เลมอนฟาร์ม กรณีศึกษา นวัตกรรมสีเขียว #6 | GREEN INNOVATION CASE STUDY #6
จัดทำ�โดย บริษัท ป่าสาละ จำ�กัด | สิงหาคม 2558
กำ�เนิดร้านเลมอนฟาร์ม ร้านเลมอนฟาร์มเริ่มเปิดดำ�เนินการในปี 2542 โดยให้บริการครั้งแรกที่ สถานีบริการนํ้ามันบางจาก สาขาประชาชื่น เพื่อเป็นกลไกเชื่อมต่อระหว่าง เกษตรกรผู้ผลิตสินค้าในชนบทและผู้บริโภคในเมือง “ตอนนั้นเป็นช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (2540-2544) ก็มีเรื่องชาวบ้านลำ�บาก ชาวบ้านจน ไม่ค่อยมีโอกาส พวกเราก็คิดกันว่าอยากช่วยชาวบ้าน ซึ่งผู้ใหญ่หลายๆ ท่าน อย่าง อาจารย์ประเวศ (วะสี) คุณโสภณ (สุภาพงษ์) อาจารย์เสม (พริ้งพวงแก้ว) อาจารย์ระพี (สาคริก) และอาจารย์เอกวิทย์ (ณ ถลาง) ก็ ช่วยกันหาหลายๆ วิธี ซึ่งการตั้งเลมอนฟาร์มก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำ�ให้ ชาวบ้านมีรายได้มากขึน ้ จากการทีเ่ รานำ�ผลิตผลการเกษตรและสินค้า เกษตรแปรรูปจากชุมชนต่างๆ มาช่วยจัดจำ�หน่าย” สุวรรณา หลัง่ นา้ํ สังข์
ผู้บริหารเลมอนฟาร์มย้อนเล่าที่มาให้ฟัง
02
เกษตรอินทรีย์ กระบวนการเขียวของเลมอนฟาร์ม พร้อมกับการปรับรูปแบบการดำ�เนินงาน ผู้บริหารเลมอนฟาร์มเริ่มมองหา วิถีทางในการดำ�เนินธุรกิจที่ชัดเจน มากกว่าเพียงการช่วยชาวบ้านขายของ เพราะนับตัง้ แต่ปี 2544 รัฐบาลเริม่ มีนโยบายส่งเสริมผลิตภัณฑ์ “หนึง่ ตำ�บล หนึ่งผลิตภัณฑ์” หรือโอท็อป (OTOP) ซึ่งมีการเชื่อมโยงสินค้าจากแต่ละ ชุมชนไปสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์จากชุมชนต่างๆ กลายเป็นของที่ผู้คนทั่วไปสามารถหาซื้อได้ง่าย เลมอนฟาร์มจึงขยับมาให้ ความสำ�คัญกับเรื่องสุขภาพ เพื่อทำ�ให้การทำ�งานชัดขึ้น
“เพราะตอนช่วยเกษตรกรนี่เหมือนกับอะไรก็ได้ คุณมีอะไรมา เรา พยายามช่วยทำ�ตลาดให้ ซึ่งบางทีก็ไม่ใช่ของตรงกับความต้องการ ของผู้บริโภคนัก หรืออย่างพืชผัก ตอนแรกเราก็ทำ�แค่เรื่องผัก ปลอดภัยจากสารพิษ ซึ่งเป็นผักที่ยังใช้ยาฆ่าแมลง ใช้ปุ๋ยเคมี เพียง แต่เก็บในช่วงทีผ ่ ลผลิตปลอดภัยจากสิง่ เหล่านี้ แต่หลังจากเราทำ�งาน กับผู้บริโภคมากๆ เราก็พบว่าอาหารสะอาดเป็นกุญแจสำ�คัญของ เรื่องสุขภาพ และเป็นความจำ�เป็นของชีวิต เราจึงเริ่มขยับมาทำ�เรื่อง
03
เกษตรอินทรีย์ เพราะมองว่าเป็นคำ�ตอบของเรื่องสุขภาพโดยตรง”
สุวรรณาเล่าถึงจุดเปลีย่ นครัง้ สำ�คัญของเลมอนฟาร์มทีห่ นั มาใช้เรือ่ งสุขภาพ เป็นแนวทางในการทำ�ธุรกิจ ควบคู่ไปกับเรื่องเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นการก้าว เข้าสูเ่ ส้นทางการทำ�ธุรกิจอย่างยัง่ ยืน เพราะเป็นวิถที เ่ี ป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม เกษตรกร และผู้บริโภค สุวรรณาอธิบายถึงปัจจัยเกื้อหนุนที่ทำ�ให้เลมอนฟาร์มใช้แนวคิดสุขภาพ เป็นจุดมุ่งหมายในการทำ�งาน โดยมีเรื่องเกษตรอินทรีย์เป็นหัวใจสำ�คัญว่า เนื่องมาจากชีวิตของผู้คนในสังคมเดินมาถึงทางแยกที่ต้องเลือกระหว่าง การมีสุขภาพดี หรือความเจ็บป่วย เพราะหลายปีที่ผ่านมา คนไทยเจ็บป่วย และเสียชีวิตจากโรคอันเนื่องมาจากพฤติกรรมมากกว่าเชื้อโรค ที่ภาษา แพทย์เรียกว่า โรคไม่ติดต่อ (Non-Communicable Diseases หรือ NCDs) อย่างโรคมะเร็ง หลอดเลือดสมอง หัวใจขาดเลือด เบาหวาน และความดัน โลหิตสูง โดยในปี 2552 คนไทยเสียชีวิตด้วยโรค NCDs 300,000 คน หรือ คิดเป็นร้อยละ 73% ของอัตราการเสียชีวิต สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ผู้คน เสียชีวิตด้วยโรค NCDs 63% ในช่วงเวลาเดียวกัน
“โรคเหล่านี้มีที่มาจากการกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ อาหารที่มีสาร พิษ ขาดการออกกำ�ลังกาย และความเครียด เราจึงต้องการนำ�เสนอ อาหารสะอาด พร้อมกับบอกกล่าวกับผู้บริโภคถึงวิธีการที่ทำ�ให้ สุขภาพดี” สุวรรณาให้เหตุผล
สำ�หรับปัจจัยเกื้อหนุนที่ทำ�ให้เลมอนฟาร์มเลือกวิถีเกษตรอินทรีย์เป็น กลยุทธ์สำ�คัญในการนำ�เสนอสินค้านั้น นอกจากจะมีมิติที่ซ้อนทับกับเรื่อง สุขภาพของผู้บริโภคและเกษตรกรแล้ว ยังเป็นการเลือกวิถีการทำ�ธุรกิจที่ ยั่งยืนอีกด้วย เพราะการใช้ปัจจัยการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ ว่าจะเป็นยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ปุ๋ยเคมี เป็นเรื่องต้องห้ามอย่างเด็ดขาด ของเกษตรอินทรีย์ และไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ปัจจัยการผลิตเหล่านี้ยังทำ�ให้เกษตรกรเสียค่าใช้จ่ายในการผลิตพืชผล เป็นจำ�นวนมาก แถมยังส่งผลเสียต่อสุขภาพของทั้งคนปลูกและคนบริโภค
04
ด้วย โดยในปี 2550 ประเทศไทยมีการนำ�เข้าสารเคมีทางการเกษตรสูงเป็น อันดับ 5 ทั้งที่มีพื้นที่ทางการเกษตรอันดับ 48 ของโลก นอกจากนี้ในปี 2554 กรมควบคุมโรคยังเปิดเผยข้อมูลว่า ตรวจพบสารเคมี ปนเปื้อนในเลือดระดับเกินมาตรฐานในเกษตรกร 32% หรือ 173,243 ราย จากจำ�นวนที่ตรวจทั้งสิ้น 533,524 ราย และพบในผู้บริโภคถึง 37% คือ 35,949 ราย จากจำ�นวนที่ตรวจทั้งสิ้น 99,283 ราย “แม้ว่าผู้ใช้สารเคมีจะเป็นเกษตรกร แต่ผู้บริโภคมีความเสี่ยงที่จะ ได้รับผลกระทบมากกว่า เพราะว่าไม่รู้ ส่วนเกษตรกรรู้จึงพยายาม ป้องกันและหลีกเลี่ยง” สุวรรณาให้เหตุผลที่ทำ�ให้เลมอนฟาร์มเลือกวิถี
เกษตรอินทรีย์ในการทำ�ธุรกิจค้าปลีก เพราะหวังว่าจะช่วยลดการใช้สาร เคมี อย่างน้อยก็ในกลุ่มที่ผลิตเกษตรอินทรีย์ให้กับเลมอนฟาร์ม และช่วยให้ ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดีจากการได้รับประทานอาหารที่สะอาดปลอดภัยและ ช่วยด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
05
เกษตรอินทรีย์มุ่งไปที่เกษตรกรรายย่อย เมื่อตัดสินใจว่าจะใช้เกษตรอินทรีย์เป็นกลยุทธ์ สิ่งที่เลมอนฟาร์มทำ�ก็คือ การค้นหาเกษตรกรที่มีความสนใจเรื่องเกษตรธรรมชาติ เพื่อนำ�ผลผลิตมา จำ�หน่าย เนื่องจากตอนนั้นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในเมืองไทยยังอยู่ในช่วง เริ่มต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ในร้านเลมอนฟาร์มยุคแรกๆ จึงเป็นผัก อินทรีย์จากกลุ่มเกษตรธรรมชาติในจังหวัดสุพรรณบุรี ข้าวอินทรีย์จากกลุ่ม เกษตรอินทรีย์ของหลวงพ่อนาน จังหวัดสุรินทร์ และจากกลุ่มศีรษะอโศก จังหวัดศรีสะเกษ นอกจากการเฟ้นหาผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ที่มีเกษตรกรผลิตอยู่แล้ว เข้ามาจำ�หน่ายภายในร้าน เลมอนฟาร์มยังต้องทำ�มากกว่านั้นคือไปช่วย ส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยอื่นๆ เปลี่ยนมาทำ�เกษตรอินทรีย์ เพื่อทำ�ให้ ผู้บริโภคมีสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้เลือกบริโภคมากขึ้น จากช่วงเริ่มต้นที่มี เพียง 10% แต่ปัจจุบันร้านเลมอนฟาร์มมีผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์อย่าง ผัก ผลไม้ ข้าว ธัญพืช จำ�หน่ายอยู่ที่ 80% ส่วนอีก 20% ที่เหลือเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ปลอดภัยจากสารพิษ เพราะยังไม่สามารถผลิตในแบบเกษตรอินทรีย์ได้ จากประสบการณ์การเข้าไปส่งเสริมให้เกษตรกรทำ�เกษตรอินทรีย์ สุวรรณา สรุปว่า ความสำ�เร็จในการเพิ่มผลผลิตเกษตรอินทรีย์ภายในร้านมาจากการ คัดเลือกเกษตรกรที่จะร่วมทำ�งานด้วย โดยเลมอนฟาร์มจะให้ความสำ�คัญ กับการตรวจสอบวิธีคิดของเกษตรกรอย่างมากว่าถึงคิดเรื่องสุขภาพและ สิ่งแวดล้อมแบบเดียวกันไหม สนใจเรื่องเดียวกันหรือเปล่า และที่สำ�คัญคือ มีผู้นำ�กลุ่มที่เข้มแข็งหรือไม่ เพราะหากผู้นำ�กลุ่มมีความเข้มแข็ง โอกาสที่ จะประสบความสำ�เร็จในการทำ�เกษตรอินทรีย์ก็มีสูง แน่นอนว่าเกษตรกร อีกกลุ่มที่มีศักยภาพสูงก็คือ เกษตรกรที่เคยได้รับผลเสียจากสารพิษมาแล้ว อาจจะเป็นพ่อแม่ป่วย หรือตัวเองป่วย แล้วต้องการเปลี่ยนจากการทำ� เกษตรเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์
06
“โดยเวลาเราเข้าไปส่งเสริมชาวบ้าน เราจะเอาเกษตรกรที่ทำ�จริงเป็น ตัวตั้ง โดยดูว่าเขาอยู่ตรงไหน แล้วไปทำ�ให้เกิดตรงนั้น เรื่องแบบนี้ไม่ สามารถคิดงานบนโต๊ะได้ คือเราจะไม่กำ�หนดไปล่วงหน้าได้ว่าอยาก ได้อันโน้นอันนี้จากที่นั่นที่นี่ เพราะแบบนั้นโอกาสเกิดจะยาก เพราะ ตรงนั้นอาจจะไม่ใช่เกษตรกรตัวจริง” สุวรรณาอธิบาย
เมือ่ ได้เกษตรกรตัวจริงมา นอกจากจะช่วยให้ความรู้ และกระบวนการทำ� เกษตรอินทรียแ์ ล้ว เลมอนฟาร์มยังต้องพยายามทำ�ให้คนในพืน้ ทีร่ วมกลุม่ กัน ทำ�เกษตรอินทรีย์ เพือ่ สร้างปริมาณผลผลิตให้ได้จ�ำ นวนทีค่ มุ้ ค่ากับการขนส่ง สินค้า ซึง่ เป็นค่าใช้จา่ ยสำ�คัญทีท่ �ำ ให้ตน้ ทุนของเกษตรอินทรียม์ รี าคาแพง “เราก็ต้องพูดกันว่าถ้าชาวบ้านจะทำ�จะต้องส่งผลผลิตมาทีกี่ร้อย กิโลถึงจะคุ้ม เช่น ต้องส่งสินค้าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 300-500 กิโลกรัม เพราะถ้าส่งมาน้อยๆ ค่าขนส่งเฉลีย ่ ต่อกิโลก็จะสูง เกษตรกร ที่เขาเคยทำ�เกษตรเคมีมาก่อนเคยบอกเราว่าเมื่อก่อนส่งกะหล่ำ�ปลี เคมีทีละ 1 รถปิกอัพ คือประมาณ 2-3 ตัน ราคาเฉลี่ยค่าขนส่งก็จะ อยู่ที่กิโลละบาท แต่พอเขามาปลูกกะหล่ำ�ปลีอินทรีย์เขาเก็บผลผลิต ได้ทีละ 300 กิโล เราก็ต้องให้เขาส่งแม้ค่าใช้จ่ายจะสูง เพราะไม่งั้นเขา ก็ไปต่อไม่ได้ เราก็ต้องอะลุ้มอล่วย ประคับประคองเกษตรกร เพราะ กลัวว่าเขาจะเลิกทำ�” สุวรรณาอธิบาย
ส่วนกฎเหล็กที่เลมอนฟาร์มหลีกเลี่ยงในการเลือกเกษตรกรก็คือ เกษตรกรที่ อยากเปลี่ยนมาทำ�เกษตรอินทรีย์เพราะอยากได้เงินเป็นตัวตั้ง เพราะมักจะ พบว่าทำ�ไปไม่นานก็เลิกรา หรือไม่ซื่อสัตย์ “เกษตรกรที่เราทำ�งานด้วยก็มีทั้งที่เขาติดต่อเข้ามา และเราไปเจอ คือต้องบอกว่าฐานคิดของเราเป็น NGO หน่อยๆ แล้วเราก็มีเพื่อน NGO เยอะ ก็จะได้ข้อมูลจากเพื่อนๆ ว่ามีกลุ่มไหนน่าสนใจบ้าง เราก็ เข้าไปเสาะหาชาวบ้านที่เขามีแนวคิดเรื่องการพัฒนาชุมชน สนใจสิ่ง แวดล้อม อยากทำ�ของดีๆ ให้ผู้บริโภค คือเราจะเลือกทำ�งานกับกลุ่ม ที่ค่อนข้างแข็งแรง ส่วนกลุ่มที่พูดเรื่องเงินมาก เราก็ไม่คุยด้วย เรา
07
จะบอกไปเลยว่า เราไม่ได้สัญญาว่าทำ�แล้วจะขายได้เยอะ แต่ถ้าจะทำ� เพราะอยากพัฒนาชุมชนของเขาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและ เพื่อพัฒนาผลผลิตที่ดีกว่า เดี๋ยวเงินจะตามมา” สุวรรณาเล่า
สำ�หรับเกษตรกรที่เลมอนฟาร์มเข้าไปส่งเสริมให้ปรับเปลี่ยนวิถีมาทำ�เกษตร อินทรีย์ โดยทั่วไปเลมอนฟาร์มจะรับผลผลิตเข้ามาจำ�หน่ายภายในร้านหลัง ระยะเวลาปรับเปลีย่ นแล้ว เช่น พืชล้มลุกอย่างข้าว ผัก ธัญพืชจะมีระยะเวลา ปรับเปลี่ยน 1 ปี แต่ถ้าเป็นไม้ผลจะมีระยะเวลาในการปรับเปลี่ยน 3 ปี เพื่อ ให้มีการล้างสารเคมีในดินออกให้หมด แต่จะมีการเข้าไปเยี่ยมเยียน พูดคุย ตรวจแปลงเพาะปลูกอย่างสมํ่าเสมอ ส่วนเกษตรกรที่ทำ�เกษตรอินทรีย์อยู่ก่อนแล้ว ก่อนที่เลมอนฟาร์มจะรับ ผลผลิตมาจำ�หน่าย สุวรรณาและทีมงานก็ต้องเข้าไปพูดคุย ไปเยี่ยมเยือน ไปตรวจแปลงเพาะปลูกว่ามีกระบวนการผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เช่นกัน และหลังจากนั้นก็จะต้องกลับไปดูตลอด “ความยากลำ�บากในการทำ�เกษตรอินทรีย์คือ ต้องปรับความคิด กันให้ได้ เราต้องไปหาเขาบ่อย เกษตรอินทรีย์เจ้าแรกของเราคือที่ สุพรรณบุรี เขาทำ�ผัก เราก็ต้องไปแล้วไปอีก ซึ่งถ้าคิดค่าใช้จ่ายตรง นี้ด้วยก็ไม่ค่อยคุ้มหรอก เพราะบางทีกว่าเราจะไปชักชวนเขาให้เปลี่ยน วิถีก็ใช้เวลา แต่พอมีปัญหาแป๊บเดียวเขาหายไปแล้ว เราก็ต้องไป ถามไถ่ ไปเยี่ยม ดังนั้นค่าจัดการเรื่องส่งเสริมชาวบ้านค่อนข้างเยอะ ยิ่งสมัยก่อนที่เมืองไทยเพิ่งเริ่มมีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เรายิ่งต้อง ทำ�งานเยอะ ต้องตรวจสอบกันเองว่าใส่อะไรบ้าง อะไรใช้ได้ ใช้ไม่ได้”
นอกจากการให้แนวทางการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์แล้ว อีกสิ่งที่สำ�คัญ มากๆ คือการวางแผนให้เกษตรกรผลิตได้ทั้งปี เช่น ชาวบ้านในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ ช่วงหลังฤดูกาลทำ�นา จะปลูกพืชที่ใช้เวลานานไม่ได้ เพราะ ไม่มีนํ้า ก็ต้องหันมาทำ�หอม กระเทียม เพราะเป็นดินทราย คือเลมอนฟาร์ม ต้องพยายามช่วยเกษตรกรคิดว่า ทำ�อย่างไรเขาจะมีรายเป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี เพื่อที่พวกเขาจะได้ทำ�เกษตรอินทรีย์ได้อย่างยั่งยืน
08
แต่เนื่องจากการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ของเลมอนฟาร์มเป็นการส่งเสริมใน ลักษณะของการเข้าไปทำ�กระบวนการ มากกว่าที่จะเป็นการส่งเสริมตาม มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง เลมอนฟาร์มจึงใช้วิธีการ ตรวจสอบผลผลิตที่เกษตรกรส่งเข้ามาให้ที่ร้านด้วยการสุ่มตรวจผลผลิต อินทรีย์ทุกๆ สัปดาห์ด้วย โดยตรวจหมุนเวียนกันไปด้วย Test Kit หรือชุด ทดสอบหาสารพิษในอาหาร ซึง่ จะสามารถตรวจหาสารพิษอย่างคาร์โบฟูแรน สารเคมีในการกำ�จัดแมลง สารป้องกันเชือ้ ราและโรคพืช หากมีตวั อย่างไหน ที่น่าสงสัยก็จะส่งไปตรวจที่แล็บใหญ่ เพื่อทำ�การตรวจอย่างละเอียด แม้ว่า จะมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 5,000-10,000 บาทก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าผลผลิต ที่จำ�หน่ายไม่มีสารพิษ
09
จูงใจด้วยราคารับซื้อที่สูงกว่า นอกจากเหตุผลเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมแล้ว อีกปัจจัยสำ�คัญที่ทำ�ให้ เกษตรกรหันมาทำ�เกษตรอินทรีย์ก็คือ การขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงกว่า ซึ่งจะช่วยชดเชยกับปริมาณผลผลิตที่ลดลง และการสูญเสียรายได้ในช่วง ระยะเวลาปรับเปลี่ยน คือหากเป็นพืชล้มลุก อย่างข้าว หรือผัก จะต้องใช้ เวลา 1 ปี แต่ถ้าเป็นไม้ผล ต้องใช้เวลา 3 ปี เพื่อล้างสารเคมีที่อยู่ในดิน นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการทำ�เกษตรของเกษตรกรอินทรีย์ก็ยังลดลง เพราะ ไม่ต้องเสียเงินซื้อปัจจัยการผลิตอย่างยาฆ่าแมลง และปุ๋ยเคมี เพียงแต่ว่า ต้องทำ�งานมากขึ้น ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ตัดหญ้าและกำ�จัดวัชพืช อย่างไรก็ดี เลมอนฟาร์มไม่ได้ผูกขาดว่าเกษตรกรอินทรีย์ที่บริษัทเข้าไปส่ง เสริมจะต้องขายผลผลิตให้เลมอนฟาร์มเพียงรายเดียว เพราะไม่ได้เป็นการ ส่งเสริมในลักษณะของเกษตรพันธสัญญาหรือคอนแทร็คฟาร์มมิ่ง “แต่ส่วนมากเขาก็ขายให้เราแหละ เพราะได้ราคาดีที่สุดอยู่แล้ว แถม เรายังไม่ค่อยจู้จี้เรื่องขนาดของผลผลิต เช่น ต้องขนาดเท่านั้นเท่านี้ ถึงจะรับ เพราะเราเข้าใจว่าการทำ�เกษตรอินทรีย์คุมขนาดผลผลิต ได้ยาก และเราก็สื่อสารจนลูกค้าของเลมอนฟาร์มยอมรับในเรื่องนี้ ฉะนั้นบางทีถ้าผักที่มาส่งมีขนาดเล็กเราก็ช่วยรับ แต่ว่าก็ต้องมี คุณภาพระดับหนึ่ง เพราะถ้าขี้เหร่เกินไปเราก็รับไม่ไหว เขาก็ต้อง มีมาตรฐานในการผลิตพอสมควร ต้องพยายามทำ�เรื่องปรับปรุง คุณภาพด้วย ไม่ใช่ว่าขี้เหร่มากแต่จะขอราคาเท่าคนอื่น”
010
สำ�หรับหลักเกณฑ์ในการตัง้ ราคารับซือ้ ผลผลิตเกษตรอินทรียข์ องเลมอนฟาร์ม นั้น สุวรรณาบอกว่าไม่มีเกณฑ์ตายตัว แต่จะใช้วิธีการร่วมกันตั้งราคา โดย ทางเลมอนฟาร์มจะถามเกษตรกรว่าต้องการราคาเท่าไร และราคาผลผลิต ประเภทเดียวกันในพื้นที่อยู่ที่เท่าไร โดยเลมอนฟาร์มจะให้สูงกว่า ซึ่งบอก ได้ยากว่าให้ราคาสูงกว่าเท่าไร เพราะแล้วแต่ชนิดของพืชผล และแล้วแต่ว่า ราคาถึงผู้บริโภคสุดท้ายเลมอนฟาร์มคิดว่าจะขายไหวไหม เช่น ราคาข้าว อินทรีย์ เลมอนฟาร์มจะให้ราคาสองหมื่นกว่าบาทต่อเกวียน โดยไม่ได้หัก ค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้น ส่วนผักอาจจะให้ราคาสูงกว่า 30% โดยราคารับซื้อ จะเป็นราคาทั้งปี แต่ผลไม้จะให้ราคาสูงกว่าผลไม้เคมีเป็นเท่าตัว เพราะว่า ทำ�ยาก และเกษตรกรต้องทำ�งานเหนื่อย ปริมาณผลผลิตมีน้อย แต่ทั้งนี้ก็ จะมีการปรับราคาขึ้นลงตามปริมาณของผลผลิตด้วย สำ�หรับราคาจำ�หน่ายให้กับผู้บริโภค สุวรรณาบอกว่า ถ้าเทียบกับราคา ผลผลิตอินทรีย์ด้วยกัน ราคาของเลมอนฟาร์มจะไม่สูงกว่าที่อื่นแน่นอน แต่ อาจจะบอกเป็นเปอร์เซ็นต์ไม่ได้ อย่างผลไม้ราคาของเลมอนฟาร์มจะตํ่า กว่ามาก เช่น “ช่วงนี้บางที่ขายมังคุด 175 บาทต่อกิโลกรัม แต่เราขาย
011
อยู่ที่ 125-130 บาท เพื่อให้ผู้บริโภคเอื้อมถึง ถึงอย่างนี้ผู้บริโภคที่ ซื้อราคานี้ได้ก็มีนิดเดียว” “บางทีเราก็อยากตั้งราคาเอง เพราะบางครั้งชาวบ้านก็ตั้งเว่อร์ เหมือนกัน คือเขาคิดว่าเกษตรอินทรีย์ราคาต้องสูง ขณะที่ผู้บริโภค ส่วนมากยังไม่คด ิ แบบนัน ้ แต่สว่ นใหญ่เราไม่คอ่ ยได้ตง้ั ราคา ชาวบ้าน เขาตั้งมา เราก็จะ cross check นิดหน่อย โดยเฉพาะในเรื่องที่ว่าผู้ บริโภคสุดท้ายจะรับไหวไหม เพราะว่าเราต้องมีค่าจัดการ ค่าขนส่ง ค่ากระจายสินค้า ถ้าผู้บริโภครับไหว ก็ตั้ง” สุวรรณาถึงสาเหตุที่ทำ�ให้
บางครั้งราคาพืชผลเกษตรอินทรีย์ที่เลมอนฟาร์มรับซื้อจากเกษตรกรจะใกล้ กับราคาผลผลิตเกษตรเคมีที่ขายกันในตลาดกรุงเทพทีเดียว
นอกจากชดเชยที่ผลผลิตลดลงแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งที่เลมอนฟาร์มให้ราคา ผลผลิตสูงกับเกษตรกรอินทรีย์ก็เพราะต้องการให้มีเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าไป สืบสานงานต่อจากบรรพบุรุษ เพราะปัจจุบันจำ�นวนเกษตรกรรุ่นเก่าลดลง เนื่องจากมีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนเกษตรกรรุ่นใหม่ ซึ่งมีการโอกาสทางการ ศึกษาสูงขึ้น ได้เรียนมหาวิทยาลัย มีโอกาสทำ�งานที่มีรายได้สูงในเมือง ก็จะ ไม่กลับไปทำ�เกษตร ถ้าไม่มีรายได้ที่ดี ดังนั้นแม้ว่าราคาของผลผลิตอินทรีย์ ที่สูงจะเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงผู้บริโภคในขณะนี้ ก็ต้องยอมเพื่อให้มีผู้ สืบสานงานต่อไป
เพิ่มผลผลิตเกษตรอินทรีย์ด้วยมาตรฐาน PGS นอกจากผลผลิตที่ลดลง เกษตรกรต้องทำ�งานหนักขึ้น อีกส่วนหนึ่งที่ทำ�ให้ สินค้าเกษตรอินทรีย์มีราคาสูงก็คือค่าใช้จ่ายที่เกษตรกรต้องจ่ายในการขอ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะมาตรฐานระดับสากล และระดับประเทศ ซึ่งนอกจากจะมีราคาสูงแล้ว เกษตรกรรายย่อยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลก็ยิ่งเข้า ถึงการรับรองได้ยาก เพราะบางพื้นที่ยังไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐที่จะเข้าไปตรวจ รับรองให้ ทำ�ให้เกษตรกรรายย่อยไม่มีขีดความสามารถในการขอมาตรฐาน
012
อินทรีย์ แม้ว่าพวกเขาจะมีความสามารถในการทำ�เกษตรอินทรีย์ก็ตาม เลมอนฟาร์มซึ่งทำ�งานใกล้ชิดกับเกษตรกรรายย่อยมานานมองเห็นปัญหานี้ จึงได้ขอรับการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ในการทำ�โครงการส่งเสริมการทำ� เกษตรอินทรีย์ภายใต้กระบวนการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ภายใต้การส่งเสริม การรับรองแบบชุมชนรับรอง หรือ PGS (Participatory Guarantee System) จากธนาคารเพือ่ การพัฒนาเอเชีย หรือ ADB (Asian Development Bank) เพื่อนำ�มาใช้ในการรับรองเกษตรรายย่อยที่เลมอนฟาร์มเข้าไปทำ�งานด้วย PGS เป็นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสำ�หรับเกษตรกรรายย่อย เพราะ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเหมือนกับการขอคำ�รับรองตามมาตรฐานสากลหรือ มาตรฐานระดับประเทศ ทีต่ อ้ งมีเจ้าหน้าทีข่ องหน่วยงานรัฐหรือเอกชนเข้าไป ตรวจสอบ แต่ PGS เป็นกระบวนการรับรองแบบมีส่วนร่วม คือที่เป็นการ รับรองเกษตรกรทีเ่ ป็นสมาชิกของกลุม่ โดยองค์กรผูผ้ ลิตเอง หรืออาจเป็นการ ดำ�เนินการของผู้ซื้อผลผลิตจากเกษตรกร ซึ่งในส่วนของผลผลิตเกษตร อินทรีย์ของเลมอนฟาร์ม PGS ก็จะเป็นการตรวจรับรองร่วมกันระหว่าง ชุมชมผู้ผลิตและเลมอนฟาร์ม โดยเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพที่ตั้งไว้จะเป็น มาตรฐานเดียวกับ Organic Thailand “กระบวนการของ PGS ดีตรงที่จะช่วยยกระดับเกษตรกรรายย่อยขึ้น มาเรื่อยๆ ในเชิงความสามารถ เพราะทุกอย่างต้องมีการบันทึกเป็น เอกสาร มีการแลกเปลี่ยน มีการประชุมกลุ่ม ซึ่งในการเข้าไปทำ�เราก็ จะเลือกกลุ่มเกษตรกรที่มีรากลึก มีผู้นำ�ชุมชนที่เข้มแข็ง มีแนวคิดใน การพัฒนา และเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยบางกลุ่มเคยส่งผลผลิต ให้กับเรา แต่ต้องการขยายกลุ่มให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งหัวหน้ากลุ่มก็ต้องมี บทบาทในการช่วยดูแล อย่างชุมชนหมู่บ้านผาเจริญที่ทำ�ผลไม้เมือง หนาว ซึ่งเป็นชุมชนแรกที่ได้รับการรับรองจาก เลมอนฟาร์ม PGS”
สุวรรณายกตัวอย่าง
โดยก่อนที่จะได้รับการรับรอง ขั้นตอนการดำ�เนินการก็เริ่มจากการลงไป สำ�รวจพื้นที่ของทางเลมอนฟาร์ม มีการประชุมเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ
013
เกี่ยวกับเรื่องมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ว่าอะไรทำ�ได้ ทำ�ไม่ได้ และมีการฝึก อบรมเกี่ยวกับการตรวจสอบ มีการทำ�เอกสารหลักฐานของคนที่ต้องการ เข้าร่วมกลุ่ม เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล รวมถึงมีการทำ�แผนผังของแปลงเพาะ ปลูก มีการให้สัตยาบัน เกษตรกรมีการตรวจแปลงเพาะปลูกของกันและกัน โดยมีเลมอนฟาร์มร่วมตรวจด้วย เพื่อเป็นการตรวจสอบก่อนให้การรับรอง มาตรฐาน PGS
“ถามว่าชุมชนจะหลอกเราได้ไหม ก็อาจจะได้ แต่เราสามารถ cross check เรื่องจำ�นวนผลผลิตของเขาได้ เพราะมีบันทึกไว้หมดแล้วว่าใน แต่ละแปลงเขาปลูกอะไรบ้าง และผลผลิตทีไ่ ด้มป ี ระมาณเท่าไร รวมทัง้ เราก็มีการสุ่มตรวจทางเคมีด้วย”
นอกจากที่หมู่บ้านผาเจริญ แม่ฮ่องสอน แล้ว เลมอนฟาร์มยังอยู่ระหว่าง การทำ�งานกับเกษตรกรอินทรีย์อีก 6 กลุ่ม คือที่จังหวัดอุบลราชธานี 2 กลุ่ม ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะปลูกข้าว และถั่ว ที่ระยอง 1 กลุ่ม เป็นกลุ่มที่ทำ�สวนผลไม้ แบบเกษตรธรรมชาติมา 10 ปีแล้วแต่ต้องการขยายกลุ่มและขยายตลาด ที่ สุพรรณบุรี 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มปลูกผัก และที่เชียงใหม่อีก 1 กลุ่ม เป็นกลุ่มที่
014
ทำ�ผลไม้เมืองหนาว ซึ่งถ้าทำ�ได้ครบทั้ง 7 กลุ่มใน 5 จังหวัดนี้ เลมอนฟาร์ม คาดว่าจะมีผลผลิตเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น 800 ตัน โดยนอกจากจะเป็นพวก ผัก ผลไม้ และข้าวเพิ่มขึ้นแล้ว ยังหวังว่าจะได้ธัญพืชอินทรีย์เพิ่มขึ้น รวมถึง วางแผนที่จะให้เกษตรกรเหล่านี้ช่วยตรวจสอบกันเองแบบข้ามกลุ่มด้วย “ที่ผ่านมาธัญพืชอินทรีย์มีน้อยมาก ทั้งๆ ที่เป็นอาหารสำ�คัญ มีแค่ ถั่วเขียวเท่านั้น ตอนนี้เราเริ่มได้ถั่วแดง ถั่วดำ� และงา เข้ามาเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่เยอะ เมื่อก่อนเราเคยได้ถั่วเหลืองอินทรีย์จากทางภาคเหนือ นิดหน่อย แต่พอรัฐบาลประกันราคาข้าวเขาก็หันไปปลูกข้าวเคมีแทน เลิกปลูกถั่วเหลืองไปเลย แต่ตอนนี้ข้าวราคาตก ก็เลยกำ�ลังฟื้นกลุ่ม เพื่อกลับมาทำ�เกษตรอินทรีย์ใหม่” สุวรรณาเล่าให้ฟัง
แสนสะอาด สินสายไทย หรือที่คนคุ้นเคยเรียกสั้นๆ ว่า “แสน” ผู้นำ�ชุมชน ผาเจริญ อำ�เภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้เข้า ร่วมโครงการเลมอนฟาร์ม PGS เป็นรายแรกเล่าให้ฟังว่า ชุมชนของเขามี พื้นที่เกษตร 95 ไร่ อยู่ร่วมกัน 24 ครอบครัว ทั้งหมดเป็นชาวไทยภูเขาเชื้อ สายลาหู่ ประกอบอาชีพปลูกผลไม้เมืองหนาวในลักษณะเกษตรธรรมชาติ “เราเริ่มทำ�เกษตรอินทรีย์ตั้งแต่ปี 2549 โดยเรียนรู้จากเครือข่าย เกษตรกรรมทางเลือก ซึ่งมีกลุ่มที่แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำ�พูน ลำ�ปาง แต่ช่วง 2-3 ปีหลังเราเปลี่ยนมาทำ�เกษตรธรรมชาติ เพื่อยก ระดับผลผลิตของเรา เพราะตอนทำ�เกษตรอินทรีย์ก็ต้องมีการทำ� ปุ๋ยอินทรีย์ ทำ�สารชีวภาพเพื่อใช้กับต้นไม้ แต่พอเปลี่ยนมาทำ�เกษตร ธรรมชาติ เราใช้ธรรมชาติดูแลธรรมชาติ อย่างเช่นในพื้นที่ 8 ไร่ของ ผม จะพยายามปลูกพืชให้มีความหลากหลาย คือใน 5 ตารางเมตร จะพยายามปลูกพืชที่ใช้ประโชน์ได้ประมาณ 7 ชนิด อย่างตรงนี้ก็จะมี ต้นท้อ ลูกไหน กาแฟ บุก ขิง ตะไคร้ หอม เมี่ยงหรือชาอัสสัม ซึ่งเอา ไปยำ�กับปลากระป๋องอร่อย” แสนอธิบายพร้อมกับชี้ให้ดูพื้นที่รอบๆ
นอกจากให้ต้นไม้ดูแลกันเองแล้ว สิ่งมีชีวิตในพื้นที่อื่นๆ ก็ช่วยดูแลพืชผลให้ ด้วย เช่น มดจะช่วยกินเพลี้ย หรือแมลงหางหนีบจะช่วยกินไข่หรือตัวหนอน
015
ที่เป็นศัตรูพืช เช่นเดียวกับนกอีกหลายชนิด งานที่เกษตรกรธรรมชาติต้อง ทำ�ก็คือการตัดหญ้าปีละ 3-5 รอบ โดยจะตัดในช่วงที่หญ้าเริ่มตั้งท้อง เพื่อ จะได้ยังไม่มีเมล็ดที่จะแพร่กระจาย นอกจากนั้นก็เป็นงานตัดแต่งกิ่ง เสียบ กิ่งเพื่อปรับปรุงพันธุ์ ให้ได้ผลผลิตที่มีรสชาติอร่อยตรงกับความต้องการ ของผู้บริโภค และให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ห่อผลไม้อย่างท้อไต้หวัน สาลี่ ด้วยถุง พลาสติกที่ย่อยสลายได้ และการเก็บผลผลิต ซึ่งเป็นงานที่หนัก เพราะต้อง เลือกเก็บแต่ลูกที่สุกกำ�ลังได้ที่ทีละลูก ไม่ใช้วิธีการตี หรือเขย่าต้นไม้เพื่อให้ ผลไม้หล่นร่วงลงบนผ้าเต๊นท์ที่ปูรออยู่ใต้ต้น แสนเล่าว่า ตัวเขาและเกษตรกรในชุมชนผาเจริญอีก 2 ครอบครัวเริ่มส่ง ผลไม้เมืองหนาว ซึ่งมีท้อ พลับ ลูกไหน สาลี่ และอโวคาโดเป็นหลัก ให้กับ เลมอนฟาร์มเมือ่ 4-5 ปีทแ่ี ล้ว โดยในช่วง 3-4 ปีแรกส่งผ่านทางสถาบันชุมชน เกษตรกรรมยั่งยืน หรือ ISAC (Institute for a Sustainable Agriculture Community) แต่พอ ISAC เลิกทำ�ตลาดให้ ก็เริ่มส่งให้กับเลมอนฟาร์ม โดยตรงเมื่อปีที่แล้ว โดยผลผลิตที่ส่งให้เลมอนฟาร์มจะคิดเป็นประมาณ 70-80% ของผลผลิตรวม ส่วนที่เหลือก็จะขายให้กับลูกค้ารายย่อยหรือ ญาติพี่น้องในหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งทำ�การค้ากันมาก่อน
016
สำ�หรับราคาขายที่ส่งให้กับเลมอนฟาร์มจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาท ซึ่ง สูงกว่าราคาที่ขายให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อผลผลิตในพื้นที่ซึ่งจะอยู่ที่ 40-45 บาท เพือ่ ให้คมุ้ กับค่าใช้จา่ ยในการขนของไปส่งทีเ่ ชียงใหม่ รวมถึงค่าใช้จา่ ย ในการคัดคุณภาพผลผลิต “เราคุยราคากันและพอใจกันทั้งสองฝ่าย โดยถ้าผลผลิตที่ส่งไปเกิด เสียหาย หากเสียหายไม่เยอะ เช่น ส่งไป 1,500 กิโล เสียหายไม่เกิน 100 กิโล เราก็ให้เลมอนฟาร์มคัดออกแล้วหักยอดไป แต่ถ้าเสียหาย เยอะ เช่น เสียหาย 2-3 ร้อยกิโล ชุมชนและเลมอนฟาร์มก็จะช่วยกัน รับผิดชอบฝ่ายละครึ่ง ซึ่งสาเหตุของความเสียหายก็เช่นมีแมลงวัน ทองหรือแมลงอื่นเจาะผลไม้แต่เรามองไม่เห็น พอผลไม้ไปอยู่ในที่ อากาศร้อน ก็จะแสดงอาการให้เห็น หรือบางทีผลไม้บวมนํ้า แล้วไป เจอความร้อนก็คลายนํ้า ทำ�ให้แตก มีหนอน” แสนให้ข้อมูล
เมื่อมีเกษตรกรในชุมชนอีก 5 ครอบครัวต้องการส่งผลผลิตให้เลมอนฟาร์ม เพิ่มขึ้น เลมอนฟาร์มก็นำ�ระบบการตรวจสอบเกษตรอินทรีย์แบบ PGS มา ใช้กับที่ผาเจริญเป็นแห่งแรกเมื่อปีที่แล้ว เพราะว่าเป็นกลุ่มที่มีความพร้อม คือมีผู้นำ�ชุมชนที่เข้มแข็งอย่างแสนสะอาด และเกษตรกรที่นี่ทำ�การเกษตร ด้วยวิถีธรรมชาติอยู่แล้ว “ปีที่แล้วเลมอนฟาร์มก็มาสำ�รวจดูพื้นที่ของแต่ละคนทีละแปลง และ มีการทำ�แผนที่พื้นที่การผลิตของทุกคนเอาไว้ว่าปลูกพืชอะไรบ้าง ผลผลิตที่เก็บได้มีปริมาณเท่าไร สอบถามเกี่ยวกับเรื่องปัจจัยการ ผลิต มีการประชุมเพื่อทำ�ความเข้าใจเรื่องการทำ�เกษตรอินทรีย์ว่า อะไรทำ�ได้ อะไรทำ�ไม่ได้ และมีการให้สัตยาบันว่าจะปฏิบัติตามวิถี เกษตรอินทรีย์ ตอนนี้เรามีครอบครัวที่ส่งผลผลิตให้เลมอนฟาร์ม ซึ่งเราจะช่วยตรวจสอบกัน และเลมอนฟาร์มก็จะเข้ามาช่วยตรวจสอบ ด้วย” แสนเล่าถึงการตรวจสอบภายในและภายนอกก่อนได้รับมาตรฐาน
PGS จากเลมอนฟาร์ม
017
นอกจากผลไม้เมืองหนาวแล้ว ชุมชนผาเจริญยังวางแผนที่จะปลูกธัญพืช อินทรีย์อย่างถั่วแดง ถั่วดำ� งา ให้กับเลมอนฟาร์มเพิ่มขึ้นด้วย แสนเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงของชุมชนผาเจริญ เมื่อสมัยที่เขาอายุ 14-15 หรือเมื่อ 20 ปีซึ่งชาวบ้านยังไม่ได้เปลี่ยนมาทำ�เกษตรอินทรีย์ว่า เขาจะเห็น ชาวบ้านออกไปรับจ้างนอกหมู่บ้าน เช่น ไปทำ�สะพานที่อีกตำ�บลนานเป็น เดือน โดยเอาลูกเอาหลานไปด้วย ทำ�ให้ชาวบ้านขาดการเข้าโบสถ์ด้วยกัน (ชุมชนผาเจริญส่วนใหญ่นบั ถือศาสนาคริสต์นกิ ายโปรแตสแตนท์) เกษตรกร บางคนเช่นลุงของเขาก็แพ้สารเคมีในการเพาะปลูก แต่พอเปลี่ยนมาทำ� เกษตรอินทรีย์และเกษตรธรรมชาติ ค่าครองชีพก็ลดลง เพราะมีผลผลิตใน ชุมชนหลากหลายให้เก็บกิน ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ ไก่ ชาวบ้านก็ไม่ต้อง ออกไปทำ�งานข้างนอก วันอาทิตย์กม็ าเข้าโบสถ์เพือ่ นมัสการพระเจ้าด้วยกัน หลังนมัสการก็ได้รับประทานข้าวด้วยกัน และหากใครมีรายได้ที่เป็นกำ�ไร ก็ จะหักมา 10% เพือ่ ถวายพระเจ้า ซึง่ ทางคริสตศาสนาเรียกว่าการถวายสิบลด โดยทางชุมชนจะนำ�ไปใช้เป็นเงินช่วยเหลือเมือ่ มีสมาชิกเจ็บป่วย และเงินกูย้ มื แบบไม่มีดอกเบี้ย สำ�หรับตัวเขาเอง แสนสะอาดเลือกที่จะกลับมาเป็นเกษตรกรที่บ้านเกิด หลังจากเรียนจบปริญญาตรีในกรุงเทพฯ ด้วยเหตุผลที่ว่า การทำ�สวนผลไม้ เมืองหนาวมีรายได้พอๆ กับการทำ�งานโรงงานหรือทำ�งานในสำ�นักงาน แถมยังได้อยู่ในบรรยากาศเป็นธรรมชาติ อากาศบริสุทธิ์ ได้ช่วยพ่อแม่พี่ น้องในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นญาติพี่น้องกันกว่าครึ่ง ทำ�ตลาด นอกจากตัวเขาแล้ว น้องชายของแสน ซึ่งเพิ่งเรียนจบภาษาอังกฤษธุรกิจ จากมหาวิทยาลัย ราชภัฎเชียงใหม่ ก็กลับมาทำ�เกษตรที่ชุมชนเช่นกัน เพราะนอกจากจะสนใจ เรื่องผลไม้เมืองหนาวแล้ว ยังสนใจการปลูกงาธรรมชาติอีกด้วย และไม่ใช่ เพียงครอบครัวเขาเท่านั้น แสนบอกว่าทุกวันนี้คนในชุมชนออกไปทำ�งานใน เมืองไม่ถึง 5%
018
019
020
สินค้าทุกชนิดต้องปลอดสารพิษ เลมอนฟาร์มไม่ได้ให้ความสำ�คัญกับผลผลิตเกษตรอินทรีย์เท่านั้น แต่ให้ ความสำ�คัญกับอาหารเพื่อสุขภาพในมิติอื่นๆ ด้วย ดังนั้นนอกจากจะไม่ขาย สินค้าประเภทเหล้า บุหรี่ เครื่องดื่มชูกำ�ลัง หรือนํ้าอัดลม ที่มองเห็นชัดเจน ว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพแล้ว สินค้าทั้งหลายที่จะเข้ามาวางจำ�หน่ายใน เลมอนฟาร์มก็ต้องถูกตรวจสอบว่าไม่มีส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่นกัน “ช่วงแรกเราขายนํ้าอัดลมเพื่ออำ�นวยความสะดวกเวลาที่ครอบครัว มาซื้อของด้วยกัน ขายอยู่สัก 4 ปี เราก็หันมาถามตัวเองว่า เราเชื่อ เรื่องสุขภาพจริงหรือเปล่า เพราะอย่างที่รู้ว่านํ้าอัดลมมีนํ้าตาลสูง มาก เราจึงตัดสินใจเลิก ตอนเลิกก็เสียดายตังค์เหมือนกัน เพราะ ขาดรายได้ปีละหลายล้าน แต่ถ้ายังคงขายต่อเราก็จะตอบผู้บริโภคไม่ ได้ว่า เรามีจุดยืนเรื่องสุขภาพจริงหรือ” สุวรรณาอธิบาย พร้อมกับเสริม
ว่าไม่ใช่เพียงนํ้าอัดลมเท่านั้น แต่สินค้าบางตัวที่มีนํ้าตาลสูง เลมอนฟาร์มก็ ไม่ขายเหมือนกัน จึงมีสินค้าบางอย่างยอมทำ�เวอร์ชั่นหวานน้อยเพื่อจะได้ เข้ามาวางขายในเลมอนฟาร์ม
ส่วนเกณฑ์การพิจารณาสินค้าหากมีบริษัทหรือผู้ผลิตนำ�สินค้าอื่นๆ (ที่ไม่ใช่ ของสดอย่าง ข้าว ผัก ผลไม้ ไข่ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เลมอนฟาร์มต้องไปคัด สรรมาจากไร่นาเท่านั้น) มาเสนอเพื่อวางจำ�หน่ายในร้านเลมอนฟาร์ม ทาง เลมอนฟาร์มจะดูส่วนผสมทุกอย่าง ดูที่มาของสินค้าว่าจริงไม่จริง และ บางทีขอไปดูโรงงานด้วย “เราไม่สนใจว่าแบรนด์ที่เอามาเสนอจะเป็นที่รู้จักหรือไม่ เราสนใจที่ กระบวนการ หรือที่มาของอาหารของเขาที่มันดีกว่า และแน่นอนว่า ต้องไม่มีส่วนผสมของผงชูรส ถ้ามีนี่เด้งออกไปเลย แม้ว่าจะเป็น สินค้าที่เราอยากขายมากก็ตาม อย่างตอนนี้เราไปเจอหมูยอเจ้าหนึ่ง ที่อยากเอามาขาย แต่เขายังใส่ผงชูรสอยู่ เราก็พยายามบอกเขาว่า
021
อย่าใส่เลยได้ไหม เขายังไม่ค่อยยอม ก็ยังไม่ได้ขาย ชวนกันอยู่”
สุวรรณายกตัวอย่าง
นอกจากผงชูรสแล้ว สารกันบูดก็เป็นวัตถุต้องห้าม ยกเว้นว่าไม่รู้ เช่น มีสาร กันบูดเป็นส่วนผสมของเครื่องปรุง แต่พอมารู้ตอนหลังก็ยกเลิกเหมือนกัน “ไส้กรอกทีเ่ ราขายอยูเ่ ขาก็เอาสารกันบูดออก ไนไตรททีใ่ ส่เพือ่ ให้สส ี วย และอยู่ได้นานก็เอาออก ผงชูรสก็เอาออก ซึ่งเราชักชวนกันนานมาก กว่าเขาจะยอม ไส้กรอกของเราจึงมีอายุเพียง 4 วันในตูเ้ ย็น ขณะที่ ไส้กรอกปกติอยูไ่ ด้เดือนนึง หรือสองสามอาทิตย์ ยิง่ มาตอนหลัง หากมีไขมันทรานส์เราก็เริม ่ คัดออกอีก จนไม่รจู้ ะขายอะไรแล้ว” สุวรรณา
เล่าเงือ่ นไขในการพิจารณาสินค้าให้ฟงั พร้อมด้วยเสียงหัวเราะ ก่อนทีจ่ ะเสริม ว่า เครือ่ งดืม่ ประเภทรังนกเลมอนฟาร์มก็ไม่ขาย เพราะรูส้ กึ ว่าทรมานสัตว์ ไข่และเนื้อสัตว์ที่จำ�หน่ายในเลมอนฟาร์มก็ต้องมาจากสัตว์ที่ได้รับการเลี้ยง แบบธรรมชาติ ไม่ใช้ฮอร์โมนเร่ง ส่วนปลาก็คัดสรรจากกลุ่มที่ทำ�ประมงที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
“แต่ตอนนี้เราเริ่มเข้าไปทำ�งานกับเครือข่ายประมงพื้นบ้านที่เขาทำ� ประมงชายฝั่งแบบอนุรักษ์ อย่างเช่นแถวบ่อนอก และเขาพยายาม สร้างตลาดใหม่ เพราะไม่งั้นก็จะถูกกดราคามาก เราก็เข้าไปร่วมเรียน รู้จากเขา ไปร่วมกันทำ� แต่ราคาของปลากลุ่มนี้ก็จะสูงกว่าปลาจาก แห่งเดิมที่เรารับมาจากตรังมาก แต่ก็อร่อยกว่ากันเยอะ”
ส่วนสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร เลมอนฟาร์มก็ใช้เกณฑ์เรื่องสุขภาพเข้าไปจับ เหมือนกัน เช่น เสื้อผ้า ในปี 2554 เลมอนฟาร์มเคยนำ�เสื้อผ้าฝ้ายทอมือ ย้อมสีธรรมชาติของ Usaato นักออกแบบชาวญี่ปุ่นมาจำ�หน่ายในร้าน เลมอนฟาร์มสาขาแจ้งวัฒนะ แต่ทำ�ได้เพียง 1 ปีก็เลิกไปเพราะไม่มีเวลาให้ ฟีดแบ็ก หรือของใช้ที่เป็นผ้าที่นำ�มาวางจำ�หน่ายในร้าน ก็ต้องใช้สีย้อมจาก ธรรมชาติเท่านั้น
022
“เราจะไม่สะเปะสะปะกับทิศทางของสุขภาพ คือถ้าเป็นของที่ไม่ใช่ก็จะ ไม่ได้เข้ามาในร้านของเรา อย่างผักหรือผลไม้อินทรีย์ ถ้าอันไหนไม่มี เราก็ปล่อยให้เชลฟ์ว่าง เราไม่ไปหาอะไรมาแทน หรืออย่างวารสาร เพื่อนสุขภาพรายสองเดือนที่เลมอนฟาร์มทำ�แจกสมาชิก และลูกค้า ที่มาที่ร้าน เราก็จะไม่รับโฆษณาสินค้าที่มันดูเว่อร์ โฆษณาที่หลอก หรือว่าเกินจริง อันนี้น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำ�ให้ลูกค้าเชื่อถือเรา และเกิด การบอกต่อกันแบบปากต่อปาก” สุวรรณาสรุปจุดแข็งด้านสินค้าที่ทำ�ให้
เลมอนฟาร์มมีที่ยืนในใจผู้บริโภค โดยไม่ต้องใช้สื่อโฆษณา
เร่งทำ�ตลาดเพื่อให้เดินไปได้ทั้งห่วงโซ่อุปทาน นอกจากการสร้างอุปทานหรือ supply ด้วยการส่งเสริมให้มีผลผลิตอินทรีย์ ในร้านเพิ่มขึ้น และการคัดเลือกสินค้าที่ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภค มาจำ�หน่ายแล้ว เลมอนฟาร์มยังทำ�การตลาดอย่างต่อเนือ่ งเพือ่ ให้วถิ สี ขุ ภาพ ที่บริษัทมีความเชื่อมั่นดำ�เนินไปได้ เพราะหากไม่มีผู้บริโภคทุกอย่างก็คง สะดุด “ต้องบอกว่าถ้าดีมานด์ไม่โต ก็ไปต่อไม่ได้นะคะ เพราะฉะนั้นเราต้อง สร้างผู้บริโภคด้วยกิจกรรมการตลาดเพื่อให้ธุรกิจหมุนไปได้”
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดในการดำ�เนินธุรกิจที่ต้องการนำ�เสนอวิถีชีวิต สุขภาพ แขลดา จิตตปัญญา ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์และส่งเสริมสุข ภาพ บริษัท สังคมสุขภาพ จำ�กัด เล่าว่า ที่ผ่านมาเลมอนฟาร์มสร้างความ สัมพันธ์กับลูกค้าด้วยการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งสุขภาพกายและ สุขภาพใจ โดยในส่วนของสุขภาพกายจะเรียกว่าเวทีสุขภาพ ก็จะมีตั้งแต่ การฝึกโยคะ การรำ�ตะบอง การสอนปลูกผัก ซึ่งรวมแล้วมีคนมาเรียน ประมาณ 1,000 คน โดยเดิมสอนที่ร้านเลมอนฟาร์มสาขาเลียบทางด่วน เอกมัยรามอินทรา แต่เมื่อต้องย้ายร้าน ก็ไปขอใช้สถานที่ของสำ�นักงานเขต หลักสี่ และสอนจนถึงปี 2549 ก็เลิกไป เพราะเริ่มมีคนอื่นทำ�มากขึ้น
023
“ส่วนการรำ�ตะบองยังมีอยู่ที่แจ้งวัฒนะในวันอาทิตย์ แต่ตอนนี้อาสา สมัครดำ�เนินการกันเอง คือเราสตาร์ทให้ พอวงติดเขาก็ทำ�กันเอง ส่วนโยคะเพิ่งหยุดไปเมื่อปีที่แล้ว กำ�ลังรอว่าจะมีใครจะมาเป็นอาสา สมัครสอนให้อยู่” แขลดาฝากเชิญชวน
นอกจากนีก้ ย็ งั มีการร่วมกับมูลนิธหิ มอชาวบ้านเชิญแพทย์ผเู้ ชีย่ วชาญสาขา ต่างๆ มาให้ความรู้ ผู้บริโภคจะได้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่าง ถูกต้อง ส่วนเรื่องของสุขภาพใจจะเรียกว่าเวทีใจสบาย หลักๆ ก็จะมีพระจากวัดป่า สุคะโต มาสอนแนวทางการเจริญสติ รวมถึงมีการพาลูกค้าไปปลูกป่า ทอด ผ้าป่า ที่วัดป่าสุคะโตเป็นประจำ�ทุกปี นอกจากนี้ก็มีการจัดกิจกรรมร่วมกับ กลุ่มกฤษณมูรติไทยแลนด์เดือนละ 1 ครั้ง เป็นกิจกรรมไดอะล็อก คือมานั่ง คุยกัน โดยใช้ประสบการณ์ด้านใน นอกจากนี้เลมอนฟาร์มยังมีการสอนทำ�อาหารเพื่อสุขภาพในลักษณะของ การสาธิตเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะตามแนวทางแมคโครไบโอติก เพื่อทำ�ให้ ผู้บริโภคเห็นว่าการทำ�อาหารรับประทานเองไม่ใช่เรื่องยาก และที่สำ�คัญ การทำ�อาหารเองเป็นส่วนสำ�คัญของการมีสุขภาพดี โดยในอนาคตมีแผนที่ จะทำ�ต่อเนื่อง คอร์สสุขภาพก็เป็นอีกกิจกรรมที่เลมอนฟาร์มจัดอย่างต่อเนื่องเพื่อให้หลัก คิดในการกินเพื่อรักษาสุขภาพ คือการกินอาหารธรรมชาติ กินตามฤดูกาล ปรุงแต่งแต่น้อย ซึ่งเน้นไปที่วิถีแมคโครไบโอติค โดยที่ผ่านมาได้จัดคอร์ส สอนทำ�อาหารและพื้นฐานของแมคโครไบโอติกส์ กับสมาคมเซโชกุ เคียวไค ที่เขาใหญ่ ในปี 2555 และจัดคอร์สอดอาหารล้างพิษในแนวทางแมคโคร ไบโอติกส์ กับสมาคมลิมา โอซาวา เมื่อปลายปี 2557 ที่ผ่านมา นอกจากนี้เลมอนฟาร์มยังพยายามเข้าถึงผู้บริโภคให้กว้างขึ้นด้วยการขยับ ไปเปิดสาขาในศูนย์การค้า แทนที่จะเปิดร้านในสถานีบริการนํ้ามันบางจาก เพียงอย่างเดียวเช่นในช่วงแรก เช่น ไปเปิดที่พาราไดซ์พาร์ค ศรีนครินทร์ ใน
024
ปี 2553 ซึ่งนอกจากส่วนจำ�หน่ายสินค้าแล้ว ยังเปิดร้านอาหารสุขภาพใน แนวทางแมคโครไบโอติกส์ชื่อ Macrobiotics House เป็นครั้งแรกด้วย เพื่อ เสนอทางเลือกให้กับคนที่สนใจเรื่องสุขภาพ แต่ไม่มีเวลา หรือไม่สะดวกที่ จะทำ�อาหารรับประทานเองที่บ้าน แม้ว่าร้านอาหารแห่งนี้จะเปิดได้เพียง ปีเดียวก็ต้องปิดตัวไป แต่เลมอนฟาร์มก็เปิดร้านอาหารสุขภาพแห่งใหม่ ชื่อ Be Organic by Lemon Farm ที่ เดอะปอร์ติโก้ ซอยหลังสวน เมื่อสอง ปีที่ผ่านมา และยังได้รับการต้อนรับที่ดีจากลูกค้าคนเมืองถึงปัจจุบัน และ เลมอนฟาร์มกำ�ลังจะเปิดสาขาที่ซอยทองหล่อในเร็วๆ นี้ด้วย
ร้าน Be Organic By Lemon Farm ที่ซอยหลังสวน
นอกจากกิจกรรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพและการขยายสาขาแล้ว เลมอน ฟาร์มก็ยังใช้แนวคิดเกษตรอินทรีย์มาเป็นกลยุทธ์ในการเข้าถึงลูกค้าอีกด้วย เช่น ในช่วงปี 2554 เลมอนฟาร์มได้จับมือกับกระทรวงพาณิชย์ และมูลนิธิ เครือข่ายครอบครัว จัดงาน goOrganic Community ขึ้นที่ร้านเลมอนฟาร์ม สาขาแจ้งวัฒนะในวันที่ 4 มิถุนายน โดยในงานมีการให้ความรู้กับผู้บริโภค เรื่องวิถีอินทรีย์ ผ่านการจัดนิทรรศการ ภาพยนตร์สารคดี และเวทีเสวนา
025
รวมถึงยังมีการสอนวิธีการปลูกผักอินทรีย์ในกระถาง เพื่อให้เหมาะกับวิถี ชีวิตคนเมือง และสาธิตการทำ�อาหาร นอกจากนี้ยังมีการเปิดรับสมัคร สมาชิก goOrganic Community ที่ร้านเลมอนฟาร์มทุกสาขา “นี่เป็นการเซ็ทระบบสมาชิกออร์แกนิคของเลมอนฟาร์มขึ้นมาเป็น ครั้งแรก เพื่อใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารกับผู้บริโภคที่เป็นลูกค้า โดยตรง ซึ่งนอกจากจะเป็นการสื่อสารข่าวสารด้านสุขภาพผ่าน วารสารเพื่อนสุขภาพ รายสองเดือน ที่เราจัดส่งให้สมาชิกแล้ว ใน ช่วงที่มีผลผลิตบางอย่างออกมาเยอะมากๆ เราก็จะใช้ตรงนี้เป็นช่อง ทางในการส่งข่าวสารไปยังผู้บริโภคให้เร็วที่สุด เพราะบางทีกว่าจะ รู้ว่าจะมีของออกมาเยอะก็เพียง 3-7 วันก่อนที่เกษตรกรจะส่งของ มาให้เท่านั้น และเป็นการสร้างผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าประจำ�” แขลดา
อธิบาย
ณ สิน้ เดือนกรกฎาคม 2558 เลมอนฟาร์มมีสมาชิก goOrganic Community (เว็บไซต์ www.goorganicthai.com/) กว่า 40,000 ราย ซึ่งสมาชิกจะได้ รับส่วนลด 5% เมื่อซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ตามฤดูกาล และทุกการซื้อ 25 บาทจะได้รับคะแนนสะสม 1 คะแนน โดย 4 คะแนนจะเท่ากับ 1 บาท ซึ่ง เลมอนฟาร์มจะจัดส่งเป็นคูปองสำ�หรับซื้อสินค้ามาให้ตามคะแนนที่สมาชิก สะสมได้ปีละ 1 ครั้ง นอกจากนี้เพื่อให้ภาพของเกษตรอินทรีย์กับวิถีสุขภาพชัดเจนขึ้นในมุมมอง ของผู้บริโภค เลมอนฟาร์ม ก็ได้เริ่มใช้แคมเปญ Eat Right, Eat Organic ในปี 2557 ด้วยการจับมือกับพันธมิตรจัดงาน Eat Right, Eat Organic เป็นครั้งแรกที่ตลาดเสรีมาร์เก็ต สาขาเดอะไนน์ พระรามเก้า และจัดเป็น ครัง้ ทีส่ องเมือ่ เดือนมิถนุ ายน 2558 ทีศ่ นู ย์การค้าพาราไดซ์พาร์ค ศรีนครินทร์ ในงานก็จะมีการให้ความรู้กับผู้บริโภคเรื่องเกษตรอินทรีย์ เปิดรับสมัคร สมาชิก goOrganic Community มีการออกร้านจำ�หน่ายผัก ผลไม้ และ ผลิตผลจากเกษตรอินทรีย์ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงมีกิจกรรมแข่งกินผัก เพื่อ ให้ผู้มาร่วมงานได้มีส่วนเผยแพร่ข้อมูลสุขภาพจากองค์การอนามัยโลกที่ว่า คนเราควรรับประทานผัก 400 กรัมต่อวัน รวมถึงยังชักชวนเครือข่ายคนไทย
026
ไร้พุงของสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มาทำ� กิจกรรมและให้ความรู้เรื่องการออกกำ�ลังกาย “เราทำ�โปรแกรม Eat Right, Eat Organic เพื่อให้เรามีพื้นที่ในการ ทำ�งานลงลึกตลอด value chain โดยมีเกษตรอินทรียเ์ ป็นเรือ่ งสำ�คัญ คือเราไม่ได้ทำ�เกษตรอินทรีย์เพื่อเกษตรอินทรีย์ เราทำ�เพราะมันเป็น เรื่องสำ�คัญของสุขภาพ ซึ่งทำ�ให้เราต้องมาพูดเรื่องการเปลี่ยน พฤติกรรมการบริโภคให้ถูกต้องและเหมาะสม หากทำ�ได้ ก็จะช่วย เปลี่ยนระบบการผลิตอาหารได้ มันเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กัน เป็นเรื่อง อุปสงค์กับอุปทาน ซึ่งบางทีก็เป็นเรื่องของไก่กับไข่ เราเลยพยายาม จัดการระบบผลิตและตลาดให้สัมพันธ์กัน” สุวรรณาสรุปกระบวนการ
ขับเคลื่อนด้วยกลไกการตลาดของเลมอนฟาร์ม
027
ความท้าทายของเลมอนฟาร์ม ปัจจุบันเลมอนฟาร์มมีสาขาทั้งหมด 12 แห่ง และร้านอาหารสุขภาพ 1 แห่ง มีผลประกอบการเป็นบวกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสุวรรณาบอกว่าเป็นผลจาก การทำ�งานหนัก ต้องทำ�การบ้านอยู่ตลอดเวลา การทำ�ธุรกิจค้าปลีกบนวิถี เกษตรอินทรีย์จึงยังเผชิญกับความท้าทายที่เลมอนฟาร์มพยายามก้าวข้าม ไปให้ได้ “สิ่งที่ยากที่สุดคือการที่เราเป็นค้าปลีก เพราะค้าปลีกจะจุกจิก มี ขั้นตอน มีระบบเยอะ แล้วค้าปลีกเหมาะกับกิจการขนาดใหญ่ แต่ ที่เราทำ�ค้าปลีก เพราะคิดว่าจะเป็นรูปแบบที่ทำ�ให้ผลผลิตเกษตร อินทรีย์ได้รับความนิยม และสามารถเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำ�วันของ ผู้บริโภคได้ มากกว่าการทำ�ตลาดนัดสีเขียว ซึ่งอันนั้นก็ดี เพียงแต่ ว่าเรามีผลผลิตเข้ามาทุกวัน แล้วเป็นของสดอีก จึงต้องพยายาม ขายผลผลิตให้ได้ ไม่เช่นนั้นเกษตรกรจะไม่มีโอกาสผลิตได้ต่อเนื่อง พร้อมๆ กับทำ�ให้ผู้บริโภคได้อาหารที่ดี สะอาด อันเป็นกุญแจสำ�คัญ ของเรื่องสุขภาพ” สุวรรณาตั้งข้อสังเกต
นอกจากการต้องจัดการกับของสดแล้ว ปีไหนหรือฤดูไหนที่มีผลผลิตออก เยอะก็ต้องรับมือกับผลผลิตที่เข้ามาเป็นจำ�นวนมากจนขายไม่ทัน ซึ่ง
028
นอกจากจะนำ�มาแจก แถม ทำ�โปรโมชั่นในร้านแล้ว ก็ต้องนำ�มาแปรรูป เพราะผลผลิตสดอยู่ได้ไม่นาน “อย่างตอนนี้เรามีทำ�กิมจิ แปรรูปขนมปัง ทำ�เค้กกล้วยหอม เพราะ กล้วยหอมเยอะ หรือทำ�ก๋วยเตี๋ยวเห็ดขาย ทำ�แยม คือโจทย์การ แปรรูปจะเยอะมาก เพราะต้องคิดว่าทำ�อย่างไรให้ผู้บริโภคได้กินผัก ผลอินทรีย์ในรูปแบบที่เขาต้องการ นอกเหนือจากการใช้ผลผลิตที่มี อยู่อย่างคุ้มค่า ไม่เสียหาย”
ตอนนี้เลมอนฟาร์มเริ่มมีหน่วยแปรรูปที่เป็นกิจลักษณะมากขึ้น รวมถึงมี แผนที่จะเพิ่มโอกาสการขายในรูปแบบอื่นๆ เช่น การทำ�อาหารกล่องพร้อม รับประทานแบบ Organic Box ขาย รวมถึงหารูปแบบการขายอื่นๆ ที่ผู้ บริโภคไม่ต้องเดินทางมาที่ร้าน เช่น การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ หรือการจัดส่ง สินค้าให้ตามบ้าน ซึ่งต้องคิดหาวิธีการที่เหมาะสม คุ้มค่ากับการจัดการ
029
สำ�หรับความท้าทายในเรื่องการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์นั้น สุวรรณาบอกว่า อยู่ที่เรื่องการทำ�เรื่องอุปสงค์กับอุปทานให้สัมพันธ์กัน ซึ่งตอนนี้ยังต้องปรับ ไปเรื่อยๆ “เวลาไปเจอเกษตรกร เขาก็จะถามว่าเราต้องการได้ผลผลิตเท่าไร เพื่อที่เขาจะได้วางแผนปลูก แต่บางทีเราก็ไม่รู้หรอกว่าตลาดอยู่ที่ไหน ดีมานด์มเี ท่าไร ก็ตอ้ งจูนกันไปเรือ่ ย จึงมีขาด มีเกิน ตลอดเวลา ไม่เป๊ะ หรือบางอย่างที่คิดว่าจะได้ก็กลับไม่ได้ อย่างมีช่วงหนึ่งเราไปส่งเสริม ให้เกษตรกรกลุ่มหนึ่งทำ�ส้มเขียวหวานอินทรีย์ คิดว่าจะได้ผลผลิตมา ขาย แต่ปรากฎว่าสุดท้ายส้มเป็นโรคไส้ในล้มหมด ทำ�ไม่สำ�เร็จ ฉะนั้น ส้มเขียวหวานอินทรีย์ยังไม่มีนะคะ”
สำ�หรับความท้าทายสุดท้าย ซึ่งสุวรรณามองว่าเป็นเรื่องสำ�คัญมากๆ ที่จะ ทำ�ให้เกษตรอินทรีย์เติบโตก็คือ การทำ�ให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้มากขึ้น ด้วย ราคาที่เหมาะสมมากขึ้น หากสามารถจัดการเรื่องปริมาณและต้นทุนการ ขนส่งได้ “เราคิดถึงเรื่อง scale up แต่กำ�ลังดูว่าทำ�อย่างไรจึงจะไม่ไปสายทุน ขนาดนั้น คือเรายังอยากรักษาความใกล้ชิดกับลูกค้าและเกษตรกร เอาไว้ แต่เราก็รู้ว่าถ้าทำ�ได้มันจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้บริโภค ผู้ผลิต และสิ่งแวดล้อม”
030
ภาคผนวก ก.
ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์และผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษที่ติดแบรนด์ เลมอนฟาร์ม ข้าวเกษตรอินทรีย์ ธัญพืชเกษตรอินทรีย์ และปลอดภัยจากสารพิษ
ชาสมุนไพรเกษตรอินทรีย์ ไข่ไก่ปลอดสารพิษ เครื่องปรุงรส อาหารเช้า
ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ผลไม้เกษตรอินทรีย์ ผักเกษตรอินทรีย์
ข้าวกล้องหอมมะลิ ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวกล้องไรซ์เบอรี่ ข้าวฮาง ข้าวสังหยด ข้าวก่ำ�ดอย ข้าวหอมนิล ข้าวกล้องดอย งาดำ� งาขาว รำ�ข้าวสาลี ข้าวสารี จมูกข้าวสาลี แฟล็กซีด ถั่ว ชิคพี ถั่วดำ� ถั่วแดงเล็ก ถั่วแดงหลวง ถั่วเขียว ถั่วตาดำ� ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ลูกเดือย ลูกเดือยกล้อง เมล็ดฟักทอง เมล็ด ทานตะวัน เม็ดแตงโม ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวฟ่าง ข้าวฟ่าง หางม้า เมิสลี่ เลนทิลเขียว พุทธาจีน ชุดข้าวอาร์ซี ชาอูหลงก้านอ่อนเบอร์ 17 ชาอูหลงเบอร์ 12 ชาหอมหมื่นลี้ ชาเจียวกู่หลาน ชามะระ ชาสี่ฤดู ชาดำ� เป็นไข่ไก่คละไซส์ เพื่อให้ฟาร์มอยู่ได้ และเป็นการสนับสนุน ผู้ผลิตที่ตั้งใจในวิถีอินทรีย์ มิโสะหมักธรรมชาติ บ๊วยดองเกลือ เต้าเจี้ยวเกษตรอินทรีย์ นํ้ามันงาดิบ นํ้าตาลทราบเกษตรอินทรีย์ ขนมปังข้าวกล้องงอกอินทรีย์ธัญพืช นํ้าสลัดงาขาว แยมมะเกี๋ยง มาร์มาเลดส้ม แยมกระเจี๊ยบ แยมเสาวรส แยม มัลเบอรี่ เนยงาดำ� เนยงาขาว เนยถั่ว นํ้าผึ้งบริสุทธิ์เกสรดอก ลำ�ใย นํ้าผึ้งป่าเดือน 5 งาปลา นา้ํ มันงาดำ�บริสทุ ธิ์ นํา้ มันมะพร้าวบริสทุ ธิ์ สบูน่ มแพะ สบูง่ าดำ� สบู่ถั่วเขียว สบู่ทานาคา แอปเปิ้ล มะละกอเรดมาลาดอล สาลี่ อโวคาโด กล้วยนํ้าว้า บีทรูท แพรแดง แพรเขียว หัวไชเท้าญี่ปุ่น ต้นหอมญี่ปุ่น กะหล่ำ�ปลี ผักกาดขาว กวางตุ้ง ตำ�ลึง ผักโขม ผักบุ้ง คะน้า กะหล่ำ�ดอก บรอกโคลี ฟักทอง มะเขือเทศ แครอท ปวยเล้ง สะเดา ผักโขมแดง ผักกาด หางหงษ์ กระเจี๊ยบเขียว ถั่วลันเตาหวาน ถั่วฝักยาว ถั่วแขก มะเขือเปราะ แตงกวา หน่อไม้ฝรั่ง
031
ภาคผนวก ข.
งบการเงิน บริษัท สังคมสุขภาพ จำ�กัด รายการ
ปีงบการเงิน 2555
2556
สินทรัพย์ เงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน 20,465,129 23,221,955 ลูกหนี้การค้า 5,030,311 4,429,741 ลูกหนี้และตั๋วเงินรับทางการค้า สุทธิ 5,030,311 4,429,741 สินค้าคงเหลือสุทธิ 17,501,064 17,545,658 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 49,373,655 51,611,403 รวมเงินให้กู้ยืมและเงินลงทุนระยะยาว ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สุทธิ 21,206,774 21,677,592 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 3,224,408 6,018,575 รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 24,637,455 28,175,773 รวมสินทรัพย์ 74,011,110 79,787,176 หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สิน เจ้าหนี้การค้า 46,318,867 49,833,952 รวมเจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย 46,318,867 49,833,952 ส่วนของเงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำ�หนดชำ�ระภายใน 1 ปี หนี้สินหมุนเวียนอื่น 580,052 1,521,442 รวมหนี้สินหมุนเวียน 46,898,919 51,355,394 รวมเงินกู้ยืมระยะยาว 765,933 1,172,435 หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น 1,160,078 1,159,033 รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 1,926,011 2,331,469 รวมหนี้สิน 48,824,930 53,686,862 ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนจดทะเบียน 3,000,000 3,000,000 3,000,000 ทุนที่ออกและชำ�ระแล้ว – หุ้นสามัญ 3,000,000 3,000,000 กำ�ไร (ขาดทุน)สะสม 22,186,180 23,100,314 รายการอื่น รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 25,186,180 26,100,314 รวมหนิ้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 74,011,110 79,787,176
2557
26,227,720 4,248,781 4,248,781 18,439,078 52,108,150 3,006,053 27,390,578 8,627,902 39,966,585 92,074,735
56,017,971 56,017,971 1,616,500 57,634,471 538,254 1,285,699 1,823,953 59,458,424
3,000,000 29,610,258 32,616,311 92,074,735
032
รายการ
ปีงบการเงิน 2555
รายได้จากการขายและบริการ – สุทธิ 266,890,857.92 รายได้รวม 269,370,374.45 ต้นทุนขาย และ/หรือบริการ 186,783,271.70 กำ�ไร(ขาดทุน)ขั้นต้น 80,107,586.22 รวมค่าใช้จ่ายในการดำ�เนินงาน 78,074,347.31 กำ�ไร(ขาดทุน)จากการดำ�เนินงาน 2,033,238.91 รวมรายได้อื่น 2,479,516.53 ค่าใช้จ่ายอื่น กำ�ไร (ขาดทุน) ก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดจ่าย 4,512,755.44 กำ�ไร (ขาดทุน) ก่อนดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ 4,512,755.44 ดอกเบี้ยจ่าย 76,928.65 67,814.81 ภาษีเงินได้ 1,076,781.24 กำ�ไร(ขาดทุน) สุทธิ 3,359,045.55
2556
2557
325,029,993.51 327,262,588.03 225,631,030.00 99,398,963.51 95,122,983.85 4,275,979.66 2,232,594.52
370,386,123.45 372,437,446.41 256,582,324.30 113,803,799.15 107,589,919.93 6,213,879.22 2,051,322.96
6,508,574.18 6,508,574.18 75,673.22 1,506,626.05 4,934,133.32
8,265,202.18 8,265,202.18 1,679,585.16 6,509,943.80
033
เกี่ยวกับผู้จัดทำ� บริษัท ป่าสาละ จำ�กัด ป่าสาละเป็นบริษัท “ปลูกธุรกิจที่ยั่งยืน” แห่งแรกในประเทศไทย ก่อตั้งในเดือนกรกฎาคม 2556 เป้า หมายของเราคือจุดประกายและดำ�เนินวาทกรรมสาธารณะเกี่ยวกับธุรกิจที่ยั่งยืน ผ่านการจัดสัมมนา อบรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และออนไลน์ รวมทั้งผลิตงานวิจัยในประเด็นความยั่งยืน ในประเทศไทย และส่งเสริมการวัดผลตอบแทนทางสังคม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิ ฟรีดริค เอแบร์ท 1550 อาคารธนภูมิ ชั้น 23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ มักกะสัน ราชเทวี กทม. 10410 โทร 02 652 7178 www.fes-thailand.org บริษัท ป่าสาละ จำ�กัด 2 ซอยสุขุมวิท 43 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 โทร 02 258 7383 www.salforest.com
เอกสารชิ้นนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ Creative Commons แบบAttribution Noncommercial Share Alike (by-nc-sa) โดยผู้สร้างอนุญาตให้ทำ�ซํ้า แจกจ่าย แสดง และสร้างงานดัดแปลงจากส่วนใดส่วนหนึ่งของงานนี้ได้โดยเสรี แต่เฉพาะในกรณี ที่ให้เครดิตผู้สร้าง ไม่นำ�ไปใช้ในทางการค้า และเผยแพร่งานดัดแปลงภายใต้ ลิขสิทธิ์เดียวกันนี้เท่านั้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://cc.in.th/
035