้ บางโอกาสใช้เวลา อยู่ตามล�ำพังบ้าง ดังนั้นข้อแนะน�ำส�ำหรับคนที่มี บุคลิกทีช่ อบพบปะผูค้ นชอบเข้าสังคม หรือขีเ้ หงาที่ ต้องมีคนคุยด้วยตลอดเวลา คือควรหาเวลาให้กับตัวเองได้อยู่ตามล�ำพังได้ใคร่ครวญไตร่ตรองกับตัวเองบ้าง นอกจากนีแ้ ล้ว คนทีไ่ ม่ชอบเข้าสังคม มีแนวโน้มทีจ่ ะมีเพือ่ นน้อย แต่วา่ เป็นเพือ่ นทีด่ แี ละสนิทสนม จริง ๆ ซึ่งสิ่งนี้เชื่อมต่อกับความสุขที่แท้จริงอย่างมาก หรือที่บางท่านกล่าวว่า คุณภาพมาเหนือปริมาณ (Quality Reigns Over Quantity) การทีเ่ ราดูแลทะนุถนอม (Nurturing) ความสัมพันธ์ทแี่ น่นแฟ้นสนิทสนม กับคนจ�ำนวนน้อย (Few Solid Relationships) มากกว่าทีจ่ ะคอยเติมเสียงคุยรบกวนรอบตัวจากผูค้ นมากมาย ให้กับชีวิตเรา ท้ายที่สุดก็จะเป็นผลดีมากกว่าต่อตัวเราเอง ดังนั้น หากคุณเป็นคนที่มีบุคลิกที่มีแนวโน้มชอบอยู่ตามล�ำพัง คุณก็ไม่จ�ำเป็นจะต้องกังวลหรือ เปลีย่ นแปลง แต่มขี อ้ ระวังว่า การชอบอยูค่ นเดียวของคุณไม่ได้มลี กั ษณะทีอ่ นั ตรายอย่างใด กล่าวคือ คุณยังมี ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social Contact) กับผู้อื่น คุณเลือกที่จะอยู่ตามล�ำพังด้วยความสมัครใจเองไม่ใช่ การถูกบีบบังคับ คุณยังมีเพื่อนแม้จะมีอยู่ไม่กี่คนก็ตาม และการอยู่ตามล�ำพังของคุณนั้นท�ำให้คุณรู้สึกดี และท�ำงานได้ดีขึ้น ถ้าคุณมีลักษณะอย่างนี้แล้วก็ไม่จ�ำเป็นจะต้องทุกข์ร้อนที่จะพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะว่าในทางจิตวิทยาแล้ว การที่คุณเป็นเช่นนั้นไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิดปกติหรือเป็นภัยแต่อย่างใด ท้ายที่สุดนี้ หากคุณเป็นคนที่มีบุคลิกแบบไม่ชอบ สุงสิงกับผูค้ น (แต่เข้าสังคมได้) ก็ถอื ว่าเป็นข้อดีของคุณ เพราะจาก ทีก่ ล่าวมา การทีค่ ณ ุ ได้อยูค่ นเดียวสามารถท�ำให้คณ ุ มีความคิด จินตนาการทีล่ ำ�้ ลึกได้ และทีส่ ำ� คัญยังช่วยให้การเข้าสังคมการมี ปฏิสมั พันธ์กบั ผูค้ นของคุณมีประสิทธิภาพมากยิง่ ขึน้ เพราะคุณ เข้าใจอารมณ์ ความรูส้ กึ ของผูอ้ นื่ มากขึน้ ในทางกลับกันส�ำหรับ คนทีม่ บี คุ ลิกชอบพบปะสังสรรค์กบั ผูค้ นก็ไม่จำ� เป็นต้องหนักใจ หรือเปลี่ยนตัวเอง เพียงแค่หาเวลาบางครั้งบางโอกาสให้ได้ มีเวลาอยู่กับตัวเองตามล�ำพังบ้าง ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว

49


50

* ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษที่น่าสนใจจากเนื้อเรื่อง * - involuntary (adj.) /อินวอเลินทรี/ แปลว่า โดยไม่สมัครใจ ตัวอย่าง Many workers of the factory were upset by involuntary unemployment. คนงานหลายคนของโรงงานรู้สึกอารมณ์เสียกับการตกงานแบบไม่เต็มใจ - upside (n.) /อัพไซดฺ/ แปลว่า ข้อดี ประโยชน์ ตัวอย่าง This bedroom has many upsides over the other one. ห้องนอนห้องนี้มีข้อดีมากกว่าห้องนอนอีกห้อง - prominent (adj.) /พรอมิเนินทฺ/ แปลว่า เด่นชัด โดดเด่น ตัวอย่าง That mountain is a prominent feature in the landscape. ภูเขาลูกนั้นเป็นทัศนียภาพที่เด่นชัด - solitude (n.) /ซอลิทยูด/ แปลว่า การอยู่คนเดียวตามล�ำพัง ตัวอย่าง Jack cherishes his peace and solitude. แจ็คพอใจกับความสงบและการอยู่คนเดียวตามล�ำพัง - withdrawal (n.) /วิธดรอเอิล/ แปลว่า การแยกตัวออกมาอยู่คนเดียว ตัวอย่าง When Sandra has emotional problems, she usually retreats into withdrawal. เมื่อใดก็ตามที่แซนดร้ามีปัญหาทางอารมณ์ เธอมักจะแยกตัวออกมาอยู่ตามล�ำพัง - blurry (adj.) /เบลอรี/ แปลว่า ไม่ชัดเจน ตัวอย่าง The photograph of my grandfather is blurry. รูปคุณปู่ของผมไม่ชัดเจน - cut off (v.) /คัทฺออฟ) แปลว่า ตัดออกไป ตัวอย่าง Helen cut off all her contact after she broke up with her boyfriend. เฮเลนตัดขาดการติดต่อกับผู้คนหลังจากที่เธอเลิกกับแฟน - neglect (v.) /นิเกลฺกทฺ/ แปลว่า ปล่อยปละละเลย เพิกเฉย ตัวอย่าง His house was neglected after he moved to San Francisco. บ้านของเขาถูกปล่อยร้างหลังจากที่เขาย้ายไปอยู่ที่ซานฟรานซิสโก - introspective (adj.) /อินเทรอะสเปคทิฟ/ แปลว่า คิดใคร่ครวญอยู่กับตนเอง ตัวอย่าง A person who likes to be alone is usually introspective. คนที่ชอบอยู่คนเดียวตามล�ำพังมักจะชอบคิดใคร่ครวญอยู่กับตนเอง - nurture (v.) /เนอเชอะ/ แปลว่า เฝ้าดูแล ถนอม ตัวอย่าง Tom is a child who is nurtured by his loving parents. ทอมเป็นเด็กที่ได้รับการดูแลทะนุถนอมโดยพ่อแม่ที่รักของเขา

อ้างอิง

: www.bbc.com/future/story/20180228-there-are-benefits-to-being-antisocial-or-a-loner : https://autismawareness.com/i-need-to-know-that-im-not-alone/ : https://gazettereview.com/2016/02/mindfulness-meditation-proven-improve-health/ : https://medium.com/@timferriss/scientific-speed-reading-how-to-read-300-faster-in-20-minutes-55f36e4c2cbd


ข่าวทหารอากาศ

วิสงครามแห่ ศวกรรมภู ม อ ิ ากาศ งอนาคต ทีย่ ากต่อการตรวจการณ์

ร.อ.นรพงษ์ เอกหาญกมล

ระบบการปฏิบัติการดัดแปรสภาพอากาศเพื่อการทหาร (ที่มา:Weather as a Force Multiplier: Owning the Weather in 2025)

สภาพภูมอิ ากาศมีความส�ำคัญต่อการใช้ชวี ติ ของมนุษย์เป็นอย่างมาก ถือได้ว่าเป็นปัจจัยก�ำหนด วิถชี วี ติ ลักษณะความเป็นอยู่ การด�ำเนินชีวติ ประจ�ำวัน ของมนุษย์ ซึ่งส่งผลต่อการแข่งขันในด้านต่าง ๆ จาก สภาวะการเปลีย่ นแปลงของชัน้ บรรยากาศโลก ทีท่ ำ� ให้ อุณหภูมโิ ลกเพิม่ สูงขึน้ ส่งผลถึงการไหลเวียนของกระแส น�ำ้ อุน่ ในมหาสมุทรทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป เข้าสูป่ รากฏการณ์ เอลนิโญ ซึง่ เป็นปรากฏการณ์ทอี่ ณ ุ หภูมมิ หาสมุทรอุน่ ขึ้น ผิดปกติ โดยปกติจะเกิดขึ้นทุก ๆ ๕ ปี แปรเปลี่ยน เป็นระยะเวลาเกิดนานขึน้ หรือสัน้ ลง สภาวะของฤดูกาล ในประเทศแถบคาบสมุทรแปซิฟิกเปลี่ยนแปลงไป มนุษย์จงึ พยายามคิดค้นหาวิธกี ารต่าง ๆ เพือ่ น�ำมาใช้ ในการจั ด การลั ก ษณะภู มิ อ ากาศเพื่ อ ประโยชน์ ของตนเอง วิศวกรรมภูมิอากาศจึงเป็นหนทางหนึ่ง น�ำมาใช้ในการดัดแปรสภาพอากาศให้มคี วามเหมาะสม และเอื้อประโยชน์ในความต้องการในสภาวะนั้น ๆ โดยสามารถส่งผลทั้งด้านสร้างสรรค์ และสามารถ ก่อเกิดผลกระทบในด้านลบได้ในปริมาณกว้าง

วิศวกรรมภูมิอากาศ คือ การใช้เทคโนโลยี ทางด้านวิทยาศาสตร์เพื่อควบคุมลักษณะภูมิอากาศ ของโลก ได้มีการกล่าวถึงและเชื่อว่าถูกน�ำมาใช้ ครั้งแรกเพื่อภารกิจทางด้านการทหารและสงคราม ตัง้ แต่ปคี ริสต์ศกั ราช ๑๙๔๐ โดยเริม่ น�ำมาใช้ในสงคราม เวียดนามภายใต้โครงการทีช่ อื่ ว่า Pop Eye ในลักษณะ การสร้างเมฆฝนโดยการโปรยอนุภาคสารเคมีเข้าสู่ ชั้นบรรยากาศเพื่อการสร้างเมฆฝนและท�ำให้พื้นที่ ท�ำการรบอยู่ในช่วงฤดูมรสุมที่ยาวนานขึ้น ส่งผล กระทบต่อการส่งก�ำลังบ�ำรุงด้านต่าง ๆ ของข้าศึก ในช่วงปีคริสต์ศักราช ๑๙๘๗ – ๑๙๙๒ เกิดความ ผันผวนอย่างผิดปกติของกระแสอากาศอย่างรุนแรง โดยความกดอากาศสูงนอกชายฝัง่ ทะเลตะวันตกของ ประเทศสหรัฐอเมริกาอยูน่ งิ่ ผิดปกติและท�ำหน้าทีเ่ ป็น ก�ำแพงขวางกั้นความชื้น ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้ง อย่างรุนแรง กระแสลมเปลี่ยนทิศทางไปจากเดิม ส่งผลกระทบให้พชื พันธุแ์ ละสัตว์ลม้ ตายเนือ่ งจากขาดน�ำ้ และสามารถสร้างความรุนแรงได้ถึงขั้นประชากร

51


52

การโปรยสารเคมีในชั้นบรรยากาศ ในการดัดแปรสภาพอากาศเพื่อการทหาร สมัยช่วงสงครามเวียดนาม (ที่มา:https://warriorgirl3.wordpress.com)

ในพื้นที่เกิดการแย่งน�้ำเพื่อใช้ส�ำหรับการอุปโภคและ บริโภคจากเหตุการณ์ดังกล่าวไม่มีการยืนยันสาเหตุ ความผิดปกติวา่ เกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึน้ ตลอดจนมี ค วามเชื่ อ ในโครงการส่ ง สั ญ ญาณ คลืน่ แม่เหล็กไฟฟ้าย่านความถีต่ ำ�่ เข้าสูช่ นั้ บรรยากาศ ไอโอโนสเฟียร์เพือ่ ประโยชน์ทางด้านการสือ่ สาร แต่ยงั สามารถส่ ง ผลกระทบถึ ง การยกระดั บ มวลน�้ ำ ในชั้นบรรยากาศให้ลอยตัวสูงขึ้นและเปลี่ยนทิศทาง จนเกิดสภาวะแห้งแล้งในพื้นที่ที่ท�ำการส่งสัญญาณ ในปีคริสต์ศักราช ๑๙๗๗ ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ได้มีการบันทึกลงนามในข้อตกลง ให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยการปรับแต่งสภาวะ แวดล้อม (Environmental Modification Convention : ENMOD) ขององค์การสหประชาชาติก�ำหนดให้ ห้ามใช้เทคนิคการปรับสภาพแวดล้อมทั้งทางดิน น�้ำ ชั้ น บรรยากาศหรื อ อวกาศเพื่ อ การทหารหรื อ การมุ่งร้ายซึ่งจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงกว้างขวาง นอกจากวิศวกรรมภูมิอากาศจะสามารถ น�ำมาใช้ได้ในการทหารและสงครามแล้ว ยังสามารถน�ำ มาใช้เพือ่ ประโยชน์อนื่ ๆ ได้เช่นเดียวกัน จากสภาวการณ์

ปัจจุบนั โลกและหลาย ๆ ประเทศก�ำลังประสบปัญหา ทางด้านภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง การบริหารจัดการน�ำ้ จึงมีความส�ำคัญยิ่งในการรักษาปริมาณทรัพยากรน�้ำ ให้มเี พียงพอต่อการด�ำรงชีวติ ซึง่ สามารถแบ่งน�ำ้ ออก ได้เป็น ๓ กลุ่ม คือ น�้ำใต้ดิน น�้ำบนดิน และน�้ำใน ชั้นบรรยากาศ โดยน�้ำใต้ดินและน�้ำบนดินสามารถ บริหารจัดการได้โดยการชลประทาน ส�ำหรับน�้ำใน ชั้นบรรยากาศหรือความชื้น วิศวกรรมภูมิอากาศ จึงเป็นหนทางหนึ่งในการบริหารจัดการ ซึ่งสามารถ มองได้อีกมุมหนึ่งว่าเป็นการท�ำสงครามเพื่อช่วงชิง ทรัพยากรน�้ำในชั้นบรรยากาศให้กลายเป็นน�้ำบนดิน และใต้ดินไว้ใช้ประโยชน์ โดยวิศวกรรมภูมิอากาศ เพื่อการจัดการน�้ำหรือความชื้นในชั้นบรรยากาศ ของโลก มีล�ำดับดังนี้ ๑. ปีคริสต์ศกั ราช ๑๙๑๕ เมืองซานดิเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการจ้างให้นาย Charles Hatfield ช่างท�ำฝนโปรยสารเคมีสูตรลับเพื่อแก้ไข สภาวะภัยแล้ง ผลที่ได้คือเกิดอุทกภัยอย่างรุนแรง ๒. ปี ค ริ ส ต์ ศั ก ราช ๑๙๔๖ Vincent Schaefer นักเคมีและอุตุนิยมวิทยาได้ท�ำการโปรย


ข่าวทหารอากาศ

น�้ำแข็งแห้งเข้าสู่ก้อนเมฆเย็นในเมืองบาร์กเชอร์ รัฐแมสซาชูเซตส์ และรัฐนิวยอร์กประเทศสหรัฐอเมริกา ท�ำให้เกิดเป็นช่องว่างของแนวเมฆ ระยะทาง ๓ ไมล์ ปัจจุบันเรียกว่า การระเบิดเมฆ ๓. ปีคริสต์ศกั ราช ๑๙๔๘ P.Squires และ E.J.Smith นักอุตนุ ยิ มวิทยา ได้ทดลองโปรยน�ำ้ แข็งแห้ง เข้าไปในเมฆเย็น เหนือนครซิดนีย์ ท�ำให้เมฆฝนเกิด เป็นฝนตก ๔. ปีคริสต์ศกั ราช ๑๙๔๙ Irving Langmuir และ Vincent Schaefer ได้ด�ำเนินโครงการ Cirrus โดยการเป่าอนุภาคสารซิลเวอร์ไอโอไดด์ จ�ำนวน ๑๐ ออนซ์ ในทะเลทรายใกล้กับเมืองแอลบูเคอร์คี รัฐนิวเม็กซิโก ส่งผลให้เกิดฝนตกประมาณไม่นอ้ ยกว่า ๑,๒๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ๕. ปีคริสต์ศกั ราช ๑๙๕๐ Wallace Howell นักอุตนุ ยิ มวิทยาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ทดลอง โปรยน�ำ้ แข็งแห้งและควันซิลเวอร์ไอโอไดด์ เพือ่ ท�ำฝน ใกล้กับอ่างเก็บน�้ำนครนิวยอร์ก

๖. ปี ค ริ ส ต์ ศั ก ราช ๑๙๕๒ กลุ ่ ม นั ก วิทยาศาสตร์อังกฤษได้ทดลองปฏิบัติการคิวมูลัส (Operation Cumulas) ในพื้นที่ทางตอนใต้ของ สหราชอาณาจักร ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและอุทกภัย อย่างรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง ๗. ปีคริสต์ศกั ราช ๑๙๖๒ – ๑๙๘๓ ประเทศ สหรัฐอเมริกาได้ด�ำเนินโครงการยับยั้งพายุ (Project Stormfury) มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความรุนแรง หรือยับยั้งพายุเฮอร์ริเคน โดยการใช้สารซิลเวอร์ ไอโอไดด์ แม้วา่ จะไม่สามารถลดความรุนแรงของพายุได้ แต่ เ ป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ในการศึ ก ษาลั ก ษณะของพายุ เฮอร์ริเคนตลอดจนไซโคลน ๘. ปีคริสต์ศักราช ๑๙๘๖ กองทัพอากาศ สหภาพโซเวียต ได้ใช้สารซิลเวอร์ไอโอไดด์ในการเหนีย่ ว น� ำ เมฆฝุ ่ น กั ม มั น ตรั ง สี ที่ เ กิ ด จากการระเบิ ด ของ โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ไม่ให้เข้าสูก่ รุงมอสโคว์ โดยหันเห ฝนฝุน่ กัมมันตรังสีไปตกในพืน้ ทีข่ องสาธารณรัฐเบลารุส

หลักการเฝ้าระวังแบบ Over-the-Horizon โดยการสร้างกระจกสะท้อนในชั้นบรรยากาศ ชั้นไอโอโนสเฟียร์ (ที่มา:Weather as a Force Multiplier: Owning the Weather in 2025)

53


54

กลไกการดัดแปรสภาพอากาศของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน

๙. ปีคริสต์ศักราช ๒๐๐๘ สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ท�ำการยิงจรวดและกระสุนปืนใหญ่ที่บรรจุ สารซิลเวอร์ไอโอไดด์ จ�ำนวนรวม ๑,๑๐๔ นัด เข้าไปยังกลุ่มเมฆเย็นเพื่อเหนี่ยวน�ำให้เมฆแตกตัว หรือท�ำให้ ฝนตกในพื้นที่รอบนอกของสนามกีฬารังนกในพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน จากเทคนิควิศวกรรมภูมิอากาศ ที่ได้กล่าวมาจะพบว่า ส่วนใหญ่ในแต่ละประเทศเริ่มมีการใช้ สารซิลเวอร์ไอโอไดด์และน�้ำแข็งแห้งเป็นสารเคมีหลักในการดัดแปรสภาพอากาศเหนี่ยวน�ำให้เกิดฝน ซึ่งสามารถสรุปกลไกการท�ำงานของสารเคมีทั้ง ๒ ชนิด ได้ดังนี้ (อ่านต่อฉบับหน้า) เอกสารอ้างอิง กรมฝนหลวงและการบินเกษตร. การท�ำฝนจากเมฆอุ่น.[ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.royalrain.go.th/royal rain/p/warmcloudrainmaking[สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๑]. มูลนิธิชัยพัฒนา. ทฤษฎีการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน�้ำในบรรยากาศ “ฝนหลวง”.[ออนไลน์]. ได้จาก:http://www.chaipat.or.th/site_content/category/65--qq6.html[สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๑]. A Brief History of CloudSeeding.[Online]. Availablefrom:https://chemtrailsinourskies.word press.com/tag/weather-as-a-force-multiplier-owning-the-weather-in-2025/[accessed29 July2018]. Col Tamzy J. House Lt Col James B. Near, Jr. LTC William B. Shields. Weather as a Force Multiplier: Owning the Weather in 2025.A Research Paper Presented ToAir Force 2025, August 1996. Weather modification.[Online]. Available from:https://en.wikipedia.org/wiki/Weather modification [accessed29 July2018].


ข่าวทหารอากาศ

ผลงานกลุม่ กิจกรรมทีเ่ สริมสร้างกองทัพอากาศ ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ประจ�ำปี ๒๕๖๑ ประเภทเครือ่ งมือ KM รางวัล Innovation Award กลุ่ม “เทพประทานธารา”

“หลักส�ำคัญว่าต้องมีน�้ำบริโภค น�้ำใช้ น�้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน�้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน�้ำคนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน�้ำคนอยู่ไม่ได้” พระราชด�ำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๙

55


56

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงให้ความส�ำคัญกับการพัฒนา ด้านการเกษตรเป็นอย่างยิง่ เพราะเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศทีย่ งั่ ยืน พระองค์ทรงพบข้อสรุปว่า ปัญหา หลักของเกษตรกร คือ “การขาดแคลนน�้ำและคุณภาพดินต�่ำ” ท่านจึงทรงให้ความส�ำคัญในการเพิ่มจ�ำนวน แหล่งน�้ำและปริมาณน�้ำเพื่อการเกษตร พร้อมทั้งปรับปรุงคุณภาพดิน ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการผลิตเพื่อ แก้ปัญหาการขาดแคลนน�้ำ


ข่าวทหารอากาศ

พระองค์ทรงให้ความส�ำคัญกับระบบชลประทาน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาแหล่งน�้ำขนาดเล็ก ฝาย อ่างเก็บน�้ำ รวมถึงการแก้ปัญหาปริมาณน�้ำฝนที่ผันแปร และคลาดเคลื่อนจากฤดูกาลของธรรมชาติ ทรงมี พระราชด�ำริจดั ตัง้ โครงการฝนหลวง จนสามารถพัฒนาเทคนิคก่อกวนให้เกิดเมฆ เลีย้ งเมฆให้อว้ น และบังคับ ให้เกิดเป็นฝนเทียมเป็นผลส�ำเร็จ อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงฤดูแล้ง น�้ำในระบบชลประทาน รวมทั้งแหล่งน�้ำอื่น ๆ มีไม่เพียงพอ ต่อความต้องการของเกษตรกร เกิดภาวะภัยแล้งในหลาย ๆ พื้นที่ เกษตรกรมักจะประสบความเดือดร้อน ทุกข์ยาก เนื่องจากภาวะฝนทิ้งช่วง ผลผลิตเกิดความเสียหาย

กองทัพอากาศในฐานะเป็นหน่วยงานหนึ่งที่สนับสนุนการท�ำฝนหลวง ตระหนักดีว่าฝนของ พระราชาไม่ได้หายไปไหน แค่ยา้ ยที่ โดยซึมลงไปอยูใ่ ต้ดนิ จึงได้พจิ ารณาวิธนี ำ� น�ำ้ ขึน้ มาใช้ โดยการน�ำพลังงาน ทดแทนคือแสงอาทิตย์ มาใช้เป็นพลังงานหลักในการน�ำน�้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ในฤดูแล้ง ภายใต้ชื่อโครงการ เทพประทานธารา เพื่อให้ประชาชนมีน�้ำในการอุปโภคบริโภค และการเพาะปลูกอย่างเพียงพอ โดยยึดหลัก ของยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ ท�ำให้ประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ด้วยการพัฒนา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นการเตรียมความพร้อมในการบรรเทาภัยแล้ง โดยหน่วยทหาร ต้องเป็นหน่วยงานแรกในการเข้าช่วยเหลือประชาชน โดยร่วมมือกับฝ่ายอื่น ๆ ในการพัฒนาบ้านเมืองให้มี ความเจริญมัน่ คง ให้ประชาชนมีความเป็นอยูท่ ดี่ ี โดยใช้ทรัพยากรของกองทัพอากาศทีม่ คี วามเหมาะสม ทัง้ คน และเครือ่ งมือเข้าไปให้ความช่วยเหลือพัฒนาท้องถิ่น

57


58

การส่งมอบแผงโซลาร์เซล จ�ำนวน ๓๐๐ แผง ให้กับชุมชนกสิกรรมต้นน�้ำน่าน จังหวัดน่าน

โดยโครงการเทพประทานธารานี้ พลอากาศตรี ฐากูร นาครทรรพ หัวหน้ากลุ่มเทพประทานธารา ได้ยึดมั่นหลักของวัตถุประสงค์เพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างนวัตกรรมจากการบูรณาการองค์ความรู้ของ กองทัพอากาศ และหน่วยงานอื่น ๆ ในรูปแบบประชารัฐ ให้เป็นแนวทางในการลดผลกระทบจากภัยแล้ง ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพือ่ ลดความเดือดร้อนของประชาชน ด้วยการน�ำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ ในการสูบน�้ำใต้ดิน น�ำไปสู่กระบวนการผลิต เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ ลดปัญหา การอพยพแรงงานเข้าไปสูเ่ มืองลดปัญหาด้านสังคม น�ำไปสูก่ ารพัฒนาประเทศอย่างเป็นรูปธรรมเป็นการปลูก ฝังค่านิยม ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี เทิดทูน พิทักษ์รักษา สถาบันพระมหากษัตริย์อย่างสมพระเกียรติ โดยน�ำความห่วงใยของพระองค์ท่าน มาปฏิบัติผ่านโครงการ อย่างเป็นรูปธรรมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป้าหมายในการท�ำโครงการเทพประทานธารา กว่า ๒๐๐ แห่ง บริเวณพืน้ ทีห่ า่ งไกลระบบชลประทาน และประสบภัยแล้งซ�้ำซาก ที่ภายในระยะเวลา ๕ ปี มีลักษณะการท�ำโครงการร่วมกับส่วนราชการอื่น ๆ และ ภาคเอกชน โครงการศึ ก ษาหลั ก สู ต รพั ฒ นาสั ม พั น ธ์ ร ะดั บ ผู ้ บ ริ ห ารกองทั พ อากาศ รุ ่ น พิ เ ศษ ในลักษณะประชารัฐ โดยชีป้ ระเด็นภัยคุกคาม (ภัยแล้ง) เป็นประเด็นท้าทายความมัน่ คงของมนุษย์ในอนาคต เรื่องการบริการจัดการน�้ำ จึงคิดค้นวิธีการน�ำน�้ำใต้ดิน ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเช่น กรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรน�้ำบาดาล ในการก�ำหนดพื้นที่ประสบภัยแล้ง และก�ำหนดเป้าหมายของ บ่อบาดาลเพื่อด�ำเนินโครงการกับภาคเอกชนที่พร้อมสนับสนุนเข้ามามีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากร เข้าท�ำโครงการร่วมกัน


ข่าวทหารอากาศ

การติดตัง้ โครงการเทพประทานธาราสูบน�ำ้ ใต้ดนิ ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ณ ต�ำบลดงแคนใหญ่ อ�ำเภอค�ำเขือ่ นแก้ว จังหวัดยโสธร

การส่งมอบโครงการเทพประทานธาราน�ำโดย พลอากาศเอก ภานุพงศ์ เสยยงคะ ณ ต�ำบลดงแคนใหญ่ อ�ำเภอค�ำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร

จากการติดตามประเมินผลโครงการที่ด�ำเนินการไปแล้ว ณ บ้านน�้ำทองน้อย อ�ำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก จ�ำนวน ๒ แห่ง สามารถสูบน�้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ได้เฉลี่ย ๗๐,๐๐๐ ลิตร/วัน ตลอดระยะเวลา ๔ เดือน ในห้วงภัยแล้ง ได้น�้ำปริมาณ ๘,๔๐๐,๐๐๐ ลิตร บรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนได้มากกว่า ๑,๐๐๐ ครัวเรือน และอีก ๒๒ โครงการ ในพื้นที่ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดชัยนาท จังหวัด อุบลราชธานี จะเห็นได้ว่า กองทัพอากาศเป็นแกนกลางการบูรณาการความร่วมมือในรูปแบบประชารัฐ กับส่วนราชการอืน่ ๆ ภาคเอกชน ภาคประชาชน เพือ่ พัฒนาความเป็นอยู่ อาชีพ รายได้แก่ประชาชนในระดับ ต�ำบลอย่างเป็นรูปธรรม เป็นการด�ำเนินการที่ใช้หลัก “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” โดยเข้าไปสร้างพื้นฐาน คือ ความพอดี พอกิน พอใช้ ของประชาชน ตามศาสตร์พระราชาอย่างแท้จริง

59


60

วีรกรรม ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ น.ต.กนกพล สุทธิพงษ์

เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ เวลา ประมาณ ๐๔.๐๐ นาฬิกา กองทัพเรือญี่ปุ่นซึ่งมี ก�ำลังพลประมาณ ๔,๐๐๐ คน พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ ที่ทันสมัยเต็มก�ำลังรบ ได้ล�ำเลียงก�ำลังพลโดยถ่าย ก�ำลังจากเรือรบที่จอดแอบซุ่มอยู่บริเวณด้านหลัง เขาล้อมหมวก ได้ยกก�ำลังพลขึ้นบกที่บริเวณตัวเมือง ประจวบคีรีขันธ์ อ่าวประจวบ อ่าวมะนาว เพื่อยึด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และกองบินน้อยที่ ๕ เพื่อใช้ เป็นเส้นทางเดินผ่านไปยังพม่าและช่องทางด่านสิงขร และได้ปะทะกับก�ำลังของทหารอากาศของกองบิน น้อยที่ ๕ อย่างดุเดือดถึงขั้นตะลุมบอนประชิดตัว เป็นเวลานานเกือบ ๓๖ ชั่วโมง ซึ่งในขณะนั้นทหาร อากาศไทยมีก�ำลังพลเพียง ๑๒๐ คน ต่อมารัฐบาลไทยได้เจรจาตกลงกับรัฐบาล

ญี่ปุ่น จับมือเป็นพันธมิตรกัน และได้มีค�ำสั่งให้นักรบ ผู้กล้าหาญทั้งหลายซึ่งประกอบด้วยทหารอากาศ กองบินน้อยที่ ๕ ข้าราชการต�ำรวจพลเรือน และ พี่น้องชาวประจวบคีรีขันธ์ ให้ยุติการสู้รบ ในช่วงการสูร้ บ ฝ่ายญีป่ นุ่ ซึง่ มีกำ� ลังมากกว่า


ข่าวทหารอากาศ

ฝ่ายไทยหลายเท่า ได้เสียชีวิตในสนามรบจ�ำนวน ๔๑๗ คน ในขณะทีฝ่ า่ ยเราเสียชีวติ ๔๒ คนเป็นทหาร อากาศ ๓๘ คน ยุวชนทหาร ๑ คน ครอบครัว ๒ คน ต�ำรวจ ๑ คน และยังมีข้าราชการต�ำรวจที่เสียชีวิต ในเมืองประจวบคีรีขันธ์ อีก ๑๔ คน เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติประวัติการต่อสู้ อันกล้าหาญของนักรบแห่งกองบินน้อยที่ ๕ และวีรชน ชาวประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งยอมเสียสละชีวิตเป็นชาติพลี ปกป้องแผ่นดินไทยส่วนหนึง่ ไว้ ทางราชการจึงได้สร้าง อนุสาวรีย์ “วีรชน ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔” ประดิษฐาน ณ บริเวณทีต่ งั้ กองบินน้อยที่ ๕ โดยสร้างเสร็จเรียบร้อย เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๓ และได้ปรับปรุง ให้มีความสง่างามยิ่งขึ้นพร้อมทั้งประกอบพิธีอัญเชิญ อัฐิของวีรชนผู้เสียชีวิตจากอนุสาวรีย์กองทัพอากาศ มาบรรจุไว้เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ ในวันที่ ๘ ธันวาคม ของทุกปี กองทัพอากาศ ก�ำหนดประกอบพิธวี างพวงมาลา ณ อนุสาวรียว์ รี ชนฯ และบ�ำเพ็ญกุศลอุทิศแด่วีรชนที่ล่วงลับไปแล้ว โดยมี ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพอากาศ ตลอดจน ส่วนราชการต่าง ๆ รวมทั้งผู้มีเกียรติมาร่วมพิธี เป็นจ�ำนวนมาก หลังจากเสร็จพิธแี ล้วมีการจัดมหรสพ เป็นประจ�ำทุกปี เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ กองบิน ๕ ได้รับ พระราชทานเหรียญกล้าหาญ ประดับบนธงไชยเฉลิมพล เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่หน่วย เนื่องจากได้กระท�ำ การสูร้ บเพือ่ รักษาอธิปไตยในสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยขอพระราชทานเหรียญกล้าหาญให้กับกองบิน ๕

เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ และได้ประกาศ ในราชกิ จ จานุ เ บกษา เมื่ อ วั น ที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๓ โดยมีหลักเกณฑ์ในการขอพระราชทาน เหรียญกล้าหาญประดับบนธงไชยเฉลิมพล ดังนี้ ๑. เป็นหน่วยทหารระดับไม่ต�่ำกว่ากองพันหรือ เทียบเท่าหรือไม่ ๒. มีหน่วยอย่างน้อย ๑ กองร้อย หรือเทียบเท่า ปฏิบตั กิ ารสูร้ บด้วยความองอาจหาญกล้าหาญเป็นพิเศษ อย่างยิง่ ยวดเพียงใดหรือไม่ ๓. มีกำ� ลังพลได้รบั พระราชทานเหรียญกล้าหาญ หรือเหรียญอืน่ ใดมีลกั ษณะท�ำนองเดียวกันหรือไม่ ๔. การปฏิบัติสู้รบของหน่วยเคยมีประวัติเป็นที่ เสือ่ มเสียหรือไม่ ๕. การปฏิบตั กิ ารสูร้ บได้รบั ค�ำชมเชยเป็นลายลักษณ์ อักษรจากผูบ้ งั คับบัญชา ตัง้ แต่ชนั้ ผูบ้ ญั ชาการทหารบก ผูบ้ ญ ั ชาการทหารเรือ ผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศขึน้ ไป กองทัพอากาศมีความภาคภูมิใจ และขอ สดุดีในวีรกรรมของบรรพบุรุษทหารอากาศแห่ง กองบินน้อยที่ ๕ ที่ได้เสียสละชีวิตเพื่อรักษาอธิปไตย ของประเทศไทย เมื่อ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ซึ่งเป็น เหตุผลส�ำคัญในการขอพระราชทานเหรียญกล้าหาญ ประดับธงไชยเฉลิมพลของกองบินน้อยที่ ๕ หรือ

61


62

กองบิน ๕ ในปัจจุบนั เพือ่ เป็นสิง่ เตือนใจให้ประชาชน ไทยร�ำลึกถึงความกล้าหาญของบรรพบุรษุ ทีไ่ ด้เสียสละ ชีวิตและเลือดเนื้อเข้าต่อสู้กับอริราชศัตรู เพื่อรักษา ผืนแผ่นดินไทยไว้ให้ลูกหลานไทยด�ำรงอยู่ตราบเท่า ทุกวันนี้ ในวันที่ ๘ ธันวาคม ของทุกปี กองทัพอากาศ ได้กำ� หนดให้ มีการประกอบพิธวี างพวงมาลา อนุสาวรีย์ วีรชน กองบิน ๕ มีการประกอบพิธีบ�ำเพ็ญกุศล แด่วีรชนที่ล่วงลับไปแล้ว มีผู้บังคับบัญชาระดับสูง ของกองทัพอากาศ ตลอดจนส่วนราชการต่าง ๆ รวม ทัง้ ผูม้ เี กียรติ มาร่วมพิธเี ป็นจ�ำนวนมาก หลังจากเสร็จ พิธี แล้วจะมีกิจกรรมต่าง ๆ เฉลิมฉลองการจัดงาน เป็นประจ�ำทุก ๆ ปี ส�ำหรับในปีพุทธศักราช ๒๕๖๑ ได้ก�ำหนดจัดงาน สดุดีวีรชน ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ในระหว่างวันที่ ๗ - ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ โดยมีกจิ กรรม ดังนี้

วันศุกร์ที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๑ พิธเี ปิดงานฯ สดุดีวีรกรรม ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ วันเสาร์ที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๑ พิธีวางพวง มาลา การจัดแสดงคอนเสิร์ต การแข่งขันกีฬา ฯลฯ วันอาทิตย์ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๑ กิจกรรม พิชิตยอดเขาล้อมหมวก กิจกรรมวิ่ง - ปั่นวันวีรชน ผู้กล้ากองบิน ๕ ประกวดวงดนตรี วันจันทร์ที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๑ กิจกรรม พิชติ ยอดเขาล้อมหมวก มินแิ สงสีเสียง ประกวดแต่งกาย ย้อนยุคไทย - ญี่ปุ่น วันอังคารที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ การจัดแสดง คอนเสิรต์ “ช้าง”


มุ

ข่าวทหารอากาศ

มตา่ งแด

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)

น.อ.หญิง สุพรรณรัศม์ ราชวงศ์

เวียดนาม เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ทีม่ าของชือ่ ประเทศมาจากภาษาจีน “เวียด” แปลว่า ไกล หรือ ฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ส่วน “นาม” แปลว่า ทิศใต้ รวมเป็น ดินแดนทางตอนใต้ที่ชาว เวียดนามอาศัยอยู่ ประเทศเวียดนามมีประชากร ๘๙,๖๙๓,๐๐๐ คน ร้อยละ ๘๖ เป็นชาวญวน สกุลเงิน คือ ด่ง (Dong : VND) โดยมีการปกครองระบอบ สังคมนิยม มีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้ปกครองสูงสุด เมืองหลวงชื่อ กรุงฮานอย (Ha Noi) ส�ำหรับร่องรอยด้านการศึกษาเห็นได้จาก วัดโบราณของประเทศนี้ชื่อ วิหารวรรณกรรม (วัน เหมียว) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรก เคยใช้สอบ จอหงวน มีอายุยาวนานกว่า ๑,๐๐๗ ปี มีประตูทาง เข้าด้านหน้า ๒ ชั้น ประตูรูปวงโค้งคล้ายเก๋งจีนสลัก ชื่อวิหาร ภายในมีต้นไม้ใหญ่ให้ความร่มรื่น นิยมมา ท่องบทกวีในที่แห่งนี้ สองข้างทางมีบ่อน�้ำสี่เหลี่ยม ขนาดเล็ก ๒ บ่อ ชื่อ เคววันกั๊ก (ดาวลูกไก่) ตรงกลาง ลานด้านหลังเป็นสระน�้ำใหญ่เรียกว่า เทียนกวางติงห์

หรือสระแสงงาม เชื่อกันว่าเวลาแสงจากพระอาทิตย์ สาดส่องสะท้อนเข้าสู่ประตูใหญ่จะเกิดความเจริญ รุ่งเรือง สองข้างของสระมีอาคารชั้นเดียว ๕ หลัง ภายในมีป้ายหิน ๘๒ แผ่น ที่หลงเหลือจากสงคราม ซึ่งเดิมมี ๑๑๗ แผ่น จารึกชื่อผู้สอบผ่านเป็นจอหงวน อายุน้อยที่สุดคือ ๑๕ ปี มากที่สุดอายุ ๘๔ ปี และมี ศาลเทพเจ้าขงจือ ให้สักการะ รัฐบาลเวียดนามเห็นว่า การศึกษาเป็นเรือ่ ง ส�ำคัญทีจ่ ะสร้างสรรค์ประเทศชาติ จึงส่งเสริมครูและ นักเรียนด้วยการมอบหมายหน้าทีใ่ ห้ครู ได้ปฏิบตั งิ าน ตรงตามศักยภาพ นักเรียนที่ศึกษาในสถาบันผลิต ครูจะเรียนฟรี การให้นักเรียนได้ค้นหาความสามารถ ด้านใดด้านหนึ่งของตนเอง แล้วส่งเสริมอย่างจริงจัง เน้นการฝึกทักษะจากการได้ลงมือปฏิบัติจริง เมื่อครู บรรยายแล้วนักเรียนต้องมีความคิดประดิษฐ์เอง ครู เป็นผูอ้ อกแบบโครงสร้าง โดยนักเรียนเป็นผูป้ ระดิษฐ์ หรือปฏิบัติ ปลูกฝังอุดมการณ์ให้นักเรียนเป็นเด็กดี ด้วยการปฏิบัติตามค�ำสอน ๕ ข้อ ของลุงโฮ คือ ท�ำดี

63


64

เรียนดี รักชาติ สามัคคี และซื่อสัตย์ มีค�ำขวัญให้กับ ครูวา่ “ครูตอ้ งท�ำตัวดีให้นกั เรียนท�ำตาม” ครูจะท�ำการ สอนสัปดาห์ละ ๑๖ ชัว่ โมง ถ้าสอนเกินกว่านีจ้ ะได้รบั เงินพิเศษ มีรปู แบบการจัดชัน้ เรียนในรูปแบบปฏิสมั พันธ์ เพื่อส่งเสริมการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ สร้าง รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และพัฒนานวัตกรรมการ เรียนการสอนรวมกับเพื่อนครู ด้านการจัดการข้อมูลทางการแพทย์ ประเทศ เวียดนามยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางเพราะถ้าไม่มีผู้ป่วย

การน�ำของลุงโฮ หรืออดีตประธานาธิบดีโฮจิมินห์ ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ มีนักท่องเที่ยวไปเวียดนาม เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ ๒๓ ที่ฮานอยนิยมนั่งสามล้อญวน “ซิโคล่” ชมย่านเมืองเก่า (Old Quarter) ซึ่งมีถนน ตัดกัน ๓๖ สาย (ซอย) มีซอยตระกร้า ซอยโคมไฟ ซอยขายเสื้อผ้า – รองเท้า ซอยผ้างานฝีมือ เป็นต้น สนุกจากการต่อรองสินค้าทีต่ าดีได้ตาร้ายเสีย เดินทาง มาอีก ๑ ชั่วโมง ถึงที่อ่าวฮาลอง (Halong Bay) มี ความหมายว่า มังกรร่อนลง โดยอ่าวฮาลองห่างจาก

โรงพยาบาลจะตัง้ อยูไ่ ม่ได้ ตัวอย่างเช่น ทีโ่ รงพยาบาล VINMEC International Hospital มีการบันทึกการ สัง่ การรักษาจัดเก็บทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึง่ ช่วยป้องกัน ความผิดพลาดได้ พบว่าเครื่องมือที่ใช้ตรวจผู้ป่วยนั้น ใช้คอมพิวเตอร์ทที่ นั สมัยเป็นส่วนใหญ่ การตรวจพิสจู น์ พยานหลักฐานดิจทิ ลั (Forensic Quality) เช่น เอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ ตรวจหู คอ จมูก (ENT) ผู้ป่วยสามารถ เห็นภาพความผิดปกติของตน ที่ หู คอ จมูก ได้จาก จอภาพได้อย่างชัดเจน ด้านการท่องเทีย่ ว หากเดินทางมาท่องเทีย่ ว เวียดนามเหนือ จะได้ชมสถานที่ส�ำคัญ ๆ ในยุคที่ ตกเป็นอาณานิคมของฝรัง่ เศส จนเป็นอิสระได้ภายใต้

กรุงฮานอย ๑๘๐ กิโลเมตร ด้วยความงดงามทาง ธรรมชาติที่เต็มไปด้วยเกาะเล็ก ๆ มีน�้ำที่เป็นสีเขียว มรกต มีเกาะหินปูนโผล่ขนึ้ มาจากผิวทะเลจ�ำนวนมาก ที่ อ ่ า วฮาลอง สามารถล่ อ งเรื อ ชมถ�้ ำ สวรรค์ กลางทะเลสาบ ที่มีหินงอกหินย้อยต่าง ๆ และมีการ จัดแสงสีไฟภายในถ�้ำ ด้วยความงดงาม จึงได้รับการ ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๗ ต่อมาคือ สวนสนุก SUN WORD มีกระเช้าลอยฟ้าข้ามทะเล (Queen Cable) ให้ นักท่องเที่ยวได้ช่ืนชมกับทิวทัศน์ที่สวยงามของอ่าว Sun Wheel เบือ้ งล่าง มีพพิ ธิ ภัณฑ์หนุ่ ขีผ้ งึ้ สถานทีน่ ี้ น่าท่องเที่ยวทั้งเวลากลางวันและขึ้นชิงช้าสวรรค์


ข่าวทหารอากาศ

ในยามบ่าย ๆ ถึงยามราตรีมีแสงไฟระยิบระยับนับ เป็นภาพที่น่าทึ่ง และที่ส�ำคัญสถานที่ท่องเที่ยวของ เวียดนามใช้โซล่าร์เซลล์ ซึง่ เป็นพลังงานจากแสงอาทิตย์ ทีส่ ะอาด ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ และมีแผนทีจ่ ะ ผลิตเรือเดินสมุทรจากพลังงานแสงอาทิตย์อนั ยัง่ ยืนนี้ ต่อไปในอนาคต ต่อด้วยการชมเชิดละครหุ่นกระบอกน�้ำ (Water Puppet Show) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นท่ี่ ส�ำคัญ แสดงวิถีชีวิตชาวเวียดนาม เช่น ที่โรงละคร ทังหลอง ถนน Dinh Tien Hoang ซึ่งสร้างความฉงน สงสัยเกี่ยวกับวิธีการเชิดหุ่นให้กับผู้ชมไม่น้อยเลย ทีเดียว เพราะเหล่าหุ่นกระบอกน�้ำเคลือบแล๊กเกอร์ จะถูกเชิดบนเวทีผืนน�้ำสี่เหลี่ยม โดยมีนักดนตรีที่ทั้ง เล่นดนตรีและพากย์สดไปด้วยนั่งอยู่ด้านข้างของเวที และมีฉากหลังกั้นไม่ให้ผู้ชมได้เห็นความลับของ การเชิดหุน่ กระบอกน�ำ้ นีม้ มี านานนับพันปี โดยเนือ้ หา การแสดงจะสะท้อนให้เห็นถึงประเพณีของชาวเวียดนาม ที่ผูกพันกับการเกษตร และต�ำนานต่าง ๆ โดยมี ตัวละครเด่น ๆ ได้แก่ นกฟีนกิ ซ์ ฝูงปลา มังกร และเต่า ซึ่งแสดงถึงความมั่นคง นอกจากนีย้ งั มีพพิ ธิ ภัณฑ์ทนี่ า่ เข้าชม ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ทหารเวียดนาม พิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์แห่งชาติ (History Museum หรือ VienBao Tang Lich Su) สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๔๗๐ เป็นตึกทรงยุโรป ทีม่ คี วามงดงามมากแห่งหนึง่ จั ด แสดงโบราณวั ต ถุ ซึ่ ง สะท้ อ นวิ วั ฒ นาการของ วัฒนธรรมต่าง ๆ ในเวียดนาม ตั้งแต่อารยธรรม

ยุคส�ำริด จาม และเขมร เช่น วัตถุยุคหิน ศิลาจารึก กลองมโหระทึก เครื่องปั้นดินเผา เครื่องแต่งกายพื้น เมืองของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่าง ๆ ที่ชั้น ๓ ด้านหลัง มีห้องสมุดวิจัยที่รวบรวมหนังสือจากยุคฝรั่งเศส ที่น่าสนใจจ�ำนวนมากอีกด้วย ทะเลสาบคืนดาบ (Sward lake, Ho Hoan Kiem) ทีฮ่ านอย หรืออีกชือ่ ว่า ทะเลสาบโฮฮว่านเกีย๋ ม ตัง้ อยูบ่ ริเวณใจกลางเมืองเก่าฮานอย ถือเป็นศูนย์กลาง ของเมืองฮานอย มีอาคารพิพิธภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ของเอเซีย รวมถึงสถาปัตยกรรมของฝรัง่ เศสล้อมรอบ ส�ำหรับการเดินทางมาเยือนทะเลสาบแห่งนี้ ถ้าหาก มองไปกลางทะเล จะเห็นเจดีย์โบราณที่สร้างในสมัย ศตวรรษที่ ๑๘ โผล่ขึ้นเหนือน�้ำเรียกว่า “ทาพรัว” หรือหอคอยเต่าเป็นทีร่ ะลึกถึงเทพศักดิส์ ทิ ธิป์ ระจ�ำเมือง ทีเ่ คยให้ดาบแก่กษัตริยโ์ บราณในการรบเพือ่ รักษาเมือง ช่วงเปลีย่ นฤดูจะเห็นเต่ายักษ์โผล่จากน�ำ้ แห่งนี้ ตลอดจน ยังมีสวนสาธารณะล้อมรอบหมูบ่ า้ นผ้าไหม “Van Phuc” เขต Ha Dong ตัง้ อยู่ ณ HaTay กรุงฮานอย กว่าศตวรรษ ที่ ห มู ่ บ ้ า นแห่ ง นี้ ผ ลิ ต ผ้ า ไหมขาย คนในท้ อ งถิ่ น และนักท่องเที่ยว ซึ่งจะได้เห็นเครื่องทอผ้า เทคนิค การท�ำผ้าไหมเวียดนามที่มีความโดดเด่น สุสานโฮจิมนิ ห์ ตัง้ อยูท่ จี่ ตั รุ สั บาดิงห์ อยูห่ า่ ง จากทะเลสาบโฮฮว่านเกี๋ยม ไปทางทิศตะวันตก ๒ กิ โ ลเมตร จั ตุ รั ส กลางเมื อ งนี้ เ ป็ น สถานที่ ที่ประธานาธิบดีโฮจิมินห์ อ่านค�ำประกาศอิสรภาพ เวียดนามจากฝรัง่ เศส ต่อหน้าชาวเวียดนามทีม่ าชุมนุม กันอยู่ในจัตุรัสมากกว่า ๕๐๐,๐๐๐ คน เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ค.ศ.๑๙๔๕ (วันที่ ๒ กันยายนของทุกปี เป็นวันชาติของเวียดนาม) สุสานนี้สร้างด้วยหินอ่อน หินแกรนิต และไม้มีค่าจากทั่วประเทศสร้างขึ้นเมื่อ ปีคริสต์ศักราช ๑๙๗๓ หลังจากโฮจิมินห์เสียชีวิต เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ค.ศ.๑๙๖๙ ในสุสานโฮจิมินห์ มีทหารกองเกียรติยศในชุดเครื่องแบบเต็มยศสีขาว ถื อ ดาบปลายปื น ยื น รั ก ษาการณ์ อ ยู ่ ต ลอดเวลา มีทางเดินไปยังห้องโถงใหญ่ ที่กลางห้องมีแท่นหิน

65


66

ตัง้ โลงแก้วบรรจุรา่ งของลุงโฮ ทีน่ อนสงบเหมือนคนหลับ อยูภ่ ายใน ผูท้ จี่ ะเข้าไปในสุสานจะต้องฝากกระเป๋าถือ และสิง่ ของมีคา่ ไว้กบั เจ้าหน้าที่ ห้ามถ่ายรูปใด ๆ ทัง้ สิน้ ผู้เข้าไปเคารพจะต้องแต่งกายเรียบร้อยและส�ำรวม กิรยิ าเดินแถวเรียงหนึง่ ตามเส้นทางเดินทีจ่ ดั ไว้ ศพของ ประธานาธิบดีโฮจิมนิ ห์ได้รบั การรักษาไว้ให้อยูใ่ นสภาพ เดิม ซึง่ เป็นความลับทางการแพทย์ของรัสเซีย ทีแ่ พทย์ ในโลกตะวันตกยังไม่มีความช�ำนาญเท่า ในฤดูใบไม้รว่ งสุสานโฮจิมนิ ห์จะปิดเป็นเวลา นาน ๒ เดือน (เดือนตุลาคมและเดือนพฤศจิกายน) เพื่อน�ำศพลุงโฮไปท�ำความสะอาด และเปลี่ยนน�้ำยา ที่ประเทศรัสเซีย ให้ศพของรัฐบุรุษที่ชาวเวียดนาม นับถือดุจเป็นบิดาของประเทศยืนยงไปชั่วนิรันดร์ ซึ่ง ขัดกับความประสงค์ของโฮจิมนิ ห์ ทีส่ ง่ั ให้เผาร่างของท่าน แล้วน�ำเถ้าถ่านกับอังคารไปบรรจุไว้ที่ภาคใต้คือที่ โฮจิมนิ ห์ และภาคเหนือเก็บไว้ทกี่ รุงฮานอย หากแต่วา่ รัฐบาลเวียดนามไม่ยอมปฏิบตั ติ าม และยังคงเก็บรักษา ร่างของลุงโฮไว้ให้คนเวียดนามได้เคารพจนถึงปัจจุบนั จั่วโหมดโกด หรือเจดีย์ขนาดเล็กเสาเดียว กลางสระบัว สร้างปีคริสต์ศกั ราช ๑๔๐๙ โดยกษัตริย์ หลีไทตง เมือ่ มีพระโอรสจึงโปรดให้สร้างขึน้ เพือ่ ถวาย แด่เจ้าแม่กวนอิม กินเนสบุค๊ รับรองว่า เป็นสถาปัตยกรรม ทีโ่ ดดเด่นของเอเชีย ผูค้ นนิยมมาอธิษฐานขอลูกชายกัน จากท่าอากาศยานนานาชาติ NoiBai มุง่ สู่ เวียดนามกลาง คือ ท่าอากาศยานนานาชาตินครดานัง ทีม่ สี ะพานมังกร มีชายทะเล เจดียท์ ใี่ หญ่ทสี่ ดุ ของดานัง ชื่อ Linh Ung สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงมาก คือ รูปปัน้ พระพุทธเจ้าขนาดใหญ่ สูง ๖๗ เมตร สามารถ เยีย่ มชมยอดเขา Son Tra รับประทานอาหารพืน้ บ้าน Rice Paper ทีป่ ระกอบด้วยผักและปลา ไม่ตอ้ งแปลก ใจเลยที่สาว ๆ เวียดนามท�ำไมหุ่นดี ยังมีสถานที่ ท่องเทีย่ วบนเขาทีต่ อ้ งนัง่ กระเช้าลอยฟ้าไป คือ Ba Na Hills ที่จะท�ำให้ประทับใจไม่รู้ลืม

จากนั้นออกเดินทางไปยัง ภูเขาหินอ่อน (Marble Moutains) ประกอบด้วยภูเขาหินอ่อน ๕ ลูก มีชื่อเรียกต่างกัน โดยมีความหมายถึง ธาตุ ดิน ไม้ น�้ำ โลหะ และไฟ หมู่บ้าน Non Nuoc Fie Arts Village มีอาชีพแกะสลักมานาน ๔๐๐ ปี เช่น รูปเจ้าแม่กวนอิม สลักหินไว้ประดับตามสวนหย่อม เมืองหงูแฮ็งเซิน (NguHanh Son) อยู่ห่างจากดานัง ไปทางใต้ ๗ กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่ไปถึงเมืองเก่า ฮอยอัน (Hoi An) ทีม่ คี วามคลาสสิกด้วยตัวอาคารเก่า ที่ผสมผสานกับวัฒนธรรมอันงดงาม มีอาหารทะเล สด ๆ ราคาย่อมเยา จากท่า อากาศยานนานาชาติน ครดานัง สู ่ เวี ย ดนามใต้ คื อ ท่ า อากาศยานนานาชาติ น คร โฮจิมินห์ ชื่อ “Tan Son Nhat” ออกไปยังบ้านเกิด ของ เหงี ย น วั น เที ย น ชื่ อ จั ง หวั ด Ben Tre เมืองโฮจิมินห์นี้ นอกจากการชมโบสถ์นอร์ธเธอดาม (Notre Dame Cathedral) ซึ่งเคยได้รับความเสีย หายจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ สามารถ ชมการแสดง ศิลปะพื้นบ้านร่วมสมัย ต่อด้วยเข้าเยี่ยมชมท�ำเนียบ อดีตประธานาธิบดีเวียดนามใต้ (Independence Palace) หรือท�ำเนียบแห่งการประกาศอิสรภาพ ซึ่ง สถานที่แห่งนี้เป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุดสงคราม อย่างเป็นทางการ มีการเก็บรักษาอาคารไว้ในสภาพเดิม เหมือนตอนที่ใช้เป็นท�ำเนียบของประธานาธิบดี เวียดนามใต้ ภายในมีสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ในยุคนั้น แล้วล่องเกาะแก่งบริเวณดินดอนสามเหลีย่ มแม่นำ�้ โขง การรับประทานอาหารค�่ำบนเรือที่ล่องแม่น�้ำไซง่อน รับรองได้ว่าท่านที่มาต้องหลงรักเมืองอันงดงามนี้ แต่ท่านที่เป็นทหารต้องไม่พลาดการเยี่ยมชมอุโมงค์ กู ๋ จี (Cu Chi) แล้ ว ท่ า นจะประทั บ ใจในความ เป็นเวียดนามเพื่อนบ้านของเรา


ข่าวทหารอากาศ

หลักการสร้างวัฒนธรรมการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์

Building a healthy cyber security culture ทุกอย่างนัน้ น่าจะส่งผลดี ถ้าองค์กรสามารถ น�ำเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยล่าสุดมาใช้ ในการปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ ปัจจุบันหลายคนได้เห็นเทคโนโลยีการรักษาความ ปลอดภัยที่ทันสมัยและแข็งแกร่ง ถูกน�ำมาใช้อย่าง แพร่หลาย เมือ่ กลับมามองวัฒนธรรมการรักษาความ ปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security Culture) จะเห็นว่า ยังก้าวไปไม่ทันแนวโน้มภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ อันท�ำให้องค์กรนัน้ เกิดความเสีย่ งทีม่ ากขึน้ ถ้าองค์กร ไม่สามารถสร้างวัฒนธรรมการรักษาความปลอดภัย ไซเบอร์ได้ วัฒนธรรมการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ นัน้ เป็นหลักการทีใ่ ช้กบั มนุษย์ ไม่ได้ใช้กบั คอมพิวเตอร์ การน�ำเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย มาใช้ภายในองค์กร จะถือเป็นการลงทุนที่สิ้นเปลือง หากคุณไม่ได้ทำ� การฝึกอบรมทีมงานและพนักงานของ องค์กร ผลทีไ่ ด้จากการสร้างวัฒนธรรมการรักษาความ ปลอดภัยไซเบอร์ จะท�ำให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม ทีเ่ ท่ากันบนระบบรักษาความปลอดภัยขององค์กร ถือ

น.อ. สรรสิริ สิริสันตคุปต์

เป็นส่วนทีส่ ำ� คัญในการปกป้ององค์กรจากภัยคุกคาม บนโลกไซเบอร์ ถ้าคุณเป็นผู้บริหารระดับสูง (Chief Information Officer : CIO) ที่ก�ำลังมองหาหลักการ สร้างวัฒนธรรมการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่ เข้มแข็งให้แก่องค์กร คงต้องใช้หลักการด้านล่าง โดยบทความในฉบับนี้มีมุมมองและรายละเอียด ที่น่าสนใจดังนี้ ท�ำให้การรักษาความปลอดภัยเป็นเรื่องของทุกคน ในองค์กรทีมงานและพนักงานจ�ำนวนมาก เชือ่ ว่า ถ้างานของพวกเขาไม่เกีย่ วกับงานในทางเทคนิค พวกเขาก็ ไ ม่ จ� ำ เป็ น ที่ จ ะต้ อ งเข้ า ไปเกี่ ย วข้ อ งกั บ การรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ ผลการวิจัย ขององค์กรในสหราชอาณาจักร ส�ำรวจโดย SolarWinds ได้ชี้ว่า “ทีมงานและพนักงานที่ไม่ตระหนักในเรื่อง การรักษาความปลอดภัย สามารถที่จะสร้างความ เสียหายให้แก่องค์กรได้” ในภาพรวมขององค์กร ผูบ้ ริหารระดับสูง (CIO) นัน้ สามารถช่วยเปลีย่ นความ

67


68

เชือ่ ดังกล่าวได้ โดยการปลูกฝังแนวคิดทีว่ า่ “การรักษา ความปลอดภัยเป็นเรื่องของทุกคน” ด้วยการอธิบาย ทีมงานและพนักงาน ให้ทราบถึงบทบาททีพ่ วกเขาได้ เข้าไปเกี่ยวข้องบนโลกของไซเบอร์ ให้พวกเขานั้นได้ รูว้ า่ เหตุใดจึงมีความส�ำคัญ วิธใี ดบ้างทีจ่ ะส่งผลกระทบ ต่อพวกเขาที่ส�ำคัญสิ่งใดที่พวกเขานั้นสามารถท�ำได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาบนโลกไซเบอร์ ทั้งหมดนี้ ถือเป็นสิ่งส�ำคัญในการปกป้ององค์กรจากภัยคุกคาม บนโลกไซเบอร์ ซึ่งการรักษาความปลอดภัยนั้นเป็น ของทุกคน ฝึกอบรมและท�ำให้คนมีความตระหนักรู้ การสร้างวัฒนธรรมการรักษาความปลอดภัย ไซเบอร์ภายในองค์กรนัน้ เป็นเรือ่ งทีเ่ กีย่ วกับฝึกอบรม และท�ำให้คนมีความตระหนักรู้ ถึงภัยคุกคามต่าง ๆ บนโลกไซเบอร์ ในภาพรวมของการรักษาความปลอดภัย บนโลกไซเบอร์ ยังมีการเปลีย่ นแปลงอยูเ่ สมอ เนือ่ งจาก แฮกเกอร์ได้คน้ คิดวิธใี หม่ ๆ ในการเข้าถึงข้อมูล ถือเป็น เหตุผลที่มีความส�ำคัญเป็นอย่างยิ่งส�ำหรับการสร้าง

วัฒนธรรมขององค์กร ให้มคี วามตระหนักรูถ้ งึ ภัยคุกคาม ได้อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา การให้ความรู้เพียง หนึ่งครั้งเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยบนโลก ไซเบอร์นนั้ คงไม่เพียงพอทีจ่ ะรับประกันได้วา่ ทีมงาน และพนักงานจะเข้าใจถึงวิธีการรักษาความปลอดภัย ได้อย่างแท้จริง ดังนั้นทีมงานและพนักงานทุกคน ภายในองค์กรจะต้องได้รับความรู้ที่ทันสมัยเสมอ และรูว้ า่ ควรระวังอะไร คุณ Graham Hunter รองประธาน ฝ่ายการรับรองความช�ำนาญ Europe Middle East and Africa (EMEA) ณ CompTIA กล่าวว่า “การฝึก อบรม และให้ความรู้แก่พนักงานนั้น ถือเป็นกุญแจ ที่ส�ำคัญเพื่อจะท�ำให้เกิดความปลอดภัยอยู่เสมอ” ถ้าทีมงานและพนักงานได้รบั รูว้ า่ รหัสผ่านทีต่ งั้ ไม่ซบั ซ้อน คาดเดาได้ จะน�ำมาสูค่ วามง่ายทีค่ นอืน่ สามารถจดจ�ำ ซึง่ จะเป็นเป้าหมายในการถูกโจมตี ด้วยความรูท้ ไี่ ด้รบั จากการฝึกอบรมจะท�ำให้เกิดความตระหนักรู้ ทีมงาน และพนักงานดังกล่าวนั้นมีโอกาสน้อยที่จะตกเป็น เหยื่อจากการโจมตีของแฮกเกอร์ ซึ่งแน่นอนว่าทุก ๆ องค์กร ต้องการมีระบบรักษาความปลอดภัยทีท่ นั สมัย


ข่าวทหารอากาศ

และแข็งแกร่ง แต่จะเป็นการลงทุนที่สิ้นเปลืองมาก หากคุณนัน้ ไม่ได้ฝกึ อบรมทีมงานและพนักงานของคุณ อนึง่ วัฒนธรรมการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ทเี่ ข้ม แข็ง จะต้องให้ความปลอดภัยแก่ผลิตภัณฑ์และบริการ ต่าง ๆ ทีท่ างองค์กรได้จดั หาไว้ให้ ซึง่ การสร้างวัฒนธรรม การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์นั้น ต้องใช้เครื่องมือ ที่หลากหลาย (Tools) อาทิเช่น การฝึกอบรมที่เกี่ยว กับความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัย (Security Awareness) การฝึกอบรมในแบบ CBT (Computer Based Training) และการอภิปรายแบบเปิด เพื่อให้ ผูบ้ ริหารระดับสูง (CIO) นัน้ มัน่ ใจได้ในตัวทีมงานและ พนักงานว่า จะมีความเข้าใจอย่างชัดเจนในสิ่งที่พวก เขาได้รบั จาก การฝึกอบรมด้านการรักษาความปลอดภัย องค์กรต้องปรับและตามให้ทันการเปลี่ยนแปลง องค์ ก รส่ ว นใหญ่ จั ด ให้ มี ก ารฝึ ก อบรม ในระดับหนึง่ แต่วธิ กี ารทีใ่ ช้นนั้ ไม่ได้ถกู ปรับปรุงให้เป็น ไปตามเทคโนโลยี เมือ่ ถูกน�ำมาเทียบกับหลักสูตรการ รักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ในปัจจุบนั ทีส่ ำ� คัญ นัน้ องค์กรส่วนใหญ่ยงั ไม่ได้ใช้ตวั ชีว้ ดั ในการตรวจสอบ พฤติกรรมของพนักงานหลังจากการฝึกอบรม ซึง่ การ เข้ารับการอบรมดังกล่าวไม่ได้แสดงให้องค์กรเห็นว่า

พนักงานเหล่านั้นเข้าใจผลที่ตามมาจากการกระท�ำ ของพวกเขา ดังนั้นกระบวนการภายในองค์กรรูป แบบใด ที่ต้องปรับและตามให้ทันการเปลี่ยนแปลง ในภาพรวมควรเริม่ ท�ำก็คอื องค์กรต้องก้าวเข้าไปร่วมกับ ทีมงานและพนักงาน โดยการนั่งคุยกับพวกเขา และ แนะน�ำพวกเขาให้กา้ วเข้าสูว่ ฒ ั นธรรมการรักษาความ ปลอดภัย ประกอบกับองค์กรต้องสร้างความมัน่ ใจว่า ความตระหนักรูเ้ กีย่ วกับความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ และกระบวนการรักษาความปลอดภัยขององค์กรนัน้ มีการจัดตั้งเป็นอย่างดีในขั้นตอนการเหนี่ยวน�ำ และ ขั้นตอนการฝึกอบรมของทีมงาน พนักงาน รวมทั้ง ผูร้ ว่ มงานภายนอก (Partners) ทีส่ ำ� คัญการมีสว่ นร่วม นั้น ถือเป็นเส้นทางแห่งความส�ำเร็จในกลยุทธ์ด้าน ความปลอดภัยขององค์กร บ่อยครัง้ ทีอ่ งค์กรไม่มกี าร ให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่พนักงานควรจะท�ำเพื่อความ ปลอดภัย กับสิง่ ทีพ่ นักงานได้ทำ� ไปจริง ๆ ในทางปฏิบตั ิ ซึง่ สิง่ ทีอ่ าจดูเหมือนไม่เป็นอันตรายต่อพนักงาน อาทิ การใช้เครือข่าย Wi - Fi ที่ไม่ปลอดภัย อาจท�ำให้ส่วน หนึ่งขององค์กรเกิดปัญหาที่ร้ายแรง คุณ David Kennerley ผู้อ�ำนวยการด้านการวิจัยภัยคุกคาม ณ Webroot ได้กล่าวไว้วา่ “คงไม่มปี ระโยชน์ทอี่ งค์กร จะพร�่ำสอนแต่ในเรื่องของการรักษาความปลอดภัย

69


70

จริง ๆ แล้วควรท�ำมันให้เป็นเรือ่ งทีน่ า่ สนใจและสามารถ น�ำไปใช้ได้จะดีกว่า โดยทั่วไปสิ่งที่ถูกต้อง คือ ไม่ควร ยอมรับการปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ไม่ถูกต้อง หากองค์กรได้มีการฝึกอบรมและการให้ค�ำแนะน�ำที่ เหมาะสมแล้ว” สิง่ ส�ำคัญอีกข้อคือ การท�ำเพือ่ ให้แน่ใจ ว่าผู้ร่วมงานภายนอก (Partners) จะรักษาความ ปลอดภัยได้อย่างจริงจังด้วยผู้ร่วมงานภายนอกนั้น สามารถเป็นจุดอ่อนในห่วงโซ่ความปลอดภัยบนโลก ไซเบอร์ได้ ดังนัน้ ผูบ้ ริหารระดับสูง (CIO) ควรตระหนัก ว่าเป็นความรับผิดชอบของตน เพือ่ ให้เกิดความมัน่ ใจ ได้วา่ ผูร้ ว่ มงานภายนอกนัน้ จะได้รบั การฝึกอบรม และ การสื่อสารที่เกี่ยวกับความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ เช่นเดียวกับพนักงานขององค์กร วัฒนธรรมการรักษา ความปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรนั้น สามารถเจริญ เติบโตได้ ถ้าองค์กรปรับและตามให้ทนั การเปลีย่ นแปลง

ข้อคิดที่ฝากไว้ ในมุมมองการสร้างวัฒนธรรมการรักษา ความปลอดภัยไซเบอร์ที่เข้มแข็งให้แก่องค์กรนั้น ผู้บริหารระดับสูง (CIO) จ�ำเป็นที่จะต้องฝึกอบรม ทีมงานและพนักงานให้เป็นเหมือน Human Firewall กล่าวคือ ท�ำให้การฝึกอบรมนั้นมีมนุษย์เข้าไปเป็น ส่วนร่วมในการป้องกันบนโลกไซเบอร์ ทัง้ นีเ้ พือ่ ท�ำให้ ทีมงานและพนักงานสามารถเข้าใจได้ถึงภัยคุกคาม อย่างแท้จริง ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะท�ำให้ทีมงานและ พนั ก งานสามารถรั บ รู ้ อี ก ทั้ ง ยอมรั บ ได้ ว ่ า สั ก วั น พวกเขา จะเป็นผู้รับผิดชอบในการปกป้ององค์กร จากภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์


มุมท่องเทีย่ ว

ข่าวทหารอากาศ

ทุลกั ทุเล จาก..ม่อนทูเล จนสุดทางที.่ .ม่อนคลุย กันตา

เข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทยอย่างเป็น ทางการแล้ว ส�ำหรับเดือนธันวาคม เดือนทีร่ อคอยของ ใครหลาย ๆ คน ผู้เขียนก็เช่นกัน หลังจากที่ได้ท�ำงาน มาตลอดปี ถึงเวลาสักทีที่จะต้องออกไปส�ำรวจโลก เติมพลังให้กบั ชีวติ หาประสบการณ์และเรียนรูส้ งิ่ ใหม่ ๆ จากการท่องเที่ยว เข้าสู่ฤดูหนาวจึงนับเป็นโอกาส อันดี วันนี้ผู้เขียนจะพาท่านผู้อ่านทุกท่านไปร่วมเปิด โลกกว้างด้วยกัน ทีจ่ งั หวัดทีไ่ ด้ชอื่ ว่ามีประชากรเบาบาง ทีส่ ดุ ในประเทศไทยเป็นอันดับที่ ๒ จังหวัดทีห่ ลายท่าน ผ่านไปและลืมนึกถึง แต่จังหวัดนี้กลับมีสถานที่ ท่องเทีย่ วทางธรรมชาติทสี่ วยงามมากมายไม่แพ้จงั หวัด ไหนเลย วันนีเ้ ราไปทีน่ กี่ นั ค่ะ “ม่อนทูเล – ม่อนคลุย” ต�ำบลท่าสองยาง อ�ำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก สถานที่ที่ผู้เขียนไปแล้วแทบไม่อยากจะกลับ ส�ำหรับท่านทีไ่ ม่ชอบการผจญภัยขอออกตัว ก่อนเลยว่า การมาเที่ยวที่ม่อนทูเล และม่อนคลุยนี้ น่าจะไม่เหมาะสักเท่าไหร่ เพราะขนาดตัวของผูเ้ ขียน ทีร่ กั การท่องเทีย่ วรูปแบบนี้ และเรียกได้วา่ ผ่านสมรภูมิ การปีนเขา ปีนดอย ปีนภู มาก็มาก ยังต้องยอมรับว่าที่

นี่หากไม่เตรียมร่างกายมาให้พร้อมจริง ๆ คงไม่สนุก แน่ ๆ แต่อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า ที่นี่งดงามตาม ค� ำ กล่ า วจริ ง ๆ แต่ จ ะคุ ้ ม ค่ า กั บ ความหฤโหด หรือไม่ติดตามกันต่อไปค่ะ ผู้เขียนเริ่มออกเดินทางจากสถานีขนส่ง ผู้โดยสารรังสิต นั่งรถทัวร์ปรับอากาศชั้น ๑ สาย กรุงเทพมหานคร - แม่สอด สนนราคาหลังใช้บัตร ข้าราชการลดราคาแล้วอยู่ท่ีราว ๓๐๐ กว่าบาท ออกเดินทางเวลา ๒๑.๓๐ น. ถึงตัวอ�ำเภอแม่สอด ประมาณ ๐๕.๐๐ น. เราจะต้องเดินทางต่อจากแม่สอด โดยนัง่ รถสองแถวสาย แม่สอด - แม่สะเรียง แต่ระหว่าง นัน้ รถยังไม่มา ผูเ้ ขียนและพรรคพวกจึงเตรียมล้างหน้า ล้างตาและหาอาหารรองท้อง เพื่อให้พร้อมส�ำหรับ การเดินทาง ทีต่ อนแรกจินตนาการไว้วา่ “คงไม่เท่าไหร่” แค่นั่งสองแถวต่อไปอีกอ�ำเภอหนึ่งเท่านั้น ได้เวลารถสองแถวออกตัวจากสถานีขนส่ง ผู้โดยสารแม่สอดเวลา ๐๕.๔๐ น. โดยมีผู้ใช้บริการ รถสองแถวนี้ค่อนข้างมาก เนื่องจากแทบจะเป็น รถขนส่งมวลชนรูปแบบเดียวที่มีผ่านในเส้นทางนี้

71


72

รถสองแถวจอดรับและส่งผู้โดยสารตลอดเส้นทาง มีทั้งคนไทย คนพม่า คนกะเหรี่ยง คนปากะญอ ใช้บริการกันอย่างต่อเนื่องและเนืองแน่น ผู้เขียนได้ นั่งบ้าง ได้ยืนบ้างสลับกันไป เพลิดเพลินกับการดูวิถี ชีวติ ของผูค้ นต่างเผ่าพันธุ์ ทีม่ าอาศัยท�ำมาหากิน สร้าง ครอบครัวอยูใ่ นประเทศไทย จากทีผ่ า่ นตาผูเ้ ขียนและ ได้มโี อกาสพูดคุย ผูค้ นเหล่านีเ้ ดินทางโดยรถสองแถว เพื่อหลายเป้าหมาย บ้างก็นั่งพาลูกไปส่งโรงเรียน ที่อยู่ต่างต�ำบล ใช้เวลาไปกลับร่วม ๓ ชั่วโมง ตกเย็น ก็ต้องมารับกลับอีก ด้วยเหตุที่ลูกยังเล็กไม่สามารถ ปล่อยให้เดินทางคนเดียวได้ บ้างก็นั่งรถมาเพื่อไป โรงพยาบาลที่อยู่ถัดไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง หมอนัดเช่นนี้ ทุกสัปดาห์จึงเดินทางเป็นประจ�ำด้วยเหตุที่ผู้เขียนนั่ง จากต้นสายไปจนสุดสาย จึงได้มีโอกาสคุยกับผู้คน หลากหลาย ท�ำให้เข้าใจว่าคนทุกชีวิตเกิดมา ล้วน มีหน้าที่ต้องท�ำและมีวิถีชีวิต มีเส้นทางของแต่ละคน สิง่ ทีแ่ ต่ละคนพึงระลึกอยูเ่ สมอคือ การทีเ่ ขามีสญ ั ชาติ ศาสนา ภาษา ที่ต่างไปจากเรา ไม่ได้แปลว่าศักดิ์ศรี และคุณค่าความเป็นมนุษย์ในตัวของพวกเขาเหล่านัน้ จะลดลง เขามีความเป็นคนและมีวิถีชีวิตของตัวเขา เอง เราจึงควรให้เกียรติเพื่อนมนุษย์เฉกเช่นที่เราให้ เกียรติตัวเอง เวลาผ่านไป ๔ ชัว่ โมง ผูเ้ ขียนเดินทางมาถึง ทีท่ ำ� การบริหารส่วนต�ำบลท่าสองยาง (อบต.ท่าสองยาง) อ�ำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ตลอด ๔ ชั่วโมง

ทีผ่ า่ นทางคดเคีย้ วลัดเลาะตามแนวเขา รถสองแถวขับ ไปอย่างเชื่องช้าเพราะมีผู้โดยสารขึ้นลงตลอดทาง กอปรกับควันท่อไอเสียรถสองแถวที่คละคลุ้งอยู่ท้าย ตัวรถ ท�ำให้ผู้เขียนวิงเวียนเมารถอยู่ไม่น้อย แม้จะ เพลิดเพลินกับการเฝ้าสังเกตวิถีชีวิตของผู้คนก็ตาม นับเป็นการเดินทางทีย่ าวนานอยูพ่ อสมควร เมือ่ เทียบ กับสิ่งที่ได้จินตนาการเอาไว้ในตอนแรก แต่อย่างไรก็ ดีผเู้ ขียนได้เดินทางมาถึงจุดหมายแรกทีเ่ ป็นจุดรวมพล นักท่องเทีย่ ว ก่อนทีจ่ ะขึน้ ไปสู่ ม่อนทูเล และม่อนคลุย โดยก่อนทีน่ กั ท่องเทีย่ วจะเดินทางมาจะต้องโทรศัพท์ ติดต่อกับทาง อบต.ท่าสองยางก่อน เพื่อที่จะก�ำหนด วันเดินขึ้นม่อน เพราะทาง อบต.ท่าสองยาง จะจ�ำกัด จ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่จะขึ้นในแต่ละวัน เพื่อเป็น มาตรการในการรักษาทัศนียภาพของม่อนอีกทางหนึง่ ด้วย และที่ยิ่งไปกว่านั้น ทาง อบต.ท่าสองยาง จะจัด รถกระบะของชาวบ้านให้ไปส่งที่จุดเริ่มต้นปีนเขา รวมถึงไกด์น�ำทาง และลูกหาบ ซึ่งเป็นชาวปากะญอ และชาวกะเหรีย่ ง ทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีใ่ ห้มรี ายได้เสริมอีกทาง หนึง่ ด้วย การที่ อบต.ท่าสองยางเข้ามาจัดการการท่อง เที่ยวให้เป็นไปในลักษณะนี้ เพื่อให้ชุมชนทั้งชุมชนได้ รับประโยชน์จากการพัฒนาการท่องเที่ยวอันเป็น ทรัพยากรธรรมชาติของส่วนรวม และเป็นการจัดการ ผลประโยชน์ ที่จะไม่ให้ตกไปที่นายทุนเจ้าใดเจ้าหนึ่ง ขณะนี้คณะพร้อมแล้วเดินทางต่อกันเลยค่ะ


ข่าวทหารอากาศ

เราเริม่ ต้นจากจุดปล่อยตัวนักท่องเทีย่ วกัน ในเวลา ๑๓.๐๐ น. เราต้องเดินเท้ากันต่อ ๘ กิโลเมตร เพื่อไปสู่จุดค้างแรมของเราในค�่ำคืนนี้ “ม่อนทูเล” จากที่ได้สอบถามจากคนในพื้นที่ “ม่อน” ภาษาเหนือ คือ ภูเขา เนินเขา (ไม่ใหญ่มากเหมือนดอย) “ทู” ภาษากะเหรีย่ งคือทอง “เล” คือหน้าผา “ม่อน ทูเล” หรือ “ดอยทูเล” จึงมีความหมายว่า ภูเขาสีทอง ต่อมา “ม่อนคลุย” “คลุย” ภาษากะเหรีย่ งคือ หัวโล้น ความหมาย คือ ภูเขาหัวโล้นนัน่ เอง ส�ำหรับระยะทาง ๘ กิโลเมตร ในช่วงการเดินทางแรกของวันนี้ เรียกได้วา่ หนักหน่วงเอาการ ทางค่อนข้างชัน แทบจะไม่มที างราบ เหมือนดอยหรือภูอนื่ ๆ ทีใ่ ห้นกั ท่องเทีย่ วได้พกั หายใจ เลย บรรยากาศสองข้างทางในช่วงนีเ้ ป็นป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่งสลับกันไป อากาศก�ำลังเย็นสบายเป็นใจให้กบั เหล่านักเดินทาง บางช่วงก่อนทีจ่ ะถึงยอดม่อนทูเลนัน้ นับเป็นจุดอันตรายก็ว่าได้ เพราะทางค่อนข้างชัน เกือบจะเรียกได้วา่ ๙๐ องศา ต้องใช้ความระมัดระวัง และทักษะค่อนข้างสูง เชือกทีข่ งึ ไว้ให้นกั ท่องเทีย่ วได้ เกาะ มีสภาพไม่สมบูรณ์จงึ ไม่สามารถใช้ทนุ่ แรงได้ กว่า ผูเ้ ขียนจะผ่านจุดนีไ้ ปได้ลนุ้ มาก ต้องมีสมาธิ และมีสติ อยูก่ บั ลมหายใจตัวเองให้มากทีส่ ดุ ซึง่ ส�ำหรับตัวผูเ้ ขียน เองแล้วนีค่ อื เสน่หข์ องการท่องเทีย่ วผจญภัยแบบนี้ เราเดินทางมาถึงจุดกางเต็นท์คนื แรกอย่าง ปลอดภัย ค�ำเดียวง่าย ๆ “หายเหนื่อย” เมื่อมาพบ

กับภาพที่อยู่เบื้องหน้า ท้องฟ้าสีฟ้าครามทอดตัวยาว ไกลสุดสายตาทางตะวันตก ผู้เขียนเดินทางไปทันส่ง พระอาทิตย์ตกดินพอดี และเนื่องจากวันนี้ฟ้าเปิด ท�ำให้มองเห็นข้ามไปถึงฝัง่ ประเทศเมียนมา และล�ำน�ำ้ เมยทีย่ าวคดเคีย้ วเป็นพรมแดนคูก่ นั กับเทือกเขาทีย่ าว ทอดตัวกั้นแผ่นดินระหว่างสองประเทศ ซึ่งนับเป็น โชคดีอกี ประการของผูเ้ ขียน ทีว่ นั เวลาทีเ่ ดินทางไปนัน้ เป็นช่วงวันธรรมดา ไม่มีนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นเลย บรรยากาศจึงเงียบสงบราวกับเป็นดอยส่วนตัว ถึงเวลางานครัวกันแล้ว หลังจากทีใ่ ช้กำ� ลังกาย และก�ำลังสติกนั มาตลอดเวลา ๕ ชัว่ โมง กับระยะทาง ๘ กิโลเมตร อาหารของเราได้มกี ารตระเตรียมมาอย่างดี ตัง้ แต่กอ่ นขึน้ ดอย ผูเ้ ขียนหมักเนือ้ หมูมาจากด้านล่าง เพือ่ ทีจ่ ะมาย่างทีด่ า้ นบนม่อนทูเลนี้ พร้อมกับหุงข้าว สวยร้อน ๆ หอม ๆ ด้วยหม้อสนาม ทุกอย่างราวกับว่า จะเป็นไปตามทีต่ งั้ ใจไว้ ผิดไปอย่างเดียวคือรสชาติของ หมูยา่ ง ทีก่ ลายเป็นรสชาติของ หนูนาย่าง ไปเสียได้ ผูเ้ ขียนและเพือ่ น ๆ ทีร่ ว่ มทางไปด้วยกันลองวิเคราะห์ กันแล้วว่า เหตุที่รสชาติของหมูย่างเปลี่ยนไปน่าจะ เนือ่ งมาจาก ไม้แห้งทีน่ ำ� มาใช้เป็นฟืนก่อไฟ ซึง่ น่าจะ เป็นไม้เฉพาะถิ่น ที่มีกลิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ ท�ำให้ หมูยา่ งฟืน ณ ม่อนทูเลของผูเ้ ขียน กลายเป็นหนูนาย่าง ผูเ้ ขียนตืน่ แต่เช้าเพือ่ จะมาเตรียมหุงหาอาหาร ส�ำหรับเพื่อนร่วมการเดินทางและพี่ ๆ ลูกหาบ

73


74

ทัง้ สองท่านทีม่ าด้วยกัน ตลอดการเดินทางทีแ่ สนยาวไกล เมือ่ วานนี้ เมือ่ ไหร่กต็ ามทีผ่ เู้ ขียนหันไปถามพีล่ กู หาบว่า “ใกล้ถงึ หรือยังคะ” ค�ำตอบทีไ่ ด้กลับมาคือ “กล้าแล้” (ใส่สำ� เนียงชาวกะเหรีย่ ง) เสมอ ข้อตกลงอย่างหนึง่ ของ อบต.ท่าสองยาง คือ นักท่องเที่ยวจะต้องดูแลอาหาร ให้ลูกหาบที่น�ำทางมาด้วย อาหารที่เราเตรียมกัน ในเช้านี้ คือ ข้าวต้ม ทีน่ ำ� ข้าวทีห่ งุ เผือ่ จากเมือ่ คืน มาต้ม เป็นข้าวต้ม และปลาหมึกเค็ม หอยแมลงภู่เค็ม ที่เตรียมไป เมนูนี้เป็นเมนูโปรดของพี่ ๆ ลูกหาบทาน หมดเกลีย้ งไม่เหลือ อาจเนือ่ งมาจากเป็นอาหารทะเล ทีจ่ งั หวัดตากอาจมีราคาแพง และ ไม่คอ่ ยมีขาย นาน ๆ ครั้งได้ทานน่าจะชอบใจอยู่ไม่น้อย อร่อยได้พลังงาน พอสมควร เริ่มต้นเดินทางต่อ วันนี้เราต้องข้ามภูเขา ๔ ลูก เพื่อไปยังจุดค้างแรมคืนที่ ๒ “ม่อนคลุย” กับระยะทาง ๑๒ กิโลเมตร บรรยากาศข้างทางในวันนีต้ า่ งจากเมือ่ วาน อย่ า งไม่ น ่ า เชื่ อ แม้ จ ะเป็ น ป่ า ผื น เดี ย วกั น แต่ ใ ห้ ความรู้สึกไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิง เมื่อวานมีลักษณะ เป็นป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ แต่วนั นีเ้ ส้นทางทีเ่ ดินมา ล้วนเป็นป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น นี่คงเป็นความสมบูรณ์ และความน่าอัศจรรย์ของธรรมชาติและผืนป่าทรัพยากร อันมีค่าของประเทศไทยที่เราทุกคนควรที่จะต้อง หวงแหนไว้ บรรยากาศร่มรื่น ธารน�้ำไหล และน�้ำตก ที่มีอยู่ตลอดทาง เป็นจุดแวะพักทานอาหารกลางวัน ของเรา พร้อมกับได้มีโอกาสช�ำระล้างร่างกายที่ไม่ได้

อาบน�้ำมาตั้งแต่เมื่อคืน ธารน�้ำนี้พี่ลูกหาบบอกว่า น�ำ้ ในล�ำธารสามารถกรอกดืม่ ได้เลย พวกเราก็จดั แจง อาบน�้ำอาบท่า กรอกน�้ำ เพื่อส�ำหรับการเดินทางอีก ครึ่งทางที่เหลือเรียบร้อย พักผ่อนอีกสักครู่ ก็จะออก เดินทางในครึ่งหลัง น�้ำที่เรากรอกมาเพื่อดื่มกิน จากค�ำบอกของพีๆ่ ลูกหาบนี้ ไม่นา่ เชือ่ ว่า เหมือนน�ำ้ ทิพย์ จากสรวงสวรรค์ หวานเย็นชื่นใจ คลายเหนื่อย คลายร้อนได้ดีกว่าน�้ำเย็น ๆ ในตู้เย็นเสียอีก ระหว่างทางครึ่งหลังนี้ผู้เขียนเดินทางสวน กับคณะของพี่ ๆ เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่ขึ้นมาเดินตรวจการณ์ตาม วงรอบทีก่ ำ� หนดไว้ ซึง่ เป็นหนึง่ หน้าทีห่ ลัก อย่างทีผ่ เู้ ขียน ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นเกีย่ วกับความสมบูรณ์ของระบบ นิเวศที่ม่อนทูเล ม่อนคลุย แห่งนี้ ที่ยังคงมีป่าไม้ อุดมสมบูรณ์เป็นที่หมายปองของบรรดานักค้าไม้ ผิดกฎหมาย ทีจ่ ะลักลอบตัดไม้ทำ� ลายป่า เป็นเหตุให้พี่ ๆ ต้องหมุนเวียนกันขึน้ มาดูแล จากการพูดคุยกันพี่ ๆ เล่าว่า ในบางครัง้ ถึงขัน้ มีการปะทะกันด้วยอาวุธปืน บางครัง้ เจ้าหน้าทีก่ บ็ าดเจ็บ หรือผูท้ ลี่ ะเมิดกฎหมายก็เป็นฝ่าย บาดเจ็บ พวกเราในฐานะคนไทยคนหนึง่ หลังจากได้พดู คุย ถามไถ่ กั บ พี่ ๆ เจ้ า หน้ า ที่ แ ล้ ว ก็ ข อบคุ ณ ทุกท่านทีต่ งั้ ใจท�ำงานอย่างหนัก เพือ่ ทีจ่ ะรักษาผืนป่า ของคนไทยทุกคนเอาไว้ให้ลูกหลานรุ่นหลัง จุดหมายของเราคืนสุดท้ายนี้ เป็นจุดเดียว กับจุดทีเ่ ราจะนัง่ รถกลับไปทีจ่ ดุ รวมพลที่ อบต.ท่าสองยาง


ข่าวทหารอากาศ

บรรยากาศทะเลหมอกเมื่อมองจากยอดม่อนคลุย

ล�ำธารน�้ำบริเวณทางขึ้นม่อนคลุย

บรรยากาศป่าดงดิบทางลงม่อนทูเล

ลานกางเต็นท์บนยอดดอยทูเล

ทางลงดอยทูเลที่มีความชัน

75


76

ผู้เขียนเดินทางข้ามภูเขามา ๔ ลูก ๑๒ กิโลเมตร กับ ๑ วันเต็ม ๆ ๑๗.๐๐ น. ผู้เขียนก็เดินทางมาถึงจุด หมายปลายทาง “ม่อนคลุย” ภูเขาหัวโล้น ทีม่ วี วิ ทิวทัศน์ เต็มไปด้วยทะเลหมอกสุดลูกหูลกู ตา และทีส่ ำ� คัญมองเห็น ม่อนทูเล ที่พักแรมของเราเมื่อคืนก่อนอยู่ไกลลิบ ๆ ที่นี่มีสิ่งอ�ำนวยความสะดวกไว้บริการในระดับหนึ่ง มีห้องน�้ำที่ทาง อบต.ท่าสองยาง สร้างไว้จากเงิน ค่าธรรมเนียมที่เก็บนักท่องเที่ยวที่มาขึ้นดอย ให้นัก ท่องเทีย่ วได้ใช้ เพราะทีน่ นี่ บั เป็นจุดสิน้ สุดของการเดินทาง อากาศเย็น ๘ องศา กับการอาบน�้ำช่างดู ไม่เข้ากัน กว่าจะตัดสินใจราดน�ำ้ แต่ละขันได้ชา่ งยากเข็ญ น�ำ้ เย็นยะเยือกเหมือนน�ำ้ แข็งทิม่ แทงทัว่ ร่าง คงเปรียบ เหมือนการท่องเที่ยวปีนเขา ปีนดอย ปีนภู นี้ ที่ก่อน จะมา ผู้เดินทางคงมีความรู้สึกกังวลอยู่ในใจไม่น้อย ว่า จะสามารถผ่านไปได้หรือไม่ หรือแม้แต่ขณะเดิน ทางมาหนทางแต่ละเมตร แต่ละกิโลเมตร ไม่ง่ายเลย ต้องใช้ความอดทน ใช้สติ และความตั้งใจอันแรงกล้า

แต่เมื่ออาบเสร็จแล้วกลับเย็นสบายคลายเหนื่อยล้า ทีค่ งไม่ตา่ งกับความรูส้ กึ ทีเ่ ราสามารถเอาชนะตัวเองได้ และมองเห็นภาพอันงดงามทีอ่ ยูเ่ บือ้ งหน้า เป็นรางวัล ให้กับการเอาชนะจิตใจของตนเอง วันรุง่ ขึน้ ผูเ้ ขียนเดินทางกลับเข้าสูต่ วั อ�ำเภอ แม่สอด เพื่อนั่งรถโดยสารกลับสู่กรุงเทพมหานคร โดยสวัสดิภาพ กลับมาพร้อมกับความอิ่มเอมใจ ที่ได้มีโอกาสไปเติมพลังชีวิต ด้วยการเรียนรู้ และหัด เข้าใจโลกในแง่มุมต่าง ๆ ที่เราไม่คุ้นเคย อิ่มเอมกับ มิตรภาพที่เกิดขึ้นระหว่างทาง ทั้งกับเพื่อน ๆ ที่เดิน ทางไปด้วยกัน ผูค้ นต่างชาติ ต่างเผ่าพันธุท์ ไี่ ปประสบ พบเจอ มิตรภาพที่น่ารักของพี่ ๆ ลูกหาบทั้งสองท่าน ที่พูดน้อยแต่ยิ้มตลอดทาง ความสุขง่าย ๆ ที่เราหาได้ ทุกครั้งที่เราพร้อมออกเดินทาง แล้วพบกับสถานที่ ท่องเที่ยวแห่งใหม่ในฉบับหน้านะคะ


ข่าวทหารอากาศ

ASEAN Community (+3)* Little Tidbit เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประชาคมอาเซียน (+3)*

โตเกียวสกายทรี The major role of Tokyo Skytree is transmission of digital terrestrial broadcasting. Digital terrestrial broadcasting has already been in use since December 2003 in the Kanto area, but due to the many tall buildings rising over 200 meters high in central Tokyo, it has become necessary to build a new tower higher than 600 meters for broadcasting transmission purposes. When the role is totally transferred to the new tower, the volume of digital terrestrial broadcasting transmission is doubled, and thus mitigates the impact of the ever - increasing number of high - rise buildings. It is also expected to widen the area of coverage for “One Seg” digital terrestrial broadcasting for mobile phones, which has been in operation since April 2006. It is also expected to assume a role as a tower with a disaster-prevention function at times of natural disaster.

@Ziich

โตเกียวสกายทรี มีบทบาทส�ำคัญในการ แพร่สัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล อันที่จริงแล้วการแพร่สัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ในพื้นที่คันโตได้เริ่มด�ำเนินการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๖ แต่เนื่องจากการแพร่สัญญาณนั้นได้รับ ผลกระทบจากบรรดาตึกที่มีความสูงกว่า ๒๐๐ เมตร ซึง่ ตัง้ อยูใ่ นใจกลางมหานคร ด้วยเหตุนจี้ งึ มีความจ�ำเป็น ต้องสร้างหอคอยแห่งใหม่ ซึ่งมีความสูงมากกว่า ๖๐๐ เมตร เพื่อใช้แพร่สัญญาณ หลังจากที่ได้ย้ายมาแพร่ สัญญาณทีห่ อคอยแห่งใหม่แล้ว พบว่าปริมาณการแพร่ สัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินได้เพิ่มขึ้นเป็น ๒ เท่า รวมทั้งสามารถลดผลกระทบจากตึกสูงที่มีจ�ำนวน เพิม่ ขึน้ ทุกปี และคาดว่าจะแพร่สญั ญาณไปยังเครือ่ งรับ สัญญาณบนโทรศัพท์มือถือที่เรียกว่า “One Seg” ซึ่งได้เริ่มเปิดใช้งานตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๔๙ รวมถึงยังมุ่งหวังที่จะท�ำหน้าที่เป็นหอคอยส�ำหรับ การป้องกันภัยพิบัติ ในยามที่เกิดภัยธรรมชาติอีกด้วย

* ASEAN +3 คือ กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) กับประเทศอื่นนอกกลุ่ม อาเซียนอีก ๓ ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลี (http://www.เกร็ดความรู้.net/อาเซียน3/) อ้างอิง http://www.tokyo-skytree.jp/en/about/tower/, http://www.tokyo-skytree.jp/th/about/tower/ https://www.japanvisitor.com/tokyo/tokyoskytree

77


78

ประจําเดือน ธ.ค.๖๑ มีน

เฉลย ปริศนาอักษรไขว้ ประจ�ำเดือน ธันวาคม ๒๕๖๑ ๑ ๙

เ ๑๘

๒๗ ๓๐

๓๔

๔๑

ว ที

๑๙

ะ ๑๒

๔ ต ว

เ ส

น ๒๐

ด็

ชั

ค อ

๓๕ ๓๘

๓๒

๓๙ ๔๒

ก ม

๑๓

ย ๑๐ อ น

๒๓

๒๔ นุ ๒๘ ช

ล เ ล

ด็

๑๑ ว า ๑๖ ร ณ ก ร ๓๓ ร ๓๖ น ด

มีน

อั

ร ๑๔ ร

๑๕ สิ

โ ๒๖ ต

ถ ะ ๒๕ ร า ๓๑ ก

๑๗ แ ๒๑ ค ม

ส า ด

๔๐ ว ๔๓ สุ

๒๙ โ ง น ๓๗ เ

า ก ๒๒ ท อ ง

ทั

พ ร

ง น

ะ ก


ข่าวทหารอากาศ

79


80


ข่าวทหารอากาศ

ธรรมะ ประที ป กตัญญูกตเวที คนดี ย่อมเป็นทีย่ กย่องนับถือของคนทัว่ ไป เพราะอ�ำนาจของความกตัญญูกตเวที ดังพระบาลี ที่ว่า “นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา” แปลว่า ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี กตัญญู หมายถึง บุคคลผู้รู้คุณของคนอื่น กตเวที หมายถึง บุคคลที่ตอบแทนผู้มีคุณแก่ตน ดังนั้น ค�ำว่า กตัญญูกตเวที จึงหมายถึง บุคคลผู้รู้คุณ ที่คนอื่นกระท�ำแล้วและท�ำตอบแทน แบ่งออกเป็น ๔ ประการ ๑. กตัญญูกตเวทีต่อบุพการี คือ การ ตอบแทนบุ ญ คุ ณ พ่ อ แม่ ผู ้ ใ ห้ ก� ำ เนิ ด หรื อ บุ ค คล ผู้ให้การเลี้ยงดู ให้วิชาความรู้ ให้ที่อยู่อาศัย จงอย่า ได้ลมื บุญคุณท่าน แม้จะมียศศักดิแ์ สนวิเศษสักปานใด ก็ตาม หากไร้คณ ุ ธรรมข้อนีก้ ไ็ ร้คณ ุ ค่า ดังสุนทรภูก่ ล่าว ไว้ในพระอภัยมณี ว่า “ทรลักษณ์อกตัญญุตาเขา เทพเจ้าก็แช่งทุกแห่งหน ให้ทุกข์ร้อนงอนหง่อทรพล พระเวทย์มนต์เสื่อมคลายท�ำลายยศ” อ้างอิง

กอศ.ยศ.ทอ.

๒. กตัญญูกตเวทีตอ่ พระพุทธศาสนา คือ การนับถือ อุปถัมภ์ บ�ำรุง อุทศิ กาย ใจ สติปญ ั ญา หรือ ทรัพย์สินเพื่อการเผยแผ่ การปฏิบัติธรรมท�ำให้ ชาวพุทธได้รู้จักธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ให้ธำ� รงคงอยูส่ บื ต่อไป แสดงตนเป็นอุบาสก อุบาสิกา มีศีล มีศรัทธา ท�ำบุญในพระศาสนา ไม่ไป แสวงหาบุญนอกเขต ไม่ถือเหตุแห่งค�ำมงคล ๓. กตั ญ ญู ก ตเวที ต ่ อ สั ง คม หรื อ สิ่งแวดล้อม คือ การกระท�ำประโยชน์เพื่อส่วนรวม เพื่อสังคมเมื่อเราได้ท�ำการสิ่งใดแล้วสิ่งนั้นมิได้เกิด ผลลัพธ์ตอ่ ตัวเราเพียงผูเ้ ดียว แต่ยงั ได้สง่ ผลไปถึงบุคคล รอบข้าง ญาติสนิทมิตรสหาย บุคคลทั่วไป ประเทศ ชาติ สังคม และสิ่งแวดล้อมก็ได้ด้วย พระพุทธองค์ ตรัสว่า บุคคลอาศัยนัง่ นอนในร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่ พึงท�ำลายแม้ใบของต้นไม้นั้น ๔. กตัญญูกตเวทีต่อแผ่นดินเกิด คือไม่ ท�ำลายลบล้างประเพณี วัฒนธรรมทีด่ ขี องประเทศชาติ ช่วยกันผดุงรักษาความเป็นเอกราช ร่วมกันพัฒนาชาติ ให้ รุ ่ ง เรื อ ง ได้ ป ระโยชน์ จ ากแผ่ น ดิ น นี้ แ ล้ ว ต้ อ ง ท�ำประโยชน์ทดแทนคุณแผ่นดิน

ธรรมนิเทศ ปกิณณกกถา – มงคลกถา - ธรรมเทศนา พระศรีธรรมภาณี (วัลลพ โกวิโล ป.ธ.๘) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

81


82

...เป็นคนรูจ้ กั ความจน... วั น หนึ่ ง เมื่ อ ผู ้ เขี ย นเดิ น ทางไปประชุ ม คณะกรรมาธิการคมนาคมที่รัฐสภา ด้วยความรีบเร่ง และความทีช่ อบหลงลืมเป็นประจ�ำ จึงลืมหยิบกระเป๋า สตางค์ตดิ ตัวไปด้วย มารูต้ วั ก็ตอนทีน่ กึ ได้วา่ กล้วยน�ำ้ ว้า ทีบ่ า้ นหมด ต้องซือ้ ติดมือไปด้วยสักหวี ขับรถเข้าซอย เห็นกล้วยน�ำ้ ว้าสุกสวยน่ากินจึงลงไปซือ้ พอลงจากรถ คล�ำกระเป๋าสตางค์จึงรู้ว่าไม่ได้หยิบมาด้วยตั้งแต่เช้า แต่ก็ไม่วิตกนัก เพราะความขี้ลืมอย่างนี้ผู้เขียนจะมี ก๊อกที่สอง คือเอาสตางค์ใส่ไว้ในรถด้วยจ�ำนวนหนึ่ง แต่เมื่อเปิดประตูรถก็ต้องตกใจเป็นครั้งที่สอง เพราะ วันนี้ผู้เขียนเอารถของภรรยามาใช้ ต้องค้นในที่เก็บ เศษสตางค์นับมาได้ สามสิบสองบาท กล้วยเขาขาย สีส่ บิ บาท เป็นอันว่าซือ้ ไม่ได้ ขับรถไปอีกหน่อยเจออีก ร้านหนึ่งเขาขายสามสิบห้าบาท ต่อเขาสามสิบสอง บาทเขาก็ไม่ยอม แต่งตัวอย่างดีมาต่อกันสามบาท ได้อย่างไร เขาบอกว่ามีหวียี่สิบบาทเอาไหม ซึ่งมัน สุกงอมมากแล้ว ผู้เขียนจึงตัดสินใจไม่เอา ขณะนั้น ผู้เขียนมีความรู้สึกที่แย่มาก ๆ กล้วยหวีเดียวยัง หมดปัญญาซื้อ ไม่ได้ต�ำหนิคนขายหรือต�ำหนิตัวเอง หรอก แต่มันมีความรู้สึกแย่ตรงที่เวลามีสตางค์ไม่พอ นี่ ไม่มใี ครช่วยเราได้เลย รูซ้ งึ้ ว่าความจนเป็นเช่นนีเ้ อง ผู้เขียนก�ำเศษสตางค์สามสิบสองบาท ที่เหมือนไม่มี ค่าเลย ตั้งใจจะเอาไปใส่คืนในที่เก็บเศษสตางค์ในรถ

แต่มองไปข้างหน้าสักร้อยเมตรเห็น คุณยายแก่ ๆ คนหนึง่ ก�ำลังคุย้ ถังขยะเพือ่ หาเศษพลาสติกและกระดาษ เอาไปขาย ผูเ้ ขียนเปลีย่ นใจขับรถเข้าไปใกล้ ๆ แล้วเรียก แกพร้อมกับยืน่ เงินทัง้ หมดให้ แกมองผูเ้ ขียนด้วยสายตา ทีข่ อบคุณอย่างหมดใจ พร้อมกับยิม้ เห็นฟันสามซีท่ ยี่ งั เหลืออยู่ ยายยกมือไหว้ขอบคุณและอวยพรเสียง ดังลั่น ความรู้สึกที่หดหู่ของผู้เขียนหายไปหมดสิ้น


ข่าวทหารอากาศ

เงินสามสิบสองบาทของผูเ้ ขียนมีคา่ มากมายเหลือเกิน ส�ำหรับคุณยาย ต้องขอบคุณคนขายกล้วยทีท่ ำ� ให้เงิน ผู้เขียนมีค่าขนาดนี้ วันนั้นขับรถกลับบ้านอย่างมี ความสุขมาก ๆ วันหนึ่ง ขอบคุณความจนที่ให้โอกาส ท�ำสิ่งดี ๆ จึงเป็นเรื่องที่จะคุยกันในวันนี้ มีค�ำพูดที่กล่าวไว้ว่า “ความจนมันน่ากลัว ไม่เจอกับตัวไม่มีวันรู้สึก” คนทั่วไปพอได้ยินค�ำว่า ความจนก็มักจะนึกถึงเงินเป็นอันดับแรก ซึ่งก็คงไม่ ผิดนัก เพราะเงินสามารถแปลงเป็นอย่างอื่นได้ง่าย ทีส่ ดุ จึงแก้ปญ ั หาได้ดถี า้ มีเงิน แต่คำ� ว่า ความจน หรือ ความยากจน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า สภาพทีค่ นเรามีความเป็นอยูต่ ำ�่ กว่ามาตรฐาน คือมีรายได้ไม่เพียงพอทีจ่ ะใช้จา่ ยหาซือ้ สิง่ ของจ�ำเป็น พื้นฐาน ในการครองชีพ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรคและที่อยู่อาศัย แต่ความยากจนในสังคม มีอยู่สองนัยด้วยกันคือ ๑. ความยากจนสมบูรณ์ คือ สภาพที่ คนเรามีรายได้ไม่พอต่อการด�ำรงชีวติ จริง ๆ ต้องอด ๆ อยาก ๆ ดิน้ รนไปวัน ๆ เสือ้ ผ้า ทีอ่ ยูอ่ าศัย ก็ไม่เหมาะสม

คนที่ ย ากจนขนาดนี้ ในประเทศไทยของเรามี ไม่มากนัก ๒. ความจนสัมพัทธ์ คือ ความยากจนที่ เกิดจากการเปรียบเทียบกับคนอืน่ ของคนเราในสังคม สิง่ ทีค่ นอืน่ มีมากกว่าตนไม่วา่ เรือ่ งอะไร ก็ทำ� ให้รสู้ กึ ว่า ตนยากจนกว่า ต�ำ่ ต้อยกว่า กระจอกกว่า ซึง่ คนกลุม่ นี้ มีมากในสังคมของเรา ยังมีอกี หลายส�ำนักทีใ่ ห้คำ� จ�ำกัดความค�ำว่า ความจน ต่างกันไป แล้วแต่มมุ มอง ยังมีมมุ มองทีต่ อ้ ง ท�ำความเข้าใจกันอีกประเด็นหนึ่ง คือ ความจน กับ ความทุกข์ ความสุขนั้นเกี่ยวข้องกันหรือไม่ ตรงนี้ น่าคิดมาก เพราะเราได้พบเห็นบ่อย ๆ ว่า คนทีไ่ ม่คอ่ ย มีเงิน แต่มีความสุขกายสบายใจมีอยู่มากมาย พอ ๆ กับเห็นคนทีม่ เี งินมากมาย แต่เต็มไปด้วยความวุน่ วาย และความทุกข์ เรื่องอย่างนี้อาจสรุปได้คร่าว ๆ ว่า ความสุขนัน่ อยูท่ ใี่ จไม่ได้อยูท่ เี่ งินแต่ความสบายคง ต้องอาศัยเงินอยู่บ้าง เรื่องนี้จึงขึ้นอยู่กับความพอใจ และความพอเพียงของแต่ละคน มีนทิ านสอนใจทีน่ า่ รัก อยู่เรื่องหนึ่งเล่าไว้ว่า มีเศรษฐีครอบครัวหนึ่งได้ส่ง

83


84

ลูกชายวัยห้าขวบ ให้ไปอาศัยอยู่กับครอบครัวของ คนขับรถที่ต่างจังหวัดเดือนหนึ่งช่วงปิดเทอม ให้ไป อาศัยอยูก่ บั พ่อของคนขับรถและลูกชายของคนขับรถ ทีอ่ ยูใ่ นวัยเดียวกัน โดยมีเจตนาให้ลกู ชายได้รจู้ กั รสชาติ ของความยากจนเสียบ้าง อยู่บ้านสบายทุกอย่าง จนท�ำอะไรไม่เป็น เมื่อลูกชายกลับมาบ้านในวันแรก พ่อจึงถามลูกชายว่า พ่อ : เป็นยังไงบ้างลูกสบายดีไหมที่โน่น ระหว่างบ้านเรากับบ้านเขามีอะไรแตกต่างกันบ้างไหม ลูก : มันแตกต่างกันมากเลยครับ บ้านเรา เล็กนิดเดียวแถมมีก�ำแพงรั้วกั้นด้วยมองอะไรไม่เห็น เลย บ้านเขากว้างขวางมาก ไม่มรี วั้ มองเห็นภูเขาชัดเจน เขามีตน้ ไม้เยอะมากเป็นป่าเลย ทีบ่ า้ นเราผมมีหมาตัว เดียวเป็นเพื่อน บ้านเขามีหมาสี่ตัวและมีลูกตัวเล็ก ๆ อีกห้าตัวน่ารักมากเลยครับ แล้วมีไก่อกี ฝูงใหญ่ มีเป็ด เต็มเล้าเลย ที่บ้านเรามีสระน�้ำเล็กนิดเดียว เขามี สระน�ำ้ ใหญ่มาก มีปลาเยอะแยะในสระ แถมมีผกั รอบ ๆ สระด้วย ผมได้เล่นน�้ำทุกวันเลยสนุกมาก บ้านเรามี โคมไฟที่มีแสงระยิบระยับพวงนิดเดียว เขามีโคมไฟ

ใหญ่เท่าฟ้าเลย มีดาวระยิบระยับมากมายจนผม ดูไม่หมดเลย เรามีเพลงฟังในห้องพักผ่อนแต่เขา มีเสียงนกร้องทัว่ ไร่ทวั่ นาเลย ขอบคุณพ่อมากเลยครับ ที่ท�ำให้ผมรู้ว่าครอบครัวของเรายากจนแค่ไหน พ่อ : ???? จากนิทานเรื่องนี้ บางทีค�ำว่า ความจน ก็อยู่ที่มุมมองเหมือนกัน โดยเฉพาะความจนสัมพัทธ์ ที่อยู่ในใจของผู้คน มีนักปราชญ์กล่าวไว้ว่าในชีวิตของคนเรา ทุกคนต้องพบกับความยากจนเหมือน ๆ กัน เขารวม เรียกว่า ความจนของชีวิต คือ ในวัยเด็ก ทุกคนจะมี เวลามากมายจะท�ำอะไรเมือ่ ไรก็ได้ มีพละก�ำลังเหลือเฟือ วิง่ เล่นได้ทงั้ วันไม่มเี หนือ่ ย แต่ขาดแคลนความรู้ เงินทอง และประสบการณ์ชีวิต เมื่อโตขึ้นอยู่ในวัยท�ำงาน ร่างกายแข็งแกร่งสุดขีดท�ำงานได้ทั้งวันทั้งคืน มีเงิน มีประสบการณ์ชวี ติ มากมาย แต่ไม่คอ่ ยมีเวลา เมือ่ แก่ ชราลง จะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ชีวิต ทุก ๆ ด้าน มีเวลามีเงินทองทีเ่ ก็บหอมรอมริบมาเหลือเฟือ แต่ไม่มแี รงและก�ำลังทีท่ ำ� สิง่ ใด ๆ ได้มากนัก ธรรมชาตินนั้


ข่าวทหารอากาศ

ก�ำหนดมาให้คนเราทุกคนต้องจนอย่างใดอย่างหนึง่ เสมอ จะเห็นว่าเอาเข้าจริงแล้วค�ำว่าความจนนัน้ ไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน ไม่มีคำ� จ�ำกัดความที่แท้จริง ไม่มีเส้นแบ่งที่ใช้ได้กับคนทุก ๆ คน หรือกลุ่มคน ในสังคมทุกสังคม และที่ส�ำคัญที่สุด ความจนนั้น เป็นค�ำพูดเชิงลบ จะหามุมมองทางบวกคงไม่เจอ แต่ในโลกนี้ไม่มีใครท�ำเหรียญหน้าเดียวได้ ทุกอย่าง ต้องมีทงั้ บวกและลบคูก่ นั เสมอ ถ้าจะกล่าวว่าต่อไปนี้ คือข้อดีของความจน คงเป็นข้อความที่ขัดแย้งกันเอง ในตั ว แต่ ถ ้ า กล่ า วว่ า ต่ อ ไปนี้ คื อ ตั ว อย่ า งข้ อ เสี ย ของความรวย น่าจะพอรับได้ ข้อเสียของความรวย ๑. คนรวยมักหลงตัวเองและประมาท ในการด�ำเนินชีวติ เพราะคนรวยส่วนมากไม่คอ่ ยสนใจ เรื่องการใช้จ่ายเงินเพราะมีอย่างเหลือเฟือ คนรวยจึง ใช้เงินแสวงหา ยศฐาบรรดาศักดิ์ ชื่อเสียง ค�ำเยินยอ และหลงใหลในสิ่งเหล่านี้ เกิดการจัดระดับของสังคม คนรวย เพื่อแข่งขันกันแสดงความร�่ำรวยไปเรื่อย ๆ เพือ่ สนองความหลงเหล่านี้ เป็นความล�ำบากทีค่ นรวย ต้องทน ๒. คนรวยต้องแบกหน้าตาทางสังคม ทุกอย่างต้องออกมาดี โก้ หรู และรักษาระดับของตนเอง ในสังคมไว้ให้ได้หรือดียงิ่ ขึน้ ในความคิดของตน ซึง่ มันผิด

ธรรมชาติของมนุษย์ ทีอ่ ยากท�ำอะไรสบาย ๆ ตามใจ ตน ในสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม คนรวยต้อง แบกหน้ า ตา ชื่ อ เสี ย งของตนไว้ ต ลอดเวลา ซึ่ ง บางครั้ง อาจหนักกว่าข้าวสารทั้งกระสอบเสียอีก เขาจึงต้องท�ำงานหนักกว่ากรรมกรแบกข้าวสาร ๓. คนรวยต้องเป็นทุกข์กับทรัพย์สิน ทีม่ อี ยู่ เพราะรอบ ๆ ตัวคนรวยจะมีคนประจบสอพลอ คนทีค่ อยแย่งชิง คนทีอ่ จิ ฉาริษยาอยูม่ ากมายและแยก ไม่ออกว่าใครเป็นใคร จึงหาคนดีที่ไว้ใจได้ยาก จนมี ค�ำกล่าวว่า สิ่งเดียวที่คนรวยพอจะมี คือ เงิน วันใดที่ คนรวยพลาดพลั้ง พลังความริษยาจะถาโถมเข้าใส่ อย่างโหดร้าย เมือ่ แก่ชราลง การรักษา หรือการแบ่งปัน ทรัพย์เหล่านี้ คือ ความทุกข์ ๔. คนรวยมักมีความอดทนต�่ำ เพราะมี เงินคอยช่วยอ�ำนวยความสะดวกให้เสมอ ๆ แต่ในชีวติ จริงของคนเรา หลาย ๆ เรือ่ ง เงินซือ้ ไม่ได้ เช่น สุขภาพ ความถูกต้อง ความสงบเย็นของจิตใจ สิ่งเหล่านี้ต้อง อาศัยความอดทนอดกลั้นฝึกฝนด้วยตนเอง

85


86

ตัวอย่างข้อเสียของความรวยเหล่านี้อาจ แสดงให้เห็นว่า บางทีความจนก็มปี ระโยชน์เหมือนกัน แน่นอนเราคงไม่อยากจน แต่เราก็น่าจะฝึกให้รู้จัก ความจนบ้าง เพื่อเราจะได้เห็นข้อเสียของความรวย ได้ชัดเจนขึ้น และต่อไปนี้ คือ แบบฝึกหัดที่ควรท�ำ ๑. แยกสมุดเงินฝากเงินรายรับกับเงิน รายจ่ายออกจากกัน และท�ำบัตรเอทีเอ็มเฉพาะบัญชี เงินรายจ่ายและให้ธนาคารโอนเงินจากบัญชีรายรับ เข้าบัญชีรายจ่ายโดยแบบอัตโนมัติทุก ๆ เดือนตามที่ ท่านต้องการ ท่านจะก�ำหนดความจนของท่านได้ ตามใจชอบ และท่านจะยังมีเงินเหลือทุก ๆ เดือนในบัญชี รายรับ เป็นการฝึกสัมผัสความจนอย่างเป็นจริง ๒. พกเงินสดในกระเป๋าสตางค์เท่าทีจ่ ำ� เป็น การมีเงินสดอยู่ไม่มากนักในกระเป๋าท�ำให้เราต้อง ตั้งสติอยู่เสมอก่อนการใช้เงิน แม้จะมีบัตรเครดิตอยู่

ด้วยก็ตาม การมีสติในการใช้เงินนัน่ แหละคือการฝึกจน ๓. ไม่ต้องเอากระเป๋าสตางค์ไปด้วยเมื่อ เดินทางใกล้ ๆ บ้าน เอาเงินสดไปแทน มีเท่าไรใช้ เท่านั้น ไม่มีจะได้รู้ว่าความจนเป็นยังไง ๔. ผ่านไปในพืน้ ทีท่ คี่ นจนจริง ๆ เขาอาศัย อยู่บ้างเมื่อมีโอกาส สัมผัสกับอาหารการกินและ ที่อยู่อาศัยของเขาบ้าง จะได้เข้าใจและเห็นความจริง ว่าชีวติ คนเรานัน้ บางทีกไ็ ม่ได้ตอ้ งการอะไรมากนักหรอก หรืออีกมุมหนึ่ง ที่เรามีอยู่นั้นมันเหลือเฟือแล้ว ทัง้ หมดทีก่ ล่าวมานี้ ทัง้ ข้อเสียของความรวย และการฝึกซ้อมเป็นคนจนนั้น ผู้เขียนไม่มีเจตนาชวน ให้ทกุ ท่านเลือกเป็นคนจนหรอก แต่เพือ่ ให้เข้าใจความ จนได้ดี อยู่กับคนจนได้ สามารถอยู่อย่างจน ๆ ได้ถา้ จ�ำเป็นและรูจ้ กั พอกับสิง่ ทีเ่ รามีอยู่ เพือ่ เราจะได้ เป็นคนรวยที่รู้จักพอ หรือเป็นคนจนที่พอมีกิน

“กูดีใจที่เกิดมาเป็นคนจน เพราะได้สร้างทานบารมี ถ้ากูเกิดมาเป็นคนรวย ป่านนี้ค�ำว่า บุญ ก็ไม่รู้จัก” หลวงพ่อคูณ


ข่าวทหารอากาศ

87

มิสกรีน

ภาพที่ ๑ ภาพที่ ๒ ภาพที่ ๓ -

พูดความจริงนะ บัมสเตด หมู่นี้ผมก�ำลังพิจารณาถึงการเกษียณจากงานน่ะ เป็นความสัตย์นะคุณ คุณไม่คิดบางรึ ? คิดอยู่ตลอดเวลาครับเจ้านาย อืม... แล้วเจ้านายจะท�ำจริงอย่างที่คิด เร็วสักเมื่อไรครับ ?

to tell you the truth (idm.) - เป็นส�ำนวน แปลว่า อันทีจ่ ริง, ตามความจริง (as a matter of fact, really, actually) to give a lot of thought - เป็นส�ำนวน แปลว่า คิดพิจารณาอย่างถีถ่ ว้ นเพือ่ การตัดสินใจ (to have a think about sth. order to make a decision about it) retirement (n.) - การเกษียณอายุการท�ำงาน กริยา คือ to retire และ คุณศัพท์ คือ retired Ex. Sometimes I want to retire before 60 years old. My brother is a retired Air Force officer. (บางครัง้ ฉันอยากจะเกษียณก่อนอายุ 60) และ (พีช่ ายฉันเป็นนายทหารอากาศทีเ่ กษียณราชการแล้ว) lately (adv.) - หมูน่ ,ี้ ระยะนี้ (recently) มักใช้กบั กริยาในรูป present perfect tense constantly (adv.) - ตลอดเวลา (happenning all the time, repeatedly) ออกเสียงว่า ‘ค้อนสเติน่ ลี’่


88

ภาพที่ ๑ ภาพที่ ๒ ภาพที่ ๓

ผมไม่เคยจะเข้าใจผู้หญิงได้เลย โพลไม่ยอมพูดกับผม ก็เพราะผมตะโกนใส่เธอ เธอก�ำลังเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาอยู่ แล้วผมจะบอกเธอด้วยวิธีอื่นอย่างไร ว่าผมต้องการกาแฟ สักแก้วนึงน่ะ ?

never (adv.) - ไม่เคย (not ever) women (n.) - ออกเสียงว่า ‘วี้เม่น’ to shout - ตะโกนเสียงดัง (to say sth. in lound voice) จะใช้ to yell หรือ to cry ก็มี ความหมายเดียวกันถ้าตะโกนใส่ใคร จะใช้กับบุพบท at Ex. Stop shouting at me. (หยุดตะโกนใส่ฉันนะ) to tile - ปูกระเบื้อง ค�ำนาม คือ tile ช่างปูกระเบื้อง เรียกว่า tiler else (adv.) - อื่น ๆ อีก ใช้ในประโยคค�ำถาม หรือตามหลัง nothing, nobody, something, anything etc. Ex. 1. What else did you say ? คุณพูดอะไรอื่นอีก ? 2. I don’t want anything else ? ฉันไม่ต้องการอะไรอีก 3. Ask somebody else to help you. ขอร้องคนอื่น ๆ ให้ช่วยคุณสิ 4. Where else should I look for her ? ฉันจะไปหาเธอได้ที่ไหนอีก ?


ข่าวทหารอากาศ

นวีร์

พระมหากรุณาธิคณ ุ ด้านภาษาไทย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชด�ำเนิน ไปทรงร่วมอภิปรายกับผู้ทรงคุณวุฒิทางภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๕

วันที่ ๑๓ ตุลาคม วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร คือ ต้นเหตุของสาระในภาษาไทย ด้วยใจรัก : พระมหากรุณาธิคุณด้านภาษาไทย เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมพิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชด�ำเนิน ไปทรงร่วมอภิปรายกับผู้ทรงคุณวุฒิทางภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๕ นั้น ทรงพระราชทาน พระราชด�ำรัสถึงปัญหาการใช้ภาษาไทยตอนหนึ่งว่า “...ภาษาไทยเป็ น เครื่ อ งมื อ อย่ า งหนึ่ ง ของชาติ ภาษาทั้งหลายเป็นเครื่องมือของมนุษย์

ชนิดหนึง่ คือ เป็นทางส�ำหรับแสดงความคิดเห็นอย่าง หนึ่งเป็นสิ่งที่สวยงามอย่างหนึ่ง เช่น ในทางวรรณคดี เป็นต้น ฉะนั้นจึงจ�ำเป็นต้องรักษาเอาไว้ให้ดี ปัญหา เฉพาะด้านการรักษาภาษานี้มีหลายประการ อย่าง หนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในการออกเสียง คือ ให้ออก เสียงให้ถกู ต้องชัดเจน อีกอย่างหนึง่ ต้องรักษาให้บริสทุ ธิ์ วิธีใช้...ปัญหาที่สาม คือ ความร�่ำรวยของค�ำในภาษา ไทย ซึง่ พวกเรานึกว่าไม่รำ�่ รวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติ ศัพท์ใหม่มาใช้ การบัญญัติศัพท์ใหม่เป็นสิ่งส�ำคัญ เหมือนกัน จ�ำเป็นแต่อันตราย...” เรื่องแรก คือเรื่องการออกเสียง พระองค์ ทรงยกตัวอย่างการออกเสียงผิด ๆ เช่น มีการรวบเสียง

89


90

ตัวอย่างคือ ค�ำว่า มหาวิทยาลัย ซึง่ หมายถึง แหล่งของ ความรูอ้ นั ยิง่ ใหญ่ ออกเสียงเป็น หมาวิทยาลัย กลายเป็น วิทยาลัยหมาไป แต่ถ้าออกเสียงแล้วความหมายคง เดิม เช่น น�้ำ ออกเสียงเป็น น้าม หรือ ฉัน (สรรพนาม บุรุษที่ ๑) ออกเสียงเป็น ชั้น ก็ยังพอยอมได้บ้าง เรือ่ งต่อมา เรือ่ งการใช้คำ� ต้องใช้ให้ถกู ต้อง มีความหมายชัดเจน ตัวอย่างคือ ค�ำว่า อุบัติเหตุ ซึง่ แปลจากค�ำว่า accident ควรใช้กรณีทเี่ ป็นเหตุการณ์ ซึ่งไม่ต้องการ ส่วนเรื่องสุดท้าย เรื่องการบัญญัติศัพท์ ทรงให้แนวความคิดว่า “ส�ำหรับค�ำใหม่ที่ตั้งขึ้นมี ความจ�ำเป็นในทางวิชาการไม่ใช่นอ้ ย แต่บางค�ำทีง่ า่ ย ๆ ก็ควรใช้คำ� เก่าทีเ่ รามีอยู่ ไม่ควรมาตัง้ ศัพท์ใหม่ให้ยงุ่ ยาก การตั้งค�ำใหม่นั้นมีหลักหลายประการและผู้ที่ตั้งค�ำ นั้นต้องรู้หลักของภาษาลึกซึ้งทั้งภาษาไทยและภาษา ต่างประเทศ” นอกจากนี้ ยังทรงเน้นว่า เมื่อบัญญัติ ศัพท์แล้ว ก็ต้องลองดูว่า เราเข้าใจหรือเปล่า และ ทรงชมคนสมัยเก่าทีบ่ ญั ญัตศิ พั ท์งา่ ย ๆ ว่า ไฟฟ้า เป็นต้น จากนั้นก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ผูท้ รงคุณวุฒทิ มี่ าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ซึง่ เป็นความรูด้ า้ นภาษาไทย ท�ำให้ผเู้ ข้าร่วมประชุมได้ ความรูไ้ ปด้วย เช่น การใช้คำ� ว่า นายร้อย ท�ำไมสมัยนี้ จึงไม่มคี ำ� ว่านาย เหลือเพียง ร้อย ดังค�ำว่า ร้อยตรี เป็นต้น ซึง่ หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวว่า เป็นเพราะ ความคิดรังเกียจค�ำว่า นาย ในยศทหารและต�ำรวจว่า เป็นค�ำทีใ่ ช้กบั ผูช้ ายเท่านัน้ ผูห้ ญิงเป็นนายไม่ได้ ความจริง ค�ำว่านาย ในทีน่ หี้ มายความถึงผูบ้ งั คับบัญชาทหารหนึง่ ร้อยหรือหนึง่ กองร้อย ซึง่ อาจเป็นผูห้ ญิงก็ได้ผชู้ ายก็ได้ เป็นลักษณะของการบังคับบัญชา ไม่ได้แปลถึงเพศของ ผูด้ ำ� รงต�ำแหน่ง เมือ่ มีทหารหญิงขึน้ มา ผูใ้ ช้ภาษาทีม่ ี ความรูส้ กึ คิดรังเกียจดังกล่าวแล้วก็ตดั ค�ำว่านายไป ใช้ ว่า ร้อยตรี ซึ่งถือว่าใช้ได้หมดทั้งผู้ชายและผู้หญิง และกลายเป็นว่าถ้าเป็นผูช้ ายจะใช้วา่ ร้อยตรี ถ้าเป็นผูห้ ญิง เติมหญิง เข้าไป เรียกว่า ร้อยตรีหญิง เป็นการระบุเพศ ด้วยเหตุนี้ ค�ำว่า นายร้อยก็เปลีย่ นไป และนายพลทหาร ก็เปลีย่ นเหลือเป็น พลเอก พลโท พลตรี เรือ่ ยไป จนถึง

พันเอก พันโท พันตรี ร้อยเอก ร้อยโท ร้อยตรี ส่วนยศ ต�ำรวจ ซึง่ ขณะนัน้ ก�ำลังจะมีตำ� รวจหญิง ก็ตดั ค�ำว่า นาย ทิง้ เช่นกัน ในทีส่ ดุ นายต�ำรวจชัน้ สูงทีส่ ดุ ของกรมต�ำรวจ คือ นายพลต�ำรวจเอกนัน้ ฟังดูเหมือนกับว่าจบโรงเรียน พลต�ำรวจมาได้คะแนนดีหน่อยหนึ่ง จึงเรียกว่า พลต�ำรวจเอก เท่านัน้ นอกจากนี้ หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ยังกราบทูลว่า นอกจากจะรักษาภาษาไทยภาคกลาง (คือออกเสียงให้ถกู ต้อง เช่น การออกเสียงตัวควบกล�ำ้ ตัว ร และตัว ล) แล้วยังต้องรักษาหลักของภาษาในภาค ต่าง ๆ ให้บริสุทธิ์เพื่อเป็นหลักในการทดสอบ เช่น ได้ทราบว่า ตัวเลือด นั้นไม่มี แต่มีตัวเรือด เพราะ ในภาษาภาคเหนือและภาคอีสาน เรียกว่า ตัวเฮือด เนือ่ งจากตัว ร ในภาษาภาคกลางนัน้ ภาษาภาคเหนือ ภาคอีสานใช้ ตัว ฮ เช่น รัก เป็นฮัก เรือน เป็นเฮือน เว้นแต่ศพั ท์ทมี่ าใหม่จากกรุงเทพฯ ก็จะใช้ตวั ร ได้ เช่น รถ ก็ใช้วา่ รถ แสดงว่าภาษาไทยเดิมนัน้ ทดสอบได้ ในประเด็นการรักษาภาษาถิน่ นี้ พระองค์ทรงเห็นด้วย ดังมีพระราชด�ำรัสว่า “...เราควรจะรักษาภาษาภาคเหนือ ภาคใต้ ต้องระวังรักษาให้ดี ๆ เพราะเป็นแหล่งทีจ่ ะไป ศึกษาภาษาโดยแท้ เป็นความจริง เพราะว่าคนเรา ในกรุงเทพฯ ได้พบปะกับชาวต่างประเทศ ทัง้ แขก ฝรัง่ จีน มากมาย ท�ำให้ภาษาของเรา พูดจาแล้วบางที ก็ไม่รเู้ รือ่ ง เพราะคิดแบบฝรัง่ คิดแบบจีนหรือแบบแขก … การรักษาภาษาในชนบทนัน้ ก็ตอ้ งท�ำ...” จะเห็นได้วา่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มีพระปรีชา สามารถและสนพระทัยด้านภาษาไทย การประชุม ครั้งนั้นนับเป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการ ภาษาไทยที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณอย่างเด่นชัด ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๒ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ ให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทย แห่งชาติ เพือ่ ให้ตระหนักถึงความส�ำคัญของภาษาไทย อันเป็นภาษาประจ�ำชาติ พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์จารึก ในใจไทยตราบนิจนิรันดร์


ข่าวทหารอากาศ

91

พล.อ.พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผบ.ทสส.เดินทางมาตรวจเยี่ยม ทอ.เนื่องในโอกาสเข้ารับต�ำแหน่งใหม่ โดยมี พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ผบ.ทอ.ให้การต้อนรับ ณ บก.ทอ.เมื่อวันที่ ๙ พ.ย.๖๑

พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ผบ.ทอ.เปิดการประชุมวิชาการเวชศาสตร์การบินและอวกาศ นานาชาติ ครั้งที่ ๖๖ (66th International Congress of Aviation and Space Medicine 2018 : ICASM 2018) ณ โรงแรมมิลเลนเนียมฮิลตัน กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๒ พ.ย.๖๑

พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ผบ.ทอ.และนายสมนึก รงค์ทอง กรรมการผูอ้ ำ� นวยการใหญ่ บริษทั วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จ�ำกัด ร่วมลงนามข้อตกลงระหว่างกองทัพอากาศกับบริษทั วิทยุการ บินแห่งประเทศไทย จ�ำกัด ณ ห้องรับรองพิเศษ ๑ บก.ทอ.เมื่อวันที่ ๑๓ พ.ย.๖๑

พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ผบ.ทอ.พร้อมคณะนายทหาร ชั้นผู้ใหญ่ของ ทอ.เข้าเยี่ยมคารวะ LTGEN GALILEO GERARD R KINTANAR JR AFP ผบ.ทอ.ฟิลิปปินส์ ในโอกาสเยือนสาธารณรัฐ ฟิลปิ ปินส์อย่างเป็นทางการ ณ บก.ทอ.ฟิลปิ ปินส์ สาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์ เมื่อวันที่ ๑๔ พ.ย.๖๑


92

คุณพงศ์อุมา ดิษยะศริน นายกสมาคมแม่บ้าน ทอ.รับมอบ พล.อ.อ.ชาญฤทธิ์ พลิกานนท์ รอง ผบ.ทอ.ผู้แทน ผบ.ทอ. สิ่งของสนับสนุนงานกาชาด ประจ�ำปี ๒๕๖๑ จากหน่วยงานเอกชน เป็นประธานในพิธีถวายผ้ากฐินสามัคคี ทอ.ประจ�ำปี ๒๕๖๑ และกองบินต่าง ๆ ณ สมาคมแม่บ้าน ทอ. ณ วัดลาดสนุ่น อ.ล�ำลูกกา จว.ปทุมธานี เมื่อวันที่ ๘ พ.ย.๖๑

พล.อ.อ.ถาวรวัฒน์ จันทนาคม ผช.ผบ.ทอ./หัวหน้าส�ำนักงาน ช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย ศบภ.ทอ. เป็นประธานการประชุม ร่วมกับ รร.การบิน และกองบินต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมและ ก� ำ หนดแนวทางในการช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ป ระสบสาธารณภั ย โดย มี พล.อ.ท.พงษ์ ศั ก ดิ์ เสมาชั ย จก.กร.ทอ.ให้ ก ารต้ อ นรั บ ณ ห้องประชุม ศบภ.ทอ.เมื่อวันที่ ๖ พ.ย.๖๑

พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ เสธ.ทอ.ผู้แทน ผบ.ทอ.รับเยี่ยม คํานับ น.อ.Jatmiko Adi ผชท.ทอ.อินโดนีเซีย/กรุงเทพฯ เพื่ออําลา ในโอกาสครบวาระการปฏิบัติหน้าที่ และแนะนํา น.อ.Anang Surdwiyono ผชท.ทอ.อินโดนีเซีย/กรุงเทพฯ ท่านใหม่ ณ ห้องรับรอง พิเศษ ๑ บก.ทอ.เมื่อวันที่ ๑๔ พ.ย.๖๑

พล.อ.ท.ธรินทร์ ปุณศรี รอง เสธ.ทอ.(สายงานยุทธการ)/ พล.อ.ท.เฉลิมชัย ศรีสายหยุด รอง เสธ.ทอ.(สายงานกิจการ ผอ.ศูนย์ติดตามและสั่งการเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์ในพื้นที่ พลเรือนและกิจการพิเศษ) เป็นประธานในการบรรยายแนะน�ำ จว.ชายแดนภาคใต้ ส่วน ทอ.และคณะ ตรวจติดตามความก้าวหน้า การท�ำงานด้านกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ โดยมี พล.อ.ท.พงษ์ศกั ดิ์ การดําเนินการต่าง ๆ ของ กกล.ทอ.ฉก.๙ โดยมี น.อ.อมฤต เสมาชัย จก.กร.ทอ.ให้การต้อนรับ ณ ศบภ.ทอ.เมือ่ วันที่ ๒ พ.ย.๖๑ กนกแก้ว ผบ.กกล.ทอ.ฉก.๙ ให้การต้อนรับ ณ กกล.ทอ.ฉก.๙ สนามบินบ่อทอง จว.ปัตตานี เมื่อวันที่ ๖ พ.ย.๖๑


ข่าวทหารอากาศ

93

พล.อ.ท.ภูมิใจ ชัยพันธุ์ ผบ.อย.เป็นประธานในการประชุม พล.อ.ท.พงษ์ศกั ดิ์ เสมาชัย จก.กร.ทอ.เป็นประธานในพิธเี ปิด สัมมนาสายวิทยาการ อย.ครัง้ ที่ ๑ ประจ�ำปี ๒๕๖๒ เพือ่ มอบนโยบาย หลักสูตรนายทหารกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ รุ่นที่ ๖ การปฏิบัติงาน ให้แก่ หน.นขต.อย.และ ผบ.พัน.อย.ที่ตั้งดอนเมือง ณ ห้องประชุมสักกเทวราช กร.ทอ.เมื่อวันที่ ๑๔ พ.ย.๖๑ และ ผบ.พัน.อย.กองบินต่างจังหวัด ณ ห้องประชุมเจริญจรัมพร หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน เมื่อวันที่ ๕ พ.ย.๖๑

พล.อ.ท.ปราโมทย์ ศิรธิ รรมกุล จก.กบ.ทอ.เป็นประธานในการ ประชุม โครงการพัฒ นาขีด ความสามารถด้านการส่งก�ำลังบ�ำรุง เครือ่ งบินขับไล่อเนกประสงค์ บ.ข.๒๐/ก (Gripen 39 C/D) Gripen Logistics Improvement Program (Pre-GLIP) ร่วมกับองค์การบริหาร จัดการยุทธภัณฑ์ทางทหารสวีเดน (Swedish Defense Material Administrator : FMV) ณ จว.อุดรธานี เมือ่ วันที่ ๗ พ.ย.๖๑

พล.อ.ท.ภูมพิ ชิ ญ์ชากรณ์ จรรยาวิจกั ษณ์ จก.พอ.เป็นประธาน ในพิธีท�ำบุญเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา พอ.ครบรอบ ๗๐ ปี โดยมี อดีตผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ข้าราชการ ลูกจ้างและ พนักงานราชการ พอ.เข้าร่วมพิธี ณ ห้องโถงชั้น ๑ อาคาร บก.พอ. เมื่อวันที่ ๙ พ.ย.๖๑

พล.อ.ท.น้อย ภาคเพิม่ จก.ยศ.ทอ.พร้อมคณะ ตรวจเยีย่ มสาย พล.อ.ท.พัทธนันท์ นุชพงษ์ ผบ.รร.นนก.เป็นประธานในการ วิทยาการอนุศาสนาจารย์และสายวิทยาการการศึกษาและการฝึกของ อบรมด้านการจัดซื้อจัดจ้าง โดยมี น.อ.ทินกร อินทร์ทอง ผอ.กอส. บน.๔๖ โดยมี น.อ.กฤษณ์ เกตุรักษ์ ผบ.บน.๔๖ ให้การต้อนรับ สกบ.กบ.ทอ.เป็นผูบ้ รรยายในหัวข้อ พระราชบัญญัตกิ ารจัดซือ้ จัดจ้าง ณ ห้องประชุม ๔๐๖ บน.๔๖ เมื่อวันที่ ๑๒ พ.ย.๖๑ และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐ ณ ห้องประชุม บก.รร.นนก. เมื่อวันที่ ๖ พ.ย.๖๑


94

พล.อ.ต.ไกรสิงห์ แก่นการ ผบ.ดม.ให้การต้อนรับ น.อ. Jeong พล.อ.ต.ธนวิตต สกุลแสงประภา ผอ.รพ.จันทรุเบกษา พอ. Yeon Woo ผบ.สห.ทอ.สาธารณรัฐเกาหลี ในโอกาสเข้าเยี่ยมค�ำนับ เป็นประธานพิธีท�ำบุญเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา ครบรอบ ๔๘ ปี ณ ห้องรับรอง ผบ.ดม.เมื่อวันที่ ๖ พ.ย.๖๑ รพ.จันทรุเบกษา พอ. ณ ห้องประชุม รพ.จันทรุเบกษา พอ.เมื่อวันที่ ๑๒ พ.ย.๖๑

พล.อ.ต.ภูวเดช สว่างแสง จก.จร.ทอ./ประธานกรรมการ พล.อ.ต.สุระ ไชโย จก.พธ.ทอ.เป็นประธานประชุมใหญ่สามัญ ควบคุมงานมาตรฐานการบิน ทอ.พร้อมคณะ ตรวจสอบมาตรฐาน ประจ�ำปี ๒๕๖๑ สอ.พธ.ทอ.เพือ่ รายงานกิจการ ประจ�ำปี ๖๑ ให้แก่ การบินและประเมินค่าหน่วยบิน ประจ�ำปี ๖๒ โดยมี น.อ.มนัส สมาชิก อีกทั้งจัดตั้งคณะกรรมการในวาระการประชุมดังกล่าว จันทร์แดง รอง ผบ.รร.การบิน ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมกองฝึก ณ ห้องประชุม พธ.ทอ.๒ เมื่อวันที่ ๕ พ.ย.๖๑ การบิน รร.การบิน เมื่อวันที่ ๑๒ พ.ย.๖๑

พล.อ.ต.นัทธี พงษ์แตง รอง จก.สพ.ทอ.เป็นประธานพิธีเปิด พล.อ.ต.วิศรุต สุวรรณเนตร ผอ.สนผ.กพ.ทอ.พร้อมคณะ โครงการอบรมส�ำหรับ น.ประทวน ผูไ้ ด้รบั การบรรจุใหม่ และโครงการ ตรวจเยีย่ มสายวิทยาการ เหล่าทหารสารบรรณ จ�ำพวกทหารก�ำลังพล ฝึกอบรมไฟฟ้าประยุกต์เพื่อวิเคราะห์วงจรวัตถุระเบิด รุ่น ๑ บน.๕ โดยมี น.อ.อนิ รุ ท ธ์ รั ฐ พร ผบ.บน.๕ ให้ ก ารต้ อ นรั บ ณ หอประชุม สพ.ทอ.เมื่อวันที่ ๕ พ.ย.๖๑ ณ ฝูง.๕๐๑ บน.๕ เมื่อวันที่ ๒ พ.ย.๖๑


ข่าวทหารอากาศ

95

พล.อ.ต.สุวรรณ ข�ำทอง ผบ.รร.การบิน ให้การต้อนรับ น.อ.จักรกฤษณ์ ธรรมวิชัย ผบ.บน.๑ แสดงความยินดีกับ พล.ต.ไพศาล งามวงศ์วาน รอง เสธ.สปท.บก.ทท. และคณะนิสิต นักบิน ฝูง.๑๐๓ บน.๑ ท�ำการบินเปลี่ยนแบบกับ บ.ข.๑๙/ก โดยมี นักศึกษาหลักสูตรวิชาวิทยาการพัฒนาความมัน่ คงแห่งชาติ ๕ สถาบัน รอง ผบ.บน.๑ ผบ.ฝูง.๑๐๒ ผบ.ฝูง.๑๐๓ และข้าราชการ ฝูง.๑๐๓ จ�ำนวน ๓๖๙ คน เยี่ยมชมกิจการ รร.การบิน ณ ห้องประชุม ร่วมแสดงความยินดี ณ ฝูง.๑๐๓ บน.๑ เมื่อวันที่ ๗ พ.ย.๖๑ บก.รร.การบิน เมื่อวันที่ ๓ พ.ย.๖๑

น.อ.วสันต์ บัณฑิตศักดิส์ กุล ผบ.บน.๒ ให้การต้อนรับ น.อ.ชัยเลิศ น.อ.อานนท์ จารุสมบัติ ผบ.บน.๔ เป็นประธานพิธเี ปิดอบรม เสวกสุรยิ วงศ์ รอง ผอ.สนภ.ทอ.และคณะฯ ตรวจเยีย่ มหน่วยเพือ่ ตรวจ โครงการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของก�ำลังพล บน.๔ สอบการปฏิบตั ติ ามนโยบาย แผนงาน โครงการ และรับทราบผลการ ประจ�ำปี ๒๕๖๒ ณ ห้องปฏิบตั กิ ารทางภาษาและศูนย์การเรียนรูผ้ า่ น ปฏิบตั งิ านของหน่วย ณ ห้องประชุม บก.บน.๒ เมือ่ วันที่ ๖ พ.ย.๖๑ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ บน.๔ เมื่อ ๖ พ.ย.๖๑

น.อ.อนิรทุ ธ์ รัฐพร ผบ.บน.๕ น�ำข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงาน น.อ.ฉัตฤกษ์ ป้องกันภัย เสธ.บน.๖ ให้การต้อนรับคณะนักศึกษา ราชการ และสมาชิกชมรมแม่บา้ น ทอ.บน.๕ ร่วมออกหน่วยมิตรประชา มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในการเยี่ยมชมกิจการ บน.๖ ณ หอประชุม โดยมีบริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ บริการตัดผม และมอบบริจาค ธูปะเตมีย์ บน.๖ เมื่อวันที่ ๒ พ.ย.๖๑ สิง่ ของ ณ วัดประชาราษฎร์ ต.นาหูกวาง อ.ทับสะแก จว.ประจวบคีรขี นั ธ์ เมื่อวันที่ ๓ พ.ย.๖๑


96

น.อ.ประเสริ ฐ วิ ษ ณุ ์ มหาขั น ธ์ ผบ.บน.๗ พร้ อ มด้ ว ย น.อ.วัชรพล นวลเป็นใย ผบ.บน.๒๑ น�ำข้าราชการร่วมงาน คุณปวริศา มหาขันธ์ ประธานชมรมแม่บา้ น ทอ.บน.๗ น�ำข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ สมาชิกชมรมแม่บ้าน ทอ.บน.๗ ทหารกอง วันร�ำลึกแห่งความดี จว.อุบลราชธานี ร่วมร�ำลึก ๑๐๐ ปี วันสงบศึก ประจ�ำการ และครอบครัว ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี สงครามโลก ครั้งที่ ๑ ณ อนุสาวรีย์แห่งความดีชาวอุบลราชธานี ประจ�ำปี ๒๕๖๑ ณ วัดสถลธรรมาราม ต.ท่าข้าม อ.พุนพิน จว.สุราษฎร์ธานี ทุง่ ศรีเมือง จว.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๑๑ พ.ย.๖๑ เมื่อ ๑๑ พ.ย.๖๑

น.อ.ชนาวีร์ กลิน่ มาลี ผบ.บน.๒๓ พร้อมด้วยข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ทหารกองประจ�ำการ และครอบครัว ร่วมทอดกฐิน สามัคคี ประจ�ำปี ๒๕๖๑ ณ วัดประชาชุมพลรัตนาราม ต.หมากแข้ง อ.เมือง จว.อุดรธานี เมื่อวันที่ ๒ พ.ย.๖๑

น.อ.สุนทร ผ่องอ�ำไพ ผบ.บน.๔๑ เป็นประธานในพิธีแสดง ความยินดีกบั นักบินขับไล่/โจมตีขนั้ ต้น รุน่ ที่ ๔๗ ทีท่ ำ� การบินปล่อยเดีย่ ว จ�ำนวน ๘ คน ซึง่ ได้ปฏิบตั ภิ ารกิจฝึกบินเปลีย่ นแบบกับเครือ่ งบินขับไล่ และฝึก แบบที่ ๑ (L-39 ZA/ART) ณ ฝูง.๔๑๑ บน.๔๑ เมื่อวันที่ ๒ พ.ย.๖๑

น.อ.กฤษณ์ เกตุรักษ์ ผบ.บน.๔๖ เป็นประธานในการมอบ น.อ.อติรวิชช์ ไพจิตร์ ผบ.บน.๕๖ มอบเงินสนับสนุนช่วยงาน บ่อดักไขมัน ให้แก่ ผูป้ ระกอบการร้านค้าใน บน.๔๖ โดยมี นายทหาร กาชาด ประจ�ำปี ๖๒ ให้แก่ คุณนุชนารถ ไพจิตร์ ประธานชมรม สุขาภิบาล รพ.บน.๔๖ ให้การต้อนรับและสาธิตการใช้งานบ่อดักไขมัน แม่บ้าน ทอ.บน.๕๖ ณ บก.บน.๕๖ เมื่อ ๑๓ พ.ย.๖๑ ณ รพ.บน.๔๖ เมื่อวันที่ ๕ พ.ย.๖๑


ข่าวทหารอากาศ

Japan Disaster ร.อ.หญิง วิวัสวัน เปล่งวิทยา

(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

Prevention Day

เช่น กรณีภาครัฐสั่งระดมสรรพก�ำลัง ต้องใช้ก�ำลังพล หรือผู้เชี่ยวชาญในส่วนต่าง ๆ ที่กองทัพสนับสนุนได้ แต่ด้วยประสบการณ์ที่ต้องรับมืออยู่บ่อยครั้ง ท�ำให้ เกิดระบบทีม่ คี วามคล่องตัวสูง แบ่งหน้าทีช่ ดั เจน และ การเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ ท�ำให้เราเห็นทหาร เข้าไปในคราวที่ภัยใหญ่มากจริง ๆ เท่านั้น จุดแข็งของญี่ปุ่น คือ มีการท�ำงานเป็นทีม มีขั้นตอนและเป็นระบบเดียวกัน ประชาชนก็เช่นกัน แสดงให้เห็นถึงเอกภาพในการปฏิบัติงาน ซึ่งมาจาก สถานการณ์การฝึกซ้อมในปีนสี้ มมุตใิ ห้เกิด นโยบายและแน่นอนประสบการณ์จริง แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ระดับความรุนแรง ๖ ถึง ๙ ริกเตอร์ ในเขตปกครองพิเศษต่าง ๆ จากเหตุการณ์ ดังกล่าวท�ำให้มีผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตจ�ำนวนมาก อาคารบ้านเรือนเสียหาย อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดภัย อื่น ๆ ตามมา ทั้งไฟไหม้ อาคารถล่ม ก๊าซระเบิด และ สารเคมีรวั่ ไหล มีการสาธิตของหน่วยปฏิบตั กิ ารบรรเทา ในส่วนของการฝึกนั้น เริ่มต้นขึ้นทันทีที่ สาธารณภัยที่เร่งเข้าพื้นที่ให้ความช่วยเหลือโดยทันที ประกอบด้วย ชุดปฏิบตั กิ ารต่าง ๆ อาทิ ศูนย์อำ� นวยการ สถานการณ์สมมุติถูกประกาศขึ้นและสมาชิกสภา เฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยประจ�ำพื้นที่ ผูแ้ ทนราษฎรทุกคนเดินทางไปทีส่ ำ� นักนายกรัฐมนตรี ชุดปฏิบตั กิ ารกูภ้ ยั ค้นหาและช่วยชีวติ จากเขตปกครอง ในกรุงโตเกียว ซึง่ ได้มกี ารจัดตัง้ ศูนย์เผชิญเหตุภยั พิบตั ิ ต่าง ๆ รอบกรุงโตเกียว ที่น่าสนใจ คือ ที่ญี่ปุ่นในบาง ฉุกเฉินขึน้ รวมถึงมีการประชุมทางไกลระหว่างส�ำนัก เขตปกครองจะมีทีมที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะ นายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษที่ได้รับ ทางต่างกัน เช่น ในครัง้ นีม้ กี ารจ�ำลองอุบตั เิ หตุทางถนน ผลกระทบ ซึ่ ง ได้ มี ก ารชี้ แจงถึ ง ประมาณการ ก็ได้มกี ารสาธิตการร้องขอการสนับสนุนของชุดปฏิบตั ิ ความเสียหายและได้มกี ารร้องขอความช่วยเหลือจาก การช่วยเหลือเฉพาะกิจผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ส่วนกลาง ภายหลังจากการประชุมต่าง ๆ ในสถานการณ์ ทางรถยนต์มาจากเมืองใกล้เคียงในภารกิจนีโ้ ดยเฉพาะ สมมุ ติ ดั ง กล่ า ว นายชิ น โซ อาเบะ ได้ ก ล่ า วใน ที่ส�ำคัญเขามีการแลกเปลี่ยนความช�ำนาญและการ การแถลงข่าว เพือ่ ให้ประชาชนรับทราบถึงสถานการณ์ ฝึ ก ซ้ อ มอยู ่ อ ย่ า งสม�่ ำ เสมอ ตามมาตรฐานญี่ ปุ ่ น และความคืบหน้าตามแผนอีกด้วย ที่ท่านเน้นย�้ำคือ ท�ำให้ทุกคนเข้าใจและเห็นไปเป็นระบบเดียวกัน ให้ประชาชนติดตามข่าวสารจากทุกช่องทางและ ทุกภาคส่วน โดยทหารเองจะค่อนไปทางผู้สนับสนุน น�ำความรูเ้ บือ้ งต้นทีไ่ ด้ฝกึ ออกมาช่วยเหลือกันในเบือ้ งต้น

97


98

ในพิธีปิดการฝึกร่วมฯ นายชินโซ อาเบะ ได้กล่าวถึงความพยายามทีจ่ ะป้องกันภัยพิบตั ิ และการ เตรียมความพร้อมในการรับมือหากเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นใต้เมืองหลวงหรือจากรอยเลื่อน นันไกนั้นด้วย ซึ่งตามประมาณการความเสียหายของ รัฐบาลญีป่ นุ่ เมือ่ ปี ค.ศ.๒๐๑๒ คาดว่ายอดการเสียชีวติ ของประชาชนทั่วประเทศจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ทีเ่ กิดจากรอยเลือ่ นนันไกนัน้ อาจจะพุง่ สูงถึง ๓๒๐,๐๐๐ คน หากเกิดสถานการณ์ดังกล่าวขึ้นจริง ในช่วงตอน กลางคืนของฤดูหนาว (เห็นหรือไม่วา่ เขาคิดไว้แล้วว่า หากเป็นช่วงค�ำ่ ในฤดูหนาวต้องเตรียมกันอย่างไรบ้าง) จ�ำนวนอาคารพังถล่มและไฟไหม้ต่าง ๆ อาจมากถึง ๒.๔ ล้านแห่ง นอกจากการเข้ า สั ง เกตการณ์ ใ นครั้ ง นี้ เรายังได้ศกึ ษาถึงศูนย์เตือนภัยพิบตั แิ ห่งชาติของญีป่ นุ่ ที่มีการเริ่มเตรียมความพร้อมในระดับของประชาชน ทัว่ ไปเพือ่ ลดผลกระทบจากภัยนัน้ ๆ โดยเพิม่ ภูมคิ มุ้ กัน ทางความรู้ให้ประชาชนอยู่เสมอ เน้นการสอนให้ ประชาชนรูจ้ กั วิธกี ารเอาตัวรอดในรูปแบบต่าง ๆ และ สามารถพึง่ พาตนเองได้ภายหลังเกิดอันตรายอย่างน้อย ๗๒ ชั่วโมง เพื่อยืดโอกาสในการเอาชีวิตรอด และรอ รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐต่อไป ปัจจุบนั ในประเทศญี่ปุ่นมีศูนย์ฝึกการเตรียมความพร้อมอยู่ หลายแห่ง และได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้ามารับ การฝึกฝนและทบทวนความรู้ในการเอาตัวรอด จากเหตุภยั พิบตั ไิ ด้โดยไม่ตอ้ งเสียค่าใช้จา่ ยใด ๆ ประเทศ ญี่ปุ่นให้ความส�ำคัญกับการเตรียมความพร้อมและ การฝึกฝนประชาชนให้เรียนรู้ที่จะอยู่กับภัยพิบัติ ตลอดเวลา ซึ่งการฝึกฝนนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่เด็ก ๆ เพื่อ ท�ำให้มคี วามคุน้ เคยกับทักษะในการเอาตัวรอดตัง้ แต่ เยาว์วัย ทั้งนี้การเข้ารับการฝึกฝนและเรียนรู้วิธี เอาตัวรอดจากภัยพิบัติมีการน�ำเสนออย่างน่าสนใจ ขัน้ ตอนการจ�ำลองเหตุภยั พิบตั ติ า่ ง ๆ มีการน�ำเทคโนโลยี ที่ทันสมัยมาใช้ ท�ำให้ประชาชนรู้สึกเหมือนว่าอยู่ใน เหตุภยั พิบตั จิ ริง โดยเฉพาะกรณีแผ่นดินไหว อีกทัง้ ยัง มีการแจกเครื่องเล่นเกม ซึ่งจะมีการตั้งค�ำถามเพื่อให้

ประชาชนได้ทดสอบความรู้ ของตนเองโดยเราจะได้ เรียนรู้ว่าภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวควรปฏิบัติ ตัวอย่างไร โดยมีการฝึกและการจ�ำลองสถานการณ์ ทีน่ า่ สนใจ ๔ สถานีหลัก ได้แก่ ๑. สถานีเอาตัวรอดในขณะเกิดเหตุ ๒. สถานีหลบหนีออกจากจุดเกิดเหตุ ๓. สถานีเข้าสู่จุดรวมพล ๔. สถานีทดลองใช้ชีวิตในแคมป์หลบภัย โดยทั้งหมดถือเป็นกระบวนการส�ำคัญที่ ท�ำให้ประชาชนเกิดความคุ้นชินและทราบวิธีปฏิบัติ ตัวหากเกิดเหตุภัยพิบัติขึ้นจริง ไม่เพียงเท่านัน้ หน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบในการ คาดการณ์และจับตาเรือ่ งภัยพิบตั ยิ งั คงท�ำงานในเชิงรุก ด้วยการจับตาความเคลือ่ นไหวเกีย่ วกับความเสีย่ งภัย พิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ตลอด เพื่อเป็นการ เตรียมความพร้อมล่วงหน้าซึง่ ล่าสุดทางการของประเทศ ญีป่ นุ่ คาดว่าในอนาคตอันใกล้นมี้ โี อกาสทีจ่ ะเกิดแผ่น ดินไหวครั้งใหญ่ ในกรุงโตเกียวและบริเวณชายฝั่ง มหาสมุทรแปซิฟกิ ด้วย น่าหวัน่ ใจแทนเพือ่ นชาวญีป่ นุ่ จริง ๆ ส�ำหรับกองทัพอากาศเอง เราก็ได้เริ่มมีการฝึก ด้านบรรเทาสาธารณภัยกับ กกล.ป้องกันตนเองญีป่ นุ่ (Japan Self-Defense Forces: JSDF) อยู่บ้างแล้ว โดยมีการฝึกร่วมกันกับ กกล.ป้องกันตนเองทางอากาศ (Japan Air Self - Defense Force : JASDF) ไม่ว่า จะเป็นการฝึกใน Cobra Gold ในภารกิจ Humanitarian Assistance and Non - combatant Evacuation Operation (NEO) หรือการฝึกอพยพพลเรือน ออกจากพื้นที่ขัดแย้ง ซึ่งในปีหน้ากองทัพอากาศ คาดว่าจะได้สง่ บุคลากรเข้าร่วมการฝึกในส่วนภาคพืน้ เพิม่ เติม ในภารกิจ NEO นีด้ ว้ ย




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.