หนังสือข่าวทหารอากาศ ฉบับเดือน มกราคม 2562

Page 1

ขาวทหารอากาศ

http://www.airforcemagazine.rtaf.mi.th

ปที่ ๗๙ ฉบับที่ ๑ เดือนมกราคม ๒๕๖๒

MAGAZINE

ISSN 0125 6173


สวัสดีปใี หม่ ๒๕๖๒

สวัสดีปีใหม่วิไลรัตน์ ข้าราชการฟูเฟื่องยศเรืองนาม ผู้เป็นนายหายห่วงปวงเรื่องเก่า เป็นลูกน้องปองรักสามัคคี เป็นแม่บ้านแม่เรือนเหมือนมีลาภ เป็นลูกหลานของเขาเฝ้าด�ำรง เป็นชาวนาชาวไร่ให้ผลเลิศ เศรษฐกิจพอเพียงส�ำเนียงบุญ เป็นนายจ้างสุดมั่นคงด�ำรงรัตน์ เป็นลูกจ้างให้ใส่ใจในงานจริง คนสามัญธรรมดาประชาชาติ ไม่ท�ำสิ่งที่ผิดจิตมัวเมา ถึงปีใหม่ปีนี้ทวีศักดิ์ จะด�ำรงอยู่ได้ไร้อาวรณ์ ขอคุณพระไตรรัตน์จรัสฟ้า ให้ชาวไทยทุกผู้รู้ศีลธรรม

เจิดจรัสทั่วถิ่นแผ่นดินสยาม สง่างามเกียรติคุณบุญบารมี น�ำเรื่องราวใหม่ใหม่ใส่ราศี งานมากมีส�ำเร็จได้ดังใจจง ได้เอิบอาบสุขได้ดั่งใจประสงค์ ให้มั่นคงศักดิ์ศรีมีสกุล เพราะทูนเทิดปรีชาพาเกื้อหนุน นับเป็นคุณต่อสยามงดงามจริง แน่ชัดในหลักการอันใหญ่ยิ่ง ทุกทุกสิ่งส�ำเร็จได้ดังใจเรา ให้มั่นคงในบทบาทมิขลาดเขลา จะน�ำเราสุขสวัสดิ์จรัสพร ผู้มีหลักศีลธรรมค�ำพระสอน เมื่อขั้นตอนชีวิตมิผิดธรรม ปวงเทวาทุกทิศประสิทธิ์ล�้ำ มีสุขล�้ำตลอดปีทวีเทอญ

ด้วยความปรารถนาดี คณะผู้จัดท�ำหนังสือข่าวทหารอากาศ น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ผู้ประพันธ์


ข่าวทหารอากาศ

3


4


ข่าวทหารอากาศ

5


ข่าวทหารอากาศ คณะผูจ้ ดั ท�ำหนังสือข่าวทหารอากาศ เจ้าของ กองทัพอากาศ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ พล.อ.อ.ม.ร.ว.ศิริพงษ์ ทองใหญ่ พล.อ.อ.ธนนิตย์ เนียมทันต์ พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน

พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ พล.อ.อ.อมร แนวมาลี พล.อ.อ.ปอง มณีศิลป์ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง

ที่ปรึกษา พล.อ.อ.ธงชัย แฉล้มเขตร พล.อ.อ.ศักดิ์พินิต พร้อมเทพ พล.อ.ต.สหัสชัย มาระเนตร

พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร พล.อ.ต.หญิง สุมาลี ฤทธิบุตร

ผู้อ�ำนวยการ/บรรณาธิการ พล.อ.ท.พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย

เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ รองผู้อ�ำนวยการ

พล.อ.ต.ทศวรรณ รัตนแก้วกาญจน์ พล.อ.ต.ฐานัตถ์ จันทร์อ�ำไพ น.อ.กรกฎ ทิมไสว น.อ.สมพร แต้พานิช ผู้ช่วยบรรณาธิการ ผู้จัดการ

พล.อ.ต.ตรีพล อ่องไพฑูรย์

ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการ

น.อ.ธรรมรงค์เดช เจริญสุข น.อ.นินาท มูลจนะบาตร์

น.อ.สมพร แต้พานิช น.อ.อภิรัตน์ รังสิมาการ น.ท.สมภพ จันทร์ชูชื่น

ประจ�ำบรรณาธิการ

น.ท.หญิง สุภาวดี โคตรเวียง น.ท.หญิง มุตสิตา มาหะศักดิ์ น.ต.หญิง กรชิชา ด�ำเกิด พ.อ.อ.ธรรมวัฒน์ รัตนวิจารณ์ พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห์ พ.อ.อ.หญิง วาสนา รับสมบัติ น.ส.อุไรวรรณ บุญณรงค์ นางจันทร์สม ค�ำมา น.ส.ณัฐวดี ธ�ำรงวงศ์ถาวร

น.ท.หญิง ณัฐสินี เชื้อนุ่น น.ต.หญิง รัชนก เกิดสุข ร.อ.หญิง กันตา คุ้มจั่น พ.อ.อ.พันธกานต์ พูลผล พ.อ.อ.รักษิต ทองแย้ม จ.อ.หญิง ศุภวัลย์ กระจ่างนฤมลกุล นางประไพ เอี่ยมวุฒิ น.ส.รสสุคนธ์ บุญประเทือง

กองวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์ (เพื่อพลาง) ส�ำนักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรืิอนทหารอากาศ ส�ำนักงานชั่วคราว ห้อง ๑๐๑ อาคารหอสมุ ด กองทั พ อากาศ กรมยุ ท ธศึ ก ษาทหารอากาศ แขวงสนามบิ น เขตดอนเมือง กทม. ๑๐๒๑๐ โทร. ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑, ๐ ๒๕๓๔ ๔๒๔๑ แฟกซ์ ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑ ส่งบทความและภาพกิจกรรมได้ที่ e-mail: rtafmag@gmail.com

หนังสือข่าวทหารอากาศ ความเป็นมา หนังสือข่าวทหารอากาศ เป็นนิตยสารรายเดือนของกองทัพอากาศเริ่ม ด�ำเนินการเมือ่ ปี พ.ศ.๒๔๘๓ ขึน้ กับกรมข่าวทหารอากาศ โดย นาวาอากาศเอก สกล รสานนท์ เป็นบรรณาธิการคนแรก ด�ำเนินการโดยทุนของข้าราชการทหาร อากาศ ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๙๘ ได้โอนกิจการมาอยูใ่ นความอ�ำนวยการของกรมยุทธ ศึกษาทหารอากาศ ตามค�ำสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๕๘๐/๙๘ ลง ๒๓ ธ.ค.๒๔๙๘ ๑ ม.ค.๒๕๕๓ ได้เข้าอยู่ในกิจการสวัสดิการกองทัพอากาศ ก�ำกับดูแล โดยคณะอนุกรรมการบริหารวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์กองทัพอากาศ ตาม อนุมตั ิ ผบ.ทอ./ประธานกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ เมือ่ ๒๘ ธ.ค.๒๕๕๒ ก�ำหนดให้ใช้ระเบียบคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ ว่าด้วยการบริหาร วารสารและสื่อสิ่งพิมพ์กองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๕๒ ๑ ม.ค.๒๕๖๑ ได้เข้าอยู่ในการก�ำกับดูแลของกรมกิจการพลเรือน ทหารอากาศ ตามค�ำสั่ง ทอ. (เฉพาะ) ที่ ๑๓๖/๖๐ ลง ๒๖ ก.ย.๒๕๖๐

ภารกิจ ด�ำเนินกิจการหนังสือข่าวทหารอากาศ ให้เป็นไปตามนโยบายของผูบ้ ญั ชาการ ทหารอากาศ โดยมีผู้อ�ำนวยการหนังสือข่าวทหารอากาศ (จก.กร.ทอ.) เป็นผู้ บังคับบัญชารับผิดชอบ

วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในกิจการทั่วไป ๒. เพือ่ แสดงความคิดเห็นด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิง่ แวดล้อม อันจะเป็นประโยชน์ตอ่ ส่วนรวม ๓. เพื่อเผยแพร่กิจการของกองทัพอากาศ

การด�ำเนินงาน ๑. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ใน การพัฒนากองทัพอากาศและส่วนรวม ๒. เนื้อหาที่น�ำมาลงในหนังสือข่าวทหารอากาศ - ต้องไม่ขดั ต่อวัตถุประสงค์/นโยบายของผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ - ต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ บุคคล หรือ ส่วนรวม - ต้องได้รับการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะผู้จัดท�ำหนังสือข่าว ทหารอากาศ

ก�ำหนดการเผยแพร่ นิตยสารรายเดือน

พิมพ์ที่ บริษัท ที.เค.เอส. เทคโนโลยี จ�ำกัด (มหาชน) ๓๐/๘๘ หมู่ 1 ถ.เจษฎาวิถี ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ๗๔๐๐๐ โทร. ๐-๒๗๘๔-๕๘๘๘ แฟกซ์ ๐-๒๗๘๔-๕๘๕๘

อ่านบทความเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ www.airforcemagazine.rtaf.mi.th และ www.rtaf.mi.th บทความและความคิดเห็นของผู้เขียนในหนังสือฉบับนี้ ไม่มีส่วนผูกพันกับทางราชการแต่ประการใด ภาพบางส่วนในหนังสือ น�ำมาจาก google.com

ออกแบบปก : พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห์


บทบรรณาธิการ สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่เคารพทุกท่าน เนื่องในศุภวาระดิถีวันขึ้นปีใหม่ สมเด็จพระ อริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆ ปริณายก ท่านได้โปรดประทานพระรูป พร้อมลาย พระหัตถ์เชิญพุทธศาสนสุภาษิตว่า “ขนฺติ หิตสุขา วหา ความอดทน น�ำมาซึ่งประโยชน์สุข...ขอท่าน จงเป็นผู้มีขันติ เพื่อบรรลุถึงประโยชน์สุขทุกเมื่อ เทอญ” เป็นพระคติธรรม ประทานพรส�ำหรับความ สุขปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๒ ในปีใหม่ต่อจากนี้ ขอ ให้พวกเราทุกคนค�ำนึงถึง “ความอดทน” เป็นหลัก ส�ำคัญในการด�ำเนินชีวิตรวมทั้งการปฏิบัติงาน ตลอด ปีและตลอดไป คณะผู้จัดท�ำหนังสือข่าวทหารอากาศ ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้ง หลายในสากลโลก โปรดดลบันดาลประทานพรให้ทา่ น และครอบครัว ประสบแต่ความสุข ความเจริญรุง่ เรือง ด้วยจตุรพิธพรชัย สัมฤทธิผ์ ลในสิง่ อันพึงปรารถนาทุก ประการ ในปีนหี้ นังสือข่าวทหารอากาศ ก้าวเข้าสูป่ ที ี่ ๗๙ คณะผูจ้ ดั ท�ำหนังสือข่าวทหารอากาศ ยังคงมุง่ มัน่ กับการพัฒนาปรับปรุงหนังสือข่าวทหารอากาศ ให้มี คุณภาพ มีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ และสือ่ ถึง ความเป็นเอกลักษณ์สื่อสิ่งพิมพ์ของกองทัพอากาศ ได้อย่างภาคภูมิใจ แม้ว่าปัจจุบันสื่อสิ่งพิมพ์ก�ำลัง ถดถอยเนื่องจากความนิยมของโลก Social Media

มีมากขึ้น และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เริ่มทยอยปิดตัวลง ตามสภาวการณ์ของสื่อสังคม Online ก็ตาม ภาพจากปกฉบับนี้เป็นภาพ วันกองทัพไทย ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงการท�ำยุทธหัตถีของสมเด็จพระ นเรศวรมหาราช ซึง่ ทรงได้รบั ชัยชนะเหนือสมเด็จพระ มหาอุปราชาของพม่า เมือ่ วันจันทร์ เดือน ๒ แรม ๒ ค�ำ่ ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๑๓๕ และต่อมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ก�ำหนดให้วันที่ ๑๘ มกราคมของทุกปีเป็น วันกองทัพไทย ส�ำหรับเรื่องเด่นในฉบับได้แก่ ผลงานกลุ่ม กิจกรรมที่เสริมสร้างกองทัพอากาศ ให้เป็นองค์การ แห่งการเรียนรูน้ วัตกรรมและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ ประจ� ำ ปี ๒๕๖๑ ประเภทเครื่ อ งมื อ KM เรื่ อ ง กระบวนการผลิตพลุรงั สีความร้อน (IR Flare) ส�ำหรับ เป้าบินแบบบังคับวิทยุ ซึ่งได้รับรางวัล Excellent Award, แนวความคิด อินโด - แปซิฟิกของอินเดีย ความสัมพันธ์ กห.ไทย - กห.อินเดีย, F-16V เครื่อง บิ น รบยุ ค ที่ ๔, Gartner แนวโน้ ม ICT 2019, การแข่งขัน UAV Challenge และคอลัมน์ประจ�ำ อี ก หลายเรื่ อ งล้ ว นน่ า สนใจ เชิ ญ ท่ า นพลิ ก อ่ า น ตามอัธยาศัย บทบรรณาธิการ 


สารบัญ

ปี ที่ ๗๙ ฉบั บ ที่ ๑ เดื อ นมกราคม ๒๕๖๒

๒ กลอน “สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๒” น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ๓ สารอวยพรปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๒ ของ ผบ.ทอ. ๔ ประมวลภาพงานอุ่นไอรักคลายหนาว "สายน�้ำแห่งรัตนโกสินทร์" ๙ กระบวนการผลิตพลุรังสีความร้อนส�ำหรั​ับเป้าบินแบบบังคับวิทยุ กลุ่มฟีนิกซ์ (Phoenix) ศวอ.ทอ. ๑๕ วันคล้ายวันสถาปนา หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน ครบ ๗๑ ปี ๑๘ แนวความคิด อินโด - แปซิฟิก ของอินเดีย และความสัมพันธ์ กห.ไทย - กห.อินเดีย สนง.ผชท.ทอ.อินเดีย ๒๒ F - 16V สุดยอดเครื่องบินรบยุคที่ ๔ น.ท.วัชรพงษ์ กลีบม่วง ๒๘ “วันเด็ก”...โลกมาถูกทางจริงหรือ?? มัชฌิมา ๓๒ เวลาการ์ตูน มีสกรีน ๓๔ Gartner แนวโน้ม ICT 2019 น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์ ๓๙ วิศวกรรมภูมิอากาศ สงครามแห่งอนาคตที่ยากต่อการตรวจการณ์ (๒) ร.อ.นรพงษ์ เอกหาญกมล ๔๓ อยู่ที่ (จะ) เรียนรู้ Psy Cap ๕๐ ธรรมะ ประทีป ตอน การบ�ำรุงมารดาบิดา กอศ.ยศ.ทอ. ๕๑ ครูภาษาพาที ตอน Restaurant – Brasserie – Bistro – Tapas (2) Zora ๕๕ กรณีศึกษาจากการก่อการร้ายโดยการโจมตีด้วยสารเคมีพิษ ที่กรุงโตเกียว ฯ น.ต.วรรณลพ ล�ำพูลน้อย ๖๑ Red Eagle อินทรีย์แดง แผลงฤทธิ์ “UnderwaterMan ....ภารกิจโหด โหมดใต้น�้ำ (๒)” น.ต.ภฤศพงศ์ ช้อนแก้ว ๖๓ การอ่าน....หนึ่งในหนทางที่จะน�ำไปสู่ ทหารฉลาด Smart people น.อ.หญิง สุขจิต ศิลาเขตต์ ๖๘ ภาษาไทยด้วยใจรัก ตอน ทศกัณฐ์ผู้มีสิบคอ นวีร์ ๗๑ การแข่งขัน UAV Challenge Medical Express 2018 น.อ.รศ.ประสาทพร วงษ์ค�ำช้าง ๗๗ Crossword อ.วารุณี ๗๙ เมื่อชาวเมืองเปลี่ยนใจ...ไปเป็นชาวนา หลังชอบฟ้า...หน้ารักดิน กันตา ๘๓ ขอบฟ้าคุณธรรม ตอน เป็นคนรู้จักเลือกเรื่องที่จะคุยกัน 1261 ๘๘ บทความ ท�ำอย่างไรเมื่อ...ทีมไม่เวิร์ค ว.วิทยา ๙๗ กาลครั้งหนึ่ง ณ ถิ่นจงอาง กับงานด้าน HADR ร.อ.หญิง วิวัสวัน เปล่งวิทยา

๔ ๙ ๑๕ ๒๒ ๗๙


ข่าวทหารอากาศ

ผลงานกลุม่ กิจกรรมทีเ่ สริมสร้างกองทัพอากาศ ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ประจ�ำปี ๒๕๖๑ ประเภทเครือ่ งมือ KM

รางวัล Excellent Award กลุ่ม “ฟีนิกซ์” (ศวอ.ทอ.)

กระบวนการผลิตพลุรงั สีความร้อน (IR Flare) ส�ำหรับเป้าบินแบบบังคับวิทยุ กองทัพอากาศนอกจากจะมีหน้าที่เตรียม ก�ำลังในการรักษาอธิปไตยในน่านฟ้าของประเทศไทย แล้วยังมีภารกิจทีส่ ำ� คัญอีกอย่างหนึง่ นัน่ คือ การเตรียม ความพร้อมและให้การฝึกฝนความช�ำนาญในการใช้ อาวุธของก�ำลังพล โดยเฉพาะอย่างยิง่ การป้องกันฐานบิน จากการท�ำลายของข้าศึก ซึ่งปัจจุบันได้มีการน�ำ เทคโนโลยีเครื่องบินเป้าบังคับด้วยวิทยุพิสัยกลาง ติดตั้งพลุรังสีความร้อนมาใช้ในการฝึกยิงจรวดต่อสู้ อากาศยาน การฝึกปฏิบัติการทางยุทธวิธีดังกล่าวนั้น สามารถลดความเสีย่ งอันตรายทีอ่ าจจะเกิดกับก�ำลังพล ที่ท�ำการฝึกและมีค่าใช้จ่ายต�่ำ

พลุรังสีความร้อนของศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ (ภาพบน) และกรมวิทยาศาสตร์ทหารบก (ภาพล่าง) ติดตั้งบริเวณ ฐานล้อเครื่องบินเป้าบังคับวิทยุ

9


10

สภาพปัญหาข้อขัดข้อง หน่วยไม่สามารถ ด�ำเนินการขอรับการสนับสนุนพลุส่องสว่างแบบรังสี ความร้อนทีผ่ ลิตจากกรมวิทยาศาสตร์ทหารบกได้ ดังนัน้ ทางกรมทหารต่อสู้อากาศยานรักษาพระองค์ หน่วย บัญชาการอากาศโยธิน จึงขอรับการสนับสนุนจาก ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและ อวกาศกองทัพอากาศ ให้ด�ำเนินการออกแบบและใช้ องค์ความรูท้ างด้านการผลิตไพโรเทคนิค สร้างอุปกรณ์ ช่วยตรวจจับเป้าบินแบบบังคับวิทยุทมี่ บี รรจุใช้งานใน หน่วย โดยติดตัง้ พลุรงั สีความร้อนส�ำหรับใช้ในการฝึก ทางยุทธวิธี เพือ่ ให้จรวดต่อสูอ้ ากาศยาน QW - 2 สามารถ ตรวจจับและยิงท�ำลายเป้าหมายได้อย่างถูกต้องแม่นย�ำ การปฏิบตั งิ านดังกล่าวจึงเป็นการตอบสนองยุทธศาสตร์ กองทัพอากาศข้อที่ ๒ ว่าด้วยการเสริมสร้างสมรรถนะ และความพร้อมในการป้องกันประเทศ ทั้งนี้ยังเป็น ประโยชน์อย่างมากต่อการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทางด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของแต่ละ หน่วยงานภายในกองทัพอากาศอีกทางหนึ่งด้วย แผนกวั ต ถุ ร ะเบิ ด เป็ น หน่ ว ยงานที่ มี องค์ความรู้ในการด�ำเนินการผลิตดินขับจรวดชนิด composite และไพโรเทคนิคต่าง ๆ เช่น จรวดฝึกควัน (Smokey SAM) การผลิตพลุรงั สีความร้อน (Infrared Flare) ส�ำหรับการฝึกสนับสนุนกรมสรรพาวุธทหาร อากาศ และกรมทหารต่อสูอ้ ากาศยานรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน ตามล�ำดับ การผลิตพลุ สารดูดความชื้นและพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ ส�ำหรับใช้ ในการปฏิบตั กิ ารฝนหลวง สนับสนุนกรมฝนหลวงและ การบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การผลิต ดินขับจรวด วัตถุระเบิดและไพโรเทคนิค จะต้องด�ำเนิน การตามขั้นตอนที่ก�ำหนดไว้ในเอกสารคู่มือการปฏิบัติ งานอย่างเคร่งครัดเพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานและมีความปลอดภัย ต่อการปฏิบตั งิ าน ดังนัน้ เพือ่ เป็นการเตรียมพร้อมและเป็นการ ป้องกันไม่ให้องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตพลุ

รังสีความร้อนสูญหาย กลุ่ม PHOENIX จึงได้ถูกจัดตั้ง ขึน้ โดยมีวตั ถุประสงค์แก้ไขปัญหาและปรับปรุงพัฒนา คุณลักษณะพลุรังสีความร้อนให้เหมาะสมต่อการน�ำ ไปใช้งานพลุรังสีความร้อนที่ได้รับการจัดการความรู้ สามารถน�ำไปใช้สนับสนุนภารกิจทางยุทธการได้จริง และมีประสิทธิภาพจัดท�ำเอกสารคูม่ อื การผลิตพลุรงั สี ความร้อนให้เป็นมาตรฐาน และเพื่อฝึกปฏิบัติงาน

การประชุมกลุ่มและการอบรมพื้นฐานการผลิตไพโรเทคนิค โดยได้รับเกียรติจาก พลอากาศตรี เจษฎา คีรีรัฐนิคม และ นาวาอากาศเอก อานุภาพ นิ่มนวล เป็นวิทยากรบรรยาย


ข่าวทหารอากาศ

ให้ก�ำลังพลของหน่วยมีความช�ำนาญในกระบวนการ การผลิตไพโรเทคนิค โดยทางกลุม่ PHOENIX ได้ดำ� เนิน การปฏิบตั งิ านตามแผนกิจกรรมประกอบด้วยขัน้ ตอน ตามล�ำดับ ดังนี้ ๑. การประชุมกลุ่ม เพื่อท�ำความเข้าใจใน วัตถุประสงค์การด�ำเนินกิจกรรม ขอบเขตการปฏิบัติ ก�ำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ กรอบระยะเวลา แลกเปลีย่ นข้อมูลจากการสืบค้น ติดตามผลการปฏิบตั ิ รับทราบปัญหาอุปสรรคและร่วมกันพิจารณาแนวทาง การแก้ไขปัญหา ๒. การสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทั้งข้อมูล พื้นฐานของจรวดต่อสู้อากาศยาน QW - 2 และข้อมูล พลุรังสีความร้อนโดยท�ำการศึกษาข้อมูลจากแหล่ง เอกสาร คูม่ อื การผลิตไพโรเทคนิค ฐานข้อมูลในระบบ

อินเตอร์เน็ต ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยมีการเปิดอบรม พื้ น ฐานการผลิ ต ดิ น ขั บ จรวด วั ต ถุ ร ะเบิ ด และ ไพโรเทคนิค เพือ่ เป็นเวทีสอ่ื กลางให้กำ� ลังพลของหน่วย และผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญได้ท�ำการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ศึกษาข้อมูลได้อย่างเต็มที่ ๓. การทดลองสร้ า งต้ น แบบพลุ รั ง สี ความร้อนได้มกี ารออกแบบและศึกษาความเป็นไปได้ ในการพัฒนาพลุรงั สีความร้อนส�ำหรับติดตัง้ กับเครือ่ งบิน เป้าบังคับวิทยุพิสัยกลาง โดยมีการปรับเปลี่ยนขนาด พื้ น ที่ เ ผาไหม้ ข องเนื้ อ พลุ รั ง สี ค วามร้ อ นและวั ส ดุ ที่ใช้ในการผลิตท่อบรรจุสารให้มีความเหมาะสม ต่อการใช้งานมากที่สุด และพบว่าคุณลักษณะพลุรังสี ความร้อนทีเ่ หมาะสมมีขนาดความยาว ๓๐๐ มิลลิเมตร

11


12

ผลการทดสอบพลุรังสีความร้อนในภาคพื้น และผลการทดสอบวัดค่าความเข้มของรังสีความร้อน ย่าน ๓ – ๕ ไมโครเมตร (กราฟเส้นสีด�ำ)

เส้นผ่านศูนย์กลางของเนือ้ ดิน ขนาด ๔๔.๘ มิลลิเมตร ล�ำตัวพลุรงั สีความร้อนท�ำจากวัสดุอลูมเิ นียม 6063T6 ใช้ ตั ว จุ ด แบบสควิ ป ไฟฟ้ า (Electric Squib) ที่หุ้มดินจุดชนิด Boron Potassium Nitrate (BPN) ๔. การทดสอบและประเมินผลคุณสมบัติ พลุรังสีความร้อนในภาคพื้น โดยท�ำการติดตั้งพลุกับ แท่นยึด มีเครื่องเป่าลมสร้างกระแสลม วัดความเข้ม ของรังสีอินฟราเรดโดยใช้ Flare Radiometer ติดตั้ง Detector ชนิด Silicon, Lead Selenide และ


ข่าวทหารอากาศ

Mercury Cadmium Telluride พร้อมกับ Filter เพือ่ วัดค่าในย่านความยาวคลื่น ๓ - ๕ ไมครอน โดยได้รับ การสนับสนุนเครื่องตรวจวัดพร้อมเจ้าหน้าที่จาก กรมสรรพาวุธทหารอากาศ ผลการทดสอบพบว่าได้ ปริมาณรังสีความร้อนประมาณ ๑,๓๐๐ w/steradian และท�ำการทดสอบการท�ำงานในภาคอากาศ โดยติดตัง้ พลุรังสีความร้อนกับเครื่องบินเป้าบังคับวิทยุของกรม ทหารต่อสูอ้ ากาศยานรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการ อากาศโยธิน ท�ำการบินและจุดพลุรงั สีความร้อน ผลการ ทดสอบพลุรังสีความร้อนสามารถจุดตัวและเผาไหม้ สมบูรณ์ ระยะเวลาเผาไหม้ ๗๐ วินาที เครื่องบินเป้า บังคับวิทยุสามารถท�ำการบินได้ปกติ ไม่พบการไหม้ และความเสียหายของล�ำตัวเครื่องบินเป้าบังคับวิทยุ อันเนื่องมาจากการแผ่รังสีความร้อนที่เกิดขึ้น ๕. การจั ด ท� ำ ร่ า งคู ่ มื อ การผลิ ต และ การตรวจสอบ เมือ่ ได้คณ ุ ลักษณะของพลุรงั สีความร้อน ที่เหมาะสมแล้วจึงท�ำการเขียนร่างคู่มือการผลิต

โดยยึดถือขัน้ ตอนในการทดลองผลิตต้นแบบเป็นหลัก ร่างคู่มือการผลิตจะน�ำเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบ ความถูกต้อง โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญที่มี ประสบการณ์ จ�ำนวน ๕ ท่าน และท�ำการขออนุมัติ จากผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชา เพื่ อ น� ำ คู ่ มื อ การผลิ ต พลุ รั ง สี ความร้อนไปใช้ในการควบคุมการผลิตต่อไป ๖. การผลิตพลุรังสีความร้อนเพื่อส่งมอบ กลุม่ ได้ดำ� เนินการผลิตพลุรงั สีความร้อน จ�ำนวน ๑๘ นัด เพื่อเตรียมส่งมอบให้กรมทหารต่อสู้อากาศยานรักษา พระองค์ หน่วยบัญชาการอากาศโยธินน�ำไปใช้ต่อไป ๗. การส่งมอบพลุรงั สีความร้อนให้กบั หน่วย ผู้ใช้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการนี้ได้มีพิธีส่งมอบ พลุรังสีความร้อน โดยมีผู้บังคับบัญชาระดับสูงของ หน่วยบัญชาการอากาศโยธินและศูนย์วิจัยพัฒนา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพ อากาศ ร่วมพิธีในพิธีการส่งมอบ และได้มีการติดตาม และสังเกตการณ์ผลการใช้งานพลุรังสีความร้อนเพื่อ

13


14

(ก)

(ข)

(ค) ภาพแสดง (ก) พิธีส่งมอบพลุรังสีความร้อน (ข) การใช้งานพลุรังสีความร้อน (ค) การฝึกปฏิบัติงานผสมไพโรเทคนิคของ นักเรียนนายเรืออากาศ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

ประเมินประสิทธิภาพและหาแนวทางในการพัฒนา ต่อยอดอย่างต่อเนื่อง ใกล้ชิด ตลอดจนมีกิจกรรม ถ่ายทอดองค์ความรูก้ ระบวนการผลิตพลุรงั สีความร้อน ให้แก่ก�ำลังพลภายในหน่วย การฝึกงานในหน้าที่สาย วิทยาศาสตร์ และการฝึกปฏิบตั งิ านของนักเรียนนายเรือ อากาศ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ประจ�ำปี ผลลัพธ์และประโยชน์จากการด�ำเนินกิจกรรม จัดการความรูพ้ ลุรงั สีความร้อนทีผ่ ลิตได้มคี ณ ุ ลักษณะ ทีม่ คี วามเหมาะสมต่อการใช้งานกับเครือ่ งบินเป้าบังคับ วิทยุของกองทัพอากาศ พลุรังสีความร้อนสามารถ น�ำไปใช้ในการฝึกทางยุทธวิธีได้จริง สร้างความพร้อม

และความช�ำนาญในการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ของก�ำลังพล กรมทหารต่อสู้อากาศยานรักษาพระองค์ หน่วย บัญชาการอากาศโยธิน กองทัพอากาศสามารถแก้ไข ปัญหาเกี่ยวกับการจัดหาพลุรังสีความร้อนส�ำหรับติด ตั้งกับเครื่องบินเป้าบังคับวิทยุได้ ซึ่งถือเป็นการพึ่งพา ตนเอง ก�ำลังพลผู้ปฏิบัติงานทางด้านการผลิตมีความ พร้อมและความช�ำนาญในการผลิตไพโรเทคนิค ศูนย์วจิ ยั พัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศ กองทัพอากาศ มีคมู่ อื การปฏิบตั งิ านเกีย่ วกับการผลิต พลุรังสีความร้อน และสามารถรักษาองค์ความรู้ ด�ำรงขีดความสามารถในการวิจัยพัฒนาและผลิต ยุทโธปกรณ์

อ้างอิง (๑) น.อ.หญิง ชมพูนุท พูลสนอง. เทคโนโลยีอินฟราเรด. ข่าวทหารอากาศ. ปีที่ ๗๕ ฉบับที่ ๗ เดือน กรกฎาคม ๒๕๕๘. (๒) บริษัท ยงไทยโลหะภัณฑ์.[ออนไลน์]. https://www.yongthaimetal.com (๓) วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. https://www.tci- thaijo.org /index.php/ndsijournal/article/view/38073 ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๒ มกราคม – เมษายน ๒๕๕๘.


ข่าวทหารอากาศ

วันคล้ายวันสถาปนา หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน ครบ ๗๑ ปี

15

ปชส.อย.

วิสยั ทัศน์ “เป็นหน่วยรบทางภาคพืน้ ของ ทอ. (War Fighter) ทีม่ คี วามพร้อมปฏิบตั กิ ารทัง้ ภารกิจการรบ และมิใช่การรบ (Combat/Non-Combat) ในทุกสถานการณ์และภัยคุกคามทีเ่ ปลีย่ นแปลง”

พล.อ.ท.ภูมิใจ ชัยพันธุ์ ผบ.อย.

พล.อ.ต.สุรสีห์ สิมะเศรษฐ์ รอง ผบ.อย.(๑)

น.อ.ดนัย สินธุชยั รอง เสธ.อย.(๑)

พล.อ.ต.สมควร รักดี รอง ผบ.อย.(๒)

พล.อ.ต.วิญญา โพธิค์ านิช เสธ.อย.

น.อ.เอกศักดิ์ เทภาสิต รอง เสธ.อย.(๒)


16


ข่าวทหารอากาศ

ในปี พ.ศ.๒๔๘๐ กองทัพอากาศได้จัดตั้ง หมวดทหารราบขึ้นเพื่อปกป้องหน่วยที่ตั้ง ขึ้นตรงต่อ ผู้บังคับกองบินน้อย ถือเป็นต้นก�ำเนิดของเหล่าทหาร อากาศโยธิน ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๑ พล.อ.ท.หลวง เทวฤทธิ์ พันลึก ด�ำรงต�ำแหน่ง ผบ.ทอ.ในขณะนั้น ได้ ประกาศใช้อัตรา ทอ. ๙๑ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๑ จึงก�ำเนิดหน่วยก�ำลังรบภาคพื้นในกองทัพ อากาศขึ้น คือ “กรมอากาศโยธิน” มี พล.อ.ต.หลวง เจริญจรัมพร เป็น ผบ.อย. และต่อมา ปี พ.ศ.๒๕๓๔ ได้เปลีย่ นชือ่ หน่วย เป็น “หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน” ปัจจุบัน หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน เป็นหน่วยก�ำลังรบทางภาคพื้นของกองทัพอากาศ มีหน้าทีใ่ นการเตรียมและใช้กำ� ลังทางภาคพืน้ ในการ ป้องกันรักษาความปลอดภัยทีต่ งั้ ทางทหารของกองทัพ อากาศ การป้องกันภัยทางอากาศ การปฏิบตั กิ ารพิเศษ การดุริยางค์ การบรรเทาสาธารณภัย และมีหน้าที่ ก�ำหนดแนวทางควบคุม ประเมินผล การฝึกศึกษา การตรวจสอบสายวิทยาการอากาศโยธิน หน่วยทหาร สังกัด หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน ประกอบด้วย ศูนย์การทหารอากาศโยธิน กรมทหารอากาศโยธิน รักษาพระองค์ กรมทหารต่อสูอ้ ากาศยานรักษาพระองค์ กรมปฏิบัติการพิเศษ และ กองดุริยางค์ทหารอากาศ โดยมี พล.อ.ท.ภูมิใจ ชัยพันธุ์ ผู้บัญชาการหน่วย บัญชาการอากาศโยธิน เป็นผูบ้ ังคับบัญชารับผิดชอบ ในห้วงปีทผี่ า่ นมา หน่วยบัญชาการอากาศ โยธิน ได้จัดก�ำลังพลเข้าร่วมในพระราชพิธีและพิธี

ส�ำคัญ ประกอบด้วย จัดก�ำลังกองทหารเกียรติยศ รวมทั้ง จัดก�ำลังทหารปืนใหญ่ยิงปืนใหญ่สลุตถวาย พระเกียรติในพระราชพิธฯี จัดก�ำลังถวายความปลอดภัย และปฏิบัติภารกิจในการถวายความปลอดภัยสมเด็จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ตลอดจนพระบรมวงศานุ ว งศ์ ทุกพระองค์ นอกจากนัน้ ยังมีการปรับปรุงและพัฒนา แผนการปฏิบัติให้เหมาะสมและทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับทั้งภารกิจการรบและภารกิจ ที่มิใช่การรบ (Combat/Non-combat) แนวทางการพัฒนา มุ่งเน้นให้ความส�ำคัญ กับการพัฒนาก�ำลังพล โดยให้ยดึ มัน่ ในความเป็นทหาร มีความจงรักภักดีต่อ ชาติ ศาสนา และสถาบัน พระมหากษัตริย์ ความมีระเบียบวินยั โดยให้สามารถ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการปฏิบัติงาน อีกทั้งยัง ให้ความส�ำคัญกับการดูแลขวัญก�ำลังใจและคุณภาพ ชีวิตของก�ำลังพลเสมอมา ในการพัฒนาหน่วย มีการ ปรนนิบตั บิ ำ� รุงและพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ให้มคี วาม พร้อมต่อภารกิจอยู่เสมอ ในวาระครบ ๗๑ ปี ของหน่วยบัญชาการ อากาศโยธิน ก�ำลังพลของหน่วย ทัง้ ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ และทหารกองประจ�ำการ ทุกคน มีความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะปฏิบตั หิ น้าทีอ่ ย่างเต็มความสามารถ เพื่ อ ให้ บ รรลุ ภ ารกิ จ ที่ ก องทั พ อากาศมอบหมาย อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

17


18

แนวความคิด อินโด - แปซิฟกิ ของอินเดีย และความสัมพันธ์ กห.ไทย - กห.อินเดีย

สนง.ผชท.ทอ.ไทย/นิวเดลี

แนวคิดอินโด - แปซิฟิก แนวคิดอินโด - แปซิฟิก (Indo - Pacific) ได้รับการกล่าวถึงในเวทีระหว่างประเทศและระดับ ภูมิภาคมากขึ้นในห้วงเวลาที่ผ่านมา โดยแนวคิดนี้ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ต้องการผลักดันในระดับ นโยบายสูอ่ นิ เดียและอาเซียน ซึง่ สามารถสะท้อนมุมมอง และบทบาทของอินเดียต่อแนวคิดดังกล่าวได้หลายมิติ มุมมองอินเดียต่อแนวคิดอินโด - แปซิฟิก ญีป่ นุ่ เป็นประเทศแรกทีเ่ ป็นฝ่ายน�ำแนวคิดนี้ มาเสนอกับอินเดีย โดย นายกรัฐมนตรี (นรม.) อาเบะ ได้กล่าวสุนทรพจน์เรื่อง “Confluence of the two seas” ต่อรัฐสภาอินเดียในปีพทุ ธศักราช ๒๕๕๐ และ ต่อมาได้พัฒนาแนวคิดดังกล่าวขึ้นเป็นยุทธศาสตร์ “Free and Open Indo-Pacific Strategy” และน�ำ เสนอผลักดันกับรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีโมดี ในเวลา ต่อมาสหรัฐฯ และออสเตรเลียจึงรับแนวคิดอินโด แปซิฟิก มาใช้ในการด�ำเนินนโยบายต่างประเทศกับ อินเดียตามล�ำดับ ซึ่งญี่ปุ่น สหรัฐฯ และออสเตรเลีย ต่างเป็นกลุ่มพันธมิตรดั้งเดิมที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน อยู่แล้ว ซึ่งต้องการจัดตั้งพันธมิตร ๔ ฝ่าย ที่เป็น ประเทศประชาธิปไตย (สหรัฐฯ อินเดีย ออสเตรเลีย

ญีป่ นุ่ ) แต่ไม่บรรลุผลเป็นรูปธรรม การหยิบยกแนวคิด นี้ จึงเป็นความพยายามใหม่ที่ต้องการดึงอินเดียเข้า ร่วมคานอ�ำนาจกับจีน อินเดียยังไม่มเี ป้าหมายและนโยบายทีช่ ดั เจน รวมทั้งไม่มีท่าทีในเชิงรุกต่อแนวคิด อินโด - แปซิฟิก แต่มุ่งเน้นการให้ความส�ำคัญกับมหาสมุทรอินเดีย อย่างไรก็ตาม การหยิบยื่นข้อเสนอเป็นพันธมิตร จากมหาอ�ำนาจต่าง ๆ ทัง้ ในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี ท�ำให้อนิ เดียตอบรับแนวคิดอินโด - แปซิฟกิ ซึง่ เกิดจาก หลายปัจจัย ได้แก่ ชือ่ และค�ำนิยามของแนวคิดนี้ แม้จะไม่ชดั เจน ê และเป็นข้อถกเถียงกันในทางวิชาการว่าครอบคลุม เพียงใด แต่หลายฝ่ายต่างให้ความส�ำคัญกับมหาสมุทร อินเดีย จึงท�ำให้อินเดีย (ในฐานะ Emerging Power) มีโอกาสผลักดันวาระผลประโยชน์ของตนในเวทีระหว่าง ประเทศมากขึ้น สอดคล้องกับแนวคิด Indian Ocean Rim ê ที่อินเดียเป็นผู้ผลักดันในกรอบ Indian Ocean Rim Association (IORA) และ Indian Ocean Naval Symposium (IONS) ซึง่ มุง่ เน้นความร่วมมือทางทะเล เป็นหลัก สอดคล้องกับนโยบาย Act East โดยเปิด ê


ข่าวทหารอากาศ

โอกาสให้อินเดียมีบทบาทเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจการ ฝั่งเอเชีย - แปซิฟิก ในบริบทที่เอเชีย (โดยเฉพาะจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือกับอาเซียน) เคยเป็น พลังขับเคลื่อนโลก ความชัดเจนประการหนึ่ง นรม.อินเดีย ให้ความส�ำคัญกับมหาสมุทรอินเดียมาก ทัง้ ด้านความ มั่นคงและเศรษฐกิจ ได้ประกาศวิสัยทัศน์ Security And Growth for All in the Region : SAGAR (สาคร ภาษาฮินดี แปลว่า มหาสมุทร) รวมทัง้ อินเดียสนับสนุน หลั ก การ Freedom of Navigation และ International Norms รวมทั้งการเคารพกฎหมาย ทะเลและกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ผลัก ดัน Blue Economy และ Maritime Connectivity โดยมีแผนพัฒนาท่าเรือระบบการขนส่งทางเรือและ เรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันรับมือความท้าทายต่าง ๆ ทั้งด้านอาชญากรรมและภัยพิบัติ ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดีย – สหรัฐฯ ภายใต้ยุทธศาสตร์อินโด - แปซิฟิก รัฐบาลโมดีพยายามสร้างความสัมพันธ์กับ สหรัฐฯ และจีนโดยแลกเปลี่ยนการเยือนระดับผู้นำ� ยกระดับความสัมพันธ์ในมิตทิ างทหารอาวุธยุทโธปกรณ์ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับทั้งสองประเทศ

ซึง่ ความสัมพันธ์กบั จีน ยังมีความไม่ลงรอยเกิดขึน้ เป็น ระยะจนถึงขั้นการเผชิญหน้ากันระหว่างกองก�ำลัง ทหารทัง้ สองฝ่ายทีบ่ ริเวณ Doklam ส่วนความสัมพันธ์ กับสหรัฐฯ กลับมีพัฒนาการเชิงบวกยิ่งขึ้นตั้งแต่ ประธานาธิบดีโอบามาจนถึงทรัมป์ โดยเมือ่ ม.ค.๕๘ ทัง้ สองประเทศได้แสดงวิสยั ทัศน์ตอ่ ภูมภิ าคร่วมกันตาม เอกสาร US-India Joint Strategic Vision for the Asia Pacific and Indian Ocean Region รวมทัง้ สหรัฐฯ รับรองอินเดียในฐานะ “Major Defence Partner” แบ่งปันเทคโนโลยีทางทหารในระดับเดียว กับ “Closest Allies and Partners” และร่วมมือ ด้านการผลิตและพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์โดยเมื่อ ๑๘ ต.ค.๖๐ นาย Rex Tillerson รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่ า งประเทศ (รมว.กต.) สหรั ฐ ฯ ได้กล่าวสุนทรพจน์ดา้ นนโยบายต่างประเทศต่ออินเดีย ในหัวข้อ Defining our relationship with India for the Next Century ซึ่งเป็นสุนทรพจน์แรกภายใต้ รัฐบาลทรัมป์ทกี่ ล่าวถึงนโยบายต่อประเทศหนึง่ เป็นการ เฉพาะ นอกจากนี้ ทัง้ สองประเทศจะจัดการประชุม มุ่งเน้นนโยบาย Free and Open Indo-Pacific ทีย่ ดึ มัน่ กฎระเบียบระหว่างประเทศ รวมทัง้ เสรีภาพ ในการเดินเรือและการบินในพื้นที่ (อันสอดคล้องกับ ท่าทีของ นรม. ญี่ปุ่นก่อนหน้านั้น)

19


20

ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และอินเดียใกล้ชิด ยิ่งขึ้นจาก ๒ ปัจจัยหลัก การผงาดขึน้ ของจีน (Rise of China) แต่เดิม ê ปัญหาใหญ่คอื ข้อพิพาทเรือ่ งพรมแดนและพืน้ ทีพ่ พิ าท เขตแดน อินเดีย - จีนและ อินเดีย - ปากีสถานซึง่ เป็น พันธมิตรกับจีน ต่อมาจีนกลายเป็นมหาอ�ำนาจได้ ขยายอิ ท ธิ พ ลทางทหารและเศรษฐกิ จ เข้ า มาถึ ง มหาสมุทรอินเดียและภูมภิ าคเอเชียใต้ซงึ่ อินเดียถือว่า เป็นพื้นที่อิทธิพลของอินเดียทั้งในรูปแบบการลงทุน ความช่วยเหลือเพือ่ การพัฒนาและการสร้างโครงสร้าง พื้นฐานเพื่อความเชื่อมโยง จึงท�ำให้อินเดียมีความ หวาดระแวงและไม่เชื่อใจจีนมากขึ้น นอกจากนี้ จีนยังคัดค้านมิให้อนิ เดียเข้าร่วม Nuclear Suppliers Group รวมทั้งโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) กับปากีสถานซึ่งอินเดียมองว่าละเมิดอธิปไตย อินเดีย การเสื่อมถอยอ�ำนาจขั้วเดียวของสหรัฐฯ ê รัฐบาลทรัมป์ เรียกร้องให้อินเดียเข้ามาแบ่งเบาภาระ ของสหรัฐฯ ในเขตมหาสมุทรอินเดียทัง้ การรักษาความ มั่นคงการส่งเสริมเศรษฐกิจ และการต่อต้านจีน ซึ่งแนวคิดนี้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของอินเดีย แต่ยังคงมีค�ำถามว่าอินเดียในปัจจุบันมีศักยภาพทาง เศรษฐกิจและทหารมากพอที่จะคานอ�ำนาจกับจีน หรือไม่ ซึง่ เป็นปัจจัยให้สหรัฐฯ เป็นหุน้ ส่วนกับอินเดีย เอกสารวิสัยทัศน์ US - India Joint Strategic Vision for the Asia - Pacific and Indian Ocean Region ซึง่ ลงนามโดยประธานาธิบดีโอบามา และนายกรัฐมนตรีโมดีสาระส�ำคัญ กล่าวคือ - ภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก ครอบคลุมพื้นที่ ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาถึงเอเชีย - ความเป็นหุน้ ส่วนระหว่างสหรัฐฯ - อินเดีย เป็นสิง่ จ�ำเป็นต่อการส่งเสริมสันติภาพความมัน่ คงและ เสถียรภาพในภูมิภาค - สนับสนุนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาคส่งเสริมการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และ ความเชือ่ มโยงระหว่างเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และ เอเชียกลาง

- การรักษาความมัน่ คงทางทะเลและเสรีภาพ ในการเดินเรือ รวมทัง้ การบินผ่านในภูมภิ าคเรียกร้อง ให้ทกุ ฝ่ายหลีกเลีย่ งการใช้กำ� ลังและแก้ปญ ั หาข้อพิพาท ทางบกและทางทะเลด้วยสันติวิธีตามหลักกฎหมาย ระหว่างประเทศ การต่อต้านการก่อการร้ายโจรสลัด การแพร่กระจายอาวุธทีม่ อี นุภาพท�ำลายล้างสูง - ส่งเสริมความเข้มแข็งของ East Asia Summit เพื่อสนับสนุนกลไกการหารือระดับภูมิภาค ด้านการเมืองและความมั่นคงที่ส�ำคัญ การด�ำเนินนโยบายตามแนวคิดอินโด - แปซิฟิก ค�ำถามส�ำคัญในอนาคต คือ อินเดียจะแสวง ประโยชน์จากแนวคิด Indo - Pacific อย่างไร ประเมิน ได้วา่ อินเดียจะแสดงบทบาทด้านความมัน่ คงในภูมภิ าค เพิม่ ขึน้ ทัง้ พืน้ ดินและทะเล โดยมีประเด็นส�ำคัญ ได้แก่ การต่อต้านการก่อการร้าย การเผชิญหน้ากับปากีสถาน และจีน การรักษาความมั่นคงทางทะเล และความ มัน่ คงทางไซเบอร์ นอกจากนี้ อินเดียจะแสดงบทบาท น�ำด้านความเชื่อมโยง (Connectivity) มากขึ้น หลังจากอินเดียประท้วงไม่เข้าร่วม BRI ของจีน โดยอินเดียอาจร่วมมือประเทศเพือ่ นบ้าน แข่งขันด้าน ความเชือ่ มโยงกับจีนต่อไป เช่น ความร่วมมือระหว่าง อินเดีย - ญี่ปุ่นในกรอบ Asia - Africa Growth Corridor (AAGC) และความร่ ว มมื อ ระหว่ า ง อินเดีย – อิหร่าน - อัฟกานิสถาน ในการใช้ท่าเรือ Chabahar ที่อิหร่าน แต่ความร่วมมือดังกล่าวจะ พัฒนาไปอย่างค่อนข้างช้า เนือ่ งจากอินเดียไม่มที นุ สูง เท่าจีน ยกเว้นว่าญีป่ นุ่ และสหรัฐฯ จะให้ความช่วยเหลือ ส่วนด้านเศรษฐกิจอินเดียยังไม่มีความพร้อมเว้นแต่ จะร่วมกับญี่ปุ่นหรือพันธมิตรอื่นที่เป็นแหล่งทุนได้ ความร่วมมือทางทหารกับไทย นโยบาย Act East Policy ของอินเดีย ให้ความส�ำคัญกับความร่วมมือทีเ่ ป็นรูปธรรมกับภูมภิ าค เอเชียตะวันออกและอาเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านเศรษฐกิจ ทั้งนี้ไทยมีที่ตั้งบริเวณ Mainland ASEAN จึงมีความเหมาะสมในการเป็นศูนย์กลาง


ข่าวทหารอากาศ

การเชื่อมโยงความร่วมมือในทุกมิติระหว่างอินเดีย กับอาเซียน นอกจากนี้ ไทยสนับสนุนบทบาทของ อินเดียในกลไกความร่วมมือด้านความมัน่ คงในภูมภิ าค ที่ มี อ าเซี ย นเป็ น แกนกลาง โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง การมีส่วนร่วมในการประชุม ASEAN Defence Ministers Meeting (ADMM) - Plus อินเดียขอเข้าร่วมการลาดตระเวนร่วมใน ช่องแคบมะละกา ซึง่ เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐชายฝัง่ (Littoral States) ประกอบด้วยไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เริม่ ปฏิบตั กิ ารตัง้ แต่ปพี ทุ ธศักราช ๒๕๕๑ โดยลาดตระเวนทางเรื อ และทางอากาศในพื้ น ที่ รับผิดชอบ ดังนั้น การเข้าร่วมของอินเดียจ�ำเป็นต้อง ได้รบั อนุญาตจากประเทศทัง้ ๔ ความร่วมมือด้านการ ฝึกและการปฏิบัติงานร่วมกันของกองทัพทั้งสอง ประเทศ ได้แก่การฝึกร่วม/ผสม MAITREE ของกอง ทัพบกการลาดตระเวนร่วม “THAI - INDO CORPAT” ของ กองทัพเรือ (ทร.) การฝึกร่วม/ผสม SIAM BHARAT ของกองทัพอากาศ (ทอ.) รวมทัง้ การฝึกการต่อต้านการ ก่อการร้าย CHAKRA กองบัญชาการกองทัพไทย (บก.ทท.) ซึ่งยกระดับความร่วมมือและพัฒนาเป็น อย่างมากในช่วงที่ผ่านมา อินเดียขอยกระดับเป็นประเทศที่เข้าร่วม การฝึกแบบเต็มรูปแบบ (Full Participants) ในการ ฝึกร่วมผสม Cobra Gold ทัง้ นี้ ไทยและสหรัฐฯ ในฐานะ เจ้าภาพร่วมของการฝึกร่วม/ผสม Cobra Gold ได้ ร่วมหารือและเห็นว่าให้คงสถานะปัจจุบนั คือประเทศ ที่เข้าร่วมการฝึกแบบจ�ำกัด (Limited Participants) โดยส่งผู้แทนมาเข้าร่วมการฝึก ในส่วนของโครงการ ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทา ภัยพิบัติ Humanitarian Assistance and Disaster Relief : HADR และโครงการช่วยเหลือประชาชน (Humanitarian Civic Assistance : HCA) การฝึ ก ไตรภาคี ร ะหว่ า ง ทร.สิ ง คโปร์ ทร.อินเดีย และ ทร.ไทย ในบริเวณทะเลอันดามัน มีแนวโน้มทีจ่ ะเกิดขึน้ ได้ ส่วนการฝึกร่วม/ผสม MAITREE ซึ่งอินเดียต้องการยกระดับจากหน่วยระดับกองร้อย ทหารราบ เป็นระดับกองพันนัน้ อยูร่ ะหว่างการพิจารณา

บทสรุป

ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งจี น และอิ น เดี ย จะไม่เกิดความขัดแย้งบานปลาย โดยแต่ละฝ่าย จะรักษาผลประโยชน์และพึง่ พาเศรษฐกิจซึง่ กันและกัน ทัง้ สองฝ่ายจะพยายามเรียนรูท้ จี่ ะอยูร่ ว่ มกันให้ดที สี่ ดุ เช่นเดียวกับคู่มหาอ�ำนาจอื่น ๆ ในอดีต ส่ ว นอาเซี ย นสามารถสนั บ สนุ น อิ น เดี ย ซึ่งเป็น Emerging power เพื่อรักษาดุลอ�ำนาจ ในภูมิภาคได้ นอกจากนี้ อาเซียนอาจต้องจับตามอง บทบาทของอินเดียใน European Atherosclerosis Society : EAS ซึ่งเป็นกรอบการประชุมที่ค่อนข้าง ครอบคลุ ม ประเทศและประเด็ น ที่ อ ยู ่ ใ นภู มิ ภ าค อินโด - แปซิฟิก อิ น เดี ย จะแสวงประโยชน์ จ ากแนวคิ ด Indo - Pacific และการสนับสนุนจากสหรัฐฯ เพือ่ หวัง ผลักดันให้อนิ เดียเข้าร่วมการปฏิบตั กิ ารทางทหาร หรือ การฝึกร่วม/ผสมต่าง ๆ โดยเฉพาะการเป็นสมาชิก การฝึกร่วม/ผสม Cobra Gold ส่วนไทยสมควรแสดง บทบาทน�ำในการเชื่อมโยงความร่วมมือทางทหาร ระหว่างอินเดียกับอาเซียน และแสวงประโยชน์จาก อินเดียเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางทหารในด้าน ไซเบอร์ ด้านอวกาศ และอื่น ๆ

21


22

F-16V

สุดยอดเครือ ่ งบินรบยุคที่ ๔

น.ท.วัชรพงษ์ กลีบม่วง

นับตั้งแต่สงครามเกาหลีที่อาจกล่าวได้ว่า เป็นการปฏิวัติการรบทางอากาศด้วยเครื่องบินรบ ความเร็วเหนือเสียงทั้ง F-86 ของฝั่งสหรัฐอเมริกา และ MiG-15 ของฝั่งรัสเซียซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของการ พัฒนาเครือ่ งบินรบทีต่ ดิ ตัง้ เครือ่ งยนต์เจ็ท ซึง่ ได้มกี าร พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงเครื่องบินรบยุคที่ ๕ (5th Generation) ในปัจจุบนั แต่เครือ่ งบินรบทีม่ บี ทบาท ในสงครามต่าง ๆ มากมาย และยังคงมีประจ�ำการอยู่ ในกองทัพอากาศทัว่ โลกยังคงเป็นเครือ่ งบินรบยุคที่ ๔ (4th Generation) ซึ่งมีอยู่หลายรุ่นหลายตระกูลของ ค่ายผูผ้ ลิตไม่วา่ จะเป็น ตระกูล F ตระกูล MiG ตระกูล

Su ตระกูล J และเครื่องบินรบฝั่งยุโรป แต่ในบรรดา เครื่องบินรบเหล่านั้นรุ่นที่มีการผลิตมากที่สุดในโลก และยังคงประจ�ำการอยูใ่ นกองทัพอากาศหลายประเทศ ก็คือ F-16 Fighting Falcon ซึ่ง ณ ปัจจุบันยังคงมี การพัฒนาและอัพเกรด เพือ่ ตอบสนองความต้องการ ของกองทัพประเทศต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง F-16 ถู ก พั ฒ นาขึ้ น จากประสบการณ์ การรบในสงครามเวียดนาม ด้วยความต้องการแรกเริม่ ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ที่ต้องการเครื่องบินรบ ส�ำหรับท�ำการรบในเวลากลางวันและมีน�้ำหนักเบา รวมทั้งใช้เป็นเครื่องฝึกได้ก่อนที่จะถูกพัฒนาเป็น


ข่าวทหารอากาศ

เครื่องบินรบอเนกประสงค์ที่สามารถปฏิบัติภารกิจ ได้หลากหลายและได้มีบทบาทส�ำคัญในการรบทาง อากาศหลายครั้ง ส�ำหรับการรบครั้งแรกของ F-16 เกิ ด ขึ้ น เมื่ อ ๒๘ เมษายน ค.ศ.๑๙๘๑โดย F-16 ของกองทัพอากาศอิสราเอลได้ยิงเฮลิคอปเตอร์ Mi-8 ของซีเรียด้วยปืนใหญ่อากาศตกในหุบเขา เบกกาทางตะวันออกของเลบานอล และสองเดือนต่อมา F-16 ของกองทัพอากาศอิสราเอล จ�ำนวน ๘ ล�ำ ปฏิบัติภารกิจโจมตีเป้าหมายภาคพื้นเป็นครั้งแรก ในการปฏิบัติการบาบิโลน (Operation Babylon) ซึง่ เป็นภารกิจการโจมตีแหล่งพัฒนาอุปกรณ์นวิ เคลียร์ ของอิรกั ทีต่ งั้ อยูห่ า่ งจากกรุงแบกแดดไปทางใต้ประมาณ ๑๗ กิโลเมตร เพื่อขัดขวางการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ ของอิรักอีกภารกิจหนึ่งที่ F-16 มีบทบาทส�ำคัญ ในการรบทางอากาศคือ ปฏิบัติการพายุทะเลทราย (Operation Desert Storm) ในปี ค.ศ.๑๙๙๑ ซึง่ เป็นภารกิจในการปลดปล่อยคูเวตจากการยึดครอง ของอิรกั โดยมีการส่ง F-16 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ

จ�ำนวน ๒๔๙ ล�ำเข้าร่วมในภารกิจ ซึ่ง F-16 ถูกใช้ใน ภารกิ จ โจมตี เ ป้ า หมายภาคพื้ น ส� ำ คั ญ ของอิ รั ก ทั้งเป้าหมายทางทหารส่วนสนับสนุนส่งก�ำลังบ�ำรุง และโรงงานเคมี โดยเฉพาะเป้าหมายรถถังซึง่ อิรกั ถือว่า มีจ�ำนวนมากทีส่ ดุ อันดับ ๔ ของโลกในส่วนของ F-16 ได้ตดิ ตัง้ อาวุธส�ำคัญเพือ่ ใช้โจมตีรถถังของอิรกั คือ อาวุธ น�ำวิถีอากาศสู่พื้น AGM - 65 Maverick ที่ได้รับการ พัฒนาระบบน�ำวิถีแบบ IIR (Imaging Infrared) ซึ่งเป็นระบบน�ำวิถีแบบใหม่ในยุคนั้น ใช้หลักการน�ำ รังสีความร้อนของเป้าหมายมาสร้างเป็นภาพดิจิทัล แล้วเทียบกับฐานข้อมูลเพือ่ ระบุวา่ เป็นเป้าหมายทีจ่ ะ ท�ำลายหรือไม่นอกจากนัน้ แล้วในปฏิบตั กิ ารพายุทะเล ทราย F-16 ยังมีเทีย่ วบินในการปฏิบตั ภิ ารกิจรวมกัน มากถึง ๑๓,๕๐๐ เทีย่ วบิน ซึง่ มากทีส่ ดุ ในบรรดาเครือ่ ง บินรบทั้งหมดที่เข้าร่วมปฏิบัติการ แม้ว่า F-16 จะเป็นเครื่องบินรบยุคที่ ๔ และในกองทัพอากาศหลายประเทศก�ำลังเริ่มน�ำ เครื่องบินรบยุคที่ ๕ เช่น F-35 เข้าประจ�ำการ

23


24

จอแสดงผลในห้องนักบินที่ได้รับการปรับปรุงใหม่

แต่ F-16 ยังคงเป็นเครื่องบินรบหลักให้กับกองทัพ อากาศในอีกหลายประเทศด้วยเหตุผลด้านราคา ความคุ้มค่า ภัยคุกคามรอบประเทศที่ยังสามารถใช้ F-16 รับมือได้ อีกทั้งบริษัทผู้ผลิตและพัฒนา Lockheed Martin ยังคงมีการพัฒนาและอัพเดท F-16 ให้ตอบสนองต่อความต้องการของกองทัพอากาศ ในหลายประเทศที่มี F-16 ประจ�ำการ โดยเฉพาะรุ่น ล่าสุดทีม่ กี ารน�ำเทคโนโลยีของเครือ่ งบินรบในยุคที่ ๕ มาใช้ด้วยท�ำให้ F-16 หลุดพ้นจากการตกยุคมาได้ ส�ำหรับรุน่ ล่าสุดของ F-16 คือ F-16V Block 70/72 ซึง่ เป็นรุน่ ทีม่ กี ารพัฒนาและปรับปรุงในหลาย ส่วน หากมองจากภายนอกจะเห็นลักษณะทีแ่ ตกต่าง จากรุ่นก่อนหน้าคือถังเชื้อเพลิงที่ติดอยู่บนด้านข้าง ของล�ำตัวเครือ่ งทัง้ สองข้าง (Conformal Fuel Tank)

ที่ถูกออกแบบมาเพื่อลดการใช้ถังเชื้อเพลิงภายนอก แบบที่ติดตั้งใต้ปีกหรือใต้ล�ำตัว ท�ำให้สามารถติดตั้ง อาวุธได้มากขึ้น มีระยะบินไกลขึ้น และถังเชื้อเพลิง แบบใหม่นยี้ งั ถูกออกแบบให้มคี วามต้านอากาศต�ำ่ ซึง่ ช่วยลดผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการบินอีกด้วย ส�ำหรับ Block 70 นั้น ปัจจุบันได้ถูกก�ำหนดให้เป็น มาตรฐานใหม่ของ F-16 นั่นท�ำให้ F-16V ถูกจัดให้อยู่ ในระดับแนวหน้าของเครื่องบินรบยุคที่ ๔ โดยการ ปรับปรุงและพัฒนาทีส่ ำ� คัญเริม่ ต้นจากระบบเรดาร์ที่ ได้น�ำเทคโนโลยีเรดาร์จาก F-22 และ F-35 ซึ่งเป็น เครื่องบินรบยุคที่ ๕ มาใช้โดย F-16V ติดตั้งเรดาร์

AN/APG-83 Scalable Agile Beam Radar SABR ซึ่งเป็นเรดาร์แบบ AESA Active Electronically Scanned Array ให้ความเสถียรและความน่าเชื่อถือ มากกว่าเรดาร์รุ่นดั้งเดิม ๓-๕ เท่า สามารถปล่อย สัญญาณเรดาร์ไปได้ในหลายทิศทางโดยไม่ตอ้ งหันจาน เรดาร์ และสร้างคลืน่ ความถีพ่ ร้อมกันได้หลายความถี่ ท�ำให้ยากต่อการถูกรบกวนสัญญาณมีรศั มีในการตรวจ จับไกลสุดถึง ๑๒๐ กิโลเมตร สามารถติดตามเป้าหมาย ในอากาศได้พร้อมกันอย่างน้อย ๒๐ เป้าหมาย รวมทัง้


ข่าวทหารอากาศ

เป้าหมายบนพื้นดินและผิวน�้ำทั้งแบบอยู่กับที่และ เคลื่อนที่ นอกจากนั้นแล้วยังช่วยในการสร้างแผนที่ ความละเอียดสูงเพือ่ สนับสนุนการโจมตีเป้าหมายอย่าง แม่นย�ำ ส�ำหรับ Radar AN/APG-83 ผลิตและพัฒนา โดยบริษัท Northrop Grumman นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการเพิ่มจอแสดงผลความละเอียดสูงที่จะแสดง ผลทีไ่ ด้จากการตรวจจับของเรดาร์และกระเปาะชีเ้ ป้า รวมทัง้ แผนทีส่ ี ซึง่ แผนทีจ่ ะเลือ่ นตามต�ำแหน่งปัจจุบนั ของเครื่องบิน และยังสามารถเลือกการแสดงผลที่ ต้องการบนจอแสดงผลตรงกลางในห้องนักบินทีไ่ ด้รบั การออกแบบใหม่ ซึ่งเป็นการเพิ่มความสะดวกให้กับ นักบินในการปฏิบัติภารกิจและเพิ่มความตระหนักรู้ สถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ระบบที่ส�ำคัญอีกหนึ่งระบบที่ถูกติดตั้งใน F-16V คื อ ระบบป้ อ งกั น การชนพื้ น อั ต โนมั ติ (Automatic Ground Collision Avoidance System : GCAS) เป็นระบบทีถ่ กู ออกแบบเพือ่ ควบคุม ระดับของเครื่องบินในกรณีที่เครื่องบินสูญเสียระดับ ความสูง โดยจะส่งสัญญาณเตือนและหากไม่มีการ ปรับระดับโดยนักบิน ระบบจะท�ำการควบคุมเครื่อง บินให้กลับเข้าสูร่ ะดับความสูงและแนวบินทีป่ ลอดภัย ก่อนจะปล่อยให้นกั บินกลับมาควบคุมเองอีกครัง้ Auto GCAS เป็นระบบที่ช่วยลดการสูญเสียนักบินในกรณี ที่นักบินหมดสติจากการบินด้วยแรง G ที่สูงมากและ ไม่สามารถบังคับเครื่องได้ ซึ่งระบบนี้ก�ำลังถูกพัฒนา เพื่อน�ำไปติดตั้งกับเครื่องบินรบในยุคที่ ๕ เช่น F-22 และ F-35 ด้วยเช่นกัน ในส่วนของขุมพลังส�ำหรับ F-16V เป็น เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนของ Pratt & Whitney รุน่ F–100–PW-229 จ�ำนวน ๑ เครือ่ งให้แรงขับสูงสุด (เมือ่ ใช้สนั ดาปท้าย) ๒๙,๑๐๐ ปอนด์ หรือ เครือ่ งยนต์ เทอร์โบแฟนของ General Electric รุน่ F–110–GE-129 จ�ำนวน ๑ เครือ่ ง ให้แรงขับสูงสุด (เมื่อใช้สันดาปท้าย) ๒๙,๕๐๐ ปอนด์ ซึ่งจะท�ำให้ F-16 สามารถบินด้วย

ความเร็วสูงสุดได้ราว ๒ มัคและมีระยะบินไกลสุดราว ๓,๒๐๐ กิโลเมตร แม้ว่าจะสามารถท�ำความเร็วได้ ในระดับเหนือเสียงแต่ F-16 ไม่สามารถบินด้วยความเร็ว ระดับเหนือเสียงแบบนี้ได้ตลอด เพราะจะต้องใช้ เชือ้ เพลิงจ�ำนวนมากและระยะเวลาในการบินก็จะลด ลงมากจนปฏิบตั ภิ ารกิจหรือบินกลับฐานบินไม่ได้ การบิน ด้วยความเร็วเหนือเสียงต่อเนื่องหรือ Super Cruise ในปัจจุบันจะมีเฉพาะในเครือ่ งบินรบยุคที่ ๕ เช่น F-22 ทีถ่ กู ติดตัง้ ด้วยเครือ่ งยนต์ทไี่ ด้รบั การปรับปรุงให้สามารถ สร้างแรงขับได้สูงโดยใช้เชื้อเพลิงต�่ำ แม้ว่าเครื่องบินรบจะมีเทคโนโลยีต่าง ๆ ทีท่ นั สมัย บินได้ไกลและนาน มีเรดาร์ทสี่ ามารถตรวจ จับได้ไกล จับได้หลายเป้าหมาย แต่สงิ่ ส�ำคัญทีข่ าดไม่ได้ เลยก็คอื อาวุธทีท่ นั สมัยทีเ่ ปรียบเหมือนเขีย้ วเล็บทีจ่ ะ ใช้สยบฝ่ายตรงข้ามได้ ในส่วนของระบบอาวุธทีส่ ามารถ ใช้งานได้กับ F-16V นี้ถือได้ว่าอยู่ในระดับแนวหน้า ของอาวุธในค่ายอเมริกาเลยทีเดียว เริ่มจากอาวุธ น� ำ วิ ถี อ ากาศสู ่ อ ากาศทั้ ง ระยะสั้ น AIM-9X ที่เป็นรุ่นล่าสุดของอาวุธน�ำวิถีด้วยรังสีความร้อนค่าย อเมริกาที่มีการพัฒนาระบบป้องกันการลวงด้วยพลุ ความร้อนสูง (Decoy Flare) ด้วยระบบน�ำวิถีแบบ

IIR: Imaging Infrared ซึง่ อาศัยหลักการน�ำรังสีความ ร้อนที่ตรวจจับได้มาสร้างเป็นภาพดิจิทัลแล้วเทียบ รูปร่างของภาพทีไ่ ด้กบั ฐานข้อมูลเพือ่ ระบุวา่ เป้าหมาย ที่จับได้เป็นเครื่องบินหรือเป้าลวง รวมทั้งการพัฒนา ส่วนขับเคลื่อนหรือ Rocket Motor ท�ำให้ AIM-9X มีระยะยิงไกลสุดเกือบถึงระยะพ้นสายตา (ประมาณ

25


26

๓๗ กิโลเมตร) ซึ่งมากกว่าอาวุธที่น�ำวิถีด้วยรังสี อินฟราเรดของค่ายอืน่ ๆ นอกจากนัน้ แล้วยังสามารถ ใช้งานร่วมกับหมวกนักบินติดเป้าเล็ง (JHMCS : Joint Helmet Mounted Cueing System) ซึ่งช่วยให้ สามารถยิงได้นอกแนวเล็งกว้างถึง ๙๐ องศา คือ สามารถยิงเป้าหมายทีอ่ ยูด่ า้ นหน้าได้ในทุกทิศทางโดย ไม่ต้องหันหัวเครื่องบินให้ตรงกับเป้าหมายในรุ่น AIM-9 Block II ได้มีการเพิ่มระบบ Data Link ที่ตัว อาวุธสามารถรับต�ำแหน่งของเป้าหมายจากเครือ่ งบิน ภายหลังจากที่ถูกยิงออกไปแล้ว ช่วยให้สามารถยิง เป้าหมายที่อยู่ด้านหลังของเครื่องได้ อาวุธน�ำวิถีอากาศสู่อากาศที่เป็นหมัดยาว ให้กบั F-16V คงหนีไม่พน้ AIM-120D ซึง่ เป็นรุน่ ล่าสุด ที่พัฒนาต่อมาจากรุ่น C โดยเพิ่มระบบ 2 way Data Link ในการรับส่งข้อมูลเป้าหมายระหว่างเครือ่ งบินกับ อาวุธเพิ่มความแม่นย�ำด้วยระบบ GPS เพิ่มความเร็ว ของอาวุธเพื่อลดโอกาสในการหนีพ้นของเป้าหมาย รวมทัง้ เพิม่ มุมยิงนอกแนวเล็งให้กว้างขึน้ นอกจากนัน้ แล้วยังพัฒนาระบบขับเคลือ่ นซึง่ ท�ำให้อาวุธมีระยะยิง

ไกลสุดมากกว่ารุ่น C ถึงร้อยละ ๕๐ ซึ่งมีระยะยิงไกล สุดราว ๑๘๐ กิโลเมตร ส�ำหรับการโจมตีเป้าหมายภาคพื้น F-16V สามารถติ ด ตั้ ง อาวุ ธ อากาศสู ่ พื้ น ได้ ห ลายแบบ ทัง้ จรวดร่อน JSOW, อาวุธน�ำวิถอี ากาศสูพ่ นื้ AGM-65 Maverick, ลูกระเบิดน�ำวิถี JDAM, Laser Guide Bomb ส�ำหรับจรวดร่อน JSOW มีลักษณะแตกต่าง จากอาวุธน�ำวิถีหรือจรวดโดยทั่วไป คือจะมีปีกที่ สามารถกางออกเมื่ออาวุธถูกปล่อย (ปีกกางสุด ๒.๗ เมตร) ท�ำให้สามารถร่อนในอากาศได้ไกลถึง ๒๒ กิโลเมตร เมือ่ ถูกปล่อยจากอากาศยานในระดับต�ำ่ และ ไกลถึง ๑๓๐ กิโลเมตร เมื่อปล่อยจากอากาศยาน ในระดับสูงที่ ๔๐,๐๐๐ ฟุต และในรุ่นที่มีการติดตั้ง ส่วนขับเคลื่อน JSOW-ER นั้นสามารถปล่อยได้ไกล ถึง ๕๕๖ กิโลเมตร ในส่วนของล�ำตัวมีความยาว ๔.๑ เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง ๓.๓ เมตร โดยล�ำตัว ถูกออกแบบเป็นทรงสี่เหลี่ยมที่ภายในสามารถบรรจุ อาวุธที่เป็นระเบิดแบบต่าง ๆ เช่น ลูกระเบิดพวงที่ใช้ ท�ำลายเป้าหมายเป็นกลุ่มบนพื้น ลูกระเบิดแบบ


ข่าวทหารอากาศ

เจาะเกราะ และลูกระเบิดแบบท�ำลายทีม่ นั่ คงแข็งแกร่ง ด้วยระบบอาวุธทีท่ นั สมัยเหล่านีท้ ำ� ให้ F-16V นัน้ มีความ เหนือชั้นกว่าเครื่องบินรบในยุคเดียวกันอีกหลายรุ่น ในการต่อสู้ในอากาศรวมทั้งภารกิจในการโจมตี เป้าหมายภาคพืน้ และเป็นการเติมเต็มเทคโนโลยีตา่ ง ๆ เช่น เรดาร์ อุปกรณ์ในห้องนักบิน ทีถ่ กู พัฒนาขึน้ ส�ำหรับ F-16V โดยเฉพาะ การพัฒนา F–16 ในรุ่นนี้ซึ่งถือว่าเป็น รุน่ ล่าสุดและจัดว่าอยูแ่ นวหน้าของเครือ่ งบินรบในยุค ที่ ๔ ท�ำให้หลายประเทศให้ความสนใจในการที่จะ ปรับปรุงหรือจัดหามาประจ�ำการในกองทัพอากาศ ของตนเอง โดยประเทศแรกทีก่ ำ� ลังจะมี F-16V รุน่ ล่าสุด ประจ�ำการคือ สโลวาเกียซึง่ เป็นหนึง่ ในประเทศสมาชิก NATO ทีร่ ฐั บาลสหรัฐฯ อนุมตั ใิ ห้ขาย F-16V Block70/72 จ�ำนวน ๑๔ เครื่อง รวมทั้งอาวุธน�ำวิถีอากาศสูอ่ ากาศ รุ่นล่าสุด เช่น AIM-9X และ AIM-120 AMRAAM ให้กับสโลวาเกีย เพื่อทดแทน MiG-29 ที่มีอายุ

การใช้งานมายาวนาน รวมทั้งเป็นการเสริมความ แข็งแกร่งในการป้องกันร่วมกันของประเทศในกลุ่ม NATO นอกจากสโลวาเกียแล้วยังมีอินเดียซึ่งเป็นอีก ประเทศหนึง่ ทีก่ ำ� ลังจะมีโครงการส�ำหรับพัฒนา F-16 ให้กบั กองทัพอากาศในอีก ๓ ปีขา้ งหน้าอีกด้วย แม้ว่าปัจจุบันจะมีเครื่องบินรบในยุคที่ ๕ ซึง่ เป็นเครือ่ ง Stealth เริม่ ประจ�ำการในประเทศต่าง ๆ แต่เครือ่ งบินรบโดยส่วนใหญ่ของโลกยังคงอยูใ่ นยุคที่ ๔ โดยเฉพาะ F-16 ที่ มี ก ารผลิ ต มากที่ สุ ด ในโลก การปรับปรุงและพัฒนาในรุ่น F-]16V Block70/72 นี้อาจเป็นการตอบโจทย์ให้กับกองทัพอากาศหลาย ประเทศทัง้ ทางด้านงบประมาณ และขีดความสามารถ ของก�ำลังรบทางอากาศที่เพียงพอต่อการป้องกันภัย คุกคามต่อประเทศของตน รวมทั้งยังเป็นการแสดง ให้เห็นว่าเครือ่ งบินรบยุคที่ ๔ อย่าง F-16 จะยังคงอยูค่ ู่ กับกองทัพอากาศในหลายประเทศได้อีกยาวนาน

อ้างอิง Advanced F-16 looks to the Gulf [IDEX17D4]. www.janes.com AGM-154 Joint Standoff Weapon (JSOW), United States of America. www.airforce-technology.com/projects/agm-154-joint-standoff-weapon-jsow AIM-9X Air to Air Missile Upgrade. www.dote.osd.mil

27


28

“วัโลกมาถู นเด็กกทางจริ ”.... งหรือ??

มัชฌิมา

วันเด็กแห่งชาติ มีต้นก�ำเนิดมาจากการที่ องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และ เห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความส�ำคัญแก่เด็ก ๆ โดย ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๘ นายวี เอ็ม กุลกานี ผู้แทน องค์การสหพันธ์เพือ่ สวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ ได้ เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงาน วันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็น ความส�ำคัญ และความต้องการของเด็ก รวมถึงเพื่อ เป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันส�ำคัญ ของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วม


ข่าวทหารอากาศ

ในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นก�ำลังของชาติ ทัง้ นี้ การขานรับกับการจัดงานวันเด็กแห่งชาติได้เป็นไป อย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนัน้ เองทัว่ โลกไม่นอ้ ยกว่า ๔๐ ประเทศ จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตน ขึ้น โดยได้มีการก�ำหนดว่าจะถือเอาวันจันทร์แรก ของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ ส�ำหรับประเทศไทย ได้ตอบรับข้อเสนอ ของนายวี เอ็ ม กุ ล กานี ซึ่ ง บอกผ่ า นมาทาง กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่ า ไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ รัฐบาล จึงได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ขึ้นมาคณะหนึ่ง ท�ำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงาน ต่าง ๆ ทัง้ ภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ก�ำหนด ให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลาง และ ส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศ ทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียนได้รู้ถึง ความส�ำคัญของตน เกีย่ วกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่น ในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข อย่างไรก็ตาม งานวันเด็กแห่งชาติครั้งแรก

ของประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๔๙๘ จากนั้นเป็นต้นมา ราชการได้ก�ำหนดวันจันทร์แรก ของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ โดยจัดต่อเนื่องกันมาจนถึงปีพุทธศักราช ๒๕๐๖ ทีป่ ระชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนนั้ ได้มคี วามเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรทีจ่ ะเสนอเปลีย่ น วันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่ ด้วยเหตุผลว่า เดือนตุลาคมส�ำหรับประเทศไทย เป็นเดือนที่ยังอยู่ ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็ก ๆ ไม่สะดวกในการเดินทาง

29


30

มาร่วมงาน นอกจากนี้วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงาน ของผูป้ กครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้ ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบ ในวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๗ ว่า ควรจะเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ ทีส่ องของเดือนมกราคม ทีม่ คี วามเหมาะสมและสะดวก มากกว่า ส�ำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็ก แห่งชาติ ทีร่ ฐั บาลไทยก�ำหนดไว้ คือ เพือ่ ให้ประชาชน ได้ตระหนักถึงความส�ำคัญของเด็ก สนใจในการ เลีย้ งดูอบรมสัง่ สอนเด็ก และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็ก เป็นพิเศษ เพือ่ ให้เด็กและและเยาวชนยึดมัน่ ในสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนและอยู่ในระเบียบวินัย อันดี และเพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ ของเด็ก คนทุกคนมีหน้าที่ต้องท�ำ แม้เป็นเด็กก็มี หน้าที่อย่างเด็ก คือศึกษาเล่าเรียน หมายความว่า จะต้องเรียนให้รู้วิชา ฝึกหัดท�ำการงานต่าง ๆ ให้เป็น การอบรมขัดเกลาความประพฤติและความคิดจิตใจ

ให้ประณีต ให้สจุ ริต แจ่มใส และเฉลียวฉลาดมีเหตุผล เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ และประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง เด็กคือทรัพยากรทีส่ ำ� คัญยิง่ ของประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นก�ำลังส�ำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมือง ให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าและมั่นคง อีกทั้งเป็นผู้ที่ จะต้องเติบโตขึน้ เป็นผูใ้ หญ่ในวันข้างหน้า เพือ่ ท�ำหน้าที่ ดู แ ลสั ง คมตลอดจนเศรษฐกิ จ วั ฒ นธรรมความ เปลี่ยนแปลง ดังนั้น ทุกสังคมจึงให้ความส�ำคัญแก่เด็ก และจัดให้มวี นั เด็กขึน้ ทุกปี เพือ่ ให้เด็กรูถ้ งึ ความส�ำคัญ ของตนเองจะได้ประพฤติปฏิบัติตนให้สมกับเป็นผู้ที่ มี ค วามส� ำ คั ญ ของประเทศชาติ ด ้ ว ยการตั้ ง ใจ ใฝ่ศกึ ษาเรียนรู้ ประพฤติปฏิบตั ติ นอยูใ่ นระเบียบวินยั รู้จักการใช้เวลา ความคิด มีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ และมีความซื่อสัตย์สุจริต หันกลับมาทีส่ งั คมไทยในปัจจุบนั ทุกภาคส่วน ยังคงให้ความส�ำคัญกับวันเด็ก ผ่านการจัดกิจกรรม ต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่องเป็นประจ�ำทุกปี แต่อย่างไร ก็ตาม ผูเ้ ขียนยังคงให้ขอ้ สังเกตว่า สิง่ ทีเ่ ป็นเครือ่ งชีว้ ดั


ข่าวทหารอากาศ

การพัฒนาเด็กโดยการจัดงานวันเด็กนั้น คือสิ่งใด เคยมีหน่วยงานหรือองค์กรใดหรือไม่ที่จัดท�ำสถิติ หรือน�ำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ว่า ผ่านมา ๕๕ ปี สิ่งที่ประเทศไทยได้รับ หรือโลกได้รับจากการจัดงาน วันเด็กนั้นมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เช่นที่ ผู้ใหญ่ได้ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ เด็กไทยมีความสนใจใฝ่รู้และเป็นก�ำลัง ในการพัฒนาประเทศได้มากขึ้นหรือไม่? เด็กไทยรู้จักหน้าที่มีวินัยท�ำให้ประเทศ อยู่ในความมีระเบียบเรียบร้อยหรือไม่? เด็กไทยมีความรับผิดชอบเติบโตมาเป็น ผู้ใหญ่ที่ไม่คอร์รัปชันหรือไม่? หากแนวทางในการพัฒนาเด็กของโลก มาถูกแนวทาง ท�ำไมการพัฒนาโลกในปัจจุบันนี้จึง ไม่เป็นไปในแนวทางทีจ่ ะสร้างความสงบสุขให้เกิดขึน้ กับมวลมนุษยชาติ ทุกคนยังคงแก่งแย่งให้ได้มา ซึง่ ทรัพยากรไล่เรียงลงมาตัง้ แต่ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างคนในประเทศ หรือ

แม้แต่ตามหน้าหนังสือพิมพ์และสือ่ ต่าง ๆ ทีเ่ รามักจะ เห็นปัญหาสังคมที่มีมากขึ้นทุกวัน บ้างเกิดจากการ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย จารีต จริยธรรม ละเมิด บรรทัดฐานทางสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เราควรปรับเปลีย่ นแนวทางในการส่งเสริม ศักยภาพเด็กให้พร้อมกับการพัฒนาของโลกไปใน ทิศทางใด ทิศทางที่จะพัฒนาโลกไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยไม่คำ� นึงถึงความสมดุลของการพัฒนา หรือจะเพือ่ พัฒนาไปในทิศทางในการที่จะเยียวยาโลกที่บอบช�้ำ จากการพั ฒ นาทั้ ง ทางด้ า นการเมื อ ง เศรษฐกิ จ เทคโนโลยี ให้สามารถกลับมาอยู่กันได้อย่างสมดุล อีกครัง้ สิง่ ทีผ่ ใู้ หญ่ในสังคมต้องท�ำควบคูก่ นั ไปกับการ สร้างแรงบันดาลใจโดยการตั้งค�ำถามว่า “โตขึ้น หนูอยากเป็นอะไร” นั่นคือ “เราจะโตไปเป็นผู้ใหญ่ ที่ดีได้อย่างไร” ผู้เขียนคิดว่าสิ่งเหล่านี้คือโจทย์ ที่สังคมไทยและสังคมโลกต้องกลับมาทบทวนกัน อีกครั้ง

31


32

มิสกรีน

ภาพ 1 - เธอรู้สึกดีขึ้นมากแล้ว ขอบคุณครับ ภาพ 2 - มันก็เป็นเรื่องที่ยาก แต่ผมก็อยู่ได้นะ To feel better – เป็นการเปรียบเทียบขัน้ กว่าของ to feel well (รูส้ กึ สบายดี) จะใช้เมือ่ พูดถึงสุขภาพ ซึง่ ภาษาพูดจะใช้ to feel good ก็ได้ แต่ to feel good ยังใช้ได้ในความหมาย confident, happy เป็นต้น Ex. It makes me feel good to know my work is appreciated. (มันท�ำให้ฉนั รูส้ กึ มัน่ ใจทีร่ วู้ า่ งานของฉันเป็นทีช่ นื่ ชม) She always feels good whenever we have testy food (เธอมักจะมีความสุขเมือ่ ได้ทานอาหารอร่อย) Tough (adj.) – ยากล�ำบาก เข้มงวด เข้มแข็ง (difficult, strict, strong) Ex. It was a tough decision to make. (มันเป็นการตัดสินใจทีย่ าก) Don’t be too tough on him. He was only trying to help. (อย่าไปเข้มงวดกับเขา มากเกินเขาเพียงแต่จะพยายามช่วยเหลือ) They are not tough enough to be soldiers. (พวกเขาไม่แข็งแกร่งพอจะเป็นทหารได้) To get by (idm.) – เป็นส�ำนวน แปลว่า สามารถอยูไ่ ด้หรือท�ำอะไรได้โดยใช้สงิ่ ทีม่ อี ยู่ (to manage to live or do things with what you have.) Ex. I can get by in German. (ฉันพอเอาตัว รอดได้กบั ภาษาเยอรมัน) และ How does she get by on such a small salary? (เธออยูไ่ ด้อย่างไรกับเงินเดือนน้อยนิดนัน่ )


ข่าวทหารอากาศ

ภาพ 1 - จ่าคิดจะเลื่อนยศให้ผมไหมครับ? - ผมพยายามอย่างมาก... ผมเป็นคนดี... ไม่เคยมีปัญหา - ก็เป็นความคิดที่น่าจะพิจารณานะ ซีโร่ ภาพ 2 - จ่า... - จุ๊ ๆ บีทเทิล, เขาก�ำลังใช้ความคิดอยู่น่ะ

How about + n. หรือ V.ing? – เป็นส�ำนวนทีใ่ ช้แถมข้อมูลของคนหรือสิง่ ใดสิง่ หนึง่ หรือใช้ในการเสนอแนะ (used when ask for information about someone or something or used to make a suggestion) Ex. I’m not going to the party. How about you? (ฉันจะไม่ไปงาน เลีย้ งนะ แล้วคุณล่ะ?) How about a break? (เราพักกันหน่อยนะ) หรือ How about having a meal? (เราไปทานข้าวกันสักมือ้ ไหม) To promote – ในทีน่ ี้ แปลว่า เลือ่ นยศ หรือต�ำแหน่งงานให้สงู ขึน้ (to move someone to a higher rank or more senior job) มักใช้ในรูป Passive voice (ถูกกระท�ำ) Ex. Robert has been promoted to group captain (โรเบิรต์ ได้รบั การ เลือ่ นยศเป็นนาวาอากาศเอก) และ She worked hard and was soon promoted. (เธอท�ำงานหนักและได้เลือ่ นต�ำแหน่งในไม่ชา้ ) ค�ำนาม คือ Promotion (เพรอโม้เชิน่ ) food for thought (idm.) – เป็นส�ำนวน แปลว่า ความคิดที่น่าจะคิดพิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบคอบ (an idea that makes you think seriously and carefully)

33


34

Gartner (Gartner: แนวโน้ICTมtrendsICT

2019

for year 2019)

ในทุก ๆ ปี Gartner บริษทั ท�ำวิจยั เทคโนโลยี ด้าน ICT ระดับโลก จะออกมาสรุปเทคโนโลยีที่ น่าจับตามองส�ำหรับองค์กร และในปีนี้ Gartner ก็ได้ ออกมาสรุ ป ถึ ง ๑๐ เทคโนโลยี ที่ น ่ า จั บ ตามอง ในปี ค.ศ.๒๐๑๙ งาน Gartner Symposium/ITxpo ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๘ ตุลาคม ค.ศ.๒๐๑๘ เมือง Orlando รัฐ Florida ประเทศสหรัฐอเมริกา แนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในปี ค.ศ.๒๐๑๙ จะมุ่งไปยังผู้บริหารระดับสูง (CIO : Chief Information Officer) และ ICT leaders ที่ควรมองไปข้างหน้า ให้ความสนใจกับเทคโนโลยี

น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์

ด้าน ICT ทีจ่ ะมาถึง รวมทัง้ ความส�ำคัญของวัฒนธรรม การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security Culture) ซึง่ จะน�ำความเปลีย่ นแปลงมาสูท่ กุ ๆ องค์กร บทความนี้ ขอน�ำเสนอในส่วนความส�ำคัญของวัฒนธรรม การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ อีกทั้งแนวโน้มทาง เทคโนโลยีด้าน ICT ที่จะมาถึง อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ในรูปแบบของสิง่ อัตโนมัติ มีความฉลาดที่เพิ่มขึ้น และถูกใช้ร่วมกับแนวโน้มทาง เทคโนโลยี ICT อย่างแฝดดิจิทัล (Digital Twins) จะ น�ำมาซึง่ การสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้แก่ธรุ กิจและองค์กร อันถือเป็นจุดเด่นของแนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศ


ข่าวทหารอากาศ

และการสือ่ สาร (ICT) ในปี ค.ศ.๒๐๑๙ ผูบ้ ริหารระดับ สูงขององค์กรควรที่จะศึกษาและท�ำความเข้าใจ ทั้งนี้ ก็เพื่อเตรียมความพร้อมให้สามารถรองรับกับความ เปลีย่ นแปลง (Digital Transformation) ทีจ่ ะเกิดขึน้ โดยบทความในฉบั บ มี มุ ม มองและรายละเอี ย ด ที่น่าสนใจดังนี้ แนวโน้ม ICT ที่จะมาถึง ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) หมายถึง ความฉลาดเทียมที่สร้างให้สิ่งที่ ไม่มีชีวิต เป็นสาขาหนึ่งในวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) การเรียนรูข้ องเครือ่ ง (Machine Learning หรือ ML) เป็นสาขาหนึ่งของ AI ที่เกี่ยวกับ การสร้างอัลกอริทมึ ทีส่ ามารถเรียนรูข้ อ้ มูลและท�ำนาย ข้อมูลได้ ท�ำให้ไม่ตอ้ งมาท�ำงานตามล�ำดับของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ Gartner นั้นเชื่อว่า “AI และ ML (Machine Learning) ยังจะส่งผลต่อการพัฒนา”

(AI-Driven Development) และคาดว่าภายในปี ค.ศ.๒๐๒๒ ในจ�ำนวนร้อยละ ๔๐ ของการพัฒนา แอพพลิเคชัน่ ใหม่ ๆ จะเกีย่ วข้องกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้าน AI ท�ำให้การน�ำ AI ไปใช้งานจริงนั้นจะมีความ แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเริ่มมีมาให้เห็น อย่างเช่น “Insights” เป็นหนึง่ ในความสามารถใหม่ของ Excel 2019 กล่าวคือ “Insights” เป็น AI แบบหนึ่งที่จะมา แนะน�ำให้วา่ ข้อมูลตารางหรือฐานข้อมูลนีค้ วรน�ำเสนอ ด้วยกราฟแบบใด ซึ่งจะแสดงตัวอย่างให้เห็นก่อนว่า พอใช้กราฟนั้นแล้วหน้าตาจะเป็นอย่างไร ประกอบ กับการเริ่มน�ำ AI ไปใช้เพื่อให้ท�ำงานแทนในสิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์เคยต้องท�ำด้วยตัวเองมีมากขึ้น เปลี่ยนจาก การท�ำงานตามล�ำดับของโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ AI แทน ที่เรียกว่า “สิ่งที่เป็นอิสระ” (Autonomous Things) ด้วย Gartner เชื่อแนวโน้มนี้ เป็นเรื่องที่เห็น ได้ ชั ด เจน โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง รถยนต์ ไร้ ค นขั บ (Autonomous Vehicles) ได้รับการสนับสนุน

35


36

อย่างมากในการพัฒนาหลายปีทผี่ า่ นมาจนถึงปัจจุบนั ในความเป็นจริงมีการแข่งขันระหว่างผูผ้ ลิตต่าง ๆ เพือ่ พัฒนา สิ่งที่เป็นอิสระ ในทุกรูปแบบระหว่างบริษัท ขนาดใหญ่หลายแห่ง และบริษทั ขนาดเล็กทีไ่ ด้รบั การ สนับสนุน ในเวลาอีก ๕ ปีข้างหน้า สิง่ ทีเ่ ป็นอิสระ อาทิ เช่น รถยนต์ไร้คนขับ หุ่นยนต์ และโดรน (Drones) นั้น จะถูกเปิดใช้งาน ด้วยเทคโนโลยีที่หลากหลายอย่าง IoT (Internet of Things), AI และ ML ซึ่งยังไม่มีข้อมูลว่ากี่เปอร์เซ็นต์ ของ รถยนต์ไร้คนขับ หุ่นยนต์ และโดรน จะท�ำงาน เป็นแบบอิสระบางส่วนหรือเป็นแบบอิสระทัง้ หมด แต่ ที่แน่ ๆ คือ การเชื่อมต่อของอุปกรณ์ที่ท�ำได้อย่าง อัตโนมัตจิ ะเป็นส่วนส�ำคัญในการเปิดตัวของ สิง่ ทีเ่ ป็น อิสระ เช่น โดรนบินส�ำรวจในฟาร์มแล้วพบว่าพืชผล ในไร่นนั้ พร้อมทีจ่ ะเก็บเกีย่ วแล้ว โดรนก็จะส่งสัญญาณ ไปยังรถเก็บเกีย่ ว ให้ทำ� งานได้เองโดยอัตโนมัติ ซึง่ ก็มี ความเป็นไปได้มากขึน้ ทีส่ ำ� คัญ AI ถูกน�ำไปใช้รว่ มกับ แนวโน้มทางเทคโนโลยี ICT อย่างแฝดดิจทิ ลั (Digital

Twins) อันน�ำมาซึง่ การสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้แก่ธรุ กิจ และองค์กร อาทิ บริษทั อย่าง General Electric (GE) ที่ได้เล็งเห็นโอกาสในการใช้ประโยชน์จาก ข้อมูล ทีม่ ี อยูอ่ ย่างมาก มาสร้างบริการในแบบใหม่โดยใช้แนวคิด ในเรื่อง Digital Twins กล่าวได้คือ GE จะเข้าไปใน โรงงานของลู ก ค้ า ที่ มี ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ข องตั ว เอง เช่ น คอมเพรสเซอร์ (Compressor) แล้วน�ำข้อมูลจาก เซ็นเซอร์ ทุกตัวขึ้นไปบน ระบบของ GE ที่สามารถ สร้าง ภาพเสมือนจริงของโรงงานนัน้ ได้ บนคอมพิวเตอร์


ข่าวทหารอากาศ

หรือที่เรียกว่า แฝดดิจิทัล (Digital Twins) ซึ่งเป็น ภาพเสมือนจริงของโรงงาน(Simulation) จากข้อมูล เซ็นเซอร์ ท�ำให้เห็นการท�ำงานของเครื่องจักรแบบ Real-Time ราวกับเห็นเครื่องจักรจริง ๆ ในโรงงาน เมือ่ เห็น GE ก็สามารถน�ำ ข้อมูล กลับไปวิเคราะห์โดย ใช้ AI (ปัญญาประดิษฐ์) ดูว่ามีตรงไหนที่จะท�ำให้ เครื่องจักรนั้นสามารถท�ำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วก็นำ� เสนอให้แก่ผคู้ วบคุมงานไปแก้ไขและปรับปรุง ถื อ เป็ น การให้ บ ริ ก ารในรู ป แบบใหม่ ข องวงการ อุตสาหกรรมที่คนหนึ่งเป็น กายภาพ (Physical) คือ เครื่องจักรที่ท�ำงานจริง ๆ ในโรงงาน อีกคนหนึ่งเป็น ดิจทิ ลั (Digital) มีหน้าทีใ่ นการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และแนะน�ำผูใ้ ช้วา่ ควรจะใช้สว่ นกายภาพ (Physical) อย่างไรให้เกิดประโยชน์สงู สุด ในมุมมอง Digital Twins นั้นไม่ได้จ�ำกัดอยู่แค่ใน โรงงาน เท่านั้น สามารถที่จะ น�ำไปใช้กับ บ้านหรือส�ำนักงาน (Home & Office) ที่ให้ข้อเสนอเจ้าของเพื่อการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องการบริหารจัดการพลังงาน เปิด - ปิด เครื่อง ปรับอากาศ แสงไฟ เรื่องความปลอดภัยในการดูแล รอบ ๆ บ้านและส�ำนักงาน ในอนาคตจะได้เห็น โรงพยาบาลทีม่ ี Digital Twins ท�ำงานร่วมกับ คุณหมอ พยาบาล และคนไข้ ในภาพรวม แฝดดิจทิ ลั ทีม่ กี ารน�ำ

ข้อมูลจากอุปกรณ์ หรือระบบบนโลกจริง ๆ ไปน�ำ เสนอแบบครบถ้วนทุกมิติบนโลกดิจิทัลนั้น จะได้รับ ความนิยมทีม่ ากขึน้ และ Gartner ท�ำนายไว้วา่ ภายใน ปี ค.ศ.๒๐๒๐ อุปกรณ์หรือระบบบนโลกกว่า ๒๐,๐๐๐ ล้านชิ้นทั่วโลก จะมีตัวตนในแบบ Digital Twins ซึง่ ผูบ้ ริหารระดับสูง (CIO) ควรให้ความสนใจในความ ก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ให้ความส�ำคัญกับ Security Culture คุณ Tom Loftus เป็นนักข่าวจาก Wall Street Journal ทีเ่ ข้าร่วมงาน Gartner Symposium/ ITxpo 2019 ได้เสนอว่า ตัวอักษร C ใน CIO (Chief Information Officer) ควรไหมที่จะใช้แทนด้วยค�ำ Culture (วัฒนธรรม) ด้วยผู้บรรยาย Gartner หลายคนนัน้ ได้กล่าวสนับสนุนในการสร้างวัฒนธรรม การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กร (Cyber Security Culture หรือที่นิยมเรียกว่า Security Culture) ในฐานะเป็นตัวขับเคลื่อนที่ส�ำคัญส�ำหรับ การสร้างนวัตกรรมและความส�ำเร็จขององค์กรจริง ๆ ก็ เ ป็ น เช่ น นั้ น ในงาน Gartner Symposium/ ITxpo 2019 ค�ำกล่าวที่อ้างถึงวัฒนธรรมการรักษา ความปลอดภัย (Security Culture) ที่ดึงดูดความ

37


38

สนใจจากผู้บริหารระดับสูงมากสุดก็คือ ภัยคุกคาม ทีย่ งิ่ ใหญ่ทสี่ ดุ ต่อความส�ำเร็จขององค์กรคือ การเมือง ภายในที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมการรักษาความปลอดภัย ขององค์กร ทีไ่ ม่ยอมรับการปรับตัวตามการเปลีย่ นแปลง หรือไม่ยอมรับความคิดจากภายนอกองค์กรอันน�ำมา สู่วัฒนธรรมการรักษาความปลอดภัยขององค์กรที่ อ่อนแอ ซึ่งเป้าหมายหลักของวัฒนธรรมการรักษา ความปลอดภัยขององค์กรนั้นก็คือ การน�ำมาใช้ตาม การเปลี่ยนแปลงและการจัดหามาจากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีความเข้าใจร่วมกันอย่างชัดเจนในผลลัพธ์ ที่สามารถน�ำมาใช้ได้ หากทุกคนนั้นได้ปฏิบัติตาม แนวทางที่ดีที่สุด (Best Practices) ในมุมมองคงต้อง ยอมรับว่าการปฏิบตั ดิ า้ นความปลอดภัยทีด่ นี นั้ จะส่งผล ที่ดีต่อองค์กรเช่นกัน ซึ่งผู้บรรยาย Gartner ได้ลง ความเห็นว่า ความส�ำเร็จขององค์กรในการสร้าง วัฒนธรรมการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์นั้นจะอยู่ ตรงทีก่ ารท�ำให้ทมี งานและพนักงานเข้าใจว่า การรักษา ความปลอดภัยเป็นความรับผิดชอบของทุกคน ไม่เป็น เพียงแค่ความรับผิดชอบของทีมไอทีเท่านั้น ที่ส�ำคัญ ผู้บริหารระดับสูง (CIO) ขององค์กร จ�ำเป็นที่จะต้อง ฝึกอบรมพวกเขาให้มีความตระหนักรู้ถึงภัยคุกคาม ต่าง ๆ บนโลกไซเบอร์ พร้อมทัง้ มีมาตรการต่าง ๆ เพือ่ ปกป้องพวกเขา หากพวกเขาได้ทำ� ผิดพลาด เพือ่ ไม่ให้ ทีมงานและพนักงานรู้สึกกดดันที่จะเป็นด่านสุดท้าย ของการป้องกันทางไซเบอร์ ทีอ่ าจต้องเผชิญในบทบาท ของตน

ข้อคิดที่ฝากไว้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร (ICT) ถือเป็นปัจจัยทีส่ ำ� คัญในการขับเคลือ่ นธุรกิจและองค์กร ต่าง ๆ การติดตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ด้าน ICT ในแต่ละปีนั้น จึงเป็นเรื่องที่ส�ำคัญ ทุกสิ้นปี บริษัทวิจัยระดับโลกอย่าง Gartner ได้ออกรายงาน เพื่อระบุถึงแนวโน้มของเทคโนโลยีอันก่อก�ำเนิด (Emerging Technology) ที่จะมีผลกระทบต่อการ เปลีย่ นแปลงขององค์กรและทางธุรกิจในปีถดั ไป เพือ่ ให้ผู้บริหารระดับสูงอย่าง CIO (Chief Information Officer) สามารถน�ำเทคโนโลยีดังกล่าวไปปรับใช้ ภายในองค์กรและในทางธุรกิจให้ถูกทาง ทันเวลา เพราะ การพลิกโฉมของโลก Digital นั้นมาเร็วกว่า ที่คุณคิด


ข่าวทหารอากาศ

(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

วิ ศ วกรรมภู ม อ ิ ากาศ สงครามแห่งอนาคต ทีย่ ากต่อการตรวจการณ์ ๒ ร.อ.นรพงษ์ เอกหาญกมล

น�้ ำ แข็ ง แห้ ง คื อ สารประกอบของ คาร์บอนไดออกไซด์ในสภาวะของแข็ง โดยการน�ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านกระบวนการอัดเพิ่ม ความดัน และท�ำให้เย็นตัวลงจนได้สถานะของเหลว แล้วท�ำการพ่นละอองเหลวสูค่ วามดันของบรรยากาศ โมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์จะชนกันเอง และ ถ่ายเทพลังงานให้แก่กัน โมเลกุลที่สูญเสียพลังงาน จะเปลีย่ นสถานะกลายเป็นผลึกของแข็งคล้ายกับเกล็ด ของหิมะ ซึ่งมีอุณหภูมิเย็นจัดถึง –๗๙ องศาเซลเซียส และน�ำมาอัดขึ้นรูปเป็นก้อนน�้ำแข็งแห้งตามความ ต้องการใช้งาน กลไกในการท�ำงานน�้ำแข็งแห้งจะท�ำ หน้าทีด่ ดู กลืนความร้อนในชัน้ บรรยากาศให้มอี ณ ุ หภูมิ ต�ำ่ ลงจนไอน�ำ้ เกิดการกลัน่ ตัวเปลีย่ นสถานะกลายเป็น ของเหลวละอองน�ำ้ ขนาดเล็ก และรวมตัวกันจนกลาย เป็นหยดน�ำ้ ฝน ค่าความชืน้ สัมพัทธ์เพิม่ สูงขึน้ ฐานเมฆ ลดระดับต�่ำลง ส่งผลให้ได้ปริมาณฝนที่ตกหนาแน่น มากขึ้น สารซิลเวอร์ไอโอไดด์ เป็นสารประกอบของ ธาตุเงินและไอโอดีน มีโครงสร้างผลึกแบบหกเหลี่ยม (Hexagonal) ซึ่งใกล้เคียงกับโครงสร้างผลึกของ น�้ำแข็งในธรรมชาติ ท�ำหน้าที่เป็นแกนกลางให้ไอน�้ำ เย็นยิ่งยวด (Super cooled vapour) มาเกาะ ล้อมรอบกลายเป็นผลึกน�้ำแข็งที่มีขนาดใหญ่ และ น�ำ้ หนักมากขึน้ เรือ่ ย ๆ จนตกลงมาละลายกลายเป็น หยดน�้ำฝนที่เมฆชั้นล่าง และยังคงท�ำให้ละอองน�้ำ บริเวณรอบ ๆ รวมตัวกันจนกลายเป็นหยดน�้ำฝน ขนาดใหญ่ตกลงถึงพื้นดิน

โครงสร้างผลึกสารซิลเวอร์ไอโอไดด์แบบหกเหลีย่ ม (Hexagonal) ซึ่งใกล้เคียงกับโครงสร้างผลึก ของน�้ำแข็งในธรรมชาติ (ที่มา:https://en.wikipedia.org/wiki/Silver_iodide)

ในประเทศไทย จุ ด เริ่ ม ต้ น ของการ ดัดแปรสภาพอากาศเพื่อเหนี่ยวน�ำให้สามารถใช้ ประโยชน์จากน�้ำในชั้นบรรยากาศ ถือก�ำเนิดขึ้นเมื่อ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๘ จากพระราชด�ำริส่วนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อคราวเสด็จพระราชด�ำเนินเยี่ยม พสกนิกรในพืน้ ทีภ่ าคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันจันทร์ ที่ ๑๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๘ เสด็จ พระราชด�ำเนินจากจังหวัดนครพนมไปจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยพระราชทานบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับฝนหลวง แก่ข้าราชการส�ำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อ ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ (กปร.)เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๙ ณ พระต�ำหนัก จิตรลดารโหฐาน ดังนี้

39


40

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงบัญชาการการปฏิบตั กิ ารท�ำฝนด้วยพระองค์เอง (ทีม่ า: http://www.moac.go.th/main.php?filename=project01)

“...เรื่องฝนเทียมนี้เริ่มตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๘ แต่ยังไม่ได้ท�ำอะไรมากมาย เพราะว่าไป ภาคอีสานตอนนั้นหน้าแล้ง เดือนพฤศจิกายนที่ไปมี เมฆมาก อีสานก็แล้ง ก็เลยมีความคิด ๒ อย่าง ต้องท�ำ Check dam ตอนนั้นเกิดความคิดจากนครพนม ผ่านสกลนครข้ามไปกาฬสินธุ์ลงไปสหัสขันธ์ที่เดี๋ยวนี้ เป็นอ�ำเภอสมเด็จ ไปจอดทีน่ นั่ ไปเยีย่ มราษฎรมันแล้ง มีฝุ่น แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ท�ำไมมีเมฆอย่างนี้ ท�ำไงจะดึงเมฆนี่ให้ลงมาได้ ก็เคยได้ยินเรื่องท�ำฝน ก็ ม าปรารภกั บ คุ ณ เทพฤทธิ์ ฝนท� ำ ได้ มี ห นั ง สื อ เคยอ่านหนังสือท�ำได้...” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงศึกษาค้นคว้าข้อมูลทาง ด้านวิชาการ รวมระยะเวลา ๑๔ ปี และพระราชทาน แนวคิดและวิธกี ารในการทดลองปฏิบตั กิ ารท�ำฝนให้แก่ หม่อมราชวงศ์ เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการ ประดิษฐ์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำ� เนินการ ทดลองท�ำฝนจากภาคอากาศจริงเป็นครั้งแรกในปี พุทธศักราช ๒๕๑๒ และคณะ จนท.ด�ำเนินโครงการได้ พัฒนาปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติการท�ำฝนภายใต้ พระราชวินจิ ฉัยอย่างใกล้ชดิ และทรงมีพระบรมราโชบาย ถึงกลยุทธ์การพัฒนาโครงการพระราชด�ำริฝนหลวง ดังนี้ ๑. ทรงเน้นถึงความจ�ำเป็นในด้านพัฒนาการ และการด�ำเนินการปรับปรุงวิธีการท�ำฝนในแนวทาง ของการออกแบบปฏิ บั ติ ก าร การติ ด ตามและ

การประเมินผลที่มีลักษณะเป็นกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น ตลอดจนความเป็นไปได้ ในการใช้ประโยชน์ของเครือ่ งคอมพิวเตอร์ เพือ่ ศึกษา รูปแบบของเมฆและการปฏิบัติการท�ำฝนให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ๒. ทรงย�ำ้ ถึงบทบาทของการดัดแปรสภาพ อากาศหรือการท�ำฝนว่าเป็นองค์ประกอบทีส่ ำ� คัญอัน หนึ่งในกระบวนการจัดการทรัพยากรแหล่งน�้ำ เช่น การเพิ่มปริมาณน�้ำให้แก่แหล่งเก็บกักน�้ำต่าง ๆ การบรรเทาปัญหามลภาวะและการเพิ่มปริมาณน�้ำ เพื่อสาธารณูปโภค เป็นต้น ๓. ทรงเน้นว่า ความร่วมมือประสานงาน อย่ า งเต็ ม ที่ ร ะหว่ า งหน่ ว ยงานและส่ ว นราชการ ทีเ่ กีย่ วข้องเท่านัน้ ทีเ่ ป็นกุญแจส�ำคัญในอันทีจ่ ะท�ำให้ บรรลุ ผ ลตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องโครงการได้ ดุ จ สิ่งมหัศจรรย์ เพาะเมฆและบังคับเมฆให้เกิดฝน กระทัง่ วันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานภาพต�ำราฝนหลวงแสดง ขั้นตอนกรรมวิธีดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน จากเมฆอุ่นและเมฆเย็นรวม ๖ ขั้นตอน พระราชทาน แก่นักวิชาการฝนหลวงเพื่อถือปฏิบัติเป็นแนวทาง เดียวกัน ดังนี้ กรรมวิธดี ดั แปรสภาพอากาศเพือ่ ให้เกิดฝน จากเมฆอุน่ ซึง่ อุณหภูมขิ องเมฆสูงกว่า ๐ องศาเซลเซียส สามารถแบ่งเป็น ๓ ขั้นตอน ได้แก่


ข่าวทหารอากาศ

๑. การก่อกวน เริ่มต้นโดยการโปรยผงสาร ฝนหลวงที่ ดู ด ซั บ ความชื้ น แล้ ว ดู ด ความร้ อ นให้ บรรยากาศมี อุ ณ หภู มิ ล ดต�่ ำ ลง (Endothermic process) เช่น โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ที่ระดับฐาน เมฆและทิศทางเหนือลมของพืน้ ทีเ่ ป้าหมายเพือ่ ก่อกวน สมดุลหรือเสถียรภาพของบรรยากาศและกระตุ้นให้ เกิดเมฆเร็วขึ้นกว่ากระบวนการตามธรรมชาติ

ละอองน�ำ้ เกิดการก่อตัวทัง้ ฐานเมฆและยอดเมฆ ๓. โจมตี โดยการโปรยสารฝนหลวงทีท่ ำ� ให้ อุ ณ หภู มิ ข องชั้ น บรรยากาศลงต�่ ำ ลง เช่ น ยู เรี ย (CO(NH2)2) บริเวณฐานเมฆควบคูก่ บั โซเดียมคลอไรด์ บริเวณยอดเมฆ ซึง่ เรียกว่าเทคนิคการโจมตีแบบแซนวิช หรือใช้น�้ำแข็งแห้ง (CO2) บริเวณฐานเมฆเพื่อบังคับ เมฆให้หนาแน่นลอยต�่ำและเกิดเป็นฝน

๒. เลีย้ งให้อว้ น โดยการโปรยผงสารฝนหลวง ที่ดูดซับความชื้นแล้วคายความร้อนให้บรรยากาศ มีอณ ุ หภูมสิ งู ขึน้ (Exothermic process) เช่น แคลเซียม คลอไรด์ (CaCl2) หรือแคลเซียมออกไซด์ (CaO) ทีบ่ ริเวณ ฐานเมฆเพือ่ กระตุน้ ให้เมฆมีความหนาแน่นมากขึน้ จาก การเร่งการกลั่นตัวของไอน�้ำและการรวมตัวกันของ

กรรมวิธดี ดั แปรสภาพอากาศเพือ่ ให้เกิดฝน จากเมฆเย็น ใช้เมือ่ เมฆเกิดการพัฒนาตัวจนมียอดเมฆ สูงขึ้นถึง ๒๐,๐๐๐ ฟุต และมีพฤติกรรมของเมฆเย็น เกิดขึ้น กล่าวคือ อุณหภูมิของเมฆต�่ำกว่า ๐ องศา เซลเซียส โดยการโปรยสารฝนหลวงที่ท�ำหน้าที่เป็น แกนให้ผลึกน�ำ้ แข็งในก้อนเมฆเกาะรวมตัว เช่น ซิลเวอร์

41


42

ไอโอไดด์ (AgI) ซึง่ เป็นสารทีต่ า่ งประเทศนิยมใช้ในการ ดัดแปรสภาพอากาศ และหากปรากฏลักษณะของ เมฆอุน่ พร้อมกับเมฆเย็น จะสามารถปรับวิธกี ารโจมตี เมฆโดยใช้เครื่องบิน จ�ำนวน ๓ เครื่อง ได้แก่ เครื่อง บินระดับยอดเมฆจะท�ำการโปรยสารซิลเวอร์ไอโอไดด์ (AgI) เครื่องบินท�ำการบินระดับไหล่เมฆโปรยสาร โซเดียมคลอไรด์ และเครือ่ งบินท�ำการบินระดับฐานเมฆ โปรยสารยูเรีย ควบคู่กันไป เรียกว่า การโจมตีแบบ ซุปเปอร์แซนวิช ต�ำราฝนหลวงพระราชทาน ในการนีก้ องทัพอากาศโดยศูนย์วจิ ยั พัฒนา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพ อากาศได้พัฒนาเทคนิคการกระจายอนุภาคสาร ฝนหลวงเมฆอุน่ โดยใช้คณ ุ สมบัตขิ องการเผาไหม้ของ ไพโรเทคนิคทีใ่ ห้สารฝนหลวงอนุภาคขนาดเล็กไม่เกิน ๗ ไมโครเมตรและมีความเหมาะสมกับการใช้งาน ในลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทย คือพลุสารดูด ความชื้น จ�ำนวน ๒ สูตร ได้แก่ สูตรโซเดียมคลอไรด์ (สู ต รแกนกลั่ น ตั ว ) และสู ต รแคลเซี ย มคลอไรด์ (สูตรร้อน) ติดตั้งกับเครื่องบินโจมตีธุรการแบบที่ ๒ เพื่ อ เสริ ม การปฏิ บั ติ ก ารฝนหลวงเมฆอุ ่ น ให้ มี ประสิทธิภาพท�ำฝนมากยิง่ ขึน้ และพลุซลิ เวอร์ไอโอไดด์ ติดตั้งใช้งานกับเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๗ (Alpha Jet) ของกองทัพอากาศและเครื่องบิน Super King Air ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ในการปฏิบตั กิ าร ท�ำฝนเมฆเย็น และการยับยั้งการเกิดลูกเห็บ

การปฏิบัติการฝนหลวงของประเทศไทย ถือเป็นวิศวกรรมภูมอิ ากาศในการดัดแปรสภาพอากาศ ในเชิ ง สร้ า งสรรค์ ก่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ ม ากมาย หลายประการ นอกเหนือจากการบรรเทาภัยแล้ง แล้วยังสามารถช่วยในการรักษาระบบนิเวศทาง แหล่งน�ำ้ และสมดุลของน�ำ้ จืดในแผ่นดิน โดยการช่วย สร้างปริมาณน�ำ้ จืดเก็บสะสมไว้ในแผ่นดินและผลักดัน ไม่ให้นำ�้ เค็มจากทะเลอ่าวไทยหนุนรุกล�ำ้ เข้าไปในแม่นำ�้ สายหลักได้แก่ แม่น�้ำเจ้าพระยา แม่น�้ำท่าจีน แม่น�้ำ บางปะกง และแม่น�้ำแม่กลอง ในช่วงเดือนมกราคม ถึงพฤษภาคม ซึง่ การปฏิบตั กิ ารฝนหลวงได้เคยช่วยเหลือ ผลักดันไล่น้�ำเค็มรุกล�้ำเข้าถึงพื้นที่จังหวัดพระนคร ศรีอยุธยาให้ออกจากแม่นำ�้ เจ้าพระยา ตลอดจนพืน้ ที่ จังหวัดปราจีนบุรี ท�ำการผลักดันให้น�้ำเค็มไหลกลับ อ่าวไทยทางแม่น�้ำบางปะกง ซึ่งเป็นการช่วยเหลือ เกษตรกรผู ้ ท� ำ การเพาะปลู ก พื ช ทางการเกษตร และป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายในเชิงเศรษฐกิจ

อ้างอิง กรมฝนหลวงและการบินเกษตร. การท�ำฝนจากเมฆอุ่น.[ออนไลน์]. ได้จากhttp://www.royalrain.go.th/royalrain/p/warmcloudrainmaking มูลนิธิชัยพัฒนา. ทฤษฎีการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน�้ำในบรรยากาศ “ฝนหลวง”.[ออนไลน์]. ได้จาก:http://www.chaipat.or.th/site_content/ category/65--qq6.html[


ข่าวทหารอากาศ

อยู่ท.ี่ (จะ).เรียนรู้ พฤติ ก รรมในชี วิ ต ประจ� ำ วั น ของมนุ ษ ย์ ส่วนใหญ่เกิดจากการเรียนรูใ้ นประสบการณ์ตา่ ง ๆ ทีผ่ า่ น เข้ามาในชีวติ เช่น เราเรียนรูท้ จี่ ะตืน่ นอนเมือ่ พระอาทิตย์ขนึ้ เรียนรูท้ จี่ ะสือ่ สารด้วยภาษาในสังคม เรียนรูท้ จี่ ะอดทน เมื่อเจอความยากล�ำบาก โดยทั่วไป คนส่วนใหญ่มัก คิดว่าความสามารถในการเรียนรูข้ นึ้ อยูก่ บั ความเฉลียว ฉลาด ความตั้งใจ แท้จริงแล้ว การเรียนรู้มีหลายแบบ หลายอย่าง และเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอยู่ตลอด เวลา ตลอดช่วงชีวิต แม้ว่าบุคคลจะตั้งใจ หรือไม่ได้ ตัง้ ใจทีจ่ ะลงทะเบียนเรียนก็ตาม ขีดความสามารถของ มนุษย์มีความยิ่งใหญ่และซับซ้อนท�ำให้มนุษย์มีความ สามารถในการเรียนรูท้ จี่ ะปรับตัวอยูต่ ลอดเวลา เพียง แต่จะท�ำได้มากหรือน้อย หรือจะแสดงออกมาเป็น พฤติกรรมทีส่ งั เกตได้ แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม และต้นทุนชีวิตของแต่ละบุคคล

Psy Cap

มี ผู ้ ใ ห้ ค วามหมายของการเรี ย นรู ้ ไ ว้ หลากหลาย โดยทีน่ ยิ มใช้ในทางจิตวิทยาคือ การเรียน รู้ (Learning) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้าง ถาวรของพฤติกรรมทีเ่ ป็นผลมาจากประสบการณ์หรือ การฝึกหัดไม่รวมถึงพฤติกรรมที่เกิดจากวุฒิภาวะ (Maturation) ตามพัฒนาการ เช่น การนั่ง ยืน เดิน หรือสภาวการณ์บางอย่าง เช่น การอ่อนล้าหรือการได้รับ สารเคมีบางชนิดถ้าจากนิยามดังกล่าว การเรียนรู้ ย่อม ไม่ได้เกิดขึน้ ได้เองตามกาลเวลา อย่างทีเ่ รามักจะได้ยนิ ว่า “เดี๋ยวโตขึ้นก็จะรู้ได้เอง” เพราะหากบุคคลนั้นไม่ เคยมีประสบการณ์หรือได้รับการสอน การฝึกหัดมา ก่อน การที่เขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ก็ไม่ได้เป็นเครื่อง การันตีวา่ เขาจะเรียนรูใ้ นเรือ่ งต่าง ๆ เหมือนกันทุกคน ยกตัวอย่าง การอดทน เพราะเหตุใดบางคนถึงรูจ้ กั ทีจ่ ะ อดทนเพื่อตนเอง คนอื่นหรือส่วนรวมได้ ในขณะที่

43


44

บางคนก็จะนึกถึงแต่ความต้องการของตนเองเป็นทีต่ งั้ เหตุ ผ ลก็ คื อ ถ้ า บุ ค คลนั้ น ไม่ เ คยมี ป ระสบการณ์ หรื อ ถู ก ฝึ ก ฝนมาก่ อ นย่ อ มเรี ย นรู ้ เรื่ อ งการอดทน ยังไม่ได้เป็นเรื่องธรรมดา กฎพืน้ ฐานของการเรียนรู้ นิสยั ก็เป็นส่วนหนึง่ ของผลการเรียนรู้พื้นฐานของมนุษย์ ที่ท�ำให้คนเรา แสดงพฤติกรรมตอบสนองในลักษณะคล้ายแบบเดิม ซ�้ำ ๆ เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมเดิม ท�ำให้มีการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับพฤติกรรมของมนุษย์เกิดเป็น ความเคยชินทีจ่ ะตอบสนองโดยอัตโนมัติ ซึง่ การเข้าใจ นิสัย หรือการเรียนรู้ของบุคคลต้องศึกษาเกี่ยวกับ กฎต่าง ๆ ของการเรียนรู้เป็นเบื้องต้นก่อน เอ็ดเวิร์ด ลี ธอร์นไดค์ (Edward Lee Thorndike) ได้สร้าง ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theory) หรือทีร่ จู้ กั ในชือ่ ทฤษฎีการเรียนรูแ้ บบลองผิดลองถูก (Trial and Error Learning) กล่าวว่าหลักของการ เรียนรู้ โดยเฉพาะเมื่อบุคคลต้องเผชิญกับปัญหา ที่ไม่เคยเจอมาก่อน บุคคลมักใช้การแก้ปัญหาแบบ

ลองผิดลองถูก (Trial and Error) และการเสริมแรง เป็นกุญแจส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดการเรียนรู้ โดยเฉพาะ การเสริมแรงทันทีที่ได้กระท�ำพฤติกรรม จะท�ำให้การ เรี ย นรู ้ นั้ น มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง สุ ด ยกตั ว อย่ า งเช่ น ถ้าบุคคลปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายได้ส�ำเร็จ ลุล่วงไปด้วยดี หากผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าให้ การเสริมแรงหรือรางวัลโดยการชื่นชมทันทีที่ท�ำงาน ส�ำเร็จ ย่อมท�ำให้บุคคลเรียนรูว้ า่ การท�ำงานให้สำ� เร็จ เป็นพฤติกรรมทีเ่ หมาะสม ชัดเจนกว่าการรอที่จะให้


ข่าวทหารอากาศ

การเสริมแรงในภายหลังตามวงรอบของการท�ำงาน ซึ่งบุคคลอาจจะไม่สามารถเชื่อมโยงได้ชัดเจนว่า พฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้บังคับ บัญชาหรือหัวหน้า เนื่องจากในแต่ละวัน หรือสัปดาห์ มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เป็นต้น ดังนั้น นักจิตวิทยาทางด้านพฤติกรรมนิยมจึงได้มีการสรุป เกี่ยวกับกฎแห่งการเรียนรู้ไว้ ๓ กฎ ด้วยกัน ดังนี้ กฎที่ ๑ กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) หมายถึง บุคคลจะเกิดการเรียนรู้ การปรับเปลี่ยนนิสัยหรือพฤติกรรมได้ดีและเร็วขึ้น เมื่อเขามีความพร้อมที่จะเรียน ความพร้อมในที่นี้ หมายถึงตัง้ แต่ความพร้อมทางร่างกาย การไม่งว่ ง ไม่หวิ ไม่เจ็บป่วย รวมถึงความพร้อมทางด้านอารมณ์และ จิตใจด้วย กล่าวได้ว่า บุคคลที่มีความพร้อมมากกว่า จะมีโอกาสเรียนรูไ้ ด้ดแี ละรวดเร็วกว่าบุคคลทีร่ า่ งกาย อยู่ในสภาวะอ่อนล้า ง่วง หิว ไม่สบายกาย อารมณ์ไม่ดี เศร้า เสียขวัญ หมดก�ำลังใจ เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันสถานศึกษาต่าง ๆ พยายามที่จะจัดเตรียม สภาพแวดล้อมให้มีความพร้อมทางด้านกายภาพ เช่น การจัดแสงไฟโต๊ะ เก้าอี้ เครื่องปรับอากาศให้มีความ เหมาะสมมากที่สุด การจัดมุมพักผ่อนหย่อนใจใกล้ ๆ เพื่อจะช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ได้ อย่างเต็มที่ กฎที่ ๒ กฎแห่งผล (Law of Effects) หมายถึง ผลของพฤติกรรม จะเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อ การแสดงพฤติกรรมในครัง้ ต่อไป เช่น ถ้าผลทีไ่ ด้นำ� มา ซึง่ ความพึงพอใจ บุคคลก็มแี นวโน้มทีจ่ ะแสดงพฤติกรรม อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น เด็กชายเอกไป ช่วยพ่อแม่ท�ำงานบ้านแล้วได้รับการเสริมแรง เช่น รอยยิม้ การกอดหรือค�ำชมเชยทีแ่ สดงว่าพ่อแม่พงึ พอใจ กับการช่วยท�ำงานบ้าน ย่อมท�ำให้เด็กชายเอกเกิดการ เรียนรู้ว่า พฤติกรรมการช่วยเหลือพ่อแม่ท�ำงานบ้าน เป็นพฤติกรรมทีพ่ อ่ แม่ตอ้ งการ เด็กชายเอกก็ยอ่ มทีจ่ ะ ท�ำพฤติกรรมดังกล่าวต่อไป จนในทีส่ ดุ เกิดการเชือ่ มโยง ไปถึงผู้อื่น ท�ำให้เด็กชายเอกโตขึ้นเป็นบุคคลที่มีน�้ำใจ

ชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น กฎที่ ๓ กฎแห่งการฝึกปฏิบัติ (Law of Exercise) หมายถึง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคล ได้รบั การฝึกฝนเป็นประจ�ำ ซึง่ การทีจ่ ะกล่าวได้วา่ บุคคลใด เกิดการเรียนรูไ้ ด้นนั้ ย่อมไม่ได้วดั จากการกระท�ำสิง่ ใด สิ่งหนึ่งได้ส�ำเร็จเพียงครั้งเดียว แต่ต้องเกิดจากการ แก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวได้ถูกต้องซ�้ำ ๆ ต่างหาก ถึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ เป็นผูเ้ ชีย่ วชาญในเรือ่ งนัน้ ๆ โดยกฎในข้อนี้ยังแบ่งย่อยลงไปอีก ๒ กฎด้วยกัน โดยกฎแรก คือ กฎแห่งการใช้ (Law of Used) ซึง่ เป็น เรือ่ งธรรมดาทีเ่ ราจะเรียนรูไ้ ด้ดขี นึ้ เมือ่ มีการได้ใช้ทกั ษะ ที่เรียนรู้บ่อยครั้ง เช่น ทักษะการขับรถ ทักษะการใช้ ภาษา ทักษะการเข้าสังคม เป็นต้นและกฎทีส่ อง คือ กฎแห่งการไม่ใช้ (Law of Disused) เป็นกฎที่ตรงข้าม กับกฎแรก ทีก่ ล่าวคือ สิง่ ใดทีเ่ ราไม่คอ่ ยได้ใช้หรือปฏิบตั ิ พอนานเข้าก็จะเกิดการลืม ซึง่ ถือเป็นอุปสรรคทีส่ ำ� คัญ ของการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน

45


46

นอกจากนี้ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ก็มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ตัวผู้เรียน เนื้อหา ทีเ่ รียน วิธกี ารเรียนรู้ และสิง่ แวดล้อมรอบ ๆ ตัว เป็นต้น โดยมีปัจจัยส�ำคัญหลัก ๆ ดังต่อไปนี้ ปัจจัยด้านชีวภาพ (Biological Factors) ธรรมชาติของมนุษย์นนั้ ไม่สามารถหายใจใต้นำ�้ ได้ หรือ ปลาไม่อาจขับรถได้ เช่นเดียวกับสุนัขที่ไม่สามารถแก้ โจทย์ฟสิ กิ ส์ได้ ทีก่ ล่าวมานีแ้ สดงให้เห็นถึงข้อจ�ำกัดทาง ชีวภาพบางประการของสิง่ มีชวี ติ ต่อการแสดงพฤติกรรม และการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ดังนั้น ข้อจ�ำกัดทางชีวภาพ ทีม่ ีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ มีด้วยกัน ๒ ข้อ คือข้อที่ ๑ แรงขับของสัญชาตญาณ (Instinctive Drift) หมายถึง แนวโน้ ม ที่ ส่ิ ง มี ชี วิ ต จะกลั บ ไปมี พ ฤติ ก รรมตาม สัญชาตญาณเมือ่ ถูกรบกวนโดยการเรียนรูย้ กตัวอย่าง เช่น หากบุคคลมีการตกใจ เมือ่ เกิดเหตุการณ์ทไี่ ม่คาดฝัน ก็มักจะมีการตอบสนองตามสัญชาตญาณโดยการ วิง่ หนี เป็นต้น ดังนัน้ การฝึกฝนทหารใหม่ หรือนักเรียน ทหารจึงมักจะใช้วิธีการฝึกโดยการสร้างสถานการณ์ กดดันให้บุคคลดังกล่าวเรียนรู้ที่จะเข้าใจและควบคุม แรงขับของสัญชาตญาณของตนเอง รวมถึงพฤติกรรม ของผู ้ อื่ น ด้ ว ย ข้ อ ที่ ๒ ความพร้ อ มที่ จ ะเรี ย นรู ้ (Preparedness) ในที่นี้ เป็นความพร้อมทางชีวภาพ เช่น ระดับสติปัญญา วุฒิภาวะของผู้เรียน อายุของ ผู้เรียน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นต้นทุนชีวิตของแต่ละ บุคคล ที่จะเปลี่ยนแปลงค่อนข้างยาก หรือต้องอาศัย ระยะเวลาทีไ่ ม่เท่ากันในการเรียนรู้ เช่น บางคนมีความ สามารถทางสติปัญญาดีย่อมสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว ในขณะที่ อี ก คนต้ อ งทบทวนซ�้ ำ หลายครั้ง แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจในสิ่งที่ศึกษามากนัก หรือเป็นการยากที่จะสอนให้เด็กวัยอนุบาลเข้าใจ เรื่องของการตาย หรือความรักซึ่งเป็นนามธรรม ซับซ้อนเกินวุฒิภาวะของเด็กในวัยนั้น เป็นต้น ปัจจัยทางสังคม (Culture Factors) สิ่งมีชีวิตทุกชนิดสามารถเรียนรู้ได้ แต่บางครั้งเราก็ ไม่สามารถเรียนรูไ้ ด้หากไม่มปี ระสบการณ์ ซึง่ เป็นเรือ่ ง

เฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม เช่น เด็กต่างจังหวัด จะเรียนรู้ที่จะช่วยเหลืองานบ้าน ตั้งแต่อยู่ชั้นประถม ศึกษา ขณะทีเ่ ด็กวัยเดียวกันแต่อาศัยอยูใ่ นเมืองมักจะ เรียนรู้ที่จะเรียนเพียงอย่างเดียวหรือเราคงไม่สามารถ สือ่ สารด้วยภาษาต่างประเทศได้หากไม่เคยได้เรียนหรือ มีประสบการณ์ในต่างประเทศ เป็นต้น ปัจจัยทางจิตใจ (Psychological Factors) โดยเฉพาะความมุ่งมั่นตั้งใจ (Mindset) คือ ความเชื่อ ของบุคคลเกี่ยวกับความสามารถของตนเอง ที่ส่งผล ต่อพฤติกรรมตามเป้าหมาย เช่น หากเราเชือ่ ว่าสามารถ เรียนรูไ้ ด้ จะท�ำให้ตนเองมีความพยายามในการเรียนรู้ จนท�ำได้ ซึ่งความมุ่งมั่นตั้งใจนี้ มีอยู่ ๒ ประเภท คือ ประเภทแรกคือ ความตั้งใจที่ยึดติด (Fixed Mind) เป็นความเชือ่ มัน่ ในตนเอง ทีใ่ ห้ความส�ำคัญกับข้อจ�ำกัด และไม่สามารถเปลีย่ นแปลงความเชือ่ หรือความสามารถ ของตนเองได้ ท�ำให้บุคคลไม่กล้าที่จะลองท�ำ หรือ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ซึ่งในปัจจุบัน วิทยาการต่าง ๆ ล้วนมี การเปลีย่ นแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก แค่เพียงเรายืนอยู่ กับที่ ไม่หมั่นเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองก็อาจท�ำให้


ข่าวทหารอากาศ

ถูกทิ้งอยู่ข้างหลังได้ ประเภทที่สองคือ ความตั้งใจที่ ท�ำให้เกิดความเติบโต (Growth Mind) เป็นความเชือ่ มัน่ ในตนเองที่ว่า ตนสามารถเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงได้ หากมีความพยายามหรือความตั้งใจที่เพียงพอ บุคคล ที่มีความมุ่งมั่นที่จะเติบโต พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ย่อมมีโอกาสที่จะได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ปัจจัยทีเ่ กีย่ วกับวิธกี ารเรียนรู้ (Learning Method) เช่น การถ่ายทอดความรู้ รูปแบบของการ เรียนรู้ การได้รับรู้พัฒนาการหรือผลการเรียนของตน ตลอดจนการเสริมแรงที่มีความส�ำคัญและมีความ เหมาะสม ปัจจัยในเรือ่ งนี้ เป็นสิง่ ทีส่ ำ� คัญมากส�ำหรับผูท้ มี่ ี หน้าทีใ่ นการถ่ายทอดการเรียนรู้ โดยเฉพาะผูท้ เี่ ป็นครู อาจารย์ หรือพี่เลี้ยงที่ท�ำหน้าที่สอนงานผู้อื่น ในยุค ที่บุคคลสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ทั้งที่เป็น ข้อความเท็จ และข้อที่เป็นความจริง เป็นหน้าที่ ทีท่ า้ ทายส�ำหรับครูอาจารย์ในการทีจ่ ะถ่ายทอดความรู้ โดยใช้รูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อดึงดูดความ สนใจของผู้เรียน บางครั้งการใช้รูปแบบการสอนแบบ ดั้งเดิมที่เน้นการบรรยาย หรือการทดลองแค่เฉพาะ

ในบทเรียนอาจไม่สามารถดึงความสนใจของผู้เรียน ได้เพียงพอ ดังนั้น การเลือกรูปแบบของการเรียนรู้ ควรต้องมีการพิจารณาให้เหมาะสมกับความต้องการ ของผู้เรียน อาจมีการน�ำประโยชน์ของเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น โดย ต้องไม่ลืมการแจ้งผลกลับ (Feedback) ให้ผู้เรียนได้ รับรู้พัฒนาการความก้าวหน้า หรือจุดที่ต้องแก้ไข ปรับปรุงระหว่างทีเ่ รียนรู้ ซึง่ จะท�ำให้บคุ คลเรียนรู้ และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสมเร็วขึ้น มนุษย์ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้ ตลอดชีวิต ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแต่เฉพาะการเรียนรู้ ที่เป็นหลักสูตร ปริญญาบัตรต่าง ๆ เท่านั้น แต่รวมถึง การเรียนรูใ้ นสิง่ ต่าง ๆ ทีผ่ า่ นเข้ามาในชีวติ ของเรา การ เรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การเรียนรู้ที่จะอยู่ ร่วมกับผู้อื่นในสังคม หรือแม้กระทั่งการเรียนรู้ที่จะ เข้าใจในตนเอง โดยนักจิตวิทยากลุม่ พฤติกรรมนิยมให้ ความสนใจศึกษาเกีย่ วกับการเรียนรูโ้ ดยใช้วธิ กี ารสังเกต พฤติกรรม ได้แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น ๒ ประเภท คือ ประเภทแรก การเรียนรู้แบบเชื่อมโยง (Associative

47


48

Learning) เป็นประเภทของการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐาน หรือทีเ่ รียกว่า การวางเงือ่ นไข (Conditioning) เกิดจาก การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า หรือเหตุการณ์หลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน เกิดเป็นการเรียนรูแ้ ละตอบสนองเป็น พฤติกรรมตามทีไ่ ด้ถกู วางเงือ่ นไขขึน้ เช่น บุคคลทีเ่ คย ถูกสุนขั กัด มักจะรูส้ กึ กลัวสุนขั เมือ่ ภายหลังเกิดเหตุการณ์ เนือ่ งจากบุคคลเกิดการเชือ่ มโยงระหว่างสุนขั กับความ รูส้ กึ เจ็บทีถ่ กู กัด หรือการทีน่ กั เรียนท�ำข้อสอบได้คะแนน ดีก็จะได้รับค�ำชื่นชมและรางวัลเรียนดี นักเรียนก็จะ เชื่อมโยงพฤติกรรมตั้งใจเรียนเพื่อให้ท�ำข้อสอบได้ว่า เป็ น พฤติ ก รรมที่ เ หมาะสมเนื่ อ งจากได้ รั บ ค� ำ ชม หรือรางวัลดังกล่าว เป็นต้น แต่การที่นักเรียนจะเรียนรู้ ทีจ่ ะเชือ่ มโยงสิง่ เร้า (การเรียน) กับพฤติกรรมตัง้ ใจเรียน เพื่ อ ให้ ท� ำ ข้ อ สอบได้ (การตอบสนอง) นั้ น ต้ อ ง ขึ้นอยู่กับการเสริมแรง (ค�ำชม หรือรางวัล) ที่ต้องมี พลังเพียงพอทีจ่ ะท�ำให้เด็กเกิดการเรียนรูท้ จี่ ะตอบสนอง ตามเงือ่ นไข ดังนัน้ การเสริมแรงด้วยค�ำชมอาจใช้ไม่ได้ ผลกั บ ทุ ก คน ครู อ าจารย์ ผู ้ ส อนควรต้ อ งเลื อ กใช้ การเสริมแรงที่เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน เป็นต้น ประเภทที่สอง การเรียนรู้จากการสังเกต (Observational Learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น เมื่อบุคคลสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมจากผู้อื่น ถือว่าเป็นวิธีพื้นฐานที่มนุษย์ใช้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ความ แตกต่างระหว่างการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงกับการเรียน รูจ้ ากการสังเกต คือ การเรียนรูจ้ ากการสังเกต ให้ความ สนใจเกี่ยวกับกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในจิตใจด้วย กล่าวคือบุคคลต้องมีความสนใจ จ�ำได้ แล้วจึงแสดง พฤติกรรมตามตัวแบบออกมา การสังเกตหรือการมองนี้ ถือเป็นทักษะที่มนุษย์มีติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิดการ

เรียนรูป้ ระเภทนี้ เรามักจะถูกถ่ายทอดโดยไม่รตู้ วั ผ่าน ทางสื่อมวลชน บุคคลที่เป็นต้นแบบที่เราประทับใจ หรือบุคคลใกล้ชิด ท�ำให้มีพฤติกรรมท�ำตามตัวแบบ เกิดเป็นค่านิยม หรือแฟชัน่ ทีพ่ บเห็นได้ในสังคม เป็นต้น การด�ำเนินชีวิตในปัจจุบัน ทักษะการเรียนรู้ ตลอดชีวิต ถือเป็นทักษะที่ส�ำคัญในศตวรรษที่ ๒๑ ทีจ่ ำ� เป็นในเรือ่ งการเรียนรูท้ างด้านวิชาการ ทักษะการ คิดต่าง ๆ ตั้งแต่การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ ทักษะทางสังคมประกอบกับบุคคลในยุคนี้เริ่มมีการ เลือกที่จะเรียนรู้ และรับรู้เฉพาะในสิ่งที่ตนเองสนใจ มากขึ้น เนื่องจากความก้าวหน้าทางวิทยาการท�ำให้ องค์ความรูต้ า่ ง ๆ มีมากมาย แต่ถงึ อย่างไรก็ตาม มนุษย์ ก็ยังต้องมีการเรียนรู้ตลอดเวลาทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ผ่านกฎพืน้ ฐานของการเรียนรู้ ดังนัน้ หากบุคคลเข้าใจ และเลือกทีจ่ ะเรียนรู้ ย่อมต้องมีการเตรียมความพร้อม ให้กับตนเองในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ รวมทั้ง จะเลือกเรียนรู้ในสิ่งทีส่ ร้างผลอันเป็นทีน่ ่าพอใจให้กบั ตนเองมากที่สุด โดยใช้การฝึกปฏิบัติบ่อย ๆ การใช้ ทักษะดังกล่าวบ่อยครัง้ เพือ่ ให้เกิดการเรียนรูใ้ นเรือ่ งที่ ตนสนใจ เพียงเท่านี้ คุณจะสามารถเรียนรู้ได้เร็ว เพิ่มขึ้นแล้ว

อ้างอิง King, Laura A. The Science of Psychology: An Appreciative View. 4th ed. New York: McGraw-Hill Education, p 191. 2017. ธัญญภัสร์ ศิรธัชนราโรจน์. จิตวิทยากับการพัฒนาตน. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.หน้า ๑๔๐.๒๕๖๐ จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า ๑๐๖ - ๑๐๗. ๒๕๕๗ Nolen-Hoeksema, S., Fredrickson, Barbara L., Loftus, Geoffey R. & Lutz, Christel. Atkinson & Hilgard’s Introduction to Psychology, 16th ed. United Kingdom: RR Donnelley, p 226-256. 2016. บัลเลอร์, จิลเลียน. จิตวิทยา: ความรู้ฉบับพกพา. กรุงเทพมหานคร. โอเพ่นเวิลด์สพับลิซซิ่งเฮาส์, หน้า ๖๒ - ๖๔. ๒๕๔๗


ข่าวทหารอากาศ

เฉลย crossword

ประจ�ำเดื อน มกราคม CROSSWORD 1 ๒๕๖๒ 1S

L 9A 13 P

27G 36W

E 47 A T H 59 E R

I S

2R

D

E 10 A

A 14 Y 17W O W U 28 A T 29 H 32 T H E E 43 A 44 T L S O 52 S O 56U K A R E

3N

A P

4

P

R O A

E

15M

E 22H

E N 37 S

18O

R 38 I

N 48 C R E 57 S 60 I T S

19X

23 L 33

N

I

O O 62 V

E 11

S

R

A D 24 A I 30 T A T 39 C E O N 49 C 53C O U R 61 R D S

S D R 45M

อ.วารุณี

5E

A R

T H 34

S

E N

50 A

63 I

N

S 58 S

R

V

I

35H

40 E 51 L

I N E S

7

A 12 R

8M

20E

N

21 D

31 L

I

I D

41 A

42M

D

16 R

E 26

6E

F

E X

54

46H

S 55 T O W I A N

E T

E

49


50

ธรรมะ ประที ป การบ�ำรุงมารดาบิดา

กอศ.ยศ.ทอ.

มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ การบ�ำรุงมารดาบิดา สุวรรณสามชาดก ว่า เป็นมงคลอันสูงสุด มารดาบิดา เป็นผู้ให้ก�ำเนิดบุตร โย มาตรํ ปิตรํ มจฺโจ ธมฺเมน โปสติ และธิดา มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ อันบุตรและธิดาจะ อิเธว นํ ปสํสนฺติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ ท�ำการตอบแทนพระคุณท่านเท่าไรก็ไม่มีวันหมด พระพุทธเจ้าตรัสอุปมาไว้วา่ “ถ้าบุตรจะพึงวางมารดา “บุคคลใดเลีย้ งดูมารดาบิดาโดยชอบธรรม บิดาไว้บนบ่าทั้งสองข้าง ประคับประคองท่านอยู่บน บ่านั้น ป้อนข้าว ป้อนน�้ำ ให้ขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะ นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลนั้นในโลกนี้ บนบ่านั้น แม้บุตรจะปรนนิบัติท่านไปจนถึง ๑๐๐ ปี ผู้นั้นละจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงอยู่ในสวรรค์” การบ�ำรุงบิดามารดา มีวิธี ดังนี้ ก็ยังตอบแทนพระคุณท่านไม่หมด” มารดาบิดาทั้ง ๑. หมั่นบ�ำรุงเลี้ยงดูแลท่าน สองจึงได้สมญานามว่า ๒. จัดการงานให้เรียบร้อย เป็นพระพรหม เฝ้าอภิบาลรักษา ๓. คอยบริบาลวงศ์ตระกูล เป็นเทวดา คอยดูแล ๔. เพิ่มพูนความไว้วางใจ เป็นเพื่อนแท้ ของลูก ๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วท�ำบุญอุทิศ และเป็นครู คนแรก ให้ท่าน บุตร ธิดา ครัน้ ได้บำ� รุงมารดาบิดาฉะนีแ้ ล้ว การบ�ำรุงและเลีย้ งดูมารดาบิดา จึงเป็น จะท�ำให้ท่านได้รับความสุขใจ สบายใจ เมื่อได้บุตร เรื่องส�ำคัญที่สุดในชีวิตของชาวพุทธ บุตรธิดาคนใด ธิดาที่ดี กตัญญูกตเวทีต่อท่าน การบ�ำรุงมารดาบิดา ได้ท�ำหน้าที่เลี้ยงดูมารดาบิดา มิได้บกพร่อง เทพเจ้า จึงได้ชื่อว่าเป็นมงคลอันสูงสุด ก็แซ่ซ้อง พระพรหมก็สรรเสริญ มีพระบาลีปรากฏใน


ข่าวทหารอากาศ

Le Professeur Zora

Restaurant – Brasserie – Bistro – Tapas 2

Brasserie (บราเซอร์รี่) ฟังแล้วค�ำนี้เราอาจจะไม่คุ้นเคยนัก มีไม่กี่ร้านที่ใช้ค�ำ ๆ นี้ต่อท้ายชื่อร้าน ในบ้านเราซึง่ บางแห่งก็วางไว้ดา้ นหน้าชือ่ ก็มี ตามหลักวิชาการต้นก�ำเนิดของค�ำนี้ (Etymology) มาจากภาษา ฝรั่งเศสหมายถึง brewery หรือโรงหมัก ร้าน Brasserie ในยุคแรก ๆ นั้นหมายถึงร้านเหล้าหรือโรงเบียร์ ขนาดเล็กของคนฝรั่งเศสซึ่งจะเป็นที่ไว้ส�ำหรับให้คนมาพบปะสังสรรค์ (hangout) ดื่มเหล้าเน้นความสบาย เหมือนได้มาพักผ่อน แต่ด้วยเวลาที่หมุนเวียนเปลี่ยนไป Brasserie ในปัจจุบันไม่ได้จ�ำกัดอยู่ที่ร้านนั่งดื่ม ดัง่ เช่นสมัยก่อน ร้านจะเปิดให้บริการทุกวันทัง้ สัปดาห์แบบไม่มวี นั หยุด และจะเปิดร้านไปจนถึงดึกดืน่ รอผีเสือ้ ราตรีโฉบมาชิมมาชนมาดื่มกัน ส่วนในเรื่องของการบริการ จะมีความเป็นมืออาชีพพร้อมทั้งเมนูอาหารมีการ พิมพ์ลายอย่างสวยงาม รวมถึง ระบุราคาที่ชัดเจนรายการอาหารจะเป็นแบบเดิม ๆ เหมือนกันทุกวัน หรือ อาจจะมีเมนูพิเศษประจ�ำวันที่เรียกว่า dish of the day หรือ today’s special มาให้ชิมกันบ้าง ซึ่งอาหาร

51


52

หลัก ๆ ของทางร้านจะเป็นอาหารจานใหญ่ (platter) ทีส่ งั่ มาทานร่วมกัน เช่น seafood platters หรือ meat platters เป็นต้น เนื่องจากค�ำว่า Brasserie มาจากค�ำว่า brewery เครื่ อ งดื่ ม ของทางร้ า นจึ ง หลากหลายทั้งเบียร์สด ไวน์ ไปจนถึงเครื่อง ดื่มแอลกอฮอล์ต่าง ๆ ดังนั้น Brasserie จึง เป็นร้านอาหารประเภท casual dinners คือร้านอาหารที่เน้นบรรยากาศ ความผ่อนคลาย บริการสบาย ๆ เหมาะแก่การสังสรรค์ ดื่มกินแบบเพลิน ๆ เฮฮาปาร์ตี้จนร้านปิด Bistro รากศัพท์ดงั้ เดิมมาจากภาษารัสเซีย“быстро”ออกเสียงว่า bistro ซึง่ มีความหมายว่า“เร็ว” แล้วเหตุไฉนจึงมาเกี่ยวข้องกันได้ ช่วงยุคประมาณ ค.ศ.๑๘๑๕ ที่ประเทศรัสเซียเข้ายึดครองประเทศฝรั่งเศส ทหารรัสเซียไปสัง่ อาหารแถวย่านมงมาร์ต (Montmartre) ในกรุงปารีส พอนัง่ รอนานจึงตะโกนบอกเด็กเสิรฟ์ ในร้านว่า“บิสโตร” ที่แปลว่า “เร็ว ๆ” ตั้งแต่นั้นมาเจ้าของร้านจึงเตรียมอาหารและขายอาหารที่ปรุงส�ำเร็จ ไว้แล้วจ�ำพวกสตูว์ ขาหมูตุ๋นไว้ล่วงหน้าและกลายเป็นต้นแบบของฟาสต์ฟู้ด (Fast Food ) ในเวลาต่อมา ดังนั้น Bistro จึงหมายถึงร้านอาหารเล็ก ๆ อยู่ริมถนนเรียบง่าย เจ้าของร้านและเชฟเป็นคนเดียวกัน จึงไม่ แปลกเมื่อเข้าไปนั่งในร้านจะเห็นแม่เป็นคนปรุงอาหาร พ่อรับออเดอร์และเสิร์ฟโดยลูกชาย เปิดให้บริการ ในช่วงกลางวันเป็นหลัก รายการอาหารมีไม่กี่อย่างและหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ขึ้นอยู่กับของสดที่ได้มา


ข่าวทหารอากาศ

ในแต่ละวัน (catch of the day) เครือ่ งดืม่ ทางร้านก็จะมีทงั้ เครือ่ งดืม่ แอลกอฮอล์และเครือ่ งดืม่ ไม่มแี อลกอฮอล์ สามารถไปนัง่ ดืม่ ได้ตงั้ แต่ตอนเทีย่ งวันจนร้านปิด เนือ่ งจากอาหารทีใ่ ห้บริการเปลีย่ นไปตามวัตถุดบิ ทีจ่ ะได้มา ในแต่ละวัน เมนูอาหารจึงต้องเขียนด้วยชอล์กบนกระดานด�ำจึงกลายเป็นเอกลักษณ์ของร้านซึ่งมักจะอยู่ กลางร้าน หรือตั้งไว้หน้าร้านให้เห็นกันเลยทีเดียว ดังนั้น Bistro จึงเป็นร้านอาหารเล็ก ๆ ให้บริการอาหาร ง่าย ๆ ท�ำกันอย่างรวดเร็วไม่มีพิธีรีตองมากนักหรือฝรั่งเรียกว่า comfort food ราคาไม่แพงซึ่งฟังดูคล้าย ๆ กับร้านข้าวขาหมูหรือร้านข้าวแกงบ้านเรา ในความเป็นจริง Bistro ที่ผู้เขียนได้เจอทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศบางประเทศ ส่วนใหญ่ร้านที่ใช้ค�ำลงท้ายว่า Bistro มักจะตกแต่งหรูหรา ให้บริการเต็มขั้นในระดับ Restaurant หรือ Brasserie กันเลยทีเดียว ไม่คอ่ ยจะพบเจอ Bistro ทีเ่ ป็นร้านเล็ก ๆ ตรงกับนิยามของ สุภาพิมพ์ ธนะพรพันธุ์ นักเขียนอิสระ อดีตผู้ช่วยทูตฝ่ายหนังสือพิมพ์สถานทูตฝรั่งเศสประจ�ำประเทศไทยเคยได้รับอิสริยาภรณ์ Ordre National du Mrite ชัน้ Chevalie ลงนามโดย นายฌากส์ ชีรกั ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรัง่ เศส ซึ่งกูรูผู้คร�่ำหวอดอยู่ ณ กรุงปารีส มากว่า ๔๐ ปี และ ปัจจุบันใช้ชีวิตที่ปารีสเป็นการถาวร กล่าวว่า เพื่อให้ ลูกค้าเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย สบาย ๆ ง่าย ๆ ที่จะมารับประทาน จึงหลีกเลี่ยงที่จะใช้ค�ำว่า Restaurant หรือ Brasserie มาใช้ค�ำว่า Bistro แทน Tapas (ทาปาส) คืออาหารว่าง หรือของว่างชิ้นเล็ก ๆ ใช้มือหยิบทานค�ำ เดียวหมด (finger food) มีต้นก�ำเนิดมา จากประเทศสเปน เนื่องจากคนสเปนจะ ทานอาหารเช้าตอนสาย มื้อเที่ยงขยับมา ทานช่วงบ่าย ส่วนมื้อเย็นก็ทานกันดึก ๆ Tapas จึงช่วยแก้หิวระหว่างที่ยังไม่ถึงช่วง เวลาอาหารเที่ยงและอาหารเย็น กล่าวกันว่า Tapas เกิดขึ้นในรัชสมัยของกษัตริย์อัลฟองโซที่ ๑๐ ของสเปน (the King Alfonso X Wise) หรือ อัลฟองโซ​ผ​ปู้ ราดเปรือ่ ง พระองค์ประชวรและต้องเสวยอาหารเล็ก ๆ น้อย ๆ และไวน์นดิ หน่อย ระหว่างมือ้ อาหารเสมอ เมือ่ หายประชวรก็ทรงออกกฎว่า ถ้าจะเสิรฟ์ ไวน์ในโรงแรมในเขตของพระองค์นั้น จะต้องมีอาหารว่างเสิร์ฟคู่กัน ด้วยเสมอที่เป็นเช่นนี้ ก็เ พราะเป็นการป้องกันคนรวยที่มีเงินซื้อไวน์ เยอะ ๆ ไม่ให้ดื่มไวน์ตอนท้องว่าง ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่วนอีกกระแสหนึ่งกล่าวว่า Tapas เกิดจากการที่ชาวนา และคนท�ำงานใช้แรงงานต้อ งการ กินอาหารในช่วงเวลาท�ำงาน ซึ่งเป็นการกินระหว่างมื้ออา หารในแต่ละวัน และในอาหารหลักนั้น ส่วนมากจะรับประทานอาหาร ที่มีไขมันสูง ยากต่อการย่อย ต้องใช้ เวลา ๑ - ๒ ชัว่ โมง กว่าจะกลับไปท�ำงานได้ เลยมีการกิน Tapas เพือ่ แก้ปญ ั หานี้ กระแสสุดท้ายกล่าวว่าคนสเปนนิยมทานอาหารคูก่ บั ไวน์ มาช้านาน โดยประมาณเมือ่ ร้อยกว่าปีกอ่ น สมัยทีผ่ คู้ นยังสัญจรไปมา

53


54

ด้วยการขีม่ า้ ยุคนัน้ คนสเปนจะนัง่ ดืม่ ไวน์และ กินอาหารที่บาร์ข้างถนน ซึ่ง ท�ำให้ฝุ่นละออง ต่าง ๆ บนถนนปลิวหล่นลงไปในแก้วไวน์ จึง ได้มกี ารพลิกแพลงเอาอาหารต่าง ๆ เช่น ขนมปัง ชีส หรือเนือ้ แห้งใส่มาในจานเล็ก ๆ แล้ววาง ปิดปากแก้วไวน์เพื่อกันไ ม่ให้ ฝุ่นละอองลงไป ในเครื่องดื่ม จึงแพร่หล ายกล า ย มาเป็น วัฒนธรรมทาปาส Tapas จึง กลายเป็นเมนู ของกินเล่นของสเปน และกลายเป็ น หนึ่งใน วัฒนธรรมการกินอาหารของคนสเปน ในประเทศสเปน Tapas bar ร้าน อาหารขนาดเล็ก เปิดให้บริการแทบทุกหัวมุม ถนนและเสิร์ฟอาหารแบบ Tapas ซึ่งจะเป็น ค�ำเล็ก ๆ บางร้านจะเตรียมอาหารเอาไว้เเล้ว เข้าไปก็สามารถหยิบจ่ายเงิน เเล้วกินได้เลย หรือบางร้านก็จะท�ำตามที่เราสั่ง ส่วนมากจะ มีที่นั่งไม่เยอะ คนที่ไปก็จะกินกันที่เคาน์เตอร์ หรือยืนกินอาหารกันคนละ ๒ - ๓ จาน จิบไวน์นิดหน่อยเเล้วก็ไปร้านอื่นต่อ ถึงกับ หมดโอกาสนั่งพูดคุยกันเลยทีเดียว ในบ้านเรา Tapas bar ส่วนใหญ่ยังคงคอนเซ็ปเดิมเอาไว้ เป็นร้านอาหารแบบ Causal dinning คือไม่มีพิธีรีตองเน้นบรรยากาศสบาย ๆ ผ่อนคลาย เหมาะแก่การมาสังสรรค์อาหารที่ให้บริการจึงเป็นอาหาร จานหลักแบ่งมาเสิร์ฟแค่เพียงบางส่วนและจะเสิร์ฟมาในจานเล็ก ๆ เช่น แฮมต่าง ๆ เนื้อปลาหมักกับมะกอก อาหารแต่ละจานเสิรฟ์ มาในขนาดไม่กคี่ ำ� จึงท�ำให้คนทีอ่ ยากกินอาหารหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันสามารถ กินอาหารทีอ่ ยากกินได้ โดยไม่อมิ่ จนเกินไป และยังเป็นอาหารทีส่ ามารถสัง่ มาแชร์กบั เพือ่ นได้ดว้ ย ส่วนเครือ่ งดื่ม นอกจากไวน์แล้วยังมีเครือ่ งดืม่ ยอดนิยมสัญชาติสเปนอย่าง Sangria (แชงเกรีย) ซึง่ เป็นพัน้ ช์ชนิดหนึง่ ทีม่ สี ว่ น ประกอบหลักคือไวน์แดงและมี การเพิ่มส่วนผสมของน�้ำผลไม้และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศ สเปนให้บริการเช่นเดียวกัน ต่อมาในปี ค.ศ.๑๙๖๔ สเปนได้น�ำ Sangria มาเสิร์ฟให้กับผู้ร่วมงาน World’s Fair ที่จัดขึ้นที่นิวยอร์ค (New York ) ประเทศสหรัฐอเมริกา นับแต่นั้นเป็นต้นมา Sangria จึงเป็นเครื่องดื่ม ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับ Tapas ดังนั้น Tapas bar จึงเป็นสถานที่ อันดับต้น ๆ ที่ถูกเลือกหรือเหมาะส�ำหรับที่จะไปสังสรรค์เฮฮากินคนละค�ำสองค�ำ ดื่มคนละอึกสองอึก ข�ำ ๆ คลายเครียดหลังเลิกงานก่อนกลับบ้าน จากทัง้ หมดทีก่ ล่าวมาข้างต้นคงท�ำให้ผอู้ า่ นเข้าใจถึงภาพรวมของร้านอาหารแต่ละประเภทกันมากขึน้ ตลอดจนเข้าใจอาหาร เครือ่ งดืม่ และบรรยากาศของแต่ละร้านกันพอสมควร สามารถให้ทา่ นเลือกไปสังสรรค์ เฮฮา ชิม ชม แชะ และแชร์กันอย่างมีความสุข


ข่าวทหารอากาศ

กรณีศกึ ษาจากการก่อการร้าย

โดยการโจมตีดว้ ยสารเคมีพษิ ทีก่ รุงโตเกียวประเทศญีป่ นุ่ เมือ่ ปี พ.ศ.๒๕๓๗ และ พ.ศ.๒๕๓๘ น.ต.วรรณลพ ล�ำพูลน้อย ข่าวจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ได้ตพี มิ พ์ขา่ วจากส�ำนักข่าวเกียวโด และสถานีโทรทัศน์ NHK รวมถึงสื่อญี่ปุ่นหลายส�ำนัก รายงานตรงกันว่า นายชิซุโอ ะ มัตสึโมโตะ ซึ่งเรียก ตัวเองว่า “โชโกะ อาซาฮาระ” อดีตผู้น�ำลัทธิโอมชิน ริเกียว วัย ๖๓ ปี พร้อมด้วยสาวกอีก ๖ คน ถูกประหาร ชีวิตแล้ว เมื่อวันที่ ๖ ก รกฎาคม ๒๕๖๑ ด้วยการ แขวนคอที่เรือนจ�ำในกรุงโตเ กียว ทั้งหมดมีความผิด ฐานอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ ใช้ก๊าซพิษซารินโจมตี ผู้โดยสารในขบวนรถไฟฟ้าใต้ดิน ท�ำให้มีผู้เสียชีวิต ๑๓ คน บาดเจ็บและล้มป่วยอีกกว่า ๖,๐๐๐ คน นอกจาก นายอาซาฮาระ และสาวกอีก ๖ คน ทีถ่ กู ประหารชีวติ ในครัง้ นีแ้ ล้วยังมีสาวกอีก ๖ คน ทีถ่ กู ประหารชีวติ เช่นกัน แต่อยูใ่ นระหว่างรอการประหารชีวิต

จากข่าวนีท้ ำ� ให้เราต้องนึกทบทวนเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นเมื่อ ๒๓ ปีก่อน ว่าเกิดอะไรขึ้นในขณะนั้น และนายชิซุโอะ มัตสึโมโตะ เป็นใคร และเขาด�ำเนิน การก่อการร้ายด้วยวัตถุประสงค์อะไร และด้วยวิธกี าร อย่างไร

55


56

ย้ อ นกลั บ ไปที่ ป ระเทศญี่ ปุ ่ น เมื่ อ เดื อ น สิงหาคม ๒๕๓๗ ได้พบว่ามีการปล่อยกระจายสารพิษ ชนิดหนึ่งคือ สารท�ำลายประสาท (Nerve Agent) (จากการตรวจวิเคราะห์ภายหลัง) แพร่กระจายออกมา ที่เมืองมัตสึโมะโตะ (Matsumoto) ซึ่งเป็นเมืองใน ชนบททางภาคกลางของญีป่ นุ่ ห่างจากกรุงโตเกียวไป ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร ท�ำให้ชาวเมืองเสียชีวติ ไป จ�ำนวน ๗ คน และป่วยกว่า ๖๐๐ คน และในวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๓๘ เวลา ประมาณ ๐๘.๐๐ น. ได้มกี ลุม่ ไอพิษแพร่กระจายออก มาในขบวนรถไฟฟ้าใต้ดินกรุงโตเกียวเป็นผลให้มี ผู้เสียชีวิต ๑๓ คน และป่วย ๖,๐๐๐ คน ต�ำรวจญี่ปุ่น แถลงว่าการกระท�ำทั้งสองครั้งเป็นฝีมือของกลุ่มลัทธิ โอมชินริเกียว (Aum Shinrikyo) ซึ่งมีนายโชโกะ อาซาฮาระ (Shoko Asahara) ชือ่ จริงคือ นายชิซโุ อะ อาซาฮาระ (Shizuko Asahara) เป็นประมุข หลังการก่อการร้ายทีก่ รุงโตเกียว ต�ำรวจยึด สารเคมีอนั ตรายหลายชนิดรวมกันได้กว่า ๒๐ เมตริกตัน เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มากมาย อาวุธกระสุน คอมพิวเตอร์ ทองค�ำ และเงินสดเป็นมูลค่าเงินไทย

กว่า ๒๐๐ ล้านบาท จากส�ำนักงานใหญ่ของลัทธิซงึ่ ตัง้ อยูเ่ ชิงภูเขาไฟฟูจิ ห่างจากกรุงโตเกียวประมาณ ๙๕ กิโลเมตร ประมุขของลัทธิและสาวกคนส�ำคัญหลายคน ถูกด�ำเนินคดีในข้อหาร่วมกันกระท�ำฆาตกรรม นอกจากนี้ ต�ำรวจได้หลักฐานเพิม่ เติมว่าลัทธินยี้ งั ด�ำเนินการค้นคว้า เกีย่ วกับอาวุธชีวภาพ และอาวุธนิวเคลียร์ดว้ ย นายชิซุโอะ อาซาฮาระ ซึ่งเป็นหัวหน้าของ ลัทธิโอมชินริเกียวนี้ เกิดในปี พ.ศ.๒๔๙๘ บนเกาะ คิวชู เป็นผูม้ คี วามทะเยอทะยานสูง และมีความต้องการ จะจัดตั้งดินแดนอิสระไม่อยู่ใต้อ�ำนาจรัฐบาลญี่ปุ่น ต้องการปรามต�ำรวจไม่ให้มายุง่ เกีย่ วกับลัทธิของตนเอง อีกทั้งยังต้องการแก้แค้นต�ำรวจและต้องการท�ำตาม ค�ำท�ำนายของตนเองให้เป็นจริง สาวกของนายชิซโุ อะ อาซาฮาระ ส่วนมากเป็นคนรุ่นใหม่วัยหนุ่มสาวจึงได้ รับการปลุกปัน่ ยุยงให้หลงเชือ่ และกระท�ำตามแนวคิด ของลัทธิตนเองได้งา่ ยโดยมีเป้าหมายทีก่ รุงโตเกียว ซึง่ รถไฟฟ้าใต้ดนิ ทีก่ รุงโตเกียว ๓ สาย จะมุง่ หน้าสูใ่ จกลาง กรุงโตเกียวและจะมีตำ� รวจโดยสารรถไฟใต้ดนิ เพือ่ ไป ยังสถานที่ท�ำงานของตนเอง ในเหตุการณ์ครั้งนั้นมี ต�ำรวจซึ่งโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดินป่วย ๗๐ คน ส�ำหรับ

เจ้าลัทธิโอมชินริเกียว นายโชโกะ อาซาฮาระ (ขวา) และสาวกคนสนิททั้ง ๖ คน


ข่าวทหารอากาศ

ความวุ่นวายของผู้คนบริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน

วิธกี ารก่อการร้ายของลัทธิโอมชินริเกียวคือจะน�ำสาร ซารินไปวางไว้ในขบวนรถไฟฟ้าใต้ดินหลายขบวน ทัง้ ๓ สาย ให้สารซารินระเหยเป็นไอออกมาท�ำอันตราย ผู้โดยสารในห้วงเวลาของการเดินทางไปท�ำงาน โดย การปฏิบัติจะใช้คน ๒ คนต่อรถไฟ ๑ ขบวน คนหนึ่ง เป็นคนวางถุงพลาสติกใช้สารซารินหุม้ ห่อด้วยกระดาษ หนังสือพิมพ์ อีกคนถือร่มท�ำหน้าที่ดูลาดเลาและจะ ใช้ปลายแหลมของร่มทิม่ แทงถุงบรรจุสารซารินให้แตก เวลา ๐๘๐๖ ๐๘๐๙ ๐๘๒๑ ๐๘๓๐ ๐๘๓๕ ๐๙๐๘ ๑๑๐๐ ๑๒๕๐ ๑๔๒๕ ๒๓๑๑

ซึ่งในครั้งนี้มีการวางสารซารินไม่ทราบปริมาณใน รถไฟฟ้าใต้ดิน ๕ ขบวน จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นท�ำให้เกิดความ ตื่นตระหนกอย่างกว้างขวางในญี่ปุ่นและสร้างความ หวั่นวิตกไปทั่วโลกว่าจะเกิดการเลียนแบบอีกหรือไม่ ท�ำให้สื่อมวลชนเสนอข่าวต่อเนื่องกันหลายเดือน ซึ่ง พอจะสรุปล�ำดับเหตุการณ์จนถึงช่วยเหลือผู้ป่วย ชุดสุดท้ายออกจากสถานีดังนี้

เหตุการณ์ มีผู้ป่วยคนแรก มีโทรศัพท์ถึงหมายเลขฉุกเฉิน ๑๙๑ ขอรถพยาบาลไปรับผู้ป่วยที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน รถของหน่วยวัตถุอันตราย กองดับเพลิงกรุงโตเกียวเดินทางถึงที่เกิดเหตุ กองดับเพลิงกรุงโตเกียวจัดตั้งกองอ�ำนวยการช่วยเหลือผู้ป่วย ผู้ป่วยคนแรกถูกน�ำขึ้นรถพยาบาลหลังได้รับการปฐมพยาบาลแล้ว หน่วยวัตถุอันตรายตรวจพบสารอะซิโตไนเตรด ต�ำรวจนครบาลแถลงว่าตรวจพบสารซาริน และสงสัยว่าจะเป็นสาเหตุของการป่วย ผูว้ า่ การกรุงโตเกียวร้องขอรับการสนับสนุนจากหน่วยทหารสงครามเคมีของกองก�ำลังป้องกันตนเอง ทหารจากหน่วยการสงครามเคมีของกองก�ำลังป้องกันตนเองและเจ้าหน้าที่ดับเพลิง หน่วยวัตถุอันตรายเริ่มการท�ำลายล้างพิษรถไฟฟ้าใต้ดินและสถานี ผู้ป่วยคนสุดท้ายถูกน�ำออกจากสถานีรถไฟใต้ดิน

57


58

การท�ำลายล้างพิษสารซารินในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน และการปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่ถูกสารซาริน

จากล�ำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะเห็นถึง อันตรายที่เกิดจากการก่อการร้ายด้วยสารเคมีพิษ ในรถไฟฟ้าใต้ดนิ ซึง่ เป็นพืน้ ทีป่ ดิ เหมาะแก่การก่อการ ร้ายด้วยสารเคมีพษิ แต่ไม่ได้หมายความเฉพาะรถไฟฟ้า ใต้ดนิ เท่านัน้ สถานทีอ่ นื่ ๆ ทีม่ ลี กั ษณะเป็นอาคารปิด มิดชิดปรับอากาศและที่ส�ำคัญมีประชาชนอยู่เป็น จ�ำนวนมาก ๆ ก็เหมาะแก่การก่อการร้ายเช่นเดียวกัน ในปัจจุบนั กรุงเทพมหานครของเรามีรถไฟฟ้าใต้ดนิ อยู่ ๒ สายหลัก คือ สายเฉลิมรัชมงคล (สีนำ�้ เงิน) วิง่ ระหว่าง หัวล�ำโพงถึงเตาปูน และสายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) วิ่งระหว่างเตาปูนถึงคลองไผ่ นอกจากนั้นเรายังมี รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแบบทางวิ่งยกระดับหรือรถไฟ ลอยฟ้าอีกหลายสาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายที่ก�ำลัง ก่อสร้างและผ่านพืน้ ทีข่ องกองทัพอากาศ คือสายสีเขียว หมอชิต – คูคต และสายสีแดง บางซื่อ – รังสิต ทั้งสองสายเป็นรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทางรางแบบ

ทางวิง่ ยกระดับตลอดเส้นทางซึง่ สายสีเขียวนีเ้ ป็นระบบ รถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail Transit System) เมื่อสร้างเสร็จจะสามารถขนส่งผู้โดยสารได้ประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน/ชม./ทิศทาง เช่นเดียวกับรถไฟฟ้า มหานครสายเฉลิมรัชมงคล โดยรถไฟฟ้าสายสีเขียวนี้ จะเป็นแบบ ๔ ถึง ๖ ตู้ต่อหนึ่งขบวน โดยมีสถานี ทั้งหมด ๑๖ สถานี และมี ๕ สถานี ที่ผ่านหรือใกล้ เคียงกับพืน้ ทีข่ องกองทัพอากาศคือ สถานีสะพานใหม่ สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช สถานีพิพิธภัณฑ์ กองทั พ อากาศ สถานี กม.๒๕ และสถานี คู ค ต ส่วนสายสีแดง บางซื่อ – รังสิต ก็มีสถานีที่ผ่านพื้นที่ ของกองทัพอากาศ คือ สถานีดอนเมืองเช่นกัน จากเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ในประเทศญีป่ นุ่ เมือ่ ปี ๒๕๓๘ นั้น ท�ำให้เราต้องน�ำเอาสถานการณ์ต่าง ๆ ในครัง้ นัน้ มาท�ำการศึกษาวิเคราะห์และหาทางป้องกัน เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นเช่นเดียวกับที่ประเทศญี่ปุ่น


ข่าวทหารอากาศ

ภาพจ�ำลองสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว (บางซื่อ-คูคต)

จากการศึกษาวิเคราะห์เหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ก็พอจะสรุป และสร้างความอบอุน่ ใจได้ระดับหนึง่ ว่ากองทัพอากาศ ได้มกี ารเตรียมการป้องกันเหตุการณ์ ท�ำนองเดียวกับ ญีป่ นุ่ ไว้เรียบร้อยแล้ว ด้วยการก�ำหนดมาตรการแผนการ ปฏิบัติในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางเคมีขึ้นโดยก�ำหนด เป็นแผนปฏิบตั กิ ารไว้คอื แผนปฏิบตั กิ ารเคมีชวี ะและ กัมมันตรังสีกองทัพอากาศ ปี ๕๗ ซึง่ ก�ำหนดให้ศนู ย์วจิ ยั

พัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศ กองทัพอากาศจัดเตรียมหน่วยปฏิบตั กิ ารเคมีชวี ะและ กัมมันตรังสี (หน่วย คชร.) เป็นหน่วยเผชิญเหตุในการ พิสูจน์ทราบและท�ำลายล้างพิษ กรณีเกิดเหตุการณ์ ทางเคมีชีวะและกัมมันตรังสีขึ้น และยังมีชุดปฏิบัติ การเคมีชีวะกัมมันตรังสีสายแพทย์ โดยศูนย์ปฏิบัติ การแพทย์ทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ รั บ ผิ ด ชอบในการดู แ ลรั ก ษาพยาบาลผู ้ ป ่ ว ยจาก สถานการณ์ทางเคมีชวี ะและกัมมันตรังสี นอกจากนัน้ ยังมีหน่วยสนับสนุนอื่น ๆ อีกหลายหน่วยที่จะเข้ามา ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติเพื่อลดอันตราย และท�ำให้ เกิดความปลอดภัยหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นบนรถไฟฟ้า ทีผ่ า่ นเขตพืน้ ทีข่ องกองทัพอากาศ ซึง่ ปัจจุบนั นีห้ น่วย ปฏิบัติการเคมีชีวะและกัมมันตรังสีจากศูนย์วิจัย พัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศ กองทัพอากาศ ได้มกี ารฝึกซ้อมการเผชิญเหตุ ร่วมกับ

59


60

จริง ๆ หากเกิดขึ้นเราจะสามารถปฏิบัติได้อย่างทัน เวลาและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ก็เพื่อความมั่นคง ปลอดภัยและความสงบสุขของประชาชนและของ ประเทศชาตินั่นเอง ดังพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์ ไว้ดังนี้ ชุดปฏิบัติการเคมีชีวะและกัมมันตรังสีสายแพทย์อยู่ อย่างสม�่ำเสมอ ซึ่งจะท�ำให้เกิดความเข้าใจและเกิด ความมั่ น ใจในการปฏิ บั ติ ร ะหว่ า งสองหน่ ว ยงาน เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนในกรณี ทีอ่ าจเกิดเหตุการณ์ในท�ำนองเดียวกับทีป่ ระเทศญีป่ นุ่ ถึงแม้ว่าสถานการณ์ในลักษณะเดียวกับที่ ประเทศญี่ปุ่นยังไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาก่อน แต่การน�ำเอาบทเรียนจากประเทศญี่ปุ่นมาท�ำการ ศึกษาวิเคราะห์วางแนวทางในการปฏิบตั เิ พือ่ เป็นการ ป้องกันไว้ก่อนที่จะมีเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้น

“ ป้องกันมิใช่ท้า นี่แหละควรคนไทย ตระเตรียมรบไว้ใน ศึกติดจะคิดแก้ อันชาติใดไร้เครื่อง ถึงสมองเต็มหัว ศึกติดจะนั่งมัว ค้านคัดขัดศึกเข้า

ทายใคร คิดแท้ กาลบัดนี้นา ห่อนได้ทันควัน กันตัว จักเศร้า คิดเรื่อง สู่บ้านเราไฉน ”

อ้างอิง เอกสารการสัมมนาทางวิชาการ “การก่อการร้ายด้วยสารเคมีพิษที่ญี่ปุ่น” : พลโทหม่อมเจ้า เฉลิมศึก ยุคล เอกสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ) ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟท.) หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับประจ�ำวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑


Red Eagle

ข่าวทหารอากาศ

(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

อินทรีแดง แผลงฤทธิ์

น.ต.ภฤศพงศ์ ช้อนแก้ว

“UnderwaterMan ....ภารกิจโหด โหมดใต้นำ�้ ๒”

ส�ำหรับอาการที่ต้องรักษาโดยใช้ห้องปรับ ความดันอากาศ มีสาเหตุมาจากร่างกายของนักด�ำน�ำ้ มีก๊าซจ�ำพวกไนโตรเจน หรือออกซิเจนบริสุทธิ์เข้าไป อยู่ในเส้นเลือด ท�ำให้ปวดตามข้อต่าง ๆ ตามร่างกาย ดังนั้นการที่นักด�ำน�้ำเข้าห้องปรับความดันอากาศ จะท�ำให้สามารถไล่กา๊ ซจ�ำพวกดังกล่าวออกจากเซลล์ เม็ดเลือดได้ โดยมีอาการส�ำคัญ ได้แก่ Gas Embolism ในเส้นเลือดแดง เนือ่ งจาก ก๊าซจ�ำพวกไนโตรเจน หรือคาร์บอนไดออกไซต์ ได้ฝังอยู่ตามเซลล์ร่างกายไล่ออกไม่หมด เป็นจ�ำนวน มากเกินไปไม่สามารถสลายได้ดว้ ยตนเองในระยะเวลา ที่น้อยจึงต้องเข้าห้องปรับความดันอากาศ (Hypobaric Chamber) หรือ ห้อง Chamber หรือ ห้องที่จ�ำลอง สภาพอากาศของความสูงต่าง ๆ จากพืน้ ดิน หลักการ ท�ำงานง่าย ๆ คือ ภายในห้องจะมีเครื่องดูดอากาศ ออกไปเรื่อย ๆ ให้เท่ากับบรรยากาศของโลกที่ความ สูงต่าง ๆ เพราะยิ่งสูงความดันบรรยากาศจะน้อยลง ความหนาแน่นของออกซิเจนจะน้อยลงเนือ่ งจากอากาศ มีการขยายตัว Decompression Sickness เป็นอาการ เสียสมดุลในร่างกาย อาจเกิดจากนักด�ำน�้ำที่ขึ้นสู่ พืน้ ผิวน�ำ้ เร็วเกินไปหรืออยูใ่ นระดับความลึกทีเ่ กินกว่า ตารางด�ำน�้ำหรือไดรฟ์คอมพิวเตอร์ก�ำหนดจึงท�ำให้ ก๊าซไนโตรเจนไม่สามารถเปลีย่ นสภาพกลายเป็นก๊าซ ได้ทนั แต่กลายเป็นฟองอากาศแทรกซึมอยูใ่ นร่างกาย เกิดการอุดตันตามเนื้อเยื่อเซลล์ต่าง ๆ ท�ำให้เกิดการ

ปวดตามข้อ หรือถ้าไปเกิดฟองอากาศที่บริเวณเซลล์ ประสาทสมอง อาจท�ำให้พิการเป็นอัมพฤกษ์ หรือ อัมพาตไปตลอดชีวติ หรือถ้าไปขวา ทางเดินเส้นเลือด ทีม่ าเลีย้ งหัวใจอาจท�ำให้หวั ใจวายได้ในทีส่ ดุ ซึง่ อาการ นี้ถือว่าอันตรายมากในบรรดาอาการทั้งหมด

การฝึกเข้าโจมตีที่หมายทางน�้ำของชุดโจมตี

61


62

ส�ำหรับการเคลือ่ นทีโ่ ดยการด�ำน�ำ้ ทางยุทธวิธี ทางทหาร มีการก�ำหนดทิศทางการไป โดยใช้การ ก�ำหนดทิศองศา เช่น ทิศ ๒๑๐ องศา เป็นต้น ทั้งนี้ ชุดโจมตีจะต้องก�ำหนดทิศทางก่อนและวัดระยะจาก การตีขาโดยก�ำหนดเป็น Circle ว่า ๑ เมตร จะต้องตี ขากี่ครั้ง ซึ่ง Circle ของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป ทุก ๆ ๑๐ Circle หรือเพื่อความแน่ใจ จะต้องมีการ เช็คระยะ โดยการ Peak เพื่อเช็คทิศทาง ๑ ครั้ง ซึ่งจะมีบัดดี้อีกคนหรือเพื่อนจะท�ำตัวเองให้เหมือน เป็นสมอ ยึดต�ำแหน่งให้ขยับน้อยที่สุด และอีก ๑ คน จะเป็นผู้ที่ขึ้นมาเช็คระยะบนผิวน�้ำ ว่าทิศทางที่จะไป ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งจะมีเชือก Buddy Line ยึดติดกัน อยู่ระหว่างชุดโจมตี เมื่อเช็คทิศทางว่าถูกต้องก็จะ

อ้างอิง http://www.vachiraphuket.go.th

มุ่งไปยังทิศทางนั้นเพื่อท�ำภารกิจ เช่น วางระเบิด ท�ำลายใบจักรเรือข้าศึก หรือมุง่ ไปตามแนวทิศทีก่ ำ� หนด เพื่อระเบิดท�ำลายหน้าหาด หลังจากปฏิบัติภารกิจ เสร็จก็จะถอนตัวมายังต�ำบลที่ก�ำหนดไว้ตามแผน นอกจากนี้ยังมีภารกิจอีกหลายอย่างที่ต้องใช้การ ด�ำน�ำ้ ในการปฏิบตั กิ ารทางทหาร ได้แก่ การด�ำน�ำ้ เพือ่ ส�ำรวจใต้ทะเล การด�ำน�ำ้ ค้นหาวัตถุสงิ่ ของหรือส�ำรวจ ทรัพยากรทางทะเลหรือค้นหาผูส้ ญ ู หาย การฝึกด�ำน�ำ้ เพือ่ ท�ำลายทุน่ ระเบิดใต้นำ�้ การฝึกด�ำน�ำ้ ประกอบก�ำลัง ชุดโจมตี การฝึกลาดตระเวนโดยใช้เข็มทิศใต้น�้ำ การด�ำน�้ำเพื่อระเบิดสิ่งกีดขวางหน้าหาดเพื่อให้เรือ ยกพลขึ้นบกสามารถแล่นไปส่งก�ำลังพลได้ การด�ำน�้ำ อารักขาบุคคลส�ำคัญ เป็นต้น


ข่าวทหารอากาศ

การอ่าน....หนึ่งในหนทางที่ จะน�ำไปสู่ ทหารฉลาด Smart people น.อ.หญิง สุขจิต ศิลาเขตต์

“การเปลี่ยนผ่านไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับอาวุธ ยุทโธปกรณ์แต่เป็นเรือ่ งการท�ำให้เกิดความชาญฉลาด เป็นเรือ่ งเกีย่ วกับการท�ำให้มวี จิ ารณญาณทีด่ ี เป็นเรือ่ ง ของการพัฒนาผู้น�ำและเหล่าทหารหาญ ท่านจะต้อง ท�ำสิ่งที่เปลี่ยนผ่านสู่ความฉลาดนั้น ก่อนที่ท่านจะ เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่มองเห็นได้” พ.อ.ดร.ชรัติ อุ่นสัมฤทธิ์ ความฉลาดคือความสามารถในการรวบรวม และประยุกต์ความรูห้ รือทักษะทีม่ อี อกมาใช้กบั ทุกสิง่ ทุกอย่างในชีวิตที่เราจะสามารถจะท�ำเพื่อตัวของเรา เองได้ ความฉลาดไม่ใช่เกิดจากพรสวรรค์เพียงอย่าง เดียวหนทางหนึ่งที่จะเพิ่มความฉลาดคือการฝึกฝน ตนเองเพือ่ ให้สมองมีความเฉียบแหลมยิง่ ขึน้ ซึง่ หนึง่ ใน เทคนิคที่จะช่วยเพิ่มความฉลาดก็คือการอ่านนั่นเอง การอ่าน (Reading) หมายถึง การแปล ความหมายของตัวอักษรที่อ่านออกมาเป็นความรู้ ความคิดและเกิดความเข้าใจเรื่องราวที่อ่านตรงกับ เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียน ผู้อ่านสามารถน�ำความรู้ ความคิด หรือสาระจากเรื่องราวที่อ่านไปใช้ให้เกิด

ประโยชน์ได้ การอ่านจึงเป็นทักษะทีม่ คี วามส�ำคัญดังนี้ ส�ำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ได้กล่าวถึงความส�ำคัญของการอ่านไว้ ๘ ประการ คือ ๑. การอ่านเป็นเครื่องมือในการแสวงหา ความรู้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียนจ�ำเป็น ต้องอ่านหนังสือเพื่อการศึกษาหาความรู้ด้านต่าง ๆ ๒. การอ่านเป็นเครื่องมือช่วยให้ประสบ ความส�ำเร็จในการประกอบอาชีพ เพราะสามารถน�ำ ความรู ้ ที่ ไ ด้ จ ากการอ่ า นไปพั ฒ นางานตนเองได้ ๓. การอ่ า นเป็ น วิ ธี ก ารส่ ง เสริ ม ให้ ค นมี ความคิดอ่านและฉลาดรอบรู้เพราะประสบการณ์ ที่ได้จากการอ่านเมื่อเก็บสะสมเพิ่มพูนนานวันเข้า ก็จะท�ำให้เกิดความคิดเกิดสติปัญญาเป็นคนฉลาด รอบรู้ได้ ๔. การอ่านเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ท�ำให้เป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งด้านจิตใจและบุคลิกภาพ เพราะเมือ่ อ่านมากย่อมรูม้ าก สามารถน�ำความรูไ้ ปใช้ ในการด�ำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ๕. การอ่ า นเป็ น กิ จ กรรมที่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด ความเพลิดเพลินบันเทิงใจ เป็นวิธหี นึง่ ในการแสวงหา

63


64

ความสุขให้กบั ตนเองง่ายทีส่ ดุ และได้ประโยชน์คมุ้ ค่า ที่สุด ๖. การอ่านเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวติ ท�ำให้ เป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งด้านจิตใจและบุคลิกภาพเพราะ เมื่ออ่านมากย่อมรู้มาก สามารถน�ำความรู้ไปใช้ ในการด�ำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ๗. การอ่านเป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนา การเมือง การปกครอง ศาสนา ประวัติศาสตร์ และสังคม ๘. การอ่านเป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนา ระบบสื่อสาร และการใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ ต่าง ๆ นอกจากความส�ำคัญของการอ่านที่กล่าว ข้างต้น

คุณูปการของการอ่าน การอ่าน คือ รากฐานของการพัฒนาปัญญา ที่ส�ำคัญ การอ่าน คือ ประตูที่เปิดไปสู่การค้นพบ การอ่าน คือ ต้นธารของแรงบันดาลใจในการ สร้างสรรค์นวัตกรรม การอ่าน คือ คุณสมบัติพื้นฐานของการเป็น ปัญญาชน การอ่าน คือ เมล็ดพันธ์แห่งความรุ่งโรจน์ การอ่าน คือ การสร้างรากฐานแห่งอนาคต การอ่าน คือ การสร้างทักษะในการรู้จักคิด อย่างแหลมคม การอ่าน คือ การอุบตั ขิ นึ้ มาแห่งดวงตาทีส่ าม

ของมนุษย์ การอ่าน คือ โมงยามแห่งความสุข การอ่านเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งที่ท�ำให้ เกิดความรู้ เราจึงแยกกระบวนการอ่านเป็น ๔ ขั้นตอน คือ ขั้นแรก การอ่านออก อ่านได้ หรืออ่าน ออกเสียงให้ถูกต้อง ขั้นที่สอง การอ่านแล้วเข้าใจ ความหมาย ของค�ำ วลี ประโยค สรุปความได้ ขั้ น ที่ ส าม การอ่ า นแล้ ว รู ้ จั ก ใช้ ค วามคิ ด วิเคราะห์ วิจารณ์และออกความเห็นในทางที่ขัดแย้ง หรือเห็นด้วยกับผู้เขียนอย่างมีเหตุผล ขั้นสุดท้ายคือการอ่านเพื่อน�ำไปใช้ในเชิง สร้างสรรค์

ดังนั้นผู้ที่อ่านได้และอ่านเป็นจะต้องใช้ กระบวนการทัง้ หมดในการอ่านทีก่ อ่ ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด โดยการถ่ายทอดความหมายจากตัวอักษร ออกมาเป็นความคิด และจากการคิดทีไ่ ด้จากการอ่าน ผสมผสานกับประสบการณ์เดิม และสามารถน�ำ ความคิดนั้นไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป การก�ำหนดจุดมุง่ หมายในการอ่าน นักอ่าน ที่ดีควรมีจุดมุ่งหมายในการอ่านต้องรู้ว่าต้องการอ่าน เพื่ออะไรซึ่งการอ่านของแต่ละบุคคลในสถานการณ์ ต่ า งนั้ น จะมี จุ ด มุ ่ ง หมายใดจุ ด มุ ่ ง หมายหนึ่ ง หรื อ ผสมผสานในหลายจุดมุง่ หมายขึน้ อยูก่ บั ความต้องการ


ข่าวทหารอากาศ

หรื อ ความสนใจของผู ้ อ ่ า นที่ จ ะเป็ น ผู ้ ก� ำ หนด ประโยชน์ที่จะได้รับจากการอ่าน กระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๔๖:๙) ได้แบ่ง จุดมุ่งหมายทีส่ �ำคัญของการอ่านออกเป็น ๔ ประการ คือ ๑. อ่านเพือ่ ความรู้ ได้แก่ การอ่านจากหนังสือ ต�ำราทางวิชาการ ได้แก่ สารคดีทางวิชาการ การวิจยั ประเภทต่างๆหรือการอ่านผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ควรอ่านอย่างหลากหลาย เพราะความรู้ในวิชาหนึ่ง อาจน�ำไปช่วยเสริมในอีกวิชาหนึ่งได้ ๒. อ่านเพือ่ ความบันเทิง ได้แก่ การอ่านจาก หนังสือประเภทสารคดีท่องเที่ยว นวนิยาย เรื่องสั้น เรื่องแปล การ์ตูน บทประพันธ์ บทเพลงแม้จะเป็น การอ่านเพื่อความบันเทิง แต่ผู้อ่านจะได้ความรู้ที่ สอดแทรกอยู่ในเรื่องด้วย ๓. อ่านเพื่อทราบข่าวสารความคิด ได้แก่ การอ่านหนังสือจากประเภทบทความ บทวิจารณ์ ข่าว รายงานการประชุม ถ้าจะให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ต้องเลือกอ่านให้หลากหลาย ไม่เจาะจงอ่านเฉพาะสือ่ ที่น�ำเสนอตรงกับความคิดของตน เพราะจะท�ำให้ได้ มุมมองที่กว้างขึ้นช่วยให้มีเหตุผลอื่น ๆ มาประกอบ

การวิจารณ์ วิเคราะห์ได้หลายมุมมองมากขึ้น ๔. อ่านเพือ่ จุดประสงค์เฉพาะทางแต่ละครัง้ ได้แก่ การอ่านที่ไม่ได้เจาะจง แต่เป็นการอ่านในเรื่อง ที่ตนสนใจหรืออยากรู้ เช่น การอ่านประกาศต่าง ๆ การอ่านโฆษณา แผ่นพับ ประชาสัมพันธ์ ข่าวสังคม เป็นต้น การอ่านประเภทนีม้ กั ใช้เวลาไม่นาน ส่วนใหญ่ เป็นการอ่านเพื่อให้ได้ความรู้และน�ำไปใช้หรือน�ำไป เป็นหัวข้อสนทนาเชื่อมโยงการอ่านสู่การวิเคราะห์ บางครั้งก็อ่านเพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จาก Readership สู่ Smart People การอ่าน ถือเป็นเครือ่ งมือส�ำคัญทีส่ ดุ ในการกระตุน้ ให้แสวงหา ความรู้ เพิ่มพูนสติปัญญาก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ การอ่านจึงเป็นสิง่ ทีก่ องทัพอากาศต้องให้ความส�ำคัญ กับก�ำลังพลทุกระดับ เพราะการอ่านคือการได้มาซึ่ง ความรู้ นับเป็นปัจจัยที่ส�ำคัญในการพัฒนาไปสู่ ความเฉลียวฉลาด “อ่าน คิด เขียน” คือหัวใจหลัก ของการจั ด การศึ ก ษาในสถานศึ ก ษาทางทหาร หน่วยงานทางการศึกษาจะต้องก�ำหนดยุทธศาสตร์ วิธีการ มาตรการต่าง ๆ ที่จะส่งเสริมเรื่องการอ่าน การสร้ า งนิ สั ย รั ก การอ่ า น ในสถาบั น การศึ ก ษา ทางทหาร เพราะการอ่านคือการสร้างนักรบทางปัญญา

65


66

ให้เกิดขึน้ ในกองทัพดังค�ำโบราณทีว่ า่ “ปัญญาประดุจ ดั่งอาวุธ” ส่วนการศึกษาคือหน่วยงานที่มีบทบาท ในการติดอาวุธทางปัญญา ทางความรู้และความดี ก�ำลังพลของกองทัพอากาศท่านใดทีม่ อี าวุธทัง้ ๓ อย่าง โอกาสที่ จ ะเพลี่ ย งพล�้ ำ ในสงครามและสงคราม ชีวิตจึงมีน้อยมาก นอกจากการส่งเสริมการอ่านแล้ว ผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับควรเป็นต้นแบบด้านการ อ่านหนังสือและแนะน�ำหนังสือที่ควรอ่านให้กับ ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้เขียนขอกล่าวถึงอดีตผู้บังคับ บัญชาท่านหนึ่งที่เป็นแบบอย่างด้านการอ่านและ ส่งเสริมให้บคุ ลากรและนายทหารนักเรียนรักการอ่าน ท่านคืออดีตผู้อ�ำนวยการโรงเรียนนายทหารอากาศ อาวุโส พลอากาศตรี เดชอุดม คงศรี ผู้บังคับบัญชาที่ เป็นแบบอย่างในการอ่านหนังสือ ปัจจุบันท่านด�ำรง ต�ำแหน่งรองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ซึ่งจะ เป็นช่องทางส�ำคัญในการเรียนรูแ้ ละเสริมศักยภาพให้ แก่ตนเอง ด้านบุคลากรได้บรรจุกิจกรรมส่งเสริมการ อ่านไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพก�ำลังพลของโรงเรียน นายทหารอากาศอาวุโส กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ (เช่น หนังสือแนะน�ำที่ควรอ่าน, เรียบเรียงเอกสาร

ทางวิ ช าการเรื่ อ ง การอ่ า น....ทั ก ษะส� ำ คั ญ เพื่ อ การเรียนรู้ เก็บตกสิ่งดี ๆ ที่ได้พบเห็น เป็นต้น) ด้านนายทหารนักเรียน ได้สงั่ การให้จดั ท�ำ แบบฝึกหัด พิเศษ เรื่อง ส่งเสริมการอ่าน (Book Review) เพื่อให้ นายทหารนักเรียนฝึกทักษะการอ่านและสรุปสาระ ส�ำคัญจากการอ่านหนังสือและประโยชน์ที่ได้จาก การอ่านรวมทั้งความคิดเห็นต่อหนังสือ/ผู้เขียน ความฉลาดส่วนหนึ่งอาจจะเป็นพรสวรรค์ ที่ติดตัวมาแต่เป็นที่ยอมรับกันว่าสามารถที่จะพัฒนา ได้ ความฉลาดเริม่ จากการอ่านยิง่ อ่านมากก็ยงิ่ ซึมซับ ความรู้มากท�ำให้เราฉลาดมากขึ้น การอ่านจึงเป็น ทักษะที่มีความส�ำคัญในการแสวงหาข้อมูลเพิ่มพูน ความรู้ของตนเองและสติปัญญาอย่างต่อเนื่อง การที่ จะท�ำให้กำ� ลังพลกองทัพอากาศมีความฉลาดสามารถ เป็นได้ทั้งนักรบและนักวิชาการจะต้องอยู่ในแนวคิด ของการจัดการศึกษาทางทหารการจัดการเรียน การสอนควรเน้นที่การส่งเสริมการอ่านการเป็น แบบอย่างที่ดีในการอ่านหนังสือของผู้บังคับบัญชา เพราะ การอ่านคือการเพาะเมล็ดพันธ์ทางปัญญา คือ การพัฒนาก�ำลังพลให้มีความรอบรู้ มีความคิด


ข่าวทหารอากาศ

ที่หลากหลายและเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งจะเป็นหนึ่งใน หนทางที่จะน�ำไปสู่ทหารฉลาด ที่เปลี่ยนผ่านสู่การ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรูท้ เี่ ต็มไปด้วยนักรบทางปัญญา กองทัพอากาศจะเป็นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับทหารฉลาด อย่างทุกท่าน ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวในการปาฐกถาหัวข้อ ในหลวง กับการอ่าน เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๔ ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ความว่า “ ข้อสรุปจากการศึกษาพระราชด�ำรัส คือ เกิดมาต้องอ่านหนังสือ เพราะหนังสือคือ ธนาคาร ความรูท้ มี่ นุษย์ได้สงั่ สมมาตัง้ แต่โบราณกาล ถ้าไม่อา่ น หนังสือจะไม่ฉลาด รู้ทันเหตุการณ์ เราต้องทั้งกว้าง ทัง้ ลึก มีเวลาว่างเมือ่ ไรก็หยิบหนังสือมาอ่าน เป็นการ เอาความรู ้ จ ากคนอื่ น และรู ้ จั ก เอามาแปลงเป็ น ความรูข้ องตนเอง เมือ่ อ่านแล้วคิดด้วยเหตุผล เรียกว่า

เป็นความรู้ภายในของเราเอง เมื่อได้ความรู้ใหม่แล้ว ต้องมาเชื่อมโยงกับความรู้เก่าก่อให้เกิดเป็นปัญญา ถ้ า รู ้ จั ก เอาไปใช้ ถื อ ว่ า เป็ น ความฉลาดเอาไปใช้ อย่างชาญฉลาด ” หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ ๑๒ มิถนุ ายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ การอ่านคือทางสายเอกทีน่ ำ� ไปสูค่ วามฉลาด อย่างแท้จริง ชาติ นี้ ไ ม่ รั ก การอ่ า น จะโง่ ดั ก ดานไปถึ ง ชาติหน้า ..... ว.วชิรเมธี The Readers of today are the LEADERS of tomorrow ..... ข้อคิดจากขุนเขา

อ้างอิง - ขุนเขา สินธุเสน เขจรบุตร.//(๒๕๖๑).//ข้อคิดจากขุนเขา:๗ เหตุผลที่ทุกคนต้องอ่าน.//ธรรมดีออนไลน์ - ชวัติ อุ่นสัมฤทธิ์.//(๒๕๕๗,เมษายน-มิถุนายน).//ความรู้...ปากกาและหนังสือเป็นอาวุธที่สามารถเอาชนะการ ก่อการร้าย.//ยุทธโกษ.//๑๒๒(๓):/๒๖-๓๓ - ชวัติ อุ่นสัมฤทธิ์.//(๒๕๕๗,พฤษภาคม-สิงหาคม).//การน�ำกองทัพบกสู่อนาคต:การขับเคลื่อนด้วยความฉลาด รอบรู้ ทันสมัย มีวิสัยทัศน์.//เสนาธิปัตย์.//๖๓ (๒):/หน้า๕ - The guiding star.//(๒๕๖๑).//ความฉลาดสร้างได้ด้วย ๓๐ เทคนิค.ออนไลน์

67


68

นวีร์

ทศกัณฐ์ผมู้ สี บิ คอ

ช่วงเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน ๒๕๖๑ องค์กรต่าง ๆ ได้จัดแสดงโขน ซึ่งถือเป็นที่สุดอลังการ แห่งนฤมิตวิจิตรศิลป์ไทยหลายรายการ เพื่อให้ผู้ชมได้เข้าใจและซาบซึ้งศิลปวัฒนธรรมไทย รวมทั้งเป็นการ กุศลแก่องค์กรหรือสถาบันอื่น ๆ ด้วย เช่น สมาคมนิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ จัดแสดงโขนรอบพิเศษ ตอน พิเภกสวามิภักดิ์ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่ง ประเทศไทย รายได้หลังหักค่าใช้จา่ ย สมทบทุนมหาจักรีสริ นิ ธร เพือ่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเรื่องรามเกียรติ์ พิเภกเป็นน้องชายร่วมบิดา – มารดา พิเภกมีกายสีเขียว ทรงมงกุฎน�้ำเต้ากลม เป็นผู้มีใจเป็นธรรม แนะน�ำให้ทศกัณฐ์คืนนางสีดาแก่พระราม จึงโดนทศกัณฐ์ขับไล่จากกรุงลงกา พิเภกจึงไป เป็นโหราจารย์ให้พระราม เมื่อจบศึกลงแล้วพระรามได้แต่งตั้งเป็นท้าวทศศิริวงศ์ ครองกรุงลงกา ในบทความนี้ ไม่มุ่งจะกล่าวถึงพิเภก แต่จะกล่าวถึง ทศกัณฐ์ ซึ่งผู้เขียนต้องตอบหลายครั้งแล้วว่า ตัวเอกที่เป็นยักษ์ในเรื่องรามเกียรติ์นั้น เขียนอย่างไร ในเมื่ออ่านว่า ทด – สะ – กัน


ข่าวทหารอากาศ

ค�ำที่ออกเสียงว่ากันมีอยู่มาก เท่าที่พบคือ กรรณ (หู ค�ำนี้มาจากภาษาสันสกฤต) กัญ (อีกรูปหนึ่ง ของค�ำว่า กันย์ : ชื่อราศีหนึ่งใน ๑๒ ราศี) กัณฐ์ (คอ) กัณฑ์ (ตอนหนึ่ง ๆ ของค�ำเทศน์ที่เป็นเรื่องยาว) กัณณ์ (หู ค�ำนี้มาจากภาษาบาลี) กันย์ (สาวรุ่นหรือชื่อกลุ่มดาวรูปหญิงสาว เรียกว่า ราศีกันย์) ส่วนค�ำว่า กัน ก็มี ความหมายหลายอย่าง อาจใช้เป็นค�ำสรรพนามแทนตัวผู้พูด เป็นค�ำประกอบท้ายกริยาของผู้กระท�ำตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป แสดงอาการกระท�ำร่วมกัน (เช่น คิดกัน หารือกัน) เป็นกิริยากีดขวางไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือ อาจเป็นกิริยาโกนให้เป็นเขตเสมอ เช่น กันคิ้ว กันหน้า เนื่องจากชื่อยักษ์ตนนี้มีความหมายว่า ผู้มีสิบคอ ฉะนั้น จึงต้องเขียนว่า ทศกัณฐ์ ทศกัณฐ์เป็นพญายักษ์ เจ้ากรุงลงกาที่ ๓ แท้จริงแล้วคือ นนทุก (บางฉบับใช้ว่านนทก) มาเกิด เป็น โอรสองค์แรกของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา มีน้องร่วมครรภ์มารดาเดียวกันคือ กุมภกรรณ์ พิเภก ทูษณ์ ขร ตรีเศียร และนางส�ำมนักขา ตามปกติทศกัณฐ์นั้นมีหน้าเดียว (คอเดียว) มี ๒ มือ เหมือนคนธรรมดา ต่อเมื่อแผลงฤทธิ์จึงมี สิบคอหรือสิบหน้า มียี่สิบมือ ดังโคลงประจ�ำภาพที่พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์นิพนธ์ไว้ ความว่า ทศกัณฐ์สิบพักตร์ชั้น ทรงมกุฎชัยเขียวสี กรยี่สิบพรศุลี ถอดจิตจากตนได้

เศียรตรี อาตมไท้ ประสาทฤทธิ์ ยิ่งนา ปิ่นด้าวลงกา

เราไม่เคยเห็นโขนหรือละครแสดงตอนทศกัณฐ์มีสิบคอ สิบหน้า ยี่สิบหู ยี่สิบมือ แต่ปรากฏ ในข้อความกล่าวไว้ เมือ่ เห็นนางส�ำมนักขาถูกตัดตีนสิน้ มือ (นางส�ำมนักขาเห็นพระรามก็เกิดความเสน่หาคิดฆ่า นางสีดา แต่ถูกพระลักษณ์ตัดตีนตัดมือ เชือดหูและจมูกจนขาดหมดจึงไปฟ้องพญาขรว่าถูกมนุษย์ข่มเหง เพื่อข่มขืน พญาขรไปรบก็ตายด้วยศรพระราม พญาทูษณ์และตรีเศียรออกรบแก้มือ ก็ตายด้วยศรพระราม หมด นางจึงเข้าลงกาเล่าเรื่องฟ้องทศกัณฐ์เช่นเดียวกับที่ฟ้องพญาขร พร้อมทั้งชมโฉมนางสีดาให้ทศกัณฐ์ หลงใหล) ด้วยความโกรธฝ่ายพระราม ทศกัณฐ์จึงกลายเป็นผู้มีสิบหน้าหรือสิบเศียรดังความกล่าวว่า แล้วแผลงฤทธิ์ไกรไชยชาญ กลับเป็นสิบพักตร์ยี่สิบกร กายนั้นใหญ่หลวงมหึมา ครั้นมีสิบเศียร

ด้วยก�ำลังขุนมารอันศักดา สูงเงื้อมอัมพรเวหา ดูดังภูผาอัศกรรณ เศียรนั้นคงแยกกันอย่างพญานาคเจ็ดเศียร

เมื่อเป็นกุมารทศกัณฐ์เรียนศิลปศาสตร์ ณ ส�ำนักฤาษีโคบุตร วันหนึ่งหลงไปในสวนพระอรชุน ซึ่งเป็นเทวดาบนยอดเขาจักรวาล เกิดรบกันถูกพระอรชุนแผลงศรมัดตระเวนไปในเมฆ พระฤาษีโคบุตร ตามไปขอโทษแล้วรับตัวกลับ เมือ่ เป็นเจ้ากรุงลงกาแล้ว มีฤทธานุภาพมากจนหลงตัวเอง (เช่นเดียวกับนนทุกทีห่ ลงตัว) ได้ทำ� ความ ดีความชอบต่อพระอิศวรจนทูลขอพระอุมาภควดีได้ แต่ทศกัณฐ์บุญไม่ถึงเมื่อจะเข้าไปอุ้มก็บันดาลร้อนไปทั้ง กาย ทศกัณฐ์จึงช้อนบาทพระนางแล้วยกองค์ขึ้นทูนเศียรไป พวกเทวดาตกใจมาก จึงขอให้พระนารายณ์

69


70

ไปปราบ พระนารายณ์จึงแปลงเป็นยักษ์แก่หาเรื่องบอกทศกัณฐ์ว่า นางที่อุ้มมานี้เป็นตัวกาลี จะผลาญโคตร วงศ์ยกั ษ์หมดทัง้ กรุงลงกาควรพากลับไปคืนเสีย ขอเปลีย่ นเอานางมณโฑมา ทศกัณฐ์เห็นด้วย เพราะไม่สามารถ สัมผัสพระอุมาได้ จึงกลับไปเขาไกรลาส ทูลขอเปลีย่ นเอานางมณโฑแทนพระอุมา แล้วทศกัณฐ์กอ็ มุ้ นางมณโฑ เหาะผ่านกรุงขีดขีน ซึ่งพาลี (ลูกพระอินทร์กับนางกาลอัจนา) ครองกรุงนี้อยู่ พาลีชิงนางมณโฑมาได้ เพราะ มีก�ำลังมากกว่า (ได้ก�ำลังจากทศกัณฐ์กึ่งหนึ่งตามที่พาลีได้พรไว้) ครั้นทศกัณฐ์กลับถึงลงกาแล้ว มีผู้แนะน�ำให้ ไปขอร้องพระฤาษีอังคตผู้เป็นอาจารย์พาลี ช่วยขอนางคืน ก็ได้นางคืนมา ต่อมาเมื่อพาลีท�ำพิธีสรงน�้ำลูกของ ตน (องคต) ซึ่งเกิดจากนางมณโฑ ทศกัณฐ์แปลงเป็นปูใหญ่อยู่ใต้น�้ำหมายจะลอบฆ่า เพราะเห็นว่าถ้าเด็กนั้น มีชวี ติ อยูจ่ ะเสียเกียรติยศว่าเป็นลูกนางมณโฑเกิดกับลิง ซึง่ ถือว่าเป็นดิรจั ฉาน แต่พาลีจบั ปูใหญ่ได้จงึ มัดให้ลกู ทรมานเล่นอยู่ ๗ วัน จึงปล่อยไป ทศกัณฐ์น้อยใจที่แพ้กระทั่งลิงถึง ๒ ครั้ง จึงไปท�ำพิธีถอดดวงใจด้วยพระ ฤาษีโคบุตรที่ยอดเขาคีรี พระฤาษีจัดการเอาดวงใจทศกัณฐ์ใส่ไว้ในกล่อง เก็บรักษาไว้ที่กุฏิ ฉะนั้น ทศกัณฐ์จึง หลงตัวมากกว่า ท�ำอย่างไรก็ไม่ตาย จึงเหมือนอันธพาลประจ�ำเรื่องรามเกียรติ์ พระรามท�ำสงครามขับเคี่ยว กับทศกัณฐ์เท่าไร ๆ ฆ่าทศกัณฐ์อย่างไรทศกัณฐ์ก็ไม่ตาย ต่อมาหนุมานไปลวงเอากล่องดวงใจทศกัณฐ์ที่ฤาษี โคบุตรมาได้ ในที่สุดพระรามก็แผลงศรฆ่าทศกัณฐ์ได้ ทศกัณฐ์เป็นตัวละครที่นอกจากจะเป็นอันธพาลแล้วยังชอบล่วงประเวณีในที่ต่าง ๆ ทั้งกับมนุษย์ นางฟ้า ไม่เว้นแม้แต่กับสัตว์ (กับช้างพัง มีลูกชายสองตน ชื่อ คีรีธรและคีรีวัน และกับปลามีลูกคือ สุพรรณ มัจฉา) ด้วยวิธีจู่โจมพรวดพราด ไม่นิ่มนวล เป็นที่มาของส�ำนวนว่า เจ้าชู้ยักษ์ ซึ่งหมายถึง ผู้ชายที่เข้าเกี้ยว ผู้หญิงโดยวิธีพรวดพราดเข้าถึงตัว ไขว่คว้าจับต้องผู้หญิงเอาด้วยก�ำลังของตน ถ้าคนดูโขนตอนทศกัณฐ์ เกี้ยวฝ่ายหญิงแล้วจะมีมโนภาพของ เจ้าชู้ยักษ์ ได้ เรื่องของภาษาไทย สื่อความหมายได้ดีเสมอ ถ้าได้อ่านมากก็จะเพลิดเพลินต่อการสื่อความหมาย จึงไม่แปลกที่ผู้ซึ่งได้ชมโขนเรื่องรามเกียรติ์ตอนต่าง ๆ จะสนุกไปทุก ๆ ตอน จึงรู้สึกว่าภาษาไทยนี้น�ำความรู้ ความเพลิดเพลินมาสู่ผู้ใช้ภาษาโดยแท้


ข่าวทหารอากาศ

การแข่งขัน

UAV Challenge Medical Express 2018 น.อ.รศ.ประสาทพร วงษ์ค�ำช้าง

ความก้ า วหน้ า ด้ า นสารสนเทศท� ำ ให้ เทคโนโลยีทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์มีประสิทธิภาพ มากขึ้น เช่น การเชื่อมโยงส่งถ่ายข้อมูลซึ่งกันและ กันได้ ท�ำให้เกิดแนวคิดของเครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric) เป็นสิ่งที่กองทัพไทยจ�ำเป็นต้อง มีในอนาคต และตามยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ในห้วง ๑๒ ปี (๒๕๕๑ – ๒๕๖๒) กองทัพอากาศไทย มีเจตจ�ำนงที่ก้าวไปสู่กองทัพอากาศที่ใช้เครือข่าย เป็นศูนย์กลางเช่นกัน ในระบบทีใ่ ช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ระบบ อากาศยานไร้คนขับ ซึง่ เป็นองค์ความรูด้ า้ นเทคโนโลยี

หุน่ ยนต์อตั โนมัติ ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอุปกรณ์ตรวจ จับ ซึง่ จะท�ำหน้าทีส่ ง่ ข้อมูลของสถานการณ์มายังส่วน บัญชาการได้ ดังนั้นกองทัพอากาศไทยได้เล็งเห็นถึง ความส�ำคัญอากาศยานไร้คนขับ ที่สามารถท�ำงานได้ หลายภารกิจ โดยเฉพาะการลาดตระเวนและตรวจการณ์ ซึง่ ประหยัดและคุม้ ค่าในการใช้งาน ซึง่ กองทัพอากาศ ได้ก�ำหนดเป็นนโยบายในการพัฒนาและต่อยอดงาน วิจัยด้านอากาศยานไร้คนขับ น�ำไปสู่การผลิตอย่าง เป็นรูปธรรม ดังนั้นจึงควรมีการสร้างบุคลากรด้าน ระบบอากาศยานไร้คนขับ โดยเริ่มจากการถ่ายทอด วิชาการด้านหุน่ ยนต์อตั โนมัตจิ ากอาจารย์ผเู้ ชีย่ วชาญ

71


72

ไปสูน่ กั เรียนนายเรืออากาศ รวมถึงนักเรียนเตรียมทหาร เพื่อขยายองค์ความรู้ให้กระจายไปเป็นวงกว้าง โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ได้เห็นความส�ำคัญต่อการศึกษาด้านระบบอากาศยาน ไร้คนขับ และเทคโนโลยีหนุ่ ยนต์อตั โนมัติ จึงได้เริม่ ให้ มีกิจกรรมการแข่งขันระบบอากาศยานไร้คนขับ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๕ โดยใช้ชื่อว่า RTAF UAV Contest 2012 ท�ำการแบ่งนักเรียนนายเรืออากาศ ทั้งหมดร่วมท�ำกิจกรรม โดยในปีแรกมีทั้งหมด ๒๕ กลุ ่ ม แบ่ ง เป็ น กิ จ กรรมการออกแบบโครงสร้ า ง อากาศยาน และกิจกรรมระบบควบคุมการบินอัตโนมัติ โดยมีการถ่ายทอดความรูภ้ าคทฤษฎีและภาคปฏิบตั กิ าร ให้แก่นกั เรียนนายเรืออากาศ การถ่ า ยทอดความรู ้ ใ นส่ ว นออกแบบ โครงสร้างนัน้ อาจารย์ผรู้ บั ผิดชอบจะด�ำเนินการสอน นักเรียนนายเรืออากาศ ภาคทฤษฎีเกีย่ วกับการออกแบบ อากาศยาน โดยใช้โปรแกรมช่วยออกแบบอากาศยาน Plane Maker ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมจ�ำลอง การบิน X-Plane 9 ผลจากการศึกษาในส่วนออกแบบ โครงสร้างนี้จะท�ำให้นักเรียนนายเรืออากาศสามารถ ออกแบบรูปทรงของปีก ล�ำตัว ชุดพวงหาง พื้นบังคับ

ต่าง ๆ ได้ตามต้องการ และยังสามารถจ�ำลองการบิน อากาศยานทีท่ ำ� การออกแบบนีไ้ ด้ดว้ ยโดยใช้โปรแกรม จ�ำลองการบิน X - Plane 9 ส�ำหรับการถ่ายทอดความรู้ ด้านระบบควบคุมการบินอัตโนมัติ (Automatic Flight Control System) จะเป็นการสอนเกี่ยวกับเครื่องวัด ในอากาศยานและเครือ่ งวัดทีเ่ กีย่ วข้องในระบบควบคุม การบิน เช่น เครื่องวัดความเร็ว เครื่องวัดความสูง ระบบระบุพิกัดต�ำแหน่งด้วยดาวเทียมจีพีเอส (GPS) และเครื่องวัดมุมเอียง เป็นต้น และจะท�ำการเรียนใน ภาคปฏิบัติโดยใช้ระบบควบคุมการบินอัตโนมัติ รุ่น Ardu Pilot ท�ำการก�ำหนดค่าต่าง ๆ การเชือ่ มต่อระบบ ควบคุมการบินกับมอเตอร์ของชุดพืน้ บังคับอากาศยาน มอเตอร์ของระบบขับเคลือ่ น ระบบสือ่ สารแบบไร้สาย และระบบควบคุมภาคพืน้ (Ground Control Station: GCS) เป็นต้น เมื่อนักเรียนนายเรืออากาศสามารถ เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้สมบูรณ์แล้ว ก็จะสามารถ จ�ำลองการท�ำงานของระบบอากาศยานไร้คนขับได้ โดยใช้ระบบควบคุมการบินอัตโนมัติ Ardu Pilot ร่วมกับโปรแกรมจ�ำลองการบิน X - Plane 9 ในการ จ�ำลองการท�ำงานของระบบและเพือ่ ฝึกความช�ำนาญ ในการควบคุมอากาศยานไร้คนขับ

การแข่งขันระบบอากาศยานไร้คนขับภายในโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช


ข่าวทหารอากาศ

ในปีต่อมานั้น ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ กติกาการแข่งขัน เนื่องจากนักเรียนนายเรืออากาศ มีพื้นฐานระบบอากาศยานไร้คนขับมากขึ้น โดยในปี พ.ศ.๒๕๕๙ ได้มกี ารแข่งขันในรูปแบบใหม่ โดยท�ำการ แบ่งนักเรียนนายเรืออากาศ บางส่วนประมาณ ๔๐ นาย เป็น ๒ ทีม จ�ำลองการรบกันระหว่าง Blueland และ Redland โดยใช้หลักการท�ำสงครามทางอากาศ มาใช้เป็นกติกาในการแข่งขัน ท�ำให้นักเรียนนายเรือ อากาศเข้ า ใจถึ ง หลั ก การท� ำ สงครามทางอากาศ มากขึน้ โดยใช้การแข่งขันอากาศยานไร้คนขับ เป็นสือ่ ในการเรียนรู้ผ่านเกมส์การแข่งขัน

การแข่งขันการจ�ำลองสถานการณ์การรบโดยใช้ระบบอากาศยานไร้คนขับ เมื่อมีการพัฒนาทักษะและความรู้ด้านอากาศยาน ไร้คนขับ และระบบหุ่นยนต์แล้ว จึงมีการรวมทีม Griffin UAV และเข้าแข่งขันตามรายการต่าง ๆ และได้รบั รางวัลมาโดยตลอด โดยเฉพาะการแข่งขันระบบอากาศยานไร้คนขับในระดับอาเซียน Autonomous Aerial Vehicle Challenge (AAVC) ซึ่งเริ่ม แข่งขันขันครัง้ แรกในปี พ.ศ.๒๕๕๗ โดยมีโรงเรียนนายเรืออากาศ นวมินทกษัตริยาธิราช เป็นเจ้าภาพการแข่งขัน โดยมีทีมจาก ประเทศญีป่ นุ่ สิงคโปร์ และมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เข้าร่วม การแข่งขัน โดยการแข่งขันครั้งล่าสุดในปี พ.ศ.๒๕๖๐ มี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นเจ้าภาพ ซึ่งทีมของนักเรียน นายเรืออากาศก็สามารถได้รบั ชัยชนะรางวัลที่ ๑ และรางวัลที่ ๒

73


74

การแข่งขัน Autonomous Aerial Vehicle Challenge ทีมนักเรียนนายเรืออากาศ จึงตัง้ เป้าว่าอยาก ไปแข่งในรายการต่างประเทศ เพื่อน�ำประสบการณ์ ที่ได้มาพัฒนาทีมไปสู่นักเรียนนายเรืออากาศรุ่นน้อง ต่อไป จึงได้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันอากาศยานไร้คนขับ ระดับนานาชาติ โดยเลือกรายการ UAV Medical Express ซึ่งเป็นการแข่งขัน UAV ที่เป็นที่นิยมและ เป็นทีย่ อมรับในระดับนานาชาติ และเมือ่ มีการเปิดรับ ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน จึงได้ส่งทีมจากโรงเรียน นายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เข้าร่วมการ แข่งขันซึ่งล�ำดับขั้นตอนการแข่งขันมีดังนี้ คือ

รอบ D1 จะเป็นการส่งใบสมัครและรายงาน ที่มีรายละเอียดของระบบ UAV ที่จะใช้ในการแข่งขัน พบว่ามีทีมที่เข้ารอบ D1 จากการคัดเลือกทีมที่สมัคร เข้าแข่งขันจากทั่วโลกเหลือ ๕๕ ทีม รอบ D2 เป็นการสร้างระบบ UAV พร้อม ทั้งท�ำการบินทดสอบในเบื้องต้น ส่งรายงานและ Video การบินทดสอบ ในรอบ D2 นี้มีทีมที่เข้ารอบ ๒๑ ทีม และรอบ D3 เป็ น การทดสอบระบบ อากาศยานไร้คนขับที่จะใช้ในการแข่งขัน โดยจะต้อง ท�ำการบินเป็นระยะเวลารวมทัง้ หมด ๕ ชัว่ โมงในการ บินแบบอัตโนมัติ ซึง่ มีทมี ทีผ่ า่ นรอบคัดเลือกเพือ่ ทีจ่ ะ ไปแข่งรอบสุดท้ายทีเ่ มือง Dalby เครือรัฐออสเตรเลีย เหลือเพียง ๑๑ ทีม โดยทีม Griffin UAV จากโรงเรียน นายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช สามารถเข้ารอบ และมาแข่งในรอบสุดท้ายทีเ่ มือง Dalby รัฐควีนแลนด์ เครือรัฐออสเตรเลียได้ โดยได้รับการสนับสนุนค่า ใช้จ่ายโดยงบประมาณกองทัพอากาศ ส�ำหรับการ แข่งขันในช่วงระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๘ กันยายน ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา

การแข่งขัน UAV Challenge Medical Express 2018 ในรอบต่าง ๆ


ข่าวทหารอากาศ

ภารกิจในการแข่งขันครั้งนี้ มีการสมมติ สถานการณ์ ว่ามีเกษตรกรชื่อ Outback Joe อาศัย อยู่ในชนบทที่ห่างไกลในรัฐควีนแลนด์ ประเทศ ออสเตรเลีย เขารู้สึกไม่สบายและได้ปรึกษาแพทย์ โดยใช้การประชุมด้วยวิดีโอจากระยะไกลผ่านระบบ เครือข่าย แพทย์ได้ขอตัวอย่างเลือดจาก Outback Joe โดยต้องการเร็วที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ ซึ่งทาง Outback Joe ได้เตรียมตัวอย่างเลือดไว้เรียบร้อยแล้ว แต่สถานการณ์ไม่ดเี นือ่ งจาก Outback Joe อาศัยอยู่ ในพื้นที่ที่ห่างไกล อีกทั้งประสบปัญหาคือมีน�้ำท่วม ในบริเวณพื้นที่ที่ Outback Joe อาศัยอยู่ ทางห้อง ปฏิบตั กิ ารจึงต้องส่งอากาศยานไร้คนขับ ไปรับตัวอย่าง เลือดจาก Outback Joe และน�ำกลับมาเพือ่ น�ำตัวอย่าง เลือดไปวิเคราะห์และรักษา Outback Joe ต่อไป โดยอากาศยานไร้คนขับ จะต้องบินขึ้นและมุ่งหน้า ไปยังจุดเช็คพ๊อยท์ ๒ จุด และบินไปยังที่พักอาศัย ของ Outback Joe และท�ำการลงจอดโดยห่างจาก Outback Joe ไม่นอ้ ยกว่า ๔๐ เมตรเพือ่ ความปลอดภัย แต่จะต้องห่างจากจุดที่ก�ำหนดไม่เกิน ๑๐ เมตร เมือ่ Outback Joe น�ำตัวอย่างเลือดมาใส่ในต�ำแหน่ง ที่เตรียมไว้บนอากาศยานไร้คนขับเรียบร้อยแล้ว Outback Joe จะต้องกดปุ่มที่เครื่อง เพื่อให้เครื่อง บินกลับไปยังฐานปฏิบัติการ เพื่อน�ำตัวอย่างเลือด

ไปให้แพทย์ท�ำการวิเคราะห์ต่อไป โดยระยะทาง ในการบินรวมทั้งสิ้น ๒๔ ไมล์หรือประมาณ ๔๔.๕ กิโลเมตร และมีเวลาในการปฏิบัติการบินไม่เกิน ๖๐ นาที ซึ่งในระหว่างบินนั้นมีข้อห้ามคือห้ามบินผ่าน ไปยังเขตห้ามบิน (No Fly Zone) ซึง่ ทางคณะกรรมการ จะเป็นผู้ก�ำหนด ผลการแข่งขัน ทีม Griffin UAV จากโรงเรียน นายเรื อ อากาศนวมิ น ทกษั ต ริ ย าธิ ร าช สามารถ ท�ำคะแนนรวมได้เป็นล�ำดับที่ ๔ รองจากทีม Monas UAS จากออสเตรเลียทีไ่ ด้ลำ� ดับ ๑ ทีม Dhaksha จาก อินเดียที่ได้ล�ำดับ ๒ และทีม Canberra UAV จาก ออสเตรเลีย ที่ได้ล�ำดับ ๓ นอกจากนี้ทีม Griffin UAV จากโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ยังได้รับรางวัล Airmanship Award โดยผ่านเกณฑ์ ตัดสินจากคณะกรรมการคือ การท�ำการบินอย่าง มืออาชีพ (Professionalism) การมีทศั นะคติการบิน ที่ ดี (Good Attitude) และมี ค วามสามารถ ในกระบวนการตัดสินใจ (Decision Making Ability) ทั้งนี้ในวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ได้ทำ� การ บันทึกเทปการสัมภาษณ์การแข่งขัน UAV Challenge Medical Express 2018 เพื่อออกอากาศทางสถานี วิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง ๕ เพือ่ เป็นการประชาสัมพันธ์

ทีม Griffin UAV ในการแข่งขัน UAV Challenge Medical Express 2018

75


76

ผลการแข่งขัน UAV Challenge Medical Express 2018 ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบในเรื่องดังกล่าว โดย พลอากาศโท พัทธนันท์ นุชพงษ์ ผูบ้ ญั ชาการโรงเรียน นายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ได้ให้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับนโยบายการสนับสนุนการพัฒนาทักษะของ นักเรียนนายเรืออากาศด้านระบบอากาศยานไร้คนขับ ส�ำหรับการแข่งขันครัง้ นีท้ ำ� ให้ทราบถึงระดับ ความสามารถของบุคลากรจากโรงเรียนนายเรืออากาศ นวมินทกษัตริยาธิราช โดยเฉพาะนักเรียนนายเรือ อากาศ ซึ่งสามารถน�ำความรู้และประสบการณ์ ที่ได้รับมาใช้ในการพัฒนาตนเอง กองทัพอากาศ และประเทศชาติตอ่ ไป ในการพัฒนาระบบอากาศยาน ไร้คนขับหรือ UAV ที่มีภารกิจในการช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยในพื้นที่ห่างไกลหรือเข้าถึงได้ยาก เช่น กรณีเกิดน�้ำท่วม หรือภัยพิบัติต่าง ๆ ทั้งในภารกิจการ ค้ น หาช่ ว ยชี วิ ต การส่ ง อุ ป กรณ์ เ พื่ อ ช่ ว ยเหลื อ ผู้ประสบภัย การส่งเวชภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นต้น

การบันทึกเทปการสัมภาษณ์ ผบ.รร.นนก. และสมาชิกทีม Griffin UAV เพื่อออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ กองทัพบกช่อง ๕


ข่าวทหารอากาศ

Crossword ประจ�ำเดือน มกราคม ๒๕๖๒

อ.วารุณี

CROSSWORD 1 1

2

3

4

5

6 7

9

10

13

11

14 18 22

27

28

16

19 23

29

20 24

25

31

33

36

37 43

38

34 39

35 40

44

41

45

47

48

49

52

46 50

53

56

58 61 62

51 54

57 60

21

26

30

32

59

12

15

17

8

63

55

42

77


78

Across 1. Oh, I heard the _______ from the behind .ambulance, please keep left side. 4. To _______ means to keep for the future use. 7. An abbreviation for Air Marshal. 9. Ladda often acts _______ if she were the actress. 10. To _______ means to be seen, to come into sight. 12. Along Silom _______ (an abbreviation) the business used to bloom. 13. _______, paid, paid 15. _______’s degree is higher than a bachelor’s degree. 17. _______! I can find my handbag. 18. _______ is a male cow that has been castrated. 20. To finish, to be over. 23. Lay, laid, _______ 26. _______ you try hard, you can pass the exam. 27. To _______ means “To bring many things together” 30. _______ is the thick black sticky liquid that becomes hard when it is cold used for making road. 31. _______ is a top part of a pot etc that can be lifted up or taking off. 32. Now and _______ means sometimes, occasionally. 34. Opposite of “he” 36. I, _______ you, they etc. 37. I’ have been an instructor _______ 1973 40. The best way to have a good grade, to review your notes before the _______. 43. All _______ once means “all of sudden, suddenly”. 46. _______ she, it etc. 47. I am hungry and he is _______ hungry now. 48. To _______ means “to hide something or somebody”. 52. I must go to see a doctor because I have a _______ throat. 53. TO _______ of means “to be made up of”. 56. _______ is an abbreviation for United Kingdom. 57. This mango is very _______ so I need some salt. 58. It is very funny, if Thailand has _______, small soft white pieces of frozen water that fall the sky. 59. The organ used to listen to some sounds. 60. _______ is dangerous to keep a gun carelessly or your kid may take it to play. 61. The same was No.12 Across 62. An abbreviation for “Versus” 63. To be _______ means “mentally ill, be crazy”

Down 1. He gave him a _______ or an hitting across his servant’s face. 2. The same as No 12 Across. 3. _______ is a lack part of the week. 4. To means to walk or travel with no particular plan or aim. 5. _______ is the world, the planet on which we live. 6. The same as No.59 Across. 8. An abbreviation for “Doctor of Medicine”. 11. To _______ means “to send out heat or light” 14. The period of your life when you are young. 16. A _______ means “a sudden Movement or action that you make automatically”. 19. The T-shirt size that my dad wears must be a bit bigger than “L” so it should be _______ (an abbreviation) 21. _______ you buy that size for him yesterday? 22. _______ is a female bird that is often kept on farm for its eggs or its meat. 24. The same as No.43 Across 25. Av abbreviation for “Doctor”. 28. Eat, _____, eaten 29. The same as NO. 46 Across 33. He often serious his reason _____ the afternoon. 35. The same as NO. 46 Across 36. The _____ Today is 19 C๐ 38. _____ is sex between close member of a family such as brother and sister. 39. To _____ means to agree with somebody or something. 41. ______ I will follow your warning “not to stay up so late.” 42. Meet, met, _____. 43. To _____ means to promise somebody That something certainly happen. 44. Take, ______ Taken 45. The pleural form of man is “_____” 49. _____ is electric wire inside a plastic tube , used for carrying electricity to electrical Equipment. 50. _____ is a part of the body that you sit on. 51. Oh, The ______ is busy so I will call him up tomorrow. 54. I am _____ sorry that I missed your birthday party. 55. A: There two boys look very much alike. B: They are _____ boys 5 minutes younger and order. 60. ____ The younger boy a bit more handsome?

(เฉลยหน้า ๔๙)


ข่าวทหารอากาศ

เมือ่ ชาวเมืองเปลีย่ นใจ...ไปเป็นชาวนา

หลังชอบฟ้า...หน้ารักดิน

กันตา

ก่ อ นที่ ผู ้ เขี ย นจะตั ด สิ น ใจเขี ย นเรื่ อ ง “เมื่อชาวเมืองเปลี่ยนใจ...ไปเป็นชาวนา หลังชอบฟ้า หน้ารักดิน” นี้ ได้คิดทบทวนอยู่สักระยะหนึ่งว่าจะ เข้ากันได้กับการเผยแพร่ในคอลัมน์มุมท่องเที่ยวนี้ หรือไม่ แต่เมือ่ นึกถึงกระแสการท่องเทีย่ วรูปแบบใหม่ ที่ก�ำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ จึงตัดสินใจที่จะ ถ่ายทอดเรื่องราวที่เป็นประสบการณ์โดยตรงของ ผูเ้ ขียน ให้ผอู้ า่ นทุกท่านได้เพลิดเพลินกับการท่องเทีย่ ว รูปแบบนี้ ที่เรียกได้ว่า ลึกซึ้ง งดงาม และได้แง่คิด กลับมาอย่างไม่น่าเชื่อ การท่องเทีย่ วเชิงเกษตร (Agro – Tourism) เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ก�ำลังได้รับความนิยม อย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิง่ ในกลุม่ วัยรุน่ และวัยท�ำงาน โดยการท่องเทีย่ วเชิงเกษตรนี้ หมายถึง การท่องเทีย่ ว ที่มุ่งเน้นทางด้านการเรียนรู้วิถีเกษตรกรรมของ ชาวชนบท เน้นการมีสว่ นร่วมของนักท่องเทีย่ วในการ ด�ำเนินกิจกรรม ให้เกิดการเรียนรูด้ า้ นการเกษตรและ วิถีการด�ำรงชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี การท่องเที่ยว เชิ ง เกษตร จะเป็ น การอนุ รั ก ษ์ ค วบคู ่ ไ ปกั บ การ ท่ อ งเที่ ย ว เพื่ อ ไม่ ใ ห้ เ กิ ด ผลกระทบต่ อ ชุ ม ชน และผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ผูเ้ ขียนเดินทางไปเทีย่ วเชิงเกษตร ณ ต�ำบล นาดี อ�ำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ดินแดนที่ได้ชื่อว่า เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิทดี่ ีที่สุดของประเทศไทย และได้รบั โอกาสอันดีทไี่ ด้ไปเทีย่ วในระยะยาว แต่ไม่ได้ หมายถึง หนีราชการระยะยาวนะคะ เพียงแต่ได้

มีโอกาสเดินทางไปบ่อยครั้ง ท�ำให้ได้เรียนรู้วิถีชีวิต ของ “ชาวนา” ตลอดทัง้ กระบวนการขัน้ ตอนการท�ำนา ว่ า กว่ า จะมาเป็ น เมล็ ด ข้ า วสารให้ เราทุ ก คนได้ รับประทานกันนั้นไม่ได้ง่าย แม้จะไม่ถ่องแท้เหมือน ชาวนาจริง ๆ แต่เรียกได้วา่ เรือ่ งราวทีผ่ เู้ ขียนจะถ่ายทอด นีส้ ามารถสะท้อนเรือ่ งราวภาพรวมของวิถชี วี ติ ชาวนา ได้ในระดับหนึ่ง เพียงพอที่คนคนหนึ่งจะรู้คุณค่าของ “ข้าว” และรู้บุญคุณของ “ชาวนา” การเตรียมดินนั้นถือเป็นเรื่องส�ำคัญของ การเพาะปลูก การท�ำนาก็เช่นกัน ช่วงระยะเวลา ของการเตรียมดินจะต้องท�ำก่อนที่ฝนแรกในช่วง หน้าฝนจะตกลงมา เนือ่ งจากหากเราปล่อยให้ฝนตกมา

79


80

เสียก่อนแล้ว ดินเพาะปลูกของเราจะมีความแน่น จนเกินไป ท�ำให้ขั้นตอนในการไถพรวนนั้นค่อนข้าง ล�ำบาก อีกประการหนึ่งหากเราไถพรวนก่อนฝนก็จะ พอดีกับฝนที่จะตกลงมาให้ความชุ่มชื้นกับผืนดิน หลังจากที่ผู้เขียนได้ลองขึ้นขับรถไถบอกเลยว่าไม่ได้ ง่ายอย่างที่คิดไว้ตอนแรก ยากตั้งแต่การบังคับด้วย รถที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ แรงกระแทกจากพื้นดิน ที่ไม่สม�่ำเสมอ ท�ำเอาผู้เขียนยอกหลังไปหลายวัน ขั้นตอนต่อไป คือ การหว่าน การด�ำ หรือ การหยอดเมล็ด ที่มีชื่อเรียกหลายแบบเนื่องจาก วิวัฒนาการของการเกษตรที่มีมาอย่างต่อเนื่องและ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของแต่ละภูมิภาค ที่ปลูกข้าว เรียกง่าย ๆ ว่า คือ ขั้นตอนที่น�ำเมล็ดพันธุ์ ข้าวลงพื้นดินนั่นเอง หากเป็นสมัยก่อนที่เมล็ดพันธุ์ ไม่ได้มีราคาสูงมากเราจะใช้การหว่านเพื่อเป็นการ

ลดแรงงานในการท�ำนา หรือหากต้องการความประหยัด เมล็ดพันธุ์ ความเป็นระเบียบ ง่ายต่อการดูแลวัชพืช ที่ จ ะขึ้ น แซมจะใช้ ก ารเพาะเมล็ ด พั น ธุ ์ ที่ ก ระบะ ด้านนอก เมื่อได้ต้นกล้าแล้วจึงน�ำไปด�ำนา ข้อดีเป็น เช่นทีไ่ ด้กล่าวแล้วแต่ขอ้ เสีย คือ จะเหนือ่ ยกว่าวิธอี นื่ ๆ และเป็นที่มาของประโยคที่ว่า หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน แต่ผลผลิตออกมาจะค่อนข้างดีและพื้นที่นาสวยงาม ส่วนวิธสี ดุ ท้ายคือ การหยอดเมล็ดเป็นการผสมผสาน กันระหว่าง ๒ วิธีแรก คือ ลดแรงชาวนา ประหยัด เมล็ดพันธุ์ และได้ผลผลิตที่ค่อนข้างจะมากเมื่อเทียบ กับเมล็ดพันธุท์ ลี่ งไป คือ การใช้เครือ่ งจักรในการหยอด เมล็ ด พั น ธุ ์ ซึ่ ง ในส่ ว นที่ ผู ้ เขี ย นมี โ อกาสไปลองน� ำ เมล็ดพันธุ์ลงดินใช้วิธีนี้ค่ะ มีเกร็ดความรู้ที่ผู้เขียน ได้สอบถามจากชาวนามาเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวพื้นเมือง หอมมะลิของไทยแต่เดิมที่เป็นพันธุ์ที่ทนต่อสภาพ ดินฟ้าอากาศว่าสมัยนีย้ งั คงมีอยูห่ รือไม่ ได้คำ� ตอบกลับ มาว่าเดี๋ยวนี้ไม่มีแล้วคงเหลือแต่เมล็ดพันธุ์ที่ขาย โดยร้านขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรครบวงจร ซึ่ง ก็ไม่สามารถน�ำมาเพาะพันธุต์ อ่ ได้อกี เมือ่ เป็นข้าวเปลือก เพราะเป็นเมล็ดพันธุ์แบบ Genetically Modified Organisms : GMOs คือ สิ่งมีชีวิตซึ่งไม่ว่าจะเป็นพืช หรือสัตว์ หรือแบคทีเรีย หรือจุลินทรีย์ ที่ถูกดัดแปลง พันธุกรรมจากกระบวนการทางพันธุวศิ วกรรมต้องซือ้ ใหม่ ทุกปี หลังจากที่เราท�ำการหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว เป็นที่เรียบร้อยสิ่งที่ชาวนาต้องคอยเฝ้าภาวนาคือ อย่าให้มีฝนตกลงมาในช่วง ๕ - ๗ วัน เนื่องจากข้าว ที่เราลงไปแล้วจะพึ่งแตกยอดออกมา หากฝนตกลง มาในช่วงนี้จะท�ำให้กล้าข้าวล้ม แต่หากผ่านพ้น ช่วงเวลานีไ้ ปแล้ว ฝนตกลงมาเท่าไหร่เท่ากันค่ะ เพราะ เป็นช่วงที่กล้าข้าวต้องการน�้ำ ขอเพียงอย่างเดียว คือ อย่าให้น�้ำท่วมนาเป็นอันดี แต่อย่างไรก็ตามความ ยากของขัน้ ตอนนีอ้ ยูต่ รงทีฤ่ ดูกาลทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป ช่วง เทศกาลเข้าพรรษาไม่ใช่ชว่ งเวลาทีจ่ ะเป็นตัวชีว้ ดั เรือ่ ง สภาพดินฟ้าอากาศอีกต่อไป โดยปกติชาวนาจะก�ำหนด


ข่าวทหารอากาศ

ช่วงของก่อนเข้าพรรษาเป็นช่วงน�ำเมล็ดพันธุ์ลงดิน คือ ประมาณสิน้ เดือนกรกฎาคมของทุกปี เพราะหลัง จากนี้ฝนจะตกลงมาพอดี แต่ในปัจจุบันนี้ จะต้อง ท�ำการประมวลข้อมูลจากหลายแหล่ง บ้างคาดคะเน ผิดก็ถึงกับท�ำให้ผลผลิตเสียหาย เมือ่ ทุกอย่างเป็นไปตามแบบทีเ่ ราได้วางแผน ไว้ทุกประการมาถึงขั้นตอนของการก�ำจัดวัชพืช กันบ้างค่ะ เนื่องจากนาข้าวที่ผู้เขียนได้มีโอกาสไป ท�ำนี้เป็นนาข้าวอินทรีย์เราจึงใช้วิถีธรรมชาติในการ ก�ำจัดศัตรูพชื ผูเ้ ขียนใช้มะนาวทีเ่ ป็นผลผลิตทีม่ จี ำ� นวน มากในฤดูกาลนัน้ มาเป็นวัตถุดบิ หลักในการปราบหญ้า แบบอินทรีย์โดยท�ำการผสมกับน�้ำเปล่าจ�ำนวนหนึ่ง แล้วปล่อยให้มะนาวท�ำปฏิกริยากับน�้ำตาลที่เราใส่ ลงไปทิ้งไว้ประมาณ ๓ สัปดาห์ก็น�ำมาพ่นลงในแปลง ซึ่งถือว่าใช้ได้ดีเลยทีเดียวค่ะ อีกขั้นตอนหนึ่ง คือ การตัดหญ้าในแปลง ที่จะต้องคอยสังเกตว่าให้หญ้า ยาวอยูใ่ นระดับไม่สงู มาก และต้นข้าวได้ประมาณ ๑ ฟุต ชาวนามักจะใช้ชว่ งเวลานีต้ ดั พร้อมกันทัง้ ข้าวและหญ้า เพื่อที่จะให้ข้าวได้แตกกอและให้ผลผลิตออกมา

เป็นรวงที่สวยงามมากขึ้นนั่นเอง พร้อมกันนี้เมื่อก�ำจัดวัชพืชแล้ว ชาวนาจะ ท�ำการบ�ำรุงต้นข้าวด้วยปุย๋ ต่าง ๆ สูตรกันไป บ้างก็ใช้ หอยนางรมมาผสมกับผงโกโก้เพื่อท�ำเป็นฮอร์โมน ชั้ น ดี ใ นการเพิ่ ม ผลผลิ ต โดยไม่ ต ้ อ งพึ่ ง สารเคมี ซึ่งนอกจากจะเป็นอันตรายทั้งต่อตัวชาวนา และมี สารตกค้างไปถึงผูบ้ ริโภคด้วย ทีส่ ำ� คัญคือ ต้นทุนการผลิต นั้นค่อนข้างสูง ในขณะที่ราคารับซื้อข้าวเปลือกของ โรงสีราคาเท่าเดิม แต่ราคาปุ๋ยเคมีคิดเป็นราคาต่อไร่ นั้นเพิ่มสูงมากขึ้นทุกปี แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นอุปสรรค ที่ท�ำให้ชาวนาไม่สามารถเปลี่ยนวิถีเกษตรกรรม

81


82

มาเป็นแบบอินทรียไ์ ด้นนั้ เนือ่ งจากจะต้องมีเงินลงทุน ในครั้ ง แรกไม่ ม ากแต่ ก็ ไ ม่ น ้ อ ยส� ำหรั บ วิ ถี ช าวนา ในขณะที่ปุ๋ยเคมีนั้น สามารถซื้อแบบเชื่อได้ เป็นการ ผูกขาดการตลาดอีกรูปแบบหนึ่ง เมื่อผลผลิตออกมา จึงน�ำข้าวไปขาย น�ำมาจ่ายค่าปุ๋ยในภายหลัง เมื่ อ สิ้ น สุ ด กระบวนการทั้ ง หมดแล้ ว ก็ เป็นช่วงที่ชาวนาจะได้พักผ่อนและเฝ้ารอผลผลิต ยิ่งหากเป็นชาวนาที่ท�ำนาปี คือ ท�ำนาปีละ ๑ ครั้ง นาผืนนี้จะเป็นสิ่งที่มีความส�ำคัญกับชีวิตชาวนาเป็น อย่างมากเพราะเป็นโอกาสที่จะน�ำผลผลิตไปขายได้ รายได้เพียงครัง้ เดียวต่อปี หากฝนพอจะตกลงมาบ้าง ก็จะวางใจได้ว่าปีนี้ยังพอจะได้มีค่าปุ๋ย ค่าเมล็ดพันธุ์ ไปจ่ายร้านค้า แต่หากปีไหนที่ฝนทิ้งช่วง ชาวนาก็ได้ แต่เศร้าสร้อย และต้องหาแผนส�ำรองที่จะต้องหาเงิน ไปคืนร้านค้า เพราะมีความเป็นไปได้สูงที่จะขาดทุน และผลผลิตไม่ได้ราคา ๓ เดือน แห่งการรอคอย ข้าวออกรวง เต็มล�ำต้นโค้งรับกับผืนนาเป็นที่ชื่นใจของชาวนาที่ได้ ลงแรงลงใจไปอย่างเต็มที่ แม้จะใกล้ความส�ำเร็จแล้ว แต่ยังไม่สิ้นสุดกระบวนการ เรายังเหลือขั้นตอน ของการเก็บเกี่ยวข้าวจากแปลงนา การตากข้าว ให้หายชืน้ เพือ่ ให้คา่ ความชืน้ มีไม่สงู และจะท�ำให้ราคา ข้าวเปลือกเพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง ที่ผู้เขียนได้เล่าเรื่องราวขั้นตอนในการ ท�ำนาข้าวทั้งหมดนี้เป็นเพียงภาพรวมและเป็นเพียง ประสบการณ์ไม่กี่เดือนที่ได้มีโอกาสไปท�ำนา อาชีพ

ที่ผู้เขียนคิดว่ามีบุญคุณต่อคนไทยทั้งประเทศ เพราะ จริง ๆ แล้วมีอาชีพอีกหลายอย่างที่ชาวนาสามารถ เลือกท�ำได้ดว้ ยคุณสมบัตทิ ดี่ ขี นั้ พืน้ ฐานคือความรูค้ วาม สามารถในการเพาะปลูก ความอดทน ความขยัน หมัน่ เพียร การรูจ้ กั คิดวางแผนและวิเคราะห์สถานการณ์ ต่าง ๆ แต่ชาวนาก็ยังคงเลือกที่จะเป็นชาวนา กระดูก สันหลังของชาติ ผลิต “ข้าว” มาเป็นอาหารหลัก ให้คนไทยได้รบั ประทาน และมีแรงมีสติกำ� ลังไปพัฒนา ประเทศชาติต่อไป ในฐานะของคนไทยคนหนึ่ง เพียงแต่หวังว่ารัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะได้มกี ารสนับสนุนส่งเสริมการท�ำนาอย่างเป็นรูปธรรม แก้ปัญหาจากการเห็นปัญหาและประจักษ์ในปัญหา อย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงแต่แก้ปัญหาเพียงเพื่อให้ ผ่านไป แล้วหากวันนั้นมาถึงเราจะได้เห็นรอยยิ้ม ของชาวนาที่กว้างขึ้นอีก ท่ามกลางแดด แผดเผา มีเงาสร้าง จากสิ่งว่าง ผืนดิน ถิ่นอาศัย แหล่งอาหาร สีทอง เป็นของไทย หล่อเลี้ยงให้ ทุกชน แต่ต้นมา เป็นอาชีพ ดั้งเดิม คอยเสริมส่ง ยังธ�ำรง คงชาติ ศาสนา ดุจเสบียง เลี้ยงชีวิต อนิจจา คือชาวนา ตาด�ำ ที่ท�ำกิน


ข่าวทหารอากาศ

...เป็นคนรูจ ้ ก ั เลือก เรือ ่ งทีจ ่ ะคุยกัน... วันหนึ่งผู้เขียนไปซื้ออาหารที่ตลาดเอซี บนถนนสายไหม ผู้เขียนซื้อของได้หลายอย่างแล้ว ก�ำลังจะซื้อมะนาวสักสิบลูก แต่ยืนรออยู่หลายนาที เพราะคนทีเ่ ลือกมะนาวอยูก่ อ่ น เขาค่อย ๆ เลือกทีละ ลูก ๆ แถมเอาที่เลือกไว้แล้วออกมาใหม่ เลือกลูกใหม่ เข้าไปแทน ก็ยืนรอเขาอยู่นานจนเมื่อย ใจก็คิดไปว่า ที่เขาเลือกเข้าเลือกออกอยู่นั้น ไม่เห็นมันต่างกันเลย แต่เขามีสิทธิ์เลือกเขาก็ใช้สิทธิ์ของเขาและบางทีการ เลือกก็อาจเป็นความสุขเล็ก ๆ ของเขาด้วย เหมือน เวลาเราไปเลือกซื้อของที่เราชอบ ของอย่างนี้ก็ต้อง เข้าใจกัน เมื่อถึงคิวผู้เขียนใช้เวลาไม่ถึงสิบวินาทีเลย เพราะผู้เขียนไม่ได้เลือกแต่นับให้ครบสิบลูก เป็นอัน

เรียบร้อย แล้วก็เดินมาขึ้นรถ ระหว่างทางเดินผ่านที่ ขายปลา แม่คา้ สองคนก�ำลังคุยกันอย่างสนุกมากเรือ่ ง หวย การวางตัวเลขดักบนดักล่าง รวมถึงวิธีการออก หวยอี ก ต่ า งหาก เขาคุ ย กั น อย่ า งเชี่ ย วชาญจน ผู้เขียนต้องเดินช้า ๆ เพราะอยากฟังต่อขนาดผ่านมา แล้วยังตั้งใจฟังอยู่เลย แต่ก็สรุปให้ตัวเองว่า เรื่อง ทั้งหมดที่เขาคุยกันนั้นมั่ว หาสาระอะไรไม่ได้เลย แต่ เขาคุยกันอย่างตั้งใจและมันส์มาก เดินมาถึงรถฉุกคิด ขึน้ มาว่า ก็เรือ่ งมันไม่มสี าระแล้วผูเ้ ขียนไปฟังเขาท�ำไม ฟังอย่างตัง้ ใจเสียด้วย กลับนึกไปถึงคนทีเ่ ลือกมะนาว เมื่อสักครู่ เขารู้จักเลือกลูกที่เขาต้องการ แล้วก็นึกถึง ตัวเองที่ภูมิใจนักหนาว่า มะนาวสิบลูกของตัวเองใช้ เวลาไม่ถึงนาที มันจะเหมือนค�ำพูดของคนขายปลา หรือเปล่า คือมั่วไปหมด มองถุงมะนาวแล้วก็เลยต้อง ยิ้มให้ตัวเอง แต่ความคิดนี้ก็ติดใจผู้เขียนอยู่ว่า คนเรา น่ า จะมี สิ ท ธิ์ เ ลื อ กเรื่ อ งที่ เราอยากจะคุ ย จะฟั ง ได้ ไม่จำ� เป็นต้องคุยหรือฟังมันทุกเรือ่ งทีค่ นเขาคุยกันหรือ เขาคุยกับเรา แต่เราเลือกคุยเฉพาะเรื่องที่เราอยากรู้ เรือ่ งทีเ่ ราสนใจ เรือ่ งทีเ่ ราไม่สนใจเราก็เลีย่ ง ๆ ไป หรือ บอกว่าเราไม่รู้ก็ได้ จึงเป็นเรื่องที่น�ำมาคุยกันในวันนี้

83


84

การเลือก ในที่นี้ไม่ได้หมายความเหมือน เลือกมะนาว ที่อยากได้ก็เอา ไม่อยากได้ก็ไม่เอา แต่ การเลือกในกรณีนี้หมายถึง การหลีกเลี่ยงอย่างมี มารยาท หรือการปฏิเสธอย่างมีมารยาท ไม่ให้เสีย ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แต่เราควรจะเลือกเรื่อง ทีอ่ ยากฟังอยากสนทนาปราศรัยได้ เพราะสมองเรามี จ�ำกัด เวลาเราก็มีจ�ำกัด เรื่องที่ท�ำให้จิตใจเราฟุ้งซ่าน หดหู่ ไขว้เขว เราก็ไม่จ�ำเป็นต้องรับรู้ก็ได้ ค�ำว่า คุยกัน นั้นเป็นภาษาไทยแท้ ๆ มักใช้ ต่อท้ายค�ำอื่น แปลว่า พูดกัน สนทนากัน ค�ำว่าขี้คุย แปลว่า พูดโม้โออวด ค�ำว่า จับเข่าคุยกัน กลับแปลว่า ปรับความเข้าใจกันสองต่อสอง แต่ค�ำว่า คุย ๆ กันอยู่ แปลว่า ก�ำลังดูใจกันอยู่ ภาษาไทยเรานั้นน่ารัก น่าหลงใหลก็ตรงนีแ้ หละ คือเดาไม่คอ่ ยถูกว่าจะแปลว่า อะไร เวลาอ่านข้อความทีค่ อมพิวเตอร์แปลแล้วจะเห็น ภาพ อ่านไปต้องข�ำไป แต่คณ ุ ธรรมเรือ่ งการเลือกเรือ่ ง ที่จะฟังหรือจะคุยกันนั้น เป็นเรื่องที่เราต้องฝึกใจของ เรามาอย่างดีและสม�่ำเสมอ เราต้องมีสติรู้ตัวอยู่เสมอ เราถึงจะเลือกได้ ไม่เช่นนั้นเราจะรับอะไรต่อมิอะไร เข้ามาหมด และสิง่ ที่เรารับเข้ามา หรือเราแสดงความ เห็นออกไป มันจะติดอยู่ในใจเราด้วย ถ้าเราเลือกแต่ เรื่องดี ๆ จิตใจเราก็น่าจะมีความรู้สึกดี ๆ ถ้าเราไม่ เลือกเลย จิตใจเราก็จะกลายเป็นถังขยะไป คือมีทั้ง ของดีและไม่ดอี ยูใ่ นใจ เหมือนมะนาวในถุงของผูเ้ ขียน และต่อไปนี้คือเรื่องที่เราน่าจะเลือกคุย เลือกฟังและ เรื่องที่เราไม่น่าจะเลือก

เริม่ ด้วยเรือ่ งทีเ่ ราไม่นา่ จะเลือกคุยเลือกฟังก่อน ๑. เลือกไม่คยุ ไม่ฟงั ในเรือ่ งการจับผิดหรือ ว่าร้ายผูอ้ นื่ ท่านผูอ้ า่ นเคยสังเกตไหมว่า ไม่วา่ ท่านจะ อยู่ที่ไหน นั่งอยู่ที่ห้องพักผ่อน นั่งรถ นั่งเรือ นั่งรอพบ แพทย์ เดินอยูใ่ นห้างสรรพสินค้าหรือแม้แต่เดินอยูใ่ น ตลาด หากท่านตั้งสติได้ ท่านจะได้ยินแต่เสียงว่าร้าย จับผิดผู้อื่นตลอดเวลา ข่าวในโทรทัศน์ วิทยุ วิพากษ์ วิจารณ์ไปทัว่ ทุกตัวคน ในร้านกาแฟวิจารณ์ดา่ ว่าฝ่าย ที่ตนไม่ชอบ ในสนามกีฬาโห่ฮาด่าทอฝ่ายตรงข้าม แม้แต่คนที่เรารักเราชอบย้ายไปอยู่ฝ่ายตรงข้ามยังโห่ กันเลย ข้าง ๆ โต๊ะท�ำงานของท่านก็มักมีเสียงวิจารณ์ ค�ำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือไม่ก็ว่ากล่าวการท�ำงาน ของเพื่อนร่วมงานหรือหน่วยงานอื่น ทั้งเรื่องจริงและ ไม่จริงเต็มไปหมด ยิ่งสมัยนี้มีเฟส มีไลน์ ในนั้นเกือบ ร้อยเปอร์เซ็นต์ก็เป็นเรื่องว่ากล่าวใส่ร้ายผู้อื่นทั้งนั้น นักจิตวิทยาบอกว่า สาเหตุทคี่ นเราชอบจับผิดหรือว่า ร้ายผูอ้ นื่ นัน้ มาจากความอิจฉา ริษยา ทีอ่ ยูใ่ นจิตใต้สำ� นึก ของคนคนนั้นนั่นเอง การจับผิดหรือว่าร้ายผู้อื่นมี ผลเสียกับตัวผูก้ ระท�ำในเรือ่ งของการมองโลกในแง่รา้ ย เป็นคนขาดเมตตา เป็นการกลบเกลือ่ นความผิดพลาด ของตนเอง คนเหล่านีจ้ ะชอบแก้ตวั เป็นคนไม่ประเมิน และแก้ไขตนเอง หากท่านเลือกที่จะไม่ฟัง ไม่คุย ไม่ อ่าน ไม่กดไลค์ กับข้อความประเภทนี้ สุขภาพจิตของ ท่านจะดีขึ้นมากและท่านจะมีเวลาเหลืออีกเยอะเลย ๒. เลือกไม่คุยไม่ฟังการวิพากษ์วิจารณ์ เรื่องในอดีตที่ผ่านมานานแล้ว ปกติของผู้สูงอายุ


ข่าวทหารอากาศ

สีเ่ ลนแล้วยังมีรถไฟฟ้าวิง่ อีกด้วย แถมแยกรัชโยธินยัง มีถนนสี่ชั้นให้ใช้กันอีกต่างหาก การคุยกันแต่เรื่องที่ ผ่านมาแล้ว เสียทัง้ เวลาและเสียความรูส้ กึ ทัง้ บวกและ ลบเพราะมันแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว มีแต่ค�ำว่าถ้าอย่าง โน้น ถ้าอย่างนี้เท่านั้นเอง ที่ส�ำคัญข้อมูลต่าง ๆ มัน เปลีย่ นแปลงรวดเร็วอาจจะไม่ถกู ต้องแล้ว แค่ทา่ นทัง้ หลายเลือกที่จะไม่ฟังไม่คุยในสองประเด็นที่ผู้เขียน กล่าวถึง ชีวิตท่านจะเบาขึ้นอีกมาก มักจะคุยกันในเรื่องเก่า ๆ ที่ผ่านมานานแล้ว เพราะ สมองท่านมีความทรงจ�ำในเรื่องเหล่านี้อยู่มาก จะให้ ท่านไปจ�ำเรื่องใหม่ ๆ หรือติดตามข้อมูลข่าวสารบ้าน เมืองหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะให้ทา่ นไปรูจ้ กั ดารา นัก ร้อง นักแสดงรุน่ ใหม่ ๆ ก็เลยเวลาของท่านไปแล้ว แต่ ทีแ่ ปลกคือคนอายุนอ้ ย ๆ หรือวัยกลางคนจ�ำนวนมาก จิตใจกลับหมกมุ่นอยู่กับเรื่องในอดีตที่ผ่านไปแล้ว ไม่ยอมลบไม่ยอมลืม จะพูดจะคุยจะฟังแต่เรือ่ งเหล่านัน้ เห็นอะไร เจออะไรก็เอาความทรงจ�ำในอดีตมาเทียบ มาคิด มาคุย อดีตนั้นถ้าจ�ำไว้เป็นประสบการณ์ก็เป็น เรื่องดี จะได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบ การคิด พิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่ต้องท�ำให้ รอบคอบขึน้ แต่จงจ�ำไว้วา่ ทุกสิง่ ทุกอย่างมันเป็นอนิจจัง ไม่เทีย่ งแท้แน่นอน ทุกสิง่ ทุกอย่างต้องเปลีย่ นแปลงไป ตามเหตุและปัจจัย จะให้ถนนพหลโยธินช่วงลาดพร้าว ถึงสะพานใหม่มสี องเลนเล็ก ๆ สองข้างทางเต็มไปด้วย ต้นก้ามปูดูร่มรื่นคงไม่ได้แล้ว นอกจากมันต้องเป็น

เรือ่ งทีเ่ ราน่าจะเลือกฟังเลือกคุยกันบ้าง ๑. เลือกคุยเลือกฟังเรื่องความรู้จักพอ ความรู้จักพอนั้นอาจเป็นเรื่องที่พูดง่ายท�ำยาก และ อาจจะหาฟังหรือหาคนคุยไม่ได้เลย จะผิดปกติไปไหม ถ้าจะมีคนนั่งคุยกันว่า แหมผมรู้สึกดีใจมากที่ได้ มอเตอร์ไซค์มอื สองมาคันหนึง่ สภาพยังดีมาก เครือ่ งยนต์ แน่นดี ราคาไม่ถึงหมื่นบาท คงใช้ได้อีกหลายปี มันเหมาะกับผม เงินเดือนเท่านี้ ไม่ต้องผ่อน ไม่ต้อง เป็นหนีเ้ ขา เก็บเงินไว้ให้ลกู เรียนหนังสือได้จนจบ อีกคน ตอบว่า ดีมากเลยครับ ผมเห็นด้วย ของใหม่ตอนนี้ก็ หลายหมืน่ แล้วเราก็ใช้แค่จากบ้านพักมาทีท่ ำ� งานหรือ ไปส่งลูกทีโ่ รงเรียนไม่ไกล ซือ้ ของใหม่มาเผลอไม่ระวัง หายไปจะเสียดาย เออ..ผ่านไปที่ร้านขายต้นไม้ของ ทอ.บ้างไหม มีเมล็ดพันธุผ์ กั ขายไหม จะหาพริก มะเขือ กะเพรา ผักบุง้ มาปลูกทีห่ น้าบ้านสักหน่อย เดีย๋ วนีผ้ กั แพงขึน้ ทุกวันแล้วไม่คอ่ ยกล้ากินด้วยไม่รเู้ ขาฉีดยากัน แค่ไหน มีครับผมเคยซื้อไปปลูกที่บ้านลองไปดูได้เลย ประหยัดได้เยอะเลย แล้วกินสบายใจด้วย อีกคนหนึง่ ตอบ

85


86

หรืออีกวงสนทนาหนึง่ มีเสียงทักว่า น้องเป็นไงปีนจี้ ะได้ สองขัน้ ไหม ค�ำตอบคือไม่ทราบครับแล้วแต่เจ้านาย ผม ก็พยายามท�ำงานให้ดที สี่ ดุ ครับ ได้กด็ ไี ม่ได้กไ็ ม่เป็นไร คนมันเยอะกัน แล้วพีล่ ะ่ จะขึน้ เป็นหัวหน้าแผนกหรือ ยัง คงยังหรอกยังมีคนทีอ่ าวุโสกว่าพีห่ ลายคน เดีย๋ วมัน ก็วนมาเองแหละใจเย็น ๆ ท�ำงานให้สนุกและมีความสุข กับการท�ำงานของเราทุก ๆ วันดีกว่า เหล่านี้คือเรื่องสมมุติ แต่ในชีวิตจริงเรามัก จะเจอแต่การคุยกันด้วยการอวดได้ อวดมี อวดเก่ง ข่มกันไปข่มกันมา เรียกร้องสิทธิไ์ ม่มที สี่ นิ้ สุด จนทุกคน ต้องระมัดระวังตัวเอง ต้องฟุง้ เฟ้อฟุม่ เฟือยเพราะกลัว เสียหน้าเวลาคุยกัน จงมีสติเถิดรูว้ า่ เรามีสทิ ธิท์ จี่ ะเลือก เรื่องที่จะคุยจะฟังได้ เราไม่มีทางรู้จักพอได้ถ้าเราไม่ คุยกันเรื่องความพอเพียง เราไม่มีทางหมดหนี้ถ้าเรา ไม่คุยกันเรื่องความรู้จักพอ ๒. เลือกคุยเลือกฟังเรือ่ งสถานทีท่ คี่ วรจะไป หากเราพิจารณาความสนใจของคนเราจะพบว่า เด็ก ๆ จะสนใจสถานทีท่ เี่ ขาจะไปเล่นกันได้ เช่น ไปสนามบอล ของโรงเรียน ไปสนามเด็กเล่น ไปสระน�ำ้ ไปสวนสนุกที่

มีของเล่นเยอะ ๆ วัยรุ่นขึ้นมาก็จะสนใจถึงสถานที่ ทีส่ วยงามหวือหวา เป็นจุดนัดพบ มีของกระจุกกระจิก ขาย หรือสนามกีฬา คนวัยท�ำงานก็นึกถึงสถานที่หา ซื้ออุปกรณ์แต่งบ้าน แต่งรถ หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่ ท้าทาย ผจญภัย แปลกใหม่ หรือสถานทีอ่ อกก�ำลังกาย หรือการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ ผูส้ งู อายุกน็ กึ ถึง ทีฟ่ งั ดนตรี ที่พักผ่อนท่องเที่ยวแบบสะดวกสบาย ที่ปฏิบัติธรรม แต่ละวัยก็มีสถานที่ที่อยากจะไปหลากหลายต่างกัน ไป และทัง้ หมดทีย่ กตัวอย่างมาก็เป็นสถานทีท่ คี่ วรจะ ไปทัง้ นัน้ แต่หากเรานัง่ ฟังการสนทนาของผูค้ นจริง ๆ เราอาจพบว่าเรือ่ งทีค่ ยุ กันเป็นเรือ่ ง ร้านอาหาร ร้านเหล้า ทีซ่ อื้ หวย บ่อน ทีเ่ ล่นทายผลบอล ผับ บาร์ สถานทีเ่ ทีย่ ว ยามค�่ำคืน หลายคนยังคุยกันเรื่องไปที่ชอบ ๆ ซึ่งเป็น สถานที่อโคจรทั้งนั้น เดี๋ยวนี้ยิ่งมีไลน์ยิ่งนัดกันง่าย ยิ่งขึ้น สถานที่อโคจรนั้นเป็นอัปมงคลกับชีวิต ไม่คุย ไม่ฟังเสียเลยจะดีกว่า ๓. เลือกคุยกันเรือ่ งยุทธศาสตร์การพัฒนา กองทัพอากาศและแผนงานของหน่วย ผูเ้ ขียนทราบ ดีว่าสองเรื่องแรกนั้นท่านผู้อ่านคงหาคนคุยด้วยยาก


ข่าวทหารอากาศ

แต่เสนอว่าท่านก็ไม่จ�ำเป็นต้องทนฟังเรื่องที่ท่านฟัง แล้วไม่มคี วามสุขนัก แล้วหากถามว่าแล้วจะให้คยุ กัน เรื่องอะไร ผู้เขียนก็ตอบว่า เรามีเวลาท�ำงานกันวันละ แปดชั่วโมง หลายคนท�ำงานมาสิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง หลายคนก็เกษียณอายุราชการไปแล้ว จะมีสกั กีค่ นเข้าใจยุทธศาสตร์การพัฒนากองทัพอากาศ และแผนงานรองรับของหน่วยงานท่านได้อย่างถ่องแท้ หากถามว่าไม่รู้แล้วท�ำงานกันอย่างไร ก็ท�ำไปเรื่อย ๆ ตาม ๆ กันไป เหมือนผูเ้ ขียนไปซือ้ มะนาว เขาสัง่ มาให้ ซื้อสิบลูก ก็นับมาครบสิบลูกไม่ผิดเพี้ยน ผู้เขียนไม่ได้ หลับตาหยิบแต่หยิบโดยไม่คดิ อะไรเลย จึงไม่กล้าทีจ่ ะ บอกว่าหลายท่านก็หลับหูหลับตาท�ำงานกันไปโดยไม่ คิดอะไรเลย อารมณ์ดกี ด็ ไี ป อารมณ์ไม่ดกี ว็ า่ กันไป แต่ หากเราคุยกันและท�ำความเข้าใจ ยุทธศาสตร์ของ กองทัพอากาศและแผนงานต่าง ๆ ของหน่วยงาน ของเราที่จะสนับสนุนเป้าหมายของกองทัพอากาศ อยู่เสมอ เราจะเข้าใจภารกิจของเราดีขึ้น เราจะเห็น

ความส�ำคัญของงานในหน้าที่ที่เราท�ำ เราจะภูมิใจที่ ได้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากองทัพ เราจะเข้าใจ เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชา ของเราดีขึ้น ผูเ้ ขียนหวังว่าเรือ่ งเล็ก ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ทีต่ ลาดสด วันนี้ จะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่าน เพราะการรับ ราชการนัน้ เราเลือกผูร้ ว่ มงานไม่ได้ แต่เราทุกคนมีสทิ ธิ์ เลือกเรื่องที่จะคุยจะฟังได้ และที่ส�ำคัญที่สุดหากใน เวลาท�ำงาน ท่านทัง้ หลาย คุยกันเรือ่ งงานตามแผนงาน ของหน่วยและยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศอยูเ่ สมอ ๆ กองทัพอากาศจะพัฒนาได้อย่างรวดเร็วแน่นอน ไม่เชื่อลองท�ำดู “คนโง่เอาใจไว้ที่ปาก คนฉลาดเอาปากไว้ที่ใจ” หลวงพ่อปัญญา

87


88

ท�ำอย่างไรเมือ่ ..ทีมไม่เวิรค์

ว.วิทยา

เมื่อกล่าวถึงรัฐเท็กซัส ซึ่งเป็นรัฐที่ใหญ่ เป็นอันดับสองรองจากรัฐอลาสกา หากคิดเฉพาะรัฐ ที่อยู่ในแผ่นดินใหญ่ของสหรัฐอเมริกาแล้วถือว่ารัฐ เท็กซัสใหญ่ที่สุด หลายคนคงคิดถึงหนังคาวบอยดวล ปืนกัน หรือคาวบอยต่อสู้กับเอเลี่ยน แต่รัฐเท็กซัสมี ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจนอกจากหนังคาวบอยคือ ความกล้าหาญของทหารอาสาทีป่ อ้ มอลาโม่ ซึง่ ตัง้ อยู่ ณ เมืองซาน อันโตนีโอ ส�ำหรับป้อมอลาโม่นั้นถือว่า เป็นอนุสรณ์ของความกล้าหาญของทหารอาสาจ�ำนวน ๑๘๙ คน ทีย่ นื หยัดต่อสูเ้ พือ่ อิสรภาพโดยไม่ยอมจ�ำนน ต่อกองทัพเม็กซิกันที่มากกว่า แม้ว่าท้ายที่สุดทหาร กล้าในป้อมอลาโม่จะต้องพ่ายแพ้ให้กับกองทัพ เม็กซิกัน แต่ด้วยวีรกรรมที่กล้าหาญและเสียสละเช่น นี้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับทหารอาสาคนอื่น ๆ ในกองทัพของเท็กซัสได้ลุกขึ้นสู้กับกองทัพเม็กซิกัน

จนสามารถเอาชนะและตั้งเป็นรัฐอิสระได้ ก่อนที่จะ รวมเข้ากับสหรัฐอเมริกาในภายหลัง แม้ว่าเหตุการณ์ ของป้อมอลาโม่จะผ่านมาเกือบ ๒๐๐ ปี แต่ส่ิงที่ ผู้เขียนได้พบก็คือความร่วมแรงร่วมใจ และความเสีย สละเพื่อเป้าหมายคืออิสรภาพของเท็กซัส ของเหล่า ทหารกล้าทั้ง ๑๘๙ คน ที่ยืนหยัดต่อสู้กับกองทัพ ที่ใหญ่กว่า แม้รู้ว่าจะต้องพ่ายแพ้ในไม่ชา้ แต่กไ็ ม่มใี คร คิดทีจ่ ะหนีและทิง้ ป้อมอลาโม่ไปนัน้ แสดงถึงความเป็น น�ำ้ หนึง่ ใจเดียวกันของทหารกลุม่ นี้ และเป็นแบบอย่าง ทีด่ ขี องการท�ำงานเป็นทีม ทีท่ กุ คนมีเป้าหมายร่วมกัน และจะท�ำหน้าที่ของตนจนกระทั่งบรรลุเป้าหมาย การท�ำงานเป็นทีม อาจเป็นค�ำที่หลายคน เคยได้ยินอยู่บ่อย ๆ และยอมรับว่ามีความส�ำคัญต่อ การท�ำงานให้บรรลุเป้าหมาย เพราะงานหลาย ๆ อย่าง นัน้ ไม่สามารถท�ำให้เสร็จสมบูรณ์ได้ดว้ ยคนเพียงคนเดียว


ข่าวทหารอากาศ

ต้องอาศัยความรู้ความสามารถจากคนที่หลากหลาย บางงานต้องการความคิดสร้างสรรค์ซงึ่ ต้องระดมความ คิดจากคนหลาย ๆ คน แต่ในการท�ำงานด้วยกันเป็นทีม นัน้ ย่อมมีความขัดแย้งเกิดขึน้ ได้ ตัง้ แต่เล็กน้อยไปจนถึง ในระดับรุนแรงจนทีมไม่สามารถท�ำงานได้สำ� เร็จตาม เป้าหมายทีว่ างไว้ โดยเฉพาะเมือ่ มีคนหลายคนมาท�ำงาน ร่วมกันแม้วา่ จะอยูห่ น่วยงานเดียวกัน หรือเรียนโรงเรียน เดียวกันมา แต่โดยพื้นฐานของแต่ละคนแล้วนั้น ย่อมมีความแตกต่างกันอยูไ่ ม่มากก็นอ้ ย เช่น เพศ อายุ การศึกษา ประสบการณ์ ความสามารถ ความเชื่อ รสนิยม รูปร่าง เป็นต้น ซี่งความแตกต่างเหล่านี้ ถือว่าเป็นปัจจัยส�ำคัญที่อาจน�ำไปสู่ความขัดแย้งกัน ภายในทีมได้ จากความแตกต่างของทีมงานที่ต้องมา ท�ำงานร่วมกัน สาเหตุหลัก ๆ ทีอ่ าจสร้างความขัดแย้งกัน ภายในทีมที่ส�ำคัญคือ ประสบการณ์ส่วนบุคคลเกี่ยว กับงานนั้น ๆ ที่มีไม่เท่ากันหรือแตกต่างกัน หากต่าง ฝ่ายต่างยึดมัน่ ต่อประสบการณ์ของตน จนไม่เปิดใจต่อ การน�ำเสนอประสบการณ์จากคนอืน่ ๆ ภายในทีมแล้ว ย่อมน�ำมาซึง่ ความขัดแย้งและเห็นต่าง นอกจากนัน้ แล้ว

การน�ำเรือ่ งส่วนตัวของบุคคลภายในทีมงานมาพูดคุย หรือนินทา การใช้ค�ำพูดในการดูถูกหรือเสียดสีกัน ย่อมน�ำมาซึ่งความขัดแย้งได้เช่นกัน รวมทั้งการใช้ อารมณ์ในการตัดสินใจโดยไม่มีหลักการหรือข้อมูล สนับสนุนนัน้ อาจท�ำให้ทมี งานไม่เห็นด้วยและน�ำมาสู่ การโต้เถียงกัน โดยสรุปสิ่งที่น�ำมาซึ่งความขัดแย้ง ภายในทีมนั้นเป็นเรื่องของการไม่เปิดใจยอมรับ ความคิดเห็นของผู้อื่น การใช้ค�ำพูดโดยไม่คิดถึงจิตใจ ของอีกฝ่าย การใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลในการท�ำงาน แนวทางที่อาจช่วยแก้ไขหรือป้องกันความ ขัดแย้งที่จะเกิดขี้นในทีมในแต่ละสาเหตุ เริ่มที่เรื่อง การไม่เปิดใจยอมรับความคิดเห็นของผูอ้ นื่ ซึง่ บางครัง้ เป็นเรื่องที่ยากจะยอมรับความคิดเห็นของคนอื่นได้ ส�ำหรับบางคน เนื่องจากคิดว่าตนนั้นมีประสบการณ์ มากกว่าและรู้เรื่องนี้ดีกว่า และมองว่าความคิดเห็น ของคนอืน่ ๆ นัน้ ไร้สาระและไม่มคี ณ ุ ค่าพอทีจ่ ะน�ำมา ใช้ในการท�ำงาน การจะลบความคิดเชิงลบต่อความ คิดเห็นของผูอ้ นื่ ได้นนั้ จ�ำเป็นทีจ่ ะต้องสร้างบรรยากาศ ในทีมให้มีความเป็นกันเอง สร้างวัฒนธรรมองค์กร ที่ทุกคนมีโอกาสที่จะเสนอแนวความคิดของตัวเอง

89


90

โดยทุกคนรับฟังอย่างเปิดใจ ซึ่งแต่ละคนควรลดอีโก้ ของตัวเองลง และมองผลประโยชน์ทจี่ ะเกิดขึน้ กับทีม ของตนมากกว่าผลประโยชน์ที่ตัวเองจะได้รับ เรื่องการใช้ค�ำพูดโดยไม่คิดถึงจิตใจของ อีกฝ่าย และกลายเป็นการดูถกู เหยียดหยามกันภายใน ทีม เรื่องนี้จะแก้ไขได้โดยทุกคนในทีมจ�ำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องคิดก่อนที่จะพูดเรื่องอะไรออกไปว่าจะไป กระทบต่อจิตใจของคนในทีมหรือไม่ ไม่พยายามเอา เรือ่ งส่วนตัว ปมด้อยของคนในทีมมาพูดคุยหรือต่อว่า กัน หากทุกคนในทีมสามารถควบคุมค�ำพูดได้ หรือคิด ก่อนพูดก็จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยไม่น�ำไปสู่ความ ขัดแย้งที่บานปลายจนแก้ไขไม่ได้ เรื่องการใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลในการ ท�ำงาน ส�ำหรับเรื่องนี้อาจเกิดขึ้นกับหลาย ๆ คนที่มี ประสบการณ์ท�ำงานมาก จนมีความเชี่ยวชาญ และ ยึดมัน่ กับความคิดตนเองจนละเลยการใช้เหตุผล ข้อมูล หรือที่มาที่ไปในการคิดหรือวางแผนการท�ำงาน แต่ เรือ่ งนีส้ ามารถแก้ไขได้ โดยทุกครัง้ ทีจ่ ะวางแผนท�ำงาน หรือตัดสินใจทีจ่ ะเลือกหรือท�ำสิง่ ใด ควรเสียเวลาเพียง เล็กน้อยในการถามตัวเองว่าท�ำไมเราจึงเลือกวิธนี หี้ รือ สิ่งนี้ ท�ำไมเราจึงคิดว่าท�ำแบบนี้ดีกว่า จากนั้นลอง ทบทวนหาเหตุผลมารองรับความคิดของเราว่าดีจริง หรือเหมาะสมอย่างที่เราคิดหรือไม่ จากนั้นควรน�ำ เสนอหนทาง วิธี หรือแผนที่เราเลือก พร้อมเหตุผลที่ สมเหตุสมผลให้ทมี ได้รบั ทราบและรับฟังความคิดเห็น ของทีม ก็จะช่วยให้ทุกคนได้มีโอกาสรับรู้และเข้าใจ รวมทัง้ ยังเป็นการลดจุดอ่อนจากการทีค่ ดิ เพียงคนเดียว

ซึ่งการคิดอาจไม่ได้คิดรอบด้าน อาจลืมคิดด้านบาง ด้าน ซึ่งทีมอาจช่วยมาเติมเต็มให้สมบูรณ์ได้ สุดท้ายเป็นสิง่ เล็กน้อย ๆ ทีเ่ ป็นเหมือนกาว ในการเชื่อมใจของทุกคนในทีมให้ยึดติดกันมีความ สัมพันธ์ท่ีดีและน�ำไปสู่ทีมที่แข็งแกร่ง ซึ่งสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ทีว่ า่ นีไ้ ม่ใช่เรือ่ งทีท่ ำ� ได้ยากหรือต้องลงทุนด้วย งบประมาณมากมาย แต่เป็นเพียงการพูดคุยชื่นชม คนในทีมอย่างจริงใจ ไม่ตำ� หนิ ประณามหรือต่อว่ากัน เอาใจใส่ทุกคนในทีมดูสารทุกข์สุขดิบ ยิ้มแย้มให้กัน เมือ่ เวลาเจอกันซึง่ จะช่วยสร้างบรรยากาศทีด่ ใี ห้กบั ทีม เป็นผู้ฟังที่ดี เปิดใจยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น และที่ ส�ำคัญทีส่ ดุ ของการท�ำงานเป็นทีมคือการจ�ำชือ่ คนในทีม ให้ได้เพราะการเรียกชื่อของอีกฝ่ายได้ถูกต้องนั้น ถือเป็นก้าวแรกของการเปิดประตูสู่การสร้างความ สัมพันธ์ระหว่างกัน


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๑ ขาวทหารอากาศ

พล.อ.พรพิพฒ ั น เบญญศรี ผบ.ทสส. เปนประธานในพิธีรับมอบสิ่งของ พระราชทานแกประชาชนทั่วไป ในกิจกรรม Bike อุนไอรัก ๒๐๑๘ โดยมี พล.อ.อ.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน ผบ.ทอ.พรอมดวย ผบ.เหลาทัพ และ นายทหารชั้นผูใหญ เขารวมพิธีฯ ณ สนามศุภชลาศัย เมื่อวันที่ ๑ - ๒ ธ.ค.๖๑

พล.อ.อ.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน ผบ.ทอ.และคณะนายทหารชั้นผูใหญ ของ ทอ.เขาเยี่ยมคารวะ General Tan Sri Dato' Sri Hj Affendi Bin Buang ผบ.ทอ.มาเลเซีย ในโอกาสเยือนสหพันธรัฐมาเลเซีย อยางเปนทางการ ณ สหพันธรัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ ๓ ธ.ค.๖๑

พล.อ.อ.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน ผบ.ทอ.พรอมดวย คุณพงศอมุ า ดิษยะศริน นายกสมาคมแมบา น ทอ.รวมพิธบี าํ เพ็ญพระราชกุศลเนือ่ งในวันคลายวัน เฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพอแหงชาติ พ.ศ.๒๕๖๑ ณ มณฑลพิธี ทองสนามหลวง เมื่อวันที่ ๕ ธ.ค.๖๑

พล.อ.อ.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน ผบ.ทอ.ตรวจเยี่ยม บน.๖ โดยมี น.อ.จิรภัทร ปทอง ผบ.บน.๖ ใหการตอนรับ ณ บน.๖ ดอนเมือง เมื่อวันที่ ๗ ธ.ค.๖๑

พล.อ.อ.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน ผบ.ทอ.พรอมดวย คุณพงศอมุ า ดิษยะศริน นายกสมาคมแมบา น ทอ.วางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย "วีรชน ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔" บน.๕ จว.ประจวบคีรีขันธ เมื่อวันที่ ๘ ธ.ค.๖๑


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๒

พล.อ.อ.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน ผบ.ทอ.เปนประธานในกิจกรรมหนวย มิตรประชา ทอ.ออกใหบริการตรวจรักษาโรคทั่วไป มอบอุปกรณกีฬา อุปกรณการเรียนการสอน ผาหมกันหนาว ฯลฯ ณ สนามฝกใชอาวุธ ทางอากาศ ชัยบาดาล อ.ชัยบาดาล จว.ลพบุรี เมื่อวันที่ ๑๔ ธ.ค.๖๑

พล.อ.อ.ชาญฤทธิ์ พลิกานนท รอง ผบ.ทอ.เปนประธานประกอบพิธี เนื่องในวันคลายวันสถาปนา รร.การบิน ครบปที่ ๗๗ โดยมี พล.อ.ต.สุวรรณ ขำทอง ผบ.รร.การบิน ใหการตอนรับ ณ รร.การบิน จว.นครปฐม เมื่อวันที่ ๑๒ ธ.ค.๖๑

พล.อ.อ.ภานุพงศ เสยยงคะ ประธานคณะทีป่ รึกษา ทอ.เปนผูแ ทน ผบ.ทอ. ในพิธบี าํ เพ็ญกุศลเพือ่ ถวายเปนพระราชกุศล เนือ่ งในวันคลายวันเฉลิมพระชนม พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพอแหงชาติ พ.ศ.๒๕๖๑ ณ บก.ทอ.เมื่อวันที่ ๕ ธ.ค.๖๑

พล.อ.อ.ถาวรวัฒน จันทนาคม ผช.ผบ.ทอ./รอง ผบ.ศบภ.ทอ.เปนประธาน ในกิจกรรม "ชวยเหลือผูป ระสบภัยหนาว" ณ วัดศิรมิ งคล บานหนองปลาดุก ต.พังขวาง อ.เมือง จว.สกลนคร เมือ่ วันที่ ๑๑ ธ.ค.๖๑

พล.อ.ท.ธรินทร ปุณศรี รอง เสธ.ทอ.(ยก.) เปนประธานในการประชุม Program Management Review ครัง้ ที่ ๑๓ และติดตามความกาวหนา การปรับปรุงเครือ่ งบินขับไลแบบที่ ๑๘ ข/ค โดยมี น.อ.วัชรพล นวลเปนใย ผบ.บน.๒๑ ใหการตอนรับ ณ ทาอากาศยานทหาร บน.๒๑ เมือ่ วันที่ ๑๒ ธ.ค.๖๑

พล.อ.ท.เฉลิมชัย ศรีสายหยุด รอง เสธ.ทอ.(กร.,กษ.) เปนประธาน ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการดานการปองกันและประชาสัมพันธ ศอ.ปส.ทอ.ประจำป ๖๒ ณ โรงแรมออโรรารีสอรท จว.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๑๑ - ๑๒ ธ.ค.๖๑


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๓ ขาวทหารอากาศ

พล.อ.ท.นฤพล จักรกลม จก.กพ.ทอ.เปนประธานในพิธเี ปดการสัมมนา ผูสงเสริมการขับเคลื่อนหนวยงานใหเปนองคการแหงการเรียนรู (KM Facilitator) ณ หองนภัสวิน อาคารสโมสร นนอ.กรม นนอ.รอ.รร.นนก. เมื่อวันที่ ๔ ธ.ค.๖๑

พล.อ.ท.ชวาลา ราชวงศ จก.ทสส.ทอ.และคณะ ตรวจเยีย่ มสายงานดาน เทคโนโลยีสารสนเทศและสงครามอิเล็กทรอนิกส บน.๔๖ โดยมี น.อ.ภาณุวตั ร เรืองประยูร รอง ผบ.บน.๔๖ ใหการตอนรับและฟงบรรยายสรุป ณ หองประชุม ศูนยปฏิบตั กิ าร บน.๔๖ เมือ่ วันที่ ๔ ธ.ค.๖๑

พล.อ.ท.นอย ภาคเพิม่ จก.ยศ.ทอ.เปนประธานพิธสี วดพระพุทธมนต ถวายเปนพระราชกุศล แดพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เนือ่ งในโอกาสวันคลายวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันชาติ และวันพอแหงชาติ พ.ศ.๒๕๖๑ ณ พุทธสถาน ยศ.ทอ.เมือ่ วันที่ ๔ ธ.ค.๖๑

พล.อ.ท.ภูมพิ ชิ ญชากรณ จรรยาวิจกั ษณ จก.พอ.เปนประธานเปดกิจกรรม เดิน-วิง่ การกุศล "Run for help ครัง้ ที่ ๒" ของ สมส.โรทาแรคท วพอ. ณ สวนวชิรเบญจทัศ เขตจตุจักร จว.กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๐ ธ.ค.๖๑

พล.อ.ท.ภูมิใจ ชัยพันธุ ผบ.อย.ตรวจเยี่ยมสายวิทยาการ อย.บน.๑ โดยมี น.อ.จักรกฤษณ ธรรมวิชัย ผบ.บน.๑ ใหการตอนรับ ณ บน.๑ เมื่อวันที่ ๑๒ ธ.ค.๖๑

พล.อ.ท.พัทธนันท นุชพงษ ผบ.รร.นนก.เปนประธานในการแขงขัน ฟุตบอลลีก รร.นนก.ประจำป ๒๕๖๑ โดยมีวตั ถุประสงคเพือ่ เปนกิจกรรม ตอตานยาเสพติด และเชื่อมความสามัคคีในหมูคณะ ณ สนามฟุตบอล รร.นนก.เมื่อวันที่ ๑๓ ธ.ค.๖๑


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๔

พล.อ.ต.ภูวดล สอนดวงใจ จก.ขส.ทอ.และคณะ ตรวจเยีย่ มสายวิทยาการ ดานขนสง ประจำป ๒๕๖๒ โดยมี พล.อ.ต.เกรียงศักดิ์ ชาญตะปะ รอง จก.ชอ. ใหการตอนรับ ณ หองประชุมเวชยันตรงั สฤษฎ ชอ.เมือ่ วันที่ ๓ ธ.ค.๖๑

พล.อ.ต.ภูวเดช สวางแสง จก.จร.ทอ./หัวหนาคณะ จร.ประชุมรวม และดำเนินการตรวจสอบและประเมินผลแผนบริหารความเสี่ยงและ การจัดการความรูของ ยศ.ทอ.โดยมี พล.อ.ต.กานตชนก หันหาบุญ เสธ.ยศ.ทอ.ใหการตอนรับ ณ หองประชุม ยศ.ทอ.เมื่อวันที่ ๓ ธ.ค.๖๑

พล.อ.ต.ธาดา เคีย่ มทองคำ จก.กง.ทอ.เปนประธานในพิธปี ด การศึกษา อบรมหลักสูตรเสมียนการเงิน รุน ที่ ๑๐ ณ รร.เหลาทหารการเงิน กวก. กง.ทอ. เมื่อวันที่ ๑๔ ธ.ค.๖๑

พล.อ.ต.ไกรสิงห แกนการ ผบ.ดม.นำขาราชการ ลูกจาง พนักงานราชการ และทหารกองประจำการ สน.ผบ.ดม.รวมบริจาคโลหิตถวายเปนพระราชกุศล เนือ่ งในวันคลายวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพอแหงชาติ พ.ศ.๒๕๖๑ ณ หองอเนกประสงคกรม สห.ทอ.เมือ่ วันที่ ๑๑ ธ.ค.๖๑

พล.อ.ต.วิฑูรย ตรีพรม ผอ.สพร.ทอ.เปนประธานในการจัดกิจกรรม ทอ.ปลอดโฟม และรณรงคใชถุงผาแทนถุงพลาสติก เพื่อใหสอดคลอง กับการจัดกิจกรรมวันดินโลก พ.ศ.๒๕๖๑ ณ หองประชุม ฝสธ.ทอ.๒ เมื่อวันที่ ๓ ธ.ค.๖๑

พล.อ.ต.ฉัตรชัย วิริยะภาพ ผอ.สวจ.ศวอ.ทอ.ใหการตอนรับคณะ กห.สหรัฐอเมริกา ประชุมหารือเกีย่ วกับการดำเนินการโครงการวิจยั รวม (Joint Project) ณ หองประชุม กองวิจยั อากาศยาน ศวอ.ทอ.เมือ่ วันที่ ๑๓ ธ.ค.๖๑


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๕ ขาวทหารอากาศ

พล.อ.ต.สุวรรณ ขำทอง ผบ.รร.การบิน รวมกิจกรรมปลูกตนราชพฤกษ เพื่อนอมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันดินโลก พ.ศ.๒๕๖๑ ณ วิหารพระพุทธศรีนภาภิธรรม รร.การบิน เมื่อวันที่ ๕ ธ.ค.๖๑

น.อ.วรชาติ ทองศิริ ผบ.รร.จอ.ยศ.ทอ.ประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญ หลวงพอมงคลนิมติ ประดิษฐาน ณ วิหารทีไ่ ดบรู ณะขึน้ ใหม เพือ่ ความ เปนสิริมงคล และเปนที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ณ วิหารหลวงพอมงคลนิมิต รร.จอ.ยศ.ทอ.เมื่อวันที่ ๗ ธ.ค.๖๑

น.อ.จักรกฤษณ ธรรมวิชยั ผบ.บน.๑ รวมกิจกรรมเนือ่ งในวันคลายวัน เฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพอแหงชาติ พ.ศ.๒๕๖๑ ณ อาคารธูปะเตมีย บน.๑ เมือ่ วันที่ ๕ ธ.ค.๖๑

น.อ.วสันต บัณฑิตศักดิส์ กุล ผบ.บน.๒ และ คุณศิรพิ ร บัณฑิตศักดิส์ กุล ประธานชมรมแมบาน ทอ.บน.๒ นำขาราชการ บน.๒ และครอบครัว รวมกิจกรรม "Bike อุน ไอรัก คลายความหนาว สายน้ำแหงรัตนโกสินทร" จว.ลพบุรี ณ ศาลากลาง จว.ลพบุรี เมือ่ วันที่ ๙ ธ.ค.๖๑

น.อ.อานนท จารุสมบัติ ผบ.บน.๔ รวมพิธบี ำเพ็ญพระราชกุศล เนือ่ งใน วันคลายวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพอแหงชาติ พ.ศ.๒๕๖๑ ณ บน.๔ เมื่อวันที่ ๕ ธ.ค.๖๑

น.อ.อนิรทุ ธ รัฐพร ผบ.บน.๕ รวมพิธที ำบุญตักบาตรพระสงฆ สามเณร และพิธถี วายพานพุม ดอกไมราชสักการะและถวายราชสดุดี เนือ่ งในวัน คลายวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพอแหงชาติ พ.ศ.๒๕๖๑ ณ ศาลหลักเมืองและศาลากลาง จว.ประจวบคีรีขันธ เมื่อ ๕ ธ.ค.๖๑


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๖

น.อ.ประเสริฐวิษณุ มหาขันธ ผบ.บน.๗ เปนประธานมอบประกาศนียบัตร ใหแกนกั บิน ฝูง.๗๐๑ ซึง่ จบหลักสูตรการฝกพรอมรบกับเครือ่ งบินขับไล แบบที่ ๒๐/ก (GRIPEN 39 C/D) ณ ลานจอดทาอากาศยานทหาร บน.๗ เมื่อวันที่ ๖ ธ.ค.๖๑

น.อ.วัชรพล นวลเปนใย ผบ.บน.๒๑ รวมกิจกรรมปลูกตนไม เนือ่ งใน วันคลายวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพอแหงชาติ พ.ศ.๒๕๖๑ ณ พืน้ ที่ ดานขางอาคารศิวไิ ล บน.๒๑ เมือ่ วันที่ ๔ ธ.ค.๖๑

น.อ.ชนาวีร กลิน่ มาลี ผบ.บน.๒๓ เปนประธานในพิธเี ปดกิจกรรมโครงการ จิตอาสา "เราทำความ ดี ดวยหัวใจ" เนือ่ งในวันคลายวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพอแหงชาติ พ.ศ.๒๕๖๑ ณ บก.บน.๒๓ เมือ่ วันที่ ๕ ธ.ค.๖๑

น.อ.สุนทร ผองอำไพ ผบ.บน.๔๑ เปนประธานในพิธมี อบใบประกาศนียบัตร นักบินขับไล/โจมตีขั้นตน รุนที่ ๔๖ พรอมทั้งกลาวใหโอวาท และแสดง ความยินดีที่สำเร็จตามหลักสูตร ณ ฝูง.๔๑๑ บน.๔๑ เมื่อวันที่ ๔ ธ.ค.๖๑

น.อ.กฤษณ เกตุรักษ ผบ.บน.๔๖ และ คุณพัฒนนรี พานิช เกตุรักษ ประธานชมรมแมบา น ทอ.บน.๔๖ นำขาราชการ บน.๔๖ และครอบครัว รวมกิจกรรม "Bike อุน ไอรัก คลายความหนาว สายน้ำแหงรัตนโกสินทร" จว.พิษณุโลก ณ ศาลากลาง จว.พิษณุโลก เมื่อวันที่ ๙ ธ.ค.๖๑

น.อ.อติรวิชช ไพจิตร ผบ.บน.๕๖ เปนประธานเปดกิจกรรมปลูกหญาแฝก เนือ่ งในวันคลายวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมพิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพอแหงชาติ พ.ศ.๒๕๖๑ ณ ศูนยการเรียนรู เศรษฐกิจพอเพียง บน.๕๖ เมือ่ วันที่ ๖ ธ.ค.๖๑


ข่าวทหารอากาศ

กาลครั้งหนึ่ง ณ ถิ่นจงอาง กับการอบรมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ด้าน HADR (Humanitarian Assistance and Disaster Relief) และประชาสัมพันธ์การตระหนักรู้ของก�ำลังพลกองทัพอากาศ ประจ�ำปี ๒๕๖๒

ร.อ.หญิง วิวัสวัน เปล่งวิทยา

หากพูดถึงฐานบินหลักแดนจงอางอย่าง กองบิน ๔ กับกิจการด้านบรรเทาสาธารณภัย หลาย คนอาจจะคุน้ ชินและเห็นภาพทีช่ ดั เจนผ่าน การปฏิบตั ิ งานของศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน ๔ หากแต่ใน ฐานบินแห่งนี้ยังมีกลุ่มก�ำลังพลและยุทโธปกรณ์ ที่น่าสนใจอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถน�ำมาประยุกต์ใช้ ในกิจการด้านบรรเทาสาธารณภัยในระดับประเทศ ซ่อนอยู่ด้วย นั่นก็คือ UAV (Unmanned Aerial Vehicle) อากาศยานไร้คนขับทีเ่ ราเคยได้เห็นตามข่าว หรือตามงานฝึกนีเ่ อง แต่หลาย ๆ คนแค่ยงั ไม่มโี อกาส ที่จะเข้าไปสัมผัสตัวจริงเสียงจริง กับเจ้าอากาศยาน ไร้คนขับล�ำนี้กันเสียทีเท่านั้นเอง

ในภารกิจดังกล่าวด้วย และนับว่าเป็นโอกาสที่ดีมาก ส�ำหรับพวกเราจริง ๆ ที่ครั้งนี้ทางคณะผู้บังคับบัญชา กองบิน ๔ และคณะผู้ปฏิบัติงาน ได้ให้เกียรติและ เปิดโอกาสให้ผเู้ ข้าร่วมการอบรมฯ ได้มาท�ำความรูจ้ กั กับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ของกองทัพอากาศกันถึงที่และ ได้จดั ให้มกี ารบรรยายในหัวข้อ “UAV กับการบรรเทา สาธารณภัย” เพือ่ เพิม่ ความรูแ้ ละความเข้าใจเกีย่ วกับ การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับและอุปกรณ์ทตี่ ดิ ตั้งบนอากาศยานในการสนับสนุนภารกิจช่วยเหลือ ผูป้ ระสบภัยพิบตั กิ รณีตา่ ง ๆ โดยมีผบู้ งั คับฝูงบิน ๔๐๔ ให้การบรรยายด้วยตนเอง ต่อจากนัน้ ผูเ้ ข้าร่วมอบรมฯ ได้เดินทางเข้าดูการแสดงอากาศยานภาคพืน้ และร่วม

เมือ่ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ทีผ่ า่ นมา กองบรรเทาสาธารณภัย ส�ำนักนโยบายและแผน กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ ได้จดั กิจกรรม “การ อบรมเจ้ า หน้ า ที่ ป ฏิ บั ติ ง านด้ า น HADR และ ประชาสัมพันธ์การตระหนักรู้ของก�ำลังพลกองทัพ อากาศ ประจ�ำปี ๒๕๖๒ รุ่นที่ ๑” ขึ้นเพื่อที่จะเปิด โอกาสให้ข้าราชการกองทัพอากาศที่ปฏิบัติงานด้าน HADR (Humanitarian Assistance and Disaster Relief) และผู้สนใจที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวได้มี โอกาสมาท�ำความรู้จักกับการปฏิบัติงานของกองทัพ อากาศอย่างภารกิจการบรรเทาสาธารณภัยผ่าน ก�ำลังพลแขนงต่าง ๆ และแนะน�ำอุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่ใช้

สังเกตการณ์การปฏิบัติงานของอากาศยานไร้คนขับ ในครัง้ นีด้ ้วย การเข้าศึกษาดูงานเรื่อง UAV ในครั้งนี้ นอกจากจะได้เห็นอากาศยานแบบของจริงอย่างใกล้ ชิดแล้ว ยังได้ทราบถึงภารกิจหลัก – รองของอากาศยาน ที่สามารถผนวกใช้กับการบรรเทาสาธารณภัยได้ด้วย ถ้าคุณผูอ้ า่ นอยากจะเห็นภาพทีช่ ดั เจนขึน้ ผูเ้ ขียนก็จะ ขอยกตัวอย่างจากภารกิจบางส่วน อาทิ ภารกิจค้นหา อากาศยานประสบอุบัติเหตุที่อุทยานแห่งชาติเขา ชะเมา จังหวัดระยอง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๙ และล่าสุด กับภารกิจการบินลาดตระเวนและค้นหาเป้าหมาย เมือ่ ครัง้ ออกติดตาม ควบคุมและเฝ้าระวังการท�ำประมง

97


98

ผิดกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลักลอบเข้ามา ท�ำประมงในน่านน�้ำไทยของเรือประมงต่างชาติ นอกจากนี้ UAV อากาศยานไร้คนขับของกองทัพอากาศ ในภารกิจนี้ยังช่วยแก้ไขข้อจ�ำกัดในการท�ำงานของ หน่วยตรวจทางทะเล เช่น การเห็นภาพรวมมุมกว้าง และการบันทึกข้อมูลด้วยระบบบันทึกภาพทันสมัย และเห็นพฤติกรรมชัดเจน ซึง่ สามารถใช้เป็นหลักฐาน ในการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างถูกต้องและแม่นย�ำ ยิ่งขึ้น นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกิจกรรมจังหวัด ในครั้งนี้ นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมอื่น ๆ อาทิ การเข้า เยี่ยมชมกิจการของศูนย์บรรเทาสาธารณภัยเขต ๑๖ ชัยนาท, การฟังบรรยายพิเศษจากผู้แทนส�ำนักงาน อาเซียนกองทัพอากาศ เรือ่ งบทบาทของ กองทัพอากาศ อาเซียน, การบรรยายพิเศษจากผู้แทนจากกองบิน ๖ ในหัวข้อ AIR LIFT MISSION in HADR และยังได้ รับเกียรติจาก น.อ.ประภาส สอนใจดี อดีตผู้ช่วยทูต

ทหารอากาศ ประจ�ำกรุงจาการ์ตา้ ประเทศอินโดนีเซีย มาบรรยายให้ฟงั ถึงบทบาทผูช้ ว่ ยทูตทหารกับภารกิจ ช่วยเหลือมนุษยธรรมในต่างประเทศ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อ เป็นการสร้างการตระหนักรู้และความเข้าใจของ ก�ำลังพลเพราะ “คน” คือทรัพยากรที่ส�ำคัญ ที่เป็น กลไกให้ ภ ารกิ จ การช่ ว ยเหลื อ ด้ า นมนุ ษ ยธรรม และบรรเทาภัยพิบัติประสบความส�ำเร็จหาก “คน” มี ค วามรู ้ มี ค วามเข้ า ใจ มี ป ระสบการณ์ แ ละมี เครื่องมือที่ดี จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพในภารกิจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอีกทั้งยังเป็นการสานต่อ เจตนารมณ์ของผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศในการพัฒนา ก� ำ ลั ง พลให้ มี ค วามพร้ อ มและพั ฒ นาศั ก ยภาพ ในการท�ำงาน เพื่อรับรองกับภารกิจอันหลากหลาย ในอนาคต ดังนัน้ การอบรมฯ ในครัง้ นีจ้ ะเป็นสิง่ ยืนยัน ในความพร้อมของกองทัพอากาศ กับภารกิจช่วยเหลือ คนไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยามเผชิญกับ สาธารณภัย เพราะเราคือกองทัพอากาศของประชาชน


๒๕ มกราคม ๒๕๖๒ วันสถาปนาสมาคมแมบานทหารอากาศ Air Force Wives Association



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.