กรณีศึกษา ธุรกิจเขียว #4: มิตรผล

Page 1

มิตรผล กรณีศึกษา นวัตกรรมสีเขียว #4 | Green innovation case study #4

จัดทำ�โดย บริษัท ป่าสาละ จำ�กัด | พฤศจิกายน 2557


Adder จากรัฐจุดประกายแนวคิด From Waste to Value บริษัท นํ้าตาลมิตรผล จำ�กัด เริ่มต้นก้าวเข้าสู่ธุรกิจนํ้าตาลเมื่อปี 2489 ด้วย การเป็นผู้ผลิตนํ้าเชื่อมเข้มข้นส่งขายให้โรงงานนํ้าตาล ก่อนที่จะสามารถ ผลิตนํ้าตาลทรายได้เองในอีก 10 ปีต่อมา ช่วง พ.ศ.2526-2555 มิตรผลได้ ตั้งโรงงานผลิตนํ้าตาลตามแหล่งปลูกอ้อยในภาคกลางและภาคตะวันออก เฉียงเหนือรวม 6 แห่ง เริ่มจากโรงงานนํ้าตาลมิตรภูเขียว ที่อำ�เภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โรงงานนํ้าตาลมิตรผล อำ�เภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี โรงงานนํ้าตาลมิตรภูเวียง อำ�เภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โรงงานนํ้าตาล มิตรกาฬสินธุ์ อำ�เภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โรงงานนํ้าตาลสิงห์บุรี อำ�เภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี และโรงงานนํ้าตาลมิตรภูหลวง อำ�เภอ วังสะพุง จังหวัดเลย (ดูรายละเอียดการขยายธุรกิจของมิตรผลเพิ่มเติมได้ ในตารางท้ายบทความ)

02


แน่นอนว่าผลพลอยได้จากโรงงานผลิตนํ้าตาล 6 แห่งของมิตรผลก็คือ ชานอ้อยจำ�นวนมหาศาล เพราะตามปกติเมื่อส่งอ้อย 1 ตันเข้าหีบ จะได้ นํ้าอ้อยสำ�หรับนำ�ไปเป็นวัตถุดิบผลิตนํ้าตาล 72% (ตัวเลขปัจจุบัน) ส่วน อีก 28% หรือ 280 กิโลกรัม จะเป็นชานอ้อย เมื่อต้องหีบอ้อยปีละหลาย ล้านตัน (ตัวเลขล่าสุดคือ 20 ล้านตัน) มิตรผลจึงมีภารกิจและต้นทุนในการ บริหารจัดการชานอ้อยมากมาย ทางออกของมิตรผลในตอนต้นก็เช่นเดียว กับโรงงานนํ้าตาลทั่วไปคือการนำ�ชานอ้อยไปเผาเป็นเชื้อเพลิงให้กับหม้อ ไอนํ้าประสิทธิภาพตํ่า ซึ่งมีแรงดันไม่เกิน 30 บาร์ เพื่อจะได้ใช้ชานอ้อยเป็น เชื้อเพลิงในการเผามากๆ แล้วนำ�ไอนํ้าและไฟฟ้าที่ได้มาใช้ในกระบวนการ ผลิตนํ้าตาลของโรงงาน โดยในแต่ละปีจะเดินเครื่องผลิตไฟประมาณ 4-5 เดือน คือในช่วงของการหีบอ้อย ซึ่งมีชานอ้อยเข้าสู่โรงงาน เมื่อเผาชานอ้อย หมด หม้อต้มไอนํ้าและเครื่องจักรสำ�หรับผลิตไฟฟ้าก็แทบไม่ต้องทำ�งาน “คือช่วง 7-8 เดือนที่เหลือนี่พนักงานเราต้องนั่งทำ�ความสะอาด เครื่องจักรกันเลยทีเดียว” อาณัติ ยศปัญญา ซึ่งปัจจุบันเป็น กรรมการ

ผู้จัดการธุรกิจไฟฟ้า บริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ จำ�กัด ผู้ดำ�เนินการโรง ไฟฟ้าภูเขียว เล่าถึงช่วงที่เขาเข้ามาทำ�งานที่มิตรผลใหม่ๆ เมื่อ 20 กว่าปีที่ แล้ว ในตำ�แหน่งวิศวกร อย่างไรก็ดี นอกจากผลิตไอนํ้าและไฟฟ้าให้อุตสาหกรรมนํ้าตาลใช้แล้ว มิตรผลก็ยังขายไฟส่วนที่เหลือให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในลักษณะ VSPP Non-Firm (VSPP : Very Small Power Producer หมายถึง ผู้ผลิต ไฟฟ้าที่มีปริมาณพลังงานไฟฟ้าเสนอขายไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ ส่วน NonFirm คือการทำ�สัญญาซื้อขายไฟฟ้าไม่เกิน 5 ปี และจะได้รับเฉพาะค่า พลังงานไฟฟ้า หรือ Energy Payment) เมื่อภาครัฐมีนโยบายรับซื้อไฟจาก ผู้ผลิตรายย่อยเข้าระบบใน พ.ศ.2537 ขณะทีก่ อ่ นหน้านัน้ มิตรผลก็เริม่ มองหาวิธกี ารสร้างมูลค่าเพิม่ ให้กบั ชานอ้อย ด้วยการตัง้ โรงงานปาร์ตเิ กิลบอร์ดทีโ่ รงงานนํา้ ตาลมิตรภูเขียว ใน พ.ศ. 2533 เพือ่ นำ�ชานอ้อยส่วนหนึง่ มาผลิตเป็นไม้อดั เคลือบลามิเนตจำ�หน่ายเป็นรายได้ และลดปริมาณชานอ้อยที่ต้องรับภาระ ถึงอย่างนั้น มิตรผลก็ยังมีชานอ้อย

03


เหลือขายให้กับโรงกระดาษสยามคราฟท์ที่ราชบุรี และเหลือให้ชาวไร่อ้อย นำ�ไปใส่สวน หรือใช้ถมที่ดิน สถานการณ์ชานอ้อยเหลือทิ้งของมิตรผลได้รับการคลี่คลาย เมื่อภาครัฐ มีนโยบายให้การสนับสนุนธุรกิจไฟฟ้าชีวมวลโดยการให้ Adder หรือการ กำ�หนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าสำ�หรับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยเพิ่มให้หน่วยละ 0.30 บาท เพราะการให้ Adder เป็นแรงจูงใจสำ�คัญ ที่ทำ�ให้ อิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ กลุ่มมิตรผล สนใจที่จะลงทุน ในธุรกิจไฟฟ้า โดยใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิงหลัก หลังจากเข้าไปศึกษาราย ละเอียดภายในโรงงานแล้วพบว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการ ผลิตไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และโรงงานนํ้าตาลใช้พลังงานน้อยลง มิตรผลก็น่าจะเดินเครื่องเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าขายได้ทั้งปี ส่วนโรงงาน นํา้ ตาลก็จะมีไอนํา้ และไฟฟ้าใช้ทง้ั ปีเช่นกัน รวมถึงยังเป็นผลดีกบั สิง่ แวดล้อม เพราะบริษทั ไม่ตอ้ งพยายามเผาชานอ้อยอย่างสิน้ เปลืองเหมือนช่วงทีผ่ า่ นมา ขณะที่บริษัทก็จะมีรายได้จากการขายไฟฟ้าเพิ่มขึ้น “ตอนนั้นผมยังไม่ได้เข้ามาร่วมงานกับมิตรผล แต่ได้รับการแต่งตั้ง จากสภาอุตสาหกรรมให้เป็นคณะกรรมการด้านการตรวจสอบ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ที่ยื่นเรื่องเข้ามาขออนุมัติเพื่อ ผลิตไฟฟ้าและขอรับ Adder กับทางกระทรวงพลังงาน ซึ่งรู้สึกว่า จะมียื่นเข้ามาทั้งหมด 18 โครงการ หนึ่งในนั้นก็คือมิตรผล ผม จึงได้เข้ามาดูโรงไฟฟ้าของมิตรผลตั้งแต่เริ่มต้น และรู้สึกทึ่งที่เขา กล้าลงทุนกับโรงงานไฟฟ้า 2 แห่ง รวมเงินลงทุนตั้ง 4,000 กว่า ล้านบาท” ประวิทย์ ประกฤตศรี กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจพลังงาน

หมุนเวียน กลุ่มมิตรผล เล่าถึงจุดกำ�เนิดของธุรกิจพลังงาน ซึ่งเริ่มต้นเมื่อ ปี พ.ศ.2545 โดยโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งอยู่ในพื้นที่เดียวกับโรงงานนํ้าตาล ภูเขียวและด่านช้าง อันเป็นแหล่งเชื้อเพลิง

รวมถึงยังกลายเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิด “ไร้ของเหลือทิ้ง เปลี่ยนเป็น สิ่งมีคุณค่า” หรือ From Waste to Value ซึ่งขับเคลื่อนการทำ�ธุรกิจของ มิตรผลให้เดินไปบนเส้นทางการทำ�ธุรกิจอย่างยั่งยืนตั้งแต่บัดนั้นจนบัดนี้

04


ด้วยการนำ�ส่วนที่เหลือจากกระบวนการผลิตนํ้าตาลมาพัฒนาต่อยอดสู่ อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนและธุรกิจอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

กำ�ลังการผลิตและการจำ�หน่ายไฟฟ้าของกลุ่ม มิตรผล (ในประเทศไทย) กำ�ลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด

410 MW

ทำ�สัญญาขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้า

173.5 MW

ปริมาณการจำ�หน่ายไฟฟ้าต่อปี

1,045 ล้านหน่วย

Green Innovation โรงไฟฟ้าระบบ High Pressure และ Low Pressure ก้าวแรกของแนวคิด From Waste to Value ของมิตรผล เริม่ ต้นด้วยการ พัฒนาคุณภาพโรงไฟฟ้าให้ดียิ่งขึ้นตามโจทย์ของ อิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ กลุ่มมิตรผล ที่ต้องการให้โรงไฟฟ้าผลิตไฟได้มากขึ้น และต่อเนื่องตลอดทั้งปี ขณะที่โรงงานนํ้าตาลก็มีไอนํ้าและไฟฟ้าใช้ใน กระบวนการผลิตนํ้าตาลอย่างเพียงพอโดยไม่ต้องซื้อไฟฟ้าจากข้างนอก รวมถึงกระบวนการผลิตไฟฟ้าต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย หลังจากว่าจ้างบุคลากรผูม้ คี วามเชีย่ วชาญด้านการผลิตไฟฟ้าจากภายนอก เข้ามาศึกษาเพือ่ ดำ�เนินการออกแบบกระบวนการผลิตไฟฟ้าใหม่ โจทย์ดงั กล่าว ก็กลายเป็นทีม่ าของการปรับเปลีย่ นเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าของมิตรผล คือ เปลีย่ นจากการผลิตไอนํา้ และไฟฟ้าด้วยระบบ low pressure อย่างเดียว มา

05


เป็นการผลิตไฟฟ้าด้วยระบบ high pressure ควบคูก่ บั ระบบ Low Pressure แต่ยังคงลักษณะการเป็นโรงไฟฟ้าระบบ cogeneration หรือโรงไฟฟ้า พลังงานร่วม ระหว่างพลังงานไฟฟ้าและพลังความร้อน (ไอนํ้า) เอาไว้เช่น เดิม ทั้งนี้เพื่อให้ตอบโจทย์ทั้งอุตสาหกรรมนํ้าตาลและธุรกิจโรงไฟฟ้า โดยในส่วนของธุรกิจโรงไฟฟ้านั้น การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยระบบ High Pressure โดยการใช้หม้อไอนํ้าที่มีแรงดันขนาด 70 บาร์หรือ 100 บาร์ จะ ทำ�ให้ผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นกว่าการผลิตด้วยระบบ low pressure แบบเดิม หลายเท่า แต่ใช้เชื้อเพิลงจำ�นวนเท่าเดิม นั่นคือจากเดิมหากมิตรผลใช้ชานอ้อย 280 กิโลกรัม (อันเป็นของเหลือจาก การหีบอ้อย 1 ตัน) มาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าระบบ Low Pressure ด้วยหม้อไอนํ้าขนาด 16 บาร์ โรงไฟฟ้าจะผลิตไอนํ้าได้ 0.56 ตันไอนํ้าที่ แรงดัน 16 บาร์ที่อุณหภูมิ 360 องศาเซลเซียส และเมื่อจ่ายแรงดันไอนํ้า ดังกล่าวเข้าไปหมุนกังหันไอนํ้า เพื่อหมุนเครื่องกำ�เนิดไฟฟ้าจะผลิตไฟได้ 47 กิโลวัตต์/ชั่วโมง เมื่อหักไฟฟ้าที่ส่งไปให้อุตสาหกรรมนํ้าตาลใช้ 35 กิโล วัตต์/ชั่วโมง และการส่งพลังงานไอนํ้าอีก 0.45 ตันไอนํ้าที่ 1.2 บาร์ไปให้ กระบวนการผลิตนํ้าตาล มิตรผลจะมีไฟฟ้าขายให้การไฟฟ้าฯ 12 กิโลวัตต์/ ชั่วโมง แต่เมื่อนำ�ระบบ High Pressure มาใช้ในการผลิต ชานอ้อยจำ�นวน 280 กิโลกรัมจากการหีบอ้อย 1 ตันเท่ากันจะให้ไฟฟ้ามากขึ้น โดยหากเป็นหม้อ ไอนํ้า 100 บาร์ จะผลิตไอนํ้าได้ 0.65 ตันไอนํ้าที่แรงดัน 100 บาร์ที่อุณหภูมิ 510 องศาเซลเซียส ซึ่งเมื่อจ่ายแรงดันไอนํ้าดังกล่าวเข้าไปหมุนกังหันไอนํ้า เพื่อหมุนเครื่องกำ�เนิดไฟฟ้าจะผลิตไฟฟ้าได้ถึง 135 กิโลวัตต์/ชั่วโมง เมื่อ หักไฟฟ้าที่ส่งไปให้อุตสาหกรรมนํ้าตาลใช้ 35 กิโลวัตต์/ชั่วโมง และพลังงาน ไอนํ้าอีก 0.45 ตันไอนํ้าที่ 1.2 บาร์ ที่ส่งไปใช้ในกระบวนการผลิตนํ้าตาล มิตรผลจะมีไฟเหลือขายเพิ่มเป็น 100 กิโลวัตต์/ชั่วโมง

06


“พอเปลี่ยนการผลิตไฟฟ้าจากระบบ low pressure มาเป็นระบบ high pressure แล้ว เราสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อจำ�หน่ายได้เพิ่มขึ้น ทันทีถึง 6 เท่า คือจากเดิมที่เคยผลิต 12 หน่วยต่อตันอ้อย ก็เพิ่มขึ้น เป็น 76.5 หน่วยต่อตันอ้อย ในส่วนของโรงไฟฟ้าที่ภูเขียว ซึ่งใช้หม้อ ไอนํ้า 70 บาร์ และในภายหลังสามารถเพิ่มได้ถึง 135 หน่วยต่อตัน อ้อยที่โรงไฟฟ้าด่านช้าง ซึ่งใช้หม้อไอนํ้า 100 บาร์” ประวิทย์เปรียบ

เทียบให้ฟัง

นอกจากจะผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นโดยใช้เชื้อเพลิงเท่าเดิมแล้ว เครื่องยืนยัน ประสิทธิภาพและความเสถียรของการผลิตไฟฟ้าด้วยระบบ High Pressure ของมิตรผลอีกอย่างก็คอื โรงไฟฟ้าของมิตรผลทีด่ า่ นช้างและภูเขียวสามารถ ทำ�สัญญาขายไฟให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แบบ SPP Firm (SPP หมายถึงผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (Small Power Producer) ที่มี ปริมาณพลังงานไฟฟ้าเสนอขาย 10-90 เมกะวัตต์ ส่วน Firm หมายถึง ต้อง จำ�หน่ายไฟฟ้าได้ตามปริมาณที่ระบุในสัญญา หรือ 330 วัน/ปี มิเช่นนั้นต้อง เสียค่าปรับ และมีการจ่ายค่าพลังไฟฟ้า หรือ Capacity Payment) ซึ่งกลุ่ม มิตรผลถือว่าเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลรายแรกที่สามารถทำ�สัญญาเช่น นี้กับ กฟผ. ได้ เพราะแต่เดิมมีเพียงโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน แก๊ส หรือนํ้า มันเท่านั้นที่สามารถขายไฟแบบ SPP Firm ที่สำ�คัญการผลิตไฟฟ้าด้วยระบบ cogeneration ทั้งในส่วนของระบบ High Pressure และ Low Pressure ยังทำ�ให้อตุ สาหกรรมนํา้ ตาลมีไอนํา้ และไฟฟ้า ใช้ได้อย่างเพียงพอและเหมาะสม ทั้งในช่วงฤดูหีบอ้อยและนอกฤดูหีบอ้อย กล่าวคือในช่วงฤดูหบี อ้อย ซึง่ กินเวลาประมาณ 4-5 เดือน (ระหว่างธันวาคม ถึงมีนาคมหรือเมษายน อย่างช้าที่สุดไม่เกินเดือนพฤษภาคม) ระบบ High Pressure และระบบ Low Pressure จะทำ�งานทั้งสองระบบ โดยระบบ High Pressure จะผลิตไฟฟ้าเพือ่ จำ�หน่ายให้กบั การไฟฟ้าฯ ส่วนระบบ Low Pressure จะทำ�งานเพื่อจ่ายไอนํ้าและผลิตไฟฟ้าให้อุตสาหกรรมนํ้าตาล ซึ่งในช่วงหีบอ้อยจะต้องการไอนํ้าสูงประมาณ 500 ตันไอนํ้า/ชั่วโมง และ ต้องการใช้ไฟฟ้าประมาณ 14-18 เมกะวัตต์

07


แต่ในช่วงที่ไม่ใช่ฤดูหีบอ้อย โรงไฟฟ้าจะเปิดการทำ�งานในส่วนระบบ High Pressure เท่านั้น เพื่อผลิตไฟฟ้าขายให้การไฟฟ้าฯ และส่งไอนํ้ารวมถึง ไฟฟ้าไปให้อุตสาหกรรมนํ้าตาลใช้ เพราะในช่วงนี้อุตสาหกรรมนํ้าตาลใช้ พลังงานลดลง คือต้องการไอนํ้าเพียง 120 ตันไอนํ้า/ชั่วโมง และใช้ไฟฟ้าลด ลงเหลือ 4-6 เมกะวัตต์เท่านั้น การออกแบบให้โรงไฟฟ้ามีการเชื่อมต่อการ ทำ�งานระหว่างการผลิตไฟฟ้าและการผลิตของอุตสาหกรรมนํ้าตาลในส่วน ของระบบ high pressure จึงทำ�ให้โรงไฟฟ้าของมิตรผลสามารถลดการใช้ เชื้อเพลิงได้มากถึงปีละ 7-8 เดือน จากการปิดการทำ�งานของระบบ Low Pressure นอกฤดูหีบอ้อย โดยเมือ่ ฝัง่ Low Pressure ปิดการทำ�งาน ระบบ High Pressure จะส่งไอนํา้ ส่วนหนึ่งที่ออกมาจากเจนเนอเรเตอร์สำ�หรับผลิตกระแสไฟฟ้า (สีเขียวใน แผนภาพประกอบด้านล่าง) เข้าไปที่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน หรือ Heat Exchanger ขณะที่ฝั่งอุตสาหกรรมนํ้าตาลก็จะส่งนํ้าเข้ามาที่เครื่อง Heat Exchanger นี้ เมื่อนํ้ามาเจอกับไอนํ้า ไอนํ้าก็จะทำ�ให้นํ้าร้อนกลายไปไอนํ้า ซึ่งสามารถนำ�ไปใช้ในกระบวนการผลิตนํ้าตาล ทั้งการละลายนํ้าตาลดิบ เคี่ยวให้ข้น และปั่นเป็นเม็ดได้

08


ด้วยเหตุนก้ี ารผลิตไฟฟ้าด้วยระบบ cogeneration จึงสามารถนำ�เอาพลังงาน ความร้อน (ไอนํา้ ) ทีเ่ กิดขึน้ มาใช้ได้สงู ถึง 80-85% ขณะทีโ่ รงไฟฟ้าทัว่ ไปจะ นำ�พลังงานความร้อนไปใช้ได้เพียง 35% เท่านัน้ เพราะความร้อนทีผ่ า่ นออก มาจากเครือ่ งผลิตไฟฟ้าแล้ว ต้องนำ�เข้าไปควบแน่นเป็นนํา้ ใน Condenser อย่างเดียว ขณะที่ระบบ Cogeneration จะสามารถนำ�เอาไอนํ้าไปใช้ต่อได้ อย่างกรณีโรงไฟฟ้าของมิตรผล การตัดสินใจปรับเปลีย่ นโรงไฟฟ้าระบบ Cogeneration ทีม่ รี ะบบ Low Pressure อย่างเดียว มาเป็นโรงไฟฟ้าระบบ cogeneration ที่มีการประสานกัน ระหว่างระบบ high pressure และระบบ low pressure จึงเป็นสิ่งที่มิตรผล ถือว่าเป็น Green Innovation “เพราะแม้ว่าเราจะไม่ได้เป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีพวกนี้ แต่การที่เรา กล้าตัดสินใจ และกล้าลงทุนนำ�เอาเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ และทำ�ได้ ดี แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร และศักยภาพของบุคลากร เพราะไม่ใช่ว่ามีเทคโนโลยีแล้วจะทำ�ได้ ไม่อย่างนั้นโรงงานผลิตนํ้าตาล ในออสเตรเลีย ที่เราเคยไปดูเครื่องจักรของเขาตอนก่อนจะตัดสินใจ ใช้เครื่องจักร Alstom ของฝรั่งเศส แบบที่เขาใช้ คงไม่มาขอมาดูงาน ที่โรงไฟฟ้าของเราเมื่อเร็วๆ นี้ เพราะเขาสงสัยว่า ทำ�ไมเราสามารถ ผลิตไฟฟ้าได้ตลอดทั้งปี ขณะที่เขายังทำ�ไม่ได้” อาณัติยกตัวอย่าง

แต่ก็ใช่ว่า ทุกอย่างจะราบรื่น เพราะหลังการเปลี่ยนเทคโนโลยีในการผลิต ไฟฟ้า มิตรผลก็มีปัญหาให้ต้องแก้ไข โดยอุบัติเหตุครั้งใหญ่เกิดขึ้นจาก การที่โครงข่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ซึ่งเชื่อมต่อกับโรงไฟฟ้าเกิดกระแส ไฟฟ้าขัดข้อง และส่งผลกระทบถึงโรงไฟฟ้าของมิตรผลด้วย “คือพอมีไฟดับ ไฟก็กระชากอยูใ่ นระบบ แล้วก็ดน ั กลับมาทีเ่ ครือ่ งจักร ของเรา แต่เราปลดไม่ได้ ผลก็คือกังหันไอนํ้าขนาดใหญ่ ซึ่งหมุนอยู่ท่ี ประมาณ 6,000 รอบต่อนาที คด ทำ�ให้เราต้องหยุดผลิตไฟ 6 เดือน เพื่อส่งเครื่องไปซ่อมที่ฝรั่งเศส และต้องรับไฟจากภายนอกเข้ามาให้ โรงงานใช้ รวมถึงต้องจ่ายเงินค่าปรับที่ไม่สามารถส่งไฟให้การไฟ ฟ้าฯ ได้ตามคำ�สั่งซื้อ เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นทั้งที่โรงไฟฟ้าด่านช้าง 09


และภูเขียว แต่ตอนนีไ้ ม่มป ี ญ ั หาแล้ว เพราะเรามีระบบป้องกันตัวเอง คือหากโครงข่ายของการไฟฟ้าฯมีปญ ั หา โรงไฟฟ้าของเรามีระบบที่ จะตัดตัวเองเป็น island mode ออกจากโครงข่าย เพื่อไม่ให้ระบบเรา น็อคไปด้วย” ประวิทย์เล่าบทเรียนที่นำ�ไปสู่มาตรการป้องกันตัวเอง

เชื้อเพลิง ความท้าทายที่ต้องจัดการให้สมดุล แม้จะผลิตไฟฟ้าเพื่อจำ�หน่ายเข้าระบบของการไฟฟ้าฯ แต่ลูกค้าหลักที่โรง ไฟฟ้าของมิตรผลทุกแห่งให้ความสำ�คัญมากที่สุดคือโรงงานนํ้าตาลที่ตั้ง อยู่ในบริเวณเดียวกับที่ตั้งโรงไฟฟ้า เพราะนอกจากจะเป็นลูกค้ารายใหญ่ ที่ใช้ไฟฟ้ารวมเกือบ 60% ของกำ�ลังการผลิตทั้งหมด 410 เมกะวัตต์แล้ว อุตสาหกรรมนํ้าตาลยังเป็นต้นนํ้าที่ทำ�ให้โรงไฟฟ้าได้ชานอ้อย ซึ่งเป็นเชื้อ เพลิงหลักของโรงไฟฟ้าในกลุ่มมิตรผล โดยแต่ละโรงใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อ เพลิงสูงถึง 85-100% และชานอ้อยทั้งหมดที่โรงไฟฟ้าใช้มีที่มาจากอุตสาห กรรมนํ้าตาลของมิตรผลเพียงแห่งเดียว “ตอนนี้โรงไฟฟ้าของเราส่วนใหญ่ใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิง 100% มี เพียงที่ภูเขียวและด่านช้างที่ใช้ชานอ้อย 85% อีก 15% เป็นเชื้อเพลิง เสริมจากชนิดชีวมวลอื่น” อาณัติให้ข้อมูล

ดังนัน้ จึงไม่นา่ แปลกใจทีใ่ นช่วงของการหีบอ้อย โรงไฟฟ้าอาจจะต้องยอมลด ปริมาณไฟฟ้าที่จะป้อนเข้าสู่ระบบของการไฟฟ้าฯลง เพื่อให้อุตสาหกรรม นํ้าตาลมีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอ “เช่น ถ้าการไฟฟ้าฯสั่งซื้อไฟ 29 เมกะวัตต์ ในช่วงที่เราเดินเครื่อง ให้ได้เราก็เดิน แต่ถ้าเดินไม่ได้เพราะโรงงานนํ้าตาลต้องใช้ไฟมากใน การหีบอ้อย เราก็ต้องส่งไฟให้การไฟฟ้าฯตํ่ากว่าคำ�สั่งซื้อ คือยอม

010


โดนปรับ เพื่อระยะยาวเราจะได้มีเชื้อเพลิงพอใช้ทั้งปี” อาณัติอธิบาย

สถานการณ์

สาเหตุที่ต้องให้ความสำ�คัญกับธุรกิจนํ้าตาล เพราะอ้อยและนํ้าตาลเป็น ธุรกิจต้นนํ้าของกลุ่มมิตรผล หากโรงงานมีอ้อยน้อย ก็จะทำ�ให้มีชานอ้อย และโมลาส ซึ่งเป็นวัตถุดิบของธุรกิจไฟฟ้าและธุรกิจเอทานอลน้อยลงตาม ไปด้วย ซึ่งฤดูกาลหีบอ้อยในประเทศไทยมีระยะเวลาเพียง 4-5 เดือนเท่านั้น คือช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมหรือเมษายน แต่โรงงานไฟฟ้ามิตรผล ทีท่ ำ�สัญญาขายไฟให้กบั การไฟฟ้าฯในลักษณะ Firm ต้องเดินเครือ่ งผลิตเพือ่ ขายไฟให้การไฟฟ้าฯ ถึง 330 วัน/ปี โรงไฟฟ้าจึงต้องเดินเครือ่ งทัง้ ปี ดังนัน้ หากชานอ้อยไม่พอ โรงไฟฟ้าก็ไม่สามารถเดินเครือ่ งได้ราบรืน่ เพราะปัจจุบนั มิตรผลใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิงหลักดังได้กล่าวมาแล้ว นอกจากการให้ความสำ�คัญกับการให้ได้มาซึ่งชานอ้อยแล้ว การบริหาร จัดการเชื้อเพลิงให้มีพอใช้ตลอดทั้งปี ทั้งในแง่ของการจัดหามาไว้ในสต็อก ให้เพียงพอกับปริมาณที่ต้องใช้ และการดูแลรักษาให้เชื้อเพลิงที่หามาอยู่ ในสภาพดีก็เป็นเรื่องสำ�คัญและท้าทายอย่างมาก ไม่เช่นนั้นเหตุการณ์เชื้อ เพลิงขาดแคลนที่เคยเกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้าภูเขียวในปีแรกที่เปิดดำ�เนินการ จนต้องลดกำ�ลังการผลิตทำ�ให้เสียค่าปรับ อาจจะสร้างความเสียหายให้กับ ธุรกิจซํ้าแล้วซํ้าอีก “ปีนั้นช่วงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนเราต้องขูดดินบริเวณที่จัด เก็บชานอ้อยขึ้นมาตากให้แห้ง แล้วเอามาเข้าเตาเผากันเลยทีเดียว รวมถึงต้องลดกำ�ลังการผลิตไฟลงกว่า 60% เพราะมีชานอ้อยไม่ พอใช้” อาณัติเล่าถึงวิกฤตชานอ้อยที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี ก่อนฤดูกาลหีบ

อ้อยรอบใหม่จะเริ่มขึ้นอีกครั้งในเดือนธันวาคม

บทสรุปของมิตรผลในครั้งนั้นก็คือ จะต้องบริหารจัดการเชื้อเพลิงให้ดี มิเช่น นัน้ แล้วโรงไฟฟ้ามิตรผลจะประสบความสำ�เร็จในการผลิตไฟฟ้าอย่างต่อเนือ่ ง และเพียงพอได้ยาก

011


นิยามการจัดการเชื้อเพลิงให้ดีของมิตรผล หมายถึงการจัดหาเชื้อเพลิงหลัก อย่างชานอ้อยและเศษวัสดุเหลือใช้ในการเกษตรอื่นๆ ที่สามารถนำ�มาใช้ เป็นเชื้อเพลิงเสริมให้เพียงพอ โดยต้องคิดคำ�นวนไว้เลยว่าจะใช้เชื้อเพลิง เสริมตัวไหน เท่าไร และต้องซื้อเข้ามาไว้ในสต็อกช่วงไหน นอกจากนี้ยัง ต้องใช้เชื้อเพลิงเสริมควบคู่กันไปกับชานอ้อยซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักตั้งแต่ต้น ปีด้วย รวมถึงต้องมีการดูแลจัดเก็บที่ดี เพราะเชื้อเพลิงเป็นต้นทุนหลักของ โรงไฟฟ้า คือ 60 เปอร์เซ็นต์ โดยในส่วนของเชื้อเพลิงเสริมนั้นที่ผ่านมาจะมี 2 ตัวหลักคือ แกลบ และไม้ สับที่ต้องดูแล แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มิตรผลได้นำ�ใบอ้อยเข้ามาเป็นเชื้อ เพลิงเสริมด้วยอีกตัวหนึ่ง เพื่อสนับสนุนให้ใบอ้อยกลายเป็นของที่มีราคา ด้วยการรับซื้อในราคาตันละ 600 บาท เพื่อที่ชาวไร่อ้อยจะได้เก็บใบอ้อยมา ขายเพิ่มรายได้หลังการตัดอ้อย แทนที่จะเผาทิ้ง ซึ่งนอกจากจะทำ�ให้สภาพ ดินเสียแล้ว ยังเป็นลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมด้วย “ซึ่งชาวไร่ก็สนใจ เพราะเรารับซื้อในราคาที่เหมาะสม ดังนั้นจากปี แรกๆ ที่เรามีใบอ้อยใช้ประมาณ 2,000-3,000 ตัน ตอนนี้เพิ่มขึ้นมา เป็น 30,000 ตัน แต่ใบอ้อยก็ไม่สามารถจะไปไกลได้มากนัก เพราะ ถ้าเป็นชาวไร่ที่อยู่ไกลจากโรงงานเกิน 30-40 กิโลเมตร เงินที่ได้จาก การขายใบอ้อยก็จะไม่คุ้มกับค่าขนส่งที่เขาต้องจ่าย ส่วนโรงงาน เองก็ใช้ใบอ้อยได้ไม่มาก เพราะใบอ้อยมีคลอไรด์ ซึ่งเป็นอันตรายกับ เครื่องจักร” อาณัติเสริม

อย่างไรก็ดี เพื่อให้การจัดเก็บใบอ้อยมีประสิทธิภาพ ในปีนี้มิตรผลจึงได้ ลงทุนซื้อเครื่องม้วนใบอ้อยจำ�นวน 10 เครื่อง รวมเป็นเงิน 3 ล้านบาท เพื่อ ให้ชาวไร่อ้อยของโรงงานนํ้าตาลที่ด่านช้างและภูเขียวนำ�ไปใช้ในการม้วน ใบอ้อย เพื่อส่งมาขายให้กับโรงงาน ในลักษณะของการกู้ยืม ทั้งนี้เพื่อลดค่า ขนส่งของชาวไร่ และลดพื้นที่ในการจัดเก็บใบอ้อยของโรงงานด้วย เพราะ ถ้าไม่ม้วนให้แน่น ใบอ้อยก็จะฟู ทำ�ให้ขนส่งได้น้อย และอาจเป็นอันตราย ในเรือ่ งการติดไฟเมือ่ ถูกความร้อนเป็นเวลานาน ขณะทีโ่ รงงานก็ตอ้ งใช้พน้ื ที่

012


ในการจัดเก็บมาก และอาจจะเก็บใบอ้อยไว้ไม่ได้นาน เพราะหากไม่มัดเป็น ฟ่อนให้แน่น ใบอ้อยก็จะชื้นและเกิดการย่อยสลายได้ง่ายเมื่อโดนฝน สำ�หรับการจัดหาแกลบซึง่ เป็นเชือ้ เพลิงเสริมทีใ่ ช้มากทีส่ ดุ นัน้ อาณัตใิ ห้ขอ้ มูล ว่า โรงไฟฟ้าต้องเตรียมซือ้ แกลบมาตุนไว้ในสต็อกช่วงเดือนพฤศจิกายนและ ธันวาคม ซึง่ เป็นช่วงทีข่ า้ วใหม่ออกสูต่ ลาด โดยข้อดีของแกลบคือให้ความร้อน ดีกว่าชานอ้อยประมาณ 30-40% คือหากชานอ้อยให้ความร้อน 100 เปอร์เซ็นต์ แกลบจะให้ค่าความร้อน 130-140 เปอร์เซ็นต์ แต่โรงไฟฟ้าของมิตรผลก็ ไม่สามารถนำ�แกลบมาใช้ได้มากกว่า 10% เนื่องจากแกลบมีซิลิก้า ซึ่งจะ ทำ�ให้อุปกรณ์ภายในหม้อไอนํ้าเสียหายได้ อีกอย่างหนึ่งคือแกลบมีราคาสูง คือปัจจุบันอยู่ที่ตันละ 1,500 บาท โดยปัจจุบันโรงไฟฟ้าภูเขียว ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงเสริมได้มากที่สุด ของกลุ่มมิตรผล คือ 15% จะใช้แกลบประมาณปีละหนึ่งแสนตัน ส่วนไม้สับ กลุ่มมิตรผลมักจะใช้ไม้ยูคาลิปตัสหรือไม้ 13 ประเภทที่กรม ป่าไม้อนุญาตเป็นหลัก รวมถึงจะซื้อจากโรงงานที่มีใบอนุญาตให้สับไม้ได้ จากกรมป่าไม้เท่านั้น โดยปริมาณการใช้ไม้สับจะอยู่ที่ 5-8% หรือปีละ 5-8 หมื่นตัน “ทีเ่ ราไม่ได้ใช้เยอะก็เนือ่ งจากว่าไม้มยี าง และยางจะไปเคลือบทีท ่ อ่ เวลาเผา”

อาณัติอธิบาย พร้อมกับ ยํ้าว่าโรงไฟฟ้าต้องรู้จักกับเชื้อเพลิงอย่างดี เพราะ แต่ละตัวจะมีข้อดีข้อด้อยต่างกัน

ส่วนในเรื่องการจัดเก็บเชื้อเพลิง ซึ่งมีความสำ�คัญไม่แพ้การจัดหาเชื้อ เพลิงให้มคี วามเพียงพอนัน้ เป็นเรือ่ งทีม่ ติ รผลให้ความสำ�คัญอย่างมาก โดย เฉพาะอย่างยิ่งการจัดเก็บชานอ้อยซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลัก นอกจากจะต้องมี พื้นที่จัดเก็บอย่างเพียงพอต่อปริมาณชานอ้อยทีโ่ รงงานนํา้ ตาลทรายแต่ละ โรงจะขายต่อมาให้โรงงานไฟฟ้าแล้ว (ยกตัวอย่างเช่นทีโ่ รงไฟฟ้าภูเขียวจะ เหลือชานอ้อย ทีต่ อ้ งจัดเก็บไว้ใช้นอกฤดูหบี อ้อย ประมาณปีละ 2 แสนตัน

013


การจัดการชานอ้อย เชื้อเพลิงที่เป็นหัวใจของการผลิตไฟฟ้า

จากโรงนํา้ ตาลภูเขียวซึง่ มีการหีบอ้อยปีละ 3.2-3.5 ล้านตัน) โรงงานแต่ละ แห่งยังจะต้องมีการจัดการดูแลอย่างเหมาะสม เพือ่ ให้ชานอ้อยอยูใ่ นสภาพ ดี และไม่สง่ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย โดยต้องมีการติดตั้งแนวตาข่าย กันลม เพื่อป้องกันฝุ่นจากกองชานอ้อยซึ่งอยู่ในพื้นที่โล่งแจ้งขนาดใหญ่ ไม่ ให้ฟุ้งกระจาย รวมถึงต้องมีการปลูกต้นไม้เป็นแนวกันลม เพื่อที่จะช่วยลด ความเร็วและความแรงของลมที่พัดไปหากองชานอ้อย “ตอนทีเ่ สนอแนวทางการดูแลสิง่ แวดล้อมให้กบ ั สผ. (สำ�นักงาน นโยบายทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม)พิจารณาตอนแรก เรา เสนอไปแต่เรือ่ งการปลูกต้นไม้เป็นแนวกันลม แต่ สผ.แย้งว่ากว่าต้นไม้ เราจะโตต้องใช้เวลานาน ขณะทีเ่ ราจะต้องมีกองชานอ้อยตัง้ แต่วน ั แรก ทีเ่ ปิดดำ�เนินการ เราก็เลยเสนอเรือ่ งการติดตัง้ แนวตาข่ายกันลมเพิม ่ เข้าไป ซึง่ ตอนนีไ้ ด้กลายเป็นมาตรฐานของโรงงานไฟฟ้าชีวมวลไปแล้ว ทีต ่ อ้ งมีการป้องกันการฟุง้ กระจายของกองเชือ้ เพลิงเช่นนี”้ อาณัติเล่า

014


นอกจากการป้องกันลมแล้วก็ยังมีการติดตั้งระบบฉีดพรมนํ้าเพื่อพรมกอง เชื้อเพลิง เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นและเป็นการป้องกันไม่ให้เกิด ประกายไฟในช่วงที่อากาศร้อนและแห้ง ซึ่งอาจะทำ�ให้เกิดไฟไหม้ได้ และ ยังต้องมีการทำ�ร่องในกองชานอ้อย เพื่อป้องกันนํ้าขัง ซึ่งอาจทำ�ให้ชานอ้อย เสียหาย เช่น เกิดการย่อยสลาย และมีค่าความชื้นสูง ส่วนล่าสุดก็ได้มกี ารติดตัง้ ผ้าใบคลุมกองชานอ้อย เพือ่ ป้องกันการฟุง้ กระจาย ของฝุน่ อีกชัน้ รวมถึงเพือ่ ป้องกันเรือ่ งความชืน้ ซึง่ จะทำ�ให้สน้ิ เปลืองเชือ้ เพลิง เพราะหากเชื้อเพลิงมีค่าความชื้นสูงก็จะให้ค่าความร้อนตํ่า และมีระบบ การนำ�เชื้อเพลิงไปใช้แบบ first-in first-out เพื่อบริหารคุณภาพของวัตถุดิบ ให้อยู่ในสภาพที่ดี สามารถใช้ได้ตลอดปีด้วย

นอกเหนือจากชานอ้อยซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลัก มิตรผลต้องจัดหาเชื้อเพลิงเสริมอีก 2 ตัวคือ แกลบ และไม้สับ เพื่อให้การผลิตไฟฟ้าเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

015


โรงไฟฟ้า Zero Waste นอกจากการจัดการกับฝุ่นจากกองชานอ้อยแล้ว โรงไฟฟ้ามิตรผลยังให้ ความสำ�คัญกับการควบคุม ป้องกัน ปัญหามลพิษอันเนื่องมาจากการ ดำ�เนินการของโรงไฟฟ้าด้วย ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการผลิตของโรงไฟฟ้าไม่ ก่อให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาขี้เถ้า ซึ่งเป็น ของเหลือจากระบบเผาไหม้เชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้ของหม้อไอนํ้า โดยในส่วนของเถ้าเบา ซึง่ มีนา้ํ หนักเบาจึงผสมในไอร้อน และปลิวออกไป จากห้องเผาไหม้ทางช่องไอร้อนได้นน้ั มิตรผลก็มมี าตรการควบคุมฝุน่ จาก ปล่องเตา ด้วยการติดตัง้ ระบบดักฝุน่ 3 ชนิดคือ Multi Cyclone, Wet Scrubber และ Mikrovane เพือ่ ดักจับและกรองฝุน่ จากการผลิตในโรงงาน ก่อนปล่อยออกทางปล่องเตา รวมถึงมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ ดักฝุ่นอย่างสม่ำ�เสมอ และนำ�โปรแกรม SAP Maintenance เข้ามาปรับใช้ เพื่อให้ระบบทำ�งานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการติดตั้งระบบดังกล่าว ทำ�ให้ฝุ่นที่ระบาย ออกจากปล่องเตามีความเข้มข้นน้อยกว่าค่าสูงสุดที่กฎหมายกำ�หนดถึง 50-70 เปอร์เซ็นต์ (จากค่ามาตรฐานฝุ่นรวมที่กฎหมายสำ�หรับโรงไฟฟ้า ชีวมวล ซึ่งห้ามเกิน 120 mg/m3) ในส่วนของเถ้าหนักที่เหลืออยู่ในบริเวณตะกรับจะตกลงสู่ก้นเตา และถูก กวาดออกไปโดยสายพานลำ�เลียง ลงสู่อ่างนํ้ารองรับเถ้า เพื่อลดอุณหภูมิ และลดการฟุ้งกระจาย ก่อนจะลำ�เลียงด้วยสายพานลำ�เลียง เพื่อนำ�เข้าไป เก็บในบ่อเก็บเถ้า รอการขนย้ายออกไปเก็บไว้ในบริเวณนอกโรงไฟฟ้า ที่กำ�หนดไว้ และนำ�ไปพัฒนาให้สามารถนำ�ไปใช้เป็นสารปรับปรุงดินที่ สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตในไร่อ้อยได้ ซึ่งมิตรผลได้นำ�เถ้านี้ไปแจกจ่ายให้ ชาวไร่นำ�ไปใช้ใส่ไร่อ้อย เพื่อช่วยให้ผลผลิตดีขึ้น ขณะที่ตัวโรงไฟฟ้าเองก็มีการรักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงงาน จนได้รับ ISO 14001 ซึ่งเป็นมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในโรงงาน ตั้งแต่ปี

016


2551 และเมื่อปลายปี 2556 ที่ผ่านมา โรงไฟฟ้าภูเขียวก็ยังเป็นโรงไฟฟ้า ชีวมวลโรงแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการด้าน พลังงาน ISO 50001 ซึ่งทำ�ให้โรงไฟฟ้าสามารถลดการใช้พลังงานได้อย่าง มาก เช่น การปิดเครื่องปรับอากาศในช่วงพักกลางวัน และควบคุมอุณหภูมิ ให้อยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส ช่วยลดการใช้พลังงานได้ 3.6 หมื่นหน่วย การ เปลี่ยนหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์มาเป็นหลอดไฟแอลอีดี ช่วยลดการใช้ พลังงานได้ 84,000 กิโลวัตต์/ชั่วโมง ที่สำ�คัญก็คือการลดการใช้พลังงาน เชื้อเพลิงและความร้อนภายในโรงงาน ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพของ boiler ตัวเก่า ซึง่ มีประสิทธิภาพอยูท่ ่ี 84-85% ให้มปี ระสิทธิภาพเพิม่ ขึน้ อีก 5% ช่วยประหยัดพลังงานค่าความร้อนของชานอ้อยต่อพลังงานไฟฟ้าลง 110 ล้านกิโลจูล นอกจากนี้การติดตั้งผ้าใบคลุมกองชานอ้อย (โดยคลุมไว้ 70% อีก 30% ไม่ได้คลุมเพื่อจะได้สะดวกต่อการเปิดใช้งาน) เพื่อป้อง กันนํ้าฝนไม่ให้เข้าไปขัง ทำ�ให้ได้ค่าความร้อนสูงขึ้น จึงลดปริมาณการใช้ ชานอ้อย ได้ 12,450 ตัน/ปี นอกจากนั้นแล้วโรงไฟฟ้าภูเขียวยังได้รับรางวัล EIA Monitoring Award 2 ปีซ้อน ในปี 2012 และ 2014 (ปี 2013 ไม่มีการ จัดงาน) ซึ่งถือเป็นเครื่องยืนยันว่าโรงไฟฟ้าของกลุ่มมิตรผลดูแลสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานหรือข้อกำ�หนดของ EIA อย่างครบถ้วน แน่นอนว่าความสำ�เร็จในการลดการใช้พลังงานของโรงไฟฟ้ามิตรผลภูเขียว ดังกล่าวมาแล้ว ทำ�ให้โรงไฟฟ้าอืน่ ๆ ในเครือมิตรผลอีก 5 แห่ง กำ�ลังมุง่ สู่การ ดำ�เนินงานตามมาตรฐาน ISO 50001 เช่นกัน เพื่อลดรอยเท้าคาร์บอนให้ เล็กลง ดังที่โรงไฟฟ้ามิตรผลลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ได้ถึง 100,000 ตันคาร์บอนต่อปี ความใส่ใจในการจัดการสิ่งแวดล้อม และผลกระทบที่อาจจะเกิดจาก โรงไฟฟ้านี้เอง ที่ทำ�ให้ผู้นำ�ชุมชนของหมู่บ้านต่างๆ ในอำ�เภอโคกสะอาด อำ�เภอภูเขียว ที่อาศัยอยู่รอบๆ โรงไฟฟ้าภูเขียว ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกัน ว่า การดำ�เนินงานของโรงไฟฟ้าไม่กระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชน และ สามารถอยู่ร่วมกันได้

017


โรงไฟฟ้าของมิตรผลทั้งหมดกำ�ลังมุ่งสู่มาตรฐานการจัดการด้านพลังงาน ISO 50001

“ก่อนตั้งโรงไฟฟ้าเขาก็มาทำ�ประชาพิจารณ์กับชาวบ้านทุกหมู่บ้าน ในตำ�บลโคกสะอาด เพื่อชี้แจงว่าจะทำ�โรงไฟฟ้าแบบไหน ใช้อะไรเป็น เชื้อเพลิง ตอนแรกก็รู้สึกวิตกเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แต่ ตอนหลังมาก็สบายใจ เพราะโรงงานเขาควบคุมดี มีการออกสำ�รวจ พื้นที่ในชุมชนตลอดว่าแต่ละหมู่บ้านได้รับผลกระทบอะไรบ้าง แบบ ไหน เพื่อที่เขาจะได้รีบแก้ไขให้” ยอด นิสัยหมั่น ผู้ใหญ่ บ้านโนนสาวเอ้ หมู่

9 ตำ�บลโคกสะอาด ให้ข้อมูล

018


สำ�หรับผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงต้นก็เช่น เรื่องฝุ่นละอองในหน้าแล้งตอนมี ลมแรง แต่เมื่อโรงไฟฟ้ามีระบบพรมนํ้า และต้นไม้ที่ปลูกเพื่อป้องกันรอบๆ กองชานอ้อยโตขึ้น ปัญหานี้ก็เกิดขึ้นน้อยมาก “ชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไร่อ้อยยังได้ขายใบอ้อยอีก ดีตรงนี้ จากเดิมที่ต้องจุดไฟเผา ก่อนไถปลูกใหม่ แต่ตอนนี้เก็บเอาใบไปขาย ได้ แล้วโรงไฟฟ้ายังให้ขี้เถ้า และกากจากการผลิตนํ้าตาลส่วนสุดท้าย มาใช้เป็นปุ๋ย ซึ่งใส่แล้วดี คือเห็นชัดเลยว่าอ้อยจะสูงไวและลำ�ต้นใหญ่ กว่า” ประจักษ์ จิตไมตรี ซึ่งทำ�ไร่อ้อยมาพร้อมกับโรงงานนํ้าตาลมิตรภูเขียว

เปิดดำ�เนินการเมื่อ 27 ปีก่อน ว่าอย่างนั้น

โรงงานนํ้าตาลกับโรงไฟฟ้า การเกื้อกูลกัน ทางธุรกิจ ปัจจุบัน กลุ่มมิตรผลมีโรงไฟฟ้าในประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 7 แห่ง โดย นอกจากที่ภูเขียว1 ด่านช้าง2 และกุฉินารายณ์แล้ว ก็ยังมีที่ภูหลวง อำ�เภอ วังสะพุง จังหวัดเลย ที่อำ�เภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ที่อำ�เภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งทั้ง 6 แห่งนี้อยู่ร่วมกับโรงงานผลิตนํ้าตาล ส่วนที่อำ�เภอ แม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งอยู่ร่วมกับโรงงานผลิตเอทานอล ซึ่งผลิตเอทานอล จากนํ้าอ้อยสด โดยทั้งหมดมีกำ�ลังการผลิตรวม 410 เมกะวัตต์ และมี สัญญาการขายไฟให้การไฟฟ้าฯ ทั้งแบบสัญญา VSPP, SPP Non-Firm และ SPP Firm รวมปีละ 173.5 เมกะวัตต์ ดังนี้

1 โรงไฟฟ้าที่ภูเขียวมีรายได้รวม 1,499,235,476 บาทในปี พ.ศ. 2556 และ 1,623,180,845 บาทในปี พ.ศ. 2555 2

โรงไฟฟ้าที่ด่านช้างมีรายได้รวม 1,954,286,044 บาทในปี พ.ศ. 2556 และ 1,867,583,053 บาทในปี พ.ศ. 2555

019


กำ�ลังการผลิตของโรงไฟฟ้ามิตรผลและสัญญา การขายไฟฟ้าของแต่ละโรง โรงไฟฟ้า โรงไฟฟ้าแม่สอด จังหวัดตาก โรงไฟฟ้าที่บางระจัน สิงห์บุรี โรงไฟฟ้าที่ภูเวียง ขอนแก่น โรงไฟฟ้าที่ภูหลวง เลย โรงไฟฟ้าที่กุฉินารายณ์ กาฬสินธุ์ โรงไฟฟ้าที่ด่านช้าง สุพรรณบุรี โรงไฟฟ้าที่ภูเขียว ชัยภูมิ รวม

กำ�ลังการผลิต/สัญญาการขายไฟ 16 เมกะวัตต์ / 8 เมกะวัตต์ 17 เมกะวัตต์ / 13.5 เมกะวัตต์ 50 เมกะวัตต์ / 16 เมกะวัตต์ 67 เมกะวัตต์ / สายส่งเต็มจึงยังไม่ได้ ขายไฟฟ้า 70 เมกะวัตต์ / 28.0 เมกะวัตต์ 113.6 เมกะวัตต์ / 65.8 เมกะวัตต์ 76.4 เมกะวัตต์ / 45.2 เมกะวัตต์ 410 เมกะวัตต์ / 173.5 เมกะวัตต์

สำ�หรับในตลาดพลังงานทางเลือก ซึ่งมีกำ�ลังการผลิตรวม 2,686 เมกะวัตต์ ธุรกิจไฟฟ้าของกลุ่มมิตรผลจะมีส่วนแบ่งตลาด 6.4% แต่ถ้าเปรียบเทียบ กับตลาดพลังงานไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งมีกำ�ลังการผลิตอยู่ 1,228 เมกะวัตต์ กลุ่มมิตรผลมีส่วนแบ่งตลาดถึง 14% แน่นอนว่าความสำ�เร็จของธุรกิจโรงไฟฟ้าจะเกิดขึน้ ไม่ได้ หากไม่มอี ตุ สาหกรรม นํ้าตาลเกื้อกูลในเรื่องของเชื้อเพลิงดังได้กล่าวมาแล้ว โดยในตอนเริ่มต้น อุตสาหกรรมนํา้ ตาลของมิตรผลได้ขายชานอ้อยให้กบั โรงไฟฟ้าในราคาต้นทุน ขณะที่โรงไฟฟ้าจำ�หน่ายไฟให้อุตสาหกรรมนํ้าตาลในราคาต้นทุน แต่เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมาได้เปลี่ยนระบบใหม่ คือให้อุตสาหกรรมนํ้าตาลขายชานอ้อย ให้โรงไฟฟ้าในราคาที่เหมาะสม และให้โรงไฟฟ้าขายไฟให้อุตสาหกรรม นํ้าตาลในราคาเท่ากับการไฟฟ้าฯ เพื่อให้ทั้งสองธุรกิจทราบต้นทุนในการ ดำ�เนินการที่แท้จริง และมีการปรับตัวเพื่อให้แข่งขันได้

020


นอกจากนี้การพัฒนากระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมนํ้าตาลให้ใช้ พลังงานน้อยลงควบคู่กันไปด้วยก็เอื้อให้ธุรกิจไฟฟ้ามีความมั่นคง เพราะ ทำ�ให้โรงไฟฟ้ามีเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น โดยที่ผ่านมาอุตสาหกรรมนํ้าตาลมีการ พัฒนากระบวนการผลิตดังนี้ การปรับปรุงระบบการทำ�งานแบบใหม่ในหม้อต้มนํ้าตาล โดยการติดตั้ง ระบบ Automation ในหม้อต้มนํ้าตาล ที่นอกจากจะช่วยประหยัดเวลา ในการเคี่ยวต้ม และลดปริมาณนํ้าที่ต้องใช้ในกระบวนการผลิตแล้ว ยัง ประหยัดพลังงานไอนํ้าด้วย การติดตั้งระบบใบกวนในหม้อเคี่ยว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกลับตัว ของนํ้าตาล ซึ่งช่วยให้สามารถลดปริมาณการใช้นํ้าและเวลาการเคี่ยวลง ช่วยประหยัดพลังงานไอนํ้าและชานอ้อยที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง การนำ�ไอร้อนจากกระบวนการผลิตมาใช้หมุนเวียน โดยไอร้อนจากกระบวนการ ผลิตนํ้าตาลจะถูกนำ�มาลดความร้อนและใช้ซํ้าในปริมาณ 7,150 ตันต่อปี ช่วยลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงลงได้ “หรืออย่างโรงงานนํ้าตาลที่ภูเขียวเรากำ�ลังจะมีเครื่องจักรใหม่เข้ามา ทำ�ให้เพิ่มกำ�ลังการผลิตไอนํ้าไปได้อีก 140 ตัน/ชั่วโมง จากของเดิม 730 ตัน/ชั่วโมง รวมได้เป็น 870 ตัน/ชั่วโมง ในปลายปีหน้า เพื่อ สนับสนุนกำ�ลังการหีบอ้อยที่จะเพิ่มขึ้นอีก 15,000 ตันต่อวัน จาก เดิม 26,000 ตันต่อวัน รวมเป็น 41,000 ตันต่อวัน ทั้งนี้เพื่อรองรับ กับปริมาณการปลูกอ้อยของชาวไร่ในพื้นที่ภูเขียว ซึ่งมีอยู่ 4-4.5 ล้านตัน แต่เรากลับหีบอ้อยได้ประมาณ 3 ล้านตันกว่าๆ เท่านั้น ทำ�ให้อ้อยที่ภูเขียวส่วนหนึ่งจะถูกขนถ่ายไปที่โรงนํ้าตาลมิตรภูเวียง อีกส่วนหนึ่งก็ถูกโรงนํ้าตาลอื่นเข้ามาซื้อไป แต่ถ้าที่นี่หีบอ้อยได้เพิ่ม ขึ้น ชาวไร่ก็จะไม่ต้องจ่ายค่าขนส่งเพิ่ม และอ้อยก็จะไม่หายไปจาก ระบบของเรา” อาณัติเล่าถึงสาเหตุที่โรงไฟฟ้าภูเขียวต้องมีการขยายกำ�ลัง

การผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อเตรียมรองรับกับชานอ้อยที่เพิ่มขึ้น

021


การเติบโตของโรงไฟฟ้าและโรงงานนํ้าตาลจึงเดินคู่กันไปเสมอ ทั้งใน ลักษณะที่เมื่อเปิดโรงงานนํ้าตาลแห่งใหม่ก็จะต้องมีการเปิดโรงไฟฟ้าเพิ่ม ด้วย ดังเช่นใน พ.ศ.2555 ที่มีการก่อตั้งโรงงานนํ้าตาลมิตรภูหลวง และโรง ไฟฟ้าพร้อมกันที่อำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเลย แต่น่าเสียดายที่โรงไฟฟ้าแห่ง นี้ยังไม่สามารถจำ�หน่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ เนื่องจากสายส่งของการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตฯ เต็ม “หรืออย่างโรงงานนํ้าตาลที่ภูเขียวเรากำ�ลังจะมีเครื่องจักรใหม่เข้ามา ทำ�ให้เพิ่มกำ�ลังการผลิตในการหีบอ้อยขึ้นไปได้อีก 140 ตัน/ชั่วโมง จากของเดิม 730 ตัน/ชั่วโมง ก็จะหีบอ้อยได้เป็น 870 ตัน/ชั่วโมง ใน ปลายปีหน้า ทั้งนี้เพื่อรองรับกับปริมาณการปลูกอ้อยของชาวไร่ใน พื้นที่ภูเขียว ซึ่งมีอยู่ 4-4.5 ล้านตัน แต่เรากลับหีบอ้อยได้ประมาณ 3 ล้านตันกว่าๆ เท่านั้น ทำ�ให้อ้อยที่ภูเขียวส่วนหนึ่งจะถูกขนถ่ายไปที่ โรงนํ้าตาลมิตรภูเวียง อีกส่วนหนึ่งก็ถูกโรงนํ้าตาลอื่นเข้ามาซื้อไป แต่ ถ้าที่นี่หีบอ้อยได้เพิ่มขึ้น ชาวไร่ก็จะไม่ต้องจ่ายค่าขนส่งเพิ่ม และอ้อย ก็จะไม่หายไปจากระบบของเรา” อาณัติเล่าถึงสาเหตุที่โรงไฟฟ้าภูเขียว

ต้องมีการขยายกำ�ลังการผลิตเพิม่ ขึน้ เพือ่ เตรียมรองรับกับชานอ้อยทีเ่ พิม่ ขึน้

เมือ่ ถึงเวลานัน้ โรงไฟฟ้าทีภ่ เู ขียวจะมีกำ�ลังการผลิตเพิม่ ขึน้ อีก 26 เมกะวัตต์ โดยกำ�ลังการผลิตไฟฟ้าเฟสใหม่ทเ่ี พิม่ ขึน้ นีจ้ ะนำ�ไปใช้ภายในโรงงานนํา้ ตาล เฟสใหม่ ซึ่งเปลี่ยนจากการผลิตด้วยกังหันไอนํ้าเป็นมอเตอร์ ดังนั้นแม้ว่าจะ ใช้ไฟสูง แต่ก็จะมีประสิทธิภาพดีกว่า

เอทานอล “เพอร์เฟ็ค คอมบิเนชั่น” การทำ�ธุรกิจภายใต้แนวคิด From Waste to Value ของกลุ่มมิตรผลไม่ได้ จบลงที่โรงไฟฟ้าเท่านั้น แต่มีการต่อยอดให้กลุ่มมิตรผลอยู่บนเส้นทางการ ทำ�ธุรกิจอย่างยั่งยืนมากขึ้น ด้วยการก่อตั้งโรงงานผลิตเอทานอล มิตรผล ไบโอฟูเอล ทีอ่ ำ�เภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ขึน้ ในปี พ.ศ.2548 เพือ่ นำ�เอาโมลาส

022


หรือกากนํ้าตาล ซึ่งเป็นของเหลือจากกระบวนการผลิตนํ้าตาล มาหมักกับ ยีสต์ และกลั่นออกมาเป็นเอทานอลบริสุทธิ์ที่ 99.5% สำ�หรับนำ�ไปใช้เป็น พลังงานทดแทน โดยการนำ�ไปผสมกับนํ้ามันเบนซินในอัตราส่วนต่างๆ เช่น ถ้าผสมเอทานอลในสัดส่วน 20% ก็จะได้นํ้ามันแก๊สโซฮอล์ E20 และหาก ผสมในสัดส่วน 85% ก็จะได้นํ้ามันแก๊สโซฮอล์ E85 รวมถึงเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับโมลาส ซึ่งแต่ก่อนจะขายให้โรงเหล้า โรง ซีอิ้ว โรงอาหารสัตว์ หรือเอาไปราดถนน เพื่อลดฝุ่น หลังจากนั้นก็มีการขยายโรงงานผลิตเอทานอลทุกปี โดยแต่ละโรงมีมูลค่า การลงทุนไม่ตํ่ากว่า 1,000 ล้านบาท คือปี 2549 ก่อตั้งที่อำ�เภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2550 ก่อตัง้ โรงงานผลิตเอทานอลทีอ่ ำ�เภอแม่สอด จังหวัด ตาก โดยร่วมทุนกับบริษัท ผาแดงอินดัสตรี จำ�กัด (มหาชน) และบริษัท ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) ซึ่งโรงงานแห่งนี้มีความพิเศษคือเป็นการผลิต เอทานอลจากนํา้ อ้อยสด เพราะอ้อยทีป่ ลูกในย่านนีม้ แี คดเมียมสูงไม่สามารถ นำ�มาผลิตเป็นนํ้าตาลเพื่อบริโภคได้ และปี 2552 ได้ก่อตั้งที่อำ�เภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบนั โรงงานผลิตเอทานอล 4 แห่งของมิตรผลมีกำ�ลังการผลิตรวมทัง้ สิน้ 380 ล้านลิตรต่อปี กลุ่มมิตรผลจึงกลายเป็นผู้ผลิตเอทานอลรายใหญ่ที่สุด ในประเทศไทยและในอาเซียน โดยเอทานอลทั้งหมดจะจำ�หน่ายให้กับ บริษัทนํ้ามันในประเทศ ยกเว้นบางปีมีส่วนเกินก็จะส่งออกไปขายยังต่าง ประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และสิงคโปร์ “มาถึงวันนีเ้ ราสามารถพูดได้วา่ ถ้าจะทำ�ให้เกิดประโยชน์สงู สุด โรงงาน นํ้าตาลต้องมีโรงหีบอ้อย โรงไฟฟ้า และโรงงานผลิตเอทานอล เพราะ มันต้องพึ่งพาอาศัยกัน โดยโมเดลนี้ก็เป็น perfect combination ใน บราซิลเช่นกัน และตอนนีเ้ ราก็เป็นแบบนัน ้ แล้ว แค่เราใส่โรงผลิตเอทานอล เข้าไปอีกโรงที่ภูหลวง เราก็น่าจะประสบความสำ�เร็จในการเชื่อม 3 โพรเซส คือ นํ้าตาล ไฟฟ้า และเอทานอล เข้าด้วยกัน” ประวิทย์กล่าว

ถึงโมเดลในการขยายธุรกิจของมิตรผล

023


กำ�ลังการผลิตเอทานอลของกลุ่มมิตรผล โรงงาน โรงงานเอทานอลภูเขียว โรงงานเอทานอลกาฬสินธุ์ โรงงานเอทานอลด่านช้าง โรงงานแม่สอดพลังงานสะอาด รวม

กำ�ลังการผลิต 500,000 ลิตร/วัน 230,000 ลิตร/วัน 200,000 ลิตร/วัน 200,000 ลิตร/วัน 1,130,000 ลิตร/วัน

ความท้าทายในธุรกิจพลังงานของมิตรผล แม้ว่าปัจจุบันกลุ่มมิตรผลจะประสบความสำ�เร็จกับอุตสาหกรรมนํ้าตาล ใน ฐานะที่เป็นผู้ผลิตนํ้าตาลอันดับหนึ่งของประเทศ ซึ่งมีการหีบอ้อยปีละกว่า 20 ล้านตัน และผลิตนํ้าตาลทรายบริสุทธิ์มากกว่า 2 ล้านตัน/ปี รวมถึงยัง ประสบความสำ�เร็จกับธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ทั้งในส่วนของไฟฟ้า และ เอทานอล แต่การที่กลุ่มธุรกิจมิตรผลต้องพึ่งพาอ้อยเป็นวัตถุดิบต้นทางหลัก ก็เป็นความเสี่ยงไม่น้อย เพราะกลุ่มมิตรผลไม่ได้ทำ�ไร่เอง แต่เป็นผู้รับซื้อ อ้อยจากชาวไร่อ้อยในเครือข่าย ซึ่งมิตรผลก็มองเห็นความเสี่ยงในส่วนนี้ และพยายามหาทางออก โดยเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือหากต้องลดการ พึ่งพาชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิงให้น้อยลง ด้วยการพัฒนาหม้อไอนํ้ารุ่นใหม่ๆ ให้สามารถใช้เชื้อเพลิงชีวมวลอื่นๆ ได้มากขึ้น อย่างเช่น หม้อไอนํ้ารุ่นใหม่ๆ ของโรงไฟฟ้าที่ด่านช้างและกุฉินารายณ์ จะสามารถใช้เชื้อเพลิงเสริมได้สูง ถึง 50% “ทุกวันนี้ถ้าเราต้องขยายโรงไฟฟ้าเพิ่ม เราจะไม่บอกผู้ผลิตหม้อ ไอนํ้าแล้วว่าเราจะใช้ชานอ้อยอย่างเดียว แต่เราจะบอกว่า ต้องการได้ หม้อไอนํ้าที่สามารถใช้เชื้อเพลิงได้หลายชนิด เช่น นอกจากแกลบ อ้อย ไม้สับแล้ว ก็อาจจะต้องใช้ทลายปาล์ม และชีวมวลอื่นๆ ได้ เพื่อ

024


ให้เขาออกแบบหม้อไอนํ้าที่เหมาะสมให้ เพราะเชื้อเพลิงแต่ละชนิดให้ค่า ความร้อนต่างกัน ซึ่งจะส่งผลถึงการถ่ายเทความร้อนของเชื้อเพลิง ไปต้มนํ้าให้เดือดด้วย” อาณัติเล่าถึงการลดความเสี่ยง

อีกด้านหนึ่งก็คือการจัดการความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวไร่อ้อย เพื่อบริหาร ความเสี่ยงให้ลดน้อยที่สุด โดยจุดสำ�คัญก็คือการทำ�ให้ชาวไร่อ้อยมีกำ�ไร ด้วยการกลับไปดูว่าจะทำ�อะไรให้ชาวไร่เพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น เช่น การ คิดค้นพัฒนาพันธุ์อ้อยที่มีความทนทานต่อโรคและศัตรูพืชต่างๆ รวมถึง การแจกจ่ายวีแนส หรือกากส่าเหล้า ซึ่งเป็นอินทรีย์สารที่เหลือจากการผลิต เอทานอล และเถ้าจากโรงไฟฟ้า ให้ชาวไร่นำ�ไปใช้เป็นสารปรับปรุงดิน ซึ่ง ทำ�ให้ได้ผลผลิตดีขึ้น และมีรายได้มากขึ้น เพื่อให้พวกเขาพอใจที่จะทำ�ไร่ อ้อยต่อไป โดยภาระส่วนนี้อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท มิตรผลวิจัยพัฒนา อ้อยและนํ้าตาล จำ�กัด ซึ่งมิตรผลตั้งขึ้นเมื่อปี 2540 ที่อำ�เภอภูเขียว จังหวัด ชัยภูมิ “เพราะถ้าเขาไม่ปลูกอ้อย สิ่งที่เราลงทุนมาทั้งหมดก็จบ ไม่เหลืออะไร เลย แต่ตอนนี้ผมเชื่อว่าไม่มีใครดูแลชาวไร่อ้อย และดูแลชุมชน ได้ดี เหมือนเรา โดยทัศนคติ ‘ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ’ เป็นจุดแข็งอันหนึ่งที่เรา มี” ประวิทย์กล่าวอย่างมั่นใจ

นอกจากนี้ การที่การไฟฟ้าฯ ซึ่งเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้า เป็นผู้กำ�หนดจำ�นวนที่ ต้องการซื้อ และราคาไฟฟ้าที่ขายก็ถูกกำ�หนดโดยภาครัฐ ก็เป็นอุปสรรคอัน หนึ่งของธุรกิจไฟฟ้าเช่นกัน อย่างเช่นปัจจุบันราคารับซื้อไฟฟ้าสัญญา Firm ของกลุ่มมิตรผล ตํ่ากว่าสัญญาการขายไฟฟ้าแบบ Non-Firm ซึ่งมิตรผลได้ ทำ�เรื่องชี้แจงไปยังการไฟฟ้าฯ รวมถึงโรงไฟฟ้าบางแห่งของมิตรผลก็ยังขาย ไฟเข้าระบบไม่ได้ เพราะต้องรอสายส่ง แต่ไม่วา่ อุปสรรคในธุรกิจพลังงานจะเป็นเช่นไร หลังจากสัง่ สมประสบการณ์ ในการบริหารจัดการโรงไฟฟ้าชีวมวลมา 12 ปี จนมีบุคลากรที่มีความรู้และ ความเข้าใจในการทำ�โรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นอย่างดี กลุ่มมิตรผลก็เริ่มมีแผนที่ จะรุกตลาดธุรกิจไฟฟ้าต่อไป โดยอาจจะเป็นในลักษณะของการออกไป

025


ลงทุนทำ�โรงไฟฟ้าชีวมวลข้างนอก รวมถึงยังมองหา Innovation ใหม่ๆ ใน การผลิตไฟฟ้าต่อไป โดยนวัตกรรมที่กลุ่มมิตรผลกำ�ลังสนใจเป็นพิเศษก็ คือเทคโนโลยี gasification ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีใครนำ�มาใช้ผลิตไฟฟ้าแบบ commercial ซึ่งหากสามารถทำ�ได้สำ�เร็จ การใช้พลังงานก็จะลดลง และ ทำ�ให้มีพลังงานเหลือขายมากขึ้น “ส่วนแนวคิดการออกไปทำ�โรงไฟฟ้าชีวมวลข้างนอก อันนี้เป็น นโยบายของคุณอิสระ ท่านประธานกลุ่มฯ ที่อยากให้เราออกไป ช่วยผู้ประกอบการรายเล็ก ซึ่งพอเราไปศึกษาบางอย่างก็กลายเป็น โอกาสเหมือนกันว่าด้วยความรู้ความเชี่ยวชาญที่เรามี เราสามารถไป ส่งเสริมให้มีโรงไฟฟ้าขนาดเล็กกับชุมชน หรือกับที่อื่น ที่อาจจะไม่ใช่ ธุรกิจอ้อยและนํ้าตาลได้ โดยอาจจะเป็นการแบ่งหน่วยธุรกิจออกไป ซึ่งตอนนี้กำ�ลังศึกษากันอยู่” ประวิทย์กล่าวถึงโครงการต่อยอดธุรกิจโรง

ไฟฟ้าที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

026


ภาคผนวก ก.

สัดส่วนรายได้จากธุรกิจพลังงานหมุนเวียนของกลุ่มมิตรผล ธุรกิจ ธุรกิจไฟฟ้าชีวมวล ธุรกิจเอทานอล รวม

สัดส่วนรายได้ เมื่อเทียบกับรายได้รวมของกลุ่มมิตรผล 7% 13% 20%

ภาคผนวก ข.

เส้นทางธุรกิจ From Waste to Zero ของกลุ่มมิตรผล พ.ศ.2489 : ถือกำ�เนิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ตำ�บลกรับใหญ่ อำ�เภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โดยเริ่มจาก อุตสาหกรรมครัวเรือนขนาดเล็กที่ผลิตนํ้าเชื่อมเข้มข้นส่งขายให้โรงงานผลิตนํ้าตาลทราย พ.ศ.2499 : พัฒนาสู่อุตสาหกรรมโรงงานที่ผลิตนํ้าตาลทรายได้เองเป็นครั้งแรก พ.ศ.2526 : ก่อตั้งโรงงานนํ้าตาลมิตรภูเขียว อำ�เภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ พ.ศ.2533 : ก่อตัง้ โรงงานนํา้ ตาลมิตรผล อำ�เภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี และก่อตัง้ ธุรกิจปาร์ตเิ กิล บอร์ดขึ้นเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2536 : ขยายการลงทุนธุรกิจนํ้าตาลสู่มณฑลกวางสี สาธารณประชาชนจีน พ.ศ. 2538 : ก่อตั้งโรงงานนํ้าตาลมิตรภูเวียง อำ�เภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น พ.ศ.2540 : ก่อตัง้ โรงงานนํา้ ตาลมิตรกาฬสินธุ์ อำ�เภอกุฉนิ ารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อตัง้ โรงงานนํา้ ตาล สิงห์บุรี อำ�เภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ก่อตั้งบริษัท มิตรผลวิจัยพัฒนาอ้อยและนํ้าตาล จำ�กัด อำ�เภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ พ.ศ.2545 : ก่อตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลมิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ ที่อำ�เภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี และที่ อำ�เภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ พ.ศ.2548 : ก่อตั้งโรงงานผลิตเอทานอลมิตรผล ไบโอฟูเอล ที่อำ�เภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ พ.ศ.2549 : ก่อตัง้ โรงงานผลิตเอทานอลมิตรผล ไบโอฟูเอลทีอ่ ำ�เภอกุฉนิ ารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และ ขยายการลงทุนธุรกิจนํา้ ตาลสูแ่ ขวงสะหวันเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

027


พ.ศ.2550 : ก่อตั้งโรงงานผลิตเอทานอลที่อำ�เภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยร่วมทุนกับบริษัท ผาแดง อินดัสตรี จำ�กัด (มหาชน) และบริษัท ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) พ.ศ. 2552 : ก่อตั้งโรงงานผลิตเอทานอลมิตรผล ไบโอฟูเอล ที่อำ�เภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี และ ก่อตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ อำ�เภอแม่สอด จังหวัดตาก พ.ศ.2553 : ก่อตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลที่เมืองฝูหนาน โรงไฟฟ้าชีวมวลจากชานอ้อยแห่งแรกของสาธารณ ประชาชนจีน พ.ศ.2554 : ก่อตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลจากชานอ้อยแห่งแรกในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และก่อตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวล มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ ที่อำ�เภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ.2555 : ก่อตั้งโรงงานนํ้าตาลมิตรภูหลวง อำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเลย และก่อตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวล มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ ที่อำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเลย และขยายการลงทุนในธุรกิจนํ้าตาล สู่มลรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย

ภาคผนวก ค.

รางวัลที่ธุรกิจไฟฟ้าได้รับ รางวัลของโรงไฟฟ้ามิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ (ด่านช้าง)

ปี พ.ศ. 2548 รางวัลชนะเลิศโครงการพลังงานหมุนเวียนดีเด่นของประเทศไทย ประเภท Biomass Cogeneration Power Plant ซึ่งดำ�เนินการโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และ อนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ปี พ.ศ. 2548 รางวัลชนะเลิศโครงการพลังงานหมุนเวียนดีเด่นของอาเซียน ประเภท Biomass Cogeneration Power Plant ปี พ.ศ. 2549 ได้รับการรับรองมาตรฐานการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2000 ในวันที่ 16 เดือน ตุลาคม 2549 จากบริษัท Lloyd’s Register ปี พ.ศ. 2549 ได้รับรางวัลสถานประกอบการที่ปฏิบัติตามมาตรการในรายงานการวิเคราะห์ผลกระ ทบสิ่งแวดล้อมและมีการจัดการสภาพแวดล้อม

028


รางวัลของโรงไฟฟ้ามิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ (ภูเขียว)

ปี พ.ศ. 2550 ได้รับการรับรองมาตรฐานการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2000 ในวันที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ 2550 จากบริษัท Lloyd’s Register ปี พ.ศ. 2550 รางวัลชนะเลิศโครงการพลังงานหมุนเวียนดีเด่นของประเทศไทย ประเภท Biomass Cogeneration Power Plant ซึ่งดำ�เนินการโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และ อนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ปี พ.ศ. 2554 รางวัลชนะเลิศ Asean Energy Awards 2011 และ Thailand Energy Awards 2011 ประเภท Biomass Cogeneration Power Plant ปี พ.ศ. 2555 รางวัลดีเด่น EIA Monitoring Awards 2011 ปี พ.ศ. 2557 ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการด้านพลังงาน ISO 50001

029


เกี่ยวกับผู้จัดทำ� บริษัท ป่าสาละ จำ�กัด ป่าสาละเป็นบริษัท “ปลูกธุรกิจที่ยั่งยืน” แห่งแรกในประเทศไทย ก่อตั้งในเดือนกรกฎาคม 2556 เป้า หมายของเราคือจุดประกายและดำ�เนินวาทกรรมสาธารณะเกี่ยวกับธุรกิจที่ยั่งยืน ผ่านการจัดสัมมนา อบรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และออนไลน์ รวมทั้งผลิตงานวิจัยในประเด็นความยั่งยืน ในประเทศไทย และส่งเสริมการวัดผลตอบแทนทางสังคม


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิ ฟรีดริค เอแบร์ท 1550 อาคารธนภูมิ ชั้น 23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ มักกะสัน ราชเทวี กทม. 10410 โทร 02 652 7178 www.fes-thailand.org บริษัท ป่าสาละ จำ�กัด 2 ซอยสุขุมวิท 43 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 โทร 02 258 7383 www.salforest.com

เอกสารชิ้นนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ Creative Commons แบบAttribution Noncommercial Share Alike (by-nc-sa) โดยผู้สร้างอนุญาตให้ทำ�ซ้ำ� แจกจ่าย แสดง และสร้างงานดัดแปลงจากส่วนใดส่วนหนึ่งของงานนี้ได้โดยเสรี แต่เฉพาะในกรณี ที่ให้เครดิตผู้สร้าง ไม่นำ�ไปใช้ในทางการค้า และเผยแพร่งานดัดแปลงภายใต้ ลิขสิทธิ์เดียวกันนี้เท่านั้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://cc.in.th/ลิขสิทธิ์เดียวกัน นี้เท่านั้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://cc.in.th/ 031


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.