รายงานวิจัย "การศึกษาแนวทางสร้างการมีส่วนร่วมของตัวแทนภาคประชาสังคม ในโครงการ EITI ประเทศไทย"

Page 1

โครงการ “การศึกษาแนวทางสร้างการมีส่วนร่วมของตัวแทนภาคประชาสังคม ในโครงการ Extractive Industries Transparency Initiative (EITI) ประเทศไทย” Encouraging Civil Society Involvement in Extractive Industries Transparency Initiative (EITI) Thailand

รายงานฉบับสมบูรณ์

โดย สฤณี อาชวานันทกุล และคณะ มีนาคม 2562


สารบัญ สารบัญตาราง

3

สารบัญแผนภูมิ

4

1. บทนำ

5

1.1 ที่มาและความสำคัญของการวิจัย ..................................................................................................................................... 5 1.2 วัตถุประสงค์..................................................................................................................................................................... 7 1.3 กรอบแนวคิดและวิธีดำเนินการวิจัย ................................................................................................................................. 8 2. องค์กรจากภาคประชาสังคมและชุมชนท้องถิ่นที่ประสงค์จะร่วมโครงการ EITI

11

2.1 การออกแบบและกำหนดการ การประชุมเชิงปฏิบตั ิการ................................................................................................ 11 2.2 ผลการจัดการประชุมเชิงปฏิบตั ิการ ............................................................................................................................... 12 3. การดำเนินงานและการคัดเลือกตัวแทนภาคประชาสังคมสำหรับ EITI ในต่างประเทศ

18

3.1 การใช้มาตรฐาน EITI ในประเทศอินโดนีเซีย .................................................................................................................. 18 3.2 การใช้มาตรฐาน EITI ในประเทศฟิลิปปินส์ .................................................................................................................... 23 3.3 การใช้มาตรฐาน EITI ในประเทศเมียนมา ...................................................................................................................... 31 3.4 การใช้มาตรฐาน EITI ในประเทศโคลอมเบีย .................................................................................................................. 35 3.5 การใช้มาตรฐานEITIในประเทศคองโก ........................................................................................................................... 41 4. ข้อคิดเห็นจากองค์กรจากภาคประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น สำหรับมาตรฐาน EITI ประเทศไทย

49

4.1 สถิติและจำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการรายภูมิภาค ..................................................................................... 49 4.2 ประเด็นปัญหาเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ ในทัศนะของผู้เข้าร่วม............................... 50 4.3 ข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมทีต่ ้องการแต่ไม่เคยได้รับ ..................................................................................................... 61 4.4 กระบวนการสรรหาคณะกรรมการภาคประชาสังคม สำหรับ EITI ประเทศไทย ............................................................ 66 4.5 ข้อกังวลต่อการใช้มาตรฐาน EITI ในประเทศไทย........................................................................................................... 75 5. บทสรุป

79

5.1 สรุปผลการรับฟังความคิดเห็น........................................................................................................................................ 79 5.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ................................................................................................................................................ 88 บรรณานุกรม

94 2


สารบัญตาราง ตารางที่ 1 องค์กรหรือเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ยินดีเข้าร่วมและมีส่วนร่วมในการผลักดันการใช้มาตรฐาน EITI ในประเทศ ไทย.............................................................................................................................................................................................. 12 ตารางที่ 2 องค์กรหรือเครือข่ายทีย่ ินดีเข้าร่วมการดำเนินงานการใช้มาตรฐาน EITI หากมีการจัดเวทีวชิ าการเพื่อทำความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับการใช้มาตรฐานดังกล่าวให้กับเครือข่ายในแต่ภูมภิ าคเพิ่มเติม .............................................................................. 17 ตารางที่ 3 ตัวแทนคณะกรรมการ MSG ประเทศฟิลิปปินส์ ........................................................................................................ 28 ตารางที่ 4 การแบ่งสัดส่วนการผลิตน้ำมันในแหล่งขุดเจาะสำคัญ ............................................................................................... 42 ตารางที่ 5 โครงสร้างและกระบวนการคัดเลือกตัวแทนภาคประชาสังคมสำหรับ EITI ในประเทศกรณีศึกษา 5 ประเทศ ........... 46 ตารางที่ 6 รายละเอียดการจัดเวทีแนะนำมาตรฐาน EITI และระดมความคิดเห็นร่วมกันในแต่ละภูมิภาค.................................. 49 ตารางที่ 7 ประเด็นปัญหาเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ ในทัศนะของผูเ้ ข้าร่วม .......................... 50 ตารางที่ 8 รายละเอียดข้อมูลที่ภาคประชาสังคมต้องการนำมาใช้ แต่มีอุปสรรคในการเข้าถึง-อุตสาหกรรมเหมืองแร่................ 63 ตารางที่ 9 รายละเอียดข้อมูลที่ภาคประชาสังคมต้องการนำมาใช้ แต่มีอุปสรรคในการเข้าถึง-อุตสาหกรรมพลังงาน ................. 65 ตารางที่ 10 กระบวนการสรรหาคณะกรรมการภาคประชาสังคม - ภาคตะวันออก................................................................... 67 ตารางที่ 11 กระบวนการสรรหาคณะกรรมการภาคประชาสังคม - ภาคใต้ ............................................................................... 69 ตารางที่ 12 กระบวนการสรรหาคณะกรรมการภาคประชาสังคม - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ .................................................. 70 ตารางที่ 13 กระบวนการสรรหาคณะกรรมการภาคประชาสังคม - ภาคเหนือ .......................................................................... 72 ตารางที่ 14 กระบวนการสรรหาคณะกรรมการภาคประชาสังคม - ภาคตะวันตกและจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี อุทัยธานี และ สุพรรณบุรี ................................................................................................................................................................................... 74 ตารางที่ 15 ประเด็นหารือกระบวนการสรรหาและโครงสร้างคณะกรรมการ MSG .................................................................... 82

3


สารบัญแผนภูมิ แผนภูมิที่ 1 โครงสร้างคณะกรรมการ MSG ประเทศอินโดนีเซีย ................................................................................................ 23 แผนภูมิที่ 2 จำนวนบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ EITI ในประเทศฟิลิปปินส์.................................................................................... 26 แผนภูมิที่ 3 โครงสร้างคณะกรรมการ MSG ประเทศฟิลิปปินส์ .................................................................................................. 27 แผนภูมิที่ 4 โครงสร้างคณะกรรมการ MSG ประเทศเมียนมา..................................................................................................... 34 แผนภูมิที่ 5 สัญญาการผลิตน้ำมันประเทศโคลอมเบีย ปี พ.ศ. 2558.......................................................................................... 36 แผนภูมิที่ 6 ผลผลิตถ่านหินและทองคำ ประเทศโคลอมเบียในปี พ.ศ. 2558 -2559 .................................................................. 37 แผนภูมิที่ 7 โครงสร้างคณะกรรมการ MSG ประเทศโคลอมเบีย ................................................................................................ 39 แผนภูมิที่ 8 โครงสร้างคณะกรรมการ MSG ประเทศคองโก ....................................................................................................... 44 แผนภูมิที่ 9 คุณลักษณะคณะกรรมการ MSG จากภาคประชาสังคม .......................................................................................... 88

4


1. บทนำ

1.1 ที่มาและความสำคัญของการวิจัย ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า อุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่สกัดทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะทรัพยากรที่มีวันหมด อาทิ การ ขุดเจาะน้ำมัน และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ความที่ท รัพ ยากรดังกล่าวเป็น สาธารณสมบั ติ เป็ นทรัพยากรของคนทั้งชาติ การเปิดให้ป ระชาชนมีส่วนร่วมในการติดตาม ตรวจสอบ และการวางกลไกกำกับดูแลอย่างเหมาะสมทุกขั้นตอนและตรงตามหลักธรรมาภิบาล ตั้งแต่การสำรวจ การขุดเจาะ กระบวนการสัมปทาน การดำเนินกิจการ การแบ่งรายได้ให้กับรัฐ และโครงการสาธารณะที่รัฐนำส่วนแบ่งรายได้ดังกล่าวไปใช้ ล้วนแต่จำเป็นต่อการดูแลทรัพยากรในทางที่ยั่งยืน รวมถึงการจัดสรรประโยชน์จากทรัพยากรดังกล่าวอย่างเหมาะสม ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 เปิดฉากเป็นต้นมา อุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติต้องเผชิญกับความท้าทายที่เร่งด่วน และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นความร่อยหรอของแหล่งทรัพยากร ผลกระทบของอุตสาหกรรมต่อการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม และ/หรือกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและ/หรือสิทธิชุมชนในการ ดำเนินกิจการของบริษัทบางแห่ง ส่งผลให้เกิดผลกระทบเชิงลบ ความขัดแย้ง ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างผู้มีส่วนได้ เสียกลุ่มต่าง ๆ อาทิ ชุมชนกับบริษัท ชุมชนกับรัฐ ภาคประชาสังคมกับรัฐ การจะบรรเทาผลกระทบเชิงลบและฟื้นฟูความ ไว้วางใจซึ่งกั น และกั น ต้ องอาศัย การปรับ ปรุงกลไกเชิงสถาบั น ให้ เข้ม แข็งมากขึ้ น อาทิ การมี ก ฎเกณฑ์ การกำกั บ ดู แลด้ าน สิ่งแวดล้อมและธรรมาภิบาลที่ชัดเจน การบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม ตลอดจนกลไกเยียวยาผลกระทบและเครือข่ายสังคม ที่เพียงพอ รากฐานที่สำคัญของกลไกเชิงสถาบันเหล่านี้ คือ มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใส ใช้รายงานต่อสาธารณะอย่าง สม่ำเสมอ และความรับผิดชอบของผู้ประกอบการและรัฐในการบันทึกและเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานดังกล่าว เนื่องจากเป็น เครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มพลังให้ประชาชนสามารถติดตามตรวจสอบ ร่วมกันกำกับให้อุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ ดำเนินไปอย่างยั่งยืนมากกว่าที่แล้วมาในอดีต Extractive Industries Transparency Initiative (EITI) หรือ “เครือข่ายองค์กรเพื่อความโปร่งใสในอุตสาหกรรมสกัด ทรัพยากรธรรมชาติ” เป็นแนวร่วมและมาตรฐานสากลของการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และแร่ธาตุให้สาธารณชนได้รับรู้ มีสำนักงานใหญ่ที่ประเทศนอร์เวย์ มีคณะกรรมการ EITI ระหว่างประเทศ ทำหน้าที่กำหนดและทบทวนมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันโครงการ EITI มีประเทศสมาชิกทั้งสิ้น 48 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบของรัฐและบริษัท ให้ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการอภิปรายสาธารณะเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ และส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ สำหรับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง กล่าวโดยสรุป EITI เป็นกลไกที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมโดยสมัครใจ ไม่มีบทลงโทษ เน้นการสร้างความ โปร่งใสและการกระตุ้นการมีส่วนร่วมจากประชาชน ในแต่ละปี ข้อมูลที่ภาครัฐและเอกชนเปิดเผยตามมาตรฐาน EITI จะอยู่ในรายงานที่จัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปีและมี เนื้อหาที่เข้าใจง่ายสำหรับประชาชนทั่วไป โดยสำนักงานเลขาธิการสากลของ EITI ประจำกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์เป็นผู้ 5


ประเมินความครบถ้วนและถูกต้องของข้อมูลในรายงาน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะครอบคลุมทุกขั้นตอนของกระบวนการสกัดและใช้ ทรัพยากรธรรมชาติ ดังแสดงในแผนภาพต่อไปนี้

ประสบการณ์ของประเทศอื่น ๆ ที่นำมาตรฐาน EITI ไปใช้บ่งชี้ว่า ประโยชน์ของโครงการนี้อยู่ที่การส่งเสริมให้ภาค ประชาสังคมมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายด้านพลังงานหรือทรัพยากรธรรมชาติของประเทศว่าเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ ส่วนรวมอย่างแท้จริง ดังตัวอย่างของประเทศเมียนมา การตั้ ง “คณะกรรมการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายภาคส่วน” (Multistakeholder Group) หรือ MSG ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มาตรฐาน EITI กำหนดว่าต้องมีตัวแทนของภาคประชาสังคม ควบคู่ไปกับ ตัวแทนภาครัฐและภาคเอกชนนั้น นับเป็นการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมโดยตรงในการบริหารจัดการของภาครัฐเป็นครั้ง แรกในเมียนมา ส่วนในประเทศอินโดนีเซีย หลังจากที่มีการเปิดเผยปริมาณการผลิตและรายจ่ายค่าสัมปทานของผู้ประกอบการเหมือง แร่ตามมาตรฐาน EITI แล้ว พบว่ารัฐบาลไม่ได้รบั เงินสัมปทานที่ครบถ้วน โดยขาดไปกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ จุดประกายให้มี การสืบสวนสอบสวนกรณีทุจริตคอร์รัปชั่นและปรับปรุงกลไกธรรมาภิบาลครั้งใหญ่ สำหรับในประเทศไทย รัฐบาลได้เริ่มกระบวนการผลักดันให้ประเทศไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกโครงการ EITI ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 โดยเมื่ อ วั น ที่ 30 มิ ถุ น ายน พ.ศ. 2558 คณะรั ฐ มนตรี ได้ มี ม ติ รั บ ทราบสรุ ป มติ แ ละข้ อ สั่ งการในการประชุ ม คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2558 ตามที่ประธานกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ ภาครัฐ/กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติเสนอ โดย “เห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี เครือข่ายองค์กรเพื่อความโปร่งใสในอุตสาหกรรมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (The Extractive Industries Transparency Initiative : EITI) โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นผู้แทนรัฐบาล “EITI Champion” ในการเสนอตัวเข้า ร่วมโครงการ และให้จัดตั้งคณะทำงานในกระทรวงพลังงานขึ้นชุดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน (National Coordinator)” โครงการ EITI ที่จะนำมาใช้ในประเทศไทยตาม มติ ครม. ข้างต้น มุ่งเน้นการเปิดเผยข้อมูลในธุรกิจการสกัดเชื้อเพลิง จากฟอสซิล เช่น น้ำมัน ก๊าซ และถ่านหิน ก่อนอุตสาหกรรมอื่นอย่างอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เนื่องจากมีข้อถกเถียงในสังคมใน ประเด็นการขาดธรรมาภิบาลในภาคพลังงานเป็นอย่างมากสืบมาจวบจนปัจจุบัน ข้อมูลสำคัญที่จะให้ความสำคัญในช่วงแรก อาทิ รายได้ จ ากการให้ สั ม ปทานปิ โตรเลี ย ม ปริ ม าณน้ ำ มั น และก๊ า ซธรรมชาติ ที่ ถู ก ผลิ ต และขาย รายได้ จ ากการให้ สั ม ปทาน อุตสาหกรรมเหมืองแร่ เป็นต้น กลไกที่ขาดไม่ได้ของ EITI ระดับประเทศ คือ “แนวร่วม” ของตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดย ทั้ งสามฝ่ า ยจะต้ อ งร่ ว มกั น จั ด ตั้ ง “คณะกรรมการผู้ มี ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย หลายภาคส่ ว น ” (Multi-stakeholder Group) หรื อ คณะกรรมการ MSG เสียก่อน โดยองค์กรภาคประชาสังคมจะร่วมกันกำหนดกฎเกณฑ์ คุณสมบัติ และคัดเลือกบุคคลจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นตัวแทนภาคประชาสังคมในคณะกรรมการ MSG 6


นอกจากจะมีบทบาทสำคัญในการร่วมกันกำหนดและติดตามข้อมูลที่เปิดเผยตามมาตรฐาน EITI แล้ว คณะกรรมการ MSG ยังสามารถเป็นกลไกประสานงานสามฝ่ายด้านธรรมาภิบาล เช่น ในระหว่างปี MSG อาจรับรู้และศึกษาปัญหาเฉพาะ ประเด็นในระดับท้องถิ่น อย่างกรณี MSG ในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ปัญหา สิ่งแวดล้อม ฯลฯ และเป็นตัวกลางดำเนินเรื่องต่อ เช่น แจ้งหน่วยงานรัฐที่มีอำนาจดำเนินการ แจ้งบริษัทเอกชนที่สร้างปัญหาให้ แก้ไข เป็นต้น ทั้งนี้ ภายหลังการจัดตั้งคณะกรรมการ MSG ประเทศไทยในฐานะ “ผู้สมัครสมาชิก” (candidate country) จะต้อง ดำเนินการให้ผ่านการประเมินมาตรฐานให้ได้ภายใน 2 ปีครึ่ง แต่สามารถยื่นขอต่อเวลาเพื่อปรับปรุงตนเองได้อีก 1 ปี ถึง 2 ปี ครึ่ง หากเกินกว่านั้น จะถูกคัดออกจากบัญชีผสู้ มัครสมาชิก อย่างไรก็ดี ถึงแม้จะมีความคืบหน้ามาเป็นระยะในปีแรก กระบวนการ EITI ของประเทศไทยประสบความล่าช้าในการ ดำเนินงานนับตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา ส่วนหนึ่งเนื่องจากองค์กรภาคประชาสังคมที่มาร่วมประชุมเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ คุณสมบัติ และการคัดเลือกสมาชิกนั้น ยังขาดความหลากหลาย ขาดความทั่วถึง โดยเฉพาะองค์กรหรือกลุ่มชุมชนซึ่งเป็นตัวแทน ของประชาชนในท้องถิ่นผู้ได้รับผลกระทบ ยกตัวอย่างเช่น ในการประชุม EITI ภาคประชาสังคมครั้งที่ 2 ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 มีผู้ตอบรับว่าสนใจเข้าร่วม ประชุมจำนวน 64 เครือข่ายทั่วประเทศ แต่ผู้ที่เข้าร่วมประชุมจริงเกือบทั้งหมดไม่ใช่ผู้ที่ตอบรับและเคยเข้าร่วมประชุมมาก่อน แล้ว บางองค์กรส่งตัวแทนร่วมประชุมหลายคน ส่งผลให้ตัวแทนภาคประชาสังคมอย่างไม่เป็นทางการที่ได้จากการประชุมในวัน นั้นมีจำนวนมากถึง 13 จาก 20 คน ที่มาจากเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) นับว่าขาดความหลากหลายและขาด การมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึงจากประชาชนหรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย การประชุ ม นั บ จากนั้ น เผชิ ญ อุ ป สรรคจนกระทรวงพลั งงานในฐานะ ‘เจ้ า ภาพ’ ตามมติ ค ณะรั ฐ มนตรี ไม่ ส ามารถจั ด ตั้ ง คณะกรรมการ MSG อย่างเป็นทางการได้ จึงไม่สามารถแจ้งความจำนงต่อ EITI ว่าประเทศไทยประสงค์จะเข้าเป็นสมาชิก ด้วยอุปสรรคข้างต้น เพื่อเชื้อเชิญให้องค์กรภาคประชาสังคมและชุมชนเล็งเห็นประโยชน์ของ EITI และยินดีร่วมระดม สมองเพื่อกำหนดโครงสร้างและกระบวนการเลือกตั้งตัวแทนภาคประชาสังคมที่เหมาะสม จึงสมควรดำเนินโครงการวิจัยใน ลักษณะ action research เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคประชาสังคมในโครงการ EITI ประเทศไทย อันนับเป็นก้าว แรกสู่การจัดตั้งคณะกรรมการ MSG และให้ประเทศไทยโดยรัฐบาลสามารถสมัครเป็นสมาชิก EITI อย่างเป็นทางการได้ต่อไป

1.2 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อขยายจำนวนองค์กรจากภาคประชาสังคม (อาทิ องค์กรพัฒนาเอกชน และชุมชนท้องถิ่น) ที่มีความตื่นตัวและ แสดงเจตจำนงที่จะร่วมกระบวนการคัดเลือกตัวแทน EITI ภาคประชาสังคม เป็นไม่น้อยกว่า 30 กลุ่มบุคคลและ องค์กรทั่วประเทศ 2. เพื่อดำเนินกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรในข้อ 1. ร่วมกันระดมสมองเพื่อกำหนดโครงสร้างและ กระบวนการเลือกตั้งตัวแทน EITI ภาคประชาสังคมที่เหมาะสม เพื่อเข้าร่วมกลไก MSG สำหรับ EITI ประเทศไทย

7


1.3 กรอบแนวคิดและวิธีดำเนินการวิจัย โครงการวิจัยชิ้นนี้จะดำเนินการในลักษณะ action research หรืองานวิจัยเชิงปฏิบัติ โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มความ หลากหลายขององค์ก รภาคประชาสังคมที่ ได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมสกัด ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย อาทิ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ให้เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการ EITI ประเทศไทย เพื่อตกลงกันถึง โครงสร้างและกระบวนการเลือกตั้งตัวแทน EITI ภาคประชาสังคม กระบวนการวิจัยในครั้งนี้คณะวิจัยมองว่าเป็นระยะที่ 1 (7 เดือน) ของเส้นทางสู่การเลือกตั้งตัวแทนภาคประชาสังคม สำหรับ MSG อย่างเป็นทางการ โดยคณะวิจัยจะดำเนินการศึกษาบทเรียนจากโครงการ EITI ในต่างประเทศเพื่อจัดทำกรณีศกึ ษา และการระดมความคิดเห็นจากองค์กรหรือกลุ่มบุคคลต่าง ๆ อย่างน้อย 30 กลุ่ม ถึงแนวทางคัดเลือกและโครงสร้างกรรมการ EITI ภาคประชาสังคมที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ระดับภูมิภาค กับ องค์กรภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องดังกล่าว โดยเริ่มต้นจากการนำเสนอว่า การเข้าร่วม EITI ของไทย จะสร้างประโยชน์แก่ชุมชน ประชาชน และองค์กรภาคประชาสังคมอย่างไรบ้าง ประโยชน์ที่ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ได้รับ จากการเข้าร่วมโครงการคืออะไร เพื่อจูงใจให้อยากมีส่วนร่วมและเสริมพลังองค์กรเหล่านี้ในการมีส่วนร่วมกับ EITI และร่วมกัน ออกแบบโครงสร้างคณะกรรมการ MSG การกำหนดคุณสมบัติตัวแทน MSG ภาคประชาสังคม และรูปแบบกระบวนการสรรหา คณะกรรมการ MSG ภาคประชาสังคมที่เหมาะสม ส่วนในระยะที่ 2 ซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตของโครงการวิจัยในครั้งนี้ อาจเป็นการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ และ คณะทำงานโครงการ EITI ในกระทรวงพลังงาน ดำเนินการคัดเลือกคณะกรรมการ MSG ภาคประชาสังคม ตามกระบวนการที่ได้ ร่วมจัดทำในระยะที่ 1 อย่างเป็นทางการ กรอบการดำเนินงานดังแสดงในรูปที่ 1

8


รูป 1 กรอบแนวคิดการดำเนินงานการวิจัย ระยะที่ 1 (โครงการนี้) • จัดทำกรณีศึกษาการดำเนินงาน EITI ใน ต่างประเทศ • ระดมความคิดเห็นจากหน่วยงาน/ กลุ่มบุคคลที่ เกี่ยว อย่างน้อย 30 กลุ่ม ร่วมออกแบบโครงสร้าง องค์กรคณะกรรมการ MSG กำหนดคุณสมบัติ ตัวแทน และรูปแบบกระบวนการคัดเลือกตัวแทน ภาคประชาสังคม

ระยะที่ 2 (นอกเหนือขอบเขตโครงการนี้) • คัดเลือกคณะกรรมการ MSG จากภาคประชา สังคมตามกระบวนการที่ร่วมกันตกลงในระยะที่ 1 • จัดตั้งคณะกรรมการ MSG ภาคประชาสังคม • ประสานงานจัดประชุมคณะกรรมการ MSG ใน การดำเนินงาน EITI ประเทศไทย ครั้งที่ 1

Outputs • โครงสร้างองค์กร คณะกรรมการ MSG ที่เหมาะสม • คุณสมบัติและรูปแบบกระบวน การคัดเลือกตัวแทน MSG ภาค ประชาสังคม

Outputs • รายนามคณะกรรมการ MSG ภาค ประชาสังคม สำหรับโครงการ EITI ประเทศไทย • จัดประชุมคณะกรรมการ MSG ประเทศไทย ครั้งที่ 1

9


รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 ฉบับนี้ นำเสนอผลการวิจยั ในวัตถุประสงค์ที่ 1 กล่าวคือ การขยายจำนวนองค์กรจาก ภาคประชาสังคม (อาทิ องค์กรพัฒนาเอกชน และชุมชนท้องถิ่น) ที่มีความตื่นตัวและแสดงเจตจำนงทีจ่ ะร่วมกระบวนการ คัดเลือกตัวแทน EITI ภาคประชาสังคม เป็นไม่น้อยกว่า 30 กลุ่มบุคคลและองค์กรทั่วประเทศ โดยสรุปรายชื่อกลุ่มบุคคลและ องค์กรที่สนใจจะเข้าร่วมกระบวนการ ข้อคิดเห็นและข้อกังวลเกี่ยวกับ EITI ประกอบการจัดทำกรณีศกึ ษาการใช้มาตรฐาน EITI ในต่างประเทศ โดยคณะวิจัยได้เลือกประเทศกำลังพัฒนา 5 ประเทศที่มีบริบทคล้ายคลึงกับไทย ใช้มาตรฐาน EITI หรือมี ประสบการณ์ในการดำเนินโครงการนี้ที่น่าสนใจ ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เมียนมา โคลอมเบีย และคองโก รายละเอียดแสดงในส่วนถัดไปของรายงานฉบับนี้

10


2. องค์กรจากภาคประชาสังคมและชุมชนท้องถิน่ ที่ประสงค์จะร่วมโครงการ EITI

ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 ถึง 31 มกราคม พ.ศ. 2561 คณะวิจัยได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ 5 ครั้ง ใน จังหวัด นครศรีธรรมราช ระยอง ขอนแก่น เชียงใหม่ และกาญจนบุรี เพื่อให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศ และได้เชิญ องค์กรภาคประชาสังคมและชุมชนท้องถิ่นที่ทำงานขับเคลื่อนในประเด็นอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะกลุ่ม ตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบ รวม 59 องค์กร/กลุ่ม 2.1 การออกแบบและกำหนดการ การประชุมเชิงปฏิบัติการ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการแต่ละครั้ง คณะวิจัยแบ่งกำหนดการออกเป็นสองช่วง ได้แก่ การนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ มาตรฐาน EITI ประเทศกรณีศึกษา และกระบวนการคัดเลือกตัวแทนภาคประชาสังคมในประเทศกรณีศึกษา เพื่อเชื้อเชิญให้ ผู้เข้าร่วมได้อภิ ป รายและแสดงความคิด เห็ น อย่างเต็ม ที่ เกี่ ยวกับ มาตรฐาน EITI ตลอดจนประเด็ นปั ญ หาในพื้ น ที่ที่ เกี่ยวกั บ อุตสาหกรรมสกัดทรัพ ยากรธรรมชาติ ความกังวล และกระบวนการคัดเลือกตัวแทนจากภาคประชาสังคมที่ควรใช้สำหรับ ประเทศไทย การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวมีกำหนดการดังนี้ 9.00 - 10.30

แนะนำโครงการวิจัย และมาตรฐาน EITI รวมถึงกรณีศึกษาประเทศสมาชิก 5 ประเทศ (ดูส่วน ถัดไปของรายงานฉบับนี้)

10.30 - 10.45

พักเบรก

10.45 - 12.00

ระดมสมอง: ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ในทัศนะ ของผู้เข้าร่วม, ข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่ต้องการ แต่ไม่เคยได้รับ, ทัศนะ ความเห็น และความ กังวลต่อมาตรฐาน EITI ในบริบทประเทศไทย

12.00 - 13.00

พักกลางวัน

13.00 - 14.30

แนะนำโครงสร้างคณะกรรมการไตรภาคี (MSG) และกระบวนการคัดเลือกกรรมการจากภาค ประชาสังคม ในประเทศกรณีศึกษา 5 ประเทศ (ดูส่วนถัดไปของรายงานฉบับนี้)

14.30 - 14.45

พักเบรก

14.45 - 16.00

ระดมสมอง: โครงสร้างคณะกรรมการไตรภาคี (MSG) และกระบวนการคัดเลือกกรรมการจากภาค ประชาสังคมที่ควรใช้สำหรับ EITI ประเทศไทย

11


2.2 ผลการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผลจากการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว มี 53 องค์กร/กลุ่มบุคคล/บุคคล/เครือข่ายที่ยินดีที่จะมีส่วนร่วมใน การเลือกตัวแทน EITI ภาคประชาสังคมในระยะต่อไปซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตของโครงการวิจัยนี้ ตลอดจนยินดีที่จะร่วมขยาย เครือข่ายภาคประชาสังคมที่ประสงค์จะผลักดันรณรงค์ให้ประเทศไทยนำมาตรฐาน EITI มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม รายนามดัง ตารางที่ 1 ตารางที่ 1 องค์กรหรือเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ยินดีเข้าร่วมและมีส่วนร่วมในการผลักดันการใช้มาตรฐาน EITI ในประเทศ ไทย ภูมิภาค องค์กร/เครือข่าย บทบาท ภาคตะวันออก กลุ่มปฏิรูปพลังงานจังหวัด ติดตามข่าวสารด้านพลังงาน ฉะเชิงเทรา กลุ่มเฝ้าระวังน้ำผิวดิน ประเมินคุณภาพน้ำในแหล่งผิวดิน และประสานงานกับหน่วยงาน ภาครัฐ เอกชน ชุมชน เพื่อเฝ้าระวังแหล่งน้ำ โดยปัญหามลพิษทาง น้ ำ ที่ พ บเกิ ด จากน้ ำ เสี ย จาก โรงโม่ เหมื อ ง สถานที่ บํ า บั ด น้ ำ เสี ย สถานที่กําจัดกากของเสีย และคลังน้ำมัน รวมทั้งปัญหา มลพิษที่เกิด จากการคมนาคมขนส่ง ปัญหาการลักลอบทิ้งของเสีย เป็นต้น เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก องค์กรภาคประชาชน เกิดจากการรวมตัวของชาวบ้าน เพื่อปกป้อง ดูแลสิ่งแวดล้อมและชุมชนภาคตะวันออก โดยปัญหาหลักที่ดูแล คือ ปัญหามลพิษทางอากาศจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ปล่อยควันพิษ อันตรายเกินกว่ามาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ ชมรมการจัดการสิ่งแวดล้อม ดูแลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อชุมชน ในฐานะผู้ให้ความรู้ ให้ จ.ระยอง คำป รึ ก ษา และเป็ นคนกลางไกล่ เ กลี่ ย ระห ว่ า งชุ ม ชนและ ภาคอุตสาหกรรม โดยในปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา เน้นดูแลปัญหาขยะ และมลพิษทางอากาศเป็นพิเศษ อาสาสมัครพิทักษ์ ดูแลปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการปล่อย ทรัพยากรธรรมชาติและ มลพิษ โดยปัญหาที่ดูแลเป็นพิเศษในพื้นที่อำเภอบ้านค่าย คือ ปัญหา สิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน การปนเปื้อนสารพิษของน้ำผิวดิน มลพิษทางอากาศ ผลกระทบจาก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เหมืองทราย อาสาสมัครพิทักษ์ ดูแลปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการปล่อย ทรัพยากรธรรมชาติและ มลพิ ษ โดยปั ญ หาที่ ดูแ ลเป็น พิ เศษในพื้ นที่ อำเภอเมื องระยอง คื อ สิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน อ.เมืองระยอง ปัญหาการปนเปื้อนสารพิษของน้ำผิวดิน มลพิษที่เกี่ยวข้องกับแท่น จ.ระยอง ขุดเจาะน้ำมันและเหมืองหิน นายสมนึก จงมีวศิน (นักวิชาการ) เครื อ ข่ า ยพั ฒ นา “ธรรมนู ญ ชุ ม ชนบ้ า นอ่ า วอุ ด ม” และติ ด ตาม โครงการต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคตะวันออก ศูนย์ปกป้องและคุ้มครองผู้บริโภค ติดตามปัญหาราคาพลังงานแพงเกินจริง จ. ตราด 12


ภูมิภาค

ภาคใต้

องค์กร/เครือข่าย ประมงพื้นบ้าน จ.ระยอง กลุ่มจับตาพลังงาน เครือข่ายปกป้องผืนป่าตะวันออก

บทบาท ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นน้ำมันรั่วไหลในอ่าวไทย ติดตามตรวจสอบการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าถ่านหิน เครื อ ข่ า ยต่ อ ต้ า นโครงการเหมื อ งแร่ ท องคำภาคตะวั น ออก การ จัดการขยะอุตสาหกรรม เครือข่ายภาคตะวันออก บทบาทหลักคือ ให้ความรู้กับชาวบ้านเรื่องสิทธิมนุษยชน กฎหมาย และเครื่องมือรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) และรายงานผลกระทบด้านสุขภาพและ สิ่งแวดล้อม (Environmental and Health Impact Assessment: EHIA) แก่ชาวบ้าน อาสาสมัครพิทักษ์ ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทำหน้าที่ ทรัพยากรธรรมชาติและ ติดตาม เฝ้าระวัง และให้ความรู้เรื่องผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและ สิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน อ. โป่งน้ำร้อน ข่าวสารโครงการต่าง ๆ แก่ชาวบ้านในจังหวัดจันทบุรี โดยผลงานที่ จ. จันทบุรี ผ่านมา ทำงานกับภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคมในการต่อต้านนิคม อุต สาหกรรมเหล็ ก ต้ น น้ ำแหลมสิงห์ จั งหวัด จั น ทบุ รี ติ ด ตามและ ต่อต้านโครงการเหมืองทองคำ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นต้น อาสาสมัครพิทักษ์ ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทำหน้าที่ ทรัพยากรธรรมชาติและ ติดตาม เฝ้าระวัง และให้ความรู้เรื่องผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและ สิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน ข่าวสารโครงการต่าง ๆ แก่ชาวบ้านในจังหวัดจันทบุรี โดยผลงานที่ อ. เมืองจันทบุรี จ. จันทบุรี ผ่านมา ทำงานกับภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคมในการต่อต้านนิคม อุต สาหกรรมเหล็ ก ต้ น น้ ำแหลมสิงห์ จั งหวัด จั น ทบุ รี ติ ด ตามและ ต่อต้านโครงการเหมืองทองคำ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นต้น อาสาสมัครพิทักษ์ ดูแลปัญหาเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการปล่อยมลพิษ ทรัพยากรธรรมชาติและ โดยปั ญ หาที่ ดู แ ลเป็ น พิ เศษในพื้ น ที่ อ ำเภอเมื อ งชลบุ รี คื อ ดู แ ล สิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน อ. เมืองชลบุรี ผลกระทบจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในจังหวัดชลบุรี จ. ชลบุรี ประชาอาสาพัฒนาสังคม จ. ระยอง สภาพลเมือง ชลบุรี ให้ความรู้เรื่องสิทธิการเป็นพลเมือง ความเสมอภาคของชุมชน ให้ ความรู้กับชุมชนเรื่องการทำ EIA และกฎหมาย พรบ. สิ่งแวดล้อม ผลกระทบจากโครงการเขตพัฒ นาพิ เศษภาคตะวัน ออก (Eastern Economic Corridor: EEC) รวมถึงดูแลและจัดการปัญหาขยะ อสม. บ้านฉาง จ. ระยอง ทำหน้าที่สื่อสารข่าวสารสาธารณสุขระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชน ในหมู่บ้าน ให้การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค และ ถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน โดยปัญหาหลักที่พบในอำเภอบ้านฉาง คือมี จำนวนผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มมากขึ้นจากมลพิษอุตสาหกรรม เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิ รั บ ทำคดี ที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การละเมิ ด สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน ตั ว อย่ า งคดี ที่ มนุษยชนภาคใต้ เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงาน เช่น คดีชาวบ้านถูกฟ้องเนื่องจาก 13


ภูมิภาค

องค์กร/เครือข่าย เครือข่ายรักษ์ชุมพร

เครือข่ายรักษ์บา้ นเกิดท่าศาลา

กลุ่มผูไ้ ด้รับผลกระทบจากปัญหา คราบน้ำมัน มูลนิธิภาคใต้สีเขียว

สมัชชาสุขภาพ

สมาคมเครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ่าวท่าศาลา

สมาคมดับบ้านดับเมือง

บทบาท คัดค้านโรงงานไฟฟ้าถ่านหินเทพา จ. สงขลา เป็นต้น องค์กรทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ เน้นไปที่การให้ข้อมูล ข่ า วสารที่ เป็ น จริ ง และสร้ า งองค์ ค วามรู้ เกี่ ย วกั บ ผลกระทบทาง สิ่งแวดล้อม ทั้งผลกระทบของโครงการปัจจุบัน และโครงการที่ยังไม่ เกิ ด ขึ้ น เพื่ อ ให้ ช าวบ้ า นสามารถตั ด สิ น ใจยอมรั บ หรื อ ไม่ ย อมรั บ โครงการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ตัวอย่างผลงาน เช่น การต่อต้านโรงงาน ไฟฟ้าปรมาณูในจังหวัดชุมพร การทำเวทีสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่องผลกระทบจากโรงงานไฟฟ้าถ่านหิน การก่อสร้างท่าเรือ เป็นต้น ภารกิ จ หลั ก ของเครือ ข่ ายคื อ การส่ งเสริ ม การประมงชายฝั่ ง การ อนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรทางทะเล ปั จ จุ บั น ทำงานร่ ว มกั บ เครื อ ข่ า ย แลกเปลี่ยนข้อมูลและติดตามปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ ติดตามการทำ EIA ของโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำบ้านเหมือง ตะกั่ว จ.พัทลุง การแลกเปลี่ยนข้อมูลโครงการอ่างเก็บน้ำ วังหีบ จ. นครศรีธรรมราช ตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาคราบน้ำมัน ทำโครงการส่ งเสริมเยาวชนและพั ฒ นาองค์ค วามรู้ที่ เกี่ ยวข้ องกั บ พลังงานทางเลือก (เช่น เรื่องโรงไฟฟ้ าชีวมวล เรื่องพลังงานไฟฟ้ า จากแสงอาทิตย์) ในพื้นที่ภาคใต้ ทั้งยังเป็นหน่วยงานช่วยเหลือชุมชน หากมี ก ารเรี ย กร้ อ งสิ ท ธิ ผ่ า นการประสานงานกั บ หน่ ว ยงานที่ เกี่ ย วข้ อ ง ให้ ค วามรู้ เรื่อ งกฎหมาย และให้ ข้ อ มู ล ที่ จ ำเป็ น ต่ อ การ เรียกร้องสิทธิ ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับ สุขภาพ เศรษฐกิจ และ สั ง คม ให้ ค วามรู้ เ รื่ อ ง EIA และ EHIA เพื่ อ สร้ า งองค์ ค วามรู้ แ ก่ ชาวบ้ า นให้ เตรี ย มพร้ อ มกั บ การเข้ า มาของ EIA และ EHIA จาก โครงการในอนาคตที่ จ ะเข้ า มาในพื้ น ที่ รวมถึ งเป็ น ตั ว กลางการ ประสานงานระหว่างภาคประชาสังคมต่าง ๆ และหน่วยงานรัฐ เพื่อ ขอข้อมูลโครงการและข้อมูลผลกระทบที่เป็นจริง สมาคมเครือข่ายท่าศาลา เกิดจากการรวมตัวของชาวบ้านตลอดแนว ชายฝั่ ง อ.ท่ า ศาลา พั ฒ นาองค์ ค วามรู้ เครื่ อ งมื อ และให้ ข้ อ มู ล ผลกระทบที่เป็นจริงแก่ชุมชน เพื่อต่อต้านโครงการที่สร้างผลกระทบ ในพื้นที่ โดยใน พ.ศ. 2556 สมาคมสามารถระงับโครงการก่อสร้าง ศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย ของบริษั ท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิ ต จำกั ด ปั จ จุ บั น คัดค้านโครงการอ่างเก็บน้ำวังหีบ จ.นครศรีธรรมราช มี บ ทบาทหลั ก ในการพั ฒ นาประมงชายฝั่ งและพั ฒ นาศั ก ยภาพ 14


ภูมิภาค

องค์กร/เครือข่าย

สมาคมประมงพื้นบ้าน อ. สทิงพระ จ. สงขลา สมาคมเพื่อนเยาวชนและพัฒนา สังคมภาคใต้ตอนบน จ. นครศรีธรรมราช ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ

ภาคเหนือ

กลุ่มรักษ์อำเภอวานร อ. วานรนิเวศ จ. สกลนคร

บทบาท องค์ ก ารปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ในพื้ น ที่ อ. ท่ า ศาลา สมาคมไม่ มี ภารกิ จ ที่ เกี่ ย วข้อ งโดยตรงกั บ เรื่ อ งพลั งงาน แต่ จ ะทำงานร่ วมกั บ เครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา ผู้ได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชายเลนและปัญหาขยะทางทะเล กั บ เยาวชน รวมถึ ง ประสานงานกั บ องค์ ก รภาคประชาสั งคมที่ มี ความรู้ เกี่ ย วกั บ ผลกระทบทางสิ่ งแวดล้ อ ม เช่ น ผลกระทบจาก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อเข้ามาให้ความรู้แก่เยาวชน ติดตามตรวจสอบโครงการเหมืองแร่โปแตซ

ผู้ได้รับผลกระทบจากเหมืองหิน

ติดตามตรวจสอบโครงการเหมืองหิน

ผู้ได้รับผลกระทบจากเหมืองหิน เหมืองแร่ควอตซ์ เหมืองหินทราย มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม

เครือข่ายปทุมรัตน์

ติดตามตรวจสอบโครงการเหมืองหิน เหมืองแร่ควอตซ์ เหมืองหิน ทราย องค์กรด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม มีภารกิจมุ่งตรวจสอบและสนับสนุน ให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นอยู่ รวมถึงการผลักดันให้เกิดการ พัฒนาปรับปรุงกฎหมาย เพื่อคุ้มครองการใช้สิทธิของประชาชนและ ชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางการ พัฒนาสังคมที่ยั่งยืน ติดตามตรวจสอบโครงการโรงงานไฟฟ้ากากน้ำตาล

กลุ่มอนุรักษ์นามูล

ติดตามตรวจสอบโครงการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียม

กลุ่มรักแผ่นดิน ต. หนองใหญ่

ติดตามตรวจสอบโครงการเจาะหลุมสำรวจ/ประเมินปิโตรเลียม

คณะกรรมการประสานงานองค์กร องค์กรสร้างความเข้ม แข็งให้กับชุมชนผ่าน 1. สร้างองค์ความรู้ด้าน พัฒนาเอกชนภาคอีสาน ผลกระทบทางสิ่ ง แวดล้ อ มและเครื่ อ งมื อ ที่ เกี่ ย วข้ อ ง อาทิ EIA กฎหมาย พรบ. สิ่งแวดล้อม 2. ติดตามโครงการที่เข้ามาในพื้นที่และ การเปลี่ ย นแปลงกฎหมาย เพื่ อ ถ่ า ยทอดให้ ชุ ม ชนรู้ เท่ า ทั น การ เปลี่ ย นแปลง และ 3. ขับ เคลื่ อนเชิ งนโยบาย เช่ น ผลั ก ดั น พรบ. เหมืองแร่ โดยปัญหาที่ดูแลเป็นพิเศษในพื้นที่ คือ ปัญหาจากเหมือง แร่โปแตซ จ. อุดรธานี และเหมืองทองคำ จ. เลย คุณพิณทอง เล่ห์กันต์ (ภาคประชา ติดตามและทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสิทธิชุมชน สังคมอิสระ) เครือข่ายผู้เดือดร้อนจากแก๊สและ ติดตามตรวจสอบการขอสัมปทานแหล่งปิโตรเลียม ติดตามประเด็น น้ำมันแพง เชียงใหม่ ราคาพลังงาน และติดตามปัญ หาฝุ่นจากเหมืองทอง จ. ลำปาง ที่ ส่งผลกระทบต่อชาวเชียงใหม่ อาสาสมัครพลังงาน สันกำแพง พัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้อง 15


ภูมิภาค

ภาคตะวันตก

องค์กร/เครือข่าย

บทบาท

กับพลังงานทดแทน เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ ผู้คัดค้านและผู้ได้รับผลกระทบจากเหมืองและโรงงานไฟฟ้าถ่านหิน ลิกไนต์ ทีมงานวิจัยทองคำ ศึกษาผลกระทบและวิธีการฟื้นฟูพื้นที่จากการปิดเหมืองถ่านหินและ นำองค์ความรู้ดังกล่าวมาฟื้นฟูเหมืองถ่านหิน อ. ลี้ จ. ลำพูน กลุ่มผูต้ ิดตามตรวจสอบโครงการ กลุ่มผู้ติดตามตรวจสอบโครงการเหมืองหิน ในพื้นที่ ตำบลกลางดง เหมืองหิน อ. ทุ่งเสลี่ยม จ. สุโขทัย อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ลุ่มน้ำสรอย อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย กลุ่มผู้ติดตามตรวจสอบโครงการเหมืองหิน ในพื้นที่ ตำบลกลางดง อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย คุณโอฬาร อ่องฬะ นักวิชาการ นักวิชาการอิสระ ติดตามโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคเหนือ อิสระ จ.เชียงใหม่ กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ ติดตามโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม จ.กาญจนบุรี จ. กาญจนบุรี เครือข่ายกะเหรีย่ งเพื่อวัฒนธรรม กลุ่ ม ปกป้ อ งและเรี ย กร้ อ งสิ ท ธิ ให้ แ ก่ ชุ ม ชมชาวกะเหรี่ ย งในพื้ น ที่ และสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี จ. เพชรบุรี จ. เพชรบุรี เครือข่ายกะเหรีย่ งเพื่อวัฒนธรรม กลุ่ ม ปกป้ อ งและเรี ย กร้ อ งสิ ท ธิ ให้ แ ก่ ชุ ม ชมชาวกะเหรี่ ย งในพื้ น ที่ และสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี จ. ราชบุรี จ. ราชบุรี เครือข่ายกะเหรีย่ งเพื่อวัฒนธรรม กลุ่ ม ปกป้ อ งและเรี ย กร้ อ งสิ ท ธิ ให้ แ ก่ ชุ ม ชมชาวกะเหรี่ ย งในพื้ น ที่ และสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี จ. สุพรรณบุรี จ. สุพรรณบุรี เครือข่ายกะเหรีย่ งเพื่อวัฒนธรรม กลุ่ ม ปกป้ อ งและเรี ย กร้ อ งสิ ท ธิ ให้ แ ก่ ชุ ม ชมชาวกะเหรี่ ย งในพื้ น ที่ และสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี จ. อุทัยธานี จ. อุทัยธานี ชุมชนคลิตี้ล่าง แกนนำต่อสู้เรื่องสิท ธิในพื้นที่ ทำกินในเขตป่ าอนุรักษ์ และแกนนำ ต่อสู้เรื่องเหมืองแร่ตะกั่วคลิตี้ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม นักกฎหมายและนักพัฒนากฎหมายที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการละเมิด สิทธิมนุษยชนและเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ โดยผลงานที่ผ่านมา คือ เป็น แกนนำต่อสู้เรื่องเหมืองแร่ตะกั่วคลิตี้ รวมถึงติดตามการเยียวยาและ การพัฒนาพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองดังกล่าว สมาคมปฏิรูปสื่อภาคประชาชน เครื อ ข่ า ยสื่ อ ชุ ม ชนในจั งหวั ด กาญจนบุ รี ผลงานที่ ผ่ านมา จั ด ตั้ ง สถานีวิทยุชุมชนต้นแบบ 100.75 จ.กาญจนบุรี เพื่อนำเสนอปัญหา ชุมชน และประสานงานกับสื่อกระแสหลักเพื่อนำข่าวชุมชนไปพัฒนา ให้เป็นประเด็นสาธารณะต่อไป โดยกรณีที่ประสบความสำเร็จ คือ กรณีการปล่อยสารตะกั่วลงแม่น้ำจากเหมืองแร่ตะกั่วคลิตี้ที่ อ. ทอง 16


ภูมิภาค

องค์กร/เครือข่าย

บทบาท ผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

นอกจากนี้ มี 4 องค์กรหรือเครือข่ายที่ยินดีเข้าร่วมการดำเนินงานการใช้มาตรฐาน EITI หากมีการจัดเวทีวิชาการเพื่อ ทำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้มาตรฐานดังกล่าวให้กับเครือข่ายในแต่ภูมิภาคเพิ่มเติม โดยมีรายชื่อดัง ตารางที่ 2 ตารางที่ 2 องค์กรหรือเครือข่ายทีย่ ินดีเข้าร่วมการดำเนินงานการใช้มาตรฐาน EITI หากมีการจัดเวทีวชิ าการเพื่อทำความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับการใช้มาตรฐานดังกล่าวให้กับเครือข่ายในแต่ภูมภิ าคเพิ่มเติม องค์กรหรือเครือข่าย บทบาท มูลนิธิพัฒนาอีสาน หน่วยงานที่ดูแลเรื่องสุขภาวะ พลังงาน สิ่งแวดล้อมของชุมชน โดยเน้นไปที่ การสร้างองค์ความรู้และพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชม โดยองค์ความรู้ที่ เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงาน ได้แก่ เรื่องกฎหมาย EHIA สิทธิชุมชน รูปแบบเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก ผลกระทบของโครงการพลังงาน และ โมเดลการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ มูลนิธิพัฒนาอีสานยังช่วยประสานงาน ให้กับชาวบ้านที่ต้องการเรียกร้องสิทธิอีกด้วย นักสิทธิมนุษยชนภาคอีสาน ปกป้องสิทธิมนุษยชนหากมีการละเมิดสิทธิโดยเฉพาะในกรณีเหมืองแร่และ (คุณณัฐพร อาจหาญ) กรณี ขุ ด เจาะน้ ำ มั น ใน จ. กาฬสิ น ธุ์ ทำหน้ า ที่ ป ระสานงานชาวบ้ า นกั บ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่ชุมชนในการต่อสู้เพื่อเรียกร้อง สิทธิ เครือข่ายเหมืองแร่ กลุ่มผู้ติดตามตรวจสอบโครงการเหมืองแร่โปแตซ กลุ่มอนุรักษ์นามูล ผู้ได้รับผลกระทบและติดตามตรวจสอบโครงการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียม

17


3. การดำเนินงานและการคัดเลือกตัวแทนภาคประชาสังคมสำหรับ EITI ในต่างประเทศ

3.1 การใช้มาตรฐาน EITI ในประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอิ น โดนี เซี ย เป็ น ประเทศแรกในภู มิ ภ าคอาเซี ย นที่ เข้ าร่ว มการใช้ ม าตรฐาน EITI เพื่ อ สร้างการจั ด การที่ มี ประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส รวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกมิติในอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อ บรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน และการลงทุนเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ ตามระเบียบประธานาธิบดีที่ 26/2010 โดยประเทศอินโดนีเซียได้รับสถานะเป็นประเทศผู้สมัครในปี พ.ศ. 2553 และได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน EITI ครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2556 (Cahyani, 2014; Soerjoatmodjo & Triwibowo, 2015) การปรับเปลี่ยนทิศทางนโยบายอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติของประเทศอินโดนีเซียนั้นสอดคล้องกับรายงาน กรณี ศึกษาอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซเชื้อเพลิงประเทศอินโดนีเซีย จัดทำโดย World bank (2004) ในช่วงปี พ.ศ. 2544 2547 ซึ่งเสนอว่า ประเทศอินโดนี เซียได้สูญ เสียความได้เปรียบทางการแข่งขันในการลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ให้ กับ ประเทศอื่น ๆ การหันมาดำเนินนโยบาย ‘อุตสาหกรรมเหมืองยั่งยืน’ จึงเป็นทางออกและโอกาสให้ ประเทศอินโดนีเซียพัฒนา อุตสาหกรรมดังกล่าวให้มี ศักยภาพมากขึ้น ซึ่งภาครัฐจะต้องมีการปรับปรุงข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อม รวมถึงการให้ความสำคัญกับการจัดสรรผลประโยชน์แบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม การนำมาตรฐาน EITI มาใช้ในประเทศอินโดนีเซียจึงเป็นเครือ่ งมือหนึ่งที่ช่วยให้ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไปของ ประเทศถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การสร้างการมีส่วนร่วมและการเข้าถึงข้อมูลของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกมิติ จะเป็นกลไกหนึ่งที่นำไปสู่การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นและการพัฒนาที่ยั่งยืน (Cahyani, 2014) อุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติในประเทศอินโดนีเซียแบ่งผลประโยชน์ระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลส่วน ท้องถิ่น ในรูป แบบการแบ่ งรายได้แบบมีส่วนร่วม (revenue sharing scheme) โดยในส่วนของรายได้ ที่ไม่ ใช่ภ าษี จะมี การ เปิ ด เผยข้ อ มู ล ทางบั ญ ชี ร ะหว่ า งภาคธุ ร กิ จ และภาครั ฐ ทำให้ เห็ น เส้ น ทางการจั ด สรรรายได้ ภ ายในอุ ต สาหกรรมสกั ด ทรัพยากรธรรมชาติได้ชัดเจน การจัดทำรายงานความโปร่งใสตามมาตรฐาน EITI ได้กำหนดให้ภาครัฐและเอกชนต้องแสดงผลดุล กระทบทางบัญชี (reconciliation result) ระหว่างบัญชีรายได้ที่รัฐสามารถจัดเก็บได้ และรายจ่ายที่ภาคธุรกิจจ่ายให้แก่ภาครัฐ รวมถึงการกระจายรายได้สู่หน่วยงานต่าง ๆ จากรายงานการดำเนินงาน EITI 2014 (2017) ประเทศอินโดนีเซียมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1. อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ รัฐบาลอินโดนีเซียได้ประกาศใช้ระเบียบรัฐบาล 55/2005 ซึ่งรัฐบาลกลางจะได้รับส่วนแบ่งรายได้จากธุรกิจน้ำมัน ร้อย ละ 85.5 และรัฐบาลส่วนท้องถิ่นได้รับส่วนแบ่งร้อยละ 15.5 ในขณะที่รายได้จากธุรกิจก๊าซ รัฐบาลกลางจะได้รับส่วนแบ่งร้อยละ 69.5 และรัฐบาลส่วนท้องถิ่นได้รบั ร้อยละ 30.5 ช่องทางในการจัดเก็บรายได้ของรัฐจากธุรกิจในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินปัน ผล ผลผลิ ต จากการขุ ด เจาะน้ ำ มั น และก๊ า ซ ค่ า ตอบแทนการผลิ ต เพื่ อ ใช้ ใ นประเทศ (domestic market obligation) 18


ค่าธรรมเนียมการลงนามและค่าภาคหลวง จากรายงานผลการกระทบยอดบัญชี EITI 2014 (2017) พบว่า รายได้ในรูปแบบภาษี ที่แสดงในผลการกระทบยอดบัญชีเท่ากับ 73,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจากรูปแบบที่ไม่ใช่ภาษีเท่ากับ 218,000 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ โดยผลดุลกระทบบัญชีปี พ.ศ. 2557 ระหว่างบัญชีจาก SKK Migas1 และบัญชีจากคู่สัญญา พบว่า ดุลกระทบบัญชีมีความ แตกต่างลดลง ทั้งนีห้ น่วยธุรกิจจากอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซเข้าร่วมการเปิดเผยข้อมูลร้อยละ 100 2. อุตสาหกรรมเหมืองแร่และถ่านหิน อุตสาหกรรมเหมืองแร่และถ่ านหินสร้างรายได้ให้แก่รัฐผ่านช่องทาง ดังนี้ การเก็บค่าสัมปทาน ส่วนแบ่งรายได้จาก ยอดขาย ภาษีเงินได้นิติบุคคล และค่าธรรมเนียมการขนส่ง ทั้งนี้รายได้จากค่าสัมปทานและค่าเช่าที่ดินจะถูกจัดสรรให้แก่รัฐบาล กลางร้อยละ 20 และรัฐบาลส่วนท้องถิ่นร้อยละ 80 จากผลการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2557 พบว่า รัฐจัดเก็บรายได้ในรูปของ ภาษีเท่ากับ 2,463 พันล้านรูเปียห์อินโดนีเซีย และ 979 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และรายได้ที่ไม่ใช่ในรูปแบบของภาษีเท่ากับ 4,148 พันล้านรูเปียห์อินโดนีเซีย และ 2,212 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เมื่อพิจารณาผลการดุลกระทบบัญชี พบว่า บัญชีรายได้ ภาครัฐและรายจ่ายจากผู้ประกอบการเหมืองแร่มีความคลาดเคลื่อนร้อยละ 3.73 โดยยอดกระทบบัญชีที่มีความคลาดเคลื่อน มากที่สุด คือ ค่าสัมปทาน ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนร้อยละ 11.33 อย่างไรก็ตามความคลาดเคลื่อนของยอดกระทบบัญชีมีสัดส่วน ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบจากการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยหน่วยธุรกิจที่เข้าร่วมในการเปิดเผยข้อมูล คือ ธุรกิจที่เสียค่าสัมปทาน ตั้งแต่ 20,000 ล้าน รูเปียห์อินโดนีเซีย ขึ้นไป ซึ่งเป็นบริษัทที่เข้าร่วมการเปิดเผยข้อมูลก่อให้เกิดรายได้ที่ไม่ใช่ภาษีให้แก่รัฐคิดเป็น ร้อยละ 86 ของรายได้ที่รัฐจัดเก็บได้ (Coordinating Ministry for Economic Affairs, Rebublic of Indonesia, 2017) จากการศึกษาโดย Cahyani (2014) เปิดเผยว่าประเทศอินโดนีเซียมีความท้าทายในการใช้มาตรฐาน EITI ในช่วงระยะ เริ่มต้น ดังต่อไปนี้ - การสร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้มาตรฐาน EITI แก่สาธารณะและผู้มสี ว่ นได้ส่วนเสียทุก มิติ - เนื่องจากกฎหมายประเทศอินโดนีเซียมีการกระจายอำนาจสูง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสื่อสารให้ตรงกันทั้งใน ระดับส่วนกลางและระดับท้องถิ่น - กฎเกณฑ์และข้อบังคับในการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินของภาครัฐและภาคเอกชนบางหน่วยงานยังถูกจำกัด ทำให้ หลายหน่วยงานยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้อย่างเต็มที่ - ทัศนคติกลุ่มชาตินิ ยมสุดโต่ง ที่มองว่าการเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานเป็นช่องทางให้องค์กรจากต่างชาติเข้ามา ควบคุมการใช้ทรัพยากรของประเทศ - การนำข้อมูลที่เปิดเผยไปใช้ประโยชน์เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง - การประสานงานและการสร้างความเข้าใจในการทำงานร่วมกันภายในคณะกรรมการ MSG ถือเป็นหัวใจสำคัญต่อ ความสำเร็จของการใช้มาตรฐาน EITI และการสร้างผลลัพธ์ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

1

SKK Migas คือ หน่วยงานเฉพาะจัดตั้งโดยรัฐบาลที่มีหน้าที่ในการดูแลกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมสำรวจและขุดเจาะน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ประเทศอินโดนีเซีย

19


การดำเนินงานของคณะกรรมการ MSG และบทบาทภาคประชาสังคมในประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2550 ภายใต้การนำของรองหั วหน้าคณะกรรมการปราบปรามการทุจ ริต ซึ่ งมี ประสบการณ์ ท ำงานใน อุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติและแนวร่วมองค์กรภาคประชาสังคมมาก่อน ได้ริเริ่มให้ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วม ในการร่างระเบียบประธานาธิบดีที่ 26/2010 ว่าด้วยการดำเนินงานด้านความโปร่งใสของอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ ภายใต้มาตรฐาน EITI ซึ่งระเบียบประธานาธิบดีดงั กล่าวได้ประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ. 2553 โดยผ่านการตรวจสอบจากองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมหลากหลายองค์กร เช่น กลุ่ม Publish What You Pay Indonesia (PWYP) กลุ่ม Revenue Watch Institute (RWI) สมาชิกสภาที่ปรึกษาประธานาธิบดี ตัวแทนจาก World Bank Multi Donor Trust Fund (MDTF) กลุ่ม PWYP เป็นแนวร่วมองค์กรภาคประชาสังคมที่มี บทบาทสำคัญในการดำเนินงานของคณะกรรมการ MSG จัดตั้ง ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2550 โดยมีองค์กรสมาชิกจำนวน 38 องค์กร จากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วทั้งประเทศ โดยเฉพาะจากภูมิภาคที่มีความ อุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรแร่ธาตุ ป่ าไม้ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ โดยเป้าหมายหลักของ PWYP คือการผลักดันการปรับปรุง ธรรมาภิบาลในอุตสาหกรรมการสกัดทรัพยากรธรรมชาติให้มีความโปร่งใส รับผิดชอบ และตอบสนองต่อประโยชน์สาธารณะใน แง่การเป็นเครื่องมือสร้างสวัสดิการและความยุติธรรมทางสังคม 2 ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ EITI เป็นอย่างมาก ดังนั้น PWYP จึงมี บ ทบาทสำคั ญ ในการคั ดเลื อ กตั วแทนจากภาคประชาสั งคมเพื่ อเป็ น ตัวแทนในคณะกรรมการ MSG จำนวน 3 ตำแหน่ง กระบวนการสรรหาตัวแทนภาคประชาสังคมเริ่มจาก องค์กรสมาชิกเสนอรายชื่อผู้สมัครทั้งจากภายในองค์กรและ บุคคลภายนอก ซึ่งแต่ละองค์กรสามารถเสนอรายชื่อผู้สมัครจำนวน 3 รายชื่อ ยื่นต่อคณะกรรมการการคัดเลือกเพื่อพิจ ารณา คุณ สมบั ติ แ ละความเหมาะสม ก่อ นจะประกาศรายชื่อ ผู้ ล งสมั ค รเพื่ อ ให้ สมาชิ ก PWYP ลงคะแนนเสีย ง โดยกระบวนการ ลงคะแนนเสียงดำเนินการผ่านระบบอีเมล์แ ละใช้เวลาในการดำเนินการเป็นเวลา 5 วัน ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในการ คัดเลือกถูกสงวนสิทธิ์ให้เฉพาะเป็นสมาชิก PWYP เท่านั้น อย่างไรก็ตามการดำเนินงานในส่วนของแนวร่วมภาคประชาสังคม ไม่ได้ถูกจำกัดภายในกลุ่ม PWYP เท่านั้น แต่รวมถึงองค์กรอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ซึ่งสามารถเสนอข้อคิดเห็นแลกเปลี่ยนข้อมูล ได้ โดยองค์ ก รต่ า ง ๆ สามารถเข้ า ร่ ว มการประชุ ม คณะกรรมการ MSG ได้ อ ย่ า งอิ ส ระ (Soerjoatmodjo G. L., 2555; Coordinating Ministry for Economic Affairs, Rebublic of Indonesia, 2017) ตามระเบียบประธานาธิบดีที่ 26/2010 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ MSG หรือที่เรียกว่า คณะกรรมการความโปร่งใส EITI รับคำสั่งโดยตรงจากประธานาธิบดี ซึ่งคณะทำงานดังกล่าวมีอำนาจในการขอข้อมูล และขอคำปรึกษาจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ อ ใช้ ในการจั ดทำรายงาน EITI ได้ เช่น หน่ วยงานปกครองส่ วนท้ องถิ่น หน่ วยงานที่ จัด เก็บ รายได้ จากอุต สาหกรรมสกั ด ทรั พ ยากรธรรมชาติ ภายในคณะทำงานเพื่ อ ความโปร่ งใสได้ มี ก ารแบ่ งที ม คณะกรรมการออกเป็ น 2 ระดั บ คื อ ระดั บ คณะกรรมการบริหารและระดับคณะทำงาน ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. คณะกรรมการบริหาร (steering team) มีหน้าที่วางนโยบาย กำหนดทิศทางและประเมินผลการใช้มาตรฐาน EITI และการดำเนินงานของทีมปฏิบตั กิ าร โดยมีประธานกรรมการ คือ รัฐมนตรีประสานงาน (Coordinating Minister) ด้าน เศรษฐกิจ ซึ่งสมาชิกในคณะกรรมการประกอบด้วย

2

EITI Indonesia, “Stakeholders,” http://eiti.ekon.go.id/en/stakeholder/.

20


-

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและทรัพยากรแร่ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการสำนักการเงินและการพัฒนา ตัวแทนจากองค์กรภาคประชาสังคม นำโดย Publish What You Pay Indonesia (PWYP)

2. คณะทำงานประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ 14 หน่วยงาน จากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อนำนโยบายและทิศทางการดำเนินงานจากทีมบริหารสู่การปฏิบัติ ซึ่งโครงสร้างคณะทำงาน EITI แสดงดังแผนภูมิที่ 1 (หน้า 27) ในการจัดทำรายงานมาตรฐาน EITI แนวร่วมภาคประชาสังคมมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้มีการเปิดเผยข้อมูลใน ประเด็นดังต่อไปนี้ - การเปิดเผยข้อมูลในระดับโครงการ จากเดิมที่เป็นการให้ข้อมูลในระดับภาพรวมของอุตสาหกรรม - กำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลปริมาณผลผลิตทีไ่ ด้ เพื่อใช้ประกอบกับข้อมูลทางการเงิน - กำหนดให้มกี ารเปิดเผยข้อมูลปริมาณน้ำมันทีส่ ูบได้ แทนที่การเปิดเผยข้อมูลเฉพาะปริมาณน้ำมันในสัดส่วนทีเ่ ป็น ของรัฐ - การเปิดเผยข้อมูลรายที่ได้รับจัดสรรจากรัฐบาลให้แก่รัฐบาลส่วนท้องถิ่น จากการศึกษาประสบการณ์การดำเนินงานและกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในประเทศอินโดนีเซีย Soerjoatmodjo และ Triwibowo (2015) พบว่า บทเรียนที่สำคัญ คือ ต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งระหว่างผู้มีสว่ นได้ ส่วนเสียทุกมิติ เพื่อสร้างความร่วมมือในการดึงข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ประกอบกัน ทั้งนี้การดำเนินงานมักพบข้อจำกัด คือ ทัศนคติ เชิงลบของภาครัฐและเอกชนที่มีต่อองค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งต้ องอาศัยการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างกัน เพื่อสร้างความไว้ เนื้อเชื่อใจและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ นอกจากนี้ การพัฒ นาศักยภาพและการจัดการความรู้ภ ายในแนวร่วมภาคประชาสังคมเป็ นส่วนสำคัญ อย่างมาก เนื่องจากอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติมีความซับซ้อนและอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ดังนั้นภาคประชา สังคมจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงรายละเอียดต่าง ๆ อย่างถ่องแท้ และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ เป็น อย่างดี รวมทั้งเปิดโอกาสให้องค์กรที่หลากหลายเข้ามามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการ สร้างพันธมิตรกับทุกภาคส่วนจะเป็นเรื่องสำคัญ ภาคประชาสังคมยังคงต้องรักษาจุดยืนในการทำงานและการตัดสินใจอย่างเป็น อิสระ เพื่อรักษาความโปร่งใสและการพัฒนาการใช้มาตรฐาน EITI ในอุตสาหกรรม กระบวนการคัดเลือกกรรมการ MSG จากภาคประชาสังคม ขั้นตอนที่ 1 เครือข่ายภาคประชาสังคม PWYP (มีสมาชิกอยู่ 38 องค์กร) เป็นเครือข่ายหลักในการดำเนินงาน คัดเลือก และจัดตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งตัวแทนภาคประชาสังคม โดยคณะกรรมการดังกล่าวจะต้องแสดงเจตนารมณ์อย่างชัดจนว่า จะไม่ลงสมัครเป็นตัวแทนภาคประชาสังคม ขั้นตอนที่ 2 คณะกรรมการประกาศรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งอาจจะมาจากผูส้ มัครอิสระ หรือได้รับการเสนอชื่อ จากองค์กรสมาชิกในเครือข่ายภาคประชาสังคม โดยพิจารณาคุณสมบัติสองประการ คือ 21


1. ต้องมีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมในประเด็นที่เกี่ยวข้อง การอุทิศตนในการทำงาน สามารถเป็นตัวแทนทั้งใน ระดับประเทศ ระดับท้องถิ่น และความเท่าเทียมทางเพศ 2. มีศักยภาพในการบ่มเพาะ และสร้างการมีส่วนร่วมแก่ผมู้ ีส่วนได้ส่วนเสีย ขั้นตอนที่ 3 คณะกรรมการรวบรวมรายชื่อผูส้ มัครรับเลือกตั้งทั้งหมด สอบถามความสมัครใจ และประกาศรายชื่อผูล้ ง สมัครแก่สมาชิกและสาธารณะ (ครั้งแรกประเทศอินโดนีเซียมีผู้สมัครลงเลือกตั้งทั้งหมด 10 ท่าน โดยภายหลังขอถอนตัว 1 ท่าน) ขั้นตอนที่ 4 คณะกรรมการเลือกตั้งจัดเวทีเสวนา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สมัครทั้ง 9 ท่านได้มีโอกาสแนะนำตัว ภูมิหลังการ ทำงาน คุณวุฒิ และความพร้อมในการอุทิศตัวในการทำงานให้กับ PWYP ในขณะที่ยังคงความเป็นอิสระ ซึ่งในขั้นตอนนี้มีขึ้นเพื่อ สร้างความมั่นใจว่าผู้สมัครแต่ละท่านมีความรู้ ความเข้าใจในอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ การจัดเก็บรายได้ กรอบการ ทำงานของ EITI ในฐานะที่ตนเป็นกลไกหนึ่งของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดเก็บรายได้ ขั้นตอนที่ 5 คณะกรรมการเลือกตั้งตัวแทนภาคประชาสังคม เลือกรูปแบบการเลือกตั้ง โดยได้เลือกรูปแบบ ‘one member one vote’ มาใช้ในการลงคะแนนเสียง ขั้นตอนที่ 6 เข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง โดยสมาชิกสามารถเลือกตัวแทนได้ 3 ท่านจากผู้สมัครทั้งหมด สมาชิกส่ง รายชื่อผ่านอีเมล์แก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ใช้เวลาในการเลือกตั้งทั้งหมด 5 วัน โดยผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 3 อันดับจะเป็น ตัวแทนภาคประชาสังคมในคณะกรรมการ MSG

22


คณะกรรมการ MSG ระดับบริหาร

หัวหน้าทีมปฏิบัติการ

หัวหน้าทีมปฏิบัติการ

หัวหน้าทีมปฏิบัติการ

(ผู้ช่วยฝ่ายพลังงานและทรัพยากรแร่

(ผู้อำนวยการสำนัก

(เลขานุการกระทรวง

Coordinating Minister ด้านเศรษฐกิจ)

งบประมาณกระทรวงการคลัง)

พลังงานและทรัพยากรแร่)

ทีมปฏิบัติการ - ตัวแทนจาก Coordinating Minister ด้านเศรษฐกิจ - สำนักงบประมาณ - กระทรวงพลังงานและทรัพยากรแร่ - กระทรวงมหาดไทย - ผู้อำนวยการสำนักการเงินและการพัฒนา - หัวหน้าสำนักงานพัฒนาธุรกิจขุดเจาะและผลิตน้ำมันและก๊าซ - กรรมการทั่วไปบริษัท Pertamina National Oli and Gas (รัฐวิสาหกิจ) - ตัวแทนจากสมาคมปิโตรเลียม อินโดนีเซีย - ตัวแทนจากสมาคมเหมืองแร่ อินโดนีเซีย - ตัวแทนจากสมาคมเหมืองถ่านหิน อินโดนีเซีย - เลขานุการภูมิภาคจากภูมภิ าค Riau, East Kalimantan และ East Java แผนภูมิที่ 1 โครงสร้างคณะกรรมการ MSG ประเทศอินโดนีเซีย 3.2 การใช้มาตรฐาน EITI ในประเทศฟิลิปปินส์ อุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติเป็นกลุ่มธุรกิจที่ มีอิทธิพลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์ ใน ขณะเดียวกันถือเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างความขัดแย้งสูงในสังคมด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ซึ่งมักมีข้อ พิพาทเกี่ยวกับการทำลายสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ สิทธิมนุษยชน ในบางครั้งความขัดแย้งลุกลามสู่ ระดับที่สร้างความแตกแยกใน ชุมชน การสูญเสียที่ดินทำกินของชนพื้นเมืองในเขตเหมืองอันนำไปสู่การสูญเสียวิถีชีวิตหรือแม้กระทั่งเลือดเนื้อของคนในพื้นที่ (Magno, 2013; Triwibowo, 2015) เช่น กรณีข้อพิพาทเหมืองทองและทองแดง ในจังหวัด South Cotabato ในปี พ.ศ. 2555 โดยรัฐบาลท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้เหมืองหยุดดำเนินการในระหว่างที่ข้อพิพาทอยู่ในขั้นตอนของศาล แม้เหมืองจะได้รับสัมปทาน และคำสั่งอนุญาตกิจการเหมืองจากรัฐบาลกลาง แต่นาย Arthur Pingoy ผู้ว่าราชการจังหวัดให้เหตุผลว่า คนในชุมชนยังคงมี 23


ความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ยังไม่ชัดเจน ระบบการจ่ายค่าชดเชยที่ไม่มีประสิทธิภาพแก่ชนพื้นเมืองใน พื้นที่หรือการไม่ได้รับค่าชดเชยในจำนวนที่เหมาะสมซึ่งเป็นหนึ่งในข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ พื้นที่ ถึงแม้เหมืองดังกล่าวจะให้ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมหาศาลก็ตาม (ABC News Australia, 2012) ในเวที เสวนา Global Commodities Forum ระหว่ า งการประชุ ม สหประชาชาติ ว่ า ด้ ว ยการค้ า และการพั ฒ นา (UNCTAD) ในปี พ.ศ. 2557 คุณ Marie Gay Alessandra V. Ordeness (2014) ผู้ประสานงาน EITI ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า การ ใช้กลไกการเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐาน EITI จะเป็นเครื่องมือสำคัญ (Triwibowo, 2015) ที่ช่วยแก้ปัญหาและสามารถรับมือกับ ความท้าทายของประเทศฟิลิปปินส์ ได้ดังนี้ 1. ความโปร่งใสของข้อมูลรายได้ทภี่ าครัฐได้รบั จากอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ 2. กฎระเบียบ และหน่วยงาน ที่ทำงานแยกออกจากกันจำเป็นที่จะต้องมีมาตรฐาน กรอบการทำงานที่เป็นไปในทิศทาง เดียวกัน 3. ประเด็นด้านการคลัง ได้แก่ เสถียรภาพของนโยบายภาษี การลงทุน และสิ่งแวดล้อม การขยายตัวของการจัดเก็บ ภาษีท้องที่ รวมถึงค่าใช้จ่ายของธุรกิจที่จ่ายให้แก่รั ฐถูกใช้ไปอย่างไร ประเด็นเหล่านี้ถูกตั้งคำถามจากภาคเอกชนตลอดมา ใน ขณะเดียวกันภาคประชาสังคมก็มีข้อกังขาเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ชุมชนได้รับว่ามีความเหมาะสมและยุติธรรมมากน้อยเพียงใด 4. การไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม เนื่องจากไม่มีกระบวนการเจรจาระหว่างกลุม่ ผู้มสี ่วนได้ส่วนเสีย และทัศนคติในด้าน ลบของสาธารณชนที่มีต่อกลุม่ ธุรกิจในอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ ข้อขัดแย้งในหลายกรณีมีสาเหตุสำคัญ คือ การได้รับข้อมูลที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างกลุ่มผู้มีสว่ นได้ส่วนเสียต่าง ๆ ส่งผล ให้ประธานาธิบดี Benigno Aquino ประกาศใช้คำสั่งพิเศษเลขที่ 79 ให้ประเทศฟิลิปปินส์เริ่มเข้าสู่กระบวนการใช้มาตรฐาน EITI นับเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิรูปนโยบายกิจการเหมืองแร่และอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ การเปิดเผยข้อมูลการจ่าย ภาษีข องอุต สาหกรรมเหมื องแร่ และการก้าวสู่การบริห ารจัดการที่โปร่งใสของอุต สาหกรรมสกั ดทรัพ ยากรธรรมชาติ โดย กำหนดให้เป็นหนึ่งในนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศฟิลิปปินส์ (rappler.com, 2556) โครงสร้างอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติในประเทศฟิลิปปินส์ จากรายงานการดำเนินงานตามมาตรฐาน EITI ฉบับที่ 4 (2017) พบว่า รูปแบบการจัดเก็บรายได้ในประเทศฟิลิปปินส์ แบ่งตามลักษณะการผลิตใน 3 อุตสาหกรรมหลักที่สกัดทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมน้ำมัน เชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ และอุตสาหกรรมถ่านหิน 1. อุตสาหกรรมเหมืองแร่ มีข้อกำหนด คือ ธุรกิจที่สามารถดำเนินกิจการเหมืองแร่ได้จะต้องมีสัดส่วนชาวฟิลิปปินส์ถือหุ้นในธุรกิจ ร้อย ละ 60 และอนุญาตให้หน่วยธุรกิจที่มีสัดส่วนการถือหุ้นจากต่างชาติ 100% สามารถให้ความช่วยเหลือทางการเงินและ ทางเทคนิคได้ โดยแบ่งสัดส่วนรายได้แก่ภาครัฐออกเป็นสองลักษณะ คือ การแบ่งรายได้แก่รัฐแบบพื้นฐานและแบบ เพิ่มเติม โดยแบบพื้นฐาน คือ รัฐจะได้รับรายได้จากคู่สัญญา ากการจัดเก็บภาษีทางตรง ค่าภาคหลวง ค่าธรรมเนียม ต่าง ๆ และค่าใช้จ่ายอื่นอันเนื่องมาจากข้อกฎหมายและข้อกำหนดต่าง ๆ ที่คู่สัญญาต้องรับผิดชอบ 24


กรณีที่ส่วนแบ่งรายได้ของรัฐขั้นพื้นฐานมีมูลค่าน้อยกว่าร้อยละ 50 ของรายได้สุทธิจากการดำเนินงานกิจการ เหมืองแร่ดังกล่าว รัฐบาลกลางสามารถได้รับส่วนแบ่งเพิ่มเติมจากคู่สัญญาโดยเรียกเก็บค่าสัมปทานเพิ่มเติมอีกร้อยละ 5 ของมูลค่าตลาดผลผลิตมวลรวมของเหมืองนั้น ๆ ก่อนหักภาษีต่าง ๆ ทั้งนี้ร้อยละ 10 ของค่าสัมปทานที่ได้รับจะต้อง จัดสรรเพื่อใช้ในการอนุรักษ์เหมืองแร่ให้กับสำนักเหมืองแร่และธรณี วิทยาในรูปของกองทุน เพื่ อเป็ นค่าใช้จ่ายใน โครงการพิเศษต่าง ๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานการพัฒนาการสำรวจ การจั ดการสิ่งแวดล้อม และการดูแล รักษาทรัพยากรแร่ธาตุ ในขณะเดียวกันสัดส่วนผลประโยชน์ของรัฐบาลควรได้รับเท่ากับร้อยละ 2 ของภาษีที่จัดเก็บได้ จากผลิตภัณฑ์แร่ 2. อุตสาหกรรมน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ การจัดเก็บรายได้จากอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติใช้ลักษณะ ‘สัญ ญาการให้บริการ’ (Service contract) ซึ่งเป็นรูปแบบการแบ่งปันผลผลิต (production sharing) โดยหน่วยธุรกิจคู่สัญญาจะเปรียบเสมือนผู้ให้ บริการในการผลิตและขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของคู่สัญญาต้องไม่เกินร้อยละ 70 และกำไรอย่างน้อยร้อยละ 30 ของมูลค่าผลผลิตที่ได้ โดยกำไรจะถูกแบ่งให้กับรัฐบาลไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และผู้ ให้บริการได้รับร้อยละ 40 นอกจากนี้หากผู้ให้บริการเป็นธุรกิจของชาวฟิลิปปินส์ยังได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มเติมอีกร้อยละ 7.5 เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจ 3. อุตสาหกรรมเหมืองถ่านหิน การจัดเก็บรายได้จากอุตสาหกรรมเหมืองถ่านหินใช้รูปแบบเดียวกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่อื่น ๆ คือ ใช้ รูปแบบการแบ่งรายได้ โดยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต้องไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าผลผลิตทีไ่ ด้ กำไรร้อยละ 10 ที่ เหลือจะถูกจัดสรรให้แก่ภาครัฐร้อยละ 30 และคู่สัญญาร้อยละ 70 นอกจากนี้มูลค่าต้นทุนการด้อยค่าของสินทรัพย์ ทางหน่วยธุรกิจจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมไม่เกินร้อยละ 40 ของมูลค่าผลผลิตที่ได้ จากรายงานผลการดำเนินงานของ EITI ปี พ.ศ. 2560 พบว่า การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการใช้ มาตรฐาน EITI ปี พ.ศ. 2559 เพิ่มมากขึ้นในทุกกลุ่มธุรกิจเมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2558 โดยอุตสาหกรรมแร่เพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 93 จากร้อยละ 89 ในขณะที่อุตสาหกรรมน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วน ร่วมมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 100 ดังแผนภูมิที่ 2

25


จานวนบริษัทที่เข้าร่วมการใช้มาตรฐาน EITI 105

100

ร้อยละ

100 95 90

95

93

98 93

89

85 80

อุตสาหกรรมแร่

อุตสาหกรรมน้ํามันและก๊าซ

ทั้งหมด

กลุ่มอุตสาหกรรม ปี 2558

ปี 2559

แผนภูมิที่ 2 จำนวนบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ EITI ในประเทศฟิลิปปินส์ ที่มา : Philippine Extractive Industries Transparency Initiative (2017) บทบาทและการดำเนินงานของคณะกรรมการ MSG ในประเทศฟิลปิ ปินส์ หลังจากที่ประเทศฟิลิปปินส์มีคำสั่งประธานาธิบดีเลขที่ 79 และ 147 ลงนามเข้าร่วมการใช้มาตรฐาน EITI ขั้นตอน ต่อมาคือการจัดตั้งคณะกรรมการตัวแทนจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายภาคส่วน (MSG) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเข้า ร่วมมาตรฐานดังกล่าว โดยคณะกรรมการ MSG มีหน้าที่สำคัญในการกำหนดทิศทางกลยุทธ์ในแผนปฏิบัติการ การลดข้อจำกัด ต่าง ๆ ในการนำมาตรฐานไปปฏิบั ติจ ริง การกำหนดขอบเขตของกระบวนการประเมิน รวมถึงการสร้างความเชื่ อมั่น และ ประสิทธิภาพการประเมิน ให้สอดคล้องกับหลักการปฏิรูปของภาครัฐ ถือได้ว่าคณะกรรมการ MSG คือหน่วยงานหลักในการ ตัดสินใจดำเนินนโยบายและกิจกรรมต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ การจัดตั้งคณะกรรมการ MSG ตามคำสั่งประธานาธิบดีเลขที่ 147 ได้กำหนดให้เลขานุการสำนักงานการคลัง ดำรง ตำแหน่งประธานคณะกรรมการและดำเนินการสรรหาคณะกรรมการ MSG จากทุกภาคส่วน จำนวน 15 ท่าน โดยมีตัวแทนกลุ่ม ละ 5 ท่าน และมีคณะกรรมการสำรองฝ่ายละ 5 ท่าน ทั้งนี้ต้องให้อิสระแก่กลุ่มผู้มีส่วนส่วนเสียแต่ละกลุ่มในการสรรหาและ คัดเลือกตัวแทนเพื่อเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยคณะกรรมการแต่ละชุดมีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี แต่สามารถกลับเข้ารับ ตำแหน่งใหม่ได้ขึ้นอยู่กับกระบวนการภายในของแต่ละองค์กรของกลุ่มนั้น ๆ การประชุมคณะกรรมการควรมีอย่างน้อยทุกไตร มาส โดยการประชุมแต่ละครั้งจะต้องมีตัวแทนแต่ละฝ่ายอย่างน้อย 3 ท่าน และการตัดสินใจต่าง ๆ ต้องมาจากเสียงส่วนใหญ่ (The Lawphil Project, 2013) นอกจากนี้ มี ก ารจั ด ตั้ งกลุ่ ม ผู้ เชี่ ย วชาญเฉพาะ (Technical Working Group) จากหน่ ว ยงานต่ า ง ๆ เพื่ อ เข้ า มา สนับสนุนการดำเนินงานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งเป็นคณะทำงานที่มาจากหลากหลายแขนงแต่ยังคงครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วน เสียทุกกลุ่ม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมศุลกากร สำนักงบประมาณและการจัดการ สำนักงานผู้ตรวจเงินแผ่นดิน สำนัก เศรษฐกิ จ และการพั ฒ นาแห่ งชาติ หน่ ว ยธุ รกิ จ เช่ น Nido Production Shell Philippines Exploration B.V. (Philipines Extractive Industries Transparency Initiative, 2017) โครงสร้างคณะกรรมการ MSG แสดงดังแผนภูมิที่ 3

26


คณะกรรมการ MSG ประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง มีผู้ประสานงานหลักจากสำนักเหมืองแร่ และธรณีวิทยา ซึ่งอยู่ภายใต้สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาคเอกชนมีตัวแทนหลัก คือ สมาคมปิโตรเลียมแห่ง ประเทศฟิลิปปินส์และสมาคมผู้ประกอบการเหมืองแร่แห่ง ประเทศฟิลิปปินส์ ภาคประชาสังคมมีตัวแทนจากเครือข่ายกลุ่ม Publish What You Pay Philippines หรือ กลุ่ม Bantay Kita ซึ่งเป็นคณะกรรมการบริหารแนวร่วมองค์การภาคประชาสังคม เพื่อการตรวจสอบและความโปร่งใส เป็นกลุ่มตัวแทนหลักในการดำเนินงานของ EITI โครงสร้างคณะกรรมการ MSG ประเทศ ฟิลิปปินส์แสดงในแผนภูมิที่ 3

ประธานคณะกรรมการ MSG (เลขานุการสานักงานการคลัง)

คณะทางานจากกลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค

ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ( 5 ท่าน)

ตัวแทนจากภาคเอกชน

ตัวแทนจากภาคประชา

(5 ท่าน)

สังคม (5 ท่าน)

ตัวแทนสารอง

ตัวแทนสารอง

ตัวแทนสารอง

( 5 ท่าน)

( 5 ท่าน)

( 5 ท่าน)

แผนภูมิที่ 3 โครงสร้างคณะกรรมการ MSG ประเทศฟิลิปปินส์

27


ตารางที่ 3 ตัวแทนคณะกรรมการ MSG ประเทศฟิลิปปินส์ ภาครัฐ กระทรวงการคลัง (Department of Finance) กระทรวงพลังงาน (Department of Energy)

ภาคเอกชน

ภาคประชาสังคม

สมาคมปิโตรเลียมแห่งประเทศ กลุ่ม Publish What You Pay ฟิลิปปินส์ (Petroleum Association Philippines (Bantay Kita) of the Philippines) สมาคมผู้ประกอบการเหมืองแร่แห่ง ประเทศฟิลิปปินส์ (Chamber of Mines of the Philippines)

United Sibonga Residents for Environmental Protection and Development

สำนักเหมืองแร่และธรณีวิทยา (Mines ตัวแทนจากภาคเอกชนที่ไม่ได้เป็น Philippine Grassroots and Geosciences Bureau) สมาชิกสมาคมผู้ประกอบการเหมืองแร่ Engagement in Rural Development Foundation Inc. สมาพันธ์เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นแห่ง ประเทศฟิลิปปินส์ (Union of Local Authorities of the Philippines)

Philippine Rural Reconstruction Movement

กระทรวงมหาดไทยและการปกครอง ส่วนท้องถิ่น (Department of the Interior and Local Governance)

นักวิชาการและนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยต่าง ๆ

ที่มา: Philippine Extractive Industries Transparency Initiative (2017) กลไกการทำงานร่วมกันจากทั้ง 3 ฝ่ายเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้มากยิ่งขึ้นเพื่อนำมาสู่การ ลดความขัดแย้งระหว่างตัวบทกฎหมายและระบบงบประมาณที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ มีข้อมูลด้าน ภาษีที่เพียงพอและน่าเชื่อถือมากขึ้น รวมถึงแจกแจงผลประโยชน์ที่ชุมชนได้รับ โดยแผนปฏิบัติการต่าง ๆ ต้องอยู่ภายใต้กรอบ จุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ 1. 2. 3. 4.

แสดงผลประกอบการทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ได้รับจากอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ สร้างความเข้าใจและการเข้าถึงข้อมูลด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแก่สาธารณะ เสริมสร้างศักยภาพระบบการจัดการและการกำกับดูแลทรัพยากร เปิดโอกาสให้มกี ารเจรจาและการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมขาติ เพื่อสร้างความไว้วางใจและลด ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้มสี ่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ 28


5. ผลลัพธ์จากอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติก่อให้เกิดและเสริมสร้างความเข้มแข็งในการก้าวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Philipines Extractive Industries Transparency Initiative, 2017) กระบวนการคัดเลือกกรรมการ MSG จากภาคประชาสังคม3 ขั้นตอนที่ 1 กลุ่ม Bantay Kita เครือข่ายภาคประชาสังคมกลางที่จดั ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความโปร่งใสใน อุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ รับหน้าที่เป็นเลขาธิการเครือข่ายภาคประชาสังคม เพื่อสรรหาตัวแทนภาคประชาสังคม ในคณะกรรมการ MSG ขั้นตอนที่ 2 กลุ่ม Bantay Kita เปิดรับสมัครผู้สมัครอิสระหรือได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรภาคประชาสังคมต่าง ๆ ทั้ง ในและนอกเครือข่าย เพื่อคัดเลือกต่อไป โดยผู้ประสงค์จะสมัครต้องดำเนินการจัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้ 1. ผู้ส มั ครต้ อ งได้รับ จดหมายรับ รองจากองค์ กรท้ อ งถิ่น หรือ จากชุม ชนว่าเป็ น ผู้ที่ มี บ ทบาทในการดำเนิ น กิจกรรมในพื้นที่ 2. ผู้สมัครต้องแนบจดหมายแสดงเจตจำนงว่าต้องการเป็นตัวแทนภาคประชาสังคมในคณะกรรมการ MSG และแสดงคุณวุฒิที่เหมาะสม 3. แนบประวัติส่วนตัว ขั้นตอนที่ 3 หลังจากที่ได้รับรายชื่อผู้สมั ครทั้ งหมด เลขานุการเครือข่าย Bantay Kita จะประกาศรายชื่ อผู้สมัค ร ทั้งหมดแก่องค์กรเครือข่ายภาคประชาสังคมภายใน 1 สัปดาห์หลังจากปิดรับสมัคร ขั้นตอนที่ 4 หลังจากทราบรายชื่อผู้สมั ครทั้งหมด คณะกรรมการสรรหา ซึ่งประกอบด้วยตั วแทนคณะกรรมการ Bantay Kita 2 ท่าน ตัวแทนจากกลุ่ม Luzon Visayas และ องค์กรจากมินดาเนาจำนวน 3 ท่าน ดำเนินการคัดเลือกผู้สมัครที่มี คุณ สมบั ติ ค รบถ้ วน ซึ่ งการคั ด เลื อ กจะใช้ วิธีก ารจัด อั น ดั บ โดยให้ ค ะแนนตามคุ ณ สมบั ติ เพื่ อ ให้ ได้ ตั วแทนที่ ต รงตามกรอบ คุณลักษณะที่วางไว้ ซึ่งขั้นตอนการคัดเลือกจะต้องมีความโปร่งใส อธิบายได้ ขั้นตอนที่ 5 ดำเนินการลงคะแนนเสียงตัวแทนทั้งหมด 10 ท่าน เพื่อเป็นตัวแทนหลัก 5 ท่าน และตัวแทนสำรอง 5 ท่าน ขั้นตอนที่ 6 ผู้สมัครอิสระจะต้องไม่ส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือมีผลประโยขน์ทับซ้อนกับธุรกิจใน อุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ การทำงานของแนวร่วม Publish What You Pay Philippine (Bantay Kita) การสมัครใช้มาตรฐาน EITI เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติในประเทศฟิลิปปินส์นั้น ริเริ่มโดย สมาคมผู้ประกอบเหมืองแร่แห่งประเทศฟิลิปปินส์ ที่เล็งเห็นว่าการสร้างความโปร่งใสภายในอุตสาหกรรมเป็นก้าวแรกของการ สร้างการยอมรับถึงคุณประโยชน์จากอุตสาหกรรมต่อเศรษฐกิจของประเทศ และช่วยลดแรงเสียดทานและความขัดแย้งจากภาค ประชาชน สำหรับ ภาคประชาสังคมการใช้ม าตรฐาน EITI ได้ ถูกนำเสนอครั้งแรกในการประชุม ระดับ ภูมิ ภาคของแนวร่วม

3

Report on the consulations on EITI implementation in the philippines (Bantay Kita, 2016)

29


Publish What You Pay ในปี พ.ศ. 2550 และได้จัดตั้งกลุ่ม Baytay Kita ในปี พ.ศ. 2552 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ องค์กรต่าง ๆ ในภาคประชาสังคม (Triwibowo, 2015) ในระยะเริ่มแรก การทำงานของภาคประชาสังคมภายใต้ข้อกำหนดของ EITI ประเทศฟิลิปปินส์ สร้างความไม่มั่นใจจาก หน่วยงานต่าง ๆ ภาคประชาสังคมเองจึงจัดตั้งแนวร่วม Bantay Kita ซึ่งผลักดันโดยกลุ่ม Publish What You Pay Philippine เป็นการรวมกลุ่มระหว่างภาคประชาสังคมทั้งที่ต่อต้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และกลุ่มที่เรียกร้องความโปร่งใสในอุตสาหกรรม สกัดทรัพยากรธรรมชาติ โดยกลุ่ม Bantay Kita แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ 1. ตัวแทนระดับชาติ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในคณะกรรมการ MSG 2. ตัวแทนระดับท้ องถิ่น ซึ่ง กระจายออกไปในแต่ละท้ องที่ ในโครงการต่าง ๆ โดยทำหน้าที่รวบรวมข้อมู ล ตรวจสอบกิจกรรมต่าง ๆ ในระดับโครงการและส่งข้อมูลให้แก่ตัวแทนในคณะกรรมการ MSG จากการศึ กษาโดย Cauchi และ Iwerks (2559) ซึ่ งศึ กษาการพั ฒ นาการดำเนิน งานของกลุ่ ม Bantay Kita ระดั บ ท้องถิ่นในโครงการพื้นที่ Compostela Valley (ComVal) และพื้นที่ T’boli ใน South Cotabato ซึ่งเป็นสองพื้นที่แรกที่ได้เริม่ ดำเนินงานของแนวร่วม Bantay Kita โดยสาเหตุหนึ่งที่ต้องให้แนวร่วม Bantay Kita เป็น ‘ตัวกลาง’ ในการรวบรวมข้อมูล และ ตรวจสอบการดำเนินงานต่าง ๆ เนื่องจากผลประโยชน์ที่ทับซ้อนในด้านการจัดเก็บรายได้จากอุตสาหกรรมเหมืองระหว่างภาครัฐ ในส่วนกลางและหน่วยงานรัฐส่วนท้องถิ่นของเหมืองขนาดใหญ่ และการตรวจสอบการจ่ายค่าเยียวยาแก่กลุ่มชนพื้นเมือง ซึ่ง จะต้องได้รับส่วนแบ่งรายได้จากรายได้ที่รัฐจัดเก็บจากเหมืองขนาดใหญ่ เข้าสู่กองทุนจำนวนร้อยละ 1 ในขณะที่เหมืองขนาดเล็ก มักมีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนของเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่น ที่มักมีส่วนร่วมในธุรกิจเหมืองขนาดเล็ก อย่างไรก็ตามพื้นที่ทั้งสองมี ลักษณะและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ผลการดำเนินงานของแนวร่วมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละท้องถิ่นจึงแตกต่างกัน แนวร่วมกลุ่ม Bantay Kita ประสบความสำเร็จในการจัดตั้งแนวร่วม MSG ในระดับท้องถิ่น (Cauchi และ Iwerks, 2559; Triwibowo, 2015) เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน EITI ในพื้นที่นำร่อง คือ Comval และ T’boli ก่อนจะขยายการดำเนินงานในทุกจังหวัด นอกจากนี้แนวร่วมกลุ่ม Bantay Kita ยังทำหน้าที่ให้การสนับสนุนความรู้ทางเทคนิค และการเสริมสร้างศักยภาพของแนวร่วมระดับท้องถิ่น โดยมีปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ 1. การติดต่อตัวแทนกลุ่มจากภาคส่วนต่าง ๆ ต้องเป็นผู้ที่มีข้อมูลหรือได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง 2. การสร้างผู้นำท้องถิ่นที่มีความเข้มแข็ง เข้าใจและให้ความสำคัญในหลักการและมาตรฐานของ EITI เป็นอย่างดี 3. ผู้ดำเนินงานจากกลุ่มแนวกลุ่ม Bantay Kita ต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญสูง สามารถถ่ายทอดความรู้สู่แนวร่วม ระดับท้องถิ่นและผู้นำในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี และสามารถสร้างความน่าเชื่อถือแก่สมาชิกในชุมชน 4. ในระยะเริ่มต้น ควรเริ่มต้นดำเนินการในประเด็นที่สามารถประสบความสำเร็จง่ายทีส่ ุดก่อน ซึ่งแตกต่างกันไปใน แต่ละพื้นที่ตามความพร้อมและสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้น ๆ 5. กลุ่ม Bantay Kita แนวร่วมคณะกรรมการ MSG ระดับท้องถิ่น และ สมาชิกในชุมชนในทุกระดับต้องสามารถ เข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 6. การดำเนินงานต่าง ๆ จะต้องคำนึงถึงประเด็นความขัดแย้งภายในชุมชน ซึ่งมีผลต่อกระบวนการสื่อสารและการ ได้รับข้อมูลรายได้ที่ชุมชนได้รับจากอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ

30


7. สถานการณ์การเมืองท้องถิ่นมีผลต่อการยอมรับของชุมชนอย่างมาก ดังนั้นจึงต้องมีการออกแบบกลไกการแสดง ความโปร่งใสที่สอดคล้องกับกฎหมายส่วนท้องถิ่น4 และมีความยืดหยุ่นพอสมควรในการให้เวลาแก่แนวร่วมในการ สร้างความเชื่อใจในชุมชน 8. ให้ความสำคัญและพัฒนากระบวนการเก็บข้อมูลทั้งในภาครัฐ เอกชน และชุมชน อย่างต่อเนื่องและโปร่งใส ทั้งนี้ การเก็บข้อมูลตามมาตรฐาน EITI นั้นมีความซับซ้อนมากกว่าการจัดเก็บข้อมูลแบบปกติ 9. การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานส่วนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยกระบวนการสร้าง รูปแบบการจัดการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน EITI ต้องอาศัยเวลาและทรัพยากรจำนวนมาก ดังนั้นจึ งต้องมี การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นเพียงนโยบายทางการเมืองที่เปลี่ยนไปตามรัฐบาลหรือผู้บริหาร แม้ประเทศฟิลิปปินส์จะประสบความสำเร็จในการใช้มาตรฐาน EITI โดยเป็นประเทศแรกที่ได้รับการประเมินในระดับ พึงพอใจในทุกด้าน อย่างไรก็ตามการใช้มาตรฐาน EITI ยังคงต้องมีการพัฒนาในขั้นต่อไป ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการจัดทำรายงาน แต่ ยังต้องเป็นพื้นทีท่ สี่ ร้างการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติต่อไป 3.3 การใช้มาตรฐาน EITI ในประเทศเมียนมา อุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติในประเทศเมียนมาประกอบด้วย อุตสาหกรรมน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติและ อุตสาหกรรมเหมืองแร่และอัญมณี โดยคิดเป็นร้อยละ 6 ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ คิดเป็นร้อยละ 23.6 ของรายได้ รัฐ และคิดเป็นร้อยละ 38.5 ของสินค้าส่งออก โดยแบ่งเป็นก๊าซธรรมชาติร้อยละ 29 และแร่อัญ มณี ร้อยละ 10 ประโยชน์ โดยตรงของอุต สาหกรรมอี ก ประการ คื อการก่ อให้ เกิด การจ้างงานภายในประเทศ ซึ่ งคิ ด เป็ น ร้อยละ 0.2 ในปี พ .ศ. 2556 (Stephens, 2015) ในขณะที่ปีพ.ศ. 2558-2559 ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ลดลงเหลือร้อยละ 4 ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ แต่กลับมีสัดส่วนในการส่งออกเพิ่มมากขึ้น โดยคิดเป็นร้อยละ 53.1 ของ(ปริมาณหรือมูลค่า) สินค้าส่งออก (Stephens, 2018) ประเทศเมียนมานับเป็นประเทศผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติเป็นอันดับสองในภูมิภาคอาเซียน และยังคงเพิ่มกำลังการผลิต อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยส่งออกไปยังประเทศไทยและจีน เป็นหลัก เมียนมามีก๊าซธรรมชาติสำรอง 1 ล้าน ล้านลูกบาศก์เมตร และมีปริมาณน้ำมันดิบสำรอง 50 ล้านบาร์เรล ในขณะเดียวกันอุตสาหกรรมเหมืองแร่และเหมืองอัญมณี ก็ เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญไม่แพ้กัน ประเทศเมียนมาถือเป็นแหล่งผลิตทับทิมหลักของโลก คิดเป็นร้อยละ 90 ของตลาดทับทิมโลก และยังเป็นแหล่งหยกที่ใหญ่ ที่สุด ในโลก ซึ่งมียอดขายกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีพ.ศ. 2557 อย่างไรก็ตามกฎหมาย ประเทศเมียนมาห้ามไม่ให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาดำเนินการในอุตสาหกรรมอัญมณีของประเทศ และคาดว่าจะยังคงสงวนไว้ ในอนาคต นอกจากนี้ยังมีเหมืองสินแร่อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ เหมืองแร่ทองแดง เงิน ตะกั่ว ดีบุก ทังสเตน พลวง ซึ่ง มีกระจายอยู่ทั่วประเทศ ทั้งนี้การสำรวจและการดำเนินกิจการเหมืองแร่ของนักลงทุนต่างชาติจะต้องใช้วิธีการทำสัญญาลงทุน ร่วมกับนักธุรกิจในท้องถิ่นเท่านั้น โครงสร้างอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติในประเทศเมียนมา

4

รัฐบาลส่วนท้องถิ่นในประเทศฟิลิปปินส์สามารถออกกฎหมายเฉพาะที่ใช้ในพื้นที่นั้น ๆ เช่น กฎหมายการจัดเก็บภาษี กฎหมายการ ควบคุมสิ่งแวดล้อม (Cauchi และ Iwerks, 2559)

31


การดำเนินงานของ EITI ประเทศเมียนมาครอบคลุมกลุ่มธุรกิจในอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ ดังต่อไปนี้ 1. อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ จากรายงานการดำเนินงาน EITI ประจำปี (Stephens, 2018) ในช่วงปี พ.ศ. 2558-2559 ประเทศเมียนมาสามารถ ผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวได้ 2,003,419 บาร์เรล และก๊าซมีเทนได้ 676,954 ล้านลูกบาก์ศเมตรจากแหล่งผลิตบนชายฝัง่ ในขณะที่ แหล่งผลิตนอกชายฝั่งสามารถผลิตน้ำมันได้ 1,506,345 บาร์เรล และก๊าซธรรมชาติจำนวน 713 ล้านลูกบาก์ศเมตร กลุ่มธุรกิจในอุตสาหกรรมน้ำมันและทรัพยากรธรรมชาติรวมถึงการขนส่ง ที่ได้ส่งข้อมูลให้แก่คณะกรรมการ MSG เพื่อ จัดทำรายงานและใช้เป็นข้อมูลในการกระทบยอดบัญชี มีจำนวนทั้งสิ้น 41 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 100 ทั้งนี้ ประเทศเมียนมามี รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจในอุตสาหกรรมไฮโดรคาร์บอน 3 องค์กร ได้แก่ -

Myanmar Oil and Gas Enterprise (MOGE) ธุ ร กิ จ สำรวจและขุ ด เจาะน้ ำ มั น และรวมถึ ง ท่ อ ขนส่ ง ก๊ า ซ ธรรมชาติ Myanmar Petrochemical Enterprise (MPE) ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน Myanmar Petroleum Products Enterprise (MPPE) ธุรกิจกระจายและขนส่งสินค้าประเภท ปิโตรเคมีสู่ผู้บริโภค

2. อุตสาหกรรมเหมืองแร่ เมื่อเปรียบเทียบกับอุตสากรรมไฮโดรคาร์บอน อุตสาหกรรมเหมืองแร่ยังมีความล้าหลังกว่ามาก มีนักลงทุนต่างชาติ ดำเนินงานน้อยกว่าโดยเฉพาะเหมืองอัญมณี และยังคงมีรูปแบบการทำเหมืองแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตามประเทศเมียนมาได้เปิด โครงการพัฒนาเหมืองใหม่ ดังนี้ - โครงการ Mwetaung Nickel Deposit เหมืองนิกเกิลขนาด 30 ล้านตัน - โครงการ Tagaung Taung Nickel Deposit เหมืองนิกเกิลขนาด 40 ล้านตัน - โครงการ Kalewa Coal Mine เหมืองถ่านหินขนาด 15.3 ล้านตัน - โครงการ Kathaing Taung Iron Ore deposit เหมืองเพชรและเหล็กขนาด 223 ล้านตัน - โครงการ Platinum Group Minerals (PGM) Deposits เหมืองทองในรัฐคะฉิ่น

32


บทบาทและการดำเนินงานของคณะกรรมการ MSG ในประเทศเมียนมา ประเทศเมียนมายื่นขอเข้าร่วมเป็นประเทศผู้ใช้มาตรฐาน EITI ตามคำสั่งประธานาธิบดีในปลายปีพ.ศ. 2555 ก่อนที่จะ ได้รับสถานะประเทศผู้สมัครใช้มาตรฐาน EITI ในปีพ.ศ. 2557 หลังจากการจัดตั้งคณะกรรมการ MSG ซึ่งมีคณะกรรมการทั้งสิ้น 21 ท่าน อย่างไรก็ตามหลังจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2558 ประธานาธิบดี H.E. U Htin Kyaw สั่งให้ปฏิรูปคณะกรรมการ EITI แห่งประเทศเมียนมา ในวันที่ 19 ธ.ค. พ.ศ. 2559 และได้มอบหมายให้ H.E. U Kyaw Win รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผน และการคลัง เป็นประธานคณะกรรมการนำร่อง นอกจากนี้ยัง มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและไฟฟ้า รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์ เป็นสมาชิกคณะกรรมการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวางแผนและการคลัง เป็นกรรมการเลขานุการ ในปีพ.ศ. 2555 เมื่อรัฐบาลตัดสินใจที่จะขอใช้มาตรฐาน EITI จึงได้มีการจัดตั้งเครือข่ายภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นส่วน สำคั ญ ในการขอใช้ ม าตรฐานดั ง กล่ า ว โดยได้ มี ก ารจั ด ตั้ ง เครื อ ข่ า ย Myanmar Alliance for Transparency and Accountability (MATA) ซึ่ง MATA ได้รวบรวมสมาชิกภาคประชาสังคมที่มีอยู่เดิมในแต่ละภูมิภาค มาขึ้นทะเบียนเครือข่าย ทั้งนี้ในระยะเริ่มต้นใน ปีพ.ศ. 2556 องค์กรภาคประชาสังคมจำนวนหนึ่งยังคงไม่ไว้วางใจบทบาทของเครือข่าย เนื่องจากรัฐบาล ให้การสนับสนุนอย่างมาก จึงได้มีการจัดเวทีอภิปราย เพื่อหาข้อตกลงระหว่างเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อน โดยมี องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติทั้ง 14 ภูมิภาคเป็นแกนนำ ผลจากเวทีอภิปรายพบว่า องค์กรภาคประชาสังคมต่าง ๆ มีมติเห็นด้วยที่ประเทศเมียนมาจะใช้มาตรฐาน EITI ในการเปิดเผยข้อมูล โดยในเบื้องต้นมีองค์กร ในภาคประสังคม 45 องค์กร ทำหน้าที่ประสานงานและจัดตั้งเครือข่าย MATA (DantDaLun Management and Consulting Services, 2016; Brown , 2016) ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ประเทศเมียนมาได้ก่อตั้งคณะกรรมการ MSG ได้สำเร็จ โดยมีจำนวนคณะกรรมการ จากทั้ง 3 ภาคส่วนทั้งสิ้น 23 ตำแหน่ง โดยแบ่งเป็น ประธาน 1 ตำแหน่ง รองประธาน 1 ตำแหน่ง ตัวแทนภาครัฐ 6 ตำแหน่ง ตัวแทนภาคเอกชน 6 ตำแหน่ง และตัวแทนภาคประชาสังคม 9 ตำแหน่ง ทั้งนี้ตัวแทนภาคประชาสังคมถูกคัดเลือกมาจาก เครือข่าย MATA

33


รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการวางแผนและการคลัง (ประธาน) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเหมืองแร่ (รองประธาน)

ตัวแทนจากภาคเอกชน

ตัวแทนจากภาครัฐ

(6 องค์กร)

(6 องค์กร)

1. อุตสาหกรรมน้ํามันและก๊าซ ธรรมชาติ 4 องค์กร

1. กระทรวงมหาดไทย 2. สํานักงานป่าไม้

2. อุตสาหกรรมเหมืองแร่ 2 องค์กร

3. กระทรวงพลังงาน 4. สํานักงานเหมืองแร่ 5. สํานักงานรายได้ภายใน 6. สํานักงานการตรวจสอบภายใน

ตัวแทนจากภาคประชาสังคม (9 องค์กร) 1. KESAN (Kayin) 2. Green Trust 3. Eco Dev/Advancing Life and Regenerating 4. Motherland (ALARM) 5. 88 Generation (Peace and Open Society) 6. Won Latt Foundation (Rakhine) 7. Shwe Gas Movement 8. ตัวแทนจาก Dawei 9. Development Foundation (DDA).

แผนภูมิที่ 4 โครงสร้างคณะกรรมการ MSG ประเทศเมียนมา การทำงานของแนวร่วมภาคประชาสังคม MATA เครื อ ข่ าย The Myanmar Alliance for Transparency and Accountability (MATA) ก่ อ ตั้ งขึ้ น ในปี พ.ศ. 2555 เพื่อเป็นเครือข่ายภาคประชาสังคมหลักในการดำเนินงาน EITI ปัจจุบัน MATA มีเครือข่ายองค์กรและปัจเจกเป็นสมาชิกอยู่ถึง 518 องค์กร/ราย โดยเป็นภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนประเด็นต่าง ๆ อาทิ เรื่องที่ดินทำกิน สิ่งแวดล้อม สิทธิชุมชน การจัดการ ทรัพยากรชุมชน เป็นต้น (Brown , 2016) สมาชิกทั้งหมดในเครือข่ายมาจากการรับสมัครภาคประชาสังคมในแต่ละภูมิภาคหรือ รัฐ จำนวน 15-25 คน จาก 14 ภู มิภาค ซึ่งในกระบวนการคัดเลือกตัวแทนภาคประชาสังคม เพื่อเป็นคณะกรรมการ MSG สมาชิกเครือช่าย MATA จะทำการเลือกตั้งภายใน โดยเลือกตัวแทนจำนวน 9 ท่านในการดำรงตำแหน่งดังกล่าว ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับ คัดเลือกเป็นคณะกรรมการจะต้องดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารเครือข่ายควบคู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งคณะกรรมการ MSG จะดำรง ตำแหน่งเพียง 1 วาระเท่านั้น การจัดการและการดำเนินงานเครือข่าย MATA ทำโดยการคัดเลือกคณะทำงานในระดับภูมิภาค โดยสมาชิก MATA ในแต่ละภูมิภาคคัดเลือกตัวแทน ภูมิภาคละ 5 ท่าน เพื่อเข้าร่วมคณะทำงาน EITI ภาคประชาสังคมระดับชาติ ซึ่งมีจำนวนสมาชิก 34


ทั้งสิ้น 70 คน โดย 1 ใน 5 ท่านจะดำรงตำแหน่งผู้ประสานงานภูมิภาคและกรรมการบริหารเครือข่าย MATA (Brown , 2016; MATA, 2019) บทบาทการดำเนินงานของเครือข่าย MATA การดำเนินงานของเครือข่าย MATA ครอบคลุม 5 หน้าที่หลัก คือ 1. สนับสนุนองค์กรในเครือข่าย 2. พัฒนาศักยภาพ ภาคประชาสังคม 3. ขยายเครือข่ายให้กว้างขวางขึ้น 4. สื่อสาร และ 5. ควบคุมการดำเนินงานและงานวิจัย ซึ่งเครือข่าย MATA ประสบความสำเร็จในการเจรจาต่อรองกับรัฐบาลในการขึ้นทะเบียนเครือข่ายอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้ MATA สามารถเข้าถึง ข้อมูลของภาครัฐทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค นอกจากนี้เครือข่าย MATA ยังสามารถเข้าตรวจสอบการดำเนินงานของ ภาคเอกชน รวมถึ งเข้าตรวจสอบในพื้ นที่ ต่ าง ๆ ที่ มี ประเด็ นด้ านการใช้ ทรัพ ยากรธรรมชาติ ในฐานะคณะกรรมการ MSG เครือข่าย MATA เป็นหน่วยงานหลักในการให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงาน EITI แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับปฏิบัติการ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการเป็นสมาชิกเครือข่าย MATA สมาชิกเครือข่าย MATA มีต้องทำตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการเป็นสมาชิกดังต่อไปนี้ -

ผู้สนใจ องค์กรอิสระ เครือข่ายต่าง ๆ สามารถยื่นเจตจำนงทีจ่ ะเข้าร่วมเครือข่าย MATA ได้ โดยการได้รับสถานะเป็น สมาชิก MATA จะใช้วิธลี งคะแนนเสียงเป็นการภายในโดยสมาชิก

-

สมาชิกมีหน้าที่แสดงความคิดเห็นและอภิปรายประเด็นต่าง ๆ ในนามของเครือข่าย

-

การตัดสินใจในประเด็นต่าง ๆ จะดำเนินการเป็นการภายในผ่านกระบวนการต่าง ๆ ตามหลักประชาธิปไตย เช่น การ ลงคะแนนเสียง การลงความเห็นของเสียงส่วนใหญ่ การกำหนดระยะเวลาต่อรอง

-

การร่างและจัดทำรายงานในประเด็นต่าง ๆ จะถูกจัดสรรให้องค์กรที่เกี่ยวข้องในแต่ละภูมิภาค

-

สตรีมีสิทธิ์เข้าร่วมในกระบวนการและการตัดสินใจต่าง ๆ ของเครือข่ายอย่างเท่าเทียม

-

ผู้แทนสามารถเป็นปัจเจกชนหรือองค์กรก็ได้

-

พรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคไม่สามารถเข้าร่วมเครือข่าย

-

สมาชิกต้องให้ข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลแก่เครือข่าย MATA โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกเก็บรักษาเป็นความลับ ไว้ที่สำนักงานประสานงานเครือข่าย MATA

3.4 การใช้มาตรฐาน EITI ในประเทศโคลอมเบีย อุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติในประเทศโคลอมเบีย เป็นร้อยละ 6.47 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ในปีพ.ศ. 2559 อย่างไรก็ตามความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลกและความต้องการของผู้บริโภคในอุตสาหกรรมพลังงาน และถ่านหินที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ความสำคัญของอุตสาหกรรมดังกล่าวในระบบเศรษฐกิจของประเทศโคลอมเบียลดลง โดย ประเทศโคลอมเบียส่งออกน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 18 ส่งผลให้การลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติลดลงร้อยละ 21.1 ในช่วงปีพ.ศ. 2556-2558 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงปีพ.ศ. 2555-2556 ซึ่งถือเป็นช่วงที่มีการลงทุนในอุตสาหกรรมสูงสุด (Cowater Sogema Independent Validator, 2018; EITI International Secretariat, 2018) 35


การเข้าร่วมใช้มาตรฐาน EITI เพื่อสร้างความโปร่งใสและการเข้าถึงข้อมูลในประเทศโคลอมเบียเริ่มขึ้นเมื่อรัฐบาล โคลอมเบียประกาศขอสมัครเข้าร่วมเป็นประเทศผู้ใช้มาตรฐานดังกล่าวในการประชุม EITI นานาชาติ ณ มหานครซิดนีย์ เดือน พฤษภาคม ปี พ .ศ. 2556 และได้รับการอนุ มัติจากกรรมการบริหาร EITI ให้ประเทศโคลอมเบีย เป็ นประเทศผู้ขอเข้าร่วมใช้ มาตรฐาน EITI ในเดือนตุลาคม ปีพ.ศ. 2557 หลังจากที่ประเทศโคลอมเบียสามารถเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันได้ถึง 1 ล้านบาร์เรล ต่อวัน นอกจากนี้ประเทศโคลอมเบียเป็นประเทศแรกในทวีปอเมริกาที่สามารถจัดทำรายงาน EITI อยู่ในระดับพึงพอใจในทุก ข้อกำหนดในปีพ.ศ. 2561 (EITI Secretariat, 2018; Cowater Sogema Independent Validator, 2018) โครงสร้างอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติในประเทศโคลอมเบีย อุ ต สาหกรรมสกั ด ทรั พ ยากรธรรมชาติ ในประเทศโคลอมเบี ย แบ่ งเป็ น 2 อุ ต สาหกรรมหลั ก คื อ อุ ต สาหกรรม ไฮโดรคาร์บอนและอุตสาหกรรมเหมื องถ่านหิน โดยอุตสาหกรรมไฮโดรคาร์บ อนประกอบด้วยอุตสาหกรรมขุดเจาะน้ำมั น อุตสาหกรรมสำรวจแหล่งน้ำมัน อุตสาหกรรมน้ำมันดิบ อุตสาหกรรมขนส่ง และอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน ซึ่งอุตสาหกรรม ไฮโดรคาร์บอนในประเทศโคลอมเบียส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ Meta, Casanare, Arauca, Santander และ Huila จากรายงาน EITI (2018) พบว่า ในปีพ.ศ. 2558 รัฐบาลโคลอมเบียสามารถทำข้อตกลงการสำรวจและผลิตในอุตสาหกรรมไฮโดรคาร์บอน จำนวน 450 สัญญา โดย 3 ใน 4 ของสัญญาทั้งหมดเป็นสัญญาการผลิตโดยบริษัทน้ำมัน 5 บริษัท ดังแผนภูมิที่ 5

สัญญาการผลิตน้ามัน ปีพ.ศ. 2558 50

ร้อยละ

40 30 20 10 0

Ecopetrol

Meta petroleum Occidental de Colombia

Equion Energía

อื่นๆ

บริษัทผู้ผลิตน้ามัน

แผนภูมิที่ 5 สัญญาการผลิตน้ำมันประเทศโคลอมเบีย ปี พ.ศ. 2558 ที่มา: รายงานการตรวจสอบรายงาน EITI ประเทศโคลอมเบีย (2018) ในขณะที่อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในประเทศโคลอมเบียมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งเหมืองเปิด เหมืองใต้ดิน เหมืองขนาด เล็ก โดยส่วนใหญ่เป็นเหมืองแร่ถ่านหิน นิกเกิล แร่มีค่า (ทอง เงิน และทองคำขาว) มรกต และแร่อุตสาหกรรมอื่น ๆ โดยการ ผลิตถ่านหินในประเทศโคลอมเบียยังคงถือครองสัดส่วนการผลิตสูงสุด ในปีพ.ศ. 2559 สามารถผลิตได้ 90.68 ล้านตัน ซึ่งสูงกว่า ผลผลิตในปีพ.ศ. 2558 ที่สามารถผลิตได้ 85.55 ล้านตัน ในขณะที่สามารถผลิตทองคำได้เพียง 5.9 และ 6.2 ล้านตันในปีพ.ศ. 2558 และ 2559 ตามลำดับ ดังแผนภูมิที่ 6

36


ผลผลิตถ่านหินและทองคา ประเทศโคลอมเบีย 100

ล้านตัน

80 60 2016 40

2015

20 0

ถ่านหิน

ทองคา

แผนภูมิที่ 6 ผลผลิตถ่านหินและทองคำ ประเทศโคลอมเบียในปี พ.ศ. 2558 -2559 ที่มา: EITI International Secretariat (2018) บทบาทและการดำเนินงานของคณะกรรมการ MSG ในประเทศโคลอมเบีย หลังจากที่ประเทศโคลอมเบียสมัครเป็นประเทศผู้ขอใช้มาตรฐาน EITI รัฐบาลโคลอมเบียได้แต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเหมืองแร่และพลังงานเป็น “Champion” เพื่อเป็นหน่วยงานกลางทำหน้าที่ประสานงานต่าง ๆ และเพื่อรวบรวมข้อมูล และเตรียมความพร้อมตามข้อกำหนดการเข้าร่วมการใช้มาตรฐาน EITI โดยข้อกำหนดที่สำคัญคือการจัดตั้งคณะกรรมการ MSG โดยใช้ชื่อว่า “National Tripartite Committee-EITI” (CTN) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานดำรงตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการ CTN และมีสมาชิกคณะกรรมการ CTN ประกอบด้วยตัวแทนภาครัฐ 3 ตำแหน่ง ภาคเอกชน 3 ตำแหน่ง และภาคประชาสังคม 3 ตำแหน่ง รวมทั้งสิ้น 9 ตำแหน่ง มีวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ CTN สูงสุด 3 ปี และไม่ เกิ น 2 วาระ อย่า งไรก็ ต าม การบริห ารจั ด การการคั ด เลื อ กตั วแทนในแต่ ล ะภาคส่ ว นสามารถทำได้ โดยอิ ส ระ รวมถึ งการ เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการ โดยคณะกรรมการ CTN จากภาคประชาสังคมจะมีวาระ 1 ปี สูงสุดไม่เกิน 2 วาระ (Cowater Sogema Independent Validator, 2018; EITI Colombia, 2013) จากรายงานการสมั ค รเป็ น ผู้ ข อใช้ ม าตรฐาน EITI ประเทศโคลอมเบี ย (2014) การสรรหาตั ว แทนภาครั ฐ ใน คณะกรรมการไตรภาคีมาจากการแต่งตั้งโดยรัฐบาล โดย Champion พิจารณาถึงบทบาทหน้าที่ขององค์กรทีเ่ กี่ยวข้องโดยตรงใน การดำเนินงาน EITI ดังนี้ ตำแหน่งที่ 1 ได้แต่งตั้งตัวแทนจากกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน ซึ่งกระทรวงได้มอบหมายให้หัวหน้าสำนักงาน ไฮโดรคาร์บอนแห่งชาติและสำนักงานเหมืองแร่แห่งชาติ ในการรับผิดชอบการให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำ สัญญา การจัดซื้อจัดจ้าง การจัดเก็บรายได้ การกระจายค่าสัมปทานที่ได้รับ การกระจายสิทธิทางเศรษฐกิจ ตำแหน่ ง ที่ 2 คื อ ตั ว แทนจากสำนั ก งานภาษี แ ละศุ ล กากร (National Directorate of Taxes and Customs) รับผิดชอบการให้ข้อมูลการจัดเก็บภาษี ตำแหน่งที่ 3 คือ ตัวแทนจากสำนักงานวางแผนและการพัฒนาแห่งชาติ (National Planning Department) 37


สำหรับตัวแทนจากภาคเอกชน กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ได้เชิญตัวแทนจาก Ecopetrol ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่มี รัฐถือครองคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 88.49 และตัวแทนจากสมาคมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติโดยตรง 2 องค์กร คือ สมาพันธ์ผู้ผลิตน้ำมันแห่งโคลอมเบีย (Colombian Oil Association: ACP) ซึ่งมีธุรกิจด้านการผลิตน้ำมัน ธุรกิจ สำรวจแหล่งพลังงาน ธุรกิจขนส่งและกระจายสินค้าประเภทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีสมาชิกทั้งสิ้น 49 องค์กร ทั้งนี้ผลผลิต ของอุตสาหกรรมไฮโดรคาร์บอนจากสมาชิก 21 บริษัท รวมกับผลผลิตจาก Ecopetrol คิดเป็นประมาณร้อยละ 90 ของผลผลิต ไฮโดรคาร์บอนทั้งหมดจากประเทศโคลอมเบีย นอกจากนี้ ส มาคมกิ จ การเหมื อ งขนาดใหญ่ (Large-Scale Mining Sector Association: SMGE) ถื อ เป็ น อี ก หนึ่ ง องค์ ก รที่ ได้รั บ การเชิ ญ ชวนเพื่ อ ดำรงตำแหน่ งคณะกรรมการ MSG จากภาคเอกชน ทั้ งนี้ ในเดื อ นกรกฎาคม ปี พ .ศ. 2557 สมาพันธ์ SMGE ได้รวมตัวกับสมาคมอุตสาหกรรมเหมืองแห่งโคลอมเบีย (Colombian Mining Association: ACM) เพื่อจัดตั้ง สมาพันธ์หอการค้าอุตสาหกรรมเหมือง (Chamber of the Mining Association) โดยสมาพันธ์ดังกล่าวถือเป็นคณะกรรมการ MSG ตัวแทนจากธุรกิจเหมืองแร่ ทั้งนี้ ACM มีสมาชิกทั้งสิ้น 41 องค์กร โดยสมาชิก ACM เพียง 8 องค์กร สามารถผลิตน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติและจ่ายค่าสัมปทานแก่รัฐบาลเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 80 ของผลผลิตทั้งประเทศ สำหรับการคัดเลือกคณะกรรมการ MSG ตัวแทนจากภาคประชาสังคมได้ใช้วิธีที่แตกต่างออกไป แทนการส่งคำเชิญ เพื่อให้เกิดการยอมรับและการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่ มต้นด้วยการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อ เสริ ม สร้ า งการรวมกลุ่ ม ภาคประชาสั งคม (Civil Society Driving Group: GISC) ซึ่ งประกอบด้ ว ย 4 องค์ ก รหลั ก ได้ แ ก่ National Forum for Colombian, Externado University of Colombian, Transparency for Colombia แล ะมู ลนิ ธิ Avina ทั้ งนี้ GISC มี ห น้ าที่ ห ลั ก ในการขยายและผลั ก ดั น การจั ด ตั้ งองค์ ก รเครือ ข่ ายภาคประชาสั งคมเพื่ อ ความโปร่ งใสใน อุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติหรือองค์กร Mesa Ampliada de la Sociedad Civil para la Transparencia de la Industria Extractiva ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเครือข่ายภาคประชาสังคม เมื่อจัดตั้งเครือข่ายดังกล่าวได้สำเร็จ GISC จะต้อง ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขานุการทางเทคนิคแก่คณะกรรมการ MSG ประเทศโคลอมเบีย โดยโครงสร้างคณะกรรมการ MSG ดัง แสดงในแผนภูมิที่ 7 ปัจจุบันตัวแทนภาคประชาสังคมในคณะกรรมการ MSG ที่ได้รับคัดเลือกทั้ง 3 ตำแหน่ง มีดังต่อไปนี้ 1. Crudo Transparente องค์กรเพื่อความโปร่งใสในอุตสาหกรรมน้ำมัน 2. Conciudadania องค์กรภาคประชาสังคมที่มุ่งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศ โคลอมเบีย 3. Alliance for Responsible Mining เครือข่ายพันธมิตรเพื่อกิจการเหมืองที่ยั่งยืนแห่งประเทศโคลอมเบีย

38


ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน (ประธาน)

ตัวแทนจากภาครัฐ (3 องค์กร) 1) กระทรวงเหมืองแร่และ พลังงาน 2) สานักงานนโยบายและแผน แห่งชาติ 3) กรมสรรพากรและกรม ศุลกากร

ตัวแทนจากภาคเอกชน

ตัวแทนจากภาคประชาสังคม

(3 องค์กร) 1) ECOPETRIOL 2) Petroleum Colombian Association 3) Mining Colombian Association

(3 องค์กร) 1) Crudo Transparente 2) Conciudadania 3) Alliance for Responsible Mining

แผนภูมิที่ 7 โครงสร้างคณะกรรมการ MSG ประเทศโคลอมเบีย กระบวนการคัดเลือกกรรมการ MSG จากภาคประชาสังคม5 การคัดเลือกตัวแทนคณะกรรมการ MSG เปิดโอกาสให้แต่ละภาคส่วนสามารถคัดเลือกตัวแทนของตนเองได้อย่างอิสระ โดยกระบวนการคัดเลือกตัวแทนภาคประชาสังคมออกแบบโดย National Forum for Colombian, Externado University of Colombian, Transparency for Colombia และมูลนิธิ Avina ในปีพ.ศ. 2556 กระบวนการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบ จากองค์ กรภาคประชาสังคมที่ เกี่ยวข้อ ง (Cowater Sogema Independent Validator, 2018) โดยขั้น ตอนการคัดเลื อกมี ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 องค์กรที่สามารถส่งตัวแทนลงสมัครเลือกตั้งเป็นผู้แทน ภาคประชาสังคม ต้องเป็นสมาชิกเครือข่ายภาค ประชาสังคมเพื่ อความโปร่งใสในอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ “Mesa Ampliada de la Sociedad Civil para la Transparencia de la Industria Extractiva” เกณฑ์การเข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่ มีดังนี้ 1. องค์กรที่ประสงค์สมัครสมาชิกต้องเป็นองค์กรภาคประสังคมทีด่ ำเนินงานเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัด ทรัพยากรธรรมชาติ คือ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ และอุตสาหกรรมไฮโดรคาร์บอน 2. สามารถแสดงให้เห็นถึงภูมิหลังและประสบการณ์ทำงานด้านการควบคุมและตรวจสอบการดำเนินงานด้าน นโยบายสาธารณะในอุตสาหกรรมเหมืองแร่หรืออุตสาหกรรมไฮโดรคาร์บอน 3. เป็นองค์กรทีส่ นับสนุนการเจรจากับภาครัฐและภาคเอกชนในประเด็นข้อพิพาท

5

EITI Colombia (2013)

39


4. สามารถเพิ่มความรู้ความเข้าใจหรือมูลค่าเพิ่มอื่น ๆ ให้แก่องค์กรสมาชิกได้ 5. หลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อนจากการเข้าร่วมเครือข่าย 6. หากองค์กรที่เข้าร่วมเครือข่ายเป็นสมาชิกในเครือข่ายอื่น ๆ ต้องสามารถอธิบายสิทธิและหน้าที่ขององค์กรใน เครือข่ายดังกล่าวให้เครือข่ายรับทราบ ขั้นตอนที่ 2 ผู้สมัครส่งจดหมายและเอกสารแนะนำตัว รวมทั้งแสดงถึงนโยบายและกลยุทธ์ต่าง ๆ หากได้รับเลือกเป็น คณะกรรมการ MSG ส่งไปยังสำนักงานเลขานุการฝ่ายปฏิบัติการ EITI ขั้นตอนที่ 3 สำนักเลขานุการตรวจสอบคุณสมบัติ ประกาศรายชื่อผู้สมัคร และแจ้งรายชื่อไปยังองค์กรเครือข่าย ขั้นตอนที่ 4 สมาชิกลงคะแนนเสียงโดยเลือกตัวแทนได้ 3 ท่าน และส่งผลคะแนนทางอีเมล ขั้นตอนที่ 5 ผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด 3 อันดับแรกได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการ MSG และ 3 อันดับถัดมาดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการสำรอง ทั้งนี้ผู้ลงสมัครจะต้องไม่ลงคะแนนเสียงให้กับตัวเองและหากมี ผู้ที่ได้คะแนนเท่ากัน จะต้องมีการ ลงคะแนนเสียงใหม่ การเปลีย่ นแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้มาตรฐาน EITI การเข้ าร่ วมการใช้ ม าตรฐาน EITI ในปี พ .ศ. 2557 มี วั ต ถุ ป ระสงค์ ส ำคั ญ เพื่ อ สร้า งการสื่ อ สารและแหล่ งข้ อ มู ล ที่ น่าเชื่อถือและถูกต้องในอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการกระจายรายได้ที่รัฐจัดเก็บ จากอุตสาหกรรม จากเดิมที่กระจายสู่หน่วยงานส่วนท้องถิ่นโดยตรง เป็นการกระจายรายได้ระบบกองทุนการพัฒนาต่าง ๆ ซึ่งใน แต่ละพื้นที่นำรายได้ดังกล่าวไปใช้ในรูปแบบที่ต่างออกไปแต่ยังเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของกองทุน นอกจากนี้ รายงานการ ตรวจสอบและรับรองผลการดำเนินงาน EITI (2018) ยังระบุผลกระทบจากการใช้มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูล EITI ดังนี้ 1. การสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐาน EITI ในประเทศโคลอมเบียมีส่วนสำคัญในการสร้างพื้นที่เจรจาระหว่าง 3 ฝ่าย ในการร่วมหารือ เรื่อ งการกำกั บดู แลหน่ วยงาน ทั้ งภาครัฐและเอกชนในอุต สาหกรรม เช่ น การบั งคับ ใช้ กฎเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ รู ปแบบการจัดเก็บภาษี การกระจายรายได้ระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ภาค ประชาสังคมได้ใช้เวที EITI ในการอภิปรายประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 2. การสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม นอกเหนือจากการเปิดเผยข้อมูล ภาคประชาสังคมได้นำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และจัดระบบข้อมูลให้ ประชาชนสามารถเข้าใจง่าย สะดวกต่อการนำไปใช้ นอกจากนี้การใช้มาตรฐาน EITI ยังสามารถวิเคราะห์ช่องว่าง ในการดำเนินงาน ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงศักยภาพในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐที่สำคัญ ดังนั้นข้อมูลที่ได้ ถือเป็นข้อมูลพื้นฐาน (baseline) สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรม ทั้งนี้เป้าหมายหลักของเครือข่าย Mesa คือการ เปิดเผยข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของแต่ละธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรม ที่ได้จ่ายคืนแก่ชุมชนที่มีการ ดำเนินงานของธุรกิจ (Natural Resource Governance Institute , 2018) นอกจากนี้การจัดทำรายงาน EITI ยัง ช่วยสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาใหม่ จากการรวบรวมประเด็นที่น่าสนใจ เช่น การวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างรายได้ที่ 40


จัดเก็บและการดำเนินงานของรัฐบาลท้องถิ่น การพัฒนาศัก ยภาพของหน่วยงานท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น การพัฒ นาระบบขนส่งแร่ที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส การปรับเปลี่ยนวิถีปฏิบัติเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ด้าน สิ่งแวดล้อม 3. สร้างความไว้วางใจจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากขึ้น มาตรฐาน EITI ถือเป็นกลไกควบคุมการดำเนินงานที่เป็นกลาง ได้รับความไว้วางใจจากทุกฝ่าย นำไปสู่กระบวนการ สร้างสันติภาพในอุตสาหกรรมและลดความขัดแย้ง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเหมืองแร่

3.5 การใช้มาตรฐาน EITI ในประเทศคองโก ประเทศคองโกเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา ทวีปแอฟริกา มีน้ำมันสำรองมากเป็นอันดับที่ 5 ของทวีป ประมาณ 16,000 ล้านบาร์เรล และมีก๊าซธรรมชาติสำรอง 1.7-2.6 แสนล้านตันลูกบาศก์เมตร เศรษฐกิจประเทศ คองโกพึ่งพาการส่งออกน้ำมันดิบ โดยเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบ รายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของกลุ่มประเทศตอนใต้ทะเลทรายซาฮารา มูลค่าน้ำมันดิบที่ผลิตได้คิดเป็นร้อยละ 55 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และคิดเป็นร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าส่งออก ทั้งหมด อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบที่ลดลงอย่างต่อเนื่องส่งผลให้รัฐบาลประเทศคองโกต้องการกระจายความเสี่ยง โดยการลด การพึ่งพาการส่งออกน้ำมันดิบและให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่เพิ่มมากขึ้น สินแร่ที่สำคัญ คือ เหล็ก ประเทศคองโกได้แสดงเจตจำนงในการขอสมัครเป็นผู้ใช้มาตรฐาน EITI โดยได้สมัครขอรับมาตรฐาน EITI เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ปีพ.ศ. 2547 จากนั้นภาครัฐได้เริ่มจัดตั้ งคณะกรรมการบริหาร EITI ในปีพ.ศ. 2548 และมีประกาศประธานาธิบดีที่ 2006-626 ให้ จั ด ตั้ ง คณะกรรมการ MSG โดยประเทศคองโกเริ่ ม จั ด ทำรายงานการเปิ ด เผยข้ อ มู ล อุ ต สาหกรรมสกั ด ทรัพยากรธรรมชาติเมื่อปีพ.ศ. 2550 และสามารถได้จัดทำรายงาน EITI ครั้งแรกในปีพ.ศ. 2553 (Adam Smith International Independent Validator, 2017) โครงสร้างอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติในประเทศคองโก 1. อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ โครงสร้างอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเพื่อการค้าในประเทศคองโกได้ถูกพัฒนาในช่วงปี ทศวรรษ 1970s มี แหล่งขุดเจาะน้ำมันทั่วประเทศ 30 โครงการ ซึ่งแหล่งขุดเจาะน้ำมันที่สำคัญมีทั้งสิ้น 7 แหล่ง ได้แก่ Moho Bilondo, Nkossa, Mboundi, Tchibouela, Azurite, Zatchi และ Loango ทั้งนี้ แหล่งขุดเจาะน้ำมัน Moho Bilondo เป็นแหล่งผลิตน้ำมันที่ ใหญ่ที่สุด สามารถผลิตน้ำมันได้ถึงร้อยละ 24 ของน้ำมันที่ผลิตได้ทั้งประเทศในปีพ.ศ. 2552 โดยแหล่งขุดเจาะน้ำมันที่ใหญ่ที่สุด ทั้ง 7 แหล่งถือครองโดย The Société Nationale des Pétroles du Congo (SNPC) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจผู้ผลิตน้ำมันแห่งชาติ บริษัทผู้ผลิตน้ำมันต่างชาติรายใหญ่ที่สุด คือ Total E&P Congo จากประเทศฝรั่งเศส และ ENI จากประเทศอิตาลี ผลผลิตจากสองบริษัทรวมกัน คิดเป็น 3 ใน 4 ของผลผลิตน้ำมันทั้งหมด นอกจากนี้ ENI ยังมีบริษัทย่อยในธุรกิจขุดเจาะก๊าซ ธรรมชาติ ซึ่งบริษัทดังกล่าวสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 85 ของผลผลิตทั้งประเทศ ในปีพ.ศ. 2559 บริษัท ได้ เปิ ด ตั ว ENI’s Litchendjili Project โดยมี วัต ถุ ป ระสงค์ เพื่ อ ขุ ด เจาะก๊ า ซธรรมชาติ ส ำหรั บ ใช้ ในโรงไฟฟ้ า ถ่ านหิ น Côte41


Matève ทั้งนี้ ที่ระดับการผลิตในปัจจุบันประเทศคองโกจะสามารถผลิตน้ำมันไปด้อีก 40 ปี (Adam Smith International Independent Validator, 2017; EITI Republic of Congo, 2012) ตารางที่ 4 การแบ่งสัดส่วนการผลิตน้ำมันในแหล่งขุดเจาะสำคัญ แหล่งขุดเจาะน้ำมัน Moho Bilondo Nkossa Mboundi Tchibouela Azurite Zatchi Loango

SNPC 15 15 6 15 -

สัดส่วนการผลิต(ร้อยละ) Total E&P ENI ChevronCongo Congo 53.5 31.1 53.5 31.5 46 65 35 35 65 65 35 -

อื่นๆ 0.4 48 85 -

ที่มา: EITI Republic of Congo (2012) 2. อุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมเหมืองแร่เป็นอุตสาหกรรมสำคัญ เป็นความพยายามของรัฐบาลคองโกที่จะกระจายความเสี่ยงไปยัง อุตสาหกรรมต่าง ๆ สาเหตุหลักคือราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และการพยายามที่จะไม่พึ่งพาแหล่งรายได้ จากอุต สาหกรรมใดอุ ต สาหกรรมหนึ่ งมากนั ก รัฐบาลคองโกจึ งรื้อฟื้ น กรอบข้ อตกลง Kimberly Process6 ในปี พ .ศ. 2550 หลังจากการหยุดชะงักตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เพื่อส่งเสริมการลงทุนการดำเนินกิจการเหมืองและการส่งออกเพชรจากนักลงทุน ต่างชาติ นอกจากนี้ยังมีการลงทุนในการสำรวจเพื่อดำเนินกิจการเหมื องแร่อุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ทองแดง ตะกั่ว และสังกะสี โดยการลงทุ น มาจากบริ ษั ท Société de Recherche et d’Exploitation Minière (Soremi) ซึ่ ง เป็ น บริ ษั ท ย่ อ ยในเครื อ American Gerald Metals การสำรวจพื้ น ที่ ศั ก ยภาพในการทำเหมื อ ง (Adam Smith International Independent Validator, 2017) บทบาทและการดำเนินงานของคณะกรรมการ MSG ในประเทศคองโก ในระยะเริ่มต้น การจัดตั้งความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคประชาสังคมในการใช้มาตรฐาน EITI มีความท้า ทายและข้อจำกัดอย่างมาก ในปีพ.ศ. 2549 ได้มีการจัดเวทีเจรจาครั้งที่ 1 ระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคมบางส่วน ส่งผลให้ ในปีพ.ศ. 2550 ได้มีการสัมมนาต่อเนื่อง คือ “เวทีเจรจาระหว่างรัฐและภาคประชาสังคมในการใช้มาตรฐาน EITI และ Kimberly Process” เพื่ อ หารื อ ในการหาทางออกร่ ว มกั น ระหว่ า งสองฝ่ า ยในประเด็ น ต่ า ง ๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งในอุ ต สาหกรรมสกั ด ทรัพยากรธรรมชาติ ข้อสรุปจากเวทีเจรจาดังกล่าวส่งผลให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ MSG ประเทศคองโกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 และได้รับสถานะประเทศผู้ขอใช้มาตรฐาน EITI เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

6

Kimberly Process คือ

ข้อตกลงการดำเนินกิจการเหมืองเพชรยั่งยืน

42


จากรายงานการตรวจสอบผล ประจำปี พ.ศ. 2555 (2012) การแต่งตั้งคณะกรรมการ MSG ประเทศคองโกได้อาศัย คำสั่งประธานาธิบดี 2006-626 และ 2006-627 ลงวันที่ 11 ตุลาคม ปีพ.ศ. 2549 ซึ่งผลการควบคุมและตรวจสอบจากการจัดทำ รายงานฉบับแรกประจำปี พ.ศ 2550-2552 ได้มีข้อเสนอในการดำเนินงาน EITI ว่าต้องมีหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องใน อุตสาหกรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำรายงาน รัฐบาลคองโกจึงได้มีคำสั่งประธานาธิบดีที่ 2007-403 ลงวันที่ 30 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2550 ให้ SNPC ส่งตัวแทน 2 ท่านเพื่อดำรงตำแหน่งคณะกรรมการ MSG อย่างไรก็ตามได้มีการออกคำสั่งประธานาธิบดีฉบับใหม่ คำสั่งเลขที่ 2012-940 ลงวันที่ 22 สิงหาคมปี พ.ศ. 2555 เพื่อ ปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการ MSG โดยปรับให้มีตำแหน่งคณะกรรมการทั้งสิ้น 27 ตำแหน่ง มีรายละเอียด ดังนี้ 1. ตัวแทนภาครัฐ ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการ 2 ตำแหน่ง คณะกรรมการ 7 ตำแหน่ง โดยส่วนใหญ่เป็น เจ้าหน้าที่ระดับสูงในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวง เศรษฐกิจ การคลังและงบประมาณ รัฐมนตรีว่ากระทรวงไฮโดรคาร์บอน รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงเหมืองแร่และ ธรณีวิทยา 2. ตั ว แทนภาคเอกชน ทำหน้ า ที่ ร องประธานคณะกรรมการ 1 ตำแหน่ ง คณะกรรมการ 7 ตำแหน่ ง โดย คณะกรรมการต้องมีตัวแทนจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ 2 ตำแหน่ง 3. ตัวแทนภาคประชาสั งคมและภาคเอกชน สามารถเสนอชื่อเพื่ อขอรับ การแต่งตั้งได้อ ย่างอิ สระ ทำหน้ าที่รอง ประธานคณะกรรมการ 1 ตำแหน่ง คณะกรรมการ 7 ตำแหน่ง โดยคุณสมบัติที่พึงประสงค์7 มีดังต่อไปนี้ - ต้องเป็นสมาชิกองค์กรภาคประชาสังคมที่ดำเนินกิจกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติทสี่ ำคัญในประเทศคองโก - เป็นผู้ที่มสี ่วนสำคัญในการดำเนินงานขององค์กรที่สังกัด - มีประสบการณ์อย่างน้อย 3 ปี ในด้านการส่งเสริมความโปร่งใสในอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ ไม่วา่ จะเป็นในองค์กรระดับภูมิภาคหรือเป็นตัวแทนจากภาคเอกชน - มีความรูด้ ้านการกำกับดูแลทีเ่ กี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ และมีความรูค้ วามเชี่ยวชาญ ด้านการใช้มาตรฐาน EITI - มี ทั ก ษะในการสื่ อ สารระหว่ า งบุ ค คลในระดั บ ยอดเยี่ ย ม สามารถสื่ อ สารกั บ ผู้ เกี่ ย วข้ อ งได้ ทุ ก ระดั บ มี ความสัมพันธ์ที่ดีกับองค์กรภาคประชาสังคมและหน่วยงานผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ - มีทักษะทางด้านการพูดและการเขียนในการนำเสนอมุมมองและกลยุทธ์ต่าง ๆ - สามารถแสดงความมั่นใจในตนเองเมื่อต้องเผชิญหน้ากับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน - สามารถแสดงถึงคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ และการได้รับความเคารพและการยอมรับจากเพื่อน ร่วมงาน - สามารถอุทิศเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้สม่ำเสมอ

7

เอกสารอ้างอิงคุณสมบัติอันพึงประสงค์ Invalid source specified.

43


จากการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสำนักเลขานุการ EITI นานาชาติ พบว่า มีสมาชิกคณะกรรมการ MSG ภาค ประชาสังคมถึง 3 ท่าน ได้รับคัดเลือกดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบริหารดังกล่าว นอกจากนี้ประเทศคองโกยังได้รับการยอมรับ ว่าภาคประชาสังคมและภาคเอกชนให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน EITI ดีมาก โดยได้รับความร่วมมือจากภาคประชาสังคม กว่า 800 องค์กร และภาคเอกชน 200 องค์กร ( EITI International Secretariat, 2016) 4. ตัวแทน SNPC 2 ตำแหน่ง นอกจากนี้ คำสั่งประธานาธิบดีฉบับดังกล่าว ยังได้มีการแต่งตั้งสำนักเลขานุการเพื่อให้การสนับสนุนทางเทคนิคแก่ คณะกรรมการ MSG อีกด้วย

ประธานคนที่ 1

ประธานคนที่ 2

(ตัวแทนจากภาครัฐ)

(ตัวแทนจากภาครัฐ) สำนักเลขานุการ (สนับสนุนทางเทคนิค)

รองประธานคนที่1

รองประธานคนที่ 2

(ตัวแทนจาก

(ตัวแทนจากภาค

ภาคเอกชน)

ประชาสังคม)

ตัวแทนหน่วยงาน

ตัวแทนจาก

ตัวแทนจากภาค

ภาครัฐ

ภาคเอกชน

ประชาสังคม

7 ตำแหน่ง

7 ตำแหน่ง

7 ตำแหน่ง

ตัวแทนจาก SNPC 2 ตำแหน่ง

แผนภูมิที่ 8 โครงสร้างคณะกรรมการ MSG ประเทศคองโก การเปลีย่ นแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้มาตรฐาน EITI การดำเนินงาน EITI ในประเทศคองโกได้ก่อให้เกิดผลกระทบในหลายมิติ จากการศึกษาโดยองค์กร GIZ (2016) พบว่า การดำเนินงานในประเทศคองโกมี ปัญหาในด้านความโปร่งใสด้านการคลัง การสร้างการอภิปรายสาธารณะ การป้องกันการ คอร์รัปชั่น และบรรยากาศการค้าและการลงทุน โดยรายงาน EITI ปีพ.ศ. 2553 พบว่า การจ่ายค่าสัมปทานมีความคลาดเคลื่อน 26 ล้ านดอลลาร์ส หรัฐ ส่งผลให้ ภาคประชาสังคมได้ เข้ามามี บทบาทในการตัด สิน ใจเกี่ ยวกับ กฎหมายด้ านความโปร่งใสใน อุตสาหกรรมมากขึ้น โดยเฉพาะการเผยแพร่รายงานต่าง ๆ ที่จุดประเด็นด้านความโปร่งใสและการพัฒนา นอกจากนี้ยังมีการ พัฒ นารูปแบบการจัดเก็บรายได้ โดยธุรกิจจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ต้องเสียให้แก่รัฐผ่านเข้าบัญชีธนาคารกลางเท่านั้น 44


หลังจากมีการดำเนินงาน EITI และพัฒนาระบบการจัดการการเงินสาธารณะ ส่งผลให้รัฐสามารถจัดเก็บรายได้ถึง 2,100 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐในปีพ.ศ. 2553 ซึ่งสูงกว่ารายได้ที่จัดเก็บในปีพ.ศ. 2550 ถึง 5 เท่า (Adam Smith International Independent Validator, 2017) นอกจากนี้องค์กร PWYP Congo ได้ใช้ข้อมูลจากรายงาน EITI เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาเพิม่ เติมการรณรงค์ เช่น การชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างหน่วยธุรกิจบางกลุ่มในประเทศ (อาทิ ความไม่ชอบมาพากลของสัญญาซื้อขาย ระหว่างโรงกลั่น CORAF และบริษัทค้าน้ำมัน Philia ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์) โครงการรณรงค์การพัฒนารูปแบบการกระจาย รายได้ระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของผู้ยากไร้ การศึกษาค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขของภาครัฐ การจัดเก็บ รายได้จากอุตสาหกรรมน้ำมันและนำไปใช้ในกิจกรรมทีผ่ ู้ยากไร้ไม่ได้ประโยชน์ (Publish What You Pay, 2014; Adam Smith International Independent Validator, 2017) โครงสร้างและกระบวนการคัดเลือกตัวแทนภาคประชาสังคมสำหรับ EITI ในประเทศกรณีศึกษา 5 ประเทศ สามารถ สรุปได้ดังตารางที่ 5

45


ตารางที่ 5 โครงสร้างและกระบวนการคัดเลือกตัวแทนภาคประชาสังคมสำหรับ EITI ในประเทศกรณีศึกษา 5 ประเทศ กรณีศึกษา 5 ประเทศ ตัวแทนภาคประชาสังคม ใน คณะกรรมการ MSG อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เมียนมา เลือกตั้ง เลือกตั้ง เลือกตั้ง 1. รูปแบบกระบวนการสรรหา (เครือข่าย PWYP โหวต แต่ (คณะกรรมการสรรหา) (ภายในเครือข่าย MATA) เปิดรับผู้สมัครอิสระ) 2. เครือข่ายหรือองค์กรกลาง PWYP Bantay Kita MATA 3. จำนวนคณะกรรมการ 3 5 9 5 4. ตัวแทนสำรอง 3 (ไม่มสี ิทธ์โหวต) 5. ระยะเวลาและวาระในการ 3 ปี 2 วาระ ดำรงตำแหน่ง คุณสมบัติที่พึงประสงค์ เกณฑ์การสมัครเป็นสมาชิก - ต้องมีความรู้ความสามารถที่ - ต้องมีความเชี่ยวชาญทาง เครือข่าย เหมาะสมในประเด็นที่ เทคนิคในอุตสาหกรรมที่ - องค์กรหรือผู้สนใจสามารถ เกี่ยวข้อง อุทิศตนในการ เกี่ยวข้อง สมัครเป็นสมาชิกได้ ทำงาน สามารถเป็นตัวแทนทั้ง - มีความเท่าเทียมทางเพศ - สมาชิกมีหน้าที่ในการร่วม ในระดับประเทศ ท้องถิ่น และ 6. คุณสมบัติ - มีความรู้ ความเข้าใจด้าน อภิปรายประเด็นต่าง ๆ มีความเท่าเทียมทางเพศ ภูมิศาสตร์ อย่างกว้างขวาง - การตัดสินใจภายในเครือข่าย - มีศักยภาพในการบ่มเพาะ - มีจุดยืนที่เหมาะสม โดย จะใช้วิธีการที่เป็นที่ยอมรับใน และสร้างการมีส่วนร่วมแก่ผมู้ ี ได้รับการยอมรับจาก ระบอบประชาธิปไตย ส่วนได้ส่วนเสีย หน่วยงานส่วนท้องถิ่นหรือ - การจัดทำรายงานต่าง ๆ NGOs และจะต้องมีอย่างน้อย หรือการขอความคิดเห็น จะ

โคลอมเบีย

Mesa 3

คองโก แต่งตั้ง (รัฐบาลเปิดรับการเสนอชื่อ อย่างอิสระ) 8

-

-

เลือกตั้ง (ภายในเครือข่าย Mesa)

1 ปี 2 วาระ (เฉพาะภาคประชาสังคม) เกณฑ์การสมัครเป็นสมาชิก เครือข่าย - เป็นองค์กรภาคประชาสังคม ที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับ อุตสาหกรรมสกัด ทรัพยากรธรรมชาติ คือ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ และ อุตสาหกรรมไฮโดรคาร์บอน - แสดงให้เห็นถึงภูมิหลัง ประสบการณ์ในการทำงาน ด้านการควบคุม ตรวจสอบ

3 ปี - ต้องเป็นสมาชิกองค์กรภาค ประชาสังคมทีด่ ำเนิน กิจกรรมด้าน ทรัพยากรธรรมชาติทสี่ ำคัญ ในประเทศคองโก - เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการ ดำเนินงานขององค์กรนั้น - มีประสบการณ์อย่างน้อย 3 ปี ในด้านการส่งเสริม ความโปร่งใสในอุตสาหกรรม สกัดทรัพยากรธรรมชาติไม่ 46


ตัวแทนภาคประชาสังคม ใน คณะกรรมการ MSG

อินโดนีเซีย

กรณีศึกษา 5 ประเทศ ฟิลิปปินส์ เมียนมา 1 ท่านที่เป็นตัวแทนจากกลุ่ม ถูกแบ่งตามภูมภิ าคที่เกี่ยวข้อง รากหญ้า หรือชุมชนที่ได้รับ - สตรีมสี ิทธิที่จะเข้าร่วม ผลกระทบจากธุรกิจเหมืองแร่ กระบวนการต่างๆ รวมถึงการ - มีการจำกัดระยะเวลาใน ตัดสินใจต่าง ๆ การดำรงตำแหน่ง แม้ว่าจะ - ตัวแทนสามารถเข้าร่วมทั้งใน ได้รับเลือกตั้งเข้ามาอีกครั้ง นามองค์กร หรือปัจเจก - การฟ้องร้อง - สมาชิกจะต้องให้ข้อมูลของ คณะกรรมการ MSG สามารถ องค์กร โดยข้อมูลเหล่านั้นจะ ทำได้ภายใต้กระบวนการที่ ถูกเก็บเป็นความลับ กำหนด

โคลอมเบีย การดำเนินงานนโยบาย สาธารณะในอุตสาหกรรม เหมืองแร่ และอุตสาหกรรม ไฮโดรคาร์บอน - เป็นองค์กรสนับสนุนการ เจรจากับภาครัฐและ ภาคเอกชนในประเด็นที่มีการ ถกเถียงกัน - องค์กรสามารถให้ความรู้ ความเข้าใจ หรือมูลค่าเพิ่มอื่น ๆ ให้แก่สมาชิก - หลีกเลี่ยงการเกิด ผลประโยชน์ทับซ้อนจากการ ได้เข้าร่วมเครือข่าย - หากองค์ที่เข้าร่วมเครือข่าย เป็นสมาชิกในเครือข่ายอื่น ๆ ต้องสามารถอธิบายสิทธิและ หน้าที่ขององค์กรในเครือข่าย ดังกล่าวให้แก่เครือข่าย Mesa Ampliada de Sociedad de Sociedad Civil ได้ทราบ

คองโก ว่าจะเป็นในองค์กรในระดับ ภูมิภาค หรือเป็นตัวแทนจาก ภาคเอกชน - มีความรู้ด้านการกำกับ ดูแลที่เกี่ยวข้องกับ อุตสาหกรรมสกัด ทรัพยากรธรรมชาติ และมี ความรู้ความเชี่ยวชาญด้าน การใช้มาตรฐาน EITI - มีทักษะในการสื่อสาร ระหว่างบุคคลในระดับยอด เยี่ยม สามารถสื่อสารกับ ผู้เกี่ยวข้องได้ทุกระดับ มี ความสัมพันธ์ที่ดีกับองค์กร ภาคประชาสังคมและ หน่วยงานผู้มสี ่วนได้ส่วนเสีย อื่น ๆ - มีทักษะทางด้านการพูด และการเขียนในการนำเสนอ มุมมอง และกลยุทธ์ต่าง ๆ - สามารถแสดงถึงความ มั่นใจในตนเองในการที่ต้อง 47


ตัวแทนภาคประชาสังคม ใน คณะกรรมการ MSG

7. จุดเด่นของโครงสร้าง คณะกรรมการ

อินโดนีเซีย

ฟิลิปปินส์

- คณะกรรมการแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับบริหารและ ระดับปฏิบัติการ - มีการจัดเวที เพื่อให้ผู้สมัคร ได้แสดงนโยบายและ วิสัยทัศน์

- ตัวแทนสำรองสามารถ เข้าร่วมประชุมต่าง ๆ เทียบเท่าคณะกรรมการ ตัวจริง - สงวนตำแหน่ง คณะกรรมการสรรหา แก่กลุ่มที่เปราะบางใน อุตสาหกรรม เช่น ผู้ ได้รับผลกระทบ - 3) มีคณะทำงานระดับ ภูมิภาค กระจายอยู่ใน ชุมชนที่มีโครงการต่าง ๆ

กรณีศึกษา 5 ประเทศ เมียนมา

- สมาชิกหลากหลาย สะท้อน ทุกภูมิภาค - ทำงานกันเป็นเครือข่าย จัดสรรหน้าที่ความ รับผิดชอบต่อกันชัดเจน - สมาชิกมีความรู้เกี่ยวกับ มาตรฐาน EITI เป็นอย่างดี - มีโปรแกรมการอบรมต่าง ๆ ให้แก่สมาชิกที่ดี

โคลอมเบีย

คองโก เผชิญหน้ากับหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน - สามารถแสดงถึงคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ และ การได้รับความเคารพและ การยอมรับจากเพื่อน ร่วมงาน - สามารถเข้าร่วมกิจกรรม ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

- ภาคประชาสังคม มีการ รวมกลุม่ ของภาคประชา สังคมเป็นเครือข่ายใหญ่ - สมาชิกเครือข่าย Masa ต้องเป็นองค์กรชัดเจน

- มีบุคลากรภาคประชา สังคมที่มีความรู้ ความสามารถสูง สามารถ บ่มเพาะภาคประชาสังคม อื่น ๆ ได้

48


4. ข้อคิดเห็นจากองค์กรจากภาคประชาสังคม ชุมชนท้องถิน่ สำหรับมาตรฐาน EITI ประเทศไทย 4.1 สถิติและจำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการรายภูมิภาค ระหว่างเดือนกันยายน ปีพ.ศ. 2561 ถึงเดือนมกราคม ปีพ.ศ. 2562 คณะวิจัยได้จดั การประชุมเชิงปฏิบัติการใน 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ ตามกำหนดการดังอธิบายในหัวข้อ 2.1 ของรายงานฉบับนี้ โดยมีรายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 6 ตารางที่ 6 รายละเอียดการจัดเวทีแนะนำมาตรฐาน EITI และระดมความคิดเห็นร่วมกันในแต่ละภูมิภาค ภูมิภาค วัน เดือน ปี สถานที่ อุตสาหกรรม จำนวนผู้เข้าร่วม (คน) ภาคตะวันออก 3/11/61 จ.ระยอง พลังงาน 24 4/11/61 จ.ระยอง เหมืองแร่ 13 ภาคใต้ 10/11/61 จ.นครศรีธรรมราช พลังงาน 20 ภาคตะวันออก 24/11/61 จ.ขอนแก่น เหมืองแร่ 17 เฉียงเหนือ 25/11/61 จ.ขอนแก่น พลังงาน 17 ภาคเหนือ 20/12/61 จ.ลำปาง เหมืองแร่ 17 21/12/61 จ.เชียงใหม่ พลังงาน 16 ภาคตะวันตกและ 14/1/62 จ.กาญจนบุรี เหมืองแร่ 22 จังหวัดสุพรรณบุรี อุทัยธานี และเพชรบุรี เวทีระดมความคิดเห็นได้ร่วมหารือกับตัวแทนภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนประเด็นต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมสกัด ทรัพยากรธรรมชาติทั้งสองอุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมพลังงานและไฮโดรคาร์บอน และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ โดยได้ร่วม หารือในประเด็นในหัวข้อ 4.2

49


4.2 ประเด็นปัญหาเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ ในทัศนะของผู้เข้าร่วม ประเด็นปัญหาเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ ในทัศนะของผู้เข้าร่วมแต่ละภูมิภาค สรุป ได้ดังตารางที่ 7 ตารางที่ 7 ประเด็นปัญหาเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ ในทัศนะของผูเ้ ข้าร่วม ภาค ภาคตะวัน ภาคใต้ ภาคเหนือ ประเด็นปัญหา ตะวันออก ออก เฉียงเหนือ 1. ผลกระทบจากโครงการต่อสิ่งแวดล้อม 15* 7* 11 25* และสุขภาพของคนในพื้นที่ 2. ความโปร่งใสของข้อมูล/ การไม่ได้รับ 5 4 4 6 ข้อมูลผลกระทบทีเ่ ป็นจริง 3. เกิดความแตกแยกภายในชุมชน/ 1 3 17 9 ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ 4. การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน 4 5 13 ผู้เกี่ยวข้อง/ได้รับผลกระทบโดยตรง 5. ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสงู เกิน 4 16 ความเป็นจริง 6. สาธารณูปโภคไม่เพียงพอต่อความ 12 3 ต้องการ/การแย่งชิงน้ำและพื้นทีป่ า่ ระหว่าง ภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม 7. ความเหลื่อมล้ำในชุมชน 1 8. กฎหมาย เจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐ 8 6 14 เอื้อประโยชน์ให้โครงการทีส่ ร้างผลกระทบ เกิดง่ายขึ้น 9. อุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติยัง 3 ไม่มรี ะบบตรวจสอบที่ดี 10. ขาดการเยียวยาชาวบ้านโดยใช้หลัก 2 5 polluter pay principle / ความโปร่งใส 11. บทบาทภาคประชาสังคมไม่ได้รับการ 10 ยอมรับ 12. เรือขนส่งวิ่งผ่านพื้นที่ทำประมง ทำให้ 1 เครื่องมือประมงเสียหาย 13. การสร้างท่าเรือทีส่ นับสนุน 1 อุตสาหกรรมขุดเจาะปิโตรเลียม 14. ชุมชนถูกคุกคามจากอิทธิพลท้องถิ่น ทำ 18* -

ภาค ตะวันตก ** 26* 16 5 5 -

-

50


ประเด็นปัญหา ให้ไม่อยากมีส่วนร่วมในการเรียกร้องสิทธิ 15. ประชาชนขาดความรู้ความสามารถที่จะ ต่อรองกับภาคเอกชน 16. รัฐบาลไม่ปฏิบัตหิ น้าที่เพื่อรักษาสิทธิ ของประชาชน 17. ปัญหาด้านพลังงานทดแทน 18. ปัญหาเรื่องกองทุนน้ำมัน 19. กองทุนพัฒนาพื้นทีร่ อบเหมือง/ โรงไฟฟ้า 20. ปัญหาด้านแรงงานโยกย้ายถิน่ ฐาน 21. ปัญหาสิทธิในพื้นที่ทำกิน 22. ประเทศไทยไม่มีองค์กรฟื้นฟู สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ

ภาคเหนือ

ภาค ตะวันตก **

12

-

11

-

7

-

-

-

-

-

11 6 10

-

-

-

-

5 -

5 5

ภาคตะวัน ออก

ภาคใต้

-

-

-

ภาค ตะวันออก เฉียงเหนือ

หมายเหตุ * ประเด็นที่ผู้เข้าร่วมมองว่าสำคัญที่สดุ ในภูมภิ าคนั้น ๆ **รวมจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี อุทัยธานีและสุพรรณบุรี จากการระดมความคิดเห็นเรื่องปัญหาทีเ่ กี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ (‘ปัญหา’ จากทัศนะของ ผู้เข้าร่วม) พบว่าทุกภูมิภาคมีปัญหาหลักร่วมกัน 3 ประการ ได้แก่ ผลกระทบจากโครงการต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคน ในพื้นที่ ความไม่โปร่งใสของข้อมูลหรือการไม่ได้รับข้อมูลผลกระทบที่เป็นจริง และปัญหาความแตกแยกภายในชุมชนอัน เนื่องมาจากความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ โดยบริบทของปัญหาในแต่ละภูมิภาคนั้นแตกต่างกันออกไป ประเด็นปัญหาเร่งด่วนมี รายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ผลกระทบจากโครงการต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนในพื้นที่ เมื่อมีโครงการขนาดใหญ่ รวมถึงโครงการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การขุดเจาะ เหมืองแร่ต่าง ๆ ผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมักเป็นประเด็นที่ชุมชนในพื้นที่วิตกกังวลมากที่สุด ในขณะที่ พื้นที่ที่มี อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ดำเนินการมาระยะหนึ่งก็มักจะพบปัญหาผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของคนในพื้นที่ ซึ่งภาค ประชาสังคมในพื้นที่ ภาคตะวัน ออกได้ให้ข้อมูลถึงผลกระทบจากการตั้งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุ ด คือ ฝุ่นละอองจาก อุต สาหกรรมทำให้ ชาวบ้ านเป็ น โรคมะเร็ง โรคทางเดิ น หายใจ และติด เชื้อ ในกระแสเลื อดเพิ่ ม มากขึ้น เช่น เดี ยวกั บ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้รับผลกระทบและส่งผลต่อสุขภาพของชาวบ้าน เช่น สารที่ปล่อยจากกระบวนการสกัดปิโตรเลียมมี กลิ่นเหม็นรุนแรงและเป็น พิษ หากชาวบ้านสูดดม จะมีอาการวิงเวียนศีรษะและไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ในทางกลับกัน พบว่า ข้อมูลด้านสุขภาพของคนในพื้นที่มักไม่ได้รับการเปิดเผยจากหน่วยงานภาครัฐอย่างตรงไปตรงมา ขณะเดียวกันในภาคตะวันออกมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้น สืบเนื่องจากกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC ชาวบ้านและภาคประชาสังคมในพื้นที่ภาคตะวันออกมีความกังวลต่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางน้ำและทางอากาศที่ จะเกิดขึ้น รวมถึงการก่อให้เกิดมลพิษมากขึ้นจากการเปิดใช้โรงงานไฟฟ้าถ่านหิน เนื่องจากในอนาคตรัฐบาลมีแผนสร้างโรงงาน 51


ไฟฟ้าถ่านหินขึ้นจำนวนมาก เนื่องจากรัฐบาลได้ทำสัญญารับซื้อถ่านหินคุณภาพต่ำจากต่างประเทศจำนวนมากจึงต้องมีการ สร้างโรงงานไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันปัญหาผลกระทบจากโครงการติดตั้งแท่นขุดเจาะน้ำมัน ยังคงส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติ ผู้เข้าร่วม ประชุ ม ได้ ตั้ งข้ อ สั งเกตถึ งการเปลี่ ยนแปลงที่ เกิ ด ขึ้ น คื อ พั น ธุ์ สั ต ว์น้ ำ และปริ ม าณสั ต ว์น้ ำ ลดน้ อ ยลง นอกจากนี้ จั งหวั ด นครศรีธรรมราชได้มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินบริเวณชายฝั่งและการทำเหมืองแร่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบ ต่อทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากมีการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ภูเขากลายเป็นภูเขาหัวโล้น และก่อให้เกิดมลภาวะจากฝุ่นละออง ทั้งยังมีปัญหาจากอุตสาหกรรมโม่หิน ซึ่งใช้เป็นวัสดุสำหรับก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ (mega project) ต่าง ๆ ทั้งนี้ โครงการ การทำเหมืองหินมีกระจายอยู่ทั่วภาคใต้ ทั้งในจังหวัดกระบี่ ตรัง และจังหวัดฝั่งทะเลอันดามันอีกหลายจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีข้อขัดแย้งกรณี การทำเหมืองโปแตซ ซึ่งเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในภูมิภาค ผู้เข้าร่วม ประชุมได้สะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของกิจกรรมการทำเหมืองแร่ต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ อากาศเป็นพิษ ดินเค็ม มี น้ำน้อยลง เกิดความเสียหายต่อสินค้าเกษตร ความอุดมสมบูรณ์ของสินค้าป่าน้อยลง กระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน ชาวบ้าน บางส่วน มีความเห็นว่า ‘ไม่อยากได้เหมืองเลย’ ไม่อยากให้มีแม้แต่การสำรวจ เพราะผลกระทบเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่ม กระบวนการสำรวจ นอกจากนี้ยังมีปัญหาว่าผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สามารถเดินทาง ‘ข้ามพื้นที’่ และ ‘ข้ามพรมแดน’ ได้ ยกตัวอย่าง เช่น มีการต่อต้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินโดยชาวบ้านในพื้นที่ ประเทศไทย บริษัทเจ้าของโครงการจึงย้ายโรงงานไปที่ ประเทศกัมพูชาบริเวณพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศไทย (บริษัทย้ายเป้าหมายไปในพื้นที่หรือประเทศที่มีการต่อต้านต่ำกว่า ) ถึงกระนั้นฝุ่นและสารเคมีต่าง ๆ ก็ถูกพัดกลับมาที่ประเทศไทย (แม้ไม่มีโครงการตั้งอยู่) ในขณะที่ภาคประชาสังคมจากภาคเหนือ ซึ่งเป็นพื้ นที่ที่มีการทำเหมือ งแร่มาอย่างยาวนาน ได้สะท้อนประเด็น ผลกระทบจากเหมืองทองคำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ที่ได้ปิดไปแล้ว แต่ยังคงส่งผลกระทบต่อชาวบ้านในพื้นที่ คือ การเปลี่ ยน ทิ ศทางลำห้ วยในหมู่ บ้ านใหม่ ซึ่งยั งไม่ ป ระสบผลสำเร็จ ส่ งผลให้ คมนาคมลำบาก และทำให้ น้ ำในหมู่ บ้ านใหม่ ไม่พ อใช้ นอกจากนี้น้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค และใช้ทำการเกษตรในพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงเหมืองแม่เมาะยังคงมีสารปนเปื้อน ไม่ สามารถนำมาใช้ดื่มกินได้ เช่นเดียวกับน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่ อยู่ใกล้เคียงเหมือง อำเภอลี้ ซึ่งประสบปัญหาวัว ควาย ใน พื้นที่เสียชีวิตจำนวนมาก และเมื่อย้ายสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ออกนอกพื้นที่ จำนวนการตายกลับลดลงอย่างมาก สะท้อนให้เห็นว่า แหล่งน้ำที่อยู่ใกล้เหมืองไม่ปลอดภัย นอกจากนี้ พื้นที่อำเภอลี้ ยังประสบปัญ หา พื้นที่รอบเหมืองเสื่อมโทรมกลายเป็น พื้นที่ร้างกว่า 3,000 ไร่ ซึ่งทาง เหมืองใช้วิธีการปลูกป่ายูคาลิปตัส ทั้งที่ไม้ยูคาลิปตัสเป็นไม้ที่สะสมพิษและทำให้ดินแตกระแหง เช่นเดียวกับชาวบ้านในเขตที่ ได้รับผลกระทบจากเหมืองถ่านหินแม่เมาะ ทีแ่ ม้ว่าทางจังหวัดได้สร้างหมู่บ้านเพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ 1,800 ครอบครัว อพยพ ไปอยู่นอกเขตสัมปทาน แต่ กลับพบปัญหาน้ำปนเปื้อนโลหะหนัก และหินปูน แม้แต่หมู่บ้านที่ห่างไปอีก 30-40 กิโลเมตรก็ ประสบปัญหาเดียวกัน ล่าสุดพบผู้ป่วยมะเร็งแล้ว 3 ราย ซึ่งปัญหาน้ำปนเปื้อนไม่ได้เกิดเพียงแค่หมู่บ้านรอบ ๆ เหมืองเท่านั้น แต่สารพิษยังได้ไหลตามแม่น้ำลงไป จนออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและกระทบไปทั้งประเทศ นอกเหนือจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและแหล่งน้ำธรรมชาติ บ้านแม่ทะยังได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละออง และปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่และโรงโม่หิน ซึ่งเป็นปัญหาที่ผู้เข้าร่วมเสวนาทุกกลุ่ม พบเจอร่วมกัน ทั้งการ ระเบิดหินแล้วเกิดมลพิษทางเสียงและฝุ่นละออง ถนนชำรุดจากหินถล่ม รถบรรทุกเข้ามาเยอะ น้ำปนเปื้อนจนบริโภคไม่ได้ 52


โดยตัวแทนจากแม่ทะกล่าวว่า อำเภอแม่ทะมีโรงโม่หินจำนวน 6 โรง ซึ่งมากที่สุดในจังหวัดลำปาง และกำลังขอสัมปทานเพิ่ม อีก 2 โรง ปัญหาเฉพาะของพื้นที่คือ โรงโม่อยู่ในเขตป่าเกือบ 100% ทำให้ต้องเสียทรัพยากรป่าไม้ไป ในขณะที่พื้นที่หมู่บ้านคลิตี้ล่าง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสารตะกั่วปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ปัจจุบันแม้ศาลจะ ตัดสินให้เหมืองเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นและบำบัดลำห้วยที่ปนเปื้อนแล้วก็ตาม สารตกค้างจากการทำเหมืองยังคงส่งผล กระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน เช่น ปู ปลา กุ้ง หอย ในลำห้วยไม่สามารถจับมาบริโภคได้ หรือ ไม่สามารถใช้น้ำจากลำห้วยมา ปลูกผักและบริโภคได้ ชาวบ้านจึงไม่มีน้ำสะอาดใช้ ต้องใช้โอ่งมารองน้ำในฤดูฝน พอหมดฤดูฝนก็ไม่มีทางเลือกจำเป็นต้องดื่ม น้ำจากลำห้วย อีกทั้งเวลาน้ำท่วม น้ำที่ไหลจากเหมืองแร่ไหลมาท่วมบนสนามเด็กเล่น สนามฟุตบอลเด็ก ชาวบ้านกลัวสารพิษ ที่ตกค้างในร่างกาย ต้องการให้นำสารพิษออกจากร่างกายด้วย ปัจจุบันมีบริษัท Better World Green ถูกว่าจ้างจากกรม มลพิษ เข้ามาดำเนินการฟื้นฟูลำห้วย โดยแผนในปีที่ 2 คือ เริ่มขุดลอกลำห้วย ปรับสภาพเหมืองแร่ให้มีสภาพปลอดภัย มีการ นำต้นไม้มาปลูกรอบ ๆ อย่างไรก็ตามชาวบ้านในพื้นที่ยังมีข้อสงสัยถึงประสิทธิภาพและความโปร่งใสของกระบวนการฟื้นฟูต่าง ๆ เช่น หลุมฝังกลบมีรอยรั่ว นอกจากพื้นที่หมู่บ้านคลิตี้ล่างแล้ว ยังมีการทำเหมืองในเขตป่าจังหวัดเพชรบุรี มีการระเบิดหิน และมีรถบรรทุกเข้า มาในชุมชนจำนวนมาก ปัจจุบันสัมปทานของเหมืองหลายเหมืองใกล้จะสิ้นสุด จึงเริ่มทยอยปิด ขณะที่พื้นที่จังหวัดอุทัยธานี และสุพรรณบุรี ได้รับผลกระทบจากหินถล่มจากการทำเหมืองแร่ลิกไนต์ ทำให้ถนนเสียหาย สัญจรลำบาก และป่าไม้เสียหาย จากการทำเหมืองแร่และยังไม่มีการฟื้นฟูใด ๆ 2. ความโปร่งใสของข้อมูลและการไม่ได้รับข้อมูลผลกระทบที่เป็นจริง ภาคประชาสังคมในทุกภูมิภาคได้สะท้อนไปในแนวทางเดียวกัน คือ มีข้อกังขาเรื่องความโปร่งใสของข้อมูล การได้มา ของข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องมักไม่เพียงพอ เข้าถึงได้ยาก และไม่ได้รับความน่าเชื่อถือจากภาค ประชาชน โดยเฉพาะข้ อมูลผลกระทบจากโครงการที่เป็ นจริง ซึ่ งภาคประชาสังคมได้สะท้ อนถึงการประเมิ นผลกระทบ สิ่งแวดล้อม พบว่า ธุรกิจมักใช้วิธีการหรือช่องว่างทางกฎหมายในการบิดเบือนการจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม อาทิ - การประเมินผลกระทบโดยการระบุ พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบแคบกว่าความเป็นจริง ทำให้การประเมินผล กระทบน้อยกว่าความเป็นจริง ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะถูกนำไปอ้างอิงในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ต่อไป - ในการประเมินผลกระทบมักประเมินโดยใช้วิธีคำนวณผลกระทบรายปัจเจก (Individual Impact) ซึ่งวิธีนี้ทำ ให้ ค่ าผลกระทบที่ ได้มี ข นาดเล็ ก ลง ในความเป็ น จริงผลกระทบที่ เกิ ด จริ งกั บ ชาวบ้ านเป็ น ผลกระทบสะสม (Cumulative Impact) - รัฐบาลบิดเบือนข้อมูลความเป็นจริง เช่น เหตุการณ์ที่บริษัทปล่อยกรดกำมะถันลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้ปลาตาย แต่รัฐบาลกลับให้ข้อมูลว่าเกิดจาก Plankton boom และผลจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ปัญหาการบิดเบือนข้อมูลและความโปร่ง ใสของการจัดทำรายงานผลกระทบ ทำให้รายงานมักไม่ได้รับการยอมรับ และขาดความเชื่อถือจากภาคประชาสังคม ซึ่งเกิดข้อสงสัยในหลายโครงการ โดยตัวแทนจากจังหวัดนครศรีธรรมราชชี้ให้เห็น ว่าโครงการที่เข้ามาดำเนินการในพื้นที่ไม่เปิดเผยผลประโยชน์ที่สังคมหรือชุมชนควรจะได้รับอย่างยุติธรรม เช่น ไม่เปิดเผย รายได้ที่ท้องถิ่นได้รับจากภาษีสรรพสามิตร ทำให้ประชาชนไม่สามารถทราบว่าภาษี ถูกนำมาใช้อย่างไร นอกจากนี้ ยังขาด 53


ข้อมูลของรายได้ที่ท้องถิ่น ‘ควรได้’ ตามมาตรฐานหรือหลักการของสากล โดยรายได้ที่ท้องถิ่นควรได้ คำนวณมาจากสัดส่วน ของกำไรที่บริษัทที่ได้รับสัมปทานได้รับ เพื่อนำมาพิสูจน์ว่า ส่วนที่หน่วยงานท้องถิ่นได้รับเป็นจำนวนน้อยกว่าที่ควรได้หรือไม่ เมื่อเทียบกับกำไรมหาศาลที่บริษัทได้รับ นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องการเปิดเผยผลกระทบต่อชุมชน เพราะหลายโครงการ สร้างผลกระทบต่อสังคมและชุมชน แต่ไม่เปิดเผยข้อมูลในประเด็นดังกล่าว ข้อมูลและกระบวนการจัดทำรายงาน EIA เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มักมีการดำเนินงานที่ ไม่โปร่งใสและขาดธรรมาภิบาล ก่อให้เกิดการตั้งคำถามจากภาคประชาชนเสมอมา โดยผู้เข้าร่วมประชุมกล่าวถึงกรณีดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า ‘รัฐบาลให้ สัมปทานก่อน แล้วจึงศึกษาผลกระทบภายหลัง’ ทั้งที่ควรศึกษาผลกระทบก่อน ทั้งผลกระทบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันให้สัมปทานแล้วค่อยศึกษาผลกระทบเปรียบเหมือนวลีที่ว่า ‘ปลิ้นนอกออกใน’ โดยประเด็นการไม่เปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ - ข้อมูลการให้สัมปทานในพื้นที่ ปัจจุบันไม่เปิดเผยข้อมูลว่าจะมีสัมปทานน้ำมัน เหมืองแร่ ในพื้นที่มากน้อย เพียงใด - ข้อมูล EIA ซึ่งชุมชนไม่มโี อกาสรับทราบข้อมูลโครงการ และไม่เคยได้รับข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ ในขณะเดียวกันในพื้นที่จังหวัดชุมพรมีประเด็นความไม่โปร่งใสขึ้นมาที่พบในพื้นที่ 3 ประเด็น ได้แก่ - การขุดเจาะน้ำมันริมฝั่งทะเล ทั้งบริษัทและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องไม่เสนอรายงานการประเมินให้ ประชาชนทราบ - รายได้ท้องถิ่นที่ได้รับจากการขุดเจาะปิโตรเลียม หน่วยงานส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับแต่กลับไม่รู้ว่าเงินที่ได้รับมี สัดส่วนเป็นเท่าไรเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ที่ภาคเอกชนได้รับ และเมื่อเปรียบเทียบกับผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อมแล้ว ถือเป็นรายได้ที่คุ้มค่าสำหรับท้องถิ่นหรือไม่ - การสัมปทานแร่หินและโรงโม่หินที่ไม่เปิดเผยข้อมูลแก่ประชาชน การขุดเจาะน้ำมันที่เกิดขึ้น ในจังหวัดชุมพร ประชาชนในชุมชนไม่ทราบข้อมูล เนื่องจากบริษัทไปขอสัมปทานกับ ภาครัฐ แต่ภาครัฐไม่เคยรายงานให้ประชาชนรับทราบข้อมูล ทั้งยังไม่สามารถขอข้อมูลจากบริษัทและรัฐบาลได้ ไม่มีการเสนอ รายงานการประเมิ น ผลกระทบ นอกจากนี้ ยั งตั้ งข้ อ สงสั ย ว่ า ทู ต สหรัฐ อเมริก ามาเยี่ ย มจั งหวั ด ชุ ม พรหลายครั้ ง โดยทู ต สหรัฐอเมริกาใช้วาระนี้เพื่อดูโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัด ทั้งที่จังหวัดชุมพรไม่ใช่จังหวัดใหญ่หรือหัวเมือง ความไม่กระจ่าง ดังกล่าวจึงทำให้ผู้ร่วมสนทนาท่านนี้แคลงใจว่ามีนัยยะอื่นแอบแฝงที่ไม่เปิดเผยให้ประชาชนทราบหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีกรณี อื่น ๆ ที่พบปัญหาเรื่องความโปร่งใสของข้อมูลและการเข้าถึงของข้อมูล อาทิ - การเข้ามาของทุนบางกลุ่มคาดว่าเป็นบริษัทเบียร์มาซื้อที่ดิน (ยังไม่เปิดเผย) ในจังหวัดชุมพร ซึ่งคาดว่าซื้อ เพราะต้องการแร่ทรายแก้ว สำหรับทำขวด (เดิมทีเป็นที่ตั้งสนามบินชุมพร เพื่อใช้เป็นแหล่งผลิตทรายแก้ว แล้ว ขนนำไปเผาที่จังหวัดระยอง) โดยกว้านซื้อที่ดินบริเวณ อ. ทุ่งตะโก แต่ยังไม่มีการดำเนินการ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ไม่ได้รับการเปิดเผย ทั้งที่บางโครงการอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมของชาวบ้านในพื้นที่ - การดำเนินงานของโรงโม่หิน ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานโรงโม่หิน ได้สนับสนุนการสร้างท่าเรือ เนื่องจากโรงโม่ จะได้รับผลประโยชน์ หากมีการสร้างท่าเรือน้ำลึก เนื่องจากท่าเรือต้องใช้หินถมบริเวณท่าเรือ แม้ว่าชาวบ้านใน พื้นที่ต่อต้านการสร้างท่าเรือดังกล่าว เพราะมีการเปลี่ยนชื่อภูเขาเป็นชื่อภูเขาที่สามารถขอสัมปทานได้ ชาวบ้าน รวมกลุ่มกันเกิดเป็นกลุ่มอนุรักษ์เขาตาพรหมเพื่อต่อสู้ในเรื่องนี้ 54


ในพื้นที่ภาคเหนือ ผู้เข้าร่วมประชุมให้ความเห็นว่าข้อมูลที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาโครงการต่าง ๆ พบว่าประชาชน ขาดข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ข้อมูลจากหลายแหล่งไม่ตรงกัน เช่น ข้อมูลด้านพลังงาน จึงไม่ทราบว่าอันไหนจริงหรือเท็จ สร้าง ความสับสนให้แก่ประชาชน และที่ผ่านมาไม่เคยทราบข้อมูลการได้สัมปทานต่าง ๆ เลย ข้อคิดเห็นข้างต้นสอดคล้องกับเวทีระดมความคิดเห็นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งประสบปัญหาความน่าเชื่อถือ ของข้อมูลที่รัฐและภาคเอกชนเปิดเผย และประชาชนทั่วไปเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องได้ยาก สาเหตุส่วนหนึ่งจาก - การทำงานของภาครัฐไม่เอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงข้อมูล เช่น ต้องบอกวัตถุประสงค์การใช้ข้อมูล ต้องบอกให้ ได้ว่าเกิดผลกระทบอะไร เกิดจากโรงงานจริงหรือไม่ จึงจะขอข้อมูลได้ (ซึ่งชาวบ้านไม่มีความรู้ ไม่มีข้อมูล จึงไม่ สามารถอธิบายผลกระทบที่น่าเชื่อถือได้) ข้าราชการที่ควรช่วยเหลือการทำงานของภาคประชาชนที่ได้รับ ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม กลับขาดความรู้ ความใส่ใจในการช่วยเหลือประชาชน เช่น ชาวบ้านขอคำปรึกษา แต่ ข้าราชการไม่สามารถให้คำตอบได้ - เอกชนบางกลุ่มอ้างว่าเป็นความลับทางธุรกิจ จึงไม่สามารถให้ข้อมูลแก่ประชาชนทั่วไปได้ ในขณะที่พื้นที่ภาคตะวันตกประสบปัญหาผลกระทบจากสารปนเปื้อน สารพิษตกค้างในร่างกาย ซึ่งชาวบ้านใน พื้นที่พยายามติดต่อขอข้อมูลจากสาธารณสุขมาตลอด โดยช่วงแรกทางหน่วยงานได้เข้ามาเจาะเลือดชาวบ้านเป็นประจำ ซึ่งผล การตรวจเลือดเป็นข้อมูลที่ชาวบ้านสามารถใช้เพื่อไปต่อสู้คดีได้ ภายหลังทางสาธารณสุขกลับไม่ได้เข้ามาเจาะเลือดเหมือนเดิม รวมถึงไม่มีการปฏิบัติตามแผนการดำเนินการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายที่วางไว้ 3. ปัญหาความแตกแยกภายในชุมชน/ ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ ผู้เข้าร่วมประชุมในหลายพื้นที่ได้แสดงถึงความวิตกกังวลจากปัญหาความแตกแยกที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งมีสาเหตุจาก ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ก่อให้เกิดความขัดแย้ง และในบางพื้นที่นำไปสู่ความรุนแรง ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว คือ มีความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์เกิดขึ้นระหว่างภาคธุรกิจกับชาวบ้าน โดยเฉพาะจากโครงการ Corperate Social Responsibility (CSR) ทำให้ ชาวบ้ านบางกลุ่ม แม้ ไม่ เห็ นด้ วยกั บ ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อ มที่เกิ ดขึ้ น แต่ม องว่าบริษั ท สร้างผลดีแ ก่ชุม ชน ชาวบ้านกลุ่มนี้จึงมองผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ (ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงมาจากชาวบ้านไม่ได้รับ ข้อมูลผลกระทบที่แท้จริง) นำไปสู่ความแตกแยกระหว่างผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในหมู่บ้าน นอกจากนี้ในพื้ นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประสบปัญ หาความแตกแยกในชุมชนตั้งแต่กระบวนการจัดทำ EIA เนื่องจากธุรกิจจะส่งผู้ประสานงานลงในพื้นที่โดยเป็นคนที่รู้ว่าคนไหนเป็นผู้นำชุมชน และใช้วิธีเข้าถึง ‘คนขายเสียง’ ได้ ก็จะ เข้าถึงกลุ่มคนเหล่านี้ ทำให้เกิดความขัดแย้งในชุมชนเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวแล้วไม่สามารถหาข้อยุติ ได้ ทำให้กระบวนการ ต่าง ๆ ต้องยุติลงกลางคัน เช่นเดียวกับกรณีท่าเรือน้ำลึกของจังหวัดชุมพรที่ต้องยุติลงเพราะความขัดแย้งเช่นกัน ในขณะที่ ตัวแทนจากจังหวัดสงขลาได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีในพื้นที่ คือ โครงการแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเล ซึ่งมีคนที่ทำ ประมงหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับประมงเป็นฝ่ายคัดค้านโครงการแท่นขุดเจาะ แต่บริษัทจะนำคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เขาเรียกว่า ‘ผู้นำ ชุมชน’ มาเป็นกลุ่มคนอีกฝั่งที่สนับสนุนบริษัท ทำให้เกิดการปะทะกับกลุ่มคนที่คัดค้าน นอกเหนือจากการใช้วิธี ‘ซื้อคน’ และจัดตั้งกลุ่มสนับสนุน การความสัม พันธ์แบบอุปถัมภ์เกิดขึ้นระหว่างภาคธุรกิจ กับชาวบ้านเป็นสิ่งที่ถูกสะท้อนจากพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่มักมีมุมมองว่า ธุรกิจเข้ามาเพื่อสร้าง ประโยชน์ อาทิ สร้างอาชีพ ให้เงินบริจาคในงานทอดกฐิน เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท การจัดตั้งกองทุนเยียวยาผลกระทบ ชุมชน เป็นต้น ผลประโยชน์ดังกล่าวถือเป็นบุญคุณที่ธุรกิจมีต่อชาวบ้านจึงไม่ควรเรียกร้องหรือต่อต้านธุรกิจนั้น ทำให้ชาวบ้าน 55


บางกลุ่มแม้ไม่เห็นด้วยและได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นแต่มองว่าบริษัทสร้างผลดีแก่ชุมชน และมองผลกระทบ ทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ นำไปสู่ปัญหาความแตกแยกระหว่างผู้ที่เห็ นด้วยและไม่เห็นด้วยในหมู่บ้าน และ ในบางพื้นที่ ผู้นำท้องถิ่นไม่ให้ชาวบ้านพูดถึงเรื่องผลกระทบ บางครั้งก็ยอมรับตรง ๆ ว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ของคนในพื้นที่ 4. การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้เกี่ยวข้อง/ได้รับผลกระทบโดยตรง ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในขั้นตอนที่รัฐอนุมัติโครงการทั้งที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุด ทั้งยังขาด กลไกการร้องเรียนหากได้รับผลกระทบ โดยผู้เข้าร่วมประชุมให้ความเห็นว่า มุมมองที่รัฐใช้คือการมองว่าทรัพยากรธรรมชาติ เป็นของรัฐ ไม่ใช่ของชุมชนหรือประชาชน อำนาจการตั ดสินใจและการบริหารจัดการจึงอยู่ที่ภาครัฐ ทำให้ขาดการมีส่วนร่วม ของประชาชน โดยมีตัวแทนจากจังหวัดนครศรีธรรมราชเสริมความเห็นดังกล่าวว่า การประมูลของภาครัฐไม่สร้างประโยชน์ สูงสุดให้แก่ประเทศ บทบาทของภาครัฐมักเอื้อประโยชน์ให้แก่นายทุน ประชาชนขอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการในอุตสาหกรรม ต่าง ๆ อย่างยากลำบาก ในขณะที่การดำเนิน การอนุมัติ มติองค์การบริห ารส่วนตำบล (อบต.) เกิดขึ้น อย่างรวดเร็ว ไม่มี ช่วงเวลาสำหรับประชาชนหรือชุมชนในพื้นที่คิดไตร่ตรองหรือขอคัดค้านได้ ปัญหาการจัดทำรายงาน EIA ของบริษัทไม่น่าเชื่อถือ เป็นปัญหาที่สำคัญ ที่ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดการมีส่วนร่วม จากภาคประชาชนที่แท้จริง เพราะผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงมักไม่มีส่วนร่วมในการทำ EIA โดยยกตัวอย่างกรณีของแท่นขุด เจาะน้ำมัน จังหวัดสงขลา ช่วงแรกที่โครงการแท่นขุดเจาะน้ำมันเริ่มเข้ามา ชาวประมงมีความกังวลและไม่กล้ามาร่วมทำ EIA และเชื่อว่าที่ EIA ผ่านได้จนสามารถติดตั้งแท่นขุดเจาะได้ เป็นเพราะบริษัทนำชุมชนที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น กลุ่ม ชาวสวนมาร่วมทำ EIA ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับประมงและทะเล เช่นเดียวกับกรณีการทำอุตสาหกรรมปิโตรเลียมใน พื้นที่จงั หวัด สุราษฎร์ธานี ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ประสบปัญหาการจัดทำ EIA ทีไ่ ม่เป็นไปตามหลักการ การปรึกษาหารือแบบมี ส่วนร่วมทีส่ มัครใจก่อนล่วงหน้า และได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอ (Free, prior, and informed consultation: FPIC) - Free: ชาวบ้านไม่มีอสิ ระในการตัดสินใจโดยปราศจากข่มขู่ บังคับ เช่น ทหารเข้ามาควบคุมการให้ความ คิดเห็นของชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเพราะกลัวว่าจะเกิดปัญหาตามมา - Prior: ชาวบ้านไม่ได้รับการแจ้งล่วงหน้าว่าจะมีโครงการหรือมีการหารือจากภาคประชาชน ชาวบ้านมักได้รับ เชิญเข้าไปแสดงความคิดเห็น 1-2 วันล่วงหน้าเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถเตรียมตัวได้ทัน - Inform: ชาวบ้านไม่ได้รบั ข้อมูลเพียงพอที่จะสามารถตัดสินใจได้ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทนำเสนอแต่ด้านดี ของโครงการ ผลกระทบที่ได้จากการประเมินไม่เป็นความจริง การประเมิน EIA ใช้ศัพท์เทคนิคที่เข้าใจได้ยาก - Consultation: ชาวบ้านไม่สามารถที่จะนำข้อมูลโครงการไปปรึกษาหน่วยงานจากภายนอก เนื่องจากการ ขอข้อมูลโครงการยากมาก นอกจากนี้ ยังมีช่องโหว่ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำ EIA ได้แก่ - ในขั้นตอนสำรวจทรัพยากรไม่ต้องผ่านกระบวนการ EIA ทั้งที่มีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม - ผลการประเมิน EIA ไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบความถูกต้องจากองค์กรภาคประชาชน 56


5. ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสูงเกินความเป็นจริง ผู้เข้าร่วมประชุมบางส่วนเห็นว่า โครงสร้างราคาพลังงาน ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน ค่า FT แพงขึ้นตลอดเวลา และขึ้นเร็ว มากในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการสร้างภาระแก่ ผู้บริโภคมากเกินไป โดยผู้เข้าร่วมประชุม ให้ความเห็นว่า คนในชนบทได้รับ ผลกระทบอย่างมากจากราคาพลังงานที่สูงเกินไป จึงต้องหันกลับไปใช้ฟืน ก่อให้เกิดปัญหาหมอกควัน ซึ่งทางกลุ่มอยากให้รัฐ พิจารณาเรื่องการขึ้นราคาพลังงาน และมีคำอธิบายว่าทำไมต้องขึ้น ข้อมูลที่มาจากภาครัฐมักจะเป็นแค่ข้อมูลส่วนเดียว ไม่ เปิดเผยทั้งหมด จึงสร้างความสับสนและทำให้ขาดเชื่อมั่นในหน่วยงานภาครัฐ 6. สาธารณูปโภคไม่เพียงพอต่อความต้องการ/การแย่งชิงน้ำ พื้นทีป่ ่า ระหว่างภาคเกษตรกรรมและ ภาคอุตสาหกรรม เมื่อมีการดำเนินงานโครงการภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ปัญหาด้านสาธารณูปโภคที่สำคัญ คือ ปัญหาการแย่งชิง น้ำระหว่างภาคอุตสาหกรรมและชุมชนซึ่งรวมไปถึง การใช้น้ำเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ในภาคตะวันออกซึ่งป็นพื้นที่ที่ รัฐบาลเข้ามาจัดการเรื่องน้ำเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ แก่ภาคอุตสาหกรรม และยังผลักภาระให้แก่ประชาชนภาคเกษตรกรรม ตัวอย่างเช่น อ่างเก็บน้ำ 4 อ่างประจำจังหวัดจันทบุรีที่เดิมถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับภาคเกษตรกรรม แต่ในปัจจุบันถูกรัฐบาล บิดเบือนวัตถุประสงค์ในการใช้ รัฐบาลประกาศให้ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำดังกล่าวเพื่อสนั บสนุนภาคอุตสาหกรรม หากชาวบ้าน ต้องการใช้ต้องขออนุญาตและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม 7. เกิดความเหลื่อมล้ำในชุมชน ชาวบ้านบางคนมองว่าตนได้รับผลกระทบทางลบมากกว่าประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ในขณะที่ชาวบ้าน อีกกลุ่มได้รับประโยชน์จากโครงการ เช่น การได้รับจ้างงาน 8. กฎหมาย เจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐเอื้อให้โครงการที่มผี ลกระทบเกิดง่ายขึ้น ในพื้นที่ภาคตะวันออกกฎหมาย EEC มีอำนาจสูงมาก การใช้กฎหมายดังกล่าวสร้างความกังวลแก่ชาวบ้านในพื้นที่ เป็นอย่างมากต่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำและทางอากาศที่เกิดขึ้นจากภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะจากโครงการลงทุน ขนาดใหญ่ในเขต EEC เช่น โรงงานไฟฟ้าถ่านหิน นอกจากนี้มีการปรับกฎหมายผังเมือง จากเดิมต้องมีการปรับผังเมืองทุก 5 ปี เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ ในปัจจุบันไม่มีกรอบเวลาดังกล่าว รวมถึงมีการวาง zoning ก่อนการ พัฒนาพื้นที่ แต่กลับรอให้ภาคอุตสาหกรรมลงทุนทางเศรษฐกิจเสร็จก่อนจึงวาง zoning ในขณะที่พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบปัญหาของข้าราชการในพื้นที่ใช้อำนาจในทางที่ผิดและบริหารงานอย่าง ไม่โปร่งใส ตัวอย่างเช่น กำนันผู้ใหญ่บ้านตัดสิทธิการได้รับเงินโอนจากรัฐ อาทิ สิทธิในการได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เงิน ช่วยเหลื อค่ าเก็บ เกี่ย ว หากเป็ น ผู้ไม่ เห็ น ด้วยหรือต่ อต้ านเอกชนที่ ข้าราชการท้อ งถิ่น สนั บ สนุน อยู่ ส่ วนในระดับ นโยบาย กฎหมายต่าง ๆ มีช่องว่างหรือเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มธุรกิจสามารถทำกิจการเหมืองแร่ได้ง่ายมากขึ้น เช่น ในการสำรวจเหมืองไม่ ต้องทำ EIA ทั้งที่เป็นกระบวนการที่สร้างผลกระทบให้แก่ชาวบ้านในพื้นที่อย่างมาก พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังได้รับผลกระทบจากกลไกของกฎหมายทีเ่ อื้อให้เกิดอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยรัฐบาล มีการแก้กฎหมายทำให้อุตสาหกรรมบางชนิดไม่ต้องผ่านการประเมิน EIA เช่น - โรงงานไฟฟ้าชีวมวลขนาด 9.6 เมกะวัตต์ที่จะเกิดขึ้นในจังหวัดมุกดาหารไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการ EIA 57


- การสำรวจขุดเจาะปิโตรเลียมโดย Seismic test การสำรวจพื้นที่ขั้นที่หนึ่ง ไม่ต้องทำ EIA เพียงต้องมีรายงาน ว่าทำอะไรไปบ้าง ไม่ต้องขอกรรมสิทธิ์การเข้าถึงพื้นที่ (ส่วนการสำรวจพื้นที่ขั้นที่สอง ที่ มีการระเบิดพื้นที่ ต้องมี การประเมิน EIA) นอกจากนี้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ EIA ยังมีช่องโหว่ โดยเฉพาะในกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ได้รับผลกระทบ ตาม กฎหมาย บริษัทไม่จำเป็นต้องให้ผู้ได้รับผลกระทบทุกคนรับรู้และมีส่วนร่วมในการรับฟังความคิดเห็น ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อมาคือ ชาวบ้านที่เข้าร่วมกระบวนการมีส่วนร่วมเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบจริง บางส่วนถูกจ้างมาเพื่อแสดงความคิดเห็น ในแง่ดีกับ โครงการเท่านั้น ในด้านบทบาทของหน่วยงานภาครัฐที่ไม่เป็นกลาง ผู้เข้าร่วมประชุมมองว่า หน่วยงานราชการวางตัวไม่เป็นกลางโดย การปกปิดข้อมูลข่าวสาร แจ้งข่าวสารไม่ชัดเจน ผู้นำชุมชนได้รับข่าวสารมาจากราชการแต่ไม่มาติดประกาศให้ชาวบ้าน เช่น เรื่องการขอสัมปทานโรงโม่ หากภายใน 30 วันไม่มีการคัดค้านให้ถือว่าผ่าน ผู้นำชุมชนจึงไม่ติดประกาศดังกล่าวปล่อยให้เวลา ล่วงเลยมานานโดยที่ชาวบ้านไม่ทราบเรื่องจนถึง 5 วันสุดท้าย นอกจากนี้ยังไม่มีความโปร่งใสของงบประมาณ เช่น การได้รับ ข้อเสนอจากโรงโม่ในพื้นทีว่าจะมอบเงิน 2 ล้านบาท รถ 1 คันและบูรณะวัดให้สวยงาม ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ โปร่งใส ชาวบ้านไม่รู้ที่มาที่ไปของข้อเสนอดังกล่าว เป็นต้น 9. อุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติยังไม่มรี ะบบตรวจสอบที่ดี 10. ขาดการเยียวยาชาวบ้านโดยใช้หลัก polluter pays principle /ความโปร่งใส ปัญหาที่พบในพื้นที่ภาคตะวันออก คือ เงินกองทุนส่วนใหญ่ไม่ถูกใช้เพื่อเยียวยาผลกระทบ แต่ถูกใช้เพื่อทำ CSR เพื่อ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บริษัทมากกว่าเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ชุมชนหลายแห่งมี กองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่ที่ควรถูกใช้เพื่อเยียวยาผลกระทบ แต่กลับพบปัญหาว่าในหลายพื้นที่เงินดังกล่าวถูก ใช้เพื่อทำ CSR ที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์ต่อบริษัท ยกตัวอย่าง เช่น ในจังหวัดสุรินทร์ โรงเรียนแห่งหนึ่งอยู่ข้างโรงโม่หิน ในฤดู หนาวจะมีควัน สารพิษ มาตกที่โรงเรียนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียน บริษัทแก้ไขโดยการเอาสแลนคลุม แจกหน้ากาก อนามัย ทั้งที่จริงควรมีการแก้ไขก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติ และนำเงินมาชดเชยชาวบ้านอย่างเหมาะสม 11. บทบาทภาคประชาสังคมไม่ได้รับการยอมรับ ปัญหาที่พบคือ บทบาทของภาคประชาสังคมไม่ได้รับการยอมรับ แสดงให้เห็นจากรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่จัดทำโดยภาคประชาสังคมที่ผ่านมา ไม่ได้รับการยอมรับจากภาคเอกชนและรัฐบาล นอกจากนี้ ภาคประชาสังคมบางส่วน ขาดอิสระในการทำงาน เนื่องจากถูกแทรกแซงจากรัฐบาลและยังขาดงบประมาณในการทำงานอีกด้วย 12. เรือขนส่งวิ่งผ่านพื้นที่ทำประมง ทำให้เครื่องมือประมงเสียหาย ประเด็นดังกล่าวถูกหยิบยกมาโดยกลุ่มประมงพื้นบ้าน ซึ่งสะท้อนความเห็นว่าเรือขนส่งสิ่งของของแท่นขุดเจาะน้ำมัน วิ่งผ่านพื้นที่ทำประมง ซึ่งมีเครื่องมือประมงอยู่ทำให้เครื่องมือประมงเสียหาย 13. การสร้างท่าเรือสนับสนุนอุตสาหกรรมขุดเจาะปิโตรเลียม

58


ท่าเรือน้ำลึกในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยท่าเรือดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อ อำนวยความสะดวกแก่อุตสาหกรรมขุดเจาะปิโตรเลียมแต่คนในพื้นที่กลับไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าว 14. ชุมชนถูกคุกคามจากอิทธิพลท้องถิ่น ทำให้ไม่อยากมีส่วนร่วมในการเรียกร้องสิทธิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่ที่สะท้อนปัญหาสำคัญในปัจจุบนั ที่ภาคประชาสังคมในพื้นที่กำลังประสบอยู่ คือ ปัญหาการถูกคุกคามทางสิทธิมนุษยชนจากผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น เพื่อไม่ให้มีส่วนร่วมในการเรียกร้องสิทธิ โดยที่ประชุมได้มี การสะท้อนเหตุการณ์ที่มีการขัดขวางชาวบ้านจากการเรียกร้องสิทธิ อาทิ - การขัดขวางไม่ให้เดินทางมาเรียกร้องสิทธิจากเจ้าหน้าที่ทหาร เช่น ตั้งด่านไม่ให้ชาวบ้านยื่นหลักฐานต่อศาล ข่มขู่คนขับรถไม่ให้ไปรับ-ส่ง - การคุกคามต่อความปลอดภัยของชีวิต เช่น มีทหารพร้อมอาวุธบุกรุกบ้านยามวิกาล การขู่กรรโชกว่าจะ ประหารชีวิต 7 ชั่วโคตรหากมีการเคลื่อนไหว คนที่ลุกขึ้นมาต่อต้านหายสาบสูญ การถูกเรียกตัวไปปรับทัศนคติ - การทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ทำให้ชาวบ้านถูกมองว่าเป็นตัวประหลาดในชุมชน เช่น เดินทางมาพูดคุยกับ ผู้ใหญ่บ้าน ญาติพี่น้อง ที่ทำงาน ว่าการเรียกร้องสิทธิอันตราย ไม่ดี ไม่ควรทำ สร้างความแตกแยก และบางครั้งถูก กล่าวหาว่ารับเงินจากบริษัทอีกด้วย - การเข้ามาควบคุม สอดส่องการกระทำของชาวบ้าน เช่น ส่งทหารเข้ามาแฝงตัวทำโครงการในชุมชน แต่ แท้จริงแล้วเข้ามาเพื่อสอดส่องการเคลื่อนไหวของชาวบ้าน ชุมชนตั้งข้อสังเกตว่า หลังเหตุการณ์รัฐประหาร ทหารได้เข้ามามีบทบาทในการกีดกันชุมชนมากขึ้น หัวหน้าชุมชนใช้อำนาจคุกคามชาวบ้านมากขึ้น 15. ประชาชนขาดความรูค้ วามสามารถเพียงพอที่จะต่อรองกับภาคเอกชน ปัจจัยส่วนหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้ภาคประชาชนอ่อนแอในการต่อสู้หรือเจรจาต่อรองระหว่างรัฐและเอกชนได้ไม่ดี คือ การขาดความรู้ที่จำเป็น อาทิ - ขาดความรูด้ ้านสิทธิมนุษยชน เมื่อชาวบ้านไม่เข้าใจว่าสิทธิของตนคืออะไร ก็จะถูกคุมคามโดยผู้มีอำนาจ ส่งผลให้ชาวบ้านกลัวการมีส่วนร่วม - ขาดความรู้ทางเทคนิค อาทิ ไม่เข้าใจวิธีการและผลตรวจคุณภาพดิน น้ำ อากาศที่รัฐบาลตรวจสอบให้ ไม่ สามารถประเมินได้ว่ากระบวนการทำ EIA หรือ EHIA ของบริษัทมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ - ขาดความรู้ในกระบวนการยุติธรรม อาทิ เมื่อมีปัญหาฟ้องร้อง ไม่รู้วา่ ต้องไปหาใคร พนักงานรัฐให้คำปรึกษา ไม่ได้ - ประชาชนที่อยู่พื้นที่ไม่เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนต่าง ๆ และไม่เข้าใจภาษาทางวิศวกรรมหรือศัพท์เทคนิค ต่าง ๆ โดยเฉพาะชุมชนชาติพันธุ์อื่น ๆ ในพื้นที่โครงการ 16. รัฐบาลไม่ปฏิบตั ิหน้าที่เพื่อรักษาสิทธิของประชาชน 59


เมื่อเกิดปัญหาข้อขัดแย้งเกี่ยวกับโครงการใด ๆ ขึ้น กระบวนการทำงานของรัฐมักไม่ได้อยู่บนพื้นฐานที่จะรักษาสิทธิ ชองประชาชน เช่น ภาครัฐมั กไม่รับฟั งข้อร้องเรียนจากประชาชน หน่วยงานราชการหลายหน่วยงานไม่ ให้ ความร่วมมื อ เนื่องจากมองว่าข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นสร้างปัญหาและภาระระหว่างหน่วยงานของตนและหน่วยงานรัฐอื่น ๆ 17. ปัญหาด้านพลังงานทดแทน ชาวบ้านในพื้นที่ อำเภอสันกำแพง อยากใช้พลังงานทดแทน แต่รัฐไม่อนุญาต ทั้งที่รัฐมีนโยบายสนับสนุนพลังงาน ทดแทน เช่น กรณีที่ชาวบ้านอยากลงทุนใช้ Solar Cell เพราะค่าไฟฟ้าในครัวเรือนจะถูกกว่าในระยะยาว แต่ไม่ได้รับการ อนุญาต โดยให้เหตุผลว่า แผงไม่ตรงตามแบบที่กำหนด และเมื่อมีชาวบ้านที่ทดลองทำเอง ปรากฏว่าสามารถประหยัดได้จริง แต่กลับถูกฟ้องดำเนินคดี (ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด) ซึ่งกรณีดังกล่าวมองว่าการไฟฟ้ามีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะถ้า เปิดเสรีด้านพลังงานจะทำให้การไฟฟ้าเสียลูกค้าและขาดทุน 18. ปัญหาเรื่องกองทุนน้ำมัน ผู้เข้าร่วมประชุมในเวทีอุตสาหกรรมพลังงานได้แสดงความคิดเห็นว่าต้องการให้ยกเลิกกองทุนน้ำมัน เนื่องจากมองว่า กองทุนถูกนำไปเอื้อให้เอกชน (ธุรกิจปิโตรเคมีของปตท.) ไม่ใช่ประชาชน หากยกเลิกกองทุนน้ำมันได้ประชาชนจะได้ใช้น้ำมัน ราคาถูกกว่านี้ลิตรละ 7-8 บาท และยังต้องการให้ออกกฎหมายแบบประเทศอินโดนีเซียที่ทรัพยากรธรรมชาติทุกอย่างที่ขุด ขึ้นมาได้ ประชาชนต้องได้ใช้ประโยชน์ก่อนและเมื่อสิ้นสุดสัมปทานแล้ว วัสดุ-อุปกรณ์ต้องคืนให้แก่รัฐและประชาชนเท่านั้น และต้องการให้เกิดการกระจายอำนาจ โดยมองว่าสิทธิชุมชนมีความสำคัญ ประชาชนท้องถิ่นต้องมีสิทธิร่วมบริหารจัดการ เพราะคนที่เสียหายที่สุดและรู้ดีที่สุดคือคนในท้องถิ่นนั้น 19. กองทุนพัฒนาพื้นที่รอบเหมือง/ โรงไฟฟ้า การตั้งกองทุนพัฒนาพื้นที่รอบเหมืองและโรงไฟฟ้าต้องมีความโปร่งใส ชุมชนในพื้นที่ต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลการ บริหารจัดการอย่างทั่วถึง ไม่เพียงเฉพาะกลุ่ม โดยการดำเนินกิจการเหมืองในพื้นที่แม่ทะมีการตั้งกองทุนพัฒนาพื้นที่รอบ เหมืองเพียงบางกลุ่มเท่านั้น ชาวบ้านไม่ได้มีส่วนร่วมในการตั้งกองทุนและไม่เคยทราบข้อมูลเกี่ยวกับกองทุน ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับการตัดสินใจในการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น การดำเนินโครงการในพื้นที่ การตั้งคณะกรรมการ ข้อมูลส่วนใหญ่ไม่มีการ เปิดเผยต่อสาธารณชน ทั้งยังไม่มีการรายงานไปยังสภาท้องถิ่นด้วย นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมยังสะท้อนความเห็นถึงการนำเงินกองทุนไปใช้ตามวัตถุประสงค์มากกว่าที่เป็นอยู่ เช่น การนำไปใช้เพื่อการแก้ปัญหาผลกระทบ การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ แต่หลายหน่วยงานนำเงินในส่วนนี้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ เช่น กองทุนรอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ แต่ละปีได้รับเงินสนับสนุนกองทุนปีละ 300 ล้าน งบประมาณจากเทศบาล องค์การบริหาร ส่วนตำบล และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาครวมกันมากกว่าพันล้านบาท แต่ไม่ถูกนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาเรื่องผลกระทบ ทั้ง สุขภาพและสิ่งแวดล้อม แต่กลับนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น สนับสนุนงานฤดูหนาว 1 ล้านบาท 20. ปัญหาด้านแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน ปัญ หาสืบเนื่องจากการมีโครงการอุตสาหกรรมเข้ามาในพื้นที่ คือ ปัญ หาที่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายถิ่นฐานของ แรงงาน โดยมีแรงงานต่างด้าวหลั่งไหลเข้ามาในพื้นที่เพื่อทำงานในพื้นที่เหมืองจำนวนมาก ซึ่งแรงงานต่างด้าวเข้ามาพร้อมยา 60


เสพติด นอกจากนี้จำนวนประชากรในพื้นที่ที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้เกิดปัญหาด้านมลภาวะ ไม่ว่าจะเป็นน้ำปนเปื้อน ฝุ่นละออง ในอากาศ เสียงดัง อากาศเสีย ถนนชำรุด เนื่องจากขาดการจัดการที่เหมาะสม 21. ปัญหาสิทธิในพื้นที่ทำกิน ชาวบ้านในพื้นที่เขตตะนาวศรีส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตอุทยาน ซึ่งยังไม่ได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านอย่ างเป็นทางการ ทำให้ การต่อสู้หรือร้องเรียนต่าง ๆ เมื่อได้รับผลกระทบไม่สามารถทำได้หรือทำได้ยาก 22. ประเทศไทยไม่มีองค์กรฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ ปัจจุบันประเทศไทยมีเพียงกรมควบคุมมลพิษ เป็นหน่วยงานที่ดูแลในประเด็นการฟื้นฟู แต่กรมควบคุมมลพิษไม่ได้มี ความสามารถเพี ยงพอที่จะทำงานด้านการฟื้น ฟูได้ แม้ จะมี การว่าจ้างหน่ วยงานเอกชนเข้ามาทำหน้าที่แต่ก็ไม่ ได้มีความ เชี่ยวชาญด้านนี้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังประสบปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างกรมควบคุมมลพิษและชาวบ้าน เช่น ไม่แจ้งว่า มีประชุม และไม่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้แสดงความคิดเห็นหรือสะท้อนปัญหา หน่วยงานเอกชนที่เข้ามาทำหน้าที่ก็ไม่ได้ ดำเนินการอย่างเต็มที่ เช่น ยังไม่ได้มีการจัดทำระบบน้ำประปาในชุมชนคลิตี้ล่างซึ่งประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค 4.3 การไม่ได้ข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่ภาคประชาสังคมต้องการ ในการขับเคลื่อนของภาคประชาสังคม สิ่งสำคัญในการเรียกร้องเพื่อนำไปสู่การเปิดเวทีเจรจาร่วมกับภาครัฐและ ภาคเอกชน คือ การมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นประเด็นที่บรรเทาได้หากมีการนำมาตรฐาน EITI มาใช้ในประเทศไทย ผู้เข้าร่วม สะท้อนว่าภาคประชาสังคมในหลายพื้นที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูล สำคัญได้ โดยภาคประชาสังคมได้สะท้อนถึงข้อมูลสำคัญที่มี อุปสรรคในการเข้าถึง ดังนี้ 4.3.1 อุตสาหกรรมเหมืองแร่ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ข้อมูลที่ภาคประชาสังคมในภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และ ภาคตะวันตก (รวมจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี อุทัยธานี และสุพรรณบุรี) ต้องการและเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ มีดังนี้ 1. ข้อมูลอาชญาบัตร สัมปทาน ใบแนบท้าย รายละเอียดการดำเนินโครงการ ผู้เข้าร่วมประชุมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ให้ความเห็นว่า อุปสรรคที่มักพบ คือ ข้อมูลประทานบัตรเข้าใจยาก สำหรับชาวบ้านในชุมชน ซึ่งเหมืองหนึ่งเหมืองจะมีหลายประทานบัตร การนำข้อมูลเกี่ยวกับแนวเขตของเหมืองมาสื่อสารกับ ชาวบ้านในพื้นที่ทำได้ยาก ข้อมูลดังกล่าวถือเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ชาวบ้านต้องการ โดยข้อมูลอาชญาบัตร ประทานบัตร ใช้เพื่อ ตรวจสอบรายละเอียดโครงการและป้องกันไม่ให้ผลกระทบเกิดขึ้น สามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ในมุมมองของผู้ใช้ ข้อมูล พบว่าข้อมูลที่รัฐบาลจัดสรรไว้ นำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ยากเนื่ องจากมีความซับซ้อน (ข้อมูลอยู่ในรูปของรหัส ) ไม่ สามารถทราบตำแหน่งที่แน่ชัดของบริเวณที่สำรวจ/ที่ตั้งโครงการได้เพราะที่ตั้งในประทานบัตรและอาชญาบัตรระบุละเอียด ที่สุดที่ระดับตำบลเท่านั้น 2. ข้อมูลผลกระทบที่เป็นจริงของโครงการ 61


ข้อมูลผลกระทบของโครงการมีผลต่อการตัดสินใจของชาวบ้านในการยอมรับหรือไม่ยอมรับโครงการ โดยเฉพาะใน กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ได้รับผลกระทบในการประเมิน EIA ปัญหาที่ชาวบ้านพบคือ - บริษัทไม่ให้ข้อมูลรอบด้าน ทั้งผลกระทบทางบวกและทางลบจากโครงการ - การประเมินผลกระทบน้อยกว่าความเป็นจริง เนื่องจากระยะที่ได้รับผลกระทบแคบกว่าความเป็นจริง นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขอข้อมูลประกอบเพื่อตรวจสอบเรื่องคุณภาพแหล่ง น้ำในพื้นที่เหมืองแม่เมาะ พบว่า หน่วยงานรัฐไม่เปิดเผยข้อมูลเรื่องคุณภาพน้ำ โลหะปนเปื้อนว่าเป็นชนิดใดและเกินมาตรฐาน หรือไม่ ขาวบ้านไม่เคยรับรู้เลย อีกทั้งชาวบ้านยังใช้น้ำ ในการเกษตรจำนวนมากอีกด้วย เช่นเดียวกับพื้นที่เหมืองแม่ทะ ซึ่งมี เจ้าหน้าที่ลงมาตรวจคุณภาพน้ำตลอด แต่กลับไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว ในขณะที่พื้นที่หมูบ้านคลิตี้ล่างไม่มีการจัดทำ แผนในการฟื้นฟูทั้งลำห้วย แต่เป็นเพียงการเอามลพิษออกแค่บางจุด ซึ่งไม่ถึง 1% ของมลพิษทั้งหมด การดำเนินการฟื้นฟูลำ ห้วยดำเนินการไปแล้ว 1 ปี แต่ไม่มีการแจ้งรายงานความก้าวหน้าให้แก่ชุมชนได้รับทราบ 3. แผนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ (แนวเขต ผังเมือง โครงการในอนาคต) ชาวบ้านไม่ทราบถึงแผนพัฒนาพื้นที่/แผนการใช้ทรัพยากรในแต่ละพื้นที่ ไม่มีส่วนร่วมในการวางผังเมือง ทำให้หลาย ครั้งโครงการเข้ามาโดยที่ชาวบ้านไม่ได้ตั้งตัว ไม่ทราบมาก่อน เป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้ชาวบ้านขาดความรู้ความเข้าใจเพื่อใช้ ต่อต้านและตรวจสอบโครงการที่ไม่ต้องการ 4. ข้อมูลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจ ผู้เข้าร่วมประชุมมองว่า ข้อมูลผู้ที่มีบทบาทการตัดสินใจทำโครงการ จะนำไปสู่การสืบสาวหาผู้ที่รับผิดชอบหากเกิด ปั ญ หา โดยข้ อ มู ล สำคั ญ ที่ ต้ อ งการ คื อ ข้ อ มู ล ผู้ ถื อ หุ้ น ผู้ ถื อ หุ้ น ที่ แ ท้ จ ริ ง ผู้ อ นุ มั ติ สั ญ ญา อาทิ คณะกรรมการพิ จ ารณา ข้าราชการจังหวัด เป็นต้น นอกจากนี้ ในหลายพื้นที่ชาวบ้านไม่ทราบว่าหน่วยงานแต่ละหน่วยงานมีหน้าที่ความรับผิดชอบใน ด้านใด หลายหน่วยงานรับเรื่องแล้วเก็บไว้ต่ไม่ดำเนินการต่อ ชาวบ้านต้องเดินเรื่องตามที่ต่าง ๆ ด้วยตนเอง 5. ข้อมูลรายได้ ภาษี ที่ได้จากการประกอบกิจการเหมืองแร่ และข้อมูลงบประมาณที่ใช้เยียวยาผลกระทบจาก โครงการ ชาวบ้านที่อยูในพื้นที่โครงการอยากทราบว่า เงินภาษี หรือเงินกองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองมีทั้งหมดเท่าไร และถูกนำไปใช้เยียวยาชาวบ้านหรือไม่ อย่างไร เพื่อเปรียบเทียบส่วนได้ส่วนเสียในการลงทุน สำหรับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองที่ผ่านมา ชาวบ้านประสบปัญหาการเข้าถึงข้อมูล การใช้เงินของกองทุน เพราะผู้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการกองทุนไม่ใช่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ แต่เป็นผู้ที่มีส่วนได้ เสียที่สนับสนุนโครงการเหมืองแร่ 6) แผนเยียวยาผลกระทบและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ

62


ปัจจุบันแผนการเยียวยาผลกระทบไม่มีความชัดเจน ขึ้นอยู่กับอำนาจต่อรองและข้อมูล (ผลกระทบที่เป็นจริง) ที่ ชาวบ้านได้รับ ในกรณีหมู่บ้านคลิตี้ล่างได้มีคำสั่งศาลฎีกาให้เหมืองต้องมีการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ชาวบ้านในหมู่บ้าน ปัจจุบันก็ยังไม่ได้มีการดำเนินการเยียวยาใด ๆ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่น ๆ ที่ภาคประชาสังคมต้องการนำมาใช้ แต่มีอุปสรรคในการเข้าถึง ดังสรุปในตารางที่ 8 ตารางที่ 8 รายละเอียดข้อมูลที่ภาคประชาสังคมต้องการนำมาใช้ แต่มีอุปสรรคในการเข้าถึง-อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ภาค ภาคตะวันออก ภาค รายละเอียดข้อมูล ภาคเหนือ ตะวันออก เฉียงเหนือ ตะวันตก** 1. แผนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ (แนวเขต ผังเมือง ลำ 3* 2 5 15* น้ำ โครงการในอนาคต) 2. ข้อมูลอาชญาบัตร สัมปทาน ใบแนบท้าย 3* 5* 19* 11 รายละเอียดการดำเนินโครงการ 3. ข้อมูลผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เป็นจริง 2 3 5 11 4. ข้อมูลรายได้ ภาษี และการนำภาษีไปใช้ 1 1 5. ข้อมูลกระบวนการผลิตโดยละเอียด 1 5 6. ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ 1 5 7. ข้อมูลการฟื้นฟูทรัพยากรรอบเหมืองหลังปิด 5 5 ดำเนินการ 8. ข้อมูลกองทุนพัฒนาพื้นที่รอบเหมือง 10 9. ข้อมูลการดำเนินกิจกรรม CSR ของธุรกิจ 5 10. ระบบการจัดการแบตเตอรี่ Solar Farm (จัดการ 5 สารพิษจากแผงอย่างไร) 11. กฎหมายที่เกีย่ วข้องกับการดูแลสิง่ แวดล้อม 5 หมายเหตุ * มีผสู้ ะท้อนสูงสุดในภูมิภาคนั้น ๆ **รวมจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี อุทัยธานี และสุพรรณบุรี 4.3.2 อุตสาหกรรมพลังงาน ภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ในภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ได้แสดงความคิดเห็นถึงข้อมูลที่ต้องการแต่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ดังนี้ 1. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เป็นจริง รายงาน EIA และรายงานผลกระทบด้านต่าง ๆ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เป็นจริง รายงาน EIA และรายงานผลกระทบด้านต่าง ๆ เป็นข้อมูลที่ ภาคประชาสังคมในภูมิภาคภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องการมากที่สุดแต่ไม่สามารถเข้าถึง แหล่งข้อมูลได้ ซึ่งตัวแทนจากจังหวัดนครศรีธรรมราชกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า ในอดีตบริษัททำงานสงเคราะห์ช่วยเหลือ ชุมชนผ่านกิจกรรม CSR และมักให้ข้อมูลด้านดีที่สวยงามเกี่ยวกับโครงการ แต่กลับไม่ให้ข้อมูลตามข้อเท็จจริง ยกตัวอย่างการ ขุดเจาะปิโตรเลียม ธุรกิจมักให้ข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์น้ำ และปะการังสามารถมีชีวิตอยู่ใต้แท่นขุดเจาะ แต่ในความเป็นจริงแล้วมี 63


ทั้งปัญหาคราบน้ำมัน สัตว์น้ำโดยทั่วไปลดน้อยลง และบริเวณแท่นขุดเจาะมีสัตว์น้ำมากน้อยแค่ไหนประชาชนไม่อาจทราบ ข้อเท็จจริงได้เพราะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในเขตแท่นขุดเจาะ ในขณะที่ตัวแทนจากจังหวัดสงขลาให้ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับ ประเด็นด้านสัตว์น้ำว่าในฤดูมรสุมมักมีเต่าทะเล โลมาตายเกยตื้นขึ้นฝั่งจำนวนมาก มีคนเข้ามาในพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลแต่ไม่ได้มี การแจ้งความคืบหน้าของการนำข้อมูลไปใช้ หรือชี้แจงแก่คนในชุมชนพื้นที่ชายฝั่งแต่อย่างใด ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมเสนอให้มี การรายงานคุณภาพสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอเป็นราย 6 เดือน หรือรายปี รวมถึงการ จัดทำรายงานผลกระทบต่อชุมชนด้านสุขภาพในพื้นที่เสี่ยง โดยบริษัทควรรายงานผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพของ ประชาชนด้วยเช่นกัน 2. แผนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ (แนวเขต ผังเมือง โครงการในอนาคต) ปัญหาที่พบในทุกพื้นที่ คือ ชาวบ้านในพื้นทีไ่ ม่ทราบมาก่อนว่าจะมีโครงการอะไรเกิดขึ้น จนกระทั่งถึงวันที่ต้องรับฟัง ความคิดเห็นตามที่กระบวนการ EIA กำหนด ในบางกิจกรรมที่ไม่จำเป็นต้องผ่าน EIA เช่น การสำรวจปิโตรเลียม ชาวบ้านรู้ว่า มีโครงการก็ต่อเมื่อมีการขนเครื่องจักรเข้ามาในพื้นที่ปฏิบัติการ ทำให้คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่ทันได้เตรียมตัวหรือเข้าไปมีส่วน ร่วมในการตัดสินใจตั้งแต่ขั้นตอนการอนุมัติโครงการ และช่วยกำกับการทำงานของเอกชน นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นว่า การแจ้งแผนการจัดสรรทรัพยากรล่วงหน้าควรเป็นหน้าที่ของรัฐ ไม่ใช่หน้าที่ ของ Enlaw ชาวบ้าน หรือภาคประชาสังคมอื่น ๆ ที่ต้องค้นหาและแจ้งข้อมูลดังกล่าว 3. ข้อมูลการปล่อยมลพิษที่เป็นสาธารณะ ข้อมูลการปล่อยมลพิษควรเป็นข้อมูลสาธารณะ โดยรูปแบบที่ใช้ในระดับสากลคือ อยู่ในลักษณะ “ทำเนียบการ ปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ หรือ Pollutant Release and Transfer Registers (PRTR)” โดยเป็นการกำหนดให้ทุก โรงงานที่ปล่อยมลพิษ ต้องมีรายงานว่าปล่องก๊าซของโรงงานปล่อยก๊าซเมื่อไร ก๊าซชนิดใดที่ถูกปล่อยออกมา 4. ข้อมูลบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ ข้อมูลบทบาทการสนับสนุนบริษัทพลังงานของภาครัฐในรูปแบบต่าง ๆ เช่น รายจ่ายของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง กับอุตสาหกรรมการผลิตและการสกัดทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมได้ตั้งข้อสงสัยถึงบทบาทการทำงานของกรม เชื้อเพลิงธรรมชาติ ในบริบทของประเทศไทย ซึ่งในมุมมองของผู้เข้าร่วมเห็นว่าบริษัทพลังงานมีบทบาท และอำนาจต่ อรอง เหนือกว่ากรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จึงอยากให้มีข้อมูลบทบาท หน้าที่ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติที่ชัดเจน เพื่อให้ประชาชน เข้าใจบทบาทของกรมฯ มากขึ้น 5. ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับโครงการและการสัมปทาน ข้ อ มู ล ของบริ ษั ท ที่ ด ำเนิ น การ รายชื่ อ ผู้ ถื อ หุ้ น พื้ น ที่ สั ม ปทาน อายุ สั ม ปทาน รายละเอี ย ดสั ญ ญาซึ่ งรวมถึ ง ผลประโยชน์ เงื่อนไขต่าง ๆ และรายได้ที่บริษัทเอกชนได้รับจากการดำเนินงานในพื้นที่สัมปทาน 6. ข้อมูลพื้นที่ขุดเจาะน้ำมัน ขนาดบ่อ และปริมาณที่สามารถขุดเจาะได้ ข้อมูลขนาดบ่อน้ำมันและปริมาณน้ำมันในแต่ละบ่อ เพื่อตอบคำถามเรื่องราคาน้ำมันประเทศไทยที่แพงกว่าประเทศ เพื่อนบ้าน เพราะที่ผา่ นมารัฐบาลให้ข้อมูลเพียงว่าประเทศไทยมีบ่อน้ำมันขนาดเล็ก โดยไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นตัวเลขแท้จริง 64


เพื่อให้ประชาชนคลายข้อสงสัยเรือ่ งราคาน้ำมัน โดยตัวแทนจังหวัดสงขลายกตัวอย่างราคาน้ำมันของประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์อยู่ที่ 19 บาทต่อลิตร ในขณะที่ประเทศไทย (พื้นที่จังหวัดสงขลา) มีราคา 29 - 30 บาทต่อลิตร ทั้งที่เป็นทีข่ ุดเจาะและ ผลิตน้ำมันได้เอง 7. ข้อมูลค่าใช้จ่ายของภาคเอกชนในการอำนวยความสะดวก และค่าประชาสัมพันธ์โครงการ ผู้เข้าร่วมประชุมต้องการให้เปิดเผยข้อมูลค่าใช้จ่ายในการสร้างมวลชนมาสนับสนุนโครงการ เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่า เสื้อผ้าให้ประชาชนสวมใส่ ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สนับสนุนมวลชนเช่นกัน นอกจากนี้ยังต้องการให้ภาคเอกชนเปิดเผยเงินใต้โต๊ะ และค่าอำนวยความสะดวกในการดำเนินโครงการที่จ่ายให้กับหน่วยงานภาครัฐ 8. มูลค่าของทรัพยากรธรรมชาติ ผู้ร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นว่าควรมีการประเมินมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ภูเขา ซึ่งมีมูลค่าทั้งทางตรง และทางอ้อม โดยตัวอย่างของมูลค่าของภูเขาที่ตีความได้ เช่น ชุมชนได้รับประโยชน์จากภูเขาในด้านการดำรงชีวิต ความ เป็นอยู่ การมีอาชีพ รวมถึงการเป็นทิวทัศน์ที่เห็นแล้วสบายตา โดยเปิดเผยข้อมูลมูลค่าดังกล่าวต่อสาธารณะ เพื่อให้สามารถ เปรียบเทียบมูลค่าดังกล่าวกับค่าสัมปทานว่าคุ้มค่าหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลอื่น ๆ ทีห่ น่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนควรเปิดเผยแก่ประชาชน ดังสรุปในตารางที่ 9 ทั้งนี้ ข้อมูลควรมีการจัดทำอย่างตรงไปตรงมา สามารถสื่อสารแก่ชุมชนได้ดี มีกรอบเวลาที่ชัดเจนในการแจ้งล่วงหน้า สามารถเข้าถึง ได้ง่ายและจัดทำข้อมูลดังกล่าวด้วยวิธีการที่น่าเชื่อถือ โปร่งใสด้วยเช่นกัน ตารางที่ 9 รายละเอียดข้อมูลที่ภาคประชาสังคมต้องการนำมาใช้ แต่มีอุปสรรคในการเข้าถึง-อุตสาหกรรมพลังงาน ภาคตะวัน ภาคตะวันออก รายละเอียดข้อมูล ภาคใต้ ภาคเหนือ ออก เฉียงเหนือ 1. ข้อมูลผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เป็นจริง รายงาน EIA – 6* 6* 15* และรายงานด้านผลกระทบอื่น ๆ 2. ข้อมูลสัมปทาน รายละเอียดการดำเนินโครงการ พื้นที่ 5 5 13 ขุดเจาะน้ำมัน ขนาดบ่อ และปริมาณที่สามารถขุดเจาะ ได้ 3. แผนเยียวยาผลกระทบและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ 3 4. ข้อมูลการนำเข้า ส่งออก และกำจัด ทรัพยากร 3 สารเคมีและอุปกรณ์ที่ใช้ 5. ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลรายได้ ภาษี และการนำภาษี 5 2 ไปใช้ และค่าใช้จ่ายของภาคเอกชนในการอำนวยความ สะดวก 6. ข้อมูลการปล่อยมลพิษที่เป็นสาธารณะ 1 2 7. แผนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ (แนวเขต ผังเมือง 1 10 โครงการในอนาคต) 8. บทบาทของภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มี 1 5 65


อำนาจตัดสินใจในแต่ละโครงการ 9. หลักสิทธิมนุษยชนและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 10. ข้อมูลแผนและการใช้พลังงานที่ถูกต้อง รวมถึงข้อมูล พลังงานหมุนเวียน และพลังงานทางเลือก 11. ข้อมูลกองทุนน้ำมัน 12. หลักการตั้งราคาพลังงานของรัฐ 13. ข้อมูลของ LPG และ NGV เกีย่ วกับคุณสมบัติว่า แตกต่างกันอย่างไร 14. ข้อมูลการส่งออกก๊าซและน้ำมัน 15. ราคาทุนของน้ำมันและก๊าซ และราคาส่งออก 16. ข้อมูลการพิจารณาการใช้พลังงานของประเทศ

-

-

1 -

-

-

-

11 11 6

-

-

-

6 6 11

16*

หมายเหตุ * มีผสู้ ะท้อนสูงสุดในภูมิภาคนั้นๆ 4.4 กระบวนการสรรหาคณะกรรมการภาคประชาสังคม สำหรับ EITI ประเทศไทย ในส่วนของกระบวนการสรรหากรรมการภาคประชาสังคม ผู้เข้าร่วมทุกภูมิภาคได้แสดงทัศนะที่หลากหลาย โดยสรุป จุดร่วมได้ดังต่อไปนี้ 1. การสรรหาคณะกรรมการตัวแทนภาคประชาสังคมควรใช้วิธีลงคะแนนเลือกในหมู่องค์กรภาคประชาสังคม/ ชุมชนท้องถิ่นเป็นหลัก ไม่ให้รัฐแต่งตั้ง 2. ควรมีกรรมการตัวแทนภาคประชาสังคมที่สรรหามาจากแต่ละภูมภิ าคด้วย เนื่องจากแต่ละภูมิภาคมีปญ ั หาและ ความท้าทายไม่เหมือนกัน ไม่ใช่มีเพียงตัวแทนจากองค์กรภาคประชาสังคมระดับชาติเท่านั้น 3. การดำรงตำแหน่งควรเป็นได้อย่างมากที่สุด 2 วาระ 4. การรับสมัครผู้ที่จะสมัครเป็นกรรมการควรใช้เงื่อนไขที่กว้างที่สุด อนุญาตให้มผี ู้สมัครจากกลุ่มทีไ่ ม่ได้จดทะเบียน เป็นนิติบุคคลได้ เนื่องจากการเป็นตัวแทนของพื้นที่จริง ๆ สำคัญกว่า และไม่ใช้ ‘การตกเป็นผู้ต้องหา’ หรือ ‘เคยต้องโทษใน คดีอาญา’ เป็นเงื่อนไขต้องห้ามของผู้สมัคร เนื่องจากการถูกกลั่นแกล้งหรือปิดปากด้วยกฎหมายเวลาพยายามทวงถามหรือ พิทักษ์สิทธิชุมชน เป็นปัญหาหนึ่งที่ชาวบ้านและองค์กรภาคประชาสังคมต้องเผชิญตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา สรุปประเด็นอภิปรายรายภาค จากเวที 4 ภูมิภาคครั้งแรกที่คณะวิจยั จัดการประชุมเชิงปฏิบตั ิการ ได้ดังต่อไปนี้

66


4.4.1 ภาคตะวันออก ตารางที่ 10 กระบวนการสรรหาคณะกรรมการภาคประชาสังคม - ภาคตะวันออก ข้อเสนอรูปแบบที่ 1 ประเด็นพิจารณา (อุตสาหกรรมพลังงาน) 1. รูปแบบการสรรหา เลือกตั้ง 2. จำนวนคณะกรรมการตัวแทนจาก ตัวแทนภูมิภาคละ 1 ท่าน ภาคประชาสังคม 3. ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง ไม่เกิน 2 ปี 2 วาระ 4. คุณสมบัติที่พึงประสงค์ - มีความซื่อสัตย์ มีคณ ุ ธรรม - มีความรู้ความสามารถ มีความ เชี่ยวชาญทางเทคนิคในเรื่องของ อุตสาหกรรมนั้น ๆ รวมถึงมีความรู้ อย่างกว้างในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น ความรู้ทางภูมิศาสตร์ ความรู้ ด้านสิทธิมนุษยชน การบริหารความ ขัดแย้ง - มีความเสียสละ มีความพร้อมด้าน เวลาในการอุทิศตนทำงานได้ - มีอุดมการณ์ และจุดยืนที่ชัดเจน เป็นที่ยอมรับ - รับฟังความคิดเห็นและมี ความสามารถในการนำข้อมูลมา สื่อสารแก่เครือข่ายได้ - มีประสบการณ์ในการทำงานภาค ประชาสังคมไม่ต่ำกว่า 3 ปี - คุณสมบัติพิเศษ ที่จะได้คะแนน เพิ่มเติม 1) มีความสามารถทางภาษา 2) เป็นผู้ที่ได้รบั ผลกระทบโดยตรง

5. คุณสมบัติต้องห้าม

- มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจใน อุตสาหกรรม - ดำรงตำแหน่งโดยตรงในธุรกิจใน

ข้อเสนอรูปแบบที่ 2 (อุตสาหกรรมเหมืองแร่) เลือกตั้ง ตัวแทนภูมิภาคละ 2 ท่าน ไม่เกิน 3 ปี 2 วาระ - มีความรู้ความสามารถ ความ เชี่ยวชาญ ในประเด็นทีเ่ กี่ยวข้อง - มีประสบการณ์การทำงานในภาค ประชาสังคมอย่างน้อย 3 ปี (มี ภูมิลำเนาในภูมภิ าคตะวันออก) - คณะทำงานทั้ง 10 ท่าน ต้องมี ภูมิลำเนาในภูมภิ าค หรือมี ประสบการณ์ในการทำงานภาค ประชาสังคมในภูมิภาคอย่างน้อย 10 ปี - คณะทำงานทั้ง 10 ท่าน ต้องมี ภูมิลำเนาในภูมภิ าค หรือมี ประสบการณ์ในการทำงานภาค ประชาสังคมในภูมิภาคอย่างน้อย 5 ปี - มีทักษะในการสื่อสารกับเครือข่าย และสามารถเจรจาต่อรองกับ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้ - มีอุดมการณ์ในการทำงานเพื่อ สาธารณะ รวมถึงมีจุดยืนทีเ่ หมาะสม เป็นที่ยอมรับจากเครือข่ายภาค ประชาสังคม - องค์กรเครือข่ายที่เข้าร่วมต้องมี ความโปร่งใสและมีหลักธรรมาภิบาล ในการทำงาน ตรวจสอบได้ - ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งใน ระดับประเทศหรือระดับท้องถิ่น - มีส่วนร่วมหรือรับตำแหน่งใด ๆ ใน 67


ประเด็นพิจารณา

6. องค์กรกลางในการประสานงาน

ข้อเสนอรูปแบบที่ 1 (อุตสาหกรรมพลังงาน) อุตสาหกรรมที่เกีย่ วข้องทั้งทางตรง และทางอ้อม รวมถึงตำแหน่งที่ ปรึกษาบริษัท - ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการใน หน่วยงานที่ไม่ใช่โครงสร้างของ ธุรกิจโดยตรง แต่ใช้เงินจากธุรกิจ เช่น กองทุน - ถือหุ้นโดยตรงในธุรกิจใน อุตสาหกรรมที่เกีย่ วข้อง ไม่มี

ข้อเสนอรูปแบบที่ 2 (อุตสาหกรรมเหมืองแร่) บริษัทหรือหน่วยธุรกิจใน อุตสาหกรรม รวมถึงที่ปรึกษาของ บริษัท สมาชิกในครอบครัวดำเนิน ธุรกิจในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือถือหุ้นในบริษัทใน อุตสาหกรรมที่เกีย่ วข้อง อาทิ ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจโรงโม่หิน ธุรกิจเหมืองแร่ ไม่มี

รายละเอียดเพิ่มเติม รูปแบบที่ 1 1. ทีป่ ระชุมเสนอให้มีการตั้งเครือข่ายองค์กรกลางในการดำเนินงานในการสรรหาคณะกรรมการ โดยมีการคัดเลือก ตัวแทนในระดับภูมิภาคเพื่อเป็นตัวแทนในการเป็นคณะกรรมการภาคประชาสังคมร่วมกับภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อน ประเด็นที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศ 2. ต้องมีองค์กรตัวกลางจากภาคประชาชนเป็นองค์กรกลางเครือข่ายเพื่อประสานงาน โดยองค์กรกลางที่ได้รับการ เสนอชื่อมีดังนี้ - มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค - มูลนิธิบูรณะนิเวศน์ - สมัชชาสิ่งแวดล้อม - มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม - คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน 3. โครงสร้างคณะกรรมการภาคประชาสังคม จำนวน 10 ท่าน โดยคัดเลือกตัวแทนภาคประชาสังคมภูมภิ าคละ 1 ท่าน ทั้ง 6 ภูมิภาค และเป็นตัวแทนภาคประชาสังคมกลาง อีก 4 ท่าน รูปแบบที่ 2 1. โครงสร้างคณะกรรมการภาคประชาสังคมแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ 68


- คณะทำงานระดับภูมิภาค ซึ่งได้รบั การคัดเลือก จำนวน 10 ท่าน ทั้งนี้จำนวนการคัดเลือกคณะทำงานระดับ ภูมิภาคอาจจะขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละภูมิภาค - คณะทำงานระดับภูมิภาคคัดเลือกตัวแทนจากคณะทำงานภูมภิ าคละ 2 ท่าน เพื่อเป็นคณะกรรมการภาค ประชาสังคมร่วมกับตัวแทนจากองค์กรภาคประชาสังคมหรือนักวิชาการที่ขับเคลื่อนประเด็นที่เกี่ยวข้องมาอย่าง ต่อเนื่องอย่างน้อย 5-10 ปี จำนวนอย่างน้อย 5 องค์กร ในการทำงานในคณะกรรมการ MSG 2. สำหรับบริบทของภาคตะวันออกไม่จำเป็นต้องมีองค์กรกลางที่ทำหน้าที่ในการประสานงานหลัก แต่ใช้วิธีการ ลงทะเบียนเครือข่ายองค์กรที่ขับเคลื่อนประเด็นที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายผู้ที่ได้รับผลกระทบ และเครือข่ายที่ขับเคลื่อนทาง วิชาการในการคัดเลือกตัวแทนภาคประชาสังคมในรูปแบบของภาคี 3. การลงทะเบียนองค์กรภาคี โดยจะต้องมีการจัดเวทีภาคประชาสังคมในวาระดังกล่าว เพื่อเปิดโอกาสให้องค์กร ต่าง ๆ ในการแสดงตัวตน 4. นักวิชาการต้องเป็นนักวิชาการที่มสี ่วนในการขับเคลื่อนภาคประชาสังคม ต้องไม่ใช่เป็นเพียงนักวิชาการใน สถาบันการศึกษาเพียงอย่างเดียว 4.4.2 ภาคใต้ ตารางที่ 11 กระบวนการสรรหาคณะกรรมการภาคประชาสังคม - ภาคใต้ ประเด็นพิจารณา ข้อเสนอที่ประชุม 1. รูปแบบการสรรหา ใช้กรรมการสรรหากลาง 2. จำนวนคณะกรรมการตัวแทนจากภาคประชาสังคม ไม่ระบุ 3. ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 2-3 ปี - มีผลงานที่ขับเคลื่อนประเด็นทีเ่ กี่ยวข้องในอุตสาหกรรม เป็นที่ประจักษ์ มากกว่าการดึงแนวร่วมประชาสังคมที่ ขับเคลื่อนในประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้อง - มีตัวแทนภาคประชาสังคมที่มาจากภูมิภาค เพื่อสะท้อน ประเด็นปัญหาหรือบริบทของภูมภิ าคต่าง ๆ - ต้องมีตัวแทนจากเครือข่ายผูไ้ ด้รับผู้กระทบ ทั้งนี้ 4. คุณสมบัติที่พึงประสงค์ เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบไม่จำเป็นที่จะต้องจัดตั้งเป็น นิติบุคคล - มีตัวแทนภาคประชาสังคมที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะใน รายประเด็น เช่น เหมืองแร่ ปิโตรเลียม ซึ่งที่ประชุมมอง ว่าตัวแทนเหล่านี้ทมี่ ีความเชี่ยวชาญในรายประเด็นเป็น ส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม - คณะกรรมการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมที่ 5. คุณสมบัติต้องห้าม เกี่ยวข้อง - ต้องไม่มตี ำแหน่งทางการเมือง 69


6. องค์กรกลางในการประสานงาน

มี

รายละเอียดเพิ่มเติม 1. ผู้เข้าร่วมได้เสนอข้อคิดเห็นว่า รูปแบบการจัดโครงสร้างของคณะกรรมการ MSG ที่น่าสนใจ คือ โครงสร้าง คณะกรรมการภาคประชาสังคมจากประเทศเมียนมา เนื่องจากเป็นรูปแบบที่มีกลไกในการส่งต่อให้กลุ่มอื่น ๆ ไม่จำกัดเฉพาะ คณะกรรมการระดับชาติในการมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรม ซึ่งในอนาคตกลไกเหล่านี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนการตรวจสอบระหว่าง กัน และในอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนเช่นนี้ กลไกตรวจสอบที่สำคัญคือการเพิ่มพื้นที่ของภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมที ละเล็กทีละน้อย เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและเปิดกว้างให้มากขึ้น 2. ต้องมีการจัดตั้งองค์กรกลางอย่างเป็ นทางการ เพื่อ เป็ นหน่ วยงานกลางในการดำเนินงานและทำหน้าที่เป็ น คณะกรรมการสรรหา โดยต้องมีเครือข่ายชุมชนผู้รับผลกระทบเป็นสมาชิก และต้องมีกฎหมายรองรับอำนาจหน้าที่ 3. โครงสร้างที่ใช้ในประเทศไทย ต้องพิจารณาโครงสร้างทางกฎหมายประกอบด้วย โดยเฉพาะกฎหมายการมีส่วน ร่วมของภาคประชาชน กฎหมายสิ่งแวดล้อม และกฎหมายด้านคอร์รัปชั่น ซึ่งต้องมีการพัฒนาควบคู่กันไป 4. สัดส่วนของภาคประชาสังคมต้องมีมากกว่าหรือเท่ากับสัดส่วนคณะกรรมการภาครัฐและภาคเอกชนรวมกัน เพื่อให้เกิดการคานอำนาจที่แท้จริง 4.4.3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตารางที่ 12 กระบวนการสรรหาคณะกรรมการภาคประชาสังคม - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ข้อเสนอรูปแบบที่ 1 ข้อเสนอรูปแบบที่ 2 ประเด็นพิจารณา (อุตสาหกรรมเหมือง) (อุตสาหกรรมพลังงาน) 1. รูปแบบการสรรหา เลือกตั้ง เลือกตั้ง 2. จำนวนคณะกรรมการตัวแทน ภาค ไม่ระบุ 2 ตำแหน่ง ประชาสังคม 3. ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง ไม่ระบุ 2 ปี 4. คุณสมบัติที่พึงประสงค์ - มีประสบการณ์ในการทำงาน - ผู้ประสงค์ลงสมัครต้องมีสังกัด ขับเคลื่อนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ เครือข่ายที่ชัดเจน และได้รบั ฉันทา อุตสาหกรรมสกัด มติจากเครือข่ายในการรับรอง ทรัพยากรธรรมชาติอย่างน้อย 5 ปี คุณสมบัติ เป็นที่ยอมรับของภาคประชาสังคม - ต้องมีความรู้ความสามารถ มีความ - มีภาวะความเป็นผู้นำ เชี่ยวชาญในประเด็นที่เกี่ยวข้อง - มีทักษะในการสื่อสาร - มีประสบการณ์ในการทำงานภาค - มีจิตอาสา และความเสียสละ ประชาสังคมในประเด็นที่เกี่ยวข้อง - เป็นตัวแทนของผู้ได้รับผลกระทบ อย่างน้อย 5 ปี หรือมีผลงานการ ขับเคลื่อนเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ - ต้องรู้ข้อมูลโครงการ ผลกระทบที่มี 70


ประเด็นพิจารณา

ข้อเสนอรูปแบบที่ 1 (อุตสาหกรรมเหมือง) -

5. คุณสมบัติต้องห้าม

6. องค์กรกลางในการประสานงาน

- มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจใน อุตสาหกรรม ทั้งทางตรงและ ทางอ้อมหรือธุรกิจที่อาจจะมี ประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจสกัด ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ธุรกิจ ก่อสร้าง ธุรกิจขนส่ง - ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้ง ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น หรือเป็นข้าราชการการเมือง - ทำงานในหน่วยงานที่มีส่วนในการ อนุมัติโครงการ มี (องค์กรเดิมที่มีอยู่แล้ว)

-

-

ข้อเสนอรูปแบบที่ 2 (อุตสาหกรรมพลังงาน) ในภูมิภาคอย่างกว้างขวาง ต้องมีทักษะการสื่อสารกับเครือข่าย ภาคประชาสังคมให้เข้าใจได้ และ สามารถเจรจาต่อรองกับภาครัฐและ ภาคเอกชนได้ มีส่วนเกี่ยวข้องในกลุ่มทุนทั้งทางตรง และทางอ้อม ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งใน ระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ เว้น แต่เป็นการดำรงตำแหน่งในอดีต เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ (อาชีพหลัก)

มี (เครือข่ายใหม่สำหรับ EITI)

รายละเอียดเพิ่มเติม รูปแบบที่ 1 1. จากการระดมความคิดเห็น ผู้เข้าร่วมประชุมให้ความเห็นว่า คณะกรรมการต้องมาจากการเลือกตั้ง โดยรูปแบบ โครงสร้างการทำงานของภาคประชาสังคมจากประเทศเมียนมามีความสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย ที่มีลักษณะและ บริบทของแต่ละภูมิภาคแตกต่างกัน ดังนั้นตัวแทนส่วนภูมิภาคควรมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนประเด็นต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามที่ประชุมเห็นว่า การดำเนินงานของประเทศอินโดนีเซียมีความน่าสนใจ จากประเด็น ‘การกำหนดหรือการจำกัด สิทธิ์ผู้ที่สามารถลงคะแนนเสียงจะต้องเป็นผู้ที่เป็นสมาชิกองค์กรเครือข่ายกลางเท่านั้น’ เพื่อป้องกันการจัดตั้งหรือการสวมรอย จากภาคประชาสังคม ที่มีผลประโยชน์แอบแฝง ส่วนผู้สมัครสามารถเป็นบุคคลจากภายนอกหรือเป็นผู้สมัครอิสระได้ 2. องค์กรกลางที่มาทำหน้าที่ในการดำเนินการสรรหาคณะกรรมการภาคประชาสังคม สมาชิกต้องเป็นสมาชิก เครือข่ายต้นสังกัดที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับองค์กรเครือข่ายที่สามารถเป็นองค์กรกลางในการประสานงานได้ เช่น มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรต่าง ๆ ที่ขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อม เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบแต่ละจังหวัด 3. การแบ่งพื้นที่ในบริบทของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออาจจะไม่ได้มีการแบ่งตามจังหวัด แต่จะเป็นการแบ่งเป็น พื้นที่เครือข่าย

71


รูปแบบที่ 2 1. รูป แบบที่ น่าสนใจที่ จะสามารถส่งเสริมความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม คือ รูปแบบการดำเนินงานของ ประเทศเมียนมา ซึ่งรูปแบบดังกล่าวมีเครือข่ายที่ทำงานในระดับพื้นที่ โดยอาจจะเป็นพื้ นที่ที่มีโครงการหรือพื้นที่ที่ได้รับ ผลกระทบ จากนั้นจึงรวบรวมสมาชิกทั้งหมดจัดตั้งเป็นเครือข่ายกลางระดับภูมิภาค และ ‘เป็นองค์กรเครือข่ายใหม่เพื่อการ ดำเนินงาน EITI โดยเฉพาะ’ 2. เครือข่ายหรือจังหวัดคัดเลือกตัวแทนเป็นการภายใน เพื่อเสนอชื่อให้แก่องค์กรเครือข่ายกลาง โดยผู้ทถี่ ูกเสนอชื่อ ถือเป็นผู้ประสานงานระดับพื้นที่ 3. ผู้ประสานงานระดับพื้นที่ทั้งหมด เลือกตั้งภายในเพื่อเลือกตัวแทนภูมิภาคในการดำรงตำแหน่งคณะกรรมการ MSG ภูมิภาคละ 2 ตำแหน่ง โดยตัวแทนภาคประชาสังคมทั้งหมดในคณะกรรมการ MSG มี 8 ตำแหน่ง อีก 2 ตำแหน่งเป็น ภาคประชาสังคมหรือนักวิชาการที่ขับเคลื่อนในระดับประเทศ 4. ต้องมีกลไกในการตรวจสอบ และถอดถอนคณะกรรมการ หากพบว่ามีการดำเนินงานที่มิชอบ 5. ต้องมีตัวแทนจากผูไ้ ด้รับผลกระทบในการมีส่วนร่วมในกระบวนการสรรหา 6. เครือข่ายต้องแสดงกระบวนการหรือกลไกการคัดเลือกตัวแทนที่ชัดเจน ตรวจสอบได้ 4.4.4 ภาคเหนือ ตารางที่ 13 กระบวนการสรรหาคณะกรรมการภาคประชาสังคม - ภาคเหนือ ข้อเสนอรูปแบบที่ 1 ประเด็นพิจารณา (อุตสาหกรรมเหมือง) 1. รูปแบบการสรรหา เลือกตั้งจากภูมิภาค 2. จำนวนคณะกรรมการตัวแทนภาค จำนวนทั้งคณะต้องมีอย่างน้อย 2 ใน 3 ประชาสังคม ของคณะกรรมการทั้งหมด 3. ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 2 ปี ไม่เกิน 2 วาระ 4. คุณสมบัติที่พึงประสงค์ - มีจิตอาสา - หากเคยทำงานในองค์กรเอกชนใน อุตสาหกรรมสกัด ทรัพยากรธรรมชาติ ต้องมีผลงานใน ภาคประชาสังคมในประเด็นที่ เกี่ยวข้องเป็นที่ประจักษ์ - เป็นตัวแทนของผู้ได้รับผลกระทบ 5. คุณสมบัติต้องห้าม - นักการเมืองทุกระดับ - เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในตำแหน่งที่มีสว่ น เกี่ยวข้อง

ข้อเสนอรูปแบบที่ 2 (อุตสาหกรรมพลังงาน) เลือกตั้ง 10 ตำแหน่งจาก 20 ตำแหน่ง 2 ปี ไม่เกิน 2 วาระ - มีประสบการณ์ในการขับเคลื่อนภาค ประชาสังคมในประเด็นที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 5 ปี

- มีผลประโยชน์ทับซ้อนใน อุตสาหกรรมที่เกีย่ วข้อง - ทำงานในภาคเอกชนหรือภาครัฐใน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 72


ประเด็นพิจารณา

6. องค์กรกลางในการประสานงาน

ข้อเสนอรูปแบบที่ 1 (อุตสาหกรรมเหมือง)

มี

ข้อเสนอรูปแบบที่ 2 (อุตสาหกรรมพลังงาน) - นักการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและ ระดับประเทศ - นักวิชาการที่เคยได้รับประโยชน์จาก ภาคธุรกิจที่เกีย่ วข้อง เช่น ทุนวิจัย มี

รายละเอียดเพิ่มเติม รูปแบบที่ 1 1. โครงสร้างของคณะกรรมการ MSG ตัวแทนจากภาคประชาสังคมควรประกอบไปด้วย ภาคประชาสังคมในระดับ ภูมิภาค นักวิชาการ องค์กรภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ และ ตัวแทนจากพื้นที่ที่มีโครงการเฉพาะขนาดใหญ่และสร้างผลกระทบเป็นกรณีพิเศษ เช่น โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา 2. ต้องมีเครือข่ายกลางเฉพาะ เพื่อเป็นศูนย์ในการดำเนินงาน รวบรวมเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งนี้เนื่องจากบางเครือข่าย ไม่ได้มีการจัดตั้ง หรือจดทะเบียนอย่างเป็นทางการ เครือข่ายกลางทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติการทำงานและรับรองสถานะ ของเครือข่ายดังกล่าว อย่างไรก็ตามผูส้ มัครจะมีสังกัดหรือไม่มีสังกัดก็ได้ 3. แต่ละภูมิภาคใช้สิทธิ์ในการเลือกตัวแทนของตนเพื่อเป็นตัวแทนในคณะกรรมการ MSG และสามารถตรวจสอบ การทำงานตัวแทนของตนได้อย่างอิสระ นอกจากนี้หากพบว่าตัวแทนไม่ได้ทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถหรือบกพร่องใน หน้าที่ เครือข่ายระดับภูมิภาคควรสามารถถอดถอนตัวแทนของภูมิภาคตนได้ รูปแบบที่ 2 1. ใช้วิธีการคัดเลือกตัวแทนในระดับภูมิภาคมาเป็นตัวแทนในคณะกรรมการ MSG 2. ผู้สมัครเป็นตัวแทนระดับภูมภิ าคไม่จำเป็นต้องสังกัดองค์กร สามารถสมัครในนามปัจเจกได้ แต่ต้องได้รบั การ รับรองจากเครือข่ายภาคประชาสังคมหรือชุมชนที่เกี่ยวข้องที่ตนทำงานด้วย ทั้งนี้เครือข่ายดังกล่าวไม่จำเป็นที่จะต้องจด ทะเบียนนิติบุคคล 3. องค์กรกลางที่มีศักยภาพ และเป็นที่ยอมรับในการทำหน้าที่ อาทิ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น เครือข่ายปฏิรูป พลังงาน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายประชาชนต่อต้านคอร์รัปชั่น

73


4.4.5 ภาคตะวันตกและจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี อุทัยธานี และสุพรรณบุรี ตารางที่ 14 กระบวนการสรรหาคณะกรรมการภาคประชาสังคม - ภาคตะวันตกและจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี อุทัยธานี และ สุพรรณบุรี ประเด็นพิจารณา ข้อเสนอที่ประชุม 1. รูปแบบการสรรหา คัดเลือกจากภูมภิ าค 2. จำนวนคณะกรรมการตัวแทนจากภาคประชาสังคม ไม่ระบุ 3. ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 1 ปี ไม่เกิน 2 วาระ - ต้องมีองค์กรหรือเครือข่ายการทำงานในพื้นที่รับรอง - กรณีที่เป็นผูส้ มัครเป็นปัจเจก จะต้องมีประสบการณ์การ 4. คุณสมบัติที่พึงประสงค์ ทำงาน ความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมในประเด็นต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม - ผู้ทดี่ ำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งในระดับชาติและ ท้องถิ่น หากเป็นผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งมาก่อน ต้องมี 5. คุณสมบัติต้องห้าม ระยะเวลาเว้นว่างทางการเมืองระยะหนึ่งที่เหมาะสม - มีผลประโยชน์ทับซ้อนในอุตสาหกรรม 6. องค์กรกลางในการประสานงาน มี รายละเอียดเพิ่มเติม 1. ตัวแทนภาคประชาสังคมจะต้องมีนักวิชาการเข้าร่วม ซึ่งทำหน้าที่ศกึ ษาและสนับสนุนข้อมูลต่าง ๆ ในเชิงวิชาการ 2. ต้องมีตัวแทนระดับภูมภิ าคในการเข้าร่วมในคณะกรรมการ MSG เพื่อสะท้อนประเด็นต่าง ๆ หรือบริบทของแต่ ละภูมิภาคอย่างแท้จริง 3. จำนวนตัวแทนภาคประชาสังคมต้องมีจำนวนมากกว่าตัวแทนภาครัฐหรือภาคเอกชน 4. ให้อิสระแต่ละภูมภิ าคในการคัดเลือกในรูปแบบของตนเอง โดยเครือข่ายของระดับภูมิภาคจะต้องเป็นองค์กร สมาชิกขององค์กรภาคประชาชนกลาง 5. องค์กรกลางทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประสานงานการสร้างความเข้มแข็ง ขยายเครือข่ายเฝ้าระวังในแต่ละ ภูมิภาค และพัฒนาศักยภาพของภาคประชาสังคม

74


4.5 ข้อกังวลต่อการใช้มาตรฐาน EITI ในประเทศไทย ในการจัดเวทีระดมความคิดเห็น ทุกพื้นที่ คำถามหนึ่งที่คณะวิจัยถามผู้เข้าร่วม คือ มีข้อกังวลใดบ้างถ้าหากมีการนำ มาตรฐาน EITI มาใช้ในประเทศไทย เนื่องจากข้อกังวลดังกล่าวอาจเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินมาตรฐาน EITI และการรับมือหรือ บรรเทาข้อกังวลเหล่านี้น่าจะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการรณรงค์ให้ภาคประชาสังคมและชุมชนท้องถิ่นประสงค์ที่จะเข้ามามีส่วน ร่วมกับ EITI มากขึ้น ผู้เข้าร่วมประชุมได้สะท้อนข้อกังวลต่าง ๆ ที่หลากหลายดังต่อไปนี้ 1) การนิยามคำว่า ‘ภาคประชาสังคม’ การตรวจสอบองค์กรภาคประชาสังคมและความน่าเชื่อถือขององค์กร รวมถึงการเป็นที่ยอมรับภายในภาคประชาสังคม กันเองว่าหน่วยงานไหนที่ได้การยอมรับในการขับเคลื่อนประเด็นต่าง ๆ โดยไม่ได้มีผลประโยชน์อื่นทับซ้อน เป็นประเด็นสำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการนิยามการเป็นภาคประชาสังคมให้ชัดเจน และเป็นที่เข้าใจตรงกันว่าหมายถึงกลุ่มใด เช่น หากมีธุรกิจหนึ่งให้ การสนับสนุนในการจัดตั้งเครือข่ายอาสา จะถือเป็นภาคประชาสังคมที่มีสิทธิ์เข้าร่วมการคัดเลือกคณะกรรมการหรือไม่ 2) ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้จากภาครัฐ ตัวแทนบางท่านจากภาคใต้แสดงความวิตกกังวลถึงความน่าเชื่อของข้อมูลที่ได้จากภาครัฐ เนื่องจากที่ผ่านมามองว่ารัฐ มีการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่โปร่งใส ดังหากมีการใช้มาตรฐาน EITI ภาครัฐควรต้องแสดงความโปร่งใสของระบบจัดเก็บข้อมูลด้วย 3) การไม่ไว้วางใจในความจริงจังและจริงใจในการใช้มาตรฐาน EITI ของรัฐบาล เนื่ อ งจากในหลายครั้ งที่ ตั ว แทนภาครั ฐ ไม่ ท ำหน้ า ที่ ก ำกั บ ดู แ ลด้ า นการให้ ข้ อ มู ล ของภาคเอกชน การเพิ ก เฉยก็ เปรียบเสมือนการเข้าข้างภาคเอกชน เมื่อภาครัฐไม่ทำหน้าที่ ต่อให้มีมาตรฐานสากล เกรงว่าจะกลับเข้าสู่วังวนเดิม เช่น กรณี หลังจากที่มีการปิดเหมือง ชาวบ้านไม่มีความสามารถที่จะติดตามหรือเข้าถึงข้อมูลการฟื้นฟูต่าง ๆ ได้ ต้องอาศัยหน่วยงานภาครัฐ การจัดเวทีความร่วมมือทั้งสามฝ่ายต้องอาศัยภาครัฐเข้ามาจัดการ 4) การไม่ไว้วางใจในการดำเนินงานของภาครัฐ เนื่องจากที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐมักจะบิดเบือนวัตถุประสงค์เมื่อลง มือปฏิบัติจริง 5) มีความกังวลว่าหน่วยงานธุรกิจจะเข้าไปมีอิทธิพลต่อหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงความเป็นกลางของภาครัฐ 6) ผู้เข้าร่วมบางท่านเสนอว่า การตั้งคณะกรรมการ MSG ไม่ควรให้สัดส่วนที่เท่ากันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาค ประชาสังคม ควรให้สดั ส่วนภาคประชาสังคมมากกว่าภาครัฐ และเอกชน เนื่องจากไม่วางใจภาครัฐที่มกั ออกเสียงเอื้อประโยชน์ ภาคเอกชนเสมอ 7) ผู้เข้าร่วมจากหลายพื้ น ที่ มี ความกั งวลว่ามาตรฐาน EITI จะเป็ น หนึ่งในเครื่อ งมื อที่ ส ร้างความชอบธรรมให้ แก่ ภาคเอกชนในการดำเนินโครงการต่าง ๆ มากกว่าที่จะเอื้อประโยชน์แก่ภาคประชาชน นอกจากนี้หากมีการใช้มาตรฐานดังกล่าว นั่นหมายถึงภาคประชาชนยอมรับให้มีโครงการต่าง ๆ เช่น เหมือง การขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ในพื้นที่ต่าง ๆ เกิดขึ้น หรือไม่ หรือมีช่องทางไหนที่ EITI จะสามารถช่วยภาคประชาชนในกรณีที่ไม่ต้องการให้เกิดโครงการในพื้นที่ได้ 75


8) EITI สากล จะมีบทบาทในการช่วยเหลือให้ภาคประชาชนในประเทศไทยเข้มแข็งได้อย่างไร 9) หากมีการใช้มาตรฐาน EITI จริง จะมีกฎหมายมารองรับหรือมีอำนาจทางกฎหมายจริงหรือไม่ ในการตรวจสอบ หรือการเปิดเผยข้อมูล 4.6 ข้อเสนอแนะจากการประชุมเสวนา “มาตรฐาน Extractive Industries Transparency Initiative (EITI) กับก้าว ต่อไปของภาคประชาสังคมไทย” การประชุมเสวนา “มาตรฐาน Extractive Industries Transparency Initiative (EITI) กับก้าวต่อไปของภาคประชา สังคมไทย” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562 โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 65 ท่าน ประกอบด้วย ตัวแทนภาคประชาสังคมที่เคยมี ส่วนร่วมในการประชุมก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการใช้มาตรฐาน EITI ในปี 2558 และ 2559 จำนวน 39 ท่าน และตัวแทนภาคประชา สังคมที่มีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็นในแต่ละภูมิภาค จัดโดยคณะวิจัย ทั้ง 5 ภูมิภาคจำนวน 26 ท่าน โดยมีการแสดงความ คิดเห็นเกี่ยวการใช้มาตรฐาน EITI ในประเด็นต่อไปนี้ 4.6.1 ข้อกังวลการใช้มาตรฐาน EITI 1) การนิยามขอบเขตของ “ภาคประชาสังคม” นิย ามภาคประชาสังคมต้อ งมี ความชั ด เจน โดยจะต้ อ งไม่ มี เครือ ข่ ายที่ มี ค วามสัม พั น ธ์กั บ ภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Connected person) ในอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ เช่น บุคคลในครอบครัว นักวิชาการที่ได้รั บเงินทุนสนับสนุน ในขณะเดียวกันตัวแทนจากภูมิภาคได้ เสนอให้ระบุเป็น ‘ภาคประชา สังคมและผู้ได้รับผลกระทบ’ เพื่อให้สงวนสิทธิ์ของประชาชนในพื้นที่ที่มีโครงการอยู่ หากนิยามคำว่าภาคประชาสังคมนั้นกว้าง และมีการนิยามที่หลากหลาย 2) การนิยามขอบเขตของ “อุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ” หากประเทศไทยมีการผลักดันการใช้มาตรฐาน EITI ต้องมีการระบุขอบเขตของอุตสาหกรรมที่เกีย่ วให้มีความชัดเจน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมต่อเนื่องหรือเกี่ยวข้องกับพลังงาน เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน การผลิตพลังงานทดแทน เข้าข่ายอุตสาหกรรมที่ ต้องเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานหรือไม่ 3) ความสำคัญของการใช้มาตรฐาน EITI เนื่องจากมูลค่าอุตสาหกรรมสกัดในประเทศไทย เช่น แหล่งพลังงานฟอสซิล แหล่งก๊าซธรรมชาติ มีปริมาณน้อยและมี สัดส่วนความสำคัญต่อเศรษฐกิจน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับความสำคัญของอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ ต่อเศรษฐกิจ ในกลุ่มประเทศที่เป็นกรณีศึกษา ซึ่งทุกประเทศมีทรัพยากรจำนวนมาก นอกจากนี้ประเทศไทยได้ลดสัดส่วนการผลิตสู่การ นำเข้าวัตถุดิบในอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น อุตสาหกรรมถ่านหิน ดังนั้นเมื่ออุตสาหกรรมไม่ได้มีความสำคัญมากนักจำเป็น หรือไม่ที่จะต้องมีการนำมาตรฐาน EITI มาใช้ อย่างไรก็ตามผู้ร่วมประชุมได้ให้ความเห็นเพิ่มเติม ว่าการใช้มาตรฐานดังกล่าวนั้นจะเป็นประโยชน์ในแง่ของการนำ ข้อมูลไปใช้ประโยชน์ และการมีเวทีกลางในการเปิดโอกาสให้มีการเจรจาในประเด็นที่มีความขัดแย้งจากทุกฝ่าย 76


4.6.2 กระบวนการคัดเลือกคณะกรรมการ ในที่ประชุม ผู้เข้าร่วมจากเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) เห็นว่าคณะกรรมการ EITI ภาคประชาสังคม ได้ผ่านกระบวนการคัดเลือกและจัดตั้งอย่างเป็นทางการแล้วตั้งแต่ ต้นปี พ.ศ. 2559 แต่ไม่ขัดข้องหากจะมีกรรมการ EITI ภาค ประชาสั งคมที่ คั ด เลือ กจากภู มิภ าค มาเข้าร่ วมในคณะกรรมการ โดยผู้เข้ าร่วมจาก คปพ. เสนอว่า ควรนำคุ ณ สมบั ติข อง คณะกรรมการที่ได้มีการนำเสนอในการประชุมการจัดตั้งคณะกรรมการ MSG ครั้งที่ 2 ปี 2559 มาใช้เป็นกรอบในการพิจารณา คุณสมบัติของกรรมการตัวแทนภาคประชาสังคมด้วยเช่นกัน โดยคุณสมบัติดังกล่าวมีดังนี้ 1) ต้องไม่มผี ลประโยชน์ทับซ้อน ทั้งทางตรงและทางอ้อมกับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ 2) ต้องไม่เคยได้รับผลประโยชน์จากอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ ถ้าเคย จะต้องพิสจู น์ถึงความไม่เกี่ยวข้อง กับธุรกิจดังกล่าว 3) มีประวัติการทำงานเพื่อประโยชน์ของภาคประชาสังคมอย่างต่อเนื่อง 4) ต้องเป็นที่ยอมรับจากภาคประชาสังคม 5) ต้องไม่เป็นบุคคลเกีย่ วเนื่อง หมายถึง บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด คูส่ มรส และเครือญาติ กับบุคคลที่มี ผลประโยชน์ทับซ้อนหรือรับประโยชน์ตามข้อ 1) และ 2)

4.6.3 ปัญหาการเข้าร่วมเป็นกรรมการของภาคประชาสังคม ประสบการณ์การเข้าร่วมประคณะกรรมการที่มีทั้งสามฝ่ายมักประสบปัญหา ดังนี้ 1) การกำหนดวาระการประชุม และกำหนดการประชุม ภาครัฐมักใช้วิธีการนัดประชุมหรือยกเลิกการประชุมอย่างกะทันหัน เช่น ประธานในที่ประชุมสั่งยกเลิกตอนท้ายการ ประชุม นอกจากนี้วาระการประชุมมักไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ภาคประชาสังคมต้องการ ดังนั้นหากมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ จึง ควรมีการวางกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน 2) การได้รับข้อมูลไม่เท่ากัน ภาครัฐและเอกชนอยู่มักมีข้อมูลมากกว่าและไม่มีการแบ่งปันข้อมูลแก่ภาคประชาสังคม การดำเนินงานที่ผ่านมาในแต่ ละครั้งต้องคอยลุ้นว่าจะได้รับข้อมูลหรือไม่ ในหลายกรณีที่ภาครัฐและเอกชนจะให้ข้อมูลในวันประชุม ซึ่งภาคประชาสังคมต้อง ตรวจสอบความถูกต้องในระหว่างการประชุม นอกจากนี้ขั้นตอนการขออนุญาตเปิดเผยข้อมูลมีความยุ่งยากและล่าช้า ซึ่งการใช้ มาตรฐาน EITI จะเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยให้ทุกฝ่ายได้รับข้อมูลเท่าเทียมกันในช่วงเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตามมาตรฐาน EITI จะ ไม่ใช่มาตรฐานที่เข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจการเกิดขึ้นของโครงการต่างๆ ดังนั้น ภาครัฐจะต้องปรับเปลี่ยนมุมมองในการ ดำเนินงาน กล่าวคือ ต้องให้ทุกฝ่ายได้รับข้อมูลที่เพียงพอและเท่ากันก่อนที่จะมีการตัดสินใจการดำเนินงานต่างๆ 77


3) ปัญหาความเป็นตัวแทน กรรมการภาคประชาสังคมที่ได้รับคัดเลือกมักประสบปัญหาในการเชื่อมโยงกับชุมชนหรือตัวแทนที่คัดเลือกตัวเอง ภายหลังการได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการ เช่น มีกรรมการ 5 คน คัดเลือกจาก 60 คน โดยสมาชิกที่เหลือไม่ได้ทราบความเป็นไป เลย ดังนั้นหากมีการใช้มาตรฐาน EITI จึงควรมีกระบวนการเปิดรับฟังความเห็นเป็นระยะ 4) การรับรูเ้ รื่องมาตรฐาน EITI ของประชาชนในพื้นที่ ประชาชนในหลายพื้นที่ที่มีการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติโดยตรงยังไม่ทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐาน EITI และขาดการเชื่อมโยงระหว่างการใช้มาตรฐานดังกล่าวในการต่อสู้และเรียกร้องในพื้นที่ ทั้งที่เป็นผู้ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลโดยตรง

4.6.4 แนวทางการขับเคลื่อนการเปิดเผยข้อมูล แนวทางการขับเคลื่อนการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐ ภาคประชาสังคมสามารถผลักดันให้เกิดความโปร่งใสได้โดยไม่ตอ้ ง รอให้มีคณะกรรมการ MSG อย่างเป็นทางการก่อน โดยกดดันหรือชี้ให้สังคมเห็นถึงการที่ รัฐไทยและเอกชน ‘ไม่มีมาตรฐานใน การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ’ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาหลังการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการที่ภาคประชาชน สามารถจะกดดั นให้ รัฐบาลชุ ดใหม่ต้อ งแก้ ไขปั ญ หาด้ านความโปร่งใส สื บเนื่ องจากที่ผ่านมาประเทศไทยมี ผลการประเมิ น Corruption Perception Index ลดลงอย่างมาก ทั้งนี้ การใช้มาตรฐานความโปร่งใสที่เป็นมาตรฐานสากลจะเป็นแรงจูงใจให้ รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาแก้ไขเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติได้ อย่างไรก็ตามการขับเคลื่อนของภาคประชาชนต้องทำข้อเสนอให้ เป็นรูปธรรม และต้องเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ นอกจากนี้ ก ารผลักดั น ให้ มีการออกกฎหมายการเปิ ดเผยข้อมู ลที่ เป็ นธรรมก็เป็ นส่ วนสำคัญ ในการแก้ปั ญ หาเชิ ง โครงสร้าง แม้ประเทศไทยจะมีการใช้ พรบ. ข้อมูลข่าวสาร แต่กลับพบว่า ในทางปฏิบัติการเข้าถึงข้อมูลเป็นไปได้ยากและใช้ เวลานานมาก จะต้องมีกลไกเสริมที่ช่วยผลักดันให้รัฐต้องมีการเปิดเผยข้อมูลและสร้างความโปร่งใส เช่น การสนับสนุนทาง การเงิน

78


5. บทสรุป 5.1 สรุปผลการรับฟังความคิดเห็น จากการที่ ป ระเทศไทยได้ แ สดงเจตจำนงที่ จ ะเข้ า ร่ ว มการใช้ ม าตรฐานความโปร่ ง ใสในอุ ต สาหกรรมสกั ด ทรัพยากรธรรมชาติ EITI เพื่อมุ่งเน้นให้มีการเปิดเผยข้อมูลในธุรกิจการสกัดเชื้อเพลิงจากฟอสซิล เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และ ถ่านหิน โดยรัฐบาลได้เริ่มกระบวนการผลักดันให้ประเทศไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกโครงการ EITI ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 และพยายามจัดตั้งคณะกรรมการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3 ฝ่าย หรือที่เรียกว่า คณะกรรมการ MSG ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการ ร่วมกันกำหนดและติดตามข้อมูลที่เปิดเผยตามมาตรฐาน EITI และยังเป็นกลไกประสานงานสามฝ่ายด้านธรรมาภิบาล อย่างไรก็ตามกระบวนการ EITI ของประเทศไทยประสบความล่าช้าในการดำเนินงาน เนื่องจากมิได้เคยมีการออกแบบ และรับรองโครงสร้างคณะกรรมการ MSG อย่างเป็นรูปธรรม และองค์กรภาคประชาสังคมที่มาร่วมประชุมเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ คุณสมบัติ และการคัดเลือกสมาชิกนั้น ยังขาดความหลากหลายและขาดความทั่วถึง โดยเฉพาะยังขาดการมีส่วนร่วมจากองค์กร หรือกลุ่มชุมชนผู้ได้รับผลกระทบในระดับภูมิภาค อุปสรรคดังกล่าวเป็นที่มาของงานวิจัยฉบับนี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อขยาย จำนวนองค์กรจากภาคประชาสังคม (อาทิ องค์กรพัฒนาเอกชนและชุมชนท้องถิ่น) ที่ มีความตื่นตัวและแสดงเจตจำนงที่จะร่วม กระบวนการคัดเลือกตัวแทน EITI ภาคประชาสังคม เป็นไม่น้อยกว่า 30 กลุ่มบุคคลและองค์กรทั่วประเทศ และเพื่อดำเนิน กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมในการระดมสมอง เพื่อกำหนดโครงสร้างและกระบวนการเลือกตั้ง ตัวแทน EITI ภาคประชาสังคมที่เหมาะสม เพื่อเข้าร่วมกลไก MSG สำหรับ EITI ประเทศไทย จากการจัดประชุมเชิงปฏิบั ติเพื่อรับฟั งความคิด เห็ นทั้ ง 5 ภู มิภ าค คือ ภาคตะวัน ออก ภาคตะวันออกเฉี ยงเหนื อ ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันตก โดยผู้เข้าร่วมประชุมระดมสมอง เพื่อกำหนดโครงสร้างและกระบวนการเลือกตั้งตัวแทน EITI จากภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานและอุตสาหกรรมเหมืองแร่ พบว่ามี 53 องค์กร/กลุ่มบุคคล/ บุคคล/เครือข่ายที่ยินดี ที่จะมีส่วนร่วมในการเลือกตัวแทน EITI และมี 4 องค์กรหรือเครือข่ายที่ยินดีเข้าร่วมการดำเนินงานการ ใช้มาตรฐาน EITI หากมีการจัดเวทีวิชาการ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้มาตรฐานดังกล่าวให้กับเครือข่ายในแต่ละภูมิภาค เพิ่มเติม โดยเวทีระดมความคิดเห็นได้ร่วมหารือกับตัวแทนภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนประเด็นต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมสกัด ทรัพยากรธรรมชาติทั้งสองอุตสาหกรรมในประเด็นดังต่อไปนี้ 5.1.1 ประเด็นปัญหาเร่งด่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับอุตสาหกรรมในทัศนะของผู้เข้าร่วมประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมสะท้อนปัญหา โดยในหลายภูมภิ าคประสบปัญหาร่วมดังนี้ ปัญหาผลกระทบจากโครงการต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนในพื้นที่ ปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็ นที่ชุมชนในพื้นที่วิตกกังวลมากที่สุด โดยหลายพื้นที่สะท้อนตรงกันว่า เมื่อมีอุตสาหกรรม สกัดทรัพยากรธรรมชาติขนาดใหญ่เข้ามาดำเนินการในชุมชนสักระยะ คนในพื้นที่มักจะได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ เช่น สารที่ ปล่อยจากกระบวนการสกัดปิโตรเลียมมีกลิ่นเหม็นรุนแรงและเป็นพิษ ฝุ่ นละอองจากอุตสาหกรรม ผลกระทบข้ามพรมแดนของ 79


เหมืองถ่านหินในประเทศเพื่อนบ้าน ผลกระทบจากเหมืองที่ปิดไปแล้ว ซึ่งภาคอุตสาหกรรมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมักมี แผนการฟื้นฟูและกระบวนการเยียวผลกระทบที่ไม่ชัดเจนหรือมีประสิทธิภาพเพียงพอ รวมถึงข้อกังวลเกี่ยวกับความโปร่งใสใน การดำเนินงานทั้งในภาคธุรกิจและเจ้าหน้าที่รัฐ ความโปร่งใสและการไม่ได้รับข้อมูลผลกระทบที่เป็นจริง ข้อ มู ล จากหน่ วยงานรัฐและเอกชนที่ เกี่ ยวข้อ งมั ก ไม่ เพี ย งพอ เข้ าถึ งได้ ย าก ขาดความโปร่งใสและไม่ ได้ รับ ความ น่าเชื่อถือจากภาคประชาชน นอกจากนี้การขับเคลื่อนของภาคประชาสังคมมักพบปัญหาข้อมูลจากหลายแหล่งที่ไม่ตรงกัน เช่น ข้อมูลด้านพลังงาน ข้อมูลและกระบวนการจัดทำรายงาน EIA โครงการต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อชุมชน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในหลายพื้นที่ สะท้อนถึงการดำเนินงานที่ไม่โปร่งใสและขาดธรรมาภิบาล ก่อให้เกิดการตั้งคำถามและไม่ได้รับ ความเชื่อถือจากภาคประชาชนเสมอมา ปัญหาความแตกแยกภายในชุมชนและความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ หลายพื้นที่วิตกกังวลเรื่องความแตกแยกที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งมีสาเหตุจากความคิดเห็นที่ไม่ ตรงกัน ก่อให้เกิดความ ขัดแย้ง และในบางพื้น ที่ ค วามขัด แย้งดั งกล่าวนำไปสู่ ความรุน แรง ทั้ งนี้ สาเหตุข องความขัดแย้งส่วนหนึ่งเกิด จากโครงการ Corporate Social Responsibility (CSR) ของบริษัทขนาดใหญ่ และการทำ EIA ที่ใช้วิธี ‘ซื้อคน’และจัดตั้งกลุ่มสนับสนุน การ ดำเนินการดังกล่าวของภาคธุรกิจก่อให้เกิดความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์เกิดขึ้นระหว่างภาคธุรกิจกับชาวบ้าน การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง กระบวนการตัดสินใจอนุมัติโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐมักขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชนในพื้นที่ ทั้งที่เป็นผู้ที่ได้รับ ผลกระทบมากที่สุด และมักไม่มีกลไกการร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ หากประชาชนได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของ โครงการ ประชาชนขาดความรู้ความสามารถที่จะต่อรองกับภาคเอกชน / ภาคประชาสังคมไม่ได้รับการยอมรับ ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ภาคประชาชนอ่อนแอในการต่อสู้หรือเจรจาต่อรองกับภาครัฐและเอกชน คือการขาด ความรู้ที่จำเป็น อาทิ ความรู้ด้านสิทธิและกระบวนการยุติธรรม ส่งผลให้ชาวบ้านกลัวการมีส่วนร่วม รวมถึงความรู้ทางเทคนิค เช่น วิธีการและผลตรวจคุณภาพดิน น้ำ และอากาศ ปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ ปัญหาราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสูงเกินความ เป็ น จริง ปั ญ หาสาธารณู ป โภคไม่ เพี ย งพอต่ อ ความต้อ งการ เกิด การแย่ งชิงน้ ำและพื้ น ที่ ป่ า ระหว่างภาคเกษตรกรรมและ ภาคอุตสาหกรรม ปัญหาด้านกฎหมาย เจ้าหน้าที่และหน่วยงานรัฐเอื้อประโยชน์ให้โครงการ ที่มีผลกระทบเกิดง่ายขึ้น และขาด การเยียวยาชาวบ้านโดยใช้หลัก polluter pays principle นอกจากนี้ยังมีประเด็นปัญหาเฉพาะซึ่งเป็นไปตามบริบทของแต่ละ ภูมิภาค ได้แก่ 80


1) ในบริบทของภาคตะวันออกมีปัญหาความเหลื่อมล้ำในชุมชนระหว่างผู้ที่ได้รั บประโยชน์จากโครงการ ไม่มี ระบบตรวจสอบที่ดี บทบาทภาคประชาสังคมไม่ได้รับการยอมรับ ขาดอิสระในการทำงาน 2) ในบริบ ทของภาคใต้มี ปัญ หาการเกิดโครงการขนาดใหญ่ ที่ มีผลกระทบสู ง ซึ่งเป็ นโครงการต่อเนื่อ ง เช่ น ท่าเรือน้ำลึก 3) ในบริบทของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปัญหาชุมชนถูกคุกคามจากอิทธิพลท้องถิ่นและภาครัฐที่ละเลยหน้าที่ ในการรักษาสิทธิของประชาชน 4) ในบริบทของภาคเหนือมีปัญหาความสับสนด้านข้อมูลการใช้พลังงานทดแทน การจัดการกองทุนพัฒนาพื้นที่ รอบเหมือง แรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน 5) ในบริบทของภาคตะวันตกมีปัญหาสิทธิในพื้นที่ทำกิน 5.1.2 การเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ ในการขับเคลื่อนของภาคประชาสังคม สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการเรียกร้องเพื่อนำไปสู่การเปิดเวทีเจรจาร่วมกับภาครัฐและ ภาคเอกชน คือ ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะข้อมูลที่มี ความสำคัญต่อการดำเนินงานของภาคประชาสังคม เช่น แผนการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติ (แนวเขต ผังเมือง โครงการในอนาคต) ข้อมูลอาชญาบัตร สัมปทาน ใบแนบท้าย รายละเอียดการดำเนิน โครงการ บทบาทของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับโครงการ มูลค่าของทรัพยากรธรรมชาติ ข้อมูลผลกระทบของโครงการ และแผน เยียวยาผลกระทบและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีผลต่อการตัดสินใจของชาวบ้านว่าจะยอมรับหรือไม่ยอมรับ โครงการ โดยเฉพาะในกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ได้รับผลกระทบในการประเมิน EIA แต่เสียงสะท้อนจากภาคประชาสังคมทำ ให้รับทราบว่าข้อมูลเหล่าสามารถเข้าถึงได้ยาก 5.1.3 ข้อกังวลต่อการใช้มาตรฐาน EITI ในประเทศไทย ภาคประชาสังคมในทุกภูมิภาควิตกกังวลว่า หากนำมาตรฐาน EITI มาใช้ในประเทศไทย จะต้องนิยามขอบเขตของ “ภาคประชาสั งคม” ให้ ชัด เจน สามารถตรวจสอบหรื อ พิ สู จ น์ เรื่อ งผลประโยชน์ ทั บ ซ้ อ นได้ รวมถึ งการระบุ ข อบเขตของ อุตสาหกรรมที่เกี่ยว ข้อมูลที่เปิดเผยจากภาครัฐต้องมีน่าเชื่อถือ และมาตรฐาน EITI ต้องน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ว่าจะไม่เป็น หนึ่งในเครื่องมือที่สร้างความชอบธรรมให้แก่ภาคเอกชนในการดำเนินธุรกิจหรือโครงการในอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี้ยังกังวลถึงบทบาทของ EITI ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม กลไกการตรวจสอบการทำงานของ คณะกรรมการ และขอบเขตด้านกฎหมายในการดำเนินงานมาตรฐาน EITI ในประเทศไทย นอกจากนี้เสียงสะท้อนจากภาคประชาสังคมที่มีประสบการณ์ร่วมในการดำเนินงานของคณะกรรมการมที่มีลักษณะ เป็นกรรมการไตรภาคีเช่นนี้มักประสบปัญหา 4 ข้อด้วยกัน คือ การกำหนดวาระการประชุมและกำหนดการประชุม การได้รับ ข้อมูลไม่เท่ากัน ความเชื่อมต่อระหว่างภาคประชาสังคมที่ดำรงตำแหน่งกรรมการและภาคประชาสังคมในพื้นที่ และการเชื่อมโยง และการให้ความสำคัญระหว่างการใช้ข้อมูลในมาตรฐาน EITI ในการต่อสู้และเรียกร้องในพื้นที่ 81


5.1.4 กระบวนการสรรหาและโครงสร้างคณะกรรมการ MSG จากการระดมความคิ ด เห็ น ในแต่ ล ะภู มิ ภ าคและการร่ วมพิ จ ารณาออกแบบกระบวนการสรรหาและโครงสร้า ง คณะกรรมการ MSG จากภาคประชาสังคมจำนวน 38 ท่ านที่เคยเข้าร่วมการระดมความคิดเห็ นในระดับภู มิภาค เพื่ อสรุป ความเห็นเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาและโครงสร้างคณะกรรมการ MSG ภาคประชาสังคม โดยมีประเด็นหารือ และผลการ ลงคะแนนดังตารางที่ 15 หมายเหตุ: ตัวหนา แสดงประเด็นที่มีผู้เลือกสูงสุดในแต่ละหัวข้อ ตารางที่ 15 ประเด็นหารือกระบวนการสรรหาและโครงสร้างคณะกรรมการ MSG กระบวนการสรรหาและโครงสร้างคณะกรรมการ MSG จำนวนผู้ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เห็นชอบ 1. ที่มาของกรรมการ การแต่งตั้งโดยรัฐ 0 EITI ภาคประชา สังคม การเลือกตั้งกันเองของภาคประชาชน 38 - คณะกรรมการ EITI จากภาคประชาสังคม ควร ให้ภาคประชาสังคมคัดเลือกกันเอง เพราะภาค ประชาสังคมเห็นคุณสมบัติในแต่ละบุคคล ว่ามี คุณสมบัติในด้านใด - หากรัฐเป็นผู้จดั ตั้งกรรมการ ประชาชนฐาน รากจะไม่รจู้ ัก และรัฐก็ไม่สามารถจะรู้ถึงข้อมูล จริง เพราะภาคประชาสังคม มาโดยประชาชน ฐานราก เพื่อให้เห็นมิติของการพัฒนาประเทศ ไทย - ภาครัฐในไทยมีความสัมพันธ์เชิงผลประโยชน์ กับเอกชน การมีตัวแทน EITI จากภาคประชา สังคม แล้วจะมาเลือกใหม่ เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี - กรรมการ EITI ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ไม่ควร ให้รัฐเข้ามาควบคุมภาคประชาสังคม - กรรมการมาจากตัวแทนแต่ละภาค - มีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง - ภาคประชาสังคมจะรู้ว่าภาคประชาสังคมใด มี บทบาทอย่างไร ทำงานด้านใด มีการเคลื่อนไหว ในเรื่องนั้น ๆ ยาวนานเพียงใด เป็นคนที่ทำเรื่อง นั้น ๆ มายาวนาน และเป็นภาคประชาสังคมที่ ตรวจสอบได้ 2. สัดส่วน กรรมการ EITI ภาครัฐ ภาคเอกชน 5 -เพื่อการพัฒนา จะได้เท่าเทียมกันทุกภาคส่วน 82


คณะกรรมการ EITI ภาคประชาสังคม

3. โครงสร้าง คณะกรรมการ EITI ภาคประชาสังคม

4. คุณสมบัติผมู้ ีสิทธิ สมัครเป็นกรรมการ

และภาคประชาสังคม ควรมีจำนวน เท่าๆ กัน กรรมการ EITI ภาคประชาสังคม ควรมีจำนวนเท่ากับกรรมการภาครัฐ และกรรมการภาคเอกชนรวมกัน

- ควรมีสัดส่วนเท่า ๆ กันจากทุกฝ่าย 33

กรรมการ EITI ภาคประชาสังคม ควรมีกรรมการที่มาจากภูมิภาค

38

กรรมการ EITI ภาคประชาสังคมไม่ ควรมีกรรมการที่มาจากภูมิภาค 1) ตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจี โอ) ที่เกี่ยวข้องกับ อุตสาหกรรมสกัทรัพยากรธรรมชาติ และ/หรือธรรมาภิบาลภาครัฐและ เอกชน 2) ตัวแทนชุมชนที่ได้รับผลกระทบ จากอุตสาหกรรมสกัด ทรัพยากรธรรมชาติ

0

- เพราะส่วนใหญ่รัฐกับเอกชนมักมีแนวคิด เดียวกัน - ควรเพิ่มเติมภาคประชาสังคมที่ได้รับผลกระทบ โดยตรงในประเด็นนั้น ๆ อีก เปิดพื้นที่นั่งใน ตำแหน่งกรรมการ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและ รับรองว่าผูไ้ ด้รับผลกระทบเป็นตัวแทน - ควรมีภาคประชาสังคม มากกว่าภาครัฐรวมกับ ภาคเอกชน - ภาคประชาสังคมควรมีสัดส่วนเป็น 2 ส่วน ต่อ 1 ส่วน -พื้นที่ไม่เท่ากัน ทรัพยากรไม่เท่ากัน จึงควรมี กรรมการมาจากภูมภิ าค - ควรใช้ภูมิภาคอย่างน้อย 6 ภูมิภาค ประกอบ ไปด้วย ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาค ตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาค ตะวันตก - เพื่อการพัฒนา และการเชื่อมโยงกลุ่มองค์กร ในพื้นที่ต่าง ๆ โดยการพัฒนามีหลากหลาย ประเด็น - ควรมี แต่สดั ส่วนขึ้นอยู่กับการตกลงกันเองใน ภาคประชาสังคม - แต่ละภูมิภาคมีลักษณะที่แตกต่าง ควรมี ภูมิภาคที่หลากหลาย - ผู้แทนจากเครือข่ายที่เกีย่ วข้องกับอุตสาหกรรม นั้น ๆ

29

- อดีตเจ้าหน้าที่รัฐ/ผูเ้ ชี่ยวชาญเอกชน ไม่น่าจะ จัดว่าเป็นภาคประชาสังคม

30

-

83


3) นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ อุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ และ/หรือธรรมาภิบาลภาครัฐและ เอกชน 4) อดีตเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐที่ เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัด ทรัพยากรธรรมชาติ ที่พ้นจากตำแหน่ง ในภาครัฐมาแล้วมากกว่า 2 ปี 5) ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมสกัด ทรัพยากรธรรมชาติ ที่พ้นจากตำแหน่ง ในภาคเอกชนมาแล้วมากกว่า 2 ปี อื่น ๆ

5. คุณสมบัติต้องห้าม 1) ติดยาเสพติดให้โทษ 2) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็น บุคคลล้มละลายทุจริต 3) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุม ขังอยู่โดยหมายของศาล 4) เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้ พ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปี เว้นแต่ใน ความผิดโดยประมาทหรือความผิดลหุ โทษ 5) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรอื่น เพราะทุจริตต่อหน้าที่ 6) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือ เงินเดือนประจำข้าราชการการเมือง พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือ เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ

23

10

13

8

- นักวิชาการที่เคลื่อนไหวกับภาคประชาสังคม เป็นที่ยอมรับ และทำงานมามากกว่า 5 ปี - ตัวแทนภาคประชาสังคม NGO ที่เคลื่อนไหว เพื่อความเป็นธรรมด้านพลังงาน - นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญที่ภาคประชาสังคม เป็นคนคัดเลือก

28 23 22 16

29

30

84


7) เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือ ผู้บริหารท้องถิ่น 8) ได้รับเงินหรือประโยชน์ หรือมี ส่วนได้เสียกับอุตสาหกรรมสกัด ทรัพยากรธรรมชาติ 9) อื่นๆ

27 36

11

- ทุกท่านที่ไม่เคยเป็นกรรมการและไม่เคยรับ ประโยชน์จากภาคเอกชน - บางท่านขอปรับเปลี่ยนเนื้อหาบางส่วน 1) ตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ที่ เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัด ทรัพยากรธรรมชาติ และ/หรือธรรมภิบาล ภาครัฐและเอกชน ที่แท้จริง ไม่เคยรับประโยชน์ จากภาครัฐและเอกชน 2) นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัด ทรัพยากรธรรมชาติ และ/หรือธรรมาภิบาล ภาครัฐและเอกชนที่เป็นกลาง 3) อดีตเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับ อุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ ที่พ้นจาก ตำแหน่งในภาครัฐมาแล้วมากกว่า 2 ปี ที่เป็น กลาง - ตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ที่ เกี่ยวข้อง [หรือ/เคลื่อนไหวเพื่อความเป็นธรรม ด้านการจัดสรรทรัพยากร] และ/หรือธรรมาภิ บาลภาครัฐและเอกชน - นักวิชาการทีเ่ คลื่อนไหวกับภาคประชาสังคม เป็นที่ยอมรับ และทำงานมามากกว่า 5 ปี - ตัวแทนภาคประชาสังคม NGO ที่เคลื่อนไหว เพื่อความเป็นธรรมด้านพลังงาน - นักวิชาการที่เคลื่อนไหวด้านพลังงาน ทรัพยากร ที่ทำงานควบคู่กับภาคประชาชน - นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญที่ภาคประชาสังคม เป็นคนคัดเลือก - ตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ที่ เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัด ทรัพยากรธรรมชาติ และ/หรือธรรมภิบาล ภาครัฐและเอกชน ที่ต่อสูเ้ รื่องพลังงาน ไม่น้อย กว่า 5 ปี 85


6. วาระของกรรมการ 1 ปี EITI ภาคประชา สังคม

2

2 ปี 3 ปี

19 13

อื่นๆ

4

องค์กร ……………………………………….

5

ควรตั้งองค์กร/เครือข่ายใหม่ขึ้นมาทำ หน้าที่นี้

21

7. องค์กรกลางเพื่อ ดำเนินกระบวนการ สรรหา

- ตัวแทนชุมชนที่ได้รับผลกระทบจาก อุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ ที่ต่อสู้ เรื่องพลังงาน ไม่น้อยกว่า 3 ปี - ควรกำหนดเฉพาะอุตสาหกรรม - ถ้าทำงานมีประสิทธิภาพ/ประโยชน์ต่อ หน่วยงาน ก็ให้ดำเนินการต่อไปเรือ่ ย ๆ - ตามประเด็นที่ถกเถียงกัน เช่น น้ำมัน เหมือง ฯลฯ - ควรเป็นกรรมการ 3 ปี เหตุจากจะได้ทำงานได้ ต่อเนื่อง - ถ้าทำงานมีประสิทธิภาพ/ประโยชน์ต่อ หน่วยงาน ก็ให้ดำเนินการต่อไปเรือ่ ย ๆ - ต้องเป็นได้สมัยเดียว - ให้ที่ประชุมใหญ่ของภาคประชาสังคม ที่ เลือกตั้งกันมากำหนดวิธีการ/คณะทำงาน - TDRI - ควรตั้งองค์กร/เครือข่ายใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่นี้ ที่เสนอโดยภาคประชาสังคม - ถ้าไม่มีองค์กรกลางจริงภายในประเทศ ให้ทุก ภาครวมตัวเป็นสมัชชาเครือข่ายภาคประชา สังคม โดยให้ระดับภาคคัดเลือกคนโดยทุกภาค มาเลือกตัวแทน - องค์กรภาคประชาสังคมของผู้ได้รับผลกระทบ

จากผลการสำรวจข้างต้น สามารถสรุปโครงสร้างและลักษณะคณะกรรมการ EITI ภาคประชาสังคมทีพ่ ึงประสงค์ได้ดังนี้ 1) คณะกรรมการจะต้องมาจากการเลือกตั้งจากภาคประชาสังคม เพราะเป็นตัวแทนที่ที่ได้รับความไว้วางใจ มีความ เป็นอิสระในการทำงานและสามารถเข้าใจบริบทของปัญหาในระดับฐานรากได้มากกว่า 2) จำนวนคณะกรรมการ MSG จากภาคประชาสังคมต้องมีจำนวนเท่ากับกรรมการจากภาครัฐและเอกชนรวมกันหรือ มากกว่า ทั้งนี้ภาคประชาสังคมมองว่าภาครัฐและเอกชนมักมีแนวคิดหรือความคิดเห็นไปในแนวทางเดียวกัน 3) ต้องมีตัวแทนภาคประชาสังคมจากแต่ละภูมิภาค โดยภาคประชาสังคมแต่ละภูมภิ าคมีการคัดเลือกภายใน อย่างไร ก็ตามกระบวนการคัดเลือกต้องโปร่งใสและตรวจสอบได้ 86


4) ผู้ที่มีสิทธิสมัครเป็นกรรมการต้องมีคุณสมบัตดิ ังนี้ -

เป็นตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ และ/หรือ ธรรมาภิบาลภาครัฐและเอกชน

-

ตัวแทนชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ

-

นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ และ/หรือธรรมาภิบาลภาครัฐและเอกชน ซึ่ง เป็นที่ยอมรับ

-

ต้องไม่มผี ลประโยชน์ทับซ้อน ทั้งทางตรงและทางอ้อมกับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ

-

มีประวัติการทำงานเพื่อประโยชน์ของภาคประชาสังคมอย่างต่อเนื่องหรือมีผลงานเป็นที่ประจักษ์

-

ต้องมีทักษะการสื่อสารกับเครือข่ายภาคประชาสังคมให้เข้าใจได้และสามารถเจรจาต่อรองกับภาครัฐและ ภาคเอกชนได้

อนึ่ง สำหรับการให้สิทธิสมัครแก่อดีตบุคลากรในภาครัฐและภาคเอกชนที่พ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่นอ้ ยกว่า 2 ปี เป็นประเด็นที่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนโดยเสียงข้างมากจากผูเ้ ข้าร่วม โดยมีผู้สนับสนุนเพียง 10 และ 13 ท่านตามลำดับ จาก 38 ท่านที่ตอบแบบสอบถาม 5) คุณสมบัติต้องห้ามมีดังนี้ -

ติดยาเสพติดให้โทษ

-

เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มลายทุจริต

-

ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล

-

เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุก โดยพ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปี เว้นแต่ในความผิดโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

-

เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรอื่น ๆ เพราะทุจริตใน หน้าที่

-

เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ข้าราชการการเมือง พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ

-

เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หากเคยดำรงตำแหน่งดังกล่าวต้องมีระยะเวลาเว้นว่างทาง การเมืองในระยะที่เหมาะสม

-

ได้รับเงินหรือประโยชน์หรือมีส่วนได้เสียกับอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ

6) คณะกรรมการมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 2 ปี ไม่เกิน 2 สมัย 7) ควรมีองค์กรหรือเครือข่ายใหม่ทำหน้าที่ประสานงานจัดการเลือกตั้งและดำเนินงานต่าง ๆ

87


3. มีจานวนตัวแทนจากภาค ประชาสังคมเท่ากับจาก ภาครัฐและเอกชนรวมกัน

4. มีคุณสมบัติ ตามที่กาหนด

5. ไม่มีคุณสมบัติ ต้องห้าม 6. มีวาระในการ ดาเนินงาน 2 ปี ไม่เกิน 2 สมัย

2. มีตัวแทนภาค ประชาสังคมจากแต่ ละภูมิภาค

คณะกรรมการ MSG

1. ได้รับการคัดเลือก จากภาคประชาสังคม

7. มีองค์กรหรือเครือข่าย ใหม่ ประสานงาน กระบวนการสรรหา

จากภาคประชา สังคม แผนภูมิที่ 9 โครงสร้างคณะกรรมการ MSG จากภาคประชาสังคม

5.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย จากผลการรับฟังความคิดเห็น ผ่านการจัดประชุมเชิงปฏิบตั ิการระดับภูมภิ าค 5 ครั้ง และการจัดประชุมในกรุงเทพฯ 1 ครั้ง คณะวิจัยเห็นว่ามี 3 แนวทาง ในการขับเคลื่อนโครงการ EITI ในประเทศไทยในระยะต่อไป โดยสรุปข้อดี-ข้อเสีย ของแต่ละ แนวทางได้ดังนี้ แนวทาง

ข้อดี

ข้อเสีย

1. พยายามทำงานต่อภายใต้

นับเป็นการ ‘สานต่อ’ โครงการเดิม ที่

1. หากเพิ่มจำนวนตัวแทนภาคประชา

โครงสร้างเดิม

เคยมีมติคณะรัฐมนตรี โดยขยาย

สังคมจากภูมิภาค และตัวแทนภาค

ดำเนินการจัดประชุมสามฝ่าย (รัฐ

ขอบเขตไปรวมอุตสาหกรรมเหมืองแร่

ประชาชนด้านเหมืองแร่ เข้าไปใน

เอกชน และประชาสังคม) เพื่อขยาย และให้มตี ัวแทนระดับภูมภิ าค รวมถึง ขอบเขตโครงการไปรวม

จากชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

โครงสร้างเดิมซึ่งมีตัวแทนภาค ประชาสังคมอยู่แล้ว 20 ท่าน

อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ตาม

คณะกรรมการ EITI ภาคประชา

วัตถุประสงค์หลักของ EITI / ร่วมกัน

สังคมมีแนวโน้มที่จะมีขนาดใหญ่เกิน

กำหนดโครงสร้างและสัดส่วน

กว่าที่จะสามารถปฏิบตั ิหน้าที่ได้ 88


แนวทาง

ข้อดี

คณะกรรมการ MSG ที่เหมาะสม

ข้อเสีย อย่างมีประสิทธิภาพ

และดำเนินการคัดเลือกตัวแทน EITI

2. อุปสรรคเดิมจากการดำเนินโครงการ

ภาคประชาสังคมเพิม่ เติม ภายใต้

ในปี 2558-2559 ยังไม่ได้รบั การ

โครงสร้างเดิม (กระทรวงพลังงาน

แก้ไข

เป็นเจ้าภาพ รับรองตัวแทนจากภาค ประชาสังคมทีเ่ คยผ่านกระบวนการ คัดเลือก 20 ท่าน ในปี พ.ศ. 2559 ว่าเป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการ และใช้เกณฑ์คัดเลือกเดิมที่ TDRI เคยเสนอในปี พ.ศ. 2558) 2. จัดตั้งองค์กรหรือเครือข่ายใหม่เพื่อ

1. มีเวลาที่จะขยายการรับรู้เรื่อง

1. ต้องใช้เวลาค่อนข้างมากในการ

ทำหน้าที่ประสานการคัดเลือก

มาตรฐาน EITI ในหมู่องค์กรภาค

ตัวแทนภาคประชาสังคม และเสริม

ประชาสังคม และชุมชนที่ได้รับ

พลังภาคประชาสังคมในการเข้า

ผลกระทบ เพื่อขยายการมีส่วนร่วม

การดำเนินการ และสถานะทาง

ร่วม EITI และเปลี่ยน ‘เจ้าภาพ’

ให้กว้างขวางและทั่วถึงที่สุด

กฎหมายขององค์กร

ฝั่งรัฐ

2. องค์กรหรือเครือข่ายใหม่สามารถ

ดำเนินการ 2. ต้องศึกษาเพิ่มเติมเรื่องแหล่งทุนใน

3. ต้องกลับไปเจรจากับภาครัฐเรื่องการ

จากผลการรับฟังความคิดเห็น

เป็นตัวกลางในการเสริมพลังภาค

เปลี่ยน ‘เจ้าภาพ’ จากกระทรวง

ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เห็นว่าควรมี

ประชาสังคมเกี่ยวกับมาตรฐาน EITI

พลังงาน เป็นกระทรวงการคลังหรือ

องค์กรหรือเครือข่ายใหม่ขึ้นมาทำ

และความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ

หน้าที่ประสานงาน จัดการเลือกตัง้

สกัดทรัพยากรธรรมชาติ

สิ่งแวดล้อม ต้องมีมติคณะรัฐมนตรี

ตัวแทนภาคประชาสังคม และ

3. องค์กรหรือเครือข่ายใหม่สามารถ

ฉบับใหม่เพื่อมอบหมายเรื่องนี้

ดำเนินงานต่างๆ ในลักษณะคล้ายกับ

ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง สร้าง

4. อาจไม่ทันการณ์ หากภาครัฐ

MITI ในเมียนมาร์ นอกจากนี้ ควร

หลักประกันว่าภาคประชาสังคมและ

ประสงค์จะเดินหน้าโครงการ EITI

เปลี่ยน ‘เจ้าภาพ’ ฝั่งรัฐ จาก

ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจะมีส่วน

ต่อโดยเร็วในปี พ.ศ. 2562

กระทรวงพลังงาน เป็น

ร่วมกับ EITI ประเทศไทย

กระทรวงการคลังหรือกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ครอบคลุมขอบเขต อุตสาหกรรมสกัด ทรัพยากรธรรมชาติภายใต้ EITI 89


แนวทาง

ข้อดี

ข้อเสีย

3. ผลักดันให้รัฐและเอกชนเปิดเผย

1. สามารถทำได้ทันที ไม่ต้องรอ

1. ประเทศไทยยังคงไม่สามารถสมัคร

ข้อมูลตามมาตรฐาน EITI โดยไม่

โครงสร้างคณะกรรมการ ช่วงเวลา

เป็นสมาชิก EITI ได้อย่างเป็น

ต้องรอให้มีคณะกรรมการ EITI

หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 เป็น

ทางการ

ภาคประชาสังคมก่อน

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการกดดันให้

องค์กรประชาสังคมสามารถผลักดัน ให้เกิดความโปร่งใสได้โดยไม่ต้องรอ ให้มีคณะกรรมการ MSG อย่างเป็น ทางการก่อน โดยกดดันหรือชี้ให้ สังคมเห็นถึงการทีร่ ัฐไทยและเอกชน ที่ผ่านมายัง ‘ไม่มีมาตรฐานในการ เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ’ และ ควรเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐาน EITI

รัฐบาลชุดใหม่ต้องแก้ไขปัญหาด้าน

2. ภาครัฐและเอกชนไม่มีข้อผูกมัดใดๆ ที่จะเปิดเผยข้อมูล

ความโปร่งใส สืบเนื่องจากที่ผ่านมา ประเทศไทยมีผลการประเมิน Corruption Perception Index ลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ต้อง ทำข้อเสนอให้เป็นรูปธรรม 2. เป็นการเตรียมความพร้อมของภาค ประชาสังคมที่จะเข้าร่วมโครงการ EITI อย่างเป็นทางการ และได้มี ประสบการณ์ตรงกับมาตรฐาน EITI

จากการประเมินความเป็นไปได้ของแนวทางทั้งสามดังกล่าวข้างต้น คณะวิจัยเห็นว่า แนวทางที่ 2 (จัดตั้งองค์กรหรือเครือข่าย ใหม่เพื่อทำหน้าที่ประสานการคัดเลือกตัวแทนภาคประชาสังคม และเสริมพลังภาคประชาสังคม) และ 3 (ผลักดันให้รัฐและ เอกชนเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐาน EITI)

เป็นแนวทางที่น่าจะเหมาะสมทีส่ ุดในการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชา

สังคมไทยกับมาตรฐาน EITI ในระยะต่อไป โดยทั้งสองแนวทางสามารถทำควบคู่กันไปได้ และทั้งสองแนวทางเหมาะสมกว่าการ พยายามจัดการประชุมเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการ EITI ภาคประชาสังคม ซึ่งคณะวิจัยเคยเสนอในเบื้องต้นสำหรับกรอบการ ดำเนินงานวิจัยระยะที่ 2 (ดูหัวข้อ 1.3 ของรายงานฉบับนี้)

90


บรรณานุกรม EITI International Secretariat. (2016). 2016 Progress Report . EITI International Secretariat. EITI Candidatcy Application Form - Colombia. (21 08 2014). เข้าถึงได้จาก eiti.org: https://eiti.org/sites/default/files/documents/EITI%20Candidature%20Application-Colombia.pdf ABC News Australia. (14 7 2012). เข้าถึงได้จาก www.abc.net.au: http://www.abc.net.au/news/2012-07-14/anphilippines-xstrata-mine-court/4130836 Adam Smith International Independent Validator. (18 12 2017). Republic of the Congo Validation 2017. เข้าถึงได้จาก https://eiti.org: https://eiti.org/sites/default/files/documents/board_paper_40-6c_validation_of_republic_of_congo.pdf Bantay Kita. (2016). Report on the CSO Consulation on the EITI Implementation in the Philippines. Bantay Kita. Cielo Magno. (10 6 2013). Opinion. เข้าถึงได้จาก Business World Online: http://www.bworldonline.com/content.php?section=Opinion&title=What-EITI-means-forthePhilippines&id=71523 Coordinating Ministry for Economic Affairs, Rebublic of Indonesia. (1 2017). EITI Indonesia Report 2014. เข้าถึง ได้จาก https://eiti.org: https://eiti.org/sites/default/files/documents/eiti_indonesia_report-2014reconciliation-report-english.pdf Cowater Sogema Independent Validator. (21 06 2018). DantDaLun Management and Consulting Services. (10 2016). The Art of Networking: A Case Study of Civil Society Network in Myanmar . เข้าถึงได้จาก https://www.christianaid.org.uk: https://www.christianaid.org.uk/resources/about-us/art-networking-study-civil-society-networksmyanmar Darmawan Triwibowo. (2015). The Safe Passage in an Arcromonious Environment : The Role of EITI n Strengthing Multi-Stakeholders Engagement towards Extractive Industries' Tranparency in the Philippines. ใน Darmawan Triwibowo , และ Hanafi Ahmed , Civil Society and Transparency in the Extractive Industry: Tales from Southeast Asian Countries (หน้า 41-56). Jakarta: Indonesian Parliamentary Center.

91


Dwi Cahyani. (28 11 2014). EITI Implementation, Indonesia Initiative to Reform Governance in Extractive Industry Sector. เข้าถึงได้จาก http://eiti.ekon.go.id: http://iesr.or.id/files/20141204/Ambarsari%20Dwi%20Chayani.pptx EITI Colombia. (26 11 2013). Mesa ampliada de la Sociedad Civil para la Transparencia de la Industria Extractiva en Colombia. เข้าถึงได้จาก http://www.eiticolombia.gov.co: http://www.eiticolombia.gov.co/media/filer_public/a2/ad/a2ad48d7-2d09-4361-b1a8bb6d45687fd1/reglamento_mesa_ampliada_sc.pdf EITI Colombia. (26 11 2013). Mesa ampliada de la Sociedad Civil para la Transparencia de la ndustria Extractiva en Colombia. เข้าถึงได้จาก http://www.eiticolombia.gov.co/media/filer_public/a2/ad/a2ad48d7-2d09-4361-b1a8bb6d45687fd1/reglamento_mesa_ampliada_sc.pdf EITI International Secretariat. (2018). EITI Colombia. เรียกใช้เมื่อ 30 12 2018 จาก https://eiti.org: https://eiti.org/colombia EITI International Secretariat. (2018). Report on initial data collection and stakeholder consulation . EITI International Secretariat. EITI Republic of Congo. (2012). Validation Report. Paris: EITI Rebublic of Congo. EITI Secretariat. (29 6 2018). Colombia is first country in the Americas to reach the highest level of progress in implementing the EITI Standard. เข้าถึงได้จาก https://eiti.org: https://eiti.org/news/colombia-is-firstcountry-in-americas-to-reach-highest-level-of-progress-in-implementing-eiti Gita W.L. Soerjoatmodjo, และ Darmawan Triwibowo. (2015). A Long Walk to Transparency: The Indonesia's CSO Experience with EITI. ใน Darmawan Triwibowo, และ Ahmad Hanafi, Civil Society & Transparency in the Extractive industry Tales from South East Asia Study (หน้า 13-24). Jakarta: Indonesian Parliamentary Center. Gita Widya Laskmini Soerjoatmodjo. (19 10 2012). Setting Up Multistakeholder Group in Extractive Industries Transparency Initiative: an Indonesia Experience. เข้าถึงได้จาก https://www.academia.edu: https://www.academia.edu/1965101/SETTING_UP_MULTI_STAKEHOLDER_GROUP_IN_EXTRACTIVE_IN DUSTRIES_TRANSPARENCY_INITIATIVE_AN_INDONESIAN_EXPERIENCE

92


GIZ. (2016). Assessing the Effectiveness and Impact of the Extractive Industries Transparency Initiative. เข้าถึง ได้จาก https://eiti.org: https://eiti.org/sites/default/files/documents/eiti_impact_study_giz_2016.pdf Marie Gay Alessandra V. Ordeness. (8 4 2014). Global commodity forum 2014. เข้าถึงได้จาก UNCTAD: http://unctad.org/meetings/en/Presentation/SUC_GCF2014_080414_ORDENES.pdf Marietta Cauchi , และ Rebecca Iwerks. (2 2559). Improving Impacts of Extraction through Subnational Multistakehoder Group in the Phillipines. เข้าถึงได้จาก https://resourcegovernance.org: https://resourcegovernance.org/sites/default/files/documents/subnational-msgs-philippines_0.pdf MATA. (2019). MATA Structure. เรียกใช้เมื่อ 15 1 2019 จาก http://www.mata-nrg.org: http://www.matanrg.org/steering-committee/ Moore Stephens. (2015). EITI Report for the period April 2013- March 2014. EIITI Myanmar. Moore Stephens. (2018). Myanmar Extractive Industry Transparency Initiative. EIITI Myanmar. Natural Resource Governance Institute . (3 2018). Civil Society Actors Play Key Role in Colombia EITI Entrance. เข้าถึงได้จาก https://resourcegovernance.org: file:///E:/Wanraimee/EITI/Colombia/civilsociety-actors-play-key-role-in-colombia-eiti-entrance.pdf Philipines Extractive Industries Transparency Initiative. (2017). The fourth PH-EITI repoert. Isla Lipana & Co. Publish What You Pay. (2 06 2014). Strengthening Civil Society Participation in EITI- case of DRC. เข้าถึงได้จาก http://www.publishwhatyoupay.org: http://www.publishwhatyoupay.org/wpcontent/uploads/2014/11/CSOparticipationEITIDRC.pdf rappler.com. (4 4 2556). Why Philippines is pursuing EITI compliance in mining. เข้าถึงได้จาก www.rappler.com: https://www.rappler.com/business/special-report/whymining/whymining-lateststories/12985-why-pursue-eiti-compliance-in-the-philippines Taylor Brown . (4 2016). Testing Transparency: The Political Economy of the Extractive Industries Transparency nitiative in Myanmar. เข้าถึงได้จาก http://publications.dlprog.org: http://publications.dlprog.org/MyanmarEITI.pdf The Lawphil Project. (2013). Excutive Order. เข้าถึงได้จาก http://www.lawphil.net: http://www.lawphil.net/executive/execord/eo2013/eo_147_2013.html

93


world bank. (2004). Indonesia Oli and Gas Study. เข้าถึงได้จาก http://worldbank.org: http://documents.worldbank.org/curated/en/160981468752386170/Indonesia-Oil-and-gas-sectorstudy

94


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.