หนังสือข่าวทหารอากาศ ฉบับเดือน ตุลาคม 2554

Page 1



“...จิตใจที่จะเผื่ อแผที่จะชวยเหลือซึ่ง กันและกัน นี้ ก็ไ มตอง เสียสตางคใดๆ ก็ชวยกันได อันนี้จะเปนสิ่งที่ดีงามที่สุดสําหรับบุคคล และดี ง ามที่ สุ ด สํ า หรั บ ส ว นรวมเหมื อ นกั น ที่ จ ะเพาะความเอ็ น ดู สงสารซึ่งกันและกัน เมตตาซึ่งกันและกัน และชวยซึ่งกันและกัน อยางนี้ทําใหบานเมืองมีความเจริญ บานเมืองมีความสงบสุขอยางดี ที่สุด...” พระราชดํารัส ในโอกาสที่ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห นําคณะกรรมการมูลนิธิประจําจังหวัด เฝาฯ ทูลเกลาฯ ถวายเงิน เพื่อโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย ๒๗ ตุลาคม ๒๕๒๔


โอ้องค์พระปิยมหาราช แม้เสด็จสูส่ วรรค์ชนั้ โสภณ ระลึกพระคุณอุ่นใจชาวไทยมั่น เป็นเทพเจ้าประจําใจในดวงแด รัชสมัยสมบูรณ์พูนประสิทธิ์ พระเมตตาการุณย์บุญบันดาล สมพระนามสยามินทร์ปิ่นกษัตริย์ สมสยามเทวาสง่างาม ทั่วทุกถิ่นสถานเขตบ้านพัก น้อมบูชารูปลักษณ์พระจักรี นานาพระคุณบุญคงดํารงรัตน์ ปิโยรสล้ําพระคุณบุญชาติชน ผลเลิกทาสยังคงดํารงยศ โทรเลขไปรษณีย์มีรถไฟ การทหารทรงปรับปรุงผดุงชาติ สถาบันกษัตริย์จรัสจริง การไฟฟ้าประปามหาสวัสดิ์ การสร้างวังยังประโยชน์โชติตระการ สู่สวรรคาลัยไปนานนัก ต่างน้อมนบเคารพและบูชา ขอพระรัตนตรัยคุณไพศาล ให้ดํารงคงมั่นชั้นบวร

ไทยทั้งชาติเทิดพระคุณบุญกุศล ไทยทุกคนรักมั่นไม่ผันแปร มหัศจรรย์พระบารมีที่แน่วแน่ พระคุณแผ่ทั้งหมดเกินจดจาร ทศพิธราชธรรมเกินคําขาน เปรียบวิมานบนดินถิ่นพระธรรม คุณสมบัติลือเลื่องเมืองสยาม สมกับความจงรักและภักดี ต่างประจักษ์พระคุณบุญราศี ประทับที่บ้านตรงเป็นมงคล ยังจรัสทั่วแผ่นดินมิสนิ้ ผล ทวีผลราชนัดดาพาสุขใจ เกียรติปรากฏการศึกษาพาสดใส อนามัยและประพาสพิลาสจริง การพระศาสนาพาสุขยิง่ ผลใหญ่ยิ่งไทยมั่นคงดํารงกาล การสร้างวัดพระเกียรติคุณบุญไพศาล ผลสัมพันธ์ตา่ งชาติวัฒนา ยังจงรักพระองค์ทรงคุณค่า อัญเชิญมาป้องปกพสกนิกร อภิบาลองค์บพิตรอดิศร สถาพรสุขสวัสดิ์พพิ ัฒน์เทอญ

สํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้จัดทําหนังสือข่าวทหารอากาศ (น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ประพันธ์)


ข่าวทหารอากาศ คณะผู้จัดทำหนังสือข่าวทหารอากาศ

หนังสือข่าวทหารอากาศ

เจ้าของ กองทัพอากาศ

ทีป่ รึกษา พล.อ.อ.สมศักดิ์ วรฉัตร พล.อ.ท.ประพัตรา ตัณฑ์ไพโรจน์ พล.อ.ต.หญิง มาลี ดิษฐบรรจง พล.อ.ต.หญิง สุมาลี ฤทธิบตุ ร

ผูอ้ ำนวยการ พล.อ.ท.ดิเรก พรหมประยูร เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ

ความเป็นมา หนังสือข่าวทหารอากาศ เป็นนิตยสารรายเดือนของ กองทัพอากาศ เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓ ขึ้นกับกรม ข่ า วทหารอากาศ มี น าวาอากาศเอก สกล รสานนท์ เป็ น บรรณาธิ ก ารคนแรก ดำเนิ น การโดยทุ น ของข้ า ราชการ ทหารอากาศ ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๙๘ ได้โอนกิจการมาอยู่ในความ อำนวยการของกรมยุ ท ธศึ ก ษาทหารอากาศ ตามคำสั ่ ง ทอ. (เฉพาะ)ที่ ๕๘๐/๙๘ ลง ๒๓ ธ.ค.๒๔๙๘ มีเจ้ากรมยุทธศึกษา ทหารอากาศ เป็นผูอ้ ำนวยการ ตามคำสัง่ ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๕/๙๙ ลง ๗ ม.ค.๒๔๙๙ ภารกิจ

รองผู้อำนวยการ

ดำเนิ น กิ จ การหนั ง สื อ ข่ า วทหารอากาศ ให้ เ ป็ น ไป ตามนโยบายของกองทั พ อากาศ มี ผ ู ้ อ ำนวยการหนั ง สื อ ข่ า ว ทหารอากาศ (จก.ยศ.ทอ.) เป็นผูบ้ งั คับบัญชารับผิดชอบ

พล.อ.ต.ยงยุทธ หาบุบผา เสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ น.อ.ประเสริฐ ช่างประเสริฐ รองเสนาธิการกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ผูจ้ ดั การ ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การ

วัตถุประสงค์/นโยบายกองทัพ ๑. เพือ่ เพิม่ พูนความรูใ้ นกิจการทัว่ ๆ ไป ๒. เพือ่ แลกเปลีย่ นแสดงความคิดเห็นในด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี อันจะเป็นประโยชน์ ต่อส่วนรวม ๓. เพือ่ เผยแพร่กจิ การกองทัพอากาศ

น.อ.สหัสชัย มาระเนตร น.ท.ชาญยุทธ รัตนสาลี

กองบรรณาธิการ บรรณาธิการ พล.อ.ท.ดิเรก พรหมประยูร ผู้ช่วยบรรณาธิการ น.อ.หญิง พัชรา ภัทรสุวรรณ น.อ.หญิง นภิศพร สังข์ทอง

ประจำกองบรรณาธิการ น.ท.หญิง กาญจณา แตงฉ่ำ น.ท.หญิง วรรณิภา ยีป่ ระชา น.ต.สินธพ ประดับญาติ

น.ท.นิพนธ์ ก่อสินค้า น.ท.หญิง อนงค์นาถ บุญจฑิตย์ พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห์

กองจัดการ น.ท.พินจิ นุชน้อมบุญ

น.ท.สมพร สิงห์โห ร.อ.หญิง สุมาลี สายะนันท์ พ.อ.อ.ประจวบ วีระชนม์ จ.อ.หญิง เศาวณี พ่านเผือก นาง พรทิพย์ ศรีวรพงษ์ สำนักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กทม.๑๐๒๑๐ โทร. ๐-๒๕๓๔-๔๔๗๑, ๐-๒๕๓๔-๔๒๔๑ Fax. ๐-๒๕๓๔-๔๔๗๑

นโยบายการดำเนินงานในปัจจุบัน ๑. เป็นสือ่ กลางในการแลกเปลีย่ น แสดงความคิดเห็น ทีเ่ ป็นประโยชน์ในการพัฒนากองทัพและส่วนรวม ๒. เรือ่ งทีน่ ำลงในหนังสือข่าวทหารอากาศ * ต้องไม่ขดั ต่อวัตถุประสงค์/นโยบาย กองทัพอากาศ ทีก่ ำหนด * ต้องไม่กระทบกระเทือนต่อความมัน่ คงของชาติ บุคคล หรือส่วนรวม * ความยาวของเรือ่ งไม่ควรเกิน ๕ ตอน แต่ละตอน ไม่ควรเกิน ๕ หน้า * ต้องได้รบั การพิจารณาและเห็นชอบจากคณะ กรรมการพิจารณาเรือ่ งของสำนักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ กำหนดการเผยแพร่ นิตยสารรายเดือน

พิมพ์ท่ี โรงพิมพ์กองทัพอากาศ ดอนเมือง แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กทม. ๑๐๒๑๐ โทร.๐-๒๕๓๔-๒๙๔๓ , ๐-๒๕๓๔-๕๑๔๘

ค่าสมาชิกภายนอก ปีละ ๓๕๐ บาท (รวมค่าส่ง) สัง่ จ่าย ปณ. คลองถนน ๑๐๒๒๒ ความคิดเห็นของผูเ้ ขียนในหนังสือฉบับนีไ้ ม่มส ี ว่ นผูกพันกับทางราชการแต่ประการใด

ออกแบบปก : น.ต.สินธพ ประดับญาติ

http://www.rtaf.mi.th หรือ E-mail : rtafmag@gmail.com


ปีท่ี ๗๑ ฉบับที่ ๑๐ เดือน ตุลาคม ๒๕๕๔

สารบัญ บทบรรณาธิการ

๖ พระปิยมหาราชกับคุณปู การด้านการทหาร ๑๐ ๑๖ ๑๗ ๒๒ ๒๕ ๓๒ ๓๗ ๔๕ ๕๑ ๕๖ ๕๘

และการป้องกันประเทศ ...พชร ธ สถิตในใจประชา : ๗ รอบพระนักษัตร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ...ตามรอย ประกาศกองทัพอากาศ เรื่อง “ค่านิยมหลักของกองทัพอากาศ” ปฏิบตั กิ ารของทหารไทยในงานพระราชสงคราม ณ ประเทศฝรัง่ เศส พ.ศ.๒๔๖๑ ...พล.อ.อ.สมศักดิ์ วรฉัตร ๒๕ ปี วันคล้ายวันสถาปนา สตน.ทอ. ...ปชส.สตน.ทอ. การฝึกผสม Cope tiger ในมุมมองของผู้ประเมินการฝึก ...น.อ.พลวัตร อินทรวิเศษ เฮลิคอปเตอร์ควบคุมระยะไกล กับบทบาทส่งกำลังบำรุงสนับสนุน ...พ.อ.อ.จำนงค์ ศรีโพธิ์ ระบบเทคนิคของเครือ่ งบิน C-130 ...Skypig ๑๑ ปี กับการประกันคุณภาพการศึกษา ของกองทัพ ...น.ท.วิพล สุขวิลยั ภาษาไทยด้วยใจรัก “จิตอาสา ชาตกาล เจ็ดชัว่ โคตร เว้นวรรค” ...นวีร์ ปริศนาอักษรไขว้ ...มีน ครูภาษาพาที : ทิงลิช Tinglish ภาษาอังกฤษแบบไทยๆ ...Water lily

๑๐๐

๖๓ Test Tip Part 15 ...Runy ๖๖ ความเป็นอยูข่ องคนอเมริกนั ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป ๖๗ ๖๙ ๗๓

๗๙ ๘๗ ๙๐ ๙๓ ๙๕ ๙๖ ๙๘ ๑๐๒ ๑๐๔ ๑๐๖

...พล.อ.ท.ยุทธพร ภู่ไพบูลย์ เวลา...การ์ตูน ...มิสกรีน พูดจาประสาหมอพัตร “ไปดูหนัง ๔ มิติ ที่เขาใหญ่” ...หมอพัตร แนวทางพัฒนาแบบทดสอบวิภาววิสัย ให้เหมาะสมกับนายทหารนักเรียน หลักสูตรเสนาธิการทหารอากาศ ...น.ต.ธวิน ศรีแก้ว ประชาธิปไตยที่แลกมาด้วยโศกนาฏกรรม และการสูญเสีย ...Pharaoh มวลชนสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ที่ล้ำค่า เกินคำบรรยาย ...ฝอ.๕ วัตถุมงคลของชาว ทอ. ...น.อ.อภิชัย ศักดิ์สุภา (นนอ.๒๒) มุมสุขภาพ : อย่าปล่อยให้เป็นหวัดเรื้อรัง ...นายห่วงใย นานาน่ารู้ “การใช้เตาไมโครเวฟให้ปลอดภัย” ...บางแค บุญกฐิน บุญพิเศษ - บุญปรองดอง ...น.อ.สุรินทร์ คุ้มจั่น ขอบฟ้าคุณธรรม : ความสามัคคี ...1261 เฉลย Crossword ฉบับประจำเดือน ก.ค.๕๔ ...อ.วารุณี แบบสอบถามความคิดเห็น หนังสือข่าว ทอ. ในรัว้ สีเทา


สวัสดี สมาชิกข่าวทหารอากาศทุกท่าน ๑๒ ตุลาคม วันออกพรรษา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวราณา” คําว่า “ปวารณา” แปลว่า อนุญาต หรือยอมให้ พระสงฆ์จะประกอบพิธีทําสังฆกรรม เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในวันนี้จะมีการ ทําบุญตักบาตรเทโว ซึ่งเป็นประเพณีสืบต่อกันมา ๑๙ ตุลาคม ของทุกปี รัฐบาลประกาศให้เป็น “วันเทคโนโลยีของไทย” เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” เนื่องด้วยทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านการศึกษาค้นคว้า วิจัย และทรงนําเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เป็นที่ประจักษ์และได้รับการ ยกย่องจากนานาประเทศ ๒๓ ตุ ล าคม “วั น ปิ ย มหาราช” ซึ่ ง เป็ น วั น ที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว เสด็ จ สวรรคต ประชาชนทุกหมู่เหล่า ข้าราชการ ร่วมกันถวายบังคมพระบรมรูปหรือพระราชานุสาวรีย์ ที่ประดิษฐาน ณ ที่ต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า สืบเนื่องกันมาทุกปี เพื่อน้อมนํารําลึ กและสํานึกในพระมหากรุณาธิคุ ณ อันล้นพ้นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ผู้ทรงเลิกระบบทาส และทรงนําพาประเทศเข้าสู่ ความเจริญเยี่ยงนานาอารยประเทศ ในโอกาสที่หนังสือข่าวทหารอากาศจะครบรอบ ๗๒ ปี ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ คณะผู้จัดทํา มุ่งที่จะพัฒนาปรับปรุง หนังสือข่าวทหารอากาศให้เป็นที่พอใจของสมาชิก จึงออกแบบสํารวจความคิดเห็นชองสมาชิกที่มีต่อหนังสือข่าว ทหารอากาศ ลงในฉบับเดือน ตุลาคม และพฤศจิกายน จึงขอเชิญชวนสมาชิกตอบแบบสอบถาม และอาจมีสิทธิ รับรางวัล สมุดบันทึกประจําวันทหารอากาศ รางวัลละ ๑ ชุด (๓ เล่ม) จํานวน ๒๐ รางวัล(จับสลาก) โดยส่งแบบสอบถาม คืนมาที่สํานักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ หอสมุดกองทัพอากาศ โทรสาร ๐-๒๕๓๔-๔๔๗๑ และสามารถตรวจสอบ รายชื่อผู้รับรางวัลได้ที่ http://www.airforcemagazine.rtaf.mi.th (เดือน ธันวาคม ๒๕๕๔) ขอขอบคุณทีก่ รุณาให้ ข้อคิดเห็นมา ณ ที่นี้ด้วย ภาพจากปกฉบับนี้ อ่านรายละเอียดได้จาก....เรื่อง เฮลิคอปเตอร์ควบคุมระยะไกลกับบทบาทส่งกําลังบํารุง สนับสนุน เป็นการใช้เฮลิคอปเตอร์ไร้นักบิน ทําการขนส่งยุทโธปกรณ์และสิ่งของส่งกําลังบํารุงไปให้กับหน่วยทหาร..... เรื่อง ประชาธิปไตยที่แลกมาด้วยโศกนาฏกรรมและการสูญเสีย สะท้อนย้อนให้เห็นถึงประชาธิปไตยของไทย ที่ได้มา ตั้ง แต่ ปี พ.ศ.๒๔๗๕ จนถึ ง ปั จจุ บั น ว่ า เป็ น มาเช่ น ไร และนอกจากนี้ ยั ง มี เรื่ อ งประจํ า ฉบับ อี ก มากมายที่น่ า สนใจ เชิญพลิกอ่านตามอัธยาศัย บรรณาธิการ


พชร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณฯ พระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว มีพระนามเดิมวา “สมเด็จเจาฟาชายจุฬาลงกรณ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร” เปนพระราชโอรสองคที่ ๙ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว และ สมเด็จพระเทพศิรนิ ทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันอังคารที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ หลั ง จากที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระจอมเกลาเจาอยูหัวสวรรคต เมื่อ วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๑ เหลาเสนาบดีและขาราชการชั้นผูใหญ พรอมใจกันอัญเชิญสมเด็จเจาฟาชาย จุฬาลงกรณฯ ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เปนพระมหากษัตริย พระราชพิ ธี บ รมราชาภิ เ ษก ครั้ ง แรกเมื่ อ วั น ที่ ๑๑ พฤศจิ ก ายน พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๑๑ ขณะนั้ น ทรง พระชนมายุเพียง ๑๕ พรรษา สมเด็จเจาพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ (ชวง บุนนาค) ซึ่งขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์ เปนเจาพระยาศรีสุริยวงศ รับหนาที่เปนผูสําเร็จราชการแผนดิน ระหวางนั้นพระองคไดเสด็จประพาส ตางประเทศ คือ อินเดีย และชวา เพื่อทอดพระเนตรวิทยาการสมัยใหมที่ประเทศทางตะวันตกนํามาเผยแพร เพื่อนํามาเปนแนวทางในการพัฒนาประเทศตอไป เมื่อพระชนมายุบรรลุพระราชนิติภาวะ ทรงผนวชเปนพระภิกษุเปนเวลา ๒ สัปดาห แลวจึงประกอบ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเปนครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๖ เปนพระมหากษัตริย พระองคที่ ๕ แหงราชวงศจักรี


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ทรงดําเนินการปฏิรูปการทหาร เพราะทรงเล็งเห็น ความสําคัญของการจัดตั้งใหมีนายทหาร เพื่อการ ควบคุมบังคับบัญชาทั้งในยามสงบและยามสงคราม และยังเปนการสรางความเขมแข็งแกราชบัลลังก และสร า งความเป น ป ก แผ น มั่ น คงของประเทศ เนื่ อ งจากในขณะนั้ น มี ก ารคุ ก คามของประเทศ ตะวั น ตกที่ กํ า ลั ง ล า อาณานิ ค มอยู ใ นทวี ป เอเชี ย โดยทรงปรับปรุงการทหาร หลังจากเสด็จประพาส สิงคโปรและชวาในพุทธศักราช ๒๔๑๕ พระองค ทรงโปรดเกลาฯ ใหจัดการทหารใหม โดยแบงหนวย ทหารในกองทั พ เป น ทหารบกและทหารเรื อ ทหารบกประกอบดวยกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภ รักษาพระองค กรมทหารรักษาพระองค กรมทหาร ลอมวัง กรมทหารมา กรมทหารปนใหญ กรมทหารชาง และกรมทหารฝพาย สวนทหารเรือประกอบดวย กรมทหารเรือพระที่นั่งเวสาตรี(ทหารชางแสงเดิม) และกรมวรสุมพล(ทหารมารีนเดิม) นอกจากจัดแบงกรมทหาร ใหมแลว ยังจัดการเรื่องอาวุธยุทโธปกรณใหทันสมัย เชน สั่งปนแกตตาลิ่งเขามาเปนครั้งแรก กําหนดระเบียบ การบังคับบัญชาใหรัดกุมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลนเกลาฯ รัชกาลที่ ๕ ทรงดําเนินการปฏิรูปการทหารใหกาวหนา คือ ตั้งกรมยุทธนาธิการขึ้นใน พุทธศักราช ๒๔๓๐ ยกฐานะขึ้นเปนกระทรวงเมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๓ และตั้งเปนกระทรวงกลาโหมใน พุทธศักราช ๒๔๓๗ ตามลําดับ นอกจากนั้นโปรดเกลาฯ ใหจัดกองทหารขึ้นตามหัวเมืองตางๆ เพื่อสราง ขวัญและกําลังใจแกราษฎร เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหตั้ง ร.ร.ทหารสราญรมยและตอมาไดรวม กิจการของ ร.ร.ทหารสราญรมยกับ ร.ร.นายสิบ เขาดวยกัน และเปลี่ยนชื่อเปน ร.ร.สอนวิชาทหารบก ตอมา ได ย า ยนั ก เรี ย นนายสิ บ ไปสั ง กั ด กองพลทหารบก จึ ง ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล า ฯ ซื้ อ ที่ ดิ น บริ เ วณถนน ราชดําเนินนอก สราง ร.ร.นายรอยมัธยมขึ้น และทรงกระทําพิธีเปดเมื่อ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๕๒ และไดมี การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง จนในสมัยรัชกาลปจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมี พระบรมราชโองการโปรดเกลาฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตใหใชชื่อโรงเรียนนายรอยพระจุลจอมเกลา ตอมาโปรดเกลาฯ ใหตั้งโรงเรียนนายเรือ ณ พระราชวังเดิม เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๙


นอกจากนั้นยังทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหเลิกระบบไพรใชการเกณฑทหารแทน ทรงเปลี่ยนแปลง สถานะไพรใหเปนคนสามัญโดยโปรดฯ ใหยกเลิกระบบไพร หรือการเกณฑแรงงาน “ไพร” คือ ประชากร สวนใหญของประเทศที่มีอายุ ๑๕ – ๒๖ ปขึ้นไป จนถึงอายุ ๗๐ ป ทําหนาที่รับใชเจานายเพือ่ แลกเปลีย่ นกับ การที่ไดรับความคุมครองจากเจานาย หรือมีหนาที่ใหแรงงาน สวยหรือเงินแกบานเมืองเปนการตอบแทนที่ ไดรับความคุมครอง พระองคทรงเห็นวากําลังสําคัญในการพัฒนาประเทศ คือ ราษฎรที่จะมีเวลาพอเพียง สํา หรั บ การทํ า มาหากิน เพื่ อ สร า งเสริ ม รายได ใ ห แ กค รอบครั ว และประเทศชาติ การเกณฑ แรงงานมา ปฏิบัติงานใหราชการทุกป ปละ ๓ เดือน โดยไมไดรับคาตอบแทนทําใหราษฎรไมสามารถทํามาหากินได เต็มที่ พระองคจึงทรงโปรดฯ ใหยกเลิกระบบไพรหรือการเกณฑแรงงานประชาชนมาเปนการเกณฑทหาร ตามกําหนดเวลาที่แนนอนเพียง ๒ ป หลังจากที่รับใชชาติครบ ๒ ปแลว ราษฎรจะเปนอิสระประกอบอาชีพ ปฏิบัติภารกิจของตนไดเต็มที่

ดานการรักษาความปลอดภัย โปรดเกลาฯ ใหสรางปอมตางๆ ตามหัวเมืองชายทะเล เพื่อเปน ดานหนาปกปองคุมครองประเทศ เชน ปอมพระจุลจอมเกลา ปอมปูเจาสมิงพราย ปรับปรุงเรื่องยุทธปจจัย และอาวุธยุทโธปกรณใหทันสมัย โปรดฯ ใหสรางเรือรบเพิ่มขึ้นหลายลํา เชน เรือพระที่นั่งเวสาตรี เรือรบหลวง มกุฎราชกุมาร เรือพระที่นั่งมหาจักรี เรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง และเรือรบหลวงสุริยมณฑล เปนตน ดานการรักษาความสงบภายใน พุทธศักราช ๒๔๔๐ ทรงตั้งตํารวจภูธรขึ้น เพื่อสนับสนุนการตํารวจ ในสวนกลาง ดําเนินการปราบปรามโจรผูรายอยางมีแผนและตอเนื่อง ใหกรมตํารวจทั้งภูธรและนครบาล ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๔ โปรดเกลาฯ ใหตั้งโรงเรียนนายรอยตํารวจภูธรที่จังหวัด


นครราชสีมา นับเปนโรงเรียนนายรอยตํารวจภูธรแหงแรกของเมืองไทย ตอมายายมาอยูที่อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จนถึงปจจุบัน คือ โรงเรียนนายรอยตํารวจสามพราน นั่นเอง ตลอดระยะเวลาที่ ท รงครองสิ ริร าชสมบั ติ ทรงปกครองทํ า นุ บํา รุ ง พระราชอาณาจั ก รให มั่ ง คั่ ง สมบูรณ ดวยรัฐสมบัติ พิทักษพสกนิกรใหอยูเย็นเปนสุข บําบัดภัยอันตรายทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทรงบําเพ็ญพระราชกรณียกิจตางๆ อันกอใหเกิดคุณประโยชนแกประเทศชาติอยางอเนกอนันต ทรงเปน พระมหากษัตริยที่ทรงเปยมดวยพระปรีชาสามารถ สุขุมคัมภีรภาพ ทรงนําประเทศชาติใหรอดพนจาก วิกฤติการณและสามารถธํารงเอกราชไวไดตราบจนทุกวันนี้ จนไดรับการถวายพระราชสมัญญานามวา “พระปยมหาราช” อันหมายถึง พระราชาผูยิ่งใหญอันเปนที่รักของประชาชน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ทรงตรากตรําพระวรกายปฏิบัติพระราชภารกิจมากมาย ทําใหทรงมีพระพลานามัยไมแข็งแรง หลังจากเสด็จพระพาสยุโรปแลวก็ทรงพระประชวร และพระองค เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓ รวมพระชนมพรรษาได ๕๘ พรรษา ทรงครองราชยนานถึง ๔๒ ป นับเปนความสูญเสียครั้งยิ่งใหญของพสกนิกรชาวไทย... ขอขอบคุณ กองประชาสัมพันธ์ สํานักงานเลขานุการกองทัพบก

ยศและลาภ หาบไป ไมไดแน ทรัพยสมบัติ ทิ้งไว ใหปวงชน เมื่อเจามา มีอะไร มาดวยเจา เจามามือเปลา เจาจะ เอาอะไร

มีเพียงแต ตนทุน บุญกุศล แมรางตน เขาก็เอา ไปเผาไฟ เจาจะเอา แตสุข สนุกไฉน เจาก็ไป มือเปลา เหมือนเจามา

บทพระราชนิพนธของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูห ัว


รอบพระนักษัตรที่ ๓ พุทธศักราช ๒๔๙๕ - ๒๕๐๖

ทรงรับดอกบัวจากแม่เฒ่า ตุ้ม จันทนิตย์ คราวเสด็จพระราชดําเนินเยีย่ มราษฎร จังหวัดนครพนม ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๘

ทรงพระผนวช ตุลาคม ๒๔๙๙


ทรงรับบิณฑบาต พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ทรงบําเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันปีใหม่ ๒๕๐๓

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ทุกพระองค์ทรงเจริญวัย เสด็จพระราชดําเนินเยือนสหภาพพม่า ๗ มีนาคม ๒๕๐๓


เสด็จพระราชดําเนินเยือนสหรัฐอเมริกา ๒๘ มิถุนายน ๒๕๐๓

เสด็จพระราชดําเนิน โดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ๗ ธันวาคม ๒๕๐๖

ทรงหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวในแปลงนาสาธิต โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ๒๕๐๔

ทรงขับรถไถดินหรือควายเหล็ก ในนาทดลอง สวนจิตรลดา


รอบพระนักษัตรที่ ๔ พุทธศักราช ๒๕๐๗ - ๒๕๑๘

ทรงรับรางวัลเหรียญทองชนะเลิศ การแข่งขันกีฬาเรือใบ ในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ ๔ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๑๐

ทรงเยี่ยมทหารบาดเจ็บทีเ่ ชียงกลาง อําเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ประมาณพุทธศักราช ๒๕๑๐

พระราชทานเลี้ยงปีใหม่แก่เด็กพิการ ณ พระทีน่ ั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสติ ๑ มกราคม ๒๕๑๑


ทรงเยี่ยมราษฎรชาวไทยภูเขา จังหวัดเชียงใหม่ ๒๕๑๒

พระราชพิธีรชั ดาภิเษก ๙ มิถุนายน ๒๕๑๔

พระราชพิธสี ถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๕ การถวายเลี้ยงพระกระยาหารค่าํ แด่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๒ แห่งสหราชอาณาจักร และเจ้าชายฟิลปิ ดยุค แห่งเอดินเบอระ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕


เสด็จพระราชดําเนิน วันทรงดนตรี

นิสิตนักศึกษาหนีภัยจากการจลาจล ในการชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ เข้าพึ่งพระบารมีในสวนจิตรลดา ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖

พระราชทานพระราชดํารัส ขอให้ทุกฝ่ายระงับความรุนแรง ในการชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๑๖

(ฉบับหน้าติดตาม รอบพระนักษัตรที่ ๕)



ที่มา :- ดุสิตสมิตเลม ๖ ฉบับพิเศษ-ฉบับที่ ๖๖ (มกราคม – กุมภาพันธ – มีนาคม พ.ศ.๒๔๖๒) “เพื่อเปนการเคารพตอผูเขียนรายงาน จึงขอคงไวซึ่งอักขระวิธีตามตนฉบับ”

พล.อ.อ.สมศักดิ์ วรฉัตร รวบรวม

(ตอจากฉบับที่แลว) เหตุการณของที่ประชุมทําสัญญาสันติภาพซึ่งกําลังโตตอบกับฝายขาศึกไดใกลถึงที่สุดอยูแลว, แต ยังหาทราบไมวารัฐบาลเยอรมันจะยอมเซ็นสัญญาเลิกสงคราม และปฏิบัติตามความประสงคของสัมพันธมิตร หรือไม.ฉนั้นตอนกลางเดือนพฤษภาคม, กองทัพสัมพันธมิตรซึ่งยึดดินแดนขาศึกอยู, ไดทําการเคลื่อนที่ ไปตั้งอยูใกลเขตปกครองเปนการขัดตาทัพ, ถาแมขาศึกไมยอมเซ็นสัญญาจะไดรุกตอไปโดยเร็ว. สําหรับการนี้, กองทหารบกรถยนตรสยามไดรับคําสั่งใหจัดรถยนตรเปน 2 กองๆ 1 มีกําลังรถ 60 คัน. ในวันที่ 17 พฤษภาคม, กองรถยนตรทั้งสองนี้ไดเคลื่อนที่รุกไปตั้งอยูที่เมืองฟรังเกนธาล (Frankenthal) และ ชตูเดนไฮม (Studenhein), ไดรับคําสั่งใหเตรียมพรอมสําหรับจะกระทําการบรรทุกทหารไดทุกเมื่อ, ทหาร ตองนอนแรมคืนอยูบนรถ จะไปพักอาศัยนอนใตชายคาไมได. ในตนเดือนมิถุนายน, เจานาที่ไดจัดรถยนตรสงจากเมืองนอยชตัดตมาเพิ่มเติมดังนี้ : รถยนตร 1 หมวด มี กํ า ลั ง รถ 15 คั น มาตั้ ง เตรี ย มพร อ มรอฟ ง คํ า สั่ ง อยู ที่ เ มื อ งออกเกอร ส ไฮม (Oggersheim) ทิศตวันตกเฉียงใตของเมืองลุดวิกสฮาเฟน. รถยนตรอีก 1 หมวด มีกําลังรถ 20 คัน มาตัง้ อยู ที่เมืองวอรมส (Worms) . ครั้นวันที่ 17 มิถุนายน, ไดรับคําสั่งใหบรรทุกกองทหารราบมีจํานวนนายทหารสัญญาบัตร 28 นาย, นายสิบพลทหาร 1269 คน, จากเมืองฟรังเกนธาลและลุดวิกสฮาเฟน เดินทางผานเมืองวอรมส และโฮคไฮม (Hochheim); ขามแมน้ําไรน ลําเลียงทหารลงที่เดลเคนไฮม (Delkenheim),


การเดินทางครั้งนี้ 24 ชั่วโมงเต็ม, ทหารมิไดหลับนอนเลย. เมื่อไดลําเลียงทหารลงแลว, นายพล ชมิดต (General de Division Schmidt) ผูบังคับกองระวังนา ไดมาแสดงความขอบใจชมเชยการขับรถยนตรของทหารไทย, และกลาววายินดีที่ไดกองรถยนตรสยามมา บรรทุกทหารในกองระวังนา. ครั้นกองรถยนตรไดลําเลียงทหารลงเรียบรอยแลว, ไดรับคําสั่งจากกองทัพฝรั่งเศสใหไปตั้ง เตรียมพรอมอยูที่ตําบลไซสไฮม (Seishiem) และโฮฟไฮม (Hofheim) ทิศตะวันตกของเมืองฟรังคฟูรต (Frankfurt) เพื่อคอยฟงคําสั่งตอไป. ตําบลนี้เปนตําบลซึ่งใกลกับขาศึก ในปอมเมืองฟรังคฟูรตมีทหารเยอรมันประจําอยู. สวนกองรถยนตร ไทย ซึ่งตั้งอยูตําบลไซสไฮม และ โฮฟไฮมก็ตองเตรียมพรอมอยูเสมอ, ทหารตองนอนบนรถยนตร. ในระหวางนี้การกระทําสัญญาสันติภาพก็กําลังเจรจากันอยู; มีกําหนดเพียงเวลา 18 น. วันที่ 23 มิถุนายน, ฝายเยอรมันจะตองตอบเปนคําขาดวาจะยอมเซ็นสัญญาตามขอความซึ่งสัมพันธมิตรไดยื่นใหนั้นหรือไม. เพราะฉนั้นในวันนั้นเวลา 16 น., กองทหารบกรถยนตรสยามไดรับคําสั่งใหบรรทุกทหารกองนาระวังนา ฝรั่งเศส, มีกรมทหารราบที่ 170 กับ 172 เปนจํานวนทหาร 2030 คน สัมภาระ 55 ตัน; เดินผานตําบลฮัตเตอรสไฮม (Hattersheim), ซินดลิงเงน (Sindlingen), เฮิกสต (Hochst) ซอลเซนไฮม (Sonzenheim). เวลา 18 น. ซึ่งเปน เวลากําหนดวารัฐบาลเยอรมันจะตองตอบยอมรับเซ็นสัญญาหรือไมนั้น, กองรถยนตไทยไดบรรทุก ทหารกองระวังนามาถึงปลายเขตซึ่งอยูในอํานาจยึดไว, ตนกระบวนจดเขตแหงบริเวณกลาง. ในขณะนั้น นายพลชมิดต ผูบังคับกองระวังนา ไดมาถึงตําบลเฮิกสต, จึ่งสั่งใหหยุดกระบวน, เรียกประชุมนายทหาร ชั้นผูใหญมาประกาศใหทราบวารัฐบาลเยอรมันจะยอมเซ็นสัญญาแลว, ฉะนั้นจึ่งสั่งใหกรมกองตางๆ กลับไปพักตามที่ซึ่งไดออกเดิน. ขาวอันนี้ยอมกระทําความปติยินดีใหแกทหารสัมพันธมิตรเปนอยางยิ่ง, ตางราเริงตลอดเวลาเดินทางกลับที่พัก. รถยนตรซึ่งทหารไทยขับไปวันนั้น 140คัน, ไดเดินทางเรียบรอยอยางนาพิศวง มิไดมีรถยนตรคันใด เสียในระหวางทางหรือแตกกระบวนเลย. ทหารฝรั่งเศสไดชมเชยความสามารถของทหารไทยทุกคน. รัฐบาลเยอรมันไดเซ็นสัญญาในวันที่ 29 มิถุนายน, ครั้นวันที่ 30, กองรถยนตรไทยซึ่งไดลําเลียง ทหารฝรั่งเศสขามแมน้ําไรน กลับมาสงตามที่พักในบริเวณเมืองฟรังเกนธาล, ออกเกอรสไฮม และ ลุดวิกฮาเฟน. ในตนเดือนกรกฎาคม, กองทหารบกรถยนตรสยามไดเริ่มเดินทางบายหนากลับประเทศฝรั่งเศส. ในคราวซึ่งจะตองจากเพื่อนทหารฝรั่งเศสไปครั้งนี้, ทหารฝรั่งเศสไดแสดงความอาลัยเปนอยางยิ่ง. ขาพเจาขอนําคําแปลของผูบังคับกรมรถยนตรที่ 7 กับของผูอํานวยการรถยตรมาใหอาน, ดังตอไปนี้ :-


(สําเนาคําแปล) ที่ 3826

กรมรถยนตร์ที่ 7 วันที่ 3 กรกฎาคม, พ.ศ. 2461 นายพันตรี มอลิอารด์ (Commandant Moliard) ผู้บังคับการกรมรถยนตร์ที่ 7 แจ้งความมายัง ท่านนายพันตรี หลวงรามฤทธิรงค์ ผู้บังคับกองใหญ่รถยนตร์สยาม ทราบ ด้วยตามที่กองรถยนตร์ไทยต้องออกจากกรมรถยนตร์ที่ 7 มานั้น, ข้าพเจ้าขอแสดงความขอบใจ ต่อท่านสําหรับกิจการต่างๆซึ่งกองรถยนตร์ไทยได้กระทําไปแล้ว, ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม จนถึง วันที่ 1 กรกฎาคม, พ.ศ. 2462 ขอได้ประกาศความขอบใจและชมเชยให้บรรดานายทหารและนายสิบพลทหารในกองของท่าน ทราบทั่วกัน. เขาได้แสดงให้ข้าพเจ้าเห็นแล้วว่าเขามีความชํานาญในน่าที่อันประกอบด้วยความอุสาหะ อดทนและความสามารถ, ทั้งความเรียบร้อยในการแต่งกายและท่าทางเปนทหารอย่างกล้าหาญ. บรรดา เพื่อนทหารฝรั่งเศสจะได้สงวนที่ระฦกอันประเสริฐนี้ไว้โดยไม่ลืม. (ลงนาม) นายพันตรี มอลิอารด์ ผู้บังคับการกรมรถยนตร์ที่ 7 พระเฉลิมอากาศ (สําเนาคําแปล) คําสั่งที่ 2116

กรมบัญชาการกองทัพฟายอล แพนกกรมบัญชาการรถยนตร์ วันที่ 7 กรกฎาคม, พ.ศ. 2462 ด้วยเจ้าน่าที่ในกองรถยนตร์ที่ 25 (กองรถยนตร์สยาม) จะได้ไปจากกองทัพฟายอล(กองทัพ ยึดดินแดนของกรมรถยนตร์ฝรั่งเศส), ฉนั้นให้บรรดาเจ้าน่าที่ฝรั่งเศสซึ่งประจําอยู่ในกองรถยนตร์สยาม, กลับคืนมาประจําในกรมรถยนตร์ฟายอลต่อไปตามเดิม. ก่อนที่ทหารในกองรถยนตร์สยามจะต้องแยกจากกันไปนี้,ข้าพเจ้าขอแสดงความอาลัยต่อท่าน นายพันตรี หลวงรามฤทธิรงค์ กับบรรดานายทหารนายสิบพลทหารและพลขับรถยนตร์ไทยทั่วทุกคน. เครื่องแต่งกายทหารอันมีสง่า, ความหมั่นเพียรต่อการงาน, ความไหวพริบอย่างเฉลียวฉลาด, ความสามารถรอบคอบ, ความสามัคคี; บรรดาสิ่งที่ดีงามของเขาเหล่านี้ย่อมกระทําให้ทหารรถยนตร์ ฝรั่งเศสรู้สึกระฦกถึงอยู่เปนนิตย์. ข้าพเจ้าขออวยพรแก่ทหารไทยซึ่งเปนสหายรัก, ให้เดินทางกลับไปบ้านเกิดเมืองมารดรโดย สวัสดิภาพ. เมื่อถึงแล้ว, จงมีความศุขความเจริญยิ่งขึ้นไป. (ลงนาม) เลอ เมร์ล ผู้แทนผู้อํานวยการกรมรถยนตร์ฝรั่งเศส


เมื่อกองทหารไทยไดเสร็จการลําเลียงแลว จึ่งไดนํารถยนตรสงคืนแกเจานาที่ฝรั่งเศส. ทหารทุกคน เมื่อทราบขาววาจะกลับประเทศฝรั่งเศส ตางก็รื่นเริงยินดีเปนเหลือลน, เพราะจะไดบายหนากลับพระนคร, สวนผูที่ไดสละชีพถวายเปนราชพลีสําหรับชาติศาสนา, ไดมาเสียชีวิตในแดนของขาศึกและยังฝงอยู ในดินแดนเยอรมันนั้น, นายพันตรีหลวงรามฤทธิรงค ไดจัดการขุดศพและนําไปเผาที่เมืองไมนส ในวันที่ 5 กรกฎาคม, รวม 8 ศพ.

อนุสสาวรียที่ฝงศพทหารไทย ในทวีปยุโรป

วันที่ 10 กรกฎาคม, กองทหารบกรถยนตรสยามซึ่งไดไปกระทําการอยูในกองทัพยึดดินแดนมณฑล ปาลาตินาต รวมเวลา 6 เดือนกับ 3 สับดาหะนั้น, ไดเดินทางกลับประเทศฝรั่งเศสโดยรถไฟ. วันที่ 22 กรกฎาคม เวลา 7 น., รถไฟไดถึงสถานีแซงต แยรแมง อังแลย (St. Germain en Lay). ที่พักและอาหารการกินตําบลแซงต แยรแมง ที่พักนั้นเดิมเปนคายสําหรับควบคุมเชลยศึกเยอรมัน, เปนโรงสรางดวยไมกระดาน, มีฟางปูให ทหารนอนและมีที่นอนยัดดวยฟาง; นายสิบพลทหารพักอยูในคายนี้, ภายหลังทหารกองบินไดมาอยูดวย, นายพันตรี หลวงรามฤทธิรงค เปนผูบังคับกองทหารในตําบลนี้ทั้งสิ้น, สวนนายทหารสัญญาบัตรไดแยกกัน ไปอยูตามบาน. การกินของนายสิบพลทหารนั้น, ไดจัดการหุงตมเอง โดยมากไดประกอบอาหารอยางไทย, เพราะ ไดรับเครื่องกระปองสงไปจากประเทศสยาม, นายทหารสัญญาบัตรไดจัดมีสโมสรในคาย. กองทหารไทยที่พักอยูในตําบลแซงต แยรแมง นี้, สวนหนึ่งไดเตรียมกระทําสวนสนามมหาชัย, อีกสวนหนึ่งไดรวมพลเดินทางกลับประเทศสยาม.


วันที่ 13 กรกฎาคม เวลา 9 น., มหาอํามาตยเอก พระวรวงศเธอพระองคเจาจรูญศักดิ์กฤดากร ไดนํา เครื่องราชอิศริยาภรณ รามาธิบดีอันมีศักดิ์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯพระราชทานแกนายทหารสัญญาบัตร ในกองทหารบกรถยนตรสยามมามอบให.

ทหารไทยไดรับพระราชทานตรารามาธิบดี ที่ประเทศฝรั่งเศส

ในเวลาบายวันนั้น, ทหารซึ่งจะเขากระทําการสวนสนามในกรุงปารีส ไดเดินทางโดยกระบวนรถยนตร ไปพักอยูในกรังตปาแลสณ กรุงปารีส. (อ่านต่อฉบับหน้า)


ปชส.สตน.ทอ.

ผูบังคับบัญชา สตน.ทอ.

น.อ.รณฤทธิ์ สัชฌุกร รอง ผอ.สตน.ทอ.

พล.อ.ต.บวรศักดิ์ ลับไพรี ผอ.สตน.ทอ.

น.อ.หญิง จินตนา ศิริโยธิพนั ธุ์ รอง ผอ.สตน.ทอ.

๒๕ ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ ๓ ตุลาคม ๒๕๒๙ การตรวจสอบภายในของกองทัพอากาศ ได้มีการ ปรับปรุงและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการบริหารจัดการ กระบวนการปฏิบัติงาน และบุคลากร ให้สอดรับกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ที่สําคัญในปัจจุบัน ได้แก่ การขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศ พ.ศ. ๒๕๕๑ ถึง พ.ศ.๒๕๖๒ ที่กองทัพอากาศกําหนดไว้เพื่อใช้ในการบริหาร ราชการในห้วงเวลา ๑๒ ปี เพื่อใช้พัฒนากองทัพอากาศไปสู่วิสัยทัศน์ “กองทัพอากาศชั้นนําในภูมิภาค” (One of the Best Air Forces in ASEAN) ซึ่งสํานักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศนับว่าเป็นกลไกหนึ่ง ที่ ช่วยขับเคลื่อนยุ ท ธศาสตร์ ใ ห้ ดําเนิ นไปโดยอยู่บ นพื้นฐานของหลักธรรมาภิ บาล ส่วนสภาวะแวดล้อ ม ภายนอกที่เกี่ยวข้ องโดยตรง ได้แ ก่ยุทธศาสตร์ การตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอกกองทั พอากาศคือ สํ า นั ก งานการตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น กรมบั ญ ชี ก ลาง และคณะกรรมการตรวจสอบและประเมิ น ผลประจํ า กระทรวงกลาโหม ได้มุ่งเน้นตรวจสอบความถูกต้องของรายงานการเงิน และความโปร่งใสของการจัดซื้อจัดจ้าง


พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ. รับการสัมภาษณ์จาก นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง และคณะฯ โดยมี พล.อ.ต.บวรศักดิ์ ลับไพรี ผอ.สตน.ทอ. ให้การต้อนรับ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑ ส.ค.๕๔ ณ ห้องรับรองพิเศษ ๑

ในป ๒๕๕๔ สํานักงานตรวจสอบภายใน ทหารอากาศภายใตการบังคับบัญชาของ - พล.อ.ต.บวรศักดิ์ ลับไพรี ผูอํานวยการ สํานักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ - น.อ.รณฤทธิ์ สัชฌุกร รองผูอํานวยการ สํานักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ - น.อ.หญิ ง จิ น ตนา ศิ ริ โ ยธิ พั น ธุ รอง ผูอํานวยการ สํานักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ ได ส ร า งความเข ม แข็ ง ให กั บ หน ว ยงาน ตรวจสอบรวมทั้งสรางความเชื่อมั่นแกผูบริหารและ หนวยรับตรวจเพื่อตอบสนองตอสภาวะแวดลอม ดั ง กล า วข า งต น โดยริ เ ริ่ ม โครงการสํ า คั ญ ที่ เ ป น รากฐาน สูอนาคต ๒ โครงการ คือ

๑. โครงการพัฒนาการตรวจสอบภายใน ด ว ยโปรแกรมคอมพิ ว เตอร โดยใช โ ปรแกรม สําเร็จรูปชวยตรวจสอบ (ACL: Audit Command Language) ขอมูลที่อยูในรูปอิเล็กทรอนิกส เชน ขอมูลในระบบ GFMIS, LMIS เปนตน เพื่อใหการ ตรวจสอบมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความ เชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น ๒. การเปน ๑ ใน ๒๑ หนวยงานนํารองที่ เขารวมโครงการประเมินระบบประกันคุณภาพงาน ตรวจสอบภายในภาครัฐ ซึ่งกรมบัญชีกลางไดกําหนด หลัก เกณฑแ ละแนวทางการประกัน คุณ ภาพงาน ตรวจสอบภายในภาครัฐ โดยอิงมาตรฐานการตรวจสอบ ภายในและจริ ย ธรรมของผู ต รวจสอบภายใน


ระเบี ย บกระทรวงการคลั ง ว า ด ว ยการตรวจสอบ ภายใน พ.ศ.๒๕๕๑ คูมือ/แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการ ตรวจสอบภายใน รวมทั้งประยุกตใหสอดคลองกับ หลักการบริหารคุณภาพโดยรวม (TQM) และเทคนิค การวิเคราะหองคกรตามหลัก The McKinsey 7S Model สวนแนวทางการประเมินไดดําเนินการตาม แนวทางประกั น คุ ณ ภาพตรวจสอบภายในของ สมาคมผูตรวจสอบภายในสากลของสหรัฐอเมริกา ในการประเมินระบบประกันคุณภาพงาน ตรวจสอบภายในของกองทัพอากาศ นอกเหนือจาก ประเมิ น การปฏิ บั ติง านของสํา นั ก งานตรวจสอบ ธรรมชาติ

ภายในทหารอากาศและการสัมภาษณหัวหนาหนวย รับตรวจรวมทั้งเจาหนาที่จาก ๔ หนวย ไดแก ยศ.ทอ., สพ.ทอ., สอ.ทอ และ บน.๖ แลว ที่สําคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ ผูบัญชาการทหารอากาศไดใหสัมภาษณ แก อ ธิ บ ดี ก รมบั ญ ชี ก ลางและคณะเกี่ ย วกั บ งาน ตรวจสอบภายใน โดยกลาวถึงหนวยงานตรวจสอบ ภายในตอนหนึ่ ง ว า “เป น กลไกสํ า คั ญ และเป น หนวยงานที่ทําใหผูบังคับบัญชาเกิดความมั่นใจ ในระดับหนึ่ง ที่มีผูตรวจสอบเขาไปกํากับดูแล การปฏิบัติงานของหนวยขึ้นตรงกองทัพอากาศ”

สํานักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ ตระหนักถึงความสําคัญดังกล่าว จึงมีความ มุ่งมั่นสู่วิสัยทัศน์ “สํานักงานตรวจสอบภายใน ทหารอากาศ เป็นหน่วยงานหลักของ กองทัพอากาศที่ดําเนินการตรวจสอบภายใน แบบมืออาชีพตามมาตรฐานสากล ที่สร้าง ความพึงพอใจให้กับผู้บังคับบัญชาและผู้รับการตรวจ เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ภารกิจ ของกองทัพอากาศ” ต่อไป


น.อ.พลวัตร อินทรวิเศษ (ตอจากฉบับที่แลว)

รูปภาพ F-16A กองทัพอากาศ ได้ เคลื่อนที่เข้าตําแหน่ง เติมน้ํามันเชื้อเพลิงกับ บ.KC-135 Stratotanker

ภารกิจการเติมเชื้อเพลิงในอากาศเปนการปฏิบัติการรวมกันระหวาง บ.KC-135 (Tanker) กับ บ.F-16A/B ของ ฝูง.102, 103 และ 403 สวน เครื่องบินรบจากสหรัฐอเมริกาที่ทําการเติมเชื้อเพลิงในอากาศ บ.F-15C/D และ F/A-18D สวน บ.F-5S/T กองทัพอากาศสิงคโปรเติมเชื้อเพลิงในอากาศกับ บ.KC-130B


ของสิงคโปรเอง เวลาในการเติมเชื้อเพลิงในอากาศจะกระทําใน 2 ชวง ไดแก การเติมน้ํามันเชื้อเพลิง กอนปฏิบัติภารกิจ หรือเติมน้ํามันเชื้อเพลิงหลังจากปฏิบัติภารกิจเสร็จแลว ในการวางแผนตองกําหนด What If ใหมีแผนสํารองในกรณีที่ บ.Tanker ไมสามารถขึ้นบินได จะตองมีแผนสํารองในการกําหนดเวลา วิ่งขึ้น จํานวนน้ํามันที่เติม 1,000 ปอนด ซึ่งอัตราการเติมใชเวลา 1,000 ปอนดตอ 1 นาที

รูปภาพ บ.F-15 จากฝูง. 44 Kadena AB, Japan บินกับลูกหมู่เข้าเติมน้ํามัน เชื้อเพลิงในอากาศ กับ บ.KC-135 จากฝูง. 96 Pearl Harbor-Hickam AB Hawaii

บ.F/A-18D เข้าตําแหน่ง เติมเชื้อเพลิงในอากาศ กับ บ.KC-135 การเติมจะ แตกต่างกับ บ.F-16 และ F-15 คือหัวเติมจะเป็นแบบ Basket


โฉมหน้านายทหารหญิงที่ทําหน้าที่ ในการเติมน้ํามันเชื้อเพลิงให้กับ บ.F-16 กองทัพอากาศ และ บ.F-15C/D กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา

ภารกิจการลําเลียงทางอากาศยุทธวิธี เป็นการสนับสนุนอาวุธ ยุทธปัจจัยให้กับกองกําลังภาคพื้นด้วย บ.C-130H และ บ. C-17A ยุทธวิธีในการบิน ทําการบิน เดินทางต่ําเข้าหาเป้าหมายโดยทําการบินเป็นหมู่บินตามกัน โดยที่ C-17A มี HUD ที่ช่วยในการบิน และการปล่อยลัง บรรจุยุทธปัจจัยทําให้เกิดความแม่นยํามากขึ้น

จากภาพ บ.C-17A ได้ปล่อย ลังยุทธปัจจัย โดยติดตั้งร่ม เพื่อให้ลงสู่พื้นในที่กําหนด จะใช้ความสูงไม่เกิน 500 ฟุต เหนือพื้นดิน


ภารกิจคนหาและชวยชีวิตในพื้นที่การรบ สถานการณกําหนดให บ.ถูกยิงตกในพื้นที่แดนขาศึก การประกอบกําลังเพื่อชวยเหลือนักบินใหเกิดความปลอดภัย ประกอบดวย บ.A-10 มีหนาที่ในการคนหา และคุมกันเฮลิคอปเตอร Bell 412 , UH-1H, CH-47 และ บ.L-39 มีหนาที่ในการเปนเครื่องบินโจมตีในกรณี ที่ตรวจพบกองกําลังภาคพื้นตอตาน สําหรับ บ.ขาศึกสมมติที่ถูก บ.F-16 หรือ F-15 ในการสกัดกั้น L-39 Striker

CH-47 Rescue A-10 Search and Rescort

หนวยที่ใหการควบคุมการบินสกัดกั้นใหกับฝายน้ําเงินจนประสบความสําเร็จเปนอยางดีมาก ไดแก บ.แจงเตือนในอากาศ Gulfstream 550 CAEW เปนครั้งแรกที่กองทัพอากาศสิงคโปรไดสง บ.G550 CAEW เขารวมการฝกผสม Cope Tiger เปนการทดสอบปฏิบัติการจริงในความสามารถของเครื่องบิน และทักษะ ความชํานาญของ จนท.ควบคุมสกัดกั้น เปนการพิสูจนสมรรถนะการปฏิบัติการในคําจํากัดความ Higher Operation Altitude , More Time on Station, และ Long Range Live เปนการพัฒนาบทบาทในการเปน AEW ของกองทัพอากาศสิงคโปรโดยทดแทน บ.E-2C AEW ซึ่งพัฒนาโดยอิสราเอล ใหความรวดเร็วในการ คนหาเปาหมาย และการใหขอมูลเพราะมี Coverage 360 องศา โดยติดตั้งเรดารดานหนาบริเวณหัว บ. (Nose Radom) ติดตั้งเรดารบริเวณลําตัวทั้ง 2 ขาง และติดตั้งเรดารบริเวณทายของเครื่องบิน(Tail Cone) ขีดความสามารถของเรดารและคุณลักษณะที่ติดตั้งในแตละดานทําใหสามารถที่จะ Point ไปไดในทุกทิศ ทุกทางในเวลาเดียวกันโดยไมตอง Scan 360 องศา เหมือน บ.AWAC ถือวาเปน Big Bonus เชื่อวา บริษัท Singapore Technologies Aerospace (STAERO) จะสามารถซอมบํารุงและสงกําลังบํารุงใหกับ บ.G550 CAEW ไดเปนอยางดี ซึ่ง จนท.ซอมบํารุงภาคพื้นเปนเอกชน


นอกจากการควบคุมในการสกัดกั้นใหขอมูลตําแหนงเครื่องบินขาศึกสมมติแลว ยังทําหนาที่ในการ ดูแลในเรื่องความปลอดภัยใหกับ นบ.ที่ทําการบินทั้งหมดในฝายที่ตนควบคุม จากการฝกมีหลายครั้ง ที่เตือนและใหคําแนะนํา นบ.ไมใหบินเขาใกลกัน และใหรักษาความสูงของแตละฝาย ซึ่งทําใหการฝกครั้งนี้ เปนไปดวยความปลอดภัย เครื่องชวยฝกที่ทําใหการประเมินผลการฝกไดเกือบ 100 เปอรเซ็นต ไดแกระบบควบคุมการยุทธ ทางอากาศ(ACMI) ระบบ ACMI กองทัพอากาศ กับ สหรัฐอเมริกาใชระบบเดียวกันทําใหสามารถที่จะ แสดงผลในขณะที่ทําการบินจริง และการสรุปผลการบินหลังจากทําการบิน สวนของกองทัพอากาศสิงคโปร ใชระบบ ACMI ของสิงคโปรเองแตเนื่องจากระบบมีความแตกตางกันในเรื่องความถี่ จึงทําใหในขณะที่ ทําการบินจริงไมแสดงผล แตการสรุปผลหลังทําการบินสามารถนําขอมูลมาแสดงผลการบินรวมกันได ในอนาคตจะตองไดรับการพัฒนาใหสามารถแสดงผลการบินไดทุกเครื่องที่เขารวมการฝกทั้งในลักษณะ Real Time และการสรุปผลหลังทําการบิน นอกจากนั้นยังตองสามารถเชื่อมโยงกับอาวุธตอตานภาคพื้นให สามารถมองเห็นการใชอาวุธจากหนวยตอสูอากาศยานภาคพื้นในลักษณะ Real Time โดยมี นักบินที่ทํา หนาที่ในการประเมินผลการใชอาวุธที่เรียกวา Range Training Officer(RTO) เพื่อที่จะแจงให นักบินที่ถูกยิง ดวยอาวุธจากเครื่องบินสกัดกั้น หรือ จากอาวุธตอตานภาคพื้นเพื่อใหออกจากพื้นที่การฝก จะทําใหเกิด ความสมจริง และเกิดความปลอดภัยมากขึ้นดวย


จ า ก ภ า พ ร ะ บ บ ACMI สามารถกําหนดสัญลักษณ์ แบบเครื่องบิน สีของเครื่อง นามเรี ย กขาน เป้ า หมาย ภ า ค พื้ น แ ล ะ พื้ น ที่ ก า ร ทดสอบ

นอกจากฝกบินแลวยังมีกิจกรรมในการใหความชวยเหลือประชาชนในพื้นที่การฝกบิน ไดแก การมอบอุปกรณการเรียน อุปกรณการศึกษากับนักเรียน ตรวจสุขภาพใหกับประชาชน และการแลกเปลี่ยน วัฒนธรรม


เนื่องจากหนวยที่เขารวมการฝกมีมาก และมีขอมูลที่จะตองรับ-สง ทางกองอํานวยการฝก โดยสวน ของ จนท.สื่อสารอิเล็กทรอนิกส ไดจัดทํา Website Cope Tiger ในการรับสงขอมูล อันไดแก ตารางการบิน ประจําวัน การรายงานผลการบิน รายงานขาวอากาศ รายงานผลการใชอาวุธของหนวยตอสูอากาศยาน และ กิจกรรมดานอื่นๆ ทําใหบุคลากรที่เขารวมการฝกมีความสามารถใชเครือขายเปนศูนยกลางในการรับขอมูล ขาวสาร และการรายงานผลการปฏิบัติงาน ทําใหการควบคุมการฝกสามารถติดตามไดตลอดเวลา

แอนฟลด

สวัสดีครับ สมาชิกชาวกองทัพอากาศ เพื่อนๆ พี่ๆ คงจะเริ่มคุ้นเคยกับการใช้ Mail ของ ทอ. กับไปบ้างแล้วนะครับ และเพื่อความหลากหลายในการใช้ e-Mail วันนี้กระผมขอนําเสนอ Mail อีกตระกูลหนึ่ง ซึ่งมีข้อดีที่หลากหลาย และเป็นที่นิยมใช้กัน คือ Gmail สิ่งแรกเราต้องเข้าไปสมัครใช้งานก่อน โดยเข้าไปที่ www.gmail.com แล้วเลือก create an account จากนั้น เราก็กรอกข้อมูลที่จําเป็นของเรา ไม่ว่าจะเป็น User name, Password, รวมไปถึงข้อมูลส่วนตัวต่างๆ จากนั้นก็ยืนยันการใช้งาน (โปรดสังเกตว่า ชื่อ e-Mail ของเรา จะเป็นชื่อ User name ที่เราตั้งไว้ และต่อด้วย @gmail.com) ข้อดีของ Gmail ที่สําคัญๆ ก็คือ มีพื้นที่ให้จัดเก็บข้อมูลได้มาก มีรูปแบบการใช้ที่ง่าย สะดวก และสามารถ chat หรือ video chat กับบุคคลอื่นได้อีกด้วย หวังว่าคงจะเป็นทางเลือกให้กับพี่ๆ น้องๆ ชาว ทอ. ในการมี e-Mail ของตัวเองเพิ่มขึ้น นะครับ


เฮลิคอปเตอรควบคุมระยะไกล กับบทบาท สงกําลังบํารุงสนับสนุน พ.อ.อ.จํานงค ศรีโพธิ์ การขนส ง ยุ ท ธป จ จั ย ทางถนนในพื้ น ที่ ปฏิบัติการในประเทศอัฟกานิสถานมีความเสี่ยงตอ การสูญเสียกําลังทหารและยานพาหนะจากระเบิด IED (Improvised Explosive Devices) และการถูก กลุมตอตานดักซุมโจมตี เนื่องจากการรักษาความ ปลอดภัยกระทําไดไมทั่วถึง แมวาปจจุบันมีการใช เฮลิคอปเตอรทําการบินขนสงสนับสนุนยุทธปจจัย ใหกับกําลังพล แตการสงกําลังบํารุงทางอากาศดวย เฮลิ ค อปเตอร มี ค วามเสี่ ย งจากการถู ก ยิ ง และ มี คา ใช จา ยในการปฏิ บัติ ก ารสูง ไมคุม ค า ดั ง นั้ น นาวิ ก โยธิ น สหรั ฐ ฯ จึ ง มี ค วามคิ ด ที่ ทํ า การขนส ง ยุ ท โธปกรณ แ ละสิ่ ง ของส ง กํ า ลั ง บํ า รุ ง ไปให กั บ หน ว ยทหารขนาดเล็ ก ที่ ถู ก ส ง ไปปฏิ บั ติ ก ารตาม พื้นที่ตางๆ ที่อยูหางไกลจากฐานโดยทางอากาศ ดวยเฮลิคอปเตอรไรนักบินแทน เพื่อนําอาหาร น้ํา กระสุ น และสิ่ ง ของอื่ น ๆ ไปส ง ให กับ หน ว ยทหาร ขนาดเล็กที่ปฏิบัติการอยู ณ พื้นที่หางไกลจากฐาน ปฏิ บั ติ ห ลั ก เนื่ อ งจากป จ จั ย ด า นความปลอดภั ย

ลักษณะภูมิประเทศในอัฟกานิสถานเปนภูเขาสูงชัน พื้ น ที่ ทุ ร กั น ดารเส น ทางสั ญ จรทางบกมี ค วาม ยากลําบาก ทําใหยากตอการเขาถึงจุดหมายเมื่อ ทําการขนสงโดยทางบก จึงทําใหนาวิกโยธินสหรัฐฯ ไม ส ามารถทํ า การส ง กํ า ลั ง บํ า รุ ง สนั บ สนุ น ให กั บ หน ว ยทหารที่ อ ยู ก ระจั ด กระจายได อ ย า งมี ประสิทธิภาพ หรือสามารถตอบสนองความตองการ ไดทันเวลา หลั ง จากทหารนาวิ ก โยธิ น สหรั ฐ ฯ มี แ นว ความคิดตองการจะนําเฮลิคอปเตอรไรนักบินมาใช ในการขนสงสัมภาระทางอากาศ กองทัพเรือสหรัฐฯ ได ม องเห็ น ความสํ า คั ญ และมี ค วามเป น ไปได จึงผลักดันแนวความคิดใหกลายเปนรูปธรรมอยาง รวดเร็ว โดยไดประกาศหาบริษัทที่จะรับสัญญาจาง เพื่ อ ปฏิ บั ติ ก ารกั บ ระบบอากาศยานไร นั ก บิ น (Unmanned Aerial System ; UAS) ใหกับนาวิกโยธิน เพื่อปฏิบัติภารกิจสงกําลังสนับสนุนจากทางอากาศ ในประเทศอัฟกานิสถาน โดยกําหนดความตองการ


ทางยุทธการอยางคราวๆ เพื่อกําหนดคุณลักษณะ ขีดความสามารถอากาศยานของบริษัทที่จะไดรับ สัญญาจาง คือ สามารถขนสงสัมภาระเปนน้ําหนัก รวม ๑๐,๐๐๐ ปอนด (๔,๕๓๕ กิโลกรัม) ไปสงยัง พื้นที่ที่อยูหางไกล ๑๕๐ ไมลทะเล ภายใน ๒๔ ชั่วโมง สามารถปฏิบัติการไดจากฐานบินหนา หรือถนนที่ ไมปรับผิว เมื่อบรรทุกสัมภาระหนักสูงสุดอากาศยาน ไร นั ก บิ น ต อ งสามารถดํ า รงความเร็ ว ในการบิ น ที่ ๗๐ นอต และสามารถปฏิบัติการรวมกับระบบควบคุม ที่มีใชงานอยูในปจจุบันได รวมทั้งสามารถทําการ ตั้งโปรแกรมใหมเพื่อเปลี่ยนจุดสงสิ่งของ/สัมภาระ ขณะทําการบินอยูในอากาศได

โครงการนี้ยังอยูในขั้นตอนการสาธิตทาง เทคโนโลยีกอนจะตัดสินใจเลือกแบบเฮลิคอปเตอร ไรนักบิ นไปปฏิบัติภารกิจในสนามรบจริง โดยใน ขั้ น ตอนสาธิ ต การปฏิ บั ติ ง านนาวิ ก โยธิ น กํ า หนด คุณลักษณะและขีดความสามารถของอากาศยาน ไรนักบินในการปฏิบัติภารกิจไววา ตองสามารถทําการ บินลอยตัวนิ่งอยูในอากาศที่ความสูง ๑๒,๐๐๐ ฟุต พรอมหิ้วสัมภาระหนัก ๑,๕๐๐ ปอนด สามารถทํา การสงกําลังบํารุงสนับสนุนเปนน้าํ หนัก ๓,๐๐๐ ปอนด ภายใน ๖ ชั่วโมง (ทําการบินปฏิบัติภารกิจไป–กลับ

ไปยังจุดสงสัมภาระที่อยูหางไกลออกไป ๑๕๐ ไมล จํานวน ๒ เที่ยว) สามารถทําการควบคุมการปฏิบัติ ภารกิจจากระยะไกล และสามารถบินไปยังจุดสงลง ดวยความแมนยําสูงโดยการควบคุมจากเจาหนาที่ ควบคุ ม ภาคพื้ น ดิ น สามารถปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ได ทั้ ง กลางวั น และกลางคื น และสามารถ upload แผนการบินภารกิจปฏิบัติใหมเขาสูระบบ aircraft’s mission management system ขณะอากาศยาน ไรนักบินทําการบินอยูในอากาศ

แนวความคิดของนาวิกโยธินสหรัฐฯ ไมใช สิ่ ง เพ อ ฝ น หรื อ เป น ไปไม ไ ด เพราะบริ ษั ท ผู ผ ลิ ต อากาศยานของสหรัฐฯ มองเห็นความสําคัญและ คิดไดกอนหนานี้แลว จึงไดพัฒนาเฮลิคอปเตอรที่ ผลิตขึ้นใชงานในปจจุบันมาดัดแปลงเปนเฮลิคอปเตอร ไรนักบิน ใชการควบคุมระยะไกลจากสถานีภาคพื้น หรือนําอากาศยานไรนักบินมาดัดแปลง เพื่อตอบสนอง ความต อ งการของนาวิ ก โยธิ น สหรั ฐ ฯ และเมื่ อ ปลายป ๒๕๕๓ กองทัพเรือสหรัฐฯ ไดสัญญาวาจาง ใหบริษัทผูผลิตอากาศยาน ๒ บริษัท ทําการสราง เฮลิคอปเตอรไรนักบินเพื่อทําการขนสงยุทธปจจัย และสิ่ ง ของต า งๆ ไปให กั บ หน ว ยนาวิ ก โยธิ น ที่


ปฏิบัติการในประเทศอัฟกานิสถาน ไดแก บริษัท Lockheed Martin เสนอแผนแบบเฮลิคอปเตอร ไรนักบิน แบบ K-Max และบริษัท Boeing เสนอ แผนแบบเฮลิ ค อปเตอร ไ ร นั ก บิ น แบบ A160 Hummingbird โดยบริษัท Lockheed Martin ไดรับ สัญญาจางมูลคา ๔๕.๘ ลานดอลลารสหรัฐฯ และ บริษัท Boeing ไดรบั ๒๙.๒ ลานดอลลารสหรัฐฯ

ส ง กํ า ลั ง บํ า รุ ง ในพื้ น ที่ ก ารรบจะมี จุ ด หิ้ ว สิ่ ง ของ/ สัมภาระใตลําตัว ๔ แหง สามารถหิ้วสัมภาระหนัก ๖,๐๐๐ ปอนด (๒,๗๒๑.๖ กิโลกรัม) เมื่อทําการบิน ที่ระดับความสูงระดับน้ําทะเล และถาหากทําการ บิ น ที่ ร ะดั บ เพดานบิ น ๑๐,๐๐๐ ฟุ ต สามารถหิ้ ว สิ่ ง ของ/สั ม ภาระที่ มี น้ํ า หนั ก รวม ๔,๐๐๐ ปอนด (๑,๘๑๔.๓ กิโลกรัม) เมื่อทําการ “หิ้ว” สิ่งของ/ สัมภาระเปนน้ําหนักรวม ๖,๐๐๐ ปอนด K-Max มี รัศมีปฏิบัติการไกล ๒๖๗ ไมลทะเล สามารถทําการ บินไดนาน ๓ ชั่วโมง ขึ้นอยูสภาพอากาศและน้ําหนัก สิ่งของ/สัมภาระที่บรรทุกไปดวย K-Max

A 160 แผนแบบของเฮลิ ค อปเตอร ไ ร นั ก บิ น K-Max ของบริษัท Kaman Aerospace ไดรับการ ออกแบบและสรางใหมีคุณลักษณะและแผนแบบ เฉพาะ เปนเฮลิคอปเตอรที่มีใบพัดประธาน ๒ ชุด ชุดละ ๒ ใบ หมุนสวนทางกัน จึงทําใหเกิดแรงยกสูง แผนแบบมี ข นาดเล็ ก มี น้ํ า หนั ก ๕,๑๐๐ ปอนด ขับเคลื่อนดวยเครื่องยนตเทอรโบชาฟท Honeywell T5317 A-1 ที่ใหพลังขับเคลื่อน ๑,๘๐๐ แรงมา K-Max เปนเฮลิคอปเตอรที่ถูกสรางขึ้นสําหรับนําไป ใช ใ นการยกสิ่ ง ของที่ มี น้ํ า หนั ก มาก เช น ท อ นซุ ง ในกิ จ การป า ไม หรื อ ใช ใ นอุ ต สาหกรรมก อ สร า ง สามารถยกสิ่งของที่มีน้ําหนักมากถึง ๖,๐๐๐ ปอนด สําหรับเฮลิคอปเตอรไรนักบิน K-Max ที่ได รับการพัฒนาสําหรับนํามาใชในการปฏิบัติภารกิจ

ในการบิ นปฏิ บั ติ ภารกิ จที่ ความสู งระดั บ น้ําทะเลเฮลิคอปเตอรไรนักบิน K-Max บรรทุกสัมภาระ โดยการวางสิ่ ง ของ/สั ม ภาระหนั ก ๗๕๐ ปอนด ไปบนแผนรองรับพัสดุ (pallet) จํานวน ๔ pallets โดยการหิ้วจากการยึดที่ตําบลบรรทุกสิ่งของ/สัมภาระ ใตลําตัวแตละจุด จึงสามารถทําการสงกําลังบํารุง สนั บ สนุ น ให กั บ ฐานปฏิ บั ติ ก ารของนาวิ ก โยธิ น ๔ แหง ในการบินปฏิบัติภารกิจเที่ยวเดียว การบิน เดิ น ทางไปยั ง จุ ด ส ง ลงใช ก ารนํ า ร อ งด ว ยระบบ จีพีเอส ซึ่งตั้งโปรแกรมไวลวงหนากอนทําการบินขึ้น


และสามารถส ง สั ม ภาระลงยั ง จุ ด ต า งๆ ที่ ตั้ ง โปรแกรมไว ดวยความแมนยําสูง โดยสงลงยังจุด สงลงในรัศมีไมเกิน ๑๐ เมตร จากจุดพิกัดที่กําหนดไว การปฏิบัติภารกิจของเฮลิคอปเตอรไรนักบิน แบบ K-Max ในบทบาทการสงกําลังบํารุงทางอากาศ จะมี ค า ใช จ า ยในการปฏิ บั ติ ก ารบิ น ประมาณ ๑,๑๐๐ ดอลลารตอชั่วโมง ซึ่งต่ํากวาการปฏิบัติการบิน ของเฮลิคอปเตอรประมาณครึ่งหนึ่ง เพราะมีคาใชจาย ในการซอมบํารุงต่ํากวา

ทีม K-Max ซึ่งประกอบดวยบริษัท Lockheed Martin และ Kaman Aerospace ไดทําการทดสอบ การปฏิบัติงานของเฮลิคอปเตอรไรนักบิน โดยการ หิ้วสัมภาระทั้ง ๔ จุด เปนน้ําหนักรวม ๓,๔๕๐ ปอนด การสงของสิ่งของ/สัมภาระใหกับตําบลสงลง ๓ จุดแรก

ทําการสงโดยการตั้งโปรแกรมลวงหนากอนขึ้นบิน แล ว ใช ล วดสลิ ง หย อ นสิ่ ง ของ/สั ม ภาระลงตาม โปรแกรมคําสั่งที่ตั้งไว สําหรับการสงสิ่งของใหกับ ตําบลสงลงจุดสุดทายใชการควบคุมแบบ manual โดยเจา หนา ที่ภาคพื้น ดิน นอกจากนี้ การทดสอบ การปฏิ บั ติ ง านของเฮลิ ค อปเตอร ไ ร นั ก บิ น แบบ K-max ยังรวมถึงการปฏิบัติงานโดยอัตโนมัติและ การควบคุมระยะไกล แบบ over line-of-sight และ satellite-based beyond line-of-sight data link การควบคุมการปฏิบัติงานระยะไกลดวยสัญญาณ เครือขายผานดาวเทียม สําหรับเฮลิคอปเตอรไรนักบินอีกแบบหนึ่ง ที่ ไ ด รั บ เลื อ กให ป ฏิ บั ติ ภ ารกิ จ การส ง กํ า ลั ง บํ า รุ ง ใหกับกองกําลังนาวิกโยธินคือ A160 Hummingbird ซึ่งมีความแตกตางจากแผนแบบของ K-Max และ จะนํ า มาใช ป ฏิ บั ติ ง านที่ แ ตกต า งกั น ในขณะที่ K-Max พัฒนาและดัดแปลงมาจากเฮลิคอปเตอร ควบคุมดวยนักบิน แต A160 เปนอากาศยานไรนักบิน มาตั้งแตแรกเริ่ม จึงมีสมรรถนะทางการบินสูงกวา อากาศยานไรนักบิน A160 มีความยาวลําตัว ๓๕ ฟุต ขนาดเสนผาศูนยกลางของใบพัด ๓๖ ฟุต มีพิสัย บินไกล ๒,๕๐๐ ไมลทะเล เมื่อบรรทุก/สัมภาระหนัก ๓๐๐ ปอนด สามารถทําการบินไดนาน ๒๔ ชั่วโมง ความเร็วในการบินปฏิบัติการ ๑๔๐ นอต เพดาน บินปฏิบัติการ ๓๐,๐๐๐ ฟุต ซึ่งสามารถบินไดสูง กวาเฮลิคอปเตอรทั่วไปในปจจุบันถึง ๑๐,๐๐๐ ฟุต บริษัท Boeing เคยทําการสาธิตการปฏิบัติงาน ของเฮลิคอปเตอรไรนักบิน A160T ในการปฏิบัติ ภารกิจการสงกําลังบํารุงสนับสนุนใหกับนาวิกโยธิน


โดยเปนการจําลองการขนสงสิ่งของ/สัมภาระจาก ฐานบินปฏิบัติการหนาไปยังจุดสงลงที่อยูหางไกล ออกไป ๗๕ ไมล ซึ่ง A160T สามารถลําเลียงสิ่งของ/ สัมภาระเปนน้ําหนักรวมไมต่ํากวา ๒,๕๐๐ ปอนด ไปสงยังจุดสงลงภายในเวลา ๖ ชั่วโมง โดยเปนการ จําลองการขนสงสิ่งของ/สัมภาระหนัก ๑,๒๕๐ ปอนด ผู ก ยึ ด เข า กั บ ลวดสลิ ง บิ น ไปส ง ยั ง จุ ด ส ง ลงเป น ระยะทางไป-กลับ ๑๕๐ ไมลทะเล จํานวน ๒ เที่ยว การสาธิตการปฏิบัติงานในครั้งนั้น A160T ปฏิบัติงาน โดยอัตโนมัติ โดยการตั้งโปรแกรมไวลวงหนากอน ขึ้นบิน

นอกจากนี้อากาศยานไรนักบิน A160 ยัง ทดสอบทําการบินลอยตัวนิ่งอยูในอากาศที่ระดับ เพดานบิน ๑๒,๐๐๐ ฟุต เปนเวลานาน ๒ นาที โดย ลวดสลิงใตลําตัวผูกติดเขากับสิ่งของ/สัมภาระหนัก การ

๑,๒๕๐ ปอนด รวมถึงการทดสอบการปฏิบัติงาน โดยอัตโนมัติจากฐานบินหนาในเวลากลางคืน ในฤดูรอนป ๒๕๕๔ เฮลิคอปเตอรไรนักบิน K-Max จํานวน ๒ เครื่อง จะถูกสงไปปฏิบัติภารกิจ สงกําลังบํารุงใหกับกองกําลังนาวิกโยธินตามความ ตองการเรงดวน ซึ่งจะเปนการปฏิบัติการจริงในสมรภูมิ รบจริงเปนครั้งแรกของอากาศยานไรนักบินสําหรับ การปฏิบัติภารกิจการสงกําลังบํารุงสนับสนุนกองกําลัง ภาคพื้นดิน.....


SKYPIG

(ตอจากฉบับที่แลว) ระบบสํารองกําลัง (Auxiliary Power Unit ; APU”เอ-พี-ยู”) อาจจะไมถูกตองนักที่เรียกระบบนี้ วาระบบสํารองกําลัง เพราะแทที่จริงในทางปฏิบัติ แลวมันทําหนาที่ ตนกําลัง ความสําคัญของระบบนี้ คือ เปน แหลงผลิตกําลังไฟฟา(40KVA) และแรงดันลม (Pneumatic) ในกรณีที่เครื่องยนตยังไมไดติด หรือ เกิดขัดของ เครื่องบิน C-130 ติดตั้งเครื่องยนต APU ซึ่ ง เป น เครื่ อ งยนต ไ อพ น ขนาดเล็ ก ไว ห นึ่ ง เครื่ อ ง บริเวณขางลําตัว เหนือฐานลอซาย เครื่องยนตนี้ มีความจําเปนอยางยิ่ง สําหรับการติดเครื่องยนต หลั ก และการทํ า งานของระบบไฟฟ า และระบบ ปรับอากาศ เมื่อเครื่องบินอยูบนพื้น และในกรณี เครื่ อ งยนต ยั ง ไม ไ ด ติ ด หรื อ ทํ า งานอยู ใ นรอบต่ํ า

สามารถใชไดทั้งบนพื้นและในอากาศจนถึงความสูง 20,000 ฟุต Ó ระบบการทํางานตางๆ นอกจากเครื่องยนตและปกที่เปนองคประกอบ หลัก ของเครื่องบินแลว เครื่องบินยังประกอบไปดวย ระบบการทํางานอื่นๆ ที่สําคัญอีกหลายระบบ ซึ่ง ทํางานเชื่อมโยงถึงกันโดยการควบคุมของ Flight Engineer การทํางานของระบบเหลานี้ไดกําลังขับ มาจากเครื่ อ งยนต ทั้ ง สี่ เครื่ อ งยนต เ อพี ยู และรั บ พลังงานจากแหลงภายนอกได ระบบทุกระบบทาง เทคนิคออกแบบมาใหมี 3 หรือ 4 ระบบ ทํางานควบคู และ/หรือลดหลั่นความสําคัญตางกันไป หากระบบ หนึ่งขัดของ ระบบที่เหลือจะยังคงทํางานตอไปได อยางปลอดภัย ระบบเทคนิคที่สําคัญไดแก


Ó ระบบใบพัด มีเรื่องเลาใหเปนตํานานอยางมากมายสําหรับ ใบพัดของเครื่องบิน C-130 สมกับที่มันเปน King of Prop(-eller) “ราชันยแหงเครื่องบินใบพัด” ราวหาสิบปมานี้ไมมีใครในวงการบินปฏิเสธ ไดวา มันคือสุดยอดของเครื่องบินที่ขับเคลื่อนดวย ใบพัด ใบพัดของมันถูกออกแบบใหทําหนาที่หลัก คือ การใหกําลังในการขับเคลื่อน แตในบางครั้งมัน กลับทําหนาที่ เปนเบรกอากาศฉุดรั้งเครื่ องบิน ได อยางไมตั้งใจ เปนที่รูกันวา เมื่อมองเครื่องบิน C-130 ที่จอดอยูใน Flight Line และพรอมจะปฏิบัติการ รู กั น โดยนั ย ว า ใบพั ด ทั้ ง สี่ จ ะถู ก จั ด ให อ ยู ใ นรู ป เครื่องหมายบวก + + + + ทั้งสี่เครื่องยนต แตหาก เครื่องยนตใดมีปญหา ใบพัดจะถูกปลอยไวในรูป เครื่องหมายคูณ + + X + ระบบใบพัดของ C-130 มีพื้นฐานมาจาก บริษัท Hamiliton Standard เปนกลไกที่นาอัศจรรย มาก เปนการทํางานรวมกันของ 3 ระบบ คือระบบ Mechanic Hydraulic และ Electric โดยที่ยังไมมี ระบบดิ จิตอลเข ามาเกี่ยวข อง การปรับมุมใบพัด อาศัยการทํางานของระบบ Hydraulic และ Electric เพี ยงสองระบบสามารถปรับมุมใบพั ดไดเองโดย อัตโนมัติ แตแมวาจะขาดระบบทั้งสอง ใบพัดยังคง ทํางานตอไปไดดวยกลไกฟนเฟอง ใบพัดทั้งสี่กลีบ ทํ า จากอะลู มิ เ นี ย มผสม แกนกลางกลวงเพื่ อ ลดน้ํ า หนั ก รู ป ร า งของกลี บ ใบพั ด เกื อ บจะเป น สี่เหลี่ยมผืน ผา เพราะความกว างของกลีบใบพั ด ตั้งแตโคนจนถึงปลายกลีบใบพัด มีขนาดเกือบจะ เทากัน

มุ มใบพั ด จะแตกต า งกัน ในสภาพการบิ น ตางๆ ระหวาง 23.5-55 องศา ขณะอยูบนพื้น มุมใบพัดจะแปรไปตามการ เรงเครื่อง เมื่อเตรียมตัววิ่งขึ้นใชกําลังเครื่องยนต สูงสุด มุมใบพัดจะถูกปรับไวที่ 23.5 องศา ขณะไต อากาศเบาบางลง กําลังเครื่องยนต ลดลง มุ ม ใบพั ด จะค อ ยๆ ถู ก ปรั บ สู มุ ม ที่ สู ง ขึ้ น ที่ ระดับความสูง 10,000 ฟุต อาจจะอยูที่ประมาณ 40 องศา เมื่ อ วางระดั บ ที่ ค วามสู ง 22,000 ฟุ ต มุมใบพัดจะอยูที่ประมาณ 50 องศา ขณะรอนกลับ ลงมากําลังเครื่องยนตถูกผอนลงมามุมใบพัดจะถูก ปรับต่ําลงมาอีก โดยอัตโนมัติ ที่เปนดังนี้ เพราะ ใบพัดถูกกระทําดวย แรงโมเมนต 2 แรง คือ แรง ATM และ แรง CTM แรง ATM (Aerodynamic Twist Moment) มาจากกระแสลมที่เกิดขึ้นขณะที่เครื่องบินเคลื่อนที่ ไปขางหนา แรง ATM พยายามที่จะทําใหมุมใบพัด กลับเขาสูมุมลูลม (Feather) มีคาเปนศูนยเมื่อ เครื่องบินจอดอยูกับที่ และเพิ่มขึ้นเมื่อเครื่องบินมี ความเร็วเพิ่มขึ้น แรง CTM (Centrifugal Twist Moment) มาจากการแรงบิดตัวของเครื่องยนต ยิ่งเครื่องยนต มีแรงบิดตัวมาก มีแนวโนมที่จะทําใหมุมใบพัดกลับ เขาสูมุมขวางลม (Fine Pitch) วิศวกรออกแบบให แรง CTM มากกวาแรง ATM เสมอ จะไมยอมให แรง ATM มากกวาแรง CTM เพราะจะทําใหเกิดเปนแรงตาน (Drag) และ เครื่ อ งยนต เ สี ย หาย เมื่ อ ใดก็ ต ามที่ แ รง ATM มากกวาแรง CTM เพียงเล็กนอยระบบปองกัน


(Negative Torque System NTS) จะปรับใหใบพัด เขาสูมุมลูลมในทันที และหากแรง ATM มากกวา แรง CTM มากๆ จนระบบ NTS ไมสามารถ ปองกันได ยังมีระบบ (De-coupling) แยกการทํางานของระบบ ใบพัดและเครื่องยนตออกจากกัน เพื่อปองกันมิให เครื่องบิน เกิดแรงตานมหาศาล ที่เกิดจากเครื่องยนต และระบบใบพัดที่ขวางลมอยู ความเร็วรอบใบพัดทั้งสี่ตองถูกควบคุมให คงที่ ที่รอบการหมุน 1,020 รอบตอนาที เทากันทั้ง สี่เครื่องยนต เพื่อไมใหเกิดเสียงรบกวน นอกจากนี้ แล ว ปลายกลี บ ใบพั ด ทั้ ง สี่ ข องเครื่ อ งที่ อ ยู ติ ด กั น (1-2 และ3-4) ซึ่งเคลื่อนที่สวนทางกัน จะตองไมตัดกัน ปลายกลีบใบพัดเมื่อหมุนผานกัน จะสับหวางกัน พอดี ซึ่งถูกควบคุมโดยระบบไฟฟาแบบแอนะล็อก เทานั้น สมัยนั้นยังไมมีคอมพิวเตอรหรือชิพตัวใด เขามาเกี่ยวของ ผลพลอยไดของระบบใบพัดรอบคงที่ ทําใหระบบไฟฟา ไดความถี่คงที่ไปดวย โดยไมจําเปน ตองมีอุปกรณพิเศษเพิ่มเติมแตอยางใด

ใบพัดนอกจากจะใหกําลังพาเครื่องทะยาน ไปขางหนา แลว ยังสามารถทําหนาที่ตรงกันขา ม

คือใชเปนเบรกอากาศ speedbrake ไดอีก เมื่ออยู ในอากาศ การผอนคันเรงมาที่รอบเดินเบา ใบพัดจะ ทําหนาที่คลายเบรกอากาศ สามารถชะลอความเร็ว หรือเพิ่มอัตราการรอนไดอยางชะงัก เมื่ออยูบนพื้น สามารถปรับมุมใหเกิดแรงตาน(Reverse) ชะลอ เครื่ อ งบิ น ให ห ยุ ด ได อ ย า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ (การ Reverse ใบพัดยังคงหมุนไปทางเดิม แตมุมใบพัด จะถูกปรับจนกลับทิศทาง และยังคงทําใหแรง CTM มากกวาแรง ATM) เพื่อใหปฏิบัติภารกิจไดในเขตหนาว ระบบ ปองกันการกอตัวของน้ําแข็ง(Anti-Ice) ไดรับการ ปกปองไวที่บริเวณดุมใบพัด และโคนใบพัด ซึ่งเปน สวนที่หมุนชา (ความเร็วเชิงมุมต่ํา) จึงมีระบบปองกัน การเกิดน้ําแข็งกอตัว ทํางานโดยระบบไฟฟา บริเวณ สวนปลายกลีบใบพัดซึ่งมีความเร็วเชิงมุม สูงกว า น้ําแข็งที่กอตัวจะถูกแรงเหวี่ยงสลัดหลุดออกไปเอง Ó ระบบรองรับชวงลาง เครื่องบิน C-130 มีลักษณะฐานลอเปนแบบ สามล อ คล า ยเครื่ อ งบิ น ทั่ ว ไป แต อ อกแบบเพื่ อ เผชิ ญ กั บ การบิ น ขึ้ น และลงในสนามบิ น ที่ ผิ ว ทาง ไมราบเรียบ มีลอทั้งหมด 6 ลอ ฐานลอสามารถพับ เก็บเขาไปในลําตัวได ลอคูหนาเรียงประกบกัน เปนลอขนาดเล็ก สามารถบังคับใหหมุนเลี้ยวซาย-ขวาไดจากพวงมาลัย ดานกัปตัน ไมมีเบรกที่ลอหนา สวนลอหลังซึ่งเปนฐานลอหลักมีขนาดใหญ ขางละสองลอเรียงแนวตามกัน ฐานลอหลังติดตั้งไว ขางลําตัว เพื่อใหแรงกระแทกผานจากลอกระจายสู


ตัวถังโดยตรง เมื่อลอไดรับแรงกระแทก แรงกระแทก จะถูกดูดซับผานโครงสรางลําตัวโดยตรง โดยไมผาน ปก (ปกไมตองรับภาระกรรมจากแรงกระแทก) C-130 จึ ง เป น เครื่ อ งบิ น ที่ มี ฐ านล อ แคบ ข อ ดี ข องมั น คื อ ไมตองการทางวิ่งที่กวางมากนัก ขอเสียเมื่ออยูบนพื้น คือมันโคลงตัวไดงาย และตองการความเร็วสูงในการ ควบคุม (หากเครื่องยนตใดเกิดดับขึ้นมา) การกาง และเก็บฐานลอใชการเลื่อนขึ้น/ลงในแนวดิ่งตั้งตรง ดวยมอเตอรไฮดรอลิคหมุนขับแกนเกลียวสกรูแจ็ก (Screw Jack) ระบบรองรับแรงกระแทก ใชโชคอัพ แกส 4 ตัวแบบเติมลมได ไมจําเปนตองมีแหนบหรือ คอยลสปริงใหยุงยาก ออกแบบใหรองรับอัตราตก ได 7 ฟุตตอวินาที แตบางรุนไดรับการดัดแปลงให รองรั บ ได ถึ ง 15 ฟุ ต ต อ วิ น าที ระหว า งการฝ ก บิ น ขึ้นลง(Touch & Go) ไมจําเปนตองพับเก็บฐานลอ เพราะฐานล อ แนบอยู ข า งลํ า ตั ว ไม ทํ า ให เ กิ ด แรง ตานมากนัก ขณะเครื่ อ งบิ น อยู บ นพื้ น ระบบ Wheels Brakes เปนระบบหลักที่ใชในการหยุดหรือชะลอ ความเร็ว เบรกติดตั้งไวเฉพาะลอหลัง 4 ลอ เปน แผนดิสกเบรกซอนกันจํานวน 4 ชั้น มีระบบ AntiSkid ใชมาตั้งแตเมื่อ 50 ปกอน และเพื่อความ ปลอดภัยอีก ชั้นหนึ่ง ยั งมีถังอากาศเก็บความดั น สํารอง ไวเบรกในกรณีฉุกเฉินไดอีก หากเบรกจนกระทะลอรอน กระทะลอยังมี ฟวสความรอน เพื่อระบายลมออกไป กอนที่ความ ดันอากาศภายในยางจะเพิ่มสูง จนยางจะระเบิด ลอลมยางจําเปนตองเติมดวยก็าซไนโตรเจน เพื่อ ไมใหเกิดไฟไหมไดงาย

Ó ระบบไฟฟา ระบบไฟฟาเริ่มเขามามีบทบาทสําคัญตอ เครื่องบิน C-130 เชนกัน ระบบไฟฟาถูกจัดเรียงไว ในตํารา T.O.(Technical Order)เปนบทที่ 7 ซึ่ง นับ เปน ระบบเทคนิ ค ลํ า ดั บ แรก ที่ นั ก บิ น และช า ง อากาศเริ่ ม ต น เรี ย นรู รู จั ก กั บ เครื่ อ งบิ น C-130 ระบบไฟฟาไดถูกใชเปนเพียงระบบรอง ในการควบคุม การทํางานของระบบอื่นๆ ระบบเทคนิคตางจะถูก ควบคุม หรือกําหนดการทํางานโดยลูกเรือเปนสวนใหญ และใชระบบไฟฟาเปนสวนเสริม แมวาระบบไฟฟา จะเสียหายทั้งหมด เครื่องบิน C-130 ยังคงบินอยูได แตถึงกระนั้น เครื่องบิน C-130 ไดรับติดตั้งเครื่อง กําเนิดไฟฟา(Generator )ขนาด 40 KVA ไวแตละ เครื่องยนต และอีกหนึ่งเครื่องจาก APU เพื่อเปน แหลงกําเนิดไฟฟา จายไฟฟากระแสสลับ AC110 Volt 3 phases บางสวนถูกแปลงเปนไฟฟากระแส ตรง DC28 Volt โดยผาน Transformer rectifiers ขนาด 200 ampere 4 ตัว นอกจากนี้ยังมีระบบ ไฟฟาสํารองซึ่งไดจาก Battery โดยตรง ขนาด 24 volt, 36 ampere-hour Ó ระบบน้ํามันเชื้อเพลิง เครื่องบิน C-130 เผาผลาญเชื้อเพลิง (JP4 JP8 Jet-A) ราวชั่วโมงละ 2 ตัน เก็บน้ํามันไวที่ปก ทั้ ง สองข า ง(โครงสร า งและผิ ว ป ก คื อ ถั ง น้ํ า มั น ) ปกแตละขางแบงปริมาตรภายในเพื่อบรรจุน้ํามัน ออกเปน 2 ถัง ถังดานนอก(ความจุ 3.8 ตัน) และถัง ดานใน (ความจุ 3.5 ตัน) ออกแบบให ถังดานนอก มีน้ํามันมากกวา ถังดานใน เพื่อกดการกระพือของ


ปลายปก บริเวณสวนปกกลางลําตัวยังมีถังยางเก็บ น้ํามันเสริม อีกสองถัง(ความจุ 2.6 ตัน) ตั้งแตในรุน E เปนตนมา ใตปกไดรับการติดตั้ง ถังน้ํามันภายนอก (ความจุ 4.0 ตัน) นอกจากชวยเพิ่มระยะบินใหไกล ขึ้นแลว น้ําหนักของมันยังชวยในดานลดการโคงงอ ของป ก ได อี ก ด ว ย แต ล ะถั ง มี ป ม ไฟฟ า ส ง น้ํ า มั น 2 ปม ติดตั้งแชไวในถัง เพื่อใชน้ํามันระบายความ รอนของปม รวมทั้งหมด 8 ถังมีความจุ 27 ตัน บินไดนานราว12 ชั่วโมง การเติมน้ํามันทําได 2 วิธี จากจุดเติมขางลําตัว และจากบริเวณดานบนของ ผิวปก เครื่องบิน C-130 มีระบบถายน้ํามันทิ้ง(Fuel Dumping) ในกรณีฉุกเฉิน เครื่องบิน C-130 ที่ผลิต ขึ้นภายหลังไดรับการบรรจุโฟม(Foam; สภาพคลาย ฟองน้ํา)ไวในถังน้ํามัน เพื่อปองกันการระเบิดจาก ไอน้ํามันที่คางอยูในถังหากถูกยิง แตทําใหความจุ ของน้ํามันลดลงจากเดิมเล็กนอย

จํานวนน้ําหนักของน้ํามันที่บรรทุกไวในปก มีสวนสําคัญตออายุโครงสรางของเครื่องบินอยางมาก การวางแผนการเติมและใชน้ํามัน จึงตองรักษาให สมดุล อยู เ สมอ เมื่ อ จํ า เป น ต องเติ ม น้ํ า มั น เต็ม ถั ง

27,000 ก.ก. ปกทั้งสองขางจะแบงรับภาระกรรม ดานละ 13,600 ก.ก. เมื่อนําน้ํามันไปใชงานจะเริ่ม ใชจากถังภายนอกกอน แลวตามดวยถังเสริม และ ถัง ดา นนอก-ถัง ด านใน ตามลํา ดับ ยกเวน ในชว ง การวิ่ ง ขึ้ น และลงสนามที่ จํ า เป น ต อ งเป ด ป ม และ วาล ว ให น้ํ า มั น จากถั ง ด า นนอก-ถั ง ด า นใน เข า สู เครื่องยนตโดยตรง ในระหวางการบิน ตองรักษา ให น้ํ า หนั ก ของน้ํ า มั น ในแต ล ะป ก ต า งกั น ไม เ กิ น 680 ก.ก. พรอมกับรักษาน้ําหนักน้ํามันใหถังดาน นอกมากกวาถังดานใน 453 ก.ก. อยูเสมอ และไมเปน ผลดีตอโครงสราง ในกรณีที่เครื่องบินตัวเปลา และ มีน้ํามันในถังรวมนอยกวา 4 ตัน

Ó ระบบปรับอากาศ เครื่องบิน C-130 มีเครื่องปรับอากาศ 2 เครื่อง สามารถรักษาความดันบรรยากาศ และปรับอุณหภูมิ ใหคงที่ได เครื่องปรับอากาศแตละเครื่องทํางานอิสระ แยกออกจากกัน ออกแบบไวใหความดันบรรยากาศ เปลี่ ย นแปลงแบบค อ ยเป น ค อ ยไป เพื่ อ ให ลู ก เรื อ และผู โ ดยสารทุก คน ทํ า งานหรื อ โดยสารได โดย


ไมตองสวมหนากากออกซิเจน สามารถปรับอุณหภูมิ ใหพอเหมาะแกการทํางานได ไมวาอากาศภายนอก จะรอนหรือหนาวสุดขั้วเพียงใด โดยปกติเครื่องบิน C-130 จะบิน ที่ ระดั บ ความสู ง 22,000 ฟุ ต (ซึ่ง มี อุณหภูมิหนาวมากและออกซิเจนเบาบางมาก) แต ความดันบรรยากาศภายในเครื่องบินจะถูกควบคุม ไวเทากับ 3,500 ฟุต ในกรณีที่เครื่องบินมีน้ําหนัก เบา สามารถไต ไปไดถึงความสูง 35,000 ฟุต ซึ่ง ความดันบรรยากาศภายในหองโดยสารจะมีความ ดันบรรยากาศเทากับ 8,000 ฟุต ระบบปรับอากาศ ทําใหหองนักบินของเครื่องบิน C-130 เปนหองทํางาน ลอยฟาติดแอร ไดอยางเย็นฉ่ํา บางวัน ความเย็นที่ ปล อ ยออกมา กระทบกั บ อากาศที่ มี ค วามชื้ น สู ง ทําใหเกิดควันไอน้ํากระจายทั่วหองนักบิน คลายกับ เวทีคอนเสิรตยอมๆ

Ó ระบบควบคุมการบินอัตโนมัติ เครื่องบิน C-130 มีระบบนักบินกล(AutoPilot) 1 ชุด ระบบกํากับการบินอัตโนมัติ FD( Flight Director) 2 ชุด สามารถแยกการทํางานออกจากกัน ได แตเมื่อทํางานรวมกัน ระบบนักบินกลจะทํางาน ตามระบบกํากับการบินอัตโนมัติ โดยนักบินควบคุม การบินไดโดยผาน CWS (Control Wheel Steer) โดยตรง เนื่องจากเครื่องบิน C-130 มีระบบนักบิน กลเพียง 1 ชุด และไมมีระบบเรงเครื่องยนตอัตโนมัติ (Auto throttle) ทําใหการควบคุมการบินในภาวะตางๆ อาทิ การบังคับทิศทาง การรักษาและเปลี่ยนแปลง ความเร็ว อัตราไต-รอน และระยะสูง ไดเพียงภาวะ เดีย วเท า นั้น แตถึง กระนั้น ระบบการบิ น อัต โนมั ติ ยั ง สามารถเชื่ อ มโยงกั บ ระบบการเดิ น อากาศได เชนเดียวกับเครื่องบินทันสมัยทั่วไป

Ó ระบบไฮดรอลิก มีไวเพื่อนําไปอํานวยการ(ผอนแรง) การทํางาน ในหลายระบบ เชน ในระบบบังคับควบคุมการบิน (เปรียบเสมื อนกับพวงมาลั ยเพาเวอร ในรถยนต ) ระบบพยุงแรงยก(Flaps) ระบบการกาง-เก็บฐานลอ และระบบเบรค ติดตั้ง ปมไฮดรอลิกขนาดแรงดั น 3,000 ปอนดตอตารางนิ้ว (PSI) รับแรงขับจาก เครื่องยนตแตละเครื่อง และมีอีกหนึ่งระบบหมุนขับ ด ว ยไฟฟ า เพื่ อ ใช สํ า หรั บ เป ด -ป ด ประตู ข นถ า ย สัมภาระ ระบบไฮดรอลิ กออกแบบไวเพื่อปองกั น zero or negative "g" แนนอนวา มันตองมีถังเก็บ ความดันสํารอง(Air accumulator) และ Hand pump ไวอีก ในกรณีฉุกเฉิน

Ó ระบบเดินอากาศ เครื่องบิน C-130 แมจะเปนเครื่องบินทหาร ที่ใช TACAN(Tactical Air Navigation) ในการเดินอากาศ ระยะใกล และยังคงมีระบบ VOR DME และ ADF ซึ่งเปนอุปกรณการบินของพลเรือนใชงานควบคูกันไป ระบบ TACAN มีขอดีคือ ใหขอมูลทั้งทางดานทิศทาง และระยะทางแกนักบิน อีกทั้งสถานีสงและเสาอากาศ มีขนาดเล็ก น้ําหนักเบา สามารถนําไปใชงานในสถานที่ หางไกลได เครื่องบิน C-130 สามารถใช TACAN ในตัวมันเอง เพื่อเปนสถานีสง (TACAN ลอยฟา) ให กั บ เครื่ อ งบิ น ขั บ ไล เมื่ อ ต อ งบิ น ผ า นทะเลเป น ระยะทางไกล นอกจากนี้ไดรับติดตั้งระบบเดินอากาศ แบบ Omega (ปจจุบันเลิกใชงานแลว) และระบบ


INS (Inertial Navigation System LTN72) 2 ชุด เพื่อการเดินทางระยะไกล สําหรับการเดินอากาศ ทางยุทธวิธี ที่ตองบินในระดับเพดานบินต่ํา จะใช ความสามารถของนายทหารตนหนเปนหลักในการ นําทาง ประกอบกับการคํานวณ(Dead Reckoning) และเครื่องชวยเดินอากาศอื่นๆ ประกอบกัน Ó ระบบออกซิเจน ระบบออกซิ เ จนสํ า รองของเครื่ อ งบิ น C-130-H เปนแบบออกซิเจนเหลว(Liquid Oxygen) บรรจุไวในถังขนาด 25 ลิตร เมื่อจําเปนตองใชงาน ออกซิ เ จนเหลวจะถู ก ความร อ นเปลี่ ย นสภาพให กลายเปนกาซ(ปริมาตรราว 670 ลิตร) สงผานทอ ไปยั ง จุดตา งๆ ในห องนั ก บิน แต ละที่ นั่ ง จะมีช อง เสียบออกซิเจนอยูตามตําแหนงตางๆ และมีสํารอง เผื่อไวอีก 2 จุด ดังนั้นในหองนักบินจึงรองรับลูกเรือ เพียง 6 คน สวนระวางบรรทุก มีตําแหนงติดตั้ง ออกซิเจนสํารองไว 4 จุด เนื่องจากเพดานบินของ เครื่องบิน ไมสูงมากนัก หากหองโดยสารสูญเสีย ความกดดั น บรรยากาศอย า งฉั บ พลั น (Rapid Decompresurization) ผลที่เกิดขึ้นจะไมรุนแรง มากนัก และเครื่องบินสามารถลดระดับลงมา (ในระดับ ความสูงที่ไมจําเปนตองใชหนากากออกซิเจนในการ หายใจ) ไดอยางรวดเร็ว ออกซิเจนสําหรับผูโดยสาร จึงแทบไมจําเปนที่จะสํารองเผื่อไว Ó ระบบปองกันน้ําแข็ง เครื่องบิน C-130 ใชอากาศรอน(Bleed Air) จากชุดอัดอากาศ ซึ่งมีทั้งความรอนและแรงดันสูง

ผานทอหุมฉนวน ไปปองกันและละลาย การกอตัว ของน้ําแข็ง ในบริเวณโครงสรางภายนอกของเครื่องบิน ที่ตองปะทะกระแสอากาศโดยตรง ไดแก ชายหนาปก สวนหาง และชองรับอากาศเขาเครื่องยนต ในสวน การปองกันการเกิดน้ําแข็งของระบบใบพัด และการ อุนกระจกหองนักบิน ใชพลังงานจากระบบไฟฟา ผานขดลวดไปสรางความรอนในสวนตางๆ ที่ตองการ

Ó ระบบแจงเตือน ระบบแจง เตื อ นของเครื่ องบิน C-130 จะ ทํางานแยกออกไปเปนสวนๆ(Isolated) ไมเปนระบบ ร ว มกั น เหมื อ นเช น เครื่ อ งบิ น สมั ย ใหม หากเกิ ด ป ญ หาทางเทคนิ ค ขึ้ น มา นั ก บิ น และช า งอากาศ จะต อ งใช ก ารอ า นค า จากมาตรวั ด หน า ป ด ของ ระบบทางเทคนิคตางๆ ในการประเมินสถานการณ เพื่อการแกไขปญหา ซึ่งมีทางเลือกที่ออนตัวอยาง มากมาย กอนที่จะถึงจุดวิกฤต หากความรอนสูง ผิดปกติเกิดขึ้นกับเครื่องยนตหรือเอพียู ไฟสัญญาณ สีแดงใน T-Handle จะแจงเตือนดวยการกระพริบ และหากความรอนยังคงสูงขึ้นไปอีก ไฟแดงจะติด สวางจา เพื่อเตือนใหนักบินทราบวา เครื่องยนตใด


อาจเกิดไฟไหม นักบินสามารถที่จะตัดการทํางาน ของเครื่ อ งยนต แ ละระบบต า งๆ ได ด ว ยการดึ ง T-Handle ซึ่งติดตั้งไวบนเพดานในหองนักบินได อยางทันทวงที ระบบทางเทคนิ ค ต า งๆ ของเครื่ อ งบิ น C-130H ซึ่งรุนที่ประเทศไทยนําเขาประจําการและ ใช ง านกั น อย า งแพร ห ลายในหลายประเทศ ไดออกแบบไว โดยคํา นึง ถึ ง การทํ า งานตามปกติ ในภาวะฉุกเฉิน และในกรณีความจําเปนทางยุทธวิธี ธรรมชาติ

การทํางานของระบบเทคนิคเหลานี้ จึงออกแบบไว อย า งเปน อิส ระ ไม ขึ้ น แกกั น ทั้ ง หมด ระบบไฟฟ า ยังไมถูกใชควบคุมการทํางานระบบอื่นๆ ไดอยาง อัตโนมัติทั้งหมด การเชื่อมตอระบบตางๆ ยังคงใช การตัดสินใจจากลูกเรือ โดยทุกระบบจะมีจํานวน ระบบการทํางาน 2 ระบบหรือมากกวา เมื่อระบบ หลักไมทํางาน การทํางานของระบบเทคนิคที่จําเปน จะไปฝากภาระกรรมไวกับระบบที่เหลือ ซึ่งมี “จํานวน กําลังสํารอง” ไวอยางลนเหลือ

ระบบทางเทคนิคของเครื่องบิน C-130H ที่กล่าวมา เป็นเพียงสังเขป ที่พอจะทําให้ทุกคน เข้าใจได้ง่าย รายละเอียดที่ลึกและซับซ้อนกว่านี้ นักบินและช่างอากาศ ต้องใช้เวลาเรียนรู้ นานหลายเดือน ก่อนที่จะได้ใช้งานจริง แม้มันจะเป็นระบบซับซ้อนในสมัยก่อน และดูล้าสมัยเมื่อเทียบกับปัจจุบัน แต่ ด้วยเพราะความน่าเชื่อถือของมัน ทําให้หลายประเทศไว้วางใจเครื่องบิน C-130 ในการเป็นเครื่องมือ สําคัญ ฟันฝ่าวิกฤตต่างๆ


น.ท.วิพล สุขวิลัย (ตอจากฉบับที่แลว) พ.ศ.๒๕๕๒ ป นี้ นั บ เป น ป แ ห ง การ เปลี่ ย นแปลงครั้ ง ใหญ ข องการประกั น คุ ณ ภาพ การศึกษาเปนผลจากพระราชกฤษฎีกาการจัดสวน ราชการและกํ า หนดหน า ที่ ข องส ว นราชการ กองบัญชาการกองทัพไทย พ.ศ.๒๕๕๒ ลง ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ให ยุ บ กรมยุ ท ธศึ ก ษาทหารรวมกั บ สถาบั น วิ ช าการป อ งกั น ประเทศ และได มี ก าร ปรับเปลี่ยน “สํานักงานประกันคุณภาพและมาตรฐาน การฝกศึกษาทหาร” จัดตั้งเปน “กองคุณภาพและ มาตรฐานการฝกศึกษาทหาร” ตามอัตราโครงสราง ของสถาบันวิชาการปองกันประเทศ และเปนหนวย ขึ้นตรงตอกองบัญชาการสถาบันวิชาการปองกัน ประเทศ ตั้งแต ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ เปนตนมา โดยมีการแบงหนวยงานเปน ๓ แผนก คือ แผนก จั ด การและส ง เสริ ม การประกั น คุ ณ ภาพ แผนก ตรวจสอบและประเมินคุณภาพ และแผนกพัฒนา คุณภาพและมาตรฐาน ในส ว นของการดํ า เนิ น งานกิ จ การสภา การศึกษาวิชาการทหาร เพื่อใหการดําเนินงานกิจการ

สภาการศึกษาวิชาการทหาร ตามพระราชกฤษฎีกา แบ ง ส ว นราชการ และกํ า หนดหน า ที่ ข องส ว น ราชการ กองบั ญ ชาการกองทั พ ไทย กระทรวง กลาโหม พ.ศ.๒๕๕๒ และเป น ไปตามมติ ข อง สภาการศึกษาวิชาการทหาร คําสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๖๙๓/๒๕๕๒ ลงวั น ที่ ๗ กั น ยายน พ.ศ.๒๕๕๒ แตงตั้งใหผูบัญชาการสถาบันวิชาการ ป อ งกั น ประเทศ เป น เลขาธิ ก ารสภาการศึ ก ษา วิชาการทหาร และใหสถาบันวิชาการปองกันประเทศ ทําหนาที่ เปนสํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา วิชาการทหาร ผลการดําเนินงานในปนี้ ๑. การพั ฒ นาบุ ค ลากรเป น เจ า หน า ที่ ประกัน คุ ณภาพการศึก ษาสถาบั น การศึก ษาของ กองทั พ รุ น ที่ ๑ จํ า นวน ๔๐ คน ระหว า ง ๓-๑๒ กุมภาพันธ ๒๕๕๒ ศึกษาดูงาน ณ วิทยาลัยเทคนิค ชัยนาท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และฝกการปฏิบัติที่โรงเรียนนายเรืออากาศ ๒. ดํ า เนิ น การตรวจสอบและประเมิ น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาภายในสถาบัน การศึ ก ษาของ กองทั พ รอบสอง โรงเรี ย นช า งกรมอู ท หารเรื อ


เมื่อวันที่ ๑๘-๒๑ กุมภาพันธ ๒๕๕๒ และโรงเรียน เตรียมทหาร เมื่อวันที่ ๒๖-๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ๓. รายงานผลการประเมิ น คุ ณ ภาพ การศึ ก ษาภายในสถาบั น การศึ ก ษาของกองทั พ รอบสอง ใหผูบัญชาการทหารสูงสุด และรัฐมนตรี ว า การกระทรวงกลาโหม รับ ทราบ และรั ฐ มนตรี วาการกระทรวงกลาโหม ไดกรุณาอนุมัติแผนงาน กิ จ กรรมและหนทางปฏิ บั ติ ใ นการแก ไ ขจากการ ประเมินคุณภาพ จํานวน ๖ เรื่อง ไดแก ๓.๑ การบริหารจัดการและการพัฒนา องคก ร มอบให กรมกํา ลั ง พล กรมยุท ธการ และ วิทยาลัยพยาบาล ของแตละเหลาทัพ ดําเนินการ ในสวนที่เกี่ยวของ ๓.๒ การทบทวนให มี ก ารนั บ จํ า นวน หนวยกิตวิชาทหาร ใหเปนไปตามหลักสากลของ การอุ ด มศึ ก ษา มอบให สถาบั น วิ ช าการป อ งกั น ประเทศ (กองนโยบายและแผน) ดําเนินการ ๓.๓ งานวิจัย นวัตกรรมและการสราง องคความรูของครู/อาจารย มอบใหกรมวิทยาศาสตร และเทคโนโลยีกระทรวงกลาโหม ดําเนินการ ๓.๔ การประสานขอใหหลักสูตรระดับ สูง ในกองทัพใหความรู เรื่องการประกันคุณภาพ การศึกษา มอบให สถาบันวิชาการปองกันประเทศ (กองการศึกษา) ดําเนินการ ๓.๕ การเพิ่ ม งบประมาณสนั บ สนุ น หองสมุด โรงเรียนทหารเหลาทัพ ใหใกลเคียงกับ สถาบัน อุ ดมศึ ก ษาของพลเรื อน มอบให สถาบั น วิ ช าการป อ งกั น ประเทศ (กองบรรณาสาร) ดําเนินการ

๓.๖ การประสานให ห น ว ยงานที่ รับผิดชอบระบบสารสนเทศ พัฒนาโปรแกรมระบบ MIS เพื่อใชในงานประกันคุณภาพการศึกษา สถาบัน การศึ ก ษาของกองทั พ มอบให สถาบั น วิ ช าการ ปองกันประเทศ (กองคุณภาพและมาตรฐานการฝก ศึกษาทหาร) และ กรมสื่อสารทหาร ดําเนินการ ๔. การสั ม มนาวิ ช าการ ๑๘ สถาบั น การศึ ก ษาของกองทั พ เรื่ อ ง แนวทางการพั ฒ นา มาตรฐานและตัวบงชี้ของกองทัพ เพื่อการประเมิน คุณภาพภายในสถาบัน การศึกษาของกองทัพ ณ โรงแรมโคซี่ บีช จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ ๒๓-๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ๕. การสัมมนาทางวิชาการหนวยขึ้น ตรง สถาบั น วิ ช าการปองกัน ประเทศ ๔ สถาบั น เรื่อ ง การพั ฒ นามาตรฐานและการประเมิ น คุ ณ ภาพ การศึ ก ษาภายใน สถาบั น การศึ ก ษาทางทหาร ระดับสูง เมื่อวันที่ ๑๕-๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒ ๖. จัดบรรยายใหค วามรูดา นการประกั น คุณภาพการศึกษาใหกับกําลังพลของสถาบันวิชาการ ปองกันประเทศ เรื่อง “องคความรูดานการประกัน คุณภาพการศึกษา” เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ณ หองบรรยายวิทยาลัยปองกันราชอาณาจักร โดยได รั บ เกี ย รติ จาก ศ.ดร.สมหวั ง พิ ธิ ย านุ วั ฒ น ผู อํ า นวยการสํ า นั ก งานรั บ รองมาตรฐานและ ประเมิน คุณภาพการศึก ษา (สมศ.) เปน วิท ยากร บรรยายพิเศษ พ.ศ.๒๕๕๓ เป น ป สุ ด ท า ยของการ ประกันคุณภาพการศึกษาในรอบสอง (พ.ศ.๒๕๔๙ –๒๕๕๓) มี กิ จ กรรมการปฏิ บั ติ ที่ ส ง ผลต อ การ


เปลี่ยนแปลงการดําเนินงานในหลายๆ สวน จึงขอ นําเสนอการปฏิบัติเปนสองสวน คือ การดําเนินงาน ภายใน และการดําเนินงานรวมกับองคกรภายนอก ๑. การดําเนินงานภายใน กําหนดแผนงาน ในการปฏิบัติ รวม ๙ แผนงาน ๑๔ กิจกรรม ไดแก ๑.๑ จัดบรรยายใหความรูเกี่ยวกับการ ประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา ให กั บ บุ ค ลากรของ สถาบันวิชาการปองกันประเทศในภาพรวม เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ ๒๕๕๓ โดยเรียนเชิญ พล.อ. สมโภชน จิ น ดาวั ฒ นะ อดี ต เจ า กรมยุ ท ธศึ ก ษาทหาร เป น วิทยากรบรรยายพิเศษ ณ สถาบันวิชาการปองกัน ประเทศ ๑.๒ การตรวจสอบและประเมินคุณภาพ การศึกษาภายในสถาบันการศึกษาในสังกัด สถาบัน วิชาการปองกันประเทศ ๖ สถาบัน คือ ๑.๒.๑ วิทยาลัยปองกันราชอาณาจักร วันที่ ๑๕,๑๖-๑๘ กุมภาพันธ, ๙ มีนาคม ๒๕๕๓ ๑.๒.๒ วิทยาลัยเสนาธิการทหาร วันที่ ๕,๖-๘,๒๙ มกราคม ๒๕๕๓ ๑.๒.๓ ศู น ย ศึ ก ษายุ ท ธศาสตร วันที่ ๑๑,๑๒-๑๔ มกราคม, ๑ กุมภาพันธ ๒๕๕๓ ๑.๒.๔ สถาบั น จิ ต วิ ท ยาความ มั่นคง วันที่ ๒,๓-๕,๑๙ กุมภาพันธ ๒๕๕๓ ๑.๒.๕ โรงเรี ย นช า งฝ มื อ ทหาร วันที่ ๒๒, ๒๓–๒๕ กุมภาพันธ, ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๓ ๑.๒.๖ โรงเรียนเตรียมทหาร วันที่ ๒๑, ๒๔-๒๗ พฤษภาคม, ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๑.๓ การตรวจสอบและประเมินคุณภาพ การศึกษาภายในสถาบันการศึกษาในสังกัดกองบัญชาการ

กองทั พ ไทย ๑ สถาบั น คื อ โรงเรี ย นแผนที่ ท หาร วันที่ ๘, ๙–๑๑ กุมภาพันธ ๒๕๕๓, ๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ๑.๔ จัดการฝกอบรมการพัฒนาบุคลากร เปนเจาหนาที่ประกันคุณภาพการศึกษาของกองทัพ รุนที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๑–๒๘ มกราคม ๒๕๕๓ จํานวน ๕๑ คน ณ สถาบั น วิ ช าการป อ งกั น ประเทศ โดย ศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต และฝก การปฏิบัติที่วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ โรงเรียน ชางฝมือทหาร

๑.๕ จัดการฝกอบรมการพัฒนาบุคลากร เป น ผู ต รวจสอบและประเมิ น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา ภายในสถาบันการศึกษาของกองทัพ รุนที่ ๕ เมื่อ วันที่ ๓–๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ จํานวน ๔๑ คน ณ อนุสรณสถานแหงชาติ โดยศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัย ศรี น คริ น ทรวิ โ รฒ และฝ ก การปฏิ บั ติ ที่ วิ ท ยาลั ย พยาบาลกองทัพบก ๑.๖ จั ด การฝ ก อบรมการเขี ย นแผน พัฒนาคุณภาพการศึกษาใหกับสถาบันการศึกษา ของสถาบันวิชาการปองกันประเทศและเหลาทัพ


เมื่อวันที่ ๒๓–๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ จํานวนบุคลากร เขารับการฝกอบรม ๔๒ นาย ณ วิทยาลัยเสนาธิการทหาร โดยทีมวิทยากรจากวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ ๑.๗ จั ด การสั ม มนาทางวิ ช าการเพื่ อ พัฒนามาตรฐาน ตัวบงชี้ และเกณฑการประเมิน คุณภาพการศึกษาสถาบันการศึกษาของกองทัพ ๓ กลุม คือ กลุมระดับปริญญาตรีขึ้นไป กลุมระดับ ต่ํากวาปริญญาตรีและกลุมสถาบันการศึกษาทาง ทหารระดับสูง ๑.๘ จัดการประชุมสัมมนาทางวิชาการ คณะทํา งานพัฒ นาระบบสารสนเทศงานประกัน คุณภาพการศึกษาของกองทัพ รวมกับกรมสื่อสาร ทหาร เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ ณ สถาบัน วิชาการปองกันประเทศ ๑.๙ ติ ด ตามการพั ฒ นาคุ ณ ภาพ การศึกษาสถาบันการศึกษาของกองทัพในรอบสอง จํานวน ๑๙ สถาบัน และสรุปนําเรียนผูบัญชาการ ทหารสูงสุด และรัฐมนตรีวาการกระทรวงกลาโหม ๒. การดําเนินงานรวมกับองคกรภายนอก สถาบั น วิ ช าการป อ งกั น ประเทศและสํ า นั ก งาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องคการมหาชน) มีการทํางานที่ประสานการปฏิบัติ ที่ เ ป น รู ป ธรรมมากขึ้ น ทั้ ง ในระดั บ ผู บ ริ ห ารและ เจาหนาที่ของสํานักงานรับรองมาตรฐานฯ ไดเปด โอกาสรั บฟ งและให ความเป น กัล ยาณมิ ตรอยูใน ระดั บ ดี ม ากเลยที เ ดี ย ว ส ง ผลให ภ ารกิ จ ต า งๆ ที่ เกี่ยวของสําเร็จลุลวงไปดวยดี ไดแก ๒.๑ คณะกรรมการติดตามนําผลประเมิน ไปใช และคณะทํางานพัฒนาระบบประกันคุณภาพ

ผูบัญชาการสถาบันวิชาการปองกันประเทศ หรือ ผูแทน ไดรับการแตงตั้งรวมเปนคณะกรรมการ และ มีการประชุมรวมกัน ๕ ครั้ง สงผลใหปญหาทางการ ปฏิบัติในเรื่องตางๆ ที่เกี่ยวของกับการประกันคุณภาพ ของกองทัพไดรับการแกไข

๒.๒ การจัดทํามาตรฐาน ตัวบงชี้ และ เกณฑในการประเมินภายนอกรอบสาม จากผลการ ประเมินภายนอกสองรอบที่ผานมา พบวามาตรฐาน กลางที่ใชในการประเมินภายนอกสถาบันการศึกษา ของกองทั พ ระดั บต่ํ า กว า ปริ ญ ญาตรี ไมส ามารถ นํามาใชในการประเมินไดครอบคลุมทั้งหมด ไมสะทอน คุณภาพที่แทจริงและมีความหลากหลายในสาขา เชน สาขาดานชาง ดานการดนตรี ดานเวชกิจฉุกเฉิน และอื่นๆ จึงไดมีการจัดทั้งคณะทํางานรวมกันเพื่อ พัฒนามาตรฐาน ตัวชี้สําหรับการประเมินภายนอก ในรอบสาม ที่มีความสอดคลองกับการประกันคุณภาพ ภายในของกองทัพ ๒.๓ สงรายชื่อผูทรงคุณวุฒิในสถาบัน การศึกษาของกองทัพใหสํานักงานรับรองมาตรฐานฯ (สมศ.) พิ จ ารณาแต ง ตั้ ง เป น ผู ป ระเมิ น ภายนอก ในสัดสวนของกระทรวงกลาโหม


๒.๔ สงแผนการตรวจประเมินคุณภาพ ภายในและภายนอกใหสํานักงานรับรองมาตรฐานฯ (สมศ.) พิจารณากําหนดแผนในการประเมินภายนอก ตามที่กําหนด โดยเริ่มในป ๒๕๕๕–๒๕๕๘ ทุกสถาบัน

ในส ว นที่ เ กี่ ย วข อ งอี ก ส ว นหนึ่ ง ก็ คื อ การ ตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน สถาบันการศึกษาของกองทัพ หลังจากที่ไดมีการยุบ กรมยุทธศึกษาทหารรวมกับสถาบันวิชาการปองกัน ประเทศแล ว จึ ง ทํ า ให อํ า นาจหน า ที่ ใ นการตรวจ ประเมิ น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาภายในของกองทั พ เปลี่ยนไป ไดมีคําสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๒๑/๕๓ เรื่อง แตงตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและ ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถาบันการศึกษา ของกองทัพ ทั้งนี้เพื่อใหการตรวจสอบและประเมิน คุณภาพการศึกษาเปนเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ในการพั ฒ นาคุ ณ ภาพและมาตรฐานการศึ ก ษา ภายในสถาบันการศึกษาของกองทัพไดอยางตอเนื่อง สามารถผลิตและพัฒนากําลังพลไดตรงตามมาตรฐาน ที่กองทัพตองการ สอดคลองกับนโยบายทางดาน การศึ ก ษาของกระทรวงกลาโหม ได แ ต ง ตั้ ง คณะกรรมการตรวจสอบและประเมิ น คุ ณ ภาพ

การศึ ก ษาภายในสถาบั น การศึ ก ษาของกองทั พ ประกอบดวย ผูบัญชาการสถาบันวิชาการปองกัน ประเทศ ในฐานะเลขาธิการสภาการศึกษาวิชาการ ทหาร เปนประธาน รองผูบัญชาการ ผูชวยผูบัญชาการ สถาบันวิชาการปองกันประเทศ เปนรองประธาน กรรมการ ๑ และ ๒ ตามลํ า ดั บ และกรรมการ ประกอบดวย ผูแทนสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ผู แ ทนกรมกํ า ลั ง พลทหาร ผู แ ทนกองทั พ บก ผูแทนกองทัพเรือ ผูแทนกองทัพอากาศ(กองทัพละ ๒ คน) ผูทรงคุณวุฒิภายนอก (ไมเกิน ๓ คน) โดยมี ผู อํ า นวยการกองคุ ณ ภาพและมาตรฐานการฝ ก ศึกษาทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการปองกัน ประเทศ เปนเลขานุการ รองผูอํานวยการกองคุณภาพ และมาตรฐานการฝกศึกษาทหารฯ หัวหนาแผนก ตรวจสอบและประเมินคุณภาพ กองคุณภาพและ มาตรฐานการฝกศึกษาทหารฯ เปนผูชวยเลขานุการ


จากที่กลาวมาทั้ง ๓ ตอน เปนวิวัฒนาการ สวนหนึ่งในการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ของกองทัพที่เกิดขึ้นในชวง ๑๑ ป (พ.ศ.๒๕๔๒– ๒๕๕๓) นับจากพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติฯ มี ผ ลบั ง คั บ ใช พ อจะเป น คํ า ตอบได ว า ในแต ล ะป ที่ผานมา การประกันคุณภาพการศึกษาของกองทัพ นั้น ทําอะไรกันไปบางหากพิจารณาตามผลงานแลว ตองยอมรับวาเปนงานที่คอนขางหนักพอสมควร ถาไมมีหนวยงานรับผิดชอบการปฏิบัติเปนการเฉพาะ เพราะจะไปฝากการปฏิบัติไวกับหนวยงานใดหนวยงาน หนึ่ง คงจะสาหัสเอาการเลยทีเดียว ดวยภาระงานที่ พัฒนาอยางตอเนื่องไมสามารถหยุดนิ่งได ตองพัฒนา การปรั บ เปลี่ ย นให ทั น กั บ ภายนอก จะเห็ น ได ว า กระบวนการประกั น คุณ ภาพที่ กองทั พดํ าเนิ นการ มาอยางตอเนื่องจะประกอบดวย ๓ ขั้นตอน คือ ๑) การจั ด การส ง เสริ ม ให ค วามรู ใ นงาน ประกันคุณภาพการศึกษาแกบุคลากรของกองทัพ ไทย ในกิจกรรมหลักสองสวน สวนแรกคือ กิจกรรม การฝกอบรม แยกเปนการฝกอบรมผูประเมินคุณภาพ ภายใน (๒ รุน) ผูตรวจสอบคุณภาพภายใน (๒ รุน) ตอมายุบรวมโครงการเปนการฝกอบรมผูตรวจสอบ และประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของกองทัพ (เป ด มาแล ว ๕ รุ น ) และการฝ ก อบรมเจ า หน า ที่ ประกันคุณภาพการศึกษาของกองทัพ (เปดมาแลว ๓ รุน) ซึ่งเปนโครงการตอเนื่องทุกป สวนที่สองคือ ธรรมชาติ

การจัดบรรยายพิเศษในโอกาสตางๆ ตามนโยบาย ๒) การตรวจสอบและประเมิ น คุ ณ ภาพ เปนการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษา ภายในใหกับสถาบันการศึกษาของกองทัพ ในฐานะ หนวยงานตนสังกัดกอนที่แตละสถาบันจะรับการ ประเมินภายนอก ในวงรอบสามปตอ ๑ ครั้ง สําหรับ ๑๙ สถาบันของกองทัพที่ตองรับการประเมินภายนอก และ ๒ ปตอ ๑ ครั้ง สําหรับสถาบันการศึกษาทาง ทหารระดับสูงของสถาบันวิชาการปองกันประเทศ ๔ สถาบัน ๓) การติ ด ตามและพั ฒ นาคุ ณ ภาพ เป น การดําเนินการหลังจากการตรวจสอบและประเมิน คุณภาพทั้งจากภายในและภายนอกเรียบรอยแลว ที่ แ ต ล ะสถาบั น จะต อ งทํ า การพั ฒ นาปรั บ ปรุ ง ตามแผนพั ฒ นาคุ ณ ภาพจากข อ เสนอแนะของ คณะกรรมการ ก อ นที่ จ ะมี ก ารพั ฒ นามาตรฐาน ตั ว บ ง ชี้ ใ ห กั บ การประเมิ น คุ ณ ภาพในรอบต อ ไป ซึ่งจะเปนวงรอบการปฏิบัติเชนนี้ทุกป ข อ มู ล ที่ นํ า เสนอครั้ ง นี้ ไ ด ร วบรวมจาก หลักฐานที่ปรากฏในหลายๆ สวนและจากเอกสารที่ ผูเขียนไดบันทึกไว อาจจะไมครบทุกประเด็น หรือ ไมไดนํามากลาวถึง หากมีบางสวนที่คลาดเคลื่อนไป ขออภัยไว ณ ที่นี้ดวย... หากมีขอเสนอแนะโปรด ติดตอ โทร/โทรสาร ๐ ๒๒๗๗ ๑๑๑๖ หรือทางเว็บไซต http://ndsi.rtarf.mi.th/ndsi_qa/index.html


นวีร ภาษาไทยเปนภาษาที่มีชีวิต จึงมีศัพทใหมๆ เกิดขึ้นเสมอ อาจจะโดยการบัญญัติศัพทจากศัพท ภาษาต างประเทศ หรื อทั บศั พท ภาษาต างประเทศ หรือใชคําที่มีอยูแลวมาประสมกันเปนศัพทใหมที่ ดูแปลกหรือไมคุนหู จนตองพิจารณาความหมายวา หมายความวาอยางนี้ใชหรือไม แมผูที่คุนศัพทนั้น ครั้นมีคนถามความหมายก็อาจอธิบายลําบากเหมือนกัน เพราะไมมีในพจนานุกรมทั่วไป สวนศัพทบางศัพท แม มี ใ นพจนานุ ก รม แต เ มื่ อ ไม ค อ ยได ใ ช หรื อ ใช แตมิไดครอบคลุมความหมายทั้งหมด จึงใชอยาง ไมกระจาง ทําให “พอจะเขาใจ” ความหมายแต ไมชัดเจนนัก ก็มี บทความนี้ จึง ขอกลา วถึ ง คํา ซึ่ ง มักจะมีผูกลาวถึงหรือถามถึงความหมาย ๔ คํา คือ จิตอาสา ชาตกาล เจ็ดชั่วโคตร และเวนวรรค ดังนี้ คํ า แรกคื อ คํ า ว า จิ ต อาสา คํ า นี้ ไ ม มี ใ น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ แตปจจุบันนิยมใชกันมาก เชน - นักศึกษาที่ดีมีจิตอาสาตอสังคม จะเปน บัณฑิตในอุดมคติตอไปในอนาคต

- เราอยากได นั ก การเมื อ งที่ มี จิ ต อาสา มาชวยจรรโลงประเทศชาติ - พยาบาลคนนั้ น รว มกั บ นัก ดนตรี ที่ มี จิ ต อาสามาช ว ยขั บ กล อ มผู ป ว ยให เ พลิ ด เพลิ น โดย ไมคิดคาใชจาย คํานี้มาจากคําวาจิต (ใจ สิ่งที่มีหนาที่รู คิด และนึก) รวมกับคําวาอาสา (เสนอตัวเขารับทํา) ทั้ง ๒ คํานี้มีในพจนานุกรมฉบับที่กลาวแลวขางตน เมือ่ รวมเปนคําวาจิตอาสา จะมีความหมายวา การมีจิตใจ เปนผูให ไมวาจะเปน เงินทอง สิ่งของ ความชวยเหลือ แรงกาย แรงสมอง และเวลา เปนการเสียสละสิ่งที่ ตนเองมีอยูเพื่อเผื่อแผใหสวนรวม เปนการให จะได เข า ใจมุมมองของคนอื่ น ได รูวา เขาต องการอะไร อยูในสภาพไหน เราจะชวยอะไรไดบาง ถือเปนการ พั ฒ นาจิ ต ใจอย า งเป น รู ป ธรรม และเป น การลด อัตตาหรือความเปนตัวตนของตนเองไดบาง ผูเปน อาสาสมัครทั้งหลายจะเกิดจากการที่มีจิตอาสา อนึ่ง คําวาอาสาสมัครนั้น ในพจนานุกรม ใชเปน คํา วิเศษณ หมายถึง ที่เสนอตัวเขา ทํา งาน


ดวยความสมัครใจ ใชเปนคํานาม หมายถึง บุคคล ที่ เ สนอตั ว เข า ทํ า งานด ว ยความสมั ค รใจ เช น ทหารอาสา ดนตรีจิตอาสา ในหนั ง สื อ สกุ ล ไทย ฉบั บ ที่ ๒๙๕๑ วั น ที่ ๑๐ พ.ค.๕๔ เรื่ อ งโถงสี เ ทา ของเข็ ม พลอย (ซึ่ ง มัก จะพู ด ถึ ง ผู มี จิ ต อาสามาช ว ยงานเล็ ก ๆ น อ ยๆ โรงพยาบาลตามที่ตนมีความรูและประสบการณ เชน กรอกประวัติชี้ทางไปหองตางๆ หรือเลาประสบการณ ความเจ็บปวยของตนเอง รวมทั้งเลนดนตรีใหผูปวย ฟงเพื่อความเพลิดเพลิน ทั้งหมดปรากฏในหองโถง สีเทา ซึ่งเปนหองใหญๆ ในโรงพยาบาลแหงหนึ่ง) กลาวถึงคําวาจิตอาสา สรุปไดวา คํานี้มีมาไมถึง ๑๐ ป เปนการชวยสังคมดวยแรงงานของตนเอง ไมใชใหทานหรือทําบุญแลวจบกัน ในตางประเทศ ก็มี คนที่ร่ํารวยมักจะไปทําอาหารใหคนยากจน หรือ ไปสรางบานเรือนใหคนที่ไมมีที่อยูอาศัย ดังที่หนุม สาวชาวยุโรปมักจะไปทําใหชาวแอฟริกา เปนตน ถือไดวาเปนที่นิยมในยุโรปและอเมริกามานานแลว อันเนื่องมาจากแรงผลักดันของศาสนาคริสต และ ความคิ ด เรื่อ งประชาสั ง คมในสัง คมตะวั น ตกที่ มี สวนผลักดันใหเกิดอาสาสมัครอยางตอเนื่อง และ ธรรม

พระอาจารย ไพศาล วิสาโล

อางถึงทานพระอาจารย ไพศาล วิสาโล ที่กลาวถึง ความหมายของจิตอาสาวา คือจิตที่ไมนิ่งดูดายตอ สังคมหรือความทุกขยากของผูอื่น และปรารถนาที่ จะเขาไปชวย ไมใชดวยการใหทาน ใหเงิน แตดวย การสละแรงงานเข าไปชว ย และดว ยจิตที่เ ปน สุข ที่ไดชวยผูอื่น(เชนที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช มีดนตรีจิตอาสา เปนตน) จะเห็นไดวาในภาพรวมนั้น จิตอาสาเนนเรื่อง ความเสียสละเขาไปชวยผูอื่นอยางเต็มใจดวยจิตที่ เปนสุข คําวาจิตอาสาจึงเปนคําที่กลาวถึงกันบอยๆ ในปจจุบัน ควบคูไปกับคําวาอาสาสมัคร

คํา ที่ จะกลา วถึ งตอไปคือคํา วา ชาตกาล (ชา-ตะ-กาน) คํานี้ไมมีในพจนานุกรมเชนกัน มีแต คํ า ว า ชาต ซึ่ ง หมายความว า เกิ ด แล ว แตกลู ก เป น ชาตรู ป ซึ่ ง แปลว า ทอง ชาตสระ ซึ่ ง แปลว า สระธรรมชาติ แลวก็มีคําวาชาตบุษย ซึ่งเปนชื่อบัว ชนิดหนึ่ง สวนคําวา กาล หมายความวา เวลา คราว ครั้ง หน คําวาชาตกาล จึงแปลวา เวลาเกิด หมอดู มั ก ใช พู ด เวลาพยากรณ ชี วิ ต แก ผู ต อ งการดู ด วง ชะตา ในระยะ ๕ ปยอนหลังนี้ มีผูนํามาใชกันมาก เมื่อจะกลาวถึงการเกิด หรือการครบรอบวันเกิดของ บุ ค คลสํ า คั ญ โดยเริ่ ม นั บ จากวั น ที่ บุ ค คลสํ า คั ญ


ท า นนั้ น ถื อ กํ า เนิ ด ขึ้ น ในโลกนี้ แต ค วรเป น การ ครบรอบ(Anniversary) ๕๐ ป หรือ ๑๐๐ ปขึ้นไป เชน - เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๔ มีการเปด งานฉลอง ๑๐๐ ปชาตกาล พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ผูเปนปราชญเมืองไทยและเปนบุคคลสําคัญ ของโลก - วั นที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ คื อวั นครบรอบ ๑๐๐ ปชาตกาล สุนทราภรณ หรือครูเอื้อ สุนทรสนาน - วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ ครบชาตกาล “๒๒๕ ป” สุน ทรภู ครูก วีโลก ซึ่งเราระลึก ถึ งทา น ดวยความภาคภูมิใจ อนึ่ง คําวาชาตนี้ มีผูนําไปใชเปนคําสมาส กับคําอื่นๆ อีกก็มี ใชเปนคําสมาสขางทายก็ได เชน ชื่อ ของนายทหารชั้ น ผู ใ หญ ร ะดั บ นายพลอากาศ ทา นหนึ่ง ชื่ อ ชิ น ชาต แม ไม มี ใ นพจนานุ ก รม ทา น ก็บ อกได ว า ชื่ อ ผมแปลว า “เกิ ด เป น ผู ช นะ ครั บ ” (ชิน แปลไดถึง ๕ อยาง คือ ๑.โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบดวยตะกั่วและดีบุก นิยมใชทําพระเครื่อง ชินชาตุ หมายถึง ดีบุก ๒.เคยมาแลวบอยๆ หรือ คุ น ชิ น ชา หมายถึ ง เคยบ อ ยๆ จนเลิ ก เอาใจใส ๓.บุ อยาง บุทองแดง ๔.ชื่อศาสนาหนึ่งในอินเดีย ๕.ผูช นะ พระพุท ธเจา ชิน บุ ต รหมายถึง พระสงฆ และชิโนรสก็หมายถึงพระสงฆ เชนกัน) คําที่ ๓ ที่จะกลาวถึงคือคําวา เจ็ดชั่วโคตร คํานี้ใชมานานแลว คําวาเจ็ด นิยมใชเปนตัวอักษร ไมนิยมเขียนเปนตัวเลข ตามพจนานุกรมแปลวา วงศสกุลที่สืบสายโลหิต ซึ่งนับตั้งแตตัวเองขึ้นไป ๓ ชั้น คือ ชั้นพอ ชั้นปู และชั้นทวด กับนับจากตัวเอง ลงมาอีก ๓ ชั้น คือ ชั้นลูก ชั้นหลาน และชั้นเหลน

รวมเปนเจ็ดชั่วโคตร ไมนับผูหญิงรวมดวย อาจเปน เพราะผูชายเทานั้นที่เปนผูสืบสกุลได หรือถามีการ “ฆาเจ็ดชั่วโคตร”นั้น ผูหญิงอาจจะถูกริบเขาราชบาตร (คํา สั่ง หลวง)ก็เ ปน ได อนึ่ง บางแหง มี เ พิ่ม เติ ม ว า ถานับขึ้นไปแลวไมมีชั้นนั้น เชน ไมมีชั้นทวด ก็ให นับลงมา เปนชั้นลื่อ (จากชั้นเหลน คือชั้นลื่อ) คําวาเจ็ดชั่วโคตร มีความหมายโดยนัยอีก นัยหนึ่งคือ เปนเวลานานแสนนาน จนเหมือนลืมไปเลย เชน ดังที่มีขาวในหนาหนังสือพิมพขาวสด วันจันทร ที่ ๑๓ มิ . ย.๕๔ ว า นายธํ า รงศั ก ดิ์ บุ ญ รั ก ษ หรื อ ทนายอุ ทนายชื่อดังของจังหวัดพังงา นําชาวบาน นับรอยไปรว มกัน ปลูก กล า ตน ยางพารา บนถนน สายพั ง งา-ทั บ ปู ด ก.ม.๐ ซึ่ ง เรี ย กกั น ว า ถนน เจ็ดชั่วโคตร เนื่องจากสรางไมรูจักเสร็จ น า แปลกที่ คํ า ว า โคตร ซึ่ ง มี ค วามหมาย เฉพาะคําศัพทวาวงศสกุล เผาพันธุ ตนสกุล (เชน โคตมโคตร) คํ า นี้ บ างที นํ า ไปใช ใ นความหมาย ไมสุภาพหรือเปนคําดา เชน กนโคตร คือขุดโคตร ขึ้นมาดา ในยุคหนึ่งคือยุคที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เปนนายกรัฐมนตรี มีผูที่ไมเห็นดวยกับการกระทํา ของรัฐบาลสมัยนั้น คิดคําศัพทใหมๆ ขึ้นมาหลายคํา คํ า หนึ่ ง คื อ โคตรานุ วั ต ร โดยให ค วามหมายว า เปนไปทั้งโคตร และมักใชในความหมายที่ไมดี แต ฟงแลวไมคอยชัดเจนนักวาเปนอยางไร(คํานี้แสดง วา ถาคําวาโคตร ใชนําหนาคําจะมีความหมายวา มาก เป นอยางมาก มากอยางยิ่ง และถา นําหนา คํ า นาม จะมี ค วามหมายว า คํ า นามนั้ น มี ข นาด ใหญ และใหญ ผิ ด แผกแปลกไป เช น โคตรเพชร โคตรมะละกอ)


ดังไดกลาวแลววา บางแหงอาจนับ เจ็ดชั่ว โคตร ลงมาถึ ง คํา ว า ลื่ อ จึ ง ขอกล า วถึ ง คํ า เรี ย ก ชั้นในวงศสกุล ดังนี้ เทียด (เชียด) ทวด (ชวด) ปู ยา ตา ยาย พอ แม ตัวเรา ลูก หลาน เหลน ลื่อ ลืบ ลืด ไมมีคําวาโหลน และไมมีคํานี้ในพจนานุกรม ดวย แปลกนะ เพราะเรามักคุนกับคําวาโหลน จนคิดวา คําวาโหลนนั้นคือลูกของเหลน รายการตอบปญหา ตางๆ ก็นิยมนํามาใชเปนปญหาใหตอบเสียดวย และ ผูตอบก็มักตอบวา ลูกของเหลน คือโหลน ซึ่งไมถูกตอง

คําที่ ๔ คือคําวา เวนวรรค คํานี้มีใชในภาษา ไทย และมี ในพจนานุ กรมนานแล ว ในความหมายว า เวนชวงของคํา ขอความ หรือประโยคเปนระยะๆ ถือเปนเครื่องหมายชนิดหนึ่งซึ่งจําเปนมาก เพราะ จะทําใหขอเขียนนั้นมีความถูกตอง แจมแจง ชัดเจน และอานไดตรงตามความตองการของผูเขียน ผูใช ภาษาไทยทุกคนตองรูจักการเวนวรรค ซึ่งมีทั้งการ เวนวรรคใหญ(ประมาณ ๒ เทา ของตัวพิมพธรรมดา ของพยัญชนะ ก และใชเมื่อจบขอความของแตละ ประโยค) และเวนวรรคเล็ก(ประมาณเทากับความ กวา งของตั ว พิ ม พธ รรมดาของพยัญ ชนะ ก) และ ราชบัณฑิตยสถานไดกําหนดหลักเกณฑไวหลายขอ ดวยกัน เชน เวนวรรคเล็กระหวางชื่อกับนามสกุล เวนวรรคเล็กระหวางยศกับชื่อ เวนวรรคเล็กระหวาง ตั ว หนั ง สื อ กั บ ตั ว เลข เว น วรรคเล็ ก หลั ง ข อ ความ ที่เปนหัวขอ เวนวรรคเล็กหนาคําวา “เปนตน” ที่อยู หลังรายการ เวนวรรคเล็กหนาและหลังคํา “เชน” ในความหมายวา ยกตัวอยาง แตในความเปนจริง เรามักไมเครงเรื่องการเวนวรรคใหญหรือเวนวรรค เล็กนัก ขอใหเวนชวงของคํา ขอความ หรือประโยค ใหเขาใจก็พอแลว ในระยะหลัง มีการใชคําวา เวนวรรค ใน ความหมายเชิงเปรียบเทียบ มีทั้งการเปรียบเทียบ กับการดําเนินชีวิตโดยทั่วไป และการเปรียบเทียบ กับการดําเนินชีวิตทางการเมือง โดยอิงกับความหมาย ของการเวนวรรคในการใชภาษาไทย แตไมไดเก็บ ความหมายนี้ไวในพจนานุกรม ในการดําเนินชีวิตโดยทั่วไป คําวาเวนวรรค หมายถึงการหยุดพักเพื่อผอนคลาย และเพื่อใหได


คิดดูวาชีวิตมีอะไรเกินเลยหรือขาดหายไปหรือเปลา เพื่อจะไดเริ่มตนแลวเดินหนาตอไป ถือเปนการเวน วรรคชีวิต ดังที่พระอาจารย ไพศาล วิสาโล ได กลาวไววา “การปลีก ตั ว มาอยูที่ นี่(วัดปา ) ถื อวา เปน การเวนวรรคแกชีวิต ชีวิตตองมีการเวนวรรคบาง เชนเดียวกับลมหายใจของเรา มีหายใจเขาแลวก็มี หายใจออก...การทํางานก็เชนเดียวกัน ทํางานแลว ก็ตองรูจักหยุดบาง ธรรมชาติใหเวลากลางวันคูกับ กลางคืน กลางวันทํางานเต็มที่ พอถึงกลางคืน ก็ตอง พักผอน ขอใหสังเกตดู อะไรก็ตาม เปนไปไดดีก็เพราะ มีการเวนจังหวะหรือชองวางที่เหมาะสม หนังสือที่ อานงายก็เพราะแตละประโยคมีการเวนวรรคอยาง ถูกจังหวะ ถาตัวหนังสือติดกันเปนพืด ไมมเี วนวรรค เลย จะนาอานไหม ใครอานก็รูสึกงงงวย ไมอยากอาน ศิ ล ปะอย า งหนึ่ ง ของการเขี ย นหนั ง สื อ ให น า อ า น ก็ คื อ รู จั ก เว น วรรคช อ งว า งระหว า งคํ า ระหว า ง ประโยค และระหว า งย อ หน า ทํ า นองเดี ย วกั น ดนตรี ที่ ไ พเราะไม ใ ช เ พราะมี เ สี ย งดั ง เท า นั้ น แต เพราะมี ค วามเงี ย บแฝงอยู ด ว ย ถ า กลอง กี ต าร ไวโอลิน สงเสียงไมหยุด ไมรูจักเวนจังหวะเสียบาง เพลงนั้นก็คงไมเพราะ” สวนในวงการเมือง คําวาเวนวรรค เปนคํา ที่ใชกันมากในระยะหลังนี้ โดยมีความหมายเหมือนๆ กับการเวนวรรคชี วิต อาจเปนการหยุ ดพัก เพราะ ธรรมชาติ

พบวามีความผิด จึงตองเวนวรรค กลาวคือ นับตั้งแต มี คณะกรรมการปองกัน และปราบปรามการทุ จริ ต แหงชาติ(ปปช.) ซึ่ง ทําหนา ที่ตรวจสอบการทุจริต ของนักการเมืองและขาราชการ มีคณะกรรมการ เลื อ กตั้ ง (กกต.) ซึ่ ง ทํ า หน า ที่ ต รวจสอบการทุ จ ริ ต ของการเลือกตั้ง พบวานักการเมืองผูใดมีความผิด นั ก การเมื อ งผูนั้ น ก็จ ะต อ งเวน วรรคทางการเมือ ง ลงเลนการเมืองไมได เปนเวลา ๑ ป ๕ ป หรือตลอดไป เปนการลงโทษผูกระทําผิด ดวยความเชื่อวา การ เวนวรรคนี้ จะทําใหสถานการณตางๆ คลี่คลายไป ในทางดี แตนักการเมืองบางคนอาจเวนวรรคงาน การเมืองของตนเองก็ได เชน นักการเมืองบางคน กลาววา “ผมตองขอเวนวรรคทางการเมืองสักระยะ หนึ่ง” เปนตน นอกจากนี้ คํ า ว า เว น วรรค ยั ง ใช ใ น ภาวการณตางๆ ไดอีก เชน ความรัก เปนตน ทั้งนี้ เพื่อใหเหตุการณคลี่คลายไป(แตอาจไมคลี่คลาย ก็ได) และคํานี้อาจขยายการใชตอไปไดอีก จิตอาสาและชาตกาล เปนศัพทที่บางคน อาจไมคุน และไมมีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ เพราะเป น คํ า ที่ ป ระสมขึ้ น มาใหม ส ว นเจ็ ด ชั่ ว โคตรและเวน วรรค เป น ศั พ ทที่ มี ใ น พจนานุกรม แตมีความหมายเพิ่มขึ้นตามสถานการณ และกาลเวลา บทความนี้ขอเสนอเพียงแคนี้ เพื่อ ให สื่ อ ความหมายได ต รงกั น อั น เป น หลั ก ของ ภาษาไทยดวยใจรัก.....


มีน

๑. ให้หาคํามาเติมในช่องว่างทั้งแนวตั้งและแนวนอน โดยดูจากความหมายที่ให้มา ๒. แต่ ล ะช่ อ งเติ ม ได้ ๑ ตั ว อั ก ษร สระบน สระล่ า ง และวรรณยุ ก ต์ ให้ เ ติ ม ไว้ กั บ ตัวอักษรช่องเดียวกัน ส่วนสระหน้าและสระหลัง ให้แยกช่องต่างหาก


¿ แนวตั้ง À

¾ แนวนอน ½

๑. ชื่อนิกายในศาสนาเชน หรือเดียรถีย์นิครนถ์ ซึ่ง ประพฤติตนเป็นคนเปลือย ผู้มีฟ้าเป็นเครื่องนุ่งห่ม คือไม่นุ่งผ้า ๒. เรียกสิ่งที่เป็นปุยขาว ห่อหุ้มผักกะเฉดว่า....ผักกะเฉด ๓. คนชั่วร้าย ๔. ฟ้า ๕. เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด ๗. การกระทําทางวาจา การพูด ๘. ไหว้ นอบน้อม ๙. ชื่อปีที่ ๒ ของรอบปีนักษัตร มีวัวเป็นเครื่องหมาย ๑๑. อวตารเป็นผู้หญิง ๑๒. การเปล่งวาจา คําพูด ๑๔. การผูกใจเจ็บคิดจะแก้แค้น ๑๗. พรต ข้อปฏิบัติ ความประพฤติ ๑๙. หยาบช้า ต่ําทราม ๒๐. เรือสําเภา ๒๒. ผู้จําแนกธรรมแต่ละหัวข้อตามเหตุและผลของ ธรรมนั้น โดยคํานึงถึงนิสัยของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง ๒๔. สรรเสริญ ๒๕. หลักและวิธีปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นแนวดําเนินการ ๒๖. หายไป ตัดมาจากอันตรธาน ๒๗. ชื่อไม้เถา มีหัว ใบ เถา และผิวของหัวมีน้ํายาง สีแดง ๒๙. แนวฟันตอนที่เหงือกหุ้ม ๓๒. ปราศจากคน ร้าง ๓๓. แก้ว ๓๗. เต็มจํานวนที่กําหนดไว้ ๓๙. ตกลงปลงใจ ๔๑. พระจันทร์ ๔๒. มีสีแดงเจือขาว ทําให้สีแดงนั้นอ่อนลง ๔๔. นาง (เฉลยอยู่หน้า ๘๙)

๑. วัน ๓. การข่มใจ การฝึกสอนตน (มักใช้ในกลอน) ๖. เนิน เขาดิน (ภาษาถิ่นปักษ์ใต้) ๑๐. ความลึกซึ้ง ๑๓. ม้ ว นพลู ที่ ป้ า ยปู น ไว้ แ ล้ ว ให้ เป็ น รู ป กรวย แล้ ว พันด้วยใยฝ้าย ๑๕. ความไม่สบาย โรค ๑๖. เครื่องใช้ตักแกงหรือข้าว ทําด้วยกะลามะพร้าว ๑๘. ปอกให้มีเปลือกติดอยู่บ้าง ๒๐. เด็กหญิงที่ได้รับการฝึกให้เป็นผู้นําในทางความ ประพฤติ ๒๑. แถว แนว ๒๒. รัศมี แสงสว่าง ๒๓. ข้าวที่ทําบุญอุทิศให้คนตาย ๒๔. ชื่อไม้เถา ดอกสีขาวเป็นช่อ กลิ่นเหมือนข้าวใหม่ ดอกข้าวใหม่ก็เรียก ๒๗. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ลูกบาศก์ทอด แล้วเดินตัวสกาตามแต้มลูกบาศก์ ๒๘. ชไม คู่ ๓๐. ใช้นําหน้าศัพท์ แปลว่าไกล ๓๑. วันอาทิตย์ ๓๓. เร็ว ไว ๓๔. สําคัญ หัวโจก (มักใช้ในทางตําหนิ) ๓๕. อาการที่รู้สึกน้อยกว่าปกติ เนื่องจากเส้นประสาท ถูกกด ถูกตัดขาด หรือถูกสารพิษ ๓๖. หลอกหรือลวงให้เข้าใจผิด ๓๗. หม้อน้ํา หม้อน้ํามีหู ๓๘. ดวงตา ๔๐. เทวดา ๔๓. การเข้ามาถึง (มักใช้เป็นส่วนท้ายของประโยค) ๔๕. มีทั้งคุณและโทษ ๔๖. เยี่ยงอย่าง ประเพณี


Water lily

ทําไมฝรั่งอ่านเมนูของพี่แล้วหัวเราะล่ะคะ? ผู้หญิงคนหนึ่งเดินเข้าไปในร้าน รับถ่ายเอกสาร ในมือถือกระดาษ A4 ๑ แผ่น ผู้หญิง : น้องช่วยดูให้พี่หน่อย มันผิดตรงไหน หรือเปล่า เจ้าของร้าน : ยังไงเหรอครับ ผู้หญิง : ก็พอฝรั่งเข้ามาในร้าน ดูเมนูพี่แล้ว ก็หัวเราะ ฝรั่งหัวเราะอะไรเหรอน้อง เจ้าของร้าน(อึ้งกับสิ่งที่เห็น ยิ้มเล็กน้อย) : แล้วพี่ไปทําที่ไหนเหรอครับ ผู้หญิง : ที่ร้านคอมข้างบ้านน่ะ เค้ารับแปล เอกสารด้วย

หากคุณเป็นชาวต่างชาติคนนั้น คุณเข้าใจความหมายภาษาอังกฤษในรายการอาหารแผ่นนี้หรือไม่คะ ภาษาอังกฤษในรายการอาหารแผ่นนี้คือตัวอย่างของทิงลิชค่ะ Tinglish (หรือ Thinglish, Thaiglish, Thainglish) คือ ภาษาอังกฤษที่คนไทยนําไปใช้แต่ไม่เป็น ไปตามแบบที่เจ้าของภาษาใช้กัน เพราะอิทธิพลของภาษาแม่คือภาษาไทยของเรานั่นเอง ภาษาอังกฤษแบบ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่พบได้บ่อยแบ่งออกเป็น ๔ ลักษณะ คือ ด้านการเลือกใช้คํา ด้านไวยากรณ์ ด้านการ ออกเสียง และด้านการเปลี่ยนหรือบัญญัติความหมายขึ้นเอง


๑. ด้านการเลือกใช้คํา (Word choice) เกิดจากการแปลคําศัพท์โดยตรงจากภาษาไทยเป็น ภาษาอั ง กฤษ โดยผู้ พู ด รู้ คํ า ศั พ ท์ ภ าษาอั ง กฤษไม่ ม ากพอ หรื อ คิ ด ว่ า คํ า ศั พ ท์ ภ าษาอั ง กฤษนั้ น สามารถใช้ สื่อความหมายในสิ่งที่ตนกําลังพูดถึงได้ เพราะในภาษาไทย เราสามารถใช้ศัพท์คําเดียวในบริบทที่ต่างกันได้ ตัวอย่างเช่น ความหมายในภาษาไทย

ภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง

ทิงลิช

เปิด/ปิด ไฟ

to turn on/off the light

to open/close the light

ล้างฟิล์ม

to develop the film

to wash the film

อาบน้ํา (ตักอาบหรือฝักบัว)

to take a shower

to take a bath (แช่ตัวในอ่างอาบน้ํา)

ฉันเล่นอินเทอร์เน็ต

I surf/go on/use the Internet.

I play internet.

ฉันจะไปส่งคุณที่สนามบิน

I will take you to the airport.

I will send you to the airport.

ฉันได้รับความยินยอมจากแม่

I obtain consent of my mother.

I receive consent from my mother.

ดูตัวอย่างการใช้ภาษาอังกฤษในแบบทิงลิชจากภาพด้านล่าง

late แปลว่า สาย ,eye แปลว่า ดวงตา และ long แปลว่า ยาว แต่ “สายตายาว” ในภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Farsightedness” อ่านว่า /ฟารฺไซทิดเนิสฺ/สายตายาว

coconut แปลว่า มะพร้าว และ perfume แปลว่า น้ําหอม แต่ มะพร้าวน้ําหอม ในภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Aromatic coconut” อ่านว่า /แอโรแมติคฺ โคโคนัทฺ/


การเลือกใช้คําที่ผิดความหมายอาจก่อให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกันได้ ดังเช่นเรื่องเล่าของนักเรียนไทย คนหนึ่ง ที่ย้ายไปอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ (Host family) ในประเทศอังกฤษ วันหนึ่งขณะอยู่ในห้องนั่งเล่น เขาอยากดูทีวี จึงเอ่ยปากขออนุญาตเจ้าของบ้านเปิดทีวี นักเรียนไทย: เจ้าของบ้าน: นักเรียนไทย: เจ้าของบ้าน: นักเรียนไทย: เจ้าของบ้าน: นักเรียนไทย:

เจ้าของบ้าน: นักเรียนไทย:

Could I open TV? ฉันขอเปิดทีวีได้ไหม (ใช้คําว่า “open”) (พูดแบบสุภาพโดยใช้ Could I / Could you / Would you… ขึ้นต้นประโยค) …………!?!!!?.. (ไม่มคี ําตอบ ยังคง..งงๆ อยู่สักพักหนึ่ง ก่อนถามว่า What do you want? คุณต้องการอะไรหรือ Could I open TV please? ฉันขอเปิดทีวีได้ไหม …………!?!!!?.. (มองไปที่ทีวีแบบอึ้งปนงงๆ) I mean television, could I? ฉันหมายถึงโทรทัศน์ ขอเปิดได้ไหม (คิดว่าเขาคงไม่ใช้คําว่า “ทีวี”) Why do you want to open it? ทําไมคุณจึงอยากจะเปิดทีวีล่ะ I want to see the news, it’s another way to improve my listening skill and also it’s good to know what’s going on in your country, if you don’t mind. รีบให้เหตุผลเป็นเรื่องเป็นราวว่า “ฉันต้องการดูข่าว เพราะมันเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะพัฒนาทักษะ การฟังภาษาอังกฤษและยังเป็นข้อดีที่จะได้รู้ว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้างในประเทศของคุณ ถ้าคุณไม่รังเกียจ (ที่จะให้ฉันดูทีวี) Ohhhhh, you mean “turn on”. โอ้....คุณหมายถึง“turn on” (แปลว่า”เปิด”) ?!!?.... yes, “turn on”….Thank you. ใช่แล้ว “turn on” ขอบคุณ

ในที่สุดก็เข้าใจตรงกันเสียที แทนที่นักเรียนไทยคนนั้นจะใช้คําว่า “turn on” หรือ “switch on” ที่หมายถึง “เปิดทีวี หรือเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ” เขากลับใช้คําผิดคือ “open TV” ซึ่งหมายถึงเปิดเครื่องทีวี เพื่อถอดชิ้นส่วน หรือตรวจซ่อมเครื่องทีวี ทําให้เจ้าของบ้านอึ้งปนงงพอประมาณกว่าจะเข้าใจได้ถูกต้อง ยังมีอีกหนึ่งตัวอย่างเป็นเรื่องของคนไทยที่ไปทานอาหารที่ร้านอาหารไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากทานอาหารจานหลักแล้ว เขาสั่งขนมครองแครงกะทิมาทาน เมื่อพนักงานซึ่งเป็นชาวต่างชาตินํามา เสิร์ฟ เขาพบว่าขนมถ้วยนั้นไม่มีงาโรยหน้า จึงเรียกพนักงานเสิร์ฟมาอีกครั้งและบอกว่า “Can I have some ivory, please?” แปลเป็นไทยว่า “ฉันของาช้างด้วยได้ไหม” ซึ่งถ้าเขาอยากได้งามาโรยหน้าขนมจะต้องพูดให้ ถูกต้องว่า “Can I have some sesame, please?” (ในภาษาไทยคําว่า “งา” มีความหมายหลักสองความหมาย คือ ธัญพืชชนิ ดหนึ่ งมี เมล็ดเล็กๆ สีข าวหรือดําใช้ประกอบอาหารหรือสกัดน้ํามัน ในภาษาอังกฤษเรียกว่ า “sesame” /เซะ เซอ มี/ ถ้าเป็นงาดํา เรียกว่า black sesame งาขาวเรียกว่า white sesame ส่วนคําว่า “งาช้าง” ในภาษาอังกฤษเรียกว่า “ivory” /ไอ เวอ รี/ มีความหมายเช่นเดียวกับคําว่า “tusk” /ทัซคฺ/ ๒. ด้านไวยากรณ์ (Grammar) เป็นผลจากการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษโดยเรียงลําดับ โครงสร้างประโยคตามไวยากรณ์ไทย เช่น


ความหมายในภาษาไทย

ภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง

ทิงลิช

There is/ are no …... ไม่มี .......

There is/ are not any …..

no have ...

I do not have …... วันนี้อากาศเย็นกว่าทุกวัน

It is colder today.

It is more cold today.

ฉันกําลังสนใจฟุตบอล

I am interested in football.

I am interesting in football.

ฉันชอบคุณมาก

I really like you.

I very like you.

ฉันเคยไปภูเก็ต

I went to Phuket. I have been to Phuket before.

I used to go to Phuket. I ever go to Phuket.

ความผิดพลาดในเรื่องไวยากรณ์ หรือโครงสร้างประโยค ส่วนมากไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านความหมายเนื่องจาก คู่สนทนาอาจจับใจความจากบริบท (ข้อความหรือสถานการณ์แวดล้อม) ได้ อย่างไรก็ตาม มีโครงสร้างบางแบบ ที่คนไทยมักใช้ผิดซึ่งส่งผลให้ผู้พูดไม่สามารถสื่อความหมายตรงกับสิ่งที่ต้องการได้ ดังตัวอย่างประโยคต่อไปนี้ ความหมายในภาษาไทย คุณเบื่อไหม ฉัน(กําลัง)/ (รู้สึก) เบื่อ ฉันรู้สึกตื่นเต้น

ภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง Do you feel bored? I am bored. I feel bored. I am excited.

ทิงลิช Are you boring? (คุณเป็นคนน่าเบื่อใช่ไหม) I am boring. (ฉันเป็นคนน่าเบื่อ) I am exciting.(ฉันเป็นคนน่าตื่นเต้น)

อีกหนึ่งตัวอย่างจากเรื่องเล่าของนักเรียนที่ศูนย์ภาษาฯ เรื่องมีอยู่ว่า นักเรียนคนหนึ่งต้องการเดินผ่านทาง ซึ่งมีผู้อาวุโสยืนอยู่ เขาคิดว่าควรจะต้องใช้คําพูดที่สุภาพเพื่อขอเดินผ่านบริเวณนั้น เขาจึงพูดว่า “May I pass a way, please?” เป็นการแปลตรงตัวจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษซึ่งเจ้าของภาษาไม่ใช้ และไม่เข้าใจ อีกทั้งยังเป็นการสื่อความหมายผิดอีกด้วย กล่าวคือ คําว่า “pass a way”(a way เขียนแยกกัน) เมื่อพูดออกเสียงจะเหมือนกับคําว่า “pass away” (away เขียนติดกัน) เป็น phrasal verb หรือ two-word verb ซึ่งเกิดจากการรวมคําสองคํา คือ pass(ผ่าน) กับ away(ห่างไกล) เกิดเป็นคําใหม่ “pass away” และ ความหมายใหม่คือ “ตาย / เสียชีวิต” จากที่ต้องการสื่อความหมาย “ขออนุญาตผ่านทาง” เลยกลายเป็น “ขออนุญาตตาย” โดยไม่ตั้งใจ ดังนั้นหากไม่อยากให้เกิดการเข้าใจผิดดังกล่าว เขาควรจะพูดให้ถูกต้องว่า


Can I get through? หรือ Please, let me get through. Can I pass through? หรือ Please, let me pass through.หรือ Please, let me get past. คําอธิบายเพิ่มเติม เมื่อต้องการขอ / ขออนุญาต เราจะใช้โครงสร้างประโยคดังนี้ Can I + verb ? เช่น Can I borrow your car? ฉันขอยืมรถของคุณได้ไหม May I + verb ? เช่น May I come in? ผมขออนุญาตเข้าไปข้างในได้ไหม และอาจจะลงท้ายประโยคด้วยคําว่า “please” เพื่อแสดงความสุภาพมากยิ่งขึ้น เช่น May I …… ,please? ก่อนเนื้อที่จะหมดลงขอทิ้งท้ายไว้ด้วยรายการอาหารจากตอนต้นเรื่องในแบบที่ถูกต้อง พบกับความรู้ ภาษาอังกฤษพร้อมเรื่องชวนขําต่อฉบับหน้านะคะ ก๋วยเตี๋ยวน้ํา ข้าวผัดไก่, กุ้ง, ปลาหมึก, หมู, ปู ราดหน้ากุ้ง, ปลาหมึก, หมู, ปู ข้าวต้ม ผัดไทย ต้มยํากุ้ง คะน้าหมูกรอบ ผัดกะเพราหมู, ไก่ ผัดผักรวมมิตร ไข่เจียวหมูสับ ผัดซีอิ๊ว ยํามะม่วง ข้าวหมูทอดกระเทียมพริกไทย ต้มจืดเต้าหู้หมูสับ

รายการอาหาร Menu Noodles Fried rice with chicken/ prawn/ squid/ pork/ crab meat Stir-fried rice noodles in gravy Boiled rice Pad Thai* หรือ Thai fried noodles Tom Yum Koong* หรือ Thai spicy soup with prawns Stir-fried kale & crispy pork Fried pork/ chicken with basil leaves Stir-fried vegetables Minced-pork omelet Stir-fried noodles with soy sauce Spicy mango salad Fried pork with garlic pepper on rice Minced pork and tofu clear soup มีอีกด้านหลัง Continue next page

*หมายเหตุ ผัดไทย และต้มยํากุ้ง เป็นที่รู้จักสําหรับชาวต่างชาติจํานวนหนึ่งจึงนิยมเรียกทับศัพท์ตาม ชื่อเรียกในภาษาไทย


Runy สวั ส ดี ค่ ะ ท่ า นผู้ อ่ า นหนั ง สื อ ข่ า วทหารอากาศทุ ก ท่ า น ดิ ฉั น มาพบกั บ ท่ า นผู้ อ่ า นอี ก ครั้ ง นะคะ เป็นบทความที่ต่อเนื่องมาจาก Test Tip 14 เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ฝึกฝนและทบทวนภาษาอังกฤษด้วยตนเอง แล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้ารับการทดสอบภาษาอังกฤษที่ศูนย์ภาษาฯ ด้วย ท่านผู้อ่านลองเริ่ม ทําแบบทดสอบได้เลยนะคะ อ่านโจทย์และเลือกคําตอบที่คิดว่าถูกต้องจากตัวเลือก ๔ ตัวเลือกที่ให้มา 1. People have known about magnets for many centuries. a. uses in science b. people to buy them c. countries that produce them d. hundreds of years 2. You should go on sick call right away. You should _______. a. go to the right b. go at once c. walk straight d. run away 3. I’m going to stay here is the same as _________. a. I should stay here b. I must stay here c. I can stay here d. I’ll stay here 4. Excuse me, sir. Do you know _______? a. the Admiral Hotel is where b. where is the Admiral Hotel c. the Admiral Hotel where is d. where the Admiral Hotel is 5. Which sentence is correct? a. I’ll later have coffee, please. b. I’ll have later coffee, please. c. I’ll have coffee later, please. d. Please, coffee later I’ll have.


เมื่อทําแบบฝึกหัดครบห้าข้อแล้ว เชิญตรวจคําตอบและอ่านคําอธิบายเพิ่มเติมได้เลยค่ะ 1. People have known about magnets for many centuries. (มนุษย์เรารู้จักแม่เหล็กมาเป็นเวลา หลายศตวรรษแล้ว) a. uses in science (ประโยชน์หลายอย่างทางวิทยาศาสตร์) b. people to buy them (คนจํานวนมากเพื่อซื้อแม่เหล็ก) c. countries that produce them (หลายประเทศที่ผลิตแม่เหล็ก) d. hundreds of years (หลายร้อยปี) คําตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ d. hundreds of years (หลายร้อยปี) century เป็นคํานาม (noun) หมายถึง ศตวรรษ ( a period of 100 years) 2. You should go on sick call right away. You should _______. (คุณควรไปพบแพทย์ทันที) a. go to the right (ไปทางขวา) b. go at once (ไปทันที) c. walk straight (เดินตรงไป) d. run away เป็นสํานวน หมายถึง หนีไป (to leave somebody or a place suddenly; to escape from somebody or a place) คําตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ b. go at once (ไปทันที) at once เป็นสํานวนมีความหมายเหมือนกับ right away, immediately, without delay 3. I’m going to stay here is the same as _________. a. I should stay here (ฉันควรจะอยู่ที่นี่) b. I must stay here (ฉันต้องอยู่ที่นี่) c. I can stay here (ฉันอยูท่ ี่นี่ได้) d. I’ll stay here (ฉันจะอยูท่ ี่นี่) คําตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ d. I’ll stay here สํานวน to be going to = will แสดงถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยทั่วไปแล้ว ใช้แทนกันได้ 4. Excuse me, sir. Do you know ____________? (ขอโทษครับ คุณทราบไหมว่าโรงแรมแอดมิรัล อยู่ที่ไหน) a. the Admiral Hotel is where b. where is the Admiral hotel c. the Admiral Hotel where is d. where the Admiral Hotel is คําตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ d. where the Admiral Hotel is คําอธิบายเพิ่มเติม ประโยคคําถามที่ขึ้นต้นด้วย question word เมื่อเป็น noun clause โครงสร้าง จะเปลี่ยนไป โดยประธานจะอยู่หน้ากริยา ดังนี้


Question Where is the Admiral Hotel? (โรงแรมแอดมิรัลอยู่ที่ไหน)

Noun Clause Do you know where the Admiral Hotel is? (คุณทราบไหมว่าโรงแรมแอดมิรัลอยู่ที่ไหน)

Where does she live? (เธออาศัยอยูท่ ี่ไหน)

I don’t know where she lives. (คุณรู้ไหมว่าเธออาศัยอยูท่ ี่ไหน)

What did he say? (เขาพูดอะไร)

I couldn’t hear what he said. (ผมไม่ได้ยินว่าเขาพูดอะไร)

When do they arrive? (พวกเขาจะมาเมื่อไร)

Do you know when they arrive? (คุณทราบไหมว่าพวกเขาจะมาเมื่อไร)

5. Which sentence is correct? a. I’ll later have coffee, please. b. I’ll have later coffee, please. c. I’ll have coffee later, please. d. Please, coffee later I’ll have. คําตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ c. I’ll have coffee later, please. (ผมขอดื่มกาแฟทีหลังครับ) หลังจากที่ได้ลองทําแบบทดสอบ ตรวจคําตอบและอ่านคําอธิบายเพิ่มเติมแล้ว ท่านผู้อ่านคงจะได้รับ ความรู้ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความในคอลัมน์ Test Tip จะเป็นประโยชน์ต่อ ข้าราชการกองทัพอากาศ ติดตามคอลัมน์นี้ได้ในฉบับหน้านะคะ สวัสดีค่ะ


นับตั้งแตประเทศสหรัฐอเมริกาประสบกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญตั้งแตป ค.ศ.2007 (พ.ศ.2550) เปนตนมา วิถีชีวิตและความเปนอยูของคนอเมริกันเริ่มเปลี่ยนแปลงไป อัตราคนวางงานเพิ่มขึ้น ปละ 4.6% อัตราเงินออมลดลง 2% ของรายได อัตราการใชจายลดลงจาก 14% ในชวงป ค.ศ.2003 (พ.ศ.2546) ถึงป ค.ศ.2007 (พ.ศ.2550) เหลือเพียง 3% ตั้งแตป ค.ศ.2007 (พ.ศ.2550) ถึงป ค.ศ.2011 (พ.ศ.2554) ในปจจุบัน

พล.อ.ท.ยุทธพร ภูไพบูลย ดวยเหตุนี้จึงเปนปจจัยสําคัญที่ทําใหคนอเมริกันจําเปนที่จะตองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช จายใหเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในยุคนี้ เพื่อการดํารงชีพ และเพื่อชีวิตความเปนอยูที่เหมาะสมใน ปจจุบัน นี่คือตัวอยางคาใชจายของคนอเมริกันที่ลดลง และเพิ่มขึ้น ในชวงป ค.ศ.2007 (พ.ศ.2550) ถึงป ค.ศ.2011 (พ.ศ.2554) คิดเปนเปอรเซ็นต โดยขอมูลจากกระทรวงพาณิชยสหรัฐอเมริกา คาใชจายที่เพิ่มขึ้น

คาใชจายที่ลดลง 1. ไปเที่ยวตางประเทศ 2. คาทําฟน 3. คาสถานเลีย้ งเด็กเล็ก 4. การดูแลสัตวเลี้ยง 5. เครื่องเพชรและเครื่องประดับ 6. หองสมุดและพิพธิ ภัณฑ 7. การเลนการพนัน 8. ซื้อรถยนตใหม 9. ซื้อเรือ 10. คาบุหรี่และยาสูบ 11. ซื้อเสื้อผา 12. คาไปรษณียและสงของ

-4% -4% -5% -6% -7% -9% -11% -12% -12% -16% -19% -28%

1. การเย็บปกถักรอย 2. ซื้อรถยนตใชแลว 3. เครื่องดื่มทีม่ ีแอลกอฮอล 4. การศึกษาที่สูงขึน้ 5. การดูแลสุขภาพ 6. ซื้อจักรยาน 7. คารักษาพยาบาล 8. คาดูภาพยนตร 9. ซื้อนาฬิกา 10. ซื้อลอตเตอรี่ 11. รายไดจากนักทองเทีย่ วตางประเทศ 12. คาใชจายที่เกีย่ วกับโทรศัพทมือถือ

+1% +4% +5% +6% +7% +9% +11% +12% +13% +16% +17% +31%


มิสกรีน

BLONDIE

ภาพ 1 ภาพ 2 ภาพ 3 -

หมูนี้ ผมกําลังทํา”ไฮเปอรไมลิ่ง” เพื่อประหยัดน้ํามันอยูละ ! อะไรเหรอ “ไฮเปอรไมลิ่ง” นะ ?! ก็คุณขับรถชาๆ ดวยความเร็วสม่ําเสมอ เพื่อเลิกขับแบบหยุด/ไป – หยุด/ไป นะซี ตอนนี้ผมมีอะไรที่ประมาณวาเหมือนกับสิ่งนัน้ อยูน ะ แตมันเปนแบบหยุดอยางเดียว ไมมีไปนะ ฟ. ...

“hyper – miling” - เปนศัพทที่ผพู ูดใชเอง โดยมีความหมายซอนไวทเี่ ครื่องหมายคําพูด ในการสนทนา ผูฟงไมเขาใจก็จะถาม สําหรับในการอานก็มกั จะมีคาํ อธิบายความหมายตามมา ในประโยคตอไป gas (n.) - ในทีน่ หี้ มายถึง gasoline หรือ gasolene (น้ํามันเชือ้ เพลิง) ซึง่ ภาษาอเมริกนั นิยมเรียก gas แตภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ จะเรียกวา petrol lately (adv.) - หมูน,ี้ ระยะนี้ (recently) มักจะใชในประโยค present perfect tense Ex. I have seen John in the gym recently. (หมูนี้ฉนั เห็นจอหนที่โรงยิมนะ) steady (adj.) - ตอเนื่อง (continuous, not changing) eliminate (v.) - กําจัด, เลิก, ตัดออก (get rid of, remove sth not wanted) Ex. The police try to eliminate drug trafficking in the north. (ตํารวจพยายามกําจัดการคายาเสพติดทางภาคเหนือ)


sort of (kind of) - เปนภาษาพูดอยางไมเปนทางการ ใชเมื่อจะอธิบายถึงสิ่งหนึ่ง ซึ่งหาคําที่เหมาะสมยาก ภาษาไทยยุคนี้อาจใชคําวา “ประมาณวา / ประมาณนัน้ ” like (prep) - เปนคําบุพบท แปลวา เหมือนกัน (similar to, resemble something) Ex. He’s wearing a suit like my father’s. (เขาใสสูทเหมือนของพอฉัน) THE BORN LOSER

ภาพ 1 - แหวะ – ตับกับหอมใหญ ! ใครคิดสูตรผสมสุดแยนี้ไดนะ ! ภาพ 2 - ที่จริงแลว มันก็เสริมกันไดอยางดีเยี่ยมเชียวแหละ ภาพ 3 - หอมใหญ ตัดรสชาติแยๆ ของตับ และตับก็ชวยตัดรสชาติไมเอาไหนของหอมใหญ ไงละ ! think up (idm) - เปนสํานวน แปลวา มีความคิด หรือคิดแผนขึ้นมา (to produce an idea or plan) such (adj.) - ในทีน่ ี้ ใชเปนคําคุณศัพท ในความหมายที่เนนคําอธิบายเกีย่ วกับคนหรือสิ่งของวา “มากกวาปกติ” Ex. He is such a nice guy. (เขาเปนคนดีมาก) This is such good coffee. (กาแฟนี้อรอยมากๆ) หรือ These are such effective tools. (เครื่องมือเหลานี้มีประสิทธิภาพ เยีย่ มมาก) combination (n.) - สิ่งที่รวมกันจากสองสิ่งหรือมากกวา (a joining together of two or more thing) Ex. Pink is a combination of red and white. (สีชมพูเปนสวนผสมของสีแดงและสีขาว) terrible (adj.) - เลว, แย (very bad) actually (adv.) - ที่จริงแลว, ความจริงแลว (in fact, as a matter of fact) complement (v.) - ในทีน่ ี้ แปลวา สงเสริม, เขากันไดดี (to make a good combination with someone or something else) Ex. The dark red walls complemented the red leather chairs. (ผนังสีแดงเขมไปกันไดดีกับเกาอีห้ นังสีแดง) perfectly (adv.) - อยางสมบูรณ (completely) taste (n.) - รสชาติ เมือ่ ใชเปนคํากริยา แปลวา มีรสชาติ Ex. The food tastes delicious. (อาหารนัน้ มีรสชาติอรอย)


หมอพัตร เมื่อ ๒ เดื อนที่ แลว ผูเ ขี ยนไปพัก ผอ นสู ด ออกซิเยนแถวเขาใหญ อันที่จริงไมไดขึ้นไปถึงเขาใหญ จริงๆ หรอก แคไปพักที่รีสอรตของเขาใหญเทานั้น เมื่ อ ๕๐ ป ที่ แ ล ว ผู เ ขี ย นเคยขึ้ น ไปประจํ า ที่ ฝ า ย การแพทย สถานีควบคุมและรายงานที่เขาเขียวอยู ๒ เดือน เขาเขียวอยูเลยเขาใหญ ตองขับรถตอไป อีก ๑๓ กม. บนเขาเขียวอากาศหนาวมาก ฝนตกพรําๆ เกือบตลอดเวลา ถาวันไหนเครื่องทําความรอนเสีย ก็ทนนอนบนนั้นไมไหว สมัยนั้นถาพูดวาเขาใหญ ก็ ห มายถึ ง บริ เ วณวนอุ ท ยานแห ง ชาติ เ ขาใหญ ทางขึ้นมีทางเดียว ถามาจากกรุงเทพฯ ตามถนน มิตรภาพ พอเลยวัดวชิราลงกรณวรารามก็มีถนน แยกเลี้ยวเขาไปอีก ๓๐ กวา กม. ก็จะถึงเขาใหญที่ ผูคนไปทองเที่ ยวกัน มีภัตตาคารแหงหนึ่ง และมี บานพักใหเชา แตสมัยนี้เขาเลิกบานพักหมด เปน วนอุ ท ยานเต็ ม รู ป แบบ จะไปค า งคื น บนนั้ น ต อ ง ขออนุญาตกางเต็นทเอาเอง ผูที่ชอบอากาศภูเขา ก็ตองค า งกั น ตามรีสอร ต และโรงแรมแถวเชิ ง เขา ปากชอ งจึ ง เต็ มไปด ว ยรี ส อรต และสนามกอลฟ ที่

สรางอยางสวยงามนาอยู มีสิ่งอํานวยความสะดวก ครบครัน รีสอรตที่ผูเขียนไปพักก็อยูแคชายๆ เขาใหญ ยังไมถึงตัวเมืองปากชองเสียดวยซ้ํา แตถาใครถาม วาไปเที่ยวไหนก็ตอบวาเขาใหญ ปากช อ งสมั ย นี้ เ จริ ญ ก า วหน า กว า เมื่ อ ๕๐ ปกอน ตอนที่ผูเขียนไปอยูเขาเขียวอยางทาบ ไมติด นั่งรถมาตามถนนมิตรภาพเลยตําบลกลางดง ก็มีรีสอรต ฟารม โฮเตลและสิ่งปลูกสรางเรียงราย ตลอดทาง ผูเ ขี ย นไปพัก ที่รี สอร ตที่ ตอ งเลี้ย วแยก จากถนนใหญไปอีกราว ๑๒ กม. สรางอยูในหุบเขา เล็กๆ วิวสวย บรรยากาศดี อากาศสดชื่น เปนอาคาร คอนกรีตสูงสี่หาชั้นแตไมมีลิฟต ผูเขียนพักอยูบน ชั้น ๔ (เขาบอกวาเปนชั้นเดอลุกซ) แคเดินขึ้นที่พัก ก็ไดออกกําลังจนเมื่อยแลว ความมุง หมายหลักของผูเ ขี ย นในการมา เขาใหญครั้งนี้ก็คือมากินสเตก ที่ปากชองเขาใหญมี ภัตตาคารที่ขายสเตกหลายแหง เลือกไดตามชอบ หรือที่จริงตามที่มีผูแนะบาง, ตามหนังสือนําเที่ยว บาง ผูเขียนไมคิดที่จะมากินสเตกเนื้อชั้นดีราคาแพง


พวกโคขุน เนื้อโกเบ เนื้อวักกิว เนื้อแบบนั้นไมตอง มาถึงเขาใหญหรอก ตามรานในกรุงเทพฯ มีขาย เยอะไป กิ น แล ว เสี ย เศรษฐกิ จ เปล า ๆ แต ผู เ ขี ย น อยากชิ ม เนื้ อ สเต ก ของไทยเรา เคยติ ด ใจสเต ก ที่ โชคชัยสเตกเฮาส ชิ้นโตราคาพอสูได สั่งมาชิ้นเดียว ก็กินไมหมด ตองแบงใหหลานชวยหม่ํากัน เมื่อไดชิมสเตกสมความตั้งใจแลว ก็กลับ ไปพักผอนนอนหลังอาหารกลางวันที่รีสอรต สวน ลู ก และหลานก็ ไ ปเที่ ย วกั น ตามบริ เ วณใกล เ คี ย ง ลูกชายกําหนดวามื้อเย็นจะออกไปทานอาหารกันที่ รานอาหารยานใกลๆ รานนี้ ชื่อ “ครัวเขาใหญ” มีชอื่ ในเรื่องอาหารแบบเยอรมัน เชน แฮมรมควันและ ไสกรอก อาหารพื้นเมืองทั้งไทยจีนก็มีพรอม เราไปถึงครัวเขาใหญตอนโพลเพล รานนี้ ลูกคาเยอะ แตทําอาหารเร็วไมตองรอนาน เจาของราน มาชวยแนะวามีอะไรดีบาง สั่งเสร็จไมถึงสิบนาที ก็ยกมาเสิรฟแลว ทันอกทันใจดีแท อาหารรสชาติดี ราคาไม สู แ พง แค ทุ ม เศษเราก็ จั ด การอาหารค่ํ า เรียบรอย หลังอาหารค่ํา ราตรียังเยาว ลูกชายชวนไป เดินเลนที่แหลงบันเทิงชื่อ พาลิโอ เปนแหลงบันเทิง ไมใหญมาก อาคารปลูกสรางสไตลอิตาเลียน มีที่ จอดรถกว า งขวาง ถ า เขา ไปจอดด า นในต องเสี ย คาจอดคันละ ๒๐ บาท แตเราหาที่จอดดานหนาได ไมตองเสียคาจอด เมื่อเดินเขาไปจะพบลานน้ําพุ เล็กๆ มีสปอตไลทสองดูสวยงาม มีผูคนมาถายรูป กันมาก โดยเฉพาะหนุมสาวที่มากันเปนคู มีรานคา เล็กๆ ขายของนารัก พวกตุกตาบาง ดอกไมประดิษฐ บาง และสินคาที่เด็กวัยรุนชอบซื้อ จัดรานไดนารัก

นา เดิ น ชม ร านขนมและไอศกรี ม ก็ ม าก สิ น ค า อี ก อยางหนึ่งที่มีขายมากคือน้ําองุนสดจากไร ที่ปากชอง มีไรองุนหลายแหง น้ําองุนที่วางขายจึงมีหลายชนิด หลายราคา ชิมไดฟรี ซื้อเอาไปฝากเพื่อนฝูงญาติพี่นอง ก็ได รสเลือกตามชอบ จะเอาหวานมาก หวานนอย เปรี้ยวจัดหรือฝาดนอยๆ ก็ชิมเอา รานขายเสื้อผา ก็มี รานขายของจุกจิกแบบรานเซเวนฯ ก็ยังมี คิดไมถึง เหมือ นกั น ว า จะขายได ต ลอดเวลา คงเป น เพราะ นิสัยชางซื้อของเรานั่นเอง ดูแตตัวผูเขียนเองเดินดู รานโนนรานนี้ สุดทายก็ซื้อรถเตาโฟลคสวาเกนคันเล็ก ราวฝามือมาจนได มันชวยใหผูเขียนคิดถึงรถยนต คั น แรกของผู เ ขี ย นเมื่ อ ครึ่ ง ศตวรรษที่ แ ล ว น ะ เอง หยิบมาดูโดนวาทศิลปของคนขายเขาไปเลยเสร็จมัน เดิ นทะลุ เข าไปด านใน หลานชายบอกว า “ปู, ถึงโรงหนัง ๔ มิติแลว ดูกันมั้ย” หนัง ๔ มิติ เปน จุดมุงสําคัญของหลานในการเดินทางมาเดินเที่ยวที่ ปาลิโอ พูดชักชวนมาตั้งแตกอนอาหารแลว ผูเขียนเอง ก็แหยงๆ กลัวจะเมาหนัง หลานชวนไปดูโปสเตอร ที่หนาโรง รูสึกวาจะเปนหนังญี่ปุนหรือไมก็หนังฝรั่ง หลานเร ง เร า ว า น า ลองนะ มี ใ ห เ ลื อ กหลายเรื่ อ ง จัดเกรดดวย ที่จัดวาหาดาวคือโรลเลอรโคสเตอร ที่แคสี่ดาวก็เปนเรื่องลามนุษยตางดาวบาง ไดโนเสาร บาง คาวบอยไลยิงกันบาง อะไรทํานองนั้น ผูเขียน กําลังตรึกตรองวาจะเสี่ยงเขาไปดีไหม เกรงวาอวกแตก แลวจะอายเด็ก หลานบอกวาหนัง ๔ มิตินะ ไมใช ๓ มิติ เพื่อนที่โรงเรียนคุยวาไปดูแลว สนุกดี เรื่องละ ๘ นาที ไมยาวหรอก ตอนนี้เจาหนาที่ของโรงทาจะดู วาไดลูกคาแน ก็เขามาประชาสัมพันธบอกวาดีแน ผูเขียนถามวาคาดูคนละเทาไหร เขาตอบวา ๑๐๐ บาท


ซื้อบัตรแลวเขาดูไดเลย ไมตองคอย ดีจริงๆนะ นาดู กว า ๓ มิ ติ เหมื อ นอยู ใ นเหตุ ก ารณ จริ ง ๆ ผู เ ขี ย น กลัววาจะเมาหนัง เวียนหัวและอาเจียน เขาบอกวา ไมตองกลัว ถาทาไมดีใหยกมือขึ้นเขาก็จะหยุดฉาย ผูเขียนถามวาแลวคืนเงินมั้ย เขาหัวเราะแหะๆ

สุ ด ท า ยผู เ ขี ย นก็ ห ลงคารมเขา จ า ยค า ดู ๓ คน ๓๐๐ บาท เขารั บ เงิ น ส ง บั ต รให แ ล ว เชิ ญ เขาโรงหนังเลย ไมชักชาคงกลัววาจะเปลี่ยนใจ ความจริงหนัง ๓ มิติ ไมใชของใหม เคยมี ใหดูกันตั้งแตกอนสงครามโลกครั้งที่ ๒ (พ.ศ๒๔๘๔) ที่โรงหนัง นิวโอเดียนสามแยก (ตอนนี้เ ลิก กิจการ ไปแลว) ผูเขียนอายุเพียง ๑๐ ขวบ ไปดูกับพี่ชาย เปนหนังสั้นๆ แค ๑๐ นาที เวลาดูตองสวมแวนสีแดง ขางหนึ่ง เขียวขางหนึ่ง ถาไมสวมแวนจะเห็นภาพ เบลอรๆ; ไมเปนเรื่องเปนราว มีคนขวางปาสิ่งของ บาง สาดน้ําบาง สิ่งของตางๆ ลอยออกมานอกจอ

ไมไดลอยออกมาจริงๆ หรอก เปนแคภาพลวงตา คนดูก็วี้ดวาย เปนสิ่งที่สนุกสนานกัน หลังสงครามโลกก็มีหนัง ๓ มิติ เขามาอีก แตค นดู ไม คอ ยสนใจแลว ผิ ดกวา คราวแรกตรงที่ แว น ที่ ส วมเป น สี ช า และเป น หนั ง ยาว ที่ จํ า ได คื อ เรื่อง “หุนผี” (House of Wax) หนังสนุกแตทําเงิน ไมไดมาก ฉายที่โรงหนังแค็ปปตอล ถึงป พ.ศ.๒๔๙๖ เริ่มเขายุคหนังจอกวาง แลววิวัฒนาการไปเปนซีเนมาสโคปและวิสตาวิชั่น แตไมประสบผลสําเร็จมากนัก เพราะพอขยายเปน จอกวางซีเนมาสโคปทําใหภาพเพี้ยน สุดทายก็เลิก สราง จนกระทั่งป ๒๔๙๗ จึงมีหนังซีเนรามาเขามา ฉายในงานรัฐธรรมนูญที่สวนลุมพินีในเดือนธันวาคม พรอมกับการแสดงดนตรีของวงซาเวียร คูกัต คนดู ตื่ น เต น กัน มาก หนั ง ฉายกลางแจ ง ใชเ ครื่ อ งฉาย พร อมกัน ๓ เครื่อง จอยาวติดตอกัน ๑๘๐ องศา ทําใหดูคลายมีสวนลึก ๓ มิติ แตก็ไมใช ๓ มิติ ตอมา จึงมีการสั่งหนังซีเนรามามาฉายที่โรงหนังอินทรา และเฉลิมไทย เรื่องที่ฮิตมากคือ South Pacific (มนตรัก ทะเลใต) หนังสนุกถายทํานาดู โกยเงินไปมากมาย เมื่อ ๓๐ กวาปที่แลว ผูเขียนเคยไปดูหนัง จอกวางยิ่งกวาซีเนรามา ที่ดิสนีย เวิลด, ที่ออรแลนโด ฟลอริดา, สรอ. เปนหนังจอกวางรอบตัว ๓๖๐ องศา เรียกวา Circular Vision ใชกลองฉายถึง ๙ เครื่อง พรอมกัน จอหนังลอมรอบคนดูใหอยูตรงกลาง ตอง ยืนดู มีราวเหล็กใหเกาะ เวลาหนังฉายมีความรูสึก คลอยตามเหตุการณในหนัง โดยเฉพาะตอนที่อยู บนรถดับเพลิงวิ่งไปตามถนนในซานฟรานซิสโกสูงๆ ต่ําๆ เลี้ยวไปมา เกร็งมือจับราวไวแทบเมารถ กลับมาพูดเรื่องหนัง ๔ มิติ ที่เขาใหญกัน ดีกวา


หลังจากจายคาเขาดูหนัง ๔ มิติแลว ผูเขียน กับหลานชายฝาแฝดทั้งคูเดินตามเจาหนาที่เขาโรง (ไมใชเขาโลงนะครับ) ผูเขียนถามวามีคนดูแค ๓ คนหรือ เขาตอบวามีกี่คนก็ฉาย คนเดียวยังฉายเลย โรงหนัง เป น ห อ งไม ใ หญ นั ก ดู กั น ได ค ราวละ ๒๐ คนมั้ ง เขาพาไปนั่งเกาอี้ยาวมีเบาะปูแถวหนา มีราวโลหะ ขางหนาใหเกาะ แลวรัดเข็มขัดนิรภัยให กําชับวา ถาทนไมไหวใหยกมือสูงๆ เขาจะหยุดฉายหนังทันที แล ว เอาแว น มาให ส วม บอกว า ถ า หวาดเสี ย วให หลับตาขางหนึ่ง ภาพที่เห็นจะเหลือ ๒ มิติ แลวถามวา พรอมหรือยัง ผมบอกวาพรอม เขาก็ดับไฟในโรง แลวเดินเครื่องฉายทันที หนังที่เราเลือกคือโรลเลอรโคสเตอร ขึ้นตน เหมือนนั่งอยูในรถ พอรถเคลื่อนที่เร็วขึ้นๆ ก็เหมือน เราเคลื่อ นที่ตามรถไปดวย เสี ย งก็ ดัง เหลือ หลาย เปนระบบเซนเซอราวนด เนื่องจากเปนหนัง ๔ มิติ จึงมีลมปะทะหนาและตัว เวลารถเลี้ยวซายเลี้ยวขวา มีแรงเหวี่ยงจนรูสึกวาจะตกเตาอี้ ตองยึดราวไวแนน บางครั้ ง รถก็ ผา นไปในหว งกว า งมี สิ่ง ของลอยมา จนตองกมหลบ บางครั้งมีนกตัวโตปากกวางบินแฉลบ ตรงมา หลายครั้ง มี ฝอยน้ํากระเซ็น มาถูกแขนขา อีกครั้งหนึ่งรางรถขางหนาขาด รถลอยหลุดไปใน ธรรม

ที่วางแลวเลยไปเขารางที่อยูขางหนาอยางแมนยํา ชนิดหวุดหวิด เหลือบไปดูหลานชายสองคนก็เห็น นั่ง ตัวตรงไม มี ทีทาหวาดเสียวอะไรนัก ความจริง ความเสียวไสมันไมไดอยูที่ภาพที่เห็น แตอยูที่เสียง รอบทิ ศ ทางบวกกั บ แรงเหวี่ ย งของที่ นั่ ง กลั ว ว า ตัวจะหลุดหลนไปเทานั้น ประมาณ ๘ นาทีที่รูสึก เหมือนนานกวานั้น โรลเลอรโคสเตอรก็คอยๆ ชะลอ ความเร็วลงจนกระทั่งหยุดสนิท ไฟแสงสวางในโรง ก็เปด พรอมกับการถอนใจโลงอก ออกมาจากโรงหนัง ผูเขียนถามหลานชาย ว า เป น ไงบ า ง ก็ ต อบว า หวาดเสี ย วแต ไ ม เ ท า ไหร คนหนึ่ ง บอกว า เวลาหวาดเสี ย วมากๆ ก็ ห ลั บ ตา ขางหนึ่งภาพก็กลายเปน ๒ มิติ หมดความนากลัว ผู เ ขี ย นถามเจ า หน า ที่ ว า เคยมี ค นดู เ ป น ลมหรื อ อาเจียนบางหรือไม เขาวาไม และไมมีใครยกมือให หยุ ด ฉายดว ย สงสั ย จะอายเพื่ อ น ส ว นมากใช วิ ธี หลับตา ความจริ ง หนั ง ประเภทนี้ เ ขาต อ งแจ ง ให ทราบล ว งหน า ว า บุ ค คลประเภทใดห า มเข า ดู ซึ่ ง ก็ไดแก คนสูงวัย คนที่มีโรคประจําตัวบางอยาง เชน โรคหั ว ใจ สตรี ที่ กํ า ลั ง ตั้ ง ครรภ คนที่ ใ จอ อ นเป น ลมงาย เด็กเล็ก แตที่นี่ไมไดแจงไว ถาเกิดเปนลม เปน แลง หัว ใจวายขึ้น มาจะทํา อยางไร แตผูเ ขีย น ก็ ร อดปลอดภั ย ออกมาได ทั้ ง ๆ ที่ แ ก เ กิ น แกงไป หลายปแลว แถมมีโรคประจําตัวทั้งโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ก็แคมึนๆ นิดหนอย ไมอวกแตก ใหอับอายก็พอใจแลว ถาถามวาใหดูหนัง ๔ มิติอีกจะเอาไหม ก็ตอบ ไดทันทีวา ไมครับ แตหนัง ๓ มิติ ที่กําลังฮิตอยูตาม โรงหนังใหญๆ ก็ยังอยากลองดูสักตั้งเหมือนกัน


น.ต.ธวิน ศรีแกว Ö ความเปนมาของการวิจัย ทรัพ ยากรมนุ ษ ย มีความสํา คัญอย า งยิ่ ง ต อ ความสํ า เร็ จ ของภารกิ จ องค ก รในป จ จุ บั น ได ใหความสําคัญตอพนักงานมากขึ้น เห็นไดจากการ ปรับโครงสรางองคกร วิสัยทัศน หรือยุทธศาสตร จะตองมีการพัฒนาดานบุคลากร เปนหนึ่งในปจจัย หลักของแผนกลยุทธดวยเสมอ โดยเฉพาะอยางยิ่ง องคกรภาครัฐ ที่ตองปรับเปลี่ยนโครงสรางยุทธศาสตร และพัฒนาระบบราชการ ดวยการจัดองคกรใหมี ขนาดเล็กและกะทัดรัดลง แตมีคุณภาพ ดังคํากลาว ที่วา “จิ๋วแตแจว” (small is beautiful) ซึ่งการคัดเลือก บุคลากร เปนขั้นตอนที่สองของกระบวนการบริหาร จั ด การทรั พ ยากรมนุ ษ ย ในการที่ จ ะพยากรณ ว า บุ ค คลนั้ น เหมาะสมกั บ ตํ า แหน ง งานใด จึ ง มี ความสําคัญ และตองมีความพิถีพิถันเปนอยางยิ่ง เพื่อใหไดบุคลากรตรงกับความตองการของหนวยงาน อยางแทจริง หัว ใจของการคั ดเลื อ กบุค ลากร คือ การ เลือกคนใหถูกกับงาน “Put the Right Man on the Right Job” ซึ่งเปนภารกิจสําคัญ ประการหนึ่ง

นทน.รร.สธ.ทอ.ฯ รุนที่ ๕๔ ของหนวยงานดานการจัดสรรและคัดเลือกกําลังพล ของทุกองคกร จึงมีการสรางเครื่องมือหรือแบบทดสอบ ในการวัดและประเมินคาขีดความสามารถบุคลากร หรือเรียกวาสมรรถนะ(Competency) หลายชนิด โดยเฉพาะอยางยิ่งในภารกิจที่มีผลตอความมั่นคง และความอยูรอดของประเทศชาติ เชนสมรรถนะ ในการรบของทหาร การคัดเลือกนายทหารผูที่จะจบ ไปเปนผูบังคับบัญชา หรือฝายเสนาธิการในกองทัพ จึงมีความสําคัญเปนอยางยิ่ง แบบทดสอบวิภาววิสัย เปนเครื่องมือชนิดหนึ่ง ซึ่งศูนยทดสอบบุคคล กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ (ศทบ.ยศ.ทอ.) ไดนํามาประยุกตใช ในการวัดคา คุ ณ ลั ก ษณะทางจิ ต ใจของนายทหารนั ก เรี ย น โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ (นทน.รร.สธ.ทอ.ฯ) โดยมีวัตถุประสงคประการหนึ่ง คือ เพื่อใชประกอบการ พิจารณาจัดสรรกําลังพลใหเหมาะสมกับตําแหนง หรื อ หน า ที่ ที่ ไ ด รั บ มอบหมายหลั ง จบการศึ ก ษา แบบทดสอบวิภาววิสัยนี้ เปนแบบทดสอบที่มีคุณภาพ ในระดับที่สามารถยอมรับได คือมีคาความเที่ยงของ ลักษณะดานตางๆ โดยรวม (Cronbach’s Alpha


Coefficient) มากกวา ๐.๘๐ และมีความตรงตาม เนื้อหาตามหลักการการทดสอบความสอดคลองภายใน (Internal consistency) ปจจุบัน ศทบ.ยศ.ทอ.ได พัฒนาแบบทดสอบนี้ มาปรับใชกับการวัดประเมินคา ขาราชการกองทัพอากาศ อยางไรก็ตามแบบทดสอบ วิภาววิสัยนี้ ยังไมไดมีการวิจัยเพื่อปรับปรุงแบบทดสอบ ใหเหมาะสมกับการวัดคาคุณลักษณะอันพึงประสงค ตามที่ รร.สธ.ทอ.ฯ ตองการ จึงทําใหเกิดปญหาการ ไม ย อมรั บ ผลการทดสอบของผู รั บ การทดสอบ บางคน ดังนั้นการวิจัยนี้จึงตองการ กําหนดกรอบ คุ ณ ลั ก ษณะอั น พึ ง ประสงค ของ นทน.รร.สธ.ฯ ในการทดสอบวิภาววิสัย ของศทบ.ยศ.ทอ. อันจะ นําไปสูการพัฒนาแบบทดสอบวิภาววิสัย ใหเหมาะ กั บ การทดสอบความพร อ มของ นทน. ที่ จ ะเป น ผู บั ง คั บ บั ญ ชาและฝ า ยเสนาธิ ก ารที่ มี คุ ณ ภาพ และคุณธรรม รวมทั้งสามารถทํางานเปนทีมอยางมี ประสิทธิภาพ ตามที่ รร.สธ.ทอ.ยศ.ทอ. ตองการ

Ö วิธีการวิจัย ๑. รูปแบบการวิจัย การวิ จั ย นี้ เ ป น การวิ จั ย เชิ ง ปริ ม าณ (Quantitative Research) มุงเนนการศึกษาหา

แนวทางพัฒนาแบบทดสอบวิภาววิสัย ในขั้นตอน การตั้ ง วัตถุป ระสงคการทดสอบ โดยการกํ า หนด กรอบคุณลักษณะอันพึงประสงค ของ นทน. ซึ่งจะ เปนประโยชนตอ ศทบ.ยศ.ทอ.ที่จะสามารถนําไป พัฒนา ปรับปรุงแบบทดสอบ ใหเหมาะสมกับการ ทดสอบ นทน. ๒. การดําเนินการวิจัย ๒.๑ ค น คว า เอกสาร ตํ า รา ทฤษฎี หลักการ งานวิจัยที่เกี่ยวของ (แหลงขอมูลทุติยภูมิ : Secondary Data) และวิเคราะห เกี่ยวกับคุณลักษณะ อันพึงประสงคของ นทน.รร.สธ.ทอ.ยศ.ทอ ที่ รร.สธ. ทอ.ยศ.ทอ. ตองการ เพื่อกําหนดกรอบคุณลักษณะ อันพึงประสงคที่แบบทดสอบวิภาววิสัยตองการวัด ๒.๒ สํารวจความคิดเห็น อาจารยประจํา สัมมนา รร.สธ.ทอ.ฯ ผูใชงานผลการทดสอบนักจิตวิทยา และผู เ ชี่ ย วชาญด า นเสนาธิ ก ารกิ จ (แหล งข อมู ล ปฐมภูมิ : Primary data) เพื่อนํามาเปนขอมูลในการ เปรียบเทียบ กับกรอบคุณลักษณะอันพึงประสงค ที่แบบทดสอบวิภาววิสัยตองการวัด จากทฤษฏี ๒.๓ วิ เ คราะห เปรี ย บเที ย บข อ มู ล ในประเด็นเกี่ยวกับกรอบคุณลักษณะอันพึงประสงค เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงแบบทดสอบวิภาววิสัย ใหกับ ศทบ.ยศ.ทอ. ๓. ประชากรการวิจัย แบ ง เป น ๓ กลุ ม ได แ ก กลุ ม ผู ใ ช ง าน ผลการทดสอบ คือ อาจารยประจําสัมมนา รร.สธ.ทอ.ฯ จํานวน ๕ ทาน กลุมผูเชี่ยวชาญดานเสนาธิการกิจ จํานวน ๕ ทาน และกลุมผูเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการ ทดสอบวิภาววิสัย จํานวน ๕ ทาน


๔. เครื่องมือการวิจัย เครื่ องมือที่ ใ ชในการเก็ บ รวบรวมเพื่ อ การวิจัยในครั้ งนี้ คือ แบบสอบถามความคิดเห็น (Questionnaire) โดยแบงเปน ๒ สวน สวนแรกเปน ขอมูลผูตอบแบบสอบถาม เกี่ยวกับ ความรูในงาน ด า นเสนาธิ ก ารกิ จ การทดสอบทางจิ ต วิ ท ยา ประสบการณ ความรู ความเขาใจเกี่ยวกับการทดสอบ วิภาววิสัย และประสบการณในการใชงานผลการ ทดสอบวิภาววิสัย และสวนที่ ๒ มีคําถามปลายปด เกี่ยวกับคุณลักษณะ นทน.รร.สธ.ทอ.ฯ ทั้งหมด ๕๘ ขอ ให ผู ต อบแบบสอบถาม แสดงความคิ ด เห็ น ว า คุณลักษณะ นทน.รร.สธ.ทอ.ฯ แตละชนิดสัมพันธ กั บ ชนิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพของสมองทางด า นใดบ า ง โดยอางอิงตามทฤษฎี การแบงชนิดประสิทธิภาพ สมองของ Bloom (1956) ซึ่งสอดคลองกับ ทฤษฎี เกี่ ยวกั บการเรี ยนรู และแนวคิ ดด านปรั ชญา ของ นักจิตวิทยา ในกลุมตางๆ

ความแตกตางของแตละกลุม ดวยการตรวจสอบ สามเสา (Triangular Check) เปรียบเทียบความ แตกตาง และความสอดคลองระหวาง ขอมูลความ คิ ด เห็ น ของอาจารย และผู เ ชี่ ย วชาญ ทุ ก กลุ ม จากนั้ น นํ า มาวิ เ คราะห เปรี ย บเที ย บด ว ยเทคนิ ค การวิเคราะหเนื้อหา (Content Analysis) กับกรอบ คุ ณ ลั ก ษณะของ นทน.ที่ เ หมาะสมในการนํ า มา ทดสอบวิภาววิสัย ที่ไดจากทฤษฎี สรุปผลการวิจัย เปนแนวทางพัฒนาการทดสอบวิภาววิสัย ใหเหมาะสม กับ นทน.รร.สธ.ฯ และเสนอเปนแนวทางการพัฒนา แบบทดสอบวิภาววิสัยใหกับศทบ.ยศ.ทอ. ตอไป Ö สถิติที่ใชในการวิเคราะหขอมูล การวิเคราะหขอมูลใชคาดัชนีความสอดคลอง ระหว า งคุ ณ ลั ก ษณะต อ ประสิ ท ธิ ภ าพของสมอง (Index of Item-Objective Congruence : IOC) ตามทฤษฎีของ Rovinelli & Hambleton (1977) เปนคาในการประเมินความสอดคลองของผลวิจัย มีสูตรดังนี้ I ik =

Ö การวิเคราะหขอมูล ผูวิจัยนําเอาขอมูลที่ไดจากแบบสอบถาม ความคิดเห็นจากอาจารยและผูเชี่ยวชาญ มาวิเคราะห ความเที่ ย งตรง ในแต ล ะกลุ ม (คํ า นวณค า IOC) ด ว ยโปรแกรมสํ า เร็ จ รู ป สํ า หรั บ วิ เ คราะห ข อ มู ล ทางสถิ ติ แล ว นํ า ข อ มู ล มาทํ า การตรวจสอบผล

n

N

j =1

i =1

( N − 1)∑ X ijk − ∑

n

n

j =1

j =1

∑ X ijk + ∑ X ijk

2( N − 1) n

เมื่อ Iik แทน คาดัชนีความสอดคลองระหวาง คุณลักษณะ k ตอ ประสิทธิภาพของสมอง i i แทน ลําดับประสิทธิภาพสมอง (1,2,3) N แทน จํานวนประสิทธิภาพของสมอง = 3 ดาน K แทน ลําดับคุณลักษณะของ นทน. (1,2,3,….,58)


X แทน คะแนนความคิดเห็นของผูเชี่ยวชาญ j แทน ลําดับผูเชี่ยวชาญ(1,2,3,…..,15) n แทน จํานวนผูเชี่ยวชาญ = 15 คน Ö ผลการวิจัย ผลการวิจัย สามารถสรุปกรอบคุณลักษณะ อันพึงประสงค ของ นทน.รร.สธ.ฯ ตามนิยามของ การทดสอบวิภาววิสัย ทอ. จากผลการวิจัยที่อาจารย และผูเชี่ยวชาญทั้ง ๓ กลุม เห็นสอดคลองตรงกัน และสัมพันธกับคุณลักษณะอันพึงประสงคที่วิเคราะห จากเอกสาร ตํารา ดวยอัตราความสอดคลอง ๐.๗๗ จํานวน ๒๐ ลักษณะ ไดแก การพัฒนาภาวะผูนํา, ความเชื่อมั่นในตนเอง, การตัดสินใจอยางมีเหตุผล, ความวิริยะอุตสาหะ, ความตองการความสําเร็จ, ความซื่อสัตย, นิสัยและอุปนิสัย, ความกระตือรือรน, ความเอื้ออาทร, ความรับผิดชอบ, การตรงตอเวลา, ใจบริการ, ความจริงใจ, ความเสียสละ, เคารพสิทธิ สวนบุคคล, ความกลาแสดงออก, ความมีระเบียบวินัย, มนุษยสัมพันธ ความยุติธรรม และมีวุฒิภาวะทาง อารมณ Ö อภิปรายผลการวิจัย จากผลการวิเคราะห คาความเที่ยงตรง IOC ของชนิ ด ความสามารถทางสมอง ที่ สั ม พั น ธ กั บ คุณลักษณะ นทน.รร.สธ.ทอ.ฯ ทั้ง ๕๘ ลักษณะ พบวา มีความแตกตางกัน สรุปไดดังตอไปนี้ จากผลความสอดคลองกันภายใน InterItem Correlations (IIC) พบวา มีความสอดคลอง ระหวางกลุมนอย (IIC = 0.228) โดยกลุมผูเชี่ยวชาญ

วิภาววิสัย มีความสอดคลองกันภายในกลุมมากที่สุด (IIC = 0.787) และผลความคิดเห็นของผูเชี่ยวชาญ เสนาธิ ก ารกิ จ มี ค วามสอดคล อ งกั น ภายในกลุ ม นอยที่สุด (IIC = 0.022) แสดงถึงความคิดเห็นและ ความเขาใจ ที่แตกตางกัน ในนิยาม ความหมาย ในแต ล ะคุ ณ ลั ก ษณะ ระหว า งอาจารย สั ม มนา ผูเ ชี่ ย วชาญเสนาธิ ก ารกิ จ หรื อ อาจารย ที่ ป รึ ก ษา ผูใชงานผลการทดสอบ กับ นักจิตวิท ยาผูบริห าร จัดการ การทดสอบ ซึ่งเปนสาเหตุหนึ่งของปญหา ในการใชงานผลการทดสอบวิภาววิสัย และผลการ ทดสอบจิตวิทยาอื่นๆ ของกองทัพอากาศ สงผลให ผูที่นําผลการทดสอบไปใช ไมสามารถใชไดอยาง เต็มที่เพราะมีคุณลักษณะเชิงนามธรรมหลายอยาง ที่ยังไมสามารถแปลผลการทดสอบไดอยางชัดเจน ตรงกับความมุงหมายของแบบทดสอบ จากความแตกตางของความคิดเห็นที่เกิดขึ้น สามารถนํามาวิเคราะหสาเหตุไดดังตอไปนี้ ๑. การกํ า หนดกรอบคุ ณ ลั ก ษณะอั น พึ ง ประสงคของ นทน.ฯ จากเอกสาร ตํารา ที่นํามาใช เปนแหลงขอมูล ในขั้นตอนการจําแนกคุณลักษณะ อันพึงประสงค ที่เหมาะสม สําหรับการวัดวิภาววิสัย มีกระบวนการวิเคราะห และสังเคราะหที่แตกตางกัน คื อ กรอบคุ ณ ลั ก ษณะอั น พึ ง ประสงค ที่ ไ ด จ าก กระบวนการ ๓ ขั้น ตอน ตามหลักการทางทฤษฎี เอกสาร ตํารา และกรอบคุณลักษณะอันพึงประสงค ที่ไดจากผลการสํารวจความคิดเห็น จากผลการวิจัย ๒. การตีความ ตามนิยาม ความหมายของ คุณลักษณะที่แตกตางกัน เชน คุณธรรม และ ความ ยุติธรรม ซึ่งมีความหมายใกลเคียง แตไมเหมือนกัน


ทั้งหมด จึงทําใหเกิดความแตกตางในการจําแนก คุณลักษณะที่สอดคลองกับ คุณลักษณะ ตามนิยาม และหลักการวัดวิภาววิสัย ๓. พื้นฐานความรูดานจิตวิทยา ประสบการณ ในการทํางาน และการปฏิบัติงานดานการปกครอง บังคับบัญชาของผูบังคับบัญชา ตอผูใตบังคับบัญชา ในแตละหนวยงาน รวมทั้งสิ่งแวดลอมการทํางาน ที่มีลักษณะแตกตางกัน ก็เปนอีกปจจัยสําคัญหนึ่ง ที่มีผลตอความคิดเห็นที่แตกตางกันได โดยสรุปได จากผลสํารวจความคิดเห็นที่แตกตางกันของอาจารย และผูเชี่ยวชาญดานเสนาธิการกิจ ๔. การคัดกรองคุณลักษณะบางประการ ออก โดยผูทรงคุณวุฒิ ในกระบวนการตรวจสอบ คุณภาพเครื่องมือ จํานวน ๓ ลักษณะ ไดแก การ ตองการยกยองสรรเสริญ การตองการความสัมพันธ และลักษณะความเปนชาย เปนอีกสาเหตุหนึ่งที่สงผล ใหเกิดความแตกตาง ระหวาง ๒ กระบวนการนี้ได Ö สรุปผลการวิจยั จากคาความเที่ยงตรง IOC ของอาจารย และผูเ ชี่ยวชาญ แยกตามชนิดประสิ ท ธิภาพของ สมอง ทั้ ง 3 ด า น คื อ ด า นพุ ท ธิ พิ สั ย (Cognitive) จิตพิสัย (Affective) และทักษะพิสัย (Psychomotor) สามารถนําผลที่ได ไปประยุกตใชในการทําแบบทดสอบ งานวิจัยที่เกี่ยวของ รวมทั้งการประเมินคาและการ ปกครองดูแล นทน.ฯ ได จากสรุปผลการไดมาของคุณลักษณะทั้ง ๒๐ ลักษณะ ที่ไดผานกระบวนการคัดกรอง เปรียบเทียบ ตามหลั ก การวิ จั ย ตรวจสอบโดยผู เ ชี่ ย วชาญที่ มี

ความรู ประสบการณ และมีหลักการในทางวิชาการ ที่ น า เชื่ อ ถื อ เห็ น สมควรนํ า เสนอ ศทบ.ยศ.ทอ. เพื่ อ เป น ข อ มู ล นํ า ไปพั ฒ นา กรอบคุ ณ ลั ก ษณะ อันพึงประสงค ของ นทน.รร.สธ.ทอ.ฯ ที่เหมาะสม ในการนําไปทดสอบวิภาววิสัย ตอไป Ö ประโยชนที่ไดรับจากการวิจัย ๑. ศทบ.ยศ.ทอ. - สามารถนํ ากรอบคุณลั กษณะอัน พึง ประสงคที่ไดเปนแนวทางในการพัฒนาแบบทดสอบ วิภาววิสัย ที่เหมาะสมกับนทน.รร.สธ.ฯ ยิ่งขึ้น ๒. นทน.รร.สธ.ทอ.ฯ - เกิดความตระหนักและเขาใจในแบบ การทดสอบ และมีความเชื่อมั่นในแบบการทดสอบ - เข า ใจป ญ หาทางจิ ต วิ ท ยา อารมณ สั ง คม ตลอดจนบุ ค ลิ ก ภาพของตนเอง เพื่ อ การ พัฒนาปรับปรุงในการรับราชการตอไปในอนาคต ๓. รร.สธ.ทอ.ฯ - อาจารย ผู ที่ นํ า ผลการทดสอบไปใช และผู บั ง คั บ บั ญ ชาที่ เ กี่ ย วข อ ง เกิ ด ความเข า ใจ ในหลักการทดสอบทางจิตวิทยา สามารถนําผลการ ทดสอบไปใชงานไดถูกตองและเหมาะสมยิ่งขึ้น - ชวยลดปญหาการไมเชื่อมั่นในผลการ ทดสอบและการใชงานผลการทดสอบ ของ นทน. รร.สธ.ยศ.ทอ. ๔. กองทัพอากาศ - ไดตนแบบการพัฒนาแบบทดสอบที่ สามารถนําไปประยุกตใชกับแบบทดสอบในลักษณะ คลายคลึงกัน


- ชวยลดปญหาการไมเชื่อมั่นในผลการ ทดสอบและการใชงานผลการทดสอบ - เปนแนวทางในการปรับเขารับราชการ ในตํ าแหนงที่ สอดคลองกับความรูความสามารถ และบุคลิกภาพ Ö ขอเสนอแนะการใชงานผลการวิจยั ๑. เนื่ อ งจากแบบทดสอบวิ ภ าววิ สั ย เดิ ม ๑๘ ลักษณะ ไมไดสรางจากกรอบคุณลักษณะของ นทน.รร.สธ.ทอ.ฯ ที่ถูกตองตามกระบวนการพัฒนา แบบทดสอบ มีปญหาการไมเชื่อมั่นในผลการทดสอบ ของผูรับการทดสอบ และการใชงานผลการทดสอบ ของอาจารยผูใชงาน จึงเห็นสมควร นําเสนอกรอบ คุณลักษณะอันพึงประสงคที่ไดผานกระบวนการ วิจัยนี้แลว จํานวน ๒๐ ลักษณะ ตอ ศทบ.ยศ.ทอ. เพื่ อ เป น แนวทางในการพั ฒ นาแบบทดสอบ วิภาววิสัย ที่เหมาะสมกับ นทน.รร.สธ.ฯ ที่เหมาะสม ยิ่งขึ้น ๒. ผู ที่ มี ส ว นเกี่ ย วข อ งกั บ การทดสอบ วิ ภ าววิ สั ย ควรเผยแพร ผ ลการวิ จั ย การพั ฒ นา แบบทดสอบวิ ภาววิ สัย เพื่อให นทน. ที่จะเขารับ การศึกษาในรุนตอไป เกิดความตระหนักและเขาใจ ในหลัก การทดสอบทางจิ ต วิ ท ยา มี ค วามเชื่ อ มั่ น ธรรมชาติ

ในแบบการทดสอบ และเกิดการยอมรับในผลการ ทดสอบ ๓. ผูที่มีสวนเกี่ยวของกับการทดสอบ วิภาว วิสัย และนําผลการทดสอบไปใชงาน ควรเสริมสราง ความรูทางดานจิตวิทยา และการทดสอบวิภาววิสัย ให อาจารยสัมมนา อาจารยที่ปรึกษา และอาจารย ผูที่นําผลการทดสอบไปใช ใหเกิดความเขาใจ ใน หลักการทดสอบทางจิตวิทยา สามารถนําผลการ ทดสอบไปใชงานไดถูกตองและเหมาะสมยิ่งขึ้น ๔. ผูบังคับบัญชาทุกระดับชั้น กรมกําลังพล ทอ. หนวยงานกําลังพล และหนวยงานเกี่ยวของกับ งานดานกําลังพล ควรทําความเขาใจแบบทดสอบ ทางจิ ต วิ ท ยา การวั ด ผล และการใช ง านผลการ ทดสอบ เพื่ อ สามารถใช เ ป น เครื่ อ งมื อ หนึ่ ง ที่ มี ประสิทธิภาพในการคัดเลือก บุคลากร เปนแนวทาง ในการปรับยาย ขาราชการ เพื่อเขารับราชการใน ตําแหนงที่สอดคลองกับความรูความสามารถและ บุคลิกภาพ ที่เหมาะสมยิ่งขึ้นตอไป ๕. สามารถนํากระบวนการวิจัยนี้ ไปปรับ ใชกับการพัฒนาแบบทดสอบในรูปแบบอื่นที่เกี่ยวของ และกับการทดสอบในหลักสูตรอื่นๆ ของ ทอ. เชน โรงเรียนนายทหารชั้นผูบังคับฝูง โรงเรียนนายทหารอากาศอาวุโส หรือ วิทยาลัยการทัพอากาศ เปนตน

ข้อมูลอ้างอิง : ผลงานเอกสารวิจยั ดีเด่น รร.สธ.ทอ.ยศ.ทอ. รุ่นที่ 54 , 16 ก.ย.2553


Pharaoh ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ก า ร ป ก ค ร อ ง ใ น ป พ.ศ.๒๔๗๕ โดยการปฏิ วั ติ ข องคณะราษฎร นั้ น มีอุดมการณมุงหวังใหประชาชนเปนเจาของอํานาจ การปกครองและมีสวนรวมในทางการเมือง เพื่อที่จะ ดําเนินรูปแบบการปกครองของประเทศใหเปนไป ในวิถีทางที่เรียกวา “ประชาธิปไตย” แตถึงกระนั้น ในชวงเริ่มแรกของยุคการเปลี่ยนแปลงและในระยะ ตอๆ มา เปนเพียงการเปลี่ยนแปลงในเชิงสัญลักษณ เทานั้น เพราะอํานาจในการปกครองสวนใหญยังถูก ปกครองโดยอิทธิพลของทหาร โดยไมไดเปดโอกาส ใหประชาชนมีสวนรวมในการดําเนินกิจกรรมทาง การเมื อ งอย า งแท จ ริ ง ซึ่ ง นั บ ตั้ ง แต เ ปลี่ ย นแปลง การปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ จนถึ ง ป จ จุ บั น มี ก าร กอรัฐประหารและกบฏในประวัติศาสตรการเมือง การปกครองของไทย จํ า นวน ๒๐ ครั้ ง ประสบ ความสําเร็จ ๑๑ ครั้ง (รัฐประหาร) และไมสําเร็จ ๙ ครั้ง (กบฏ) มีคณะรัฐบาลบริหารปกครองประเทศ ทั้งมาจากพลเรือน จากพรรคการเมืองและคณะทหาร

ซึ่งมาจากการทํารัฐประหาร ระยะเวลาบางชวงบางตอน ที่ผานมานั้น ประวัติศาสตรการเมืองการปกครอง ของไทยต อ งจารึ ก เหตุ ก ารณ สํ า คั ญ และมี ก าร เปลี่ ย นแปลงต า งๆ ซึ่ ง นั่ น คื อ ต อ งแลกมาด ว ย โศกนาฏกรรมและความสู ญ เสี ย ผู เ ขี ย นเห็ น ว า เหตุ ก ารณ ทั้ ง ๒ เหตุ ก ารณ ที่ จ ะปรากฏต อ ไปนี้ เปนเหตุการณที่เกี่ยวเนื่องกัน นั่นคือ “เหตุการณ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖” และ “เหตุการณ ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๙” เหตุการณ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖ เปนปรากฏการณทางการเมืองยุคใหมของไทย ที่มี นัย สํา คัญยิ่ง เพราะเปน การลุก ฮือ ของประชาชน เปนจํานวนกวา ๑๐๐,๐๐๐ คน เพื่อตอตานรัฐบาล เผด็จการทหาร โดยถือไดวาเปนการเปดประวัติศาสตร การเมืองไทยยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่ อ ๒๔ มิ ถุ น ายน พ.ศ.๒๔๗๕ โดยสาเหตุ ข อง เหตุการณดังกลาวนั้น สืบเนื่องมาจากความขัดแยง


ระหวางกลุม จอมพล ถนอม กิตติขจร, จอมพล ประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค กิตติขจร หรือกลุมถนอม– ประภาส-ณรงค กั บ กลุ ม ผูนําทางการเมืองกลุมอื่น ซึ่ ง สู ญ เสี ย ผลประโยชน ทางดานอํานาจทางการเมือง และกิ จ การค า ไปกั บ การ ยึ ด อํ า นาจของคนกลุ ม นี้ และภาพพจน ที่ ไ ม ดี ข อง รัฐบาลตอประชาชน ทําให เกิดการรวมตัวของกลุมตางๆ เพื่อเรียกรองรัฐบาล และการเรียกร องขั้ น สุ ดทา ยซึ่ง นํา ไปสู เหตุการณ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖ คือ การเรียกรองรัฐธรรมนูญ โดยรัฐบาล จอมพล ถนอมฯ ยินยอมเจรจาและตกลง ทํ า สั ญ ญาเป น ลายลั ก ษณ อั ก ษรต อ เงื่ อ นไขการ เรียกรองในเวลาตอมา โดยเงื่อนไขการเรียกรอง คือ จัดใหมีการรางรัฐธรรมนูญ และใหมีการเลือกตั้งใน ภายหลังที่รัฐธรรมนูญประกาศใช สภาพเหตุการณ นั้น เปนการปะทะกันระหวางตํารวจ-ทหาร กับนิสิต นักศึกษาและประชาชน ซึ่งชุมนุมประทวงเรียกรอง รัฐธรรมนูญและยินยอมสลายตัวในเวลาตอมา แต ความผิดพลาดในการประสานงานของเจาหนาที่ ฝายรัฐบาลกับตํารวจ-ทหาร ทําใหการสลายการชุมนุม เกิดการปะทะกันอยางรุนแรง ทําใหมีผูเสียชีวิตและ บาดเจ็บจํานวนมากที่สุดในประวัติศาสตรการเมืองไทย เหตุ การณห นึ่ ง (หลายคนเรี ย กวั น ที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖ วา วันมหาวิปโยค) จนกระทั่งในที่สุด

กลุมถนอม–ประภาส-ณรงค ไดลาออกจากรัฐบาล และยินยอมเดินทางออกนอกประเทศ เหตุการณจึง ยุ ติ จากเหตุ ก ารณ ดั ง กล า วข า งต น ทํ า ให รั ฐ บาล เผด็ จ การสิ้ น สุ ด ลง โดยพระบรมราชโองการ โปรดเกลาฯ แตงตั้งให นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ดํารง ตําแหนงนายกรัฐมนตรี เพื่อการเตรียมพรอมสําหรับ รางรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ตอไป ¾ สาเหตุข องเหตุก ารณ ๑๔ ตุ ล าคม พ.ศ.๒๕๑๖ เกิดจากเชิงโครงสรางและปจจัยตางๆ ดังนี้ ๑. โครงการทางสั งคม เศรษฐกิ จ และ การเมือง : เปนปญหาที่เดนชัดจากการใชอํานาจ เด็ดขาดในการปกครอง ทําลายสถาบันและกลไก ทางการเมื อ งแบบมี ส ว นร ว มที่ ต อ เนื่ อ งจากสมั ย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรั ชต เนนความอยูดีกินดี ของ ประชาชนแบบพ อ ปกครองลู ก โดยถึ ง แม ว า จะมี


แนวทางการบริ ห าร ห รื อ แ ผ น น โ ย บ า ย เศรษฐกิ จ และสั ง คม แ ห ง ช า ติ ที่ ชั ด เ จ น แต ป ระชาชนผู อ ยู ใ ต อํ า นาจการปกครอง ไมไดมีสวนรวมในการ ตั ด สิ น ใจ ซึ่ ง สภาพ เศรษฐกิ จ และสั ง คม ในขณะนั้ น ประสบ ป ญ หาค า ครองชี พ สู ง ป ญ หาความยากจน และ ปญหาการไรการศึกษาของประชาชนสวนใหญ ซึ่ง การตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลงสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองนําไปสูขอขัดแยง แตการไมมีกลไก ทางการเมืองในการดําเนินการแกไขขอขัดแยงของ ทุก ฝา ย ทํา ใหเ กิด การเสี ย ดุ ล ระหว า งการพัฒ นา การเมืองกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม นําไปสู การเรียกรองของฝายนิสิตนักศึกษาและประชาชน เกิ ดการเรีย กรองทางการเมือง จนกระทั่ งนําไปสู เหตุการณ ดังกลาวในที่สุด ๒. ระบบการปกครองแบบพอขุนของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรั ช ต : รวมถึ ง การมี ร ะบบ อุปถัมภดวยนั้น จะตองอาศัยบุคลิกภาพของผูนํา ที่มีอํานาจสรางความนับถือ เกรงกลัวในหมูผูนํา ทางการเมือง โดยจะตองสามารถควบคุมอํานาจ ทางการเมืองได ซึ่งในวัฒนธรรมทางการเมืองไทย นั้นถือวาบารมีเปนสวนสําคัญ เพราะจะนํามาซึ่ง ความชอบธรรมในการมีตําแหนง สูง มี อํานาจใน การปกครอง ซึ่ง จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต มีความ

ไดเปรียบอยางยิ่ง แตเมื่อภายหลังการถึงแกอสัญกรรม ของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต สูการสืบทอดอํานาจ โดย จอมพล ถนอม กิตติขจร ซึ่งขาดบารมีเทียบเทา ทํ า ให เ กิ ด ความเสื่ อ มศรั ท ธาต อ รั ฐ บาลรวมทั้ ง ปญหาที่เกิดขึ้นจากนโยบายพัฒนาประเทศ นําไปสู ความขั ด แย ง ของกลุ ม ผู นํ า กลุ ม ผลประโยชน ซึ่งรัฐบาลไมสามารถควบคุมปญหาความขัดแยง ตางๆ ได ๓. กรณี ก ารทุ จ ริ ต และพฤติ ก รรมที่ ไมเหมาะสมของกลุมผูนํา : รัฐบาล จอมพล ถนอม กิตติขจร มีปญหาทุจริตอยางกวางขวางของกลุม ผูนําหรือพรรคพวกของบรรดาผูนําทั้งหลาย รวมถึง การใชอํานาจหนาที่กดขี่ขมเหงขาราชการชั้นผูนอย นักธุรกิจหรือประชาชนที่ไมสนองตอความตองการ สวนตัวหรือขัดแยงตอผลประโยชน สวนตัว ทําให เกิดการเรียกรองใหมีการตรวจสอบจากกลุมนิสิต นักศึกษาและประชาชนในขณะนั้น แตรัฐบาลไมได แสดงความเอาจริงเอาจังในการแกไขปญหาดังกลาว อาทิ ป ญ หาพฤติ ก รรมของ พ.อ.ณรงค กิ ต ติ ข จร


กรณี ป ญ หาการนํ า เฮลิ ค อปเตอร ข องราชการไป ล า สั ต ว ใ นทุ ง ใหญ น เรศวร และกรณี ก ารลบชื่ อ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคําแหง จํานวน ๙ คน เปนตน ๔. กรณี ป ญ หาประกาศคณะปฏิ วั ติ ฉบับที่ ๒๙๙ : รัฐบาล จอมพล ถนอมฯ ออกประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๙๙ ใหรวบอํานาจตุลาการ ขึ้นตรงตอฝายบริหาร ทําใหสภาพสังคมในขณะนั้น เกิดความหวาดระแวงและไมเชื่อถือตอกระบวนการ ยุติธรรมเปนอย า งยิ่ ง นําไปสู ก ารเคลื่ อนไหวของ กลุ ม นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาและประชาชนในเวลาต อ มา ปญหาตางๆ ที่สะสมโดยรัฐบาล ไมสามารถแกไข หรือใหความชัดเจนในการแกไขปญหาตางๆ นํามา สูวิกฤติศรัทธาและปญหาความไมชอบธรรมของ รัฐบาล กลายเปนปญหาที่สําคัญทางการเมือง รวมทั้ง การรวมกลุ ม ของกลุ ม องค ก ารนั ก ศึ ก ษาจาก มหาวิทยาลัยตางๆ ทั่วประเทศ จัดตั้ง “ศูนยกลาง นิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทย” เพื่อเปนแกนนํา ในการเรียกรองและเคลื่อนไหวดําเนินกิจกรรมใน ฐานะตัวแทนของนิสิตนักศึกษาทั่วประเทศ ๕. ศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศ ไทย : จั ด ตั้ ง ขึ้ น จากการที่ ก ลุ ม นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา ในสถาบันอุ ดมศึกษา ไดรวมกลุมกั นแลกเปลี่ย น ความคิ ด เห็ น ในป ญ หาของประเทศชาติ ม ากขึ้ น โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และรวมมือทาง วิชาการระหวางองคการนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย ตางๆ ในการทํากิจกรรมชวยเหลือสังคม การเรียกรอง เคลื่อนไหวทางการเมือง และการหารือรวมกันในการ ประชุม “สหภาพนักศึกษานานาชาติ” จนในที่สุด

จึ ง มี ดํ า ริ ร ว มกั น จั ด ตั้ ง “ศู น ย ก ลางนิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา แหงประเทศไทย” ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ และดําเนิน กิจ กรรมตา งๆ เพื่อเปน ตัวแทนของนิสิตนั กศึกษา ทั่วประเทศ โดยกิจกรรมหรือการเคลื่อนไหวที่สําคัญ อาทิ การรณรงค ต อ ตา นสิน ค า ญี่ ปุ น การรณรงค ให ใช สิน คา ไทย การคั ดค า นประกาศคณะปฏิ วั ติ ฉบับที่ ๒๙๙ การเรียกรองใหตรวจสอบการทุจริต ของกลุมทหารในกรณีทุงใหญนเรศวร การคัดคาน การลบชื่อนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคําแหง ๙ คน และการรณรงคเรียกรองรัฐธรรมนูญ เปนตน การจัดตั้ง “ศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทย” ในสมัย รัฐบาล จอมพล ถนอม กิ ตติ ขจร นั้ น ไม ไ ด รั บ การ ตอตานหรือขัดขวางจากรัฐบาลเนื่องจากในชวงแรก ในกิจกรรมรณรงคตอตานสินคาญี่ปุนและการรณรงค ใชสินคาไทยนั้น ทําใหรัฐบาลไดประโยชนจากอํานาจ ต อ รองทางการค า กั บ ต า งประเทศอย า งยิ่ ง อาทิ ญี่ปุนและจีน และรัฐบาลยังเชื่อมั่นในการใชอํานาจ เบ็ดเสร็จ ของตนจนกระทั่ง เหตุ การณ ดํา เนิ น มาสู ความรุนแรง ¾ การเปลี่ยนแปลงภายหลังเหตุการณ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖ นําไปสูการเปลี่ยนแปลง ทางการเมื อ งการปกครองและสั ง คมไทย สรุ ป ได ดังนี้ ๑. การสิ้นสุดของระบอบเผด็จการ และ การเริ่มตนประชาธิปไตย : การสิ้นสุดของระบอบ เผด็จการ เปนการลมลางอํานาจรัฐบาลทหาร โดย การชุมนุมตอตานของประชาชนนําไปสูการเริ่มตน ประชาธิปไตยที่สมบูรณจากการตื่นตัวทางการเมือง การเรี ย กร อ งของประชาชน กลุ ม นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา


นักวิชาการ อาจารยมหาวิทยาลัย มีบทบาทในการ มีสวนรวมทางการเมืองมากขึ้น ๒. การเสื่อมศรัทธาในสถาบันทหารและ ตํารวจ : ความรุนแรงจากเหตุการณ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖ ทําใหประชาชนเสื่อมศรัทธาในสถาบัน ทหารและตํารวจ ¾ภายหลังเหตุการณ ไดมีพระบรมราชโองการโปรดเกลาฯ ใหนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ดํารง ตําแหนงนายกรัฐมนตรี มีการรางและประกาศใช รัฐ ธรรมนู ญ แห ง ราชอาณาจั ก รไทย พ.ศ.๒๕๑๗ โดยมี เ นื้ อ หาสํ า คั ญ เป ด โอกาสให ป ระชาชนมี สวนรวมทางการเมืองมากขึ้น ภายหลังการประกาศใช รัฐ ธรรมนู ญ ได จั ด ให มี ก ารเลื อ กตั้ ง ทั่ ว ไปใน วั น ที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๘ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหนาพรรคกิจสังคม ซึ่งมีจํานวน ส.ส.เปนอันดับ ๓ ไดดํารงตําแหนงเปนนายกรัฐมนตรี เหตุการณ ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๙ เปนจุดดางทางประวัติศาสตรการเมือง การปกครอง

ของไทย พฤติ ก รรมที่ รุ น แรงโหดเหี้ ย ม ทารุ ณ ขาดมนุษยธรรม เชน การทําทารุณกรรมตอผูเสียชีวิต ในที่สาธารณะเหตุการณดังกลาว เปนเหตุการณ รุนแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร อันสืบเนื่องมาจาก พฤติ ก รรมความกดดั น ทางการเมื อ งที่ ป ระชาชน ตกอยูในกรอบการปกครองแบบเผด็จการมาเป น เวลานาน ภายหลังการประกาศใชรัฐธรรมนูญ แหง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๑๗ ประชาชนมีโอกาส แสดงออกทางการเมื อ ง แต ก ารแสดงออกทาง การเมืองกลับเปนไปในรูปความรุนแรง กอใหเกิด ความปนปวน วุนวาย ประกอบกับการแผขยายแนวคิด ลัทธิคอมมิวนิสตเขามาสูภูมิภาคเอเชียในขณะนั้น ทําใหเกิดความคิดเห็นและอุดมการณทางการเมือง ของประชาชนที่ แ ตกต า ง ขั ด แย ง กั น อย า งรุ น แรง แบงเปนฝาย ซายจัดและขวาจัด ซึ่งเปนพฤติกรรม ขัดแยงทางอุดมการณ นอกจากจะมีการแสดงออก ทางความคิดเห็นแลว ยังมีการใชความรุนแรง เชน การบุกรุกเผาและทําลายสถานที่ราชการ หนวยงาน ตางๆ เหตุการณทางการเมืองทวีความรุนแรงมากขึ้น ในเดื อ นกั น ยายน พ.ศ.๒๕๑๙ จอมพล ถนอม กิตติขจร ไดเดินทาง กลับเขาประเทศ ทําใหเกิดกระแส ต อตานจากสั ง คมอยา งต อ เนื่ อ ง และรุ น แรง ผู ชุ ม นุ ม บุ ก เข า ไป ยึ ด มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร เ ป น ส ถ า น ที่ ชุ ม นุ ม ขั บ ไ ล จอมพล ถนอม กิ ต ติ ข จร มี ก าร แสดงการดูหมิ่นพระราชวงศและ ประท ว งรั ฐ บาลอย า งรุ น แรง


จนกระทั่ ง วัน ที่ ๖ ตุ ล าคม พ.ศ.๒๕๑๙ เกิด การ ปะทะกั น ระหว า งกลุ ม นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษากั บ กลุ ม ประชาชน ซึ่งขัดแยงกันอยางรุนแรงในแนวคิดทาง การเมือง นําไปสูการสูญเสียชีวิตและทรัพยสิน การ บาดเจ็บของประชาชนจํานวนมาก จนในที่สุดรัฐบาล ตองใชมาตรการขั้นเด็ดขาดในการปราบปรามการ จลาจลและผูกอความไมสงบ โดยเฉพาะพฤติกรรมที่ สะทอนแนวคิดลัทธิคอมมิวนิสตที่กระทบตอความ มั่นคงสถาบันพระมหากษัตริยและสถาบันศาสนา ทําใหตองหวนกลับไปสูกรอบเผด็จการ โดยการใช อํ า นาจรั ฐ ปราบปรามอย า งเด็ ด ขาด เมื่ อ รั ฐ บาล ไมสามารถควบคุมสถานการณได คณะปฏิรูปการ ปกครองแผ น ดิ น โดย พล.ร.อ.สงั ด ชลออยู เป น หัวหนาทําการยึดอํานาจประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๑๗ และตั้งรัฐบาลขึ้นบริหารประเทศ โดยมี นายธานินทร กรัยวิเชียร ดํารงตําแหนงนายกรัฐมนตรี ¾ ประเด็นสําคัญที่เกี่ยวของกับเหตุการณ ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๙ สรุปไดดังนี้ ๑. ความตื่นตัวทางการเมืองและความ แตกแยกของประชาชน : การเมืองภายใตรัฐธรรมนูญ แห ง ราชอาณาจั ก รไทย พ.ศ.๒๕๑๗ ประชาชน มี ค วามตื่ น ตั ว ทางการเมื อ ง และพร อ มที่ ใ ช สิ ท ธิ เสรีภาพของตนอยางเต็มที่ บรรยากาศทางการเมือง เต็ ม ไปด ว ยการเรี ย กร อ งและความตึ ง เครี ย ด แนวความคิดทางการเมืองแบงแยกออกเปน ๒ ฝาย คือฝายซายจัดและขวาจัด เปนการขัดแยงอุดมการณ ทางการเมื องที่ รุน แรง มี ค วามคิด เห็ น ที่ แ ตกแยก ขัดแยง แตกความสามัคคี โดยเฉพาะการแตกแยก ทางอุดมการณแบบ ๒ ขั้วสุดโตง ฝายขวา-ฝายซาย

อาจรุนแรงบานปลายกลายเปนสงครามกลางเมือง กระทบต อ ความมั่ น คงของชาติ คณะปฏิ รู ป การ ปกครองแผนดิน จึงตองยึดอํานาจสกัดกั้นเหตุการณ ความรุนแรงดังกลาว ๒. ความขัดแยงในหมูผูนําทางการเมือง : สภาพการเมืองไทยกอน ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๙ อยู ในภาวะเกิดความขัดแยงของผูนําทางการเมืองและ ผูนําทางทหารทั้งดานผลประโยชนและการเมืองทวี ความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งความขัดแยงระหวาง อุ ด มการณ ท างการเมื อ ง ที่ แ บ ง แยกเป น ๒ ฝ า ย ทําใหบรรยากาศทางการเมืองมีความสับสน วุน วาย เป น เหตุ ใ ห ร ะบอบประชาธิ ป ไตยต อ งสะดุ ด ลง อีกครั้ง ๓. การเดินทางกลับประเทศของ จอมพล ถนอม กิตติขจร : ในปลายป พ.ศ.๒๕๑๗ จอมพล ถนอม กิ ต ติ ข จร ได แ อบเดิ น ทางเข า ประเทศเป น ครั้งแรก โดยอางวาเพื่อมาดูแลบิดาที่กําลังปวยหนัก แตขาวรั่วไหล ทําใหนักศึกษาและประชาชนรวมตัว กั น ผลั ก ดั น กลั บ ออกไป หลั ง จากกลั บ เข า มาใน ประเทศไดเพียง ๕ วัน จนกระทั่งวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๙ จอมพล ถนอม กิตติขจร ไดบรรพชา เปนสามเณร แลวเดินทางเขาประเทศอีกเพื่อเขามา อุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จึงเกิดกระแสการ ตอตานจากกลุมนิสิตนักศึกษา ประชาชนและกลุม นักการเมืองอยางกวางขวาง จนกระทั่งนําไปสูการ ปะทะกั น ระหว า งกลุ ม ผู ป ระท ว งและประชาชน ด ว ยกั น เอง ฝ า ยรั ฐ บาลได ใ ช อํ า นาจเข า ควบคุ ม จนสถานการณรุนแรงบานปลาย เขาสูเหตุการณ ดังกลาว


๔. ป ญ หาการแผ ข ยายแนวคิ ด ลั ท ธิ คอมมิวนิสตในประเทศไทย : การคุกคามจาก พลั ง ฝ า ยซ า ย หรื อ แนวคิ ด ลั ท ธิ ค อมมิ ว นิ ส ต ใ น ประเทศไทย เขย า ขวั ญ ผู ที่ ค รองอํ า นาจอยู ใ น ขณะนั้ น เวียดนาม ลาวและกั ม พู ชา ตา งตกเปน ประเทศคอมมิ ว นิ ส ต กอปรกั บ กระแสฝ า ยซา ยที่ กํ า ลั ง มี อิ ท ธิ พ ลอยู ใ นวงการต า งๆ ในสั ง คมไทย ทําใหเกิดความหวาดวิตก จึงไดเกิดกระแสความ พยายามสกัดกั้น จนพัฒนาสถานการณไปสูความ รุนแรงยิ่งขึ้น ¾ การเปลี่ยนแปลงภายหลังเหตุการณ ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๙ ๑ . ป ร ะ ก า ศ ย ก เ ลิ ก รั ฐ ธ ร ร ม นู ญ พ.ศ.๒๕๑๗ : ภายหลั ง การยึ ด อํ า นาจโดยคณะ ปฏิรูปการปกครองแผนดินซึ่ง พล.ร.อ.สงัด ชลออยู เปนหัวหนา เปนการสิ้นสุดประชาธิปไตยอีกครั้งหนึ่ง ๒. การจัดตั้งรัฐบาลใหม : ภายหลังการ ยึ ด อํ า นาจโดยคณะปฏิ รู ป การปกครองแผ น ดิ น นายธานิ น ทร กรั ย วิ เ ชี ย ร ได ดํ า รงตํ า แหน ง นายกรั ฐ มนตรี การเมื อ งไทยพยายามจะพั ฒ นา ประชาธิปไตยในรูปแบบตางๆ แตไมไดผล ทําให เกิดการตอตานจากทหารบางกลุม พยายามที่จะ ยึดอํานาจโคนลมรัฐบาล แตไมสําเร็จ แตในที่สุด รั ฐ บาลของนายธานิ น ทร กรั ย วิ เ ชี ย ร ก็ สิ้ น สุ ด ลง โดยการยึ ด อํ า นาจของคณะทหารภายใต ก ารนํ า โดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู อีกครั้งหนึ่ง และแตงตั้ง พล.อ.เกรี ย งศั ก ดิ์ ชมะนั น ทน ดํ า รงตํ า แหน ง นายกรัฐมนตรี เหตุการณดังกลาว เปนเหตุการณ อันนาเศราสลด เปนรอยดางทางการเมืองการปกครอง

ในระบอบประชาธิปไตยของไทย ไมควรเกิดขึ้นอีก ประชาชนไทยต อ งเข น ฆ า กั น เองในลั ก ษณะ ทารุณกรรม ไรมนุษยธรรม ความเสียหายที่เกิดขึ้น กระทบทั้งในแงชีวิต จิตวิญญาณของประชาชนไทย มากมาย ควรถือเอาเหตุการณ ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๙ เปนบทเรียนอันมีคาของประชาชนไทย และสังคม ตองรวมมือกัน เพื่อมิใหประวัติศาสตรตองซ้ํารอยอีก

บทสรุป ผูเขียนพบวา กวาเราจะพัฒนาการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยจากอดีตมาสูประชาธิปไตย ในยุคปจจุบันไดนั้น ยอมตองมีอุปสรรคไมมากก็นอย เช น เดี ย วกั น อุ ป สรรคจากหน า ที่ ก ารงาน หรื อ ชีวิตประจําวัน จะตางกันตรงที่อุปสรรคของระบอบ


ประชาธิป ไตยนั้น แลกมาด ว ยโศกนาฏกรรมและ การสูญเสียของทั้ง ๒ ฝาย ถาพิจารณาถึงสาเหตุ ของตัวอยางเหตุการณสูญเสียทั้ง ๒ เหตุการณ ไม วาจะเปนเหตุการณ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖ หรือ ๖ ตุ ล าคม พ.ศ.๒๕๑๙ (ในด า นบวก) ทํ า ให เ รา พบวาอํานาจของประชาชนนั้น ทุกยุคทุกสมัยนั้น ยังมีพลังและมีความศักดิ์สิทธิ์เสมอกัน สมกับความ มุ ง หวั ง ของคณะราษฎร ที่ ต อ งการให ป ระชาชน เป น เจ า ของอํ า นาจการปกครองและมี ส ว นร ว ม ในทางการเมือง แตในทางตรงกันขาม (ในดานลบ) เมื่อใดก็ตามที่รัฐหรือผูนําเพิกเฉยตอหนาที่ความ รับผิดชอบ ชีวิตและปญหาความเปนอยู ตลอดจน ปญหาปากทองของผูเปนเจาของอํานาจปกครองที่ แทจริง (ประชาชน) เวลานั้นยอมจะมีสัญญาณเตือน ของประชาชนโดยการแสดงออกในหลายรูปแบบ เช น การปราศรัย ในยุ คป จจุ บั น ซึ่ ง การมี สว นรว ม ในทางการเมือง ในลักษณะนี้ถาเหตุการณระหวาง ประชาชนและผู นํ า ทางการปกครองไม ส ามารถ ปรองดองกั น ได ย อ มก อ ให เ กิ ด ความรุ น แรง ธรรมชาติ

ดัง ๒ เหตุการณขางตน ซึ่งตองจบลงที่ความชะงักงัน ของประเทศและความสูญเสียชีวิต เลือดเนื้อของ ประชาชนไทยดว ยกัน และบนผืน แผน ดิน อันเป น บานเกิดเมืองนอนของทั้ง ๒ ฝายภายใตอุดมการณ ทางการเมืองอันแตกตาง รวมถึง ทิฐิมานะและอัตตา ของแต ล ะบุ ค คล ผู ที่ ไ ด รั บ ผลเสี ย จากเหตุ ก ารณ เหลานี้มากที่สุด คือ ประชาชนไทยนั่นเอง หากนําพระราชดํารัส ของพระบาทสมเด็จ พระเจ า อยู หั ว ที่ พ ระราชทานแก ป ระชาชนไทย ในโอกาสขึ้นปใหม เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๓ เกี่ยวกับ ความ รัก ชาติ–ความมั่นคง–ความสามั คคี ที่ใ จความว า “บ า นเมื อ งของเรากํ า ลั ง ต อ งปรั บ ปรุ ง และ พัฒนาที่มีประสิทธิภาพ ทางที่เราจะชวยกันได ก็คือ การทําความคิดใหถูก และแนวแนในอัน ที่จะยึดถือประโยชนของบานเมืองเปนที่หมาย ตองเพลาคิดถึงประโยชนเฉพาะตัว และความ ขัดแยงกันในสิ่งที่มิใชสาระลง” มาพิจารณา ก็จะพบวา เปนคําตอบสุดทายของประชาชนไทย ทุกคน ""

อ้างอิง : - “สมศักดิ์ หนูสนิท” การพัฒนาทางการเมืองสู่ความเป็นประชาธิปไตย : ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหารกับ การเมืองไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคําแหง, ๒๕๔๒. - “ลิขิต ธีรเวคิน” การเมืองการปกครองไทย พ.ศ.๒๕๑๖ – ๒๕๑๙. เอกสารการสอนชุดวิชาประวัติศาสตร์ สังคมและการเมืองไทย. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๕. - “นรนิติ เศรษฐบุตร” การเมืองการปกครองไทย พ.ศ.๒๔๙๐ – ๒๕๐๐. เอกสารการสอนชุดวิชา ประวัติศาสตร์สังคมและการเมืองไทย. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๕. - “สมบัติ ธํารงธัญวงศ์” การเมืองการปกครองไทย : พ.ศ.๑๗๖๒ – ๒๕๐๐. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม, ๒๕๔๙.


ฝอ.๕ สวั ส ดี ค รั บ ท า นผู อ า นที่ เ คารพรั ก ทุ ก ท า น หากทานผูอานมีความคิดที่วาการเรียน, การสอน, การฝ ก และรวมถึ ง ปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ต า งๆ ที่ ท าง โรงเรี ย นนายทหารชั้ น ผู บั ง คั บ ฝู ง ฯ ได จั ด เตรี ย ม ใหกับเหลาบรรดานายทหารนักเรียนในแตละปนั้น มีความผูกพันกันเพียงแตในหมูนายทหารหรือเพียง ในกลุมคนเพียงบางกลุม ขอรับรองวาทานกําลังคิดผิด หรือสับสนอยูอยางแนนอนครับ เพราะในเนื้อแท ของหลักสูตรที่มุงหวังใหนายทหารนักเรียนทุกทาน มี ค วามพร อ มทั้ ง ทางด า นสติ ป ญ ญาและด า น ร า งกาย ตลอดจนมี ก ารปลู ก ฝ ง แนวทั ศ นคติ ที่ ดี ที่ควร ในการเจริญเติบโตใหสอดรับกับตําแหนงหนาที่ การงานในอนาคตแล ว สิ่ ง หนึ่ ง ที่ เ ป น สิ่ ง สํ า คั ญ อันจะขาดเสียไมไดในโลกยุคปจจุบันนั่นคือ “การ ตอบแทนสูสังคม” หรือกิจกรรมมวลชนสัมพันธ ของพวกเราชาวผูฝูงฯ นั่นเอง ซึ่งทานผูอานคงจะ กําลังสงสัยนะครับวากิจกรรมมวลชนสัมพันธที่ผูฝูงฯ จัดทําขึ้นนั้น ทําไมถึงไดมีคุณคามากมายมหาศาล เสียขนาดนั้น ไมรอชาครับผูเขียนจะจัดการแถลงไข ให ณ บัดนี้

ประการแรก เปนการเรียนรูความ ตองการของสังคม กิจกรรมมวลชนสัมพันธนี้หาก มองกันแคเพียงผิวเผิน หลายทานคงจะมองวาเปน การแจกของเสร็จแลวก็จบกัน ซึ่งนั่นอาจจะเปนสิ่ง ที่ ท า นผู อ า นเคยเห็ น หรื อ เคยประสบมา หากแต กิจ กรรมมวลชนสั ม พั น ธ ข องโรงเรี ย นผูฝู ง ฯ นั้ น มี ความแยบยลที่มากกวา เพราะกอนที่เหลาบรรดา นายทหารนักเรียนจะปฏิบัติภารกิจ พวกเราทุกคน จําเปนจะตองเขาถึงผูนําชุมชนหรือถึงเนื้อถึงตัวกับ ประชาชนบางในบางครั้งเพื่อทําการสํารวจความ ตองการของสังคมนั้นๆ วามีความตองการอะไรบาง โดยทั้งนี้เพื่อใหกิจกรรมมวลชนสัมพันธเกิดประโยชน สูงสุดตอสังคม ประการที่สอง เปนการฝกการทํางาน รวมกันเพื่อใหเกิดประโยชนสูงสุด ในประเด็นนี้ ยั ง คงเป น ประเด็ น ต อ เนื่ อ งจากประเด็ น แรก โดย เหล า บรรดานายทหารนั ก เรี ย นทั้ง หญิ ง ชาย และ เกือบจะทุกเหลาไมวาจะเปนเหลา นบ., ชย., ถร. ฯลฯ จะทําการระดมความคิด หรือหาแนวทางเพื่อ กํา หนดให เ ปน รู ป แบบการปฏิ บัติ ง านของบรรดา


นายทหารนักเรียน เพียงเทานี้ยังไมพอครับ งานนี้ สิ่ง ที่ คิดไดใช ว า จะเหมาะสมหรื อถูก ตอ งเสมอไป แตสิ่งที่จะตองทําใหไดก็คือ จะตองสอดคลองกับ พื้นที่ที่เราจะเขาไปทํากิจกรรมมวลชนสัมพันธ ใหไดมากถึงมากที่สุด แนนอนครับวาบางทีความคิดของเรานั้นดี แต ไ ม เ หมาะกั บ ประชาชน หรื อ ในบางครั้ ง สิ่ ง ที่ เหมาะกับประชาชนนั้นเราไมมีศักยภาพที่จะรองรับได ซึ่งทําใหเราเหลาบรรดานายทหารนักเรียนทุกคน ตองรวมมือรวมแรงและรวมใจในการสรรหาแนวทาง ที่ดีที่สุดและให เ กิดประโยชนสูง สุ ด อี กทั้ ง ยัง เป น การสรางความสัมพันธอันดีระหวางทหารกับประชาชน อีกดวย

สักเพียงใด หากปราศจากผูนําและผูตามที่ดีแลว งานชิ้ นนั้น ยอมไมมีความสําเร็จอยางแนนอน ซึ่ ง กิจกรรมมวลชนสัมพันธของโรงเรียนนายทหารชั้น ผูบังคับฝูงฯ นั้นไมวากี่ยุคกี่สมัย ตองยอมรับในผลงาน การสรางสรรควาออกมาไดตรงกับความตองการ ของผูบังคับบัญชาและประชาชนในพื้นที่นั้นในระดับ มากถึงมากที่สุด ทั้งนี้ไมใชเพราะวานายทหารนักเรียนทุกคน มี ค วามสามารถหรื อ ศั ก ยภาพที่ เ หนื อ ธรรมชาติ แต อย างใด หากแต ทางหลั กสู ตรการเรี ยนการสอน ของโรงเรีย นนายทหารชั้น ผูบัง คับฝูง ฯ ตา งหากที่ เปรียบเสมือนเครื่องมืออันทรงพลังและเปยมไปดวย คุ ณภาพที่สามารถบมเพาะและพั ฒนาศั กยภาพของ นายทหารนักเรียนทุกคน จนสามารถออกมารั บใช สังคมไดเปนอยางดีและมีคุณคานาประทับใจยิ่ง

พี่นักบินปกป้อง : ยังคงเป็นพระเอกตลอดกาลเสมอ การประดิษฐ์เครื่องบินกระดาษ: แม้จะเป็นเพียงแค่ เครื่องบินกระดาษแต่ก็สร้างสรรค์ความฝันของน้องๆ หลายคนให้เป็นจริง

ประการสุ ดท า ย กิจ กรรมมวลชน สัมพันธนี้ยังเปนการพัฒนาศักยภาพของความ เปนผูนําและผูตามที่ดี แนนอนครับในทุกภาคสวน ของการปฏิบัติงาน ไมวางานชิ้นนั้นจะเล็กหรือใหญ

เปนอยางไรบางครับสําหรับกิจกรรมมวลชนสัมพันธ ทานผูอานที่รักทุกทาน คงจะเห็นดวยกับ ผูเขียนนะครับวา กิจกรรมมวลชนสัมพันธนั้น นอกจาก จะไดมีความสัมพันธที่ดีกับมวลชนแลว ยังมีความ สั ม พั น ธ ใ นมิ ติต า งๆ ที่ ล้ํา ค า เกิ น คํา บรรยายจริง ๆ .......... สวัสดีครับ


ข้อมูลจําเพาะ : ๑. มวลชนสัมพันธ์ หมายถึง การทํากิจกรรมที่ภาครัฐร่วมกับชุมชน หรือชาวบ้าน เพื่อประชาชนได้มี ส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น โดยมีการประชุมหน้าที่หลักส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ออกพบปะเยี่ยม เยียนแสวงหาความร่วมมือจากประชาชน และการมีส่วนร่วมกับชุมชน (ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี) ๒. หลักสูตรนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ ๑๑๗ ปฏิบัติกิจกรรมมวลชนสัมพันธ์ ณ โรงเรียน นิคมชลประทานสงเคราะห์ จ.นครราชสีมา โดยมี พล.อ.ต.คะเชนทร์ วิเศษรจนา รอง จก.ยศ.ทอ. เป็น ประธาน

ประจําเดือน ต.ค.๕๔ มีน


น.อ.อภิชัย ศักดิ์สุภา (นนอ.๒๒)

(ตอจากฉบับที่แลว) 5 รุ น ที่ ๒ เหรี ย ญ “พระพุ ท ธธู ป ะเตมี ย ม งคล” รุ น “ปลอดภัย” สรางเมื่อวันอังคารที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๖ สราง เปน ๒ เนื้อ คือ เนื้อทองผสมลงยา และเนื้อทองแดงรมดํา ลักษณะ เปนเหรียญรูปไข ดานหนาเปนรูปพระพุทธธูปะเตมียมงคล โดย ดานบนขององคพระมีคําวา “พระพุทธธูปะเตมียมงคล” และ ดานลางมีคําวา “ครบรอบ ๘๔ ป กองบิน ๒ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๖” สวนดานหลังเปนรูปสัญลักษณ กองบิน ๒ โดยดานบนมีตัวหนังสือ “ว ท ฉ ส.” ซึ่งความหมายของคํายอนี้ คือ ว = น.อ.วรชัย ไสยจิตร ท = น.อ.ทรงพล แจงสี ฉ = น.อ.เฉลิมวงษ กีรานนท ส = น.อ.สุวัฒน สุวโรพร และด า นล า งมี ตั ว หนั ง สื อ คํ า ว า “ปลอดภั ย ” สํ า หรั บ เนื้อทองผสมลงยานั้น ในสวนขององคพระดานหนาทําเปนเนื้อ ๓ กษั ต ริ ย ส ว นด า นหลั ง ลงยาที่ สั ญ ลั ก ษณ ก องบิ น ๒ สํ า หรั บ พระคณาจารยที่รวมในพิธีพุทธาภิเษกที่เปนที่รูจักกันดี เชน


- หลวงพอสารันต วัดดงนอย จ.ลพบุรี - หลวงพอเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน จ.ลพบุรี - หลวงปูเรือง วัดเขาวงพระจันทร จ.ลพบุรี วัตถุมงคลรุน ที่ ๒ นี้ สรางในสมัย น.อ.วรชัย ไสยจิตร ดํ ารงตํา แหนง ผู บังคั บการกองบิน ๒ กองพลบินที่ ๑ฯ 5 รุนที่ ๓ เหรียญ “พระพุทธธูปะเตมียมงคล” รุน “กองบิน ๒ ครบรอบ ๙๐ ป” สรางเมื่อวันพุธ ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ลักษณะของเหรียญเปนเหรียญทรงกลม เสนผาศูนยกลาง ๓ ซ.ม. ดานหนาเปนรูป พระพุ ท ธธู ป ะเตมี ย ม งคล ข า งองค พ ระทั้ ง ๒ มี อั ก ขระไทยโบราณ “จิ เจ รุ นิ ” และริ ม ขอบเหรี ย ญมี ตัวหนังสือ “อนุสรณ ๙๐ ป กองบิน ๒ พระพุทธธูปะเตมียมงคล ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒” สวน ดานหลังเปนรูปเจาพอพระกาฬ ริมขอบเหรียญมีตัวหนังสือ “ราบรื่น * เจาพอพระกาฬ ลพบุรี*รุงเรือง” สรางเปน ๕ เนื้อดวยกัน คือ ๑. เนื้อเงิน จํานวน ๔๐ เหรียญ ๒. เนื้อทองแดงชุบทอง จํานวน ๕๐๐ เหรียญ ๓. เนื้อทองแดงชุบเงิน จํานวน ๕๐๐ เหรียญ ๔. เนื้อทองแดงชุบนาก จํานวน ๕๐๐ เหรียญ ๕. เนื้อทองฝาบาตร จํานวน ๒,๕๐๐ เหรียญ ซึ่งกอนการสรางไดนําแผนทองไปถวายพระคณาจารย ๔ รูป เพื่อลงอักขระและอธิษฐานจิต คือ ๑. หลวงพอเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน จ.ลพบุรี ๒. หลวงพอสารันต วัดดงนอย จ.ลพบุรี ๓. หลวงพอฉลวย วัดชีปาสิตาราม จ.ลพบุรี ๔. หลวงพอบุญเลิศ วัดถ้ําพรหมโลก จ.ลพบุรี จากนั้นไดนําเขาพิธีพุทธาภิเษกอีกจํานวน ๓ ครั้งดวยกัน คือ ครั้งที่ ๑ ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พุทธสถาน กองบิน ๒ เมื่อวันพุธที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒ พระคณาจารยผูปลุกเสกคือ ๑. หลวงพอเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน จ.ลพบุรี ๒. หลวงพอสารันต วัดดงนอย จ.ลพบุรี ๓. หลวงพอฉลวย วัดชีปาสิตาราม จ.ลพบุรี ๔. หลวงพอบุญเลิศ วัดถ้ําพรหมโลก จ.ลพบุรี


๕. หลวงพอสุนทร วัดทาพระเจริญพรต จ.นครสวรรค ๖. หลวงพอมหาจรัญ วัดหัวชาง จ.ลพบุรี ๗. หลวงพอติ๋ว วัดมณีชลขันธ จ.ลพบุรี ครั้งที่ ๒ ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดหัวชาง ต.ทาศาลา อ.เมือง จ.ลพบุรี เมื่อวันเสารที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ครั้งที่ ๓ ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดเกริ่นกฐิน ต.บานชี อ.บานหมี่ จ.ลพบุรี เมื่อวันอาทิตยที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒ วัตถุมงคลรุนที่ ๓ นี้ สรางในสมัย น.อ.เฉลิมวงษ กีรานนท ดํารงตําแหนงผูบังคับการกองบิน ๒

หมายเหตุ : ผูอานทานใดมีขอมูลเกี่ยวกับวัตถุมงคลของชาว ทอ. เพิ่มเติม หรือเห็นวาขอเขียนของ ผูเขียนไมถูกตอง โปรดกรุณาแจงไดที่ e-mail : apichai_sak@rtaf.mi.th หรือ at16102499@hotmail.com


มุมสุขภาพ

นายหวงใย มีผูปวยจํานวนไมใชนอย ทั้งที่เปนเด็กและ ผูใหญ มาพบแพทยดวยเรื่องการมีน้ํามูกเรื้อรังเกิน ๑-๒ สัปดาห หรือเปนๆ หายๆ เปนเดือนจนนารําคาญ ซื้อยารับประทานเองหรือไมก็ไปพบแพทยที่คลินิก รับประทานยาจนหมด ไมนานก็เปนอีก จนอยากจะ ทราบวาตนเองเปนอะไรกันแน ทําไมจึงไมหายสักที แบบนี้ทางแพทยเรียกวาเปน “หวัดเรื้อรัง” ขั้นตอนแรก จะตองวินิจฉัยใหไดเสียกอนวา เปนโรคอะไรกันแน จึงจะทําการรักษาไดถูกตอง โดยโรคที่พบบอยก็คือ โรคภูมิแพหรือโรคแพอากาศ โรคไซนัสอักเสบ และ การติ ด เชื้ อ หวั ด ที่ เ ป น แล ว หายแล ว ไปติ ด มาใหม ที่เกิดขึ้นบอยในเด็กเล็ก เปนตน การแยกโรคดังกลาว จะอาศัยจากประวัติ และการตรวจร างกายเป นหลัก กลาวคื อ ถา เปน โรคภู มิ แ พ ผู ป ว ยจะมี อ าการน้ํ า มู ก เป น ๆ หายๆ มานาน มีอาการเปลี่ยนแปลงในชวงของวัน เชน ชอบเปนตอนเชาหรือตอนกลางคืนดึกๆ กอนนอน จาม คันจมูก น้ํามูก ลักษณะของน้ํามูกจะใสเปนน้ํา ในช ว งกลางวั น หรื อ ตอนอื่ น ๆ ผู ป ว ยจะเป น ปกติ เหมือนคนทั่วไป ไมมีอาการอะไรเลย ไมมีไข ไมเจ็บคอ

เริ่มเปนนอยๆ กอน แลวมากขึ้นเรื่อยๆ หรือมักจะเปน ตอนสัมผัส สูดดม สารที่กอใหเกิดอาการแพขึ้น เชน ฝุน เกสรดอกไม ขนแมว ขนสุนัข ฯลฯ

สวนถาเปนไซนัสอักเสบ ผูปวยจะมีน้ํามูก คั ด จมู ก ตลอดเวลา ลั ก ษณะน้ํ า มู ก จะข น เหนี ย ว บางครั้งเปนสีเหลืองหรือเขียว คลายหนอง อาจจะ ไมไหลทางจมูก แตไหลลงไปในลําคอเปนเสมหะ ก็ได พบมากในตอนเชา อาจจะมีไอ เจ็บคอรวมดวย ไดเล็กนอย หรือพบในผูปวยที่ชอบซื้อยารับประทานเอง พอรับประทานไดสัก ๓-๔ วัน อาการดีขึ้นก็เลิกกิน


แลวไม น านโรคก็ ก ลั บมาเป น อี ก ส ว นอาการเป น ไข ห วั ด ติด เชื้ อ ซ้ํ า ไปมา มั ก เกิ ด ขึ้น กั บ เด็ก ที่ กํ า ลั ง เรียนอยูในชั้นอนุบาล เนื่องจากเด็กยังมีภูมิคุมกัน โรคต่ํา ติดเชื้องาย จากการเลนกับเพื่อนและนอนที่ โรงเรียนรวมกัน มักจะมีอาการเปนไข ไอ เจ็บคอ น้ํามูกใสหรือขุนขน เปนไมนาน กินยาหายไปไมนาน ก็ไปติดเชื้อที่โรงเรียนมาใหม ซึ่งไมมีอันตรายอะไร แต ผู ป กครองมั ก จะกั ง วลมาก พอเด็ ก โตขึ้ น มีภูมิตานทานแข็งแรงขึ้น อาการนี้จะคอยๆ ดีขึ้นเอง การวินิจฉัยโรคเหลานี้ จะนําไปสูการรักษา ที่ถูกตองและหายไดในที่สุด แตถาผูปวยมีอาการ ดังกลาวแลวแยกโรคเองไมได ก็ควรไปพบแพทย หู คอ จมูก เพื่อทําการตรวจ และวินิจฉัยโรค ก็จะ ทําใหทานหายปวยไดครับ

นอกจากนั้ น ยั ง มี โ รคอื่ น ๆ ที่ พ บน อ ยและ กอใหเกิดอาการ “หวัดเรื้อรัง” ได เชน โรคริดสีดวง จมูก เนื้องอกในจมูก การมีสิ่งแปลกปลอมคางใน โพรงจมูก ตอมน้ําเหลืองอะดีนอยดหลังโพรงจมูก โต ฯลฯ


ปัจจุบันเตาไมโครเวฟเปนอุปกรณที่ชวย เพิ่มความสะดวกสบายในการปรุงและอุนอาหาร แต ห ากให อ ย า งไม ถู ก วิ ธี อาจไดรั บอั น ตรายจาก คลื่นไมโครเวฟ ไฟฟาดูด การระเบิด หรือเพลิงไหม สํา นักงานนิ รภัยทหารอากาศ จึ งขอแนะนํา วิธีใช เตาไมโครเวฟอยางถูกตองและปลอดภัย ดังนี้

นานา...นารู ๑. นําอาหารที่จะปรุงหรืออุน ใสเตาไมโครเวฟ และปดประตูใหสนิท ตั้งอุณหภูมิและเวลาใหเหมาะสม กับลักษณะของอาหาร แลวใหเครื่องทํางานไปจน ครบกําหนดเวลาที่เตาจะปดเครื่องเองโดยอัตโนมัติ อยาเปดประตูกอนที่เครื่องจะตัดการทํางาน ๒. ไมยืนใกลๆ หรือแนบหนาดูอาหารในเตา ไมโครเวฟ เพราะอาจไดรับอันตรายจากคลื่นไมโครเวฟ ที่อาจรั่วออกมา ๓. ไมนําอาหารที่อุนในเตาไมโครเวฟบรรจุ ไวในภาชนะที่ติดไฟงาย เชน จานกระดาษ กระดาษ ฟอยล ภาชนะโลหะมีขอบเคลือบเปนโลหะมันวาว แก ว คริ ส ตั ล ฯลฯ และห า มนํ า วั ต ถุ เ คมี กระดาษ ดอกไมแ ห ง ผ า หรื อ วัส ดุ ติ ด ไฟง า ย สมุ น ไพรแห ง ไขดิบทั้งฟอง อาหารที่บรรจุในภาชนะสุญญากาศ มาอบหรืออุนในเตาไมโครเวฟ เพราะอาจเกิดการ ระเบิดจนติดประกายไฟและเกิดเพลิงไหมได

๔. ในขณะที่ อุ น อาหารใสเตาไมโครเวฟ ควรเจาะรู อ าหารที่ บ รรจุ ใ นภาชนะที่ ป ด มิ ด ชิ ด เพื่อใหไอน้ําในอาหารระเหยไดงาย จะชวยปองกัน การพองตัวและการกระเบิดของอาหาร ๕. การตมน้ํา หามตมน้ําในภาชนะผิวเรียบ เซรามิ ก หรื อ แก ว เพราะน้ํ า ที่ ต ม อาจระเบิ ด ได ธรรมชาติ

บางแค เนื่ อ งจากน้ํ า ที่ ต ม ด ว ยเตาไมโครเวฟมี อุ ณ หภู มิ สูงกวาจุดเดือดของน้ําปกติ โดยไมมีอาการเดือด แสดงใหเห็น เมื่อยกน้ําที่ตมเดือดออกจากเตาไมโครเวฟ ใหปลอยทิ้งไวสักประมาณ ๑ นาที จึงคอยเปดฝา ภาชนะ เติมชา กาแฟ หรือใชชอนคนน้ํา เพราะหากน้าํ ถูกรบกวนในทัน ทีที่ ยกน้ํ าออกจากเตาไมโครเวฟ จะทําใหน้ําเดือดอยางฉับพลัน จนเกิดเปนระเบิด น้ํ า เดื อ ดขนาดย อ มพุ ง กระเด็ น ใส ร า งกาย ทํ า ให ไดรับบาดเจ็บถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได ๖. ควรสวมถุ ง มื อ ทุ ก ครั้ ง ที่ นํ า ภาชนะ ออกจากเตาไมโครเวฟ เพื่ อปอ งกัน อัน ตรายจาก ความรอนของภาชนะ หามนําเตาไมโครเวฟที่ชํารุด หรือมีไฟฟารั่วมาใชงาน รวมถึงควรติดตั้งสายดิน กั บ เตาไมโครเวฟ เพื่ อ ป อ งกั น ไฟฟ า ดู ด ในขณะ นําอาหารเขาและอกจากเตาไมโครเวฟดวย 0 ดวยความปรารถนาดีจาก สํานักงานนิรภัยทหารอากาศ


น.อ.สุรินทร์ คุม้ จั่น ตั้งแตวันที่ ๑๓ ต.ค.๕๔ ถึงวันที่ ๑๐ พ.ย.๕๔ เป น เทศกาลงานบุ ญ ประเพณี “ทอดกฐิ น ” บุ ญ ประเพณี นี้ ที่ สํ า คั ญ ของชาวพุ ท ธ ทั้ ง ในส ว น พระราชามหากษั ต ริ ย แ ละสามั ญ ชนทั่ ว ไป นิ ย ม ทํากันหลังวันออกพรรษาแลวเปนบุญใหญ เปนงาน ใหญ เชื่อกันวามีอานิสงสมาก สามารถเปลี่ยนสภาพ ชี วิ ต เปลี่ ย นภพเปลี่ ย นภู มิ ไ ด ดั ง มี นิ ท านชาดก ในเรื่อง “ดาวจระเข” เลาขานสืบมา

เพื่ อ เป น การอนุ โ มทนาบุ ญ และให พี่ น อ ง ชาวกองทัพอากาศไดทราบ หลักการที่สําคัญของ “บุญกฐิน” จึงขอเขียนเรื่องราวของการทําบุญกฐิน ที่ถูกตองไวดังนี้ :-

๑. สิ่งที่สําคัญที่สุดขององคกฐิน ไดแก “ผากฐิน” ไดแกผาไตรจีวร ไมใชสิ่งอื่น สิ่งอื่นเปน บริวารกฐิน ๒. การทํ า บุ ญ ทอดกฐิ น สามารถทํ า ไดเพียง ๑ เดือนเทานั้น ตั้งแตออกพรรษาถึงวัน ลอยกระทง (แรม ๑ ค่ํา เดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๑๒, ป พ.ศ.๒๕๕๔ ตรงกับวันที่ ๑๓ ต.ค.๕๔ – วันที่ ๑๐ พ.ย.๕๔) ๓. วัดที่จะรับกฐิน ไดตองมีคุณสมบัติ คือ ๑.ต อ งมี พ ระภิ ก ษุ จํ า พรรษาครบ ๓ เดื อ น ตั้ ง แต ๕ รู ป ขึ้ น ไป ๒.พระภิ ก ษุ วั ด นั้ น จะออกปากขอ ให โ ยมมาทอดกฐิ น ไม ไ ด ๓.ผ า กฐิ น ต อ งมี เ พี ย ง ไตรเดียว (ผาอื่นๆ มีไดแตเรียกวา ผาบริวาร) ๔.พระสงฆ ในวัดนั้นๆ จะยกผาใหแกพระสงฆรูปใด ตองไดรับ ความเห็นชอบจากพระทั้งหมดในวัดนั้น (๑๐๐%) ๔. ผูจะรับเปนเจาภาพทอดกฐิน ตองมี ใจกวางไมตระหนี่ และใหทําบุญตามกําลังศรัทธา ๕. และวัตถุประสงคที่ถือเปนหัวใจ หรือ แกนของการที่พระพุทธเจา กําหนดไวในพระวินัย


เกี่ ย วกั บ การให พ ระรั บ กฐิ น ก็ คื อ เรื่ อ ง “ความ สามัคคี หรือความปรองดอง” ของหมูคณะที่อยู รวมกัน ข อ ที่ ๕ นี้ เป น สิ่ ง ที่ เ ป น พุ ท ธประสงค ที่ แทจริง ผากฐินนั้นเปนเปลือก สวนความสามัคคีนั้น เปนแกนของการทอดกฐิน โดยพิจารณาจากการ ทอดกฐินครั้งพุทธกาล กลาวคือ พระสงฆที่ อยู ร ว มกั น ตลอดพรรษา ๓ เดื อ น ย อ มจะมี ก าร กระทบกระทั่ ง กั น เมื่ อ ออกพรรษาในวั น ขึ้ น ๑๕ ค่ํ า เดื อ น ๑๑ ทรงกํ า หนดให มี สั ง ฆกรรมที่ เรียกวา “มหาปวารณา” คือ การใหพระสงฆทั้งหมด เปดโอกาสขอโทษและยอมวากลาวกัน ยอมรับผิด ขออภัยที่ไดลวงเกินกัน จากนั้นทรงกําหนดกาลกฐิน ไวเปนเวลา ๑ เดือน กลาวคือ มิใหพระไปไหนตอง อยู รั บ กฐิ น (ครั้ ง พุ ท ธกาลเรี ย กว า กราลกฐิ น คื อ การที่พระทั้งหมดรวมกันเย็บจีวรขึ้นมา ๑ ผืน แลว มอบให พ ระที่ เ หมาะสม ๑ รู ป โดยมติ ส งฆ เ ป น เอกฉันท) ซึ่งถือเปนอุบายวิธีที่จะใหพระทั้งหมดเกิด ความสามัคคีปรองดองกัน กอนจะยายแยกกันไป สรุปความสําคัญ ซึ่งถือเปนความพิเศษ ของบุญกฐินดังกลาวแลวขางตน สรุปได ๗ ประการ ดังนี้ ๑. เปนวินัยทาน (พิเศษโดยพระวินัย) ๒. เปนสังฆทาน (พิเศษโดยพระสงฆ) ๓. เปนกาลทาน (พิเศษโดยกาล)

๔. เป น พุ ท ธทาน (พิ เ ศษโดยเป น ทานที่ พระพุทธองคทรงอนุญาตไวเปนพิเศษ) ๕. เปนอานิสงสทาน (พิเศษโดยมีอานิสงส ทั้งทายก คือโยมผูถวายและปฏิคาหก คือพระสงฆ ผูรับ) ๖. เปนบริสุทธิทาน (พิเศษโดยเปนทานที่ บริสุทธิ์ทั้งไทยธรรม(ผาไตร) ทายก(ผูถวาย) และ ปฏิคาหก(พระสงฆผูรับ)) ๗. เป น สามั ค คี ท าน (พิ เ ศษโดยพุ ท ธ ประสงคตองการใหหมูคณะพระสงฆผูอยูรวมกันได สามัคคีกัน รวมกัน ปรองดองกัน ทํากิจรวมกัน และ ทายกผูถวาย ใหสามัคคีพรอมเพรียงกัน เพราะเปน งานใหญทําคนเดียวไมได) สํา หรั บ อานิ ส งส หรื อ ผลที่ จ ะได รั บ จาก การทอดกฐิน/รับกฐิน นั้นมีดังนี้ ๑. พระสงฆ ที่ รั บ กฐิ น ได อ านิ ส งส ท าง พระวินัย ๕ ประการ คือ ไปไหนโดยไมตองบอกลา, ไมตองนําไตรจีวรไปดวย, ฉันอาหารเปนหมูคณะได, เก็บจีวรไวไดมากตามที่ตองการ, จีวรที่เกิดขึ้นในวัด มีสิทธิ์ไดรับ(โดยปกติทําไมไดเปนอาบัติ) ๒. สํ า หรั บ ญาติ โ ยม ที่ นํ า ผ า กฐิ น ไป ทอดถวายได อ านิ ส งส ที่ สํ า คั ญ เช น เป น ที่ รั ก ของ เทวดาและมนุษยทั้งหมด เปนผูมีโภคะมาก(รวย) เปนผูมีปญญามากมีอายุยืน มีความสุขมาก มีสุขภาพ แข็ ง แรง และมี ป ฏิ ภ าณไหวพริ บ ทุ ก ภพ ทุ ก ชาติ (ความจากพระไตรปฏกบาลี เลมที่ ๘)


… ความสามัคคี (๑) ... " . . . ชาติของเรารักษาเอกราชอธิปไตยมาไดจนถึงทุกวันนี้ดวยความสามัคคี คนไทยเรา แตละคน รูจักประโยชนสวนรวมของชาติ รูจักปฏิบัติหนาที่ใหสอดคลองและเกื้อกูลกัน ผลการปฏิบัติของเรานั้น จึงเกิดเปน พลังอันยิ่งใหญ ซึ่งสามารถกําจัดและปองกันภัยตางๆ มิใหทําอันตรายแกเราได แมจะมีศัตรูคิดราย บุกรุก คุกคามอยางหนักหนาเพียงใด เราก็ยังไมเพลี่ยงพล้ํา ขอใหทุกคนสํานึกตระหนักวา ความสมัครสมานสามัคคีของ เรานั้นเปนสิ่งสําคัญที่สุด ที่จะตองรักษาไวใหยั่งยืนอยูตลอดไป หากเรามีความประมาท เราแตกสามัคคีกัน เมื่อใด เราก็จะเปนอันตรายยอยยับลงเมื่อนั้น ไมมีใครอื่นที่ไหนจะชวยเราไดนอกจาก ตัวเราเอง . . ." พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่ทหารรักษาพระองค์ ในพิธีตรวจพลสวนสนาม เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา วันพุธที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๒


ความสามัคคี หมายถึง ความพรอมเพรียง ความกลมเกลียวเปนน้ําหนึ่งใจเดียวกัน ไมทะเลาะเบาะแวง วิวาทบาดหมางกัน เปนคุณธรรมที่ทําใหเกิดการทํางานเปนหมูคณะหรือทีมเวิรกนั่นเอง ในสั ง คมป จ จุ บั น ความ สามัคคี มีดวยกัน ๒ ลักษณะ คือ ๑.ความสามั ค คี ท างกายภาพ ได แ ก การร ว มแรงร ว มใจกั น ใน การทํ า งาน ด ว ยความเอื้ อ อาทร ตอกัน เพื่อมุงหวังใหเกิดผลสําเร็จ อยางเร็วที่สุด ดีที่สุด ประหยัดที่สุด และมี ค วามสุ ข ในการทํ า งาน มากที่สุด ๒.ความสามัคคีทางใจ ไดแก การรวมประชุมปรึกษาหารือ เพื่อหาขอยุติ ในการแกปญหาตางๆ ดวยจิตใจที่ยอมรับซึ่งกันและกันในการแสดงความคิดเห็นและขอยุติ นั้นๆ และใหความรวมมือในการแกปญหารวมกันทุกฝายทุกคนอยางเต็มใจ กอใหเกิดบรรยากาศการ ทํางานรวมกันที่อบอุน เปนกันเอง ซึ่งความสามัคคีทางใจ นั้น เปนสิ่งที่เราตองชวยกันสรางและรักษาไวใน สังคมของเรา ความสามัคคีดังที่วานี้ จะเกิดมีขึ้นได ตองอาศัยเหตุที่เรียกกันวา สาราณียธรรม ธรรมเปนเหตุให ระลึกถึงกัน กระทําซึ่งความเคารพระหวางกัน อยูรวมกันในสังคมดวยดี มีความสุข ความสงบ มี ๖ ประการ คือ ๑. แสดงไมตรีและความหวังดีตอเพื่อนรวมงาน ดวยการชวยเหลือธุระตางๆ โดยเต็มใจแสดงอาการ กิริยาสุภาพ เคารพนับถือกัน ทั้งตอหนาและลับหลัง ๒. ชวยบอกสิ่งที่เปนประโยชน สั่งสอนหรือแนะนําตักเตือนกันดวยความหวังดี กลาววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งตอหนาและลับหลัง ๓. ตั้งจิตปรารถนาดี คิดทําแตสิ่งที่เปนประโยชนแกกัน มองกันในแงดี มีหนาตายิ้มแยมแจมใสตอกัน ๔. แบงปนผลที่ไดมาโดยชอบธรรม แมเปนของเล็กนอยก็แจกจายใหไดมีสวนรวมใชสอยบริโภคทั่วกัน ๕. ประพฤติตนสุจริต ดีงาม รักษาระเบียบวินัยของสวนรวม ไมทําตนใหเปนที่นารังเกียจ หรือทํา ความเสื่อมเสียแกหมูคณะ ๖. เคารพรับฟงความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีความเห็นชอบรวมกันตกลงกันไดในหลักการสําคัญ ยึดถืออุดมคติหลักแหงความดีงาม หรือจุดหมายอันเดียวกัน


ผลดีของความสามัคคีนี้ เปนบอเกิดแหงความสุข ความเจริญเปนเหตุแหงความสําเร็จในกิจการ งานตางๆ การงานอันเกินกําลังที่คนๆ เดียวจะทําได เชน การกอสรางบานเรือน การปองกันประเทศ ตองอาศัย ความสามัคคีเปนที่ตั้ง ดังเชน ปลวกสามารถสรางจอมปลวกที่ใหญโตกวาตัวหลายเทาใหสําเร็จได ก็อาศัย ความสามัคคีกัน เพราะฉะนั้น การรวมใจสามัคคีกันจึงเกิดมีพลัง เคล็ดลับความสามัคคี มีนิทานที่เลา ต อ กั น มาเพื่ อ ให ร ะลึ ก ถึ ง หน า ที่ ข องคนเราที่ จะตองสรางบรรยากาศใหเกิดความสามัคคีใน หมูคณะ ดวยความคิด แกไขที่ตัวเราเปนหลัก วัดเหนือและวัดใต แตละแหงมีพระสงฆ และสามเณรอาศัยอยู ๑๐ กวารูป พระเณรใน วั ด เหนื อ สามั ค คี กั น มาก การปฏิ บั ติ บํ าเพ็ ญ ก็คอนขางกาวหนา สวนพระเณรในวัดใตตางก็ อิจฉากัน ไมมีความสามัคคี พระอาจารยฉือหยินเจาอาวาสวัดใต รูสึกอัปยศกับเรื่องนี้มาก และนึกชมเชยวัดเหนืออยูในใจ ทานอยากจะทราบถึงสาเหตุ แตจนแลวจนรอดก็หาสาเหตุไมพบ วันหนึ่งเมื่อทานไปเยี่ยมเยียนวัดเหนือ เลยถือโอกาสถามถึงปญหานี้ เจาอาวาสฝงตรงขามตอบเรียบ ๆ วา “ก็ไมมีอะไรหรอกเพียงแตพระเณรที่นี่ลวนแตเปนคนไมดี ตางใหกําลังใจกัน สามัคคีกัน” คําตอบสั้น ๆ เชนนี้ แมจะเปนการถอมตน แตก็ไมกระจางอยูดี ตอมาขณะที่เจาอาวาสวัดใตไปเยี่ยมเยียนวัดฝงตรงขามอีก ก็ไดยินคําพูดตําหนิตนเองดังมาจาก ในโบสถอยางไมตั้งใจ “เปนเพราะผมไมดีเอง ถาหากผมถูพื้นเร็วกวานี้หนอย หลวงพี่ก็คงไมลื่นหกลม” พระรูปแรกกลาว “ไม ผมสะเพราเอง ใจรอนเดินเร็วเกินไป ถึงไดเดินหกลม” พระรูปที่ลื่นหกลมกลาว “ถาผมเตือนสักคํา ก็คงไมเกิดเรื่องนี้ขึ้น เปนเพราะผมไมดีเอง” พระรูปที่ ๒ กลาว “เอาละ อยาพูดเรื่องนี้อีกเลย ไมใชความผิดของใครทั้งนั้น ตองโทษตัวผมเองที่ไมระมัดระวัง” พระรูปที่ลื่นหกลมกลาว เจาอาวาสวัดใตจึงเขาใจความหมายอันแทจริงของคําวา “ลวนแตเปนคนไมดี” เพราะตางคนตาง ตําหนิตัวเอง แกไขที่ตัวเองกอน ไมโทษผูอื่น เปนเคล็ดลับเบื้องตนของการพัฒนาความสามัคคี


หันกลับมามองสภาวการณตางๆ ที่เกิดขึ้นในกองทัพอากาศของเรา นอกจากผลกระทบจากปญหา สังคม อันเนื่องมาจากคนมีมากขึ้น ทรัพยากรธรรมชาติลดนอยลง ปญหาการเมืองรุนแรงขึ้น การสื่อสาร ขอมูลมากมาย จนยากจะคัดกรองและแยกแยะ รวมกับความอึดอัดคับของใจจากการทํางานหนัก ซึ่งเปน หนาที่ของทหารทุกคนอยูแลว ผลกระทบเหลานี้ยอมทําใหความสามัคคีของเราสั่นคลอนไดบาง แตเราทุกคน ตองตั้งสติใหดี เรามีหนาที่ตองรักษาเอกราชและความมั่นคงของชาติไวใหได ความสามัคคีของเราเทานั้นที่จะทวีกําลัง สงผลใหการปฏิบัติหนาที่ของเราประสบผลสําเร็จ ได สิ่งเล็กนอยหากมองขามไปไดควรอภัยใหกัน และการแยกความไมถูกใจ ไมพอใจในตัวบุคคล ออกจากความรับผิดชอบในหนาที่การงานของเรา ใหได เปนเรื่องที่สําคัญมากเพราะงานตางๆ มีเพื่อน รวมงานที่ตองการความรวมแรงรวมใจจากทุกๆ คน เราเป น คนมี ค วามคิ ด จงอย า ทํ า ผิ ด เรื่ อ งความ สามัคคี จนอายมด อายปลวก เลย


อ.วารุณี

รายชื่อผู้โชคดี ๓ รางวัล ดังนี้ - น.อ.อาภัสร์ เพชรผุด - น.ท.วิเชียร ปานเทีย่ ง - น.ท.หญิง แสงจันทร์ นาโลม

โทร. ๒ – ๗๓๑๗ โทร. ๒ – ๔๔๖๘ โทร. ๒ – ๒๙๔๑

กรุณาติดต่อรับรางวัลๆ ละ ๓๐๐ บาท จาก สํานักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ ภายใน พ.ย.๕๔ โทร.๒ – ๔๒๔๑ (หอสมุด ทอ. ชั้น ๑)


แบบสอบถามความคิดเห็น เกี่ยวกับหนังสือข่าวทหารอากาศ ยศ - ชื่อ – สกุล........................................................ หน่วยงาน........................................... โทรศัพท์ ...................... ๑. ความคิดเห็นในคอลัมน์ตา่ งๆ (กาเครื่องหมาย 3 ในช่องตามความคิดเห็นของท่าน) ประโยชน์ที่ได้รบั คอลัมน์ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย ไม่มีประโยชน์ ๑.พระราชกรณียกิจ ๒.การทหาร ๓.อากาศยาน/การบิน ๔.วิชาการ/ทั่วไป ๕.สุขภาพ ๖.ภาษาไทย/ต่างประเทศ ๗.สาระน่ารู้ ๗.รั้วสีเทา ๒. ความคิดเห็นในรูปเล่ม (กาเครือ่ งหมาย 3 ในช่องตามความคิดเห็นของท่าน) รูปเล่ม ความเหมาะสมของรูปเล่ม มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย ไม่เหมาะสม ๑.ขนาดของหนังสือ ๒.ปกหน้าของหนังสือ ๓.จํานวนหน้าของหนังสือ ๔.กระดาษพิมพ์เนื้อใน ๕.ภาพรั้วสีเทา ๖.สีและตัวอักษร ๗.การจัดวางคอลัมน์ ๓. ท่านได้นําข้อมูลที่ได้จากหนังสือข่าวทหารอากาศไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง (ตอบได้มากกว่า ๑ ข้อ) เพิ่มพูนความรู้ ใช้ในการทํางาน ใช้เป็นแนวทางในการดําเนินชีวิต ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง(อภิปราย/รายงาน/การเรียนการสอน ฯลฯ) อื่นๆ (ระบุ)............................................................................................................................ ๔. ท่านมีความพึงพอใจต่อหนังสือข่าวทหารอากาศมากน้อยเพียงใด พึงพอใจมากที่สุด พึงพอใจมาก พึงพอใจน้อย

พึงพอใจน้อยที่สุด

๕. สิ่งที่ควรปรับปรุง / ข้อเสนอแนะ ................................................................................................................................................................... ขอขอบคุณที่กรุณาให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ตอ่ หนังสือข่าวทหารอากาศ กรุณาส่งแบบสอบถามคืนมาที่สํานักงานหนังสือข่าวทหารอากาศ หอสมุดกองทัพอากาศ ยศ.ทอ. โทรสาร ๐-๒๕๓๔-๔๔๗๑ หมายเหตุ ผู้ตอบแบบสอบถามอาจมีสิทธิรับรางวัลสมุดบันทึกประจําวันทหารอากาศ รางวัลละ ๑ ชุด (๓ เล่ม) จํานวน ๒๐ รางวัล (จั บ สลาก) ผู้ ส่ ง แบบสอบถามสามารถตรวจสอบรายชื่ อ ผู้ รั บ รางวั ล ได้ ที่ ห นั ง สื อ ข่ า วทหารอากาศ ฉบั บ เดื อ น ธ.ค.๕๔ หรื อ ที่ http://www.airforcemagazine.rtaf.mi.th


ท่านสามารถรับฟังรายการที่ออกอากาศสด ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงทหารอากาศทุกสถานี ได้ที่ www.rtafradio.net ดําเนินการโดย สํานักงานคณะกรรมการบริหารกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กองทัพอากาศ

อัตราคาโฆษณา ในหนังสือขาวทหารอากาศ ลําดับ

ขนาดเนื้อที่

สี

อัตรา/เล่ม

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗

ปกหลัง ในปกหน้า ในปกหลัง ในเล่มเต็มหน้า ในเล่มเต็มหน้า ในเล่มครึ่งหน้า ในเล่ม ๑/๔ หน้า

๔ สี ๔ สี ๔ สี ๔ สี ขาว – ดํา ขาว – ดํา ขาว - ดํา

๖,๐๐๐.๕,๐๐๐.๕,๐๐๐.๔,๕๐๐.๒,๐๐๐.๑,๒๐๐.๖๐๐.-

หมายเหตุ


พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กห. ตรวจเยี่ยมกองทัพอากาศ โดยมี พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ‹ ผบ.ทอ. และ น.ผูƒใหญ‡ของ ทอ. ใหˆการตˆอนรับ ณ บก.ทอ.

พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ‹ ผบ.ทอ. รับเยี่ยมคำนับ นาวาเอก Jose Maria Goyanes Blanco ผูˆช‡วยทูตทหารสเปน/กรุงเทพ ในโอกาสเขˆารับตำแหน‡งใหม‡ ณ หˆองรับรองพิเศษ ๑

พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ‹ ผบ.ทอ. และ คณก.บริหารพระมหาธาตุ เจดีย‹ ตรวจเยี่ยมกองบิน ๔๑ ในการนี้ น.อ.ประยูร ธรรมาธิวัฒน‹ ผบ.บน.๔๑ ใหˆการตˆอนรับ ณ ทอท.บน.๔๑

พล.อ.อ.ศรีเชาวน‹ จันทร‹เรือง ผช.ผบ.ทอ. ในฐานะ ผอ.ศบภ.ทอ. รับมอบเงินบริจาคช‡วยเหลือผูˆประสบภัย จำนวน ๖๒,๔๐๗.- บาท จาก พล.อ.ต.ชูพันธ‹ ชาญสมร ผอ.รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ. ที่จัดกิจกรรม เปิดตูˆรับบริจาคจากขˆาราชการ และพี่นˆองประชาชน เพื่อช‡วยเหลือ ผูˆประสบอุทกภัย

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เสธ.ทอ. เป็นประธานในพิธีปิดการศึกษา หลักสูตรการสงครามทางอากาศ รุ‡นที่ ๑๔ โดยมี พล.อ.ต.ชนนนาถ เทพลิบ ผอ.ศกอ. เป็นผูˆกล‡าวรายงาน ณ หˆองประชุม บก.ทอ.๑

พล.อ.ท.อานนท‹ วิรัชกุล จก.ชอ. และ น.ผูƒใหญ‡ ร‡วมทำพิธีอัญเชิญ พ‡อปู่ทˆาวสิทธิราชธรรมราชาและบริวาร ขึ้นประดิษฐาน ณ ศาล เทพารักษ‹ ศาลประจำ ชอ. อันเป็นที่เคารพสักการะของขˆาราชการ ลูกจˆาง พนักงานราชการและครอบครัว


พล.อ.ท.ดิเรก พรหมประยูร จก.ยศ.ทอ. ตˆอนรับคณะครูและ นักเรียน ร.ร.ศรีจิตรา ในโอกาสเยี่ยมชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ๙๘๔ ณ หอสมุด ทอ.

พล.อ.ท.ดิเรก พรหมประยูร จก.ยศ.ทอ. เป็นประธานในพิธีปิด การศึกษาหลัก สูตรภาษาไทยสำหรับนายทหารต‡างประเทศ รุ‡นที่ ๓๑ และหลักสูตรภาษาไทยสำหรับนายทหารเวียดนาม ประจำปี ๕๔ ณ หˆองประชุม ศภษ.ยศ.ทอ.

พล.อ.ท.ระพีพัฒน‹ หลาบเลิศบุญ ผบ.อย. เป็นประธานในพิธี ตรวจสอบความพรˆอมรบและทดสอบแผนปƒองกันที่ตั้งหน‡วย ทอ. ดอนเมือง ณ หˆองประชุมเจริญจรัมพร

พล.อ.ท.อานนท‹ วิรัชกุล จก.ชอ., น.ผูˆใหญ‡ ขˆาราชการ ลูกจˆาง พนักงานราชการและครอบครัว ร‡วม เดิน–วิ่ง เฉลิมพระเกียรติ ๑๒ สิงหา มหาราชินี ภายใตƒโครงการรวมพลังสรˆางสุขภาพ ชอ. ณ ที่ตั้งบางซื่อ

พล.อ.ท.เมธา สังขวิจิตร จก.สพ.ทอ. เป็นประธานในพิธีปิดการ ศึกษา และมอบประกาศนียบัตรใหˆแก‡ผูˆสำเร็จการศึกษาหลักสูตร นายทหารทำลายวัตถุระเบิด รุ‡นที่ ๘ ประจำปี ๕๔ ณ หอประชุม สพ.ทอ.

พล.อ.ท.สฤษดิ์พงษ‹ โกมุทานนท‹ ผบ.รร.นอ. เป็นประธานเปิดกิจกรรม แอโรบิก สรˆางเสริมสุขภาพ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม พรรษา ๗๙ พรรษา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด‡สมเด็จพระนางเจˆา ฯ พระบรมราชินีนาถ ณ ลานอเนกประสงค‹ รร.นอ.


พล.อ.ต.นิคม วงษ‹ดรุณีย‹ จก.พธ.ทอ. เป็นประธานในพิธีปิด การศึ ก ษาและมอบประกาศนียบั ตรใหˆแก‡ผ ูˆส ำเร็จการศึก ษา หลักสูตรนายทหารพัสดุชั้นเรืออากาศ รุ‡นที่ ๑๙ ประจำปี ๕๔ ณ หˆองประชุม พธ.ทอ.๒

พล.อ.ต.อดิศักดิ์ เจิมวรรธนะ จก.กบ.ทอ. พรˆอมคณะฯ ตรวจเยี่ยม สายวิทยาการดˆานการส‡งกำลังบำรุงของ พธ.ทอ. โดยมี พล.อ.ต. นิคม วงษ‹ดรุณีย‹ จก.พธ.ทอ. ใหˆการตˆอนรับ

พล.อ.ต.นุวัตน‹ เกียรติพันธ‹ ผบ.ดม. เป็นประธานในพิธีตรวจสอบความพรˆอม และปล‡อยแถวชุดปฏิบัติการร‡วมทหาร-ตำรวจ ครั้งที่ ๓/๕๔ เพื่อกวาดลˆาง อาชญากรรม ยาเสพติด และการกระทำผิดกฎหมายทุกประเภท ในพื้นที่ ทอ. ณ บริเวณลานอเนกประสงค‹ สมส.ทอ. ชั้นประทวน (ท‡าดินแดง)

พล.อ.ต.นิวัต เนื้อนุ‡ม ผอ.สนภ.ทอ. เป็นประธานในพิธีปิดการ ศึกษาและมอบใบประกาศนียบัตรใหˆแก‡ผูˆสำเร็จการศึกษาหลักสูตร น.นิรภัยการบิน รุ‡นที่ ๕๔ ประจำปี ๕๔ ณ รร.นิรภัย กวก.สนภ.ทอ.

พล.อ.ต.ศิริชัย ภัทรสุวรรณ จก.ขส.ทอ. พรˆอมคณะฯ ตรวจเยี่ยม สายวิ ท ยาการขนส‡ ง ฝู ง บิ น ๒๐๖ โดยมี น.อ.ชิ ต ชั ย ไกรคง ผบ.ฝูงบิน ๒๐๖ ใหˆการตˆอนรับ

พล.อ.ต.ศิวเกียรติ์ ชเยมะ ผบ.รร.การบิน เป็นประธานเปิดกิจกรรม รณรงค‹ส‡งเสริมการสวมหมวกนิรภัยรˆอยเปอร‹เซนต‹ และไดˆมอบหมวก นิรภัยใหˆแก‡ขˆาราชการ รร.การบิน ฟรี ณ หอประชุม รร.การบิน


พล.อ.ต.ศิวเกียรติ์ ชเยมะ ผบ.รร.การบิน เป็นประธานในพิธี เปิดโครงการสัมมนาการพัฒนา รร.การบิน เขˆาสู‡ Network Centric Air Force : NCAF โดยมี พล.อ.ต.เอกรัฐ ษรานุรักษ‹ เสธ.สอ.ทอ. เป็นผูˆบรรยาย ณ หˆองประชุม บก.รร.การบิน

พล.อ.ต.สุทธิพันธ‹ กฤษณคุปต‹ จก.ขว.ทอ. และคณะฯ เยี่ยมชม ฟังบรรยายสรุป และชมการแสดงการบินของฝูงบินผาดแผลง Black Eagles ทอ.กล.ต. โดยมี น.ท.ปาร‹ค แท ซอ ผบ.ฝูงบิน ใหˆการตˆอนรับ ณ บน.๘ (Wonju AB.) สาธารณรัฐเกาหลี

พล.อ.ต.ชนัท รัตนอุบล ผบ.วทอ.ยศ.ทอ. เขˆาร‡วมการฝึกเกมบริหาร สถานการณ†วิกฤตระดับยุทธศาสตร‹ ในตำแหน‡งนายกรัฐมนตรี โดยมี กิจกรรมหลักประกอบดˆวย การประชุม สมช. การประชุม กปภ.ช. การวางแผนทางทหาร การพบปะสื่อมวลชน การเจรจาต‡อรอง และการ ประทˆวงของประชาชน ณ วทอ.ยศ.ทอ.

พล.อ.ต.ชูพันธ‹ ชาญสมร ผอ.รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ. เป็นประธาน เปิดงาน “รูˆทันภัย...ห‡างไกลโรคตับอักเสบ” โดยใหˆบริการตรวจคัดกรอง ไวรัสตับอักเสบบีและซี เนื่องในวันตับอักเสบโลก ณ บริเวณลานอเนกประสงค‹ ชั้น ๒ อาคาร “คุˆมเกลˆาฯ”

น.อ.อำพล อิ่มบัว รอง จก.กบ.ทอ.และคณะฯ ตรวจเยี่ยมสายวิทยาการ การส‡งกำลังบำรุง ณ บน.๑ โดยมี น.อ.คงศักดิ์ จันทรโสภา ผบ.บน.๑ ใหˆการตˆอนรับ

น.อ.ชูชัย ดุลยโกเมศ รอง จก.สบ.ทอ. เป็นหัวหนˆาคณะฯ ตรวจ สำรวจวัตถุพิพิธภัณฑ‹ ณ บน.๕ และ บน.๒๓


น.อ.เบญจรงค‹ แจ‡มถาวร รอง จก.สก.ทอ. และคณะฯ ตรวจเยี่ยม สายวิทยาการจำพวกสวัสดิการ เยี่ยมชมกิจการหม‡อนไหม และ สถานีบริการเชื้อเพลิง บน.๑ โดยมี น.อ.คงศักดิ์ จันทรโสภา ผบ.บน.๑ ใหˆการตˆอนรับ

น.อ.ภานุพงศ‹ เสยยงคะ รอง จก.ขว.ทอ. และคณะฯ ตรวจเยี่ยม สายวิทยาการการข‡าว บน.๔๖ โดยมี น.อ.ทศวรรณ รัตนแกˆวกาญจน‹ ผบ.บน.๔๖ ใหˆการตˆอนรับ

น.อ.ฉลาด นนทสถิต รอง เสธ.อย. เป็นประธานในพิธีปิดการฝึก สนธิกำลังและเตรียมความพรˆอมปฏิบัติการ อย. ปี ๕๔ ณ บน.๔ จ.นครสวรรค‹

น.อ.วสันต‹ อยู‡ประเสริฐ ผอ.รร.นอส.ยศ.ทอ. นำคณะอาจารย‹ เจˆาหนˆาที่ และ นทน.หลักสูตรนายทหารอากาศอาวุโส รุ‡นที่ ๖๐ เดินทางมาดูงาน และศึกษาภูมิประเทศภาคใตˆ โดยมี น.อ.สุจินดา สุมามาลย‹ ผบ.บน.๕๖ ใหˆการตˆอนรับ

น.อ.ชานนท‹ มุ‡งธัญญา ผบ.บน.๔ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม ปลูกตˆนไมƒในโครงการ “ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจˆา ฯ พระบรมราชินีนาถ ครบรอบ ๗๙ พรรษา มหาราชินี” ณ สวนป่า เฉลิมพระเกียรติ บน.๔

น.อ.เฉลิมวงษ‹ กีรานนท‹ ผบ.บน.๒ และ ร.ต.ท.หญิง สุจิตรา กีรานนท‹ ประธานชมรมแม‡บˆาน ทอ.บน.๒ พรˆอมดˆวย รอง ผบ.บน.๒, เสธ.บน.๒ บันทึกเทปโทรทัศน‹ถวายพระพรเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจˆา ฯ พระบรมราชินีนาถ


น.อ.ฉัตรชัย มุขพรหม ผอ.กตฐ.จร.ทอ. และ น.อ.คงศักดิ์ จันทรโสภา ผบ.บน.๑ ร‡วมแสดงความยินดีแก‡ น.อ.พลวัตร อินทรวิเศษ ในโอกาสทำการบินครบ ๒,๐๐๐ ชม. กับ บ.ข.๑๙/ก ฝูง.๑๐๒ บน.๑

น.อ.ชาติชาย รักษ‹ธนกูล ผอ.กฟธ.กกศ.รร.นอ. เป็นประธานจัดการ ประชุมสัมมนาการเตรียมความพรˆอม ก‡อนไปศึกษาต‡างประเทศครั้งที่ ๔ ใหˆแก‡ นนอ.ชั้นปีที่ ๑ ที่ผ‡านการสอบชิงทุน โดยมีผูˆแทน นขต.ทอ. บรรยาย ใหˆความรูˆแนวทางและขˆอควรปฏิบัติก‡อนไปศึกษาต‡อต‡างประเทศ ณ หˆองสัมมนา ๑ อาคารวิศวกรรมศาสตร‹ กกศ.รร.นอ.

น.อ.ธนเสฏฐ‹ ธรรมอำนวยกิจ รอง ผบ.บน.๒๓ เป็นประธานในพิธี เปิดการฝึกอบรมลูกเสือเหล‡าอากาศ บน.๒๓ รุ‡นที่ ๑ ประจำปี ๕๔ ณ หอประชุม บน.๒๓

น.อ.สุจินดา สุมามาลย‹ ผบ.บน.๕๖ นำขˆาราชการ, ลูกจˆาง, พนักงานราชการ, ทหารกองประจำการ ตลอดจนครอบครัว บน.๕๖ ร‡วมบริจาคโลหิตเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวัน ๑๒ สิงหามหาราชินี ณ หอประชุม บน.๕๖

น.อ.ฐากูร นาครทรรพ รอง ผบ.บน.๔๖ พรˆอมคณะฯ ติดต‡อประสานงาน กับที่ว‡าการ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เพื่อจัดตั้งศูนย‹ประสานงานเครือข‡าย เชื่อมโยงขˆอมูลระบบสารสนเทศ ติดตามสถานการณ‹น้ำท‡วมและช‡วยเหลือ ผูˆประสบภัยไดˆทันเหตุการณ‹ โดยมี นายรัชพงศ‹ ศิริมี ปลัด อ.บางระกำ ใหˆการตˆอนรับ

น.อ.สหกรม นาคประดิษฐ‹ เสธ.บน.๔๑ เป็นประธานกิจกรรม งานวันแม‡ของหนู ณ ศูนย‹พัฒนาเด็กเล็ก บน.๔๑




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.