หนังสือข่าวทหารอากาศ ฉบับเดือน มิถุนายน 2562

Page 1



๑๓ มิถุนายน

ข าวทหารอากาศ

น้อมส�านึกในพระกรุณาธิคุณ

“พระบิดากองทัพอากาศ” เรียบเรียงโดย พุทธรักษา

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ทรงเป็น พระราชโอรสล� า ดั บ ที่ ๔ ในพระบาทสมเด็ จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และสมเด็จ พระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง ทรงประสูติเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๕ ในพระบรมมหาราชวัง มีพระนามล�าลองว่า “ทูลกระหมอมเล็ก” มีพระเชษฐภคินแี ละพระอนุชา ร่วมพระมารดา ๘ พระองค์ โดยทูลกระหม่อมเล็ก ทรงเป็นพระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๖ และเป็นพระเชษฐาในพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เมือ่ มีพระชนมายุได้ ๑๔ พรรษา พระบาทสมเด็จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว พระพุ ท ธเจ้ า หลวง รัชกาลที่ ๕ ทรงพระด�าริให้เสด็จไปทรงรับการศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ต่อมา พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ แห่ ง ประเทศรั ส เซี ย ซึ่ ง เป็ น พระสหายสนิ ท ของ

พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ ได้ทูลเชิญให้ส่ง พระราชโอรสไปศึกษาทีป่ ระเทศรัสเซีย ในปี พ.ศ.๒๔๔๑ พระพุทธเจ้าหลวง ฯ จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ ทูลกระหม่อมเล็ก ซึง่ ศึกษาอยูป่ ระเทศอังกฤษ พร้อมด้วย นายพุม่ สาคร สามัญชนทีส่ อบได้รบั ทุนเล่าเรียนหลวง ให้ไปเข้ารับการศึกษาต่อ ณ โรงเรียนนายร้อยมหาดเล็ก ประเทศรัสเซีย พระเจ้าซาร์ ฯ ทรงอุปถัมภ์ดแู ลทูลกระหม่อมเล็ก เสมือนพระญาติวงศ์ใกล้ชดิ ทูลกระหม่อมเล็ก ทรงมี พระวิรยิ ะอุตสาหะในการศึกษาเป็นอย่างยิง่ สอบไล่ได้ เป็นที่ ๑ ทูลกระหม่อมเล็ก ทรงท�าคะแนนได้สูงสุด เป็นประวัติการณ์ของโรงเรียนนายร้อยมหาดเล็ก จึ ง ได้ รั บ การจารึ ก พระนามไว้ บ นแผ่ น หิ น อ่ อ น ของโรงเรียน ต่อมาทูลกระหม่อมเล็กและนายพุ่ม ฯ ได้รบั การบรรจุเป็นนายทหารม้าประจ�ากรมทหารม้า ฮุสซาร์ของสมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ หลังจากส�าเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อย มหาดเล็กฯ ทรงเข้ารับการศึกษาต่อในโรงเรียนนายทหาร ฝ่ายเสนาธิการ ณ ประเทศรัสเซียเป็นเวลา ๒ ปี

3


4

ทูลกระหม่อมเล็ก ทรงสอบไล่ได้เป็นที่ ๑ อีกครัง้ น�าความ ปลื้มปีติอย่างยิ่งแก่สมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ จึ ง ได้ ท รงพระกรุ ณ าแต่ ง ตั้ ง ยศทู ล กระหม่ อ มเล็ ก เป็นนายพันเอกพิเศษในกองทัพบกรัสเซีย และได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์ อันเดรย์ ชั้นสายสะพาย ซึ่งเป็นตราสูงสุดของประเทศรัสเซีย ในสมัยนั้น เมือ่ ทรงส�าเร็จการศึกษา และเสด็จกลับประเทศไทย ในปี พ.ศ.๒๔๔๙ พระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจ อันเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งแก่กองทัพไทยในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั โปรดเกล้าฯ ให้ รั้ ง ต� า แหน่ ง เสนาธิ ก ารทหารบก ยศนายพลตรี ทรงริเริ่มจัดการงานของกองทัพให้เป็นระบบอย่าง นานาอารยประเทศ ทรงปรับปรุงงานเสนาธิการกิจ ให้ทันสมัย โดยทรงจัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหารบก และทรงวางแนวทางหลั ก สู ต รการศึ ก ษาโรงเรี ย น เสนาธิการ อันน�ามาสูห่ ลักสูตรเสนาธิการทหารทุกเหล่าทัพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศ ทูลกระหม่อมเล็กเป็น นายพลโท ในต�าแหน่ง เสนาธิการ ทหารบก และเลื่อนยศเป็นนายพลเอก ด�ารงต�าแหน่ง เสนาบดีกระทรวงกลาโหมในเวลาต่อมา เมือ่ นายชาร์ล แวน เด็นบอร์น ชาวเบลเยีย่ ม ได้รบั พระบรมราชานุญาตฯ ให้ท�าการบินให้ชาวสยามได้ชม ณ สนามม้าสระปทุม ทูลกระหม่อมเล็กทรงเกิดพระวิสยั ทัศน์ และทรงเล็งเห็น ถึงประโยชน์ดา้ นการบินในอนาคตทัง้ กับราชการทหาร และฝ่ายพลเรือนดังพระด�ารัสของพระองค์ตอนหนึง่ ทีว่ า่ “... กําลังในอากาศ เปนโลอันแทจริงอยาง เดี ย ว ที่ จ ะกั น มิ ใ ห ก ารสงครามมาถึ ง ท า มกลาง ประเทศของเราได ทัง้ ยังเปนประโยชนใหญยงิ่ ในการ คมนาคมเวลาปกติ...” ในฐานะที่ทรงด�ารงต�าแหน่ง เสนาธิการทหารบก และรัง้ ต�าแหน่งเสนาบดีกระทรวง กลาโหม จึงมีพระด�าริให้ตงั้ แผนกการบินขึน้ ในกองทัพบก และคัดเลือกนายทหาร ๓ นาย ไปศึกษาวิชาการบิน

ณ ประเทศฝรั่งเศส จากนั้นได้ส่ังซื้อเครื่องบินจาก ประเทศฝรัง่ เศสไว้ใช้ในราชการ จ�านวน ๘ เครือ่ ง และ จัดตัง้ เป็นแผนกการบิน ณ สนามม้าสระปทุม ต่อมา มีพระด�าริให้ย้ายที่ตั้งสนามบินจากที่เดิมมาตั้งอยู่ที่ ต�าบลดอนเมือง และทรงยกฐานะแผนกการบิน ขึน้ เป็น กองบินทหารบก ในวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๗ หลังสงครามโลกครัง้ ที่ ๑ สงบลง ทูลกระหม่อมเล็ก ทรงเสด็จประพาสสิงคโปร์และแหลมมลายู ภายหลัง เสด็จโดยทางเรือได้เพียงวันเดียว ทูลกระหม่อมเล็ก เริม่ พระประชวรไข้ไปตลอดทางจนกระทัง่ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๓ จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรม วงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภวู นารถ กรมหลวงพิศณุโลก ประชานารถ เสด็จทิวงคต ด้วยโรคพระปับผาสะ สิริรวมพระชนมายุได้ ๓๗ พรรษาพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระราชทานเศวตฉัตร ๕ ชัน้ ประดั บ เหนื อ พระโกศและเสด็ จ พระราชด� า เนิ น มาพระราชทานเพลิงพระศพ กิจการการบินทีท่ รงริเริม่ จัดตัง้ ในวันนัน้ ได้พฒั นา ก้าวหน้าสูก่ ารเป็นกองทัพอากาศ ในปัจจุบนั กองทัพ อากาศจึ ง ได้ จั ด พิ ธี ว างพวงมาลาถวายสั ก การะฯ เพือ่ เทิดพระเกียรติและน้อมส�านึกในพระกรุณาธิคณ ุ จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภู ว นารถ กรมหลวงพิ ศ ณุ โ ลกประชานารถ เป็น “พระบิดาแหงกองทัพอากาศ” ทุก ๆ ปี เสมอมา

อ้างอิง - https://www.th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระอนุชา_ธิราช_เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภวู นาถ_กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ - https://www.facebook.com/kumthailand







10

บทบรรณาธิการ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่เคารพทุกท่าน ในห้วงเดือนพฤษภาคมทีผ่ า่ นมานัน้ ล้วนมีเรือ่ งที่ ปวงชนชาวไทยต่างปลืม้ ปิตแิ ละประทับใจในพระราชพิธี บรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี ซึ่งจะยังคง ตราตรึงอยูใ่ นหัวใจของประชาชนชาวไทยและสายตา ชาวโลกไปอีกตราบนานเท่านาน ส�าหรับในเดือนมิถนุ ายนมีวนั ส�าคัญยิง่ ของปวงชน ชาวไทยอีกวันหนึง่ เนือ่ งจากในวันที่ ๓ มิถนุ ายน เป็น วันเฉลิมพระชนมพรรษาของ สมเด็จพระนางเจ้าสุทดิ า พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี พระองค์ทรง เข้ารับราชการและถวายงานพระบาทสมเด็จพระวชิร เกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ และจงรัก ภักดียงิ่ ทรงเปีย มด้วยพระปรีชาด้านการทหาร พร้อม ทัง้ ยังทรงมีพระจริยวัตรงดงาม นอบน้อม เพียบพร้อม ด้วยคุณสมบัตแิ ห่งเบญจกัลยาณี จึงทรงได้รบั พระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาพระอิสริยยศขึน้ เป็น พระบรมราชินี เพื่อเป็นมิ่งขวัญแห่งปวงชนชาวไทย สืบไป นอกจากนี้ รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นวันหยุด ราชการ โดยมีการจัดพิธีท�าบุญตักบาตรถวายเป็น พระราชกุศล และจัดงานถวายเครื่องราชสักการะ เพือ่ เป็นการเฉลิมพระเกียรติของพสกนิกรทุกหมูเ่ หล่า ในวันที่ ๕ มิถุนายน องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้เป็น “วันสิ่งแวดล้อมโลก” (World Environment Day) ซึ่งปัจจุบันสิ่งแวดล้อมโลก เสือ่ มโทรมลงอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของประชาชนมากขึ้น คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม กองทัพอากาศ ได้ตดิ ตามประเมินผลการเปลีย่ นแปลง ทีส่ า� คัญด้านสิง่ แวดล้อม ให้มกี ารปฏิบตั ทิ างสิง่ แวดล้อม อย่ า งเหมาะสม รวมทั้ ง เสริ ม สร้ า งให้ ทุ ก องค์ ก ร ของกองทัพอากาศ ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และหาแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยสร้างจิตส�านัก ให้ตระหนักรู้ว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องร่วมมือ ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ส�าหรับกองทัพอากาศในเดือนนี้ยังมีวันส�าคัญ อีกวันหนึ่งคือในวันที่ ๑๓ มิถุนายนของทุกปีเป็น วันทีร่ ะลึกคล้ายวันทิวงคตของ จอมพลสมเด็จพระเจ้า

บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภวู นารถ กรมหลวงพิศณุโลก ประชานารถ “พระบิดาแห่งกองทัพอากาศ” ซึง่ กองทัพ อากาศได้จัดพิธีบ�าเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระองค์ท่าน ที่ทรงเป็นผู้มีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงแก่กองทัพ อากาศ ที่ได้ทรงก่อตั้งและพัฒนาเจริญก้าวหน้ามา ตราบจนทุกวันนี้ ในโอกาสนีก้ องทัพอากาศขอเชิญชม สารคดีเทิดพระเกียรติชดุ “ตามรอยเจ้าฟ้า...พระบิดา แห่งกองทัพอากาศ” เนือ่ งในโอกาสครบ ๙๙ ปีแห่งการ เสด็จทิวงคตของ จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภวู นารถกรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ โดยจะน�าเสนอถึงพระวิสยั ทัศน์อนั ยาวไกลของพระบิดา แห่งกองทัพอากาศ คุณูปการต่าง ๆ ของพระองค์ ที่ก่อให้เกิดกิจการการบินของสยามประเทศ รวมถึง พระกรณียกิจและพระกรุณาธิคณ ุ ทีท่ รงมีตอ่ ประเทศชาติ และต่อกองทัพอากาศ ร่วมน้อมร�าลึกในกรุณาธิคุณ และเปิดบันทึกประวัติศาสตร์หน้าส�าคัญผ่านทาง โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ไปแล้ว เมือ่ ๔ - ๑๓ มิ.ย.๖๒ ทางช่อง 3HD, ททบ.๕, ThaiPBS และช่อง NBT ภาพจากปกฉบับนี้ เป็นพระฉายาลักษณ์ ของ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ส�าหรับเรื่องเด่นในฉบับได้แก่ ผลงาน KM เรื่องการตรวจซ่อม RF Panel เครื่องเรดาร์ AN/ TPS-78, การปฏิบตั กิ ารข่าวสารเชิงสร้างสรรค์, SPICE Family ลูกระเบิดอากาศน�าวิถีตระกูล SPICE, Red Eagle อินทรีแดงแผลงฤทธิ์ การส่งลงด้วยเชือกเร่งด่วน ยุ ท ธวิ ธี ส� า คั ญ ของชุ ด โจมตี ต ่ อ เป้ า หมาย รวมทั้ ง คอลัมน์ประจ�าที่น่าสนใจอีกมากมาย เชิญพลิกอ่าน ได้ตามอัธยาศัยครับ 


สารบัญ

ข าวทหารอากาศ

ป ที่ ๗๙ ฉบั บ ที่ ๖ เดื อ นมิ ถุ น ายน ๒๕๖๒

๒ บทอาเศียรวาท สมเด็จพระนางเจ าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี - น.อ.เกษม พงษ พันธ ๓ ๑๓ มิถุนายน น อมสํานึกในพระกรุณาธิคุณ “พระบิดากองทัพอากาศ” - พุทธรักษา ๕ พระปรมาภิ ไธย พระนามาภิ ไธย และพระนามพระบรมวงศ ๑๓ ธรรมะ ประทีป : ประวัตคิ วามเป นมาของพระพุทธรูปปางต าง ๆ - กอศ.ยศ.ทอ. ๑๕ ครูพาษาพาที : พระราชพิธบี รมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร รามาธิบดี ศรีสนิ ทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมพ ิ ลราชวรางกูร (๑) - มะลิลา ๒๐ วันคล ายวันสถาปนา สํานักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ - ปชส.สปช.ทอ. ๒๔ KM : การตรวจซ อม RF Panel เครื่องเรดาร AN/TPS-78 - สอ.ทอ. ๒๘ กรอบแนวทางการสอนของโรงเรียนเสนาธิการร วมออสเตรเลีย (๒) - น.ท.ธนาวุฒิ ลิขิตสัมพันธ ๓๒ สิทธิมนุษยชนและความท าทายของประเทศไทยในการเป นประธานอาเซียน - ดร. เสรี นนทสูติ ๓๕ Big Data ช วยกองทัพอากาศได อย างไร - น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต ๓๙ เวลาการ ตูน - มีสกรีน ๔๑ ความรู พื้นฐาน “การปฏิบัติการข าวสารเชิงสร างสรรค ” (Creative Information Operations : CIO) - น.อ.ประภาส สอนใจดี ๔๘ ป จจัยที่ทําให เกิดภาวะข อเข าเสื่อม? (ตอนที่ ๒) - พล.อ.ต.ผศ.นพ.จํารูญเกียรติ ลีลเศรษฐพร ๕๑ การสร างหอพระกองทัพอากาศ - น.อ.อภิรัตน รังสิมาการ ๖๑ Drone รุ นบุกเบิก - น.อ.ชวินทร ศรีวิริยเลิศกุล ๖๕ บ อดักไขมัน สร างสรรค สิ่งแวดล อม - พ.อ.อ.ภานุ ชัยเพชร ๖๗ SPICE Family ลูกระเบิดอากาศนําวิถตี ระกูล SPICE - Rocket-7 ๗๑ เป ดปูม ๑๐๐ ป การบินของบุพการีทหารอากาศ - พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร ๗๖ บทเรียนการช วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย กรณีเกิดภัยพิบัติ ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย - น.อ.ประภาส สอนใจดี ๘๑ Red Eagle อินทรีแดงแผลงฤทธิ์ : การส งลงด วยเชือกเร งด วน ยุทธวิธสี าํ คัญ ของชุดโจมตีตอ เป าหมาย - น.ต.ภฤศพงศ ช อนแก ว ๘๗ ขอบฟ าคุณธรรม : …อย าทําคนดีให หมองมัว อย าปล อยคนชั่วให ลอยนวล… - 1261 ๙๑ เกร็ดเล็กเกร็ดน อย ประชาคมอาเซียน (+3)* : ชุดประจําชาติของประเทศญีป่ น ุ - @Zilch ๙๒ ประมวลภาพ คอนเสิร ตทัพฟ าคู ไทย เพื่อชัยพัฒนา ครั้งที่ ๑๒ ๙๔ ในรั้วสีเทา ๙๘ “กิจกรรมจิตอาสาถวายความจงรักภักดี” เนื่องในโอกาสมหามงคล พระราชพิธีบรมราชาภิเษก - ร.อ.หญิง วิวัสวัน เปล งวิทยา

๒๔

๓๕

๔๑

๕๑

๘๑

11


ข าวทหารอากาศ

12

คณะผูจ้ ดั ทําหนังสือข่าวทหารอากาศ เจ้าของ กองทัพอากาศ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ พล.อ.อ.ม.ร.ว.ศิริพงษ์ ทองใหญ่ พล.อ.อ.ธนนิตย์ เนียมทันต์ พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน

พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ พล.อ.อ.อมร แนวมาลี พล.อ.อ.ปอง มณีศิลป พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง

ที่ปรึกษา พล.อ.อ.ธงชัย แฉล้มเขตร พล.อ.อ.ศักดิ์พินิต พร้อมเทพ พล.อ.ต.สหัสชัย มาระเนตร

พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร พล.อ.ต.หญิง สุมาลี ฤทธิบุตร

ผู้อ�านวยการ/บรรณาธิการ พล.อ.ท.พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย

เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ รองผู้อ�านวยการ

พล.อ.ต.ทศวรรณ รัตนแก้วกาญจน์ พล.อ.ต.ฐานัตถ์ จันทร์อ�าไพ

ผู้ช่วยผู้อ�านวยการ

น.อ.กรกฎ ทิมไสว น.อ.สมพร แต้พานิช ผู้ช่วยบรรณาธิการ ผู้จัดการ

พล.อ.ต.ตรีพล อ่องไพฑูรย์

น.อ.ธรรมรงค์เดช เจริญสุข น.อ.นินาท มูลจนะบาตร์

น.อ.สมพร แต้พานิช น.อ.อภิรัตน์ รังสิมาการ น.ท.สมภพ จันทร์ชูชื่น

ประจ�าบรรณาธิการ

น.ท.หญิง สุภาวดี โคตรเวียง น.ท.หญิง มุตสิตา มาหะศักดิ์ พ.อ.อ.ธรรมวัฒน์ รัตนวิจารณ์ พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห์ พ.อ.อ.หญิง วาสนา รับสมบัติ น.ส.อุไรวรรณ บุญณรงค์ นางจันทร์สม ค�ามา น.ส.ณัฐวดี ธ�ารงวงศ์ถาวร

น.ท.หญิง ณัฐสินี เชื้อนุ่น น.ต.หญิง รัชนก เกิดสุข พ.อ.อ.พันธกานต์ พูลผล พ.อ.อ.รักษิต ทองแย้ม จ.อ.หญิง ศุภวัลย์ กระจ่างนฤมลกุล นางประไพ เอี่ยมวุฒิ น.ส.รสสุคนธ์ บุญประเทือง

กองวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์ (เพื่อพลาง) ส�านักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรืิอนทหารอากาศ ถนน พหลโยธิน แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑, ๐ ๒๕๓๔ ๔๒๔๑ โทรสาร ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑ ส่งบทความและภาพกิจกรรมได้ที่ rtafmag@gmail.com

หนังสือข่าวทหารอากาศ ความเป็นมา หนังสือข่าวทหารอากาศ เป็นนิตยสารรายเดือนของกองทัพอากาศ เริม่ ด�าเนินการเมือ่ ปี พ.ศ.๒๔๘๓ ขึน้ กับกรมข่าวทหารอากาศ โดย นาวาอากาศเอก สกล รสานนท์ เป็นบรรณาธิการคนแรก ด�าเนินการโดยทุนของข้าราชการทหารอากาศ พ.ศ.๒๔๙๘ ได้โอนกิจการมาอยูใ่ นความอ�านวยการของกรมยุทธศึกษาทหาร อากาศ ตามค�าสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๕๘๐/๙๘ ลง ๒๓ ธ.ค.๒๔๙๘ ๑ ม.ค.๒๕๕๓ ได้เข้าอยู่ในกิจการสวัสดิการกองทัพอากาศ ก�ากับดูแล โดยคณะอนุ ก รรมการบริ ห ารวารสารและสื่ อ สิ่ ง พิ ม พ์ ก องทั พ อากาศ ตามอนุมัติ ผบ.ทอ./ประธานกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ เมื่อ ๒๘ ธ.ค. ๒๕๕๒ ก�าหนดให้ใช้ระเบียบคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ ว่าด้วยการ บริหารวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์กองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๕๒ ๑ ม.ค.๒๕๖๑ ได้เข้ามาอยู่ในการก�ากับดูแลของกรมกิจการพลเรือนทหาร อากาศ ตามค�าสั่ง ทอ. (เฉพาะ) ที่ ๑๓๖/๖๐ ลง ๒๖ ก.ย.๒๕๖๐

ภารกิจ ด�าเนินกิจการหนังสือข่าวทหารอากาศ ให้เป็นไปตามนโยบายของผูบ้ ญั ชาการ ทหารอากาศ โดยมีผู้อ�านวยการหนังสือข่าวทหารอากาศ (จก.กร.ทอ.) เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในกิจการทั่วไป ๒. เพือ่ แสดงความคิดเห็นด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิง่ แวดล้อม อันจะเป็นประโยชน์ตอ่ ส่วนรวม ๓. เพื่อเผยแพร่กิจการของกองทัพอากาศ

การดําเนินงาน ๑. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ใน การพัฒนากองทัพอากาศและส่วนรวม ๒. เนื้อหาที่น�ามาลงในหนังสือข่าวทหารอากาศ - ต้องไม่ขดั ต่อวัตถุประสงค์/นโยบายของผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ - ต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ บุคคล หรือ ส่วนรวม - ต้องได้รับการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะผู้จัดท�าหนังสือข่าว ทหารอากาศ

กําหนดการเผยแพร่ นิตยสารรายเดือน

พิมพ์ที่ บริษัท ที.เค.เอส. เทคโนโลยี จ�ากัด (มหาชน) ๓๐/๘๘ หมู่ ๑ ถ.เจษฎาวิถี ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ๗๔๐๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๗๘๔ ๕๘๘๘ โทรสาร ๐ ๒๗๘๔ ๕๘๕๘

อ่านบทความเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ www.airforcemagazine.rtaf.mi.th และ www.rtaf.mi.th บทความและความคิดเห็นของผู้เขียนในหนังสือฉบับนี้ ไม่มีส่วนผูกพันกับทางราชการแต่ประการใด ภาพบางส่วนในหนังสือ น�ามาจาก www.google.com ออกแบบปก : น.ส.รสสุคนธ์ บุญประเทือง


ข าวทหารอากาศ

13

ธรรมะ

ประทีป กอศ.ยศ.ทอ.

ประวัติความเปนมาของพระพุทธรูปปางตาง ๆ

พระพุทธรูปปางวันอาทิตย์ : ปางถวายเนตร

ลักษณะพระพุทธรูป พระพุ ท ธรู ป ปางนี้ อยู ่ ใ นพระอิ ริ ย าบถยื น ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า ทอดพระเนตร ดูต้นศรีมหาโพธิ์พฤกษ์ พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมา ประสานทับกันอยูข่ า้ งหน้าระหว่างพระเพลา พระหัตถ์ ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายอยู่ในอาการสังวร ประวัติความเป็นมา เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็เสด็จ ประทับเสวยวิมตุ ติสขุ (ความสุขอันเกิดจากการหลุดพ้น) อยูท่ ตี่ น้ ศรีมหาโพธิเ์ ป็นเวลา ๗ วัน แล้วก็เสด็จออกจาก ร่มพระศรีมหาโพธิ์ ไปประทับยืนกลางแจ้งทางทิศ อีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ของต้นศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงทอดพระเนตรต้ น ศรี ม หาโพธิ์ โ ดยไม่ ก ระพริ บ พระเนตร ด้วยพระอิริยาบถนั้นถึง ๗ วัน พระพุทธ จริยาที่ทรงเพ่งจ้องพระเนตรดูต้นศรีมหาโพธิ์ โดยไม่ กระพริบพระเนตรถึง ๗ วันนัน้ จึงเป็นเหตุให้มกี ารสร้าง พระพุทธรูป “ปางถวายเนตร” ขึ้น พระพุทธรูปปางนี้ นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปเพือ่ เป็นทีส่ กั การบูชาประจ�าวัน ของคนเกิดวันอาทิตย์


14

ลักษณะพระพุทธรูป พระพุ ท ธรู ป ปางนี้ อยู ่ ใ นพระอิ ริ ย าบถยื น พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ ยืน่ ออกไปข้างหน้าเป็นกิรยิ าทรงห้าม พระพุทธรูปปางนี้ มีประวัติความเป็นมา ๒ นัยคือ ประวัติความเป็นมา (ปางห้ามสมุทร) เมื่ อ พระพุ ท ธเจ้ า เสด็ จ มายั ง ต� า บลอุ รุ เ วลา เสนานิคม ทรงเสด็จเข้าไปประทับอาศัยอยู่ในส�านัก ของอุรุเวลกัสสปะ ซึ่งเป็นหัวหน้าชฎิล ๕๐๐ และเป็น ทีน่ บั ถือเลือ่ มใสของมหาชนในแคว้นมคธ พระองค์ทรง ท�าปาฏิหาริย์นานัปการ เพื่อคลายพยศของหัวหน้า ชฎิล จนเหล่าชฎิลเกิดความเคารพนับถือในอานุภาพ ของพระองค์ และในที่สุด ทรงท�าปาฏิหาริย์ห้ามน�้า ซึง่ ไหลบ่ามาจากทิศต่าง ๆ ทีท่ ว่ มส�านักของอุรเุ วลกัสสปะ มิให้น�้าเข้ามาในที่พระประทับพระองค์เสด็จจงกรม ภายในวงล้ อ มของน�้ า ที่ ท ่ ว มเป็ น ก� า แพงรอบด้ า น พวกเหล่าชฎิลต่างพายเรือมาดู เห็นเป็นอัศจรรย์นัก ก็พากันสิน้ พยศ ขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธ ศาสนา โดยพระพุ ท ธองค์ ท รงประทานเอหิ ภิ ก ขุ อุปสัมปทาให้พระพุทธจริยาที่ทรงแสดงปาฏิหาริย์ ห้ามน�า้ ในครัง้ นี้ จึงเป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูป ทีเ่ รียกว่า “ปางห้ามสมุทร” ประวัติความเป็นมา (ปางห้ามญาติ) ครั้งหนึ่ง พระญาติฝ่ายพุทธบิดา แห่งพระนคร กบิลพัสดุ์ กับพระญาติฝ่ายพระพุทธมารดา แห่งพระ นครเทวทหะ ทั้งสองพระนครนี้อยู่ใกล้แม่น�้าโรหิณี ชาวนาของทัง้ ๒ พระนครนี้ อาศัยน�า้ จากแม่นา�้ โรหิณนี ี้ ท�านาร่วมกันสมัยหนึ่งเมื่อฝนแล้ง น�้าในแม่น�้าโรหิณี ก็ เ หลื อ น้ อ ย จึ ง เกิ ด การวิ ว าทแย่ ง ชิ ง น�้ า ระหว่ า ง นครทั้ ง สองขึ้ น ไม่ ส ามารถระงั บ ได้ ด ้ ว ยสั น ติ วิ ธี

พระพุทธรูปปางวันจันทร์ : ปางห้ามสมุทร : ปางห้ามญาติ

จึงเกิดการประหัตประหารกัน ลุกลามจนถึงการยกทัพ เข้าต่อสู้กันพระพุทธองค์ทรงทราบเรื่อง ก็ทรงพระ กรุณาเสด็จไปห้ามสงครามการแย่งน�้าของพระญาติ ทัง้ สอง โดยแสดงโทษแห่งความพินาศย่อยยับของชีวติ มนุษย์โดยเหตุอนั ไม่บงั ควรทีต่ อ้ งมาล้มตายกันด้วยสาเหตุ เพียงการแย่งน�า้ เข้านาเพียงเล็กน้อย จนพระญาติทงั้ สอง ฝ่ายเข้าใจกันเป็นอันดี พระองค์จึงทรงเสด็จกลับ พระพุทธจริยาที่ทรงห้ามพระญาติทั้งสองพระนครไม่ ให้ตอ่ สูก้ นั นี้ จึงเป็นสาเหตุให้เกิดการสร้างพระพุทธรูปที่ เรียกว่า “ปางห้ามญาติ” พระพุทธรูปทั้งสองปางนี้ ถือว่าเป็นพระพุทธรูปบูชา ส�าหรับคนที่เกิดวันจันทร์


ข าวทหารอากาศ

15

ครูภาษาพาที มะลิลา

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร รามาธิบดีศรีสนิ ทร มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร (๑) สวั ส ดี ผู ้ อ ่ า นคอลั ม น์ ค รู ภ าษาพาที ทุ ก ท่ า น เนื่องจากในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีพระราชพิธี ที่ส�าคัญอย่างยิ่ง นั่นคือ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสนิ ทรมหา วชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร ผู้เขียนจึงขอ น�าเสนอค�าศัพท์ภาษาอังกฤษทีเ่ กีย่ วข้องกับพระราชพิธี บรมราชาภิ เ ษก ลองติ ด ตามว่ า จะมี ค� า ศั พ ท์ อ ะไร ที่น่าสนใจกันบ้าง พระราชพิธบี รมราชาภิเษกเป็นโบราณราชประเพณี ที่สืบทอดมายาวนาน เพื่อการเสด็จขึ้นครองราชย์ โดยสมบูรณ์ของพระมหากษัตริยไ์ ทย พระบาทสมเด็จฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบ โบราณราชประเพณี โดยมีก�าหนดการพระราชพิธี แบ่งเป็น ๓ ช่วง คือ พระราชพิธีเบื้องต้น พระราชพิธี เบื้องกลาง และพระราชพิธีเบื้องปลาย ในฉบับนี้ จะเริ่มจากพระราชพิธีเบื้องต้นของ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกกันก่อน ๑. พระราชพิธีเบื้องต้น ประกอบด้วย การเตรียมน�้าอภิเษก การจารึก พระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และแกะ พระราชลัญจกร ระหว่างวันที่ ๖ - ๒๓ เม.ย.๖๒ April 6, 2019 The sacred water and the water consecration ritual will be collected nationwide.

April 8, 2019 Monks will ritually consecrate the water at provincial royal temples. April 9, 2019 Ritual Buddhist processions will be conducted around the temples. April 18, 2019 The sacred water collected nationwide will be sanctiied at Wat Suthat Thepwararam.


16

April 19, 2019 The sacred water will be moved to Wat Phra Sri Rattana Satsadaram in preparation for the puriication bath and the anointment rite. April 22-23, 2019 An engraving ceremony of the king’s name into a golden plate, a reading of the royal fortune, creation of the royal seal and designations of high-ranking royals will take place at Wat Phra Sri Rattana Satsadaram. ๑.๑ การเตรียมนํ้าอภิเษก (Preparation of Sacred Water for Ablution and Anointment) April 6, 2019 The sacred water and the water consecration ritual will be collected nationwide. ๖ เม.ย.๖๒ ท�าพิธีพลีกรรมตักน�้าจากแหล่งน�้า ศักดิ์สิทธิ์ทั่วราชอาณาจักรตามโบราณราชประเพณี

ค� า ที่ น ่ า สนใจในประโยคนี้ คื อ ค� า ว่ า sacred water และ nationwide ค�าว่า sacred อ่านว่า /เซ คริด/ เน้นเสียงหนัก ที่พยางค์แรก เป็นค�าคุณศัพท์ แปลว่า ศักดิ์สิทธิ์ sacred water จึงแปลว่า น�้าศักดิ์สิทธิ์ ตัวอย่าง They went to visit the sacred temple. พวกเขาไปเที่ยวที่วัดศักดิ์สิทธิ์ ส่วนค�าว่า nationwide เป็นค�ากริยาวิเศษณ์ อ่านว่า /เน เชิน่ วายดฺ/ เน้นเสียงหนักทีพ่ ยางค์สดุ ท้าย ค�าว่า nation /เน เชิ่น/ ค�านามค�านี้ มีความหมายว่า ประเทศ เมือ่ เติมค�าว่า wide เข้าไป จะมีความหมายว่า ทั่วประเทศ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ค�าว่า nationwide แปลอย่ า งสละสลวยได้ ว ่ า ทั่ ว ราช อาณาจักร มี ค� า ศั พ ท์ อี ก ๒ ค� า ที่ ผู ้ เขี ย นอยากน� า เสนอ เพิม่ เติม เป็นค�าศัพท์ที่เมื่อเติมค�าว่า -wide ต่อท้าย จะแปลว่า ทัว่ ค�าแรกคือค�าว่า country /คัน ทรี/ ซึง่ มี


ข าวทหารอากาศ

ความหมายว่า ประเทศ เมื่อเติมค�าว่า wide เข้าไป กลายเป็นค�าว่า countrywide /คัน ทรี วายดฺ/ จะมี ความหมายว่า ทั่วประเทศ เช่นเดียวกับ nationwide ส่วนค�าที่ ๒ คือค�าว่า world /เวิรฺลดฺ/ หมายถึง โลก เมื่อเติมค�าว่า wide ต่อท้ายเข้าไป กลายเป็นค�า ว่า worldwide /เวิรฺลดฺ วายดฺ/ จะมีความหมายว่า ทั่วโลก ตัวอย่าง His products are sold nationwide. เขาส่งสินค้าขายทั่วประเทศ His products are sold countrywide. เขาส่งสินค้าขายทั่วประเทศ His products are sold worldwide. เขาส่งสินค้าขายทั่วโลก April 8, 2019 Monks will ritually consecrate the water at provincial royal temples. ๘ เม.ย.๖๒ ตั้งพิธีท�าน�้าอภิเษก ณ พระอาราม ส�าคัญประจ�าจังหวัดของแต่ละจังหวัด ค�าว่า ritually /ริช ชุ เอิล ลิ/ เป็นค�ากริยาวิเศษณ์ มาจากค�าว่า ritual /ริช ชุ เอิล/ ซึ่งเป็นได้ทั้งค�านาม

17

และค�าคุณศัพท์ เมื่อเป็นค�านามจะมีความหมายว่า พิธีกรรมหรือพิธีทางศาสนา แต่เมื่อเป็นค�าคุณศัพท์ จะหมายความว่า เกีย่ วกับพิธกี รรมหรือพิธที างศาสนา ritually จึงมีความหมายว่า โดยวิธีการประกอบ พิธีกรรมหรือพิธีทางศาสนา ในประโยคข้างต้นค�าว่า ritually ขยายค�าว่า consecrate /คอน เซอ เครต/ เป็นค�ากริยา มีความหมายว่า ท�าให้ศักดิ์สิทธิ์ ritually consecrate the water จึงมีความหมายว่า ท�าน�้าให้ ศักดิส์ ทิ ธิต์ ามพิธที างศาสนา หรือแปลอย่างสละสลวย ให้เข้ากับบริบท คือ ตั้งพิธีท�าน�้าอภิเษก April 9, 2019 Ritual Buddhist processions will be conducted around the temples. ๙ เม.ย.๖๒ เวียนเทียนสมโภชน�้าอภิเษก การเวี ย นเที ย น เป็ น พิ ธี ท างศาสนาของไทย จึงไม่มีค�าศัพท์ค�านี้ในภาษาอังกฤษ เมื่อจะกล่าวถึง การเวียนเทียนเป็นภาษาอังกฤษ จะใช้ค�าที่อธิบายถึง ลักษณะการเวียนเทียนแทน ค�าว่า procession /เพรอะ เซช เชิ่น/ เป็นค�านาม มีความหมายว่า ขบวนแห่ การเดินเป็นขบวน เมื่อมารวมกับค�าว่า ritual /ริช ชุ เอิล/ และ Buddhist /บูด้ ดิสทฺ/ (เกีย่ วกับศาสนาพุทธ)


18

พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ฯ

พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

จึงมีความหมายว่า ขบวนแห่ตามพิธีทางศาสนาพุทธ และมีความหมายใกล้เคียงกับการเวียนเทียน ซึ่งเป็น พิธีทางศาสนาพุทธของไทย April 18, 2019 The sacred water collected nationwide will be sanctiied at Wat Suthat Thepwararam. ๑๘ เม.ย.๖๒ เชิญน�้าศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัด มาตัง้ ไว้ในพระอุโบสถ วัดสุทศั นเทพวราราม ฯ เพือ่ เสก น�้าอภิเษก ค�าว่า sanctiied อ่านว่า /แซงฺ เทอ ฟายดฺ/ เน้น เสียงหนักทีพ่ ยางค์แรก เป็นค�ากริยารูป past participle เพื่อท�าให้เป็นรูปถูกกระท�า (passive voice) แปลว่า ท�าให้ศักดิ์สิทธิ์ ในที่นี้แปลให้สละสลวยได้ว่า เพื่อเสก น�้าอภิเษก April 19, 2019 The sacred water will be moved to Wat Phra Sri Rattana Satsadaram in preparation for the puriication bath and the anointment rite. ๑๙ เม.ย.๖๒ แห่เชิญน�า้ อภิเษกไปยังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อให้พราหมณ์ประกอบ พิธีสรงพระมุรธาภิเษกและพิธีรับน�้าอภิเษก puriication เป็นค�านาม อ่านว่า /พิว เรอะ เฟอะ เค เชิ่น/ มีความหมายว่า การท�าให้บริสุทธิ์

puriication bath จึงแปลตรงตัวว่า การช�าระล้าง ให้บริสุทธิ์ ส่วนในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จะหมายถึง พิธีสรงพระมุรธาภิเษก ค�าว่า anointment /เออะ นอยทฺ เมิ่น/ เป็น ค�านาม มีความหมายว่า การแต่งตั้ง หรือ การรดด้วย ของเหลว ส่วนค�าว่า rite /ไรทฺ/ เป็นค�านาม หมายถึง พิธีกรรม หรือพิธีทางศาสนา เช่นเดียวกับค�าว่า ritual anointment rite จึงหมายถึง พิธีรับน�้าอภิเษก ๑.๒ การจารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรม ราชสมภพ และพระราชลัญจกร (Engraving of the Royal Golden Plaque, the Royal Fortune and the Royal Seal) April 22-23, 2019 An engraving ceremony of the king’s name into a golden plate, a reading of the royal fortune, creation of the royal seal and designations of high-ranking royals will take place at Wat Phra Sri Rattana Satsadaram. วันที่ ๒๒ - ๒๓ เม.ย.๖๒ พิธจี ารึกพระสุพรรณบัฏ เฉลิมพระปรมาภิไธย ดวงพระบรมราชสมภพ และ แกะพระราชลัญจกรประจ�ารัชกาล ตลอดจนจารึก พระสุพรรณบัฏพระบรมวงศ์ ณ วัดพระศรีรตั นศาสดาราม


ข าวทหารอากาศ

19

fortune /ฟอรฺ เชิ่ น / เป็ น ค� า นาม แปลว่ า โชคชะตา ดวงชะตา หรือโชคลาภ ส่วนค�าว่า seal / ซี ล / เป็ น ค� า นาม ในประโยคข้ า งต้ น หมายถึ ง ตราประทับ ค�าสุดท้ายค�าว่า royal /รอย เอิล/ เป็นได้ทั้ง ค� า คุ ณ ศั พ ท์ แ ละค� า นาม เมื่ อ เป็ น ค� า คุ ณ ศั พ ท์ มีความหมายว่า เกี่ยวกับราชวงศ์ เมื่อรวมกับค�าว่า fortune เป็น royal fortune แปลตรงตัวว่า ดวงชะตา เกี่ ย วกั บ ราชวงศ์ แต่ ห ากเป็ น การพระราชพิ ธี บรมราชาภิเษก จะหมายถึง ดวงพระบรมราชสมภพ และเมื่อรวมกับค�าว่า seal เป็น royal seal ในการ

พ ร ะ ร า ช พิ ธี บ ร ม ร า ช า ภิ เ ษ ก จ ะ ห ม า ย ถึ ง พระราชลัญจกรประจ�ารัชกาล ค�าว่า royal เมื่อเป็นค�านาม แปลว่า บุคคล ในราชวงศ์ high-ranking royals จึ ง หมายถึ ง พระบรมวงศ์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ส�าหรับพระราชพิธบี รมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร ในฉบับนี้ ผู้เขียนได้กล่าวถึง พระราชพิธเี บือ้ งต้นแล้ว ในบทความต่อไป จะน�าเสนอ เรือ่ งราวเกีย่ วกับพระราชพิธเี บือ้ งกลางและพระราชพิธี เบือ้ งปลายของพระราชพิธบี รมราชาภิเษก ไว้พบกันใหม่ ในฉบับหน้า

พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวตั น์ ผูแ้ ทนพระองค์ ทรงจุดเทียนทอง เทียนเงิน บนโตะจารึกดวงพระราช สมภพ โตะแกะพระราชลัญจกรประจ�ารัชกาล และโตะ จารึกพระสุพรรณบัฏ

นายภูมินทร์ ปลั่งสมบัติ เจ้าพนักงานอาลักษณ์เป็นผู้ จารึกพระปรมาภิไธยในพระสุพรรณบัฏ/นายฉัตรชัย ปินเงิน โหรหลวง เป็นผู้จารึกดวงพระบรมราชสมภพ/ นายสุนทร วิไล ช่างศิลปประจ�าพระองค์เป็นผูแ้ กะพระ ราชลัญจกรประจ�ารัชกาล

อ้างอิง - https://www.m-culture.go.th/mculture_th60/download/pramuan_king.pdf - https://www.m-culture.go.th/mculture_th60/download/inal-THAI.pdf - https://www.m-culture.go.th/mculture_th60/download/inal-ENG.pdf - http://www.nationmultimedia.com/detail/big_read/30365061 - http://www.khaosodenglish.com/news/2019/02/01/full-schedule-for-royal-coronationceremony-unveiled/ - https://www.touronthai.com/article/1630


20

"สํานักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ เปนหน่วยงานที่มีระบบงานที่วาง ระบบงบประมาณของกองทัพอากาศ ให้เปนมาตรฐาน มีความทันสมัยเปนเครื่องมือ การบริหารงานให้บรรลุยุทธศาสตรของกองทัพอากาศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล"

ครบ ๔๑ ป

๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๒ ปชส.สปช.ทอ.

จากยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) ทีใ่ ห้ความส�าคัญในการพัฒนากองทัพ อากาศในทุกด้านอย่างเป็นระบบ โดยก�าหนดเป้าหมาย ในการขับเคลื่อนกองทัพอากาศ เพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์ "กองทัพอากาศชั้นนําในภูมิภาค (One of the Best Air Forces in ASEAN)" เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ทุกมิติตอบสนองต่อภัยคุกคามทุกรูปแบบบนพื้นฐาน ของการพึ่งพาตนเอง สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ดิ จิ ทั ล และแนวคิ ด การปฏิ บั ติ ก ารที่ ใช้ เ ครื อ ข่ า ย เป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operation : NCO) ทัง้ ในปฏิบตั กิ ารรบและมิใช่การรบท�าให้ปฏิบตั ภิ ารกิจ ได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสม ทันตามความต้องการ ซึ่งการที่จะท�าให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวต้องอาศัย การสนับสนุนด้านงบประมาณควบคู่กับการพิจารณา ความจ�าเป็น ความคุ้มค่าของการจัดสรรงบประมาณ ให้ แ ต่ ล ะมิ ติ ข องการพั ฒ นาอย่ า งเหมาะสมและ สอดคล้ อ งตามจุ ด เน้ น และทิ ศ ทางการพั ฒ นาตาม นโยบายผูบ้ ญั ชาการทหารอากาศในแต่ละปีงบประมาณ

ส�านักงานปลัดบัญชีทหารอากาศถูกจัดให้เป็น กรมฝ่ายอ�านวยการ มีหน้าทีพ่ จิ ารณา เสนอความเห็น วางแผน อ�านวยการ ประสานงาน ควบคุม ก�ากับ การพัฒนาและด�าเนินการด้านงบประมาณของกองทัพ อากาศ กับมีหน้าที่จัดการความรู้ ควบคุม ประเมินผล และตรวจตรากิ จ การในสายวิ ท ยาการปลั ด บั ญ ชี มีปลัดบัญชีทหารอากาศเป็นผูบ้ งั คับบัญชารับผิดชอบ โดยก�าหนดวิสัยทัศน์ที่จะเป็นหน่วยงานที่มีระบบงาน ที่วางระบบงบประมาณของกองทัพอากาศให้เป็น มาตรฐาน มีความทันสมัย เป็นเครือ่ งมือการบริหารงาน ให้ บ รรลุ ยุ ท ธศาสตร์ ข องกองทั พ อากาศได้ อ ย่ า ง มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลและจากนโยบาย ผู้บัญชาการทหารอากาศในปี ๒๕๖๒ ที่มุ่งมั่นพัฒนา กองทั พ อากาศให้ มี ค วามยั่ ง ยื น ท� า ให้ ก� า ลั ง พล มี ค วามมั่ น คงในการเป็ น ทหารอาชี พ และท� า ให้ ประชาชนมั่ น ใจว่ า กองทั พ อากาศมี ค วามพร้ อ ม ในการป้องกันราชอาณาจักร ประกอบกับนโยบาย ทัว่ ไปด้านงบประมาณ การเงิน และการตรวจสอบภายใน


ข าวทหารอากาศ

ทีม่ งุ่ เน้นและให้ความส�าคัญในด้านการพัฒนาก�าลังพล กระบวนการท�างาน และระบบสารสนเทศให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับแผนพัฒนารัฐบาลดิจทิ ลั ซึ่งส�านักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ โดยปลัดบัญชี ทหารอากาศได้ ใ ห้ ค วามส� า คั ญ และมอบหมาย ให้หน่วยขึ้นตรงของส�านักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ ด�าเนินการตามนโยบายของผู้บัญชาการทหารอากาศ ดังกล่าวสรุปได้ดังนี้ ด้ า นการพั ฒ นาก� า ลั ง พล ได้ มี ก ารสนั บ สนุ น ให้ มี ก ารพั ฒ นาขี ด ความสามารถของบุ ค ลากรด้ า น งบประมาณอาทิ การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ผ่านสือ่ อิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) การพัฒนาทักษะ ภาษาอั ง กฤษ และการฝ ก อบรม สั ม มนาในสาย วิทยาการที่เกี่ยวกับงานด้านงบประมาณทั้งภายใน และภายนอกหน่วยงาน รวมทั้งสนับสนุนบุคลากร ให้ ไ ปศึ ก ษาดู ง านนอกสถานที่ ทั้ ง ในประเทศและ ต่างประเทศ เพือ่ น�าความรูแ้ ละประสบการณ์ทไี่ ด้รบั มา ประยุกต์และปรับใช้ในหน่วยงานนอกจากนัน้ ส�านักงาน ปลั ด บั ญ ชี ท หารอากาศยั ง เห็ น ถึ ง ความส� า คั ญ ของการพัฒนาก�าลังพลที่ในปัจจุบันมีหลากหลายรุ่น จึ ง ส่ ง เสริ ม ให้ ก� า ลั ง พลได้ มี ก ารยกระดั บ คุ ณ ภาพ

21

การท�างานด้วยการพัฒนาตนเอง การแลกเปลีย่ นเรียนรู้ ร่วมกัน และการสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรมเพื่อสร้าง มูลค่าเพิม่ ผ่านระบบการจัดการความรู้ (KMS) ตลอดจน มุ่งเน้นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรของหน่วยงานให้มี ความเข้ ม แข็ ง ด้ ว ยการใช้ ค ่ า นิ ย มหลั ก ของกองทั พ อากาศ นโยบายการก�ากับดูแลองค์กรที่ดี การสร้าง จิ ต ส� า นึ ก ทางสั ง คมในการให้ บ ริ ก ารของก� า ลั ง พล และการสร้างภูมคิ มุ้ กันเข้มแข็งให้กบั ก�าลังพล โดยเน้น การป้ อ งกั น ยาเสพติ ด ของก�าลังพลและครอบครัว และการสนั บ สนุ น การด� า เนิ น การด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม โดยเฉพาะการด� า เนิ น กิ จ กรรมลดและคั ด แยก ขยะมูลฝอยตามมาตรการรัฐบาล ส�าหรับด้านการพัฒนากระบวนการท�างาน และ ระบบสารสนเทศ ได้มกี ารประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั กับงานด้านงบประมาณ คือ ระบบควบคุมการใช้จ่าย งบประมาณภายในกองทัพอากาศ (RTAF Internal Budgetary Control System : IBCS) ซึ่งเป็นระบบ ที่ พั ฒ นาและเริ่ ม ใช้ ง านเพื่ อ สนั บ สนุ น การท� า งาน ด้านงบประมาณของกองทัพอากาศ ตัง้ แต่ปงี บประมาณ ๒๕๕๖ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน


22

ระบบควบคุ ม การใช้ จ ่ า ยงบประมาณภายใน กองทัพอากาศ (RTAF Internal Budgetary Control System: IBCS) ปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นระบบที่ใช้งาน ควบคู่ไปกับระบบ GFMIS ของกรมบัญชีกลาง ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาและส�านักงานปลัดบัญชีทหาร อากาศมีข้อมูลด้านงบประมาณ เพื่อการจัดการและ ตัดสินตกลงใจในแต่ละขัน้ ตอนตาม “วงรอบงบประมาณ” ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ โดยเริ่ ม ต้ น ตั้ ง แต่ ขั้ น ตอน การวางแผนและขอตั้ ง งบประมาณที่ ก� า หนด ให้ ห น่ ว ยขึ้ น ตรงกองทั พ อากาศกรอกรายละเอี ย ด ความต้ อ งการงบประมาณผ่ า นระบบงานจั ด ท� า ความต้องการงบประมาณ เพื่อรวบรวมน�ามาจัดท�า เป็นค�าขอตัง้ งบประมาณของกองทัพอากาศในแต่ละปี ผ่านคณะกรรมการทรัพยากรกองทัพอากาศ (คทอ.) มีเสนาธิการทหารอากาศเป็นประธาน ฯ เพือ่ จัดล�าดับ ความส�าคัญน�าเรียนผู้บัญชาการทหารอากาศอนุมัติ ก่ อ นส่ ง ให้ ส� า นั ก งบประมาณกลาโหมและส� า นั ก งบประมาณ ส�านักนายกรัฐมนตรี หลังจากคณะรัฐมนตรี พิจารณากรอบวงเงินงบประมาณ และอนุมัติเป็น “ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําป” ในขั้นตอนการอนุมัติงบประมาณแล้ว ส�านักงานปลัด

บัญชีงบประมาณจะปรับรายละเอียดความต้องการ งบประมาณของหน่วยขึน้ ตรงกองทัพอากาศ จากขัน้ ตอน ขอตัง้ งบประมาณเพือ่ ใช้เป็นข้อมูลในการจัดท�า “บัญชี กําหนดการงบประมาณ” ให้หน่วยขึ้นตรงกองทัพ อากาศน�าไปเตรียมการในขั้นไม่ผูกพันงบประมาณ โดยผ่ า นระบบงานจั ด ท� า ก� า หนดการงบประมาณ หลังจากประกาศใช้ “พระราชบัญญัตงิ บประมาณรายจ่าย ประจ�าปี” ส�านักงบประมาณจะสั่งจ่ายงบประมาณ ผ่านระบบ GFMIS มายังส่วนราชการตามขั้นตอน การบริ ห ารงบประมาณ โดยส� า นั ก งานปลั ด บั ญ ชี ทหารอากาศจะออก “บั ญ ชี สั่ ง จ่ า ยงบประมาณ” ผ่ า นระบบงานจั ด ท� า บั ญ ชี สั่ ง จ่ า ยงบประมาณ ที่เป็นการน�าข้อมูลจากบัญชีก�าหนดการงบประมาณ มาจัดท�าเป็นบัญชีสั่งจ่ายงบประมาณ และจะท�าการ


ข าวทหารอากาศ

mapping รหัสสัง่ จ่ายงบประมาณของกองทัพอากาศ กับรหัสงบประมาณในระบบ GFMIS เพื่อให้หน่วย เกีย่ วข้องต่าง ๆ ได้ใช้เป็นข้อมูลส�าหรับการด�าเนินการ ต่อไป ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับระบบงานด้านการเงิน ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง และในขั้นตอนการบริหาร งบประมาณระหว่ า งปี ข องกองทั พ อากาศ หากหน่ ว ยขึ้ น ตรงกองทั พ อากาศมี ค วามต้ อ งการ งบประมาณเพิม่ เติม หรือโอนเปลีย่ นแปลงงบประมาณ ตลอดจนการส่งคืนงบประมาณเหลือจ่าย ก็สามารถ ด�าเนินการผ่านระบบงานบริหารงบประมาณระหว่างปีได้ ในขั้ น ตอนสุ ด ท้ า ยการติ ด ตามและประเมิ น ผล ทีป่ จั จุบนั รัฐบาลมีการก�าหนดมาตรการและเป้าหมาย การเบิกจ่ายงบประมาณเป็นรายไตรมาส ซึง่ ส�านักงาน ปลัดบัญชีทหารอากาศได้มีการจัดท�าระบบติดตาม เร่งรัดการใช้จา่ ยงบประมาณเพือ่ สนับสนุนการท�างาน ด้านการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณของทั้ง หน่วยขึน้ ตรงกองทัพอากาศและผูบ้ งั คับบัญชาระดับสูง อีกทั้งได้พัฒนาระบบติดตามการจัดซื้อจัดจ้างร่วมกับ กรมส่งก�าลังบ�ารุงทหารอากาศ และระบบติดตามการ เบิกจ่ายร่วมกับกรมการเงินทหารอากาศ ที่เป็นการ พัฒนาและบูรณาการระบบสารสนเทศด้านงบประมาณ ให้ เชื่ อ มโยงข้ อ มู ล ไปสู ่ ง านจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า ง และการ เบิกจ่ายเงินทั้งในปีงบประมาณเก่าและปีงบประมาณ ปัจจุบัน

23

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ส�านักงานปลัดบัญชี ทหารอากาศ ได้มกี ารพัฒนาบุคลากรด้านงบประมาณ อย่างต่อเนือ่ ง ตลอดจนการพัฒนากระบวนการท�างาน อย่ า งเป็ น ระบบและน� า เทคโนโลยี ส ารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ รวมถึงมีการบูรณาการกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ในโอกาสครบ ๔๑ ปี ของส�านักงานปลัด บัญชีทหารอากาศ ข้าราชการ พนักงานราชการ ตลอดจน ลูกจ้างทุกคนยังคงมุง่ มัน่ ในการสนับสนุนการขับเคลือ่ น กองทัพอากาศ เพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์ “กองทัพอากาศ ชั้นน�าในภูมิภาค (One of the Best Air Forces in ASEAN)” อย่างเต็มขีดความสามารถ อีกทั้งยังคง พั ฒ นาระบบงานด้ า นงบประมาณ ตามวิ สั ย ทั ศ น์ ส�านักงานปลัดบัญชีทหารอากาศทีว่ า่ “เปนหน่วยงาน ที่ มี ร ะบบงานที่ ว างระบบงบประมาณของกองทั พ อากาศให้เปนมาตรฐาน มีความทันสมัย เปนเครือ่ งมือ การบริหารงานให้บรรลุยทุ ธศาสตรของกองทัพอากาศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล”


24

ผลงานกลุม่ กิจกรรมทีเ่ สริมสร้างกองทัพอากาศ ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ประจําป ๒๕๖๑ ประเภทเครือ่ งมือ KM

รางวัล Innovation Award กลุ่ม RADAR Man (สอ.ทอ.)

การตรวจซอม RF Panel เครื่องเรดาร AN/TPS-78 เหตุผลและความจําเป็น จากยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ๒๐ ปี ในประเด็น ยุทธศาสตร์ที่ ๒ เสริมสร้างสมรรถนะ และความพร้อม ในการป้ อ งกั น ประเทศ กองทั พ อากาศเชื่ อ มั่ น ว่ า การปฏิบตั กิ ารทีใ่ ช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operation : NCO) จะท�าให้การปฏิบัติ ภารกิ จ ของกองทั พ อากาศมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง สุ ด ซึ่งเป็นการเพิ่มความรวดเร็วของวงรอบการตัดสินใจ โดยการแลกเปลีย่ นข้อมูลข่าวสาร และความตระหนักรู้ สถานการณ์รว่ มกันผ่านระบบเครือข่ายทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ท�าให้ผู้บังคับบัญชามีข้อมูลถูกต้องครบถ้วน สามารถ ตัดสินตกลงใจและสั่งการไปยังผู้ปฏิบัติ/หน่วยปฏิบัติ ได้ถูกต้องและทันเวลา กองทั พ อากาศมุ ่ ง เน้ น พั ฒ นาเพื่ อ รองรั บ การปฏิบตั กิ ารทีใ่ ช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง โดยระบบ การตรวจจับ (Sensor) นับว่ามีความส�าคัญอย่างยิ่ง

ต่อกองทัพอากาศ เรดาร์ซึ่งเปรียบเสมือนดวงตา ที่คอยเฝ้าระวังและตรวจจับความผิดปกติบนท้องฟ้า และท� า การพิ สู จ น์ ใ ห้ ไ ด้ ว ่ า เป็ น มิ ต รหรื อ ศั ต รู ข อง ประเทศ เรดาร์จึงเป็นหัวใจส�าคัญของการปฏิบัติการ ทางอากาศ เนื่องจากท�าให้เกิดการตัดสินใจที่ถูกต้อง และรวดเร็ว ซึง่ จะน�าไปสูก่ ารแสดงท่าทีเพือ่ ป้องปราม และใช้ก�าลังป้องกันประเทศให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด


ข าวทหารอากาศ

จากนโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศ ปี ๖๑ และ ปี ๖๒ นโยบายทั่วไปด้านระบบการตรวจจับ ด� า รงขี ด ความสามารถในการตรวจจั บ ของระบบ ป้องกันทางอากาศ โดยก�าหนดแผนการพัฒนาเรดาร์ ทัง้ ระบบให้สามารถปฏิบตั งิ านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในชุดเครือ่ งส่งเรดาร์ AN/TPS-78 เกิดการช�ารุด ของ RF Panel เป็นจ�านวนมาก อะไหล่สา� หรับเปลีย่ น ทดแทนมีจ�านวนจ�ากัด ไม่เพียงพอ เนื่องจากการ จัดซื้อหรือจ้างซ่อมอะไหล่แต่ละชิ้นมีราคาสูงและ

25

ใช้เวลานาน เป็นสาเหตุให้อะไหล่หมุนเวียนไม่เพียงพอ ท� า ให้ เรดาร์ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพลดลง ส่ ง ผลกระทบ ต่อภารกิจป้องกันประเทศ ดังนัน้ การซ่อมบ�ารุงรักษา เพื่อคงสภาพการใช้งานที่ยาวนาน จึงมีความส�าคัญ จ�าเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเตรียมการ แผนกซ่อมเรดาร์ ภาคพื้ น กองซ่ อ มอุ ป กรณ์ สื่ อ สารอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ทหารอากาศ กองโรงงาน กรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ทหารอากาศ จึงมอบหมายให้กลุ่ม RADAR Man รวบรวมข้ อ มู ล ทั้ ง จากคู ่ มื อ การซ่ อ มบ� า รุ ง เรดาร์

เรดาร์ AN/TPS-78 เป็นเรดาร์ค้นหาและแจ้งเตือนระยะไกล ๓ มิติ ให้ข้อมูลในเรื่องของทิศทาง ระยะทาง และความสูง


26

AN/TPS-78 เอกสารวิชาการต่าง ๆ และการสอบถาม ๓. ประหยัดงบประมาณ สอ.ทอ.ในการจ้างซ่อม และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ น�ามาจัดท�า KM เพื่อรองรับ อะไหล่เรดาร์ การซ่อมบ�ารุง RF Panel เรดาร์ AN/TPS-78 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ๑. เพื่ อ ตอบสนองภารกิ จ ได้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง รวดเร็วและทันเวลา ๒. เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการ ปฏิบัติงาน ๓. เกิ ด การเรี ย นรู ้ แ ละพั ฒ นาการซ่ อ มบ� า รุ ง แบบยั่งยืน ๔. สามารถน� า ความรู ้ ที่ ไ ด้ ไปประยุ ก ต์ ใช้ ในการตรวจซ่อมเรดาร์ แบบอื่น ๆ ได้ ๕. ประหยัดงบประมาณการจ้างซ่อมอะไหล่ เรดาร์ วัตถุประสงค์การดําเนินกิจกรรม กลุ่ม RADAR Man ร่วมกับแผนกซ่อมเรดาร์ วิธีการดําเนินการ ภาคพืน้ ฯ ได้รว่ มกันวิเคราะห์ถงึ ความเป็นมา ปัญหา กลุ่ม RADAR Man ใช้เวลาด�าเนินการ ๙ เดือน ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเรดาร์ AN/TPS-78 และ เริ่มจาก ๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๐ เป็นต้นมา โดยใช้ น�ามาตั้งวัตถุประสงค์การด�าเนินกิจกรรมดังนี้ กระบวนการจัดการ KM ๗ ขั้นตอนในการด�าเนิน ๑. พัฒนาการซ่อมบ�ารุง RF Panel แบบพึ่งพา กิจกรรม ซึง่ ประกอบไปด้วยการบ่งชีค้ วามรู้ การสร้าง ตนเอง และแสวงหาความรู้ การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ ๒. ลดเวลาการรออะไหล่ ท� า ให้ มี อ ะไหล่ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ การเข้าถึงความรู้ หมุนเวียนเพียงพอ การแบ่งปันและการแลกเปลี่ยนความรู้ การเรียนรู้


ข าวทหารอากาศ

สรุปผลการดําเนินงาน ๑. แผนกซ่อมเรดาร์ฯ สามารถซ่อม RF Panel ได้ด้วยตนเอง ๒. สามารถลดเวลาการรออะไหล่ซงึ่ การจ้างซ่อม ในประเทศใช้เวลา ๖ เดือน การจ้างซ่อมต่างประเทศ ใช้เวลา ๑๘ เดือน แต่ปัจจุบันเมื่อแผนกมีการจัดท�า KM สามารถตรวจซ่อมเองใช้เวลาประมาณ ๓๐ วัน ๓. ประหยั ด งบประมาณจ้ า งซ่ อ มตั้ ง แต่ ตุลาคม ๒๕๖๐ ถึง กันยายน ๒๕๖๑ ได้ประมาณ ๔๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท ๔. สามารถตรวจซ่อม RF Panel ด้วยตนเอง ไปทั้งหมด 12 EA หลังจากจัดท�า KM ๕. กรมสื่ อ สารอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ท หารอากาศ สามารถที่ จ ะตอบสนองต่ อ ยุ ท ธศาสตร์ ที่ ๒ ของ กองทั พ อากาศและสามารถตอบสนอง นโยบาย ผู ้ บั ญ ชาการทหารอากาศได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ มากขึ้น

27

ประโยชน์ที่ได้รับเพิ่มเติม ๑. สามารถเพิ่มจ�านวนเจ้าหน้าทีช่ า่ งซ่อมเรดาร์ ที่มีความช�านาญการซ่อม RF Panel Assembly ได้ ๔ คน ๒. เจ้ า หน้ า ที่ แ ผนกซ่ อ มเรดาร์ ฯ สามารถ น�าความรู้มาใช้ในการตรวจซ่อม RF Panel ได้ ส่งผล ให้เรดาร์ AN/TPS-78 สามารถสนับสนุนภารกิจ ด้ า นยุ ท ธการได้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง รวดเร็ ว ทั น เวลา และมีประสิทธิภาพ ๓. ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับ เจ้าหน้าที่ช่างเรดาร์ ที่ประจ�า ณ สถานีรายงาน ท�าให้ สามารถน�าข้อมูลกลับมาพัฒนาในด้านการซ่อมบ�ารุง ต่อไปได้ แผนงานในอนาคต ๑. สามารถน� า ความรู ้ ที่ ไ ด้ ไ ปใช้ ใ นการซ่ อ ม กับเรดาร์ตา่ งแบบได้ เช่น AN/FPS-130X และ AN/ TPS-77 ๒. พัฒนาจัดท�า Test Bench ชุด Power Module

อ้างอิง - ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) - นโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศปี ๖๑ - นโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศปี ๖๒ - คู่มือการซ่อมบ�ารุงเรดาร์ AN/TPS-78


28

กรอบแนวทางการสอน ของโรงเรียนเสนาธิการร วมออสเตรเลีย

(Australian Command and Staff College’s Course Themes) น.ท.ธนาวุฒิ ลิขิตสัมพันธ์ (ต่อจากฉบับที่แล้ว)

Leadership and Command องค์ความรู้ต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น จะไม่มีผล อั น ใดเลยหากไม่ ถู ก น� า ไปคิ ด และปฏิ บั ติ อ ย่ า งเป็ น รูปธรรม โดยการที่ผู้ปฏิบัติจะน�าองค์ความรู้ต่าง ๆ ไปใช้นั้น ผู้น�าและการบังคับบัญชามีผลอย่างมาก ในการก่อให้เกิดการปฏิบตั อิ ย่างเป็นรูปธรรม Australian Command And Staff College : ACSC รับทราบ ถึงความส�าคัญของผูน้ า� กับการบังคับบัญชา ในแต่ละส่วน ที่เรียนระหว่างปี ความเป็นผู้น�ากับการบังคับบัญชา จะถูกสอดแทรกไปในทุก ๆ การเรียนการสอน การเรียน ประวัติศาสตร์สงครามต่าง ๆ จากอดีตที่ผ่านมาผู้น�า มีผลต่อผลแพ้ชนะของสงครามเสมอ ๆ เช่น สงครามโลก ครัง้ ที่ ๑ ผูน้ า� ของเยอรมัน Wilhelm II, German Emperor

ไม่สามารถจะน�าและบังคับบัญชาผู้บัญชาการทหาร ให้เชือ่ ฟังและศรัทธาได้ น�าไปสูค่ วามแตกแยกระหว่าง ผู ้ บั ญ ชาการทหารสู ง สุ ด ของแนวรบด้ า นตะวั น ตก (The Western Front) และตะวันออก (The Eastern Front), General Falkenhayn ผู้บัญชาการแนวรบ ด้านตะวันตก ไม่เห็นด้วยที่จะส่งทหารจากแนวรบ ด้ า นตะวั น ตกไปช่ ว ยการรบกั บ รั ส เซี ย ในแนวรบ ด้านตะวันออก ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกับผูบ้ ญั ชาการ แนวรบด้านตะวันออก คือ General Ludendorff และ General Hindenburg ซึง่ ความขัดแย้งครัง้ นี้ ส่งผลให้ นโยบายการรบไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และผู้น�า สู ง สุ ด ไม่ ส ามารถแก้ ป ั ญ หานี้ ไ ด้ อี ก ทั้ ง อ� า นาจ การบั ง คั บ บั ญ ชาเหล่ า ผู ้ บั ญ ชาการทหารในระดั บ

นายทหารนักเรียนจากซาอุดิอาระเบีย, มองโกเลีย, ผู้เขียน, รวันดา และตองกา (จากซ้ายไปขวา)


ข าวทหารอากาศ

29

บรรยายสรุปในการฝก Joint Operation Planning (JOP)

ต่าง ๆ ตกอยู่ภายใต้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดทั้งสอง แนวรบ และไม่มคี วามสามารถในการน�าผูบ้ งั คับบัญชา เหล่ า นี้ ซึ่ ง ไม่ มี ค วามศรั ท ธาและเชื่ อ มั่ น ในตั ว ผู ้ น� า จนกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่น�าเยอรมันสู่ความพ่ายแพ้ ในสงครามโลกครัง้ ที่ ๑ และการโค่นอ�านาจเปลีย่ นแปลง ผู้น�าของเยอรมันภายหลังจากแพ้สงคราม11 Joint Operational Planning สงครามต่ อ ไปในอนาคตเป็ น ไปไม่ ไ ด้ เ ลย ทีจ่ ะท�าการรบเพียงเหล่าใดเหล่าหนึง่ แต่จะเป็นการรบ ร่วมกันของเหล่าทัพต่าง ๆ สนับสนุนซึ่งกันและกัน และต้องมีจุดมุ่งหมายไปในทิศทางเดียวกัน กองทัพ ออสเตรเลียเล็งเห็นถึงความส�าคัญของการปฏิบตั กิ ารร่วม ระหว่างเหล่าทัพ ว่ามีผลต่อผลของสงครามอย่างมาก โดยให้ศกึ ษากรณีตวั อย่างของการขาดการประสานงาน ทีด่ รี ะหว่างเหล่าทัพ ส่งผลเสียอย่างมหาศาลต่อศักยภาพ ของก�าลังรบ กล่าวคือ กองก�าลังญีป่ นุ่ ภาคพืน้ แปซิฟกิ ระหว่างสงครามโลกครัง้ ที่ ๒ เกิดความขัดแย้งระหว่าง ผูบ้ งั คับบัญชาชัน้ สูงของกองก�าลังทางบก กับกองก�าลัง ทางเรื อ ในแนวความคิ ด การใช้ ก� า ลั ง ทางอากาศ

ในเวลานั้นญี่ปุ่นยังไม่มีกองทัพอากาศ เป็นเพียงก�าลัง ทางอากาศที่ ขึ้ น การควบคุ ม กั บ กองก� า ลั ง ทางบก กับกองก�าลังทางเรือ การใช้ก�าลังทางอากาศจึงขาด ความเป็นเอกภาพ ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ต่างมุง่ หวัง ใช้ก�าลังทางอากาศเพื่อสนับสนุนภารกิจของตนเอง จนท้ า ยสุ ด ไม่ ส ามารถต้ า นทานก� า ลั ง ทางอากาศ ของฝ่ า ยสั ม พั น ธมิ ต รที่ มี ค วามประสานสอดคล้ อ ง ในการปฏิบัติภารกิจและการบังคับบัญชา ซึ่งเป็นไป ในแนวทางเดียวกันกับกองก�าลังทางบก และทางเรือ12 กองทัพออสเตรเลียจึงก�าหนดให้การเรียนการสอน ในระดับโรงเรียนเสนาธิการ เป็นการเรียนร่วมกัน ของนายทหารจากทั้งสามเหล่าทัพ และจากส่วนของ พลเรือนทีเ่ กีย่ วข้องกับความมัน่ คงของชาติ เพือ่ ให้เกิด ความเข้าใจภาพการวางแผน และการปฏิบตั กิ ารในระดับ ยุทธการต่อเนื่องไปถึงระดับยุทธศาสตร์ ที่เป็นไป ในทิศทางเดียวกัน อีกทัง้ ยังก่อให้เกิดความสมัครสมาน สามัคคีระหว่างบุคคลากรเหล่านี้ เพื่อเป็นประโยชน์ ในการท�างานร่วมกันในอนาคตข้างหน้า

C. Clark, Kaiser Wilhelm II (Taylor & Francis, 2013). 12 Eric M Bergerud, Fire in the sky: The air war in the South Pacific (Westview Press, 2000). 11


30

เมื่อ ACSC ได้กรอบและแนวทางที่ต้องการ ให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการศึกษาแล้ว จึงน�ามา แบ่งออกเป็น Modules เพือ่ ให้งา่ ยในการจัดการเรียน การสอน โดยจะแบ่งออกเป็น ๙ modules ประกอบด้วย Strategy, Communication, Operation1, Operation2, Operation3, Command leadership and Ethics, Australian Strategic Defence Policy : ASDP, Joint Operation Planning : JOP, Capability and Australian Defence Organization : CADO ในแต่ละ Module จะถูกก�าหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ ไว้อย่างชัดเจนว่า ต้องการให้ผู้เรียนรู้ได้รับความรู้ ความเข้าใจอะไรไปบ้าง หลังจากการเรียนรู้ซึ่งแต่ละ Module จะมี ค วามสั ม พั น ธ์ ต ่ อ เนื่ อ ง สอดคล้ อ ง ซึ่ ง กั น และกั น โดยเน้ น ภาพการอ� า นวยการยุ ท ธ ระดั บ ยุ ท ธการ ต่ อ เนื่ อ งไปถึ ง ระดั บ ยุ ท ธศาสตร์ และในแต่ ล ะ Module จะเรี ย นภายใต้ ก รอบ ของ Course Themes ที่วางไว้ เพราะฉะนั้นจึงเป็น ที่แน่นอนว่า ผู้เข้ารับการศึกษาทุกคนจะได้รับความรู้ ความเข้าใจในกรอบพืน้ ทีท่ ี่ ACSC ออกแบบไว้ ส�าหรับ รายละเอียดในแต่ละ Module จะไม่ขอกล่าวถึง ในบทความนี้ สิ่งส�าคัญที่นอกเหนือจากความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษาที่ ACSC นั้น คือการได้เรียนรู้ แนวความคิ ด ในการจั ด การเรี ย นการสอนของ ออสเตรเลีย ประเทศที่ได้ชื่อว่ามีประสบการณ์จริง ในการรบในหลาย ๆ สงครามส�าคัญของโลก ตั้งแต่ สงครามโลกครั้งที่ ๑ จนถึงสงครามในอัฟกานิสถาน และเรียนรู้ที่จะน�าบทเรียนที่ได้จากสงครามเหล่านี้ โดยการศึ ก ษาวิ เ คราะห์ ห าจุ ด เด่ น จุ ด ด้ อ ย และ ข้อขัดข้องในกระบวนการท�าสงครามตั้งแต่ขั้นตอน การวางแผน จนถึงน�าแผนไปปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เข้ารับ การศึกษาเกิดกระบวนการเรียนรู้ ฝกกระบวนการคิด วิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ทีม่ คี วามลึก-

มกุฎราชกุมารตูโปโตอา อูลูกาลาลา แห่งราชอาณาจักรตองกากับผู้เขียน

กว้าง และครอบคลุมในปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการ วางแผนและการปฏิบตั กิ ารรบ ทัง้ ฝกความเป็นมืออาชีพ สามารถน�าแผนไปสูก่ ารปฏิบตั จิ ริง โดยทีม่ ขี อ้ บกพร่อง น้อยทีส่ ดุ ซึง่ โดยการเรียนรูข้ อ้ บกพร่องต่าง ๆ ในการรบ จากอดีต โดยอาศัย Course Themes ทัง้ ๙ เป็นเข็มทิศ และกรอบแนวทางในการเรียนการสอน เพื่อประกันว่า ผู ้ เข้ า รั บ การศึ ก ษาจะสามารถน� า ความรู ้ ที่ ไ ด้ รั บ ไปปรั บ ใช้ กั บ การท� า งานของตนเอง ทั้ ง ในส่ ว น ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การปฏิ บั ติ ก ารทางทหารโดยตรง หรือสายงานอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับความมัน่ คงในทางอ้อม อย่างเป็นรูปธรรม โดย Course Theme เหล่านี้ จะเป็นแกนกลางให้ผเู้ ข้ารับการศึกษาต้องระลึกถึงเสมอ ในการคิดวางแผนและน�าแผนไปปฏิบัติ ซึ่งจะช่วย ท�าให้แผนที่ได้มีความสมบูรณ์มากที่สุด สามารถใช้ และปฏิบัติได้จริงบนพื้นฐานของทรัพยากรที่มีอยู่ อย่างจ�ากัด ซึ่งเป็นการประกันถึงความส�าเร็จของ การปฏิบัติภารกิจในอนาคต


ข าวทหารอากาศ

31

งานเลี้ยงราตรีในคืนวันที่จบการศึกษา

อ้างอิง - Allison, G.T. Destined for War : Can America and China Escape Thucydide's Trap? : Scribe Publications, 2017. - Bergerud, Eric M. Fire in the sky : The air war in the South Paciic. Westview Press, 2000. - Borton, NRM. 'The 14th Army in Burma: a case study in delivering ighting power.' Defence Studies 2, no. 3 (2002): 27-52. - Clark, C. Kaiser Wilhelm II. Taylor & Francis, 2013. - Editors, C.R.C.R. Island Hopping Across the Paciic Theater in World War II : The History of America's Victorious Leapfrogging Strategy Against Imperial Japan. CreateSpace Independent Publishing Platform, 2017. - Eric M Bergerud, Fire in the sky : The air war in the South Paciic (Westview Press, 2000). - Global Operations. Department of Defence. Archived from the original on 5 July 2011. สืบค้นเมื่อ 24 July 2018. - "Human development indices" (PDF). Human Development Reports. 18 December 2008. Archived from the original (PDF) on 19 December 2008. สืบค้นเมื่อ 26 February 2019. - New York Times, THE SATURDAY PROFILE ; Shadow Shogun Steps Into Light, to Change Japan. Published : 11 February 2006. Retrieved 15 February 2007. - Nicholas Murray, The Rocky Road to the Great War : The Evolution of Trench Warfare to 1914 (2013). - Osgood, Robert Endicott. "Limited War : The Challenge To American Security." University of Chicago Press, 1957. pp. 1-2. Print. - School, United States Army Infantry, United States Army Infantry School. Editorial, Pictorial Ofice, United States Army Infantry School. Book Department, and Infantry School. Infantry Magazine. 1985. - Spector, R.H. Eagle Against the Sun : The American War with Japan. Free Press, 2012.


32

สิทธิมนุษยชนและความทาทาย ของประเทศไทยในการเปนประธานอาเซียน

ดร. เสรี นนทสูติ

ประเทศไทยได้ ป ระกาศแนวคิ ด ในการเป็ น ประธานอาเซียนในปี ๒๕๖๒ นี้ว่า “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยัง่ ยืน” การทีไ่ ทยเป็นประธานอาเซียนหมายถึง การเป็นประธานองค์กรต่าง ๆ ของอาเซียนหลายองค์กร ซึ่งรวมถึงคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียน ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights : AICHR) ทีจ่ ดั ตัง้ ขึน้ ตามกฎบั ต รอาเซี ย นและก่ อ ตั้ ง อย่ า งเป็ น ทางการ ที่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๒ ดังนั้น ปีนี้จึงเป็นปี ครบรอบหนึ่งทศวรรษการก่อตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชน ของอาเซี ย นด้ ว ยอี ก ประการหนึ่ ง ในบทความนี้ ผูเ้ ขียนแสดงบทวิเคราะห์สว่ นตัวเกีย่ วกับความท้าทาย ของประเทศไทยกับบทบาทการเป็นประธานอาเซียน

และประธาน AICHR ในด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งเห็นว่า มี ๒ ประเด็นหลักดังนี้ ประเด็ น แรก ความท้ า ทายที่ ส� า คั ญ ที่ สุ ด คื อ การด�าเนินการตามแนวคิดหลักทีไ่ ด้ประกาศไว้ขา้ งต้น โดยเฉพาะการสร้าง “ความยัง่ ยืน” ซึง่ หมายถึงการพัฒนา ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ภายในปี พ.ศ.๒๕๗๓ ส�าหรับประเทศไทยหลักการ พัฒนาอย่างยั่งยืน ถือเป็นเรื่องที่คุ้นเคยดังเห็นได้ จากพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศร มหาภูมพิ ลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จนถึงวิถแี นวคิดชุมชนท้องถิน่ อย่างไรก็ดี การขับเคลือ่ น การพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น ในระดั บ ภู มิ ภ าคอาเซี ย น ผูเ้ ขียนเห็นว่า มีประเด็นพิจารณา ๒ ด้าน ในด้านแรกคือ


ข่าวทหารอากาศ

การท�าให้แนวคิดดังกล่าวแทรกซึมไปในทุกเสาหลัก ของอาเซียนอย่างสอดประสานบูรณาการกัน อาเซียน แบ่งการท�างานออกเป็นสามเสาหลัก ได้แก่ การเมือง และความมั่ น คง เศรษฐกิ จ สั ง คมและวั ฒ นธรรม เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนหลายข้อ ถือเป็น ภารกิจของแต่ละเสาหลักอยู่แล้ว เช่น การขจัดความ ยากจน การศึกษาอย่างมีคุณภาพหรือความเท่าเทียม ระหว่างเพศ ก็ลว้ นเป็นส่วนหนึง่ ของภารกิจของประชาคม สังคมและวัฒนธรรม หรือเป้าหมายการเมืองและสังคม เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของภารกิ จ ของประชาคมเศรษฐกิ จ เป็นต้น แต่จะท�าอย่างไรให้ทั้ง ๓ ประชาคม น�ากรอบ แนวคิดของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยัง่ ยืนทัง้ ๑๗ ข้อ เป็นส่วนหนึง่ ของการก�าหนดนโยบายแผนงานโครงการ ตลอดจนการก� า กั บ ดู แ ลและประเมิ น ผลในขณะที่ องค์กรที่ปฏิบัติหน้าที่ในประชาคมต่าง ๆ ล้วนคุ้นชิน กับการท�างานแบบแยกส่วน ในด้านทีส่ อง จะผนวกหลักการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน กั บ โจทย์ ก ารขยายตั ว ทางเศรษฐกิ จ ของภู มิ ภ าค ทีป่ ระเทศไทยก�าลังรับหน้าเสือ่ ในการผลักดันผ่านการ เจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน กับประเทศคู่ค้า ๖ ประเทศ ซึ่งรวมถึงจีนและอินเดีย (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) อย่างไรจึงจะท�าให้ความเจริญเติบโตทางการค้า ซึ่งจ�าเป็นต่อทิศทางการพัฒนาของอาเซียนเป็นไป เพื่อความกินดีอยู่ดีอย่างยั่งยืนของประชาชนอาเซียน อย่างแท้จริง ต้องไม่ลืมว่าหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของสหประชาชาติ ตั้ ง อยู ่ บ นการเคารพศั ก ดิ์ ศ รี ความเป็นมนุษย์และหลักสิทธิมนุษยชน โดยได้กา� หนด เป้าหมายครอบคลุมทัง้ ด้านสิง่ แวดล้อม การขจัดความ ยากจน การพั ฒ นาการศึ ก ษาและความเท่ า เที ย ม ระหว่างเพศ ดังนัน้ ความส�าเร็จของเป้าหมายการพัฒนา อย่างยัง่ ยืนย่อมเป็นการยกระดับสิทธิและความอยูด่ กี นิ ดี ของพี่น้องประชาชนอาเซียนไปพร้อม ๆ กัน ส�าหรับ AICHR เอง ย่อมต้องมีบทบาทในการร่วมขับเคลื่อน การพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพร่วมกับองค์กรอืน่ ๆ ด้วย

33

ค�าตอบในเรือ่ งนีน้ า่ จะอยูใ่ นแนวคิดของไทยทีจ่ ะ ท�างานอย่างเป็น “หุ้นส่วน” อย่างร่วมมือร่วมใจ กับทุกองค์กร จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้ท�างาน กับอาเซียนมาระยะหนึง่ โดยเฉพาะการผลักดันให้เกิด แผนบู ร ณาการสิ ท ธิ ค นพิ ก ารในอาเซี ย น (ASEAN Enabling Masterplan 2025) ในช่วง ๔ ปีที่ผ่านมา ยืนยันได้วา่ การสร้างพันธมิตรเพือ่ สร้างความเข้าใจและ ความร่วมมือผ่านการปรึกษาหารือและการเปิดโอกาส ให้ ภ าคส่ ว นที่ เ กี่ ย วข้ อ งมี ส ่ ว นร่ ว มในกระบวน การท�างานเป็นสิง่ ส�าคัญในการสร้างความเปลีย่ นแปลง ที่ดีร่วมกัน ความท้ า ทายอี ก ประเด็ น คื อ ความสามารถ ของอาเซียนในการจัดการปัญหาสิทธิมนุษยชนระดับ ภูมภิ าค ซึง่ มีจา� นวนและความรุนแรงมากขึน้ และเป็น ประเด็นที่ทดสอบความชอบธรรม (legitimacy) ของ อาเซียนเอง ไม่ว่าจะเป็นกรณีความรุนแรงในรัฐยะไข่ หรือความขัดแย้งทางศาสนาและความเชือ่ ทีก่ า� ลังปะทุขนึ้ ในหลายพื้ น ที่ ข องอาเซี ย น ซึ่ ง น� า มาสู ่ ก ารเพ่ ง เล็ ง กระบวนการท�างานของ AICHR หรือองค์กรสิทธิ มนุ ษ ยชนอาเซี ย น ประเด็ น ส� า คั ญ ที่ มี ก ารหารื อ อย่างต่อเนือ่ ง จนถึงครบรอบหนึง่ ทศวรรษของการก่อตัง้ คือ ท�าอย่างไร AICHR จึงจะสามารถท�าหน้าทีเ่ ป็นองค์กร ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการส่งเสริมและคุ้มครอง


34

สิทธิมนุษยชนในภูมภิ าคอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ใช่เป็นเพียงเสือกระดาษดังทีห่ ลายฝ่ายตั้งฉายา ให้ประเทศไทย โดยเฉพาะผูแ้ ทนไทยใน AICHR มีทา่ ที ที่ชัดเจนมาโดยตลอดและต่อเนื่องว่า แม้ AICHR จะมีสถานะเป็นองค์กรที่ท�าหน้าที่ให้ค�าปรึกษาหารือ (Consultative) และเป็นหน่วยงานระหว่างรัฐบาล แต่เมื่อได้ก�าหนดให้มีหน้าที่หลักในด้านการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแล้วก็จะต้องด�าเนินการ ให้ เ กิ ด ผลสั ม ฤทธิ์ โดยประเทศไทยได้เคยจัดให้มี การหารือแนวทางการแก้ไขปรับปรุงเอกสารจัดตัง้ AICHR หรือ Terms of Reference : TOR เพื่อก�าหนด รายละเอี ย ดที่ ส ร้ า งความชั ด เจนเกี่ ย วกั บ ขอบเขต การด� า เนิ น การเพื่ อ ป้ อ งกั น การตี ค วามไปในทาง ที่ท�าให้ AICHR ไม่สามารถท�าหน้าที่ โดยเฉพาะ การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้ตามที่เกิดขึ้นในช่วง หลายปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ เอกสาร TOR ดังกล่าว ได้กา� หนดให้มกี ารทบทวนครัง้ แรกเมือ่ ครบ ๕ ปี แต่ในปี พ.ศ.๒๕๕๗ ซึง่ ครบก�าหนดการทบทวนกลับมีการสรุป ไปในทางที่ว่า เอกสารดังกล่าวยังมีความเหมาะสม ในการด�าเนินการอยู่ จึงไม่เกิดการปรับปรุงแต่อย่างใด ทั้งที่มีการเรียกร้องจากประเทศสมาชิกหลายแห่ง ในการที่ประเทศไทยจะเป็นประธาน AICHR ในปีนี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาครบรอบ ๑๐ ปีในการก่อตั้ง AICHR ประกอบกับได้มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบผู้แทน มาแล้วถึง ๓ ครั้ง (ผู้แทน AICHR มีวาระการด�ารง ต�าแหน่ง ๓ ปี และต่อวาระได้ ๑ ครั้ง) จึงสมควร ที่ประเทศไทยจะริเริ่มกระบวนการหารือ เพื่อน�าไปสู่ การทบทวนเอกสาร TOR ให้สามารถท�าหน้าที่ได้ อย่ า งครบถ้ ว น เป็ น ระบบและมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ควรกล่าวด้วยว่า อาเซียนถือเป็น ภู มิ ภ าคล่ า สุ ด ที่ มี ก ารจั ด ตั้ ง องค์ ก รสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน โดยเฉพาะองค์กรระดับภูมภิ าคอืน่ ๆ ทัว่ โลก ต่างมีองค์กร ด้ า นสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนอย่ า งต่ อ เนื่ อ งและยาวนาน โดยบางภูมภิ าค เช่น อเมริกาและยุโรป ได้กอ่ ตัง้ องค์กร

ดังกล่าวมายาวนานกว่า ๗๐ ปี และกลุ่มประเทศสมาชิก อาหรับก็ได้ริเริ่มจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนในระยะ เวลาไล่เลี่ยกับอาเซียน ดังนั้น ในการทบทวนเอกสาร TOR ของ AICHR ควรพิจารณาประสบการณ์และ ความท้าทายของภูมิภาคอื่น ๆ ด้วย นอกจากการทบทวน TOR แล้วยังมีประเด็น ที่ จ ะเสริ ม ศั ก ยภาพและประสิ ท ธิ ภ าพการท� า งาน ของ AICHR ที่ ค วรพิ จ ารณาประกอบด้ ว ย เช่ น การประสานการท� า งานกั บ องค์ ก รอาเซี ย นอื่ น เพื่ อ พั ฒ นามาตรฐานที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน ด้านต่าง ๆ อาทิ ประเด็นสิง่ แวดล้อมและมลภาวะระดับ ภู มิ ภ าค ความรั บ ผิ ด ชอบของธุ ร กิ จ ในการลงทุ น ข้ า มพรมแดน การขจั ด ความรุ น แรงโดยเฉพาะ ต่อกลุ่มเปราะบาง หรือการคุ้มครองสิทธิของแรงงาน ข้ามชาติ เป็นต้น และผู้เขียนหวังว่าประเทศไทยจะยัง รักษาความต่อเนือ่ งในการผลักดันประเด็นทีไ่ ด้ดา� เนิน การไว้ แ ล้ ว ซึ่ ง รวมถึ ง สิ ท ธิ ค นพิ ก าร การเข้ า ถึ ง กระบวนการยุติธรรม และความรับผิดชอบของธุรกิจ ต่อสิทธิมนุษยชน แน่ น อนว่ า ความท้ า ทายที่ ก ล่ า วถึ ง ข้ า งต้ น นี้ มิใช่เป็นเรื่องใหม่ หากแต่ปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้นในช่วง จังหวะเวลานี้ระยะเวลาเพียงปีเดียวในฐานะประธาน อาเซี ย นของไทย อาจเป็ น ข้ อ จ� า กั ด ในการด� า เนิ น โครงการสิทธิมนุษยชนระดับภูมภิ าคให้เกิดผลสัมฤทธิ์ แต่การที่ได้วางรากฐานหรือริเริ่มโครงการที่น�าไปสู่ การพั ฒ นาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ถื อ เป็ น ผลงานที่ ส� า คั ญ ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ประเทศไทยย่อมต้องใช้โอกาส ในการที่ เ ป็ น ทั้ ง ประเทศต้ น ก� า เนิ ด และประธาน ของอาเซียน และ AICHR สร้างผลงาน เพื่อให้เป็น ที่ยอมรับของประชาคม ผู้เขียนขอเป็นก�าลังใจและ อวยพรให้ประเทศไทยและผู้แทนไทยใน AICHR ทีร่ บั หน้าที่เป็นประธาน AICHR ในปี ๒๕๖๒ นี้ สามารถ ด�าเนินงานบรรลุผลตามที่ได้วางแผนไว้เพื่อประโยชน์ ของภูมิภาคและประเทศของเราอย่างยั่งยืนต่อไป


ข าวทหารอากาศ

35

Big Data ÊÒÁÒöª‹Ç ¡Í§·Ñ¾ÍÒ¡ÒÈ ä´ŒÍ‹ҧäà น.อ. สรรสิริ สิริสันตคุปต์

Big Data คื อ ปริ ม าณข้ อ มู ล ขนาดใหญ่ ที่ มี อยู่ในองค์กรในทุกรูปแบบ ไม่ว่าแหล่งที่มาจะมาจาก ภายในหรือภายนอกก็ตาม ทั้งนี้ แบ่งออกเป็นข้อมูล ที่มีโครงสร้างชัดเจน (Structured Data) และข้อมูล ทีม่ โี ครงสร้างไม่ชดั เจน (Unstructured Data) การน�า Big Data มาใช้ ก็เพื่อประกอบการตัดสินใจและ เพื่อก�าหนดทิศทางขององค์กร อนึ่ง ในปี ค.ศ.๑๙๕๒ เมื่อมีการก่อตั้ง NSA (National Security Agency) พวกเขาใช้นกั วิทยาการ เข้ารหัส (Cryptologists) นับพันคน เพื่อจัดการ กับข้อมูลจ�านวนมหาศาลที่ไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว ในองค์กร ตั้งแต่นั้นมารัฐบาล ทั่ ว โลกก็ ไ ด้ วิ เ คราะห์ ก ระแส ข้อมูลขนาดใหญ่ ดังนัน้ จึงไม่เป็น ที่ น ่ า แปลกใจที่ ก องทั พ ทั่ ว โลก ได้ใช้ขอ้ มูล และเมือ่ เร็ว ๆ นี้ ได้ใช้ ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ทัง้ นี้ ก็เพื่อรวบรวมข่าวกรองและเพิ่ม ป ร ะ สิ ท ธิ ภ า พ ข อ ง ก อ ง ทั พ ที่ส�าคัญโอกาสได้ถูกเปิดอย่าง กว้ า งขวางส� า หรั บ ทางทหาร เมื่อพวกเขาเริ่มใช้การวิเคราะห์

ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) ความได้เปรียบ นั้น สามารถมองเห็นได้จากประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น ในการปฏิ บั ติ ง านของกองทั พ ซึ่ ง เป้ า หมายหลั ก ของทุกกองทัพก็คอื การท�าให้มวี งรอบในการตัดสินใจ (OODA Loop : Observe, Orient, Decide and Act) ที่รวดเร็วกว่าฝ่ายตรงข้ามด้วย Big Data สามารถที่จะช่วยให้ทุกกองทัพบรรลุเป้าหมายนั้นได้ ลองหันมาดูแนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ของกองทัพอากาศว่า เขาน�า Big Data มาใช้อย่างไร โดยบทความในฉบั บ มี มุ ม มองและรายละเอี ย ด ที่น่าสนใจดังนี้


36

การวิเคราะห์ขอ้ มูลช่วยรักษาความปลอดภัย ฐานทัพอากาศ ด้วยกองทัพอากาศนั้น ต้องการการรักษา ความปลอดภัยของฐานทัพอากาศที่ดีขึ้น แนวทาง ปฏิ บั ติ ที่ ดี คื อ การรวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล ขนาดใหญ่ แบบ Real-Time Video Analytic ซึง่ การวิเคราะห์ ข้อมูลแบบ Real-Time Video นัน้ เป็นเทคโนโลยี ที่ ส ามารถตรวจจั บ การเคลื่ อ นไหวของสิ่ ง ที่ ไม่ คาดคิดได้ อาทิ แจ้งเตือนคนเดินบนทางวิง่ เครือ่ งบิน (Runway) โดยระบบแจ้ ง เตื อ นจะไม่ ส นใจ พฤติกรรมปกติที่เกิดขึ้นในสนามบิน อย่างเช่น เครื่ อ งบิ น ก� า ลั ง ขึ้ น หรื อ ลงจอด ด้ ว ยการติ ด ตั้ ง กล้อง CCTV และ Sensor ต่าง ๆ ที่ท�างานร่วมกับ ซอฟต์ แวร์ อั จ ฉริ ย ะ (Intelligent Software)

ในหลายต�าแหน่งของฐานทัพอากาศ ผลทีไ่ ด้รบั คือ เพิม่ ความสามารถในการตรวจจับแบบ Real Time ระบบจะส่งการแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติ เมือ่ ตรวจพบ พฤติกรรมทีน่ า่ สงสัย ท�าให้การรักษาความปลอดภัย ของฐานทัพอากาศนั้นดีขึ้น ในด้านความสามารถ ในการป้องกันและแจ้งเตือน ก่อนที่อันตรายนั้น จะเกิดขึ้น (Preemptive) เมื่อเทียบกับแบบเดิม ที่ ต ้ อ งน� า ภาพที่ บั น ทึ ก ไว้ ก ลั บ มาดู ห ลั ง จาก ความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว (Forensic) ทีส่ า� คัญ เพิ่มประสิทธิภาพในการท�างานให้แก่เจ้าหน้าที่ รักษาความปลอดภัย (Situation Awareness) และลดภาระในการท� า งานของเจ้ า หน้ า ที่ รักษาความปลอดภัย โดยไม่จ�าเป็นต้องตรวจสอบ กล้องอย่างต่อเนื่อง


ข่าวทหารอากาศ

การวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มองค์ความรู้ (KM) ให้กับกองทัพอากาศ ในยุคที่อินเทอร์เน็ตถูกใช้อย่างกว้างขวาง ข้อมูลต่าง ๆ ในองค์กรถูกเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และมีมากขึน้ เรือ่ ย ๆ ในบางครัง้ บุคลากรไม่สามารถ หาข้อมูลทีต่ อ้ งการได้ ส�าหรับทุกองค์กร ระบบบริหาร จั ด การความรู ้ (KM) นั้ น ถื อ ว่ า มี ค วามส� า คั ญ ผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง (CIO) ต้ อ งท� า ให้ มั่ น ใจว่ า บุ ค ลากรทุ ก คนสามารถที่ จ ะเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ทีถ่ กู ต้องได้ (Right Information) อันเป็นสิง่ ส�าคัญ ในการพัฒนากองทัพอากาศ แนวทางปฏิบัติที่ดี ทีน่ า� มาใช้กค็ อื การน�า Big Data มาวิเคราะห์ อย่างเช่น การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่สามารถช่วยระบุ แนวคิดและความสัมพันธ์ของข้อมูลจ�านวนมาก เหมาะส� า หรั บ งานด้ า นข่ า วกรอง (Gather Intelligence) ทัง้ นี้ เพือ่ เพิม่ องค์ความรูท้ เี่ ป็นประโยชน์ ให้แก่กองทัพอากาศ จะท�าให้ระบบริหารจัดการ ความรู้ (KM) ของกองทัพอากาศนัน้ มีขอ้ มูลทีถ่ กู ต้อง

และมีไว้ให้ส�าหรับบุคลากรของกองทัพอากาศ ในเวลาที่เหมาะสม โดยผ่านช่องทาง (Portal) ที่ ถู ก ต้ อ ง ในทุ ก พื้ น ที่ แ ละทุ ก เวลาที่ ส� า คั ญ เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน (Best Solutions) อี ก ทั้ ง ยั ง ช่ ว ยในการตั ด สิ น ใจให้ แ ก่ บุ ค ลากร (Best Decisions) ซึ่งผลที่ได้รับในภาพรวมนั้น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้แก่ กองทัพอากาศ การวิเคราะห์ขอ้ มูลช่วยลดการใช้พลังงาน ในฐานทัพอากาศ ฐานทัพอากาศ (Air Force Base) มีหลายแห่ง ทั่วประเทศ และมีหลายวิธีท่ีช่วยลดค่าใช้จ่าย ด้านพลังงาน ส�าหรับกองทัพอากาศในยุค 5G ทีก่ า� ลังจะมาถึงนัน้ รองรับการเชือ่ มต่อของอุปกรณ์ และสิง่ ของ (Internet of Things : IoT) ซึง่ แนวทาง ปฏิบัติที่ดีของกองทัพอากาศกล่าวคือ การใช้ ประโยชน์ จ ากเทคโนโลยี 5G ที่ เ ป็ น พื้ น ฐาน ของ IoT มาสนับสนุน เพื่อการลดการใช้พลังงาน

37


38

(Energy Consumption) ในฐานทัพอากาศด้วยการ ติดตั้งเซ็นเซอร์หลายตัวแต่ละอาคารในฐานทัพ อากาศ เซ็นเซอร์เหล่านี้ท�าหน้าที่รวบรวมข้อมูล จ� า นวนมาก รวมถึ ง ข้ อ มู ล ที่ เ กี่ ย วกั บ สวิ ต ช์ ไ ฟ เครื่องปรับอากาศ ประตูรักษาความปลอดภัย ลิฟท์ และแหล่งอืน่ ๆ ทีส่ ามารถลดการใช้พลังงานได้ โดยพื้นฐานเป็นข้อมูลทั้งหมดที่สร้างโดยแต่ละ อาคาร แล้ ว น� า มาจั ด เก็ บ ไว้ บ นระบบคลาวด์

เพื่อท�าการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) ผลที่ได้รับจากการวิเคราะห์ข้อมูล ขนาดใหญ่ จะท�าให้กองทัพอากาศในตอนนี้รู้ว่า แต่ละอาคารในฐานทัพอากาศนัน้ มีการ ใช้พลังงาน อาทิ จากเครื่องปรับอากาศมากน้อยขนาดไหน ตลอดทัง้ ปี ซึง่ สามารถน�าข้อมูลดังกล่าวมาใช้รว่ มกับ ข้อมูลของสภาพอากาศ เพื่อท�าให้ผู้รับผิดชอบ เกิ ด ความเข้ า ใจในแนวทางลดการใช้ พลังงาน

และลดค่าใช้จา่ ยในฐานทัพอากาศนัน้ ดียงิ่ ขึน้ อีกทัง้ ยังสามารถน�าไปใช้เพือ่ ท�าการตรวจสอบ (Monitors) สภาพของอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ในฐานทัพอากาศ อย่ า งเช่ น เครื่ อ งปรั บ อากาศ อั น น� า มาสู ่ แ ผน การบ� า รุ ง รั ก ษาในเชิ ง ป้ อ งกั น (Preventive Maintenance) บนอุปกรณ์เหล่านั้นต่อไป ข้อคิดที่ฝากไว้ เมือ่ ใช้ Big Data อย่างถูกต้อง ความเป็นไปได้ จะไม่มีที่สิ้นสุด ไม่เป็นเพียงแค่องค์กรเชิงพาณิชย์ แต่ยังรวมถึงองค์กรภาครัฐอย่างกองทัพอากาศ ถือเป็นตัวอย่างทีดใี นการวิเคราะห์ขอ้ มูลขนาดใหญ่ ท�าให้กองทัพอากาศนั้นสามารถที่จะใช้ Big Data เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงาน และลดค่าใช้จ่าย ได้อย่างมีนัยส�าคัญ ซึ่งในปัจจุบันบนโลกที่มีข้อมูล เป็นจ�านวนมาก การมีทกั ษะในการวิเคราะห์ขอ้ มูล ที่ ถู ก ต้ อ ง ยั ง สามารถช่ ว ยผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ของกองทัพ (Chief Information Oficer : CIO) ตั ด สิ น ใจได้ ถู ก ต้ อ งระหว่ า งการมี ก องทั พ ที่ ใช้ งบประมาณที่ จ� า กั ด ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ และการมีกองทัพที่ใช้งบประมาณโดยไม่จ�ากัด ทั้ ง นี้ เพื่ อ ช่ ว ยก� า หนดทิ ศ ทางของกองทั พ ด้ ว ยเหตุ นี้ เ ราจึ ง ได้ เ ห็ น การวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล ขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) ทีก่ องทัพทัว่ โลก ได้น�ามาใช้


ข าวทหารอากาศ

39

BLONDIE

ภาพที่ ๑ - คุณจะเชื่อมั้ยนี่ ตอนนี้เขามีรายการโฆษณาที่จอภาพของปมนํ้ามันแล้ว !! ภาพที่ ๒ - พวกเขาต้องจ่ายเงินให้ผมนะ ที่ต้องทนทรมานดูน่ะ ภาพที่ ๓ - เฮ้ย ! พวก ! ถ้าเติมเสร็จแล้ว ก็ไปสิ ! - เดี๋ยวก่อน ! มันกําลังจะถึงตอนดี ๆ เชียว ! commercials (n.) - รายการโฆษณาสินค้า บริการ และอืน่ ๆ ทางโทรทัศน์ หรือวิทยุ มีความหมายเดียวกับ advertisements to run - ในทีน่ ี้ แปลว่า จัดให้ (to provide, to organize) gas pump (n.) - ปัม น�า้ มัน เมือ่ พูดภาษาอังกฤษ ต้องออกเสียงว่า 'พัม้ พ์' ส่วน 'น�า้ มัน' ภาษาอังกฤษ แบบอเมริกนั ใช้ศพั ท์ gas หรือ gasoline แต่ภาษาอังกฤษแบบอังกฤษใช้ศพั ท์ petrol to suffer - รูส้ กึ เป็นทุกข์, ทรมาน (to feel unhappy) จากสิง่ ร้ายทีเ่ กิดขึน้ Ex. He suffers from asthma. (เขาทรมานจากโรคหืด) และ We suffer the trafic jam every day. (เราเป็นทุกข์มากกับสภาพจราจรติดขัดทุกวัน) pal (n.) - ปกติ แปลว่า เพือ่ น ในทีน่ ใี้ ช้เรียกผูช้ ายแบบไม่พอใจ (used to call a man in an unfriendly way) to be done - ในทีน่ ้ี แปลว่า ท�าส�าเร็จ (to be inished, completed) If you are done with the magazine, can I have a look at it ? (ถ้าคุณอ่านแมกกาซีนเสร็จแล้ว ฉันขอดูได้มยั้ ) to move - ในทีน่ ้ี เป็นภาษาพูดแบบไม่เป็นทางการ แปลว่า ไปอย่างเร็ว (to go very fast) hold on (idm) - เป็นส�านวน แปลว่า เดีย๋ วก่อน, หยุดก่อน (used to tell someone to wait or stop sth.)


40

PEANUTS

ภาพที่ ๑ - บินแล้วเหรอ ? เธอบินขึ้นไปเหนือเมฆจริง ๆ เหรอ ? ภาพที่ ๒ - โอ้โฮ ! มันเป็นอย่างไรบ้างล่ะ ? ภาพที่ ๓ - อ้าว, เธอไม่ควรจะปดตาน่ะ actually (adj.) flown (v.3) above (prep.)

- จริง ๆ (really) - กริยาช่องที่ ๓ ของ to fly ช่องที่ ๒ คือ flew - อยู่เหนือ หรือสูงกว่า (at or to a higher place than someone or something) over ก็มีความหมายเดียวกัน Ex. They built a new room above/over the garage. (เขาสร้างห้องใหม่อยู่เหนือโรงรถ) What is something/someone like ? - เป็นประโยคค�าถามทีใ่ ช้ถามความเห็นเกีย่ วกับคนหรือสิง่ ของ Ex. What's the weather like in Turkey. (อากาศที่ตุรกี เป็นอย่างไรบ้าง) และ Do you know Jim's boss. What's he like ? (คุณรู้จักหัวหน้าของจิมมั้ย/เขาเป็นคนอย่างไร) Subject + should not have + V.3 - เป็นโครงสร้างประโยค ที่มีความหมายว่า ไม่ควรจะท�า สิ่งนั้นในอดีต แต่ได้ท�าไปแล้วท�าให้เกิดผลเสียขึ้น Ex. You shouldn't have driven last night. (คุณไม่ควร จะขับรถเมื่อคืนนี้) และ We shouldn't have taken the tour bus to Nan. (เราไม่ควรจะนั่งรถทัวร์ไปน่าน)


ข าวทหารอากาศ

41

¤ÇÒÁÃÙŒ¾×é¹°Ò¹ “¡Òû¯ÔºÑµÔ¡Òâ‹ÒÇÊÒÃàªÔ§ÊÌҧÊÃä ” (Creative Information Operations : CIO) “รูกอน ตัดสินใจกอน ปฏิบัติกอน และปฏิบัติ อยางมีประสิทธิผลกวาจนสามารถ เอาชนะความเชื่อและศรัทธา” (See First, Decide First, Act First, Act more effectively, can Win Heart and Mind)” Donald Rumsfeld, 2003

กระแสโลกาภิ วั ต น์ แ ละความก้ า วหน้ า ของ เทคโนโลยีสารสนเทศ ท�าให้การกระจายข่าวสาร หรือข่าวลือในบางกรณี เป็นไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง สามารถสร้างผลกระทบต่อทัศนคติ อารมณ์ ความรูส้ กึ ต่อบุคคลหรือกลุม่ บุคคล สาธารณชนทัว่ ไป ทัง้ ในและ นอกประเทศทีอ่ ยูภ่ ายในสภาพแวดล้อมข่าวสารนัน้ ได้ นอกจากนั้นกระแสข่าวบางอย่างยังสามารถเข้าถึง ตัวบุคลากรฝ่ายเราได้ก่อนที่จะมีการรายงานตาม สายการบังคับบัญชาเสียอีก ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีผล โดยตรงต่อสภาพขวัญและก�าลังใจ ความสามารถ ในการวิเคราะห์ภารกิจ และประสิทธิภาพโดยรวม ของหน่วยในการปฏิบตั ภิ ารกิจ จึงมีความจ�าเป็นอย่างยิง่ ที่จะต้องมีระบบปฏิบัติการข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ เพือ่ รักษาความได้เปรียบในสภาพแวดล้อมด้านข่าวสาร ให้เกือ้ กูลต่อการปฏิบตั ภิ ารกิจของฝ่ายเราให้มากทีส่ ดุ

น.อ.ประภาส สอนใจดี รอง ผบ.รร.สธ.ทอ.ยศ.ทอ.

การปฏิ บั ติ ก ารข่ า วสารเชิ ง สร้ า งสรรค์ เป็นเครือ่ งมือประเภทหนึง่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการท�าสงคราม ทางความคิด สร้างอิทธิพลต่อสภาพจิตใจ ความรู้สึก นึกคิด ทัศนคติ อารมณ์ของฝ่ายตรงข้ามหรือกลุ่ม เป้ า หมายเฉพาะที่ ต ้ อ งการ ซึ่ ง มี ค วามเชื่ อ กั น ว่ า การปฏิบัติการ ในเชิงสร้างสรรค์จะท�าให้ได้เปรียบ ได้รบั ความร่วมมือจากกลุม่ เป้าหมาย และท�าให้ฝา่ ยเรา สามารถปรั บ แก้ ส ถานการณ์ เ มื่ อ ถู ก ตอบโต้ ก ลั บ ได้อย่างเหมาะสม ทันเวลา จึงไม่มีสูตรส�าเร็จตายตัว ในการปฏิบตั ิ แต่จา� เป็นทีจ่ ะต้องพัฒนาการปฏิบตั กิ าร ข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ไปตามเหตุการณ์ และสภาพ แวดล้อมในแต่ละห้วงเวลา ส�าหรับการวางแผนปฏิบัติ การข่าวสารเชิงสร้างสรรค์จะต้องเป็นการผสมผสาน องค์ประกอบและกิจกรรมการปฏิบัติการข่าวสาร เชิงสร้างสรรค์อย่างสอดคล้องกัน ภายใต้ทรัพยากร


42

ที่จ�ากัด และต้องอาศัยความริเริ่ม ความคิดสร้างสรรค์ วิสัยทัศน์ จินตนาการ และภาวะผู้น�าของผู้น�าองค์กร และทีมงาน เพือ่ ให้บรรลุเจตนารมณ์ของผูบ้ งั คับบัญชา การประยุ ก ต์ แ นวคิ ด การปฏิ บั ติ ก ารข่ า วสาร เชิ ง สร้ า งสรรค์ กั บ สถานการณ์ เ ฉพาะขององค์ ก ร เป็นการปฏิบัติการข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ของแต่ละ องค์กรทีด่ า� เนินกิจกรรมสูส่ าธารณชนหรือกลุม่ เป้าหมาย ในปัจจุบัน เพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์ของหน่วยเหนือ ดังนั้น จึงมีความจ�าเป็นที่ทุกหน่วยงานของฝ่ายเรา จะต้ อ งเฝ้ า ระวั ง การบิ ด เบื อ นข้ อ เท็ จ จริ ง น� า ไปใช้ ประโยชน์ให้กับผู้ไม่หวังดีกับองค์กรของเรา ดังนั้น การเฝ้าติดตามสถานการณ์เพือ่ สนับสนุนการปฏิบตั งิ าน ของฝ่ายเราในแต่ละเรื่องอย่างใกล้ชิด จึงมีความจ�าเป็น อย่ า งยิ่ ง ด้ ว ยการจั ด ตั้ ง ที ม งานปฏิ บั ติ ก ารข่ า วสาร เชิงสร้างสรรค์ ที่สามารถรับทราบเจตนารมณ์โดยตรง จากผู้บังคับบัญชาสูงสุด มาด�าเนินงานตามกรอบ หน้าที่ที่ก�าหนด และน�าเสนอผลงานการวางแผน การปฏิบตั กิ ารข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ให้ผบู้ งั คับบัญชา พิจารณา เพื่อปรับแก้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และข้อมูลข่าวสารล่าสุด แล้วจึงน�าเสนอต่อไปให้หน่วย เกีย่ วข้องน�าไปปฏิบตั ใิ ห้เป็นรูปธรรมตามวัตถุประสงค์ ของการปฏิบตั กิ ารข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ เพือ่ ให้การสือ่ สาร เชิงยุทธศาสตร์ของหน่วยเหนือสัมฤทธิผลและเป็นไป อย่างประสานสอดคล้องกันทุกภาคส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ

ส�าหรับการปฏิบัติการข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ อย่างยั่งยืน มีความยืดหยุ่น สอดคล้องและกลมกลืน กับสถานการณ์ตา่ ง ๆ ในหลากหลายมิตงิ านปฏิบตั กิ าร ข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ กระบวนการด�าเนินงานของ การปฏิ บั ติ ก ารข่ า วสารเชิ ง สร้ า งสรรค์ จะน� า มา ซึง่ กิจกรรมการจัดการเชิงบวก การสร้างการมีสว่ นร่วม และการสนธิพลังปฏิบัติการข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ จากส่วนพลังอ�านาจของชาติได้ในทุกมิติ ตลอดจน การสร้างกิจกรรมการด�าเนินงานทีม่ งุ่ เน้นความหลากหลาย ความแตกต่าง และการสร้างเสริมสิ่งใหม่ที่มีคุณค่า ขององค์ความรูร้ ะบบปฏิบตั กิ ารข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ที่จะน�าไปสู่การแก้ไขปัญหาและพัฒนาระบบงาน การบริหารและการจัดการขององค์กรให้สมบูรณ์แบบ ต่อไป ๑. สภาพแวดล้อมข่าวสาร (Information Environment) สภาพแวดล้อมของข่าวสาร คือ บุคคล องค์กร และระบบ ที่รวบรวม ด�าเนินกรรมวิธี แจกจ่ายหรือ ปฏิบตั กิ ารข่าวสาร โดยผูป้ ฏิบตั ิ (ผูน้ า� ผูท้ า� การตัดสินใจ บุคคลและองค์กร) ใช้ทรัพยากร (เครือ่ งมือและระบบ) เพือ่ รวบรวม วิเคราะห์ ใช้หรือกระจายข่าวสาร เป็นสภาวะ ซึ่งมนุษย์และระบบอัตโนมัติ สังเกต อธิบาย ตัดสินใจ และปฏิบัติ (Observed, Orient, Decide, Act : ODDA Loop) ต่อข่าวสาร ดังนัน้ จึงเป็นสภาวะแวดล้อม


ข่าวทหารอากาศ

ที่ส�าคัญต่อการแสวงข้อตกลงใจ ซึ่งสภาวะแวดล้อม ของข่าวสารจะประกอบขึน้ ด้วยมิตทิ เี่ กีย่ วพันกัน ๓ มิติ คือ มิตทิ างกายภาพ มิตทิ างข่าวสาร และมิตทิ างการรับรู้ ข่าวสาร (Information) เป็นข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือค�าแนะน�าในรูปของสื่อหรือรูปแบบชนิดต่าง ๆ เป็นความหมายที่มนุษย์ก�าหนดให้กับข้อมูล โดยวิธี ทีม่ รี ะเบียบแบบแผน ซึง่ ข่าวสารเดียวกันอาจส่งข้อความ ไปยังผูร้ บั ปลายทางแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน และด้วยเหตุนี้ จึงจัดให้มี "สัญญาณผสม" ไปยังผู้รวบรวมข่าวสาร ผู้ใช้ และประชาคมข่าวกรอง การประกันข่าวสาร (Information Assurance) เป็นการปฏิบัติการด้านข่าวสารที่ปกป้องและป้องกัน ระบบข่าวสารโดยการท�าให้มั่นใจถึงการใช้ประโยชน์ ได้ความสมบูรณ์ การรับรอง การถือเป็นความลับ และ การยอมรับ ซึ่งรวมถึงการจัดให้มีการฟื้นฟูระบบ ข่าวสารโดยการรวมขีดความสามารถในการป้องกัน การสืบหา และการตอบโต้ไว้ด้วยกัน กระบวนการทีใ่ ช้ขา่ วสารเป็นฐาน (Information Based Processes) เป็นกระบวนการที่รวบรวม วิเคราะห์ และกระจายข่าวสาร โดยใช้สื่อหรือรูปแบบ ต่าง ๆ กระบวนการเหล่านี้อาจจะเป็นกระบวนการ

43

โดยล� า พั ง หรื อ กระบวนการย่ อ ยที่ น� า มารวมกั น ประกอบเป็นระบบทีใ่ หญ่ขนึ้ หรือระบบของกระบวนการ พืน้ ฐานของข่าวสาร ในส่วนประกอบอืน่ ๆ ของพลังอ�านาจ แห่งชาติ กระบวนการพื้นฐานของข่าวสารรวมอยู่ ในระบบทุกระบบและส่วนประกอบทุกส่วน ทีต่ อ้ งการ ข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือค�าแนะน�าในรูปของสื่อหรือ รูปแบบใด ๆ ความได้เปรียบด้านข่าวสาร (Information Superiority) คือ ขีดความสามารถในการรวบรวม ด�าเนินกรรมวิธี และกระจายข่าวสารทีไ่ หลอย่างต่อเนือ่ ง และขณะเดียวกันจะท�าให้ฝ่ายเราใช้ประโยชน์หรือ ขัดขวางขีดความสามารถของฝ่ายตรงข้าม ทีจ่ ะท�าการ แบบเดียวกัน ความได้เปรียบด้านข่าวสารอาจกระท�า ครอบคลุ ม พื้ น ที่ รั บ ผิ ด ชอบ หรื อ อาจเป็ น พั น ธกิ จ หรือประเด็นเฉพาะ จ�ากัดเฉพาะบริเวณ และเฉพาะ เวลาก็ได้ ระบบข่าวสาร (Information system) คือ โครงสร้างพืน้ ฐาน องค์กร บุคลากร และส่วนประกอบ ทั้ ง ปวง เพื่ อ รวบรวม ด� า เนิ น กรรมวิ ธี เก็ บ รั ก ษา ส่ง แสดง กระจาย ปฏิบัติต่อข่าวสาร ระบบข่าวสาร และกระบวนการพื้นฐานของข่าวสาร


44

สภาพแวดล้อมด้านข่าวสาร

จากภาพอธิบายได้ว่าการปฏิบัติการใด ๆ ในสภาวะแวดล้อมด้านข่าวสาร ภาพนี้แสดงให้เห็น ภาพรวมของความเหนื อ กว่ า ทางข่ า วสารภายใน สภาวะแวดล้อมของข่าวสาร การจัดการข่าวสาร มุง่ กระท�าเพือ่ สนับสนุนวงรอบการตัดสินใจของฝ่ายเรา จัดการเกีย่ วกับสภาวะแวดล้อมของข่าวสารของฝ่ายเรา การปฏิบัติการข่าวสารเชิงสร้างสรรค์เป็นการปฏิบัติ ทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างสภาวะแวดล้อมด้านข่าวสารของฝ่ายเรา และฝ่ายตรงข้าม ใช้ขีดความสามารถที่เกี่ยวข้อง กับข่าวสาร (Information-Related Capabilities : IRCs) สนั บ สนุ น สภาวะแวดล้ อ มด้ า นข่ า วสาร ในแต่ละมิติของฝ่ายเรา (มิติทางการรับรู้ มิติทาง ข่าวสาร และมิติทางกายภาพ) โดยมุ่งโจมตีต่อสภาวะ แวดล้อมด้านข่าวสารของฝ่ายตรงข้าม ในขณะเดียวกัน ปกป้ อ งและป้ อ งกั น สภาวะแวดล้ อ มด้ า นข่ า วสาร ของฝ่ายเราจากการโจมตีของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งการ ข่ า วกรอง การเฝ้ า ตรวจและการลาดตระเวน มุ่งที่จะท�าให้ล่วงรู้ถึงสภาวะแวดล้อมด้านข่าวสาร ของฝ่ายตรงข้าม สรุปว่าการปฏิบัติการข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ เป็ น การปฏิ บั ติ ภ ายใต้ ส ภาวะแวดล้ อ มข่ า วสาร เพือ่ ท�าให้เกิดผลกระทบต่อข่าวสารและระบบข่าวสาร

ของฝ่ายตรงข้าม และด�าเนินการเพื่อป้องกันข่าวสาร และระบบข่ า วสารของฝ่ า ยเราในเวลาเดี ย วกั น การปฏิบตั กิ ารข่าวสารเชิงสร้างสรรค์จงึ ต้องการการสนธิ ขีดความสามารถเชิงรุกและเชิงรับ และกิจกรรมต่าง ๆ อย่างใกล้ชดิ และต่อเนือ่ ง พร้อมกับการก�าหนดรูปแบบ การสนธิ และการปฏิบัติร่วมกันในการควบคุมบังคับ บัญชาอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการสนับสนุนของข่าวกรอง ซึ่งการปฏิบัติการข่าวสารเชิงสร้างสรรค์จะกระท�า โดยอาศั ย การสนธิ ขี ด ความสามารถที่ เ กี่ ย วข้ อ ง กับข่าวสาร (IRCs) และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งมวล ๒. การปฏิบัติการข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ การปฏิ บั ติ ก ารข่ า วสารเชิ ง สร้ า งสรรค์ คื อ การปฏิบัติการข่าวสารในเชิงบวก ไม่ท�าร้ายผู้ใด และ เป็นการสร้างสรรค์หนทางปฏิบตั ใิ หม่ (New Original) ทีส่ ามารถใช้การได้ (Workable) และมีความเหมาะสม (Appropriate) กับสภาพแวดล้อมข่าวสารในขณะนัน้ ซึ่ ง การปฏิ บั ติ ก ารข่ า วสารเชิ ง สร้ า งสรรค์ ที่ประสบ ความส�าเร็จนั้น นอกจากมีองค์ประกอบดังกล่าวแล้ว ยังต้องมีคณ ุ ธรรม จริยธรรมเป็นพืน้ ฐานการปฏิบตั ดิ ว้ ย เพื่ อ ให้ สิ่ ง ที่ ส ร้ า งสรรค์ ขึ้ น มาได้ นั้ น ไม่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด ความเสียหายต่อผู้อื่นและส่วนรวม แต่ก่อประโยชน์ แก่สังคมและมนุษยชาติมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้


ข่าวทหารอากาศ

45

โครงร่างขีดความสามารถการปฏิบตั กิ ารข่าวสารเชิงสร้างสรรค์

การปฏิบตั กิ ารข่าวสารเชิงสร้างสรรค์เป็นปฏิบตั ิ การหรือกิจกรรมที่หน่วยต่าง ๆ ได้ปฏิบัติหรือคุ้นเคย กับการปฏิบัติอยู่แล้ว เพียงแต่ที่ผ่านมามักจะแยก การปฏิบตั แิ ต่ละปฏิบตั กิ ารโดยเสรี มิได้มกี ารวางแผน แบบรวมการเท่านัน้ การปฏิบตั กิ ารข่าวสารจึงเป็นการ น�าขีดความสามารถเหล่านั้น มาบูรณาการภายใต้ กรอบนโยบายและวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องหน่ ว ยเหนื อ เพือ่ ก�าหนดแนวคิดในการปฏิบตั ไิ ปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการปฏิบัติในแต่ละเรื่องแตกต่างกันออกไป ตามแต่สถานการณ์หรือภารกิจ โดยขึน้ อยูก่ บั ผูม้ อี า� นาจ ตัดสินตกลงใจจะก�าหนดแนวทางในการใช้ขีดความ สามารถการปฏิบัติการข่าวสาร ซึ่งได้ถูกแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ การปฏิบัติหลักหรือขีดความสามารถหลัก

(Core Capabilities) การปฏิ บั ติ ส นั บ สนุ น หรื อ ขีดความสามารถสนับสนุน (Supporting Capabilities) และขีดความสามารถที่เกี่ยวข้องหรือกิจกรรมเสริม (Related Activities) ซึ่งทั้ง ๓ กลุ่มนี้ รวมเรียกว่า ขีดความสามารถทีเ่ กีย่ วข้องกับข่าวสาร (Information Related Capability : IRCs) ดังแสดงในตารางข้างต้น ขีดความสามารถหลักการปฏิบัติการข่าวสาร เชิงสร้างสรรค์ประกอบด้วย การปฏิบตั ิ ๕ ประการ คือ ปฏิบัติการสนับสนุนข่าวสารทางทหาร (MISO) หรือ (PSYOP) การรักษาความปลอดภัยของการปฏิบัติ (OPSEC) การลวงทางทหาร (MILDEC) สงคราม อิเล็กทรอนิกส์ (EW) ปฏิบัติการไซเบอร์ (Cyber Operations)


46

การบู ร ณาการการใช้ ขี ด ความสามารถหลั ก ทั้ง ๕ ประการ ท�าให้ฝ่ายเรามีศักยภาพเหนือกว่า กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งถือว่าเป็นผลจากการ ทวีกา� ลัง (Synergistic Effects) โดยเมือ่ ผูบ้ งั คับบัญชา ใช้ขีดความสามารถหลักทั้ง ๕ ประการนี้ ร่วมกับ ขีดความสามารถสนับสนุนและกิจกรรมเสริมแล้ว จะเป็นเครื่องมือหลักในการสร้างอิทธิพลต่อบุคคล หรือกลุ่มบุคคลเป้าหมาย (Target Audiences : TAs) ในฝ่ายตรงข้าม อันจะท�าให้ฝ่ายเรามีความเหนือกว่า ด้านข่าวสารและมีเสรีในการปฏิบัติภายใต้สภาวะ แวดล้อมข่าวสารนั้น ขี ด ความสามารถสนั บ สนุ น การปฏิ บั ติ ก าร ข่าวสาร ประกอบด้วย การประกันข่าวสาร (Information Assurance : IA) การรักษาความปลอดภัยทางวัตถุ (Physical Security : PHYSEC) การโจมตีทางวัตถุ (Physical Attack : PHYATK) การต่อต้านข่าวกรอง (Counterintelligence : CI) และภาพถ่ายการรบ (Combat Camera: COMCAM) ขีดความสามารถ เหล่ า นี้ จ ะรวมอยู ่ ใ นสภาวะแวดล้ อ มของข่ า วสาร

ไม่ ว ่ า จะเป็ น ทางตรงหรื อ ทางอ้ อ ม เป็ น ขี ด ความ สามารถทีช่ ว่ ยให้การปฏิบตั กิ ารข่าวสารมีประสิทธิภาพ ขีดความสามารถสนับสนุนเหล่านี้ ต้องปฏิบัติโดย การสนธิ แ ละบู ร ณาการกั บ ขี ด ความสามารถหลั ก และนอกจากจะใช้ขีดความสามารถเหล่านี้สนับสนุน การปฏิบัติการข่าวสารแล้ว ยังสามารถใช้ส�าหรับ จุดประสงค์อื่น ๆ ที่กว้างกว่านี้ได้อีกด้วย ขีดความสามารถที่เกี่ยวข้องหรือกิจกรรมเสริม ส�าหรับการปฏิบัติการข่าวสาร ก�าหนดขึ้นด้วยหน้าที่ ทางทหาร ๕ ประการ คือ กิจการสาธารณะ (Public Affairs : PA) ปฏิบัติการระหว่างพลเรือน-ทหาร (Civil-Military Operations : CMO) การสื่อสาร เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Communication : SC) การปฏิบัติการเทคนิคพิเศษ (STO) การพบปะบุคคล ที่มีความส�าคัญ (Key Leader Engagement : KLE) เป็ น กระบวนการและความพยายามที่ จ ะเข้ า ใจ และมีปฏิสมั พันธ์กบั กลุม่ เป้าหมายหลัก เพือ่ สร้างเสริม และรักษาเงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมข่าวสารที่เป็น ประโยชน์ต่อผลประโยชน์และวัตถุประสงค์แห่งชาติ


ข่าวทหารอากาศ

ของฝ่ายเรา โดยการใช้ข่าวสาร แผนงาน ประเด็นการ สือ่ สาร โครงการและการปฏิบตั ทิ ปี่ ระสานสอดคล้องกัน ร่วมกับพลังอ�านาจอืน่ ๆ ของชาติ ซึง่ ขีดความสามารถ ที่เกี่ยวข้องหรือกิจกรรมเสริมเหล่านี้ มีส่วนส�าคัญ ในการปฏิบตั กิ ารข่าวสาร และต้องปฏิบตั โิ ดยประสาน สอดคล้ อ งและสนธิ กั บ ขี ด ความสามารถหลั ก และขี ด ความสามารถสนั บ สนุ น ในการปฏิ บั ติ ก าร ข่าวสารเสมอ กล่ า วได้ ว ่ า การปฏิ บั ติ ก ารข่ า วสาร เป็ น การ บู ร ณาการระหว่ า งการปฏิ บั ติ ก ารทางทหารของ ขีดความสามารถทีเ่ กีย่ วข้องกับข่าวสาร (Information Related Capability : IRCs) ร่วมกับเส้นการปฏิบัติ

47

ทางยุทธการ (Line of Operations : LOO) อื่น ๆ เพือ่ มีอทิ ธิพล ท�าให้เสีย ท�าให้เสือ่ ม หรือชิงการตัดสินใจ ของฝ่ายตรงข้าม และอาจเป็นฝ่ายตรงข้าม ในขณะที่ ป้องกันฝ่ายเรา ซึ่งการสนับสนุนกันระหว่างขีดความ สามารถที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร จะส่งผลให้การพัฒนา แผนการปฏิบตั กิ ารข่าวสารเชิงสร้างสรรค์มปี ระสิทธิภาพ ตลอดขอบเขตของการปฏิบัติการนั้น ประเด็นส�าคัญ จึงขึ้นอยู่กับความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ระหว่ า งขี ด ความสามารถที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ข่ า วสาร เป็นอย่างดี หลังจากนั้นจึงจะสามารถสนธิกันอย่าง ถูกต้อง มีประสิทธิผล โดยผ่านกระบวนการวางแผน ปฏิบัติการข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ที่มีประสิทธิภาพ (อ่านต่อฉบับหน้า)


48

ปจจัยที่ทําใหเกิด ภาวะขอเขาเสื่ อม? (ตอนที่ ๒) Osteoarthritis of the knee พล.อ.ต.ผศ.นพ.จ�ารูญเกียรติ ลีลเศรษฐพร (ต่อจากฉบับที่แล้ว)

ปจจัยทีทําให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อม? ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสื่อมของข้อเข่ามีหลาย ประการ ได้แก่ ๑. อายุ ผู้ที่มีอายุมากขึ้นก็จะพบภาวะข้อเสื่อม ได้มากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเลี่ยงได้ อันเป็นผล จากการสึกหรอจากการใช้งาน ๒. น�้าหนัก ซึ่งถ้ามีน�้าหนักมากจะเป็นสาเหตุ ให้ข้อเข่าต้องท�างานหนักและเกิดการสึกหรอจนเกิด ภาวะข้อเข่าเสื่อมได้เร็วกว่าคนที่มีน�้าหนักน้อย ๓. พฤติกรรมการใช้ข้อเข่า พบว่าการนั่งพื้น นั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบเป็นเวลานาน จะพบภาวะ ข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้น เนื่องจากการงอข้อเข่ามาก ๆ จะท� า ให้ มี แรงกดบดขยี้ ภ ายในข้ อ เข่ า อย่ า งมาก ท�าให้ขอ้ เข่าเกิดการสึกหรอและเสือ่ มได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งพฤติกรรมการใช้ส้วมนั่งยอง ซึ่งถือว่าเป็น อันตรายอย่างมากต่อข้อเข่า การขึ้นบันไดบ่อย ๆ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ท�าให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น ๔. ความแข็ ง แรงของกล้ า มเนื้ อ พบว่ า การ ออกก�าลังกายสม�่าเสมอจะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณ ข้อเข่าแข็งแรงท�าให้ชว่ ยลดแรงกระแทกภายในข้อเข่า และยั ง กระตุ ้ น การเสริ ม สร้ า งกระดู ก ให้ แข็ ง แรง สามารถช่วยชะลอความเสื่อมของข้อเข่าได้

๕. ภาวะการได้รบั บาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ถ้าหาก มี อุ บั ติ เ หตุ บ ริ เวณข้ อ เข่ า ท� า ให้ เ กิ ด กระดู ก หั ก แตก เข้าในผิวข้อเข่าท�าให้ผิวข้อเข่าไม่เรียบเหมือนปกติ หรือเกิดอุบัติเหตุจนเส้นเอ็นภายในข้อเข่าฉีกขาด ท�าให้ข้อเข่าหลวมกว่าปกติ ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้ข้อเข่า เสื่อมเร็วกว่าปกติ ๖. ความแข็งแรงของกระดูก เมื่ออายุมากขึ้น มักพบว่าความแข็งแรงของกระดูกจะลดลง ซึง่ เรียกว่า ภาวะกระดูกพรุน ท�าให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมได้เร็ว ยิ่งขึ้น และมักพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะหลังวัยหมดประจ�าเดือน


ข่าวทหารอากาศ

การวินิจฉัยข้อเข่าเสื่อมทําได้อย่างไร? ในกรณีทที่ า่ นสงสัยว่ามีภาวะข้อเข่าเสือ่ มหรือไม่ ควรปรึ ก ษาแพทย์ ที่ เชี่ ย วชาญด้ า นกระดู ก และข้ อ แพทย์จะท�าการ ๑. ซักประวัติ ตรวจร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณ ข้อเข่า ถ้ามีลักษณะข้อเสื่อมหรือความโก่งงอผิดรูป มากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ แพทย์จะท�าการตรวจ

เสื่อมน้อย

49

ข้ออืน่ ๆ ร่วมด้วย เพือ่ แยกสาเหตุของโรคชนิดอืน่ เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ เป็นต้น ๒. ถ่ายภาพเอ็กซเรย์ แพทย์ จ ะท� า การส่ ง เอ็ ก ซเรย์ ข ้ อ เข่ า ในท่ า ยื น ลงน�า้ หนัก เพือ่ ให้ทราบสภาพทีแ่ ท้จริงของกระดูกอ่อน ในข้อเข่า ภาพเอ็กซเรย์ในภาวะข้อเข่าเสื่อมจะพบ มีช่องว่างภายในข้อเข่าแคบลง ซึ่งก็คือความหนาของ กระดูกอ่อนภายในข้อเข่าเริ่มมีการสึกหรอ เมื่อเป็น มากขึ้ น ช่ อ งว่ า งดั ง กล่ า วอาจหมดไป นั่ น หมายถึ ง กระดูกอ่อนได้สึกหรอไปจนหมด และกระดูกข้อเข่า ส่วนบนและส่วนล่างจะชนกัน ซึง่ เป็นสาเหตุทา� ให้เกิด อาการปวดทุกครั้งเวลาลงน�้าหนัก ผิวกระดูกข้อเข่า จะไม่เรียบ และมักพบมีกระดูกงอกผิดปกติ ในราย ทีเ่ ป็นมากจะพบมีการโก่งงอของข้อเข่า บางรายเป็นมาก จนพบมีการเคลื่อนหลุดของข้อเข่าได้ ในบางกรณี แพทย์ อ าจแนะน� า ให้ ผู ้ ป ่ ว ยถ่ า ยภาพข้ อ เข่ า ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือการตรวจทางรังสี นิวเคลียร์ (Bone scan) ในกรณีที่สงสัยเกี่ยวกับภาวะ เนื้องอกของกระดูก

เสื่อมปานกลาง

เสื่อมรุนแรง


50

๓. การเจาะเลือด แพทย์อาจแนะน�าให้ท�าการ เจาะเลือดเพือ่ หาสาเหตุอนื่ ทีอ่ าจท�าให้เกิดอาการปวด ข้อเข่าได้ เช่น หาระดับกรดยูริคในเลือดซึ่งจะพบ มีค่าสูงกว่าปกติในโรคเกาต์ หรือหาค่ารูมาตอยด์ แฟคเตอร์ ซึ่งกว่าร้อยละ ๗๐ ของโรครูมาตอยด์ จะมีค่าเป็นบวก เป็นต้น ๔. การตรวจน�า้ หล่อเลีย้ งข้อเข่า ในกรณีทมี่ ภี าวะ ข้อเข่าบวมเนื่องจากมีการอักเสบ และมีการสร้าง น�้าหล่อเลี้ยงภายในข้อเข่ามากกว่าปกติ แพทย์อาจ ท�าการเจาะดูดน�า้ ภายในข้อเข่าออกมาตรวจด้วยกล้อง จุลทัศน์ ซึง่ มีประโยชน์อย่างมากในการช่วยวินจิ ฉัยโรค โดยเฉพาะภาวะการติ ด เชื้ อ ข้ อ เข่ า และโรคเกาต์ นอกจากนี้ การเจาะดู ด น�้ า ภายในข้ อ เข่ า ที่ มี ม าก เกินไปออก ยังช่วยลดอาการปวดข้อเข่าได้ด้วย ๕ . การตรวจความหนาแน่นของกระดูก เป็นการ ตรวจหาภาวะกระดู ก พรุ น ซึ่ ง มั ก พบในผู ้ สู ง อายุ และเป็ น สาเหตุ ใ ห้ ค วามแข็ ง แรงของกระดู ก ลดลง ท�าให้เกิดภาวะเสื่อมได้ง่าย โดยเฉพาะในเพศหญิง ที่อายุ ๔๕ ปีขึ้นไป หรือหลังหมดประจ�าเดือน

(อ่านต่อฉบับหน้า)


ข าวทหารอากาศ

น.อ.อภิรัตน์ รังสิมาการ

เนื่องจากในบริเวณฐานทัพอากาศดอนเมือง ไม่มีพระพุทธรูปและหอพระ เพื่อใช้เป็นสถานที่ ประกอบพิ ธี ก รรมในวั น ส� า คั ญ ทางพุ ท ธศาสนา ของข้าราชการทหารอากาศและครอบครัวทีพ่ กั อาศัย ในเขตท่าดินแดง พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ จึงได้มอบหมายให้ กรมสวัสดิการทหารอากาศพิจารณาสร้างพระพุทธรูป และหอพระกองทัพอากาศ ให้เป็นส่วนหนึ่งของ สวนสุ ข ภาพกองทั พ อากาศ ท่ า ดิ น แดง โดยมี วัตถุประสงค์เพือ่ เป็นสถานทีบ่ า� เพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ ในวันส�าคัญทางพุทธศาสนา เป็นทีส่ กั การบูชาเพือ่ ให้ เ กิ ด สิ ริ ม งคลและสร้ า งเสริ ม ศรั ท ธาในบวร พุทธศาสนาแก่ขา้ ราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ตลอดจนประชาชนทั่ ว ไป เพื่ อ ให้ ก ารสร้ า ง พระพุทธรูปและหอพระกองทัพอากาศดังกล่าว

เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงได้มีค�าสั่งกองทัพ อากาศ (เฉพาะ) ที่ ๕๘๑ ลง ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานสร้างพระพุทธรูป และหอพระกองทัพอากาศ บริเวณสวนสุขภาพ กองทัพอากาศ ท่าดินแดง โดยมี พลอากาศเอก วัธน มณีนัย อดีตรองผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็ น ประธานกรรมการ มี หั ว หน้ า ส่ ว นราชการ ที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ และ พลอากาศตรี อนุชิต แก้วประสพ อดีตเจ้ากรมสวัสดิการทหารอากาศ เป็นกรรมการและเลขานุการมี ห น้ า ที่ วางแผน อ� า นวยการ ก� า กั บ ดู แ ลการจั ด หารายได้ แ ละ การประชาสั ม พั น ธ์ งานสร้ า งพระพุ ท ธรู ป และ หอพระกองทั พ อากาศ บริ เ วณสวนสุ ข ภาพ กองทั พ อากาศ ท่ า ดิ น แดงให้ เ ป็ น ไปด้ ว ย ความเรียบร้อย

51


52

แนวคิดในการสร้างหอพระ กองทัพอากาศ บริเวณสวนสุขภาพ กองทัพอากาศ ท่าดินแดง ที่เป็น ศิลปะร่วมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีขนาด ๕ x ๗ เมตร สูง ๙ เมตร มีทางเดินรอบหอพระ กว้าง ๓ เมตร ลั ก ษณะเป็ น งานก่ อ อิ ฐ ถื อ ปู น ทรงสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ และก่อสร้างพร้อมติดตั้งลวดลาย ปูนปั้นด้วยช่างฝีมืออย่างวิจิตร บรรจง ส�าหรับประดิษฐานองค์ พระพุทธรูปเพือ่ เป็นทีส่ กั การบูชา โดยมี นายกรรณ สุ ว รรณโน สถาปนิ ก สาขาสถาปั ต ยกรรมไทย จากบริ ษั ท ส.บุ ญ มี ฤ ทธิ์ วิ ศ วกรรม จ� า กั ด เป็นผู้ออกแบบ ร่วมกับ นาวาอากาศเอกหญิง ชลลดา โพธิ์ น ที ไ ท สถาปนิ ก กรมช่ า งโยธา ทหารอากาศ และ นาวาอากาศเอก สุ พ จน์ ธรรมวั ฒ นะ วิ ศ วกรโครงสร้ า งกรมช่ า งโยธา ทหารอากาศ เป็ น ผู ้ ร ่ ว มออกแบบ ประสาน และควบคุมดูแลการก่อสร้างตลอดโครงการ


ข าวทหารอากาศ

การก่อสร้างในบริเวณสวนสุขภาพกองทัพ อากาศท่าดินแดง ประกอบด้วย หอพระพร้อมด้วย ลานจงกรม เวี ย นเที ย น และมี ก ารปรั บ ปรุ ง ภู มิ ส ถาปั ต ยกรรม ให้ ก ลมกลื น กั บ ธรรมชาติ โดยรอบด้านเหนือตรงข้ามสโมสรนายทหารชั้น ประทวน ด้านตะวันตกติดกับลานจอดรถและ อาคารที่พักอาศัยของนายทหารสัญญาบัตรที่ ๕ (ฟส.๕) โดยการออกแบบหอพระกองทัพอากาศ ได้ พิ จ ารณาเที ย บเคี ย งกั บ วั ด พระศรี ม หาธาตุ วรวิ ห าร ซึ่ ง ขนาดหอพระ กองทั พ อากาศจะมี สั ด ส่ ว น ที่ เ หมาะสม ไม่ ใ หญ่ โ ตมาก เกินไป เนื่องจากต้องการให้ มี ค วามกลมกลื น กั บ ภู มิ ทั ศ น์ โดยรอบและเกิ ด ความสงบ ร่มเย็น มีทางเดินขนาดกว้าง ๔.๕๐ เมตร ระยะทางเดินรอบ หอพระ ๒๗๐ เมตร

53


54

แผนการดําเนินงานประกอบด้วย ๑. การจัดท�าแบบหอพระกองทัพอากาศ แล้วเสร็จเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๙ ๒. การแกะสลักองค์พระพุทธเมตตานภากาศ ประทานพร แล้วเสร็จเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ๓. การปรับพืน้ ทีส่ า� หรับสร้างหอพระกองทัพ อากาศแล้วเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๙ ๔. ประดิ ษ ฐานพระพุ ท ธเมตตานภากาศ ประทานพร ในหอพระกองทัพอากาศ เมือ่ ต้นเดือน กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๙ เพื่อใช้เป็นสถานที่ส�าหรับ ท� า พิ ธี ก รรมครั้ ง แรกในวั น อาสาฬหบู ช าและวั น เข้าพรรษา กองทั พ อากาศได้ จั ด การทอดกฐิ น สามั ค คี โดยได้ ป ระชาสั ม พั น ธ์ เชิ ญ ชวนข้ า ราชการและ

ครอบครัว รวมถึงประชาชนผูม้ จี ติ ศรัทธาร่วมบริจาค เงินสมทบทุนสร้างหอพระ กองทัพอากาศ เพือ่ ถวาย เป็นพุทธบูชา และท�าพิธีทอดกฐิน เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา ขึ้น ๑๑ ค�่า เดือน ๑๒ ณ วัดสาแพะพนาราม (พระพุทธศิลาสาธุ) หมูท่ ี่ ๓ ต�าบลบ้านสา อ�าเภอแจ้หม่ จั ง หวั ด ล� า ปาง โดยมี พลอากาศเอก ตรี ท ศ สนแจ้ ง อดี ต ผู ้ บั ญ ชาการทหารอากาศ และ นาวาอากาศเอกหญิ ง อุ ด มลั ก ษณ์ สนแจ้ ง อดีตนายกสมาคมแม่บา้ นทหารอากาศ เป็นประธาน พร้อมข้าราชการ ลูกจ้างพนักงานราชการกองทัพ อากาศ และประชาชนที่ มี จิ ต ศรั ท ธาร่ ว มเป็ น เจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี


ข าวทหารอากาศ

จึงได้เดินทางต่อไปที่อ�าเภอเชียงของ ได้หินมา จ�านวน ๒ ก้อน ท�าการผ่าหินก้อนแรกมีรอยแตกร้าว ก้อนที่สองก็มีรอยแตกร้าวเหมือนเดิม พระครูสันติ พนารักษ์ และศิษยานุศิษย์ได้เดินทางไปดูบ่อหิน อี ก หลายแห่ ง แต่ ยั ง ไม่ พ บขนาดและสั ด ส่ ว น ที่ต้องการ จนสุดท้ายเดินทางไปบ่อหินที่อ�าเภอ เชียงแสน บริเวณสามเหลี่ยมทองค�า พบก้อนหนึ่ง ตั้ ง อยู ่ รู ป ร่ า งเหมื อ นหั ว พญานาคหรื อ หั ว เรื อ แนวคิ ด ในการแกะสลั ก พระพุ ท ธรู ป ที่ จ ะ ประดิษฐานในหอพระกองทัพอากาศ เป็นพระพุทธรูป ศิลปะแบบอินเดีย หน้าตักขนาด ๑๒๐ เซนติเมตร สู ง ๑๘๐ เซนติ เ มตร หนา ๗๐ เซนติ เ มตร พร้อมแท่นดอกบัว โดยพระพุทธรูปองค์นี้ เป็นปาง เมตตาประทานพร ศิ ล ปะผสมประสานแบบ ประยุกต์ อินเดีย อินโดนีเซีย ไทย และล้านนา เป็นทั้งประทานพรและแสดงธรรมด้วย ทรงห่ม จีวรเฉลียงบ่า มีริ้วรอยผ้ายก พระหัตถ์ขวาเป็น ปางประทานพร และพระหัตถ์ซา้ ยแนบตรงหัวเข่าซ้าย หงายพระหัตถ์ขึ้นเป็นปางแสดงธรรม โดยพระครู สันติพนารักษ์ (พระอาจารย์ บรรลา อตฺตสนฺโต) ณ วัดสาแพะพนาราม (พระพุทธศิลาสาธุ) ต�าบล บ้านสา อ�าเภอแจ้ห่ม จังหวัดล�าปาง ได้ออกแบบ และถวายพระนามว่า “พระพุทธเมตตานภากาศ ประทานพร” ส�าหรับการสร้างพระพุทธเมตตานภากาศ ประทานพร ได้รับความกรุณาจากพระครูสันติ พนารักษ์ในการเลือกหินและแกะสลักองค์พระ โดยในต้นเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๘ พระครูสันติ พนารักษ์และศิษยานุศิษย์ ได้เดินทางไปส�ารวจ บ่อหินที่จะน�ามาแกะสลักพระพุทธรูป โดยได้ เดินทางไปส�ารวจบ่อหินที่ อ�าเภอพาน จังหวัด เชียงราย พบแต่หินก้อนที่ไม่ได้ขนาดและสัดส่วน

ไม่มีใครจองไว้ พระครูสันติพนารักษ์ได้ให้คนขับรถ ไปซื้อสีสเปรย์สีแดงมาพ่นหินจองไว้ และได้จุด ธูปเทียนบอกเทพเทวาพญานาคว่า จะน�าหินก้อนนี้ ไปแกะสลักเป็นพระพุทธรูป ประดิษฐานที่กองทัพ อากาศ เพื่อให้ผู้คนได้กราบไหว้สักการบูชา ขอให้ หิ น ก้ อ นนี้ ไ ม่ มี ร อยแตกร้ า วอี ก จากนั้ น อี ก หนึ่ ง อาทิตย์นัดเจ้าของบ่อหิน กลางเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ นัดพบกันเพื่อตกลงเอาหินก้อนที่จองไว้ เจ้าของหินก็ยินดีขายให้ในราคา ๒๐๐,๐๐๐ บาท หินก้อนที่ ๓ ที่จะน�ามาแกะสลักนี้เป็นหินแกรนิต เมื่อผ่าเข้าไปดูเนื้อในปรากฏว่า มีสีของหินถึง ๕ สี ได้แก่ เขียว ฟ้า เทา ทอง และเงิน แทรกอยู่เนื้อใน ของหิน จากนั้นพระครูสันติพนารักษ์ได้ด�าเนินการ แกะสลั ก พระพุ ท ธรู ป จากหิ น แกรนิ ต สี ฟ ้ า เขี ย ว ด้วยความอุตสาหะอย่างสูงยิ่งซึ่งใช้เวลาในการ แกะสลักประมาณ ๖ เดือนจึงแล้วเสร็จ

55


56

พระบรมสารีรกิ ธาตุทจี่ ะบรรจุลงในเศียรของ พระพุทธเมตตานภากาศประทานพร ได้รบั มอบจาก คุ ณ ทองดี หรรษคุ ณ าภรณ์ ประธานมู ล นิ ธิ พระบรมธาตุ โดยได้ท�าพิธีรับพระบรมสารีริกธาตุ และอั ญ เชิ ญ มาประดิ ษ ฐานไว้ ที่ ก รมช่ า งโยธา ทหารอากาศ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๙ หลั ง จากพระครู สั น ติ พ นารั ก ษ์ แ กะสลั ก พระพุทธรูปเสร็จเรียบร้อย กรมขนส่งทหารอากาศ ได้ด�าเนินการเคลื่อนย้ายพระพุทธเมตตานภากาศ ประทานพร จากวัดสาแพะพนาราม อ�าเภอแจ้ห่ม จั ง หวั ด ล� า ปาง โดยเดิ น ทางถึ ง ฐานทั พ อากาศ ดอนเมือง เมือ่ วันเสาร์ที่ ๒๕ มิถนุ ายน พ.ศ.๒๕๕๙ จากนั้นกรมช่างโยธาทหารอากาศได้ท�าการ ชะลอพระพุ ท ธเมตตานภากาศประทานพร โดยมี ข ้ า ราชการและเจ้ า หน้ า ที่ ห ลายฝ่ า ยของ กองทั พ อากาศที่ เ ปี  ย มด้ ว ยพลั ง ศรั ท ธาร่ ว มกั น ด�าเนินการชะลอพระพุทธเมตตานภากาศประทานพร ด้วยรางรอกโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่ขึ้นสู่แท่น ฐานชุกชี เพื่ออัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ หอพระ กองทั พ อากาศ สวนสุ ข ภาพกองทั พ อากาศ ท่าดินแดง โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียง เหนือ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๙ โดยหลังจากการประดิษฐานพระพุทธรูปเรียบร้อย แล้วจึงถวายนามว่า “หอพระพุทธเมตตานภากาศ ประทานพร”


ข าวทหารอากาศ

การด�าเนินงานสร้างหอพระกองทัพอากาศ และพระพุทธเมตตานภากาศประทานพรส�าเร็จ ลุล่วงตามแผนงานและวัตถุประสงค์ ด้วยศรัทธา อันแรงกล้าของ พลอากาศเอก ปฏิพันธ์ วะนะสุข ผูท้ รงคุณวุฒพิ เิ ศษกองทัพอากาศ ทีเ่ ป็นผูด้ า� เนินงาน หลักในการก�ากับดูแล ประสานงาน และอ�านวยการ ให้การทอดกฐินสามัคคี การแกะสลักองค์พระ และการชะลอพระเป็ น ไปด้ ว ยความเรี ย บร้ อ ย และ พลอากาศตรี ชลิต รัมมะวาส เจ้ากรมช่างโยธา ทหารอากาศ ที่ ก� า กั บ ดู แ ล การด� า เนิ น งาน ประสานงานและอ�านวยการ ในการก่อสร้างหอพระ การตกแต่ ง ให้ มี ค วามงดงาม วิ จิ ต รตระการตา และการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบให้สวยงาม

57


58

ในวันพุธที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๙ กองทัพ อากาศได้ประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ลงในเศียรพระพุทธเมตตานภากาศประทานพร จากนัน้ ท�าพิธเี จริญพระพุทธมนต์ และพิธพี ทุ ธาภิเษก พระพุทธเมตตานภากาศประทานพร ณ หอพระ พุ ท ธเมตตานภากาศประทานพร สวนสุ ข ภาพ

กองทัพอากาศ ท่าดินแดง โดยมี พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง เป็นประธานซึ่งในวันประกอบพิธีดัง กล่าวช่วงเช้าท้องฟ้ามีเมฆมากแทบไม่เห็นแดดและ มีฝนตกปรอย ๆ แต่เมื่อใกล้ถึงเวลาประกอบพิธี ในช่ ว งบ่ า ย ท้ อ งฟ้ า กลั บ โปร่ ง ไม่ มี ฝ นอย่ า ง น่าอัศจรรย์


ข าวทหารอากาศ

ต่อมาในวันอังคารที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๙ กองทัพอากาศได้ประกอบพิธีเวียนเทียนเนื่องใน วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ณ หอพระพุทธ เมตตานภากาศประทานพร สวนสุขภาพกองทัพ อากาศ ท่าดินแดง เป็นครัง้ แรกโดยมี พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง และ พลอากาศตรีหญิง อุดมลักษณ์ สนแจ้ง อดีตนายกสมาคมแม่ บ ้ า นทหารอากาศ น�าข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ทหาร กองประจ�าการ และครอบครัวของกองทัพอากาศ ร่ ว มเวี ย นเที ย นเพื่ อ เป็ น พุ ท ธบู ช าเนื่ อ งในวั น อาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ในปี พ.ศ.๒๕๖๐ พลอากาศเอก จอม รุง่ สว่าง อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้มอบหมายให้ กรมช่างโยธาทหารอากาศ ด�าเนินการจัดสร้าง สะพานข้ามคลองทางทิศเหนือพร้อมประตูทางเข้า เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้มีจิตศรัทธาที่ต้องการ เข้าไปสักการะบูชาหรือท�าพิธกี รรมทางศาสนา และ ปรับพื้นที่เพื่อเป็นแกนน�าสายตาเข้าไปสู่หอพระ

ท�าให้มองเห็นหอพระพุทธเมตตานภากาศประทาน พรได้เด่นชัดขึ้น โดยกรมช่างโยธาทหารอากาศได้ มอบหมายให้ เรืออากาศตรี วิศรุต ฉันทลาโภ ภูมิสถาปนิก กองวิทยาการ กรมช่างโยธาทหาร อากาศ เป็นผู้ออกแบบงานสะพาน เนือ่ งจากสวนสุขภาพกองทัพอากาศ ท่าดินแดง เป็นพื้นที่หลักในการใช้พักผ่อนหรือออกก�าลังกาย ของข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และครอบครัว ตลอดจนประชาชนในพื้ น ที่ ใ กล้ เ คี ย ง ทั้ ง ยั ง มี หอพระประจ�ากองทัพอากาศ เพือ่ ประกอบกิจกรรม ในวันส�าคัญทางศาสนาต่าง ๆ ซึง่ มีผคู้ นเข้ามาใช้งาน เป็นจ�านวนมาก ท�าให้พื้นที่และทางเดินบางส่วน เกิ ด การช� า รุ ด ไม่ ส วยงาม และอาจก่ อ ให้ เ กิ ด อันตรายแก่ผทู้ เี่ ข้ามาใช้งานในสวนสุขภาพดังกล่าว ในปี พ.ศ.๒๕๖๑ พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ผู้บัญชาการทหารอากาศ มีด�าริให้ ประกอบพิ ธี ก รรมในวั น ส� า คั ญ ทางพุ ท ธศาสนา ที่ ห อพระพุ ท ธเมตตานภากาศประทานพร กรมช่ า งโยธาทหารอากาศจึ ง ได้ ส� า รวจและท� า แผนงานปรั บ ปรุ ง ภู มิ ทั ศ น์ เพื่ อ ให้ ห อพระพุ ท ธ เมตตานภากาศประทานพรมีความพร้อมในการ ประกอบพิธีเวียนเทียนของกองทัพอากาศเนื่องใน วันมาฆบูชาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๒ ตลอดจน มีความสวยงามและปลอดภัยในการด�าเนินกิจกรรม ต่ า ง ๆ โดยมี เ ป้ า หมายเพื่ อ รองรั บ ข้ า ราชการ

59


60

ทีม่ าร่วมพิธเี นือ่ งในวันมาฆบูชาได้ ๔๐๐ คน รวมทัง้ เดิ น แถวหน้ า กระดานได้ ๔ - ๕ คน โดยมี นาวาอากาศตรี พิทกั พงษ์ ยิม้ นรินทร์ เป็นผูอ้ อกแบบ งานปรั บ ปรุ ง ภู มิ ทั ศ น์ ทั้ ง หมด การด� า เนิ น งาน แบ่งเป็น ๒ ระยะดังนี้ ระยะแรกก่อนวันมาฆบูชา ก�าหนดท�าการ รื้อถอนวัสดุทางเดินของเดิมที่เป็นบล็อกตัวหนอน แล้วเปลี่ยนเป็นการสร้างพื้นคอนกรีตพิมพ์ลาย ปรับปรุงและขยายลานหน้าหอพระ แก้ราวบันได หน้าหอพระ ปรับปรุงระบบระบายน�้าและระบบ รดน�้าต้นไม้ ติดตั้งระบบไฟส่องสว่างรอบหอพระ ปลูกต้นไม้ประดับ ขัดล้าง ทาสี และซ่อมแซม หอพระและระยะที่สองหลังวันมาฆบูชา ก�าหนด ด�าเนินการรือ้ ทางเดินบล็อกตัวหนอนในส่วนทีเ่ หลือ แล้วสร้างพืน้ คอนกรีตพิมพ์ลายไปจนถึงวงเวียนน�า้ พุ การด� า เนิ น งานปรั บ ปรุ ง ภู มิ ทั ศ น์ ห อพระ กองทัพอากาศระยะแรกแล้วเสร็จตามเวลาเมื่อ วันอังคารที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๒ กองทัพ อากาศได้ประกอบพิธีพุทธบูชาเนื่องในวันมาฆบูชา ประกอบด้ ว ย การฟั ง ธรรมเทศนา เวี ย นเที ย น และท�าบุญตักบาตร ณ หอพระพุทธเมตตานภากาศ ประทานพร สวนสุขภาพกองทัพอากาศ ท่าดินแดง โดยมี พลอากาศเอก ชั ย พฤกษ์ ดิ ษ ยะศริ น

ผูบ้ ญั ชาการทหารอากาศ พร้อมด้วย คุณพงศ์อุมา ดิ ษ ยะศริ น นายกสมาคมแม่ บ ้ า นทหารอากาศ เป็ น ประธาน พร้ อ มด้ ว ยนายทหารชั้ น ผู ้ ใ หญ่ ของกองทัพอากาศ สมาชิกสมาคมแม่บ้านทหาร อากาศ ข้าราชการทหารอากาศ ครอบครัว นักเรียน ทหาร และทหารกองประจ�าการเข้าร่วมพิธี ความงดงามและวิ จิ ต รตระการตาของ หอพระพุทธเมตตานภากาศประทานพรที่ปรากฏ เกิ ด จากวิ สั ย ทั ศ น์ ข องผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาชั้ น สู ง ของ กองทัพอากาศที่เล็งเห็นความส�าคัญให้จัดสร้างขึ้น และสนับสนุนให้มกี ารพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนือ่ ง รวมทัง้ พลังศรัทธา และความมุง่ มัน่ ของข้าราชการ จากหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องในการด�าเนินงานก่อสร้าง หอพระ ตลอดจนความวิริยะอุตสาหะอย่างยิ่ง ของพระครูสนั ติพนารักษ์ ในการเลือกหินและแกะสลัก องค์ พ ระ ส่ ง ผลให้ ก� า ลั ง พลของกองทั พ อากาศ ได้มีหอพระและพระพุทธรูปที่สวยงาม เหมาะสม ในการประกอบพิธกี รรมในวันส�าคัญทางพุทธศาสนา ขอให้ผลบุญจากการสร้างหอพระและพระพุทธรูป ดั ง กล่ า ว ได้ โ ปรดดลบั น ดาลประทานพรให้ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งที่ได้กล่าวถึงและไม่ได้กล่าวถึง ในบทความนี้ จงประสบแต่ความสุข ความเจริญ และสมหวังในสิง่ อันพึงปรารถนาทุกประการเทอญ


ข่าวทหารอากาศ

61


62


ข่าวทหารอากาศ

63


64


ข่าวทหารอากาศ

65


66


ข่าวทหารอากาศ

67

SPICE Family ลูกระเบิดอากาศน�าวิถีตระกูล SPICE

Rocket-7 เมือ่ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ทีผ่ า่ นมาได้มกี าร รายงานข่ า วการปะทะกั น ระหว่ า งเครื่ อ งบิ น รบ ของกองทั พ อากาศอิ น เดี ย กั บ กองทั พ อากาศ ปากีสถาน ซึง่ ต่างฝ่ายต่างรายงานความส�าเร็จของตน ในการท�าลายเป้าหมาย ทั้งการโจมตีเป้าหมายของ ผูก้ อ่ การร้ายในปากีสถานของอินเดีย การยิงเครือ่ งบินรบ MiG-29 ของอินเดียตกโดยปากีสถาน ซึ่งปากีสถาน สามารถจับนักบิน MiG-29 ของอินเดียได้ และปล่อยตัว ในเวลาไม่นานหลังจากนั้น เพื่อลดความตึงเครียด ของทัง้ สองฝ่ายทีต่ า่ งก็เป็นประเทศทีม่ อี าวุธนิวเคลียร์ จ�านวนไม่นอ้ ยครอบครองอยู่ เหตุการณ์นเี้ กิดขึน้ เพียง ๒ วันคือ วันที่ ๒๖ และ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ในวันแรกทีม่ กี ารรายงานข่าวการโจมตีเป้าหมาย ผู ้ ก ่ อ การรายในแคชเมี ย ร์ ท างฝั ่ ง ปากีสถาน อินเดียรายงานว่าสามารถ ท�าลายเป้าหมายได้และมีผกู้ อ่ การร้าย เสียชีวิตราว ๓๐๐ คน ด้วยลูกระเบิด อากาศน�าวิถี และต่อมาทางปากีสถาน ก็ อ อกมารายงานว่ า การโจมตี ข อง อินเดียนัน้ พลาดเป้าหมาย โดยลูกระเบิด ตกลงในป่ า ซึ่ ง ไม่ มี ผู ้ ก ่ อ การร้ า ยอยู ่

รวมทัง้ ยังแสดงหลักฐานภาพถ่ายพืน้ ทีท่ ล่ี กู ระเบิดตก อีกด้วย แม้ว่าต่างฝ่ายต่างพยายามออกมาตอบโต้ ระหว่างกันผ่านสื่อต่าง ๆ แต่เมื่อมองในประเด็น ของเทคโนโลยีทางทหารแล้ว จะเห็นได้วา่ มีอาวุธทีน่ า่ สนใจและถูกรายงานว่าเครื่องบินรบกองทัพอากาศ อินเดียได้ตดิ ตัง้ ไปเพือ่ ท�าลายเป้าหมายทีก่ ล่าวมาแล้วด้วย โดยอาวุธดังกล่าวคือลูกระเบิดอากาศน�าวิถี SPICE 2000 SPICE 2000 เป็ น หนึ่ ง ในลู ก ระเบิ ด น� า วิ ถี ตระกูล SPICE ผลงานการผลิตและพัฒนาของบริษัท Rafael สัญชาติอิสราเอล โดยมีอยู่ ๓ รุ่นคือ SPICE 250, SPICE 1000 และ SPICE 2000 การติดระบบ น�าวิถีให้กับลูกระเบิดนั้นมีเหตุผลส�าคัญคือเพื่อเพิ่ม

SPICE 2000


68

ความแม่นย�าให้กบั การทิง้ ระเบิดเพือ่ ท�าลายเป้าหมาย และลดความเสี่ ย งของนั ก บิ น ที่ จ ะถู ก อาวุ ธ ต่ อ สู ้ อากาศยานแบบต่าง ๆ ยิงตก เนือ่ งจากการทิง้ ลูกระเบิด แบบไม่ น� า วิ ถี ใ ห้ ต กบนเป้ า หมายอย่ า งแม่ น ย� า นั้ น ต้องอาศัยฝีมอื การของนักบินและต้องทิง้ ในระยะใกล้ กับเป้าหมาย ซึ่งต้องแลกมากับความเสี่ยงที่จะถูกยิง จากอาวุธต่อสูอ้ ากาศยานทีฝ่ า่ ยข้าศึกตัง้ ไว้เพือ่ ป้องกัน เป้าหมาย แต่ถ้าทิ้งห่างจากเป้าหมายมากก็จะลด ความเสีย่ งจากการถูกยิงจากอาวุธต่อสูอ้ ากาศยานแต่ ความแม่นย�าก็จะน้อยลงและอาจสร้างความเสียหาย ต่อบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างของประชาชนที่อยู่รอบ ๆ เป้าหมายได้ การพัฒนาระบบน�าวิถีที่น�ามาติดตั้ง กับลูกระเบิดอากาศจึงเป็นการตอบโจทย์ตามที่ได้ กล่าวมา ซึง่ การพัฒนาเป็นชุดน�าวิถแี ละชุดปีกควบคุม ทิศทางส�าหรับติดตัง้ กับลูกระเบิดอากาศทีม่ ใี ช้อยูแ่ ล้ว นัน้ ท�าให้เกิดความสะดวกในการติดตัง้ เพือ่ ใช้งานและ มีค่าใช้จ่ายไม่สูงเท่ากับอาวุธน�าวิถีอากาศสู่พื้นหรือ จรวดร่ อ น ซึ่ ง SPICE 1000 และ SPICE 2000 เป็นรุน่ ทีถ่ กู ออกแบบมาตามแนวความคิดนี้ ในส่วนของ SPICE 250 นั้น เป็นลูก ระเบิดร่อนที่ถูก สร้ า งมา โดยเฉพาะไม่ใช่ชดุ น�าวิถแี ละชุดบังคับทิศทางทีน่ า� มา ติดตั้งกับลูกระเบิดเหมือน SPICE 1000 และ SPICE 2000 SPICE 1000 และ SPICE 2000 เป็นลูกระเบิด

อากาศขนาด ๑,๐๐๐ ปอนด์ และ ๒,๐๐๐ ปอนด์ ติดตั้ง ชุ ด น� า วิ ถี แ ล ะ ชุ ด บั ง คั บ ทิศทาง โดยทั้งสองรุ่นมีส่วน ที่แตกต่างกันหลัก ๆ ในเรื่อง ของน�้ า หนั ก ของลู ก ระเบิ ด และการติดตัง้ ปีกช่วยในการ ร่ อ นในรุ ่ น SPICE 1000 เพื่อเพิ่มระยะในการปล่อย ให้ไกลมากขึน้ โดยทัง้ สองรุน่ มีระยะปล่อยไกลสุดมากกว่า ๖๐ กิโลเมตร การเปรียบเทียบภาพในฐานข้อมูลกับภาพจาก Electro-Optic ของ SPICE 250

กากบาทสีแดงแสดงเป้าหมายที่ก�าหนดไว้ในภาพฐาน ข้อมูล (ซ้าย) กากบาทแดงแสดงเป้าหมายที่อาวุธจะโจมตี (ขวา) ถ้าเป้าหมายทีอ่ าวุธจะโจมตีไม่ตรงกับทีฐ่ านข้อมูลก�าหนดไว้ ระบบ ประมวลผลจะท�าการปรับเป้าหมายที่จะโจมตีให้ตรงกับภาพตาม ฐานข้อมูลและบังคับให้อาวุธปรับทิศทางเข้าั สูเ่ ป้าหมายทีป่ รับใหม่

ในส่ ว นระบบน� า วิ ถี เ ป็ น ระบบ Inertial Navigationystem INS/GPS (INS: ระบบน�าวิถแี บบเฉือ่ ย ให้ ข ้ อ มู ล ทิ ศทางและความเร็ วของอาวุ ธกั บระบบ ประมวลผล Global Positioning System : GPS ระบบระบุพิกัดด้วยดาวเทียม การใช้ INS/GPS คู่กัน ในระบบน�าวิถีของอาวุธจะเป็นการเติมเต็มในส่วน ที่ขาดหรือแก้ไขจุดอ่อนของทั้งสองระบบ โดย GPS จะช่วยในการปรับทิศทางและต�าแหน่งทีถ่ กู ต้องให้กบั INS ป้ อ งกั น ข้ อ ผิ ด พลาดจากเซนเซอร์ และ INS ช่วยให้ขอ้ มูลทิศทางและต�าแหน่งของอาวุธในช่วงที่ GPS ไม่สามารถรับสัญญาณดาวเทียมได้) ใช้ในการน�าวิถี


ข่าวทหารอากาศ

ขณะที่ อ าวุ ธ ยั ง ไม่ ถึ ง เป้ า หมายและเมื่ อ เข้ า ใกล้ เป้าหมายจะใช้ Electro-Optic/IR ซึง่ ใช้หลักการรับรังสี ความร้อนที่ปล่อยออกจากเป้าหมายไปประมวลผล สร้างเป็นภาพพืน้ ทีบ่ ริเวณทีเ่ ป้าหมายตัง้ อยู่ แล้วน�าไป เทียบกับภาพฐานข้อมูลที่บันทึกอยู่ในระบบความจ�า ของอาวุ ธ เพื่ อ ก� า หนดต� า แหน่ ง ของเป้ า หมาย ทีแ่ น่นอนจากภาพ และส่งข้อมูลให้สว่ นควบคุมบังคับ ให้ อ าวุ ธ ติ ด ตามและร่ อ นเข้ า หาเป้ า หมาย ระบบ Electro-Optic/IR นี้ ช่วยลดจุดบอดของระบบน�าวิถี แบบ GPS ซึง่ มักถูกรบกวนสัญญาณจากฝ่ายตรงข้าม ในพืน้ ทีเ่ ป้าหมายได้งา่ ยและในกรณีทพี่ กิ ดั ของเป้าหมาย ที่ตั้งไว้นั้นผิดพลาดคือคลาดเคลื่อนจากต�าแหน่งจริง นอกจากนั้ น แล้ ว ระบบน� า วิ ถี แ บบ Electro Optic/IR ยังสามารถใช้งานได้ทงั้ กลางวันและกลางคืน ในทุกสภาพอากาศอีกด้วย SPICE 250 ถือว่าเป็นรุ่นเล็กสุดของลูกระเบิด น�าวิถตี ระกูล SPICE และใช้เทคโนโลยีทที่ นั สมัยกว่ามาก ซึ่ ง SPICE 250 ถู ก ออกแบบเป็ น ลู ก ระเบิ ด ร่ อ น เพือ่ ใช้ทา� ลายเป้าหมายบนพืน้ ดินบนผิวน�า้ ทัง้ อยูก่ บั ที่

SPICE 250 และเคลือ่ นทีไ่ ด้ ในส่วนของระบบน�าวิถจี ะใช้แบบเดียว กับรุ่น SPICE 1000 และ SPICE 2000 คือ INS/GPS และ Elector-Optic/IR แต่เพิ่ม Two way datalink ซึ่งสามารถอัพเดทพิกัดของเป้าหมายภายหลังจาก ที่ปล่อยลูกระเบิดออกไปแล้ว และสามารถส่งภาพ เป้าหมายก่อนท�าลายกลับไปที่ห้องนักบินได้

69

SPICE 250 ถูกติดตั้งด้วยแผงติดลูกระเบิด ซึ่งสามารถติดตั้ง SPICE 250 ได้ ๔ ลูก

ในส่วนของหัวรบเป็นแบบระเบิดแรงสูงสะเก็ด ระเบิด หรือแบบทะลุทะลวง หนัก ๑๐๐ กิโลกรัม สามารถเลือกรูปแบบการท�างานของชนวนจุดระเบิด ได้ทั้งก่อนน�าเครื่องขึ้นบินหรือตั้งค่าจากห้องนักบิน หลังจากน�าเครื่องบินขึ้นได้อีกด้วย ล�าตัวอาวุธมีนา�้ หนัก ๒๕๐ ปอนด์ (๑๑๓ กิโลกรัม) ติ ด ตั้ ง ปี ก ที่ ก ลางล� า ตั ว และจะกางออกเมื่ อ ปล่ อ ย พร้อมหางทรงกากบาทส�าหรับบังคับทิศทางระยะปล่อย ไกลสุด ๑๐๐ กิโลเมตรจากเป้าหมายรัศมีความผิด พลาดภายในรัศมีไม่เกิน ๓ เมตร สามารถติ ด ตั้ ง ได้ กั บ บ.F-15 ได้มากถึง ๒๘ ลูก และ บ.F-16 ได้มากถึง ๑๖ ลูก ลูกระเบิดน�าวิถตี ระกูล SPICE เป็นอีกหนึ่งในอาวุธอัจฉริยะที่มี ประจ�าการอยู่ในกองทัพทั่วโลก แม้ว่าผลการใช้งานในกรณีความ ขั ด แ ย ้ ง ร ะ ห ว ่ า ง อิ น เ ดี ย กั บ ปากีสถานทีผ่ า่ นมาจะยังคลุมเครือ แต่เมื่อมองในมุมของเทคโนโลยี


70

ทีใ่ ช้จะเห็นว่ามีการพัฒนามากขึน้ กว่าลูกระเบิดน�าวิถี ในรุ่นแรก ๆ ของค่ายอเมริกา ซึ่งจะน�าวิถีด้วยเลเซอร์ หรื อ GPS อย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง แต่ ใ นของ SPICE จะเป็นการใช้ระบบน�าวิถีผสมผสานกันหลายระบบ เพือ่ เสริมจุดด้อยของระบบน�าวิถอี กี ระบบหนึง่ เพือ่ ให้ อาวุ ธ สามารถโจมตี เ ป้ า หมายได้ อ ย่ า งแม่ น ย� า

ในทุกสภาพอากาศ และภายใต้สถานการณ์ที่มีการ ต่ อ ต้ า นจากฝ่ า ยตรงข้ า ม จากเหตุ ความขั ด แย้ ง ที่ ผ่านมาอาจท�าให้กองทัพในหลายประเทศรูจ้ กั SPICE มากขึ้นและอาจกลายเป็นตัวเลือกใหม่ที่จะถูกน�ามา ประจ�าการในอีกหลายกองทัพทั่วโลก

อ้างอิง - Farnborough 2018: Spice 250 operational capability expected in 2019, www.janes.com - India claims ‘large number’ of JeM militants killed in Pakistan airstrike, https:// thedefensepost.com - India-Pakistan air strikes, www.bbc.com - SPICE 2000, www.deagel.com - SPICE Family, www.rafael.co.il


๑๐๐ ปี เปิดปูม

ข าวทหารอากาศ

71

การบินของบุพการีทหารอากาศ

(ต่อจากฉบับที่แล้ว) เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ถึงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๓ และเพิ่มเติมในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๓ นายชาร์ล ว็อง แด็ง บอร์น นักบินชาวเบลเยีย่ ม ได้น�า เครื่องบินปีก ๒ ชั้น แบบอองรี ฟาร์ม็อง ๔ มาแสดง การบินให้ชาวไทยได้ชมเป็นครั้งแรกที่บริเวณสนาม ราชกรีฑาสโมสร (สนามม้าสระปทุม) ในการนี้ได้มี คนไทยได้ขึ้นนั่งเป็นผู้โดยสารด้วย อาทิ นายพลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระก�าแพงเพชร์อคั รโยธิน นายพลเอก สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภวู นารถ กรมหลวงพิศณุโลก ประชานารถ และ นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ

พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ประทับเป็นผู้โดยสาร

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ กรมพระยาภาณุพันธุวงศวรเดชประทับเป็นผู้โดยสาร โดยมี นายชารล ว็อง แด็งบอรน (นักบิน) นั่งอยู่ด้านหน้า

พระเจ้าบรมวงศเธอ พระองคเจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระก�าแพงเพชรอัครโยธิน ประทับเป็นผู้โดยสาร

นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า จักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ เสนาธิการทหารบก ทรงเล็งเห็นประโยชน์ของการบิน ทางด้านการทหาร นอกจากนั้น จอมพล พระเจ้า


72

การแสดงการบินครั้งแรกที่สนามราชกรีฑาสโมสร

บรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิระประวัตวิ รเดช กรมหลวง นครไชยศรีสรุ เดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้เสด็จ ไปดูกิจการทหารในยุโรป ท�าให้ทรงเห็นความก้าวหน้า ในด้านการบินและตระหนักถึงความจ�าเป็นของการบิน ในการป้องกันประเทศ จึงได้ทรงน�าความกราบบังคมทูล แด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั กิจการบิน ครั้งแรกของประเทศไทยจึงได้บังเกิดขึ้น

๑. นายพันตรี หลวงศักดิศ์ ลั ยาวุธ ผูบ้ งั คับกองพัน พิเศษ กองพลที่ ๕ ๒. นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร ผู้ร้ังผู้บังคับ กองพันพิเศษ กองพลที่ ๙ ๓. นายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ผู้บังคับกองร้อย ที่ ๒ โรงเรียนนายร้อยชั้น75มัธยม นายทหารทั้ง ๓ คน ออกเดินทางเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๔ และถึงประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๔๕๔ หลังจากนัน้ จึงได้เริม่ ศึกษาภาษา ฝรั่งเศส วันที่ ๙ เมษายน ๒๔๕๕ ท�าการตรวจร่างกาย เพื่อเตรียมเข้ารับการฝึกบิน วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๔๕๕ เริ่มศึกษาท�าความ คุ้นเคยกับเครื่องบิน วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๕๕ เข้ารับการศึกษา ทางด้านการบิน (ขณะนัน้ การนับวันขึน้ ปีใหม่ คือวันที่ ๑ เมษายน)

องคผู้ริเริ่มกิจการบินในประเทศไทย (จากซ้ายไปขวา) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ นายพลเอก สมเด็ จ พระเจ้ า บรมวงศ เ ธอ เจ้ า ฟ้ า จักรพงษภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศเธอ พระองคเจ้าบุรฉัตร ไชยากร กรมพระก�าแพงเพชรอัครโยธิน จอมพล พระเจ้าบรมวงศเธอ พระองคเจ้าจิรประวัติ วรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช

ใน พ.ศ.๒๔๕๔ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรม วงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลก ประชานารถ เสนาธิการทหารบก ทรงคัดเลือกนาย ทหารบก ๓ คน ไปศึกษาวิชาการบินทีป่ ระเทศฝรัง่ เศส ได้แก่

นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร

นายร้อยโท ทิพย เกตุทัต


ข าวทหารอากาศ

73

นายพันตรี หลวงศักดิ์ ศัลยาวุธ ก�าลังฝึกบิน กับเครื่องบินเบรเกต ณ สนามบินวิลลาคูเบลย ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๕ นายร้อยโท ทิพย เกตุทตั ถ่ายภาพหมูก่ บั ผูร้ ว่ มฝึกบิน ณ สนามบินมูรเมอลอง เลอ กรองด ประเทศฝรั่งเศส

นายพันตรีหลวงอาวุธสิขิกร และ นายร้อยเอก ทิพย นายร้อยโท ทิพย เกตุทัต ก�าลังฝึกบินกับเครื่องบิน เกตุทัต ก�าลังฝึกสร้างปีกเครื่องบิน นิเออปอรต ณ สนามบินมูรเมอลอง เลอ กรองด ประเทศ ฝรัง่ เศส เมือ่ พ.ศ.๒๔๕๕ และมาฝึกบินต่อทีส่ นามบินวิลลา เป็ น "วั น ครบรอบ ๑๐๐ ปี ก ารบิ น ของบุ พ การี คูเบลย ทหารอากาศ"

การบินครั้งแรกของคนไทยอย่างแท้จริง เกิดขึ้น เมื่ อ วั น ที่ ๒ กรกฎาคม ๒๔๕๕ เมื่ อ นายพั น ตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ เริ่มฝึกบินกับเครื่องบินเบรเกต์ ชนิดปีก ๒ ชั้น ที่สนามบินวิลลาคูเบลย์ ในขณะที่ นายพันตรี หลวงอาวุธสิขกิ ร เริม่ ฝึกบินกับเครือ่ งบินนิเออ ปอรต์ ปีกชั้นเดียว ที่สนามบินมูร์เมอลอง เลอกรองด์ ในวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๔๕๕ ส่วนนายร้อยโท ทิพย์ เกตุทตั เริม่ ฝึกบินกับเครือ่ งบินนิเออปอรต์ ทีส่ นามบินมูร์ เมอลอง เลอกรองด์ เช่นกัน เมือ่ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๔๕๕ การขึ้ น บิ น ครั้ ง แรกของนายทหารทั้ ง ๓ คน ถือเป็นเหตุการณ์ทมี่ คี วามหมายนับเป็นประวัตศิ าสตร์ หน้าแรกของกิจการบินของประเทศไทยเมือ่ นับมาถึง ในปัจจุบันนี้ จึงถือให้ “วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๕”

นายทหารทัง้ ๓ คน ส�าเร็จวิชาการบิน ตามล�าดับ คือ วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๔๕๕ นายพันตรี หลวงศักดิ์ ศัลยาวุธ ส�าเร็จวิชาการบินตามหลักสูตรของสโมสร การบิ น ฝรั่ ง เศส จากนั้ น จึ ง เข้ า รั บ การศึ ก ษา ในหลักสูตรของกองทัพบกฝรั่งเศส และส�าเร็จวิชา


74

การบินตามหลักสูตรของกองทัพบกฝรัง่ เศส เมือ่ วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๕๖ วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๔๕๖ นายร้อยเอก ทิพย์ เกตุทัต ส�าเร็จวิชาการบินตามหลักสูตรของสโมสร การบินฝรั่งเศส วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๕๖ นายพันตรี หลวงอาวุธ สิขิกร ส�าเร็จวิชาการบินตามหลักสูตรของสโมสร การบินฝรั่งเศส นายทหารทั้ง ๓ คน จึงเป็นนักบิน ๓ คนแรก ของไทย และได้เดินทางกลับถึงประเทศไทย เมือ่ วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๔๕๖ โดยนอกจากจะต้องท�าหน้าที่ เป็นนักบินแล้วยังต้องท�าหน้าที่เป็นช่างเครื่องบิน อีกด้วย ซึง่ คุณปู การทีไ่ ด้ ท�าให้เกิดการพัฒนาทางด้าน การบินขึน้ ในประเทศไทย กองทัพอากาศจึงได้ยกย่อง ประกาศนี ย บั ต รการบินของ นายพันโท หลวงศั ก ดิ์ ให้ทั้ง ๓ ท่านเป็น ศัลยาวุธ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ “บุพการีทหารอากาศ” เมื่ อ พ.ศ.๒๔๔๖ - ๒๔๔๘ กระทั่ ง จบออกมา รับราชการเป็นนายทหาร จนได้รบั แต่งตัง้ เป็น นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ด�ารงต�าแหน่งผู้บังคับกองพัน พิเศษ กองพลที่ ๕ ก่อนได้รับการคัดเลือกให้ไปเรียน วิชาการบินในประเทศฝรัง่ เศส เมือ่ วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๔๕๔ นายพันตรี หลวงศักดิศ์ ลั ยาวุธ เข้าเรียนทีโ่ รงเรียน การบิน วิลลาคูเบลย์ โดยฝึกกับเครือ่ งบินแบบเบรเกต์ ปีกสองชั้น จนส�าเร็จวิชาการบินตามหลักสูตรสโมสร การบิ น ของฝรั่ ง เศส เมื่ อ วั น ที่ ๘ ตุ ล าคม ๒๔๕๕ บัตรประจ�าตัวนักบินของ นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ได้บตั รนักบินหมายเลข ๑๐๙๐ จากนัน้ ได้เข้าเรียนต่อ ได้รับที่ฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๕ ที่ โ รงเรี ย นการบิ น ชั้ น สู ง ของกองทั พ บกฝรั่ ง เศส พลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศ (สุนี สุวรรณ ได้ รั บ ประกาศนี ย บั ต รนั ก บิ น รบซึ่ ง เป็ น ชั้ น สู ง สุ ด ประทีป) เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๔๓๐ ที่ต�าบล ในเดือนพฤษภาคม ๒๔๕๖ บ้านไร่ อ�าเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตร กลั บ ถึ ง ประเทศไทยในวั น ที่ ๒ พฤศจิ ก ายน ของหลวงอนุกูลราชกิจ (ทอง สุวรรณประทีป) กับ ๒๔๕๖ ได้เข้ารับราชการในกรมจเรทหารช่าง โดย นางอนุกลู ราชกิจ (หรุน่ สุวรรณประทีป) เข้าเรียนชัน้ ต้น รั บ ผิ ด ชอบด้ า นการบิ น ณ สนามราชกรี ฑ าสโมสร ที่ โ รงเรี ย นวั ด จั ก รวรรดิ ร าชาวาส และโรงเรี ย น (สนามม้าสระปทุม) วัดมหาพฤฒาราม เริ่มเรียนภาษาอังกฤษที่โรงเรียน พ.ศ.๒๔๕๗ กระทรวงกลาโหมจัดตัง้ กองบินทหารบก สวนกุหลาบ จากนัน้ จึงเข้าโรงเรียนนายร้อยทหารบก มี นายพันโท พระเฉลิมอากาศเป็นผูบ้ งั คับการท่านแรก


ข าวทหารอากาศ

75


76


ข่าวทหารอากาศ

77


78


ข่าวทหารอากาศ

79


80


ข าวทหารอากาศ

RED

81

EAGLE

Íิน·Ãีแ´§ แผล§ฤ·ธิ์ น.ต.ภฤศพงศ ช้อนแก้ว

¡ÒÃÊ‹§ล§´ŒÇÂเªืÍ¡เ˧´‹Çน ยุทธวิธีส�าคัญของชุดโจมตีต่อเป้าหมาย

การวางแผนโจมตีต่อเป้าหมายนั้น ถือเป็น สิ่งส�าคัญที่ผู้วางแผนจะต้องวางแผนให้รัดกุมทั้งด้าน ยุทธวิธีปฏิบัติและการส่งก�าลังบ�ารุง เพื่อสนับสนุน การปฏิบตั งิ านของชุดปฏิบตั ใิ ห้สามารถบรรลุวตั ถุประสงค์ ของภารกิจได้สา� เร็จ เริม่ ตัง้ แต่การเตรียมก�าลังในทีต่ งั้ การส่งก�าลังบ�ารุง การเคลื่อนย้ายก�าลังเข้าสู่ท่ีหมาย การปฏิบตั ติ อ่ เป้าหมาย และการถอนก�าลังกลับสูท่ ตี่ งั้

การเคลื่อนย้ายก�าลังเข้าสู่ที่หมายเป็นขั้นตอนหนึ่ง ของแผนทีส่ ามารถปฏิบตั ไิ ด้หลายวิธี ทัง้ การเคลือ่ นย้าย ทางรถยนต์ ทางเท้า ทางเรือ และทางอากาศยาน ขึน้ อยูก่ บั สภาพแวดล้อม ภูมปิ ระเทศ และปัจจัยต่าง ๆ ทีเ่ หมาะสม ซึง่ มีภารกิจต่าง ๆ มากมายทีต่ อ้ งใช้กา� ลังทหารเข้าโจมตี หรือตอบโต้ โดยเป็นการปฏิบัติการทางทหารที่ใช้ ในการสงครามและมิใช่สงคราม ได้แก่ การป้องกันประเทศ


82

จากการรุกรานของข้าศึก การรักษาความสงบตามแนว ชายแดน การต่อต้านการก่อการร้ายสากล การช่วยเหลือ ตัวประกัน การปราบปรามผู้ค้ายาเสพติด การปฏิบัติ การร่วม การปฏิบัติการจิตวิทยา การปฏิบัติการ เพือ่ รักษาสันติภาพ เป็นต้น และในบทความตอนนี้ ผูเ้ ขียน จะขอแนะน�า “วิธกี ารส่งลงด้วยเชือกเร่งด่วนด้วยเชือก Fast Rope” ซึ่งเป็นยุทธวิธีทางทหารอย่างหนึ่ง ทีม่ คี วามน่าสนใจในการปฏิบตั กิ ารทางทหารทุกรูปแบบ ขอเชิญผู้อ่านทุกท่านติดตามกันครับ

ป้องกันตนเองได้น้อย ฉะนั้นการใช้งานอากาศยาน เฮลิคอปเตอร์กับภารกิจที่มีความเสี่ยงมากจะต้องใช้ ด้วยความรอบคอบ มีการวางแผนอย่างรัดกุม เพื่อให้ เกิดความคุม้ ค่าในการปฏิบตั มิ ากทีส่ ดุ ทัง้ นี้ หากพืน้ ที่ ยิ่งมีอันตรายมากขึ้นเท่าใดอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น

ฝึกส่งลงด้วยเชือกเร่งด่วนกับเครื่อง Cv22 osprey ของสหรัฐอเมริกา

การฝึกลงเชือกเร่งด่วนกับเครื่อง UH-1H กองทัพอากาศ

การส่งลงด้วยเชือกเร่งด่วน เป็นการส่งลง ของชุดโจมตี (Assault Team) เพือ่ ให้สามารถเคลือ่ นที่ เข้าถึงทีห่ มายได้อย่างรวดเร็ว การปฏิบตั กิ ารดังกล่าว กระท�าโดยใช้อากาศยานปีกหมุนหรือเฮลิคอปเตอร์ เป็นพาหนะในการเดินทางและส่งชุดโจมตีลงสู่พื้น ด้านล่างให้เร็วที่สุด โดยมักจะใช้ยุทธวิธีนี้ปฏิบัติการ ในพืน้ ทีเ่ ป้าหมายอันเป็นยุทธบริเวณทีส่ า� คัญ มีหลักการ คือ เพื่อให้เข้าถึงที่หมายได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง นิยมน�าไปใช้ปฏิบัติต่อเป้าหมายที่ถือว่าเป็นหัวใจ ของภารกิจเป็นหลัก มีลกั ษณะเป็นจุดศูนย์ดลุ (Center of Gravity : C.G) อันเป็นพื้นฐานแห่งพลังของข้าศึก ซึง่ ทุกสิง่ ทุกอย่างต้องขึน้ อยูก่ บั จุดศูนย์ดลุ นีห้ รืออาจจะ เรียกได้ว่าเป็นเป้าประสงค์ส�าคัญของภารกิจนั้น ๆ อย่างแท้จริง เนือ่ งจากการใช้อากาศยานเฮลิคอปเตอร์ ในการส่งลงของชุดโจมตีนั้น มีความเสี่ยงต่อการ ถูกตรวจพบเป็นอย่างมาก อาจถูกรอบยิงท�าลาย ด้วยเครือ่ งยิงจรวดน�าวิถหี รือถูกยิงโจมตีดว้ ยอาวุธปืน ของข้าศึกได้โดยง่าย เพราะถือว่าการจะใช้อากาศยาน เฮลิคอปเตอร์ เป็นการใช้กา� ลังทางอากาศประเภทหนึง่ อันมีลักษณะบอบบางและมีขีดความสามารถในการ

การส่งลงด้วยเชือกเร่งด่วน เป็นเทคนิคการลง จากทีส่ งู อย่างหนึง่ ของการเคลือ่ นย้ายก�าลังเข้าสูท่ หี่ มาย ถูกน�ามาใช้ครั้งแรกโดยทหารชาวอังกฤษในสงคราม หมู่เกาะฟอล์คแลนด์ (สงครามกรณีพิพาทหมู่เกาะ ฟอล์คแลนด์ระหว่างอาร์เจนตินากับอังกฤษ) ในช่วงแรก ตัวเชือกผลิตจากไนลอน โดยบริษัท Marlow Ropes ซึ่งจะพบว่าเชือกมีความเหนียวสูงและลื่นมาก ต่อมา จึงเริม่ พัฒนาจากขนสัตว์ทถี่ กั คล้ายเปียผมจนมีขนาดใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๐ มม. เพือ่ ให้เชือกมีนา�้ หนัก ไม่แกว่งง่าย ๆ ตามแรงลมจากใบพัดของอากาศยาน เฮลิคอปเตอร์ ปัจจุบันตัวเชือกเร่งด่วน (Fast Rope) จะผลิตด้วยเส้นใยโพลีเอสเตอร์ย้อมเส้นใยสีเขียว เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๗๕ นิ้ว (๔.๔๔ ซม.) มีความยาว หลายระยะ ขึน้ อยูก่ บั ขนาดของอากาศยาน เนือ่ งจาก หากอากาศยานมีขนาดใหญ่ข้ึนความยาวของเชือก ก็จะมากขึน้ เพราะต้องลอยอยูใ่ นอากาศทีร่ ะยะสูงขึน้ อาทิเช่น เครื่อง ฮ.6ข (Bell 412) และ ฮ.6 (UH-1H Huey) จะใช้เชือกความยาว ๗๐ ฟุต บินทีร่ ะยะความสูง ๔๐ – ๕๐ ฟุต ฮ.11 (EC-725) จะใช้เชือกความยาว ๑๒๐ ฟุต บินที่ระยะความสูงประมาณ ๙๐ – ๑๐๐ ฟุต ส�าหรับในช่วงต้นปีที่ผ่านมามีการฝึกร่วมกับประเทศ สหรัฐอเมริกาได้ใช้อากาศยานปีกหมุนเครื่อง Cv22 osprey ท�าการฝึกลงด้วยเชือก Fast Rope โดยบิน ทีค่ วามสูง ๒๐ ฟุต แต่กส็ ามารถใช้เชือกทีม่ คี วามยาว ๙๐ ฟุต ได้ด้วยเช่นกัน


ข่าวทหารอากาศ

Fast Rope ที่มีใช้ในปัจจุบัน

ลักษณะการปฏิบัติ อากาศยานเฮลิคอปเตอร์ จะท�าการบรรทุกชุดโจมตีมายังพิกัดจุดส่งลงและท�าการบิน ลอยอยูใ่ นอากาศ (Hovering) หรือจะท�าการบินเคลือ่ นที่ ไปข้างหน้าด้วยความเร็วประมาณ ๑๐ น็อตต่อชัว่ โมง หรือให้อากาศยานอยู่ในสถานะพร้อมปล่อยชุดโจมตี โรยตัวลง จากนั้นจะท�าการทิ้งปลายเชือกด้านหนึ่ง ของเชือกเร่งด่วนลงสูด่ า้ นล่าง ส่วนปลายเชือกอีกด้านหนึง่ จะมีหว่ งเกีย่ วแบบโลหะอยู่ ซึง่ ท�าด้วยโลหะครอบลงบน เชือกหลัก ส�าหรับเกี่ยวเข้ากับแท่นติดตั้งเชือกบน เฮลิคอปเตอร์ที่ก�าลังลอยอยู่ในอากาศ โดยแท่นนี้ จะยึดติดไว้ในเครื่องบินอย่างแน่นหนา เพื่อท�าหน้าที่ ในการยึดคานทีต่ ดิ อยูก่ บั เชือกและรับน�า้ หนักของคน ทีท่ า� การลงเชือกไว้ ส่วนห่วงเกีย่ วแบบโลหะทีต่ ดิ อยูก่ บั เชือกนี้ มีคณุ สมบัตสิ ามารถทนรับน�า้ หนักได้ ๙,๐๐๐ ปอนด์ (๔,๐๘๒ กิโลกรัม) หรือขึ้นอยู่กับความยาวเชือก ส่วนอีกด้านหนึ่งจะปล่อยปลายสายเอาไว้ โดยปกติ แล้วขึน้ ชือ่ ว่า “การลงเชือกเร่งด่วน” ย่อมต้องใช้ความ รวดเร็วในการลงเพื่อรีบด�าเนินการปฏิบัติภารกิจ ต่อเป้าหมายให้ส�าเร็จ การลงเชือกจึงไม่มีการ Safety ใด ๆ จากภายนอก ผู้ท�าการลงเชือกจะต้องจับเชือก ให้แน่น โดยใช้ถุงมือชนิดหนาพิเศษ เรียกว่า “ถุงมือ ทนความร้อน” เพื่อป้องกันความร้อนจากการเสียดสี ระหว่างมือกับเชือกในขณะที่รูดไหลลงมาและต้อง พยายามยึดล็อคตัวเองกับเชือกไว้ให้มนั่ โดยใช้แรงบีบ ตามร่างกาย ๓ จุด ได้แก่ มือทั้งสองข้างจับเชือกบิด

83

ล็อคไว้ให้มอื ข้างถนัดอยูใ่ ต้มอื ข้างทีไ่ ม่ถนัด ศีรษะหันหน้า ไปทางหัวไหล่ขา้ งถนัดและก้มลงไปมองเท้าของตนเอง กับพื้นด้านล่าง เข่าทั้งสองข้างหนีบเชือกและบีบ เข้าหากัน ปลายเท้าทัง้ สองข้างหนีบเชือกไว้ พอจะให้ ไหลลงมาก็ให้คลายมือ เท้าและเข่าออก ตัวเราก็จะ ค่อย ๆ ไหลลงถ้าต้องการให้ไหลลงเร็วขึ้นให้เพียงแค่ คลายมือ เท้า เข่า ออกมากขึ้นเท่านั้น เมื่อต้องปฏิบัติภารกิจชุดโจมตีหรือหมู่ก�าลัง ทหารจะแต่งกายพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ครบ โดยมี อุปกรณ์ส�าคัญที่เกี่ยวกับลงเชือก Fast Rope ได้แก่ เชือก Fast Rope ถุงมือลงเชือกหรือถุงมือทนความร้อน ห่วงช่วยชีวิต (Snapling) แท่น Fast Rope (ติดตั้ง ไว้ทอี่ ากาศยาน) หมวกกันกระแทกหรือหมวกกันกระสุน วิทยุสื่อสารติดต่ออากาศยาน อาวุธประจ�ากาย และ อุปกรณ์พเิ ศษอืน่ ๆ ซึง่ จะใช้กา� ลังพลไม่มาก เพราะต้อง ปฏิบตั ใิ ห้ได้อย่างรวดเร็วในการส่งก�าลังพลลงเข้าปฏิบตั ิ ต่อเป้าหมาย ทัง้ นี้ ขึน้ อยูก่ บั ว่าอากาศยานแต่ละชนิด สามารถบรรทุ ก ผู ้ โ ดยสารได้ จ� า นวนกี่ ค น อาจจะ ประมาณ ๗ - ๑๕ คน (ก�าลังทหาร ๑ ชุดโจมตี หรือ ๑ หมู่) ในบางภารกิจหากต้องการความรวดเร็ว ในการส่งลงมากขึ้นสามารถใช้การส่งลงทั้งสองข้าง ของเฮลิคอปเตอร์ได้เช่นกัน โดยจะมีผู้ปล่อยหรือ ผู้ควบคุมการปฏิบัติที่จะคอยก�ากับดูแลการลงเชือก ของผูป้ ฏิบตั ใิ ห้ได้รบั ความปลอดภัยมากทีส่ ดุ ซึง่ ผูป้ ล่อย หรื อ ผู ้ ค วบคุ ม การปฏิ บั ติ นี้ จ ะท� า หน้ า ที่ ค ล้ า ยกั บ Jump master ของนักโดดร่มเพือ่ ให้จงั หวะในการลง และ Safety ผู้ปฏิบัติ

การฝึกลงเชือกเร่งด่วนกับหน้าผาจ�าลองหรือหอสูง ๓๔ ฟุต


84

ด้านการฝึกการลงเชือกเร่งด่วนนั้น ส�าหรับ ผูท้ รี่ บั การฝึกใหม่แล้วถือว่าเป็นสิง่ จ�าเป็นมากทีจ่ ะต้อง ได้รบั การฝึกทบทวนหลายครัง้ ต้องได้รบั การเรียนรูท้ งั้ ทาง ทฤษฎีและปฏิบตั อิ ย่างต่อเนือ่ งโดยจะมีครูฝกึ ให้คา� แนะน�า ในการปฏิบตั อิ ย่างถูกวิธี ผูร้ บั การฝึกต้องมีความเข้าใจ ขีดความสามารถของอุปกรณ์ทใี่ ช้ในการฝึกและเข้าใจ ในธรรมชาติของเฮลิคอปเตอร์วา่ มีลกั ษณะการปฏิบตั กิ าร อย่างไร จากนัน้ จึงเริม่ ท�าการฝึกโดยผูร้ บั การฝึกจะท�าการ ลงเชือกเร่งด่วนด้วยตัวเปล่ากับหน้าผาจ�าลองหรือหอสูง ๓๔ ฟุต หรืออาคารสูงที่ถูกปรับให้มีส่วนที่สามารถ ท�าการฝึกลงเชือกเร่งด่วนได้ก่อนจนเกิดความเข้าใจ ท่าทางการลงโดยมีครูฝึกคอยให้ค�าแนะน�าท่าทาง ที่ถูกต้อง เมื่อผู้รับการฝึกเกิดความช�านาญในการลง ด้วยตัวเปล่ากับหอสูงแล้ว ขัน้ ต่อไป จึงเป็นการลงเชือก พร้อมอาวุธปืนและยุทโธปกรณ์ซงึ่ จะท�าให้ตวั ผูร้ บั การฝึก ต้องรับน�า้ หนักทีเ่ พิม่ มากขึน้ ประมาณ ๒๐ - ๓๐ กิโลกรัม ผู้รับการฝึกจึงต้องระมัดระวังในการฝึกเพิ่มมากขึ้น หลังจากผูร้ บั การฝึกเกิดความช�านาญมากแล้ว ขัน้ ต่อไป จึงเริ่มท�าการฝึกกับอากาศยาน เฮลิคอปเตอร์ ซึ่งจะมี ความอันตรายเพิม่ มากขึน้ อีกระดับในเรือ่ งของแรงกดของ Rotor ใบพัด ทีจ่ ะท�าให้ตวั เราตกถึงพืน้ เร็วขึน้ และยิง่ บวก น�า้ หนักของอุปกรณ์ทตี่ ดิ มาด้วยแล้วยิง่ เร็วขึน้ มาก ซึง่ หาก ผูร้ บั การฝึกไม่มคี วามแข็งแรงของกล้ามเนือ้ แขนและขา หรือได้รบั การฝึกมาไม่ดพี อจะท�าให้ได้รบั บาดเจ็บได้งา่ ย

การฝึกลงเชือกเร่งด่วน

“การส่งลงด้วยเชือกเร่งด่วน” เป็นยุทธวิธี ส�าคัญของชุดโจมตีตอ่ เป้าหมายเป็นอย่างมาก เนือ่ งจาก สามารถปฏิบตั กิ ารจูโ่ จมได้อย่างฉับพลันและเสริมก�าลัง ได้อย่างต่อเนือ่ ง แต่สงิ่ หนึง่ ทีถ่ อื เป็นข้อจ�ากัดของการใช้ ยุทธวิธนี คี้ อื ขีดความสามารถป้องกันตนเองค่อนข้างต�า่ และมีความบอบบางในการถูกรอบยิงมาก ฉะนัน้ การ วางแผนทีแ่ ยบยล มีประสิทธิภาพ เมือ่ เกิดสถานการณ์ คับขันต่าง ๆ ชุดโจมตีจะยังสามารถแก้ไขสถานการณ์ อันเลวร้ายเฉพาะหน้าได้ทนั แต่หากการปฏิบตั กิ ารใด ไม่ได้วางแผนฉุกเฉินเฉพาะหน้าไว้แล้ว สิง่ ทีจ่ ะตามมา ในภายหลังก็คือความสูญเสียที่ยากเกินกว่าจะรับได้ นั่นเอง

อ้างอิง - ยุทธศาสตร์ทหารและการก�าหนดก�าลังรบ, http://www.crma.ac.th/msdept/e_bookmsd2012/strategyms4010/pdf/lesson_8.pdf - ยุทธศาสตร์ทหารและยุทธศาสตร์ปฏิบัติการ, https://www.google.co.th/search?source=hp&ei=Ck_rXP2aK67Tz7sP5-O92Ac&q= จุดสมดุลทางทหาร - ระเบียบปฏิบตั ปิ ระจ�าในการฝึกลงเชือกแบบเร่งด่วนจาก ฮ.๑๑ (Fast Rope), กรมปฏิบตั กิ ารพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน. - การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management), กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ ๑ กองพันปฏิบัติการ พิเศษ ๒ กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน.


ข่าวทหารอากาศ

RUNWAY RUN 13 กรกฎาคม 2562 ณ โçเÃีÂน¡ÒÃบิน ¡�Òแ¾§แÊน จังหวัดนครปฐม

21 KM ปล่อยตัว 16:30 น. 10 KM ปล่อยตัว 17:00 น. 5 KM ปล่อยตัว 17:30 น. รายละเอียดเพิ่มเติม www.airforcerun2019.com

85


86


ข่าวทหารอากาศ

ขอบฟ้าคุณธรรม รู้จักพอ ซื่ อตรง รับผิดชอบ คิดบวก .. มองไปข้างหน้า .. แก้ไขที่ตัวเรา

87

โดย 1261

... อยา่ ท�าคนดีให้หมองมัว อยา่ ปลอ่ ยคนชัว่ ให้ลอยนวล ...

ผู้เขียนได้อ่านค�าคมที่น่าสนใจประโยคหนึ่ง เขาลงท้ายว่าผู้พูดคือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งผู้เขียน ไม่แน่ใจหรอกว่า ท่านกล่าวไว้อย่างนี้จริงหรือไม่ เพราะเดี๋ยวนี้สื่อต่าง ๆ ก็เชื่อได้ยาก แต่ผู้เขียนเคย ติดตามข่าวการประมูลขายกระดาษโน้ตของไอน์สไตน์ ที่เขียนให้กับคนเสิร์ฟอาหารที่โรงแรมแห่งหนึ่ง ในประเทศญีป่ นุ่ ขณะทีเ่ ขาไปบรรยายทีน่ นั่ การประมูล ครั้งนี้ได้เงินมากกว่าร้อยล้านบาท เป็นกระดาษโน้ต สองแผ่นที่เขียนเป็นภาษาเยอรมัน แผ่นแรกเขียนว่า “ชีวิตที่สงบและสมถะ ก่อความสุขได้มากกว่าการไล่ตามความส�าเร็จที่มี แต่ความสับสนวุ่นวายตามมาไม่หยุดหย่อน” แผ่นที่สองเขียนว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความส�าเร็จอยู่ที่นั่น” ก็พอคิดได้ว่าอาจมีข้อความอย่างนี้จริง ๆ ก็ได้ เอาเป็นว่าผู้เขียนเห็นด้วยกับความหมายในค�าคมนี้ ก็แล้วกัน เขาเขียนไว้ว่า “สังคมที่เลวร้ายลงทุกวันนี้ ไม่ใช่เพราะคนชั่วท�าความเลวเท่านั้น แต่สาเหตุ ที่ส�าคัญกว่า คือเพราะคนดีเอาแต่มอง ไม่ท�าอะไร”

อ่านแล้วก็คิดตามไปเรื่อย ยิ่งคิดก็ยิ่งเห็นคล้อยตาม มากขึน้ เรือ่ ย ๆ ตอนแรกก็มคี วามรูส้ กึ เอาจริงเอาจังดี ผ่านไปหลาย ๆ วันเข้าก็เฉย ๆ พอมาอ่านอีกครัง้ ถึงกับ สะดุง้ ทีส่ ะดุง้ เพราะตอนท้ายของค�าคมนีแ้ หละ ทีจ่ ริงแล้ว เราก็ไม่รู้หรอกว่า ใครดีใครชั่วแม้แต่ตัวเรา แต่ใคร ก็แล้วแต่เอาแต่มองเฉย ๆ ไม่ท�าอะไร ก็คงเป็นคน ทีส่ ร้างปัญหาด้วยอีกคน เรือ่ งนีก้ เ็ ป็นคุณธรรมทีส่ า� คัญ ที่ทุกคนควรมีอยู่ในใจ ขณะเดียวกันผู้เขียนก็นึกถึง ส�านวนไทยจากภาพยนตร์จีนที่ได้ยินกันเสมอ ๆ ว่า ... อย่าปล่อยให้คนชัว่ ลอยนวล... ก็เลยคิดว่าควรจะ น�ามาคุยกันในวันนี้ ผู้เขียนจะได้ไม่เป็นผู้เอาแต่มอง ไม่ท�าอะไร อย่างน้อยก็รอดตัวไปเรื่องหนึ่ง คงไม่ต้องมาหาค�าจ�ากัดความกันว่า ความดี คืออะไร ความชั่วคืออะไร เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของ สังคมล้วน ๆ หมายความว่า อะไรที่สังคมบอกว่าดี คือดี อะไรที่สังคมบอกว่า ไม่ดี คือ ไม่ดี ไม่ต้องไปเอา มาตรฐานของสังคมอืน่ มาอ้าง ถ้าสรุปอย่างนีก้ ค็ งไม่ผดิ แต่ผเู้ ขียนคิดว่ามันจะโหดเกินไป เวลาอยูใ่ นส�านวนต่าง ๆ ก็พอรับได้ แต่ในชีวิตจริง ๆ เอากันแค่ว่า ถ้าส่วนรวม


88

เขาบอกว่าดี ท�าแล้วก็คงจะดี ถ้าส่วนรวมเขาบอกว่า ไม่ดี ท�าแล้วก็คงจะไม่ดี ถ้าสังคมไหนมีผู้คนที่ยึดมั่น ในสิ่งนี้อย่างมีวินัย คือทุกคนไม่ยอมให้คนอื่นท�าในสิ่ง ที่ไม่ดี ถ้าใครพบเห็นก็จะต้องด�าเนินการไปตามกฎ ของสังคมทันที ไม่มีละเว้น ท่านผู้อ่านคงคิดในใจว่า มันจะมี ด้วยหรือในโลกนี้ ที่คนในสังคมไม่ยอมให้คนท�าไม่ดี ลอยนวลอยู่ได้ ผู้เขียนมีประสบการณ์ที่จะเล่าให้ฟัง สองสามเรื่อง เมื่อผู้เขียนไปเรียนหนังสือที่ประเทศเยอรมนี ผู้เขียนมีรถโฟล์คเต่าอยู่คันหนึ่ง วันหนึ่งขับเข้าไปซื้อ ของในเมือง ปกติก็หาที่จอดยาก ต้องเข้าไปจอด ในซอยเล็ก ๆ จอดรถแล้วก็มวั แต่เก็บของในรถทีม่ นั เกะกะ ออกจากรถมาก็ล็อคประตู รถเต่ามันล็อคประตู โดยไม่ตอ้ งใช้กญุ แจ พอล็อคไปแล้วจึงมองเห็นว่ากุญแจรถ วางอยูบ่ นเบาะนัง่ ในรถนัน่ เอง ผูเ้ ขียนรูว้ ธิ จี ะเปดประตู โดยหาลวดมาดึงตัวล็อคขึน้ หาได้ไม้แขวนเสือ้ มาจาก ถังขยะ เอามางอแล้วก็พยายามสอดลงไป ขณะทีก่ า� ลัง ท�าอยู่นั้น มีรถมอเตอร์ไซค์ และรถต�ารวจเข้าประกบ ด้านหน้าด้านหลังเลย สั่งให้ยกมือขึ้น แล้วเขาก็ค้นตัว ผู้เขียน เมื่อไม่พบอะไรก็ให้เอามือลง แล้วถามว่า ท�าอะไรเนีย่ ผูเ้ ขียนก็ชใี้ ห้เขาดูกญุ แจทีเ่ บาะ บอกเขาว่า ลืมกุญแจ เขามองแล้วหัวเราะเสียงดังเลย แล้วเขาก็ควัก กุญแจพิเศษของเขามาไขให้ ก่อนเขาจะไปผูเ้ ขียนถาม เขาว่า เขารู้ได้ยังไงว่าผู้เขียนก�าลังพยายามเปดประตู รถอยู่ เขาบอกว่ามีคนโทรศัพท์ไปแจ้งว่ามีคนก�าลัง จะขโมยรถ ผู้เขียนคิดในใจตอนนั้นว่า ท�าไมมันเร็วขนาดนี้ ทั้งคนโทรศัพท์ ทั้งต�ารวจ บ้านเมืองเขาเป็นอย่างนี้ เขาถึงอยูก่ นั ได้อย่างมีความสุข เขาไม่ยอมให้คนท�าผิด กฎหมาย ขนาดแค่สงสัยยังไม่ยอมเลย

ประเทศเยอรมนี

Volkswagen Beetle

German Police

มีอีกครั้งหนึ่ง ผู้เขียนปั่นจักรยานไปต่อรถไฟ ใต้ดินที่สถานีใกล้ ๆ ที่พัก ด้วยความรีบร้อนจึงเกิด การชนกั บ รถยนต์ ส ่ ว นบุ ค คลบนทางม้ า ลาย เจ้าของรถยนต์เขาลงมาขอโทษผู้เขียนว่า เขาเบรค ไม่ทันเพราะแสงแดดส่องเข้าตา ที่จริงเขาก็เบรค เต็มที่แล้ว และการชนกันก็ไม่ได้รุนแรงอะไร ผู้เขียน ก็ไม่ได้เจ็บหรือล้มลงแต่อย่างใด จึงคุยกับเขาอย่างดี และให้อภัยเขา แต่คนขับรถเมล์ทจ่ี อดรับผูโ้ ดยสารอยูข่ า้ ง ๆ ลงมาจากรถแล้วอธิบายว่า ผู้เขียนผิดเพราะข้าม ทางม้าลายก่อน ทั้งที่ไฟยังเหลืองอยู่ยังไม่เขียว ถ้าเจ้าของรถยนต์จะเอาเรื่องกับผู้เขียน เขาจะเป็น พยานให้ เจอเข้าไปอย่างนี้ถึงกับมึนเลย เพราะเรา ไม่เอาเรื่องกันอยู่แล้ว แล้วคุณมายังไงล่ะ แต่คนขับ รถยนต์เขาขอบคุณคนขับรถเมล์อย่างมาก และบอกว่า เขาไม่เอาเรือ่ งกับผูเ้ ขียนหรอก คนขับรถเมล์จงึ กลับไป สองเรื่องนี้เป็นค�าตอบว่าท�าไมบ้านเมืองเขา จึงสงบ สะอาด มีระเบียบแบบแผนที่ดี เพราะผู้คน ของเขาจะไม่ยอมให้คนท�าผิดลอยนวลไปได้ ทุกคน ช่วยกันเป็นหูเป็นตา เอาใจใส่ในความถูกต้องของ สังคม คนที่ท�าไม่ดีจึงไม่กล้าท�า เรื่องก็ง่าย ๆ เท่านี้ แต่ยังไม่ใช่ที่ประเทศไทย สงสัยว่าไอน์สไตน์เคยมา เมืองไทยหรือเปล่าจึงเขียนข้อความได้คอ่ นข้างตรงกับ คนไทยเหลือเกิน


ข่าวทหารอากาศ

กรณีของคนขับรถเมล์ที่ลงมาขอเป็นพยาน ให้คนขับรถยนต์นนั้ เป็นประเด็นส�าคัญมาก เรือ่ งแรกเลย เขาเห็นเหตุการณ์ตลอด เขาไม่นิ่งเฉย เขาลงมา ท�าหน้าที่ของเขา เรื่องที่สอง คือการที่คนขับรถยนต์ แสดงอาการขอบคุณคนขับรถเมล์ มันเป็นการให้เกียรติ เป็นการยกย่อง เป็นการขอบคุณ คนทีท่ า� ความดีอย่าง จริงใจและเปดเผย เป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งคุยกัน สังคมของเรา อาจจะป่วยมากแล้วก็ได้ เราไม่ยกย่อง เราไม่ให้เกียติ คนที่ท�าความดี แต่เราจะกระแนะกระแหน กระทบ กระทัง่ หาเหตุผลแปลก ๆ มาอธิบายประกอบ เพือ่ ให้ ความดีที่เขาท�าเป็นความน่าสงสัยที่อาจจะไม่ดีก็ได้ เราท�ากันได้และท�าได้ทกุ เรือ่ งเสียด้วย บ้านเมืองของเรา จึงไม่มใี ครกล้าท�าความดี คนไม่ดจี งึ ครองเมือง ใครมีเวลา ลองขับรถเรียบชายคลองใน กทม.ทุกคลองจะมี ผู้บุกรุก แออัดไปทุกคลอง ของเสียและขยะทั้งหมด ลงคลอง ท�ากันได้แบบไม่น่าเชื่อ ทั้งเจ้าหน้าที่และ ผูผ้ า่ นไปมาเห็นกันทุกคน แต่ไม่มใี ครสนใจ การบุกรุก พื้นที่สาธารณะ ป่าชายเลนทั้งประเทศ มีคนรู้คนเห็น ทั้งนั้น การทุจริตตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ จนเรื่องใหญ่โต จึงท�ากันได้ ในสังคมนี้ เรือ่ งของประเทศชาติอาจจะใหญ่เกินก�าลัง ของผู้เขียนและผู้อ่าน และก็คงมีคนที่รับผิดชอบ คิดแก้ไขอยู่ ก็ขอเป็นก�าลังใจให้ทุก ๆ ฝ่าย ผู้เขียน สนใจสังคมของกองทัพอากาศมากกว่า เพราะโดย ส่วนตัวแล้วผู้เขียนมีความเชื่อมั่น ในมาตรฐานการ ท� า งานของกองทั พ อากาศเราเป็ น กองทั พ ที่ ใ ช้ เทคโนโลยีทนั สมัย บุคลากรของเรามีคณ ุ ภาพ ผูเ้ ขียน เชื่อมั่นว่าเราท�าเรื่องเหล่านี้ได้ เช่น

89

๑. การที่เราพบเห็นข้าราชการในเครื่องแบบ เดินช็อปปงอยู่ตามศูนย์การค้าในเวลาราชการ หรือ ข้าราชการนั่งดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงพักทานอาหาร กลางวัน ไม่น่าเป็นสิ่งที่เราจะยอมกันอีกต่อไป ๒. การจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่โปร่งใส หรือมีเจตนา ไม่สจุ ริตในระบบราชการนัน้ ไม่มเี รือ่ งใดทีเ่ ป็นความลับได้ ถ้าผู้ที่มองเห็น ไม่มองดูเฉย ๆ ๓. การประชุมเพื่อพิจารณางานต่าง ๆ ผู้เข้า ร่วมประชุมต้องเตรียมตัวให้พร้อม ผู้มีหน้าที่ หรือ สายวิทยาการ ต้องมีความพร้อมและกล้าที่จะชี้แจง อย่างมีเหตุผล และเหมาะสมกับกาลเทศะ ที่ส�าคัญ ผู้เป็นประธานการประชุมต้องเตรียมตัวมาอย่างดี และเปดใจกว้างรับฟังผู้ชี้แจงให้มากที่สุด เพราะการ ประชุมคือการระดมสมอง เพื่อหาข้อยุติที่ดีที่สุด ในทีป่ ระชุมนีแ่ หละทีจ่ ะส่งเสริมให้คนดีมคี วามสามารถ ได้แสดงออกได้ทา� งานอย่างเต็มความสามารถ หน้าที่ ของประธานการประชุมอีกหน้าทีห่ นึง่ คือการสร้างคน ที่จะเติบโตขึ้นมาในอนาคต จงอย่าใช้ค�าพูดท�าลาย น�า้ ใจคนดี ๆ เลย เขาผิดพลาดไปบ้างขอจงอดทนและ มีเมตตา จะเกิดคนดี ๆ ในกองทัพของเราอีกมาก ๔. การโยกย้ายข้าราชการควรยึดหลักคุณธรรม เป็นส�าคัญ การท�าลายขวัญก�าลังใจ คนดีมคี วามสามารถ นั้นเป็นการท�าลายกองทัพอากาศโดยตรง คนดีนั้น สร้างก็ยาก รักษาก็ยาก อย่าท�าให้คนดีหมองมัว เมื่อยังรับราชการอยู่ ผู้เขียนไปรับต�าแหน่ง ที่มีสิทธิและหน้าที่ในการปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา อย่างเต็มที่ เช่น ผูอ้ า� นวยการ หรือเจ้ากรม ผูเ้ ขียนจะบอก


90

ผู้ใต้บังคับชาก่อนเสมอว่า เวลาราชการของผู้เขียน ทัง้ หมด แบ่งความส�าคัญไว้ให้กบั ทุกคนทีท่ า� ดี ท�าถูกต้อง แล้วเจอปัญหาบางประการ หรือ คนที่ท�างานแล้ว ต้องการการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา ขอให้มา บอกเถอะ ผู้เขียนจัดเวลาให้ก่อนเรื่องอื่น ๆ เช่น คนที่ ขยันขันแข็งมาท�างานตรงเวลาเอาใจใส่งานดี หากมี ปัญหาพ่อแม่ไม่สบาย ลูกจะเข้าโรงเรียน ตัวเอง มีปญ ั หาอยากขอค�าปรึกษา หรือคนทีก่ า� ลังท�างานอยู่ เกิดติดขัดอยากขอค�าแนะน�า คนเหล่านี้มาหารือได้ ตลอดเวลา ส่วนคนทีม่ าท�างานสาย กลับก่อน มอบงาน ให้ท�าก็อยากจะอธิบายถึงปัญหาของงาน ทั้ง ๆ ที่ยัง ไม่ลงมือท�า ขอให้มาทีหลัง เพราะเวลาของผูเ้ ขียนมีไว้ ส่งเสริมคนท�าดีกอ่ น ส่วนคนทีท่ า� ไม่ดหี ากมีเวลาเหลือ ก็จะลงมาช่วย มีเรื่องที่น่าสนใจในกองทัพอากาศอีกเรื่องหนึ่ง ทีผ่ เู้ ขียนพบขณะรับราชการ เมือ่ มีเรือ่ งจากกรมก�าลังพล ให้แต่ละหน่วยเสนอชื่อบุคคลดีเด่นของหน่วย เพือ่ พิจารณาเป็นบุคคลทีน่ า่ ยกย่องของกองทัพ ผูเ้ ขียน จะก�าหนดนโยบายให้ก�าลังพลในหน่วยแต่ละกลุ่ม

เป็นผู้เสนอชื่อบุคคลที่เขาเห็นว่าดี โดยให้เสนอ ได้คนละสามชื่อ และให้คะแนนตามล�าดับ เมื่อรวม คะแนนได้ผลออกมาแล้วก็เอาชื่อล�าดับหนึ่งและสอง มาให้ข้าราชการทั้งหมดเลือกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ได้ บุคคลที่ได้คะแนนมากกว่าครึ่งหนึ่งของข้าราชการ ในหน่วย ถ้าได้คะแนนไม่เกินครึง่ หนึง่ ก็เริม่ ต้นกันใหม่ ที่ผู้เขียนบอกว่าน่าสนใจก็คือ บุคคลที่ผู้บังคับบัญชา เคยเลือกให้เป็นบุคคลดีเด่นที่ผ่าน ๆ มา ได้คะแนน กันน้อยมาก ๆ ส่วนคนที่ข้าราชการเขาเลือกกันมา ในสายตาผูเ้ ขียนก็เห็นด้วยว่าเป็นคนดีแน่นอน รวมทัง้ คนที่ได้คะแนนรอง ๆ ลงมาด้วย และเมื่อมอบงาน ให้คนเหล่านีท้ า� จะพบกับความส�าเร็จเสมอ ผูเ้ ขียนเห็นด้วย กับค�าคมของไอน์สไตน์ และคิดว่าเป็นหน้าที่ของ ผูบ้ งั คับบัญชาทุกระดับ ทีจ่ ะต้อง “ไม่ทา� ให้คนดีหมองมัว ไม่ปล่อยให้คนชั่วลอยนวล”


ข าวทหารอากาศ

ASEAN Community (+3)* Little Tidbits เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประชาคมอาเซียน (+3)* @Zilch

National Costume of Japan

ชุดประจ�ำชำติของประเทศญี่ปุ่น

Kimono

กิโมโน

Kimono consists of a long coat, which has very wide sleeves, and a waist band Obi. For both women and men, wearing kimonos, will mask their appearance. For single women, their kimonos have longsleeves. The popular pattern is cherry blossom. For married women, their kimonos have short sleeves and are not very lashy. Kimono is worn on special occasions like attending various ceremonies.

กิโมโนประกอบด้วยเสื้อคลุมขนาดยาว ซึ่งมีแขนเสื้อที่มีความกว้างมากและสายรัดเอว โอบิ ชุดกิโมโนของทั้งหญิงและชายเมื่อใส่แล้ว จะพรางรูปร่างสัดส่วนที่แท้จริงของผู้สวมใส่ ชุดกิโมโนของผู้หญิงโสดเป็นกิโมโนแขนยาว ลวดลายที่นิยมคือลายดอกซากุระ ชุดกิโมโน ของผู้หญิงแต่งงานแล้วเป็นกิโมโนแขนสั้น และมีสีที่ไม่ฉูดฉาดมาก กิโมโนนิยมสวมใส่ ในโอกาสพิเศษ เช่น การเข้าร่วมงานพิธีต่าง ๆ

ข้อมูลจาก ภาพจาก

https://sites.google.com/site/aseannationaldress/chud-praca-chati-cin-nxk-henux-cakasen/chud-praca-cha-tiyu-pun-japan https://www.wonderfulpackage.com/article/v/303/ https://www.sakuraphotokimono.com, https://www.kisspng.com

* ASEAN +3 คือ กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกสมาคมประชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) กับประเทศอื่นนอกกลุ่มอาเซียนอีก 3 ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลี (http://www.เกร็ดความรู้.net/อาเซียน3/)

91


ประมวลภาพคอนเสิร์ตทัพฟ้าคู่ไทย เพื่อ “ชัยพัฒนา” ครั้งที่ ๑๒

เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย


ประมวลภาพคอนเสิร์ตทัพฟ้าคู่ไทย เพื่อ “ชัยพัฒนา” ครั้งที่ ๑๒

เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ข่าวทหารอากาศ ๙๔

พล.อ.พรพิพฒ ั น เบญญศรี ผบ.ทสส.เป็นประธานการประชุมผูบ้ ญ ั ชาการเหล่าทัพ ครัง้ ที่ ๔ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒ โดยมี พล.อ.อ.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน ผบ.ทอ.เข้ ผบ.ทอ.และ าร่วน.ชั มประชุ ้นผู้ใหญ่ ม ณให้ห้กอารต้ งประชุ อนรัมบ บก.ทอ. ณ ห้องประชุ เมื่อวัมนทีบก.ทอ. ่ ๑๕ พ.ค.๖๒ เมื่อวันที่ ๑๕ พ.ค.๖๒

พล.อ.อ.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน ผบ.ทอ.เป็นประธานพิธีเปดงานครบ ๕๐ ปี ฐานบินกำแพงแสน โดยมี พล.อ.ต.สุวรรณ ขำทอง ผบ.รร.การบิน เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ ลานจอดอากาศยาน รร.การบิน จว.นครปฐม เมื่อวันที่ ๒๓ พ.ค.๖๒

พล.อ.อ.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน ผบ.ทอ.พร้อมด้วย คุณพงศอมุ า ดิษยะศริน นายกสมาคมแม่บา้ น ทอ.เป็นประธานในงานประชาสัมพันธ์และรับมอบ เงินบริจาคการจัดคอนเสิร์ตทัพฟ้าคู่ไทยเพื่อ “ชัยพัฒนา” ครั้งที่ ๑๒ ณ ห้องรับรอง บก.ทอ. เมื่อวันที่ ๑๐ พ.ค.๖๒


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๕ ข่าวทหารอากาศ

พล.อ.อ.ชาญฤทธิ์ พลิกานนท รอง ผบ.ทอ.พร้อมด้วย คุณระวีลกั ษณ์ พลิกานนท์ อุปนายกสมาคมแม่บ้าน ทอ.เป็นประธานในพิธีพุทธบูชา เนื่องในวันวิสาขบูชา ณ หอพระพุทธเมตตานภากาศประทานพร สวนสุขภาพ ทอ.(ท่าดินแดง) เมื่อวันที่ ๑๘ พ.ค.๖๒

พล.อ.อ.ชาญยุทธ ศิรธิ รรมกุล ผช.ผบ.ทอ.(ยบ.) ผูแ้ ทน ผบ.ทอ.เป็นประธาน ในการประกอบพิธีวางพวงมาลา อนุสาวรีย์บุพการีทหารอากาศ และพิธี ทางศาสนา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา รร.นนก.ครบปีที่ ๖๖ ณ รร.นนก. เมื่อวันที่ ๗ พ.ค.๖๒

พล.อ.อ.ถาวรวัฒน จันทนาคม ผช.ผบ.ทอ.(กษ.) เป็นประธานพิธี มอบหมวกพยาบาลวิชาชีพ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ให้แก่ นพอ.ชั้นปีที่ ๔ วพอ.พอ.จำนวน ๕๔ คน ณ ห้องประชุม ชัน้ ๔ อาคารสำนักงาน วพอ.พอ. เมื่อวันที่ ๒ พ.ค.๖๒

พล.อ.อ.มานัต วงษวาทย เสธ.ทอ.บรรยายหัวข้อ "การจัดก�าลังรบ" ให้แก่ นักศึกษาวิทยาลัยการทัพอากาศ ณ ห้องบรรยาย วทอ.ยศ.ทอ. เมื่อวันที่ ๗ พ.ค.๖๒

พล.อ.อ.สิทธิพร เกสจินดา ที่ปรึกษาพิเศษ ทอ.พร้อมคณะ มอบเงินรายได้ จากการจัดการแข่งขันชกมวยการกุศล "ศึก M-150 พลังกำปันสะท้านโลก" จำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท ให้แก่ รพ.ทหารอากาศ (สีกัน) พอ.เพื่อสนับสนุน การจัดซือ้ อุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยมี พล.อ.ท.ภูมพิ ชิ ญ์ชากรณ์ จรรยาวิจกั ษณ์ จก.พอ.เป็นผู้รับมอบ ณ รพ.ทหารอากาศ (สีกัน) พอ. เมื่อวันที่ ๒๒ พ.ค.๖๒

พล.อ.ท.สุทธิพนั ธ ต่ายทอง รอง เสธ.ทอ.(กพ.) พร้อมคณะ ตรวจเยีย่ ม สร.กจ.โดยมี น.ท.ชัยรัตน์ พลูพันธุ์ ผบ.สร.กจ.ให้การต้อนรับ ณ สร.กจ. จว.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๒๑ พ.ค.๖๒


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ข่าวทหารอากาศ ๙๖

พล.อ.ท.พงษศกั ดิ์ เสมาชัย จก.กร.ทอ.พร้อมคณะ ตรวจเยีย่ มสายงาน ด้านกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ ณ บน.๕๖ โดยมี น.อ.อติรวิชช์ ไพจิตร์ ผบ.บน.๕๖ ให้การต้อนรับ ณ ห้องบรรยายสรุป พัน.อย.บน.๕๖ เมื่อวันที่ ๑๖ พ.ค.๖๒

พล.อ.ท.สุวัฒน สุวโรพร จก.สอ.ทอ.เป็นประธานในพิธีเปดการฝึก ทดสอบความพร้อมระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ประจำปี ๒๕๖๒ ณ สนามกีฬาฟุตบอล สอ.ทอ. เมื่อวันที่ ๒๑ พ.ค.๖๒

พล.อ.ท.น้อย ภาคเพิม่ จก.ยศ.ทอ.เป็นประธานพิธเี ปดการศึกษาหลักสูตร นายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ ๑๓๔ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒ ณ ห้องบรรยาย รร.นฝ.ยศ.ทอ. เมื่อวันที่ ๒๓ พ.ค.๖๒

พล.อ.ท.ภูมพิ ชิ ญชากรณ จรรยาวิจกั ษณ จก.พอ.เป็นประธานพิธเี ปด โครงการอบรมบุคลากรสายแพทย์ชน้ั สัญญาบัตร ทีเ่ ข้ารับราชการใหม่ ครัง้ ที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ณ อาคารศูนย์วจิ ยั และพัฒนาทางการแพทย์ กวก.พอ. เมื่อวันที่ ๒๗ พ.ค.๖๒

พล.อ.ท.แอรบูล สุทธิวรรณ ปช.ทอ.พร้อมคณะ ตรวจเยี่ยมสายงาน ด้านปลัดบัญชี ณ บน.๗ โดยมี น.อ.ประเสริฐวิษณุ์ มหาขันธ์ ผบ.บน.๗ ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม บน.๗ เมื่อวันที่ ๑๖ พ.ค.๖๒

พล.อ.ท.ภูมิใจ ชัยพันธุ ผบ.อย.นำกำลังพลเข้ารับการตรวจสอบ ความพร้อมรบและทดสอบแผนป้องกันที่ตั้ง ทอ. ณ ที่ตั้งดอนเมือง โดยมี พล.อ.ต.ศรัณย์ สมคะเณ ผบ.ศทย.อย.เป็นประธานการตรวจสอบฯ ณ กรม ทย.รอ.อย. เมื่อวันที่ ๒๑ พ.ค.๖๒


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๗ ข่าวทหารอากาศ

พล.อ.ต.ธาดา เคี่ยมทองคำ จก.กง.ทอ.เป็นประธานในพิธีมอบทุน การศึกษาของ ทอ.และ กง.ทอ.ประจำปี ๒๕๖๒ ให้แก่บตุ รของข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ กง.ทอ. ณ ห้องบรรยาย บก.ทอ. เมือ่ วันที่ ๘ พ.ค.๖๒

พล.อ.ต.สุระ ไชโย จก.พธ.ทอ.เป็นประธานพิธีมอบทุนการศึกษา ของ ทอ.และทุนสหกรณ์ออมทรัพย์ พธ.ทอ.จำกัด ประจำปี ๒๕๖๒ ให้แก่บุตรของข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ พธ.ทอ. ณ ห้องประชุม พธ.ทอ.๒ เมื่อวันที่ ๘ พ.ค.๖๒

พล.อ.ต.ภูวดล สอนดวงใจ จก.ขส.ทอ.พร้อมคณะ ตรวจเยีย่ มสายงาน ด้านขนส่ง ณ สก.ทอ.โดยมี พล.อ.ต.ประสิทธิ์ ยิม้ เจริญ จก.สก.ทอ. ให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ ๒๑ พ.ค.๖๒

พล.อ.ต.ภูวเดช สว่างแสง จก.จร.ทอ.พร้อมคณะ ตรวจการปฏิบตั ริ าชการ สน.ผบ.ดม.โดยมี พล.อ.ต.ธรรมนาย สุขแสง ผบ.ดม.ให้การต้อนรับ ณ สน.ผบ.ดม. เมื่อวันที่ ๒๒ พ.ค.๖๒

พล.อ.ต.ศิรพิ งษ ศรีเกิน ผอ.สนภ.ทอ.ให้การต้อนรับ Gp.Capt.Surya Prakash Rao Sarivichitti พร้อมคณะผูแ้ ทนจาก ทอ.อินเดีย ในการ สัมมนาแลกเปลีย่ นความรูแ้ ละประสบการณ์ดา้ นนิรภัยการบิน ณ ห้องประชุม สนภ.ทอ.(ชั้น ๑) เมื่อวันที่ ๒๑ พ.ค.๖๒

พล.อ.ต.วิฑรู ย ตรีพรม ผอ.สพร.ทอ.เป็นประธานการจัดกิจกรรมพัฒนา ระบบราชการ ประจำปี ๒๕๖๒ เรือ่ ง การพัฒนาระบบราชการด้วยเครือ่ งมือ การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ โดยมี นขต.ทอ.เข้าร่วมประชุม ณ โรงแรมไมด้า เดอ ซี หัวหิน จว.เพชรบุรี เมื่อวันที่ ๒๑ พ.ค.๖๒


98

“กิจกรรมจิตอาสาถวายความจงรักภักดี” เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๒๕๖๒

ร.อ.หญิง วิวสั วัน เปล่งวิทยา

เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธี บรมราชาภิเษก ๒๕๖๒ นี้ เหล่าก�าลังพลจิตอาสา จากทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมกันอย่างแข็งขัน ในการ ช่วยกันเตรียมพืน้ ทีเ่ พือ่ ใช้ในพระราชพิธอี นั ทรงเกียรติ ในครั้งนี้ ซึ่งหนึ่งในก�าลังพลเหล่านั้นคือ ก�าลังพล จิตอาสาสังกัดกองทัพอากาศ ที่ได้มีโอกาสเข้าร่วม กิจกรรมอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อถวายความจงรักภักดี ผ่านกิจกรรมอันดีเช่นนี้ ครั้งนี้ผู้เขียนจึงขอน�าเสนอ ประเภทต่าง ๆ ของกิจกรรมจิตอาสาฯ ให้ทุกท่าน ได้รับทราบกันอย่างละเอียด ว่าที่ผ่านมาพวกเรา ได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมใดกันบ้าง ด้วย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน “โครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชด�าริ” เพือ่ เป็นต้นแบบของการท�าความดี เสริมความตระหนักรู้ ของคนในชาติ ส่งเสริมให้พสกนิกรชาวไทยทุกคน มีความเสียสละมีความสมัครสมานสามัคคีในการ สร้างสรรค์ความดีเพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติ และตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีวา่ การกระทรวง กลาโหมประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒ ให้ความ ส�าคัญในการด�าเนินการตามพระราโชบาย “สืบสาน รักษา ต่อยอด” โดยให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวง กลาโหมร่วมกันด�าเนินโครงการจิตอาสาพระราชทาน

ตามแนวพระราชด�าริ “เราท�าความ ดี ด้วยหัวใจ” โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน กองทัพอากาศ ตระหนักถึงความส�าคัญในการ ปฏิบตั งิ านจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชด�าริ และเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามพระราโชบายและ สมพระเกียรติ จึงได้จัดตั้ง “ส�านักงานประสานงาน โครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชด�าริ กองทัพอากาศ” ขึน้ ณ กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ โดยมีวตั ถุประสงค์ให้เป็นศูนย์กลางในการประสานงาน การอ�านวยการ การควบคุม และก�ากับดูแล เพือ่ รับผิดชอบ ในการประสานงานและด�าเนินการโครงการจิตอาสา พระราชทาน ตามแนวพระราชด�าริในส่วนที่กองทัพ อากาศรั บผิ ด ชอบ ให้ เ ป็ นไปด้ วยความเรี ย บร้ อ ย สามารถปฏิบตั ไิ ด้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด ในห้วงทีผ่ า่ นมา โครงการจิตอาสาพระราชทาน ตามแนวพระราชด�าริ “เราท�าความ ดี ด้วยหัวใจ” ได้ขยายขอบเขตไปในระดับประเทศ โดยใช้หลักการ ให้เหล่าทัพเป็นแกนน�าในแต่ละพื้นที่ท่ีได้รับการ แบ่งมอบ ซึ่งกองทัพอากาศมีแนวทางการด�าเนินงาน จิตอาสาของกองทัพอากาศเพือ่ ตอบสนองพระราโชบาย ดังนี้ ๑. จิตอาสาพัฒนา เป็นกิจกรรมจิตอาสา พระราชทานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ของแต่ละชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่


ข่าวทหารอากาศ

ทีด่ ขี นึ้ ไม่วา่ จะเป็นกิจกรรมบ�าเพ็ญสาธารณประโยชน์ การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอ�านวย ความสะดวก และรักษาความปลอดภัยในการด�ารงชีวติ ประจ�าวัน การประกอบอาชีพ รวมทัง้ การสาธารณสุข ซึ่งกองทัพอากาศได้สนับสนุนก�าลังพลร่วมกับ เหล่าทัพต่าง ๆ ในกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา ด�าเนินการ ขุดลอก คู คลอง ในเขตดอนเมือง จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดนนทบุรี อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนกิจกรรม ที่กองทัพอากาศได้ริเริ่มขึ้น เพื่อต่อยอดกิจกรรม จิตอาสาของก�าลังพลกองทัพอากาศ อาทิ โครงการ Big Cleaning Day ของกรมต่าง ๆ ในสังกัดกองทัพอากาศ เพือ่ เป็นอีกหนึง่ กิจกรรมทีใ่ ห้ขา้ ราชการและก�าลังพล จิตอาสากองทัพอากาศ ได้มีส่วนร่วมในการดูแล บ�ารุงรักษาสถานทีท่ า� งานและองค์กรของตนเองร่วมกัน ๒. จิตอาสาเฉพาะกิจ เป็นกิจกรรมจิตอาสา พระราชทานที่มีวัตถุประสงค์ในงานพระราชพิธี การเฝ้ารับเสด็จฯ รวมทั้งกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการ ช่วยเหลือหรืออ�านวยความสะดวกแก่ประชาชน ที่มาร่วมพิธีทั้งการเตรียมการก่อนและภายหลัง เสร็จพระราชพิธี เช่น กิจกรรมจิตอาสาเฉพาะกิจ กิจกรรมปั่นจักรยานอุ่นไอรัก การจัดงานอุ่นไอรัก คลายความหนาว กองทัพอากาศและหน่วยงานจิตอาสา พระราชทานอืน่ ๆ ได้รว่ มกันสนับสนุนก�าลังพลท�าหน้าที่ เป็นจิตอาสาเฉพาะกิจในพระราชพิธตี า่ ง ๆ อย่างเต็มก�าลัง ความสามารถ ๓. จิตอาสาภัยพิบัติ เป็นกิจกรรมจิตอาสา พระราชทานที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อเฝ้าตรวจ เตือน และเตรียมการรองรับภัยพิบตั ิ ทัง้ ทีเ่ กิดจากธรรมชาติ และที่ เ กิ ด จากสาเหตุ อื่ น ๆ ที่ ส ่ ง ผลกระทบ ต่อประชาชนในพื้นที่โดยรวม และการเข้าช่วยเหลือ บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยพิบัติ ดังกล่าว เช่น อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย เป็นต้น ที่ผ่านมา กองทัพอากาศได้ส่งก�าลังพลจิตอาสาเข้าช่วยเหลือ ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเกิด ภัยพิบัติในทุกภูมิภาค พร้อมทั้งการให้ค�าแนะน�า ในการดูแลรักษาสุขภาพในสภาวะแวดล้อมวิกฤต เช่น สภาวะแวดล้ อ มปั ญ หาหมอกควั น และฝุ ่ น ละออง เป็นต้น นอกจากนั้น กองทัพอากาศยังได้ส่งก�าลังพล เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรจิตอาสา ๙๐๔ (หลักสูตร

99

หลักประจ�า) รุน่ ที่ ๑, ๒ และ ๓ “เป็นเบ้า เป็นแม่พมิ พ์” ณ กองพันฝึกส่วนหลัง ถนนวิภาวดีรงั สิต กรุงเทพมหานคร ซึง่ ผูผ้ า่ นการฝึกอบรมหลักสูตรฯ ดังกล่าวนี้ จะด�าเนินการ ท�าหน้าทีว่ ทิ ยากรในการบรรยาย ขยายผลการฝึกอบรม รวมถึงขยายผลด้านการปลูกฝังแนวคิด และวิธีการ ปฏิบัติงานด้านจิตอาสา ให้แก่ข้าราชการในกองบิน ต่างจังหวัด และประชาชนทัว่ ไป นอกจากนี้ กองทัพอากาศ ยังสานต่องานในการปลูกฝังจิตส�านึกในการพิทักษ์ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยการ จัดบรรยายและอบรมการให้ความรู้แก่ข้าราชการ และการบรรยายในหลักสูตรการฝึกอบรมต่าง ๆ ของกองทัพอากาศอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของการเผยแพร่พระราชประวัติและ พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผูท้ รงเป็นปฐมกษัตริ ย์นกั บิน กองทัพอากาศได้ดา� เนิน แผนงานด้านการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนือ่ ง ผ่านสือ่ วิทยุ โทรทัศน์ รวมทั้งการจัดแสดงนิทรรศการ และ กิจกรรม ในวาระต่าง ๆ รวมทั้งเร่งวางแผน การจัดแสดงในรูปแบบถาวร เพื่อให้เยาวชนได้ศึกษา พระราชประวัติ ที่ทรงเป็นแบบอย่างให้แก่พสกนิกร ตลอดมา ยังมีกิจกรรมอีกมากมายที่กองทัพอากาศ มุ่งมั่นที่จะสานต่อ ทั้งโครงการจิตอาสาพระราชทาน ตามแนวพระราชด�าริ “เราท�าความ ดี ด้วยหัวใจ” ทีพ่ ร้อมจะจับมือกับทุกภาคส่วนในการบ�าเพ็ญความดี ผ่านกิจกรรมในโครงการพระราชทานต่าง ๆ ด้วยส�านึก ในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่ทรงมี พระราชปณิธานอันแน่วแน่ทจี่ ะพัฒนาชีวติ ความเป็นอยู่ ที่ดีอย่างยั่งยืนของพสกนิกรทั่วหล้า และด้วยส�านึก ในน�้าพระราชหฤทัยอันเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา ที่ทรงทุ่มเทพระวรกาย ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ นานัปการ เพื่อความอยู่ดีมีสุขของราษฎรตลอดมา และโครงการในอนาคต อาทิ โครงการพัฒนาพื้นที่ สองฝัง่ ถนนพหลโยธิน เขตกองทัพอากาศ ซึง่ เป็นการ ปรับภูมทิ ศั น์ถนนพหลโยธิน เพือ่ ส่งเสริมภาพลักษณ์ ทีด่ ขี ององค์กรให้สมกับทีเ่ ราเป็นสถาบันของชาติและ พระมหากษัตริย์ของชาวไทย “กองทัพอากาศไทย ใต้ร่มพระบารมี” ไว้มีความคืบหน้าผู้เขียนจะได้น�า มาเสนอต่อไป



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.