หนังสือข่าวทหารอากาศ ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ 2562

Page 1

ขาวทหารอากาศ

http://www.airforcemagazine.rtaf.mi.th

ปที่ ๗๙ ฉบับที่ ๒ เดือนกุมภาพันธ ๒๕๖๒

MAGAZINE

ISSN 0125 6173


วันมาฆบูชา

๑๙ ก.พ. ๒๕๖๒

เพ็ญเดือนสามงามวิไลพระไตรรัตน์ คุณพระพุทธพระธรรมอ่าอ�ำไพ เป็นวันที่ทรงวางหลักตระหนักหนุน ด้วยพระคุณกรุณาและปรานี ทรงประชุมพระอรหันต์ตั้งพันเศษ แก่ชาวโลกทั้งมวลล้วนส�ำคัญ ทรงประทานหลักการอันเป็นผล แต่สั่งสอนให้กระท�ำแต่กรรมดี วันมาฆบูชาเวียนมาถึง ด้วยทานศีลภาวนาพาเบิกบาน ปฏิบัติตามธรรมน�ำโอวาท ในครอบครัวหมู่คณะมีพระดี วันมาฆบูชาในครานี้ เพื่อน�ำตนสุขสว่างทั้งแดดวง ขอคุณพระรัตนตรัยคุณใหญ่หลวง โปรดคุ้มครองกองทัพอากาศของชาติไทย

แจ่มจรัสทั่วโลกาพาสดใส คุณพระสงฆ์ส่งให้สวัสดี ประกาศบุญญาธิการอันสดศรี ที่มากมีต่อโลกโชคอนันต์ ปรารภเหตุเผยแผ่แต่สุขสันต์ ผลอนันต์ร่มเย็นเป็นบารมี เพื่อปวงชนไม่ท�ำชั่วมัวหมองศรี สมฤดีที่ประสิทธิ์จิตเบิกบาน ชาวพุทธพึงท�ำดีมีแก่นสาร ผลสุขศานต์ไพบูลย์พูนทวี เพื่อประกาศพุทธธรรมน�ำวิถี ก็คือความสามัคคีที่ทั้งปวง หมั่นบ�ำเพ็ญบารมีที่ใหญ่หลวง ชนทั้งปวงร่มเย็นเป็นสุขใจ เทพทั้งปวงอ�ำนวยช่วยผ่องใส สุขสดใสตลอดกาลนิรันดร์ เทอญ.

พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา คณะผู้จัดท�ำหนังสือข่าวทหารอากาศ น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ประพันธ์



4


ข่าวทหารอากาศ

๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ “เชิดชูเกียรติทหารกล้า ๓ กุมภาพันธ์ วันทหารผ่านศึก”

องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

5


6

องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรม ราชู ป ถั ม ภ์ ได้ ท� ำ หน้ า ที่ ดู แ ลให้ ก ารสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก และทหาร นอกประจ�ำการ เพื่อให้ท่านเหล่านั้นสามารถพึ่งพา ตนเอง และอยู่ในสังคมได้อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี นอกจากนี้ ในด้านการเชิดชูเกียรติเหล่าทหารหาญ ในทุกสมรภูมิ ก็เป็นอีกภารกิจหนึง่ ทีอ่ งค์การฯ ให้ความ ส�ำคัญ โดยเฉพาะในโอกาสวันทหารผ่านศึก ซึง่ ตรงกับ วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ เป็นวันที่องค์การฯ ได้ก�ำหนด จัดกิจกรรมเพือ่ เชิดชูเกียรติทหารผ่านศึกอย่างยิง่ ใหญ่ เป็ น ประจ� ำ ทุ ก ปี เพื่ อ ให้ ป ระชาชนชาวไทยได้ มี ส่ ว นร่ ว มในการแสดงความระลึ ก ถึ ง วี ร กรรม อันกล้าหาญของเหล่าทหารผู้เสียชีวิตหรือพิการ จากการปฏิบัติหน้าที่เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ

พิธีบ�ำเพ็ญกุศลทางศาสนาอิสลาม ณ มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย (คลองตัน)

โดยในปี ๒๕๖๒ องค์การฯ ได้จัดให้มีพิธี และกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การประกอบพิธบี ำ� เพ็ญกุศล ทางศาสนาต่าง ๆ เพือ่ อุทศิ ส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณ ทหารผ่านศึกผู้ล่วงลับ โดยจัดพิธีทางศาสนาอิสลาม ณ มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย (คลองตัน) ในวันศุกร์ที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๓๐ น. โดยมี พลเอก นิพนธ์ ทองกลีบ เป็นประธาน ในการประกอบพิธี และ พลเอก ศิริพงษ์ วงศ์ขันตี ผู้อ�ำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็น ประธานในพิธี และในวันอังคารที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ น. ได้จัดให้มีพิธีทางศาสนาคริสต์ ณ วัดเซเวียร์ โดยมี พลตรี ปราโมทย์ รัตโนภาส เป็นประธานในการประกอบพิธี โดยมี พลเอก ศิรพิ งษ์ วงศ์ขันตี ผู้อ�ำนวยการองค์การฯ เป็นประธานในพิธี รวมทั้งในวันศุกร์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ พลเอก ศิรพิ งษ์ วงศ์ขนั ตี ผูอ้ ำ� นวยการองค์การฯ เป็นประธาน ในพิ ธี ต ่ า ง ๆ อาทิ พิ ธี บ วงสรวงศาลหลั ก เมื อ ง ณ ศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร ในเวลา ๐๗.๐๙ น. และพิธีทางศาสนาพุทธ ณ ห้องชาตินักรบ องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในเวลา ๑๐.๓๐ น. ส�ำหรับวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ในเวลา ๐๗.๓๐ น. ได้มพี ธิ จี ดุ ตะเกียงตามประทีปดวงวิญญาณ และสักการะอัฐิ โดยมี พลเอก ศิริพงษ์ วงศ์ขันตี ผูอ้ ำ� นวยการองค์การฯ เป็นประธานในพิธี ณ อนุสาวรีย์

พิธีบ�ำเพ็ญกุศลทางศาสนาคริสต์ ณ วัดพระแม่ฟาติมา (ดินแดง)


ข่าวทหารอากาศ

พิธีบ�ำเพ็ญกุศลทางศาสนาพุทธ ณ ห้องชาตินักรบองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

ชัยสมรภูมิ จากนั้นในเวลา ๐๙.๓๐ น. จะเป็นพิธี วางพวงมาลา เพื่อคารวะและร�ำลึกถึงดวงวิญญาณ วี ร ชนผู ้ ก ล้ า หาญที่ ไ ด้ เ สี ย สละเลื อ ดเนื้ อ และชี วิ ต เป็นชาติพลีในทุกสมรภูมิ โดย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พลเอก สุรยุทธ จุลานนท์ เป็น ผู ้ แ ทนพระองค์ ว างพวงมาลา นอกจากนี้ ยั ง มี ผู ้ แ ทนจากส่ ว นราชการ ทู ต ทหารต่ า งประเทศ สมาคม มูลนิธิ ตลอดจนทหารผ่านศึกทุกสมรภูมิ ร่วมวางพวงมาลา ส่วนกิจกรรมในช่วงบ่าย องค์การฯ ได้จัด

จุดตะเกียงตามประทีปดวงวิญญาณ และสักการะอัฐิ

ให้มพี ธิ สี วนสนามสดุดที หารผ่านศึก ในเวลา ๑๕.๐๐ น. ณ ลานอเนกประสงค์ ก รมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะนายกสภา ทหารผ่านศึก เป็นประธานในพิธีสวนสนามของทหาร ๓ เหล่าทัพ ซึ่งประกอบด้วย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ อาสาสมัคร รักษาดินแดน กองทหารม้า ทหารผ่านศึกพิการ ตลอดจนทหารผ่านศึกกรณีสงครามต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีพิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณ และมอบรางวัล แก่ทหารผ่านศึกดีเด่น ประจ�ำปี ๒๕๖๒ อีกด้วย

7


8


สารบัญ

ปี ที่ ๗๙ ฉบั บ ที่ ๒ เดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ ๒๕๖๒

๒ กลอน วันมาฆบูชา - น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ๓ ประมวลภาพวันกองทัพไทย ๕ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ “เชิดชูเกียรติทหารกล้าฯ” - องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ๑๒ การพัฒนาเครื่องฝึกบินจ�ำลองบ.ฝ.๒๐ (DA-42) - กลุ่ม Xsimteam ๑๙ การวิเคราะห์ปฏิบัติการทางอากาศของยุทธการพายุทะเลทรายฯ - SPARTAN 1337 ๒๓ ธรรมะ ประทีป ตอน จงท�ำใจให้หนักแน่น เหมือนพระพุทธ - กอศ.ยศ.ทอ. ๒๕ DIRCM คู่ปรับจรวดบุคคลต่อสู้อากาศยาน MANPADS - Rocket-7 ๓๑ ต�ำนานบางเรื่อง..ของ นจอ. รุ่น พ.ศ.๒๔๙๘ - ร.ต.ฉลวย ราหุละ ๓๕ Red Eagle อินทรีแดงแผลงฤทธิ์ ตอน พลร่มกู้ภัย นามนั้นไซร้ เราคือ “PJ” - น.ต.ภฤศพงศ์ ช้อนแก้ว ๔๓ การตั้งชื่อดาวเทียมทหารฯ - น.อ.ฐากูร เกิดแก้ว ๔๕ สมาร์ทโฟนบนเครือข่ายองค์กร - น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์ ๕๑ “ถึงแล้ว...วาเลนไทน์ สอนลูกอย่างไรดี” - Claire ๕๕ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ชุดประจ�ำชาติของประเทศฟิลิปปินส์ - @Zilich ๕๖ Exercise COPE India 2018 - สน.ผชท.ทอ.ไทย/นิวเดลี ๕๙ เวลาการ์ตูน - มีสกรีน ๖๑ เกาหลีใต้ เศรษฐีนิวเคลียร์ ผู้รักสิ่งแวดล้อม - น.อ.ชวินทร์ ศรีวิริยเลิศกุล ๖๖ วิวัฒนาการของเทคโนโลยีทางทหารสู่กิจการอวกาศ - พล.อ.ต.กมล วัชรเสถียร ๗๑ “ป้าย” - R.T.A.F’s Eyes view ๗๕ ครูภาษาพาที ตอน Something Old, Something New - PLANET B612 ๗๙ มุมท่องเที่ยว ตอน ขุนน�้ำนางนอน - กันตา ๘๕ ขอบฟ้าคุณธรรม ตอน เป็นผู้รู้...เรื่องความตาย - 1261 ๙๑ ภาพข่าว ในรั้วสีเทา ๙๗ ประมวลภาพงานวันเด็ก กองทัพอากาศ ปี ๒๕๖๒

๑๒ ๑๙ ๒๕

๗๙ ๓๕


บทบรรณาธิการ สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในห้วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา พี่น้องชาวไทยทางภาคใต้ได้ประสบภัยธรรมชาติ จากพายุ “ปาบึก” (PABUK) ซึ่งเป็นพายุที่ก่อตัว บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างและได้ทวีก�ำลังแรงขึ้น เป็นพายุโซนร้อนทีม่ คี วามรุนแรง ก่อให้เกิดลมพายุ และคลื่ น ขนาดใหญ่ ซั ด เข้ า สู ่ ช ายฝั ่ ง ท� ำ ลาย บ้านเรือนของประชาชน ต้นไม้หักโค่น ไฟฟ้าดับ และมีน�้ำท่วมบ้านเรือนประชาชน ถนนหลายสาย ถูกตัดขาดท�ำให้ประชาชนใน จังหวัดทางภาคใต้ ได้รับความเดือดร้อน แต่อย่างไรก็ตามกองทัพ อากาศ โดยมีศนู ย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ และศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองบินต่าง ๆ ในพืน้ ที่ ได้สนับสนุนและออกช่วยเหลือประชาชนด้วยความ รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ คาดว่าจะใช้เวลาฟืน้ ฟู อีกระยะหนึ่ง ในเดือนกุมภาพันธ์ยงั มีวนั ส�ำคัญหลายวัน ได้แก่ วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ เป็น “วันทหารผ่านศึก” เพือ่ ให้คนไทยทุกคนได้แสดงความระลึกถึงคุณงาม ความดี และความกล้าหาญของเหล่าวีรชนไทย ที่ยอมสละเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อปกป้องเอกราช อธิปไตยของแผ่นดินไทยไว้ให้พวกเราได้อยู่อย่าง ร่มเย็นเป็นสุขมาจนทุกวันนี้ นอกจากนั้นในวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๓ หรือ

“วันมาฆบูชา” ทีพ่ ระพุทธเจ้าแสดง “โอวาทปาติโมกข์” ซึ่งเป็นหลักค�ำสอนของพระพุทธศาสนาไว้อย่าง ครบถ้ ว น ขอเชิ ญ ชวนร่ ว มกั น น้ อ มร� ำ ลึ ก ถึ ง พระมหากรุณาธิคุณ โดยการท�ำบุญตักบาตร เวี ย นเที ย นและปฏิ บั ติ ธ รรมเพื่ อ ละความชั่ ว ท�ำความดี ท�ำใจให้สะอาดบริสุทธิ์ นอกจากนี้ยังมี “วันวาเลนไทน์” ซึง่ เป็นวันแห่งความรักของศาสนา คริสต์ อาจกล่าวได้ว่าเป็นแนวทางในการสร้าง ความรัก ความปรารถนาดีตอ่ กัน เช่น รักครอบครัว รักองค์กร รักเพือ่ นร่วมงาน เพือ่ เป็นพืน้ ฐานในการ อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ภาพจากปก เป็นภาพอนุสาวรียช์ ยั สมรภูมิ เพื่อแสดงความระลึกถึงคุณความดี และความ กล้าหาญของทหารกล้าเหล่านั้น ส�ำหรับเรื่องเด่น ในฉบับนีไ้ ด้แก่ ผลงาน KM เรือ่ ง การพัฒนาเครือ่ ง ฝึกบินจ�ำลอง บ.ฝ.๒๐ (DA-42), DIRCM คู่ปรับ จรวดบุคคลต่อสู้อากาศยาน MANPADS, สมาร์ท โฟนบนเครือข่ายองค์กร, Exercise COPE India 2018 วิวฒ ั นาการของเทคโนโลยีทางทหารสูก่ จิ การ อวกาศ เกาหลีใต้เศรษฐีนวิ เคลียร์ ผูร้ กั สิง่ แวดล้อม และคอลัมน์ประจ�ำอีกหลายเรื่องล้วนน่าสนใจ เชิญพลิกอ่านตามอัธยาศัย 


ข่าวทหารอากาศ คณะผูจ้ ดั ท�ำหนังสือข่าวทหารอากาศ เจ้าของ กองทัพอากาศ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ พล.อ.อ.ม.ร.ว.ศิริพงษ์ ทองใหญ่ พล.อ.อ.ธนนิตย์ เนียมทันต์ พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน

พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ พล.อ.อ.อมร แนวมาลี พล.อ.อ.ปอง มณีศิลป์ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง

ที่ปรึกษา พล.อ.อ.ธงชัย แฉล้มเขตร พล.อ.อ.ศักดิ์พินิต พร้อมเทพ พล.อ.ต.สหัสชัย มาระเนตร

พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร พล.อ.ต.หญิง สุมาลี ฤทธิบุตร

ผู้อ�ำนวยการ/บรรณาธิการ พล.อ.ท.พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย

เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ รองผู้อ�ำนวยการ

พล.อ.ต.ทศวรรณ รัตนแก้วกาญจน์ พล.อ.ต.ฐานัตถ์ จันทร์อ�ำไพ น.อ.กรกฎ ทิมไสว น.อ.สมพร แต้พานิช ผู้ช่วยบรรณาธิการ ผู้จัดการ

พล.อ.ต.ตรีพล อ่องไพฑูรย์

ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการ

น.อ.ธรรมรงค์เดช เจริญสุข น.อ.นินาท มูลจนะบาตร์

น.อ.สมพร แต้พานิช น.อ.อภิรัตน์ รังสิมาการ น.ท.สมภพ จันทร์ชูชื่น

ประจ�ำบรรณาธิการ

น.ท.หญิง สุภาวดี โคตรเวียง น.ท.หญิง มุตสิตา มาหะศักดิ์ น.ต.หญิง กรชิชา ด�ำเกิด พ.อ.อ.ธรรมวัฒน์ รัตนวิจารณ์ พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห์ พ.อ.อ.หญิง วาสนา รับสมบัติ น.ส.อุไรวรรณ บุญณรงค์ นางจันทร์สม ค�ำมา น.ส.ณัฐวดี ธ�ำรงวงศ์ถาวร

น.ท.หญิง ณัฐสินี เชื้อนุ่น น.ต.หญิง รัชนก เกิดสุข ร.อ.หญิง กันตา คุ้มจั่น พ.อ.อ.พันธกานต์ พูลผล พ.อ.อ.รักษิต ทองแย้ม จ.อ.หญิง ศุภวัลย์ กระจ่างนฤมลกุล นางประไพ เอี่ยมวุฒิ น.ส.รสสุคนธ์ บุญประเทือง

กองวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์ (เพื่อพลาง) ส�ำนักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรืิอนทหารอากาศ ถนนพหลโยธิน แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑, ๐ ๒๕๓๔ ๔๒๔๑ โทรสาร ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑ ส่งบทความและภาพกิจกรรมได้ที่ rtafmag@gmail.com

หนังสือข่าวทหารอากาศ ความเป็นมา หนังสือข่าวทหารอากาศ เป็นนิตยสารรายเดือนของกองทัพอากาศ เริม่ ด�ำเนินการเมือ่ ปี พ.ศ.๒๔๘๓ ขึน้ กับกรมข่าวทหารอากาศ โดย นาวาอากาศ เอกสกล รสานนท์ เป็นบรรณาธิการคนแรก ด�ำเนินการโดยทุนของข้าราชการ ทหารอากาศ ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๙๘ ได้โอนกิจการมาอยู่ในความอ�ำนวยการของ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ตามค�ำสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๕๘๐/๙๘ ลง ๒๓ ธ.ค. ๒๔๙๘ ๑ ม.ค.๒๕๕๓ ได้เข้าอยู่ในกิจการสวัสดิการกองทัพอากาศ ก�ำกับดูแล โดยคณะอนุกรรมการบริหารวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์กองทัพ อากาศ ตามอนุมัติ ผบ.ทอ./ประธานกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ เมื่อ ๒๘ ธ.ค. ๒๕๕๒ ก�ำหนดให้ใช้ระเบียบคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ ว่าด้วยการ บริหารวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์กองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๕๒ ๑ ม.ค.๒๕๖๑ ได้เข้ามาอยู่ในการก�ำกับดูแลของกรมกิจการพลเรือน ทหารอากาศ ตามค�ำสั่ง ทอ. (เฉพาะ) ที่ ๑๓๖/๖๐ ลง ๒๖ ก.ย.๒๕๖๐

ภารกิจ ด�ำเนินกิจการหนังสือข่าวทหารอากาศ ให้เป็นไปตามนโยบายของผูบ้ ญั ชาการ ทหารอากาศ โดยมีผู้อ�ำนวยการหนังสือข่าวทหารอากาศ (จก.กร.ทอ.) เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในกิจการทั่วไป ๒. เพือ่ แสดงความคิดเห็นด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิง่ แวดล้อม อันจะเป็นประโยชน์ตอ่ ส่วนรวม ๓. เพื่อเผยแพร่กิจการของกองทัพอากาศ

การด�ำเนินงาน ๑. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ใน การพัฒนากองทัพอากาศและส่วนรวม ๒. เนื้อหาที่น�ำมาลงในหนังสือข่าวทหารอากาศ - ต้องไม่ขดั ต่อวัตถุประสงค์/นโยบายของผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ - ต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ บุคคล หรือ ส่วนรวม - ต้องได้รับการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะผู้จัดท�ำหนังสือข่าว ทหารอากาศ

ก�ำหนดการเผยแพร่ นิตยสารรายเดือน

พิมพ์ที่ บริษัท ที.เค.เอส. เทคโนโลยี จ�ำกัด (มหาชน) ๓๐/๘๘ หมู่ ๑ ถ.เจษฎาวิถี ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ๗๔๐๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๗๘๔ ๕๘๘๘ โทรสาร ๐ ๒๗๘๔ ๕๘๕๘

อ่านบทความเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ www.airforcemagazine.rtaf.mi.th และ www.rtaf.mi.th บทความและความคิดเห็นของผู้เขียนในหนังสือฉบับนี้ ไม่มีส่วนผูกพันกับทางราชการแต่ประการใด ภาพบางส่วนในหนังสือ น�ำมาจาก www.google.com ออกแบบปก : พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห์ (ภาพกราฟิกส์เวกเตอร์บางส่วนอาจน�ำมาจาก www.freepik.com)


12

ผลงานกลุม่ กิจกรรมทีเ่ สริมสร้างกองทัพอากาศ ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ประจ�ำปี ๒๕๖๑ ประเภทเครือ่ งมือ KM

การพัฒนาเครือ่ งฝึกบินจ�ำลอง บ.ฝ.๒๐ (DA-42) รางวัล Excellent Award กลุ่ม Xsimteam (สอ.ทอ.)

การลงนามในสัญญาซื้อขายเครื่องฝึกบิน จ�ำลอง F-16 FSS อุปกรณ์ทเี่ กีย่ วข้องและบริการต่าง ๆ ระหว่าง กองทัพอากาศ กับ บริษทั ST Electronics (Training & Simulation System) Pte Ltd., ประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐ ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มอันส�ำคัญของการวิจัยและพัฒนา เครื่องฝึกบินจ�ำลองในกองทัพอากาศ เหตุที่กล่าวเช่นนี้ เนื่องจากข้อผูกพันตาม สัญญาที่ก�ำหนดให้ บริษัท ฯ ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) ด้านเครื่องฝึกบินจ�ำลอง

แก่กลุม่ ข้าราชการ สังกัดกรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ ในขณะนั้น นับว่าเป็นองค์ความรูข้ นั้ พืน้ ฐานทีส่ ามารถน�ำมาประยุกต์ ใช้ในการดูแลและซ่อมบ�ำรุงเครื่องฝึกบินจ�ำลอง ตลอดจนต่อยอดองค์ความรู้ในการพัฒนาระบบ เครื่องฝึกบินจ�ำลองในอนาคตต่อไป ก้าวแรกของการพัฒนาเครือ่ งฝึกบินจ�ำลอง เริ่มต้นด้วยการน�ำองค์ความรู้ที่ได้รับมาทดลองสร้าง เครื่องฝึกบินจ�ำลองชนิดไม่เจาะจงแบบ (Generic Flight Simulator) มีชอื่ เรียกว่า “เครือ่ งฝึกบินจ�ำลอง


ข่าวทหารอากาศ

อท.ทอ.๑” ตามชือ่ ย่อของหน่วยต้นสังกัดมีสว่ นประกอบ หลัก ได้แก่ ระบบประมวลผลภาพ (Visual System), ระบบสถานีครูฝึก (Instructor Operating Station : IOS), ระบบห้องนักบิน (Cockpit System), ระบบ ควบคุมการเคลือ่ นไหว (Motion Control System), ระบบเสียง (Aural Cueing System) และ ระบบ เครือข่าย (Network System) ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๕๗ กรมช่างอากาศได้ พัฒนาสร้างอากาศยานต้นแบบเรียกว่า “โครงการ เครือ่ งบินกองทัพอากาศแบบที่ ๖ หรือ บ.ทอ.๖” และ เมื่อ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕ ได้ทำ� การบิน First Flight โดยไม่เก็บฐานเป็นครั้งแรก จากความส�ำเร็จ ดังกล่าว กลุม่ ข้าราชการ สังกัดกรมสือ่ สารอิเล็กทรอนิกส์ ทหารอากาศ ซึง่ เป็นหน่วยสังกัดใหม่ ภายหลังทีก่ องทัพ อากาศปรับโครงสร้างการจัดส่วนราชการในปี พ.ศ.๒๕๕๒ ได้ดำ� เนินโครงการวิจยั และพัฒนาเครือ่ งฝึกบินจ�ำลอง

แบบ บ.ทอ.๖ โดยใช้งบประมาณการส่งเสริมและ สนับสนุนการวิจยั และพัฒนาการทหารกองทัพอากาศ ปี พ.ศ.๒๕๕๔ - ๒๕๕๖ เพื่อสนับสนุนภารกิจการฝึก บินด้วย บ.ทอ.๖ ปี พ.ศ.๒๕๕๙ กองทัพอากาศได้จดั ซือ้ เครือ่ ง บินฝึกแบบที่ ๒๐ (บ.ฝ.๒๐ (DA-42)) จ�ำนวน ๖ ล�ำ

เครื่องฝึกบินจ�ำลอง บ.ทอ.๖ ที่มา: กลุ่ม Xsimteam พ.ศ.๒๕๕๖

เครื่องฝึกบินจ�ำลอง อท.ทอ.๑ ที่มา: กลุ่ม Xsimteam พ.ศ.๒๕๕๔

13


14

เครื่องฝึกบินจ�ำลองแบบ บ.ฝ.๒๐ (DA-42) ต้นแบบ ที่มา: กลุ่ม Xsimteam พ.ศ.๒๕๕๖

เพือ่ ใช้ในการฝึกนักบินทีส่ ำ� เร็จการศึกษาจากโรงเรียน การบิน ก่อนท�ำการฝึกบินกับเครื่องบินล�ำเลียงจริง แต่พบว่ายังขาดเครื่องฝึกบินจ�ำลอง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ การฝึกทีม่ คี วามส�ำคัญในด้านนิรภัยการบินและการฝึก ความช�ำนาญแก่นกั บิน กลุม่ จึงได้ดำ� เนินโครงการวิจยั และพั ฒ นาเครื่ อ งฝึ ก บิ น จ� ำ ลองแบบ บ.ฝ.๒๐ (DA-42) ต้ น แบบด้ ว ยงบประมาณการส่ ง เสริ ม และสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการทหารกองทัพ อากาศ ปี พ.ศ.๒๕๕๖ – ๒๕๕๘ แต่ยังไม่เคยน�ำไปใช้ ในการฝึกนักบินแต่อย่างใด ด้วยนโยบายผูบ้ ญั ชาการทหารอากาศ ประจ�ำ ปี พ.ศ.๒๕๖๒ นโยบายทัว่ ไปด้านการวิจยั และพัฒนา โดยส่งเสริมการวิจัยของหน่วยงานและข้าราชการ ของกองทัพอากาศ เพือ่ พัฒนาองค์ความรูภ้ ายในองค์กร และเผยแพร่ไปสู่ภายนอกองค์กร โดยก�ำหนดกรอบ การวิจยั และพัฒนาการทหารกองทัพอากาศให้มคี วาม

สอดคล้องกับภารกิจหลักของกองทัพอากาศ และด้วย ความส� ำ คั ญ ในการส่ ง เสริ ม นวั ต กรรมสนั บ สนุ น การพึง่ พาตนเอง รวมทัง้ ความจ�ำเป็นของเครือ่ งฝึกบิน จ�ำลองในการสนับสนุนภารกิจการฝึกนักบินให้เกิด ทักษะความช�ำนาญในขั้นตอนปฏิบัติ ตลอดจนเพิ่ม ความปลอดภัยและเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณ เนื่องจากความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและการดูแลซ่อม บ�ำรุงอากาศยาน พล.อ.ท.ไชยศ เทียนค�ำศรี เจ้ากรม สือ่ สารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศจึงมีดำ� ริและสัง่ การ ให้กลุม่ ข้าราชการทีว่ จิ ยั และพัฒนาเครือ่ งฝึกบินจ�ำลอง ข้างต้น โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า “Xsimteam” รวบรวม องค์ความรู้ที่จ�ำเป็นพร้อมทั้งต่อยอดองค์ความรู้ที่มี อยูเ่ ดิมพัฒนาเครือ่ งฝึกบินจ�ำลองแบบ บ.ฝ.๒๐ (DA-42) จ�ำนวน ๑ เครือ่ ง ให้โรงเรียนการบิน ระยะเวลาด�ำเนินการ ๑ ปี กลุม่ จึงได้วางกรอบการด�ำเนินงานและเชิญผูแ้ ทน หน่วยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กองเครื่องช่วยฝึกจ�ำลอง


ข่าวทหารอากาศ

กรมยุทธการทหารอากาศ, ฝูงฝึกขั้นปลาย กองฝึก การบิน โรงเรียนการบิน และกรมสือ่ สารอิเล็กทรอนิกส์ ทหารอากาศ เข้าร่วมประชุมรวบรวมและก�ำหนดกรอบ ความต้องการเครื่องฝึกบินจ�ำลองดังกล่าว ในวันที่ ๗ มิถนุ ายน พ.ศ.๒๕๖๐ ณ ห้องประชุม กองอิเล็กทรอนิกส์ กรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ สรุปได้ว่า เครื่องฝึกบินจ�ำลองต้องมีห้องนักบินเสมือนจริงทั้ง คุณลักษณะและฟังก์ชนั่ การท�ำงาน ระบบควบคุมการ เคลื่อนไหวแบบ ๖ แกนอิสระ และระบบฉายภาพที่ แบบร่างโครงสร้างห้องนักบิน และผั งการเชื่อมต่อระหว่างกลุ่มงาน สามารถแสดงวัตถุแบบ ๓ มิติ เช่น อาคารและโรงเก็บ ที่มา: กลุ่ม Xsimteam พ.ศ.๒๕๖๐ อากาศยานบริเวณโดยรอบสนามบิน ตลอดจนจะต้อง อ้างอิงมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ ในที่นี้เลือกใช้ กลุม่ งานระบบห้องนักบิน ระบบห้องนักบิน มาตรฐาน ICAO FSTD Type I จากนั้นจึงน�ำผลที่ได้ จะต้องมีรูปร่างลักษณะและฟังก์ชันการท�ำงานของ มาวิเคราะห์และด�ำเนินการตามกระบวนการจัดการ อุปกรณ์เครื่องวัดประกอบการบิน เหมือนหรือใกล้ องค์ความรู้ เริ่มจากการบ่งชี้ความรู้ กลุ่มมีความรู้ เคียงกับอากาศยานจริง ในการพัฒนาเครื่องฝึกบินจ�ำลองอยู่แล้วแต่เดิม แต่ ยังขาดความรู้ที่จ�ำเป็นต้องแสวงหาจากผู้เชี่ยวชาญ เพิ่มเติม ได้แก่ มาตรฐานและการแบ่งประเภทเครื่อง ฝึกบินจ�ำลอง ระบบการท�ำงานและขัน้ ตอนปฏิบตั กิ บั บ.ฝ.๒๐ การท�ำงานของระบบควบคุมการเคลือ่ นไหว แบบ ๖ แกนอิสระ และวัฏภาคการฝึกบินด้วยเครื่อง ฝึกบินจ�ำลองของศิษย์การบินจากนัน้ จึงน�ำความรูม้ า จ�ำแนกออกตามลักษณะการท�ำงาน แบ่งได้เป็น ๖ กลุม่ งาน ได้แก่ กลุม่ งานระบบห้องนักบิน, กลุม่ งาน ระบบแสดงผลภาพและระบบฉายภาพ, กลุม่ งานระบบ สถานีครูฝึก, กลุ่มงานระบบควบคุมการเคลื่อนไหว แบบ ๖ แกนอิสระ, กลุม่ งานระบบเสียง และกลุม่ งาน ระบบเครือข่ายแล้วจึงออกแบบและจัดท�ำแบบร่าง โครงสร้างห้องนักบินและผังเชือ่ มต่อระหว่างกลุม่ งาน รวมถึงประมวลและกลัน่ กรองความรูส้ ำ� หรับใช้ในการ พัฒนาเครือ่ งฝึกบินจ�ำลอง โดยแต่ละกลุม่ งานก�ำหนด ระบบห้องนักบิน ขอบเขตของงานในส่วนรับผิดชอบและด�ำเนินการตาม ที่มา: กลุ่ม Xsimteam พ.ศ.๒๕๖๑ ตารางงานที่ก�ำหนด

15


16

กลุม่ งานระบบเสียง จะต้องสามารถจ�ำลอง เสียงเครื่องยนต์ เสียงสัญญาณสัมพันธ์กับการท�ำงาน และเสียงสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยรอบระหว่าง ท�ำการบิน เช่น เสียงลมฝน เป็นต้น กลุม่ งานระบบเครือข่าย จะต้องรองรับการ เชือ่ มต่อและการแลกเปลีย่ นข้อมูลระหว่างแต่ละกลุม่ งานด้วยโปรโตคอลแบบ UDP (User Datagram Protocol) โดยจะต้องเชือ่ มต่ออุปกรณ์ตา่ ง ๆ ตามผัง การเชื่อมต่อในภาพที่ ๔ กลุม่ งานระบบควบคุมการเคลือ่ นไหวแบบ ๖ แกนอิสระ จะต้องควบคุมให้การเคลือ่ นไหวสัมพันธ์ กับภาพแบบ ๓ มิติที่แสดงบนระบบฉายภาพและ สามารถเคลื่อนไหวได้ ๖ แกนอิสระจากกัน กลุ่มงานระบบแสดงผลภาพและระบบ ฉายภาพ จะต้องแสดงภาพสนามบินและสภาพแวดล้อม โดยรอบเป็นภาพ ๓ มิติและมีต�ำแหน่งของวัตถุนั้น ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริง

ระบบแสดงผลภาพและระบบฉายภาพ ที่มา: กลุ่ม Xsimteam พ.ศ.๒๕๖๑

กลุ่มงานระบบสถานีครูฝึก สถานีครูฝึกจะ ต้องมีฟงั ก์ชนั่ การท�ำงานทีเ่ อือ้ ให้ครูการบินเลือกจ�ำลอง สถานการณ์การฝึกได้ตามต้องการ

ระบบสถานีครูฝึก ที่มา: กลุ่ม Xsimteam พ.ศ.๒๕๖๑

เมื่อได้จัดการความรู้อย่างเป็นระบบแยก ตามกลุม่ งานประมวลและกลัน่ กรองความรู้ และด�ำเนิน งานตามกรอบงานของแต่ละกลุม่ งานแล้ว สมาชิกกลุม่ และผู้ที่สนใจงานพัฒนาเครื่องฝึกบินจ�ำลอง สามารถ เข้าถึงแหล่งความรูด้ า้ นการพัฒนาเครือ่ งฝึกบินจ�ำลอง ผ่านทางเว็บไซต์การจัดการความรู้ของกรมสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ หรือขอรับการสนับสนุน เอกสารเผยแพร่ ที่ ก ลุ ่ ม จั ด ท� ำ ขึ้ น และได้ รั บ การ รับรองความถูกต้องโดยกองวิทยาการ กรมสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ หรือติดต่อขอเข้าเยีย่ มชม ผลงานผ่านกรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ โดยตรง ส�ำหรับการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ กลุม่ ได้เผยแพร่ความรูด้ า้ นเครือ่ งฝึกบินจ�ำลองโดยการ สอดแทรกเนื้อหาลงในหลักสูตรของกรมสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ เช่น หลักสูตรฝึกงาน ในหน้าที่ (On The Job Training : OJT) สายสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์หลักสูตรนายทหารสือ่ สารอิเล็กทรอนิกส์ ชั้นเรืออากาศ และโครงการฝึกอบรมนายทหารชั้น ประทวนบรรจุใหม่ ตลอดจนเผยแพร่ความรูแ้ ละร่วมงาน กับองค์กร และสถาบันการศึกษาภายในประเทศ เช่น การบรรยายเกี่ยวกับเครื่องฝึกบินจ�ำลองให้นักศึกษา สาขา Aeronautical Engineering and Commercial


ข่าวทหารอากาศ

การทดสอบการท�ำงานของเครื่องฝึกบินจ�ำลองแบบ บ.ฝ.๒๐ (DA-42) ที่มา: กลุ่ม Xsimteam พ.ศ.๒๕๖๑

Pilot มหาวิทยาลัยเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การร่วม กับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สร้างเครื่องฝึก บินจ�ำลองอากาศยานไร้คนขับ และเพื่อให้เกิดการ เรียนรู้ด้วยการน�ำองค์ความรู้จากการพัฒนาเครื่อง ฝึกบินจ�ำลองแบบ บ.ฝ.๒๐ (DA-42) มาประยุกต์ใช้จริง กลุม่ จึงด�ำเนินโครงการพัฒนาเครือ่ งฝึกบินจ�ำลองแบบ

CT- 4E ภายใต้การสนับสนุนของเจ้ากรมสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศท่านเดิม แม้ว่าการพัฒนาเครื่องฝึกบินจ�ำลองแบบ บ.ฝ.๒๐ (DA-42) จะด�ำเนินตามแผนงานจนบรรลุ วัตถุประสงค์ทกี่ ำ� หนดไว้และก�ำหนดส่งมอบให้โรงเรียน การบินภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑ ก็ตาม

17


18

แต่ในระหว่างด�ำเนินการ พบว่า อุปกรณ์เครื่องวัด ประกอบการบิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุปกรณ์เครื่อง วัดระดับการบิน (Garmin 1000 : G1000) ท�ำงานผิด เพี้ยนจากความเป็นจริง จึงได้ประสานความร่วมมือ กับบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ส�ำหรับควบคุมการท�ำงาน ของ G1000 ผ่านระบบ Remote Maintenance ให้ มาช่วยแก้ไข นอกจากนี้ ยังพบว่า การทดสอบและ ปรับแก้ฟงั ก์ชนั่ การท�ำงานให้ถกู ต้องโดยอาศัยครูการ บินกระท�ำได้ยาก เนือ่ งด้วยภารกิจและระยะเวลาการ เดิ น ทางระหว่ า งโรงเรี ย นการบิ น กั บ กรมสื่ อ สาร อิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ ดังนั้นในห้วงเวลาการ พัฒนาและการทดสอบระบบก่อนติดตั้งใช้งาน เพื่อ เป็นการร่นระยะเวลาการเดินทางและความสะดวกใน การขอค�ำปรึกษา กลุม่ จึงได้ขอรับการสนับสนุนนักบิน จากกองบิน ๖ ที่เคยท�ำการบินกับ บ.ฝ.๒๐ มาช่วย ทดสอบและปรับแก้ไขระบบการท�ำงานให้ถกู ต้อง จาก นั้นจะท�ำการเคลื่อนย้ายเครื่องฝึกบินจ�ำลองไปติดตั้ง พร้อมทดสอบและส่งมอบเพื่อใช้สนับสนุนการฝึกที่ โรงเรียนการบินต่อไป

ผลทีไ่ ด้จากการจัดการความรูใ้ นการพัฒนา เครื่องฝึกบินจ�ำลองดังกล่าวถือเป็นการจัดการความ รู้เพื่อสร้างนวัตกรรมในแบบการพึ่งพาตนเอง และ เป็นการต่อยอดองค์ความรูเ้ พือ่ ประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ระบบจ�ำลองและถ่ายทอดความรูด้ ้านนี้แก่หน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอกกองทัพอากาศได้อย่างเป็น รู ป ธรรม สนั บ สนุ น โมเดลการพั ฒ นาประเทศ ที่ขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรมทั้งช่วยยกระดับ องค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรูใ้ นด้านการพัฒนา เครื่องฝึกบินจ�ำลองและระบบจ�ำลอง เพื่อให้เกิดทักษะความรู้ด้านเครื่องฝึกบิน จ�ำลองและระบบจ�ำลองที่ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นจ�ำลอง สถานการณ์เพือ่ เอือ้ เฉพาะภารกิจการบินเท่านัน้ แต่ยงั เอือ้ ต่อการพัฒนาระบบจ�ำลองทีส่ นับสนุนการปฏิบตั ิ ภารกิจด้านอืน่ กลุม่ จึงได้เสนอขอด�ำเนินโครงการวิจยั และพัฒนาเครือ่ งฝึกบินจ�ำลองแบบ บ.ล.๒ก (BT-67) ส�ำหรับปฏิบตั กิ ารบินเพือ่ ดับและควบคุมไฟป่าซึง่ เป็น โครงการวิจยั และพัฒนาเริม่ ใหม่ ปีงบประมาณ ๖๒ ด้วย

******************************


ข่าวทหารอากาศ

การวิเคราะหปฏิบตั กิ ารทางอากาศของยุทธการพายุทะเลทราย ในสงครามทางอากาศสงครามอ่าวเปอร์เซียครัง้ ที่ ๑ ด้วยทฤษฎีการวิเคราะห์หาจุดศูนย์ดลุ และจุดเปราะบาง CENTERS OF GRAVITY & CRITICAL VULNERABILITIES ของ ดร.โจ สะเตร็ง (Joe Strange) SPARTAN 1337

แนวคิดของการวิเคราะห์จุดศูนย์ดุลของ สงครามนั้นแสนจะเรียบง่ายเมื่อแบ่งองค์ประกอบ ของกองก�ำลังหรือหน่วยงานทีต่ อ้ งการออกมาพิจารณา อย่างถี่ถ้วนว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ส่งเสริมความเข้มแข็ง ทางกายภาพและขวัญก�ำลังใจในการต่อสู้ต้านทาน ฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้ฝ่ายเราหาหนทางปฏิบัติที่ได้ผล ส�ำเร็จในการปฏิบตั กิ ารต่อข้าศึก โดยแนวคิดนีไ้ ด้แบ่ง องค์ประกอบดังกล่าวเป็นสี่ส่วนดังนี้ ๑. จุดศูนย์ดุล : Centers of Gravity (CG) คือ แหล่งที่มาหลักของความแข็งแรงทางขวัญ ก�ำลังใจ ทางอ�ำนาจกายภาพและการต้านทานใน ทุก ๆ ด้าน

๒. ความสามารถที่ส�ำคัญ : Critical Capabilities (CC) คือ ความสามารถหลักที่ท�ำให้ ด�ำรงรักษาจุดศูนย์ดลุ หรือบรรลุวตั ถุประสงค์ตามความ มุ่งหมายที่ต้องการของจุดศูนย์ดุลโดยอธิบายได้ใน บริบทของศักยภาพการรบ จุดมุง่ หมายของสถานการณ์ การรบ หรือการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ๓. ความต้องการที่ส�ำคัญ : Critical Requirements (CR) คือ เงื่อนไขที่จะท�ำงานให้ ความสามารถที่ส�ำคัญ (CC) สามารถปฏิบัติการหรือ น�ำมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ทัง้ ด้านสภาพสิง่ แวดล้อม สภาพ ความพร้อมรบ ทรัพยากรและหนทางวิธีการ

19


20

๔. จุดเปราะบางที่ส�ำคัญ : Critical Vulnerabilities (CV) คือ สิ่งที่เมื่อถูกขัดขวางหรือ ท�ำลายลงแล้วจะเกิดผลอย่างมีนยั ส�ำคัญต่อการสงคราม เช่น ทรัพยากรต่าง ๆ การส่งก�ำลังบ�ำรุง ก�ำลังรบ ทางกายภาพ และขวัญก�ำลังใจของทหาร โดยจุดศูนย์ดุลของข้าศึก (CG) มีความ สามารถทั้งทางกายภาพและทางขวัญก�ำลังใจ เพื่อ ป้องกันขัดขวางความส�ำเร็จของภารกิจของฝ่ายเรา และพันธมิตร ส่วนความสามารถทีส่ ำ� คัญ (CC) เป็นการ ให้ค�ำตอบว่าการกระท�ำอันใดที่จะเป็นผลให้ CG

ประสบความส�ำเร็จ ส่วนความต้องการที่ส�ำคัญ (CRs ค�ำนาม-พหูพจน์) เป็นปัจจัยต่าง ๆ ท�ำให้ CG ยังคงอยู่ รอดและด�ำรงความมุง่ หมายไว้ได้ (Survive and Stay Focused) ท�ำให้เกิดสภาวะที่ CG ยังสามารถสัมฤทธิ์ ผลในการแสวงหาประโยชน์จากปฏิบัติการของฝ่าย ตนอยูไ่ ด้ (Attention-Grabbing) ในหลักนิยมสงคราม ยุคใหม่ (Modern Warfare) จึงเกิดแนวคิดความสัมพันธ์ ระหว่าง CG-CC-CR-CV เกิดขึน้ โดยมุง่ ให้ความส�ำคัญ ของ CV ซึ่งเป็นจุดอ่อนของฝ่ายตรงข้ามที่ฝ่ายเรา สามารถใช้ประโยชน์ได้จากการบ่อนท�ำลายหรือท�ำให้


ข่าวทหารอากาศ

หมดประสิทธิภาพ CVs นั้นเพื่อเป็นผลให้ CG ฝ่าย อีกปัจจัยหนึง่ ทีท่ ำ� ให้อริ กั ประสบปัญหาทาง ข้าศึกพ่ายแพ้หรืออ่อนแอลงได้ เราจึงต้องมองหาความ เศรษฐกิจ คือการที่อิรักได้ลงทุนมูลค่ามหาศาล สัมพันธ์ระหว่าง CG กับ CVs ให้ได้ (๑) สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในช่วงสงครามอิรัก - อิหร่าน เพื่ อ ลดต้ น ทุ น การผลิ ต ไฟฟ้ า และการใช้ น�้ ำ มั น การปฏิบัติทางอากาศในสงครามอ่าวเปอร์เซีย ในประเทศตนเอง แต่กลับถูกอิสราเอลโจมตีท�ำลาย สงครามอ่าวเปอร์เซียเป็นสงครามในภูมภิ าค เมื่อ ๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๔ ก็ยิ่งซ�้ำเติมปัญหา อ่าวเปอร์เซียระหว่างก�ำลังผสมจาก ๓๔ ชาติน�ำโดย ทางเศรษฐกิจให้แก่อิรักมากขึ้นไปอีก สหรัฐอเมริกาต่อประเทศอิรักหลังการบุกครองและ ส� ำ หรั บ สาเหตุ ข ้ อ ขั ด แย้ ง ระหว่ า งอิ รั ก ผนวกคูเวตของอิรกั ในปี พ.ศ.๒๕๓๔ โดยมีการเหตุการณ์ กับคูเวตที่สำ� คัญนอกจากปัญหาราคาน�ำ้ มันแล้ว ยังมี ต่าง ๆ ที่น�ำไปสู่ความขัดแย้งดังนี้ ในปี พ.ศ.๒๕๑๙ ปัญหาพืน้ ทีท่ บั ซ้อนระหว่างสองประเทศทีม่ คี วามกว้าง พรรคบาธได้ทำ� การรัฐประหารและตัง้ รัฐบาลใหม่ของ ๔ กิโลเมตร แต่มีแหล่งน�้ำมันรูไมลา (Rumaila Oil ประเทศอิรักขึ้น ต่อมา ซัดดัม ฮุสเซนได้ก้าวขึ้นด�ำรง Field) ตัง้ อยู่ โดยอิรกั กล่าวหาว่าคูเวตท�ำการขุดเจาะ ต�ำแหน่งประธานาธิบดีใน พ.ศ.๒๕๒๒ ได้บริหาร น�้ำมันเอียงเข้ามาในดินแดนภาคใต้ของอิรักตั้งแต่ ประเทศในลักษณะเผด็จการ จากนั้นอิรักได้พัฒนา ปี พ.ศ.๒๕๓๒ จึงเรียกร้องค่าเสียหายเป็นเงินทั้งสิ้น ประเทศในแบบสมัยใหม่มคี วามสัมพันธ์ใกล้ชดิ กับทัง้ ๑๐,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยคูเวตยอมจ่ายเพียง ประเทศสหรัฐอเมริกา กลุม่ ประเทศนาโต้และสหภาพ ๙,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ อีกทัง้ พืน้ ทีอ่ อกทะเลของ โซเวียต โดยได้รบั การสนับสนุนทางการทหารและสร้าง อิรักมีความกว้างเพียง ๒๕ กิโลเมตร โดยมีเกาะบูบิ เสริมพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ให้ทันสมัยมีสมรรถนะ ยันและวาร์บาห์ ของคูเวตขวางอยู่ ท�ำให้อริ กั ไม่สามารถ สูงรวมทั้งสามารถผลิตอาวุธเคมีชีวภาพจากการ ส่งออกน�้ำมันทางอ่าวเปอร์เซียเองได้เหลือเพียงท่อ สนับสนุนจากหลายประเทศจนอิรักได้เป็นประเทศ ส่งน�้ำมันที่ส่งออกน�้ำมันไปยุโรปผ่านซีเรียและตุรกี ที่มีบทบาทส�ำคัญใน Arab League ต่อมาใน พ.ศ. จากสาเหตุความขัดแย้งดังกล่าวอิรักจึงตัดสินใจ ๒๕๒๓ อิรกั ได้เริม่ ท�ำสงครามแย่งชิงดินแดนกับอิหร่าน ส่งก�ำลังยึดครองคูเวต เมือ่ วันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ สงครามยืดเยื้อเป็นเวลากว่า ๘ ปี โดยไม่มีฝ่ายใด และแสดงท่าทีว่าสามารถจะรุกรานซาอุดิอาระเบีย ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ประเทศทั้งสองได้ท�ำ ต่อไปได้ถ้าการเจรจาแก้ไขปัญหาหนี้สินไม่เป็นผล ข้อตกลงหยุดยิงใน พ.ศ.๒๕๓๑ การท�ำสงครามครัง้ นี้ อย่างที่อิรักพอใจ ส่งผลให้อิรักต้องเป็นหนี้ประเทศเพื่อนบ้านหลาย ประเทศ เช่น ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรต และคูเวต โดยมีเจ้าหนี้ที่ส�ำคัญคือคูเวต ซึ่งมียอดหนี้ ประมาณ ๑๔,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยอิรักมี สินค้าส่งออกที่เป็นรายได้หลักของประเทศมีเพียง ทรัพยากรน�้ำมัน อิรักจึงพยายามเจรจายกระดับ ราคาน�้ำมันให้สูงขึ้น แต่ประเทศในกลุ่มอาหรับโดย เฉพาะ ซาอุดอิ าระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรต และคูเวต ไม่ให้ความร่วมมือ

21


22

จากการกระท�ำดังกล่าวของอิรกั สภาความ มั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ออกมติที่ ๖๖๐ ประนาม การกระท�ำของอิรัก และเรียกร้องให้ถอนก�ำลังทหาร ออกจากคูเวตโดยทันที ซึ่งอิรักได้เสนอข้อเรียกร้อง ในทันทีว่าจะถอนทหารออกจากคูเวตและยอมให้ ชาวต่างชาติออกนอกประเทศได้ โดยสหประชาชาติ จะต้องยกเลิกการคว�่ำบาตร รวมถึงต้องยอมให้อิรัก สามารถเข้าออกอ่าวเปอร์เซียผ่านเกาะบูบิยัน และ วาร์บาห์ของคูเวตได้โดยมีการรับรอง และยอมให้อริ กั ควบคุมทุ่งน�้ำมันรูไมลาได้อย่างเต็มที่รวมทั้งดินแดน พืน้ ทีท่ บั ซ้อนระหว่างอิรกั กับคูเวตทัง้ หมดแต่ประเทศ ตะวั น ตกไม่ ต อบสนองและสภาความมั่ น คงแห่ ง สหประชาชาติได้ออกมติต่าง ๆ ตามมา เช่น มติที่ ๖๖๑, ๖๖๕ และ ๖๗๐ ทีใ่ ห้มกี ารคว�ำ่ บาตรการค้า ทัง้ ทางบก ทางทะเลและทางอากาศ อีกทั้งห้ามการ สนับสนุนทางการทหารในทุกวิถที างแก่อริ กั หลังการ เจรจาอีกหลายครั้งที่ไม่ประสบผลส�ำเร็จ สภาความ มั่นคงแห่งสหประชาชาติจึงได้ออกมติสุดท้าย คือมติ ๖๗๘ ที่อนุมัติให้ใช้ก�ำลังทหารตามความจ�ำเป็นเพื่อ ให้อิรักถอนตัวออกจากคูเวตได้

ในเดื อ นพฤศจิ ก ายน พ.ศ.๒๕๓๓ สหรัฐอเมริกาและประเทศพันธมิตรของรัฐบาลคูเวต (Coalition Forces) เริ่ ม ส่ ง ก� ำ ลั ง ทหารเข้ า สู ่ ซาอุดอิ าระเบียในปฏิบตั กิ ารโล่ทะเลทราย (Operation Desert Shield) เพื่อป้องกันการรุกรานจากอิรัก ภายหลังจากความพยายามทางการทูตเพื่อคลี่คลาย ปัญหาอย่างสันติวิธีล้มเหลว ในวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๔ รั ฐ สภาสหรั ฐ อเมริ ก า ได้ มี ม ติ ใ ห้ ประธานาธิบดีมีอ�ำนาจในการตัดสินใจใช้ก�ำลังทหาร ต่ออิรกั ได้เมือ่ พ้นก�ำหนดเส้นตายตามมติขององค์การ สหประชาชาติ ดังนัน้ ในวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๔ ประมาณ ๐๓.๐๐ น. ตามเวลาท้องถิ่น “ปฏิบัติการ พายุทะเลทราย” (Operation Desert Storm) จึง เริม่ ขึน้ โดยการปฏิบตั กิ ารโจมตีทางอากาศต่อเป้าหมาย ทางทหารในอิรักและคูเวตอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา กว่า ๕ สัปดาห์ โดยมีกองก�ำลังภาคพื้นดินของฝ่าย พันธมิตรส่งทหารเข้าปฏิบตั กิ าร ๖๖๐,๐๐๐ คน ส่วน ฝ่ายอิรักมีก�ำลังทหารภาคพื้นทั้งสิ้น ๕๔๐,๐๐๐ คน ผลการรบคือกองก�ำลังของฝ่ายพันธมิตรได้บุกเข้าสู่ ตอนใต้ของอิรักในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๔ และสามารถตีโอบมาปิดล้อมด้านเหนือของคูเวต การปฏิ บั ติ ก ารทางอากาศใน“ปฏิ บั ติ ก ารพายุ ได้ภายใน ๔ วัน ผลของการรบคือ อิรักยอมปฏิบัติ ทะเลทราย” (Operation Desert Storm) ตามมติขององค์การสหประชาชาติทุกประการ เมื่อ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๔ (๒, ๔, ๕, ๑๒) (อ่านต่อฉบับหน้า) อ้างอิง ๑. Dr.Joe Strange. ๒๕๔๘. CENTERS of GRAVITY & CRITICAL VULNERABILITIESSecond Edition. ๒. กรมการศึกษา กองบัญชาการทหารสูงสุด. ๒๕๓๖. สงครามอ่าวเปอร์เซีย. กรุงเทพฯ: กองวิทยาการ กรมการศึกษา กองบัญชาการ ทหารสูงสุด ๓. พลอากาศตรี มานิต พิสิษฐเจริญทัต. ๒๕๓๖. สงครามอ่าวเปอร์เซีย ทัศนภาพของผู้ปฏิบัติงานในอากาศ(แปลจาก The Gulf War ๔. กองวิทยบริการ กรมยุทธการ ทหารอากาศ. ๒๕๓๕.สงครามอ่าวเปอร์เซีย. ๕. An Air Force Association book. ๒๕๓๕. AIRPOWER in the GULF.Virginia สหรัฐอเมริกา: Aerospace Education Foundation ๖. DUSAN STOJANOVIC.๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๒. Iraqi planes found in Serbia, but in pieces. ๗. BBC news. ๗ มิถุนายน ๒๕๒๔.Israel bombs Baghdad nuclear reactor. ๘. James Titus. ๒๕๓๙. THE BATTLE OF KHAFJI - AN OVERVIEW AND PRELIMINARY ANALYSIS. ๙. Uzi Rubin. ๒๕๔๖.Beyond Iraq: Missile Proliferation in the Middle East.Jerusalem Letter ๑๐. Norman Friedman.๒๕๓๖. Gulf War Airpower Survey Volume 5 ๑๑. old.iraqi.air.force.๒๕๕๓. First air-to-air kill of the Gulf War.Administrator ๑๒. พลอากาศเอก หม่อมหลวง สุปรีชา กมลาศน์. ๒๕๔๒. ยุทธศิลป์ (OPERATION ART), กรุงเทพฯ, กรมยุทธการทหารอากาศ


ข่าวทหารอากาศ

ธรรมะ ประที ป จงท�ำใจให้หนักแน่น เหมือนพระพุทธ พระราชหฤทัยอันหนักแน่นของพระพุทธเจ้า สมั ย พระพุ ท ธกาล พระพุ ท ธองค์ ทรงถู ก นาง จิญจมาณวิกา และนางสุนทรีปริพาชก ผู้เลื่อมใสใน พวกเดียรถีย์ ซึง่ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่เลือ่ มใสในพระพุทธ ศาสนา ให้มาใส่ความกล่าวร้ายท�ำลายชื่อเสียง เพื่อหวัง ลาภสักการะก็ดี ถูกพราหมณ์ ๔ พี่น้อง มีภารทวาช พราหมณ์เป็นต้น ตามด่าก็ดี โดยที่สุด ทรงถูกนาง มาคันทิยา จ้างคนมาตามด่าพระองค์กด็ ี จนพระอานนท์ เถระพระพุทธอุปัฏฐาก อดรนทนไม่ไหว กราบทูลให้ ทรงหนีไปอยู่เมืองอื่น พระพุทธองค์ จึงตรัสถามว่า ถ้าเขายังตามไปด่าถึงเมืองนั้นอีก จะท�ำอย่างไร ? พระอานนท์ กราบทูลว่า ก็ตอ้ งหนีไปต่อไปยังเมืองอืน่ เรื่อยไป พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “อานนท์ การท�ำ อย่างนี้ไม่ควร อธิกรณ์เกิดขึ้นในที่ใด เมื่ออธิกรณ์นั้น สงบระงับแล้วในที่นั้น จึงควรไปในที่อื่น” พระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า “เราจักอดกลัน้ ถ้อยค�ำล่วงเกินดังช้างอดทนลูกศร ซึ่งตกไปจากแล่ง

กอศ.ยศ.ทอ.

ในสงครามในหมูม่ นุษย์ ผูใ้ ดอดกลัน้ ถ้อยค�ำล่วงเกินได้ ผู้นั้น ชื่อว่าฝึกตนแล้ว เป็นผู้ประเสริฐสุด” ในทีส่ ดุ ทรงตรัสอุปมาเปรียบเทียบวิธปี ฏิบตั ิ ต่อบุคคลผู้ด่าไว้ว่า “เจ้าของบ้านจัดของไว้ส�ำหรับ ต้อนรับแขก ถ้าแขกไม่รับ แล้วของสิ่งนั้นจะตกเป็น ของใคร ก็ยอ่ มเป็นของเจ้าของบ้านตามเดิม ซึง่ เหมือน กับคนทีด่ า่ ผูอ้ นื่ ถ้าคนถูกด่าไม่ดา่ ตอบ หรือไม่รบั ค�ำด่า เพราะฉะนั้นค�ำด่าก็ย่อมตกเป็นของผู้ด่าตามเดิม” ดังนี้แล

อ้างอิง เกร็ดค�ำสอนจากพรบุญ “สามจง” สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺญมหาเถร ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดปากน�้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

23


24


ข่าวทหารอากาศ

DIRCM คูป่ รับจรวดบุคคล ต่อสูอ้ ากาศยาน MANPADS ช่วง ๔๐ กว่าปีทผี่ า่ นมา ภัยคุกคามทีอ่ นั ตราย ที่สุดส�ำหรับเฮลิคอปเตอร์ และเครื่องบินล�ำเลียง คือ จรวดบุคคลต่อสูอ้ ากาศยานหรือ MANPADS (Man Portable Air Defense System) ทีส่ ามารถเคลือ่ นย้าย ต�ำแหน่งได้อย่างรวดเร็วโดยใช้คนเพียงคนเดียวท�ำให้ ตรวจพบได้ยาก และที่ส�ำคัญยังมีราคาถูกกว่าระบบ อาวุธต่อสู้อากาศยานแบบอื่น ๆ ซึ่งช่วงสงคราม อ่าวเปอร์เซียมีเฮลิคอปเตอร์ของสหรัฐอเมริกา ถูกจรวด บุคคลต่อสูอ้ ากาศยานยิงตกเป็นจ�ำนวนมากจนสหรัฐฯ ต้องพัฒนาระบบแจ้งเตือนอาวุธน�ำวิถีหรือ MAWS (Missile Approach Warning System) ซึ่งจะ ตรวจจับอาวุธน�ำวิถีหรือจรวดที่ยิงเข้ามาที่อากาศ โดยใช้หลักการตรวจจับแบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ

กลับมา

Rocket-7

๑. ใช้การตรวจจับสัญญาเรดาร์ที่สะท้อน

๒. ใช้การตรวจจับรังสีอนิ ฟราเรดทีแ่ ผ่ออก มาจากตัวอาวุธ ๓. ใช้การตรวจจับรังสีอัลตร้าไวโอเลต ที่แผ่ออกมาจากอาวุธ หลังจากตรวจจับอาวุธน�ำวิถี ที่พุ่งเข้ามาได้แล้วระบบจะส่งสัญญาณไปยังหน้าจอ แสดงผลในห้องนักบินว่ามีอาวุธน�ำวิถหี รือจรวดเข้ามา ทางทิศไหน และส่งสัญญาณไปยังระบบต่อต้านอาวุธ น�ำวิถซี งึ่ จะปล่อย Decoy Flare หรือเป้าลวงความร้อนสูง ส�ำหรับอาวุธที่น�ำวิถีด้วยแสงอินฟราเรด และ Chaff ซึง่ เป็นชิน้ โลหะขนาดเล็กจ�ำนวนมากท�ำจากอะลูมเิ นียม หรือโลหะผสมใยแก้ว ใช้ตอ่ ต้านอาวุธทีน่ ำ� วิถดี ว้ ยเรดาร์

25


26


ข่าวทหารอากาศ

ในขณะทีร่ ะบบ MAWS มีสว่ นส�ำคัญในการ ช่วยแจ้งเตือนอากาศยาน เช่น เฮลิคอปเตอร์ให้สามารถ ตอบโต้การโจมตีด้วยจรวดบุคคลต่อสู้อากาศยาน ได้ดว้ ยการปล่อยเป้าลวงต่าง ๆ แต่ในหลายค่ายผูผ้ ลิต ก็เริ่มพัฒนาระบบน�ำวิถีของอาวุธให้มีความสามารถ ในการแยกแยะเป้าลวง เช่น พลุความร้อนสูงกับ อากาศยานได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ทีเ่ ฮลิคอปเตอร์ Bell 407 ของอิรกั ถูกกลุ่ม ISIS ยิงตก ขณะเข้าปฏิบัติการในเขตที่กลุ่ม ISIS ยึดครองอยู่ ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่าอาวุธที่ใช้ยิง Bell 407

ก็คอื จรวดบุคคลต่อสูอ้ ากาศยานแบบ FN-6 ทีใ่ ช้ระบบ น�ำวิถีด้วยรังสีอินฟราเรด ที่ถูกพัฒนาให้สามารถแยก เป้าลวงพลุความร้อนสูง Decoy Flare กับเป้าหมาย ที่เป็นอากาศยานได้ แม้ว่าเฮลิคอปเตอร์จะมีระบบ แจ้งเตือนอาวุธน�ำวิถีที่ก�ำลังยิงเข้ามา และมีระบบ ปล่อยเป้าลวงเพื่อตอบโต้อาวุธน�ำวิถีที่ถูกยิงเข้ามาได้ แต่ก็ไม่สามารถลวงอาวุธที่มีระบบน�ำวิถีด้วยรังสี อินฟราเรดที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ ซึ่งเรียกว่าระบบ น�ำวิถแี บบ Imaging Infrared ทีเ่ ป็นการรับข้อมูลรังสี อิ น ฟราเรดหรื อ รั ง สี ค วามร้ อ นที่ แ ผ่ อ อกมาจาก เป้าหมายและเป้าลวง แล้วน�ำมาสร้างเป็นภาพดิจทิ ลั เพือ่ เทียบกับฐานข้อมูลในระบบ เพือ่ วิเคราะห์วา่ ภาพ ทีไ่ ด้เป็นเป้าหมาย เช่น เครือ่ งบินรบ รถถัง หรือเป้าลวง ที่เป็นพลุความร้อนสูง จากการพัฒนาระบบน�ำวิถีที่มีความฉลาด มากขึ้น ท�ำให้การใช้เป้าลวง เช่น พลุความร้อนสูงนั้น ไม่สามารถที่จะช่วยให้อากาศยานหลุดรอดจากการ ถูกโจมตีได้ หลายบริษัทผู้ผลิตจึงได้คิดค้นระบบ เพื่อใช้ในการตอบโต้ระบบน�ำวิถีแบบ Imaging Infrared เพือ่ ทดแทนเป้าลวงความร้อนสูงทีไ่ ม่สามารถ ใช้รับมือได้ ส�ำหรับระบบต่อต้านอาวุธน�ำวิถีด้วย อินฟราเรด หรือ DIRCM (Directed Infrared Countermeasure) เป็นระบบที่อาศัยการยิงแสงเลเซอร์

27


28


ข่าวทหารอากาศ

พลังงานสูงไปทีส่ ว่ นน�ำวิถดี ว้ ยรังสีอนิ ฟราเรดของอาวุธ ทีจ่ ะเข้ามาโจมตีโดยตรง ท�ำให้ระบบไม่สามารถสร้าง ภาพดิจทิ ลั ของเป้าหมายได้ หรืออาจเรียกง่าย ๆ ว่าอยู่ ในสภาพตาบอด ซึง่ อาวุธจะมองไม่เห็นเป้าหมายและ พุ ่ ง ไปอย่ า งไร้ ทิ ศ ทางจนกระทั่ ง เชื้ อ เพลิ ง ที่ ส ่ ว น ขับเคลื่อนหมดก็จะตกลงสู่พื้น ระบบ DIRCM ได้รับการพัฒนาจากหลาย ค่ายผู้ผลิต ซึ่งมีทั้งแบบที่ใช้งานจริงในปัจจุบัน และ อยู่ระหว่างการทดสอบเพื่อเตรียมเข้าสู่สายการผลิต เช่น Miysis ของบริษัท Leonardo, Guardian ของ Northrop Grumman, DIRCM Turret ของ BAE Systems Australia, ELOP MUSIC และ C-MUSIC ของ Elbit Systems ซึ่งระบบล่าสุดที่ก�ำลังจะเข้าสู่ สายการผลิตได้แก่ Miysis ของบริษัท Leonardo ที่ ผ ่ า นการทดสอบด้ ว ยการยิ ง จรวดบุ ค คลต่ อ สู ้ อากาศยานจริ ง เมื่ อ เดื อ นตุ ล าคม พ.ศ.๒๕๖๑ ทีผ่ า่ นมา โดย Miysis จะใช้งานร่วมกับระบบแจ้งเตือน อาวุธน�ำวิถี Elix-IR ของบริษัท Thales ซึ่งเป็นบริษัท สัญชาติฝรั่งเศสที่มีสาขาอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก

ในการทดสอบประสิทธิภาพของ Miysis ได้ ถูกทดสอบในสถานการณ์การถูกยิงโจมตีด้วยจรวด บุคคลต่อสู้อากาศยานทั้งแบบยิงที่ละนัด และยิง สองนัดจากจุดเดียวพร้อมกัน ซึง่ ผลการทดสอบ Miysis สามารถต่อต้านจรวดที่เข้ามาโจมตีได้ การทดสอบนี้ อาศัยการตรวจจับของ Elix-IR ซึง่ ใช้เซนเซอร์ตรวจจับ รังสีอินฟราเรดที่ติดตั้งรอบตัวของอากาศยานเพื่อให้ สามารถตรวจจับได้ ๓๖๐ องศา รอบอากาศยาน เมือ่ ตรวจจับได้แล้วจะส่งสัญญาณไปที่ Miysis เพื่อให้ยิง เลเซอร์ไปยังทิศที่มีอาวุธน�ำวิถีพุ่งเข้ามาได้ ส�ำหรับ Miysis นั้นถูกออกแบบมาเพื่อใช้ต่อต้านจรวดบุคคล ต่อสู้อากาศยานที่น�ำวิถีด้วยแสงอินฟราเรด สามารถ ติดตั้งกับเฮลิคอปเตอร์ เครื่องบินล�ำเลียงขนาดใหญ่ และอากาศยานไร้ ค นขั บ ซึ่ ง อากาศยานเหล่ า นี้ มี ความเร็วต�ำ่ และตกเป็นเป้าหมายของจรวดบุคคลต่อสู้ อากาศยานได้ง่าย Miysis มีน�้ำหนัก ๑๖ กิโลกรัม ขนาดกว้าง ๑๘๓ มม. x ยาว ๒๗๐ มม. x สูง ๓๔๑ มม. ความสิน้ เปลืองพลังงงาน ๑๙๐ - ๕๓๕ วัตต์ นอกจาก นั้นแล้ว Miysis ยังสามารถติดตั้งกับอากาศยาน

29


30

เพื่อใช้งานแบบระบบเดี่ยวหรือใช้งานร่วมกับระบบ ต่อต้านอาวุธน�ำวิถี เพือ่ ป้องกันอากาศยานแบบอืน่ ๆ ได้อีกด้วย ในส่วนของระบบ DIRCM ที่มีการติดตั้ง กับอากาศยานและใช้งานจริงในปัจจุบันนั้นมีอยู่ หลายค่ายผู้ผลิต แต่หนึ่งในนั้นคือ Guardian ของ Northrop Grumman ซึ่งมีทั้งระบบแจ้งเตือนอาวุธ น�ำวิถีและ AN/AAQ-24 (V) DIRCM รวมอยู่ด้วยกัน โดย Guardian มีลักษณะเป็นกระเปาะขนาดเล็ก ใช้ตดิ ตัง้ ใต้ลำ� ตัวของอากาศยาน ด้านหน้าของกระเปาะ จะเป็นเซนเซอร์อลั ตราไวโอเลตส�ำหรับตรวจจับอาวุธ น�ำวิถที ยี่ งิ เข้ามาให้อากาศยาน และบริเวณใต้กระเปาะ ตรงกลางจะเป็นตัวยิงเลเซอร์แบบหมุนได้รอบทิศทาง เพือ่ ยิงเลเซอร์ไปทีอ่ าวุธทีก่ ำ� ลังพุง่ เข้ามาหาอากาศยาน ซึง่ กระบวนการในการตรวจจับและยิงเลเซอร์ไปทีอ่ าวุธ น�ำวิถีใช้เวลาเพียง ๒ - ๕ วินาทีเท่านั้น ส�ำหรับ ตัวกระเปาะทีบ่ รรจุระบบทัง้ สองไว้นนั้ ได้ถกู ออกแบบ เพื่อให้สามารถติดตั้งกับอากาศยานที่ได้โดยไม่ลด ประสิทธิภาพในการบินและการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ส่วนน�ำ้ หนักของกระเปาะหนักประมาณ ๕๕๐ ปอนด์ ซึ่งมีน�้ำหนักใกล้เคียงกับลูกระเบิดอากาศ Mk82

ซึ่ ง หนั ก ประมาณ ๕๐๐ ปอนด์ มี ข นาดกว้ า ง ๒,๓๖๒.๒ มม. x ยาว ๘๑๒.๘ มม. x สูง ๔๕๗.๒ มม. ความสิ้นเปลืองพลังงาน ๒,๘๐๐ วัตต์ การน�ำ Miysis กับ Guardian มาเปรียบ เทียบกันนั้นเหมือนเป็นการเปรียบมวยคนละรุ่น เนื่องจาก Miysis นั้นเป็นรุ่นที่ก�ำลังเตรียมเข้าสู่ สายการผลิต และเป็นระบบ DIRCM ที่ไม่ได้ติดตั้งมา พร้อมกับระบบแจ้งเตือนอาวุธน�ำวิถี ข้อดีคอื สามารถ น�ำมาใช้กับระบบเดิมที่มีอยู่ ส่วนข้อเสียคือถ้าไม่มี ระบบมาก่อนก็ต้องจัดหาใหม่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ ฝ่ายของ Guardian เปรียบเหมือนมวยรุ่นใหญ่ ประสบการณ์สูง เพราะเป็นรุ่นที่มีใช้งานจริงทั่วโลก และมาพร้อมกันทัง้ ระบบ DIRCM และระบบแจ้งเตือน อาวุธน�ำวิถี ซึ่งสามารถน�ำไปติดตั้งกับอากาศยาน ได้โดยไม่ต้องจัดหาระบบอื่น ๆ มาเพิ่มอีก การพัฒนาของระบบต่อต้านอาวุธน�ำวิถี ท�ำให้เห็นถึงวิวัฒนาการของการพยายามเอาชนะ ซึง่ กันและกัน เปรียบเสมือนการสร้างโล่เพือ่ มาป้องกัน หอกในการรบสมัยโบราณ ในขณะที่ DIRCM สามารถ เอาชนะจรวดบุคคลต่อสู้อากาศยาน ที่น�ำด้วยรังสี อินฟราเรดได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าชัยชนะนี้ ถึงจุดสิ้นสุดแล้ว เพราะฝ่ายผู้ผลิตอาวุธเองก็ก�ำลัง พัฒนาจรวดบุคคลต่อสู้อากาศยานที่ลดการแผ่รังสี อินฟราเรดและรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งท�ำให้ระบบ แจ้งเตือนอาวุธน�ำวิถีตรวจจับได้ยากหรือตรวจจับ ไม่ได้เลย และส่งผลให้ระบบ DIRCM ไม่รวู้ า่ จรวดก�ำลัง เข้ามาทางทิศไหน การพัฒนาทัง้ อาวุธและระบบป้องกัน ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะหยุด พัฒนาหรือยอมแพ้ แต่คงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะต่างฝ่ายต่างต้องการทีจ่ ะเอาชนะซึง่ กันและกัน

อ้างอิง AN/AAQ-24(V) DIRCM (Directional Infrared Countermeasure), http://www.northropgrumman.com Directed IR Countermeasures,http://elbitsystems.com How the Guardian Anti-missile System Works,https://science.howstuffworks.com Leonardo-Thales aircraft protection system successfully tested against multiple MANPADS missiles, https://www.janes.com MIYSIS DIRCM,https://www.leonardocompany.com


ข่าวทหารอากาศ

ต�ำนานบางเรือ่ ง..

ของ นจอ.รุน่ พ.ศ.๒๔๙๘ ร.ต.ฉลวย ราหุล

ค�ำว่า ต�ำนาน ท่านผูอ้ า่ นทีเ่ คารพหลายท่าน คงนึกไม่ออกและบอกไม่ได้ว่าคืออะไร ?... ผู้เขียนเอง ถ้าจะให้ตอบก็คงตอบไม่ได้หากไม่คน้ คว้าหามาได้จาก ในพจนานุกรมฉบับราชบัณทิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ หน้า ๓๔๙ คือ ต�ำนาน เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ ปางหลัง เรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบ ๆ มา ฯลฯ ผูเ้ ขียนเป็น ทหารอากาศบ�ำนาญ ปัจจุบนั อายุ ๘๑ ปี มี เลขช�ำนาญงานทหารอากาศหลัก (ลชทอ.) คือช่างอาวุธประจ�ำเครื่องบิน ดังนั้น ก่อนถึง พ.ศ.นี้ ผูเ้ ขียนจึงผ่านงานด้านสรรพาวุธ ทีต่ ดิ ตัง้ กับเครือ่ งบิน (บ.)

ขับไล่ของกองทัพอากาศ มาก่อนตัง้ แต่ AT-6 (Advane training/6), F-8-F (BEAR CAT), F-86-F (SUPER SABRE) และ F-5A/B เป็น หน.สรรพาวุธ FLIGHT B. ฝูงบิน ๑๓ กองบิน ๑ ดอนเมือง เมือ่ หมดเวลาต้องสลัดชุดกันเปือ้ น (ชุดหมี) ที่ได้รับแจกปีละ ๒ ชุด ออกมาช่วยลูกชาย - ลูกสะใภ้ เลี้ยงหลาน เพราะทั้งพ่อ - แม่ของหลานต้องออกไป ท�ำงานกันนอกบ้าน ซึ่งเป็นเวลาใกล้เคียงกับ ทอ. เปลี่ยนแบบ บ.ขับไล่เป็น F-16 ผูเ้ ขียนเลยกลายเป็นคนแก่ทมี่ ภี าระต้องพา หลานไปส่งโรงเรียนแถมของกินของเล่นกระจุกกระจิก

31


32

เหมือนปูอ่ กี หลายคน เมื่อกลับเข้าบ้าน เพื่อพักผ่อน ดูโทรทัศน์ รอเวลาไปรับกลับตอนโรงเรียนเลิก ก่อนจะลงมือเขียนบทความเรื่องนี้ ก็หมด สัญญาทีอ่ งค์การสือ่ สารมวลชนแห่งประเทศไทยท�ำไว้ กับบริษทั WORK POINT เลิกถ่ายทอดสดการแข่งขัน มหกรรมกีฬาแห่งทวีปเอเชียหรือเอเชียนเกมส์ ซึ่ง ประเทศอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพไปแล้วหลายวัน เอเชียนเกมส์ครัง้ นีป้ ระเทศไทยต้องผิดหวัง กับชนิดกีฬาทีค่ าดหวังไว้วา่ จะได้เหรียญทองไปหลาย อย่างโดยเฉพาะกรีฑาระยะสั้น ได้แก่ วิ่ง ๑๐๐ ม. วิ่งผลัด ๔x๑๐๐ ม. ทั้งหญิงและชาย เป็นต้น เมือ่ พูดถึงกรีฑาประเภทวิง่ ทางตรง ๑๐๐ ม. ชายแล้วท�ำให้คิดถึงต�ำนานผู้ที่ท�ำชื่อเสียงให้กับ ทอ. ของเราเพราะเขาเป็นนักวิ่ง ทอ. ที่ท�ำชื่อเสียงให้กับ ประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียเนื่องจากเป็นเจ้าของ สถิติวิ่งระยะ ๑๐๐ ม. ด้วยเวลา ๑๐.๔ วินาที อยู่นาน หลายสมัย เขาได้เป็นตัวแทนของเอเชียจากประเทศไทย ไปร่วมแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็น เจ้าภาพครัง้ แรก แม้จะไม่ได้เหรียญรางวัลใด กลับมา แต่นักวิ่งจากประเทศไทยผู้นั้นคือ ทอ. ตัวด�ำ ๆ น่องทู่

ชื่อ พ.อ.อ.สุทธิ มัณยากาศ ในปี ค.ศ.๒๐๒๐ ที่ใกล้จะถึงนี้ ประเทศ ญี่ปุ่นได้เป็นเจ้าภาพจัดงานแข่งขันกีฬาโอลิมปิกอีก เป็นครั้งที่ ๒ หาก น.อ.สุทธิ มัณยากาศ ผู้มีอดีตเป็น นักเรียนจ่าอากาศ (นจอ.) เหล่าช่างอากาศ ชั้น ๑ รุ่น พ.ศ.๒๔๙๘ และฝึกวิชาทหารราบหมวดเดียวกับ ผู้เขียนยังมีชีวิตอยู่ เขาคงยังจ�ำและคิดถึงลู่วิ่งของ สนามกีฬาที่มหานครโตเกียวได้เป็นอย่างดี พ.อ.อ.สุทธิ ฯ เคยอยู่ในลู่วิ่งติดกับผู้เขียน ที่สนามกีฬาศุภชลาศัย สมัยกีฬานักเรียนชั้นมัธยม ส่วนกลางของประเทศไทยมาก่อน ซึ่งผู้เขียนเป็น ตัวแทนไปจากโรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบ�ำรุง วิ่ง ๑๐๐ เมตร ได้ ๑๑ วินาทีกว่า ๆ เป็นเวลาที่ดีที่สุด ย่านดอนเมืองขณะนั้น เมื่อเราต่างมาศึกษาต่อที่ นจอ. จึงมาเจอ กันอีก แต่ผเู้ ขียนก็ยงั สู้ พ.อ.อ.สุทธิ ฯ ไม่ได้ นอกจากนัน้ เรายังได้อยู่หมวดฝึกที่มี ร.ท.สิงโต แสนสุข วีรบุรุษ เดนตายจากอ่าวมะนาว กองบิน ๕ เมื่อครั้งถูกญี่ปุ่น บุกโจมตี เป็น ผู้บังคับหมวด ผู้รับผิดชอบหมวดฝึก ที่ ๑ ถึงวันนี้ท่านเสียชีวิตไปนานแล้ว


ข่าวทหารอากาศ

นจอ.รุน่ พ.ศ.๒๔๙๘ มีทงั้ หมด ๑๒ เหล่า ส�ำเร็จออกรับราชการรวมทัง้ สิน้ ๘๒๗ คน นับได้วา่ เป็น รุ่นประวัติศาสตร์ของ ทอ. เพราะมีเหล่านักบินชั้น ประทวน (ป.) รุน่ สุดท้ายท�ำเนียบ ป.๑๗ อยูด่ ว้ ย ๓๐ คน นจอ.รุ่น พ.ศ.๒๔๙๘ นั้นมี ๒ จ�ำพวก คือ หลักสูตร ๒ ปี จบแล้วติดยศ จ่าอากาศโท ผู้ที่สอบได้ ประเภท ก. รับเงินเดือน ๕๗๕ บาท มากกว่าผู้ที่สอบ ได้ประเภท ข. ๒๕ บาท ส่วนที่มากกว่านี้หากน�ำไป ซื้อเหล้าแม่โขง ๑ กลม ที่สโมสรยังจะมีเงินทอนอุ่น กระเป๋ากลับบ้าน ๓ บาท เพราะเหล้าแม่โขงในสโมสร ขณะนั้นขวดละ ๒๒ บาท เอง นจอ.รุ ่ น พ.ศ.๒๔๙๘ มี ผบ.โรงเรี ย น จ่าอากาศ คือ น.อ.ศุภชัย คงสมพงษ์ ซึง่ มี บุตร - หลาน เป็นอภิชาตบุตร ครองยศ พลเอก กันทั้งคู่ ส่วนท่าน ถึงแม้ขาท่อนล่างจะโก่งแบบคนโบราณ แต่ท่าน ก็สามารถเดินเตะฉากโชว์หน้าแถวได้ จึงน่าศรัทธา และเลื่อมใสท่านมากอยู่ นจอ. รุน่ พ.ศ.๒๔๙๘ นัน้ ร่วมสมัยกับนักเรียน นายเรืออากาศรุ่น ๓ มี ผบ.ทอ.เป็นนักบินขับไล่ที่ได้ รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญ จากการรบทางอากาศ ในสงครามอินโดจีน คือ จอมพลอากาศ ฟืน้ รณภากาศ ฤทธาคนี เมื่อครั้งท่านได้รับพระราชทานยศเป็น จอมพลอากาศ ข้าราชการ ลูกจ้าง นักเรียนทหาร ของ ทอ. ได้จัดท�ำคฑาทองค�ำหนักเท่าอายุของผู้ที่ ใกล้เกษียณ มอบให้เป็นของขวัญ ด้วยการหักเงินเดือน ตามเปอร์เซ็นต์ นจอ.ขณะนั้นดูเหมือนจะ ๓ บาท ผู้เขียนส�ำเร็จการศึกษาติดยศจ่าอากาศโท ไปบรรจุอยู่ตาคลีซึ่งยังเป็นกองบินน้อยที่ ๔ ฝูงบิน ขับไล่ทงิ้ ระเบิดที่ ๔๓ พร้อมกับเพือ่ นนักบินอีก ๕ คน มี จ.ท.แจ่ม บ�ำรุงอ่วม ทีส่ นิทกันเป็นพิเศษด้วย ๑ คน นอกนั้นเป็นเหล่าอื่น ๆ ครบเกือบทุกเหล่า ยกเว้น ดุริยางค์กับสารวัตรทหาร ปีต่อมาต่างได้เลื่อนยศเป็นจ่าอากาศเอก ผู้เขียนเป็นช่างอาวุธประจ�ำ บ.ผู้สนับสนุนการบิน

ภาคพื้นกับนักบิน จ.อ.แจ่ม ฯ วันหยุดสุดสัปดาห์ จะขึ้นรถไฟไปเที่ยวปากน�้ำโพกันบ่อย จึงเป็นเรื่อง ธรรมดาของนักบินกับช่างอาวุธฯ ที่จะมีความสนิท สนมกันมากท�ำให้ผู้เขียนได้มีโอกาสได้ขึ้นนั่งหลัง AT- 6 ไปบินผาดแผลงด้วย แล้วผู้เขียนก็ถูกเลือก ให้มาเรียนเพือ่ เตรียมตัวรับ F-86-F (SUPER SABRE) ดาบโค้งทีเ่ กรียงไกรคูก่ ดั MIG-15 ทีฝ่ งู บิน ๑๓ ดอนเมือง เมื่ อ เรี ย นจบจึ ง ไม่ ไ ด้ ก ลั บ ฝู ง ๔๓ และทราบว่ า จ.อ.แจ่ม ฯ สมัครเป็นนักบินรบนิรนามเพื่อบิน T-28 ช่วยอเมริกันรบอยู่ในลาว แล้วภารกิจวันหนึง่ จ.อ.แจ่ม ฯ ถูกยิง เครือ่ งยนต์ ขัดข้องต้องลงนอกสนาม ในไร่มันส�ำปะหลังและไถล ชนจอมปลวกใหญ่ ก่อนหยุดให้ชาวไร่ลากลงจากเครือ่ ง เอามารุมกันฟาดด้วยไม้คานจนอ่วม โดยไม่ต้องบ�ำรุง อย่างนามสกุล จ.อ.แจ่ม ฯ ถูกขังคุกมืด ต้นสังกัดติดตาม และติดต่อไม่ได้เป็นเวลานานเกินก�ำหนดจึงจ�ำหน่าย เป็น สูญ แล้วจ่ายเงินสวัสดิการต่าง ๆ แก่ครอบครัว และทายาทตามสิทธิทจี่ ะต้องได้รบั ถึงวันกองทัพไทย จึงน�ำชื่อแทนอัฐิน�ำไปบรรจุ ณ อนุสาวรีย์ ทอ. ๙ ปีต่อมา สงครามเวียดนามยุติ เชลยศึก จึ ง พ้ น คุ ก แล้ ว ทอ.ของเราก็ ไ ด้ ฮื อ ฮาเพราะมี จ.อ.แจ่ม บ�ำรุงอ่วม นักบินไทยรวมอยู่ด้วย จ.อ.แจ่ม ฯ ต้องชอกช�้ำมากกว่าที่โดนรุมตี ด้วยไม้ค้านจากชาวไร่มันส�ำปะหลัง เพราะแม่บ้าน คู่ชีวิตเธอตัดสินใจมีครอบครัวใหม่ เพราะคิดว่า จ.อ.แจ่ม ฯ คงไม่มีชีวิตรอดกลับมา และมีสภาพที่ยัง สามารถปฏิบัติราชการได้ ทางราชการจึงจ�ำเป็นต้อง แกะชื่ อ ที่ อ นุ ส าวรี ย ์ อ อกและปู น บ� ำ เหน็ จ ให้ เลื่อนยศขึ้นเป็นเรืออากาศเอกกลับเข้ารับราชการต่อ ร.อ.แจ่ม ฯ จึงประชดชีวติ ด้วยการเทีย่ ว ดืม่ และกินจนร่างกายทรุดโทรมก่อนวัย หัวใจจึงล้มเหลว และเสียชีวิตไปแล้วจริง ๆ ขณะมียศนาวาอากาศโท ล่วงหน้าไปก่อนเถอะเพื่อน แล้วจะตามไป ! และเมื่อถึงเวลาของเพื่อนอีก ๓ เหล่า

33


34

ที่ต้องเรียนกัน ๓ ปี จบการศึกษา นจอ. ผิวเข้มจากอ่างทองเหล่าช่างอากาศ ชั้น ๑ อีกผู้หนึ่งที่สอบผ่านการคัดเลือกชนะเหล่า พยาบาลและสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ได้เป็นผู้ไปศึกษา ต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร (รร.ตท.) ที่เพิ่งเปิดการ ศึกษาเป็นรุน่ แรก (รุน่ ที่ ๑) ได้แก่ นจอ.สัมฤทธิ์ มัง่ นิมติ ส่วน นจอ. เพื่อนที่เรียน ๒ ปี และส�ำเร็จ ล่วงหน้าไปก่อนตัวแทนของแต่ละเหล่าจึงได้ไปทัน เตรียมนายร้อย จปร.รุ่นสุดท้าย คือ รุ่น ๑๑ มีอดีต ผบ.ทบ. พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร เป็นต้น นจอ.สัมฤทธิ์ มั่งนิมิต จึงมีเพื่อนร่วมรุ่น เตรียมทหารรุ่นที่ ๑ ที่ต่อมาคือ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้แก่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นจอ.สัมฤทธิ์ ฯ เมื่อจบจากเตรียมทหาร แล้ว ได้กลับ ทอ. มาเป็นนักเรียนนายเรืออากาศรุ่นที่ ๘ จบแล้ ว เลื อ กได้ เ หล่ า นั ก บิ น ผู ้ เขี ย นไม่ ท ราบ รายละเอียดปลีกย่อยมากนัก จึงไม่ทราบว่าโรงเรียน การบินหรือศิษย์การบิน จะเป็นผูเ้ ลือกเองว่าเมือ่ ส�ำเร็จ แล้วจะเป็นนักบินขับไล่ บินล�ำเลียง หรือนักบิน ปีกหมุน (เฮลิคอปเตอร์) ในงานกินเลีย้ งรุน่ นจอ. พ.ศ.๒๔๙๘ ครัง้ หนึง่ ผูเ้ ขียนถาม นจอ.สัมฤทธิ์ ฯ ว่าท�ำไมจึงเลือกเป็นนักบิน ฮ. นจอ.สัมฤทธิ์ ฯ ตอบว่า เพราะอยากไปอเมริกา เนือ่ งจากตอนนัน้ นักบิน ฮ. มีทนุ ให้ไปเรียนทีอ่ เมริกา หลายทุน เมื่อ นจอ.สัมฤทธิ์ ฯ กลับจากอเมริกา จึง ต้องไปบิน ฮ. อยู่ที่กองบิน ๓ โคราช และปฏิบัติงาน สนามชายแดนหลายพื้ น ที่ ฮ. ถู ก ผู ้ ก ่ อ การร้ า ย คอมมิวนิสต์ (ผกค.) ยิงรวมกันแล้วมากกว่า ๑๐๐ นัด รายงานผลการปฏิบัติงานของ นจอ.สัมฤทธิ์ ฯ ได้รับ การพิจารณาให้ได้รับพระราชทาน เหรียญรามา ค� ำ ว่ า เหรี ย ญรามานั้ น เป็ น เครื่ อ งราช อิ ส ริ ย าภรณ์ ต ระกู ล หนึ่ ง ซึ่ ง เรี ย กว่ า เครื่ อ งราช อิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีมีทั้งสิ้น ๖ ชั้น ได้แก่ ๑. เสนางคะบดี ๒. มหาโยธิน ๓. โยธิน ๔. อัศวิน ๕. เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร

๖. เหรียญรามมาลา นจอ.สัมฤทธิ์ ฯ ได้รับพระราชทาน เครื่อง ราชอิสริยาภรณ์อนั มีศกั ดิ์ รามาธิบดี ชัน้ ๕ คือ เหรียญ รามมาลาเข็มกล้ากลางสมร ตามค�ำจ�ำกัดความทีบ่ อกไว้ ผู้ใดแสดงความองอาจส่วนตัวเป็นพิเศษ ยิง่ ยวด ยอมเอาชีวติ เข้าแลกเพือ่ ส�ำแดงฤทธิแ์ ละบ�ำรุง สง่าราศีของนักรบไทย ให้ประจักษ์แก่ชาวโลกพระราชทาน เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร ต่อมาเมือ่ นจอ.สัมฤทธิ์ ฯ เป็นนาวาอากาศโท ก็ได้รบั พระราชทานเหรียญกล้าหาญเพิม่ อีก ๑ เหรียญ น.ท.สัมฤทธิ์ ฯ ครองยศก่อนเกษียณที่ พลอากาศตรี (พล.อ.ต.) ส่วนเพือ่ น นจอ. หลักสูตร ๒ ปี ที่เรียนดีได้ไปต่อเตรียม จปร.รุ่น ๑๑ เกษียณกันที่ พลอากาศเอก (พล.อ.อ.) หลายท่าน ผู้เขียนถาม พล.อ.ต.สัมฤทธิ์ ฯ ว่าท�ำไมถึง ได้แค่นนั้ นายพล ๑๐๐ รู ตามทีส่ อื่ หนังสือพิมพ์และTV. ออกข่าวสดุดีวันที่ได้รับพระราชทานติดยศนายพล เจ้าตัวตอบว่า เพราะมัวไปเสียเวลาอยู่ที่ นจอ.เสียไป ๓ ปี เลยท�ำให้หมดเวลาต้องถอดเครือ่ งแบบกลับบ้าน มาเลี้ยงหลาน เหมือนผู้เขียน ถึงจะเก่งสักแค่ไหนก็ไม่พ้น สัจธรรม ได้แก่ เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย พล.อ.ต.สัมฤทธิ์ ฯ บิน ฮ.๔ และ ฮ.๖ ผ่านศึกรบชนะ ผกค. มาโชกโชน แต่มาแพ้มะเร็ง จึงหนีไม่พน้ ต้องขึน้ เมรุวดั พระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร (บางเขน) แล้วถูกสุมดอกไม้จันทน์ไปแล้ว ๒ ปี หลับให้สบายเถิดนะเพื่อน ที่ผ่านมาถือว่า เป็นกฎแห่งกรรม เพราะเพื่อนสังหารศัตรูของชาติ มาแล้วมากมาย ผูเ้ ขียนเองทุกวันนีแ้ ม้จะเลิกเหล้า เลิกบุหรี่ แต่ยังหนีไม่พ้น ทัพโรคผู้สูงวัยรักษาไม่หาย ไขมันใน เส้นโลหิต เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ต้องกินยา ที่หมอสั่ง เช้า ๖ เย็น ๓ เม็ด และ ๓ เดือนต้องไป พบแพทย์ก็ได้แต่ท�ำใจว่า เราเป็นชาวพุทธอยู่มาได้ เท่าทีพ่ ระพุทธองค์จอมศาสดา ผูใ้ ห้กำ� เนิดศาสนาพุทธ ก็นับว่าเป็นบุญที่สุดแล้ว


Red Eagle

ข่าวทหารอากาศ

อินทรีแดง แผลงฤทธิ์

PJ

พลร่มกู้ภัย นามนั้นไซร้ เราคือ

น.ต.ภฤศพงศ์ ช้อนแก้ว

สวัสดีทา่ นผูอ้ า่ นทุกท่านครับ จากเมือ่ เดือน ที่ แ ล้ ว Red Eagle ได้ น� ำ เสนอตอนที่ มี ชื่ อ ว่ า “Underwater Man ....ภารกิจโหด โหมดใต้น�้ำ” ซึ่ง เป็นเรื่องราวเชื่อมโยงตั้งแต่ประวัติศาสตร์ความเป็น มาของการด�ำน�้ำ อุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจใต้น้�ำ ชนิดต่าง ๆ การฝึกด�ำน�้ำ และโรคที่เกิดจากการด�ำน�้ำ เหตุทนี่ ำ� เสนอในเรือ่ งของการด�ำน�ำ้ นี้ เนือ่ งจากในช่วง ก่อนหน้านั้นได้เกิดวีรกรรมอันน่ายกย่องของทีมกู้ภยั ในการช่ ว ยเหลื อ ๑๒ นั ก เตะเยาวชนที ม หมู ป ่ า

อะคาเดมี และ ๑ โค้ชผู้ฝึกสอน จนเกิดเป็นชื่อเสียง โด่งดังไปทัว่ โลก ณ ถ�ำ้ หลวง - ขุนน�ำ้ นางนอน อ�ำเภอ แม่สาย จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ ๒๓ มิถุนายน - ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๑ จะเห็ น ได้ ว ่ า ที ม กู ้ ภั ย จากทั่วสารทิศทุกมุมโลก ต่างหลั่งไหลกันเข้ามาเพื่อ ช่วยเหลือปฏิบัติภารกิจครั้งส�ำคัญนี้ ส�ำหรับกองทัพ อากาศได้สนับสนุนเครือ่ งบินล�ำเลียงแบบที่ ๘ (C-130) ช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายก�ำลังพลและอุปกรณ์ ช่วยเหลือต่าง ๆ โดยประสานงานกับกองทัพเรือ

35


36

เพือ่ น�ำเครือ่ งบินรับส่งอุปกรณ์การด�ำน�ำ้ เป็นจ�ำนวนมาก จากที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาและที่ท่า อากาศยานนานาชาติภูเก็ต มาส่งลงที่ท่าอากาศยาน เชียงราย ซึ่งภารกิจครั้งนี้สามารถปฏิบัติการผ่านไป ได้ดว้ ยดี จากเหตุการณ์ดงั กล่าวท�ำให้เห็นถึงเทคโนโลยี อันล�ำ้ สมัยและบุคลากรต่าง ๆ ทัว่ โลกทีม่ คี วามสามารถ ในการด�ำน�้ำกู้ภัยระดับโลก ทั้ ง นี้ ก องทั พ อากาศแม้ ไ ม่ ไ ด้ แ สดง แสนยานุภาพให้เป็นทีป่ ระจักษ์ชดั เจนนักในการด�ำน�ำ้ ช่วยเหลือในครัง้ นี้ แต่กองทัพอากาศก็ยงั มีหน่วยกูภ้ ยั ที่ถือว่าเป็นก�ำลังพลที่มีขีดความสามารถในการกู้ชีพ ช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยทีไ่ ม่นอ้ ยหน้าใครเช่นกัน นัน่ คือ หน่วย “PJ” หรือ ชือ่ เต็มว่า “Pararescue Jumper” มีชอื่ เป็นภาษาไทยว่า “พลร่มกูภ้ ยั ” โดยปฏิบตั ภิ ารกิจ อยู่ภายใต้วลีที่ว่า “That Others May Live” หรือ แปลได้ว่า “เพื่อผู้อื่นอยู่รอด” ทั้งนี้ หน่วย “PJ” เคยได้ปฏิบัติภารกิจครั้งส�ำคัญครั้งหนึ่งของกองทัพ อากาศ ในการท�ำภารกิจค้นหา เฮลิคอปเตอร์ (ฮ.) ประสบอุบตั เิ หตุ ณ จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดระยอง เมื่อวันที่ ๒๕ - ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๙ จนน�ำชื่อเสียง และเกี ย รติ ภู มิ ข องกองทั พ อากาศในเวลาต่ อ มา ซึ่งปฏิบัติการครั้งนั้นในส่วนของกองทัพอากาศถือว่า เป็นการประกอบก�ำลังร่วมกันระหว่างภาคพื้นและ

ภาคอากาศ โดยก�ำลังภาคพืน้ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ ค้นหาและช่วยชีวิต (PJ) และ กองพันทหารอากาศ โยธิน กองบิน ๒ ส�ำหรับก�ำลังภาคอากาศ ได้แก่ หน่วย บิ น ๒๐๓๒ หน่ ว ยบิ น ๒๐๑๑ ชุ ด อากาศยาน ไร้ คนขับ Orbiter และ ชุดอากาศยานไร้คนขับ

ภาพถ่ายบันทึกเหตุการณ์บนเส้นทางการเดิน ขึ้นเขาชะเมา จว.จันทบุรี วันที่ ๒๗ พ.ย.๕๙

ทีมเจ้าหน้าที่ค้นหาและช่วยชีวิต (PJ) ณ สถานีโทรคมนาคม เขาชะเมา วันที่ ๒๗ พ.ย.๕๙


ข่าวทหารอากาศ

Aerostar จนสามารถน�ำมาซึง่ ความส�ำเร็จในเวลาต่อมา เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษค้นหาและช่วย ชีวติ หรือ “พลร่มกูภ้ ยั ” นัน้ เป็นหน่วยรบพิเศษหน่วย หนึง่ ของ กองทัพอากาศ มีหน้าทีห่ ลัก ๆ ในการปฏิบตั ิ งานด้าน ช่วยเหลือนักบินในพืน้ ทีก่ ารรบ ถูกใช้ปฏิบตั ิ ภารกิจอยู่หลายครั้งไม่ว่าจะเป็น สมรภูมิสงคราม เวียดนาม สมรภูมริ ม่ เกล้า สมรภูมชิ อ่ งบก ฯลฯ เจ้าหน้าที่ ค้นหาและช่วยชีวิตสามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่าง มีศักยภาพเป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบันขอบเขตการ ท�ำงานได้ขยายวงกว้างออกไปมาก เพราะนอกจาก ต้องเตรียมก�ำลังความพร้อมในยามศึกสงครามแล้ว ภารกิจอีกด้านหนึง่ คือ การช่วยเหลือประชาชนบรรเทา สาธารณภัยในยามที่เกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ซึ่งถือเรื่อง ส�ำคัญอย่างมาก ในยามที่ประเทศเรายังไม่ได้เข้าสู่ ภาวะสงคราม ทหารพึงกระท�ำก็คอื การพัฒนาประเทศ

การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษค้นหา และช่วยชีวิตร่วมกับเครื่อง EC725

การช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติน�้ำท่วม ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี พ.ศ.๒๕๕๙

37

และช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มความสามารถ จากนี้ เราลองมาดูกนั นะครับว่า ประวัตหิ น่วยค้นหาและช่วย ชีวิต (PJ) นี้มีความเป็นมาและมีการฝึกเพื่อให้กลาย เป็นนักรบสายช่วยเหลืออย่างไรกันบ้าง ในอดี ต สื บ เนื่ อ งจากยุ ค สงครามเย็ น สหรัฐอเมริกาได้น�ำก�ำลังทหารเข้ามาในผืนแผ่นดิน ไทยเพื่อใช้พื้นที่ประเทศไทยเป็นฐานในการรบกับ เวียดนามเหนือ ซึง่ ประเทศเวียดนามในขณะนัน้ ได้แบ่ง เป็น ๒ ฝ่าย คือ เวียดนามเหนือปกครองโดยลัทธิ คอมมิวนิสต์และเวียดนามใต้ปกครองโดยระบอบ ประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาต้องการทีจ่ ะหยุดยัง้ ลัทธิ คอมมิ ว นิ ส ต์ ต ามแบบฉบั บ ของสหภาพโซเวี ย ต ที่ต้องการให้ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือทีเ่ รียกว่าคาบสมุทรอินโดจีนกลายเป็นประเทศที่ ปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์ที่ เรียกว่า “ทฤษฎีโดมิโน” โดยในขณะนั้นประเทศจีน ลาว กัมพูชา และพม่า ได้ปกครองด้วยระบอบ คอมมิวนิสต์ไปแล้วคงเหลือแต่เพียงประเทศไทย เวียดนามใต้ มาเลเซีย และสิงคโปร์ ทีย่ งั ไม่เป็นระบอบ คอมมิ ว นิ ส ต์ ดั ง นั้ น เพื่ อ ยั บ ยั้ ง ทฤษฎี ดั ง กล่ า ว สหรัฐอเมริกาและเวียดนามใต้ ซึง่ เหมือนจะเป็นรัฐบาล หุ่นเชิดของสหรัฐอเมริกาเอง จึงต้องเข้าต่อสู้กับ เวียดนามเหนือโดยนอกจากเวียดนามเหนือแล้วยังมี กลุม่ พันธมิตรลัทธิคอมมิวนิสต์ทใี่ ห้การสนับสนุนการ โจมตีทหารสหรัฐและทหารไทย ได้แก่ เวียดกง ก�ำลัง ทหารผูเ้ ป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์แฝงตัวอยู่ ในพื้นที่เวียดนามใต้ได้รับการติดอาวุธเบาและรอรับ ค�ำสัง่ การจากเวียดนามเหนือ ต่อมาคือสหภาพโซเวียต หรือรัสเซียในปัจจุบนั ชาติมหาอ�ำนาจผูใ้ ห้การสนับสนุน อาวุธยุทโธปกรณ์และอากาศยานรบกับเวียดนามเหนือ อย่างเต็มที่ ส่วนลาวกับกัมพูชาเป็นประเทศทีป่ กครอง ด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์อยูแ่ ล้ว โดยได้รบั อิทธิพลมาจาก จีน จึงได้แต่คอยเฝ้าดูอยูห่ า่ ง ๆ ส�ำหรับจีนนัน้ เนือ่ งจาก ก่อนหน้านีไ้ ด้ทะเลาะกับรัสเซียมาบ้างแล้ว แต่เนือ่ งจาก ยังพอมีสมั พันธ์อนั ดีตอ่ กันอยูบ่ า้ งจึงได้ให้การสนับสนุน


38

ต่อรัสเซียโดยเป็นทางผ่านในการขนอาวุธจากรัสเซีย ไปยังเวียดนามเหนือเพียงเท่านั้น จากเหตุการณ์ ในครั้งนี้ท�ำให้ประเทศไทยต้องเข้าร่วมสงครามด้วย โดยปริยาย เพือ่ สนับสนุนการรบให้กบั สหรัฐอเมริกา กองทัพอากาศในขณะนั้นเองจึงได้เริ่มจัดตั้งหน่วย ค้นหาและช่วยชีวิต (Pararescue Jumper : PJ) ขึ้น ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ – ๒๕๑๙ (ค.ศ.๑๙๗๕ หรือ พ.ศ. ๒๕๑๘ อเมริกาแพ้สงคราม จากนัน้ เวียดนามบุกยึด กัมพูชา ลาว และพื้นที่บางส่วนของไทย ได้แก่ บ้าน ร่มเกล้า บ้านช่องบก บ้านทับโท ในเวลาต่อมา) เพื่อ เข้าช่วยเหลือนักบินทีไ่ ด้ทำ� การรบในสมรภูมแิ ละตกลง ในพืน้ ทีอ่ นั ตรายให้กลับออกมาให้ได้ โดยจะรับเฉพาะ เหล่าอากาศโยธิน (อย.) และเหล่าแพทย์ ไปปฏิบัติ หน้าที่ เจ้าหน้าที่ค้นหาและช่วยชีวิต ณ ศูนย์ส่งกลับ ทางอากาศ และมีส่วนหนึ่งส่งไปประจ�ำหน่วยบิน ฮ. ค้นหาและช่วยชีวิต โดยเริ่มแรกนั้นมีเจ้าหน้าที่ PJ เพียง ๑๗ คน เท่านั้น และได้ท�ำการเปิดหลักสูตร เจ้าหน้าที่ค้นหาและช่วยชีวิตรุ่นที่ ๑ ให้กับก�ำลังพล ทอ.ขึน้ เมือ่ วันที่ ๑๙ พ.ย. ๒๕๒๔ ซึง่ เมือ่ ส�ำเร็จหลักสูตร แล้วจะบรรจุเข้าสังกัด ฝูงบิน ๒๐๑ และฝูงบิน ๒๐๓ กองบิน ๒ ลพบุรี ในปี พ.ศ.๒๕๒๖ ซึ่งเป็นฝูงบิน เฮลิคอปเตอร์ชว่ ยชีวติ ให้การสนับสนุนการปฏิบตั งิ าน ตามหน่วยบินเฮลิคอปเตอร์ช่วยชีวิต หลักสูตรค้นหา และช่วยชีวิตได้ด�ำเนินการเปิดหลักสูตรมาจนถึง รุ่นที่ ๓ ในปี พ.ศ.๒๕๑๙ ซึ่งถือว่าเป็น PJ รุ่นสุดท้าย จากนัน้ ในปี พ.ศ.๒๕๔๘ ได้เกิดเป็นหลักสูตรการปฏิบตั ิ การพิเศษ ซึง่ ได้มกี ารรวมศาสตร์การปฏิบตั กิ ารพิเศษ ของกองทั พ อากาศไว้ ใ นหลั ก สู ต รเดี ย ว คื อ COMMANDO PJ และ ชุดควบคุมพื้นที่การรบ (Combat Control Team : CCT) เจ้าหน้าที่ค้นหาและช่วยชีวิต PJ นั้น ได้ถูก ส่งไปปฏิบัติสมรภูมิรบอยู่หลายสมรภูมิ มีสมรภูมิ ที่ส�ำคัญ ได้แก่ สมรภูมิช่องบก ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๒๘ – ๒๕๓๐ โดยหลังจากที่อเมริกาแพ้สงครามและถอน ก�ำลังออกจากประเทศไทยแล้ว ท�ำให้เวียดนาม

การฝึกโรยตัวจากอากาศยาน ฮ. ของเจ้าหน้าที่ PJ

(เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้) ทีร่ วมกันได้นำ� ก�ำลัง บุกยึดกัมพูชาและลาวได้สำ� เร็จในปี พ.ศ.๒๕๒๑ และ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๘ จึงได้เกิดสมรภูมิช่องบกขึ้น พืน้ ทีช่ ายแดนอาณาเขตติดต่อกัน ๓ ประเทศ คือ ไทย กัมพูชา และลาว โดยเป็นการเข้ายึดครองพื้นที่ของ ทหารเวียดนามเพื่อตรึงก�ำลังไว้ ระหว่างรอก�ำลัง ส่วนใหญ่ของเวียดนาม ติดการรบอยู่บริเวณทาง ตอนเหนือของประเทศเวียดนาม กับประเทศจีน ที่หวังจะเอาคืน จากการที่เวียดนามไปบุกยึดกัมพูชา และลาว อันเป็นประเทศในเครือของตน ทหารไทยได้ เข้าปะทะกับทหารเวียดนามอยูห่ ลายครัง้ จนบางครัง้ ที่อากาศยานจากกองทัพอากาศไทยถูกยิงตกในเขต พืน้ ทีแ่ นวตะเข็บชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ท�ำให้ ต้องใช้กำ� ลังค้นหาจากหน่วยบินเฮลิคอปเตอร์ชว่ ยชีวติ ซึง่ แต่ละฝูงบินจะมีเจ้าหน้าทีค่ น้ หาและช่วยชีวติ ประจ�ำ อยูด่ ว้ ยทุกฝูงบิน และพร้อมปฏิบตั งิ านในทันที เมือ่ ได้ รับค�ำสั่งให้ปฏิบัติการค้นหา


ข่าวทหารอากาศ

การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ค้นหาและช่วยชีวิต กับ อากาศยาน ฮ.๔ก (S 58T)

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๑ ได้เริ่มเกิดสมรภูมิ ร่มเกล้าขึ้น สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างไทย และลาวบริเวณชายแดนอันเนื่องมาจากข้อพิพาท ในการก�ำหนดเส้นแบ่งดินแดน ท�ำให้เกิดการปะทะ กันระหว่างทหารพรานไทยและลาวหลายครั้ง ตั้งแต่ ปลายเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ.๒๕๓๐ เรื่อยมา จนในปี พ.ศ.๒๕๓๑ ขณะที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ต�ำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก (ในขณะนั้น) ได้มีนโยบายที่จะ ผลักดันก�ำลังต่างชาติให้ออกจากพื้นที่กรณีพิพาท จึงท�ำให้ทหารทั้ง ๒ ประเทศ ต้องสู้รบกันในที่สุด ถึงแม้ทหารไทยจะมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่า ทหารลาวมาก แต่ดว้ ยความได้เปรียบทางภูมปิ ระเทศ ในพืน้ ทีก่ ารรบของทหารลาว ท�ำให้ทหารไทยไม่สามารถ บุกยึดเนิน ๑๔๒๘ ได้ (เนินกรณีพิพาท) และมีหลาย ครัง้ ทีเ่ ครือ่ งบินของไทยถูกยิงตก ซึง่ จ�ำเป็นต้องใช้หน่วย บิ น เฮลิ ค อปเตอร์ ช ่ ว ยชี วิ ต เข้ า ท� ำ การค้ น หาและ ช่วยเหลือกลับมา โดยมีเจ้าหน้าที่ PJ เป็นก�ำลังใน

เนิน 1428 ที่เคยเกิดปัญหากรณีพิพาทระหว่าง ไทยและลาวในสมรภูมิบ้านร่มเกล้า ปัจจุบันยังไม่มี ข้อยุติว่าเป็นของฝ่ายใด By เทวประภาส มากคล้าย Via Wikimedia Commons4

การค้นหา จนกระทัง่ สิน้ สุดการสูร้ บกันโดยทัง้ สองฝ่าย ได้ข้อตกลงจะหยุดยิงในวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๑ และถอยจากแนวปะทะฝ่ายละ ๓ กิโลเมตร ส�ำหรับการฝึกเป็นเจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั กิ ารพิเศษ ค้นหาช่วยชีวิต PJ นั้น ผู้รับการฝึกต้องจบหลักสูตร การปฏิบัติการพิเศษ กองทัพอากาศมาก่อน ซึ่งเป็น

39


40

เหมือนพื้นฐานของการเป็นเจ้าหน้าที่ค้นหาและ ช่วยชีวติ โดยมีการฝึกในขัน้ ยุทธวิธที สี่ ำ� คัญทีเ่ กีย่ วข้อง ได้แก่ - การฝึกลงเชือกจากหน้าผา - การฝึกลงเชือกทางดิ่งจากอากาศยาน ฮ. (ทั้งแบบ Fast Rope และแบบ Rappelling) - การฝึกใช้ Hoist - การฝึกเรียก - รับ เฮลิคอปเตอร์ - การฝึกช่วยเหลือทางน�้ำ ๑๐ feet ๑๐ knot - การฝึกด�ำน�้ำโดยใช้เครื่องช่วยหายใจใต้น�้ำ - การฝึกค้นหาและช่วยชีวิต - การฝึกลาดตระเวนทางบกและทางน�้ำ - การฝึกด�ำรงชีพในป่า - การฝึกใช้แผนที่เข็มทิศ - การฝึกบุคคลท�ำการรบ - การฝึกปฐมพยาบาลเวชกิจฉุกเฉิน

- การฝึกกระโดดร่มแบบกระตุกเอง (Military Free Fall : HALO – HAHO) - การฝึกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในพื้นที่การรบ - การฝึกการยิงปืนทางยุทธวิธี - การลาดตระเวนในภูมิประเทศ - การฝึกการรบในสิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงพื้นฐานของผู้ที่จะ บรรจุ เ ป็ น เจ้ า หน้ า ที่ ป ฏิ บั ติ ก ารพิ เ ศษค้ น หาและ ช่วยชีวิตประจ�ำใน กองพันปฏิบัติการพิเศษ ๒ กรม ปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน ทั้งนี้ การฝึกที่ส�ำคัญของเจ้าหน้าที่ PJ เรียกว่า “การค้นหา และช่วยชีวติ ในพืน้ ทีก่ ารรบ” หรือ “COMBAT SEARCH

การฝึกผสม ระหว่าง ทอ.ไทย กับ ทอ.สหรัฐฯ

การฝึกลงเชือกเร่งด่วนจากอากาศยาน ฮ.

การฝึกลงเชือกทางดิ่งจากอากาศยาน ฮ. (Rappelling)

การฝึกใช้ Hoist ในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ


ข่าวทหารอากาศ

การฝึกช่วยเหลือผู้บาดเจ็บทางน�้ำ

การฝึกโดดร่มทางยุทธวิธี (MFF) ประกอบเครื่องสนาม

AND RESCUE” เรียกย่อว่า “CSAR” ซึ่งถือว่าเป็น งานหลักทีเ่ จ้าหน้าทีป่ ฏิบตั กิ ารพิเศษค้นหาและช่วยชีวติ ทุกคนต้องรู้และต้องปฏิบัติให้ได้โดยสมบูรณ์แบบ ส่วนการฝึกการปฏิบตั กิ ารพิเศษค้นหาและ ช่วยชีวิตที่ส�ำคัญของเจ้าหน้าที่ PJ เพื่อก่อให้เกิด ประสบการณ์และความช�ำนาญในการท�ำงาน มีดังนี้ - การค้นหาและช่วยชีวิต (Search And Rescue : SAR) เป็นการปฏิบตั กิ ารค้นหาและช่วยชีวติ ในพื้นที่ฝ่ายเดียวกัน หลักการปฏิบัติที่ส�ำคัญของ เจ้าหน้าที่ PJ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจและความ สามารถในการช่วยเหลือผูบ้ าดเจ็บจากกรณีอากาศยาน ประสบอุบตั เิ หตุ โดยเฉพาะนักบินจะต้องเข้าใจกรรมวิธี การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ PJ ในระดับหนึ่ง ซึ่งถือว่า เป็นหลักการปฏิบตั ทิ สี่ ำ� คัญ ทัง้ นีใ้ นเรือ่ งของการค้นหา และช่วยชีวิตถือเป็นวาระส�ำคัญของชาติด้วยเช่นกัน - การค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ (Combat Search And Rescue : CSAR) เป็นการ ปฏิบัติการค้นหาและช่วยชีวิตในบริเวณพื้นที่แนว ตะเข็บชายแดนหรือในดินแดนข้าศึก ผูท้ ำ� การในอากาศ โดยเฉพาะนักบินจะต้องมีความเข้าใจแผนการปฏิบัติ ในเรื่องของ CSAR เป็นอย่างดี เนื่องจากขั้นตอนการ ปฏิบัติภารกิจนั้น จะมีขั้นตอนการแจ้งเตือนที่อยู่ของ นักบิน และขั้นตอนการพิสูจน์ทราบของเจ้าหน้าที่ PJ กับนักบิน มิฉะนั้นอาจเกิดความเข้าใจผิดกันได้ - การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บทางยุทธวิธี (Tactical Combat Casualty Care : TCCC) เป็น ยุทธวิธีการปฏิบัติในพื้นที่การรบของเจ้าหน้าที่ PJ

เพราะนอกจากเจ้าหน้าที่ PJ จะมีความรู้ในเรื่องการ ปฐมพยาบาลเวชกิ จ ฉุ ก เฉิ น แล้ ว ทั ก ษะในการ เคลื่อนย้ายผู้ป่วยในพื้นที่การรบก็ถือเป็นเรื่องส�ำคัญ เช่นกัน องค์ความรูน้ สี้ ว่ นนีจ้ ะได้จากการเรียนในรายวิชา บุคคลท�ำการรบซึ่งจะมีหัวข้อการฝึกเคลื่อนย้าย ผู้บาดเจ็บในพื้นที่ปะทะอยู่ด้วย แต่เหนือสิ่งอื่นใด การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บจะยังถือเป็นเรื่องแรก ที่ส�ำคัญกว่าการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บออกจากพื้นที่ ปะทะ ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติอาจจะต้องท�ำการปฐมพยาบาล ไปด้วยพร้อมกับการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บออกจาก พื้นที่ปะทะได้ในคราวเดียวกัน - การส่งกลับสายแพทย์โดยใช้พาหนะที่ ไม่ใช่ทางการแพทย์ (CASEVAC) ทั้งทางบก ทางน�้ำ และทางอากาศ เป็นเทคนิคในการส่งกลับสายแพทย์ โดยในบางครัง้ เราไม่อาจสามารถรอการช่วยเหลือจาก ทีมแพทย์ได้ ซึ่งต้องหาทางน�ำกลับผู้บาดเจ็บให้เร็ว ทีส่ ดุ ฉะนัน้ ประสบการณ์ในการฝึกส่งกลับสายแพทย์ CASEVAC นี้ จะมีส่วนช่วยให้เจ้าหน้าที่ PJ มีทักษะ และเทคนิควิธกี ารในการผูกมัดรัดตรึง มีเทคนิคในการ ใช้วัสดุต่าง ๆ ที่หาได้ในธรรมชาติหรือจากมนุษย์ สร้างขึน้ เพือ่ เอามาช่วยในการปฐมพยาบาลขัน้ ต้น เช่น การดามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทีห่ กั หรือเพือ่ ให้ช่วยท�ำให้ง่ายในการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บไปยังจุด ส่งกลับ เป็นต้น - การค้นหาและช่วยชีวิตทางน�้ำ (Water Search And Rescue : Water SAR) เป็นขีดความ สามารถที่ต่อยอดจากการท�ำ SAR และ CSAR

41


42

การฝึกเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บในภูมิประเทศ

ซึง่ เจ้าหน้าที่ PJ ต้องมีทกั ษะในการด�ำน�ำ้ ลึก การค้นหา ใต้น�้ำ การเดินเข็มทิศใต้น�้ำ การลาดตระเวนทางน�้ำ มีทักษะในการขับเรือยาง รวมถึงความเข้าใจในเรื่อง การค้นหาและช่วยชีวิตทางน�้ำ (Water SAR) จึงจะ สามารถท�ำภารกิจนี้ได้อย่างปลอดภัยและประสบ ความส�ำเร็จ โดยปกติแล้วเจ้าหน้าที่ PJ จะใช้ก�ำลังพล ๒ นาย ต่อ ฮ.ค้นหาและช่วยชีวิต ๑ ล�ำ ในการปฏิบัติ ภารกิจแต่ละครั้ง (ทั้งนี้ในแต่หน่วยบินจะมีเจ้าหน้าที่ PJ จ�ำนวน ๓ นาย ประจ�ำอยู)่ ซึง่ วิธกี ารช่วยเหลือของ เจ้าหน้าที่ PJ จะใช้อุปกรณ์ Hoist เป็นหลัก ในการ น�ำตัวผู้บาดเจ็บขึ้นมาจากพื้นด้านล่างระหว่างที่ เครื่องบิน ฮ.ก�ำลังบินอยู่ หากเจ้าหน้าที่ PJ ต้องลงไป

การฝึกใช้ Hoist ดึงผู้บาดเจ็บขึ้นจากในน�้ำ

ข้างล่าง เจ้าหน้าที่ PJ จะใช้การลงเชือกแบบโรยตัว (Rappelling) เป็นหลักในการลงสู่พื้นเพื่อปฏิบัติการ ต่อไป ส�ำหรับอากาศยานปีกหมุน หรือเฮลิคอปเตอร์ ที่ใช้ในภารกิจค้นหาและช่วยชีวิตของกองทัพอากาศ นั้น มีด้วยกัน ๓ ชนิด ได้แก่ ฮ.๖ (UH-1H Huey), ฮ.๖ ง. (BELL-412 EP) และ ฮ.๑๑ (EC725) ประจ�ำ การอยู่ในแต่ละหน่วยบิน รวมทั้งสิ้น ๑๑ หน่วยบิน จากทีก่ ล่าวมาจะเห็นได้วา่ เจ้าหน้าที่ PJ นัน้ มีประวัติ ความเป็นมาที่ยาวนานมาก รวมถึงความส�ำคัญของ หน่วยในการปฏิบตั ภิ ารกิจต่าง ๆ ให้กบั กองทัพอากาศ ทัง้ ในยามปกติและยามสงคราม หากแม้ในปัจจุบนั การ เกิดสงครามอาจมีโอกาสทีจ่ ะเกิดขึน้ ได้นอ้ ยมากก็ตาม แต่สงิ่ หนึง่ ทีย่ งั ต้องด�ำรงอยูอ่ ย่างต่อเนือ่ งก็คอื การช่วย เหลือประชาชนในกรณีภยั พิบตั ติ า่ ง ๆ รวมถึงกรณีทมี่ ี การร้องขอเพือ่ ช่วยเหลือผูบ้ าดเจ็บเมือ่ เครือ่ งบินต้อง ตกในพืน้ ทีป่ า่ เขาทีม่ ที งั้ ความยากและความอันตราย ในการเข้าถึง เจ้าหน้าที่ PJ ทุกคนจึงต้องกระท�ำตน ให้พร้อมต่อการปฏิบัติภารกิจอยู่เสมอ ให้สมกับ เจตนารมณ์สากลที่ว่า “That Others May Live” หรือแปลได้ว่า “เพื่อผู้อื่นอยู่รอด”

การฝึก WATER SAR


ข่าวทหารอากาศ

43

การตัง้ ชือ่ ดาวเทียมทหาร และดาวเทียมเพื่อความมั่นคง

กองทัพอากาศก�ำลังจะส่งดาวเทียมดวงแรก ขึ้นสู่อวกาศในช่วงกลางปีนี้ โดยจะตั้งชื่อดาวเทียม ดวงนี้ว่า “RTAFSAT-1” โดยการน�ำชื่อของ Royal Thai Air Force มาเชือ่ มกับค�ำย่อของ Satellite แล้ว ตามด้วยเลข ๑ ซึง่ ฟังแล้วดูดี แปลตรงตัวว่า ดาวเทียม ของกองทัพอากาศดวงที่หนึ่ง อย่างไรก็ตามผู้เขียน ในฐานะที่เป็นผู้ติดตามดาวเทียมทุกดวงที่โคจรผ่าน ประเทศไทย ไม่เคยเห็นดาวเทียมดวงใดตัง้ ชือ่ ตามชือ่ ของกองทัพหรือหน่วยงานด้านความมั่นคง ทั้งนี้ เนื่องจากองค์การสหประชาชาติก�ำหนดว่า กิจกรรม ของรัฐในการส�ำรวจและใช้อวกาศต้องด�ำเนินการ

น.อ.ฐากูร เกิดแก้ว

สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ กฎบัตร สหประชาชาติ และธ�ำรงไว้ซึ่งสันติภาพ ดังนั้นทุกประเทศจึงไม่มีปฏิบัติการด้าน อวกาศทางทหารโดยเปิดเผย อีกทั้งการส่งวัตถุขึ้นสู่ อวกาศจะต้องด�ำเนินการลงทะเบียนและประเทศไทย ก็ลงนามเป็นคณะกรรมการใช้ห้วงอวกาศอย่างสันติ (Committee on the Peaceful Uses of Outer Space หรือ UNCOPOUS) ขององค์การสหประชาชาติ ถ้า กองทัพอากาศ (ทอ.) ยังยืนยันทีจ่ ะใช้ชอ่ื ดาวเทียม “RTAFSAT-1” ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นในอนาคต ยกตัวอย่าง หากประเทศไทยมีกรณีพพิ าทกับประเทศ


44

เพือ่ นบ้าน อาจเป็นข้ออ้างให้ประเทศเหล่านัน้ ออกสือ่ โจมตีได้วา่ ทอ.ไทยส่งดาวเทียมสอดแนมเหนือดินแดน เหล่านั้น (ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริง ดาวเทียมหลายดวง ก็ปฏิบัติภารกิจด้านความมั่นคง แต่ไม่ประกาศตนว่า เป็นดาวเทียมทหาร) ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลเหล่านี้ ไว้ให้พิจารณา ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.ucsusa.org/ nuclear-weapons/space-weapons/satellite-database#.XDWnpFwzbD5 รายชือ่ ดาวเทียมทหารและดาวเทียมเพือ่ ความมัน่ คง สหรัฐอเมริกา ดาวเทียม กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ใช้ชอื่ USA ORS-5 ดาวเทียม SSA ของ ทอ.สหรัฐ ใช้ชื่อ SBIRS (Space-Based Infrared System) และ GSSAP (Geosynchronous Space Situational Awareness Program) ดาวเทียมน�ำร่อง ทอ.สหรัฐ ใช้ชื่อ GPS (Global Positioning System) ดาวเทียมวิจัย ทอ.สหรัฐ ใช้ชื่อ SHARC (Satellite for High Accuracy Radar Calibration) ดาวเทียม ทร.สหรัฐ ใช้ชื่อ USA PC Sat ดาวเทียม CubeSat ของ ทบ.สหรัฐ ใช้ชอื่ SMDC - ONE (Space Missile Defense Command - Operational Nanosatellite Effect) ดาวเทียมสื่อสาร กห.และ ทร.สหรัฐ ใช้ชื่อ MUOS (Mobile User Objective System) ดาวเทียมข่าวกรอง สหรัฐ ใช้ชื่อ USA 207

รัสเซีย ดาวเทียมทหารรัสเซีย ใช้ชื่อ Cosmos ดาวเทียมสือ่ สารทหารรัสเซีย ใช้ชอื่ Meridian ดาวเทียมจารกรรม กห.รัสเซีย ใช้ชื่อ Luch ดาวเทียมสื่อสาร กห.รัสเซีย ชื่อ Raduga1-M ยุโรป ดาวเทียมสื่อสาร กห.อังกฤษ ใช้ชื่อ Skynet ดาวเทียม กห.เยอรมัน ใช้ชื่อ COMSATBw ดาวเทียมลาดตระเวน กห.เยอรมัน ใช้ชื่อ SAR-Lupe ดาวเทียม กห.ฝรั่งเศส ใช้ชื่อ SPIRALE ดาวเทียมสือ่ สาร กห.ฝรัง่ เศส ใช้ชอื่ Syracuse (Systeme de Radio Communications Utilisant un Satellite) ดาวเทียม กห.อิตาลี ใช้ชอื่ COSMO-Skymed และ Sicral ประเทศอื่น ๆ ดาวเทียม SSA กห.แคนาดา ใช้ชื่อ Sapphire ดาวเทียม ทบ.จีน ใช้ชื่อ Yaogan และ Zhongxing ดาวเทียมน�ำร่อง กห.จีน ใช้ชื่อ Beidou ดาวเทียม กห.ตุรกี ใช้ชื่อ Göktürk ดาวเทียม กห.อิสราเอล ใช้ชื่อ Ofeq ดาวเทียม ทอ.บราซิล ใช้ชื่อ SGDC หมายเหตุ : ประเทศมหาอ�ำนาจสามารถ ปฏิบัติการในห้วงอวกาศ เช่น ดาวเทียมจารกรรม ดาวเทียมพิฆาตขีปนาวุธอวกาศ และอาวุธเลเซอร์ ได้อย่างเป็นความลับ เนื่องจากมีศักยภาพในการส่ง วัตถุขนึ้ สูอ่ วกาศได้ดว้ ยตัวเองและพลางตัวอาวุธอวกาศ เหล่านั้นว่าเป็น “ขยะอวกาศ” ส่วนประเทศไทย ยังไม่มีฐานปล่อยจรวดเป็นของตัวเอง จ�ำเป็นต้อง จ้างจรวดของต่างประเทศน�ำส่งดาวเทียมขึน้ สูอ่ วกาศ จึ ง ไม่ ส ามารถปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ในอวกาศอย่ า งเป็ น ความลับได้


ข่าวทหารอากาศ

สมาร์ทโฟนบนเครือข่ายองค์กร (Smartphone : Corporate Network)

น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์

หลายคนคงได้เห็นสมาร์ทโฟนถูกน�ำมาใช้ ในชี วิ ต ประจ� ำ วั น ส� ำ หรั บ ผู ้ ใช้ โ ดยทั่ ว ไปถื อ เป็ น ส่วนหนึ่งที่มีความส�ำคัญในการน�ำสมาร์ทโฟนมาใช้ ในยุคปัจจุบัน และอีกส่วนหนึ่งที่ถือว่ามีความส�ำคัญ ไม่แพ้กนั ก็คอื การน�ำสมาร์ทโฟนมาใช้เพือ่ การท�ำงาน ของบุคลากรในแต่ละองค์กร โดยเฉพาะบุคลากร ที่ต้องท�ำงานนอกสถานที่ ซึ่งปัจจุบันนั้นสามารถใช้ สมาร์ทโฟนเชือ่ มต่อกับเครือข่ายขององค์กรได้จากทุกที่ ที่ต้องการ เพื่อท่องอินเทอร์เน็ต อ่านอีเมล ค้นหา ข้อมูล และอืน่ ๆ ข้อมูลจากการรายงานของ Ericsson จ�ำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลกคาดว่าจะมีถึง ๖.๑ พันล้านคน ในปีพุทธศักราช ๒๐๒๐ ถือเป็นจ�ำนวน ประมาณร้อยละ ๗๐ ของประชากรโลก แสดงถึง สมาร์ทโฟนเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ทั่วไป

และบุคลากรทีต่ อ้ งท�ำงานนอกสถานที่ อนึง่ สมาร์ทโฟน ก็เหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีระบบรักษา ความปลอดภัยที่เข้มแข็ง ซึ่งหลายองค์กรยังไม่ได้ ให้ความส�ำคัญ การรักษาความปลอดภัยสมาร์ทโฟน ที่น�ำมาใช้ในองค์กรเท่าที่ควรจะเป็น น�ำมาซึ่งความ ไม่ปลอดภัยของข้อมูลบนเครือข่ายองค์กร ผู้บริหาร ไอที (IT Managers) ขององค์กรที่มีวิสัยทัศน์น้ัน ควรมีแนวทางในการบริหารจัดการสมาร์ทโฟนที่ เพิ่ ม ขึ้ น และถู ก น� ำ มาใช้ บ นเครื อ ข่ า ยขององค์ ก ร โดยบทความในฉบั บ มี มุ ม มองและรายละเอี ย ด ที่น่าสนใจดังนี้ บริหารจัดการสมาร์ทโฟนบนเครือข่าย Stephan Henze รองประธานแผนกไอที

45


46

ของบริษทั Windsor Foods ในเมือง ฮิวสตัน รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดเป็นผู้บริหารไอทีที่ทุ่มเวลา อย่างหนักในเรื่องการบริหารจัดการของสมาร์ทโฟน นับเป็นร้อย ๆ เครือ่ งในองค์กร (และก็มแี นวโน้มทีจ่ ะ เพิม่ จ�ำนวนอีกในอนาคต) กล่าวว่า “ภาระในการรักษา ความปลอดภัยของสมาร์ทโฟนเริ่มหนักขึ้นทุกที

บวกกับความต้องการใช้อปุ กรณ์ไฮเทคพกพาในบริษทั ที่เพิ่มขึ้นทุกขณะ” Henze นั้นเป็นหนึ่งในบรรดา ผู ้ บ ริ ห ารไอที ที่ ไ ด้ พ ยายามต่ อ สู ้ กั บ การรั ก ษา ความปลอดภัยของสมาร์ทโฟน ข้อกังวลอย่างแรก ก็คอื ความเสีย่ งทีข่ อ้ มูลส�ำคัญจะรัว่ ไหลไปนอกองค์กร ในกรณีที่สมาร์ทโฟนหรือเมมโมรี่การ์ดสูญหาย หรือ


ข่าวทหารอากาศ

อาจถูกขโมย รวมทั้งการขายหรือส่งซ่อมสมาร์ทโฟน โดยไม่ได้ลบข้อมูลในเครือ่ งก่อน นอกจากนีย้ งั มีความ เสี่ยงในเรื่องสมาร์ทโฟนเชื่อมต่อวีพีเอ็น (VPN) เปิดโอกาสให้แฮกเกอร์และโปรแกรมประสงค์ร้าย เข้าโจมตีระบบเครือข่ายขององค์กรได้ ขณะที่ John Girard นักวิเคราะห์ของ Gartner กล่าวว่า “ความคิด ของพนักงานในบริษัทนั้น สมาร์ทโฟนก็เป็นเหมือน ของเล่นไม่ใช่สินทรัพย์ที่ต้องรักษาความปลอดภัย อะไรมากนัก คุณสมบัตมิ ลั ติมเี ดียในสมาร์ทโฟนก็เป็น อีกสิ่งหนึ่ง ตัวอย่างเช่น นโยบายของบริษัทห้ามย้าย ข้อมูลขององค์กรไปเก็บไว้ในสมาร์ทโฟน แล้วนโยบาย ที่ควบคุมการใช้สมาร์ทโฟนถ่ายรูป ในส�ำนักงานหรือ บันทึกเสียงในห้องประชุมมีหรือไม่” จากการส�ำรวจ องค์กร ๓๐๐ แห่ง ในอเมริกาและในยุโรป โดยบริษัท Good Technology เจ้าของผลิตภัณฑ์บริหาร ความปลอดภัยบนอุปกรณ์ไฮเทคพกพาพบว่า ผู้ตอบ แบบสอบถามเกือบร้อยละ ๘๐ ได้รายงานว่า พนักงาน ของบริษทั ต้องการน�ำอุปกรณ์ไฮเทคพกพาของตัวเอง เข้ามาในองค์กรมากขึ้น และร้อยละ ๒๘ รายงานว่า มี ป ริ ม าณข้ อ มู ล รั่ ว ไหลออกนอกองค์ ก รมากขึ้ น

ซึ่งสืบเนื่องมาจากอุปกรณ์ไฮเทคพกพาที่ขาดการ ควบคุม และพบว่าบริษัทโดยมากยังคงตอบสนอง ต่อภัยทีม่ ากับสมาร์ทโฟนทีช่ า้ เกินไป ในมุมมองประเด็น ส�ำคัญของเรือ่ งลักษณะนีก้ ค็ อื เมือ่ ไรองค์กรจะให้ความ

47


48

ส�ำคัญกับสมาร์ทโฟนเทียบเท่าเครื่องคอมพิวเตอร์ ทีใ่ ช้กนั อยูใ่ นองค์กรเสียที ไม่วา่ บริษทั จะซือ้ สมาร์ทโฟน มาแจกพนักงาน หรืออนุญาตให้น�ำสมาร์ทโฟน ของตัวเองมาใช้ ถ้าหากมีขอ้ มูลรัว่ ออกไปนอกองค์กร ก็คงเป็นบริษัทที่ต้องรับผิดชอบ เมื่อมองเรื่องของเทคโนโลยีที่ช่วยรักษา ความปลอดภัยนัน้ โลกนีค้ งเหลือให้เลือกระบบปฏิบตั ิ การเพียง ๒ ค่าย ก็คือ iOS และ Android ซึ่งทั้งคู่ ต่างพัฒนาระบบการยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลทางชีวภาพ (Biometrics) แบบการสแกนลายนิว้ มือ (Fingerprint) ล่าสุดกับเทคโนโลยีการสแกนม่านตา ควบคูไ่ ปกับการ ใช้รหัส (Pin) ในการเข้าถึงข้อมูลหรือต้องการท�ำธุรกรรม ทางการเงินที่ส�ำคัญ รวมไปถึงประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น จากการน�ำปัญญาประดิษฐ์มาใช้บนสมาร์ทโฟน ส่วนรูปแบบในการบริหารจัดการอืน่ ๆ ทีอ่ าศัยซอฟต์แวร์


ข่าวทหารอากาศ

หรือแอพพลิเคชั่นในตลาดก็มีทางเลือกอยู่เหมือนกัน อาทิ Credant Technologies, Good Technology, Trust Digital, Trend Micro และ MobileIron มีคุณสมบัติส�ำคัญที่ช่วยปกป้องข้อมูล ซึ่งทั้งหมดนั้น อาศั ย รู ป แบบการบริ ห ารจั ด การความปลอดภั ย ในประเด็นส�ำคัญ ดังนี้ • การบริหารพาสเวิร์ด • การพิสูจน์ยืนยันตัวตนของผู้ใช้ • การเข้ารหัสลับข้อมูลที่แข็งแกร่ง • คุณสมบัติปิดการใช้แอพพลิเคชั่น เมื่อผู้ใช้ ไม่สงั่ งานใด ๆ ในเวลาทีก่ ำ� หนด (Inactivity Timeout) และเรียกถามพาสเวิรด์ เพือ่ ให้สมาร์ทโฟนเริม่ ท�ำงาน ใหม่ (Restart)

49


50

• การสั่ ง ล้ า งข้ อ มู ล ในหน่ ว ยความจ� ำ จากระยะไกล ในกรณีที่สมาร์ทโฟนถูกขโมยหรือผู้ใช้ ป้อนพาสเวิร์ดผิดเกินจ�ำนวนครั้งที่ก�ำหนด • การพิสูจน์ตัวตนกับเซิร์ฟเวอร์ (Digital Rights Management) ว่ายังเป็นผู้ใช้ที่มีสิทธิ์อยู่ หรือไม่ หากไม่มีสิทธิ์ก็ไม่สามารถใช้งานไฟล์ข้อมูล ขององค์กรได้อีก ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า การสั่งล้างข้อมูลจากระยะไกล ในมุ ม มองการน� ำ สมาร์ ท โฟนมาใช้ บ น เครือข่ายองค์กร เป็นแนวโน้มทางเทคโนโลยีทเี่ กิดมาก ขึน้ เรือ่ ย ๆ โดยใช้สมาร์ทโฟนเชือ่ มต่อกับเครือข่ายของ องค์กรได้จากทุกทีท่ ตี่ อ้ งการ ซึง่ จะอ�ำนวยความสะดวก และความคล่องตัวให้แก่บุคลากร ที่ต้องท�ำงานนอก สถานที่ แต่ถ้ามองในเรื่องของความปลอดภัย การน�ำ สมาร์ทโฟนของบุคลากรมาใช้บนเครือข่าย องค์กร อย่างไม่ระมัดระวังนั้น อาจจะสร้างปัญหาให้แก่ตัว บุคลากรและข้อมูลที่อยู่บนเครือข่ายขององค์กรได้

ข้อคิดที่ฝากไว้ สุดท้ายอยากเน้นย�้ำ ในเรื่องของการน�ำ สมาร์ทโฟนมาใช้บนเครือข่ายองค์กร ในฐานะผูบ้ ริหาร ไอทีที่มีวิสัยทัศน์ เห็นควรบริหารและควบคุมสมาร์ท โฟนจากศูนย์กลางซึ่งจะเป็นค�ำตอบที่หลายองค์กร ควรพิจารณาน�ำมาใช้ รวมทัง้ ไม่ควรปล่อยให้บคุ ลากร มีเสรีภาพในการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไป เพราะจะ เป็นตัวบุคลากรเองที่ต้องรับผิดชอบในกรณีที่ข้อมูล ส�ำคัญเกิดสูญหายหรือรัว่ ไหลออกไปภายนอกองค์กร ที่ส�ำคัญควรมองสมาร์ทโฟนเป็นเหมือนคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งที่สามารถโทรเข้าและโทรออกได้ดีกว่า


ข่าวทหารอากาศ

“ถึงแล้ว...วาเลนไทน์ สอนลูกอย่างไรดี”

Claire

"วันแห่งความรัก" เป็นวันทีห่ นุม่ สาวรอคอย เพื่อแสดงออกถึงความรักได้อย่างไม่ขัดเขิน แม้ว่า จะเป็นวัฒนธรรมฝรั่ง แต่คนไทยก็อินกับกระแส วันวาเลนไทน์ไม่น้อยไปกว่าชาติใดในโลก โดยเฉพาะ ในวัยรุน่ จะให้ความส�ำคัญกับเรือ่ งความรักมากเป็นพิเศษ จนผู้ใหญ่ต่างมองไปว่าวันแห่งความรักของวัยนี้ อาจน�ำมาซึง่ ความเสีย่ งของการมีเพศสัมพันธ์ทไี่ ม่พร้อม ท�ำให้วนั แห่งความรักของไทย มีการพูดถึงเพศสัมพันธ์ ปลอดภัย เพศสัมพันธ์เมื่อพร้อม การให้ความรู้เรื่อง เพศศึกษาอย่างเต็มที่ ส�ำหรับวัฒนธรรมไทย เรื่องเพศเป็นเรื่อง ปกปิด แต่ในยุคนีค้ วามรูเ้ รือ่ งเพศศึกษาเป็นเรือ่ งทีต่ อ้ ง เปิดใจคุยกันได้โดยเฉพาะในครอบครัว แพทย์หญิง พรรณพิมล วิปุลากร ผู้อ�ำนวยการสถาบันราชานุกูล ผู้ช่วยอธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบายว่า มีงานวิจัยระบุ ไว้ชดั เจนว่า ครอบครัวทีค่ ยุ เรือ่ งเพศกันได้อย่างเปิดเผย จะท�ำให้ลกู ทีอ่ ยูใ่ นช่วงวัยรุน่ มีปญ ั หาเรือ่ งเพศสัมพันธ์

ไม่พร้อม น้อยกว่าครอบครัวที่ปรึกษากันไม่ได้ เป็นธรรมดาของพ่อแม่ทรี่ กั ลูกมาก จนท�ำให้ เกิดความกังวลกับเรื่องของลูกไปเสียหมด ซึ่งความ กังวลที่มากไป และการแสดงออกถึงความห่วงใย ของผูใ้ หญ่ บางครัง้ ก็ทำ� ให้เด็กไม่เข้าใจ อาจเป็นเพราะ

51


52

ช่องว่างระหว่างวัย ท�ำให้ลูกไม่กล้าปรึกษาพ่อแม่ จนท� ำ ให้ คิ ด ตั ด สิ น ใจเองจนกลายเป็ น ปั ญ หา" แพทย์หญิง พรรณพิมล วิปุลากร อธิบาย เทคนิคง่าย ๆ ทีค่ ณ ุ หมอแนะน�ำให้ใช้ในการ ท�ำความเข้าใจกันและกัน เรื่องแรก เมื่อก้าวเข้าสู่ วัยรุ่น ลูกจะเปลี่ยนเป็นผู้ใหญ่ที่ยังโตไม่เต็มที่ และ มีความคิดของเด็กปนอยู่ พ่อแม่จะไม่สามารถชีใ้ ห้ลกู เดินได้เหมือนเดิม เพราะลูกจะกลายเป็นผู้ใหญ่ ในร่างเด็ก อาจดูไม่น่ารักเหมือนเดิมส�ำหรับพ่อแม่ ซึ่งเป็นเรื่องส�ำคัญที่ต้องมองข้ามไปให้ได้ และน�ำเอา เหตุผลเป็นที่ตั้งในการพูดคุยกัน หากพ่อแม่มองข้าม ความไม่น่ารักนั้นไปได้ ก็ถือเป็นการทลายก�ำแพง ให้เข้าถึงลูกได้ง่ายขึ้น ประการถัดมา หลีกเลี่ยงการใช้ค�ำตีตรา หรือ ฟันธงไปก่อนว่าลูกจะท�ำผิด ก่อนที่จะได้พูดคุย กันด้วยเหตุผล เพราะท�ำให้เด็กยิง่ ห่างพ่อแม่ และหาก จะเลือกใช้วิธีการห้าม ก็เท่ากับท�ำให้เด็กปิดทุกอย่าง เป็นความลับเท่านัน้ ซึง่ ไม่ได้แก้ปญ ั หาอะไร การสร้าง ความสั ม พั น ธ์ ความไว้ ว างใจกั น จึ ง เป็ น วิ ธี เ ดี ย ว

ที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกได้ มีคณ ุ พ่อคุณแม่หลายท่านกังวลใจอยูไ่ ม่นอ้ ย และมีค�ำถามกับตัวเองว่า จะเตรียมความพร้อม ครอบครัวอย่างไร ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ข้อมูลในส่วนการตอบ ค�ำถามนีว้ า่ ความพร้อมเพือ่ มีความฉลาดทางเพศ ด้าน ความสัมพันธ์ ท�ำได้ตั้งแต่วัยเด็ก โดยติดตั้งทัศนคติ เชิงบวกและเท่าทันให้แก่ลกู ท�ำให้เรือ่ งเพศกลายเป็น


ข่าวทหารอากาศ

เรื่องปกติ เป็นเพียงข้อมูลสุขภาพอย่างหนึ่งที่ลูกควร ได้รู้ จึงท�ำให้บรรยากาศการเรียนรู้เรื่องเพศในทาง ที่ถูกเกิดขึ้นได้ ลูกไม่จ�ำเป็นต้องไปแสวงหาเองจนพ่อ แม่กงั วล เด็กชายและเด็กหญิงอาจมีความแตกต่างกัน โดยเด็กชายจะเริ่มมีกลุ่มเพื่อน และมองว่าเรื่องเพศ เป็นเรือ่ งตืน่ เต้น น่าสนุก โดยทีไ่ ม่ทนั คิดว่าอาจล่วงละเมิด เด็กหญิง ก็จำ� เป็นต้องสอนเรือ่ งการให้เกียรติระหว่าง กันและกัน ส่วนเด็กหญิงต้องเน้นเรื่องการให้ความไว้ วางใจ ประเมินสถานการณ์ว่าจะท�ำอย่างไร แต่ไม่ใช่ การห้าม ให้ใช้วธิ กี ารยกตัวอย่างสถานการณ์ เช่น ข่าว ตามหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ชวนคุยว่าถ้าเป็นลูกจะท�ำ อย่างไร ถือเป็นการฝึกเตรียมพร้อมถ้าเกิดเหตุการณ์ จริงจะท�ำอย่างไร สิ่งส�ำคัญที่จะท�ำให้ลูกปรึกษาพ่อ แม่ได้ คือ การคุยกันตรง ๆ ไม่อ้อมค้อม และคุยกัน แบบสบาย ๆ เป็นเรื่องปกติ ไม่ใช้วิธีการสั่งสอน เช่น เมื่อท�ำกิจกรรมด้วยกัน เมื่อมีโอกาสก็บอกลูกได้ว่า ถ้าลูกมีปญ ั หาหัวใจ รักใครชอบใคร อยากได้คำ� ปรึกษา คุยกันได้ และเมื่อลูกถามเกี่ยวกับเรื่องเพศ ต้องเก็บ อาการตกใจ หรืออายลูก แล้วตอบค�ำถามให้หายสงสัย

อย่าปฏิเสธที่จะพูดคุย ขณะที่มุมมองวัยรุ่นสะท้อนวันวาเลนไทน์ กับปัญหาวุน่ ๆ เรือ่ งเซ็กส์ ผูเ้ ขียนได้สมุ่ สอบถามเยาวชน เกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อวันวาเลนไทน์ ดังนี้ "หนุ่มเต้" ศิวัช เภาสูตร์ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก วัยรุ่น คิดบวกเห็นว่า วาเลนไทน์เป็นแค่วนั ๆ หนึง่ ทีม่ โี อกาส แสดงความรักกับคนทีร่ กั ซึง่ ไม่ใช่แค่ครู่ กั แต่ยงั รวมถึง คนใกล้ตวั อย่างพ่อแม่ น้องชาย ญาติมติ ร หรือเพือ่ นฝูง เป็นวันทีเ่ ต็มไปด้วยความรัก ดอกไม้หลากสี ช็อกโกแลต หลากรูปแบบ ตลอดจนเสื้อผ้าที่เต็มไปด้วยสติ๊กเกอร์ รูปหัวใจ เป็นวันทีส่ วยงามและมีความสุขวันหนึง่ เพราะ เรารักใคร ก็แสดงความรักให้เขาได้หมดไม่ต้อง เขินอาย แต่คนสมัยนี้กลับมองวันที่อบอุ่นสวยงามนี้ เป็นวันเสียตัว ซึ่งหนุ่มเต้อยากขอให้ป้องกันไว้ด้วย เพราะหากเกิดพลาดพลั้ง คนสองคนหรืออาจรวมถึง คนทีส่ ามซึง่ ก�ำลังจะเกิดมา จะเสียไปทัง้ อนาคต เพราะ วันแห่งความรักวันเดียวเท่านั้น "เต้" บอกด้วยว่า คุณแม่จะสอนเสมอว่า

53


54

ลูกผู้ชายที่แท้จริง ต้องเป็น "สุภาพบุรุษ" เพราะผู้ชาย คงให้อะไรทีเ่ ป็นความสุขจริง ๆ กับผูห้ ญิงไม่ได้มาก ดังนัน้ หากจะรักใคร สองสิง่ ทีข่ าดไม่ได้สำ� หรับคนทีเ่ ต้รกั คือ "ความรัก" และ "การให้เกียรติ" เพราะจะท�ำให้คนทีร่ กั รู้สึกได้ถึงการเป็นคนที่มีคุณค่า ทั้งในสายตาของเต้ หรือคนอื่น ขณะที่ "น้องดรีม" พิมพร พรมมา สาขาวิชา สัตวศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี เผยถึงค่านิยมเสียตัวเพื่อแลกรักแท้ว่า ผู้หญิงสมัยนี้ มีความมั่นใจที่จะแสดงออกมากขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าพอถึง วันวาเลนไทน์แล้ว ทุกคนจะพลีกายให้กับคนรัก เสมอไป เพราะเรื่องอย่างว่านี้ เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ค่านิยมไหนก็บังคับกันไม่ได้ ดรีมเชื่อว่าความรักกับ เซ็กส์ไม่ใช่สิ่งควบคู่กัน เพราะมนุษย์เราแสดงความรัก ที่หลากหลายรูปแบบและสถานะได้ ความรักไม่ได้ นิยามขึน้ เฉพาะคนสองคนทีจ่ ะใช้ชวี ติ อยูด่ ว้ ยกันเท่านัน้ แต่ยงั รวมถึงพ่อแม่ ปูย่ า่ ตายาย ลุงป้า น้าอา ครูอาจารย์ อ้างอิง ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

เพือ่ นพ้องน้องพี่ ไปจนถึงสัตว์เลีย้ งทีเ่ รารัก วันวาเลนไทน์ ของดรี ม จึ ง เป็ น แค่ วั น หนึ่ ง วั น ที่ ถู ก นิ ย ามให้ เ ป็ น วันแห่งความรัก ซึง่ ไม่ได้หมายความว่าวันอืน่ ๆ เราจะ แสดงความรักต่อคนทีเ่ รารักไม่ได้" ส่วนเรือ่ งเซ็กส์ ดรีม บอกว่าสังคมยุคนีห้ า้ มกันไม่ได้ เพราะเป็นเรือ่ งเฉพาะ ของคนสองคน แต่หากมีเมื่อพร้อมทั้งคุณวุฒิ วัยวุฒิ ก็ไม่เสียหายอะไร เพราะเป็นเรื่องธรรมชาติ จากหลากหลายทรรศนะทีผ่ เู้ ขียนได้รวบรวม มานี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นข้อมูลให้แก่ผู้ปกครอง หรือผู้ใหญ่หลาย ๆ ท่าน ที่มีโอกาสที่จะได้สอนหรือ อยูใ่ กล้ชดิ ลูกหลาน หรือน้อง ๆ เยาวชน ให้มแี นวทาง การปฏิบตั ติ วั ทีเ่ หมาะสมดีงานในช่วงเทศกาลทีง่ ดงาม อย่างวันวาเลนไทน์ เพราะการมีเพศสัมพันธ์ในวัยและ เวลาที่ไม่พร้อมนั้นอาจน�ำมาซึ่งการตั้งครรภ์ที่ไม่ พึงประสงค์ ท�ำลายทัง้ อนาคตของตัวเยาวชนเอง และ ที่ส�ำคัญคือ ยังน�ำมาซึ่งปัญหาสังคมในหลากหลาย รูปแบบอีกด้วย


ข่าวทหารอากาศ

55

ASEAN Community Little Tidbits เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประชาคมอาเซียน @Zilich

National Costume of the Philippines ชุดประจ�ำชาติของประเทศฟิลปิ ปินส์

Men wear trousers and shirts called Barong Tagalog which are made from pineapple fibers. The shirts have shoulders, collars and long sleeves. There are embroidered patterns at the wrists. The women wear long skirts and short-sleeved, orbutterfly-sleeved, shirts called Balintawak.

ผู้ชายนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อ ที่เรียกว่า บารอง ตากาล็อก ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้า ใยสับปะรด มีบ่า คอปก แขนยาว ที่ปลายแขนเสื้อ บริเวณข้อมือจะปักลวดลาย ส่วนผูห้ ญิงนุง่ กระโปรง ยาว ใส่เสื้อแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้าย ปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก

อ้างอิง http://www.engtest.net/forum/detail.php?type_id=03-12&&topic_id=3488 รูปเพิ่มเติมจาก https://www.pinterest.com/pin/513480795008307640/, http://exclusivelyhistailoring.com/barongs/


56

Exercise COPE India 2018 สน.ผชท.ทอ.ไทย/นิวเดลี

การฝึกผสม COPE India 2018 ระหว่าง กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา (ทอ.สหรัฐฯ) และกองทัพ อากาศอินเดีย (ทอ.อินเดีย) ณ ฐานทัพอากาศ Kalaikunda Air Force Station (AFS) และฐานทัพ อากาศ Panagarh AFS ตั้งอยู่ในรัฐเบงกอลตะวันตก ระหว่าง ๓ - ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๑ โดย ทอ.สหรัฐฯ จัด บ.F-15 Eagle จ�ำนวน ๑๒ เครือ่ ง จาก 18th Wing ฐานทัพอากาศ Kadena ญีป่ นุ่ และ เครือ่ งบิน C-130J Super Hercules จ�ำนวน ๒ เครือ่ ง จาก 182th Airlift Wing, กองก�ำลังป้องกันประเทศทางอากาศ รัฐ อิลลินอยส์ (Illinois Air National Guard) รวมทั้ง นักบิน และ เจ้าหน้าที่ มากกว่า ๒,๐๐๐ คน เข้าร่วม การฝึก ส่วน ทอ.อินเดียจัด บ.SU-30 MKI จ�ำนวน ๑๐ เครื่อง บ.Jaguar จ�ำนวน ๖ เครื่อง บ.Mirage 2000 จ�ำนวน ๕ เครื่อง บ.C130J จ�ำนวน ๒ เครื่อง รวมทัง้ บ.ควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศและ บ.เติม น�้ำมันในอากาศ เข้าร่วมการฝึกโดย บ.รบวางก�ำลัง ณ ฐานทัพอากาศ Kalaikunda AFS ส่วน บ.ล�ำเลียง และ บ.อืน่ ๆ วางก�ำลัง ณ ฐานทัพอากาศ Panagarh AFS การฝึกผสม COPE India 2018 เป็นการ ฝึกครั้งที่ ๔ เว้นระยะเวลาจากครั้งก่อนเกือบ ๑๐ ปี การฝึกผสมครั้งแรกจัดขึ้น ปี พ.ศ.๒๕๔๗ ครั้งที่ ๒

ปี พ.ศ.๒๕๕๑ และครั้งที่ ๓ ปี พ.ศ.๒๕๕๒ โดยการ ฝึกผสมมีพฒ ั นาการจากการฝึกภาคสนามเพือ่ เพิม่ ขีด ความสามารถการรบทางอากาศ และสร้างความเข้าใจ ในการปฏิบตั กิ ารทางอากาศผสมกันระหว่าง ทอ.สหรัฐฯ และ ทอ.อินเดีย ไปสู่ความร่วมมือการแลกเปลี่ยน ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง วัตถุประสงค์การฝึกผสมครัง้ นีเ้ พือ่ เสริมสร้าง ความร่วมมือของทัง้ สองประเทศ พัฒนาขีดความสามารถ และยุทธวิธีก�ำลังทางอากาศ ซึ่งการฝึกประกอบด้วย การบินรบในอากาศ การฝึกประกอบก�ำลังขนาดใหญ่ การยุทธส่งทางอากาศ การส่งทางอากาศ และการฝึก แลกเปลีย่ นผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการส่งก�ำลังและซ่อมบ�ำรุง รวมทั้งการแก้ไขสถานการณ์วิกฤต


ข่าวทหารอากาศ

สิ่งที่ได้รับจากการฝึกผสมครั้งนี้ จนท. ทอ.สหรั ฐ ฯ และอิ น เดี ย ได้ แ ลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ ขีดความสามารถและข้อจ�ำกัดของแต่ละฝ่าย การฝึก ครัง้ นีม้ ใิ ช่การเผชิญหน้าซึง่ กันและกัน แต่เป็นการฝึก การปฏิบตั กิ ารทางอากาศผสม การสนับสนุนและระวัง ป้องกันก�ำลังของแต่ละฝ่าย ทีส่ ำ� คัญคือการสร้างมิตรภาพ ที่ยั่งยืนและความสัมพันธ์ที่จะเกิดขึ้นในอีกหลายปี ต่อไป พลอากาศตรี CQ Brown Jr. ผู้บัญชาการ ทหารอากาศภาคแปซิฟิก ได้ตรวจเยี่ยมหน่วยบิน จนท.ของ ทอ.ทั้งสองชาติ และสังเกตการณ์การฝึก ๔ วัน รวมทัง้ ขึน้ บินกับ บ. Mirage 2000 ของ ทอ.อินเดีย นอกจากนี้ ใ นระหว่ า งพิ ธี ป ิ ด การฝึ ก ฯ ได้ ก ล่ า วว่ า "เรารู ้ สึ ก ยิ น ดี ที่ ไ ด้ มี โ อกาสฝึ ก ผสมกั บ ประเทศที่ สนับสนุนแนวคิด Indo-Pacific ในฐานะพันธมิตรที่ มุง่ มัน่ เพือ่ สร้างสันติภาพ ความเจริญรุง่ เรืองและความ มัน่ คงในภูมภิ าคนี้ เรารูส้ กึ ขอบคุณส�ำหรับการสนับสนุน ของอินเดีย และความไว้วางใจที่เพิ่มขึ้นระหว่างสอง ประเทศของเรา" สนามบินที่ บ.รบวางก�ำลังคือ ฐานทัพอากาศ Kalaikunda AFS มีความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ เนือ่ งจากเป็นฐานบินของเครือ่ งบินทิง้ ระเบิดแบบ B-29

ของสหรัฐฯ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง บ่งชี้ถึง ประวัติศาสตร์อันยาวนานของประเทศทั้งสอง และ โอกาสในการก้าวไปข้างหน้าร่วมกัน สถานการณ์ ก ารฝึ ก สร้ า งความท้ า ทาย ในการบัญชาการและการควบคุมผสม ความคล่องตัว ในการปฏิบัติการผสม เพื่อเสริมสร้างความพร้อม ปฏิบัติการ และเขี้ยวเล็บให้กับ จนท.ทอ.สหรัฐฯ และพันธมิตร พลอากาศเอก BS Dhanoa เสนาธิการ ทหารอากาศอินเดีย (เทียบเท่าผู้บัญชาการทหาร อากาศไทย) ได้เน้นถึงความส�ำคัญของการสร้างสภาพ แวดล้อมของความสนิทสนมกันและกัน รวมทัง้ โอกาส ในการเรียนรูจ้ ากแนวทางปฏิบตั ทิ ดี่ ที สี่ ดุ ของแต่ละฝ่าย ในการเสริมสร้างการปฏิบัติงานร่วมกัน พลอากาศจัตวา Saji Anthony ผบ.ฐานทัพ อากาศ Kalaikunda AFS กล่าวว่า ทอ.ทัง้ สองประเทศ มิได้แลกเปลีย่ นเรียนรูเ้ พียงการบินรบทางอากาศเท่านัน้ แต่ยังร่วมกันเรียนรู้การปฏิบัติการอื่น ๆ ที่ทั้งสอง กองทัพมีประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ซึง่ กันและกัน เกิดความเชือ่ มัน่ ว่า ทอ.ทัง้ สองประเทศ จะสามารถปฏิบัติการทางอากาศผสมได้ เมื่อเกิด สถานการณ์ขึ้นในอนาคต

57


58

การฝึกร่วมครั้งนี้สะท้อนถึงความสัมพันธ์ ทีแ่ น่นแฟ้นยิง่ ขึน้ ของ อินเดียและสหรัฐฯ โดย ทอ.อินเดีย ได้จัดก�ำลังเข้าร่วมการฝึก RED Flag 16-1 Eielson AFB รัฐอะแลสกา สหรัฐฯ เมื่อ พฤษภาคม ๒๕๕๙ รวมทั้งการฝึก Pitch Black ณ เมือง Darwin ออสเตรเลีย เมื่อ สิงหาคม ๒๕๖๑ กองก�ำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น ได้สง่ เจ้าหน้าทีป่ ระกอบด้วย นายทหารฝ่ายเสนาธิการ และนายทหารจาก Air Support Command จ�ำนวน ๔ คน เข้าร่วมสังเกตการณ์ เพือ่ เสริมสร้างความร่วมมือ ด้านการป้องกันประเทศ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง ทอ.อินเดีย ทอ.สหรัฐฯ และ กองก�ำลังป้องกันตนเอง ทางอากาศญี่ปุ่น บทวิเคราะห์ อิ น เดี ย ถู ก จั บ ตามองโดยนั ก วิ เ คราะห์ การเมืองระหว่างประเทศเห็นว่าจะเป็นมหาอ�ำนาจ ใหม่ โดยมีปัจจัยส�ำคัญ ได้แก่ การเมืองมีเสถียรภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ประชากรโดยรวม มีอายุเฉลี่ยน้อย คนรุ่นใหม่มีการศึกษาดี มีความ ทันสมัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่วนด้านการ ทหาร กห.อินเดียผลักดันแนวคิด อินโด - แปซิฟิก ผ่านความร่วมมือทางทหารกับสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งมีพัฒนาการอย่างชัดเจนต่อเนื่อง ทอ.อินเดียต้องการยกระดับขีดความสามารถ ของกองทัพ และการปฏิบัติการทางอากาศผสม (Interoperability) กับพันธมิตร โดยอาศัยการ เข้าร่วมการฝึกผสมที่ส�ำคัญได้แก่ การฝึก RED Flag และการฝึก Pitch Black ซึ่งเป็นการฝึกนอกประเทศ ทีใ่ ช้ งบประมาณจ�ำนวนมาก ถือเป็นการแสดงท่าทีของ มหาอ�ำนาจเกิดใหม่อย่างแท้จริง ทัง้ นีก้ ารฝึกผสม COPE India 2018 เมือ่ เทียบขีดความสามารถของก�ำลังทาง

อากาศและการปฏิบัติการทางอากาศ ทอ.อินเดีย เรียนรู้จากสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ทอ.อินเดียแสดง บทบาทน� ำ ในด้ า นการแก้ ไขสถานการณ์ วิ ก ฤต การปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือประชาชน ในแนวทาง ปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) การฝึกผสมครั้งนี้ เป็นอีกจุดหมายหนึ่งซึ่งแสดงออกถึงความร่วมมือ อันแน่นแฟ้นของทั้งสองกองทัพ สหรัฐฯ แสดงท่าทีอย่างชัดเจนทีจ่ ะสนับสนุน อินเดีย ตามแนวคิด Indo-Pacific ตัวอย่างส�ำคัญ คือ การตรวจเยี่ยมหน่วยบินและสังเกตการฝึก ๔ วัน รวมทั้งการขึ้นบินกับ บ.Mirage 2000 ของ พล.อ.ต. CQ Brown Jr. ผบ.ทอ.ภาคแปซิฟิก ซึ่งมิได้เห็น บ่อยนัก ที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงตรวจเยี่ยมการฝึก ถือว่าให้ความส�ำคัญอย่างมาก (การฝึกผสม COPE TIGER เป็นการฝึกการใช้ก�ำลังทางอากาศขนาดใหญ่ ที่สุดในภูมิภาคเป็นประจ�ำทุกปี ผบ.ทอ.ภาคแปซิฟิก ยังมิได้มา) และการฝึกผสม COPE India จะด�ำเนินการ ต่อเนื่องมากกว่าในอดีต รัฐธรรมนูญฉบับสันติของญีป่ นุ่ อนุญาตให้ ญี่ปุ่นมีกองก�ำลังเพื่อป้องกันตนเอง แต่ นรม.อาเบะ ต้องการผลักดันญีป่ นุ่ ให้สามารถส่งทหารไปสนับสนุน กองก�ำลังของพันธมิตรในต่างประเทศได้ จึงอาศัย ช่องทางในการเข้าร่วมการฝึกผสม เพื่อเรียนรู้การ ปฏิบตั กิ ารทางอากาศผสม การแก้ไขสถานการณ์วกิ ฤต การปฏิบตั กิ ารเพือ่ ช่วยเหลือประชาชนโดยเริม่ ต้นจาก การเข้าสังเกตการณ์ฝึกของประเทศพันธมิตร (ทอ. ญี่ปุ่นเสนอขอเข้าสังเกตการณ์การฝึก COPE Tiger แต่มิสามารถเข้าร่วมการฝึกได้เนื่องจากปัญหาด้าน นิรภัยการบิน เพราะการฝึกใช้สนามบินเดียว) อีกทั้ง ญีป่ นุ่ ผลักดันแนวคิด Indo-Pacific กับอินเดียมานาน เชือ่ ว่าในอนาคต ทอ.ญีป่ นุ่ จะเข้าการฝึกผสม COPE India

อ้างอิง https://www.af.mil/News/Article-Display/Article/1715814/exercise-enhances-trust-cooperation-between-us-indian-air-forces/ https://economictimes.indiatimes.com/news/defence/indian-us-air-force-learn-from-each-other-at-cope-india-2018/article show/67037763.cms https://defencenewsofindia.com/cope-india-2018-joint-exercise-between-indian-air-force-and-us-air-force-has-started-today/


ข่าวทหารอากาศ

มิสกรีน

ภาพ 1 - ท�ำอะไรอยู่ล่ะ บีทเทิ่ล ? - เฝ้าดูเมฆ ฟังเสียงนก สูดอากาศบริสุทธิ์ มองสัตว์เล็กสัตว์น้อย และดอกไม้ ภาพ 2 - โอ้โห ! ผมไม่เคยรู้มาก่อน มันมีอะไรเกิดขึ้นมากมายอย่างนี้เลย ! To Smell - Wow ! - To be going - on (idm.)

สูดดม, ได้กลิน่ , มีกลิน่ Ex. I bent down to smell the flowers. (ฉันโน้มตัวลงดมดอกไม้) Dinner smells good. (อาหารเย็นมีกลิน่ หอม) I could smell that something was burning (ฉันได้กลิน่ อะไรก�ำลังไหม้อยู)่ to smell อาจจะแปลว่า เหม็น ก็ได้ แล้วแต่บริบท (context) Ex. It smells in this room. (ห้องนีม้ กี ลิน่ เหม็น) และ He hadn’t washed for days and was beginning to smell. (เขาไม่ได้อาบน�ำ้ มาหลายวัน และเริม่ มีกลิน่ ตัว) เป็นค�ำอุทาน ใช้แสดงความประหลาดใจ หรือชืน่ ชม (used to express surprise or admiration) Ex. Wow ! You look terrific ! (คุณดูดมี ากเลย) น�ำ้ เสียงก็ตอ้ งสอดคล้องกับอารมณ์ดว้ ย เป็นส�ำนวน แปลว่า เกิดขึน้ (to happen) มักใช้ในรูป be going on เสมอ Ex. What’s going on here ? (มีอะไรเกิดขึน้ ทีน่ )ี่ และ Nobody knew what was going on last night. (ไม่มใี ครรูว้ า่ เกิดอะไรขึน้ เมือ่ คืนนี)้

59


60

ภาพ 1 – จะมีงานแสดงดอกไม้ ในเมืองวันนี้นะคุณ ภาพ 2 – คุณอยากจะไปเดินดูกับฉันมั้ย ? ภาพ 3 – คุณก็รู้ดีนี่ว่าผมก�ำลังอ่านหนังสือพิมพ์อยู่นะ

Flower show (n.) - งานแสดงดอกไม้, งานบุปผชาติ ถ้าเป็นงานใหญ่จะใช้ flower festival (เทศกาลดอกไม้) to fancy - ในที่นี้แปลว่า ต้องการ (want,desire) อาจใช้ to have a fancy for sth. ก็ได้ Ex. I fancy having some wine with my dinner. หรือ I have a fancy for some wine with my dinner. (ฉันอยากได้ไวน์มาดื่มกับ อาหารเย็น) a look around (n.) - การไปเทีย่ วเดินชมสถานทีน่ นั้ ๆ ว่ามีอะไรให้ชมบ้าง (a visit to a place by walking around it to see what is there) v. to look around แปลว่า มองไปรอบ ๆ บริเวณ Ex. Let’s go to the Sunday market and look around. (เราไป ตลาดนัดวันอาทิตย์กนั เถอะ จะได้ดโู น้นนี)่ paper (n.) - ในทีน่ ้ี คือ Newspaper (หนังสือพิมพ์)


ข่าวทหารอากาศ

เกาหลี ใ ต้ เศรษฐีนิวเคลียร์ ผู้รักสิ่งแวดล้อม น.อ.ชวินทร์ ศรีวิริยเลิศกุล

เมือ่ พูดถึงประเทศเกาหลีใต้ ทุกคนคงนึกถึง ดินแดนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม และแสงไฟ สว่างไสวทัว่ เมืองในยามค�ำ่ คืน เกาหลีได้แนะน�ำเราให้ รู้จักประเทศตนเองจากทั้ง ละคร ดารานักแสดงและ นักร้องเกิร์ลกรุ๊ปมากมาย จนปัจจุบันเกาหลีเป็น จุดหมายปลายทางในการท่องเที่ยวของคนมีฐานะ ที่ฝึกงานในฝันของนักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัย

และแหล่งแสวงโชคของแรงงานชาวไทยอีกหลายหมืน่ คน แต่บางคนกลับได้ไปเกาหลีอย่างไม่ได้ตงั้ ใจมาก่อน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือตัวผู้เขียนเอง ผูเ้ ขียนได้มโี อกาสไปเยือนประเทศเกาหลีใต้ จากการดูงานต่างประเทศในหลักสูตรเสนาธิการทหาร อากาศ โดยมีผู้บังคับบัญชาชั้นผู้ใหญ่ที่น�ำคณาจารย์ และนักเรียนเดินทางไปในครัง้ นีค้ อื พล.อ.ต.น้อย ภาคเพิม่

61


62

ผู้บังคับบัญชาของ ยศ.ทอ. และ สุเมธ จุลชาต อัครราชทูต ประจ�ำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล

ย่านการค้าในยามค�่ำคืนที่กรุงโซลที่สว่างไปด้วย ป้ายไฟฟ้าของร้านรวงบนท้องถนน

(ยศในขณะนัน้ ) รอง จก.ยศ.ทอ.และ พล.อ.ต.เดชอุดม คงศรี ผบ.รร.เสธ.ทอ.(ต�ำแหน่งในขณะนั้น) ในโอกาส อันดีที่นายทหารนักเรียน โรงเรียนเสนาธิการทหาร อากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ได้มีโอกาสเห็น โลกกว้างด้วยสายตาตนเอง ไม่ใช่แค่เพียงภาพเคลือ่ นไหว ผ่านหน้าจอภาพของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ และในโอกาสนี้ ท่าน ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการ ทหารอากาศ (ผบ.รร.สธ.ทอ.) จึงมีเรื่องตื่นเต้นให้กับ นายทหารนักเรียน (นทน.) ทุกคนคือ แบบฝึกหัดพิเศษ ที่มอบหมายให้ นทน.เขียนบทวิเคราะห์การดูงานใน ครั้งนี้ โดยเน้นย�้ำให้ท�ำออกมาให้ดีที่สุด และที่ส�ำคัญ คือท่าน ผบ.รร.สธ.ทอ.ก็เป็นผู้ตรวจแบบฝึกหัดของ นทน.ด้วยตัวท่านเองทุกฉบับ อันเป็นเหตุให้ผเู้ ขียนได้ ค้นคว้าเรือ่ งราวเกีย่ วกับเกาหลีใต้ในหลาย ๆ ด้าน และ ได้คน้ พบถึงความมัง่ คัง่ ทางนิวเคลียร์ของเกาหลีใต้อกี ด้วย เมืองใหญ่ต่าง ๆ ของเกาหลีใต้ ทั้งกรุงโซล และปูซานทีเ่ ราได้ไปเยือน มีแสงไฟจากร้านรวงต่าง ๆ

ทีด่ แู ล้วงามตาในยามค�ำ่ คืน อีกทัง้ ท้องถนนก็สว่างไสว ให้ความปลอดภัยแก่ผู้อาศัยและผู้มาเยือน เกาหลีใต้ มีอัตราการบริโภคพลังงานไฟฟ้า ๕๖๓ ล้านล้านวัตต์ ต่อชั่วโมง (Terawatt hours of energy : TWh) ซึ่ง เมื่อเทียบกับประเทศไทยที่มีทั้งพื้นที่และประชากร มากกว่า กลับมีความต้องการไฟฟ้าเพียง ๑๕๗ ล้าน ล้านวัตต์ต่อชั่วโมง (TWh) โดยการผลิตไฟฟ้าของ เกาหลี ใ ต้ มี สั ด ส่ ว นมาจากพลั ง งานนิ ว เคลี ย ร์ ถึ ง ร้อยละ ๓๐ ซึ่งเป็นอันดับสองรองจาก ถ่านหินที่ผลิต ไฟฟ้ามากทีส่ ดุ คือ ร้อยละ ๔๒ ส่วนอันดับสามคือแก๊ส ธรรมชาติ ร้อยละ ๒๒ ส่วนที่เหลือมาจากน�้ำมัน พลังงานน�้ำ พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ บริษัทที่ผลิตไฟฟ้าของเกาหลีคือ Korea Electric Power Company (KEPCO) ซึ่งถือหุ้นโดยรัฐบาล ร้อยละ ๔๙ โดยแยกเป็นบริษทั ลูก ๖ บริษทั โดยบริษทั ทีด่ ำ� เนินการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์คอื Korea Hydro & Nuclear Power (KHNP) ส่วนบริษัทที่ควบคุม


ข่าวทหารอากาศ

Solar Roof ที่สถานีพักรถระหว่างเมือง

การค้าเชื้อเพลิงนิวเคลียร์คือ KEPCO Nuclear Fuel (KEPCO NF) และบริษัทที่รับสัมปทานซ่อมบ�ำรุง โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์คือ KEPCO KPS เกาหลีใต้มีเตาปฏิกรณ์ปรมาณูอยู่ ๒๕ เตา ในโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมด ๖ โรงงาน ซึ่งก�ำลัง มีการก่อสร้างเพิม่ อยูอ่ กี ๔ เตา โดยเกาหลีใต้มยี เู รเนียม ซึง่ เป็นเชือ้ เพลิงของเตาปฏิกรณ์ปรมาณูอยูท่ งั้ สิน้ กว่า ๖,๐๐๐ ตัน แบ่งเป็นยูเรเนียมสกัดจากธรรมชาติ ๒,๐๐๐ ตัน และยูเรเนียมทีแ่ ปรรูปพร้อมใช้งาน ๔,๐๐๐ ตัน ซึ่งปริมาณยูเรเนียมที่เกาหลีใต้ครอบครองอยู่นั้น มากเป็น “อันดับสองของโลก” รองจากสหรัฐอเมริกา เมื่ออ่านถึงตรงนี้ทุกท่านคงคิดว่า เกาหลีใต้คงมี ยูเรเนียมดิบธรรมชาติในดินแดนของตนเองอย่าง มหาศาลแต่เปล่าเลย เกาหลีใต้ไม่มีแร่ยูเรเนียมดิบ ในแผ่นดินและใต้ท้องทะเลของตนเองเลย ประเทศที่ครอบครองทรัพยากรยูเรเนียม ธรรมชาติในโลกนี้มีทั้งหมด ๔๑ ประเทศ โดยไทย

ก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มียูเรเนียมธรรมชาติอยู่ใน ดินแดนของตนเอง ประเทศที่ส่งออกยูเรเนียมมาก ที่สุด ๕ อันดับแรก ได้แก่ คาซัคสถาน แคนาดา ออสเตรเลีย นามิเบีย และสาธารณรัฐไนเจอร์ ซึ่ง เกาหลีใต้แม้ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเป็นของตนเอง แต่กลับพัฒนาทรัพยากรบุคคลของตนเอง ให้สามารถ ออกแบบและสร้างเตาไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ อีกทัง้ ยังเป็น

63


64

การท�ำนายความต้องการพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่าง (International Atomic Energy Agency, IAEA)

ผู ้ รั บ เหมาก่ อ สร้ า งเตาปฏิ ก รณ์ นิ ว เคลี ย ร์ ใ ห้ แ ก่ ต่างประเทศได้ด้วย เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates : UAE) ได้ว่าจ้าง KEPCO ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และซื้อเชื้อเพลิง ปรมาณูมลู ค่า ๒๐.๔ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจาก UAE แล้วเกาหลีใต้ยังได้รับสัญญาสร้างโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ให้กับยูเครน และจอร์แดนอีกด้วย

แม้ เ กาหลี ใ ต้ จ ะมี พ ลั ง อ� ำ นาจแห่ ง ชาติ ทางพลังงานนิวเคลียร์เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก แต่เกาหลีใต้กใ็ ห้ความส�ำคัญในการใช้พลังงานทดแทน อื่น ๆ สังเกตได้จากสถานีพักรถระหว่างเมืองและปั๊ม น�ำ้ มันชานเมือง ทุกสถานีทเี่ ราแวะพัก หลังคาของทีจ่ อด พักรถส่วนบุคคลจะติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ในทุกจุด ที่สามารถติดตั้งได้ และบ้านตามชานเมืองก็จะเห็น


ข่าวทหารอากาศ

แม่ค้าอาหารทะเลสดที่ตลาดปลา จากัลชิ เมืองปูซาน

แผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านได้เกือบหนึ่งในสาม ของบ้านทีเ่ ราเห็นจากรถบัสเลยทีเดียว แสดงถึงความ พยายามที่เกาหลีใต้จะน�ำพลังงานทดแทนมาใช้ ให้มากขึ้น ซึ่งในยุคปัจจุบันยุโรปเป็นผู้น�ำในด้านการ ใช้พลังงานทดแทน อันจะท�ำให้มคี วามต้องการพลังงาน นิวเคลียร์ของภูมภิ าคยุโรปลดลง ซึง่ เกาหลีใต้กพ็ ยายาม พัฒนาตนเองตามยุโรปเช่นกัน อีกข้อสังเกตหนึง่ ของผูเ้ ขียนคือ แม้เกาหลีใต้ ยังต้องพึ่งพิงพลังงานจากถ่านหินเป็นอันดับหนึ่ง

ในการผลิตไฟฟ้า แต่กม็ กี ารจัดการสิง่ แวดล้อมได้เป็น อย่างดี ท�ำให้ไม่มปี ญ ั หาผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมจาก โรงงานไฟฟ้าถ่านหิน เป็นผลให้ประชาชนยังสามารถ บริโภคอาหารจากธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์จาก ท้องทะเลของคาบสมุทรเกาหลีได้อย่างปลอดภัย จากสารพิษต่าง ๆ ซึง่ ประเทศไทยควรจะศึกษาตัวอย่าง ของเกาหลีใต้ในการจัดการด้านพลังงานและการจัดการ สิ่งแวดล้อม อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความ มั่นคงทางพลังงานของประเทศไทยสืบไป

เอกสารอ้างอิง - World Nuclear Association ๒๕๖๐. Nuclear Power in South Korea. World Nuclear Association. http://www.world nuclear.org/information-library/country-profiles/countries-o-s/south-korea.aspx (สืบค้นเมื่อ ๑๓ เมษายน ๒๕๖๑) - NUCLEAR ENERGY AGENCY ๒๕๖๑. Uranium 2018: Resources, Production and Demand. International Atomic Energy Agency. https://www.oecd-nea.org/ndd/pubs/2018/7413-uranium-2018.pdf (สืบค้นเมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๑) - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ๒๕๖๑. ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด การด�ำเนินงาน, http://www.egat.co.th/index. php?option=com_content&view=article&layout=edit&id=353&Itemid=200 (สืบค้นเมื่อ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๑) - ส�ำนักนโยบายและแผน กระทรวงพลังงาน. ภาพรวมพลังงาน, http://www.eppo.go.th/images/Energy-Statistics/ energyinformation/Energy_Statistics/00All.pdf (สืบค้นเมื่อ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๑)

65


66

วิวัฒนาการของเทคโนโลยี ทางทหารสู่กิจการอวกาศ

ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สงคราม ทุกประเทศต้องการสร้างความได้เปรียบเหนือข้าศึก ดังนั้นจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้มีการน�ำเทคโนโลยี มาใช้เพื่อความได้เปรียบในการสู้รบ การประดิษฐ์ คิดค้นที่ส�ำคัญ เช่น เหล็ก รถศึก ฯลฯ ล้วนมีผลต่อ การเกิดขึน้ หรือสิน้ สุดของอารยธรรมของมนุษย์ในอดีต ในสงครามยุคใหม่ ได้มีการน�ำเทคโนโลยีมาใช้ในการ สงครามอย่างมากมายและปัจจุบันเป็นที่ยอมรับ ห้วงอวกาศ จะเป็นที่ตัดสินการแพ้ชนะของสงคราม ในอนาคต ดังนัน้ นักการทหารจ�ำเป็นต้องมีความเข้าใจ ในเทคโนโลยีอวกาศ เลือกใช้เทคโนโลยีอวกาศทีม่ อี ยู่ มาใช้ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดในการเพิ่ม ศั ก ยภาพของกองทั พ ในที่ นี้ จ ะกล่ า วถึ ง ประวั ติ การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศโดยสังเขป เพื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจถึงทีม่ าของการพัฒนาทัง้ แนวคิดและการพัฒนา เทคโนโลยีเพื่อตอบสนองแนวคิดต่าง ๆ หากมองไปในอดีต การปฏิบตั กิ ารทางอวกาศ ได้รับการผลักดันจากแนวความคิดในการใช้ที่สูง เพือ่ ความได้เปรียบในสงคราม แนวคิดนีม้ มี าแต่โบราณ นักปรัชญาการทหารที่ส�ำคัญ เช่น ซุนวู ได้ให้ความ

พล.อ.ต.กมล วัชรเสถียร

ส�ำคัญต่อการใช้ที่สูง เพื่อความได้เปรียบข้าศึก ต่อมา แนวคิดนี้ จึงเป็นแรงผลักดันให้มนุษย์มคี วามพยายาม คิดค้นอาวุธ และยานพาหนะต่าง ๆ เพื่อชิงความ ได้เปรียบ การน�ำอากาศยานมาใช้ในสงครามโลก ครัง้ ที่ ๒ ได้พสิ จู น์แล้วว่ามีผลต่อการก�ำหนดผลแพ้ชนะ


ข่าวทหารอากาศ

ของสงคราม หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้มีความ พยายามที่จะใช้อวกาศเพื่อความได้เปรียบทางทหาร กองทั พ อากาศสหรั ฐ อเมริ ก า ได้ ใ ห้ ทั ศ นะไว้ ว ่ า ห้วงอวกาศจะเป็นที่ตัดสินการแพ้ชนะของสงคราม ในอนาคต เช่นเดียวกับที่ก�ำลังทางอากาศเป็นอยู่ ในปัจจุบนั การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและการปฏิบตั ิ การทางอวกาศ อาจมองได้ว่าเริ่มตั้งแต่การประดิษฐ์ จรวดขึ้นเป็นครั้งแรกของชนชาติจีน ถึงแม้ว่าไม่มี ใครรู ้ แ น่ ชั ด ว่ า มนุ ษ ย์ เริ่ ม รู ้ จั ก สร้ า งจรวดเมื่ อ ใด แต่นกั ประวัตศิ าสตร์มคี วามเห็นตรงกันว่า จีนเป็นชาติ แรกที่สร้างจรวด โดยชนชาติจีนได้ประดิษฐ์ดินปืน ขึ้นใช้ในปี ค.ศ.๘๐๐ และได้สร้างจรวดขึ้นใช้ครั้งแรก ในราวปี ค.ศ.๑๒๑๒ ใช้ดินปืนเป็นเชื้อเพลิงและได้มี การพัฒนาจรวดเพือ่ ใช้ในการสงคราม ในส่วนของการ ใช้จรวดเพือ่ เป็นยานพาหนะในการเดินทาง มีตำ� นาน เล่าว่าชาวจีน ชื่อ ว่าน ฮู่ (Wan Hu) เป็นคนแรก ทีพ่ ยายามสร้างยานส�ำหรับมนุษย์ขบั เคลือ่ นด้วยจรวด ในต้นทศวรรษที่ ๑๕๐๐ โดยต่อเกวียนกับจรวด ๔๗ ลูก และใช้คน ๔๗ คน จุดพร้อมกัน และได้เกิด ระเบิดขึ้นจากนั้นก็ไม่มีใครเห็น ว่าน ฮู่ อีกเลย ผู้น�ำในการค้นคว้าเรื่องจรวดในยุคใหม่ ทีส่ ำ� คัญของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ดร.โรเบิรต์ กอดดาร์ด

(Robert Goddard) ได้รบั ฉายาว่า เป็นบิดาของจรวด ยุคใหม่ มีผลงานที่ส�ำคัญ ได้แก่ การศึกษาจรวด เชื้อเพลิงเหลว ผลงานนี้ได้ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.๑๙๐๙ และต่อมา ดร.กอดดาร์ด ได้พิสูจน์ทฤษฎีว่า จรวด สามารถเดินทางในสูญญากาศได้ ในปี ค.ศ.๑๙๑๒ และได้ทดลองจรวดเชื้อเพลิงเหลวส�ำเร็จในเมือง ออเบิร์น มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ในวันที่ ๑๖ มีนาคม ค.ศ.๑๙๑๖ และในปี ค.ศ.๑๙๓๐ ดร.โรเบิรต์ กอดดาร์ด ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก ชาร์ล ลินเบอร์ก (Charles Lindbergh) และมูลนิธิกุกเกนไฮม์ (Guggenheim Foundation) ให้ท�ำการศึกษาทดลอง ด้านจรวดต่อในมลรัฐนิวเม็กซิโก ตราบจนกระทั่ง เสียชีวิตในปี ค.ศ.๑๙๔๕ ส่วนในทวีปยุโรป เยอรมัน เป็นประเทศ ทีม่ คี วามตืน่ ตัวในการศึกษาวิจยั เรือ่ ง จรวด ในปี ค.ศ. ๑๙๒๓ เฮอร์แมน โอเบิร์ต (Hermann Oberth) ได้ พิมพ์หนังสือเรื่อง The Rocket into Planetary Space เป็นการวางรากฐานการพัฒนาจรวดในเยอรมัน โอเบิรต์ ได้กล่าวว่า ถ้าจรวดมีกำ� ลังขับเคลือ่ นเพียงพอ จะสามารถน� ำ สั ม ภาระไปสู ่ ว งโคจรของโลกได้ ต่อมา โจฮัน วิงเกลอร์ (Johannes Winkler) ได้รับ

Mr.Wernher von Braun

67


68

แรงบันดาลใจจากหนังสือของ โอเบิร์ต และได้ก่อตั้ง สมาคมการเดินทางในอวกาศ (Society for Space Travel Verein fur Raumschiffahrt) วิงเกลอร์ ได้ทดลองยิงจรวดเชื้อเพลิงเหลว ได้สำ� เร็จในปี ค.ศ. ๑๙๓๑ สมาคมการเดินทางในอวกาศได้สร้างผลงาน ชิน้ ส�ำคัญไว้เป็นอันมาก นอกจากนีส้ มาคมนีย้ งั มีสมาชิก ทีม่ คี วามส�ำคัญต่อวงการจรวดของเยอรมันอย่างมาก หนี่งในสมาชิกนั้น ได้แก่ ดร.เวอร์นเฮอร์ ฟอน เบราน์ เมื่อพรรคนาซีของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ขึ้น ครองอ�ำนาจในปี ค.ศ.๑๙๓๒ กองทัพบกเยอรมัน ได้มอบหมายให้ ดร.เวอร์นเฮอร์ ฟอน เบราน์ พัฒนา จรวดขึ้นเป็นอาวุธส�ำหรับท�ำสงคราม ผลงานชุดแรก ชือ่ ว่า จรวดชุด A จรวดแบบแรก ได้แก่ A-1 ไม่ประสบ ความส�ำเร็จ แต่ A-2 ประสบความส�ำเร็จและน�ำไปสู่ การสร้างจรวดขนาดใหญ่ ต่อมาในวันที่ ๗ กันยายน ค.ศ.๑๙๔๔ ดร.เวอร์นเฮอร์ ฟอน เบราน์ ประสบความ ส�ำเร็จในการยิงจรวด V-2 ติดหัวรบขนาด ๒,๐๐๐ ปอนด์ เดินทางด้วยความเร็ว ๓๕๐ ไมล์ต่อชั่วโมงไปตกใน

กรุงลอนดอนซึ่งห่างออกไป ๒๐๐ ไมล์ ระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ ๒ ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มเห็นว่า เยอรมั น มี ค วามก้ า วหน้ า ด้ า นจรวดสู ง กว่ า ฝ่ า ย สัมพันธมิตรมาก ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงเริ่มวางแผน ที่จะเจาะความลับของเยอรมัน ตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๔๒ เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหรัฐอเมริกาได้ เข้ายึดโรงงานผลิตจรวดที่เขาฮาส (Harz) และได้น�ำ ตัวนักวิทยาศาสตร์รวมทั้งเจ้าหน้าที่เทคนิคจ�ำนวน ๔๕๗ คน กลับมาสหรัฐอเมริกา ซึ่งในจ�ำนวนนี้มี พลตรี วอลเตอร์ ดอนเบอร์เกอร์ (Major-General Dr. Walter Robert Dornberger) หัวหน้าโครงการ จรวดฝ่ายทหาร และ ดร.เวอร์นเฮอร์ ฟอน เบราน์ หัวหน้านักวิทยาศาสตร์รวมอยูด่ ว้ ย ทีมนักวิทยาศาสตร์ และเจ้าหน้าที่เทคนิคเหล่านี้ มีส่วนส�ำคัญอย่างมาก ในการพัฒนาโครงการอวกาศของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ.๑๙๔๖ รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ได้เริม่ โครงการ MX-774 เพือ่ พัฒนาขีปนาวุธข้ามทวีป (Intercontinental Ballistic Missile – ICBM) พิสัย ๕,๐๐๐ ไมล์ แต่ในขณะนัน้ ไม่สามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ ได้ เนือ่ งจากระเบิดนิวเคลียร์สมัยนัน้ มีนำ�้ หนักมากถึง ๑๐,๐๐๐ ปอนด์ ในปี ค.ศ.๑๙๕๒ โซเวียตทดลองระเบิด ไฮโดรเจนส�ำเร็จ ระเบิดไฮโดรเจนมีขนาดเล็กกว่าและ สามารถติดตั้งกับขีปนาวุธข้ามทวีปได้ ดังนั้น กองทัพ อากาศสหรัฐอเมริกา จึงได้รื้อฟื้นโครงการขีปนาวุธ ข้ามทวีปขึ้นมาอีก ในวันที่ ๓ สิงหาคม ค.ศ.๑๙๕๗


ข่าวทหารอากาศ

โซเวียตประสบความส�ำเร็จในการสร้างขีปนาวุธ SS-6 Sapwood ขีปนาวุธนีจ้ ดั เป็น ICBM แบบแรกของโลก การพัฒนาจรวดได้ดำ� เนินไปอย่างต่อเนือ่ งโดยเฉพาะ อย่างยิ่งการแข่งขันระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็น และน�ำไปสู่ การสร้างจรวดเพื่อส่งดาวเทียมในเวลาต่อมา ส�ำหรับการพัฒนาดาวเทียม ในยุคแรก บริษทั แรนด์ (Rand Incorporation) ซึง่ เป็นทีป่ รึกษา กองทัพสหรัฐอเมริกา เสนอให้สร้างดาวเทียมทหาร ท� ำ หน้ า ที่ เ สมื อ นเครื่ อ งบิ น ตรวจการณ์ ที่ ข ้ า ศึ ก ไม่สามารถท�ำลายได้ ในปี ค.ศ.๑๙๔๖ และตอนนั้น ยังติดปัญหาด้านอิเล็กทรอนิกส์ เนือ่ งจากยุคนัน้ ยังคง ใช้หลอดสูญญากาศ ซึ่งมีน�้ำหนักมากเป็นอุปสรรค ส�ำคัญ จนกระทัง่ ปี ค.ศ.๑๙๔๘ ห้องทดลองของบริษทั โทรศัพท์เบลล์ (Bell Telephone Laboratory) ประดิษฐ์ทรานส์ซสิ เตอร์ได้สำ� เร็จ บริษทั แรนด์ จึงเสนอ ให้กองทัพสหรัฐอเมริกา ด�ำเนินการสร้างดาวเทียม ทหารต่อไป แต่ยังไม่ส�ำเร็จเนื่องจากประสบปัญหา ทีส่ ำ� คัญ คือ สิทธิในการบินผ่านประเทศอืน่ ๆ ซึง่ คณะ ท�ำงานยังคงหาข้อสรุปไม่ได้ จนกระทัง่ ในเดือน ตุลาคม ค.ศ.๑๙๕๗ โซเวียตส่งดาวเทียมสปุตนิก ๑ (Sputnik 1)

ได้ส�ำเร็จเป็นชาติแรก สปุตนิก โคจรรอบโลกผ่านไป ประเทศต่าง ๆ และไม่มีชาติใดประท้วง ถือว่าเป็น ที่ยอมรับในสังคมโลก และท�ำให้เกิดกฎการบินผ่าน ของดาวเทียม (Overflight) การพัฒนาดาวเทียม ของสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา จึงด�ำเนิน ต่อไปได้ การใช้ประโยชน์จากอวกาศที่ส�ำคัญที่สุด ได้แก่ การสื่อสารผ่านดาวเทียม ในปี ค.ศ.๑๙๔๕ อาเธอร์ ซี คลาก (Arthur C Clark) ได้เสนอแนวคิด ที่จะส่งดาวเทียมไว้แนวเส้นศูนย์สูตรที่ระยะความสูง ๒๒,๐๐๐ ไมล์ ที่ระยะความสูงนี้ดาวเทียมจะรักษา ต�ำแหน่งได้คงที่กับต�ำแหน่งบนผิวโลก ดาวเทียม ๓ ดวง สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ทั่วโลก ต�ำแหน่งนี้ เรียกว่า วงโคจร Geosynchronous Orbit หรือ Geostation Orbit หรือบางครั้งเรียก Clarke Orbit เพือ่ เป็นเกียรติแก่ อาเธอร์ ซี คลาก (Arthur C Clark)

69


70

ในเดือน กรกฎาคม ค.ศ.๑๙๕๘ สหรัฐอเมริกา ได้ตั้งองค์กรการบินและอวกาศแห่งชาติหรือนาซา National Aeronautics and Space Administration : NASA) ซึง่ รวมความพยายามของทหาร และ พลเรือน ไว้ด้วยกัน โครงการในความพยายามท�ำการสื่อสาร ผ่านดาวเทียมในยุคแรก ได้แก่ โครงการ Score ในการสือ่ สารผ่านดาวเทียมครัง้ แรกของโลก ดาวเทียม Score ได้ถกู ส่งขึน้ ไปพร้อมกับเทปค�ำอวยพรคริสต์มาส ของประธานาธิบดี Eisenhower และ เปิดเทปส่งกลับ มายังพืน้ โลกได้สำ� เร็จ โครงการต่อมาได้แก่ การสร้าง บอลลูนเพื่อสะท้อนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโครงการนี้ เรียกว่า โครงการ Echo บอลลูน Echo มีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐๐ ฟุต เคลือบผิวภายนอกโดย อะลูมิเนียมเพื่อสะท้อนสัญญาณวิทยุ แต่หลักการนี้ มีปัญหาทางด้านเทคนิคมากจึงต้องยกเลิกไป ต่อมา ในปี ค.ศ.๑๙๖๐ กองทัพบกสหรัฐอเมริกา ได้สร้าง ดาวเทียม Courier 1B ขึน้ เพือ่ ใช้ในการสือ่ สาร ดาวเทียม นี้มีน�้ำหนัก ๕๐๐ ปอนด์ ใช้โซลาเซลล์ ๒๐,๐๐๐ ชิ้น ใช้ระบบ Delayed Repeater สามารถส่งข้อมูล ได้ ๖๘,๐๐๐ ค�ำต่อนาที ดาวเทียมนี้ใช้งานได้เพียง ๑๗ วัน นาซาได้เสนอโครงการ เมอร์คิวรี่ (Mercury) เพือ่ เป็นก้าวแรกในการส่งมนุษย์ไปลงดวงจันทร์ ท�ำให้ การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศเป็นไปอย่างต่อเนือ่ ง และ รวดเร็ว การริเริม่ ใช้ประโยชน์จากดาวเทียมอีกประการ หนึ่งได้แก่ การน�ำร่อง (Navigation) กองทัพเรือ

ได้ทดลองส่งดาวเทียม Transit 1A ดาวเทียมนี้ ส่งสัญญาณวิทยุเพื่อบอกต�ำแหน่งใช้แทนการตรวจ สอบต�ำแหน่งกับดาว ซึง่ ท�ำได้ในเวลากลางคืนเท่านัน้ ดาวเทียม Transit 1A ช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพให้ขปี นาวุธ ของเรือด�ำน�้ำ Polaris ท�ำให้ขีปนาวุธมีความแม่นย�ำ ในรัศมี ๑ ไมล์ ดาวเทียมได้ถกู พัฒนาต่อเนือ่ งมาจนถึง ปัจจุบัน จนมีประสิทธิภาพสูง สามารถตอบสนอง ภารกิจต่าง ๆ ทั้งทางทหารและพลเรือน มีการส่ง ดาวเทียมเพือ่ ใช้ประโยชน์ในกิจการต่าง ๆ เป็นจ�ำนวน มาก เช่น การสื่อสาร การพยากรณ์อากาศ การท�ำ แผนที่ ก�ำหนดพิกดั การน�ำล่อง การส�ำรวจทรัพยากร การถ่ายภาพ และอืน่ ๆ ไม่เพียงแต่ประเทศมหาอ�ำนาจ เท่านั้นที่ใช้ประโยชน์จากอวกาศ ประเทศเล็ก ๆ ที่ยังขาดขีดความสามารถทางเทคโนโลยีก็สามารถ ใช้ประโยชน์จากอวกาศ ประชาชนทั่วไปก็เป็นผู้ใช้ ประโยชน์จากอวกาศในชีวิตประจ�ำวัน


ข่าวทหารอากาศ

“ป้าย” By R.T.A.F’s Eyes view

R.T.A.F.'s Eyes view

ตักเตือนให้ไปด�ำเนินการเปลี่ยนแผ่นป้ายทะเบียน ทีก่ รมการขนส่งทางบกให้เรียบร้อย เหตุการณ์แบบนี้ อาจเกิดขึ้นกับผู้อ่านบางท่านได้ อย่ารอช้า มารู้กันว่า แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์มีกี่ประเภท กรณีสีซีดจาง ช�ำรุด หรือสูญหายควรปฏิบตั อิ ย่างไรมาติดตามอ่านกัน แผ่นป้ายทะเบียนที่มีสีซีดจาง เรามาดูกนั ก่อนว่าประเภทป้ายทะเบียน มีแบบ ไหนบ้าง ๑. ป้ายทะเบียนรถพื้นสีขาวสะท้อนแสง เรื่องของ “ป้าย” ที่ผู้เขียนมีความตั้งใจ “อยากเล่า” เป็นเรื่องของป้ายทะเบียนรถยนต์มีสี ตัวอักษรสีด�ำ คือ รถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน ซีดจาง ยิง่ นานวันก็ยงิ่ ซีดจนอ่านตัวเลขไม่เห็น จึงเกิด ๗ ที่นั่ง เช่น รถเก๋ง และรถยนต์ทั่วไป ความสงสัยว่าเกิดจากการน�ำรถยนต์เข้าไปล้างท�ำความ สะอาด หรือน�ำ้ ยาไปท�ำปฏิกริ ยิ ากับพืน้ ผิวป้ายทะเบียน หรือเปล่า และอีกหนึง่ เหตุการณ์ทสี่ ำ� คัญซึง่ “อยากบอก” ประสบการณ์ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปต่างจังหวัด ระหว่างทาง มีเจ้าหน้าทีต่ ำ� รวจทางหลวงขอให้หยุดรถ จอดข้างทาง สาเหตุเพราะแผ่นป้ายทะเบียนมีสี ซีดจางและผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่ต�ำรวจได้กล่าว

71


72

๒. ป้ายทะเบียนรถสีพื้นขาวสะท้อนแสง ๕. ป้ายทะเบียนรถสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวอักษรสีน�้ำเงิน คือ รถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคล แต่มี ตัวอักษรสีแดง คือ รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด ที่นั่งมากกว่า ๗ ที่นั่ง เช่น รถตู้ เป็นต้น

๓. ป้ายทะเบียนรถพื้นสีขาวสะท้อนแสง ตัวอักษรสีเขียว คือ รถบรรทุกส่วนบุคคล คือรถกระบะ แต่บางคันก็เห็นเป็นป้ายสีดำ� แสดงว่าตอนจดทะเบียน นั้นจดเพื่อเป็นรถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคลเท่านั้น หากใช้ ในการบรรทุกเมื่อไหร่ จะถือว่าผิดกฎหมายทันที

๖. ป้ายทะเบียนรถสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวอักษรสีน�้ำเงิน คือ รถยนต์เล็ก ๔ ล้อรับจ้าง

๗. ป้ายทะเบียนรถสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวอักษรสีสีเขียว คือ รถสามล้อรับจ้าง

๔. ป้ายทะเบียนรถพื้นสีเหลืองสะท้องแสง ตัวอักษรสีด�ำ คือ รถยนต์รับจ้าง ที่สามารถบรรทุก ผูโ้ ดยสารได้ไม่เกิน ๗ คน หรือ รถจักรยานยนต์รบั จ้าง เป็นต้น

๘. ป้ายทะเบียนรถสีเขียวสะท้อนแสง ตัวอักษรสีขาว/ด�ำ คือ รถบริการทัศนาจร และรถ บริการให้เช่า


ข่าวทหารอากาศ

๑๒. ป้ายแดง คือ ป้ายที่ออกให้ชั่วคราว ๙. ป้ า ยทะเบี ย นรถสี ส ้ ม สะท้ อ นแสง ตัวอักษรสีด�ำ คือ รถพ่วง รถแทรกเตอร์ และรถที่ใช้ ซึ่งป้ายแดงจะถูกน�ำมาใช้กับรถยนต์ที่ยังไม่ได้รับการ รับรองด้วยการจดขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย ซึ่งป้าย ในทางเกษตรกรรม ดังกล่าวนัน้ ออกมาเพือ่ ก�ำกับเบือ้ งต้นให้รถคันดังกล่าว สามารถใช้งาน บนถนนได้ชั่วคราว แต่ก็ต้องอยู่ ข้อก�ำหนดของกรมการขนส่ง

๑๐. ป้ายทะเบียนรถพืน้ แผ่นป้ายเป็นสีขาว (ไม่สะท้อนแสง) ตัวอักษรสีด�ำ คือ รถยนต์ของคณะ ผู้แทนทางการทูต จะขึ้นต้นด้วย ท และตามด้วยรหัส ประเทศ ขีด แล้วถึงจะเป็นเลขทะเบียนรถ

๑๓. ป้ายทะเบียนทีม่ พี นื้ หลังเป็นกราฟฟิก คือ ป้ายทะเบียนรถทีม่ กี ารประมูลป้ายทะเบียนรถยนต์ ช�ำรุด หรือสีซีดจางควรท�ำอย่างไรสามารถยื่นขอใหม่ ได้ทสี่ ำ� นักงานขนส่งทางบกทีร่ ถจดทะเบียนไว้ ซึง่ ดูได้ จากสมุดคู่มือจดทะเบียนรถ

๑๑. ป้ายทะเบียนรถ ป้ายเป็นสีฟา้ ไม่สะท้อน แสง ตัวอักษรสีขาว คือ รถยนต์ของบุคคลในหน่วย งานพิเศษของสถานทูต ใช้อักษร พ ของคณะผู้แทน ทางกงสุล ใช้อักษร ก ถ้าเป็นส่วนทะเบียนรถของ เอกสารและหลักฐาน องค์การระหว่างประเทศ หรือ ทบวงการช�ำนาญพิเศษ ๑. สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ (ตัวจริงพร้อม แห่งสหประชาชาติ จะใช้อักษร อ แล้วค่อย ตามด้วย ส�ำเนา) หมายเลขทะเบียนรถ ๒. บัตรประจ�ำประชาชน (ตัวจริงพร้อม ส�ำเนา) ของเจ้าของรถ ๓. หนั ง สื อ รั บ รองการจดทะเบี ย นเป็ น นิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล อายุการใช้งานไม่เกิน ๖ เดือน) ๔. ส�ำเนาบัตรประจ�ำตัวประชาชนของผู้มี อ�ำนาจลงนาม กรณีเป็นนิติบุคคล

73


74

๕. หนังสือมอบอ�ำนาจ (กรณีที่เจ้าของรถ ค่าธรรมเนียมในการด�ำเนินการซึ่งแต่ละไฟแนนซ์ ไม่สะดวกไปด�ำเนินการ ติดอากรแสตมป์ ๑๐ บาท) อาจจะไม่เท่ากัน โดยส่วนใหญ่ไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ๖. แผ่นป้ายทะเบียนเดิมที่ช�ำรุด – รอป้ายทะเบียนใหม่ประมาณ ๑๕ – ๓๐ วัน แล้วแต่ละไฟแนนซ์ด�ำเนินการ อัตราค่าธรรมเนียม ๒. รถไม่ได้ผอ่ นกับไฟแนนซ์แล้ว กรณีนตี้ อ้ ง - ค่าแผ่นป้ายทะเบียนธรรมดาแผ่นละ ไปติ ด ต่ อ ที่ ก รมขนส่ ง ทางบกที่ ร ถคั น ดั ง กล่ า วได้ ๑๐๐ บาท จดทะเบียนไว้เท่านัน้ ใครใช้รถกรุงเทพฯ ไปทีส่ ำ� นักงาน - ค่าแผ่นป้ายทะเบียนประมูล แผ่นละ ขนส่งพืน้ ที่ ๑ – ๕ ส่วนต่างจังหวัดจดทะเบียนจังหวัด ๖๐๐ บาท ไหนก็ไปจังหวัดนั้น ๆ - ระยะเวลาในการขอรับป้ายทะเบียนรถ : ภายใน ๗ วันแต่ไม่เกิน ๑๕ วัน เอกสารที่ต้องเตรียม คือ แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์สญ ู หาย ต้องท�ำ – ส�ำเนาบัตรประชาชน (เจ้าของรถ) หรือ อย่างไร ถ้าจะมอบอ�ำนาจให้คนอืน่ ไปท�ำก็ตอ้ งเซ็นส�ำเนาบัตร หากแผ่นป้ายทะเบียนรถหาย ตามกฎหมาย ผู้รับ และผู้รับมอบอ�ำนาจ แล้วเจ้าของรถต้องด�ำเนินการคัดป้ายใหม่ภายใน ๑๕ วัน – สมุดเล่มทะเบียนรถตัวจริง นับจากวันที่หาย แนะน�ำให้ไปแจ้งความก่อน เพราะ – หนังสือมอบอ�ำนาจกรณีมกี ารมอบอ�ำนาจ เป็นไปได้วา่ ตอนนัน้ เราอาจจะยังไม่สะดวกไปท�ำทันที ให้คนอื่นด�ำเนินการแทน และขั้นตอนการขอคัดป้ายใหม่อาจต้องใช้เวลาหลาย – เตรียมช�ำระค่าธรรมเนียม แผ่นป้าย วัน ซึง่ ในระหว่างนัน้ เจ้าหน้าทีต่ ำ� รวจอาจจะเรียกตรวจ ทะเบียนแผ่นละ ๑๐๐ บาท (ถ้าป้ายทะเบียนสูญหาย สอบ ก็สามารถน�ำเอกสารนั้นยืนยันแทนก่อนได้ ทั้ ง ด้ า นหน้ า และด้ า นหลั ง ก็ ๒๐๐ บาท) และ กรณีแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์สญ ู หาย แยก ค่าใบค�ำขออีก ๕ บาท ได้เป็น ๒ กรณี – รอป้ายทะเบียนใหม่ไม่เกิน ๑๕ วัน ๑. รถยังผ่อนกับไฟแนนซ์อยู่ ให้เจ้าของรถ ระหว่างนั้นหากโดนต�ำรวจเรียกตรวจสอบก็สามารถ ด�ำเนินการดังนี้ ใช้ใบแจ้งความ หรือใบเสร็จจากกรมขนส่งฯ ที่ได้มา – ติดต่อกับทางไฟแนนซ์ เพือ่ แจ้งให้ดำ� เนิน ยืนยันกับเจ้าหน้าที่ต�ำรวจก่อนได้ การคัดป้ายทะเบียน หรือจะยอมจ่ายค่ามัดจ�ำเอาเล่ม คงจะเห็นกันแล้วว่าวิธกี ารการท�ำแผ่นป้าย ทะเบียนตัวจริงไปท�ำด้วยตนเองก็ได้ ซึ่งค่ามัดจ�ำจะ ทะเบียนสูญหายหรือช�ำรุดใหม่นั้น ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก อยู่ที่ประมาณ ๓,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ บาท ขึ้นอยู่กับ อีกต่อไป ผูเ้ ขียนได้ทำ� ตามขัน้ ตอนทัง้ หมดนีแ้ ละได้รบั ทางไฟแนนซ์ แผ่นป้ายทะเบียนใหม่มาเรียบร้อย ยังไงลองตรวจสอบ – เตรียมเอกสารส�ำเนาบัตรประชาชน ป้ายทะเบียนรถยนต์ของคุณว่าอุปกรณ์พร้อม ไม่ชำ� รุด เซ็นแบบฟอร์มใบยินยอมให้ไฟแนนซ์ด�ำเนินการ ก่อนออกเดินทางทุกครั้งนะคะ คัดป้ายแทนให้ – เสี ย ค่ า ธรรมเนี ย มป้ า ยใหม่ และ อ้างอิง www.auto.mthai.com, www.mot.go.th/dlt, www.dlt.go.th/th/


ข่าวทหารอากาศ

Le Professeur

PLANET B612

Something Old, Something New, Something Borrowed, Something Blue แถ่น แทน แทน แทน แถ่น แท้น แถ่น แทน........................ ท่านผู้อ่านลองฮัมเพลงนี้ดู คุ้น ๆ หรือไม่ว่ามาจากเพลงอะไร แต่ช่วงนี้ผู้เขียนเดาว่าท่านผู้อ่าน อาจจะคุ้นกับเพลงเต่างอยกันมากกว่าก็เป็นได้ หลาย ๆ ท่านอาจจะคุ้นหูกับท�ำนองเพลงนี้ เพราะเป็นเพลง ที่นิยมใช้เปิดตัวคู่บ่าวสาวขณะเดินเข้าสู่พิธีแต่งงานของชาวตะวันตก ผู้เขียนไม่ได้จะเล่าประวัติของเพลงนี้ แต่เนื่องจาก เรื่องที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับประเพณีแต่งงานของชาวตะวันตก และท่านผู้อ่านอาจ สงสัยว่า ท�ำไมชื่อเรื่องจึงมีค�ำว่า ของเก่า ของใหม่ ของที่ขอยืมมา (หลายคนคงจะนึกถึงเงินทอง เพราะอาจ ถูกยืมหรือเคยยืม) และของสีฟ้า สิ่งเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร “Something Old, Something New, Something Borrowed, Something Blue” เป็นส่วน หนึ่งของบทกวีภาษาอังกฤษ ซึ่งที่จริงแล้วยังไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะยังขาดไปอีกหนึ่งสิ่ง หากจะให้ครบ ต้องมีสิ่งของ ๕ อย่าง ด้วยกันตามบทกวีคือ

Something old Something new Something borrowed Something blue And a silver sixpence in her shoe บทกวีนี้กล่าวถึงสิ่งของ ๕ อย่าง ที่เจ้าสาวชาวตะวันตกในบางประเทศ เช่น ในอังกฤษและอเมริกา ต้องมีติดตัวไว้ในงานแต่งงานเพื่อความเป็นสิรมิ งคล ผูเ้ ขียนขอยกตัวอย่างจากงานแต่งงานที่เป็นข่าวดังไปทั่ว

75


76

โลกและสวยงามราวกับเทพนิยายระหว่างเจ้าชายแฮร์รี่ และ นางสาวเมแกน มาร์เคิล ซึ่งขณะนี้ด�ำรงพระยศ Duchess of Sussex /ดัชเชิส เอิฟ ซัสเซ็กซฺ/ซึ่งพระยศ Duchess ของท่านได้รับการสถาปนาจากการเสก สมรสกับดยุค (Duke) คือเจ้าชายแฮร์รี่ ซึ่งด�ำรงพระยศ Duke of Sussex “Something old” /ซัมธิง โอลดฺ / (เสียง /th/ อย่าลืมวางลิ้นไว้ระหว่างฟันบนและฟันล่าง แล้วพ่นลม) หมายถึง ของเก่าของครอบครัวเจ้าสาว เช่น ชุดแต่งงานชุดเก่าของแม่ เครื่องประดับ หรือสิ่งใด ก็ได้ทเี่ ป็นของเก่า ซึง่ มักจะเป็นสิง่ ของมีคา่ จากครอบครัว เพือ่ เป็นเคล็ดความเชือ่ ว่า เจ้าสาวทีก่ ำ� ลังจะไปสร้าง ครอบครัวใหม่จะได้ระลึกถึงบุคคลอันเป็นที่รักในครอบครัว บางครอบครัวก็ยกเตียงนอนให้เป็นของขวัญ แด่คู่บ่าวสาวก็ได้เช่นกัน

ภาพเจ้าสาวผู้งดงามไร้ที่ติในชุดสีขาวราวกับเจ้าหญิงในเทพนิยายนี้ที่ผู้เขียนได้เอ่ยถึงไปแล้วคือ นางสาวเมแกน มาร์เคิล (ในขณะนั้น) โดยท่านได้สวม tiara /ทีอาเรอะ/ (ไม่ใช่เทียร่า) หรือรัดเกล้าที่เป็น เครื่องประดับศีรษะ โดยเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระราชินีแมรี่ (สมเด็จพระอัยยิกาหรือ ย่าในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๒ แห่งสหราชอาณาจักร) หลายท่านอาจจะสงสัยว่าต้องเป็นของเก่า จากครอบครัวเจ้าสาวเท่านั้นหรือไม่ จากข้อมูลพบว่า ในยุคใหม่นี้อาจจะไม่ได้เคร่งครัดไปเสียทั้งหมด อย่างเช่นในกรณีนี้เป็นต้น “Something new” /ซัมธิง นยู/ หมายถึง สิ่งของที่เป็นของใหม่เอี่ยมอ่อง โดยอาจจะเป็น ชุดแต่งงานชุดใหม่ รองเท้าคู่ใหม่ หรือเครื่องประดับชิ้นใหม่ เป็นต้น สิ่งที่เป็นของใหม่นี้อาจจะหมายถึง ความเป็นสิริมงคลแก่การเริ่มต้นใหม่ของชีวิตคู่ รวมทั้งอนาคตอันสดใสที่รออยู่ภายภาคหน้า


ข่าวทหารอากาศ

ส่วนของใหม่ส�ำหรับเจ้าสาวท่านนี้คือ ต่างหูสุดหรูยี่ห้อ “Cartier” / คาร์ทิเอ/ (ไม่ใช่คาเทีย หรือ คาที่) ซึ่งสวยงาม สง่า และเรียบหรู “Something borrowed” /ซัมธิง บอโรวฺดฺ/ หมายถึง สิง่ ของทีย่ มื มา ซึง่ แน่นอนว่า ไม่ใช่เงิน ไม่ใช่วา่ จะไปอ้างเรือ่ งเคล็ด ชาวตะวันตกเพื่อขอยืมเงินเพื่อน ๆ ของที่ยืมมานั้น บางต�ำรา ก็กล่าวว่า ควรเป็นของทีข่ อยืมมาจากหญิงสาวทีป่ ระสบความส�ำเร็จ ในชีวิตคู่ มีชีวิตคู่ที่ยืนยาว โดยอาจจะเป็นผ้าคลุมหน้าเจ้าสาวหรือ ที่หลายคนเรียกทับศัพท์ว่า veil /เวล/ (เสียง /v/ ต้องน�ำฟันบน วางไว้ทรี่ มิ ฝีปากล่างแล้วพ่นลมอย่างแรง ซึง่ แรงกว่า ฟ ฟัน ถ้ารูส้ กึ คันยุบยิบ ๆ ที่ริมฝีปากคือถูกต้อง) หรืออาจจะเป็นเครื่องประดับ ต่าง ๆ ก็ได้เช่นเดียวกัน ส่วนนางสาวเมแกน มาร์เคิล (ในขณะนัน้ ) ของที่ต้องยืม และของเก่าคือชิ้นเดียวกัน นั่นคือ รัดเกล้า ซึ่งเป็น พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระราชินีแมรี่ “Something blue” /ซัมธิง บลู/ (อย่าลืมออกเลียง /l/ ควบกล�้ำ ซึ่งใกล้เคียงกับตัว ล ลิงมาก ถ้าออกเสียงเป็น /บู/ เฉย ๆ คือ การโห่ ความหมายจะเปลี่ยนไปทันที) สิ่งสุดท้าย แต่ไม่ท้ายสุด (ผู้เขียนจะ เฉลยตอนท้ายว่าท�ำไมถึงยังไม่ท้ายสุด) คือของที่มีสีฟ้านั่นเอง ในหลาย ๆ ต�ำรากล่าวว่า การมีสิ่งของสีฟ้า ในงานแต่งงานจะหมายถึงความบริสทุ ธิผ์ ดุ ผ่อง ดังเช่น ผ้าคลุมของพระแม่มารีที่เป็นสีฟา้ รวมทั้งยังอาจหมายถึง ความซื่อสัตย์อีกด้วย โดยของที่มีสีฟ้านั้น เจ้าสาวอาจไม่จ�ำเป็นต้องน�ำมาโชว์แขกเหรื่ออย่างชัดเจนก็ได้ ของสีฟ้าอาจจะซุกซ่อนไว้ในตัวเจ้าสาว หรืออาจจะเป็นช่อดอกไม้สีฟ้า เป็นต้น

77


78

สิ่งของสีฟ้าที่ท่านเลือกนั้น ผู้เขียนต้องขออภัยจริง ๆ ที่หามาให้ชมไม่ได้ นั่นเป็นเพราะว่า ท่านได้ ให้ช่างตัดเย็บผ้าสีฟ้าผืนเล็ก ๆ ติดกับผ้าคลุมหน้าเจ้าสาว ซึ่งผ้านั้นเป็นผ้าที่ท่านได้สวมตอนไปออกเดท ครั้งแรกกับเจ้าชายแฮร์รี่ โรแมนติกจนถึงขั้นจิกหมอนได้เลย และตอนนี้ผู้เขียนก็จิกทั้งหมอนทั้งโซฟาแล้ว และแล้วก็มาถึงสิ่งสุดท้ายจริง ๆ นั่นคือ And a silver sixpence in her shoe วลีนี้มีค�ำ ที่น่าสนใจคือ “silver”/ซิลเวอรฺ/ แปลว่า เงิน และ “sixpence”/ซิกซฺเพินซฺ/ แปลว่า เหรียญ ๖ เพ็นนี ซึ่งในสมัยนี้ไม่ใช้แล้ว ความเชื่อนี้ในสมัยก่อนคือการน�ำเงินเหรียญ ๖ เพ็นนี ใส่ไว้ในรองเท้าข้างซ้ายของ เจ้าสาว เพื่อเป็นเคล็ดด้านความมั่งคั่ง ทรัพย์สินบริบูรณ์ เงินทองไหลมาเทมา แต่เนื่องจากในสมัยนี้ ไม่มี เหรียญชนิดนีแ้ ล้ว เจ้าสาวยุคใหม่อาจจะข้ามข้อนีไ้ ป หรืออาจจะน�ำเหรียญอืน่ ๆ หรือของเลียนแบบมาทดแทน เป็นอย่างไรกันบ้างกับเรือ่ งราวทีน่ ำ� มาฝาก จะว่าไปแล้วทุก ๆ ชาติ ต่างก็มปี ระเพณีอนั ดีงามทีส่ งั่ สม กันมาจากรุ่นสู่รุ่น มีการปรับเปลี่ยนบ้างตามยุคสมัย อย่างเช่น สิ่งของ ๕ อย่าง ในพิธีแต่งงานของชาวตะวันตก ที่มีความหมายน่ารัก ๆ แอบแฝงอยู่ เพื่อเป็นกุศโลบายในการครองเรือน อย่างไรก็ตาม สิ่งส�ำคัญที่สุด ในชีวิตคู่คือความรัก ความเข้าใจซึ่งกันและกัน และที่ส�ำคัญที่สุดคือความซื่อสัตย์ จึงจะได้ถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชรตามที่โบราณว่าไว้ ขึ้นต้นแบบฝรั่งแต่ผู้เขียนขอลงท้ายแบบไทย ๆ แถ่น แทน แทน แทน แถ่น แท้น แถ่น แทน........ * ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษที่น่าสนใจจากเนื้อเรื่อง * - Duchess (n.) /ดัชเชิส/ แปลว่า พระยศของสตรีผู้ที่สมรสกับดยุค ตัวอย่าง Meghan is the Duchess of Sussex. เมแกนเป็นดัชเชสแห่งซัสเซกส์ - Duke (n.) /ดยูค/ แปลว่า พระยศล�ำดับสูงสุดในสภาขุนนางของอังกฤษ ตัวอย่าง Prince Harry is the Duke of Sussex. เจ้าชายแฮร์รี่คือดยุคแห่งซัสเซกส์ - tiara (n.) /ทีอาเรอะ/ แปลว่า รัดเกล้า ตัวอย่าง Pick a tiara that matches the dress. เลือกรัดเกล้าอันที่เข้ากับชุด - veil (n.) /เวล/ แปลว่า ผ้าคลุมหน้า ตัวอย่าง This bride is covering her face with a veil. เจ้าสาวคนนี้มีผ้าคลุมหน้าปิดบังใบหน้าเธออยู่ - sixpence (n.) /ซิกซฺเพินซฺ/ แปลว่า เหรียญหกเพ็นนี ตัวอย่าง A sixpence is a coin formerly used in Britain and worth six pennies. เหรียญหกเพ็นนีเป็นเงินที่ใช้ในอดีตในสหราชอาณาจักร มีค่าเท่ากับหกเพ็นนี

อ้างอิง https://www.harpersbazaar.com, https://www.marieclaire.com, https://news.thediamondstore.co.uk, http://www.oxforddictionaries.com, https://praewwedding.com, http://www.weddingsquare.com


ข่าวทหารอากาศ

มุมท่องเทีย่ ว

“ขุนน�ำ้ นางนอน”

กันตา

เพื่อเป็นการสะท้อนมุมมองความคิดของ ประชาชน ถึงเรื่องและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน สังคมไทยตลอดปีพทุ ธศักราช ๒๕๖๑ ซึง่ อยูใ่ นความ สนใจของประชาชน เกีย่ วกับเรือ่ งทีส่ ดุ แห่งปีพทุ ธศักราช ๒๕๖๑ ในด้านต่าง ๆ ท�ำให้เมือ่ วันที่ ๒๒ ธันวาคม ที่ผ่านมา กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัย กรุงเทพ เปิดเผยผลส�ำรวจความคิดเห็นประชาชนเรือ่ ง “ทีส่ ดุ แห่งปี ๒๕๖๑” พบว่า ข่าวในประเทศทีป่ ระชาชน สนใจติดตาม และเกาะติดมากทีส่ ดุ ในรอบปี อันดับแรก

ร้อยละ ๘๗.๔ คือ ข่าวปฏิบตั กิ ารช่วยเหลือ ๑๓ ชีวติ ติดถ�้ำ ที่ถ�้ำหลวง วนอุทยานขุนน�้ำนางนอน อ�ำเภอ แม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยนับเป็นเหตุการณ์ที่ คนไทยทั้งประเทศยังคงร�ำลึกถึงและคงจะลืมได้ยาก ส�ำหรับผูเ้ ขียนก็เช่นกัน เมือ่ ได้ยนิ ข่าวนีย้ งิ่ นับเป็นการ ตอกย�้ำให้ผ้เู ขียนอยากเดินทางไปท่องเทีย่ ว ณ สถาน ทีแ่ ห่งนีส้ กั ครัง้ หนึ่ง เมื่อคิดได้ดังนั้นแล้ววันนี้จึงเป็น โอกาสทีผ่ เู้ ขียนจะพาผูอ้ า่ นทุกท่านไปสถานทีแ่ ห่งร่อง รอยที่ไม่ใช่เพียงประวัติศาสตร์ของไทย แต่นับเป็น

79


80

บรรยากาศและทางเข้าถ�้ำหลวง


ข่าวทหารอากาศ

สระมรกต

ประวัติศาสตร์ของโลกก็ว่าได้ จากที่เราทุกคนได้ร่วมติดตามข่าวสาร การช่วยเหลือ ๑๓ หมูปา่ ในช่วงทีผ่ า่ นมา น่าจะมีหลาย ท่านทีเ่ ข้าใจว่า ถ�ำ้ หลวง วนอุทยานขุนน�ำ้ นางนอนนัน้ อยูใ่ นพืน้ ทีป่ า่ เขาล�ำเนาไพร ห่างไกลจากตัวเมืองอ�ำเภอ แม่สาย และเข้าถึงได้ยาก เช่นเดียวกับทีเ่ ราจะเห็นได้ จากสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วลักษณะนีใ้ นพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ ทีต่ อ้ งขับรถ เข้าป่าไปเป็นระยะทางไกล ๆ ซึ่งผู้เขียนเองทีแรกก็ เข้าใจเป็นแบบนั้นเช่นกัน แต่เมื่อได้มีโอกาสเดินทาง มาจริง ๆ แล้วไม่ใช่เลยสักนิด ถ�้ำหลวง วนอุทยาน

ขุนน�ำ้ นางนอน ตัง้ อยูใ่ นอ�ำเภอแม่สายซึง่ เป็นศูนย์กลาง การค้าชายแดน ไทย - เมียนมา ห่างจากถนนพหลโยธิน ไม่เกิน ๖ กิโลเมตร เป็นย่านที่เป็นที่ตั้งบ้านเรือนของ พี่น้องชาวจังหวัดเชียงราย เรียกได้ว่าอยู่ในเมืองดี ๆ นีเ่ อง บรรยากาศเมือ่ ผูเ้ ขียนเดินทางไปถึงนัน้ ค่อนข้าง คึกคัก เพราะมีเหล่านักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมอย่าง มากมาย ความรู้สึกแรกที่ได้เห็นเทือกเขาแห่งนี้คือ ท�ำไมช่างอุดมสมบูรณ์ เขียวขจี และสูงตระหง่าน ทอดตัวยาวขนานไปกับถนนพหลโยธิน และมีลกั ษณะ เหมือนหญิงสาวนอนหงายราบ มีผมยาวประไปกับ

81


82

พื้นดิน สมนาม “นางนอน” มิผิดเลย ภายใน วนอุทยานขุนน�ำ้ นางนอนนี้ สามารถ แบ่งสถานที่ท่องเที่ยวออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกคือ บริเวณที่เป็นสระมรกต และส่วนที่สองคือ บริเวณที่ เป็นถ�้ำหลวง ระยะทางห่างกันประมาณ ๒ กิโลเมตร ในครัง้ นีผ้ เู้ ขียนได้มงุ่ หน้าไปยังบริเวณทางเข้าถ�ำ้ หลวง สถานที่ แ ห่ ง ประวั ติ ศ าสตร์ แ ต่ เ พี ย งอย่ า งเดี ย ว เมือ่ ขับรถเข้าไปถึงบรรยากาศข้างทางคึกคัก เต็มไปด้วย นักท่องเที่ยวและร้านค้าที่มาตั้งจ�ำหน่ายของขึ้นชื่อ ของจังหวัดเชียงรายตลอดทางทั้ง ไส้อวั่ สตรอเบอรี่ ส้มเขียวหวาน อโวคาโด้ และทีเ่ ป็นเมนูประทับใจของ ผู้เขียน คือ ข้าวงาปิ้ง ปิ้งร้อน ๆ รับประทานตอน อากาศเย็น ๆ ถือได้ว่าเป็นของอร่อยประจ�ำเชียงราย อีกเมนูหนึ่งเลยทีเดียว ข้าวงาปิ้ง ท�ำมาจาก ข้าวเหนียวด�ำซึ่งปลูก ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย น�ำมาต�ำให้ละเอียด ผสมกับ งาขี้ม่อน เอามาท�ำเป็นแผ่นแล้วปิ้งกับไฟ พอสุกแล้ว

โรยด้วยน�้ำตาลทรายแดง มีกลิ่นหอม รสสัมผัส จะเหนียว ๆ กรึบ ๆ หอมข้าวเหนียวด�ำและงาขี้ม่อน รสตัดกับน�้ำตาลทรายแดง วันนั้นผู้เขียนรับประทาน ไป ๓ แผ่น อร่อยเด็ดติดใจจริง ๆ เมือ่ เราจอดรถทีบ่ ริเวณหน้าทางเข้าถ�ำ้ หลวง แล้ว เราจะต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ ๓๐๐ เมตร หรือหากท่านใดทีพ่ าคุณตา คุณยาย ผูส้ งู อายุไปเทีย่ ว ด้วย ทางท้องถิ่นจะมีรถเข็นไว้บริการเพื่อเป็นการ อ�ำนวยความสะดวก รวมถึงมี ม้า ไว้บริการนัง่ ไปจนถึง บริเวณ อาคารอนุสรณ์สถานปฏิบัติการถ�้ำหลวง โดยมี อนุสาวรีย์ “จ่าแซม” ผู้เสียสละ ตั้งตระหง่าน อยู่ด้านหน้า เพื่อเป็นที่ระลึกถึงปฏิบัติการช่วยชีวิต ๑๓ หมูป่า ที่นับเป็นปฏิบัติการที่ทั้งโลกได้ร่วมแรง ลงใจเพื่อให้ทั้ง ๑๓ ชีวิต กลับมาได้ ภายในอาคาร นั้นได้มีการบอกเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ในครั้งนั้น โดยมีจุดเด่นที่ผนังอาคาร ที่ได้น�ำภาพเขียนที่เหล่า ศิลปินได้วาดขึ้นเป็นภาพใหญ่มาท�ำเป็นผนังอาคาร

ข้าวงาปิ้ง


ข่าวทหารอากาศ

อนุเสาวรีย์จ่าแซม

หนึ่ ง ด้ า น พร้ อ มกั บ นิ ท รรศการถาวรที่ บ อกเล่ า เรื่องราวตามล�ำดับเวลาที่เกิดขึ้น แม้ว่าการมาครั้งนี้ผู้เขียนจะไม่ได้มีโอกาส เข้าไปสัมผัสบรรยากาศภายในถ�้ำหลวงเนื่องจากทาง เจ้าหน้าที่วนอุทยานฯ แจ้งว่าปิดถ�้ำเพื่อที่จะท�ำการ จั ด การพื้ น ที่ ด ้ า นในที่ ยั ง เต็ ม ไปด้ ว ยวั ส ดุ อุ ป กรณ์ ช่วยชีวติ ในเหตุการณ์ในครัง้ นัน้ ทีย่ งั คงมีหลงเหลืออยู่ เป็นจ�ำนวนมากก็ตาม แต่ทางวนอุทยานฯ ก็ได้จำ� ลอง ความรู้สึกของการเข้าถ�้ำโดยการจัดสถานที่ที่เป็นถ�้ำ ขนาดย่อม ๆ อยู่ใกล้ กับถ�้ำหลวงไปสัก ๑๐๐ เมตร ให้นักท่องเที่ยวได้ลงไปสัมผัส ระยะทางภายในถ�้ำ ยาวประมาณ ๑๐๐ เมตร หนทางในการเดินค่อนข้าง ล�ำบาก ยิง่ ถ้าเป็นนักท่องเทีย่ วทีม่ ขี นาดตัวท้วมขึน้ ไป จนถึงอ้วนผู้เขียนคิดว่าน่าจะผ่านออกมาได้ยาก แต่อย่างไรก็ตาม ส�ำหรับนักท่องเทีย่ วทีต่ อ้ งการทราบ รายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติการช่วยเหลือชีวิต ๑๓ หมูปา่ ในครัง้ นัน้ ทางวนอุทยานฯ ได้จดั เจ้าหน้าที่

ด้านหน้าอาคารอนุสรณ์สถานปฏิบัติการถ�้ำหลวง

83


84

ผนังภาพวาดฮีโร่เหตุการณ์ด้านในอาคาร

ไว้คอยถ่ายทอดเรื่องราวในครั้งนั้นได้อย่างละเอียด เพราะล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์ทั้งสิ้น ตลอดระยะเวลาที่ ผู ้ เขี ย นอยู ่ ใ นพื้ น ที่ วนอุทยานขุนน�้ำนางนอน หรือแม้แต่กระทั่งในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย สิ่งหนึ่งที่เป็นเรื่องราวดีงามที่ผู้เขียน เห็น และไม่บ่อยนักที่จะได้พบคือ พื้นที่ส่วนบริการ ไม่วา่ จะเป็น ทีจ่ อดรถเอกชน ห้องน�ำ้ ดอกไม้บชู าพระ รถเข็นส�ำหรับคนพิการ ล้วนแล้วแต่ไม่มีการเก็บเงิน ค่าบริการใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เป็นน�้ำใจอันงดงามของ พีน่ อ้ งประชาชนในท้องถิน่ ทีม่ มี อบให้แก่นกั ท่องเทีย่ ว ที่ไปเยือน จากที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับพี่น้องในย่าน วนอุทยานขุนน�ำ้ นางนอนเกีย่ วกับเรือ่ งนี้ ตอบเป็นเสียง เดียวกันว่า

“อยากจะให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วทั้ ง ชาวไทย และชาวต่างชาติ ได้รับความสะดวกสบายขั้นพื้นฐาน เมือ่ เดินทางมาถึง เพราะอย่างน้อยเมือ่ เขามาแสดงว่า เขาเห็นความส�ำคัญของชุมชนของเรา อีกทั้งยังท�ำให้ เรามีรายได้จากการค้าขายพืชผลต่าง ๆ ทีเ่ ราปลูกด้วย ใจ มีเขาเราก็อยู่ได้ เพียงแต่ขอให้ช่วยกันรักษาความ สะอาด เท่านั้นพวกเราคนในท้องถิ่นก็ดีใจแล้ว” นับเป็นสิง่ ทีส่ ร้างความประทับใจให้กบั ผูเ้ ขียน เป็นอย่างมาก สิ่งนี้เกิดขึ้นจากการรู้สึกเป็นเจ้าของ ในผืนดินที่เขาอาศัยอยู่ อันเป็นจุดเริ่มต้นของความ ยัง่ ยืนในแทบจะทุกมิติ รวมถึงการท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืน นับเป็นโมเดลเล็ก ๆ ที่สามารถเป็นแบบอย่างให้แก่ สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ในประเทศไทยได้อีกด้วย


ข่าวทหารอากาศ

เป็นผูร้ ... ู้ เรือ ่ งความตาย ผู ้ เขี ย นได้ อ ่ า นรายงานผลการวิ จั ย จาก ศูนย์วิจัยของธนาคารแห่งหนึ่ง เขาตั้งหัวข้อไว้ว่า " เปิดขุมทองธุรกิจความตาย " เห็นตอนแรกก็ไม่อยาก อ่านเท่าไร เพราะหัวข้ออย่างนี้ เวลาเราตายไปแล้ว

เราก็ไม่อยากรู้อะไรอีก ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดูแล สุขภาพ ยังน่าสนใจหน่อย อ่านแล้วยังรู้ว่าควรจะท�ำ อะไรบ้าง แต่พออ่านไป ๆ ชักสนุก จึงมีการอ่านทบทวน อยากละเอียดอีกรอบหนึ่ง คือเขามองอย่างนักธุรกิจ

85


86

ในด้านการให้บริการ เมื่อมีการตายเกิดขึ้น ธุรกิจนี้มี งานบริการหลายด้านทีเดียว เริ่มตั้งแต่ ธุรกิจการฉีด ฟอร์มาลีน ธุรกิจบริการรถขนศพ ธุรกิจโรงศพ ธุรกิจ การจัดหาศาลาวัด ธุรกิจการจัดดอกไม้ พวงหรีด ธุรกิจ เครื่องสังฆภัณฑ์ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มงานศพ ธุรกิจของที่ระลึกงานศพ ธุรกิจการเก็บอัฐิและลอย อังคาร และธุรกิจถ่ายภาพและวีดีโอ ทั้งหมดนี้ ในประเทศไทยมีมูลค่าในปัจจุบัน ปีละประมาณ หกหมื่นล้านบาท โดยแยกแยะมาให้อย่างละเอียด ถูกแพงตามฐานะของผูต้ าย และนับวันจะแพงขึน้ ๆ อ่านแล้วก็เข้าใจในมุมมองทางธุรกิจ และมั่นใจได้ว่า อีกหน่อยการจองศาลา การจองพระสวดศพ อาจจะ มีเครือข่ายออนไลน์เหมือนจองโรงแรมก็ได้ คิด ๆ ดู เงินตั้งหกหมื่นล้านบาทต่อปี นี่ไม่น้อยเลย แถมคนที่ ต้องจ่ายเงินก็คอื ญาติพนี่ อ้ งของผูต้ าย ไหนจะเศร้าโศก เสียใจเพราะการจากไปของบุคคลอันเป็นทีร่ กั แล้วยัง ต้องเสียเงินอีกมากมายขนาดนี้ เงินหกหมื่นล้านบาท นี่ถ้าสร้างถนน สร้างโรงเรียนก็ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว หยุดท�ำกิจกรรมต่าง ๆ ดังที่กล่าวมากันสักปีสองปี น่าจะดี ผู้เขียนก็คิดสนุก ๆ ไปเรื่อย แล้วก็ถามตัวเอง ว่า ความตายนี่มันไม่มีอะไรดีเลยหรือ ไม่ดีแล้วท�ำไม

ตายกันได้ทุกวัน บางทีแข่งกันไปตายก็มี เช่น การ ประชาสัมพันธ์ในช่วงเทศกาลต่าง ๆ ให้ระมัดระวัง การใช้รถใช้ถนน แล้วก็เอาสถิตกิ ารตายของปีกอ่ น ๆ มาบอกกล่าว แต่สุดท้ายก็ตายมากกว่าเดิมทุกปี จาก ค�ำถามที่ถามตัวเองว่าความตายนี่มันไม่มีอะไรดีเลย หรือ ท�ำให้ผู้เขียนต้องค้นคว้าหาข้อมูล แล้วพบว่า ถ้ามองอย่างธุรกิจก็เป็นเรื่องอย่างที่ศูนย์วิจัยของ ธนาคารเขาบอกมา ใครอยากท�ำธุรกิจด้านนีก้ ต็ อ้ งหา อ่านเอาเอง แต่ถ้ามองในแง่ของชีวิตข้อคิดคุณธรรม จะพบว่าความตายมีคุณค่าที่น่าศึกษาเรียนรู้มากมาย ทีเดียว


ข่าวทหารอากาศ

ผูเ้ ขียนเรียนเชิญให้ทา่ นผูอ้ า่ นตัง้ ใจอ่านเรือ่ ง นี้ให้ดี ๆ เพราะจะเป็นประโยชน์กับท่านมาก เว้นเสีย แต่ว่าท่านมั่นใจว่าท่านจะไม่ตายแน่นอนก็ตามสบาย ท�ำไมต้องตาย.. ความตายนั้นเป็นส่วนหนึ่งในวงรอบชีวิต ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ที่ธรรมชาติพัฒนาขึ้นมาใช้งาน ในการรักษาดุลยภาพของสภาพแวดล้อมในที่ต่าง ๆ ของธรรมชาติ จะเห็นว่าในสถานที่ต่าง ๆ บนโลกใบนี้ มีสงิ่ มีชวี ติ ไม่เหมือนกัน สิง่ มีชวี ติ ทีธ่ รรมชาติพฒ ั นาขึน้ มานี้ มีชีวิตยืนยาวต่างกันไป ตั้งแต่ไม่กี่นาที ชั่วโมง เดียว วันเดียว เดือนเดียว หรือหลาย ๆ วันหลาย ๆ ปี มีทงั้ นัน้ แต่ทงั้ หมดนีต้ อ้ งตายเพือ่ คืนทรัพยากรธรรมชาติ คือ ดิน น�้ำ ลม ไฟ กลับไปให้ธรรมชาติ เพื่อใช้กับ สิง่ มีชวี ติ รุน่ ต่อ ๆ ไป วงรอบชีวติ จึงต้องมีการตายเป็น กิจกรรมปิดท้าย เพื่อให้มีการเกิดชีวิตใหม่ ๆ ขึ้นมา

เป็นวัฏจักร อยู่อย่างนี้ การตายจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยง ไม่ได้ แม้มนุษย์จะพยายามมานานแสนนาน ทีจ่ ะหลีก หนีจากวงรอบนี้ แต่ไม่เคย มีใครหนีได้สักคน เพราะ ธรรมชาตินนั้ มีพลังทีม่ ากมายเกินกว่า ทีใ่ ครจะหนีออก จากวงรอบนี้ไปได้ เมื่อเราหนีออกไปไม่ได้ เราก็ควร จะศึกษาและท�ำความเข้าใจเรื่องนี้ให้ดี ผูเ้ ขียนมัน่ ใจว่าท่านผูอ้ า่ นต้องเรียนหนังสือ จบมาระดับใดระดับหนึ่ง หลายท่านอาจจบระดับ มัธยมศึกษา หลายท่านอาจจะจบปริญญาตรี โท หรือ เอก ถ้าจะถามว่าท่านเรียนในสาขา ที่ท่านต้องการ จนจบมานั้นเพื่ออะไร ค�ำตอบก็คงเป็นว่า เรียนเพื่อ ความเข้าใจในสาขาวิชานั้น ๆ รู้หลักการและทฤษฎี อย่างลึกซึ้ง และน�ำไปปฏิบัติได้เพื่อประกอบอาชีพ ด�ำรงชีวติ ต่อไป ถ้าถามว่าแล้วทุกคนได้ทำ� งานตรงตาม ที่เรียน มาหรือไม่ ค�ำตอบก็คงเป็นว่า บางคนก็ตรง

87


88

บางคนก็ไม่ตรง เช่น หลายคนจบแพทย์มาแต่ไปเป็น นักบิน หลายคนจบโรงเรียนการบินแต่ไปค้าขาย หลายคนจบรัฐศาสตร์แต่ไปท�ำสวน เป็นต้น แม้จะ ท�ำงานไม่ตรงกับ ที่เรียนมา แต่การตั้งใจเรียนจนจบ และเนือ้ หาของวิชาบางวิชาก็เป็นพืน้ ฐาน รวมกับความ สนใจและคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แต่ละคนมี ก็น�ำไป ประกอบอาชีพ หรือท�ำงานอื่น ๆ ได้ แต่มีงานอยู่งาน หนึ่งที่ท่านต้องท�ำแน่นอนโดยที่ท่านไม่ค่อยชอบและ ไม่มีความถนัดเป็นการส่วนตัวด้วย คือท่านต้องเดิน ไปสูค่ วามตาย แล้วท่านศึกษาเรือ่ งนีม้ าระดับไหน ท่าน ได้ วุ ฒิ บั ต รหรื อ ปริ ญ ญาบั ต รอะไรมาบ้ า งหรื อ ยั ง ถ้าท่านยังไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้มาเลย แล้วท่านจะมั่นใจ ได้อย่างไรว่า ท่านจะท�ำงานนีไ้ ด้อย่างดีดว้ ยความเข้าใจ ที่ลึกซึ้ง คงเป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่สุดในชีวิตหากท่าน ไม่ได้ศกึ ษาหาความรูใ้ นงานทีท่ า่ นต้องท�ำแน่ ๆ มาเลย ผู้เขียนได้รวบรวมเรื่องราวพื้นฐานง่าย ๆ ของความตายได้ดังนี้ ๑. การตายนัน้ มีได้ครัง้ เดียว เป็นงานทีไ่ ม่มี โอกาสขอแก้ตัวใหม่ได้เลย แม้จะมีเรื่องเล่า หรือข่าว เกี่ยวกับอภินิหารให้ตื่นเต้นอยู่เสมอ ๆ ว่ามีการตาย แล้วฟื้น แถมมาเล่าเรื่องราวได้เป็นฉาก ๆ แต่ไม่เคยมี ใครพิสูจน์ได้สักทีว่า ตายได้มากกว่าหนึ่งครั้ง ผู้เขียน จึงบอกว่าการตายนั้นมีได้ครั้งเดียวในชีวิต ของอะไร ที่ท�ำได้ครั้งเดียวในชีวิต เราควรจะท�ำให้ดีท่ีสุด และ การตายก็เป็นงานชิน้ สุดท้ายของชีวติ อีกด้วย ท่านไม่มี โอกาสท�ำอย่างอื่นอีกแล้ว ถือว่าเป็นงานทิ้งทวนกัน

เลยล่ ะ ตรงนี้ คื อ แนวคิ ด หลั ก ของเรื่ อ งนี้ นั่ น คื อ การตายเป็นกิจกรรมที่ยิ่งใหญ่ มีคุณค่า น่าภาคภูมิใจ ทีไ่ ด้ทำ� ไม่วา่ เราจะอยู่ ในสถานะหรือสภาวะใด ๆ ก็ตาม ๒. การตายคื อ การหมดเวลาของชี วิ ต ทุกท่านคงเคยเล่นกีฬา หรือ ดูการแข่งขันกีฬากันมา ทุกคน ก่อนหมดเวลาการแข่งขันกีฬานั้น หากผลแพ้ ชนะมันขาดลอยไปแล้วแถมฝ่ายที่เราเชียร์เป็นฝ่าย น�ำอยู่ ทุกอย่างก็จะสบาย ๆ ไม่ตอ้ งลุน้ มาก และเกมส์ ก็จบด้วยชัยชนะแบบเรียบง่าย นักกีฬาและกองเชียร์ มีความสุขทุกคน แต่ถ้าผลการแข่งขันมันสูสีกันมาก พลิกไปพลิกมาทุกนาที เราจะเห็นว่าทั้งนักกีฬา ทั้งกองเชียร์ลุ้นกันตัวโก่งแบบนั่งไม่ติดลืมหายใจกัน เลยล่ะ ตื่นเต้นสุด ๆ ก็ตรงนี้แหละ จนกว่านกหวีด หมดเวลาจะดังขึ้น การตายคือการหมดเวลาของชีวิต ท่านจะเลือกแบบไหนก่อนนกหวีดจะดังขึ้น สิ่งที่เรา พบเห็นอยูเ่ ป็นประจ�ำคือการขอต่อเวลาของชีวติ ด้วย เครื่องมือแพทย์สารพัดชนิด เพราะผลการแข่งขัน ยังไม่ถูกใจนักกีฬาและกองเชียร์ เพราะทุกท่านไม่มี ความรู้พื้นฐานเรื่องการตาย และไม่ได้เตรียมตัวตาย มาเลย จึงฉุกละหุกไปหมด และก็ต้องจบลงด้วยการ หมดเวลาอยู่ดี ท�ำไมไม่เลือกแบบแรก ๓. การตายต้องมีการเตรียมตัวทีด่ ี นักกีฬา ที่ไม่มีการฝึกซ้อม แข่งขันเมื่อไรก็มักจะพบความพ่าย แพ้แน่นอน การฝึกฝน การเตรียมตัวทีด่ มี คี วามส�ำคัญ ส�ำหรับงาน ทุกอาชีพโดยเฉพาะทหารเรา ในยามสงบ จึ ง ต้ อ งมี ก ารฝึ ก ซ้ อ มอยู ่ ต ลอดเวลา การท� ำ งาน


ข่าวทหารอากาศ

ชิ้นสุดท้ายของชีวิตให้ได้ผลดี ก็จ�ำเป็นต้องมีการ ฝึกซ้อมอย่างสม�่ำเสมอเช่นกัน การฝึกเตรียมตัวตาย นั้นประกอบด้วย - การเข้าใจอย่างถูกต้องว่าเราต้องตายและ มีโอกาสตายได้ทกุ วินาทีขา้ งหน้านี้ ดังทีพ่ ระพุทธองค์ ตรัสบอกพระอานนท์วา่ "เธอจงนึกถึงความตายทุกลม หายใจเข้าออก จึงจะถือว่าเธอไม่ประมาท" - จงมีชีวิตอยู่กับปัจจุบันขณะ จัดล�ำดับ ของสิง่ ทีต่ อ้ งท�ำและท�ำสิง่ ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ทันทีและเดีย๋ ว นี้ หากยังมีเวลาก็ท�ำล�ำดับรอง ๆ ลงไป เมื่อต้องตาย

เราก็จะบอกตัวเองว่า พอแล้วท�ำเท่าที่ท�ำได้ ที่เหลือ ช่วยไม่ได้ ไม่มีขอต่อเวลาพิเศษแล้ว - จัดการมรดก ทรัพย์สิน ให้เหมาะสม การตายไม่ได้ก�ำหนดด้วยอายุ ทุกคน มีสิทธิเท่ากัน ในทุก ๆ วินาที การท�ำธุรกรรมต่าง ๆ ให้เรียบร้อยเป็น สิ่งที่ดี การเป็นสมาชิกฌาปนกิจนั้นจ�ำเป็น เมื่อต้อง ตายขึ้นมา คนอื่น ๆ จะได้ไม่ต้องวุ่นวายมาก อย่าให้ เขาเดือดร้อนเพราะเรา หากพอมีมรดกเหลืออยู่บ้าง ก็จัดการแบ่งให้ผู้อยู่ข้างหลังอย่างเหมาะสม บางคน นอนตายตาไม่หลับ บางคนมีผู้มาทุบฝาโลงสาปแช่ง

89


90

จะนอนตายได้แบบสบาย ๆ ต้องเตรียมเรื่องนี้ให้ดี - เตรียมสุขภาพให้พร้อม ความปรารถนา ของทุกคนคือมีอายุยนื แบบช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่เจ็บ ป่วยหรือพิการจนช่วยตัวเองไม่ได้ การที่จะมีโอกาส เช่นนีก้ ต็ อ้ งเอาใจใส่ดแู ลสุขภาพ ทัง้ ร่างกายและจิตใจ อย่างสม�ำ่ เสมอ ไม่มขี องฟรีในชีวติ อยากได้ตอ้ งท�ำเอง และเมือ่ ใกล้หมดอายุไข การตายก็เป็นเรือ่ งทีส่ บาย ๆ ทั้งคนตายและกองเชียร์ ไมต้องเสียดายอะไรเพราะ ก�ำไรมาเยอะแล้ว - จัดการหนี้สินให้เรียบร้อย เราทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย จะมีหนี้สินอย่างน้อย สี่เรื่องติดตัวอยู่ เรื่องแรกคือหนี้ชีวิตที่ติดค้าง พ่อแม่ ไว้ ทุกวันทุกคืน ถ้านึกได้ก็ใช้หนี้ท่านเสียบ้าง ไม่มีอะไรแน่นอนหรอก ว่าเรากับท่านใครจะตายก่อนกัน ใช้หนี้ชีวิตด้วยการ ท�ำความดีให้ท่านชื่นใจ ดูแลท่านเมื่อเจ็บไข้ แก่ ชรา เรือ่ งต่อมาคือ หนีบ้ ญ ุ คุณ ใครท�ำอะไรให้เรา ช่วยเหลือ เรา อย่าลืมนึกถึงคุณของท่าน และทดแทนเมือ่ มีโอกาส แม้แต่ต้นไม้ สัตว์ต่าง ๆ และกองทัพอากาศ ก็มีบุญ คุณกับเราไม่น้อยเลย เรื่องที่สามคือ หนี้ทรัพย์สิน ไปกู้ยืมหรือยืมของใครมาก็หาโอกาสคืนท่านไป อย่าท�ำมึนท�ำลืมเสียง่าย ๆ เรื่องสุดท้ายคือหนี้เวร หนี้กรรม เป็นเรื่องที่ติดค้างในใจแต่ละคน มีโอกาสก็ ใช้กรรมใช้เวรหรืออภัยให้กันเสียให้หมด ก่อนนอน ทุกวันคิดทบทวนเรื่องนี้ให้ดี อย่าติดค้างใคร ท่านจะ นอนหลับอย่างเป็นสุข แม้จะไม่มีพรุ่งนี้อีกแล้ว ก็ไม่เดือดร้อนอะไร ๔. การตายมี ค วามเจ็ บ ปวดด้ ว ยเสมอ เราต้องรู้ต้องเข้าใจในสิ่งนี้ จึงมีค�ำพูดว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย หลายคนอาจโชคดีที่ได้ตายอย่างไม่เจ็บปวด แต่คนส่วนใหญ่ ต้องเจอการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ หรือ ความทุกข์ทรมานมากมายก่อนตาย เราต้องมองเห็น และเข้าใจสิ่งนี้ มีการเตรียมใจ เตรียมสติ ฝึกแยกกาย กับใจออกจากกันให้ได้ เพราะกายนั้นเป็นที่มาของ การเจ็บป่วยทั้งปวง แต่ใจนั้นไม่ได้เจ็บด้วย ใจไม่ได้ เดือดร้อนอะไรเลยกับการที่กายป่วย แต่คนส่วนมาก

กับใจเสียเมื่อเจ็บป่วยและเดือดร้อนใจมากกว่ากาย เสียอีก เลยป่วยทั้งกายทั้งใจ หากเราดูแลใจให้ดี ใจนีแ่ หละคือหมอคนแรกทีจ่ ะรักษากายและเป็นหมอ คนสุดท้ายที่จะตายไปกับกาย จงรักษาใจให้ดี ๆ ๕. การตายคือ การทบทวนความดีครั้ง สุดท้าย หากถามว่าเมื่อท่านหมดแรง หมดก�ำลัง จะตายอยู่แล้ว ท่านจะนึกท่านจะคิดถึงอะไร คนที่มี เรือ่ งต้องห่วงต้องกังวลก็คงวุน่ วายสับสนทุกเรือ่ ง และ คิดว่า ยังไม่น่าจะตายเลย ขอต่อเวลาอีกหน่อยเถอะ เวลาจะตายก็หลับตาไม่สนิท คนที่เตรียมตัวมาอย่าง ดี ปล่อยวางทุกอย่างหมดแล้ว ก็นอนนึกถึงสิ่งดี ๆ ที่ ได้ท�ำมาตลอดชีวิต นึกถึง ทาน ศีล ภาวนา ที่ได้ท�ำมา แล้วคนที่ไม่ได้ท�ำอะไรมาสักอย่างจะเอาอะไรมานึก ตรงนี้แหละความตายจะบอกเราตอนนี้ว่า รีบท�ำเสีย บ้าง แต่บางคนอาจจะท�ำบาปท�ำกรรม คอรัปชั่นมา ตลอด ท่านคงสงบได้ยาก นี่แหละคือคุณค่าของ ความตาย ทีจ่ ะสอนเราว่า จงนึกถึงความตายอยูเ่ สมอ จะได้ละชัว่ ท�ำดี ท�ำจิตใจให้ผอ่ งใส ตัง้ แต่นาทีนี้ เพราะ อาจไม่มีนาทีหน้าให้แก้ตัว แม้ความตายจะเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อยากได้ แต่ทกุ คนต้องได้ การนึกถึงความตายอยูเ่ สมอจึงเป็นการ ไม่ประมาท ท�ำให้เราเตรียมพร้อมอยู่เสมอ มีความ กล้าหาญที่จะเผชิญกับความตาย ภูมิใจ และมีความ สุขกับการได้ท�ำงานชิ้นสุดท้ายของชีวิต สิ่งที่น่ากลัวกว่าความตาย คือ "สิ่งที่ท�ำไว้ ก่อนตาย"


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๑ ขาวทหารอากาศ

พล.อ.อ.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน ผบ.ทอ.พรอมคณะ เขาเยีย่ มคำนับ พล.อ.อาวุโส มีน ออง ไลง ผบ.ทสส.เมียนมา ในโอกาสเยือนสาธารณรัฐแหงสหภาพ เมียนมา ณ บก.ทสส.เมียนมา เมื่อวันที่ ๙ ม.ค.๖๒

พล.อ.อ.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน ผบ.ทอ.พรอมคณะ เขาเยี่ยมคำนับ พล.อ.อ.Yuyu Sutisna เสธ.ทอ.อินโดนิเซีย ในโอกาสเยือนสาธารณรัฐ อินโดนีเซีย เพื่อแนะนำตัวในโอกาสเขารับตำแหนงใหม ณ บก.ทอ. อินโดนีเซีย เมื่อวันที่ ๒๒ ม.ค.๖๒

พล.อ.อ.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน ผบ.ทอ.และคุณพงศอุมา ดิษยะศริน นายกสมาคมแมบา น ทอ.พรอมคณะ ตรวจเยีย่ ม บน.๑ โดยมี น.อ.จักรกฤษณ ธรรมวิชัย ผบ.บน.๑ ใหการตอนรับ ณ หนาหอบังคับการบิน บน.๑ เมื่อวันที่ ๑๕ ม.ค.๖๒

พล.อ.อ.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน ผบ.ทอ.และคุณพงศอุมา ดิษยะศริน นายกสมาคมแมบา น ทอ.พรอมคณะ ตรวจเยีย่ ม บน.๒๑ โดยมี น.อ.วัชรพล นวลเปนใย ผบ.บน.๒๑ ใหการตอนรับ ณ ลานจอดแผนกชางอากาศ บน.๒๑ เมื่อวันที่ ๑๕ ม.ค.๖๒

พล.อ.อ.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน ผบ.ทอ.และคุณพงศอุมา ดิษยะศริน นายกสมาคมแมบา น ทอ.พรอมคณะ ตรวจเยีย่ ม บน.๒๓ โดยมี น.อ.ชนาวีร กลิน่ มาลี ผบ.บน.๒๓ ใหการตอนรับ ณ บน.๒๓ เมือ่ วันที่ ๑๖ ม.ค.๖๒


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๒

คุณพงศอุมา ดิษยะศริน นายกสมาคมแมบาน ทอ.รวมกับ ศบภ.ทอ. มอบสิง่ ของในกิจกรรม "ชวยเหลือผูป ระสบภัยหนาว" ณ รร.บานแมหวาน ต.ปาเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด จว.เชียงใหม เมื่อวันที่ ๑๐ ม.ค.๖๒

พล.อ.อ.ภานุพงศ เสยยงคะ ประธานคณะทีป่ รึกษา ทอ.เปนผูแ ทน ผบ.ทอ. มอบของขวัญปใหมใหแกผปู ฏิบตั ริ าชการในหนวยสนามและชายแดน ประจำป ๖๒ โดยมี ขาราชการ ลูกจาง พนักงานราชการ และทหารกองประจำการ บน.๑ เขารวมในพิธฯี ณ หอง Blue Sky อาคารธูปะเตมีย บน.๑ เมือ่ วันที่ ๓ ม.ค.๖๒

พล.อ.อ.ถาวรวัฒน จันทนาคม ผช.ผบ.ทอ.(กษ.)/ประธานคณะกรรมการ บริหารกิจการแหลงทองเทีย่ วในเขตทหารของ ทอ.ตรวจเยีย่ ม พิพธิ ภัณฑ ทอ. และการบินแหงชาติ เพื่อติดตามความกาวหนาการดำเนินการพัฒนาแหลง ทองเที่ยวในเขตทหารของ ทอ. เมื่อวันที่ ๑๐ ม.ค.๖๒

พล.อ.อ.มานัต วงษวาทย เสธ.ทอ./ผอ.ศอ.ปส.ทอ.พรอมคณะ ตรวจเยีย่ ม ศป.ปส.บน.๒๓ โดยมี น.อ.ชนาวีร กลิน่ มาลี ผบ.บน.๒๓ ใหการตอนรับ ณ ศป.ปส.บน.๒๓ เมื่อวันที่ ๗ ม.ค.๖๒

พล.อ.ท.สุทธิพนั ธุ ตายทอง รอง เสธ.ทอ.(กพ.) เปนประธานการประชุม คณะอนุกรรมการและคณะทำงานดานการพัฒนาคุณภาพการบริหาร จัดการภาครัฐของ ทอ.ครัง้ ที่ ๑/๖๒ ณ หองประชุม ฝสธ.ทอ.๒ เมือ่ วันที่ ๑๕ ม.ค.๖๒

พล.อ.ท.ธรินทร ปุณศรี รอง เสธ.ทอ.(ยก.)/ผอ.ศตส.จชต.ทอ.พรอมคณะ ปฏิบตั ภิ ารกิจในพืน้ ที่ จว.ชายแดนภาคใต โดยมี น.อ.วิทวัส ครองธานินทร เสธ.บน.๕๖ ใหการตอนรับ ณ ลานจอดอากาศยาน บน.๕๖ เมื่อวันที่ ๗ ม.ค.๖๒


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๓ ขาวทหารอากาศ

พล.อ.ท.ภูมใิ จ ชัยพันธุ ผบ.อย.เปนประธานในพิธเี ปดกิจกรรมอบรม ความรูเ รือ่ ง "สถาบันพระมหากษัตริยก บั ประเทศไทย" ใหแกขา ราชการ และทหารกองประจำการ กรม ตอ.รอ.อย.โดยมีวิทยากรจากหลักสูตร จิตอาสา ๙๐๔ เปนวิทยากรบรรยาย ณ กรม ตอ.รอ.อย. เมือ่ วันที่ ๗ ม.ค.๖๒

พล.อ.ท.นฤพล จักรกลม จก.กพ.ทอ.เปนประธานในพิธีเปดการ ปฐมนิเทศและอบรมขาราชการที่ไดรับการบรรจุเขารับราชการเปน ขาราชการชั้นสัญญาบัตรของ ทอ.ประจำปงบประมาณ ๖๒ จำนวน ๑๑๓ คน ณ หองประชุม รร.จอ.ยศ.ทอ. เมื่อวันที่ ๙ ม.ค.๖๒

พล.อ.ท.พงษศกั ดิ์ เสมาชัย จก.กร.ทอ.พรอมคณะ รวมแสดงความยินดี กับหนังสือพิมพมติชน ครบ ๔๑ ป (กาวสูปที่ ๔๒) โดยมี คุณขรรคชัย บุนปาน ประธานกรรมการ บริษทั มติชน จํากัด (มหาชน) ใหการตอนรับ ณ บริษัท มติชน จํากัด (มหาชน) เมื่อวันที่ ๙ ม.ค.๖๒

พล.อ.ท.ชวาลา ราชวงศ จก.ทสส.ทอ.พรอมคณะ ตรวจเยีย่ มสายวิทยาการ ดานเทคโนโลยีสารสนเทศ บน.๑ ประจำป ๒๕๖๒ โดยมี น.อ.จักรกฤษณ ธรรมวิชัย ผบ.บน.๑ ใหการตอนรับ ณ หองประชุม ๑ บก.บน.๑ เมื่อวันที่ ๑๐ ม.ค.๖๒

พล.อ.ท.ภูมิพิชญชากรณ จรรยาวิจักษณ จก.พอ.ใหการตอนรับ พล.อ.ท.ปราโมทย ศิริธรรมกุล จก.กบ.ทอ.พรอมคณะ ตรวจเยี่ยม สายวิทยาการดานสงกำลังบำรุง พอ.ประจำป ๒๕๖๒ ณ หองประชุม พอ.๑ เมื่อวันที่ ๗ ม.ค.๖๒

พล.อ.ท.พัทธนันท นุชพงษ ผบ.รร.นนก.ใหการตอนรับ พล.ต.ณรงค พฤกษารุงเรือง รอง ผบ.รร.จปร.พรอมคณะ ในโอกาสศึกษาดูงาน การประกันคุณภาพการศึกษา ณ หองประชุม บก.รร.นนก. เมื่อวันที่ ๑๔ ม.ค.๖๒


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๔

พล.อ.ต.ภูวเดช สวางแสง จก.จร.ทอ./ประธานกรรมการควบคุมงาน มาตรฐานการบิน ทอ.ตรวจสอบมาตรฐานการบินและประเมินคาหนวยบิน ฝูง.๔๖๑ บน.๔๖ โดยมี น.อ.กฤษณ เกตุรกั ษ ผบ.บน.๔๖ ใหการตอนรับ ณ หองประชุม ๔๐๖ บน.๔๖ เมื่อวันที่ ๗ ม.ค.๖๒

พล.อ.ต.ธาดา เคีย่ มทองคำ จก.กง.ทอ.พรอมคณะ ตรวจเยีย่ มสายวิทยาการ ดานการเงิน อย.ประจำป ๒๕๖๒ โดยมี พล.อ.ต.สมควร รักดี รอง ผบ.อย.(๒) ใหการตอนรับ ณ หองประชุมเจริญจรัมพร อย. เมื่อวันที่ ๘ ม.ค.๖๒

พล.อ.ต.ประสิทธิ์ ยิม้ เจริญ จก.สก.ทอ.ใหการตอนรับ พล.อ.ต.อติชาติ ศิลานันท จก.สบ.ทอ.พรอมคณะ ตรวจเยีย่ มสายวิทยาการดานสารบรรณ สก.ทอ.ประจำป ๒๕๖๒ ณ หองประชุมใหญ สก.ทอ. เมือ่ วันที่ ๑๕ ม.ค.๖๒

พล.อ.ต.เรืองวิทย ศรีนวลนัด จก.ชย.ทอ.พรอมคณะ ตรวจเยีย่ มสายวิทยาการ ดานชางโยธา รร.การบิน ประจำป ๒๕๖๒ โดยมี น.อ.มนัส จันทรแดง รอง ผบ. รร.การบิน ใหการตอนรับ ณ หองประชุม บก.รร.การบิน เมือ่ วันที่ ๒๓ ม.ค.๖๒

พล.อ.ต.ไกรสิงห แกนการ ผบ.ดม.พรอมคณะ ตรวจเยีย่ มสายวิทยาการ ดานสารวัตรทหาร บน.๔๑ ประจำป ๒๕๖๒ โดยมี น.อ.ธรรมศักดิ์ มัน่ ทน รอง.ผบ.บน.๔๑ ใหการตอนรับ ณ หองประชุมกองรอยทหารสารวัตร บน.๔๑ เมือ่ วันที่ ๙ ม.ค.๖๒

พล.อ.ต.สรรพชัย ศิลานิล ผอ.สยฝ.ยก.ทอ./หน.สนง.อาเซียน ทอ. พรอมคณะ ตรวจเยี่ยมสายวิทยาการดานกิจการอาเซียน บน.๗ ประจำป ๒๕๖๒ โดยมี น.อ.ประเสริฐวิษณุ มหาขันธ ผบ.บน.๗ ใหการตอนรับ ณ หองประชุม บน.๗ เมื่อวันที่ ๑๖ ม.ค.๖๒


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๕ ขาวทหารอากาศ

พล.อ.ต.อาทิตย อูว เิ ชียร ผอ.สปม.สง.ปรมน.ทอ.พรอมคณะ ประสานภารกิจ ดานความมัน่ คงกับ กอ.รมน.จว.สกลนคร โดยมี พ.อ.(พิเศษ) ศุภการ บุบพันธ รอง ผอ.กอ.รมน.จว.สกลนคร ฝายทหาร ใหการตอนรับ ณ หองประชุม กอ.รมน. จว.สกลนคร เมื่อวันที่ ๒๒ ม.ค.๖๒

พล.อ.ต.สุวรรณ ขำทอง ผบ.รร.การบิน เปนประธานพิธแี สดงความยินดี ศิษยการบิน รุน น.๑๔๑-๖๐-๒ ในโอกาสสำเร็จหลักสูตรศิษยการบิน ของ รร.การบิน จำนวน ๓๓ คน ณ โรงจอดอากาศยาน รร.การบิน เมื่อวันที่ ๑๐ ม.ค.๖๒

น.อ.จักรกฤษณ ธรรมวิชยั ผบ.บน.๑/ผอ.ศบภ.บน.๑ เตรียมความพรอม จัดตั้งศูนยชวยเหลือผูประสบภัยแลง เพื่อชวยเหลือประชาชนที่อาศัย อยูในพื้นที่ที่มีอากาศรอนจัด แหงแลง และมีระบบสาธารณูปโภค ไมเพียงพอ ณ หนาหอบังคับการบิน บน.๑ เมื่อวันที่ ๑๐ ม.ค.๖๒

น.อ.วสันต บัณฑิตศักดิส์ กุล ผบ.บน.๒ เปนประธานในพิธเี ปดงานวันเด็ก แหงชาติ บน.๒ ประจำป ๒๕๖๒ โดยมี ชมรมแมบา น ทอ.บน.๒ พรอมทัง้ หนวยงานภาครัฐและเอกชนรวมในพิธี ณ บน.๒ เมื่อวันที่ ๑๒ ม.ค.๖๒

น.อ.อานนท จารุสมบัติ ผบ.บน.๔ เปนประธานในพิธีเปดงานวันเด็ก แหงชาติ บน.๔ ประจำป ๒๕๖๒ โดยมี ชมรมแมบาน ทอ.บน.๔ พรอมทั้งหนวยงานภาครัฐและเอกชนรวมในพิธี ณ บน.๔ เมื่อวันที่ ๑๒ ม.ค.๖๒

น.อ.อนิรทุ ธ รัฐพร ผบ.บน.๕ พรอมดวยชมรมแมบา น ทอ.บน.๕ นำขาราชการ บน.๕ พรอมทั้งหนวยงานภาครัฐและเอกชน รวมพิธีเปดงานวันเด็กแหงชาติ ประจำป ๒๕๖๒ โดยมี นายธีรพันธ นันทกิจ รอง ผวจ.ประจวบคีรีขันธ เปนประธานในพิธี ณ ฝูง.๕๐๑ บน.๕ เมื่อวันที่ ๑๒ ม.ค.๖๒


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๖

น.อ.ประเสริฐวิษณุ มหาขันธ ผบ.บน.๗/ผอ.ศบภ.บน.๗ นำถุงยังชีพ มอบใหแกผูประสบอุทกภัยในพื้นที่บานหวยทรัพย ที่ไดรับผลกระทบ จากพายุปาบึก (PABUK) ณ อาคารเอนกประสงค หมูท ่ี ๔ บานหวยทรัพย ต.ลีเล็ด อ.พุนพิน จว.สุราษฎรธานี เมื่อวันที่ ๗ ม.ค.๖๒

น.อ.วัชรพล นวลเปนใย ผบ.บน.๒๑ เปนประธานเปดงานวันเด็ก แหงชาติ บน.๒๑ ประจำป ๒๕๖๒ โดยมี ชมรมแมบาน ทอ.บน.๒๑ พรอมทั้งหนวยงานภาครัฐและเอกชนรวมในพิธี ณ บน.๒๑ เมื่อวันที่ ๑๒ ม.ค.๖๒

น.อ.ชนาวีร กลิน่ มาลี ผบ.บน.๒๓ ตรวจเยีย่ มหนวยบริการประชาชน บน.๒๓ มอบน้ำดืม่ และขอบคุณ จนท.ทีป่ ฏิบตั งิ านในชวงเทศกาลปใหม ณ สถานีบริการเชื้อเพลิงเพื่อสวัสดิการ บน.๒๓ แหงที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒ ม.ค.๖๒

น.อ.สุนทร ผองอำไพ ผบ.บน.๔๑ เปนประธานในพิธีเปดงานวันเด็ก แหงชาติ บน.๔๑ ประจำป ๒๕๖๒ โดยมี ชมรมแมบาน ทอ.บน.๔๑ พรอมทั้งหนวยงานภาครัฐและเอกชนรวมในพิธี ณ บน.๔๑ เมื่อวันที่ ๑๒ ม.ค.๖๒

น.อ.กฤษณ เกตุรักษ ผบ.บน.๔๖ เปนประธานพิธีเปดงานวันเด็ก แหงชาติ บน.๔๖ ประจำป ๒๕๖๒ โดยมี ชมรมแมบาน ทอ.บน.๔๖ พรอมทั้งหนวยงานภาครัฐและเอกชนรวมในพิธี ณ บน.๔๖ เมื่อวันที่ ๑๒ ม.ค.๖๒

น.อ.อติรวิชช ไพจิตร ผบ.บน.๕๖/ผอ.ศบภ.บน.๕๖ ออกชวยเหลือ และมอบน้ำดืม่ ใหแกผปู ระสบภัยในพืน้ ทีศ่ นู ยอพยพวัดทาคุระ และตัดโคน ตนไมที่ลมทับวัดนางเหลาในพื้นที่ ต.คลองรี อ.สทิงพระ จว.สงขลา เมื่อวันที่ ๔ ม.ค.๖๒


ประมวลภาพ งานวันเด็กแหงชาติ


กองทั พ อากาศ ประจํ า ป ๒๕๖๒




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.