Anti-Greenwash CSR : คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อมฉบับนักนิเวศ (ขาวดำ)

Page 1

คู่มือซีเอสอาร์ ด้านสิ งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ
Anti-Greenwash CSR

Anti-Greenwash CSR

Email: info@salforest.com

Website: www.salforest.com

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ ผู้เขียน: สมาธิ ธรรมศร, เพชร มโนปวิตร, นณณ์ ผาณิตวงศ์, คณะวิจัย บริษัท ป่าสาละ จํากัด บรรณาธิการ: รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ เลขมาตรฐานประจําหนังสือ 978-616-92670-3-4 พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2566 จํานวนพิมพ์ 300 เล่ม พิสูจน์อักษร: สุภัทริณี ศรประดิษฐ์ ศิลปกรรม: เด็ดเดี่ยว เหล่าสินชัย ออกแบบปก: นํ้าใส ศุภวงศ์ ข้อมูลทางบรรณานุกรมสํานักหอสมุดแห่งชาติ สมาธิ ธรรมศร Anti-Greenwash CSR คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ กรุงเทพฯ: ป่าสาละ, 2566. 120 หน้า 1. สิ่งแวดล้อม I. เพชร มโนปวิตร, ผู้แต่งร่วม II. นณณ์ ผาณิตวงศ์, ผู้แต่งร่วม III. ชื่อเรื่อง 333.7
ดําเนินการผลิตโดย บริษัท ป่าสาละ จํากัด บริษัท ป่าสาละ จํากัด 2 สุขุมวิท 43 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
ISBN 978-616-92670-3-4
Tel: 081 370 7899
พิมพ์ที่ บริษัท ภาพพิมพ์ จํากัด 45/12–14, 33 หมู่ 4 ถ บางกรวย-จงถนอม ต บางขนุน อ บางกรวย จ นนทบุรี 11130
สารบัญ คํานํา e บทนํา: ซีเอสอาร์ด้านสิ งแวดล้อม ได้เวลาทบทวนเพื่อไปต่อ 2 ทีมวิจัย บริษัท ป่าสาละ จํากัด ระบบนิเวศป่าบกและป่าชายเลน 16 เรื่อง: สมาธิ ธรรมศร ระบบนิเวศนํ้าจืด 44 เรื่อง: สมาธิ ธรรมศร ระบบนิเวศทางทะเล 68 เรื่อง: ดร.เพชร มโนปวิตร โครงการปล่อยสัตว์ 92 เรื่อง: ดร นณณ์ ผาณิตวงศ์ เอกสารอ้างอิง 104

ทําและเผยแพร่รายงานวิจัยสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ยั่งยืน

บริษัท ป่าสาละ จํากัด e คํานํา ย้อนไปเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 บริษัท ป่าสาละ จํากัด ถือกําเนิดขึ้นด้วยความตั้งใจว่าจะเป็นบริษัทวิจัยที่ร่วม ‘ปลูกธุรกิจที่ ยั่งยืน’ ในประเทศไทย อันหมายถึงการดําเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับ หลัก ‘การพัฒนาที่ยั่งยืน’ (sustainable development) ซึ่งได้รับการ นิยามอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรายงานบรันดท์แลนด์ (Brundtland Report) ภายใต้องค์การสหประชาชาติ ใน ค ศ 1987 ว่า “การพัฒนาที่ตอบสนองต่อความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดย ไม่ลิดรอนความสามารถของคนรุ่นหลังในการตอบสนองต่อความ ต้องการของพวกเขา” ตลอดระยะเวลา 10 ปีตั้งแต่เริ่มดําเนินธุรกิจ ป่าสาละได้จัด
มากกว่า 30 โครงการ ครอบคลุมหลากหลายประเด็นและสาขา ธุรกิจ งานวิจัยสาธารณะที่ผ่านมา เช่น ความไม่ยั่งยืนในห่วงโซ่ อุปทานอาหาร, มาตรฐานธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนและกระบวนการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน, ความเหลื่อมลํ้าในการ จัดสรรทรัพยากร และการธนาคารที่ยั่งยืน ซึ่งนับตั้งแต่ พ ศ 2561 ป่าสาละดําเนินงานวิจัยด้านนี้ในฐานะสมาชิกของแนวร่วมการเงิน ที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand) ร่วมกับองค์กร

มาอย่างไม่รัดกุมรอบคอบเพียงพอก็อาจก่อให้เกิดผลเสียมากกว่า

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ f สมาชิกอื่นๆ อีก 4 แห่ง งานวิจัยสาธารณะดังกล่าวยังไม่นับการศึกษาโจทย์ด้านความ ยั่งยืนสําหรับบริษัทเอกชนและธุรกิจเพื่อสังคม อาทิ การศึกษา วิเคราะห์หาประเด็นสําคัญด้านความยั่งยืนขององค์กรผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การประเมินความ เสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กร การประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคมและ/หรือผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน รวมมากกว่า 20 โครงการ งานศึกษาเหล่านี้ช่วยสร้างความเข้าใจที่รอบด้านมากขึ้นเกี่ยวกับ รูปธรรมและความท้าทายของ ‘ธุรกิจที่ยั่งยืน’ ในสังคมไทย และ ทําให้ทีมงานเล็งเห็นว่า ท่ามกลางกระแสคําศัพท์ยอดนิยมต่างๆ ไม่ว่า CSR, SDG, ESG, CSV ฯลฯ แก่นสารของธุรกิจที่ยั่งยืนจําต้อง เริ่มต้นจากการทําความเข้าใจกับความต้องการและความกังวลของ ผู้มีส่วนได้เสีย และประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน ทั้งปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการดําเนิน ธุรกิจ และผลกระทบที่องค์กรเป็นผู้ก่อ ซึ่งหมายรวมถึงผลกระทบ จากการดําเนินโครงการซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ที่หากออกแบบ
ประโยชน์ ในโอกาสครบรอบ 10 ปีแห่งการก่อตั้งป่าสาละ นับเป็นโอกาส อันดีที่เราได้ชวนนักอนุรักษ์และนักวิทยาศาสตร์ชั้นนําของประเทศ หลายท่านมาร่วมกันเขียน ‘คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับ นักนิเวศ’ เล่มนี้ เผยแพร่เป็นวิทยาทานแก่ฝ่ายซีเอสอาร์ของบริษัท ต่างๆ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไปเพื่อร่วมเป็นส่วนเล็กๆ ในการรณรงค์
บริษัท ป่าสาละ จํากัด g การทําโครงการซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรับผิดชอบและถูก ต้องตามหลักนิเวศวิทยา โครงการซีเอสอาร์จะได้ช่วย ‘ปลูกธุรกิจที่ยั่งยืน’ อย่างแท้จริง ดังเจตนารมณ์ของป่าสาละ ท้ายนี้ ป่าสาละขอขอบคุณ รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ นักอนุรักษ์ นักการเงิน และอดีตนักวิจัยอาวุโสของป่าสาละที่สละเวลามาเป็น บรรณาธิการเล่ม ตลอดจนนักอนุรักษ์และนักวิทยาศาสตร์ทุกท่าน ที่เอื้อเฟื้อความรู้และเวลามาเขียนเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ ทั้งสมาธิ ธรรมศร , เพชร มโนปวิตร และนณณ์ ผาณิตวงศ์ รวมถึงขอ ขอบคุณ สุภัทริณี ศรประดิษฐ์ ที่ดูแลเรื่องการพิสูจน์อักษร , เด็ดเดี่ยว เหล่าสินชัย สําหรับการจัดทํารูปเล่ม และนํ้าใส ศุภวงศ์ สําหรับการออกแบบภาพปกและอินโฟกราฟิกประกอบ ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่าน และมาร่วม ‘ปลูกธุรกิจที่ ยั่งยืน’ ไปพร้อมกันกับเรา สฤณี อาชวานันทกุล กรรมการผู้จัดการ ด้านการพัฒนาความรู้ ในนามบริษัท ป่าสาละ จํากัด 29 กรกฎาคม 2566
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ
บทนํา ซีเอสอาร์ ด้านสิ งแวดล้อม ได้เวลาทบทวน เพื่อไปต่อ ทีมวิจัย บริษัท ป่าสาละ จํากัด
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 3 ล่วงสู่ พ.ศ. 2566 หรือยี่สิบปีเศษหลังจากศตวรรษที่ 21 เปิดฉาก ปัญหาสิ่งแวดล้อมนานัปการรุมเร้าประเทศไทยชนิดที่ปฏิเสธไม่ได้ อีกต่อไปว่าภาวะโลกร้อนไม่มีอยู่จริง ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ไม่ใช่เรื่องสลักสําคัญ มลพิษทางอากาศและนํ้าไม่ใช่เรื่องใหญ่ และ การลดลงอย่างน่าวิตกของความหลากหลายทางชีวภาพไม่ใช่เรื่อง ของมนุษย์ ที่สําคัญคือเราไม่อาจสลัดข้อเท็จจริงที่ว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจ ปัจจุบัน แทบทุกประเทศต่างให้สัญญาประชาคมแก่กันว่าจะต้อง มุ่งหน้าสู่ ‘การพัฒนาที่ยั่งยืน’ ผ่านการลงนามใน ‘เป้าหมายการ พัฒนาที่ยั่งยืน ’ (Sustainable
Goals หรือ SDGs) ทั้ง 17 ข้อขององค์การสหประชาชาติ เหล่าบริษัทน้อยใหญ่ต่างขานรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กันอย่างคึกคัก
ต่างๆ
พัฒนาที่ยั่งยืนข้อใดบ้างโดยปรากฏในรายงานบริษัทหรือรายงาน ความยั่งยืนประจําปี นอกจากนี้ ยังมีบริษัทจํานวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ประกาศว่าคํานึงถึงประเด็นด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิ บาล (environment, social, governance เรียกรวมๆ ว่า ESG) ในการดําเนินธุรกิจ มุ่งรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน พร้อมทั้งประกาศกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนในหลายมิติ อาทิ เป้าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและกลยุทธ์การรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ท่ามกลางความเคลื่อนไหวข้างต้น บริษัทจํานวนมากยังคงให้ ความสําคัญกับกิจกรรมซีเอสอาร์ (Corporate Social Responsibility
Development
สังเกตจากการนําโครงการและการดําเนินการ
ของบริษัทมาเปรียบเทียบว่าสอดคล้องกับเป้าหมายการ
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 4 หรือ CSR) ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดําเนินธุรกิจหลัก เนื่องจากหลาย บริษัทมองว่ากิจกรรมเชิงการกุศลบรรษัท (corporate philanthropy) ช่วยสร้างประโยชน์แก่สังคม และเสริมสร้างภาพลักษณ์ของบริษัท ในสายตาสาธารณะ ในบรรดากิจกรรมซีเอสอาร์ทั้งหมด กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม เป็นกิจกรรมซีเอสอาร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ แต่ กิจกรรมซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อมบางรูปแบบของบางบริษัทกลับ ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องยาวนานว่า ดําเนินการอย่างไม่รับผิดชอบหรือระมัดระวังมากเพียงพอจน
โครงการส่วนใหญ่ที่เผชิญกับข้อวิพากษ์หรือสุ่มเสี่ยงที่จะสร้าง ผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอาจแบ่งออกเป็น 7 รูปแบบคือ การปลูกป่า การปลูกป่าชายเลน การสร้างฝาย การสร้างธนาคารนํ้าใต้ดิน การปลูกปะการัง การปลูกหญ้าทะเล และการปล่อยสัตว์ กิจกรรมซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม 7 รูปแบบข้างต้นได้รับ ความนิยมเพียงใด คณะวิจัยบริษัท ป่าสาละ จํากัด (‘คณะวิจัย’) หาคําตอบด้วยการสํารวจข้อมูลที่เกี่ยวกับการทํากิจกรรมซีเอสอาร์ ของบริษัทในประเทศไทย โดยคัดเลือกบริษัทที่มีการเปิดเผยข้อมูล การทํากิจกรรมซีเอสอาร์ในรายงานประจําปีและเว็บไซต์ของบริษัท ระหว่าง พ ศ 2562–2566 คณะวิจัยพบว่าระหว่าง พ.ศ. 2562–2566 บริษัท 24 แห่งจาก 11 หมวดธุรกิจเปิดเผยข้อมูลการทํากิจกรรมซีเอสอาร์ทั้ง 7 รูปแบบ รวมทั้งหมด 187 โครงการ โดยมีรายละเอียดดังแสดงในแผนภาพ ในหน้าถัดไป
ทําให้บางครั้งกิจกรรมนําไปสู่ผลเสียมากกว่าผลดีต่อระบบนิเวศ
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 5 2% การสร้างธนาคารนํ�าใต้ดิน 5% การปลูกหญ้าทะเล 7% การปลูกปะการัง 11% การปล่อยสัตว์ 19% การสร้างฝาย 12% การปลูกป�าชายเลน 43% การปลูกป�า กิจกรรมซีเอสอาร์ด้านสิ งแวดล้อม 7 รูปแบบของบริษัทในไทยในช่วง พ.ศ. 2562–2566 อย่างไรก็ตาม คณะวิจัยพบว่ามีเพียง 5 บริษัทเท่านั้นที่มีการ เปิดเผยงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการทํากิจกรรมซีเอสอาร์ บาง บริษัทระบุชัดเจนว่าเป็นงบประมาณสําหรับการทํากิจกรรมซีเอสอาร์โดยเฉพาะ ขณะที่บางบริษัทระบุว่าเป็นงบประมาณด้านสังคม หรือสิ่งแวดล้อม รายละเอียดดังแสดงในตารางในหน้าถัดไป
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 6 บริษัท ประเภท งบประมาณ งบประมาณ (ล้านบาท) 2562 2563 2564 2565 1 บริษัท เครือ เจริญโภคภัณฑ์ จํากัด การลงทุนด้าน สิ่งแวดล้อม 1,468 1,464 4,1922 บริษัท ปตท จํากัด (มหาชน) การลงทุน ทางสังคม 1,405.50 620.37 1,271 1,086 3 บริษัท ปูนซิเมนต์ ไทย จํากัด (มหาชน) ค่าใช้จ่ายในการ บริหารจัดการ ด้าน CSR 152 167 157 161 4 บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) การพัฒนา ชุมชน สังคม และการบริจาค 98 44 34.685 บริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ จํากัด การจัดโครงการ CSR - - 0.006 0.455 ที่มา: การรวบรวมของคณะวิจัยจากรายงานประจําปี และรายงานความยั งยืนของบริษัท จากข้อมูลข้างต้น บริษัทที่มีการใช้งบประมาณด้านสิ่งแวดล้อม สูงสุดคือ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จํากัด ซึ่งมีการลงทุนด้าน สิ่งแวดล้อมเฉลี่ยปีละ 2,375 ล้านบาท ครอบคลุม 4 ประเด็น ได้แก่ การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การดูแลทรัพยากรนํ้า การปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ และการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 7 บริษัทที่มีการใช้งบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมสูงเป็นลําดับสอง คือ บริษัท ปตท จํากัด ( มหาชน ) เฉลี่ยปีละ 1,095 ล้านบาท โดยใช้ในการส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม รองลงมาคือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน) ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสําหรับกิจกรรมซีเอสอาร์เฉลี่ยปีละ 159 ล้านบาท บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน ) ที่ใช้งบประมาณ ใน การพัฒนาชุมชน สังคม และการบริจาคเฉลี่ยปีละ 59 ล้าน บาท ลําดับสุดท้ายคือ บริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ จํากัด ซึ่งใช้ งบประ มาณ สําหรับโครงการซีเอสอาร์เฉลี่ยปีละ 230,500 บาท และเป็นบริษัทเดียวที่เปิดเผยงบประมาณในการทําซีเอสอาร์ราย โครงการ เมื่อเห็นภูมิทัศน์โครงการซีเอสอาร์ของบริษัทในประเทศไทย ชัดเจนแล้ว คณะวิจัยขอชวนผู้อ่านเจาะลึกในรายละเอียดโครงการ ซีเอสอาร์ทั้ง 7 รูปแบบดังนี้ โครงการปลูกป่าและปลูกป่าชายเลน โครงการปลูกป่าและปลูกป่าชายเลนระหว่าง พ ศ 2562–2566 มีจํานวนรวมทั้งสิ้น 104 โครงการ บริษัทในหมวดพาณิชย์ครอง อันดับหนึ่งในฐานะธุรกิจที่จัดกิจกรรมปลูกป่าและป่าชายเลน โดย มีจํานวนรวมทั้งสิ้น 47 โครงการ (ร้อยละ 45) รองลงมาคือธุรกิจ หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค (ร้อยละ 16) และธุรกิจหมวด วัสดุก่อสร้าง (ร้อยละ 15) ตัวอย่างกิจกรรมปลูกป่าและป่าชายเลนก็เช่นโครงการ WE
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 8 GROW ปลูกเพื่อความยั่งยืน โดยบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จํากัด ซึ่งเริ่มดําเนินการตั้งแต่ พ ศ 2563 โครงการนี้มีเป้าหมาย ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกป่าให้ได้ 20 ล้านต้นภายใน พ ศ 2568 โดยใน พ ศ 2564 ได้ดําเนินการไปแล้ว 6.39 ล้านต้น ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น รัสเซีย จีน และเวียดนาม เป็นต้น อีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจคือโครงการ ‘ปลูก ลด ร้อน’ โดย บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน) โครงการนี้เริ่มดําเนินการ ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 เพื่อเชื่อมโยงชุมชนและขยายพื้นที่ธรรมชาติ ซึ่ง ใน พ ศ 2564 มีการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นกว่า 50 ไร่ (จํานวน 3,000 ต้น) ในบริเวณพื้นที่จังหวัดระยอง รวมถึงโครงการจาก ‘ไม้พื้นถิ่น’ สู่ ‘ป่าโกงกาง’ ต่อยอดสู่ ‘หญ้าทะเล’ เพื่อช่วยฟื้นฟูทรัพยากรทาง ทะเลให้ยั่งยืน โดยมีเป้าหมายปลูกต้นโกงกาง 14,000 ต้นครอบคลุมพื้นที่ 20 ไร่ และหญ้าทะเล 15,000 ต้น ครอบคลุมพื้นที่ 10 ไร่ ภายใน พ .ศ . 2564 หนึ่งในพื้นที่ที่ปูนซิเมนต์ไทยได้มีการ เข้าไปปลูกป่าชายเลนคือจังหวัดนครศรีธรรมราช ขณะที่ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ดําเนินโครงการปลูกป่า 2 ล้านไร่ตั้งแต่ พ ศ 2566 ภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ อาทิ กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 9 โครงการสร้างฝาย กิจกรรมการสร้างฝายระหว่าง พ.ศ. 2562–2566 มีจํานวนรวม ทั้งสิ้น 35 โครงการ บริษัทในหมวดพาณิชย์ครองอันดับหนึ่งใน ฐานะธุรกิจที่จัดกิจกรรมการสร้างฝายมากที่สุดเช่นกัน โดยมีจํานวน รวมทั้งสิ้น 16 โครงการ ( ร้อยละ 46) รองลงมาคือธุรกิจหมวด ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (ร้อยละ 17) และธุรกิจหมวดวัสดุก่อสร้าง (ร้อยละ 14) ตัวอย่างกิจกรรมการสร้างฝาย อาทิ โครงการฝายมีชีวิตโดย บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จํากัด ดําเนินการในพื้นที่ 17 จังหวัด ทางภาคเหนือตั้งแต่ พ . ศ . 2563 เพื่อป้องกันนํ้าท่วม นํ้าหลาก และจัดการทรัพยากรนํ้าให้มีใช้อย่างเพียงพอ ข้อมูล ณ สิ้นเดือน เมษายน 2566 ระบุว่าสร้างฝายไปแล้วทั้งสิ้น 112 ฝาย อีกหนึ่งตัวอย่างคือโครงการ รักษ์นํ้า จากภูผาสู่มหานที โดย บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จํากัด ( มหาชน ) ที่ริเริ่มมาตั้งแต่ พ . ศ . 2550 เพื่อช่วยชะลอการไหลของนํ้า เพิ่มความชุ่มชื้นในผืนดิน ช่วยลดไฟป่า รักษาสมดุลของวัฏจักรนํ้า และช่วยสร้างอาชีพให้ ชุมชนมีรายได้และเติบโตอย่างยั่งยืนโดยข้อมูล พ ศ 2565 พบว่า มีการสร้างฝายภายใต้โครงการดังกล่าวไปแล้วทั้งสิ้น 115,000 ฝาย ตัวอย่างสุดท้ายคือโครงการฟื้นป่า รักษ์นํ้า เขาห้วยมะหาด โดยบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จํากัด (มหาชน ) เพื่อฟื้นฟู และบํารุงรักษาระบบนิเวศในพื้นที่ 2,500 ไร่ บนเขาห้วยมะหาด จังหวัดระยอง โดยมีเป้าหมายสร้างฝายชะลอนํ้าจํานวน 1,000 ฝายภายใน พ ศ 2566
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 10 โครงการสร้างธนาคารนํ าใต้ดิน โครงการสร้างธนาคารนํ้าใต้ดินระหว่าง พ.ศ . 2562–2566 มี จํานวนรวมทั้งสิ้น 4 โครงการ โดยบริษัทที่ดําเนินโครงการดังกล่าว อยู่ในหมวดพาณิชย์ หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค และหมวด ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ทั้งนี้การสร้างธนาคารนํ้าใต้ดินมักเป็นเพียง ส่วนหนึ่งของโครงการซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการปลูก ป่าในบ้าน CPP (Green Home CPP) โดยบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จํากัด ที่จัดทําธนาคารนํ้าใต้ดินจํานวน 3 จุดเพื่อแก้ไขปัญหาการ ขาดแคลนนํ้าในฟาร์มเลี้ยงสุกรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจในเครือ เช่นเดียวกับโครงการ ‘GC รวมพลังรักษ์นํ้า’ โดยบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จํากัด (มหาชน) ที่เริ่มดําเนินการตั้งแต่ พ ศ 2560 โดยใน พ.ศ. 2563 มีการจัดทําระบบธนาคารนํ้าใต้ดินจํานวน 17 จุดเพื่อแก้ปัญหานํ้าท่วม ภัยแล้ง และช่วยสนับสนุนการเข้าถึง แหล่งนํ้าสะอาดให้แก่ชุมชนในพื้นที่จังหวัดระยอง ขณะที่บางบริษัทจะเข้าไปดูแลชุมชนในฐานะ ‘พี่เลี้ยง ’ โดย ให้คําแนะนํา สร้างกระบวนการเรียนรู้ และสร้างความเข้าใจ เรื่องระบบธนาคารนํ้าใต้ดินแก่ชุมชน เช่น โครงการของบริษัท โคลเวอร์ เพาเวอร์ จํากัด (มหาชน) ที่ตําบลเปาปมดงยาง จังหวัด แพร่ หรือโครง การของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จํากัด ( มหาชน ) ที่ตําบลเก่าขาม จังหวัดอุบลราชธานี และชุมชนบ้านมาบจันทร์ จังหวัดระยอง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ธนาคารนํ้าใต้ดินแก้ไข ปัญหาภัยแล้งและส่งเสริมให้ชุมชนสร้างคลังเก็บนํ้าไว้สําหรับใช้ อุปโภคบริโภคในครัวเรือน
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 11 โครงการปลูกปะการัง โครงการปลูกปะการังระหว่าง พ.ศ. 2562–2566 มีจํานวนรวม ทั้งสิ้น 14 โครงการ บริษัทหมวดวัสดุก่อสร้างครองอันดับหนึ่ง ในฐานะธุรกิจที่จัดกิจกรรมปลูกปะการังสูงที่สุดรวมทั้งสิ้น 5 โครงการ (ร้อยละ 36) รองลงมาคือหมวดพาณิชย์ (ร้อยละ 22) และหมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (ร้อยละ 21) ตัวอย่างกิจกรรมปลูกปะการัง อาทิ โครงการ ‘ รักษ์ทะเล ’ โดยบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน) ซึ่งใช้เทคโนโลยีการ พิมพ์แบบ 3 มิติของบริษัทในการขึ้นรูปเป็นวัสดุเพื่อให้ตัวอ่อน ปะการังลงเกาะ นับเป็นโครงการนําร่องการฟื้นฟูทรัพยากรทาง ทะเลโดยใช้วัสดุที่มีรูปแบบใกล้เคียงธรรมชาติ ส่วนโครงการของ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จํากัด เป็นการส่งมอบแท่นปะการัง เทียมเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและการประมงชายฝั่งในจังหวัด สงขลาและนราธิวาส เช่นเดียวกับบริษัท ซิก้า ( ประเทศไทย ) จํากัดที่เป็นการนําก้อนปูนลงสู่ทะเลเพื่อเป็นวัสดุลงเกาะของตัวอ่อน ปะการัง โครงการปลูกหญ้าทะเล โครงการปลูกหญ้าทะเลระหว่าง พ . ศ . 2562–2566 มีจํานวน ทั้งหมด 9 โครงการ บริษัทที่หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค นับเป็นอันดับหนึ่งในการดําเนินกิจกรรมปลูกหญ้าทะเลมีจํานวน โครงการทั้งสิ้น 4 โครงการ (ร้อยละ 45) รองลงมาคือธุรกิจหมวด
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 12 วัสดุก่อสร้าง (ร้อยละ 33) และธุรกิจหมวดขนส่งและโลจิสติกส์ (ร้อยละ 11) ตัวอย่างกิจกรรมปลูกหญ้าทะเล อาทิ โครงการ ‘ปลูกหญ้า ทะเลลดโลกร้อน เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และจัดการ ขยะแบบคนเล ’ ที่จังหวัดตรัง โดยบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จํากัด ( มหาชน ) โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรักษ์นํ้าจากภูผา สู่มหานที โดยมีการปลูกหญ้าทะเลแล้วกว่า 30,000 ต้นในพื้นที่ 20 ไร่ตั้งแต่ พ ศ 2559 เช่นเดียวกับโครงการ ‘ส่งมอบหญ้าทะเล โครงการฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเล ’ โดยบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จํากัด (มหาชน) ที่มีการปลูกหญ้าทะเลร่วม 10,000 ต้น ในพื้นที่ 6 ไร่ การปลูกหญ้าทะเลของทั้งสองบริษัทมีเป้าหมายเพื่อ ฟื้นฟูระบบนิเวศ เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์นํ้า และเพิ่มความหลาก หลายทางชีวภาพ และสร้างรายได้ให้กลุ่มประมงและชุมชนโดยรอบ โครงการปล่อยสัตว์ โครงการปล่อยสัตว์ระหว่าง พ . ศ . 2562–2566 มีทั้งหมด 21 โครงการ บริษัทในหมวดพลังงานและสาธารณูปโภคดําเนินกิจกรรม ปล่อยสัตว์สูงที่สุดเป็นอันดับหนึ่งรวม 12 โครงการ (ร้อยละ 57) รองลงมาคือ ธุรกิจหมวดพาณิชย์ (ร้อยละ 24), ธุรกิจหมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (ร้อยละ 9) โครงการปล่อยสัตว์ส่วนใหญ่จะเน้นเป็นการปล่อยสัตว์นํ้า อาทิ การปล่อยพันธุ์สัตว์นํ้าบริเวณอ่าวประดู่ จังหวัดระยอง จํานวนกว่า 1,110,399 ตัว และพื้นที่บ้านปากคลองตากวน จังหวัดระยอง

โครงการให้ความสําคัญตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบโครงการเพื่อ ป้องกันมิให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าผลดี นี่คือที่มาและวัตถุประสงค์ของ ‘ คู่มือซีเอสอาร์สิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ ’ ซึ่งคณะวิจัยได้รับเกียรติจากนักวิทยาศาสตร์และ

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 13 รวมทั้งหมด 2,150,900 ตัว โดยบริษัท ปตท . จํากัด ( มหาชน ) ร่วมกับเครือข่ายภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับโครงการ ‘ ปูม้า ยั่งยืน คู่ทะเลไทย ’ ที่บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จํากัด ดําเนินการต่อเนื่องมากว่า 11 ปีโดยจะปล่อยลูกปูม้าจํานวน 1,000,000 ตัวบริเวณเกาะเสร็จ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และโครงการ ‘ปล่อย ปลูก ป่า’ ที่บริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ จํากัด ปล่อยพันธุ์ สัตว์นํ้าจืด ประกอบไปด้วย ปลานิล 50,000 ตัว ปลาตะเพียนทอง 5,000 ตัว และปลาโพง 5,000 ตัวในพื้นที่ป่าชุมชน บ้านเนินสําเหร่ จังหวัดระยอง ปัจจุบัน กิจกรรมซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อมทั้ง 7 ประเภท ข้างต้นยังคงได้รับความนิยมอย่างสูงจากภาคธุรกิจไทย โดยเฉพาะ กลุ่มบริษัทในอุตสาหกรรมพาณิชย์ พลังงาน เคมีภัณฑ์ และ อาหาร คณะวิจัยจึงเห็นว่าควรมีการรวบรวมวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ในการดําเนินโครงการดังกล่าว เพื่อส่งเสริมการดําเนินกิจกรรม ซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน
นักอนุรักษ์ชั้นนําของประเทศหลายท่านมาถ่ายทอดองค์ความรู้และ ประสบการณ์อันเป็นประโยชน์ เพื่อร่วมเป็นส่วนเล็กๆ ในการยก ระดับการดําเนินโครงการซีเอสอาร์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามความ มุ่งหวัง และขับเคลื่อนวงการซีเอสอาร์ของประเทศไทยให้มุ่งหน้าสู่ ‘การพัฒนาที่ยั่งยืน’ อย่างแท้จริง
โดยที่ผู้ดําเนิน
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 14 สุดท้าย คณะวิจัยหวังว่าเนื้อหาในคู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ ทั้งต่อผู้ดําเนินโครงการซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภาครัฐและ เอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่สนใจจะทํากิจกรรมการกุศล ด้านสิ่งแวดล้อมในรูปแบบเดียวกัน
บทที่ 1 ระบบนิเวศป่าบก และป่าชายเลน เรื่อง: สมาธิ ธรรมศร

การลดจํานวนลงอย่างต่อเนื่องของพื้นที่ป่าเกิดขึ้นจากหลาย

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 17 โครงการปลูกป่า ป่าคืออะไร? สําหรับคนเมือง ป่าคือสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ทําให้ รู้สึกสงบและสดชื่นทุกครั้งที่ไปเยือน ในมุมมองของคนป่า ป่าคือ ที่อยู่อาศัยและแหล่งผลิตอาหาร แต่เมื่อมองผ่านสายตาของ นักวิทยาศาสตร์ ป่าคือคลังรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพ และยังเป็นระบบขนาดใหญ่ที่สลับซับซ้อนซึ่งคอยควบคุมวัฏจักร ของดิน นํ้า อากาศ และความเป็นไปของสิ่งมีชีวิต ‘ป่า’ จึงเป็นคําที่หลากหลายทั้งความหมายและคุณค่า หาก ย้อนเวลากลับไปก่อน พ . ศ . 2510 เนื้อที่ป่าของประเทศไทยมี อยู่ประมาณ 53 เปอร์เซ็นต์ แต่ปัจจุบันเนื้อที่ป่ากลับเหลืออยู่ ประมาณ 31 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แถมผืนป่าที่เหลืออยู่เพียงน้อย นิดก็ไม่ใช่ป่าธรรมชาติทั้งหมด
แต่ถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มป่าอนุรักษ์
‘มนุษย์’ เข้าไปใช้ประโยชน์
และกลุ่มป่าเศรษฐกิจกับป่าชุมชนที่มี
สาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ การล่าสัตว์ การเก็บของป่า และ การแปลงพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย เมื่อต้นไม้ ในป่าหดหายไปจนหลงเหลือแต่พื้นที่โล่งเตียน องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และกลุ่มจิตอาสาจึงจัดกิจกรรม ‘ปลูกป่า’ เพื่อหวังฟื้นฟูป่าให้กลับคืนสู่สภาพเดิม อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาทางนิเวศวิทยากลับพบว่าต้นไม้ที่ ถูกนําไปปลูกมักจะเติบโตได้ไม่ดีนัก ส่วนใหญ่เหี่ยวแห้งล้มตายเมื่อ เวลาผ่านไปไม่นาน และกลับกลายเป็นสาเหตุทําให้ความหลาก
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 18 ปลูกป่าหมายถึงอะไร? คําว่า ‘ ปลูกป่า ’ เป็นคําที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ว่า คนฟังอาจตีความไม่เหมือนกัน ผู้เขียนจึงขอแบ่งประเภท ของการปลูกป่าออกเป็นสามรูปแบบดังนี้ รูปแบบแรกคือการปลูกป่าในพื้นที่เดิม หมายถึงการ เปลี่ยนผืนป่าที่ถูกทําลายให้กลับมาเป็นพื้นที่ที่ปกคลุมด้วย พืชพรรณด้วยการนําต้นไม้เข้าไปปลูก โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศ สร้างสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทําอุตสาหกรรมป่าไม้ ชะลอการกลายเป็นทะเลทราย และกักเก็บคาร์บอนเพื่อรับมือวิกฤตภูมิอากาศ รูปแบบที่สองคือการขยายพื้นที่ป่า หมายถึงการเปลี่ยน สภาพพื้นที่ว่างซึ่งไม่เคยมีต้นไม้ปกคลุมให้กลายเป็นพื้นที่ที่มี ต้นไม้ปกคลุมด้วยการนําต้นไม้เข้าไปปลูกซึ่งจะเน้นการปลูก ไม้ยืนต้นเป็นหลัก มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพื้นที่ป่าแห่งใหม่ รูปแบบที่สามคือการฟื้นฟูป่า หมายถึงการฟื้นฟูพื้นที่ ป่าที่ถูกทําลายหรือพื้นที่ที่ว่างเปล่าให้กลับคืนสู่สภาพพื้นที่ ธรรมชาติ วัตถุประสงค์หลักของการฟื้นฟูป่าคือเพื่อฟื้นฟู ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ การฟื้นฟูป่า จึงเน้นการปล่อยให้กระบวนการธรรมชาติทํางาน โดยมนุษย์ จะเข้าไปแทรกแซงเท่าที่จําเป็น
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 19 หลายทางชีวภาพในระบบนิเวศลดลงอีกด้วย นําไปสู่คําถามว่าการ ปลูกต้นไม้ในป่าเป็นวิธีฟื้นฟูธรรมชาติที่ถูกต้องหรือไม่ แล้วการ ฟื้นฟูป่าที่เหมาะสมตามหลักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันควรทําอย่างไร แต่ก่อนจะตอบคําถามเหล่านี้ เราต้องย้อนกลับไปทําความรู้จัก ต้นกําเนิดและระบบนิเวศของป่าธรรมชาติเสียก่อน กําเนิดป่าและลักษณะของป่า ย้อนกลับไปหลายพันล้านปีหลังโลกถือกําเนิดได้ไม่นาน สิ่งมี ชีวิตยุคแรกเกิดขึ้นในมหาสมุทรก่อนจะวิวัฒนาการเป็นจุลินทรีย์ พืช และสัตว์ขนาดเล็ก พืชยุคแรกจึงมีโครงสร้างไม่ซับซ้อนและต้อง อาศัยอยู่ใกล้ทะเลตลอดเวลา การแผ่ขยายอาณาเขตของพืชเข้ามา ครอบครองพื้นพิภพอันไร้ชีวิตเรียกว่าการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบ ปฐมภูมิ (primary
เมื่อเวลาผ่านไป พืชก็พัฒนาโครงสร้างให้มีความซับซ้อน หลากหลาย และขยับออกห่างจากทะเลมาก ขึ้นเรื่อยๆ พร้อมชักนําเหล่าสัตว์ตัวเล็กๆ ให้อพยพขึ้นมาจากทะเล ช่วงเวลาดังกล่าวคือจุดเริ่มต้นของระบบนิเวศเก่าแก่ที่เรียกว่า ป่าบรรพกาล นักวิทยาศาสตร์พบว่าป่าที่มีอายุมากที่สุดปรากฏอยู่ ในชั้นหินที่มีอายุมากกว่า 385 ล้านปี และป่ารอบตัวเราในปัจจุบัน ก็คือลูกหลานที่สืบเชื้อสายมาจากป่าบรรพกาลที่ตายไปแล้ว เนื่องจากพืชมีการกระจายพันธุ์ไปตามพื้นที่ต่างๆ และวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ป่าจึงมีลักษณะที่ หลากหลาย แม้แต่ป่าประเภทเดียวกันแต่อยู่ต่างพื้นที่ก็จะพบกลุ่ม สิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกัน หมายความว่าปัจจัยทางภูมิศาสตร์ เช่น แสง ลม นํ้า อุณหภูมิ ความชื้น ความเป็นกรดด่าง ความเค็ม ความสูง
succession)
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 20 จากระดับนํ้าทะเล ลักษณะของดิน พืช สัตว์ และตําแหน่งที่ตั้ง คือตัวแปรที่กําหนดชนิด จํานวน ความสัมพันธ์ และลําดับการ เข้ามาครอบครองพื้นที่ของสิ่งมีชีวิต หากปัจจัยเหล่านี้เปลี่ยนแปลง ไป ระบบนิเวศของป่าก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน เราเรียก ปัจจัยเหล่านี้ว่า ‘เงื่อนไขการเกิดป่า’ เมื่อมองเข้าไปในป่า สิ่งแรกที่เราเห็นคือพืช หากเพ่งมองให้ นานอีกสักนิด เราจะเริ่มเห็นสัตว์ และถ้าลองเดินเข้าไปให้ใกล้กว่า เดิม เราอาจจะเห็นราและสัมผัสถึงกลิ่นของธรรมชาติที่จุลินทรีย์ ในดินสร้างขึ้นมา ป่าจึงไม่ใช่เพียงแค่สถานที่ที่ต้นไม้มากมายมา อาศัยอยู่ร่วมกัน แต่เป็น ‘บ้าน’ ของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดทั้งที่มอง เห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า พื้นราบของผืนป่าจะเป็นถิ่นอาศัยของไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้ ล้มลุก ไม้เลื้อย และไม้เถา พืชแต่ละชนิดจะมีลักษณะภายนอก เช่น ราก ลําต้น กิ่ง ก้าน ใบ ดอก เกสร ผล เมล็ด รวมถึงพฤติ­
ส่วนใต้พื้นดินจะมีเครือข่ายชีวภาพที่เกิดจากการเชื่อมโยงและเกื้อหนุนกันระหว่างรากพืชกับเห็ด ราเรียกว่า โครงข่ายไพศาลของป่า (wood wide web) ซึ่งทําหน้าที่ ควบคุมการดํารงอยู่ การเติบโต และการเสื่อมถอยของป่าธรรมชาติ หลายคนมักจะมี ‘ภาพจํา’ ว่าป่าคือบริเวณที่ต้นไม้ขนาดใหญ่ มากมายมาอยู่รวมกันและมีสีเขียวขจีตลอดเวลา แต่ภาพจําดังกล่าวไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ป่าบางแห่งเป็นแหล่งอาศัยของพืชพรรณ น้อยใหญ่ ป่าบางแห่งมีเพียงหญ้ากับไม้พุ่ม ป่าบางแห่งมีสีเขียว ตลอดปี และป่าบางแห่งจะปลิดใบทิ้งในบางฤดูกาล ความหลากหลายของระบบนิเวศคือผลงานที่วิวัฒนาการผ่าน
กรรมการดํารงชีวิตที่แตกต่างกัน

หนึ่งมาเปรียบเทียบกับป่าอีกแบบหนึ่งแล้วตัดสินว่าป่าแบบไหน ดีกว่ากัน เพราะป่าแต่ละแห่งล้วนมีคุณค่าทางธรรมชาติและความ

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 21 โครงสร้างของป่าดิบชื้นประกอบด้วยชั นเหนือเรือนยอด (emergent layer), นเรือนยอด (canopy layer), นใต้เรือนยอด (understory layer) และชั นพื้นป่า (forest floor) ที่มา: มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
กระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ดังนั้น เราจึงไม่ควรนําป่าแบบ
งดงามในแบบของตัวเอง สามทางเลือกในการฟื้นฟูป่า ป่าส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะถูกทําลายลงจากการตัดโค่น การเผา ด้วยไฟ การขุดถางหน้าดิน และการปนเปื้อนจากสารเคมีอันตราย ระดับความเสียหายของระบบนิเวศป่าจะขึ้นอยู่กับสามปัจจัยคือ วิธีที่ป่าถูกทําลาย ขนาดของพื้นที่ป่าที่ถูกทําลาย และระยะเวลาที่ ป่าถูกทําลาย การฟื้นฟูป่าเหล่านั้นจึงไม่ได้จํากัดแค่การปลูกโดย
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 22 มนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอีกทางเลือกหนึ่งคือการปล่อยให้ ธรรมชาติทํางานอีกด้วย เราสามารถแบ่งวิธีการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของป่าออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ 1. การฟื้นฟูป่าด้วยวิธีธรรมชาติ หมายถึงการที่ป่าซึ่งถูกทําลายสามารถฟื้นคืนระบบนิเวศกลับมาเป็นเหมือนเดิมหรือใกล้เคียง กับสภาพเดิมได้ด้วยตัวเอง เราสามารถเรียกกระบวนการนี้ว่าการ เปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ (secondary succession) หรืออาจ เรียกว่าการฟื้นคืนตามธรรมชาติ สาเหตุที่ป่าสามารถฟื้นฟูขึ้นมาได้ด้วยตนเองก็เนื่องจากป่าที่ ถูกทําลายยังหลงเหลือตอไม้ที่ยังมีชีวิต ส่วนใต้พื้นดินก็ยังมีสปอร์ หรือเมล็ดพันธุ์ของพืชเดิมสะสมอยู่ ในช่วงเวลาที่ระบบนิเวศอุดม สมบูรณ์ พืชรุ่นพ่อแม่จะกระจายเมล็ดพันธุ์สู่สิ่งแวดล้อมเป็นจํานวน มาก แต่จะมีเมล็ดพันธุ์จํานวนเพียงหยิบมือที่งอกและเติบโตเป็น พืชรุ่นลูก ส่วนเมล็ดพันธุ์ที่เหลือจะจําศีลอยู่ในระยะพักตัวและถูก เก็บรักษาอยู่ในดินหรือที่เรียกว่าแหล่งเก็บเมล็ดพันธุ์ (seed bank) เพื่อรอสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเติบโต โดยอาจมีเมล็ด พันธุ์บางส่วนที่จะถูกสัตว์กินหรือตายลงตามธรรมชาติ นอกจากนี้ สายลม กระแสนํ้า และสิ่งมีชีวิตก็มีบทบาทในการนําเมล็ดพืช กลับคืนมาสู่ป่าที่ถูกทําลายด้วยเช่นกัน หากใครจินตนาการกระบวนการดังกล่าวไม่ออก ลองนึกถึง สวนหย่อมในบ้านหรือพื้นที่สาธารณะที่ไม่มีใครดูแล เมื่อเวลาผ่าน ไปเพียงไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือน พืชตระกูลหญ้าและไม้พุ่มจะ เข้ามาเติบโต เราเรียกสิ่งมีชีวิตที่เข้ามาครอบครองพื้นที่เป็นอันดับ
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 23 การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ ที่มา: Shutterstock แรกว่าชนิดพันธุ์เบิกนํา (pioneer species) เมื่อปล่อยพื้นที่ดังกล่าวทิ้งไว้เป็นเวลาหลายปี ไม้ยืนต้นก็จะ เริ่มเข้ามายึดครอง กล่าวโดยสรุปคือหากป่าไม่ถูกรบกวนซํ้าๆ จาก มนุษย์หรือภัยพิบัติ ป่าก็จะฟื้นฟูตัวเองตามธรรมชาติแบบเป็น ลําดับขั้นตอน แต่กว่าจะกลับคืนสู่สภาพที่อุดมสมบูรณ์อีกครั้งก็ จําเป็นต้องใช้เวลายาวนาน ดังนั้นการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีการนี้จึงเป็นวิธีที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ มากที่สุด มีความหลากหลายทางชีวภาพคล้ายกับระบบนิเวศเดิม มากที่สุด และใช้แรงงานกับงบประมาณน้อยที่สุด โดยเรามีหน้าที่ เพียงแค่หาวิธีป้องกันไม่ให้ป่าถูกบุกรุกทําลายซํ้า หรืออาจช่วย กําจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่นไม่ให้เข้ามารุกรานป่าที่กําลังฟื้นตัว จากเหตุผลข้างต้นคําว่า ‘ ป่าเสื่อมโทรม ’ จึงเป็นเพียงภาวะ
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม
24 ตอไม้ที่ยังมีชีวิต (บน) การฟื้นตัวของพืชบนภูเขาหินปูนหลังการทําเหมืองที่จังหวัดสระบุรี (ล่าง) ภาพ: สมาธิ ธรรมศร
ฉบับนักนิเวศ

เนื่องจากพื้นที่รกร้างก็มีประโยชน์โดยสิ่งมีชีวิตสามารถใช้เป็นที่อยู่

(replacement effect) นอกจากนี้ หากนําต้นไม้จํานวนมากที่มีอายุไล่เลี่ยกันเข้าไป

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 25 ชั่วคราวขณะที่ป่าถูกรบกวนไม่ใช่ภาวะคงที่ถาวร เช่นเดียวกับคําว่า ‘พื้นที่รกร้างไร้ประโยชน์’
อาศัยได้เช่นกัน 2. การฟื้นฟูป่าด้วยวิธีการปลูกต้นไม้ หมายถึงการฟื้นฟูป่า ที่ถูกทําลายโดยการนําต้นไม้เข้าไปปลูก วิธีการนี้ได้รับความนิยม มากที่สุดตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ผู้ดําเนินโครงการ จะขุดดิน พรวนดิน ใส่ปุ๋ย โปรยเมล็ด จัดวางต้นกล้า และรดนํ้า หากต้นไม้ที่ปลูกเป็นพืชประจําถิ่นก็ไม่จําเป็นต้องดูแลมากนัก
เป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม การนําต้นไม้เข้ามาปลูกก่อนช่วงเวลาที่เหมาะสม จะส่งผลเสียต่อระบบนิเวศในระยะยาว เนื่องจากป่าส่วนใหญ่ สามารถฟื้นคืนสภาพด้วยตัวเองได้ การที่มนุษย์รีบนําไม้ยืนต้น เข้าไปปลูกในป่าจึงเป็นการแทรกแซงกระบวนการฟื้นฟูตัวเองของ ธรรมชาติ เพราะเมล็ดพันธุ์ดั้งเดิมในป่าจะถูกต้นไม้ที่มนุษย์ปลูก แก่งแย่งที่อยู่อาศัยและธาตุอาหารส่งผลให้เมล็ดเหล่านั้นไม่สามารถ เติบโตได้ หรือที่เรียกว่าผลกระทบจากการแทนที่
ปลูกในป่าแล้วต้นไม้เหล่านั้นเติบโตได้ดี สภาพแวดล้อมเช่นนี้ จะทําให้ต้นไม้ในระบบนิเวศเข้าสู่สภาวะแข่งขัน แก่งแย่งทรัพยากร
ซึ่งไม่มีอยู่จริง แต่เป็นคําจํากัดความที่ มนุษย์นิยามโดยยึดถือประโยชน์ทางสังคมและเศรษฐกิจเป็นที่ตั้ง
แต่ ถ้าต้นไม้ที่ปลูกเป็นพืชต่างถิ่นก็ต้องใช้ทรัพยากรเพื่อดูแลบํารุงรักษา
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 26 เขาตะกร้า ตําบลปากเพรียว อําเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี เกิดไฟป่าเมื่อ พ.ศ. 2564 (บน) แต่ป่าก็สามารถฟื้นฟูตัวเองตามธรรมชาติจนกลับมาอุดมสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2566 (ล่าง) ภาพ: สมาธิ ธรรมศร

นอกจาก นี้การที่คนกลุ่มใหญ่เดินเท้าหรือขับรถเข้าไปในป่ายังเป็นการทําให้ เนื้อดินด้านบนถูกบดอัดจนแน่น

และอาจทําให้เมล็ดพืชแปลกปลอมจากภายนอกเข้าไปปะปนอยู่ใน ป่าอีกด้วย

กรรม (genetic erosion) ซึ่งเกิดจากการนําพืชต้นหนึ่งหรือพืชเพียง ไม่กี่ต้นมาเพาะเลี้ยงเพื่อเพิ่มจํานวน

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 27 จากกันและกัน ผลคือต้นไม้ที่ปรับตัวเก่งกว่าจะเอาชนะต้นไม้ที่ ด้อยกว่า เมื่อเวลาผ่านไป จํานวนของต้นไม้ในป่าจึงลดลงหรือเกิด ภาวะแคระแกร็นซึ่งเป็นไปตามกฎการบางตัวด้วยตนเอง (self-thinning rule) การปลูกป่าโดยการยิงเมล็ดพันธุ์จากหนังสติ๊กหรือการโปรย จากเครื่องบินก็ให้ผลลัพธ์ในลักษณะเดียวกัน เพราะเมล็ดพันธุ์จะ กระจายแบบสุ่มเป็นบริเวณกว้าง เมล็ดพันธุ์จํานวนหนึ่งจะงอก และเติบโตในพื้นที่ที่ไม่ควรอยู่แล้วแย่งชิงอาหารจากพืชดั้งเดิม ส่วนเมล็ดพันธุ์อีกจํานวนหนึ่งจะตกเกลื่อนกลาดอยู่บนพื้นป่า กลาย
และอาจกลายเป็นสาเหตุที่สัตว์
รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงที่สัตว์
เป็นอาหารของสัตว์กินเมล็ดพืช
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการหาอาหาร
เหล่านั้นจะได้รับเชื้อโรคจากมนุษย์ที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์
ต้นอ่อนของพืชอาจถูกเหยียบยํ่า
อีกปัญหาหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้คือ
การสูญเสียทางพันธุ ­
แล้วนําต้นกล้าจํานวนมาก ที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงเข้าไปปลูกร่วมกับพืชชนิดเดียวกันตาม ธรรมชาติ ทําให้เกิดการปะปนกันระหว่างพันธุกรรมของพืชที่เกิด จากการเพาะเลี้ยงและพืชตามธรรมชาติ โดยที่พันธุกรรมของพืชที่ เกิดจากการเพาะเลี้ยงจะเหมือนกับต้นแม่พันธุ์ ลูกหลานที่เกิดจาก พืชธรรมชาติกับพืชเพาะเลี้ยงจึงมีความหลากหลายทางพันธุกรรม
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 28 ตํ่าลง ส่งผลให้ประชากรของพืชชนิดนั้นอ่อนแอลงหรืออาจสูญเสีย เอกลักษณ์ทางพันธุกรรมโดยไม่สามารถฟื้นฟูกลับมาได้ใหม่ จากเหตุผลข้างต้นจึงมีความเป็นไปได้ที่การฟื้นฟูป่าด้วยวิธีการ ปลูกต้นไม้จะเป็นสาเหตุที่ทําให้ป่าปลูกมีความหลากหลายของสิ่ง มีชีวิต โครงสร้างของป่า และช่วงวัยของพืชน้อยกว่าป่าธรรมชาติ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนของป่าปลูก น้อยกว่าป่าธรรมชาติเช่นกัน 3. การฟื้นฟูด้วยวิธีการผสมผสาน หมายถึงการฟื้นฟูป่าที่ถูก ทําลายด้วยวิธี ‘เจอกันครึ่งทาง ’ ระหว่างสองวิธีข้างต้น เริ่มด้วย การตีกรอบล้อมพื้นที่ป่าเป็นเวลา 10–20 ปีเพื่อสังเกตศักยภาพใน การฟื้นฟูตัวเองของป่า หากป่าสามารถฟื้นฟูตัวเองได้ดีก็ไม่มีความ จําเป็นต้องเข้าไปปลูกต้นไม้เพิ่มเติม แต่ในกรณีที่ป่าถูกทําลายเสียหายจนไม่สามารถฟื้นฟูตัวเองได้ เนื่องจากขาดธาตุอาหาร ไม่มีความสามารถในการกักเก็บนํ้า และ ไม่หลงเหลือเมล็ดพืชประจําถิ่นจนป่ากลายสภาพเป็นทุ่งหญ้าหรือ ถูกพืชชนิดพันธุ์ต่างถิ่นยึดครอง เราก็สามารถยื่นมือเข้าไปช่วย เหลือด้วยการกําจัดพืชต่างถิ่น ปรับปรุงคุณภาพดิน แล้วนําเมล็ด พันธุ์หรือต้นกล้าของพืชประจําถิ่นเข้าไปปลูก ทั้งนี้การปลูกพืชจะ ต้องคํานึงถึงชนิด จํานวน การกระจายตัว ลําดับชั้น และช่วงเวลา ที่เหมาะสมต่อการเติบโตของพืช
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 29 ผลกระทบจากการปลูกต้นไม้บางชนิด นอกจากการปลูกป่าที่ไม่เหมาะสมกับระบบนิเวศจะส่งผลกระทบ เชิงลบต่อความหลากหลายทางชีวภาพหรืออาจสร้างผลลัพธ์ที่ไม่ ตั้งใจดังที่อธิบายไว้ข้างต้น การปลูกต้นไม้บางอย่างในปริมาณมาก ยังก่อให้เกิดผลกระทบที่เราอาจคาดไม่ถึงอีกด้วย ตัวอย่างที่พบบ่อยตามบ้านเรือนหรือชุมชนคือมลภาวะทาง อากาศ เช่น ต้นพญาสัตบรรณและดอกราตรีที่ส่งกลิ่นหอมปนฉุน จนทําให้หลายคนมีอาการเวียนหัว อาเจียน นํ้ามูกไหล และนอน ไม่หลับ หรือในบางพื้นที่ของประเทศญี่ปุ่นและประเทศสหรัฐอเมริกาที่เผชิญภัยพิบัติจากการแพร่กระจายของละอองเรณู ส่ง ผลให้ประชาชนบางส่วนเกิดอาการแพ้ ไอ จาม คัดจมูก หายใจ ไม่ออก และผื่นคัน หนึ่งในกรณีศึกษาโด่งดังคือการปลูกต้นไม้สองชนิดในประเทศ
สงครามโลกครั้งที่
อีกหนึ่งผลกระทบที่หลายคนคาดไม่ถึงคือพฤติกรรมของพืช บางชนิดที่จะปล่อยสารพิษออกมายับยั้งการเจริญเติบโตหรือทําลาย พืชต้นอื่นที่ขึ้นอยู่รอบข้าง (allelopathy) เช่น โครงการปลูกต้นสน ทะเลบนหาดทรายที่อําเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอําเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ซึ่งทําให้พื้นที่รอบ ต้นสนทะเลแทบไม่มีพืชชนิดอื่นเติบโตอยู่เลย นอกจากนี้ รากของ ต้นสนทะเลยังยึดเกาะกับพื้นทรายได้ไม่ดี เมื่อปะทะกับคลื่นลม เป็นเวลานานปี ต้นสนทะเลจะล้มลง แล้วเร่งให้เกิดการพังทลาย
ญี่ปุ่นคือต้นสนซีดาร์ญี่ปุ่นและต้นสนไซเปรสญี่ปุ่นหลังสิ้นสุด
2 โครงการดังกล่าวทําให้ประชากรประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์มีอาการแพ้ละอองเรณูที่ต้นสนปล่อยออกมา

ชายหาดซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของคลื่นกับกระแสนํ้า ส่วนด้านในของชายหาดที่อยู่ติดกับแผ่นดินและอยู่ภายนอกอิทธิพล ของคลื่นกับกระแสนํ้าจะเรียกว่าชายฝั่ง

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 30 ของหาดทรายและการกัดเซาะชายฝั่ง เราสามารถพบเห็นผลกระทบ จากการปลูกต้นสนทะเลต่อหาดทรายที่หาดสนกระซิบ ตําบลมาบตาพุด อําเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง โครงการปลูกป่าชายเลน ระบบนิเวศป่าชายเลนมีความแตกต่างจากระบบนิเวศป่าบก หลายประการ เนื่องจากพืชพรรณมีการปรับตัวและวิวัฒนาการให้ เข้ากับภูมิอากาศและภูมิประเทศริมทะเล ปรากฏการณ์นํ้าขึ้น-นํ้าลง กระแสนํ้า ความเค็ม อุณหภูมิ ออกซิเจน ลักษณะของดิน และ ธาตุอาหารจนมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นสะดุดตา ป่าชายเลนส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ตามแนวปากแม่นํ้าและ
ชายหาดจึงเปรียบเสมือน ปราการธรรมชาติที่คอยปกป้องชายฝั่ง ส่วนป่าชายหาดและป่า ชายเลนจะทําหน้าที่ปกป้องความมั่นคงของชายหาดอีกทีหนึ่ง ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ป่าชายเลนของประเทศไทยถูก ตัดโค่นและแผ้วถางเพื่อเปลี่ยนเป็นนากุ้ง นาเกลือ และบ้านเรือน ทําให้ที่อยู่อาศัยของพืชพรรณและสัตว์นานาชนิดสูญหายไป ก่อน จะเกิดเป็น ‘โครงการปลูกป่าชายเลน’ ทั้งบนหาดเลนที่เคยเป็น ป่าชายเลนและหาดเลนที่ไม่เคยมีป่าชายเลนมาก่อน แต่ผลลัพธ์ กลับกลายเป็นว่าต้นไม้ที่ปลูกจํานวนมากกว่าครึ่งไม่สามารถเติบโต ได้อย่างที่หวังและสุดท้ายก็ตายลง
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 31 ป่าชายเลนที่คลองด่านน้อย ตําบลคลองด่าน อําเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ (บน) ป่าชายเลนที่ตลาดประมงท่าเรือพลี ตําบลมะขามหย่ง อําเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี (ล่าง) ภาพ: สมาธิ ธรรมศร

นกทะเลหรือสัตว์นํ้าซึ่งเป็นกระบวนการธรรมชาติในการควบคุม

มีสารแทนนิน (tannin)

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 32 ในส่วนนี้ ผู้เขียนจะเริ่มต้นด้วยเรื่องระบบนิเวศป่าชายเลน แนวทางการอนุรักษ์และการฟื้นฟูป่าชายเลนที่เหมาะสม พร้อม ไขข้อสงสัยว่าเหตุใดการฟื้นฟูป่าชายเลนในหลายพื้นที่จึงกลับ กลายเป็นการทําลายธรรมชาติเสียเอง ระบบนิเวศป่าชายเลน ป่าชายเลนส่วนใหญ่จะมีนํ้าหล่อเลี้ยงอยู่เกือบตลอดเวลา พืช พรรณต่างๆ ในป่าชายเลนจึงมีใบสีเขียวตลอดปี พร้อมทั้งมีลักษณะ ภายนอกและภายในที่แตกต่างไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นใบที่อวบหนา มีสารเคลือบผิวใบ มีต่อมขับเกลือ และมีปากใบอยู่บริเวณด้านล่าง เพื่อควบคุมปริมาณเกลือและการระเหยของนํ้า ฝัก ผล เมล็ด และต้นอ่อนของพืชป่าชายเลนยังสามารถลอยนํ้าได้ โดยจะถูก คลื่นกับกระแสนํ้าพัดพาไปเรื่อยๆ จนเจอสภาพแวดล้อมที่เหมาะ ต่อการหยั่งราก โดยเมล็ดพันธุ์ส่วนหนึ่งจะกลายเป็นอาหารของ
ปริมาณพืช
ต่างจากป่าบก รากของต้นไม้ในป่าชายเลนมีหน้าที่ยึดเกาะดิน คํ้า จุนลําต้น และช่วยหายใจ นอกจากนี้เนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของต้นไม้ ในป่าชายเลนยังสามารถทนทานต่อความเค็มจากเกลือทะเลและ
ในปริมาณที่ค่อนข้างสูง สารนี้มีหน้าที่ ป้องกันอันตรายจากแบคทีเรียและเชื้อราไม่ให้เข้ามากัดกินเนื้อไม้ ป่าชายเลนประกอบด้วยพืชพรรณนานาชนิด เช่น โกงกาง โพ โปรง พังกา ตะบูน แสม ลําพู ลําแพน และเป็นที่อยู่อาศัย
จุดสังเกตที่โดดเด่นของป่าชายเลนคือระบบรากของพืชที่แตก

พื้นที่ป่าชายเลนแบ่งออกเป็นเขตทะเล (seaward zone), เขตระหว่างทะเลกับแผ่นดิน (mid zone)

และเขตแผ่นดิน (landward zone), ก่อนจะเข้าสู่เขตป่าบก (terrestrial forest)

ที่มา: Bell JD, Johnson JE and Hobday AJ (2011)

และรากที่ยึดเกาะกับดินอย่างแน่นหนายังมีบทบาทในการบรรเทา

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 33
ของสัตว์อีกมากมาย
ความรุนแรงของคลื่นลมทะเล
และคลื่นยักษ์ สึนามิที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการกัดเซาะชายหาดและชายฝั่ง ผลกระทบต่อสิ งแวดล้อมจากการปลูกป่าชายเลน ป่าชายเลนส่วนใหญ่กระจายตัวตามแนวปากแม่นํ้าและบน หาดเลน เมื่อพืชป่าชายเลนหยั่งรากลงสู่ดิน ระบบรากจะทําหน้าที่ ดักตะกอนที่นํ้าพัดพามา อาณาเขตของป่าชายเลนจึงค่อยๆ ขยับ ขยายจากแผ่นดินออกไปสู่ทะเลจนกว่าจะถึงจุดที่ตะกอนไม่สามารถ สะสมตัวบนชายหาดและธรรมชาติไม่อนุญาตให้พืชพรรณงอกงาม แม้ว่าระบบนิเวศป่าชายเลนจะถูกทําลายลง แต่ผืนป่าก็ยัง สามารถฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิมได้ด้วยตัวเอง ตราบใดที่ยังมีสภาพ
เช่น ปลา กุ้ง หอย ปู นก ค้างคาว ลิง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นอกจากนี้ พืชป่าชายเลนที่ขึ้นเบียดเสียดกัน
คลื่นที่เกิดจากพายุ

ต้นโกงกางเติบโตได้ง่ายขึ้น

แม้การสร้างแนวรั้วไม้ไผ่จะสามารถปกป้องต้นโกงกางจาก คลื่นลมและทําให้ต้นกล้ามีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น

มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี ก่อนจะเริ่มผุพังกลายเป็นเศษไม้ที่ สร้างความเสียหายต่อต้นอ่อนของพืชป่าชายเลนที่กําลังเติบโต

หลัง แนวรั้วไม้ไผ่จะกลายเป็นพื้นที่สะสมตะกอนที่ถูกนํ้าพัดพามาเพราะ คลื่นและกระแสนํ้าไม่สามารถพัดพาตะกอนออกจากแนวรั้วไม้ไผ่ได้

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 34 แวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดป่า และไม่มีการบุกรุกทําลายอย่าง รุนแรงหรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน แต่เงื่อนไขทางสภาพแวดล้อม บางประการอาจทําให้ป่าชายเลนอยู่ในสภาวะอ่อนแอ เช่น ตะกอน บนหาดเลนถูกขุดลอกออกไป สูญเสียเมล็ดพันธุ์ที่สะสมอยู่ในดิน อุณหภูมิและความเค็มของนํ้าผันผวน ระดับนํ้าและการไหลเวียน ของนํ้าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือทะเลปนเปื้อนด้วยสารเคมี อันตราย ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ป่าชายเลนฟื้นตัวได้น้อยหรือ ไม่เหลือสภาพความเป็นป่าชายเลนอีกต่อไป ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา องค์กรต่างๆ ในประเทศ ไทยนิยมฟื้นฟูป่าชายเลนที่ถูกทําลายด้วยการปลูกต้นโกงกาง แต่ ผลการสํารวจกลับพบว่าต้นโกงกางส่วนใหญ่จะตายลงหลังผ่านไป เพียงไม่กี่ฤดูกาล เนื่องจากต้นกล้าไม่สามารถทนทานต่อคลื่นลม กระแสนํ้าขึ้น-นํ้าลง และความเค็มได้ ต่อมาจึงมีการปรับปรุงวิธีการ ปลูกด้วยการตัดต้นไผ่มาสร้างเป็นแนวรั้วไม้ไผ่เพื่อช่วยลดแรงปะทะ ของคลื่นลม เร่งการสะสมตัวของตะกอนบนหาดเลน และช่วยให้
นอกจากนี้ หากแนวรั้วไม้ไผ่สร้างขึ้นอย่างแข็งแรงด้วยวิธีการ ปักแบบถี่และหนาแต่ไม่ถูกรื้อถอนหลังจากป่าชายเลนฟื้นตัว
แต่แนวรั้วไม้ไผ่
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 35 แนวรั วไม้ไผ่ที่สร้างใหม่ (บน) แนวรั วไม้ที่ถูกคลื่นซัดไปหาพืชป่าชายเลน (ล่าง) ที่มา: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั ง

บนหาดเลนจึงเป็นการแทรกแซงระบบนิเวศหาดเลน

กระตุ้นจุลินทรีย์ในดิน ให้ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทนสู่บรรยากาศ และอาจทําให้สิ่งมีชีวิตย้ายถิ่นอาศัยอย่างผิดธรรมชาติ

ความเค็มของนํ้า และคลื่นลมได้ดีกว่า ดังนั้นการฟื้นฟูป่าชายเลนที่เหมาะสมคือการปกป้องระบบนิเวศ แล้วรอให้พืชป่าชายเลนเติบโตตามธรรมชาติ

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 36 ส่งผลให้ต้นอ่อนตามธรรมชาติของพืชป่าชายเลนถูกตะกอนทับถม จนไม่สามารถเติบโต ยิ่งไปกว่านั้น สัตว์ทะเลบางชนิด เช่น โลมา ปลา เต่า และพะยูน ยังมีโอกาสหลงเข้ามาติดอยู่หลังแนวรั้วไม้ไผ่ แล้วตายลงอีกด้วย การฟื้นฟูป่าชายเลนด้วยการสร้างแนวรั้วไม้ไผ่จึง ต้องดําเนินการอย่างรอบคอบระมัดระวัง รวมทั้งคํานึงถึงผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม โครงการยอดนิยมอีกอย่างหนึ่งคือการปลูกต้นโกงกางบนหาด เลนที่ไม่เคยเป็นป่าชายเลนมาก่อน ความจริงแล้วการที่หาดเลน ไม่กลายสภาพเป็นป่าชายเลนตามธรรมชาติก็เพราะสภาพแวดล้อม ในบริเวณนั้นไม่เหมาะสมต่อการเกิดป่าชายเลน การปลูกป่าชายเลน
นับเป็นการ แย่งชิงถิ่นอาศัยดั้งเดิมของสัตว์บนหาดเลน
สาเหตุที่ต้นกล้าโกงกางซึ่งปลูกโดยมนุษย์มักจะอ่อนแอและ ตายอย่างง่ายดาย เนื่องจากพืชเบิกนําของป่าชายเลนไม่ใช่ต้น โกงกางแต่เป็นพืชกลุ่มต้นแสมที่สามารถปรับตัวกับพื้นที่ตอนบน ของเขตนํ้าขึ้น - นํ้าลง
ส่วนในกรณีเงื่อนไขแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดป่าชายเลนถูก ทําลายลงอย่างรุนแรง เราสามารถสร้างแนวรั้วไม้ไผ่เพื่อลดแรง ปะทะของคลื่นลมและดักจับตะกอน แล้วคอยติดตามว่าป่าชายเลน สามารถฟื้นฟูตัวเองได้หรือไม่ หากป่าชายเลนไม่สามารถฟื้นฟู

ทุกคนที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้คงทราบแล้วว่าการรีบนําต้นไม้ เข้าไปปลูกในป่าโดยไม่พิจารณาศักยภาพในการฟื้นฟูตัวเองของป่า

ฟอกเขียว เนื่องจากป่าธรรมชาติมีความหลากหลายทางชีวภาพ สูงกว่าป่าปลูกและสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มาก

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 37 ตัวเองตามธรรมชาติจึงค่อยนําต้นกล้าของพืชป่าชายเลนประจําถิ่น เข้าไปปลูกตามความเหมาะสม พร้อมกับเฝ้าสังเกตและตรวจสอบ การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศในแปลงปลูกป่าชายเลนว่ามีความ เหมือน คล้ายคลึง หรือแตกต่างจากระบบนิเวศเดิมอย่างไร หากกะเทาะถึงแก่นความรู้ของหลักการทางนิเวศวิทยา ป่า ชายเลนกับป่าบกมีความคล้ายคลึงกันอย่างยิ่ง เพียงแต่ป่าชายเลน มีความเปราะบางกว่า หากสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดป่าชายเลนถูกทําลายลง ป่าชายเลนก็ยากที่จะฟื้นฟูตัวเองหรือฟื้นฟูกลับ มาแล้วก็มีลักษณะที่ต่างไปจากเดิม เราจึงต้องให้ความสําคัญกับ การอนุรักษ์ป่าชายเลนที่เหลืออยู่และการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
ล้วนเป็นการแทรกแซงการทํางานของธรรมชาติที่อาจเข้าข่ายการ
จะเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติ พร้อมทั้งตระหนักว่าการอนุรักษ์ป่า ที่ดีที่สุดคือการปกป้องไม่ให้ป่าถูกทําลาย และการฟื้นฟูป่าโดยการ ปลูกไม่ใช่ตัวเลือกแรก แต่ควรเป็นตัวเลือกสุดท้ายเมื่อธรรมชาติ ไม่สามารถฟื้นฟูขึ้นได้ด้วยตัวเอง
ให้เหมาะสมต่อการเกิดป่าชายเลนอย่างรอบคอบและถูกวิธี
กว่า สิ่งสําคัญคือเราต้องแยกแยะให้ออกว่าโครงการประเภทใดจึง

ถูกทําลายอย่างรุนแรงทําให้ระบบนิเวศป่าจําเป็นต้องอาศัยความ

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 38 10 มายาคติ ระบบนิเวศป่าและโครงการปลูกป่า มายาคติที่ 1 การปลูกต้นไม้ในป่าเป็นการช่วยเพิ่มความหลาก หลายทางชีวภาพ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และกระบวนการวิวัฒนาการโดยการคัดเลือก ทางธรรมชาติคือสิ่งที่กําหนดชนิดและจํานวนของพืชในป่าแต่ละแห่ง การนําต้นไม้จากภายนอกเข้าไปปลูกหรือการนําเมล็ดพันธุ์เข้าไป โปรยในป่าถือเป็นการรบกวนสมดุลทางธรรมชาติของระบบนิเวศป่า มายาคติที่ 2 การปลูกต้นไม้ในป่าที่ถูกทําลายเป็นการช่วยลด ระยะเวลาการฟื้นฟูตัวเองของป่า ป่าส่วนใหญ่สามารถฟื้นฟูสภาพระบบนิเวศที่ถูกทําลายลงได้ ด้วยตัวเองเพียงแต่ต้องอาศัยระยะเวลา ในทางกลับกัน การรีบนํา ต้นไม้เข้าไปปลูกในป่าที่กําลังฟื้นตัวจะเป็นการแทรกแซงกระบวน­
‘เงื่อนไขการเกิดป่า’
ช่วยเหลือจากมนุษย์ในการฟื้นฟู มายาคติที่ 3 การปลูกต้นไม้ประจําถิ่นไม่มีผลกระทบต่อระบบ นิเวศของป่า ป่าแต่ละแห่งย่อมมีขีดความสามารถในการรองรับ (carrying capacity) ที่เหมาะสมต่อการเติบโตของพืชในจํานวนจํากัด หากมี การนําต้นไม้เข้าไปปลูกเพิ่ม แม้จะเป็นต้นไม้ประจําถิ่นก็สามารถ ทําให้เกิดการแก่งแย่งทรัพยากรของต้นไม้ในป่าได้เช่นกัน
การฟื้นฟูตัวเองตามธรรมชาติ เว้นแต่กรณีที่
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 39 มายาคติที่ 4 การเติมปุ๋ยและกําจัดวัชพืชจะช่วยเร่งการเติบโต ของต้นไม้ในป่า ต้นไม้ในป่ามี ‘ปุ๋ยธรรมชาติ’ ที่เกิดจากการย่อยสลายของแร่ ธาตุ ใบไม้ มูลสัตว์ และซากของสิ่งมีชีวิต การเติมปุ๋ยจึงเป็นการ เพิ่มธาตุอาหารส่วนเกินที่อาจทําให้พืชบางชนิดเติบโตเร็วกว่าที่ควร จะเป็นตามธรรมชาติ แล้วแผ่ร่มเงาบดบังทําให้พืชชนิดอื่นไม่ได้ รับแสงสว่าง ส่วนคําว่าวัชพืชเป็นคําศัพท์ทางเกษตรกรรมไม่ใช่ นิเวศวิทยา สิ่งที่มีพฤติกรรมใกล้เคียงกับวัชพืชมากที่สุดในระบบ นิเวศป่าคือพืชชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่เข้ามารุกรานพืชชนิดพันธุ์ประจํา ถิ่นซึ่งเราอาจต้องช่วยกําจัดออกไป มายาคติที่ 5 การปลูกต้นไม้บริเวณป่าต้นนํ้าสามารถช่วยป้องกัน นํ้าป่าไหลหลาก นํ้าป่าไหลหลากคือรูปแบบหนึ่งของนํ้าท่วมฉับพลันที่พบได้ บ่อยบนภูเขา ปกติแล้วนํ้าป่าจะทําหน้าที่ชะล้างซากใบไม้ กิ่งไม้ ท่อนไม้ ตะกอนที่ทับถมอยู่ตามลําธาร และช่วยกระจายเมล็ดของ พืชนํ้า นํ้าป่าจึงเป็นกลไกของธรรมชาติที่คอยควบคุมสมดุลของ ป่าต้นนํ้า การปลูกต้นไม้บริเวณป่าต้นนํ้าอาจรบกวนกลไกตาม ธรรมชาติของป่า ยิ่งหากมีการนําต้นไม้โตเร็วจํานวนมากไปปลูก ใกล้บริเวณลําธาร ต้นไม้เหล่านั้นจะดูดซับนํ้าผิวดินและนํ้าใต้ดิน จนอาจทําให้ลําธารเหือดแห้งได้

ในปริมาณที่มากกว่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ต้นไม้ดูดซับได้ ทําให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นบวก

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 40 มายาคติที่ 6 การปลูกพืชคลุมดินช่วยลดโอกาสการกัดเซาะตลิ่ง และการเกิดดินถล่ม การปลูกพืชคลุมดินสามารถบรรเทาการพังทลายของดินได้ วิทยาศาสตร์สาขานี้เรียกว่าวิศวกรรมชีวปฐพี (soil-bioengineering) แต่กิจกรรมดังกล่าวจะนิยมทําในพื้นที่ชุมชน ไม่ควรทําในพื้นที่ป่า ธรรมชาติ เพราะเป็นการรบกวนสังคมพืชริมนํ้าและเปลี่ยนแปลง อัตราการกัดเซาะและทับถมตะกอนตามธรรมชาติ มายาคติที่ 7 ยิ่งปลูกต้นไม้มากเท่าไร ยิ่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากขึ้นเท่านั้น การปลูกต้นไม้จําเป็นต้องขุดดิน พรวนดิน ใส่ปุ๋ย รดนํ้า และ ดูแล ขั้นตอนเหล่านี้ต่างปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยา­
การปลูก ต้นไม้ที่ดีจึงต้องพิจารณาชนิด จํานวน สถานที่ เวลาที่ปลูก วิธี ปลูก และการดูแลหลังปลูกเพื่อให้มั่นใจว่าต้นไม้ดังกล่าวจะไม่ รบกวนระบบนิเวศและช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ตาม ที่คาดหวัง มายาคติที่ 8 การกําจัดซากต้นไม้ที่หักโค่นจะเป็นการเปิดพื้นที่ ให้ต้นไม้รุ่นใหม่เติบโต ต้นไม้ที่หักโค่นจะเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น
กาศ หากต้นไม้ที่ปลูกเติบโตได้ไม่ดีและต้องดูแลเป็นเวลานาน กิจกรรมดูแลต้นไม้ของมนุษย์อาจปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมา

ธรรมชาติที่หล่อเลี้ยงผืนป่าต่อไป

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 41 ไส้เดือน แมลง และเห็ดรา ส่วนใบไม้บนดินจะทําหน้าที่คล้ายผ้า ขนหนูเปียกที่คอยรักษาความชุ่มชื้นให้กับดินซึ่งเป็นหลักการเดียว กับเทคนิคการใช้ฟางคลุมดินบนแปลงเกษตร ท้ายที่สุดแล้วใบไม้ เหล่านั้นจะย่อยสลายลงโดยใช้เวลาไม่กี่เดือนแล้วกลายเป็นปุ๋ย
การกําจัดซากต้นไม้ที่หักโค่นจึง เป็นเรื่องที่เกินจําเป็น มายาคติที่ 9 ไฟป่าจําเป็นต่อระบบนิเวศและการชิงเผาคือการ ควบคุมไฟป่าที่ดีที่สุด ไฟป่าคือเปลวไฟที่ลุกไหม้อยู่ในป่าและลามอย่างไร้การควบคุม ไฟป่ามักจะเกิดบนพื้นที่ลาดชันที่ได้รับแสงอาทิตย์แรงกล้าเป็น เวลานาน มีฝนตกน้อย มีฟ้าผ่าบ่อย มีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศา เซลเซียส มีความชื้นสัมพัทธ์น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ มีเชื้อเพลิง แห้งสะสมบนพื้นดินปริมาณมากและแผ่ต่อเนื่องเป็นบริเวณกว้าง
แต่เนื่องจากประเทศไทยมีภูมิอากาศแบบร้อน-ชื้น ไฟป่าตามธรรมชาติจึงมีน้อยมาก พืชในป่าจึงวิวัฒนาการให้ทนทานต่อความแล้ง มากกว่าวิวัฒนาการมาร่วมกับไฟ ความเชื่อที่ว่ามนุษย์จําเป็นต้อง จุดไฟเผาป่าผลัดใบเป็นประจําทุกปีจึงไม่น่าจะถูกต้อง ในประเทศไทย แม้ว่าไฟป่าส่วนใหญ่จะเกิดจากฝีมือมนุษย์ แต่หลายปีที่ผ่านมาเราเริ่มมีแนวคิด ‘ชิงเผา’ ซึ่งเป็นการเผาเศษ ซากใบไม้ล่วงหน้าก่อนที่จะถึงฤดูแล้งโดยมีการควบคุมอย่างใกล้ชิด ไม่ให้ไฟลุกลามมากเกินไป แต่ความจริงแล้วยิ่งป่าถูกเผาบ่อยเท่าไร พืช สัตว์ จุลินทรีย์ และดินจะยิ่งถูกทําลาย นับเป็นการปล่อยฝุ่น
หากเงื่อนไขดังกล่าวคงอยู่นานพอ ไฟป่าจะสามารถลุกและลามได้

Key Takeaways

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 42 กับก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ เกิดการทําลายชั้นโอโซน และ พื้นดินที่เสื่อมโทรมจะกักเก็บคาร์บอนได้น้อยลงเรื่อยๆ ผลคือป่า ที่เคยมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงอาจแปรสภาพเป็นทุ่งหญ้า แล้วดึงดูดสัตว์บางชนิดเข้ามาหากินแบบผิดธรรมชาติ หรืออาจถูก พืชต่างถิ่นเข้ามายึดครองพื้นที่ มายาคติที่ 10 ป่าชายเลนคือป่าโกงกาง ถึงแม้ว่าต้นโกงกางจะเป็นไม้เด่นของป่าชายเลน แต่ความจริง แล้วต้นโกงกางจะเข้ามาครอบครองพื้นที่เป็นอันดับท้ายๆ ส่วนพืช ที่เข้ามาครอบครองพื้นที่เป็นอันดับแรกๆ จะเป็นพวกต้นแสม ลําพู
ป่าชายเลนจึงไม่ได้มีแค่ ต้นโกงกางเพียงอย่างเดียว แต่อุดมไปด้วยพืชพรรณนานาชนิด
และพืชชนิดอื่นที่ยึดเกาะดินเลนได้ดีกว่า
☛ ความหลากหลายของระบบนิเวศคือผลงานที่วิวัฒนาการ ผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ดังนั้น เราจึงไม่ควรนํา ป่าแบบหนึ่งมาเปรียบเทียบกับป่าอีกแบบหนึ่งแล้วตัดสินว่าป่าแบบ ไหนดีกว่ากัน เพราะป่าแต่ละแห่งล้วนมีคุณค่าทางธรรมชาติและ ความงดงามในแบบของตัวเอง โดยไม่มีป่าแบบใดมีคุณค่ามากกว่า หรือน้อยกว่าป่าแบบอื่น ☛ ป่าที่ถูกทําลายจากการตัดโค่นหรือเผาด้วยไฟ แต่ไม่ได้ ถูกบุกรุกต่อเนื่องเป็นเวลานาน หากป่าไม่ถูกรบกวนซํ้าๆ จาก มนุษย์หรือภัยพิบัติ ป่าก็จะฟื้นฟูตัวเองตามธรรมชาติแบบเป็น
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 43 ลําดับขั้นตอน เพียงแต่จําเป็นต้องใช้เวลายาวนานกว่าจะกลับคืน สู่สภาพที่อุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ☛ ป่าธรรมชาติมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงกว่าและ สามารถกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าป่าปลูก ดังนั้นทางเลือกที่ดี ที่สุดในการฟื้นฟูป่าคือการป้องกันไม่ให้ป่าถูกบุกรุกอีกในอนาคต คอยกําจัดสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น และไม่ควรรีบนําต้นไม้เข้าไปปลูกหรือ สร้างฝายในป่า ☛ กรณีที่ป่าถูกทําลายอย่างหนักจนฟื้นตัวได้ช้าหรือฟื้นคืน กลับมาแล้วมีลักษณะไม่เหมือนเดิม เราสามารถช่วยฟื้นฟูป่าโดย การปรับปรุงคุณภาพดินให้มีลักษณะใกล้เคียงกับดินเดิมเพื่อเพิ่ม โอกาสการเติบโตของพืชประจําถิ่น หากระยะเวลาผ่านไปอย่างน้อย 20 ปีแล้วระบบนิเวศยังไม่กลับคืนมา ค่อยพิจารณานําต้นกล้าหรือ เมล็ดพืชประจําถิ่นเข้าไปปลูก ☛ การปลูกต้นไม้ไม่ได้มีแต่ข้อดีเสมอไป
ต้นไม้ผิดชนิด ผิดจํานวน ผิดสถานที่
ผลเสียได้เช่นกัน อาทิ สร้างมลภาวะทางอากาศจากละอองเกสร หรือปล่อยสารพิษออกมายับยั้งการเจริญเติบโตหรือทําลายพืชต้น อื่นที่ขึ้นอยู่รอบข้าง
เพราะการปลูก
และผิดเวลาก็สามารถสร้าง
บทที่ 2 ระบบนิเวศนํ้าจืด เรื่อง: สมาธิ ธรรมศร

ศาสตร์จํานวนมากกลับพบว่าโครงสร้างเหล่านี้ทิ้งผลกระทบไว้

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 45 โครงการสร้างฝาย เมื่อนํ้าที่ล่องลอยอยู่บนท้องฟ้ากลั่นตัวเป็นเม็ดฝนตกลงสู่พื้นดิน นํ้าส่วนหนึ่งจะไหลบ่าไปตามผิวดินแล้วไหลลงสู่แหล่งนํ้า นํ้าอีกส่วน หนึ่งจะซึมลงสู่ใต้ดินแล้วถูกกักเก็บเอาไว้ในช่องว่างของดิน การ ร่วงหล่นของนํ้าจากฟ้าสู่ดินและการระเหยของนํ้าจากดินสู่ฟ้าเป็น กระบวนการที่ดําเนินมาอย่างต่อเนื่องนับพันล้านปีและทําหน้าที่ คํ้าจุนสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก แต่ปัจจุบันเมื่อประชากรมนุษย์เข้า ครอบครองพื้นที่เกือบทุกหนแห่ง สายนํ้าที่เคยไหลอย่างอิสระตาม ธรรมชาติก็ถูกขวางกั้นเพื่อตอบสนองความต้องการนํ้าของมนุษย์ นอกจากการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่แล้ว มนุษย์ยังสร้างฝาย ชะลอนํ้าที่มีลักษณะคล้ายเขื่อนขนาดเล็ก
วิศวกรรมเหล่านี้จะช่วยสํารองนํ้า
มากมายต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม สําหรับบทนี้ ผู้เขียนขอเริ่มด้วยการชวนมาทําความรู้จักพื้นฐาน ระบบนิเวศของลําธารและหน้าที่ของนํ้าบาดาล ก่อนจะพาผู้อ่าน ไปสํารวจทั้งข้อดีและข้อเสียของโครงการสร้างฝายและธนาคารนํ้า ใต้ดิน
และธนาคารนํ้าใต้ดิน ซึ่งเป็นบ่อเติมนํ้าที่ขุดลึกลงในดินด้วยความเชื่อที่ว่าโครงสร้างทาง
บรรเทาความรุนแรงของนํ้าท่วม และสร้างความชุ่มชื้นแก่ผืนดิน ขณะที่ผลการศึกษาทางวิทยา­
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 46 ระบบนิเวศของลํานํ้า หากยืนอยู่ริมแม่นํ้าสายหนึ่งแล้วเพ่งมองลงไปในนํ้า เราจะพบ มวลนํ้าที่ไหลช้าบ้างเร็วบ้าง สัตว์นํ้าที่แหวกว่ายไปมา พืชนํ้าที่โบก พลิ้วไหว และตะกอนเม็ดน้อยใหญ่ที่ถูกพัดพาไปตามกระแสนํ้า เมื่อเดินย้อนจากบริเวณปลายนํ้าไปยังต้นนํ้า เราจะพบว่าแม่นํ้า สายใหญ่ทุกสายล้วนเกิดจากลําธารขนาดเล็กที่ไหลมารวมกัน ส่วนลําธารเหล่านั้นก็ไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกจากผลรวมของร่องนํ้าที่ เล็กกว่า
คงต้องเริ่มจาก วินาทีที่เม็ดฝนตกกระทบผิวดินจนแตกกระเซ็น
ไปตามผิวดินแล้วกัดเซาะผิวดินลึกลงไปจนกลายเป็นริ้วธาร เมื่อ นํ้าในริ้วธารมีมากขึ้นก็จะเร่งการกัดเซาะผิวดินให้ลึกและกว้าง จนกลายเป็นร่องธาร นํ้าจากร่องธารที่ไหลมารวมกันจะกลายเป็น ลําธาร แล้วขยายขนาดกลายเป็นลํานํ้าสายใหญ่ที่เรียกว่าแม่นํ้า ย้อนกลับมาที่ต้นกําเนิดแม่นํ้าคือลําธาร ลําธารหนึ่งสายมีทั้ง บริเวณที่เป็นแนวตรง คดโค้ง นํ้าตื้น นํ้าลึก นํ้าไหลช้า นํ้าไหลเร็ว นํ้าใส นํ้าขุ่น นํ้าอุ่น และนํ้าเย็น ความหลากหลายของลักษณะ ทางกายภาพเอื้อโอกาสที่แหล่งนํ้าจะเป็นแหล่งพักพิงของสิ่งมีชีวิต นานาชนิด เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา งู กบ
ถึงบริเวณสองฝั่งของลําธารจะมีต้นไม้น้อยใหญ่คอยทําหน้าที่เป็น ร่มเงาให้กับนํ้าในลําธาร เมื่อนํ้ามีอุณหภูมิตํ่า ออกซิเจนจึงละลาย ลงสู่นํ้าได้มาก นี่คือสาเหตุที่ทําให้นํ้าในลําธารเย็นและใสสะอาด หากเปรียบลําธารกับอวัยวะภายในร่างกายของมนุษย์ ลําธาร
หากจะเล่าต้นกําเนิดของแม่นํ้าอย่างกระชับ
นํ้าฝนจะไหลแผ่
เต่า แมลง นก สัตว์ เลี้ยงลูกด้วยนํ้านม รวมถึงพืชนํ้า ส่วนพื้นที่ริมนํ้าและที่ราบนํ้าท่วม

จากลําธารหรือการนําหินในลําธารมาเรียงต่อกันจึงเป็นการรบกวน ปอดของลําธารและยังเป็นการทําลายบ้านของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ ตามกรวดหินอีกด้วย เราสามารถจําแนกลําธารโดยอิงจากช่วงเวลาที่ลําธารมีนํ้าไหล ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นลําธารที่มีนํ้าไหลทุกฤดูกาลหรือเกือบ

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 47 บริเวณที่พื้นลําธารนูนขึ้นเรียกว่า เนินนํ้า (glide), บริเวณที่นํ้าตื้นและไหลเร็ว เรียกว่า แก่ง (riffle), บริเวณที่ค่อนข้างตรงและนํ้าลึกเรียกว่า ธารไหล (run), บริเวณที่เป็นแอ่งลึกและนํ้าไหลช้าเรียกว่า วังนํ้า (pool) ที่มา:
ก็เปรียบเสมือน ‘ เส้นเลือด ’ ที่แผ่ขยายไปทั่วร่างกาย นํ้าคือ ‘ เลือด ’
‘ปอด ’
ตลอดปี ลําธารประเภทนี้มักจะพบบริเวณป่าต้นนํ้าและภูเขาสูงที่ มีต้นไม้หนาแน่น อากาศเย็นชื้น และมีระดับนํ้าบาดาลอยู่สูงเทียบ เท่าหรือสูงกว่าพื้นลําธาร ลําธารอีกประเภทหนึ่งคือลําธารชั่วคราว ซึ่งจะมีนํ้าไหลเป็นบางช่วงเวลา บางแห่งจะมีนํ้าไหลเฉพาะในฤดูฝน
https://www.ausableriver.org/blog/stream-features-riffle-glide
ที่คอยหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ส่วนหินบนพื้นลําธารคือ
ที่คอยเติมออกซิเจนสู่กระแสเลือด ดังนั้นการยกหินออก

สะท้อนความแห้งแล้งหรือขาดแคลนในระบบนิเวศ แต่เป็นลักษณะ ตามธรรมชาติของลําธารซึ่งสอดคล้องกับปริมาณนํ้าบาดาล

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 48 ส่วนบางแห่งจะมีนํ้าไหลเพียงชั่วครู่ขณะฝนตกหรือหลังฝนตก เท่านั้น ดังนั้นการที่ลําธารบางแห่งไม่ได้มีนํ้าไหลตลอดทั้งปีจึงไม่ได้
ผลกระทบต่อสิ งแวดล้อมจากการก่อสร้างฝาย ฝายเป็นโครงสร้างทางวิศวกรรมที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อควบคุมการ ไหลและระดับของนํ้า เดิมทีฝายถูกออกแบบมาเพื่อยกระดับนํ้า ด้านหน้าฝายให้สูงขึ้นเพื่อผันนํ้าเข้าสู่พื้นที่ทางการเกษตร ต่อมา ฝายถูกปรับเปลี่ยนหน้าที่มาเป็นแหล่งกักเก็บนํ้าในฤดูแล้ง ดัก ตะกอนไม่ให้ไหลลงอ่างเก็บนํ้า ลดความรุนแรงของนํ้าป่าไหล หลาก และเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพืชพรรณในป่าหรือในสวน ลองจินตนาการถึงภาพลําธารในป่าที่ไหลอย่างอิสระ ริมลําธาร มีพืชพรรณขนาดเล็ก และห่างออกไปอีกหน่อยก็มีต้นไม้ขนาด ใหญ่ สายนํ้าที่ยังไม่ถูกรบกวนคือถิ่นอาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด และทําหน้าที่ลําเลียงนํ้า ธาตุอาหาร และตะกอนจากต้นนํ้าไปยัง ปลายนํ้า หากวันดีคืนดีลําธารสายนั้นถูกคั่นด้วยฝายย่อมส่งผล กระทบหลายประการต่อพืชพรรณริมนํ้าและสัตว์ป่าอย่างยากจะ หลีกเลี่ยง เมื่อนํ้าถูกชะลอให้ไหลช้าลงหรือถูกปิดกั้นจนไม่สามารถไหล ได้ ระดับนํ้าที่ด้านหน้าฝายจะยกตัวสูงขึ้น แล้วเอ่อท่วมพืชพรรณ ริมฝั่งลําธาร บางกรณีเลวร้ายถึงขั้นยืนต้นตาย ฝายยังขัดขวาง การเดินทางไปยังบริเวณต้นนํ้าและปลายนํ้าของสัตว์ที่อาศัยใน ลําธาร นับเป็นเรื่องน่าขันขื่นที่บางครั้งภาพของสัตว์ลําธารที่ถูก
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 49 ลําธารถูกกั นด้วยฝาย ระดับนํ้าหน้าฝายจึงยกตัวสูงขึ้น แล้วเอ่อท่วมพืชในป่า ภาพ: Zhiling Wei กักขังอยู่หลังฝายนําไปสู่ความเข้าใจผิดว่าฝายช่วยเพิ่มจํานวน ประชากรของสิ่งมีชีวิตในลําธาร ทั้งที่จริงแล้วสัตว์ลําธารเหล่านั้น
นอกจากนี้ ใบไม้ ธาตุอาหาร และตะกอนจากในป่าที่ปกติจะถูก พัดพาไปพร้อมกับนํ้า แต่ฝายที่สร้างขวางลําธารจะดักสิ่งเหล่านั้น ไว้ที่ด้านหน้าของฝาย เมื่อเวลาผ่านไปพื้นที่ด้านหน้าฝายก็จะเริ่ม อุดตันส่งผลให้นํ้าเน่าเสีย สัตว์และพืชในนํ้าตาย แหล่งนํ้านิ่งยัง กลายเป็นแหล่งอาศัยของยุงและพยาธิที่เป็นพาหะนําโรคหลายชนิด เมื่อถึงฤดูแล้ง ลําธารบางสายจะเหือดแห้งลงตามธรรมชาติ ถ้านํ้าในฝายมีน้อยก็จะระเหยหรือไหลออกไปจนหมดทําให้สัตว์ที่
เพียงไม่สามารถหาทางเคลื่อนผ่านฝายที่ขวางกั้นเส้นทางสัญจร หลักของพวกเขา

ภาพ:

ซึ่งเป็นการแสดงออกของพันธุกรรมด้อยที่รับมาจากรุ่นพ่อแม่

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 50 นํ้าในฝายมีคุณภาพตํ่าลง
Zhiling Wei ถูกกักขังอยู่ด้านหน้าฝายตายลง ในกรณีที่นํ้าในฝายมีมาก แม้ว่า สัตว์นํ้าจะรอดชีวิตแต่ก็ต้องแย่งชิงอาหารและที่อยู่อาศัยหรือผสม
สัตว์รุ่นลูกจึงอาจมีปัญหาเลือดชิด (inbreeding)
พันธุ์กันภายในฝูง
ส่งผลให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมลดลง นอกจากนี้ การ สร้างฝายอาจทําให้แหล่งนํ้าท้ายฝายมีปริมาณนํ้าน้อยลงเนื่องจาก กระแสนํ้าถูกชะลอไว้ที่ด้านหน้าฝายมากเกินไป เมื่อฤดูฝนเวียนมาถึง นํ้าป่าที่ไหลหลากลงมาจะปะทะกับฝาย แล้วกัดเซาะตลิ่งด้านข้างของลําธารจนตลิ่งพังหรือทําให้ลําธาร เปลี่ยนทิศทาง ในกรณีกระแสนํ้ารุนแรงจนทําให้ฝายพังทลาย วัสดุ ที่ใช้สร้างฝาย เช่น คอนกรีต หิน กระสอบ กิ่งไม้ และลวดจะไหล ลงมาพร้อมกับนํ้าและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อคนที่อยู่ปลายนํ้า

ลงมาด้านล่างกลายเป็นภัยพิบัติคล้ายกับดินถล่ม หากเวลาผ่านไปหลายปีโดยที่ฝายยังไม่พังทลายลงมา ตะกอน ที่ปกติแล้วจะไหลจากต้นนํ้าไปยังปลายนํ้าจะตกทับถมอยู่ที่พื้น ลําธารจนลําธารตื้นเขินทําให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลงและ กักเก็บนํ้าได้น้อยลง การที่ตะกอนถูกดักจับเอาไว้ที่ต้นนํ้า ลําธาร

มากขึ้นก็เท่ากับว่าตะกอนที่ไหลลงสู่แม่นํ้ากับชายหาดจะมีปริมาณ

ผลที่ตามมาคือเกิดการกัดเซาะตลิ่งแม่นํ้าและชายฝั่งทะเล

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 51 นํ้าในฝายระเหยจนแห้งในฤดูแล้ง ภาพ: Zhiling Wei
ส่วนกรณีที่ฝายบนพื้นที่ลาดชันกักเก็บตะกอนจํานวนมากเอาไว้ เมื่อถึงวันที่ฝายแตกเพราะรับนํ้าหนักไม่ไหว ตะกอนจะทะลักทลาย
น้อยลง ตลิ่งแม่นํ้าและพื้นที่ริมทะเลจึงอยู่ในภาวะขาดแคลนตะกอน

แม้ว่าลําธารบางสายจะมีปริมาณนํ้าน้อยลงหรือไม่มีนํ้าในฤดูแล้ง

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม
52 ฝายพังทลายเพราะนํ้าป่าไหลหลาก ภาพ: สมาธิ ธรรมศร 5 มายาคติ ระบบนิเวศลําธารและโครงการสร้างฝาย มายาคติที่ 1 หากไม่สร้างฝายในลําธาร สัตว์นํ้าจะตายในฤดูแล้ง เพราะไม่มีนํ้าเหลือในลําธาร
ฉบับนักนิเวศ
แต่สัตว์ลําธารจะอพยพตามฤดูกาล โดยเคลื่อนย้ายถิ่นอาศัยมายัง
กลับกัน หากมีการสร้างฝายขวางลําธาร สัตว์ลําธารบางชนิดจะ ไม่สามารถอพยพตามฤดูกาลได้และตายลง มายาคติที่ 2 สัตว์นํ้าสามารถเคลื่อนที่ผ่านฝายแบบไล่ระดับได้ ฝายบางชนิดจะถูกออกแบบให้มีลักษณะเหมือนทางลาดแล้ว ค่อยๆ ไล่ระดับขึ้นเพื่อให้สัตว์ลําธารสามารถว่ายนํ้าหรือเดินข้าม
ลําธารในช่วงที่มีนํ้าและอพยพออกไปที่อื่นในช่วงที่ไม่มีนํ้า ในทาง

ฝายดักตะกอนเอาไว้เป็นเวลานานจนพื้นลําธารตื้นเขิน

ภาพ:

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 53
Zhiling Wei ฝายง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม สัตว์ลําธารส่วนใหญ่ไม่ได้วิวัฒนาการ มาเพื่อว่ายนํ้าหรือเดินข้ามโครงสร้างที่มีความลาดชัน ดังนั้น ฝาย ทุกรูปแบบจึงส่งผลกระทบต่อความหลากหลายของชนิด จํานวน และช่วงวัยของสัตว์ที่พบในลําธารอย่างยากจะหลีกเลี่ยง มายาคติที่ 3 ฝายที่ทําจากวัสดุธรรมชาติจะไม่มีผลกระทบต่อ ระบบนิเวศ เรามีหลักฐานสนับสนุนอย่างชัดเจนว่าฝายที่ทําจากยางรถยนต์ หรือกระสอบพลาสติกเป็นมลภาวะต่อลําธาร แต่ฝายไม้ ฝายหิน และฝายคอนกรีตก็สร้างการเปลี่ยนแปลงต่อระดับนํ้าและความเร็ว ในการไหลของนํ้า ส่งผลต่อคุณภาพนํ้า รวมถึงสิ่งมีชีวิตในลําธาร และบริเวณโดยรอบเช่นกัน
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 54 มายาคติที่ 4 ฝายช่วยดักตะกอนในลําธารและลดความรุนแรง ของนํ้าป่าไหลหลาก ฝายที่กั้นขวางลําธารทําให้นํ้าไหลช้าลง ส่งผลให้เกิดการสะสม ของใบไม้กับตะกอนภายในฝาย พื้นของลําธารจึงตื้นเขิน คุณภาพ นํ้ายํ่าแย่ลง และศักยภาพในการกักเก็บนํ้าของฝายลดลง แม้ว่า ฝายที่สร้างขวางลําธารจะสามารถลดความรุนแรงของนํ้าป่าได้บาง ส่วน แต่ถ้านํ้าป่ามีปริมาณมาก ฝายอาจจะแตกแล้วไหลลงมา พร้อมกับนํ้าป่าจนเป็นอันตรายต่อคนที่อยู่ปลายนํ้า ในกรณีที่ฝายมีความแข็งแรงจนไม่พังทลายเพราะนํ้าป่า
จากแหล่งนํ้าเป็นลานดินส่งผลให้พื้นที่การไหลของลําธารลดลง การสร้างสิ่งก่อสร้างรุกลํ้าพื้นที่ของลําธารจึงเป็นการซํ้าเติมปัญหา มากกว่าการแก้ไขปัญหา มายาคติที่ 5 ฝายช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับป่าและลดโอกาส การเกิดไฟป่า ฝายสามารถเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับป่ารอบลําธารได้จริง แต่ป่า ในฤดูแล้งก็มีนํ้าปริมาณมหาศาลสะสมอยู่ภายในดิน นี่คือเหตุผล ที่ผืนป่าสามารถเอาตัวรอดได้ทุกฤดูกาล ฤดูแล้งยังมีประโยชน์ต่อ การพักรากของพืชเพื่อกําจัดนํ้าส่วนเกิน แต่ป่าที่มีฝายเป็นจํานวน มากจะทําให้ความชุ่มชื้นในป่าเพิ่มขึ้นจนเกินจุดสมดุล ผลคือกลุ่ม พืชที่ชอบนํ้าจะขยายพันธุ์รุกรานกลุ่มพืชเดิมและทําให้ระบบนิเวศ รอบลําธารเปลี่ยนแปลงไป ส่วนในเรื่องของไฟป่า โดยหลักการแล้วฝายสามารถลดโอกาส
เมื่อ ผ่านไปหลายปี ตะกอนจะตกทับถมที่ด้านหน้าฝายจนกลายสภาพ
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 55 ลุกลามของไฟป่าได้จริง แต่เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขต ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ไฟป่าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจึงมีน้อยมาก โดยไฟป่าในประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจากฝีมือมนุษย์ ดังนั้นการ แก้ปัญหาไฟป่าที่ถูกวิธีคือควบคุมการเผาหรือการเฝ้าระวังไม่ให้มี การเผาป่า เพราะการสร้างฝายเพื่อสกัดกั้นไฟป่าเป็นการแก้ปัญหา ที่ปลายเหตุและสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศหลายประการซึ่งนับ ว่ามีข้อเสียมากกว่าข้อดี
☛ ฝายที่กั้นขวางลําธารทําให้ระดับนํ้าหน้าฝายยกตัวสูงขึ้น และนํ้าไหลช้าลง พืชริมนํ้าจึงจมอยู่ใต้นํ้า และเกิดเป็นใบไม้กับ ตะกอนสะสมอยู่หน้าฝาย ส่งผลให้คุณภาพนํ้ายํ่าแย่และพื้นของ ลําธารตื้นเขิน นอกจากนี้การสร้างฝายยังขัดขวางการอพยพตาม ธรรมชาติของสัตว์ลําธาร ส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพใน ระบบนิเวศลําธารลดลงอีกด้วย ☛ ในกรณีที่จําเป็นต้องสร้างฝายกั้นขวางลําธาร ควรเลือก สร้างฝายชั่วคราวจากวัสดุธรรมชาติเฉพาะในฤดูแล้งเท่านั้น แล้ว รื้อฝายออกในฤดูนํ้าหลาก ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการสร้างฝายถาวร และฝายที่ทําจากกระสอบพลาสติก ยางรถยนต์ หรือวัสดุสังเคราะห์ อื่นๆ เพราะจะทําให้เกิดมลภาวะปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและส่ง ผลกระทบด้านสุขภาพต่อสิ่งมีชีวิต ☛ แม้ว่าฝายจะสามารถสร้างความชุ่มชื้นให้ผืนป่าและช่วย ป้องกันการลุกลามของไฟป่าได้จริง แต่ระดับความชื้นในป่าที่เพิ่ม
Key Takeaways

มีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลาเนื่องจากมีนํ้าไหลเข้าและนํ้าไหล

เดียวกันกับนํ้าผิวดินคือนํ้าบาดาลจะไหลจากพื้นที่สูงลงไปสู่พื้นที่

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 56 ขึ้นอาจกลายเป็นปัจจัยที่ทําให้ระบบนิเวศในป่าเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ การสร้างฝายเพื่อบรรเทาความรุนแรงของไฟป่ายัง เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โครงการธนาคารนํ าใต้ดิน ขณะที่นําส่วนหนึ่งซึ่งตกลงมาจากท้องฟ้าไหลเป็นลําธารอยู่บน ผิวดิน นํ้าอีกส่วนหนึ่งจะซึมลงสู่ใต้ดินแล้วถูกกักเก็บเอาไว้ในช่อง ว่างของวัสดุธรณีจําพวกตะกอน ดิน และหินที่ระดับความลึกต่างๆ วัสดุธรณีเหล่านี้จะมีความพรุนที่อากาศกับนํ้าสามารถเข้าไปจับ จองพื้นที่ได้ เราเรียกนํ้าภายในช่องว่างของวัสดุธรณีที่แทบจะไม่มี อากาศเจือปนอยู่ว่านํ้าบาดาล เราสามารถพบนํ้าบาดาลได้แทบทุกแห่ง
ระดับนํ้าบาดาลจะ
อย่างไรก็ตามระดับ นํ้าบาดาลในแต่ละพื้นที่จะมีความสูงไม่เท่ากัน
การไหลของนํ้าบาดาลมีหลักการ
ตํ่า แตกต่างกันที่การไหลของนํ้าบาดาลจะมีปัจจัยเรื่องความพรุน ของวัสดุธรณีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยนํ้าบาดาลจะไหลเร็วหาก วัสดุธรณีมีรูพรุนมากและเชื่อมต่อถึงกัน นํ้าบาดาลบางแห่งบริเวณพื้นที่ลาดชันจะทะลักออกสู่พื้นผิว โลกตามรอยแตกของหินแล้วกลายเป็นนํ้าพุ ขณะที่นํ้าบาดาลส่วน ใหญ่จะไหลไปบรรจบกับลําธาร แม่นํ้า พื้นที่ชุ่มนํ้า ทะเลสาบ และ ท้องทะเล นั่นหมายความว่าถ้านํ้าบาดาลจุดหนึ่งเกิดการปนเปื้อน
ออกจากแหล่งกักเก็บอยู่เสมอ

ปริมาณนํ้าที่บ่อบาดาลสามารถนํามาใช้งานได้จริง เราเรียกกระบวนการที่นํ้าฝนซึมลงสู่ใต้พื้นผิวดินแล้วถูกกรอง

หลาย

ประเทศจึงบรรเทาปัญหาการขาดแคลนนํ้าบาดาลและลดความ เสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินทรุดด้วยการเติมนํ้าสะอาดลงสู่ชั้นนํ้าบาดาล

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 57
ที่เชื่อมต่อกันปนเปื้อน
การเติมนํ้าบาดาลเทียมและความเสี่ยงจากการปนเปื้อน นํ้าบาดาลคือแหล่งนํ้าสําคัญของคนไทยโดยเฉพาะพื้นที่ชนบท ในอดีตบ่อนํ้าบาดาลจะมีความลึกประมาณ 10 เมตรเท่านั้น ส่วน ในปัจจุบัน บ่อนํ้าบาดาลจะมีความลึกหลักหลายสิบจนถึงหลักร้อย เมตรเนื่องจากเรามีเครื่องมือที่ทันสมัย ก่อนลงมือขุดบ่อนํ้าบาดาล มักจะมีการสํารวจใต้ผิวดินด้วยวิธีการทางธรณีฟิสิกส์เพื่อตรวจสอบ ว่านํ้าบาดาลมีความลึกและปริมาณเท่าไร คุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่ เมื่อขุดบ่อนํ้าบาดาลเสร็จแล้วก็จะต้องทําการทดสอบคุณภาพและ ปริมาณของนํ้าบาดาลว่าเหมาะสมต่อการใช้งานหรือเปล่า โดย พิจารณาจากสี ความขุ่นใส กลิ่น ความเป็นกรดด่าง อุณหภูมิ ของแข็ง สารละลาย แก๊ส จุลินทรีย์ที่ปะปนอยู่ในนํ้าบาดาล และ
ด้วยวัสดุธรณีที่มีอยู่ตามธรรมชาติว่าการเติมนํ้าบาดาลแท้ (natural groundwater recharge) แต่ในหลายพื้นที่ซึ่งมีความต้องการนํ้า บาดาลสูงมาก เนื่องจากต้องใช้นํ้าในการทําเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และอุปโภคในครัวเรือน การสูบนํ้าบาดาลขึ้นมาใช้อย่าง มหาศาลจึงส่งผลให้ระดับนํ้าบาดาลลดตํ่าลงและเกิดปัญหาแผ่นดิน
ก็จะทําให้นํ้าผิวดินและนํ้าบาดาลจุดอื่นๆ
ไปด้วยเช่นกัน
ทรุดเพราะกระบวนการเติมนํ้าบาดาลแท้ไม่รวดเร็วพอ
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 58 บ่อนํ้าบาดาลแบบโบราณ ภาพ: Zhiling Wei เพื่อทดแทนนํ้าบาดาลที่ถูกสูบออกไป เราเรียกกระบวนการนี้ว่า การเติมนํ้าบาดาลเทียม (artificial groundwater recharge) ประเทศอินเดียคือหนึ่งในประเทศที่มีโครงการเติมนํ้าบาดาล เทียมมายาวนาน เนื่องจากประเทศอินเดียมีประชากรมากถึง 1,400 ล้านคน อีกทั้งยังเผชิญปัญหาการขาดแคลนนํ้า ประสบภัย แล้ง และคลื่นความร้อนที่รุนแรง ในอินเดียจึงมีการสร้างบ่อเติม นํ้าบาดาลจํานวนหลายหมื่นบ่อที่สร้างจากคอนกรีต อิฐ หิน ทราย และดิน ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางและความลึกประมาณ 2 เมตร อย่างไรก็ตาม เมื่อ พ.ศ. 2561 หน่วยงานภาครัฐของประเทศ อินเดียเปิดเผยข้อมูลที่น่ากังวลว่าพบการปนเปื้อนไนเตรต ฟลูออไรด์

ใต้ดินกันอย่างแพร่หลาย โดยแบ่งออกเป็นระบบปิดและระบบเปิด ธนาคารนํ้าใต้ดินระบบปิดจะสร้างขึ้นโดยการขุดดินลึกลงไปถึงชั้น

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 59 เหล็ก เกลือ สารหนู ตะกั่ว โครเมียม แคดเมียม และสิ่งปฏิกูล จนเกินค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกําหนดในแหล่งนํ้า บาดาลกว่า 718 จุดทั่วประเทศ สาเหตุการปนเปื้อนคือปุ๋ย สาร กําจัดศัตรูพืช โรงงานอุตสาหกรรม บ่อขยะ และมูลของสิ่งมีชีวิต ที่ไหลลงสู่บ่อเติมนํ้าบาดาล ทําให้ผู้อุปโภคบริโภคนํ้าบาดาลเกิดโรค ผิวหนัง มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาหารเป็นพิษ หายใจไม่ออก หมดสติ และทําให้อวัยวะภายในทํางานผิดปกติ หายนะในประเทศอินเดียส่งผลให้หลายประเทศในทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาบังคับใช้กฎหมายควบคุมการเติมนํ้าบาดาลเทียม อย่างเคร่งครัด โดยระบุว่าการเติมนํ้าบาดาลเทียมสามารถทําได้ เฉพาะนํ้าบาดาลระดับตื้น บ่อเติมนํ้าต้องสร้างจากวัสดุที่ไม่ก่อให้ เกิดการปนเปื้อน พื้นที่รอบบ่อเติมนํ้าต้องไม่สุ่มเสี่ยงต่อการปน เปื้อนของสารพิษ นํ้าที่ถูกเติมลงสู่ชั้นนํ้าบาดาลต้องเป็นนํ้าสะอาด รวมทั้งกําหนดปริมาณนํ้าที่เติมลงในบ่ออย่างเคร่งครัด
หินอุ้มนํ้า แล้วใส่ยางรถยนต์ ขวดพลาสติก ผ้าไนล่อน หิน ทราย ดิน และท่อพีวีซีลงไป แต่เมื่อเวลาผ่านไป วัสดุเหล่านี้ก็อาจกลาย เป็นสาเหตุการปนเปื้อนของคราบนํ้ามัน สารก่อมะเร็ง และไมโคร พลาสติกจากการย่อยสลายของยางรถยนต์กับขวดพลาสติกในดิน แล้วซึมลงสู่ชั้นนํ้าบาดาล ส่วนธนาคารนํ้าใต้ดินระบบเปิดก็มีลักษณะคล้ายกับธนาคาร นํ้าใต้ดินระบบปิด แตกต่างกันที่จะมีการขุดปากบ่อให้กว้าง และ
สําหรับประเทศไทย หลายปีที่ผ่านมามีการสร้างธนาคารนํ้า

สาเหตุมาจากนํ้าผิวดินที่สกปรก

บริเวณพื้นที่เกษตรกรรมไหลลงไปปนเปื้อนนํ้าบาดาล

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 60 ธนาคารนํ้าใต้ดินระบบปิดที่มีขวดพลาสติกและยางรถยนต์ ที่มา: อบต.วังจันทร์ ไม่มีการใส่ยางรถยนต์และขวดพลาสติกลงไป อย่างไรก็ตาม ปาก บ่อที่กว้างจะทําให้นํ้าผิวดินที่อาจปนเปื้อนสิ่งสกปรกไหลลงไปผสม กับนํ้าในบ่อและซึมลงสู่ชั้นนํ้าบาดาลได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ นํ้าในบ่อ
พบการปนเปื้อน เช่น ธนาคารนํ้าใต้ดินบริเวณพื้นที่โครงการติดตั้ง แผงโซลาร์เซลล์ที่อําเภอบ้านหมอและอําเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี โดยพบว่านํ้าบาดาลมีสีนํ้าตาลอมเหลือง มีกลิ่นเหม็น สัมผัสแล้ว เกิดตุ่มแดงและผื่นคันตามร่างกาย
ยังมีโอกาสสัมผัสกับแสงอาทิตย์มากขึ้นและระเหยง่ายขึ้นอีกด้วย จากการสํารวจพบว่าการสร้างธนาคารนํ้าใต้ดินบางแห่งในไทยยัง
ชาวบ้านใน พื้นที่จึงไม่สามารถใช้นํ้าบาดาลได้เป็นเวลาประมาณ 3 สัปดาห์

ยังไม่มีการศึกษาอย่างแพร่หลายและจริงจังในประเทศไทย

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 61 ธนาคารนํ้าใต้ดินระบบเปิดที่มีปากบ่อกว้าง ที่มา: อบต.วังจันทร์ ผลกระทบอื่น ๆ จากการเติมนํ้าบาดาลเทียม การเติมนํ้าบาดาลเทียมอย่างไม่ระมัดระวัง นอกจากจะเสี่ยง ต่อการปนเปื้อนของมลภาวะแล้วยังอาจเป็นสาเหตุของการเกิด อุทกภัย พืชพรรณบนผิวดินเสียหาย และพื้นดินแห้งแล้งอีกด้วย หากเราเติมนํ้าบาดาลเทียมจนเกินปริมาณที่เหมาะสมจนทํา ให้ระดับนํ้าบาดาลยกตัวสูงขึ้น เนื้อดินที่อิ่มตัวด้วยนํ้าจะส่งผลให้ รากของพืชเน่าและเกิดภาวะนํ้าบาดาลท่วม
ถึงแม้ว่าการเกิดนํ้าบาดาลท่วม
เนื่องจากฝนและนํ้า ผิวดินไม่สามารถซึมลงสู่ใต้ดินได้
แต่ สามารถพบได้บริเวณที่ระดับนํ้าบาดาลยกตัวสูงขึ้นหลังฝนตกหนัก เป็นเวลานาน
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม
62 ธนาคารนํ้าใต้ดินที่ตําบลบ้านครัว อําเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี (บน) ตุ่มแดงและผื่นคันที่เกิดจากการสัมผัสนํ้าบาดาลที่ปนเปื้อน (ล่าง) ภาพ: สมาธิ ธรรมศร
ฉบับนักนิเวศ
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 63 ในทางกลับกัน หากมีการขุดสระกักเก็บนํ้าที่ลึกกว่าระดับนํ้า บาดาล นํ้าบาดาลจะไหลลงไปที่พื้นของสระกักเก็บนํ้าส่งผลให้ ระดับ นํ้าบาดาลตํ่ากว่าที่ควรจะเป็น ผลกระทบที่ตามมาคือราก ของพืชบนดินขาดความชุ่มชื้นและเหี่ยวเฉา ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ คาดว่าเกิดจากปรากฏการณ์นี้คือ การแห้งตายของต้นจําปีสิรินธร ที่ตําบลซับจําปา อําเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ในบทนี้เราจะเห็นว่าลําธารไม่ได้ทําหน้าที่เป็นแค่ท่อส่งนํ้าและ นํ้าบาดาลก็ไม่ใช่แอ่งนํ้าที่ถูกเก็บกักอยู่ใต้ดิน แต่ลําธารคือที่อยู่ อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด คอยลําเลียงธาตุอาหารจากต้นนํ้า ไปหล่อเลี้ยงปลายนํ้าให้อุดมสมบูรณ์ และช่วยพัดพาตะกอนจาก
ส่วน นํ้าบาดาลจะทําหน้าที่ควบคุมความชื้นในดิน คุณภาพของนํ้าผิวดิน และความมั่นคงของแผ่นดิน แหล่งนํ้าธรรมชาติจึงเป็น ‘ระบบ’ ที่สลับซับซ้อนและมีความ ต่อเนื่อง หากระบบเหล่านี้ถูกดัดแปลงหรือนําไปใช้งานอย่างไม่ เหมาะสม ผลลัพธ์ที่ตามมาคือการเสียสมดุลของระบบนิเวศ ตั้งแต่ป่าต้นนํ้า แม่นํ้าลําธาร ชั้นนํ้าบาดาล ไปจนถึงท้องทะเล สุดท้ายแล้วสมดุลของระบบนิเวศที่เสียไปก็จะย้อนกลับมากระทบ ต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ในอนาคต
บนบกไปสะสมตัวบนชายหาดเพื่อบรรเทาการกัดเซาะชายฝั่ง
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 64 5 มายาคติ นํ้าบาดาลและโครงการธนาคารนํ้าใต้ดิน มายาคติที่ 1 เราควรกักเก็บนํ้าไว้บนแผ่นดินให้มากที่สุดและ ไม่ควรปล่อยให้นํ้าจืดไหลลงทะเลอย่างเปล่าประโยชน์ สาเหตุหนึ่งของการสร้างฝายและธนาคารนํ้าใต้ดินคือความ เชื่อที่ว่าไม่ควรปล่อยนํ้าจืดให้ไหลลงทะเลอย่างเปล่าประโยชน์ แต่ ความจริงแล้วนํ้าจืดที่ไหลลงทะเลมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการ ควบคุมปริมาณธาตุอาหารในวัฏจักรนํ้า ระดับความเค็มของนํ้า กร่อย และผลักนํ้าเค็มไม่ให้รุกลํ้าเข้ามา ดังนั้น หากนํ้าจืดถูกกัก เก็บเอาไว้บนแผ่นดินมากเกินไป สมดุลของนํ้าจืด นํ้ากร่อย และ นํ้าเค็มก็จะแปรปรวน มายาคติที่
ประสิทธิภาพมากที่สุด ชั้นนํ้าบาดาลสามารถรองรับปริมาณนํ้าได้มหาศาล แต่นํ้าที่ ถูกเติมลงสู่ใต้ดินจะถูกเจือปนด้วยของแข็ง สารละลาย แก๊ส และ จุลินทรีย์ หากมีการสูบนํ้าบาดาลขึ้นมาอาจต้องปรับปรุงคุณภาพ นํ้าให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่จะใช้งานและจําเป็นต้องลงทุน ติดตั้งระบบกรองนํ้า มายาคติที่ 3 การเติมนํ้าบาดาลเทียมสามารถเพิ่มความชุ่มชื้น ให้กับพืชบนดิน การเติมนํ้าบาดาลเทียมสามารถทําให้ระดับนํ้าบาดาลยกตัว สูงขึ้น แล้วทําให้ดินมีความชุ่มชื้นมากขึ้น แต่หากระดับนํ้าบาดาล
2 การเติมนํ้าบาดาลเทียมเป็นการสํารองนํ้าที่มี
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 65 สูงขึ้นจนเข้าท่วมรากของพืชเป็นเวลานานก็อาจทําให้รากเน่าและ ตายลงได้ มายาคติที่ 4
นํ้าท่วม ข้อความนี้เป็นความจริงในบางกรณี ขึ้นอยู่กับปริมาณนํ้าบน ผิวดินที่เข้าท่วมพื้นที่ ปริมาตรและจํานวนของบ่อเติมนํ้าบาดาล เทียม หากปริมาณนํ้ามีค่ามากกว่าความจุของบ่อรับนํ้า นํ้าก็จะ เอ่อท่วมบนผิวดิน มายาคติที่ 5 การเติมนํ้าบาดาลเทียมสามารถป้องกันการเกิด แผ่นดินทรุด แผ่นดินทรุดเป็นธรณีพิบัติภัยรูปแบบหนึ่งที่มีสาเหตุมาจาก การสูบนํ้าบาดาลจนเกินระดับที่เหมาะสม แผ่นดินไหวที่รุนแรง และการก่อสร้างเมืองขนาดใหญ่ การเติมนํ้าบาดาลเทียมจึงสามารถ
แต่ไม่สามารถทําให้แผ่นดินที่เกิด การทรุดตัวแล้วดันตัวเองขึ้นมาอยู่ในระดับเดิมได้
Takeaways ☛ หากต้องการนํานํ้าบาดาลขึ้นมาใช้งาน ควรเลือกเจาะบ่อ นํ้าบาดาลแบบปกติ หรือสร้างบ่อนํ้าบาดาลแบบโบราณที่ทําจาก ปูนกับอิฐ มีขอบบ่อสูง ปากบ่อแคบ และฐานบ่อลึก เนื่องจากเป็น รูปแบบที่เหมาะสมสําหรับการใช้งานและมีโอกาสปนเปื้อนน้อยกว่า
บ่อเติมนํ้าบาดาลเทียมสามารถป้องกันการเกิด
ชะลอการทรุดตัวของแผ่นดินได้
Key

ไหลลงไปที่พื้นของสระกักเก็บนํ้าส่งผลให้ระดับนํ้าบาดาลตํ่ากว่า ที่ควรจะเป็น ผลกระทบที่ตามมาคือรากของพืชบนดินขาดความ

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 66 ☛ กรณีมีความจําเป็นต้องสร้างธนาคารนํ้าใต้ดิน ควรตรวจสอบข้อมูลทางธรณีวิทยา นํ้าบาดาล และสิ่งแวดล้อม ว่าวัสดุธรณี สามารถกักเก็บนํ้าได้มากเท่าไร การไหลของนํ้าผิวดินเป็นอย่างไร สุ่มเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสิ่งปฏิกูลหรือสารเคมีแค่ไหน รวมทั้งควร เลือกวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน โดยห้าม นํายางรถยนต์และขวดพลาสติกมาใช้สร้างธนาคารนํ้าใต้ดินอย่าง เด็ดขาด ☛ ภายหลังการก่อสร้างธนาคารนํ้าใต้ดิน ควรมีการบํารุง รักษาและตรวจสอบคุณภาพนํ้าเป็นประจําทุกเดือนเพื่อเป็นการ เฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และระบบนิเวศ ☛ หากเราเติมนํ้าบาดาลเทียมจนเกินปริมาณที่เหมาะสม จนทําให้ระดับนํ้าบาดาลยกตัวสูงขึ้น เนื้อดินที่อิ่มตัวด้วยนํ้าจะ ส่งผลให้รากของพืชเน่าและเกิดภาวะนํ้าบาดาลท่วม ในทางกลับกัน หากมีการขุดสระกักเก็บนํ้าที่ลึกกว่าระดับนํ้าบาดาล นํ้าบาดาลจะ
ชุ่มชื้นและเหี่ยวเฉา
บทที่ 3 ระบบนิเวศทางทะเล เรื่อง: ดร.เพชร มโนปวิตร

กัดเซาะชายฝั่งด้วยโครงสร้างทางวิศวกรรม

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 69
ระบบนิเวศปะการังเป็นเสมือนป่าเขตร้อนในมหาสมุทร เนื่องจากปะการังมีโครงสร้างสามมิติที่สลับซับซ้อนซึ่งสร้างพื้นที่ หลบซ่อนอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตมากมาย ปะการังจึงเป็นแหล่ง ขยายพันธุ์สัตว์นํ้าที่สําคัญอย่างยิ่งและเป็นแหล่งรวบรวมความ หลากหลายทางชีวภาพที่สําคัญที่สุดในทะเล แม้ว่าขนาดของพื้นที่ แนวปะการังนับว่าเล็กมากเมื่อเทียบกับมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ ปะการังกลับเป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตถึง 1 ใน 4 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ที่พบในมหาสมุทร ระบบนิเวศปะการังยังทําหน้าที่เป็นปราการใต้ท้องทะเล งาน วิจัยพบว่าแนวปะการังช่วยชะลอคลื่นและสลายพลังงานของคลื่น ที่ซัดถาโถมเข้าสู่ชายฝั่งได้สูงสุดถึง 97% หากพื้นที่ใดเผชิญปัญหา แนวปะการังเสื่อมโทรมก็จะพบอัตราการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงที่ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ หลายประเทศจึงพยายามแก้ปัญหาการ
เช่น กําแพงกั้นคลื่น
ที่เรื้อรังไม่สิ้นสุด สําหรับประเทศไทย เราเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์ทาง เศรษฐกิจมูลค่าสูงที่สุดติดอันดับต้นๆ ของโลก โดยมีรายได้จาก การท่องเที่ยวชมปะการังราวปีละกว่า 8 หมื่นล้านบาท แนวปะการัง จึงมีบทบาทสําคัญทั้งในเชิงนิเวศวิทยา และช่วยสร้างประโยชน์ต่อ มนุษย์ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงอีกหนึ่งบทบาทที่หลาย คนอาจไม่ทราบคือแหล่งดูดซับคาร์บอนในมหาสมุทรอีกด้วย
โครงการปลูกปะการัง
แต่โครงสร้างดังกล่าวก็นําไปสู่ปัญหาใหม่กลายเป็นวงจรของปัญหา

แนวทางเหล่านี้นับเป็นตัวเลือกที่ดีและมีความยั่งยืนที่สุด

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 70 ในบทนี้ ผู้เขียนจะอธิบายถึงสาเหตุของความเสื่อมโทรมของ ปะการัง แนวทางในการฟื้นฟู รวมถึงกรณีศึกษาการฟื้นฟูปะการัง ที่เกาะไม้ท่อน จังหวัดภูเก็ต ซึ่งประสบความสําเร็จอย่างสูง แนวทางการฟื้นฟูระบบนิเวศปะการัง แนวปะการังจํานวนมากในปัจจุบันเสื่อมโทรมลงเนื่องจากหลาย สาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมมนุษย์โดยเฉพาะการพัฒนาบริเวณ ชายฝั่ง การปล่อยมลภาวะทั้งนํ้าเสียและขยะลงสู่ทะเล การประมง เกินขนาด การท่องเที่ยวอย่างไม่รับผิดชอบ ไปจนถึงการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศที่ทําให้เกิดคลื่นความร้อนในทะเลบ่อยครั้งและ รุนแรงมากขึ้น
หาแนวทางฟื้นฟูที่เหมาะสม อาทิ การลดปัจจัยคุกคาม การจัด ตั้งพื้นที่คุ้มครองทางทะเล และการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
เพราะ เปิดโอกาสให้ระบบนิเวศปะการังฟื้นฟูตัวเองตามธรรมชาติ ขณะที่บางโครงการเน้นเรื่องการเพิ่มพื้นที่ในการลงเกาะของ ตัวอ่อนปะการัง การย้ายปลูกปะการัง การทําแปลงเพาะจากเศษ ปะการัง การสร้างปะการังเทียม และการขยายพันธุ์แบบอาศัย เพศ แต่ละทางเลือกข้างต้นมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป ทั่วโลกมีการศึกษาวิจัยแนวทางการฟื้นฟูปะการังมาอย่างยาวนาน สิ่งที่ตกผลึกได้จากผลการศึกษาคือการฟื้นฟูแนวปะการังเป็น กระบวนการที่ซับซ้อนและต้องพิจารณาหลายปัจจัยเพื่อให้ได้แผน
ปัจจัยเหล่านี้ทําให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว ครั้งใหญ่ ส่งผลให้ปะการังตายลงเป็นบริเวณกว้างในระยะเวลาไม่นาน ความเสื่อมโทรมของแนวปะการังนําไปสู่ความพยายามคิดค้น

เราสามารถประเมินสถานการณ์โดยพิจารณาลักษณะของ

ข้อบ่งชี้ว่ามีสารอาหารในนํ้าที่มากเกินไปจากการปนเปื้อนของสาร

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 71 ฟื้นฟูปะการังที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่และเกิด ผลสําเร็จอย่างแท้จริง ผู้เขียนขอสรุปแนวทางการเลือกวิธีการฟื้นฟูแนวปะการังที่ เหมาะสมโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 ประเมินสถานการณ์เพื่อหาสาเหตุของความเสื่อมโทรม การที่ระบบนิเวศปะการังในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเสื่อมโทรมลงคือ สัญญาณบ่งบอกว่าสภาพแวดล้อมในบริเวณดังกล่าวไม่เอื้อต่อการ เจริญเติบโตของปะการัง
ปัญหาที่ต้นเหตุ
ดังนั้นการฟื้นฟูแนวปะการังขั้นแรกคือ การค้นหาสาเหตุที่ทําให้ระบบนิเวศเสื่อมโทรมเพื่อให้สามารถแก้
การปนเปื้อนของขยะพลาสติก
เคมีบางชนิด เมื่อเราพบต้นตอของปัญหาก็จะสามารถออกแบบ วิธีแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกัน เช่น ปรับเปลี่ยนเส้นทางนํ้าทิ้งจาก แผ่นดิน ติดตั้งระบบบําบัดนํ้าเสียก่อนปล่อยลงสู่ทะเล การควบคุม การจับสัตว์นํ้า หรือลดผลกระทบจากการท่องเที่ยว การระบุปัญญาเพื่อออกแบบวิธีแก้ไขที่ต้นเหตุนับเป็น กระบวนการ ที่สําคัญอย่างยิ่งสําหรับฟื้นฟูแนวปะการัง อย่างไร ก็ตาม กระบวนการนี้มักจะถูกมองข้ามทําให้ความพยายามในการ ฟื้นฟูระบบนิเวศปะการังไม่ประสบความสําเร็จเท่าที่คาดหวัง
ความเสื่อมโทรม เช่น ร่องรอยของความเสียหายที่เกิดจากมนุษย์
หรือการเติบโตของสาหร่ายที่เป็น
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 72 ขั้นที่ 2 ศึกษาตัวอ่อนปะการังในมวลนํ้า การศึกษาตัวอ่อนปะการังในมวลนํ้าจําเป็นต่อการตัดสินใจ เลือกวิธีการฟื้นฟูแนวปะการัง ในกรณีที่เรายังพบตัวอ่อนปะการัง ในมวลนํ้า แสดงว่าพื้นที่ดังกล่าวยังมีศักยภาพที่จะฟื้นฟูตัวเอง ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพหากมีการจัดการอย่างถูกต้อง และมีการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ตัวอ่อนของปะการังเกิดจากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เมื่อ ปะการังโตเต็มที่ก็จะปล่อยไข่และสเปิร์มออกมาผสมกันในนํ้า กลายเป็นตัวอ่อนที่ล่องลอยไปตามกระแสนํ้าจนกระทั่งลงเกาะใน พื้นแข็งที่เหมาะสม อาทิ ก้อนหินในธรรมชาติหรือซากปะการัง มาตรการคุ้มครองแนวปะการัง การคุ้มครองแนวปะการังในรูปแบบพื้นที่อนุรักษ์เป็น หนึ่งในมาตรการที่สามารถช่วยฟื้นฟูปะการังครอบคลุม บริเวณกว้าง ภายหลังจากรัฐกําหนดให้พื้นที่ทางธรรมชาติ เป็นพื้นที่อนุรักษ์ สําหรับประเทศไทยก็เช่น การประกาศ เป็นเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล หรือพื้นที่คุ้มครองทาง ทะเล รัฐก็จะกําหนดมาตรการควบคุมการใช้ประโยชน์ ทั้ง ในรูปแบบของการกําหนดพื้นที่สงวนอนุรักษ์และพื้นที่ใช้ ประโยชน์ในระดับต่างๆ รวมถึงการตรวจตราป้องกันการทํา กิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง มาตรการคุ้มครอง เหล่านี้จะช่วยให้กระบวนการทางธรรมชาติดําเนินไปได้โดย

ตายลง เปรียบเสมือนการเตรียมพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการยึดเกาะ และเติบโตของตัวอ่อนของปะการัง

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 73 เดิม ก่อนจะเจริญเติบโตและพัฒนาตัวเองเป็นปะการังที่มีรูปทรง แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของปะการัง การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เป็นกระบวนการสําคัญที่ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางพันธุกรรม ตามธรรมชาติ นี่คือสาเหตุที่ปลากินพืช เช่น กลุ่มปลานกแก้วมีความสําคัญ อย่างยิ่งต่อการฟื้นฟูปะการังตามธรรมชาติ เนื่องจากปลากลุ่มนี้ จะคอยกําจัดสาหร่ายซึ่งจะขึ้นปกคลุมพื้นผิวแข็งของปะการังที่
ไม่มีมนุษย์รบกวน
เสื่อมโทรมลงแต่ยังคงมีศักยภาพที่จะฟื้นฟูตัวเองในระดับสูง เนื่องจากกระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของปะการังยัง คงเกิดขึ้นตามธรรมชาติและยังพบตัวอ่อนปะการังในมวลนํ้า แต่กระบวนการฟื้นตัวตามธรรมชาติจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ สภาพพื้นทะเลมั่นคง สภาพแวดล้อมเหมาะสม และไม่ถูก รบกวนโดยมนุษย์ ตัวอย่างแนวปะการังที่ฟื้นตัวตามธรรมชาติจากมาตรการคุ้มครอง เช่น แนวปะการังในเขตอุทยาน แห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันและอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา , อุทยานแห่งชาติสิรินาถ จังหวัดภูเก็ต และ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร จังหวัดชุมพร เป็นต้น
แนวปะการังหลายแห่งในประเทศไทยแม้ว่าจะมีสภาพ

ปะการังเพื่อขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศซึ่งจะทําให้ระบบนิเวศ

การตายพร้อมกันเมื่อเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความหลากหลายทาง

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 74 ขั้นที่ 3 เลือกแนวทางการฟื้นฟู หากเราพบว่ายังมีตัวอ่อนปะการังในมวลนํ้า ทางเลือกที่ดีที่สุด คือการปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง ส่วนในกรณีที่สภาพของ พื้นทะเลไม่มีพื้นผิวที่เหมาะสมต่อการยึดเกาะของตัวอ่อนปะการัง มนุษย์สามารถช่วยเหลือกระบวนการฟื้นฟูตามธรรมชาติได้ด้วย การสร้างพื้นผิวที่มั่นคงสําหรับการยึดเกาะ เช่น การใช้แท่งคอนกรีต หรือโครงปะการังเทียม สําหรับกรณีที่เราศึกษาจนมั่นใจว่าไม่มีตัวอ่อนในมวลนํ้า บริเวณพื้นที่ที่เราต้องการฟื้นฟูแนวปะการัง เราจึงค่อยพิจารณา เลือกวิธีฟื้นฟูระบบนิเวศด้วยการย้ายปลูกปะการัง หนึ่งในวิธียอดนิยมในการย้ายปลูกปะการังคือการนําปะการัง ที่อยู่ในสภาพดีทั้งโคโลนีมาตัดแบ่งแล้วแยกนําไปปลูกในพื้นที่ที่
พันธุกรรมคือการหักกิ่งก้านปะการังมาจากหลายโคโลนีในแหล่ง ปะการังผู้ให้แล้วนํามาปลูกในพื้นที่ฟื้นฟู แต่วิธีการนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อแหล่งปะการังผู้ให้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะปะการัง ที่เสียหายต้องใช้พลังงานในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เพิ่มความ เสี่ยงต่อการเกิดโรค อีกทั้งยังลดโอกาสในการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติของปะการังที่ถูกหักกิ่งก้านอีกด้วย
ต้องการฟื้นฟู อย่างไรก็ตาม วิธีนี้มีข้อเสียหลายประการ เช่น กิ่ง ปะการังขนาดเล็กจะมีอัตราการรอดตํ่า อีกทั้งการตัดแบ่งกิ่งก้าน
ปลายทางมีความหลากหลายทางพันธุกรรมตํ่า เพิ่มความเสี่ยงต่อ
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 75 นอกจากการตัดแบ่งแล้ว บางโครงการใช้วิธีฟื้นฟูระบบนิเวศ ปะการังด้วยการย้ายปะการังสภาพดีมาทั้งโคโลนี หรือการย้าย ปะการังโตเต็มวัยที่พร้อมปล่อยเซลล์สืบพันธุ์มาไว้ในบริเวณที่ การหักกิ งปะการังมาปลูกควรเป็น ทางเลือกสุดท้ายในการฟื้นฟูปะการัง การฟื้นฟูปะการังด้วยการย้ายปลูกที่ต้องหักกิ่งปะการัง จากโคโลนีหนึ่งหรือหลายโคโลนีเปรียบเสมือนการโคลน ปะการังด้วยฝีมือมนุษย์ เพราะปะการังจากโคโลนีเดียวกัน จะมีพันธุกรรมเหมือนกัน เมื่อเกิดเหตุการณ์การแปรปรวน ทางธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์ฟอกขาว ปะการังที่มา จากโคโลนีเดียวกันอาจตายทั้งหมดเนื่องจากไม่มีความหลาก หลายทางพันธุกรรมที่มากพอ โครงการฟื้นฟูแนวปะการัง เช่นนี้จึงเป็นการใช้งบประมาณ แรงงาน และความทุ่มเท ของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนอย่างเปล่าประโยชน์ การฟื้นฟูแนวปะการังจึงควรให้ความสําคัญกับการสร้าง ความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งในแง่ความหลากหลายของ ชนิดปะการังและความหลากหลายของพันธุกรรมปะการัง แต่ละชนิด ดังนั้นการย้ายปลูกปะการังด้วยการปลูกกิ่งก้าน จึงควรเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จะใช้ในการฟื้นฟูแนวปะการัง ภายหลังการศึกษาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าไม่พบตัวอ่อนของ ปะการังอยู่ในมวลนํ้า

เลี้ยงจนเติบโตถึงระดับที่ปะการังลงเกาะเป็นโคโลนีแล้วจึงนําไป ฟื้นฟูแนวปะการังก็ได้เช่นกัน

ขั้นที่ 4 ดําเนินการและติดตามตรวจสอบ

การตรวจสอบผลการดําเนินการคือหัวใจสําคัญของกระบวน

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 76 ต้องการฟื้นฟู หากเลือกใช้วิธีการนี้ต้องดําเนินการด้วยความ ระมัดระวังอย่างยิ่งโดยไม่ให้เกิดผลเสียหรือผลกระทบต่อแนว ปะการังต้นทาง ทางเลือกที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดแต่ใช้เวลา นานคือการสร้างแปลงอนุบาลปะการัง โดยการนํากิ่งปะการังที่ แตกหักตามธรรมชาติมายึดติดบนพื้นแข็ง แล้วรอให้กิ่งก้านเหล่า นั้นเติบโตขึ้นเป็นโคโลนีที่สมบูรณ์ ก่อนจะนําไปฟื้นฟูยังบริเวณที่ ต้องการ อีกทางเลือกหนึ่งคือเพาะพันธุ์ปะการังในห้องปฏิบัติการ โดยเลี้ยงจนได้ตัวอ่อนปะการังแล้วปล่อยลงในมวลนํ้า
หรืออาจ
ในสัดส่วนที่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มดําเนินโครงการ รวมถึงสร้างความ ร่วมมือในระยะยาวกับคณะนักวิจัย หรือสถาบันการศึกษาในฐานะ ผู้รับผิดชอบในการติดตามผลเพื่อทบทวนว่าวิธีที่เลือกใช้เหมาะกับ สภาพแวดล้อมหรือไม่ และประสบความสําเร็จในระดับใด สําหรับตัวชี้วัดความสําเร็จของการฟื้นฟูแนวปะการัง นอกจาก ต้องพิจารณาอัตราการอยู่รอดและลงเกาะของปะการังแล้ว ยังควร คํานึงถึงความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางพันธุกรรม และความสามารถในการแพร่ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติเพื่อ ให้มั่นใจว่าระบบนิเวศที่ฟื้นฟูกลับมาจะสามารถดํารงอยู่ได้อย่าง
การฟื้นฟูแนวปะการัง ผู้ดําเนินโครงการจึงควรจัดสรรงบประมาณ

นําไปสู่ความพยายามฟื้นฟูแนวปะการังโดยใช้แท่งคอนกรีตที่มี รูปทรงและความสลับซับซ้อนแตกต่างกันออกไปเพื่อศึกษาว่า แท่งคอนกรีตรูปแบบใดเหมาะสมที่สุดในการลงเกาะของตัวอ่อน

ผลการศึกษาพบการวางแท่งคอนกรีตเพื่อเพิ่มพื้นที่ยึดเกาะ ประสบความสําเร็จเป็นอย่างดี ปะการังมีการลงเกาะและเจริญ

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 77 ยั่งยืน ส่วนในกรณีที่การฟื้นฟูแนวปะการังไม่ประสบความสําเร็จ
กรณีศึกษา: การฟื้นฟูปะการังเกาะไม้ท่อน จังหวัดภูเก็ต ย้อนกลับไปเมื่อ พ.ศ. 2529 แนวปะการังเขากวางจํานวนมาก ที่เกาะไม้ท่อน จังหวัดภูเก็ตถูกพายุพัดทําลาย แม้ระบบนิเวศ ดังกล่าวจะไม่ถูกรบกวน แต่กระบวนการฟื้นตัวตามธรรมชาติ ถือว่าช้าอย่างมากทั้งที่พบตัวอ่อนปะการังหลายชนิดในมวลนํ้า
ปะการัง
จากแนวปะการังบริเวณอื่น
เราก็ต้องย้อนกลับไปขั้นตอนแรกแล้วเริ่มแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ก่อนที่จะพิจารณาทางเลือกอื่นในการฟื้นฟูระบบนิเวศปะการัง
รวมทั้งทดลองฟื้นฟูพื้นที่ด้วยวิธีย้ายปลูกปะการังเขากวาง
เติบโตจนขึ้นคลุมพื้นผิวของแท่งคอนกรีตทั้งหมดภายในเวลา ประมาณ 15 ปี ขณะที่การย้ายปลูกปะการังเขากวางไม่ประสบ ความสําเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่มีคลื่นลมรุนแรง ดร . นลินี ทองแถม ผู้รับผิดชอบโครงการฟื้นฟูแนวปะการัง สรุปผลการศึกษาที่เกาะไม้ท่อนว่าหัวใจสําคัญของการฟื้นฟูปะการัง คือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและความสอดคล้องระหว่างวิธีการ ฟื้นฟูและลักษณะพื้นที่ หากตอบโจทย์สองข้อนี้ก็จะมีโอกาสที่

เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสภาพพื้นทะเลมั่นคง

พื้นผิวที่เหมาะสมต่อการยึดเกาะของตัวอ่อนปะการัง

ช่วยเพิ่มพื้นผิวสําหรับการยึดเกาะ เช่น

จากโคโลนีหนึ่งหรือหลายโคโลนีเปรียบเสมือนการโคลนปะการัง เมื่อได้รับผลกระทบจากมลภาวะหรือภัยธรรมชาติ

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 78 โครงการจะประสบความสําเร็จสูง ดังนั้นการฟื้นฟูแนวปะการังไม่ใช่ เรื่องยากหรือต้องใช้ทุนมากอย่างที่หลายคนเข้าใจ หากมีตัวอ่อน ปะการังในธรรมชาติและสภาพแวดล้อมเหมาะสม วัสดุราคา
เช่นกัน
Takeaways ☛ แนวปะการังหลายแห่งในประเทศไทยมีศักยภาพที่จะ ฟื้นฟูตัวเองในระดับสูง
สภาพแวดล้อมเหมาะสม และไม่ถูกรบกวนโดยมนุษย์ ☛ หากเราพบว่ายังมีตัวอ่อนปะการังในมวลนํ้า ทางเลือกที่ดี ที่สุดคือการปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นฟูตนเอง ในกรณีพื้นทะเลไม่มี
ประหยัดอย่างอิฐบล็อกก็สามารถเป็นบ้านหลังใหม่ของปะการังได้
Key
แต่กระบวนการฟื้นตัวตามธรรมชาติจะ
เราสามารถ
การใช้แท่งคอนกรีต หรือ โครงปะการังเทียม ☛ การฟื้นฟูปะการังด้วยการย้ายปลูกที่ต้องหักกิ่งปะการัง
ปะการังที่มา จากโคโลนีเดียวกันอาจตายทั้งหมดเนื่องจากไม่มีความหลากหลาย ทางพันธุกรรมที่มากพอ ☛ ตัวชี้วัดความสําเร็จของการฟื้นฟูแนวปะการัง นอกจาก ต้องพิจารณาอัตราการอยู่รอดและลงเกาะของปะการังแล้ว ยังควร
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 79 คํานึงถึงความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางพันธุกรรม และความสามารถในการแพร่ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติเพื่อให้ มั่นใจว่าระบบนิเวศที่ฟื้นฟูกลับมาจะสามารถดํารงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โครงการปลูกหญ้าทะเล หญ้าทะเลเป็นระบบนิเวศที่มีความสําคัญอย่างยิ่งในการ อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลเพราะเป็นทั้งแหล่ง อนุบาลสัตว์นํ้าวัยอ่อน รวมถึงแหล่งอาศัยและหากินของสัตว์ทะเล หายากหลายชนิดโดยเฉพาะพะยูนและเต่าทะเล ความอุดมสมบูรณ์
สําคัญของชุมชนชายฝั่งจนได้รับการขนานนามว่า ‘ซูเปอร์มาร์เก็ต ริมทะเล’ อีกหนึ่งในบทบาทสําคัญของหญ้าทะเลคือดักตะกอนและช่วย ลดความแรงของคลื่น ระบบนิเวศแห่งนี้จึงช่วยป้องกันการพังทลาย ของหน้าดินและลดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง หญ้าทะเลยังทําหน้าที่ หมุนเวียนแร่ธาตุให้กับระบบนิเวศใกล้เคียงอย่างป่าชายเลนและ แนวปะการัง ความเชื่อมโยงของระบบนิเวศทั้งสามเป็นปัจจัยสําคัญ ที่ทําให้ทะเลเขตร้อนมีความหลากหลายทางชีวภาพที่โดดเด่น นอกจากนี้ หญ้าทะเลยังเป็นระบบนิเวศที่สําคัญอย่างยิ่งใน การช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศ เนื่องจาก หญ้าทะเลเป็นพืชโตเร็วและสามารถกักเก็บคาร์บอนไว้ในตะกอนดิน ได้ยาวนานนับพันปี ต่างจากพืชบนบกที่มีอายุการดูดซับคาร์บอน ได้สูงสุดราว 50 ปีเท่านั้น จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกคาร์บอนที่กักเก็บ
ของระบบนิเวศหญ้าทะเลยังทําให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งอาหารที่
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 80 ไว้ในระบบนิเวศทางทะเลอย่างหญ้าทะเลและป่าชายเลนว่าคาร์บอน สีนํ้าเงิน (Blue Carbon) แหล่งหญ้าทะเลทั่วโลกช่วยกักเก็บคาร์บอนได้ราว 4.2–8.4 พันล้านตัน บางรายงานระบุว่าอาจสูงถึง 2 หมื่นล้านตันหากรวม ดินตะกอนในแนวหญ้าทะเลทั้งหมด แม้ว่าหญ้าทะเลจะครอบคลุม พื้นที่เพียง 0.1% ของมหาสมุทรแต่กลับช่วยดูดซับคาร์บอนได้มาก ถึงปีละ 27–44 ล้านตัน คิดเป็นราว 15 เปอร์เซ็นต์ของคาร์บอน ที่กักเก็บในมหาสมุทร จึงไม่น่าแปลกใจที่ปัจจุบันหลายภาคส่วน ต่างหันมาให้ความสําคัญกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูหญ้าทะเลอย่าง ล้นหลาม ในประเทศไทยพบหญ้าทะเลได้ทั้งหมด 13 ชนิด โครงสร้าง ทางกายภาพของหญ้าทะเลคล้ายกับหญ้าบนบกคือมีส่วนของราก เหง้า และใบ โดยเราจะพบหญ้าทะเลได้ในพื้นที่ชายฝั่งที่เป็นทราย ปนเลน ปัจจุบันระบบนิเวศหญ้าทะเลในประเทศไทยยังถือว่าค่อน ข้างอุดมสมบูรณ์ โดยแหล่งหญ้าทะเลผืนใหญ่ที่สุดอยู่ที่จังหวัดตรัง ในบทนี้ ผู้เขียนจะอธิบายถึงภัยคุกคามต่อแหล่งหญ้าทะเล แนวทางในการฟื้นฟูหญ้าทะเลที่เหมาะสม รวมถึงหยิบยกกรณี ศึกษาที่การฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลประสบความสําเร็จ แนวทางการฟื้นฟูระบบนิเวศหญ้าทะเล ภัยคุกคามหลักที่ทําให้พื้นที่หญ้าทะเลเสื่อมโทรมลงคือการ พัฒนาชายฝั่ง เช่น การก่อสร้างท่าเทียบเรือ สะพาน หรือการขุด ลอกร่องนํ้าและปากแม่นํ้า กิจกรรมเหล่านี้ทําให้เกิดตะกอนไหล ลงไปทับแนวหญ้าทะเลจนเสียหาย อีกหนึ่งภัยคุกคามสําคัญคือ

ก็ตามการดําเนินกิจกรรมดังกล่าวเผชิญอุปสรรคหลายด้าน

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 81 การทําประมงที่ใช้เครื่องมือประมงแบบทําลายล้าง เช่น อวนรุน อวนลาก หรือการติดตั้งเครื่องมือประมงขนาดใหญ่ในแนวหญ้า ทะเล เช่น โป๊ะ และโพงพาง รวมไปถึงการทิ้งสมอเรือและการ ปนเปื้อนของนํ้าเสีย ขยะ คราบนํ้ามัน รวมทั้งมลภาวะต่างๆ ก็ กระทบต่อสภาพแวดล้อมในแนวหญ้าทะเลเช่นกัน เมื่อระบบนิเวศหญ้าทะเลเสื่อมโทรมลงหรือถูกทําลายจนหมด ไปก็หมายความว่าแหล่งอาหารของชาวบ้านรวมทั้งความหลาก หลายทางชีวภาพและสัตว์ทะเลหายากก็ย่อมสูญหายอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ ที่ผ่านมา หลายหน่วยงานในประเทศไทยมีความพยายามฟื้นฟู แหล่งหญ้าทะเลที่เสื่อมโทรม โดยจัดกิจกรรมย้ายปลูกหญ้าทะเล เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศหรือสร้างแหล่งหญ้าทะเลในพื้นที่ใหม่ อย่างไร
โดย เฉพาะปัญหาการขาดองค์ความรู้เรื่องนิเวศวิทยาของหญ้าทะเล การจัดการระบบนิเวศ รวมถึงความเข้าใจเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการ เจริญเติบโตของหญ้าทะเล ผู้เขียนสรุปแนวทางการจัดการและการฟื้นฟูหญ้าทะเลที่ เหมาะสมตามคําแนะนําโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งแบ่งเป็น 4 แนวทางดังนี้ แนวทางที่ 1 การจัดการปัจจัยคุกคาม หญ้าทะเลเป็นระบบนิเวศที่เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลโดยจะ ผันแปรตามความผันผวนของกระแสนํ้าหรือตะกอน เราจึงต้อง ตรวจหาสาเหตุความเสื่อมโทรมว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของ
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 82 แหล่งหญ้าทะเลมีสาเหตุจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปหรือ กิจกรรมมนุษย์ ระบบนิเวศหญ้าทะเลอาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมการ พัฒนาพื้นที่ริมชายฝั่ง การทําประมงแบบทําลายล้าง หรือมลภาวะ จากชุมชนริมทะเล การวิเคราะห์หาสาเหตุที่ถูกต้องย่อมทําให้เรา แก้ปัญหาได้ตรงจุด เมื่อสามารถป้องกันหรือลดผลกระทบจาก ปัจจัยคุกคามต่างๆ ได้แล้ว แหล่งหญ้าทะเลจะสามารถฟื้นฟูตัวเอง ได้และกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้งตามธรรมชาติ วิธีนี้นับเป็นวิธี ฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลที่ยั่งยืนที่สุด การประเมินปัจจัยคุกคามควรดําเนินการโดยคนในชุมชนท้องถิ่น การกําหนดเขตเพื่อบริหารจัดการ ระบบนิเวศหญ้าทะเลอย่างยั งยืน ประเภทที่ 1 เขตสงวนเข้มข้น เหมาะสําหรับแหล่ง หญ้าทะเลขนาดใหญ่ มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีความเสี่ยง ตํ่าที่จะเผชิญผลกระทบจากการพัฒนาริมชายฝั่ง และมี คุณค่าทางนิเวศและความหลากหลายของชนิดพันธุ์ บริเวณ ดังกล่าวควรงดกิจกรรมการใช้ประโยชน์ทุกประเภทเพื่อ รักษาสมดุลของระบบนิเวศ และเป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อน และแหล่งขยายพันธุ์ของสัตว์ทะเลซึ่งจะช่วยสร้างความ อุดมสมบูรณ์และเป็นประโยชน์ต่อการประมงชายฝั่งใน บริเวณข้างเคียงอีกด้วย
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 83 และนักวิชาการเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาและ สาเหตุที่ทําให้ระบบนิเวศหญ้าทะเลเสื่อมโทรมลง เมื่อมีความ เข้าใจที่ตรงกันจึงเริ่มแก้ปัญหาหรือลดผลกระทบที่ต้นเหตุ ไม่เช่น นั้นโครงการฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลก็ยากที่จะประสบความสําเร็จ แนวทางที่ 2 การบริหารจัดการเชิงพื้นที่ การบริหารจัดการเชิงพื้นที่คือการกําหนดเขตกิจกรรมต่างๆ ตามความเหมาะสม หากบริเวณแหล่งหญ้าทะเลมีสัตว์หายากเข้า ใช้ประโยชน์จํานวนมากก็ควรกําหนดพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นเขตสงวน เข้มข้น พร้อมทั้งห้ามดําเนินกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบ ประเภทที่ 2 เขตอนุรักษ์ เหมาะสําหรับแหล่งหญ้า ทะเลที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง หรือเป็นระบบนิเวศ ที่มีแนวโน้มเสื่อมโทรมลงแต่สามารถฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพ เดิมได้ ในพื้นที่นี้จะอนุญาตให้ทํากิจกรรมบางประเภท เช่น การท่องเที่ยว หรือการประมงพื้นบ้านที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศหญ้าทะเล เป็นต้น ประเภทที่ 3 เขตใช้ประโยชน์ เหมาะสําหรับแหล่ง หญ้าทะเลที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างตํ่า ถือเป็นพื้นที่ ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ เช่น จับสัตว์นํ้าได้หรือใช้เป็น เส้นทางสัญจรเดินเรือ โดยอาจมีการกําหนดพื้นที่บางส่วน สําหรับฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลเพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนได้ร่วม ทํากิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ตะกอนดินพื้นทะเลกลายสภาพเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการ เติบโตของหญ้าทะเลจนไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาได้ตามธรรมชาติ ในกรณีนี้เราจึงพิจารณาเลือกใช้แนวทางการฟื้นฟูด้วยการปลูก หญ้าทะเล

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 84 นิเวศ อาทิ การเดินเรือ หรือการจับสัตว์นํ้า ทั้งนี้ ภาครัฐและชุมชน ควรมีการกําหนดเขตจอดเรือ เส้นทางเดินเรือ และกําหนดชนิด เครื่องมือประมงเพื่อลดความเสี่ยงที่จะทําอันตรายต่อสัตว์ทะเล หายาก ส่วนพื้นที่ชายฝั่งก็ควรมีการจัดการนํ้าเสีย นํ้าทิ้ง และขยะ ในระดับชุมชนให้มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการให้ความรู้แก่ ชุมชนในพื้นที่และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ แหล่งหญ้าทะเล การกําหนดกติการ่วมกับชุมชนนับเป็นพื้นฐานสําคัญในการ ทํางานฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภท โดยรัฐอาจเลือกใช้ ช่องทางของกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อกําหนดเขตการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ หรือกฎหมาย ว่าด้วยการประมงในการรักษาพืชพันธุ์และสัตว์นํ้า รวมถึงมาตรการการอนุรักษ์เชิงพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพอื่นๆ เพื่อปกป้องและ รักษาแหล่งหญ้าทะเลซึ่งเป็นทรัพยากรสําคัญของประเทศ แนวทางที่ 3 การปลูกหญ้าทะเล ระบบนิเวศหญ้าทะเลที่ถูกรบกวนส่วนใหญ่จะสามารถฟื้นตัว ได้เองตามธรรมชาติ เว้นแต่กรณีที่ได้รับผลกระทบรุนแรง เช่น
อย่างไรก็ตาม การปลูกหญ้าทะเลเหมาะสําหรับฟื้นฟู พื้นที่ขนาดเล็ก และต้องมีการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการ เจริญเติบโตของหญ้าทะเลก่อนเริ่มโครงการ
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 85 การปลูกหญ้าทะเลนอกจากจะช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศแล้วยังเป็น หนึ่งในกิจกรรมที่ช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน เปิดโอกาส ให้เยาวชนเห็นความสําคัญของระบบนิเวศหญ้าทะเล และส่งเสริม ให้ชุมชนช่วยกันดูแลและเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบ นิเวศอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ความท้าทายสําคัญที่ทําให้โครงการปลูกหญ้า ทะเลหลายแห่งล้มเหลวคือปัจจัยด้านคุณภาพนํ้าและตะกอนดิน เนื่องจากหญ้าทะเลในธรรมชาติต้องปรับตัวให้เข้ากับปัจจัยภายนอกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระแสนํ้า คลื่นลม ความลึก ความโปร่ง แสงของนํ้าทะเล อุณหภูมิ ไปจนถึงระยะเวลาสัมผัสแสงแดด โครงการปลูกหญ้าทะเลจึงต้องคํานึงถึงหลักการสําคัญ 5 ประการดังนี้ ประการที่ 1 ปลูกในพื้นที่ที่ควรปลูก การปลูกหญ้าทะเลควร ปลูกในแหล่งที่เคยมีหญ้าทะเลหรือระบบนิเวศหญ้าทะเลที่เสื่อม โทรม
เป็นประเภทของพื้นทะเล ชนิดของดิน ความแน่นของดิน ระดับ ความลึก ทิศทางคลื่นลม และปริมาณตะกอนแขวนลอยในนํ้าเพื่อ ให้มั่นใจว่าหญ้าทะเลที่นํามาย้ายปลูกจะสามารถอยู่รอดได้ ทั้งนี้ การดําเนินโครงการจะต้องคํานึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศอื่น เช่น ระบบนิเวศหาดทราย เช่นกัน ประการที่ 2 เลือกชนิดที่เหมาะสม เราควรคัดเลือกชนิดพันธุ์ หญ้าทะเลโดยพิจารณาว่ามีหญ้าทะเลชนิดนั้นๆ ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ ในบริเวณที่ต้องการปลูกหรือไม่ หากไม่มีก็ต้องค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ว่าในอดีตเคยมีแหล่งหญ้าทะเลชนิดใดในบริเวณดังกล่าว เพื่อให้มั่นใจว่าหญ้าทะเลชนิดที่นําไปปลูกจะสามารถเติบโตได้ดี
ก่อนดําเนินโครงการจะต้องสํารวจสภาพแวดล้อมไม่ว่าจะ
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 86 ประการที่ 3 หลีกเลี่ยงพื้นที่ใกล้ชุมชนเกิน หรือพื้นที่ที่ถูก กัดเซาะ เราควรเลือกบริเวณที่เป็นอ่าวในการปลูกหญ้าทะเล เนื่องจากคลื่นลมค่อนข้างสงบและมีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งน้อย แต่ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ใกล้แหล่งชุมชน เพราะทะเลบริเวณดังกล่าว อาจเผชิญมลภาวะหรือสารเคมีที่เป็นปัจจัยในการเติบโตของ สาหร่ายซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทําให้หญ้าทะเลตายได้ง่าย ประการที่ 4 เลือกช่วงเวลาและฤดูกาลที่เหมาะสม ช่วงเวลา ปลูกหญ้าทะเลที่เหมาะสมคือปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูร้อน เพราะ เป็นช่วงเวลาที่ระดับนํ้าทะเลสูง พื้นท้องทะเลจึงไม่โดนแดดนาน เกินไป และไม่ถูกคลื่นลมกัดเซาะตะกอนพื้นท้องทะเล ช่วงเวลา ดังกล่าวสําหรับอ่าวไทยฝั่งตะวันตกจะอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงสิงหาคม ส่วนอ่าวไทยฝั่งตะวันออกและฝั่งทะเลอันดามันจะอยู่ ระหว่างเดือนตุลาคมถึงมีนาคม ประการที่ 5 เลือกระดับความลึกที่พอดี พื้นที่ที่เหมาะต่อ การปลูกหญ้าทะเลจะต้องมีระดับความลึกและมีนํ้าทะเลท่วมขัง อยู่ตลอดเวลาทุกฤดูกาล เพื่อให้หญ้าทะเลได้รับความชุ่มชื้นและ ไม่แห้งตาย แนวทางที่ 4 สร้างความร่วมมือกับชุมชนชายฝั่ง ปัจจัยหนึ่งที่ทําให้โครงการฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลประสบความ สําเร็จคือความร่วมมือของชุมชนชายฝั่งใกล้เคียง เราจึงต้องให้ ความสําคัญกับกระบวนการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน ตั้งแต่ การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบนิเวศหญ้าทะเล เทคนิคเบื้องต้น ในการสํารวจสิ่งมีชีวิตในแนวหญ้าทะเล รวมไปถึงการจัดเวทีพูดคุย
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 87 การบรรเทาผลกระทบ จากการย้ายปลูกหญ้าทะเล การย้ายปลูกหญ้าทะเลคือการขุดถอนหญ้าทะเลจํานวน มากจากแหล่งพันธุ์หญ้าทะเลตามธรรมชาติที่สมบูรณ์จน อาจสร้างผลกระทบต่อแหล่งพันธุ์เดิม นักวิจัยจึงพัฒนา แนวคิดการสร้างแหล่งพันธุ์ของหญ้าทะเลเพื่อจะได้ไม่ต้อง รบกวนแหล่งหญ้าทะเลตามธรรมชาติ เนื่องจากหญ้าทะเลจะสามารถปรับตัวได้ดีในพื้นที่ใหม่ ที่ปัจจัยสิ่งแวดล้อมไม่มีการผันแปรมากนัก นากุ้งตามชายฝั่ง จึงเป็นตัวเลือกในการเพาะพันธุ์หญ้าทะเลที่เหมาะสม เพราะ สามารถควบคุมและปรับคุณภาพตะกอนดิน คุณภาพนํ้า ความลึก แสงสว่าง การไหลเวียนของนํ้าทะเลเข้า -ออกได้ อย่างเหมาะสม และไม่ต้องกังวลเรื่องคลื่นลมอีกด้วย หญ้าทะเลบางชนิดเช่น หญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides) สามารถเพาะพันธุ์พันธุ์ต้นอ่อนจากเมล็ดได้ซึ่งจะช่วย ลดปัญหาจากการย้ายปลูกต้นพันธุ์จากแหล่งธรรมชาติได้ เช่นกัน หากสนใจปลูกหญ้าทะเลหรือศึกษาวิธีการเพาะพันธุ์ และย้ายปลูกอย่างถูกวิธีควรศึกษาจากคู่มือของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และปรึกษานักวิชาการที่มีความ เชี่ยวชาญเฉพาะ
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 88 เพื่อวางมาตรการลดผลกระทบที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง ไม่ว่าจะเป็นการทําประมงอย่างยั่งยืน การ ท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ การจัดการขยะและนํ้าเสียในชุมชน อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการกําหนดกติกาการใช้ประโยชน์ ร่วมกันเพื่อลดผลกระทบต่อแหล่งหญ้าทะเลและสัตว์ทะเลหายาก อย่างไรก็ตาม กระบวนการดังกล่าวใช้เวลานานจึงต้องมีการ หนุนเสริมอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากโครงการปลูกหญ้าทะเล แล้ว ภาคเอกชนก็สามารถมีบทบาทสําคัญในกระบวนการเสริม สร้างศักยภาพชุมชนเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ หญ้าทะเลอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: การฟื้นฟูหญ้าทะเลโดยชุมชน จังหวัดตรัง ดร อัญชนา ประเทพ อาจารย์ประจําภาควิชาชีววิทยา คณะ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องระบบ นิเวศหญ้าทะเลและการอนุรักษ์ เล่าว่าแหล่งหญ้าทะเลของจังหวัด ตรังมีความสําคัญอย่างยิ่งในระดับโลก เพราะโดดเด่นในด้าน ความหลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาศัยสําคัญของ ประชากรพะยูนฝูงใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามของโลกอีกด้วย อย่างไรก็ตาม แหล่งหญ้าทะเลจังหวัดตรังเผชิญกับภัยคุกคาม หลายประการ ย้อนกลับไปเมื่อ พ.ศ. 2547 ระบบนิเวศหญ้าทะเล ต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติอย่างเหตุการณ์สึนามิที่เปลี่ยนแปลง ลักษณะชายฝั่งและทําให้มีตะกอนมหาศาลทับถม แต่ปรากฏการณ์ ดังกล่าวไม่ได้สร้างผลกระทบเท่ากับดินตะกอนจากการพัฒนา

30 ปี

ก่อน มูลนิธิหยาดฝนได้พยายามทําให้ชุมชนเห็นความสําคัญของ หญ้าทะเลในฐานะที่เป็นแหล่งอาหารสําคัญและแหล่งขยายพันธุ์

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 89 ชายฝั่ง ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือความเสื่อมโทรมลงของระบบนิเวศ หญ้าทะเลนับพันไร่ที่เกาะลิบง เกาะที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดตรัง เนื่องจากกรมเจ้าท่าทิ้งตะกอนจากการขุดลอกจนเป็นข่าวใหญ่เมื่อ ปลาย พ ศ 2563 นอกจากปัญหาเรื่องตะกอนดินแล้ว อีกปัญหาสําคัญคือการ จับสัตว์นํ้า เช่น ปลิงทะเล และหอยชักตีน ในปริมาณที่มากเกินไป สัตว์หน้าดินเหล่านี้มีบทบาทสําคัญในการกําจัดเศษซากเน่าเปื่อย ให้กลายเป็นอาหารของสัตว์นํ้าขนาดเล็กและจุลินทรีย์ ทําหน้าที่ หมุนเวียนแร่ธาตุกลับคืนสู่ระบบนิเวศ เมื่อระบบนิเวศสูญเสียสัตว์ นํ้าเหล่านี้ในปริมาณมากย่อมส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ ของแนวหญ้าทะเลอย่างยากจะหลีกเลี่ยง การฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลในจังหวัดตรังเริ่มต้นเมื่อราว
สัตว์นํ้าตามธรรมชาติ จึงชวนชาวชุมชนโดยรอบมาเรียนรู้ระบบ นิเวศหญ้าทะเลผ่านกระบวนการเก็บข้อมูลสิ่งมีชีวิต ทําให้พวกเขา เห็นข้อมูลเชิงประจักษ์ถึงบทบาทสําคัญของหญ้าทะเลต่อความ อุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล บรรจง นฤพรเมธี ชาวประมงผู้ผันตัวมาบุกเบิกการปลูกหญ้า ทะเลคืออีกหนึ่งบุคคลที่มีบทบาทสําคัญในการฟื้นฟูระบบนิเวศ หญ้าทะเล เขาได้พัฒนาวิธีการเพาะขยายพันธุ์ต้นกล้าหญ้าทะเล จากธรรมชาติเพื่อใช้สําหรับกิจกรรมปลูกและฟื้นฟูหญ้าทะเลใน แหล่งธรรมชาติจนประสบความสําเร็จ โดยใน พ .ศ. 2553 มีการ นําต้นกล้าไปทดลองปลูกที่แหล่งหญ้าทะเลเสื่อมโทรมบริเวณอ่าว

Key Takeaways

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 90 บุญ เมื่อผ่านไป 5 ปีก็พบว่าแหล่งหญ้าทะเลฟื้นฟูขึ้นมาอย่างมาก อีกทั้งยังพบร่องรอยของพะยูนมาใช้พื้นที่และมีลูกปลามาอาศัย มากขึ้น นําไปสู่การขยายผลที่เกาะผี หาดคลองสน พร้อมพัฒนา กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศควบคู่ไปด้วย ความสําเร็จของโครงการฟื้นฟูหญ้าทะเลในจังหวัดตรังเกิดจาก การทําความเข้าใจในระบบนิเวศหญ้าทะเล โดยเริ่มต้นฟื้นฟูใน พื้นที่ขนาดเล็ก ดําเนินการ ติดตาม และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมอนุรักษ์
และที่สําคัญคือการมีส่วนร่วมของชุมชนในฐานะแกนนําขับเคลื่อน
☛ ระบบนิเวศหญ้าทะเลหลายแห่งในไทยเผชิญผลกระทบ จากกิจกรรมการพัฒนาพื้นที่ริมชายฝั่ง การทําประมงแบบทําลาย ล้าง หรือมลภาวะจากชุมชนริมทะเล หากสามารถป้องกันหรือ ลดผลกระทบจากปัจจัยคุกคาม แหล่งหญ้าทะเลจะสามารถฟื้นฟู ตัวเองได้ตามธรรมชาติและกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง โดยวิธีนี้ นับเป็นวิธีฟื้นฟูระบบนิเวศหญ้าทะเลที่ยั่งยืนที่สุด ☛ โครงการปลูกหญ้าทะเลต้องคํานึงถึงหลักการสําคัญ 5 ประการคือการเลือกพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การเลือก ชนิดพันธุ์หญ้าทะเลที่เหมาะสม การเลือกช่วงเวลาและฤดูกาลที่ เหมาะสม การเลือกระดับความลึกที่เหมาะสม และการหลีกเลี่ยง พื้นที่ใกล้ชุมชนชายฝั่ง ☛ การย้ายปลูกหญ้าทะเลอาจกระทบต่อแหล่งพันธุ์เดิมตาม
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 91 ธรรมชาติ เราจึงควรส่งเสริมการสร้างแหล่งพันธุ์ของหญ้าทะเล เช่น การปลูกในนากุ้งตามชายฝั่ง เพื่อจะได้ไม่ต้องรบกวนแหล่ง หญ้าทะเลตามธรรมชาติ ☛ การเสริมสร้างความรู้และความสามารถในการจัดการ แหล่งหญ้าทะเลโดยชุมชนชายฝั่งเป็นเงื่อนไขสําคัญต่อความสําเร็จ ของโครงการฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเล แม้ว่ากระบวนการดังกล่าวจะ ใช้เวลายาวนาน แต่ก็จําเป็นต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ หญ้าทะเลอย่างยั่งยืน
บทที่ 4 โครงการปล่อยสัตว์ เรื่อง: ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 93 การปล่อยสัตว์ให้เป็นอิสระคือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยมา ช้านาน วัฒนธรรมดังกล่าวมีส่วนจากความเชื่อทางพุทธศาสนา เรื่องการทําทานผ่านการมอบโอกาสให้หนึ่งชีวิตได้อยู่รอดอย่าง เป็นอิสระ แต่ในยุคสมัยปัจจุบันที่เรามีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ระบบนิเวศดียิ่งขึ้น ประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นแบบทบทวี เช่นเดียว กับระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมลง การปล่อยสัตว์กลับกลายเป็นโครงการที่สร้างปัญหามากมายต่อระบบนิเวศ ในบทความนี้ ผู้เขียนจะอธิบายว่าปัญหาข้างต้นประกอบด้วย อะไรบ้าง แต่ก่อนอื่นต้องเริ่มจากการทําความรู้จักกับคําว่าเอเลียน สปีชีส์ (alien species) หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่าชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ชนิดพันธุ์ต่างถิ นคืออะไร นกบางชนิดอาจจะสามารถกางปีกบินไปรอบโลก ขณะที่ปลา นํ้าจืดบางชนิดอาจมีการกระจายพันธุ์อยู่ในบ่อนํ้าเล็กๆ แห่งหนึ่ง กลางทะเลทราย ไม่ว่าสัตว์ชนิดพันธุ์ใดต่างก็ถูกจํากัดการกระจาย พันธุ์ด้วยปัจจัยที่หลากหลาย เช่น ความสามารถในการเคลื่อนที่ สภาพภูมิอากาศ อาหาร รวมถึงสิ่งมีชีวิตคู่แข่ง ด้วยข้อจํากัดเหล่านี้ เราจึงพบเจอสัตว์บางชนิดในบางพื้นที่เท่านั้น เช่น ปลาบึก ปลา นํ้าจืดขนาดยักษ์ที่พบเฉพาะในแม่นํ้าโขง หรือหมีแพนด้าสัตว์ ขวัญใจประชาชนที่สามารถพบเห็นได้เฉพาะในประเทศจีน เราเรียก การกระจายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตโดยปราศจากการรบกวนจากมนุษย์ ว่าการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ ในทางกลับกัน มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์เดียวในโลกที่

ปลายทางได้ตามกระบวนการทางธรรมชาติ กล่าวคือผักตบชวา จากแม่นํ้าแอมะซอนไม่มีทางที่จะล่องลอยมาถึงปากแม่นํ้า

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 94 สามารถเดินทางไปแทบทุกแห่งหนอย่างรวดเร็วด้วยยานพาหนะ ต่างๆ ทั้งรถยนต์ เรือ และเครื่องบิน ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน มนุษย์นําพาสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ติดสอยห้อยตามไปด้วย ทั้งที่โดย ตั้งใจ เช่น สัตว์เลี้ยงนานาชนิด และทั้งที่ติดมาโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น ยุง มด หรือหนู ตัวอย่างของการที่มนุษย์นําเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นก็เช่น การนํา ผักตบชวาจากทวีปอเมริกาใต้เข้ามายังแหล่งนํ้าของประเทศไทย หรือการนํากระรอกสีเทาจากทวีปอเมริกาเหนือมาปล่อยในภูมิภาค ยุโรป สิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดนี้ไม่มีทางที่จะกระจายพันธุ์ไปสู่พื้นที่
เจ้า พระยา เช่นเดียวกับกระรอกสีเทาที่ไม่สามารถว่ายนํ้าข้าม มหาสมุทรแอตแลนติกแล้วมาตั้งรกรากที่เกาะอังกฤษได้เช่นกัน เมื่อมนุษย์นําพาสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ก้าวข้ามเขตการ กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติมายังพื้นที่แห่งใหม่ เราจะเรียกสิ่งมี ชีวิตแปลกหน้าเหล่านั้นว่า ‘ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ’ หากสิ่งมีชีวิต ที่ว่าสามารถปรับตัวเข้ากับระบบนิเวศใหม่และขยายพันธุ์ได้เอง ตามธรรมชาติ เข้าแย่งแหล่งอาหารและถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต เดิม พร้อมทั้งทําลายสมดุลในระบบนิเวศจนเกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างกะทันหัน เราจะเรียกสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้ว่า ‘ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ รุกราน’ (invasive alien species) เราต้องทําความเข้าใจความแตกต่างของสองคํานี้ให้ชัดเจน เพราะความจริงแล้วพืชเศรษฐกิจหลายชนิดที่เราคุ้นเคย เช่น ยางพารา อ้อย หรือมันสําปะหลัง หรือแม้แต่วัตถุดิบสําคัญใน

แต่จะอิงจากปัจจัยตามธรรมชาติ เช่น พฤติกรรมจําเพาะของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด

เขา กระแสนํ้า ทะเล และมหาสมุทร ตัวอย่างเช่นในประเทศไทย กลุ่มสัตว์ที่อยู่เหนือคอคอดกระ และสัตว์ที่อยู่ใต้คอคอดกระส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน สัตว์บางชนิดอาจมีสีสันลวดลายที่ไม่เหมือนกัน ส่วนสัตว์บางชนิด

อาจแตกแขนงเป็นคนละชนิดพันธุ์

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 95 อาหารจานเด็ดของเมืองไทยอย่างส้มตํา ไม่ว่าจะเป็นมะละกอ มะเขือเทศ และพริก ล้วนแล้วแต่เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม พืชเศรษฐกิจเหล่านี้ไม่นับเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น รุกรานเพราะไม่สามารถเติบโตเองตามธรรมชาติจึงไม่สร้างผล กระทบด้านลบในแง่ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ รู้จักสัตวภูมิศาสตร์และศักยภาพของระบบนิเวศ เราจะทราบได้อย่างไรว่าสัตว์และพืชชนิดใดข้ามเขตการกระจาย พันธุ์ตามธรรมชาติ คําตอบคือการพิจารณาแผนที่ตามแนวคิด ‘สัตวภูมิศาสตร์ ’ ซึ่งเป็นความพยายามขีดเส้นแบ่งพื้นที่การกระจายพันธุ์ของสิ่งมี
ประเทศนั่นเอง อย่างไรก็ตาม การกระจายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตไม่ได้ถูกกําหนด ด้วยพรมแดนของประเทศ
รวมถึงลักษณะทาง ภูมิศาสตร์ที่กั้นไม่ให้สิ่งมีชีวิตเคลื่อนข้ามไปได้ไม่ว่าจะเป็นเทือก­
ชีวิต คล้ายกับแผนที่โลกที่เราคุ้นเคยซึ่งระบุเขตแดนของแต่ละ
เราจึงพอจะสรุปได้ว่าประเทศ ไทยทางเหนือและทางใต้ของคอคอดกระอยู่คนละเขตสัตวภูมิศาสตร์

เดียวกันก็ถือเป็นการปล่อยชนิดพันธุ์ต่างถิ่น

นี้สามารถอธิบายผ่านเรื่องใกล้ตัวที่เราพบเจอในชีวิตประจําวัน

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 96 อีกหนึ่งตัวอย่างที่ฉายภาพชัดเจนเรื่องสัตวภูมิศาสตร์คือ กลุ่มปลานํ้าจืด หากพิจารณาปลานํ้าจืดที่พบในแม่นํ้าโขง แม่นํ้า เจ้าพระยา และแม่นํ้าสาละวิน แม้ว่าปลาบางชนิดจะพบได้ในแม่นํ้า ทั้งสามสาย กระนั้นแต่ละลุ่มนํ้าก็จะประกอบด้วยชนิดพันธุ์ปลาที่ แตกต่างกันออกไป เช่น ปลาบึกจะพบตามธรรมชาติเฉพาะที่ลุ่ม นํ้าโขง ส่วนปลากดหัวเสียมจะสามารถพบได้เฉพาะในลุ่มแม่นํ้า สาละวิน ถ้าเรามีความรู้เรื่องชนิดพันธุ์ปลามากพอ เพียงแค่เห็น ภาพถ่ายแผงขายปลาในตลาดก็พอจะบอกได้ว่าปลาเหล่านั้นมาจาก ลุ่มนํ้าใด หากยึดตามหลักสัตวภูมิศาสตร์ การนําสัตว์จากพื้นที่หนึ่งไป ปล่อยยังอีกพื้นที่หนึ่งถึงแม้ว่าจะยังอยู่ในเขตแดนของประเทศ
เช่น หากนําปลาบึก ไปปล่อยในแหล่งนํ้าแห่งอื่นนอกเหนือจากลุ่มนํ้าโขง ปลาบึกก็จะ ถูกจัดว่าเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเช่นกัน อีกหนึ่งแนวคิดที่ต้องทําความเข้าใจคือมีขีดความสามารถใน การรองรับ
แม้ชื่อจะฟังดูเข้าใจยาก
เช่น ร้านอาหารสามารถรองรับลูกค้าพร้อมกันคราวละไม่เกิน 50 คน หรือรถไฟฟ้าที่รับผู้โดยสารได้ไม่เกินขบวนละ 80 คน ระบบนิเวศในแต่ละพื้นที่ก็มีขีดความสามารถในการรองรับที่ จํากัดไม่ต่างกัน เช่น บ่อนํ้าแห่งหนึ่งมีพืชอาหารเพียงพอสําหรับ ปลาจํานวน 20 ตัว หากบ่อนํ้าแห่งนี้มีปลาอาศัยจนเต็มขีดความ สามารถในการรองรับแล้ว การปล่อยปลาเพิ่มจะทําให้จํานวน ประชากรปลามีมากเกินไปและกลายเป็นการทําลายสมดุลดั้งเดิม
(carrying capacity)
แต่แนวคิด
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 97 ของระบบนิเวศ ท้ายที่สุดแล้วระบบนิเวศอาจไม่หลงเหลือปลาที่ แข็งแรงเลยสักตัวเพราะขาดแคลนอาหาร บางครั้งอาจเลวร้ายจน ถึงขั้นทําให้ระบบนิเวศล่มสลาย การพิจารณาว่าเราควรจะปล่อยสัตว์หรือไม่ นอกจากต้อง พิจารณาในเชิงสัตวภูมิศาสตร์ว่าสัตว์ชนิดนั้นไม่ใช่ชนิดพันธุ์ต่าง ถิ่นแล้ว ยังต้องมั่นใจว่าระบบนิเวศที่เราจะปล่อยสัตว์เข้าไปยังหลง เหลือขีดความสามารถในการรองรับประชากรสัตว์เพิ่มเติมอีกด้วย ผลกระทบจากชนิดพันธุ์ต่างถิ นที่รุกราน ผลกระทบจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานมีหลายมิติโดยเรา สามารถแบ่งได้คร่าวๆ เป็นสองด้านด้วยกันคือผลกระทบทาง เศรษฐกิจและสังคม และผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมครอบคลุมตั้งแต่เรื่องใกล้ตัว เช่น หนูหรือแมลงสาบทําลายข้าวของเครื่องใช้ในบ้านเรือน ผัก ตบชวาที่ขึ้นเต็มคูคลองกีดขวางการสัญจรทางนํ้ารวมถึงก่อปัญหา ให้กับระบบระบายนํ้า ไปจนถึงหอยเชอรี่ที่โปรดปรานการกิน ต้นกล้าข้าว รวมถึงสารพัดวัชพืชต่างถิ่นที่กระทบต่อผลผลิตทาง การเกษตร การควบคุมและกําจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานเหล่านี้มีค่า ใช้จ่ายมหาศาล อีกทั้งยังสร้างผลกระทบต่อเนื่องไปยังสิ่งแวดล้อม จากการใช้สารเคมีอีกด้วย โดยการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่ากลุ่มประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 3.35 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่น โดยสัดส่วน
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 98 ราว 9 ใน 10 คือความสูญเสียในภาคการเกษตร ในแง่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปัญหาที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานจะเข้ามาแย่งปัจจัยในการดํารงชีพของ สัตว์ท้องถิ่นในระบบนิเวศเดิม ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ถิ่นที่อยู่ หรือ พืชบางชนิดที่สามารถปล่อยสารเคมีทําให้ต้นไม้อื่นไม่สามารถ งอกงาม เราสามารถพบการรุกรานช่วงชิงพื้นที่ของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ได้ทั่วไป เช่น ทุ่งหญ้าคาในพื้นที่ธรรมชาติหลายแห่งที่อัดแน่นจน ไม่เหลือพื้นที่ว่างให้พืชท้องถิ่นเติบโต บางครั้งชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานก็ผันตัวเป็นผู้ล่า เช่นปลา ล่าเหยื่อที่นิยมปล่อยเพื่อทําบุญอย่างปลาดุกบิ๊กอุย เราสามารถ คํานวณได้คร่าวๆ ว่าการปล่อยปลาดุก 1 ตัน จะทําให้เราสูญเสีย สัตว์นํ้าท้องถิ่นไปประมาณ 1.8 ล้านชีวิตต่อปี สิ่งมีชีวิตอีกกลุ่มที่หลายคนมักมองข้ามในฐานะชนิดพันธุ์ รุกรานต่างถิ่นคือสัตว์เลี้ยง เช่น แมวและสุนัข สัตว์ทั้งสองชนิดนี้ ถือเป็นสัตว์ผู้ล่าที่มักจะจับสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น สัตว์เลื้อย คลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก และนกที่อาศัยอยู่ในเมือง แมวเป็นสัตว์ผู้ล่าที่มีศักยภาพสูงอย่างยิ่ง การเลี้ยงแมวแบบ ปล่อยหรือการที่มีแมวจรจัดจํานวนมากก่อให้เกิดปัญหาทั่วโลกโดย
เตรเลียพบว่าแต่ละปีแมวบ้านคร่าชีวิตสัตว์จํานวนมากถึง 180 ตัว ส่วนแมวจรสามารถล่าสัตว์ได้ถึงปีละ 790 ตัว สําหรับประเทศไทย เราเป็นหนึ่งในประเทศที่มีรายงานการเลี้ยงแมวมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และยังสามารถพบเห็นแมวจรจัดแทบทุกพื้นที่ในเขตชุมชน แน่นอนว่าแมวเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบนิเวศ
เฉพาะในระบบนิเวศปิดแบบหมู่เกาะ มีการศึกษาในประเทศออส

ชนิดพันธุ์เดียวกันแต่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์โดยมนุษย์มานาน จนมีลักษณะแตกต่างไปจากสัตว์ป่าดั้งเดิมอย่างมาก

การผสมพันธุ์ระหว่างกันจนกลายเป็นการปนเปื้อนทางพันธุกรรม ตัวอย่างเช่นปลาดุกบิ๊กอุยที่สามารถผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาดุก

กับนกยูงพันธุ์อินเดียที่ถูกนํามาเลี้ยงและปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ เป็นจํานวนมาก การผสมข้ามพันธุ์จึงทําให้นกยูงพันธุ์ไทยสูญเสีย พันธุกรรมแบบไทยดั้งเดิม นอกจากนี้ พฤติกรรมของสัตว์ที่เติบโตมาในสถานเพาะเลี้ยง

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 99 เหล่าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นยังเป็นพาหะที่จะนําพาโรคภัยต่างๆ มายัง สัตว์ป่าตามธรรมชาติได้อีกด้วย เช่นสัตว์กีบอย่างวัวและควายที่ เลี้ยงอยู่ใกล้ป่าจะสามารถแพร่โรคติดต่อเข้าไปสู่ฝูงสัตว์ป่าได้ นํา ไปสู่การเสียชีวิตของสัตว์ป่าอย่างกรณีกระทิงป่ากุยบุรีที่เสียชีวิต เพราะโรคลัมปีสกินที่อาจแพร่ระบาดจากฟาร์มปศุสัตว์ที่อยู่ประชิด ถิ่นอาศัย อีกหนึ่งประเด็นที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่าคือ
การปล่อยสัตว์ที่สกุลเดียวกัน
การผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างชนิดพันธุ์ท้องถิ่นกับชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
สกุลใกล้เคียงกัน หรือกระทั่งเป็น
อาจนําไปสู่
ยังแตกต่างจากพฤติกรรมของสัตว์ตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น สัตว์จากสถานเพาะเลี้ยงหลายชนิดจะมีความคุ้นเคยกับคน เมื่อ ปล่อยคืนสู่ถิ่นอาศัยตามธรรมชาติก็จะไม่กลัวคน ขาดการระวังภัย พลอยทําให้พฤติกรรมของสัตว์ในธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปด้วย พฤติกรรมของสัตว์ที่ไม่กลัวคนนั้นยังอาจทําให้เกิดอันตรายต่อทั้ง ตัวสัตว์และมนุษย์
อุยพันธุ์แท้ หรือนกยูงพันธุ์ไทยที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในประเทศไทย

ที่ถูกนํามาขายให้เราปล่อยคืนสู่ธรรมชาติส่วนใหญ่มักเป็นสัตว์ที่ ถูกจับมาจากธรรมชาติ สัตว์เหล่านั้นจะถูกพรากจากถิ่นอาศัยที่ คุ้นเคยแล้วมาปล่อยสู่พื้นที่ซึ่งไม่เหมาะสมหรือไม่สามารถปรับตัว

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 100 นอกจากสัตว์แล้ว พืชชนิดพันธุ์รุกรานต่างถิ่นก็สร้างปัญหา ไม่แพ้กัน เพราะการปลูกพืชผิดที่ผิดทางจะสร้างผลกระทบต่อ ระบบนิเวศมหาศาล โดยเฉพาะการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น การปลูกต้นโกงกางบนหาดเลนซึ่งเป็นระบบนิเวศ ทางธรรมชาติที่สําคัญประเภทหนึ่ง หรือการปลูกต้นไม้ที่ไม่ใช่ชนิด พันธุ์ท้องถิ่นแต่คนส่วนใหญ่รู้จักมักคุ้นในฐานะว่าเป็นไม้เมืองไทย เช่นไม้ยอดนิยมอย่างต้นพะยูงที่สามารถพบตามธรรมชาติเฉพาะ แถบอีสานใต้เท่านั้น การนําต้นพะยูงมาปลูกทางภาคเหนือจึงถือ เป็นการนําพาชนิดพันธุ์ต่างถิ่นสู่ระบบนิเวศผืนป่าเช่นกัน ทําไมการปล่อยสัตว์จึงไม่เท่ากับทําบุญ นอกจากปัญหาในแง่ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานซึ่งสร้างผลกระทบ
ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมแล้ว การปล่อยสัตว์ยัง อาจไม่ตอบโจทย์เรื่องการทําบุญอย่างที่หลายคนตั้งใจ เพราะสัตว์
เอาชีวิตรอดได้ เช่น ปลาไหล ปลาหมอไทย หรือกบนา ที่ชอบ อยู่บริเวณรกชัฏชื้นแฉะ ไม่ได้ชอบอยู่ในแม่นํ้าที่กว้างและลึกหรือ คลองขนาดใหญ่ ท้ายที่สุดแล้วสัตว์เหล่านี้มักจะป่วยและตายเพราะ ไม่สามารถเอาชีวิตรอดในถิ่นอาศัยใหม่ได้ ยังไม่นับว่าสัตว์หลายชนิด อย่างนกและเต่าถือเป็นสัตว์ คุ้มครองในประเทศไทย การทําทานโดยซื้อสัตว์เหล่านั้นมาปล่อย

การปล่อยนกปล่อยสัตว์ควรทําอย่างไร ทางออกที่จะไม่สร้างปัญหาต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมคือ การนําสิ่งมีชีวิตที่เราต้องการช่วยเหลือไปเลี้ยงดูในระบบปิด เพราะไม่มีใครตอบได้ว่าการปล่อยสัตว์เหล่านั้นคืนสู่ธรรมชาติจะ สร้างปัญหาอะไรตามมาบ้าง ดังนั้นเราจึงไม่ควรสร้างภาระหรือ

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 101 จึงเป็นการสนับสนุนการกระทําที่ผิดกฎหมายตั้งแต่ต้น สัตว์ที่วางจําหน่ายหลายชนิดยังเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เช่น ปลา ซักเกอร์ที่มีชื่อในวงการทําทานว่าปลาราหู หรือปลาดุกบิ๊กอุยซึ่งเป็น ลูกผสมของปลาดุกอุยและปลาดุกยักษ์จากแอฟริกา การปล่อย สัตว์กลุ่มนี้เข้าสู่ระบบนิเวศจึงถือว่าเป็นการทําร้ายสัตว์ป่าท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง นับว่าเป็นการทําบาปมากกว่าทําบุญ แม้แต่การปล่อยสัตว์ท้องถิ่นสู่ถิ่นอาศัยที่เหมาะสมก็ยังอาจ สร้างปัญหาเรื่องพันธุกรรมในระยะยาว เช่นถ้าเราปล่อยปลาสวาย ซึ่งเป็นปลาที่เพาะพันธุ์ในฟาร์มปลาอุตสาหกรรม ปลาที่ปล่อยคืน สู่ธรรมชาติทั้งหมดจะมาจากพ่อแม่เดียวกันทุกตัว ทําให้เสี่ยงที่จะ เกิดการผสมพันธุ์เลือดชิด และอาจทําให้ประชากรทั้งหมดเผชิญ ปัญหาด้านพันธุกรรมในอนาคต ผู้เขียนมักจะได้รับคําถามอยู่เสมอว่าถ้าต้องการทําทานโดย
เพิ่มความเสี่ยงต่อระบบนิเวศ ผู้เขียนเชื่อในคําสอนที่ว่าการปล่อยนกให้อยู่บนฟ้าปล่อยปลา ให้อยู่ในนํ้าถือเป็นบุญกุศลอยู่แล้ว เราจึงสามารถมีส่วนช่วยทําบุญ ได้ด้วยการดูแลรักษาระบบนิเวศ เช่น การเก็บขยะในคูคลอง การ กําจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในพื้นที่ธรรมชาติ รวมถึงสนับสนุนทางอ้อม โดยการบริจาคเงินแก่โครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

แนวหน้าที่ทํางานป้องปรามเพื่อให้สัตว์ป่าได้อยู่อย่างอิสระในถิ่น

Key

☛ การนําสัตว์จากพื้นที่หนึ่งไปปล่อยยังอีกพื้นที่หนึ่งถึงแม้ว่า จะยังอยู่ในเขตแดนของประเทศเดียวกันก็ถือเป็นการปล่อยชนิด

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 102 หรือองค์กรที่เชี่ยวชาญด้านการทํางานอนุรักษ์ เช่น มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย รวมถึงกองทุนเพื่อสนับสนุนการทํางานของผู้พิทักษ์ป่าซึ่งเป็น
อาศัยตามธรรมชาติ
Takeaways ☛ เมื่อมนุษย์นําพาสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ก้าวข้ามเขตการ กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติมายังพื้นที่แห่งใหม่ เราจะเรียกสิ่งมี ชีวิตนั้นว่า ‘ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ’ หากสิ่งมีชีวิตที่ว่าสามารถปรับตัว เข้ากับระบบนิเวศใหม่และขยายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ เข้าแย่ง แหล่งอาหารและถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเดิม พร้อมทั้งทําลาย สมดุลในระบบนิเวศจนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน เราจะ
พันธุ์ต่างถิ่น เช่น หากนําปลาบึกไปปล่อยในแหล่งนํ้าแห่งอื่นนอก เหนือจากลุ่มนํ้าโขง ปลาบึกก็จะถูกจัดว่าเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเช่นกัน ☛ การปล่อยสัตว์หลายครั้งไม่ตอบโจทย์เรื่องการทําบุญ อย่างที่หลายคนตั้งใจ เพราะสัตว์ที่ถูกนํามาขายให้เราปล่อยคืนสู่ สิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่มักเป็นสัตว์ที่ถูกจับมาจากธรรมชาติ สัตว์ เหล่านั้นถูกพรากจากถิ่นอาศัยที่คุ้นเคยแล้วมาปล่อยสู่พื้นที่ซึ่ง ไม่เหมาะสม และหลายครั้งไม่สามารถปรับตัวเอาชีวิตรอดได้
เรียกสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้ว่า
‘ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน’
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 103 ☛ สําหรับการพิจารณาความเหมาะสมในการปล่อยสัตว์ นอกจากเราต้องมั่นใจว่าสัตว์ชนิดนั้นไม่ใช่ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในเชิง สัตวภูมิศาสตร์แล้ว ยังต้องศึกษาว่าระบบนิเวศที่เราจะปล่อยสัตว์ เข้าไปนั้นยังหลงเหลือขีดความสามารถในการรองรับประชากรสัตว์ เพิ่มเติมหรือไม่ ก่อนตัดสินใจดําเนินโครงการ

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ

(n.d.). ระบบนิเวศป่าไม้ Retrieved from กองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ : www.chm-thai.onep.go.th/

?page_id=348

(2563, สิงหาคม 27).

ประจําปี 2562–2563 Retrieved from

or.th/document/

: www.seub.

ธรรมศร, ส (2563,

ธรรมศร, ส (2563, ตุลาคม).

thaiphysoc.org/article/306

: www.thaiphysoc.org/article/305

Retrieved from

BARRAS, C. (2019, December). Scientists have discovered the world’s oldest forest—and its radical impact on life. Retrieved from Sciences: www.science.

org/content/article/scientists-have-discovered-world-s-oldest-forest-and-its-radicalimpact-life

DEROUIN, S. (2017, December). More frequent fires reduce soil carbon and fertility, slowing the regrowth of plants Retrieved from Standford News

104 เอกสารอ้างอิง ระบบนิเวศป่าบกและป่าชายเลน ป่าไม้ไทย กองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
รายงานสถานการณ์ป่าไม้ไทย
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
สถานการณ์ป่าไม้ไทย/รายงานสถานการณ์ป่าไม้ไ-6 ส่วนความหลากหลายทางชีวภาพ สํานักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พืชต่างถิ่นรุกรานในพื้นที่ป่า อนุรักษ์ 2562. ห้างหุ้นส่วนจํากัด เอ็น พี จี เอ็นเตอร์ไพรส์ ป่าบรรพกาลและไฟป่า
). ฟิสิกส์ของพื้นผิวโลก ตอนที่ 1 วิทยาศาสตร์ของ ผืนป่า Retrieved from สมาคมฟิสิกส์ไทย
ตุลาคม
ฟิสิกส์ของพื้นผิวโลก
ท้องฟ้า สีเลือด และการสูญเสียหน้าดิน
สมาคมฟิสิกส์ไทย
ตอนที่ 2 ไฟป่า
: www.

Service: www.news.stanford.edu/press-releases/2017/12/11/decades-increaseet es-soil-carbon

Elmarsdóttir, Ásrún & Fjellberg, Arne & Halldórsson, Guðmundur & Ingimarsdóttir, María & Nielsen, Olafur & Nygaard, Per & Oddsdottir, Edda & Sigurdsson, Bjarni. (2008). Effects of afforestation on biodiversity

Harvey, F. (2020, September). Leaving forests to regrow naturally ‘could be better option than replanting Retrieved from The Guardian: www.theguard ian.com/environment/2020/sep/23/leaving-forests-to-regrow-naturally-couldbe-better-option-than-replanting

Lourens Poorter et al., Multidimensional tropical forest recovery . Science 374,1370-1376(2021).DOI:10.1126/science.abh3629

Renato Crouzeilles et al., Ecological restoration success is higher for natural regeneration than for active restoration in tropical forests Sci. Adv.3, e1701345(2017) .DOI:10.1126/sciadv.1701345

Lewis SL, Wheeler CE, Mitchard ETA, Koch A. Restoring natural forests is the best way to remove atmospheric carbon. Nature 2019 Apr;568(7750):25–28. doi: 10.1038/d41586-019-01026-8. PMID: 30940972.

Waring Bonnie, N. M. (2020). Forests and Decarbonization – Roles of Natural and Planted Forests. Frontiers in Forests and Global Change.

Ishibashi, A., Sakai, K. Dispersal of allergenic pollen from Cryptomeria japonica and Chamaecyparis obtusa: characteristic annual fluctuation patterns caused

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 105
การฟื้นฟูป่า
การกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของป่า
มลภาวะทางอากาศจากต้นไม้บางชนิด

by intermittent phase synchronisations. Sci Rep 9, 11479 (2019). www.doi. org/10.1038/s41598-019-47870-6

Prior, R. (2019, April). Try not to sneeze. These photos show a ‘pollenpocalypse’ in North Carolina Retrieved from CNN: www.edition.cnn.com/2019/ 04/09/health/north-carolina-pollen-photograph-trnd/index.html

thaiphysoc.org/article/307

Bell JD, Johnson JE and Hobday AJ (eds) (2011). Vulnerability of tropical Pacific fisheries and aquaculture to climate change Secretariat of the Pacific Community, Noumea, New Caledonia.

Harman, W., R. Starr, M. Carter, K. Tweedy, M. Clemmons, K. Suggs, C. Miller. 2012. A Function-Based Framework for Stream Assessment and Restoration

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 106
การปลูกต้นสนทะเลที่ทําให้พืชประจําถิ่นหายไป ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พรรณไม้ในลุ่มทะเลสาบสงขลา 2552. ไอ ดีไซน์
ป่าชายเลน ธรรมศร, ส (2020, พฤศจิกายน). ฟิสิกส์ของพื้นผิวโลก ตอนที่ 3 ป่าชาย เลนกับตะกอนผู้สร้างแผ่นดิน Retrieved from สมาคมฟิสิกส์ไทย: www.
ส่วนส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน สํานักอนุรักษ์ทรัพยากรป่า ชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง คู่มือความรู้เรื่องป่าชายเลน 2556. บริษัท พลอยมีเดีย จํากัด สํานักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พันธุ์ไม้ป่าชายเลนใน ประเทศไทย ( ฉบับปรับปรุงใหม่ ) 2553. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด

Projects . US Environmental Protection Agency, Office of Wetlands, Oceans,and Watersheds, Washington, DC EPA 843-K-12-006.

Zimmer, K. (2021, July). Many mangrove restorations fail. Is there a better way?

Retrieved from Knowable Magazine: www.knowablemagazine.org/article/foodenvironment/2021/many-mangrove-restorations-fail

Christian J. Sanders, J. M. (2010). Organic carbon burial in a mangrove forest, margin and intertidal mud flat. Estuarine, Coastal and Shelf Science

P.I. Macreadie, T. A. (2019). Vulnerability of seagrass blue carbon to microbial attack following exposure to warming and oxygen. Science of The Total Environment.

Aor Pranchai, M. J. (2019). Well-intentioned, but poorly implemented: Debris from coastal bamboo fences triggered mangrove decline in Thailand. Marine Pollution Bulletin

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 107
การกักเก็บคาร์บอนของหาดเลนและป่าชายเลน
ผลกระทบจากแนวรั้วไม้ไผ่ต่อพืชป่าชายเลน
ระบบนิเวศนํ้าจืด ผลกระทบของฝายที่มีต่อระบบนิเวศ ชิตชล ผลารักษ์ และคณะ ผลของฝายชะลอนํ้าต่อความหลากหลายของ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่สาหร่ายและพืชพรรณริมฝั่งนํ้า. 2550. ธรรมศร , ส (2563, 11). สมาคมฟิสิกส์ไทย Retrieved from ฟิสิกส์ของ พื้นผิวโลก ตอนที่ 4 วิกฤตการณ์ของแม่นํ้าและการกัดเซาะชายฝั่ง: www. thaiphysoc.org/article/308 ประดิษฐ์ เสมณี และคณะ ผลกระทบของฝายชะลอนํ้าต่อคุณภาพนํ้าและ

คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ

Todsapon Kositpon and Chitchol Phalaraksh. EFFECTS OF CHECK DAMS ON WATER QUALITY AND MACROINVERTEBRATE DIVERSITY OF HOM JOM

STREAM, LAMPHUN PROVINCE, THAILAND 2012.

Mohan, V. (2018, 7). Across India, high level of toxins in groundwater. Retrieved from The Times of India: www.timesofindia.indiatimes.com/india/ govt-body-finds-high-levels-of-groundwater-contamination-across-india/articleshow/65204273.cms

Housden, T. (2023, March). Can Australia curb its killer cats? From BBC News: www.bbc.com/news/world-australia-64806771

Nghiem LTP, Soliman T, Yeo DCJ, Tan HTW, Evans TA, Mumford JD, et al.

(2013) Economic and Environmental Impacts of Harmful Non-Indigenous Species in Southeast Asia PLoS ONE 8(8): e71255. www.doi.org/10.1371/ journal.pone.0071255

108
2553.
ความหลากหลายของสาหร่ายขนาดใหญ่ แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอน สัตว์ และไดอะตอมพื้นท้องนํ้า
กิจการ พรหมมา อุทกธรณีวิทยา 2555. สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะทํางานขับเคลื่อนโครงการธนาคารนํ้าใต้ดิน คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรนํ้า ภายใต้คณะกรรมการทรัพยากร นํ้าแห่งชาติ. คู่มือการเติมนํ้าใต้ดิน. 2564. สมาธิ ธรรมศร ระบบทําความเย็นใต้พิภพสําหรับเพิ่มประสิทธิภาพของ เซลล์สุริยะ 2563. การประชุมวิชาการระดับชาติ “มศววิจัย” ครั้งที่ 13.
การจัดการนํ้าบาดาลและผลกระทบของการเติมนํ้าบาดาลเทียม
สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
โครงการปล่อยสัตว์
บริษัท ป่าสาละ จํากัด 109 บริษัท ป่าสาละ จํากัด ป่าสาละเป็นบริษัท ‘ปลูกธุรกิจที่ยั่งยืน’ แห่งแรกในประเทศไทย มุ่งจุด ประกายและดําเนินวาทกรรมสาธารณะว่าด้วยธุรกิจที่ยั่งยืนในประเทศไทย ผ่านการจัดสัมมนา อบรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ การผลิตสื่อ สิ่งพิมพ์และ ออนไลน์ การจัดทํางานวิจัยเรื่องประเด็นความยั่งยืนที่สําคัญในประเทศไทย ตลอดจนการวัดผลลัพธ์ทางสังคมและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน ป่าสาละก่อตั้งในเดือนกรกฎาคม พ ศ 2556 โดย สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ นักเขียน และนักแปลอิสระ เจ้าของผลงานหนังสือกว่า 50 เล่ม ร่วมกับ ภัทราพร แย้มละออ นักการตลาดและนักธุรกิจเพื่อสังคม อดีตผู้จัดการงานประกวดแผนธุรกิจเพื่อสังคมระดับโลก (Global Social Venture Competition) รอบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในนามมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ พร้อมด้วยนักวิจัยร่วมอุดมการณ์อีกห้าคน เพื่อเปลี่ยนผ่าน สังคมธุรกิจไทยไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 110 นักเขียน สมาธิ ธรรมศร สมาธิสําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ ปริญญาโทจากภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาธิได้รับรางวัลเกียรติบัตรเหรียญเงินจากการ ประกวดโครงงานวิจัยระดับอุดม ศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี พ ศ 2559 เรื่องสภาพการนําความร้อนของเทอร์โมอิเล็กทริกโมดูล , รางวัลชมเชยจากการประกวดนวัตกรรมระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ พ ศ 2563 เรื่องระบบทําความเย็นใต้พิภพ และผ่านการคัดเลือก รอบ 10 ทีมสุดท้าย โครงการ Pre-NSTDA Startup Season 2 ของสํานักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เรื่องการออกแบบกังหัน ลมแนวตั้งชนิดหมุนสวนทิศทาง รวมถึงทําหน้าที่เป็นผู้ร่วมให้คําปรึกษาใน การทําวิจัยแก่นิสิตจากคณะวิทยาศาสตร์ เรื่องการท่องเที่ยวเชิงธรณี และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เรื่องการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ สมาธิเคยทํางานในตําแหน่งนักวิชาการเพื่อเผยแพร่ที่ศูนย์ดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจําลอง จังหวัดสระบุรี, นิตยสาร Fusion Magazine ของสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ และนิตยสาร Synchrotron Magazine ของสถาบันวิจัย แสงซินโครตรอน ปัจจุบันเขาเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ด้านฟิสิกส์ โลกศาสตร์ และดาราศาสตร์ ที่มีบทความเผยแพร่ทางเว็บไซต์สมาคมฟิสิกส์ ไทย และ waymagazine และร่วมจัดทําบทความ บทสัมภาษณ์ และหนังสือ ด้านวิทยาศาสตร์ร่วมกับนักวิชาการท่านอื่นๆ ผ่านสื่ออีกหลายช่องทาง

ติดตามคุณพ่อเข้าป่าตกปลาอยู่เสมอจนเกิดความรักในธรรมชาติโดยเฉพาะ

ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บริษัท ป่าสาละ จํากัด 111 ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ นณณ์เกิดใน พ ศ 2519 และโตในกรุงเทพมหานคร ตอนเด็กๆ มักจะ
ปลานํ้าจืด
นณณ์จบปริญญาตรีและโททางด้านบริหารธุรกิจ และปริญญาเอก
เมื่อ พ ศ 2544 เขาร่วมกับเพื่อนก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ siamensis.org นณณ์ยังเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัล ASEAN Biodiversity Heroes พ ศ 2560 ปัจจุบันนอกจากทําธุรกิจครอบครัวแล้ว เขาดํารงตําแหน่ง กรรมการ สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย, กรรมการมูลนิธิโลกสีเขียว, คณะอนุกรรมการการจัดการพื้นที่ชุ่มนํ้า และคณะอนุกรรมการวิชาการ ความหลากหลายทางชีวภาพ ด้านชนิดและระบบนิเวศ ผลงานหนังสือที่เขา ภาคภูมิใจคือ ปลานํ้าจืดไทย (A Photographic Guide to Freshwater Fishes of Thailand) ดร.เพชร มโนปวิตร เพชรเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ที่มีประสบการณ์ทํางานกว่า 25 ปีในด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดการพื้นที่ คุ้มครองและวิทยาศาสตร์ด้านความยั่งยืน ปัจจุบันเขาเป็นที่ปรึกษาองค์กร ด้านสิ่งแวดล้อมนานาชาติหลายแห่ง และดํารงตําแหน่งกรรมการบริหารของ องค์กรอนุรักษ์ อาทิ มูลนิธิโลกสีเขียว, สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติ แห่งประเทศไทย, มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และมูลนิธิ Earth Agenda เพชรเป็นนักเขียนอิสระ นักสื่อสารประเด็นสาธารณะว่าด้วยการปกป้อง ธรรมชาติ และได้รับเลือกให้เป็น National Geographic Explorer พ .ศ . 2561 เขามีผลงานตีพิมพ์ในสื่อต่างๆ กว่า 200 บทความว่าด้วยชีววิทยาด้านการ อนุรักษ์ และประเด็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ เมื่อ พ ศ 2560 เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ReReef บริษัทด้านความยั่งยืนที่ผลักดันการเปลี่ยนแปลง ด้านสิ่งแวดล้อมด้วยพลังผู้บริโภค
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับนักนิเวศ 112 บรรณาธิการ รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ รพีพัฒน์เป็นนักเขียน นักแปล และนักวิชาการอิสระด้านการเงิน จบปริญญาตรีด้านการบัญชีและการเงิน และปริญญาโททาง การเงิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเคยได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่นในงานประชุม วิชาการ 2017 Asia-Pacific Conference on Economics & Finance ที่จัดขึ้น ณ ประเทศสิงคโปร์ เขาผ่านประสบการณ์การทํางานจากหลากหลายสาขา ทั้งด้านการอนุรักษ์ที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียร , นักวิจัยด้านธุรกิจที่ยั่งยืนใน บริษัทสตาร์ท อัพ และผู้จัดการด้านการควบคุมภายในฝ่ายสินเชื่อประจํา ธนาคารข้ามชาติ ปัจจุบัน นอกเหนือจากดูแลบัญชีและการเงินของธุรกิจครอบครัวแล้ว รพีพัฒน์ยังเขียนบทความเผยแพร่บนสื่อออนไลน์และออฟไลน์ งานวิจัย งานแปล และเป็นอาจารย์พิเศษภาควิชาการเงิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.