หนังสือข่าวทหารอากาศ ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ 2563

Page 1

ขาวทหารอากาศ ISSN 0125 6173 ปที่ ๘๐ ฉบับที่ ๒ เดือนกุมภาพันธ ๒๕๖๓

ขาวทหารอากาศ

ปที่ ๘๐ ฉบับที่ ๒ เดือนกุมภาพันธ ๒๕๖๓

http://www.airforcemagazine.rtaf.mi.th

ISSN 0125 6173


2

พิธีสวนสนามถวายสัตยปฏิญาณของทหาร-ตํารวจ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ และวันกองทัพไทย ๑๘ มกราคม ๒๕๖๓


ข าวทหารอากาศ

3


4

งานวันเด็กแห่งชาติกองทัพอากาศ ประจําปี ๒๕๖๓


ข่าวทหารอากาศ

5


6

วันมาฆบูชา ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓

เพ็ญเดือนสามงามพร้อมน้อมกุศล วันมาฆบูชาบารมี ในวันนั้นพระสงฆ์องค์อรหันต์ ณ เวฬุวันที่ประทับสุดจับใจ ทรงประทานหลักธรรมอมตะ ไม่ท�าบาปทุกชนิดจิตบ�าเพ็ญ ท�าจิตใจของตนให้ผ่องใส เพื่อชาวโลกร่มเย็นเป็นบุญญา เรียกวันนี้อีกประการวันธรรม มุ่งประโยชน์โสตถิผลพลนิกร โลกมีธรรมน�าสุขไปทุกที่ เดินตามธรรมทั้งชีวิตจิตผูกพัน วันมาฆบูชาเวียนมาถึง ผลทั้งปวงถึงจุดหมายให้สัมฤทธิ์ ขอพระพุทธานุภาพที่ซาบซึ้ง คุณศักดิ์สิทธิ์แห่งพระสงฆ์จ�านงใน

ศาสนาพระทศพลดลราศี สบสุขศรีทั่วหน้าพาชื่นใจ ตั้งพันเศษมาพร้อมกันวันสดใส มินัดหมายมาพร้อมกันในวันเพ็ญ เพื่อที่จะประจักษ์หลักที่เน้น ให้มุ่งเน้นสร้างความดีมีศรัทธา เป็นหัวใจแห่งพระพุทธสุดปรารถนา ทรงคุณค่าตลอดกาลนิรันดร เป็นค�าพระพุทธองค์ทรงสั่งสอน ไม่เดือดร้อนในอารมณ์สมส�าราญ ทุกชีวีมีธรรมน�าสุขสันต์ จะสุขสันต์ตลอดไปในชีวิต ชาวพุทธพึงตั้งใจให้วิจิตร พรทุกทิศจงพรั่งพรูสู่ชาติไทย คุณตราตรึงแห่งพระธรรมน�าสดใส ขอชาติไทยสุขสวัสดิ์พิพัฒน์เทอญ

พุทธบูชา ธรรรมบูชา สังฆบูชา ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ทหารกองประจ�าการ และครอบครัวกองทัพอากาศ น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ประพันธ์


บทบรรณาธิการ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ตามปกติจะยังอยู่ในห้วง ฤดูหนาว แต่สภาพอากาศในปัจจุบันเปลี่ยนแปลง ไปมาก จนทุกวันนีเ้ หมือนเริม่ เข้าสูฤ่ ดูรอ้ นแล้ว รวมทัง้ ความแห้ ง แล้ ง ได้ เ ข้ า มาเยื อ นทั่ ว ทุ ก ภู มิ ภ าคอย่ า ง รวดเร็ว นอกจากนี้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 เริ่มมี ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของพีน่ อ้ งประชาชนอีกด้วย อย่างไรก็ตามกองทัพอากาศยังคงพร้อมทีจ่ ะปฏิบตั กิ าร ให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างเต็มก�าลัง ความสามารถ ในระยะนีข้ อให้ทกุ ท่านดูแลสุขภาพอย่างสม�า่ เสมอ เพื่อให้มีสุขภาพกาย ใจ แข็งแรงตลอดไป และใน เดื อ นนี้ มี วั น ส� า คั ญ หลายวั น ที่ ค วรระลึ ก ถึ ง อาทิ วันที่ ๓ กุมภาพันธ์เป็น “วันทหารผ่านศึก” เป็นวันที่ คนไทยทุ ก คนแสดงความระลึ ก ถึ ง คุ ณ งามความดี และความกล้าหาญของวีรชนไทยทุกท่าน ที่ยอม เสี ย สละเลื อ ดเนื้ อ และชี วิ ต เพื่ อ ปกป้ อ งเอกราช อธิปไตยของแผ่นดินไทยไว้ให้พวกเราและลูกหลาน ได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขมาจนทุกวันนี้ ภาพปกเป็นภาพ “พระพุทธศาสดาประชานาถ” ซึ่งแปลว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระศาสดา ผู้เป็น ที่พึ่งของประชาชน โดยกองทัพอากาศจัดสร้างขึ้น

ข าวทหารอากาศ

7

เพือ่ เป็นพระพุทธรูปบูชาศักดิส์ ทิ ธ์ของกองทัพอากาศ เนื่องในโอกาส ๑๐๐ ปี การทิวงคตของพระบิดา แห่งกองทัพอากาศ โดยจะอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ จุ ด สู ง สุ ด ของประเทศไทย อุ ท ยานแห่ ง ชาติ ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๓ เป็น “วันมาฆบูชา” ที่พระพุทธเจ้าแสดง “โอวาท ปาติโมกข์” ซึ่งเป็นหลักค�าสอนของพระพุทธศาสนา จึงขอเชิญข้าราชการและครอบครัวกองทัพอากาศ ร่วมกันน้อมร�าลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการร่วมท�าบุญตักบาตร เวี ย นเที ย นและปฏิ บั ติ ธ รรม ท� า ความดี ละเว้ น ความชัว่ และท�าจิตใจให้สะอาดบริสทุ ธิ์ ในวันดังกล่าว โดยพร้อมเพรียงกัน นอกจากนี้ ในวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ของทุกปี ยังเป็นวัน “วาเลนไทน์” หรือวันแห่งความรักของ ชาวคริสต์ และกล่าวได้ว่าเป็นแนวทางในการสร้าง ความรัก ความปรารถนาดีต่อกัน เพื่อน�าพาไปสู่ ความสงบสุ ข อย่ า งแท้ จ ริ ง ของชาวโลก รวมทั้ ง ประชาชนชาวไทยเองก็ ไ ด้ ใ ห้ ค วามส� า คั ญ ในวั น ดังกล่าวเช่นกัน เรื่องเด่นในฉบับได้แก่ สร้างคนด้วย QR สู่การ พัฒนา KM (วทอ.), เหตุผลที่ 5G เป็นอนาคตของ กองทัพ เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ, Future Warfare สงครามในอนาคต และคอลัมน์ประจ�า ที่น่าสนใจ เชิญพลิกอ่านได้ตามอัธยาศัยครับ 


8

สารบัญ

ป ที่ ๘๐ ฉบั บ ที่ ๒ เดื อ นกุ ม ภาพั น ธ ๒๕๖๓

๒ พิธสี วนสนามถวายสัตย ปฏิญาณของทหาร-ตํารวจ เนือ่ งในพระราชพิธี บรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ และวันกองทัพไทย ๑๘ มกราคม ๒๕๖๓ ๔ งานวันเด็กแห งชาติกองทัพอากาศ ประจําป ๒๕๖๓ ๖ กลอนวันมาฆบูชา - น.อ.เกษม พงษ พันธ ๑๐ ตําราพิชัยสงคราม SUNTZU ๑๓ บทไม ตาย - พล.อ.อ.จอม รุ งสว าง ๑๕ สร างคนด วย QR สู การพัฒนา KM - น.ท.อัษฎายุธฌิ์ แก วไทรย อย ๒๑ เป ดปูม ๑๐๐ ป การบินของบุพการี กองทัพอากาศ - พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร ๒๗ เหตุผลที่ 5G เป นอนาคตของกองทัพ - น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต ๓๑ วันทหารผ านศึก วันคืนสู เหย ากับศัตรู - ผาแต ม ๓๕ ครูภาษาพาที : สีดํากับสํานวนอังกฤษ - Soldalto Nero ๓๙ เวลาการ ตูน - มีสกรีน ๔๑ มุมกฎหมาย : พ อกับแม ใครมีสทิ ธิในตัวลูกมากกว ากัน - ร.อ.ชานุวฒ ั น แสงสุวรรณ ๔๓ เทคโนโลยีอากาศยานโจมตี ไร คนขับ - น.อ.หญิง ชมพูนุท พูลสนอง ๔๙ Red Eagle อินทรีแดงแผลงฤทธิ์ : การป ดล อมตรวจค น ยุทธวิธีเพื่อ ป องกันและปราบปรามการก อความไม สงบ ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต - น.ต.ภฤศพงศ ช อนแก ว ๕๕ มุมท องเที่ยว : คิดถึงเขา…ก็ ไปหาเขา - หมวยอินเตอร ๖๐ Why China Can't Target U.S. Aircraft Carriers - น.อ.พลวัตร อินทรวิเศษ ๖๖ ธรรมประทีป : วันมาฆบูชา - กอศ.ยศ.ทอ ๖๗ เกร็ดเล็กเกร็ดน อย ประชาคมอาเซียน : สัตว ประจําชาติอนิ โดนีเซีย - @Zilch ๖๘ Future Warfare สงครามในอนาคต - สทป. ๗๓ เรื่องน ารู เกี่ยวกับ โรคไตเรื้อรัง - น.อ.พงศธร คชเสนี ๗๕ จับจิต จับใจ กับ อ.หนู : ผูม อี ทิ ธิพล (ทางสังคม) ในศตวรรษที่ ๒๑ - อ.หนู ๘๐ คนสําราญ งานสัมฤทธิ์ พิชิตด วย Happy 8 Menu - พล.อ.ต.หญิง ดร.จิราภรณ ศรีศิล ๘๓ ภาษาไทยด วยใจรัก : แปลวรรณคดี ไทย - นวีร ๘๗ ขอบฟ าคุณธรรม : …เป นผูร จ ู กั ยกย องผูท าํ ความดี… - 1261 ๙๑ ในรัว้ สีเทา ๙๗ ศูนย บรรเทาสาธารณภัย : โครงการอบรม จนท.ปฏิบตั กิ ารด าน HADR และประชาสัมพันธ การตระหนักรูข องกําลังพล ทอ. ประจําป ๒๕๖๓ รุน ที่ ๑ - ร.อ.หญิง วิวสั วัน เปล งวิทยา

๑๐

๑๕

๒๗

๓๑

๔๓


ข าวทหารอากาศ

ข าวทหารอากาศ คณะผูจ้ ดั ท�าหนังสือข่าวทหารอากาศ เจ้าของ กองทัพอากาศ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

พล.อ.อ.ม.ร.ว.ศิริพงษ ทองใหญ่ พล.อ.อ.ธนนิตย เนียมทันต พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง พล.อ.อ.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน

พล.อ.อ.อมร แนวมาลี พล.อ.อ.ปอง มณีศิลป พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง พล.อ.อ.มานัต วงษวาทย

ที่ปรึกษา พล.อ.อ.ธงชัย แฉล้มเขตร พล.อ.อ.ศักดิ์พินิต พร้อมเทพ พล.อ.ต.สหัสชัย มาระเนตร

พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร พล.อ.ต.หญิง สุมาลี ฤทธิบุตร

ผู้อํานวยการ/บรรณาธิการ

พล.อ.ท.ตรีพล อ่องไพฑูรย เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ

รองผู้อํานวยการ

พล.อ.ต.ฐานัตถ จันทรอําไพ พล.อ.ต.สมพร แต้พานิช

พล.อ.ต.ธรรมรงคเดช เจริญสุข

ผู้ช่วยผู้อํานวยการ

น.อ.นิโรจน จําปาแดง น.อ.ขจรฤทธิ์ แก้วอําไพ ผู้ช่วยบรรณาธิการ ผู้จัดการ

น.อ.นินาท มูลจนะบาตร น.อ.สมพร ร่มพยอม

น.อ.นิโรจน จําปาแดง น.อ.อภิรัตน รังสิมาการ น.อ.ปยะ พลนาวี

ประจําบรรณาธิการ

น.ท.หญิง สุภาวดี โคตรเวียง น.ท.หญิง รัชนก เกิดสุข พ.อ.อ.พันธกานต พูลผล พ.อ.อ.หญิง วาสนา รับสมบัติ น.ส.อุไรวรรณ บุญณรงค น.ส.รสสุคนธ บุญประเทือง

น.ท.หญิง มุตสิตา มาหะศักดิ์ พ.อ.อ.ธรรมวัฒน รัตนวิจารณ พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห จ.อ.หญิง ศุภวัลย กระจ่างนฤมลกุล นางจันทรสม คํามา น.ส.ณัฐวดี ธํารงวงศถาวร

หนังสือข่าวทหารอากาศ ความเป็นมา หนังสือข่าวทหารอากาศ เปนนิตยสารรายเดือนของกองทัพอากาศ เริม่ ดําเนินการเมือ่ ป พ.ศ.๒๔๘๓ ขึน้ กับกรมข่าวทหารอากาศ โดย นาวาอากาศเอก สกล รสานนท เปนบรรณาธิการคนแรก ดําเนินการโดยทุนของข้าราชการทหารอากาศ พ.ศ.๒๔๙๘ ได้โอนกิจการมาอยูใ่ นความอํานวยการของกรมยุทธศึกษาทหาร อากาศ ตามคําสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๕๘๐/๙๘ ลง ๒๓ ธ.ค.๒๔๙๘ ๑ ม.ค.๒๕๕๓ ได้เข้าอยู่ในกิจการสวัสดิการกองทัพอากาศ กํากับดูแล โดยคณะอนุ ก รรมการบริ ห ารวารสารและสื่ อ สิ่ ง พิ ม พ ก องทั พ อากาศ ตามอนุมัติ ผบ.ทอ./ประธานกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ เมื่อ ๒๘ ธ.ค. ๒๕๕๒ กําหนดให้ใช้ระเบียบคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ ว่าด้วยการ บริหารวารสารและสื่อสิ่งพิมพกองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๕๒ ๑ ม.ค.๒๕๖๑ ได้เข้ามาอยู่ในการกํากับดูแลของกรมกิจการพลเรือนทหาร อากาศ ตามคําสั่ง ทอ. (เฉพาะ) ที่ ๑๓๖/๖๐ ลง ๒๖ ก.ย.๒๕๖๐

ภารกิจ ดําเนินกิจการหนังสือข่าวทหารอากาศ ให้เปนไปตามนโยบายของผูบ้ ญั ชาการ ทหารอากาศ โดยมีผู้อํานวยการหนังสือข่าวทหารอากาศ (จก.กร.ทอ.) เปนผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในกิจการทั่วไป ๒. เพือ่ แสดงความคิดเห็นด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา วิทยาศาสตร เทคโนโลยีและสิง่ แวดล้อม อันจะเปนประโยชนตอ่ ส่วนรวม ๓. เพื่อเผยแพร่กิจการของกองทัพอากาศ

การด�าเนินงาน ๑. เปนสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นที่เปนประโยชนใน การพัฒนากองทัพอากาศและส่วนรวม ๒. เนื้อหาที่นํามาลงในหนังสือข่าวทหารอากาศ - ต้องไม่ขดั ต่อวัตถุประสงค/นโยบายของผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ - ต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ บุคคล หรือ ส่วนรวม - ต้องได้รับการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะผู้จัดทําหนังสือข่าว ทหารอากาศ

ก�าหนดการเผยแพร่ นิตยสารรายเดือน

กองวารสารและสื่อสิ่งพิมพ (เพื่อพลาง) สํานักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ กรมกิจการพลเรืิอนทหารอากาศ ถนน พหลโยธิน แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑, ๐ ๒๕๓๔ ๔๒๔๑ โทรสาร ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑ ส่งบทความและภาพกิจกรรมได้ที่ rtafmag@gmail.com

พิมพที่ บริษัท ที.เค.เอส. เทคโนโลยี จํากัด (มหาชน) ๓๐/๘๘ หมู่ ๑ ถ.เจษฎาวิถี ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ๗๔๐๐๐ โทรศัพท ๐ ๒๗๘๔ ๕๘๘๘ โทรสาร ๐ ๒๗๘๔ ๕๘๕๘

อ่านบทความเอกสารอิเล็กทรอนิกสได้ที่ www.airforcemagazine.rtaf.mi.th และ www.rtaf.mi.th บทความและความคิดเห็นของผู้เขียนในหนังสือฉบับนี้ ไม่มีส่วนผูกพันกับทางราชการแต่ประการใด ภาพบางส่วนในหนังสือ นํามาจาก www.google.com ออกแบบปก : พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห

9


10

ต�ำราพิชัยสงคราม SUNTZU ๑๓ บทไม้ตาย

บทที่

นโยบายศึก

พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง ๑. SUNTZU กล่าวไว้ กฎของสงครามโดยทัว่ ไป สยบประเทศข้าศึกไม่เสียเลือดเนือ้ เป็นโยบายหลัก ใช้ก�ำลังทางทหารเข้าตีประเทศข้าศึกแตกจึงสยบ ประเทศข้าศึกได้ เป็นนโยบายรอง “รบร้ อ ยครั้ ง ชนะร้ อ ยครั้ ง ยั ง มิ ใ ช่ ย อด สยบข้าศึกได้ไม่ต้องรบ เป็นยอดนักรบ” ๒. เพราะฉะนั้น สุดยอดของการสงครามก็คือ เข้าโจมตีแผนลับข้าศึกให้แตก จากนัน้ ตีความสามัคคี ข้าศึก ตีสมั พันธไมตรีของกลุ่มพันธมิตรข้าศึกให้แตก สุดท้าย หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว จึงใช้ก�ำลังทางทหาร เข้าตีก�ำลังทหารข้าศึก สิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือการเข้าตี ป้ อ มปราการที่ มั่ น ที่ เ ข้ ม แข็ ง ของข้ า ศึ ก การเข้ า ตี ดั ง กล่ า วจะเป็ น เฉพาะเมื่ อ ไม่ มี ห นทางอื่ น แล้ ว และไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แล้วเท่านั้น การเข้าตีป้อมปราการที่มั่นที่เข้มแข็งของข้าศึก ต้องใช้เวลาเตรียมการนาน และต้องพร้อมจริง ๆ


ข่าวทหารอากาศ

จึงท�ำได้ ซึ่งในระหว่างเตรียมการหากแม่ทัพนายกอง ไม่ ส ามารถระงั บ ความเกรี้ ย วกราดได้ ย กก� ำ ลั ง เข้าท�ำการรบแตกหักก่อนที่การเตรียมการจะพร้อม ทหาร ๑ ใน ๓ จะต้องตาย แม้กระนั้นป้อมปราการ ที่มั่นของข้าศึกก็จะยังไม่แตก นี่คือผลเสียของการ โจมตีป้อมปราการที่มั่นของข้าศึก นักรบผู้ช�ำนาญมิได้ใช้การต่อสู้เพื่อสยบข้าศึก ป้ อ มปราการที่ มั่ น ข้ า ศึ ก แตกก็ มิ ใ ช่ ด ้ ว ยการโจมตี ตรงหน้ า ประเทศข้ า ศึ ก ต้ อ งพิ น าศลงก็ มิ ใ ช่ ด ้ ว ย ศึกสงครามยืดเยื้อ ใช้วิธีชนะโลก ชนะโดยไม่เสีย เลือดเนื้อ ด้วยเหตุนี้ ทหารหาญก็ไม่เหนื่อยอ่อน ผลประโยชน์ที่ได้รับย่อมเป็นผลประโยชน์สูงสุด “นี่คือกฎของนโยบายในการท�ำศึกสงคราม” ๓. กฎของสงครามโดยทัว่ ไป เมือ่ มีกำ� ลัง ๑๐ เท่า เข้าโอบล้อม เมือ่ มีกำ� ลัง ๕ เท่า เปิดเกมรุก เมือ่ เท่ากัน ให้สู้ ถ้าน้อยกว่าให้ถอย ถ้าก�ำลังปะทะกันไม่ได้ ให้หลบซ่อน โดยปกติก�ำลังน้อยกว่าปะทะตรงหน้า กับก�ำลังที่มากกว่าย่อมท�ำไม่ได้เป็นทางปกติ ก�ำลัง

11

ที่น้อยนิดคิดแต่จะใช้ความห้าวหาญ รังแต่จะถูกจับ เป็นเชลยของก�ำลังที่มากกว่าเท่านั้น ๔. โดยทั่ ว ไป แม่ ทั พ มี ห น้ า ที่ ช ่ ว ยเหลื อ ชาติ ถ้าหน้าทีน่ นั้ สัมพันธ์แน่นแฟ้นกับผูน้ ำ� ประเทศ ชาตินนั้ ต้องเข้มแข็งแน่นอน ถ้าหน้าที่นั้นขัดแย้งกับผู้น�ำ ประเทศ ชาตินั้นต้องอ่อนแอแน่นอน ฉะนั้น สิ่งที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับการศึกส�ำหรับ ผู้น�ำประเทศมี ๓ ประการ ได้แก่ • ไม่รวู้ า่ ไม่ควรใช้กำ� ลังทหาร สัง่ ให้ใช้กำ� ลังทหาร ไม่รู้ว่าไม่ควรถอย สั่งให้ถอย • ไม่รู้เรื่องภายในกองทัพ แต่เข้ามาปกครอง กองทัพร่วมกับแม่ทัพ • ไม่เข้าใจวิธีใช้ก�ำลังทหาร แต่เข้ามาบังคับ บัญชาทหาร เมือ่ ใดทีท่ หารอยูใ่ นความหลง ความงงงวยแปลก ใจสงสัย ต่างชาติจะยกทัพเข้ามาและชัยชนะของกอง ทัพที่สับสนก็จะจากหายไป


12

๕. ฉะนั้น มี ๕ สิ่งที่ต้องรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับ ชัยชนะ ได้แก่ • เมื่อไรควรรบ เมื่อไรไม่ควรรบ ระมัดระวัง ผลได้ผลเสียรอบคอบ ...ชนะ • เข้าใจการใช้กำ� ลังใหญ่ ก�ำลังเล็ก นอกแบบ ในแบบ ...ชนะ • ประสานจิตใจคนทุกชั้นได้ ...ชนะ • เตรียมการดีปะทะทีป่ ระมาท ...ชนะ • แม่ทพั นายกองมีความสามารถ ผูน้ ำ� ประเทศ ไม่แทรกแซงกิจการภายในกองทัพ ...ชนะ ๕ ประการนี้ เ ป็ น วิ ธี เ ข้ า ใจชั ย ชนะ ดั ง นั้ น “เมื่อ รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งปราศจากอันตราย รู้สถานการณ์ฝ่ายเขา ไม่รู้ฝ่ายเรา แพ้บ้างชนะบ้าง ไม่ รู ้ เ ขา ไม่ รู ้ เ รา กล่ า วได้ ว ่ า รบทุ ก ครั้ ง รั ง แต่ จะมีอันตราย”


ข่าวทหารอากาศ

บทที่

13

ศักย์สงคราม

๑. SUNTZU กล่าวไว้ ยอดนักรบ ตัง้ มัน่ ในทีซ่ งึ่ ไม่มีใครอาจชนะเขาได้ รอคอยโอกาสซึ่งใครก็ได้อาจ ชนะต่ อ ข้ า ศึ ก รู ป แบบที่ ไ ม่ มี ใ ครอาจชนะได้ อยูท่ ฝี่ า่ ยเรา รูปแบบทีใ่ ครก็ได้อาจสามารถชนะได้อยู่ ที่ ฝ ่ า ยเขา แม้ จ ะเป็ น ยอดนั ก รบที่ ส ามารถตั้ ง มั่ น ในทีซ่ งึ่ ไม่มใี ครอาจชนะได้ ก็ไม่สามารถท�ำให้ขา้ ศึกตัง้ อยู่ในที่ซึ่งใครใครก็อาจชนะได้ จึงจ�ำเป็นต้องรู้จัก อดทนรอคอย รู ป แบบที่ ไ ม่ มี ใ ครอาจชนะได้ นั้ น เป็นรูปแบบเกี่ยวข้องกับการตั้งรับ รูปแบบที่ใคร ก็อาจชนะได้ เป็นรูปแบบเกี่ยวข้องกับการรุก รับ เนือ่ งจากก�ำลังรบไม่เพียงพอ และรุกเนือ่ งจากก�ำลังรบ มี อ ยู ่ เ พี ย งพอ นั ก รบที่ ตั้ ง รั บ เก่ ง เหมื อ นซ่ อ นอยู ่ ใต้ของใต้แผ่นดิน นักรบทีร่ กุ เก่งเหมือนเคลือ่ นไหวอยู่ เหนือของเหนือฟ้า ฉะนั้นจึงอยู่ในที่ปลอดภัย และ สามารถเอาชัยเด็ดขาดได้ส�ำเร็จ

๒. ระดับชัยชนะทีค่ นทัว่ ไปมองออกยังมิใช่ยอด รบกันแล้วได้ชัยชนะ คนทั่วโลกแซ่ซ้องสรรเสริญ ยั ง มิ ใ ช่ เ ยี่ ย ม หยิ บ ถื อ เส้ น ผมได้ ว ่ า มี ก� ำ ลั ง มิ ไ ด้ มองดวงอาทิตย์จะบอกว่าตาดีมิได้ ฟังเสียงฟ้าร้องว่า หูดีมิได้ สมัยก่อนยอดนักรบคนทั่วไปมองไม่ออก เขา จะเข้ายึดโอกาสชนะง่ายแล้วชนะ เพราะฉะนั้น การ ต่ อ สู ้ ข องยอดนั ก รบนั้ น มิ ไ ด้ มี ชื่ อ เสี ย ง มิ ไ ด้ ใช้ความรู้ความสามารถ หรือความมานะพยายาม พิ เ ศษพิ ศ ดารและกล้ า หาญใดใด เนื่ อ งเพราะเขา จะท� ำ สงครามที่ ช นะแน่ น อนเท่ า นั้ น สงครามที่ ชนะแน่นอนก็คือเข้าตีข้าศึกที่แพ้แน่นอนแล้วชนะ นั่ น เอง ด้ ว ยเหตุ นี้ ยอดนั ก รบจะตั้ ง มั่ น ในที่ ซึ่ ง ไม่มใี ครอาจชนะได้รอคอยโอกาสชนะ และไม่ปล่อยให้ โอกาสชนะโอกาสแรกหลุดลอยไปนั่นเอง


14

“กองทัพทีม่ ชี ยั คือกองทัพทีก่ อ่ นออกศึกได้รบั ชัยชนะแล้วจึงรบ กองทัพที่พ่ายแพ้ คือกองทัพ ที่ออกรบแล้วจึงแสวงหาชัยชนะนั่นเอง” ๓. ยอดนักรบย่อมสามารถท�ำให้จติ ใจคนทุกชัน้ เป็ น หนึ่ ง ได้ สามารถจั ด ระบบ รั ก ษาวิ นั ย และ กฎระเบียบได้ ฉะนัน้ จึงสามารถตัดสินแพ้ชนะได้อย่าง อิสระ ๔. ปัญหาในการจัดการทางทหารก่อนรบจะเกิด ขึ้น ๕ ประการที่ต้องขบคิด • ปัญหาขอบเขตของการรบ • ปัญหาปริมาณสิ่งของที่ต้องทุ่มเทในการรบ • ปัญหาจ�ำนวนทหารที่จะน�ำมาใช้ในการรบ

• ปัญหาขีดความสามารถของหน่วยก�ำลัง จะมี มากน้อยขนาดใด • ปัญหาของชัยชนะ กองทัพที่ได้ชัยต้องผ่านขั้นตอนดังกล่าว และมี ความได้ เ ปรี ย บ กองทั พ ที่ พ ่ า ยแพ้ คื อ กองทั พ ที่เสียเปรียบจากปัญหาดังกล่าวนั่นเอง .... ๕. ผู้ชนะซึ่งท�ำให้ผู้คนในชาติร่วมกันต่อสู้ได้ เหมือนกับแอ่งน�้ำในหุบเขาซึ่งเกิดจากสายน�้ำเล็ก ๆ หลายพั น สายไหลมารวมกั น ซึ่ ง หากแอ่ ง น�้ ำ นั้ น ตกลงมาเป็นน�้ำตกก็จะมีพลังมหาศาลพลังที่ซ่อนอยู่ ในแอ่งน�ำ้ กลางหุบเขานีเ้ ปรียบได้กบั “ศักย์สงคราม” และพลั ง ของน�้ ำ ที่ ก ระทบเบื้ อ งล่ า งเปรี ย บได้ กั บ “จลน์สงคราม” ฉันใดฉันนั้น (อ่านต่อฉบับหน้า)

รูปภาพจาก - https://www.metallisson.com/ - https://mcmoutletonline.com/ - http://www.rtni.org/library/book


ข าวทหารอากาศ

15

สร างคนด วย QR สู การพัฒนา KM น.ท.อัษฎายุธฌิ์ แก้วไทรย้อย (นยศ.กกศ.วทอ.ยศ.ทอ.) QR Code สร้างคน รหั ส คิ ว อาร์ หรื อ ชื่ อ ภาษาอั ง กฤษที่ เ รี ย กว่ า (QR Code : Quick Response) ความหมายทาง รากศัพท์หมายถึง “การตอบสนองที่รวดเร็ว” รหัส คิวอาร์เป็นบาร์โค้ดประเภทบาร์โค้ดเมทริกซ์ (หรือ บาร์ โ ค้ ด สองมิ ติ ) รหั ส คิ ว อาร์ โ ค้ ด ถู ก คิ ด ค้ น ขึ้ น โดยบริษัทเดนโซเวฟซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในเครือของ “...รูในขีดความสามารถ/ทักษะรายบุคคล โตโยต้าเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๗ โดยมีต้นก�าเนิดมาจาก แตละสายวิทยาการนั้น ๆ ซึ่งปรากฏอยูใน QR ประเทศญีป่ นุ่ และถูกน�ามาใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ โปรแกรมสามารถสกัดออกมาได...” อย่างแพร่หลาย เนือ่ งจากเป็นรหัสทีม่ กี ารอ่านได้อย่าง พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ ผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ รวดเร็วและสามารถเก็บความจุได้มากกว่าเมื่อเทียบ กับบาร์โค้ดมาตรฐานปัจจุบนั รหัสคิวอาร์ได้กลายเป็น ตามนโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศ พ.ศ. ที่นิยมในทั่วโลกและในประเทศไทยก็แสดงให้เห็น ๒๕๖๓ นโยบายเฉพาะด้านก�าลังพล พัฒนาระบบ อย่างแพร่หลายสามารถพบเห็นได้ทั่วไปไม่ว่าจะเป็น ประเมิ น ผลการปฏิ บั ติ ง านตามแนวคิ ด สมรรถนะ ทีท่ นั สมัย ด้วยการน�าเครือ่ งมือ Quick Response (QR) โปรแกรมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารผลการปฏิบตั งิ าน ของก� า ลั ง พลกองทั พ อากาศได้ อ ย่ า งเป็ น รู ป ธรรม ซึ่งสามารถน�ามาประยุกต์กับการพัฒนาการจัดการ ความรู้ให้เกิดเป็นรูปธรรมด้วยการสร้างคนด้วย QR สู่การพัฒนา KM อย่างยั่งยืนได้ดังนี้


16

เช่น เวชภัณฑ์ อาหารส�ำเร็จรูป หรือแม้แต่อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ก็ยังสามรถน�ำมาใช้ได้จาก คุณลักษณะเด่นดังกล่าว ผบ.ทอ.จึงด�ำริให้ ทุกหน่วยงาน ในกองทัพอากาศ ได้ก�ำหนดรหัสงานทุกภารกิจงาน ใน ทอ.ด้วย QR Code ทีเ่ ชือ่ มโยงกับการมอบหมายงาน ตามสายงานบั ง คั บ บั ญ ชาและความรั บ ผิ ด ชอบที่ สามารถก�ำกับดูแล ติดตาม และรายงานผลอย่าง ทันท่วงที (Real Time) เพื่อน�ำมาใช้ในการบริหาร ผลการปฏิ บั ติ ง าน อี ก ทั้ ง ยั ง สามารถบ่ ง บอกถึ ง อัตลักษณ์บุคคลภายใน ทอ.มีความเก่งและความ สามารถในเรื่องใดบ้าง เพื่อจะได้น�ำความรู้นั้นมา ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น และเก็บเป็นฐานข้อมูล หรือมา ใช้ประโยชน์ในการพัฒนากองทัพได้อีกทางหนึ่งด้วย อีกทั้ง ความรู้ที่มีอยู่ในบุคคลนั้นย่อมไม่สูญหายไป กับกาลเวลาทีเ่ ปลีย่ นไป หากมีระบบจัดการข้อมูลทีม่ ี ประสิทธิภาพและน�ำมาใช้ประโยชน์อย่างคุม้ ค่าในการ พัฒนากระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management KM) อย่างเหมาะสม การพัฒนา KM KM นั้ น ย่ อ มาจากค� ำ ว่ า “Knowledge Management” หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า KM นั้น คือ แนวทางการบริหารและแนวทางการท�ำงานภายใน องค์กรเพื่อท�ำให้เกิดการก�ำหนดความหมาย ความรู้ ขององค์กรขึ้น และท�ำการรวบรวม สร้าง รวมทั้ง

กระจายความรูข้ ององค์กร ไปให้ทวั่ ทัง้ องค์กรเพือ่ ให้เกิด การต่อยอดของความรู้ น�ำความรูไ้ ปใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงก่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ภายใน องค์ ก รขึ้ น คื อ การรวบรวมองค์ ค วามรู ้ ที่ มี อ ยู ่ ซึ่ ง กระจั ด กระจายอยู ่ ใ นตั ว บุ ค คลหรื อ เอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพือ่ ให้ทกุ คนในองค์กรสามารถ เข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ น�ำความรู้ ที่ ไ ด้ ไ ปประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นการปฏิ บั ติ ง าน ให้ เ กิ ด ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ความรู ้ หมายถึ ง สิ่ ง ที่ เ ราสั่ ง สมมาจาก การศึกษา เล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ตรง รวมทั้งความสามารถในทางปฏิบัติและทักษะความ เข้าใจ หรือ สารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งต่าง ๆ ที่ได้รับมาจากการรับฟัง การคิด หรือการ ปฏิบตั จิ ากองค์ความรูใ้ นแต่ละสาขาวิชา ซึง่ องค์ความ รู้ในองค์กรมี ๒ ประเภท ได้แก่ ๑. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) คือ ความรูท้ สี่ ามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธี การต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อกั ษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ เอกสาร กฎระเบียบ วิธีการปฏิบัติงาน สื่อต่าง ๆ เช่น VCD DVD Internet แถบบันทึกเสียง ต่าง ๆ เป็นต้น และบางครัง้ เรียกว่า “ความรูแ้ บบรูปธรรม” ซึ่งสามารถน�ำมาเข้ารหัส QR โปรแกรมเพื่อรวบรวม ข้อมูลได้


ข่าวทหารอากาศ

๒. ความรูท้ ฝี่ งั อยูใ่ นตัวคน (Tacit Knowledge) คือ ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือ สัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการท�ำความเข้าใจ ในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมา เป็นค�ำพูด หรือลายลักษณ์อกั ษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะ ในการท�ำงาน งานฝีมือ ประสบการณ์ แนวความคิด บางครัง้ จึงเรียกว่า “ความรูแ้ บบนามธรรม” ทัง้ นี้ ความรู้ ดังกล่าวสามารถเข้าถึงจากฐานข้อมูลทีร่ ะบุตวั บุคคลได้ หากมีการเข้ารหัสงานตามภารกิจงานใน ทอ.ได้อย่าง ครอบคลุมย่อมสามารถใช้งานได้ถูกคน ถูกเวลาได้ ดังค�ำกล่าวทีว่ า่ “คนไม่ได้เก่งทุกเรือ่ ง แต่ทกุ เรือ่ งมีคนเก่ง” ในความเป็นจริงแล้ว ความรู้ทั้ง ๒ ประเภทนี้ จะเปลีย่ นสถานภาพ ปรับเปลีย่ นไปตลอดเวลา บางครัง้ Tacit ก็ออกมาเป็น Explicit และบางครั้ง Explicit ก็เปลี่ยนไปเป็น Tacit ได้ จากสิง่ ต่าง ๆ ทีเ่ กิดจากการจัดการความรูจ้ งึ ได้มี องค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ น�ำไปใช้เพือ่ เพิม่ ศักยภาพ

17

และสมรรถนะขององค์ ก รหรื อ หน่ ว ยงานตนเอง เพือ่ ให้หน่วยงานของรัฐบริหารราชการเกิดผลสัมฤทธิ์ ต่อภารกิจของรัฐ จึงได้มีการบรรจุการจัดการความรู้ ในองค์กรไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ หมวด ๓ มาตรา ๑๑ ให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนา ความรู้ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ อย่ า งสม�่ ำ เสมอ โดยต้ อ งรั บ รู ้ ข ้ อ มู ล ข่ า วสารและ สามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อน�ำมา ประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นการปฏิ บั ติ ร าชการได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทัง้ ต้องส่งเสริม พัฒนาความรู้ความสามารถ เสริมสร้างวิสัยทัศน์ การปรับเปลีย่ นทัศนคติของข้าราชการในองค์กรให้เป็น บุคลากรที่มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับ การบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราช กฤษฎีกาดังกล่าว อีกทัง้ หน่วยงานยังสามารถน�ำข้อมูล


18

ดั ง กล่ า วที่ อ าจหายไปจากผู ้ เ ชี่ ย วชาญในอดี ต มาประยุกต์ใช้และพัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกด้วย การเชื่อมโยง QR สู่การพัฒนา KM ส�ำหรับการเชือ่ มโยงระหว่าง QR เพือ่ การพัฒนา KM นั้ น เป็ น สร้ า งการพั ฒ นาการส่ ง ผ่ า นความรู ้ ความสามารถของแต่ละบุคคลที่ได้รับการสั่งสอน และการสัง่ สมประสบการณ์ทเี่ กิดขึน้ ในช่วงระยะเวลาหนึง่ จนเกิดความช�ำนาญในสิ่งที่ท�ำ เช่น กรณีการทดสอบ กระสุนวัตถุระเบิดซึ่งต้องผ่านกระบวนการทดสอบ ที่ส�ำคัญในหากหลายขั้นตอน เช่น การทดสอบค่า ความถาวรของดินส่งกระสุน ต้องผ่านกระบวนการ ทดสอบทางเคมี ได้ค่าเครื่องวัดปริมาณสารให้ความ ถาวรของดินส่งกระสุน (HPLC) การทดสอบค่าความเสถียร ของดินส่งกระสุน (Abel Heat Test) เป็นต้น การทดสอบ คุณสมบัตขิ องปลอกกระสุนทางฟิสกิ ส์ เช่น ค่าความแข็ง (Hardness) การทดสอบความเหนียวและแรงดึง (Tensile Strength) การทดสอบขนาดอนุภาคผลึก ของวัสดุ (Grain Size) ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ การล�ำดับขั้นตอนของการปฏิบัติงานของผู้เชี่ยวชาญ

ประกอบกับคู่มือมาตรฐานที่ก�ำหนดเป็นสากลหรือ เป็นที่ยอมรับในหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ดังนั้น เมือ่ มีการพัฒนาระบบ QR โปรแกรม เพือ่ การรวบรวม และบ่งชีค้ ณุ ลักษณะส่วนบุคคลและหน้าทีค่ วามรับผิดชอบ ในงานตามมาตรฐานงานของแต่ละบุคคลนัน้ จึงท�ำให้ ทราบว่าการท�ำงานมีการประสานสอดคล้องกันอย่างไร ใครบ้างที่มีหน้าที่รับผิดชอบและมีส่วนเกี่ยวข้องกับ งานนั้น ๆ เชื่อมโยงมาสู่ผู้ปฏิบัติจริงและผู้ปฏิบัตินั้น สามารถถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เพือ่ รวบรวม ไว้ เ ป็ น หลั ก ฐานขั้ น ตอนการท� ำ งานที่ ถู ก ต้ อ งและ สามารถน� ำ มาใช้ ไ ด้ จ ริ ง หากมี ข ้ อ สงสั ย สามารถ ถามย้อนกลับมาสู่ผู้ปฏิบัตินั้นได้ อีกทั้งงานในหน้าที่ เดี ย วกั น หรื อ ลั ก ษณะงานที่ เ หมื อ นกั น ก็ ส ามารถ รวบรวมผู้มีความรู้ในงานนั้นมาพัฒนาเพื่อต่อยอด ให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ โดยการสร้างชุมชนนักปฏิบตั ิ (CoP) ให้เกิดขึน้ อย่างเป็นรูปธรรม เนือ่ งจากการมีฐานข้อมูล ทีไ่ ด้จาก โปรแกรม QR CODE ซึง่ สามารถดึงลักษณะเด่น ของบุ ค คลมาสร้ า งประโยชน์ ใ ห้ แ ก่ ก องทั พ และ ประเทศได้


ข่าวทหารอากาศ

กระบวนการการจัดการความรู้ ประกอบด้วย ๗ ขั้นตอนดังนี้ ๑. การบ่งชี้ความรู้ เป็นจุดเริ่มต้นที่หน่วยงาน ต้องส�ำรวจความรูท้ บี่ คุ ลากรจ�ำเป็นต้องใช้เพือ่ ให้การ ท�ำงานบรรลุผลส�ำเร็จ โดยส�ำรวจว่า เราต้องการความรู้ อะไร โดยต้องทราบว่าใครในองค์กรมีความรู้ในเรื่อง ที่เราต้องการมากน้อยเพียงใด และที่มีอยู่เพียงพอ หรือไม่หากไม่เพียงพอสามารถขอรับการสนับสนุน จากหน่วยงานข้างเคียงทีม่ คี วามรูเ้ รือ่ งนีไ้ ด้เช่นกัน เช่น ผูจ้ บการศึกษาด้านเคมี ซึง่ มีผเู้ ชีย่ วชาญวิทยศาสตร์เคมี ในกองทัพอากาศ ทีท่ ำ� งานอยู่ ณ ภคม.กกศ.รร.นนก., กวศ.ศวอ.ทอ. และ กวก.สพ.ทอ.นั้น สามารถแต่งตั้ง เป็นผู้ทรงคุณวุฒิส�ำหรับการประเมินให้มีวิทยฐานะ และเลื่อนวิทยฐานะของ ทอ.ได้ หรือหากต้องการ องค์ความรู้อื่น ๆ ในด้านดังกล่าวก็สามารถหาข้อมูล ได้อย่างถูกต้องและตรงกับความต้องการ โดยอาศัยจาก QR CODE ของบุคคลนัน้ ๆ มาเป็นเครือ่ งบ่งชีอ้ กี ทาง หนึ่งด้วย ๒. การสร้างและแสวงหาความรู้ หากส�ำรวจแล้ว เห็นว่าความรู้ที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ก็ต้องไปแสวงหามา เพิ่มเติมให้ได้ครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุด จากต�ำรา เอกสาร หรือคู่มือต่าง ๆ ซึ่งในระบบการซ่อมบ�ำรุง อากาศยาน จะมีเอกสารที่ส�ำคัญและเป็นสิ่งที่จ�ำเป็น ในการด�ำเนินการ คือ TECHNICAL ORDER (T.O.), Maintenance manual เป็นต้น อีกทั้งการค้นคว้า และการศึกษาเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ จะเป็ น อี ก หนทางหนึ่ ง ที่ จ ะพั ฒ นาและสามารถ น�ำความรู้ที่ได้เหล่านั้นมาใช้งานได้ต่อไป ๓. การจัดการความรูใ้ ห้เป็นระบบ เมือ่ ได้ความรู้ มาเพียงพอแล้วควรจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ให้อยูใ่ นรูปของฐานความรู้ (ทุนองค์กร) ทีม่ กี ารจัดระเบียบ โครงสร้าง ให้ง่ายต่อการสืบค้น ค้นคืน แบ่งปัน และ ยกระดับ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร และสารสนเทศเข้ามาช่วยในการจัดการ เช่น ฐานข้อมูล แนวทางปฏิ บั ติ ที่ ดี ส มุ ด หน้ า เหลื อ งผู ้ เ ชี่ ย วชาญ ฐานความรู้ และคู่มือการปฏิบัติงานเป็นต้น ทั้งนี้

19

อาจจะเก็บในรูป QR CODE บันทึกไฟล์ขอ้ มูลงานต่าง ๆ ในระบบแล้วค้นหาด้วย QR CODE เพือ่ ให้งา่ ยต่อการ ค้นหาก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สะดวก รวดเร็ว และ ประหยัดค่าใช้จ่าย แทนการจัดเก็บด้วยรูปแบบของ เอกสารในอดีต ซึง่ รูปแบบเดิมเมือ่ เวลาผ่านไปเอกสาร ดังกล่าวย่อมเสื่อมสภาพตามกาลเวลา หรือต้องใช้ พืน้ ทีเ่ ก็บเป็นจ�ำนวนมากไม่สะดวกกับการค้นหาหรือ น�ำไปใช้งานต่อไป ๔. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ต้องน�ำ ความรูท้ จี่ ดั เก็บเป็นหมวดหมูน่ ำ� มาทบทวน กลัน่ กรอง ให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ เนื่องจากปัจจุบันข้อมูล ข่าวสาร และวิทยาการใหม่ ๆ เกิดขึน้ และเปลีย่ นแปลง อย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา จึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมี การทบทวนความรู้อยู่สม�ำ่ เสมอ เช่น ความรู้ในด้าน Cyber Security มีการโจมตีระบบอยู่หลายรูปแบบ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น ขบวนการสร้าง ความเชื่อ (Beyond Fake News) ซึ่งเป็นกระบวน การล้างสมอง (Brainwash) โดยเผยแพร่ภาพการ์ตูน หรืออินโฟกราฟฟิค ด้านลบของบุคคลหรือสถาบันใด สถาบันหนึ่งอย่างต่อเนื่องเป็นระยะในเวลายาวนาน อาจจะท�ำให้บุคคลที่หลงเชื่อหรือเป็นเหยื่อ กระท�ำ การบางอย่างทีเ่ ป็นภัยคุกคามได้ เช่น การก่อการร้าย การก่อความไม่สงบภายในประเทศ หรือภัยคุกคาม ต่อสถาบันได้การเจาะระบบ (Hacker) ขโมยข้อมูลต่าง ๆ ทีเ่ ป็นความลับและก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมัน่ คง ได้ซึ่งผู้เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันในการทบทวนและ กลั่นกรองและมีความทันสมัยอยู่เสมอ ๕. การเข้าถึงความรู้ เป็นสิง่ ทีส่ ำ� คัญอีกประการหนึง่ ในการจัดการความรู้ เนื่องจากหากความรู้นั้นเข้าถึง ได้ยากจะท�ำขาดแรงจูงใจในการเข้ามาสืบค้นข้อมูล เพือ่ น�ำไปใช้ประโยชน์ได้ ทัง้ นีใ้ ห้ตอ้ งมีการจัดช่องทาง เผยแพร่ความรู้ทางช่องทางที่หลากหลาย เพื่อให้ บุคลากรสามารถเข้าถึงความรูไ้ ด้สะดวก รวดเร็ว และ ทั่วถึง เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ QR CODE เป็นต้น


20

๖. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ จัดกิจกรรม ให้บุคลากรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งได้ ๒ วิธี คือ จัดท�ำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ และเทคโนโลยี สารสนเทศต่าง ๆ และจัดท�ำเป็นระบบ ข้ามสายงาน มีกจิ กรรมกลุม่ คุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการ เรียนรูห้ รือชุมชนนักปฏิบตั ิ ( Community of Practice หรือ CoP.), ระบบพีเ่ ลีย้ ง การสับเปลีย่ นงาน การยืมตัว รวมถึงเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น ๗. การเรียนรู้ ควรท�ำให้การเรียนรูเ้ ป็นส่วนหนึง่ ของงานก�ำหนดให้บุคลากรในองค์กรต้องใช้ KM เข้ า มาเพื่ อ น� ำ ความรู ้ ไ ปใช้ ใ ห้ เ กิ ด การเรี ย นรู ้ แ ละ ประสบการณ์ใหม่ ๆ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนือ่ ง ช่ ว ยในการท� ำ งานเพื่ อ ผลงานที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ โดย อาจก�ำหนดเป็นนโยบาย จากผูบ้ ริหารขององค์กร เช่น การออกค�ำสัง่ ท�ำงานชุมชุนนักปฏิบตั ขิ อง นขต.ทอ. หรือค�ำสั่ง ก.พ.ร.ของหน่วยที่ประกอบด้วย คณอก. จัดการความรู้ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้การท�ำ KM เกิดเป็นรูปธรรมอีกทางหนึ่งด้วย ทัง้ นีก้ ารด�ำเนินการกระบวนการการจัดการความรู้ เมื่ อ ลงมื อ ปฏิ บั ติ จ ริ ง แล้ ว ต้ อ งอาศั ย ระยะเวลา พอสมควร โดยเฉพาะในขั้นตอนที่ ๗ เป็นขั้นตอน ที่ต้องการให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและจริงจัง นั่นก็คือ บุคลากรทุกคนต้องท�ำงานโดยมี KM อยู่ในสายเลือด อีกทัง้ การท�ำงานทีต่ อ้ งใช้องค์ความรูท้ ถี่ กู ต้อง ทันสมัย ครบถ้วน มาประกอบการปฏิบัติราชการในความ รับผิดชอบทุกเรื่อง

การเชื่อมโยง QR สู่การพัฒนา KM จะประสบ ความส� ำ เร็ จ ได้ นั้ น ต้ อ งอาศั ย ความร่ ว มมื อ จาก ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิง่ บุคลากร ซึง่ เป็นหัวใจหลัก ในการขั บ เคลื่ อ นนโยบายที่ ไ ด้ ก� ำ หนดไว้ ใ ห้ บ รรลุ วั ตถุ ประสงค์ ตั้ ง แต่ ร ะดั บผู ้ ปฏิ บัติ จนถึ ง ผู ้ บริ ห าร หากขาดส่ ว นใดส่ ว นหนึ่ ง เปรี ย บเสมื อ นฟั น เฟื อ ง ของเครื่ อ งจั ก รที่ สู ญ หายไปฉั น ใด เครื่ อ งจั ก รนี้ ก็ไม่สามารถท�ำงานได้ฉันนั้น ดังนั้น ทุกคนในองค์กร ต่างมีความส�ำคัญในงานของตนเอง องค์กรที่มีการ จัดการองค์ความรู้ที่ดีจะสามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์ จากทุนทางด้านความรู้ (Knowledge Asset) ทีเ่ กิดจาก ปัญญาของบุคคลากรทุกระดับภายในองค์กรอย่างไม่รู้ จักหมด เพราะเมือ่ หน่วยงานได้เริม่ ต้นด�ำเนินการเรือ่ ง KM จะพบว่ า ความรู ้ ที่ ตั ว เรา (One person) คิดว่าเรามีอยู่เยอะนั้น จริง ๆ แล้วยังน้อยมากเมื่อ เปรี ย บเที ย บกั บ ที่ มี อ ยู ่ ภ ายในองค์ ก รของเราเอง และจะยิง่ รูส้ กึ ประทับใจเมือ่ ค้นพบว่ามีความรูบ้ างอย่าง มาจากที่เราคาดคิดไม่ถึง ท�ำให้คนเราลดละ อัตตา และกิ เ ลส ที่ คิ ด ว่ า ตนรู ้ แ ต่ ผู ้ เ ดี ย วในจั ก รวาลและ หวงความรู้นั้นไว้กับตนเอง โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งที่ตนรู้นั้น ไม่มีคุณค่าใดเลยหากไม่มีผู้น�ำไปใช้ อย่าลืมว่าความรู้ ทัง้ หลายทัง้ ปวงเกิดจากการสอน เพราะ “ยิง่ ให้ยงิ่ รู”้ ไม่เหมือนทรัพย์สินอื่นที่ยิ่งให้ยิ่งหมดดังนั้นผลที่ได้ ก็คือ “งานเกิดผล คนมีสุข สนุกกับการท�ำงาน”

อ้างอิง - เอกสารประกอบการบรรยาย “การประชุม เพือ่ รับฟังนโยบายการพัฒนา QR โปรแกรม แนวทางการจัดท�ำ QR Content ของหน่วยขึน้ ตรงกองทัพอากาศ” เมือ่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ณ ห้องบรรยาย กองบัญชาการ กองทัพอากาศ - ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เข้าถึงโดย : https://www2.opdc.go.th/oldweb/ thai/E_Newsletter/dec_2006/e-newsletter/knowledge/KM.htm - ส�ำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เข้าถึงโดย :http://www.ops.moe.go.th/ops2017//สาระน่ารู้/ 1877-qr-code-คืออะไร


ข าวทหารอากาศ

21

เปดปูม ๑๐๐ ป การบิน ของบุพการี กองทัพอากาศ พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร

(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

ใน พ.ศ.๒๔๗๔ กรมอากาศยาน เริ่มรับสมัคร นั ก เรี ย นท� า การนายร้ อ ยเป็ น นั ก บิ น เป็ น ครั้ ง แรก มีผู้สมัคร ๘ นาย รวมทั้งประกาศรับนายทหารบก ประจ�าการที่มีอายุไม่เกิน ๒๕ ปี และรับราชการ ทดลองบิ น ได้ ส� า เร็ จ เป็ น ครั้ ง แรก เมื่ อ วั น ที่ ในหน้าที่นายทหารพลรบ ครบ ๒ ปี เข้าสมัครเป็น ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๔ ศิษย์การบิน วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๔ กรมอากาศยาน ได้รับเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๖ (บ.ข.๖) จากประเทศ อังกฤษ จ�านวน ๒ เครื่อง เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๗ (บ.ข.๗) จากสหรัฐอเมริกา จ�านวน ๒ เครื่อง และ เครือ่ งบินขับไล่แบบที่ ๘ (บ.ข.๘) จากประเทศเยอรมนี จ�านวน ๑ เครื่อง ในขณะเดียวกัน ได้มีการดัดแปลงเครื่องบิน นิ เ ออปอรต์ เดอลาจ จากแบบเดิ ม ที่ ใ ช้ ไ ม้ อั ด มาประกอบล� า ตั ว เป็ น การใช้ โ ครงโลหะบุ ด ้ ว ยผ้ า ครูและศิษย์การบินรุ่นแรก เพื่ อ สะดวกแก่การรัก ษาและซ่อม และได้ ท� า การ

เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๗ (Boeing 100 E)


22

วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๕ กรมอากาศยาน ท�าพิธีเปิดโรงเรียนการบินชั้นสูง ซึ่งเป็นโรงเรียนการ บินขัน้ ปลายส�าหรับนักบินในขณะนัน้ โดยมีนายทหาร นักบินได้รับคัดเลือกเข้าเรียนทั้งหมด ๙ คน วั น ที่ ๒๔ มิ ถุ น ายน พ.ศ.๒๔๗๕ มี ก าร เปลี่ ย นแปลงการปกครองในประเทศไทยรูป แบบ โครงสร้ า งของกระทรวงกลาโหมและกองทั พ บก จึงมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยกรมอากาศยาน ซึ่งเคยขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม ให้เปลี่ยนเป็น ขึ้ น ตรงต่ อ ผู ้ บั ญ ชาการทหารบกและแต่ ง ตั้ ง ให้ นายพันเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ ปลัดกรม อากาศยาน เป็ น เจ้ า กรมอากาศยาน เมื่ อ วั น ที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๕ ในเดือน กันยายน พ.ศ.๒๔๗๕ กองโรงงาน อากาศยาน ได้สร้างเครื่องบินขึ้นใหม่อีกแบบหนึ่ง และได้ ท� า การทดลองบิ น เป็ น ผลส� า เร็ จ โดยสร้ า ง นายพันเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์

ตามแบบมาจากเครื่ อ งบิ น แอฟโรเดิ ม ที่ เ ราได้ รั บ สิทธิบัตร และให้หมายเลขเป็น แอฟโร ๒๑/๗๕ เป็นเครื่องผาดแผลงคันบังคับคู่ เนื่องจากเกิดการกบฏ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๖ ท� า ให้ น ายทหารบางนายถู ก ให้ อ อก จากราชการ และมีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ในกรมอากาศยาน ดังนั้น จึงมีค�าสั่งให้ นายพันเอก พระเวชยั น ตรั ง สฤษฏ์ ผู ้ ช ่ ว ยเจ้ า กรมอากาศยาน ฝ่ายเทคนิค รักษาราชการแทนเจ้ากรมอากาศยาน ตั้งแต่วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๖ และได้รับ แต่ ง ตั้ ง ให้ เ ป็ น เจ้ า กรมอากาศยาน โดยสมบู ร ณ์ เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๖ นายพันเอก พระเวชยันตรังสฤษฏ์


ข าวทหารอากาศ

23

สนามบินดอนเมือง เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖

ในปี พ.ศ.๒๔๗๖ การบิ น พาณิ ช ย์ ไ ด้ เ จริ ญ ก้าวหน้าขึน้ และมีเครือ่ งบินพาณิชย์ของต่างประเทศ มาลงทีส่ นามบินดอนเมืองเป็นประจ�า และทวีจา� นวน มากขึน้ เป็นล�าดับ แต่สนามบินเป็นสนามหญ้า เมือ่ ถึง ฤดูฝนพืน้ สนามนองไปด้วยน�า้ และเป็นหลุมเป็นโคลน เครือ่ งบินขนาดใหญ่ไม่สามารถขึน้ ลงได้ กรมอากาศยาน จึ ง ได้ ข ออนุ มั ติ ท� า การสร้ า งทางวิ่ ง ของเครื่ อ งบิ น เป็นคอนกรีต ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๖ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๗

เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๙ (Curtiss Hawk II)

พ.ศ.๒๔๗๖ – ๒๔๗๗ กรมอากาศยาน ได้ซื้อ เครือ่ งบินขับไล่แบบที่ ๙ (บ.ข.๙) และเครือ่ งบินโจมตี แบบที่ ๑ (บ.จ.๑) พร้อมสิทธิบัตรการสร้างจาก สหรัฐอเมริกา แบบละ ๑๒ เครื่อง เครื่องบินทั้ง ๒ แบบ เป็นเครือ่ งบินทีม่ บี ทบาทในการรบทางอากาศ ในกรณี พิ พ าทอิ น โดจี น ฝรั่ ง เศส และสงคราม มหาเอเชียบูรพา ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๙ – ๒๔๘๓ กรมอากาศยานได้สร้าง เครื่องบินโจมตีแบบที่ ๑ นี้ ขึ้นอีกหลายเครื่อง

เครือ่ งบินโจมตีแบบที่ ๑ (Vought V-935/SA Corsair)


24

กรมอากาศยานได้ มี ห นั ง สื อ ถึ ง ส� า นั ก งาน โฆษณาการ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๗ เพือ่ ขอให้ประกาศทัว่ กันสรุปความว่า กรมอากาศยาน จะด�าเนินการฝกหัดนักบินให้เป็นผูส้ ามารถในการบิน และการรบ เพื่อว่าเมื่อถึงคราวจ�าเป็นเกิดขึ้นแล้ว นักบินทัง้ หลายจะได้ออกท�าการรักษาป้องกันประเทศ ได้โดยแท้จริง ทั้งนี้ กรมอากาศยานได้เริ่มให้มีการบินไปลง ในสนามบินต่างจังหวัดบ่อยขึน้ และให้มกี ารฝกยิงปืน บนอากาศและทิ้งลูกระเบิดจากทางอากาศด้วย จากการบินไปยังสนามบินต่าง ๆ ทั่วประเทศ ท�าให้พนี่ อ้ งประชาชนได้เห็นคุณประโยชน์ของเครือ่ งบิน มากขึ้น และได้รับการบริจาคเงินอุดหนุนเป็นจ�านวน มากเหมือนเช่นอดีตที่ผ่านมา วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๗ ผู้รักษาราชการ แทนผูบ้ ญ ั ชาการทหารเรือ ได้มหี นังสือถึงผูบ้ ญ ั ชาการ ทหารบก ขอความร่ ว มมื อ ให้ ก รมอากาศยานส่ ง เครื่องบินเข้าร่วมการฝกภาครวมของกองทัพเรือ ทีส่ ตั หีบ ในภารกิจการตรวจการณ์กระสุนตกให้กองเรือ การลาดตระเวนในอ่าวสยามในเวลาประลองยุทธ และการโจมตี เ รื อ ในทะเลเพื่ อ ดู ผ ลของการต่ อ สู ้ และป้องกันการโจมตี

ในการนี้กรมอากาศยานได้ส่งเครื่องบินเข้าร่วม การฝ ก ภาครวมของกองทั พ เรื อ เป็ น ครั้ ง แรก จ�านวน ๑๒ เครื่อง ในวั น ที่ ๖ พฤศจิ ก ายน พ.ศ.๒๔๗๗ กรมอากาศยานได้ ป ระกอบปรั บ เครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ แบบที่ ๙ ใช้เครื่องยนต์ไรท์ไซโคลน ที่สั่งซื้อมาจาก ต่ า งประเทศเสร็ จ เรี ย บร้ อ ยเป็ น เครื่ อ งแรก และมอบให้ นายร้ อ ยเอก หลวงเชิ ด วุ ฒ ากาศ (ต่อมา เป็นรองผู้บัญชาการทหารอากาศ) เป็นผู้ ทดลองบิน ประสบผลส�าเร็จ ต่อมาได้ท�าการประกอบปรับเครื่องบินโจมตี แบบที่ ๑ ใช้เครื่องยนต์ฮอร์เน็ต ๖๗๕ แรงม้า จ�านวน ๕ เครือ่ ง ทีส่ งั่ ซือ้ มาจากต่างประเทศ จัดการบินทดลอง เป็นที่เรียบร้อยใช้ราชการได้ดีทุกเครื่อง

เครื่องบินแอฟโรฝกร่วมกับกองทัพเรือเป็นครั้งแรก

เครื่องบินเบร์เกต์ที่สนามบินเชียงใหม่ครั้งแรก


ข าวทหารอากาศ

บทที่ ๓

25

กิจการบินในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รั ช กาลที่ ๘ ทรงได้ รั บ อั ญ เชิ ญ ขึ้ น เถลิ ง ถวั ล ย์ ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๗ ขณะมี พ ระชนมายุ เ พี ย ง ๙ พรรษา จึงจ�าเป็นต้องมีผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์จนกว่า จะบรรลุพระราชนิติภาวะ ส่วนพระราชกรณียกิจ

ที่ ท รงปฏิ บั ติ ใ นพระราชฐานะจอมทั พ ไทยนั้ น จะกระท�าในพระปรมาภิไธย แม้จะทรงอยูใ่ นราชสมบัตเิ พียงระยะเวลาอันสัน้ แต่พระองค์ก็ทรงมีพระราชกรณียกิจด้านการทหาร ที่ ท รงปฏิ บั ติ อ ยู ่ ห ลายประการ อาทิ การเสด็ จ พระราชด�าเนินเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีต่าง ๆ


26

เสด็จประทับเครื่องบินที่ดอนเมือง เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๓

ทรงเล่นเครื่องบินเล็กที่กองทัพอากาศถวาย เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑

การเสด็จพระราชด�าเนินไปทอดพระเนตรกิจการ ทางทหารของทุกเหล่าทัพ และที่ส�าคัญคือ การเสด็จ ออกร่ ว มพิ ธี ส วนสนามของกองทั พ สั ม พั น ธมิ ต ร หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลง ในรัชสมัยของพระองค์ ประเทศไทยมีก�าลัง กองทัพครบถ้วนทั้ง ๓ เหล่าทัพ คือ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ทั้ง ๓ เหล่าทัพ ก็ ไ ด้ แ สดงบทบาทส� า คั ญ ในการต่ อ สู ้ เ พื่ อ รั ก ษาไว้ ซึ่ ง เอกราชและอธิ ป ไตยของชาติ ใ นสงครามถึ ง ๒ เหตุการณ์ด้วยกัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เป็ น พระมหากษั ต ริ ย ์ อี ก พระองค์ ห นึ่ ง ที่ ท รงให้ ความสนพระทั ย ทางด้ า นการบิ น และกิ จ การของ กองทัพอากาศ มาตัง้ แต่ยงั ทรงพระเยาว์ ดังมีพระบรม ฉายาลักษณ์ที่เสด็จฯ ไปทอดพระเนตร และประทับ เครื่องบินที่ดอนเมือง ขณะมีพระชนมายุ ๕ พรรษา รวมถึงการทรงเล่นเครื่องบินเล็กที่กองทัพอากาศ ถวาย เมื่ อ ปี พ.ศ.๒๔๘๑ ซึ่ ง ปรากฏในหนั ง สื อ “เจ้านายเล็ก ๆ - ยุวกษัตริย์” ในพระนิ พ นธ์ ข อง สมเด็ จพระเจ้ า พี่ นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวฒ ั นา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (อ่านต่อฉบับหน้า)


ข าวทหารอากาศ

27

เหตุผลที่ 5G เปนอนาคต ของกองทัพ

(Reasons Why 5G Is the Armed Forces Future) น.อ.สรรสิริ สิริสันตคุปต์ ในฐานะเป็นผูส้ บื ทอดต่อจาก 4G เทคโนโลยี 5G ถือเป็นสิ่งที่คาดหวังว่าจะมาเปลี่ยนวิธีการท�างาน ของเราไปอย่างสมบูรณ์ โดยน�าเสนอความจุข้อมูล มหาศาล ความเร็วทีร่ วดเร็ว และความหน่วงของเวลา หรือ Delay ที่ต�่ามาก 5G นับเป็นย่างก้าวที่ยิ่งใหญ่ กว่ า รุ ่ น ก่ อ น ๆ ของเทคโนโลยี เ ครื อ ข่ า ยไร้ ส าย คุณสมบัติของ 5G ไม่เพียงแต่จะเพิ่มประสิทธิภาพ ของการสื่ อ สารอี ก ทั้ ง ยั ง ปลดปล่ อ ยศั ก ยภาพของ ระบบอัตโนมัติ ทีส่ า� คัญจะช่วยน�าไปสูก่ ารใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยีท่ีเกิดมาก่อนอย่าง ความจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) ระบบคลาวด์ (Cloud) อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (Internet of Things : IoT) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) แน่นอนเครือข่ายไร้สาย 5G ต้องถูกน�ามาใช้งาน ทั่วโลกในปี ค.ศ.๒๐๒๐ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่าง ชัดเจนในทุกระดับ และน�าไปสู่ความเป็นไปได้อย่าง ไม่มีที่สิ้นสุด องค์กรจะต้องเตรียมความพร้อมส�าหรับ ความเป็นไปได้ ที่การเชื่อมต่อบนเครือข่ายไร้สายนี้ จะมอบให้ แ ก่ อ งค์ ก รที่ เ ร็ ว สุ ด ซึ่ ง ยอมรั บ ในการ เปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ เพือ่ ให้ได้เปรียบในการแข่งขัน

ที่ เ หนื อ กว่ า คู ่ แ ข่ ง ผลที่ ไ ด้ รั บ จากการเชื่ อ มต่ อ บนเครือข่ายไร้สาย 5G นัน้ คาดว่าจะพลิกโฉมของโลก ทั้ ง ในเชิ ง พาณิ ช ย์ และในทางทหาร ด้ ว ยเหตุ ผ ล ท�าไม 5G จึงเป็นอนาคตของกองทัพ โดยบทความ ในฉบับมีมุมมองและรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้


28

ก า ร สื่ อ ส า ร แ ล ะ ก า ร ท� า ง า น ร ่ ว ม กั น (Communication and Collaboration) ลองนึ ก ภาพทหารในสนามรบ พวกเขาก้ า ว ไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว กระจายห่างออกไป ๒๐๐ ๓๐๐ ฟุต แต่ละคนสวมอุปกรณ์บนข้อมือ เพื่อแสดง ต�าแหน่งของทหารแต่ละคนในทีม ทันใดนั้นทหาร คนหนึ่งถูกซุ่มโจมตี ถูกยิง และหมดสติ อุปกรณ์ อัจฉริยะที่เขาสวมใส่บนข้อมือ ตรวจจับอาการและ เริ่มบีบเข็มขัดรอบต้นขาที่บาดเจ็บของทหารคนนั้น พร้อมกับส่งข้อมูลแจ้งเตือนฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาล สนาม และทีมงานทั้งหมด ทหารปรับรูปแบบการรบ และทหารทีบ่ าดเจ็บถูกดูแลด้วยเพือ่ นทหาร ขณะนัน้ เฮลิคอปเตอร์มาถึงเพือ่ อพยพทหารทีบ่ าดเจ็บออกไป รถหุม้ เกราะอัตโนมัตไิ ร้คนขับมาถึงพืน้ ทีก่ ารรบ ท�าให้ การต่ อ สู ้ ไ ด้ รั บ ชั ย ชนะรอดพ้ น จากความสู ญ เสี ย อันเนื่องมาจากอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหมดที่ผูกติดอยู่ ทีข่ อ้ มือของทหาร นีไ่ ม่ใช่พล็อตจากภาพยนตร์ แต่เป็น ตัวอย่างของเทคโนโลยีทมี่ อี ยูแ่ ล้ว และก�าลังถูกพัฒนา ด้วยการใช้อินเทอร์เน็ตของสิ่งต่าง ๆ (IoT) รวมทั้ง ปั ญ ญาประดิ ษ ฐ์ (AI) โดยหน่ ว ยงานวิ จั ย ขั้ น สู ง

ทางทหาร (Defense Advanced Research Projects Agency : DARPA) ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา อั น มี พื้ น ฐานมาจากการน� า เทคโนโลยี ก ารสื่ อ สาร ไร้สายในยุคที่ ๕ (5G) มาใช้ ท�าให้การสือ่ สารกลายเป็น สิ่งที่ส�าคัญต่อการปฏิบัติงานทางทหารในสนามรบ และ 5G จะกลายเป็นรากฐานที่ส�าคัญของเทคโนโลยี ทางทหาร การเชือ่ มต่อของฐานทัพ (Connecting Bases) จุ ด เด่ น ของเครื อ ข่ า ยไร้ ส าย 5G กล่ า วคื อ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น มีพลังในการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานของกองทัพ เพิ่มความพร้อม และยังรองรับความสามารถในการ ปฏิบัติภารกิจใหม่ ๆ ด้วยอุปกรณ์พกพาหรืออุปกรณ์ สวมใส่ ซึ่งการพัฒนาฐานทัพที่เชื่อมต่อด้วยเครือข่าย ไร้สาย 5G เชิงพาณิชย์ (Commercial 5G Technology) นัน้ ถือเป็นการน�าข้อดีในด้านต่าง ๆ ของ 5G มาใช้ อีกทัง้ ยังเป็นโอกาสในการก้าวไปสูศ่ ตวรรษที่ ๒๑ ทีโ่ ครงสร้าง พื้นฐานใช้ข้อมูลเป็นศูนย์กลาง (Information Centric Infrastructure) อนึ่ ง 5G สามารถ รั บ - ส่ ง ข้ อ มู ล ได้ อ ย่ า งปลอดภั ย ในอั ต ราที่ สู ง ถึ ง


ข าวทหารอากาศ

10 Gbps เร็วกว่าเครือข่ายมือถือ 4G LTE ที่เร็วสุด ในปัจจุบัน ๒๐ เท่า ลองจินตนาการถึงการเชื่อมต่อ บนเครื อ ข่ า ยไร้ ส ายความเร็ ว สู ง (5G) ที่ ร องรั บ การท�างานภายใน และโดยรอบพื้นที่การบิน (Flight Line Operations) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ การบิน รวมทัง้ เจ้าหน้าทีด่ า้ นการซ่อมบ�ารุง สามารถ ใช้ข้อมูลบนแท็บเล็ตที่มีความปลอดภัยภายในสภาพ แวดล้อม 5G ที่ปลอดภัยแบบ Real Time เพื่อตรวจ ดูแผนการบิน การใช้ชิ้นส่วนของอะไหล่ ตรวจดู แผนการบ�ารุงรักษาเครือ่ งบิน และอืน่ ๆ ผ่านการเชือ่ มโยง บนเครื อ ข่ า ยไร้ ส าย 5G ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ อีกทั้ง 5G ยังท�าให้อุปกรณ์ VR (ความจริงเสมือน) ที่เชื่อมต่อกับระบบคลาวด์ (Cloud) ด้วยการหน่วง ของเวลาหรือ Delay ที่ต�่ามาก จนท�าให้การควบคุม และสั่งการของการฝกจ�าลองเป็นไปในแบบ Real Time ท�าให้การฝกระหว่างฐานทัพมีประสิทธิภาพ และมีตน้ ทุนทีถ่ กู ลง ทีส่ า� คัญการปรับปรุงการปฏิบตั งิ าน เข้าสู่โครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ข้อมูลเป็นศูนย์กลางนั้น ท� า ให้ ฐ านทั พ สามารถเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ในทุ ก ระดั บ (Supply Chain Visibility) อาทิ ตรวจสอบข้อมูล

29


30

ยุทโธปกรณ์ทางทหารที่ประจ�ำการอยู่ใน ฐานทัพ ต่าง ๆ ได้ ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ช่วยยกระดับการใช้ เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ของกองทัพ ดังจะเห็นได้จาก กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ก้าวไปข้างหน้าในฐานะที่ เป็นผู้ริเริ่มการใช้เทคโนโลยี 5G เชิงพาณิชย์เพื่อการ ปฏิบัติงานทางทหาร ได้ร่วมมือกับบริษัท Verizon ผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สาย 5G เชิงพาณิชย์ เพือ่ ติดตัง้ โครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายไร้สาย 5G ให้ครอบคลุม พื้นที่ในฐานทัพที่เครือข่ายไร้สาย 5G ได้ถูกน�ำไปใช้ ส�ำหรับโครงการแรกใน ๑๐ ฐานทัพอากาศ ข้อคิดที่ฝากไว้ เมื่อพูดถึงเครือข่ายไร้สาย 5G ที่จะน�ำไปสู่การ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอนื่ ๆ อาทิ IoT (อินเทอร์เน็ต ของสิ่งต่าง ๆ) สิ่งที่กองทัพจะต้องท�ำคือ ตรวจสอบ ให้แน่ใจถึงความเหมาะสมของการใช้งานในแต่ละ รูปแบบก่อน ที่จะน�ำโครงสร้างพื้นฐาน 5G มาติดตั้ง และใช้งานในกองทัพ อีกทั้งตรวจสอบให้แน่ใจว่า มาตรฐานความปลอดภัยบนเครือข่ายไร้สาย 5G นั้น จะถูกถ่ายโอนไปบนเครือข่ายไร้สายที่กองทัพได้ใช้ มาก่อน (4G) ซึ่งมีใช้อยู่ในปัจจุบัน


ข าวทหารอากาศ

31

วันทหารผ่านศึก วันคืนสู่เหย้ากับศัตรู ผาแต้ม

โลกรับรูเ้ รือ่ งราวดอกไม้แห่งสงครามนามดอกปอบปี้ เมื่อไม่กี่ศตวรรษที่ผ่านมา ที่จริงมันเป็นเพียงดอกไม้ ธรรมดาเท่านัน้ แต่เมือ่ มีผพู้ บเห็นเหตุการณ์ประหลาด แล้วน�ามาเขียนเป็นบทกวี ช่อดอกปอบปี้ที่งดงาม จึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของต�านานสงครามและ สันติภาพ ในเวลาต่อมา เรือ่ งราวเริม่ ขึน้ ในต้นศตวรรษที่ ๑๙ เมือ่ นโปเลียน โบนาปาร์ต จักรพรรดิฝรัง่ เศส ขยายอิทธิพลไปทัว่ ยุโรป การรบพุง่ ณ ลานทุง่ แห่งหนึง่ เลือดทีห่ ลัง่ ไหลชโลมดิน ช่วยบ�ารุงให้ตน้ ดอกปอบปีผ้ ลิดอกออกใบเบ่งบานไปทัว่ ทุง่ สีของมันแดงฉาดราวกับโลหิต แต่เมือ่ สงครามสิน้ สุดลง ดอกปอบปี้ก็กลับเหี่ยวเฉา ต่อมาในสงครามโลกครัง้ ที่ ๑ ปรากฏการณ์เช่นนัน้ ก็เกิดขึน้ อีกครัง้ ทีท่ งุ่ สมรภูมฟิ ลานเดอร์ส (Flanders) เบลเยี่ยม ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรและอักษะบาดเจ็บ ล้มตายลงเป็นจ�านวนมากในทุง่ สังหารแห่งนัน้ พืน้ หญ้า ที่เคยแห้งแล้งก็กลับชุ่มชื้น ทั่วทั้งท้องทุ่งฉาบแดง ไปด้วยดอกปอปปี้ที่ผุดขึ้นราวกับพู่กันแต่งแต้มเลือด

เปลี่ยนทุ่งสังหารให้กลายเป็นทุ่งดอกบุบผาโลหิต ทีง่ ดงามแต่แฝงไปด้วยความน่าพรัน่ พรึง แต่เมือ่ สิน้ สุด สงครามพื้นดินก็กลับแห้งผากลงอย่างน่าประหลาด แพทย์สนามชาวแคนาเดียน (ค.ศ.๑๙๑๕) ผูส้ งั เกต เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวได้น�ามาแต่งเป็นบทกวีชื่อ In Flanders Fields ทีไ่ ด้รบั ความนิยมอย่างมาก ๓ ปีตอ่ มา มัวน่า มิเชลล์ ชาวอเมริกัน อาสาสมัครหน่วย Young Men's Christian Association ได้นา� ดอกปอบปีม้ าติดอกเสือ้ เพื่อร�าลึกถึงทหารที่เสียชีวิตในสงครามจุดประกาย ให้หน่วยงานสวัสดิการชาติตา่ ง ๆ ในยุโรปน�าดอกปอบปี้ ออกขายเพื่ อ น� า รายได้ ไ ปช่ ว ยเหลื อ ทหารผ่ า นศึ ก ครอบครัว รวมถึงเด็กผู้ตกเป็นเหยื่อของสงคราม ด้วยเหตุนี้ ดอกปอปปีจ้ งึ กลาย มาเป็นสัญลักษณ์ของความรัก ชาติ ความเสียสละ และความ กล้าหาญของทหารผ่านศึกจาก สงครามโลกทั้ง ๒ ครั้งรวมถึง สงครามอื่น ๆ ในเวลาต่อมา


32

๑๑ พฤศจิกายน ของทุกปี ถูกก�าหนดให้เป็น วันทหารผ่านศึกสากล เนือ่ งจากเป็นวันทีส่ งครามโลก ครัง้ ที่ ๑ ยุตลิ ง สหรัฐอมเริกาเรียกวันนีว้ า่ วันทหารผ่านศึก (Veteran’s Day) ขณะที่ไทยประกาศให้วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น วันทหารผ่านศึก เพราะวันที่ ๓ กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ.๒๔๙๑ เป็ น วั น ที่ รั ฐ บาลไทย ประกาศใช้ พ.ร.บ.จัดตัง้ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก กระนั้น หากไม่มีองค์กรต่าง ๆ ถูกจัดตั้งขึ้นมา ท�าหน้าทีด่ แู ลสวัสดิการให้ทหารผ่านศึกและครอบครัว วั น ทหารผ่ า นศึ ก คงเป็ น แค่ วั น ระลึ ก ที่ ฉ าบฉวย แล้ ว โรยร่ ว งเหมื อ นดอกป อ บปี ้ ย ามสิ้ น แสงตะวั น ของวันนัน้ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกจึงถูกจัดตัง้ ขึน้ ภายหลั ง สงครามมหาเอเซี ย บู ร พาโดยกระทรวง กลาโหมไทยในปี พ.ศ.๒๔๙๐ แม้จะมีหน่วยงานต่าง ๆ คอยให้ความช่วยเหลือ แต่อวัยวะที่สูญเสียไป ย่อมไม่มีสิ่งใดมาทดแทนได้ โดยเฉพาะกับสังคม ชีวิต จิตใจของผู้ผ่านสมรภูมิรบ ที่ค่อนแคะเหมือนต้นไม้ไม่สมบูรณ์ จะมียาหรือวิธี รั ก ษาใดมาเยี ย วยาจิ ต ใจพวกเขาได้ ด้ ว ยเหตุ นี้ หน่วยงานหนึ่งจึงได้ทดลองน�าเหล่าทหารผ่านศึก ที่เคยหันปลายกระบอกปืนเข้าหากันมาท�ากิจกรรม ร่วมกัน เผื่อบางทีการใช้วิธีหนามหยอกเอาหนามบ่ง อาจได้ผลก็เป็นได้ แต่เรื่องท�านองนี้คงไม่ง่ายนัก หากไม่มี “เวลา” เป็นยารักษาเบื้องต้นเสียก่อน ต่อไปนี้ เป็นเรื่องราวของทหารผ่านศึกที่เคยรบ กันยาวนานที่สุดในโลก หรือที่รู้จักกันว่า สงคราม เวียดนาม พวกเขาถูกคัดเลือกให้เข้าร่วมกิจกรรม ด้วยกัน โดยจัดอยู่ในกลุ่มทหารที่ผ่านศึกมานาน นานพอที่ เ วลาจะท� า หน้ า ที่ บ� า บั ด ของมั น ไปบ้ า ง

ผลปรากฏว่าสภาพจิตใจที่เคยบอบช�้าและก้าวร้าว ได้กลับคืนสู่สภาพปกติได้ดังเดิมอีกครั้ง ดอกปอบปี้ ได้เบ่งบานขึ้นแล้วในทุ่งจิตใจของพวกเขา อย่างน้อย ก็คู่หนึ่ง แดเนียล แจนเซ่น เคยร่วมสมรภูมิในสงคราม เวียดนามในปี ค.ศ.๑๙๐๗ – ๑๙๗๑ ขณะที่ก�าลัง ลาดตระเวนในท้องทุ่งแห่งหนึ่ง เขาก็ได้ตั๋วกลับบ้าน เมื่อไปเหยียบกับระเบิดเข้า จนขาขาดไปข้างหนึ่ง เขาถูกส่งตัวกลับอเมริกาพร้อมขาเทียมเป็นของทีร่ ะลึก จากสงคราม เขารู้สึกโกรธแค้นโชคชะตา ไม่ภูมิใจ กับเหรียญกล้าหาญ เขาโยนทุกอย่างทิ้งไป ไม่เหลือ แม้แต่เครื่องแบบทหารสักชุด หรือรูปถ่ายสักใบ ๒๖ ปีต่อมา เขาได้รับจดหมายเชิญจากองค์กร เวิร์ลด์ ที.อี.เอ.เอ็ม สปอร์ตส์ ให้เข้าร่วมแข่งขัน ปัน่ จักรยานในรายการ “เวียดนามชาลเล้นจ์” ร่วมกับ ทหารผ่านศึกเวียดนาม ระยะทาง ๒,๐๐๐ กิโลเมตร ด้วยความเป็นคนชอบความท้าทายเขาจึงตอบตกลงไป โอกาสที่จะได้เจอกับอดีตทหารเวียดนามเหนือท�าให้ เขารู้สึกพิศวง และตื่นเต้นคนเคยสู้รบกัน โจมตีกัน จะรู้สึกอย่างไรที่ต้องมาปั่นจักรยานร่วมกัน มกราคม ปี ค.ศ.๑๙๙๘ แดเนียลเดินทางมาถึง ฮานอยและได้รู้จักกับ ตรันวันซอน ทหารผ่านศึก เวียดนามวัยเดียวกับเขา และใส่ขาเทียมเหมือนกัน แต่ ที่ ต ่ า งกั น คื อ ตรั น ได้ สู ญ เสี ย ครอบครั ว ทั้ ง หมด จากการทิ้ ง ระเบิ ด ถล่ ม ฮานอย เขาสารภาพว่ า เคยเกลียดชาวอเมริกันเต็มหัวใจ และเกือบสูญสิ้น ก�าลังใจอยู่หลายครั้ง การเปิดอกคุยกันช่วยบรรเทา ความร้าวรานในใจได้บ้าง ระยะทางไกลกว่า ๑,๐๐๐ กิโลเมตรของการปั่นจักรยานช่วยให้พวกเขารู้สึก


ข าวทหารอากาศ

ผูกพันกันเป็นพิเศษแม้จะคุยกันคนละภาษาก็ตาม พวกเขาท้ าวิ่งแข่งขันกันท่ามกลางเสียงเชี ย ร์ ข อง อดี ต ทหารที่ เ คยเข่ น ฆ่ า กั น เข้ า เส้ น ชั ย พร้ อ มกั น แล้วจับมือกันพร้อมรอยยิ้ม ๔ เดือนต่อมา ตรันได้เดินทางมาเยี่ยมแดเนียล ที่สหรัฐฯ แดเนียลได้มอบขาเทียมรุ่นสั่งท�าพิเศษให้ บัดนี้ มิตรภาพของพวกเขาได้รับการสานต่ออีกครั้ง ที่ นี่ ตรั น ได้ ไ ปพู ด เรื่ อ งราวการให้ อ ภั ย ที่ โ รงเรี ย น ของลูกสาวแดเนียลได้อย่างน่าประทับใจ แม้ประเทศ ทั้งสองจะเคยเป็นคู่อาฆาตกัน แม้เขาจะสูญเสียอะไร ไปมากมาย แต่ ต รั น ก็ ไ ด้ พ บพื้ น ที่ ใ นหั ว ใจส� า หรั บ ให้อภัย แดเนียลรู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้รู้จักชายคนนี้ ที่เดินทางไกลมาแบ่งปันความรู้สึกอันอบอุ่นอ่อนโยน และความสง่างามของเขา

33

ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ตรันได้เดินทาง กลั บ มาสหรั ฐ ฯ อี ก ครั้ ง เพื่ อ เข้ า ร่ ว มแข่ ง ขั น วิ่ ง มาราธอน (๔๒.๑๙ กิโลเมตร) ที่นิวยอร์ก พวกเขา ใส่ขาเทียมวิ่งเคียงข้างกันไป หลังฟันฝ่าช่วงเวลา อันน่าหวาดกลัวในสงคราม และความร้าวรานในจิตใจ จากอดีตทีต่ ามหลอกหลอน การวิง่ มาราธอนก็กลายเป็น เรือ่ งง่ายไปก่อนเข้าสูเ่ ส้นชัยทีเ่ ซ็นทรัลปาร์ค เจ้าหน้าที่ คนหนึ่ ง ได้ ข อให้ พ วกเขาหยุ ด ถ่ า ยรู ป คู ่ ใ ต้ เ ส้ น ชั ย รอยยิ้ ม ของพวกเขาไม่ อ าจปฏิ เ สธได้ ถึ ง รอยยิ้ ม อันแจ่มใส และเมื่อพวกเขาวิ่งเข้าเส้นชัย มือแห่ง ชัยชนะก็กุมกันไว้มิตรภาพ ก�าลังใจ และการให้อภัย ได้กลายเป็นอาหารหล่อเลีย้ งต้นรักในใจได้เป็นอย่างดี ในวันนี้ เชื่อว่าหลายคนคงมองวันทหารผ่านศึก เป็นเพียงวันธรรมดาเท่านั้น ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป


34

แต่ส�าหรับทหารผ่านศึกที่ก�าลังเดินพาเหรด รับการ สดุดี พวกเขารู้สึกเป็นเกียรติ เกียรติของวันพิเศษ ที่แลกมาด้วยเลือดเนื้อและน�้าตา แม้จะเป็นเพียง ไม่ กี่ น าที ข องการเดิน แต่ทุก ย่างก้าวคือเรื่อ งราว อ้างอิง

การรบในอดีตทีผ่ ดุ ขึน้ มาในห้วงค�านึงทีย่ ากจะลืมเลือน และแน่นอนมันไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาหวังให้ใครมาเข้าใจ แค่ เ พี ย งทหารผ่ า นศึ ก ด้ ว ยกั น เข้ า ใจ แค่ นี้ ก็ เ พี ย ง พอแล้วส�าหรับพวกเขาทีผ่ า่ นทุง่ ดอกปอบปีม้ าด้วยกัน

- แจ็ก แคนฟิลด์. พลังชีวิต ฉบับ นักเดินทาง. แพรวส�านักพิมพ์. กทม, ๒๕๔๗, pp ๒๐๓ – ๒๐๙ - https://spiroonyoi.wordpress.com/2007/02/03/thailand-veterans-day/ สืบค้น ๗ ม.ค.๖๓


ข าวทหารอากาศ

35

ครูภาษาพาที SoldaltoNero

ÊÕ´íҡѺÊíҹǹÍѧ¡ÄÉ

สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน เมื่อท่านนึกถึงสีด�าท่านจะ นึกถึงอะไร ด�าเป็นตอตะโก ด�าปืน ด�าตับเป็ด ใจด�า เหมือนอีกา หรือด�าเหมือนสิ่งอื่น ๆ ส่วนมากแล้ว เวลาที่เรานึกถึงสีด�า เราก็มักจะนึกถึงสิ่งที่เป็นแง่ลบ อยู่บ่อยครั้งในแทบทุกวัฒนธรรม สีด�าชวนให้นึกถึง ความมืด ความหดหู่ ความเศร้าโศกเสียใจ ปีศาจ โลกใต้ดิน และพลังลบต่าง ๆ เนื่องจากสีด�าเป็นสี ที่ เข้ มและดูมืดมนที่สุดในบรรดาสีทั้งหมด อี ก ทั้ ง สี ด� า ยั ง สามารถดู ด กลื น แสงและสี ต ่ า ง ๆ เอาไว้ สีด�าเป็นหนึ่งในสีแรก ๆ ที่มนุษย์น�ามาใช้ในงานศิลป์ เม็ดสี (pigment) ของสีดา� นัน้ เกิดขึน้ จากการทีม่ นุษย์ โบราณยุคพาเลโอลิธิก (paleolithic) น�าถ่านไม้

เถ้ากระดูกสัตว์ และหินแร่ที่มีสีด�ามาบดเข้าด้วยกัน เพือ่ น�าไปวาดรูปตามผนังถ�า้ ผูค้ นส่วนใหญ่เมือ่ มองเห็น สีด�าบ่อย ๆ มักจะรู้สึกไม่มีความสุข ไม่มีชีวิตชีวา เพราะคนเรามั ก เชื่ อ มโยงสี ด� า เข้ า กั บ ลางร้ า ย หรือความตาย แต่ในทางกลับกันชาวอียปิ ต์กลับมองว่า สีด�าเป็นสีที่ส่ือความหมายของความอุดมสมบูรณ์ ชีวิตใหม่ และการเกิดใหม่ แต่ไม่ว่าจะมีความหมาย ในแง่ใด มีการน�าสีด�ามาเป็นส�านวนในภาษาต่าง ๆ รวมทัง้ ภาษาอังกฤษ ดังนัน้ ในวันนี้ ผูเ้ ขียนขอน�าเสนอ ตั ว อย่ า งส� า นวนภาษาอั ง กฤษที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ สี ด� า ๕ ส�านวน ดังต่อไปนี้


36

๑. “As black as a raven” (แอส แบล็ค แอส เสอะ เร้ เวน) ฝรั่ ง ได้ เ ปรี ย บเที ย บสี ด� ำ กั บ สี ข องนกเรเวน (Raven) ซึง่ มีขนสีดำ� ขลับ นกเรเวนนีเ้ ป็นนกในวงศ์กา แต่จะมีขนาดตัวใหญ่กว่า จะงอยปากหนา และโค้งมนกว่า เมือ่ โผบินจะคล้ายกับเหยีย่ ว ในขณะทีอ่ กี าจะตัวเล็กกว่า ปากบางกว่า และแหลมคมกว่า ในภาษาไทยก็มีการ เปรียบเทียบความด�ำกับอีกาคล้าย ๆ กัน ส�ำนวนนี้ จึงหมายถึง มีสดี ำ� ทัง้ หมด ไม่มแี สง หรือสีใด ๆ ผสมอยู่ นอกจากนีแ้ ล้วยังหมายถึง ความรูส้ กึ นึกคิดทีเ่ ต็มไปด้วย ความชั่วร้าย หรือใจร้ายอีกด้วย ตัวอย่างประโยคที่ใช้ส�ำนวนดังกล่าว - The basement gives me the creeps; it's as black as a raven down there! - ห้องใต้ดินนี้ท�ำให้ฉันรู้สึกขนลุก ข้างล่างนี่ มันมืดมิดไปหมด - She narrowed her eyes, and I could tell her thoughts had turned as black as a raven. - เธอหรี่ตาลง และฉันบอกได้เลยว่า เธอก�ำลัง มีความคิดที่ชั่วร้าย

๒. “In the black” (อิน เธอะ แบล็ค) ส� ำ นวนนี้ ห มายถึ ง ได้ เ งิ น เข้ า มามากกว่ า เงินที่ใช้ออกไป ซึ่งแปลว่า มีก�ำไรนั่นเอง หรือในอีก ความหมายหนึ่ ง หากพบส� ำ นวนนี้ ในประโยคที่ เกีย่ วข้องกับบัญชีธนาคาร หรือ ธุรกิจ นัน่ หมายความว่า มีเงินพอและไม่ติดหนี้ แต่ถ้าพบส�ำนวนคู่ตรงข้ามว่า “In the red” จะแปลว่า ติดหนี้ หรือ ขาดทุน จะเห็นได้วา่ ไม่ใช่ทกุ ส�ำนวนในภาษาอังกฤษทีเ่ กีย่ วข้อง กับสีด�ำจะต้องมีความหมายในแง่ลบเสมอไป ตัวอย่างประโยคที่ใช้ส�ำนวนดังกล่าว - Our company has made a lot of money this year, so it is in the black. - ในปีนบี้ ริษทั ของเราท�ำเงินได้มาก จึงถือได้วา่ บริษัทมีก�ำไร - It has taken a long time, but we have paid off our loans and we are in black again at last. - แม้จะใช้เวลานานมาก แต่พวกเราก็ชำ� ระหนี้ เงินกูไ้ ด้สำ� เร็จ แล้วในทีส่ ดุ พวกเราก็กลับมาปลอดหนี้ อีกครั้ง


ข่าวทหารอากาศ

๓. “Black and blue” (แบล็ค แอนดฺ บลู) ส�ำนวนนี้หมายถึง ฟกช�้ำด�ำเขียวตามร่างกาย หรืออาจหมายถึง ความบอบช�้ำทางกาย หรือความ บอบช�้ำทางใจ เนื่องจากฝรั่งจะมองว่า เวลาฟกช�้ำ ตามตัวจะมีรอยเป็นจ�ำ้ ๆ สีดำ� และสีนำ�้ เงิน แต่คนไทย มองว่า เวลาฟกช�้ำตามตัวจะมีรอยเป็นจ�้ำ ๆ สีด�ำ และเขียว ความคิดของคนเรานั้น แม้แต่คนในชาติ เดียวกันเอง ก็ยงั มองเห็นต่างกันได้ ดังนัน้ คนต่างชาติ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรมก็มองเห็นสีต่างกันได้ ตัวอย่างประโยคที่ใช้ส�ำนวนดังกล่าว - I am probably going to be black and blue after falling down the steps this morning. - ฉันอาจจะฟกช�้ำด�ำเขียว หลังจากตกบันได ไปเมื่อเช้านี้ - It’s normal to feel black and blue right after you break up with someone. - เป็ น เรื่ อ งปกติ ที่ จ ะรู ้ สึ ก ว่ า สภาพจิ ต ใจ บอบช�้ำ หลังจากที่เลิกรากับใครสักคน

37

๔. “Black market” (แบล็ค มารฺเคิ่ท) ส�ำนวนนี้หมายถึงตลาด หรือสถานที่ ซึ่งมีการ ซือ้ ขายสินค้าผิดกฎหมาย หรือ ธุรกิจใต้ดนิ ในภาษาไทย เราก็มีค�ำว่า ตลาดมืด ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับ ค�ำว่า black market ในภาษาอังกฤษ ตัวอย่างประโยคที่ใช้ส�ำนวนดังกล่าว - Jerry used to sell marijuana from South America on the black market. - เจอร์รเี คยขายกัญชาจากอเมริกาใต้ในตลาดมืด - Drug trade, prostitution, illegal currency transactions and human trafficking are parts of black market. - การค้ายา การค้าประเวณี การท�ำธุรกรรม ด้วยสกุลเงินที่ผิดกฎหมาย และการค้ามนุษย์ ถือเป็น ส่วนหนึ่งของธุรกิจใต้ดิน ซึ่งผิดกฎหมาย


38

๕. “Black sheep” (แบล็ค ชีพ) ส�ำนวนนี้หมายถึง คนที่ทําอะไรผิดเพื่อนผิดฝูง ในกลุ่มสมาชิกที่ท�ำตัวแปลกแยกจากกลุ่มสมาชิก ในครอบครัวทีแ่ ตกต่างออกไปจากคนอืน่ ในภาษาไทย ก็มีส�ำนวนว่า แกะด�ำ ซึ่งมีความหมายตรงกันกับ ส� ำ นวนในภาษาอั ง กฤษ ส่ ว นใหญ่ ส� ำ นวนนี้ มั ก ใช้ ในทางไม่ดี การอุปมาอุปไมยว่า สมาชิกที่ผิดประหลาด ไปจากกลุ่มเปรียบเสมือนแกะด�ำนั้นมาจากแนวคิด ที่ ว ่ า ในอดี ต แกะด� ำ จะมี มู ล ค่ า น้ อ ยกว่ า แกะขาว เพราะว่ า ขนของมั น จะย้ อ มสี ใ ห้ อ อกมาเป็ น สี อื่ น ได้ยากกว่า นอกจากนี้แล้วในช่วงศตวรรษที่ ๑๖ สี ข นของแกะด� ำ จะถู ก มองว่ า เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข อง ปีศาจ ตัวอย่างประโยคที่ใช้ส�ำนวนดังกล่าว - My elder brother is the only person in the family who smokes. This makes him the “black sheep” of the family. - พี่ชายของฉันเป็นคนเดียวในบ้านที่สูบบุหรี่ เขาจึงเป็นแกะด�ำในครอบครัว

- When I chose to marry you, my father was very worried. Once he said, "Do you really want to spend your life with that black sheep?" - เมื่อฉันเลือกที่จะแต่งงานกับคุณ พ่อของฉัน รู้สึกกังวลใจมาก ครั้งหนึ่งเขาถึงกับพูดขึ้นว่า “ลูกแน่ใจหรือว่า อยากจะใช้ชีวิตร่วมกันกับคน แปลกประหลาดพรรค์นั้น” ผูเ้ ขียนหวังว่า ผูอ้ า่ นจะรูส้ กึ เพลิดเพลินไปกับการ ใช้ส�ำนวนเกี่ยวกับสีด�ำที่น�ำเสนอในครั้งนี้ ผู้เขียนจะ ได้นำ� เสนอส�ำนวนภาษาอังกฤษทีเ่ กีย่ วข้องกับสีอนื่ ๆ ในโอกาสต่อไป

อ้างอิง - https://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/be-in-the-red - https://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/in-the-black - https://idioms.thefreedictionary.com/black+as+a+raven - https://idioms.thefreedictionary.com/black+and+blue - https://idioms.thefreedictionary.com/the+black+sheep


ข าวทหารอากาศ

39

มีสกรีน BEETLE BAILEY

ภาพที่ ๑ ภาพที่ ๒ an idiot big mouth

คุณมาเรียกผมไอ้โง่ได้อย่างไรนี่ ? อ้าว ก็นายมันไอ้โง่ ขี้เกียจ ปากเสีย ไม่ให้ความร่วมมือ..ไม่รู้อะไรสักอย่างน่ะซี แต่ฉันก็คิดว่านายไม่ได้เป็นไอ้โง่หรอกนะ ไม่ต้องพยายามเฉไฉออกนอกเรื่องที่ควรจะท�าเลยจ่า!

- คนโง่มาก ๆ (a very stupid/a fool) - เป็นส�านวน (idiom) มีความหมายว่า พูดมากแบบไร้สาระ (to talk too much in a way that is not sensible) Yo - yo (n.) - ในที่นี้เป็นภาษาพูดที่ใช้ไม่เป็นทางการ หมายถึง คนโง่ uncooperative (adj.) - แปลว่า ไม่ให้ความร่วมมือ (อันโคออพเผ่อะเรอถีฟว) ถ้าให้ความร่วมมือดี คือ cooperative Ex. Bill is a cooperative person. (บิลเป็นคนทีร่ ว่ มมือดี) ส่วนค�า กิรยิ า คือ to cooperate (โอออพเผ่อะเร็ท) Ex. Angela cooperates well in all activities at school (แอนเจลา ให้ความร่วมมืออย่างดีกับ ทุกกิจกรรมที่โรงเรียน) และค�านาม คือ cooperation to weasel out of sth. - เป็นส�านวน (idiom) แปลว่า เลี่ยงที่จะท�าสิ่งที่ควรท�าหรือสัญญาว่าจะท�า (ออกเสียงว่า ‘วี้เซิ่ล’)


40

THE BORN LOSER

ภาพที่ ๑ - นักบ�าบัดของผมต้องการให้ผมแสดงความเมตตาต่อใครสักคน ผมก็เลยเลือกคุณน่ะ! ภาพที่ ๒ - เอาอย่างนี้นะ ธอร์นแอ็พเพิ่ล ผมจะไม่ไล่คุณออกวันนี้! ภาพที่ ๓ - อืม...ผมไม่เห็นจะรู้สึกดีขึ้นบ้างเลยอ่ะ แล้วคุณล่ะ? therapist (n.)

- นักบ�าบัดเฉพาะทาง ทีช่ ว่ ยรักษาเฉพาะโรค หรือแก้ไขปัญหาทางกายภาพอืน่ เช่น Speech therapist (นักบ�าบัดความบกพร่องในการพูด) และ psycho therapist (นักจิตบ�าบัด) เป็นต้น therapist ออกเสียงว่า เธ๊เรอพิ่สท’

kindness (n.)

- ความเมตตา (the act of being kind)

To fire someone - ไล่ออกจากงาน (to force someone to leave their job/to dismiss) EX. We had to fire him for dishonesty. (เราต้องไล่เขาออกเพราะความไม่ซื่อสัตย์) fire ออกเสียงว่า ‘ฟ้ายเอ่อร’ seem to

- ดูเหมือน (to appear) Ex. He seems to understand everything. (เขาดู เหมือนจะเข้าใจทุกอย่าง)

I am not going to…

- V. to be + going to do sth.เป็นโครงสร้างประโยคที่ใช้แสดงความตั้งใจ ในอนาคต Ex. We are going to attend the seminar next month. (เราจะไปเข้าร่วมสัมมนาในเดือนหน้า)


ข าวทหารอากาศ

41

พ อกับแม ใครมีสิทธิในตัวลูก มากกว ากัน ร.อ.ชานุวัฒน์ แสงสุวรรณ รรก.นายทหารพระธรรมนูญ บน.๑

มี ค� า ถามว่ า พ่ อ กั บ แม่ ใ ครมี สิ ท ธิ ใ นตั ว ลู ก มากกว่ า กั น ในกรณี ที่ ไ ม่ จ ดทะเบี ย นสมรส หรื อ จดทะเบี ย นสมรส ตลอดจนในกรณี ที่ ห ย่ า ร้ า ง กันแล้ว พ่อกับแม่ใครจะมีสิทธิในตัวลูกมากกว่ากัน มีค�าตอบ ดังนี้ ๑. กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่ ง และพาณิ ช ย์ มาตรา ๑๕๔๖ บัญญัติว่า “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้ มี ก ารสมรสกั บ ชาย ให้ ถื อ ว่ า เป็ น บุ ต รชอบด้ ว ย กฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติ ไว้เป็นอย่างอืน่ ” จากหลักกฎหมายดังกล่าว จึงเห็นว่า ในกรณีที่พ่อกับแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แม่จึง เป็ น ผู ้ มี สิ ท ธิ ใ นตั ว ของลู ก แต่ เ พี ย งผู ้ เ ดี ย ว ไม่ ว ่ า ในสูติบัตรหรือใบเกิดจะมีการใส่ชื่อบิดาหรือไม่ก็ตาม

อีกทั้ง แม้ต่อมาบุตรจะเข้ารับการศึกษา หรือท�างาน หรือรับราชการ การไม่ระบุชอื่ บิดา ย่อมไม่เป็นปัญหา ในการท�าเอกสารใด ๆ ทัง้ สิน้ กล่าวโดยสรุป เด็กทีเ่ กิด จากหญิงทีไ่ ม่ได้จดทะเบียนกับชาย กฎหมายให้ถอื ว่า เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนัน้ เพียงฝ่ายเดียว อ� า นาจการปกครองบุ ต รจึ ง เป็ น ของแม่ ฝ ่ า ยเดี ย ว เท่านั้น ๒. กรณีพ่อจดทะเบียนรับรองบุตร พ่อกับลูก จะมีสิทธิต่อกันอย่างไร กรณี นี้ ย ่ อ มท� า ให้ ลู ก มี สิ ท ธิ ไ ด้ รั บ ค่ า อุ ป การะ เลี้ยงดูและรับมรดกจากพ่อ และพ่อมีสิทธิในตัวลูก อย่ า งไรก็ ต าม เรื่ อ งอ� า นาจการปกครองบุ ต รนั้ น หากฝ่ายชายเมื่อรับรองบุตรแล้ว จะสามารถเอาบุตร ไปปกครองหรื อ เลี้ ย งดู ไ ด้ จะต้ อ งร้ อ งขอต่ อ ศาล


42

เพื่อเปลี่ยนแปลงอ�ำนาจการปกครองบุตรจากแม่ ไปเป็ น ของพ่ อ เสี ย ก่ อ น ซึ่ ง เป็ น ไปตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๖๖ (๕) บัญญัติ ว่า “บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อ�ำนาจ ปกครองของบิดามารดา และอ�ำนาจปกครองอยูก่ บั บิดาหรือมารดา ในกรณีดังต่อไปนี้ (๕) ศาลสั่งให้ อ�ำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา” โดยศาล จะพิจารณาว่าลูกอยูก่ บั พ่อหรือแม่ ลูกจะได้ประโยชน์ มากที่สุด ก็จะพิจารณาไปตามที่เห็นสมควร ซึ่งอาจ จะเป็นแม่หรือพ่อก็ได้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ที่ไม่ได้มีอ�ำนาจ ปกครองที่จะพบปะลูกตามสมควร อย่างไรก็ตาม ในการเรื่ อ งของการปกครองหรื อ เลี้ ย งดู ลู ก นั้ น หากต้องมีการฟ้องร้องการเลี้ยงดูลูกว่าพ่อหรือแม่ มีความเหมาะสมมากกว่ากัน ศาลจะพิจารณาโดย ค�ำนึงถึงผลประโยชน์และหรือความต้องการของเด็ก เป็นอันดับแรกประกอบด้วยก่อนที่จะมีค�ำสั่ง ๓. กรณีพอ่ กับแม่จดทะเบียนสมรสและหย่าขาด ด้วยความสมัครใจ ในกรณีนี้ พ่อกับแม่สามารถใช้อ�ำนาจปกครอง

ลูกร่วมกันได้ แต่จะต้องท�ำบันทึกตกลงเป็นหนังสือ ท้ายหนังสือสัญญาหย่า ระบุผู้มีอ�ำนาจปกครองบุตร แต่หากตกลงกันไม่ได้ จะต้องยืน่ ค�ำร้องต่อศาลให้เป็น ผูช้ ขี้ าด เพือ่ ให้เกิดความชัดเจนไม่มปี ญ ั หาการแย่งตัว เด็กกันในภายหลัง การมีสิทธิในตัวลูก อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น หากพ่อหรือแม่ประพฤติตนไม่สมควร หรือมี พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดี อีกฝ่ายอาจ ยื่ น ค� ำร้ อ งต่ อ ศาลให้ มี ค� ำสั่ ง เปลี่ ย นตั ว ผู ้ ใ ช้ อ�ำ นาจ ปกครองบุ ต รได้ และแม้ จ ะหย่ า ขาดจากกั น แล้ ว อี ก ฝ่ า ยที่ ไ ม่ ไ ด้ เ ลี้ ย งดู ลู ก ไม่ ว่ า จะเป็ นพ่ อ หรื อ แม่ หรือปู่ ย่า ตา ยายที่เลี้ยงดูเด็ก ยังมีสิทธิในการติดต่อ กับเด็กได้ตามสมควร แต่ต้องค�ำนึงถึงความปลอดภัย ของเด็กเป็นส�ำคัญ ส�ำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร หากไม่ได้ตกลง กันไว้ในบันทึกท้ายสัญญาหย่า สามารถยื่นค�ำร้อง ต่ อ ศาลให้ พิ จ ารณาก� ำ หนดค่ า อุ ป การะเลี้ ย งดู ไ ด้ ซึ่ ง ศาลจะชี้ ข าดโดยค� ำ นึ ง ถึ ง ประโยชน์ ข องเด็ ก เป็นหลัก


ข าวทหารอากาศ

43

เทคโนโลยี อากาศยานโจมตีไรคนขับ น.อ.หญิง ชมพูนุท พูลสนอง (สพ.ทอ.)

อากาศยานไร้คนขับทางทหารหรือโดรนที่ใช้ใน กองทัพมีหลายประเภท เทคโนโลยีสาขานี้เติบโต อย่างรวดเร็วและเป็นที่สนใจในปัจจุบัน ที่จริงแล้ว เทคโนโลยีโดรนเริ่มต้นในวงการทหาร โดรนสามารถ บินแบบอัตโนมัตขิ นึ้ อยูก่ บั โปรแกรมก่อนแผนการบิน และมีบทบาทเพิ่มขึ้นในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง บางอย่าง ดังนั้น การด�าเนินการเกี่ยวกับโปร์ไฟล์การ โจมตีจงึ เป็นงานทีส่ า� คัญส�าหรับการวางแผนทางทหาร สมัยใหม่ อากาศยานไร้ ค นขั บ ทางทหารจั ด หมวดหมู ่ ตามน�้ า หนั ก พิ สั ย บิ น ความเร็ ว และสมรรถนะ ซึ่งกองก�าลังนาโต้ได้จัดระบบการจ�าแนกอากาศยาน ไร้คนขับดังนี้ CLASS I (<150 KG) : MICRO, MINI OR SMALL DRONES CLASS II (150 - 600 KG) : TACTICAL (ยุทธวิธ)ี CLASS III (>600 KG) : STRATEGIC (ยุทธศาสตร์) นอกจากนี้ สามารถจ�าแนกตามภารกิจในการ ปฏิบัติการทางทหารเป็น ๕ ประเภท ได้แก่ ประเภท เป้าหมายและเป้าล่อส�าหรับการฝก (Target and decoy UAV) ลาดตระเวน (Reconnaissance UAV)

โจมตี (Combat UAV) วิจัยและพัฒนา (Research and Development UAV) ทัง้ พลเรือนและเชิงพาณิชย์ (Civil and Commercial UAV) ประเทศต่าง ๆ มากกว่า ๒๐ ประเทศ ก�าลังพัฒนาโปรแกรมโดรน ติ ด อาวุ ธ ซึ่ ง เทคโนโลยี นี้ ยั ง คงแพร่ ห ลายต่ อ ไป บางประเทศใช้โดรนทางยุทธวิธีส�าหรับการเฝ้าระวัง บางประเทศพัฒนาโดรนและส่วนประกอบที่มีความ ซับซ้อนเชิงการค้า ซึง่ สามารถใช้ได้ทงั้ การตรวจการณ์ หรือติดตัง้ อาวุธ เช่น ลูกระเบิดหรืออาวุธน�าวิถี (ข้อมูล ตามตาราง) โดยประเทศที่ผลิตใช้งานและส่งออก โดรนทางทหารมากทีส่ ดุ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อิสราเอล สาธารณรัฐประชาชนจีน และมีบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ และชิน้ ส่วนทีเ่ กีย่ วข้องมากกว่า ๒๕๐ บริษทั เช่น วัสดุ ที่น�ามาผลิตเป็นส่วนประกอบ แผงวงจร ซิปเซ็ต ซอฟต์แวร์ กล้องอินฟราเรด และเลเซอร์


44

Taranis combat drone

Features of nEUROn UCAV

Boeing X-45A UCAV

China stealth combat drone (CH-7)

Countries that Develop Armed Drones ประเทศที่พัฒนาโดรนติดอาวุธ No.

Country

Armed drones

1.

United States

2.

Israel

3.

China

4.

United Kingdom

Predator Reaper Grey Eagle Boeing X-45 (stealth drone) Hermes (450/900) Heron TP Rainbow (CH3/4/5) Wing Loong (I, II) CH-7 (Stealth Drone) Taranis (TD) (Stealth drone)

Launched strikes beyond border /

Armed drone Exported Development armed drones program /

/

/

/

/

/

/

/


ข าวทหารอากาศ

No.

5. 6. 7. 8. 9.

Country

Armed drones

Iran

Shahed-129 Karrar Turkey Bayraktar-TB2 TAI Anka Pakistan Burraq United Arab Emirates Yabhon United 40 France, Italy nEUROn Sweden, Greece (Stealth drone) Spain, Switzerland

Hermes 900 UAV

Launched strikes beyond border /

/

/

/

/

/

/

/ / /

/

Armed drone Exported Development armed drones program

TAI Anka armed drone

45


46

เทคโนโลยี อ ากาศยานโจมตี ไ ร้ ค นขั บ (Unmanned Combat Air Vehicles) หรือ UCAV นวัตกรรมทางเทคนิคที่ส�ำคัญ คือ ระบบนักบิน อั ต โนมั ติ (Autopilot) ได้ แ ก่ เทคโนโลยี ไ มโคร โพรเซสเซอร์และเทคโนโลยีการสือ่ สาร ระบบเชือ่ มโยง ข้อมูลและการใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางการสื่อสาร (Network - Centric Communications) เทคโนโลยี แพลตฟอร์ม (Platform) คือ เทคโนโลยีดา้ นโครงสร้าง เครื่องบินระบบควบคุม ระบบเครื่องยนต์ ซึ่งต้องการ โครงสร้างอากาศยานทีแ่ ข็งแรง น�ำ้ หนักเบา เช่น วัสดุ อลูมิเนียม ไททาเนียม คอมโพสิต พอลิเมอร์ชีวภาพ และเทคโนโลยีสมั ภาระทีบ่ รรทุก (Payload) คือ น�ำ้ หนัก ทีบ่ รรทุกอุปกรณ์สง่ สัญญาณต่าง ๆ เช่น E/O Sensors เรดาร์ อุปกรณ์อตุ นุ ยิ มวิทยา อุปกรณ์ถา่ ยทอดการสือ่ สาร และระบบอาวุ ธ โดยพั ฒ นาอาวุ ธ ที่ มี ข นาดเล็ ก สองสามชนิดที่น�ำวิถีแม่นย�ำ และต้านทานสัญญาณ รบกวน GPS การออกแบบและการสร้ า งยู ซี เ อวี ด ้ ว ยวั ส ดุ คอมโพสิตขั้นสูงจ�ำเป็นส�ำหรับการเพิ่มเวลาการบิน วัสดุเหล่านีม้ นี ำ�้ หนักเบา ช่วยลดน�ำ้ หนัก ร้อยละ ๑๐ - ๔๕ ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ เช่น S - glass, F - glass, Aramid, Quartz และเส้นใยแกรไฟต์เสริมแรงด้วยอิพอกซี, โพลีเอสเตอร์ ทนทานการกัดกร่อน ดูดกลืนเรดาร์ และไมโครเวฟน้อย ซึง่ ให้ความสามารถ “Stealth” คือ เรดาร์ตรวจจับยาก และการขยายตัวต่อความร้อนต�ำ่ ซึง่ ลดปัญหาในการปฏิบตั งิ านทีเ่ พดานบินสูง ตัวอย่างเช่น Boeing X-45A โครงสร้างภายในเป็นอลูมิเนียม ส่วนผิวภายนอกเป็นคาร์บอนคอมโพสิต

ด้านระบบขับเคลื่อน พัฒนาจากเครื่องยนต์ ๔ จังหวะ เครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ทและเทคโนโลยี ในอนาคตก� ำ ลั ง วิ จั ย พั ฒ นาพลั ง งานแสงอาทิ ต ย์ (Solar power) และเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cells) ด้านระบบอาวุธ ในบทความนี้จะกล่าวถึงอาวุธ ที่ ติ ด ตั้ ง กั บ อากาศยานโจมตี ไ ร้ ค นขั บ TAI Anka ซึ่งเป็นอากาศยานไร้คนขับระดับปานกลาง ขนาด ความยาว ๘ เมตร ปีกกว้าง ๑๗.๓ เมตร เพดานบิน ๓๐,๐๐๐ ฟุต ความทนทาน ๒๔ ชัว่ โมง ขับเคลือ่ นด้วย เครื่องยนต์ Turboprop PD170 มีระบบวิ่งขึ้นและ ลงจอดอัตโนมัติ ออกแบบและพัฒนาโดย Turkish Aerospace Industries (TAI) ใช้ในกองทัพอากาศตุรกี ส�ำหรับลาดตระเวน การเฝ้าระวัง และการตรวจจับ เป้าหมาย สามารถบรรทุกน�้ำหนักได้ ๒๐๐ กิโลกรัม เช่น ระบบพิสูจน์ฝ่าย (IFF System) EO/FLIR/LRF จรวดอากาศขนาด ๒.๗๕ นิ้ว น�ำวิถีด้วยเลเซอร์ CIRIT (Laser-guided CIRIT 2.75 in rocket) Smart Micro Munition (MAM-L) น�ำวิถีด้วยเลเซอร์ ขนาด ๕๐ ปอนด์ ความยาว ๑ เมตร ระยะยิง ๘ กิโลเมตร หัวรบชนิด High Explosive Fragmentation Warhead ซึ่งพัฒนาโดยรัฐวิสาหกิจ Roketsan ในประเทศตุรกี ควบคุมการปฏิบตั กิ ารบินจากสถานีภาคพืน้ ดิน (GCS) สอดคล้องตามมาตรฐาน STANAG 4586 CIRIT เป็นจรวดน�ำวิถแี บบ Semi Active Laser Seeker มีระยะยิง ๑.๕ - ๘ กิโลเมตร น�้ำหนัก ๑๕ กิโลกรัม ดินขับจรวดชนิดคอมโพสิต หัวรบชนิด เอนกประสงค์ วัตถุระเบิดแรงสูง (HE)

Roketsan MAM-L air-to-surface munition

2.75 Laser guidedrocket CIRIT


ข าวทหารอากาศ

47

GCS for the Turkish UAV

ส� า หรั บ การพั ฒ นาระบบควบคุ ม การบิ น ที่ มี ประสิทธิภาพและเชือ่ ถือได้ ต้องบูรณาการขอบข่ายงาน ส�าหรับการออกแบบกระบวนการของระบบควบคุม การบิ น และการรั บ รองความสมควรเดิ น อากาศ ตามมาตรฐาน DO-178 B ซึ่งก�าหนดวัตถุประสงค์ แต่ละขัน้ ตอนทีส่ า� คัญระหว่างการพัฒนากระบวนการ ของ Airborne Software และในปี ค.ศ.๒๐๑๑ Radio Technical Commission for Aeronautics ได้พัฒนาเทคโนโลยีการตรวจสอบซอฟต์แวร์และ ปรับปรุง DO-178 B ไปเป็นมาตรฐานใหม่ DO-178C/ ED-12C การออกแบบซอฟต์ แ วร์ ข องระบบควบคุ ม การบินส่วนใหญ่ประกอบด้วยโมดูลต่าง ๆ ที่ส�าคัญ ดังนี้ ๑. โมดูลการเชื่อมโยงการสื่อสาร (Communication Link (CL) module) ใช้ส�าหรับรับข้อมูล

ค�าสั่งระยะไกล (TC) จากสถานีควบคุมภาคพื้นดิน (Ground Control Station : GCS) และส่งข้อมูล การตรวจวัดระยะไกล (Telemetry : TM) ลงไปยัง สถานีควบคุมภาคพื้นดินและสื่อสารข้อมูลระหว่าง Airborne modules ๒. โมดูลการน�าทางการบิน (Flight guidance (FG) modules) ประกอบด้วยการควบคุมการตรวจสอบ และการตอบสนองค� า สั่ ง ระยะไกล การวางแผน เส้นทาง ตารางเวลาผูป้ ฏิบตั กิ าร และส่งค�าสัง่ ควบคุม ๓. เซอร์โวโมดูล (Servo control (SC) module ใช้ตอบสนองค�าสั่งควบคุมและส่งการควบคุมเซอร์โว ๔. โหมดการควบคุมโมดูล (Mode supervise (MS) module) ๕. PWM (Pulse Width Modulation) steering output module โมดูลส่งสัญญาณควบคุม การเลี้ยวของอากาศยาน


48

Part of hardware and software architecture of the flight control system. The figure shows parts of the organizational structure of a flight control system, and describes the data interaction among module.

เทคโนโลยีลา่ สุดเป็นการพัฒนาอากาศยานโจมตี ไร้คนขับขนาดใกล้เคียงกับเครือ่ งบินรบด้วยเทคโนโลยี ล่องหน (Stealth Technology) คือ การออกแบบ โครงสร้างภายนอกและภายในเพือ่ ลดการสะท้อนคลืน่ และการตรวจจับด้วยเรดาร์และอินฟราเรด เช่น nEUROn UCAV ซึง่ ประเทศในยุโรปได้รว่ มกันพัฒนา โดยบริษัทต่าง ๆ เช่น Dassault Aviation มีขนาด ความยาว ๙.๕ เมตร ปีกกว้าง ๑๒.๕ เมตร เพดานบิน

๔๕,๙๐๐ ฟุต ความเร็วสูงสุด ๙๘๐ กิโลเมตรต่อชัว่ โมง ขั บ เคลื่ อ นด้ ว ยเครื่ อ งยนต์ เ จ็ ต Adormk 951 จ�ำนวน ๒ เครือ่ งยนต์ สามารถบรรทุกลูกระเบิดน�ำวิถี ด้วยเลเซอร์ขนาด ๕๐๐ ปอนด์ ๒ ลูก เก็บไว้ในห้อง เก็บอาวุธภายใต้ทอ้ งอากาศยาน (Internal weapon bay) ควบคุมจากสถานีภาคพื้นดิน ซี่งเทคโนโลยี การปฏิ บั ติ ก ารรู ป แบบใหม่ นี้ ก� ำ ลั ง พั ฒ นาต่ อ ไป ในหลายประเทศ

อ้างอิง - http://en.wikipedia.org - http://www.mydroneelab.com - https://dronewar.net - jounlas.plos.org - http://drones rusi.org - Image Credits .fluke samed/shtterstock.com - http://www.materials today.com - http://www.popular mechanies.com


ข าวทหารอากาศ

RED

49

EAGLE

อินทรีแดง แผลงฤทธิ์ การป ดล อมตรวจค น ยุทธวิธีเพื่อป องกัน และปราบปรามการก อความไม สงบ ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต

น.ต.ภฤศพงศ์ ช้อนแก้ว

(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

ในเรื่องของการตรวจค้นบุคคลนั้น ถือว่าเป็น เรื่ อ งละเอี ย ดอ่ อ นเจ้ า หน้ า ที่ จ ะต้ อ งมี ค วามเข้ า ใจ ในเรือ่ งขนบธรรมเนียมประเพณีของประชาชนในพืน้ ที่ การกระท�าบางอย่างไม่สามารถจะปฏิบตั ไิ ด้อย่างดุดนั เพราะอาจจะกลายเป็นชนวนท�าให้ประชาชนในพืน้ ที่ เกิดความไม่พอใจ และไม่ให้ความร่วมมือได้ โดยสามารถ จะปฏิบตั ไิ ด้ตงั้ แต่การตรวจค้นตามร่างกาย การตรวจ ค้นนี้ กระท�าเพื่อค้นหาอาวุธหลักฐานหรือสิ่งของผิด กฎหมายจากตัวบุคคล ซึง่ ควรต้องกระท�าโดยมีผชู้ ว่ ย สั ง เกตการณ์ แ ละพยาน ในการตรวจค้ น ร่ า งกาย ของบุคคล ให้ผตู้ รวจค้นยืนอยูด่ า้ นหลังของผูต้ อ้ งสงสัย ผู้ช่วยของผู้ตรวจค้นจะยืนอยู่ในต�าแหน่งที่สามารถ คุ้มกันผู้ตรวจค้นได้ด้วยอาวุธของตน ผู้ต้องสงสัย หรื อ ผู ้ ถู ก ตรวจค้ น จะต้ อ งถู ก บั ง คั บ ให้ ย กแขนขึ้ น ผูต้ รวจค้นจะใช้มอื คล�าไปตามร่างกายของผูถ้ กู ตรวจค้น โดยตลอด และใช้ลกั ษณะของการขยีเ้ สือ้ ผ้าเพือ่ ค้นหา วั ส ดุ แ ปลกปลอม หรื อ ตรวจค้ น โดยใช้ ก� า แพง มีหลักการคือ ท�าให้ผู้ถูกตรวจค้นอยู่ในท่าที่ตึงเครียด และขยั บ ร่ า งกายได้ ไ ม่ ส ะดวก โดยให้ ผู ้ ถู ก ตรวจ หันหน้าแนบตัวเข้ากับก�าแพงและน�ามือทั้งสองข้าง มาประสานกันไว้ดา้ นหลัง การตรวจค้นโดยใช้ก�าแพง จะท� า ให้ ผู ้ ต รวจค้ น มี ค วามปลอดภั ย ค่อนข้างมาก

การตรวจค้นลักษณะนี้จะถูกน�ามาใช้มาก ในโอกาส ทีผ่ ตู้ รวจค้นสองคนจะต้องท�าการตรวจค้นผูต้ อ้ งสงสัย หลายคน ซึง่ อาจใช้สงิ่ อืน่ ๆ ทีม่ แี นวตัง้ ตรงและมีพนื้ ที่ พอเพี ย ง เช่ น ก� า แพง ยานพาหนะ หรื อ ต้ น ไม้ จากหลั ก การพื้ น ฐานที่ ต ้ อ งท� า ให้ ผู ้ ต ้ อ งสงสั ย หรื อ ผู้ก่อเหตุรุนแรงอยู่ในลักษณะอาการที่ไม่สามารถ ท�าอันตรายแก่ผตู้ รวจค้นได้ หากเป็นกรณีทผี่ ตู้ อ้ งสงสัย มีลักษณะว่า น่าจะเป็นผู้น�าของพวกก่อความไม่สงบ หรือน่าจะเป็นผูท้ นี่ า� ข่าวสารส�าคัญ รูปแบบการตรวจ จะมี ลั ก ษณะที่ แ ตกต่ า งออกไป กล่ า วคื อ จะเป็ น การตรวจค้นแบบแยกกลุ่ม การตรวจค้นลักษณะนี้ จะด�าเนินการในที่ที่ปกปิด เช่น ในห้องหรือในเต็นท์ กระโจม อาจใช้เทคนิคได้หลายวิธี วิธีการที่หนึ่งก็คือ การใช้ผู้ตรวจค้นที่ไม่ถืออาวุธสองคน และให้ผู้ช่วย ทีถ่ อื อาวุธนัน้ ยืนระวังป้องกัน ผูต้ รวจค้นจะถอดเสือ้ ผ้า และรองเท้าของผูถ้ กู ตรวจค้นออก และตรวจค้นอย่าง ละเอียด ซึ่งจะต้องตรวจในปาก จมูก หู ผม รักแร้ ง่ามขา และจุดหรือพื้นที่อื่น ๆ ที่น่าจะใช้ซุกซ่อนได้ ส� า หรั บ การตรวจค้ น บุ ค คลเพศหญิ ง ซึ่ ง ผู ้ ก ่ อ เหตุ รุนแรงจะใช้ประโยชน์จากบุคคลเพศหญิงอย่างสูงสุด ในกรณีที่คาดว่าจะต้องถูกตรวจค้น แต่เราสามารถ ใช้ผตู้ รวจเป็นเพศหญิงในการตรวจ หรือหากไม่สามารถ


50

จัดหาผู้ตรวจค้นเพศหญิงได้ ก็อาจใช้นายแพทย์หรือ บุรษุ พยาบาลเป็นผูต้ รวจค้นแทน การตรวจค้นผูห้ ญิง เป็นการปฏิบัติที่มีความละเอียดอ่อนและล่อแหลม อย่างมากที่สุด เมื่อทหารชายต้องท�ำการตรวจค้น ผู้หญิง ทั้งนี้ในการปฏิบัติจ�ำเป็นต้องน�ำมาตรการ ที่ ส ามารถใช้ ไ ด้ ทุ ก อย่ า งมาใช้ เพื่ อ ป้ อ งกั น กรณี การถูกกล่าวหาว่ามีการล่วงละเมิดทางเพศ ในการตรวจค้นในบ้านนัน้ ผูบ้ งั คับบัญชา จะต้อง แจ้งข่าวสารให้บุคคลที่อยู่ภายในพื้นที่ว่า จะมีการ ตรวจค้นเกิดขึ้น ดังนั้น จึงให้ประชาชนและบุคคล ทั้งหมดหยุดการเคลื่อนไหว และอยู่ภายในบ้านเรือน หรือตัวอาคารเท่านั้น หรืออาจใช้วิธีการให้บุคคล ทั้งหมดมารวมกันอยู่ที่จุดศูนย์กลาง แล้วให้พวก ตรวจค้ น เคลื่ อ นที่ เ ข้ า ไปท� ำ การตรวจค้ น ซึ่ ง อาจ ต้ อ งใช้ ห ลายชุ ด หากท� ำ การตรวจค้ น ทั้ ง หมู ่ บ ้ า น เมือ่ ผูบ้ งั คับบัญชาตัดสินใจจะเข้าตรวจค้นบ้านใดแล้ว เจ้าของบ้านจะต้องร่วมเข้าไปกับชุดตรวจค้น เพื่อกัน การกล่ า วหาในเรื่ อ งของการหยิ บ ฉวยขโมยของ ของชุ ด ตรวจค้น ส�ำหรับกรรมวิธีในการตรวจนั้ น ต้ อ งให้ เ จ้ า ของบ้ า นหรื อ ผู ้ น� ำ ตรวจใส่ เ สื้ อ เกราะ กั น กระสุ น เพื่ อ ป้ อ งกั น ผู ้ น� ำ ตรวจอาจถู ก ลู ก หลง จากการลอบยิงของผู้ก่อเหตุรุนแรงที่หลบซ่อนอยู่ ในบ้าน ชุดตรวจค้นจะต้องท�ำการตรวจค้นทุกซอก ทุกมุมภายในบ้านด้วยความระมัดระวังอย่างที่สุด อาจจะมีลกู ชุดหนึง่ คน ถือโล่กนั กระสุนเดินน�ำเข้าไปก่อน เพื่อกันการลอบยิงระหว่างตรวจค้น พื้นที่ที่ต้องระวัง เป็นพิเศษอาจมีด้วยกันหลายลักษณะ ได้แก่ บริเวณ ที่เป็นซอกมุมภายในบ้าน ตู้เสื้อผ้า ใต้เตียง ในมุ้งที่ กางเอาไว้ ผนังด้านข้างในห้องถัดไป หรือพื้นที่ที่มี โอกาสบดบังสายตาของเจ้าหน้าที่ การปฏิบัติในการ ตรวจค้น “แม้เจ้าบ้านหรือผู้น�ำตรวจเป็นผู้หญิง ก็มิอาจไว้วางใจได้” เจ้าหน้าที่จะต้องใช้การตรวจ อย่างละมุนละม่อม และระมัดระวังเป็นทีส่ ดุ พร้อมกับ คอยสังเกตอากัปกริยาของคนน�ำตรวจ ว่ามีพฤติกรรม อะไรที่มีพิรุธ หากยิ่งผู้น�ำตรวจมีอาการกล้า ๆ กลัว ๆ ไม่ อ ยากน� ำ เข้ า ยิ่ ง ต้ อ งระวั ง เป็ น พิ เ ศษ เพราะนั่ น

หมายถึ ง ว่ า ภายในบ้ า นที่ ก� ำ ลั ง จะเข้ า ตรวจนั้ น อาจมีผู้ก่อเหตุรุนแรงอยู่ ในกรณีบ้านล็อคไว้และ ไม่มใี ครรับเป็นเจ้าบ้าน เราอาจใช้ผนู้ ำ� ชุมชนเป็นพยาน ในการพังประตูเพื่อเข้าไปตรวจและให้ผู้น�ำชุมชนนั้น พาน�ำเข้าไปตรวจด้วย แต่ก่อนที่จะท�ำลายประตูบา้ น จ� ำ เป็ น จะต้ อ งให้ เ จ้ า หน้ า ที่ ชุ ด เก็ บ กู ้ วั ต ถุ ร ะเบิ ด ใช้ เ ครื่ อ งมื อ พิ เ ศษค้ น หาสารเคมี ที่ ใ ช้ ป ระกอบ วั ต ถุ ร ะเบิ ด หรื อ ค้ น หาโลหะที่ ค าดว่ า น่ า จะเป็ น วัตถุระเบิด โดยให้พิจารณาว่าจะต้องเป็นพื้นที่ที่ ไม่น่ามีโลหะอยู่หรือพื้นดินที่น่ามีโลหะฝังอยู่ เพื่อกัน การวางกับดักระเบิดทีป่ ระตูบา้ น ส่วนรอบ ๆ ตัวบ้านนัน้ ให้ ท� ำ การระวั ง ป้ อ งกั น การเล็ ด ลอดหลบหนี ข อง ผู้ก่อเหตุรุนแรง เมื่อตรวจค้นเสร็จแล้วจะต้องให้ เจ้าของบ้านได้ลงลายมือชื่อรับรองว่า ไม่มีส่ิงของ ภายในบ้านได้ถูกหยิบฉวยหรือลักขโมยไป ซึ่งจะต้อง ปฏิบัติตามนี้ในทุก ๆ บ้าน กรณีสถานที่ตรวจค้นเป็น อาคารหลายชัน้ เราควรท�ำการตรวจจากชัน้ บนลงล่าง เพื่ อ ไม่ ใ ห้ เ จ้ า หน้ า ที่ ต รวจค้ น เกิ ด ความเหนื่ อ ยล้ า โดยสามารถท�ำการเดินขึน้ อาคารไปจนถึงชัน้ บนสุดก่อน แล้วจึงท�ำการตรวจอย่างละเอียดไล่ลงมา และสุดท้าย ในการตรวจค้นแต่ละครั้งเจ้าหน้าที่ทุกคนทุกส่วน จะต้ อ งด� ำ รงการปฏิ บั ติ ต ามแผนให้ เ ป็ น อย่ า งดี ในทุก ๆ ชุด ทัง้ แนวยิงพืน้ ทีห่ ลักพืน้ ทีร่ องเขตรับผิดชอบ ไม่วา่ จะเป็นในบ้านหรือนอกบ้าน เครือ่ งหมายบอกฝ่าย ส่วนประสานการปฏิบตั ติ า่ ง ๆ แผนการส่งกลับสายแพทย์ จุดควบคุมสั่งการ แนวการระวังป้องกัน ฯลฯ ต้องมี ความเข้ า ใจในกระบวนการปฏิ บั ติ อ ย่ า งสุ ด ซึ้ ง เพื่อไม่ให้เกิดการเข้าใจผิดและยิงฝ่ายเดียวกัน ส� ำ หรั บ ยุ ท ธวิ ธี ใ นการปฏิ บั ติ ใ นการตรวจค้ น จะต้องกระท�ำอย่างช้าและระมัดระวังเป็นการดีที่สุด ไม่ควรรีบเร่งบุ่มบ่าม โดยเฉพาะการเดินผ่านพื้นที่ อันตราย ได้แก่ ประตูทางเข้า มุมอาคาร ทางแยก ฯลฯ สามารถปฏิบัติได้หลายแบบ ดังนี้ วิธที หี่ นึง่ การท�ำ Slice pie หรือ Cutting pie มีลักษณะเป็นการตรวจการณ์ภายในห้องก่อนเข้า โจมตี แ บบเปิดมุม โดยก่อนที่จะผ่านประตูเข้าไป


ข่าวทหารอากาศ

ชุดปฏิบตั จิ ะต้องท�ำการระวังป้องกันรอบตัว จัดก�ำลังพล ๑ นาย อยู ่ ใ นท่ า พร้ อ มยิ ง พยายามตรวจการณ์ ดูความเคลื่อนไหวภายในห้องทีจ่ ะเข้าจากหน้าประตู ก�ำหนดให้ตรงกลางของประตูคือ ๙๐ องศา ผนังห้อง ฝั่งที่เรายืนอยู่ติดประตูให้เริ่มที่มุม ๐ องศา และ ฝัง่ ตรงข้ามให้เป็นมุม ๑๘๐ องศา จากนัน้ ผูป้ ฏิบตั คิ อ่ ย ๆ เดินจาก ๐ องศา เปิดมุมเป็นรูปครึ่งวงกลมโดย ก� ำ หนดให้ เ ส้ น ทางที่ เ ราจะเดิ น ไปส่ ว นโค้ ง ของ ครึง่ วงกลม ให้เดินไปทีล่ ะ ๓๐ องศาไม่ตอ้ งรีบปฏิบตั ิ และพยายามตรวจการณ์ไปภายในห้อง จนสุดผนังห้อง ฝั่งตรงข้าม เมื่อเดินถึง ๑๘๐ องศา ให้ส่งสัญญาณ บอกเพื่อนว่า “ห้อง clear” แล้วจึงให้คนถัดไปรีบ เข้ า ไปในห้ อ งทั น ที (อย่ า ลื ม ยกปื น หลบเพื่ อ น ที่จะเข้าไปด้วย) ในกรณีลักษณะเป็นมุมผนังตึกหรือ มุมห้องเราสามารถปฏิบัติได้เช่นกัน โดยก�ำหนดให้ ต�ำแหน่งทีก่ อ่ นพ้นมุมผนังตึก หรือมุมห้องพอดีเป็นมุม ๙๐ องศา ผู้ปฏิบัติอยู่ในท่าพร้อมใช้อาวุธ จากนั้น เดิ น เป็ น รู ป โค้ ง โดยก� ำ หนดให้ จุ ด หมุ น อยู ่ ที่ มุ ม ตึ ก

51

พร้อมกับตรวจการณ์ไปเรือ่ ย ๆ ทีล่ ะ ๓๐ องศา จนพ้น มุ ม ผนั ง ตึ ก หรื อ มุ ม ห้ อ งซึ่ ง ณ จุ ด ที่ เ รายื น อยู ่ นั้ น จะกลายเป็ น ต� ำ แหน่ ง ที่ เ ปิ ด เผยตั ว เอง จากนั้ น ส่งสัญญาณกับเพื่อนในชุดปฏิบัติให้วิ่งออกมาจาก ทีม่ มุ ผนังตึกพร้อมกับท�ำการระวังป้องกันให้กบั เพือ่ น ในชุดปฏิบัติด้วย

การท�ำ Slice pie หรือ cutting pie เพือ่ ตรวจการณ์ บริเวณมุมผนังตึกก่อนเปิดเผยตนเองในรูปแบบเป็นชุด โจมตี

การท�ำ Slice pie หรือ cutting pie เพื่อตรวจการณ์ทางประตูทางเข้า

ท�ำ Slice pie หรือ cutting pie เพื่อตรวจการณ์บริเวณมุมผนังตึกก่อนเปิดเผยตนเอง


52

วิธที สี่ อง การท�ำ Criss crossและ Check cross หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กากบาท” มีลักษณะ การตรวจการณ์ ก่ อ นเข้ า โจมตี แ บบรู ป กากบาท โดยก่อนทีจ่ ะผ่านประตูเข้าไปชุดปฏิบตั จิ ะต้องท�ำการ ระวังป้องกันรอบตัว จัดก�ำลังพล ๒ นาย อยู่ในท่า พร้ อ มยิ ง พยายามตรวจการณ์ ดู ค วามเคลื่ อ นไหว ภายในห้องทีจ่ ะเข้าจากหน้าประตูทางเข้า ก�ำหนดให้ ตรงกลางของประตูคือ ๙๐ องศา ผนังห้องทั้งสองฝั่ง ที่เจ้าหน้าที่สองคนยืนอยู่ท้ังสองข้างยืน อยู่ติดประตู ให้เริ่มฝั่งขวาของประตูเป็น ๐ องศา และฝั่งซ้ายของ ประตูเป็น ๑๘๐ องศา ให้ผู้ปฏิบัติทั้งสองคนยืน คนละฝั่งของประตู จากนั้น ให้ผู้ปฏิบัติทั้งสองคน ทีอ่ ยูข่ า้ งประตูทำ� การตรวจการณ์เริม่ ตัง้ แต่มมุ ห้องในสุด ที่อยู่ตรงข้ามฝั่งตนเอง เพื่อดูว่ามีใครแอบซุ่มอยู่ มุมห้องด้านใกล้หรือไม่ จากนั้น ค่อย ๆ เลื่อนฉาก ตรวจการณ์พร้อมยิงจากมุม ๐ องศา และมุม ๑๘๐ องศา มาพร้อม ๆ กัน ในลักษณะท�ำการเปิดมุมเป็นรูป ครึง่ วงกลม ก�ำหนดให้เส้นทางทีเ่ ราจะเดินไปส่วนโค้ง ของครึ่ ง วงกลม ไม่ ต ้ อ งรี บ ปฏิ บั ติ แ ละพยายาม ตรวจการณ์ไปภายในห้องจนสุดผนังห้องฝั่งตรงข้าม การท�ำ Criss cross และ Check cross มีลักษณะการ เมื่อเห็นว่า ข้างในปลอดภัยแล้วให้ส่งสัญญาณบอก ตรวจการณ์ก่อนเข้าโจมตีแบบรูปกากบาท เพือ่ นว่า “ห้อง clear” แล้ว จึงให้กำ� ลังพลทีต่ รวจการณ์ ฝัง่ ใดฝัง่ หนึง่ รีบผ่านประตูเข้าไปยังมุมห้องฝัง่ ตรงข้าม แต่อยู่ฝั่งตรงกันข้าม แล้วจึงตามด้วยก�ำลังพลที่เหลือ ตรงผนังด้านฝั่งใกล้ก่อน จากนั้น อีกคนหนึ่งจะรีบ เข้าตามมาอีกที (คนที่เข้าล�ำดับที่สองอย่าลืมยกปืน ตามเข้าไปโดยให้ปฏิบตั ใิ นลักษณะเดียวกันแบบคนแรก หลบเพื่อนที่จะเข้าไปก่อนด้วย)


ข่าวทหารอากาศ

(๑)

(๒)

(๔)

(๓)

(๕) จ�ำลองล�ำดับการท�ำ Criss cross และ Check cross

53


54

ส�ำหรับแนวทางในการปฏิบัติการปิดล้อมตรวจ ค้นสามารถแบ่งออกเป็นได้ ๓ ขั้นหลัก ๆ คือ ขั้ น การเตรี ย มการ เป็ น ขั้ น รวบรวมข่ า วสาร จากหน่ ว ยและแหล่ ง ข่ า วต่ า ง ๆ หลั ง จากนั้ น จะ ลาดตระเวนพืน้ ทีเ่ ป้าหมายเพือ่ ทีจ่ ะหาขนาดของพืน้ ที่ ที่ท�ำการปิดล้อมอย่างแน่ชัด ซึ่งจะท�ำให้ทราบถึง แนวทางที่จะท�ำการปิดล้อมโดยมีสิ่งที่ต้องพิจารณา ได้แก่ ระยะทางโดยรอบพื้นที่ปิดล้อมสิ่งกีดขวางและ ทีม่ นั่ ดัดแปลง ระบบการแจ้งเตือนภายในพืน้ ทีเ่ ป้าหมาย เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ระฆัง แท่งเหล็กที่ยามประจ�ำ หมูบ่ า้ นใช้ ฯลฯ ต่อมาจะท�ำการศึกษาภูมปิ ระเทศโดยรอบ และเส้นทางทุกชนิดทัง้ ทางเดินในภูมปิ ระเทศ ทางถนน หรือเส้นทางช่องทางลับ เช่น ท่อน�ำ้ ขนาดใหญ่ ทางลับ ใต้ถนุ บ้าน อุโมงค์ ฯลฯ ซึง่ หลังจากท�ำการลาดตระเวน แล้วควรต้องทิง้ ส่วนเฝ้าตรวจไว้ โดยเป็นการเฝ้าตรวจ ทางลับหรือการใช้ภารกิจลวงเพือ่ เฝ้าตรวจและส่งผ่าน ข้อมูลตามเวลาจริง จากนั้น ก�ำลังผู้ปฏิบัติจะท�ำการ ขออนุมัติจากกองบัญชาการผสมพลเรือน ต�ำรวจ ทหาร และแจ้งเตือนหน่วยต่าง ๆ ให้เตรียมความพร้อม ในการปฏิบัติและสนับสนุนการปฏิบัติ ล�ำดับต่อมา จะท�ำการวางแผนร่วมโดยมีก�ำลังผสมตั้งแต่ก�ำลัง ทหาร ต�ำรวจ ชุดนิตวิ ทิ ยาศาสตร์ ชุดเก็บกูว้ ตั ถุระเบิด ชุดปฏิบัติการจิตวิทยา ฯลฯ ขั้นการปฏิบัติ เป็นการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ ผ่านการตัดสินใจของ ผูบ้ งั คับบัญชาแล้วว่าเห็นสมควร ให้ ป ฏิ บั ติ โ ดยจะต้ อ งค� ำ นึ ง ถึ ง ความอั น ตรายของ ผูก้ อ่ การร้ายทีส่ ว่ นใหญ่มหี มาย ประมวลกฏหมายอาญา และต้ อ งปฏิ บั ติ ด ้ ว ยความมี ม นุ ษ ยธรรมภายใต้ ความชอบธรรมมากทีส่ ดุ ซึง่ เจ้าหน้าทีต่ อ้ งปฏิบตั ติ าม

กฎการใช้ก�ำลังและเป็นไปด้วยความละมุนละม่อม กับประชาชนในพื้นที่มากที่สุด ขั้ น การฟื ้ น ฟู แ ละสถาปนาหลั ง จากเสร็ จ สิ้ น ภารกิจในการปิดล้อมตรวจค้น ชุดนิติวิทยาศาสตร์ จะท�ำการบันทึกข้อมูลพร้อมหลักฐานส�ำคัญต่าง ๆ เพื่อน�ำไปตรวจสอบ ชุดปฏิบัติการจิตวิทยาจะต้อง สร้างความร่วมมือของประชาชนในการปฏิบัติตาม ค�ำแนะน�ำและสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติเพื่อ ลดความไม่พอใจของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งบางครั้ง อาจต้องให้การเยียวยารักษาสภาพจิตใจหากเกิด การปะทะและน� ำ ซึ่ ง ความสู ญ เสี ย ของบุ ค คล ในครอบครัว จากบทความนีจ้ ะเห็นได้วา่ การปฏิบตั กิ ารปิดล้อม ตรวจค้นนั้น เป็นการปฏิบัติการทางทหารในลักษณะ การปฏิบตั กิ ารร่วม ทีต่ อ้ งประกอบก�ำลังด้วยกันหลายฝ่าย ทัง้ ทหาร ต�ำรวจ และพลเรือน เป็นการปฏิบตั ใิ นรูปแบบ การจูโ่ จมต่อเป้าหมายโดยไม่คาดคิด สามารถควบคุม บุคคลและสิ่งต้องสงสัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การปิดล้อมตรวจค้น เป็นลักษณะการวางแผนรวมการ แต่แยกการปฏิบัติ ท�ำให้การประสานสั่งการไม่เป็น เอกภาพเท่าที่ควร การกระจายข่าวสารไปยังหน่วย ในพืน้ ทีย่ งั ไม่ดพี อ และการไม่มสี ว่ นร่วมขององค์กรอืน่ ๆ เพราะต้องการรักษาความลับในการปฏิบตั ิ หน่วยปฏิบตั ิ ทีเ่ ป็นลักษณะการปฏิบตั กิ ารร่วมควรมีพนื้ ทีเ่ ตรียมพร้อม บริ เ วณเดี ย วกั น หรื อ ใกล้ เ คี ย งกั น เพื่ อ ความง่ า ย และสะดวกในการติดต่อและประสานงาน เกิดความ คล่องแคล่วในการเคลื่อนที่และปฏิบัติการร่วมกับ อากาศยาน

อ้างอิง - http://thaiairborne.blogspot.com/2009/10/blog-post_9225.html - http://21114u-2.blogspot.com/2010/07/blog-post_8866.html - https://www.isranews.org/content-page/67-south-slide/


ข าวทหารอากาศ

55

มุมท องเที่ยว

คิดถึงเขา...

ก็ไปหาเขา หมวยอินเตอร์

ธรรมชาติ ค�านี้ พูดถึงกีค่ รัง้ ก็รสู้ กึ สดชืน่ ในหัวใจ นับว่าเป็นการเติมพลังได้อย่างหนึ่ง หลังจากที่เจอ ความวุ ่ น วายของชี วิ ต วั น นี้ ผู ้ เ ขี ย นจะพาทุ ก ท่ า น ไปสัมผัสธรรมชาติ ถ้าให้พูดถึงที่พักแบบสโลว์ไลฟ์ ที่ใกล้ชิดธรรมชาติ บรรยากาศเงียบสงบ เหมาะแก่ การพั ก ผ่ อ น อี ก ทั้ ง ได้ เ ห็ น วิ ถี ชี วิ ต แบบชาวบ้ า น อย่างแท้จริง หลายคนก็คงนึกถึง แม่กา� ปองกันแน่นอน เพราะช่วงหลังมานี้ เป็นหมู่บ้านที่ได้รับความนิยม ของนักท่องเทีย่ วเป็นจ�านวนมาก แต่ผเู้ ขียนเลยอยาก แนะน�าอีกหนึง่ ทีส่ โลว์ไลฟ์ ทีร่ บั รองว่าทุกคนจะหลงรัก ณ แม่แมะ ต.แม่นะ อ.เชียงดาว จว.เชียงใหม่


56

โดยการเดินทางนั้น เราเริ่มเดินทางออกจาก ตัวเมืองเชียงใหม่ โดยใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๗ ผ่าน อ.แม่ริม อ.แม่แตง จนถึง ต.แม่นะ (ช่วงกิโลเมตรที่ ๖๖ ของทางหลวง หมายเลข ๑๐๗ และอยู ่ ก ่ อ นถึ ง ตั ว อ.เชี ย งดาว ๔ กิ โ ลเมตร) จะมี ท างแยกให้ เ ลี้ ย วซ้ า ยตามป้ า ย บอกทางไปบ้านแม่แมะ ตรงไปตามเส้นทางนี้ ๙ กิโลเมตร ถึงบ้านแม่แมะ (เส้นทางนี้ในช่วงแรกจะผ่านหมู่บ้าน และเริ่ ม เป็ น ทางขึ้ น เขา ผ่ า นป่ า และชุ ม ชนจนถึ ง บ้านแม่แมะ) สภาพเส้นทางเป็นถนนสองเลน ลาดยาง ตลอดสาย ไม่สงู ชันมาก ส่วนใหญ่เป็นโค้งซ้ายและขวา สลับกันไป รถทุกชนิดสัญจรได้ แต่ไม่ควรขับเร็ว เพราะไหล่ ท างแคบ รวมระยะทางจากตั ว เมื อ ง เชียงใหม่ - บ้านแม่แมะ ประมาณ ๗๓ กิโลเมตร และในที่สุดเราก็เดินทางมาถึงโดยใช้เวลาประมาณ ๒ ชัว่ โมง และเราก็มาถึงโฮมเสตย์ทพี่ กั ของเรา ซึง่ เป็น ที่พักตั้งอยู่ในหมู่บ้านแม่แมะ ต.แม่นะ อ.เชียงดาว จว.เชียงใหม่ ทีน่ ตี่ งั้ อยูบ่ นเขาทางเหนือของบ้านแม่แมะ


ข่าวทหารอากาศ

57

โดยทางผู้เขียนอยากจะซึมซับกับบรรยากาศ ธรรมชาติให้มากที่สุด ผู้เขียนจึงเลือกพักแบบเต๊นท์ ซึง่ ทางเจ้าของทีพ่ กั ใจดี บริการดีมาก มาถึงก็จดั เตรียม ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว หลังจากที่ผู้เขียนได้จัดเก็บของเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาทานอาหารเย็น โดยจะมีบริการอาหารเย็น ให้ฟรีซงึ่ ราคารวมกับทีพ่ กั แล้ว โดยเป็นอาหารพืน้ เมือง น�ำ้ พริกอ่อง ต้มผักกาดจอ ไข่เจียว ลาบหมู และล้างปาก ด้วยส้ม ผลไม้หวาน ๆ ทุกเมนูถือว่ารสชาดอร่อยมาก ผู้เขียนคิดว่าน่าจะถูกปากทุกคนแน่นอนค่ะ หลังจาก ทานเรียบร้อยแล้ว ผูเ้ ขียนได้ไปทีล่ านชมวิวของทีพ่ กั ซึ่งมีการก่อกองไฟไว้ให้ผู้เข้าพักมาผิงไฟคลายหนาว บรรยากาศดีมากเลยทีเดียว นั่งชมดาวปลดปล่อย ความคิดทีแ่ สนจะวุน่ วายออกไปได้พกั นึง เมือ่ ถึงเวลา สมควร ผูเ้ ขียนก็ได้เข้าพักผ่อนเพือ่ เช้าจะตืน่ มาซึมซับ บรรยากาศชมพระอาทิตย์ขึ้นกัน


58

หลังจากที่ผู้เขียนตื่นขึ้นตอนเช้าได้เปิดเต๊นท์ ก็พบกับความสดชืน่ จากป่าไม้ทโี่ อบล้อมรอบตัว นับว่า เป็นบรรยากาศที่ดีมากและผู้เขียนประทับใจที่สุด หลังจากนัน้ ผูเ้ ขียนได้เดินไปยังลานชมวิวเช่นเคย บรรยากาศตอนเช้ า ดี ไ ม่ แ พ้ ก ลางคื น เลยที เ ดี ย ว โดยผูเ้ ขียนได้เดินถ่ายรูปมุมต่าง ๆ ของทีพ่ กั และทาน อาหารเช้า เพื่อเติมพลังก่อนที่จะไปยังล�ำธารเล็ก ๆ ของที่พัก ซึ่งเจ้าของที่พักได้แนะน�ำมาว่า ให้เดินตรง ลงไปสัมผัสบรรยากาศ ซึ่งแน่นอน เราจะไม่พลาด ผู้เขียนได้เดินลงไปตามทาง ระยะห่างจากบ้านพัก


ข่าวทหารอากาศ

มาเพียง ๒๐๐ เมตร ผ่านไร่กาแฟ ก็มาถึงล�ำธาร ล�ำธารสายนี้มีต้นก�ำเนิดจากดอยแม่ตะมานไหลผ่าน บ้ า นแม่ แ มะ และไหลต่ อ เป็ น ทอด ๆ ปลายทาง ไหลลงสู่แม่น�้ำปิง จุดนี้ถือเป็นแหล่งต้นน�้ำเลยก็ว่าได้ เดินเล่นซึมซับบรรยากาศริมล�ำธารสักพัก สัมผัสได้วา่ ป่าที่นี่ถึงจะเป็นป่าชุมชน แต่ยังดูสมบูรณ์และร่มรื่น มาก ๆ หลั ง จากใช้ เ วลาอยู ่ ที่ นี่ จ นถึ ง เวลาประมาณ ๑๐ นาฬิกา จึงกลับที่พักไปเก็บกระเป๋าและเช็คเอาท์ ถึงแม้จะเป็นเวลาแค่ ๒ วัน ๑ คืน แต่สำ� หรับผูเ้ ขียนนัน้ เหมือนเราได้ปลดปล่อยความวุ่นวาย ได้มีเวลาอยู่กับ ตัวเองได้นานขึน้ ใครอยากจะใช้ชวี ติ ในแบบสโลว์ไลฟ์ ผู้เขียนแนะน�ำ “แม่แมะ” ชื่อที่ใครอาจจะยังไม่คุ้นหู แต่ ถ ้ า ได้ ม ารั บ รอง จะคิ ด ถึ ง สถานที่ แ ห่ ง นี้ แ ละ อยากกลับมาอีกครั้งอย่างแน่นอน

อ้างอิง - https://www.gotel.in.th - https://pantip.com/topic/39326730

59


60

WHY CHINA CAN’T TARGET U.S. AIRCRAFT CARRIERS น.อ.พลวัตร อินทรวิเศษ

นั ก วิ เ คราะห ส หรั ฐ ฯ ได แ สดงให เ ห็ น ว า เรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ ฯ ไดพิสูจนมานานหลาย ทศวรรษแล ว ว า สามารถอยู  ร อดจากความเสี่ ย ง ของยุคขีปนาวุธตอตานเรือระยะไกลทีม่ คี วามแมนยําสูง ในชวงไมกปี ท ผี่ า นมา สาธารณรัฐประชาชนจีนถูกระบุวา เปนมหาอํานาจทางทหารทีม่ แี นวโนมจะสามารถขับไล เรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯ ในทะเลได เหตุผลหนึง่ ทีก่ องทัพเรือสหรัฐ ฯ ไมตนื่ ตระหนก ในเรือ่ งทีไ่ ดมกี ารลงทุนอยางมากในเทคโนโลยีใหม ๆ ที่ มี เ ป า หมายเพื่ อ สนั บ สนุ น ระบบป อ งกั น ตั ว เอง ของกองเรือโจมตีของสหรัฐ ฯ นอกจากนีย้ งั ไดเปลีย่ น ยุทธวิธสี าํ หรับการปฏิบตั กิ ารใกลประเทศจีน แตเหตุผล ทีส่ าํ คัญทีส่ ดุ สําหรับความเชือ่ มัน่ ในอนาคตทีจ่ ะทําใหจนี มีความยากในการคนหาและติดตามตําแหนงที่ตั้ง ของเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ ฯ

เรื อ บรรทุ ก เครื่ อ งบิ น สหรั ฐ ฯ มี ด าดฟ า ขนาดใหญที่ใชพลังงานนิวเคลียรในการปฏิบัติการ ดูเหมือนวาจะงายตอการตรวจจับเปาหมาย ขนาดเรือ ยาว ๑,๐๐๐ เมตร และมีความสูง ๒๕ เมตร และทําจาก เหล็กที่สะทอนสัญญาณเรดาร แลวอะไรทีเ่ ปนสิง่ ยากในการคนหาและติดตาม เปาหมายเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ ฯ เพื่อที่จะใช ขีปนาวุธวิถโี คงตอตานเรือทีป่ ระเทศจีนมีใชประจําการ เหตุ ผ ลนั่ น ก็ คื อ มหาสมุ ท รแปซิ ฟ  ก ตะวั น ตกที่ มี ขนาดใหญทําใหสามารถซอนตัวจากการตรวจจับ ของจีน ความกวางของทะเลจีนใตอยางเดียวมีพื้นที่ ประมาณ ๑.๔ ลานตารางไมล และระยะ ๑ ใน ๔ ของความกวางของทะเลจีนใตการโจมตีดว ยเครือ่ งบิน จากเรือบรรทุกเครือ่ งบินของสหรัฐ ฯ สามารถเขาโจมตี ประเทศจีนได


ข่าวทหารอากาศ

ถาเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ ฯ ปฏิบัติการ ควบคุมทะเล ทําใหสามารถเปดเสนทางเดินเรือใหกบั พันธมิตรทีส่ าํ คัญ เชน ญีป่ นุ เรือบรรทุกเครือ่ งบินอาจจะ อยูไ กลจากแนวเกาะแรกทีข่ นานกับแนวชายฝง ของจีน และสามารถซ อ นตั ว อยู  ใ นมหาสมุ ท รแปซิ ฟ  ก อันกวางใหญ เปนการยากทีจ่ ะตรวจพบสิง่ ใด ๆ ในพืน้ ที่ หลายลานตารางไมล ในมหาสมุทรเปดและเปาหมาย เคลื่อนที่ตลอดเวลา เรื อ บรรทุ ก เครื่ อ งบิ น พลั ง งานนิ ว เคลี ย ร มี ขี ด ความสามารถในการเดิ น เรื อ อย า งไม จํ า กั ด ระยะทาง ถาหากจีนสามารถเห็นเรือบรรทุกเครือ่ งบิน มันจะไมเปนอยางทีเ่ ห็น เมือ่ อาวุธมาถึงเนือ่ งจากเวลา และการเคลื่อนที่ตอเนื่อง ดวยความเร็ว ๓๕ ไมล ตอชัว่ โมงของเรือบรรทุกเครือ่ งบินสามารถอยูต าํ แหนง ไหนก็ได ในพื้นที่มากกวา ๗๐๐ ตารางกิโลเมตร ภายใน ๓๐ นาที พืน้ ทีจ่ ะเพิม่ มากขึน้ เมือ่ เวลา ๙๐ นาที

61

ราว ๖,๐๐๐ ตารางไมล ซึ่งเปนเวลาที่ตรวจจับได และยิงขีปนาวุธมาจากประเทศจีน พิ จ ารณาจากอุ ป สรรคของการโจมตี ดวยขีปนาวุธจากจีนที่จะตองเอาชนะเรือบรรทุก เครื่องบินใหได จีนตองกําหนดเปาหมายและติดตาม เป า หมายอย า งต อ เนื่ อ งเมื่ อ มี ก ารเคลื่ อ นไหว หลั ง จากนั้ น ต อ งใช อ าวุ ธ ที่ มี ค วามพิ เ ศษเฉพาะ และต อ งเจาะทะลุ ชั้ น ของเรื อ ที่ มี ห ลายชั้ น และในสุดทาย ตองสามารถตรวจสอบผลการทําลาย วาเปนอยางไร เสียหายระดับใด กองทัพเรือสหรัฐ ฯ เรี ย กขบวนการนี้ ว  า ห ว งโซ สั ง หาร (Kill Chain) เนื่องจากแตละขั้นตอนตองสมบูรณ ถาขั้นตอนใด ขัน้ ตอนหนึง่ ผิดพลาด ขบวนการทัง้ หมดก็จะลมเหลว ขี ป นาวุ ธ ก็ จ ะพลาดเป า หมาย ซึ่ ง กองทั พ เรื อ และพั น ธมิ ต รก็ มี ศั ก ยภาพการขั ด ขวางการโจมตี ดวยขีปนาวุธในแตละขั้นตอน


62

ขัน้ ตอน ๑ คือการคนหาและกําหนดตําแหนง เปาหมายเรือบรรทุกเครือ่ งบิน ประการแรก จีนมีหลายทางเลือก ไดแก ใชเรดารบนฝง ตรวจจับวัตถุเหนือระดับขอบฟา เรดารที่ทรงพลังเหลานี้จะตรวจจับการสะทอนกลับ ของวัตถุ ซึง่ การสะทอนกลับคอนขางนอยทีจ่ ะสะทอนกลับ โดยตรง ประการทีส่ อง เนือ่ งจากถูกออกแบบเพือ่ เบีย่ งเบน ทิศทางทําใหสญ ู เสียพลังงานในการสะทอนกลับไปยัง สถานีเรดาร ประการที่สาม ภาพที่ไดจากคนหานั้น มีความละเอียดตํ่าจนเรดารไมสามารถสรางเสนทาง เปาหมายไดถงึ แมจะเปนเรือบรรทุกเครือ่ งบินขนาดใหญ ก็ตาม ในทีส่ ดุ เรดารกจ็ ะไดตาํ แหนงทีเ่ ปนตําแหนงเดิม ขัน้ ตอนที่ ๒ ของจีนคือการลาดตระเวนดวย ดาวเทียม ซึง่ มีจาํ นวนมากในวงโครงจร ซึง่ ประกอบดวย การดักฟงทางอิเล็กทรอนิกส ซึง่ กองทัพเรือสหรัฐ ฯ ใชใน การเฝาฟงในมหาสมุทร หรือการใชอุปกรณตรวจจับ จากแสงและเรดารจากดาวเทียม แตดาวเทียมนั้น เพื่อใหไดขอมูลคุณภาพเพื่อกําหนดเปาหมายตองอยู ในวงโคจรตํา่ (ประมาณ ๖๐๐ ไมลเหนือพืน้ โลก) ซึง่ มี อัตราความเร็วการเดินทาง ๑๖,๐๐๐ ไมลตอชั่วโมง ซึง่ หมายความวาภาพทีต่ รวจจับจะหายไปอยางรวดเร็ว บนขอบฟา จะกลับมาอีกครั้งใชเวลามากกวา ๑ ชม. กองทัพเรือสหรัฐ ฯ ระบุวาการลาดตระเวน สํารวจพื้นที่ทะเลใกลจีนอยางตอเนื่องนั้น จีนตอง กําหนดเสนทาง ๓ เสนทางขนานกันในแนวเหนือใต ในระยะวงโคจรตํา่ และเติมดาวเทียมในแตละเสนทาง เหลานั้นดวยดาวเทียมนับสิบ ที่เวนระยะหางเพื่อให ครอบคลุ ม พื้ น ที่ อ ย า งต อ เนื่ อ ง ประเทศจี น ไม มี ดาวเทียมทีใ่ กลเคียงนีท้ จี่ ะทําการเชือ่ มตอกันทัง้ หมด เหนื อ เป า หมายให กั บ ระบบควบคุ ม และสั่ ง การ เพื่ อ ควบคุ ม ขี ป นาวุ ธ ไปยั ง เรื อ บรรทุ ก เครื่ อ งบิ น นับเปนสิ่งที่ยุงยากมาก ขัน้ ตอนที่ ๓ ในการคนหาเปาหมาย จีนใชเรดาร จากเครือ่ งบินหรือจากอากาศยานไรคนขับ แตกองเรือ บรรทุกเครือ่ งบินจะรักษาการปองกันทีแ่ นนหนาในอากาศ โดยรอบ และมีเครือ่ งบินสกัดกัน้ จรวดนําวิถพี นื้ สูอ ากาศ เครื่ อ งบิ น ลาดตระเวนและเครื่ อ งบิ น รบกวน ทางอิเล็กทรอนิกส ซึง่ จะไมมเี ครือ่ งบินของจีนเขาใกลเพียงพอ ทีจ่ ะติดตามเสนทาง การเดินเรือไดอยางตอเนือ่ ง เชนเดียวกับ เรือผิวนํ้าและเรือดํานํ้าของจีนก็ไมสามารถเขามา ในระยะใกลไดเชนกัน จะถูกตรวจพบและสกัดกัน้ ไดกอ น


ข่าวทหารอากาศ

ดังนัน้ ในขัน้ ตอนแรกในการค้นหาและก�าหนด เป้าหมายเรือบรรทุกเครือ่ งบินไม่ใช่เรือ่ งง่าย การเชือ่ มต่อ งานในระบบอื่น ๆ ที่ใช้ในขั้นตอนต่อไปของระบบ Kill Chain เป็นเรื่องที่ท้าทาย อาวุธต่าง ๆ ที่ถูกยิง เข้าสูเ่ ป้าหมายต้องถูกป้องกันในหลายชัน้ ทัง้ การป้องกัน เชิงรุกและเชิงรับ รวมถึงการรบกวนทางอิเล็กทรอนิกส์ และในอนาคตจะมีอาวุธล�าแสงในการสกัดกั้น ผู ้ สั ง เกตการณ์ บ างคนได้ เ น้ น ถึ ง อั น ตราย ที่เกิดจากการติดตั้งอาวุธวิถีโค้งต่อต้านเรือติดหัวรบ ทีเ่ ข้าหาเป้าหมายทีเ่ คลือ่ นทีไ่ ด้ กองทัพเรือสหรัฐ ฯ ได้ให้ ความส�าคัญกับภัยคุกคามนีเ้ ป็นอย่างมาก และในการ ตอบสนองในเรือ่ งนีไ้ ด้ยา้ ยเรือรบ ไปยังมหาสมุทรแปซิฟกิ ในทางปฏิบัติแล้วอาวุธเหล่านี้สร้างความแตกต่าง เพียงเล็กน้อย เนือ่ งจากขัน้ ตอนการค้นหาและก�าหนด เป้าหมาย การติดตามเป้าหมายเรือบรรทุกเครือ่ งบินนัน้ กระท�าได้อย่างจ�ากัด ซึง่ ขีปนาวุธระยะไกลมากเท่าไร ก็ตอ้ งการการอัพเดทต�าแหน่งก็จะยิง่ มากขึน้ ตามไปด้วย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ส�าเร็จ ดังนั้นถ้าไม่มีข้อมูล

63

ทีต่ อ่ เนือ่ งทีเ่ หมาะสมส�าหรับระบบควบคุมและสัง่ การ แบบทันสถานการณ์อาวุธจะพลาดเป้าหมายเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะทั่วไปนี้น�าไปใช้ไม่ว่าจะเป็นอาวุธ โจมตีประเภทขีปนาวุธวิถโี ค้ง หรือยานร่อนความเร็วสูง หลายเท่าความเร็วเสียง (Hypersonic glide vehicle) หากต�าแหน่งทีต่ งั้ ของเรือเป้าหมายไม่สามารถติดตามได้ ในห้ ว งเวลาที่ เ หมาะสมและไม่ อั พ เดทอาวุ ธ นั้ น ก็ไม่สามารถโจมตีเป้าหมายได้ สรุปได้วา่ จีนไม่สามารถทีจ่ ะเอาชนะอุปสรรค ที่จ�าเป็น และประสบความส�าเร็จในการโจมตีเรือ บรรทุกเครื่องบินสหรัฐ ฯ ไม่ว่าเรือบรรทุกเครื่องบิน จะปฏิบัติการใกล้ชายฝั่งในการส่งก�าลังทางอากาศ ขึ้นปฏิบัติการหรือรักษาการควบคุมเส้นทางเดินเรือ จีนจะถูกกดดันอย่างหนักเพือ่ ขัดขวางการท�าการของจีน ในภาวะสงคราม โดยหน่วยงานสหรัฐ ฯ จะรวมกันในการ ก�าจัดให้ลดลงอย่างรวดเร็วในวันแรกของสงคราม ซึ่งจะร่วมปฏิบัติทั้งทางบก ทางทะเลและอวกาศ

ยานร่อนความเร็วสูงหลายเท่าความเร็วเสียง (Hypersonic glide vehicle)


64

ในปัจจุบนั จีนได้เพิม่ แนวรุกมากขึน้ ด้วยการสร้าง เกาะเทียมในทะเลจีนใต้ซงึ่ มีการสร้างสนามบิน สถานีเรดาร์ และติดตั้งขีปนาวุธต่อต้านเรือผิวน�้า นอกจากนั้น ยังได้ขยายอิทธิพลในการไปลงทุนพัฒนาโครงสร้าง พืน้ ฐานให้กบั ประเทศหมูเ่ กาะมหาสมุทรแปซิฟกิ ด้วย ซึง่ ในอนาคตมีแนวโน้มทีจ่ นี จะมี Sensor ทีค่ รอบคลุม

อ้างอิง

ทั้งทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิกก็เป็นได้ โดยจี น ได้ ไ ปลงทุ น กลุ ่ ม ประเทศหมู ่ เ กาะ ในมหาสมุทรแปซิฟิกด้วยการ สร้างถนน ท่าเรือ ผ่านความร่วมมือในการประชุมสุดยอดผู้น�า APEC ซึง่ ประกอบด้วยประเทศ Papua New Guinea (PNG) หมู่เกาะ Solomon เป็นต้น

- https://www.forbes.com/sites/lorenthompson/2019/08/09/why-china-cant-target-u-s-aircraft-carriers - https://www.dw.com/en/china-and-australia-compete-for-influence-in-the-pacific/a-46332361


ข่าวทหารอากาศ

มาเปนเพื่อนกันเถอะ

à¾Õ§ ADD FRIEND @RTAF äÁ‹¾ÅÒ´¢‹ÒÇÊíÒ¤ÑÞ ¨Ò¡ ¡Í§·Ñ¾ÍÒ¡ÒÈ

SCAN QR CODE ID : @RTAF

ÅØŒ¹ÃѺ¢Í§ÃÒ§ÇÑÅÊÔ·¸Ô¾ÔàÈÉÊíÒËÃѺ LINE @¡Í§·Ñ¾ÍÒ¡ÒÈ à·‹Ò¹Ñé¹

65


66

ธรรมประทีป

กอศ.ยศ.ทอ.

วันมาฆบูชา เปนวันสําคัญของพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ซึ่งเปน ที่ รู  กั น ว า เป น วั น เกิ ด พระธรรมถื อ ว า เป น วั น ที่ พระพุทธเจา ไดประกาศ หลักธรรม คําสั่งสอนของ พระองคเพือ่ ใหพระอรหันตทงั้ หลาย ทีม่ าประชุมกันใน วันนัน้ นําไปเผยแผ วันมาฆบูชาเปนวันบูชาพิเศษทีต่ อ ง ทําในวันเพ็ญเดือนมาฆะ หรือในวันที่พระจันทรเสวย มาฆฤกษ (ซึง่ โดยปกติทาํ กันในกลางเดือน ๓ แตถา ปใด มีอธิกมาส คือเดือนแปดสองหน ก็เลือ่ นไปกลางเดือน ๔) ถือกันวาเปนวันสําคัญ เพราะวันนี้เปนวันคลายกับ วันประชุมกันเปนพิเศษ แหงพระอรหันตสาวกโดยมิได นัดหมาย ซึ่งเรียกวา วันจาตุรงคสันนิบาต ซึ่งไดมีขึ้น ณ บริเวณเวฬุวันมหาวิหาร หลังจากที่พระพุทธเจาได ตรัสรูเ ปนเวลานับได ๙ เดือน วันนีเ้ องทีพ่ ระพุทธองคแสดง "โอวาทปาฎิ โ มกข " ซึ่ ง ถื อ กั น ว า เป น หลั ก คํ า สอน ที่เปนหัวใจของพระพุทธศาสนา จาตุรงคสันนิบาต คือ การประชุมพรอมดวยองค ๔ คือ ๑. วันนัน้ เปนวันมาฆปูรณมี คือวันเพ็ญขึน้ ๑๕ คํา่ เดือน ๓ ๒. พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิไดนดั หมาย ๓. พระภิกษุเหลานั้นลวนเปนพระอรหันต

๔. พระภิ ก ษุ เ หล า นั้ น ได รั บ การอุ ป สมบทจาก พระพุทธเจาโดยตรง (เอหิภิกกฺขุอุปสมฺปทา) นอกจากเหตุการณจาตุรงคสันนิบาตในวันเพ็ญ เดือน ๓ ในพรรษาแรกของพระพุทธเจาแลว ในวันเพ็ญ เดือน ๓ ของพรรษาสุดทายของพระพุทธเจา (คราวที่ ทรงพระชนมายุ ๘๐ พรรษา) ก็ไดเกิดเหตุการณสําคัญขึ้น อีกเหตุการณหนึ่ง คือ พระพุทธองคไดทรง ปลงสังขาร อีกดวย การประกอบพิธีในวันมาฆบูชาไดเริ่มมีขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล า เจ า อยู  หั ว เนื่ อ งจาก พระองคทรงเล็งเห็นวา วันนี้เปนวันคลายวันที่เกิด เหตุ ก ารณ สํ า คั ญ ในพระพุ ท ธศาสนา คื อ เป น วั น ที่ พระพุทธเจาทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข ควรจะมีการ ประกอบพิธีบําเพ็ญกุศลตาง ๆ เพื่อถวายเปนพุทธบูชา โดยในครั้ ง แรกนั้ น ได ท รงกํ า หนดเป น เพี ย งการจั ด พระราชพิธบี าํ เพ็ญกุศลเปนการภายใน แตตอ มาประชาชน ก็ไดนิยมนําพิธีนี้ไปปฏิบัติสืบตอมาจนกลายเปนวัน ประกอบพิ ธี สํ า คั ญ ทางพระพุ ท ธศาสนา โดยมี ก าร ประกอบพิธที าํ บุญตักบาตร และเวียนเทียน ในวันดังกลาว สืบตอกันมา


ASEAN Community Little Tidbits เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประชาคมอาเซียน

ข่าวทหารอากาศ

67

@Zilch

National Animal of Indonesia สัตว์ประจ�าชาติของอินโดนีเซีย

Komodo

The national animal of Indonesia is Komodo dragon. It is a very large lizard that can be found mainly in Indonesia. As they are found only in Indonesian islands, it was picked as the national animal of Indonesia. However, it is still called “oras” which means “land crocodile” in the country. Komodo dragons are actually venomous. The venom in a Komodo dragon’s saliva can slowly and painfully paralyze and kill a victim over a day’s time. While their eyesight and olfactory senses are quite poor, their split and forked tongues can track down their dying victims or carrion over distances of up to 9 km away. They can choose to reproduce sexually or asexually depends on the conditions of their environment.

มังกรโคโมโด

สัตว์ประจ�ำชำติของประเทศอินโดนีเซียคือ มังกร โคโมโด สัตว์ชนิดนีค้ อื กิง้ ก่ำขนำดใหญ่ ซึง่ พบเห็นได้ทวั่ ไป ในประเทศอินโดนีเซียเป็นหลัก มังกรโคโมโดได้รับเลือก ให้เป็นสัตว์ประจ�ำชำติของประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจำก ผู้คนสำมำรถพบเห็นพวกมันได้แค่ในหมู่เกำะอินโดนีเซีย เท่ำนั้น อย่ำงไรก็ตำม ผู้คนในประเทศอินโดนีเซียยังคง เรียกมังกรโคโมโดว่ำ “ออรำซ” ซึ่งแปลว่ำ “จระเข้บก” ที่จริงแล้ว มังกรโคโมโด เป็นสัตว์มีพิษ พิษในน�้ำลำยของ มันสำมำรถท�ำให้เหยื่อค่อย ๆ เป็นอัมพำตอย่ำงช้ำ ๆ เหยือ่ จะรูส้ กึ เจ็บปวด และถูกปลิดชีพภำยในเวลำหนึง่ วัน สำยตำและประสำทสัมผัสในกำรดมกลิ่นของพวกมัน ค่อนข้ำงแย่ ในขณะทีล่ นิ้ สองแฉกเหมือนง่ำมของพวกมัน สำมำรถตรวจจับเหยือ่ ทีก่ ำ� ลังจะสิน้ ใจ หรือตรวจจับแม้แต่ ซำกเหยือ่ ทีก่ ำ� ลังเน่ำ ได้ในระยะทำงทีไ่ กลถึง ๙ กิโลเมตร พวกมันสำมำรถเลือกทีจ่ ะสืบพันธุแ์ บบผสมพันธุ์ (สืบพันธุ์ แบบอำศั ย เพศ) หรื อ สื บ พั น ธุ ์ แ บบไม่ ผ สมพั น ธุ ์ ก็ ไ ด้ (สื บ พั น ธุ ์ แ บบไม่ อ ำศั ย เพศ) ทั้ ง นี้ ขึ้ น อยู ่ กั บ สภำพ สิ่งแวดล้อมเป็นตัวก�ำหนด

ข้อมูลจาก : https://helonational.com/national-animal-of-indonesia/ https://theculturetrip.com/asia/indonesia/articles/11-facts-komodo-dragon-indonesias-national-animal/ รูปจาก : https://helonational.com/national-animal-of-indonesia/


68

ʶҺѹ෤â¹âÅÂÕ»‡Í§¡Ñ¹»ÃÐà·È (ͧ¤ ¡ÒÃÁËÒª¹) ¡ÃзÃǧ¡ÅÒâËÁ

Defence Technology Institute (Public Organization) Ministry of Defence, The Kingdom of Thailand

รอบรูเทคโนโลยีปองกันประเทศ

Ê·».

FUTURE WARFARE

ʧ¤ÃÒÁã¹Í¹Ò¤µ

Future Warfare หากกลาวโดยทัว่ ไป หมายถึง การสงครามหรือการใชกําลังทางทหารในอนาคต ซึง่ รัฐบาลและกองทัพจะทําการวิเคราะหสถานการณ สภาวะแวดล อ มดานความมั่นคง และภัยคุก คาม ในอนาคต เพื่อเปนเครื่องมือสําหรับนําไปใชในการ กํ า หนดแนวทางและยุ ท ธศาสตร ด  า นความมั่ น คง ซีง่ กองทัพจะนําขอมูลนีไ้ ปใชในการจัดทําแผนพัฒนา ขี ด ความสามารถของกํ า ลั ง รบอย า งเหมาะสม และสอดคล อ งกั บ สภาพแวดล อ มการปฏิ บั ติ ก าร และทรัพยากรที่มีอยู สถานการณและเหตุการณ ดานความมั่นคงโลกในปจจุบัน เปนเครื่องบงชี้สําคัญ ทีจ่ ะนําไปสูก ารวิเคราะหและประเมินสงครามในอนาคต จากเหตุ ก ารณ ก ารสู  ร บในประเทศอั ฟ กานิ ส ถาน

และอิ รั ก ที่ ยั ง คงดํ า เนิ น อยู  อ ย า งยื ด เยื้ อ เป น เวลา ยาวนานกวา ๑๔ ป เหตุการณสูรบในประเทศซีเรีย เพือ่ ปราบปรามรัฐอิสลามในอิรกั และลีแวนตหรือ ISIS สถานการณ ที่ รั ส เซี ย บุ ก เข า ไปในประเทศยู เ ครน เพือ่ ผนวกเขต Crimea และสถานการณความตึงเครียด ในเขตทะเลจีนใต พอจะบงบอกไดวา สงครามในอนาคต ยังคงอยูใ นรูปแบบของ สงครามตามแบบ (Conventional Warfare) สงครามนอกแบบ (Unconventional Warfare) สงครามตัวแทน (Proxy War) และสงคราม พันทาง (Hybrid War) ซึง่ เปนสงครามทีม่ กี ารผสมผสาน กําลังตามแบบ (Conventional Forces) และกําลัง นอกแบบ (Irregular Forces) ปฏิบัติการทางทหาร รวมกันอยางแยกไมออก


ข่าวทหารอากาศ

การปกป้องอธิปไตยและการแย่งผลประโยชน์ อาจน�าไปสูค่ วามขัดแย้งทีต่ อ้ งใช้กา� ลังทหารในอนาคต ซึ่งสงครามในอนาคตจะครอบคลุมการปฏิบัติการ ใน ๕ มิติ ได้แก่ บก ทะเล อากาศ อวกาศ และไซเบอร์ จ�าเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยี จะเป็ น เครื่ อ งมื อ ในการช่ ว ยทวี คู ณ ความสามารถ ของก�าลังรบ (Force Multiplier) สร้างความได้เปรียบ ในทางยุทธวิธีเหนือข้าศึก ชดเชยข้อด้อยในเรื่องของ จ�านวนก�าลังรบ สงวนก�าลังรบของฝ่ายเรา และช่วยให้ บรรลุ ภ ารกิ จ ได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว ที่ ผ ่ า นมาในอดี ต สหรั ฐ อเมริก าและประเทศพันธมิตรที่พัฒ นาแล้ ว เป็ น ผู ้ ค รอบครองและเป็ น ผู ้ น� า ด้ า นเทคโนโลยี ที่จะท�าการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปการรบ (Disruptive Technologies) และอ�านาจการโจมตี (Destructive Weapons) เพือ่ จะชดเชยข้อจ�ากัดด้านจ�านวนทีด่ อ้ ยกว่า ยกตัวอย่างเช่น อาวุธนิวเคลียร์ เรือด�าน�้า เครื่องบิน ตรวจจับได้ยาก (Low Observable หรือ Stealth) ในปัจจุบันประเทศมหาอ�านาจอื่น ๆ อย่างรัสเซีย และจีน ที่มีก�าลังทหารมากมายมหาศาล รวมทั้ง ประเทศทีม่ อี ดุ มการณ์เป็นแนวร่วมเดียวกัน ต่างได้เร่ง ด�าเนินการวิจยั และพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีปอ้ งกัน ประเทศ เพื่อที่จะไล่ตามและลดช่องว่างทางด้าน เทคโนโลยี (Technology Gap) เพือ่ ให้เกิดความเท่าเทียม หรือล�า้ หน้าสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตร โดยจะส่งผล ต่อการแพร่ขยายของอาวุธ (Weapons Proliferation) ไปยังประเทศหรือกลุม่ ก่อความไม่สงบทีอ่ ยูฝ่ า่ ยตรงข้าม สภาพแวดล้อมการปฏิบัติการทางทหารในอนาคต ยุ ท ธบริ เ วณอยู ่ ใ นรู ป แบบของการที่ ก ลุ ่ ม ก่อความไม่สงบจะแสวงโอกาสเข้าโจมตีฐานที่มั่น ของฝ่ายรัฐ คู่ขนานไปกับการก่อวินาศกรรม จึงมี การใช้หน่วยรบพิเศษเข้าไปแทรกซึมและโจมตีฐาน การโจมตีด้วยจรวด อาวุธน�าวิถี เครื่องยิงลูกระเบิด ที่มีอ�านาจท�าลายและความแม่นย�าสูง ส�าหรับการ ปฏิบัติการทางทะเลของเรือผิวน�้าจะเผชิญกับการ ถู ก ตรวจจั บ จากระบบเครื อ ข่ า ยค้ น หาเป้ า หมาย และระบบอาวุ ธ ต่ อ ต้ า นเรื อ ผิ ว น�้ า ของจี น รั ส เซี ย และอิหร่าน ที่มีพิสัยท�าการไกล (Anti Access) ประกอบกั บ ขี ป นาวุ ธ ต่ อ ต้ า นเรื อ ผิ ว น�้ า ของจี น

69

รุน่ DF-21D ระยะปฏิบตั กิ าร ๑,๕๐๐ กม. และก�าลังอยู่ ในระหว่างการพัฒนาเพื่อเพิ่มระยะเป็น ๓,๐๐๐ กม. ในขณะที่อิหร่านก�าลังพัฒนาจรวดแบบ Fateh-110 หรือ Khalij Fars มีระยะปฏิบตั กิ าร ๓๐๐ กม. น�าวิถดี ว้ ย EO/IR และภัยคุกคามใต้น�้าที่ส�าคัญ ได้แก่ ตอร์ปิโด แบบ Wake Homing Torpedoes ที่ยากต่อการ ป้องกัน และการปฏิบัติการทางอากาศต้องเผชิญกับ การแผ่ขยายของระบบป้องกันภัยทางอากาศ ด้วยเรดาร์ ทีม่ คี วามแม่นย�าและความละเอียดในการค้นหาเป้าหมาย มีความทนทานต่อการถูกรบกวนสัญญาณ มีรศั มีทา� การ ทีไ่ กลขึน้ ค้นหาเป้าหมายได้เป็นจ�านวนมากในเวลาเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น S-300 ของประเทศรัสเซีย และ HQ-9 ของประเทศจีน ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติภารกิจ ของกองทัพอากาศเป็นอย่างมาก ในขณะทีอ่ ากาศยาน ของฝ่ายข้าศึกมีสมรรถนะและเทคโนโลยีดา้ นการค้นหา เป้าหมายได้ดยี งิ่ ขึน้ ประกอบกับอาวุธน�าวิถที งั้ ระยะสายตา และระยะเกินสายตา ถึงแม้วา่ ในปัจจุบนั กองทัพอากาศ สหรัฐฯ มีเครือ่ งบินขับไล่และเครือ่ งบินทิง้ ระเบิดแบบตรวจจับ ได้ยากในประจ�าการ แต่ก็ยังมีอยู่ในจ�านวนที่จ�ากัด โดยคาดว่าน่าจะบรรจุเข้าประจ�าการอย่างสมบูรณ์ ในช่วงกลางปี ค.ศ. ๒๐๒๐ สงครามในห้วงอวกาศและสงครามไซเบอร์ ไม่ใช่เรือ่ งเหนือจินตนาการอีกต่อไป ปัจจุบนั ห้วงอวกาศ เต็มเป็นด้วยดาวเทียมหลายประเภททีโ่ คจรอยูร่ อบ ๆ ดาวเทียมคือหัวใจส�าคัญต่อการปฏิบตั กิ ารในปัจจุบนั ทั้งในการเคลื่อนย้ายก�าลังและการโจมตีเป้าหมาย กองทัพสหรัฐฯ และมิตรประเทศ ต่างต้องพึง่ พาระบบ ดาวเทียม GPS ในการน�าร่องและในการค�านวณ หาพิกดั รวมถึงการข่าว การลาดตระเวน และตรวจการณ์ (ISR) ทั้ ง ในแบบ SAR, EO/IR ELINT/SIGINT และการสื่อสาร ฝ่ายข้าศึกตระหนักถึงความส�าคัญ ในเรือ่ งนีแ้ ละได้พฒ ั นาการเครือ่ งมือรบกวนดาวเทียม GPS และดาวเทียมสื่อสารทางทหาร การรบกวน การตรวจจับด้วยกล้อง EO/IR ของดาวเทียมทีม่ วี งโคจรต�า่ รวมถึงการใช้แสงเลเซอร์และจรวดต่อต้านดาวเทียม ในมิตขิ องสงครามไซเบอร์จะเป็นการโจมตีระบบเครือข่าย C4ISR เพือ่ ลดประสิทธิภาพในการควบคุมบังคับบัญชา รวมถึงการจ�ากัดเสรีในการเคลือ่ นย้ายก�าลังและการใช้ อาวุธน�าวิถี


70

เทคโนโลยีส�ำคัญที่จะมีบทบำทต่อสงครำมในอนำคต (Future Warfare Technology)

U.S. Air Force MQ-9A Reaper

อำกำศยำนไร้คนขับ (Unmanned Aircraft System : UAS) สหรัฐฯ และมิตรประเทศมีประสบการณ์ เครื่องบินเติมน�้ามันกลางอากาศให้การสนับสนุน ในการใช้งาน UAS มาเป็นเวลายาวนาน มีความก้าวล�า้ ด้านการส่งก�าลังบ�ารุง ส�าหรับอนาคตอันใกล้ กองทัพ น�าหน้าทางด้านเทคโนโลยีการออกแบบตัวยาน ระบบ อากาศจะมีอากาศยานไร้คนขับเพิม่ มากขึน้ เครือ่ งบิน สื่อสาร ระบบการควบคุมและระบบอาวุธ ที่พัฒนา ทิ้งระเบิดจะถูกออกแบบมาให้ยากต่อการตรวจจับ ไปสู่ยานไร้คนขับที่เป็น Stealth นอกจากนี้ยังมีการ (Low Observable) หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็น ประยุกต์รูปแบบการใช้งานเพื่อตอบสนองภารกิจ ทางการว่ า Stealth โดยจะมาแทนที่ เ ครื่ อ งบิ น เช่น Man-Unmanned และ Swarm กองทัพบก ทิ้งระเบิดแบบ B-1 และ B-52 อีกทั้งเราจะได้เห็น มีการใช้งานยานยนต์ไร้คนขับในการลาดตระเวน ปรากฏการณ์การท�างานของอากาศยานไร้คนขับ ตรวจการณ์ กองทัพเรือมีการใช้งานเรือผิวน�า้ และเรือ ที่สามารถรับการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ เพื่อเพิ่ม ใต้ น�้ า ไร้ ค นขั บ ในการลาดตระเวน ตรวจการณ์ ระยะเวลาปฏิบัติการพิสัยท�าการให้ไกลขึ้น ทั้งใน การท�าแผนทีแ่ ละการต่อต้านทุน่ ระเบิด รวมถึงศึกษา ภารกิจการลาดตระเวนตรวจการณ์และการโจมตี แนวความคิ ด ในการใช้ ต ่ อ ต้ า นเรื อ ด� า น�้ า โดยมี เป้าหมายภาคพืน้ ดิน รวมถึงการใช้งานอากาศไร้คนขับ เทคโนโลยีทกี่ า� ลังได้รบั ความสนใจ ได้แก่ แหล่งพลังงาน ชนิดที่ใช้งานเพียงครั้งเดียวในลักษณะที่เป็นอาวุธ และการสื่อสารใต้น�้า น�าวิถี ปล่อยออกจากฐานบินลอยฟ้า (Air Launch) ปัจจุบนั ก�าลังรบทางอากาศ ประกอบไปด้วย รวมถึงการท�างานร่วมกันเป็นฝูงของอากาศยานไร้คนขับ เครื่องบินรบแบบที่มีคนขับและแบบไร้คนขับ โดยมี (Swarming)


ข่าวทหารอากาศ

71

อากาศยานตรวจจับได้ยาก (Stealth)

อากาศยานตรวจจับได้ยาก (Stealth) เครือ่ งบินตรวจจับได้ยากยังคงเป็นเทคโนโลยี ที่ทวีขีดความสามารถทางทหาร โดยพัฒนาให้มีการ แพร่กระจายของความร้อน เสียงและสัญญาณวิทยุ ให้นอ้ ยทีส่ ดุ ถึงแม้วา่ จะมีความพยายามในการพัฒนา เรดาร์และเทคนิคในการตรวจจับรังสีความร้อนที่แผ่ ออกมาในขณะนี้ ประกอบกับการที่รัสเซียและจีน ต่างมุ่งพยายามพัฒนาเครื่องบิน Stealth ขึ้นมา แต่ ยั ง คงตามหลั ง สหรั ฐ ฯ ในเรื่ อ งของเทคโนโลยี และจ�านวนการผลิต สงครามใต้น�้า (Undersea Warfare) เรือด�าน�า้ จะเป็นกุญแจส�าคัญของการตรวจการณ์ ทางทะเลและการโจมตีจากอาวุธปล่อยน�าวิถี นอกจากนี้ เรือด�าน�้ายังสามารถช่วยในเรื่องของ ISR การต่อต้าน เรือด�าน�า้ และการต่อต้านเรือผิวน�า้ การส่งหน่วยรบพิเศษ แทรกซึมเข้าไปยังพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร รวมถึงการท�าหน้าที่ เป็นฐานปล่อยขีปนาวุธที่สามารถบรรจุท่อยิงแนวตั้ง (Vertical Launch System) ในอนาคตเรือด�าน�้า และเรือใต้ผิวน�้าไร้คนขับจะมีขนาดเล็กและมีความ คล่ อ งแคล่ ว กว่ า จะปฏิ บั ติ ก ารร่ ว มกั น ในภารกิ จ การรบกวนสัญญาณการปล่อยทุ่นใต้น�้า การโจมตี และการท�าแผนที่ สามารถปฏิบัติการใต้น้�าได้เป็น

เวลายาวนานติดต่อกันอย่างน้อย ๖๐ วัน มีระบบ น�าร่องที่ไม่ต้องพึ่งพา GPS เทคโนโลยีที่ก�าลังได้รับการพัฒนา ได้แก่ เครือข่ายเครือ่ งตรวจจับด้วยคลืน่ เสียงโซนาร์แบบติดตัง้ ที่ท้องทะเลชนิดความถี่ต�่า ซึ่งมีระยะตรวจจับที่ไกล การต่อต้านระบบโซนาร์และเรือด�าน�า้ ไร้คนขับขนาดเล็ก ยากต่ อ การตรวจจั บ ผลิ ต ได้ เ ป็ น จ� า นวนมาก และมีตน้ ทุนต�า่ ใช้ในการปล่อยทุน่ หรืออุปกรณ์ตรวจจับ รวมถึงการสร้างเครือข่ายการสือ่ สารทางยุทธวิธใี ต้นา�้ ส�าหรับการควบคุมยานใต้น�้าไร้คนขับ การพัฒนา High-Power Microwave (HPM) หรือสร้างคลื่น ไมโครเวฟก�าลังสูง ใช้ส�าหรับรบกวนระบบตรวจจับ

High-Power Microwave (HPM)


72

อาวุธน�าวิถี เทคโนโลยีระบบอาวุธและหัวรบ ประกอบ ความก้าวหน้าทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ส่งผลให้อาวุธ น�าวิถมี ขี นาดเล็กลงและผลิตได้เป็นจ�านวนมาก โดยมี ต้นทุนต�่า Directed-Energy เลเซอร์เหมาะกับการน�ามาใช้ในการป้องกัน ภัยทางอากาศ และมีแนวโน้มทีส่ ามารถจะน�ามาติดตัง้ ไว้บนอากาศยานได้ สามารถใช้เป็นยุทโธปกรณ์ทงั้ เชิงรับ และเชิงรุก ปืนพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า Rail Gun เป็นการยิงกระสุนปืนออกไปด้วยแรงผลัก พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า และอาศัยพลังงานจลน์ (Kinetic Energy Projectile) ในการท�าลายเป้าหมาย ด้วยความเร็ว สูงกว่า ๗ มัค มีระยะยิงที่ ๑๐๐ กิโลเมตร สามารถ ติดตั้งด้วยระบบน�าวิถี ยุ ท โธปกรณ์ แ ห่ ง อนาคตที่ ไ ด้ ก ล่ า วมานี้ เป็นเทคโนโลยีทอี่ บุ ตั ขิ นึ้ จากกระบวนการวิจยั บนพืน้ ฐาน ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพือ่ พิสจู น์แนวความคิด จนกระทั่งน�าไปสู่การพัฒนาต้นแบบ (Prototype) ทีส่ ามารถน�าไปใช้ในการทดสอบและทดลองเป็นผลส�าเร็จ แล้วจึงเข้าสูก่ ระบวนการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน ทางทหาร เพือ่ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ซึง่ แต่ละขัน้ ตอน ต้องอาศัยระยะเวลา โครงสร้างพืน้ ฐานและทรัพยากรบุคคล ทีเ่ ป็นนักวิจยั นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และช่างเทคนิค ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ถือเป็นองค์ประกอบส�าคัญ

Directed-Energy

ปืนพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า Rail Gun

ต่อความมั่นคงของประเทศ ในปัจจุบันประเทศไทย มีการตื่นตัวในเรื่องของการวิจัยและพัฒนาทางด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมากยิ่งขึ้น อั น เป็ น สั ญ ญาณแสดงถึ ง แนวโน้ ม ที่ ป ระเทศไทย จะสามารถพึ่ ง พาตนเองด้ า นเทคโนโลยี ป ้ อ งกั น ประเทศได้มากยิ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้

แหล่งข้อมูลและภาพ - เอกสาร วปอ. หมายเลข ๐๑๓ คู่มือด้านการทหาร - Center for Strategic and Budgetary Assessments (CSBA) จาก http://csbaonline.org/research/future-warfare-and-concepts/ - www.popularmechanics.com/flight/drones/a13688/drone-teams-pentagon-darpa-code-17663303/


ข่าวทหารอากาศ

73

àÃ×่ͧ¹‹ÒÃÙŒà¡Õ่ÂǡѺ

âääµàÃ×้ÍÃѧ ป จจุบันโรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease: CKD) ไดกลายเปนปญหาสําคัญทางสาธารณสุข ของโลก เนื่องจากผูปวยกลุมนี้มีคุณภาพชีวิตที่ตํ่า และอัตราการเสียชีวิตสูงนอกจากนี้คาใชจายในการ ดูแลรักษาผูป ว ยกลุม นีย้ งั มีมลู คาทีส่ งู มาก โดยเฉพาะ เมื่อเขาสูในระยะที่ตองไดรับการบําบัดทดแทนไต หรือทีเ่ ราเรียกงาย ๆ วาการลางไต (dialysis) โดยขอมูล ของประเทศไทยในปจจุบันมีผูปวยที่กําลังไดรับการ ลางไตอยูท ง้ั สิน้ ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน และมีจาํ นวน ผูปวยใหมเพิ่มขึ้นถึงประมาณปละ ๒๕,๐๐๐ คน ซึง่ นับวาสูงเปนลําดับตน ๆ ของโลกอีกทัง้ ขอมูลดังกลาว ยังไมไดรวมถึงผูปวยโรคไตเรื้อรังระยะแรก ๆ อีก จํานวนมากทีย่ งั ไมแสดงอาการแตมโี อกาสทีจ่ ะเกิดไต เสื่อมลงจนตองกลายเปนโรคไตเรื้อรังระยะสุดทาย ในอนาคต โดยผูป ว ยกลุม นีจ้ ะไดรบั ประโยชนมากทีส่ ดุ ถาไดรบั การตรวจวินจิ ฉัยโรคไตใหไดตงั้ แตเนิน่ ๆ เพือ่ ที่ จะได รับ การดูแลรัก ษาที่เ หมาะสมสามารถชะลอ การเสื่อมของไตออกไปได คําจํากัดความและการแบงระยะของโรคไตเรื้อรัง (Definition and classification of CKD) การจะวิ นิ จ ฉั ย ผู  ป  ว ยเป น โรคไตเรื้ อ รั ง ได จะตองตรวจพบความผิดปกติทางดานโครงสราง หรือการทํางานของไตอยางใดอยางหนึ่งมานานกวา ๓ เดือน ดังตอไปนี้ ๑. มีหลักฐานที่แสดงถึงการที่ไตถูกทําลาย (kidney damage) เปนเวลาอยางนอย ๓ เดือน โดยที่ นิ ย มใช กั น มากที่ สุ ด คื อ การตรวจพบไข ข าว ในปสสาวะ (albuminuria) มากกวา ๓๐ มก./วัน

น.อ.พงศธร คชเสนี รอง ผอ.รพ.ทอ.(สีกัน) พอ. ๒. อัตรากรองของเสียของไต (glomerular filtration rate: GFR) ลดลงตํ่ากวา ๖๐ มล./นาที/ ๑.๗๓ ตารางเมตร.(คาปกติประมาณ ๙๐-๑๑๐ ทําให แพทยบางคนเรียกคา GFR นีว้ า เปอรเซ็นตการทํางาน ของไตเพื่อใหผูปวยเห็นภาพไดงาย) ในปจจุบันเราแบงระยะของโรคไตเรื้อรัง ออกตามระดับของ GFR (เปอรเซ็นตการทํางานของไต) และระดั บ ของไข ข าวในป ส สาวะ แต โ ดยทั่ ว ไป ในทางปฏิบัติ แพทยโรคไตจะแจงผูปวยตามระยะ ของ GFR เปนหลักซึ่งแบงออกเปนระยะที่ ๑ ถึง ๕ ซึง่ ในระยะที่ ๕ (GFR < ๑๕ มล/นาที/๑.๗๓ ตารางเมตร) จะเปนระยะที่ผูปวยตองเตรียมตัวเขารับการลางไต โดยข อ มู ล จากการศึ ก ษาของสมาคมโรคไต แหงประเทศไทยพบวาประชากรไทยมีโรคไตเรื้อรัง จํานวนสูงถึงรอยละ ๑๗.๕ โดยแบงเปนระยะที่ ๑ และ ๒ รอยละ ๘.๙ และระยะที่ ๓-๕ อีกรอยละ ๘.๖ ดังที่ไดกลาวมาแลววาประชากรไทยมีภาวะ โรคไตเรื้อรังสูงถึงรอยละ ๑๗.๕ ซึ่งในผูปวยกลุมนี้ สวนใหญจะยังไมแสดงอาการจนกวาจะเขาสูร ะยะทาย ๆ (GFR นอยกวา ๓๐ มล./นาที/ หรือระยะที่ ๔ และ ๕) ซึ่งเปนระยะที่ไมสามารถชะลอการลางไตออกไปได ดังนั้นสิ่งสําคัญที่สุดของการดูแลรักษาโรคไตเรื้อรัง คือการตรวจคัดกรองหาความผิดปกติของไตทีซ่ อ นอยู ตัง้ แตระยะเริม่ ตนแมวา จะไมมสี ญั ญาณหรืออาการใด ๆ


74

“ใครบางควรเขารับการตรวจคัดกรองโรคไตเรือ้ รัง” ผูปวยที่ควรเขารับการตรวจหาโรคไตเรื้อรัง คือกลุมผูปวยที่มีความเสี่ยง ดังตอไปนี้ • ผูปวยเบาหวาน • ผูปวยความดันโลหิตสูง • ตรวจพบนิ่วในไต • เคยได รั บ สารพิ ษ หรื อ ยาที่ ทํ า ลายไต (โดยเฉพาะยาแกปวดและสมุนไพร) • มีประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือด • มีประวัตโิ รคติดเชือ้ ระบบทางเดินปสสาวะ ซํ้าหลายครั้ง • มีประวัติโรคไตเรื้อรังในครอบครัว • อายุมากกวา ๖๐ ป “การตรวจคัดกรองโรคไตเรือ้ รัง ตองตรวจอะไรบาง” โดยทั่วไปการตรวจหาความผิดปกติของไต ทําไดไมยาก ซึง่ การตรวจสุขภาพประจําปทวั่ ไปจะรวม การตรวจสุขภาพไตขั้นตนอยูแลว ไดแก ๑. วัดความดันโลหิต ๒. ตรวจปสสาวะ โดยเฉพาะการตรวจหา ไขขาวหรือโปรตีนในปสสาวะ ๓. ตรวจเลือดหาระดับ “คริอะตินนิ ” เพือ่ ไป คํานวณคา GFR (% การทํางานของไตที่เหลืออยู) ซึ่งทั้ง ๓ อยางนี้สามารถบอกไดขั้นตนวามีโรคไต ระยะแรกซอนอยูห รือไม ซึง่ การตรวจรางกายประจําป ของกองเวชศาสตรปองกัน กรมแพทยทหารอากาศ ไดมีการตรวจครบทั้ง ๓ อยางในขาราชการที่มีอายุ ตัง้ แต ๓๕ ปขนึ้ ไป โดยหากตรวจพบวามีความผิดปกติ ของไตก็ควรทีจ่ ะพบอายุรแพทยเพือ่ วางแผนการรักษา เพื่อชะลอการเสื่อมของไตตลอดจนปองกันภาวะ แทรกซอนตาง ๆ

“กลเม็ดเคล็ดลับ ทําอยางไร ไตไมวาย” สําหรับผูท ยี่ งั ไมไดเปนโรคไตเรือ้ รัง หรือมีแค ความผิดปกติของไตระยะแรก ๆ นั้น เรามีกลเม็ด เคล็ดลับปองกันไตวายอะไรบาง มาดูกันดังนี้ ๑. ทํ า การตรวจคั ด กรองโรคไตเรื้ อ รั ง ใน และติ ด ตามค า การทํ า งานของไตอย า งสมํ่ า เสมอ โดยเฉพาะในผูที่มีความเสี่ยง ๒. รักษาโรคเรือ้ รังทีเ่ ปนปจจัยเสีย่ งตอโรคไต ไดแก เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เอสแอลอี โรคเกาท นิว่ ในไต การติดเชือ้ ทางเดินปสสาวะซํา้ ๆ ควรพบแพทย และตรวจตามนัดอยางสมํ่าเสมอ ๓. ผู  ป  ว ยความดั น โลหิ ต สู ง ควรควบคุ ม ความดันโลหิต ใหไมเกิน ๑๓๐/๘๐ มม.ปรอท ๔. ผูป ว ยเบาหวานควรควบคุมระดับนํา้ ตาล ในเลือดใหตํ่ากวา ๑๓๐ มก.ตอ ๑๐๐ cc. หรือระดับ นํ้าตาลสะสม (HbA1C) < ๗ % ๕. หลีกเลี่ยงปจจัยเสี่ยงที่เปน “สาเหตุของ ไตเสื่อมเฉียบพลัน” เชน ปองกันอยาใหโรคเกาท กําเริบ หลีกเลี่ยงการใชยาแกปวดกระดูก ยาหมอ และสมุนไพร ๖. รับประทานอาหารรสเค็มตํา่ (low salt) เกลือโซเดียม ๒ กรัม (เทียบเทากับเกลือ ๑ ชอนชา) โดยอาหารที่มีเกลือสูง ไดแกอาหารแปรรูปทั้งหลาย เชน ปลาเค็ม ปลารา ผักดอง ผลไมดอง เตาเจีย้ ว นํา้ บูดู กะป ผงชูรส หมูแผน หมูหยอง ไสกรอก แฮม เบคอน ขนมขบเคี้ยวตาง ๆ รวมไปถึงอาหารกึ่งสําเร็จรูป จําพวกบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปโจก เปนตน ๗. สนใจสุขภาพตนเองกินอาหารทีม่ คี ณ ุ คาสูง ออกกําลังกายเปนประจําควบคุมนํ้าหนักตัวใหดัชนี มวลกายอยูใ นเกณฑปกติ พักผอนใหเพียงพอ งดสูบบุหรี่

ภาพประกอบบทความ - https://www.health.harvard.edu/newsletter_article/lithium-induced-kidney-problems - https://www.dpcedcenter.org/news-events/news/what-is-dialysis-and-chronic-kidney-disease/


ข่าวทหารอากาศ

75

จับจิต จับใจ ¡Ñº Í.˹Ù

¼ÙŒÁÕÍÔ·¸Ô¾Å (·Ò§Êѧ¤Á) ã¹ÈµÇÃÃÉ·Õè òñ เมื่อมนุษยอยูรวมกันเปนกลุมยอมเกิดการ ปฏิสัมพันธกันระหวางตนเองกับผูอื่น เรามักตองการ ทีจ่ ะโนมนาวใหอกี ฝายเชือ่ หรือทําตามเราเพือ่ แสดงถึง ความเปนกลุมหรือพวกเดียวกัน ซึ่งถือเปนเรื่องปกติ ที่เราจะอยากใหเพื่อนเลือกหรือยอมไปทานอาหาร ในร า นที่ เ ราชอบ ไปเที่ ย วในสถานที่ เ ราอยากไป โดยวิธดี งั้ เดิมทีท่ าํ ใหผอู นื่ ทําตามความตองการของเรา โดยเร็วที่สุดก็คือ การบังคับ ซึ่งการบังคับนั้นถือเปน ความก า วร า วในรู ป แบบหนึ่ ง ที่ แ สดงถึ ง อิ ท ธิ พ ล ทางสังคม ทีไ่ ดผลตามตองการเร็วแตมผี ลเสียในระยะยาว เพราะอาจเปนการสรางความไมพอใจใหกับผูอื่นได ดั ง นั้ น มนุ ษ ย จึ ง พยายามหาวิ ธี ก ารสร า งอิ ท ธิ พ ล ทางสังคมเพือ่ จูงใจผูอ นื่ ดวยวิธกี ารตาง ๆ ทีห่ ลีกเลีย่ ง ความรุนแรง (นพมาศ อุงพระ, ๒๕๕๕: ๑๕๕-๑๕๖) โดยนักจิตวิทยาสังคม แบงอิทธิพลทางสังคมที่ไมใช ความรุนแรง ออกเปนหลายประเภท ดังตอไปนี้ ๑. อิทธิพลดานบรรทัดฐาน (normative influence) หรื อ อิ ท ธิ พ ลของการต อ งการเป น ทีย่ อมรับของกลุม โดยธรรมชาติของมนุษยมแี นวโนม ทีจ่ ะพยายามเปนสวนหนึง่ ของกลุม ดวยเหตุนี้ บุคคล จึงเรียนรูท จี่ ะทําตามกฎเกณฑของกลุม เวลาเห็นเพือ่ น ในกลุมกระทําตามกฎเกณฑของกลุมแลวเกิดผลดี

บุคคลก็มแี นวโนมจะทําตามเพือ่ แสดงความเปนสวนหนึง่ ของกลุมตามขอตกลงที่สมาชิกในกลุมกําหนดขึ้น เนื่ อ งจากการถู ก ไล อ อกจากกลุ  ม (ostracism) สามารถสรางความเจ็บปวดและความทุกขใหกับ บุ ค คลได ยกตั ว อย า งจากการทดลองของแอ็ ช (SolomonAsch, 1955 อางใน คัคนางค มณีศรี, ๒๕๕๕: ๑๔๕-๑๔๖) ชี้ ให เ ห็ นว า เพื่ อ หลี ก เลี่ ยง การถูกปฏิเสธจากกลุม โดยการเลือกคําตอบทีถ่ กู ตอง แตไมเหมือนผูอื่นทั้ง ๆ ที่บุคคลที่เปนกลุมตัวอยาง เห็นวาเปนคําตอบทีผ่ ดิ อยางชัดเจน แตเมือ่ คนสวนใหญ ตอบเหมื อ นกั น บุ ค คลก็ ย อมเลื อ กที่ จ ะตอบผิ ด เปนจํานวนถึงรอยละ ๓๗ เพื่อใหเหมือนคนสวนใหญ แสดงใหเห็นถึงอิทธิพลทางสังคมที่สามารถทําใหคน ที่มีความเห็นแตกตางไปจากคนอื่น เปลี่ยนคําตอบ ของตน และบางคนนอกจากจะเปลี่ ย นคํ า ตอบ ใหสอดคลองกับผูอื่นแลว ยังเปลี่ยนความเชื่อของตน ใหสอดคลองกับกลุม เพือ่ ใหผอู นื่ ยอมรับและชืน่ ชอบตน อีกดวย อิทธิพลทางสังคมในลักษณะนี้ จะสรางพฤติกรรม จํายอม (compliance) ที่ยอมทําตามแตอาจไมได อยากกระทําตามแตไมสามารถปฏิเสธได หรือคลอยตาม (conformity) ทีเ่ ปนการเปลีย่ นพฤติกรรมใหสอดคลอง กับความเชื่อของกลุมใหเกิดขึ้น


76

การทดลองของ Asch ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการเห็นพ้องต้องกัน (conformity)

เขาท�าการทดลองให้กลุ่มบุคคลดูเส้นตรง ในภาพโจทย์และเลือกค�าตอบจาก ๓ เส้นตรงตัวเลือก โดยให้เลือกเส้นทีเ่ หมือนกับภาพโจทย์ โดยในการทดลอง ในแต่ละครัง้ จะมีบคุ คลทีเ่ ป็นกลุม่ ทดลองเพียง ๑ คน (เสือ้ ขาว) โดยทีเ่ หลือเป็นกลุม่ คนทีถ่ กู จัดให้เลือกตอบผิด ตามวัตถุประสงค์ของการทดลอง ๒. อิ ท ธิ พ ลของข้ อ มู ล (informational influence) หมายถึ ง การท� า ตามกลุ ่ ม หรื อ ผู ้ อ่ื น เนื่องจากคิดว่าเขารู้ดีกว่า เข้าถึงข้อมูลได้มากกว่า ไม่ใช่เพราะอยากให้กลุม่ ยอมรับการไม่มขี อ้ มูล การไม่รู้ ท�าให้บุคคลพร้อมจะรับอิทธิพลของข้อมูลที่มีคนให้ ยิง่ หากเป็นสถานการณ์ทบี่ คุ คลตกอยูใ่ นสภาพคลุมเครือ หรือมีขอ้ มูลทีไ่ ม่เพียงพอให้สามารถตัดสินใจได้ จะท�าให้ บุคคลยิง่ มีความอ่อนไหวต่ออิทธิพลของข้อมูลจากผูอ้ นื่ เชือ่ และมีพฤติกรรมตามข้อมูลทีไ่ ด้รบั ได้งา่ ย โดยเฉพาะ หากมีผู้น�าเสนอข้อมูลที่มีลักษณะน่าเชื่อถือ หรือมี ข้อมูลทีเ่ ป็นข้อเท็จจริงเพียงบางส่วน เนือ่ งจากอิทธิพล ของข้อมูลทีไ่ ด้รบั นัน้ ท�าให้เกิดความเชือ่ และพฤติกรรม กลุ่มตามมา เช่น การแชร์ข่าว หรือกระแสสังคม ในโลกสังคมออนไลน์ ในหลายเหตุการณ์ก่อให้เกิด

พฤติกรรมทีแ่ สดงออกทางสังคมตามข้อมูลทีไ่ ด้รบั ทันที โดยขาดการคิดวิเคราะห์ด้วยเหตุและผลท�าให้เกิด การออกมาขอโทษผ่านสือ่ มวลชนกันในหลายเหตุการณ์ เป็นต้น การสร้ า งอิ ท ธิ พ ลทางสั ง คมให้ เ กิ ด ขึ้ น กั บ บุคคลนั้น มีหลายองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องซึ่งมีทั้ง องค์ประกอบทีเ่ ป็นสภาพแวดล้อม และองค์ประกอบ ที่เป็นคุณลักษณะส่วนบุคคล ซึ่งปัจจัยที่ท�าให้เกิด อิทธิพลทางสังคมนั้นสามารถสรุปปัจจัยที่ส�าคัญ ๆ ได้ดังนี้ ๑) สถานการณ์ที่คลุมเครือ ยิ่งบุคคลอยู่ใน สถานการณ์ที่คลุมเครือ ไม่ชัดเจนมากเท่าใด ก็ยิ่ง ท�าให้เกิดความลังเลไม่แน่ใจ จึงมักแสวงหาแนวทาง ปฏิบตั จิ ากคนส่วนใหญ่หรือข้อมูลแรก ๆ เท่าทีจ่ ะหาได้ ท�าให้อิทธิพลจากข้อมูลที่ได้มักมีผลต่อการตัดสินใจ และพฤติกรรมของบุคคลยกตัวอย่างเช่น บุคคลที่มี ปัญหาในชีวติ ทีย่ งั ไม่ได้รบั การแก้ไข หลายคนมักใช้วธิ ี ไปหาหมอดูเพื่อให้ช่วยท�านาย หรือแนะน�าแนวทาง แก้ไขให้ ซึ่งอาจเป็นการให้สะเดาะเคราะห์ หรือบูชา แก้เคล็ดในแบบต่าง ๆ โดยถ้าพิจารณาในสถานการณ์


ข่าวทหารอากาศ

ปกติแล้วบุคคลดังกล่าวอาจจะมองไม่เห็นความสัมพันธ์ ระหว่างการสะเดาะเคราะห์หรือบูชาแก้เคล็ดใด ๆ จะสามารถช่วยแก้ปญ ั หาของตนเองได้ จากสถานการณ์ คลุมเครือนี้จะเห็นได้ว่าหมอดูมีอิทธิพลทางสังคม กับบุคคล เป็นต้น ๒) สภาวะวิกฤต เป็นภาวะที่ท�าให้บุคคล ไม่ มี เ วลาคิ ด มากนั ก จึ ง เลื อ กที่ จ ะท� า ตามผู ้ อื่ น เพราะคิดว่าผูอ้ นื่ น่าจะรูด้ กี ว่า มีความสามารถมากกว่า หรือมีขอ้ มูลมากกว่า ทัง้ ๆ ทีใ่ นความเป็นจริงไม่มผี ใู้ ด รู้เรื่องแต่อย่างใด ภาวะเช่นนี้ ในทางจิตวิทยาสังคม เรียกว่า ภาวะต่างไม่รู้เรื่อง (pluralistic ignorance) (Nolen-Hoeksema et al, ๒๐๑๖: ๕๖๓) ในท�านอง เดียวกับสุภาษิตไทยที่ว่า “ตาบอดคล�าช้าง” ซึ่งเมื่อ บุคคลที่อยู่ในสถานการณ์วิกฤต มักจะไม่มีเวลาคิด หรือตัดสินใจด้วยเหตุผลจึงมักท�าพฤติกรรมตามที่ คนกลุ่มใหญ่ท�า หรือข้อมูลที่บุคคลได้รับในขณะนั้น ยกตัวอย่างเช่น พฤติกรรมการประท้วง หรือพฤติกรรม จลาจลที่ มั ก จะก่ อ ให้ เ กิ ด พฤติ ก รรมความรุ น แรง ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ในฝรั่งเศส หรือฮ่องกงในปีที่ผ่านมา

77

๓) ความเชื่อมั่นในตนเอง กล่าวคือ บุคคล ที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงจะตัดสินจากความคิด และเหตุผลของตนเอง มากกว่าถูกชักจูงตามอิทธิพล ทางสังคมซึง่ การทีบ่ คุ คลจะมีความเชือ่ มัน่ ในตนเองได้นนั้ ย่อมต้องเกิดจากการได้รับการศึกษา การได้รับการ อบรมฝึกฝนจนเกิดเป็นความเชือ่ มัน่ ในความสามารถ ทั้งด้านการคิด ตัดสินใจและการปฏิบัติตนในการ เผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ท�าให้ ได้รับอิทธิพลทางสังคมไม่มากนัก ในทางกลับกัน บุคคลเหล่านี้ อาจเป็นกลุ่มบุคคลที่สร้างอิทธิพล ทางสังคมเพื่อจูงใจหรือโน้มน้าวผู้อื่นได้ ๔) สั ม พั น ธภาพระหว่ า งบุ ค คลในกลุ ่ ม หมายถึง กลุม่ ใดก็ตามทีส่ มาชิกในกลุม่ มีสมั พันธภาพทีด่ ี ต่อกันแล้ว ย่อมสร้างอิทธิพลทางสังคม ให้คล้อยตามกัน ของสมาชิกในกลุ่มมากกว่ากลุ่มที่มีความขัดแย้งกัน กล่าวได้วา่ บุคคลย่อมมีแนวโน้มจะเห็นด้วย หรือยอม ปฏิบัติตามบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีสัมพันธภาพที่ดี ต่อกัน สนิทสนมกันมากกว่าจะพิจารณาตามเหตุ และผลเพียงอย่างเดียวเป็นต้น

สุภาษิตไทย “ตาบอดคล�าช้าง”


78

จะเห็ น ได้ ว ่ า การสร้ า งให้ บุ ค คลมี อิ ท ธิ พ ล ทางสังคมนั้น ต้องใช้อาศัยปัจจัยต่าง ๆ หลายอย่าง และต้ อ งใช้ เ วลาในการสร้ า งหรื อ สะสมอิ ท ธิ พ ล ทางสังคม ซึง่ จากปัจจัยทีก่ ล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้วา่ ปัจจัยที่บุคคลสามารถพัฒนาตนเองให้ไม่ตกอยู่ใน อิ ท ธิ พ ลทางสั ง คมจนเกิ น ไป หรื อ พั ฒ นาตนเอง ให้สามารถโน้มน้าวหรือมีอิทธิพลทางสังคมต่อผู้อื่น โดยเฉพาะในเรือ่ งของการสร้างความเชือ่ มัน่ ในตนเอง และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น เป็นต้น นอกจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ในการศึกษาทางจิตวิทยาสังคมพบว่า เทคนิคในการ สร้ า งอิ ท ธิ พ ลทางสั ง คมเกี่ ย วข้ อ งกั บ การผู ก มั ด (commitment) และความสอดคล้อง (consistency) ด้วย โดยทันทีที่บุคคลรู้สึกว่ามีข้อผูกมัด หรือข้อตกลงใจ กับผู้อื่นแล้ว จะท�าให้รู้สึกมีความกดดันให้ท�าตาม ข้อผูกมัดทีต่ กลงใจไว้ ถ้าไม่ทา� ตามอาจท�าให้เกิดความ ไม่สบายใจ ทีเ่ รียกว่า ความไม่สอดคล้องของการรูค้ ดิ (cognitive dissonance) เช่น บุคคลมักจะรู้สึกผิด หากต่อรองราคาสินค้าได้แล้วไม่ซื้อเนื่องจากรู้สึกว่า ตนเองได้ท�าข้อผูกมัดกับผู้ขายแล้ว เป็นต้น ตัวอย่าง เทคนิคในการสร้างอิทธิพลทีพ่ บได้บอ่ ยในชีวติ ประจ�าวัน มีดงั นี้ (นพมาศ อุง้ พระ, ๒๕๕๕: ๑๕๘-๑๖๔, ๓๑๒-๓๑๓)

- เทคนิคการขอให้ท�าเรื่องเล็ก ๆ ก่อนแล้ว จึงขอให้ท�าเรื่องใหญ่ ๆ (the foot in the door technique) อาศัยหลักการให้บุคคลเกิดข้อผูกมัด ในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้ว จะท�าให้เกิดพฤติกรรม สอดคล้องทีเ่ ห็นด้วยกับพฤติกรรมเป้าหมายทีต่ อ้ งการ เช่น การที่พนักงานแจกตัวอย่างสินค้าขนาดเล็ก ๆ เพือ่ จูงใจให้ลกู ค้าเข้าไปทดลองสินค้าชนิดอืน่ ภายในร้าน โดยเทคนิ ค ดั ง กล่ า วมั ก จะมี อิ ท ธิ พ ลท� า ให้ บุ ค คล มีพฤติกรรมสอดคล้องกับการยอมรับตัวอย่างสินค้า จนน�าไปสู่พฤติกรรมเป้าหมายคือการยอมที่จะซื้อ สินค้าหรือบริการที่มีราคามากขึ้นตามล�าดับ - เทคนิ ค การตราหน้ า หรื อ จั ด ประเภท (labeling technique) เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ท�าให้คน ยอมท�าตาม เนื่องจากการจัดประเภทในทางบวก ให้สอดคล้องกับความเชือ่ และประสบการณ์ของบุคคล ท� า ให้ บุ ค คลท� า ตามภาพพจน์ ที่ ถู ก สร้ า งขึ้ น เช่ น การบอกว่ า คน ๆ หนึ่ ง ใจดี มี เ มตตาแล้ วจึ ง ขอรั บ บริจาคเงินเพือ่ ท�าบุญ หรือการทีร่ า้ นค้าหรือสถานบริการ ทีร่ าคาสูง มักจะใช้สรรพนามเรียกลูกค้าว่า “คุณผูห้ ญิง” หรือ “คุณผู้ชาย” หรือ “คุณท่าน” เพื่อท�าให้บุคคล รูส้ กึ ยอมท�าตามโดยการซือ้ สินค้าหรือบริการโดยง่าย เพื่อให้สมกับภาพพจน์หรือฐานะที่ได้รับ เป็นต้น


ข่าวทหารอากาศ

- เทคนิคการสรางความชอบธรรม ดวยการขอ เพียงเล็ก ๆ นอย ๆ (legitimization-of-paltry-favors technique) เปนการจูงใจจากความตองการของบุคคล ที่อยากเปนคนเอื้อเฟอ จึงทําใหการชวยเหลือแมแต เพียงเล็กนอยก็เปนที่ยอมรับได รวมทั้งบุคคลมักจะ รูส กึ วาการขอเพียงเล็ก ๆ นอย ๆ นีย้ ากทีจ่ ะหาเหตุผล มาหลีกเลีย่ งไมชว ยเหลือ เชน โครงการกาวคนละกาว ทีเ่ จาของโครงการขอเพียงการรวมทําบุญคนละ ๑๐ บาท จนทําใหไดเงินจากการรวมบริจาคเปนจํานวนกวา พันลานบาทได หรือการทีพ่ นักงานแนะนําสินคาตามบูธตาง ๆ มักจะขอเวลาลูกคา ๑ นาที เพือ่ ตอบคําถามสัน้ ๆ เปนตน - เทคนิคการสรางความรูสึกผิดใหเกิดขึ้น (guilt) โดยบุคคลเมือ่ รูส กึ วาตนเองไดทาํ ใหผอู นื่ เสียหาย หรือเกิดความเดือดรอนขึ้น มักจะเกิดความรูสึกผิด จึ ง มี แ นวโน ม จะมี พ ฤติ ก รรมยอมตามเพื่ อ ไถ บ าป เพือ่ ลดความรูส กึ ผิดของตน เชน คุณพอบานกลับบานดึก โดยไมไดบอกคุณแมบานไวกอน มักจะมีพฤติกรรม ยอมทําตามใจคุณแมบา นโดยการซือ้ ของทีช่ อบมาฝาก หรือเมื่อไปดูสินคาแลวยังไมตัดสินใจซื้อ เมื่อผูขาย บอกวาคุณเปนคนแรกทีเ่ ขามาดูจะไมชว ยซือ้ ประเดิมให หรื อ มั ก จะทํ า ให ผู  ซ้ื อ ยอมซื้ อ สิ น ค า เพราะรู  สึ ก ผิ ด หากไมชวยซื้อประเดิมให เปนตน ที่มา:

-

79

จะเห็นไดวา เทคนิคการสรางอิทธิพลทางสังคมนัน้ สวนใหญมักถูกนําไปประยุกตใชในดานการตลาด เพือ่ นําไปสูก ารเพิม่ ยอดทางการขายสินคาหรือบริการ แตแทจริงแลวการดําเนินชีวติ ในทุกวัน เราทุกคนลวน ไดรับอิทธิพลทางสังคมทั้งสิ้น ไมวาจะเปนพฤติกรรม การเชื่อฟงบิดามารดา ครูอาจารย ผูบังคับบัญชา หรือผูท มี่ อี าํ นาจเหนือกวา การคลอยตามเห็นพองตองกัน กับกลุมสมาชิกทางสังคม การยอมตามบุคคลอื่น เมื่อไดรับการรองขอ ดังนั้นหากเราไมเขาใจเกี่ยวกับ อิทธิพลทางสังคมในเบือ้ งตนแลว อาจนําไปสูก ารตกอยู ใตอทิ ธิพลทางสังคมของผูอ นื่ โดยไมรตู วั อาทิ การซือ้ ของ ที่ ไ ม ไ ด ตั้ ง ใจหรื อ ที่ เ รี ย กกั น ว า “ทาสการตลาด” การตามใจบุตรหลานจนละเลยในเรือ่ งทีค่ วรจะปลูกฝง เปนตน รวมทั้ง หากหลาย ๆ ทานไดอยูในตําแหนง ของหัวหนาตาง ๆ การที่จะสรางอิทธิพลทางสังคม เพือ่ โนมนาวผูอ นื่ นัน้ นอกจากการใชการออกคําสัง่ แลว การสรางความเชือ่ มัน่ ในตนเองดวยการมีขอ มูลทีถ่ กู ตอง เชือ่ ถือไดแลว สิง่ สําคัญทีข่ าดไมไดคอื การสรางสัมพันธภาพ ทีด่ รี ะหวางกันเพราะมนุษยเปนสัตวสงั คมไมสามารถ อยูตามลําพังโดยไมปฏิสัมพันธกับผูอื่นได เพียงเทานี้ ผูมีอิทธิพล (ทางสังคม) ในศตวรรษที่ ๒๑ คนตอไป ก็อาจเปนคุณก็เปนได

https://hicksbogan.wordpress.com/2013/09/04/solomon-aschs-experiments-on-social-conformity คัคนางค มณีศรี. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: ชอระกาการพิมพ,๒๕๕๕. นพมาศ อุงพระ. จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร,๒๕๕๕. https://hicksbogan.wordpress.com/2013/09/04/solomon-aschs-experiments-on-social-conformity Nolen-Hoeksema, S., Fredrickson, Barbara L., Loftus, Geoffey R. & Lutz, Christel. Atkinson &Hilgard’s Introduction to Psychology, 16th ed. United Kingdom: RR Donnelley, 2016.


80

คนส�ำรำญ งำมสัมฤทธิ์

พิชต ิ ด้วย Happy 8 Menu

พล.อ.ต.หญิ พล.อ.ต.หญิงง ดร.จิ ดร.จิรราภรณ์ าภรณ์ ศรี ศรีศศิลิล

แรงบันดาลใจสู่การสื่อสารกับทุกท่าน เรื่อง “คนส�าราญ งานสัมฤทธิ์พิชิตด้วย Happy 8 Menu” สืบด้วย เกิดปิติ ตามประกาศเจตนารมณ์ของผู้บัญชาการทหารอากาศท่านปัจจุบัน ดังจะขอยกอ้างความช่วงหนึ่ง กล่าวคือ

“...กองทั พ อากาศด� า รงวิ สั ย ทั ศ น์ “กองทั พ อากาศชั้ น น� า ในภู มิ ภ าค” โดยการพัฒนาขีดความสามารถทั้ง ๓ มิติ ...ทั้ ง นี้ ก องทั พ อากาศต้ อ งปลู ก ฝั ง ให้ ก� า ลั ง พลและครอบครั ว มีจิตอาสาตั้งมั่นในการท�าความ ดี ด้วยหัวใจ ตลอดจนขยายผลไปสู่ ประชาชนทุกหมู่เหล่า...” อธิบายได้วา่ ความมุง่ มัน่ ใส่ใจในการพัฒนาก�าลังพล มีจิตอาสา ตั้งมั่นในการท�าความ ดี ด้วยหัวใจ ตลอดจน ดั ง กล่ า วลงลึ ก ไปถึ ง การปลู ก ฝั ง ทั ศ นคติ “...ทั้ ง นี้ ขยายผลไปสู่ประชาชนทุกหมู่เหล่า...” ซึ่งจะส่งผล กองทัพอากาศต้องปลูกฝังให้ก�าลังพลและครอบครัว โดยตรงต่ อ ประสิ ท ธิ ภ าพการพั ฒ นากองทั พ อากาศ


ข าวทหารอากาศ

เนื่องด้วยการปลูกฝังทัศนคตินั้น เป็นประเด็นส�าคัญ ของการขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กร อันเป็นปัจจัย ในการบริหารเชิงลึกของการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน โดยสอดคล้องเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติยุทธศาสตร์หลักของการพัฒนาประเทศ ดังจะได้เล่าถึงความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันกับเรื่องการ เป็ น องค์ ก รแห่ ง ความสุ ข (Happy Workplace) สรุปง่าย ๆ คือ การสร้างปัจจัยแวดล้อมให้คนส�าราญใน การท�างานแล้วจะก่อให้งานสัมฤทธิ์ด้วยแนวคิดของ Happy 8 Menu ดังจะขยายความต่อไปนี้ การพิ ชิ ต ด้ ว ย Happy 8 Menu สู ่ Happy Workplace หมายถึ ง กระบวนการพั ฒ นา “คน” ในองค์กรอย่างมีเป้าหมายและกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ขององค์กร เพื่อให้องค์กรมีความพร้อมต่อการ เปลีย่ นแปลง อันจะน�าไปสูก่ ารพัฒนาเติบโตอย่างต่อเนือ่ ง โดยการบริหารองค์กรมุ่งเน้นการจัดการเพื่อ “คน” เป็นหลัก มีการสร้างบรรยากาศในการท�างานให้ “คน” ซึง่ เป็นหัวใจขององค์กร ท�างานร่วมกันในลักษณะการเป็น องค์กรแห่งความสุข มีกระบวนการพัฒนาคนในองค์กร อย่างมีเป้าหมาย ด้วยกลยุทธ์การพัฒนาทีส่ อดคล้องกับ วิสัยทัศน์ขององค์กร เพื่อให้องค์กรมีความสามารถ พร้อมต่อการเปลีย่ นแปลง น�าพาองค์กรไปสูก่ ารเติบโต อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ “หลักการ” และ “แนวคิด” ที่มุ่งหวัง ในการสร้างความสุขให้แก่คนท�างานนั้นเหมือนกัน แต่มี วิถีการสร้างความสุขที่แตกต่างกันไปภายใต้บริบทของ Happy Workplace โดยภาพรวมนิยามความสุขของคน คื อ การจั ด สมดุ ล ความสุ ข ของชี วิ ต ให้ มี ทั ก ษะ ทัง้ ในการท�างานการใช้ชวี ติ ทีด่ แี ละเหมาะสมกับตนเอง รวมทั้งสามารถดูแลครอบครัวตลอดจนสังคมได้หรือ Happy 8 ประการ หมายความว่าคนทีม่ คี วามสุขจะมีองค์ ประกอบของการเป็นผู้ที่ ๑. Happy Body มีสุขภาพดีดูแลตนเองได้ไม่เป็น ภาระแก่ผู้อื่น ๒. Happy Brain เป็นผูท้ ม่ี กี ารเรียนรูเ้ ป็นมืออาชีพ ในงานตนเอง ๓. Happy Heart เป็นผู้ที่มีน�้าใจช่วยเหลือผู้อื่น

81

๔. Happy Relax เป็นผู้ที่รู้จักจัดการชีวิตให้มี การผ่อนคลายอารมณ์ ๕. Happy Soul เป็ น ผู ้ มี คุ ณ ธรรมและความ กตัญญู

๖. Happy Money เป็นผู้ที่รู้จักจัดระบบการใช้ เงินเป็น ๗. Happy Family เป็นผู้ที่รักและดูแลครอบครัว ตนเองได้ดี ๘. Happy Society เป็นผู้ที่รักและดูแลสังคม องค์กรของตนเองโดยที่กล่าวอธิบายคุณลักษณะเหล่านี้ เป็นสาระสังเขปของการที่จะพิชิต Happy 8 Menu ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่ากองทัพอากาศของเราได้ลงสู่การ ปฏิบัติในเรื่องเหล่านี้ไว้อย่างไร หรือไม่ เพียงไร กองทั พ อากาศของเรามี ก ารสร้ า งและส่ ง เสริ ม กิจกรรม (Happy Activity) โดยความร่วมมือ ร่วมใจ จากหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ จะเข้มข้น มาก น้อย ขึน้ อยูก่ บั ภารกิจของแต่ละหน่วย แต่โดยภาพกว้างแล้ว มีการปฏิบตั กิ จิ กรรมครอบคลุมทัง้ 8 Menu ตามนิยาม ข้างต้น ได้แก่ ๑. Happy Body การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพดี เพื่อความแข็งแรงของก�าลังพล โดยกรมก�าลังพลทหาร อากาศ กรมสวัสดิการทหารอากาศ สถาบันเวชศาสตร์ การบิ น กองทั พ อากาศ กรมแพทย์ ท หารอากาศ โรงพยาบาลภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช โรงพยาบาลสั ง กั ด กองทัพอากาศ เป็นต้น ๒. Happy Brain มีกิจกรรมส่งเสริมให้ก�าลังพล มีความเป็นมืออาชีพในงาน อาทิ กรมยุทธศึกษาทหาร อากาศ ศูนย์ภาษา กรมยุทธการทหารอากาศ โรงเรียน


82

การบิน โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช “Team work = องค์กร” อธิบายเสริมได้วา่ การท�างาน ด้วยความสุขของคนในทีมจะก่อให้ปัจจัยแวดล้อมใน ส�านักงานพัฒนาระบบราชการกองทัพอากาศ ๓. Happy Heart มีกจิ กรรมแสดงน�า้ ใจ ช่วยเหลือ การท�างานน่าอยู่ชุมชนสมานฉันท์ (Happy Team ผู้อื่น เช่น กองบินต่าง ๆ กรมก�าลังพลทหารอากาศ work) เมือ่ คนท�างานอย่างมีความสุข (Happy people) และความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นตามมา (Creativity) เป็นต้น ๔. Happy Relax มีการจัดกิจกรรมให้ผ่อนคลาย ดังนั้นองค์กรจึงพัฒนาเติบโตอย่างต่อเนื่องสรุปได้ว่า อารมณ์ อาทิ กรมสวัสดิการทหารอากาศ กรมก�าลังพล เมื่อคนส�าราญแล้ว ปัจจัยหลักส�าคัญที่จะผลักดันให้สู่ งานสัมฤทธิ์จึงขึ้นอยู่กับ ปัจจัยด้านผู้น�าที่มีการบริหาร ทหารอากาศ ๕. Happy Soul มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมด้าน อย่างรับรู้ เข้าใจ อีกทั้งมีการก�าหนดนโยบายสนับสนุน คุณธรรมและความกตัญญูได้แก่ กองอนุศาสนาจารย์ ให้เกิดการปฏิบตั ิ โดยกระจายความรู้ แนวทาง และเปิด โอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมของก�าลังพลอย่างทั่วถึง และ กรมก�าลังพลทหารอากาศ เป็นต้น ๖. Happy Money มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ ด้วยการสนับสนุนผลักดันให้เกิดการเปลีย่ นแปลงด้วยหัวใจ ก�าลังพลจัดระบบการใช้เงินเป็น อาทิ กรมการเงินทหาร อย่างเป็นวัฒนธรรมองค์กรและก�าหนดรูปแบบทีช่ ดั เจน อากาศ กรมสวัสดิการทหารอากาศ และ สหกรณ์ใน เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Happy Workplace & สังกัดกองทัพอากาศ Change) สามารถกล่าวย�า้ ได้วา่ เมือ่ ความเปลีย่ นแปลง ๗. Happy Family มีการจัดกิจกรรมและส่งเสริม เกิ ด จากทั ศ นคติ ท างบวกที่ ถู ก ต้ อ งของก� า ลั ง พล Eagleจะเป็นการกระตุ้นแรงจูงใจให้ท�างานอย่างมีความสุข ให้ก�าลังพล รักและดูแลครอบครัวตนเองได้RED ดี อาทิ กรมก� า ลั ง พลทหารอากาศ กองอนุ ศ าสนาจารย์ แล้วน�าไปสู่ความส�าเร็จในงานที่รับผิดชอบอันจะส่งผล กรมสวัสดิการทหารอากาศ และ ให้ ภ ารกิ จ หลั ก ของหน่ ว ยและองค์ ก รส� า เร็ จ อย่ า ง ๘. Happy Society มีการจัดกิจกรรมสร้างเสริม มีประสิทธิภาพจากเหตุผลด้วยประการทั้งปวงนี้แล้ว ความรั ก ดู แ ลองค์ ก ร และสั ง คม ได้ แ ก่ ส� า นั ก งาน “คนส�าราญ งานสัมฤทธิ์ พิชิตด้วย Happy 8 Menu ” เลขานุการกองทัพอากาศ กรมสารบรรณทหารอากาศ จึงสามารถเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนได้ สมตาม กรมก�าลังพลทหารอากาศ กรมกิจการพลเรือนทหาร เจตนารมณ์ของผู้บัญชาการทหารอากาศ อากาศ ส�านักงานคลังสมองกองทัพอากาศ ส�านักงาน “..กองทั พ อากาศต้ อ งปลู ก ฝั ง ให้ ก� า ลั ง พล พัฒนาระบบราชการกองทัพอากาศ เป็นต้น จึงประจักษ์ และครอบครัวมีจิตอาสา ตั้งมั่นในการท�าความ ดี ได้วา่ เรามีการสร้างและส่งเสริมกิจกรรมตามคุณลักษณะ ด้ ว ยหั ว ใจ ตลอดจนขยายผลไปสู ่ ป ระชาชนทุ ก Happy 8 Menu ภายในกองทัพอากาศได้ครบทั้ง หมู่เหล่า...” ๘ ประการ แต่อย่างไรก็ตาม การที่คนส�าราญ งานจะสัมฤทธิ์ ได้ในตัวชี้วัดของ Happy Workplace ซึ่งเน้นท�างาน เป็นทีมและมีผลลัพธ์ท่ีชัดเจนตามแนวคิดต้นแบบใน ระดับประเทศของกระทรวงสาธารณสุข คือเรื่องของ อ้างอิง

- องค์กรน่าอยู่ โดย แผนงานสุขภาวะองค์กรเอกชนและสมาคมการจัดการงานบุคคแห่งประเทศไทย . ส�านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) www.thaihealth.or.th HR & Happy Workplace สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย www.pmat.or.th - วิสัยทัศน์พันธกิจเจตนารมณ์ของผู้บัญชาการทหารอากาศ www.rtaf.mi.th


ภาษาไทย

ข าวทหารอากาศ

83

ด้วยใจรัก

นวีร

“ภาษาไทยเปนเครื่องมืออยางหนึ่งของชาติ

ภาษาทั้งหลายเปนเครื่องมืออยางหนึ่งของมนุษยชนิดหนึ่ง คือเปนทางสาหรับแสดงความคิดเห็นอยางหนึ่ง เปนสงสวยงามอยางหนึ่ง เชนในทางวรรณคดี เปนตน” พระราชดํารัสในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

แปลวรรณคดีไทย เมือ่ ฉบับทีแ่ ลว ไดกลาวถึงภาษาเปนเครือ่ งมือ แสดงความคิดเห็น คือ ความคิดเห็นเกีย่ วกับการประชุม สุดยอดอาเซียน ฉบับนี้ จะกลาวถึงภาษาเปนสิง่ สวยงาม คือ ในทางวรรณคดี วรรณคดี คือหนังสือหรืองานหนังสือทีไ่ ดรบั ยกย อ งว า แต ง ดี มี คุ ณ ค า ในเชิ ง วรรณศิ ล ป เช น พระราชพิธีสิบสองเดือน มัทนพาธา สามกก ขุนชาง ขุนแผน หรือแมแตโคลงโลกนิติ เมือ่ มีผอู า นเปนวงกวาง และเปนทีน่ ยิ ม ก็มกี ารแปลหรือถายทอดเปนภาษาอีน่ ๆ เชนภาษาอังกฤษ ภาษาญีป่ นุ ภาษาสันสกฤต ปจจุบนั จึงมีวรรณกรรมไทยแปลเปนภาษาตางๆ เพือ่ ใหไดรซู งึ้ ถึงเนือ้ เรือ่ งและรสของวรรณคดีไทย รวมถึงรูเ รือ่ งราว ชีวิตจิตใจ ความเปนอยูแนวทางปฏิบัติตน ปรัชญา และศิลปวัฒนธรรมของไทย จากวรรณคดีไทยเหลานัน้

แตจะมีกลวิธกี ารนําเสนอการแปลอยางไร เมือ่ ลักษณะ ไวยากรณ แ ละฉั น ทลั ก ษณ ข องแต ล ะภาษาล ว นมี อัตลักษณของตน ไมเหมือนกัน อยางไรก็ตาม สิ่งสําคัญและงดงามที่สุดคือ เราตองรูค วามหมายหรือแกนของวรรณคดีนนั้ เพือ่ แปล ใหไดตรงความหมาย และถอดความหมายของคํา แตละคําโดยรักษาสัมผัสและจํานวนคํา (ในทีน่ ยี้ อมใหใช พยางคและคําทัง้ ในภาษาไทยและในภาษาอังกฤษวา หมายถึง เสียงที่เปลงออกมาครั้งหนี่งๆ เชนเดียวกัน) แบบฉันทลักษณไทย เชนนี้ จึงจะถือวาเปนการแปล งานวรรณกรรมที่ดีที่สุด งานแปลวรรณกรรมที่ ดี มี ม ากมาย เช น บทประพันธประเภทโคลงสีส่ ภุ าพที่ ม.ร.ว.เสนีย ปราโมช แปล ดังนี้


84

ใดใดในโลกล้วน

อนิจจัง

คงแต่บาปบุญยัง

เที่ยงแท้

คือเงาติดตัวตรังตรึงแน่น

อยู่นา

ตามแต่บาปบุญแล

ก่อเกื้อรักษา (ลิลิตพระลอ)

Whatever is this world is

transitory

Evil and good retain a depository

of deeds.

Like shadow following your itinerary

firmly fixed.

Subject to vice and virtue, needs

salvation be counted

โคลงสีส่ ภุ าพบทนี้ ถือกันว่าเป็นโคลงต้นแบบหรือโคลงแม่บท คือถูกต้องตามฉันทลักษณ์ทกุ ประการ (ในแต่ละบท มีจา� นวนค�า ๓๐ - ๓๒ ค�า ใช้คา� ทีม่ รี ปู วรรณยุกต์เอก ๗ ค�า รูปวรรณยุกต์โท ๔ ค�า และในแต่ละบทนัน้ แบ่งเป็น ๔ บาทหรือ ๔ บรรทัด ค�าสุดท้ายของบาทแรก คือค�าว่า “จัง” สัมผัสกับค�าที่ ๕ วรรคแรกของบาทที่ ๒ “ยัง” และค�าที่ ๕ วรรคแรก ของบาทที่ ๓ “ตรัง” ส่วนค�าสุดท้ายของบาทที่ ๒ “แท้” ต้องสัมผัสกับค�าที่ ๕ ของวรรคแรกของบาทที่ ๔ “แล” ด้วย) เมือ่ ท่านแปลเป็นภาษาอังกฤษ ท่านก็จะรักษาฉันทลักษณ์โคลงสีส่ ภุ าพไว้ให้มากทีส่ ดุ เช่น บทแปลนี้ ทีข่ นึ้ ตันว่า “Whatever” จะใช้ถอ้ ยค�าประมาณ ๓๐ ค�า วรรณยุกต์ไม่ตอ้ งพูดถึง เพราะไม่มเี รือ่ งนีใ้ นภาษาอังกฤษ ในบทแปลแต่ละบทของท่าน มีบทละ ๔ บาท พร้อมสัมผัสระหว่างวรรค คล้ายบทที่น�ามาแปล เช่น ค�าว่า transitory ท้ายบาทแรก จะสัมผัสกับค�าว่า depository และ ค�าว่า itinerary ของบาทต่อไป ส่วนค�าว่า “deeds” ท้ายบาทที่ ๒ ก็มเี สียงสัมผัสกับค�าสุดท้ายของวรรคแรกของบาทที่ ๔ คือค�าว่า needs ด้วย ต่อไปนีเ้ ป็นวรรณกรรมแปลภาษาอังกฤษจากวรรณคดีไทย โคลงโลกนิติ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร โดย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ภูเขาเหลือแหล่ล้วน

ศิลา

หามณีจินดา

ยากได้

ฝูงชนเกิดนานา

ในโลก

หานักปราชญ์นั้นไซร้

เลือกแล้วฤๅมี


ข่าวทหารอากาศ

Mountains give only

bare stones.

Rarely one finds diamonds

of worth.

Midst millions scarcely none

is sage.

truly, there’s a dearth of the wise

among men.

รู้น้อยว่ามากรู้

เริงใจ

กลกบเกิดอยู่ใน

สระจ้อย

ไป่เห็นชเลไกล

กลางสมุทร

ชมว่าน�้าบ่อน้อย

มากล�้าลึกเหลือ

So little yet so much

one knows,

Like a frog which grows

in a puddle,

knowing not oceans so

ever vast,

becomes befuddled

by its small world.

เสียสินสงวนศักดิ์ไว้

วงศ์หงส์

เสียศักดิ์สู้ประสงค์

สิ่งรู้

เสียรู้เร่งด�ารงความสัตย์

ไว้นา

เสียสัตย์อย่าเสียสู้ชีพม้วย

มรณา

Robbed of wealth,

your pride maintain.

Robbed of pride u gain,

things wise.

Robbed of wisdom again,

to faith.

Robbed even of life,

in faith ye be.

85


86

ฝูงชนก�ำเนิดคล้ำย

คลึงกัน

ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ

แผกบ้ำง

ควำมรู้อำจเรียนทัน

กันหมด

เว้นแต่ชั่วดีกระด้ำง

ห่อนแก้ฤๅไหว

Born men are we all

and one,

Brown, black by the sun

cultured.

Knowledge can be won

alike.

Only the heart differs

from man to man.

ดูข้ำดูเมื่อใช้

กำรหนัก

ดูมิตรพงศำรัก

เมื่อไร้

ดูเมียเมื่อไข้หนัก

จวนชีพ

อำจจักรู้จิตไว้

ว่ำร้ำยฤำดี

Test a servant, in pressing

service.

Test a friend remiss,

by need.

Test a wife in extremis,

near death.

Instructives are these

revealing testimonies.

(อ่านต่อฉบับหน้า)


ข่าวทหารอากาศ

ขอบฟ้าคุณธรรม รู้จักพอ ซื่ อตรง รับผิดชอบ คิดบวก .. มองไปข้างหน้า .. แก้ไขที่ตัวเรา

87

โดย 1261

... อยา่ ...ท�าคนดี ว อย า่ ปล้ทอ่ �ำยคนชั ว่ ให้ล...อยนวล ... เป็นใผูห้รหู้จมองมั ักยกย่ องผู ควำมดี

ผู้เขียนไปออกก�ำลังกำยที่บริเวณอนุสรณ์สถำน ยุทธนำวีทเี่ กำะช้ำง ซึง่ ตัง้ อยูท่ อี่ ำ� เภอแหลมงอบ จังหวัด ตรำดเป็นประจ�ำ บำงวันก็ตอนเช้ำ บำงวันก็ตอนเย็น และทุกครัง้ ก็จะไหว้อนุสำวรีย์ กรมหลวงชุมพรฯ ก่อนเสมอ มีอยู่วันหนึ่งหลังกำรออกก�ำลังกำยผู้เขียนมำนั่งพัก ที่เก้ำอี้ที่เขำจัดไว้ ซึ่งเก้ำอี้น้ีจะเปลี่ยนมุมไปตำมใจ ผู้ดูแลว่ำเขำจะตั้งตรงไหน ปรำกฏว่ำวันนี้อยู่ตรงหน้ำ ป้ำยชือ่ เขียนว่ำ “พลเรือเอก พระเจ้ำบรมวงศ์เธอพระองค์ เจ้ำอำภำกรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์” ผูเ้ ขียนอ่ำนแล้วถึงกับตกใจในควำมเข้ำใจผิดของตัวเอง ผู้เขียนได้ยินชื่อ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์และชื่อ โรงพยำบำลอำภำกรเกียรติวงศ์ ที่ฐำนทัพเรือสัตหีบมำ นำนแล้วแต่คิดเอำเองว่ำ เป็นชื่อของบุคคล ๒ คน ไม่เคยคิดว่ำเป็นคน ๆ เดียวกันเลย จนอำยุไขใกล้จะหมด แล้วเพิง่ จะรู้ เมือ่ ติดใจในควำมเชยของตัวเอง พอมีเวลำ จึ ง เข้ ำ ไปค้ น หำอ่ ำ นประวั ติ ข องท่ ำ นอย่ ำ งจริ ง จั ง

ในเว็บไซต์ของกองทัพเรือ และก็ไม่ผิดหวังได้ควำม เข้ำใจอีกมำกมำยว่ำ เพรำะเหตุใดชำวเรือทุกคนทั้ง ทหำรและไม่ใช่ทหำร จะเคำรพเทิดทูนพระองค์ท่ำน ระหว่ำงที่ค้นหำอยู่นั้นก็ได้อ่ำนเรื่องอื่น ๆ ไปด้วย จึงได้ รู้ว่ำมีเรื่องดี ๆ หลำยเรื่องที่กองทัพเรือได้ด�ำเนินกำรที่ ประทับใจมีอยู่สองเรื่อง เรือ่ งแรก คืองำน “๒๕๐ ปี ตำมรอยกองเรือยกพล ขึ้นบกสมเด็จพระเจ้ำตำกสินมหำรำช จำก จันทบุรีสู่ อยุ ธ ยำ” เป็ น กำรอั ญ เชิ ญ พระบรมรู ป สมเด็ จ พระเจ้ำตำกสินมหำรำช จำกพิพิธภัณฑ์ทหำรนำวิก โยธิน สัตหีบ เดินทำงโดยรถยนต์ ไปยังอู่ต่อเรือที่บ้ำน เสม็ดงำม จังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกำร เดิ น ทำงกู ้ ช ำติ ใ นครั้ ง นั้ น แล้ ว อั ญ เชิ ญ พระบรมรู ป ไปประทับในเรือหลวงอ่ำงทอง และเดินทำงตำมรอย ยำตรำทั พ ทำงทะเล โดยแวะพั ก ตำมจุ ด พั ก ต่ ำ ง ๆ เหมือนเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ที่ จังหวัด ระยอง ชลบุรี


88

ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และอยุ ธ ยา ตามวั น เวลาที่ เ กิ ด ขึ้ น จริ ง ๆ และน� า พระบรมรู ป กลั บ มาที่ ป ้ อ มวิ ชั ย ประสิ ท ธิ์ ที่ ใ ช้ เ ป็ น พระราชวังสมัยกรุงธนบุรี การด�าเนินการท�าร่วมกับ มูลนิธสิ มเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและจังหวัดต่าง ๆ ตามเส้นทาง โดยมีมติ คณะรัฐมนตรีให้ด�าเนินการ เพื่ อ ระลึ ก ถึ ง พระคุ ณ อั น ยิ่ ง ใหญ่ ข องบรรพชน และ ปลุกส�านึกให้คนไทย มีความรักชาติ เริ่มด�าเนินการ ตัง้ แต่วนั ที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๑ ถึง ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑ อ่านเรื่องราวต่าง ๆ แล้วท�าให้เข้าใจได้ว่า การกูช้ าติกแู้ ผ่นดินนัน้ ใช้เลือดเนือ้ และชีวติ แท้ ๆ ไม่รกั ชาติจริง ๆ ท�าไม่ได้ ใครอยากรู้รายละเอียดมากกว่านี้

ก็ใช้กเู กิล้ หาอ่านได้ แม้เวลาจะผ่านมากว่า ๒๐๐ ปีแล้ว แต่ข้อมูลเหล่านี้ก็ไม่เคยล้าสมัยเลย เรื่องที่ ๒ ก็คือ การส่งหน่วยบัญชาการสงคราม พิเศษทางเรือ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อหน่วยซีล (SEAL) ไปช่วยเหลือ ๑๓ หมูป่ า่ ทีมฟุตบอลเยาวชนทีเ่ ข้าไปติด อยู่ในถ�้าหลวงขุนน�้านางนอน ที่จังหวัดเชียงรายตั้งแต่ วันที่ ๒๓ มิถนุ ายน พ.ศ.๒๕๖๑ ถึง วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑ จึงช่วยเหลือออกมาได้ทั้งหมด แม้จะมี หน่วยซีลนอกราชการเสียชีวิตไป ๑ นายคือ จ่าแซม หรือ นาวาตรี สมาน กุนัน ก็นับว่าเป็นความส�าเร็จที่น่า ชื่นชมเป็นการปฏิบัติการร่วมกับมิตรประเทศ โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายเป็นผู้บัญชาการในการ ปฏิ บั ติ ค รั้ ง นี้ ส� า หรั บ หั ว หน้ า หน่ ว ยที่ เ ป็ น ผู ้ น� า ที่ ส� า คั ญ คื อ พลเรือตรี อาภากร อยู่คงแก้ว ในการปฏิ บั ติ ข องกองทั พ เรื อ ครั้ ง นี้ ท� า ให้ ค นไทยและคน ทั่ ว โ ล ก รู ้ จั ก ห น ่ ว ย ซี ล ข อ ง ประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้น และที่ ผู้เขียนประทับใจมากคือการ ต้อนรับ หน่วยซีลกลับบ้านที่ สั ต หี บ เมื่ อ ภารกิ จ เสร็ จ สิ้ น เป็นการต้อนรับทีอ่ บอุน่ ยกย่อง


ข่าวทหารอากาศ

ให้เกียรติ อย่างน่าชื่นใจ นอกจากนี้ยังมีภาพที่ผู้เขียน ประทับใจมากอีกภาพหนึง่ คือภาพทีท่ มี หมูป่ า่ ได้รบั เกียรติ ให้เป็นผูเ้ ชิญรางวัล Pride of Britain Awards เพือ่ มอบ ให้ กั บ นั ก ด� า น�้ า ชาวอั ง กฤษที่ ม าช่ ว ยเหลื อ พวกเขา และได้ รั บ การยกย่ อ งจากประเทศอั ง กฤษอย่ า ง สมเกียรติ เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๑ ที่โรงแรม Grosvenor House ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพราะความเข้าใจผิดของผู้เขียนจึงต้องค้นคว้า เรื่องราวของ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ แต่กลับได้ ความรู้เรื่องอื่น ๆ อีกมากถือว่าได้ก�าไร ยิ่งเมื่อนึกถึง บุคคลที่ได้กล่าวนามมา คือ สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช กรมหลวงชุ ม พรเขตอุ ด มศั ก ดิ์ พลเรื อ ตรี อาภากร อยู่คงแก้ว นาวาตรี สมาน กุนัน และนักด�าน�้า ชาวอังกฤษ ก็ทา� ให้ผเู้ ขียนมีความรูส้ กึ ได้วา่ การระลึกถึง คุณงามความดีของผู้เสียสละ เพื่อชาติ เพื่อประชาชน นั้นเป็นสิ่งที่ควรปลูกฝังไว้ในจิตใจของผู้คนในสังคม จึงน�ามาคุยกันในวันนี้ ความดีคืออะไร จริง ๆ แล้วอะไรดีอะไรไม่ดีนั้น สังคมเป็นคนก�าหนด เช่น คนไทยเจอกัน ผู้น้อยยกมือ ไหว้ทกั ทายผูใ้ หญ่ ถือเป็นเรือ่ งดี ฝรัง่ เขาก็ทกั ทายจับไม้ จับมือกันก็เป็นเรื่องดีของเขา คนอาหรับอาจจะโอบ กอดเอาแก้มชนกันก็ว่าดี แต่ถ้าคนในสังคมหนึ่งท�าไขว้ กันไปมา น่าจะไม่ดี จึงเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินว่าอะไร คือความดี แต่หากดูจาก ค�าสอนของหลวงพ่อพุทธทาส ในค�าบรรยายเรื่อง หน้าที่ของมนุษย์ ได้กล่าวไว้ว่า คนเกิดมาควรจะได้ท�าหน้าที่ เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อนฝูง เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ และเป็นสาวกที่ดีของศาสนา เหล่านีค้ งเป็นกรอบกว้าง ๆ ว่าคนควรท�าความดีในเรือ่ ง เหล่านี้ ส่วนจะท�าอะไรบ้างในแต่ละเรื่องก็ต้องดูบริบท ของสังคมดังได้ยกตัวอย่างมาว่า แต่ละพืน้ ทีไ่ ม่เหมือนกัน ซึ่งมีรายละเอียดอีกมากมาย แต่ประเด็นที่จะกล่าวถึง ในโอกาสนี้คือการยกย่องผู้ที่ท�าความดี การยกย่อง หรือการชืน่ ชมแสดงความดีใจยินดีกบั ผูท้ ที่ า� ความดีนนั้ เป็นส่วนหนึง่ ของพรหมวิหารสี่ ในเรือ่ ง ของมุทิตาจิต ประการแรกคือมีความรู้สึกยินดีกับการ

89

ได้รู้ ได้เห็น ได้มีส่วนร่วมกับผู้ท่ีท�าเรื่องดี ๆ และหาก ท่ า นเป็ น ผู ้ ที่ อ ยู ่ ใ นฐานะ หรื อ ต� า แหน่ ง ที่ ส ามารถ จะด�าเนินการจัดการให้มีการประกาศ หรือแสดงความ ชื่นชมยินดีกับบุคคลเหล่านั้นด้วยแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ สมควรท�าอย่างยิ่ง เพราะการยกย่องเชิดชูผู้ท�าความดี นั้ น มี ผ ลดี ต ่ อ ผู ้ เ กี่ ย วข้ อ งและสั ง คมในหลายมิ ติ ดังต่อไปนี้ ๑. ผลต่อผู้ที่ท�าความดี ย่อมท�าให้เกิดก�าลังใจ ในการที่จะท�าในสิ่งดี ๆ ต่อไป การท�าความดีแต่ละครั้ง ผู้ท�าก็ต้องตัดสินใจ ข่มใจ แข็งใจในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ผู้ที่เก็บกระเป๋าสตางค์ได้แล้วน�าไปคืนหรือประกาศหา เจ้าของ การไม่เอาทรัพย์เหล่านัน้ ไปเป็นของตน ต้องใช้ ก�าลังใจที่เข้มแข็งเป็นส�าคัญ และยังต้องการก�าลังใจ ที่จะต้องพบเจอกับถ้อยค�าที่ไม่พึงปรารถนาของบุคคล ที่เห็นเป็นอย่างอื่นอีกด้วย การได้รับการยกย่องชมเชย จึงเป็นเหมือนน�า้ เย็นทีค่ อยช่วยให้ผทู้ ที่ า� ความดีได้ชนื่ ใจ เมื่อต้องเดินฝ่าปัญหาสังคมที่ร้อนระอุ ๒. ผลดี ต ่ อ ครอบครั ว ญาติ มิ ต ร บางครั้ ง การ ท�าความดีก็อาจต้องเสียสละอวัยวะ หรือชีวิตตนเอง อย่าง เช่น กรณีของจ่าแซมหรืออีกหลาย ๆ กรณีของ เพื่ อ นทหารผู ้ เ สี ย สละเพื่ อ ชาติ ทั้ ง หลาย รวมทั้ ง ผู ้ ที่ เสียสละกู้ภัย ผู้ช่วยเหลือประชาชนในภัยวิบัติต่าง ๆ การจากไปของท่านเหล่านีก้ ย็ งั ความเสียใจแก่ครอบครัว และญาติมิตร การยกย่องเชิดชูในวีรกรรมของท่าน เหล่านี้ และการช่วยเหลือทีเ่ หมาะสมจะท�าให้เกิดความ ภาคภูมิใจต่อครอบครัวและเพื่อนฝูงคนรู้จัก ๓. ผลดีต่อผู้ที่ก�าลังจะท�าความดี สังคมไทยเป็น สังคมที่นิยมคนเก่ง นิยมชมชอบผู้ชนะ และเหยียบย�่า ซ�า้ เติมผูแ้ พ้เป็นอย่างนีม้ าแต่อดีต เพราะงานอดิเรกของ ผู้คนในสังคมคือ ชนไก่ กัดปลา ชนวัว และชกมวย เป็ น การสะสมการเอาชนะกั น และกั น ตลอดเวลา ที่ส�าคัญผู้คนไม่สนใจวิธีการของผู้ชนะว่ามาอย่างไร แต่สนใจทีผ่ ลลัพธ์เพียงอย่างเดียว ปัจจุบนั นีเ้ ราเลยยกย่อง คนรวยเพิ่มขึ้นอีกเพราะเงินสามารถสร้างความสะดวก สบายและชัยชนะได้ แถมสังคมของเรายังมีนิทานเรื่อง ศรีธนญชัย ไว้ตอบทุก ๆ ค�าถามที่มีเข้ามา จะตะแบง


90

ตอบได้หมด เมื่อเป็นเช่นนี้การท�าความดีหรือเรื่องดี ๆ จึงไม่ถกู น�ามาเผยแพร่มากนัก เพราะการท�าดีมกั ไม่ตอบ โจทย์ของสังคม คนที่คิดจะท�าดีคงหมดแรงไปก่อน ตัง้ แต่เริม่ คิดจะท�า การยกย่องเชิดชูคนท�าดี (ทีท่ า� ดีจริง ๆ) จึงเป็นการสร้างขวัญและก�าลังใจให้แก่ผทู้ คี่ ดิ จะท�าดีได้ โดยตรง ๔. ผลต่อผูท้ กี่ า� ลังจะท�าในสิง่ ไม่ดี ในจิตใจของผูค้ น นั้ น มี ทั้ ง ฝ่ า ยที่ คิ ด ดี และฝ่ า ยที่ คิ ด ไม่ ดี ผ สมกั น อยู ่ การได้ยิน ได้เห็นการยกย่องเชิดชูคนที่ท�าดีจะท�าให้ ความคิดฝ่ายดีมีพลังมากขึ้น กดทับฝ่ายไม่ดีให้ฝ่อลง ไปได้ ๕. ผลดีต่อเยาวชนของชาติ เยาวชนของชาตินั้น เปรี ย บเสมื อ นผ้ า ขาวบริ สุ ท ธิ์ เขาจะจดจ� า สิ่ ง ที่ เ ขา ประทับใจไว้ได้นาน การได้เห็นเรื่องดี ๆ เช่น ฮีโร่ นักกีฬาต่าง ๆ การยกย่องเชิดชูผู้เสียสละเพื่อชาติ เพื่อส่วนรวม จะท�าให้สังคมได้บุคลากรที่มีคุณภาพ ในอนาคต ๖. ผลดีต่อสังคมส่วนรวม สังคมใดมีมาตรฐานของ สังคมทีผ่ คู้ นยกย่องชมเชยให้เกียรติผทู้ ที่ า� ความดี สังคม

นัน้ จะสงบสุข มีระเบียบ ผูค้ นมีความเสียสละ ซึง่ จะตรง ข้ า มกั บ สั ง คมที่ มี ม าตรฐานศรี ธ นญชั ย ที่ มี แ ต่ ค วาม วุ่นวาย และตรึงเครียด ขัดแย้ง ด่าทอ ต่อว่ากันด้วยวิธี การที่ไม่เป็นอารยะชน เหล่านีค้ อื ผลดีของการยกย่องคนดี ความยากของ เรื่องนี้คือการพิสูจน์ทราบว่าความดีนั้นเป็นเจตนาของ ผู้ท�าจริง ๆ เพราะพอเอาเข้าจริง เราก็ท�าเรื่องดี ๆ เป็นของเล่นได้ การยกย่องคนดีกลายเป็นรางวัลปลอบใจ กั น ไปเสี ย อี ก หรื อ เป็ น การสร้ า งชื่ อ เสี ย งหลอกลวง ผู้คนในสังคม เรื่องเหล่านี้แก้ไม่ยากเลย ถ้าผู้เกี่ยวข้อง เอาใจใส่อย่างจริงจัง และไม่เป็นตัวปัญหาเสียเอง สังคม ของเราจะมีเรื่องดี ๆ คนดี ๆ ให้ยกย่องชมเชยได้ทุกวัน แต่โปรดจงระลึกถึงข้อคิดของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ไว้เสมอว่า

“โลกต้องการคนดีไม่ใช่เพื่อให้มีคนมา รับรางวัล แต่เพื่อมาช่วยกันท�าชีวิตและ สังคมให้ดีขึ้น” ... ป.อ. ปยุตฺโต


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๑ ขาวทหารอากาศ

พล.อ.อ.มานัต วงษวาทย ผบ.ทอ.พรอมดวย พญ.วิไลภรณ วงษวาทย นายกสมาคมแมบาน ทอ.เปนประธานในพิธีเททองหลอ “พระพุทธ ศาสดาประชานาถ” เนือ่ งในโอกาส ๑๐๐ ป แหงการทิวงคต จอมพล สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟาจักรพงษภวู นารถ กรมหลวงพิศณุโลก ประชานารถ ณ รร.นนก. เมื่อวันที่ ๑๕ ม.ค.๖๓

พล.อ.อ.มานัต วงษวาทย ผบ.ทอ.เปนประธานการฝกบุคคลทามือเปลาตามคูมือการฝกพระราชทานและวิ่งออกกําลังกาย เพื่อเสริมสราง ระเบียบ วินัย และจิตสํานึกในการเปนทหาร ณ ลานอเนกประสงค รร.นนก. เมื่อวันที่ ๑๗ ม.ค.๖๓

พล.อ.อ.มานัต วงษวาทย ผบ.ทอ.รับเยี่ยมคํานับจาก พล.อ.ต.Carl-Johan Edstrom เสธ.ทอ.สวีเดน (เทียบเทา ผบ.ทอ.) ในโอกาส เดินทางเยือนประเทศไทยอยางเปนทางการ ในฐานะแขกของ ทอ. ณ หองรับรองพิเศษ ๑ บก.ทอ. เมื่อวันที่ ๒๒ ม.ค.๖๓


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๒

พล.อ.อ.วีรพงษ นิลจินดา รอง ผบ.ทอ.เปนประธานในพิธเี ปดการฝกอบรมโครงการฝกอบรมหลักสูตรพัฒนาสัมพันธระดับผูบ ริหารกองทัพอากาศ (พสบ.ทอ.) รุนที่ ๑๕ ณ หองรับรอง ทอ. เมื่อวันที่ ๒๑ ม.ค.๖๓

พล.อ.อ.สิทธิชัย แกวบัวดี ผช.ผบ.ทอ.เปนประธานการจัดกิจกรรมชวยเหลือพี่นองประชาชนที่ประสบภัยหนาว โดยไดรับการสนับสนุน ผาหมกันหนาวจากบริษัท แอดวานซ อินโฟรเซอรวิส ธนาคารไทยพาณิชย จํากัด (มหาชน) และ ทอ.รวมทั้งสิ้น ๕๐๐ ผืน โดยมี น.อ.นรุธ กําเนิดนักตะ ผบ.บน.๔๑ รวมแจกผาหมกันหนาว ณ รร.บานเมืองกึ๊ด ต.กึ๊ดชาง อ.แมแตง จว.เชียงใหม เมื่อวันที่ ๑๓ ม.ค.๖๓

พล.อ.อ.นภาเดช ธูปะเตมีย ผบ.คปอ.เปนประธานในพิธอี นั เชิญพระบรมสารีรกิ ธาตุ ณ ศูนยเยาวชน ทอ.ดอนเมือง ไปประดิษฐาน ณ ยอดดอย อินทนนท จว.เชียงใหม เพื่อบรรจุในพระเกตุมาลา องคพระประธาน “พระพุทธศาสดาประชานาถ” ที่กองทัพอากาศจัดสรางเนื่องในโอกาส ๑๐๐ ป การทิวงคต พระบิดาแหงกองทัพอากาศ เมื่อวันที่ ๒๓ ม.ค.๖๓


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๓ ขาวทหารอากาศ

พญ.วิไลภรณ วงษวาทย นายกสมาคมแมบาน ทอ.พรอมดวย พล.อ.ท.ตรีพล อองไพฑูรย จก.กร.ทอ.นําเครื่องหมกันหนาวมอบใหแก นักเรียนที่อาศัยอยูบนพื้นที่สูงและไดรับผลกระทบจากสภาวะอากาศหนาวเย็น พรอมมอบตูยาสามัญประจําบาน และมอบทุนการศึกษา ณ รร.ศึกษาสงเคราะหแมจัน ต.แมจัน อ.แมจัน จว.เชียงราย เมื่อวันที่ ๑๖ ม.ค.๖๓

พล.อ.ท.เดชอุดม คงศรี จก.ยศ.ทอ.เปนประธานพิธีเปดการศึกษาหลักสูตรนายทหารชั้นประทวนเปนนายทหารชั้นสัญญาบัตร รุนที่ ๕๙ ณ หองบรรยาย รร.นม.ยศ.ทอ.เมื่อวันที่ ๑๖ ม.ค.๖๓

พล.อ.ท.ธาดา เคี่ยมทองคํา ผบ.รร.นนก.เปนประธานในพิธีเปดการฝกภาคฤดูรอนของ นนอ.ชั้นปที่ ๑ และ ๒ (ชัยพฤกษ ๖๒) โดยมี น.อ.จุมพล จันทขัมมา ผบ.บน.๒ ใหการตอนรับ ณ พื้นที่การฝก บน.๒ จว.ลพบุรี เมื่อวันที่ ๒๐ ม.ค.๖๓


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๔

พล.อ.ต.ครรชิต นิภารัตน จก.กง.ทอ.เปนประธานในพิธีปดการศึกษาและมอบประกาศนียบัตร สําหรับผูสําเร็จการศึกษาตามหลักสูตร นายทหารการเงินชัน้ เรืออากาศ รุน ที่ ๗ สําหรับการเรียนรูผ า นสือ่ อิเล็กทรอนิกส ณ รร.เหลาทหารการเงิน กวก.กง.ทอ. เมือ่ วันที่ ๑๐ ม.ค.๖๓

พล.อ.ต.ภูวดล สอนดวงใจ จก.ขส.ทอ.พรอมคณะ ตรวจเยี่ยมสายวิทยาการขนสง อย.โดยมี พล.อ.ต.วิญญา โพธิ์คานิช รอง.ผบ.อย. ใหการตอนรับ ณ หองประชุมเจริญจรัมพร เมื่อวันที่ ๑๔ ม.ค.๖๓

พล.อ.ต.อติชาติ ศิลานันท จก.สบ.ทอ.พรอมคณะ ตรวจเยี่ยมสายวิทยาการสารบรรณ พอ.โดยมี พล.อ.ต.วิษณุ ภูทอง เสธ.พอ. ใหการตอนรับ ณ หองประชุม พอ.๑ เมื่อวันที่ ๑๖ ม.ค.๖๓


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๕ ขาวทหารอากาศ

พล.อ.ต.ไวพจน เกิงฝาก ผบ.รร.การบิน เปนประธานพิธีเปดหลักสูตรฝกอบรมศิษยการบิน รุน น.๑๔๖ – ๑ – ๖๓ ณ บริเวณหนากองฝก การบิน รร.การบิน จว.นครปฐม เมื่อวันที่ ๑๗ ม.ค.๖๓

น.อ.จักรกฤษณ ธรรมวิชัย ผบ.บน.๑ นําขาราชการ ลูกจาง พนักงานราชการ และทหารกองประจําการ บน.๑ พรอมกําลังพลจิตอาสา รวมกิจกรรมบริจาคโลหิตถวายเปนพระราชกุศล เนือ่ งในโอกาสมหามงคลพระราชพิธบี รมราชาภิเษก และรวมเปนสวนหนึง่ ของโครงการจิตอาสา พระราชทาน “เราทําความดี เพื่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย” ณ อาคารธูปะเตมีย บน.๑ จว.นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๒๓ ม.ค.๖๓

น.อ.จุมพล จันทขัมมา ผบ.บน.๒ เปนประธานในพิธีเปดการฝกอบรมลูกเสือเนตรนารี ยุวกาชาด ประจําป ๒๕๖๓ ณ คายลูกเสือชั่วคราว บน.๒ จว.ลพบุรี เมื่อวันที่ ๒๒ ม.ค.๖๓


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๖

น.อ.แมนสรวง สุวรรณ ผบ.บน.๗ เปนประธานในพิธีการตรวจสอบการฝกภาคที่ ๑ ตอนที่ ๑ ของทหารกองประจําการ รุนป ๒๕๖๒ ผลัดที่ ๒ ณ สนามฝก พัน.อย.บน.๗ จว.สุราษฎรธานี เมื่อวันที่ ๒๔ ม.ค.๖๓

น.อ.วัชรพล นวลเปนใย ผบ.บน.๒๑ เปนประธานในการอบรมเรื่องการสรางความตระหนักรูเกีย่ วกับภัยคุกคามและจิตสํานึกดานการรักษา ความปลอดภัยดานไซเบอร ใหแกขาราชการ ลูกจาง พนักงานราชการ บน.๒๑ โดยมี น.อ.อมร ชมเชย ผอ.กองปฏิบัติการไซเบอร ศูนยไซเบอร ทอ.เปนผูบรรยาย ณ หองประชุม อาคารศิวิไล บน.๒๑ จว.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒๑ ม.ค.๖๓

น.อ.สุทธิพงษ วงษสวัสดิ์ ผบ.บน.๕๖ พรอมดวยกําลังพลจาก พัน.อย.บน.๕๖ รวมพิธีกระทําสัตยปฏิญาณตนของทหาร-ตํารวจ เนื่องใน พระราชพิธีบรมราชราชาภิเษก พ.ศ.๒๕๖๒ และวันกองทัพไทย ประจําป ๒๕๖๓ ณ บริเวณสนามหนาสโมสรคายเสนาณรงค อ.หาดใหญ จว.สงขลา เมื่อวันที่ ๑๘ ม.ค.๖๓


â¤Ã§¡ÒÃͺÃÁ ¨¹·.»¯ÔºÑµÔ¡ÒôŒÒ¹ HADR áÅÐ »ÃЪÒÊÑÁ¾Ñ¹¸ ¡ÒõÃÐ˹ѡÃÙŒ¢Í§¡íÒÅѧ¾Å ·Í. »ÃШíÒ»‚ ๒๕๖๓ ÃØ‹¹·Õè ๑ ร.อ.หญิง วิวัสวัน เปลงวิทยา “สนุกสนานกับภาคปฏิบัติมาก” “ไดความรูใหมๆ เกี่ยวกับงานดานกิจการ อาเซียนของกองทัพอากาศ ผานงานบรรเทาสาธารณภัย เยอะขึ้นมาก” “ประทับใจทานวิทยากรทุกทาน” ..เหลานี้คือขอความบางสวนจากผูเขารวม การอบรมที่ ไ ด ใ ห ค วามเห็ น ไว ใ นช ว งก อ นพิ ธี ป  ด โครงการอบรม จนท.ปฏิบัติการดาน Humanitarian Assistance and Disaster Relief (HADR) และประชาสัมพันธการตระหนักรูของกําลังพล ทอ. ประจําป ๒๕๖๓ รุนที่ ๑ ซึ่งกองบรรเทาสาธารณภัย สํานักนโยบายและแผน กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ ไดจัดขึ้นเปนประจําทุกป โดยรอบแรกของปจะเปน โครงการสําหรับนายทหารชัน้ ประทวนจากสวนอํานวยการ และสวนสนับสนุนในดอนเมือง จํานวน ๒๐ หนวยงาน จํานวน ๓๐ คน เมือ่ ชวงอาทิตยกลางเดือนมกราคมทีผ่ า นมา ซึ่งเรียกไดวาปดฉากลงไปอยางนาประทับใจ

เปนทีน่ า ชืน่ ชมอยางยิง่ ทีไ่ ดเห็นผูเ ขารวมอบรม ฯ มีความตั้งใจและความพยายามที่จะแสวงหาความรู ในโครงการอบรม ฯ นี้ ทัง้ ผานการฟงบรรยาย ไมวา จะเปน หัวขอ บทบาทของ ทอ.กับภารกิจ Aero Medical Evacuation โดย น.ท.หญิ ง วรวรรณี ตุ ล ยายน หัวหนาแผนกอํานวยการ ศูนยลําเลียงทางอากาศ สายแพทย สถาบันเวชศาสตรการบิน การฟงบรรยาย เรื่องการประชาสัมพันธในภาวะวิกฤติ จากทานรอง อธิบดีกรมประชาสัมพันธ อาจารยทัศนีย ผลชานิโก หรือกระทั่งการฟงบรรยายในเรื่องเกี่ยวกับกิจการ อาเซียนของกองทัพอากาศ จาก น.อ.ชาคริต ศักดิช์ ยั ศรี รองผูอํานวยการ กองปฏิบัติกิจพิเศษ สํานักยุทธการ และการฝก กรมยุทธการทหารอากาศ นอกจากนั้น ยังไดมีการทดลองประสบการณตรงจาก “รถสาธิต แผนดินไหว” จากกรมปองกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่ ง เป น ครั้ ง แรกที่ ก องทั พ อากาศได นํ า รถสาธิ ต นี้ มาให บุ ค คลากรของกองทั พ อากาศได ม าสั ม ผั ส


98

ประสบการณ์จริง รวมถึงเรียนรูเ้ รือ่ งการป้องกันตนเอง จากภัยพิบัติดังกล่าวโดยละเอียดด้วย และที่ส�าคัญ เป็นประจ�าทุกปีทที่ างศูนย์ปฏิบตั กิ ารแพทย์ กรมแพทย์ ทหารอากาศจะได้ส่งผู้แทน คือ อาจารย์หมออ้อม น.ต.ชัชวาลย์ จันทะเพชร รองหัวหน้าแผนกปฏิบตั กิ าร ๑ กองปฏิบัติการ ศูนย์ปฏิบัติการแพทย์ กรมแพทย์ ทหารอากาศ มาสอนการปฐมพยาบาลเบื้ อ งต้ น Cardiopulmonary resuscitation (CPR) และพืน้ ฐาน ความรู้ในการตัวรอดกรณีประสบสาธารณภัย ซึ่งได้ เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เรียนรู้กระบวนการ ตั้งแต่ Prevention and Planning ในการวางแผน ตระเตรียม Survival/ Emergency Kit ในระดับตัง้ แต่ ตนเอง ไปจนถึง คนในครอบครัว หรือองค์กรของตน รวมถึงเรียนรู้การดามแขน ขา คอ ในการประสบเหตุ ในรูปแบบต่าง ๆ


ข่าวทหารอากาศ

เรียกได้วา่ เป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างครบถ้วน ในการเพิม่ ขีดความสามารถและศักยภาพของก�าลังพล ในการท�าความเข้าใจเกีย่ วกับบทบาทของ ทอ.ในบริบท อาเซียนผ่านกิจการด้านบรรเทาสาธารณภัย รวมถึง การเสริมทักษะในเรือ่ งทีน่ า่ สนใจ และยังถือเป็นการสร้าง เครือข่ายการท�างานให้แน่นแฟ้นยิง่ ขึน้ ระหว่างผูเ้ ข้าร่วม การอบรม ฯ ซึง่ ถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์อนั ดีให้กบั เหล่าข้าราชการของกองทัพอากาศอีกทางหนึ่งด้วย ยังคงมีให้ตดิ ตามกันอีกหนึง่ ครัง้ กับโครงการ อบรม ฯ รุน่ ที่ ๒ (นายทหารสัญญาบัตร และนายทหาร นักเรียนต่างชาติ) ในช่วงกลางปีนี้นะคะ หน่วยใด ต้องการสอบถามเพิม่ เติมในการส่งข้าราชการเข้าร่วม โครงการ ติดต่อได้ที่ กองบรรเทาสาธารณภัย ส�านัก นโยบายและแผน กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ โทร. ๐ ๒๕๓๔ ๒๐๙๖

99



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.