แปลนทอยส์ กรณีศึกษา นวัตกรรมสีเขียว #2 | Green innovation case study #2
จัดทำ�โดย บริษัท ป่าสาละ จากัด | กรกฎาคม 2557
แต่หลังจากการเปิดประเทศก้าวขึ้นสู่เวทีการค้าโลกของประเทศจีน การ เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของ ค่าแรงและต้นทุนวัตถุดิบ แปลนทอยส์ก็เริ่มตระหนักว่าความยั่งยืนทาง ธุรกิจมีมิติมากกว่าหัวใจ แปลนทอยส์จึงต้องปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อพาตัวเอง ออกมาจากวิกฤติที่กำ�ลังเผชิญอยู่ เมื่อก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ของเล่นไม้ใส่ไอเดียและใส่ใจสิ่งแวดล้อม ท้าทายกว่าที่ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารบริษัทเคยคาดคิด
กำ�เนิดแปลนทอยส์ ย้อนไปเมื่อ 37 ปีก่อน บัณฑิตใหม่ไฟแรง 7 คน ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท แปลนกรุ๊ป ขึ้นมาเพื่อทางานด้านสถาปัตยกรรมที่พวกเขาได้รํ่าเรียนมา โดยมีปณิธานที่จะนำ�รายได้ส่วนหนึ่งจากการทางานไปช่วยเหลือสังคมใน มิติต่างๆ จนเมื่อเงื่อนไขและปัจจัยเปลี่ยนแปลงไป พวกเขาจึงมองว่าการ
02
เข้าไปเปลี่ยนแปลงสังคมผ่านการทำ�ธุรกิจน่าจะช่วยสังคมให้ดีขึ้นอย่างเป็น รูปธรรมมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเด็ก “เราคิดว่าสาเหตุที่สังคมไม่ดีน่าจะเกิดจากระบบการศึกษา ระบบ ความรู้ และความคิดของคนเป็นหลัก ฉะนั้นหากเปิดโอกาสให้คนรุ่น ใหม่ได้เรียนรูใ้ นสิง่ ทีด ่ งี าม ถูกต้อง ก็นา่ จะช่วยเปลีย ่ นแปลงสังคมได้ ทางหนึง่ จึงสนใจทีจ่ ะทำ�ธุรกิจเกีย ่ วกับเด็ก ทัง้ การทำ�โรงเรียนรักลูก ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นโรงเรียนรุ่งอรุณ การทำ�หนังสือรักลูกเพื่อให้ ความรู้เรื่องการเลี้ยงดูลูกให้มีพัฒนาการตามวัยที่เหมาะสม และก็ คิดถึงเรือ่ งของเล่นทีจ่ ะช่วยให้เด็กมีพฒ ั นาการด้านต่างๆ ผ่านการเล่น”
วิฑูรย์ วิระพรสววรค์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บริษัท แปลน ครีเอชั่นส์ จากัด เล่าถึงการเข้าสู่ธุรกิจของเล่นในปี 2524 ซึ่งต่อมา เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกภายใต้แบรนด์ “แปลนทอยส์” โดยเขาเข้ามารับผิดชอบ ตั้งแต่เริ่มต้น
ของเล่นจากไม้ยางพาราหมดอายุ ตอนที่ตัดสินใจว่าจะทำ�ธุรกิจของเล่น วิฑูรย์ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะทำ�ใช้วัสดุ อะไรดีระหว่างพลาสติก โลหะ ไม้ แต่เมื่อคิดไปคิดมาในที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่า ควรจะทำ�ของเล่นไม้ เพราะเป็นวัสดุจากธรรมชาติ หาได้ในเมืองไทย และ น่าจะมีส่วนช่วยทำ�ให้เด็กๆ มีความใกล้ชิดกับธรรมชาติตั้งแต่เริ่มต้นชีวิต อีกเหตุผลก็คือกรรมวิธีในการผลิตของเล่นไม้ไม่น่าจะยากสำ�หรับตัวเขา ซึ่ง มีพื้นฐานทางด้านการออกแบบอุตสาหกรรม แต่คำ�ถามใหญ่ที่ต้องค้นหา คำ�ตอบให้ได้ก็คือจะใช้ไม้อะไร ช่วงเริ่มต้นวิฑูรย์ได้ลองนำ�ไม้ลังจากท่าเรือคลองเตย ซึ่งเป็นไม้ฉำ�ฉา ไม้สน มาใช้ เนื่องจากมีราคาถูกและยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะนำ�ไม้เก่ามา ใช้ใหม่ ไม่ต้องไปตัดต้นไม้จากป่า แต่หลังจากนำ�มาใช้ได้หกเดือน เขาก็พบ ว่าไม้ลังเหมาะกับการทางานแฮนด์เมดมากกว่าที่จะนำ�มาใช้ในการผลิต
03
แบบอุตสาหกรรม เนือ่ งจากค่อนข้างมีปญ ั หาด้านการจัดการ โดยเฉพาะใน เรือ่ งปริมาณและคุณภาพ จึงต้องหาแหล่งวัตถุดบิ ใหม่ทต่ี อบโจทย์ทางธุรกิจ “ผมเกิดที่ตรัง ซึ่งมีต้นยางเยอะ พอกลับไปบ้านทีไรก็จะเห็นชาวสวน เผาต้นยาง ซึ่งถูกโค่นทิ้งเมื่อมีอายุประมาณ 25 ปีเพราะให้นํ้ายาง ไม่ได้แล้ว ประกอบกับตอนนั้นเริ่มมีบริษัทญี่ปุ่นเข้ามาซื้อไม้ยางไปใช้ ทำ�เฟอร์นิเจอร์ ก็เลยมีความคิดว่าเราน่าจะเอาไม้ยางมาทำ�ของเล่นได้ เราจึงเป็นผู้ผลิตของเล่นจากไม้ยางพาราที่หมดอายุการให้นํ้ายาง (Recycled Rubber Wood) รายแรกของโลก เพราะนอกจากจะยังคง คอนเซ็ปต์การนำ�ไม้ที่ชาวบ้านไม่ต้องการมาใช้ซํ้าแล้ว มันก็ยังมีเยอะ และเราไปเอามาฟรีได้ในตอนนัน ้ ” วิฑรู ย์เล่าถึงทีม่ าของ Green Innovation
ของแปลนทอยส์ในยุคแรก ซึ่งเกิดจากความใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมของ เขาที่บังเอิญไปกันได้ดีกับผลประโยชน์ทางธุรกิจ
การตัดไม้ยางพาราที่หมดอายุการให้นํ้ายางถือว่าไม่มีผลกระทบกับสิ่ง แวดล้อม เพราะต้นยางเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกเพื่อกรีดเอานํ้ายางมาใช้ ประโยชน์เป็นหลัก แตกต่างจากไม้ชนิดอื่นที่ปลูกเพื่อใช้เนื้อไม้อย่างเดียว และเนื่องจากราคานํ้ายางให้ผลตอบแทนสูงกว่าราคาต้นยาง ชาวบ้านจึง จะไม่ตัดต้นยางทิ้งหากยังไม่หมดอายุการให้นํ้ายาง นอกจากนี้เมื่อต้นยาง เริ่มเข้าสู่วัยหมดนํ้ายาง ชาวสวนก็จะไม่ใส่ปุ๋ยและไม่ใช้สารเคมีกับต้นยาง เหล่านั้น เพราะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ไม้ยางพาราที่หมดอายุการให้นํ้ายาง จึงเป็นไม้ที่ปลอดจากสารเคมีโดยปริยาย นอกเหนือจากการถูกตีค่าการ ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ แต่ใช่ว่าทุกอย่างจะราบรื่น เพราะนอกจากจะต้องใช้เวลาในการทำ�ให้ตลาด ยอมรับของเล่นที่ผลิตจากไม้ยางพาราซึ่งเป็นไม้ที่ไม่เคยมีใครรู้จักแล้ว การ รักษาเนื้อไม้ยางพาราก็เป็นเรื่องยากชนิดที่วิฑูรย์คาดไม่ถึง โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งการรักษาเนื้อไม้ที่ปลอดภัยกับผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม้ ยางพาราเป็นไม้ที่มีแป้งมากจึงเป็นที่โปรดปรานของมอดและแมลง ในช่วง 15 ปีแรกแปลนครีเอชั่นส์จึงต้องใช้สารเคมีชนิดที่ไม่เป็นอันตรายในการ รักษาเนื้อไม้ไปก่อน จนกระทั่งประมาณปี 2542 จึงสามารถเลิกใช้สารเคมี
04
แล้วเปลี่ยนมาใช้วิธีการทางธรรมชาติ ด้วยการใช้ความร้อนมากขึ้นในการ อบไม้ รวมถึงเพิ่มกระบวนการดูแลในการจัดเก็บ แต่ก็ยังไม่สามารถป้องกัน มอดได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำ�ให้แต่ละปีจะมีของเสียที่ลูกค้าส่งคืนเพราะ มอดกินเนื้อไม้ประมาณ 50-100 ชุด จนกระทั่งเมื่อปี 2555 แปลนทอยส์จึง สามารถดัดแปลงวิธีการใช้คลื่นไมโครเวฟในการอบอาหาร ซึ่งเป็นผลงาน ของ ผศ.ดร.หมุดตอเล็บ หนิสอ หัวหน้าห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีพลาสมา เพือ่ การประยุกต์ทางกสิกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มาพัฒนาเป็นระบบ การกำ�จัดมอดในของเล่นไม้ยางพาราด้วยคลื่นไมโครเวฟได้สำ�เร็จ ทำ�ให้ สามารถป้องกันมอดอย่างปลอดภัยได้ถงึ 100 เปอร์เซ็นต์ ของเล่นแปลน ทอยส์จงึ หมดปัญหาเรือ่ งมอด ซึง่ ทำ�ให้แบรนด์แปลนทอยส์มคี วามน่าเชือ่ ถือ มากยิง่ ขึน้ วนัส วิระพรสวรรค์ รองประธานกรรมการ บริษัท พาราวีเนียร์ 2002 จากัด ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ที่ผลิตไม้ยาง ทั้งในรูปของไม้จริงหรือไม้ที่ไสเป็นแผ่น (Solid Wood) และไม้อัด (Ply Wood) ให้กับแปลนทอยส์มาตั้งแต่ปี 2545 เล่าว่า เนือ่ งจากไม้ยางทีส่ ง่ ให้แปลนทอยส์จะไม่มกี ารใช้สารเคมีในการรักษา เนือ้ ไม้ จึงต้องเลือ่ ยไม้ให้เสร็จภายใน 2 วันหลังจากการตัดต้นยาง มิเช่นนัน้ สีไม้จะมีปัญหา และมอดอาจจะแอบกินเนื้อไม้ โดยหลังจากเลื่อยเสร็จก็ ต้องนำ�เข้าเตาอบภายใน 24 ชั่วโมง และทันทีที่ไม้หายร้อนก็ต้องรีบนำ�มา จัดเรียง หุ้มด้วยพลาสติก แล้วรีบนำ�ส่งไปที่โรงงานแปลนทอยส์เลย ซึ่งทาง โรงงานก็ต้องรีบนำ�ไปรักษาอุณหภูมิต่อ เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องมอด ส่วนขัน้ ตอนการผลิตไม้อดั ก็ไม่แตกต่างกันคือ เมือ่ นำ�ไม้ซงุ มาปลอกเป็นแผ่น แล้วก็น�ำ ไปอบแห้ง ทากาวทีป่ ลอดสารฟอร์มลั ดีไฮด์ (E0) เพือ่ อัดให้เป็นแผ่น แล้วรีบส่งเข้าโรงงานเช่นกัน “สรุปก็คือไม้ยางสำ�หรับนำ�ไปผลิตของเล่นของแปลนทอยส์ต้อง ดำ�เนินการขั้นตอนต่างๆ อย่างรวดเร็ว เพื่อไม่เปิดโอกาสให้มอด เข้าไปในเนือ้ ไม้ รวมถึงต้องสุม ่ ใช้นา้ํ ยาทดสอบสารโบรอนตรวจสอบ ด้วยว่าไม่มีการใช้สารเคมีจริงๆ นอกจากนี้หากว่าแปลนทอยส์
05
ต้องการใช้ไม้ FSC CoC1 ก็ต้องไปหาไม้ยางจากแปลง FSC FM เข้ามา แล้วนำ�มาเลื่อยที่โต๊ะตัวที่ 1 กับตัวที่ 2 ที่จัดไว้สำ�หรับเลื่อยไม้ FSC FM เท่านั้น” วนัสให้ข้อมูลเพิ่มเติม
Green Material ยิ่งทำ�ยิ่งสนุก ยิ่งนานยิ่งเขียว ด้วยความชอบส่วนตัว ซึ่งวิฑูรย์เรียกว่าเป็นจริต ความเขียวของของเล่น แปลนทอยส์จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่ตัวไม้ยางพาราที่หมดอายุการให้ นํ้ายางและวิธีการรักษาเนื้อไม้ที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นมิตรกับสิ่ง แวดล้อม เพราะตลอดระยะเวลา 33 ปีที่ผ่านมานวัตกรรมสีเขียวได้ขยาย ไปสู่อณูต่างๆ เพื่อให้ของเล่นแปลนทอยส์ค่อยๆ กลายเป็นของเล่นสีเขียว มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยไม่ต้องรอให้ใครมาบังคับให้ทำ�หรือไขว่คว้าหา ประโยชน์เชิงธุรกิจ และแม้ว่าแต่ละขั้นตอนจะต้องใช้ความพยายาม ความ เอาใจใส่ในรายละเอียด การลองผิดลองถูก รวมถึงทุนทรัพย์ แต่วิฑูรย์มอง ว่าความสุข ความสนุกที่ได้ลงมือทำ�สิ่งที่ท้าทายและสวนกระแสเหล่านี้เป็น คุณค่าที่เขาอยากส่งต่อให้กับสังคม เริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำ�จากกระดาษรีไซเคิลในปี 2536 ก่อนที่เริ่มใช้หมึกพิมพ์จากถั่วเหลืองแทนหมึกพิมพ์จากปิโตรเลียมในการ ผลิตสือ่ สิง่ พิมพ์และบรรจุภณ ั ฑ์ตา่ งๆ ในปี 2543 เพือ่ ลดปัญหาการย่อยสลาย ที่ยาวนาน พร้อมๆ กับการเปลี่ยนจากการใช้สีที่มีโซลเวนท์เป็นตัวทำ�ละลาย มาเป็นสีที่มีตัวทำ�ละลายเป็นนํ้าในการผลิตของเล่นแปลนทอยส์ทุกชิ้น เพื่อ ให้ปราศจากส่วนผสมของสารปรอท ตะกั่ว และโลหะหนักต่างๆ ซึ่งอาจเป็น อันตรายต่อเด็กและสิ่งแวดล้อม รวมถึงเปลี่ยนจากสีเคมีมาใช้สีที่มาจาก ธรรมชาติ
1
ย่อมาจาก Forestry Stewardship Council: Chain of Custody และ Forestry Stewardship Council: Forest Management – ตรารับรองไม้ที่ผลิตจากป่าไม้หรือสวนไม้ยั่งยืน ซึ่งได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก
06
“ตอนนั้นเราเลือก Vendor 2 รายให้เข้ามาพัฒนาสีที่มีตัวทำ�ละลาย เป็นนํ้าร่วมกับเรา โดยให้เขาเข้ามาอยู่โรงงานด้วยและทีมงานคอยให้ ความสนับสนุน เพราะการเปลี่ยนจากสีที่มีการใช้ตัวทำ�ละลายเป็น โซลเวนท์มาเป็นนํ้าไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนสัดส่วนการผสม แล้วจะใช้ได้เลย ปัญหาที่พบช่วงแรกก็คือพ่นไปแล้วสีเป็นลายด่างๆ ไม่เสมอกัน หรือสีเสมอกันแต่ไม่ยึดติด เพราะที่นี่หลังจากทำ�สีเสร็จ เราจะต้องมีการขูด ดึงเทป หรือทดสอบการหลุดลอกของสีดว้ ยวิธี การต่างๆ นอกจากนีย ้ งั ต้องมีการประเมินความพร้อมในเรือ่ งโนว์ฮาว ของ Vendor ด้วยว่าเขาสามารถทีจ่ ะผลิตวัตถุดบ ิ ในลอตต่อๆ ไปตาม สูตรใหม่ทเ่ี ราพัฒนาขึน ้ มาอย่างได้มาตรฐาน รวมถึงสามารถส่งมอบ วัตถุดบ ิ ได้ตามกำ�หนดเวลา และมีราคาทีเ่ หมาะสม” ชัชนี ชุณหพิมล รอง
ผู้อำ�นวยการฝ่ายการเงินและบริหารกลาง บริษัท แปลน ครีเอชั่นส์ จากัด ซึ่งทางานอยู่ที่โรงงานแปลนทอยส์ในจังหวัดตรัง เล่าถึงช่วงเวลาแห่งการ เปลี่ยนแปลง
กาว เป็นอีกส่วนประกอบสำ�คัญในการผลิตของเล่นไม้ทแ่ี ปลนทอยส์พยายาม ปรับปรุงให้เป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อมและผูบ้ ริโภคให้มากทีส่ ดุ เพราะตามปกติ กาวที่ใช้ในการประกอบของเล่นจะมีส่วนผสมของสารฟอร์มัลดีไฮด์ เพื่อ ช่วยในการยึดเกาะหรือเป็นตัวประสานเนื้อไม้อัดให้ติดกัน แต่เนื่องจากเป็น สารที่มีอันตรายต่อสุขภาพ ทำ�ให้แต่ละประเทศมีข้อกำ�หนดในเรื่องปริมาณ การใช้สารฟอร์มัลดีไฮด์เพื่อความปลอดภัยของเด็กๆ โดยขั้น ตํ่าจะต้อง อยู่ในระดับ E2 ส่วนตลาดที่มีมาตรฐานสูงอย่างสหภาพยุโรป (อียู) และ สหรัฐอเมริกาจะต้องเป็นระดับ E1 ซึ่งแปลนทอยส์ก็เริ่มใช้กาวระดับ E1 ก่อนที่อียูจะปรับความเข้มข้นของมาตรฐานจาก E2 มาเป็น E1 และหลัง จากที่อียูบังคับให้ใช้กาว E1 กับของเล่นไม้ แปลนทอยส์ก็ได้พัฒนาต่อจน สามารถผลิตกาวไร้สารเคมี หรือ E0 ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์สำ�หรับการ เชื่อมไม้อัดได้สำ�เร็จในปี 2546 เป็นรายแรกและรายเดียวของโลก โดยได้รับ ความสนับสนุนจากสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งได้ส่งผู้เชี่ยวชาญจากภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ามาร่วมในการปรับปรุง
07
Green Manufacturing กระบวนการผลิตที่ยั่งยืน ความเขียวของผลิตภัณฑ์แปลนทอยส์เดินเคียงข้างไปกับการเติบโตทาง ธุรกิจ จะเรียกว่ายิ่งเขียวยิ่งโต หรือยิ่งโตก็ยิ่งเขียวก็ได้ทั้งคู่ เพราะสองเส้น ทางต่างงอกงามไปด้วยกันอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 20 ปี แรกของการทำ�ธุรกิจ ซึ่งถือว่าเป็นยุคทองของแปลนทอยส์ ในช่วงเริ่มต้นโรงงานผลิตของเล่นแปลนทอยส์เริ่มต้นที่ห้องแถวเล็กๆ บน ถนนลาดพร้าว โดยใช้เครื่องมือไม่กี่ชิ้นในการผลิตของเล่นไม่กี่แบบ แต่เมื่อ มีคำ�สั่งซื้อมากขึ้น ฐานการผลิตจึงขยายไปสู่อพาร์ทเมนต์เก่าขนาด 132 ตารางวาย่านสำ�โรงในปี 2526 ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมบางพลี ในปี 2527 เริ่มจากเนื้อที่ 3 ไร่ ในช่วงนี้แปลนทอยส์ยังต้องขนไม้ยางพารา เป็นต้นๆ จากจังหวัดตรังมาที่โรงงานในกรุงเทพฯ จนกระทั่งปี 2533 จึงมี การสร้างโรงงานทำ�ไม้ยางพาราขึ้นที่จังหวัดตรังอันเป็นต้นทางของวัตถุดิบ เพื่อเป็นหน่วยผลิตชิ้นส่วนเบื้องต้นแล้วส่งมาประกอบที่กรุงเทพฯ ซึ่งช่วย ประหยัดค่าขนส่งได้มาก ก่อนที่จะตัดสินใจย้ายโรงงานทั้งหมดไปที่จังหวัด ตรังในปี 2543 หลังจากรอบๆ โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมบางพลีไม่มีพื้นที่ ให้ขยายได้อีกแล้ว “ก่อนย้ายโรงงานเราเช่ารถทัวร์ 15 คันเพื่อพาพนักงานซึ่งมีอยู่ ประมาณ 400 คนไปดูโรงงานใหม่ที่ตรัง ปรากฏว่ามีพนักงาน 80 คนตัดสินใจย้ายไปทางานที่ใหม่ด้วย ส่วนที่เหลือเราก็จ่ายเงินชดเชย ให้ตามกฏหมายแรงงาน” วิฑูรย์เล่าถึงบรรยากาศการย้ายศูนย์กลางการ
ผลิตของเล่นแปลนทอยส์ครั้งสำ�คัญ
ปี 2545 สองปีหลังจากย้ายฐานการผลิตของเล่นทั้งหมดไปที่จังหวัดตรัง แปลนครีเอชั่นส์ก็ยุติบทบาทการทำ�ธุรกิจโรงไม้และโรงเลื่อยของตัวเอง เพื่อ จะได้ทุ่มเทกำ�ลังให้กับขั้นตอนการผลิตที่มีความสลับซับซ้อนและเพิ่มมูลค่า ให้กบั ผลิตภัณฑ์ โดยทีมผูบ้ ริหารเดิมของแปลนครีเอชัน่ ส์ได้รบั ธุรกิจโรงไม้
08
ไปดูแลต่อ ภายใต้ชอ่ื บริษทั พาราวีเนียร์ 2002 จากัด และเป็นซัพพลายเออร์ ที่ส่งไม้ทั้งหมด ทั้งไม้จริงและไม้อัดให้กับแปลนทอยส์ อีกสิง่ ทีเ่ ติบโตควบคูไ่ ปกับการขยายตัวของโรงงานผลิตของเล่นแปลนทอยส์ ก็คือ การนำ�มาตรฐานด้านต่างๆ มาใช้ในโรงงาน เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิด ขึ้นทั้งกับสิ่งแวดล้อมและเพื่อความปลอดภัยของพนักงาน ดังรายละเอียด ในตาราง เครื่องหมายมาตรฐานต่างๆ ของแปลนครีเอชั่น
ปีที่ เครื่องหมาย ได้รับ มาตรฐาน
รายละเอียด
2542 ISO 9001
มาตรฐานสากลด้านความเป็นเลิศทางคุณภาพ และประสิทธิภาพของ การดำ�เนินงานภายในองค์กร มาตรฐานระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม มาตรฐานระบบจัดการด้านชีวอนามัยและความปลอดภัย มาตรฐานแรงงานว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ฉลากที่ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย กว่า เมื่อนำ�มาเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ทำ�หน้าที่อย่างเดียวกัน มาตรฐานสำ�หรับผลิตภัณฑ์ไม้ที่มีการผลิตหรือจำ�หน่ายจากสวนไม้ที่ได้ รับการรับรอง ตั้งแต่กระบวนการจัดหาแหล่งวัตถุดิบ การรับและการจัด เก็บวัตถุดิบ การควบคุมปริมาณ ตลอดจนการขายและการส่งมอบ มาตรฐานของเล่นที่ปลอดภัยของสหรัฐอเมริกาและยุโรป
2545 2546 2547 2548
ISO 14001 OHSAS 18001 SA 8000 ฉลากเขียว
2553 FSC Chain of Custody (CoC) N.A. ASTM & EN71
ดีไซน์เตะตา ราคาถูกใจ เคล็ดลับการเติบโต การเติบโตทางการผลิตเป็นภาพสะท้อนการเติบโตทางด้านการตลาดของ แปลนทอยส์นน่ั เอง โดยเฉพาะอย่างยิง่ ความสำ�เร็จในการส่งสินค้าออกไป
09
จำ�หน่ายยังต่างประเทศ ทำ�ให้ปจั จุบนั สัดส่วนการขายของแปลนทอยส์ 95% มาจากการส่งออกไปยังตลาด 69 ประเทศทั่วโลก อีก 5% เป็นยอดขายใน ประเทศ ซึง่ ในช่วงเริม่ ต้นของเล่นแปลนทอยส์มขี ายในห้างสรรพสินค้าไดมารู ส่วนปัจจุบันมีขายเฉพาะที่ร้านของเล่นแปลนทอยส์ ซึ่งตั้งอยู่ที่สำ�นักงาน ใหญ่ในกรุงเทพฯ และที่โรงงานจังหวัดตรัง กับช่องทางอีคอมเมิร์ซ หรือการ ขายผ่านเว็บไซต์ โดยไม่วางขายในห้างสรรพสินค้า เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง “ตอนแรกเราไม่ได้ตั้งใจทำ�ส่งออกมากขนาดนี้ คิดเพียงแค่ว่าจะทำ� อะไรให้ขายได้ แต่บังเอิญช่วงที่เริ่มทำ�เราได้นำ�เอาของเล่น ซึ่งก็ยัง ออกแบบได้ไม่เยอะ เลยทำ�ของชำ�ร่วย ของที่ระลึกปนๆ กัน ไปวาง ขายที่กรมพาณิชย์สัมพันธ์ (ปัจจุบันคือกรมส่งเสริมการส่งออก) ซึ่งตอนนั้นอยู่ตรงสี่แยกคอกวัว แล้วก็ไปทราบมาว่า บีโอไอ (คณะ กรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย) ซึ่งอยู่ฝั่งตรงกันข้าม เขามีสง่ เสริมการส่งออก ก็ไปขอรับการส่งเสริม เลยกลายเป็นของเล่น ไม้รายแรกทีไ่ ด้รบ ั บีโอไอ ไม่ตอ้ งเสียภาษีน�ำ เข้าเครือ่ งจักร 30-40% แล้ว ก็ไปขอกู้เงินจาก IFCT (บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) มาลงทุน ประกอบกับช่วงนั้นกรมพาณิชย์สัมพันธ์เขาพาผู้ผลิต ไปขายของตามงานแฟร์ในต่างประเทศ โดยออกค่าเครื่องบินให้ฟรี แถมมีเบี้ยเลี้ยงให้ด้วย ไปแล้วมันก็บังเอิญขายได้ เราก็เลยต่อยอด การส่งออกมาเรื่อยๆ” วิฑูรย์เล่าถึงเหตุจูงใจที่ทำ�ให้แปลนทอยส์หันมา
เน้นการส่งออกเป็นหลัก
อย่างไรก็ตามจังหวะก้าวที่ลงตัวเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความสำ�เร็จ ในช่วงเริ่มต้น เพราะสิ่งที่ทำ�ให้แปลนทอยส์ประสบความสำ�เร็จอย่างแท้จริง และกลายเป็นจุดขายสำ�คัญของแบรนด์แปลนทอยส์ที่โดนใจลูกค้าตั้งแต่ เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันก็คือการออกแบบ (Design Oriented) ซึ่งผสมผสาน หลากหลายแนวคิดเข้าไว้ด้วยกัน เริ่มจากแนวคิด Design for Child Development ซึ่งแปลนทอยส์ให้ความ สำ�คัญมาตลอดว่าของเล่นทุกชิ้นต้องมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของ เด็กในด้านต่างๆ ตามวัย ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ สติ
010
ปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยมีนักพัฒนาการเด็กเข้ามาร่วมพัฒนา ให้ คำ�แนะนำ� และนำ�ไปทดสอบกับเด็กๆ ด้วย “ขัน ้ ตอนการออกแบบของเราจะเริม ่ จากการรับบรีฟจากทีมการตลาด แล้วฝ่าย Product Management จะเข้ามาดูวา่ เป็นผลิตภัณฑ์ทเ่ี หมาะ กับเด็กๆ ทัง้ โลกไหม เช่น ผลิตภัณฑ์ทท ่ี างโซนยุโรปอยากได้ จะเป็นที่ ต้องการของตลาดเอเชียและอเมริกาด้วยไหม ถ้าใช่ก็จะส่งมาให้ทีม ออกแบบ ซึ่งดีไซเนอร์จะนำ�ไปสเก็ตช์ดีไซน์เบื้องต้นออกมา พร้อมกับ กำ�หนดว่าควรใช้วัสดุอะไร จากนั้นก็นำ�ไปทำ�เป็นโมเดล เพื่อให้ทีมการ ตลาดและคุณอลัน (ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายออกแบบซึง่ เป็นชาวฝรัง่ เศส) ให้ ความเห็น รวมถึงนำ�ไปทดสอบกับเด็กๆ ทั้งเรื่องขนาด สีสัน ความ เข้าใจสาระของการเล่น ซึ่งระหว่างทางเหล่านี้จะมีนักพัฒนาการเด็ก เข้ามาช่วยดูตลอดว่าของเล่นชิ้นนั้นช่วยสร้างพัฒนาการให้เด็กได้ อย่างไรบ้าง หลังจากผ่านขัน ้ ตอนเหล่านีแ้ ล้วจึงจะส่งให้โรงงานทำ� เป็นสินค้าต้นแบบ แล้วนำ�ไปทดสอบอีกครั้งว่าผ่านมาตรฐานความ ปลอดภัยของเล่นของยุโรปและอเมริกา อย่าง EN71 และ ASTM หรือ ไม่” ประเวศน์ หงษ์ทอง ผู้จัดการฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ อธิบายขั้นตอน
การออกแบบ
นอกจากนี้แปลนทอยส์ยังนำ�แนวคิด Simplicity มาประสานกับแนวคิด Design for Child Development ทำ�ให้ของเล่นแปลนทอยส์ไม่เพียงมี เนื้อหาที่เหมาะสม แต่ยังมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างจากคู่แข่ง ซึ่งขณะนั้นเป็น ผู้ผลิตของเล่นไม้รายเล็กๆ ในยุโรป ที่ผลิตกันแบบอุตสาหกรรมในครัวเรือน “ตอนนั้นของเล่นไม้ของคู่แข่งจะเป็นแบบ Typical หรือ Traditional ส่วนของเราเน้น Simplicity ซึ่งนอกจากจะทำ�ให้ดูทันสมัย แปลกใหม่ แล้ว ยังมีประโยชน์คือทำ�ให้ผลิตชิ้นงานเป็นอุตสาหกรรมได้ง่าย ที่ สำ�คัญเรายังมีกล่องบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม จำ�ได้ว่าตอนไปออกงาน แฟร์ของเล่นที่ใหญ่ที่สุดในโลกครั้งแรกที่งาน Nuremberg Toy Fair ในเยอรมนี เมื่อปี 2527 เราเอากล่องไปแปะข้างฝาบูทด้วย ดึงดูด ความสนใจของ Importer ได้ดีมากๆ” วิฑูรย์อธิบายที่มาที่ทำ�ให้แปลน
011
ทอยส์มีเสน่ห์มากขึ้น และช่วยให้การเริ่มต้นการส่งออกด้วยของเล่นสำ�หรับ เด็กก่อนวัยเรียน “PlanPreschool” หรือเด็กอายุ ตา่ํ กว่า 3 ขวบ เพียง 10-12 แบบ ได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างดี “มีลูกค้ารายหนึ่งเป็นระดับร้านค้า เขาสั่งของเราไปลงเมล์ออเดอร์ 3,000 ชิ้น โห ตกใจเหมือนกัน” วิฑูรย์เล่าด้วยความขำ�ตัวเอง
หลังจากจับกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนเพียงอย่างเดียว โดยที่ยอดขายเติบโตขึ้น เรื่อยๆ มาเกือบ 10 ปี วิฑูรย์ก็เริ่มมองไปยังเด็กกลุ่มอื่นๆ ที่แปลนทอยส์ไม่ ได้เข้าไปสัมผัส คราวนี้ตลาดที่เขาสนใจก็คือของเล่นที่ใช้บทบาทสมมติ หรือ role-play อย่าง Dollhouse หรือบ้านตุ๊กตา ซึ่งเป็นของเล่นสำ�คัญของ ชาวตะวันตก เพราะพ่อแม่มักจะซื้อ Dollhouse ให้กับลูกผู้หญิงเมื่อถึงวัยที่ เหมาะสม แต่ก่อนที่ Dollhouse ของแปลนทอยส์จะได้เปิดตัวในปี 2533 วิฑูรย์ก็ต้อง ทำ�ลายกำ�แพงความวิตกกังวลของพนักงานให้ได้เสียก่อน
012
“เพราะตอนนั้นเราทำ�แต่ของชิ้นเล็กๆ ราคา 3 เหรียญ พอจะทำ�ของ ชิ้นใหญ่ๆ คนในบริษัทก็กังวลว่าไม่เคยทำ� แล้วราคาตั้ง 20 เหรียญ ใครจะซื้อและจะส่งไปอย่างไร ผมก็บอกว่าลองทำ�ดู เพราะเรียนมาเรา รู้ว่า Dollhouse ต้องออกแบบให้คนซื้อเอาไปประกอบเอง เพื่อที่เราจะ สามารถใส่ลงกล่องส่งไปขายได้จากเมืองไทย ไม่ใช่ประกอบเป็นหลัง ใหญ่ๆ อย่าง Dollhouse ที่บริษัทในยุโรปทำ�” วิฑูรย์เล่าที่มาของแนวคิด
Prefabricated หรือการทำ�เป็นชิ้นส่วนสำ�เร็จรูปแล้วให้ลูกค้านำ�ไปประกอบ เอง ซึ่งทำ�ให้แปลนทอยส์เปิดตลาด Dollhouse ได้สำ�เร็จไปทั่วโลก ควบคูไ่ ปกับแนวคิดการผลิตเป็นชิน้ ส่วนสำ�เร็จรูปให้เด็กๆ นำ�ไปต่อเองได้ดว้ ย การยึดสกรู 10 ตัว แปลนทอยส์ยงั สร้างความแตกต่างจากผูผ้ ลิตในยุโรปด้วย การออกแบบ Dollhouse แนวร่วมสมัยในสไตล์ Contemporary เพือ่ จะได้ สามารถส่งไปขายที่ตลาดไหนๆ ก็ได้ ไม่จากัดว่าเป็นยุโรป อเมริกา และ เอเชีย แตกต่างจากคู่แข่งในแต่ละประเทศที่ออกแบบ Dollhouse ในสไตล์ ของตัวเอง เช่น Dollhouse แบบเยอรมนี อังกฤษ สแกนดิเนเวีย “ปรากฏว่าพอไปเปิดตัวครั้งแรกที่งาน Nuremberg Toy Fair มี แต่คนอยากจะซื้อ ทำ�ให้เราต้องขยับราคาขายขึ้นจากวันแรกที่ตั้ง ไว้ 20 เหรียญ เป็น 23 เหรียญในวันที่สอง ก่อนที่ราคาจะไปจบที่ 30 เหรียญในวันสุดท้ายซึ่งก็ยังขายได้ง่ายๆ เลย” วิฑูรย์เล่าถึงความ
ประหลาดใจที่เขาได้รับเป็นครั้งที่สอง
013
ปัจจุบันแปลนทอยส์ยังแนะนำ� Dollhouse แบบใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด พร้อมๆ กับของต่อเนื่องอื่นๆ อาทิ เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งต่างๆ และตุ๊กตา จน กลายเป็นสินค้าอีกไลน์หนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้แปลนทอยส์เป็นที่รู้จักในวง กว้างมากยิ่งขึ้น หลังจากประสบความสำ�เร็จกับการเปิดตลาด Dollhouse สำ�หรับเด็กผูห้ ญิง แล้ว ปี 2543 แปลนทอยส์ก็ใช้แนวคิด Prefabricated ในการรุกตลาด role-play ของเด็กผู้ชาย ด้วยการแนะนำ�ของเล่นกลุ่ม Road & Rail เข้าสู่ ตลาด ซึ่งก็ประสบความสำ�เร็จเช่นเดียวกับ Dollhouse รวมถึงกลายเป็น Trend Leader ในการออกแบบชิ้นส่วนของถนนหรือรางรถไฟในลักษณะที่ ทำ�เป็นตัวต่ออีกด้วย นวัตกรรมการออกแบบของแปลนทอยส์ไม่ได้หยุดยั้งอยู่เพียงแค่นี้ เพราะ ยังข้ามไปสู่การค้นหาวัตถุดิบใหม่ๆ ที่ช่วยให้ของเล่นของแปลนทอยส์มี ดีไซน์ที่โดดเด่นยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างระนาดของเล่น ซึ่งเริ่มทำ�ตลาดในปี 2531 และมีการรีดีไซน์ในปี 2535 เพื่อทำ�ให้รูปทรงดูทันสมัยมากขึ้น ก่อนที่จะ พลิกโฉมการออกแบบหลังจากมีการนำ�ไม้อัดดัดโค้งมาใช้ในปี 2544 และ พัฒนาไปอีกขั้นในปี 2550
014
วิวัฒนาการในการออกแบบระนาดของเล่น ของแปลนทอยส์
“จะเห็นว่าระนาดตัวแรกและตัวที่สอง เราต้องตัดไม้ 3 แบบ และมีงาน ประกอบมากกว่า แต่พอนำ�ไม้อัดดัดโค้งมาใช้ในงานดีไซน์ในปี 2544 เราก็สามารถลดการใช้ชน ้ิ ส่วน ลดงานประกอบ และลดนา้ํ หนักระนาด ลง แต่ได้ชิ้นงานที่เรียบง่ายและสวยงามมากขึ้น นอกจากผลิตได้เร็ว ขึ้น” ประเวศน์พูดถึงอีกหนึ่งในตัวอย่างงานดีไซน์ของแปลนทอยส์ที่มีความ
แปลกใหม่อย่างต่อเนื่อง
นอกจากเทคนิค Prefabricated ทีน่ �ำ มาใช้กบั Dollhouse แล้ว แปลนทอยส์ ยังคิดค้นรูปแบบการดีไซน์อื่นๆ ที่ช่วยประหยัดพื้นที่ในการขนส่งสินค้าของ ตัวเอง และลดพื้นที่ในการเก็บของเล่นของลูกค้าด้วย เช่น นำ�เทคนิคการ
015
พับมาใช้กับการออกแบบม้าโยก ทำ�ให้สามารถพับเก็บไว้ใต้เตียงหรือหลัง ตู้ได้ การนำ� Eva Foam หรือแผ่นยาง มาใช้เป็นโครงสร้างของ City Station ทำ�ให้ได้ชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ ดูอลังการ คุ้มค่าน่าซื้อมากขึ้น รวมถึงการ ตัดไม้อัดเป็นรูปงู แล้วใช้เทคนิคการดึงในการประกอบ ทำ�ให้ Play Park มี พื้นที่และฟังก์ชั่นการใช้งาน (ถนน) จากแผ่นวัสดุแบนๆ ความคิดสร้างสรรค์ เหล่านี้ทำ�ให้ของเล่นทั้ง 2 ชิ้นได้รับรางวัล Reddot ซึ่งเป็นรางวัลด้านการ ออกแบบยอดเยี่ยมระดับโลกของเยอรมนี
016
นอกจากแนวคิดและเทคนิคการออกแบบที่หลากหลายเหล่านี้แล้ว แปลน ทอยส์ยังมีการสอดแทรกเรื่องความเป็นมิตรกับธรรมชาติ อย่างเช่นเรื่องการ ใช้พลังงานทางเลือก การประหยัดพลังงาน และทรัพยากรอื่นๆ ผ่านการ เล่นด้วย เช่นของเล่นกลุ่ม Eco Town หรือ Eco Station ซึ่งจะมีรถไฟฟ้า กังหันลม เซลล์รับแสงอาทิตย์ หรือ Green Dollhouse ซึ่งผนังบ้านสามารถ พับเก็บได้เพื่อให้แสงแดดส่องเข้ามาในบ้าน มีถังขยะรีไซเคิล ถังเก็บนํ้าฝน จากหลังคา เป็นต้น เป็นการเพิ่มมิติแนวคิดเรื่องสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเรื่องที่ แปลนทอยส์ให้ความสำ�คัญลงไปในตัวแบรนด์ด้วย นอกจากความโดดเด่น ด้านการออกแบบ
017
“แต่จุดสำ�คัญที่ทำ�ให้ลูกค้าเลือกซื้อของเล่นแปลนทอยส์ก็น่าจะเป็น ความทันสมัยในเชิงการออกแบบ ซึ่งเรานำ�เสนอวิธีใหม่ๆ อยู่ตลอด เวลา นอกจากเนื้อหาและการเสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็ก โดย เฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่เรามีแปลนวูด” ประเวศน์ขยายความถึงวัสดุ
ใหม่ที่แปลนทอยส์พัฒนาขึ้นเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ใน แปลนวูด นวัตกรรมสีเขียว เพื่อลดต้นทุน) จึงไม่น่าแปลกใจที่ของเล่นแปลนทอยส์จะกวาดรางวัลมาแล้วมากมายทั้ง ในและต่างประเทศ เช่น The Reddot Design Award, The Good Toy Award, The German Design Prize, The Design Excellence Award, The Oppenheim Toy Portfolio, Best Toy of the Year Award, The Parents Choice Awards
ตัวอย่างของเล่นแปลนทอยส์ที่ได้รับรางวัลระดับโลก
018
คู่แข่งรุกคืบ การแข่งขันเข้มข้น แม้ว่าของเล่นของแปลนทอยส์จะมีความโดดเด่นในเรื่องการออกแบบดังได้ กล่าวไปแล้ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าราคาขายที่ตํ่ากว่าคู่แข่งนับเป็นแต้มต่อ สำ�คัญทีช่ ว่ ยให้แปลนทอยส์ประสบความสำ�เร็จอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในช่วง 20 ปีแรกของการทำ�ธุรกิจ ซึง่ จีนยังไม่เปิดประเทศก้าวสูเ่ วทีการค้าโลก “ตอนเริ่มเข้าตลาด ค่าแรงของเราอย่างมากก็แค่ 40 บาท ราคา ขายของเราจึง ตํ่ากว่าของยุโรปมาก อย่างเช่นตุ๊กตาใน Dollhouse ของเราขายเป็นเซ็ท 4 ตัวในราคาเท่ากับที่เขาขายตัวเดียว เราเลย ขายสบาย” วิฑูรย์ยกตัวอย่างความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนการผลิต
ความสบายของแปลนทอยส์เริ่มลดลงหลังจากย่างเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ได้ ไม่นาน เมื่อจีนเริ่มเปิดประเทศ แต่ผลกระทบยังไม่ได้เกิดขึ้นทันที เนื่องจาก ช่วงแรกจีนจะเน้นผลิตของเล่นไม้ราคาถูก โดยไม่ค่อยใส่ใจในคุณภาพ จน กระทั่งต่อมาผู้ผลิตของเล่นไม้แบรนด์ยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Haba และ Hape ของเยอรมนีได้ใช้ประเทศจีนเป็นฐานในการผลิตสินค้า ขณะที่จีน เองก็พัฒนาคุณภาพและผลิตของเล่นภายใต้แบรนด์ของตัวเองออกมาแข่ง เมื่อประมาณ 8 ปีที่ผ่านมา อาทิของเล่นไม้แบรนด์ BeeBoo ซึ่งเป็นที่รู้จัก ในปัจจุบัน ถึงตอนนี้ความได้เปรียบเรื่องต้นทุนของแปลนทอยส์จึงลดลง นอกจากการเปิดประเทศของจีนแล้ว แปลนทอยส์ยังได้รับผลกระทบจาก วิกฤตที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มจากปี 2549 เมื่อ Brio พันธมิตร สำ�คัญ ซึ่งเป็นผู้แทนจำ�หน่ายของเล่นแปลนทอยส์ในสหรัฐอเมริกา ประสบ ปัญหาทางการเงินจนต้องปิดกิจการ ส่งผลกระทบต่อยอดขายในตลาดสหรัฐ เพราะตอนนั้นแปลนทอยส์ขายให้ตัวแทนจำ�หน่ายอย่างเดียวจึงไม่มีข้อมูล ว่าร้านค้าที่ซื้อสินค้าไปขายมีใครบ้าง ด้วยเหตุนี้ แปลนครีเอชั่นส์ จึงตัดสิน ใจตัง้ บริษทั ลูกคือ PlanToys Inc ขึน้ มาดูแลตลาดสหรัฐอเมริกา แคนาดา และอเมริกาใต้ ตัง้ แต่บดั นัน้ ส่วนตลาดอืน่ ยังคงขายผ่านตัวแทนจำ�หน่าย เช่นเดิม
019
วิกฤตในตลาดอเมริกาครั้งที่สองของแปลนทอยส์เกิดขึ้นเมื่อปี 2551 เมื่อ สหรัฐอเมริกาเกิดวิกฤตสินเชือ่ ซับไพร์มหรือทีร่ จู้ กั กันทัว่ ไปว่าวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อสหรัฐอเมริกาและขยายไปทั่วโลก รวมถึง กระทบต่อคำ�สั่งซื้อของแปลนทอยส์ด้วย นอกจากปัจจัยภายนอกแล้ว ธุรกิจของเล่นแปลนทอยส์ยงั ได้รบั ผลกระทบ จากปัจจัยในประเทศด้วย เริ่มจากราคาของไม้ยางที่ขยับตัวสูงขึ้นตาม ความต้องการของอุตสาหกรรมเฟอร์นเิ จอร์ทง้ั ในและต่างประเทศ โดยเฉพาะ ความต้องการของประเทศจีน ซึ่งจะซื้อไม้ยางในราคาสูงถ้ามีความต้องการ ใช้มากๆ ไม้ยางที่เคยเป็นไม้ที่ให้กันฟรีๆ หรือขายในราคาถูกสมัยที่วิฑูรย์ เริ่มต้นทำ�ของเล่นแปลนทอยส์ใหม่ๆ ฟังดูเหมือนเรื่องโกหก เพราะเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว ราคาไม้ยางจากสวนยางเคยขึ้นไปถึงไร่ละ 130,000 บาท “ส่วนปัจจุบันราคาอยู่ที่ประมาณไร่ละ 40,000 บาท” วนัสให้ข้อมูล
ราคาไม้ยางเมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2557
แน่นอนว่าเมือ่ ราคาขายไม้ยางจากสวนทีเ่ ขยิบขึน้ จากอดีต ต้นทุนของแปลน ทอยส์ก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยราคาไม้ยางแปรรูปที่แปลนครีเอชั่นส์ซื้อ จากบริษัท พาราวีเนียร์ 2002 เขยิบจากคิวฟุตละ 200 บาทเมื่อ 3-4 ปีก่อน ขึ้นมาอยู่ที่ 400 บาทในปัจจุบัน (เดือนกรกฎาคม 2557) โดยแต่ละปีแปลน ทอยส์ใช้ไม้ยางในการผลิตของเล่นประมาณ 6-8 หมื่นคิวฟุต นอกจากนี้การปรับค่าแรงขั้นตํ่าเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศในปี 2555 ก็ทำ�ให้แปลนทอยส์ต้องรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น เพราะต้องปรับค่าแรงจาก วันละ 182 บาท (ราคาค่าแรงขั้นตํ่าในจังหวัดตรัง) ขึ้นมาเป็น 240 บาทใน ปีแรกและ 300 บาทในปีที่ 2 เพื่อให้เป็นไปตามที่กฏหมายกำ�หนด “จากเดิมที่เราไม่เคยคิดต้นทุน ไม่เคยสนใจราคาขายเลย คิดง่ายๆ แค่ค่าวัตถุดิบ 1/4 ค่าแรง 1/4 ค่าใช้จ่ายต่างๆ อีก 1/4 จากนั้นก็บวก กำ�ไรเข้าไปอีก 1/4 ก็จบ เพราะมันขายได้อยู่แล้ว ต่างจากปัจจุบัน ที่เลือดตาแทบกระเด็น เพราะค่าวัตถุดิบก็ปาเข้าไปประมาณ 1/3
020
ค่าแรงก็ 1/3 บวกค่าโสหุ้ยต่างๆ อีกก็แทบไม่เหลือกำ�ไร ตอนนี้หาก ตั้งราคาขายไว้ 100 บาท ต้องมานั่งรีดกันว่าทำ�อย่างไรจึงจะได้กำ�ไร รีดให้ได้หนึ่งบาทก็ต้องทำ�” วิฑูรย์สรุปผลกระทบจากต้นทุนที่สูงขึ้น
แปลนวูด นวัตกรรมสีเขียว เพื่อลดต้นทุน? เมื่อถูกบีบบังคับทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายใน แปลนทอยส์จึงต้องหา วิธีการลดต้นทุนสินค้าเพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ โดยไม่ใช้วิธีการ จ่ายค่าแรงตํ่ากว่าที่กฏหมายกำ�หนด หรือลดขนาดไม้ที่ใช้ แต่ต้องแก้วิกฤต ต้นทุนครั้งนี้ด้วยทางออกใหม่ๆ “ก็อาจจะโชคดีทส ่ี มัยก่อนเราเลือ่ ยไม้เอง แล้วเราก็สนใจว่าจะเอาขี้ เลือ่ ยทีเ่ หลือเยอะแยะจากการเลือ่ ยไม้หรือการขึน ้ รูปของเล่นไปทำ�อะไร ดี ตอนนัน ้ เราก็มก ี ารลองเอาไปผสมคอนกรีตบ้าง ผสมปูนบ้าง แต่ ไม่ได้จริงจัง จนเกิดวิกฤตครั้งนี้ เราจึงกลับมาคิดว่าน่าจะเอาขี้เลื่อย พวกนี้มาใส่ในแม่พิมพ์แล้วอัดด้วยความร้อนเพื่อทำ�เป็นของเล่น ดีกว่า ต้นทุนจะได้ลดลง เพราะตอนนั้นเราขายขี้เลื่อยทิ้งในราคา กิโลกรัมละ 70 สตางค์เอง เราจึงลงทุนไปหาเครื่องอัดมาทดลอง ใส่กาวเข้าไป ใส่สีเข้าไป คือตอนนั้นยังไม่รู้ว่าต้องอัดนานแค่ไหน ก็ ตั้งหน่วยวิจัยและพัฒนาขึ้นมาทดลอง จนกระทั่งสามารถอัดขี้เลื่อย ออกมาเป็นชิ้นงานได้สำ�เร็จในปี 2553” วิฑูรย์เล่าถึงที่มาของแปลนวูด
(PlanWood) ซึ่งเขาตั้งความหวังว่าจะเป็นฮีโร่ที่มาช่วยกอบกู้วิกฤตของ แปลนทอยส์
ปี 2554 แปลนทอยส์นำ�เสนอแปลนวูดเข้าสู่ตลาดในฐานะที่เป็นสินค้าไลน์ ใหม่ ด้วยความมั่นใจว่าของเล่นที่เกิดจากการอัดขี้เลื่อยในแม่พิมพ์ ซึ่งมีรูป ทรงแปลกตาจะสร้างความตื่นเต้นให้กับตลาด พร้อมกับฝันว่าจะเปลี่ยน ของเล่นที่ผลิตจากไม้จริงทั้งหมดให้เป็นแปลนวูด ต้นทุนจะได้ถูกลง เพราะ ทำ�จากขี้เลื่อย
021
“ปีแรกที่เปิดตัวแปลนวูด เราทำ�เป็นกระถางธูปและรูปทรงแปลกๆ ไป โชว์อย่างภาคภูมิใจว่าเห็นไหมๆ ทำ�จากขี้เลื่อยแท้ๆ ปรากฏว่าสอบตก เสียงตอบรับจากลูกค้าก็คือไม่เอาขี้เลื่อย สีก็ทึมๆ ไม่สวย รูปทรง แปลกประหลาด เลยต้องกลับมาคิดกันใหม่วา่ ทำ�อย่างไรจึงจะไม่ดเู ป็น ขีเ้ ลือ่ ย รูปทรงก็ลดโทนลงมา และต้องทำ�สีให้สดใสขึ้น ซึ่งสุดท้ายก็ พบว่าการผสมเม็ดสีลงไปในขี้เลื่อยเลยทำ�ให้สีที่ออกมาสดใส ไม่ต้อง นำ�สีไปผสมนํ้าก่อน ซึ่งทำ�ให้ขี้เลื่อยมีสีคล้ำ� แถมต้องใช้พลังงานใน การอัดเพิ่มขึ้น” วิฑูรย์เล่าถึงเสียงตอบรับของแปลนวูด ซึ่งแปลนทอยส์ใช้
เงินลงทุนไป 100 กว่าล้าน
นอกจากปรับรูปแบบการผลิตแล้ว แปลนทอยส์ยังเปลี่ยนวิธีการนำ�เสนอ แปลนวูดเข้าสู่ตลาดใหม่ คือแทนที่จะนำ�เสนอเป็นของเล่นไลน์ใหม่ ก็นำ�มา ใช้เป็นวัสดุตัวใหม่แทน เรียกว่าไม้แปลนวูด เพื่อนำ�ไปใช้ร่วมกับวัสดุ 2 ตัว เดิมอย่างไม้จริงและไม้อัด เพราะหลังจากศึกษาอย่างละเอียดแล้วพบว่าไม้ แปลนวูดจะได้เปรียบไม้จริง หรือ Solid Wood ในเรื่องต้นทุนการผลิตก็ต่อ เมื่อนำ�ไปใช้ผลิตชิ้นส่วนที่มีรูปทรงยากๆ หรือต้องมีการทำ�ลวดลายบนผิวไม้ เท่านั้น เพราะหากผลิตด้วยไม้จริงจะมีขั้นตอนมาก ใช้ทั้งเวลาและแรงงาน เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำ�ให้ต้นทุนการผลิตด้วยไม้จริงสูงกว่าไม้แปลนวูดถึง 32% แต่หากเป็นชิ้นส่วนที่มีรูปทรงเลขาคณิต การผลิตด้วยไม้จริงจะมีต้นทุน ตํ่า กว่า ดังนั้นไม้แปลนวูดจึงไม่สามารถตอบโจทย์เรื่องการลดต้นทุนการผลิต ให้กับแปลนทอยส์ได้ 100% อย่างที่คาดหวังไว้ในตอนแรก ตารางเปรียบเทียบต้นทุนการใช้ไม้แปลนวูดและไม้จริงในการผลิต ของเล่นแปลนทอยส์ที่มีรูปทรงยากๆ
หน่วยการวัด ต้นทุนต่อกิโลกรัม คิดเป็นสัดส่วน (เทียบกับไม้จริง) ไม้แปลนวูด 13.75 68% ไม้จริง 20.13 100%
022
ทีมออกแบบจะเป็นผู้กำ�หนดว่าชิ้นส่วนใดควรใช้ไม้แปลนวูด ไม้จริง หรือ ไม้อัด เพื่อจะได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และทำ�ให้ของเล่นแปลนทอยส์มี ความโดดเด่นในเรื่องการออกแบบมากยิ่งขึ้น “อย่างไม้อัดก็จะเหมาะกับการทำ�ชิ้นส่วนที่ต้องการความแข็งแรง หรือการทำ�ชิ้นส่วนที่ต้องการความโค้ง เพราะสามารถนำ�ไปดัดโค้ง ได้ไม่ยาก ส่วนชิ้นส่วนที่เป็นรูปทรงเลขาคณิตแบบเรียบๆ อย่าง สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ก็จะใช้ไม้จริง เพราะสามารถตัดได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าเป็นชิ้นส่วนที่ต้องการความนูน เว้า หรือมีพื้นผิวเป็นลวดลาย ก็จะใช้ไม้แปลนวูด เพราะสามารถนำ�ขี้เลื่อยหรือผงไม้ใส่แม่พิมพ์อัด ออกมาได้เสร็จในขั้นตอนเดียว ต่างจากการใช้ไม้จริง ซึ่งอาจจะต้อง นำ�ไปเซาะ ไปขัด ไปเจาะอีกหลายขั้นตอน” ประเวศน์อธิบายวิธีการ
เลือกใช้วัสดุแต่ละอย่างมาผลิตเป็นของเล่นแปลนทอยส์ ซึ่งบางตัวใช้วัสดุ ทั้ง 3 ชนิดประสมประสานกัน เพื่อความแข็งแรง ความสวยงาม และความ ประหยัด
อย่างเช่น Walk N Roll ตัวลูกล้อจะผลิตจากไม้แปลนวูด เพราะถ้าใช้ไม้ จริงจะเสียเวลาในการตีหลุม ส่วนแผ่นสี่เหลี่ยมที่ติดกับล้อใช้ไม้จริง เพราะ ใช้เครื่องเลื่อยออกมาได้ง่ายๆ ส่วนชิ้นที่โค้งเพื่อต่อระหว่างด้ามและล้อเป็น ไม้อัดดัดโค้ง ส่วนด้ามก็ใช้ไม้แปลนวูดเช่นกัน เพื่อความแข็งแรงทนทาน เพราะถ้าเทียบกับไม้จริงแล้ว แปลนวูดซึ่งเป็นการนำ�เอาผงไม้หรือขี้เลื่อยไป อัดในแม่พิมพ์จะมีมวลที่หนาแน่นกว่า โดยมวลของไม้แปลนวูดจะอยู่ที่ 1 หนาแน่นกว่ามวลของไม้จริงซึ่งอยู่ที่ 0.8 ไม้แปลนวูดจึงแข็งแรงกว่าไม้จริง แต่ก็มีนํ้าหนักมากกว่า นอกจากจะช่วยประหยัดต้นทุนในการผลิตชิ้นส่วนที่ยุ่งยากซับซ้อนแล้ว ไม้ แปลนวูดยังช่วยให้แปลนทอยส์สามารถผลิตสินค้าที่มีรูปร่างหน้าตาแตก ต่างจากคู่แข่งได้อย่างไม่ยากเย็น เพราะสามารถก้าวข้ามการผลิตของเล่น ไม้ด้วยเทคนิคการไส ตัด ขัด เจาะ ไปสู่การใช้แม่พิมพ์อัดผงไม้ออกมาเป็น ชิ้นส่วนที่แตกต่างได้ในขั้นตอนเดียว
023
“อย่าง Weather Dress-Up ถ้าเป็นสมัยก่อนเราจะไม่สามารถผลิต ได้ เพราะการทำ�ลวดลายแบบนี้บนไม้จริงจะต้องใช้ต้นทุนสูง แต่อัน นี้นอกจากจะมีลวดลายด้านหน้าแล้ว เรายังทำ�ลวดลายที่ด้านหลัง เป็นฟังก์ชั่นเสริมให้เด็กลอกออกมาเป็นภาพได้ กลายเป็นของเล่นที่ สามารถเล่นได้ทั้งสองหน้า หรืออย่าง Ball Maze ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กบังคับลูกบอลให้ลงหลุมที่กำ�หนดไว้ ก็สามารถผลิตได้ เกือบเสร็จในขั้นตอนเดียว” ประเวศน์ยกตัวอย่างของเล่นแปลนทอยส์ที่มี
ความโดดเด่นเพิ่มขึ้นด้วยเทคนิคของไม้แปลนวูด
024
ไม่เพียงเท่านั้น ไม้แปลนวูดยังทำ�ให้แปลนทอยส์สามารถขยายไปสู่ของเล่น ไม้ไลน์ใหม่ๆ อาทิ ของเล่นไม้ที่เป็นอักษรเบรลล์ หรือของเล่นนํ้า “สมัยก่อนเราเคยคิดจะทำ�ของเล่นที่เป็นอักษรเบรลล์ โดยใช้วิธีการ เอาไม้จม ้ิ ฟันปักลงไป แต่พอเอาไปให้เด็กทีม ่ ป ี ญ ั หาทางด้านสายตาจับ ปรากฏว่าเขาไม่รู้เรื่องเพราะไม่คุ้น ของเล่นอักษรเบรลล์สมัยก่อนจึง ทำ�จากพลาสติกหรือกระดาษ พอเรามีแปลนวูดก็มองว่าน่าจะทำ�ได้ เลยลองทำ�ออกมาแล้วนำ�ไปเทสต์ปรากฏว่าสามารถใช้ได้จริงๆ”
ประเวศน์ให้ข้อมูล
ส่วนของเล่นนํ้าก็เป็นสิ่งที่แปลนทอยส์ไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะทำ�ได้ เพราะปกติแล้วนํ้าจะซึมเข้าไปตามช่องไม้หรือตาไม้ ดังนั้นหากใช้เป็นของ เล่นในนา้ํ ก็จะมีปญ ั หาเรือ่ งรา แต่ไม้แปลนวูดมีความหนาแน่นสูงกว่าไม้จริง
025
อันเกิดจากการอัดผงไม้ในแม่พมิ พ์ ประกอบกับเทคนิคทีใ่ ช้ในการเคลือบผิว จึงทำ�ให้นํ้าไม่สามารถเข้าไปได้ แปลนทอยส์จึงสามารถนำ�ไม้แปลนวูดมา ผลิตเป็นของเล่นนํ้าได้สำ�เร็จ และแนะนำ�เข้าสู่ตลาดเมื่อปี 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดี โดยเฉพาะจากลูกค้าที่ไม่อยากให้ลูกเล่นของ เล่นพลาสติก ของเล่นนํ้าจึงกลายเป็นนวัตกรรมอีกอันที่ทำ�ให้แปลนทอยส์ แตกต่างจากคู่แข่งของเล่นไม้รายอื่นๆ
นอกจากความพิเศษในเรื่องของดีไซน์แล้ว ไม้แปลนวูดยังเป็นมิตรกับสิ่ง แวดล้อมด้วย โดยผลการศึกษาค่าคาร์บอนฟุตพรินท์ของเล่นซึ่งเป็นจระเข้ สำ�หรับจูง (Dancing Alligators) ที่ผลิตจากไม้แปลนวูดเปรียบเทียบกับที่ ผลิตจากไม้จริงพบว่า จระเข้ที่ผลิตจากไม้แปลนวูดปล่อยคาร์บอนออกสู่ชั้น บรรยากาศน้อยกว่าถึง 46% ดังรายละเอียดในตารางประกอบ ตารางเปรียบเทียบการผลิต Dancing Alligators ด้วยแปลนวูดและ ไม้จริงจำ�นวน 70,000 ตัว/ปี
Dancing Alligators ผลิตด้วยไม้จริง ผลิตด้วยแปลนวูด
ต้นไม้ที่ใช้/ปี 1,746 ต้น 808 ต้น
การปลดปล่อยคาร์บอน/ปี 68,110 กิโลคาร์บอน 31,500 กิโลคาร์บอน
026
หลังจากปรับเปลีย่ นวิธกี ารใช้ไม้แปลนวูดดังได้กลาวมาแล้ว สัดส่วนยอดขาย ที่มาจากไม้แปลนวูดก็เพิ่มขึ้นเป็นลำ�ดับ โดยปีแรกคือปี 2555 มีสัดส่วน ประมาณ 10 กว่า% เพิ่มขึ้นเป็น 30-40% ในปี 2556 และคาดว่าจะเพิ่ม เป็น 60% ในอนาคต ซึ่งความต้องการใช้ไม้แปลนวูดที่เพิ่มขึ้นตามลำ�ดับ นี่เองที่ทำ�ให้วัตถุดิบของไม้แปลนวูดที่เป็นขี้เลื่อยและเศษไม้ที่เหลือจากการ เลื่อยไม้เพื่อขึ้นรูปชิ้นงานต่างๆ ในโรงงาน ไม่เพียงพอต่อการใช้อีกต่อไป ปัจจุบันแปลนทอยส์จึงใช้กิ่ง ก้าน ใบ ราก ของต้นยางพารา ซึ่งเคยเป็นของ เหลือและถูกเผาทิ้ง มาบดเป็นผงไม้ เพื่อนำ�มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ไม้แปลนวูด ทำ�ให้ทุกส่วนของต้นยางพาราถูกนำ�ไปใช้อย่างคุ้มค่าไม่มีเศษ เหลือทิ้งอีกต่อไป
027
ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ แก้ไขปัญหาขาดทุน แม้ว่าจะมีนวัตกรรมใหม่อย่างไม้แปลนวูด แต่ก็ไม่สามารถตอบโจทย์ เรื่องการลดต้นทุนได้ร้อยเปอร์เซนต์ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ขณะที่ต้องใช้เงิน ลงทุนในส่วนนี้ถึงกว่า 100 ล้านบาท ประกอบกับการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ในยุโรปเมือ่ ปี 2552 เริม่ ต้นจากกรีซก่อนทีจ่ ะขยายตัวไปยังประเทศอืน่ ๆ อย่างโปรตุเกส สเปน อิตาลี บวกกับการอ่อนตัวของค่าเงินยูโร วิกฤตเหล่านี้ ได้กลายเป็นปัจจัยเสริมทีก่ ระหนํา่ แปลนทอยส์ ซึง่ ยังแก้ปญ ั หาการแข่งขัน ทีร่ นุ แรงจากการเปิดตัวของประเทศจีนไม่ตก ให้อยูใ่ นสถานการณ์ทย่ี าก ลำ�บากมากขึน้ เห็นได้ชดั เจนจากตัวเลขยอดขายของบริษทั ในช่วงปี 25542556 ทีล่ ดลงกว่าปี 2553 อย่างมาก คือลดจาก 423 ล้านบาทในปี 2553 เป็น 355 ล้านบาท 324 ล้านบาท 331 ล้านบาทตามลำ�ดับ และทำ�ให้แปลน ครีเอชัน่ ส์ประสบปัญหาขาดทุน จนต้องขายทรัพย์สนิ คือทีด่ นิ ในจังหวัดตรัง เพือ่ นำ�เงิน 25 ล้านบาทมาใช้เป็นทุนในการดำ�เนินกิจการต่อ วิฑูรย์จึงมองว่าต้องมีการปรับโครงสร้างของบริษัทใหม่ เพื่อที่เขาจะได้ สามารถส่งต่อธุรกิจแปลนทอยส์ให้กับผู้บริหารรุ่นต่อไปเข้ามารับช่วง และ รักษาแปลนทอยส์ให้อยู่ในตลาดได้ “จุดอ่อนของบริษัทนี้คือไม่มีใครเป็นเจ้าของ เพราะผู้ถือหุ้นไม่สนใจ ส่วนตัวผมซึ่งเป็นเจ้าของในนามก็สามวันดีสี่วันไข้ เพราะอยากจะ วางมือมาตั้งนานแล้ว เคยโอนธุรกิจให้รุ่นที่สองเข้ามาทำ�เมื่อปี 2536 หรือ 2537 เพื่อกลับไปปลูกต้นไม้ ปลูกผัก ปลูกข้าวที่ตรัง แต่พอ บริษัททำ�ท่าจะไปไม่ได้ก็กลับมาช่วยอีก พอไปต่อได้ก็วางมืออีก โดย หลายปีที่ผ่านมาผมก็หันไปสนใจเรื่องการทำ�โรงไฟฟ้า แต่พอบริษัท มีปัญหาเรื่องยอดขายในช่วง 2-3 ปีก็รู้สึกว่าต้องกลับมาช่วยอีกแล้ว เพราะไม่น่าปล่อยให้บริษัทจากไป อยากจะทำ�ให้ดีก่อนส่งต่อให้กับคน รุ่นใหม่”
028
ในการปรับโครงสร้างครัง้ นี้ วิฑรู ย์ได้ดงึ ผูบ้ ริหารสำ�คัญๆ ของแปลนทอยส์ทว่ั โลกมานัง่ เป็นบอร์ด (PlanToys Strategic Board หรือ PTSB) ซึง่ ประกอบ ด้วย วิฑรู ย์ ในฐานะตัวแทนผูบ้ ริหารของแปลนทอยส์ประเทศไทย ผูบ้ ริหาร จาก PlanToys, Inc บริษทั ลูกทีด่ แู ลตลาดอเมริกา ผูบ้ ริหารจาก PlanToys Japan บริษทั ลูกทีด่ แู ลตลาดญีป่ นุ่ ผูบ้ ริหารจาก PlanToys Europe บริษัท ลูกทีด่ แู ลตลาดยุโรป ซึง่ เพิง่ ตัง้ ขึน้ เมือ่ ปีทแ่ี ล้ว และผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายออกแบบ ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทออกแบบในฝรั่งเศส ที่แปลนทอยส์ว่าจ้างให้มาดูแล ภาพรวมงานออกแบบของเล่นให้ โดยเขาคาดว่า PTSB จะใช้เวลาในการ ทางานประมาณ 3 ปี และเป็นพี่เลี้ยงของทีมผู้บริหารรุ่นใหม่ได้ในปีที่ 4 “ปีแรกเรามานั่งดูว่าเราเป็นใครกันแน่ ทำ�ไมเราจึงประสบความสำ�เร็จ ทำ�ไมเราจึงล้มเหลว เพราะการที่เราอยู่มาได้ 30 ปีแม้ว่าจะมีโชคดีบ้าง แต่เราก็ทำ�อะไรมาเยอะ ส่วนปีที่สองเราก็มานั่งคิดว่าเราจะเริ่มต้นใหม่ อย่างไร จะใช้กลยุทธ์อะไรในการพลิกฟืน ้ ธุรกิจ ปีท่ี 3 ซึง่ จะเริม ่ ต้นใน เดือนกันยายน ปี 2557 น่าจะเป็นช่วงเรียนรูป ้ รับเปลีย ่ น และปีท่ี 4 ก็ จะช่วยประคับประคองทีมใหม่” วิฑรู ย์เล่าถึงแผนการพลิกฟืน้ แปลนทอยส์
PlanToys Attractiveness หลังจากประชุมร่วมกันทุกๆ เดือน PTSB ก็ได้ข้อสรุปว่าเรื่องแรกที่ต้องทำ� เพื่อพลิกฟื้นธุรกิจของแปลนทอยส์ก็คือการสร้าง Attractiveness หรือการ ทำ�ให้แบรนด์แปลนทอยส์ดูน่าสนใจในสายตาของลูกค้าหรือคนที่ซื้อของ เล่นแปลนทอยส์ ซึ่งที่ผ่านมาแทบไม่รู้เลยว่าเป็นใคร “เพราะเมื่อก่อนเราไม่ได้ไปหาว่าใครเป็นคนซื้อของเราจริงๆ เนื่องจาก เราขายของให้ Importer เป็นหลัก เราก็ดแู ค่วา่ ถ้าเขาจะซือ้ ของจากเรา เขาต้องไม่ซื้อของจากคู่แข่ง เพราะมันขัดแย้งกัน ส่วนเขาจะไปขายให้ ใครอันนั้นเป็นเรื่องของเขา เราจึงไม่เคยรู้ว่าจริงๆ แล้วคนที่ซื้อของ
029
เล่นเราคือใครอย่างแน่ชัด เพราะคิดว่ามันค่อนข้างอยู่นอกเหนือการ ควบคุมของเราหรือเปล่า”
แต่หลังจากลงไปศึกษาตลาด แปลนทอยส์ก็พบว่ามีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เรียก ว่า Bio Family ซึ่งมีอายุ 30-35 ปี มีการศึกษาดีและมีความเข้าใจเรื่องการ ศึกษา มีฐานะทางสังคมพอสมควร เริ่มมีลูก และอยากให้ลูกเติบโตขึ้นมา ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี ได้เรียนรู้สิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งตรงนี้เป็นแนวคิดเริ่มแรก ของการทำ�ธุรกิจของเล่นแปลนทอยส์ “เราจึงมองคนกลุม ่ นีเ้ ป็นกลุม ่ เป้าหมายของแบรนด์ แต่ Bio Family ก็ ไม่ใช่เป็นนักฝัน ดังนั้นถ้ามีคนไปบอกว่าโลกจะแตก เขาอาจจะไม่สนใจ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเขาหรือลูกเขาโดยตรง เช่น ใน อนาคตลูกเขาจะไม่ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี เขาก็จะเป็นห่วง เราจึงนำ� เอาเรื่องราวความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติต่างๆ ที่เราทำ�มา ตลอดมาสื่อสารกับเขา เพื่อใช้คุณค่าร่วมกันตรงนี้มาเป็นจุดดึงดูด เขาให้หันมาสนใจสินค้าของเรา” วิฑูรย์อธิบายที่มา
เมื่อตัดสินใจเช่นนี้ แปลนทอยส์ก็ได้รวบรวมเอาเรื่องราวความใส่ใจในสิ่ง แวดล้อมที่ทำ�มาตลอดระยะเวลา 33 ปีทั้งเรื่องการใช้ไม้ยางพาราหมดอายุ การให้นํ้ายาง ซึ่งเคยถูกเผาทิ้ง มาใส่ดีไซน์ให้กลายเป็นของเล่นที่ให้ความ สำ�คัญกับพัฒนาการของเด็กๆ รวมถึงการใช้วัตถุดิบอื่นๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่ง แวดล้อมและสุขภาพ รวมถึงการนำ�ขี้เลื่อยมาทำ�เป็นไม้แปลนวูด มาบอก เล่าให้กลุ่มหมายได้รับรู้ เพื่อสื่อถึงแนวคิด Sustainable Play หรือการเป็น ของเล่นที่ใส่ใจในความยั่งยืนของโลกในทุกๆ มิติ ซึ่งแปลนทอยส์ใช้เป็น Theme ในการทำ�ตลาดในปีนี้ โดยผลิตออกมาเป็นสื่อต่างๆ ทั้งในรูปของ วิดีโอสำ�หรับเผยแพร่ทางเว็บไซต์ต่างๆ โดยมีวิฑูรย์เป็นพรีเซ็นเตอร์เล่าภูมิ หลังและแรงบันดาลใจของตัวเขาและเพื่อนๆ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่ บริษัทผลิตขึ้นมาเพื่อส่งต่อไปสู่มือของลูกค้าด้วย
030
ตัวอย่างการสื่อถึงแนวคิด Sustainable Play ผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ของแปลนทอยส์
นอกจากนี้ยังเล่าถึงกิจกรรม CSR (Corporate Social Responsibility หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ) ที่บริษัททำ�มายาวนาน ผ่าน มูลนิธิสานแสงอรุณ กิจกรรมการปลูกต้นไม้เพื่อชดเชยต้นไม้ที่ถูกตัดมาใช้ แม้ว่าต้นยางที่ถูกตัดทิ้งจะมีการปลูกทดแทนอยู่แล้วตามธรรมชาติก็ตาม การทำ�พิพิธภัณฑ์ของเล่น ซึ่งแต่ละปีมีเด็กนับหมื่นคนเข้ามาเยี่ยมชมและ เล่นของเล่นอย่างสนุกสนาน รวมถึงโครงการ Mom Made Toys ซึ่งเปิด โอกาสให้คุณแม่ที่มีลูกเป็นเด็กพิเศษมาร่วมออกแบบ เพื่อผลิตเป็นของเล่น ให้กับพวกเขา “พอมาทำ�เรื่องนี้ผมจึงรู้ว่าอ้ออย่างนี้เองที่เขาเรียกว่า CSR ซึ่งเรา ทำ�มาตั้งนานแล้ว ทำ�เพราะจริตของเราเป็นอย่างนั้น ไม่ได้ทำ�เพื่อ จะประชาสัมพันธ์ หรืออย่างเรื่อง Sustainability หรือความยั่งยืน
031
ก็เหมือนกัน เราก็ทำ�มาตั้งแต่เปิดบริษัทแล้ว และไม่เคยหยุดนิ่ง ถึง ตอนนี้เราก็แค่นำ�เอาหลักวิชาการเข้ามาจับสิ่งที่ทำ�มาแล้วทั้งนั้น”
แปลนทอยส์สนับสนุนเด็กเล็กในพื้นที่ นางวรรณา โคแหละ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำ�บลทุ่งกระบือ ซึ่งเริ่มก่อตั้งในปี 2554 เล่าให้ฟังว่า แปลนทอยส์ได้มอบของเล่นไม้ให้กับ เด็กๆ ตั้งแต่เริ่มเปิดศูนย์ใหม่ๆ ซึ่งทางศูนย์ได้นำ�มาจัดเป็นมุมของเล่นให้ เด็กได้หมุนเวียนกันเข้าไปเล่นในช่วงกิจกรรมเสรีประมาณ 4-5 มุม โดยให้ เด็กๆ เลือกเล่นของเล่นที่สนใจได้ตามความชอบ ซึ่งเด็กเล็กๆ จะชอบของ เล่นพวกตัวต่อ และของเล่นลากจูง เด็กผู้หญิงที่โตขึ้นมาหน่อยจะชอบของ เล่นที่เป็นบทบาทสมมติอย่างเช่น ใช้เครื่องครัวมาเล่นขายของ ส่วนเด็ก ผู้ชายตัวใหญ่ๆ จะชอบพวกเครื่องดนตรี ของเล่นที่ต้องใช้แรงตอกๆ ทุบๆ หรือต่อรถ โดยประมาณ 6 เดือน แปลนทอยส์จะเข้ามาสำ�รวจว่ามีของเล่น ชิ้นใดเสียหายเพื่อจะได้นำ�มาเปลี่ยนให้ “ของเล่นเหล่านี้ช่วยทำ�ให้เด็กๆ มีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เพราะฝึกให้พวกเขารู้จักเล่นด้วยกัน ถ้า เด็กแย่งของเล่นกันครูก็จะสอนให้พวกเขารู้จักการแบ่งปัน อีกสิ่งที่ เห็นได้ชัดก็คือเด็กๆ มีความสุข”
PlanToys Effectiveness ถึงแม้วา่ จะนำ�เสนอจุดขายในเรือ่ งความยัง่ ยืน ความเป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม แต่กเ็ ข้าใจว่าถึงจะกรีนอย่างไร ถ้าสินค้าของแปลนทอยส์แพงกว่าคูแ่ ข่งเกิน 10% ลูกค้าก็เริ่มคิดหนัก ดังนั้นกลยุทธ์ที่สองที่ PTSB คิดว่าต้องนำ�มาใช้ ควบคู่กับการสร้าง Attractiveness เพื่อกอบกู้วิกฤตก็คือ Effectiveness หรือประสิทธิผล
032
“เพราะถ้าไม่ให้ความสำ�คัญกับเรื่องประสิทธิผล ธุรกิจของเราก็คงไม่ ยั่งยืน ถ้าจะให้ยั่งยืนเราก็ต้องตอบโจทย์เรื่อง Economy เรื่อง Profit ให้ได้ เพราะยั่งยืนแปลว่าต้องอยู่ได้ยาว แต่ถ้าไม่มีกำ�ไรจะยั่งยืนได้ อย่างไร” วิฑูรย์อธิบายที่มาของกลยุทธ์ที่สอง
เพื่อให้เกิด Effectiveness แปลนทอยส์จึงใช้แนวคิด Eco Efficiency หรือ ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ และ Eco Design เป็นเช็คลิสต์ในการ ตรวจสอบการทางาน โดยในส่วนของ Eco Efficiency จะเกีย่ วโยงกับ 7 เรือ่ งคือ 1. การใช้ทรัพยากร และวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ 2. การใช้พลังงาน 3. การปล่อยสารพิษและของเสีย 4. การนำ�กลับมาใช้ใหม่ 5. การใช้ ทรัพยากรหมุนเวียน 6. การเพิ่มอายุผลิตภัณฑ์ 7. การเพิ่มระดับการให้ บริการแก่ผลิตภัณฑ์และเสริมสร้างธุรกิจ ซึ่งว่าไปแล้วแปลนทอยส์ก็แทบ ไม่ได้ทำ�อะไรเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะข้อ 1-6 เพราะที่ผ่านมาก็ได้มีการปรับปรุง พัฒนาตลอดมาอยู่แล้ว แต่เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนว่าบริษัทมีการลดใช้พลังงานและใช้ทรัพยากร อย่างคุม้ ค่ามากขึน้ อย่างไร ในปี 2555 แปลนครีเอชัน่ ส์จงึ มีการจัดทำ�คาร์บอน องค์กรทีโ่ รงงานผลิตของเล่นแปลนทอยส์ในจังหวัดตรังขึน้ เป็นครัง้ แรก และ ทำ�ต่อเนื่องในปี 2556 ผลลัพธ์ปรากฎว่าบริษัทปล่อยคาร์บอนน้อยลดลง คือลดลงจาก 2,747.1 ตัน คาร์บอนในปี 2555 เหลือ 2,140.5 ตันคาร์บอน ในปี 2556 หรือลดลงมากกว่า 20% ดังตารางประกอบ และเก็บตัวเลขในปี 2557 อย่างต่อเนื่อง
033
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัท แปลน ครีเอชั่นส์ จากัด สาขาตรัง (โรงงาน)* ตัน 3000.0 2500.0 2000.0 1500.0 1000.0 500.0 0.0 2555
2,747.05
2,521.61
2,140.49
1,947.01
112.65 107.59
ขอบเขต 1
112.80 85.89
ขอบเขต 2
ขอบเขต 3
รวม
2556
*หมายเหตุ: ขอบเขตขององค์กร
ขอบเขต 1
ขอบเขต 2 ขอบเขต 3
รายงานแยกส่วน
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้เชื้อเพลิงของยานพาหนะ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้เชื้อเพลิง LPG ของฝ่ายซ่อมบารุง การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบบำ�บัดนํ้าเสีย การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุปกรณ์ดับเพลิง การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากห้องนํ้าพนักงาน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ไฟฟ้าในองค์กร การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระดาษส่งกำ�จัด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากพลาสติกส่งกำ�จัด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากของเสียประเภทอื่นๆ ส่งกำ�จัด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้กระดาษในองค์กร การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเครื่องปรับอากาศ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ปีกไม้และชิ้นไม้สับของ หม้อต้มไอนํ้า (Boiler)
034
ส่วนข้อ 7 ซึ่งเป็นเรื่องการเพิ่มระดับการให้บริการแก่ผลิตภัณฑ์และเสริม สร้างธุรกิจนั้น แปลนทอยส์ได้มีการปรับตัวในหลายๆ ด้าน เพื่อเพิ่มความ แข็งแกร่งทางการตลาด ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลนทอยส์ทำ�ค่อนข้างน้อยในช่วง เวลาที่ผ่านมา เริ่มจากเมื่อ 2 ปีก่อน แปลนทอยส์ได้ร่วมมือกับตัวแทนจำ�หน่ายรายสำ�คัญ ในเบลเยี่ยมเพื่อทำ�การศึกษาตลาดในยุโรป โดยลงไปศึกษาถึงผู้บริโภค (End User) ว่าคิดอย่างไรกับผลิตภัณฑ์แปลนทอยส์ เพราะต้องการค้นหา ช่องว่างทางการตลาดทีแ่ ปลนทอยส์ยงั เข้าไปไม่ถงึ แต่สง่ิ ทีพ่ บก็คอื ของเล่น แปลนทอยส์แทบไม่มีวางบนชั้นเลย อันเนื่องมาจากการกลั่นแกล้งของ คู่แข่งบางราย แต่ไม่ทราบว่าเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นมาแล้วนานเพียงใด เพราะที่ผ่านมาแปลนทอยส์ไม่ได้ลงไปแตะในเรื่องการตลาดเลย ปล่อยให้ เป็นหน้าที่ของตัวแทนจำ�หน่ายในแต่ละประเทศเป็นคนดำ�เนินการ ทำ�ให้ แปลนทอยส์ฉุกคิดว่าการที่ยอดขายของบริษัทลดลงอาจจะไม่ได้เกิดจาก ปัญหาด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้ในปี 2556 แปลนทอยส์จึง ร่วมทุนกับคู่ค้ารายสำ�คัญในเบลเยี่ยมก่อตั้ง บริษัท แปลนทอยส์ยุโรป จา กัด ขึ้นมาดูแลตลาดยุโรปให้ใกล้ชิดมากขึ้น นอกจากนีย้ งั มีการหาข้อมูลเกีย่ วกับข้อกำ�หนดใหม่ๆ ทีบ่ งั คับใช้กบั ผลิตภัณฑ์ ของเล่นล่วงหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อกำ�หนดของ EN71 และ ASTM ซึ่ง เป็นข้อกำ�หนดด้านความปลอดภัยของของเล่นที่ส่งไปจำ�หน่ายในยุโรปและ สหรัฐอเมริกาตามลำ�ดับ เพื่อนำ�มาตรวจสอบว่า ของเล่นของแปลนทอยส์ ต้องมีการปรับให้เข้ากับข้อกำ�หนดใหม่หรือไม่อย่างไร “ปกติเขาจะประกาศล่วงหน้าประมาณ 6 เดือนหรือ 1 ปี ซึ่งเราก็ต้อง พยายามหาข่าวให้เร็วที่สุดจะได้มีเวลาเพียงพอในการปรับตัว เพราะ หลังจากปรับกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามข้อกำ�หนดแล้ว เราต้อง ทดสอบเรื่องความแข็งแรงและทนทานของของเล่นชิ้นนั้นใหม่ เช่น ตอนนี้มีข้อกำ�หนดใหม่ว่าของเล่นที่มีเสียงทั้งหมดต้องมีความดังไม่ เกิน 85 เดซิเบล ซึ่งเรามีของเล่นที่เป็นเครื่องดนตรีอยู่ 20 รายการ ตอนนี้ยังเหลืออีก 5 รายการที่เรากำ�ลังคิดว่าจะทำ�อย่างไรให้เสียงไม่
035
ดังเกินข้อกำ�หนดใหม่ แต่จริงๆ แล้วก็มีหลายๆ เรื่องที่เราทำ�ล่วงหน้า ไปก่อนแล้ว บางอย่างก็เลยไม่ต้องปรับตัวอะไร อย่างเช่นในเรื่องของ กาวที่ใช้กับของเล่น ตอนนี้เราก็ใช้กาว E0 ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานของ ยุโรปและอเมริกาที่กำ�หนดว่าต้องเป็นกาว E1 อยู่แล้ว” ชัชนียกตัวอย่าง
นอกจากนี้ แปลนทอยส์ยังมีการ Re-design ของเล่น และทำ� Price Point ใหม่ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ ทั้งในเรื่องดีไซน์และราคาขาย “เมื่อปีที่แล้วเรานำ�เอาผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งทั้งหมดมาเปรียบเทียบกับ ผลิตภัณฑ์ของแปลนทอยส์ เพื่อทำ�ราคาใหม่ โดยถ้าตัวไหนที่เราขาย ถูกไป เราก็ปรับราคาขึ้น ส่วนตัวที่ราคาแพงกว่าคู่แข่งก็มาปรับดีไซน์ ใหม่ เพื่อให้ต้นทุน ตํ่าลง หรือทำ�ให้มีขนาดเล็กลงสำ�หรับของเล่น บางอย่างที่ใหญ่เกินไปจนต้องตั้งราคาขายสูงกว่าคู่แข่ง ส่วนตัวไหน ถ้าทำ�แล้วไม่มีกำ�ไรเราก็ถอดออก” ชัชนีกล่าวถึงการปรับตัวเพิ่มเติม
ส่วนเรื่องของ Eco Design ที่แปลนทอยส์นำ�มาใช้นั้นจะมีหลักการสำ�คัญ อยู่ 7 ข้อคือ 1. ลดการใช้วัสดุที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 2. ลดปริมาณ และชนิดของวัสดุที่ใช้ 3. ปรับปรุงกระบวนการผลิต 4. ปรับปรุงระบบการ ขนส่งผลิตภัณฑ์ 5. ปรับปรุงขั้นตอนการใช้ผลิตภัณฑ์ 6. ปรับปรุงอายุ ผลิตภัณฑ์ และ 7. ปรับปรุงขั้นตอนการทิ้งและทำ�ลายผลิตภัณฑ์ “ซึ่งจะว่าไปแล้ว แปลนทอยส์ก็ใช้แนวคิด Eco Design มาตั้งแต่เริ่ม ต้น โดยเราออกแบบเพื่อให้มีการใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่าหรือเกิด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ดังนั้นเวลาออกแบบดีไซเนอร์ จะต้องมอง 360 องศาว่ากระทบกับเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งถ้ามองในแง่ ของบริษัทก็ทำ�ให้เราประหยัดต้นทุน และช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย”
ประเวศน์กล่าว
ล่าสุดแปลนทอยส์ได้มกี ารลดกล่องบรรจุภณ ั ฑ์ทม่ี ถี งึ 130 กว่าขนาดลงมา เหลือ 35 ขนาด เพื่อลดพื้นที่ในการเก็บสต็อกกล่อง และทำ�ให้สามารถ จัดการพื้นที่ในการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
036
ยอดขายกระเตื้อง แต่ต้องดูระยะยาว หลังจากการปรับโครงสร้างและมีการรุกตลาดมากขึ้น วิฑูรย์ก็คิดว่าเขาเริ่ม มองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ หลังจากปี 2557 ผ่านไปได้ครึ่งปี เขาก็เชื่อ แล้วว่ายอดขายของบริษัทในปีนี้น่าจะเติบโตกว่าปีที่ผ่านมาอย่างน้อย 20% หรือถ้าสถานการณ์ดีก็อาจจะเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 40% ทีเดียว แต่กย็ งั ต้องตามลุน้ กันว่าแผนการตลาดทีน่ �ำ มาใช้จะทำ�ให้ของเล่นไม้ยางพารา รายแรกของโลก ซึง่ มีชอ่ื เสียงเป็นทีร่ จู้ กั ในเกือบทุกประเทศ จะฟืน้ คืนสูค่ วาม ยัง่ ยืนทางธุรกิจได้อย่างที่ วิฑรู ย์ วิระพรสวรรค์ ผูก้ อ่ ตัง้ วาดความหวังไว้หรือไม่
037
ภาคผนวก ก.
งบการเงิน บริษัท แปลน ครีเอชั่น จากัด รายการ
ปีงบการเงิน 31-ธ.ค.-56
31-ธ.ค.-55
31-ธ.ค.-54
กำ�ไรขาดทุน: รายได้ รายได้จากการขาย
331,158,623.00
324,145,075.00
355,450,792.00
กำ�ไรจากการขายทรัพย์สิน
25,224,989.00
78,271.00
9,587,948.00
กำ�ไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
3,156,158.00
2,146,617.00
7,824,979.00
รายได้อื่น
11,227,465.00
20,413,959.00
0.00
รวมรายได้
370,767,235.00
346,783,922.00
372,863,719.00
267,734,850.00
262,477,848.00
283,073,253.00
ค่าใช้จ่ายในการขาย
32,790,014.00
25,031,833.00
25,199,937.00
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
59,644,648.00
55,584,104.00
66,167,918.00
360,169,512.00
343,093,785.00
374,441,108.00
10,597,723.00
3,690,137.00
-1,577,389.00
ต้นทุนทางการเงิน
8,962,750.00
8,705,755.00
6,844,012.00
กำ�ไร (ขาดทุน) ก่อนภาษีเงินได้
1,634,973.00
-5,015,618.00
-8,421,401.00
0.00
0.00
1,634,973.00
-5,015,618.00
-8,421,401.00
1.09
-3.34
-5.61
ค่าใช้จ่าย ต้นทุนขาย
รวมค่าใช้จ่าย กำ�ไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้ กำ�ไร (ขาดทุน) สุทธิ กำ�ไรต่อหุ้น (บาทต่อหุ้น) กำ�ไร (ขาดทุน) สุทธิ
038
รายการ
ปีงบการเงิน 31-ธ.ค.-56
31-ธ.ค.-55
31-ธ.ค.-54
17,802,919.00
10,736,176.00
31,051,515.00
165,143,307.00
125,276,745.00
140,064,967.00
-
10,000,000.00
15,450,000.00
สินค้าคงเหลือ
142,594,992.00
127,433,064.00
102,487,712.00
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน
325,541,218.00
273,445,985.00
289,054,194.00
975,000.00
7,414,000.00
7,432,559.00
เงินลงทุนในบริษัทย่อย
106,496,595.00
108,518,945.00
108,518,945.00
เงินลงทุนระยะยาวอื่น
401,240.00
401,240.00
401,240.00
185,753,589.00
212,716,818.00
207,745,690.00
4,412,224.00
2,987,703.00
2,367,086.00
140,800.00
123,800.00
114,682.00
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
298,179,448.00
332,162,506.00
326,580,202.00
รวมสินทรัพย์
623,720,666.00
605,608,491.00
615,634,396.00
สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินฝากสถาบันการเงินที่มีภาระคํ้าประกัน
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
039
รายการ
ปีงบการเงิน 31-ธ.ค.-56
31-ธ.ค.-55
31-ธ.ค.-54
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินหมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน 178,175,182.00
163,000,000.00
145,400,000.00
38,380,647.00
24,163,528.00
32,528,440.00
144,766.00
28,714.00
256,235.00
เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงินที่ถึงกำ�หนดชำ�ระ ภายใน1ปี
-
5,320,000.00
8,004,000.00
เงินกู้ยืมระยะสั้นจากบุคคลและบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน
217,274,500.00
222,429,660.00
222,235,178.00
รวมหนี้สินหมุนเวียน
433,975,095.00
414,941,902.00
408,423,853.00
495,784.00
-
32,218.00
-
-
5,320,000.00
ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน
18,882,801.00
21,934,576.00
28,110,694.00
รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน
19,378,585.00
21,934,576.00
33,462,912.00
453,353,680.00
436,876,478.00
441,886,765.00
150,000,000.00
150,000,000.00
150,000,000.00
150,000,000.00
150,000,000.00
150,000,000.00
5,000,000.00
5,000,000.00
5,000,000.00
15,366,986.00
13,732,013.00
18,747,631.00
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น
170,366,986.00
168,732,013.00
173,747,631.00
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
623,720,666.00
605,608,491.00
615,634,396.00
เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น หนี้สินตามสัญญาเช่าทางการเงินที่ถึงกำ�หนดชำ�ระ ภายใน1ปี
หนี้สินไม่หมุนเวียน หนี้สินตามสัญญาเช่าทางการเงิน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน
รวมหนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น ทุนจดทะเบียน หุ้นสามัญ 1,500,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท ทุนที่ออกและเรียกชำ�ระแล้ว หุ้นสามัญ 1,500,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท กำ�ไรสะสม จัดสรรแล้ว-สำ�รองตามกฎหมาย ยังไม่ได้จัดสรร
040
เกี่ยวกับผู้จัดทำ� บริษัท ป่าสาละ จำ�กัด ป่าสาละเป็นบริษัท “ปลูกธุรกิจที่ยั่งยืน” แห่งแรกในประเทศไทย ก่อตั้งในเดือนกรกฎาคม 2556 เป้า หมายของเราคือจุดประกายและดำ�เนินวาทกรรมสาธารณะเกี่ยวกับธุรกิจที่ยั่งยืน ผ่านการจัดสัมมนา อบรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และออนไลน์ รวมทั้งผลิตงานวิจัยในประเด็นความยั่งยืน ในประเทศไทย และส่งเสริมการวัดผลตอบแทนทางสังคม
041
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิ ฟรีดริค เอแบร์ท 1550 อาคารธนภูมิ ชั้น 23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ มักกะสัน ราชเทวี กทม. 10410 โทร 02 652 7178 www.fes-thailand.org บริษัท ป่าสาละ จำ�กัด 2 ซอยสุขุมวิท 43 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 โทร 02 258 7383 www.salforest.com
เอกสารชิ้นนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ Creative Commons แบบAttribution Noncommercial Share Alike (by-nc-sa) โดยผู้สร้างอนุญาตให้ทำ�ซ้ำ� แจกจ่าย แสดง และสร้างงานดัดแปลงจากส่วนใดส่วนหนึ่งของงานนี้ได้โดยเสรี แต่เฉพาะในกรณี ที่ให้เครดิตผู้สร้าง ไม่นำ�ไปใช้ในทางการค้า และเผยแพร่งานดัดแปลงภายใต้ ลิขสิทธิ์เดียวกันนี้เท่านั้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://cc.in.th/ลิขสิทธิ์เดียวกัน นี้เท่านั้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://cc.in.th/ 042