ผลการประเมินธนาคารพาณิชย์ไทยตามเกณฑ์ Fair Finance Guide International ประจำปี พ.ศ. 2561

Page 1



การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”



การประเมินธนาคารพาณิชย์ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ” (Fair Finance Guide International) รายงานประจําปี พ.ศ. 2561

แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย Fair Finance Thailand

มีนาคม 2562


การประเมินธนาคารพาณิชย์ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ” (Fair Finance Guide International) พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2562 จัดพิมพ์โดย แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand)

เว็บไซต์ www.fairfinancethailand.org Facebook Fair Finance Thailand สถานที่ตั้ง บริษัท ป่าสาละ จำ�กัด 2 สุขุมวิท ซอย 43 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110; อีเมล info@salforest.com; โทรศัพท์ 02 258 7383


สารบัญ

บทสรุปสําหรับผู้บริหาร

7

ผลการประเมินธนาคารพาณิชย์ไทยตามเกณฑ์ 15 Fair Finance Guide International ประจําปี พ.ศ. 2561

ธนาคารที่ได้รับการประเมิน และกระบวนการประเมินตามเกณฑ์ Fair Finance Guide International ขั้นตอนการประเมิน หัวข้อที่ใช้ในการประเมิน ผลการประเมินนโยบายธนาคารพาณิชย์ไทย 9 แห่ง ประจําปี พ.ศ. 2561 ผลการประเมินธนาคารบอกอะไรกับเราบ้าง? เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน

5

17

18 20 22 23 70


ภาคผนวก

73

หัวข้อประเมินตาม Fair Finance Guide International รายหมวด แนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ (Fair Finance Guide International)

6

75

119


บทสรุปสําหรับผู้บริหาร Fair Finance Thailand (แนวร่วมการเงินทีเ่ ป็นธรรมประเทศ​

ไทย เว็บไซต์ www.fairfinancethailand.org) ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2561 สมาชิกประกอบด้วยบริษัทวิจัย 1 บริษัท และ องค์กรภาคประชาสังคม 4 องค์กร ทีม่ คี วามสนใจร่วมกัน ในการติ ด ตามผลกระทบและความท้ า ทายของธุ ร กิ จ ธนาคาร และประสงค์จะร่วมกันผลักดันภาคธนาคารไทย ให้ก้าวสู่แนวคิดและวิถีปฏิบัติของ “การธนาคารที่ยั่งยืน” (sustainable banking) อย่างแท้จริง ผ่านการนา ํ มาตรฐาน Fair Finance Guide International (แนวปฏิบัติของแนว ร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ เว็บไซต์ www.fairfinan​ ceguide.org) มาใช้ในการประเมินนโยบายด้านต่างๆ ของ ธนาคารพาณิชย์ไทยที่เปิดเผยสู่สาธารณะ เริ่มจาก พ.ศ.  2562 เป็นปีแรก

7


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ผลการประเมินนโยบายของธนาคารพาณิชย์ไทย 9 แห่ง ตามเกณฑ์ Fair Finance Guide International 12 หมวด พบว่าธนาคารทั้งหมดได้คะแนนโดยเฉลี่ย 15.14 คิ ด เป็ น 12.6% ของคะแนนทั้ ง หมด โดยธนาคารที่ ไ ด้ คะแนนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย (17.5%) ธนาคารไทยพาณิชย์ (14.7%) ธนาคารกรุงไทย (14.2%) ธนาคารกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา (13.5%) และ ธนาคาร ทิสโก้ (11.7%) โดยหมวดที่ธนาคารไทยได้คะแนนสูงสุด 3 หมวดแรก ได้แก่ การขยายบริการทางการเงิน (คะแนน เฉลี่ ย 49.3%) การทุ จริ ต คอร์ รั ป ชั น (41.7%) และการ คุม้ ครองผูบ้ ริโภค (34.2%) หมวดทีธ่ นาคารได้คะแนนน้อย ที่สุดและได้คะแนนเฉลี่ยตํ่ากว่า 2% มี 5 หมวด ได้แก่ ธรรมชาติ (0%) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (1.2%) ความเท่าเทียมทางเพศ (1.5%) สิทธิมนุษยชน (1.7%) และ นโยบายค่ า ตอบแทน (1.8%) ผลการประเมิ น สรุ ป เป็ น แผนภาพได้ในหน้าแทรกพิเศษ

8


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ผลการประเมินธนาคารบอกอะไรกับเราบ้าง?

สองหมวดที่ธนาคารโดยรวมได้คะแนนค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับหมวดอื่น คือ หมวด “การทุจริตคอร์รัปชัน” และ “การคุ้มครองผู้บริโภค” สะท้อนการปฏิบัติตามข้อ บังคับของกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (compliance) มากกว่าการกําหนดนโยบายจากกลยุทธ์ความยัง่ ยืน ขององค์กรหรือการประเมินความเสี่ยงด้านสังคมหรือสิ่ง­ แวดล้อมของธนาคารและผลิตภัณฑ์ธนาคาร ยกตัวอย่าง เช่น นโยบายด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของ ธนาคารทุกแห่ง เป็นไปตามกฎหมายและประกาศสํานัก­ งานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และ นโยบายการคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคหลายข้ อ ก็ ป ระกาศตาม ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรือ่ ง การกาํ กับดูแลการ ให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม หรือ market conduct ซึ่งเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นมา สําหรับผลการประเมินในหมวด “การขยายบริการ ทางการเงิน” ซึ่งธนาคารไทยโดยรวมได้คะแนนค่อนข้างดี 1.

9


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ไม่มีธนาคารใดได้คะแนนตํ่ากว่าร้อยละ 20 ของคะแนน รวมในหมวดนี้ ส่ ว นหนึ่ ง เป็ น ผลจากความตื่ น ตั ว ของ ธนาคารไทยทุ ก แห่ ง ต่ อ กระแสธนาคารดิ จิ ทั ล (digital banking) ซึง่ ขยับขยายพรมแดนของการให้บริการทาง​การ­ เงิน และส่วนหนึ่งเป็น ผลพลอยได้จากนิยามในหมวดนี้ ของเกณฑ์ Fair Finance Guide International ซึง่ ออกแบบ มาสําหรับสถาบันการเงินข้ามชาติขนาดใหญ่ในทวีปยุโรป เป็นหลัก โดยที่ธนาคารเหล่านี้หลายแห่งมักไม่ให้บริการ แก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (small & medium enterprises: SMEs) แตกต่างจากธนาคารไทยซึ่ง ให้บริการแก่ SMEs มาช้านาน ด้วยเหตุนี้ การรวม SMEs เข้ามาในเกณฑ์ “การขยายบริการทางการเงิน” จึงไม่อาจ สะท้อนภาพการขยายบริการทางการเงินในไทยได้ดีนัก เนือ่ งจาก SMEs สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบ อยู่แล้ว 2. เนื่ อ งจากข้ อ ที่ ธ นาคารส่ ว นใหญ่ ไ ด้ ค ะแนนเป็ น นโยบายที่ธนาคารต้องประกาศเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย

10


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

และกฎระเบี ย บที่ เ กี่ ย วข้ อ งอยู่ แ ล้ ว ดั ง กล่ า วในข้ อ 1. ข้างต้น ธนาคาร 4 แห่งที่ได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ย คือ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จึงสะท้อนความมุ่งมั่นของ ธนาคารในการเป็นผู้นําในมิติต่างๆ ของหลักการธนาคาร ที่ยั่งยืน ที่สูงกว่าการแสดงความรับผิดชอบตามกฎหมาย 3. ในบรรดาหมวดที่ธนาคาร 9 แห่ง ได้คะแนนน้อย ทีส่ ดุ หมวด “ความเท่าเทียมทางเพศ” (คะแนนเฉลีย่ 1.5% ของคะแนนรวมทั้งหมวด) และ “นโยบายค่าตอบแทน” (1.8%) สะท้อนภาวะที่ธนาคารไทยโดยรวมยังไม่เปิดเผย นโยบายที่ชัดเจนว่าจะส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศใน องค์กร และมาตรการป้องกันและบรรเทาการเลือกปฏิบตั ิ ทางเพศต่อลูกค้า และยังไม่มีธนาคารใดกําหนดเพดาน การจ่ายเงินโบนัสผูบ้ ริหาร หรือผูกโยงเกณฑ์การจ่ายโบนัส เข้ากับเกณฑ์อน่ื ๆ นอกเหนือจากผลประกอบการทางธุรกิจ อาทิ 1) ความพึงพอใจของพนักงาน 2) ความพึงพอใจ ของลูกค้า และ 3) การปรับปรุงผลกระทบด้านสังคมและ

11


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

สิ่งแวดล้อม ยกเว้นธนาคารกสิกรไทย ซึ่งระบุว่าคํานึงถึง หลั ก เกณฑ์ ทั้ ง สามด้ า นดั ง กล่ า วข้ า งต้ น ในการกํ า หนด นโยบายค่าตอบแทนของผูบ้ ริหารระดับสูง จึงเป็นธนาคาร เพียงแห่งเดียวที่ได้คะแนนในหมวดนโยบายค่าตอบแทน 4. ในบรรดาหมวดที่ธนาคาร 9 แห่ง ได้คะแนนน้อย ที่สุด หมวดธรรมชาติ (ไม่มีธนาคารใดได้คะแนน) และ หมวดสิทธิมนุษยชน (1.7%) คาดหวังให้ธนาคารกําหนด ให้ธุรกิจที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคาร มี กลไกคุม้ ครองป้องกันผลกระทบทีเ่ กีย่ วข้อง คะแนนทีน่ อ้ ย มากในสองหมวดนีส้ ะท้อนว่า ธนาคารไทยโดยรวมยังไม่มี การประกาศนโยบายสินเชื่อ (credit policy) ซึ่งรวมถึง แนวทางป้องกันความเสี่ยงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ ชัดเจนต่อสาธารณะ ยกเว้นธนาคารกสิกรไทย ซึ่งมีการ เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของนโยบายสินเชื่อของธนาคาร แต่ยังไม่เปิดเผยนโยบายสินเชื่ออุตสาหกรรม ธนาคาร 2 แห่ง ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ และ ธนาคารกสิกรไทย ประกาศว่าธนาคารเคารพสิทธิมนุษยชน​

12


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ตามหลั ก การชี้ แ นะว่ า ด้ ว ยธุ ร กิ จ กั บ สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนของ องค์การสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights) แต่ยังไม่เปิดเผย ว่ามีนโยบายทีก่ าํ หนดให้ลกู ค้าของธนาคารทําตามหลักการ ชี้แนะดังกล่าว 5. ธนาคารทุกแห่งสามารถใช้เกณฑ์การประเมิน Fair Finance Guide International เป็นแนวทางพัฒนานโยบาย สินเชื่อ (credit policy) ของธนาคาร รวมถึงการพัฒนา รายการของประเภทอุตสาหกรรมทีธ่ นาคารมีนโยบายไม่ให้​ การสนับสนุนทางการเงินเพราะมีแนวโน้มสร้างผล​กระทบ ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมสูง (negative list) ตลอดจน พัฒนานโยบายอืน่ ๆ ทีส่ าํ คัญต่อการขับเคลือ่ นตามหลักการ ธนาคารที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต ทุกหมวดในเกณฑ์นี้เรียงลําดับจากข้อที่คาดหวังว่า ธนาคารควรกําหนดเป็นนโยบายพืน้ ฐาน (เช่น เปิดเผยเป้า­ หมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก) ไปจนถึงนโยบาย ที่ต้องใช้เวลาในการวางแผนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนและ

13


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

การปรับเปลี่ยนขั้นตอนการปฏิบัติการของธนาคารเพื่อให้ สอดคล้องกับแนวโน้มความเสี่ยงด้านสังคมและสิ่งแวด­ ล้อม (เช่น การประกาศนโยบายว่าจะไม่ให้การสนับสนุน ทางการเงินแก่ธุรกิจทรายนํ้ามัน) แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทยจึงเชื่อมั่นว่า ธนาคารทุกแห่งสามารถใช้เกณฑ์การประเมิน Fair Finance Guide International ในการกําหนดกลยุทธ์ แนวปฏิบัติ และแผนการปรับเปลีย่ นการดําเนินธุรกิจของธนาคาร ให้ สอดคล้องกับหลักการธนาคารที่ยั่งยืน และคาดหวังว่า คะแนนการประเมินตามเกณฑ์ Fair Finance Guide International จะมีแนวโน้มดีขึ้นในปีต่อๆ ไป

14


ผลการประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ Fair Finance Guide International ประจ�ำปี พ.ศ. 2561 25 20.95 (17.46%)

20 17.60 (14.66%)

15

17.06 (14.22%)

16.16 (13.47%)

13.82 (11.52%)

14.10 (11.75%) 12.13 (10.10%)

11.44 (9.53%)

15.14 (12.62%) 13.00 (10.83%)

10

5

0

BBL

SCB

KTB

KBANK

BAY

TBANK

TMB

TISCO

KKP

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สิทธ�มนุษยชน

ภาษี

การขยายบร�การทางการเง�น

การทุจร�ตคอร รัปชัน

สิทธ�แรงงาน

อาวุธ

นโยบายค าตอบแทน

ความเท าเทียมทางเพศ

ธรรมชาติ

การคุ มครองผู บร�โภค

ความโปร งใสและความรับผิด

คะแนนรวม (รวมทั้งหมด

= 120, rebased

ให้แต่ละหัวข้อ

เฉลี่ย

= 10)

หน้าแทรกพิเศษ


แนะนําโครงการ Fair Finance Thailand (แนวร่ ว มการเงิ น ที่ เ ป็ น ธรรมประเทศ​ไ ทย

เว็บไซต์ www.fairfinancethailand.org) ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2561 สมาชิก ประกอบด้วยบริษัทวิจัย 1 บริษัท และองค์กรภาคประชาสังคม 4 องค์กร ทีม่ คี วามสนใจร่วมกันในการติดตามผลกระทบและความท้าทาย ของธุรกิจธนาคาร และประสงค์จะร่วมกัน ผลักดันภาคธนาคารไทยให้ ก้าวสู่แนวคิดและวิถีปฏิบัติของ “การธนาคารที่ยั่งยืน” (sustainable banking) อย่ า งแท้ จริ ง ผ่ า นการนํ า มาตรฐาน Fair Finance Guide International (แนวปฏิบัติของแนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ เว็บไซต์ www.fairfinanceguide.org) มาใช้ในการประเมินนโยบายด้าน ต่างๆ ของธนาคารพาณิชย์ไทยทีเ่ ปิดเผยสูส่ าธารณะ เริม่ จาก พ.ศ. 2562 เป็นปีแรก (สําหรับข้อมูลเกี่ยวกับ Fair Finance Guide International กรุณาดูภาคผนวกของรายงานฉบับนี)้ สมาชิกแนวร่วม Fair Finance Thailand ได้แก่ 1. บริษัท ป่าสาละ จํากัด 2. International Rivers 3. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 4. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) 5. มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH)


ผลการประเมิน ธนาคารพาณิชย์ไทยตามเกณฑ์ Fair Finance Guide International ประจําปี พ.ศ. 2561



แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ธนาคารที่ ได้รับการประเมิน และกระบวนการประเมิน ตามเกณฑ์ Fair Finance Guide International

ในปี พ.ศ. 2561 แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศ​ ไทยได้เลือกธนาคารพาณิชย์สัญชาติไทย 9 แห่ง ตาม ขนาดสินทรัพย์รวมจากมากไปหาน้อย สาํ หรับการประเมิน นโยบายในปีแรก ธนาคารที่ได้รับการประเมินมีรายนาม ดังต่อไปนี้ ชื่อธนาคาร ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารธนชาต ธนาคารทหารไทย ธนาคารทิสโก้ ธนาคารเกียรตินาคิน

ตัวอักษรย่อ

สินทรัพย์ ณ วันที่ 30 มิ.ย. 61 (ล้านบาท)

BBL

3,067,463.30

SCB

2,789,675.53

KTB

2,726,715.75

KBANK

2,541,017.05

BAY

1,989,957.53

TBANK

973,230.13

TMB

852,786.95

TISCO

295,080.02

KKP

272,613.46

17


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ข้อมูลทีใ่ ช้ในการประเมินครัง้ นี้ ได้แก่ เอกสารนโยบาย และข้อมูลต่างๆ ที่ธนาคารเปิดเผยต่อสาธารณะ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2561 อันประกอบด้วย • รายงานประจําปี (annual report) พ.ศ. 2561 • รายงานความยั่งยืน (sustainability report) หรือ รายงานความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR report) ประจําปี พ.ศ. 2561 • แบบฟอร์ ม 56–1 (ในฐานะบริ ษั ท จดทะเบี ย น รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) • ข้อมูลหรือเอกสารเผยแพร่บนเว็บไซต์ธนาคาร • แถลงการณ์สาธารณะของธนาคารเอง • จดหมายข่าวที่ออกโดยธนาคารเอง ขั้นตอนการประเมิน

การประเมิ น นโยบายที่ เ ปิ ด เผยต่ อ สาธารณะของ ธนาคาร 9 แห่งในครัง้ นี้ ใช้ระยะเวลาทัง้ สิน้ รวม 8 เดือน โดยมีขั้นตอนต่อไปนี้

18


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

สิงหาคม–ตุลาคม 2561

คณะวิ จั ย ประเมิ น นโยบายที่ ธ นาคารเปิ ด เผยต่ อ สาธารณะ ส่งผลการประเมินเบื้องต้นพร้อมรายละเอียด และเกณฑ์ ก ารประเมิ น ให้ ธ นาคารทุ ก แห่ ง ในวั น ที่ 30 ตุลาคม 2561 พฤศจิกายน 2561–มกราคม 2562

ช่วงเวลารับฟังความคิดเห็นและข้อมูลเพิ่มเติมจาก ธนาคาร ในช่วงเวลาดังกล่าว ธนาคาร 4 แห่ง ซึง่ ทัง้ หมด ติด 5 อันดับแรกในการประเมินครัง้ นี้ ติดต่อหารือและให้ ข้อมูลเพิ่มเติมแก่คณะวิจัย กุมภาพันธ์–มีนาคม 2562

คณะวิจยั ปรับปรุงผลการประเมิน จัดทาํ รายงาน และ เผยแพร่ผลการประเมินสู่สาธารณะ ผ่านเว็บไซต์ www. fairfinancethailand.org

19


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

หัวข้อที่ ใช้ ในการประเมิน

ในการประเมินครัง้ แรกโดยใช้ขอ้ มูลปี พ.ศ. 2561 คณะ วิจยั ประเมินนโยบายธนาคารในด้านต่างๆ รวม 12 หมวด โดยใช้เกณฑ์บังคับขั้นตํ่า (minimum requirement) ตาม Fair Finance Guide International จํานวน 9 หมวด และ เกณฑ์ทางเลือก (optional) ที่เห็นว่ามีความสําคัญสําหรับ ประเทศไทย 3 หมวด โดยประกอบด้วยรายการต่อไปนี้ หมายเหตุ: ตัวหนา คือหมวดบังคับขั้นตํ่า และตัวเลขในวงเล็บ คือจํานวนข้อที่มีการให้คะแนนในหมวดนั้น ๆ

หมวดรายประเด็น 1. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2. การทุจริตคอร์รัปชัน (12) 3. ความเท่าเทียมทางเพศ (15) 4. สิทธิมนุษยชน (13) 5. สิทธิแรงงาน (14) 6. ธรรมชาติ (15)

20

(24)


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย 7. ภาษี (17)

หมวดรายอุตสาหกรรม 1. อาวุธ (16) หมวดการปฏิบัติการภายใน 1. การคุ้มครองผู้บริโภค (21) 2. การขยายบริการทางการเงิน (13) 3. นโยบายค่าตอบแทน (12) 4. ความโปร่งใสและความรับผิด (22) การแสดงผลการประเมินในรายงานฉบับนี้ใช้วิธีปรับ คะแนนดิ บ ตามส่ ว น (pro rate) ให้ ทุ ก หมวดมี ผ ลรวม เท่ากับ 10 เพือ่ ความสะดวกในการเปรียบเทียบข้ามหมวด

21


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ผลการประเมินนโยบายธนาคารพาณิชย์ ไทย 9 แห่ง ประจําปี พ.ศ. 2561

ผลการประเมินนโยบายของธนาคารพาณิชย์ไทย 9 แห่ง ตามเกณฑ์ Fair Finance Guide International 12 หมวด ดังกล่าวข้างต้น พบว่าธนาคารทั้งหมดได้คะแนน โดยเฉลี่ย 15.14 คิดเป็น 12.6% ของคะแนนทั้งหมด โดย ธนาคารที่ได้คะแนนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ธนาคาร กสิกรไทย (17.5%) ธนาคารไทยพาณิชย์ (14.7%) ธนาคาร กรุงไทย (14.2%) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (13.5%) และ ธนาคารทิสโก้ (11.7%) โดยหมวดทีธ่ นาคารไทยได้คะแนน สูงสุด 3 หมวดแรก ได้แก่ การขยายบริการทางการเงิน (คะแนนเฉลี่ย 49.3%) การทุจริตคอร์รัปชัน (41.7%) และ การคุ้มครองผู้บริโภค (34.2%) หมวดที่ธนาคารได้คะแนน น้ อ ยที่ สุ ด และได้ ค ะแนนเฉลี่ ย ตํ่า กว่ า 2% มี 5 หมวด ได้แก่ ธรรมชาติ (0%) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (1.2%) ความเท่ า เที ย มทางเพศ (1.5%) สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน (1.7%) และนโยบายค่าตอบแทน (1.8%) ผลการประเมิน

22


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

สรุปเป็นแผนภาพได้ในหน้าแทรกพิเศษ ผลการประเมินธนาคารบอกอะไรกับเราบ้าง?

สองหมวดที่ธนาคารโดยรวมได้คะแนนค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับหมวดอื่น คือ หมวด “การทุจริตคอร์รัปชัน” และ “การคุ้มครองผู้บริโภค” สะท้อนการปฏิบัติตามข้อ บังคับของกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (compliance) มากกว่าการกําหนดนโยบายจากกลยุทธ์ความยัง่ ยืน ขององค์กรหรือการประเมินความเสี่ยงด้านสังคมหรือสิ่ง­ แวดล้อมของธนาคารและผลิตภัณฑ์ธนาคาร ยกตัวอย่าง เช่น นโยบายด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของ ธนาคารทุกแห่ง เป็นไปตามกฎหมายและประกาศสํานัก­ งานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และ นโยบายการคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคหลายข้ อ ก็ ป ระกาศตาม ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรือ่ ง การกาํ กับดูแลการ ให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม หรือ market conduct ซึ่งเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นมา 1.

23


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

สําหรับผลการประเมินในหมวด “การขยายบริการ ทางการเงิน” ซึ่งธนาคารไทยโดยรวมได้คะแนนค่อนข้างดี ไม่มีธนาคารใดได้คะแนนตํ่ากว่าร้อยละ 20 ของคะแนน รวมในหมวดนี้ ส่ ว นหนึ่ ง เป็ น ผลจากความตื่ น ตั ว ของ ธนาคารไทยทุ ก แห่ ง ต่ อ กระแสธนาคารดิ จิ ทั ล (digital banking) ซึง่ ขยับขยายพรมแดนของการให้บริการทางการ­ เงิน และส่วนหนึ่งเป็น ผลพลอยได้จากนิยามในหมวดนี้ ของเกณฑ์ Fair Finance Guide International ซึง่ ออกแบบ มาสําหรับสถาบันการเงินข้ามชาติขนาดใหญ่ในทวีปยุโรป เป็นหลัก โดยที่ธนาคารเหล่านี้หลายแห่งมักไม่ให้บริการ แก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (small & medium enterprises: SMEs) แตกต่างจากธนาคารไทยซึ่ง ให้บริการแก่ SMEs มาช้านาน ด้วยเหตุนี้ การรวม SMEs เข้ามาในเกณฑ์ “การขยายบริการทางการเงิน” จึงไม่อาจ สะท้อนภาพการขยายบริการทางการเงินในไทยได้ดีนัก เนือ่ งจาก SMEs สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบ อยู่แล้ว

24


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

เนื่ อ งจากข้ อ ที่ ธ นาคารส่ ว นใหญ่ ไ ด้ ค ะแนนเป็ น นโยบายที่ธนาคารต้องประกาศเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎระเบี ย บที่ เ กี่ ย วข้ อ งอยู่ แ ล้ ว ดั ง กล่ า วในข้ อ 1. ข้างต้น ธนาคาร 4 แห่งที่ได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ย คือ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จึงสะท้อนความมุ่งมั่นของ ธนาคารในการเป็นผู้นําในมิติต่างๆ ของหลักการธนาคาร ที่ยั่งยืน ที่สูงกว่าการแสดงความรับผิดชอบตามกฎหมาย 3. ในบรรดาหมวดที่ธนาคาร 9 แห่ง ได้คะแนนน้อย ทีส่ ดุ หมวด “ความเท่าเทียมทางเพศ” (คะแนนเฉลีย่ 1.5% ของคะแนนรวมทั้งหมวด) และ “นโยบายค่าตอบแทน” (1.8%) สะท้อนภาวะที่ธนาคารไทยโดยรวมยังไม่เปิดเผย นโยบายที่ชัดเจนว่าจะส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศใน องค์กร และมาตรการป้องกันและบรรเทาการเลือกปฏิบตั ิ ทางเพศต่อลูกค้า และยังไม่มีธนาคารใดกําหนดเพดาน การจ่ายเงินโบนัสผูบ้ ริหาร หรือผูกโยงเกณฑ์การจ่ายโบนัส เข้ากับเกณฑ์อนื่ ๆ นอกเหนือจากผลประกอบการทางธุรกิจ 2.

25


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

อาทิ 1) ความพึงพอใจของพนักงาน 2) ความพึงพอใจ ของลูกค้า และ 3) การปรับปรุงผลกระทบด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อม ยกเว้นธนาคารกสิกรไทย ซึ่งระบุว่าคํานึงถึง หลั ก เกณฑ์ ทั้ ง สามด้ า นดั ง กล่ า วข้ า งต้ น ในการกํ า หนด นโยบายค่าตอบแทนของผูบ้ ริหารระดับสูง จึงเป็นธนาคาร เพียงแห่งเดียวที่ได้คะแนนในหมวดนโยบายค่าตอบแทน 4. ในบรรดาหมวดที่ธนาคาร 9 แห่ง ได้คะแนนน้อย ที่สุด หมวดธรรมชาติ (ไม่มีธนาคารใดได้คะแนน) และ หมวดสิทธิมนุษยชน (1.7%) คาดหวังให้ธนาคารกําหนด ให้ธุรกิจที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคาร มี กลไกคุม้ ครองป้องกันผลกระทบทีเ่ กีย่ วข้อง คะแนนทีน่ อ้ ย มากในสองหมวดนีส้ ะท้อนว่า ธนาคารไทยโดยรวมยังไม่มี การประกาศนโยบายสินเชื่อ (credit policy) ซึ่งรวมถึง แนวทางป้องกันความเสี่ยงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ ชัดเจนต่อสาธารณะ ยกเว้นธนาคารกสิกรไทย ซึ่งมีการ เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของนโยบายสินเชื่อของธนาคาร แต่ยังไม่เปิดเผยนโยบายสินเชื่ออุตสาหกรรม

26


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ธนาคาร 2 แห่ง ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ และ ธนาคารกสิกรไทย ประกาศว่าธนาคารเคารพสิทธิมนุษยชน ตามหลั ก การชี้ แ นะว่ า ด้ ว ยธุ ร กิ จ กั บ สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนของ องค์การสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights) แต่ยังไม่เปิดเผย ว่ามีนโยบายทีก่ าํ หนดให้ลกู ค้าของธนาคารทําตามหลักการ ชี้แนะดังกล่าว 5. ธนาคารทุกแห่งสามารถใช้เกณฑ์การประเมิน Fair Finance Guide International เป็นแนวทางพัฒนานโยบาย สินเชื่อ (credit policy) ของธนาคาร รวมถึงการพัฒนา รายการของประเภทอุตสาหกรรมทีธ่ นาคารมีนโยบายไม่ให้​ การสนับสนุนทางการเงินเพราะมีแนวโน้มสร้างผลกระทบ ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมสูง (negative list) ตลอดจน พัฒนานโยบายอืน่ ๆ ทีส่ าํ คัญต่อการขับเคลือ่ นตามหลักการ ธนาคารที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต ทุกหมวดในเกณฑ์นี้เรียงลําดับจากข้อที่คาดหวังว่า ธนาคารควรกําหนดเป็นนโยบายพืน้ ฐาน (เช่น เปิดเผยเป้า­

27


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

หมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก) ไปจนถึงนโยบาย ที่ต้องใช้เวลาในการวางแผนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนและ การปรับเปลี่ยนขั้นตอนการปฏิบัติการของธนาคารเพื่อให้ สอดคล้องกับแนวโน้มความเสี่ยงด้านสังคมและสิ่งแวด­ ล้อม (เช่น การประกาศนโยบายว่าจะไม่ให้การสนับสนุน ทางการเงินแก่ธุรกิจทรายนํ้ามัน) แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทยจึงเชื่อมั่นว่า ธนาคารทุกแห่งสามารถใช้เกณฑ์การประเมิน Fair Finance Guide International ในการกําหนดกลยุทธ์ แนวปฏิบัติ และแผนการปรับเปลีย่ นการดําเนินธุรกิจของธนาคาร ให้ สอดคล้องกับหลักการธนาคารที่ยั่งยืน และคาดหวังว่า คะแนนการประเมินตามเกณฑ์ Fair Finance Guide International จะมีแนวโน้มดีขึ้นในปีต่อๆ ไป

28


ผลคะแนนรายหมวด และนโยบายที่น่าสนใจ

รายละเอียดคะแนนรายหมวดแสดงดังต่อไปนี้ โดยสามารถอ่านรายการ หัวข้อทั้งหมดที่มีการประเมินได้ ใน ภาคผนวก ก ของรายงานฉบับนี้ อนึ่ง การแสดงผลการประเมินรายหมวดทั้งหมดในส่วนนี้ ใช้วิธีปรับคะแนนดิบตามส่วน (pro rate) ให้มีคะแนนรวมเท่ากับ 10 เท่ากันทุกหมวด เพื่อความสะดวกในการเปรียบเทียบข้ามหมวด

29


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change)

เกณฑ์หมวดนี้มุ่งประเมินบทบาทของธนาคารในการ ลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิด จากการดําเนินงานทั้งทางตรงและทางอ้อมของธนาคาร อาทิ การตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ ธนาคารทั้งทางตรงและทางอ้อม การจํากัดการสนับสนุน ทางการเงินแก่อตุ สาหกรรมทีผ่ ลิตไฟฟ้าจากถ่านหินไม่เกิน ร้อยละ 30 การมีนโยบายสินเชือ่ สนับสนุนให้ธรุ กิจเปลีย่ น จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมาเป็นแหล่งพลังงานหมุน​ เวียน เป็นต้น ผลการประเมินปรากฏว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) และธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เป็นธนาคารเพียงสอง แห่งที่ได้คะแนนในหมวดนี้ โดย SCB และ KBANK ได้ คะแนนในประเด็นทีธ่ นาคารประกาศเป้าหมายการลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดําเนินงานของธนาคาร และ SCB ได้คะแนนเพิ่มเติมจากโครงการเงินหมุนเวียน เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โดยมีการพิจารณาสินเชื่ออัตรา

30


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

1.0 0.8

0.6 (6.25%)

0.6

0.4 (4.17%)

0.4 0.2 0.0

0.0

BBL

0.0

SCB

KTB

0.0

KBANK

BAY

1.0 0.8 0.6 0.4 0.1 (1.157%)

0.2 0.0

0.0

0.0

0.0

0.0

TBANK

TMB

TISCO

KKP

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ปรับ: คะแนนรวม

31

เฉลี่ย = 10)


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

5 4

4.2 (41.67%)

4.2 (41.67%)

4.2 (41.67%)

4.2 (41.67%)

4.2 (41.67%)

BBL

SCB

KTB

KBANK

BAY

4.2 (41.67%)

4.2 (41.67%)

4.2 (41.67%)

4.2 (41.67%)

4.2 (41.67%)

TBANK

TMB

TISCO

KKP

เฉลี่ย

3 2 1 0

5 4 3 2 1 0

การทุจริตคอร์รัปชัน (ปรับ: คะแนนรวม

32

= 10)


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

พิเศษให้แก่ผปู้ ระกอบการทีส่ นใจติดตัง้ อุปกรณ์เพือ่ ลดการ ใช้พลังงาน และลงทุนก่อสร้างอาคารเพื่อการอนุรักษ์ พลังงาน การทุจริตคอร์รัปชัน (corruption)

เกณฑ์หมวดนี้มุ่งประเมินบทบาทของธนาคารในการ ป้องกันการทุจริตคอร์รปั ชัน รวมถึงมีมาตรการต่อต้านการ ฟอกเงิน การก่อการร้าย และมีกลไกที่สามารถยืนยันได้ ถึงผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง (ultimate beneficiary) ของ บริษัทลูกค้า ในหมวดนี้ธนาคารไทยได้คะแนนทั้งหมด 5 ข้อจาก 12 ข้อ เท่ากันทุกธนาคาร ในประเด็นที่ธนาคารประกาศ ไม่รับสินบน มีนโยบายการต่อต้านการฟอกเงิน ป้องกัน การสนับสนุนทางการเงินแก่กลุม่ ก่อการร้าย มีการเปิดเผย ผูไ้ ด้รบั ผลประโยชน์ทแี่ ท้จริง และมีมาตรฐานเพิม่ เติมเมือ่ ทําธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทาง​การ­ เมือง ซึ่งการประกาศนโยบายเหล่านี้เป็นการปฏิบัติตาม

33


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.  2542 มาตรการป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน และการ ต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรือ่ ง หลักเกณฑ์ การรับฝากเงินหรือการรับเงินจากประชาชน (Guideline on Acceptance of Deposits or Money from Customers)

ความเท่าเทียมทางเพศ

เกณฑ์ในหมวดนีค้ าดหวังให้ธนาคารสะท้อนถึงคุณค่า ความเท่าเทียมในบริบทของเพศ โดยความเท่าเทียมทาง เพศ หมายถึง การมีสิทธิ ความรับผิดชอบ และโอกาสที่ เท่าเทียมกันโดยไม่มีข้อกําหนดด้านเพศ โดยนโยบายที่ คาดหวังมีอาทิ การมีนโยบายไม่ยอมรับการล่วงละเมิด ทางเพศ (zero tolerance policy) นโยบายรับประกันการ มีสว่ นร่วมของสตรีในคณะกรรมการบริษทั และมาตรการ ส่งเสริมให้สตรีได้เข้าสู่ตําแหน่งผู้บริหารระดับสูง ผลการประเมิน ธนาคารกรุงเทพ (BBL) เป็นธนาคาร

34


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

1.0 0.8

0.7 (6.67%)

0.6 0.4 0.2 0.0

BBL

0.0

0.0

0.0

0.0

SCB

KTB

KBANK

BAY

1.0 0.7 (6.67%)

0.8 0.6 0.4

0.1 (1.48%)

0.2 0.0

0.0

0.0

0.0

TBANK

TMB

TISCO

KKP

ความเท่าเทียมทางเพศ (ปรับ: คะแนนรวม

35

เฉลี่ย = 10)


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

1.0

0.8 (7.69%)

0.8

0.8 (7.69%)

0.6 0.4 0.2 0.0

0.0

BBL

0.0

SCB

KTB

0.0

KBANK

BAY

1.0 0.8 0.6 0.4

0.2 (1.71%)

0.2 0.0

0.0

0.0

0.0

0.0

TBANK

TMB

TISCO

KKP

สิทธิมนุษยชน (ปรับ: คะแนนรวม

36

= 10)

เฉลี่ย


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

เดียวที่ระบุว่า ธนาคารมีระบบการกําหนดค่าตอบแทน และสวัสดิการที่เหมาะสมและเท่าเทียมกันระหว่างหญิง และชาย ส่วน ธนาคารเกียรตินาคิน (KKP) เป็นธนาคาร เดี ยวที่ ร ะบุ ว่ า ธนาคารมี น โยบายไม่ ย อมรั บ การเลื อ ก ปฏิบัติทางเพศทุกรูปแบบในการจ้างงานและการทํางาน รวมถึงการคุกคามทางวาจา ทางกายภาพ และทางเพศ (zero tolerance policy)

สิทธิมนุษยชน

เกณฑ์หมวดนีค้ าดหวังให้ธนาคารมีนโยบายด้านสิทธิ­ มนุษยชน ตามหลักการชีแ้ นะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ขององค์ ก ารสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) และ มีกลไกติดตามตรวจสอบให้ลกู หนีธ้ รุ กิจของธนาคารปฏิบตั ิ ตามหลักการชี้แนะดังกล่าวด้วย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกสิกรไทย ได้คะแนน 1 ข้อจาก 13 ข้อ ในประเด็นที่ประกาศว่าธนาคารเคารพ

37


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

สิทธิมนุษยชนตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุร กิจกับสิทธิ มนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ สิทธิแรงงาน

เกณฑ์หมวดนี้คาดหวังให้ธนาคารมีนโยบายด้านสิทธิ แรงงานสอดคล้องกับคาํ ประกาศขององค์กรแรงงานระหว่าง ประเทศ (International Labour Organization: ILO) ว่า ด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในที่ทํางาน นอกจากนี้ เกณฑ์การประเมินยังครอบคลุมนโยบายด้านสิทธิแรงงาน ของบริษทั ทีไ่ ด้รบั การสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารด้วย ธนาคารกรุงเทพ (BBL) และธนาคารกรุงไทย (KTB) ได้คะแนน 1 ข้อจาก 14 ข้อ ในประเด็นเดียวกัน คือ ทั้ง สองธนาคารประกาศนโยบายด้านสิทธิแรงงานที่อ้างอิง​ คําประกาศขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วย หลักการและสิทธิขนั้ พืน้ ฐานในทีท่ าํ งาน (ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) อาทิ มีสภาพแวดล้อมทีเ่ หมาะสม มีแนวทางการไม่เลือกปฏิบตั ิ

38


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

0.9 (8.93%)

1.0 0.8

0.7 (7.14%)

0.7 (7.14%)

0.6 0.4 0.2 0.0

0.0

BBL

SCB

0.0

KTB

KBANK

BAY

1.0 0.8 0.6 0.3 (2.58%)

0.4 0.2 0.0

0.0

0.0

0.0

0.0

TBANK

TMB

TISCO

KKP

สิทธิแรงงาน (ปรับ: คะแนนรวม

39

= 10)

เฉลี่ย


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

1.0 0.8 0.6 0.4 0.2 0.0

0.0

0.0

0.0

0.0

0.0

BBL

SCB

KTB

KBANK

BAY

0.0

0.0

0.0

0.0

0.0 (0%)

TBANK

TMB

TISCO

KKP

เฉลี่ย

1.0 0.8 0.6 0.4 0.2 0.0

ธรรมชาติ (ปรับ: คะแนนรวม

40

= 10)


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ต่อพนักงานในเรื่อง เพศ อายุ สัญชาติ ไม่ใช้แรงงานเด็ก และแรงงานผิ ด กฎหมาย และเปิ ด โอกาสให้ พ นั ก งาน สามารถสมัครเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้โดยไม่มีการ ปิดกั้น ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ได้คะแนน 2 ข้อจาก 14 ข้อ ในประเด็นที่ธนาคารจะไม่ยอมรับการใช้แรงงานเด็ก และแรงงานทาสในธุรกิจของลูกค้าธนาคาร โดยธนาคาร ประกาศว่า มีนโยบายเครดิตทีก่ าํ หนดประเภทเครดิตและ ผู้ขอเครดิตที่ธนาคารไม่ให้การสนับสนุน ได้แก่ เครดิตที่ ผู้ขอเครดิตมีการใช้แรงงานผิดกฎหมาย แรงงานต่างด้าว ผิดกฎหมาย แรงงานทาส และแรงงานเด็กทีไ่ ม่เป็นไปตาม มาตรฐานแรงงานที่เกี่ยวข้อง ธรรมชาติ

เกณฑ์หมวดนีป้ ระเมินนโยบายเกีย่ วกับธุรกิจทีธ่ นาคาร ให้การสนับสนุนทางการเงิน เกณฑ์หลายข้อมุ่งเน้นให้ ธนาคารมีนโยบายสินเชื่อเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่สุ่มเสี่ยง

41


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ต่ อ การสร้ า งผลกระทบต่ อ สั ง คมและสิ่ ง แวดล้ อ ม เช่ น อุตสาหกรรมทรายนํ้ามัน และการค้าพืชและสัตว์ใกล้ สูญพันธุท์ อี่ ยูใ่ นรายการแนบท้ายอนุสญ ั ญาไซเตส (CITES) หมวดนี้ไม่มีธนาคารใดได้คะแนน ภาษี

เกณฑ์หมวดนี้ประเมินกลไกและกระบวนการการดํา­ เนินงานของธนาคารและนโยบายเกี่ยวกับธุรกิจที่ธนาคาร ให้การสนับสนุนทางการเงิน รวมถึงธุรกรรมในประเทศ เขตปลอดภาษี เพือ่ ป้องกันการหลบเลีย่ งภาษีของธนาคาร และธุรกิจที่เป็นลูกค้าธนาคาร ตัวอย่างเกณฑ์ในหมวดนี้มีอาทิ 1. ธนาคารจะไม่ให้ บริการทางการเงินแก่บริษทั ทีต่ งั้ อยูใ่ นเขตปลอดภาษี (tax haven) ยกเว้นว่าบริษท ั นัน้ ๆ จะมีกจิ กรรมทางธุรกิจจริงๆ และได้กาํ ไรจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในท้องถิน่ นัน้ จริงๆ และ 2. ธนาคารจะไม่มีบริษัทในเครือ สาขา หรือบริษัท ร่วมลงทุนใดๆ ในเขตอํานาจศาล (jurisdiction) ที่ไม่เก็บ

42


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

1.0 0.8 0.6

0.59 (5.88%)

0.63 (6.25%)

KBANK

BAY

0.4 0.2 0.0

0.0

0.0

0.0

BBL

SCB

KTB

1.0 0.8 0.6

0.63 (6.25%)

0.63 (6.25%) 0.27 (2.74%)

0.4 0.2 0.0

0.0

TBANK

TMB

0.0

TISCO

ภาษี (ปรับ: คะแนนรวม

43

KKP = 10)

เฉลี่ย


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ภาษีเงินได้ หรือเก็บภาษีเงินได้ในอัตราศูนย์เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นว่าธนาคารจะมีกจิ กรรมทางธุรกิจจริงๆ และได้กาํ ไร จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในท้องถิ่นนั้นจริงๆ ผลการประเมิ น ธนาคารกสิ ก รไทย (KBANK) ได้ คะแนน 1 ข้อจาก 17 ข้อ ในประเด็นที่สถาบันการเงิน ไม่มสี ว่ นร่วมใดๆ ในธุรกรรมกับโครงสร้างระหว่างประเทศ ซึง่ มีเป้าหมายทีจ่ ะหนีภาษีหรือหลบเลีย่ งภาษี โดยธนาคาร ระบุในจรรยาบรรณด้านภาษีวา่ ธนาคารจะชําระภาษีอย่าง ถูกต้องและสอดคล้องกับมูลค่าที่เกิดขึ้นจากการดําเนิน กิจกรรมในแต่ละประเทศทีเ่ ข้าไปดาํ เนินธุรกิจ นอกจากนี้ ธนาคารมีกรอบการควบคุมด้านภาษี (Tax Control Framework) ซึ่งเป็นแนวทางที่ยอมรับในระดับสากล และการ​ กํากับดูแลความเสี่ยงด้านภาษีซึ่งกําหนดหน้าที่และความ รับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน ส่วนอีกสามธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ธนาคารทิ ส โก้ (TISCO) และธนาคารธนชาต (TBANK) ได้คะแนน 1 ข้อ จาก 17 ข้อ จากการเปิดเผย

44


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ข้อมูลสินทรัพย์รวมในทุกประเทศทีเ่ ปิดให้บริการ (TBANK และ TISCO ดําเนินการเฉพาะในประเทศไทย ส่วน BAY เปิ ด เผยข้ อ มู ล สิ น ทรั พ ย์ ข องสาธารณรั ฐ ประชาธิ ป ไตย ประชาชนลาวทัง้ หมด 2 สาขา โดยไม่มสี าขาในประเทศอืน่ ) อาวุธ

เกณฑ์หมวดนี้คาดหวังให้ธนาคารมีนโยบายไม่ให้การ สนับสนุนทางการเงินแก่บริษทั ทีเ่ กีย่ วข้องกับอุตสาหกรรม อาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะ เกีย่ วข้องกับการคอร์รปั ชัน การฟอกเงิน และการก่อการร้าย ผลการประเมิน ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) และ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ได้คะแนน 4 ข้อจาก 16 ข้อ เท่ากัน จากการประกาศนโยบายไม่ให้การสนับสนุนทาง​ การเงินและสินเชือ่ แก่ธรุ กิจทีผ่ ลิตหรือค้าอาวุธทีม่ อี านุภาพ ทาํ ลายล้างสูง รวมถึงอาวุธกัมมันตภาพรังสี อาวุธชีวภาพ และอาวุธเคมี ซึง่ การประกาศนโยบายดังกล่าวเป็นไปตาม​ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทาง​

45


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

5 4 3

1.7 (16.7%)

2

1.7 (16.7%)

1 0

0.0

BBL

0.0

SCB

KTB

0.0

KBANK

BAY

5 4 3 2 0.4 (3.7%)

1 0

0.0

0.0

0.0

0.0

TBANK

TMB

TISCO

KKP

อาวุธ (ปรับ: คะแนนรวม

46

= 10)

เฉลี่ย


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

การเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มี อานุภาพทําลายล้างสูง พ.ศ. 2559 การคุ้มครองผู้บริโภค

เกณฑ์หมวดนีค้ าดหวังให้ธนาคารมีมาตรการคุม้ ครอง ผูบ้ ริโภครายย่อยทีค่ รอบคลุม อาทิ มีนโยบายเปิดเผยสิทธิ ของลู กค้ ารายย่ อย และความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์และ บริการ การสร้างหลักประกันว่าลูกค้ารายย่อยเข้าถึงกลไก รับเรื่องร้องเรียนและเยียวยาที่มีกระบวนการค้นหาความ จริง (due diligence) มีนโยบายปรับโครงสร้างหนี้สําหรับ ผู้บริโภคที่ประสบปัญหาเป็นหนี้เกินตัว มีนโยบายและขั้น ตอนหลีกเลี่ยงการพ่วงขายผลิตภัณฑ์ หรือพฤติกรรมการ ขายทีไ่ ม่เหมาะสม ออกแบบโครงสร้างค่าตอบแทนสาํ หรับ พนักงานและตัวแทน ในทางที่ส่งเสริมพฤติกรรมการทํา ธุรกิจอย่างรับผิดชอบ การปฏิบตั ติ อ่ ลูกค้าอย่างเป็นธรรม และการหลีกเลีย่ งผลประโยชน์ทบั ซ้อน และมีนโยบายเปิด ให้ลูกค้ารายย่อยที่เป็น ผู้พิการหรือมีความต้องการพิเศษ

47


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

สามารถเข้าถึงบริการของธนาคารทั้งในรูปของสาขาทาง กายภาพและบริการอิเล็กทรอนิกส์ อย่างเช่นแพล็ตฟอร์ม ออนไลน์ เป็นต้น ประเด็นที่ธนาคารทุกแห่งได้คะแนน ได้แก่ 1. ธนาคารมีการพัฒนาและลงมือใช้บัญชีความเสี่ยง สําหรับลูกค้า (risk profile) ในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ ด้านการลงทุน 2. ธนาคารคุม ้ ครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ารายย่อย (ไม่เปิดเผยข้อมูลต่อบุคคลอื่นเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก ลูกค้า) และ 3. สถาบันการเงินรับประกันได้ว่าไม่มีข้อจํากัดใดๆ  ด้านเทคโนโลยีสอื่ สารและสารสนเทศ (ICT) ทีก่ ดี กันไม่ให้ ลูกค้ารายย่อยเข้าถึงบริการทางการเงิน คะแนนในหมวดนี้ส่วนหนึ่งเป็น ผลมาจากการปฏิบัติ ตามเกณฑ์การให้บริการอย่างเป็นธรรม (market conduct) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตัวอย่างนโยบายอื่นๆ ในหมวดนี้ที่ได้คะแนนและน่า

48


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

5.0 (50.00%)

5 4

3.3 (33.33%)

3

4.0 (40.48%)

3.7 (37.46%)

KBANK

BAY

2.9 (28.57%)

2 1 0

BBL

SCB

KTB

5 4 3

2.3 (23.33%)

2.9 (28.57%)

3.5 (35.24%)

3.1 (30.95%)

3.4 (34.22%)

2 1 0

TBANK

TMB

TISCO

KKP

การคุ้มครองผู้บริโภค (ปรับ: คะแนนรวม

49

เฉลี่ย = 10)


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

สนใจ มีอาทิ • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีการตีพมิ พ์เผยแพร่นโยบาย และขั้นตอนการติดตามหนี้ และบริษัทที่ได้รับมอบหมาย จากสถาบันการเงิน (บุคคลที่สาม) ให้เป็นตัวแทนในการ ทวงหนี,้ สร้างหลักประกันว่าลูกค้ารายย่อยเข้าถึงกลไกรับ เรือ่ งร้องเรียนและเยียวยาทีม่ กี ระบวนการค้นหาความจริง (due diligence) และมีนโยบายปรับโครงสร้างหนี้สําหรับ ผู้บริโภคที่ประสบปัญหาเป็นหนี้เกินตัว • ธนาคารกสิกรไทย คุ้มครองข้อมูลทางการเงินและ ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าอย่างเหมาะสม ด้วยกลไก ควบคุมและคุ้มครอง มีแนวปฏิบัติท่ีชัดเจนและเผยแพร่ ต่อสาธารณะว่าสถาบันการเงินจะจัดเก็บ ประมวลผล บันทึก ใช้ และเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้อย่างไรบ้าง และมี​ นโยบายเปิดให้ลกู ค้ารายย่อยทีเ่ ป็นผูพ้ กิ ารหรือมีความต้อง­ การพิเศษสามารถเข้าถึงบริการของธนาคารทั้งในรูปของ สาขาทางกายภาพและบริการอิเล็กทรอนิกส์ โดยพัฒนา แอปพลิเคชัน K PLUS Beacon ทําให้ผู้บกพร่องทางการ

50


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

มองเห็น (visually impaired) สามารถทําธุรกรรมการเงิน ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ • ธนาคารกรุงไทย มีนโยบายอบรมจรรยาบรรณของ พนักงานและกํากับให้พนักงานให้บริการต่อลูกค้าโดยไม่ เลือกปฏิบัติ ซึ่งธนาคารมีนโยบายให้บริการแก่ลูกค้าด้วย ความเที่ยงธรรม และมีอัธยาศัยที่ดี โดยไม่เลือกปฏิบัติ, เปิดเผยชื่อผู้ดําเนินการติดตามทวงถามหนี้แทน รวมถึง ระบุว่าในการทวงถามหนี้ให้ใช้วาจาสุภาพ ไม่มีการข่มขู่ ดูถกู หรือเสียดสีลกู ค้า และไม่เปิดเผยข้อมูลของลูกค้าแก่ บุคคลที่สาม และมีโครงการอบรมพนักงานและตัวแทน อย่างเหมาะสม ในประเด็นผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ที่ นําเสนอต่อผู้บริโภค • ธนาคารไทยพาณิชย์ มีการดําเนินการส่งเสริมการ เข้าถึงบริการทางการเงินสําหรับกลุ่มเปราะบาง คือ ผู้สูง อายุ ภายใต้โครงการ SCB Easy Senior Buddy เพือ่ แนะนาํ และให้ความช่วยเหลือการใช้งานแอปพลิเคชัน SCB Easy แก่กลุ่มลูกค้าผู้สูงอายุ

51


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

• ธนาคารทิสโก้ มีนโยบายอบรมจรรยาบรรณของ พนักงานและกํากับให้พนักงานให้บริการต่อลูกค้าโดยไม่ เลือกปฏิบัติ ซึ่งธนาคารกําหนดแนวทางเพื่อป้องกันการ เลือกปฏิบตั ติ อ่ ลูกค้าและคูค่ า้ และธนาคารเปิดให้ผมู้ สี ว่ น ได้สว่ นเสียสามารถแสดงความคิดเห็น ร้องเรียน หรือเ​สนอ​ เรื่องสําคัญอื่นๆ โดยมีหน่วยงานเฉพาะรองรับ เพื่อให้ผู้มี ส่วนได้สว่ นเสียสามารถแสดงความคิดเห็น ร้องเรียน หรือ เสนอเรื่องสําคัญอื่นๆ ต่อธนาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนีธ้ นาคารยังเปิดเผยระยะเวลาดาํ เนินการรับและ ดูแลเรื่องร้องเรียนอีกด้วย การขยายบริการทางการเงิน

เกณฑ์หมวดนี้คาดหวังให้ธนาคารมีนโยบายให้การ สนับสนุนทางการเงินแก่ลกู ค้าทีย่ งั เข้าไม่ถงึ บริการทางการ เงินในระบบ ผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มเปราะบาง โดยให้ บริการทางการเงินที่เหมาะสม สะดวก และลูกค้ามีกําลัง ซือ้ นอกจากนีย้ งั ให้คะแนนธนาคารทีม่ บี ริการทางโทรศัพท์

52


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

มือถือ

และบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-money) รวมถึงมีนโยบายหรือโครงการเสริมสร้างความรู้ ทาง​การ­เงิน ( financial literacy) แก่ลูกค้ากลุ่มผู้มีรายได้ น้อย กลุม่ เปราะบาง และผูป้ ระกอบการขนาดจิว๋ ขนาดย่อม และขนาดกลาง (MSME: Micro-enterprise and SMEs) หลายธนาคารได้คะแนนในหมวดนี้ โดยหัวข้อที่ทุก ธนาคารได้คะแนน ได้แก่ 1. ธนาคารมีสาขาในเขตชนบท ไม่ใช่เฉพาะในเมือง 2. ธนาคารมีบริการธนาคารทางโทรศัพท์มือถือ (mobile banking) และบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-money) 3. ธนาคารไม่กําหนดว่าธุรกิจขนาดจิ๋วไปจนถึงขนาด กลาง (Micro to SME: MSME) ต้องมีหลักประกันในการ กู้ (แต่ได้คะแนนต่างกันไปตามผลิตภัณฑ์ทางการเงิน) 4. ธนาคารเผยแพร่เงื่อนไขของบริการทางการเงินใน ภาษาท้องถิ่น 5. ธนาคารมีบริการรับหรือโอนเงินในประเทศทีเ่ หมาะ­ สม สะดวก และลูกค้ารายย่อยมีกําลังซื้อ (mobile banking)

53


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ตัวอย่างนโยบายอืน่ ๆ ทีไ่ ด้คะแนนและน่าสนใจมี อาทิ • ธนาคารกรุงเทพ ไม่กําหนดว่า MSME ต้องมีหลัก ประกันในการกู้ โดยธุรกิจสามารถเข้าร่วมโครงการคํ้า ประกันสินเชือ่  บสย. จากธนาคารกรุงเทพ ทีช่ ว่ ยเพิม่ ความ สะดวกในการเข้าถึงสินเชือ่ และมีนโยบายปรับปรุงความรู้ ทางการเงิน ( financial literacy) ของลูกค้ากลุ่มผู้มีรายได้ น้อย กลุ่มชายขอบ และ MSME • ธนาคารกสิ ก รไทย มี ม าตรฐานระยะเวลาการ พิจารณาสินเชื่อ และเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณะ โดยธนาคารกสิกรไทยระบุระยะเวลาพิจารณาการขอสินเชือ่ บ้านกสิกรไทย (เฉพาะการอนุมตั เิ บือ้ งต้นและยืน่ เอกสาร ครบถ้วนเท่านั้น) ในเว็บไซต์ของธนาคาร • ธนาคารไทยพาณิชย์ ปล่อยสินเชือ่ ทีอ่ ยูอ่ าศัยให้แก่ ผู้มีรายได้น้อยภายใต้โครงการบ้านประชารัฐของรัฐบาล โดยให้สนิ เชือ่ ดอกเบีย้ ตํา่ แก่ผมู้ รี ายได้นอ้ ยเพือ่ ปลูกสร้างที่ อยู่อาศัย • ธนาคารกรุงไทย มีนโยบาย บริการ และผลิตภัณฑ์

54


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

10 8 6

5.8 (58.08%)

6.4 (63.85%)

BBL

SCB

KTB

4.2 (42.05%)

4.1 (40.77%)

4.4 (44.23%)

TBANK

TMB

TISCO

4.6 (46.03%)

4.7 (47.05%)

5.5 (54.62%)

4 2 0

KBANK

BAY

4.7 (47.31%)

4.9 (49.33%)

KKP

เฉลี่ย

10 8 6 4 2 0

การขยายบริการทางการเงิน (ปรับ: คะแนนรวม

55

= 10)


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ที่พุ่งเป้าไปยังกลุ่มคนจนและคนชายขอบ โดยธนาคารมี โครงการพิเศษเพือ่ สนับสนุนผูม้ รี ายได้นอ้ ยถึงปานกลางให้ เข้าถึงสินเชือ่ ทีอ่ ยูอ่ าศัย และมีสดั ส่วนสินเชือ่ ทีป่ ล่อยให้แก่ ธุรกิจ MSME มากกว่า 10% ของสินเชื่อทั้งหมด • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีนโยบาย บริการ และ ผลิตภัณฑ์ที่พุ่งเป้าไปยังกลุ่มคนจนและคนชายขอบอย่าง เฉพาะเจาะจง สืบเนื่องจากธนาคารกรุงศรีอยุธยาเป็น เจ้าของบริษัท เงินติดล้อ จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มุ่งเน้น ปล่อยสินเชื่อไมโครและนาโนไฟแนนซ์ และมีสัดส่วนสิน­ เชือ่ ทีป่ ล่อยให้แก่ธรุ กิจ MSME มากกว่า 10% ของสินเชือ่ ทั้งหมด และไม่กําหนดว่า MSME ต้องมีหลักประกันใน การกู้ • ธนาคารธนชาต มีมาตรฐานระยะเวลาการพิจารณา สิ น เชื่ อ และเปิ ด เผยข้อ มูลดัง กล่าวต่อ สาธารณะ โดย ธนาคารธนชาตระบุระยะเวลาพิจารณาการขอสินเชือ่ โดย เกณฑ์การพิจารณาเบื้องต้นเมื่อเอกสารครบถ้วน จะใช้ เวลา 3 วันทําการในกรณีของผู้กู้มีรายได้ประจํา และ 5

56


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

วันทําการในกรณีของผู้กู้ประกอบธุร กิจส่วนตัว และมี สัดส่วนสินเชื่อที่ปล่อยให้แก่ธุรกิจ MSME มากกว่า 10% ของสินเชื่อทั้งหมด • ธนาคารทหารไทย มีผลิตภัณฑ์ SME One Bank บัญชีธรุ กิจทีไ่ ม่มคี า่ ธรรมเนียม ง่าย และดีทสี่ ดุ โดยได้รบั รางวั ล SME Product of the year 2017 จากสถาบั น Asian Banker ต่ อ มาธนาคารได้ เ ปิ ด ตั ว TMB Business Touch ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสําหรับธุร กรรมทางการเงิ น ผ่านโทรศัพท์มือถือ (mobile business banking application) เจ้าแรกของประเทศไทย และ TMB Business CLICK ที่รวมหลากหลายบริการทางการเงินไว้แบบครบวงจร ให้ ลู ก ค้ า ส่ ง คํ า สั่ ง ทํ า รายการได้ ต ลอด 24 ชั่ ว โมง รวมถึ ง บริการเบิกใช้วงเงินสินเชื่อออนไลน์ • ธนาคารทิสโก้ มีนโยบาย บริการ และผลิตภัณฑ์ที่ พุ่งเป้าไปยังกลุ่มคนจนและคนชายขอบ โดยธนาคารมี “สมหวังเงินสั่งได้” ซึ่งเป็นสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ ช่วยให้ ผูม้ รี ายได้นอ้ ยมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน และบัญชีออม­

57


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

5 4 3 1.6 (15.97%)

2 1 0

0.0

0.0

0.0

0.0

BBL

SCB

KTB

KBANK

BAY

0.0

0.0

0.0

0.0

0.2 (1.77%)

TBANK

TMB

TISCO

KKP

เฉลี่ย

5 4 3 2 1 0

นโยบายค่าตอบแทน (ปรับ: คะแนนรวม

58

= 10)


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ทรัพย์พื้นฐานสําหรับผู้มีรายได้น้อยได้รับสิทธิยกเว้นค่า รักษาบัญชีกรณีไม่มีการเคลื่อนไหวติดต่อกัน 24 เดือน • ธนาคารเกียรตินาคิน มีสัดส่วนสินเชื่อที่ปล่อยให้ แก่ธุรกิจ MSME มากกว่า 10% ของสินเชื่อทั้งหมด นโยบายค่าตอบแทน

เกณฑ์หมวดนีม้ งุ่ เน้นการเปิดเผยโครงสร้างค่าตอบแทน และคาดหวังให้ธนาคารมีนโยบายการจ่ายโบนัสทีไ่ ม่เอือ้ ต่อ การสร้างแรงจูงใจที่ไม่เหมาะสมแก่พนักงานและผู้บริหาร ธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารเดียวที่ได้คะแนนใน หมวดนี้ โดยได้ 3 ข้อจาก 12 ข้อ จากการประกาศว่า พิจารณาเกณฑ์การจ่ายโบนัสผู้บริหารระดับสูงโดยอิงกับ เกณฑ์ทนี่ อกเหนือไปจากผลประกอบการทางธุรกิจ ดังต่อ ไปนี้ 1) ความพึงพอใจของพนักงาน 2) ความพึงพอใจของ ลูกค้า และ 3) การเติบโตของเงินสินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อม และการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

59


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ความโปร่งใสและความรับผิด

เกณฑ์หมวดนี้มุ่งเน้นการเปิดเผยข้อมูลสําคัญ อาทิ รายชื่อบริษัทที่ธนาคารเข้าไปลงทุนหรือปล่อยสินเชื่อเกิน 10 ล้ า นเหรี ย ญสหรั ฐ พอร์ ต สิ น เชื่ อ แบ่ ง ตามลั ก ษณะ อุตสาหกรรม สถิติการออกเสียง เป็นต้น ธนาคารหลายแห่งได้คะแนนจากหัวข้อต่อไปนี้ 1. การเผยแพร่รายงานความยัง่ ยืนทีท ่ าํ ตามมาตรฐาน Global Reporting Initiative (GRI) ( ระดั บ Core หรื อ Comprehensive) ทั้งฉบับ 2. รายงานความยัง่ ยืนดังกล่าวได้รบ ั การตรวจทานจาก บุคคลที่สาม 3. เผยแพร่สถิติการออกเสียงของบริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) ในเครือของธนาคาร 4. มีสว ่ นร่วมในกลไกรับเรือ่ งร้องเรียนระดับปฏิบตั กิ าร จากปัจเจกและชุมชนทีอ่ าจได้รบั ผลกระทบจากกิจกรรมที่ เกี่ยวโยงกับสถาบันการเงินซึ่งธนาคารเปิดให้ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียสามารถแสดงความคิดเห็น ร้องเรียน หรือเสนอ

60


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

5 4 3

1.7 (17.05%)

2 1 0

2.2 (21.59%)

KBANK

BAY

0.8 (7.95%)

0.3 (3.41%)

BBL

2.1 (21.02%)

SCB

KTB

5 4 3 2 1 0

0.8 (7.95%)

TBANK

1.4 (13.64%) 0.3 (3.41%)

TMB

0.3 (3.41%)

TISCO

KKP

ความโปร่งใสและความรับผิด (ปรับ: คะแนนรวม

61

1.1 (11.05%)

เฉลี่ย = 10)


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

เรือ่ งสําคัญอืน่ ๆ ผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงร้องเรียนโดยตรง ต่อกรรมการอิสระ หรือคณะกรรมการตรวจสอบ รวมถึง มีการระบุรายละเอียดกระบวนการดําเนินการหลังรับเรือ่ ง ร้องเรียน

62


ความแตกต่างระหว่าง Fair Finance Guide International (FFGI) และ Dow Jones Sustainability Indices (DJSI)

63


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ดัชนีความยัง่ ยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) จัดทําขึ้นด้วยความร่วมมือของ S&P Dow Jones Indices และ RobecoSAM โดยเชิ ญ บริ ษั ท จด ทะเบียนขนาดใหญ่ทั่วโลกจาก 60 อุตสาหกรรม เข้าร่วม ประเมิ น การดํ า เนิ น งานด้ า นความยั่ ง ยื น บริ ษั ทจะถู ก ประเมินด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Corporate Sustainability Assessment หรื อ CSA ซึ่ ง ครอบคลุ ม 3 มิ ติ ทั้ ง ด้ า น เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในขณะที่แนวปฏิบัติ การเงินทีเ่ ป็นธรรมนานาชาติ (Fair Finance Guide International: FFGI) คือ ดัชนี และ เครือ ่ งมือ สาํ หรับผูบ้ ริโภค ในการเจรจาต่อรอง การรณรงค์ การให้การสนับสนุน การมีส่วนร่วมในภาครัฐและสถาบันการเงิน เพื่อสร้าง ความร่วมมือด้านการเงินที่เป็นธรรม ความแตกต่างระหว่าง FFGI กับ DJSI อาจสรุปได้ดงั นี้ 1) ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายต่างกัน DJSI

นําเสนอดัชนีความยั่งยืนของบริษัทแก่นักลงทุน

64


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ส่วน FFGI เน้นเสริมสร้างมาตรฐานด้านสังคม สิง่ แวดล้อม และสิทธิมนุษยชนในอุตสาหกรรมธนาคารและสร้างการ รับรู้แก่ลูกค้าธนาคารและบุคคลทั่วไป 2) อุตสาหกรรมที่ประเมิน

ประเมิ น ทุ กอุ ต สาหกรรม และนํ า คะแนนมา เปรียบเทียบกันภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน ส่วน FFGI ประเมินอุตสาหกรรมธนาคารเท่านั้น DJSI

3) การเปิดเผยข้อมูลวิธก ี ารประเมินและแบบสอบถาม

ที่สมบูรณ์ ไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณชน ต่าง จาก FFGI ทีเ่ น้นกระบวนการประเมินทีเ่ ข้มงวดและมีหลัก­ ฐานสนับสนุน เปิดเผยกระบวนการประเมินทางเว็บไซต์ DJSI

4) เนื้อหาการประเมิน FFGI

ประเมินทัง้ ในระดับเนือ้ หานโยบายและขอบเขต

65


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ของนโยบาย อันเนื่องมาจากการที่หลายครั้งนโยบายของ ธนาคารไม่ได้ถูกนําไปปรับใช้ในทุกผลิตภัณฑ์ ส่วน DJSI ไม่ มี ก ารระบุ ข อบเขตของการประเมิ น ที่ แ น่ ชั ด มี เ พี ย ง ตัวอย่างด้านสิทธิมนุษยชน ทีร่ ะบุวา่ เกณฑ์จะครอบคลุม ด้านสิทธิมนุษยชนในส่วนเนือ้ หานโยบายภายในของบริษทั เท่านั้น1 นอกจากนี้ FFGI ยั ง มี เ กณฑ์ อี ก ส่ ว นหนึ่ ง ที่ ร ะบุ ถึ ง บริษัทที่ธนาคารให้การสนับสนุน เพื่อมั่นใจว่าบริษัทที่ ธนาคารให้การสนับสนุนมีนโยบายด้านความยั่งยืน 5) ข้อมูลที่ใช้ในการประเมิน

ใช้ขอ้ มูลทัง้ ทีเ่ ปิดเผยและไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ DJSI ให้บริษัทผู้สมัครเป็น ผู้ให้ข้อมูล จึงมีข้อมูลบางส่วน เป็นข้อมูลภายในของบริษทั โดย DJSI ระบุใน รายงานเล่ม DJSI

1

[page 6] https://eerlijkegeldwijzer.nl/media/494706/eb-ev-analyse-​

duurzaamheidsbeoordelingen-180323.pdf.

66


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ขาว “Measuring Intangibles” ว่าวิธีนี้ช่วยให้การประเมิน เรื่องความยั่งยืนมีความลึกซึ้งขึ้น2 ส่วน FFGI ใช้ข้อมูลที่ ธนาคารเปิดเผยต่อสาธารณะในการประเมินเท่านั้น โดย เป็นการประเมินจากบุคคลภายนอก คือแนวร่วมการเงิน ที่เป็นธรรมในประเทศนั้นๆ 6) การเปลีย ่ นแปลงคะแนนเมือ่ พบว่าข้อมูลไม่ตรงกับ

ที่ให้ไว้ ในการประเมินทั้งสองแบบ จะใช้ข้อมูลจากสื่อและ แนวร่วมเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงานของธนาคาร โดย ข้อมูลดังกล่าวมีผลกระทบต่อผลคะแนนต่างกัน หาก DJSI พบว่าบริษทั ไม่ปฏิบตั ติ ามนโยบายทีร่ ะบุไว้และส่งผลกระทบ ทางลบต่ อ ธนาคารและผู้ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ งของธนาคาร 2

[page 1] https://www.robecosam.com/media/c/2/f/c2fb51336d​

88cfe5d5cba1241da83d26_measuring-intangibles-csa-methodology_ tcm1016–14370.pdf.

67


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

คะแนนทีป่ ระเมินจะถูกหักตามระดับความรุนแรงของเหตุ­ การณ์3 ต่างจาก FFGI ที่ข้อมูลจากสื่อหรือแนวร่วมไม่ส่ง ผลต่อคะแนน เพราะการประเมินใช้จากข้อมูลนโยบายที่ ธนาคารเปิดเผยเท่านั้น 7) ระบบคะแนน

ใช้ระบบคะแนนสัมพัทธ์ (relative score system) ในขณะที่ FFGI ใช้ระบบคะแนนสัมบูรณ์ (absolute score system) โดย DJSI จะคัดเลือกบริษัทที่มีคะแนนสูงสุดใน แต่ ละอุ ต สาหกรรม และยกให้เป็น “บริษัทที่ดีที่สุดใน อุตสาหกรรมนั้นๆ” (Best in Class) ระบบนี้มีข้อเสียคือ บริษัทที่ดีที่สุดอาจได้คะแนนน้อยและมิใช่ผู้นําด้านความ ยั่งยืนอย่างที่คาดหวัง ต่างจากเกณฑ์ FFGI ซึ่งถูกพัฒนา DJSI

3

[page 12] https://www.robecosam.com/media/c/2/f/c2fb51336d​

88cfe5d5cba1241da83d26_measuring-intangibles-csa-methodology_ tcm1016–14370.pdf.

68


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ตามแนวปฏิบตั ทิ ี่ “ดีทสี่ ดุ ” ดังนัน้ ธนาคารทีไ่ ด้คะแนนเต็ม หรือเกือบเต็ม 100% จึงนับเป็นธนาคารทีม่ แี นวปฏิบตั ทิ เ่ี ป็น เลิศตามอุดมคติของแนวร่วมการเงินที่เป็นธรรม (ideal best practice)

69


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

เกณฑ์ที่ ใช้ ในการประเมิน DJSI4

มิติด้านธุรกิจ: -  ธรรมาภิบาล

-  ความปลอดภัยของข้อมูลและ

ความปลอดภัยทางไซเบอร์

(Corporate and

governance)

(Information security and

-  จรรยาบรรณในการดําเนินธุรกิจ (Codes of business conduct) -  การจัดการความเสี่ยงและวิกฤต

cyber security) -  กลยุทธ์ด้านภาษี (Tax strategy) -  อิทธิพลของนโยบาย (Policy

(Risk and crisis management) -  สาระ (Materiality)

influence) -  การจัดการลูกค้าสัมพันธ์

-  ความมั่นคงทางการเงินและ

ความเสี่ยงของระบบ

(Customer relationship

(Financial

management)

instability and systemic risk)

4

[page 3] https://www.robecosam.com/media/e/3/5/e3545dc00f​

11f2515ff00dabee0bed61_robecosam-corporate-sustainability-assess​ ment-weightings-2018_tcm1016–14374.pdf.

70


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

(Business risk and

ขัดแย้ง ใน การปล่อยสินเชื่อและการจัดหา เงิน (Controversial issues,

opportunities)

dilemmas in lending and

มิติด้านสิ่งแวดล้อม: -  ความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจ

-  ประเด็นที่ถกเถียง

-  รายงานสิ่งแวดล้อม (Environmental reporting)

financing) -  การขยายบริการทางการเงิน

-  กลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ (Climate strategy)

(Financial inclusion) -  รายงานสังคม (Social

-  นโยบายการดําเนินงานและการ

จัดการ

(Operational policy

reporting) -  อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

and management)

(Occupational health and safety)

มิติด้านสังคม: -  การสร้างแรงจูงใจและการรักษา พนักงานที่มีความสามารถ

-  การเป็นพลเมืองที่ดีในภาคธุรกิจ

และการสาธารณกุศล (Corporate citizenship and

(Talent attraction and retention)

philanthropy) -  ตัวชี้วัดการปฏิบัติด้านแรงงาน

-  การพัฒนาทุนมนุษย์ (Human capital development)

(Labor practice indicators) -  สิทธิมนุษยชน (Human rights)

71


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ” FFGI

กลุ่มหัวข้อรายประเด็น: -  สวัสดิภาพสัตว์ (Animal

-  ป่าไม้ (Forestry) -  บ้านและอสังหาริมทรัพย์

welfare)

(Housing and real estate)

-  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ

-  อุตสาหกรรมการผลิต อากาศ (Climate change) (Manufacturing industry) -  การทุจริต (Corruption) -  เหมือง (Mining) -  ความเท่าเทียมทางเพศ (Gender -  น้า ํ มันและแก๊ส (Oil and gas) equality) -  การผลิตกระแสไฟฟ้า (Power -  สุขภาพ (Health) generation) -  สิทธิมนุษยชน (Human rights) -  สิทธิแรงงาน (Labor rights) กลุ่มหัวข้อการดําเนินงานภายใน: -  ธรรมชาติ (Nature) -  ความโปร่งใสและการรับผิด -  ภาษี (Tax) (Transparency) -  การคุ้มครองผู้บริโภค กลุ่มหัวข้อรายอุตสาหกรรม: (Consumer protection) -  อาวุธ (Arms) -  การขยายบริการทางการเงิน -  ภาคการเงิน (Financial sector) (Financial inclusion) -  การประมง (Fisheries) -  นโยบายค่าตอบแทน -  อาหาร (Food) (Remuneration)

72


ภาคผนวก



ภาคผนวก ก

หัวข้อประเมินตาม Fair Finance Guide International รายหมวด

หมายเหตุ: “บริษัท” หมายถึง บริษัทที่สถาบันการเงิน ให้การสนับสนุนทางการเงิน หรือเข้าไปลงทุน

75



แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

องค์ประกอบต่อไปนีส้ าํ คัญสาํ หรับนโยบายระดับปฏิบตั กิ าร ของสถาบันการเงิน 1.

ส ถาบันการเงินกําหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกขององค์กร ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่ง สอดคล้องกับการจํากัดการเพิม่ อุณหภูมโิ ลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส 2. สถาบันการเงินเปิดเผยว่ามีส่วนมากเพียงใดในการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัทพลังงานและโครง­ การด้านพลังงานทีอ่ งค์กรให้การสนับสนุนทางการเงิน 3. สถาบันการเงินเปิดเผยว่ามีส่วนมากเพียงใดในการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษทั และโครงการทัง้ หมด ที่องค์กรให้การสนับสนุนทางการเงิน 4. สถาบันการเงินกําหนดเป้าหมายลดการมีส่วนในการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่องค์กรให้การสนับสนุนทาง​

77


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

การเงิน ซึ่งสอดคล้องกับการจํากัดการเพิ่มอุณหภูมิ โลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส 5. สถาบันการเงินวัดและเปิดเผยผลกระทบที่เกี่ยวข้อง กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามแนวทางที่ แนะนาํ โดย Task Force on Climate-related Financial Disclosures 6.

ม ีนโยบายจํากัดการสนับสนุนทางการเงินแก่อุตสาห­ กรรมการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินและเหมืองถ่านหินไม่ เกินร้อยละ 30 ของการสนับสนุนทางการเงินทั้งหมด 7. มีนโยบายจํากัดการสนับสนุนทางการเงินแก่อุตสาห­ กรรมการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและการขุด เจาะนํ้ามันและก๊าซธรรมชาติ ไม่เกินร้อยละ 30 ของ การสนับสนุนทางการเงินทั้งหมด 8. มีนโยบายจํากัดการสนับสนุนทางการเงินแก่อุตสาห­ กรรมการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินและเหมืองถ่านหินไม่ เกินร้อยละ 0 ของการสนับสนุนทางการเงินทั้งหมด 9. มีนโยบายจํากัดการสนับสนุนทางการเงินแก่อุตสาห­

78


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

กรรมการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและการขุด เจาะนํ้ามันและก๊าซธรรมชาติ ไม่เกินร้อยละ 0 ของ การสนับสนุนทางการเงินทั้งหมด องค์ประกอบต่อไปนีส้ าํ คัญสําหรับนโยบายเกีย่ วกับบริษทั ที่สถาบันการเงินลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงิน 10. บริษท ั เปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทัง้ ทาง

ตรงและทางอ้อม 11. บริษัทลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและ ทางอ้อม 12. บริษท ั เปลีย่ นจากการใช้เชือ้ เพลิงฟอสซิลมาเป็นแหล่ง พลังงานหมุนเวียน 13. สถาบันการเงินจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ บริ ษั ท ผลิ ต ไฟฟ้ า จากถ่ า นหิ น ที่ ไ ร้ ม าตรการลดผล­ กระทบ (นั่นคือ ไม่ใช้เทคโนโลยีกักเก็บคาร์บอน—​ carbon capture and storage)

79


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ” 14. สถาบันการเงินจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่

บริษัทผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน 15. สถาบันการเงินจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ บริษัทผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล 16. สถาบันการเงินจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ เหมืองถ่านหิน 17. สถาบันการเงินจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ ธุรกิจทรายนํ้ามัน 18. สถาบันการเงินจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ ธุรกิจขุดเจาะนํ้ามันและก๊าซธรรมชาติ 19. สถาบันการเงินจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ โครงการเกษตรกรรมทีแ่ ปลงมาจากพืน้ ทีช่ มุ่ นาํ้ ป่าพรุ หรือพื้นที่อื่นๆ ที่กักเก็บคาร์บอนในระดับสูง (high-​ carbon stock) 20. การผลิตวัสดุชว ี ภาพ (biomaterials)

การ

12

ข้อ ของ

เป็นไปตามหลัก­

Roundtable on Sustainable Bioma-

terials (RSB)

80


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย 21. การชดเชยก๊าซเรือนกระจก (CO2 compensation)

ได้

รับการรับรองตามมาตรฐานทองคํา (Gold Standard) 22. บริษัทไม่มีส่วนในการล็อบบี้ (พยายามส่งอิทธิพลต่อ การตัดสินใจของผูด้ าํ เนินนโยบายหรือหน่วยงานกํากับ ดูแล) ซึ่งมีเป้าหมายทําให้นโยบายด้านการเปลี่ยน­ แปลงสภาพภูมิอากาศอ่อนแอลง 23. บริษัทบูรณาการประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ­ อากาศไว้ในนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและนโยบาย ปฏิบัติการของบริษัท 24. บ ริ ษั ท กํ า หนดหลั ก เกณฑ์ เ กี่ ยวกั บ การเปลี่ ย นแปลง สภาพภูมอิ ากาศเป็นเงือ่ นไขในสัญญาทีล่ งนามกับผูร้ บั เหมาช่วงและคู่ค้า

81


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

การทุจริตคอร์รัปชัน

องค์ประกอบต่อไปนีส้ าํ คัญสาํ หรับนโยบายระดับปฏิบตั กิ าร ของสถาบันการเงิน 1

2 3 4

5

ส ถาบันการเงินประกาศว่าจะไม่นาํ เสนอสัญญา เรียก ร้องสินบนและข้อได้เปรียบอื่นๆ ที่ไม่เป็นธรรม ทั้ง ทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้ได้มาซึ่งธุรกิจและข้อได้ เปรียบอื่นๆ ที่ไม่เป็นธรรม สถาบันการเงินมีนโยบายต่อต้านการฟอกเงิน สถาบันการเงินมีนโยบายป้องกันการสนับสนุนทาง​ การเงินแก่กลุ่มก่อการร้ายและอาวุธนิวเคลียร์ สถาบันการเงินยืนยันได้ถึงผู้รับประโยชน์ท่ีแท้จริง (ultimate beneficiary) ของบริษัท (ที่ตนให้การสนับ­ สนุนทางการเงิน) สถาบันการเงินมีมาตรฐานเพิ่มเติมเมื่อทําธุรกิจทั้ง ทางตรงหรือทางอ้อมกับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทาง​

82


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

การเมือง (Politically Exposed Persons: PEP) 6 สถาบันการเงินรายงานการมีส่วนร่วมในกระบวนการ ตัดสินใจเพื่อกําหนดปทัสถานระหว่างประเทศและ กระบวนการออกกฎหมาย (พฤติกรรมการล็อบบี)้ องค์ประกอบต่อไปนีส้ าํ คัญสําหรับนโยบายเกีย่ วกับบริษทั ที่สถาบันการเงินลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงิน 7

บ ริษัทเปิดเผยผู้รับประโยชน์ท่ีแท้จริง หรือเจ้าของที่​ แท้จริง รวมถึงชื่อจริงนามสกุลจริง วันเกิด สัญชาติ แหล่งพาํ นัก จํานวนและประเภทหุน้ และสัดส่วนการ ถือหุ้นหรือสัดส่วนอํานาจควบคุมบริษัท 8 บริษท ั ประกาศว่าจะไม่นาํ เสนอสัญญา เรียกร้องสินบน และข้อได้เปรียบอื่นๆ ที่ไม่เป็นธรรม ทั้งทางตรงและ ทางอ้อม เพื่อให้ได้มาซึ่งธุรกิจและข้อได้เปรียบอื่นๆ  ที่ไม่เป็นธรรม 9 บริษท ั มีระบบการบริหารจัดการซึง่ ลงมือทันทีทเี่ กิดข้อ

83


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

สงสัยว่าพนักงานหรือคู่ค้ากระทําความผิดฐานทุจริต คอร์รัปชัน 10 บริษัทรายงานการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ เพือ่ กาํ หนดปทัสถานระหว่างประเทศและกระบวนการ ออกกฎหมาย (พฤติกรรมการล็อบบี)้ 11 บ ริ ษั ท บู ร ณาการหลั ก เกณฑ์ ด้ า นคอร์ รั ป ชั น ไว้ ใ น นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและนโยบายปฏิบัติการของ บริษัท 12 บริษท ั กาํ หนดหลักเกณฑ์เกีย่ วกับการทุจริตคอร์รปั ชัน เป็นเงือ่ นไขในสัญญาทีล่ งนามกับผูร้ บั เหมาช่วงและคูค่ า้ ความเท่าเทียมทางเพศ

องค์ประกอบต่อไปนีส้ าํ คัญสาํ หรับนโยบายระดับปฏิบตั กิ าร ของสถาบันการเงิน 1.

สถาบันการเงินมีนโยบายไม่ยอมรับการเลือกปฏิบัติ

84


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

2. 3. 4.

5.

6.

ทางเพศทุกรูปแบบ (zero tolerance policy) ในการ จ้างงานและการทํางาน รวมถึงการคุกคามทางวาจา ทางกายภาพ และทางเพศ สถาบันการเงินมีระบบการจัดการความเท่าเทียมของ ค่าตอบแทน (pay equity) เชิงรุก สถาบันการเงินมีระบบการป้องกันและบรรเทาการ เลือกปฏิบัติทางเพศต่อลูกค้า สถาบันการเงินให้หลักประกันว่า สตรีจะมีส่วนร่วม และเข้าถึงตาํ แหน่งบริหารและกรรมการบริษทั ไม่นอ้ ย กว่าร้อยละ 30 สถาบันการเงินให้หลักประกันว่า สตรีจะมีส่วนร่วม และเข้าถึงตาํ แหน่งบริหารและกรรมการบริษทั ไม่นอ้ ย กว่าร้อยละ 40 ส ถาบั น การเงิ น มี โ ครงการพั ฒนาศั ก ยภาพในสาย อาชี พ สํ า หรั บ พนั ก งาน เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ให้ ส ตรี เ ข้ า ถึ ง ตําแหน่งบริหารและกรรมการบริษัทอย่างเท่าเทียม

85


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

องค์ประกอบต่อไปนีส้ าํ คัญสําหรับนโยบายเกีย่ วกับบริษทั ที่สถาบันการเงินลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงิน 7.

บ ริษัทมีความทุ่มเทเชิงนโยบายที่จะพิจารณาความ เสีย่ งด้านสิทธิมนุษยชนแยกเพศระหว่างหญิงและชาย ด้วยตระหนักว่าอาจเผชิญกับความเสีย่ งทีแ่ ตกต่างกัน 8. บริษท ั มีนโยบายไม่ยอมรับการเลือกปฏิบตั ทิ างเพศทุก รูปแบบ (zero tolerance policy) ในการจ้างงานและ การทาํ งาน รวมถึงการคุกคามทางวาจา ทางกายภาพ และทางเพศ 9. บริษัทมีระบบการจัดการความเท่าเทียมของค่าตอบ​ แทน (pay equity) เชิงรุก 10. บริษท ั มีระบบการป้องกันและบรรเทาการเลือกปฏิบตั ิ ทางเพศต่อลูกค้า 11. บริษัทให้หลักประกันว่า สตรีจะมีส่วนร่วมและเข้าถึง ตาํ แหน่งบริหารและกรรมการบริษทั ไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ 30

86


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย 12. บริษัทให้หลักประกันว่า

สตรีจะมีส่วนร่วมและเข้าถึง ตาํ แหน่งบริหารและกรรมการบริษทั ไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ 40

13. บริษท ั มีโครงการพัฒนาศักยภาพในสายอาชีพสําหรับ

พนักงาน เพื่อส่งเสริมให้สตรีเข้าถึงตําแหน่งบริหาร และกรรมการบริษัทอย่างเท่าเทียม 14. บริษัทบูรณาการหลักเกณฑ์ด้านความเท่าเทียมทาง เพศและสิทธิสตรีไว้ในนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและ นโยบายปฏิบัติการของบริษัท 15. บริษัทกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความเท่าเทียมทาง เพศและสิทธิสตรีเป็นเงื่อนไขในสัญญาที่ลงนามกับ ผู้รับเหมาช่วงและคู่ค้า

87


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

สิทธิมนุษยชน

องค์ประกอบต่อไปนีส้ าํ คัญสาํ หรับนโยบายระดับปฏิบตั กิ าร ของสถาบันการเงิน 1.

ส ถาบั น การเงินเคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักการ ชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนขององค์การสห­ ประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights)

องค์ประกอบต่อไปนีส้ าํ คัญสําหรับนโยบายเกีย่ วกับบริษทั ที่สถาบันการเงินลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงิน 2.

บ ริษัทเคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักการชี้แนะว่าด้วย ธุร กิจกับสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights)

88


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย 3. 4.

5.

6.

7.

บ ริษทั มีความทุม่ เทเชิงนโยบายทีจ่ ะแสดงความรับผิด­ ชอบในการเคารพสิทธิมนุษยชน บริษัทมีกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้าน (human rights due diligence) เพื่อ ระบุ ป้องกัน บรรเทา และรายงานวิธที บี่ ริษทั จัดการ กับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทมีกระบวนการที่นําไปสู่การเยียวยาผลกระทบ ด้านสิทธิมนุษยชนเชิงลบทีบ่ ริษทั เป็นผูก้ อ่ หรือมีสว่ น ในการก่อ บริษัทจัดตั้งหรือมีส่วนร่วมในกลไกรับเรื่องร้องเรียน ระดับปฏิบัติการ จากปัจเจกและชุมชนที่อาจได้รับ ผลกระทบ บริษทั ป้องกันความขัดแย้งเรือ่ งสิทธิในทีด่ นิ ทาํ กินและ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการใช้กระบวนการ ปรึกษาหารืออย่างมีความหมาย (meaningful engagement) กับชุมชนท้องถิ่น และได้รับความยินยอมโดย สมัครใจโดยได้ข้อมูลล่วงหน้า ( free, prior, and in-

89


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ” formed consent: FPIC)

ในประเด็นที่เกี่ยวกับชนพื้น­

เมือง 8. บ ริ ษั ท ป้ อ งกั น ความขั ด แย้ ง เรื่ อ งสิ ท ธิ ใ นที่ ดิ น ทํ า กิ น และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยได้รบั ความยินยอม โดยสมัครใจโดยได้ข้อมูลล่วงหน้า ( free, prior, and informed consent: FPIC) จากผู้ใช้ที่ดินที่เกี่ยวข้อง 9. บริษท ั ให้ความสาํ คัญเป็นพิเศษกับการเคารพสิทธิสตรี โดยเฉพาะเพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติ และเพื่อปรับ​ ปรุงการปฏิบัติต่อเพศชายและหญิงอย่างเท่าเทียม 10. บริษท ั ให้ความสําคัญเป็นพิเศษกับการเคารพสิทธิเด็ก 11. บริษท ั ไม่ยอมรับให้มกี ารตัง้ ถิน่ ฐานใดๆ รวมถึงการตัง้ ถิ่นฐานการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของตนเอง ในเขตที่ถูกบุกรุก (occupied territories) เพื่อเคารพ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ 12. บริษัทบูรณาการหลักเกณฑ์ด้านสิทธิมนุษยชนไว้ใน นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและนโยบายปฏิบัติการของ บริษัท

90


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย 13. บริษท ั กําหนดหลักเกณฑ์ดา้ นสิทธิมนุษยชนเป็นเงือ่ นไข

ในสัญญาที่ลงนามกับผู้รับเหมาช่วงและคู่ค้า สิทธิแรงงาน

องค์ประกอบต่อไปนีส้ าํ คัญสาํ หรับนโยบายระดับปฏิบตั กิ าร ของสถาบันการเงิน 1.

ส ถาบันการเงินเคารพคําประกาศของ ILO ว่าด้วย หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในที่ทํางาน (ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work)

2.

ส ถาบันการเงินมีการบูรณาการมาตรฐานแรงงานตาม คาํ ประกาศของ ILO ว่าด้วยหลักการและสิทธิขนั้ พืน้ ­ ฐานในที่ทํางาน (ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) ไว้ในนโยบายการจัด ซื้อจัดจ้างและนโยบายปฏิบัติการขององค์กร

91


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

องค์ประกอบต่อไปนีส้ าํ คัญสําหรับนโยบายเกีย่ วกับบริษทั ที่สถาบันการเงินลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงิน 3.

บ ริษทั รับรองสิทธิในการรวมกลุม่ และคุม้ ครองสิทธิใน การต่อรองอย่างมีประสิทธิผล 4. บริษัทไม่ยอมรับการใช้แรงงานบังคับทุกรูปแบบ 5. บริษัทไม่ยอมรับการใช้แรงงานเด็ก 6. บริษท ั ไม่ยอมรับการเลือกปฏิบตั ใิ นการจ้างงานและใน ที่ทํางาน 7. บริษัทจ่ายค่าแรงที่เพียงพอสําหรับการเลี้ยงชีพและ ครอบครัว (living wage) แก่พนักงาน 8. บริษัทบังคับใช้เพดานชั่วโมงทํางาน 9. บริษัทมีนโยบายสุขภาพและความปลอดภัยที่ดี 10. บ ริ ษั ท รั บ ประกั น ได้ ว่ า แรงงานข้ า มชาติ จ ะได้ รั บ การ ปฏิบัติอย่างเท่าเทียม และมีสภาพการทํางานที่เท่า­ เทียมกับลูกจ้างอื่นๆ 11. บริษัทมีระบบการบริหารจัดการที่สามารถติดตามได้

92


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

อย่างชัดเจน และแก้ไขการปฏิบตั ติ ามมาตรฐานแรงงาน ตามกฎหมายแรงงานเมื่อจําเป็น 12. บริษัทจัดตั้งกระบวนการรับและจัดการเรื่องร้องเรียน จากพนักงาน และเพื่อแก้ไขข้อพิพาทและการละเมิด ต่างๆ โดยควรปรึกษาหารือกับสหภาพแรงงานทีเ่ กีย่ ว­ ข้อง 13. บ ริ ษั ท บู ร ณาการหลั ก เกณฑ์ ด้ า นสิ ท ธิ แ รงงานไว้ ใ น นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและนโยบายปฏิบัติการของ บริษัท 14. บริษท ั กาํ หนดหลักเกณฑ์ดา้ นสิทธิแรงงานเป็นเงือ่ นไข ในสัญญาที่ลงนามกับผู้รับเหมาช่วงและคู่ค้า

93


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ธรรมชาติ

องค์ประกอบต่อไปนีส้ าํ คัญสําหรับนโยบายเกีย่ วกับบริษทั ที่สถาบันการเงินลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงิน 1.

บ ริษทั ป้องกันผลกระทบทางลบต่อพืน้ ทีท่ มี่ คี ณ ุ ค่าด้าน การอนุรักษ์สูง (High Conservation Value—HCV— areas) ภายในเขตปฏิ บั ติ ก ารของบริ ษั ท และพื้ น ที่ ที่ บริษัทบริหารจัดการ 2. บริษัทป้องกัน ผลกระทบทางลบต่อพื้นที่ระดับ I–IV ตามการจัดหมวดขององค์กรระหว่างประเทศเพือ่ การ อนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature: IUCN) ภายในเขตปฏิบัติการของ บริษัทและพื้นที่ที่บริษัทบริหารจัดการ 3. บ ริ ษั ท ป้ อ งกั น ผลกระทบทางลบต่ อ พื้ น ที่ ม รดกโลก​ ยูเนสโก (UNESCO World Heritage) ภายในเขตปฏิบตั ­ิ การของบริษัทและพื้นที่ที่บริษัทบริหารจัดการ

94


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย 4.

บ ริษัทป้องกัน ผลกระทบทางลบต่อพื้นที่อนุรักษ์ตาม อนุสัญญาแรมซาร์ว่าด้วยพื้นที่ชุ่มนํ้าที่มีความสําคัญ ระหว่างประเทศ (Ramsar Convention on Wetlands) ภายในเขตปฏิ บั ติ ก ารของบริ ษั ท และพื้ น ที่ ที่ บ ริ ษั ท บริหารจัดการ 5. บริษท ั ป้องกันผลกระทบทางลบต่อประชากรสัตว์ทอี่ ยู่ ในบัญชีแดงสัตว์ใกล้สญ ู พันธุข์ องไอยูซเี อ็น (IUCN Red List of Threatened Species) 6.

ก ารค้าพืชและสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เป็นไปตามเงื่อนไขใน อนุสัญญาไซเตส (CITES) 7. บริษัทไม่ยอมรับการค้าพืชและสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ที่อยู่ ในรายการแนบท้ายอนุสัญญาไซเตส (CITES) 8. การดําเนินงานในสาขาวัสดุพันธุกรรมและวิศวพันธุ­ กรรม (genetic materials & genetic engineering) จะ เกิดได้ก็ต่อเมื่อการดําเนินการนั้น ผ่านเงื่อนไขการ อนุญาตและประมวลผลตามอนุสัญญาว่าด้วยความ หลากหลายทางชีวภาพขององค์การสหประชาชาติ

95


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

และแนว หรือพิธสี ารนาโกยา

(UN Convention on Biological Diversity)

ปฏิบตั บิ อนน์

(Bonn Guidelines)

เท่านั้น 9. การผลิตหรือการซื้อขายสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม สามารถทาํ ได้กต็ อ่ เมือ่ ได้รบั อนุญาตจากประเทศผูน้ าํ เข้าสินค้าและปฏิบตั ติ ามข้อกาํ หนดของพิธสี ารคาร์ตา­ เฮนา 10. บริษท ั ป้องกันการนาํ พันธุพ์ ชื หรือสัตว์ตา่ งถิน่ ทีร่ กุ ราน (invasive alien species) เข้าสู่ระบบนิเวศ 11. บ ริ ษั ท จั ด ทํ า การประเมิ น ภาวะขาดแคลนนํ้ า และ ป้องกันผลกระทบเชิงลบในพื้นที่ที่ขาดแคลนนํ้า 12. บริษัทไม่ริเริ่มปฏิบัติการใหม่ในพื้นที่ซึ่งมีปัญหาขาด​ แคลน​นาํ้ รวมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจทีอ่ าจเบียดบัง การใช้นํ้าของชุมชน 13. บริษท ั จัดทาํ การประเมินผลกระทบด้านสิง่ แวดล้อมว่า ด้วยผลกระทบโดยรวมของโครงการขนาดใหญ่ต่อ ความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างน้อยตามแนวทาง (Nagoya Protocol)

96


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ที่ระบุในมาตรฐาน GRI 304: Biodiversity 2016 หรือ มาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 14. บริษท ั บูรณาการหลักเกณฑ์ดา้ นธรรมชาติไว้ในนโยบาย การจัดซื้อจัดจ้างและนโยบายปฏิบัติการของบริษัท 15. บริษท ั กาํ หนดหลักเกณฑ์ดา้ นธรรมชาติเป็นเงือ่ นไขใน สัญญาที่ลงนามกับผู้รับเหมาช่วงและคู่ค้า ภาษี

องค์ประกอบต่อไปนีส้ าํ คัญสาํ หรับนโยบายระดับปฏิบตั กิ าร ของสถาบันการเงิน 1.

ส ถาบั น การเงิ น รายงานรายได้ กํ า ไร อั ต รากํ า ลั ง พนักงาน เงินอุดหนุนจากรัฐ และเงินภาษีที่จ่ายรัฐ สาํ หรับกิจการในแต่ละประเทศทีส่ ถาบันเปิดให้บริการ ไม่ตํ่ากว่า 3 ใน 4 ของประเทศทั้งหมด 2. ส ถาบั น การเงิ น รายงานรายได้ กํ า ไร อั ต รากํ า ลั ง

97


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

3. 4.

5.

6.

7.

พนักงาน เงินอุดหนุนจากรัฐ และเงินภาษีที่จ่ายรัฐ สาํ หรับกิจการในแต่ละประเทศทีส่ ถาบันเปิดให้บริการ ครบทุกประเทศที่เปิดให้บริการ ส ถาบั น การเงิ น เปิ ด เผยข้ อ มู ล สิ น ทรั พ ย์ ร วมในทุ ก ประเทศที่เปิดให้บริการ ส ถาบั น การเงิ น ไม่ ใ ห้ คํา ปรึ ก ษาแก่ ลู ก ค้ า ในการทํา ธุรกรรมกับโครงสร้างระหว่างประเทศ ซึ่งมีเป้าหมาย ที่จะหนีภาษีหรือหลบเลี่ยงภาษี สถาบันการเงินไม่มีส่วนร่วมใดๆ ในธุรกรรมกับโครง­ สร้างระหว่างประเทศ ซึง่ มีเป้าหมายทีจ่ ะหนีภาษีหรือ หลบเลี่ยงภาษี สถาบันการเงินเผยแพร่ขอ้ มูลสําคัญเกีย่ วกับคาํ ตัดสิน ทางภาษีทเี่ ฉพาะเจาะจงระดับบริษทั ซึง่ องค์กรได้รบั มาจากหน่วยงานกํากับดูแลด้านภาษี สถาบันการเงินไม่มบี ริษทั ในเครือ สาขา หรือบริษทั ร่วม ลงทุนใดๆ ในเขตอํานาจศาล (jurisdiction) ที่ไม่เก็บ ภาษีเงินได้ หรือเก็บภาษีเงินได้ในอัตราศูนย์เปอร์เซ็นต์

98


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

หรือในเขตอํานาจศาลที่มีการเก็บภาษีธุร กิจที่เป็น อั น ตรายต่ อ สั ง คม ยกเว้ นว่ า สถาบั น การเงิ น จะมี กิจกรรมทางธุรกิจจริงๆ และได้กาํ ไรจากกิจกรรมทาง เศรษฐกิจในท้องถิ่นนั้นจริงๆ 8. สถาบันการเงินไม่ให้บริการทางการเงินแก่บริษัทที่ตั้ง อยู่ในเขตปลอดภาษี (tax haven) ยกเว้นว่าบริษัท นั้นๆ จะมีกิจกรรมทางธุรกิจจริงๆ และได้กําไรจาก กิจกรรมทางเศรษฐกิจในท้องถิ่นนั้นจริงๆ องค์ประกอบต่อไปนีส้ าํ คัญสําหรับนโยบายเกีย่ วกับบริษทั ที่สถาบันการเงินลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงิน 9.

บ ริษัทเผยแพร่โครงสร้างของกลุ่มบริษัททั้งหมด รวม ถึงองค์กรที่บริษัทมีอํานาจควบคุมทางอ้อมและร่วม กับองค์กรอื่น 10. บริษท ั เผยแพร่คาํ อธิบายกิจกรรม ขอบเขตการปฏิบตั ิ การและเจ้าของทีแ่ ท้จริง (ultimate shareholder) ของ

99


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

กิจการในเครือ สาขา กิจการร่วมทุน หรือกิจการร่วม­ ค้าที่ตั้งอยู่ในเขตอํานาจศาล (jurisdiction) ที่ไม่เก็บ ภาษีเงินได้ หรือเก็บภาษีเงินได้ในอัตราศูนย์เปอร์เซ็นต์ หรือในเขตอาํ นาจศาลทีม่ พี ฤติกรรมการเก็บภาษีธรุ กิจ ที่เป็นอันตรายต่อสังคม 11. บริษท ั รายงานรายได้ กาํ ไร อัตรากาํ ลังพนักงาน เงิน อุดหนุนจากรัฐ และเงินทีจ่ า่ ยรัฐ (เช่น ภาษีหกั ณ ที่ จ่าย, เงินค่าสัมปทาน และภาษีเงินได้ธุรกิจ) จาก แต่ละประเทศที่บริษัทมีกิจการ ครบทุกประเทศที่ บริษัทมีกิจการ 12. บริษท ั จัดโครงสร้างกิจการระหว่างประเทศและธุรกรรม ระหว่างประเทศในทางที่สะท้อนสาระทางเศรษฐกิจ ของกิจกรรมและธุรกรรมของบริษทั โดยไม่ผา่ นขัน้ ตอน​ ที่ทําไปเพื่อแสวงความได้เปรียบทางภาษีเป็นหลัก 13. บริษท ั เผยแพร่ขอ้ มูลสําคัญเกีย่ วกับคําตัดสินทางภาษี ที่เฉพาะเจาะจงระดับบริษัท ซึ่งบริษัทได้รับมาจาก หน่วยงานกํากับดูแลด้านภาษี

100


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย 14. บริษท ั เผยแพร่คาํ ตัดสินหรือคาํ ระงับข้อพิพาทเกีย่ วกับ

ภาษี ซึ่งบริษัทหรือบริษัทในเครือเป็นฝ่ายเกี่ยวข้อง เท่าที่จะทําได้ตามกฎหมายและเป็นไปได้ (practical) ไม่ ว่ า จะเป็ น คํ า ตั ด สิ น ในชั้ น ศาลหรื อ ชั้ น อนุ ญ าโต­ ตุลาการก็ตาม 15. บริษัทมีระบบการบริหารจัดการซึ่งส่งผลทางปฏิบัติ ทันทีที่เกิดข้อสงสัยว่าพนักงานหรือคู่ค้าอาจช่วยหลบ เลี่ยงภาษี 16. บริษท ั บูรณาการหลักเกณฑ์ดา้ นภาษีไว้ในนโยบายการ จัดซื้อจัดจ้างและนโยบายปฏิบัติการของบริษัท 17. บ ริ ษั ท กํ า หนดหลั ก เกณฑ์ ด้ า นภาษี เ ป็ น เงื่ อ นไขใน สัญญาที่ลงนามกับผู้รับเหมาช่วงและคู่ค้า

101


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

อาวุธ

องค์ประกอบต่อไปนีส้ าํ คัญสําหรับนโยบายเกีย่ วกับบริษทั ที่สถาบันการเงินลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงิน 1.

ส ถาบันการเงินไม่ยอมรับการผลิต บํารุงรักษา และ การค้าทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (anti-personal landmines) รวมถึ ง ส่ ว นประกอบสํ า คั ญ ของทุ่ น ระเบิ ด สังหารบุคคล 2. สถาบันการเงินไม่ยอมรับการผลิต บํารุงรักษา และ การค้าระเบิดลูกปราย (cluster munition) รวมถึงส่วน ประกอบสําคัญของระเบิดลูกปราย 3. สถาบันการเงินไม่ยอมรับการผลิต บํารุงรักษา และ การค้าอาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงส่วนประกอบสาํ คัญของ อาวุธนิวเคลียร์ ในประเทศหรือไปยังประเทศที่ไม่ให้ สัตยาบันในสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Non-Proliferation Treaty)

102


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย 4.

5.

6.

7.

8.

ส ถาบันการเงินไม่ยอมรับการผลิต บํารุงรักษา และ การค้าอาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงส่วนประกอบสาํ คัญของ อาวุธนิวเคลียร์ สถาบันการเงินไม่ยอมรับการผลิต บํารุงรักษา และ การค้าอาวุธเคมี รวมถึงส่วนประกอบสาํ คัญของอาวุธ เคมี สถาบันการเงินไม่ยอมรับการผลิต บํารุงรักษา และ การค้าอาวุธชีวภาพ รวมถึงส่วนประกอบสําคัญของ อาวุธชีวภาพ สาํ หรับสินค้าทีส่ าํ คัญในแง่เป้าหมายทางการทหาร แต่ ยังสามารถใช้เป็น ผลิตภัณฑ์พลเรือน (สินค้า “dual-​ use”) สถาบันการเงินจัดประเภทสินค้าชนิดนีเ้ ป็นสินค้า ทางทหาร เมือ่ สินค้านัน้ มีเป้าหมายทีไ่ ม่ใช่สาํ หรับการ ใช้งานในทางพลเรือน สถาบันการเงินไม่ยอมรับการส่งอาวุธและระบบส่ง อาวุธ ระบบลําเลียงทางการทหาร และสินค้าทาง ทหารอื่นๆ ไปยังประเทศที่ถูกห้ามส่งสินค้าเข้าโดย

103


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

องค์การสหประชาชาติ หรือองค์กรระหว่างประเทศอืน่ 9. สถาบันการเงินไม่ยอมรับการส่งอาวุธและระบบส่ง อาวุธ ระบบลําเลียงทางการทหาร และสินค้าทาง ทหารอืน่ ๆ หากมีความเสีย่ งสูงว่าอาวุธเหล่านัน้ จะถูก ใช้ ใ นการละเมิ ด สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนและกฎหมายด้ า น มนุษยธรรมอย่างรุนแรง 10. สถาบันการเงินไม่ยอมรับการส่งอาวุธและระบบส่ง อาวุธ ระบบลําเลียงทางการทหาร และสินค้าทาง ทหารอืน่ ๆ ไปยังประเทศทีล่ ะเมิดสิทธิมนุษยชนอย่าง รุนแรง 11. สถาบันการเงินไม่ยอมรับการส่งอาวุธและระบบส่ง อาวุธ ระบบลําเลียงทางการทหาร และสินค้าทาง ทหารอื่นๆ ไปยังคู่ขัดแย้งที่มีส่วนร่วมในความรุนแรง ยกเว้นว่าเป็นฝ่ายทีก่ าํ ลังปฏิบตั ติ ามมติของคณะมนตรี ความมัน่ คงแห่งสหประชาชาติ (UN Security Council) 12. สถาบันการเงินไม่ยอมรับการส่งอาวุธและระบบส่ง อาวุธ ระบบลําเลียงทางการทหาร และสินค้าทาง

104


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ทหารอื่ น ๆ ไปยั ง ประเทศที่ อ่ อ นไหวต่ อ การทุ จริ ต คอร์รัปชัน 13. สถาบันการเงินไม่ยอมรับการส่งอาวุธและระบบส่ง อาวุธ ระบบลําเลียงทางการทหาร และสินค้าทาง ทหารอื่นๆ ไปยังประเทศที่รัฐล้มเหลวหรือเปราะบาง 14. สถาบันการเงินไม่ยอมรับการส่งอาวุธและระบบส่ง อาวุธ ระบบลําเลียงทางการทหาร และสินค้าทาง ทหารอืน่ ๆ ไปยังประเทศทีใ่ ช้เงินงบประมาณมากเกิน สัดส่วนอันสมควรในการซื้ออาวุธ 15. นโยบายด้านอาวุธของสถาบันการเงินไม่กล่าวถึงข้อ ยกเว้นสําหรับการลงทุนบางประเภท การสนับสนุน ทางการเงิน และ/หรือประเภทสินทรัพย์ของสถาบัน การเงิน 16. นโยบายด้านอาวุธของสถาบันการเงินไม่กล่าวถึงข้อ ยกเว้นสําหรับกิจกรรมหรือโครงการที่ไม่เกี่ยวข้องกับ การผลิตอาวุธ

105


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

การคุ้มครองผู้บริ โภค

องค์ประกอบต่อไปนี้สําคัญสําหรับนโยบายของสถาบัน การเงินที่สัมพันธ์กับลูกค้ารายย่อย 1.

ส ถาบันการเงินมีนโยบายเปิดเผยสิทธิของลูกค้าราย ย่อย และความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์และบริการ 2. สถาบันการเงินมีนโยบายอบรมจรรยาบรรณของพนัก­ งานและกาํ กับพนักงานให้บริการต่อลูกค้าโดยไม่เลือก ปฏิบัติ 3. ส ถาบั น การเงิ น สร้ า งหลั ก ประกั นว่ า ลู ก ค้ า รายย่ อ ย สามารถเข้าถึงกลไกรับเรื่องร้องเรียนและเยียวยาที่มี กระบวนการค้นหาความจริง (due diligence) 4. ส ถาบั น การเงิ น เปิ ด เผยผลการติ ด ตามสถิ ติ ก ารร้ อ ง เรียนของลูกค้ารายย่อย อาทิ จํานวนเรื่องร้องเรียน ประเด็นร้องเรียนหลัก องค์กรทีล่ กู ค้าติดต่อร้องเรียน ทั้งทางตรงและทางอ้อม แบ่งตามช่องทางที่รับเรื่อง

106


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ร้องเรียน (เช่น ทางโทรศัพท์ เว็บไซต์ สาขา ฯลฯ) 5. สถาบันการเงินประกาศต่อสาธารณะว่าจะลดจํานวน เรื่องร้องเรียน กําหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และเปิดให้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายเข้าถึงข้อมูลนี้ได้ 6. ส ถาบั น การเงิ น มี ก ลไกจั ด การข้ อ พิ พ าททางเลื อ ก [Alternative Dispute Resolution (ADR) Mechanisms]

กระบวนการเยียวยาอิสระสําหรับการจัดการกับข้อร้อง เรียนทีไ่ ม่อาจคลีค่ ลายได้ดว้ ยกระบวนการภายในของ สถาบันการเงิน หรือตัวแทนที่ได้รับมอบหมายจาก สถาบันการเงิน 7. สถาบันการเงินมีนโยบายปรับโครงสร้างหนี้สําหรับ ผู้บริโภคที่ประสบปัญหาเป็นหนี้เกินตัว 8. สถาบันการเงินมีนโยบายหรือแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ใน การคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้เป็นหนี้เกินตัว 9. ส ถาบั น การเงิ น พั ฒนาและลงมื อ ใช้ บั ญ ชี ค วามเสี่ ย ง สาํ หรับลูกค้า (risk profile) ในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ ด้านการลงทุน

107


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ” 10. สถาบันการเงินคุม ้ ครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าราย

ย่อย (ไม่เปิดเผยข้อมูลต่อบุคคลอื่นเว้นแต่จะได้รับ อนุญาตจากลูกค้า) 11. ขอ ้ มูลทางการเงินและข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าได้รบั การคุม้ ครองอย่างเหมาะสม ด้วยกลไกควบคุมและคุม้ ­ ครอง มีแนวปฏิบตั ทิ ชี่ ดั เจนและเผยแพร่ตอ่ สาธารณะ ว่าสถาบันการเงินจะจัดเก็บ ประมวลผล บันทึก ใช้ และเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้อย่างไรบ้าง 12. สถาบันการเงินมีนโยบายและขั้นตอนรับผิดที่ชัดเจน ในกรณี ที่ เ กิ ด การโจรกรรม ลั ก ทรั พ ย์ และฉ้ อ โกง เกี่ยวเนื่องกับลูกค้ารายย่อยซึ่งเกิดขึ้นในสาขา ตู้กด เงินสด อินเทอร์เน็ต หรือตัวแทนที่ได้รับมอบหมาย จากสถาบันการเงิน 13. สถาบันการเงินตีพม ิ พ์เผยแพร่นโยบายหรือขัน้ ตอนการ ติดตามหนี้ และบริษัทที่ได้รับมอบหมายจากสถาบัน การเงิน (บุคคลที่สาม) ให้เป็นตัวแทนในการทวงหนี้ 14. สถาบันการเงินมีนโยบายและขั้นตอนที่จะหลีกเลี่ยง

108


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

การพ่วงขายผลิตภัณฑ์ หรือพฤติกรรมการขายที่ไม่ เหมาะสม 15. สถาบันการเงินเปิดเผยข้อมูลสําคัญแก่ลูกค้ารายย่อย ว่าด้วยประโยชน์ ความเสีย่ ง และเงือ่ นไขพืน้ ฐานของ ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และการเปลีย่ นแปลงค่าธรรม­ เนียม 16. สถาบันการเงินมีนโยบายหรือแนวปฏิบต ั ทิ ชี่ ดั เจนเกีย่ ว กับการเปิดเผยข้อมูลสินเชื่อที่อยู่อาศัย ก่อนขั้นตอน ลงนามในสัญญา 17. สถาบันการเงินออกแบบโครงสร้างค่าตอบแทนสําหรับ พนักงานและตัวแทน ในทางทีส่ ง่ เสริมพฤติกรรมการ ทําธุรกิจอย่างรับผิดชอบ การปฏิบัติต่อลูกค้าอย่าง เป็นธรรม และการหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน 18. สถาบันการเงินมีโครงการอบรมพนักงานและตัวแทน อย่างเหมาะสม ในประเด็นสิทธิผู้บริโภค นโยบาย คุ้มครองผู้บริโภค และธรรมเนียมปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง 19. สถาบันการเงินมีโครงการอบรมพนักงานและตัวแทน

109


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

อย่างเหมาะสม ในประเด็นผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ  ที่นําเสนอต่อผู้บริโภค 20. สถาบันการเงินรับประกันได้ว่าไม่มีข้อจํากัดใดๆ ด้าน เทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) ที่จะกีดกัน ไม่ให้ลูกค้ารายย่อยเข้าถึงบริการทางการเงิน 21. สถาบันการเงินมีนโยบายที่จะเปิดให้ลูกค้ารายย่อยที่ เป็น ผู้พิการหรือมีความต้องการพิเศษสามารถเข้าถึง สาขาทางกายภาพและบริการอิเล็กทรอนิกส์ อย่าง เช่นแพล็ตฟอร์มออนไลน์ได้ การขยายการเข้าถึงบริการทางการเงิน

องค์ประกอบต่อไปนี้สําคัญสําหรับนโยบายของสถาบัน​ การเงินที่สัมพันธ์กับลูกค้ารายย่อย 1.

ส ถาบันการเงินมีนโยบาย บริการ และผลิตภัณฑ์ทพี่ งุ่ เป้าไปยังกลุม่ คนจนและคนชายขอบอย่างเฉพาะเจาะจง

110


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย 2.

ส ถาบันการเงินมีสาขาในเขตชนบท ไม่ใช่เฉพาะใน เมือง 3. สถาบันการเงินมีบริการธนาคารทางโทรศัพท์มือถือ (mobile banking) และบริ ก ารเงิ น อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ (e-money) 4.

5. 6.

7. 8.

ส ถาบันการเงินมีสัดส่วนสินเชื่อที่ปล่อยให้กับธุรกิจ ขนาดจิว๋ ไปจนถึงขนาดกลาง (Micro to SME: MSME) มากกว่า 10% ของสินเชื่อทั้งหมด ส ถาบั น การเงิ น ไม่ กํ า หนดว่ า MSME ต้ อ งมี ห ลั ก ประกันในการกู้ สถาบันการเงินมีนโยบายเปิดเผยสิทธิของลูกค้า และ ความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์หรือบริการ (รวมถึงความ เสี่ยงที่จะเป็นหนี้เกินตัว) สําหรับลูกค้าที่ไม่รู้หนังสือ และ MSME สถาบันการเงินเผยแพร่เงือ่ นไขของบริการทางการเงิน ในภาษาท้องถิ่น สถาบันการเงินมีนโยบายปรับปรุงความรู้ทางการเงิน

111


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ” ( financial literacy)

ของลู ก ค้ า กลุ่ ม ผู้ มี ร ายได้ น้ อ ย

กลุ่มชายขอบ และ MSME 9. สถาบันการเงินไม่คด ิ ค่าธรรมเนียมในการเปิดบัญชีเงิน ฝากพืน้ ฐาน หรือคิดค่าธรรมเนียมเพียงเล็กน้อยอย่าง สมเหตุสมผล 10. สถาบันการเงินไม่กําหนดเงินคงเหลือในบัญชีขั้นตํ่า (minimum balance) สําหรับบัญชีเงินฝากพื้นฐาน 11. ส ถาบั น การเงิ น มี ม าตรฐานระยะเวลาการพิ จ ารณา สินเชื่อ และเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณะ 12. สถาบันการเงินมีบริการรับหรือโอนเงินในประเทศที่ เหมาะสม สะดวก และลูกค้ารายย่อยมีกําลังซื้อ 13. สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้ น้อย

112


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

นโยบายค่าตอบแทน

องค์ประกอบต่อไปนีส้ าํ คัญสาํ หรับนโยบายระดับปฏิบตั กิ าร ของสถาบันการเงิน 1.

2. 3. 4. 5.

ส ถาบันการเงินสงวนสิทธิท์ จี่ ะเรียกเงินโบนัสคืน หาก ปรากฏภายหลังจากที่ได้รับเงินไปแล้วว่าการรับเงิน โบนัสนั้นเป็นไปโดยมิชอบ (กลไก clawback) สถาบันการเงินกําหนดเพดานการจ่ายโบนัสไว้ไม่เกิน 100% ของเงินเดือนตลอดปี สถาบันการเงินกําหนดเพดานการจ่ายโบนัสไว้ไม่เกิน 20% ของเงินเดือนตลอดปี สถาบันการเงินกําหนดเพดานการจ่ายโบนัสไว้ไม่เกิน 10% ของเงินเดือนตลอดปี สถาบันการเงินกําหนดเพดานการจ่ายเงินเดือนไว้ไม่ เกิน 20 เท่าของเงินเดือนทีต่ าํ่ ทีส่ ดุ ในองค์กร หรือขัน้ สูงสุดของช่วงเงินเดือนที่ตํ่าที่สุดภายในสถาบัน

113


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ” 6.

เ งินโบนัสอย่างน้อย 60% ขึน้ อยูก่ บั เป้าหมายระยะยาว (ซึง่ ไม่เหมือนกับข้อตกลงทีจ ่ ะเลือ่ นจ่ายโบนัสออกไป) 7. เงินโบนัสอย่างน้อย 1 ใน 3 อิงกับหลักเกณฑ์ที่ไม่ใช่ เกณฑ์ทางการเงิน 8. เงินโบนัสอย่างน้อย 2 ใน 3 อิงกับหลักเกณฑ์ที่ไม่ใช่ เกณฑ์ทางการเงิน 9. เงินโบนัสอิงกับความพึงพอใจของพนักงาน 10. เงินโบนัสอิงกับความพึงพอใจของลูกค้า 11. เงินโบนัสอิงกับการปรับปรุงผลกระทบด้านสังคมและ สิง่ แวดล้อมของการบริหารจัดการของสถาบันการเงิน และธรรมเนียมปฏิบัติในการปฏิบัติการ 12. เงินโบนัสอิงกับการปรับปรุงผลกระทบด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อมของการลงทุนและบริการทางการเงินของ สถาบันการเงิน

114


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ความโปร่งใสและความรับผิด

องค์ประกอบต่อไปนีส้ าํ คัญสาํ หรับนโยบายระดับปฏิบตั กิ าร ของสถาบันการเงิน 1.

ส ถาบันการเงินอธิบายกรอบการให้เงินสนับสนุนและ การลงทุนขององค์กร ทีเ่ กีย่ วข้องกับประเด็นทางสังคม และสิง่ แวดล้อม และอธิบายว่าองค์กรจะมัน่ ใจได้อย่างไร ว่าการลงทุนเป็นไปตามเงือ่ นไขในนโยบายขององค์กร 2. กรอบการให้เงินสนับสนุนและการลงทุนของสถาบัน การเงินได้รับการตรวจสอบโดยองค์กรภายนอก และ มีการเผยแพร่ผลการตรวจสอบต่อสาธารณะ 3. สถาบันการเงินเผยแพร่รายชื่อของรัฐบาลที่ตนเข้าไป ลงทุน (เช่น ลงทุนในกองทุนบํานาญของประเทศหนึง่ ๆ เป็นต้น) 4. สถาบันการเงินเผยแพร่รายชื่อของบริษัทที่ตนเข้าไป ลงทุน

115


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ” 5.

ส ถาบันการเงินกล่าวถึงและเผยแพร่รายชื่อบริษัททุก แห่งที่ตนปล่อยสินเชื่อให้มากกว่า 10 ล้านเหรียญ สหรัฐ (หรือประมาณ 300 ล้านบาท) ผ่านเว็บไซต์ องค์กร 6. สถาบันการเงินเผยแพร่รายชื่อสินเชื่อโครงการ (project finance) และสินเชื่อธุรกิจทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ โครงการ รวมถึงข้อมูลทีก่ าํ หนดในมาตรฐานอีเควเตอร์ (Equator Principles III) 7.

ส ถาบันการเงินเผยแพร่พอร์ตสินเชือ่ ตามภูมภิ าค ขนาด และอุตสาหกรรม (ตามมาตรฐาน GRI FSSD FS6) 8. ส ถาบั น การเงิ น เผยแพร่ พ อร์ ต สิ น เชื่ อ ในตารางไขว้ ผสมข้อมูลสินเชื่อรายอุตสาหกรรมกับข้อมูลสินเชื่อ รายภูมิภาค 9. สถาบันการเงินตีพม ิ พ์เผยแพร่พอร์ตสินเชือ่ โดยละเอียด เช่น ตามมาตรฐานการเผยแพร่ข้อมูลสองข้อแรกของ NACE และ ISIC 10. สถาบันการเงินตีพม ิ พ์เผยแพร่พอร์ตสินเชือ่ โดยละเอียด

116


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

เช่น ตามมาตรฐานการเผยแพร่ข้อมูลสี่ข้อแรกของ NACE และ ISIC 11. สถาบันการเงินเผยแพร่จํานวนบริษัทที่องค์กรเคยมี ปฏิสมั พันธ์ดว้ ยในประเด็นสังคมและสิง่ แวดล้อม (ตาม มาตรฐาน GRI G4 FSSD FS10) 12. สถาบันการเงินเผยแพร่ชื่อบริษัทที่องค์กรเคยมีปฏิ­ สัมพันธ์ด้วยในประเด็นสังคมและสิ่งแวดล้อม 13. สถาบันการเงินเผยแพร่ผลของการมีปฏิสัมพันธ์ตาม ข้อ 12. รวมถึงหัวข้อ เป้าหมาย และเส้นตาย 14. ส ถาบั น การเงิ น เผยแพร่ ชื่ อ ของบริ ษั ท ที่ ตั ด สิ น ใจไม่ ลงทุนเนื่องจากประเด็นด้านความยั่งยืน รวมถึงเผย แพร่เหตุผลที่ไม่ลงทุน 15. สถาบันการเงินเผยแพร่สถิติการออกเสียง 16. สถาบันการเงินเผยแพร่รายงานความยั่งยืนที่เนื้อหา บางข้อเป็นไปตามมาตรฐาน GRI (ระดับ Core หรือ Comprehensive) 17. สถาบันการเงินเผยแพร่รายงานความยั่งยืนที่เป็นไป

117


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ตามมาตรฐาน GRI (ระดับ Core หรือ Comprehensive) ทั้งฉบับ 18. รายงานความยัง่ ยืนของสถาบันการเงินได้รบ ั การตรวจ­ ทานจากบุคคลที่สาม 19. สถาบันการเงินรายงานการปรึกษาหารือกับองค์กร ภาคประชาสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่นๆ 20. สถาบันการเงินจัดตั้งหรือมีส่วนร่วมในกลไกรับเรื่อง ร้องเรียนระดับปฏิบตั กิ าร จากปัจเจกและชุมชนทีอ่ าจ ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมที่เกี่ยวโยงกับสถาบัน การเงิน 21. สถาบันการเงินรายงานกลไกรับเรือ ่ งร้องเรียน รวมถึง ความก้าวหน้าและประสิทธิผล 22. สถาบันการเงินทุ่มเทให้กับการเคารพและร่วมมือใน กลไกรับเรื่องร้องเรียนของรัฐและบริษัทลูกค้า

118


ภาคผนวก ข

แนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ (Fair Finance Guide International)

119


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

120


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

121


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

แนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ คือ ดัชนี และ เครื่องมือ สําหรับผู้บริโภค ในการเจรจาต่อรอง รณรงค์ ให้การสนับสนุน มีสว่ นร่วมในภาครัฐและสถาบัน การเงิน เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการเงินที่เป็นธรรม ในปี พ .ศ . 2559 องค์ ก รภาคประชาสั ง คม 39 แห่ ง ได้ ดํ า เนิ น งานตามแนวปฏิ บั ติ ก ารเงิ น ที่ เ ป็ น ธรรมใน 9 ประเทศ (ประเทศไทยเป็ น ประเทศที่ 10 โดยเข้ า เป็ น สมาชิกแนวร่วมใน พ.ศ. 2561) โดยสามารถเข้าถึงบุคคล ทั่วไปกว่า 4 ล้านคน ผ่านช่องทางทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก ในขณะที่เว็บไซต์แนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรม มีสถิติ ผู้เข้าเยี่ยมชมมากกว่า 400,000 คน ใน พ.ศ. 2560 เพียงปี เดียว มีประชาชนส่งข้อคิดเห็นหรือข้อร้องเรียนต่อธนาคาร ที่ตนใช้บริการมากกว่า 60,000 คน ใน พ.ศ. 2559 นโยบายการดําเนินธุรกิจของสถาบัน การเงิน 95 แห่งใน 9 ประเทศได้รบั การประเมินด้วยหลัก­ เกณฑ์การประเมินกว่า 422 ข้อ (ซึ่งผ่านความเห็นชอบ ระหว่างประเทศ) และเครือข่ายแนวปฏิบัติการเงินที่เป็น­

122


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ธรรมได้จัดทํากรณีศึกษา 45 ชิ้น ซึ่งเปรียบเทียบนโยบาย กับการปฏิบัติจริงของธนาคาร รวมถึงได้ออกรายงาน เปรียบเทียบการลงทุนในกลุ่มนํ้ามันเชื้อเพลิงและแหล่ง พลังงานทดแทนของธนาคาร 75 แห่งทั่วโลก ในรายงาน ชื่อ “Undermining our Future” โดยใช้ข้อมูลจาก พ.ศ.  2558

นอกเหนือจากการติดต่อผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือโทรศัพท์แล้ว ในระหว่าง พ.ศ. 2552–2560 สมาชิกของ แนวร่วมแนวปฏิบตั กิ ารเงินทีเ่ ป็นธรรมได้จดั ประชุมร่วมกับ ธนาคารต่างๆ มากกว่า 100 ครั้ง ซึ่งการประชุม 25 ครั้ง จัดขึ้นในหลายประเทศโดยมีวุฒิสมาชิกหรือสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองเข้าร่วมประชุม กิจกรรม ทั้งหมดนี้นําไปสู่การตกลงที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายของ ธนาคาร 25 แห่งทั่วโลก

123


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ความเป็นมา

การนํ า มุ ม มองด้ า นสั ง คม สิ่ ง แวดล้ อ ม และหลั ก​ ธรรมาภิบาล (Environmental, Social, Governance นิยม ย่อว่า ประเด็น ESG) มาบูรณาการกับนโยบายและการ​ ดําเนินงานของธนาคารรวมถึงธุรกิจที่ได้รับการสนับสนุน ทางการเงินจากธนาคาร นําไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ของผู้คน และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทั่วโลก ยก ตัวอย่างเช่น การลดการมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมอิ ากาศ การละเมิดสิทธิมนุษยชน ข้อตกลงเรือ่ งการค้า อาวุธ การยึดครองทีด่ นิ การพัฒนาการบริการทางการเงิน สําหรับผู้ผลิตรายย่อย และการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าที่เป็น ธรรมมากขึ้น แนวปฏิบตั กิ ารเงินทีเ่ ป็นธรรมนานาชาติสนับสนุนการ​ บูรณาการและประยุกต์ใช้กรอบการดําเนินงานที่คํานึงถึง สังคม สิ่งแวดล้อม หลักธรรมาภิบาล และสิทธิมนุษยชน ในการดาํ เนินธุรกิจของธนาคาร รวมถึงลูกค้าของธนาคาร ซึ่งดําเนินงานในประเทศกําลังพัฒนา

124


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

แนวปฏิบตั กิ ารเงินทีเ่ ป็นธรรรม มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ให้ เกิดการแข่งขันสู่การเป็นที่หนึ่งระหว่างธนาคารภายใต้ กรอบ​การคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล และ สิทธิมนุษยชน โดยใช้เครื่องมือดังต่อไปนี้ • เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้เลือกบริการทางการเงิน ด้วยข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรง • เปิดช่องทางโดยตรงให้ลูกค้าของธนาคารสามารถ เสนอข้อคิดเห็น ข้อร้องเรียน หรือเปลี่ยนธนาคารที่ใช้ บริการ • เสนอบรรทัดฐาน (benchmarks) ที่สถาบันการเงิน และหน่ ว ยงานกํ า กั บ ดู แ ลสามารถนํ า ไปใช้ พั ฒนาการ​ ดาํ เนินงานให้มคี วามรับผิดชอบ เป็นธรรม และยัง่ ยืนมาก ยิ่งขึ้น • รณรงค์เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงให้ระบบการเงิน โลกมีความเป็นธรรมและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (inclusive) แนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรมริเริ่มใน พ.ศ. 2552 โดย องค์กรภาคประชาสังคมหลายแห่งในประเทศเนเธอร์แลนด์

125


การประเมินธนาคารพาณิชย์ ไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

โดยพัฒนาระเบียบวิธวี จิ ยั ร่วมกับสถาบันวิจยั PROFUNDO และแนวปฏิบตั นิ ไี้ ด้ถกู นาํ มาใช้ในระดับนานาชาติ ใน พ.ศ.  2557 ปั จ จุ บั น เครื อ ข่ า ยแนวปฏิ บั ติ ก ารเงิ น ที่ เ ป็ น ธรรม​ ดํ า เนิ น งานใน 10 ประเทศ ได้ แ ก่ เบลเยี ย ม บราซิ ล ฝรั่ ง เศส เยอรมนี อิ น โดนี เ ซี ย ญี่ ปุ่ น เนเธอร์ แ ลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน และไทย ในแต่ละประเทศจะมีแนวร่วม ขององค์กรภาคประชาสังคมในท้องถิ่น ร่วมด้วยผู้เชี่ยว­ ชาญเฉพาะด้าน ดาํ เนินกิจกรรมหลัก ได้แก่ การวิจยั การ ติดตามตรวจสอบ การรณรงค์ตอ่ สาธารณะ และการหารือ กั บ ภาคการเงิ น ภายใต้ ก รอบการดํ า เนิ น งานของแนว ปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ การประเมินคุณภาพของนโยบายและการปฏิบัติของ ธนาคารภายใต้ ก รอบแนวคิ ด ด้ า นความยั่ ง ยื น ในหั ว ข้ อ เฉพาะด้านและเผยแพร่คะแนนการประเมินช่วยเพิ่มแรง กดดันจากสาธารณะ ซึง่ จะนาํ ไปสูก่ ารพัฒนานโยบายและ การปฏิบัติที่เกี่ยวกับการลงทุนของธนาคาร โดยองค์กรที่ เข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมแนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรม

126


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ในแต่ละประเทศ สามารถใช้ผลลัพธ์ทไี่ ด้จากการประเมิน ในการหารือและส่งอิทธิพลต่อหน่วยงานกํากับดูแลภาค ธนาคาร ในการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบการ เงินที่เป็นธรรม เช่น ผ่านกลไกของรัฐสภาหรือสื่อมวลชน

127





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.