วันทีร่ ะลึกกองทัพอากาศ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๒
ยี่สิบเจ็ดมีนาคมอุดมศิลป์ วันที่ระลึกงามละออ ทอ.ไทย พรพระพุทธศาสดาสง่าศรี พรพระสงฆ์สมบูรณ์พูนอุรา พรพระประธานทุกองค์ตรงราศี พรพระแก้วมรกตงามหมดใจ พรพระพุทธชินราชสะอาดศรี พรพระอังคีรสสดขจร พรพระธาตุพนมอุดมฤทธิ์ พรพระศรีศาสดาสง่าครัน พรสักกะเทวราชอ�ำนาจนัก พรทวยเทพเทวฤทธิ์ประสิทธา ยี่สิบเจ็ดมีนาเวียนมาถึง แห่งกองทัพอากาศศรีชาติไทย ขอคุณพระไตรรัตน์จรัสฟ้า โปรดคุ้มครองทัพอากาศชาติลือนาม
ทุกดวงจินต์ส่งพรอมรไสว ต่างส่งใจเพื่อสวัสดิ์วัฒนา พรพระธรรมน�ำชีวีมีวาสนา งามสง่าทัพอากาศของชาติไทย ตรงมาที่ ทอ.ละออไสว สุดวิไลพรพระพุทธโสธร พระศากยมุนีศรีสมร พร้อมพรพระพุทธมหาสุวรรณ พรศักดิ์สิทธิ์พระไสยาสน์พิลาสขวัญ พรอนันต์พระไพรีพินาศนา พรประจักษ์มหาพรหมอุดมค่า ทรงคุณค่าแก่ ทอ.พึงพอใจ ต่างค�ำนึงถึงคุณบุญสดใส ส่งผลให้ไทยเปรมปรีดิ์มีสุขงาม ปวงเทวาทั่วไปในสยาม สง่างามตลอดกาลนิรันดร์เทอญ.
ด้วยความเคารพและศรัทธายิ่ง คณะผู้จัดท�ำหนังสือข่าวทหารอากาศ (น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ประพันธ์)
ข่าวทหารอากาศ
3
๒๗ มีนาคม
“วันทีร่ ะลึกกองทัพอากาศ”
พล.อ.อ.ศักดิ์พินิต พร้อมเทพ
ด้วยตามที่กระทรวงกลาโหมได้จัดการ สั่งเครื่องบินมาใช้ราชการในกองทัพบกนั้น การงาน ในแผนกนี้ก็ได้ด�ำเนินมาโดยเรียบร้อย สมควรจะ ตัง้ เป็นกองบินขึน้ ได้แล้ว เพราะฉะนัน้ ให้ตงั้ กองบินขึน้ มี ห น้ า ที่ แ ละปฏิ บั ติ ก ารตามปรากฏในข้ อ บั ง คั บ ว่าด้วยกองบินลงวันที่ ๒๓ มีนาคมพระพุทธศักราช ๒๔๕๗ นั้นจงทุกประการ กับให้ย้ายและบรรจุ นายทหารดังต่อไปนี้ ๑. นายพันโทพระเฉลิมอากาศ ส�ำรอง ราชการกรมจเรการช่างทหารบก เป็นผู้บังคับการ กองบิน ๒. นายพั น ตรี ห ลวงอาวุ ธ สิ ขิ ก รส� ำ รอง ราชการกรมจเรการช่างทหารบก เป็นผูช้ ว่ ยผูบ้ งั คับการ กองบิน
๓. นายร้อยเอก หลวงทยานพิฆาฏส�ำรอง ราชการกรมจเรการช่างทหารบก เป็นผูช้ ว่ ยผูบ้ งั คับการ กองบิน ข้อความข้างต้นปรากฏอยูใ่ นค�ำสัง่ กระทรวง กลาโหมที่ ๒๙๑/๒๖๘๒๖ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๗ (ค.ศ. ๑๙๑๕ – ขณะนั้นประเทศไทย นับวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่) ถือเป็นการ ตัง้ “กองบินทหารบก” ซึง่ เป็นการเริม่ ลงหลักปักฐาน กิจการบินของไทยตัง้ แต่บดั นัน้ ปัจจุบนั กองทัพอากาศ ถือว่าวันที่ ๒๗ มีนาคมของทุกปี เป็น “วันที่ระลึก กองทั พ อากาศ (Royal Thai Air Force Commemoration Day)” กิจการบินได้พัฒนาก้าวหน้าและเติบโตมา ตามล�ำดับ จากกองบินทหารบก เป็น “กรมอากาศยาน
4
ทหารบก” เมื่ อ วั น ที่ ๑๙ มี น าคม พ.ศ.๒๔๖๑ (ค.ศ.๑๙๑๙) เป็น “กรมอากาศยาน” เมือ่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๔ (ค.ศ.๑๙๒๑) เป็น “กรมทหารอากาศ” ในวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๘ (ค.ศ.๑๙๓๕) และ เป็น “กองทัพอากาศ” ตามพระราชบัญญัตจิ ดั ระเบียบ ราชการกระทรวงกลาโหม ฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๔๗๙ ตราไว้ ณ วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๐ (ค.ศ.๑๙๓๗) ซึง่ กองทัพอากาศถือว่าวันที่ ๙ เมษายนของทุกปี เป็น “วันกองทัพอากาศ (Royal Thai Air Force Day)” จากการที่กองทัพอากาศมีวันส�ำคัญ ๒ วัน คือ “วันที่ระลึกกองทัพอากาศ” และ “วันกองทัพ อากาศ” นั้น ท�ำให้เกิดค�ำถามขึ้นในหมู่ทหารอากาศ ทุกปีวา่ ณ ปีนกี้ องทัพอากาศมีอายุเท่าใด และค�ำตอบ ที่ได้จะมี ๒ แบบ คือถ้าเป็นทหารอากาศ “ยุคเก่า” ก็จะนับจากวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๗ (ค.ศ.๑๙๑๕) มาจนถึงวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๒ (ค.ศ.๒๐๑๙) กองทัพอากาศจะมีอายุครบ ๑๐๔ ปี แต่ถา้ เป็นทหาร อากาศ “ยุคใหม่” จะนับจาก ๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๐ (ค.ศ.๑๙๓๗) จนถึง ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๒ (ค.ศ. ๒๐๑๙) กองทัพอากาศจะมีอายุครบ ๘๒ ปี ท�ำให้เกิด ความสับสนและเข้าใจไม่ตรงกันในหมู่ทหารอากาศ ทั่วไป รวมทั้งบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับกิจการ กองทัพอากาศ จ�ำได้ว่าครั้งหนึ่งกองทัพอากาศเคย
จัดงานฉลอง ๖๖ ปีกองทัพอากาศ โดยใช้สถานทีจ่ ดั งาน คืออาคาร ๘๐ ปีกองทัพอากาศ ซึ่งผู้ได้รับบัตรเชิญ ต่างก็งุนงงว่าพิมพ์ผิดหรือเป็นอย่างไรกันแน่ ต่อมา กองทัพอากาศจึงแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนชื่ออาคาร ๘๐ ปีกองทัพอากาศ เป็นอาคารหอประชุมกองทัพ อากาศ มาจนทุกวันนี้ กองทัพบกและกองทัพเรือนั้น เกิดขึ้นมา นาน อยูค่ เู่ มืองไทยมาแต่โบราณ จนไม่สามารถก�ำหนด ได้ว่าเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด ดังนั้นกองทัพบกจึงเลือก วันทีส่ มเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระท�ำยุทธหัตถี ได้รับชัยชนะ เป็น “วันกองทัพบก” ตรงกับวันที่ ๑๘ มกราคมของทุกปี ส่วนกองทัพเรือเลือกวันทีพ่ ระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสด็จพระราชด�ำเนิน มาทรงเปิดโรงเรียนนายเรือ เป็น “วันกองทัพเรือ” ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๐ พฤศจิกายนของทุกปี แต่กองทัพ อากาศซึง่ เกิดขึน้ ภายหลัง และมีบนั ทึกเกีย่ วกับประวัติ ของกองทัพมาตั้งแต่เริ่มต้น กลับไม่สามารถก�ำหนด วันที่จะนับอายุตนเองได้ ถ้าเราลองพิจารณาถึงความส�ำคัญของ “วั น ที่ ร ะลึ ก กองทั พ อากาศ” จะเห็ น ได้ ว ่ า วั น นี้ นับเป็นการวางรากฐานเริม่ ต้นกิจการบินของไทย และ พัฒนาก้าวหน้าต่อเนือ่ ง เปลีย่ นชือ่ หน่วยมาหลายครัง้ จนมาเป็นกองทัพอากาศในปัจจุบัน เปรียบเทียบกับ
ข่าวทหารอากาศ
ชีวิตมนุษย์ที่มีการเกิด และเจริญเติบโตจากเด็กเป็น ผู้ใหญ่ อาจมีการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุลบ้างตามกาล เวลาทีเ่ ปลีย่ นไป แต่ตวั ตนยังคงเป็นคนเดิมราษฎรไทย เมื่อเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนนามสกุล คงไม่ต้องแจ้งเกิดใหม่ ฉันใดก็ฉันนั้นเมื่อเทียบกับกองทัพอากาศ ส�ำหรับ “วันกองทัพอากาศ” นัน้ มีความ ส�ำคัญเพียงประการเดียว คือเป็นวันทีเ่ ราได้ชอื่ ว่าเป็น “กองทัพอากาศ”ถ้าเราใช้วนั นีเ้ ป็นวันเกิด ในอนาคต ถ้ามีการเปลีย่ นชือ่ เป็น “กองทัพอากาศและอวกาศ” หรือชือ่ อืน่ ๆ คงต้องมีการเปลีย่ นแปลงวันเกิด และ นับอายุกนั ใหม่อยูเ่ รือ่ ย ๆ ไม่รจู้ บ ดังนัน้ กองทัพอากาศ จึงสมควรทีจ่ ะนับอายุตนเองตัง้ แต่วนั ทีไ่ ด้รบั การสถาปนา เป็นกองบินทหารบก คือวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๗ ตามทีท่ หารอากาศยุคเก่า เคยนับติดต่อกันมาหลายปี กองทัพอากาศเคยจัดงานฉลอง “๕๐ ปี ๖๐ ปี/๗๐ ปี/ ๗๒ ปี และ ๘๐ ปี กองทัพอากาศ” เมือ่ พ.ศ.๒๕๐๘, ๒๕๑๘, ๒๕๒๘, ๒๕๓๐ และ ๒๕๓๘ ตามล�ำดับ หลังจากนั้นยังมีการจัดงาน “๙๐ ปี นภานุภาพ” ใน พ.ศ.๒๕๔๗ โดยเลีย่ งค�ำว่า “๙๐ ปี กองทัพอากาศ” และจัดงานเร็วไป ๑ ปี เนื่องจาก นับปีโบราณผิด เมือ่ มีการทักท้วงจึงมีการแก้ไขอย่าง ไม่เป็นทางการว่า “ก้าวสูป่ ที ี่ ๙๐” แทนค�ำว่า “๙๐ ปี” น่าเสียดายทีก่ องทัพอากาศไม่มโี อกาสได้จดั งานฉลอง
5
“๑๐๐ ปี กองทัพอากาศ” ใน พ.ศ.๒๕๕๘ เนือ่ งจาก ได้มีก ารเปลี่ย นแปลงการนับ อายุก องทัพ อากาศ ไปเสียก่อนแล้ว กล่าวถึงตรงนี้อาจจะมีบางคนสงสัยว่า ถ้าอย่างนัน้ ท�ำไมจึงไม่นบั อายุตงั้ แต่เป็น “แผนกการบิน” เสียเลย ตอบได้ว่าแผนกการบินไม่เคยเกิดขึ้น แต่ ค�ำว่า “แผนก” ที่ปรากฏในค�ำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ ๒๙๑/๒๖๘๒๖ ท�ำให้เข้าใจกันไปเองว่าก่อนจะเป็น “กอง” ก็ต้องเป็น “แผนก” มาก่อน แต่ในยุคนั้น ค�ำว่าแผนก น่าจะเป็นค�ำกลาง ๆ ทีไ่ ว้เรียกแทนหน่วย ต่าง ๆ เนือ่ งจากพบเอกสารใน พ.ศ.๒๔๗๘ มีการกล่าว ถึงกรมทหารอากาศว่าแผนกเช่นกัน อนึ่ง ถ้ามีการ ตั้งแผนกการบินขึ้นจริง ย่อมต้องมีผู้บังคับบัญชา ของแผนก ซึง่ จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากหนึง่ ในบุพการี ทหารอากาศทัง้ ๓ ท่าน รับต�ำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนก การบิน แต่จากค�ำสัง่ กระทรวงกลาโหมข้างต้นจะเห็น ว่าทั้ง ๓ ท่าน ด�ำรงต�ำแหน่งส�ำรองราชการกรมจเร การช่างทหารบก ตลอดมาจนกระทัง่ มีการตัง้ กองบิน ทหารบกขึน้ จึงได้รบั ต�ำแหน่งผูบ้ งั คับการกองบิน และ ผู้ช่วยผู้บังคับการกองบิน ถ้าอย่างนั้นประวัติกองทัพอากาศจะไม่ไป ซ�้ำซ้อนกับประวัติการบินทหารบกหรือ ตอบได้ว่า ไม่อีกเช่นกัน ในหนังสือ ๔๐ ปี การบินทหารบก
6
พ.ศ.๒๕๓๙ เขียนไว้ชดั เจนว่ากองบินทหารบกทีเ่ กิดขึน้ เมือ่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๗ นั้น ได้เจริญเติบโตเป็น กองทัพอากาศไปแล้ว ตั้งแต่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๐ จากนั้นกองทัพบกจึงเริ่มกิจการการบินทหารบก อีกครั้งใน พ.ศ.๒๔๙๙ และ “วันการบินทหารบก” ก็มิได้เป็นวันเดียวกับ “วันที่ระลึกกองทัพอากาศ” ตามที่เคยมีผู้กังวลว่าจะซ�้ำซ้อนกัน แต่เป็นวันที่ ๑๔ มิถุนายนของทุกปี เพื่อเป็นการระลึกถึงวีรกรรม ของ ร.ท.ชูชาติ วณีสอน นักบินทหารบกที่สละชีพ เป็นชาติพลี จากการปฏิบตั ภิ ารกิจการบินปราบปราม ผูก้ อ่ การร้ายคอมมิวนิสต์ เมือ่ วันที่ ๑๔ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๕๑๒ แล้วท�ำไมกองทัพอากาศสหรัฐฯ จึงเริ่มนับ อายุของตนตัง้ แต่วนั ทีไ่ ด้ชอื่ ว่าเป็นกองทัพอากาศ คือ วันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๐ ทั้งๆ ที่สหรัฐฯ เริ่มต้นกิจการบินในกองทัพบกมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๐ ค�ำตอบในเรือ่ งนีต้ อ้ งพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่าง กองทั พ บกและกองทั พ อากาศสหรั ฐ ฯ เสี ย ก่ อ น ในประวัตกิ องทัพอากาศสหรัฐฯ ใช้คำ� ว่าต้องต่อสูด้ นิ้ รน (Struggle) เป็นอย่างมากและยาวนาน กว่ากองทัพบก จะยอม “ปล่อย” กองทัพอากาศของกองทัพบก (USAAF – United States Army Air Forces) ออกมาเป็นกองทัพอากาศ (USAF – United States Air Force) ดังนั้นเมื่อได้รับอิสรภาพ กองทัพอากาศ สหรัฐฯ จึงไม่อยากนับญาติกับกองทัพบกสหรัฐฯ อีกต่อไป ซึ่งต่างกันโดยสิ้นเชิงกับของไทยที่กองบิน ทหารบกได้รับการดูแล ทะนุบ�ำรุง และส่งเสริมให้ เติบโตเป็นกองทัพอากาศโดยสมบูรณ์ โดยมิได้มีการ ขัดขวางใด ๆ จากกองทัพบกเลยแม้แต่น้อย ส่วนราชการและบริษัทต่าง ๆ ที่มีก�ำเนิด ในเวลาใกล้เคียงกับกองทัพอากาศ ก็เริ่มนับอายุกัน ตั้งแต่วันที่เริ่มเป็นตัวตน มิใช่วันที่ได้ชื่อส่วนราชการ ยกตัวอย่างเช่นบริษัทไปรษณีย์ไทย จ�ำกัด ที่นับอายุ ตัง้ แต่เริม่ เป็นกรมไปรษณีย์ เมือ่ ๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๒๖ ส่วนการรถไฟแห่งประเทศไทยนัน้ นับประวัตยิ อ้ นไป ถึงวันที่ เริ่ มเดิ น รถไฟระหว่างกรุงเทพฯ – อยุธยา
เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๙ ตั้งแต่ครั้งยังเป็น กรมรถไฟ เช่นเดียวกับกรมประชาสัมพันธ์ ที่เริ่มนับ อายุตั้งแต่เป็นกองโฆษณาการ ตั้งแต่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๖ ข้อพึงพิจารณาอีกประการหนึง่ ก็คอื ถ้าเรา เริ่มนับอายุสิ่งต่าง ๆ กันตั้งแต่วันที่ได้ชื่อนั้น ๆ แทนที่ จะเป็นวันเกิดจริง ๆ อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ลองนึกดูว่า ถ้าเรานับอายุกองทัพอากาศตั้งแต่วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๐ ซึ่งเป็นวันที่ได้ชื่อว่าเป็นกองทัพอากาศ จนถึงปัจจุบันกองทัพอากาศจะมีอายุ ๘๒ ปี ถ้าใช้ หลักการเดียวกันเราก็ต้องนับอายุประเทศไทยตั้งแต่ วันทีไ่ ด้ชอื่ ว่าประเทศไทย คือวันที่ ๒๔ มิถนุ ายน ๒๔๘๒ จนถึงปัจจุบันประเทศไทยก็จะมีอายุ ๘๐ ปี เชื่อว่า คงไม่มีใครยอมรับได้ การเปลีย่ นแปลงการนับอายุกองทัพอากาศ จาก “ยุคเก่า” มาเป็น “ยุคใหม่” นอกจากจะมีผลท�ำให้ กองทัพอากาศดูอ่อนเยาว์ลง ๒๐ กว่าปีแล้ว ยังมี ผลกระทบกับประวัติหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ ด้วย อาทิ กรมช่างอากาศ และกองบิน ๒ ทีเ่ พิง่ จัดงาน ฉลอง ๙๖ ปี และ ๙๙ ปี ไปตามล�ำดับเมือ่ ปีทแี่ ล้ว ในขณะทีก่ องทัพอากาศเพิง่ มีอายุได้ ๘๑ ปี นับเป็น ปรากฏการณ์ “ลูกแก่กว่าแม่” ที่จะเกิดขึ้นทุกปี ตลอดไป นอกจากนัน้ ตลอดหลายปีทผี่ า่ นมา มีหน่วย ขึน้ ตรงกองทัพอากาศหลายหน่วยได้รบั การเปลีย่ นชือ่ และเริม่ สร้างปัญหาในลักษณะทีค่ ล้ายคลึงกัน คือควร จะต้องเปลีย่ นแปลงวันคล้ายวันสถาปนาหน่วยหรือไม่ การมีวันส�ำคัญของกองทัพอากาศ ๒ วัน นั้นไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ควรมีการก�ำหนดให้แน่ชัดว่า จะใช้วันใดเป็นวันเกิด จากที่กล่าวมาทั้งหมดคงเป็น เหตุผลเพียงพอที่เราจะนับอายุของกองทัพอากาศ ตั้งแต่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๗ แทนที่จะนับจากวัน ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๐จนก่อให้เกิดความสับสนอยู่ ในปัจจุบัน กองทัพอากาศจะต้องด�ำรงอยู่คู่ชาติไทย ไปอีกนานแสนนาน วันนีเ้ รามาช่วยกันวางหลักเกณฑ์ ทีถ่ กู ต้องไว้ให้ลกู หลานทหารอากาศของเราในอนาคต น่าจะเป็นการดี
บทบรรณาธิการ สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่เคารพทุกท่าน จากผลกระทบของปัญหาหมอกควันของฝุน่ PM 2.5 ทีเ่ ป็นฝุน่ ละอองขนาดเล็กไม่เกิน ๒.๕ ไมครอน ซึง่ เปรียบเทียบง่าย ๆ ให้เห็นภาพว่ามีขนาดประมาณ ๑ ใน ๒๕ ของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ ท�ำให้อวัยวะฃองมนุษย์ท่ีท�ำหน้าที่ป้องกันในร่างกาย ไม่สามารถกรองได้ท้ังหมด PM 2.5 จึงมีโอกาสเข้าสู่ ระบบทางเดินหายใจและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายจน อาจก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจหรือปัญหาด้านสุขภาพ อืน่ ๆ ตามมา กองทัพอากาศได้รว่ มบรรเทาความเดือดร้อน ของพีน่ อ้ งประชาชน โดยน�ำ บ.BT- 67 จากกองบิน ๔๖ พิษณุโลก เข้าปฏิบตั ภิ ารกิจการบินโปรยละอองน�ำ้ เพือ่ บรรเทาความเดือดร้อนของพีน่ อ้ งประชาชน พร้อมทัง้ จัดชุดแพทย์ออกแจกจ่ายหน้ากากอนามัยและให้ ค�ำแนะน�ำการปฏิบัติตัว อีกทั้งการท�ำความสะอาด พืน้ ทีใ่ นทีต่ งั้ สถานทีท่ ำ� งาน บ้านพักและพืน้ ทีส่ าธารณะ ใกล้เคียง เพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายไปในทางที่ดี อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาในระยะยาวจะต้อง ได้รับความร่วมมือร่วมใจด้วยกันทุกฝ่าย ไม่ว่าจะ เป็นการลดการใช้รถยนต์ดีเซลที่ก่อให้เกิดควันด�ำ การควบคุมการก่อสร้างสิง่ สาธารณะต่าง ๆ หรือลดการใช้ รถยนต์สว่ นบุคคลหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทน ซึ่งจะต้องร่วมกันรณรงค์กันอย่างจริงจัง ส�ำหรับในเดือนมีนาคมยังมีวันส�ำคัญของ กองทัพอากาศ คือ วันที่ ๒๗ มีนาคม ถือเป็น “วันที่ ระลึกกองทัพอากาศ” ซึง่ สืบเนือ่ งมาจากพระด�ำริของ จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์
ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ทีพ่ ระองค์ ทรงเล็งเห็นว่า “...ก�ำลังทางอากาศเป็นโล่อันแท้จริง อย่างเดียว ที่จะกันมิให้สงครามมาถึงท่ามกลาง ประเทศของเราได้ ทั้งเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งในการ คมนาคมเวลาปกติ...” โดยในวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๗ กระทรวงกลาโหมได้ออกค�ำสั่งที่ ๒๙๑/๒๖๘๒๖ ให้ตั้ง “กองบินทหารบก” ขึ้น ตลอดจนทรงริเริ่ม การพัฒนาโดยส่งนายทหารไทยไปศึกษาการบินยัง ต่างประเทศ จนกิจการการบินของประเทศไทยได้ถอื ก�ำเนิดขึ้นและพัฒนาก้าวไกลมาเป็นกองทัพอากาศ จวบจนปัจจุบันนี้ กองทัพอากาศจึงประกาศยกย่อง เทิดทูนพระองค์ท่านเป็น “พระบิดากองทัพอากาศ” คณะผู้จัดท�ำหนังสือข่าวทหารอากาศ ขออัญเชิญ พระรูปของ จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภวู นารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ และ บุพการีทหารอากาศ ทั้ง ๓ ท่านขึ้นเป็นภาพปก เพื่อน้อมร�ำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ อีกวาระหนึ่ง ส�ำหรับเรื่องเด่น ในฉบับ ได้แก่ ผลงาน KM รางวัล Excellent Award เรื่อง การค้นหาและการ เข้าถึงหัวดับเพลิง (Fire Hydrant) โดยใช้ระบบ สารสนเทศภูมศิ าสตร์ GIS 5G อนาคตของการสือ่ สาร ไร้สาย การพัฒนากิจการอวกาศของจีน อินทรียแ์ ดง แผลงฤทธิ์ ตอน ชุดควบคุมการรบ อาวุธลับของก�ำลัง ทางอากาศ รักเด็กผิดกฎหมายพรากผู้เยาว์หรือไม่ นอกจากนี้ ยั ง มี ค อลั ม น์ ป ระจ� ำ ที่ ล ้ ว นน่ า สนใจ อีกมากมาย เชิญพลิกอ่านได้ตามอัธยาศัยครับ
สารบัญ
ปี ที่ ๗๙ ฉบั บ ที่ ๓ เดื อ นมี น าคม ๒๕๖๒
๒ กลอน วันที่ระลึกกองทัพอากาศ - น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ๓ ๒๗ มีนาคม วันที่ระลึกกองทัพอากาศ - พล.อ.อ.ศักดิ์พินิต พร้อมเทพ ๑๐ การค้นหาและการเข้าถึงหัวดับเพลิง Fire Hydrant - ชย.ทอ. ๑๕ การบริหารสถานการณ์วกิ ฤติในระดับยุทธศาสตร์ - นักศึกษา วทอ.รุน่ ที่ ๕๒ ๒๓ ๒ มีนาคม ๒๕๖๒ วันคล้ายวันสถาปนากรมสวัสดิการทหารอากาศ - ปชส.สก.ทอ. ๒๗ การขับเคลือ่ นอาเซียนสูค่ วามยัง่ ยืน - กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ๓๒ รักเด็ก...ผิดกฎหมายพรากผู้เยาว์หรือไม่ - ร.อ.ชานุวัฒน์ แสงสุวรรณ ๓๕ มุมท่องเที่ยว ตอน เชียงแสน - กันตา ๔๐ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย สถานที่ท่องเที่ยวของประเทศฟิลิปปินส์ - @Zilch ๔๑ Red Eagle อินทรีแดงแผลงฤทธิ์ ตอน ชุดควบคุมการรบ อาวุธลับ ของก�ำลังทางอากาศ - น.ต.ภฤศพงศ์ ช้อนแก้ว ๔๖ การพัฒนาโครงการอวกาศของจีน - พล.อ.ต.กมล วัชรเสถียร ๕๑ การวิเคราะห์ปฏิบัติการทางอากาศของยุทธการพายุทะเลทราย - น.อ.ชวินทร์ ศรีวิริยเลิศกุล ๕๗ ฝุ่น PM 2.5 - น.ท.สุรินท์นาท เจริญจิตต์ ๖๓ จักรวาลวิทยา - ร.อ.ศุภภาณุ์ฤกษ์ ไพศาลสุทธิ ๖๗ 5G อนาคตของการสื่อสารไร้สาย - น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์ ๗๒ สวยอันตราย ๑๐ อันดับดอกไม้มีพิษ - ศรีพิงค์ ๗๙ Landslides a new major cause of storm deaths - น.อ.พลวัตร อินทรวิเศษ ๘๓ ธรรมะ ประทีป ตอน วัชชีอปริหานิยธรรม - กอศ.ยศ.ทอ. ๘๔ ทอ.กับแนวทางการเลือกตั้ง ๖๒ - กร.ทอ. ๘๘ ขอบฟ้าคุณธรรม ตอน เป็นผูม้ องเห็นความโชคดีของตนอยูเ่ สมอ - 1261 ๙๑ ในรั้วสีเทา ๙๗ “กองทัพอากาศเคียงข้างประชาชน” - ศบภ.ทอ.
๓
๑๐
๓๕
๔๑
ข่าวทหารอากาศ คณะผูจ้ ดั ท�ำหนังสือข่าวทหารอากาศ เจ้าของ กองทัพอากาศ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ พล.อ.อ.ม.ร.ว.ศิริพงษ์ ทองใหญ่ พล.อ.อ.ธนนิตย์ เนียมทันต์ พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน
พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ พล.อ.อ.อมร แนวมาลี พล.อ.อ.ปอง มณีศิลป์ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง
ที่ปรึกษา พล.อ.อ.ธงชัย แฉล้มเขตร พล.อ.อ.ศักดิ์พินิต พร้อมเทพ พล.อ.ต.สหัสชัย มาระเนตร
พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร พล.อ.ต.หญิง สุมาลี ฤทธิบุตร
ผู้อ�ำนวยการ/บรรณาธิการ พล.อ.ท.พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย
เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ รองผู้อ�ำนวยการ
พล.อ.ต.ทศวรรณ รัตนแก้วกาญจน์ พล.อ.ต.ฐานัตถ์ จันทร์อ�ำไพ น.อ.กรกฎ ทิมไสว น.อ.สมพร แต้พานิช ผู้ช่วยบรรณาธิการ ผู้จัดการ
พล.อ.ต.ตรีพล อ่องไพฑูรย์
ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการ
น.อ.ธรรมรงค์เดช เจริญสุข น.อ.นินาท มูลจนะบาตร์
น.อ.สมพร แต้พานิช น.อ.อภิรัตน์ รังสิมาการ น.ท.สมภพ จันทร์ชูชื่น
ประจ�ำบรรณาธิการ
น.ท.หญิง สุภาวดี โคตรเวียง น.ท.หญิง มุตสิตา มาหะศักดิ์ น.ต.หญิง กรชิชา ด�ำเกิด พ.อ.อ.ธรรมวัฒน์ รัตนวิจารณ์ พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห์ พ.อ.อ.หญิง วาสนา รับสมบัติ น.ส.อุไรวรรณ บุญณรงค์ นางจันทร์สม ค�ำมา น.ส.ณัฐวดี ธ�ำรงวงศ์ถาวร
น.ท.หญิง ณัฐสินี เชื้อนุ่น น.ต.หญิง รัชนก เกิดสุข ร.อ.หญิง กันตา คุ้มจั่น พ.อ.อ.พันธกานต์ พูลผล พ.อ.อ.รักษิต ทองแย้ม จ.อ.หญิง ศุภวัลย์ กระจ่างนฤมลกุล นางประไพ เอี่ยมวุฒิ น.ส.รสสุคนธ์ บุญประเทือง
กองวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์ (เพื่อพลาง) ส�ำนักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรืิอนทหารอากาศ ถนนพหลโยธิน แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑, ๐ ๒๕๓๔ ๔๒๔๑ โทรสาร ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑ ส่งบทความและภาพกิจกรรมได้ที่ rtafmag@gmail.com
หนังสือข่าวทหารอากาศ ความเป็นมา หนังสือข่าวทหารอากาศ เป็นนิตยสารรายเดือนของกองทัพอากาศ เริม่ ด�ำเนินการเมือ่ ปี พ.ศ.๒๔๘๓ ขึน้ กับกรมข่าวทหารอากาศ โดย นาวาอากาศ เอกสกล รสานนท์ เป็นบรรณาธิการคนแรก ด�ำเนินการโดยทุนของข้าราชการ ทหารอากาศ ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๙๘ ได้โอนกิจการมาอยู่ในความอ�ำนวยการของ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ตามค�ำสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๕๘๐/๙๘ ลง ๒๓ ธ.ค. ๒๔๙๘ ๑ ม.ค.๒๕๕๓ ได้เข้าอยู่ในกิจการสวัสดิการกองทัพอากาศ ก�ำกับดูแล โดยคณะอนุกรรมการบริหารวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์กองทัพ อากาศ ตามอนุมัติ ผบ.ทอ./ประธานกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ เมื่อ ๒๘ ธ.ค. ๒๕๕๒ ก�ำหนดให้ใช้ระเบียบคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ ว่าด้วยการ บริหารวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์กองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๕๒ ๑ ม.ค.๒๕๖๑ ได้เข้ามาอยู่ในการก�ำกับดูแลของกรมกิจการพลเรือน ทหารอากาศ ตามค�ำสั่ง ทอ. (เฉพาะ) ที่ ๑๓๖/๖๐ ลง ๒๖ ก.ย.๒๕๖๐
ภารกิจ ด�ำเนินกิจการหนังสือข่าวทหารอากาศ ให้เป็นไปตามนโยบายของผูบ้ ญั ชาการ ทหารอากาศ โดยมีผู้อ�ำนวยการหนังสือข่าวทหารอากาศ (จก.กร.ทอ.) เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในกิจการทั่วไป ๒. เพือ่ แสดงความคิดเห็นด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิง่ แวดล้อม อันจะเป็นประโยชน์ตอ่ ส่วนรวม ๓. เพื่อเผยแพร่กิจการของกองทัพอากาศ
การด�ำเนินงาน ๑. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ใน การพัฒนากองทัพอากาศและส่วนรวม ๒. เนื้อหาที่น�ำมาลงในหนังสือข่าวทหารอากาศ - ต้องไม่ขดั ต่อวัตถุประสงค์/นโยบายของผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ - ต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ บุคคล หรือ ส่วนรวม - ต้องได้รับการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะผู้จัดท�ำหนังสือข่าว ทหารอากาศ
ก�ำหนดการเผยแพร่ นิตยสารรายเดือน
พิมพ์ที่ บริษัท ที.เค.เอส. เทคโนโลยี จ�ำกัด (มหาชน) ๓๐/๘๘ หมู่ ๑ ถ.เจษฎาวิถี ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ๗๔๐๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๗๘๔ ๕๘๘๘ โทรสาร ๐ ๒๗๘๔ ๕๘๕๘
อ่านบทความเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ www.airforcemagazine.rtaf.mi.th และ www.rtaf.mi.th บทความและความคิดเห็นของผู้เขียนในหนังสือฉบับนี้ ไม่มีส่วนผูกพันกับทางราชการแต่ประการใด ภาพบางส่วนในหนังสือ น�ำมาจาก www.google.com ออกแบบปก : น.ส.รสสุคนธ์ บุญประเทือง
10
ผลงานกลุม่ กิจกรรมทีเ่ สริมสร้างกองทัพอากาศ ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ประจ�ำปี ๒๕๖๑ ประเภทเครือ่ งมือ KM
การค้นหาและการเข้าถึงหัวดับเพลิง Fire Hydrant โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมศ ิ าสตร์ GIS
รางวัล Excellent Award กลุ่ม Air Force Rescue Team (ชย.ทอ.) น�ำ้ เป็นปัจจัยส�ำคัญในการแยกองค์ประกอบ ของเพลิง และสามารถดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันแหล่งน�้ำที่ส�ำคัญส�ำหรับการดับเพลิงได้แก่ หัวจ่ายน�้ำดับเพลิง (Fire Hydrant) ในอดีตการเข้าถึงหัวจ่ายน�้ำดับเพลิงอาศัย ประสบการณ์ผู้ปฏิบัติงาน และการสอบถามเจ้าของ สถานทีใ่ กล้เคียง เจ้าหน้าทีด่ บั เพลิงในกองทัพอากาศ จึงมีความพยายามในการจัดท�ำข้อมูลหัวดับเพลิง เพื่อท�ำให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงหัวจ่ายน�้ำดับเพลิง ตามต�ำแหน่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ป้องกันการสูญเสียทัง้ ชีวติ และ ทรัพย์สินจากอัคคีภัย สร้างความมั่นใจในเรื่องความ ปลอดภัยต่อเจ้าหน้าที่ กรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ ลดอัตรา การเสีย่ งต่อการเกิดเหตุอคั คีภยั และเพือ่ สร้างทัศนคติ ทีด่ ตี อ่ ข้าราชการแผนกดับเพลิงอาคาร โดยการปฏิบตั ิ การป้องกันดังกล่าวมีปัญหาในการปฏิบัติงาน คือ ๑. รถดับเพลิงสามารถบรรจุนำ�้ ทีใ่ ช้สำ� หรับ การดับเพลิงได้เพียงจ�ำนวนหนึง่ ซึง่ ไม่เพียงพอต่อการ ดับเพลิง ๒. ไม่ มี ก ารจั ด เก็ บ ข้ อ มู ล ที่ เ ป็ น ระบบ เจ้าหน้าทีจ่ งึ ไม่ทราบข้อมูลทีช่ ดั เจนของต�ำแหน่งทีต่ งั้
ของหัวจ่ายน�้ำดับเพลิง ท�ำให้การเข้าถึงหัวจ่ายน�้ำ ดับเพลิง เป็นไปด้วยความล่าช้า กองดับเพลิงและกูภ้ ยั กรมช่างโยธาทหารอากาศ จึงได้น�ำปัญหาการปฏิบัติ งานดั ง กล่ า วมาแก้ ไขโดยการสร้ า งนวั ต กรรม ในหน่วยงานขึ้น การค้นหาและการเข้าถึงหัวจ่ายน�ำ้ ดับเพลิง โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผู้ด�ำเนินงาน ได้ด�ำเนินการตามขั้นตอนซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ๑. การก�ำหนดแหล่งข้อมูล ๒. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ๓. วิธีการด�ำเนินการวิจัย ๔. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ๑. การก�ำหนดแหล่งข้อมูล การก�ำหนดแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการค้นหา และการเข้ า ถึ ง หั ว จ่ า ยน�้ ำ ดั บ เพลิ ง โดยใช้ ร ะบบ สารสนเทศภูมศิ าสตร์ (GIS) ได้แก่ หัวจ่ายน�ำ้ ดับเพลิง (Fire Hydrant) ของกองทัพอากาศ ณ ทีต่ งั้ ดอนเมือง จ�ำนวนทั้งสิ้น ๓๐๗ หัว ๒. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาและการเข้าถึง หัวจ่ายน�ำ้ ดับเพลิง โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมศิ าสตร์
ข่าวทหารอากาศ
ครัง้ นี้ ได้แก่ แบบส�ำรวจหัวจ่ายน�ำ้ ดับเพลิง และระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ ๓. วิธีด�ำเนินการการวิจัย จากการศึกษาปัญหาการปฏิบตั กิ ารดับเพลิง เมือ่ เกิดเพลิงไหม้ พบว่า รถดับเพลิงสามารถบรรจุนำ�้ ที่ ใช้ ส� ำ หรั บ การดั บ เพลิ ง ได้ เ พี ย งจ� ำ นวนหนึ่ ง ซึ่ ง ไม่เพียงพอต่อการดับเพลิง และไม่มีการจัดเก็บข้อมูล ที่เป็นระบบ เจ้าหน้าที่จึงไม่ทราบข้อมูลที่ชัดเจน ของต�ำแหน่งที่ตั้งของหัวจ่ายน�้ำดับเพลิง ท�ำให้การ เข้าถึงเป็นไปด้วยความล่าช้า ดังนั้นจึงได้น�ำปัญหา เข้าสูก่ ระบวนการแก้ไขปัญหา ด้วยการสร้างนวัตกรรม การค้นหาและการเข้าถึงหัวจ่ายน�้ำดับเพลิงโดยใช้ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งมีวิธีการด�ำเนินการ ตามแผนผังดังต่อไปนี้
บ่งชี้ความรู้ สร้างและแสวงหาความรู้ จัดการความรู้อย่างเป็นระบบ ประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ เข้าถึงความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ เรียนรู้
11
แผนผังการด�ำเนินงานการค้นหา และการ เข้าถึงหัวจ่ายน�ำ้ ดับเพลิง (Fire Hydrant) โดยใช้ระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) ๓.๑ การบ่งชี้ความรู้ วิเคราะห์ปัญหาการปฏิบัติงานโดยการ ประชุมกลุ่ม ซึ่งได้มีการบ่งชี้ความรู้ที่จ�ำเป็นส�ำหรับ การจัดท�ำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และฐานข้อมูล หัวจ่ายน�้ำดับเพลิง ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการแก้ไข ปัญหา จึงจ�ำเป็นต้องเก็บรวบรวมความรู้ ดังต่อไปนี้ พื้นที่ในความรับผิดชอบของกองทัพ อากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมือง เพือ่ ให้ทราบขอบเขตพืน้ ที่ ทีจ่ ะจัดท�ำแผนที่ หัวจ่ายน�ำ้ ดับเพลิง ของกองทัพอากาศ ณ ทีต่ งั้ ดอนเมือง จึ ง มี ค วามจ� ำ เป็ น ต้ อ งรวบรวมข้ อ มู ล ขอบเขต ความรับผิดชอบ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลหัวจ่ายน�้ำ ดับเพลิง (Fire Hydrant) ซึง่ จ�ำเป็นต้องมีขอ้ มูลในการ จัดท�ำแผนที่และฐานข้อมูล ดังนี้ - ประเภทของหัวจ่ายน�้ำดับเพลิง - การก�ำหนดหมายเลขประจ�ำหัวจ่ายน�้ำ ดับเพลิง - สภาพของหัวจ่ายน�้ำดับเพลิง - หน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบหัวจ่ายน�ำ้ ดับเพลิง - ค่าแรงดันน�้ำหัวจ่ายน�้ำดับเพลิง - พิกดั GIS ทีป่ ระกอบไปด้วยค่า Latitude และ Longitude ของต�ำแหน่งหัวจ่ายน�้ำดับเพลิง ความรู ้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ข้ อ มู ล ระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) - ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อจัดท�ำ แผนที่ดิจิทัลของหัวจ่ายน�้ำดับเพลิง - ระบบจัดการฐานข้อมูล ทีใ่ ช้บนั ทึกข้อมูล สถานภาพหัวจ่ายน�้ำดับเพลิง
12
๓.๒ การสร้างและแสวงหาความรู้ มีการสร้างและแสวงหาความรู้ โดยด�ำเนินการ เก็บรวบรวมองค์ความรู้ ทั้งที่เป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้ พื้นที่ในความรับผิดชอบของกองทัพ อากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมือง ที่ตั้งดอนเมือง มีการรวบรวมจากแผนผัง บริเวณทีเ่ ป็นแบบรูปของกองวิทยาการ กรมช่างโยธา ทหารอากาศ และแผนที่พื้นที่รับผิดชอบที่กองแผนที่ และที่ดิน ส�ำนักนโยบายและแผน กรมส่งก�ำลังบ�ำรุง ทหารอากาศ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลหัวจ่ายน�้ำ ดับเพลิง ความรู ้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ข้ อ มู ล หั ว จ่ า ยน�้ ำ ดับเพลิง ได้มีการรวบรวมจากหลายแหล่ง ดังต่อไปนี้ - สอบถามหรือสัมภาษณ์จากเจ้าหน้าที่ ดับเพลิงและกู้ภัยอาวุโสที่มีความรู้ ความสามารถ และความช�ำนาญ ในการใช้งานและระบุต�ำแหน่ง หัวจ่ายน�้ำดับเพลิง - รวบรวมจากระเบียบ ค�ำสั่งของกองทัพ อากาศ และกรมช่างโยธาทหารอากาศ ทีเ่ กีย่ วข้องกับ หัวจ่ายน�้ำดับเพลิง - รวบรวมข้อมูลของหัวจ่ายน�้ำดับเพลิง จากมาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย - รวบรวมจากมาตรฐาน NFPA (National Fire Protection Association) ทีเ่ กีย่ วข้องกับหัวจ่ายน�ำ้ ดับเพลิง
- รวบรวมข้อมูลต�ำแหน่งหัวจ่ายน�ำ้ ดับเพลิง ใช้วิธีส�ำรวจเพื่อหาพิกัด Latitude และ Longitude โดยใช้แอปพลิเคชันจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มี GPS - รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่จ�ำเป็นของ หั ว จ่ า ยน�้ ำ ดั บ เพลิ ง โดยการ Brain Storming ของกลุ่มและผู้เชี่ยวชาญ ความรู ้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ข้ อ มู ล ระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มี ก ารรวบรวมข้ อ มู ล ระบบสารสนเทศ ภูมศิ าสตร์ จากเว็บไซต์และหนังสือทีเ่ กีย่ วข้องกับระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ และมีการสอบถามผู้ที่มีความ เชี่ยวชาญในด้านดังกล่าว ได้แก่ กรมแผนที่ทหาร และกรมควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ ส่วนในด้านของระบบจัดการฐานข้อมูล เพื่ อ ท� ำ หน้ า ที่ จั ด เก็ บ ข้ อ มู ล หั ว จ่ า ยน�้ ำ ดั บ เพลิ ง อย่างเป็นระบบ มีการรวบรวมจากเว็บไซต์ทเี่ กีย่ วข้อง และสอบถามไปยั ง ผู ้ เชี่ ย วชาญของกรมสื่ อ สาร อิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ ๓.๓ การจัดความรู้อย่างเป็นระบบ มีการน�ำความรูท้ ไี่ ด้จากการแสวงหาความรู้ มาจัดการอย่างเป็นระบบ ท�ำให้ได้ข้อมูลในหัวข้อ ต่อไปนี้ พื้นที่ในความรับผิดชอบของกองทัพ อากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมือง ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลหัวจ่ายน�้ำ ดับเพลิง (Fire Hydrant) ความรู ้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ข้ อ มู ล ระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ๓.๔ การประมวลผลและกลัน่ กรองความรู้ เพือ่ ให้ความรูเ้ ป็นไปด้วยความถูกต้อง และ แม่นย�ำ จึงได้มีการตรวจสอบและกลั่นกรองความรู้ โดยวิธีดังต่อไปนี้ การสอบทานความถูกต้องของพิกัด หัวจ่ายน�้ำดับเพลิง หลั ง จากการท� ำ แผนที่ ดิ จิ ทั ล บนระบบ สารสนเทศภูมศิ าสตร์ ได้มกี ารตรวจสอบความถูกต้อง
ข่าวทหารอากาศ
ของต�ำแหน่งหัวจ่ายน�้ำดับเพลิง โดยส่งเจ้าหน้าที่ ไปท�ำการตรวจสอบต�ำแหน่งจาก Google Map อีกครั้งว่ามีความคลาดเคลื่อนหรือไม่ ซึ่งถ้ามีความ คลาดเคลื่อนจะมีการแก้ไขและปรับปรุงให้ถูกต้อง ตามที่ได้ตรวจสอบ การใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยการจ�ำลองสถานการณ์การเกิดเพลิงไหม้ มีการจ�ำลองสถานการณ์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ ดับเพลิงและกู้ภัยไปยังหัวจ่ายน�้ำดับเพลิง ที่ใกล้ที่สุด ของอาคารทีก่ ำ� หนด ซึง่ มีการสุม่ อาคารทัง้ หมดจ�ำนวน ๑๕ อาคาร โดยแบ่งเป็นเขตพืน้ ทีล่ ะ ๓ อาคาร จ�ำนวน ๕ เขตพืน้ ที่ ให้ครอบคลุมเขตความรับผิดชอบทัง้ หมด ของกองทัพอากาศ ผลปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ดับเพลิง และกู้ภัยสามารถไปยังต�ำแหน่งหัวจ่ายน�้ำดับเพลิง ที่ใกล้ที่สุดได้อย่างถูกต้อง โดยใช้งาน Google Map ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มี GPS ทัง้ นีจ้ ากการจ�ำลองสถานการณ์ได้เก็บบันทึก ข้อมูลความคลาดเคลื่อนของต�ำแหน่งหัวจ่ายน�้ำ ดับเพลิง ผลปรากฏว่า มีค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน ๑ เมตร เมือ่ เทียบกับต�ำแหน่งบนแผนทีแ่ ละต�ำแหน่ง จริง ซึ่งเป็นค่าที่ยอมรับได้ในทางปฏิบัติ ๓.๕ การเข้าถึงความรู้ การเข้าถึงความรูร้ ะบบสารสนเทศภูมศิ าสตร์ หัวจ่ายน�ำ้ ดับเพลิง เพือ่ ให้เจ้าหน้าทีด่ บั เพลิงและกูภ้ ยั ทุกคนสามารถได้รับรู้และเข้าถึงความรู้ได้เหมือนกัน ทั่วทั้งองค์กร จึงได้ด�ำเนินการให้มีการเข้าถึงความรู้ ๒ วิธีดังนี้ วิธีท่ี ๑ สร้างระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ของหัวจ่ายน�้ำดับเพลิง โดยเจ้าหน้าที่ดับเพลิง และ กูภ้ ยั ทุกคนสามารถใช้งานได้โดยง่าย จากการดาวน์โหลด ไปติดตั้งบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือใช้งานเว็บไซต์ จากเครือ่ งคอมพิวเตอร์ได้ทกุ ทีท่ กุ เวลา ผ่านโปรแกรม Google Map ซึ่งผู้ใช้งานต้องมีบัญชีผู้ใช้ของ Gmail และได้รับการอนุญาตให้เข้าถึงแผนที่หัวจ่ายน�้ำ ดับเพลิง ของกองทัพอากาศ จากผูด้ แู ลระบบทีร่ บั ผิดชอบ
13
วิธีที่ ๒ จัดท�ำเป็นคูม่ อื ในรูปแบบเอกสาร รวมทัง้ พิมพ์แผนทีข่ นาดใหญ่ แจกจ่ายให้กบั แผนกปฏิบตั ิ การ คือ แผนกดับเพลิงอาคาร แผนกดับเพลิงอากาศยาน และแผนกดับเพลิงกู้ภัย ของกองดับเพลิงและกู้ภัย เพือ่ ให้สามารถใช้งานและเรียนรูไ้ ด้ตลอดเวลา ๓.๖ การแลกเปลี่ยนความรู้ มีการแลกเปลีย่ นความรู้ ด้วยวิธกี ารต่าง ๆ ดังนี้ อบรมให้ความรู้ มีการจัดอบรม ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบ สารสนเทศภู มิ ศ าสตร์ ของหั ว จ่ า ยน�้ ำ ดั บ เพลิ ง แก่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงและกู้ภัย และเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่ตั้งดอนเมืองและต่างจังหวัด โดย เจ้ า หน้ า ที่ ดั บ เพลิ ง และกู ้ ภั ย ที่ มี ค วามช� ำ นาญ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และปรับปรุงองค์ความรู้ ให้มีความถูกต้องและทันสมัยตลอดเวลา การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่าง แผนกปฏิบัติการ หลังมีการใช้งานระบบสารสนเทศภูมศิ าสตร์ หัวจ่ายน�้ำดับเพลิง เพื่อเข้าถึงหัวจ่ายน�้ำดับเพลิง ได้มกี ารประชุมแลกเปลีย่ นประสบการณ์ในการใช้งาน เพือ่ พัฒนาระบบให้สามารถตอบสนองกับความต้องการ ในด้านการดับเพลิงและกู้ภัย ท�ำให้ได้ข้อคิดเห็น และข้อแนะน�ำที่หลากหลาย ๓.๗ การเรียนรู ้ ในอดีตการเข้าถึงหัวจ่ายน�้ำดับเพลิง จะใช้ การจดจ�ำของเจ้าหน้าที่ ภายหลังจากที่มีการเปลี่ยน มาใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หัวจ่ายน�้ำดับเพลิง ท�ำให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงหัวจ่ายน�้ำดับเพลิง ตามต�ำแหน่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง นอกจากนั้นยังสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ เพื่อจัดท�ำแผนดับเพลิงของกองทัพอากาศซึ่งระบุ ต�ำแหน่งอาคาร เส้นทางฉุกเฉินขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ (Emergency Access Road) แหล่งน�ำ้ ตามธรรมชาติ ต�ำแหน่งหัวรับน�้ำดับเพลิง (Fire Department Connection) และข้อมูลอืน่ ทีจ่ ำ� เป็น ซึง่ จะท�ำให้การ ปฏิบัติการดับเพลิงเกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น ท�ำให้
14
การอบรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ให้เจ้าหน้าที่ ดับเพลิงและกู้ภัย
เกิ ด บรรยากาศการเรี ย นรู ้ อ ย่ า งเป็ น รู ป ธรรม ของกองดับเพลิงและกู้ภัย นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงและกู้ภัย ณ ที่ตั้งกองบินต่างจังหวัด ยังมีการน�ำต้นแบบระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ที่จัดท�ำขึ้น ไปประยุกต์เพื่อ จัดท�ำแผนที่หัวจ่ายน�้ำดับเพลิง บนระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ของกองบินต่าง ๆ เนื่องจากการฝึกอบรม ท�ำให้เจ้าหน้าทีม่ คี วามรู้ ความเข้าใจในการใช้งานระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นอย่างดี ในด้านการซ่อมบ�ำรุง กองประปา และ สุขาภิบาลยังสามารถก�ำหนดต�ำแหน่งในการซ่อมแซม หัวจ่ายน�ำ้ ดับเพลิงทีช่ ำ� รุดได้อย่างถูกต้อง และสามารถ วางแผนการซ่อมบ�ำรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิง่ ขึน้ มีการน�ำข้อมูลการค้นหาและการเข้าถึง หัวจ่ายน�ำ้ ดับเพลิง โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมศิ าสตร์ ไปใช้ ใ ห้ เ กิ ด การเรี ย นรู ้ แ ละประสบการณ์ ใ หม่ ๆ น�ำความรู้ที่ได้ไปหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง โดยการน�ำ ไปเผยแพร่ให้กับเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและกู้ภัย ณ ที่ตั้ง กองบินต่างจังหวัด เพือ่ ให้เจ้าหน้าทีม่ คี วามรู้ ความเข้าใจ ในการใช้งานระบบสารสนเทศภูมศิ าสตร์ และสามารถ จัดท�ำแผนที่หัวจ่ายน�้ำดับเพลิงบนระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ของกองบินต่าง ๆ ทั้งนี้จะท�ำให้เจ้าหน้าที่ สามารถเข้าถึงหัวจ่ายน�้ำดับเพลิง ตามต�ำแหน่ง ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง นอกจากนี้ยังสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ ระบบสารสนเทศเพื่อจัดท�ำแผนดับเพลิงของกองทัพ อากาศซึ่ ง ระบุ ต� ำ แหน่ ง อาคาร เส้ น ทางฉุ ก เฉิ น ขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ (Emergency Access Road)
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างแผนกปฏิบัติการ
แหล่งน�้ำตามธรรมชาติ ต�ำแหน่งหัวรับน�้ำดับเพลิง (Fire Department Connection) และข้อมูลอื่น ที่ จ� ำ เป็ น ซึ่ ง จะท� ำ ให้ ก ารปฏิ บั ติ ก ารดั บ เพลิ ง เกิ ด ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเกิดบรรยากาศ การเรียนรูอ้ ย่างเป็นรูปธรรมของกองดับเพลิงและกูภ้ ยั ๔. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิ ติ ที่ ใช้ ใ นการวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล ได้ แ ก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย สรุปผลการปฏิบัติงานพบว่า การค้นหา และการเข้าถึงหัวจ่ายน�้ำดับเพลิง โดยใช้ระบบ สารสนเทศภูมศิ าสตร์ สามารถช่วยแก้ปญ ั หาทีเ่ กิดขึน้ ในหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยท�ำให้มี ฐานข้อมูลทีค่ รบถ้วนและทันสมัย มีระบบสารสนเทศ ภู มิ ศ าสตร์ (GIS) ส� ำ หรั บ หั ว จ่ า ยน�้ ำ ดั บ เพลิ ง เกิดความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน โดยสามารถ ลดระยะเวลาการเข้าถึงหัวจ่ายน�้ำดับเพลิงได้เฉลี่ย ร้อยละ ๔๘.๓๔ และเกิดความแม่นย�ำในการเข้าถึง หัวจ่ายน�้ำดับเพลิง อีกทั้งยังสามารถน�ำนวัตกรรม ดังกล่าวไปขยายผลให้แก่หน่วยงานอืน่ ๆ เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพด้านการดับเพลิงและกู้ภัย
ข่าวทหารอากาศ
15
Strategic Crisis Management การบริหารสถานการณ์วก ิ ฤติ ในระดับยุทธศาสตร์ พ.อ.หญิง อมรรัษฏ์ บุนนาค นักศึกษา วทอ. รุ่นที่ ๕๒
“เนือ่ งจากมีการเปลีย่ นแปลงเกิดขึน้ ตลอด เวลาจากสภาพปัจจุบันไปเป็นสภาพแห่งอนาคต จึงต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) : จัดการเปลี่ยนสิ่งที่เปลี่ยนได้ การบริหารความเสีย่ ง (Risk Management) : จัดการ กับสิ่งที่คาดเดาได้ยาก และการบริหารสถานการณ์ วิกฤติ (Crisis Management) : จัดการกับวิกฤติ ที่เกิดขึ้นให้คลี่คลายกลับสู่สภาพปกติ” โดยทัว่ ไปรัฐบาลจะน�ำกองทัพมาใช้เมือ่ เกิด สถานการณ์วิกฤติร่วมกับเครื่องมือก�ำลังอ�ำนาจ แห่งชาติด้านอื่น ๆ ดังนั้นกองทัพจึงต้องเตรียมเสนอ
หนทางปฏิบัติทางทหารให้กับผู้น�ำประเทศ อย่างไร ก็ดีสถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้นในปัจจุบันค่อนข้าง หลากหลาย มีขนาดทีแ่ ตกต่างกันไป คาดการณ์ได้ยาก และมีผลกระทบในวงกว้างต่อองค์กรในประเทศ และ ระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นความท้าทายที่รัฐบาล ต้องปรับบทบาทให้สามารถสนองตอบต่อความต้องการ ของประชาชนได้ทันท่วงที รวมถึงสามารถให้ข้อมูล ต่อสื่อต่าง ๆ ได้อย่างโปร่งใสและเหมาะสม ดังนั้น กองทัพจึงต้องเตรียมความพร้อมด้านการบริหาร สถานการณ์วิกฤติในระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Crisis Management, SCM) เพื่อสนองตอบภารกิจ
16
ของรัฐบาลได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ ในทุกระยะตั้งแต่ระยะก่อนเกิดสถานการณ์วิกฤติ (Pre-crisis) ระยะตอบโต้ (Response) ระยะฟื้นฟู (Recovery) และระยะหลั ง สถานการณ์ วิ ก ฤติ (Post-crisis) วิทยาลัยการทัพอากาศ กรมยุทธศึกษา ทหารอากาศ ได้จดั การฝึกการบริหารสถานการณ์วกิ ฤติ ในระดับยุทธศาสตร์ให้แก่นักศึกษาวิทยาลัยการทัพ อากาศมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการปรับเปลี่ยน สถานการณ์และสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับบริบท ในปัจจุบัน การฝึกมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษา น�ำความรู้ที่ได้รับตลอดปีการศึกษามาบูรณาการและ ประยุกต์ใช้เพื่อฝึกทักษะการท�ำงานเป็นทีม การจัด ล�ำดับความเร่งด่วนของสถานการณ์อย่างมีหลักการ และเหตุผล ท้ายที่สุดนักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ ศิลปะการยุทธ์ และออกแบบการปฏิบัติการยุทธ์ (Operational Art and Operational Design) ในฐานะผูบ้ งั คับบัญชาและฝ่ายอ�ำนวยการระดับสูงได้ บทความนี้จะน�ำเสนอการฝึกการบริหาร สถานการณ์วิกฤติในระดับยุทธศาสตร์ซึ่งผู้เขียน มีประสบการณ์ตรงจากเข้าร่วมการฝึกฯ ในฐานะ นักศึกษาวิทยาลัยการทัพอากาศรุน่ ที่ ๕๒ (SCM-52 ) การฝึกในครัง้ นีม้ บี ริบทเฉพาะทีส่ ำ� คัญซึง่ สามารถเก็บ รวบรวมข้อมูลสถานการณ์และแนวทางการแก้ไข สถานการณ์วิกฤติซึ่งมีความแตกต่างกันในวิธีการ หากแต่ มุ ่ ง สู ่ เ ป้ า หมายเดี ย วกั น ไว้ ใ นรู ป แบบของ “คลังความรูแ้ ห่งสถานการณ์วกิ ฤติทกี่ องทัพพร้อมรับมือ” โดยจะเสนอในมุมมองเกี่ยวกับหลักการและแนวทาง การฝึก ความทันสมัยและสอดคล้องในเชิงยุทธศาสตร์ ลั ก ษณะและบรรยากาศในการฝึ ก จุ ด เด่ น ของ สถานการณ์การฝึก และประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึก และเพือ่ ให้มองภาพของการฝึกในลักษณะของมาตรฐาน การฝึก ผูเ้ ขียนได้เทียบเคียงหลักการและแนวทางการ ฝึก กับการฝึกซึ่งผู้เขียนมีประสบการณ์ในหลักสูตร การบริหารจัดการในภาวะวิกฤติ (Comprehensive
Crisis Management, CCM-17) ณ ศูนย์เอเซียแปซิฟกิ เพื่อการศึกษาด้านความมั่นคง แดเนียลเคอีนูเอ (Daniel K. Inouye Asia Center for Security Studies) ณ เมือง Honolulu มลรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา หลักการและแนวทางการฝึก ในภาพกว้างการฝึกการบริหารสถานการณ์ วิกฤติในระดับยุทธศาสตร์ เป็นเรื่องที่ทุกประเทศ ทั่วโลกให้ความสนใจและเตรียมความพร้อมร่วมกัน ในด้านการระดมสรรพก�ำลัง ทรัพยากร ความรู้ ความสามารถของบุคลากร เพือ่ ให้สามารถแลกเปลีย่ น ทรัพยากรระหว่างองค์กรได้อย่างประสานสอดคล้อง และมีประสิทธิภาพเมือ่ เกิดสถานการณ์วกิ ฤติในท�ำนอง เดียวกัน การฝึก SCM-52 ที่จัดโดย วทอ.ยศ.ทอ. มีความท้าทายในเรือ่ งของการบริหารจัดการในภาพรวม ทีค่ ล้ายกับการน�ำภาพย่อย ๆ (Jigsaw) มาต่อกัน เมื่อเกิดสภาวะวิกฤติ การมีข้อมูลของหน่วยงาน ทีเ่ กีย่ วข้อง รวมถึงภารกิจ อ�ำนาจหน้าที่ และศักยภาพ ของหน่วยงานต่าง ๆ ดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ตอ่ การ ตัดสินใจในเวลาที่จ�ำกัดอย่างยิ่งยวด การฝึก SCM ที่จัดโดย วทอ.เป็นการเตรียมความพร้อมให้ก�ำลังพล ในระดับผูบ้ ริหารของกองทัพ สามารถบริหารความร่วมมือ กับหน่วยงานต่าง ๆ ทัง้ ภายในและภายนอกกระทรวง กลาโหมได้อย่างรวดเร็ว รูร้ บั สถานการณ์ทไี่ ม่สามารถ คาดการณ์ได้ มีผลกระทบในวงกว้างมากกว่าการสูร้ บ กระตุ้นให้ผู้ฝึกสามารถมองเห็นภาพสถานการณ์ โดยรวมที่มีขนาดผลกระทบที่ใหญ่และกว้างกว่า รวมถึงมีความท้าทายมากขึ้น ในฐานะผู ้ รั บ การฝึ ก พบว่ า หลั ก การ การบริ ห ารสถานการณ์ ใ นภาวะวิ ก ฤติ ใ นระดั บ ยุทธศาสตร์ ได้ถกู สอดแทรกในเนือ้ หาตัง้ แต่เริม่ เข้ารับ การศึกษาในวิทยาลัยการทัพอากาศ ที่ส�ำคัญ ได้แก่ หลักทฤษฎีความซับซ้อน และความร่วมมือ ความคิด เชิ ง วิ พ ากษ์ (Critical Thinking) การสื่ อ สาร เชิงยุทธศาสตร์ภาวะผู้น�ำในภาวะวิกฤติสถานการณ์
ข่าวทหารอากาศ
วิกฤติด้านต่างๆ (ภัยจากการสู้รบ ภัยธรรมชาติ ภัยจากโรคระบาด ภัยทางเศรษฐกิจ ฯลฯ) และทีส่ ำ� คัญ และเป็นหัวใจในการแก้ปัญหาคือหลักยุทธศิลป์ (Operational Art) และการวางแผนการยุ ท ธ์ (Operational Design)
17
เพื่อลดความรุนแรงของสถานการณ์หรือช่วยให้ สถานการณ์คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ระยะของเหตุการณ์วกิ ฤติสามารถแบ่งเป็น ๓ ระยะ ที่ส�ำคัญ ได้แก่ ระยะที่ ๑ ระยะก่อนเกิดเหตุการณ์ : กองทัพ ต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากข้อมูลในอดีตที่ได้ รวบรวมไว้ โดยน�ำมาวางแผนเพือ่ รับมือกับภาวะวิกฤติ ในบริบทต่าง ๆ เช่น อัคคีภยั วาตภัย อุทกภัย และภัย จากการสู้รบ จากนั้นฝึกทดสอบแผนและวิธีปฏิบัติ ตรวจสอบระบบการแจ้งเตือนและติดตามสถานการณ์ และเพื่อให้พร้อมรับภาวะวิกฤติที่ไม่เคยเกิดมาก่อน (Crisis action Plan) กองทัพจ�ำเป็นต้องมีการวางแผน การประสานงานร่วมกับหน่วยต่าง ๆ รวมถึงรัฐบาล และต้องร่วมฝึกบริหารสถานการณ์วิกฤติในระดับ ยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดความประสานสอดคล้อง และ รวดเร็วในการปฏิบัติภารกิจ ระยะที่ ๒ ระยะตอบสนองเมื่ อ เกิ ด สถานการณ์ : กองทัพต้องค�ำนึงถึงระบบบัญชาการ และควบคุม ระเบียบปฏิบัติ สายงานที่รับผิดชอบ การแบ่งส่วนปฏิบัติ รวมถึงต้องมีระบบทบทวนการ ปฏิบตั แิ ละข้อมูลย้อนกลับ (feedback) เพือ่ ใช้ในการ พัฒนาระเบียบปฏิบัติในครั้งต่อ ๆ ไป หากแต่ในกรณี ทีเ่ กิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด กองทัพจ�ำเป็นต้องอ่อนตัว ในการปฏิบัติ รวมทั้งหาข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ ทีม่ คี วามสามารถ และมีเครือข่ายความร่วมมือทีด่ กี บั หน่วยงานทั้งภายในและระหว่างประเทศ ระยะที่ ๓ ระยะฟืน้ ฟูหลังจากสถานการณ์ สิน้ สุดลง : กองทัพต้องพร้อมให้การสนับสนุนรัฐบาล เมื่อมีการร้องขอจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง
หลักการที่ส�ำคัญส�ำหรับการฝึก ภาวะวิกฤติ คือ ความเสีย่ งชนิดหนึง่ ดังนัน้ จึงต้องมีหลักการจัดการที่รวดเร็วเพื่อให้ทันเวลา โดยการรวบรวมข้อมูลที่ส�ำคัญให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ สามารถมีปฏิสัมพันธ์และสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ในทุกระดับได้อย่างถูกต้อง มีการก�ำหนดวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อการระดมใช้ทรัพยากร ที่ ถู ก ต้ อ ง และที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด คื อ การมี ภ าวะผู ้ น� ำ จะสามารถท�ำให้วิกฤติผ่านพ้นไปได้ การบริหาร สถานการณ์วิกฤติในระดับยุทธศาสตร์ต้องมีการ เตรียมการ ได้แก่ มีการจัดท�ำแผนเผชิญเหตุอย่าง ละเอียด (Emergency Response Plan) ก�ำหนด ผู้รับผิดชอบการปฏิบัติ (Incident Commander) การจัดระบบการประสานงานระหว่างกัน (Networking System) ให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย รวมถึงการแจ้งเตือนภัย (Information Dissimilation & Early Warning) มีการจัดเตรียมระบบการแพทย์ ฉุกเฉิน (Emergency Medical Service) และ การเตรียมตอบสนองความจ�ำเป็นพืน้ ฐานด้านปัจจัยสี่ (Basic Needs) โดยทฤษฎีการบริหารสถานการณ์วิกฤติ ทีส่ ำ� คัญและน�ำมาใช้ในการฝึก ได้แก่ การระบุสถานการณ์ โดยแบ่งสถานการณ์ทวี่ กิ ฤติออกเป็นแบบง่าย (Simple) ยุ่งยาก (Complicated) ซับซ้อน (Complex) และ โกลาหล (Chaotic) ซึง่ ประเภทของสถานการณ์ทเี่ กิดขึน้ จะท�ำให้ผู้บังคับบัญชาต้องตัดสินใจด�ำเนินการเลือก วัฏจักรการบริหารภาวะวิกฤติ ขัน้ ตอนวิธกี ารปฏิบตั ทิ แี่ ตกต่างกัน โดยฝ่ายอ�ำนวยการ (Crisis Management Cycle) มีหน้าที่ในการวิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหา (Root ช่วงการสร้างขีดความสามารถ (Capacity Cause Analysis) ตามล�ำดับสถานการณ์ทไี่ ด้รบั เลือก building) และช่วงก่อนเกิดเหตุ (Pre-impact) ต้องมี
18
การเตรียมลดผลกระทบ (Mitigation) ที่อาจเกิดขึ้น ในช่วงวิกฤติและเตรียมความพร้อมรับภาวะวิกฤติ (Preparation) เมื่อเกิดเหตุ (Event) เป็นช่วงระหว่าง เกิดภาวะวิกฤติตอ้ งปฏิบตั กิ ารต่อภาวะวิกฤติอย่างเร่งด่วน (Response) เพื่ อ ให้ ก ลั บ สู ่ ส ภาพที่ ป กติ หรื อ ใกล้เคียงปกติ (Recovery) ซึง่ ปัจจุบนั มีการปรับเปลีย่ น ไปสูก่ ารปฏิบตั กิ ารในเชิงรุกอย่างครบวงจร โดยมุง่ ลด ผลกระทบและเตรียมความพร้อมในช่วงก่อนการ เกิดเหตุการณ์ควบคู่ไปกับการจัดการในภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) ซึ่งอยู่ในช่วงระหว่าง เกิดเหตุการณ์ และการฟื้นฟูบูรณะ (Rehabilitation and Reconstruction) ซึง่ อยูใ่ นช่วงหลังเกิดเหตุการณ์
ภาพที่ ๑ วงรอบการบริหารภาวะวิกฤติ
การจัดการฝึกและแนวทางการฝึก ก่อนเข้ารับการฝึกสถานการณ์ในพื้นที่ นักศึกษาวิทยาลัยการทัพอากาศทุกคนจะได้รบั เอกสาร ค�ำอธิบายสถานการณ์สมมติ ข้อมูลสภาพแวดล้อม เกีย่ วกับตัวแสดง (Actors) ทีม่ สี ว่ นเกีย่ วข้อง เช่น ข้อมูล สมมติของลักษณะประเทศเพื่อนบ้าน ผู้น�ำประเทศ รวมถึงลักษณะพื้นที่ ดินฟ้าอากาศ ที่มีส่วนในการ กระตุ้นให้เกิดสถานการณ์วิกฤติ หรือที่อาจส่งผล ทั้งในเชิงเสริมหรือลด ขนาดและความรุนแรงของ สถานการณ์ ขณะรับการฝึกนักศึกษาจะแยกฝึกตามกลุม่ สัมมนา โดยในแต่ละวันนักศึกษาจะได้รบั ข้อมูลทีเ่ ป็น
ปัจจุบันเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น สถานการณ์ภัยพิบัติ สถานการณ์ด้านการกวาดล้าง การค้ามนุษย์ และสถานการณ์เกี่ยวกับการรุกล�้ำ อธิปไตยของประเทศ โดยในวันแรกเป็นการรับฟัง สถานการณ์สมมติรว่ มกันในห้องประชุม เพือ่ ให้นกั ศึกษา ได้เห็นภาพรวมของสถานการณ์ รับรู้เจตนารมณ์ ของผู้บังคับบัญชาและซักถามเพิ่มเติมในประเด็น ต่าง ๆ ก่อนเข้ารับการฝึก ในวันที่ ๒ นักศึกษาได้รับบทบาทเป็นฝ่าย เสนาธิ ก ารของ สภาความมั่ น คงแห่ ง ชาติ จาก สถานการณ์สมมติดา้ นข้อจ�ำกัดด้านทรัพยากร (Means) จึงจ�ำเป็นต้องบริหารจัดการสถานการณ์ตามล�ำดับ ความเร่งด่วนนักศึกษาได้รับการสั่งการจากนายก รัฐมนตรีให้จดั ล�ำดับความส�ำคัญเร่งด่วนของสถานการณ์ วิกฤติ ๓ สถานการณ์ ที่ก�ำหนดมาให้ ในวันที่ ๓ นักศึกษาในบทบาทฝ่ายเสนาธิการ ของกระทรวงกลาโหม ได้รบั สัง่ การจากรัฐมนตรีวา่ การ กระทรวงกลาโหมให้ทบทวนสถานการณ์ปัจจุบัน (Current Situation) เพื่อก�ำหนดสภาพที่ต้องการ (Desired Situation) ซึ่งท�ำให้สามารถระบุประเด็น ปัญหา (Problem statement) ทีต่ อ้ งได้รบั การแก้ไข รวมถึงการก�ำหนดเป้าหมายทางทหาร (Military End States) ในวันสุดท้ายนักศึกษาในแต่ละสัมมนา ได้รับมอบหมายบทบาทให้เป็นฝ่ายเสนาธิการของ กองบัญชาการกองทัพไทย (บก.ทท.) ได้รบั การสัง่ การ จากผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) ให้ก�ำหนด แนวโน้มการปฏิบัติ (Operational Approach) ให้หน่วยปฏิบัติระดับยุทธการด�ำเนินการต่อไป หลังจากการรับมอบสถานการณ์ทุกครั้ง นักศึกษาจะร่วมประชุมหารือ ถกแถลงและให้เหตุผล เปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย เกี่ยวกับค�ำตอบ ตามโจทย์ ที่ได้รับ การตัดสินใจเพื่อเลือกค�ำตอบสุดท้ายภายใน กลุม่ สัมมนาจะอยูบ่ นพืน้ ฐานของหลักการและเหตุผล ทางด้านวิชาการที่ได้รับการศึกษามาทั้งในห้องเรียน
ข่าวทหารอากาศ
19
และการดูงานนอกสถานที่ร่วมกับประสบการณ์ตรง น�ำเสนอสถานการณ์ที่เป็นปัจจุบันของแต่ละวัน โดย ของนักศึกษา มีเอกสารพืน้ ฐานเพือ่ ประกอบการฝึกอบรมซึง่ นักศึกษา ทุ ก คนได้ ท� ำ การศึ ก ษามาก่ อ นในระยะก่ อ นเกิ ด ลักษณะและบรรยากาศในการฝึก สถานการณ์ เป็นลักษณะสถานการณ์ขา่ วทีม่ รี ายงาน สถานที่ ฝ ึ ก เป็ น การฝึ ก นอกสถานที่ ตั้ ง ความคืบหน้าของสถานการณ์ โดยทุกกลุ่มสัมมนา โดย SCM-52 จัดการฝึกทีจ่ งั หวัดประจวบคีรขี นั ธ์ เมือ่ มีทีมอาจารย์ที่ปรึกษาประจ�ำกลุ่มซึ่งท�ำหน้าที่ตอบ เดินทางถึงสถานที่ฝึกนักศึกษาได้ร่วมกันจัดสภาพ ข้อซักถามและให้รายละเอียดข้อมูลจากโจทย์ โดยมิได้ แวดล้อมให้เข้ากับบรรยากาศการฝึกซึง่ อยูใ่ นสถานการณ์ มีส่วนในการชี้น�ำแนวคิดของกลุ่มนักศึกษา วิกฤติตามกลุ่มสัมมนา โดยแบ่งเป็น ๖ กลุ่มสัมมนา นักศึกษาทุกคนทีเ่ ข้าร่วมการฝึกฯ จะมีบทบาทสมมติ จุดเด่นของสถานการณ์การฝึก ความทันสมัยและ ในกลุม่ สัมมนาของตน เช่น การเป็นผูน้ ำ� สูงสุดทางทหาร สอดคล้องในเชิงยุทธศาสตร์ การเป็นผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มด้านการรบ (Combat) การฝึก SCM-52 มีจุดเด่นของสถานการณ์ และการสนับสนุนการช่วยรบ (Combat Service การฝึกที่ทันสมัย มีบริบทเกี่ยวข้องกับปัจจุบันท�ำให้ support) รวมถึงการเป็นผู้เชี่ยวชาญภาคพลเรือน สามารถน�ำบริบทการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน (non- combat) ที่ต้องมาร่วมระดมความคิด มาร่วมวิเคราะห์ในสถานการณ์สมมติที่ให้มา โดยมี บรรยากาศในการฝึกมีจดุ เด่นแบบเป็นกันเอง บางมุมมองทีอ่ าจมีความเหมือนหรือแตกต่างกัน ท�ำให้ ท�ำให้สามารถถกแถลงแนวคิดได้อย่างอิสระ ด�ำเนินการ นักศึกษาร่วมคิดและร่วมตัดสินใจเลือกวิธกี ารแก้ปญั หา โดยการคั ด เลื อ กผู ้ น� ำ นั ก ศึ ก ษาในแต่ ล ะสั ม มนา บนหลักการและเหตุผล โดยเฉพาะอย่างยิง่ กรณีทเี่ ป็น เพื่อจัดการประชุมหารือ ตอบโจทย์ที่ได้รับโดยมีการ ประเด็นย้อนแย้งเชิงเหตุผลว่าเหตุใดนักศึกษาในกลุม่
20
สั ม มนาจึ ง ไม่ ไ ด้ ด� ำ เนิ น ตามวิ ธี ก ารที่ เ คยเกิ ด ขึ้ น ในสถานการณ์ที่คล้ายกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการฝึก กระตุ ้ น หลั ก คิ ด เชิ ง เหตุ ผ ลในระยะเวลาจ� ำ กั ด ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์วิกฤติเกิดขึ้นจริงในโลก ปัจจุบันที่ถือว่า “เวลาไม่ใช่มิตรในยามวิกฤติ" ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึก การฝึกสถานการณ์วกิ ฤติในระดับยุทธศาสตร์ SCM-52 ท�ำให้นักศึกษาสามารถ ๑ สะท้อนภาพเหตุการณ์อาจเกิดขึ้นจริง ในภาวะวิกฤติ กล่าวคือ สถานการณ์อาจเป็นสถานการณ์ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หรือบางสถานการณ์อาจเคย เกิดขึน้ แต่มบี ริบทความคิดเห็นทีแ่ ตกต่างในการตัดสินใจ
เลือกและก�ำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาของผู้น�ำ ที่ไม่ใช่บุคคลเดียวกัน รวมถึงภาพการตัดสินใจที่ต้อง รวดเร็วหากแต่ต้องเผชิญกับความคิดที่ขัดแย้งไม่เป็น ไปในแนวทางเดียวกัน ท�ำให้ต้องเลือกตัดสินใจ ตามแนวทางใดแนวทางหนึง่ เมือ่ เวลามาถึง บนแนวคิด ที่เห็นว่าเป็นไปได้มากที่สุด สิ่งเหล่านี้พบว่าเกิดขึ้น ในความจริงเมื่อมีการระดมความคิดจากเจ้าหน้าที่ ทีเ่ กีย่ วข้องซึง่ มีพนื้ ฐานด้านทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ ที่ แ ตกต่ า งกั น ท� ำ ให้ เ กิ ด ความเห็ น ต่ า ง ดั ง นั้ น ผู้น�ำในภาวะวิกฤติต้องฝึกทักษะ ในการรวบรวม ความคิดเห็นและข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการ ตั ด สิ น ใจที่ ส ามารถท� ำ ให้ พ ้ น ภาวะวิ ก ฤติ ไ ด้ ม าก และเร็วที่สุด ๒ จัดล�ำดับความส�ำคัญของสถานการณ์ ได้บนหลักการและเหตุผลที่สอดคล้องกัน โดยการ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมปัจจุบัน (Current System) และค้นหาปัญหาที่แท้จริง (Problem Statement) ๓ จัดท�ำแนวทางการแก้ไขปัญหาได้ใน ระยะเวลาทีร่ วดเร็วโดยใช้ศลิ ปะการยุทธ์ (Operational art and Design) เพื่อก�ำหนดวิธีการแก้ปัญหา (Operational Approach)
ข่าวทหารอากาศ
การศึกษาและการฝึก SCM-52 และ CCM-17 ด้านแนวคิดเชิงหลักการและทฤษฎี พบว่า การฝึกทั้ง SCM-52 และ CCM-17 มีการให้ความรู้ ในเชิงทฤษฎีที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะการให้ความรู้ เกีย่ วกับสถานการณ์วกิ ฤติทเี่ ป็นแบบ Non-traditional warfare เช่น การก่อการร้าย ภัยธรรมชาติ อาชญากรรม ข้ามชาติ โดยการศึกษามุ่งเน้นในเรื่องการจัดล�ำดับ ความส�ำคัญของสถานการณ์วิกฤติ การวิเคราะห์ รากหรือสาเหตุแห่งปัญหาของสถานการณ์ เพือ่ น�ำไป สู่แนวทางการแก้ไข การคิดเชิงวิพากษ์ การให้ความรู้ ถึงทักษะแห่งการเป็นผู้น�ำในสถานการณ์วิกฤติ และ การสื่อสารในสถานการณ์วิกฤติ โดยมีการศึกษา ถึงระยะของสถานการณ์วิกฤติ และวงจรการบริหาร สถานการณ์วิกฤติรวมถึงขั้นตอนการปฏิบัติในแต่ละ ระยะช่วงวิกฤติ อย่างไรก็ดีพบว่าการฝึก SCM-52
21
มีเป้าหมายในระดับยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการปฏิบัติ ในด้านการทหาร เพือ่ ให้การสนับสนุนรัฐบาลหรือผูน้ ำ� ของประเทศ รวมถึงลงรายละเอียดในด้านการก�ำหนด แนวทางการปฏิ บั ติ ใ ห้ แ ก่ ร ะดั บ ปฏิ บั ติ ก าร เช่ น การออกแบบการปฏิบัติการยุทธ์ (Operational Design) ขณะที่ CCM-17 มุ่งเน้นการด�ำเนินงาน ในระดับรัฐบาลหรือผูน้ ำ� ประเทศ โดยมีกระทรวงต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง รวมถึงมีการติดต่อกับต่างประเทศ เพื่อขอความร่วมมือหรือให้การสนับสนุนทรัพยากร ที่จ�ำเป็นต่อการแก้ปัญหาในภาวะวิกฤติ ดังนั้นจึง มุ่งเน้นให้มีการศึกษาที่ลึกซึ้งในเรื่องของการเจรจา ต่อรองในระดับนานาชาติ การวิเคราะห์และก�ำหนด บทบาททางทหาร และภาวะผูน้ ำ� ทางทหารทีอ่ าจมีสว่ น ในการตัดสินใจระดับนานาชาติ
22
กล่าวโดยสรุป การฝึกการบริหารสถานการณ์วกิ ฤติในระดับ ยุทธศาสตร์ (Strategic Crisis Management) เป็นการ กระตุ้นให้ผู้รับการฝึกได้คิดอย่างมีเหตุผล และ จัดระบบความสัมพันธ์ของ Actors ต่าง ๆ ในสภาพ แวดล้อมหรือสถานการณ์วกิ ฤติขณะนัน้ ได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถเขียนความสัมพันธ์เชือ่ มโยงในรูปแผนภาพ ที่สามารถสื่อสารให้เห็นภาพเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ที่เกิดขึ้น (Current System) สิ่งที่ควรจะเป็น (Desired System) มีปัญหาใดเกิดขึ้น (Problem Statement) และวิธีการแก้ปัญหาเพื่อคลี่คลาย สถานการณ์ (Operational Approach) โดยสอดคล้อง กับเจตนารมณ์ผบู้ งั คับบัญชา (Commander Intent) และเป้าหมาย (End State) ที่ตั้งไว้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง คลังความรู้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารระดับ ยุทธศาสตร์ท่ีอาจต้องร่วมแก้ไขสถานการณ์วิกฤติ ได้ง่ายในเวลาที่จ�ำกัด ของชาติร่วมกัน ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลแนวคิด ของนักศึกษาจากสถานการณ์ฝกึ สามารถน�ำมาจัดท�ำ ข้อเสนอแนะ การจัดการฝึก SCM โดยวิทยาลัยการทัพ เป็นฐานข้อมูล (e-library) เพื่อแลกเปลี่ยนระหว่าง อากาศมีขนึ้ ทุกปี โดยการฝึก SCM-52 มีผลของการฝึก นักศึกษาระดับวิทยาลัยการทัพต่างเหล่า เช่น วิทยาลัย จากสถานการณ์สมมติที่มีความแตกต่างกันในแต่ละ เสนาธิการทหาร วิทยาลัยการทัพบก และวิทยาลัย กลุ่มสัมมนา ดังนั้นการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของ การทัพเรือ
ข่าวทหารอากาศ
23
ปชส.สก.ทอ.
ก้าวเข้าสูป ่ ท ี ี่ ๖๕ กรมสวัสดิการทหารอากาศ หลังจากที่แผนกการบินยกฐานะขึ้นเป็น กองบินทหารบก เมื่อ ๒๗ มีนาคม ๒๔๕๗ ซึ่งมี นายพลโท พระยาเฉลิมอากาศ เป็นเจ้ากรมอากาศยาน ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๗ ถึง ๒๔๗๔ ได้ด�ำริให้จัดตั้งระบบ สวัสดิการของข้าราชการและคนงานในกรมอากาศยาน ให้ มี ก ารกิ น ดี อ ยู ่ ดี การสวั ส ดิ ก ารจึ ง มี ส ่ ว นร่ ว ม ในทุกหน่วยงานของกองทัพ โดยผู้บังคับบัญชาของ กองทัพอากาศสมัยนัน้ ได้พจิ ารณาเห็นว่าการสวัสดิการ เป็นกิจการทีจ่ ำ� เป็นอย่างยิง่ ส�ำหรับกองทัพ เพราะเป็น ที่ประจักษ์แล้วว่า ไม่ว่าในยามสงครามหรือยามปกติ
ก็ตาม ทหารมีความจ�ำเป็นจะต้องได้รบั ความช่วยเหลือ ในด้านสวัสดิการ ซึ่งการจัดสวัสดิการทหารนี้มิได้ หมายถึงแต่เพียงการส่งเสริมความบันเทิงเพื่อบ�ำรุง ขวัญเท่านั้น แต่รวมไปถึงการส่งเสริมการสวัสดิการ ส่งเสริมฐานะการครองชีพและเศรษฐกิจของทหาร และครอบครัว เมื่อออกจากราชการไปแล้วก็ยังได้รับ ความช่วยเหลือตลอดไป เพื่อให้ฐานะมีความมั่นคง และเป็นปึกแผ่น จึงเห็นได้ว่าสมรรถภาพของทหาร ด้านขวัญก�ำลังใจ จ�ำเป็นต้องอาศัยการสวัสดิการ เป็นอย่างยิ่ง
24
การสวัสดิการของกองทัพอากาศในระยะ แรกนัน้ ได้ดำ� เนินการในรูปแบบของสโมสร โดยมีการ จัดตั้งสโมสรทหารอากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมือง ด�ำเนิน กิจการตามข้อบังคับสโมสรทหารอากาศ พ.ศ.๒๔๘๓ อันได้แก่ส่งเสริมสมรรถภาพของข้าราชการกองทัพ อากาศทางด้านกีฬา การบันเทิง และยังมีภารกิจ ในการจัดตั้งร้านค้าสโมสรเพื่อจ�ำหน่ายให้แก่สมาชิก ในราคาย่ อ มเยา ส� ำ หรั บ หน่ ว ยงานตามกองบิ น ต่างจังหวัดนั้น ก็คงด�ำเนินการเช่นเดียวกันกับสโมสร ส่วนกลาง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕ ทางราชการเห็นว่าการ ด�ำเนินการสวัสดิการในรูปของสโมสร ยังไม่ครอบคลุม กว้างขวางเพียงพอ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง กองทัพอากาศได้มีความเจริญก้าวหน้าไป อย่างรวดเร็ว อัตราก�ำลังพลเพิ่มจ�ำนวนมากขึ้น จากเดิมเป็นอันมาก การด�ำเนินกิจการสโมสรทหาร อากาศเดิมนั้นเป็นเพียงการส่งเสริมในด้านกีฬา และการบันเทิงเป็นส่วนใหญ่ จึงได้ขยายงานให้เป็น ระบบมากขึน้ โดยจัดหน่วยงานรับผิดชอบ คือ แผนก สวัสดิการ ขึ้นอยู่กับกองการบ�ำรุง กรมการบ�ำรุง กรมพลาธิการทหารอากาศ เมือ่ ปี พ.ศ.๒๔๙๖ ซึง่ ขณะนัน้ จอมพลอากาศฟืน้ รณนภากาศ ฤทธาคนี เป็นผูบ้ ญั ชาการ ทหารอากาศ ตัง้ แต่ปี พ.ศ.๒๔๙๖ – ๒๕๐๐ นับว่าเป็น รากฐานขัน้ แรกของกิจการสวัสดิการของกองทัพอากาศ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๗ ทางราชการได้เห็น ความส�ำคัญของการสวัสดิการ มีกิจการที่ขยายตัว เพิม่ มากขึน้ เป็นจ�ำนวนมาก จึงได้ยกฐานะแผนกสวัสดิการ ขึ้นเป็นกรมสวัสดิการทหารอากาศ และโอนกิจการ แผนกสวั ส ดิ ก าร กองการบ� ำ รุ ง กรมการบ� ำ รุ ง กรมพลาธิการทหารอากาศ กับกองภาพยนตร์ทหาร
อากาศ มาขึ้นอยู่ในกรมสวัสดิการทหารอากาศ ทั้งในสายงานและการบังคับบัญชา ตามค�ำสั่ง ทอ. (พิเศษ) ที่ ๘๘/๕๓๒๕ ลง ๒ มี.ค.๒๔๙๗ อันเป็น วันก�ำเนิดของกรมสวัสดิการทหารอากาศ และยึดถือ เป็นวันสถาปนาของกรมสวัสดิการทหารอากาศ ตัง้ แต่ บัดนัน้ เป็นต้นมา กรมสวัสดิการทหารอากาศ มีความมุ่งมั่น ทีจ่ ะพัฒนาบทบาทของหน่วย ให้สอดคล้องกับวิสยั ทัศน์ ของกรมสวัสดิการทหารอากาศ ทีว่ า่ “สวัสดิการก้าว ไกล ในมิติใหม่ของความสุขที่ยั่งยืน” ในปีท่ีผ่านมา กรมสวัสดิการทหารอากาศ ได้นำ� นโยบายผูบ้ ญ ั ชาการ ทหารอากาศด้านสวัสดิการมาปฏิบัติดังนี้ กองการสงเคราะห์ ด�ำเนินการเกี่ยวกับ การเงิน การสวัสดิการ กิจการทหารผ่านศึก การทีด่ นิ และอาคารสงเคราะห์ การฌาปนกิจ การฌาปนสถาน และสุสาน การกุศล ตลอดจนควบคุมดูแลกิจการ บ้านรับรองและได้ด�ำเนินงานเกี่ยวกับ ö การฌาปนกิจสงเคราะห์ ข้าราชการ ลูกจ้างประจ�ำ พนักงานราชการและคูส่ มรสสมัครเป็น สมาชิกได้ต้องมีอายุไม่เกิน ๔๐ ปีบริบูรณ์ ส่วนบิดา มารดาอายุไม่เกิน ๕๕ ปีบริบูรณ์ นอกจากนี้ นักเรียน ทหารก็สามารถสมัครเป็นสมาชิกได้ ö โครงการประกันภัยหมูแ่ บบ “พิทกั ษ์พล ทอ.” ให้แก่ข้าราชการกองทัพอากาศที่ปฏิบัติงานใน พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้ที่ปฏิบัติงาน เสี่ยงอันตราย ซึ่งโครงการนี้มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๒ จนถึงปัจจุบัน ö การอุปสมบทหมู่ ก�ำหนดให้ขา้ ราชการ ลูกจ้างประจ�ำกองทัพอากาศและครอบครัวทีป่ ระสงค์ จะอุปสมบทหมูย่ นื่ ใบสมัครได้ที่ แผนกสังคมสงเคราะห์
ข่าวทหารอากาศ
25
กองการสงเคราะห์ กรมสวัสดิการทหารอากาศ ตัง้ แต่ เดือนมีนาคม - พฤษภาคม ของทุกปี โดยไม่เสียค่าใช้จา่ ย ุร ö การจัดสรรเงินทุนการศึกษาให้แก่บต ข้าราชการ ลูกจ้างประจ�ำ และพนักงานราชการกองทัพ อากาศประจ�ำทุกปี กองการกีฬา มีหน้าที่ด�ำเนินการเกี่ยวกับ การฝึก การส่งเสริมกีฬา และการเสริมสร้างสมรรถภาพ ทางร่างกายให้แก่กำ� ลังพลและครอบครัวกองทัพอากาศ ตลอดจนบ� ำ รุ ง รั ก ษาสถานที่ แ ละอุ ป กรณ์ กี ฬ า ö จัดกิจกรรมลดโลกร้อน รณรงค์ใช้ถงุ ผ้า ส่วนกลางของกองทัพอากาศ ö จัดการแข่งขันกีฬาภายในกองทัพอากาศ บอกลาถุงพลาสติก กองอาชีวสงเคราะห์ มีหน้าทีส่ ง่ เสริมอาชีพ ö จัดส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา และด�ำเนินการเรือ่ งกสิกรรม การเลีย้ งสัตว์ การอาชีพ กองทัพไทย แก่ก�ำลังพลและครอบครัว ö งานกสิกรรม ส่งเสริมการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ การท�ำปุ๋ยหมัก การท�ำปุ๋ยน�้ำชีวภาพ ปลูกพืชผักสวนครัว เช่น พริก ผักบุ้ง กวางตุ้ง ö งานเลี้ยงสัตว์ มีสาธิตการเลี้ยงสัตว์ ทีเ่ จริญเติบโตเร็ว และสามารถให้ผลผลิตทีด่ ี เช่น สาธิต การเพาะเลี้ยงไก่พ้ืนเมือง (ไก่ชน) แม่ไก่พื้นเมือง ไก่ไข่ ปลาสวยงาม สาธิตการเลี้ยงกุ้งสี และหนอนนก ö โครงการอบรมกีฬาเยาวชนภาคฤดูรอ้ น ต้านภัยยาเสพติด ö จั ด การแข่ ง ขั น กี ฬ านั ก เรี ย นชิ ง ถ้ ว ย ผบ.ทอ. กองการร้านค้า มีหน้าทีด่ ำ� เนินการเกีย่ วกับ การจัดหาและบริการสรรพสินค้าที่จ�ำเป็นแก่การ ครองชีพให้กับก�ำลังพลและครอบครัว ตลอดจน จัดท�ำทะเบียนคุมสินค้าและงบดุลประจ�ำปี ö จัดจ�ำหน่ายสินค้าในราคาสวัสดิการ พร้อมทัง้ จัดสินค้าในราคาต้นทุนในช่วงเทศกาลส�ำคัญ ö โครงการสินค้าแบบผ่อนช�ำระ ๒๐ เดือน ดอกเบี้ยถูก ให้กับข้าราชการ และพนักงานราชการ ö โครงการลดการใช้ถงุ พลาสติกเพือ่ รณรงค์ ลดภาวะโลกร้อน
26
ö งานส่งเสริมอาชีพ การฝึกอบรมวิชาชีพ
ให้กับข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ และ ครอบครัว ให้มคี วามรูใ้ นสาขาวิชาชีพต่าง ๆ เพือ่ น�ำไป ประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว กองการสโมสร ด� ำ เนิ น งานในด้ า น การสังสรรค์ การบริการและการบันเทิง ส่งเสริม
และเผยแพร่ความรูก้ ารกีฬาสโมสรตลอดจนกิจกรรม พิเศษเกี่ยวกับสวัสดิการแก่ก�ำลังพลและครอบครัว จัดงานเลี้ยงสังสรรค์ย่อย จัดประชุมสมาชิกสโมสรฯ พร้ อ มทั้ ง ให้ บ ริ ก ารในการจั ด งานเลี้ ย งสั ง สรรค์ งานมงคล งานพิธีการ เนื่องในโอกาสต่าง ๆ และ จัดทัศนศึกษาท่องเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ ทั้งภายใน ประเทศและต่างประเทศ ตลอดระยะเวลา ๖๕ ปี กรมสวัสดิการทหาร อากาศ มีภารกิจหน้าที่ในการดูแลความเป็นอยู่ ด้านสวัสดิการ เพือ่ บ�ำรุงขวัญและก�ำลังใจให้กำ� ลังพล กองทัพอากาศและครอบครัว รวมถึงก�ำลังพลทีป่ ฏิบตั ิ หน้าทีร่ าชการสนามทัว่ ประเทศ ให้มขี วัญและก�ำลังใจ และสุขภาพจิตทีด่ ี พัฒนาสวัสดิการของกองทัพอากาศ อย่างเป็นระบบและทั่วถึง ตามนโยบายผู้บัญชาการ ทหารอากาศ ประจ�ำปี ๖๒ ด้านสวัสดิการ ทีว่ า่ พัฒนา ระบบสวัสดิการทีพ่ กั อาศัยของก�ำลังพลและครอบครัว ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีและเพียงพอต่อความต้องการ ตลอดจนจัดสรรทีด่ นิ พร้อมสาธารณูปโภคทีเ่ หมาะสม เพื่อให้ก�ำลังพลและครอบครัวสามารถมีที่ดิน ที่พัก อาศัยเป็นของตนเอง มีการบูรณาการระบบการจัด สวัสดิการภายในกองทัพอากาศกับหน่วยงานภายนอก เพือ่ ให้กำ� ลังพลและครอบครัวได้รบั การสวัสดิการทีด่ ี ยิง่ ขึน้ ตลอดจนเสริมสร้างความมัน่ คงในการด�ำรงชีวติ ของก�ำลังพลและครอบครัวตามแนวทางศาสตร์ พระราชา เพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พออยู่พอกิน มุ่งไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ข่าวทหารอากาศ
27
การขับเคลือ ่ นอาเซียน
สูค ่ วามยัง ่ ยืน
กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
หลังการประชุมรัฐมนตรีตา่ งประเทศอาเซียน อย่างไม่เป็นทางการหรือ ASEAN Foreign Ministers’ Retreat เมือ่ วันที่ ๑๗ - ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒ ทีจ่ งั หวัด เชียงใหม่ สือ่ มวลชนทัง้ ไทยและต่างประเทศได้รายงาน ผลการประชุมในแง่มมุ ต่าง ๆ แต่มขี า่ วหนึง่ ทีน่ า่ สนใจ เป็นพิเศษ คือ ข่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศท�ำพิธีมอบโพเดียมและเก้าอี้แก่โรงเรียน บ้านฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ความพิเศษของโพเดียม และเก้าอี้ดังกล่าวอยู่ที่การผลิตจากกระดาษรีไซเคิล โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จ�ำกัด (มหาชน) ซึ่งแสดงถึงความใส่ใจในรายละเอียด เพื่อจัดการประชุมอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้มากที่สุด แนวคิดหลักของไทยในช่วงที่เป็นประธาน อาเซียนคือ “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” การใช้ อุปกรณ์ที่ท�ำจากกระดาษรีไซเคิลเป็นเพียงหนึ่ง ในข้อริเริ่มที่จะสร้างความยั่งยืน และสะท้อนภารกิจ ของอาเซียนที่จะต้องขับเคลื่อนอาเซียนให้สอดคล้อง กับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยัง่ ยืนของสหประชาชาติ (SDGs) โดยที่ประชุม ที่เชียงใหม่ได้ยืนยันว่า อาเซียน จะมุง่ เสริมสร้างความเชือ่ มโยงระหว่างวิสยั ทัศน์อาเซียน
ค.ศ.๒๐๒๕ กับ SDGs ค.ศ.๒๐๓๐ เพือ่ สร้างประชาคม อาเซียนที่ยั่งยืน โดยไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุม ระดับสูงเพื่อระดมสมองเรื่องนี้ในวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๒ ทีก่ รุงเทพฯ รวมทัง้ จะเปิดตัวศูนย์อาเซียน เพื่อการศึกษาการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายในปีนี้ด้วย นอกจากนี้ ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุม หารือความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติ อืน่ ด้วย อาทิ การประชุมรัฐมนตรีวา่ ด้วยขยะในทะเล ในเดือนมีนาคม การประชุมระดับสูงว่าด้วยการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ในเดือนเมษายน และการประชุม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารว่ า ด้ ว ยการต่ อ ต้ า นการท� ำ ประมง ผิดกฎหมายในเดือนเมษายน ซึง่ สาระของการประชุม ทั้งหมดนี้จะส่งต่อให้อาเซียนเป็นประชาคมที่ยั่งยืน ให้แก่คนรุ่นต่อไป ทั้งในด้าน การบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและการสร้าง
28
ทรัพยากรมนุษย์ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจและสังคม ในด้ า นความร่ ว มมื อ ร่ ว มใจ อาเซี ย น จะกระชับความร่วมมือกับประเทศคูเ่ จรจาให้แน่นแฟ้น และได้ผลลัพธ์เป็นรูปธรรมมากขึน้ พร้อมทัง้ จะขยาย ความสัมพันธ์กบั ประเทศนอกภูมภิ าค ปัจจุบนั อาเซียน มีประเทศคูเ่ จรจาอยูแ่ ล้ว ๙ ประเทศ บวกกับสหภาพ ยุโรป ประเทศคู่เจรจาแรก ๆ มีตั้งแต่ ๔๐ กว่าปีก่อน อาเซี ย นเห็ น ว่ า ขณะนี้ มี ป ระเด็ น ที่ ต ้ อ งร่ ว มมื อ
กันมากขึน้ เช่น การค้าระหว่างประเทศ เพราะสัดส่วน มู ล ค่ า การค้ า ของอาเซี ย นกั บ นอกภู มิ ภ าค สู ง ถึ ง ร้ อ ยละ ๗๐ ดั ง นั้ น จึ ง มี ค วามตั้ ง ใจจะ ยกระดั บ ความสั ม พั น ธ์ กั บ ประเทศคู ่ เจรจาเดิ ม และขยายความร่วมมือกับประเทศใหม่ ๆ กล่าวคือ ตั้งเป้าจะยกระดับความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ และจะเพิ่มความร่วมมือ กับรัสเซีย ซึ่งเพิ่งได้รับการยกระดับเป็นหุ้นส่วน ยุทธศาสตร์
ข่าวทหารอากาศ
เกาหลีใต้เป็นอีกประเทศหนึง่ ทีจ่ ะมีโอกาส ส�ำคัญกับอาเซียนในปีนี้ เพราะจะครบรอบ ๓๐ ปี ของการเป็ น ประเทศคู ่ เจรจาระหว่ า งอาเซี ย น กับเกาหลีใต้ และจะมีการจัดประชุมผู้น�ำสมัยพิเศษ เพือ่ หารือแนวทางส่งเสริมความร่วมมือให้เป็นประโยชน์ ต่อประชาชนมากขึ้น ส�ำหรับการขยายความสัมพันธ์กบั ประเทศ นอกภูมิภาค ตามแนวปฏิบัติที่ผ่านมา ประเทศ ทีต่ อ้ งการมีปฏิสมั พันธ์กบั อาเซียนมักเริม่ ด้วยการเป็น ภาคีสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชีย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia : TAC) ซึง่ ลงนาม เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ มีเจตนารมณ์ให้เอเชียตะวันออก เฉียงใต้เป็นภูมิภาคแห่งสันติภาพและความร่วมมือ ที่ยั่งยืนถาวร โดยเปิดโอกาสให้ประเทศนอกภูมิภาค เข้าเป็นภาคีได้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๖ ซึ่งจีนและอินเดีย เป็นสองประเทศแรกทีเ่ ข้าร่วม ในเวลาต่อมา มีประเทศ
29
อื่นสนใจเข้าร่วมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ตุรกี ชิลี อียิปต์ และอิหร่าน และขณะนี้เปรูได้แสดงความสนใจที่จะ เข้าเป็นภาคีเช่นกัน สนธิสัญญา TAC เป็นพื้นฐาน ส�ำคัญของประชาคมอาเซียนด้านการเมือง การที่มี หลายประเทศสนใจเข้าร่วมนอกจากเป็นสิ่งยืนยัน ถึงความส�ำคัญของอาเซียนในเวทีการเมืองระหว่าง ประเทศแล้ว ยังท�ำให้เป้าหมายของ TAC ที่จะสร้าง สันติภาพในภูมิภาคมีความมั่นคงยิ่งขึ้นด้วย ประเด็นทีอ่ าเซียนได้รบั ความสนใจเป็นพิเศษ ได้แก่ ปัญหาชาวโรฮีนจาในเมียนมาและสถานการณ์ ในทะเลจีนใต้ ซึง่ ทีป่ ระชุมเห็นว่า อาเซียนควรสานต่อ การช่วยเหลือชาวโรฮีนจาในเมียนมาในด้านมนุษยธรรม โดยรับทราบผลการเยือนเมียนมาของเลขาธิการอาเซียน เมือ่ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑ เพือ่ ประเมินความต้องการ ในพื้นที่ และสนับสนุนการด�ำเนินการตามบันทึก ความเข้าใจระหว่างรัฐบาลเมียนมากับองค์กรของ สหประชาชาติทเี่ กีย่ วข้อง ได้แก่ UNHCR และ UNDP
30
เพื่ อ ให้ ช าวโรฮี น จาพลั ด ถิ่ น ได้ ก ลั บ ถิ่ น ฐานเดิ ม อย่างสมัครใจและปลอดภัย ส�ำหรับสถานการณ์ในทะเลจีนใต้ อาเซียน ต้ อ งการให้ ท ะเลจี น ใต้ เ ป็ น ทะเลแห่ ง สั น ติ ภ าพ และเสถียรภาพ และมีเสรีภาพในการเดินเรือ และบินผ่าน โดยเห็นว่าควรปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) และปฏิญญาว่าด้วย การปฏิบตั ขิ องภาคีฝา่ ยต่าง ๆ ในทะเลจีนใต้ (Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea: DOC) ซึ่งรวมถึงการเจรจาจัดท�ำประมวลการ ปฏิบัติ ในทะเลจีนใต้ (Code of Conduct in the South China Sea :COC) ให้คบื หน้าในปีนี้ เนือ่ งจาก จะเป็นแนวทางทีส่ มาชิกอาเซียนเห็นพ้องต้องกันแล้ว ว่าควรปฏิบัติอย่างไรในการเดินเรือในอาณาบริเวณ ดังกล่าว เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งหรือเข้าใจผิดกัน ในมิติเศรษฐกิจ อาเซียนคาดหวังว่าการเจรจาจัดท�ำ ความตกลงการค้าเสรี Regional Comprehensive Economic Partnership :RCEP จะหาข้อสรุปได้ ภายในปีนี้ สมาชิก RCEP ๑๖ ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียน ๑๐ ประเทศ และประเทศที่ อาเซียนมีความตกลงการค้าเสรีแล้ว ๖ ประเทศ คือ จีน ญีป่ นุ่ เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย หากท�ำส�ำเร็จจะเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาด GDP ประมาณร้อยละ ๔๐ ของ GDP ทั้งโลก
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเร่งรัดการด�ำเนิน การตามแผนแม่บทความเชือ่ มโยงอาเซียน ค.ศ.๒๐๒๕ ทัง้ ในด้านความเชือ่ มโยงในภูมภิ าคและระหว่างอาเซียน กับภูมิภาคอื่น (connecting the connectivities) โดยจะขยายความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาในการ จัดหาแหล่งทุนส�ำหรับโครงสร้างพืน้ ฐานต่าง ๆ ซึง่ ต้อง ใช้งบประมาณค่อนข้างสูง ในด้านสังคมและวัฒนธรรม ที่ประชุม ได้แลกเปลีย่ นความคิดเห็นเกีย่ วกับการท�ำให้ประชาชน ในอาเซียนเกิดความรูส้ กึ ร่วมของการเป็น “ชาวอาเซียน” เพื่อเสริมสร้างการเป็นประชาคมอาเซียนด้านสังคม วัฒนธรรมที่เข้มแข็ง เช่น การก�ำหนดให้ปีนี้เป็นปี วัฒนธรรมอาเซียน เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมอาเซียน ในเวทีโลกและเสริมสร้างเอกลักษณ์ของอาเซียน และการมอบรางวัลอาเซียน (ASEAN Prize) ในช่วง การประชุมผู้น�ำอาเซียน ครั้งที่ ๓๔ ที่ประเทศไทย รางวัลดังกล่าวก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๑ ในช่วง ที่สิงคโปร์เป็นประธานอาเซียน เพื่อมอบแก่บุคคล หรือองค์กรที่ท�ำงานส่งเสริมเอกลักษณ์ของอาเซียน ผู้ได้รับรางวัลคนแรกคือ นางสาว Erlinda Uy Koe จากฟิลิปปินส์ ซึ่งท�ำงานช่วยเหลือและสร้างความ ตระหนักรู้เกี่ยวกับบุคคลที่มีอาการออทิสติก การประชุม Retreat ใช้เวลาไม่ถึงสองวัน แต่มีการพูดคุยกันหลากหลายประเด็นครอบคลุม
ข่าวทหารอากาศ
31
ทั้งเสาการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ข้อดีของการ ประชุมรูปแบบนีค้ อื การสร้างบรรยากาศทีเ่ อือ้ อ�ำนวย ให้ ห ารื อ กั น เรื่ อ งใดก็ ไ ด้ ต ามจั ง หวะที่ เ หมาะสม อาจเป็นที่โต๊ะอาหารหรือระหว่างเดินชมกาดมั่ว ก่อนงานเลี้ยงในเย็นวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒ ซึ่ ง เป็ น การจ� ำ ลองบรรยากาศตลาดนั ด พื้ น บ้ า น แบบล้านนาให้คณะผู้แทนได้ทดลองชิมอาหารเหนือ เช่ น ไข่ ป ่ า ม ไส้ อั่ ว และปลี ท อด ภาพรั ฐ มนตรี ต่างประเทศอาเซียนถ่ายเซลฟี่ที่อุทยานราชพฤกษ์ ทีน่ าย Vivian Balakrishnan รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการ ต่างประเทศสิงคโปร์โพสท์เฟซบุก๊ อธิบายได้ชดั เจนถึง ความสนิทสนมและมิตรภาพทีใ่ กล้ชดิ ระหว่างประเทศ สมาชิกอาเซียน จึงเชือ่ ว่ารัฐมนตรีตา่ งประเทศทัง้ หลาย มีโอกาสได้หารือกันอย่างเต็มที่ ในโลกสมัยใหม่ การทูตทีเ่ ข้าถึงประชาชน เป็นเรือ่ งส�ำคัญ ค�ำกล่าวทีว่ า่ จะไม่ทงิ้ ใครไว้ขา้ งหลัง จึงไม่ได้เป็นเพียงค�ำพูดชวนฝัน แต่เป็นหลักการของการ พัฒนาที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ที่ท�ำให้เกิดผล เป็นรูปธรรมได้จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่สหประชาชาติและ ในฐานะประธานอาเซียนในปีนจี้ ะต้องผลักดันให้คบื หน้า อาเซียนก�ำลังด�ำเนินการในทิศทางเดียวกัน และไทย ตามมติทปี่ ระชุม Retreat ทีจ่ งั หวัดเชียงใหม่ตอ่ ไป
32
มุมกฎหมาย
รักเด็ก...ผิดกฎหมาย พรากผูเ้ ยาว์หรือไม่ ร.อ.ชานุวัฒน์ แสงสุวรรณ
"...มีเมียเด็กต้องหมั่นตรวจเช็คร่ายกาย..." ถ้อยเพลงแฝงนัยยะความสัมพันธ์เชิงชู้สาวของหนุ่ม รุน่ ใหญ่กบั สาวรุน่ ลูกดูแล้วน่ารักดี แต่อาจจะมีหายนะ ตามมาก็เป็นได้ ก่อนความรักจะบังเกิดและเลยเถิดเป็น ความสัมพันธ์ การคบหาดูใจกับสาววัยเด็กอาจมีปญ ั หา หรือกลายเป็นอุปสรรคโดยเฉพาะเด็กสาวที่อายุ ต�่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์ ซึ่งกฎหมายไทยได้คุ้มครอง ไว้อย่างชัดเจน เนื่องจากว่าเด็กสาวยังไม่โตพอที่จะมี วุฒิภาวะในการตัดสินใจ อาจถูกล่อลวงได้โดยง่าย
ข่าวทหารอากาศ
หรือ ถูกหลอกล่อจากผู้มากประสบการณ์ ถึงแม้ว่า คุณผู้ชายจะรักเด็กมากเพียงใด และแม้ว่าเด็กสาว จะรักคุณมากขนาดไหน ความรักทีเ่ กิดขึน้ อาจเข้าข่าย คดีพรากผู้เยาว์ก็เป็นได้ หลายคนยังสับสนและยังไม่กระจ่างกับค�ำว่า "พรากผู้เยาว์" โดยส่วนใหญ่คิดว่า การมีเพศสัมพันธ์ กับเด็กที่อายุต�่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์เท่านั้นถึงจะผิด แต่ในความเป็นจริงแล้วเพียงแค่คุณโทรชวนเด็กสาว ออกมาจากบ้าน โดยทีพ่ อ่ แม่ไม่รบั รูเ้ ท่านีค้ ณ ุ ก็เข้าข่าย ความผิดแล้ว "พรากผู้เยาว์คือการน�ำเด็กอายุต�่ำกว่า ๑๘ ปี ไปจากพ่อแม่ โดยไม่ได้รบั อนุญาตและมีเจตนา ส่อพาไปท�ำอนาจาร หรือล่วงละเมิดทางเพศ ถึงแม้วา่ ฝ่ายหญิงจะยินยอมก็ตาม ซึ่งการกระท�ำที่ส่อเข้าข่าย ความผิด เช่น แค่โทรชวนออกจากบ้านพาไปลวนลาม ก็ เข้ า ข่ า ยความผิ ด แล้ ว แต่ ถ ้ า โทรชวนไปดู ห นั ง ท�ำกิจกรรมต่าง ๆ โดยไม่เจตนาจะลวนลาม หรือ ท�ำอนาจารอันนี้ก็ไม่ผิด ส่วนการจับมือถือแขนกัน สามารถตีความได้หลายความหมายไม่ขอฟันธงว่าผิด ไม่ผดิ แต่หลัก ๆ ที่ผิดชัดเจน คือมีเพศสัมพันธ์กัน" แต่ถ้าหากว่าฝ่ายหญิงสมยอม แต่พ่อแม่ กลับไปแจ้งความมีความผิดหรือไม่
33
"มีความผิดทั้งหมดหากเด็กอายุต�่ำกว่า ๑๘ ปี ไม่ว่าจะยอมหรือไม่ยอม หากมีเพศสัมพันธ์ ผิดหมด" กล่ า วโดยสรุ ป พรากผู ้ เ ยาว์ หมายถึ ง ความผิดอาญาฐานพาเอาผู้เยาว์ที่มีอายุเกิน ๑๕ ปี แต่ยังไม่เกิน ๑๘ ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจหรือไม่เต็มใจไปด้วย เคยมีเหตุการณ์ญาติลอ่ ลวงน�ำเด็กหญิงไปให้ ผู้ชายมีเพศสัมพันธ์ด้วย แล้วขู่กรรโชกเรียกทรัพย์ กรณีนผี้ ชู้ ายมีความผิดฐานพรากผูเ้ ยาว์หรือไม่ มาดูกนั "การน�ำสืบเจตนาอาจมีการตีความได้ยาก แต่ในท้ายที่สุดเราก็มีความผิดได้ แม้ว่าเค้าจะยั่วยวน และเรารู้ว่าเค้าอายุต�่ำกว่า ๑๘ ปี ก็ไม่ควรท�ำ ไม่ว่า จะโดนล่อหลอกเพียงใด เมื่อรู้ว่าเด็กก็ไม่ควรท�ำ อย่างยิง่ แต่ถา้ เป็นมิจฉาชีพล่อลวงข่มขูก่ รรโชกทรัพย์ ก็ต้องพิสูจน์กันอีกที โดยส่ ว นใหญ่ ค ดี แ บบนี้ ไ ม่ ค ่ อ ยเกิ ด ขึ้ น เนื่องจากจะมีการตกลงไกล่เกลี่ยกัน เพื่อไม่ให้เป็น คดีความ หากเป็นคดีกนั ขึน้ มาไม่สามารถยอมความได้ ต้องรับโทษอาญา ส่วนมากจึงยินยอมที่จะไกล่เกลี่ย ค่าเสียหาย"
34
คราวนี้มาดูความผิดคดีฐานพรากผู้เยาว์ กันบ้างว่ามีโทษหนักขนาดไหน พรากเด็ ก อายุ ไ ม่ เ กิ น ๑๕ ปี มี โ ทษ จ�ำคุก ๓ - ๕ ปี ปรับ ๖๐,๐๐๐ - ๓๐๐,๐๐๐ บาท ถ้าหาก�ำไรหรืออนาจาร จ�ำคุก ๕ - ๒๐ ปี ปรับ ๑๐๐,๐๐๐ - ๔๐๐,๐๐๐ บาท พรากผูเ้ ยาว์อายุตำ�่ กว่า ๑๕ - ๑๘ ปี โดยไม่ เต็มใจ จ�ำคุก ๒ - ๑๐ ปี ปรับ ๔๐,๐๐๐ - ๒๐๐,๐๐๐ บาท ถ้าหาก�ำไรหรืออนาจาร จ�ำคุก ๓ - ๑๕ ปี ปรับ ๖๐,๐๐๐ - ๓๐๐,๐๐๐ บาท พรากผูเ้ ยาว์อายุตำ�่ กว่า ๑๕ - ๑๘ ปี โดยเต็มใจ จ�ำคุก ๒ - ๑๐ ปี ปรับ ๔๐,๐๐๐ - ๒๐๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้คดี "พรากผู้เยาว์" นั้นเป็นความผิด ทางอาญา ถ้าแจ้งความแล้วไม่สามารถยอมความได้ ถึงแม้จะตกลงไกล่เกลี่ยกันได้แล้วก็ตาม ยังคงต้อง รับโทษอยูด่ ี แต่ถงึ อย่างไรเสียความรักก็คงห้ามกันไม่ได้ และไม่ผดิ อะไรทีจ่ ะรักเด็กอายุตำ�่ กว่า ๑๘ ปี หากเพียง แค่คุณผู้ชายทั้งหลายมีความบริสุทธิ์ใจเข้าตามตรอก ออกตามประตู ขออนุญาตพ่อแม่และท�ำให้ถูกต้อง ตามประเพณี ตามกฎหมายไทยคดีพรากผูเ้ ยาว์คงไม่เกิดขึน้ แล้วต้องท�ำอย่างไรถึงจะถูกต้อง อธิบายง่าย ๆ คือ ช่วงเวลาคบหา หรือ พาออกจากบ้านต้องได้รับการ ยินยอมจากพ่อแม่เสียก่อน ถึงแม้ว่าจะยกขันหมาก
ไปสู่ขอตามประเพณีและร่วมห้องหอลงโรงเรียบร้อย วันข้างหน้าอาจผิดคดีพรากผูเ้ ยาว์ได้ ถ้าโดนแจ้งความ เนือ่ งจากว่าการสูข่ อเป็นธรรมเนียมประเพณี แต่ไม่ได้ เป็นหลักฐานทางกฎหมายนั่นเอง ทางที่ดีควรจะ จดทะเบียนสมรสไว้ดีที่สุด โดยต้องได้รับยินยอม จากพ่อแม่เซ็นยอมรับอนุญาต ซึง่ การสมรสของผูเ้ ยาว์ กฎหมายได้บัญญัติไว้ดังนี้ การสมรสระหว่างชายและหญิงนัน้ จะกระท�ำได้ เมือ่ ชายและหญิงมีอายุครบ ๑๗ ปีบริบรู ณ์ทงั้ คู่ เว้นแต่ มีเหตุสมควรต้องท�ำการขออนุญาตศาลให้ทำ� การสมรส ก่อนหน้านัน้ ได้ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ มีอายุไม่ครบ ๑๗ ปี บริบรู ณ์ แต่มเี หตุจำ� เป็นทีต่ อ้ งท�ำการสมรส เช่นมีการ ตัง้ ครรภ์กอ่ นอายุครบ ๑๗ ปีบริบรู ณ์ ฝ่ายทีอ่ ายุยงั ไม่ถงึ ต้องท�ำการยื่นขออนุญาตต่อศาลเพื่อให้ศาลอนุญาต ให้ท�ำการสมรส โดยการยื่นขออนุญาตต่อศาลนั้น ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาเช่นเดียวกัน ความรักเป็นสิ่งสวยงามไม่ว่าจะเด็กหรือ คนสูงอายุกไ็ ม่เป็นอุปสรรคต่อความรัก หากชายหญิง รักกันจริงต้องท�ำตามขนบธรรมเนียมประเพณีและ กฎหมายบ้านเมือง เมือ่ รักแล้วต้องรอได้ ยอมได้ เข้าใจได้ อย่าชิงสุกก่อนห่าม ไม่เช่นนัน้ สิง่ ทีส่ วยงามอาจท�ำร้าย ท�ำลายคุณ ไม่ว่าจะเป็นคนรักหรือคนที่หวังดีที่อยู่ รอบกายคุณ รักเด็กได้ไม่ผดิ ไม่มใี ครว่า แต่อยูท่ เี่ จตนา และการกระท�ำเท่านั้นเอง
ข่าวทหารอากาศ
มุมท่องเทีย่ ว
35
เชียงแสน กันตา
ผู้เขียนเชื่อว่า หลายท่านที่ก�ำลังมองหา สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดภาคเหนือ คงจะให้ความ สนใจไปที่ จังหวัดเชียงใหม่ แต่ในวันนีผ้ เู้ ขียนอยากจะ เชิญชวนให้ทกุ ท่านลองไปพบแง่มมุ และประสบการณ์ การท่องเที่ยวแห่งใหม่ เมืองที่หลายคนรู้จักว่ามี สามเหลีย่ มทองค�ำ จุดส�ำคัญของการค้าขายริมฝัง่ โขง ชายแดน ไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เมียนมา ดินแดนที่มีความหลากหลาย ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ทั้งทางโบราณสถาน โบราณคดี เชือ้ ชาติ - เผ่าพันธุ์ ความเป็นเมืองอนุรกั ษ์ มีธรรมชาติที่น่าสนใจ ที่งดงามและสวยงามไม่แพ้ จังหวัดใด ผูค้ นน่ารัก บ้านเมืองยังคงมีความเป็นธรรมชาติ ไม่พลุกพล่าน และทีส่ ำ� คัญ สถานทีแ่ ห่งนีค้ อื ต้นก�ำเนิด ของ “คนไทย” วันนีเ้ ราจะไปท่องเทีย่ ว อ�ำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ผู้เขียนออกเดินทาง ตอนเช้าประมาณ ๐๗.๔๕ น. จากอ�ำเภอเมืองเชียงราย ขับรถยนต์สว่ นตัว
ขึน้ ไปทาง อ�ำเภอแม่จนั โดยใช้ถนนทางหลวงหมายเลข ๑ เส้นเดียวกับไปอ�ำเภอแม่สาย จากนั้นผ่านอ�ำเภอ แม่จนั ไป จะมีทางแยกไป อ�ำเภอเชียงแสน คือ ทางหลวง หมายเลข ๑๐๑๖ ขับไปเรื่อย ๆ ใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมงเท่านั้นก็ถึงจุดหมาย ระยะทางประมาณ ๖๐ - ๗๐ กิโลเมตร ซึ่งถ้าเช่าจักรยานยนต์จากใน อ�ำเภอเมือง ก็ขับมาได้ หรือจะนั่งรถตู้มาก็มีบริการ และในตัวอ�ำเภอเชียงแสนก็มีที่เช่าจักรยานยนต์ดว้ ย เช่นกันเส้นทางไปจนถึงอ�ำเภอเชียงแสน ถนนดีมากผ่าน ผูอ้ า่ นไม่ตอ้ งกังวล อันทีจ่ ริงแล้ว สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วต่าง ๆ ส่วนใหญ่ของอ�ำเภอเชียงแสน จะเป็นวัด จะมีทั้ง ภายในก�ำแพงเมือง กับนอกก�ำแพงเมือง และส่วนใหญ่ จะอยูห่ า่ งกันไม่มากนัก ท�ำให้ผเู้ ขียนคิดว่า เพียง ๑ วัน เช้าถึงเย็นน่าจะเพียงพอ เทีย่ วแบบสบาย ๆ กับรถยนต์ ส่วนตัวได้ แต่หากท่านใดอยากมาเที่ยวแบบไม่เร่งรีบ ๒ วัน ๑ คืน สามารถเที่ยวทั่ว ๆ ได้ เพราะที่อ�ำเภอ เชียงแสนมีที่พักอยู่พอสมควร
36
บรรยากาศทะเลสาบเชียงแสน
สถานทีแ่ รกทีผ่ เู้ ขียน ตัง้ ใจมากเป็นพิเศษ คือ เขตห้ามล่าสัตว์ปา่ หนองบงคาย หรือทะเลสาบเชียงแสน พื้นที่ชุ่มน�้ำของประเทศไทย ตามอนุสัญญาแรมซาร์ ล�ำดับที่ ๑๑๐๑ ซึ่งไม่ผิดหวัง วันที่ผู้เขียนเดินทางไป ไม่มคี นเลย สงบ เงียบ สามารถขับรถยนต์เข้าไปได้เลย ไม่มีค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมสถานที่ใด ๆ หลังจากที่เพลิดเพลินกับความงดงามของ ธรรมชาติอยู่สักระยะ สถานที่ต่อไปที่เราจะได้ไป
ท่องเที่ยวกัน ได้แก่ วัดพระธาตุจอมกิตติ โดยตาม ข้ อ มู ล กรมศิ ล ปากร สร้ า งขึ้ น เมื่ อ พ.ศ.๑๔๘๓ โดยพระเจ้าพังคราชและพระเจ้าพรหมมหาราช ปัจจุบันมีอายุพันกว่าปีมาแล้วนั่นเอง เก่าแก่มาก มีทางรถขึน้ ไปถึงบนวัด หรือใครมัน่ ใจในความแข็งแรง ของร่างกายสามารถเดินขึ้นบันได ๓๐๐ กว่าขั้น ร่มเย็น ร่มรื่นมาก ตั้งแต่ทางบันไดขึ้น ไปจนถึง วัดด้านบน
ข่าวทหารอากาศ
บรรยากาศโดยรอบวัดพระธาตุจอมกิตติ
37
38
เมนูเกีย๊ วรสเด็ด ณ ร้านเกีย้ วเซีย่ งไฮ้
หลังจากที่เดินขึ้นบันได ๓๐๐ กว่าขั้น หมดเรีย่ วแรงกันไปเป็นทีเ่ รียบร้อย ผูเ้ ขียนจะได้พาท่าน ผูอ้ า่ นไปทานอาหารแสนอร่อยร้านทีร่ บั รองว่ามาแล้ว ต้องมาอีก คือ ร้านเกี้ยวเซี่ยงไฮ้ ร้านนี้เก่าแก่มาก ส่งต่อกิจการกันมารุ่นนี้เป็นรุ่นที่ ๓ แล้ว โดยอาหาร ที่นี่เน้นของสดทั้งปลาเป็น ผักสด อร่อยไม่รู้จบ หลังจากหาอะไรใส่ท้องแล้วเรียบร้อย ก็ได้ เวลาเข้ามาในตัวอ�ำเภอเชียงแสน ซึ่งจุดสังเกตส�ำคัญ คือ เชียงแสน จะมีคูเมืองและก�ำแพงเมืองที่ค่อนข้าง ชัดเจน เป็นแนวยาวโดยมีถนนเลียบก�ำแพงไปตลอด แนว เป็นเส้นทางปัน่ จักรยานด้วย สวยและบรรยากาศ ดีมาก ๆ เพราะตลอดแนวก�ำแพงเมือง จะมีต้นไม้ น้ อ ยใหญ่ ขึ้ น ตลอดแนว โดยอยู ่ ใ นความดู แ ล ของกรมศิลปากรซึ่งนับว่าดูแลได้ค่อนข้างดีทีเดียว เพราะหลังจากที่ผู้เขียนได้ลองขับรถดูไปเรื่อย ๆ แล้ว ตามแนวก�ำแพงเมืองไม่ได้ถกู รบกวนหรือท�ำลายใด ๆ เลย และที่ได้กล่าวไว้ในช่วงแรกว่าอ�ำเภอเชียงแสน นี้คือ ต้นก�ำเนิดของคนไทย ผู้เขียนจะพาทุกท่านไป ไขข้อข้องใจนีก้ นั ทีพ่ พิ ธิ ภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน
อันที่จริงแล้วซากอดีตเชียงแสนนี้มีอยู่ มากมายหลายจุดตามทุง่ นา ไร่สวน หรือบนภู บนดอย ก็มีอยู่กระจัดกระจายไปหมด ซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์ รวบรวมเอาศิลปะโบราณที่ได้จากการขุดค้นในเขต ซากเมืองเชียงแสน และโบราณสถานใกล้เคียง มาจัดแสดง การเข้าชมจัดไว้เป็นอย่างดีงา่ ยต่อความสนใจแต่ละอย่าง โดยแบ่งออกเป็นโซน เราสามารถเลือกชมไหนก่อนหลัง ก็ได้ ถ้าสนใจลวดลายปูนปัน้ อาคารจัดแสดงหลักชัน้ ล่าง หรือถ้าสนใจโบราณสถานทีส่ ำ� คัญของเมืองเชียงแสน ก็ต้องอาคารจัดแสดงหลักชั้นลอย หรือถ้าชอบเรื่อง วิถชี วี ติ ศาสนา ความเชือ่ ต้องไปดูทอี่ าคารส่วนขยาย และมุมด้านซ้ายจากประตูทางเข้า เดินเลยบันได ไปนิดเดียวมีห้องจ�ำหน่ายสินค้าที่ระลึก และหนังสือ ต่าง ๆ เกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ลา้ นนา เชียงราย เชียงแสน เมืองเชียงแสน เป็นเมืองโบราณที่มีอายุ เก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่งของแคว้นล้านนา จากหลักฐาน ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี แสดงให้เห็นว่า เมืองเชียงแสนเป็นเมืองที่มีพัฒนาการมายาวนาน เนื่องจากเป็นเมืองที่มีท�ำเลที่ตั้งเหมาะสม จึงส่งผล
ข่าวทหารอากาศ
อนุสาวรียพ์ ญาแสนภูกษัตริยใ์ นยุคทีเ่ ชียงแสนเฟือ่ งฟูทส่ี ดุ
39
บริเวณด้านหน้าพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน
ภายในวัดพระธาตุเจดียห์ ลวงวัดส�ำคัญของเมืองเชียงแสน
ให้มีความส�ำคัญทางด้านเศรษฐกิจ การปกครอง ศาสนาและศิลปกรรม ได้มีการพบหลักฐานการตั้ง ถิ่นฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุค หินเก่า ด้วยกลุ่มสิงหนวัติเป็นกลุ่มคนไทยกลุ่มแรก ทีเ่ ข้ามาสร้างบ้านแปงเมือง บริเวณทีร่ าบลุม่ แม่นำ�้ กก ชือ่ เมือง "โยนกนาคพันธสิงหนวัต"ิ มีกษัตริยผ์ สู้ บื เชือ้ สาย ปกครองต่อ ๆ กันมา ค�ำว่ามรดกนั้นสูงค่าเพียงใด ขึ้นอยู่กับเรา มองเห็นคุณค่าของมัน เชียงแสนวันนี้ ยังรุดหน้า ไปตามกระแสโลก เมื่ อ ลู ก หลานยั ง คงมี ค ่ า นิ ย ม สมัยใหม่เพียงใด มรดกของบรรพบุรุษที่สร้างมา ก็ลดค่าลงเท่านั้น หากเราไม่รักษาคุณค่าของตัวเอง
ของประเทศ ก็ยากยิ่งนักที่จะให้ผู้อื่นมาทะนุถนอม ดูแลรักษา และในท้ายที่สุด เมื่อไร้สิ้นซึ่งผู้ดูแลและ ให้ ค วามส� ำ คั ญ มรดกและคุ ณ ค่ า ของความเป็ น “คนไทย” เหล่านั้น ก็จะมลายหายไป ผู้เขียนหวัง เป็นอย่างยิ่งว่า กลับไปเชียงแสนคราวหน้า เชียงแสน จะยังคงสวยงาม สงบ และเต็มไปด้วยร่องรอย แห่งอารยธรรมและประวัติศาสตร์เช่นนี้ อย่าให้ เหมือนกับในหลาย ๆ จังหวัดของประเทศไทย ทีก่ ระแส โลกและค่านิยมทีเ่ ปลีย่ นไปของคนในท้องถิน่ ได้เข้ามา ท�ำลายอัตลักษณ์และความงดงามทีบ่ รรพบุรษุ ได้สร้าง และสั่งสมมาจนหมดสิ้น
40
ASEAN Community Little Tidbits เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประชาคมอาเซียน @Zilch
Philippines Tourist Attraction
สถานทีท ่ อ ่ งเทีย ่ วของประเทศฟิลป ิ ปินส์ Tubbataha Reefs Natural Park
Tubbataha Reefs Natural Park is a protected area for birds and marine lives, chosen by UNESCO in 1993 to be a World Heritage Site. It is located in the middle of the Sulu Sea, southeast of Puerto Princesa City, the capital of Palawan province. It has an appearance of two huge atolls which are North Atoll and South Atoll, separated the two is 8 kilometers straits. In the middle of each atoll situated a lake and sand beach.
อุทยานธรรมชาติ ปะการังตุบบาตาฮา
อุทยานธรรมชาติปะการังตุบบาตาฮา เป็นเขตรักษาพันธุ์นกและสัตว์ทะเล ที่ได้รับเลือก จากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ เมื่ อ ปี พ.ศ.๒๕๓๖ ตั้ ง อยู ่ ใ จกลางทะเลซู ลู ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเปอร์โต พรินซีซา ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจังหวัดปาลาวัน มีลักษณะ เป็นเกาะรูปวงแหวนซึ่งเกิดจากหินปะการังใหญ่ สองเกาะ คือเกาะวงแหวนเหนือ และเกาะวงแหวนใต้ ทั้งสองเกาะนี้ถูกแบ่งแยกจากกันด้วยช่องแคบที่มี ความกว้างแปดกิโลเมตร ตรงกลางของแต่ละเกาะ มีทะเลสาบและหาดทรายอยู่
อ้างอิง ข้อมูลจาก www.gothailandgoasean.tourismthailand.org/tubbataha-reefs-natural-park-world-heritage-site-philippines/ รูปจาก www.wexchange.com.au/news/58, http://www.discover-palawan.com/tubbataha-reef-national-park/
Red Eagle
ข่าวทหารอากาศ
อิ น ท รี แ ด ง แ ผ ล ง ฤ ท ธิ์
ชุดควบคุมการรบอาวุธลับ ของก�ำลังทางอากาศ สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านครับ รู้หรือไม่ ครับว่า ในกองทัพอากาศเรานัน้ มีหน่วยปฏิบตั กิ าร พิ เ ศษที่ มี ขี ด ความสามารถมากอยู ่ ห น่ ว ยหนึ่ ง ผู้ที่บรรจุอยู่ในหน่วยนี้จะต้องเป็นผู้ที่มีความ แข็งแกร่งของร่างกาย มีทักษะการใช้อาวุธที่ดี มีความสามารถในการปฏิบตั ภิ ารกิจการรบภาคพืน้ และที่ ส� ำ คั ญ ต้ อ งมี ค วามรู ้ ใ นด้ า นการติ ด ต่ อ อากาศยาน เพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ทางอากาศในพืน้ ทีก่ ารรบ ส�ำหรับวันนี้ Red Eagle อินทรีย์แดงแผลงฤทธิ์ จึงขอพาท่านผู้อ่านไปรู้จัก กับหน่วยดังกล่าว หน่วยนีม้ ชี อื่ ว่า “หน่วย Combat Control Team :CCT” หน่ ว ย CCT ถื อ ก� ำ เนิ ด ขึ้ น ในช่ ว ง สงครามโลกครัง้ ที่ ๒ ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ (สงครามโลก ครั้งที่ ๒ ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๒ - พ.ศ.๒๔๘๘) เกิดขึ้นจากการที่กองทัพบกและกองทัพอากาศ สหรัฐฯ ต้องการให้มีก�ำลังพลคอยรายงานสภาพ พื้นที่ที่จะต้องใช้ในการปฏิบัติการทางอากาศ ในเวลากลางคืน โดยก่อนหน้านี้มีหน่วยที่ชื่อว่า “United States Army pathfinders” ปฏิบัติ หน้าที่คอยรายงานพื้นที่ปฏิบัติการทางอากาศ ทั้ ง การส่ ง ทางอากาศ การโจมตี ท างอากาศ การประสานระหว่างภาคพื้นดินและภาคอากาศ เจ้าหน้าที่ CCT กองทัพอากาศไทย
น.ต.ภฤศพงศ์ ช้อนแก้ว
41
42
ซึ่งสามารถท�ำได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความ แม่นย�ำมาก โดยแรกเริ่มเรียกก�ำลังส่วนนี้ สั้น ๆ ว่า “Pathfinder” และสามารถใช้งานได้อย่างมีศกั ยภาพ มากในเรื่องของการปฏิบัติการทางอากาศให้กับ กองทัพบกและกองทัพอากาศของสหรัฐฯ ในขณะนัน้ ได้แก่ การท�ำพื้นที่ส่งลงทางอากาศ การส่งก�ำลัง ทางอากาศโดยการกระโดดร่ม และการส่งสิง่ บริภณ ั ฑ์ ทางอากาศ เป็นต้น
ก�ำลังพลหน่วย Pathfinder ของกองทัพบกสหรัฐฯ พร้อมกับเครื่อง C-47 ก่อนวัน D-Day เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๘๗
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๐ กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้แยกตัวออกมา เพือ่ ให้สามารถปฏิบตั ภิ ารกิจการรบ ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกได้อย่างมีเอกภาพและ มีอสิ ระ ในการบริหารหน่วย ซึง่ ท�ำให้หน่วย Pathfinder ต้อง ถูกแบ่งก�ำลังพลออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนหนึ่ง ยังขึ้นการบังคับบัญชากับกองทัพบกเหมือนเดิม แต่ก�ำลังพลอีกส่วนหนึ่งต้องไปขึ้นการบังคับบัญชา กับกองทัพอากาศ โดยในช่วงสงครามเกาหลี หน่วย Pathfinder ของกองทัพอากาศเป็นหน่วยที่ปฏิบัติ งานในการส่งก�ำลังทางอากาศเป็นหลักอย่างเดียว
การฝึกร่วมกันระหว่าง ชุด CCT ไทย และ ชุด CCT สหรัฐฯ
แต่มติ กิ ารปฏิบตั ภิ ารกิจทางอากาศยังต้องมีมากกว่านัน้ ระหว่างนีก้ องทัพบกได้พยายามทีจ่ ะดึงหน่วย Pathfinder มาเป็นหน่วยรบพิเศษหลักของกองทัพบก ซึ่งท�ำให้ กองทัพอากาศต้องหาทางสร้างหน่วยใหม่ขนึ้ มาทดแทน หน่วย Pathfinder โดยมีมติ กิ ารท�ำภารกิจทางอากาศ ที่มากกว่า ในปี พ.ศ.๒๔๙๖ หน่วย Pathfinder ของ กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ยุติบทบาทหน้าที่ลง และ ได้ก่อตั้งหน่วยใหม่ขึ้นมา ชื่อหน่วยว่า “Combat Control Team :CCT” เป็น “ชุดควบคุมการรบ” ซึ่งในช่วงแรก ยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก โดย ๑ ชุด จะประกอบด้วย นักบิน ๑ คน และช่างเทคนิค ๔ คน พวกเขาจะใช้รถจีป๊ และวิทยุตดิ ต่ออากาศยานมุง่ ไปยัง พื้นที่ปฏิบัติการแล้วท�ำการติดต่อกับอากาศยาน เพือ่ ท�ำภารกิจ ทัง้ นี้ หน่วย CCT เปรียบเสมือนว่าก�ำลัง ชุดนี้เป็นหอบังคับการบินที่สามารถสถาปนาขึ้น ในพืน้ ทีก่ ารรบทีใ่ ดก็ได้ โดยไม่ตอ้ งใช้หอบังคับการบินจริง และแม้ในพืน้ ทีก่ ารรบจะเป็นพืน้ ทีท่ หารฝ่ายเดียวกัน ก็ตาม ก�ำลังพลหน่วย CCT ก็ยงั จ�ำเป็นจะต้องมีความ สามารถด้านการสูร้ บแบบทหารราบด้วยเช่นกัน ตัง้ แต่ ทักษะการใช้อาวุธ การรบนอกแบบ การลาดตระเวน ความสามารถในการโดดร่มทางยุทธวิธี รวมถึงความ สามารถในการด�ำรงชีพในป่าในหลาย ๆ วัน ได้อย่าง ต่อเนื่อง เนื่องจากพื้นที่ปฏิบัติการของหน่วย CCT จะเป็นพื้นที่ฝ่ายข้าศึกเป็นส่วนใหญ่ ทัง้ นีห้ น่วย CCT เป็นหน่วยทีม่ คี วามช�ำนาญ ในการควบคุมภาคอากาศ การขอรับการสนับสนุน ทางอากาศโดยใกล้ ชิ ด (Close Air Support) การควบคุมการส่งทางอากาศ (Air Borne) ทั้งการ ส่งก�ำลังพลโดยการกระโดดร่มลง และการขอรับการ สนับสนุนสิง่ บริภณ ั ฑ์ทางอากาศ (Container Delivery System) เป็นต้น โดยจะใช้กำ� ลังชุดปฏิบตั เิ พียงไม่กคี่ น เข้าปฏิบตั งิ านร่วมกับกองก�ำลังทหารหน่วยต่าง ๆ ของ กองทัพสหรัฐฯ ซึง่ หมายความว่าก�ำลังชุดนีจ้ ะต้องร่วม เดินทางติดสอยห้อยตามไปกับเขาด้วยไม่วา่ เขาจะเป็น กองก�ำลังเหล่าทัพไหนก็ตาม เพราะถือว่าเป็นกองก�ำลัง
ข่าวทหารอากาศ
ข้อแตกต่างระหว่าง Pathifinder กับ CCT หน่วยรบ/ภารกิจ Pathfinder (Army) CCT (Air Force)
MFF
ขีดความสามารถปฏิบัติภารกิจ STL CDS PE
CAS -
43
ATC
Military Free Fall : MFF / Static Line : STL / Container Delivery System : CDS / Personal Equipment : PE / Hericoptor Landing Zone : HLZ / Close Air Support : CAS Air Traffic Control : ATC
ที่สามารถประสานการปฏิบัติกับภาคอากาศได้ทุก โอกาสเมือ่ ร้องขอไม่วา่ จะเป็น Army Special Force, Army Ranger, Navy Seal, Delta Force Team ทุกหน่วยรบพิเศษของสหรัฐฯ จะต้องมีเจ้าหน้าที่ CCT อยูด่ ว้ ย ๒ - ๓ คน และในปี พ.ศ.๒๕๐๑ โดยชุดควบคุม การรบถูกใช้งานอย่างจริงจังในการปฏิบัติการรบ ในเลบานอนเพือ่ ต่อสูก้ บั การแผ่ขยายอิทธิพลของลัทธิ คอมมิวนิสต์ จนกระทัง่ ในปี พ.ศ.๒๕๑๑ กองทัพอากาศ ของสหรัฐฯ มีบทบาทในการใช้กำ� ลังทางอากาศเหนือ พืน้ ดินเป็นอย่างมาก สามารถบินโจมตีเข้าท�ำลายทีต่ งั้ ของทหารเวียดนามเหนือและเวียดกง (แนวร่วม ประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบา) ได้ไปเป็นจ�ำนวนมาก โดยยุทธวิธกี ารควบคุมการโจมตี ทางอากาศจะช่วยให้สามารถท�ำลายพืน้ ทีข่ า้ ศึกทีเ่ ป็น ก�ำลังทหารและมีความปลอดภัยในส่วนของพื้นที่ ที่ไม่ใช่พื้นที่อันตราย เช่น บ้านเรือนประชาชนที่ ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ฯลฯ ซึ่งหมายความว่า สามารถเลื อ กการโจมตี ใ นพื้ น ที่ ส� ำ คั ญ ทางทหาร ได้อย่างแม่นย�ำ และนับจากนั้นเป็นต้นมาชุดควบคุม การรบจึงถูกใช้ในสงครามต่าง ๆ ที่สหรัฐฯได้เข้าร่วม ทุกสมรภูมเิ รือ่ ยมา โดยเฉพาะสงครามในอ่าวเปอร์เซีย และสงครามในอิรัก ปัจจุบนั การฝึกก�ำลังพลหน่วย CCT ในสหรัฐฯ จะใช้เวลาการฝึกหลักสูตรนานเกือบ ๒ ปี ซึง่ ถือว่าเป็น หลักสูตรทีม่ คี วามเข้มข้นเป็นอย่างมาก กว่า ๙๐ – ๙๕ เปอร์เซ็นต์ ของผูร้ บั ศึกษาทัง้ หมดจะไม่สามารถผ่าน หลักสูตรนีไ้ ปได้ โดยมีหลายสาเหตุ อาทิเช่น จากการ บาดเจ็บของร่างกายระหว่างการฝึก การขอลาออก และรวมถึงการไม่ผา่ นบททดสอบต่าง ๆ ด้วย
การฝึกในช่วง ๓ – ๕ สัปดาห์ จะท�ำให้ เจ้าหน้าที่ CCT มีทักษะความช�ำนาญ ๓ ระดับ และ เมื่อฝึกได้ ๑๒ - ๑๕ เดือน เจ้าหน้าที่จะได้รับทักษะ เพิ่มขึ้น เป็น ๕ ระดับ ทั้งนี้หลังจากผู้ที่รับการฝึก สามารถจบหลักสูตรออกไปได้แล้ว จนกลายเป็น เจ้าหน้าที่ CCT อย่างเต็มตัว และถึงแม้พวกเขา จะได้รบั การบรรจุเข้าประจ�ำหน่วยก็ตาม พวกเขาก็ยงั คง ต้องได้รบั การฝึกทักษะต่าง ๆ อย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ เป็นการ ต่อยอดในขั้นสูงและด�ำรงขีดความสามารถอย่าง ต่อเนือ่ ง ในการฝึกส่วนใหญ่จะท�ำการฝึกเกีย่ วกับการ ควบคุมอากาศยานเป็นหลัก เพราะถือว่าเป็นขีดความ สามารถหลักในการท�ำงานของเจ้าหน้าที่ CCT หรือ การฝึกทบทวนการเพือ่ เสริมสร้างความช�ำนาญในการ ท�ำ Joint Terminal Attack Controllers (JTACs) รวมถึงการติดต่ออากาศยานในรูปแบบยุทธวิธีต่าง ๆ เพื่ อ ใช้ ใ นการปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ โดยมี ว ลี อั น เป็ น วลี ประจ�ำหน่วยว่า “First There” มีความหมายเป็นนัยว่า “พวกเขาจะไปถึงที่นั่น (หลังแนวข้าศึก) ก่อนที่ ก�ำลังใหญ่จะมา” ซึ่งเป็นวลีเด็ดประจ�ำหน่วย CCT ของสหรัฐฯ กองทัพอากาศได้เล็งเห็นความส�ำคัญของการ พัฒนาก�ำลังพลภาคพืน้ ให้มขี ดี ความสามารถในด้านการ ติดต่ออากาศยานโจมตีเป้าหมายในพืน้ ทีก่ ารรบ โดยใช้ ชือ่ ยุทธวิธวี า่ “การขอรับการสนับสนุนทางอากาศโดย ใกล้ชดิ ” หรือ “Close Air Support” ย่อว่า “CAS” กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน จึงได้สนองต่อนโยบายดังกล่าว โดยเริม่ ผลิตก�ำลังพล ให้มคี วามสามารถในด้านชุดควบคุมการรบมาอย่างต่อเนือ่ ง ซึ่งจะรับการคัดเลือกเจ้าหน้าที่ CCT หรือ ชุ ด ควบคุ ม การรบ จากก� ำ ลั ง พลที่ จ บหลั ก สู ต ร
44
การปฏิบัติการพิเศษกองทัพอากาศ (COMMANDO/ PJ/CCT) โดยมีระยะเวลาในการฝึกศึกษาในหลักสูตร ประมาณ ๕ สัปดาห์เศษ มาบรรจุลงยังหน่วย CCT (กองร้อย ๒ กองพันปฏิบัติการพิเศษ ๓ กรมปฏิบัติ การพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน) และท�ำการ ฝึกศึกษาในขั้นสูงเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถปฏิบัติงาน ร่วมกับนักบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทัง้ นีก้ ารคัดเลือก ก�ำลังพลเข้ามารับการฝึกนั้น ผู้สมัครเข้ารับการฝึก จะต้องผ่านการทดสอบจิตเวช จากสถาบันเวชศาสตร์ การบินกองทัพอากาศ ซึ่งจะท�ำให้ได้ก�ำลังพลที่มี วิภาววิสยั ในการตัดสินใจและการท�ำงานทีด่ มี ารับการฝึก ถื อ ว่ า เป็ น การการั น ตี อ ย่ า งหนึ่ ง ของผู ้ ที่ จ ะจบ ออกไปปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ CCT ชุดควบคุมการรบ จะต้องมีความสามารถ ในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ - ความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับ อากาศยานเพื่อปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ เช่น - การขอรับการสนับสนุนทางอากาศโดย ใกล้ชิด (Close Air Support :CAS) - การส่งลงเรือยางทางยุทธวิธี (Rigging Alternate Method - Zodiac/Boat :RAM-Z/B) - การขอรับการสนับสนุนสิ่งบริภัณฑ์ทาง อากาศ (Container Delivery Systems :CDS) - การส่งพัสดุขนาดเล็กทางอากาศ Low Cost Low Altitude :LCLA) - การเรียกอากาศยาน ฮ.โจมตี (Call For Fire) - การส่งกลับผูบ้ าดเจ็บ (Casualty Evacuation :CASEVAC) ซึ่งจะเป็นในเทอมของการให้ข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับผู้บาดเจ็บกับชุดรับผู้บาดเจ็บเป็นหลัก - การขอรับการสนับสนุนการลาดตระเวน หาข่าวทางอากาศ (Intelligence, Surveillance and Reconnaissance :ISR) - การท�ำพืน้ ทีส่ ง่ ลงทางอากาศ (Drop Zone Operations) - ความสามารถในการอ่านแผนที่เข็มทิศ - ความสามารถในการปฐมพยาบาลในพืน้ ที่
การรบ (Tactical Combat Casualty Care :TCCC) - ความสามารถในการลาดตระเวนทั้งทาง บกและทางน�้ำ - ความสามารถด้านบุคคลท�ำการรบทั้งใน เวลากลางวันและกลางคืน - ความสามารถในการด�ำรงชีพในป่า - ความสามารถในการใช้อาวุธหลายชนิด - ความช�ำนาญในการกระโดดร่มแบบ กระตุกเองพร้อมเครื่องสนาม - ความสามารถในการใช้อปุ กรณ์พเิ ศษ เช่น กล้องตรวจการณ์เวลากลางคืน กล้องวัดระยะ กล้อง ก�ำลังขยาย เป็นต้น - ความสามารถในการด�ำน�้ำด้วยเครื่อง ช่วยหายใจใต้น�้ำ เพื่อปฏิบัติภารกิจในการแทรกซึม และการช่วยเหลือทางน�้ำ - ความสามารถในการลงเชือกทางดิ่งและ การลงเชือกเร่งด่วนจาก ฮ. - มีความรูใ้ นขีดความสามารถของอากาศยาน แต่ละชนิด จนสามารถประสานการปฏิบัติกับนักบิน ได้อย่างลงตัว โดย ชุดควบคุมการรบ กองทัพอากาศไทย ได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๕๒ กรมปฏิบัติการพิเศษฯ ได้ขยายอัตราขึ้น ท�ำให้เกิดเป็นกองร้อยเจ้าหน้าที่ ปฏิ บั ติ ก ารพิ เ ศษ CCT ขึ้ น คื อ ร้ อ ย.๒ พั น .๓ กรม ปพ.อย.การท� ำ งานของชุ ด ควบคุ ม การรบ จะประกอบด้วยก�ำลังพล ๗ คน (ต่อ ๑ ชุดปฏิบตั กิ าร) เข้าปฏิบตั ภิ ารกิจในพืน้ ทีก่ ารรบโดยเป็นก�ำลังส่วนหน้า เพือ่ ปฏิบตั ภิ ารกิจในการขอรับการสนับสนุนอากาศยาน โจมตีเป็นหลัก ภารกิจค่อนข้างมีความเสี่ยงอันตราย มาก ตัง้ แต่การเคลือ่ นย้ายก�ำลังเข้าสูท่ หี่ มายทีอ่ าจจะ ต้องใช้การโดดร่มแบบกระตุกเองลงหน้าแนวรบ ในฝ่ายทหารเดียวกันหรือลงหลังแนวข้าศึก ใช้การ กระโดดร่มที่เรียกว่า การโดดแบบ Height Altitude Height Opening :HAHO หรือ การกระโดดสูง เปิดสูง เป็นการกระโดดร่มในระยะความสูงประมาณ ๑๐,๐๐๐ ฟุตขึ้นไป เมื่อกระโดดออกจากตัวเครื่อง
ข่าวทหารอากาศ
แล้วท�ำการถ่วงเวลา ๕ วินาที จากนั้นจึงท�ำการดึงร่ม เมือ่ ร่มกางออกสมบูรณ์เจ้าหน้าทีจ่ ะบังคับร่มในระยะ ความสูงที่สูงมากจากพื้นดินเพื่อเดินร่มเข้าสู่ที่หมาย ในระยะทางหลาย ๆ กิโลเมตร บางครัง้ อาจต้องบังคับ ร่มในระยะทาง ๑๐ กิโลเมตร เลยก็เป็นได้ เพือ่ แทรกซึม เข้าสู่ที่หมาย โดยไม่ให้ข้าศึกรู้ตัว อุปกรณ์อกี อย่างหนึง่ ซึง่ มีความส�ำคัญมาก ส�ำหรับชุดควบคุมอากาศยานโจมตีนนั่ คือเครือ่ งชีเ้ ป้า อากาศยานโจมตี ที่เจ้าหน้าที่ CCT ต้องน�ำติดตัว ไปด้วย เพื่อช่วยในการปฏิบัติการ อุปกรณ์ชนิดนี้ มีความสามารถเสมือนเป็นเลเซอร์อินฟราเรดที่จะใช้ ชี้ไปยังจุดพิกัดที่ต้องการให้อากาศยานโจมตีได้หลาย กิโลเมตรจากจุดที่ชี้ได้อย่างแม่นย�ำ การแต่งกายของเจ้าหน้าที่ CCT จะแต่งกาย ด้ ว ยชุ ด ฝึ ก พราง พร้ อ มทั้ ง เสื้ อ เกราะกั น กระสุ น หมวกกันกระสุน วิทยุติดต่ออากาศยาน Harris ซึ่งมี ความส�ำคัญในการติดต่อกับอากาศยานทุกชนิด ชุ ด อุ ป กรณ์ ยั ง ชี พ แผนที่ เข็ ม ทิ ศ พลุ ส ่ อ งสว่ า ง แฟร์กระแทก ระเบิดควัน กล้องตรวจการณ์เวลา กลางคืน อุปกรณ์การให้ข้อมูล ๙ ข้อ ของเป้าหมาย หรือ “9 Line Brief” ชุดอุปกรณ์ปฐมพยาบาล เป็นต้น ส�ำหรับการฝึกด�ำรงขีดความสามารถของ เจ้าหน้าที่ CCT ของ กรม ปพ.อย. จะมีการฝึกขีดความ สามารถอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ซึ่งจะมีการฝึกร่วม ผสมรหัสต่าง ๆ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ CCT ของสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน ได้แก่ ๑. การฝึกผสม Cobra Gold ร่วมกับสหรัฐฯ มีการฝึกในพืน้ ทีจ่ งั หวัดอุดรธานี และจังหวัดขอนแก่น ๒. การฝึกร่วมผสม Cope Tiger การฝึก ร่วมกับเหล่าทัพและมิตรประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์
45
สหรัฐฯ มีการฝึกในพืน้ ทีจ่ งั หวัดอุดรธานี และจังหวัด ขอนแก่น ๓. การฝึกผสม Balance/Teak Torch ร่วมกับสหรัฐฯ มีการฝึกในพืน้ ทีจ่ งั หวัดประจวบคีรขี นั ธ์ และจังหวัดลพบุรี ๔. การฝึกผสม Red Flag ร่วมกับสหรัฐฯ ท�ำการฝึก ณ Elmendorf Air Force Base Alaska USA จะเห็นได้ว่า เจ้าหน้าที่ CCT มีบทบาท ในการปฏิบัติภารกิจร่วมกับอากาศยานอย่างเห็น ได้ชัด ทั้งการรบและที่ไม่ใช่การรบ สิ่งหนึ่งที่หน่วย CCT สามารถตอบโจทย์การท�ำงานของกองทัพ อากาศได้ คื อ ความสามารถในการสนั บ สนุ น การปฏิบัติการทางอากาศที่ตอบรับกับภารกิจของ กองทัพอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน่วย CCT จึ ง เป็ น ขุ ม ก� ำ ลั ง ภาคพื้ น ที่ ไร้ ขี ด จ� ำ กั ด ในการท� ำ ภารกิจทางอากาศหน่วยหนึง่ ซึง่ ควรได้รบั การพัฒนา อย่างเป็นระบบทั้งในด้านการเรียนรู้และด้านการ เสริมสร้างขีดความสามารถทักษะของเจ้าหน้าที่ ควบคุมการรบอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถพัฒนา จากการฝึกฝนตนเองอย่างสม�่ำเสมอผนวกกับการฝึก กับกองทัพอากาศสหรัฐฯ และมิตรประเทศทั้งใน และนอกประเทศ รวมถึงการจัดหางบประมาณ สนับสนุนในการส่งก�ำลังพลเข้าไปรับการฝึกหลักสูตร เจ้าหน้าที่ควบคุมการรบโดยตรงจากต่างประเทศ ซึ่งผลท้ายที่สุดหากปฏิบัติได้ตามนั้นจะท�ำให้การ ปฏิบัติการทางอากาศเกิดมาตรฐานการปฏิบัติงาน ทีเ่ พิม่ มากขึน้ สามารถท�ำการรบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก�ำลังพลมีสมรรถนะที่ดี และเป็นไปตามวิสัยทัศน์ ของกองทัพอากาศ เพื่อที่จะมุ่งสู่ความเป็นกองทัพ อากาศชั้นน�ำในอาเซียนต่อไปในอนาคต
อ้างอิง ROD POWERS. (10 July 2018). Air Force Combat Controller Training. เข้าถึงได้จาก The Balance Careers: https://www.thebalancecareers.com/air-force-combat-controller-training-3331723 U.S.AIR FORCE DOCTRINE. AIR FORCE SPECIAL OPERATIONS COMMAND (AFSOC) CORE MISSIONS. เข้าถึงได้จาก https://www.doctrine.af.mil/Portals/61/documents/Annex_3-05/3-05-D06-SOF-AFSOC-CORE-MSN.pdf กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน. (๒๕๖๐). คู่มือปฏิบัติงาน ร้อย.๒ พัน.๓ กรม ปพ.อย. กรุงเทพฯ.
46
การพัฒนา
โครงการอวกาศของจีน พล.อ.ต.กมล วัชรเสถียร ส�ำนักงานคลังสมองกองทัพอากาศ
ในปี ค.ศ.๑๙๕๑ ระหว่างสงครามเกาหลี จอมพลดักลาส แมกอาเธอร์ (General of the Army Douglas MacArthur) เสนอให้ใช้อาวุธนิวเคลียร์ กับจีน ท�ำให้เหมาเจ๋อตุงประธานพรรคคอมมิวนิสต์ จี น ตระหนั ก ถึ ง ภั ย คุ ก คามด้ ว ยอาวุ ธ นิ ว เคลี ย ร์ จากสหรัฐอเมริกา และเห็นว่าขีดความสามารถในการ ตอบโต้ดว้ ยอาวุธนิวเคลียร์เท่านัน้ จึงจะประกันความ อยูร่ อดของจีนได้ ดังนัน้ ในการประชุมคณะกรรมาธิการ กลางพรรคคอมมิ ว นิ ส ต์ เ มื่ อ วั น ที่ ๑๕ มกราคม ค.ศ. ๑๙๕๕ จีนได้ประกาศตัง้ โครงการอาวุธนิวเคลียร์ ภายใต้รหัส ๐๒ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา โครงการอวกาศของจีน
อวกาศให้จีน อาจเรียกได้ว่าเป็นบิดาของโครงการ อวกาศจีนก็ได้ ส�ำหรับประวัติของซูเชน เฉียน นั้น เขาเป็นชาวจีนที่ได้รับทุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ไปศึกษาทีส่ หรัฐอเมริกาตัง้ แต่ปี ค.ศ.๑๙๓๕ ได้มโี อกาส ศึกษาทีส่ ถาบันชัน้ น�ำ เช่น Massachusetts Institute of Technology (MIT) และ ซูเชน เฉียน เป็นผู้มี ความสามารถทางการค�ำนวณ จึงได้รบั เลือกให้ทำ� งาน วิ จั ย ภายใต้ วอน กาแมน (Von Karman) นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ด ้ า นอากาศพลศาสตร์ ชั้ น น� ำ ในขณะนั้น ในเวลาต่อมาซูเชน เฉียน เองก็ได้รับการ ยอมรับในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านอากาศพลศาสตร์ และแรงขับไอพ่นคนหนึ่ง ช่วงปลายสงครามโลก ครัง้ ที่ ๒ ซูเชน เฉียน ได้รบั มอบหมายให้เป็นผูว้ เิ คราะห์ จรวดของเยอรมันที่ถูกยึดได้ และเป็นผู้ซักถาม และรับถ่ายทอดข้อมูลจาก เวอร์เนอร์ วอน เบราน์ (Wernher von Braun) นักวิทยาศาสตร์ผู้ออกแบบ จรวดคนส�ำคัญ ซึง่ สหรัฐอเมริกาน�ำตัวมาจากเยอรมนี
ประธานาธิบดีแฮรี่ ทรูแมน และจอมพลดักลาส แมกอาเธอร์
ยุคก่อตั้ง
ในช่ ว งเวลาที่ จี น ประกาศที่ จ ะพั ฒ นา ขีดความสามารถในการตอบโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ นี้จีนได้นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนคนส�ำคัญกลับจาก สหรัฐอเมริกา ซูเชน เฉียน (Qian Xuesen) และ เขาได้เป็นก�ำลังหลักในการพัฒนาขีปนาวุธและโครงการ
จากซ้ายไปขวา Ludwig Prandtl, Qian Xuesen และ Theodore von Karman
ข่าวทหารอากาศ
ซูเชน เฉียน เป็นผู้มีส่วนส�ำคัญในโครงการอวกาศ ของสหรัฐอเมริกาในระยะก่อตั้ง แต่ต่อมาในช่วงที่มี การสร้างความหวาดกลัวคอมมิวนิสต์ในสหรัฐอเมริกา ซูเชน เฉียน ถูกจับและกักบริเวณทีบ่ า้ น จนรัฐบาลจีน ได้เจรจาขอแลกตัวกับชาวอเมริกันที่ถูกจับอยู่ในจีน ในปี ค.ศ.๑๙๕๕ เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ค.ศ.๑๙๕๖ จีนได้ตั้ง สถาบันแห่งชาติที่ ๕ แห่งกระทรวงกลาโหม (The Fifth Academy of National Defense Ministry) และได้แต่งตัง้ ให้ซเู ชน เฉียน เป็นผูอ้ ำ� นวยการคนแรก และสถาบันแห่งนี้ได้เริ่มพัฒนาโครงการขีปนาวุธ โดยใช้ชื่อแผนสิบสองปีส�ำหรับการบินและอวกาศ ของจีนฉบับที่ ๑ นอกจากความรู้และประสบการณ์ ของซูเชน เฉียน แล้ว สหภาพโซเวียตได้ให้ความช่วยเหลือ ด้านเทคโนโลยีแก่จีน ทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการฝึกอบรมให้แก่นักศึกษาของจีน จนกระทั่ง ในปี ค.ศ.๑๙๕๘ จีนเริม่ พัฒนาขีปนาวุธรุน่ แรกโดยวิธี วิศวกรรมย้อนกลับขีปนาวุธพิสัยใกล้ (Short Range Ballistic Missile :SRBM) R2 ของสหภาพโซเวียต เมือ่ นิกติ า ครูสชอฟ (Nikita Khrushchev) ขึ้ น ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง เลขาธิ ก ารพรรคคอมมิ ว นิ ส ต์ ของสหภาพโซเวี ย ต ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งจี น และสหภาพโซเวียตเริม่ มีปญ ั หา และโซเวียตตัดความ ช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีต่อจีนตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๖๐ แต่อย่างไรก็ตามจีนยังคงเดินหน้าวิจัยและพัฒนา ขีปนาวุธของตนเองอย่างต่อเนื่อง และประสบความ ส� ำ เร็ จ ในการทดสอบขี ป นาวุ ธ พิ สั ย ใกล้ Dong Feng-1 (DF-1) ในปลายปี ค.ศ.๑๙๖๐ นั้นเอง DF-1 มีระยะยิง ๕๙๐ กม. หนัก ๒๐.๕ ตัน ขับเคลื่อนด้วย เชื้อเพลิงออกซิเจนเหลวและแอลกอฮอล์ หลังจากประสบความส�ำเร็จในการพัฒนา ขีปนาวุธพิสยั ใกล้ ในปีเดียวกันจีนได้เริม่ พัฒนาขีปนาวุธ พิสัยกลาง (Medium Range Ballistic Missile :MRBM) ระยะยิง ๑,๐๐๐ กม. โครงการนี้ประสบ ความส�ำเร็จในปี ค.ศ. ๑๙๖๔ จากนัน้ ได้พฒ ั นาขีปนาวุธ
47
พิสัยกลาง DF-3 ระยะยิง ๒,๕๐๐ กม.ส�ำเร็จในปี ค.ศ.๑๙๖๖ พั ฒ นาขี ป นาวุ ธ พิ สั ย ปานกลาง (Intermediate Ballistic : IRBM) DF-4 เริ่มในปี ค.ศ.๑๙๖๗ และส� ำ เร็ จ ในปี ค.ศ.๑๙๗๐ DF-4 เป็นจรวดเชือ้ เพลิงเหลว ๒ ท่อน บรรทุกหัวรบนิวเคลียร์ ๑ ลูก ระยะยิง ๔,๗๕๐ กม. และต่อมาจีนพัฒนา ขีปนาวุธข้ามทวีป (Intercontinental Ballistic Missile :ICBM) DF-5 เริ่ ม ในปี ค.ศ.๑๙๖๕ DF-5 เป็ น ขี ป นาวุ ธ เชื้ อ เพลิ ง เหลว ๒ ตอน ระยะยิง ๑๒,๐๐๐ กม. ยุคแข่งขันเป็นเจ้าอวกาศ หลังจากสหภาพโซเวียตได้ส่งดาวเทียม สปุตนิกขึ้นสู่วงโคจรของโลกเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ค.ศ.๑๙๕๗ คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ ได้ตัดสินใจว่าจีนต้องมีดาวเทียมของตัวเองจึงจะ มีความทัดเทียมกับชาติมหาอ�ำนาจอื่นได้ ดังนั้น ในการประชุมสภาแห่งชาติเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ค.ศ.๑๙๕๘ จึงอนุมัติโครงการ ๕๘๑ มีวัตถุประสงค์ ทีจ่ ะส่งดาวเทียมขึน้ สูว่ งโคจรใน ค.ศ.๑๙๕๙ เพือ่ ฉลอง ในวาระโอกาสการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ครบ ๑๐ ปี จีนได้ใช้เทคโนโลยีขปี นาวุธระยะปานกลาง และขีปนาวุธข้ามทวีปเป็นพื้นฐานในการพัฒนายาน ส่งดาวเทียมจรวด Long March 1 (LM-1) ถูกพัฒนา ขึ้นต่อยอดจากขีปนาวุธ DF-4 เพื่อส่งดาวเทียมเข้าสู่ วงโคจรรอบโลกจรวด LM-1 สามารถส่งดาวเทียม
Dong Feng 1
Dong Feng 2
Dong Feng 5
48
Dong Fang Hong 1 (DFH-1) เข้าสู่วงโคจรได้ส�ำเร็จ เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ค.ศ.๑๙๗๐ ในขณะเดียวกันจีนได้พฒั นายานส่งดาวเทียม ขนาดใหญ่ต่อยอดจากขีปนาวุธข้ามทวีป DF-5 โดย ส�ำนักที่ ๒ ของอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลไฟฟ้า แห่งนครเซี่ยงไฮ้ (Shanghai’s 2nd Bureau of Mechanic-Electrical Industry) ได้พัฒนายาน ส่งดาวเทียมขนาดใหญ่ Feng Bao 1 (FB-1) และ
Long March 1 Long March 2
FB 1
ส�ำนักอวกาศที่ ๑ (First Space Academy) พัฒนา ยานส่งดาวเทียมขนาดใหญ่ Long March-2 เป็นการ คู่ขนานกันไป การแข่ ง ขั น เป็ น เจ้ า อวกาศระหว่ า ง สหรั ฐ อเมริ ก าและสหภาพโซเวี ย ตถึ ง จุ ด สู ง สุ ด เมือ่ ทัง้ สองชาติแข่งขันทีจ่ ะพิชติ ดวงจันทร์ จีนก็ตอ้ งการ แข่งขันกับชาติมหาอ�ำนาจทั้งสอง ในปี ค.ศ.๑๙๖๗ จีนได้รเิ ริม่ แนวคิดทีจ่ ะส่งยานอวกาศทีม่ มี นุษย์ไปด้วย ในปี ค.ศ.๑๙๖๘ จีนได้กอ่ ตัง้ สถาบันเวชศาสตร์อวกาศ ขึน้ เพือ่ เตรียมการ และเมือ่ สหรัฐอเมริกาประสบความ ส� ำ เร็ จ ในการส่ ง มนุ ษ ย์ ไ ปลงดวงจั น ทร์ ไ ด้ ใ นปี ค.ศ.๑๙๖๙ จี น จึ ง ได้ เริ่ ม โครงการ ๗๑๔ ในปี ค.ศ.๑๙๗๑ มี เ ป้ า หมายที่ จ ะส่ ง มนุ ษ ย์ ข้ึ น ไปกั บ ยานอวกาศภายในเวลา ๒ ปี มีการคัดเลือกมนุษย์อวกาศ จากนั ก บิ น ของกองทั พ จ� ำ นวน ๑๙ คนมาฝึ ก เพื่อเป็นมนุษย์อวกาศแต่โครงการนี้ต้องยกเลิกไป เพราะความวุ่นวายทางการเมืองในขณะนั้น
หลังการถึงแก่อสัญกรรมของเหมาเจ๋อตุง เติง้ เสีย่ วผิงได้ขนึ้ สูอ่ ำ� นาจ มีการปฏิรปู ระบบการเมือง และเศรษฐกิจใหม่ โดยให้ความส�ำคัญกับการพัฒนา ทางเศรษฐกิจมากขึน้ โครงการด้านการทหารทีเ่ กีย่ วกับ ขีปนาวุธ และการป้องกันขีปนาวุธรวมถึงโครงการ ด้านอวกาศหลายโครงการทีส่ นิ้ เปลืองและไม่เหมาะสม กับสถานการณ์ถูกยกเลิกหรือถูกชะลอไป โครงการ อวกาศถูกน�ำมาใช้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจมากขึ้น อาทิ เช่น จรวดลองมาร์ชถูกใช้เชิงพาณิชย์ ใช้ส่ง ดาวเทียมให้ตา่ งชาติมากกว่า ๓๐ ดวง ลูกค้าส่วนใหญ่ เป็นประเทศในยุโรปและเอเชีย หลังสิ้นสุดสงครามเย็น หลั ง การล่ ม สลายของสหภาพโซเวี ย ต ในปี ค.ศ.๑๙๙๑ ถือเป็นการสิน้ สุดลงของสงครามเย็น จีนได้เริ่มการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจในจีน ขนานใหญ่ ได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารงาน โครงการอวกาศใหม่ในปี ค.ศ.๑๙๙๓ จีนได้จัด องค์ ก ารอวกาศโดยเลี ย นแบบรู ป แบบของชาติ ตะวันตก กระทรวงอุตสาหกรรมอวกาศได้ถูกแทนที่ ด้วยองค์การอวกาศแห่งชาติจีน (China National Space Administration :CNSA) และบริ ษั ท อุ ต สาหกรรมการบิ น และอวกาศจี น (China Aerospace Corporation :CASC) ทัง้ สองหน่วยงาน อยู ่ ภ ายใต้ ก ารก� ำ กั บ ดู แ ลของคณะกรรมาธิ ก าร วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศ (Commission of Science, Technology and Industry for National Defense) องค์การ อวกาศแห่งชาติจีนเป็นผู้รับผิดชอบในการก�ำหนด นโยบาย ขณะที่ บ ริ ษั ท อุ ต สาหกรรมการบิ น และอวกาศจี น เป็ น ผู ้ ป ฏิ บั ติ และต่ อ มาบริ ษั ท อุ ต สาหกรรมการบิ น และอวกาศจี น ได้ แ ตกตั ว ออกเป็ น บริ ษั ท ขนาดเล็ ก หลายบริ ษั ท ให้ เ หมื อ น บริ ษั ท เอกชนเพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพในการ ด�ำเนินการ
ข่าวทหารอากาศ
49
นักบินอวกาศ Yang Liwei ในยาน Shenzhou-5
จี น ได้ มี ก ารพั ฒ นาโครงการอวกาศ อย่างรวดเร็วจนกระทั่งจีนเป็นประเทศที่ ๓ ของโลก ที่สามารถส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ ท�ำให้จีนถูกจัดเป็น มหาอ�ำนาจทางด้านอวกาศเทียบเท่าสหรัฐอเมริกา และรัสเซีย จีนสามารถสร้างดาวเทียมปฏิบัติภารกิจ ต่าง ๆ เช่น ดาวเทียมสือ่ สาร ดาวเทียมส�ำรวจทรัพยากร ดาวเทียมก�ำหนดพิกดั บนผิวโลก และอืน่ ๆ เทคโนโลยี ดาวเทียมของจีนไม่ดอ้ ยกว่าชาติใด หรืออาจเหนือกว่า เช่นจีนเป็นชาติแรกทีส่ ร้างดาวเทียมสือ่ สารทีเ่ ข้ารหัส ควอนตัมได้ นอกจากนีจ้ นี ยังมีโครงการต่าง ๆ ทีแ่ สดงถึง ความทะเยอทะยานของจีนที่จะเป็นผู้น�ำอาทิ เช่น โครงการสร้างสถานีอวกาศ โครงการส�ำรวจดาวอังคาร และล่าสุดโครงการส่งยานอวกาศไปลงด้านไกล ของดวงจันทร์พร้อมด้วยหุ่นยนต์ส�ำรวจ ความส�ำเร็จ ของโครงการนี้เป็นที่ยอมรับของทั่วโลก ในด้านการป้องกันประเทศ จีนได้มีการ เสริ ม สร้ า งขี ด ความสามารถด้ า นการสนั บ สนุ น
ยาน Chang’e 4 บนผิวดวงจันทร์
ทางทหารจากอวกาศเช่นเดียวกับทีก่ องทัพสหรัฐอเมริกา มีอยู่ เช่น ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมตรวจการณ์ และลาดตระเวน ดาวเทียมน�ำร่อง และดาวเทียม ตรวจสภาพอากาศ ขณะนีจ้ นี อยูใ่ นระหว่างการปฏิรปู กองทัพ ส่วนทีส่ ำ� คัญส่วนหนึง่ ได้แก่ การจัดตัง้ กองก�ำลัง สนับสนุนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Support Force) เป็นหน่วยงานมีฐานะเทียบเท่ากองทัพรับผิดชอบ ด้านอวกาศและไซเบอร์โดยเฉพาะ ถือเป็นชาติแรก ที่มีการจัดตั้งกองทัพอวกาศขึ้น
50
ข้อคิดเห็น ด้านนโยบายและการบริหาร โครงการอวกาศ ของจีนเริ่มต้นจากด้านการทหาร ซึ่งขณะนั้นผู้น�ำจีน ถือว่าภัยคุกคามจากอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา มีผลต่อความอยูร่ อดของชาติ ในระยะเริม่ ต้นจึงทุม่ เท ทรัพยากรในการพัฒนาอย่างมาก โดยกองทัพจีน มีบทบาทน�ำ แต่หลังสิน้ สุดสงครามเย็น เมือ่ ภัยคุกคาม ทางทหารซึง่ หน้าลดลง โครงการอวกาศของจีนจึงถูกใช้ เพื่ อ การวิ จั ย ทางวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี เพิ่มขีดความสามารถของการแข่งขันทางเศรษฐกิจ แต่ ก็ ยั ง คงเพิ่ ม ศั ก ย์ ส งครามให้ แ ก่ ป ระเทศ จนชาติ ม หาอ� ำ นาจคู ่ แข่ ง อย่ า งสหรั ฐ อเมริ ก า ยังต้องระวังนโยบายที่ต่อเนื่องและชัดเจน มีการ ก� ำ หนดเป้ า หมายและผู ้ รั บ ผิ ด ชอบอย่ า งชั ด เจน สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้จีนมีความก้าวหน้า อย่างรวดเร็ว ด้านบุคลากร จีนเริม่ ต้นจากการใช้บคุ ลากร ที่ได้รับการศึกษาและมีประสบการณ์การท�ำงาน จากสหรัฐอเมริกาซึง่ เป็นผูน้ ำ� ทางด้านเทคโนโลยีอวกาศ ในขณะนั้น เป็นแกนน�ำในการพัฒนา และได้ส่งคน ไปเรียนและรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากสหภาพ โซเวียตจ�ำนวนหนึ่ง แต่จีนเองก็มีบุคลากรที่มีความรู้ ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่สูงเป็นทุนเดิม อยู่ด้วย ในระยะเริ่มแรกจีนก็ยังได้รับความช่วยเหลือ จากสหภาพโซเวียต ในโครงการเริ่มแรกจีนเริ่มจาก วิศวกรรมย้อนกลับจรวดของสหภาพโซเวียตซึง่ เป็นการ เรียนลัด พร้อมทั้งเป็นการพัฒนาความรู้และทักษะ บุคลากรของตนเอง เพื่อให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ดังนั้นเมื่อความสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียตมีปัญหา
โครงการอวกาศของจีนยังคงด�ำเนินการต่อไปได้โดย ไม่สะดุด ในด้านโครงสร้าง ในยุคเริ่มก่อตั้ง ปัญหา เฉพาะหน้า คือ ภัยคุกคามทางทหาร หน่วยงานหลัก ทีร่ บั ผิดชอบ ได้แก่ กองทัพ แต่หลังภัยคุกคามเปลีย่ นไป โครงสร้ า งนี้ มี ก ารปรั บ เปลี่ ย นไปโดยเลี ย นแบบ ชาติตะวันตก เน้นเพิ่มประสิทธิภาพ ใช้เทคโนโลยี อวกาศ เพื่ อ การพั ฒ นาประเทศด้ า นเศรษฐกิ จ และเมือ่ เศรษฐกิจเข้มแข็ง ก�ำลังอ�ำนาจด้านเศรษฐกิจ ก็เพิ่มความสามารถในการพัฒนาโครงการอวกาศ ให้เจริญก้าวหน้าขึ้น อาจกล่าวได้ว่าตลอดระยะเวลากว่า ๖๐ ปี ที่ ผ ่ า นมา โครงการอวกาศของจี น มี วิ วั ฒ นาการ ที่ เข้ ม แข็ ง ต่ อ เนื่ อ งเป็ น ระบบมาโดยล� ำ ดั บ และ ก้ า วมาสู ่ ป ระเทศชั้ น น� ำ ของโลกเที ย บเท่ า กั บ สหรัฐอเมริกาและรัสเซียทีเ่ คยรุง่ เรืองมาก่อน และจีน ได้ใช้ประโยชน์จากโครงการนี้ ในการพัฒนาศักยภาพ ของประเทศ ทั้ ง ด้ า นบุ ค ลากร เศรษฐกิ จ และ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จนจีนก้าวสู่ความเป็น มหาอ�ำนาจของโลก ที่ทุกประเทศต้องให้ความสนใจ คาดว่าอีกในไม่ชา้ นีค้ วามก้าวหน้าด้านอวกาศของจีน จะน�ำการเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ของโลกในหลาย ๆ ด้าน กิตติกรรมประกาศ ผู ้ เขี ย นขอขอบคุ ณ พล.อ.ต.ประพั ท ธ์ ฤทธาคนี พล.อ.ต.ส�ำราญ ชมโท น.อ.หญิง ดลฤดี โรจน์วิริยะ และ น.อ.หญิง อัญชลี อนันตศิริ ที่ได้ช่วย ตรวจสอบ และให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการเขียน บทความนี้
อ้างอิง www.en.wikipedia/wiki/President_Truman%27_relief_of_General_Douglas_MacArthur www.en.wikipedia/wiki/Qian_Xuesen www.en.wikipedia/wiki/Dongfeng _(Missile) www.china.org.cn/china/2011-09/28/content_23512520.html https://spacerocket.de/doc_lau/fb-1.htm https://arstechnica.om/science/2018/01/chinese-first-astronaut-said-he-experienced-a-wild-ride-into-space/ http://www.theguadian.com/science/2019/jan/03/china-probe-change-4-land-farside-moon-basin-crater
ข่าวทหารอากาศ
(ต่อจากฉบับที่แล้ว)
การวิเคราะหปฏิบต ั ก ิ ารทางอากาศ ของยุทธการพายุทะเลทราย ในสงครามทางอากาศสงครามอ่าวเปอร์เซียครัง ้ ที่ ๑ ด้วยทฤษฎีการวิเคราะห์หาจุดศูนย์ดล ุ และจุดเปราะบาง
CENTERS OF GRAVITY & CRITICAL VULNERABILITIES ของ ดร.โจ สะเตร็ง (Joe Strange)
น.อ.ชวินทร์ ศรีวิริยเลิศกุล
การปฏิบตั กิ ารทางอากาศของฝ่ายพันธมิตร ใน Operation Desert Storm นั้น มีการปฏิบัติการ ตอบโต้ทางอากาศเชิงรุก แบ่งออกเป็น ๓ ช่วงด้วยกัน โดยในช่วงแรก คือ การทิ้งระเบิดกรุงแบกแดดด้วย เครือ่ งบิน B-52 ของสหรัฐอเมริกา พร้อมกับการโจมตี ระบบป้องกันภัยทางอากาศด้วยเครือ่ งบินทีม่ คี ณ ุ สมบัติ ตรวจจับยาก (stealth) ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ อืน่ ๆ เช่น Radar Jammer, Precision – Smart Weapon เช่น จรวด BGM-109 (Tomahawk) และ ระเบิดน�ำวิถดี ว้ ยเลเซอร์ (Laser Guide Bomb :LGB) ร่วมกับเทคนิคการบินแบบใช้ความสูงต�่ำ เพื่อหลบ การตรวจการของเรดาร์เข้าโจมตีระบบบัญชาการและ ควบคุม ระบบป้องกันทางอากาศ ระบบขีปนาวุธ
51
52
SCUD และเป้าหมายยุทธศาสตร์อนื่ ๆ ในกรุงแบกแดด เมืองส�ำคัญอื่น ๆ และในคูเวต ด้วยกลยุทธ์ Surprise Attack ช่วงต่อมาคือการช่วงชิงความได้เปรียบ ทางอากาศ (Air Superiority) เหนือยุทธบริเวณ และ เมื่อสามารถชิงความได้เปรียบทางอากาศส�ำเร็จแล้ว ก็ใช้กำ� ลังทางอากาศท�ำการโจมตีขดั ขวางทางยุทธศาสตร์ และทางยุทธวิธี เพือ่ ท�ำลายหรือบัน่ ทอนก�ำลังภาคพืน้ ทัง้ ทางบกและทางทะเลของอิรกั ให้ออ่ นแอให้มากทีส่ ดุ เพื่อเตรียมการบุกทางภาคพื้น และช่วงสุดท้ายคือ การสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด เพื่อสนับสนุน ก�ำลังภาคพืน้ ให้สามารถปฏิบตั กิ ารเข้ายึดพืน้ ทีไ่ ด้ส�ำเร็จ ตามแผนยุทธการเป็นการสนธิกำ� ลังระหว่างกองก�ำลัง ภาคพื้นและกองก�ำลังทางอากาศ ตามหลักนิยม AIR LAND BATTLE เข้าโจมตีให้กองก�ำลังอิรกั ยอมแพ้ และถอนตัวออกจากคูเวต โดยใช้เวลาในการปฏิบัติ การรวมทั้งสิ้น ๔๒ วัน ยั ง มี อี ก หลายปั จ จั ย ที่ ท� ำ ให้ ป ฏิ บั ติ ก าร ทางอากาศเชิงรุกของฝ่ายพันธมิตรท�ำได้อย่างมี ประสิทธิภาพ คือ การน�ำเครือ่ งบินแจ้งเตือนภัยและควบคุม
ทางอากาศ (Airborne Warning and Control System :AWACs) มาใช้ท�ำให้เครื่องบินฝ่ายพันธมิตรเข้า กวาดล้างก�ำลังทางอากาศ (SWEEP) ของฝ่ายอิรัก ทีข่ นึ้ บินปฏิบตั กิ ารสกัดกัน้ ทางอากาศ (Air Interception) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาวุธทีใ่ ช้ทำ� ลายอากาศยาน ของฝ่ายตรงข้ามของทัง้ สองฝ่าย ส่วนใหญ่จะเป็นจรวด อากาศสูอ่ ากาศ ประเภทมีระยะยิงเกินกว่าการมองเห็น เป้าหมายด้วยสายตา (Beyond Visual Range missiles :BVR) ซึ่งจ�ำเป็นต้องใช้ระบบเรดาร์ของ เครื่องบินในการตรวจจับเป้าหมาย ซึ่งเครื่องบินฝ่าย พันธมิตรมีความทันสมัยกว่า มีระยะการท�ำการของ เรดาร์ไกลกว่า จึงได้รับชัยชนะในการรบทางอากาศ ส่ ว นการปฏิ บั ติ ก ารตอบโต้ ท างอากาศ เชิงรับของฝ่ายพันธมิตร ได้วางระบบป้องกันภัย ทางอากาศ เพือ่ ป้องกันการโจมตีจากฝ่ายอิรกั ทีส่ ำ� คัญ คือระบบขีปนาวุธ SCUD โดยทางสหรัฐฯได้วางระบบ ป้องกันการโจมตีดว้ ยจรวดประเภท Ballistic Missiles ไว้ครอบคลุมเหนือซาอุดอิ าระเบียและอิสราเอลไว้แล้ว อีกทัง้ วางระบบการป้องกันภัยทางอากาศไว้ตามชายแดน
ข่าวทหารอากาศ
ระหว่างอิรกั และซาอุดอิ าระเบียไว้ดว้ ยเช่นกัน ท�ำให้ เมือ่ อิรกั บุกเข้ายึดเมืองคาฟจี อิรกั ต้องสูญเสียอากาศยาน ไปหลายล�ำ นอกจากเทคโนโลยีการทหารที่เหนือกว่า แล้ว ฝ่ายประเทศพันธมิตรยังมีการส่งก�ำลังบ�ำรุง ทีเ่ หนือกว่าในทุกด้าน ทัง้ ด้านการซ่อมบ�ำรุงอากาศยาน ทีต่ อ่ เนือ่ ง สามารถสับเปลีย่ นเครือ่ งบินทีม่ คี วามพร้อม บินใหม่มาทดแทนได้อยู่ตลอดเวลา โดยเครื่องบิน ที่ครบเวลาต้องเข้าซ่อมบ�ำรุงใหญ่ สามารถกลับไป ท�ำการซ่อมยังประเทศแนวหลังนอกยุทธบริเวณได้ทกุ ล�ำ ส่วนระบบอาวุธจรวดอากาศสูอ่ ากาศ โดยเฉพาะจรวด ที่มีระยะท�ำการเกินระยะการมองเห็น ประเทศฝ่าย พันธมิตรก็เป็นเจ้าของเทคโนโลยีเอง สามารถท�ำการ ผลิตและส่งมอบให้แก่กำ� ลังรบในยุทธบริเวณได้อย่าง ต่อเนื่อง ต่างจากอิรักที่มีอยู่อย่างจ�ำกัดได้ ตลอดจน การด�ำเนินกลยุทธ์ของก�ำลังภาคพื้น โดยจัดการซ้อม ยกพลขึน้ บกของกองก�ำลังภาคพืน้ เพือ่ ใช้เป็นแผนลวง ว่ากองก�ำลังพันธมิตรจะโจมตีทางภาคพื้นโดยการ ยกพลขึน้ บกจากทางอ่าวเปอร์เซียเข้าสูค่ เู วต กองก�ำลัง
53
ภาคพืน้ ของอิรกั ส่วนใหญ่จงึ ตรึงก�ำลังอยูท่ คี่ เู วต ท�ำให้ กองก�ำลังพันธมิตรสามารถโจมตีอริ กั จากทางประเทศ ซาอุดิอาระเบียได้โดยง่าย เมื่อท�ำการวิเคราะห์สงครามทางอากาศ ตามทฤษฎีหาจุดศูนย์ดุลและจุดเปราะบาง CG and CVs ของ ดร.โจ สะเตร็ง (Joe Strange) จะพบว่า ก�ำลังทางอากาศของพันธมิตรนั้น มีความเหนือกว่า เป็นอย่างมากเห็นได้จากมีภารกิจเที่ยวบินมากกว่า ๑๑๐,๐๐๐ ภารกิจ โดยใช้เครือ่ งบินรบกว่า ๒,๒๕๐ ล�ำ เมื่อเทียบกับฝ่ายอิรักที่มีเครื่องบินในสงครามครั้งนี้ เพียงเครื่องบินรบ ๕๕๐ ล�ำ และเครื่องบินสนับสนุน อีกเล็กน้อย เพราะเครื่องบินรบของอิรักบางส่วน มีความล้าสมัยไม่มคี ณ ุ ค่าทางยุทธการ และอากาศยาน ทีท่ นั สมัยจ�ำเป็นต้องได้รบั การซ่อมบ�ำรุงใหญ่นอกประเทศ ตนเอง ท�ำให้มขี อ้ จ�ำกัดเรือ่ ง (Full Mission Capable :FMC) อีกทั้งจ�ำนวนจรวดอากาศสู่อากาศที่มีจ�ำนวน จ�ำกัดและไม่สามารถผลิตในประเทศเองได้ เป็นปัจจัย ส�ำคัญทีท่ ำ� ให้กำ� ลังทางอากาศของอิรกั สามารถปฏิบตั ิ การได้เพียงสองสัปดาห์ อากาศยานทีย่ งั สามารถบินได้อยู่
Strategic Air Strike by B – 52, F - 117
54
ของอิ รั ก ต้ อ งบิ น หนี ไ ปที่ อิ ห ร่ า นจ� ำ นวนทั้ ง หมด ๑๔๓ เครื่อง (เครื่องบินรบ ๑๒๑ เครื่อง) เหลือเพียง ระบบป้องกันภัยทางอากาศและจรวดต่อสูอ้ ากาศยาน ที่ยังคงมีสมรรถภาพอยู่บ้าง ผลของการรบทางอากาศ ฝ่ายพันธมิตร สามารถชิงความได้เปรียบทางอากาศได้ส�ำเร็จ โดยมี อากาศยานที่เสียหายและสูญเสียทั้งสิ้น ๗๕ ล�ำ ๘ ล�ำ เสียหายจากการรบทางอากาศ เกือบ ๓๐ ล�ำ เสียหาย จากระบบป้องกันภัยทางอากาศของฝ่ายอิรัก และ ทีเ่ หลือเกิดจากการกระท�ำจากฝ่ายเดียวกัน ส่วนฝ่าย อิรักสูญเสียอากาศยานทั้งสิ้น ๑๔๑ ล�ำ ๓๖ ล�ำ เสียหายจากการรบทางอากาศ ส่วนทีเ่ หลือถูกท�ำลาย ขณะจอดอยูบ่ นพืน้ ดิน หลังจากฝ่ายพันธมิตรชิงความ ได้เปรียบทางอากาศในพืน้ ทีต่ อนใต้ของอิรกั และคูเวต ส�ำเร็จแล้ว ก็ได้ท�ำการโจมตีที่หมายต่าง ๆ ในการ บัน่ ทอนก�ำลังของฝ่ายอิรกั (Air Interdictions) เป้าหมาย ที่ถูกโจมตีได้แก่ สะพานหลายร้อยแห่ง โรงงานผลิต น�้ำดื่ม - น�้ำประปา คลังเก็บอาหาร คลังอาวุธ กระสุน และท่อส่งน�ำ้ มัน เพือ่ ให้กำ� ลังภาคพืน้ ของอิรกั อ่อนแอ
ลงให้มากที่สุด เมือ่ วิเคราะห์กำ� ลังทางอากาศของฝ่ายอิรกั พบว่าจุดมุ่งหมายของปฏิบัติการ คือ ป้องกันไม่ให้ ก�ำลังทางอากาศของฝ่ายพันธมิตรสามารถปฏิบตั กิ าร เหนือพืน้ ทีค่ วามขัดแย้งได้ (Denied Coalition Force Air operations) เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว อิรักต้องด�ำเนินการตอบโต้ทางอากาศทั้งเชิงรุกและ เชิงรับ ในเชิงรุก อิรักใช้จรวด Scud โจมตีอิสราเอล เพื่อตอบโต้การทิ้งระเบิดกรุงแบกแดดด้วยเครื่องบิน B-52 ของสหรัฐอเมริกา เป็นการตอบโต้ทางยุทธศาสตร์ (Strategic Air Strike) เพื่อหวังดึงอิสราเอลเข้ามาสู่ ความขัดแย้งครัง้ นีด้ ว้ ย โดยหวังผลให้กองก�ำลังพันธมิตร แตกความสามัคคีกัน และใช้จรวด Scud โจมตี สนามบินหน้าและฐานส่งก�ำลังบ�ำรุงทางบกของฝ่าย พันธมิตร ไม่ให้สามารถรุกคืบเข้ามาในอิรกั ได้ เป็นการ โจมตีทางยุทธการ (Battle Filed Air Interdict :BAI) ส่วนในเชิงรับ อิรักต้องการเครื่องบินรบสมรรถนะสูง จรวดอากาศสูอ่ ากาศทีม่ พี สิ ยั ท�ำการเกินระยะสายตา และระบบแจ้งเตือนภัยทางอากาศที่ท�ำงานได้ตลอด
Airborne Early Warning and Control
ข่าวทหารอากาศ
๒๔ ชัว่ โมง เพือ่ ไม่ให้กำ� ลังฝ่ายพันธมิตรสามารถท�ำลาย ก�ำลังรบ โครงสร้างพื้นฐานที่จ�ำเป็นในการส่งก�ำลัง บ�ำรุงในแนวหน้าและขวัญก�ำลังใจทหารฝ่ายตนได้ เมือ่ หาความสัมพันธ์ระหว่าง CG-CC-CR-CV ในสงครามทางอากาศของทั้งสองฝ่ายมาวิเคราะห์ จะพบว่า ๑. CG ของทั้งสองฝ่ายนั้นเหมือนกันคือ การปฏิบัติการทางอากาศเหนือภูมิภาคของการ ขัดแย้ง (Air Operation in war Theater over Israel, Saudi Arabia, Iraq, Kuwait and Persian Gulf) ๒. CCs คือ การตอบโต้ทางอากาศเชิงรุก และเชิงรับ โดยตัวตัดสินผลของสงครามทางอากาศ คือ การปฏิบตั กิ ารกวาดล้างทางอากาศของฝ่ายพันธมิตร กับการสกัดกั้นทางอากาศของฝ่ายอิรัก ๓. CRs คือ เครือ่ งบินรบสมรรถนะสูงพร้อม ระบบอาวุธทีเ่ กินระยะมองเห็นด้วยสายตาของทัง้ สอง ฝ่าย การโจมตีทางอากาศด้วยอาวุธที่มีเทคโนโลยีขั้น สูงของฝ่ายพันธมิตรการโจมตีทางยุทธศาสตร์ด้วย ระบบจรวด Scud ของอิรกั และระบบป้องกันภัยทาง อากาศของทั้งสองฝ่าย
55
๔. CVs คือ การปรนนิบตั บิ ำ� รุงอากาศยาน ให้มีความพร้อมรบ จ�ำนวนของจรวดอากาศสู่อากาศ ทีม่ รี ะยะยิงเกินการมองเห็นด้วยสายตาทีพ่ ร้อมใช้งาน และความปลอดภัยจากการโจมตีของสนามบินหน้า เมือ่ CVs ของก�ำลังฝ่ายอิรกั ถูกท�ำลาย หรือ เกิ ด การขาดแคลนทั้ ง จากการใช้ ง านและการที่ ไม่ ส ามารถหาทดแทนได้ ความขาดแคลนนี้ เ อง ทีท่ ำ� ให้กำ� ลังทางอากาศของอิรกั ไม่สามารถรักษา CG ของตนเองไว้ได้ เมือ่ อิรกั ไม่สามารถปฏิบตั กิ ารตอบโต้ ทางอากาศเชิงรับได้ เป็นผลให้ก�ำลังทางอากาศ ของอิรกั สามารถปฏิบตั กิ ารได้เพียงสองสัปดาห์ ก็ตอ้ ง หยุดปฏิบัติการของอากาศยานทั้งหมด ซึ่งนับเป็น ช่ ว งเวลาหนึ่ ง ในสามของการท� ำ สงครามทั้ ง สิ้ น หกสัปดาห์ แม้ฝ่ายอิรักจะคงเหลือระบบป้องกันภัย ทางอากาศที่มีประสิทธิภาพในแผ่นดินอิรักตอนใน ก็ตาม แต่กไ็ ม่เหลือก�ำลังทางอากาศเพียงพอทีท่ ำ� การ สกัดกั้นทางอากาศ (Air Interceptions) ได้ จึงเป็น ผลให้ ก� ำ ลั ง ทางภาคพื้ น ที่ ว างก� ำ ลั ง ทอดยาว เป็นระยะทางเกินกว่าพันกิโลเมตร ตัง้ แต่ชายแดนซีเรีย และซาอุดิอาระเบีย ไปจบถึงอ่าวเปอร์เซีย รวมถึง
56
ก�ำลังทางทะเลในท่าเรือของคูเวต และอิรักไม่มีก�ำลัง ทางอากาศที่จะป้องกันการตอบโต้ทางอากาศเชิงรุก ของฝ่ายพันธมิตรได้ ก�ำลังทางบกและก�ำลังทางทะเล ของอิรักจึงถูกท�ำลายหรือตัดทอนการส่งก�ำลังบ�ำรุง จากการโจมตีทางอากาศของฝ่ายพันธมิตร ท�ำให้ กองก�ำลังอิรกั เป็นอัมพาตทางยุทธศาสตร์ (Strategic Paralysis) คือ แม้ไม่ถูกท�ำลายจนหมดสิ้น แต่ก็ต้อง ซ่อนตัวอยูใ่ นหลุมหลบภัย ไม่สามารถเคลือ่ นย้ายก�ำลัง และปฏิ บั ติ ก ารอย่ า งเป็ น อิ ส ระได้ ประกอบกั บ การขาดแคลนทั้ง น�้ำดื่ม อาหาร กระสุน และน�้ำมัน จนก� ำ ลั ง พลอ่ อ นล้ า และสู ญ เสี ย ขวั ญ ก� ำ ลั ง ใจ จึงไม่สามารถต้านทานการบุกทางภาคพื้นดินเข้าสู่ ตอนใต้ของอิรักจากฝ่ายพันธมิตรได้ อันน�ำไปสู่ ความพ่ายแพ้สงครามของอิรักในที่สุด ส่วนก�ำลังทางอากาศของฝ่ายพันธมิตร นั้นก็มี CG ที่เหมือนกัน แต่ต่างกันที่มีระบบอาวุธ ทีท่ นั สมัยกว่า มีการส่งก�ำลังบ�ำรุงทีด่ กี ว่าอย่างมากมาย
รวมถึงศักยภาพทางอุตสาหกรรมทางทหารทีส่ ามารถ สนับสนุนการปฏิบัติการได้อย่างต่อเนื่อง ท�ำให้ ไม่เกิดความขาดแคลนของยุทธปัจจัย รวมถึงจ�ำนวน และความพร้อมรบของอากาศยานด้วย ก�ำลังทาง อากาศฝ่ายพันธมิตรจึงสามารถด�ำรงการปฏิบัติการ ทางอากาศไว้ได้ อันเป็นผลต่อเนือ่ งให้การรบภาคพืน้ ประสบความส�ำเร็จ และฝ่ายพันธมิตรได้รับชัยชนะ สงครามครั้งนี้
อ้างอิง ๑. Dr.Joe Strange. ๒๕๔๘. CENTERS of GRAVITY & CRITICAL VULNERABILITIESSecond Edition. พิมพ์ครัง้ ที่ ๔. Quantico, Virginia สหรัฐอเมริกา :Marine Corps University. ๒. กรมการศึกษา กองบัญชาการทหารสูงสุด. ๒๕๓๖. สงครามอ่าวเปอร์เซีย. กรุงเทพฯ: กองวิทยาการ กรมการศึกษา กองบัญชาการทหารสูงสุด ๓. พลอากาศตรี มานิต พิสษิ ฐเจริญทัต. ๒๕๓๖. สงครามอ่าวเปอร์เซีย ทัศนภาพของผูป้ ฏิบตั งิ านในอากาศ (แปลจาก The Gulf War ของพลอากาศโท อี เคลลี)่ . กรุงเทพฯ: กองบัญชาการกองทัพอากาศ ๔. กองวิทยบริการ กรมยุทธการทหารอากาศ. ๒๕๓๕.สงครามอ่าวเปอร์เซีย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารอากาศ สะพานแดง บางซือ่ ๕. An Air Force Association book. ๒๕๓๕. AIRPOWER in the GULF.Virginia สหรัฐอเมริกา: Aerospace Education Foundation ๖. DUSAN STOJANOVIC.๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๒. Iraqi planes found in Serbia, but in pieces. https://www.newsday.com/ https://www.newsday.com/news/nation/iraqi-planes-found-in-serbia-but-in-pieces-1.1410048 (สืบค้นเมือ่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑) ๗. BBC news. ๗ มิถนุ ายน ๒๕๒๔.Israel bombs Baghdad nuclear reactor.Administratorhttp://www.bbc.com/ http://news.bbc.co.uk/onthisday/hi/dates/stories/june/7/newsid_3014000/3014623.stm (สืบค้นเมือ่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑) ๘. James Titus. ๒๕๓๙. THE BATTLE OF KHAFJI - AN OVERVIEW AND PRELIMINARY ANALYSIS. Maxwell Air Force Base, Alabama สหรัฐอเมริกา:COLLEGE OF AEROSPACE DOCTRINE, RESEARCH, AND EDUCATION AIR UNIVERSITY ๙. Uzi Rubin. ๒๕๔๖.Beyond Iraq: Missile Proliferation in the Middle East.Jerusalem Letter / Viewpoints. http://www.jcpa.org/jl/ vp493.htm (สืบค้นเมือ่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑) ๑๐. Norman Friedman.๒๕๓๖. Gulf War Airpower Survey Volume 5,Washington, D. C.สหรัฐอเมริกา:JOHNS HOPKINS UNIVERSITY WASHINGTON D. C. SCHOOL OF ADVANCED INTERNATIONAL STUDIES ๑๑. old.iraqi.air.force.๒๕๕๓. First air-to-air kill of the Gulf War.Administratorhttp://www.f-16.net http://www.f-16.net/forum/viewtopic.php?f=46&t=3110&start=15 (สืบค้นเมือ่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑) ๑๒. พลอากาศเอก หม่อมหลวง สุปรีชา กมลาศน์. ๒๕๔๒. ยุทธศิลป์ (OPERATION ART), กรุงเทพฯ, กรมยุทธการทหารอากาศ
ข่าวทหารอากาศ
57
น.ท.สุรินท์นาท เจริญจิตต์
สถานการณ์มลภาวะ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒ องค์กร Green Peace ได้จัด อันดับให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองทีม่ คี ณ ุ ภาพอากาศ แย่ที่สุดในโลก เป็นอันดับที่ ๘ จากทั้งหมด ๑๙๓ ประเทศในโลก อีกทั้งจากข้อมูลของสถานีตรวจวัด สภาพอากาศในกรุงเทพมหานคร จ�ำนวน ๔ แห่ง และ ข้อมูลจากเว็บไซต์ aqicn.org ซึ่งได้น�ำตัวเลขจาก กรมควบคุมมลพิษ มาเทียบเป็นดัชนีคุณภาพอากาศ ๐-๕๐๐ ตามเกณฑ์มาตรฐาน AQI (Air Quality Index) ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยพบว่า ตลอดช่วง ๒ วัน ที่ผ่านมา จ�ำนวนฝุ่นละออง ในกรุงเทพฯ อยู่ในระดับ สีแดง (๑๕๑ - ๒๐๐) ซึ่งถือได้ว่าสูงกว่าทุกปีที่ผ่านมา และอยู่ในเกณฑ์ "ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ" ซึ่งทาง กรมควบคุมมลพิษได้ประกาศให้สภาพมลภาวะ
ในกรุงเทพฯ และ ๕ จังหวัดปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรปราการ อยูร่ ะดับ “อันตรายต่อสุขภาพ” ต่อเนือ่ งมาเป็นสัปดาห์ แล้ว โดยมลภาวะในอากาศเกิดจากสาเหตุสำ� คัญ คือ ฝุ่น PM 2.5 ซึ่งก็คือ ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า ๒.๕ ไมครอน หรือเทียบแล้วเล็กกว่า ร้อยละ ๓ หรือ ๑ ใน ๒๕ ของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผม ของมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นจากกิจกรรมหลายชนิด เช่น การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ และการก่อสร้างโดยการ ปล่อยปละละเลยกฎหมาย เช่น สร้างตึกสูงโดยไม่มี ผ้าคลุม การขุดถนนก่อสร้างรถไฟฟ้า ควันจาก ท่อไอเสียรถยนต์ โรงงาน โรงไฟฟ้า ฯลฯ โดยฝุ่น PM 2.5 จะส่งผลเสียเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะสามารถ
58
กราฟแสดงปริมาณฝุน ่ PM 2.5 จากสถานีตรวจวัด บริเวณริมถนนดินแดง เฉลีย ่ ๑ ปี (พ.ศ.๒๕๕๔ – ๒๕๕๙)
เดินทางผ่านทางเดินหายใจเข้าสูป่ อดและกระแสเลือด ๒. ติดตามสถานการณ์คณ ุ ภาพอากาศและ ได้ง่าย เพิ่มโอกาสของโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับ ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด ทางเดินหายใจ และต้องป้องกันด้วยการสวมใส่หน้ากาก โดยอาศัยรวมถึงการประเมินสถานการณ์รอบข้าง อนามัยทีไ่ ด้มาตรฐานป้องกันฝุน่ ขนาดเล็กโดยเฉพาะ ใช้ตามองดูความมัวของอากาศรอบนอก ร่วมกับ การค้ น หาจากแหล่ ง ข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ ม าตรฐาน เช่ น วิธีการปฏิบัติตัวให้เหมาะสม แหล่งของกรมควบคุมมลพิษ ๑. ตระหนั ก รู ้ แ ละท� ำ ความเข้ า ใจถึ ง ๓. หลีกเลี่ยงการไปอยู่ในพื้นที่ที่มีปริมาณ สถานการณ์ PM 2.5 ทีเ่ ข้าขัน้ วิกฤติในพืน้ ทีห่ ลายแห่ง ฝุ่นสูง รวมทั้งลดระยะเวลาในการสัมผัสกับสภาวะ ของประเทศไทย โดยไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป อากาศเหล่านัน้ (Exposure time) ให้เหลือน้อยทีส่ ดุ
ข่าวทหารอากาศ
เท่าที่จะท�ำได้ แต่ในส่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ให้ใช้ หน้ากาก N95 เพือ่ ช่วยกรองฝุน่ และลดความเสีย่ งของ อันตรายจากฝุ่นขนาดเล็กลงได้ และแม้ใส่หน้ากาก แล้วก็ต้องอยู่ในฝุ่นให้น้อยที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ ๔. กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศ แนะน�ำให้คน ๔ กลุ่มเสี่ยง คือ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจ�ำตัว ให้งดออกนอกบ้าน ควรอยูใ่ นอาคารและห้องทีส่ ะอาด โดยถ้าจ�ำเป็นต้อง ออกนอกบ้าน ให้ใส่หน้ากากป้องกันฝุน่ PM 2.5 ทุกครัง้ และกรมอนามัยประกาศแนะน�ำ ให้ปดิ ประตูหน้าต่าง ให้มิดชิด และท�ำความสะอาดบ้านบ่อย ๆ การสวมใส่ N95 ที่ถูกต้อง ให้น�ำส่วน Flexible metal strip กดแนบสันจมูกและใบหน้า curve ด้านล่างแนบกระชับใต้คาง strap บนล่าง ดึงกระชับส่วนด้านข้างของ mask อัดกับใบหน้า โดย การสวมใส่ที่ถูกต้องจะป้องกัน Particulate Matter หรือฝุน่ ผงขนาดตัง้ แต่ ๒.๕ ไมครอนลงมาได้ประมาณ ร้อยละ ๙๕ ส�ำหรับหน้ากาก N95 ชนิดที่มี Valve ตัวลิ้นที่เห็นคือ Exhalation valve หรือลิ้นหายใจ ออก มีหน้าที่ช่วยลด heat และ humidity ภายใต้
59
หน้ากาก N95
หน้ากาก ท�ำให้รู้สึกสบายขึ้นเวลาสวมใส่ แต่ไม่ได้ ลดแรงต้านทานในการหายใจเข้า กล่าวคือให้ผล ทางสรีรวิทยาไม่ต่างจากแบบไม่มีลิ้น หน้ากาก N95 ควรใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือ สามารถใส่ซ�้ำได้ แต่ไม่ควรเกิน ๒ ครั้ง โดยการเก็บ รักษา ไม่ต้องเอาไปล้างน�้ำแล้วตาก แค่วางไว้ในที่ ๆ มีการระบายอากาศที่ดีพอ ทั้งนี้เพราะจะท�ำให้การ กระชับกับหน้าเสียไป ในกรณีที่ไม่มีหน้ากาก N95 สามารถใช้ หน้ากากรุ่นที่เทียบเท่าทดแทนได้บ้าง เช่น รุ่น FFP2, P2, R95, DN95 ฯลฯ แต่ในการใช้ Elevation Training Mask ไม่สามารถป้องกัน ฝุ่นผงขนาดตั้งแต่ ๒.๕ ไมครอนลงมาได้ เพราะหน้ากากถูกออกแบบ
60
มาเพือ่ เพิม่ แรงต้านการหายใจและลดปริมาณออกซิเจน เพื่อ Endurance Training ในนักกีฬาอาชีพ ไม่ได้ ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ป้องกัน Particulate Matter ขนาดเล็กมาก ๆ รวมถึงหน้ากากอนามัย Dura mask ทั้งแบบ ๑ ชั้น แบบ ๒ ชั้น และแบบใส่ทิชชูด้านใน ไม่มกี ารศึกษาวิจยั รองรับว่า สามารถป้องกัน PM 2.5 ได้ ส่วนเอาผ้าขาวม้าพันหัว หรือเอาผ้าชุบน�้ำมัดกับหน้า แล้วหายใจ ถือว่ามีอันตรายมาก ไม่ควรกระท�ำ การออกก�ำลังกายโดยการใส่หน้ากาก N95 พบว่าตัวหน้ากากไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้ ในการออกก�ำลังระดับสูง เพราะจะท�ำให้การใส่ ไม่แนบกระชับเต็มที่เหมือนใส่ขณะพัก นอกจากนี้ การที่หน้ากากเพิ่มแรงต้านการหายใจ จะส่งผลให้ หายใจล�ำบากขึน้ ท�ำให้รา่ งกายใช้ออกซิเจนมาสันดาป เป็นพลังงานได้จ�ำกัด ในระดับการออกแรงที่เท่ากัน และเกิดอัตราการเต้นของหัวใจจะเข้าโซนเร็วกว่าปกติ
โดยในนักกีฬา Well-trained athletes จะสามารถ ทนทานได้ในระดับหนึ่ง แต่กลุ่มนักวิ่งหน้าใหม่ กลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคปอดอยู่เดิม จะส่งผลเสียให้เป็นอันตรายได้ ดังนั้นจึงไม่แนะน�ำให้ใช้ใส่วิ่งในพื้นที่เสี่ยงสูง PM 2.5 ฝุ่น PM 2.5 และผลกระทบต่อสุขภาพ จากสถิติปีที่ผ่านมา พบว่าประชากรไทย เสียชีวิตจาก PM 2.5 ประมาณ ๓๗,๐๐๐ กว่าคน ทั้งนี้เกิดจากการที่ฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กมาก ถ้าร่างกายหายใจเข้าไป ฝุน่ จะเข้าสูป่ อดและกระแสเลือด ได้เลยทันที และพิษฝุน่ มีความแตกต่างจากควันบุหรี่ ควันธูป คือมีระยะเวลาสัมผัสยาวนานกว่ามาก รวมถึง ตอนนอนด้วย โดยฝุน่ จะส่งผลเสียต่อร่างกายในหลาย ระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคระบบทางเดินหายใจ ไม่วา่ จะเป็นการเกิดโรคใหม่ เช่น ภูมแิ พ้หรือหลอดลม
ข่าวทหารอากาศ
อุดกั้นเรื้อรัง การพัฒนาการของปอดที่ผิดปกติในเด็ก โรคมะเร็งปอด หรือการท�ำให้โรคที่มีอยู่เดิมกระตุ้น ก�ำเริบได้ เช่น หอบหืด ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นสาร ก่อมะเร็ง โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบประสาท
61
และอวัยวะเพศไม่แข็งตัว ฯลฯ ส่วนเด็กเล็กหรือเด็ก ในครรภ์ ฝุ ่ น จะมี ผ ลโดยตรงต่ อ สมองอี ก ด้ ว ย อีกทัง้ ยังท�ำให้ระบบภูมคิ มุ้ กันของร่างกายต�ำ่ ลง ซึง่ จะ ก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้
62
อ้างอิง www.airvisual.com https://aqicn.org/city/bangkok/ http://air4thai.pcd.go.th/webV2/ http://air4thai.pcd.go.th/webV2/region.php?region=1 https://waqi.info/ https://www.facebook.com/PCD.go.th/ http://bangkokairquality.com/bma/aqi
ข่าวทหารอากาศ
63
..จ ักรวาลวิทยา.. ร.อ.ศุภภาณุ์ฤกษ์ ไพศาลสุทธิ
มนุ ษ ยชาติ จ ะรั บ มื อ อย่ า งไรในอนาคต หากดวงอาทิตย์ดับลง หรือมีอุกกาบาตพุ่งชนโลก จักรวาลวิทยาจึงเป็นสิง่ ส�ำคัญ เพือ่ ทีจ่ ะเรียนรูจ้ กั รวาล และสร้างสรรค์วิถีทางที่จะย้ายไปอาศัยในที่ต่าง ๆ บนจักรวาลซึง่ สามารถป้องกันภัยพิบตั ไิ ด้หากเราเรียนรู้ จักรวาลมากขึ้น ในวันที่ ๑๔ มีนาคม เป็นวันคล้ายวันเกิด ของนักฟิสกิ ส์ทเี่ ปลีย่ นแปลงโลกอย่าง อัลเบิรต์ ไอน์สไตน์ แต่ก็เป็นวันที่โลกสูญเสียนักจักรวาลวิทยาฟิสิกส์ ทีส่ ำ� คัญทีร่ ว่ มสร้างทฤษฎีทจี่ ะพาเราไปอาศัยในทีต่ า่ ง ๆ บนจักรวาล นัน้ คือการจากไปของ ศาสตราจารย์ สตีเฟน ฮอว์คิง ผู้ด�ำรงต�ำแหน่งศาสตราจารย์ ด้านคณิตศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ เป็นเวลาหลายทศวรรษที่มนุษย์ได้เรียนรู้ ความมีอยูแ่ ละการเคลือ่ นทีข่ องจักรวาล แต่ถงึ กระนัน้ มนุษย์ ก็ยังห่างจากเทคโนโลยีที่จะน�ำพาเราไปอาศัย ยังดาวดวงอื่น ทั้งในเรื่องของระยะเวลาที่ใช้ในการ เดินทาง และปัจจัยทางชีววิทยา เราอาศัยอยูใ่ นระบบ
สุริยะ ซึ่งมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และในอีก ห้าพันล้านปีข้างหน้า เชื้อเพลิงในดวงอาทิตย์จะใกล้ หมดลง ดวงอาทิตย์จะขยายตัวขึน้ เป็นดาวยักษ์สแี ดง อีกประมาณหนึง่ ร้อยปีหลังจากนัน้ ดวงอาทิตย์จะดับ และหดขนาดลง เป็นดาวแคระขาว ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น โลกจะล่องลอยไปในอวกาศ และไม่หมุนรอบสิง่ ใดอีก ไม่มีกลางวันกลางคืน อุณหภูมิจะติดลบลง และ ทุกอย่างจะเป็นน�้ำแข็งไปในที่สุด สตีเฟน ฮอว์คิง
64
สตีเฟน ฮอว์คิง
ได้เสนอแนวคิดให้มนุษย์เร่งศึกษาเกี่ยวกับจักรวาล และสร้างอาณานิคมบนดาวดวงอืน่ ได้สำ� เร็จ ก่อนทีจ่ ะ ถึงวันสูญสิ้นของมวลมนุษยชาติบนระบบสุริยะ เป็นวันที่โชคดีวันหนึ่งที่ชายชาวอังกฤษ ได้คน้ พบความจริงว่า ทุกสรรพสิง่ มีแรงดึงดูดระหว่างกัน อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และสิ่งที่เคลื่อนที่เป็นวงกลมได้เพราะมีแรงดึงเข้าสู่ ศูนย์กลางประกอบกับแรงของการเคลือ่ นทีไ่ ปข้างหน้า สรรพสิ่งในจักรวาลที่เป็นระบบดาวฤกษ์ ก็มีความ ไอแซก นิวตัน เป็นคนแรกที่อธิบายความเป็นไปของ คล้ายคลึงเช่นเดียวกันในกาแล็กซีทุก ๆ กาแล็กซี การที่ โ ลกหมุ น รอบดวงอาทิ ต ย์ ไ ด้ ส� ำ เร็ จ และ แต่ถงึ กระนัน้ ก็ตาม ต่อมาเราก็ได้พบว่าสรรพสิง่ มีเวลา ทีไ่ ม่เท่ากัน นัน้ ท�ำให้ทฤษฎีของ ไอแซก นิวตัน ไม่สามารถ อธิบายในความแตกต่างของเวลาสรรพสิ่งได้ ไอน์สไตน์ เป็นชาวเยอรมันเชื้อสายยิว ที่หนีรอดเข้าไปอยู่ในสหรัฐอเมริกาได้ในช่วงสงคราม ฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุชาวยิว เขาสร้างทฤษฎีสัมพันธภาพ ขึ้นมาจากแนวคิดที่ว่า ทุกสรรพสิ่ง เคลื่อนไหว ในปริภูมิเวลา ซึ่งเวลาของสิ่งที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว จะช้ากว่าเวลาของสิ่งที่ไม่ได้เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว และไม่มสี งิ่ ใดเคลือ่ นทีเ่ ร็วกว่าแสง สมมติวา่ มีคน ๆ หนึง่ นั่งยานอวกาศออกไปนอกโลกด้วยความเร็ว และ นัง่ กลับมายังโลกด้วยความเร็ว เวลาของนักบินอวกาศ คนนีจ้ ะช้ากว่าคนทีอ่ าศัยอยูบ่ นโลก นอกจากนี้ ทฤษฎี สัมพันธภาพยังใช้อธิบาย การคงอยู่ของดาวฤกษ์ การเผาผลาญพลังงาน การเคลือ่ นทีข่ องดาว ซึง่ ทฤษฎี กลศาสตร์ควอนตัม เป็นทฤษฎีสมัยใหม่ท่ีศึกษา ไอแซก นิวตัน สิ่ ง ที่ เ ล็ ก ยิ่ ง กว่ า อนุ ภ าค และการคายพลั ง งาน
ข่าวทหารอากาศ
65
หลุมด�ำ (Black hole)
เทอร์โมไดนามิคที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งมนุษย์ใช้ในการ พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ แต่ไม่สามารถ น�ำมาอธิบายความเป็นไปของจักรวาลได้ดีเท่าทฤษฎี สัมพันธภาพของไอน์สไตน์ ต่อมานักฟิสิกส์ได้ค้นพบ สิ่งที่น่ากลัว ของจักรวาล นัน้ คือ หลุมด�ำ เราพบว่าหลุมด�ำจะดูดกลืน สิ่ ง ที่ ผ ่ า นเข้ า มาเข้ า ไปในความว่ า งเปล่ า ภายใน จนหมดสิน้ หลุมด�ำนัน้ ไม่มมี วลภายใน ซึง่ ขัดกับทฤษฎี สัมพันธภาพ ทีว่ า่ หลุมด�ำนัน้ ไม่มอี ยูจ่ ริง แต่จากกล้อง โทรทัศน์สมัยใหม่ เรามองเห็นหลุมด�ำได้ และมีพลังงาน ที่แผ่ออกมาจากเส้นขอบฟ้า เหตุการณ์ของหลุมด�ำ อัลเบิรต์ ไอน์สไตน์ได้ทำ� การทดลองในความคิดของเขา เพื่ อ หาทฤษฎี ที่ ส นั บ สนุ น การมี อ ยู ่ ข องหลุ ม ด� ำ จนสุดท้ายแล้วเขายอมรับว่า ทฤษฎีสมั พันธภาพของเขา นั้นยังไม่สมบูรณ์ และหลุมด�ำ ก็ยังเป็นสิ่งที่นักฟิสิกส์ กังวลว่าจะเป็นจุดจบของจักรวาล ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิง ป่วยด้วยโรค ระบบประสาทสัง่ การเรียกว่า Amyotrophic lateral
sclerosis ตั้งแต่เด็ก ท�ำให้วัยหนุ่มเขาไม่สามารถ พูดและขยับตัวได้จาก อัมพาตทัง้ ตัว แต่เขายังสามารถ ใช้ เครือ่ งสร้างเสียงจากสมองเขาโดยตรง เพือ่ ใช้อธิบาย หลักการทีเ่ ขาคิดขึน้ มา ศาสตราจารย์สตีเฟน เสนอว่า หลุมด�ำ ประกอบด้วย แรงดึงดูดเข้าสู่ศูนย์กลาง ขนาดรุนแรง ทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามาจะถูกแรงดึงเข้า จนหมดสิ้น ขอบของหลุมด�ำเรียกว่า เส้นขอบฟ้า เหตุการณ์หรือ Event Horizon ซึง่ เมือ่ คุณใช้โทรศัพท์ อยู่แล้วคุณก้าวผ่าน Event Horizon แล้ว โทรศัพท์ คุณจะไม่สามารถสือ่ สารกับคนภายนอกได้อกี เพราะ คลื่นโทรศัพท์จากมือถือของคุณ ก็ไม่สามารถออกมา จากแรงดูดของหลุมด�ำได้ จุดศูนย์กลางของหลุมด�ำ เรียกว่า ภาวะเอกฐานหรือ Singularity ณ จุดนัน้ ไม่มี มวลใด ๆ เป็นความว่างเปล่าที่สมบูรณ์ และ สตีเฟน พบว่า หลุมด�ำ จะมีการแผ่พลังงานรังสีออกมาจาก เส้นขอบฟ้าเหตุการณ์ ผู้คนจึงให้เกียรติเรียกชื่อรังสี นั้นว่า รังสีฮอว์คิง ซึ่งเมื่อหลุมด�ำ แผ่รังสีออกมา จนหมด สุดท้ายหลุมด�ำนั้นจะสูญสิ้นไป
66
สุดท้ายนี้ นักฟิสกิ ส์ตา่ งก็คดิ ค้นและรอคอย การมาของทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง ทฤษฎีสุดท้ายที่ใช้ อธิบายทุกสิ่งในจักรวาล และค�ำนวณตัวแปรออกมา เป็นตัวเลข ที่ไม่ได้เป็นค่าอนันต์ไปเสียก่อน และนั่น อาจใช้อธิบายจักรวาลและสร้างเทคโนโลยีทจี่ ะน�ำพา เราไปอยู่ในจักรวาลได้ส�ำเร็จ โดยล่าสุดนี้ นักฟิสิกส์ จักรวาลวิทยา ได้ค้นพบระบบดาวเคราะห์ คล้ายคลึง กับโลก ในทั้งอุณหภูมิ เวลากลางวันกลางคืน เรียกว่า Trappis-1 และคาดว่าจะมีสงิ่ มีชวี ติ เกิดขึน้ แล้วบนนัน้ เพียงแต่ว่า เรายังไม่มีทฤษฎีมาช่วยสร้างเทคโนโลยี ทีจ่ ะน�ำพาเราเดินทางไป และด้วยเทคโนโลยี ปัจจุบนั เราอาจใช้ เวลาถึ ง แสนปี เพื่ อ ที่ จ ะเดิ น ทางด้ ว ย ยานอวกาศไปถึง Trappis-1
เหล่านักฟิสิกส์ที่ผ่านมาได้สร้างทฤษฎี ทีท่ รงคุณค่าไว้ให้กบั โลก และรอคอยนักฟิสกิ ส์รนุ่ ใหม่ ๆ จะน�ำทฤษฎีของพวกเขาไปต่อยอดและสร้างทฤษฎี แห่งสรรพสิ่ง เพื่อน�ำพามวลมนุษยชาติรุ่นหลังให้อยู่ รอดต่อไปได้ในจักรวาล
5G
ข่าวทหารอากาศ
67
อนาคตของการสือ ่ สารไร้สาย (5G : Future of Wireless Communications)
ปัจจุบนั การสือ่ สารไร้สายเป็นสิง่ ทีข่ าดไม่ได้ ส�ำหรับสังคมยุคใหม่ ด้วยการสื่อสารผ่านเสียง เพียงอย่างเดียวถือเป็นเรื่องที่พ้นสมัย การสื่อสาร ผ่านข้อความ ผ่านรูปภาพ และผ่านวิดโี อ ปัจจุบนั ถือ เป็นเรือ่ งปกติบน Social Networks เช่น Facebook ท�ำให้ปริมาณการรับ-ส่งข้อมูลบนโลกออนไลน์เพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนื่องทั่วโลก และในอนาคตอันใกล้เราจะ ก้าวเข้าสู่ IoT (Internet of Thing) ที่สิ่งของ และอุปกรณ์นบั ชิน้ ไม่ถว้ นจะท�ำงานเชือ่ มโยงผ่านการ
น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์
สื่อสารไร้สายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ไฮเทค พกพาของแต่ละคน สิง่ ของ ยานพาหนะตัง้ แต่รถยนต์ จนถึงรถจักรยาน หรือแม้แต่อปุ กรณ์ครัวเรือนยุคใหม่ อุปกรณ์ตรวจวัดสุขภาพประจ�ำตัว และอุปกรณ์ สมาร์ทโฮม ที่จะท�ำให้เกิดรูปแบบการใช้งานใหม่ ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปจากเดิม อีกทัง้ ให้ความสะดวกสบาย และประโยชน์มากมายแก่ผใู้ ช้นำ� มาซึง่ การเปลีย่ นแปลง ครัง้ ใหญ่ในการใช้ชวี ติ จึงจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องมีเทคโนโลยี การสือ่ สารไร้สายทีด่ กี ว่า 4G และนัน่ ก็คอื 5G ทีส่ ามารถ
68
คือ ระบบการสื่อสารแบบไร้สายในยุคที่ ๕ ที่มีความ สามารถในการส่งข้อมูลในปริมาณทีม่ ากกว่าเทคโนโลยี 4G ถึง ๑,๐๐๐ เท่า โดยผิวเผินนั้น 5G ถูกมองเป็น เพียงระบบใหม่ที่ถูกน�ำมาใช้ทดแทนระบบเดิมด้วย ประสิทธิภาพที่สูงกว่า ดังเช่นที่ระบบ 4G มาทดแทน ระบบ 3G แต่ในความจริงแล้ว 5G เป็นเทคโนโลยีที่มี ความเร็วสูงและยังมีความสามารถส่งข้อมูลในปริมาณ ที่มาก จึงท�ำให้อุปกรณ์ที่จะรองรับระบบนี้จะไม่ถูก จ�ำกัดอยูเ่ พียงแค่สมาร์ทโฟนอีกต่อไป แต่จะรวมไปถึง สิ่งของและอุปกรณ์นับชิ้นไม่ถ้วนจะท�ำงานเชื่อมโยง กั น ผ่ า นการสื่ อ สารไร้ ส ายในยุ ค 5G ในมุ ม มอง ทางเทคนิค 5G เป็นพื้นฐานของ Internet of Thing และ Machine to Machine ซึง่ เป็นการสือ่ สารระหว่าง อุปกรณ์ตา่ ง ๆ ทีท่ ำ� ให้อปุ กรณ์เหล่านีส้ ามารถส่งผ่าน ข้อมูลถึงกัน สามารถเชื่อมต่อจ�ำนวนอุปกรณ์ได้ ไม่น้อยกว่า ๑ ล้านอุปกรณ์ ต่อ ๑ ตร.กม. ผู้ใช้งาน สามารถใช้ได้ทคี่ วามเร็วถึง 10 Gbps โดยมี Latency ö เทคโนโลยี 5G กระแสโลก ปัจจุบนั คงเคยได้ยนิ เกีย่ วกับเทคโนโลยี 5G และ Response Time ที่ต�่ำ จึงท�ำให้สามารถน�ำมาใช้ กันมาบ้างแล้ว เทคโนโลยี 5G หรือ 5th Generation เพือ่ การพัฒนาเทคโนโลยีตา่ ง ๆ ที่เคยท�ำไม่ได้ในอดีต ส่งข้อมูลในปริมาณที่มากกว่า 4G ถึง ๑,๐๐๐ เท่า ซึ่งอุตสาหกรรมการสื่อสารนั้นก�ำลังมุ่งมั่นพัฒนา กันอย่างจริงจังเพือ่ ทีจ่ ะก้าวเข้าสูย่ คุ ของ 5G โดยสหภาพ โทรคมนาคมระหว่างประเทศ ITU (International Telecommunication Union) เป็นหน่วยงานที่ ท�ำหน้าที่ในการก�ำหนดมาตรฐานของเทคโนโลยี 5G ได้ออกร่างมาตรฐานที่เรียกว่า IMT-2020 ซึ่งคาดว่า เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของสิ่งที่เรียกว่า 5G ถ้าร่าง มาตรฐานฯ ผ่านการรับรองในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.๒๐๑๗ มาตรฐานของเทคโนโลยี 5G จะได้ ปรากฏโฉมอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.๒๐๒๐ ซึง่ บ้านเรา ทั้ง Truemove H และ AIS ก็เตรียมความพร้อม ส�ำหรับรองรับเทคโนโลยี 5G ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยบทความในฉบับมีมุมมองและรายละเอียดที่ น่าสนใจดังนี้
ข่าวทหารอากาศ
เช่น การผ่าตัดทางไกลที่แพทย์สามารถท�ำการผ่าตัด ให้คนไข้ที่อยู่ในอีกซีกโลกได้ หรือการน�ำมาใช้กับรถ อัจฉริยะไร้คนขับ ซึ่งการเตรียมความพร้อมส�ำหรับ เครือข่ายดังกล่าว จะเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ.๒๐๒๐ ๒๐๓๐ ทั้งนี้ 5G Radio Access จะถูกสร้างขึ้น ทั้งในแบบ Radio Access Technologies (RAT) แบบใหม่ และการพัฒนาจากเทคโนโลยีที่มีอยู่ใน ปัจจุบัน (LTE, HSPA, GSM และ WiFi) สิ่งส�ำคัญ ที่ได้รับจากการพัฒนาของเครือข่ายไร้สายในยุค 5G ก็คือ สามารถน�ำมาใช้ขับเคลื่อนเพื่อการเติบโต ทัง้ ทางด้านเศรษฐกิจและด้านสังคมได้ ซึง่ ในการประชุม ITU Telecom World 2016 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ องค์กรทางธุรกิจต่าง ๆ ได้สรุปถึงความก้าวหน้า ของการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ทีค่ าดว่าจะเริม่ ให้บริการ ได้จริงในปี ค.ศ.๒๐๒๐ ด้วยผลความก้าวหน้าในการ พั ฒ นาเทคโนโลยี 5G จะตอบสนองการใช้ ง าน
69
ซึ่งแตกต่างจากยุคก่อน ๆ โดยรองรับการใช้งาน ทีแ่ ตกต่างกันใน ๓ ลักษณะ ก็คือ ข้อหนึง่ Mobile Broadband ไม่ตำ�่ กว่า 100 Mbps เช่น การชมวิดโี อคุณภาพสูง การถ่ายทอด รายการต่าง ๆ ข้อสอง การใช้งานทีต่ อ้ งตอบสนองการ สั่ ง ก า ร ใ น ทั น ที ( C r i t i c a l M a c h i n e Communications) ควรมี Latency Time ที่น้อยกว่า ๑ มิลลิวินาที เช่น การผ่าตัดทางไกล หรือการควบคุมหุ่นยนต์กู้ภัย ข้อสาม การเชือ่ มต่อจ�ำนวนมากส�ำหรับ IoT (Massive Machine Communications ในอนาคตก�ำหนดไว้มีมากถึง ๑ ล้านชิ้นใน ๑ ตาราง กิโลเมตร) ที่ไม่ต้องการความเร็วที่สูงมาก แต่ต้องใช้ พลังงานน้อย เพือ่ ยืดอายุแบตเตอรี่ โดยไม่ตอ้ งเปลีย่ น บ่อย ในภาพรวมนัน้ เป็นส่วนหนึง่ ของค่า Benchmark จ�ำนวน ๑๓ รายการ ที่ถูกก�ำหนดไว้ในร่างมาตรฐาน
70
IMT-2020 ส�ำหรับผู้ที่ต้องการจะให้บริการเครือข่าย 5G ในอนาคต เมื่อมองลึกลงไปถึงสิ่งส�ำคัญในการ ชี้อนาคต 5G ก็คือ คลื่นความถี่ซึ่งในระดับนานาชาติ ต้องมีการตกลงมาตรฐานในการใช้คลืน่ ความถีร่ ว่ มกัน เพือ่ ให้อปุ กรณ์ตา่ ง ๆ สามารถใช้งานได้ในทุกประเทศ และจ�ำเป็นที่แต่ละประเทศนั้นต้องมี Spectrum Roadmap เพื่ อ รองรั บ การจั ด สรรคลื่ น ความถี่ อย่างเป็นระบบ ซึง่ ย่านความถีท่ อี่ าจได้เห็นการจัดสรร ส�ำหรับ 5G ก่อน ก็คือ ย่าน 3.5 GHz เนื่องจาก ในแต่ละประเทศยังเป็นคลื่นที่ไม่ได้ใช้งาน รวมทั้ง อุตสาหกรรมการสือ่ สารยังคาดการณ์ดว้ ยว่า อาจต้อง พิจารณาถึงการน�ำ (Refarming) คลื่นความถี่ 2G หรือ 3G มาให้บริการ 5G ด้วย เพื่อให้การใช้งาน ครอบคลุมได้ในทุกลักษณะ 5G จึงจ�ำเป็นต้องใช้ย่าน ความถี่ต่าง ๆ มาเสริมกัน หันมามองกระแสโลกอย่างสหภาพยุโรป ในฐานะกลุ ่ ม ประเทศต้ น ก� ำ เนิ ด เทคโนโลยี ด ้ า น การสือ่ สาร แต่ในยุคหลังไม่ประสบความส�ำเร็จในการน�ำ เทคโนโลยีมาปรับใช้ ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ก็สามารถพัฒนามาเป็นผู้น�ำ เทคโนโลยีดา้ นการสือ่ สาร ด้วยความตัง้ ใจของสหภาพ ยุโรปทีจ่ ะเป็นผูน้ ำ� ด้านเทคโนโลยี 5G และท�ำให้ระบบ 5G เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงได้มกี ารจัดตัง้ หน่วยงาน 5G-PPP ซึง่ เป็นหน่วยงานทีผ่ สานความร่วมมือระหว่าง ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรศัพท์ มือถือ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการร่วมกัน วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี 5G เพื่อที่จะใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยีดงั กล่าวในการพัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ บริการด้านการแพทย์ และ ธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งจะท�ำให้ประชาชนสามารถ น�ำระบบ 5G มาใช้ได้โดยเร็ว ประกอบกับปัจจุบัน ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เป็นอีกสองประเทศ ทีร่ ฐั บาลให้ความส�ำคัญเช่นกัน ในการพัฒนาเทคโนโลยี 5G เห็นได้จากภายในปี ค.ศ.๒๐๒๐ จะมีการจัดงาน กีฬาโอลิมปิกที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผู้ให้บริการโทรศัพท์ มือถืออันดับหนึ่งของญี่ปุ่น NTT DoCoMo ได้เริ่ม พัฒนาและทดสอบการใช้งานเทคโนโลยี ทีม่ คี วามเร็ว สูงเทียบเคียงกับ 5G เป็นทีเ่ รียบร้อย ในส่วนความร่วมมือ
ข่าวทหารอากาศ
ระหว่าง Samsung และ KT Corporation นั้นได้ ร่วมกันพัฒนาอุปกรณ์เครือ่ งมือและทดลองการใช้งาน ในการส่งผ่านข้อมูลที่มีความเร็วเทียบเคียงกับ 5G ส�ำหรับการดาวน์โหลดในเขตตัวเมืองที่มีการใช้งาน หนาแน่นเป็นที่เรียบร้อยและได้ประกาศว่า หลังจาก กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่ประเทศเกาหลีใต้ในปี ค.ศ. ๒๐๑๘ หรือประมาณต้นปี ค.ศ.๒๐๑๙ ทาง KT Corporation ของเกาหลีใต้จะเป็นประเทศแรก ทีส่ ามารถเปิดให้บริการเครือข่าย 5G ได้ในเชิงพาณิชย์ ö ข้อคิดที่ฝากไว้ จากความจริงที่ว่าเทคโนโลยี 5G จะไม่ได้ เกี่ยวข้องเพียงบริษัทโทรคมนาคมหรือการใช้งาน ของโทรศัพท์มือถือเท่านั้น แต่จะเกี่ยวข้องกับภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้เพื่อน�ำมาพัฒนาประเทศ ในด้านต่าง ๆ ที่ส�ำคัญจะเป็นการเชื่อมโยงโลกเข้าสู่ ระบบเดียวกัน ดังเช่น Internet of Thing กับสิง่ ทีค่ วร ให้ความส�ำคัญตามมาก็คอื การรักษาความปลอดภัย ย้อนกลับมามองประเทศไทยในฐานะผู้ใช้เทคโนโลยี อาจจะต้องรอจนถึงประมาณปี ค.ศ.๒๐๒๒ - ๒๐๒๓ จึงน่าจะมีการใช้งาน 5G ได้ในเชิงพาณิชย์โดยทั่วไป ในระหว่างนีก้ ต็ อ้ งมานัง่ คิดนอนคิดกันไปก่อนว่ามีคลืน่ ย่านใดทีส่ ามารถจะน�ำมาให้บริการ 5G ได้บา้ ง ööö
71
72
Top 10
Poisonous and Dangerous Flowers สวยอันตราย ๑๐ อันดับดอกไม้มพ ี ษ ิ ศรีพิงค์
"ขึน้ ชือ่ ว่าดอกไม้ เชือ่ แน่วา่ ผูอ้ า่ นย่อมจินตนาการถึงความสวยงาม สีสนั
และรูปลักษณ์อน ั ดึงดูดสายตา รวมถึงให้ความรูส ้ ก ึ อ่อนหวาน และไม่คด ิ ว่าดอกไม้ จะมีพษ ิ ภัยใด ๆ ทว่าดอกไม้บางชนิดกลับเปีย ่ มไปด้วยอันตรายและพิษอันร้ายกาจ ทีอ ่ าจถึงขัน ้ คร่าชีวต ิ ได้ ซึง ่ ขัดกันกับรูปลักษณ์ภายนอกอย่างสิน ้ เชิง ตัวอย่างของดอกไม้มพ ี ษ ิ ๑๐ ชนิด มีดง ั นี"้ ๑. ถุงมือจิง ้ จอก (Foxglove (n.) /ฟอกซฺ กลัฟ/)
ต้นถุงมือจิ้งจอกเป็นไม้ยืนต้น มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม (Shrub) มักพบ ในป่าทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามชายฝั่ง มหาสมุทรแปซิฟิก และฮาวายของสหรัฐอเมริกา มีความสูงตั้งแต่ ๓-๖ ฟุต หากเผลอรับประทานเข้าไปจะมีอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน (Vomit) ท้องเสีย ปากไหม้ ตาพร่า ชีพจรเต้นช้า หมดสติ เพ้อ กล้ามเนื้อหัวใจหดตัว จนในที่สุดอาจจะหยุดเต้นได้ พิษ (Poison) ของดอกไม้ชนิดนี้มีอยู่ทุกส่วน ทัง้ ในดอก ต้น และใบ อีกทัง้ พิษจะไม่สามารถถูกท�ำลายได้ ไม่วา่ จะผ่านกระบวนการ
ข่าวทหารอากาศ
73
ใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะแห้งหรือสด สุกหรือดิบ ทว่าในทางกลับกัน ทางการแพทย์มีการใช้พิษของดอกไม้ ชนิดนี้ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อลดอัตราการเต้นของหัวใจเพื่อรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
๒. กุหลาบพันปี (Azalea (n.) /อะ ซา เลีย/)
กุหลาบพันปีเป็นไม้ดอกที่มีถิ่นก�ำเนิดมาจากแถบประเทศจีนตอนใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ลาว และ เวียดนาม ลักษณะล�ำต้นเป็นทรงพุ่มสูง ๑-๓ เมตร ออกใบเดี่ยวรูปวงรี (Oval) ยาวประมาณ ๒-๖ เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อมี ๒-๗ ดอก ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด และปักช�ำกิ่ง สามารถปลูก ประดับบ้านได้ แต่ดอกไม้ชนิดนี้มีสารพิษอยู่ไม่น้อย หากรับประทานเข้าไปจะท�ำให้ริมฝีปากไหม้ คลื่นไส้ (Nausea) อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว ปวดท้อง อัมพาต หมดสติ หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ ๓. ร�ำเพย/ยีโ่ ถ (Oleander (n.) /โอ เลียน เดอร์/)
ต้นร�ำเพย หรือยี่โถเป็นไม้ดอกไม้ประดับ เพราะมีดอกที่งดงามคล้ายดอกกุหลาบ มีกลิ่นหอม (Fragrant) ออกดอกได้ตลอดปี และที่ส�ำคัญยังปลูก ง่ายและทนทานต่อสภาพอากาศ ยีโ่ ถมีตน้ ก�ำเนิดมาจากแถบเมดิเตอร์เรเนียน และตะวันออกกลาง ลักษณะล�ำต้นเป็นทรงพุม่ สูง ๒-๕ เมตร ออกใบเลี้ยงคู่เรียวยาวประมาณ ๑๐-๑๕ เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ และมีดอกย่อยประมาณ ๒-๖ ดอก ลักษณะดอกเป็นรูปกรวยมีสีขาว สีชมพู สีชมพูอมแดง และอีกมากมาย ขยายพันธุ์ด้วยการ เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักช�ำ แม้จะมีการน�ำยี่โถ
74
มาปลูกประดับบ้านหรือย้อมสีผ้า แต่พิษที่อยู่ในน�้ำยางนั้น ร้ายแรงส่งผลต่อการท�ำงานของระบบหัวใจ และระบบประสาท หากรับประทานเข้าไปจะท�ำให้เกิดอาการปวดหัว หัวใจเต้นช้า กล้ามเนือ้ หัวใจไม่ทำ� งาน หรือหัวใจหยุดเต้น แต่ในขณะเดียวกันหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยขับปัสสาวะ และบ�ำรุงหัวใจได้ ๔. ลิลลี่ (Lily (n.) /ลิล ลี/่ )
ลิลลี่เป็นไม้ดอกที่มีถิ่นก�ำเนิดมาจากเอเชีย ตอนกลาง และมีหลายสายพันธุ์ด้วยกัน เป็นต้นไม้ที่มี หัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน แตกยอดออกมาเป็นล�ำต้นสูง ประมาณ ๖๐-๑๘๐ เซนติเมตร ออกช่อดอก และแต่ละ ดอกมีกลีบ ๖ กลีบ เกสร (Pollen) ชูอยู่กลางช่อดอก มีสสี นั แตกต่างกันออกไปไม่วา่ จะเป็นสีขาว สีชมพู สีสม้ สีม่วง สีแดง และอีกมากมาย แม้ว่าลิลลี่จะเป็นดอกไม้ ที่สวยงาม แต่เมล็ด (Seed) และเหง้า (Rootstock) กลับเต็มไปด้วยพิษร้ายแรง ไม่ว่าคนหรือสัตว์ ถ้าเผลอ รับประทานเข้าไปจะมีผลท�ำให้คลืน่ ไส้ อาเจียน ท้องเสีย (Diarrhea) ถ่ายปนเลือด ไตถูกท�ำลาย กล้ามเนื้อ อ่อนแรงที่อาจน�ำไปสู่การเป็นอัมพาตได้
๕. ดารารัตน์ (Daffodil (n.) /แดฟ ฟะ ดิล/)
ดารารัตน์เป็นไม้ดอกที่มีถิ่นก�ำเนิดมาจาก แถบเมดิเตอร์เรเนียน และเอเชียบ้าง เป็นบางสายพันธุ์ เจริญเติบโตจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะล�ำต้นตั้งตรง และสูงประมาณ ๖-๒๐ นิ้ว ออกใบเรียวยาว ลักษณะ ดอกคล้ายปากแตร มีฐานรองดอก แต่ละสายพันธุ์ จะมีสีแตกต่างกันออกไป ได้แก่ สีเหลือง สีขาว และ สีชมพู เป็นดอกไม้ที่ส่งกลิ่นหอม โดยเฉพาะพันธุ์ ดอกสีเหลืองจะหอมมาก สรรพคุณเป็นยาระบาย ลดการกระตุกของกล้ามเนือ้ อีกทัง้ ยังมีสารสกัดทีช่ ว่ ย บ�ำรุงผิวพรรณ แต่อย่างไรก็ตาม ไม้ดอกชนิดนี้มีพิษ ร้ายแรง หากรับประทานเข้าไป พิษจะท�ำให้อาเจียน ชักกระตุก และเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น
ข่าวทหารอากาศ
๖. หทัยหยาดทิพย์ (Bleeding Heart (n.) /บลีด ดิง ้ ฮาร์ท/)
หทัยหยาดทิพย์มีลักษณะเป็นดอกไม้รูปหัวใจสีแดง และมีส่วนที่ยื่นออกมาเหมือนหยดเลือด จึงถูกเปรียบว่าเหมือน หัวใจทีม่ เี ลือดไหลออกมา ดอกไม้ชนิดนีพ้ บได้ในหลายพืน้ ทีท่ วั่ โลก และยังเป็นไม้ประดับทีน่ ยิ มมากชนิดหนึง่ สิง่ ทีต่ อ้ งระวัง คือดอกไม้ ชนิดนี้มีพิษสร้างความระคายเคือง (Irritation) ที่ผิวหนังได้
๗. หน้าวัว (Anthurium (n.) /แอน ธู เรียม/)
หน้าวัวเป็นไม้พมุ่ เตีย้ ใช้ปลูกคลุมดิน มีอายุ หลายปี เติบโตเป็นต้นเดี่ยวหรือแตกกอ ล�ำต้นสั้น หรือยืดยาวคล้ายไม้เลื้อย และทิ้งใบช่วงล่างของต้น พร้ อ มทั้ ง เกิ ด รากใหม่ หน้ า วั ว เป็ น ไม้ ตั ด ดอกที่ มี รูปร่างแปลกตา สีสันสด สวย ออกดอกได้ตลอดปี ใบของหน้า วัว มีค วามแตก ต่า งกัน ไปหลายแบบ ตามสายพันธุ์ อย่างไรก็ตาม หากสัมผัสกับผิวหนัง ดอกไม้ชนิดนี้จะท�ำให้เ กิดอาการไหม้ ระคายเคือง ยิ่ ง รั บ ประทานเข้ า ไปจะท� ำ ให้ เ สี ย งแหบแห้ ง พูดไม่ได้ยนิ ไปสักพัก หรือหากสัมผัสกับน�ำ้ ยางของมัน จะท�ำให้คัน (Itch) ปวดแสบปวดร้อน อักเสบบวม พองเป็นตุม่ น�ำ้ ใส หากสัมผัสกับดวงตาจะท�ำให้ดวงตา อักเสบ ตาบอดชั่วคราว หรือถาวร
75
76
๘. เบญจมาศ (Chrysanthemum (n.) / คริส แซน ธี มัม/)
เบญจมาศเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กที่มีสีสัน สดใส (Colorful) นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอกหรือปลูก เป็นไม้ประดับกลางแจ้งเพื่อใช้คลุมดินหรือปลูกเพื่อ ประดับในอาคาร เบญจมาศเป็นไม้ที่ชอบแดดจัด ต้ อ งให้ น�้ ำ ปานกลาง และความชื้ น ที่ ส ม�่ ำ เสมอ หากปลูกเพื่อประดับภายในอาคาร ควรให้แดด ส่องถึง และรดน�้ำสะดวก ดอกจึงจะออกดกทั้งปี เบญจมาศมี คุ ณ สมบั ติ ใ นการดู ด สารพิ ษ จ� ำ พวก ฟอร์มาดีไฮด์ เบนซีน และแอมโมเนีย ทว่าใบ ล�ำต้น และน�้ำยางของมันกลับมีพิษที่ท�ำอันตรายต่อคนได้ หากสัมผัสโดนอาจจะท�ำให้ผิวหนังไหม้
๙. ไฮเดรนเยีย (Hydrangea (n.) / ไฮ แดรน เยีย/)
ไฮเดรนเยียเป็นพืชพื้นเมืองในแถบเอเชีย ตะวันออก อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ ลักษณะ ล�ำต้นเป็นทรงพุม่ สูงประมาณ ๑-๓ เมตร ออกใบกว้าง และขอบใบหยัก ลักษณะดอกออกเป็นช่อและมีดอก ย่อย ๆ อีกมากมาย แต่ละชนิดจะออกดอกที่มีสีสัน แตกต่างกันออกไป ขยายพันธุ์ด้วยการปักช�ำกิ่ง ถึงแม้วา่ รูปร่างและสีสนั ของดอกไม้ชนิดนีจ้ ะสวยงาม แต่กม็ สี ารพิษไซยาไนด์ซอ่ นอยู่ หากรับประทานเข้าไป จะท�ำให้มีอาการหน้าซีด ตัวเหลือง คลื่นไส้อาเจียน หรืออาจถึงขั้นท�ำให้ช็อก หมดสติ และหัวใจวายได้
ข่าวทหารอากาศ
77
๑๐. ลิลลีแ่ ห่งหุบเขา (Lily of the Valley (n.) /ลิล ลี่ อัฟ ดิ วัล ลี/่ )
ลิลลี่แห่งหุบเขา เป็นพืชพื้นเมืองของซีกโลกเหนือบริเวณที่มีภูมิอากาศเย็น พบบ้างในอเมริกา ตะวันออก มีกลีบดอกสีขาวรูปทรงกระดิง่ กลิน่ หอมหวาน ปลูกง่าย และเป็นดอกไม้ประจ�ำประเทศฟินแลนด์ ทางการแพทย์พื้นบ้านเชื่อกันว่า ท�ำให้ความจ�ำดี ช่วยน�ำความสามารถในการพูดกลับคืนมา หากน�ำน�้ำ ของมันมาทาทีห่ น้าผากกับหลังคอจะท�ำให้มสี ญ ั ชาตญาณดี ส่วนใบใช้ทำ� สียอ้ มสีเขียวได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบนั นักสมุนไพรใช้พชื ชนิดนีอ้ ย่างจ�ำกัด เพราะทุกส่วนของมันมีสารพิษทีช่ อื่ ว่า คอนวัลลาทอกซิน (Convallatoxin) สูงมาก หากรับประทานเข้าไปแม้เพียงเล็กน้อยก็สามารถท�ำให้ปวดท้อง อาเจียน จนถึงขั้นหัวใจบีบตัวแรง ขึน้ ลดอัตราการเต้นของหัวใจ จึงมีคำ� แนะน�ำว่าหากไปสัมผัสดอกไม้ชนิดนีเ้ ข้า ควรล้างมือก่อนไปท�ำกิจกรรม อื่น ๆ ต่อไป ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษทีน ่ า่ สนใจจากบทความ
shrub (n.) /ชรับ/ แปลว่า ไม้พุ่ม ตัวอย่าง Hundreds of trees and shrubs will be planted in our garden. ในสวนของเรา จะปลูกต้นไม้และไม้พุ่มหลายร้อยต้น poison (n.) /พอย เซิ่น/ แปลว่า สารพิษ ตัวอย่าง He killed himself with poison. เขาฆ่าตัวตายด้วยยาพิษ vomit (v.) /วอ มิท/ แปลว่า อาเจียน
78
ตัวอย่าง The bad smell made him want to vomit. กลิ่นเหม็นท�ำให้เขาอยากอาเจียน oval (adj.) /โอ วัล/ แปลว่า รูปไข่ ทรงรี ตัวอย่าง She has a smooth oval face. หล่อนมีใบหน้าเรียบเนียนรูปไข่ nausea (n.) /นอ เซีย/ แปลว่า คลื่นไส้ ตัวอย่าง Gradually the feeling of nausea passed, and she was able to stand comfortably. อาการคลื่นไส้ค่อย ๆ หายไป เธอจึงสามารถยืนได้อย่างสบาย fragrant (adj.) /เฟร กร้านทฺ/ แปลว่า มีกลิ่นหอม ตัวอย่าง She gathered the fragrant blooms. หล่อนรวบรวมดอกไม้บานที่มีกลิ่นหอม pollen (n.) /พอล เลิ่น/ แปลว่า เกสรดอกไม้ ตัวอย่าง Bees collect pollen from flowers and carry it to their hive. ผึ้งสะสมเกสรจากดอกไม้และน�ำกลับไปยังรังของพวกมัน seed (n., v.) /ซีด/ แปลว่า เมล็ดพืช หว่านเมล็ด ตัวอย่าง You can grow sunflowers from seeds. คุณสามารถปลูกดอกทานตะวันได้โดยใช้เมล็ด rootstock (n.) /รู้ท สต็อค/ แปลว่า เหง้า ตัวอย่าง The very sturdy rootstock is embedded deep in the mud. เหง้าที่แข็งแรงถูกฝังลึกลงไปในโคลน diarrhea (n.) /ได เออะ เรีย/ แปลว่า ท้องร่วง ท้องเสีย ตัวอย่าง A range of symptoms are diarrhea and vomiting. ขอบเขตของอาการคือท้องร่วงและอาเจียน irritation (n.) /อิ ริ เท ชึ่น/ แปลว่า ระคายเคือง ตัวอย่าง Some chemicals cause a direct irritation to the skin. สารเคมีบางอย่างเป็นสาเหตุโดยตรงของอาการระคายเคืองผิวหนัง itch (n., v.) /อิทชฺ/ คัน อาการคัน ตัวอย่าง Dry skin, or winter itch, occurs when the top layer of your skin loses moisture. ผิวแห้งหรืออาการคันในหน้าหนาวเกิดขึ้น เนื่องจากผิวหนังชั้นบนสูญเสียความชุ่มชื้น colorful (adj.) /คัล เลอะ ฟูล/ แปลว่า สีสันสดใส ตัวอย่าง The show opened with colorful sets. การแสดงเริ่มขึ้นด้วยฉากสีสันสดใส
ข่าวทหารอากาศ
79
Landslides
A New Major Cause of Storm Deaths น.อ.พลวัตร อินทรวิเศษ
หลาย ๆ ปีที่ผ่านมา การเสียชีวิตจากพายุ โซนร้อนหรือพายุไต้ฝนุ่ ทีป่ ระเทศฟิลปิ ปินส์ มีสาเหตุจาก การโค่นล้มของต้นไม้ทบั บ้านเรือน ชาวประมงออกเรือ หรือผูโ้ ดยสารทางเรือเสียชีวติ เนือ่ งจากเรือล่ม และในปี ค.ศ.๒๐๑๓ ซุปเปอร์ไต้ฝนุ่ ไห่เยีย่ น หรือภาษาท้องถิ่น เรียกว่า โยลันดา ขึ้นสู่ฝั่งในภาคกลางของประเทศ ฟิลิปปินส์เป็นภัยคุกคามกับชีวิตมนุษย์แบบใหม่ขึ้น ขณะทีซ่ ปุ เปอร์ไต้ฝนุ่ เข้าสูฝ่ ง่ั เกิด Storm Surge ลมพายุ ได้หอบเอาน�ำ้ ทะเลเป็นก�ำแพงสูง ๖ ถึง ๘ ฟุตเข้าสูฝ่ ง่ั ท�ำลายทุกสิ่งที่ขวางเส้นทาง หลังจากนั้นก็พัดพาเอา ผู้คนลงกลับทะเลจ�ำนวนหลายพันคน
Storm Surge จากพายุไห่เยี่ยน
80
ข่าวทหารอากาศ
81
สาเหตุหลักของการเสียชีวติ จากภัยคุกคาม รูปแบบใหม่ เมื่อเกิดพายุในปัจจุบันนั่นก็คือดินถล่ม ทั้งหมดเกิดขึ้นในเขตภูเขาและเนินเขา โดยต้นไม้ หิน และอื่น ๆ พังลงมาฝั่งบ้านเรือนประชาชนในชุมชน ทีอ่ ยูด่ า้ นล่าง หรือทีอ่ ยูต่ ามไหล่เขา ซึง่ จากพายุโซนร้อน ปาบึกผ่านตอนกลางของฟิลิปปินส์ช่วงระหว่างวันที่ ๒๘ - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ มีตวั เลขผูเ้ สียชีวติ จ�ำนวน ๑๒๐ คน และอาจจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากยังมีผู้สูญหาย สาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดเกิดจากดินถล่มจากภูเขา ลงมาทับบ้านเรือนประชาชนจากฝนตกหนักหลายวัน ติดต่อกัน และยังมีผเู้ สียหายคาดว่าถูกฝังอยูใ่ ต้ดนิ ถล่ม นอกจากนี้ยังพบว่าบางครอบครัวเสียชีวิตในบ้าน ทั้งหมด หรือบางครอบครัวเหลือ ๑ หรือ ๒ คน ซุ ป เปอร์ ไ ต้ ฝุ ่ น มั ง คุ ด เมื่ อ เดื อ นตุ ล าคม ที่ผ่านมาพบว่าท�ำให้เกิดดินถล่มบริเวณภูเขาจ�ำนวน ๒ หมู่บ้านที่ถูกฝังใต้ดินมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย ๒๒ คน ผูร้ อดชีวติ บางรายทีต่ ดิ อยูใ่ ต้ดนิ ถล่มได้สง่ ข้อความจาก โทรศัพท์มือถือเพื่อขอความช่วยเหลือ การช่วยเหลือ เป็นไปด้วยความยากล�ำบากเนื่องจากรถขนาดใหญ่ เข้าไปไม่ถงึ สาเหตุเพราะดินอ่อนตัว ต้องใช้แรงงานคน เป็นหลักในการช่วยเหลือ สถานที่ ทีพ่ บว่ามีผเู้ สียชีวติ จากดินถล่มและ มีผู้เสียชีวิตจ�ำนวนมาก ได้แก่ เหมืองร้างในเมือง อิโตกอน มีผู้เสียชีวิตจ�ำนวน ๖๐ คน
ในขณะทีพ่ นื้ ทีใ่ นจังหวัดเซบูไม่ได้อยูใ่ นเขต ซุปเปอร์ไต้ฝนุ่ โดยตรงแต่กเ็ กิดฝนตกหนัก เกิดดินถล่ม ในเขตไหล่เขาทีเ่ มืองนากา มีผเู้ สียชีวติ จ�ำนวน ๘๘ คน ผู้รอดชีวิตได้เรียกร้องและไม่อยากให้เกิด ปั ญ หาดิ น ถล่ ม หมู ่ บ ้ า นในลั ก ษณะนี้ เ กิ ด ขึ้ น อี ก ซึง่ ทางการฟิลปิ ปินส์จะได้เร่งหามาตรการในการป้องกัน ในระยะสั้นและระยะยาว ความอันตรายจากพายุไม่เพียงแต่ประชาชน ทีอ่ ยูใ่ กล้ชายฝัง่ ทะเล ใกล้แม่นำ�้ ทะเลสาบ ทะเล และ แหล่งน�้ำอื่น ๆ ในปัจจุบันหลาย ๆ พื้นที่ มีความ อันตรายมากขึ้น สาเหตุจากการท�ำลายป่าไม้ การท�ำ เหมืองแร่ และสิ่งปลูกสร้างในเขตภูเขา ซึ่งฟิลิปปินส์ มีพายุผ่าน ที่เป็นพายุทั่วไปจนถึงซุปเปอร์ไต้ฝุ่นซึ่งมี ปริมาณน�้ำฝนที่แตกต่างกัน แต่ทุกพื้นที่ได้กลายเป็น ความอั น ตรายซึ่ ง เกิ ด จากการกระท� ำ ของมนุ ษ ย์ ซึ่งในบางพื้นที่ไม่เคยมีความอันตรายมาก่อน
ภาพดินถล่มเหมืองร้าง เมืองอิโตกอน จังหวัดเบงเก็ต ประเทศฟิลิปปินส์
ภาพการช่วยผู้ที่ติดอยู่ใต้ดินถล่ม ไม่สามารถน�ำเครื่องจักรเข้าไปช่วยเหลือได้
ภาพดินถล่มเมืองนากา จังหวัดเซบู ประเทศฟิลิปปินส์
82
ส�ำหรับการแก้ไขปัญหาในระยะยาวฟิลปิ ปินส์ ต้องได้รับการแก้ไขปัญหาระดับชาติ ถ้าไม่เช่นนั้น จ�ำนวนผู้เสียชีวิตจากดินถล่มจะเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบนั จ�ำนวนประชากรทัว่ โลกเพิม่ มากขึน้ โดยเฉพาะฟิลิปปินส์มีประชากรราว ๆ ๑๑๐ ล้านคน แต่มีพื้นราบที่อยู่อาศัยจ�ำกัดจ�ำเป็นต้องอาศัยอยู่ใน พื้นที่ราบสูง หรือไหล่เขา และเหมืองร้าง เช่น เมือง บาเกียว เมืองเซบู มีผคู้ นจ�ำนวนมากอาศัยอยูต่ ามภูเขา ประเทศไทยหรือเอเชียในสมัยก่อนมัก ไม่ชอบปลูกที่อยู่อาศัยตามไหล่เขาเพราะฝนตกชุก จะพบส่วนใหญ่จากยุโรปมักจะอยู่อาศัยตามไหล่เขา เช่น สเปน ซึ่งปัจจุบันสังคมเอเชียได้เปลี่ยนแปลงไป เนือ่ งจากจ�ำนวนประชากรทีเ่ พิม่ ขึน้ และนอกจากนัน้ ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกท�ำให้ บางครั้งฝนตกหนักมาก หรือแห้งแล้งมากจนป่าถูก ท�ำลายพืชปกคลุมดินตาย เมือ่ เกิดฝนตกหนักมากกว่า ทีเ่ คยเกิดขึน้ ในอดีตจะท�ำให้เกิดดินถล่มได้อย่างรวดเร็ว และรุนแรง ส�ำหรับการแก้ไขปัญหาระยะสั้นก่อนที่จะ เกิดพายุ ฟิลิปปินส์จะท�ำการแบ่งพื้นที่อันตรายจาก พายุ โดยก�ำหนดพืน้ ทีใ่ กล้ศนู ย์กลางพายุผา่ นเป็นสีแดง การปฏิบตั ริ ฐั บาลท้องถิน่ จะเข้าไปในชุมชนและอพยพ ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยออกไปพักยังศูนย์อพยพ พืน้ ทีเ่ สีย่ ง ได้แก่ ชุมชนใกล้ชายฝัง่ ทะเล แม่นำ�้ บริเวณ ไหล่เขา ที่สูงชัน หรือเหมืองแร่ แต่ก็ประสบปัญหา กรณีประชาชนไม่ยอมออกจากบ้านพักอาศัยบ้าง
เหมือนกันและมักจะเสียชีวติ จากการไม่อพยพออกไป จากพื้นที่เสี่ยงภัย ภัยพิบัติปัจจุบันมีความรุนแรงมากขึ้นและ มีผลกระทบเป็นวงกว้าง การเผชิญกับภัยพิบัติ หรือ การป้องกันและการแก้ไขโดยหลักการที่ทางการ ฟิลิปปินส์แก้ไขปัญหา ๑. มีระบบแจ้งเตือนและพยากรณ์สภาพ อากาศได้อย่างแม่นย�ำ ๒. แบ่งพืน้ ทีเ่ ป็น Zone ทีม่ รี ะดับอันตราย มาก ปานกลาง เล็กน้อย และไม่มผี ลกระทบ โดยพืน้ ที่ อันตรายมากต้องอพยพ เป็นต้น ๓. ให้ความรู้ต่อผู้ช่วยเหลือและผู้ประสบ ภัยพิบัติต้องปฏิบัติอย่างไรและต้องเตรียมสิ่งของ พื้นฐานอะไรบ้างติดตัวไปเมื่อเกิดภัยพิบัติ ๔. รัฐบาลท้องถิ่นและหน่วยงานสนับสนุน ต้องสามารถทีจ่ ะเข้าพืน้ ทีแ่ ละอพยพประชาชนในพืน้ ที่ อันตรายได้อย่างทันสถานการณ์ ๕. การจัดศูนย์อพยพที่ปลอดภัย และมี สิ่งอ�ำนวยความสะดวกที่เพียงพอ ๖. การช่วยเหลือหรือบรรเทาหลังภัยพิบัติ ทีเ่ หมาะสมกับชนิดภัยพิบตั ิ เช่น พายุไต้ฝนุ่ ผลกระทบ ได้แก่ เสาไฟฟ้าหักโค่น ต้นไม้หักโค่นทับเส้นทาง ขาดกระแสไฟฟ้า จ�ำเป็นต้องมีรถยก หรือเลื่อยยนต์ เพื่อเปิดเส้นทางเข้าไปช่วยเหลือประชาชน ในพื้นที่ ห่างไกลหน่วยช่วยเหลือเข้าไม่ถงึ จ�ำเป็นต้องมีอากาศยาน กูภ้ ยั เช่น เฮลิคอปเตอร์เข้าไปช่วยเหลือเป็นต้น
ข่าวทหารอากาศ
83
ธรรมะ ประทีป
วัชชีอปริหานิยธรรม ธรรมอันเป็นทีต่ งั้ แห่งความไม่เสือ่ มของชาววัชชี ๗ ประการ เริ่มเรื่องเล่าว่าพระพุทธเจ้าประทับ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรู กษัตริยแ์ คว้นมคธ ต้องการจะตีแคว้นวัชชีไว้ในอ�ำนาจ จึงส่งวัสสการพราหมณ์ให้ไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค เล่าความให้ทรงทราบแล้วให้วัสสการพราหมณ์ฟังดู ว่าจะทรงพยากรณ์อย่างไร เพราะเชื่อว่าจะไม่ตรัส ผิดความจริง วัสสการพราหมณ์เข้าไปเฝ้ากราบทูล เรื่องนั้น พระผู้มีพระภาคก็ตรัสถามพระอานนท์ ทีละข้อถึงธรรม ๗ ประการที่ชาววัชชีประพฤติกัน อันจะหวังความเจริญได้โดยส่วนเดียวไม่มีเสื่อมว่า พระอานนท์เคยได้ฟังบ้างหรือเปล่า พระอานนท์ ก็กราบทูลว่าเคยได้ฟังธรรม ๗ ประการที่ชาววัชชี ประพฤติ นั่นคือ ๑. จะหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ๒. จะพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียง กันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันท�ำกิจของชาววัชชี ๓. จะไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้จะไม่ ถอนสิง่ ทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้แล้ว จะประพฤติปฏิบตั ใิ นวัชชีธรรม อันเป็นของเก่า ๔. จะเคารพเชื่อฟังชาววัชชีผู้แก่เฒ่า ๕. จะไม่กา้ วล่วงข่มเหงกุลสตรี และกุลกุมารี
กอศ.ยศ.ทอ.
๖. จะเคารพนับถือเจดีย์ของชาววัชชี ทัง้ ภายในและภายนอก ไม่ละเลยพลีกรรมอันเป็นธรรม ที่เคยให้เคยท�ำ ๗. จะจัดการรักษาคุ้มครองอันเป็นธรรม ในพระอรหันต์ของชาววัชชี จะตั้งใจว่าพระอรหันต์ ที่ยังไม่มาขอให้มา ที่มาแล้วขอให้เป็นสุข หากผู้น�ำ ผู้บริหาร ทุกองค์กรสามารถน�ำ หลักธรรมข้างต้นไปประพฤติปฏิบตั ิ น�ำไปประยุกต์ใช้ ในการท�ำงาน ในการบริหารประเทศ จะเกิดประโยชน์ อย่างมหาศาล ทั้งแก่ตนและประเทศชาติ ต่อองค์กร สมดังสุภาษิตที่ว่า สุขา สังฆัสสะ สามัคคี ความ พร้อมเพรียงของหมู่คณะน�ำประโยชน์สุขมาให้
84
ทอ. กับแนวทาง การเลือกตัง ้ ๖๒
เรียบเรียงโดย น.ท.สมภพ จันทร์ชูชื่น
ภายหลังจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดย นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการ การเลือกตั้ง ได้มีประกาศ ก�ำหนดวันเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร วันรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และสถานที่ ทีพ่ รรคการเมืองจะส่งบัญชีรายชือ่ ผูส้ มัครรับเลือกตัง้ สมาชิ ก สภาผู ้ แ ทนราษฎรแบบบั ญ ชี ร ายชื่ อ ซึ่ ง ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒ เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๑๐ ก แล้ว โดยก�ำหนดให้มกี ารเลือกตัง้ สมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎร เป็นการทัว่ ไป ในวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๒ ท�ำให้บรรยากาศทางการเมืองคึกคักสร้างสีสันขึ้นมา อย่างเห็นได้ชัด และก็คงเป็นไปตามแนวทางวิถี ประชาธิปไตยที่หลายฝ่ายมุ่งหวังที่จะก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี สร้างความปรองดอง สมานฉันท์ และมุ่งที่จะพัฒนาประเทศกันต่อไป การเลือกตัง้ ทัว่ ไปทีจ่ ะมีขนึ้ ทุกพรรคมักจะ มีการหาเสียงในพื้นที่ของทางราชการอยู่เสมอ ๆ
ซึ่ ง การก� ำ หนดแนวทางปฏิ บั ติ ใ นการสนั บ สนุ น การเลือกตั้งที่ได้เคยก�ำหนดไว้ ได้มีการปรับปรุง เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยในส่วน ของกองทัพอากาศ พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้ให้นโยบายเพื่อก�ำหนด เป็นแนวทางในการปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน และตาม อนุมตั ิ ผูบ้ ญั ชาการทหารอากาศ เมือ่ วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒ ท้ายหนังสือกรมกิจการพลเรือนทหาร อากาศ ที่ กห ๐๖๐๘.๓/๔๐๔๒ ลงวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒ เรื่อง ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติของ กองทัพอากาศในการเลือกตั้งเพิ่มเติม โดยมีสาระ ส�ำคัญ ดังนี้ แนวทางการสนับสนุนการเลือกตั้ง ให้หน่วยงานของกองทัพอากาศให้ความ ร่วมมือ ช่วยเหลือ และสนับสนุนในการด�ำเนินการ เลือกตัง้ ในกรณีตา่ ง ๆ ทุกครัง้ เมือ่ เจ้าหน้าทีผ่ รู้ บั ผิดชอบ โดยตรงร้องขอ โดยเฉพาะเมื่อได้รับการร้องขอจาก คณะกรรมการการเลื อ กตั้ ง ประจ� ำ จั ง หวั ด หรื อ
ข่าวทหารอากาศ
คณะกรรมการการเลือกตั้งประจ�ำเขตเลือกตั้ง ทั้งนี้ จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บัญชาการ ทหารอากาศ การสนับสนุนก�ำลังพลหรือยุทโธปกรณ์ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยประจ�ำ หน่วยเลือกตั้ง หรือบริเวณใกล้เคียง ให้รายงาน ขออนุมัติผู้บัญชาการทหารอากาศ ตามสายบังคับ บัญชา แล้วรายงานให้รฐั มนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหม ทราบในโอกาสแรก การสนับสนุนการใช้ยานพาหนะ ซึง่ รวมถึง อากาศยานขนหีบบัตรคะแนนเสียง และการใช้พื้นที่ ของกองทัพอากาศเป็นหน่วยเลือกตั้ง หรือเป็นสถาน ที่นับคะแนน และประกาศผลให้อยู่ในอ�ำนาจการ อนุมัติหรือสั่งการของผู้บัญชาการทหารอากาศ ก� ำ ลั ง พลของกองทั พ อากาศที่ ไ ด้ รั บ การติดต่อจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้ปฏิบัติ หน้าทีใ่ นการด�ำเนินการตรวจสอบส�ำนวนการสืบสวน เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ให้รายงานผู้บัญชาการทหาร อากาศทราบทันทีเมื่อได้รับการติดต่อ และรายงาน ให้ทราบอีกครั้ง หลังจากที่ได้มีค�ำสั่งแต่งตั้งจาก คณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว หลังจากมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการ เลือกตั้งแล้ว การแต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการ ทหารอากาศทุกประเภท และทุกระดับ ให้พิจารณา เท่าที่จ�ำเป็น รวมทั้งไม่ควรจัดให้มีการฝึกอบรม หรือ ประชุมสัมมนาในช่วงระยะเวลาประมาณ ๑๐ วันก่อน วันเลือกตั้ง เพราะอาจจะกระทบต่อจ�ำนวนของ เจ้าหน้าที่ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานการเลือกตั้ง แนวทางการใช้สถานที่ราชการของกองทัพอากาศ สนับสนุนการหาเสียงเลือกตั้ง ให้หน่วยพิจารณาสนับสนุนการร้องขอ ใช้สถานที่ของหน่วยเพื่อการหาเสียงแก่ผู้ลงสมัคร รับเลือกตัง้ อย่างเป็นธรรมและด้วยความเสมอภาคกัน โดยผูร้ อ้ งขอจะต้องเสนอความต้องการเป็นลายลักษณ์ อักษรถึงผู้บังคับบัญชาหน่วยที่เป็นเจ้าของสถานที่ เป็นการล่วงหน้าในห้วงระยะเวลาอันสมควร
85
ในกรณีที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค
ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งท�ำการหาเสียงในพื้นที่ ที่หน่วย รับผิดชอบ และมีบางพรรคได้เสนอความต้องการ ขอใช้สถานที่ของหน่วยเพื่อหาเสียง หากเป็นไปได้ หน่วยควรจะได้ประสานกับพรรคการเมืองอื่น ๆ ให้ร่วมท�ำการหาเสียงในโอกาสเดียวกัน การสนั บ สนุ น พื้ น ที่ ข องหน่ ว ยเพื่ อ การหาเสียง ให้ผู้บังคับบัญชาหน่วยพิจารณาใช้ สถานที่บริเวณสโมสร สนามกีฬา หรือหอประชุม ของหน่วย โดยผูส้ มัครรับเลือกตัง้ หรือพรรคการเมือง ต้องเสียค่าใช้จ่ายตามระเบียบที่ส่วนราชการก�ำหนด ก�ำหนดเวลาการใช้สถานที่ราชการของ กองทัพอากาศ เพื่อสนับสนุนการหาเสียงให้อยู่ใน ดุลพินจิ ของผูบ้ งั คับบัญชาหน่วยนัน้ ๆ แต่ทงั้ นีจ้ ะต้อง มิให้เป็นการกระทบกระเทือนต่อการปฏิบตั ภิ าระหน้าที่ ทางทหาร การแจกจ่ายเอกสาร ใบปลิว หรือสิง่ พิมพ์ ประกอบการหาเสียงให้กำ� ลังพลและครอบครัว ภายใน สถานทีร่ าชการของกองทัพอากาศ ไม่สามารถกระท�ำได้ ยกเว้น สโมสร สนามกีฬา หรือห้องประชุม การอนุมตั ใิ ห้การสนับสนุนพืน้ ทีข่ องหน่วย เพื่อการหาเสียง และท�ำกิจกรรมอื่น ๆ ตามที่ได้รับ การร้องขอจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง และ พรรคการเมื อ งให้ หั ว หน้ า หน่ ว ยขึ้ น ตรงกองทั พ อากาศทุกส่วนราชการ รายงานน�ำเรียนขออนุมัติ ผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ (ผ่านเจ้ากรมกิจการพลเรือน ทหารอากาศ) เพือ่ ความสะดวกในการควบคุม บริหาร จัดการ และลดแรงกดดันของหัวหน้าหน่วยขึ้นตรง กองทัพอากาศกับพรรคการเมืองในพื้นที่ ให้ ห น่ ว ยก� ำ หนดสถานที่ ข องหน่ ว ย ที่สามารถอนุญาตให้มีการปิดประกาศ และติด แผ่นป้ า ยโฆษณาหาเสี ย งเลื อ กตั้ ง ของผู ้ ส มั ค ร รับเลือกตั้งและพรรคการเมืองได้ รวมทั้งอ�ำนวย ความสะดวกตามสมควรแก่ ผู ้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง และพรรคการเมืองโดยเท่าเทียมกัน
86
กรณีผสู้ มัครรับเลือกตัง้ หรือพรรคการเมือง ในครอบครัว ญาติ และมิตรสหาย ให้ไปใช้สทิ ธิเลือกตัง้
ขอเข้ามาหาเสียง ณ ที่ตั้งดอนเมือง โดยไม่มีก�ำหนด พื้นที่ ให้หน่วยเกี่ยวข้องด�ำเนินการ คือ หน่วยงาน ของกองทัพอากาศจัดก�ำลังพลเข้ารับฟังการหาเสียง และกรมสวัสดิการทหารอากาศเป็นหน่วยพิจารณา และรับผิดชอบในการจัดสถานทีใ่ ห้ผสู้ มัครรับเลือกตัง้ หรือพรรคการเมืองใช้หาเสียงโดยให้ใช้หอประชุม กองทัพอากาศ หอประชุมกานตรัตน์ สโมสรนายทหาร สัญญาบัตร (ทุ่งสีกัน) สโมสรนายทหารชั้นประทวน (ท่าดินแดง) หรือสนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย)์ เป็นสถานทีห่ าเสียง โดยไม่ให้กระทบกระเทือนต่อการ ปฏิบัติภารกิจของหน่วย แนวทางการส่งเสริมการเลือกตั้ง ให้หน่วยงานของกองทัพอากาศ อ�ำนวย ความสะดวกเท่าทีไ่ ม่ขดั ต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เพือ่ ให้กำ� ลังพลในสังกัดไปใช้สทิ ธิเลือกตัง้ และให้กำ� ชับ ก�ำลังพลให้เห็นความส�ำคัญของการเลือกตั้ง ให้กำ� ลังพลของกองทัพอากาศไปใช้สทิ ธิ เลือกตั้งทุกครั้ง เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่ประชาชน โดยทั่ ว ไป รวมทั้ ง แนะน� ำ ชั ก ชวนบุ ค คลผู ้ มี สิ ท ธิ
โดยพร้อมเพรียงกัน ให้ ทุ ก หน่ ว ยงานของกองทั พ อากาศ พิจารณาให้การส่งเสริม และอ�ำนวยความสะดวก แก่ก�ำลังพล และครอบครัวให้ได้รับฟังการหาเสียง โดยทั่วกัน ด้วยการประกาศแจ้งเตือนให้ทราบถึง วัน เวลา และสถานทีท่ จี่ ะมีการหาเสียง และจัดเจ้าหน้าที่ ควบคุม รักษาความสงบเรียบร้อยตามความเหมาะสม การใช้สทิ ธิเลือกตัง้ ของทหารประจ�ำการ และทหารกองประจ�ำการ ทีไ่ ด้รบั ค�ำสัง่ จากทางราชการ ให้ไปปฏิบตั หิ น้าทีเ่ กีย่ วกับการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือเกีย่ วกับความมัน่ คงปลอดภัยของประเทศ นอกทีต่ งั้ ปกติที่ตนมีภูมิล�ำเนานั้น หากผู้บังคับบัญชาหน่วย ตั้งแต่ชั้นผู้บังคับกองพันหรือเทียบเท่าขึ้นไปเห็นว่า ก�ำลั ง พลอาจไม่ ส ามารถใช้ สิ ท ธิ ใ นวั น เลื อ กตั้ ง ได้ ให้ ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาหน่ ว ยนั้ น แจ้ ง คณะกรรมการ การเลือกตัง้ เพือ่ ให้กำ� ลังพลดังกล่าวได้ใช้สทิ ธิเลือกตัง้ ล่วงหน้าได้ แนวทางการวางตัวเป็นกลางในการเลือกตั้ง ให้กำ� ลังพลทหารอากาศวางตัวเป็นกลาง ในการเลือกตัง้ ทุกครัง้ อย่างเคร่งครัด ไม่ปฏิบตั กิ ารใด ๆ ในทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งทางส่วนตัวและราชการ โดยมิ ช อบด้ ว ยกฎหมาย เป็ น คุ ณ หรื อ เป็ น โทษ แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งพรรคการเมืองใดโดยเด็ดขาด ห้ า มใช้ ก� ำ ลั ง พล ยานพาหนะ และ อากาศยานของกองทัพอากาศ สนับสนุนในลักษณะ กระท�ำการเพือ่ เผยแพร่ใบปลิว สิง่ พิมพ์ หรือข้อความ หาเสียงของพรรคการเมืองหรือนักการเมืองใด ๆ แนวทางการใช้เครื่องมือและสื่อต่าง ๆ ของกองทัพ อากาศในการประชาสัมพันธ์สนับสนุนการเลือกตั้ง ให้ด�ำเนินการประชาสัมพันธ์สนับสนุน การเลือกตัง้ ในภาพรวม เช่น การรณรงค์ให้ประชาชน ไปเลือกตัง้ ประกาศแจ้งก�ำหนดการเลือกตัง้ ประกาศ แจ้งขั้นตอนการเลือกตั้ง เป็นต้น
ข่าวทหารอากาศ
87
กรณีได้รบั การร้องขอจากพรรคการเมือง ไม่ มี ผ ลกระทบต่ อ กองทั พ อากาศ และไม่ แ สดง
หรือผู้สมัครรับเลือกตั้ง เพื่อขอใช้เครื่องมือ และสื่อ ของกองทัพอากาศในการประชาสัมพันธ์นนั้ ให้พจิ ารณา ให้การสนับสนุนด้วยความเสมอภาค และเท่าเทียมกัน ทุกพรรคการเมือง และผูส้ มัครรับเลือกตัง้ ทุกคน ทัง้ นี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ส่วนราชการก�ำหนด นอกจากนี้แล้วในส่วนของแนวทางปฏิบัติ ในการใช้ สื่ อ สั ง คมออนไลน์ ข องกองทั พ อากาศ ก็ เช่ น กั น ต้ อ งปฏิ บั ติ ต ามอนุ มั ติ ผู ้ บั ญ ชาการ ทหารอากาศ เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ท้ายหนังสือกรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร ทหารอากาศ ที่ กห ๐๖๐๙.๖/๕๐๐ ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ซึ่งรายละเอียดที่ส�ำคัญก็คือ การอบรมชีแ้ จงข้าราชการห้ามเผยแพร่ภาพในทีส่ งวน หรือภาพถ่ายเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ในพืน้ ทีท่ างยุทธการ หรือพืน้ ทีท่ เี่ ป็นความลับของทางราชการ หรือพื้นที่ ที่ไม่สมควรเปิดเผยผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต และ สื่อสังคมออนไลน์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้มีอ�ำนาจ รวมทั้ง การแสดงความคิดเห็นในสื่อสังคมออนไลน์ ให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบตั ใิ นการใช้สอื่ สังคมออนไลน์ ของข้าราชการทหารอากาศ เป็นไปในทางสร้างสรรค์
ความคิดเห็นทางการเมือง ตลอดจน ปฏิบตั ติ ามแนวทาง ปฏิบัติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของกองทัพอากาศ และเป็นไปตามระเบียบกองทัพอากาศว่าด้วยการ ให้ขา่ ว และบริการข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.๒๕๕๕ ทัง้ นี้ ให้หวั หน้าหน่วยขึน้ ตรงกองทัพอากาศก�ำกับ ดูแล เข้มงวด กวดขัน และตรวจสอบข้าราชการในสังกัด หากพบการกระท�ำในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มี ผลกระทบต่อกองทัพอากาศ หรือภาพลักษณ์ของ กองทัพอากาศ ให้ถือเป็นความผิดทางวินัยทหาร โดยพิจารณาลงทัณฑ์เป็นล�ำดับแรก และเสนอให้ ส�ำนักงานพระธรรมนูญทหารอากาศพิจารณาด�ำเนิน การทางกฎหมายต่อไป อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์ตา่ ง ๆ ทีไ่ ด้กำ� หนด เป็นแนวทางปฏิบัติก็เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทกุ ฝ่าย จึงอยากขอเชิญ ชวนให้ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ และ ครอบครัว ตลอดจนทหารกองประจ�ำการที่มีสิทธิ ออกเสียงในการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้ไปใช้สิทธิเพื่อเป็น การแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในประชาธิปไตย โดยพร้อมเพรียงกัน
๒๔ มีนา เข้าคูหา กาเบอร์เดียว
88
เป็นผูม ้ องเห็นความโชคดี ของตนอยูเ่ สมอ ทุก ๆ วันที่หนึ่ง และวันที่สิบหกของเดือน ช่วงตอนบ่าย ถนนหนทางจะค่อนข้างว่าง ไปไหน มาไหนสะดวก ผู้เขียนแนะน�ำผู้ที่จะต้องไปพบแพทย์ ว่า วันนีค้ นจะน้อยกว่าวันอืน่ ๆ เพราะส่วนใหญ่มภี าระ ต้องซื้อหวยและลุ้นหวยออก เสียอย่างเดียวบางที เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลก็ลุ้นเหมือนกัน มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผู้เขียนก�ำลังจะถ่ายเอกซเรย์ปอดอยู่ เจ้าหน้าที่สั่งให้ หายใจเข้าลึก ๆ แล้วเขาก็หันไปสั่งซื้อหวยตามที่มีคน ตะโกนถามว่าจะเอาเลขไหนเท่าไรเฉยเลย เล่นเอา ผูเ้ ขียนต้องหันไปมอง คิดในใจว่าจะเอายังไงกันต่อไป จะให้กลั้นหายใจต่อหรือเปล่า หวยเถื่อนกับคนไทย คงแยกกันล�ำบาก หลังจากวันหวยออกแล้ววันรุ่งขึ้น ก็จะมีพาดหัวข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ ได้เห็นคน ที่ถูกหวยรัฐบาล ทุกครั้งจะต้องมีค�ำว่าดวงดีรวย หกล้านบ้าง สิบสองล้านบ้าง เห็นหน้าตาคนถูกหวย ยิ้มแย้มแจ่มใส ไปค้นหนังสือพิมพ์ดูได้เลย หลายครั้ง ผู้เขียนคิดว่า รวย กับ ซวย นี่มันใกล้กันมากเลยนะ เขียนก็คล้ายกัน ออกเสียงก็ใกล้ ๆ กัน แล้วจริง ๆ ก็ไม่รู้ว่า คนถูกหวยนั้น รวย หรือ ซวย กันแน่ ที่แน่ ๆ คือชีวิตเขาคงไม่สงบเย็นอีกต่อไป คนที่ต้องท�ำงาน
หาเช้ากินค�่ำ ชีวิตก็ด�ำเนินไปอย่างหนึ่ง เมื่อมีเงิน หลายล้านบาท เขาจะบริหารจัดการอย่างไร มันไม่งา่ ย เลย ญาติพี่น้อง คนรู้จักคงมาเยี่ยมเยียนกันทั้งวัน อาจจะซวยเพราะรวยก็ได้ พอเรื่องนี้เท่านี้ดีกว่า เดี๋ยวจะกลายเป็นอิจฉาคนถูกหวยไป แต่สิ่งที่ผู้เขียน ต้องการกล่าวถึงในวันนี้ก็คือ คนเราทุกคนนั้นล้วนมี โชคกันอยู่แล้ว ในทุก ๆ วัน ไม่ต้องรอวันหวยออก ก็โชคดีได้ เพียงแต่เราจะมองเห็นความโชคดี หรือ ดวงดีของเราหรือเปล่าเท่านั้นเอง เป็นหัวข้อที่จะ คุยกันในวันนี้ โชคดี แปลว่ า ผลดี ที่ เ กิ ด ขึ้ น โดยไม่ ไ ด้ คาดหมายมาก่อน แต่ถ้าผลเป็นตรงกันข้ามแบบ ไม่คาดหมายมาก่อน เราเรียกว่าโชคร้าย ที่จริง การถูกหวย หรือถูกลอตเตอรีไ่ ม่นา่ เรียกว่าโชคดี เพราะ ไม่มีใครซื้อหวยหรือลอตเตอรี่แล้วไม่อยากจะถูก แต่เราก็เรียกว่าโชคดี เพราะทุกคนรู้ว่าแม้จะอยากให้ ถูกแต่โอกาสมันก็มีน้อย ที่น่าสนใจคือ ค�ำว่าโชคดีนี้ ในภาษาอังกฤษ มีหลายส�ำนวนมาก เช่น good luck หรือ best of luck ที่เราคุ้นเคย แต่ยังมีค�ำอื่น ๆ เช่น finger crossed ซึ่งมีวิธีการแสดงด้วยนิ้วชี้ไขว้
ข่าวทหารอากาศ
กับนิ้วกลางแทนค�ำพูดด้วยแต่ต้องระวังท่าทางนี้ให้ดี ถ้านิ้วชี้มาช้าจะมีเรื่องกันได้ หรือ break a leg ก็แปลว่าโชคดี หรือ knock them dead หรือ blow them away เหล่านี้ก็แปลว่าโชคดีทั้งนั้น เลือกใช้ได้ ตามโอกาสต่าง ๆ แสดงว่าโชคดีนั้น มีหลายมิติ มองได้หลายมุม แล้วแต่วา่ เราจะมองเห็นมันหรือเปล่า ผู้เขียนมีค�ำถาม ถามท่านผู้อ่านหลายข้อ ท่านผู้อ่านเคยดีใจหรือรู้สึกว่าตัวเองโชคดี มาก ๆ ที่มีแผ่นดินไทยให้อาศัยอยู่ไหมครับ ผู้เขียน คิดว่ามีคนไม่มากที่คิดอย่างนี้ เพราะเราเกิดมาก็มี ประเทศไทย มีแผ่นดินไทยให้อาศัยอยูแ่ ล้ว หลายท่าน อาจมีมรดกที่เป็นที่ดินอีกหลายไร่ หรือหลายสิบไร่ รูส้ กึ ว่าแผ่นดินนีม้ นั เป็นของเรามาแต่เกิด ดูมนั ธรรมดา ไม่น่าถามเลย ท่านไม่คิดบ้างหรือว่า ถ้าท่านไปเกิดที่ ประเทศอื่น บ้านเมืองอื่นที่รบราฆ่าฟันกันทุกวัน บ้านแตกสาแหรกขาด ท่านจะทุกข์ร้อนเท่าไร การได้ เกิดบนผืนแผ่นดินไทยนี้ เป็นโชคดีของชีวิตเรื่องหนึ่ง เลยล่ะ แค่เรามองเห็นเราจะรู้สึกเป็นสุข เราจะนึกถึง บุญคุณของบรรพบุรุษ ที่รักษาผืนแผ่นดินนี้ไว้ให้เรา
89
ที่ ดิ น หลายไร่ ห รื อ หลายสิ บ ไร่ ที่ บ างคนมี นั้ น มั น เรื่องสมมติ ถ้าต่างชาติเขามารุกรานยึดประเทศไทย ไปได้ ท่านก็ไม่เหลืออะไรเลย หากเรารู้ว่าเราโชคดี เราจะรูส้ กึ หวงแหนผืนแผ่นดินนี้ และจะรักษาแผ่นดิน ไทยไว้ด้วยชีวิต ตื่นเช้ามาทุกวันควรบอกตัวเองว่า เราโชคดีมากที่ได้เกิดบนผืนแผ่นดินนี้ ในทุก ๆ วัน เราก็เป็นคนโชคดีแล้ว ท่านคิดว่าท่านโชคดีไหมครับทีค่ นในสังคม ไทยยั ง รั ก และสามั ค คี กั น อยู ่ ค� ำ ถามนี้ ถ ้ า ถาม เมือ่ ยีส่ บิ ปีกอ่ นคงเป็นเรือ่ งแปลกประหลาด คงไม่เคย มีใครคิดว่าคนไทยในสังคมไทยจะแตกแยกกันได้ หรือ มีความคิดเห็นทีแ่ ตกต่างกันแบบไม่ยอมฟังกัน ผูเ้ ขียน อายุมากแล้ว เมื่อตอนสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร ท่องจ�ำได้ตดิ ใจว่าคนไทยมี สิบเจ็ดล้านคน คนไทยไม่มี ทางที่จะแตกแยกกันได้ แต่เดี๋ยวนี้คนไทยมีเกือบ
90
เจ็ดสิบล้านคน ต้องแย่งกันกิน แย่งกันอยู่ แย่งกันใช้ มีนักการเมือง นักการตลาด พยายามแบ่งแยกแย่งชิง คนไทยเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ของเขา ยังโชคดี ที่ สุ ด ที่ เรายั ง รั ก ษาความรั ก ความสามั ค คี ข องคน ในสังคมของเราไว้ได้ ต้องนับว่า โชคดีมาก ๆ นะครับ และจะโชคดีมากสุด ๆ ถ้าเรามองเห็นเรื่องนี้ว่าเรา ยังโชคดีอยู่ จะได้มีส�ำนึก รู้รักสามัคคี ท่านผู้อ่านที่เป็นทหารอากาศ ท่านคิดว่า ท่านโชคดีไหมครับที่ได้เป็นทหารอากาศ นอกจาก เป็นอาชีพหนึ่งที่ท�ำให้ท่านมีเงินเดือนและสิทธิต่าง ๆ เพื่อการด� ำ รงชี วิ ต เหมือนอาชีพ อื่น ๆ หลายท่าน อาจจะเคยเป็นทหารอากาศและลาออกไปท�ำงาน ทีอ่ นื่ ผูเ้ ขียนไม่ได้มคี วามคิดเรือ่ งอาชีพไหนดีหรือไม่ดี กว่ากันหรอก แต่ต้องการเน้นให้เห็นว่า เมื่อท่าน มีอาชีพอะไร ท่านควรจะดีใจ ภูมิใจ ที่ได้ท�ำอาชีพ นั้น ๆ เพราะมี ค นอี ก มากที่ไ ม่มีอาชีพ จะท�ำ ท่าน ไม่ต้องไปขายพวงมาลัยตามสี่แยก ก็นับว่าโชคดีมาก แล้ว อย่าได้ประมาทเลย เศรษฐีร้อยล้านพันล้าน ต้องมาขายแซนด์วิช ขายกล้วยแขกก็มีมาแล้ว การ ได้เป็นทหารอากาศจึงถือว่าเป็นคนที่โชคดี หากคนที่ เป็นแล้วมองไม่เห็นว่าตัวเองโชคดี ความเสียสละ ทุม่ เท ในงานของกองทัพอากาศคงมีน้อย ท่านก็คงเป็นแค่ ผู้อาศัยการเป็นทหารอากาศด�ำรงชีวิตไปวัน ๆ หนึ่ง เท่านั้น ท่านคิดว่าท่านโชคดีไหมครับที่ทุกวันนี้ ตอนเย็น ๆ สมาชิกในครอบครัวยังมานั่งทานข้าวกัน ครบทุกคน หลายท่านอาจไม่เคยเห็นความโชคดี ในเรื่องนี้ของตนเลย เพราะก็เห็นทุกคนมาทานข้าว กันทุกวันปกติ จริงแล้วทีท่ กุ คนมาทานข้าวกันครบนัน้ เป็นเรื่องไม่ปกติ แต่ท่านยังโชคดีอยู่เท่านั้นเอง สิ่งที่ แน่นอนแท้จริงก็คือ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย คงต้อง จากเราไปตามเวลา ลูก ๆ คงต้องจากเรา ไปเรียนทีอ่ ื่น บ้าง แยกครอบครัวไปบ้าง ท่านและคู่ชีวิตของท่าน ก็ต้องจากกันไปตามเวลาที่สมควร เหล่านี้ยังไม่นับ การเกิ ด อุ บั ติ เ หตุ อุ บั ติ ภั ย ต่ า ง ๆ การเหลื อ ท่ า น
นั่งทานข้าวอยู่ด้วยนั่นแหละคือความปกติของชีวิต ท่านโชคดีเท่าไร หากวันนีท้ กุ คนยังอยูก่ นั ครบ จงมอง เห็นความโชคดีอันนี้และมีความสุขกับความโชคดี สุด ๆ ของตัวเองด้วย ท่านคิดไหมครับว่า ท่านโชคดีมากเลยที่ได้ มีโอกาส สวดมนต์แผ่เมตตาก่อนนอนในแต่ละวัน สังคม นั้นวุ่นวายไปด้วยการต่อสู้ แย่งชิงปัจจัยต่าง ๆ เพื่อ การด�ำรงชีวิต อุปสรรคมากมายในแต่ละวันที่เรา ทุกคนต้องฝ่าฟัน ทั้งร่างกายและจิตใจที่อ่อนล้า เมื่อเวลาจะเข้านอน ถ้าเราได้มีโอกาสนั่งลง สวดมนต์ นึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขอบคุณ ทุก ๆ คนทีช่ ว่ ยให้วนั นีข้ องเราผ่านมาด้วยดีอกี วันหนึง่ หากมีสิ่งใดที่ไม่เรียบร้อยก็ขอโทษขอโพยผู้เกี่ยวข้อง เพือ่ ให้จติ ใจสงบนอนหลับสบาย มีสงิ่ ดีในจิตใจก็เผือ่ แผ่ ให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย วันหนึ่ง ๆ หากมีโอกาส ได้ท�ำอย่างนี้ นับว่าเป็นโชคดีของชีวิต ดีกว่าถูกหวย มากมายนัก ผู้เขียนยกตัวอย่างมาพอสังเขป ให้เห็นว่า สิ่งเหล่านี้คือความโชคดีที่ทุก ๆ คนมีอยู่แล้ว เพียงแต่ เราอาจไม่ได้สังเกตว่าเราเป็นคนโชคดีแค่ไหน เรา กลับถูกท�ำให้มองเห็นแต่ความโชคร้ายของกิเลส ทีม่ นั อยากได้โน่นได้นี่ อยากเป็นโน่นเป็นนี่ พอไม่ได้ ก็จะโยนให้มาเป็นโชคร้ายของเรา มันไม่เกี่ยวกับ เราเลย เรามีความโชคดีของเราอยู่ทุกวันแล้วไม่ต้อง รอถูกหวย เอาเงินที่จะซื้อหวยมาฉลองโชคดีที่เรา มีดกี ว่า เพียงแค่มองเห็นเท่านี้ ชีวติ ก็มคี ณ ุ ค่าทีส่ ดุ แล้ว ความโลภ ความโกรธ ความหลงของกิเลส มองไม่เห็น เสียบ้างก็ไม่เป็นไร
INSIDE THE AIR FORCE
ในรั้วสีเทา
๙๑ ขาวทหารอากาศ
พล.อ.อ.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน ผบ.ทอ.กลาวตอนรับและใหความรูเกี่ยวกับ ทอ.ใหแกผูเขารับการฝกอบรมโครงการหลักสูตรพัฒนาสัมพันธระดับ ผูบริหาร ทอ.(พสบ.ทอ.) รุนที่ ๑๔ โดยมี พล.อ.ท.พงษศักดิ์ เสมาชัย จก.กร.ทอ.ใหการตอนรับ ณ หองประชุม บน.๖ (อาคารหอประชุมธูปะเตมีย) เมื่อวันที่ ๗ ก.พ.๖๒
พล.อ.อ.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน ผบ.ทอ.เปนประธานในพิธปี ด การแขงขันการปฏิบตั กิ ารทางอากาศยุทธวิธี ประจำป ๒๕๖๒ โดยมี น.อ.ชนาวีร กลิน่ มาลี ผบ.บน.๒๓ ใหการตอนรับ ณ บน.๒๓ เมือ่ วันที่ ๗ ก.พ.๖๒
คุณพงศอุมา ดิษยะศริน นายกสมาคมแมบาน ทอ.เปนประธานในพิธี เนื่องในวันคลายวันสถาปนาสมาคมแมบาน ทอ.ครบปที่ ๓๔ (๒๕ ม.ค.๖๒) ณ สมาคมแมบาน ทอ. เมื่อวันที่ ๒๙ ม.ค.๖๒
ในรั้วสีเทา
INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๒
พล.อ.อ.ชาญฤทธิ์ พลิกานนท รอง ผบ.ทอ.เปนประธานการจัดกิจกรรม หนวยมิตรประชา บน.๔๑ พรอมดวย น.อ.สุนทร ผองอำไพ ผบ.บน.๔๑ จัดหนวยแพทยเคลื่อนที่จาก รพ.บน.๔๑ ออกใหบริการประชาชน เมื่อวันที่ ๑๒ ก.พ.๖๒
พล.อ.อ.ภานุพงศ เสยยงคะ ประธานคณะที่ปรึกษา ทอ./ประธาน อนุกรรมการพัฒนางานดานสวัสดิการ ทอ.พรอมคณะ ตรวจเยีย่ มสายงาน ดานสวัสดิการ ณ บน.๔๑ โดยมี น.อ.สุนทร ผองอำไพ ผบ.บน.๔๑ ใหการตอนรับ ณ บน.๔๑ เมื่อวันที่ ๖ ก.พ.๖๒
พล.อ.อ.ถาวรวัฒน จันทนาคม ผช.ผบ.ทอ.(กษ.)/ประธานคณะกรรมการ บริหารกิจการแหลงทองเที่ยวในเขตทหารของ ทอ.ตรวจเยี่ยมหนวยที่ ดำเนินการเปนแหลงทองเที่ยวในเขตทหารของ ทอ. ณ บน.๒๓ โดยมี น.อ.ชนาวีร กลิ่นมาลี ผบ.บน.๒๓ ใหการตอนรับ ณ บน.๒๓ เมื่อวันที่ ๑๑ ก.พ.๖๒
พล.อ.อ.มานัต วงษวาทย เสธ.ทอ./ผอ.ศอ.ปส.ทอ.พรอมคณะ ตรวจเยีย่ ม ศป.ปส.บน.๔๑ โดยมี น.อ.สุนทร ผองอำไพ ผบ.บน.๔๑ ใหการตอนรับ ณ บน.๔๑ เมื่อวันที่ ๔ ก.พ.๖๒
พล.อ.อ.มานัต วงษวาทย เสธ.ทอ.เปนผูแทน ทอ.เขารวมพิธีเปดการฝก คอบราโกลด ๑๙ โดยมี พล.อ.พรพิพฒ ั น เบญญศรี ผบ.ทสส.และ Dr. Peter Haymond อุปทูตรักษาการ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจําประเทศไทย เปนประธานในพิธี ณ ลานอเนกประสงค คายสมเด็จพระเอกาทศรถ กองทัพ ภาคที่ ๓ จว.พิษณุโลก เมื่อวันที่ ๑๒ ก.พ.๖๒
พล.อ.ท.สุรศักดิ์ อินทรจำนงค รอง เสธ.ทอ./ประธานกรรมการพลังงาน ทดแทน ทอ.เปนผูแทน ผบ.ทอ.ทำพิธีลงนามบันทึกขอตกลงความรวมมือ "การศึกษาความเปนไปไดเบื้องตน ของการพัฒนาโครงขายไฟฟาอัจฉริยะ Smart Grid" ระหวาง ทอ.และ กฟผ. โดยมี นายพัฒนา แสงศรีโรจน รองผูวาการยุทธศาสตร กฟผ.เปนผูใหการตอนรับและลงนาม ณ กฟผ. เมื่อวันที่ ๕ ก.พ.๖๒
INSIDE THE AIR FORCE
ในรั้วสีเทา
๙๓ ขาวทหารอากาศ
พล.อ.ท.อภิรมุ จันทรกุล จก.ชอ.สนับสนุนการจำหนายดอกปอปปข อง สมาคมแมบาน ทอ.เนื่องในวันทหารผานศึก ๓ ก.พ.๖๒ โดยคุณพรอัปสร นิลจินดา ประธานคณะกรรมการฝายทะเบียนและประชาสัมพันธ สมาคมแมบาน ทอ. ณ หองเวชยันตรังสฤษฎ ชอ. เมื่อวันที่ ๑ ก.พ.๖๒
พล.อ.ท.พงษศกั ดิ์ เสมาชัย จก.กร.ทอ.เปนประธานในพิธเี ปดการสัมมนา เชิงปฏิบัติการนายทหารกิจการพลเรือนและประสัมพันธ ทอ. ณ โรงแรม ภูวนาลี รีสอรท เขาใหญ อ.ปากชอง จว.นครราชสีมา เมือ่ วันที่ ๔ ก.พ.๖๒
พล.อ.ท.ชวาลา ราชวงศ จก.ทสส.ทอ.เปนประธานจัดการอบรมเครือขาย การปองกันการลวงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย ณ หองนภัศวิน อาคาร สโมสร นนอ.รร.นนก. เมื่อวันที่ ๕ ก.พ.๖๒
พล.อ.ท.ภูมิใจ ชัยพันธุ ผบ.อย.เปนประธานในพิธีทำบุญเนื่องในโอกาส วันคลายวันสถาปนากรมปฏิบตั กิ ารพิเศษ อย.ครบ ๔๑ ป ณ กรมปฏิบตั กิ าร พิเศษ อย. เมื่อวันที่ ๗ ก.พ.๖๒
พล.อ.ท.นภาเดช ธูปะเตมีย รอง ผบ.คปอ.เปนประธานจัดกิจกรรม ทำความสะอาดพืน้ ทีข่ อง คปอ.เพือ่ รวมแกไขปญหาสถานการณฝนุ ละออง ขนาดเล็ก (PM 2.5) ณ ลานอเนกประสงค อนุสาวรียจอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร เมื่อวันที่ ๑ ก.พ.๖๒
พล.อ.ท.ยุทธชัย วัชรสิงห ผอ.ศวอ.ทอ.เปนประธานในพิธเี ปดโครงการ ฝกอบรมดานเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกตใชเพื่อความมั่นคง ณ หองประชุม ศวอ.ทอ. เมื่อวันที่ ๔ ก.พ.๖๒
ในรั้วสีเทา
INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๔
พล.อ.ต.อติชาติ ศิลานันท จก.สบ.ทอ.พรอมคณะ ตรวจเยีย่ มสายวิทยาการ ดานสารบรรณ ณ บน.๒ โดยมี น.อ.วสันต บัณฑิตศักดิส์ กุล ผบ.บน.๒ ใหการตอนรับ ณ บก.บน.๒ เมื่อวันที่ ๔ ก.พ.๖๒
พล.อ.ต.ภูวเดช สวางแสง จก.จร.ทอ.พรอมคณะ สรุปผลการตรวจ การปฏิบตั ริ าชการของ บน.๔๖ โดยมี น.อ.กฤษณ เกตุรกั ษ ผบ.บน.๔๖ ใหการตอนรับ ณ หองประชุม ๔๐๖ บน.๔๖ เมื่อวันที่ ๗ ก.พ.๖๒
พล.อ.ต.เกรียงไกร โสธรชัย รอง จก.พอ.เปนประธานในพิธเี ปดการอบรม เชิงปฏิบัติ การบำบัดรักษาและฟนฟูสมรรถภาพผูติดยาเสพติด โดยใช รูปแบบชีวะจิตตะสังคม บำบัด (Bio-Psycho-Social Model) กับบุคลากร ทางการแพทย ประจำป ๒๕๖๒ ณ อาคารศูนยวิจัยและพัฒนาทาง การแพทย กวก.พอ. เมื่อวันที่ ๖ ก.พ.๖๒
พล.อ.ต.เดชอุดม คงศรี รอง จก.ยศ.ทอ.พรอมคณะ ตรวจเยี่ยม สายวิทยาการดานการศึกษา การฝก และอนุศาสนาจารย ณ บน.๒๓ โดยมี น.อ.สรพัฒน เพ็ชรมงคล รอง ผบ.บน.๒๓ ใหการตอนรับ เมื่อวันที่ ๔ ก.พ.๖๒
พล.อ.ต.ไกรสิงห แกนการ ผบ.ดม.เปนประธานพิธเี ปดอบรมโครงการ สรางจิตสำนึกนิรภัยภาคพื้น ใหแกทหารกองประจำการ สน.ผบ.ดม. ประจำป ๒๕๖๒ ณ หองประชุม กวก.สน.ผบ.ดม. เมือ่ วันที่ ๗ ก.พ.๖๒
พล.อ.ต.ศิรพิ งษ ศรีเกิน ผอ.สนภ.ทอ.เปนประธานในพิธปี ด การศึกษา หลักสูตรนายทหารนิรภัยการบิน รุน ที่ ๖๑ ณ หองประชุมรณนภากาศ สนภ.ทอ.(ชั้น ๔) เมื่อวันที่ ๕ ก.พ.๖๒
INSIDE THE AIR FORCE
ในรั้วสีเทา
๙๕ ขาวทหารอากาศ
พล.อ.ต.สุวรรณ ขำทอง ผบ.รร.การบิน ใหการตอนรับ พล.อ.ท.แอรบลู สุทธิวรรณ ปช.ทอ.พรอมคณะ ตรวจเยีย่ มสายวิทยาการดานปลัดบัญชี ณ หองประชุม บก.รร.การบิน เมือ่ วันที่ ๑๒ ก.พ.๖๒
น.อ.จักรกฤษณ ธรรมวิชยั ผบ.บน.๑ นำขาราชการ ลูกจาง และพนักงาน ราชการ บน.๑ ฝกปรับมาตรฐานบุคคลทามือเปลา ตามคูม อื ฝกพระราชทาน ณ ลานจอด แผนกชางอากาศ บน.๑ เมื่อวันที่ ๗ ก.พ.๖๒
น.อ.วสันต บัณฑิตศักดิ์สกุล ผบ.บน.๒ เปนประธานในพิธีเปดการ สัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการอภินิหารทางการเงิน ฝูง.๒๐๑ บน.๒ ณ ลพบุรีอินท รีสอรท จว.ลพบุรี เมื่อวันที่ ๑๒ ก.พ.๖๒
น.อ.อานนท จารุสมบัติ ผบ.บน.๔ เปนประธานในพิธีทำบุญเนื่องใน วันคลายวันสถาปนา ฝูง.๔๐๓ บน.๔ ณ บก.ฝูง.๔๐๓ บน.๔ เมื่อวันที่ ๑ ก.พ.๖๒
น.อ.อนิรุทธ รัฐพร ผบ.บน.๕ รวมงานเปดตัวนักฟุตบอลทีม "ตอพิฆาต" พีที ประจวบ เอฟซี เปดตัวสูศึกไทยลีก ๒๐๑๙ โดยมี คุณทรงเกียรติ ลิ้มอรุณรักษ นายก อบจ.ประจวบคีรีขันธ และประธานสโมสรพีที ประจวบ เอฟซี เปนประธาน ในงาน ณ สะพานสราญวิถี อ.เมือง จว.ประจวบคีรีขันธ เมื่อวันที่ ๒ ก.พ.๖๒
น.อ.จิรภัทร ปทอง ผบ.บน.๖ นำขาราชการ ลูกจาง และพนักงาน ราชการ บน.๖ รวมกิจกรรม Big Cleaning Day ทำความสะอาดบริเวณ พื้นที่โดยรอบของ บน.๖ เมื่อวันที่ ๖ ก.พ.๖๒
ในรั้วสีเทา
INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๖
น.อ.ประเสริฐวิษณุ มหาขันธ ผบ.บน.๗ ใหการตอนรับ น.อ.หญิง เพชรชมพู เลหมงคล รอง ผอ.สตน.ทอ.พรอมคณะ ชี้แจงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ การตรวจสอบภายใน รับฟงปญหาขอขัดของการควบคุมภายในและ การบริหารความเสี่ยง ณ หองประชุม บน.๗ เมื่อวันที่ ๖ ก.พ.๖๒
น.อ.วัชรพล นวลเปนใย ผบ.บน.๒๑ เปนประธานในพิธีตรวจสอบ การฝกภาคที่ ๑ ตอนที่ ๑ ของทหารกองประจำการ รุนป ๒๕๖๒ ณ สนามฝก พัน.อย.บน.๒๑ เมื่อวันที่ ๕ ก.พ.๖๒
น.อ.ชนาวีร กลิน่ มาลี ผบ.บน.๒๓ รวมพิธวี างพวงมาลาและการสวนสนาม เชิดชูเกียรติ เนือ่ งในวันทหารผานศึก ณ มณฑลทหารบกที่ ๒๔ คายประจักษ ศิลปาคม อ.เมือง จว.อุดรธานี เมื่อวันที่ ๓ ก.พ.๖๒
น.อ.กฤษณ เกตุรกั ษ ผบ.บน.๔๖ จัดอบรมมารยาทไทยใหแกขา ราชการ บน.๔๖ โดยคณะผูบ รรยายจากกระทรวงวัฒนธรรม ณ ทาอากาศยานทหาร บน.๔๖ เมื่อวันที่ ๒ ก.พ.๖๒
น.อ.อติรวิชช ไพจิตร ผบ.บน.๕๖ สนับสนุนการจำหนายดอกปอปป ของชมรมแมบาน ทอ.บน.๕๖ เนื่องในวันทหารผานศึก ๓ ก.พ.๖๒ โดยคุณนุชนาถ ไพจิตร ประธานชมรมแมบา น ทอ.บน.๕๖ ณ บก.บน.๕๖ เมื่อวันที่ ๑ ก.พ.๖๒
น.อ.มณเฑียร หมีโชติ ผบ.ดย.ทอ.อย.เปนประธานในพิธเี ปดโครงการ ฝกอบรมเจาหนาทีซ่ อ มเครือ่ งดุรยิ างคขน้ั พืน้ ฐาน ณ ดย.ทอ.อย. เมือ่ วันที่ ๑๒ ก.พ.๖๒
ข่าวทหารอากาศ
97
ROYAL THAI AIR FORCE
กองทัพอากาศ เคียงข้างประชาชน ศบภ.ทอ.
สวั ส ดี พี่ น ้ อ งข้ า ราชการกองทั พ อากาศ ไม่ได้เจอกันมาสักพักใหญ่เลย วันนี้เราได้รวบรวม ภารกิจ ด้านบรรเทาสาธารณภัยที่กองทัพอากาศ ได้ออกปฏิบัติภารกิจในต้นปี พ.ศ.๒๕๖๒ มาให้ ทุกท่านได้ทราบกัน มาเริ่ ม กั น ตั้ ง แต่ ใ นช่ ว งปี ใ หม่ ที่ ผ ่ า นมา พวกเราไม่ได้ทอดทิ้งพี่น้องประชาชน กองทัพอากาศ พร้อมหน่วยขึ้นตรง กองบินต่างจังหวัดและก�ำลังพล จิตอาสา เปิดศูนย์บริการพีน่ อ้ งประชาชนในช่วงเทศกาล ปีใหม่ พ.ศ.๒๕๖๒ “เติมความสุข ให้คนไทย จากใจ ทหารอากาศ ปี พ.ศ.๒๕๖๒” ในช่วงวันหยุดยาว เพือ่ เป็นส่วนหนึง่ ในการช่วยกันดูแลพีน่ อ้ งประชาชนที่ เดินทางกลับภูมิลําเนาและท่องเที่ยวในช่วงเทศกาล ปีใหม่ ร่วมกันกับหน่วยงานราชการอีกหลายส่วน
ถัดจากนั้นพวกเราชาวไทยก็ได้มารวมพลัง กันอีกครัง้ กับกรณีการเฝ้าระวังผลกระทบทีอ่ าจเกิดขึน้ จากพายุโซนร้อน “ ปาบึก ” ซึง่ กองทัพอากาศได้เปิด ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยและจัดประชุม Video Teleconference (VTC) ด่วน สัง่ การทุกกองบินรับมือ สถานการณ์ ระดมสรรพก�ำลังช่วยเหลือ ซึ่งจาก เหตุการณ์ดังกล่าวทั้งส่วนกลางและกองบินในพื้นที่ ทีอ่ าจได้รบั ผลกระทบ ได้มกี ารติดต่อ รายงาน ประสาน งานกันอย่างเร่งด่วน ท�ำให้ภารกิจดังกล่าวผ่านพ้นไป ได้ด้วยดี นอกจากนัน้ กองทัพอากาศยังได้มสี ว่ นร่วม กับ โครงการจิตอาสาหน่วยพระราชทานและประชาชน จิตอาสา “เราท�ำความ ดี ด้วยหัวใจ” อีกหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นโครงการที่พวกเราเรียกกันจนติดปากว่า
98
จิตอาสาพัฒนา ทีพ่ วกเราได้นำ� ก�ำลังพลจิตอาสา สังกัด กองทัพอากาศ เข้าร่วมปฏิบตั ภิ ารกิจพัฒนา ปรับภูมทิ ศั น์ และบ�ำเพ็ญประโยชน์ให้กับชุมชนโดยรอบ และยังมี การปฏิบัติภารกิจถ่ายทอดความรู้หลักสูตรจิตอาสา ๙๐๔ โดยกลุม่ วิทยากรทีผ่ า่ นการฝึกหลักสูตรจิตอาสา ๙๐๔ (หลั ก สู ต รหลั ก ประจ� ำ ) รุ ่ น ที่ ๑/๖๑ “เป็นเบ้า เป็น แม่พมิ พ์” ให้กบั ประชาชนตามสถานที่ ต่าง ๆ อีกด้วย ในช่วงเวลาเดียวกันค่ะ กองทัพอากาศร่วม กับภาคีเครือข่ายได้มกี ารเตรียมการให้ความช่วยเหลือ ผูป้ ระสบสาธารณภัย อย่างเช่น กิจกรรมร่วมกันบรรจุ ถุงยังชีพ รวมถึงสนับสนุนก�ำลังพลในกิจกรรมเพื่อ สาธารณกุศลอืน่ ๆ อาทิ การบริจาคโลหิตและกิจกรรม ล่าสุดร้อน ๆ ของพวกเราเลย คือ การน�ำเครื่องบิน BT-67 บินโปรยน�ำ้ ลดปัญหาฝุน่ ละออง บรรเทาความ เดือดร้อนของประชาชน จากสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ในอากาศ ที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพของ ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผูบ้ ญั ชาการทหารอากาศมีความห่วงใยพีน่ อ้ งประชาชน ตลอดจนก�ำลังพลทหารอากาศ จึงได้สงั่ การในทีป่ ระชุม ศู น ย์ ป ฏิ บั ติ ก ารกองทั พ อากาศให้ ศู น ย์ บ รรเทา สาธารณภัยกองทัพอากาศ จัดเครือ่ งบิน BT-67 จ�ำนวน
๒ เครื่อง จากกองบิน ๔๖ จังหวัดพิษณุโลก เข้ามา เตรียมพร้อม ณ ทีต่ งั้ กองบิน ๖ ดอนเมือง และท�ำการ บินโปรยน�้ำลดฝุ่นละอองในอากาศเพื่อบรรเทาความ เดือดร้อน โดยหวังว่าการโปรยน�้ำเป็นละอองลงมา จากความสูงเหนือพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งจะท�ำให้ละออง น�ำ้ เกิดการกระจายตัวครอบคลุมบริเวณกว้าง และจับตัว กับฝุ่นละอองในอากาศ พร้อมทั้งจัดชุดแพทย์พยาบาลจากศูนย์ ปฏิบตั กิ ารแพทย์ทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ ออกให้คาํ แนะนําเกีย่ วกับการดูแลตัวเองในสถานการณ์ ที่มีฝุ่นละออง พร้อมแจกหน้ากากอนามัย ประเภท คาร์บอน จํานวน ๓๐,๐๐๐ อัน ในหลายพื้นที่ ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร ต้องขอเสียงปรบมือดัง ๆ เพื่อเป็นก�ำลังใจ ให้กับเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายจากกองทัพอากาศ ที่ได้สละ ทั้งเวลา ทั้งกาย และใจ ในการปฏิบัติภารกิจออกให้ ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนชาวไทยไม่ว่าจะพบ เจอกับวิกฤติใด ๆ ก็ตาม คนไทยไม่ทิ้งกัน กองทัพอากาศเคียงข้างประชาชน
ข่าวทหารอากาศ
99