หนังสือข่าวทหารอากาศ ฉบับเดือน พฤษภาคม 2562

Page 1










ตนรวงผึ้ง ตนไมประจํารัชกาลที่ ๑๐

“ต้นรวงผึง้ ” มีชอื่ เรียกทางเหนือว่า “ดอกน�า้ ผึง้ ” ในกรุงเทพฯ มักจะนิยมเรียกว่า “สายน�้าผึ้ง” มีชื่อ สามัญว่า Yellow Star อยู่ในวงศ์ Tiliaceae มีชื่อ วิทยาศาสตร์ Schoutenia glomerata King ssp. peregrina Rockm เป็นพรรณไม้ไทยอันทรงคุณค่า เป็นต้นไม้ประจ�าพระองค์รัชกาลที่ ๑๐ เนื่องจาก ออกดอกในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษา ดอกสี เหลืองอร่ามโดดเด่น ส่งกลิ่นหอมชื่นใจ ปลูกเป็น ไม้ดอกไม้ประดับ ในลักษณะต้นสูงใหญ่ ให้ดอกสีสนั สวยงาม ยามแหงนมองขึ้น เห็นดอกสีเหลืองอร่าม กระจายดั่งดวงดาวประกายแสงเหลืองทองบนฟาก ฟ้าแดนสรวง ดังชื่อสามัญ ที่เรียกว่า Yellow Star ต้นรวงผึง้ จัดอยูใ่ นกลุม่ ต้นไม้ขนาดเล็ก สูง ๖ – ๘ เมตร แตกกิ่งก้านจ�านวนมาก แต่ละกิ่งก้าน แข็งแรง มีเรือนยอดเป็นพุม่ กลมทึบ เปลือกสีนา�้ ตาลปนขาว ใบเป็นชนิดใบเดีย่ ว เรียงเวียนสลับรูปรีแกมขอบขนาน มีส่วนกว้างไม่เกิน ๓ เซนติเมตร แต่ความยาวใบ สมบูรณ์ยาวถึง ๑๐ เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบ สังเกตจะมองเห็นว่าเบี้ยวมีเส้นใบออกจากโคนใบ ใบสีเขียวแก่แต่ใต้ใบเป็นสีออ่ น และเป็นเกล็ดเล็ก ๆ รวมทั้ง ก้านใบมีขน ช่อดอกมีสีเหลืองเข้ม เหมือน ทองเหลืองใหม่ ๆ ออกช่อเป็นกระจุกแน่นตาม ซอกใบใกล้ปลายกิง่ ส่วนของกลีบเลีย้ งมีโคนเชือ่ มกัน ปลายแยกเป็น ๕ แฉก คล้ายรูปดาว ไม่มีกลีบดอก แต่เมื่อดอกย่อยบานจะบานอยู่ได้นาน พร้อมทั้งมี กลิ่นหอมอ่อน ๆ แม้ว่าฤดูดอกบานของแต่ละต้น จะไม่พร้อมกัน เพราะขึน้ อยูก่ บั สภาพแต่ละภูมปิ ระเทศ และภูมิอากาศ รวมทั้ง มีอิทธิพลของความชื้นจาก สภาพดิ น ได้ ด ้ ว ยเช่ น กั น เมื่ อ ออกดอกจะมี ก ลิ่ น หอมอ่อน ๆ ตลอดวัน บานได้นานกว่า ๗ – ๑๐ วัน

ยามดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามเหลือง อร่ามตา ระรวยกลิ่นหอมชื่นใจ ต้นรวงผึ้งจัดเป็น ไม้กลางแจ้ง เติบโตได้ในสภาพแล้ง ไม่มีน�้าขัง จึงจะมีดอกดกสีเหลืองเต็มต้น แต่ถ้าหากเป็นพื้นที่ ชืน้ แฉะมีนา�้ ขังก็อาจจะออกดอกประปราย ในระยะ ติดดอกโดยปกติจะอยู่ ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม เมือ่ ดอกพัฒนาเป็นผล จะมีผลแห้ง ทรงกลม มีขน ไม่ปริแตก ผลเล็ก ๆ ขนาด ๐.๕ – ๑ เซนติเมตร ในช่วงทีต่ น้ รวงผึง้ ออกดอกเหลืองสะพรัง่ เต็มต้น ในแต่ละช่วงฤดูกาลจะมีผงึ้ จ�านวนมากบินว่อน รอบพุม่ ต้นรอบช่อดอก และดูดกินน�า้ หวานจากดอก ผูค้ นทีก่ ลัวผึง้ ต่อยจึงไม่คอ่ ยนิยมปลูกไว้ใกล้ตวั บ้าน มากนัก ต้นรวงผึ้ง แม้จะไม่ใช่ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แต่ก็ช่วยบังแดดและให้ร่มเงาได้ดีรูปลักษณะและ สีสนั สวยงาม มีกลิน่ หอมอ่อน ๆ เพือ่ ปรับบรรยากาศ ให้สดชืน่ นอกจากนี้ ยังเป็นไม้มงคลทีเ่ หมาะจะน�ามา ปลูกประดับสวนภายในบ้านและตามสถานทีต่ า่ ง ๆ โดยเฉพาะบ้านที่มีคนธาตุไฟ ก็จะช่วยเสริมความ เป็ น สิ ริ ม งคลให้ ม ากยิ่ ง ขึ้ น ปั จ จุ บั น มี ก ารปลู ก ต้นรวงผึ้งกันอย่างแพร่หลาย ทั้งตามบ้านเรือน สถานทีร่ าชการ หรือสถานทีส่ า� คัญต่าง ๆ เช่น ดอย สุเทพ สวนหลวงราชพฤกษ์จงั หวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ไม้ทปี่ ลูกง่าย ให้กลิน่ หอม มีความสวยงาม แข็งแรง ทนทาน และเป็นสิริมงคล



12

บทบรรณาธิการ สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่เคารพทุกท่าน หลังจากฉลองสงกรานต์หรือเทศกาลปีใหม่ไทย ด้วยความสนุกสนานกันแล้ว ในเดือนพฤษภาคมปีนี้ มีวันอันเป็นมิ่งมงคลยิ่งต่อปวงชนชาวไทยและนับว่า เป็นวันส�าคัญทางประวัติศาสตร์ชาติไทยอีกวันหนึ่ง นัน่ ก็คอื “พระราชพิธบี รมราชาภิเษก” เป็นพระราชพิธี เพื่อสถาปนาพระมหากษัตริย์ ที่แสดงถึงความเป็น พระมหากษัตริยโ์ ดยสมบูรณ์ ความส�าคัญของพระราชพิธี อยู ่ ที่ ท รงรั บ น�้ า อภิ เ ษกที่ พ ระที่ นั่ ง อั ฐ ทิ ศ อุ ทุ ม พร ราชอาสน์ [อัด-ถะ-ทิด-อุ-ทุม-พอน-ราด-ชะ-อาด] เพื่อแสดงความเป็นใหญ่ในทิศทั้ง ๘ โดยพระราชพิธี ได้ จั ด ขึ้ น ตามโบราณราชประเพณี อั น ดี ง าม และสมพระเกี ย รติ ยิ่ ง ซึ่ ง ปวงชนชาวไทยทุ ก คน ล้วนตัง้ ตารอคอยวันแห่งความปลืม้ ปีตนิ แี้ ละจะจดจ�า ไว้ตราบนานเท่านาน นอกจากนี้ ในวันที่ ๙ พฤษภาคม เป็น “วันพืชมงคล” คื อ วั น ที่ ก� า หนดให้ มี พ ระราชพิ ธี จ รดพระนั ง คั ล แรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อเป็นการระลึกถึงความส�าคัญ ของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทยและเสริมสร้าง ขวั ญ ก� า ลั ง ใจและความเป็ น สิ ริ ม งคลแก่ เ กษตรกร ของชาติ ซึ่ ง พระราชพิ ธี นี้ จ ะประกอบพิ ธี ที่ ท้ อ งสนามหลวงประกอบด้ ว ย ๒ พระราชพิ ธี คื อ พระราชพิ ธี พื ช มงคลและพระราชพิ ธี จ รด พระนังคัลแรกนาขวัญ ทางด้ า นศาสนาในวั น ที่ ๑๘ พฤษภาคม “วันวิสาขบูชา” ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค�่า เดือน ๖ ซึ่งมี

ความส�าคัญส�าหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เนื่องจาก เป็ น วั น ที่ มี ก ารท� า พิ ธี พุ ท ธบู ช าเพื่ อ น้ อ มร� า ลึ ก ถึ ง พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ของพระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งปวง นอกจากนี้ ยังมีเหตุการณ์น่าอัศจรรย์ ๓ ประการ คือ พระสัมมา สั ม พุ ท ธเจ้ า ทรงประสู ติ ตรั ส รู ้ และปริ นิ พ พาน ในวันเดียวกัน จึงขอเชิญชวนข้าราชการและครอบครัว ร่วมกันท�าบุญตักบาตร และเวียนเทียน ตามวันเวลา ดังกล่าวโดยพร้อมเพียงกัน ภาพปกเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของ “พระบาท สมเด็ จ พระปรเมนทรรามาธิ บ ดี ศ รี สิ น ทรมหา วชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณ อดุลยเดชสยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยูห่ วั ” ซึง่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ ป วงชนชาวไทย ในพระราชพิ ธี บรมราชาภิเษก เรือ่ งเด่นในฉบับเป็นผลงาน KM เรือ่ ง โปรแกรม ติดตามงานจัดซือ้ จัดจ้างกองทัพอากาศ ของ สปช.ทอ., ย่างก้าวที่ ๓ โรงเรียนนายเรืออากาศ ฯ, กรอบแนวทาง การสอนของโรงเรียนเสนาธิการออสเตรเลีย, USAF ก้าวสู่กองก�าลังทางอวกาศ, ASEAN multi-Role Fighter, Data Governance นอกจากนี้ ยังมีอีก หลายบทความที่ น ่ า สนใจ เชิ ญ พลิ ก อ่ า นได้ ตามอัธยาศัยครับ 


สารบัญ

ข่าวทหารอากาศ

ป ที่ ๗๙ ฉบั บ ที่ ๕ เดื อ นพฤษภาคม ๒๕๖๒ ๒ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๕ ๒๐ ๒๖ ๓๒ ๓๙ ๔๖ ๔๙ ๕๑ ๕๕ ๖๒ ๖๓ ๖๗ ๗๑ ๗๕ ๘๑ ๘๗ ๙๑ ๙๗

ประมวลภาพพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระปรมาภิ ไธยตามพระสุพรรณบัฏ พระปฐมบรมราโชวาท ดอกไม ประจํารัชกาล ที่ ๑๐ บทกลอนวันพืชมงคล - น.อ.เกษม พงษ พนั ธ เป ดปูม ๑๐๐ ป การบินของบุพการีทหารอากาศ : กิจการบินในแผ นดิน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล าเจ าอยูห วั - พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร ย างก าวที่ ๓ การผ านทีย่ งิ่ ใหญ ของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช - พล.อ.ท.พัทธนันท นุชพงษ KM : โปรแกรมติดตามงานจัดซื้อจัดจ าง กองทัพอากาศ - สปช.ทอ. กรอบแนวทางการสอนของโรงเรียนเสนาธิการร วมออสเตรเลีย (Australian Command and Staff College’s Course Themes) - น.ท ธนาวุฒิ ลิขติ สัมพันธ ASEAN Multi-Role Fighter - น.อ.พลวัตร อินทรวิเศษ โรคข อเข าเสื่อม คืออะไร - พล.อ.ต.ผศ.นพ.จํารูญเกียรติ ลีลเศรษฐพร เวลาการ ตูน - มีสกรีน เมื่อ USAF ก าวสู กองกําลังทางอวกาศ - น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต อนุบาลยุคใหม ไทยแลนด ๔.๐ - น.อ.หญิง สุพรรณรัศม ราชวงศ เกร็ดเล็กเกร็ดน อย ประชาคมอาเซียน : ชุดประจําชาติของประเทศเวียดนาม - @Zilch การกํากับดูแลข อมูล (Data Governance) บันไดก าวแรกก อนการเชือ่ มโยงข อมูล - น.อ.นนทรี อินทรสาลี ครูภาษาพาที : เรียนรู ภาษาอังกฤษจากนิทานอีสป - PJ the piglet การประชุมในกรอบอาเซียนทีเ่ ป นมิตรต อสิง่ แวดล อม ก าวเล็ก ๆ ของการพัฒนา หุ นส วนเพื่อความยั่งยืน - กรมสารนิเทศ กระทรวงต างประเทศ Red Eagle อินทรีแดงแผลงฤทธิ์ : “WMD” อาวุธทําลายล างสูงอันน าสะพรึงกลัว - น.ต.ภฤศพงศ ช อนแก ว Pre-deployment Course for UN On Call List ระบบบัญชีรายชื่อพร อม เรียกปฏิบตั งิ านและการเตรียมความพร อม - น.ต.ธนวัฒน กิจเจริญศักดิก์ ลุ ขอบฟ าคุณธรรม : เป นคนเข าใจหน าที่ของคุณธรรม - 1261 ประมวลภาพกิจกรรมกองทัพอากาศ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ - ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๒ บุคคลตัวอย าง - ร.อ.หญิง วิวัสวัน เปล งวิทยา

๒๐

๕๑

๖๓

13


ข าวทหารอากาศ

14

คณะผูจ้ ดั ทําหนังสือขาวทหารอากาศ เจ้าของ กองทัพอากาศ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ พล.อ.อ.ม.ร.ว.ศิริพงษ์ ทองใหญ่ พล.อ.อ.ธนนิตย์ เนียมทันต์ พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน

พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ พล.อ.อ.อมร แนวมาลี พล.อ.อ.ปอง มณีศิลป พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง

ที่ปรึกษา พล.อ.อ.ธงชัย แฉล้มเขตร พล.อ.อ.ศักดิ์พินิต พร้อมเทพ พล.อ.ต.สหัสชัย มาระเนตร

พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร พล.อ.ต.หญิง สุมาลี ฤทธิบุตร

ผู้อ�านวยการ/บรรณาธิการ พล.อ.ท.พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย

เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ รองผู้อ�านวยการ

พล.อ.ต.ทศวรรณ รัตนแก้วกาญจน์ พล.อ.ต.ฐานัตถ์ จันทร์อ�าไพ

ผู้ช่วยผู้อ�านวยการ

น.อ.กรกฎ ทิมไสว น.อ.สมพร แต้พานิช ผู้ช่วยบรรณาธิการ ผู้จัดการ

พล.อ.ต.ตรีพล อ่องไพฑูรย์

น.อ.ธรรมรงค์เดช เจริญสุข น.อ.นินาท มูลจนะบาตร์

น.อ.สมพร แต้พานิช น.อ.อภิรัตน์ รังสิมาการ น.ท.สมภพ จันทร์ชูชื่น

ประจ�าบรรณาธิการ

น.ท.หญิง สุภาวดี โคตรเวียง น.ท.หญิง มุตสิตา มาหะศักดิ์ พ.อ.อ.ธรรมวัฒน์ รัตนวิจารณ์ พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห์ พ.อ.อ.หญิง วาสนา รับสมบัติ น.ส.อุไรวรรณ บุญณรงค์ นางจันทร์สม ค�ามา น.ส.ณัฐวดี ธ�ารงวงศ์ถาวร

น.ท.หญิง ณัฐสินี เชื้อนุ่น น.ต.หญิง รัชนก เกิดสุข พ.อ.อ.พันธกานต์ พูลผล พ.อ.อ.รักษิต ทองแย้ม จ.อ.หญิง ศุภวัลย์ กระจ่างนฤมลกุล นางประไพ เอี่ยมวุฒิ น.ส.รสสุคนธ์ บุญประเทือง

กองวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์ (เพื่อพลาง) ส�านักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรืิอนทหารอากาศ ถนน พหลโยธิน แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑, ๐ ๒๕๓๔ ๔๒๔๑ โทรสาร ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑ ส่งบทความและภาพกิจกรรมได้ที่ rtafmag@gmail.com

หนังสือขาวทหารอากาศ ความเปนมา หนังสือข่าวทหารอากาศ เป็นนิตยสารรายเดือนของกองทัพอากาศ เริม่ ด�าเนินการเมือ่ ปี พ.ศ.๒๔๘๓ ขึน้ กับกรมข่าวทหารอากาศ โดย นาวาอากาศเอก สกล รสานนท์ เป็นบรรณาธิการคนแรก ด�าเนินการโดยทุนของข้าราชการทหารอากาศ พ.ศ.๒๔๙๘ ได้โอนกิจการมาอยูใ่ นความอ�านวยการของกรมยุทธศึกษาทหาร อากาศ ตามค�าสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๕๘๐/๙๘ ลง ๒๓ ธ.ค.๒๔๙๘ ๑ ม.ค.๒๕๕๓ ได้เข้าอยู่ในกิจการสวัสดิการกองทัพอากาศ ก�ากับดูแล โดยคณะอนุ ก รรมการบริ ห ารวารสารและสื่ อ สิ่ ง พิ ม พ์ ก องทั พ อากาศ ตามอนุมัติ ผบ.ทอ./ประธานกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ เมื่อ ๒๘ ธ.ค. ๒๕๕๒ ก�าหนดให้ใช้ระเบียบคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ ว่าด้วยการ บริหารวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์กองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๕๒ ๑ ม.ค.๒๕๖๑ ได้เข้ามาอยู่ในการก�ากับดูแลของกรมกิจการพลเรือนทหาร อากาศ ตามค�าสั่ง ทอ. (เฉพาะ) ที่ ๑๓๖/๖๐ ลง ๒๖ ก.ย.๒๕๖๐

ภารกิจ ด�าเนินกิจการหนังสือข่าวทหารอากาศ ให้เป็นไปตามนโยบายของผูบ้ ญั ชาการ ทหารอากาศ โดยมีผู้อ�านวยการหนังสือข่าวทหารอากาศ (จก.กร.ทอ.) เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

วัตถุประสงค ๑. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในกิจการทั่วไป ๒. เพือ่ แสดงความคิดเห็นด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิง่ แวดล้อม อันจะเป็นประโยชน์ตอ่ ส่วนรวม ๓. เพื่อเผยแพร่กิจการของกองทัพอากาศ

การดําเนินงาน ๑. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ใน การพัฒนากองทัพอากาศและส่วนรวม ๒. เนื้อหาที่น�ามาลงในหนังสือข่าวทหารอากาศ - ต้องไม่ขดั ต่อวัตถุประสงค์/นโยบายของผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ - ต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ บุคคล หรือ ส่วนรวม - ต้องได้รับการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะผู้จัดท�าหนังสือข่าว ทหารอากาศ

กําหนดการเผยแพร นิตยสารรายเดือน

พิมพ์ที่ บริษัท ที.เค.เอส. เทคโนโลยี จ�ากัด (มหาชน) ๓๐/๘๘ หมู่ ๑ ถ.เจษฎาวิถี ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ๗๔๐๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๗๘๔ ๕๘๘๘ โทรสาร ๐ ๒๗๘๔ ๕๘๕๘

อ่านบทความเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ www.airforcemagazine.rtaf.mi.th และ www.rtaf.mi.th บทความและความคิดเห็นของผู้เขียนในหนังสือฉบับนี้ ไม่มีส่วนผูกพันกับทางราชการแต่ประการใด ภาพบางส่วนในหนังสือ น�ามาจาก www.google.com ออกแบบปก : น.ส.รสสุคนธ์ บุญประเทือง


ข่าวทหารอากาศ

(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

เปดปูม ๑๐๐ ป การบินของบุพการี ทหารอากาศ

กิจการบินในแผนดินพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาล ที่ ๖ ถือเป็นพระมหากษัตริย์ ทีท่ รงเป็น “ผูพ้ ระราชทาน ก�าเนิดการบินของไทย” โดยเมือ่ ปี พ.ศ.๒๔๕๓ ในรัชสมัย ของพระองค์ บริษัทการบินแห่งตะวันออกไกล ได้น�า นายชาร์ล ว็อง แด็ง บอร์น นักบินชาวเบลเยี่ยม และเครือ่ งบินแบบ อ็องรี ฟาร์มอ็ ง ๔ ชือ่ “แวนด้า” มาแสดงการบินให้ชาวสยามชมเป็นครั้งแรก ระหว่าง วันที่ ๓๑ มกราคม ถึงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๓ ทีส่ นามราชกรีฑาสโมสร หรือสนามม้าสระปทุม ซึง่ ได้รบั ความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก จึงเพิม่ การแสดง การบินอีก ๑ วัน ในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมี พระบรมราโชบายในการท� า นุ บ� า รุ ง กิ จ การทหาร อย่างจริงจัง และด้วยความริเริ่มของ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ เสนาธิการทหารบก และจอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติ วรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสรุ เดช เสนาบดีกระทรวง กลาโหม ซึง่ ได้เสด็จดูกจิ การทหารของยุโรปในช่วงต้นปี พ.ศ.๒๔๕๔ และได้เห็นความก้าวหน้าด้านการบิน ในประเทศฝรั่งเศส ดังนั้นทั้ง ๓ พระองค์ จึงทรง ตระหนักถึงความจ�าเป็นทีป่ ระเทศสยามต้องมีเครือ่ งบิน ไว้เพื่อป้องกันประเทศ

ทั้งนี้ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้ า ฟ้ า จั ก รพงษ์ ภู ว นารถ กรมหลวงพิ ศ ณุ โ ลก ประชานารถ นับว่าทรงเป็นผู้วางรากฐานกิจการ กองทั พ อากาศในปั จ จุ บั น ด้ ว ยทรงตระหนั ก ถึ ง แสนยานุ ภ าพทางการบิ น ดั ง มี พ ระราชด� า รั ส ตอนหนึ่งว่า “ก�าลังในอากาศเป็นโล่อันแท้จริงอย่างเดียว ที่จะกันมิให้การสงครามมาถึงท่ามกลางประเทศ ของเราได้ ทั้งเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งในการคมนาคม เวลาปกติ” กองทั พ อากาศจึ ง ได้ ย กย่ อ งพระองค์ เ ป็ น “พระบิดาแหงกองทัพอากาศ” ในวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๔ กระทรวง กลาโหมได้ ส ่ ง นายพั น ตรี หลวงศั ก ดิ์ ศั ล ยาวุ ธ (สุนี สุวรรณประทีป) นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขกิ ร (หลง สินศุข) และ นายร้อยโท ทิพย์ เกตุทตั ไปศึกษา

15


16

วิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส ต่อมานายทหาร ทั้ง ๓ ท่าน ได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ เป็นพลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ และ นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต ตามล�าดับ และกองทัพอากาศ ได้ยกย่องให้เป็น “บุพการีทหารอากาศ” ระหว่างทีน่ ายทหารทัง้ ๓ ท่าน ศึกษาวิชาการบิน อยู่นั้น กระทรวงกลาโหมได้สั่งซื้อเครื่องบินจาก ประเทศฝรั่งเศส จ�านวน ๗ เครื่อง คือเครื่องบิน นิเออปอรต์ปีกชั้นเดียว ๔ เครื่อง เครื่องบินเบรเกต์ ปีก ๒ ชั้น ๓ เครื่อง และเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) บริจาคเงินซื้อเครื่องบินเบรเกต์ ปีก ๒ ชัน้ ให้อกี ๑ เครือ่ ง รวมเป็น ๘ เครือ่ ง นับเป็น เครื่องบิน ๒ แบบแรกของประเทศไทย เมื่อนายทหารทั้ง ๓ ท่าน ส�าเร็จการศึกษา กลับมาแล้ว กระทรวงกลาโหมได้มีค�าสั่งให้ขึ้น อยู่ในบังคับบัญชาของจเรทหารช่าง เมื่อเครื่องบิน ทีส่ งั่ ซือ้ ไว้เดินทางมาถึงในเดือนธันวาคม ๒๔๕๖ ก็ได้ จัดสร้างโรงเก็บเครื่องบินขึ้นที่บริเวณหลังโรงเรียน พลตระเวน ณ ต�าบลปทุมวัน เป็นโรงอย่างชัว่ คราว ต่อมาในวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ ไปยังโรงเก็บเครื่องบิน จากนั้นได้ทอดพระเนตร การบิน ซึ่งนายทหารทั้ง ๓ ท่าน ได้บินถวายตัว และโปรยกระดาษถวายพระพรชั ย มงคล การแสดงการบิ น ของนั ก บิ น ทั้ ง สามในวั น นั้ น

เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก เมื่อเสร็จสิ้นการบินแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเหรียญดุษฎี มาลา เข็มศิลปวิทยาแก่ นายพันโท หลวงศักดิศ์ ลั ยาวุธ และทางราชการได้ถอื เอาวันนีเ้ ป็น “วันการบินแห่งชาติ” วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๗ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสด็จฯ ไปยังโรงเก็บเครือ่ งบิน ทีต่ า� บลปทุมวันอีก ในคราวนีไ้ ด้ทรงตรวจพลเครือ่ งบิน ณ สนามราชกรีฑาสโมสร และในโอกาสนี้เจ้าพระยา อภัยภูเบศร์ ได้นา� เครือ่ งบินเบรเกต์ปกี ๒ ชัน้ ทีบ่ ริจาค เงิ น ซื้ อ ในชุ ด แรกน้ อ มเกล้ า ฯ ถวาย และทรงมี พระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเครื่องบินดังกล่าว ให้ไว้ใช้ในราชการกองทัพบกต่อไป กระทรวงกลาโหมเริม่ โครงการย้าย “สนามบิน” จากสนามราชกรีฑาสโมสร ต�าบลปทุมวัน ซึง่ เป็นทีล่ มุ่ และคับแคบ มายังที่ต�าบลดอนเมือง เสร็จสิ้นในวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๗ และได้รับการยกฐานะเป็น “กองบินทหารบก” เมือ่ วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๗ ซึ่งกองทัพอากาศถือเอาวันนี้เป็น “วันที่ระลึกกองทัพ อากาศ”

เครื่องบินนิเออปอรต์ปีกชั้นเดียว

เครื่องบินเบรเกต์ปีก ๒ ชั้น


ข่าวทหารอากาศ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เยี่ยม กองบินทหารบก เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๕๙

เมื่ อ ได้ ย ้ า ยที่ ตั้ ง มาที่ ด อนเมื อ งแล้ ว ในวั น ที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๕๙ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยูห่ วั ได้เสด็จฯ โดยรถไฟพระทีน่ งั่ พิเศษจากสถานี บางปะอินมาทอดพระเนตรและเยีย่ มกองบินทหารบก ทรงตรวจพลเครื่องบินแล้วเสด็จประทับพลับพลา ทอดพระเนตรการสวนสนามและการบิ น นั ก บิ น ทัง้ หมดต่างได้บนิ ถวายตัว พร้อมโปรยข้าวตอกดอกไม้ และถวายชัยมงคล จากนั้นได้เสด็จฯ ทอดพระเนตร โรงงานและโรงเรียนการบินต่อไป ก่อนเสด็จประทับ รถพระที่ นั่ ง ไปพระนคร ได้ มี รั บ สั่ ง ต่ อ นายพลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมขุนก�าแพงเพ็ชร์อคั รโยธิน จเรการช่างทหารบก ว่า

ลายพระหั ต ถ์ ล งพระนามเยี่ ย ม กองบิ น ทหารบก ของพระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ และ นายพั น ตรี ส มเด็ จ เจ้ า ฟ้ า กรมขุ น ศุโขทัยธรรมราชา เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๕๙

“วันนี้ได้เห็นแล้ว ซึ่งกิจการของกองบินได้ ด�าเนินไปได้อย่างดียงิ่ ของสิง่ นีโ้ ลกเขาก็นบั ว่าเป็น ของยากมากอยู่อย่างหนึ่ง แต่ก็ได้เห็นคนไทยแท้ ๆ ท�าได้อย่างดีจริงโดยทีไ่ ม่ตอ้ งอาศัยผูอ้ นื่ ขอให้ได้รบั ความพอใจและขอบใจตัง้ แต่ผมู้ อี า� นาจบังคับบัญชา สูงจนชั้นต�่าที่สุดจงทั่วกัน” วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๙ (ขณะนั้นการ นับวันขึน้ ปีใหม่คอื วันที่ ๑ เมษายน) ซึง่ เป็นวันคล้าย วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยูห่ วั ทรงมีพระราชด�ารัสตอนหนึง่ ต่อทีป่ ระชุม พระบรมวงศานุ ว งศ์ ข้ า ราชการ และคณะทู ต ต่างประเทศเรือ่ งความเจริญก้าวหน้าด้านการทหาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจการบิน ว่า “เมื่ อ ปลายป ที่ ล ่ ว งมาแล้ ว นี้ ได้ มี ก าร ประลองยุทธอย่างใหญ่โต ยิง่ กว่าทีไ่ ด้เคยมีมาแล้ว ในหนก่อน ๆ อีกทั้งยังมีส่วนอันน้อยแห่งกิจการ ทหารบก ซึ่งเจริญขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ คือ การบิน อากาศ ซึง่ เป็นของประหลาดยิง่ กว่าคนโดยมากรูส้ กึ แต่เมื่อนึกดูว่าที่โรงงานของกรมนักบินทหารบก สามารถสร้างเครือ่ งบินได้เองด้วยฝมอื คนไทยแท้ ๆ ฉะนี้ก็ควรนับว่าเป็นของควรยินดีในความเจริญ ของทหารบกของเราแล้วส่วนหนึ่ง”

17


18

วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๓ พระบาทสมเด็จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว เสด็ จ ออกประทั บ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย มีพระราชด�ารัสตอบ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ฝ่ายหน้า ในการเฉลิมพระชนมพรรษา มีความตอน หนึ่งว่า “สิ่ ง หนึ่ ง ซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น ใหม่ และพึ่ ง จะเห็ น ประโยชน์ ชั ด ในระหว่ า งเวลาท� า มหาสงคราม ในยุ โรปครั้ ง นี้ ก็ คื อ การบิ น รั ฐ บาลของเราได้ เอาใจใส่พจิ ารณาปญหานีโ้ ดยความอุตสาหะตัง้ แต่ ต้นมา จนเมื่อถึงเวลาที่เราเข้าท�าสงคราม ก็ได้ สามารถส่งกองบินไปยังสมรภูมิ แต่หากการรบพุ่ง มาเสร็จลงเสียเร็วไป จึงมิทันได้เข้ารบให้พอแก่ ความหวัง ครัน้ เมือ่ เสร็จศึกแล้วรัฐบาลต่างประเทศ บางรายได้คิดจะใช้เครื่องบินให้เป็นประโยชน์อื่น

เช่น ในทางไปรษณีย์ และรับส่งคนโดยสาร เป็นต้น รัฐบาลของข้าพเจ้า จึงได้คิดผ่อนผันตามจนถึงได้ใช้ เครื่ อ งบิ น ลองเดิ น ไปรษณี ย ์ ร ะหว่ า งพระนครกั บ เขตแดนห่างไกลบ้างแล้ว มีทางหวังอยู่ว่านานไป เมื่ อ เป็ น โอกาสสมควร เราก็ ค งจะได้ ใช้ เ ครื่ อ งบิ น ให้เป็นประโยชน์ ช่วยเพิ่มพูนความสมบูรณ์ของชาติ ได้บ้างอย่างหนึ่ง ทั้งมีความยินดีที่จะกล่าวว่า นักบิน ชาวต่างประเทศก็ได้บนิ ผ่านเข้ามายังเมืองเราเนือง ๆ ดูเขาก็เป็นที่พอใจอยู่บ้างในสถานที่และท�าเลของเรา ส�าหรับประโยชน์ในการบิน” วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๔ พระบาทสมเด็จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ได้ เ สด็ จ ฯ เยี่ ย มกรม อากาศยานทหารบก เป็นครั้งที่ ๒ พร้อมด้วยข้าราช บริพาร เพือ่ ทอดพระเนตรกิจการต่าง ๆ เมือ่ ทอดพระเนตร โดยทั่วแล้ว ทรงมีพระราชด�ารัสว่า

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสด็จฯ เยีย่ มกรมอากาศยานทหารบก เมือ่ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๔


ข่าวทหารอากาศ

นาย ชาร์ล ว็อง แด็ง บอร์น

“มีความพอใจมากที่ได้เห็นกิจการของทหาร ในกรมนี้ ให้บอกแก่ทหารในกรมนี้ให้ทราบทั่วกันว่า ถ้ า ได้ พ ยายามเช่ น นี้ ต ่ อ ไป แน่ น อนใจว่ า จะเป็ น ประโยชน์แก่ชาติของเราเป็นอันมาก” ในการเสด็จฯ เยี่ยมกรมอากาศยานทหารบก ครั้งนี้ ได้มีการแสดงการบินหมู่ การบินแปรขบวน การบินรบตัวต่อตัว การยิงที่หมายทางพื้นดินด้วย กระสุนจริง การส่งสัญญาณด้วยพลุ การบินผาดโผน ขณะดับเครื่องยนต์ นับตัง้ แต่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ได้ทรงด�าเนินพระบรม ราโชบายสร้างชาติด้วยหลัก ๔ ประการ คือ ๑. การปลูกฝังความรักชาติ ๒. การน�าประเทศเข้าสูส่ งั คมนานาชาติในฐานะ ที่ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ

19

๓. การป้องกันภัยที่บังเกิดแก่ชาติ ๔. การพัฒนาสังคม ในส่ ว นของกิ จ การบิ น นั บ ว่ า มี ก ารพั ฒ นา ในหลาย ๆ ด้านอย่างเป็นล�าดับและเป็นรากฐาน ให้กจิ การบินมีความเจริญก้าวหน้ามาจนถึงทุกวันนี้ ที่ส�าคัญได้แก่ - การจัดตั้งโรงเรียนการบิน และรับสมัคร ศิษย์การบินเป็นครั้งแรก - การเข้าร่วมการประลองยุทธของกองทัพบก เป็นครั้งแรก - การเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ ๑ - ประชาชนชาวไทยร่วมใจกันบริจาคเงิน เพื่อซื้อและสร้างเครื่องบินให้ทางราชการ - การสั่งซื้อเครื่องบินเข้ามาไว้ใช้ในราชการ - การสร้างเครื่องบินขึ้นใช้ในราชการเป็น ครั้งแรก - การทดลองบินไปรษณีย์เป็นครั้งแรก - การส่งแพทย์และเวชภัณฑ์ไปช่วยเหลือ ประชาชนทางอากาศเป็นครั้งแรก - การบินเดินทางไปต่างประเทศเป็นครัง้ แรก - การต้อนรับเครื่องบินต่างประเทศมาเยือน ประเทศไทย (อ่านต่อฉบับหน้า)

เครือ่ งบินแบบอองรี ฟาร์มอ็ ง ๔ (Henry Farman IV) กับการแสดงการบินครัง้ แรกในประเทศไทย เมือ่ พ.ศ.๒๔๕๓


20

ย่างก้าวที่ ๓ ... การเปลี่ยนผ่านที่ยิ่งใหญ่ของ โรงเรี ย นนายเรื อ อากาศ นวมินทกษัตริยาธิราช พล.อ.ท.พัทธนันท์ นุชพงษ์ ผบ.รร.นนก.

เพือ่ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมพิ ลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผูท้ รงเป็น กษัตริยาธิราชที่ยิ่งใหญ่รัชกาลที่ ๙” ด้ ว ยสภาพการณ์ แ ละบริ บ ททางสั ง คม ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปประมาณต้นปี พ.ศ.๒๕๖๔ โรงเรียน นายเรืออากาศฯ จะก้าวเดินครัง้ ใหญ่ไปยังบ้านหลังใหม่ ที่อ�าเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ซึ่งถือได้ว่าเป็น ย่างก้าวที่สามเพื่อน�าไปสู่สิ่งที่ดีต่อโรงเรียนนายเรือ อากาศฯ โดยส่วนรวม แต่ทว่าอุปสรรคและความท้าทาย รอคอยอยูเ่ บือ้ งหน้าจึงต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่าย ช่วยกันท�าให้ทกุ อย่างคลีค่ ลายและเกิดผลดี ทัง้ นีต้ อ้ ง โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ค�านึงถึงประโยชน์ของนักเรียนนายเรืออากาศและ สถาบันหลักในการผลิตผู้น�าและแหล่งองค์ความรู้ โรงเรียนนายเรืออากาศฯ เป็นส�าคัญ ด้านการบินของชาติ ซึ่งมีรากฐานยาวนานกว่า ๖๕ ปี ได้ผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักของกองทัพอากาศ มากกว่า ๖,๗๐๐ นาย ย่างก้าวส�าคัญซึ่งถือได้ว่าเป็นย่างก้าวแรก ของสถาบันแห่งนี้เริ่มต้นที่ตึกเหลือง (กรมสวัสดิการ ทหารอากาศในปัจจุบัน) ด้วยนักเรียนจ�านวน ๓๑ คน ซึ่งได้ จัด ให้ มีพิธี เปิ ด โรงเรียนขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๖ จึงถือว่าวันดังกล่าวเป็น “วันสถาปนาโรงเรียนนายเรืออากาศ” ย่างก้าวทีส่ องโรงเรียนนายเรืออากาศได้ยา้ ย มาลงหลักปักฐานเป็นการถาวรที่บ้านหลังใหญ่ เลขที่ ๑๗๑/๑ ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ จนถึงปัจจุบันมีนักเรียนนายเรืออากาศ กว่า ๖๐ รุ่น ถือก�าเนิดขึ้น ณ สถานที่แห่งนี้ และเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๖ ได้รบั พระมหากรุณาธิคณุ จากพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามโรงเรียนนายเรืออากาศ ใหม่วา่ “โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช” ซึ่งแปลว่า “โรงเรียนนายเรืออากาศใหม่ที่สร้างขึ้น


ข่าวทหารอากาศ

อาจเป็นความบังเอิญหรือโชคชะตาทีท่ า� ให้ ๓ ก้าว ในชีวติ ของผูเ้ ขียนได้มสี ว่ นร่วมกับโรงเรียนนายเรืออากาศฯ ด้วยเช่นกัน ก้าวแรกเข้ามานักเรียนนายเรืออากาศ นนอ.รุน่ ที่ ๒๘ เมือ่ ๓๓ ปีทแี่ ล้ว ณ เวลานัน้ ถือว่าผูเ้ ขียน เป็นเพียงผลผลิตของโรงเรียนและกองทัพ ก้าวที่สอง ผู้เขียนเข้ามาในฐานะฝ่ายอ�านวยการ ในต�าแหน่ง รองเสนาธิการโรงเรียนนายเรืออากาศฯ เมือ่ ๕ ปีทแี่ ล้ว และก้าวทีส่ าม ผูเ้ ขียนรูส้ กึ ภาคภูมใิ จทีไ่ ด้รบั เกียรติสงู สุด ให้มาเป็นผู้น�าองค์กรแห่งนี้ นั่นคือเป็น ผู้บัญชาการ โรงเรียนนายเรืออากาศฯ ผู้เขียนยึดถือค�ากล่าวที่ว่า “With great power comes great responsibility” หมายความว่า“พลังอ�านาจอันยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับ ความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง” ดังนั้น ผู้เขียนจึงมีความ ตัง้ ใจมุง่ มัน่ ทีจ่ ะขับเคลือ่ นย่างก้าวทีส่ ามของโรงเรียน นายเรืออากาศฯ ให้ด�าเนินไปสู่เป้าหมายที่ก�าหนดไว้ อย่างดีที่สุด

มองโลก มองกองทัพ มองโรงเรียนนายเรืออากาศฯ ทิศทางการก้าวเดินของโรงเรียนนายเรือ อากาศนวมิ น ทกษั ต ริ ย าธิ ร าช ต้ อ งสอดคล้ อ งกั บ แนวทางการท�างานของกองทัพอากาศ อีกทั้งต้อง รองรับสภาวการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลากหลาย และมีความผันผวนสูง ปัจจุบันเป็นยุคดิจิทัล โลกถูกย่อให้เล็กลง ด้วยระบบเครือข่ายการติดต่อสือ่ สาร หรือ Communication

21

Network ในระบบ 4 จี (4G) และ 5 จี (5G) การใช้ ปัญญาประดิษฐ์ (Artiicial Intelligence) หรือ AI แทนการท�างานของมนุษย์ ส่งผลให้การท�างานต่าง ๆ สะดวกยิ่งขึ้น ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ได้มี ลักษณะเป็นเส้นตรง (linear) แต่เป็นแบบก้าวกระโดด สถานการณ์ความขัดแย้งของประเทศมหาอ�านาจ ปรากฏอย่างต่อเนือ่ งส่งผลให้ให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว การเกิดภัยธรรมชาติทไี่ ม่สามารถคาดการณ์ลว่ งหน้าได้ นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่กล่าวมา ล้ วนแล้ วแต่ เ ป็ นปั จจั ย ภายนอกที่ ทุ ก คนต้ อ งตื่ นรู ้ ปรับตัวตามให้ทนั และน�ามาใช้ประกอบการพิจารณา ก�าหนดยุทธศาสตร์ทหาร กองทัพอากาศได้จัดท�ายุทธศาสตร์ ๒๐ ปี ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก โดยเน้น ๓ มิติหลัก ได้แก่ มิติก�าลังทางอากาศ (Air Power Domain) มิติไซเบอร์ (Cyber Domain) และ มิติอวกาศ (Space Domain) เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ ที่ว่า “กองทัพอากาศชั้นน�าในภูมิภาค” (One of the Best Air Forces in ASEAN) จึงหลีกเลีย่ งไม่ได้ทโี่ รงเรียนนายเรืออากาศฯ ซึง่ ท�าหน้าทีผ่ ลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักแก่กองทัพ อากาศ จะต้องน�านโยบายและแนวคิดของกองทัพอากาศ จากยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ๒๐ ปี มาแปลงเป็น การปฏิบตั ิ โดยผ่านเครือ่ งมือและกระบวนการทีเ่ รียกว่า หลักสูตร นัน่ เอง อย่างไรก็ตาม โรงเรียนนายเรืออากาศฯ ยังเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาภายใต้กรอบ ของกระทรวงศึกษาธิการ จึงต้องมีการด�าเนินการ ประกันคุณภาพการศึกษา รับการตรวจและประเมิน คุณภาพจากภายนอก เพือ่ ยกระดับคุณภาพการศึกษา พัฒนาคุณภาพผูเ้ รียน และส่งเสริมศักยภาพด้านการศึกษา พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนตามนโยบายรัฐบาล ทั้งนี้โรงเรียนนายเรืออากาศฯ ได้ประยุกต์ใช้เกณฑ์ คุ ณ ภาพการศึ ก ษาเพื่ อ การด� า เนิ น การที่ เ ป็ น เลิ ศ (Education Criteria for Performance Excellence) หรือ EdPEx ควบคู่กับการบริหารจัดการหลักสูตร ที่สอดคล้องกับเกณฑ์และมาตรฐานวิชาชีพเฉพาะ ตามที่กฎหมายก�าหนด เช่น มาตรฐานคุณวุฒิระดับ ปริ ญ ญาตรี ส าขาวิ ศ วกรรมศาสตร์ เกณฑ์ รั บ รอง หลักสูตรวิศวกรรม ควบคุมเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร การศึกษาระดับปริญญาตรีของโรงเรียนทหาร


22

มองลึกลงในหัวใจนายเรืออากาศ ผู้เขียนคิดว่าหัวใจของนายเรืออากาศ หรือ หัวใจของโรงเรียนนายเรืออากาศฯ คือ นักเรียนนาย เรืออากาศนั่นเอง นักเรียนนายเรืออากาศในปัจจุบัน จะเป็นเด็กยุค Generation Y ตอนปลาย ซึ่งเติบโต มาในช่วงที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู ชอบความรวดเร็วฉับไว มีความมัน่ ใจในตัวเองสูง ยอมรับการเปลีย่ นแปลงได้ดี มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความสามารถในการใช้งาน เทคโนโลยีต่าง ๆ ลักษณะดังกล่าวนับว่าเป็นต้นทุน เชิงบวก ผู้ที่เข้ามาเป็นนักเรียนนายเรืออากาศได้นั้น จะต้องมีความสามารถครบทุกด้าน ต้องผ่านระบบ การคัดเลือกจากการสอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร (ในส่วนของกองทัพอากาศ) ไม่วา่ จะเป็นด้านสติปญ ั ญา ทีต่ อ้ งสอบแข่งขันภาควิชาการเพือ่ เอาชนะคูแ่ ข่งในวัย เดียวกันนับหมื่นคน ไม่ว่าจะเป็นความแข็งแกร่งของ ร่างกายทีต่ อ้ งผ่านการสอบพลศึกษา ไม่วา่ จะเป็นสุขภาพ ร่างกายและสภาพจิตใจทีต่ อ้ งผ่านการตรวจด้านต่าง ๆ ตามเกณฑ์ทกี่ า� หนดจากโรงพยาบาลภูมพิ ลอดุลยเดช และสถาบันเวชศาสตร์การบินฯ โดยมีอัตราส่วนของ ผู้สมัครสอบต่อผู้ที่สอบผ่านสูงถึงประมาณ ๑๖๐ ต่อ ๑

จากการทีไ่ ด้พบปะพูดคุยกับนักเรียนนายเรือ อากาศหลายครั้ง ผู้เขียนยอมรับว่านักเรียนนายเรือ อากาศในปัจจุบันมีความเฉลียวฉลาดและเก่งกว่า ในสมัยเมื่อ ๓๐ ปีที่แล้วมาก นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่า อีก ๓๐ ปีข้างหน้า เราจะได้ผู้น�ากองทัพอากาศที่มี ความเก่งกาจและเฉลียวฉลาดมากขึ้นเช่นกัน ผู้เขียน ไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด ในปีที่ผ่านมานักเรียน นายเรืออากาศของเราคว้ารางวัลระดับประเทศและ ระดับโลก เช่น การแข่งขัน AAVC ประจ�าปี ๒๕๖๑ (Autonomous Aerial Vehicle Challenge 2018) ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่วนการแข่งขันนานาชาติ UAV Challenge Medical Express 2018 ณ ประเทศออสเตรเลีย นักเรียนนายเรืออากาศภายใต้ ชื่อทีม Grifin UAV คว้ารางวัลชนะเลิศประเภท Rotary-Wing และรางวัล Airmanship Award ทางด้านของไซเบอร์ นักเรียนนายเรืออากาศภายใต้


ข่าวทหารอากาศ

ชือ่ ทีม Hungus คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับที่ ๑ ในการ แข่งขันทักษะทางด้านไซเบอร์ระดับโรงเรียนทหาร - ต�ารวจ ทีจ่ ดั โดยศูนย์ไซเบอร์ กองทัพไทย และคว้ารางวัลชนะเลิศ อันดับที่ ๑ ในการแข่งขัน Cyber Operation Contest 2018 ที่จัดโดยกรมเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารทหารอากาศ รางวัลต่าง ๆ เหล่านี้ คงเป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีในเรื่องความรู้ ความสามารถทางวิชาการของนักเรียนนายเรืออากาศ ในยุคสมัยนี้

อย่างไรก็ตามสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลง ของโลก ตลอดจนคุณลักษณะของคนรุ่นใหม่ที่ไม่ชอบ อยู่ในกรอบ รักอิสระและความสบาย ไม่เคยต้องประสบ ความยากล�าบากมากนัก จึงมักมีความอดทนต�่า ส่งผล กระทบเชิงลบต่อความเป็นนักเรียนนายเรืออากาศ เช่นกัน อาจท�าให้ความเสียสละเพือ่ ส่วนรวมและการท�างาน เป็นหมู่คณะลดลง แต่ผู้เขียนเชื่อว่าด้วยปรัชญาและ การอบรมสัง่ สอนของโรงเรียนนายเรืออากาศฯ จะท�าให้ นักเรียนนายเรืออากาศมีทัศนคติและการปฏิบัติตัว เพื่อให้พร้อมเป็นบุคลากรที่ทรงคุณค่าของกองทัพ อากาศต่อไปในอนาคต ในฐานะผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศฯ ผู้เขียนได้น�าข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสภาวการณ์โลก ทิศทางของกองทัพอากาศ การด�าเนินงานของ โรงเรียนนายเรืออากาศฯ ตลอดจนคุณลักษณะของ

23

นักเรียนนายเรืออากาศทั้งที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อน มาพิจารณาเพือ่ ก�าหนดแนวทางในการน�าไปสูย่ า่ งก้าว ที่ ๓ ที่มั่นคงและยั่งยืน พร้อมที่จะมีการเปลี่ยนผ่าน อย่างมีคุณค่าที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งในประวัติศาสตร์ของ โรงเรียนนายเรืออากาศ ฯ “เราจะน�าพาโรงเรียนนาย เรืออากาศฯ อย่างไรเพือ่ ให้ถงึ จุดหมายอย่างมีความสุข” วิถีคิดผู้น�าก�าหนดการก้าวเดิน ตัง้ แต่รบั รูว้ า่ ต้องมาด�ารงต�าแหน่งผูบ้ ญ ั ชาการ โรงเรียนนายเรืออากาศฯ คนที่ ๓๙ ผูเ้ ขียนถามตัวเองว่า “เราจะน�าพาโรงเรียนนายเรืออากาศฯ อย่างไรเพือ่ ให้ ถึงจุดหมายอย่างมีความสุข” ค�าตอบทีไ่ ด้คอื “มีความสุข สนุกกับงาน ไม่ประมาทจุดเสี่ยง เดินเคียงข้าง ไปด้วยกัน” ซึ่งผู้เขียนได้น�ามาเป็นคติพจน์ในการ ท�างาน ผูเ้ ขียนมองเห็นทุกคนในโรงเรียนเป็นเหมือน เพื่อนร่วมเดินทางของผู้เขียนซึ่งพวกเราจะเดินไปถึง จุดหมายด้วยกันอย่างมีความสุข ผู้เขียนเน้นการ ท�างานเป็นทีม เพราะผู้เขียนเชื่อว่าการมีทีมเวิร์คที่ดี จะท�าให้งานออกมาดี และการท�างานนัน้ จะต้องมีการ แลกเปลีย่ นความคิดเห็นและระดมความคิดระหว่างกัน เพือ่ ท�าให้บรรลุถงึ เป้าหมาย อย่างไรก็ตามการท�างาน ต้องยึดสายการบังคับบัญชาเป็นหลัก ผูเ้ ขียนเน้นหรือ ให้สัดส่วนน�้าหนักไปที่งานเชิงพัฒนาและสร้างสรรค์ มากกว่างานในหน้าที่หรืองานประจ�า แต่สุดท้าย ทุกกลุม่ งานจะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานของตัวงานเอง ส�าหรับย่างก้าวที่ ๓ ที่เป็นการย้ายโรงเรียน นายเรืออากาศฯ ถือเป็นความท้าทายอย่างยิง่ จะต้อง คิดวางแผนว่าจะท�าอะไร ท�าอย่างไรในช่วงเวลา ที่เหลืออีกไม่มากนัก เลือกที่จะคิดน�า (Offensive thinking) มากกว่าคิดตาม (Defensive thinking) เพื่อให้ท่วงทันต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้น การย้ายโรงเรียนนายเรืออากาศฯ ในครั้งนี้ ผูเ้ ขียนให้ความส�าคัญกับ ๓ ประเด็น ประเด็นแรกคือ ความพร้อมของอาคารสถานที่ งานด้านสาธารณูปโภค สิง่ อ�านวยความสะดวกและครุภณ ั ฑ์ตา่ ง ๆ ประเด็นทีส่ อง การปรับปรุงหลักสูตรทีส่ อดรับกับยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ และการสร้ า งบุ ค ลากรที่ มี คุ ณ ภาพ และประเด็ น สุดท้ายคือ ขวัญและก�าลังใจรวมถึงการให้ข้อมูล แก่ขา้ ราชการของโรงเรียนนายเรืออากาศ ฯ เกีย่ วกับ การย้ายที่ตั้งในครั้งนี้


24

ส�าหรับประเด็นทีห่ นึง่ อาคารสถานที่ งานด้าน สาธารณูปโภค สิง่ อ�านวยความสะดวกและครุภณ ั ฑ์ตา่ ง ๆ หากเปรียบโครงการย้ายทีต่ งั้ ของโรงเรียนนายเรืออากาศฯ เหมือนการวิ่งขณะนี้เป็นเสมือนการวิ่งโค้งสุดท้าย ก่อนเข้าเส้นชัยเพราะว่าโครงการได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๖ และจะสิน้ สุดโครงการตามแผนคือปลายปี พ.ศ.๒๕๖๓ กล่าวคือ ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๖ – ๒๕๕๙ เป็นโครงการทีไ่ ด้รบั งบประมาณแบบปีตอ่ ปี ประกอบด้วย งานทัง้ สิน้ ๔๕ งาน แบ่งเป็นงานอาคาร ๑๙ งาน ซึง่ เป็น ฝัง่ สถานทีร่ าชการ ๑๕ งาน และเป็นฝัง่ บ้านพักอาศัย ๔ งาน ส่วนทีเ่ หลือจะเป็นงานด้านสาธารณูปโภค เช่น งานระบบไฟฟ้า ประปา และในช่วงที่สอง หลังปี งบประมาณ ๒๕๖๐ ตั้งแต่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ จนถึง ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ (รวม ๑,๒๐๐ วัน) ได้รับ งบประมาณก้อนเดียวแบบผูกพันข้ามปี แบ่งเป็น ๓๒ กลุ่มงาน โดยเป็นกลุ่มงานอาคาร ๒๑ งาน เป็นงาน ฝัง่ สถานทีร่ าชการ ๑๑ งาน และงานฝัง่ บ้านพักอาศัย ๑๐ งาน ส่วนทีเ่ หลือเป็นงานสถาปัตยกรรมโครงการ ๖ งาน และงานด้านสาธารณูปโภค ๕ งาน ในส่วน การเตรียมการดังกล่าว ผูเ้ ขียนได้วางแผนและแต่งตัง้ คณะกรรมการท�าหน้าที่ย้ายที่ตั้งโรงเรียนฯ ระดับ หน่วยขึ้นตรงตามล�าดับชั้น โดยหน่วยขึ้นตรงได้ไป เยีย่ มชมโครงการ เยีย่ มชมอาคารของตัวเอง ในกรณีที่ อาคารนัน้ สร้างแล้วเสร็จ มีการวางแผนการเคลือ่ นย้าย อุปกรณ์และครุภณ ั ฑ์ตา่ ง ๆ วางแผนเรือ่ งงบประมาณ นัน่ ก็คอื การบริหารทัง้ แผนงานและแผนเงินให้เกิด ความพร้อมมากที่สุดเมื่อถึงก�าหนดวันย้าย ด้านงาน ครุภณั ฑ์ มีการแต่งตัง้ คณะกรรมการทีเ่ รียกว่ากลุม่ มดงาน ส�ารวจความต้องการและเตรียมข้อมูลครุภณ ั ฑ์แยกตาม อาคาร ส่วนครุภณ ั ฑ์ทเี่ ป็นเครือ่ งมือทดลองของแต่ละ ภาควิชานั้นมีการท�าบันทึกข้อมูล และเตรียมการ วางแผนการเคลื่อนย้ายด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป

ประเด็นที่สอง การปรับปรุงหลักสูตร ดังที่ ผู้เขียนได้กล่าวไว้แล้วว่า หลักสูตรเป็นเครื่องมือและ กระบวนการส�าคัญในการผลิตนักเรียนนายเรืออากาศ ในวั น นี้ จ ะมี คุ ณ ภาพหรื อ เติ บ โตอย่ า งมี คุ ณ ค่ า ในอนาคตต้องขึน้ อยูก่ บั การถ่ายทอดหรือการปลูกฝัง ในวันนี้ ร่วมกับประสบการณ์ทไี่ ด้เก็บเกีย่ วระหว่างทาง ขณะรับราชการ ผูเ้ ขียนจึงให้ความส�าคัญกับการจัดท�า หลั ก สู ต ร โดยให้ แ นวคิ ด ว่ า หลั ก สู ต รต้ อ งมี มาตรฐานเช่นเดียวกับสถาบัน การศึกษาในระดับ อุดมศึกษา ตอบสนองกองทัพอากาศ ยุทธศาสตร์ กองทัพ และสอดรับกับทั้ง ๓ มิติ ได้แก่ มิติก�าลัง ทางอากาศ (Airpower Domain) มิตไิ ซเบอร์ (Cyber Domain) และมิ ติ อ วกาศ (Space Domain) และสุดท้ายต้องสร้างนักเรียนนายเรืออากาศให้เป็นไป ตามปรัชญาการศึกษาของโรงเรียนนายเรืออากาศฯ ทัง้ นีห้ น่วยงานทีเ่ ป็น ๔ เสาหลักของโรงเรียนนายเรือ อากาศฯ ได้แก่ กองการศึกษา กรมนักเรียนนายเรือ อากาศ ฯ กองวิชาทหาร และกองพลศึกษา ต้องช่วยกัน ผลิตนักเรียนนายเรืออากาศแบบมีสมดุล มีคณ ุ ภาพ ที่ส�าคัญ นักเรียนนายเรืออากาศต้องมีและรู้จักการ เรียนรูเ้ ชิงการแก้ปญ ั หาให้ได้ นอกจากหลักสูตรทีเ่ ป็น แกนหลักด้านการศึกษาของนักเรียนนายเรืออากาศแล้ว เพื่อเป็นการเพิ่มพูนศักยภาพของตัวนักเรียนและ คณาจารย์ จึงได้จัดท�าโครงการต่าง ๆ รองรับการเรียนรู้ แบบไม่สนิ้ สุด เช่น โครงการพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็ก เพือ่ ภารกิจการจัดเก็บและส่งต่อข้อมูล ประกอบด้วย การออกแบบสร้าง ทดสอบดาวเทียมและปล่อยสู่ อวกาศ ทั้งนี้อาจารย์และนักเรียนนายเรืออากาศ จะได้ รั บ ความรู ้ แ ละได้ ล งมื อ ท� า จริ ง เพื่ อ จะได้ มี ประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีดาวเทียม เป็นการ ตอบสนองด้านมิติอวกาศ (Space Domain) ของ กองทั พ อากาศ นอกจากนี้ ยั ง มี โ ครงการวิ จั ย และ พัฒนาอากาศยาน ไร้คนขับแบบฝูงอัจฉริยะ เพือ่ ภารกิจ ทางการทหารโครงการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ การถ่ายภาพทางอากาศแบบไฮเปอร์สเปกตรัมส�าหรับ อากาศยานไร้ ค นขั บ เป็ น ต้ น ผู ้ เ ขี ย นเชื่ อ มั่ น ว่ า ด้วยตัวของนักเรียนนายเรืออากาศเอง ด้วยหลักสูตร ที่ ว างรากฐานไว้ นั ก เรี ย นนายเรื อ อากาศในวั น นี้ จะต้องเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีคุณภาพและคุณค่าที่ดี ขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน


ข่าวทหารอากาศ

ประเด็นสุดท้าย ขวัญและก�าลังใจรวมถึงการ ให้ ข ้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ กั บ การย้ า ยที่ ตั้ ง แก่ ข ้ า ราชการ โรงเรียนนายเรืออากาศฯ ในส่วนของแผนก�าลังพล หรือแผนคนได้มีการด�าเนินการมาแล้วระยะหนึ่ง โดยผูบ้ ญ ั ชาการโรงเรียนนายเรืออากาศฯ ท่านก่อน ๆ การปรั บ โครงสร้ า งและอั ต ราก� า ลั ง พลใหม่ ข อง โรงเรียนนายเรืออากาศ ฯ รองรับการย้ายทีต่ งั้ ในครัง้ นี้ โรงเรียนนายเรืออากาศฯ จะต้องสามารถดูแลและ รับผิดชอบงานต่าง ๆ ได้ดว้ ยตัวเอง เนือ่ งจากย้ายทีต่ งั้ ไปอยู่ล�าพัง ณ อ�าเภอมวกเหล็ก จึงไม่สามารถพึ่งพา สิง่ อ�านวยความสะดวกจากหน่วยงานยุทธบริการใกล้เคียง เช่น โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมช่างโยธาฯ กรมขนส่ง ฯลฯ เหมือนในปัจจุบัน หรือแม้แต่เรื่อง ระบบการรักษาความปลอดภัย ท�าให้จา� เป็นต้องมีการเพิม่ หรื อ ขยายอั ต ราก� า ลั ง พลในบางหน่ ว ยงานของ โรงเรียนนายเรืออากาศฯ แห่งใหม่ ผู้เขียนจะสานต่อ แผนคนอีกทัง้ การให้ขอ้ มูลทีช่ ดั เจนเกีย่ วกับชีวติ ความ เป็นอยูข่ องข้าราชการทีจ่ ะย้ายไปมวกเหล็ก ซึง่ ส่งผลต่อ ขวัญและก�าลังใจ เพราะข้าราชการหรือผู้ที่ท�างานใน โรงเรียนนายเรืออากาศฯ แห่งนีร้ อ้ ยละ ๙๐ นับตัง้ แต่ อาจารย์ ไปจนถึงพนักงานโรงเลี้ยง โรงซักรีด ฯลฯ ไม่เคยย้ายไปท�างานทีอ่ นื่ จนเกือบเกษียณอายุราชการ นั่นหมายความว่า พวกเขาไม่ใช่แค่ย้ายที่ท�างานจาก ดอนเมืองไปมวกเหล็กเท่านั้น แต่หมายถึงการย้าย ถิน่ ฐานครอบครัว การวางรกรากใหม่ของชีวติ ค�าถามว่า “ลูก ๆ เขาจะอยูห่ รือเรียนทีไ่ หนอย่างไร เขาจะไป ท�า งานอย่ า งไรในช่วงแรก มีที่พัก รองรับเขาและ ครอบครัวหรือไม่” ล้วนต้องการค�าตอบที่ชัดเจน นอกจากนี้ยังรวมถึงจ�านวนก�าลังพลที่พร้อมย้ายไป ปฏิบัติงานที่มวกเหล็กจะต้องมีการส�ารวจยอดผู้ที่จะ ย้ายไปมวกเหล็กหรือย้ายไปหน่วยงานอืน่ เพือ่ เตรียมแผน ก�าลังพลไว้รองรับการท�างาน หรือแม้แต่การบรรจุ อาจารย์เพื่อรองรับอาจารย์ที่เกษียณอายุในปี พ.ศ.๒๕๖๒ - ๒๕๖๔ ทีม่ จี า� นวนเกือบ ๒๐ คน ซึง่ ผูเ้ ขียน

25

คิดว่าเป็นเรื่องส�าคัญและจะต้องใส่ใจในรายละเอียด อย่างมาก จากที่กล่าวมาทั้งหมดผู้อ่านคงรับรู้ได้ว่า ย่างก้าวที่ ๓ การเปลี่ยนผ่านที่ยิ่งใหญ่ของโรงเรียน นายเรืออากาศฯ นั้นมีความท้าทายอย่างมาก โดย ส่วนตัวแล้ว ผูเ้ ขียนให้ความส�าคัญกับการวางแผนและ การด�าเนินงานในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่งเพราะนั่นคือ การวางรากฐานและการมอบสิ่ ง ที่ ดี ที่ สุ ด ให้ กั บ โรงเรียนนายเรืออากาศฯ และนักเรียนนายเรืออากาศ รุ่นต่อ ๆ ไปที่จะใช้โรงเรียนนายเรืออากาศแห่งใหม่นี้ เป็นที่บ่มเพาะและสร้างบุคลากรอันทรงคุณค่าให้กับ กองทัพอากาศ ผู้เขียนและบุคลากรโรงเรียนนายเรือ อากาศฯ ทุกคนจะเดินเคียงข้างไปด้วยกันร่วมกัน ใช้พลังกาย พลังใจ และพลังสมอง มีความสุขและสนุกกับ ความท้าทายในการผลักดันให้ย่างก้าวที่ ๓ ของ โรงเรียนนายเรืออากาศฯ ให้บรรลุเป้าหมายด้วยดี และมีความสุขกับการไปอยู่บ้านหลังใหม่ที่ก�าลังจะ เกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้ ที่นั่นก็คือ โรงเรียนนายเรืออากาศ นวมินทกษัตริยาธิราช ณ มวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ผู้เขียนมีความเชื่อมั่น อย่างเต็มเปี่ยมว่าด้วยปรัชญาและความแน่วแน่ของ โรงเรียนนายเรืออากาศฯ จะท�าให้ชอ่ ชัยพฤกษ์รนุ่ แล้ว รุ่นเล่าที่ผลิตจากสถาบันแห่งนี้ จากอดีต ปัจจุบัน สู่อนาคตจะเป็นความภาคภูมิใจของพวกเราทุกคน สืบไป เพื่อชาติ ศาสนา กษัตริย์และราชบัลลังก์ “มองให้สุขและสนุกกับงาน มือประสานตาจับจ้องมองจุดเสี่ยง มุ่งเดินเคียงข้างกันเพื่อเรืออากาศ มั่นสามารถทุกส่วนล้วนร่วมใจ”


26

ผลงานกลุม กิจกรรมทีเ่ สริมสร้างกองทัพอากาศ ให้เปนองคการแหงการเรียนรู้ ประจําป ๒๕๖๑ ประเภทเครือ่ งมือ KM รางวัล Innovation Award กลุม Comptroller IT (สปช.ทอ.)

โปรแกรมติดตาม งานจัดซือ้ จัดจ าง กองทัพอากาศ

เนื่องด้วยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๐ เห็นชอบมาตรการเพิม่ ประสิทธิภาพก�าหนด ให้ส่วนราชการผูกพันงบประมาณ งบรายจ่ายลงทุน ในไตรมาส ๒ ร้อยละ ๔๑ เมื่อสิ้นไตรมาส ๒ กองทัพ อากาศสามารถผูกพันงบประมาณได้เพียงร้อยละ ๓๗.๔๔ ต�า่ กว่าทีร่ ฐั บาลก�าหนดร้อยละ ๓.๕๖ มีสาเหตุ จากการจัดซือ้ จัดจ้างล่าช้า อีกทัง้ ข้อมูลไม่เป็นปัจจุบนั (Real Time) ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ คณะรัฐมนตรี มีมติเมือ่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๑ เห็นชอบมาตรการ เพิม่ ประสิทธิภาพการใช้จา่ ยงบประมาณรายจ่ายประจ�าปี งบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑ ก�าหนดให้สว่ นราชการผูกพัน งบประมาณ งบรายจ่ายลงทุน ในไตรมาส ๒ ร้อยละ ๔๓.๑๑ กลุ่ม Comptroller IT จึงมีแนวคิดการน�า กระบวนการจัดการความรู้ มาใช้ในการแก้ปัญหา

การติดตามงานจัดซื้อจัดจ้างแบบประหยัด มีข้อมูล ปัจจุบันโดยสร้างเครื่องมือติดตามงานจัดซื้อจัดจ้าง ทีแ่ สดงข้อมูลปัจจุบนั บนฐานข้อมูลบูรณาการระหว่าง ส�านักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ และกรมส่งก�าลังบ�ารุง ทหารอากาศ มีวัตถุประสงค์ อยู่ ๓ ประการ กล่าวคือ ๑. สร้างเครื่องมือติดตามงานจัดซื้อจัดจ้าง ของหน่วยทีม่ คี วามถูกต้อง รวดเร็วโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยแสดงข้อมูลเป็นปัจจุบนั (Real Time) และประหยัด ๒. เครื่องมือที่สร้างสามารถให้ข้อมูลผู้บังคับ บัญชาระดับสูงของกองทัพอากาศ กรมฝ่ายอ�านวยการ และผู้บังคับบัญชาของหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ สามารถติดตามงานจัดซือ้ จัดจ้างอย่างเป็นข้อมูลปัจจุบนั ๓. กองทัพอากาศสามารถผูกพันงบประมาณ งบรายจ่ายลงทุนได้ตามที่รัฐบาลก�าหนด ทั้งนี้ กลุ่มได้ก�าหนดตัวชี้วัดไว้ ๓ ตัวชี้วัด


ข่าวทหารอากาศ

วิธีการจัดการความรู้ การสร้างและการแสวงหาความรู้ กลุ่ม Comptroller IT ด�าเนินการในเรื่อง การจัดการข้อมูลและการสร้างพัฒนาโปรแกรม การจัดการข้อมูล กลุ่ม Comptroller IT ศึกษาข้อมูลการจัดซื้อ จัดจ้าง จากคณะกรรมการเร่งรัดติดตามงบประมาณ กองทั พ อากาศ และนายทหารงบประมาณของ หน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ รวบรวมปัญหาและ รับข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา น�าเสนอที่ประชุม

27

ร่วมระหว่างส�านักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ และ กรมส่งก�าลังบ�ารุงทหารอากาศ ร่วมวิเคราะห์ กลัน่ กรอง ในช่วงเดือน มกราคม – มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๑ จากการประชุมพบว่าสาเหตุเกิดความล่าช้า ทัง้ งานธุรการ งานบริหารงบประมาณ การด�าเนินการ ด้ า นข้ อ มู ล ที่ ป ระชุ ม จึ ง มี ค วามเห็ น ควรสร้ า ง เครื่องติดตามงานจัดซื้อจัดจ้าง ที่มีข้อมูลปัจจุบัน มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ในทุกระดับปฏิบัติงาน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือส�าคัญในการแก้ปัญหางานจัดซื้อ จัดจ้างของกองทัพอากาศ


28

การสร้างพัฒนาโปรแกรม กลุ่ม Comptroller IT วางแผนการออกแบบ โปรแกรมเน้นการใช้งานง่าย สามารถสือ่ ความหมาย เป็นไปตามทีผ่ ใู้ ช้เสนอ เน้นการรักษาความปลอดภัย การประมวลผลที่ถูกต้อง รวดเร็ว โปร่งใส สามารถ ตรวจสอบได้ บนข้อมูลปัจจุบันมีความประหยัด ไม่ใช้งบประมาณเพิม่ เติม ในช่วงเดือนมีนาคม-กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๖๐ และฝึกอบรมผู้ใช้โปรแกรม จัดท�าคู่มือ ช่วงเดือนสิงหาคม–กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐ เพื่อให้ สามารถใช้งานได้ตั้งแต่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๐ การจัดการความรู้ให้เปนระบบ กลุ่ม Comptroller IT น�าความรู้ในด้านการ บริหารงบประมาณ และกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ของกองทั พ อากาศมาพั ฒ นาโปรแกรมติ ด ตาม งานจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า งของกองทั พ อากาศ โดยแบ่ ง การใช้งานกับโปรแกรมเป็น ๓ ระดับ ประกอบด้วย ระดั บ ผู ้ ป ฏิ บั ติ เป็ น การปฏิ บั ติ ง านของ นายทหารงบประมาณ นายทหารส่งก�าลังบ�ารุง ทหารอากาศ นายทหารจัดหา ของหน่วยเจ้าของ งบประมาณ ระดับฝายอํานวยการ ประกอบด้วย ส�านักงาน ปลัดบัญชีทหารอากาศ กรมส่งก�าลังบ�ารุงทหาร อากาศ ระดับผู้บังคับบัญชา ประกอบด้วย เสนาธิการ ทหารอากาศ และหัวหน้าหน่วยขึน้ ตรงกองทัพอากาศ ส�านักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ น�ารายการ จัดซื้อจัดจ้างที่ได้รับเข้าสู่ฐานข้อมูลของโปรแกรม กรมส่งก�าลังบ�ารุงทหารอากาศบันทึกวิธีการ จั ด ซื้ อ จั ด จ้ า งของแต่ ล ะงานเข้ า สู ่ โ ปรแกรม เพื่อความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ แจ้งข้อมูล ข่าวสารให้หน่วยปฏิบตั ริ บั ทราบ และมีเมนูตา่ ง ๆ ดังนี้


ข่าวทหารอากาศ

๑. เมนูสรุปสถานะงานจัดซือ้ จัดจ้าง/คลังใหญ่ แสดงความก้าวหน้าในงานจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมด

โปรแกรมในสวนของผู้ปฏิบัติ จะแสดงข้ อ มู ล ข่ า วสาร ที่ ไ ด้ รั บ แจ้ ง จาก กรมฝ่ายอ�านวยการ จากนั้นหน่วยจะเข้าปฏิบัติงาน ตามเมนูต่าง ๆ ดังนี้ ๑. เมนูสรุปสถานะ ๒. เมนูมาตรฐาน Timeline แผนจัดซื้อจัดจ้าง

29

๒. เมนูมาตรฐาน Timeline แผนจัดซื้อจัดจ้าง แสดง Timeline แผนจัดซื้อจัดจ้าง วันเริ่มต้น วันสิ้นสุด โดยอัตโนมัติ

จะแสดงข้ อ มู ล ขั้ น ตอน หน่ ว ยที่ รั บ ผิ ด ชอบ วันเริม่ ต้น วันสิน้ สุดของการปฏิบตั ิ ตามแต่ละ Timeline ที่กรมส่งก�าลังบ�ารุงทหารอากาศเป็นผู้ก�าหนดเพื่อ ความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้


30

๓. เมนูงานจัดซื้อจัดจ้าง ประกอบด้วย ขัน้ ตอนที่ ๓ รายงานความก้าวหน้า/วางแผน ขั้นตอนที่ ๑ รายการแผนจัดซื้อจัดจ้าง ส�าหรับบันทึกความก้าวหน้า ลงในแต่ละรายการ แสดงข้อมูลรายการงานจัดซื้อของหน่วย เพื่ อ รายงานความก้ า วหน้ า และเหตุ ผ ลที่ ขั้ น ตอนที่ ๒ วิ ธี ก ารจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า ง/ ด�าเนินการล่าช้า Timeline ผู้ปฏิบัติงานท�าการก�าหนดวิธีการ จัดซื้อจัดจ้าง

โปรแกรมในสวนของหัวหน้าหนวย โดยมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันมีเมนูใช้งานดังนี้ ๑. เมนูรหัสก�าหนดการ/สัง่ จ่ายแสดงรายละเอียด ของงานจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมดที่หน่วยได้รับ ๒. เมนูสถานะงานจัดซือ้ จัดจ้างแสดงข้อมูลสถานะ ความก้าวหน้าในงานจัดซื้อจัดจ้างที่หน่วยได้รับ เป็นแถบสี พร้อมหาสาเหตุการด�าเนินงานล่าช้า และแนวทางการแก้ไขปัญหาได้วันต่อวัน


ข่าวทหารอากาศ

ส�านักงานปลัดบัญชีทหารอากาศได้ขออนุมัติ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ในการน�าโปรแกรมติดตาม เร่งรัดการจัดชื้อจัดจ้างกองทัพอากาศ มาใช้ในการ บริหารงบประมาณ และผู้บัญชาการทหารอากาศ อนุมัติเมื่อ ๑๔ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๖๐ ผลลัพธและคุณภาพของผลงาน ในการประชุมเร่งรัดติดตามงบประมาณกองทัพ อากาศ ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ กองทัพอากาศได้รับ งบประมาณรายจ่ายลงทุนทั้งสิ้น ๑,๒๔๖ งาน วงเงิน ๑๓,๔๑๕ ล้านบาทเศษ เมื่อสิ้นไตรมาส ๒ สามารถ ผูกพันงบประมาณได้ทั้งสิ้น ๑,๑๘๕ งาน คิดเป็น ร้อยละ ๙๕.๑๐ วงเงินรวม ๑๐,๑๑๒ ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ ๒๕๖๐ กองทัพอากาศ ได้รับงบประมาณรายจ่ายลงทุนทั้งสิ้น ๑,๖๕๓ งาน วงเงิน ๑๒,๑๐๙ ล้านบาทเศษ เมื่อสิ้นไตรมาส ๒ สามารถผู ก พั น งบประมาณได้ ทั้ ง สิ้ น ๖๑๙ งาน คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๔๔ วงเงินรวม ๗,๔๙๙ ล้านบาท งบประมาณปี ๒๕๖๑ สามารถด�าเนินการจัดซื้อ จั ด จ้ า งเป็ น ไปตามมาตรการเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพ ที่รัฐบาลก�าหนด

31

การเรียนรู้ โปรแกรมติ ด ตามงานจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า งของ กองทัพอากาศ พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มจัดการความรู้ ส� า นั ก งานปลั ด บั ญ ชี ท หารอากาศ ในนามกลุ ่ ม Comptroller IT เป็นภูมิปัญญาด้านนวัตกรรม ที่ ด� า เนิ น การโดยข้ า ราชการของกองทั พ อากาศ ที่ไม่ใช้งบประมาณ สามารถเปิดให้ผู้ใช้เข้ามาศึกษา เรียนรู้ เสนอแนะ ปรับปรุงเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในงานจัดซื้อจัดจ้างของกองทัพอากาศ กลุ่ม Comptroller IT หวังเป็นอย่างยิ่งว่า นวัตกรรม ทีเ่ กิดจากการจัดการความรูข้ องส�านักงาน ปลัดบัญชีทหารอากาศ จะเป็นประโยชน์ต่อการ พัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างของกองทัพอากาศ และการ บริหารงบประมาณของกองทัพอากาศ มีความถูกต้อง รวดเร็ว ข้อมูลเป็นปัจจุบัน เกิดความคุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้ ตามนโยบายของท่านผู้บัญชาการ ทหารอากาศ อันจะน�าไปสู่วิสัยทัศน์ "กองทัพอากาศชั้นนําในภูมิภาค (One of the Best Air Forces in ASEAN)”


32

กรอบแนวทางการสอนของ โรงเรียนเสนาธิการร วมออสเตรเลีย

(Australian Command and Staff College’s Course Themes) ผมไม เ คยสอนเด็ ก นั ก เรี ย นของผม ; ผมเพียงแตสรางสภาวะที่เหมาะแกการเรียนรู ใหกบั พวกเขา (I never teach my pupils ; I only provide the conditions in which they can learn) Albert Einstein (1879-1955) ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาเทคโนโลยีส่งผลให้การ ด�าเนินชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก ไม่วา่ จะเป็นเทคโนโลยีดา้ นการสือ่ สารทีท่ า� ให้โลกใบนี้ กลายเป็นโลกที่ไร้พรมแดนในด้านการติดต่อสื่อสาร ทัง้ เทคโนโลยีเหล่านีย้ งั ส่งผลกระทบต่อการปฏิบตั กิ าร ทางทหาร บุคลากรในกองทัพจ�าเป็นต้องเรียนรู้ และ พัฒนาตนเองเพื่อให้ก้าวตามให้ทันเทคโนโลยี และ สภาวะแวดล้อมที่หมุนเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วเพื่อ น�ามาปรับประยุกต์ใช้ ขับเคลื่อนกองทัพให้คงความ สามารถในการรั บ มื อ ภั ย คุ ก คามในรู ป แบบต่ า ง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึง่ แน่นอนว่าภัยคุกคามเหล่านี้ มีการปรับเปลีย่ นรูปแบบจากอดีตเป็นอย่างมาก การรบ เต็มรูปแบบขนาดใหญ่ (Conventional Warfare) ดังเช่นในอดีตทีผ่ า่ นมามีโอกาสเกิดขึน้ ได้นอ้ ย แต่จะเป็น การรบที่จ�ากัดขอบเขต (Limited War) ไม่ว่าจะเป็น การจ�ากัดทางพืน้ ที่ วัตถุประสงค์ หรือจ�ากัดด้านอาวุธ ยุ ท โธปกรณ์ ที่ จ ะใช้ ร วมไปถึ ง ทรั พ ยากรต่ า ง ๆ ทั้งยังใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการรบในทุกขั้นตอน กองทัพของประเทศมหาอ�านาจต่างขวนขวายปรับตัว เพือ่ ทีจ่ ะคงอ�านาจทางการทหารต่อไป เช่น สหรัฐอเมริกา ก่อตัง้ กองทัพอวกาศขึน้ เพือ่ ทีจ่ ะชิงความได้เปรียบจาก การใช้หว้ งอวกาศ ด้านกองทัพออสเตรเลียมุง่ เน้นไปที่ การให้ ก ารศึ ก ษา โดยให้ ค วามส� า คั ญ กั บ การผลิ ต บุคลากรนายทหารในระดับต่าง ๆ ที่มีคุณภาพจน

น.ท.ธนาวุฒิ ลิขิตสัมพันธ์ ได้ชอื่ ว่าเป็นหนึง่ ในกองทัพทีจ่ ดั ระบบการเรียนการสอน ที่มีประสิทธิภาพแห่งหนึง่ ของโลก หลักสูตรการเรียน ในระดับต่าง ๆ ของกองทัพออสเตรเลีย ผ่านขบวนการคิด พิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญในด้านการศึกษาจากทั้งใน กองทั พ เอง หรื อ จากสถานศึ ก ษาชั้ น น� า ภายนอก กองทัพ เช่น หลักสูตรเสนาธิการร่วมของออสเตรเลีย (Australian Command And Staff College : ACSC) ถูกวางหลักสูตรโดยคณะนักวิชาการจาก มหาวิทยาลัย แห่ ง ชาติ อ อสเตรเลี ย (Australian National University : ANU) นักวิชาการทางด้านความมั่นคง ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่งคง ของประเทศ รวมทัง้ อดีตผูบ้ งั คับหน่วยทหารทีผ่ า่ นการรบ ในสมรภูมิต่าง ๆ มาเป็นที่ปรึกษา เพราะฉะนั้นจึง เป็นการยืนยันว่าหลักสูตรของโรงเรียนเสนาธิการร่วม ออสเตรเลีย (ACSC) สอดคล้องสัมพันธ์กับทิศทาง ยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งตอบโจทย์ในการตอบสนอง ภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งใน บทความนีจ้ ะเขียนถึงกรอบแนวคิดในการวางหลักสูตร ของ ACSC พร้อมทัง้ วิเคราะห์กรอบแนวทางการเรียน การสอนของกองทั พ ออสเตรเลี ย เกิ ด จากการน� า บทเรียนจากสงครามในอดีตมาคิดวิเคราะห์ถึงปัจจัย ต่าง ๆ ที่มีผลต่อผลของสงครามจนได้มาเป็น กรอบ แนวทางการจัดการเรียนการสอน (Course Themes) ทัง้ หมด ๙ แนวทาง ซึง่ เป็นปัจจัยหลักทีจ่ ะต้องค�านึงถึง ในการปฏิบัติการทางทหารในอนาคต กรอบแนวทางการจั ด การเรี ย นการสอนของ ACSC คือ Course Themes (CT) ซึ่งเป็นแนวทาง ในการควบคุมการเรียนการสอนของ ACSC ให้อยูใ่ นพืน้ ที่ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาต้องเรียนรู้ และเข้าใจจนสามารถน�ามาวิเคราะห์เชื่อมโยง CT


ข่าวทหารอากาศ

33

คณะนายทหารนักเรียนกับพลเรือนที่มาจาก ๒๓ มิตรประเทศ

กับบทเรียนต่าง ๆ ตลอดห้วงระยะเวลาที่ศึกษาอยู่ที่ ACSC นี้ ซึ่ง CT นี้ได้รับการพิจารณากลั่นกรองจาก คณะกรรมการการศึกษาของ ACSC และ ANU แล้วว่า มีความส�าคัญต่อการท�าสงครามมาตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบนั และในอนาคตซึง่ ส่งผลกระทบต่อผลแพ้ชนะ ในการด�าเนินสงคราม และส่งผลต่อความส�าเร็จ ในการปฏิบตั กิ ารทางทหารในระดับต่าง ๆ ไม่วา่ จะเป็น สงครามตามแบบหรือนอกแบบก็ตาม CT จึงเปรียบเสมือน เข็มทิศและกรอบของการเรียนการสอนของ ACSC ที่ออกแบบมาให้ผู้เข้ารับการศึกษาน�าบทเรียนต่าง ๆ มาวิเคราะห์โดยใช้ CT เข้าไปจับ แล้วน�ามาวิเคราะห์ หาความเกีย่ วข้องกับผลของสงครามหรือบทเรียนต่าง ๆ จากสงครามว่า CT แต่ละอันส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง กับการท�าสงคราม โดยทางอาจาร์ยที่ปรึกษาประจ�า สัมมนา (Directing Staff) จะคอยสอบถามผู้เข้ารับ การศึกษาอยู่เสมอ ๆ ว่า ‘เรื่องที่เราเรียนกันอยู่แล้ว มันเกี่ยวข้องกับ CT อย่างไร หรือน�าไปใช้เพื่อเตรียม รับมือกับสงครามในอนาคตได้อย่างไร’ หรือที่ทหาร ออสเตรเลียชอบพูดเสมอ ๆ ว่า So What? โดย CT แบ่งออกเป็น ๙ Themes ด้วยกัน ได้แก่ Nature and Character of War, The Political Objective, Unity of Effort, Strategic and Military Culture, Resourcing and Sustaining War, Learning and

Adaptation, Geography and Operational Environment, Leadership and Command, Joint Operational Planning Nature and Character of War ในการเรี ย นรู ้ ป ระวั ติ ศ าสตร์ ส งครามในอดี ต ACSC จะเน้นย�้าให้เข้าใจใน Nature และ Character of War โดยการศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบ สงครามในยุคต่าง ๆ ที่ผ่านมาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ ในสงคราม The Peloponnesian War ยุคสงครามโลก ครั้งที่ ๑ และ ๒ จนถึงสงครามในยุคสมัยใหม่อย่าง สงครามอิรัก (The Iraq War) ว่ามีความเหมือนหรือ ต่างกันอย่างไรบ้าง จนได้บทสรุปว่า สงครามต่าง ๆ ในโลกของเราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีธรรมชาติ ของสงคราม (Nature of War) ทีเ่ หมือนกันไม่แปรเปลีย่ น ไปตามกาลเวลา โดยนักการทหารของออสเตรเลีย มีความเชื่อว่าต้นเหตุของความขัดแย้ง จนลุกลาม กลายเป็นสงครามนัน้ ล้วนมีทมี่ าจาก ๓ ปัจจัยหลัก คือ Honor, Interest, and Fear ซึ่งเป็นไปตามงานเขียน ของ Graham Allison ใน Destined for War : Can America and China Escape Thucydide's Trap ทีไ่ ด้สรุปว่าต้นเหตุความขัดแย้งนัน้ มาจาก ๓ ปัจจัยหลัก ข้างต้น ไม่ได้แปรเปลีย่ นไปตามกาลเวลา หรือทีเ่ รียกว่า กับดักของทิวซิดดิ สี (Thucydide's Trap) ซึง่ Graham


34

ได้ น� า สถานการณ์ ก ารแข่ ง ขั น กั น เป็ น มหาอ� า นาจ ของโลกระหว่าง สหรัฐอเมริกา กับจีน อาจจะท�าให้ ประเทศทั้งสองตกลงไปในกับดักแห่งความขัดแย้ง จนลุกลามบานปลายกลายเป็นสงครามได้ ส่วนลักษณะ ของสงคราม (Character of War) จะแปรเปลี่ยนไป ตามสภาวะแวดล้อม, เทคโนโลยี และเครือ่ งมือทีใ่ ช้ใน แต่ละยุคสมัย ตัวอย่างเช่น แนวรบด้านตะวันตก (The Western Front) ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ได้สมญานามว่า เป็นสงครามสนามเพลาะ (Trench warfare) เป็นสงครามที่ทหารขุดหลุมสนามเพลาะ เพื่อสร้างแนวป้องกันอ�านาจการยิงจากฝ่ายตรงข้าม เพราะเป็นสงครามทีบ่ กุ เข้ายึดพืน้ ทีด่ ว้ ยอ�านาจการยิง ของทหารราบ และทหารปนใหญ่ ซึ่งแตกต่างอย่าง สิ้นเชิงกับสงครามอ่าวเปอร์เซีย (The Gulf War) ซึ่งเป็นสงครามที่ใช้พลังอ�านาจทางอากาศเข้าท�าลาย ระบบป้องกันตนเองของอิรกั จนหมดสิน้ ก่อน หลังจากนัน้ จึ ง เคลื่ อ นก� า ลั ง ทางบกเข้ า ยึ ด ครอง จะเห็ น ได้ ว ่ า สงครามในแต่ ล ะยุ ค สมั ย ก็ จ ะมี ลั ก ษณะเฉพาะตั ว ทีแ่ ตกต่างกันออกไป ตามเทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์ ทีน่ า� มาใช้ในสงคราม ขณะเดียวกันหลาย ๆ เทคโนโลยี สมัยใหม่ทถี่ อื ก�าเนิดขึน้ มา ก่อก�าเนิดมาจากความต้องการ ทางทหารที่ต้องการใช้ในการสงคราม เช่น เทคโนโลยี

อินเตอร์เน็ต ที่ก่อก�าเนิดขึ้นมาในช่วงสงครามเย็น จนมีค�าพูดที่ว่า “Technology drives tactics and tactics drive technology” ซึ่งหมายความว่า ความต้องการทางทหารน�ามาซึง่ การคิดค้นเทคโนโลยี เพื่ อ ตอบสนองเช่ น ไร เทคโนโลยี ใ หม่ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ก็จะท�าให้ยุทธวิธีทางทหารเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนประกอบกันขึ้นเป็นคุณลักษณะของ สงคราม ACSC ต้องการให้ผู้ศึกษาเข้าใจในลักษณะ เฉพาะของสงครามในยุคที่ต่างกัน เพื่อที่จะสามารถ วิเคราะห์ถึงรูปแบบ ลักษณะของสงครามที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต เพื่อที่จะได้เตรียมการในการรับมือ รวมทั้ง เข้าใจในธรรมชาติสาเหตุของความขัดแย้งต่าง ๆ เพื่ อ ที่ จ ะสามารถยั บ ยั้ ง ความขั ด แย้ ง ไม่ ใ ห้ ลุ ก ลาม กลายเป็นสงคราม The Political Objective การท�าสงครามถ้าปราศจากการตัง้ วัตถุประสงค์ ทางการเมื อ ง หรื อ สภาวะสุ ด ท้ า ยที่ ป ระเทศชาติ ต้องการในการเข้าท�าสงคราม การท�าสงครามครั้งนั้น ก็จะไร้ทิศทางและจุดหมาย จนหาจุดจบของสงคราม ไม่ได้ ความส�าเร็จในการปฏิบตั กิ ารทางทหารในระดับ ต่าง ๆ ล้วนเป็นเพียงเครื่องมือน�าไปสู่สภาวะสุดท้าย ที่ประเทศชาติต้องการ สงครามเวียดนาม คือตัวอย่าง

คณะนายทหารนักเรียน, พลเรือนที่มาจากมิตรประเทศ ถ่ายร่วมกับผู้บังคับบัญชาและอาจารย์


ข่าวทหารอากาศ

ศึกษาดูงานโรงงานอุตสาหกรรมทางทหาร ที่เมืองแอดิเลด (Adelaide)

ที่ เ ป็ น รู ป ธรรมที่ ก ารปฏิ บั ติ ก ารทางทหารของ สหรั ฐ อเมริ ก า ที่ ไ ม่ สั ม พั น ธ์ กั บ สภาวะสุ ด ท้ า ยที่ ประเทศต้องการจนไม่สามารถหา End state ของการ ปฏิบตั กิ ารทางทหารได้ จนน�าไปสูว่ กิ ฤตทางการเมือง ภายในประเทศน�ามาซึ่งการถอนทหารกลับประเทศ กล่าวคือ ในตอนนัน้ สหรัฐอเมริกาคิดว่าด้วยก�าลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ทเี่ หนือกว่าฝ่ายตรงข้ามมาก จะท�าให้ ได้ชยั ชนะในการรบและชัยชนะในการปฏิบตั กิ ารทางทหาร จะสามารถป้องกันการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ จากเวียดนามเหนือสูเ่ วียดนามใต้ได้ แต่สหรัฐอเมริกา ไม่ได้วางแผนว่าสภาวะสุดท้ายทีต่ นเองต้องการนัน้ คือ เวียดนามใต้เป็นประชาธิปไตยโดยปราศจากก�าลังทหาร ของตนเองบนแผ่นดินเวียดนาม ท�าให้สหรัฐอเมริกา ต้องสู้รบโดยเพิ่มเติมก�าลังทหารของตนเองเพื่อที่จะ ต้านทานการบุกของกองก�าลังจากเวียดนามเหนือ จนเกิดค�าพูดว่า ส่งคนจากประเทศแม่ไปตายในแผ่นดิน ของคนอืน่ โดยไม่สามารถตอบประชาชนได้วา่ ประเทศ ชาติจะได้อะไรจากการรบนี้ จนเกิดวิกฤตการเมือง ภายในประเทศเกิดการประท้วงคัดค้านของประชาชน อเมริกาน�าไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายใน ประเทศ และค�าสั่งเรียกทหารทั้งหมดกลับประเทศ ตนเอง จนในที่ สุ ด เวี ย ดนามใต้ ถู ก ยึ ด ครองโดย เวียดนามเหนือ นีเ่ ป็นตัวอย่างชีใ้ ห้เห็นถึงความส�าคัญ ของวัตถุประสงค์ทางการเมืองหรือสภาวะสุดท้าย ที่ประเทศชาติต้องการต้องถูกก�าหนดให้ชัดเจนก่อน จะท� า สงคราม แล้ ว วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ นก� า ลั ง อ� า นาจ

35

แห่งชาติด้านอื่น ๆ ต้องสัมพันธ์ และสนับสนุนน�าไปสู่ สภาวะสุดท้ายที่ประเทศชาติต้องการเสมอ Political Objective ต้องถูกตั้งขึ้นเป็นอันดับแรก ๆ ในการท�า สงครามเสมอ ๆ ACSC เน้นย�้าให้ผู้เข้ารับการศึกษา คิดวางแผน เชื่อมโยงการวางแผนในระดับปฏิบัติการ เพือ่ สนับสนุนผลลัพธ์ในระดับยุทธศาสตร์ หรือสภาวะ สุดท้ายที่ประเทศชาติต้องการนั่นเอง Unity of Effort การทุม่ เทก�าลัง ความตัง้ ใจไปทีค่ วามพยายามเดียว หรือที่เรียกว่า เอกภาพของความพยายาม (Unity of Effort) เป็นพืน้ ฐานของความส�าเร็จของภารกิจ เพราะ ไม่มปี ระเทศไหนทีส่ ามารถแบ่งก�าลังในการท�าสงคราม ในทุกพื้นที่ที่ต้องการ ทุกประเทศจึงต้องจัดล�าดับ ความส�าคัญในภารกิจต่าง ๆ แล้วทุ่มเทความพยายาม ในการท�าให้ส�าเร็จทีละภารกิจ กองทัพออสเตรเลีย ถื อ เป็ น กองทั พ ขนาดกลางมี ก� า ลั ง พลรวมทั้ ง สิ้ น ประมาณ ๘๐,๐๐๐ นาย เอกภาพของความพยายาม จึงเป็นสิ่งส�าคัญที่ต้องเรียนรู้ ACSC จึงมุ่งหวังให้ ผูเ้ ข้ารับการศึกษาเรียนรูท้ จี่ ะวางแผนทุม่ เทความพยายาม โดยใช้ทรัพยากรทีม่ อี ยูอ่ ย่างจ�ากัดเพือ่ ให้ภารกิจส�าเร็จ ไปเป็ น ตามล� า ดั บ ความส� า คั ญ กรณี ตั ว อย่ า ง เช่ น สงครามโลกครั้งที่ ๑ เยอรมันต้องเปิดศึกทั้งสองด้าน คือ แนวรบด้านตะวันตก (The Western Front) และ แนวรบด้านตะวันออก (The Eastern Front) โดยที่ ผู้บัญชาการด้านตะวันตก, Erich von Falkenhayn กับผู้บัญชาการด้านตะวันออก, Erich Ludendorff และ Paul von Hindenburg เกิดความเห็นขัดแย้งกัน โดยต่างคนต่างมุง่ หวังใช้กา� ลังพลส่วนใหญ่ของกองทัพ เยอรมันในการรบไปที่ด้านของตนเองที่บัญชาการอยู่ จนขาดซึ่ง Unity of Effort จนเป็นสาเหตุหนึ่งของ ความพ่ายแพ้ของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ ๑ กองทัพออสเตรเลียตระหนักดีวา่ ผูท้ จี่ ะขึน้ มาบัญชาการ ทางทหารของออสเตรเลียต้องเรียนรู้ท่ีจะบัญชาการ ทหาร และทรัพยากรทีม่ อี ยูอ่ ย่างจ�ากัดให้เกิดภาพของ Unity of Effort สนับสนุนซึ่งกันและกันในแต่ละส่วน


36

สัมมนาของผู้เขียนในวันจบการศึกษา

จนเกิดเป็น เอกภาพของความพยายามขึ้นในการ ปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นปัจจัยช่วยน�ามาซึ่ง ความส�าเร็จในการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ Strategic and Military Culture กองทัพออสเตรเลียให้ความส�าคัญในการเรียนรู้ จากประวัตศิ าสตร์สงครามต่าง ๆ ทัง้ ทีต่ นเองมีสว่ นร่วม หรือไม่มกี ต็ าม แล้วน�ามาวิเคราะห์หาบทเรียนทีไ่ ด้จาก สงครามนั้น ๆ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรแห่งการ เรี ย นรู ้ ขึ้ น กองทั พ ออสเตรเลี ย ให้ ค วามส� า คั ญ ในการศึกษาวัฒนธรรม แนวคิด ขนบธรรมเนียม ประเพณีทางทหารของชาติตา่ ง ๆ ในระหว่างสงคราม เป็นอย่างมาก เพราะสิง่ เหล่านีล้ ว้ นเป็นพืน้ ฐานแนวคิด ในการวางแผน และปฏิบตั กิ ารในสงครามของชาตินนั้ ๆ ตัวอย่างทีด่ ใี นเรือ่ งวัฒนธรรมทางทหารทีส่ ง่ ผลกระทบ อย่ า งใหญ่ ห ลวงในการปฏิ บั ติ ก ารในสงคราม คื อ การโจมตีแบบพลีชีพ (Kamikaze) ของเหล่านักบิน ของญีป่ นุ่ ในช่วงปี ค.ศ.๑๙๔๗ ส่งผลกระทบอันใหญ่หลวง ต่อกองก�าลังทางอากาศของญี่ปุ่นอย่างมาก กล่าวคือ ไม่สามารถฝึกนักบินใหม่ขึ้นมาทดแทนนักบินมาก ประสบการณ์ ที่ เ สี ย ชี วิ ต ลงไปพร้ อ มกั บ เครื่ อ งบิ น สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของกองทัพญีป่ นุ่ ถูกถ่ายทอด สูก่ ารวางแผน และการปฏิบตั ใิ นการท�าสงครามจนเกิด ผลกระทบที่ เ ป็ น ลู ก โซ่ จ ากการปฏิ บั ติ นั้ น จนเป็ น เหตุผลหนึ่งที่ท�าให้กองก�าลังทางอากาศของญี่ปุ่น อ่อนแอลงอย่างมาก กองทัพออสเตรเลียจึงเห็นความส�าคัญ ของวัฒนธรรมองค์กรเป็นอย่างมาก จึงเพียรพยายาม จะศึ ก ษาน� า วั ฒ นธรรมที่ ดี ม าปลู ก ฝั ง ให้ ก ลายเป็ น

พื้นฐานในการวางแผนการปฏิบัติต่าง ๆ วัฒนธรรม หนึ่ ง ที่ สั ง เกตเห็ น และคิ ด ว่ า กองทั พ ออสเตรเลี ย ประสบความส�าเร็จในการถ่ายทอดวัฒนธรรมนี้จาก รุ่นสู่รุ่น จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของก�าลังพลในการคิด ปฏิบตั งิ านต่าง ๆ นัน่ คือ วัฒนธรรมการให้ความส�าคัญ กับการศึกษา วิจัย พัฒนาเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ แล้วน�ามา ปรับใช้กับองค์กรของตนเองอย่างสม�่าเสมอ ๆ Learning and Adaptation จากทีก่ ล่าวมาแล้วกองทัพออสเตรเลียให้ความส�าคัญ กับระบบการศึกษาเล่าเรียน เพื่อให้บุคลากรที่ผ่าน ขั้นตอนกระบวนการศึกษาเหล่านี้สามารถน�าความรู้ ที่ ไ ด้ ม าปรั บ ประยุ ก ต์ ใช้ และพั ฒ นากองทั พ ต่ อ ไป ACSC พยายามจะให้ผู้เข้ารับการศึกษาเรียนรู้และ เข้าใจว่าขบวนการเรียนรูแ้ ละปรับตัวนัน้ มีอยูต่ ลอดเวลา ตั้งแต่สงครามในยุคก่อน ๆ จนมาถึงปัจจุบัน เพื่อให้ ผูเ้ ข้ารับการศึกษาเห็นความเป็นไปของการเปลีย่ นแปลง ต่าง ๆ ในสงครามจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งลักษณะ ของการท�าสงคราม (Character of War) ล้วนมีพนื้ ฐาน มาจากขบวนการ การเรียนรูส้ งิ่ ใหม่ ๆ ทีเ่ ข้ามาซึง่ ก่อเกิด เป็นเทคโนโลยี ยุทธวิธี หรือสิ่งอื่น ๆ ที่ช่วยให้การรบ เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น เช่น ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ สมรภูมิที่ประเทศพม่า (The Burma Campaign) กองทัพแห่งสหราชอาณาจักรที่ ๑๔ (The British XIVth Army) เรียนรู้ที่จะใช้ก�าลังทางอากาศส่งเสบียง และสิ่งสนับสนุนการรบให้กับกองก�าลังของตนเอง ที่แนวหลังข้าศึกหรืออยู่ในวงล้อมของข้าศึก ในพื้นที่ ป่าทึบและเขาสูงชัน เป็นผลให้สามารถสู้รบในระยะ เวลาที่นานกว่าทหารญี่ปุ่น ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในการ ประยุ ก ต์ ใช้ ศั ก ยภาพของก� า ลั ง ทางอากาศในการ สนับสนุนการรบของฝ่ายภาคพืน้ ซึง่ ยุทธวิธกี ารส่งก�าลัง บ�ารุงทางอากาศในครัง้ นีเ้ ป็นผลพวงมาจากการเรียนรู้ ในศั ก ยภาพของก� า ลั ง ทางอากาศแล้ ว น� า มาปรั บ ประยุกต์ใช้กบั พืน้ ทีก่ ารรบทีเ่ ป็นป่าเขา ยากต่อการเข้าถึง โดยกองก�าลังภาคพื้น ACSC ต้องการให้ผู้เข้ารับ การศึกษาเล็งเห็นถึงความส�าคัญในการเรียนรู้สิ่งใหม่


ข่าวทหารอากาศ

อยู่เสมอแล้วน�ามาปรับประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสภาวะ แวดล้อมในปัจจุบัน จนได้ออกมาเป็นแนวคิด ยุทธวิธี แบบใหม่ หรือที่เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) เพือ่ ทีใ่ ช้ในสภาวะแวดล้อมทีเ่ ป็นปัจจุบนั ทัง้ ยังไม่ยดึ ติด กับแนวคิดการท�าสงครามเดิม ๆ กองทัพออสเตรเลีย มีความเชื่อว่า กระบวนการเรียนรู้และการปรับตัว จะต้องเกิดขึ้นเสมอ ๆ เพื่อการคงความสามารถของ กองทัพในการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ จึงเน้นย�้าผู้เข้ารับ การศึกษา ว่าจงอย่าปฏิเสธการเปลีย่ นแปลงใด ๆ ทีเ่ กิดขึน้ กั บ องค์ ก ร ถ้ า การเปลี่ ย นแปลงนั้ น ท� า ให้ อ งค์ ก ร มีความเข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น Resourcing and Sustaining War กองทัพต้องเดินด้วยท้อง (An army marches on its stomach) เป็นค�าที่ทหารทุกชนชาติเข้าใจ เป็นอย่างดี ถ้าปราศจากอาหาร ทหารไม่สามารถ จะรบต่อเนือ่ งได้เลย แต่ในบริบทนักการทหารสมัยใหม่ หมายรวมถึงการส่งก�าลังบ�ารุงทั้งระบบ (Logistics) เช่น อาวุธยุทโธปกรณ์ เครือ่ งกระสุน และสิง่ อืน่ ๆ ทีช่ ว่ ย สนับสนุนในการรบ ซึง่ ถ้ากองทัพใดขาดระบบส่งก�าลัง บ�ารุงทีด่ ี ย่อมหมายถึงไม่สามารถจะรบต่อเนือ่ งได้เลย ACSC เน้นย�้าให้บุคลากรที่เข้ารับการศึกษาเข้าใจ ในการวางแผนการรบมิใช่จะค�านึงถึงด้านยุทธการ เพียงด้านเดียว แต่ตอ้ งค�านึงถึงด้านการสนับสนุนการรบ ในด้านต่าง ๆ ให้เพียงพอ เพราะจากประวัติศาสตร์ การรบเต็มรูปแบบขนาดใหญ่ในอดีตทีผ่ า่ นมาใช้ระยะ เวลาหลายปีกว่าจะตัดสินผลแพ้ ชนะ ตัวอย่างที่เห็น ได้ชดั คือ นายพลเรือ อิโซโรกุ ยามาโมโตะ (Yamamoto Isoroku) ได้กล่าวไว้ตงั้ แต่กอ่ นเริม่ สงครามโลกครัง้ ที่ ๒ ว่า “ถ้าญี่ปุนต้องการชัยชนะในสงครามครั้งนี้ ต้องชนะ สัมพันธมิตรให้ได้ภายใน ๖-๑๒ เดือน หลังจากนั้น เขาไม่ ส ามารถคาดเดาผลของสงครามครั้ ง นี้ ไ ด้ ” เป็ น ความสามารถของนายพลเรื อ ยามาโมโตะ ที่ ส ามารถคาดการณ์ ถึ ง ทรั พ ยากรต่ า ง ๆ ในการ สนับสนุนการรบของประเทศญี่ปุ่นได้อย่างแม่นย�า ว่ามีศักยภาพในการรบได้ไม่เกิน ๑๒ เดือน ซึ่งผลที่

37

ออกมาก็เป็นไปตามทีน่ ายพลเรือ ยามาโมโตะ คาดการณ์ไว้ ญี่ปุ่นไม่มีขีดความสามารถในการสนับสนุนทรัพยากร ต่าง ๆ ในการรบได้เมือ่ การรบเกิดยืดเยือ้ เกิน ๑๒ เดือน หลั ง จากโจมตี เ พิ ร ์ ล ฮาร์ เ บอร์ เมื่ อ สหรั ฐ อเมริ ก า สามารถตั้งตัวได้ และสามารถสร้างยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ขึน้ มาทดแทนได้อย่างรวดเร็วจากอุตสาหกรรมภายใน ประเทศที่มีความแข็งแกร่งอย่างมาก จึงเริ่มตีโต้กลับ จนกองก�าลังญี่ปุ่นเริ่มถอยร่น ญี่ปุ่นไม่มีศักยภาพ ในการผลิตอาวุธ ยุทโธปกรณ์ รวมทั้งส่วนสนับสนุน การรบอื่น ๆ ได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากญี่ปุ่น สภาพ ภูมศิ าสตร์เป็นเกาะไม่มวี ตั ถุดบิ แร่ธาตุตา่ ง ๆ ทีเ่ พียงพอ ต้องพึง่ พาสารตัง้ ต้นในการผลิตยุทโธปกรณ์ตา่ ง ๆ จากจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงท�าให้ไม่สามารถผลิต อาวุธ ยุทโธปกรณ์ขึ้นมาได้ทันกับการที่ต้องสูญเสียไป จนน�าไปสู่การขาดแคลนอาวุธ ยุทโธปกรณ์ จนท�าให้ ไม่สามารถคงความสามารถของการรบไว้ได้ น�าสู่การ ถอยร่นของกองก�าลังทางบกและทางเรือในทีส่ ดุ ACSC เน้นย�้าอย่างมากในประเด็นนี้เพราะเล็งเห็นถึงความ ส�าคัญในการสนับสนุนการรบด้วยการส่งก�าลังบ�ารุงใน ทุก ๆ ด้านเพราะออสเตรเลียวิเคราะห์แล้วว่าการรบ ในอนาคตไม่สามารถตัดสินผลแพ้ ชนะในระยะเวลา อันสั้น ใครอึดกว่า ใครสามารถยืนระยะได้นานกว่า ย่อมมีความได้เปรียบในการรบ จึงเน้นให้ผู้เข้ารับ การศึกษาเข้าใจและตระหนักถึงความส�าคัญของส่วน สนับสนุนการรบต่าง ๆ ทีส่ ง่ ผลต่อการคงความสามารถ ในการรบเมื่อระยะการรบถูกยืดออกไป และปัจจัย เหล่านี้ต้องถูกน�ามาคิด วางแผนในการปฏิบัติภารกิจ ทางทหารด้วยทุกครั้ง Geography and Operational Environment ACSC ให้ผู้เข้าศึกษา ศึกษาจากประวัติศาสตร์ สงครามในแต่ ล ะยุ ค แต่ ล ะพื้ น ที่ ซึ่ ง จะมี ลั ก ษณะ ทีแ่ ตกต่างกัน รวมถึงสภาพแวดล้อม ลักษณะของพืน้ ที่ การรบที่แตกต่างกัน ซึ่งท�าให้การรบในแต่ล่ะพื้นที่มี เอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน ACSC พยายามให้ผู้เข้ารับ การศึกษา เรียนรูแ้ ละวิเคราะห์วา่ ลักษณะภูมปิ ระเทศ


38

และสภาพแวดล้ อ มในแบบต่ า ง ๆ ส่ ง ผลกระทบ อย่างไรบ้างในการวางแผน และการท�าสงคราม เช่น สงครามโลก ครั้งที่ ๒ แนวรบในพื้นที่แปซิฟิก พื้นที่ การรบเป็นทะเลและเกาะในการวางแผนการรบของ ฝ่ายสัมพันธมิตร จ�าเป็นต้องค�านึงถึงการสนับสนุน อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งการส่งกลับหรือรักษา ทหารบาดเจ็บจากการสู้รบ สหรัฐอเมริกาจ�าเป็นต้อง จัดท�าเรือให้เป็นโรงพยาบาลเคลื่อนที่ รวมทั้งมีระบบ การส่งก�าลังบ�ารุงที่ยอดเยี่ยม ที่สามารถสนับสนุน การรบจากทะเล สู่เกาะต่าง ๆ จนสามารถรุกคืบ ยึ ด เกาะในแปซิ ฟ ิ ก จนไปถึ ง หมู ่ เ กาะ Okinawa หรือที่รู้จักในชื่อ “ยุทธการกบกระโดดไปทีละเกาะ (The Island Hopping Campaign)” เพื่อรุกคืบ ให้ใกล้แผ่นดินแม่ของญี่ปุ่นมากที่สุด จนสามารถ ที่ จ ะวางแผนที่ จ ะยกพลขึ้ น บกทางตอนใต้ ข อง

เกาะญี่ปุ่น การที่จะสามารถปฏิบัติภารกิจนี้ได้ส�าเร็จ จ�าเป็นต้องมีความเข้าใจใน สภาพทางภูมิศาสตร์ ในพืน้ ทีก่ ารรบ รวมถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของพืน้ ที่ การรบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในขั้นตอนการวางแผน

จบหลักสูตรการเตรียมทักษะภาษาอังกฤษส�าหรับ การเรียนใน รร.เสนาธิการร่วมออสเตรเลีย

(อ่านต่อฉบับหน้า) อ้างอิง - Allison, G.T. Destined for War: Can America and China Escape Thucydide's Trap? : Scribe Publications, 2017. - Bergerud, Eric M. Fire in the sky: The air war in the South Paciic. Westview Press, 2000. - Borton, NRM. 'The 14th Army in Burma: a case study in delivering ighting power.' Defence Studies 2, no. 3 (2002): 27-52. - Clark, C. Kaiser Wilhelm II. Taylor & Francis, 2013. - Editors, C.R.C.R. Island Hopping Across the Paciic Theater in World War II: The History of America's Victorious Leapfrogging Strategy Against Imperial Japan. CreateSpace Independent Publishing Platform, 2017. - Eric M Bergerud, Fire in the sky: The air war in the South Paciic (Westview Press, 2000). - Global Operations. Department of Defence. Archived from the original on 5 July 2011. สืบค้นเมื่อ 24 July 2018. "Human development indices" (PDF). Human Development Reports. 18 December 2008. Archived from the original (PDF) on 19 December 2008. สืบค้นเมื่อ 26 February 2019. - New York Times, THE SATURDAY PROFILE; Shadow Shogun Steps Into Light, to Change Japan. Published: 11 February 2006. Retrieved 15 February 2007 - Nicholas Murray, The Rocky Road to the Great War: The Evolution of Trench Warfare to 1914 (2013) - Osgood, Robert Endicott. "Limited War: The Challenge To American Security." University of Chicago Press, 1957. pp. 1-2. Print. - School, United States Army Infantry, United States Army Infantry School. Editorial, Pictorial Ofice, United States Army Infantry School. Book Department, and Infantry School. Infantry Magazine. 1985. - Spector, R.H. Eagle Against the Sun: The American War with Japan. Free Press, 2012.


ข่าวทหารอากาศ

39

ASAEN ASAEN ASAEN Multi-Role Multi-Role Multi-Role Fighter Fighter น.อ.พลวัตร อินทรวิเศษ

ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนมีนโยบาย ในการจัดหาเครือ่ งบินขับไล่อเนกประสงค์เข้าประจ�าการ ส�าหรับค่ายของเครื่องบินที่สมาชิกประชาคมอาเซียน ได้ พิ จ ารณาจั ด ซื้ อ ขึ้ น อยู ่ กั บ ภู มิ ห ลั ง ของความเป็ น พันธมิตรของแต่ละประเทศ แต่ก็มีบางประเทศที่จะ เปลี่ ย นแปลงเพื่ อ ให้ ส ามารถเชื่ อ มโยงกั บ ประเทศ เพื่ อนบ้ า นในอาเซี ย นจากความท้ า ทายภั ย คุ ก คาม ของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ทัง้ จากภัยคุกคาม ภายในประเทศและนอกประเทศ แม้กระทัง่ ภัยคุกคาม นอกภูมภิ าค ท�าให้มเี ครือ่ งบินรบทีม่ คี วามหลากหลาย ถ้าเป็นไปได้ในอนาคตประชาคมอาเซียนมีเครื่องบิน ทีส่ ามารถเชือ่ มโยงข้อมูลกันได้ซงึ่ จะสร้างความเข้มแข็ง ให้กับอาเซียนเป็นอย่างมากทั้งในด้านก�าลังอ�านาจ ทางอากาศและด้านการส่งก�าลังบ�ารุง

เครื่องบิน KF-X/IF-X

มาดูกันว่าประเทศไหนจัดหาเครื่องบินรบอะไร เข้าประจ�าการกันบ้างโดยเริ่มจาก กองทัพอากาศอินโดนีเซีย ได้สงั่ ซือ้ เครือ่ งบินขับ ไล่สกัดกัน้ Su-27SK ตัง้ แต่ปี ค.ศ.๒๐๐๓ จ�านวน ๕ เครือ่ ง และเครื่องบินรบอเนกประสงค์ Su-30MK2 ๒ ที่นั่ง จ�านวน ๑๑ เครือ่ ง ส่งมอบเครือ่ งสุดท้าย ปี ค.ศ.๒๐๑๓ และปี ค.ศ.๒๐๑๔ ได้เปิดเจรจาในการจัดซือ้ เครือ่ งบิน รบทีท่ นั สมัย Su-35S และวางแผนจัดหาเครื่องบินยุค ที่ ๕ จากเกาหลีใต้อินโดนีเซียเป็นผู้สั่งซื้อเครื่องมือ ทางการทหารจากเกาหลีใต้นับว่าเป็นตลาดส่งออก รายใหญ่ของเกาหลีใต้และความร่วมมือได้มีความ ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันเริ่มเข้าไปถึงเรือด�าน�้า หนึ่งสายการผลิตที่ส�าคัญที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพระหว่ า ง ๒ ประเทศ ด้วยการพัฒนาเครือ่ งบินรบยุคที่ ๕ KF-X/IF-X

Su 27SK


40

กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้ลงนามสัญญากับ รั ส เซี ย ในการจั ด ซื้ อ เครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ อ เนกประสงค์ Sukhoi Su-35 “Flanker-E” ลงนามสัญญาเมือ่ เดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ.๒๐๑๔ จ�านวน ๑๑ เครือ่ ง รัสเซียคาดว่า จะส่งมอบชุดแรก ๒ เครือ่ ง ในเดือนตุลาคมเพือ่ เข้าร่วม การสวนสนามทางทหารประจ�าปี ค.ศ.๒๐๑๘ เป็นการ ทดแทนเครือ่ งบินขับไล่ F-5E Tiger II ซึง่ เข้าประจ�าการ ตัง้ แต่ปี ค.ศ. ๑๙๘๐ ซึง่ จะปลดประจ�าการในอนาคตอันใกล้ เนือ่ งจากการสมดุลทางทหารของกองทัพอากาศ อินโดนีเซียปี ค.ศ.๒๐๑๗ วิเคราะห์โดย The London based International Institute for Strategic Studies (IISS) กองทัพอากาศอินโดนีเซียประจ�าการเครื่องบิน ขับไล่ F-5E Tiger II จ�านวน ๘ เครื่อง F-5F Tiger II จ�านวน ๔ เครื่อง เครื่องบินขับไล่ F-16A จ�านวน ๗ เครื่อง เครื่องบินขับไล่ F-16B จ�านวน ๓ เครื่อง, เครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ F-16C จ� า นวน ๙ เครื่ อ ง เครื่องบินขับไล่ F-16D จ�านวน ๔ เครื่อง Su-27SK Flanker จ�านวน ๒ เครื่อง Su-27SKM Flanker จ�านวน ๓ เครือ่ ง, Su-30MK Flanker จ�านวน ๒ เครือ่ ง และเครือ่ งบินขับไล่อเนกประสงค์ Su-30MK2 จ�านวน ๙ เครื่อง พบได้ว่ามีเครื่องบินจากค่ายรัสเซียจ�านวน ร้ อ ยละ ๓๑ หลั ง จากที่ ไ ด้ รั บ เครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ อเนกประสงค์ SU-35s เสร็จสมบูรณ์และการปลด ประจ�าการเครื่องบินขับไล่ F-5E/F จะท�าให้อัตรา เครื่องบินขับไล่จากรัสเซียจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๕๒ กองทัพอากาศเวียดนาม รัสเซียส่งมอบ Su-30 สองล�าสุดท้ายให้กบั กองทัพอากาศเวียดนามรวมครบ ๓๖ เครื่อง ๓ ฝูงบินตามแผนส�านักข่าวในรัสเซีย รายงานว่า Su-30 สองล�าสุดท้าย ในล็อตสุดท้ายทีส่ งั่ ซือ้ จ�านวน ๑๒ ล�า ส่งถึงเวียดนามตัง้ แต่วนั ที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙ ท�าให้กองทัพเวียดนามมีเครือ่ งบินรบทันสมัย รุน่ นีค้ รบ ๓ ฝูงบิน รวม ๓๖ ล�า ตามแผนจัดหาทีใ่ ช้เวลา ๑๒ ปี โดยเริ่มทยอยส่งมอบตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๗ ซึ่งมี มูลค่าราว ๆ ๖๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เวียดนามสนใจ ที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์จากรัสเซีย แบบ Sukhoi Su-35S จ�านวน ๑๒ เครื่อง

ส�าหรับโครงการจัดหามีมูลค่าราว ๆ ๑ พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ จะเป็นเครื่องบินรบในยุค ๔ จ�านวน ๑๒ เครื่อง กองทัพเวียดนามได้ทยอยปลดประจ�าการ MiG-21 ที่มีจ�านวนมากกว่า ๑๐๐ เครื่อง

Su-35s

ปัจจุบนั กองทัพอากาศเวียดนามมีเครือ่ งบินขับไล่ อเนกประสงค์ Su-30MK2 จ�านวน ๓๖ เครือ่ ง ส�าหรับ เครื่ อ งบิ น รบ Su-30 MK2 เป็ น เครื่ อ งบิ น รบ ทุกกาลอากาศ เครื่องบินโจมตีระยะไกล มีเทคโนโลยี ทีจ่ ะปฏิบตั กิ ารร่วมกับ Su-35s และมีขดี ความสามารถ ในการโจมตีทางทะเล สามารถเปรียบเทียบได้กับ เครื่องบิน F-15E Strike Eagle ก�าลังทางอากาศของรัสเซียโดยเฉพาะ Su-35s ยังคงเป็นทีน่ ยิ มในเอเชีย โดยเมือ่ พฤศจิกายน ค.ศ.๒๐๑๕ จีนได้เซ็นสัญญากับรัสเซียจ�านวน ๒ พันล้านเหรียญ สหรัฐฯ ในการซือ้ Su-35s จ�านวน ๒๔ เครือ่ งอินโดนีเซีย เป็นอีกประเทศทีก่ า� ลังจัดหาเครือ่ งบิน Su-35s จ�านวน ๑๐ เครื่อง เครื่องบิน Su-35s มีที่นั่งเดียว ๒ เครื่องยนต์ เป็นการปรับปรุงเครื่องบินรบยุคที่ ๔ ด้วยการเป็น เครื่องบินที่มีความคล่องตัวสูงมาก (Super-Maneuverable) ด้วยเครือ่ งยนต์ AL-117S turbofan จ�านวน ๒ เครื่องยนต์ ซึ่งมีเทคโนโลยีเครื่องบินรบยุคที่ ๕ ตามรายละเอียดจากเว็บไซต์ของบริษัทซุคคอย เครื่องบิน Su-35s สามารถติดตั้งอาวุธจรวดน�าวิถี


ข่าวทหารอากาศ

อากาศสูอ่ ากาศ และอากาศสูพ่ นื้ ได้หลากหลาย รวมถึง จรวดน�าวิถีระยะไกล และสามารถบรรทุกอาวุธได้ถึง ๘,๐๐๐ กก.หรือ ๑๗,๖๓๖ ปอนด์ นอกจากนัน้ เครือ่ งบิน Su-35s ยังติดตัง้ อุปกรณ์ อ�านวยความสะดวกในห้องนักบินที่เป็นระบบบริหาร จัดการข้อมูลในระบบดิจิทัล มีเรดาร์ชั้นแนวหน้า (Cutting Edge) ตรวจจับอากาศยานได้ในระยะไกล และเพิ่มการติดตามและการ Lock on เป้าหมาย ได้จา� นวนมากในเวลาเดียวกัน และเครือ่ งยนต์สามารถ ปรั บ ท่ อ ท้ า ยช่ ว ยในการควบคุ ม เครื่ อ งบิ น ในขณะ ความเร็วต�่าให้มีความคล่องตัวสูง เป็ น ที่ น ่ า สนใจกองทั พ อากาศเวี ย ดนาม ยังพิจารณาในการจัดหาเครื่องบินจากค่ายตะวันตก ซึง่ รวมถึง เครือ่ งบิน F-16 เครือ่ งบิน Gripen เครือ่ งบิน Rafale และเครือ่ งบิน Euroighter Typhoon ซึง่ อาจ จะลดการพึ่งพาจากค่ายรัสเซีย กองทัพอากาศลาว จีนเสนอเครือ่ งบินขับไล่ J-10 ให้ กั บ ลาว และบั ง คลาเทศ เช่ น เดี ย วกั บ รั ส เซี ย ที่ ไ ด้ ส ่ ง มอบเครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ ข นาดเบาและส� า หรั บ ฝึก Yak-130 หลังจากลาวได้ซื้อเครื่องขับไล่ขนาดเบา Yak-130 ซึ่งเชื่อว่าจะมีการจัดหาเครื่องบินขับไล่หลัก

Yak-130

ประจ�าการในกองทัพอากาศลาว ซึง่ อาจจะเป็นเครือ่ ง บิ น ขั บ ไล่ J-10C จากจี น ลาวมี พ รมแดนติ ด กั บ เวียดนามที่มีเครื่องบินขับไล่ Su-27 และ Su-30 จาก รัสเซีย และก�าลังที่จะจัดหา Su-57 เข้าประจ�าการ กองทัพอากาศลาวมีเครื่องบินขับไล่ MiG-21 เป็น เครื่องบินรบหลัก ส�าหรับเครื่องบิน J-10C เครื่องบิน ขับไล่ยุคที่ ๔

41

ถ้าลาวกับบังคลาเทศได้ลงนามสัญญาซื้อขาย เครื่องบินขับไล่ J-10C กับจีนคาดว่าจะมีเครื่องบิน เข้าประจ�าการ ๑-๒ ฝูงบิน ราว ๆ ๑๒-๒๔ เครื่อง เครื่องบินขับไล่ J-10C มีข้อได้เปรียบเมื่อเทียบ กับเครือ่ งบินในตลาดการค้านานาชาติ เครือ่ งบินขับไล่ Euroighter Typhoon และเครื่องบินขับไล่ Rafale จะมีราคาแพงและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบ�ารุงที่แพง ราคาต่ อ เครื่ อ งราว ๆ ๑๐๐ ล้ า นเหรี ย ญสหรั ฐ ฯ เครื่องบินขับไล่จากรัสเซียสมรรถนะอาจจะล้าหลัง และเครือ่ งบินขับไล่จากสหรัฐฯ จะเผชิญกับการกีดกัน การซือ้ ขายอาวุธ เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ J-10 ขนาดเบา ทีม่ ขี ดี ความสามารถปฏิบตั กิ ารทุกกาลอากาศผลิตโดย

J-10 Fighter

บริษัท Chengdu Aircraft Corporation (CAC) ส�าหรับรุ่นล่าสุด J-10B ติดตั้งเรดาร์ควบคุมการยิง Active Electronically Scanned Array (AESA) และ จรวดน�าวิถีตามความร้อน PL-10 และจรวดน�าวิถี อากาศสู่อากาศระยะไกลชนิดใหม่ PL-15 (AAM) เครือ่ งบินขับไล่ J-10B ยังติดตัง้ เครือ่ งยนต์ทปี่ รับท่อท้าย ของเครือ่ งยนต์ทเี่ รียกว่า Thrust-Vectoring ซึง่ จะเพิม่ ขี ด ความสามารถความคล่ อ งตั ว สู ง ในความเร็ ว ต�่ า ซึ่งได้ท�าการบินแสดงสมรรถนะที่ The Air Show China in November 2018 กองทัพอากาศเมียนมา รัฐบาลเมียนมาได้ยนื ยัน การสั่งซื้อเครื่องบินรบ Sukhoi Su30s จากรัสเซีย จ�านวน ๖ เครื่อง ราคาต่อเครื่อง ๓๐-๔๐ ล้านเหรียญ สหรัฐฯ เครื่องบินรบ Su-30s มี ๒ เครื่องยนต์ ๒ ที่นั่ง เป็นเครือ่ งบินรบอเนกประสงค์ทางยุทธวิธขี นั้ สูงจากรัสเซีย


42

Su-30s

JF17-Thunder

เป็นเครือ่ งบินรบทีบ่ นิ ระยะสูงต�า่ ในการหลบการตรวจ จับของเรดาร์ได้ดีมาก จากการบินแสดงที่ Zhangjiajie Hehua International Airport ประเทศจีน ท�าการบิน ผ่านบนทางวิ่งด้วยความสูง ๑ เมตร และสามารถบิน ได้ความเร็วสูงสุด ๒,๕๐๐ กม./ชม.ประเทศทีใ่ ช้เครือ่ ง บินรบ Su-30s แบบเดียวกับเมียนมา ได้แก่ จีน มาเลเซีย เวียดนาม ไนจีเรีย และเบลารุส จากการเปิดเผยของรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย ในการเยือนเมียนมาในการสั่งซื้อ Su-30s จ�านวน ๖ เครือ่ ง ซึง่ จะเป็นเครือ่ งบินรบหลักของกองทัพอากาศ เมียนมาในการป้องกันประเทศและการขับไล่ภยั คุกคาม และจัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่แบบ Yak-130 ส�าหรับค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการบิน Mig-29 มีค่าใช้จ่ายในการบิน ๒๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐฯ ต่อ ชัว่ โมงบิน และ Su-30 จ�านวน ๓๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐฯ ต่อชั่วโมง หลังจากทีร่ ฐั บาลเมียนมาได้ตดั สินใจซือ้ เครือ่ งบิน ขั บ ไล่ อ เนกประสงค์ JF-17 Thunder ในเดื อ น กรกฎาคม ค.ศ.๒๐๑๕ จ�านวน ๑๖ เครือ่ ง มูลค่า ๑๖ ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ต่อเครือ่ ง ได้เจรจากับปากีสถานในการ ได้ใ บอนุ ญ าตในการสร้ า งเครื่ อ งบิ น รบยุ ก ต์ ที่ ๓ ในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในย่างกุ้งและพื้นที่ ใกล้กองทัพอากาศเมียนมา ถ้าการเจรจานี้ส�าเร็จเมียนมาจะมีโรงงานผลิต เครือ่ งบินรบ ๑ เครือ่ งยนต์ ซึง่ พัฒนาร่วมกับปากีสถาน Pakistan Aeronautical Complex (PAC) และ China's Chengdu Aerospace Corporation (CAC)

จะเป็นก้าวส�าคัญของประเทศในการขยายอุตสหกรรม ป้องกันประเทศในท้องถิ่น กองทัพอากาศเมียนมาได้รับเครื่องบินขับไล่ อเนกประสงค์ JF-17 Thunder จ�านวน ๑๐ เครื่อง เข้าประจ�าการเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ค.ศ.๒๐๑๗ ภายหลังจากได้ปลดประจ�าการเครื่องบินรบ F-7M Airguard และ A-5C Fantan ได้ท�าการจัดซื้อจากจีน ตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๙๐ JF-17 Thunder มีขีดความสามารถในการ เติมน�า้ มันเชือ้ เพลิงในอากาศ มีระบบเครือ่ งช่วยการบิน และระบบอิเล็กทรอนิกส์ทที่ นั สมัยสมรรถนะเป็นเครือ่ งบิน ทีม่ เี ครือ่ งยนต์เดียว RD-93 turbofan ผลิตจากรัสเซีย สามารถติดตั้งอาวุธได้ ๓,๖๐๐ กก. ๗ ต�าแหน่ง ติดตั้ง เรดาร์ Active Scanned Electronic Array ติดตั้ง Helmet Mounted Display and Sight (HMDS) และ ระบบอุปกรณ์ค้นหาและติดตามความร้อน (IRST) กองทัพอากาศสิงคโปร์ สิงคโปร์ได้พิจารณา เครื่องบินรบที่มีความเหมาะสมที่จะทดแทนฝูงบิน F-16C/D ซึ่งจะซื้อในช่วงแรกจ�านวน ๒-๓ เครื่อง เพื่อประเมินขีดความสามารถก่อนที่จะจัดหาเพิ่มเติม สิ ง คโปร์ มี ง บประมาณด้ า นการป้ อ งกั น ประเทศ มากทีส่ ดุ ในภูมภิ าค ดังนัน้ บริษทั ค้าอาวุธต้องการทีจ่ ะ ลงทุ น ในเทคโนโลยี ใ หม่ แ ละการปรั บ ปรุ ง พั ฒ นา อุปกรณ์ทางทหาร สิงคโปร์มเี ครือ่ งบิน F-16s ราว ๖๐ เครือ่ ง เริม่ เข้า ประจ�าการในปี ค.ศ.๑๙๙๘ และจะปลดประจ�าการ ในปี ค.ศ.๒๐๓๐ อีก ๑๑ ปีข้างหน้า รมว.กห.สิงคโปร์


ข่าวทหารอากาศ

43

ได้เปิดเผยว่าเครือ่ งบิน F-35 มีความเหมาะมากในการ ทดแทนเครื่องบินรบที่จะปลดประจ�าการวางแผน ในการจัดหาในช่วงแรก ๒-๓ เครื่อง เพื่อทดสอบ สมรรถนะ และหลังจากนัน้ จะตัดสินใจจัดให้ครบฝูงบิน สิงคโปร์จะเป็นประเทศที่ ๓ ในประเทศเอเชีย ต่อจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่สั่งซื้อเครื่องบิน F-35 ซึง่ ในเดือนธันวาคม ค.ศ.๒๐๑๘ รัฐบาลญีป่ นุ่ ได้ประกาศ วางแผนที่จะซื้อเครื่องบิน F-35s จากสหรัฐฯ จ�านวน ๑๔๗ เครื่อง ซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุดในโลกในการ จัดซือ้ เครือ่ งบินขับไล่แบบล่องหน (Stealth ighter jets) ซึ่งแต่ละเครื่องมีมูลค่า ๑๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมี มูลค่าการซื้อขายทั้งสิ้น ๑๐ พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ใช้เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์มาเป็นเรือบรรทุกเครือ่ งบิน F-35 แทน เป็นการพัฒนาก�าลังทางอากาศและก�าลัง ทางเรือในการเผชิญกับจีนในภาคพื้นแปซิฟิก ในขณะเดียวกัน เกาหลีใต้ได้รับเครื่องบิน F-35 ในเดือนเมษายน หรือพฤษภาคม ค.ศ.๒๐๑๙ แล้ว จ�านวน ๒ เครือ่ งแรก และอีก ๘ เครือ่ ง จะส่งมอบก่อน สิ้นปี ค.ศ.๒๐๑๙ เครื่องบินรบ F-35s ติดตั้งอาวุธปนใหญ่อากาศ กระเปราะปน (Gun Pod) และมีห้องในล�าตัวในการ ติดตัง้ ระเบิดและจรวดน�าวิถอี ากาศสูอ่ ากาศ ในภารกิจ การโจมตีภาคพื้นและการรบในอากาศ ส�าหรับกองทุนสนับสนุนการเงินโครงการ F-35 ของสหรัฐฯ ร่วมกับประเทศสมาชิก NATO และพันธมิตร สหรัฐฯ ประกอบด้วยอังกฤษ อิตาลี ออสเตรเลีย แคนาดา นอรเวย์ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และตุรกี

ประเทศในเอเชีย ประกอบด้วย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ได้ประกาศในการจัดหาภายหลังจากจีน ได้ผลิตเครือ่ งบินรบ J-31 Stealth Fighter ซึง่ มีลกั ษณะ เช่นเดียวกับ F-35 ซึง่ จะเข้าประจ�าการในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.๒๐๑๘ ราคาเครือ่ งบิน F-35A ราว ๙๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อเครือ่ งเมือ่ ปีทผี่ า่ นมา เครือ่ งบิน F-35 ทัง้ ของสหรัฐ ฯ และของกองทั พ ต่ า งประเทศได้ ห ยุ ด บิ น เนื่ อ งจาก เครือ่ งบิน F-35B ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ตก เนือ่ งจาก ปัญหาจากเครื่องยนต์ขัดข้องใกล้ South Carolina เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ค.ศ.๒๐๑๘ กองทัพอากาศฟิลปิ ปินส์ โครงการจัดหาเครือ่ งบิน ขั บ ไล่ อ เนกประสงค์ ข องกองทั พ อากาศฟิ ลิ ป ปิ น ส์ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนากองทัพฟิลปิ ปินส์ให้ทนั สมัย ในเฟส ๒ (Horizon 2) ซึ่งเป็นโครงการจัดหาเพื่อเพิ่ม ศักยภาพก�าลังทางอากาศของฟิลปิ ปินส์ในการปกป้อง น่ า นฟ้ า ของฟิ ลิ ป ปิ น ส์ เพื่ อ เป็ น การป้ อ งปราม ต่ อ ภั ย คุ ก คามภายในประเทศและนอกประเทศ ตลอดหลายปีที่ผ่านมากองทัพอากาศฟิลิปปินส์ มีความต้องการที่จะมีเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ กว่า ๒ ทศวรรษที่ผ่านมา กองทั พ อากาศฟิ ลิ ป ปิ น ส์ ไ ด้ รั บ การจั ด สรร งบประมาณในการจัดซือ้ เครือ่ งบินขับไล่อเนกประสงค์ จ�านวน ๑๒ เครื่อง หรือจ�านวนขึ้นอยู่กับการจัดตั้ง ๑ ฝูงบิน และในเฟส ๓ (Horizon 3) อีกจ�านวน ๑๒ เครือ่ ง ๑ ฝูงบิน รวม ๒๔ เครื่อง ตามที่ได้ปรากฏข่าวสาร พบว่ามี ๒ บริษัทที่อยู่ในการพิจารณาของกองทัพ

F-16s

F-35


44

อากาศฟิลิปปินส์ และกองทัพอากาศฟิลิปปินส์ได้ส่ง คณะท�างานด้านเทคนิคได้ท�าการศึกษา โดยเฉพาะ การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการ ซ่อมบ�ารุง ซึง่ ทัง้ ๒ บริษทั จะช่วยเพิม่ ขีดความสามารถ ให้กับกองทัพอากาศฟิลิปปินส์ในการป้องกันประเทศ ได้อย่างดี บริษทั Lockheed Martin ซึง่ ผลิตเครือ่ งบินขับไล่ อเนกประสงค์แบบแรกคือ F-16 Block 70/72 Viper คณะท�างานด้านเทคนิคมีความต้องการเครือ่ งบินขับไล่ อเนกประสงค์ใหม่ เครือ่ งบิน F-16 Block 70/72 เป็นรุน่ ที่ มีความซั บ ซ้ อ นและมี ค วามทั น สมั ย มากซึ่ ง ยั ง อยู ่ ในสายการผลิต เป็นอีกหนึง่ ตัวเลือกทีด่ ี มีระบบช่วยเหลือ นักบินในห้องนักบินด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ติดตั้งเรดาร์ ทีท่ นั สมัยทีส่ ดุ ในปัจจุบนั Active Electronicaly Scanned Array (AESA) และสามารถทีจ่ ะเข้ากันได้กบั เครื่องบิน FA-50 lead In Fighter Trainers (LIFT) นักบิน ที่ท�าการฝึกบินพร้อมรบกับ FA-50 สามารถที่จะ เปลีย่ นมาท�าการบินกับ F-16 ได้อย่างสะดวกเครือ่ งบิน F-16V ใช้เครือ่ งยนต์ General Electric F110 ให้ก�าลัง แรงขับมากกว่าเครื่องยนต์ F-16s รุ่นอื่น ๆ ก่อนหน้า และก็เป็นเครื่องยนต์บริษัทเดียวกันกับ FA-50 บริษทั SAAB เครือ่ งบินขับไล่อเนกประสงค์ JAS-39 Gripen Block C/D เป็นอีกคูแ่ ข่งขันเป็นหัวข้อสนทนา กันอย่างกว้างขวางส�าหรับการจัดซือ้ เครือ่ งบิน JAS-39 Gripen เป็นตัวเลือกในระดับแนวหน้าของตัวเลือก ส่วน Block E/F จะเป็นรุน่ ทีพ่ ฒ ั นาจากรุน่ Block C/D เป็นรุ่นล่าสุด ประเทศที่ได้จัดหาเข้าประจ�าการ ได้แก่ บราซิล และสวีเดนซึ่งมีราคาที่สูงมาก บริษัท SAAB มีความมุ่งมั่นมากด้วยการเปิดส�านักงานที่มะนิลา นอกจากกองทัพอากาศฟิลปิ ปินส์แล้ว ยังเสนอกองทัพเรือ ฟิลปิ ปินส์ บริษทั SAAB มีชอื่ เสียงในด้านการให้บริการ ได้มกี ารยกตัวอย่างโครงการจัดหา Gripen ของกองทัพ อากาศในโครงการจัดหาได้รวมถึงเครื่องบิน SAAB 340 (Erieye Airborne Early Warning) ระบบการฝึก และระบบการบัญชาการและควบคุมกับการเชือ่ มโยง

ข้อมูลฝูงบิน JAS-39 Gripen ซึ่งคาดว่าบริษัท SAAB จะเสนอฟิลิป ปินส์เช่นเดีย วกันหรืออาจจะรวมถึง สิง่ อืน่ ๆ เช่น True Transfer of Technology การสนับสนุน ด้านการส่งก�าลังบ�ารุงทีด่ กี ว่า และอะไหล่เมือ่ เทียบกับ ที่อื่น ๆ เครือ่ งบิน FA-50PH ของกองทัพอากาศฟิลปิ ปินส์ เป็นทัง้ เครือ่ งฝึกนักบินรบและเป็นเครือ่ งบินรบขนาดเบา ซึง่ มีขดี ความสามารถในการขัดขวางทางอากาศ แต่ยงั ไม่เหมาะทีเ่ ป็นเครือ่ งบินขับไล่อเนกประสงค์เช่น JAS-39 Gripen และ F-16s FA-50 เป็นเครื่องบินขับไล่ อเนกประสงค์ขนาดเบาสามารถใช้อาวุธจรวดน�าวิถี อากาศสู ่ อ ากาศ และการทิ้ ง ระเบิ ด จากยุ ท ธการ ปราบปรามความไม่สงบในมาราวี นอกจากนั้นยังใช้ ส�าหรับฝึกนักบินขับไล่ ส� า หรั บ เครื่ อ งบิ น FA-50s เป็ น ประโยชน์ ทั้งเครื่องบิน JAS-39 Gripen หรือ F-16s FA-50s มีความสัมพันธ์กับเครื่องบิน F-16 ของการฝึกเปลี่ยน แบบทีร่ ะบบมีความใกล้เคียงกัน แต่ FA-50s กับเครือ่ งบิน JAS-39 Gripen นั้น ใช้เครื่องยนต์แบบเดียวกัน

FA-50

GE F404 ซึง่ ความได้เปรียบในเรือ่ งการซ่อมบ�ารุงและ สายการส่งก�าลังบ�ารุง เป็นการยากทีจ่ ะเลือก ทัง้ F-16s และ JAS-39 Gripen ได้เสนอการติดตัง้ ระบบเชือ่ มโยง ข้อมูล F-16s ติดตัง้ Link 16 Tactical Data Link (TDL) และ JAS-39 Gripen ติดตัง้ ระบบครือข่ายของค่ายนาโต้


ข่าวทหารอากาศ

กองทัพอากาศมาเลเซีย ในปี ค.ศ.๑๙๙๐ เครือ่ งบิน BAE Hawk Mk108/208 เข้าประจ�าการ ปี ค.ศ.๑๙๙๕ ประจ�าการเครือ่ งบิน MiG-29N/NUB และปี ค.ศ.๑๙๙๗ ประจ�าการเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ F/A-18D Hornet และปี ค.ศ.๒๐๑๓ ได้เซ็นสัญญาซือ้ Su-30MKMs จ�านวน ๘ เครื่อง ส่งมอบให้ในปี ค.ศ.๒๐๑๗ ซึ่งมี เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ที่มีความหลากหลาย กองทัพอากาศมาเลเซียยังมีความต้องการเครือ่ งบินขับไล่ อเนกประสงค์ ใ นการทดแทนเครื่ อ งบิ น MiG-29 และ F-5 ที่ปลดประจ�าการในสิ้นปี ค.ศ.๒๐๑๕ กองทั พ อากาศมาเลเซี ย มี เ ครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ อเนกประสงค์ที่เป็นชั้นแนวหน้าได้แก่ Su-30MKM ที่แข็งแกร่ง มีระบบแจ้งเตือนจรวดเข้าหาเครื่องบิน และแจ้งเตือนด้วยระบบตรวจจับด้วยเลเซอร์ มีระบบ การน�าร่องในการบินเดินทางและเข้าหาเป้าหมายด้วย ความร้อน และติดตัง้ อุปกรณ์ชเี้ ป้าด้วยเลเซอร์สามารถ ที่ จ ะติ ด ระเบิ ด ที่ น� า วิ ถี ด ้ ว ยเลเซอร์ แ บบ GBU-12 ค่ายสหรัฐฯ ได้ด้วย กองทั พ อากาศมาเลเซี ย มี โ ครงการระยะยาว ที่ จ ะลดแบบของเครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ อ เนกประสงค์

45

ตามโครงการ Capability 55 โครงการจัดหาเครือ่ งบิน ขับไล่อเนกประสงค์ปจั จุบนั เริม่ แคบลงมาเหลือ ๔ แบบ ด้วยกัน ได้แก่ ยูโรไฟท์เตอร์ไต้ฝนุ่ , ราฟาล, F/A-18E/F Super Hornet และ Saab JAS 39 Gripen จ�านวน ๓๖ - ๔๐ เครื่อง ด้วยงบประมาณราว ๑.๘๔ - ๒.๔๖ พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจะมาทดแทน Su-30s, FA-18D และ MiG-29s ใ น ข ณ ะ เ ดี ย ว กั น จ ะ ท ด แ ท น เ ค รื่ อ ง บิ น Hawk100/200 และเครื่ อ งบิ น MB339s ด้ ว ย เครื่องบินรบขนาดเบาและเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50s จากเกาหลีใต้ แนวโน้มเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ที่ประเทศ สมาชิกอาเซียนจัดหาเข้าประจ�าการมีทง้ั ค่ายตะวันตก และตะวันออก คุณลักษณะมีระบบเชื่อมโยงข้อมูล ทั้งภายในหมู่บินและภายนอก เครื่องบินมีเทคโนโลยี ตัง้ แต่ยคุ ที่ ๔ ขึน้ ไปจนถึงยุคที่ ๕ จ�านวนแบบเครือ่ งบิน ขั บ ไล่ อ เนกประสงค์ จ ะลดลงในแต่ ล ะประเทศ และมี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ เครื่ อ งบิ น ฝึ ก นั ก บิ น ขั บ ไล่ เช่น T-50s, Yak-130

อ้างอิง - https://www.ainonline.com/aviation-news/defense/2018-02-20/indonesia-places-irm-order-11-su-35-multirole-ighters - https://www.airrecognition.com/index.php/archive-world-worldwide-news-air-force-aviation-aerospace-air-military-def ence-industry/global-defense-security-news/global-news-2018/february/ - http://pitzdefanalysis.blogspot.com/2018/06/the-philippine-mrf-jet-program.html - https://asianmilitaryreview.com/2018/08/malaysian-air-force-looks-for-affordable-solution-to-ighter-unavailability/


46

โรคขอเขาเสื่ อม คืออะไร (ตอนที่ ๑) Osteoarthritis of the knee

พล.อ.ต.ผศ.นพ.จ�ารูญเกียรติ ลีลเศรษฐพร

โรคข้ อ เข่ า เสื่ อ มเป็ น ภาวะที่ พ บได้ บ ่ อ ยที่ สุ ด ในคนสู ง อายุ โดยมี อุ บั ติ ก ารณ์ ข องโรคมากขึ้ น ตามอายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิวัฒนาการ ทางการแพทย์ดขี นึ้ ช่วยให้คนมีอายุยนื มากขึน้ ในอดีต มี ป ระชากรผู ้ สู ง อายุ ไ ม่ ม ากนั ก แต่ ป ั จ จุ บั น พบว่ า มีประชากรผูส้ งู อายุเพิม่ ขึน้ เรือ่ ย ๆ ดังนัน้ โรคข้อเข่าเสือ่ ม จึงพบได้บอ่ ยขึน้ ซึง่ เป็นสาเหตุให้ผสู้ งู อายุตอ้ งทนทุกข์ ทรมานจากความเจ็บปวด ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง ได้ดังเดิม ท�าให้คุณภาพของชีวิตลดลง และยังพบว่า มีผลทางด้านจิตใจต่อผู้สูงอายุในลักษณะซึมเศร้า ซึ่งโดยปกติมักมีโรคประจ�าตัวอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น เรามารู้จักข้อเขากันกอนดีกวา ข้อเข่าจัดเป็นข้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ท�าหน้าทีช่ ว่ ยรับน�า้ หนักในการเดินและการวิง่ ในขณะ ก้าวเดินจะมีแรงกระท�าต่อข้อเข่าไม่ใช่เพียงเท่ากับ น�า้ หนักตัว แต่จะมากถึงประมาณ ๓ – ๔ เท่า ของ น�า้ หนักตัว เนื่องจากมีแรงอื่นมาเพิ่มจากการเกร็งตัว ของกล้ามเนือ้ รอบข้อเข่าซึง่ จะมีหน้าทีช่ ว่ ยให้ความมัน่ คง ในการเคลือ่ นไหว ดังนัน้ จะเห็นได้วา่ ยิง่ น�า้ หนักตัวมาก ข้อเข่าก็ต้องยิ่งท�างานหนักมากขึ้น ข้อเข่าจะประกอบด้วยกระดูก ๓ ส่วน คือ สวนที่ ๑ ได้แก่ กระดูกส่วนต้นขา (Femur) ซึ่งเป็นกระดูกส่วนบนของข้อเข่า สวนที่ ๒ ได้แก่ กระดูกส่วนหน้าแข้ง (Tibia) ซึ่งเป็นกระดูกส่วนล่างของข้อเข่า ส ว นที่ ๓ คื อ กระดู ก ลู ก สะบ้ า (Patella) ซึ่งจะอยู่ด้านหน้าของข้อเข่า

ภายในข้อเข่าจะถูกปกคลุมด้วยผิวกระดูกอ่อน ซึ่งจะมีลักษณะสีขาวผิวเรียบเป็นมัน มีความหนา ประมาณ ๒ –๓ มิลลิเมตร และมีความยืดหยุ่นได้ เพื่อท�าหน้าที่ช่วยลดแรงกระแทก และช่วยให้ การเคลือ่ นไหวข้อเข่าราบเรียบ โดยไม่มเี สียงเกิดขึน้ ภายในข้ อ เข่ า ยั ง มี เ ส้ น เอ็ น ที่ ส� า คั ญ อี ก ๒ เส้ น อยู่บริเวณตรงกลางของข้อเข่าท�าหน้าที่ช่วยให้ ความมั่นคงต่อข้อเข่าในขณะเคลื่อนไหว ผิวข้อเข่า แต่ละข้างยังแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนครึง่ ด้านใน (Medial Compartment) และครึ่ ง ด้ า นนอก (Lateral Compartment ) นอกจากนี้ ผิวข้อเข่า จะมีกระดูกอ่อนพิเศษอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะรูป ครึ่ ง วงกลมเรี ย กว่ า มิ น นิ ส คั ส (Meniscus) ซึ่งท�าหน้าที่ช่วยกระจายน�้าหนักที่มากระท�ากับ ข้อเข่าในขณะใช้งาน ในภาวะปกติภายในข้อเข่า จะมีน�้าหล่อเลี้ยงภายในข้อ (Synovial Fluid) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นน�้าข้นใสคล้ายวุ้น มีความหนืด ซึ่ ง จะมีจ�านวนเพียงเล็กน้อย ช่วยหล่อลื่นผิวข้อ ให้เคลือ่ นไหวได้คล่องขึน้ และยังช่วยลดแรงเสียดทาน ระหว่างผิวข้อขณะมีการเคลื่อนไหวเปรียบเสมือน ท�าหน้าทีเ่ ป็นน�า้ มันเครือ่ งทีใ่ ช้หล่อลืน่ ในเครื่องจักร ท�าให้ช่วยป้องกันการสึกหรอของกระดูกอ่อน


ข่าวทหารอากาศ

โรคข้อเขาเสื่อม คืออะไร? โรคข้อเข่าเสือ่ ม หมายถึง ภาวะทีม่ คี วามผิดปกติ ในลักษณะการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนภายใน ข้ อ เข่ า ตลอดจนมี ก ารสู ญ เสี ย คุ ณ สมบั ติ ข อง น�า้ หล่อเลีย้ งข้อเข่าท�าให้เกิดการเสียดสีเวลาเคลือ่ นไหว จนเกิดการสึกหรอของกระดูกอ่อน ท�าให้กระดูกอ่อน ในข้อเข่าบางลง ท�าให้การท�างานของข้อเข่าผิดปกติไป การสึกหรอของกระดูกอ่อนจะท�าให้บริเวณที่สึกหรอ มีลกั ษณะแข็งขึน้ ผิวไม่เรียบ คล้ายกับการเป็นแผลเป็น บริเวณผิวหนัง ซึ่งจะมีลักษณะแข็งและความยืดหยุ่น น้อยกว่าบริเวณผิวหนังปกติ ท�าให้ระหว่างการเคลือ่ นไหว จะเกิดเสียงดังภายในข้อเข่าขึ้น และท�าให้เกิดการ เจ็บปวดได้ ในกรณีทมี่ กี ารอักเสบภายในข้อเข่าร่วมด้วย อาจมีการสร้างน�า้ ภายในข้อเข่าเพิม่ ขึน้ ท�าให้มอี าการ ข้อเข่า บวม ตึง และปวดมาก ขณะมีการเคลื่อนไหว ข้อเข่า เมื่อมีภาวะเสื่อมมากขึ้นจนผิวกระดูกอ่อน สึกหรอไปหมด ข้อเข่าจะเริม่ โก่งงอ และท�าให้มอี าการ ปวดทุ ก ครั้ ง ที่ มี ก ารเคลื่ อ นไหวโดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง

ภาวะข้อเข่าปกติ

47

เวลาลงน�้ า หนั ก เนื่ อ งจากกระดู ก บริ เวณข้ อ เข่ า จะสัมผัสกันโดยตรง โดยไม่มีกระดูกอ่อนคั่นกลาง เมื่อเป็นมากขึ้นจนเกิดการทรุดตัวของทั้งกระดูกอ่อน และกระดูกข้อเข่า จะท�าให้ข้อเข่ามีลักษณะโก่งงอ ผิดรูปเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้ จ�าเป็นต้องใช้อุปกรณ์พยุงการเดิน เช่น ไม้เท้า หรือ อุปกรณ์ช่วยเดินชนิด ๔ ขา (Walker) ภาวะโก่งงอของข้อเข่า ซึ่งอาจมีลักษณะโก่งเข้า หรือโก่งออกก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะพบลักษณะโก่งออก มากกว่า หลังจากนั้นเมื่อเป็นมากขึ้นอีก จะเกิดการ ทรุ ด ตั ว ของกระดู ก ข้ อ เข่ า จะผิ ด รู ป จนอาจมี การเคลื่อนหลุดของข้อเข่า และมีการโก่งงอข้อเข่า มากขึ้น ข้อเข่าจะมีลักษณะใหญ่ขึ้น เนื่องจากมีการ งอกของกระดูกภายในข้อเข่าร่วมกับกล้ามเนื้อต้นขา จะลีบลง โดยเป็นผลจากการมีการเคลื่อนไหวข้อเข่า ลดลง บางครั้ ง อาจมี ก ารยึ ด ติ ด ของข้ อ เข่ า ท� า ให้ เหยียดขาได้ไม่สุด หรืองอเข่าได้น้อยลงร่วมด้วย

ภาวะข้อเข่าเสื่อม


48

ข้อเข่าโก่งงอปานกลาง

จะทราบได้อยางไรวาข้อเขาเสื่อมหรือไม? ปกติภาวะข้อเข่าเสือ่ มจะพบในอายุตงั้ แต่ ๖๐ ปี ขึน้ ไป แต่อาจพบในอายุทนี่ อ้ ยกว่านีไ้ ด้ ในกรณีทขี่ อ้ เข่า เคยได้รบั อุบตั เิ หตุมาก่อน หรือมีการอักเสบของข้อเข่า บ่ อ ยครั้ ง จากสาเหตุ อื่ น เช่ น เป็ น โรครู ม าตอยด์ โรคเกาต์ เป็นต้น มักพบข้อเข่าเสื่อมในเพศหญิง มากกว่าเพศชาย เนื่องจากความแข็งแรงของกระดูก และกล้ า มเนื้ อ ในเพศหญิ ง จะน้ อ ยกว่ า ในเพศชาย โดยเฉพาะในหญิงหลังหมดประจ�าเดือน หากไม่ได้รับ การดูแลที่ถูกต้องจะพบว่าความแข็งแรงของกระดูก จะลดลงและบางลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการ เปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย อันเป็นผล ท�าให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น อาการส�าคัญที่พบได้ในภาวะข้อเข่าเสื่อม ได้แก่ ๑. อาการปวด ถือเป็นอาการส�าคัญที่น�าผู้ป่วย มาพบแพทย์ โดยในระยะแรกมักเริม่ จากมีอาการปวด เมื่อยและรู้สึกตึง ๆ บริเวณด้านหลังของข้อเข่าหรือ บริเวณน่อง ต่อมาจะเริ่มมีอาการปวดบริเวณข้อเข่า ขณะมีการเคลือ่ นไหว ขึน้ -ลงบันได ไม่คล่องเหมือนเดิม หรืออาจมีอาการปวดขณะลุกขึน้ จากเก้าอี้ ไม่สามารถ นั่งยอง ๆ ได้เหมือนเดิม หรือถ้านั่งยองก็จะลุกขึ้น ได้ล�าบาก

ข้อเข่าโก่งงออย่างรุนแรง

๒. อาการบวม กรณีทมี่ กี ารอักเสบข้อเข่าร่วมด้วย จะท�าให้ข้อเข่าบวมเนื่องมาจากมีการสร้างน�้าภายใน ข้อเข่ามากกว่าปกติท�าให้รู้สึกตึง ๆ เคลื่อนไหวข้อเข่า ไม่สะดวก ร่วมกับมีอาการปวด ๓. มีเสียงในข้อเข่า ขณะมีการเคลือ่ นไหวจะเกิด เสี ย งเนื่ อ งจากผิ ว กระดู ก อ่ อ นมี ก ารสึ ก หรอท� า ให้ ผิวกระดูกอ่อนไม่เรียบ เวลาเคลื่อนไหวจะเกิดเสียงได้ ซึง่ อาจร่วมกับอาการปวดด้วย เสียงจะมากน้อยแค่ไหน จะขึ้นกับความรุนแรงของภาวะความเสื่อมในข้อเข่า ๔. ข้อเข่าโก่งงอ เมือ่ เกิดภาวะข้อเข่าเสือ่ มมากขึน้ ซึ่งอาจมีการทรุดตัวของกระดูกข้อเข่าครึ่งด้านใน หรือครึ่งด้านนอก จนท�าให้ข้อเข่าโก่งงอ ที่พบได้บ่อย คือ ขาจะโก่งออกด้านนอก ท�าให้ขาสั้นลง เดินได้ ล�าบากเนื่องจากมีอาการปวดและมีความไม่มั่นคง เวลาลงน�้าหนัก ๕. ข้อเข่ายึดติด ผูป้ ว่ ยอาจรูส้ กึ เคลือ่ นไหวข้อเข่า ได้ไม่คล่องเหมือนเดิม บางรายอาจไม่สามารถที่จะ เหยียดขาได้สดุ โดยจะติดอยูใ่ นท่างอข้อเข่า (Flexion contracture) หรือไม่สามารถงอเข่าได้สุด เนื่องจาก มีการยึดติดภายในข้อเข่า หรืออาจมีการสร้างกระดูก งอกภายในข้อเข่าอันเป็นผลจากภาวะข้อเข่าเสื่อม ท�าให้เกิดการขัดขณะเคลื่อนไหว (อ่านต่อฉบับหน้า)


ข่าวทหารอากาศ

49

ภาพที่ ๑ - มีรายการอะไรในทีวีละ ? - รายการประกวดชุดวายนํ้าครับ ภาพที่ ๒ - วู้ ! วู้ ! ปญหาคือ ไมมีใครได้ดูหรอก เมื่อเขากําลังดูนะ on TV (on television) - เป็นส�านวน แปลว่า ถ่ายทอดทางโทรทัศน์, ปรากฏในรายการทีวี (being broadcast by television, appearing in a television program) Ex. This movie was on TV last night. (หนังเรื่องนี้ฉายทางทีวีเมื่อคืนแล้ว) swimsuit (n.) - ชุดว่ายน�้าผู้หญิง อาจใช้ bathing suit หรือถ้าเป็น ๒ ชิ้น คือ bikini (บิคี้นี่) ส่วนกางเกงอาบน�้าของผู้ชาย จะเรียก swimming trunks หรือ swim trunks - การแข่งขัน, การประกวด (a competition which people try to win contest (n.) something) ได้แก่ singing contest (การแข่งขันร้องเพลง) และ beauty contest (การประกวดความงาม) เป็นต้น ออกเสียงว่า 'ค้อนเท็สท' ส�าหรับ ผู้ที่เข้าร่วมแข่งขัน คือ contestant (เคินเท็สเทิ่นท) - ปัญหา, ความยุ่งยาก (a problem, dificulty) มีศัพท์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ trouble (n.) trouble ได้แก่ trouble maker (คนก่อปัญหา) และ trouble shooter (คนแก้ปญ ั หา) กรณีทใี่ ช้เป็นค�ากริยา to trouble จะแปลว่า ท�าให้กงั วล, รบกวน Ex. What is it that's troubling you ? (อะไรที่ท�าให้คุณกังวลอยู่) และ Sorry to trouble you, but could you tell me the time ? (ขอโทษ ที่ต้องรบกวน ช่วยบอกเวลาหน่อยได้มั้ยครับ)


50

ภาพที่ ๑ - ฉันเหนื่อยมาก ฉันยืน ๑๐ ชั่วโมงรวด ที่ทํางานวันนี้ ภาพที่ ๒ - ฉันรู้สึกอยากใสเท้าเข้าในตู้เย็น ให้มันได้ผอนคลายบ้าง ภาพที่ ๓ - เอาเบียรมาให้ด้วย เมื่อเธอเข้าไปข้างในนะ exhausted (adj.)

- เหนื่อยมาก (very tried) ออกเสียงว่า 'อิคซอสถิด' Ex. After walking in the sun for an hour, I was totally exhausted. (หลังจากเดินกลางแดด ได้ ๑ ชั่วโมง ฉันเหนื่อยล้ามาก) และ The exhausted climbers were rescued by helicopter. (นักปีนเขาที่เหนื่อยอ่อนได้รับการช่วยชีวิต โดยเฮลิคอปเตอร์) to be on one's feet - ในที่นี้ แปลว่า ยืน (to stand) แต่ถ้าเป็นส�านวน (idm) จะแปลว่า หายดี จากการป่วย หรืออยู่ในภาวะปกติหลังจากมีปัญหา (to be well again or in a normal state after an illness or a time of trouble) straight (adj.) - ในที่นี้ แปลว่า ต่อเนื่องโดยไม่มีอะไรมาขัดจังหวะ (continuously without interruption) to feel like + n. or V.ing (idm) - เป็นส�านวน แปลว่า ต้องการจะมีหรือท�าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (to want to have or do something) Ex. I feel like some Italian food. (ฉันรู้สึกอยากทานอาหารอิตาลี) และ We all feel like taking a short trip. (เรารู้สึกอยากไป เที่ยวทริปสั้น ๆ กัน) to stick - ในที่นี้แปลว่า วาง, ใส่ (to put sth. in a place) to cool down (idm) - เป็นส�านวน ในที่นี้ แปลว่า ผ่อนคลายหลังจากการท�ากิจกรรมที่ใช้พลังมาก fridge (n.) - ตู้เย็น ค�าเต็ม คือ refrigerator


ข่าวทหารอากาศ

USAF เมื่อ USAF กาวสูกองกําลังทางอวกาศ

(USAF : A New Space Force) น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์

ในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย ค.ศ.๑๙๙๑ ได้แสดงให้เห็นถึงการน�าเทคโนโลยีอวกาศมาใช้ ในทางทหาร กองทัพอากาศสหรัฐฯ (USAF) นัน้ ใช้ ดาวเทียมทหารในห้วงอวกาศ เป็นตัวประสานและ ชี้ เ ป้ า หมายในการรบ ถื อ เป็ น “ครั้ ง แรกของ สงครามอวกาศ” (First Space War) ผลท�าให้ นายทหารระดั บ สู ง ทอ.สหรั ฐ ฯ เห็ น ด้ ว ยว่ า “ห้วงอวกาศเป็นสิ่งที่จ�าเป็นส�าหรับการรบในยุค ของข้อมูล” ด้วยอุปกรณ์ทางทหารที่โคจรในห้วง อวกาศ (Space Asset) อาทิ ดาวเทียมทหาร อันถือเป็นสิ่งที่สร้างความส�าเร็จในการรบให้แก่ ทอ.สหรัฐฯ คงเห็ น ได้ จ ากอาวุ ธ เกื อ บทุ ก อย่ า งของ ทอ.สหรัฐฯ สามารถเข้าสู่เป้าหมาย อย่างแม่นย�า ด้วยดาวเทียมทหาร GPS (GPS Satellite) อีกทั้ง ดาวเที ย มสื่ อ สารทหาร (Communication

Satellite) ถือเป็นสิ่งที่อ�านวยความสะดวกในการ สื่อสารและการน�าทางให้แก่กองก�าลังทางทหาร ของสหรัฐฯ อนึ่ง ความสามารถของ ทอ.สหรัฐฯ ในพลังอ�านาจการรบนั้น จะขึ้นอยู่กับงบประมาณ ที่ ใ ช้ ใ นการป้ อ งกั น ภั ย คุ ก คามที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น ต่ อ อุ ป กรณ์ ท างทหารที่ โ คจรอยู ่ ใ นห้ ว งอวกาศ เมื่อมองใกล้เข้ามาห้วงอวกาศในวันนี้ ๑๑ ประเทศ สามารถยิงจรวดขึ้นสู่ห้วงอวกาศได้ และมากกว่า ๑๗๐ ประเทศ ทีเ่ ข้าถึงการใช้ประโยชน์จากห้วงอวกาศ ที่ ส� า คั ญ รั ส เซี ย และจี น ได้ พั ฒ นาด้ า นอวกาศกั น อย่างต่อเนื่อง อันเป็นสาเหตุท�าให้ ทอ.สหรัฐฯ จะต้ อ งพั ฒ นาขี ด ความสามารถของอุ ป กรณ์ ฯ และบุคลากรในด้านอวกาศ (A New Space Force) ทั้ ง นี้ ก็ เ พื่ อ คงความได้ เ ปรี ย บในห้ ว งอวกาศ โดยบทความในฉบั บ มี มุ ม มองและรายละเอี ย ด ที่น่าสนใจดังนี้

51


52

คงความได้เปรียบในห้วงอวกาศ กองทั พ อากาศสหรั ฐ ฯ นั้ น ตระหนั ก ดี ถึ ง ความได้ เ ปรี ย บในการครอบครองห้ ว งอวกาศ (Space Dominance) มาตัง้ แต่ ค.ศ.๑๙๘๒ และ ในค.ศ.๒๐๐๗ สิง่ ต่าง ๆ ที่ ทอ.สหรัฐฯ เคยครอบครอง ในอวกาศได้เปลี่ยนไปอย่างถาวร เมื่อจีนสามารถ พัฒนาอาวุธที่ท�าลายดาวเทียมได้ในห้วงอวกาศ (Anti – Satellite Weapon) ซึง่ เจ้าหน้าทีก่ ระทรวง กลาโหมสหรัฐฯ ได้ตระหนักถึงปัญหาภัยคุกคาม ในห้วงอวกาศ ที่ส�าคัญเจ้าหน้าที่ฯ หลายคนก็ได้ พูดกันมาหลายปี เกี่ยวกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ต่ออุปกรณ์ทางทหารของ ทอ.สหรัฐฯ ที่อยู่ในห้วง อวกาศ (Space Asset) เห็นได้จากการทดสอบ อาวุธต่อต้านดาวเทียม (Anti - Satellite Test) ที่รัสเซียและจีนได้ท�ากันอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันห้วงอวกาศนั้น ถือเป็นศูนย์กลาง แห่งพลังอ�านาจในการรบของ ทอ.สหรัฐฯ กรณี ที่สถานการณ์เกิดเลวร้ายอย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จนตัดสินใจทีจ่ ะต้องท�าการรบ พลังอ�านาจในการรบ

ของ ทอ.สหรัฐฯ ที่จะต้องน�ามาใช้เป็นหลักคือ อุปกรณ์ทางทหารทีอ่ ยูใ่ นห้วงอวกาศ เช่น ดาวเทียม ทหาร ซึ่ ง ทอ.สหรั ฐ ฯ สามารถด� า เนิ น การได้ โดยจัดให้ดาวเทียมทหารแจ้งเตือนการยิงขีปนาวุธ ของฝ่ายตรงข้าม และติดตามข้อมูลการยิง ทั้งนี้ เพื่อน�ามาใช้ในการวางก�าลังรบรวมทั้งน�ามาจัดตั้ง หน่วยบัญชาการที่เกี่ยวข้องที่ส�าคัญการเชื่อมโยง การสือ่ สารของหน่วยทหารต่าง ๆ นัน้ ผ่านดาวเทียม สื่ อ สารทหารที่ เ ชื่ อ มโยงการสื่ อ สารมาจาก ห้ ว งอวกาศ ประกอบกั บ อาวุ ธ น� า วิ ถี ที่ เข้ า สู ่ เป้าหมายด้วย ดาวเทียมทหาร GPS (Weapons Guided by GPS) สามารถที่จะโจมตีเป้าหมายได้อย่าง แม่นย�าในทุกสภาพอากาศ รวมทัง้ ระบบเครือข่าย บัญชาการและควบคุมที่ถือว่ามีความส�าคัญ ก็ถูก เชื่ อ มโยงผ่ า นดาวเที ย มสื่ อ สารทหารที่ ม าจาก ห้วงอวกาศเช่นกัน หากฝ่ายตรงกันข้ามสามารถ ท� า ลายอุ ป กรณ์ ท างทหารของสหรั ฐ ฯ ที่ อ ยู ่ ในอวกาศได้ ผลที่ ต ามมาคงท� า ให้ พ ลั ง อ� า นาจ


ข่าวทหารอากาศ

ในการรบของสหรัฐฯ ที่เคยท�าได้ในระยะที่ห่าง ออกไปอีกฝังของโลกนั้น จะลดลงอย่างเห็นได้ชัด เพื่อที่จะคงความได้เปรียบในห้วงอวกาศ พล.อ.อ.John W. “Jay” Raymond หัวหน้า หน่ ว ยบั ญ ชาการยุ ท ธทางอวกาศ (Air Force Space Command) ที่มองห้วงอวกาศเป็นสิ่ง ทีจ่ า� เป็นส�าหรับการรบในยุคของข้อมูล ได้จดั ระบบใหม่ ในกองก�าลังทางอวกาศ (A New Space Force) ทั้ ง ในส่ ว นของอุ ป กรณ์ ท างทหารที่ โ คจรอยู ่ ใ น ห้วงอวกาศ และบุคลากรของ ทอ.สหรัฐฯ ด้านอวกาศ กล่าวคือ ดาวเทียมทหารด้วยการออกแบบ รวมทั้ง การยิงขึ้นสู่วงโคจรจะใช้เวลา ๑๐ ปี ปัจจัยหลัก ที่ ค� า นึ ง ถึ ง ในการออกแบบก็ คื อ ค่ า ใช้ จ ่ า ยและ การใช้งานได้ยาวนาน ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน ทอ.สหรัฐฯ จะต้องเผชิญกับภัยคุกคาม ด้วยการ ออกแบบดังที่กล่าวมา คงจะไม่เพียงพอส�าหรับ การน�ามาใช้เป็นอุปกรณ์ทางทหารของ ทอ.สหรัฐฯ ที่โคจรในห้วงอวกาศ เห็นได้จากดาวเทียมทหาร

GPS ในรุ่นก่อน ๆ เป็นดาวเทียมที่ใช้พลังงานต�่า (Low - Power System) ค่อนข้างง่ายต่อการ ถูกรบกวนสัญญาณ ท�าให้ระบบ GPS นั้นท�างาน ผิ ด พลาด จึ ง เริ่ ม การพั ฒ นาความสามารถของ ดาวเทียมทหาร GPS รุ่นที่ ๓ (GPS III) มาตั้งแต่ ค.ศ.๒๐๐๘ ให้มปี ระสิทธิภาพทีส่ งู ขึน้ พร้อมมีระบบ ต่อต้านการรบกวนสัญญาณ ซึ่งดาวเทียมทหาร GPS III ในชุดแรกได้ถูกยิงขึ้นไปสู่วงโคจรให้บริการ ตั้งแต่กลางปี ค.ศ.๒๐๑๘ ในส่วนบุคลากรที่ปฏิบัติ งานด้ า นอวกาศก็ ไ ด้ รั บ การฝึ ก อบรมที่ ดี ข้ึ น โดยแบ่ ง แต่ ล ะที ม ของบุ ค ลากรที่ ป ฏิ บั ติ ง าน ด้านอวกาศออก เป็น ๒ ส่วนคือ - ส่วนแรกของบุคลากรฯ ให้ไปปฏิบัติงาน ด้านอวกาศเป็นเวลา ๔ เดือน - ส่วนที่สองของบุคลากรฯ ส่งไปฝึกอบรม การปฏิ บั ติ ง านด้ า นอวกาศชั้ น สู ง (Advanced Training) ใช้เวลา ๔ เดือนเช่นกัน

53


54

ในเดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ ค.ศ.๒๐๑๖ ที ม ของ บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านอวกาศที่กองบิน ๕๐ รัฐโคโลราโด ถือเป็นทีมแรกที่ประสบความส�าเร็จ ในการเปลี่ยนแปลงไปสู่ A New Space Force สิ่ ง ส� า คั ญ เมื่ อ ต้ อ งการที่ จ ะน� า อวกาศ (Space) เข้าสู่กระแสหลักของก�าลังในการรบ ที่ควบคู่ไปกับ ทางอากาศ (Air) และบนโลกไซเบอร์ (Cyber) กองทัพอากาศสหรัฐฯ จะต้องปรับปรุงความสามารถ ในการระบุ แ ละการประเมิ น ภั ย คุ ก คามในห้ ว ง อวกาศ เพื่อให้ได้มาซึ่งการหยั่งรู้สถานการณ์จริง ในห้วงอวกาศ (Space Situational Awareness : SSA) ซึ่ ง จะท� า ให้ ทอ.สหรั ฐ ฯ นั้ น มี ว งรอบ การตั ด สิ น ใจในการด� า เนิ น งานบนห้ ว งอวกาศ ที่เร็วกว่าฝ่ายตรงข้าม เนื่องจากดาวเทียมของ ทอ.สหรัฐฯ ทีโ่ คจรรอบโลกในระดับต�า่ (Low earth orbit : LEO) ความสูงจากผิวโลกระยะ ๓๐๐ – ๗๐๐ ไมล์นนั้ อยูใ่ นพิสยั ของอาวุธทีส่ ามารถท�าลาย ดาวเที ย มได้ ใ นห้ ว งอวกาศ (Anti – Satellite Weapon) ซึ่ง SSA จะมาช่วยปรับปรุงวิธีใหม่ ๆ

ในการหาข่ า วกรองบนห้ ว งอวกาศ แจ้ ง เตื อ น และติดตามการกระท�าของฝ่ายตรงกันข้ามในห้วง อวกาศ ถือเป็นภารกิจหลักของกองก�าลังทางอวกาศ ทอ.สหรัฐฯ ที่ยังคงความได้เปรียบในห้วงอวกาศ

ข้อคิดที่ฝากไว้ กองทั พ อากาศสหรั ฐ ฯ ตระหนั ก ดี ถึ ง ห้ ว ง อวกาศที่อยู่เหนือผิวโลกนั้น เป็นส่วนที่มีความ ส�าคัญต่อก�าลังทางอากาศ ดังค�าพูดคุณ Robert O. Work อดี ต รองรั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวง กลาโหมสหรัฐฯ ที่ได้กล่าวในการประชุมประจ�าปี สถาบั น อวกาศสหรั ฐ ฯ รั ฐ โคโลราโด ประเทศ สหรัฐฯ ว่า “ห้วงอวกาศได้กลายเป็นสิ่งที่เข้าไป เกี่ยวข้องในการวางแผน การฝกอบรม และการ ปฏิบตั กิ ารต่าง ๆ ของสหรัฐฯ อีกทัง้ ยังเป็นสิง่ ส�าคัญ ในการสร้ า งความมั่ น ใจให้ แ ก่ พั น ธมิ ต ร ยั บ ยั้ ง ความขั ด แย้ ง และที่ ส� า คั ญ ในป จ จุ บั น ถื อ เป็ น ศูนย์กลางแห่งพลังอ�านาจในการรบของกองทัพ อากาศสหรัฐฯ”


ข่าวทหารอากาศ

55

อนุบาลยุคใหม ไทยแลนด ๔.๐

น.อ.หญิง สุพรรณรัศม์ ราชวงศ์

ผ่านเรือ่ งราวอันยาวนานมากว่า ๖๔ ปี โรงเรียน อนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ปัจจุบันเป็นโรงเรียนสังกัดส�านักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี พล.อ.ท.น้อย ภาคเพิม่ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ในฐานะผู ้ ล งนามแทนผู ้ รั บ ใบอนุ ญ าตเปิ ด สอน นักเรียนชัน้ อนุบาล ๑ - ๓ มีจา� นวนนักเรียน ๑,๐๗๐ คน ครู ๓๖ คน ครูนาฏศิลปและครูพลศึกษา ๔ คน บุคลากรทางการศึกษา ๔ คน และส่วนสนับสนุนรวม ๖๕ คน ไม่เพียงแต่เน้นจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการ แก่บุตรหลานข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงาน ราชการของกองทั พ อากาศได้ ศึ ก ษาเล่ า เรี ย น ใกล้บ้านเท่านั้น แต่ยังเป็นโรงเรียนที่ต้องฝึกฝนให้ เด็ก ๆ มีระเบียบวินยั เรียนรูก้ ารใช้ชวี ติ โดยน�าหลัก เศรษฐกิจพอเพียงมาให้นักเรียนได้รู้จักการพึ่งพา ตนเอง เด็ก ๆ ฝึกทักษะการเพาะปลูกพืชผักสวนครัว ได้แก่ เพาะถัว่ งอก ปลูกผักบุง้ ผักกวางตุง้ คะน้า พริก กระเพรา เลีย้ งไก่ไข่ ในเนื้อที่ของโรงเรียนกว่า ๗ ไร่ จัดประสบการณ์ การเรียนรูแ้ บบโครงงาน (project approach) การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวของเด็กปฐมวัย เช่น ภาษาต่างประเทศเป็นสิ่งที่จ�าเป็นมากขึ้น นอก

เหนือไปจากการพัฒนาความพร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาของนักเรียนใน ระดับอนุบาลตามทีก่ ระทรวงศึกษาธิการก�าหนด การ ฝึกฝนให้เด็ก ๆ มีความคุ้นเคยกับภาษาต่างประเทศ จะส่งผลต่อการเรียนรูแ้ ละช่วยสร้างความมัน่ ใจในการ ใช้ภาษาเมือ่ เติบโตขึน้ เป็นผูใ้ หญ่ ตลอดจนก้าวทันและ สามารถแข่งขันกับมิตรประเทศได้ โดยเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๑ น.อ.หญิง สุพรรณรัศม์ ราชวงศ์ ผู้ อ�านวยการโรงเรี ย นอนุ บ าลฤทธิ ย ะวรรณาลั ย เป็ น ตัวแทนฯ เข้าประชุม ณ ศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม โดยมี พล.ต.สรัณย์ เพชรานนท์ เป็นประธานฯ ได้แจ้งให้ผู้แทนแต่ละเหล่าทัพ ทราบสั่งการที่ประชุม ครม.ครั้งที่ ๓๐/๖๑ เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ให้โรงเรียนในสังกัดของกระทรวงกลาโหม ด�าเนินโครงการน� า ร่ อ งการจั ด การเรี ย นการสอน ภาษาอั ง กฤษในระดั บ อนุ บ าลถึ ง มั ธ ยมศึ ก ษา ตอนปลาย ภายในปีการศึกษา ๒๕๖๒ และได้รับ อนุ มั ติ จ ากรั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงกลาโหมให้ โรงเรียนจัดการสอนได้เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งอาจใช้รูปแบบ Mini English Program หรือ English Integrated Studies (EIS) มาบูรณา การใช้ภาษาอังกฤษจัดการเรียนการสอนใน ๔ วิชา


56

ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และ วิชาภาษาอังกฤษ ผูส้ อนถ้าเป็นครูไทยต้องผ่านเกณฑ์ ตามที่ ก ระทรวงก� า หนด ต้ อ งเขี ย นแผนการสอน เป็นภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ ดัง เช่นที่โรงเรียนสัตหีบ ซึ่งกองทัพเรือได้จัดการสอน แบบนี้แล้ว ส�าหรับโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย นัน้ จัดการสอนโดยครูตา่ งชาติในแบบของโรงเรียนคือ จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ English Rittiyawannalai Kindergarten (ERK) คือ เขียนแผนการสอนตามสาระการเรียนรู้ โดยสอนภาษาอั ง กฤษไม่ น ้ อ ยกว่ า ๑๕ ชั่ ว โมง ต่อสัปดาห์ ยกเว้น วิชาภาษาไทย ด้วยครูผสู้ อนซึง่ เป็น เจ้าของภาษา (Native Speaker) การบริหารงบ ประมาณได้ รั บ การสนั บ สนุ น จากการช� า ระค่ า ธรรมเนียมการศึกษาจากผู้ปกครอง ซึ่งคาดหวังว่า นักเรียนจะมีความสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ ทางโรงเรียนต้องด�าเนินการพัฒนาห้องเรียนที่จะเปิด ใหม่ทงั้ ๔ ห้องนี้ โดยจัดเตรียมโปรเจคเตอร์ ไมค์โครโฟน

ไร้สายส�าหรับการสอน Active Learning จัดซื้อ หนังสือภาษาอังกฤษเพิ่มเติม โรงเรียนตั้งความหวัง ว่านักเรียนจะมีความสามารถในทักษะพื้นฐานด้าน ภาษา เช่น การพูดที่มีการออกเสียงส�าเนียงคล้าย เจ้าของภาษา ได้พฒ ั นาทักษะ ด้านการฟัง การอ่าน ที่ ส ามารถเรี ย นรู ้ ค วามหมายของค� า ศั พ ท์ ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ สาระการเรี ย นตามที่ ก� า หนด และมีความมัน่ ใจในการสือ่ สารด้วยภาษาอังกฤษใน ชี วิ ต ประจ� า วั น ได้ ส� า หรั บ ทั ก ษะการเขี ย นนั้ น ขึ้นกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็กของนิ้วมือ ที่ จ ะมี ค วามพร้ อ มด้ า นการเขี ย นโดยควรฝึ ก วาดภาพระบายสี ก ารตั ด กระดาษช่ ว ยประสาน การท� า งานระหว่ า งมื อ และตา การพั บ และฉี ก ปะกระดาษ การฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่ช่วยทรงตัว ด้วยการยืนขาเดียวได้นาน ๖ วินาที กระโดดขาเดียว ไปข้างหน้าได้ และสามารถเดินต่อส้นเท้าเป็นเส้นตรง ได้มากกว่า ๔ ก้าว เพื่อให้เด็ก ๆ ได้ท�าสิ่งต่าง ๆ ได้เต็มศักยภาพยิ่งขึ้น ซึ่งในปีการศึกษาที่ผ่านมา ผลการสอบเข้าเรียนต่อชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ นั้น ในอันดับ Top Ten จ�านวน ๗ คน และล�าดับที่ ๗ เป็นนักเรียนจากโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย ในขณะที่โรงเรียนฯ มีเด็กชั้นอนุบาล ๓ จ�านวน ๓๙๕ คน มี ผู ้ ป กครองที่ ยิ น ยอมให้ คั ด กรอง พัฒนาการเด็ก ๑๐๗ ราย พบว่ามีเด็กที่ไม่ผ่าน คัดกรองมาทดสอบพัฒนาการ Denver II (เป็นการ ประเมินพัฒนาการในเด็กโดยนักจิตวิทยา ดูว่าเด็ก


ข่าวทหารอากาศ

มีอารมณ์รา่ เริง แจ่มใส หรือแสดงออกแบบก้าวร้าว มี ส มาธิ ห รื อ ไม่ ) จ� า นวน ๑๑ ราย สงสั ย ว่ า มีพัฒนาการล่าช้า จ�านวน ๕ ราย ซึ่งรายละเอียด การคัดกรองพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กมีดังนี้ ๑. การคัดกรองโรคในกลุมพัฒนาการผิด ปกติอยางรอบคอบ (PDDSQ) ส�าหรับเด็กที่ ไม่คอ่ ยฟังค�าสัง่ ไม่นงิ่ ตอบไม่ตรงค�าถาม ในเด็กอายุ ๔-๑๘ ปี ซึง่ แปลผลโดยนักจิตวิทยาคลินกิ หากพบว่า เด็กได้คะแนนสูงกว่าจุดตัดที่ ๑๘ คะแนน ควรได้ รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทางต่อไป ๒. แบบประเมิ น พฤติ ก รรม SNAP-IV (short form) ซึ่งหากคะแนนที่ได้ ทั้งด้านสมาธิ ด้ า นซน อยู ่ นิ่ ง หุ น หั น พลั น แล่ น และด้ า นดื้ อ ต่อต้าน ถ้ามีคา่ สูงกว่าคะแนนมาตรฐาน ให้สงสัยว่า เด็กมีปัญหาในด้านนั้น ๆ ๓. การทดสอบพัฒนาการ Denver II โดย - Language (L) = ประเมินพัฒนาการด้าน ภาษา - Gross motor (GM) = พัฒนาการด้านกล้าม เนือ้ มัดใหญ่ - Fine motor (FM) = พัฒนาการด้านกล้าม เนื้อมัดเล็ก - Personal–social (PS) = พัฒนาการ ด้านการช่วยเหลือตนเองตามวัยและสังคม หากพัฒนาการหลักทัง้ สีด่ า้ นล่าช้า (Delayed Item) มี ผ ลการทดสอบอยู ่ ใ นเกณฑ์ ส งสั ย ช้ า

57

(Suspect) ควรสร้างวินยั เชิงบวก (Positive Discipline) อย่างสม�่าเสมอปฏิบัติภารกิจประจ�าวันตามตาราง เวลาท� า ข้ อ ตกลงโดยฝึ ก การรอคอย ชมเชย (สร้าง Self-Esteem) หากเด็กท�าสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วย ตนเอง เช่ น ท� า ศิ ล ปะประดิ ษ ฐ์ เ พื่ อ ฝึ ก การจดจ่ อ (Attention) ออกก�าลังกายด้วยการวิง่ ว่ายน�า้ เตะบอล หากยั ง ไม่ ดี ขึ้ น ควรได้ รั บ การตรวจวิ นิ จ ฉั ย โดย แพทย์เฉพาะทาง ส�าหรับในปีการศึกษานี้ โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะ วรรณาลัย เปิดสอนจ�านวน ๓๓ ห้อง มีห้องเรียน สอนภาษา (ERK) เรียนภาษาอังกฤษ สัปดาห์ละ ๑๕ ชั่วโมง จ�านวน ๔ ห้อง ห้องภาษาอังกฤษ (EC) เรียนภาษาอังกฤษ สัปดาห์ละ ๑๕ ชั่วโมง จ�านวน ๑๔ ห้อง และห้องปกติ ซึ่งเรียนวิชาภาษาอังกฤษ สัปดาห์ละ ๑ ชั่วโมงนั้น สอนโดยครูต่างชาติเจ้าของ ภาษา มีกระบวนการจัดการเรียนรูก้ จิ กรรมประจ�าวัน ผ่ า น ๖ กิ จ กรรมหลั ก ให้ ไ ด้ เรี ย นรู ้ ผ ่ า นการใช้ ประสาทสัมผัสทั้งห้า (หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ) สอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมส�าหรับห้องเรียน


58

พุทธปัญญา จ�านวน ๖ ห้องนั้น เน้นพัฒนาเด็ก ๆ ตามหลั ก ไตรสิ ก ขา คื อ ศี ล สมาธิ และปั ญ ญา นอกจากนี้ ผู้ปกครองที่สามารถสนับสนุนให้เรียน เพิ่มเติมกับครูชาวต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจี น สอนโดยเหล่ า ซื อ จี น ภาษาญี่ ปุ ่ น โดยครู ชาวญี่ ปุ ่ น หรื อ เรี ย นคณิ ต คิ ด เร็ ว นอกเหนื อ จาก กิจกรรมเสริมหลักสูตร ได้แก่ สอนดนตรี นาฏศิลป เช่น ร�าไทย ว่ายน�้า การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น มีรูปแบบการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมโครงงาน ได้ แ ก่ ขี่ ม ้ า ก้ า นกล้ ว ย การเดิ น กะลาเพื่ อ ฝึ ก ฝน การทรงตัว ในห้ อ งภาษาอั ง กฤษนั้ น จั ด การเรี ย นรู ้ โ ดย มีการสนทนารายบุคคล กิจกรรมการร้องเพลงภาษา อังกฤษ การเล่นเกมการศึกษา (Edutainment) การเรียนรู้นอกห้องเรียน เช่น กิจกรรม Junior Chef เด็ก ๆ ได้ท�าอาหารนานาชาติ ฝึกท�าซูชิ แซนวิช กิจกรรมค่ายพัฒนาภาษาอังกฤษ (English Camp) เพื่อเตรียมความพร้อมต่อยอดการเรียนรู้ในระดับ ชั้นประถมศึกษาได้ ขณะนี้ ท างโรงเรี ย นเลื อ กใช้ เ ทคโนโลยี ให้ เ หมาะกั บ สภาพสั ง คม “ก้ ม หน้ า ” ในปั จ จุ บั น

ได้จัดจ้างวางระบบโครงสร้างพื้นฐานด้วย Fiber optic เพื่ อ พั ฒ นาทั ก ษะการเรี ย นรู ้ ข องนั ก เรี ย น และการรักษาความปลอดภัย ผ่าน Application มือถือในการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อช่วยในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน ด้วยแอพพลิเคชั่นชื่อ “School Hub” ซึ่งในโมดุล ที่ ๑ : เป็นระบบงานทะเบียน เช่น รายละเอียด ปีการศึกษา ภาคเรียน ระดับชั้น ห้องเรียน ทะเบียน นั ก เรี ย นปั จ จุ บั น สถิ ติ จ� า นวนนั ก เรี ย น, ในโมดุ ล ที่ ๒ : นั้นมีระบบลงเวลา เข้า - ออก ของนักเรียนด้วย Face Scan รวม ๔ ตั ว ที่ ป ระตู ท างเข้ า ออก


ข่าวทหารอากาศ

ของโรงเรียน เพือ่ ให้ผบู้ ริหารทราบข้อมูลของโรงเรียน แบบ Real time ถึ ง ยอดจ� า นวนเด็ ก ที่ ม าเรี ย น ในแต่ละวัน จ�านวนนักเรียนทีย่ งั ค้างช�าระค่าธรรมเนียม การศึกษา ส�าหรับโมดุลที่ ๓ : เป็นงานวิชาการ ได้แก่ หลักสูตรสถานศึกษาซึง่ โรงเรียนจัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ รายละเอียดของตารางสอน แจ้งกิจกรรมทางการ ศึกษาประจ�าภาคการศึกษา การประเมินรายวิชา และ ผลการเรียนรายบุคคล เป็นต้น โรงเรียนจัดท�าแผน

59

พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา (๒๕๖๒-๒๕๖๕) มีการสานต่อโครงการเดิมที่ท�าไว้ เช่น ห้องพุทธ ศาสนาที่ช่วยพัฒนาชีวิตให้ถึงพร้อมทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา ให้สามารถอยู่ในสังคมยุค ๔.๐ ได้อย่างมี ความสุข และโครงการการน�าร่องการจัดการเรียน การสอนภาษาอังกฤษในระดับอนุบาลเพื่อเสริม ทักษะด้านภาษาอังกฤษให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นได้ต่อไปในอนาคต

อ้างอิง - หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ - บันทึกข้อความสรุปการสั่งการในที่ประชุม ครม. ครั้งที่ ๓๐/๖๑ เมื่อวันที่ ๒๖ ก.ค.๖๑ - บันทึกข้อความสั่งการของ รมว.กห. ที่ ต่อ กห ๐๒๐๑/๑๑๙๗๓ ลงวันที่ ๒๕ ก.ย.๖๑




62

ASEAN Community Little Tidbits เกร็ดเล็กเกร็ดน อยประชาคมอาเซียน @Zilch

National Costume of Vietnam ชุดประจําชาติของประเทศเวียดนาม Áodài

The most popular and widely - recognized Vietnamese national costume is the Áodài, which consists of a long gown with a slit on both sides, worn over silk pants. Áodài is similar to the Chinese Qipao. Nowadays it is worn mostly by women, while men do wear Áodài on special occasions such as weddings and funerals. อ้างอิง

อาวหญาย

อ่าวหญ่าย เป็นชุดประจ�าชาติของประเทศ เวี ย ดนามที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มและเป็ น ที่ รู ้ จั ก กันอย่างกว้างขวาง ประกอบไปด้วยชุดยาวผ่า เปิดข้างที่พอดีตัวสวมทับกางเกงผ้าไหมขายาว มีลักษณะคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุด ที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม ส่วนผู้ชาย เวียดนามจะสวมใส่ชุดอ่าวหญ่าย ในโอกาสพิเศษ เช่น พิธีแต่งงานหรือพิธีศพ

- http://aseancorner.blogspot.com/2011/12/national-costumes-of-asean-member.html - https://banmaihong.wordpress.com/2011/06/16/l%E1%BB%8Bch-s%E1%BB%AD-ao-dai-vi%E1%BB%87t-nam - http://www.photoontour.com/gallery3/chantaburi/chantaburi_02.htm, http://www.engtest.net/forum/detail php?type_id=03-12&&topic_id=3488


ข่าวทหารอากาศ

การกํากับดูแลขอมูล (Data Governance) บันไดก าวแรกก อนการเชื่อมโยงข อมูล

น.อ.นนทรี อินทรสาลี

อุปสรรคที่ส�าคัญประการหนึ่งของหน่วยงาน ภาครัฐส่วนใหญ่ทยี่ งั คงประสบกันอยู่ คือ การบูรณาการ หรือการเชื่อมโยงข้อมูล แม้ว่ารัฐบาลจะได้จัดท�า “กรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์​์ แห่งชาติ” หรือ TH e-GIF เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ใช้ เ ป็ น แนวทางด� า เนิ น การมาแล้ ว หลายปี ก็ ต าม ซึ่งก็พบว่าหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยสามารถ จัดท�าระบบงานที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ แต่กย็ งั มีอกี หลายหน่วยงานทีป่ ระสบประเด็นปัญหา เกี่ยวกับการจัดการข้อมูล การขาดการวางแผน ในการบริหารจัดการข้อมูลทั้งวงจรชีวิตของข้อมูล (สร้าง จัดเก็บ ประมวลผล น�าไปใช้ เปิดเผย และ ท�าลาย) ขาดการบูรณาการข้อมูล อุปสรรคทางด้าน กฎระเบียบ รวมถึงการบริหารจัดการทีไ่ ม่ครอบคลุม ประเภทของข้อมูล ดังนั้น ส�านักงานพัฒนารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) จึงได้ออกเอกสาร

ฉบับใหม่ขึ้นมาคือ “กรอบการก�ากับดูแลข้อมูล (Data Governance Framework)” โดยมี วัตถุประสงค์ทจี่ ะให้หน่วยงานภาครัฐสามารถน�าไป ผลักดัน และด�าเนินการในการก�ากับดูแลข้อมูล รวมถึงติดตามการบริหารจัดการข้อมูลให้มีความ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ส่งผลต่อคุณภาพ ความมัน่ คง ปลอดภัย และบูรณาการข้อมูลได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง และเป็นปัจจุบนั ส�าหรับนิยามความหมายของ “การก�ากับดูแลข้อมูล (Data Governance)” นั้น หมายถึง การก�าหนดสิทธิหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารจัดการข้อมูล ทุกขั้นตอน เพื่อให้การได้มาและการน�าไปใช้ข้อมูล ของหน่วยงานภาครัฐถูกต้องครบถ้วนเป็นปัจจุบัน รักษาความเป็นส่วนบุคคลและสามารถเชื่อมโยง กันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัย

63


64

ส�าหรับเอกสารกรอบการก�ากับดูแลข้อมูล ฉบับนี้ มีเนื้อหาในการด�าเนินการที่ลงรายละเอียด ในหลายประเด็ น จึ ง จะขอสรุ ป ในส่ ว นส� า คั ญ เพื่อความเข้าใจโดยง่าย และจะเสริมในประเด็น ที่ เ ห็ น ว่ า หน่ ว ยงานภาครั ฐ ส่ ว นใหญ่ อ าจจะยั ง ไม่ได้น�ามาด�าเนินการ ซึ่งหากศึกษาจากแผนภาพ กรอบการก�ากับดูแลข้อมูลเราสามารถจัดเป็นกลุ่ม ของการด�าเนินการได้ ๓ กลุ่ม ได้แก่ นิยามและ กฎเกณฑ์ (Deinition and Rules) โครงสร้าง การก�ากับดูแล (Data Governance Structure) และกระบวนการก�ากับดูแล (Data Governance Process) • นิยามและกฎเกณฑ (Definition and Rules) ได้แก่ - สภาพแวดล้อมของการก�ากับดูแลข้อมูล (Data Governance Environment) อันได้แก่ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ แนวนโยบาย และแนวทาง ปฏิบัติ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ การเปิดเผยข้อมูล การแลกเปลีย่ นข้อมูลการคุม้ ครองข้อมูลส่วนบุคคล และการรักษาความลับของทางราชการ - นิยามข้อมูล (Data Deinition) เริ่มจาก

การจั ด ท� า หมวดหมู ่ ข ้ อ มู ล (Data Category) พร้อมทั้งนิยามความหมายของแต่ละหมวดหมู่ เหล่านั้นให้ชัดเจน เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูล ความมั่นคง ข้อมูลสาธารณะ นอกจากนี้ จะต้อง จัดท�า เมทาดาตา (Metadata) หมายถึง ข้อมูล ที่ ใช้ ก� า กั บ และอธิ บ ายข้ อ มู ล หลั ก หรื อ กลุ ่ ม ของ ข้อมูลอืน่ ซึง่ ให้รายละเอียดของชุดข้อมูล (Data sets) รวมถึงการจัดท�าบัญชีข้อมูล (Data Catalog) หมายถึง รายการของชุดข้อมูลทีห่ น่วยงานถือครอง หรือบริหารจัดการ ในรูปแบบของตารางรายชือ่ ชุด ข้อมูล รายงาน หรือแอปพลิเคชั่น บัญชีข้อมูล จะถู ก ใช้ เ พื่ อ อ� า นวยความสะดวกในการค้ น หา ชุดข้อมูล (Datasets) หรือ เมทาดาตา ซึ่งเป็น ประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล สุดท้ายคือการ จัดท�าคลังเมทาดาตา (Metadata Repository) หรือพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) คลัง เมทาดาตาหรือพจนานุกรมข้อมูลเป็นเครื่องมือ ในการรวบรวมและจัดเก็บเมทาดาตา เพือ่ สนับสนุน ให้ผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลสามารถค้นหาและเข้าถึง ได้โดยสะดวก ในส่วนนี้มีรูปที่แสดงความสัมพันธ์ ได้ดังนี้


ข่าวทหารอากาศ

- กฎเกณฑ์ข้อมูล (Data Rules) ซึ่งจะ ประกอบด้วย นโยบายข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดเก็บ ท�าลายข้อมูล แนวปฏิบัติและมาตรฐานในการ ประมวลผลข้อมูล การเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งจะต้องมีท�าสัญญาอนุญาตหรือข้อตกลงในการ แลกเปลี่ยนข้อมูลและการน�าข้อมูลไปใช้ รวมถึง มาตรฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ ข้อมูลและการใช้ข้อมูล เช่น มาตรฐานเมทาดาตา (Metadata Standard) มาตรฐานชุ ด ข้ อ มู ล (Datasets Standard) มาตรฐานการจัดชัน้ ความลับ ของข้อมูล (Data Classiication Standard) • โครงสร้างการกํากับดูแลข้อมูล (Data Governance Structure) หมายถึง โครงสร้าง ของบุคลากรที่รับผิดชอบในการก�ากับดูแลข้อมูล ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ประกอบด้วย ๑) คณะ

กรรมการก�ากับดูแลข้อมูล (Data Governance Council) ซึ่งจะมีอ�านาจสูงสุดในการก�ากับดูแล ข้ อ มู ล ภายในหน่ ว ยงานท� า หน้ า ที่ ตั ด สิ น ใจ เชิงนโยบายแก้ไขปัญหา ๒) ทีมบริกรข้อมูล (Data Steward Team) แบ่งเป็นบริกรข้อมูล ด้านธุรกิจ ด้านเทคนิคและด้านคุณภาพข้อมูลและผู้ท�าหน้าที่ ให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายข้อมูลและความรู้อื่น ๆ ทีจ่ ะสนับสนุนให้เกิดการก�ากับดูแลข้อมูลทีด่ ภี ายใน หน่วยงานโดยที่ทีมบริกรข้อมูลรับค�าสั่งโดยตรง จากคณะกรรมการก�ากับดูแลข้อมูล และ ๓) ผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียกับข้อมูล (Data Stakeholder) ซึ่งท�าหน้าที่ให้การสนับสนุนการก�ากับดูแลข้อมูล ต่อทีมบริกรข้อมูลและคณะกรรมการก�ากับดูแล ข้อมูลประกอบไปด้วยเจ้าของข้อมูล (Data Owners) ทีมบริหารจัดการข้อมูล (Data Management

65


66

Team) ผู้สร้างข้อมูล (Data Creators) และผู้ใช้ ข้อมูล (Data Users) • กระบวนการกํากับดูแลข้อมูล (Data Governance Process) มีขนั้ ตอนการด�าเนินงาน เช่นเดียวกับหลักบริหารทั่วไป ได้แก่ การวางแผน การน�าไปปฏิบัติ การประเมินผล และการปรับปรุง อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการก�ากับดูแลข้อมูลเป็นสิ่งที่ต้อง ด�าเนินการอย่างต่อเนือ่ งตลอดวงจรชีวติ ของข้อมูล เมือ่ กลับมาศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเอกสาร กรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์​์ แห่งชาติ (TH e-GIF) กับกรอบการก�ากับดูแลข้อมูล จะพบว่ า กรอบแนวทางการเชื่ อ มโยงรั ฐ บาล อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ์ แ ห่ ง ชาติ ได้ ก ล่ า วถึ ง การจั ด ท� า สถาปั ต ยกรรมข้ อ มู ล โดยเน้ น ไปที่ ก ารก� า หนด มาตรฐานการตั้งชื่อรายการข้อมูลและการจัดท�า แบบจ�าลองข้อมูล (Data Model) โดยที่ผลลัพธ์ ที่ได้จะท�าให้เกิดมาตรฐานรายการข้อมูลส�าหรับ เอกสารอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ แบบจ� า ลองข้ อ มู ล ของ เอกสาร และโครงสร้ า งเอกสารอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ซึ่ ง คื อ การเตรี ย มข้ อ มู ล ส� า หรั บ การจั ด ท� า การ

เชือ่ มโยงข้อมูลเท่านัน้ แต่ในส่วนของกรอบการก�ากับ ดูแลข้อมูลจะเป็นการก�าหนดกฎเกณฑ์ แนวทาง ปฏิบัติหน้าที่ ของทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องครบถ้วนเป็นปัจจุบัน และพร้อมใช้งาน ดังนัน้ จึงเปรียบเสมือนการจัดท�า กรอบการก� า กั บ ดู แ ลข้ อ มู ล เป็ น บั น ไดก้ า วแรก ของการจัดท�าการเชือ่ มโยงข้อมูลต่อไป ส�าหรับท่าน ที่ ส นใจสามารถศึ ก ษาได้ จ ากเอกสารฉบั บ เต็ ม ซึ่งทาง ทสส.ทอ.ได้จัดท�าเป็นเอกสารเผยแพร่ บนเว็บไซต์อินทราเน็ต ทสส.ทอ.เรียบร้อยแล้ว สุดท้ายนี้ จะขอฝากไว้วา่ เพียงแค่การเชือ่ มโยง ข้อมูลคงไม่เพียงพอ ทุกวันนี้ต้องมองไปถึงระบบ งานที่เป็นอัจฉริยะ สามารถท�างานหรือแม้กระทั่ง ตัดสินใจแทนมนุษย์ได้ เราจะต้องมีการบริหาร จั ด การข้ อ มู ล อย่ า งไร ซึ่ ง ข้ อ มู ล ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ในอนาคตก็ จ ะมี ป ริ ม าณเพิ่ ม มากขึ้ น ข้ อ มู ล มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ข้อมูลมีความ หลากหลายมากขึ้น ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เราจะต้อง เตรียมความพร้อมให้เท่าทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ก�าลังก้าวเข้ามา


ข่าวทหารอากาศ

67

ครูภาษาพาที by PJ the Piglet

เรียนรู ภาษาอังกฤษจากนิทานอีสป Learn English from Aesop’s Fables

สวัสดีทา่ นผูอ้ า่ นทุกท่านกลับมาพบกันอีกครัง้ กับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจากนิทานอีสปในฉบับนี้ ผู้เขียนได้น�านิทานอีสปจ�านวนสองเรื่องมาน�าเสนอ เป็นภาษาอังกฤษพร้อมค�าแปลภาษาไทยและค�าศัพท์ ท้ายเรื่องอีกเช่นเคย บัดนี้หากท่านผู้อ่านพร้อมแล้ว ขอเชิญเพลิดเพลินไปกับนิทานอีสปทั้งสองเรื่องกัน The North Wind and the Sun

The North Wind and the Sun had a quarrel about which of them was the stronger. While they were disputing with much heat and bluster, a traveler passed along the road

wrapped in a cloak. “Let us agree,” said the Sun, “that he is the stronger who can strip that traveler of his cloak.” “Very well,” growled the North Wind, and at once sent a cold, howling blast against the traveler. With the irst gust of wind, the end of the cloak whipped about the traveler’s body. But he immediately wrapped it closely around him, and the harder the Wind blew, the tighter he held it to him. The North Wind tore angrily at the cloak, but all his efforts were in vain. Then the Sun began to shine. At irst, his beams were gentle, and in the pleasant warmth after the bitter cold of the North Wind, the traveler unfastened his cloak and let it hang loosely from his shoulders. The Sun’s rays grew warmer and warmer. The man took off his cap and mopped his brow. At last, he became so heated that he pulled off his cloak, and, to escape the blazing sunshine, threw himself down in the welcome shade of a tree by the roadside. Moral of the story : “Gentleness and kind persuasion win where force and bluster fail.”


68

ลมเหนือกับดวงอาทิตย วันหนึ่งลมเหนือกับดวงอาทิตย์โต้เถียงกันว่า ใครมีพละก�าลังมากกว่ากันขณะทีพ่ วกเขาก�าลังโต้เถียง กันอย่างรุนแรง พวกเขาก็เห็นนักเดินทางผู้หนึ่ง ใส่เสื้อคลุมเดินมาตามถนน “มาดูกัน” ดวงอาทิตย์พูดว่า “ท่านคือผู้ท่ีมี พละก�าลังมากกว่า ทีจ่ ะสามารถท�าให้นกั เดินทางผูน้ นั้ ถอดเสื้อคลุมออกได้” “แน่นอน” เสียงลมค�ารามออกมา พร้อมแผ่กระแส ความหนาวเย็นวูบหนึง่ ใส่นกั เดินทางผูน้ นั้ อย่างรุนแรง ลมกรรโชกครัง้ แรกท�าให้ชายเสือ้ คลุมของนักเดินทาง สะบัดจนเขาต้องรีบรัดเสื้อคลุมไว้กับตัวให้แน่นขึ้น ยิง่ ลมพัดแรงมากขึน้ เท่าไรนักเดินทางก็ยงิ่ รัดเสือ้ คลุม ให้แน่นมากขึ้นเท่านั้น ลมเหนือพยายามพัดเสื้อคลุม ของนักเดินทางให้หลุดออกด้วยความโกรธ แต่ความ พยายามทั้งหมดก็ไร้ผล หลังจากนั้นดวงอาทิตย์ก็เริ่มส่องแสง แรกเริ่ม แสงทีส่ อ่ งออกมานัน้ เป็นแสงอ่อน ๆ นักเดินทางผูน้ นั้ รู้สึกอุ่นขึ้นหลังจากที่ถูกลมเหนือพัดด้วยความรุนแรง และแผ่ความหนาวเย็นใส่ เขาคลายเสือ้ คลุมและปล่อย ให้มนั คลุมร่างเขาหลวม ๆ แสงจากดวงอาทิตย์เริม่ ให้ ความอบอุ่นมากขึ้น ๆ เขาถอดหมวกและปาดเหงื่อ บนหน้าผาก

ในทีส่ ดุ นักเดินทางก็รสู้ กึ ร้อนมากจนเขาต้องถอด เสือ้ คลุมออกมาและทิง้ ตัวลงใต้ตน้ ไม้ขา้ งทางเพือ่ หลบ แสงที่ส่องออกมาอย่างเต็มก�าลังจากดวงอาทิตย์ นิทานเรือ่ งนีส้ อนให้รวู้ า่ “ความอ่อนโยนและการ โน้มน้าวอันนุ่มนวลได้ผลกว่าการใช้ความรุนแรง” คําศัพทที่นาสนใจจากเรื่อง The North Wind and the Sun - quarrel (n.) /ควอเริล/ แปลว่า การทะเลาะวิวาท การโต้เถียง การไม่ลงรอยกัน ตัวอยาง Cheryl and Betty have had a quarrel about money. เชอรีลและเบ็ตตีท้ ะเลาะกันเรือ่ งเงิน - dispute (v.)/ดิสพฺยูท/ แปลว่า ทะเลาะ โต้เถียง โต้แย้ง ตัวอยาง No one disputes that there is a problem. ไม่มีใครแย้งว่ามีปัญหาเกิดขึ้น - bluster (n.)/บลัสเตอร์/ แปลว่าการตะคอก เสียงเอ็ดตะโร เสียงค�าราม ตัวอยาง I wasn't frightened by what Justin said; it was just all bluster. ฉันไม่ได้ตกใจกลัวในสิ่งที่จัสติน พูดเลย เพราะมันก็แค่เสียงเอ็ดตะโร - gentleness (n.)/เจนทึลเนิส/ แปลว่า ความนุม่ นวล ความอ่อนโยน ตัวอยาง Mera will be remembered for her kindness and gentleness. เมร่าจะได้รับการจดจ�าในเรื่องของ ความเมตตาและความอ่อนโยนของเธอ - persuasion (n.)/เพอะสเวชึน/ แปลว่า การชักชวน การชักจูง การโน้มน้าว การเกลี้ยกล่อม ตัวอยาง After a little gentle persuasion, Veronica agreed to cometo the party. หลังจากการเกลีย้ กล่อมเพียงเล็กน้อย เวโรนิกาก็ตดั สินใจไปงานปาร์ตดี้ ว้ ย


ข่าวทหารอากาศ

The Ant and the Chrysalis

An ant nimbly running about in the sunshine in search of food,came across a chrysalis that was very near its time of change. The chrysalis moved its tail, and thus attracted the attention of the ant, who then saw for the irst time that it was alive. "Poor, pitiable animal!" cried the ant disdainfully. "What a sad fate is yours! While I can run hither andthither, at my pleasure, and, if I wish, ascend the tallest tree, you lie imprisoned here in your shell, with power only to move a joint or two of your scaly tail." The chrysalis heard all this, but did not try to make any reply. A few days after, when the ant passed that way again, nothing but the shell remained. Wondering what had become of its contents, he felt himself suddenlyshaded and fanned by the gorgeous wings of a beautiful butterfly. "Behold in me," said the butterfly, "You much-pitied friend! Boast now of your powers to run and climb as long as you can get me to listen." So saying, the butterfly rose in

69

the air, and, borne along and aloft on the summer breeze, was soon lost to the sight of the ant forever. Moral of the story : “Appearances are deceptive.” มดกับดักแด้ ในวันอากาศแจ่มใส มดตัวหนึ่งก�าลังวิ่งออกหา อาหารอย่างคล่องแคล่ว มันบังเอิญได้พบกับดักแด้ ตัวหนึง่ ซึง่ ก�าลังจะเปลีย่ นแปลงสภาพร่างกายจากดักแด้ เป็นผีเสื้อ ดักแด้ขยับหางของมัน ซึ่งท�าให้มดจ้องมอง ด้ ว ยความสนใจ และรู ้ ว ่ า สิ่ ง ที่ มั น เห็ น นั้ น มี ชี วิ ต “น่าสงสารจริง ๆ เลย” มดร้องด้วยเสียงเย้ยหยัน “เจ้านี่ช่างมีชะตาที่น่าเศร้าอะไรเช่นนี้ ในขณะที่ข้า สามารถวิ่งไปไหนมาไหนหรือปนขึ้นยอดต้นไม้ได้ ตามที่ใจต้องการ แต่เจ้ากลับได้แต่นอนนิ่งในเปลือก ของตัวเองอยูต่ รงนี้ และมีแรงแค่ขยับหางเท่านัน้ ” ดักแด้ ได้ยินค�าเหยียดหยันที่มดพูดออกมาทั้งหมดแต่มัน ก็ไม่ได้โต้ตอบใด ๆ ไม่กวี่ นั ต่อมา เมือ่ มดตัวดังกล่าวเดินผ่านมาทางนัน้ อีกครัง้ ก็ไม่พบสิง่ ใดอีก นอกจากเปลือกของดักแด้ทยี่ งั คง อยูบ่ ริเวณนัน้ ในขณะทีม่ นั ก�าลังประหลาดใจว่าสิง่ ทีอ่ ยู่ ในเปลือกกลายเป็นอะไรมันก็รู้สึกทันทีว่าตัวเองก�าลัง


70

ได้รับร่มเงาและลมเย็นจากปีกที่สวยงามของผีเสื้อ “เห็นข้าไหม” ผีเสื้อพูด “เจ้าน่าเวทนายิ่งนัก! ตอนนี้ เจ้าสามารถโอ้อวดพละก�าลังของเจ้าในการวิ่งและ ปนไต่ได้เท่าที่เจ้าอยากให้ข้าฟง” จากนั้น ผีเสื้อก็บิน ขึ้นไปในอากาศ มุ่งหน้าไปตามสายลมที่แผ่วเบา ในฤดูร้อน จนลับสายตาของมดไปตลอดกาล นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า “สิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่ สิ่งที่เป็น” คําศัพทที่นาสนใจจากเรื่อง The Ant and the Chrysalis - chrysalis (n.)/คริเซอะลิส/ แปลว่า ตัวดักแด้ ตัวอยาง That butterfly evolves from the chrysalis. ผีเสื้อตัวนั้นมีวิวัฒนาการมาจาก ตัวดักแด้ - come across (phrasal verb) /คัม เออะครอส/ แปลว่า พบโดยบังเอิญ ตัวอยาง Kate came across some old photographs in a drawer this morning. เคทพบรูปถ่ายเก่า ๆ อยู่ในลิ้นชัก โดยบังเอิญเมื่อเช้านี้

- disdainfully (adv.) /ดิสเดนเฟอะลี/ แปลว่า อย่าง ดูถูกดูหมิ่น อย่างเย้ยหยัน อย่างเหยียดหยาม ตัวอยาง Brad’s ex looked at him disdainfully. แฟนเก่าของแบรดมองเขาอย่าง เหยียดหยาม - hither and thither (idiom) /ฮิเธอะ เอินดฺ ธิเธอร์/ แปลว่า ที่โน่นและที่นี่ ที่ต่าง ๆ ตัวอยาง People in the big city began rushing hither and thither. ผู้คนในเมืองใหญ่ต่างก็รีบเร่งไป ที่โน่นทีที่นี่ที - deceptive(adj.) /ดิเซ็พทิฟวฺ/ แปลว่า ที่สร้าง ความหลงผิด ซึ่งหลอกลวง ที่ลวงตา ตัวอยาง The irm has published a deceptive advertisement in the newspaper. บริ ษั ท ตี พิ ม พ์ โ ฆษณาหลอกลวง ประชาชนลงหนังสือพิมพ์ ก่อนจากกันผู้เขียนหวังว่าท่านผู้อ่านคงรู้สึก เพลิดเพลินและได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้ภาษา อั ง กฤษผ่ า นนิ ท านอี ส ปทั้ ง สองเรื่ อ งนี้ เ พิ่ ม เติ ม จนกว่าจะพบกันใหม่ค่ะ

อ้างอิง - http://mythfolklore.net/aesopica/milowinter/141.htm - http://www.aesopfables.com/cgi/aesop1.cgi?sel&TheAntandtheChrysalis - http://ceritaindonesiainggris.blogspot.com/2013/03/an-ant-and-chrysalis.html


ข่าวทหารอากาศ

71

การประชุมในกรอบอาเซียน ที่เป นมิตรต อสิ่งแวดล อม โดย ศูนย์ปฏิบัติการอาเซียน 2019 ก้าวเล็ก ๆ ของการพัฒนาหุ้นสวนเพื่อความยั่งยืน

เมือ่ นึกถึงปัญหาสิง่ แวดล้อมทีก่ ระทบการใช้ชวี ติ ประจ�าวันของคนไทยมากทีส่ ดุ ในขณะนี้ คงหนีไม่พน้ วิกฤตฝุ่น PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบให้มหาวิทยาลัย และโรงเรียนจ�านวนมากต้องปิดชั่วคราว ประชาชน ที่เดินทางหรือท�ากิจกรรมกลางแจ้งต้องใส่หน้ากาก อนามั ย เพื่ อป้ อ งกันปัญหาสุขภาพ เพราะอากาศ ไม่ ส ะอาดพอให้ ห ายใจได้ ต ามปกติ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ดูเหมือนจะไกลตัวแต่ล้วน เกิดจากฝีมือมนุษย์อีกมากมาย

(ASEAN 2019 Task Force) กระทรวงการต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม มีกระแสการรักษาสิ่งแวดล้อม เริม่ แพร่หลายและกระจายไปในวงกว้างมากขึน้ ทุกวัน พร้ อ มทั้ ง แทรกซึ ม เข้ า ไปอยู ่ ใ นชี วิ ต ประจ� า วั น ของทุกคน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดหลักของการเป็น ประธานอาเซียนครัง้ นีว้ า่ “Advancing Partnership for Sustainability” หรือ “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยัง่ ยืน” โดยมิตหิ นึง่ ของความยัง่ ยืน (Sustainability) คื อ ความยั่ ง ยื น ด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มและระบบนิ เวศ โดยการประชุมระดับต่าง ๆ โดยเฉพาะระดับผู้น�า และระดับรัฐมนตรีที่ไทยเป็นเจ้าภาพในปีนี้ จะเป็น ครั้ ง แรกในกรอบอาเซี ย นที่ น� า แนวทางการจั ด การประชุมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาปฏิบัติจริง เพื่ อ แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความริ เริ่ ม ของประเทศไทย ในการน�าแนวคิดหลักนี้มาใช้ให้เห็นผลเป็นรูปธรรม การจั ด ประชุ ม อย่ า งเป็ น มิ ต รต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม หรือ Green Meeting เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม รู ป แบบหนึ่ ง ที่ มี ม านานแล้ ว แต่ ห ลายคนอาจไม่ สังเกตเห็น เพราะเป็นการลดการใช้ส่ิงของเล็ก ๆ รอบตัว ตามหลัก 3Rs ได้แก่ การลดขยะ (Reduce) การน� า กลั บ มาใช้ (Reuse) และการรี ไซเคิ ล (Recycle) รวมถึ ง การน�าขยะมาสร้างมูลค่าเพิม่ (Upcycle) ซึง่ จะน�ามา


72

ปรับใช้ในการประชุมอาเซียนตลอดทั้งปี เช่น การใช้ ขวดแก้ ว หรื อ เหยื อ กน�้ า แทนการใช้ ข วดพลาสติ ก การงดใช้หลอดพลาสติก การลดการพิมพ์กระดาษ โดยน� า ระบบเอกสารอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ม าใช้ การใช้ กระดาษพิ ม พ์ แ ละสมุ ด จดจากกระดาษรี ไซเคิ ล การใช้กล่องอาหารกระดาษชานอ้อยและช้อนส้อม พลาสติกชีวภาพ การใช้ถุงผ้าที่ท�าจากวัสดุธรรมชาติ และวัสดุรไี ซเคิลใส่ของทีร่ ะลึกทีจ่ ะแจกให้ผเู้ ข้าประชุม การเลือกใช้สงิ่ ของโดยค�านึงถึงผลกระทบทีจ่ ะตามมา ภายหลั ง เหล่ า นี้ จ ะแสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความตั้ ง ใจ ของประเทศไทยในการใช้ ท รั พ ยากรอย่ า งคุ ้ ม ค่ า และยั่ ง ยื น ช่ ว ยลดการใช้ ท รั พ ยากรธรรมชาติ และที่ ส� า คั ญ ช่ ว ยลดปริ ม าณขยะที่ จ ะเกิ ด จาก การประชุมต่าง ๆ ได้จ�านวนมาก การริเริม่ Green Meeting ครัง้ นี้ ภาครัฐได้จบั มือ กับหน่วยงานภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ ภาควิชาการ

และภาคประชาสังคม อาทิ เอสซีจี บริษทั การบินไทย บริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล กลุ่มเซ็นทรัล ธนาคาร ออมสิ น บริ ษั ท MQDC บริ ษั ท บี เ อ็ ม ดั บ เบิ ล ยู (ประเทศไทย) สมาคมสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ) ศู น ย ์ วิ จั ย น โ ย บ า ย ด ้ า น เ ศ ร ษ ฐ กิ จ สี เ ขี ย ว คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ศู น ย ์ ป ฏิ บั ติ ก า ร อ อ ก แ บ บ จ า ก วั ส ดุ เ ห ลื อ ใช ้ (Scrap Lab) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เพื่อร่วมเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืน (Partner for Sustainability) โดยร่ ว มกั น ให้การสนับสนุนในมิติ “Sustainability of Things” ในหลากหลายรูปแบบ รวมถึงจัดกิจกรรมรณรงค์ เพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ ของประเทศไทยทั่วประเทศ ซึ่งจะมีการด�าเนินการ เป็นระยะ ๆ ตลอดทั้งปี


ข่าวทหารอากาศ

การหยิบยกประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เข้ามาสูก่ ารจัดประชุมในกรอบอาเซียนตลอดทัง้ ปี จะช่ ว ยขยายความตระหนั ก รู ้ ใ นภาครั ฐ ภาค เอกชน ภาคประชาสั ง คมทั้ ง ในประเทศและ ต่างประเทศ และแสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่าไทย และประเทศสมาชิ ก อาเซี ย นจะร่ ว มกั น แก้ ไข และป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ รวมถึง ปัญหาทีก่ า� ลังจะเกิดขึน้ เพือ่ ให้ประชาคมอาเซียน มีสภาพแวดล้อมสีเขียว สะอาด มุ่งสู่การพัฒนา อย่างยั่งยืนของชุมชนและประชาชนชาวอาเซียน การด� า รงต� า แหน่ ง ประธานอาเซี ย นของ ประเทศไทยทีจ่ ะเวียนมาบรรจบในรอบทศวรรษนี้ จึงนอกจากจะเป็นโอกาสที่ประชาชนชาวไทย

73

จะร่วมกันเป็นเจ้าภาพที่ดี ต้อนรับแขกคนส�าคัญ จากประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา ทัว่ โลก เพือ่ สร้างความประทับใจแก่ผเู้ ข้าร่วมประชุม ให้อยากกลับมาเยือนประเทศไทยเสมอ ยังเป็นวาระ ส�าคัญที่ประเทศไทยจะแสดงให้เห็นถึงการร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมมือกันใช้ทรัพยากรอย่างคุม้ ค่า โดยค�านึงถึง ความยั่ ง ยื น ด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มและระบบนิ เ วศน์ และทีส่ า� คัญอีกประการคือ เป็นการสร้างแรงผลักดัน ในวงกว้ า งให้ ป ระชาชนไทยร่ ว มกั น ด� า เนิ น ชี วิ ต ประจ� า วั น ในรู ป แบบที่ รั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้ อ มมากขึ้ น ตาม Motto “Keep Calm and Go Green” ซึ่งก�าลังเป็นที่นิยมในหมู่กลุ่มคนยุคใหม่ทั่วโลก


74


ข่าวทหารอากาศ

อินทรีแดงแผลงฤทธิ์

75

น.ต.ภฤศพงศ์ ช้อนแก้ว

“WMD” อาวุธทําลายลางสูง อันนาสะพรึงกลัว การสู ้ ร บของมวลมนุ ษ ยชาติ เ กิ ด ขึ้ น ครั้ ง แรก เมื่อใดนั้นคงยากจะตอบได้ แต่การใช้อาวุธเข้าสู้รบ กันนัน้ นับวันจะมีความรุนแรงทวีเพิม่ มากขึน้ นับตัง้ แต่ มนุษย์ยุคหินที่ต้องต่อสู้รบกันเพื่อแย่งชิงและปกป้อง พื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ที่ใช้ในการด�ารงชีพโดยใช้ไม้มัด ผู ก ติ ด กั บ หิ น ที่ ขั ด ไสจนแหลมคมเพื่ อ ใช้ เ ป็ น อาวุ ธ จนกระทั่งถึงยุคโลหะที่เริ่มน�าเหล็กมาหลอมละลาย และตีขึ้นรูปให้กลายเป็นอาวุธมีดดาบ จากนั้นต่อมา จึงเข้าสูย่ คุ อุตสาหกรรมทีม่ กี ารคิดค้นอาวุธให้ทนั สมัย ทีเ่ รียกว่า “ปนไฟ” ขึน้ มีทงั้ ปนเล็กยาว ปนเล็กสั้น พกติดตัว จนไปถึงปนใหญ่ เพื่อใช้ในการท�าลายล้าง กันในชั่วพริบตา นับได้ว่าการสร้างอาวุธทั่วโลกนั้น ได้มีการพัฒนาขีดความสามารถในการท�าลายศัตรู เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดจึงได้ถือก�าเนิด อาวุธทีไ่ ด้ชอื่ ว่าเป็นอาวุธท�าลายล้างสูงขึน้ ซึง่ สามารถ ท�าลายฝ่ายตรงข้ามให้ล้มตายได้ภายในชั่วพริบตา เป็นจ�านวนมาก อะไรคือสิ่งที่เรียกว่า “อาวุธท�าลาย ล้างสูง” และอะไรเป็นสิ่งส�าคัญที่เราทุกคนตระหนัก และให้ความส�าคัญ จากนี้ขอเชิญท่านผู้อ่านที่เคารพ ทุกท่านได้ติดตามเนื้อหาเป็นล�าดับต่อไป WMD มหัตภัยร้ายทีม่ คี วามร้ายแรงและอาจถึง ขั้ น สู ง สุ ด เท่ า ที่ โ ลกใบนี้ จ ะหาค� า มาจ� า กั ด ความได้ WMD นัน้ ย่อมาจาก Weapon of Mass Destruction ว่าด้วยเรื่องของอาวุธที่มีความสามารถในการสังหาร

การฝึกการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ในพื้นที่ที่มีอาวุธท�าลายล้างสูง

มนุษย์รวมถึงสิง่ มีชวี ติ ต่าง ๆ ได้มหาศาล มีความหมาย ครอบคลุม “NBC” สามารถจ�าแนกออกเป็น ดังนี้ อาวุธปรมาณู (Nuclear) อาวุธชีวภาพ (Biological) อาวุ ธ เคมี (Chemical) รวมถึ ง กั ม มั น ตภาพรั ง สี ค�าว่า “WMD” ได้เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ซึ่งเรียกลักษณะการปฏิบัติการของทหาร เยอรมันที่ได้ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดในประเทศต่าง ๆ เพื่อหวังยึดครองยุโรป ชาวอังกฤษจึงพากันเรียกว่า Weapons of Mass Destruction รวมถึงครั้งเมื่อ สหรัฐอเมริกาท�าการทิ้งระเบิดปรมาณูท่ีเมืองฮิโรชิมา


76

การฝึกการล้างสารพิษ

และนางาซากิ ประเทศญีป่ นุ่ และมีการใช้คา� ว่า WMD เรื่อยมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็นโดยจะเป็นการเรียก “การใช้เคมีชวี ภาพ” ว่าเป็นการใช้ “อาวุธท�าลายร้าย แรง” เพราะนอกจากการใช้อาวุธชีวภาพที่ประกอบ กับระเบิดจะท�าลายสิ่งมีชีวิตได้ย่อยยับแล้ว แต่ยัง สามารถท� า ลายโดยการแพร่ ก ระจายของละออง สารเคมีไปในอากาศได้อีกด้วย ดังนั้น ความร้ายแรง จึงทวีคูณมากกว่าระเบิดปกติ ต่อมา ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๖ ค�าว่า “WMD” ได้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกมากขึ้นอีกครั้งโดยประเทศ สหรัฐฯ ได้ท�าการรุกรานประเทศอิรัก ซึ่งเป็นชนวน ความขัดแย้งที่เรียกว่าสงครามอิรัก หรือปฏิบัติการ เสรีภาพอิรัก ซึ่งมีก�าลังผสมอันประกอบด้วยทหาร จากสหรั ฐ ฯ สหราชอาณาจั ก ร ออสเตรเลี ย และโปแลนด์ โดยสหรัฐฯ อ้างต่อสหประชาชาติ (The United Nations Monitoring, Veriication and Inspection Commission : UNMOVIC) ว่ า “ประเทศอิรักท�าการผลิตและสะสมอาวุธนิวเคลียร์ เคมี ชี ว ภาพไว้ เ ป็ น จ� า นวนมากและเป็ น อั น ตราย ต่อประเทศสหรัฐอเมริกา” จึงได้ใช้ข้ออ้างดังกล่าว ในการป้ อ งกั น ตนเองโดยได้ เริ่ ม ปฏิ บั ติ ก ารโจมตี ทางทหารต่ออิรักก่อนอย่างโหดเหี้ยมทั้งก�าลังทหาร

และประชาชน เป็นเหตุให้ประเทศอิรักต้องพ่ายแพ้ สงครามในครั้ ง นั้ น ซึ่ ง จนถึ ง ปั จ จุ บั น ก็ ยั ง พิ สู จ น์ ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่ได้ และสุดท้ายสงครามนี้ ได้จบลงโดยการที่ทหารสหรัฐฯ ถอนก�าลังออกจาก อิรัก เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ทั้งนี้ยังมี อี ก หลายประเทศในตะวั น ออกกลางที่ ยั ง เป็ น ที่ต้องสงสัยซึ่งยังมีการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ ได้แก่ ประเทศอิหร่าน ประเทศซีเรีย เป็นต้น ในระดับภูมิภาคอาเซียน หรือเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ของเรานัน้ ส�าหรับในเรือ่ งของ WMD ยังถือว่า ไม่มกี ารแพร่ขยายของอาวุธมากนัก เนือ่ งจากประเทศ ในภู มิ ภ าคนี้ ไ ม่ มี ป ั ญ หาความขั ด แย้ ง และปั ญ หา ภั ย คุ ก คาม WMD ยั ง ไม่ เ ด่ น ชั ด เท่ า กั บ ประเทศ ในตะวั น ออกกลางที่ ต ้ อ งมี ก ารสะสมอาวุ ธ นิวเคลียร์ชีวเคมี และยังไม่มีผลกระทบอย่างรุนแรง จากภั ย สงครามที่ ห นั ก จนต้ อ งมี ก ารสะสมอาวุ ธ ดังกล่าว แต่ทั้งนี้ในกรอบการด�าเนินของภูมิภาคนี้ ได้ให้ความส�าคัญในเรื่องการควบคุมการใช้พลังงาน

จากนิวเคลียร์ โดยให้ความรวมมือในการจัดท�าสนธิ สัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Nuclear-WeaponFree Zone Treaty - SEANWFZ) เมือ่ ปี พ.ศ.๒๕๓๘ และจัดท�ากฎบัตรอาเซียนซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อเดือน ธั น วาคม พ.ศ.๒๕๕๑ โดยระบุ อ ย่ า งชั ด เจนว่ า “การรักษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เป็นเขตปลอด


ข่าวทหารอากาศ

อาวุ ธ นิ ว เคลี ย ร์ แ ละปลอดจากอาวุ ธ ที่ มี อ านุ ภ าพ ท�าลายล้างสูงอืน่ ๆ” โดยต้องเข้าร่วมภาคีสา� คัญ ได้แก่ NPT (Non Proliferation Treaty) BWC (Biological Weapons Convention) และ CWC (Chemical Weapons Convention) ซึง่ ทุกประเทศในอาเซียน ต่างพร้อมใจกันลงนาม ยกเว้นแต่เพียงประเทศเมียนมาร์ เท่านั้นที่ลงนามใน BWC และ CWC แต่ ยั ง มิ ไ ด้ ให้สตั ยาบัน ซึง่ หมายความว่า ประเทศเมียนมาร์ยงั ไม่ได้ เป็นภาคีของ BWC และ CWC ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีของ NPT เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๕ (ค.ศ.๑๙๗๒) และปฏิบตั ติ าม พันธกรณีของ NPT อย่างเคร่งครัด โดยมีส�านักงาน ปรมาณู เ พื่ อ สั น ติ เ ป็ น หน่ ว ยงานหลั ก ระดั บ ชาติ ในการด�าเนินการตาม “NPT” หรือ “สนธิสัญญา ไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์” มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๑๓ (ค.ศ.๑๙๗๐) และได้รบั การต่ออายุแบบ ถาวร (indeinite extension) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ (ค.ศ.๑๙๙๕) ระหว่างการประชุมทบทวนครั้งที่ ๕ จนถึงปัจจุบนั และยังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกภาคี BWC และ CWC ตามล�าดับ กองทั พ ไทยได้ ใ ห้ ค วามส� า คั ญ ในเรื่ อ งของ การก่อการร้ายโดยใช้ “อาวุธท�าลายร้ายแรง” หรือ

77

“WMD” โดยแต่ละเหล่าทัพจะมี กรมวิทยาศาสตร์ ของแต่ ล ะเหล่ า ประจ� า อยู ่ ใ นกองทั พ ซึ่ ง จะมี ความรับผิดชอบในด้านการป้องกัน เคมี ชีวะ รังสี นิวเคลียร์ มีความเข้าใจ และสามารถป้องกันตัวเอง ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ส่ ง ผลให้ ส ามารถปฏิ บั ติ ภารกิจได้สมบูรณ์ โดยศูนย์ต่อต้านการก่อการร้าย สากล กองบัญชาการกองทัพไทย (ศตก.บก.ทท.) จะเป็ น แม่ ง านในการฝึ ก ก� า ลั ง พลในกองทั พ ไทย ให้มีความเข้าใจแก้ไขสถานการณ์การก่อการร้าย ที่มีการใช้อาวุธเคมีปฏิบัติการต่อประชาชนในทุก พืน้ ทีท่ วั่ ประเทศ เพราะเนือ่ งจากยังมีอกี หลายประเทศ เลือกที่จะสะสม เตรียมอาวุธเคมีเพื่อใช้ในการรบ กับประเทศคู่อริต่อไปและอาจจะทวีความรุนแรง เพิ่มมากขึ้นก็เป็นได้ หากตราบใดที่หลาย ๆ ประเทศ ยั ง มี ค วามขั ด แย้ ง อยู ่ โดยเฉพาะประเทศ ในตะวันออกกลาง กอปรกับประเทศไทยถือว่าเป็น ศู น ย์ ก ลางส� า คั ญ ของภู มิ ภ าคเอเชี ย ตะวั น ออก เฉียงใต้ ทั้งด้านการค้า การคมนาคมขนส่ง และ การท่องเที่ยว อันจะส่งผลในภาพรวมทั้งต่อประเทศ และต่อภูมิภาคหากเกิดการก่อการร้ายโดยใช้อาวุธ ท�าลายร้ายแรงขึ้น

การฝึกการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ในพื้นที่ที่มีอาวุธท�าลายล้างสูง


78

จากเหตุการณ์การก่อการร้ายต่าง ๆ ทีเ่ คยเกิด ขึน้ ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นการปฏิบตั กิ ารของ ชาวต่ า งชาติ ที่ ห วั ง จะแสดงออกโดยการกระท� า เพื่อเรียกร้องผลประโยชน์หรือแสดงเชิงสัญลักษณ์ อันได้แก่ เหตุการณ์การก่อการร้ายของชาวต่างชาติ บริเวณศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวั ณ บริ เ วณสี่ แ ยกราชประสงค์ เมื่ อ วั น ที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๘ ท�าให้มีผู้เสียชีวิต ๑๙ คน และมีผู้บาดเจ็บประมาณ ๑๒๓ คน เหตุ ก ารณ์ ก ารพยายามก่ อ การร้ า ยของชาว อิหร่านที่หวังจะลอบสังหารทูตอิสราเอล เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ แต่เกิดความล้มเหลว โดยก่อนหน้านี้ได้มีการก่อเหตุในลักษณะเดียวกัน ในการโจมตี ทู ต อิ ส ราเอลในกรุ ง ทบิ ลิ ซี ประเทศ จอร์เจี ย และกรุ ง นิ วเดลี ประเทศอินเดีย ซึ่งแม้ เหตุการณ์นจี้ ะไม่ประสบผลส�าเร็จแต่กส็ ามารถท�าให้ มีผู้บาดเจ็บเป็นจ�านวน ๕ คน รวมถึงเหตุการณ์ การก่อการร้ายอื่น ๆ ที่ผ่านมา

จากสิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ท� า ให้ ก องทั พ ได้ ต ระหนั ก ถึงภัยอันตรายของ WMD ซึ่งมีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ เช่ น กั น ในอนาคต จึ ง ได้ มี ก ารฝึ ก ร่ ว มกั น ระหว่ า ง เหล่าทัพ เพือ่ ให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในการปฏิบตั งิ าน เข้าแก้ไขสถานการณ์ สามารถประสานงานร่วมกัน ทั้ ง กองทั พ บก กองทั พ เรื อ กองทั พ อากาศ และ ส�านักงานต�ารวจแห่งชาติ ได้เป็นอย่างดี รวมถึงแต่ละ เหล่าทัพได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน จนเกิดการพัฒนา เทคโนโลยีตา่ ง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ ให้ทนั ต่อสถานการณ์ ภัยก่อการร้ายของโลกที่เกิดขึ้น การปฏิบตั งิ านต่อต้านการก่อการร้ายกรณีมกี าร ใช้อาวุธนิวเคลียร์ชีวะเคมี (NBC) อันเป็นลักษณะ การใช้ WMD ที่มีความร้ายแรงสูงนั้น จะมีลักษณะ การท� า งานที่ เ น้ น ความปลอดภั ย ของเจ้ า หน้ า ที่ เป็นหลักส�าคัญ เพราะเนื่องจากขึ้นชื่อว่า “เป็นอาวุธ ร้ายแรง” แล้ว มันสามารถท�าลายสิ่งมีชีวิตทั่วอาณา บริเวณตามศักยภาพของมันเท่าทีจ่ ะท�าได้ในชัว่ พริบตา ลักษณะการท�างานของอาวุธดังกล่าวเป็นการกระจายตัว

การฝึกการเตรียมสถานีล้างพิษ


ข่าวทหารอากาศ

79

การฝึกการตรวจสอบสารพิษของชุดโจมตี

ไปในอากาศหรือในน�า้ ซึง่ มนุษย์ได้รจู้ กั การผลิตอาวุธ ชีวภาพเหล่านี้ โดยเลียนแบบการเกิดโรคระบาด ท�าให้ความหายนะของอาวุธเหล่านัน้ ไม่ได้ดอ้ ยไปกว่า ระเบิดปรมาณู ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานในการ เข้าช่วยเหลือประชาชนและคลี่คลายสถานการณ์ ให้ได้โดยเร็ว เจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั กิ ารพิเศษจึงจ�าเป็นต้องมี การป้องกันตัวเองก่อนทุกครั้งเมื่อต้องเข้าปฏิบัติงาน เสมอทั้งในการเข้าปราบปรามผู้ก่อการร้าย การเข้า ช่วยเหลือตัวประกัน และการเข้าล้างสารพิษ โดยแบ่งระดับความรุนแรงของการใช้อุปกรณ์ ป้องกันตนเองตามเป็น ๔ ระดับ คือ ระดับ A, B, C และ D ระดับที่มีความรุนแรงมากที่สุดเรียกว่าระดับ A ส่วนระดับอื่นก็ลดหลั่นกันลงไปจนถึงระดับ D ในการเข้าปฏิบตั หิ น้าทีข่ องชุดโจมตี หากทราบข่าวว่า มี ก ารใช้ อ าวุ ธ เคมี ชุ ด โจมตี จ ะด� า เนิ น การเตรี ย ม อุปกรณ์เครื่องช่วยป้องกันสารเคมี โดยใช้หน้ากาก กันไอพิษเป็นยุทโธปกรณ์ประจ�าตัวเจ้าหน้าที่ซึ่งต้อง สามารถแกะจากกระเป๋าอุปกรณ์แล้วน�ามาใส่ได้ทนั ที

ภายในระยะเวลา ๙ วินาที (ตามระเบียบปฏิบตั ิ : รปป.) ผนวกกับชุดที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษใส่มีความ กระชับรัดกุม สามารถช่วยป้องกันเบื้องต้นในบาง โอกาสที่ต้องอาจไปสัมผัสหรือถูกสารเคมีโดยตรง แต่ถงึ กระนัน้ ก็ทา� ได้เพียงแค่ปอ้ งกันสารเคมี ในระดับ C และ D เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นระดับต�่า หากสารเคมีมีระดับความเข้มข้นขึ้นสูงกว่านี้ ชุดที่ใช้ จ� า เป็ น จะต้ อ งมี ค วามหนาใหญ่ พิ เ ศษเพิ่ ม ขึ้ น อี ก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กบั ว่า WMD นัน้ เป็น NBC ประเภทใด มีความเข้มข้นเท่าใดด้วยโดยใช้เครื่องมือวัดระดับ ความเข้มของสาร หากมีความเข้มระดับ A และ B บอกได้คา� เดียวว่า “คงไม่ตอ้ งเข้าไปใกล้ดกี ว่า” เพราะ ระดับนี้สามารถท�าให้สิ่งมีชีวิตตายได้ในทันทีไม่มี สิ่ ง มี ชี วิ ต ใดอยู ่ ไ ด้ คงต้องรอให้เจือจางก่อนแล้ว จึงจะท�าการ “ล้างสารพิษ” ออกได้ ซึง่ จะเป็นกระบวนการ ต่อไปของ NBC (Nuclear Biological Chemical) จากนั้นเจ้าหน้าที่ชุดโจมตี จึงจะสามารถเข้าตรวจ สอบพื้นที่ได้


80

การฝึกการใช้หน้ากากกันไอพิษประกอบอุปกรณ์พิเศษ

จะเห็นได้ว่า WMD นั้นถือว่าเป็นอาวุธส�าคัญ ที่มีความอันตรายและการท�าลายล้างสูง สามารถ ฆ่าผู้คนได้เป็นหลายล้านคนในคราวเดียว การได้รับ ความรู้ในเรื่องดังกล่าวจะท�าให้เราได้ตระหนักและ เข้ า ใจถึ ง แนวทางการท� า งานในระดั บ รั ฐ บาลและ กองทั พ ถึ ง มาตรการในการป้ อ งกั น และแก้ ไ ข สถานการณ์การก่อการร้ายโดยใช้อาวุธท�าลายล้างสูง ทั้งนี้ การฝึกในประเทศไทยนั้น ได้มีการด�ารงการฝึก แก้ไขปัญหา WMD อย่างต่อเนือ่ ง หน่วยงานหลายแห่ง ได้ ใ ห้ ค วามสนใจในการฝึ ก ร่ ว มกั น ทั้ ง ทางด้ า น อ้างอิง

การป้องกันอันตรายจากการก่อการร้ายโดยใช้สาร เคมี การปราบปรามการก่อการร้ายภายใต้การแพร่ กระจายของสารเคมี การฝึกศึกษาและเรียนรูป้ ฏิบตั ิ ในส่วนของเครือ่ งมือทีจ่ ะช่วยในการช�าระล้างสารพิษ จนน�ามาซึ่งการฝึกระหว่างภาครัฐ หน่วยงาน หน่วย ราชการ ทหาร-ต�ารวจ พลเรือน และเอกชน เพื่อให้ เกิดภาพการปฏิบัติที่สอดคล้องกัน มีความเข้าใจกัน และทดสอบความพร้อมของหน่วยงานตนเองหาก เกิดกรณีดังกล่าวได้เป็นรูปธรรมมีประสิทธิภาพ

- กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน - http://www.mfa.go.th/asean/contents/iles/asean-media-center-20121204-121104-569462.pdf - http://dahrjamailiraq.com/


ข่าวทหารอากาศ

P

81

re-deployment Course for UN On Call List ระบบบัญชีรายชื่อพร้อมเรียกปฏิบัติงานและการเตรียมความพร้อม “Peacekeeping is not a job for soldiers, but only soldiers can do it.” การรักษาสันติภาพไม่ใช่งานของทหาร แต่มีเพียงทหารเท่านั้นที่ท�าได้ น.ต.ธนวัฒน กิจเจริญศักดิ์กุล

ข้อความนีก้ ล่าวโดยอดีตเลขาธิการสหประชาชาติ คนทีส่ อง Dag Hammerskjöld (ดาก ฮัมเมอร์เฮิลด์) ค� า กล่ า วนี้ แ สดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความจ� า เป็ น ของทหาร ทีจ่ ะต้องเข้ามามีบทบาทในการปฏิบตั กิ ารเพือ่ สันติภาพ ซึ่ ง สหประชาชาติ ถื อ เป็ น องค์ ก รหลั ก ที่ ทั่ ว โลก ตกลงใจและยินยอมให้ดูแลสันติภาพของโลก การที่ ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของสหประชาชาติ ท�าให้ ทหารไทยสามารถเป็นผูร้ กั ษาสันติภาพของโลกได้ดว้ ย เช่นกัน โดยหากมองว่าเป็นเพียงแค่ส่วนเล็ก ๆ ที่ไม่ได้ ท� า ให้ เ กิ ด สั น ติ ภ าพของโลกได้ แ ล้ ว นั้ น เหมื อ นดั่ ง น�้ า หยดลงในมหาสมุ ท ร แต่ ม หาสมุ ท รก็ เ กิ ด จาก น�้ า หลาย ๆ หยดมารวมกั น เช่ น กั น เพราะฉะนั้ น ความมุง่ มัน่ และร่วมมือกันของทุกฝ่ายจึงเป็นสิง่ ส�าคัญ และจ� า เป็ น ต่ อ การรั ก ษาไว้ ซึ่ ง สั น ติ ภ าพ ส� า หรั บ ทหารไทยทุกคนที่ต้องการจะมีส่วนร่วมในภารกิจ รักษาสันติภาพระดับชาตินั้น การได้ทราบถึงแนวทาง และเงือ่ นไขต่าง ๆ ทีใ่ ช้พจิ ารณาในการคัดเลือกผูเ้ ข้าร่วม ภารกิ จ ฯ รวมถึ ง การเตรียมความพร้อมเมื่อได้รับ คัดเลือกแล้ว จะช่วยให้การเตรียมตัวของผู้ที่สนใจ

มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มความเชื่อมั่น และความเป็นมืออาชีพในการปฏิบัติภารกิจฯ ต่อไป อีกด้วย สหประชาชาติ (United Nations : UN) เป็นองค์กร ระหว่างประเทศทีม่ สี มาชิกมากทีส่ ดุ ในโลก โดยปัจจุบนั เมื่อ (ม.ค.๖๒) มีสมาชิกรวม ๑๙๓ ประเทศ ได้รับการ สถาปนาเป็นองค์กรอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๔ ตุ ล าคม พ.ศ.๒๔๘๘ มี ห น้ า ที่ ห ลั ก อย่ า งหนึ่ ง คื อ การธ� า รงรั ก ษาสั น ติ ภ าพและความมั่ น คงระหว่ า ง ประเทศ ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้มาตรการหลัก ๕ ข้อ เป็นแนวทางในการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ ได้แก่ การทู ต เชิ ง ป้ อ งกั น (Preventive Diplomacy) การท�าให้เกิดสันติภาพ (Peace Making) การรักษา สันติภาพ (Peacekeeping) การบังคับให้เกิดสันติภาพ (Peace Enforcement) และการเสริมสร้างสันติภาพ (Peace Building) โดยภารกิจเพือ่ การรักษาสันติภาพ (Peacekeeping Operation : PKO) ถือเป็นภารกิจ ทีป่ ระเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ ให้ความส�าคัญในล�าดับต้น ๆ


82

ประเทศไทยเข้ า เป็ น สมาชิ ก สหประชาชาติ เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๙ และได้ส่งก�าลัง ทหารต�ารวจ ทั้งชายและหญิง กว่า ๒๗,๐๐๐ คน สนับสนุนภารกิจรักษาสันติภาพภายใต้การรับรอง โดยมติสหประชาชาติตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๓ จนถึง ปัจจุบัน กว่า ๒๐ ภารกิจ โดยภารกิจที่ประเทศไทย ยังคงให้การสนับสนุนด้านก�าลังพล และยุทโธปกรณ์ ทางทหารมี ๓ ภารกิจ คือ ภารกิจรักษาสันติภาพผสม สหประชาชาติ - สหภาพแอฟริกาในดาร์ฟูร์ประเทศ ซูดาน (African Union – United Nations Hybrid Operations in Darfur : UNAMID) ภารกิ จ สหประชาชาติในสาธารณรัฐเซาท์ซูดาน (United Nations Mission inSouth Sudan : UNMISS) และภารกิจของคณะผู้สังเกตการณ์ทางทหารของ สหประชาชาติในสาธารณรัฐอินเดียและสาธารณรัฐ อิ ส ลามปากี ส ถาน (United Nations Military Observer Group in India and Pakistan : UNMOGIP) ซึ่งก�าลังพลจากประเทศไทยที่ได้เข้าร่วมสนับสนุน การปฏิบัติภารกิจของสหประชาชาติทุกคน นอกจาก จะต้องรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบแล้ว ยังต้องประพฤติปฏิบตั ติ นให้เหมาะสมในฐานะตัวแทน ของทหารไทยที่ ไ ด้ ป ฏิ บั ติ ง านร่ ว มกั บ ทหารและ บุคลากรจากนานาประเทศทั่วโลก

ในปี พ.ศ.๒๕๓๖ สหประชาชาติได้จัดตั้งระบบ กองก�าลังเตรียมพร้อม (UN Stand-by Arrangement System : UNSAS) เพื่อการปฏิบัติภารกิจรักษา สันติภาพ (ตั้งแต่ ก.ค.๕๘ ระบบ UNSAS ได้ถูกแทนที่ ด้วยระบบ Peacekeeping Capability Readiness System : PCRS) ซึง่ เป็นระบบฐานข้อมูลกองก�าลังทหาร ประเภทรายบุคคลและรายหน่วยของประเทศสมาชิก โดยประเทศสมาชิกจะเสนอเป็นสัญญาที่ไม่ผูกมัด ต่อสหประชาชาติ ระบุขีดความสามารถและประเภท ของกองก� า ลั ง รวมถึ ง ระยะเวลาในการเตรี ย ม ความพร้อมก่อนเข้าปฏิบตั ภิ ารกิจ เมือ่ ได้รบั การร้องขอ จากสหประชาชาติ ซึง่ ประเทศสมาชิกสามารถตัดสินใจ ภายหลังได้วา่ จะให้การสนับสนุนก�าลังแก่สหประชาชาติ หรือไม่เมื่อมีการร้องขอ ประเทศไทยได้ท�าความตกลงกับสหประชาชาติ ว่าด้วยการจัดระบบก�าลังเตรียมพร้อม เมื่อวันที่ ๒๑ กั น ยายน พ.ศ.๒๕๔๑ ซึ่ ง จะต้ อ งมี ก ารแจ้ ง ข้ อ มู ล ความพร้อมของก�าลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ให้ฝ่ายปฏิบัติการสันติภาพของสหประชาชาติทราบ ทุก ๆ ๓ เดือน โดยมีศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ กรมยุ ท ธการทหาร กองบั ญ ชาการกองทั พ ไทย (ศสภ.ยก.ทหาร บก.ทท.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ด้ ว ยเหตุ นี้ จึ ง ต้ อ งมี ก ารด� า เนิ น การจั ด ท� า ข้ อ มู ล


ข่าวทหารอากาศ

กองก� า ลั ง ทหาร ประเภทรายบุ ค คล หรื อ เรี ย ก อีกอย่างหนึง่ ว่าระบบบัญชีรายชือ่ พร้อมเรียกปฏิบตั งิ าน (On Call List : OCL) ในทุกปี ศสภ.ยก.ทหารฯ จะด�าเนินการคัดเลือก ก�าลังพลจากทุกเหล่าทัพเข้าบรรจุในระบบบัญชีฯ ซึ่งแบ่งได้เป็นสองประเภท ได้แก่ ประเภทผู้เชี่ยวชาญ ทางทหาร (Military Expert on Mission : MEoM) และประเภทนายทหารฝ่ายอ�านวยการ (Staff Oficers : SO) โดยผู้เชี่ยวชาญทางทหารในที่นี้หมายรวมถึง ผูส้ งั เกตการณ์ทางทหาร (Military Observer : MILOB) และนายทหารติดต่อ (Liaison Oficer : LO) โดย หน่วยงานที่รับผิดชอบของแต่ละสังกัด (สป. บก.ทท. ทร. ทบ. และ ทอ.) จะด�าเนินการคัดเลือกและส่งรายชือ่ ก�าลังพลที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกของสังกัดตนให้กับ ศสภ.ยก.ทหารฯ ซึ่ง ศสภ.ยก.ทหารฯ จะท�าการ สอบคัดเลือกอีกครั้ง และจัดฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับ สหประชาชาติและภารกิจรักษาสันติภาพให้กับผู้ที่ ผ่านการคัดเลือก โดยจะใช้คะแนนจากการสอบคัดเลือก และการฝึกอบรมมาจัดล�าดับในระบบบัญชีฯ ในปี พ.ศ.๒๕๖๑ กองทั พ อากาศได้ ม อบให้ กองปฏิ บั ติ กิ จ พิ เ ศษ ส� า นั ก ยุ ท ธการและการฝึ ก กรมยุทธการทหารอากาศ (ยก.ทอ.) ด�าเนินการคัดเลือก ก�าลังพลในส่วนของกองทัพอากาศที่มีความต้องการ

83

เข้ า บรรจุ ใ นระบบบั ญ ชี ฯ ส� า หรั บ ปี พ.ศ.๒๕๖๒ (OCL 62) โดยผู้สมัครต้องเป็นนายทหารสัญญาบัตร ชายหรือหญิงที่มีชั้นยศ ร.อ.–น.ท. อายุไม่เกิน ๕๐ ปี และต้ อ งผ่ า นเกณฑ์ ก ารทดสอบภาษาอั ง กฤษ แบบอเมริกา (ECL) ร้อยละ ๘๐ เมื่อผ่านการคัดเลือก บุ ค คลในส่ ว น ทอ.แล้ ว จะเข้ า สู ่ ก ารทดสอบ เพื่อคัดเลือกบุคคลของ ศสภ.ยก.ทหารฯ การทดสอบ แบ่งเป็น ๔ ส่วน ได้แก่ การทดสอบภาษาอังกฤษ แบบอเมริกัน (ECL) คิดคะแนนเท่ากับร้อยละ ๑๐ (ต้องผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๘๐ จึ ง จะสามารถท� า การ สอบในขั้นต่อไปได้) การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย (วิ่ง ลุกนั่ง ดันพื้น) ไม่คิดเป็นคะแนน (ต้องผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๕๐ จึงจะสามารถท�าการสอบในขั้นต่อไปได้) การสอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ คิดคะแนนเท่ากับ ร้ อ ยละ ๓๐ และการทดสอบความรู ้ ท างวิ ช าการ คิดคะแนนเท่ากับร้อยละ ๓๐ ผู้ที่ผ่านการทดสอบ ดังกล่าวจะถือว่าได้รบั การบรรจุชอื่ ในระบบบัญชีฯ แล้ว แต่ยังไม่มีการเรียงล�าดับ และต้องเข้ารับการฝึกอบรม ความรู้ต่อไปโดยคิดคะแนนจากการฝึกอบรมเท่ากับ ร้อยละ ๓๐ โดยครั้งนี้มีผู้สมัครที่ผ่านการทดสอบ และได้รับการบรรจุชื่อเข้าในระบบบัญชีฯ OCL 62 จ�านวนทัง้ สิน้ ๒๔ คน เป็นสังกัด ทอ. ๔ คน สป. ๒ คน บก.ทท. ๓ คน ทบ. ๙ คน และ ทร. ๖ คน


84

ผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตร UNSOC

การฝึกฝ่ายอ�านวยการ INSTEX

การฝึกอบรมความรู้แบ่งเป็น ๒ หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรฝ่ายอ�านวยการของสหประชาชาติ (United Nations Staff Oficers Course : UNSOC) และ หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญทางทหารของสหประชาชาติ (United Nations Military Expert on Mission Course : UNMEoM) โดยหลักสูตรฝ่ายอ�านวยการฯ ได้เริม่ ขึน้ ในปีงบประมาณ ๒๕๔๙ เพือ่ เตรียมความพร้อม ให้ กั บ ก� า ลั ง พลในระบบบั ญ ชี ฯ และก� า ลั ง พล จากหน่วยงานในไทยและต่างประเทศที่ต้องเข้าร่วม ภารกิ จ รั ก ษาสั น ติ ภ าพและสนใจเข้ า รั บ การอบรม ให้มคี วามรู้ และสามารถไปปฏิบตั งิ านด้านฝ่ายอ�านวยการ ของสหประชาชาติได้ การฝึกอบรมส�าหรับ OCL 62 ได้จัดขึ้นระหว่าง ๙–๒๓ ม.ค.๖๒ ด� า เนิ น การเรี ย นการสอนด้ ว ยภาษาอั ง กฤษ โดยในปีนี้ได้มีการเพิ่มการเรียนการสอนในวันเสาร์ เนือ่ งจากมีการเชิญผูแ้ ทนจากสหประชาชาติในส่วนของ Integrated Training Service : ITS มาท�าการตรวจ ประเมินหลักสูตร UNSOC เพื่อให้ได้รับการรับรอง ตามมาตรฐานของสหประชาชาติ (โดยขณะนีห้ ลักสูตร UNSOC ได้ผา่ นการรับรองมาตรฐานจากสหประชาชาติ เรี ย บร้ อ ยแล้ ว และอยู ่ ร ะหว่ า งการขอใบรั บ รอง จากส�านักงานใหญ่สหประชาชาติ) มีวทิ ยากรบรรยาย จากฝ่ายไทยและวิทยากรรับเชิญจากต่างประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย มาเลเซีย ฟิลปิ ปินส์ และจีน มีผเู้ ข้ารับ การอบรมรวม ๔๔ คน เป็นก�าลังพลในระบบบัญชีฯ

๒๔ คน ต�ารวจ ๘ คน ก�าลังพลที่สนใจ ๔ คน (ไม่อยู่ใน ระบบบัญชีฯ) กรมราชทัณฑ์ ๒ คน และทหารต่างชาติ ๖ คน (ติมอร์-เลสเต มาเลเซีย เมียนมา ลาว เวียดนาม และอินโดนีเซีย) หลักสูตรฝ่ายอ�านวยการฯ มีชั่วโมง อบรมรวม ๘๐ ชม. ในสัปดาห์แรกเป็นการอบรมภาค ทฤษฎี (Core Pre-deployment Training Module : CPTM) จ�านวน ๒๕ ชม. สัปดาห์ที่สองเป็นการอบรม ฝ่ายอ�านวยการ (Specialized Training Module– Staff Oficer : STM–SO) และการฝึกการวางแผน ทางทหาร (Military Planning Process: MPP) จ�านวน ๓๖ ชม. และสัปดาห์สุดท้ายเป็นการฝึก ฝ่ายอ�านวยการ (Integrated Staff Exercise : INSTEX) จ� า นวน ๑๙ ชม.โดยระหว่ า งการอบรม CPTM และ STM-SO จะมีการทดสอบข้อเขียนในแต่ละหมวด วิชารวม ๖ ครั้ง หลังจากจบการฝึกอบรมหลักสูตร ฝ่ า ยอ� า นวยการฯ ผู ้ ที่ มี ร ายชื่ อ ในระบบบั ญ ชี ฯ จะเข้ า รั บ การฝึ ก อบรมในหลั ก สู ต รผู ้ เชี่ ย วชาญ ทางทหารฯ เป็นล�าดับต่อไป การฝึ ก อบรมหลั ก สู ต รผู ้ เชี่ ย วชาญทางทหาร ของสหประชาชาติ (United Nations Military Expert on Mission Course : UNMEoM) เป็นไปเพื่อ เตรี ย มความพร้ อ มให้ กั บ ก� า ลั ง พลในระบบบั ญ ชี ฯ ให้มีความรู้และสามารถปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพ ในหน้าทีผ่ สู้ งั เกตการณ์ทางทหารและนายทหารติดต่อได้ โดยในครั้งนี้ได้ถูกจัดขึ้นระหว่าง ๒๔ ม.ค.–๒ ก.พ.๖๒


ข่าวทหารอากาศ

มีวิทยากรถ่ายทอดความรู้จากฝ่ายไทย และวิทยากร รับเชิญจากประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี และมาเลเซีย มีผเู้ ข้ารับการอบรมรวม ๓๑ คน เป็นก�าลังพลในระบบ บัญชีฯ ๒๔ คน และต�ารวจ ๗ คน โดยในวันแรก จะเป็นการทดสอบการขับรถยนต์ขับเคลื่อน ๔ ล้อ ซึ่งความสามารถในการขับรถยนต์ขับเคลื่อน ๔ ล้อ เกียร์ธรรมดา เป็นเงื่อนไขจ�าเป็นอย่างหนึ่งส�าหรับ ผูป้ ฏิบตั งิ านในภารกิจรักษาสันติภาพ จากนัน้ เป็นการ ฝึกอบรมภาคทฤษฎี ๑๒ ชม. และการฝึกภาคสนาม ณ ศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์ อ�าเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่าง ๒๘ ม.ค.-๒ ก.พ.๖๒ การฝึ ก ภาคสนามถื อ เป็ น ส่ ว นส� า คั ญ ที่ จ ะช่ ว ยให้ ผูเ้ ข้ารับการฝึก ได้เรียนรูก้ ารท�างานเป็นทีม การตอบสนอง และตัดสินใจในเวลาจ�ากัด การติดต่อประสานหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง และสร้างประสบการณ์จากสถานการณ์ จ�าลองต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นจริงระหว่างปฏิบัติภารกิจ รักษาสันติภาพ โดยในการฝึกอบรมฯ ครั้งนี้มีการแบ่ง ผู้เข้ารับการฝึก ออกเป็น ๓ กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะได้ฝึก

85

การลาดตระเวน ด้วยยานพาหนะ ๒ วัน และฝึก การท�างานในกองบัญชาการย่อย ๑ วัน ในการฝึก ลาดตระเวนฯ แต่ละครั้งผู้เข้ารับการฝึกจะได้เผชิญ กั บ สถานการณ์ ที่ แ ตกต่ า งกั น ไป เช่ น การระเบิ ด ในพืน้ ทีล่ าดตระเวน การช่วยเหลือผูบ้ าดเจ็บ การถูกจับ เป็นตัวประกัน การถูกโจมตีทฐี่ านสังเกตการณ์ชวั่ คราว การรวบรวมข้อมูลและพิสูจน์ทราบการเจรจาต่อรอง ฯลฯ ส�าหรับการฝึกการท�างานในกองบัญชาการย่อย จะเน้นให้ผู้เข้ารับการฝึกได้เรียนรู้ลักษณะการท�างาน ของฝ่ายอ�านวยการ เช่น การจัดแบ่งหน้าที่ การติดต่อ สื่ อ สารและควบคุ ม การปฏิ บั ติ ง านของหน่ ว ย ลาดตระเวนทางวิ ท ยุ การให้ สั ม ภาษณ์ นั ก ข่ า ว การเขียนรายงาน การบรรยายสรุป ผบช.และรับการ ตรวจเยี่ยม ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีการฝึกด�ารงชีพในป่า ในคืนสุดท้ายของการฝึก เพื่อทบทวนและเพิ่มพูน ความรู ้ ใ นการรั ก ษาชี วิ ต รอดในสภาพแวดล้ อ ม และสถานการณ์ที่ยากล�าบาก

สถานการณ์จ�าลองการถูกจับเป็นตัวประกัน หลักสูตร UNMEoM


86

อบรมความรู้โดยวิทยากรจีน หลักสูตร UNSOC

เมือ่ ได้คะแนนจากการทดสอบและการฝึกอบรม เรี ย บร้ อ ยแล้ ว คะแนนที่ ไ ด้ จ ะถู ก น� า มาใช้ ส� า หรั บ จัดล�าดับรายชือ่ ในระบบบัญชีฯ เมือ่ ประเทศไทยได้รบั การร้องขอสนับสนุนก�าลังพลจากทางสหประชาชาติ ก�าลังพล จะถูกเรียกตามล�าดับในระบบบัญชีฯ ให้เข้าร่วม ปฏิบตั ภิ ารกิจรักษาสันติภาพ ทัง้ นี้ ก�าลังพลทีถ่ กู เรียกตัว สามารถแสดงเจตจ� า นงไม่ ต ้ อ งการเข้ า ร่ ว มปฏิ บั ติ ภารกิจฯ ได้ ซึง่ รายชือ่ จะถูกน�าไปต่อท้ายเป็นก�าลังพล ส�ารองไว้ ส�าหรับระบบบัญชีฯ OCL 62 จะมีผลบังคับใช้ ๑ ปี ตั้งแต่ ๑ เม.ย.๖๒-๓๑ มี.ค.๖๓ ทั้งนี้ ในบาง ต�าแหน่งงานอาจมีคณ ุ สมบัตพิ เิ ศษเฉพาะทีส่ หประชาชาติ ระบุ เ ป็ น เงื่ อ นไขเพิ่ ม เติ ม มา เช่ น เพศ ชั้ น ยศ ความช�านาญการ ฯลฯ ท�าให้การเรียกก�าลังพลเข้าร่วม ปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ฯ นอกจากจะพิ จ ารณาตามล� า ดั บ ในระบบบัญชีฯ แล้ว ยังต้องมีการพิจารณาเงื่อนไข พิเศษเพิ่มเติมจากทางสหประชาชาติอีกด้วย

จะเห็ น ได้ ว ่ า กองทั พ ไทยให้ ค วามส� า คั ญ และ พยายามสร้างมาตรฐานให้กับกระบวนการต่าง ๆ ตั้งแต่การคัดเลือกจนถึงการฝึกอบรมความรู้ ทุกคน ในระบบบัญชีฯ จึงสามารถมั่นใจในความสามารถ ของตนได้หากมีโอกาสเข้าร่วมในการปฏิบัติภารกิจฯ ต่อไป และแม้จะมีเพียงบางส่วนในระบบบัญชีฯ เท่านัน้ ที่จะได้เข้าร่วมภารกิจฯ จริง แต่ความรู้จากการฝึก อบรมต่าง ๆ คือสิง่ ทีท่ กุ คนสามารถพัฒนาและน�าไปใช้ ประโยชน์ตอ่ ไปได้ เช่น การใช้ภาษาอังกฤษในราชการ การท�างานกับนายทหารต่างชาติ การรู้จักวิเคราะห์ สถานการณ์และรวบรวมข้อมูล ฯลฯ รวมถึงมิตรภาพ ระหว่ า งบุ ค ลากรต่ า งหน่ ว ยที่ ม าฝึ ก อบรมด้ ว ยกั น ก็นับเป็นการรักษาสันติภาพที่ส�าเร็จไปแล้วส่วนหนึ่ง


ข่าวทหารอากาศ

87

...เปนคนเขาใจหนาที่ ของคุณธรรม... ทุกครัง้ ทีเ่ ริม่ ต้นจะเขียนขอบฟ้าคุณธรรม ผูเ้ ขียน จะต้องอ่านสารบัญเรื่องที่เขียนไปแล้วก่อน จะได้รู้ว่า เขี ย นเรื่ อ งอะไรไปแล้ ว บ้ า ง แล้ ว มาดู ส มุ ด บั น ทึ ก ที่ ติ ด ตั ว อยู ่ ว ่ า มี หั ว ข้ อ อะไรที่ น ่ า สนใจบ้ า ง ครั้ ง นี้ เมือ่ ดูสารบัญเรือ่ งทีเ่ ขียนไปแล้ว จึงรูว้ า่ เรือ่ งทีจ่ ะเขียน ต่อไปนีเ้ ป็นเรือ่ งทีห่ นึง่ ร้อยพอดี ท�าให้รวู้ า่ เวลาผ่านไป รวดเร็วมาก ผูเ้ ขียนเล่าเรือ่ งต่าง ๆ มาเก้าสิบเก้าเรือ่ งแล้ว เรื่องที่หนึ่งร้อยควรจะเป็นเรื่องอะไรล่ะ ปกติแล้ว ไม่ ค วรต้ อ งคิ ด มากเพราะในสมุ ด บั น ทึ ก มี หั ว เรื่ อ ง อยูพ่ อสมควร แต่พอเป็นเรือ่ งทีห่ นึง่ ร้อยเท่านัน้ แหละ รู้สึกว่าติดขัดขึ้นมาทันที ผู้เขียนก็เลยปล่อยความคิด ให้ติดหัวไปก่อน นึกออกเมื่อไรค่อยว่ากันใหม่ วั น หนึ่ ง ผู ้ เขี ย นมี ธุ ร ะต้ อ งเดิ น ทางไปสิ ง ห์ บุ รี เมื่ อ ผ่ า นมาทางนี้ ก็ เ ลยถื อ โอกาสแวะวั ด อั ม พวั น นมัสการหลวงพ่อจรัญเสียก่อน แม้ท่านจะมรณภาพ ไปนานแล้ว แต่ผเู้ ขียนก็ยงั มีศรัทธาในค�าสอนของท่าน เสมอมา แล้วก็ถือโอกาสเดินชมนิทรรศการที่จัดขึ้น ในบริ เวณวั ด เจอบทกลอนของหลวงพ่ อ บทหนึ่ ง ที่เขียนว่า “ท�าดีได้ดีนั้นมีแน่ ท�าชั่วได้ดีมีที่ไหน ที่ท�า ชั่วเห็นดีอยู่จงรู้ไว้ มันเหมือนไฟใต้ถ่านไม่นานร้อน” ท�าให้ผเู้ ขียนนึกถึงบทกลอนอีกบทหนึง่ ทีว่ า่ “ท�าดีได้ดี มีที่ไหน ท�าชั่วได้ดีมีถมไป” ไม่รู้ว่าหลวงพ่อจรัญ

ท่านอาจจะแต่งกลอนของท่านมาสู้กับของชาวบ้าน หรื อ เปล่ า ก็ ไ ม่ รู ้ แต่ ผู ้ เขี ย นได้ ยิ น ท่ า นพู ด เรื่ อ งนี้ บ่ อ ยมากเมื่ อ ท่ า นมี ชี วิ ต อยู ่ การจั ด นิ ท รรศการนี้ ก็คงเป็นการยืนยันในปณิธานของท่าน เดินคิดไปเรือ่ ย ๆ ค� า ถามมากมายที่ ติ ด อยู ่ ใ นหั ว จึ ง พรั่ ง พรู อ อกมา มีคา� ถามจากเพือ่ นฝูงคนรูจ้ กั และผูอ้ า่ นทีถ่ ามผูเ้ ขียนว่า มีเจตนาอย่างไรที่เขียนขอบฟ้าคุณธรรม? คุณคิดว่า คนอ่านข่าวทหารอากาศเขาจะอ่านเรือ่ งทีค่ ณ ุ เขียนไหม? คุณคิดว่าคนรุน่ ใหม่เขาจะอ่านรูเ้ รือ่ งไหม? เรือ่ งทีท่ า่ น เขียนมานัน้ ท�าได้จริง ๆ หรือเปล่า? ท�าไมเรือ่ งของท่าน จึงขัดกับความเชือ่ ของคนบางคน? ท่านใช้ขอ้ มูลอะไร ในการอ้างอิง ? เป็นคนมีคณ ุ ธรรมแล้วไม่เห็นก้าวหน้าเลย คนทีเ่ จริญก้าวหน้าไม่เห็นมีคณ ุ ธรรมอะไร บางคนโกง บางคนไม่ค่อยมาท�างานก็ได้ดี? ฯลฯ หลวงพ่อจรัญ ท่านก็พยายามสู้ตลอดมา ท่านไม่ยอมรับว่า ท�าดีได้ดี


88

มีที่ไหน ท�าชั่วได้ดีมีถมไป ไปเทศน์ที่ไหนท่านก็มัก จะกล่าวถึงเรือ่ งนี้ ท�าให้ผเู้ ขียนนึกขึน้ มาได้วา่ เรือ่ งทีห่ นึง่ ร้อยนัน้ น่าจะเป็นการท�าความเข้าใจ ขอบฟ้าคุณธรรม สักครั้งน่าจะดี เพราะในสังคมของเราขณะนี้ เรื่อง คุณธรรม เรื่องธรรมะ และเรื่องอภินิหาร เรื่องผล ประโยชน์ต่าง ๆ มันผสมปนเปกันไปหมด จนไม่รู้ว่า อะไรเป็นเป้าหมายของแต่ละเรือ่ ง อะไรเป็นสิง่ ทีค่ วรท�า อะไรเป็นสิ่งที่ควรได้ จึงเป็นที่มาของหัวข้อในครั้งนี้ มี ผู ้ ค นถามผู ้ เขี ย นเสมอ ๆ ว่ า เวลาไหว้ พ ระ หรือไปขอพรจากพระ ผู้เขียนอธิษฐานหรือขออะไร จากพระพุ ท ธรู ป หรื อ พระสงฆ์ อ งค์ เ จ้ า ผู ้ เขี ย น ก็จะตอบเหมือน ๆ กันว่า ไม่เคยอธิษฐานหรือขออะไรเลย ทุกครั้งที่ไปกราบไหว้ก็จะบอกว่า “ผมมาขอบคุณที่มี พระพุทธเจ้าเกิดขึน้ ในโลกนี้ ขอบคุณทีม่ กี ารรวบรวม พระธรรมค� า สอนที่ ดี ๆ ไว้ เ ป็ น หมวดหมู ่ ไ ด้ อ ่ า น ได้ค้นคว้า ขอบคุณที่มีพระสงฆ์ดี ๆ ที่คอยจรรโลง พระศาสนาไว้ ขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุก ๆ คน ขอบคุณ มาก ๆ เลยครับ” ผู้เขียนก็ตอบอย่างนี้มาตลอด เพราะแม่ ผู ้ เขี ย นสั่ ง ไว้ ว ่ า อย่ า ไปขออะไรท่ า นนะ เดีย๋ วท่านจะว่าเอา ว่าเป็นลูกคนช่างขอ มันจะเดือดร้อน มาถึงแม่ด้วย ที่จริงคงเป็นอุบายที่ไม่อยากให้ผู้เขียน ขออะไรจากผู้อื่นไปเรื่อย ๆ ผู้ที่ได้รับค�าตอบก็ไม่เคย มีใครถูกใจสักคน เพราะไม่ตรงกับความคาดหวังของเขา ที่อยากรู้ว่าผู้เขียนขออะไร เขาจะได้ลองดูบ้าง เหตุที่ ท�าให้ผู้เขียนเป็นเช่นนี้ นอกจากที่แม่ไม่ให้ขอแล้ว ผู้เขียนมีเรื่องที่ประทับใจไม่รู้ลืมเมื่อได้ฟังการเทศนา ของหลวงพ่ อ ปั ญ ญานั น ทภิ ก ขุ ตอนแปดโมงเช้ า ที่สถานีวิทยุยานเกาะเมื่อสี่สิบกว่าปีมาแล้วจะเล่า ให้ฟังสองเรื่อง ครั้งหนึ่งมีอุบัติเหตุทางรถยนต์ท�าให้คนขับและ ผู้ที่ร่วมเดินทางไปด้วยเสียชีวิตทั้งหมดสี่คนด้วยกัน ซึ่งเป็นพี่น้องกันทั้งหมด ขณะก�าลังเดินทางกลับจาก การไปท�าบุญกับพระอาจารย์มชี อื่ องค์หนึง่ และแวะเยีย่ ม พ่อแม่ที่ต่างจังหวัด แต่เจอกับพายุฝนและถนนลื่น ในงานสวดศพมีผคู้ นญาติมติ รได้สอบถามพระอาจารย์ ที่มาร่วมพิธีด้วยว่า พ่อแม่และลูก ๆ ของครอบครัวนี้

ท�าบุญมากมายและใส่บาตรทุกเช้าตลอดมา ทุกคน เป็นคนดีที่เพื่อนบ้านยอมรับ แล้วท�าไมบุญที่ท�าถึงไม่ คุ้มครองพวกเขาเลย อย่างนี้จะท�าบุญกันไปท�าไม ค�าตอบมีวา่ คนเราต้องเห็นและรูจ้ กั หน้าทีข่ องธรรมะ และบุญให้ชัดเจนนะ ฝนเขาก็ตกของเขาตามปกติ ใครไปห้ามไม่ได้หรอก ถนนเขาก็ลื่นของเขาปกติ เมื่อฝนตก เมื่อรถยนต์ลื่นไถลไปนอกเลนก็ชนกับรถ ที่วิ่งสวนมาฝังตรงข้าม รถชนกันก็มีผู้บาดเจ็บล้มตาย ปกติ ไม่มใี ครไปห้ามได้หรอก มันเป็นปกติเป็นธรรมชาติ ของมัน บุญที่ท�ามาช่วยไม่ได้หรอก แต่บุญที่ท�ามา ตลอดนั้น ท�าให้พ่อแม่ของผู้เสียชีวิตนั่งอยู่อย่างสงบ เห็ น ไหม เพราะการท� า บุ ญ สม�่ า เสมอท� า ให้ ท ่ า น เห็นธรรมะ เห็นความเป็นปกติ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นอนิจจัง เป็นอนัตตา บุญก�าลังท�าหน้าทีอ่ ยูเ่ ห็นไหม ครั้ ง หนึ่ ง เกิ ด ไฟไหม้ ใ หญ่ ที่ ต ลาด อ.ท่ า เรื อ จว.อยุธยา เนือ่ งจากเป็นช่วงหน้าร้อน ไฟจึงเผาผลาญ ไปทั้งตลาด เช้าวันรุ่งขึ้น ขณะที่พระเดินบิณฑบาต ผ่านซากเถ้าถ่านที่ถูกไฟไหม้ ญาติโยมทุกคนที่มา ใส่บาตรจะร�าพึงกับพระว่า วันนี้ไม่มีอะไรเลย ตลาด ถู ก ไฟไหม้ ไ ม่ รู ้ จ ะซื้ อ ของที่ ไ หน หลายคนบอกว่ า หมดตัวเลยเหลือเท่านีแ้ หละ เอาอะไรออกมาไม่ทนั เลย พวกเราใส่บาตรกันทุกเช้า ท�าไมถึงเจอเคราะห์กรรม อย่างนี้ หลวงพ่อองค์หนึ่งตอบว่า ไฟเขาก็ท�าหน้าที่ ของเขาตามธรรมชาติ อย่าไปต�าหนิเขาเลย การทีพ่ วกเรา ทุกคนตื่นขึ้นมาใส่บาตรได้ในเช้าวันนี้ ก็เพราะบุญ ที่เราได้สะสมมาตลอด ท�าให้เราท�าใจได้ มีก�าลังใจ ทีจ่ ะต่อสูก้ นั ต่อไป ทรัพย์สนิ ทัง้ หลายทัง้ ปวงเขาอยูก่ บั เราไม่นานหรอก ไม่เราก็เขาต้องจากกันไปข้างหนึ่ง แต่กา� ลังใจทีจ่ ะสูต้ อ่ ไปนีต้ า่ งหาก จะอยูก่ บั เราตลอดไป บุญคุ้มครองได้เท่านี้แหละ จะเห็นว่าหน้าทีข่ องธรรมชาติ และหน้าทีข่ องบุญ ทีท่ า� นัน้ มันคนละหน้าทีก่ นั อย่าเอามาปนกัน การศึกษา ศาสนาการท�าบุญก็เพือ่ ให้ได้เห็นและเข้าใจในธรรมชาติ นี่ แ หละ เมื่ อ เข้ า ใจแล้ วความสงบเย็ นก็ จะเกิ ด ขึ้ น กับใจเรา เราไปฝนธรรมชาติไม่ได้หรอก แต่เราฝนใจ เราได้ ทีนี้มาดูหน้าที่ของคุณธรรมบ้าง


ข่าวทหารอากาศ

ค� า ว่ า คุ ณ ธรรม (Virtue) มี นั ก คิ ด นั ก เขี ย น ให้คา� จ�ากัดความไว้มากมายแต่คล้าย ๆ กัน สรุปได้วา่ คุณธรรม เป็นลักษณะของความรูส้ กึ นึกคิด หรือสภาวะ จิตใจ ที่เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องดีงาม คุณธรรม เป็นสิ่งที่ปลูกฝัง สั่งสมอยู่ในจิตใจของคนเป็นเวลา ยาวนานตั้งแต่เกิดและโตมาเรื่อย ๆ คุณธรรมจะเป็น แรงผลักดันให้เกิดการตัดสินใจในทางทีด่ ี ส่งผลให้เกิด การกระท�าในรูปแบบต่าง ๆ ทีด่ ี ซึง่ เราเรียกการกระท�า นีว้ า่ จริยธรรม (Ethics) ค�าสองค�านีจ้ งึ มักใช้คกู่ นั เสมอ ๆ คนที่ มี คุ ณ ธรรมประจ� า ใจจึ ง ประพฤติ ป ฏิ บั ติ ต น อย่างมีจริยธรรม

ค� า ถามส� า คั ญ ก็ อ ยู ่ ต รงที่ ว ่ า คุ ณ ธรรมนั้ น มีมากมายก่ายกองเหลือเกิน แล้วขอบเขตของคุณธรรม อยูต่ รงไหน เรือ่ งนีผ้ เู้ ขียนมีขอ้ สรุปทีใ่ ช้เป็นหลักในการ ท�างานตลอดมา เป็นข้อสรุปของท่านพระอาจารย์ ชยสาโร ลูกศิษย์องค์หนึ่งของหลวงพ่อชา แห่งวัด หนองป่าพง ท่านสรุปไว้ว่า คุณธรรมที่น�ามาใช้ได้ ในชีวิตประจ�าวันนั้นมีอยู่ ๑๒ กลุ่มด้วยกันคือ ๑. การส�ารวมระวังอินทรีย์ (Using the senses wisely) คือ การระมัดระวังในการใช้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อย่าให้เกิดผลในแง่ลบ ๒. การเป็นผู้รู้จักประมาณตน (Knowing the right amount) คือ รูจ้ กั ความ พอเหมาะ พอดี ในทุก ๆ เรือ่ ง ๓. การไม่เ บียดเบียนตนเองและผู้อื่น (Not harming) คือการไม่ก่อทุกข์ให้กับตนเองและผู้อื่น เพื่อความบันเทิงใจของตน

89

๔. การอดทนอดกลั้น (Being patient and tolerant) คือ การรักษาความเป็นปกติของตนไว้ให้ได้ ในทุก ๆ สถานการณ์ ไม่วา่ จะพอใจหรือไม่พอใจก็ตาม ๕. การยินดีในกิจทีท่ า� (Desiring knowledge, truth and goodness) เป็นสุขและพอใจในสิง่ ทีต่ อ้ งท�า ๖. มีความซื่อสัตย์ (Being truthful) มีความ จริ ง ใจ ซื่ อ ตรง ไม่ คิ ด คด ไม่ โ กหก ไม่ ห ลอกลวง เป็นคนรักษาค�ามั่นสัญญา ๗. มีความเพียร (Persevering) เป็นผู้มีความ พยายาม มีความกล้าหาญที่จะลงมือท�ากิจต่าง ๆ ให้ด�าเนินไปสู่ความส�าเร็จ ๙. มีความเสียสละ (Being generous) เป็นผู้ เอื้อเฟอเผื่อแผ่ แบ่งปันให้ผู้อื่นได้ ๙. มี ค วามเมตตากรุ ณ า (Being kind and compassionate) เป็นผู้มีความปรารถนาอยากเห็น ผู้อื่นมีความสุข ๑๐. มีสติอยูเ่ สมอ (Being mindful and alert) เป็นผู้ไม่เผลอ คุมจิตใจไว้ได้ตลอดเวลา ไม่ประมาท ๑๑. มี ส มาธิ (Being calm and focused) เป็นผู้ตั้งใจมั่น มีจิตใจแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน ๑๒. มีความคิด (Applying the mind skillfully) เป็นผู้รู้จักคิด รู้จักใช้เหตุผล แยกแยะปัญหาต่าง ๆ ได้ชัดเจน ผูเ้ ขียนใส่ภาษาฝรัง่ มาให้ดว้ ยเพราะท่านเป็นฝรัง่ ท่านน่าจะใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสม และบางท่าน อาจจะอ่านภาษาฝรัง่ แล้วเข้าใจคุณธรรมลึกซึง้ มากขึน้ ก็ได้ ทัง้ ๑๒ กลุม่ นี้ คือพืน้ ฐานทีผ่ เู้ ขียนน�าขยายความ เป็นคุณธรรมเรื่องต่าง ๆ อีกมากมายดังที่เราได้อ่าน กันมา มี ข ้ อ น่ า สั ง เกตว่ า คุ ณ ธรรมนั้ น มี เ ป้ า หมาย เพื่อการอยู่ร่วมกันของผู้คนในสังคม ให้มีความสุข มีความสงบ ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน คุณธรรมไม่ได้ มีเป้าหมายเพื่อโลกุตระธรรม ให้ผู้คนพ้นทุกข์เหมือน เป้าหมายของศาสนา แต่คณ ุ ธรรมเป็นพืน้ ฐานทีส่ า� คัญ ของทุ ก ศาสนา ที่ ส� า คั ญ คุ ณ ธรรมนั้ น เกิ ด มาก่ อ น ศาสนา เช่น พรหมวิหาร ๔ หรือ โลกธรรม ๘ นั้น


90

มีมาเป็นหมื่นปีแล้ว ทั้งในอินเดีย ในจีน ในกรีซและ เมโสโปเตเมีย การปลูกฝังคุณธรรมในจิตใจของคนนั้นท�าได้ ตลอดเวลา แต่ท่ีได้ผลที่สุดคือ พฤติกรรมของสังคม เด็ก ๆ ทุกคนจะท�าทุกอย่างตามที่ผู้ใหญ่ในสังคมท�า และเชื่อว่าสิ่งนั้นดี การสอนการบอกเป็นแค่ค�าขยาย ความเท่านั้น ถ้าการกระท�าและค�าสอนไม่ตรงกัน ทุกคนจะเลื อกเชื่ อที่ การกระท�า หากเราต้องการ ให้สังคมเราเป็นแบบไหนเราก็ต้องท�าแบบนั้น ตรงนี้ แหละคือประเด็นของเรื่อง ถ้าเราท�าแล้วคนอื่นไม่ท�า จะเกิดอะไรขึ้น เช่น เราตั้งใจจะเคารพกฎจราจร เราก็ขบั รถตามกฎทุกอย่าง แต่คนอืน่ ไม่ทา� ถนนมี ๒ เลน ก็มีรถคันที่สามที่สี่ปาดหน้าไปมา รถก็ติดเราขับมา ถูกต้องก็ไปไหนไม่ได้ แล้วเราจะเคารพกฎจราจร ต่อไปดีไหม ค�าตอบก็คือควรท�าดีต่อไป เพราะเรื่อง เหล่านีม้ นั ไม่ได้มผี ลด้านเดียว คือเราท�าถูกต้องแต่เรา โดนคนอื่นปาดหน้าจนไปไหนไม่ได้ เราก็ช้า ความช้า เพราะเคารพกฎจราจร มันเป็นแค่ผลเสียกับเราเรือ่ งเดียว แต่การที่เราอดทนได้ การฝึกมองโลกในแง่ดี การรู้จัก วางแผนเรือ่ งเวลาให้ดี ความมุง่ มัน่ เคารพกฎของสังคม การให้อภัย การมองเห็นความไม่ดขี องการเอาเปรียบกัน สิ่ ง เหล่ า นี้ เ ป็ น คุ ณ ธรรมที่ เ กิ ด ขึ้ น ในจิ ต ใจของเรา เราเสียเรื่องเดียวแต่ได้ตั้งหลายเรื่อง อย่างนี้ไม่ท�า

ก็ แ ย่ แ ล้ ว เมื่ อ ผู ้ ค นท� า กั น อย่ า งนี้ การจราจร ในบ้านเมืองของเราก็เป็นอย่างนี้ มันจะดีกว่านีก้ ต็ อ่ เมือ่ คนขับรถทุกคนปฏิบัติตามกฎจราจร ซึ่งเราก็ท�าแล้ว ไงล่ะ เราจึงท�าครบแล้ว ส่วนผลมันจะเป็นอย่างไร ก็เรื่องของมัน มันเป็นปัญหาสังคมนะ ไม่ใช่ปัญหา ของเราคนเดียว เหล่านี้คือหลักการของคุณธรรม เราสร้างให้เกิดขึ้นได้เฉพาะในจิตใจของเราเท่านั้น ส�าหรับคนที่มีคุณธรรมจะเจริญก้าวหน้าในการ รับราชการหรือไม่ ไม่มใี ครบอกได้หรอก แต่ทบี่ อกได้คอื งานของกองทั พ อากาศจะมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและ มีประสิทธิผลสูงสุดหากข้าราชการทหารอากาศทุกคน เป็นผูม้ คี ณ ุ ธรรมสูง เจตนาของผูเ้ ขียนเมือ่ ตอนเริม่ ต้นนัน้ อยู่บนความคิดที่ว่า หากก�าลังพลของกองทัพอากาศ ส่วนใหญ่ เป็นผูม้ คี ณ ุ ธรรมประจ�าใจแล้ว จะเกิดความรัก ความสามัคคี การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทั้งในการ ปฏิบัติงาน และการด�ารงชีวิต ความสุขความสงบ ก็ จ ะเกิ ด ขึ้ น ส่ ง ผลให้ ก ารปฏิ บั ติ ง านของส่ ว นรวม ได้ผลดีตามวัตถุประสงค์ ผู้เขียนยังมีความมั่นใจเสมอว่า คุณธรรมเป็นสิ่ง ที่จ�าเป็นที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องท�าให้เกิดขึ้น ทัง้ ผูป้ กครอง ผูบ้ งั คับบัญชาในระดับต่าง ๆ ต้องใช้หลัก คุณธรรมในการบริหารจัดการ ผูด้ แู ลในส่วนการศึกษา ต้องหาวิธีการปลูกฝังคุณธรรมในจิตใจของผู้เข้ารับ การศึกษา ข้าราชการทุกคนต้องท�างานอย่างมีคณ ุ ธรรม คุณธรรม เป็นส่วนหนึง่ ของหน้าทีท่ ที่ กุ ฝ่ายต้องพยายาม สร้างให้เกิดขึ้นในจิตใจของตนเอง ผู้เขียนมีเสียง บรรยายธรรมของหลวงพ่อพุทธทาสอยูร่ าวพันเจ็ดร้อย ชัว่ โมง ฟังมาตลอด ท่านก็เทศน์ของท่านอยูเ่ รือ่ งเดียว คือ ให้ละตัวกูของกูเสียให้ได้ เมื่อมาเห็นค�ากลอน ของหลวงพ่อจรัญ ทีพ่ ยายามสอนเรือ่ งการท�าดีมาตลอด จึงตั้งใจว่าผู้เขียนก็จะพยายามย�้าเตือนท่านผู้อ่าน ให้มองเห็นหน้าที่ของคุณธรรมต่อไปเรื่อย ๆ หากโชคดี ก็อาจได้คุยกันในเรื่องที่สองร้อยอีกครั้ง


ข่าวทหารอากาศ

ประมวลภาพกิจกรรมกองทัพอากาศ ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ - ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๒

91


ประมวลภาพกิจกรรมกองทัพอากาศในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ภาพรั้ว 5 เสือ

ยิงสลุตหลวง และสลุตหลวงพิเศษ ๔ - ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๒ กองทัพอากาศ โดย กรมทหารต่อสูอ้ ากาศยาน รักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน จัดกองทหาร เกียรติยศยิงสลุต ท�าการยิงสลุตหลวง และสลุตหลวงพิเศษ ณ ลานอเนกประสงค์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินท กษัตริยาธิราช ถนนพหลโยธิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ


ประมวลภาพกิจกรรมกองทัพอากาศในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ภาพรั้ว พล.อ.ท.-พล.อ.อ.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เสด็จเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค จากพระบรม มหาราชวังไปยังวัดบวรนิเวศราชวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยริว้ ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ เครือ่ งสูงธงโบราณยิง่ ใหญ่งดงามสมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้า สุทดิ าฯ พระบรมราชินี และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิตยิ าภา นเรนทิราเทพยวดี ในฉลองพระองค์ เครือ่ งแบบเต็มยศนายทหารพิเศษมหาดเล็กรักษาพระองค์ ได้เข้าร่วมริว้ ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ โดยสมเด็จพระราชินีเสด็จเคียงพระราชยานในขบวนที่เบื้องซ้าย ส่วนสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี เสด็จเคียงพระราชยาน ในขบวนที่เบื้องขวา ในการนี้ พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ ร่วมขบวนน�าเสด็จ ฯ ท่ามกลางพสกนิกรเฝ้าชืน่ ชมพระบารมีแน่นสองฟากฝัง่ ถนน เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒


ประมวลภาพกิจกรรมกองทัพอากาศในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

รร.การบิน

บน.๑

บน.๒

รั้วสีเทา นขต.


ประมวลภาพกิจกรรมกองทัพอากาศในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

บน.๔

รั้วสีเทา นขต.

บน.๕

บน.๖


ประมวลภาพกิจกรรมกองทัพอากาศในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

บน.๗

บน.๒๑

บน.๒๓

รั้วสีเทา นขต.


ประมวลภาพกิจกรรมกองทัพอากาศในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

บน.๔๑

รั้วสีเทา นขต.

บน.๔๖

บน.๕๖


98

ตามสั่งการ ผูบัญชาการทหารอากาศเปนลายลักษณอักษร “เห็นควรพิจารณาเผยแพรเพื่อเปนตัวอยางที่ดีตอไป” ข้อความข้างต้นนี้ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้เขียนด้วยลายมือลงท้ายหนังสือขอบคุณฉบับหนึ่ง ที่ส่งมาจาก คุณศุภกร ฉันทรักษ์ ถึงท่านผู้บัญชาการ ทหารอากาศเนื่ อ งด้ ว ยความซาบซึ้ ง ในน�้ า ใจของ “พลเมืองดี” ท่านหนึ่งซึ่งมีสังกัดอยู่ในกองทัพอากาศ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศจึงขอร่วม ยกย่องและขอถ่ายทอดการกระท�าในครั้งนี้ลงเป็น บทความไว้เพื่อร่วมกันเผยแพร่ “ตัวอย่างที่ดี” ให้กับ ข้าราชการต่อไปตามแนวทางของท่านผู้บัญชาการ ทหารอากาศต่อ “จิตสาธารณในการช่วยบรรเทาทุกข์ ให้ผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน” ในครั้งนี้เหตุการณ์นี้ อาจจะผ่านมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว ซึ่งเราได้มี โอกาสสัมภาษณ์พลเมืองดีท่านนี้ผ่านสื่อวิทยุไปแล้ว ครั้งหนึ่งเมื่อเดือนธันวาคม แต่พวกเราขอน�ากลับมา น�าเสนอให้ทกุ ท่านได้ทราบกันอีกครัง้ หนึง่ ค่ะ เผือ่ ท่านใด ไม่มีโอกาสได้ฟังวิทยุเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อเวลากลางคืนของวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑ เนื่องจากคุณศุภกร ฯ ผู้เสียหายในเหตุการณ์นี้ผู้ซึ่งเปิดร้านอาหารอยู่แถว ถนนประเสริฐมนูกจิ เจ้าตัวก็จะจอดรถอยูร่ มิ ถนนตรงนี้ อยูเ่ ป็นประจ�า พอตกดึกของวันนัน้ ทุกคนก็เข้าพักผ่อน ในที่พักใกล้ร้าน ได้เกิดเหตุการณ์มีรถยนต์ของคู่กรณี ขับมาเชีย่ วชนรถยนต์ของ คุณศุภกร ฯ ทีจ่ อดไว้รมิ ถนน หากแต่คกู่ รณี “ชนแล้วหนี” ระหว่างนัน้ ได้มขี า้ ราชการ ของกองทัพอากาศท่านหนึ่งคือ น.อ.จิตติ อินทรฤทธิ์ ซึ่งปัจจุบันท่านด�ารง รองผู้อ�านวยการ กองการศึกษา วิทยาลัยการทัพอากาศ เห็นเหตุการณ์ครั้งนี้พอดี จึ ง ได้ ตั ด สิ น ใจขั บ รถยนต์ ส ่ ว นตั ว ติ ด ตามผู ้ ก ่ อ เหตุ ไปจนถึงบ้านพักและประสานเจ้าหน้าทีต่ า� รวจ เพือ่ ให้ มาด�าเนินการรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ทั้งใน ที่เกิดเหตุและบ้านพักของผู้ก่อเหตุให้เป็นไปด้วยความ เรียบร้อย โดยที่เจ้าของรถที่ถูกเชี่ยวชนยังไม่รู้เรื่อง

บุคคลตั​ัวอย าง ร.อ.หญิง วิวัสวัน เปล่งวิทยา

จนกระทั่งเช้าวันรุ่งขึ้น คุณศุภกร ฯ ตื่นมาและเห็น รอยเฉี่ยวชนทีร่ ถตลอดทัง้ แถบด้านขวาของรถ รวมถึง กระจกมองข้างที่พับผิดรูป และมองไปเห็นกระดาษ แผ่นหนึ่งติดไว้ที่หน้ารถมีข้อความว่า “รถคุณโดนชน ผมทราบว่าใครชนรถคุณ” พร้อมเขียนเบอร์โทรศัพท์ไว้ คุณศุภกร ฯ จึงได้โทรติดต่อ น.อ.จิตติ ฯ ซึง่ คุณศุภกร ฯ รู้สึกซาบซึ้งในน�้าใจเป็นอย่างมากเพราะว่านอกจาก น.อ.จิตติ ฯ จะติดตามผูก้ อ่ เหตุให้แล้ว ยังให้คา� ปรึกษา เกีย่ วกับการลงบันทึกประจ�าวัน เกีย่ วกับการด�าเนินการ กับประกันอีกด้วย ซึง่ ทัง้ สองท่านนีไ้ ม่เคยเจอกันมาก่อน จากการช่วยเหลือของข้าราชการทหารอากาศ ของเราในครั้งนี้ คุณศุภกร ฯ จึงได้เขียนหนังสือ ขอขอบคุณผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ อธิบายเหตุการณ์ ทั้งหมดและเขียนยกย่องไว้ว่า “การกระท�าตัวเป็น พลเมืองดีของ น.อ.จิตติ ฯ ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ของท่านในครั้งนี้ แสดงออกถึงการเป็นพลเมืองดี ปดทองหลังพระ ไม่เกรงกลัวอันตรายท�าให้ผมรู้สึก ต่อภาพลักษณ์ของทหารอากาศดีขนึ้ ” และ “ผมจึงได้ ท�าหนังสือฉบับนีเ้ พือ่ แสดงความขอบคุณท่านผูบ้ ญั ชาการ ทหารอากาศทีไ่ ด้ปกครองบังคับบัญชาผูใ้ ต้บงั คับบัญชา อย่างดีเยีย่ ม” ซึง่ เมือ่ เดือนธันวาคมทีผ่ า่ นมา น.อ.จิตติ ฯ ได้ให้สมั ภาษณ์ถงึ เหตุการณ์ครัง้ นี้ ผ่านรายการฟ้าวันใหม่ ทางวิทยุ ทอ.FM ๑๐๒.๕ MHz พร้อมได้ทงิ้ ท้ายให้กบั ข้าราชการของเราไว้ ๓ ข้อ ดังนี้


ข่าวทหารอากาศ

99

การปฏิบตั หิ น้าทีพ่ ลเมืองดีจากเหตุการณ์ขา้ งต้นนี้ “ข้อที่ ๑ ตัวผมเองก็เป็นทหารอาชีพ เช่นเดียว กั บ ก� า ลั ง พลของกองทั พ อากาศทุ ก นายทั่ ว ไป สมควรได้รับการยกย่องและถือเป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่ ง นอกจากจะมี ห น้ า ที่ ป กป อ งน่ า นฟ า ไทยแล้ ว จึงขอร่วมประกาศชมเชยให้ทราบโดยทั่วกัน พวกเราเองก็ ยั ง จะต้ อ งปลู ก ฝ ง ให้ มี จิ ต ส� า นึ ก การ ท�าความดีและปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่ผู้บังคับ บัญชามอบหมายให้ดีที่สุด อันนี้เป็นประการแรก ข้อที่ ๒ พวกเราข้าราชการและก�าลังพลของ กองทั พ อากาศทุ ก คนมี ค วามมุ ่ ง มั่ น ในการที่ จ ะ ท�าความดี เพื่อให้ภารกิจส�าเร็จ ส่งเสริมความมั่นคง ให้ประเทศชาติในทุกมิติ น�ามาซึง่ การสร้างความมัน่ ใจ ให้ กั บ ประชาชนและสั ง คมทั่ ว ไปให้ ส อดคล้ อ ง กับแนวคิดเชิงนโยบายของท่านผูบ้ ญั ชาการทหารอากาศ ที่ว่า “มุ่งมั่น มั่นคง มั่นใจ” ข้อที่ ๓ ขอฝากถึงคนไทยทุกคนให้มคี วามเอือ้ เฟอ เผื่อแผ่เกื้อกูลกัน มีจิตสาธารณะในเชิงสร้างสรรค์ ประวัติโดยสังเขป เพื่อสร้างความปรองดองในสังคมและความถูกต้อง นาวาอากาศเอก จิตติ อินทรฤทธิ์ เป็นธรรมของประชาชนทุกระดับ เมือ่ สังคมเกิดความ ตําแหนงปจจุบัน รองผู้อ�านวยการกองการศึกษา เข้มแข็งแล้ ว ก็ จ ะเกิ ด เสถี ย รภาพของประเทศชาติ วิทยาลัยการทัพอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ การศึกษา อย่างยั่งยืนต่อไปครับ” นักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๒๘

นักเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช รุน่ ที่ ๓๕ ศิษย์เก่าวิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ ๕๐ ตําแหนงที่สําคัญ - หัวหน้ากองเทคโนโลยี ศูนย์การสงครามทางอากาศ กองบัญชาการกองทัพอากาศ - ผูช้ ว่ ยนายทหารวิชาการและนายทหารตรวจสอบ มาตรฐานการบินนักบินขับไล่ กองตรวจสอบมาตรฐานการบิน - ปฏิบตั หิ น้าทีน่ กั บินลองเครือ่ งที่ ๒ (BACK SEAT) บิน FCF ที่สนามบินอู่ตะเภาเพื่อตรวจรับ บ.ALPHA JET จ�านวน ๑๕ ล�า จากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี - ผูช้ ว่ ยนายทหารยุทธการและผูบ้ งั คับหมวดบิน ๑ ฝ่ายยุทธการฝูงบิน ๒๓๑ กองบิน ๒๓ - ผู้ช่วยนายทหารยุทธการฝูงบิน ๑๐๑ กองบิน ๑ และช่ ว ยราชการนายทหารยุ ท ธการ แผนกยุ ท ธการ กองบังคับการ กองบิน ๑ - ครูการบิน/นักบินลองเครื่อง CT-4 ฝูงฝึกขั้นต้น โรงเรียนการบิน - ครูการบิน CT-4, ALPHA JET - นักบินขับไล่ OV-10, L-39, ALPHA JET



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.