รายงานวิจัย "การสำรวจความพร้อมของบริษัทในประเทศไทยในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน"

Page 1

รายงานฉบับสมบูรณ์การสำรวจความพร้อมของบริษัทในประเทศไทย ในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โครงการ A Study on Human Rights Due Diligence Requirements for Thai Companies

นำเสนอ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP)

จัดทำโดย บริษัท ป่าสาละ จำกัด 19 เมษายน 2566


สารบัญ บทสรุปผู้บริหาร บทสรุปผู้บริหาร-1 บทที่ 1 บทนำ 1-1 1.1 ที่มาและความสำคัญ 1-1 1.2 วัตถุประสงค์โครงการ 1-2 1.3 ระเบียบวิธีวิจัย 1-3 1.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1-3 1.5 แผนการดำเนินงาน 1-4 บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านภาคบังคับ 2-1 2.1 ภาพรวมของการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน 2-1 2.2 การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านภาคบังคับ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2-5 2.3 แนวทางการเปิดเผยข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของ ประเทศต่าง ๆ 2-17 2.4 สรุป 2-21 บทที่ 3 ผลสำรวจความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทในประเทศไทย 3-1 3.1ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสำรวจ 3-1 3.2 ผลสำรวจความพร้อมของบริษัทในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน 3-25 3.2.1 นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน 3-26 3.2.2 การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน 3-38 3.2.3 การกำหนดให้คู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานเคารพสิทธิมนุษยชน 3-54 3.3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน 3-65 3.4 สรุปผลการสำรวจและข้อจำกัดของงานวิจัย 3-73 บทที่ 4 ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อสำรวจความพร้อมของบริษัท ในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้าน 4-1 4.1 กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ 4-3 4.2 กลุ่มบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก 4-10 4.3 กลุ่มหน่วยงานรัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้อง 4-17 4.4 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและภาคประชาสังคม 4-23 บทที่ 5 กรณีศึกษาการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทในประเทศไทย 5-1 กรณีศึกษาบริษัทขนาดใหญ่: บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 5-1 กรณีศึกษาบริษัทขนาดกลาง: บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ไม่เปิดเผยตัวตน) 5-8


สารบัญ (ต่อ) กรณีศึกษาบริษัทขนาดเล็ก: ห้างหุ้นส่วนจำกัด โชคอุดมรัชฏ์118 5-10 บทที่ 6 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 6-1 6.1 การจัดทำกฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน 6-5 6.2 การเสริมสร้างศักยภาพของบริษัทในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน 6-7 6.3 การบูรณาการแนวปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียว และการเพิ่มระดับความร่วมมือระหว่าง หน่วยงานรัฐ 6-10 บรรณานุกรม บรรณานุกรม-1 ภาคผนวก ภาคผนวก-1 ภาคผนวก 1 แบบสำรวจความพร้อมของบริษัทในการตรวจสอบสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้าน ภาคผนวก1-1 ภาคผนวก 2 แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ภาคผนวก2-1 ภาคผนวก 3 การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 เรื่อง การนำเสนอร่างผลสำรวจความพร้อมของ บริษัทในประเทศไทยในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน และการระดม ความคิดเห็นจากภาคเอกชน ภาคผนวก3-1 ภาคผนวก 4 การประชุม เรื่อง การนำเสนอผลสำรวจความพร้อมของบริษัทในประเทศไทย ในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ภาคผนวก4-1


สารบัญแผนภาพ แผนภาพที่ 1 - 1 เสาหลัก 3 ประการ ตามหลักการชี้แนะ UNGPs แผนภาพที่ 3 - 1 รูปแบบธุรกิจ แผนภาพที่ 3 - 2 ขนาดของบริษัท (จำแนกตามรายได้ต่อปี) แผนภาพที่ 3 - 3 ขนาดของบริษัท (จำแนกตามจำนวนแรงงาน) แผนภาพที่ 3 - 4 ขนาดของบริษัทที่ตอบแบบสำรวจ แผนภาพที่ 3 - 5 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แผนภาพที่ 3 - 6 ประเภทอุตสาหกรรม แผนภาพที่ 3 - 7 สัดส่วนรายได้จากการส่งออกต่อรายได้ทั้งหมด แผนภาพที่ 3 - 8 บริษัทขนาดใหญ่แบ่งตามประเภทกิจการ แผนภาพที่ 3 - 9 บริษัทขนาดใหญ่แบ่งตามประเภทอุตสาหกรรม แผนภาพที่ 3 - 10 สัดส่วนของแรงงานชั่วคราวต่อแรงงานทั้งหมดของบริษัทขนาดใหญ่ แผนภาพที่ 3 - 11 สัดส่วนของแรงงานข้ามชาติต่อแรงงานทั้งหมดของบริษัทขนาดใหญ่ แผนภาพที่ 3 - 12 สัดส่วนของแรงงานที่เป็นผู้พิการต่อแรงงานทั้งหมดของบริษัทขนาดใหญ่ แผนภาพที่ 3 - 13 สัดส่วนบริษัทขนาดใหญ่ที่มีคณะกรรมการสวัสดิการในบริษัท แผนภาพที่ 3 - 14 สัดส่วนของแรงงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานต่อแรงงานทั้งหมดของ บริษัทขนาดใหญ่ แผนภาพที่ 3 - 15 สัดส่วนของแรงงานหญิงต่อแรงงานทั้งหมดในบริษัทขนาดใหญ่ แผนภาพที่ 3 - 16 สัดส่วนของผู้บริหารระดับสูงเพศหญิงต่อผู้บริหารทั้งหมดในบริษัทขนาดใหญ่ แผนภาพที่ 3 - 17 บริษัทขนาดกลางแบ่งตามประเภทกิจการ แผนภาพที่ 3 - 18 บริษัทขนาดกลางแบ่งตามประเภทอุตสาหกรรม แผนภาพที่ 3 - 19 สัดส่วนของแรงงานชั่วคราวต่อแรงงานทั้งหมดของบริษัทขนาดกลาง แผนภาพที่ 3 - 20 สัดส่วนของแรงงานข้ามชาติต่อแรงงานทั้งหมดของบริษัทขนาดกลาง แผนภาพที่ 3 - 21 สัดส่วนของแรงงานที่เป็นผู้พิการต่อแรงงานทั้งหมดของบริษัทขนาดกลาง แผนภาพที่ 3 - 22 สัดส่วนบริษัทขนาดกลางที่มีคณะกรรมการสวัสดิการในบริษัท แผนภาพที่ 3 - 23 สัดส่วนของแรงงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานต่อแรงงานทั้งหมดของ บริษัทขนาดกลาง แผนภาพที่ 3 - 24 สัดส่วนของแรงงานหญิงต่อแรงงานทั้งหมดในบริษัทขนาดกลาง แผนภาพที่ 3 - 25 สัดส่วนของผู้บริหารระดับสูงเพศหญิงต่อผู้บริหารทั้งหมดในบริษัทขนาดกลาง แผนภาพที่ 3 - 26 บริษัทขนาดเล็กแบ่งตามประเภทกิจการ แผนภาพที่ 3 - 27 บริษัทขนาดเล็กแบ่งตามประเภทอุตสาหกรรม แผนภาพที่ 3 - 28 สัดส่วนของแรงงานชั่วคราวต่อแรงงานทั้งหมดของบริษัทขนาดเล็ก

1-1 3-1 3-2 3-3 3-3 3-4 3-5 3-6 3-7 3-7 3-8 3-9 3-9 3-10 3-10 3-11 3-11 3-12 3-12 3-13 3-14 3-14 3-15 3-15 3-16 3-16 3-17 3-17 3-18


สารบัญแผนภาพ (ต่อ) แผนภาพที่ 3 - 29 สัดส่วนของแรงงานข้ามชาติต่อแรงงานทั้งหมดของบริษัทขนาดเล็ก แผนภาพที่ 3 - 30 สัดส่วนของแรงงานที่เป็นผู้พิการต่อแรงงานทั้งหมดของบริษัทขนาดเล็ก แผนภาพที่ 3 - 31 สัดส่วนบริษัทขนาดเล็กที่มีคณะกรรมการสวัสดิการในบริษัท แผนภาพที่ 3 - 32 สัดส่วนของแรงงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานต่อแรงงานทั้งหมดของ บริษัทขนาดเล็ก แผนภาพที่ 3 - 33 สัดส่วนของแรงงานหญิงต่อแรงงานทั้งหมดในบริษัทขนาดเล็ก แผนภาพที่ 3 - 34 สัดส่วนของผู้บริหารระดับสูงเพศหญิงต่อผู้บริหารทั้งหมดในบริษัทขนาดเล็ก แผนภาพที่ 3 - 35 ประเภทสมาชิกหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนที่บริษัทเข้าร่วม แผนภาพที่ 3 - 36 การกำหนดเพดานชั่วโมงการทำงาน แผนภาพที่ 3 - 37 การกำหนดเพดานชั่วโมงการทำงานตามระดับความพร้อม แผนภาพที่ 3 - 38 การกำหนดนโยบายการทำงานล่วงเวลา แผนภาพที่ 3 - 39 การกำหนดนโยบายการทำงานล่วงเวลา แบ่งตามระดับความพร้อม แผนภาพที่ 3 - 40 การจัดตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินการ ด้านสิทธิมนุษยชน แผนภาพที่ 3 - 41 การประกาศคำมั่นว่าบริษัทจะไม่ยอมรับการคุกคาม ข่มขู่และโจมตีทางกฎหมาย ต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน แผนภาพที่ 3 - 42 มาตรการส่งเสริมหรือสนับสนุนการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน แผนภาพที่ 3 - 43 นโยบายการปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชุมชนท้องถิ่น แผนภาพที่ 3 - 44 การสื่อสารนโยบายสิทธิมนุษยชนให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แผนภาพที่ 3 - 45 การจัดอบรมในประเด็นสิทธิมนุษยชน แผนภาพที่ 3 - 46 การตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน จำแนกตามระดับ ความพร้อมของบริษัท แผนภาพที่ 3 - 47 การบูรณาการข้อค้นพบจากกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้าน แผนภาพที่ 3 - 48 การประเมินประสิทธิผลและปรับปรุงการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน แผนภาพที่ 3 - 49 การเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน แผนภาพที่ 3 - 50 กระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการร่วมออกแบบและพัฒนา ประสิทธิภาพของกลไก/ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน แผนภาพที่ 3 - 51 การสนับสนุนทรัพยากร งบประมาณ หรือการให้คำปรึกษาเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียเข้าถึงกระบวนการร้องทุกข์อย่างเท่าเทียม แผนภาพที่ 3 - 52 จำนวนบริษัทที่เปิดเผยกระบวนการจัดการเรื่องร้องเรียน

3-19 3-19 3-20 3-20 3-21 3-21 3-24 3-28 3-28 3-29 3-30 3-31 3-33 3-34 3-35 3-36 3-37 3-39 3-40 3-42 3-43 3-45 3-46 3-47


สารบัญแผนภาพ (ต่อ) แผนภาพที่ 3 - 53 นโยบายห้ามตอบโต้ผู้ร้องเรียนหรือแจ้งข้อกังวลต่อผู้ร้องเรียน แผนภาพที่ 3 - 54 นโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้ร้องเรียน แผนภาพที่ 3 - 55 นโยบายเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน แผนภาพที่ 3 - 56 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับข้อร้องเรียน แผนภาพที่ 3 - 57 รูปแบบข้อมูลเกี่ยวกับข้อร้องเรียนที่ทำการเปิดเผย จำแนกตามระดับความพร้อม แผนภาพที่ 3 - 58 การถอดบทเรียนจากเรื่องร้องเรียน แผนภาพที่ 3 - 59 การกำหนดเพดานชั่วโมงการทำงาน (คู่ค้า) แผนภาพที่ 3 - 60 การกำหนดนโยบายการทำงานล่วงเวลา (คู่ค้า) แผนภาพที่ 3 - 61 นโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชนพื้นเมือง/ชุมชนท้องถิ่น (คู่ค้า) แผนภาพที่ 3 - 62 การรับเรื่องร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (คู่ค้า) แผนภาพที่ 3 - 63 การเปิดเผยกระบวนการจัดการกับข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (คู่ค้า) แผนภาพที่ 3 - 64 นโยบายเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนในทางลบ (คู่ค้า) แผนภาพที่ 3 - 65 นโยบายการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน (คู่ค้า) แผนภาพที่ 3 - 66 กระบวนการติดตามหรือตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของคู่ค้า แผนภาพที่ 3 - 67 กระบวนการติดตามหรือตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของคู่ค้า แผนภาพที่ 3 - 68 สัดส่วนของบริษัทที่มีการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน แผนภาพที่ 3 - 69 สัดส่วนของบริษัทที่เห็นว่าการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เป็นเรื่องจำเป็นในอีก 2-3 ปีข้างหน้า

3-48 3-48 3-50 3-51 3-52 3-53 3-55 3-56 3-57 3-58 3-59 3-60 3-61 3-63 3-64 3-65 3-69


สารบัญตาราง ตารางที่ 2 - 1 สรุปสาระสำคัญของกฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ตารางที่ 2 - 2 สรุปสาระสำคัญของกฎหมายต่อต้านการใช้ทาสสมัยใหม่ที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับ ด้านสิทธิมนุษยชน ตารางที่ 2 - 3 สรุปสาระสำคัญของกฎหมายการค้าระหว่างประเทศที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับด้าน สิทธิมนุษยชน ตารางที่ 3 - 1 การแบ่งขนาดบริษัท ตารางที่ 3 - 2 สรุปผลสำรวจความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน จำแนกตามขนาดของบริษัท ตารางที่ 3 - 3 จำนวนบริษัทที่จัดตั้งคณะทำงานหรือผู้รับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชน จำแนกตามระดับความพร้อมของบริษัท ตารางที่ 3 - 4 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับการสื่อสารนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน จำแนกตามระดับความพร้อมของบริษัท ตารางที่ 3 - 5 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับการอบรมด้านสิทธิมนุษยชน จำแนกตามระดับความพร้อมของบริษัท ตารางที่ 3 - 6 ช่องทางรับเรื่องร้องเรียนของบริษัทจำแนกตามระดับความพร้อม ตารางที่ 3 - 7 กลุ่มเป้าหมายที่บริษัทเปิดรับเรื่องร้องเรียน จำแนกตามระดับความพร้อม ตารางที่ 3 - 8 ระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีส่วนช่วยผลักดันหรือส่งผลต่อการดำเนินกระบวนการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ตารางที่ 3 - 9 ระดับความสำคัญที่บริษัทให้ในแต่ละปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกระบวนการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ตารางที่ 6 - 1 สรุปข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เพื่อยกระดับ ความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทในประเทศไทย

2-7 2-13 2-15 3-2 3-26 3-32 3-36 3-37 3-44 3-44 3-68 3-72 6-2


บทสรุปผู้บริหาร โครงการวิจัย การสำรวจความพร้อมของบริษัทในประเทศไทยในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน ได้รับการสนับสนุนจากโครงการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของโครงการพัฒนาแห่ง สหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) สหภาพยุโรป และกรมคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อประเมินความพร้อมของบริษัทในประเทศไทยในการ ดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ตลอดจนสำรวจข้อคิดเห็นและข้อกังวลของภาคธุรกิจในการ ดำเนินงานดังกล่าว เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการเสริมสร้างศักยภาพของบริษัทไทยให้สามารถ ดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้อย่างกว้างขวางและมีประสิทธิผลมากขึ้น คณะวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยหลัก ประกอบด้วยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน การสำรวจความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของ บริษัทในประเทศไทย โดยการจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ และการสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดทำ กรณีศึกษา และการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากผลการสำรวจ โดยวิธีการส่งแบบสอบถามออนไลน์ มีบริษัทตอบรับ 57 ราย แบ่งเป็นบริษัทขนาด ใหญ่ 43 ราย และบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม 14 ราย พบว่า บริษัทในประเทศไทยตอบแบบสอบถามมี ความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านในระดับปานกลาง โดยบริษัทส่วนใหญ่ (31 ราย คิดเป็น 54.39% ของบริษัทที่ตอบแบบสอบถาม) มีการประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชนและ/หรือคำมั่นต่อ สาธารณะว่าจะเคารพหลักการหรือมาตรฐานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ซึ่งอ้างอิงหลักการหรื อมาตรฐานระดับ สากล บริษัทกว่าครึ่งหนึ่ง (29 ราย คิดเป็น 50.88%) มีการจัดตั้งคณะทำงานหรือ ผู้รับผิดชอบด้านสิ ทธิ มนุษยชนโดยตรง ซึง่ หลายบริษัทกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบตั้งแต่ระดับผู้จัดการอาวุโสขึ้นไป และบริษัทส่วนใหญ่ (31 ราย คิดเป็น 54.39%) มีการสื่อสารนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเฉพาะเจาะจงกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงมีการอบรมด้านสิทธิมนุษยชน ทีค่ รอบคลุมทั้งบุคลากรในองค์กร (ผู้บริหารและพนักงาน) และผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียภายนอก อาทิ คู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน พนักงาน/แรงงานของคู่ค้า ผู้รับเหมา ลูกค้า และชุมชนที่อาจ ได้รับผลกระทบ ในด้านการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน พบว่า มีบริษัททีร่ ะบุว่าเคยตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน 27 ราย จากบริษัททั้งหมดที่ตอบแบบสอบถาม คิดเป็นร้อยละ 47.37 และบริษัทที่ไม่ เคยตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน 30 ราย คิดเป็นร้อยละ 52.63 อย่างไรก็ต าม คณะวิจัยพบว่า บริษัทที่ผลการสำรวจบ่งชี้ว่าน่าจะมีความพร้อมระดับสูง ส่วนใหญ่ไม่เคยตรวจสอบความเสี่ยง และผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน และบริษัทที่เคยมีการตรวจสอบก็ ได้ดำเนินการเพียง 1 ครั้งเท่านั้น ขณะที่ บริษัทที่ผลการสำรวจบ่งชี้ว่าน่าจะมีความพร้อมระดับปานกลางและระดับ ต่ำกลับมีผลสำรวจที่ระบุว่าเคย ตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนมากกว่า 1 ครั้ง คณะวิจัยเห็นว่าผลสำรวจที่ดูย้อนแย้ง กันดังกล่าวอาจเกิดจากการที่บริษัทผู้ตอบแบบสำรวจมีกลไก นโยบาย และกระบวนการต่างๆ ที่จำเป็นต่อการ บทสรุปผู้บริหาร - 1


คุ้มครองสิทธิมนุษยชน อาทิ กลไกรับเรื่องร้องเรียนจากพนักงานและชุมชน เป็นต้น แต่ยังไม่เคยดำเนินการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน หรือผู้ตอบแบบสำรวจไม่มีความรู้หรือความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการตรวจสอบความเสี ่ ย งและผลกระทบด้ า นสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนอย่ า งเพี ย งพอ และอาจเข้ า ใจว่ า กระบวนการดังกล่าวเป็นกระบวนการเดียวกันกับการประเมินความเสี่ยงด้านการดำเนินงานขององค์กร ในด้านการกำหนดให้คู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานเคารพสิทธิมนุษยชน พบว่า บริษัทส่วนใหญ่ (30 ราย คิด เป็น 52.63%) ยังไม่มีนโยบายหรือกำหนดให้คู่ค้าประกาศนโยบาย/คำมั่นต่อสาธารณะในการเคารพหลักการ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ หลายบริษัทยังไม่กำหนดให้คู่ค้ามีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิทธิ มนุษยชน ทั้งการทำงานล่วงเวลาหรือการกำหนดเพดานชั่วโมงการทำงาน การปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพนั ธุ์/ ชุมชนท้องถิ่น การรับเรื่องร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ทางลบ รวมถึงยังไม่กำหนดให้คู่ค้าต้องประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสำรวจบางส่วนอาจไม่ทราบหรือไม่สามารถให้ข้อมูลได้ว่าบริษัทของตนมีการกำหนดนโยบายให้คู่ค้า เคารพสิทธิมนุษยชนอย่างไร ซึ่งอาจมีส่วนทำให้ผลสำรวจไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงได้ทั้งหมด นอกจากนี้ เนื่องจากมีผู้ตอบแบบสำรวจมีจำนวนน้อย อีกทั้งผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่เป็นบริษัท ขนาดใหญ่ (75.44%) หรือเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (85.96%) จึงทำให้การวิเคราะห์ผล สำรวจสะท้อนความพร้อม/ไม่พร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทขนาดใหญ่ เป็นหลัก ซึ่งนับเป็นข้อจำกัดของงานวิจัยนี้ เพื่อก้าวข้าม คณะวิจัยใช้ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดทำกรณีศึกษา เพื่อประกอบการวิเคราะห์ ข้อมูลจากแบบสำรวจ โดยดำเนินการสัมภาษณ์บริษัทขนาดใหญ่ 7 แห่ง และบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก 7 แห่ง จากนั้นเลือกบริษัทในกลุ่มดังกล่าวเป็นกรณีศึกษาจำนวน 3 กรณี โดยผลการวิจัย ในส่วนนี้ พบว่า บริษัทขนาดใหญ่ที่ได้ดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านแล้ว ตัดสินใจดำเนินการเนื่องจาก เกิดประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในห่วงโซ่อุปทาน เช่น การใช้แรงงานเด็ก การใช้แรงงานบังคับ การค้ามนุษย์ เป็นต้น โดยความท้าทายในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทกลุ่มนี้ คือ การขยายการการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทาน เนื่องจากบริษัทคู่ค้าที่เป็นบริษัทขนาดเล็กยังไม่ มีความพร้อมที่จะปรับปรุงหรือแก้ไขแนวทางในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับมาตรการลดความเสี่ยงด้าน สิทธิมนุษยชน ในขณะเดียวกัน บริษัทขนาดใหญ่บางแห่งยังไม่เคยดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบ ด้าน เนื่องจากยังไม่มีความรู้ความเข้าใจกระบวนการดำเนินการเพียงพอ หรือ บริษัทบางแห่งยังมีข้อกังวล เกี่ยวกับบริษัทคู่ค้าที่ยังไม่มีความพร้อมที่จะปรับปรุงหรือแก้ไขแนวปฏิบัติดา้ นการคุ้มครองสิทธิแรงงาน และยัง ไม่มีความเข้าใจในกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนมากพอ สำหรับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก พบว่า ยังไม่มีบริษัท ใดที่ดำเนินการตรวจสอบด้ านสิ ทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน เนื่องจากบริษัทกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องธุรกิจเป็นลำดับแรก เช่น คำนึงถึงรายได้ ก่อน ถ้ารายได้เพียงพอแล้ว จึงค่อยให้ความสำคัญเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นลำดับรอง นอกจากนี้ บริษัทกลุ่มนี้ บทสรุปผู้บริหาร - 2


ส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ ไม่เข้าใจว่าการดำเนินการการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านคืออะไร หรือ ยังไม่เห็นว่าการดำเนิน งานของบริษัทเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนอย่างไร จึงยังไม่ให้ความสำคัญกั บ การ ดำเนินการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม บริษัทบางแห่งมีการดำเนินการในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ มนุษยชนใน ระดับหนึ่ง และสามารถยกระดับเพื่อดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนต่อไปได้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คณะวิจัยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อค้นพบจากงานวิจัย และจั ดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เพื่อยกระดับความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน ของบริษัทในประเทศไทย สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. การจัดทำกฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน คณะวิจัยเห็นว่าการจัดทำกฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านสำหรับกิจการ ขนาดใหญ่เป็นกลไกสำคัญที่จะยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทในประเทศไทยได้อย่าง เป็นรูปธรรม โดยกฎหมายดังกล่าวควรตั้งอยู่บนเกณฑ์ที่ชัดเจนสำหรับคัดกรองบริษัทที่ต้องดำเนิน การ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านตามกฎหมาย โดยอาจใช้จำนวนพนักงานหรือรายได้ของบริษัทต่อปี เป็นเกณฑ์การพิจารณา เช่น ต้องมีรายได้มากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี (สองเท่าของเกณฑ์ตัด “วิสาหกิจ ขนาดกลาง” ตามกฎกระทรวง กำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2562) นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวควรกำหนดมาตรการจูงใจให้บริษัทขนาดใหญ่ที่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตาม กฎหมายฉบับนี้มีมาตรการเสริมสร้างศักยภาพของบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมในห่วงโซ่อุปทานของ ตนเอง เพื่อสามารถ “ส่งต่อ” ความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทานตามหลักการชี้ แนะ UNGPs เช่น การเป็น “พี่เลี้ยง” ที่สามารถให้คำปรึกษาและแนะนำเรื่องการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่า ง รอบด้านให้แก่บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมและบริษัททุกขนาดที่อยู่ในห่ว งโซ่อุปทานของตนได้ สำหรับกลุ่มบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องปฏิบัติ ตามข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชนจากผู้ซื้อ อยู่แล้ว คณะวิจัยเห็นว่าการยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิ มนุษยชนของบริษัทกลุ่มนี้ ยังไม่ควรเน้นกลไกเชิงบังคับของกฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง รอบด้านเฉกเช่นบริษัทขนาดใหญ่ เนื่องจากบริษัทกลุ่มนี้มี ทรัพยากรและบุคลากรน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม บริษัทกลุ่มนี้มีความคุ้นเคยกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอยู่แล้วในบางระดับ เนื่องจากต้องปฏิบัติตาม ข้อกำหนดของผู้ซื้อ บริษัทกลุ่มนี้จึงสามารถให้ข้อมูลได้เป็นอย่างดีถึงมาตรการเสริมสร้างศักยภาพในการ ดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนที่น่าจะมีประสิทธิผลสำหรับบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม สำหรับกลุ่มบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมอื่น ๆ ผลการวิจัยพบว่า บริษัทกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับ การดำเนินธุรกิจเป็นอันดับแรก และยังไม่สามารถเชื่อมโยงได้ว่าประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเกี่ยวข้องกับการ ดำเนินธุรกิจ อย่างไร คณะวิจัยเห็นว่าการยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทกลุ่มนี้ ใน บทสรุปผู้บริหาร - 3


ระยะแรกควรเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจให้บริษัทเห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงาน ด้านสิทธิ มนุษยชนเป็นลำดับแรก และเมื่อบริษัทมีความรู้ความเข้าใจแล้ว จึงส่งเสริมให้มีการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้านต่อไป 2. การเสริมสร้างศักยภาพของบริษัทในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน คณะวิจัยเห็นว่า ควรมีการเสริมสร้างองค์ความรู้และยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของ บริษัท โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากคู่มือการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่ หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรระหว่างประเทศได้จัดทำไว้แล้ว เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากคู่มืออย่างกว้างขวางมากขึ้น โดย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มการสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อให้บริษัทเข้าถึงคู่มือดังกล่าวอย่างทั่วถึง มีการ สื่อสารที่ช่วยสร้างความเข้าใจได้ว่าการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนตามคู่มือดังกล่าวสอดคล้องกับแนวปฏิบตั ิ หรือมาตรฐานด้านความยั่งยืนที่บริษัทดำเนินการอยู่แล้วอย่างไร นอกจากนี้ คณะวิจัยเห็นว่า ควรมีการจัดทำและเผยแพร่คู่มือและเอกสารแนวนโยบายที่ครอบคลุม ประเด็นเสี่ยงระดับอุตสาหกรรม รวมถึงคู่มือและแนวนโยบายของภาคธุรกิจในประเด็นต่อไปนี้ ซึ่งเป็นประเด็น ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนเห็นว่ายังมีช่องว่างอยู่มากระหว่างมาตรฐานสากลกับการปฏิบัติในไทย - นโยบายปกป้องคุ้มครองนักสิทธิมนุษยชน รวมถึงนโยบายไม่ตอบโต้ (non-retaliation policy) - นโยบายปกป้องผู้ใช้สิทธิในการชุมนุมสาธารณะ - นโยบายการปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชุมชนท้องถิ่น สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านแล้ว หรือมีห่วงโซ่อุปทาน ที่เกี่ยวข้องกับคู่ค้าจำนวนมาก คณะวิจัยเห็นว่าควรมีการจัดทำหลักสูตรอบรมอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาและ ยกระดับให้บริษัทกลุ่ มนี้สามารถเป็น “พี่เลี้ยง” ที่สามารถให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่ างรอบด้านให้แก่บริษัท ขนาดกลางและขนาดย่อ มและบริษัททุก ขนาดที่อยู่ในห่ว งโซ่อุป ทาน ของตน โดยกระทรวงยุติธรรมควรพิจารณาให้สถิติการเป็น “พี่เลี้ยง” ดังกล่าว เป็นเกณฑ์ส่วนหนึ่ง ในการ พิจารณามอบรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อช่วยสร้างแรงจูงใจเพิ่มเติมให้กับบริษัทที่มีความพร้อม คณะวิจัยเห็นด้วยกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนว่า ควรมีกระบวนการอบรมและ สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบริษัทขนาดใหญ่มากขึ้น ในหัวข้อ กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ ส่ว นเสีย และกลไกการจัดการเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิผ ล โดยเฉพาะในกรณีโ ครงการขนาดใหญ่ที่มี ผลกระทบกับชุมชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก นอกจากนี้ หลักสูตรการอบรมและคู่มือที่เกี่ยวข้องสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ ควรเพิ่มเติมเนื้ อหา เกี่ย วกับ หลักการและกระบวนการสร้ างการมีส ่ว นร่ว มอย่า งมี ความหมาย (meaningful engagement) หลักการและกระบวนการคุ้มครองการให้ความยินยอมโดยสมัครใจที่เป็นอิสระและได้รับข้อมูลล่วงหน้า (free, prior, and informed consent: FPIC) กลไกการจัดการเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิผลและกลไกการเยียวยาที่ โปร่งใส และการตรวจสอบสิ ทธิ ม นุ ษยชนอย่ า งรอบด้ านชนิ ดเข้ ม ข้ น (heightened human rights due บทสรุปผู้บริหาร - 4


diligence) ในพื้นที่ความเสี่ยงสูง โดยชี้ให้เห็นประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับหากดำเนินการตามกลไกเหล่านี้ และ ความเสี่ยงหรือผลกระทบที่บริษัทจะได้รับหากขาดกลไกดังกล่าว รวมทั้งควรมีตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดี (best practice) และจัดทำแนวปฏิบัติ ที่ชัดเจน เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดใหญ่มีความเข้าใจมากขึ้น สำหรับการเสริมสร้างศักยภาพของบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท ขนาดใหญ่ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชนจากผู้ซื้อ ควรมุ่งเน้นการสื่อสาร พัฒ นาองค์ ความรู้ หรือจัดทำหลักสูตรด้านสิทธิมนุษยชนที่มีเนื้อหาเชื่อมโยงกับแนวปฏิบัติหรือมาตรฐานด้านความ ยั่งยืนที่บริษัทต้องดำเนินการอยู่แล้ว นอกจากนี้ ควรเพิ่ม การสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อให้บริษัทเข้าถึง คู่มือการประเมินความพร้อม/ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างทั่วถึงมากขึ้น (เช่นเดียวกับบริษัทขนาดใหญ่) และควรมีการจัดทำคู่มือที่ครอบคลุมภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้มากขึ้น สำหรับการเสริมสร้างศักยภาพของบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมอื่น ๆ ควรมุ่งเน้นการสื่อสาร พัฒนาองค์ความรู้ หรือจัดทำหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎหมายที่เชื่อมโยงกับประเด็นด้านสิทธิ มนุษยชน โดยรูปแบบการสื่อสารควรใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย หรือเป็นประเด็นที่ใกล้ตัว เช่น สิทธิแรงงาน สิทธิ ผู้บริโภค รวมถึงการจัดทำคู่มือหรือแนวปฏิบัติในการดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิทธิ มนุษยชน เพื่อให้บริษัทมีความพร้อมที่จะพัฒนาไปสู่การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนที่อยู่สูง กว่าระดับการ ปฏิบัติตามกฎหมายต่อไป 3. การบูร ณาการแนวปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียว และการเพิ่มระดับความร่วมมือระหว่าง หน่วยงานรัฐ คณะวิจัยเห็นว่าแนวทางการขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชนภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการ ขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย เป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานในระดับนโยบาย แต่อาจยังไม่ สามารถยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนได้เท่าที่ควร ดังนั้น กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพควรเพิ่ม ระดับความร่วมมื อในระดับปฏิบัติการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อาจพิจารณาขยายความร่วมมือ กับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านสิทธิ มนุษยชนให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยเพิ่มการอบรมในกลุ่มเป้าหมายและหัวข้อต่อไปนี้ - บริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ : บทบาท “พี่เลี้ยง” สำหรับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของ บริษัทในห่วงโซ่อุปทานตนเอง - บริษัทจดทะเบียนขนาดกลางและขนาดย่อม: ประโยชน์ทางธุรกิจของการดำเนินการด้านสิทธิ มนุษยชน (อาทิ การจัดการความเสี่ยง) และมาตรฐานด้านความยั่งยืนที่ส่งผลต่อบริษัท นอกจากนี้ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพควรเพิ่มระดับความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กั บ ผู้ ป ระกอบการโดยตรง เช่ น กรมสวั ส ดิ ก ารและคุ้มครองแรงงาน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงาน พาณิชย์จังหวัด รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเร่งผลักดันและขยายผลการสร้างองค์ความรู้ด้านสิทธิ บทสรุปผู้บริหาร - 5


มนุษยชนให้ครอบคลุมบริษัททุกขนาด ทุกอุตสาหกรรม และครอบคลุมทุกจังหวัด ทั้งนี้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็น ว่ากรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานควรเป็นหน่วยงานหลัก ในการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้ อง เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่มีข้อมูลแรงงานและข้อมูลผู้ประกอบการมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ในประเด็นนี้ คณะวิจัยมีข้อเสนอแนะว่ากรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพควรมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ข้างต้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาแนวทางการยกระดับความร่วมมือการดำเนินงานด้านธุรกิจกับ สิทธิมนุษยชนต่อไป คณะวิจัยเห็นว่าการบูรณาการการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างหน่วยงานรัฐ จะช่วยลดความ สับสนหรือความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานของผู้ประกอบการได้ โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภ าพ และ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ควรหาช่องทางขยายผลการใช้ประโยชน์จากคู่มือ ประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านและรายการตรวจสอบของภาคธุรกิจที่ได้จัดทำไว้อยู่แล้ว โดยอาจจัดทำระบบออนไลน์ให้บริษัทสามารถเข้ามาทดลองประเมินความพร้อมของตนเองในการตรวจสอบ ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ตามรายการตรวจสอบ (checklist) ในคู่มือ เป็นต้น นอกจากนี้ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพควรขยายความร่วมมือกับ กสม. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีข้อมูล ข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนมากที่สุด เพื่อเชื่อมโยงและเปิดเผยฐานข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนให้เป็นฐานข้อมูล เดียวกัน โดยเปิดเผยต่อสาธารณะในลักษณะที่เข้าถึงและประมวลผลได้ง่าย (open data) เพื่อสร้างแรงจูงใจ ให้ภาคธุรกิจยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงเปิดโอกาสให้นักวิชาการ บริษัท และหน่วยงาน ของรัฐ สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อประเมินแนวโน้มประเด็นเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากการดำเนิน กิจกรรมทางธุรกิจ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กรต่อไป

บทสรุปผู้บริหาร - 6


บทที่ 1 บทนำ 1.1 ที่มาและความสำคัญ โครงการพั ฒ นาแห่ ง สหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ประเทศไทย ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ในการส่งเสริม สร้างความเข้าใจให้กับหน่วยงานภาครัฐและ ภาคธุรกิจ เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่ง สหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) แผนภาพที่ 1 - 1 เสาหลัก 3 ประการ ตามหลักการชี้แนะ UNGPs

ที่มา: https://shiftproject.org/resources/ungps101/

ภายใต้การสนับสนุนดังกล่าว UNDP ได้จัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจในไทยจัดทำนโยบาย ด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) ซึ่งเป็นหลักการสำคัญตามหลักการชี้แนะ UNGPs ทั้งนี้ ที่ผ่านมาบริษัทในไทยมีข้อจำกัดในการพัฒนา และบูรณาการกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเข้าไปในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจาก บริษัทบางส่วนมองว่าประโยชน์ที่ได้จากการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านน้อยกว่าต้นทุนในการ ดำเนินการ อีกทั้งบางส่วนมองว่าการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านนั้น เป็นการตรวจสอบจาก หน่วยงานภายนอก (audit) มากกว่าที่จะเป็นการดำเนินการของบริษัทเอง

1-1


นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดให้บริษัทที่ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต้องจัดทำแบบ 56-1 One Report ซึ่งเป็นการรวมแบบแสดงรายการข้อมูล ประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปี (แบบ 56-2) ไว้ด้วยกัน โดยให้ความสำคัญกับการยกระดับการ รายงานข้อมูลด้านการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ซึ่งมีประเด็นสิทธิมนุษยชนรวมอยู่ด้วย โดยกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนจัดทำและ เผยแพร่แบบ 56-1 One Report ในปี 2565 เป็นปีแรก ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นการยกระดับการดำเนินงาน ด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทจดทะเบียนให้เป็นไปตามหลักการชี้แนะ UNGPs มากขึ้น ซึ่งรวมถึงการเปิดเผย กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านรายงานด้วย ขณะเดียวกัน หลายประเทศทั่วโลกเริ่มให้ความสำคัญกับกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้านมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในยุโรป ซึ่งเริ่มมีการจัดทำกฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้านแล้ว การประกาศบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวส่งผลกระทบต่อบริษัทไทยที่เป็นส่วนหนึ่ง ในห่วงโซ่อุปทานของโลกด้วย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง บริษัทไทยจำเป็นต้องมี การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้านเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศผู้นำเข้า เหล่านี้ รวมถึงสอดคล้องกับความคาดหวังของ ผู้บริโภคและนักลงทุนที่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ดังนั้น การบูรณาการกระบวนการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเข้าไปในการดำเนินธุรกิจ จึงมีส่วนช่วยสร้างความสามารถในการ แข่งขันให้กับบริษัทไทยในระดับสากลได้ จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น การเสริมสร้างความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบ ด้านตามหลักการชี้แนะ UNGPs ให้กับบริษัทในไทยจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง UNDP และกรมคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม จึงได้ว่าจ้างบริษัท ป่าสาละ จำกัด (คณะวิจัย) เพื่อสำรวจและประเมินความ พร้อมของบริษัทในประเทศไทยในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยผลการศึกษา จะนำไปใช้ในการจัดทำข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างศักยภาพของบริษัทไทยให้สามารถดำเนินการตรวจสอบ ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้อย่างกว้างขวาง และมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การดำเนินธุรกิจอย่าง ยั่งยืนต่อไป 1.2 วัตถุประสงค์โครงการ 1) เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ หลักการและความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนกับการดำเนินงาน ของบริษัท/องค์กรในประเทศไทย 2) เพื่อตรวจสอบกระบวนการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนและประเมินความพร้อมของบริษัท / องค์กรในประเทศไทย ในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน 3) เพื ่ อ จั ด ทำข้ อ เสนอแนะในการเตรี ยมความพร้อ มให้ บ ริ ษั ท /องค์ก รในประเทศไทย สามารถ ดำเนินการตามการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้ 1-2


1.3 ระเบียบวิธีวิจัย คณะวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยหลัก ๆ ดังนี้ 1) การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยมีเนื้อหา อย่างน้อยประกอบด้วย - กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือแนวปฏิบัติด้านการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ของบริษัทและคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน โดยศึกษาข้อมูลที่ปรากฏทั้งในประเทศและต่างประเทศ - ความเหมือนและความแตกต่างของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือแนวปฏิบัติในการดำเนินการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านในแต่ละประเทศ ตลอดจนช่องว่าง (gap) ที่มีอยู่ 2) การสำรวจความพร้อมในการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทในประเทศไทย โดย การจัดทำแบบสำรวจ และการสัมภาษณ์เชิงลึก - จัดทำแบบสำรวจความพร้อมของบริษัทในประเทศไทยในรูปแบบออนไลน์ - สัมภาษณ์เชิงลึกบริษัทในประเทศไทย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย - บริษัทขนาดใหญ่ 7 แห่ง (กระจายในหลายอุตสาหกรรม) - บริษัทขนาดกลางและเล็ก จำนวน 7 แห่ง (กระจายในหลายอุตสาหกรรม) - ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิ มนุษยชน จำนวน 6 ราย 3) นำผลจากการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์เชิงลึกมาจัดทำกรณีศึกษา จำนวน 3 กรณี เพื่อแสดงให้เห็นถึงแนวปฏิบัติและความท้าทายในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านที่แตกต่างกัน ของบริษัทขนาดใหญ่ 1 ราย บริษัทขนาดกลางที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทใหญ่ 1 ราย และบริษัทขนาด เล็ก 1 ราย 4) การจัดประชุมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ครั้ง ในรูปแบบ hybrid (offline และ online) ครั้งที่ 1 เพื่อนำเสนอผลสำรวจความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิ ทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของ บริษัทในประเทศไทย รวมทั้งการประชุ มกลุ่ มย่ อยเพื่ อแลกเปลี่ ยนแนวปฏิบ ัติ ปัญหา อุปสรรค ตลอดจนข้อเสนอแนะในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ครั้งที่ 2 เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ 1.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ รายงานฉบับสมบูรณ์ ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วย - ผลการทบทวนวรรณกรรม - แนวปฏิบ ัติและความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทใน ประเทศไทย 1-3


- การจัดทำกรณีศึกษา 3 กรณี - ข้อเสนอแนะเพื่อเสริมสร้างความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของ บริษัทในประเทศไทย 1.5 แผนการดำเนินงาน ระยะเวลาดำเนินงาน 8 เดือน โดยมีแผนการดำเนินงาน ดังนี้

1-4


Activities

1st month2nd month3rd month4th month 5th month6th month7th month8th month 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4

ส่งโครงร่างและแผนการศึกษา ทบทวนวรรณกรรมที่เกีย่ วข้องกับการตรวจสอบ สิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน HRDD จัดทาแบบสารวจความพร้อมในการดาเนินการ ตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน จัดงานประชุมหารือครัง้ ที่ 1 กับผูม้ ีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างน้อย 70 รายในรูปแบบไฮบริด สัมภาษณ์เชิงลึกผูม้ ีส่วนได้ส่วนเสียที่เกีย่ วข้อง จัดทากรณีศึกษาจานวน 3 เคส ส่งร่างรายงานฉบับแรก จัดงานประชุมหารือครัง้ ที่ 2 กับผูม้ ีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างน้อย 70 รายในรูปแบบไฮบริด ส่งรายงานฉบับภาษาไทยและอังกฤษ

1-5


บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านภาคบังคับ 2.1 ภาพรวมของการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน คณะวิจัยได้ทบทวนนิยามของการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ซึ่งถูกระบุไว้ในหลักการ ชี้แนะ UNGPs ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสากลในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ หลักการชี้แนะ UNGPs ได้ ระบุหลักการข้อที่ 17-22 ซึ่งกำหนดกรอบเพื่อให้ธุรกิจสามารถติดตามประเด็นสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง โดยมุ่งหวังว่าองค์กรธุรกิจ ควรดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ โดยยึดหลักสิทธิมนุษยชนในการป้องกัน การลด ความสูญเสีย มีการประเมินผลกระทบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจริงและอาจเกิดขึ้นได้ และมีการ ติดตามผลกระทบนั้นอย่างใกล้ชิด รวมทั้งมีการสื่อสารต่อสาธารณะเพื่อให้แน่ใจได้ว่าผู้ได้รับผลกระทบจะได้รับ การดูแลและเยียวยาอย่างใส่ใจ (คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, 2561) เนื้อหาในหลักการได้ระบุแนวทางปฏิบัติ HRDD สำหรับธุรกิจ ดังนี้ หลั ก การข้ อ ที ่ 17 องค์ ก รธุ ร กิ จ ควรดำเนิ น ธุ ร กิ จ อย่ า งรั บ ผิ ด ชอบโดยยึ ด หลั ก สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน ในการป้องกัน การลดความสูญเสีย มีการประเมินผลกระทบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจริงและอาจ เกิดขึ้นได้ และมีการติดตามผลกระทบนั้นอย่างใกล้ชิด รวมทั้งมีการสื่อสารต่อสาธารณะเพื่อให้แน่ใจได้ว่า ผู้ได้รับผลกระทบจะได้รับการดูแลและเยียวยาอย่างใส่ใจ (ก) ควรครอบคลุมผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่ องค์กรธุรกิจอาจก่อหรือมีส่วนทำให้เกิดขึ้น โดยผ่านกิจกรรมขององค์กรธุรกิจหรืออาจเชื่อมโยงกับการผลิตหรือบริการขององค์กรธุรกิจ โดยอาศัยความสัมพันธ์ทางธุรกิจ (ข) ย่อมมีความต่างกันในเชิงความซับซ้อนตามขนาดขององค์กร ธุรกิจ ความเสี่ยงต่อการละเมิด สิทธิมนุษยชนที่รุนแรง และสภาพตามธรรมชาติ กับบริบทการดำเนินการขององค์กรธุรกิจ (ค) ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยยอมรับว่าการเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอาจเปลี่ยนไป ตามสถานการณ์และบริบทในการดำเนินการขององค์กรธุรกิจ หลักการข้อที่ 18 เพื่อที่จะวัดการเสี่ยงภัยในด้านสิทธิมนุษยชน (human rights risks) องค์กรธุรกิจ ควรระบุและประเมินผลกระทบทางลบด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจริงหรือที่น่าจะเกิดขึ้นได้ที่องค์กรธุรกิจ อาจจะเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ว่าโดยกิจการขององค์กรธุรกิจเอง หรือเป็นผลตามมาของความสัมพันธ์ทางธุรกิจของ องค์กรธุรกิจ โดยมีกระบวนการดังนี้ (ก) ประเมินความเสี่ยงโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนภายในหรือภายนอกที่เป็นอิสระ (ข) จัดให้มีการปรึกษาหารืออย่างจริงจังกับกลุ่มที่อาจจะได้รับผลกระทบและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ตามความเหมาะสมกับขนาดขององค์กรธุรกิจ สภาพและบริบทของการดำเนินการ

2-1


หลักการข้อที่ 19 เพื่อป้องกันหรือลดผลกระทบที่มีผลในทางลบต่อสิทธิมนุษยชน องค์กรธุรกิจ ควรบูร ณาการสิ่งที่ค้น พบจากการประเมินผลกระทบเข้ากั บหน้าที่และกระบวนการภายในที่เกี่ยวข้ อ ง และดำเนินการตามความเหมาะสม (ก) การบูรณาการอย่างมีประสิทธิผลต้องมีสิ่งต่อไปนี้ (1) องค์กรธุรกิจต้องมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบที่เหมาะสม ทำหน้าที่ติดตามผลกระทบ ด้านสิทธิมนุษยชน (2) กระบวนการตัดสิ น ใจภายใน การจัดสรรงบประมาณ และกระบวนการกำกั บ ดู แ ล จะทำให้มีการสนองตอบที่มีประสิทธิผลต่อผลกระทบดังกล่าว (ข) การกระทำที่เหมาะสมจะต่างกันออกไปด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้ (1) องค์กรธุรกิจก่อหรือมีส่วนร่วมในการทำให้เกิดผลกระทบในทางลบ หรือองค์กรธุรกิจ เพียงแต่เข้าไปเกี่ยวข้องเพราะถูกโยงโดยตรงกับการดำเนินการผลิต ผลิตภัณฑ์หรือ บริการของธุรกิจที่มีความสัมพันธ์ด้วย (2) อำนาจต่อรองขององค์กรธุรกิจในการแก้ปัญหาและดูแลผลกระทบในทางลบ หลักการข้อที่ 20 ในการหาความจริงว่าผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนกำลังได้รับการดูแลหรือไม่ องค์กรธุรกิจควรติดตามตรวจสอบประสิทธิผลของการแก้ปัญหา การติดตามตรวจสอบควรมีลักษณะ ดังนี้ (ก) มีตัวชี้วัดด้านคุณภาพและด้านปริมาณที่เหมาะสม (ข) การหาข้อมูลสนับสนุนจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกรวมทั้งผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียที่ ได้รับผลกระทบ หลักการข้อที่ 21 ในการแสดงความรับผิดของบริษัท ต่อผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น องค์กรธุรกิจควรจะมีความพร้อมที่จะสื่อสารเรื่องนี้กับภายนอก โดยเฉพาะเมื่อความกังวลนั้นถูกนำเสนอ หรือกระทำในนามของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับผลกระทบ องค์กรธุรกิจที่กิจการของตนหรือบริบทการดำเนิน ธุรกิจทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง ควรจะรายงานอย่างเป็นทางการว่าองค์กร ธุรกิจนั้นได้ดูแลผลกระทบเหล่านั้นอย่างไร ในทุกกรณีการสื่อสารควรจะมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) มีรูปแบบและความถี่ที่สะท้อนผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กรธุรกิจ และกลุ่มเป้าหมาย ของการสื่อสารควรจะเข้าถึงได้ (ข) จัดให้มีข้อมูล ข่าวสารที่เพียงพอที่จะประเมินว่าองค์กรธุรกิจได้ตอบสนองต่อผลกระทบ ทางสิทธิมนุษยชนอย่างเพียงพอแล้วหรือไม่ (ค) ในทางกลับกันการสื่อสารนั้น ๆ จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียที่ได้รับ ผลกระทบ บุคลากร หรือข้อกำหนดที่ชอบธรรมในเรื่องความลับเชิงพาณิชย์ หลักการข้อที่ 22 ในกรณีที่องค์กรธุรกิจถูกระบุว่าได้ก่อให้เกิดหรือมีส่วนร่วมในการละเมิดสิทธิ มนุษยชน องค์กรธุรกิจเหล่านั้นควรจัดให้มีหรือร่วมมือในการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยใช้กระบวนการ ที่ชอบธรรม 2-2


แนวทางปฏิบัติ HRDD ภายใต้หลักการชี้แนะ UNGPs ข้างต้น ถือเป็นหมุดหมายสำคัญและเป็น มาตรฐานสากลของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้ องค์กร ระหว่างประเทศต่าง ๆ ได้บูรณาการหลักการชี้แนะ UNGPs รวมถึงแนวปฏิบัติ HRDD เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ มาตรฐานด้วย ตัวอย่างเช่น แนวปฏิบัติสำหรับบรรษัทข้ามชาติขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD Guidelines for Multinational Enterprises) แนวปฏิ บั ติ ส ำหรับ บรรษัท ข้ า มชาติ ข ององค์ ก ารเพื่ อ ความร่ ว มมื อ ทางเศรษฐกิ จและการพัฒ นา เป็นข้อเสนอแนะแนวปฏิบัติสำหรับภาคธุรกิจในการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบที่ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งเริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2519 จนในปี พ.ศ. 2554 ก็ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติม โดยได้เพิ่มแนวปฏิบัติด้าน สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนที่ ส อดคล้ อ งกับหลักการชี้แนะ UNGPs เข้าไปด้วย (International Labour Organization, n.d.) ต่ อ มาในปี พ.ศ. 2561 ในการประชุ ม ประจำปี ร ะดั บ รั ฐ มนตรี (OECD’s Annual Meeting at Ministerial Level) ประเทศสมาชิ ก OECD จำนวน 48 ประเทศ ตกลงที่ จ ะส่ ง เสริ ม และติ ด ตามการ ดำเนินงานตามแนวปฏิบัติ ในการตรวจสอบธุรกิจอย่างรอบด้านของ OECD สำหรับการดำเนินธุรกิจที่มีความ รับผิดชอบ (OECD Due Diligence Guidance for Responsible Business Conduct) ซึ่งเป็นแนวปฏิบั ติ สำหรับบรรษัทข้ามชาติในการตรวจสอบธุรกิจอย่างรอบด้าน ครอบคลุมทุกภาคเศรษฐกิจ (sector) และ ครอบคลุมประเด็นความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของบริ ษัทและห่วงโซ่อุปทาน ทั้งประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการคอร์รัปชัน (OECD, 2018) แนวปฏิบัติในการตรวจสอบธุรกิจอย่างรอบด้านสำหรับการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบดังกล่าว ได้บูรณาการแนวปฏิบัติ HRDD เข้าไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ การตรวจสอบอย่างรอบด้านสำหรับการดำเนินธุรกิจ ที่มีความรับผิดชอบ มีความหมายกว้างกว่า “ไม่ก่อให้เกิดอันตราย” แต่ภาคธุรกิจต้องมีกระบวนการระบุ ประเด็นความเสี่ยง รวมถึงการป้องกันและจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย (OECD Watch, 2018) การตรวจสอบธุรกิจอย่างรอบด้านจึงมิใช่การประเมินความเสี่ยงของบริษัท หรือความเสี่ยงใน การลงทุน หากแต่เป็นการประเมินความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั่นเอง ปฏิญญาไตรภาคีว่าด้วยหลักการเกี่ยวกับบรรษั ทข้ามชาติและนโยบายทางสังคม (ILO Tripartite Declaration of Principles concerning Multinational Enterprises and Social Policy) หลักการพื้นฐานของปฏิญญาไตรภาคีว่าด้วยหลักการเกี่ยวกับบรรษัทข้ามชาติ และนโยบายทางสังคม (ปฏิญญาบรรษัทข้ามชาติ หรือ MNE Declaration) เป็นการให้แนวทางแก่บรรษัทข้ามชาติ รัฐบาล รวมถึง องค์กรนายจ้างและองค์กรลูกจ้างในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับด้านแรงงานต่าง ๆ เช่น การจ้างงาน การฝึกอบรม สภาพการทำงานและการดำรงชีวิต แรงงานสัมพันธ์ โดยเนื้อหาของ MNE Declaration ข้อ 10 ได้เสนอ แนวนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนที่รัฐบาล องค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้างของประเทศผู้ลงทุนและประเทศผู้รับ การลงทุน ตลอดจนบรรษัทข้ามชาติ ควรนำไปปฏิบัติ โดยแนวนโยบายดังกล่าวอ้างอิงหลักการชี้แนะ UNGPs ไว้ 2-3


อย่างชัดเจน กล่าวคือ การเคารพหลักการชี้แนะ UNGPs การกำหนดให้ธ ุรกิจ รวมถึงบรรษัทข้ามชาติ หลีกเลี่ยงและป้องกันผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน รวมถึง “มีการตรวจสอบเพื่อระบุ ป้องกัน บรรเทา และแสดงความรับผิดชอบในการดำเนินการแก้ไขผลกระทบอันไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น หรือที่ อาจมีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองในระดับสากล” (องค์การแรงงานระหว่างประเทศ, 2562) จะเห็นได้ว่าทั้งหลักการชี้แนะ UNGPs แนวปฏิบัติในการตรวจสอบธุรกิจอย่างรอบด้านของ OECD สำหรับการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ และ MNE Declaration ล้วนแล้วแต่กำหนดหลักการพื้นฐาน การดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องและส่งเสริมซึ่งกันและกัน รวมทั้งการกำหนดให้ภาคธุรกิจดำเนินการตรวจสอบ ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านให้ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทานด้วย อย่างไรก็ตาม มาตรฐานหรือแนวปฏิบัติ ต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นมาตรฐานเชิงสมัครใจและมิได้มีสภาพบังคับ ส่งผลให้บริษัทสามารถเลือกได้เองว่าจะ รายงานข้อมูลในประเด็นใด หรือจะเลือกรับมาตรฐานใดมาใช้ กับบริษัท ซึ่งโดยมากบริษัทต่าง ๆ มักเลือกรับ มาตรฐานทีม่ องว่าสามารถปฏิบัติตามได้ (คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, 2559) นอกจากนี้ แม้ว่าหลายประเทศมีการกระตุ้นให้ภาคธุรกิจดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง รอบด้านมากขึ้น แต่ที่ผ่านมาพบว่าบริษัทส่วนใหญ่ยังไม่มีกระบวนการดำเนินการที่เพียงพอ (The Remedy Project, 2021) ตัวอย่างเชิงประจักษ์ที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน คือ ผลการประเมินการดำเนินงานด้านสิทธิ มนุษยชนของบริษัทระดับโลกตามเกณฑ์เปรียบเทียบของ Corporate Human Rights Benchmark (CHRB)1 ปี พ.ศ. 2563 จากบริษัทชั้นนำระดับโลก 229 แห่ง ในอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนสูง 5 อุ ต สาหกรรม ได้ แ ก่ อุ ต สาหกรรมผลิ ต ภั ณ ฑ์ ก ารเกษตร อุ ต สาหกรรมสิ ่ ง ทอ อุ ต สาหกรรมการสกั ด ทรัพยากรธรรมชาติ อุตสาหกรรมการผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และอุตสาหกรรมยานยนต์ พบว่า บริษัทระดับโลกถึงร้อยละ 46.2 ไม่สามารถแสดงให้เห็นว่าได้มี การระบุประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิ มนุษยชน หรือมีการจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทานอย่างไร (World Benchmarking Alliance, 2020) ขณะที ่ ร ายงาน Social Transformation Baseline Assessment 2022 ระบุ ว ่ า บริ ษั ท ระดับ โลกราวร้อยละ 78 ได้ศูน ย์คะแนนในหมวดตัว ชี้ว ัดที่เ กี่ยวข้อ งกับ แนวทางปฏิบัติ HRDD (World Benchmarking Alliance, 2022) เป็นต้น จากสภาพปัญหาข้างต้น ประกอบกับ กระแสความตื่นตัวในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนของนักลงทุน และผู้บริโภคที่ไม่ต้องการสนับสนุนธุรกิจที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบด้านสิทธิมนุษยชน ทำให้ภาคธุรกิจ ถู ก คาดหวั ง ให้ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและมีความรับผิดชอบมากขึ้น รวมไปถึงคาดหวังให้ มีความ รับผิดชอบที่ครอบคลุมไปถึง การดำเนินธุรกิจ ของบริษัทในห่วงโซ่อุปทานด้วย ดังนั้น หลายประเทศจึงเริ่ม พิจารณาจัดทำมาตรการภาคบังคับให้ภาคธุรกิจดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เพื่อ ป้องกันและบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินธุ รกิจ (The Remedy Project, 1 เป็นโครงการวัดผลดำเนินงานด้านสิทธิมนุษ ยชนของภาคธุรกิจตามกรอบหลักการชี้แนะ UNGPs ปัจ จุบ ันเป็นส่วนหนึ่งของแนวร่วม World

Benchmarking Alliance (WBA) ซึ่งเป็นองค์กรที่มุ่งผลักดันให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการจัดทำและ เผยแพร่เกณฑ์เปรียบเทียบ (Benchmarks) ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน 2-4


2021) โดยการร่างขึ้นเป็นกฎหมาย ซึ่งได้รับการตอบรับด้วยดีจากบริษัท องค์กรธุรกิจ และนักลงทุน ซึ่งเริ่มให้ ความสำคัญกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้น 2.2 การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านภาคบังคับ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง งานวิจัย Guiding Principles On Business And Human Rights At 10: Taking stock of the first decade ของ UN Working Group on Business and Human Rights (2021) ระบุว่า หลักการชี้แนะ UNGPs ทำให้เกิดพัฒนาการที่สำคัญในการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจ ดำเนินธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดแนวทางปฏิบัติให้ภาคธุรกิจระบุประเด็นเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และมีแนวทาง ในการป้องกันและจัดการผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจดังกล่าว นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ยังชี้ให้เห็นว่า การผลักดันให้การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเป็น กฎหมายหรือมาตรการภาคบังคับ รวมถึง การที่ภาครัฐใช้เครื่องมือเชิงนโยบายที่หลากหลายในการสร้างแรงจูงใจให้ภาคธุรกิจดำเนินการตรวจสอบด้าน สิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน จะมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าองค์กรภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม จะเห็นความจำเป็นของการจัดทำ กฎหมายหรือ มาตรการภาคบังคับ ให้มีการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านมากขึ้น แต่ ความ คืบหน้าในการดำเนินการดังกล่าวมีความล่าช้ามาก ทั้งนี้ ประเทศจำนวนมากให้ความระมัดระวังกับการจัดทำ กฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เนื่องจากกลัวว่าจะส่งผลกระทบต่อความได้เปรียบใน การแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศ (UN Working Group on Business and Human Rights, 2021) จากการสำรวจและสืบค้นข้อมูล คณะวิจัยพบว่าความคืบหน้าของการจัดทำกฎหมายหรือมาตรการ ภาคบังคับการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านส่วนใหญ่ เกิดขึ้นในประเทศในยุโรป โดยปัจจุบัน ประเทศที่ประกาศบังคับใช้หรือเตรียมบังคับใช้กฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านแล้วมี เพียงฝรั่งเศส นอร์เวย์ และเยอรมนี ซึ่งมีสาระสำคัญ ของกฎหมายที่ใกล้เคียงกัน กล่าวคือ กฎหมายการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านในระดับประเทศส่วนใหญ่จะกำหนดเกณฑ์การบังคับใช้กับภาค ธุรกิจ เช่น ต้องมีภูมิลำเนาหรือที่ตั้งอยู่ในประเทศนั้น มีการกำหนดจำนวนพนักงานขั้นต่ำหรือมูลค่ายอดขาย ขั้นต่ำ หรืออาจกำหนดให้บ ริษัทต้องมีการบริห ารความเสี่ยงและประเมินความเสี่ยงที่เกี่ ยวข้องกับ สิ ทธิ มนุษยชนในห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงต้องมีการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการดำเนินการให้สาธารณะทราบด้วย โดยแนวปฏิบัติในการติดตามตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนจะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับใน ระดับสากล (The Remedy Project, 2021) สำหรับรายละเอียดสาระสำคัญของกฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของ ฝรั่งเศส นอร์เวย์ และเยอรมนี มีดังนี้ ฝรั่งเศส: จัดทำกฎหมาย French Corporate Duty of Vigilance Law (ปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้ว) ที่บังคับใช้กับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีพนักงานในฝรั่งเศสอย่างน้อย 5,000 คน และหรือมีพนักงานทั่วโลกอย่าง น้อย 10,000 คน โดยบริษัทจะต้องจัดทำแผนเฝ้าระวัง (vigilance plan) ที่สามารถระบุความเสี่ยงและป้องกัน 2-5


การละเมิดสิทธิมนุษยชน สุขภาพและความปลอดภัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมกิจกรรม ทั้งหมดของบริษัท บริษัทในเครือ ผู้รับเหมา และคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ แผนเฝ้าระวังดังกล่าวต้องมีเนื้อหา อย่ า งน้ อ ย คื อ การระบุ แ ละประเมิ น ความเสี ่ ย งด้ า นสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนที ่ เ กิ ด จากการดำเนิ น งานตลอดทั้ ง ห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งต้องมีการจัดทำมาตรการจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นด้วย (International Organisation of Employers, 2021; The Remedy Project, 2021) นอร์เวย์: จัดทำกฎหมาย Norwegian Transparency Act (ปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้ว) ที่บังคับใช้กับ บริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มีสำนักงานใหญ่หรือมีที่ตั้งอยู่ ในนอร์เวย์ รวมถึงบริษัทต่างชาติที่ขายสินค้า หรือบริการในนอร์เวย์ ที่เข้าเงื่อนไขอย่างน้อย 2 ใน 3 ข้อนี้ 1) มีพนักงานเทียบเท่าเต็มเวลา (Full-time equivalent: FTE) เฉลี่ยอย่างน้อย 50 คนต่อปี 2) มียอดขายต่อปีอย่างน้อย 70 ล้านโครนนอร์เวย์ 3) สินทรัพย์ไม่น้อยกว่า 35 ล้านโครนนอร์เวย์ ทั้งนี้ บริษัทต้องมีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านที่ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่ อุ ป ทาน และต้ อ งจัด ทำมาตรการบรรเทาและเยียวยาผู้ ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งต้องเปิดเผยรายงานการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ทั้งในด้านความเสี่ยงและผลกระทบทางลบที่พบจากการตรวจสอบ ตลอดจนต้องมี มาตรการในการจัดการผลกระทบดังกล่าว (International Organisation of Employers, 2021; The Remedy Project, 2021) เยอรมนี : จัดทำกฎหมาย German Due Diligence in the Supply Chain Act (มีผ ลบังคับใช้ใน เดือนมกราคม 2566) ที่บังคับใช้กับบริษัทที่มีพนักงานอย่างน้อย 3,000 คน ในปี พ.ศ. 2566 และอย่างน้อย 1,000 คน ในปี พ.ศ. 2567 ซึ่งสะท้อนให้ เห็นว่ากฎหมายของเยอรมนีดังกล่าวได้มีการขยายขอบเขตการ ตรวจสอบให้ครอบคลุมบริษัทที่มีขนาดเล็กลงด้วย ทั้งนี้ บริษัทต้องมีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิ ทธิ มนุษยชนและสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้านในห่วงโซ่อุปทาน โดยมีแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

2-6


ตารางที่ 2 - 1 สรุปสาระสำคัญของกฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน French Corporate Duty of Vigilance Law Norwegian Transparency Act สถานะ มีผลบังคับใช้แล้ว มีผลบังคับใช้แล้ว บริษัทเป้าหมาย บริษัทที่จดทะเบียนในฝรั่งเศส และมีพนักงานของ บริษัทที่ตั้งอยู่ในนอร์เวย์ หรือเสนอขายสินค้าและบริการที่ บริษัทในเครืออย่างน้อย 5,000 คน หรือมีพนักงานทั่ว ต้องเสียภาษีในนอร์เวย์ และต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข 2 ข้อ จาก โลกอย่างน้อย 10,000 คน 3 ข้อนี้ 1) มีพนักงานเทียบเท่าเต็มเวลา (Full-time equivalent: FTE) เฉลี่ยอย่างน้อย 50 คนต่อปี 2) มียอดขายต่อปีอย่างน้อย 70 ล้านโครนนอร์เวย์ 3) สินทรัพย์ไม่น้อยกว่า 35 ล้านโครนนอร์เวย์ ขอบเขตกิจกรรม ครอบคลุมกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมด ครอบคลุมกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมด ทางธุรกิจ กระบวนการ ต้องจัดทำแผนเฝ้าระวังที่สามารถระบุความเสี่ยงและ กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านต้อง ตรวจสอบด้าน ป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน สุขภาพและความ สอดคล้องกับแนวปฏิบัติสำหรับบรรษัทข้ามชาติขององค์การ สิทธิมนุษยชน ปลอดภัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) อย่างรอบด้าน การบังคับใช้/ หากบริษัทไม่ปฏิบัตติ ามกฎหมาย จะมีความผิดทาง หากบริษัทไม่ปฏิบัตติ ามกฎหมาย จะต้องจ่ายเงินค่าปรับ บทลงโทษ แพ่ง ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการไม่ปฏิบัตติ าม กฎหมายของบริษัท สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจาก บริษัทได้ การกำกับดูแล กำหนดให้มขี ั้นตอนเพื่อระบุและวิเคราะห์ความเสี่ยง กำหนดให้มีข้อกำหนดเรื่องความรับผิดชอบ (accountability) ด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงประเมินความเสีย่ งคู่ค้าอย่าง แผนผังและการประเมินความเสี่ยง มาตรการบรรเทา สม่ำเสมอ ดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงและป้องกัน ผลกระทบ มีการติดตามมาตรการที่บังคับใช้ มีการสื่อสารกับ 2-7

German Due Diligence in the Supply Chain Act มีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2566 สำนักงานใหญ่ สถานประกอบการหลัก สำนักงานสาขา หรือ สถานที่ทำงานของผู้บริหาร ตั้งอยู่ในเยอรมนี และมีพนักงาน ในเยอรมนีอย่างน้อย 3,000 คน ในปี 2566 หรืออย่างน้อย 1,000 คน ในปี 2567

ครอบคลุมกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมด กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เป็นไปตามแนวปฏิบตั ิของ UNGPs และมีแนวปฏิบัติที่สูงขึ้น สำหรับคู่ค้าโดยตรง (direct supplier) บริษัทต้องส่งแผนการเยียวยา (remediation plan); กรณีที่ ไม่ดำเนินการ กำหนดค่าปรับสูงสุด 8 ล้านยูโร หรือร้อยละ 2 ของมูลค่ายอดขายประจำปี กำหนดให้มรี ะบบการบริหารความเสี่ยง การวิเคราะห์ความ เสี่ยง ประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชน มีมาตรการป้องกันและ แก้ไขจากผลกระทบที่เกิดขึ้น และมีกลไกการร้องเรียน


French Corporate Duty of Vigilance Law การละเมิดสิทธิมนุษยชน จัดให้มีกลไกแจ้งเตือนและ กลไกการประเมิน ต้องเปิดเผยแผนเฝ้าระวังและรายงานการดำเนินการ ตามแผนต่อสาธารณะ

Norwegian Transparency Act ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทีได้รับผลกระทบจากการดำเนินงาน และ มีกระบวนการเยียวยา การรายงาน รายงานกระบวนการระบุผลกระทบทางลบ ผลกระทบและ เปิดเผยข้อมูล ความเสีย่ งที่พบจากการตรวจสอบอย่างรอบด้าน มาตรการ จัดการผลกระทบและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (รายงานรายปี) ที่มา: คณะวิจยั รวบรวมและปรับปรุงจาก The Remedy Project (2021) และ International Organisation of Employers (2021)

2-8

German Due Diligence in the Supply Chain Act

รายงานการระบุความเสีย่ ง มาตรการในการจัดการ การ ประเมินมาตรการในการจัดการดังกล่าวเพื่อปรับปรุง มาตรการต่อไปในอนาคต (รายงานรายปี)


นอกจากประเทศฝรั่งเศส นอร์เวย์ และเยอรมนีแล้ว ประเทศในยุโรปหลายประเทศก็มีความตื่นตัวใน การจัดทำกฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ในปี พ.ศ. 2559 องค์กรภาคประชาสังคมในสวิตเซอร์แลนด์ได้จัดทำโครงการความริเริ่มธุรกิจที่ยั่งยืน (Responsible Business Initiative: RBI) ที่ต้องการผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญของสวิตเซอร์แลนด์ที่กำหนดเงื่อนไข บังคับให้บริษัทสวิตเซอร์แลนด์ ต้องดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน (รวมถึงห่วงโซ่อุปทานที่อยู่ในต่างประเทศด้วย) อย่างไรก็ตาม การผลักดันข้อเสนอดังกล่าวก็มีข้อโต้แย้งจากรัฐบาล ซึ่งเสนอให้มีการทบทวน ปรับปรุง ประมวลกฎหมายอาญา (Code of Obligations and Criminal Code) ที่มีอยู่แล้ว แทนการแก้ไขกฎหมาย รัฐ ธรรมนูญ โดยมุ่งเน้นไปที่ข้ อกำหนดในการรายงานและภาระหน้าที่ในการตรวจสอบอย่างรอบด้านที่ เฉพาะเจาะจงมากขึ้น กล่าวคือ บริษัทที่มีพนักงานมากกว่า 500 คน ในระยะเวลาสองปีงบประมาณติดต่อกัน และมีสินทรัพย์สูงกว่า 20 ล้านฟรังก์สวิส หรือมียอดขายสูงกว่า 40 ล้านฟรังก์สวิส ต้องจัดทำรายงานที่มิใช่ รายงานทางการเงินในขอบเขตที่กว้างขึ้น โดยมีเนื้อหาที่ต้องรายงาน เช่น รูปแบบธุรกิจ ประเด็นความเสี่ยง ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล ที่พบจากกระบวนการตรวจสอบอย่างรอบด้าน มาตรการในการ จัดการประเด็นความเสี่ยงดังกล่าว เป็นต้น รวมทั้งต้องเผยแพร่รายงานดังกล่าวในภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส อิตา เลียน หรือเยอรมัน (International Organisation of Employers, 2021) ซึ่งข้อกำหนดนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ ในปี พ.ศ. 2566 (IFLR, 2022) สำหรับบริษัทสวิตเซอร์แลนด์ที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายแร่ธาตุแห่งความขัดแย้ง (conflict minerals) อันประกอบด้วยดีบุก แทนทาลัม ทังสเตน และทอง ที่มีแหล่งกำเนิดในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจาก ความขัดแย้งและมีความเสี่ยงสูง และบริษัทที่ขายสินค้าหรือบริการที่มีข้อสงสัย ว่ามีการใช้แรงงานเด็ก กฎหมายดังกล่าวบังคับให้บริษัทต้องมีการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านด้วย ปัจจุบันข้อกำหนดนี้ มีผลบังคับใช้แล้ว (Business & Human Rights Resource Centre, 2020; IFLR, 2022; Pinsent Masons, 2022) ขณะทีเ่ นเธอร์แลนด์จัดทำกฎหมายการตรวจสอบการใช้แรงงานเด็ก (Child Labour Due Diligence Act) ในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งกำหนดให้บริษัทที่จดทะเบียนในเนเธอร์แลนด์ และบริษัทต่างชาติที่ขายสินค้าและ บริการให้แก่ผู้บริโภคในเนเธอร์แลนด์ (ยกเว้นภาคธุรกิจหรือบริษัทที่ General Administrative Order ระบุ ว่ามีความเสี่ยงด้านการใช้แรงงานเด็กต่ำ) ต้องดำเนินการตรวจสอบการดำเนินงานในห่วงโซ่อุปทานว่ามีการใช้ แรงงานเด็กในการผลิตหรือไม่ รวมถึงแนวทางการจัดการหากตรวจพบว่ามีการใช้แรงงานเด็กในห่วงโซ่อุปทาน (International Organisation of Employers, 2021) จะเห็นได้ว่ากฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนของสวิตเซอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ แม้ว่าจะ มีเป้าหมายให้บริษัทดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนในประเด็นที่เฉพาะเจาะจง เช่น การใช้แรงงาน เด็ก แม้ ไม่ได้ครอบคลุม ภาคธุรกิจทั้งหมดเหมือนกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส นอร์เวย์ และเยอรมนี แต่ก็

2-9


สะท้อนให้เห็นว่าประเทศเหล่านี้เริ่มให้ความสำคัญกับกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ในระดับหนึ่ง กฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของสหภาพยุโรป นอกจากกฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านในระดับประเทศดังที่ได้กล่าวข้างต้น แล้ว สหภาพยุโรป (European Union: EU) ก็มีความพยายามที่จะจัดทำกฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้านในระดับภูมิภาคด้วย โดยคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้จัดทำ ความริ เ ริ ่ ม การกำกั บ ดู แ ลกิ จ การที ่ ย ั ่ ง ยื น (initiative on sustainable corporate governance) โดยมี เป้าหมายในการปรับปรุงกรอบการกำกับดูแลการดำเนินธุรกิจของบริษัทในสหภาพยุโรปเพื่อมุ่งไปสู่การสร้าง ความยั่งยืนระยะยาว ความริเริ่มดังกล่าวได้มีการจัดทำข้อเสนอที่กำหนดให้บริษัทมีหน้าที่ในการตรวจสอบด้าน สิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน ทั้งนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 บริษัท นักลงทุน และ สมาคมธุรกิจ รวมกว่า 100 แห่ง ในสหภาพยุโรป ได้ร่วมกันลงนามแถลงการณ์เรียกร้องให้สหภาพยุโรปผลักดัน การบั งคับ ใช้ก ฎหมายการตรวจสอบด้ านสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนและสิ ่ ง แวดล้ อ มอย่ า งรอบด้ า นดั ง กล่ า ว โดย แถลงการณ์ระบุว่าการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านต้องสอดคล้องกับแนวปฏิบัติ UNGPs ต้อง ครอบคลุมธุรกิจทุกประเภททุกขนาดที่ดำเนินกิจการในสหภาพยุโรป รวมถึงต้องขยายผลบังคับใช้ตลอดทั้งห่วง โซ่อุปทานด้วย (Business & Human Rights Resource Centre, 2022) และในเดือนเดียวกันนั้นเอง คณะกรรมาธิการยุโรปได้จัดทำร่างข้อเสนอกฎหมายการตรวจสอบด้าน ความยั่งยืนอย่างรอบด้าน (EU Directive on corporate sustainability due diligence) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อ ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน และให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม (European Commission, 2022) ร่างข้อเสนอดังกล่าวให้ความสำคัญกับบทบาทของภาคธุรกิจในการระบุความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการจัดการ ป้องกัน หรือบรรเทาผลกระทบจากความเสี่ยงที่ เกิดขึ้น ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานของบริษัทและคู่ค้าตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ บริษัทที่เข้าข่ายต้อง ดำเนินการภายใต้ร่างข้อเสนอนี้ ประกอบด้วย กลุ่ม 1 บริษัทขนาดใหญ่ในสหภาพยุโรปที่มีพนักงานไม่น้อยกว่า 500 คน และมีมูลค่าการซื้อขาย (turnover) ทั่วโลกสุทธิไม่น้อยกว่า 150 ล้านยูโร (กลุ่มนี้มีจำนวนราว 9,400 บริษัท) กลุ่ม 2 บริษัทขนาดใหญ่ในสหภาพยุโรปที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบสูง เช่น อุตสาหกรรม สิ่งทอ อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมการสกัดแร่ธาตุ (extraction of minerals) ที่มีพนักงานไม่น้อย กว่า 250 คน และมีมูลค่าการซื้อขายทั่วโลกสุท ธิไม่น้อยกว่า 40 ล้านยูโร (กลุ่มนี้มีจำนวนราว 3,400 บริษัท และกฎหมายจะเริ่มมีผลบังคับใช้หลังบริษัทกลุ่มแรก 2 ปี) ร่างข้อเสนอดังกล่าวกำหนดให้บริษัทที่อยู่นอกสหภาพยุโรปที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทในสหภาพยุโรป กลุ่ม 1 และมีจำนวนพนักงานมากกว่า 2,600 คน รวมถึงบริษัทนอกสหภาพยุโรปที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจ

2-10


กับบริษัทในสหภาพยุโรปกลุ่ม 2 และมีจำนวนพนักงานมากกว่า 1,400 คน ต้องดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนและสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้านเช่นกัน นอกจากกฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านดังที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีกฎหมาย อื่น ๆ ที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งอาจเจาะจงไปที่ประเด็นใดประเด็นหนึ่ง เช่น กฎหมาย แรงงานเด็ก กฎหมายค้ามนุษย์ หรืออาจเป็น ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่บริษัทต้องให้ความสำคัญ เช่น สุขภาพและความปลอดภัย การไม่เลือกปฏิบัติ สิทธิในการรวมกลุ่มและการต่อรอง รวมถึงกฎหมายการค้า ระหว่างประเทศ ที่หลายประเทศก็กำหนดห้ามนำเข้าสินค้าที่มีการละเมิดหรือไม่เป็นไปตามข้อกำหนดด้าน สิทธิมนุษยชน เป็นต้น กฎหมายเหล่านี้ แม้ว่าจะไม่ได้กำหนดให้บริษัทต้องดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน แต่ในทางปฏิบัติแล้วบริษัทก็ควรมีการดำเนินการตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิ มนุษยชนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินธุรกิจของบริษัทและคู่ค้าตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน สอดคล้องกับกฎหมายต่าง ๆ และเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกคว่ำบาตรทางการค้า ถูกปรับ หรือเกิดความเสียหายต่อ ชื่อเสียงและธุรกิจ รวมถึงเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน ตลอดจนการรักษาและขยายฐานลูกค้าที่ให้ ความสำคัญกับมาตรฐานจริยธรรม เพื่อการยกระดับห่วงโซ่อุปทานให้มีเสถียรภาพมากขึ้นด้วย (International Organisation of Employers, 2021; The Remedy Project, 2021) ตัวอย่างกฎหมายเหล่านี้ เช่น กฎหมายต่อต้านการใช้ทาสและการค้ามนุษย์ United Kingdom Modern Slavery Act กฎหมาย UK Modern Slavery Act มีข้อกำหนดด้านความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทาน โดยกำหนดให้ บริษัทมีหน้าที่ในการป้องกันการใช้ทาส การบังคับใช้แรงงาน หรือการค้ามนุษย์ ที่อาจเกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ บริษัทที่จัดจำหน่ายสินค้าหรือบริการในสหราชอาณาจักร และมียอดขายต่อปีตั้งแต่ 36 ล้านปอนด์ขึ้นไป ต้องจัดทำรายงานกระบวนการป้องกันการใช้ทาส การบังคับใช้แรงงาน หรือการค้ามนุษย์ (ทุกปีงบประมาณ) ซึ่งหากบริษัทไม่ดำเนินการ ก็อาจได้รับโทษปรับไม่จำกัด (unlimited fine) รายงานของบริษัทต้องได้รับ การรับ รองและลงนามโดยผู้บ ริห ารระดับ สูง เพื่อแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญ อย่างสูง กับประเด็ น การป้องกัน การใช้แรงงานทาส และต้องเปิดเผยรายงานดังกล่าวบนเว็บไซต์ของบริษัทด้วย California Transparency in Supply Chains Act กฎหมาย California Transparency in Supply Chains Act มีข้อกำหนดขั้นต่ำที่สุด คือ บริษัทที่เป็น ผู้ค้าปลีกหรือผู้ผลิตที่ได้รับภาษีคืนจากรัฐแคลิฟอร์เนีย ดำเนินธุรกิจที่มีรายได้ ในรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นหลัก และมี รายได้ต่อปีรวมทั่วโลกมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต้องเปิดเผยการดำเนินงานของบริษัทในด้าน การมี ส่ ว นร่ ว มในการตรวจสอบห่ว งโซ่อุ ป ทาน เพื่ อ ประเมิ นและจัด การความเสี่ ยงด้า น การใช้ท าสและ การค้ า มนุษ ย์ การตรวจสอบคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานเพื่อประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานของบริษัท ในการ ป้องกันการใช้ทาสและการค้ามนุษย์ คู่ค้าของบริษัทต้องรับรองว่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าเป็นไปตาม ข้อกำหนดตามกฎหมายป้องกันการใช้ทาสและการค้ามนุษย์ในประเทศนั้น ๆ การรักษามาตรฐานความรับผิดชอบ 2-11


ภายในบริษัทและกระบวนการในการจัดการกับพนักงานหรือผู้รับเหมาที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ การใช้ทาสและการค้ ามนุษย์ และบริษัทต้องแต่งตั้งผู้รับผิดชอบโดยตรงในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งได้รับการอบรมในประเด็นด้านการใช้ทาสและการค้ามนุษย์ รวมถึงการจัดการความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน Australia Modern Slavery Act กฎหมาย Australia Modern Slavery Act กำหนดให้ บ ริ ษั ท ที่ จ ดทะเบี ย นในออสเตรเลี ย หรื อ บริษัทที่ประกอบธุรกิจในออสเตรเลีย ที่มีรายได้ต่อปีรวมทั่วโลกมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ต้อง รายงานความเสี่ยงของการใช้ทาสในการดำเนินธุรกิจของบริษัทและห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งมาตรการในการ จัดการความเสี่ยงดังกล่าว นอกจากนี้ กฎหมาย Australia Modern Slavery Act กำหนดให้ผู้มีส่วนได้ส่วน เสียภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการระบุประเด็นความเสี่ยงของการใช้ทาสด้วย กฎหมายการค้าระหว่างประเทศทีม่ ีประเด็นเกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชน จากการสืบค้นข้อมูล พบกฎหมายการค้าระหว่างประเทศที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชน เช่น Section 307 of the US Tariff Act of 1930 ซึ่งกำหนดห้ามการนำเข้าสินค้าที่ผลิตโดยแรงงานบังคับ นักโทษ หรือแรงงานเด็ก ทั้งนี้ กฎหมายนี้อยู่ ระหว่างการทบทวนปรับปรุง หลังจากมีการเปิดเผยข้อ มูล สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับชาวอุยกูร์ในเมืองซินเจียง ประเทศจีน ซึ่งมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง เช่น การบังคับใช้แรงงานจำนวนมหาศาล การมีค่ายกักกันขนาดใหญ่ เป็นต้น (BBC, 2563; BBC 2565) ส่งผลให้ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ลงนามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้ แรงงานบังคับชาวอุยกูร์ (Uyghur Forced Labor Prevention Act: UFLPA) (Business & Human Rights Resource Centre, 2022) โดยภายใต้กฎหมายนี้ กำหนดให้ต้องมีการรายงานสินค้าที่ถูกยึดและบุคคลที่ถูก กล่าวหาว่ามีส่วนในการบังคับใช้แรงงานในเมืองซินเจียง รวมถึงกำหนดให้บริษัทที่มีคู่ค้าหรือใช้วัตถุดิบจาก ภูมิภาคดังกล่าวต้องมีกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านด้วย หรือ Canadian Customs Tariff Act กำหนดห้ามการนำเข้าสินค้าที่ผลิตโดยนักโทษหรือแรงงาน บั ง คั บ เข้ า สู่ ป ระเทศแคนาดา ทั้ ง นี้ แคนาดาอยู่ ร ะหว่า งการจั ด ทำกฎหมายป้อ งกั นการใช้ท าสสมั ยใหม่ หรือที่รู้จักกัน ในชื่อ Bill 216 ซึ่งกำหนดให้บริษัทต้องมีการรายงานมาตรการในการป้องกันและลดความเสี่ ยง ของการใช้แรงงานบังคับ หรือแรงงานเด็ก ในการผลิตสินค้าในแคนาดาและที่อื่น ๆ รวมถึงการนำเข้าสินค้า ด้ ว ย (Business & Human Rights Resource Centre, 2020) ซึ ่ งถื อเป็ นการยกระดั บกฎหมาย Canadian Customs Tariff Act ให้มีความเข้มข้นด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้นด้วย

2-12


ตารางที่ 2 - 2 สรุปสาระสำคัญของกฎหมายต่อต้านการใช้ทาสสมัยใหม่ที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชน สถานะ บริษัทเป้าหมาย

ขอบเขตกิจกรรมทาง ธุรกิจ การรายงานและการ เปิดเผยข้อมูล

United Kingdom Modern Slavery Act มีผลบังคับใช้แล้ว บริษัทที่จัดจำหน่ายสินค้าหรือบริการใน สหราชอาณาจักร และมียอดขายต่อปีอย่าง น้อย 36 ล้านปอนด์ ครอบคลุมห่วงโซ่อุปทานของบริษทั หรือส่วน ใดส่วนหนึ่งของธุรกิจ บริษัทต้องรายงานและเปิดเผยกระบวนการ การป้องกันการใช้ทาสและการค้ามนุษย์ใน การทำธุรกิจของบริษัทและห่วงโซ่อุปทานใน ปีงบประมาณที่ผ่านมา โดยหัวข้อที่ควรมีการ เปิดเผย ได้แก่ 1) โครงสร้างองค์กร รูปแบบการดำเนินธุรกิจ และความสัมพันธ์กับคู่คา้ ในห่วงโซ่อุปทาน 2) นโยบายเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการใช้ทาส และการค้ามนุษย์ 3) การตรวจสอบเกี่ยวกับประเด็นการใช้ทาส และการค้ามนุษย์อย่างรอบด้าน ในการดำเนิน ธุรกิจของบริษัทและห่วงโซ่อุปทาน 4) การดำเนินธุรกิจของบริษัทและห่วงโซ่ อุปทานที่มีความเสีย่ งด้านการใช้ทาสและ

California Transparency in Supply Chains Act มีผลบังคับใช้แล้ว บริษัททีเ่ ป็นผู้ค้าปลีกหรือผู้ผลิตทีไ่ ด้รับภาษีคืนจากรัฐ แคลิฟอร์เนีย ดำเนินธุรกิจที่มีรายได้ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นหลัก และมีรายได้ต่อปีรวมทั่วโลกมากกว่า 100 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ครอบคลุมห่วงโซ่อุปทานโดยตรงสำหรับสินค้าที่จับต้องได้

Australia Modern Slavery Act มีผลบังคับใช้แล้ว บริษัทที่จดทะเบียนในออสเตรเลียหรือบริษัทที่ ประกอบธุรกิจในออสเตรเลีย ทีม่ รี ายได้ต่อปีรวมทั่ว โลกมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย

ครอบคลุมการดำเนินงานของบริษทั และห่วงโซ่ อุปทาน บริษัทต้องรายงานและเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ การรายงานและเปิดเผยข้อมูล ประกอบด้วย: 1) การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทาน เพื่อ 1) โครงสร้างองค์กร รูปแบบการดำเนินงาน และห่วง ประเมินและระบุความเสี่ยงด้านการใช้ทาสและการค้า โซ่อุปทาน มนุษย์ ทั้งนี้ หากการตรวจสอบดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการ 2) ความเสี่ยงการค้าแรงงานทาสในการดำเนินงาน โดยบุคคลที่สาม บริษัทจะต้องระบุให้ชัดเจนด้วย และห่วงโซ่อุปทาน 2) การตรวจสอบคูค่ ้าเพื่อประเมินการปฏิบัตติ าม 3) กระบวนการประเมินและระบุความเสีย่ งดังกล่าว ข้อกำหนดของบริษัทในการป้องกันการใช้ทาสและการค้า รวมถึงการตรวจสอบอย่างรอบด้านและกระบวนการ มนุษย์ในห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ บริษัทต้องชี้แจงใน เยียวยา แถลงการณ์ หากการตรวจสอบไม่เป็นอิสระและไม่ได้แจ้ง 4) แนวทางการประเมินประสิทธิผลของกระบวนการ ล่วงหน้า ดังกล่าว 3) คู่ค้าของบริษัทต้องรับรองว่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต 5) การรายงานและเปิดเผยข้อมูลต้องอธิบาย สินค้า เป็นไปตามข้อกำหนดตามกฎหมายป้องกันการใช้ กระบวนการปรึกษาหารือกับองค์กรนิติบุคคลที่อยู่ ทาสและการค้ามนุษย์ ภายใต้การควบคุมของบริษัท หรือองค์กรอื่น ๆ กรณี

2-13


United Kingdom Modern Slavery Act California Transparency in Supply Chains Act การค้ามนุษย์ รวมถึงขั้นตอนการประเมินและ 4) บริษัทต้องมีมาตรฐานและขั้นตอนความรับผิดชอบ จัดการความเสีย่ งดังกล่าว ภายใน สำหรับพนักงานหรือผูร้ ับเหมาที่ไม่ปฏิบัตติ าม 5) กระบวนการการป้องกันการใช้ทาสและ มาตรฐานทีเ่ กี่ยวข้องกับการใช้ทาสและการค้ามนุษย์ การค้ามนุษย์ในการทำธุรกิจของบริษัทและ 5) บริษัทต้องแต่งตั้งผู้รับผิดชอบโดยตรงในการบริหาร ห่วงโซ่อุปทาน โดยมีการประเมินประสิทธิผล จัดการห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งได้รับการอบรมในประเด็นด้าน ตามตัวชี้วัดที่เหมาะสม การใช้ทาสและการค้ามนุษย์ รวมถึงการจัดการความเสี่ยง 6) การจัดการอบรมให้กับพนักงานในประเด็น ในห่วงโซ่อุปทาน ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทาสและการค้ามนุษย์ ความถี่ในการรายงาน รายงานประจำปี โดยคาดหวังว่าบริษัทจะ ไม่ได้กำหนด (ขึ้นอยู่กับบริษัท) เผยแพร่รายงานดังกล่าวต่อสาธารณะบน เว็บไซต์ของบริษัทภายใน 6 เดือน นับจาก สิ้นสุดปีงบประมาณ ที่มา: คณะวิจยั รวบรวมและปรับปรุงจาก The Remedy Project (2021) และ International Organisation of Employers (2021)

2-14

Australia Modern Slavery Act ที่เป็นการรายงานและเปิดเผยข้อมูลร่วมกัน (joint statement)

รายงานประจำปี โดยบริษัทต้องส่งรายงานไปยัง The Modern Slavery Statements Register ภายใน 6 เดือนนับจากสิ้นสุดปีงบประมาณ


ตารางที่ 2 - 3 สรุปสาระสำคัญของกฎหมายการค้าระหว่างประเทศทีม่ ีประเด็นเกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชน Section 307 of the U.S. Tariff Act สถานะ บริษัทเป้าหมาย

มีผลบังคับใช้แล้ว ผู้นำเข้าสินค้าเข้าสู่ประเทศสหรัฐฯ

ขอบเขตกิจกรรมทาง ธุรกิจ กิจกรรมต้องห้ามตาม กฎหมาย กระบวนการตรวจสอบ อย่างรอบด้าน

การนำเข้าสินค้าเข้าสู่ประเทศสหรัฐฯ

Section 321 of the U.S. Countering America’s Adversaries Through Sanctions Act มีผลบังคับใช้แล้ว ผู้นำเข้าสินค้าที่ผลิตโดยแรงงานที่มีสัญชาติหรือเป็น พลเมืองประเทศเกาหลีเหนือ เข้าสู่ประเทศสหรัฐฯ การนำเข้าสินค้าเข้าสู่ประเทศสหรัฐฯ

การนำเข้าสินค้าที่ผลิตโดยนักโทษ แรงงานบังคับ แรงงานเด็ก ไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจน แต่หากเกิดการละเมิดสิทธิ มนุษยชน บริษัทต้องมีมาตรการบรรเทาเยียวยา

การนำเข้าสินค้าที่ผลิตโดยแรงงานเกาหลีเหนือไม่ว่าจะ ผลิตทีเ่ กาหลีเหนือหรือในประเทศอื่นก็ตาม ไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจน แต่หากเกิดการละเมิดสิทธิ มนุษยชน บริษัทต้องมีมาตรการบรรเทาเยียวยา

การบังคับใช้/บทลงโทษ

การบังคับใช้อาจรวมถึงการสอบสวน การยึดสินค้า และค่าปรับ

กรมศุลกากรและป้องกันชายแดนสหรัฐฯ (The U.S. Customs and Border Patrol: CBP) และกรมตรวจคน เข้าเมืองและศุลกากรของสหรัฐฯ (U.S. Immigration and Customs Enforcement) สามารถบังคับใช้ กฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญา รวมถึงมีอำนาจในการ สอบสวน และการยึดสินค้า ไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจน แต่หากเกิดการละเมิดสิทธิ มนุษยชน บริษัทต้องมีมาตรการบรรเทาเยียวยา

การกำกับดูแล

ไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจน แต่หากเกิดการละเมิดสิทธิ มนุษยชน บริษัทต้องมีมาตรการบรรเทาเยียวยา ที่มา: คณะวิจยั รวบรวมและปรับปรุงจาก The Remedy Project (2021)

2-15

Canadian Customs Tariff Act มีผลบังคับใช้แล้ว ผู้นำเข้าสินค้าเข้าสู่ประเทศแคนาดา การนำเข้าสินค้าเข้าสู่ประเทศแคนาดา การนำเข้าสินค้าที่ผลิตโดยนักโทษหรือแรงงานบังคับ ไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจน แต่มแี นวทางระบุว่า การ ตรวจสอบจรรยาบรรณของคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานอย่างรอบ ด้านเป็นความรับผิดชอบของผู้นำเข้าเพื่อรับรองว่าสินค้า นำเข้าดังกล่าวไม่ได้ผลิตโดยนักโทษหรือแรงงานบังคับ การบังคับใช้อาจรวมถึงการสอบสวน การส่งสินค้ากลับ หรือการทิ้งสินค้า และค่าปรับ

ไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจน


ตารางที่ 2 - 2 แสดงสาระสำคัญของกฎหมายต่อต้านการใช้ทาสสมัยใหม่ แม้ว่าจะมิได้กำหนดให้ ภาค ธุรกิจต้องดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านอย่างชัดเจน แต่กฎหมายดังกล่าวก็ระบุให้ ภาคธุรกิจ ต้องมีการรายงานหรือ เปิดเผยข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงการระบุความเสี่ยง การตรวจสอบ และการ ประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของธุรกิจตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เช่นเดียวกับตารางที่ 2 - 3 แสดง สาระสำคัญของกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ แม้ว่าจะมิได้กำหนดให้ภาคธุรกิจต้องดำเนินการตรวจสอบ ด้านสิทธิมนุษยชนอย่ า งรอบด้ า น แต่ กฎหมายเหล่ า นี้ ก็ ร ะบุ ไว้ชั ด เจนว่ า ภาคธุ ร กิจ ต้ อ งมีส่ว นรับ ผิ ด ชอบ หากตรวจสอบพบว่ า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน อีกทั้งยังมีความพยายามยกระดับ กฎหมายให้มีความเข้มข้นมากขึ้นในด้านสิทธิมนุษยชนด้วย อาจกล่าวอีกนัยหนึ่ง แม้ว่าหลายประเทศจะยังมิได้มีการประกาศบังคับใช้กฎหมายการตรวจสอบด้าน สิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน หรือมิได้กำหนดให้การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเป็นมาตรการ ภาคบังคับ แต่กฎหมายอื่ น ๆ ที่เกี่ ย วข้ อ ง ก็อาจมีผ ลให้ บริ ษั ท หรื อ ภาคธุร กิ จจำเป็ นต้ อ งตรวจสอบ ด้าน สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนอย่ า งรอบด้า นอย่า งหลี กเลี่ ยงไม่ได้ เพื่ อ เป็นการสร้างความเชื่อ มั่ น ว่า บริษัท มี การดำเนิน ธุร กิจ ที่ ส อดคล้องกับ แนวปฏิบั ติและข้อกฎหมายต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง และธุรกิจ แล้ว ซึ่งอาจพิ จ ารณาได้ ว ่ า เป็ น แรงจู ง ใจสำคั ญ ที่ ท ำให้ ภ าคธุ ร กิ จ สมั ค รใจที่ จ ะดำเนิ น การ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่ างรอบด้านเอง แม้ว่าจะมิได้เป็นมาตรการภาคบังคับก็ตาม คณะวิจัยมีข้อสังเกตว่า กฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน หรือกฎหมายอื่น ๆ ที่มีประเด็น เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนดังที่ได้นำเสนอข้างต้นนั้น เป็นกฎหมายที่ประกาศใช้ในภูมิภาคยุโรป สหรัฐฯ แคนาดา และออสเตรเลีย ขณะที่ป ระเทศในภูมิภาคเอเชีย นั้น จากการทบทวนข้อมูลและเอกสารต่าง ๆ ยั ง ไม่ ป รากฏว่ า มีประเทศใดที่มีการประกาศกฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านหรือ กฎหมายอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านยัง เป็นมาตรการเชิงสมัครใจของประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ตาม แม้ว ่าประเทศในเอเชียจะยังมิได้มีการบังคับใช้กฎหมายการตรวจสอบด้ า นสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน แต่บริษัทหลายแห่งในเอเชียก็เป็นผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกสินค้าที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของ บริษัทในยุโรป จึงทำให้บริษัทเหล่านี้มีสภาพกึ่งบังคับที่จะต้องดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง รอบด้านเช่นกัน นอกจากนี้ หลายประเทศในเอเชียเริ่มให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ดังเห็นได้ จากตลาดหลักทรัพย์ของประเทศในเอเชีย หลายแห่ง ที่เริ่มให้บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เปิดเผย ข้อมูลตามประเด็น ESG มากขึ้น โดยมีประเด็นสิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งในประเด็นที่บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูล ด้วย (The Remedy Project, 2021) ทั้งนี้ คณะวิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูล ด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทในตลาดทุน โดยมีรายละเอียดนำเสนอในหัวข้อต่อไป

2-16


2.3 แนวทางการเปิดเผยข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศ ต่าง ๆ ตลาดหลักทรัพย์มีบทบาทในการผลักดันให้บริษัทปฏิบัติตามข้อกำหนดเพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืน ซึ่ง รวมถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ผ่านการกำหนดแนวทางและเป้าหมายด้านสิทธิมนุ ษยชนในประเด็นต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับหลักการชี้แนะ UNGPs รวมถึงจัดทำแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อส่งเสริมให้บริษัทขนาดใหญ่เปิดเผย ข้อมูลหรือแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน (Sustainable Stock Exchange, 2021) ตัวอย่างการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ในประเทศต่าง ๆ ในการส่งเสริม และผลักดันให้บริษัทที่ จดทะเบียนให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน มีรายละเอียด ดังนี้ สหราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2563 ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ล อนดอน (London Stock Exchange Group: LSEG) ออก แถลงการณ์ต่อต้านการใช้ ทาสสมัยใหม่ (Modern Slavery Statement) โดยมีเป้าหมายในการผลักดันให้ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่า ว โดยมอบหมายให้มีผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้กำกับดูแลความเสี่ยงในประเด็นที่เกี่ยวข้อง และจัดอบรมและสื่อสารกับพนักงานของบริษัทอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี ้ ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ล อนดอนยัง แนะนำให้ บริษ ั ท ประเมิ น ความเสี่ ย งด้ า นสิ ทธิม นุ ษ ยชนอย่าง เฉพาะเจาะจงในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท และส่งเสริมให้ บริษัทมีนโยบายที่ชัดเจน โดยเฉพาะในด้านการจ้าง งาน การรั บ เรื ่ อ งร้ อ งเรี ย น จรรยาบรรณคู ่ ค ้า การตรวจสอบคู่ ค ้ าทั ้ งหมดในห่ ว งโซ่อ ุ ป ทานในประเด็น เฉพาะเจาะจงเรื่องการค้าทาส รวมถึงการกำหนดให้คู่ค้าให้คำมั่นว่าจะต่อต้านการใช้ทาสและกำหนดให้มีกลไก รับเรื่องร้องเรียนในสัญญาด้วย (World Federation of Exchanges, 2022) ฮ่องกง ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ฮ ่ อ งกง (Hong Kong Exchange: HKEX) กำหนดให้ บ ริ ษ ั ท ที ่ จ ดทะเบี ย นจั ดทำ รายงานความรับผิดชอบต่อสังคม โดยระบุแนวทางการกำหนดนโยบายจัดซื้อจัดจ้างที่มีการบูรณาการประเด็น ความยั่งยืนเข้าไปในกระบวนการพิจารณาจัดซื้อจัดจ้าง นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงได้จัดทำคู่มือการ จัดทำจรรยาบรรณคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนเพื่อป้องกันปัญหาด้านสังคม สิ่งแวดล้อม รวมถึงปัญหา ด้านสิทธิมนุษยชน โดยระบุให้คู่ค้าปฏิบัติตามข้อกำหนดที่กำหนดไว้ในนโยบายของตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงและ จรรยาบรรณความรับผิดชอบต่อสังคมของคู่ค้า ซึ่งครอบคลุมแนวปฏิบัติในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิ แรงงานด้วย (World Federation of Exchanges, 2022) สหรัฐฯ ตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq ซึ่งเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับสองของสหรัฐฯ อยู่ระหว่าง การรวบรวมงานวิจัย การจัดเก็บข้อมูลบริษัทจดทะเบียน รวมถึงทบทวนเอกสารนโยบายภายในตลาด เพื่อใช้ ในการจัดทำคู่มือหรือแนวปฏิบัติในการจัดทำรายงานด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับบริษัทจดทะเบียนและลูกค้าได้ อย่างเหมาะสม โดยมุ่งหวังว่ารายงานด้านสิทธิมนุษยชนดังกล่าวจะสร้างความตื่นตัวในประเด็นสิทธิมนุษยชน ให้บริษัทจดทะเบียน (World Federation of Exchanges, 2022) 2-17


จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่าตลาดหลักทรัพย์ในประเทศต่าง ๆ มีการกำหนดแนวปฏิบัติให้บริษัท ที่จดทะเบียนต้องให้ความสำคัญกับประเด็ นด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้น โดยเฉพาะการเปิดเผยข้อมูลด้านสิทธิ มนุษยชน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้บริษัทต้องดำเนินการ งานวิจัยของ Sustainable Stock Exchange (2021) ได้ทบทวนและวิเคราะห์แนวปฏิบัติด้านสิทธิ มนุษยชนในเอกสารแนวทางการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG (ESG Disclosure Guidance) ของตลาดหลักทรัพย์ ทั่วโลกจำนวน 56 แห่ง ผลการศึกษา พบว่า ตลาดหลักทรัพย์ 48 แห่ง มีการกล่าวถึง ประเด็นด้านสิ ทธิ มนุษยชนในแนวทางการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าตลาดหลักทรัพย์ ส่วนใหญ่ให้ความสนใจในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม ในจำนวนนี้ มีตลาดหลักทรัพย์เพียง 16 แห่งเท่านั้น ที่กล่าวถึงหลักการชี้แนะ UNGPs ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตลาดหลักทรัพย์ ส่วนใหญ่ยังขาดการระบุ รายละเอียด/แนวปฏิบัติที่ชัดเจน นอกจากนี้ งานวิจัยดังกล่าวได้พิจารณานโยบาย/แนวทางการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ที่เกี่ยวข้องกับ สิทธิมนุษยชนทางตรง ซึ่งพบว่ามีตลาดหลักทรัพย์ที่ แนะนำให้บริษัทจดทะเบียนจัด ทำนโยบายด้านสิทธิ มนุษยชน 23 แห่ง แนะนำให้จัดทำนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนที่อ้างอิงหลักการชี้แนะ UNGPs 16 แห่ง แนะนำ ให้มีกลไกรับเรื่องร้องเรียน 9 แห่ง และแนะนำให้มีการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน 7 แห่ง อย่างไรก็ตาม ไม่มีตลาดหลักทรัพย์ใดที่แนะนำให้บริษัทที่จดทะเบียนจัดทำนโยบายจัดการความเสี่ยงและ ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า แม้ว่าตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่จะมีการแนะนำให้บริษัทจด ทะเบียนให้ความสำคัญกับ ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้นแล้ว แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมแนวปฏิบัติด้านสิทธิ มนุษยชนทั้งหมด ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณานโยบาย/แนวทางการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน ทางอ้อม พบว่า ตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่มีการกล่าวถึงประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนอยู่แล้ว เช่น สิทธิแรงงาน ความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่าง ความรับผิดชอบต่อสังคม สุขภาพและความ ปลอดภัย การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุนมนุษย์ (human capital) หลักการเกีย่ วกับบรรษัทข้ามชาติ และนโยบายทางสังคมขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ การประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบ และสิทธิชุมชน เป็นต้น ประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ หากสามารถบูรณาการเข้าไปกับแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนได้ ก็จะทำให้ บริษัทจดทะเบียนมีแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น (Sustainable Stock Exchange, 2564) งานวิจัยของ Matthew et al. (2019) ศึกษาแนวทางการเปิดเผยข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนของตลาด หลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศอาเซียน 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย พบว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย ได้มีการกำหนดให้ บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ซึ่งรวมถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนด้วย อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนด ของตลาดหลักทรัพย์ของทั้ง 3 ประเทศ ยังไม่ได้อ้างอิงตามหลักการชี้แนะของ UNGPs ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ อินโดนีเซียและตลาดหลักทรัพย์ฟิลิปปินส์ยังไม่การกำหนดแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจน

2-18


ทั้งนี้ แนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนของตลาดหลักทรัพย์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคะแนนความ สอดคล้องของนโยบายสิทธิมนุษยชนกับหลั กการ UNGPs อย่างมาก กล่าวคือ หากตลาดหลักทรัพย์มีแนว ปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนเข้มข้นมากขึ้น บริษัทจดทะเบียนก็มีแนวโน้มที่จะจัดทำนโยบายสิทธิมนุษยชนที่ สอดคล้องกับหลักการ UNGPs มากขึ้นเช่นกัน ดังนั้น เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสิทธิมนุษยชนของบริษัทจด ทะเบียนในภูมิภาคอาเซียน ตลาดหลักทรัพย์ควรพัฒนาคู่มือหรือแนวปฏิบัติ ด้านสิทธิมนุษยชนให้เข้มข้นและ สอดคล้องกับมาตรฐาน UNGPs มากขึ้น ทั้งนี้ หน่วยงานระดับภูมิภาคในอาเซียน เช่น คณะกรรมาธิการ ระหว่ า งรั ฐ บาลอาเซี ย นว่ า ด้ ว ยสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights: AICHR) ควรร่วมผลักดันและกำหนดแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนร่วมกับหน่วยงานในภูมิภาคและ ตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคมากขึ้น เพื่อให้แนวปฏิบัติในภูมิภาคเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อพิจารณาผลการดำเนินงานด้ านสิทธิมนุษยชนของบริษัทจดทะเบียนจำนวน 250 แห่งในตลาด หลักทรัพย์ของทั้ง 5 ประเทศ โดยเปรียบเทียบคะแนนความสอดคล้องของนโยบายสิทธิมนุษยชนกับหลักการ UNGPs พบว่า คะแนนเฉลี่ยสะสมของบริษัทชั้นนำ 50 แห่งในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทยมีคะแนน เฉลี่ยสูงสุดที่ร้อยละ 42.6 รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย มีคะแนนเฉลี่ยที่ร้อยละ 27.1 สิงคโปร์ มีคะแนนเฉลี่ยที่ ร้อยละ 19.5 อินโดนีเซีย มีคะแนนเฉลี่ยทีร่ ้อยละ 10.2 และฟิลิปปินส์ มีคะแนนเฉลี่ยทีร่ ้อยละ 8.9 ดังแสดงใน แผนภาพที่ 2-1 ทั้งนี้ มีเพียง 2 ประเทศเท่านั้น คือ ไทยและมาเลเซีย ที่ทำคะแนนได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม ประเทศที่ศึกษา และไทยถือเป็นประเทศที่มีแนวทางด้านสิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับหลักการ UNGPs มาก ที่สุด โดยมีคะแนนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของ 5 ประเทศในภูมิภาคอาเซียนเกือบเท่าตัว อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยจะได้คะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดในกลุ่มประเทศที่ทำการศึกษา แต่เมื่อ ศึกษาในรายละเอียด พบว่า มีบริษัทจดทะเบียนมากถึงร้อยละ 94 ที่ได้ให้คำมั่นในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน แต่มบี ริษัทเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่มีนโยบายในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจน นอกจากนี้ บริษัทร้อย ละ 30 ยังให้คำมั่นที่ยึดโยงกับมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศ เช่น “มุ่งมั่นที่จะเคารพสิทธิพลเมืองตาม รัฐ ธรรมนูญและกฎหมาย” “ต้องปฏิบ ัติตามกฎหมายไทย” หรือ “พยายามปฏิบัติตามมาตรฐานระดับ นานาชาติ แต่กิจกรรมต่าง ๆ ต้องสอดคล้องกับกฎหมายในประเทศ” เป็นต้น ซึ่งการทีบ่ ริษัทต่างให้คำมั่นหรือ นโยบายทีไ่ ม่ยึดโยงกับมาตรฐานสากล และขาดความกระตือรือร้นในการจัดทำนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน อาจ เกิดจากการที่มีบริษัทเพียงร้อยละ 28 ที่แต่งตั้งหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนโดยตรง และไม่มี บริษัทใดเลยที่ร่างนโยบายสิทธิมนุษยชนโดยผู้เชี่ยวชาญ

2-19


แผนภาพที่ 2-1 สัดส่วนคะแนนการเปิดเผยข้อมูลในแต่ละประเทศ (ร้อยละ) 50

42.6

40 27.1

30 20 10

21.7

19.5

10.2

8.9

0 อินโดนีเซีย

มาเลเซีย

ฟิลิปปินส์

สิงคโปร์

ไทย

ค่าเฉลี่ย

ที่มา: Matthew et al. (2019)

สำหรับ ความคืบ หน้า ในการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยนั้น แม้ว ่า ปัจจุบันการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านยังเป็นมาตรการเชิงสมัครใจ และความตื่นตัวด้านสิทธิมนุษยชนใน ประเทศไทยยังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่ก็เริ่มเห็นความชัดเจนที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะการจัด ทำ แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 – 2565) ซึ่งได้นำหลักการ UNGPs เข้ามาเชื่อมโยงนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ และมาตรการต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างความร่วมมือกับ ภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิ มนุษยชนในประเทศไทย (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม, 2562) และปัจจุบันประเทศไทย อยู่ระหว่างการปรับปรุงร่างแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้กำหนดให้ บริษัทจดทะเบียนต้องจัดทำแบบ 56-1 One Report ซึ่งเป็นการรวมรายงานข้อมูลประจำปีและรายงาน ประจำปีไว้ด้วยกัน โดยรายงานดังกล่าวจะให้ความสำคัญกับการยกระดับการรายงานข้อมูลด้าน ESG ซึ่งมี ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนรวมอยู่ด้วย รวมถึงกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนจัดทำและเผยแพร่แบบ 56-1 One Report ในปี พ.ศ. 2565 เป็นปีแรก (สำนักข่าวอินโฟเควสท์, 2565) โดย ก.ล.ต. แนะนำให้บริษัทจดทะเบียนระบุปัจจัยเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนิน ธุร กิจ รวมถึง ระบุแนวทางในการจัดการผลกระทบต่อผู้มีส ่วนได้ส่วนเสีย และสิทธิแรงงาน ที่บูรณาการ มาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนทั้งระดับประเทศและสากล ให้อยู่ในนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนทีส่ อดคล้องกับการ ดำเนินธุรกิจและคำมั่นที่ทำการประกาศไว้ ซึ่งกลยุทธ์หรือนโยบายดังกล่าวควรครอบคลุมทั้งในระดับบริษัท และคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน และเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นภายใต้การดำเนินงาน 2-20


ของบริ ษ ั ท บริ ษ ั ท ควรมี ก ารดำเนิ น การตรวจสอบด้ า นสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนอย่ า งรอบด้ า นด้ ว ย (สำนั ก งาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, 2564) 2.4 สรุป จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง พบว่า แนวทางการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (แนวปฏิบัติ HRDD) ภายใต้หลักการชี้แนะ UNGPs ถือเป็นหมุดหมายสำคัญและเป็นมาตรฐานสากลของการ ดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ ได้ บู ร ณาการหลั ก การชี ้ แ นะ UNGPs รวมถึ ง แนวปฏิ บ ั ต ิ HRDD เข้ า ไปเป็ น ส่ ว นหนึ ่ ง ของมาตรฐานด้ ว ย ตัวอย่างเช่น แนวปฏิบัติสำหรับบรรษัทข้ามชาติขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD Guidelines for Multinational Enterprises) หรือปฏิญญาไตรภาคีว่าด้วยหลักการเกี่ยวกับบรรษัท ข้ามชาติและนโยบายทางสังคม (ILO Tripartite Declaration of Principles concerning Multinational Enterprises and Social Policy) เป็นต้น มาตรฐานหรือแนวปฏิบัติต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นมาตรฐานเชิงสมัครใจ มิได้มีสภาพบังคับ ส่งผลให้ บริษัทเลือกได้เองว่าจะรายงานข้อมูลประเด็นใด หรือจะเลือกรับมาตรฐานใดมาใช้ อย่างไรก็ตาม หลาย ประเทศทั่วโลกเริ่มให้ความสำคัญกับประเด็นสิทธิมนุษยชนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคยุโรป ซึ่งมี ความพยายามในการยกระดับการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านให้เป็นกฎหมาย ทั้งในระดับ ภูมิภาค โดยสหภาพยุโรปอยู่ระหว่างการจัดทำกฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านใน ระดับภูมิภาค และในระดับประเทศ ปัจจุบันมีประเทศที่ประกาศบังคับใช้กฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้านแล้ว คือ ฝรั่งเศส นอร์เวย์ และเยอรมนี โดยสาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าว คือ การ กำหนดให้บริษัทที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งโดยทั่วไปมักเป็นบริษัทขนาดใหญ่ (พิจ ารณาจากจำนวน พนักงาน หรือมูลค่ายอดขาย) และบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในประเทศนั้น ๆ ต้องมีการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยมีแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และต้อง ดำเนินการครอบคลุมกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัททุกกิจกรรม รวมถึงต้องมีการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการ ดำเนินการให้สาธารณะทราบ ในบางประเทศ เช่น สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่มีกฎหมายการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน อย่างไรก็ตาม ประเทศเหล่านี้มีกฎหมายอื่น ๆ ที่มีประเด็นเกี่ยวข้อง กับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน เช่น กฎหมายแรงงานเด็ก กฎหมายค้ามนุษย์ หรืออาจเป็นประเด็นด้านสิทธิ มนุ ษ ยชนที่ บ ริ ษั ท ต้ อ งให้ ค วามสำคั ญ เช่ น สุ ข ภาพและความปลอดภั ย การไม่เลือกปฏิบัติ สิทธิในการ รวมกลุ่มและการต่อรอง รวมถึงกฎหมายการค้าระหว่างประเทศในหลายประเทศก็กำหนดห้ามนำเข้าสินค้าที่มี การละเมิดหรือไม่เป็นไปตามข้อกำหนดด้านสิทธิ มนุษยชน เป็นต้น กฎหมายเหล่านี้แม้ว่าจะไม่ได้กำหนดให้ บริษัทต้องดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน แต่ในทางปฏิบัติแล้วบริษัทก็จำเป็นต้อง 2-21


ดำเนินการตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการดำเนิน ธุรกิจของบริษัทและคู่ค้าตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานสอดคล้องกับกฎหมายต่าง ๆ เช่นกัน นอกจากการยกระดับการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนผ่านกลไกทางกฎหมายแล้ว ตลาดหลักทรัพย์ หลายประเทศทั่วโลกก็เริ่มมีบทบาทในการผลั กดันให้บริษัทให้ความสำคัญกับประเด็นสิทธิมนุษยชนมากขึ้น โดยการกำหนดให้บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน ที่ครอบคลุมถึง ประเด็นสิทธิมนุษยชน ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้ภาคธุรกิจตื่นตัวและยกระดับการดำเนินงานด้าน สิทธิมนุษยชนมากขึ้น ทั้งนี้ สำหรับในประเทศไทย ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมถึงประเด็น ด้านสิทธิ มนุษยชน ผ่านการจัดทำแบบ 56-1 One Report รวมถึงแนะนำให้บริษัทดำเนินการตรวจสอบด้านสิ ทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้านด้วย

2-22


บทที่ 3 ผลสำรวจความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทในประเทศไทย คณะวิจัยได้จัดทำแบบสำรวจความพร้อมของบริษัทในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้าน โดยจัดเก็บข้อมูลแบบออนไลน์ระหว่างวันที่ 22 สิงหาคม – 27 กันยายน 2565 (รายละเอียด แบบสำรวจแสดงในภาคผนวก) มีผู้ตอบแบบสำรวจทั้งสิ้น 57 คน สามารถสรุปผลได้ ดังนี้ 3.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสำรวจ คณะวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของบริษัท ที่ตอบแบบสำรวจ เพื่อให้เห็นภาพรวมของการประกอบ กิจการและประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของผู้ตอบแบบสำรวจ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ รูปแบบธุรกิจ จากผู้ตอบแบบสำรวจ 57 บริษัท พบว่า บริษัทที่ตอบแบบสำรวจเป็นธุรกิจในภาคบริการ ร้อยละ 49.12 (28 บริษัท) ภาคการผลิต ร้อยละ 38.60 (22 บริษัท) และภาคการค้า ร้อยละ 12.28 (7 บริษัท) ดัง แสดงในแผนภาพที่ 3 - 1 แผนภาพที่ 3 - 1 รูปแบบธุรกิจ (หน่วย: ร้อยละ) N = 57 ภาคการผลิต 38.60% ภาคการค้า 12.28% ภาคบริการ 49.12%

3-1


ขนาดบริษัท คณะวิจัยแบ่ง ขนาดของบริษัท โดยอ้างอิง การแบ่งขนาดบริษัท ตามนิยามของสำนักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) โดยมีรายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 3 - 1 ตารางที่ 3 - 1 การแบ่งขนาดบริษัท ประเภท กิจการ ภาคการผลิต ภาคบริการ/ การค้า ที่มา: สสว.

บริษัทขนาดเล็ก (S) รายได้ต่อปี จำนวนแรงงาน (ล้านบาท) (คน) น้อยกว่า 100 น้อยกว่า 50

บริษัทขนาดกลาง (M) รายได้ต่อปี จำนวนแรงงาน (ล้านบาท) (คน) 100-500 50-200

บริษัทขนาดใหญ่ (L) รายได้ต่อปี จำนวนแรงงาน (ล้านบาท) (คน) มากกว่า 500 มากกว่า 200

น้อยกว่า 50

50-300

มากกว่า 300

น้อยกว่า 30

30-100

มากกว่า 100

จากเกณฑ์ข้างต้น หากพิจารณาขนาดของบริษัทโดยใช้รายได้เป็นเกณฑ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจ ส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ ร้อยละ 75.44 (43 บริษัท) บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก มีสัดส่วนเท่ากัน คือ ร้อยละ 12.28 (7 บริษัท) ดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 2 แผนภาพที่ 3 - 2 ขนาดของบริษัท (จำแนกตามรายได้ต่อปี) (หน่วย: ร้อยละ) N = 57 บริษัทขนาดกลาง 12.28% บริษัทขนาดใหญ่ 75.44% บริษัทขนาดเล็ก 12.28%

หากพิจารณาขนาดของบริษัทโดยใช้จำนวนแรงงานเป็นเกณฑ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่เป็น บริษัทขนาดใหญ่ ร้อยละ 71.93 (41 บริษัท) บริษัทขนาดกลาง ร้อยละ 21.05 (12 บริษัท) และบริษัทขนาด เล็กร้อยละ 7.02 (4 บริษัท) ดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 3

3-2


แผนภาพที่ 3 - 3 ขนาดของบริษัท (จำแนกตามจำนวนแรงงาน) (หน่วย: ร้อยละ) N = 57

บริษัทขนาดเล็ก 7.02%

บริษัทขนาดใหญ่ 71.93%

บริษัทขนาดกลาง 21.05% ทั้งนี้ เพื่อให้การวิเคราะห์อยู่บนพื้นฐานข้อมูลเดียวกัน คณะวิจัยได้ จัดกลุ่มบริษัทให้สอดคล้องกับ เกณฑ์การแบ่งขนาดบริษัทข้างต้น โดยพิจารณาทั้งเกณฑ์รายได้และจำนวนแรงงานประกอบกัน ซึ่งสามารถ จำแนกบริษัทตามขนาดได้ใหม่ ดังนี้ บริษัทขนาดใหญ่ มีสัดส่วนร้อยละ 82.46 (47 บริษัท) ของผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมด บริษัทขนาดกลาง มีสัดส่วนร้อยละ 10.53 (6 บริษัท) ของผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมด บริษัทขนาดเล็ก มีสัดส่วนร้อยละ 7.02 (4 บริษัท) ของผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมด แผนภาพที่ 3 - 4 ขนาดของบริษัทที่ตอบแบบสำรวจ (หน่วย: ร้อยละ) N = 57 บริษัทขนาดเล็ก 7.02%

บริษัทขนาดใหญ่ 82.46%

บริษัทขนาดกลาง 10.53%

3-3


การจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จากผู้ตอบแบบสำรวจ 57 บริษัท พบว่า ร้อยละ 85.96 (49 บริษัท) เป็น บริษัทที่จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย (ตลท.) และร้อยละ 14.04 (8 บริษัท) เป็นบริษัทที่ ไม่ได้จดทะเบียนใน ตลท. ดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 5 แผนภาพที่ 3 - 5 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) (หน่วย: ร้อยละ) N = 57 ไม่ได้จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ 14.04%

จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ 85.96%

ประเภทอุตสาหกรรม คณะวิจัยแบ่งประเภทอุตสาหกรรมตามนิยามของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย, 2564) โดยบริษัททีต่ อบแบบสำรวจมีลักษณะการดำเนินธุรกิจหลากหลายและกระจายตัวอยู่ ในมากกว่า 24 ประเภทอุตสาหกรรม รายละเอียดดังแสดงตามแผนภาพที่ 3 - 6

3-4


แผนภาพที่ 3 - 6 ประเภทอุตสาหกรรม (หน่วย: บริษัท) พลังงานและสาธารณูปโภค

7

สื่อและสิ่งพิมพ์

5

ประกันภัยและประกันชีวิต

4

ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์

4

เงินทุนและหลักทรัพย์

3

แฟชั่น

3

การท่องเที่ยวและสันทนาการ

3

ธนาคาร

3

พาณิชย์ (ค้าปลีก/ค้าส่ง)

3

อาหารและเครื่องดื่ม

3

เหล็กและผลิตภัณฑ์โลหะ

2

ขนส่งและโลจิสติกส์

2

ของใช้ในครัวเรือนและสานักงาน

2

บริการรับเหมาก่อสร้าง

2

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

2

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1

กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนใน กองทุ นรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทรัสต์เพื่อ…

1

ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์

1

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

1

ธุรกิจการเกษตร

1

บรรจุภัณฑ์

1

ยานยนต์

1

วัสดุก่อสร้าง

1

วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร

1

อสังหาริมทรัพย์

3-5

N = 57


แผนภาพที่ 3 - 7 สัดส่วนรายได้จากการส่งออกต่อรายได้ทั้งหมด (หน่วย: ร้อยละ)

ไม่มีรายได้จากการส่งออก 1-10% 11-20% 21-30% 31-40% 41-50% 51-60% 61-70% 71-80% 81-90% 91-100% ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล

58%

N = 57

12% 2% 2% 5% 3% 2% 2% 2% 0% 5% 7%

กล่าวโดยสรุป บริษัทที่ตอบแบบสำรวจความพร้อมส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ดำเนินกิจการอยู่ ในภาคบริการและภาคการผลิต โดยบริษัทส่วนใหญ่มีรายได้หลักจากการดำเนินธุรกิจภายในประเทศ และ บริษัททั้งหมดเป็นบริษัทสัญชาติไทย ไม่มีบริษัทใดเป็นบริษัทลูกหรืออยู่ในเครือของบริษัทข้ามชาติ รูปแบบการจ้างแรงงาน คณะวิจัยวิเคราะห์รูปแบบการจ้างแรงงาน โดยพิจารณาตามขนาดของบริษัท เพื่อให้เห็นรูปแบบของ การดำเนินงานหรือลักษณะเฉพาะของบริษัทแต่ละขนาดได้ชัดเจนมากขึ้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้ บริษัทขนาดใหญ่ (47 บริษัท) บริษัทขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจอยู่ในภาคบริการที่ร้อยละ 53 รองลงมาเป็นภาคการผลิต ที่ ร้อยละ 41 และภาคการค้า ที่ร้อยละ 6 ตามลำดับ โดยมีการดำเนินธุรกิจอยู่ใน 20 อุตสาหกรรม ทั้งนี้ บริษัท ราวร้อยละ 15 ดำเนินธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภค รองลงมา ได้แก่ ภาคธนาคาร ประกันภัยและประกันชีวิต และสื่อและสิ่งพิมพ์ มีสัดส่วนเท่ากัน คือ ร้อยละ 9

3-6


แผนภาพที่ 3 - 8 บริษัทขนาดใหญ่แบ่งตามประเภทกิจการ (หน่วย: ร้อยละ)

N = 47 ภาคบริการ 53% ภาคการค้า 6%

ภาคการผลิต 41%

แผนภาพที่ 3 - 9 บริษัทขนาดใหญ่แบ่งตามประเภทอุตสาหกรรม (หน่วย: ร้อยละ) พลังงานและสาธารณูปโภค สื่อและสิ่งพิมพ์ ประกันภัยและประกันชีวิต ธนาคาร การท่องเที่ยวและสันทนาการ ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ เงินทุนและหลักทรัพย์ แฟชั่น อาหารและเครื่องดื่ม บริการรับเหมาก่อสร้าง เหล็กและผลิตภัณฑ์โลหะ ขนส่งและโลจิสติกส์ พาณิชย์ (ค้าปลีก/ค้าส่ง) ธุรกิจการเกษตร ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ บรรจุภัณฑ์ ของใช้ในครัวเรือนและอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

14.8% N = 47 10.6% 8.5% 6.4% 6.4% 6.4% 6.4% 4.3% 4.3% 4.3% 4.3% 4.3% 4.3% 2.1% 2.1% 2.1% 2.1% 2.1% 2.1% 2.1%

3-7


เมื่อพิจารณาการจ้างแรงงานของบริษัทขนาดใหญ่ พบว่า - บริษัทขนาดใหญ่ราวร้อยละ 38 จ้างแรงงานประจำ หรือไม่มีการจ้างแรงงานชั่วคราว - บริษัทขนาดใหญ่ราวร้อยละ 47 จ้างแรงงานสัญชาติไทย หรือไม่มีการจ้างแรงงานข้ามชาติ - บริษัทส่วนใหญ่ราวร้อยละ 66 มีการจ้างแรงงานที่เป็นผู้พิการในสัดส่วนร้อยละ 1-10 ของแรงงาน ทั้งหมด ขณะที่ราวร้อยละ 23 ระบุว่าไม่มีการจ้างแรงงานที่เป็นผู้พิการ - บริษัทส่ว นใหญ่ ร าวร้ อยละ 85 มีคณะกรรมการสวัส ดิ การภายในของบริ ษั ท อย่างไรก็ ต าม จากการสำรวจ พบว่า พนักงานของบริษัทส่วนใหญ่ ราวร้อยละ 64 ของผู้ตอบแบบสำรวจ ไม่ได้ เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน - บริษัทราวร้อยละ 21 มีสัดส่วนแรงงานหญิงต่อแรงงานทั้งหมดอยู่ที่ร้อยละ 51-60 โดยสัดส่วน ของแรงงานหญิงมีการกระจายตัวกว้างในช่วงระหว่างร้อยละ 11 ไปจนถึงร้อยละ 90 สำหรับ บริษัทที่มีผู้บริหารเป็นผู้หญิง พบว่า บริษัทราวร้อยละ 19 มีสัดส่วนผู้บริหารเพศหญิงอยู่ที่ร้อยละ 11-20 และเมื่อพิจารณาสัดส่วนผู้บริหารเพศหญิงในภาพรวม พบว่า บริษัทส่วนใหญ่มีสัดส่วน ผู้บริหารเพศหญิงต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าบริษัทส่วนใหญ่มีผู้บริหารเป็นเพศชาย รายละเอียดผลสำรวจ แสดงในแผนภาพที่ 3 - 10 ถึงแผนภาพที่ 3 - 16 แผนภาพที่ 3 - 10 สัดส่วนของแรงงานชั่วคราวต่อแรงงานทั้งหมดของบริษัทขนาดใหญ่ (หน่วย: ร้อยละ) ไม่มีแรงงานที่ไม่ใช่พนักงานประจา 1-10% 11-20% 21-30% 31-40% 41-50% 51-60% 61-70% 71-80% 81-90% 91-100% ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล

38% N = 47 34% 10% 6% 2% 2% 2% 2% 0% 0% 0% 4%

3-8


แผนภาพที่ 3 - 11 สัดส่วนของแรงงานข้ามชาติต่อแรงงานทั้งหมดของบริษัทขนาดใหญ่ (หน่วย: ร้อยละ) ไม่มีแรงงานข้ามชาติ

48%

1-10%

N = 47

32%

11-20%

6%

21-30%

4%

31-40%

2%

41-50%

0%

51-60%

0%

61-70%

2%

71-80%

0%

81-90%

0%

91-100%

0%

ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล

6%

แผนภาพที่ 3 - 12 สัดส่วนของแรงงานที่เป็นผู้พิการต่อแรงงานทั้งหมดของบริษัทขนาดใหญ่ (หน่วย: ร้อยละ) ไม่มีแรงงานที่เป็นผู้พิการ 1-10% 11-20% 21-30% 31-40% 41-50% 51-60% 61-70% 71-80% 81-90% 91-100% ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล

N = 47

24% 66% 4% 2% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 4% 3-9


แผนภาพที่ 3 - 13 สัดส่วนบริษัทขนาดใหญ่ที่มีคณะกรรมการสวัสดิการในบริษัท (หน่วย: ร้อยละ) N = 47 ไม่มีคณะกรรมการ สวัสดิการในสถาน ประกอบการ 11%

มีคณะกรรมการ สวัสดิการในสถาน ประกอบการ 85%

ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล 4%

แผนภาพที่ 3 - 14 สัดส่วนของแรงงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานต่อแรงงานทั้งหมดของบริษัทขนาดใหญ่ (หน่วย: ร้อยละ) ไม่มีแรงงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน 1-10% 11-20% 21-30% 31-40% 41-50% 51-60% 61-70% 71-80% 81-90% 91-100% ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล

64% 9% 6% 2% 0% 2% 2% 0% 2% 0% 0% 13%

3-10

N = 47


แผนภาพที่ 3 - 15 สัดส่วนของแรงงานหญิงต่อแรงงานทั้งหมดในบริษัทขนาดใหญ่ (หน่วย: ร้อยละ) ไม่มีแรงงานหญิง 1-10% 11-20% 21-30% 31-40% 41-50% 51-60% 61-70% 71-80% 81-90% 91-100% ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล

N = 47

0% 0% 2% 17% 19% 19% 22% 17% 0% 2% 0% 2%

แผนภาพที่ 3 - 16 สัดส่วนของผู้บริหารระดับสูงเพศหญิงต่อผู้บริหารทั้งหมดในบริษัทขนาดใหญ่ (หน่วย: ร้อยละ) ไม่มีผู้บริหารระดับสูงเพศหญิง 2% N = 47 1-10% 17% 11-20% 19% 21-30% 13% 31-40% 13% 41-50% 15% 51-60% 11% 61-70% 0% 71-80% 2% 81-90% 6% 91-100% 0% ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล 2%

3-11


บริษัทขนาดกลาง (6 บริษัท) บริษัทขนาดกลางส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจอยู่ในภาคการค้าที่ร้อยละ 50 รองลงมาเป็นภาคการผลิตที่ร้อย ละ 33 และภาคบริการที่ร้อยละ 17 โดยมีการดำเนินธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (2 บริษัท) วัสดุก่อสร้าง (1 บริษัท) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (1 บริษัท) อาหารและเครื่องดื่ม (1 บริษัท) และแฟชั่น (1 บริษัท) ดังแสดงในรายละเอียดต่อไปนี้ แผนภาพที่ 3 - 17 บริษัทขนาดกลางแบ่งตามประเภทกิจการ (หน่วย: ร้อยละ) N=6 ภาคการผลิต 33%

ภาคบริการ 17%

ภาคการค้า 50%

แผนภาพที่ 3 - 18 บริษัทขนาดกลางแบ่งตามประเภทอุตสาหกรรม (หน่วย: บริษัท) N=6 พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

2

อาหารและเครื่องดื่ม

1

กองทุ นรวมอสั งหาริงหาริ มทรัมพทรัย์แพละกองทรั สต์เสพืต์่อเการ กองทุ นรวมอสั ย์และกองทรั พื่อ ลงทุนในอสั งหารินมในอสั ทรัพย์งหาริมทรัพย์ การลงทุ

1

วัสดุก่อสร้าง

1

แฟชั่น

1

3-12


เมื่อพิจารณาการจ้างแรงงานของบริษัทขนาดกลาง พบว่า - บริษัทราวร้อยละ 33 จ้างแรงงานชั่วคราวในสัดส่วนร้อยละ 1-10 ของแรงงานทั้งหมด ขณะที่ บริษัทราวร้อยละ 17 ระบุว่าไม่มีการจ้างแรงงานชั่วคราว (จ้างแรงงานประจำทั้งหมด) - บริษัทส่วนใหญ่จ้างแรงงานสัญชาติไทย โดยบริษัทราวร้อยละ 50 ระบุว่าไม่มีการจ้างแรงงานข้าม ชาติ (จ้างแรงงานสัญชาติไทยทั้งหมด) - บริษัทส่วนใหญ่ราวร้อยละ 67 ระบุว่าไม่มีการจ้างแรงงานที่เป็นผู้พิการ - บริษัทส่วนใหญ่ราวร้อยละ 50 ไม่ทราบข้อมูลว่าบริษัทมีคณะกรรมการสวัสดิการภายในของ บริษัทหรือไม่ รองลงมาราวร้อยละ 33 ระบุว่ามีคณะกรรมการสวัสดิการภายในของบริษัท ทั้งนี้ พนักงานของบริษัทส่วนใหญ่ราวร้อยละ 83 ของผู้ตอบแบบสำรวจ ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพ แรงงาน - บริษัทราวร้อยละ 33 มีสัดส่วนแรงงานเพศหญิงอยู่ที่ร้อยละ 71-80 ของแรงงานทั้งหมด สำหรับ บริษัทที่มีผู้บริหารเป็นผู้หญิง พบว่า บริษัทราวร้อยละ 33 มีสัดส่วนผู้บริหารเพศหญิงอยู่ที่ร้อยละ 41-50 รายละเอียดผลสำรวจ แสดงในแผนภาพที่ 3 - 19 ถึงแผนภาพที่ 3 - 25 แผนภาพที่ 3 - 19 สัดส่วนของแรงงานชั่วคราวต่อแรงงานทั้งหมดของบริษัทขนาดกลาง (หน่วย: ร้อยละ) ไม่มีแรงงานที่ไม่ใช่พนักงานประจา 1-10% 11-20% 21-30% 31-40% 41-50% 51-60% 61-70% 71-80% 81-90% 91-100% ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล

N=6

17% 32% 0% 0% 0% 17% 17% 0% 0% 0% 0% 17%

3-13


แผนภาพที่ 3 - 20 สัดส่วนของแรงงานข้ามชาติต่อแรงงานทั้งหมดของบริษัทขนาดกลาง (หน่วย: ร้อยละ) ไม่มีแรงงานข้ามชาติ 1-10% 11-20% 21-30% 31-40% 41-50% 51-60% 61-70% 71-80% 81-90% 91-100% ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล

49%

N=6

17% 0% 0% 0% 17% 0% 0% 0% 0% 0% 17%

แผนภาพที่ 3 - 21 สัดส่วนของแรงงานที่เป็นผู้พิการต่อแรงงานทั้งหมดของบริษัทขนาดกลาง (หน่วย: ร้อยละ) ไม่มีแรงงานที่เป็นผู้พิการ 1-10%

66% 17%

11-20%

0%

21-30%

0%

31-40%

0%

41-50%

17%

51-60%

0%

61-70%

0%

71-80%

0%

81-90%

0%

91-100%

0%

ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล

0% 3-14

N=6


แผนภาพที่ 3 - 22 สัดส่วนบริษัทขนาดกลางที่มีคณะกรรมการสวัสดิการในบริษัท (หน่วย: ร้อยละ) N=6

มีคณะกรรมการ สวัสดิการในสถาน ประกอบการ 33%

ไม่มีคณะกรรมการ สวัสดิการในสถาน ประกอบการ 17%

ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล 50%

แผนภาพที่ 3 - 23 สัดส่วนของแรงงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานต่อแรงงานทั้งหมดของ บริษัทขนาดกลาง (หน่วย: ร้อยละ) ไม่มีแรงงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน 1-10% 11-20% 21-30% 31-40% 41-50% 51-60% 61-70% 71-80% 81-90% 91-100% ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล

83% 0% 0% 0% 17% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0%

3-15

N=6


แผนภาพที่ 3 - 24 สัดส่วนของแรงงานหญิงต่อแรงงานทั้งหมดในบริษัทขนาดกลาง (หน่วย: ร้อยละ) ไม่มีแรงงานหญิง 1-10% 11-20% 21-30% 31-40% 41-50% 51-60% 61-70% 71-80% 81-90% 91-100% ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล

N=6

0% 0% 0% 0% 17% 17% 0% 17% 32%

17% 0% 0%

แผนภาพที่ 3 - 25 สัดส่วนของผู้บริหารระดับสูงเพศหญิงต่อผู้บริหารทั้งหมดในบริษัทขนาดกลาง (หน่วย: ร้อยละ) ไม่มีผู้บริหารระดับสูงเพศหญิง 1-10% 11-20% 21-30% 31-40% 41-50% 51-60% 61-70% 71-80% 81-90% 91-100% ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล

N=6

0% 17% 0% 0%

17% 32% 0% 17% 0% 0% 0% 17%

3-16


บริษัทขนาดเล็ก (4 บริษัท) บริษัทขนาดเล็กส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจอยู่ในภาคบริการที่ร้อยละ 50 รองลงมาอยู่ในภาคการผลิตที่ ร้อยละ 25 และภาคการค้าที่ร้อยละ 25 โดยดำเนินธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (1 บริษัท) สื่อและสิ่งพิมพ์ (1 บริษัท) ของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน (1 บริษัท) และหน่วยงานของรัฐ (1 หน่วยงาน) แผนภาพที่ 3 - 26 บริษัทขนาดเล็กแบ่งตามประเภทกิจการ (หน่วย: ร้อยละ) N=4

ภาคการค้า 25%

ภาคการผลิต 25%

ภาคบริการ 50%

แผนภาพที่ 3 - 27 บริษัทขนาดเล็กแบ่งตามประเภทอุตสาหกรรม (หน่วย: บริษัท) ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์

1

สื่อและสิ่งพิมพ์

1

ของใช้ในครัวเรือนและสานักงาน

1

หน่วยงานของรัฐ

1

N=4

เมื่อพิจารณาการจ้างแรงงานของบริษัทขนาดเล็ก พบว่า - ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ราวร้อยละ 50 ไม่ทราบข้อมูลสัดส่วนแรงงานชั่วคราวและแรงงาน ประจำของบริษัท ขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจราวร้อยละ 25 ระบุว่าบริษัทจ้างแรงงานชั่วคราวใน สัดส่วนร้อยละ 1-10 ของแรงงานทั้งหมด และอีกร้อยละ 25 ระบุว่าบริษัทไม่มีการจ้างแรงงาน ชั่วคราว

3-17


- บริษัทส่วนใหญ่จ้างแรงงานสัญชาติไทย โดยราวร้อยละ 75 ระบุว่าไม่มี การจ้างแรงงานข้ามชาติ (จ้างแรงงานสัญชาติไทยทั้งหมด) - บริษัทราวร้อยละ 50 ระบุว่าไม่มีการจ้างแรงงานที่เป็นผู้พิการ และอีกร้อยละ 50 ไม่ทราบข้อมูล - ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ราวร้อยละ 50 ไม่ทราบข้อมูลว่าบริษั ทมีคณะกรรมการสวัสดิการ ภายในของบริษัทหรือไม่ และอีกร้อยละ 50 ระบุว่ามีคณะกรรมการสวัสดิการภายในของบริษัท ทั้งนี้ พนักงานของบริษัทส่วนใหญ่ราวร้อยละ 50 ของผู้ตอบแบบสำรวจ ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพ แรงงาน - บริ ษ ั ท ส่ ว นใหญ่ ไ ม่ ม ีแ รงงานผู ้ห ญิ งในบริษ ั ท โดยราวร้ อ ยละ 50 ระบุ ว ่ า ไม่ ม ี แ รงงานหญิง นอกจากนี้ ในส่วนของสัดส่วนผู้บริหารหญิงในบริษัท ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ราวร้อยละ 50 ไม่ทราบข้อมูลว่าบริษัทมีสัดส่วนผู้บริหารที่เป็นผู้หญิงในบริษัทเท่าใด และอีกร้อยละ 50 ระบุว่า บริษัทมีผู้บริหารที่เป็นผู้หญิงในสัดส่วนร้อยละ 1-10 รายละเอียดผลสำรวจ แสดงในแผนภาพที่ 3 - 28 ถึงแผนภาพที่ 3 - 34 แผนภาพที่ 3 - 28 สัดส่วนของแรงงานชั่วคราวต่อแรงงานทั้งหมดของบริษัทขนาดเล็ก (หน่วย: ร้อยละ) ไม่มีแรงงานที่ไม่ใช่พนักงานประจา

25%

1-10%

25%

11-20%

0%

21-30%

0%

31-40%

0%

41-50%

0%

51-60%

0%

61-70%

0%

71-80%

0%

81-90%

0%

91-100%

0%

ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล

N=4

50%

3-18


แผนภาพที่ 3 - 29 สัดส่วนของแรงงานข้ามชาติต่อแรงงานทั้งหมดของบริษัทขนาดเล็ก (หน่วย: ร้อยละ) ไม่มีแรงงานข้ามชาติ 1-10% 11-20% 21-30% 31-40% 41-50% 51-60% 61-70% 71-80% 81-90% 91-100% ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล

75%

N=4

0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 25%

แผนภาพที่ 3 - 30 สัดส่วนของแรงงานที่เป็นผู้พิการต่อแรงงานทั้งหมดของบริษัทขนาดเล็ก (หน่วย: ร้อยละ) ไม่มีแรงงานที่เป็นผู้พิการ 1-10% 11-20% 21-30% 31-40% 41-50% 51-60% 61-70% 71-80% 81-90% 91-100% ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล

50% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 50%

3-19

N=4


แผนภาพที่ 3 - 31 สัดส่วนบริษัทขนาดเล็กที่มีคณะกรรมการสวัสดิการในบริษัท (หน่วย: ร้อยละ) N=4

มีคณะกรรมการ สวัสดิการในสถาน ประกอบการ 50%

ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล 50%

แผนภาพที่ 3 - 32 สัดส่วนของแรงงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานต่อแรงงานทั้งหมดของ บริษัทขนาดเล็ก (หน่วย: ร้อยละ) ไม่มีแรงงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน 1-10% 11-20% 21-30% 31-40% 41-50% 51-60% 61-70% 71-80% 81-90% 91-100% ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล

50% N = 4 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 50%

3-20


แผนภาพที่ 3 - 33 สัดส่วนของแรงงานหญิงต่อแรงงานทั้งหมดในบริษัทขนาดเล็ก (หน่วย: ร้อยละ) ไม่มีแรงงานหญิง 1-10% 11-20% 21-30% 31-40% 41-50% 51-60% 61-70% 71-80% 81-90% 91-100% ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล

50%

N=4

0% 25% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 25%

แผนภาพที่ 3 - 34 สัดส่วนของผู้บริหารระดับสูงเพศหญิงต่อผู้บริหารทั้งหมดในบริษัทขนาดเล็ก (หน่วย: ร้อยละ) ไม่มีผู้บริหารระดับสูงเพศหญิง 1-10% 11-20% 21-30% 31-40% 41-50% 51-60% 61-70% 71-80% 81-90% 91-100% ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล

N=4

0% 50% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 50% 3-21


กล่าวโดยสรุป เมื่อพิจารณารูปแบบการจ้างแรงงานตามขนาดบริษัท พบว่า บริษัททุกขนาดจ้าง แรงงานประจำและเป็นสัญชาติไทยเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ บริษัททุกขนาดส่วนใหญ่ไม่มีแรงงานที่เป็นสมาชิก สหภาพแรงงาน สำหรับการจ้างแรงงานที่เป็นผู้พิการ พบว่า บริษัททุกขนาดแทบไม่มีการจ้างแรงงานที่เป็นผู้ พิการหรือจ้างในสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนแรงงานทั้งหมดของบริษัท บริษัทขนาดใหญ่ส่วนใหญ่มีคณะกรรมการสวัสดิการภายในองค์กร ในขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจจาก บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กกว่าครึ่งตอบว่าไม่ทราบข้อมูลเรื่องคณะกรรมการสวัสดิการ รองลงมาระบุว่ามี คณะกรรมการสวัสดิการภายในองค์กร สำหรับสัดส่วนของแรงงานเพศหญิงในองค์กร พบว่า บริษัทขนาดกลางมีสัดส่วนของแรงงานเพศหญิง ในองค์กรสูงที่สุด รองลงมาเป็นบริษัทขนาดใหญ่และบริษัทขนาดเล็ก ตามลำดับ โดยบริษัทขนาดเล็กส่วนใหญ่ ระบุว่าไม่มีแรงงานเพศหญิง ทั้งนี้ ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นว่าการปฏิบัติงานภายในองค์กรถูกขับเคลื่อนด้วย แรงงานเพศชายเป็นหลัก สำหรับสัดส่วนของผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ในองค์กร พบว่า บริษัทขนาดกลางมี สัดส่วนผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงมากที่สุด รองลงมาเป็นบริษัทขนาดใหญ่และบริษัทขนาดเล็ก ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลสัดส่วนแรงงานเพศหญิงที่ผู้ตอบแบบสำรวจตอบมา ทั้งนี้ มีข้อสั งเกตว่า บริษัทขนาด ใหญ่มีสัดส่วนของผู้หญิงในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงน้อยกว่าสัดส่วนแรงงานเพศหญิงในบริษัทค่อนข้างมาก สะท้อนให้เห็นว่าการที่ผู้หญิงจะขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในบริษัทขนาดใหญ่อาจมีความท้าทายอยู่ อย่างไรก็ตาม มีข้อพึงระวังว่าผู้ตอบแบบสำรวจ โดยเฉพาะที่เป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กมี จำนวนน้อย ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลอาจมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ ประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทผู้ตอบแบบสำรวจ คณะวิจัยสอบถามประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่ สำคัญของบริษัท โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจ 35 บริษัท ทีร่ ะบุประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน โดยมีรายละเอียดดังนี้ สภาพการทำงานและการจ้างงาน มีประเด็นความเสี่ยงที่บริษัทกล่าวถึง ดังนี้ - ประเด็นการจ้างงาน มี 8 บริษัท ที่ระบุประเด็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขการจ้างงาน แรงงาน การจ้างแรงงานข้ามชาติ การจ่ายค่าล่วงเวลา การกำหนดชั่วโมงการทำงาน การใช้ แรงงานเด็ก (การถ่ายทำรายการและละคร) การตรวจสอบและเข้าถึงผลการประเมินด้านแรงงาน ของผู้รับเหมาหรือบริษัทคู่ค้า เพราะอาจมีการปกปิดหรือการกระทำใดที่อาจละเมิดกฎหมาย แรงงานหรือมีการใช้แรงงานผิดกฎหมายได้ - ประเด็นสุขภาพและความปลอดภัย มี 6 บริษัทที่ระบุ ประเด็นความเสี่ยงด้านสุขภาพและความ ปลอดภัย โดยมีความกังวลเรื่องความปลอดภัย ทางอาชีวอนามัย ความปลอดภัยด้านอาหารและ การบริโภคของพนักงานในองค์กร

3-22


- ประเด็นการเลือกปฏิบัติ มี 6 บริษัทที่ระบุถึงความกังวลเรื่องการเลือกปฏิบัติ และสนับสนุนให้มี ความหลากหลายภายในองค์กร รวมไปถึงการป้องกันการล่วงละเมิดต่าง ๆ - ประเด็นเสรีภาพในการรวมกลุ่มและสิทธิ ในการเจรจาต่อรอง มี 4 บริษัทที่ระบุประเด็นเรื่อง เสรีภาพในการรวมกลุ่มและสิทธิในการเจรจาต่อรอง การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มี 6 บริษัท ที่ระบุถึงความกังวลเรื่องการรั่วไหลของข้อมูลแรงงานและ ลูกค้าที่อาจเกิดจากการโจรกรรมข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ความต้องการการรักษาความเป็นส่วนตัว ของข้อมูลลูกค้า โดยคำนึงถึงสิทธิของลูกค้า ชุมชนและสิ่งแวดล้อม มี 4 บริษัท ที่ระบุถึงความเสี่ยงที่จะสร้างผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงแหล่งน้ำในชุมชน ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการพื้นที่การดำเนินกิจการกับชุมชนโดยรอบ อีกทั้งมี 1 บริษัททีค่ ำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของชุมชนโดยรอบ การป้องกันและเยียวยา มี 1 บริษัทในภาคธนาคารทีร่ ะบุถึงประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนจาก การจัดการเรื่องการเยียวยา และการนำปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล พร้อมทั้งเรื่องสิทธิ มนุษยชน ผนวกเข้ามาเป็นหนึ่งในเกณฑ์การพิจารณาให้สินเชื่อของธนาคาร การสมัครเป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมโครงการองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน คณะวิจัยได้สอบถามบริษัทว่าสมัครหรือเคยสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ มนุษยชนหรือไม่ โดยผู้ตอบแบบสำรวจสามารถตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ ทั้งนี้ คณะวิจัยรวบรวมคำตอบได้ ทั้งหมด 70 คำตอบจากบริษัท ซึ่งพบว่า บริษัทร้อยละ 40.00 (28 บริษัท) ไม่เคยเข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือ โครงการที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน สำหรับบริษัทที่สมัครหรือเคยสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน พบว่า มีบริษัทร้อยละ 11.43 (8 บริษัท) เป็นสมาชิกของ United Nations Global Compact (UNGC) มาก ที่สุด รองลงมา ได้แก่ เป็นสมาชิกของสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (Global Compact Network Thailand: GCNT) คิดเป็นร้อยละ 10.00 (7 บริษัท) เคยสมัครเข้าร่วมโครงการองค์กรต้นแบบด้าน สิทธิมนุษยชนของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม คิดเป็น ร้อยละ 8.57 (6 บริษัท) เป็น สมาชิก Women's Empowerment Principles (WEPs) คิดเป็นร้อยละ 2.86 (2 บริษัท) และเป็นสมาชิกของ World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 2.86 (2 บริ ษ ั ท ) รายละเอียดแสดงในแผนภาพที่ 3 - 35

3-23


แผนภาพที่ 3 - 35 ประเภทสมาชิกหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนที่บริษัทเข้าร่วม (หน่วย: ร้อยละ) ไม่เคยเข้าร่วมเป็น N = 70 เป็นสมาชิกของสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอม เป็นสมาชิกของ World สมาชิกหรือโครงการที่ แพ็กแห่งประเทศไทย (Global Compact Business Council for เกี่ยวข้องกับสิทธิ Network Thailand: GCNT) Sustainable มนุษยชน 10.00% Development (WBCSD) 40.00% 2.85% เป็นสมาชิกของ United Nations Global Compact (UNGC) 11.43% Women's Empowerment Principles (WEPs) 2.86% เคยสมัครเข้าร่วมโครงการองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ของกรม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม 8.57%

3-24

ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล 24.29%


3.2 ผลสำรวจความพร้อมของบริษัทในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน คณะวิจัยประมวลผลสำรวจความพร้อมของบริษัทในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยการให้คะแนนตามเกณฑ์ที่ได้จัดทำขึ้น (รายละเอียดแสดงในภาคผนวก) โดยสามารถแบ่งหัวข้อหลักของ การสำรวจความพร้อมได้ ดังนี้ 1) นโยบายและแนวปฏิบัต ิด ้า นสิทธิมนุษยชน เป็นพื้นฐานสำคัญของการตรวจสอบด้ า นสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน บริษัทที่มีการประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนต่อสาธารณะที่ ชัดเจน และมีการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ย่อมมีความพร้อมมากกว่า บริษัทที่ไม่มีการประกาศนโยบาย ไม่มีแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจน หรือไม่มีการสื่อสารนโยบายไปยัง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง 2) การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ประกอบด้วย การตรวจสอบความเสี่ยงและ ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน การบูรณาการข้อค้นพบจากการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบดังกล่าวเพื่อ กำหนดมาตรการป้องกันหรือบรรเทาความเสี่ยงหรือผลกระทบ การมีกลไกหรือช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน การเยียวยาเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น ตลอดจนการรายงานและเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ บริษัทที่ มีความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านควรที่จะสามารถดำเนินกระบวนการเหล่านี้ได้ 3) การกำหนดให้ค ู่ค ้า ในห่วงโซ่อุปทานเคารพสิทธิมนุษยชน ส่ว นใหญ่มุ่งเน้น ให้บริษัทมีการ กำหนดให้คู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานมีนโยบายเคารพสิทธิมนุษยชน หรือมีแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุ ษยชนที่ชัดเจน รวมถึงการที่บริษัทมีกระบวนการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของคู่ค้า และนำผลการติดตามตรวจสอบมา ใช้ในการพิจารณาประกอบการตัดสินใจร่วมทำธุรกิจหรือยุติการทำธุรกิจกับคู่ค้าด้วย บริษัทที่มีความพร้อมใน การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านควรที่จะมีการกำหนดนโยบายหรือสามารถดำเนินกระบวนการ เหล่านี้ได้ เมื่อได้ผลคะแนนแล้ว จึงนำมาจัดระดับความพร้อมโดยพิจารณาคะแนนแบบอิงกลุ่ม ซึ่งสามารถแบ่ง ระดับความพร้อมของบริษัทในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเป็น 3 ระดับ คือ บริษัทที่มีความพร้อมระดับมาก มีช่วงคะแนนตั้งแต่ร้อยละ 45-100 บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง มีช่วงคะแนนตั้งแต่ร้อยละ 20-44 บริษัทที่มีความพร้อมระดับน้อย มีช่วงคะแนนต่ำกว่าร้อยละ 20 จากเกณฑ์การประเมินข้างต้น สามารถสรุปผลการประเมินความพร้อมของบริษัทในการตรวจสอบ ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้ ดังนี้

3-25


จากผลสำรวจ พบว่า ในภาพรวมบริษัทมีความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนในระดับปาน กลางมากที่สุด โดยมีจำนวนทั้งหมด 22 บริษัท ซึง่ คิดเป็นร้อยละ 38.60 รองลงมา ได้แก่ บริษัทที่มีความพร้อม ในระดับน้อยมีจำนวน 21 บริษัท หรือคิดเป็นร้อยละ 36.84 ขณะที่บริษัทที่มีความพร้อมในระดับมาก มี จำนวน 14 บริษัท หรือคิดเป็นร้อยละ 24.56 ตารางที่ 3 - 2 สรุปผลสำรวจความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน จำแนกตามขนาดของบริษัท (หน่วย: บริษัท) ความพร้อมในการตรวจสอบ บริษัทขนาดใหญ่ ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ระดับมาก 13 ระดับปานกลาง 16 ระดับน้อย 18 รวม 47

บริษัทขนาดกลาง บริษัทขนาดเล็ก 3 3 6

1 3 4

รวม 14 22 21 57

ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดใหญ่หรือจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จึง ทำให้การวิเคราะห์ผลสำรวจสะท้อนความพร้อม/ไม่พร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ของบริษัทขนาดใหญ่เป็นหลัก ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากข้อมูลของงานวิจัยนี้ อย่างไรก็ตาม คณะวิจัยเห็นว่าการวิเคราะห์ความพร้อม/ไม่พร้อมของบริษัทขนาดใหญ่ ก็สามารถ สะท้อนภาพรวมของบริษัทไทยในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้ เนื่องจากบริษัทขนาดใหญ่ โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะต้องเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน ซึ่ งครอบคลุมถึง ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ผ่านการจัดทำและเปิดเผยแบบ 56-1 One Report อีกทั้งบริษัทขนาดใหญ่มี ทรัพยากรมาก ทั้งในด้านงบประมาณและบุคลากร ที่จะสามารถดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง รอบด้านได้ ดังนั้น หากบริษัทขนาดใหญ่เหล่านี้ยังไม่มีความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง รอบด้าน ก็อาจสะท้อนข้อจำกัดหรืออุปสรรคในการดำเนินการที่บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กจะต้องเผชิญ ต่อไปได้ นอกจากนี้ คณะวิจัยจะใช้ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกมาประกอบการวิเคราะห์ในบทต่อไปด้วย สำหรับรายละเอียดของผลสำรวจในแต่ละประเด็น มีรายละเอียด ดังนี้ 3.2.1 นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน การประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชน จากผลสำรวจ พบว่า บริษัทส่วนใหญ่ประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชนและ/หรือคำมั่นต่อสาธารณะว่า จะเคารพหลักการหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 31 บริษัท หรือ คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 54.39 อย่างไรก็ตาม ในจำนวนนี้มีเพียง 11 บริษัทเท่านั้นที่มีความพร้อมในการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านในระดับมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าบริษัทส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับ 3-26


ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจ แต่อาจยังไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน หรือยังไม่มีกระบวนการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เมื่อพิจารณาหลักการหรือมาตรฐานระดับสากลที่บริษัทที่มีความพร้อมในระดับมากใช้ อ้างอิงในการ ประกาศนโยบายหรือคำมั่นด้านสิทธิมนุษยชน พบว่า บริษัทส่วนใหญ่อ้างอิงหลักการปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) และหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและ สิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ มากที่สุด โดยมีจำนวนเท่ากัน คือ 8 บริษัท รองลงมา ได้แก่ การอ้างอิง มาตรฐานแรงงานตามอนุสัญญาหลัก 8 ฉบับขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) โดยมีจำนวนทั้งหมด 6 บริษัท และการอ้างอิงแนวปฏิบัติของ OECD สำหรับบรรษัทข้าม ชาติ (The OECD Guidelines for Multinational Enterprises) ซึ่งมีจำนวนน้อยที่สุด คือ 2 บริษัท สำหรับบริษัทที่มีความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านในระดับปานกลางและ ระดับน้อย มีการประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชนและ/หรือคำมั่นต่อสาธารณะว่าจะเคารพหลักการมาตรฐาน เกี่ยวกับ สิทธิมนุษยชน จำนวนรวมกัน 20 บริษัท โดยมีการอ้างอิงหลักการชี้แนะว่าด้ว ยธุรกิจและสิ ทธิ มนุษยชนของสหประชาชาติมากที่สุดจำนวน 8 บริษัท รองลงมา ได้แก่ หลักการปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชนจำนวน 7 บริษัท มีการอ้างอิง มาตรฐานแรงงานตามอนุสัญญาหลัก 8 ฉบับขององค์การแรงงาน ระหว่างประเทศจำนวน 6 บริษัท และมีการอ้างอิงแนวปฏิบัติของ OECD สำหรับบรรษัทข้ามชาติน้อยที่สุด จำนวน 2 บริษัท การกำหนดเพดานชั่วโมงการทำงาน จากผลสำรวจ พบว่า บริษัทส่วนใหญ่กำหนดเพดานชั่วโมงการทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รวมการทำงานล่วงเวลา) จำนวน 37 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 64.91 รองลงมา คือ กำหนด เพดานชั่วโมงการทำงาน แต่มากกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และ/หรือมากกว่า 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รวมการ ทำงานล่วงเวลา) จำนวน 10 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 17.54 (บริษัทกลุ่มนีม้ ักอ้างอิงเพดานชั่วโมงการทำงานตาม กฎหมายแรงงานไทย ซึ่งกำหนดให้ทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือไม่เกิน 84 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึง่ รวม การทำงานล่วงเวลาแล้ว) สำหรับบริษัทที่ไม่มีการกำหนดนโยบายเพดานชั่วโมงการทำงาน มีจำนวน 10 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 17.54

3-27


แผนภาพที่ 3 - 36 การกำหนดเพดานชั่วโมงการทำงาน (หน่วย: ร้อยละ) N = 57 ไม่มีการกาหนด เพดานชั่วโมงการ ทางาน 17.54% กาหนดเพดานชั่วโมงการทางาน แต่ มากกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และ/ หรือ มากกว่า 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รวมการทางานล่วงเวลา) 17.54%

กาหนดเพดานชั่วโมงการทางานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ 60 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ (รวมการทางานล่วงเวลา) 64.92%

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาการกำหนดเพดานชั่วโมงการทำงานของบริษัท จำแนกตามระดับความพร้อมในการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน มีรายละเอียดดังนี้ แผนภาพที่ 3 - 37 การกำหนดเพดานชั่วโมงการทำงานตามระดับความพร้อม (หน่วย: บริษัท) กาหนดเพดานชั่วโมงการทางานไม่เกิน 48 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ หรือ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รวมการ ทางานล่วงเวลา) 2

ไม่มีการกาหนดเพดานชั่วโมงการทางาน ระดับน้อย

ระดับปานกลาง

ระดับมาก

15 15

7

กาหนดเพดานชั่วโมงการทางาน แต่มากกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และ/หรือ มากกว่า 60 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ (รวมการทางานล่วงเวลา)

4 4 3 3

0

3-28

N = 57

4

5

10

15

20


บริษัทที่มีความพร้อมระดับมาก ส่วนใหญ่กำหนดเพดานชั่วโมงการทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รวมการทำงานล่วงเวลา) คิดเป็นร้อยละ 50 รองลงมา คือ กำหนดเพดานชั่วโมง การทำงาน แต่มากกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และ/หรือมากกว่า 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รวมการทำงาน ล่วงเวลา) คิดเป็นร้อยละ 28.57 และไม่กำหนดเพดานชั่วโมงการทำงาน คิดเป็นร้อยละ 21.43 บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง ส่วนใหญ่กำหนดเพดานชั่วโมงการทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อ สัปดาห์หรือ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รวมการทำงานล่วงเวลา) คิดเป็นร้อยละ 68.18 รองลงมาคือมีการกำหนด เพดานชั่วโมงการทำงาน แต่มากกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และ/หรือมากกว่า 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รวมการ ทำงานล่วงเวลา) คิดเป็นร้อยละ 18.18 และไม่กำหนดเพดานชั่วโมงการทำงาน คิดเป็นร้อยละ 13.64 บริษัทที่มีความพร้อมระดับน้อย ส่วนใหญ่กำหนดเพดานชั่วโมงการทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อ สัปดาห์หรือ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รวมการทำงานล่วงเวลา) คิดเป็นร้อยละ 71.43 รองลงมา คือ ไม่กำหนด เพดานชั่วโมงการทำงาน คิดเป็นร้อยละ 19.05 และมีการกำหนดเพดานชั่วโมงการทำงาน แต่มากกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และ/หรือมากกว่า 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รวมการทำงานล่วงเวลา) คิดเป็นร้อยละ 9.52 การทำงานล่วงเวลา จากผลสำรวจ พบว่า บริษัทส่วนใหญ่กำหนดนโยบายการทำงานล่วงเวลาว่าต้องได้รับความยินยอม จากแรงงานและจ่ายค่าตอบแทนในอัตราพิเศษ จำนวน 38 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 66.67 รองลงมา คือ กำหนด เงื่อนไขว่าการทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอมจากแรงงาน แต่ไม่จ่ายค่าตอบแทนในอัตราพิเศษ จำนวน 9 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 15.79 แผนภาพที่ 3 - 38 การกำหนดนโยบายการทำงานล่วงเวลา (หน่วย: ร้อยละ) N = 57

ต้องได้รับความยินยอมจากแรงงาน แต่ ไม่จ่ายค่าตอบแทนพิเศษ 15.79%

ต้องได้รับความยินยอมจากแรงงาน และจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ 66.67%

ไม่มีนโยบายให้แรงงานทางาน ล่วงเวลา 7.01% ไม่มีเงื่อนไขว่าต้องได้รับความ ยินยอมจากแรงงาน 10.53% 3-29


สำหรับบริษัทที่ไม่กำหนดเงื่อนไขว่าการทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอมจากแรงงาน มีจำนวน 6 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 10.53 และมีบริษัทที่ไม่กำหนดนโยบายการทำงานล่วงเวลาว่าต้องได้รับความยินยอม จากแรงงานและจ่ายค่าตอบแทนในอัตราพิเศษ 4 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 7.02 ทั้งนี้ เมื่อพิจ ารณานโยบายการทำงานล่วงเวลาของบริษัท จำแนกตามระดับความพร้อมในการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน มีรายละเอียดดังนี้ แผนภาพที่ 3 - 39 การกำหนดนโยบายการทำงานล่วงเวลา แบ่งตามระดับความพร้อม (หน่วย: บริษัท) ต้องได้รับความยินยอมจากแรงงาน และจ่าย ค่าตอบแทนพิเศษ

11

ต้องได้รับความยินยอมจากแรงงาน แต่ไม่จ่าย ค่าตอบแทนพิเศษ

4

ไม่มีนโยบายให้แรงงานทางานล่วงเวลา

2 2

ต้องได้รับความยินยอมจากแรงงาน

2

ระดับน้อย

ระดับปานกลาง

ระดับมาก

1 0

N = 57 14 13

5

3 5

10

15

บริษัทที่มีความพร้อมระดับมาก ส่วนใหญ่มีการกำหนดเงื่อนไขว่าการทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความ ยินยอมจากแรงงานและจ่ายค่าตอบแทนในอัตราพิเศษ ซึง่ มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 92.86 และมีบริษัทเพียงแห่ง เดียวเท่านั้นที่ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขว่าการทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอมจากแรงงาน บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง ส่วนใหญ่มีการกำหนดเงื่อนไขว่าการทำงานล่วงเวลาต้องได้รับ ความยินยอมจากแรงงานและจ่ายค่าตอบแทนในอัตราพิเศษ โดยคิดเป็นร้อยละ 63.64 รองลงมา คือ มีเงื่อนไข ว่าการทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอมจากแรงงาน แต่ไม่จ่ายค่าตอบแทนในอัตราพิเศษ คิดเป็นร้อยละ 18.18 สำหรับบริษัทที่ไม่มีนโยบายให้แรงงานทำงานล่วงเวลาและบริษัทที่ไม่กำหนดเงื่อนไขว่าการทำงาน ล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอมจากแรงงาน มีจำนวนเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 9.09 บริษัทที่มีความพร้อมระดับน้อย ส่วนใหญ่มีการกำหนดเงื่อนไขว่าการทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความ ยินยอมจากแรงงานและจ่ายค่าตอบแทนในอัตราพิเศษ คิดเป็นร้อยละ 52.38 รองลงมา คือ บริษัทที่มีเงื่อนไข ว่าการทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอมจากแรงงาน แต่ไม่จ่ายค่าตอบแทนในอัตราพิเศษ คิดเป็นร้อยละ 3-30


23.81 บริษัทที่ไม่มีเงื่อนไขว่าการทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอมจากแรงงาน คิดเป็นร้อยละ 14.29 และบริษัทที่ไม่มีนโยบายให้แรงงานทำงานล่วงเวลา คิดเป็นร้อยละ 9.52 กล่าวโดยสรุป เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า บริษัทที่มีความพร้อมทุกระดับส่วนใหญ่มีการกำหนด เงื่อนไขว่าการทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอมจากแรงงาน รวมทั้งต้องมีการจ่ายค่าตอบแทนใน อัตรา พิเศษ ซึ่งสอดคล้องกับที่กฎหมายแรงงานกำหนด การกำหนดผู้รับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชน จากผลสำรวจ พบว่า บริษัทส่วนใหญ่จัดตั้งคณะทำงานหรือ มอบหมายให้มี ผู้รับผิดชอบด้านสิทธิ มนุษยชนโดยตรง จำนวน 29 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 50.88 ในจำนวนนี้มีบริษัทที่กำหนดผู้รับผิดชอบระดับ ผู้จัดการอาวุโสขึ้นไป จำนวน 15 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 26.32 สำหรับบริษัทที่ยังไม่มีการจัดตั้งคณะทำงาน หรือมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบในการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท มีจำนวน 28 บริษัท คิดเป็น ร้อยละ 49.12 ดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 40 แผนภาพที่ 3 - 40 การจัดตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน (หน่วย: ร้อยละ) N = 57 มีการมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบในด้านสิทธิ มนุษยชนของบริษัท โดยผู้รับผิดชอบระดับ ผู้จัดการอาวุโสขึ้นไป 26.32%

มีการมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบ ในด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท 24.56%

ไม่มีการมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบใน ด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท 49.12%

3-31


ทั้งนี้ เมื่อพิจารณานโยบายการกำหนดผู้รับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท จำแนกตามระดับ ความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน มีรายละเอียดดังนี้ บริษัทที่มีความพร้อมระดับมาก ส่วนใหญ่มีการจัดตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบใน การดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท โดยกำหนดผู้รับผิดชอบระดับผู้จัดการอาวุโสขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 57.14 รองลงมา คือ บริษัทที่มีการกำหนดนโยบายจัดตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบในการ ดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท และบริษัทที่มีการจัดตั้งคณะทำงานหรือผู้รับผิดชอบด้านสิ ทธิ มนุษยชน มีจำนวนเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 21.43 บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง ส่วนใหญ่ยังไม่มีการจัดตั้งคณะทำงานหรือผู้รับผิดชอบด้านสิทธิ มนุษยชน คิดเป็นร้อยละ 40.91 รองลงมา คือ มีการจัดตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบในการ ดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท คิดเป็นร้อยละ 31.82 และมีการจัดตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายให้มี ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท โดยกำหนดผู้รับผิดชอบระดับ ผู้จัดการอาวุโสขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 27.27 บริษัทที่มีความพร้อมระดับน้อย ส่วนใหญ่ไม่มีการจัดตั้งคณะทำงานหรือผู้รับผิดชอบด้านสิ ทธิ มนุษยชน คิดเป็นร้อยละ 76.19 รองลงมา คือ มีการจัดตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบในการ ดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท คิดเป็นร้อยละ 19.05 และมีการจัดตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายให้มี ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท โดยกำหนดผู้รับผิดชอบระดับผู้จัดการอาวุโสขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 4.76 ตารางที่ 3 - 3 จำนวนบริษัทที่จัดตั้งคณะทำงานหรือผู้รับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชน จำแนกตามระดับความพร้อมของบริษัท (หน่วย: บริษัท) ความพร้อมของบริษัท ระดับ ระดับมาก ระดับน้อย ปานกลาง

นโยบายที่กำหนด ไม่มีการจัดตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายให้มผี ู้รับผิดชอบในการ ดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท มีการจัดตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายให้มผี ู้รับผิดชอบในการ ดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท มีการจัดตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายให้มผี ู้รับผิดชอบในการ ดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท โดยกำหนดผูร้ ับผิดชอบ ระดับผู้จัดการอาวุโสขึ้นไป

รวม

3

9

16

28

3

7

4

14

8

6

1

15

จากตารางที่ 3 - 3 จะเห็นได้ว่าบริษัทที่มีความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบ ด้านในระดับมากและระดับปานกลาง มีการจัดตั้งคณะทำงาน หรือมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบด้านสิทธิ 3-32


มนุษยชนโดยเฉพาะ และหลายบริษัทกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบที่มีระดับตั้งแต่ผู้จัดการอาวุโสขึ้นไป ขณะที่ บริษัทที่มีความพร้อมน้อยส่วนใหญ่ไม่มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะ นโยบายการปกป้องคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และผู้ใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ จากผลสำรวจ พบว่า บริษัทส่วนใหญ่ยังไม่มีการประกาศนโยบายว่าบริษัทจะไม่ยอมรับการคุกคาม การข่มขู่ ความรุนแรง การลงโทษ การสอดส่อง หรือการโจมตีทางกายภาพหรือทางกฎหมายต่อนักปกป้อง สิทธิมนุษยชน รวมถึงผู้ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก การรวมกลุ่ม การชุมนุม และการประท้วงโดยสงบ โดย มีบริษัทเพียง 17 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 29.82 ที่ระบุว่ามีการประกาศนโยบายดังกล่าว ดังแสดงในแผนภาพที่ 3 41 แผนภาพที่ 3 - 41 การประกาศคำมั่นว่าบริษัทจะไม่ยอมรับการคุกคาม ข่มขู่และโจมตีทางกฎหมายต่อนัก ปกป้องสิทธิมนุษยชน (หน่วย: ร้อยละ)

N = 57 มีการประกาศคามั่นต่อสาธารณะ 29.82%

ไม่มีการประกาศคามั่นต่อสาธารณะ 70.18%

มาตรการส่งเสริมหรือสนับสนุนการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เมื่อพิจารณามาตรการส่งเสริมหรือสนับสนุนการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในระดับท้องถิ่น และ/หรือระดับชาติ พบว่า บริษัทส่วนใหญ่ จำนวน 46 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 80.70 ยังไม่มีมาตรการหรือ โครงการสนับสนุนการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และมีเพียง 11 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 19.30 ที่มี มาตรการหรือโครงการสนับสนุนการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยแบ่งเป็นระดับชุมชน 7 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 12.28 ระดับชาติ 3 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 5.26 และมาตรการส่งเสริมหรือสนับสนุนการทำงาน ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในระดับชุมชนและระดับชาติ 1 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 1.76 รายละเอียดดังแสดง ในแผนภาพที่ 3 - 42 3-33


แผนภาพที่ 3 - 42 มาตรการส่งเสริมหรือสนับสนุนการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (หน่วย: ร้อยละ) มีมาตรการสนับสนุนการทางาน N = 57 ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ใน ระดับชุมชนและระดับชาติ 1.76% ไม่มีมาตรการสนับสนุน การทางานของนัก ปกป้องสิทธิมนุษยชน 80.70%

มีมาตรการส่งเสริมการทางานของนัก ปกป้องสิทธิมนุษยชน ในระดับชุมชน 12.28% มีมาตรการส่งเสริมการทางานของนัก ปกป้องสิทธิมนุษยชน ในระดับชาติ 5.26%

สำหรับบริษัทที่มีการประกาศทั้งนโยบายไม่ยอมรับการคุกคาม การข่มขู่ ความรุนแรง การลงโทษ การ สอดส่อง หรือการโจมตีทางกายภาพหรือทางกฎหมายต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน รวมถึงผู้ใช้สิทธิเสรีภาพใน การแสดงออก การรวมกลุ่ม การชุมนุม และการประท้ว งโดยสงบ และสนับสนุน มาตรการส่งเสริมหรือ สนับสนุนการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนพร้อมกัน มีจำนวนเพียง 7 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 12.28 เท่านั้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าบริษัทส่วนใหญ่ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากนัก นโยบายการปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชุมชนท้องถิ่น จากผลสำรวจ พบว่า บริษัทส่วนใหญ่ไม่มีนโยบายการปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์ /ชุมชนท้องถิ่น ทั้งก่อนและระหว่างการดำเนินโครงการ จำนวน 33 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 57.89 และมีเพียง 11 บริษัท คิด เป็นร้อยละ 19.30 ที่มีนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์ /ชุมชนท้องถิ่น และเปิดเผยนโยบายดังกล่าวต่อ สาธารณะ รายละเอียดแสดงในแผนภาพที่ 3 - 43

3-34


แผนภาพที่ 3 - 43 นโยบายการปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชุมชนท้องถิ่น (หน่วย: ร้อยละ)

N = 57

มีนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ ชุมชนท้องถิ่น และเปิดเผยต่อสาธารณะ 19.30% ไม่มีนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่ม ชาติพันธุ์/ชุมชนท้องถิ่น 57.89%

มีนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ ชุมชนท้องถิ่น แต่ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ 22.81%

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณานโยบายการปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชุมชนท้องถิ่น จำแนกตามระดับความ พร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน มีรายละเอียดดังนี้ บริษัทที่มีความพร้อมระดับมาก มีนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชุมชนท้องถิ่น และเปิดเผย นโยบายดังกล่าวต่อสาธารณะ คิดเป็นร้อยละ 42.86 รองลงมา คือ ไม่มีนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ ชุมชนท้องถิ่น คิดเป็นร้อยละ 35.71 และมีนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติ พันธุ์/ท้องถิ่น แต่ไม่เปิดเผย นโยบายดังกล่าวต่อสาธารณะ คิดเป็นร้อยละ 21.43 บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง ส่วนใหญ่ไม่มีนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชุมชน ท้องถิ่น คิดเป็นร้อยละ 59.09 รองลงมา คือ มีนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชุมชนท้องถิ่น แต่ไม่ เปิดเผยนโยบายดังกล่าวต่อสาธารณะ คิดเป็นร้อยละ 27.27 และมีนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ ชุมชนท้องถิ่น และเปิดเผยนโยบายดังกล่าวต่อสาธารณะ คิดเป็นร้อยละ 13.64 บริษัทที่มีความพร้อมระดับน้อย ส่วนใหญ่ไม่มีนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชุมชนท้องถิ่ น คิดเป็นร้อยละ 71.43 รองลงมา คือ มีนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชุมชนท้องถิ่น แต่ไม่เปิดเผย นโยบายดังกล่าวต่อสาธารณะ คิดเป็นร้อยละ 19.05 และมีนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชุมชน ท้องถิ่น และเปิดเผยนโยบายดังกล่าวต่อสาธารณะ คิดเป็นร้อยละ 9.52

3-35


การสื่อสารนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน จากผลสำรวจ พบว่า บริษัทที่มีการสื่อสารนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเฉพาะเจาะจงกับผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียอย่างน้อย 1 กลุ่ม มีจำนวน 31 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 54.39 และมีบริษัทที่ไม่มีการสื่อสารนโยบาย ด้านสิทธิมนุษยชนจำนวน 26 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 45.61 รายละเอียดดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 44 แผนภาพที่ 3 - 44 การสื่อสารนโยบายสิทธิมนุษยชนให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (หน่วย: ร้อยละ) N = 57 ไม่มีการสื่อสารนโยบายสิทธิ มนุษยชนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 45.61%

มีการสื่อสารนโยบายสิทธิมนุษยชน กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 54.39%

เมื่อพิจารณารูปแบบการสื่อสารนโยบายสิทธิมนุษยชนที่เฉพาะเจาะจงไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละ กลุ่ม สามารถสรุปได้ดังรายละเอียดที่แสดงในตารางที่ 3 - 4 ตารางที่ 3 - 4 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับการสื่อสารนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน จำแนกตามระดับความพร้อมของบริษัท (หน่วย: บริษัท) ความพร้อมของบริษัท ระดับมาก ระดับปานกลาง

กลุ่มผู้มสี ่วนได้ส่วนเสียที่สอื่ สาร สื่อสารโดยการประกาศนโยบายสูส่ าธารณะเท่านั้น (ไม่ได้ เจาะจงกลุม่ ผูม้ ีส่วนได้ส่วนเสีย) ผู้บริหารบริษัท พนักงาน/แรงงานบริษัท คู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน พนักงาน/แรงงานของคู่ค้า ผู้รับเหมา ลูกค้า ชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบ

ระดับน้อย

2

8

1

3 4 2 2 2 2 3

11 11 10 8 8 8 7

11 9 5 6 4 4 5

หมายเหตุ: ผู้ตอบแบบสำรวจสามารถตอบคำถามนี้ได้มากกว่า 1 คำตอบ จึงอาจทำให้ผลรวมมีจำนวนมากกว่าจำนวนผู้ตอบ แบบสำรวจทั้งหมด 3-36


การจัดอบรมในประเด็นสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา บริษัทที่มีการอบรมในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเฉพาะเจาะจง ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีจำนวน 26 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 45.61 บริษัทที่ไม่เคยอบรมในประเด็นด้านสิทธิ มนุษยชน มีจำนวน 22 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 38.60 และบริษัทที่ไม่ทราบข้อมูลด้านการอบรมในประเด็นด้าน สิทธิมนุษยชนจำนวน 9 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 15.79 รายละเอียดแสดงในแผนภาพที่ 3 - 45 แผนภาพที่ 3 - 45 การจัดอบรมในประเด็นสิทธิมนุษยชน (หน่วย: ร้อยละ) N = 57 ไม่ทราบข้อมูล มีการอบรมใน 15.79% ประเด็นด้านสิทธิ ไม่มีการอบรมใน ประเด็นด้านสิทธิ มนุษยชนกับผู้มี ส่วนได้ส่วนเสีย 38.60%

มนุษยชนกับผู้มี ส่วนได้ส่วนเสีย 45.61%

เมื่อพิจารณารูปแบบการอบรมด้านสิทธิมนุษยชนที่เฉพาะเจาะจงไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่ม สามารถสรุปได้ดังรายละเอียดที่แสดงในตารางที่ 3 - 5 ตารางที่ 3 - 5 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับการอบรมด้านสิทธิมนุษยชน จำแนกตามระดับความพร้อมของบริษัท (หน่วย: บริษัท) กลุ่มผู้มสี ่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับการอบรม ด้านสิทธิมนุษยชน ผู้บริหารบริษัท พนักงาน/แรงงานบริษัท คู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน พนักงาน/แรงงานของคู่ค้า ชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบ

ระดับมาก 3 5 2 3 3

ความพร้อมของบริษัท ระดับปานกลาง 9 11 3 4 2

ระดับน้อย 9 10 3 4 3

หมายเหตุ: ผู้ตอบแบบสำรวจสามารถตอบคำถามนี้ได้มากกว่า 1 คำตอบ จึงอาจทำให้ผลรวมมีจำนวนมากกว่าจำนวนผู้ตอบ แบบสำรวจทั้งหมด

3-37


3.2.2 การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน คณะวิจัยสอบถามผู้เข้าร่วมการสำรวจว่า “ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2562 บริษัทของท่านดำเนินกระบวนการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนในระดับใด” โดยผลสำรวจ พบว่า มีบริษัทที่ระบุว่าเคยตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้านจำนวน 27 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 47.37 และบริษัทที่ไม่เคยตรวจสอบความเสี่ยงและ ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านจำนวน 30 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 52.63 โดยสามารถจำแนกระดับ การตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ได้ดังนี้ - บริษัทไม่เคยตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา - บริษัทเคยตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน 1 ครั้ง ในระดับ โรงงาน/สถานประกอบการหลัก - บริษัทเคยตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน 1 ครั้ง ในระดับ บริษัท (ไม่รวมห่วงโซ่อุปทาน) - บริษัทเคยตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน 1 ครั้ง ในระดับ บริษัทและคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานอย่างน้อย Tier 1 (คู่ค้าที่มีความสำคัญสูงสุด) - บริษัทเคยตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านมากกว่า 1 ครั้ง ในระดับโรงงาน/สถานประกอบการหลัก - บริษัทเคยตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านมากกว่า 1 ครั้ง ในระดับบริษัท (ไม่รวมห่วงโซ่อุปทาน) - บริษัทเคยตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านมากกว่า 1 ครั้ง ในระดับบริษัทและคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานอย่างน้อย Tier 1 (คู่ค้าที่มีความสำคัญสูงสุด) โดยผลจากแบบสำรวจมีรายละเอียดดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 46

3-38


แผนภาพที่ 3 - 46 การตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน จำแนกตามระดับความพร้อมของบริษัท (หน่วย: บริษัท) ไม่เคยตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้าน 10 N = 57 12 สิทธิมนุษยชน 8 1 1 ครั้ง - ระดับโรงงาน/สถานประกอบการหลัก 1 2 1 1 ครั้ง - ระดับบริษัท (ไม่รวมห่วงโซ่อุปทาน) 2 2 1 ครั้ง - ระดับบริษัทและคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน 2 2 อย่างน้อย Tier 1 มากกว่า 1 ครั้ง - ระดับโรงงาน/สถาน ประกอบการหลัก

1

มากกว่า 1 ครั้ง - ระดับบริษัท (ไม่รวมห่วงโซ่ อุปทาน)

2

3

มากกว่า 1 ครั้ง - ระดับบริษัทและคู่ค้าในห่วงโซ่ อุปทานอย่างน้อย Tier 1

4 4 0

ระดับมาก

2

ระดับปานกลาง

4

6

8

10

12

14

ระดับน้อย

อย่างไรก็ตาม คณะวิจัยมีข้อสังเกตว่า ผลการสำรวจมีความขัดแย้งเกิดขึ้น กล่าวคือ บริษัทที่มีความ พร้อมระดับมากส่วนใหญ่ไม่เคยตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน และบริษัทที่เคยมี การตรวจสอบก็ได้ดำเนินการเพียง 1 ครั้งเท่านั้น ขณะที่บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลางและระดับน้อย กลับมีผลสำรวจที่ระบุว่าเคยตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนมากกว่า 1 ครั้ง ในประเด็นนี้ คณะวิจัยเห็นว่าผลสำรวจที่ดูย้อนแย้งกันดังกล่าวอาจเกิดจากการที่บริษัทผู้ตอบแบบสำรวจมีกลไก นโยบาย และกระบวนการต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน อาทิ กลไกรับเรื่องร้องเรียนจากพนักงานและ ชุมชน เป็นต้น แต่ยังไม่เคยดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน หรือผู้ตอบแบบสำรวจไม่มี ความรู้หรือความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง เพียงพอ และอาจเข้าใจว่ากระบวนการดังกล่าวเป็นกระบวนการเดียวกันกับการประเมินความเสี่ยงด้านการ ดำเนินงานขององค์กร นอกจากนี้ คณะวิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการในบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งพบว่า ผู้ประกอบการบางรายได้ระบุในแบบสำรวจว่าบริษัทได้มีการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านแล้ว 3-39


แต่เมื่อคณะวิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึกกลับพบว่าผู้ประกอบการยังไม่เข้าใจในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับการ ดำเนินธุรกิจมากนัก สำหรับประเด็นนี้ คณะวิจัยจะใช้ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกมาประกอบการวิเคราะห์ในบท ต่อไป สำหรับบริษัทที่ระบุว่ามีการตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิม นุษยชนจำนวน 27 บริษัท จะต้องตอบคำถามว่าบริษัทได้มีการบูรณาการข้อค้นพบจากการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิ มนุษยชน เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันหรือบรรเทาความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนหรือไม่ มีการ ประเมินประสิทธิผลและปรับ ปรุงการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างไร รวมถึงมีการเปิดเผยผลการ ดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนต่อสาธารณะหรือไม่ ซึ่งสามารถสรุปผลการสำรวจได้ดังต่อไปนี้ การบูรณาการข้อค้นพบจากกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน จากผลสำรวจ พบว่าบริษัทมีการบูรณาการข้อค้นพบจากการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้าน สิทธิมนุษยชน โดยนำผลมาปรับปรุงและป้องกันความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจำนวน 7 บริษัท คิด เป็ น ร้อยละ 25.93 มีบ ริษัทที่น ำผลมาป้ องกัน และบรรเทาความเสี่ ยงและผลกระทบ พร้อมทั้งกำหนด แผนปฏิบัติการและเป้าหมาย แต่ไม่เปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะจำนวน 11 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 40.74 และมี บริษัทที่นำผลมาป้องกันและบรรเทาความเสี่ยงและผลกระทบ พร้อมทั้งกำหนดแผนปฏิบัติการและเป้าหมาย รวมถึงเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะจำนวน 9 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 33.33 ดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 47 แผนภาพที่ 3 - 47 การบูรณาการข้อค้นพบจากกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้าน (หน่วย: ร้อยละ) N = 27 มีการบูรณาการข้อค้นพบจากการประเมิน เพื่อ ป้องกันความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิ มนุษยชน และกาหนดแผนปฏิบัติการและ เป้าหมาย และเปิดเผยต่อสาธารณะ 33.33%

มีการบูรณาการข้อค้นพบจากการประเมิน ความเสี่ยงและผลกระทบ เพื่อป้องกันความ เสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน 25.93%

มีการบูรณาการข้อค้นพบจากการประเมิน เพื่อป้องกัน ความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน และกาหนด แผนปฏิบัติการและเป้าหมาย แต่ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ 40.74% 3-40


บริษัทที่มีความพร้อมระดับมาก มีการตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจำนวน 4 บริษัท โดยมีการบูรณาการในระดับต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การนำผลมากำหนดมาตรการป้องกันหรือบรรเทา ความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน แต่ไม่กำหนดแผนปฏิบัติการและเป้าหมาย จำนวน 1 บริษัท คิด เป็นร้อยละ 25 มีการบูรณาการข้อค้นพบและมีแผนปฏิบัติการและเป้าหมาย แต่ไม่เผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ จำนวน 2 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 50 และมีการบูรณาการข้อค้นพบจากการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบ ด้านสิทธิมนุษยชน และมีแผนปฏิบัติการและเป้าหมาย พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ จำนวน 1 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 25 บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง มีการตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน จำนวน 10 บริษัท โดยมีการบูรณาการในระดับต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การนำผลมากำหนดมาตรการป้องกันหรือ บรรเทาความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน แต่ไม่กำหนดแผนปฏิบัติการและเป้าหมาย จำนวน 2 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 20 มีการบูรณาการข้อค้นพบและมีแผนปฏิบัติการและเป้าหมาย แต่ไม่เผยแพร่ข้อมูลต่อ สาธารณะ จำนวน 3 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 30 และมีการบูรณาการข้อค้นพบจากการประเมินความเสี่ยงและ ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน และมีแผนปฏิบัติการและเป้าหมาย พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ จำนวน 5 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 50 บริษัทที่มีความพร้อมระดับน้อย มีการตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน จำนวน 13 บริษัท โดยมีการบูรณาการในระดับต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การนำผลมากำหนดมาตรการป้องกันหรือบรรเทา ความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน แต่ไม่กำหนดแผนปฏิบัติการและเป้าหมาย จำนวน 4 บริษัท คิด เป็นร้อยละ 30.77 มีการบูรณาการข้อค้นพบและมีแผนปฏิบัติการและเป้าหมาย แต่ไม่เผยแพร่ ข้อมูล ต่อ สาธารณะ จำนวน 6 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 46.15 และมีการบูรณาการข้อค้นพบจากการประเมินความเสี่ยง และผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน และมีแผนปฏิบัติการและเป้าหมาย พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ จำนวน 3 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 23.08 การประเมินประสิทธิผลและปรับปรุงการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน จากผลสำรวจ พบว่า บริษัทส่วนใหญ่มีการประเมินประสิทธิผลและปรับปรุงการดำเนินงานด้านสิทธิ มนุษยชนโดยไม่มีส่วนร่วมจากเอ็นจีโอ/ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน จำนวน 19 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 70.37 ของบริษัทที่ดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน รองลงมา บริษัทมีการประเมินประสิทธิผล และปรับปรุงการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนโดยมีส่วนร่วมจากเอ็นจีโอ/ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน จำนวน 5 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 18.52 และมีบริษัทที่ไม่มีการประเมินประสิทธิผลและปรับปรุงการดำเนินงาน ด้านสิทธิมนุษยชนเพียง 3 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 11.11 ตามลำดับ รายละเอียดดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 48

3-41


แผนภาพที่ 3 - 48 การประเมินประสิทธิผลและปรับปรุงการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน (หน่วย: ร้อยละ) N = 27

ไม่มีการประเมินประสิทธิผล ของการดาเนินงานด้านสิทธิ มนุษยชนของบริษัท 11.11%

มีการประเมินประสิทธิผลของการ ดาเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของ บริษัท แต่ไม่มีส่วนร่วมจากเอ็นจีโอ/ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน 70.37%

มีการประเมินประสิทธิผลของการ ดาเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท โดยมีส่วนร่วมจากเอ็นจีโอ/ผู้เชี่ยวชาญ ด้านสิทธิมนุษยชน 18.52%

บริษัทที่มีความพร้อมระดับมาก มีการประเมินเพียงระดับเดียว คือ มีการประเมินประสิทธิผลของการ ดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท แต่ไม่มีส่วนร่วมจากเอ็นจีโอ/ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน จำนวน 4 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 100 บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง มีการประเมินประสิทธิผลของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ของบริษัท โดยมีส่วนร่วมจากเอ็นจีโอ/ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน จำนวน 2 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 20 ถัด มา มีการประเมินประสิทธิผล โดยไม่มีส่วนร่วมจากเอ็นจีโอ/ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน จำนวน 7 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 70 และมีบริษัท เพียงแห่งเดียวที่ไม่มีการประเมินประสิทธิผลของการดำเนินงานด้านสิทธิ มนุษยชนของบริษัท คิดเป็นร้อยละ 10 บริษัทที่มีความพร้อมระดับน้อย มีการประเมินประสิทธิผลของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของ บริษัท โดยมีส่วนร่วมจากเอ็นจีโอ/ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน จำนวน 3 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 23.08 มีการ ประเมินประสิทธิผล โดยไม่มีส่วนร่วมจากเอ็นจีโอ/ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน จำนวน 8 บริษัท คิดเป็นร้อย ละ 61.54 และไม่มีการประเมินประสิทธิผลของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท จำนวน 2 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 15.38 การเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน จากผลการสำรวจ พบว่า บริษัทที่ดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านมีการเปิดเผย ผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนเป็นรายปี จำนวน 13 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 48.15 บริษัทที่เปิดเผยผล 3-42


การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนเป็นครั้งคราว (ไม่ใช่รายปี) จำนวน 6 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 22.22 และ บริษัทที่ไม่เปิดเผยผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน จำนวน 8 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 29.63 ดังแสดงใน แผนภาพที่ 3 - 49 แผนภาพที่ 3 - 49 การเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน (หน่วย: ร้อยละ) N = 27 ไม่มีการรายงานการดาเนินงานด้าน สิทธิมนุษยชนต่อสาธารณะ 29.63%

เปิดเผยผลการดาเนินงาน ด้านสิทธิมนุษยชนรายปี 48.15%

เปิดเผยผลการดาเนินงานด้านสิทธิ มนุษยชนเป็นครั้งคราว (ไม่ใช่รายปี) 22.22% บริษัทที่มีความพร้อมระดับมาก จำนวน 4 บริษัท มีการเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน/ รายงานการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านรายปี จำนวน 2 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 50 และไม่มีการ เปิดเผยผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน/รายงานการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน จำนวน 2 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 50 บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง จำนวน 10 บริษัท มีการเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านสิทธิ มนุษยชน/รายงานการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านรายปี จำนวน 6 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 60 มี การเปิดเผยเป็นครั้งคราว จำนวน 1 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 10 และไม่มีการรายงานการดำเนินงานด้านสิทธิ มนุษยชนจำนวน 3 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 30 บริษัทที่มีความพร้อมระดับน้อย จำนวน 13 บริษัท มีการเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน /รายงานการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านรายปี จำนวน 5 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 38.46 มีการ เปิดเผยเป็นครั้งคราว จำนวน 5 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 38.46 และไม่มีการรายงานการดำเนินงานด้านสิทธิ มนุษยชนจำนวน 3 บริษทั คิดเป็นร้อยละ 23.08

3-43


กลไกการรับเรื่องร้องเรียน/การเยียวยา จากผลการสำรวจ พบว่า บริษัทจำนวน 53 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 92.98 ทีม่ ีช่องทางรับเรื่องร้องเรียน และมีเพียง 4 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 7.02 ไม่มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริษัทส่วนใหญ่ให้ ความสำคัญกับกลไกการรับเรื่องร้องเรียนในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ ยังพบว่าบริษัทมีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนที่ หลากหลาย โดยมีการรับเรื่องร้องเรียนผ่านช่องทางอีเมล เว็บไซต์ ระบบรับเรื่องร้องเรียนภา ยในองค์กร จดหมาย และศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ตามลำดับ รายละเอียดแสดงในตารางที่ 3 - 6 ตารางที่ 3 - 6 ช่องทางรับเรื่องร้องเรียนของบริษัทจำแนกตามระดับความพร้อม (หน่วย: บริษัท) ความพร้อมของบริษัท ระดับ ระดับ ระดับ มาก ปานกลาง น้อย 11 19 18 11 15 14 8 13 13 8 11 14 7 10 12

ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน อีเมล เว็บไซต์ ระบบรับเรื่องร้องเรียนภายในองค์กร เช่น ผ่าน Intranet จดหมาย ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน/Call Center

รวม 48 40 34 33 29

หมายเหตุ: ผู้ตอบแบบสำรวจสามารถตอบคำถามนี้ได้มากกว่า 1 คำตอบ จึงอาจทำให้ผลรวมมีจำนวนมากกว่าจำนวนผู้ตอบ แบบสำรวจทั้งหมด

เมื่อพิจารณากลุ่มเป้าหมายในการรับเรื่องร้องเรียน พบว่า บริษัทจัดให้มีช่องทางหรือกลไกรับเรื่อง ร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายกลุ่ม โดยกลุ่มที่ได้รับความสำคัญมากที่สุด คือ กลุ่มพนักงานของบริษัท รองลงมา ได้แก่ ลูกค้า ประชาชนทั่วไป คู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน ชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบ พนักงานของคู่ค้า และชุมชนของคู่ค้า ตามลำดับ ตารางที่ 3 - 7 กลุ่มเป้าหมายที่บริษัทเปิดรับเรื่องร้องเรียนจำแนกตามระดับความพร้อม (หน่วย: บริษัท) กลุ่มผู้มสี ่วนได้ส่วนเสีย พนักงาน/แรงงาน ลูกค้า ประชาชนทั่วไป คู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน ชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบ พนักงาน/แรงงานของคู่ค้า ชุมชนของคู่ค้า

ความพร้อมของบริษัท ระดับมาก ระดับปานกลาง ระดับน้อย 13 20 18 11 17 17 10 16 18 10 13 17 9 15 16 9 14 15 8 14 13

รวม 51 45 44 40 40 38 35

หมายเหตุ: ผู้ตอบแบบสำรวจสามารถตอบคำถามนี้ได้มากกว่า 1 คำตอบ จึงอาจทำให้ผลรวมมีจำนวนมากกว่าจำนวนผู้ตอบ แบบสำรวจทั้งหมด 3-44


สำหรับภาษาที่ใช้ในช่องทางรับเรื่องร้องเรียน พบว่า ทุกบริษัทจัดให้มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนใน ภาษาไทย และมีบางบริษัทที่จัดให้มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนในภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ มีเพียงบริษัทเดียวที่มี ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน ซึ่งสื่อสารในภาษาที่สาม คือ ภาษาเมียนมาร์และกัมพูชา กระบวนการมีส่วนร่วมกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการร่วมออกแบบและพัฒนาประสิทธิภาพของ กลไก/ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน จากบริษัทที่มีกลไก/ช่องทางรับเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 53 บริษัท มีบริษัทที่มีกระบวนการสร้างการมี ส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการออกแบบและพัฒนาประสิทธิภาพของกลไก/ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน เพียง 20 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 37.74 และมีบริษัทที่ไม่มีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วน เสียในการออกแบบและพัฒนาประสิทธิภาพของกลไก/ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน จำนวน 33 บริษัท คิดเป็น ร้อยละ 62.26 รายละเอียดดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 50 แผนภาพที่ 3 - 50 กระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการร่วมออกแบบและพัฒนา ประสิทธิภาพของกลไก/ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน (หน่วย: ร้อยละ) N = 53

มีกระบวนการสร้าง การมีส่วนร่วมกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 37.74%

ไม่มีกระบวนการสร้าง การมีส่วนร่วมกับผู้ใช้ กลไก/ช่องทางการรับ เรื่องร้องเรียน 62.26%

การสนับสนุนทรัพยากร งบประมาณ หรือการให้คำปรึกษาเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้า ถึ ง กระบวนการร้องทุกข์อย่างเท่าเทียม บางบริษัทมีการสนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมในกระบวนการร้องทุกข์ ได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึง่ มีบริษัทถึง 30 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 57.81 ที่ให้การสนับสนุนในด้านใดด้านหนึ่ง โดย จากผลสำรวจพบว่ าร้ อ ยละ 29.69 ระบุ ว ่ า บริ ษ ั ท อาจสนั บ สนุ น ทรัพ ยากรเพิ ่ ม เติ ม เช่ น การจั ด ทำสื่ อ ประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ และร้อยละ 28.13 ระบุว่าบริษัทอาจมีการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้มีส่วนได้ส่วน เสียในการเข้าสู่กระบวนการร้องเรียนเพิ่มเติม ขณะที่ร้อยละ 42.19 ของผู้ตอบแบบสำรวจมองว่าบริษัทไม่ จำเป็นต้องมีการสนับสนุนทรัพยากรเพิ่มเติม และการจัดให้มีกลไกรับเรื่องร้องเรียนนั้นเพียงพอแล้ว ดังแสดงใน แผนภาพที่ 3 - 51 3-45


แผนภาพที่ 3 - 51 การสนับสนุนทรัพยากร งบประมาณ หรือการให้คำปรึกษาเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้าถึงกระบวนการร้องทุกข์อย่างเท่าเทียม (หน่วย: ร้อยละ) มีการสนับสนุนทรัพยากรเพิ่มเติม (เช่น จัดทาสื่อ ประชาสัมพันธ์อย่างสม่าเสมอ)

29.69%

มีการให้คาปรึกษาแนะนาแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการเข้าสู่กระบวนการร้องเรียน

28.12%

ไม่มีการสนับสนุนใดๆ เพิ่มเติม

N = 57

42.19%

การเปิดเผยกระบวนการจัดการเรื่องร้องเรียน จากผลสำรวจการเปิดเผยกระบวนการจัดการเรื่องร้องเรียน (บริษัทสามารถตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) พบว่า บริษัท ส่ว นใหญ่ร าวร้อยละ 54.79 มีการเปิ ด เผยกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ การจัดการกับข้อ ร้องเรียนขององค์กร ประกอบด้วย การเปิดเผยถึงกระบวนการจัดการข้อร้องเรียน คิดเป็นร้อยละ 45.21 การ เปิดเผยนโยบายการรายงานความคืบหน้าแก่ผู้ร้องเรียนภายในระยะเวลาที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 26.03 และ การเปิดเผยกระบวนการเพิกถอนข้อร้องเรียน คิดเป็นร้อยละ 5.48 นอกจากนั้น ราวร้อยละ 23.29 ระบุว่า บริษัทไม่มีการเปิดเผยกระบวนการใด ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการกับข้อร้องเรียนขององค์กร รายละเอียดดังแสดงใน แผนภาพที่ 3 - 52

3-46


แผนภาพที่ 3 - 52 จำนวนบริษัทที่เปิดเผยกระบวนการจัดการเรื่องร้องเรียน (หน่วย: ร้อยละ) N = 57 45.21%

มีการเปิดเผยกระบวนการจัดการข้อร้องเรียน มีการเปิดเผยกระบวนการเพิกถอนข้อ ร้องเรียน

5.47%

มีการเปิดเผยนโยบายการรายงานความ คืบหน้าแก่ผู้ร้องเรียนภายในระยะเวลาที่ กาหนด เช่น 3 วัน 7 วัน หรือ 15 วัน เป็นต้น

26.03%

ไม่มีการเปิดเผยกระบวนการใด ๆ ในการรับ เรื่องร้องเรียน

23.29%

บริษัทที่มีความพร้อมระดับมาก ส่วนใหญ่มีการเปิดเผยกระบวนการจัดการข้อร้องเรียน คิดเป็นร้อย ละ 69.23 มีการเปิดเผยกระบวนการเพิกถอนข้อร้องเรียน คิดเป็นร้อยละ 14.29 มีการเปิดเผยนโยบายการ รายงานความคืบหน้าแก่ผู้ร้องเรียนภายในระยะเวลาที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 35.71 และไม่มีการเปิดเผย กระบวนการใด ๆ ในการรับเรื่องร้องเรียน คิดเป็นร้อยละ 30.77 บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง ส่วนใหญ่มีการเปิดเผยกระบวนการจัดการข้อร้องเรียน คิดเป็น ร้อยละ 59.09 มีการเปิดเผยกระบวนการเพิกถอนข้อร้องเรียน คิดเป็นร้อยละ 9.09 มีการเปิดเผยนโยบายการ รายงานความคืบหน้าแก่ผู้ร้องเรียนภายในระยะเวลาที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 40.90 และไม่มีการเปิดเผย กระบวนการใด ๆ ในการรับเรื่องร้องเรียน คิดเป็นร้อยละ 27.27 บริษัทที่มีความพร้อมระดับน้อย ส่วนใหญ่มีการเปิดเผยกระบวนการจัดการข้อร้องเรียน คิดเป็นร้อย ละ 52.38 มีการเปิดเผยนโยบายการรายงานความคืบหน้าแก่ผู้ร้องเรียนภายในระยะเวลาที่กำหนด คิดเป็น ร้อยละ 23.81 และไม่มีการเปิดเผยกระบวนการใด ๆ ในการรับเรื่องร้องเรียน คิดเป็นร้อยละ 33.33 นโยบายห้ามตอบโต้ผู้ร้องเรียนหรือแจ้งข้อกังวลต่อผู้ร้องเรียน หากพิจารณานโยบายห้ามตอบโต้การร้องเรียนหรือแจ้งข้อกังวล พบว่า มีเพียง 19 บริษัท คิดเป็นร้อย ละ 33.33 ที่มีนโยบายห้ามตอบโต้การร้องเรียนหรือแจ้งข้อกังวล รายละเอียดดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 53 ทั้งนี้ หากแบ่งตามระดับความพร้อม พบว่า บริษัทที่มีนโยบายดังกล่าวประกอบด้วยบริษัทที่ความพร้อมระดับ มาก จำนวน 5 บริษัท บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง จำนวน 7 บริษัท และบริษัทที่มีความพร้อมระดับ น้อย จำนวน 7 บริษัท ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ากลไกการคุ้มครองผู้ร้องเรียนของบริษัทยังไม่เข้มแข็งมากพอ 3-47


แผนภาพที่ 3 - 53 นโยบายห้ามตอบโต้ผู้ร้องเรียนหรือแจ้งข้อกังวลต่อผู้ร้องเรียน (หน่วย: ร้อยละ) N = 57

มีนโยบายห้ามตอบโต้ การร้องเรียนหรือแจ้ง ข้อกังวล 33.33%

ไม่มีนโยบายห้าม ตอบโต้การร้องเรียน หรือแจ้งข้อกังวล 66.67%

นโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้ร้องเรียน ผลการสำรวจ พบว่า มี 41 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 71.93 ที่มีนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้ ร้องเรียน แต่ไม่มีกลไกรับเรื่องร้องเรียนผ่านเอ็นจีโอ มีบริษัท 9 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 15.79 ที่มีนโยบาย คุ้มครองความเป็นส่วนตัวและมีกลไกรับเรื่องร้องเรียนผ่านเอ็นจีโอ และมีเพียง 7 บริษัท ที่ไม่มีนโยบาย คุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้ร้องเรียน ซึง่ คิดเป็นร้อยละ 12.28 รายละเอียดดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 54 แผนภาพที่ 3 - 54 นโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้ร้องเรียน (หน่วย: ร้อยละ) N = 57

ไม่มีนโยบายคุ้มครองความเป็น ส่วนตัวของผู้ร้องเรียน 12.28%

มีนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว ของผู้ร้องเรียน แต่ไม่มีกลไกรับเรื่อง ร้องเรียนผ่านเอ็นจีโอ 71.93%

มีนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว ของผู้ร้องเรียน และมีกลไกรับเรื่อง ร้องเรียนผ่านเอ็นจีโอ 15.79%

3-48


ทั้งนี้ สามารถแจกแจงนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้ร้องเรียนของบริษัท ตามระดับความ พร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้ดังต่อไปนี้ บริษัทที่มีความพร้อมระดับมาก ส่วนใหญ่มีนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว แต่ไม่มีกลไกรับเรื่อง ร้องเรียนจากเอ็นจีโอ จำนวน 12 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 85.71 มีนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและมีกลไก รับเรื่องร้องเรียนจากเอ็นจีโอ จำนวน 1 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 7.14 และไม่มีนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว จำนวน 1 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 7.14 บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง ส่วนใหญ่มีนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว แต่ไม่มีกลไกรับ เรื่องร้องเรียนจากเอ็นจีโอ จำนวน 15 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 68.18 มีนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและมี กลไกรับเรื่องร้องเรียนจากเอ็นจีโอ จำนวน 3 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 13.64 และไม่มีนโยบายคุ้มครองความเป็น ส่วนตัว จำนวน 4 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 18.18 บริษัทที่มีความพร้อมระดับน้อย ส่วนใหญ่มีนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว แต่ไม่มีกลไกรับเรื่อง ร้องเรียนจากเอ็นจีโอ จำนวน 14 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 66.67 มีนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและมีกลไก รับเรื่องร้องเรียนจากเอ็นจีโอ จำนวน 5 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 23.81 และไม่มีนโยบายคุ้มครองความเป็น ส่วนตัว จำนวน 2 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 9.52 นโยบายเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน แม้ว่าบริษัทส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับกลไก/ช่องทางรับเรื่องร้องเรียนค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม นโยบายเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอาจยังไม่ถูกให้ความสำคัญมากเท่ากลไก/ช่องทางดังกล่าวของบริษัท โดยผลสำรวจพบว่ามีบ ริษัทเพียง 26 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 45.61 ที่มีนโยบายเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิ ทธิ มนุษยชน และมี 31 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 54.39 ที่ไม่มีนโยบายเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน รายละเอียด ดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 55

3-49


แผนภาพที่ 3 - 55 นโยบายเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน (หน่วย: ร้อยละ) N = 57

มีนโยบายเยียวยาผู้ ถูกละเมิดสิทธิ มนุษยชน 45.61%

ไม่มีนโยบายเยียวยา ผู้ถูกละเมิดสิทธิ มนุษยชน 54.39%

ทั้งนี้ สามารถแจกแจงนโยบายเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนของบริษัทตามระดับความพร้อมใน การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้ดังต่อไปนี้ บริษัทที่มีความพร้อมระดับ มาก มีนโยบายเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ไม่เปิดเผยต่อ สาธารณะ จำนวน 3 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 21.42 และมีจำนวน 1 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 7.14 ที่มี นโยบาย เยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน พร้อมทั้งเปิดเผยต่อสาธารณะ นอกจากนั้น อีก 10 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 71.42 ไม่มีนโยบายเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง มีนโยบายเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิ มนุษยชน แต่ไม่เปิดเผยต่อ สาธารณะ จำนวน 6 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 27.27 และมีจำนวน 6 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 27.27 ที่มีนโยบาย เยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน พร้อมทั้งเปิดเผยต่อสาธารณะ นอกจากนั้น อีก 10 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 45.46 ไม่มีนโยบายเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน บริษัทที่มีความพร้อมระดับ น้อย มีนโยบายเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ไม่เปิดเผยต่อ สาธารณะ จำนวน 9 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 42.86 และมีจำนวน 1 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 4.76 มีนโยบาย เยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน พร้อมทั้งเปิดเผยต่อสาธารณะ นอกจากนั้น อีก 11 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 52.38 ไม่มีนโยบายเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนบริษัทที่มีกลไก/ช่องทางรับเรื่องร้องเรียนแล้ว บริษัทที่มีนโยบายเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุ ษยชนมีจำนวนน้อยกว่า นอกจากนี้ บริษัทยังมีการเปิดเผย นโยบายดังกล่าวต่อสาธารณะในระดับที่ค่อนข้างน้อย 3-50


การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับข้อร้องเรียน จากการสำรวจการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับข้อร้องเรียน (บริษัทสามารถตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) พบว่า บริษัทส่วนใหญ่มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับข้อร้องเรียน จำนวน 36 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 63.16 และบริษัทที่ ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลมี จำนวน 21 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 36.84 ดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 56 แผนภาพที่ 3 - 56 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับข้อร้องเรียน (หน่วย: บริษัท) N = 57 ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับข้อ ร้องเรียนเป็นรายปี 36.84%

มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อร้องเรียนเป็นรายปี 63.16%

บริษัทที่มีความพร้อมระดับมาก บริษัทที่มีความพร้อมอยู่ในระดับนี้มีการเปิดเผยข้อมูลรายปีใน รูปแบบของข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อร้องเรียนที่บริษัทมีการจัดการ จำนวน 5 บริษัท ข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อร้องเรียนที่ บริษัทปฏิเสธที่จะจัดการ จำนวน 1 บริษัท ข้อมูลที่เกี่ยวกับเหตุผลที่บริษัทปฏิเสธที่จะจัดการกับข้อร้องเรียน จำนวน 1 บริษัท และข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์และการติดตามผลของข้อร้องเรียนซึ่งเป็นที่สิ้นสุดแล้ว จำนวน 5 บริษัท บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง บริษัทที่มีความพร้อมอยู่ในระดับนี้มีการเปิดเผยข้อ มูลรายปีใน รูปแบบของข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อร้องเรียนที่บริษัทมีการจัดการ จำนวน 8 บริษัท ข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อร้องเรียนที่ บริษัทปฏิเสธที่จะจัดการ จำนวน 1 บริษัท และข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์และการติดตามผลของข้อร้องเรียนซึ่ง เป็นที่สิ้นสุดแล้ว จำนวน 9 บริษัท บริษัทที่มีความพร้อมระดับน้อย บริษัทที่มีความพร้อมอยู่ในระดับนี้มีการเปิดเผยข้อมูลรายปีใน รูปแบบของข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อร้องเรียนที่บริษัทมีการจัดการ จำนวน 11 บริษัท ข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อร้องเรียนที่ บริษัทปฏิเสธที่จะจัดการ จำนวน 3 บริษัท ข้อมูลที่เกี่ยวกับเหตุผลที่บริษัทปฏิเสธที่จะจัดการกับข้อร้องเรียน จำนวน 4 บริษัท และข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์และการติดตามผลของข้อร้องเรียนซึ่งเป็นที่สิ้นสุดแล้ว จำนวน 6 บริษัท รายละเอียดดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 57 3-51


แผนภาพที่ 3 - 57 รูปแบบข้อมูลเกี่ยวกับข้อร้องเรียนที่ทำการเปิดเผย จำแนกตามระดับความพร้อม (หน่วย: บริษัท) เปิดเผยรายปี ข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์และการ ติดตามผลสาหรับข้อร้องเรียนซึ่งเป็นที่สิ้นสุดแล้ว

0

เปิดเผยรายปี ข้อมูลเกี่ยวกับข้อร้องเรียนที่บริษัท ปฏิเสธที่จะจัดการ

4 1

1 1

3

เปิดเผยรายปี ข้อมูลเกี่ยวกับข้อร้องเรียนที่มีการ จัดการ

ระดับมาก

11

8

5 7 7 7

ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับข้อร้องเรียนเป็นราย ปี ระดับปานกลาง

9

5

เปิดเผยรายปี ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุผลในกรณีที่ บริษัทปฏิเสธที่จะจัดการกับข้อร้องเรียน

ระดับน้อย

N = 75

6

0

5

10

15

การถอดบทเรียนจากเรื่องร้องเรียน จากผลสำรวจ พบว่า บริษัทมีการถอดบทเรียนจากเรื่องร้องเรียนและนำไปปรับปรุงการดำเนินงาน ด้านสิทธิมนุษยชน จำนวน 28 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 49.12 โดยแบ่งเป็นบริษัทที่มี ความพร้ อมในการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านระดับมาก จำนวน 6 บริษัท บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง จำนวน 10 บริษัท และบริษัทที่มีความพร้อมระดับน้อย จำนวน 12 บริษัท และไม่มีการถอดบทเรียน จำนวน 29 บริษัท ซึง่ คิดเป็นร้อยละ 50.88 ดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 58

3-52


แผนภาพที่ 3 - 58 การถอดบทเรียนจากเรื่องร้องเรียน (หน่วย: บริษัท)

มีกระบวนการถอดบทเรียน จากเรื่องร้องเรียนรายปี และ นาไปปรับปรุงการดาเนินงาน ด้านสิทธิมนุษยชน 49.12%

ไม่มีกระบวนการถอด บทเรียนจากเรื่องร้องเรียน รายปี 50.88%

3-53


3.2.3 การกำหนดให้คู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานเคารพสิทธิมนุษยชน บริษัทที่ทำการตอบแบบสำรวจมีนโยบายกำหนดให้คู่ค้าประกาศนโยบาย/คำมั่นต่อสาธารณะในการ เคารพหลักการเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน จำนวน 16 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 28.07 มีบริษัทที่ไม่กำหนดให้คู่ค้า ประกาศนโยบายหรือให้คำมั่นต่อสาธารณะเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน จำนวน 30 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 52.63 และมีบริษัทที่ไม่มีข้อมูลในเรื่องนี้ จำนวน 11 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 19.30 โดยแบ่งตามระดับความพร้อมใน การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้ดังนี้ บริษัทที่มีความพร้อมระดับมาก โดยหลักการหรือมาตรฐานระดับสากลที่บริษัทที่มีความพร้อมระดับ มากกำหนดให้คู่ค้าเคารพผ่านการประกาศนโยบายหรือคำมั่นด้านสิทธิมนุษยชน ได้แก่ หลักการปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จำนวน 2 บริษัท และหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ จำนวน 1 บริษัท บริษัทมีการอ้างอิงมาตรฐานแรงงานตามอนุสัญญาหลัก 8 ฉบับขององค์การแรงงานระหว่าง ประเทศ จำนวน 2 บริษัท และไม่มีบริษัทใดอ้างอิงแนวปฏิบัติของ OECD สำหรับบรรษัทข้ามชาติ บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง โดยหลักการหรือมาตรฐานระดับสากลที่บริษัทที่มีความพร้อม ระดับปานกลางกำหนดให้คู่ค้าเคารพผ่านการประกาศนโยบายหรือคำมั่นด้านสิทธิมนุษยชน ได้แก่ หลักการ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จำนวน 4 บริษัท และหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของ สหประชาชาติ จำนวน 4 บริษัท บริษัทมีการอ้างอิงมาตรฐานแรงงานตามอนุสัญญาหลัก 8 ฉบับขององค์การ แรงงานระหว่างประเทศ จำนวน 3 บริษัท และอ้างอิงแนวปฏิบัติของ OECD สำหรับบรรษัทข้ามชาติ จำนวน 2 บริษัท บริษัทที่มีความพร้อมระดับน้อย โดยหลักการหรือมาตรฐานระดับสากลที่บริษัทที่มีความพร้อมระดับ น้อยกำหนดให้คู่ค้าเคารพผ่านการประกาศนโยบายหรือคำมั่นด้านสิทธิมนุษยชน ได้แก่ หลักการปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จำนวน 3 บริษัท และหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ จำนวน 3 บริษัท บริษัทมีการอ้างอิงมาตรฐานแรงงานตามอนุสัญญาหลัก 8 ฉบับขององค์การแรงงานระหว่าง ประเทศ จำนวน 2 บริษัท และอ้างอิงแนวปฏิบัติของ OECD สำหรับบรรษัทข้ามชาติ จำนวน 2 บริษัท นอกจากนี้ คณะวิจัยสำรวจข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชนที่บริ ษัทกำหนดให้ค ู่ ค้า ดำเนินงานตาม โดยประกอบด้วยประเด็นดังต่อไปนี้ การกำหนดเพดานชั่วโมงในการทำงาน จากผลสำรวจ พบว่า บริษัทจำนวน 25 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 43.86 ไม่ได้กำหนดให้คู่ค้าต้องมีการ กำหนดชั่วโมงการทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รวมการทำงานล่วงเวลา) นอกจากนั้น มี 22 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 38.60 ไม่ทราบข้อมูลเรื่องข้อกำหนดเรื่องเพดานชั่วโมงการทำงานที่ บริษัทมีต่อคู่ค้า ทั้งนี้ มีเพี ยง 10 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 17.54 ของผู้ตอบแบบสำรวจที่ระบุว่าบริษัทมีการ กำหนดให้คู่ค้ากำหนดเพดานชั่วโมงในการทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รวม การทำงานล่วงเวลา) ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 59 3-54


แผนภาพที่ 3 - 59 การกำหนดเพดานชั่วโมงการทำงาน (คู่ค้า) (หน่วย: ร้อยละ) N = 57 กาหนด 17.54%

ไม่กาหนด 43.86%

ไม่ทราบ/ไม่มี ข้อมูล 38.60%

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณานโยบายการกำหนดเพดานชั่วโมงการทำงานของบริษัทที่มีต่อคู่ค้า จำแนกตาม ระดับความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน มีรายละเอียดดังนี้ บริษัทที่มีความพร้อมระดับมาก ผู้ตอบแบบสำรวจไม่มีข้อมูลเรื่องการกำหนดเพดานชั่วโมงการทำงาน ไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รวมการทำงานล่วงเวลา) ที่บริษัทมีต่อคู่ค้า คิดเป็นร้อย ละ 42.86 รองลงมา คือ กำหนดเพดานชั่วโมงการทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือ 60 ชั่วโมงต่อ สัปดาห์ (รวมการทำงานล่วงเวลา) คิดเป็นร้อยละ 28.57 และไม่กำหนดเพดานชั่วโมงการทำงาน ในสัดส่วนที่ เท่ากัน คือ ร้อยละ 28.57 บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง ส่วนใหญ่บริษัทไม่กำหนดให้คู่ค้ากำหนดเพดานชั่วโมงการ ทำงาน คิดเป็นร้อยละ 50.00 รองลงมา คือ ผู้ตอบแบบสำรวจไม่ทราบข้อมูลนี้ คิดเป็นร้อยละ 36.36 และ กำหนดเพดานชั่วโมงการทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รวมการทำงาน ล่วงเวลา) กับบริษัทคู่ค้า เพียงร้อยละ 13.64 บริษัทที่มีความพร้อมระดับน้อย บริษัทไม่กำหนดให้คู่ค้ากำหนดเพดานชั่วโมงการทำงาน คิดเป็นร้อย ละ 47.62 รองลงมา คือ ผู้ตอบแบบสำรวจไม่ทราบข้อมูลนี้ คิดเป็นร้อยละ 38.10 และกำหนดเพดานชั่วโมง การทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รวมการทำงานล่วงเวลา) กับบริษัทคู่ค้า เพียงร้อยละ 14.29 การกำหนดนโยบายการทำงานล่วงเวลา จากผลสำรวจ พบว่า บริษัทไม่ได้กำหนดให้คู่ค้ามีนโยบายการทำงานล่วงเวลาว่าต้องได้รับความ ยินยอมจากแรงงานและจ่ายค่าตอบแทนในอัตราพิเศษ จำนวน 26 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 45.61 รองลงมา คือ ผู้ตอบแบบสำรวจไม่ทราบว่าบริษัทมีข้อกำหนดดังกล่าว จำนวน 21 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 36.84 และบริษัท 3-55


กำหนดให้คู่ค้ากำหนดเงื่อนไขว่าการทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอมจากแรงงาน แต่ไม่จ่ายค่าตอบแทน ในอัตราพิเศษ จำนวน 10 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 17.54 ดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 60 แผนภาพที่ 3 - 60 การกำหนดนโยบายการทำงานล่วงเวลา (คู่ค้า) (หน่วย: ร้อยละ) N = 57

กาหนด 17.54% ไม่กาหนด 45.62% ไม่ทราบ/ไม่มี ข้อมูล 36.84%

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณานโยบายการทำงานล่วงเวลาที่บริษัทกำหนดต่อคู่ค้า จำแนกตามระดับความพร้อม ในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน มีรายละเอียดดังนี้ บริษัทที่มีความพร้อมระดับมาก ผู้ตอบแบบสำรวจไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดว่าการทำงานล่วงเวลา ต้องได้รับความยินยอมจากแรงงานและจ่ายค่าตอบแทนในอัตราพิเศษที่บริษัทมีต่อคู่ค้า คิดเป็นร้อยละ 42.86 นอกจากนั้น บริษัทระบุว่ามีและไม่มี การกำหนดเรื่องการทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอมจากแรงงาน และจ่ายค่าตอบแทนในอัตราพิเศษกับคู่ค้าในสัดส่วนเท่ากัน คือ ร้อยละ 28.57 บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง ไม่มีการกำหนดว่าการทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอม จากแรงงานและจ่ายค่าตอบแทนในอัตราพิเศษกับคู่ค้าของบริษัท คิดเป็นร้อยละ 54.55 รองลงมา คือ ผู้ตอบ แบบสำรวจไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดในเรื่องดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 31.82 ทั้งนี้ มีเพียงร้อยละ 13.64 ที่ กำหนดเงื่อนไขเรื่องการทำงานล่วงเวลาว่าต้องได้รับความยินยอมจากแรงงานและจ่ายค่าตอบแทนในอัตรา พิเศษกับคู่ค้าของบริษัท บริษัทที่มีความพร้อมระดับน้อย ไม่มีการกำหนดเงื่อนไขว่าการทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอม จากแรงงานและจ่ายค่าตอบแทนในอัตราพิเศษกับคู่ค้าของบริษัท คิดเป็นร้อยละ 47.62 รองลงมา คือ ผู้ตอบ แบบสำรวจไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดทีเ่ กี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 38.10 ทั้งนี้ มีเพียงร้อยละ 14.29 ที่กำหนดเงื่อนไขเรื่องการทำงานล่วงเวลาว่าต้องได้รับความยินยอมจากแรงงานและจ่ายค่าตอบแทนใน อัตราพิเศษกับคู่ค้าของบริษัท

3-56


นโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชนพื้นเมือง/ชุมชนท้องถิ่น จากผลสำรวจ พบว่า บริษัทไม่มีการกำหนดให้คู่ค้าจัดทำนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชน พื้นเมือง/ชุมชนท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอ ทั้งก่อนและระหว่างการก่อสร้างหรือการดำเนินโครงการ จำนวน 26 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 45.61 และมีเพียง 7 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 12.28 ที่กำหนดให้คู่ค้ามีนโยบายดังกล่าว นอกจากนั้น อีก 24 บริษัท คิดเป็นร้ อยละ 42.11 ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดดังกล่าวที่บริษัทมีต่อคู่ค้า ดัง แสดงในแผนภาพที่ 3 - 61 แผนภาพที่ 3 - 61 นโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชนพื้นเมือง/ชุมชนท้องถิ่น (คู่ค้า) (หน่วย: ร้อยละ) N = 57

กาหนด 12.28% ไม่กาหนด 45.61% ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล 42.11%

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณานโยบายการปรึกษาหารือกับกลุ่มกลุ่มชาติพันธุ์/ชนพื้นเมือง/ชุมชนท้องถิ่น จำแนก ตามระดับความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน มีรายละเอียดดังนี้ บริษัทที่มีความพร้อมระดับ มาก ราวร้อยละ 42.86 ของผู้ตอบแบบสำรวจไม่มีข้อมูล เรื่อ งการ กำหนดให้คคู่ ้าจัดทำนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชนพื้นเมือง/ชุมชนท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอ ทั้งก่อน และระหว่างการก่อสร้างหรือการดำเนินโครงการ นอกจากนั้น บริษัทระบุว่ามีและไม่มีข้อกำหนดเรื่องดังกล่าว กับคู่ค้าในสัดส่วนทีเ่ ท่ากัน คือ ร้อยละ 28.57 บริษัทที่มีความพร้อมระดับ ปานกลาง ราวร้อยละ 59.09 ไม่มีข้อกำหนดให้คู่ค้าต้องมีนโยบาย ปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชนพื้นเมือง/ชุมชนท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอ ทั้งก่อนและระหว่างการก่อสร้างหรือ การดำเนินโครงการ รองลงมา คือ ผู้ตอบแบบสำรวจไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดเรื่องดังกล่าว ร้อยละ 36.36 ทั้งนี้ มีเพียงร้อยละ 4.55 ที่มีการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวกับคู่ค้าของบริษัท บริษัทที่มีความพร้อมระดับ น้อย ราวร้อยละ 47.62 ของผู้ตอบแบบสำรวจไม่มีข้อมูล เรื่องการ กำหนดให้คู่ค้าจัดทำนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชนพื้นเมือง/ชุมชนท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอ ทั้งก่อน 3-57


และระหว่างการก่อสร้างหรือการดำเนินโครงการ รองลงมา คือ ไม่มีการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวกับคู่ค้าของ บริษัท คิดเป็นร้อยละ 42.86 ทั้งนี้ มีเพียงร้อยละ 9.52 ที่มีการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวให้กับคู่ค้าของบริษัท กล่าวโดยสรุป เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจจากบริษัททุกระดับความพร้อมส่วน ใหญ่ไม่ค่อยรู้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดที่ระบุให้คู่ค้าของบริษัทจัดทำนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์ / ชนพื้นเมือง/ชุมชนท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอ ทัง้ ก่อนและระหว่างการก่อสร้างหรือการดำเนินโครงการ การรับเรื่องร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากผลสำรวจ พบว่า บริษัทไม่ได้กำหนดให้คู่ค้ามีช่องทางอย่างน้อยหนึ่งช่องทาง เพื่อรับข้อร้องเรียน จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม จำนวน 25 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 43.86 และมีเพียง 12 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 21.05 ที่กำหนดให้คู่ค้ามีนโยบายดังกล่าว นอกจากนั้น อีก 20 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 35.09 ไม่มีข้อมูล เกี่ยวกับข้อกำหนดดังกล่าวที่บริษัทมีต่อคู่ค้า แผนภาพที่ 3 - 62 การรับเรื่องร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (คู่ค้า) (หน่วย: ร้อยละ) N = 57

กาหนด 21.05% ไม่กาหนด 43.86% ไม่ทราบ/ไม่มี ข้อมูล 35.09%

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณานโยบายเรื่องช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน จำแนกตามระดับความพร้อมในการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน มีรายละเอียดดังนี้ บริษัทที่มีความพร้อมระดับมาก ราวร้อยละ 42.86 กำหนดให้คู่ค้าของบริษัทต้องมีช่องทางอย่างน้อย หนึ่งช่องทาง เพื่อรับข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม รองลงมา คือ ร้อยละ 35.71 ของผู้ตอบแบบ สำรวจไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดดังกล่าว และร้อยละ 21.43 ไม่กำหนดให้คู่ค้าต้องมีช่องทางอย่างน้อยหนึ่ง ช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

3-58


บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง ราวร้อยละ 59.09 ไม่มีข้อกำหนดให้คู่ค้าต้องมีช่องทางในการ รับเรื่องร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างน้อยหนึ่งช่องทาง รองลงมา คือ ผู้ตอบแบบสำรวจไม่มีข้อมูล เกี่ยวกับข้อกำหนดดังกล่าว ร้อยละ 31.82 ทั้งนี้ มีเพียงร้อยละ 9.09 ที่มีการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวกับคู่ค้า ของบริษัท บริษัทที่มีความพร้อมระดับน้อย ราวร้อยละ 42.86 ไม่กำหนดให้คู่ค้าของบริษัทต้องมีช่องทางอย่าง น้อยหนึ่งช่องทาง เพื่อรับข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม รองลงมา คือ ร้อยละ 38.10 ของผู้ตอบ แบบสำรวจไม่มีข้อมูลเรื่องการกำหนดนโยบายดังกล่าว และมีเพียงร้อยละ 19.05 ไม่มีการกำหนดเงื่อนไข ดังกล่าวกับคู่ค้าของบริษัท การเปิดเผยกระบวนการจัดการกับข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อสาธารณะ จากผลสำรวจ พบว่า บริษัทกำหนดให้คู่ค้าเปิดเผยกระบวนการจัดการกับข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียต่อสาธารณะ จำนวน 6 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 10.53 มีบริษัทที่ไม่กำหนดให้คู่ค้าเปิดเผยกระบวนการ จัดการกับข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 28 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 49.12 และมีบริษัทที่ไม่ทราบ ข้อมูล จำนวน 23 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 40.35 ดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 63 แผนภาพที่ 3 - 63 การเปิดเผยกระบวนการจัดการกับข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (คู่ค้า) (หน่วย: ร้อยละ) N = 57

กาหนด 10.53%

ไม่กาหนด 49.12%

ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล 40.35%

บริษัทที่มีความพร้อมระดับมาก มีการกำหนดให้คู่ค้าเปิดเผยกระบวนการจัดการกับข้อร้องเรียนจากผู้ มีส่วนได้ส่วนเสียต่อสาธารณะ จำนวน 3 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 31.43 และมีบริษัทที่ไม่กำหนดให้คู่ค้ากำหนด นโยบายการเปิดเผยกระบวนการจัดการกับข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อสาธารณะ จำนวน 5 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 35.71 และบริษัทที่ไม่มีข้อมูล เกี่ยวกับข้อกำหนดดังกล่าว จำนวน 6 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 42.86 3-59


บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง มีการกำหนดให้คู่ค้าเปิดเผยกระบวนการจัดการกับข้อร้องเรียน จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่อสาธารณะ จำนวน 2 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 9.09 และมีบริษัทที่ไม่กำหนดให้คู่ค้า กำหนดนโยบายการเปิดเผยกระบวนการจัดการกับข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อสาธารณะ จำนวน 13 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 31.82 และบริษัทที่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดดังกล่าว จำนวน 7 บริษัท คิดเป็นร้อย ละ 59.07 บริษัทที่มีความพร้อมระดับน้อย มีการกำหนดให้คู่ค้าเปิดเผยกระบวนการจัดการกับข้อร้องเรียนจากผู้ มีส่วนได้ส่วนเสียต่อสาธารณะ จำนวน 1 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 4.76 และมีบริษัทที่ไม่กำหนดให้คู่ค้ากำหนด นโยบายการเปิดเผยกระบวนการจัดการกับข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อสาธารณะ จำนวน 10 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 47.26 และบริษัทที่ไม่มีข้อมูล เกี่ยวกับข้อกำหนดดังกล่าว จำนวน 10 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 47.26 นโยบายเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนในทางลบ จากการสำรวจ พบว่า มีบริษัทที่กำหนดให้คู่ค้ากำหนดนโยบายเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านสิทธิ มนุษยชนในทางลบ ในกรณีที่คู่ค้าก่อให้เกิดหรือมีส่วนก่อให้เกิดผลกระทบดังกล่าว จำนวน 6 บริษัท คิดเป็น ร้อยละ 10.53 มีบริษัทที่ไม่กำหนดให้คู่ค้ากำหนดนโยบายเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนในทาง ลบ จำนวน 26 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 45.61 และมีบริษัทที่ไม่ทราบข้อมูล เกี่ยวกับข้อกำหนดดังกล่าว จำนวน 25 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 43.86 ดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 64 แผนภาพที่ 3 - 64 นโยบายเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนในทางลบ (คู่ค้า) (หน่วย: ร้อยละ) N = 57

กาหนด 10.53% ไม่กาหนด 45.61%

ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล 43.86%

3-60


บริษัทที่มีความพร้อมระดับมาก มีการกำหนดให้คู่ค้ากำหนดนโยบายเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบด้าน สิทธิมนุษยชนในทางลบ จำนวน 3 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 21.43 และมีบริษัทที่ไม่กำหนดให้คู่ค้ากำหนด นโยบายเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนในทางลบ จำนวน 5 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 35.71 และ บริษัทที่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดดังกล่าว จำนวน 6 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 42.86 บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง มีการกำหนดให้คู่ค้ากำหนดนโยบายเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ ด้านสิทธิมนุษยชนในทางลบ จำนวน 1 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 4.55 และมีบริษัทที่ไม่กำหนดให้คู่ค้ากำหนด นโยบายเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนในทางลบ จำนวน 12 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 54.55 และ บริษัทที่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดดังกล่าว จำนวน 9 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 40.91 บริษัทที่มีความพร้อมระดับน้อย มีการกำหนดให้คู่ค้ากำหนดนโยบายเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบด้าน สิทธิมนุษยชนในทางลบ จำนวน 2 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 9.52 และมีบริษัทที่ไม่กำหนดให้คู่ค้ากำหนดนโยบาย เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนในทางลบ จำนวน 9 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 54.55 และบริษัทที่ ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดดังกล่าว จำนวน 10 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 9.52 นโยบายการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน จากการสำรวจ พบว่า บริษัทกำหนดให้คู่ค้าประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน จำนวน 7 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 12.28 มีบริษัทที่ไม่กำหนดให้คู่ค้าประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิ มนุษยชน จำนวน 27 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 47.37 และมีบริษัทที่ไม่ทราบข้อมูล เกี่ยวกับข้อกำหนดดังกล่าว จำนวน 23 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 40.35 ดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 65 แผนภาพที่ 3 - 65 นโยบายการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน (คู่ค้า) (หน่วย: ร้อยละ)

N = 57

กาหนด 12.28%

ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล 40.35%

3-61

ไม่กาหนด 47.37%


บริษัทที่มีความพร้อมระดับมาก มีการกำหนดให้คู่ค้าประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิ มนุษยชน จำนวน 4 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 28.57 และมีบริษัทที่ไม่กำหนดให้คู่ค้าประเมินความเสี่ยงและ ผลกระทบด้านสิทธิมนุ ษยชน จำนวน 4 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 28.57 และบริษัทที่ไ ม่มี ข้ อ มูล เกี่ ย วกั บ ข้อกำหนดดังกล่าว จำนวน 6 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 42.86 บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง มีการกำหนดให้คู่ค้าประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิ มนุษยชน จำนวน 2 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 9.09 และมีบริษัทที่ไม่กำหนดให้คู่ค้าประเมินความเสี่ยงและ ผลกระทบด้านสิท ธิมนุษยชน จำนวน 13 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 59.09 และบริษัทที่ไม่มีข้อมูล เกี่ยวกับ ข้อกำหนดดังกล่าว จำนวน 7 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 31.82 บริษัทที่มีความพร้อมระดับน้อย มีการกำหนดให้คู่ค้าประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิ มนุษยชน จำนวน 1 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 4.76 และมีบริษัทที่ไม่กำหนดให้คู่ค้าประเมินความเสี่ยงและ ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน จำนวน 10 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 47.62 และบริษัทที่ไม่มีข้อมูล เกี่ยวกับ ข้อกำหนดดังกล่าว จำนวน 10 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 47.62 กระบวนการติดตามหรือตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของคู่ค้า บริษัทมีกระบวนการติดตามหรือตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของคู่ค้า จำนวน 16 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 28.07 ไม่มีกระบวนการติดตามหรือตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของคู่ค้า จำนวน 30 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 52.63 และมีบริษัทที่ไม่ทราบข้อมูล จำนวน 11 บริษัท คิดเป็น ร้อยละ 19.30 โดยบริษัทที่มีการติดตามการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของคู่ค้าแบ่งเป็นบริษัทที่มีความพร้อมในการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านระดับมาก จำนวน 5 บริษัท บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลาง จำนวน 7 บริษัท และบริษัทที่มีความพร้อมระดับน้อย จำนวน 4 บริษัท ดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 66

3-62


แผนภาพที่ 3 - 66 กระบวนการติดตามหรือตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของคู่ค้า (หน่วย: ร้อยละ) N = 57 ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล 19.30%

ไม่มีกระบวนการติดตาม ตรวจสอบการดาเนินงานด้านสิทธิ มนุษยชนของคู่ค้า 52.63%

มีกระบวนการจัดทาแผนการติดตาม ตรวจสอบคู่ค้า และดาเนินการตามแผนที่ จัดทาขึ้นทุกปี 28.07%

การนำผลการประเมิ น ความเสี ่ ย งและผลกระทบด้ า นสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนของคู ่ ค ้ า มาพิ จ ารณา ประกอบการตัดสินใจร่วม/ยุติการทำธุรกิจ ผลการสำรวจบริษัทที่นำผลการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของคู่ค้า หรือผล การตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของคู่ค้า มาพิจารณาประกอบการตัดสินใจร่วมทำธุรกิจหรือยุติ การทำธุรกิจกับคู่ค้า พบว่ามีบริษัทที่ตอบแบบสำรวจมีนโยบายดังกล่าว จำนวน 16 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 28.07 ไม่มีนโยบายดังกล่าว จำนวน 23 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 40.35 และบริษัทที่ไม่ทราบข้อมูล จำนวน 18 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 31.58 โดยบริษัทที่มีความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านระดับ มากมีการนำผลการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบมาประกอบการตัดสินใจทำธุรกิจ จำนวน 5 บริษัท มี บริษัทที่มีความพร้อมระดับกลางใช้นโยบายดังกล่าว 7 บริษัท และมีบริษัทที่มีความพร้อมระดับน้อยใช้ นโยบายดังกล่าว 4 บริษัท ดังแสดงในแผนภาพที่ 3-67

3-63


แผนภาพที่ 3 - 67 กระบวนการติดตามหรือตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของคู่ค้า (หน่วย: ร้อยละ) N = 57 มีการนาผลการประเมิน/ตรวจสอบ ด้านสิทธิมนุษยชนมาพิจารณา ประกอบการตัดสินใจร่วมทาธุรกิจ หรือยุติการทาธุรกิจ 28.07%

ไม่มีการนาผลการประเมิน/ตรวจสอบ ด้านสิทธิมนุษยชนมาพิจารณา ประกอบการตัดสินใจร่วมทาธุรกิจ หรือยุติการทาธุรกิจ 40.35%

ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล 31.58%

3-64


3.3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ในส่วนนี้ คณะวิจัยสอบถามบริษัทถึงปัจจัยที่ส่งเสริมหรือส่งผลต่อการดำเนินกระบวนการตรวจสอบ ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยผลการสำรวจจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นบริษัทที่ระบุว่าเคยดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน และกลุ่มที่สองเป็นบริษัทที่ระบุ ว่าไม่เคยตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ดังแสดงในแผนภาพที่ 3 - 68 แผนภาพที่ 3 - 68 สัดส่วนของบริษัทที่มีการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน N = 57 มีการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้าน 40.35%

ไม่มีการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน 59.65%

บริษัทที่ระบุว่าเคยดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน มีจำนวน 23 บริษัท คิด เป็นร้อยละ 40.35 โดยบริษัทในกลุ่มนี้จะต้องพิจารณาความสำคัญของปัจจัยที่ มีส่วนผลักดันหรือส่งผลต่อการ ดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กร โดยการให้คะแนนตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ระดับความสำคัญ ไม่สำคัญ สำคัญบ้าง สำคัญปานกลาง สำคัญมาก สำคัญอย่างยิ่ง

คะแนน 1 2 3 4 5

3-65


โดยสามารถสรุปผลสำรวจในแต่ละประเด็นได้ดังนี้ นโยบาย/กฎหมายในประเทศ ผู้ตอบแบบสำรวจที่เห็นว่านโยบาย/กฎหมายในประเทศเป็นปัจจัยที่มี ความสำคัญมากและสำคัญอย่างยิ่ง มีจำนวน 20 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 86.96 นโยบาย/กฎหมายต่างประเทศ ผู้ตอบแบบสำรวจที่เห็นว่านโยบาย/กฎหมายต่างประเทศเป็นปัจจัยที่ มีความสำคัญมากและสำคัญอย่างยิ่ง มีจำนวน 16 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 69.57 ความสนใจของผู้บริหาร ผู้ตอบแบบสำรวจที่เห็นว่าความสนใจของผู้บริหารเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญ มากและสำคัญอย่างยิ่ง มีจำนวน 22 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 95.65 ความสนใจของนั ก ลงทุ น ผู ้ ต อบแบบสำรวจที ่ เ ห็ น ว่ า ความสนใจของนั ก ลงทุ น เป็ น ปั จ จั ย ที่มี ความสำคัญมากและสำคัญอย่างยิ่ง มีจำนวน 18 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 78.26 ความต้องการของลูกค้าในประเทศ ผู้ตอบแบบสำรวจที่เห็นว่า ความต้องการของลูกค้าในประเทศ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากและสำคัญอย่างยิ่ง มีจำนวน 19 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 82.61 ความต้องการของลูกค้าต่างประเทศ ผู้ตอบแบบสำรวจที่เห็นว่าความต้องการของลูกค้าต่างประเทศ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากและสำคัญอย่างยิ่ง มีจำนวน 14 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 60.87 เงินทุน/งบประมาณองค์กร ผู้ตอบแบบสำรวจที่เห็นว่า เงินทุน/งบประมาณองค์กรเป็นปัจจัยที่มี ความสำคัญมากและสำคัญอย่างยิ่ง มีจำนวน 20 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 86.96 การขับเคลื่อน/ข้อเรียกร้องของเอ็น จีโ อและภาคประชาสังคม ผู้ตอบแบบสำรวจที่เห็นว่า การ ขับเคลื่อน/ข้อเรียกร้องของเอ็นจีโอและภาคประชาสังคมเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากและสำคัญอย่างยิ่ง มี จำนวน 14 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 60.87 ข้อกำหนดของมาตรฐานความยั่งยืน ผู้ตอบแบบสำรวจที่เห็นว่าข้อกำหนดของมาตรฐานความยั่งยืน เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากและสำคัญอย่างยิ่ง มีจำนวน 20 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 86.96 นอกจากนี้ ผู้ตอบยังระบุปัจจัย อื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน คือ ประเด็นเรื่อง โครงสร้างและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนขององค์กร โดยมองว่าบริษัทควรมีหน่วยงานที่ดูแลรับ ผิดชอบเรื่องสิทธิ มนุษยชนอย่างชัดเจน มีการกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ควรมี การสำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่น ๆ เช่น แรงงาน คู่ค้า พันธมิตรทางธุรกิจ ลูกค้า คู่แข่ง ทางการค้า สื่อมวลชน อีกทั้ง ควรมีกระบวนการติดตามและตรวจสอบเพื่อ ป้องกันไม่ให้บริษัทเข้าไปมีส่วน ร่วมกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน

3-66


สำหรับข้อจำกัดในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านนั้น บริษัทบางส่วนระบุ ว่า ปัญหาที่พบมากที่สุดคือเรื่องความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน ทั้งของคนในองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วน เสียอื่น ๆ เช่น คู่ค้า ของบริษัท บางรายยังไม่เห็นความสำคัญและไม่ให้ความร่วมมือ ในการร่วมตรวจสอบ ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับบริษัท นอกจากนี้ ยังมีข้อจำกัดในเรื่องความรู้ในการออกแบบแบบสำรวจและ การเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากบริษัทที่เคยดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ได้แก่ - หน่วยงานรัฐและองค์กรเอกชนควรตั้งเป้าหมายด้านสิทธิมนุษยชนที่สามารถบรรลุได้และวัดผลได้ - หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องควรสร้างเครื่องมือการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านที่ภาค ธุรกิจสามารถนำมาใช้ประเมินผลได้ด้วยตนเอง เช่น online self-assessment questionnaire รวมถึงเปิดรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากภาคประชาชน (public advisory) และ ภาคเอกชนต่าง ๆ เพื่อใช้พัฒนาเครื่องมือให้เป็นไปตามมาตรฐาน - อยากให้หน่วยงานภาครัฐเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชน ทั่วไป

3-67


ตารางที่ 3 - 8 ระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีส่วนช่วยผลักดันหรือส่งผลต่อการดำเนินกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ปัจจัยที่ผลักดัน/ ส่งผลต่อ HRDD

นโยบาย/กฎหมายใน ประเทศ

นโยบาย/กฎหมาย ต่างประเทศ

ความสนใจของ ผู้บริหาร

ความสนใจของนัก ลงทุน

ความต้องการของ ลูกค้าในประเทศ

ความต้องการของ ลูกค้าต่างประเทศ

เงินทุน/งบประมาณ องค์กร

จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ (บริษัท) (บริษัท) (บริษัท) (บริษัท) (บริษัท) (บริษัท) (บริษัท) ไม่สำคัญ 0 0.00% 2 8.70% 0 0.00% 1 4.35% 0 0.00% 0 0.00% 0 0.00% สำคัญบ้าง 2 8.70% 2 8.70% 1 4.35% 1 4.35% 3 13.04% 5 21.74% 2 8.70% สำคัญปานกลาง 1 4.35% 3 13.04% 0 0.00% 3 13.04% 1 4.35% 4 17.39% 1 4.35% สำคัญมาก 4 17.39% 10 43.48% 5 21.74% 6 26.09% 7 30.43% 6 26.09% 13 56.52% สำคัญอย่างยิ่ง 16 69.57% 6 26.09% 17 73.91% 12 52.17% 12 52.17% 8 34.78% 7 30.43% รวม 23 100.00% 23 100.00% 23 100.00% 23 100.00% 23 100.00% 23 100.00% 23 100.00% ระดับความสำคัญ

3-68

การขับเคลื่อน/ข้อ เรียกร้องของเอ็นจีโอ ข้อกำหนดของ และภาคประชา มาตรฐานความยั่งยืน สังคม จำนวน จำนวน ร้อยละ ร้อยละ (บริษัท) (บริษัท) 0 0.00% 0 0.00% 4 17.39% 1 4.35% 5 21.74% 2 8.70% 8 34.78% 9 39.13% 6 26.09% 11 47.83% 23 100.00% 23 100.00%


บริษัทที่ระบุว่าไม่เคยดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน มีจำนวน 34 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 59.65 ในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่เห็นว่าการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเป็นเรื่อง จำเป็นที่บริษัทต้องดำเนินการภายใน 2-3 ปีข้างหน้า จำนวน 26 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 76.47 ดังแสดงใน แผนภาพที่ 3 - 69 แผนภาพที่ 3 - 69 สัดส่วนของบริษัทที่เห็นว่าการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เป็นเรื่องจำเป็นในอีก 2-3 ปีข้างหน้า (หน่วย: ร้อยละ) N = 34 ไม่จาเป็น 23.53%

จาเป็น 76.47%

บริษัทให้เหตุผลถึง “ความจำเป็น” ในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านขององค์กร ดังนี้ - เป็นการกำกับดูแลกิจการที่ดีทั้งภายในองค์กรและตลอดห่วงโซ่อุปทานของบริษัท และเป็นไปตาม มาตรฐานสากลที่ต้องปฏิบัติตาม - เป็นการเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์และป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน - เป็นการลดความเสี่ยงจากประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กร - เป็นแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กรให้ดีขึ้น โดยรับฟังความคิดเห็น จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ - เป็นประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนทีเ่ ริ่มเป็นที่สนใจของผู้บริโภคและประชาชน

3-69


สำหรับบริษัทที่เห็นว่าการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านยังไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่บริษัทต้อง ดำเนินการภายใน 2-3 ปีข้างหน้า มีจำนวนเพียง 8 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 23.53 โดยบริษัทให้เหตุผลถึง “ความไม่จำเป็น” ในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านขององค์กร ดังนี้ - การประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ถือว่า เพียงพอแล้ว - บริษัทไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนไปถึงคู่ค้า คิดว่าการตรวจสอบ ด้านสิทธิมนุษยชนแค่ภายในบริษัทก็เพียงพอแล้ว หรือหากมีการตรวจสอบก็เลือกเพียงบาง ประเด็นที่จำเป็นเท่านั้น - บริษัทไม่มีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และไม่มีนโยบายละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่แล้ว คณะวิจ ัย สอบถามเพิ่มเติม ถึง อุป สรรคหรือข้อจำกัด ที่บริษั ท อาจต้ องเผชิญหากต้องดำเนิ น การ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านภายใน 2-3 ปี โดยการให้คะแนนตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ระดับความสำคัญ ไม่ใช่อุปสรรค อุปสรรคสำคัญบ้าง อุปสรรคสำคัญปานกลาง อุปสรรคสำคัญมาก อุปสรรคสำคัญอย่างยิ่ง

คะแนน 1 2 3 4 5

โดยสามารถสรุปผลในการสำรวจในแต่ละประเด็นได้ ดังนี้ นโยบาย/กฎหมายในประเทศ ผู้ตอบแบบสำรวจที่เห็นว่านโยบาย/กฎหมายในประเทศเป็นปัจจัยที่ ไม่ใช่อุปสรรคและเป็นอุปสรรคสำคัญบ้าง มีจำนวน 20 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 58.82 นโยบาย/กฎหมายต่างประเทศ ผู้ตอบแบบสำรวจที่เห็นว่านโยบาย/กฎหมายต่างประเทศเป็นปัจจัยที่ ไม่ใช่อุปสรรคและเป็นอุปสรรคสำคัญบ้าง มีจำนวน 18 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 52.94 การสนับสนุนจากภาครัฐ ผู้ตอบแบบสำรวจที่เห็นว่าการสนับสนุนจากภาครัฐเป็นปัจจัยที่ไม่ใช่ อุปสรรคและเป็นอุปสรรคสำคัญบ้าง มีจำนวน 19 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 55.88 การสนับสนุนจากผู้บริหาร ผู้ตอบแบบสำรวจที่เห็นว่าการสนับสนุนจากผู้บริ หารเป็นปัจจัยที่ไม่ใช่ อุปสรรคและเป็นอุปสรรคสำคัญบ้าง มีจำนวน 22 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 64.71 เงินทุน/งบประมาณองค์กร ผู้ตอบแบบสำรวจที่เห็นว่าเงินทุน/งบประมาณองค์กรเป็นปัจจัยที่ เป็น อุปสรรคสำคัญบ้างและอุปสรรคสำคัญปานกลาง มีจำนวน 17 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 50.00 องค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน ผู้ตอบแบบสำรวจที่เห็นว่าองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนเป็นปัจจัยที่ เป็นอุปสรรคสำคัญปานกลางและอุปสรรคสำคัญมาก มีจำนวน 22 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 64.71 3-70


ผู้ตอบยังระบุอุปสรรคหรือข้อจำกัดอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน คือ การ ขาดทักษะความรู้และความเชี่ยวชาญ การขาดแคลนบุคลากรที่จะดำเนินงาน รวมถึงขาดการให้ความร่วมมือ ของพนักงานและคู่ค้าอีกด้วย ขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจบางส่วนเห็นว่า การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง รอบด้านเป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้น และอาจทำให้เสียโอกาสในการดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบด้านมากกว่า นอกจากนี้ บางบริษัทมองว่าการกำหนดให้มีการตรวจสอบดังกล่าวอาจเป็นเงื่อนไขเพื่อกีดกันการค้าหรือ เป็น การเลือกปฏิบัติ คณะวิจัยได้ถามถึงประเด็นที่บริษัทต้องการให้ส่งเสริมหรือสนับสนุนเพิ่มเติม หากบริษัทจะดำเนินการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยสามารถสรุปผลสำรวจได้ดังนี้ - บริษัทต้องการให้มีการสนับสนุน เรื่องความรู้ ความเชี่ยวชาญ บุคลากร โดยอยากให้หน่วยงานรัฐ ให้ความรู้หรือจัดอบรมด้านสิทธิมนุษยชนแก่ภาคเอกชนเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นให้ภาคเอกชนได้ต่อ ยอดความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนต่อไป - บริษัทอยากให้หน่วยงานรัฐออกแนวปฏิบัติที่ชัดเจนจากกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องสิทธิมนุษยชน - บริษัท อยากให้ช ่ว ยส่งเสริม ให้ภ าคเอกชนมี กลไกที่ มี อำนาจต่ อรองกับ คู่ ค้ าเพื่ อ ให้ คู่ ค้ า เห็ น ความสำคัญและเข้าร่วมการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน พร้อมทั้งมีแนวทางการ รับมือกับปัญหาเรื่องการหาคู่ค้าทดแทนในกรณีที่คู่ค้ารายใหญ่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักการด้าน สิทธิมนุษยชนได้ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากบริษัทที่ยังไม่เคยดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านระบุว่า อยากให้ภาครัฐเป็นตัวกลางช่วยผลักดันและสร้างความรู้ และนำเสนอความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนผ่านสื่อของรัฐ

3-71


ตารางที่ 3 - 9 ระดับความสำคัญที่บริษัทให้ในแต่ละปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน อุปสรรคหรือข้อจำกัด หากจะต้อง ดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า ระดับความสำคัญ ไม่ใช่อุปสรรค อุปสรรคสำคัญบ้าง อุปสรรคสำคัญปานกลาง อุปสรรคสำคัญมาก อุปสรรคสำคัญอย่างยิ่ง

นโยบาย/กฎหมายใน ประเทศ

จำนวน (บริษัท) 11 9 7 4 3 รวม 34

ร้อยละ 32.35% 26.47% 20.59% 11.76% 8.82% 100.00%

นโยบาย/กฎหมาย ต่างประเทศ

การสนับสนุนจาก ภาครัฐ

การสนับสนุนจาก ผู้บริหาร

เงินทุน/งบประมาณ องค์กร

องค์ความรู้ด้านสิทธิ มนุษยชน

จำนวน (บริษัท) 11 7 6 7 3 34

จำนวน (บริษัท) 14 5 10 1 4 34

จำนวน (บริษัท) 14 8 7 3 2 34

ร้อยละ

จำนวน (บริษัท)

ร้อยละ

41.18% 23.53% 20.59% 8.82% 5.88% 100.00%

6 10 7 9 2 34

17.65% 29.41% 20.59% 26.47% 5.88% 100.00%

จำนวน (บริษัท) 4 8 11 11 0 34

ร้อยละ 32.35% 20.59% 17.65% 20.59% 8.82% 100.00%

3-72

ร้อยละ 41.18% 14.71% 29.41% 2.94% 11.76% 100.00%

ร้อยละ 11.76% 23.53% 32.35% 32.35% 0.00% 100.00%


3.4 สรุปผลการสำรวจและข้อจำกัดของงานวิจัย จากผลสำรวจความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทในประเทศไทย ในภาพรวม พบว่า บริษัทมีความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านในระดับ ปานกลาง มากที่สุด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ (ร้อยละ 82.46) หรือเป็น บริษัททีจ่ ดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (ร้อยละ 85.96) จึงทำให้การวิเคราะห์ผลสำรวจสะท้อนความพร้อม/ไม่ พร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทขนาดใหญ่เป็นหลัก ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่เกิดขึ้น จากข้อมูลของงานวิจัยนี้ ทั้งนี้ คณะวิจัยเห็นว่าการวิเคราะห์ความพร้อม/ไม่พร้อมของบริษัทขนาดใหญ่สามารถ สะท้อนภาพรวมของบริษัทไทยในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้ เนื่องจากบริษัทขนาดใหญ่ โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะต้องเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมถึง ประเด็ น ด้ า นสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนในแบบ 56-1 One Report อี ก ทั้ ง บริ ษ ั ท ขนาดใหญ่ ม ี ท รั พ ยากร ทั ้ ง ในด้ า น งบประมาณ บุคลากร ที่จะสามารถดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้ ดังนั้น หากบริษัท ขนาดใหญ่เหล่านี้ยังไม่มีความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ก็อาจสะท้อนข้อจำกัด หรืออุปสรรคในการดำเนินการที่บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กจะต้องเผชิญต่อไปได้ นอกจากนี้ คณะวิจัยจะ ใช้ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกมาประกอบการวิเคราะห์ในบทต่อไปด้วย จากผลสำรวจ พบว่า บริษัทส่ว นใหญ่มีก ารประกาศนโยบายสิทธิม นุษยชนและ/หรือ คำมั ่ น ต่ อ สาธารณะว่าจะเคารพหลักการหรือมาตรฐานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน (ร้อยละ 54.39) ซึ่งอ้างอิงหลักการหรือ มาตรฐานระดับสากล เช่น หลักการปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรื อ UDHR) หลั ก การชี้ แ นะว่ า ด้ ว ยธุ ร กิ จ และสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนของสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) เป็ น ต้ น ทั ้ ง นี ้ บริ ษ ั ท กว่ า ครึ ่ ง หนึ ่ ง มี ก ารจั ด ตั้ ง คณะทำงานหรือผู้รับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนโดยตรง และหลายบริษัทกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบตั้งแต่ระดับ ผู้จัดการอาวุโสขึ้นไป ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ในด้านการสื่อสารนโยบายสิทธิมนุษยชน พบว่า บริษัทส่วนใหญ่มีการสื่อสารนโยบายด้านสิ ทธิ มนุษยชนอย่างเฉพาะเจาะจงกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ร้อยละ 54.39) รวมถึงมีการอบรมด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่ง ครอบคลุมทั้งบุคลากรในองค์กร (ผู้บริหารและพนักงาน) รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก อาทิ คู่ค้าในห่วงโซ่ อุปทาน พนักงาน/แรงงานของคู่ค้า ผู้รับเหมา ลูกค้า และชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม บริษัทส่วนใหญ่ยังไม่มีการประกาศนโยบายว่าบริษัทจะไม่ยอมรับการคุกคาม (ร้อยละ 70.18) การข่มขู่ ความรุนแรง การลงโทษ การสอดส่อง หรือการโจมตีทางกายภาพหรือทางกฎหมายต่อนัก ปกป้องสิทธิมนุษยชน และผู้ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก การรวมกลุ่ม การชุมนุม และการประท้วงโดย สงบ รวมทั้งยังไม่มีมาตรการหรือโครงการสนับสนุนการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งสะท้อนให้เห็น ว่าบริษัทส่วนใหญ่ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากนัก นอกจากนี้ บริษัทส่วนใหญ่ยังไม่มีนโยบายการปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์ /ชุมชนท้องถิ่น (ร้อยละ 58) บางบริษัทอาจมีการปรึกษาหารือดังกล่าว แต่ไม่ได้เปิดเผยนโยบายต่อสาธารณะ 3-73


ในด้านการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน จากผลสำรวจ พบว่า มีบริษัทที่ระบุว่าเคย ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน คิดเป็นร้อยละ 47.37 และบริษัทที่ไม่เคยตรวจสอบความเสี่ยงและ ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน คิดเป็นร้อยละ 52.63 อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในรายละเอียด คณะวิจัยพบว่า ผลสำรวจมีความขัดแย้งเกิดขึ้น กล่าวคือ บริษัทที่มีความพร้อมระดับมากส่วนใหญ่ไม่เคยตรวจสอบความเสี่ยง และผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน (ร้อยละ 71.43) และบริษัทที่เคยมีการตรวจสอบก็ได้ดำเนินการเพียง 1 ครั้ง เท่านั้น ขณะที่บริษัทที่มีความพร้อมระดับปานกลางและระดับน้อยกลับมีผลสำรวจที่ระบุว่าเคยตรวจสอบ ความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนมากกว่า 1 ครั้ง ในประเด็นนี้ คณะวิจัยเห็นว่าผลสำรวจที่ขัดแย้ง อาจเกิดจากผู้ตอบแบบสำรวจไม่มี ความรู้หรือความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบความเสี่ยงและ ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ คณะวิจัยจะใช้ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกมาประกอบการ วิเคราะห์ในบทต่อไป สำหรับบริษัทที่ระบุว่ามีการตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนนั้น จะต้องตอบ คำถามว่าบริษัทได้มีการบูรณาการข้อค้นพบจากการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อ กำหนดมาตรการป้องกันหรือบรรเทาความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนหรือไม่ มีการประเมินประสิทธิผลและ ปรับปรุงการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างไร รวมถึงมีการเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนต่อ สาธารณะหรือไม่ จากผลสำรวจ พบว่า บริษัท เกือบครึ่ง มีการบูรณาการข้อค้นพบจากการประเมินความเสี่ย งและ ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน โดยนำผลมาปรับปรุงและป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยมีการกำหนด แผนปฏิบ ัติการและเป้าหมายที่ชัดเจน มีการประเมินประสิทธิผลและปรับปรุงการดำเนินงานด้านสิทธิ มนุษยชนของบริษัท อย่างไรก็ตาม การประเมินประสิทธิผลดังกล่าวเป็นการดำเนินงานภายในองค์กร ยังไม่ได้ มีส่วนร่วมจากเอ็นจีโอหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนมากนัก ทั้งนี้ บริษัทที่ระบุว่ามีการตรวจสอบความ เสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนเกือบครึ่งมีการเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนเป็นรายปี สำหรับการจัดการเรื่องร้องเรียน ในภาพรวม พบว่า บริษัทส่วนใหญ่จัดให้มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียน (ร้อยละ 92.98) และหลายบริษัทมีช่องทางมากกว่า 1 ช่องทาง เช่น อีเมล เว็บไซต์ ระบบรับเรื่องร้องเรียน ภายในองค์กร จดหมาย และศูนย์รับเรื่องร้องเรียน เป็นต้น โดยเปิดรับเรื่องร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หลายกลุ่ม โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มพนักงานของบริษัท รองลงมา ได้แก่ ลูกค้า ประชาชนทั่วไป คู่ค้าในห่วง โซ่อุปทาน ชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบ พนักงานของคู่ค้า และชุมชนของคู่ค้า ตามลำดับ ทั้งนี้ บริษัททั้งหมด จัดให้มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนในภาษาไทย มีบางบริษัทที่จัดให้มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนในภาษาอังกฤษ และมีเพียงบริษัทเดียวที่มีช่องทางสื่อสารในภาษาที่สาม คือ จัดให้มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนในภาษาเมียนมาร์ และกัมพูชา นอกจากนี้ บริษัทส่วนใหญ่มีการเปิดเผยกระบวนการ/กลไกรับเรื่องร้องเรียน รวมถึงข้อมูล เกี่ยวกับข้อร้องเรียน (ร้อยละ 54.79) อย่างไรก็ตาม บริษัทส่วนใหญ่ยังไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียในการร่วมออกแบบและพัฒนาประสิทธิภาพของกลไก/ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน (ร้อยละ 62.26)

3-74


บริษัทส่วนใหญ่มีนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้ร้องเรียน (ร้อยละ 71.93) และบางบริษัทมี กลไกรับเรื่องร้องเรียนผ่านเอ็นจีโอ อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจ พบว่า บริษัทส่วนใหญ่ยังไม่มีนโยบายห้าม ตอบโต้การร้องเรียนหรือแจ้งข้อกังวล อีกทั้งบริษัทส่วนใหญ่ยังไม่มีนโยบายเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน (ร้อยละ 54.39) อีกด้วย ในด้านการกำหนดให้คู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานเคารพสิทธิมนุษยชน ในภาพรวม พบว่า บริษัทส่วนใหญ่ ไม่ได้มีนโยบายหรือได้กำหนดให้คู่ ค้าประกาศนโยบาย/คำมั่นต่อสาธารณะในการเคารพหลักการเกี่ยวกับสิทธิ มนุษยชน ไม่ได้กำหนดให้คู่ค้ามีนโยบายการทำงานล่วงเวลาหรือการกำหนดเพดานชั่วโมงการทำงาน การ ปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์ /ชุมชนท้องถิ่น การรับเรื่องร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเยียวยาผู้ได้ รับ ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนทางลบ รวมถึงไม่ได้กำหนดให้คู่ค้าต้องประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิ มนุษยชน อย่างไรก็ตาม คณะวิจัยมีข้อสังเกตว่าผู้ตอบแบบสำรวจบางส่วนไม่ทราบหรือไม่สามารถให้ข้อมูลได้ ว่าบริษัทของตนมีการกำหนดนโยบายให้คู่ค้าเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างไร ซึ่งอาจมีส่วนทำให้ผลสำรวจไม่ สามารถสะท้อนความเป็นจริงได้ทั้งหมด

3-75


บทที่ 4 ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อสำรวจความพร้อมของบริษัท ในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน คณะวิจัยคัดเลือกบริษัทในประเทศไทย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกใน ประเด็นความพร้อมของบริษัทในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ประกอบด้วย - บริษัทขนาดใหญ่ 7 แห่ง (กระจายในหลายอุตสาหกรรม) - บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก จำนวน 7 แห่ง (กระจายในหลายอุตสาหกรรม) - ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิ มนุษยชน จำนวน 6 ราย คณะวิจัยได้จัดทำเกณฑ์การคัดเลือกบริษัทเพื่อสัมภาษณ์เชิงลึก ดังนี้ 1) เป็นบริษัทที่มีรายชื่ออยู่ใน "หุ้นยั่งยืน THSI” หรือมีการประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชน หรือมีการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) หรือมีการเปิดเผยความ เสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน/สิทธิแรงงาน 2) สมัครหรือเคยสมัครเข้าร่วมเป็นองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม 3) กรณีเป็นบริษัทขนาดกลาง/เล็ก อาจเลือกบริษัทในห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ของบริษัท ขนาดใหญ่ 4) ขนาดของบริษัท พิจารณาตามนิยาม SME ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม (สสว.) ดังนี้ ประเภท กิจการ การผลิต บริการ/ ค้าส่ง/ค้าปลีก ที่มา: สสว.

ขนาดย่อม รายได้ต่อปี การจ้างงาน (ล้านบาท) (คน) < 100 < 50 < 50 < 30

ขนาดกลาง รายได้ต่อปี การจ้างงาน (ล้านบาท) (คน) 100 – 500 50 – 200 50 – 300 30 – 100

4-1

ขนาดใหญ่ รายได้ต่อปี การจ้างงาน (ล้านบาท) (คน) > 500 > 200 > 300 > 100


คณะวิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อสำรวจความพร้อมของบริษัทในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้าน ระหว่างวันที่ 26 กันยายน 2565 – 11 มกราคม 2566 จำนวน 23 ราย ประกอบด้วย 1) บริษัทขนาดใหญ่ จำนวน 10 ราย ลำดับ ชื่อ 1 วรพัฒน์ หีมมุเด็น

5 6 7 8 9

ตำแหน่ง กรรมการบริหารความเสี่ยงและการพัฒนา ที่ยั่งยืน วรรัตน์ เลิศอนันต์ตระกูล ผู้จัดการฝ่ายบุคคล สมัชชา พรหมศิริ ประธานบริหารฝ่ายบุคคล วรวัฒน์ ศรียุกต์ ผู้อำนวยการด้านบริหารองค์กรเพื่อความ ยั่งยืน นิตยา นิมิตรพรสุโข รองผู้จัดการฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ธานัท รักเพชร ผู้อำนวยการพัฒนาองค์กรและความผูกพัน นิธิชา ชีวนรสุชากุล ฝ่ายกำกับดูแลกิจการที่ดี พิรดา พุกบุญมี ฝ่ายกำกับดูแลกิจการที่ดี ณินทิรา อภิสิงห์ ผู้อำนวยการอาวุโส

บริษัท บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน)

10

ประภาศรี พันธุจริยา

2 3 4

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 7 ต.ค. 65 บริษัท แสนสิริ จำกัด 7 ต.ค. 65 บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด 11 ต.ค. 65

ผู้จัดการบริหารส่วนบริหารความยั่งยืน

วันที่ 6 ต.ค. 65

บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

11 ต.ค. 65 12 ต.ค. 65 17 ต.ค. 65 17 ต.ค. 65 14 พ.ย. 65

บริษัท

วันที่

บริษัทผู้ผลิตสินค้าข้าวแห่งหนึ่ง บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่ง ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอสเคซีเฮ้าส์แลนด์ เอ็กซ์พอร์ต กาดผัดเทรด

4 ต.ค. 65 7 ต.ค. 65 17 ต.ค. 65

แพปู โชคอุดมรัชฏ์ เรือประมง น.ลาภประเสริฐ บริษัท ไร้ท์ รีแอคติเวชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท โซป เอ็น เซนท์ จำกัด

28 ก.ย. 65 10 ต.ค. 65 25 ต.ค. 65 11 ม.ค. 66

14 พ.ย. 65

2) บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก จำนวน 7 ราย ลำดับ ชื่อ บริษัทขนาดกลาง 1 ตัวแทนบริษัท* 2 ตัวแทนบริษัท* 3 กชพร จันทร์แก้ว

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บุคคลอาวุโส ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เจ้าของกิจการ

บริษัทขนาดเล็ก 1 อุไร สุขสวัสดิ์ เจ้าของกิจการ 2 สุรัตน์ รัตนศิธร เจ้าของกิจการ 3 แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานที่ปรึกษา/กรรมการ 4 พิมาน โตวณะบุตร กรรมการผู้จัดการและเจ้าของกิจการ หมายเหตุ: * ผู้ให้สัมภาษณ์ไม่เปิดเผยตัวตนและชื่อบริษัท

4-2


3) หน่วยงานรัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ราย ลำดับ ชื่อ 1 นรเทพ บุญเก็บ

2

นรีลักษณ์ แพไชยภูมิ

3

วินิตา กุลตังวัฒนา

ตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย ธุรกิจและช่วยเหลือผู้ประกอบการเอส เอ็มอี ผู้อำนวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่าง ประเทศ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริม ธรรมาภิ บ าล และความยั่งยืน

องค์กร สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย

วันที่ 29 ก.ย. 65

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

3 ต.ค. 65 18 ต.ค. 65

4) ผู้เชี่ยวชาญและภาคประชาสังคม จำนวน 3 ราย ลำดับ

ชื่อ

ตำแหน่ง

องค์กร

วันที่

1

สุภาภรณ์ มาลัยลอย

ผู้จัดการ

มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW)

26 ก.ย. 65

2

ส.รัตนมณี พลกล้า

ทนายความและผู้ประสานงาน

มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน

8 ต.ค. 65

3

สมพงษ์ สระแก้ว

ผู้อำนวยการ

มูลนิธิเครือข่ายคุณภาพชีวิตแรงงาน

11 ต.ค. 65

คณะวิจัยได้สรุปประเด็นที่พบจากการสัมภาษณ์เชิงลึก กับบริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก หน่วยงานภาครัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญและภาคประชาสังคม โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 4.1 กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ 4.1.1 ความเข้าใจและความสำคัญของสิทธิมนุษยชนต่อการดำเนินงานของบริษัทไทย ผู้แทนบริษัทขนาดใหญ่ (ผู้แทนบริษัทฯ) ได้ให้นิยามคำว่าสิทธิมนุษยชน คือ สิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคน ควรได้รับอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน เช่น สิทธิในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐาน สิทธิที่จะได้รับคุณภาพชี วิตที่ดี สิทธิที่จะมีความเป็นอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นต้น ซึ่งสิทธิมนุษยชนถือเป็นประเด็นที่ครอบคลุมการดำเนินงาน หลายด้านภายในบริษัท โดยเฉพาะการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี การดูแลทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนการดำเนินการด้านความยั่งยืนของบริษัท โดยผู้แทนบริษัทฯ ส่วนใหญ่มองว่าการคุ้มครองด้านสิทธิ มนุษยชนมีความเชื่อมโยงกับ การดำเนินงานตามกฎหมายไทยเฉพาะด้านแรงงานเท่านั้น แต่ยังไม่ครอบคลุม การกำกับดูแลสิทธิด้านอื่น ๆ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในห่วงโซ่อุปทาน อาทิ สิทธิเด็ก สิทธิสตรี หรือสิทธิใน สิ่งแวดล้อมที่ดี จึงเป็นเรื่องสมควรอย่างยิ่งที่ภาคธุรกิจไทยจะยึดแนวปฏิบัติการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ตามข้อตกลงหรือหลักการสากล เนื่องจากมีรายละเอียดและให้ความสำคัญกับประเด็นย่อยด้านสิทธิมนุษยชน มากกว่าที่กฎหมายไทยกำหนด นอกจากนี้ ผู้แทนบริษัทฯ ส่วนใหญ่มองว่าประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมีความสำคัญกับการดำเนิน ธุร กิจในปัจจุบัน เนื่องจากสิทธิมนุษยชนเป็นเป้าหมายหนึ่งของการดำเนินการด้านความยั่งยืนของบริษัท 4-3


ที่ มี ค วามเกี่ ย วข้ อ งกับผู้มีส ่วนได้ส ่วนเสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจนการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ถูก ตรวจสอบจากทั้งคู่ค้าและลูกค้า ซึ่งทำให้บริษัทจำเป็นต้องปฏิบัติตามหลักกฎหมายและมาตรฐานสากลด้าน สิทธิมนุษยชน 4.1.2 การดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทไทยในปัจจุบัน นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน จากการสัมภาษณ์ผู้แทนบริษัทฯ ส่วนใหญ่จะมีการเปิดเผยนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนต่อสาธารณะที่ ชัดเจน และสอดคล้องตามหลักกฎหมายและมาตรฐานสากล อาทิ กฎหมายแรงงาน หลักการชี้แนะ UNGPs หลักการด้านมนุษยธรรมและสิทธิขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน การตรวจสอบด้านจริยธรรมทางการค้า ตามระเบียบของบริษัทสมาชิก SEDEX1 (Supplier Ethical Data Exchange) (รายละเอียดจะกล่าวถึงต่อไป) โดยนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนดังกล่าวครอบคลุมการดำเนินงาน ของบริษัท บริษัทที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ตลอดจนคาดหวังให้คู่ค้าของบริษัทดำเนินงานตามหลักการ ดังกล่าว ผู้แทนบริษัทฯ บางรายระบุว่าบริษัทมีการกำหนดจรรยาบรรณหรือมาตรฐานด้านแรงงาน เพื่อเป็น แนวทางในการกำกับดูแลแรงงานของบริษัท บริษัทในเครือ และคู่ค้าของบริษัท ให้เป็นไปตามนโยบายด้าน สิทธิมนุษยชนที่บริษัทกำหนด ซึ่งจรรยาบรรณหรือมาตรฐานดังกล่าวจะมีความสอดคล้องตามกฎหมายของ ประเทศไทยและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน อาทิ การไม่เลือกปฏิบัติ การไม่ใช้ แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม สุขภาพและความปลอดภัยในที่ทำงาน ชั่วโมงการ ทำงานที่เหมาะสม ตลอดจนเสรีภาพในการสมาคม (freedom of association) ทั้งนี้ บริษัทส่วนใหญ่ยังไม่มีการจัดตั้งคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะ แต่จะมอบหมายให้กับ ฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน เช่น ฝ่ายงานกำกับดูแลกิจการ ฝ่ายงานทรัพยากร บุคคล ฝ่ายงานด้านความยั่งยืน เป็นต้น เพื่อดำเนินการจัดทำนโยบายและกำกับดูแลประเด็นด้านสิ ทธิ มนุษยชนของบริษัท ตลอดจนดำเนินการสื่อสารนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งการสื่อสาร ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในองค์กรผ่านการจัดอบรม จดหมายข่าว หรือระบบ Intranet และการสื่อสารต่อผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียภายนอกองค์กรผ่านการประชุมประจำปี บนเว็บไซต์ และรายงานประจำปี ขณะทีผ่ ู้แทนบริษัทฯ บางรายมีการจัดตั้งคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจน หรือเป็นลักษณะการ จัดตั้งคณะทำงานเพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะ ซึง่ นอกจากมีหน้าที่ในการสื่อสาร และอบรมเกี่ยวกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนให้กับพนักงาน คู่ค้า และผู้เกี่ยวข้องของบริษัทแล้ว ยังมีหน้าที่ หลักในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ อีกด้วย

1 https://www.sedex.com/our-services/smeta-audit/

4-4


กลไกการรับเรื่องร้องเรียนและการเยียวยา บริษัทส่วนใหญ่จะมีช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนที่ชัดเจนและเปิดเผยต่อสาธารณะ โดยจะมีการรับ เรื่องร้องเรียนผ่านจดหมาย อีเมล และช่องทางการแจ้งเบาะแสบนเว็บไซต์ ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม สามารถร้องเรียนเรื่องการกระทำผิดทางกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนการละเมิ ดสิทธิมนุษยชนได้ ตามช่องทางดังกล่าว ซึ่งมีการดำเนินการคุ้มครองข้อมูลของผู้ร้องเรียนตามข้อกำหนดของกฎหมายคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ ผู้แทนบริษัทฯ บางราย มีการจัดทำช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน โดยให้องค์กร ไม่แสวงหากำไร (non-profit institutions) เป็นบุคคลที่สามทีร่ ับเรื่องร้องเรียนด้านแรงงานโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ผู้แทนบริษัทฯ ส่วนใหญ่ระบุว่ายัง ไม่เคยได้รับเรื่องร้องเรียนในประเด็นด้านสิ ทธิ มนุษยชนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในช่องทางที่บริษัทจัดทำขึ้น เนื่องจากประเด็นร้องเรียนส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้อง กับการดำเนินงานภายใน เช่น การทุจริต คอร์รัปชัน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เป็นต้น หรือหากเป็น ประเด็นการร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของ สินค้าและบริการของบริษัท ทั้งนี้ ผู้แทนบริษัทฯ มองว่า ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนยังถือเป็นเรื่องใหม่ สำหรับ สังคมไทย จึงทำให้ยังไม่มีการร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามช่องทางที่บริษัทจัดทำขึ้น ผู้แทนบริษัทฯ บางแห่งระบุว่าแรงงานในห่วงโซ่อุปทานที่ถูกละเมิดหรือได้รับความไม่เป็นธรรมในการ ทำงาน ส่วนใหญ่จะเลือกร้องเรียนกับองค์กรภาคประชาสังคมโดยตรงมากกว่า เนื่องจากยังไม่ไว้ใจในช่องทางที่ บริษัทจัดทำขึ้น ทั้งนี้ หากเกิดกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นจริง ผู้แทนบริษัทฯ ส่ว นใหญ่จะมีการ ดำเนินการแก้ไขตลอดจนการเยียวยากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นกรณีไป การกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติต่อคู่ค้า บริษัทส่วนใหญ่จะมีแนวทางในการสื่อสารและอบรมนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทกับคู่ค้าเป็น ประจำทุกปี โดยในแง่ของความรู้ความเข้าใจในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนของคู่ค้า ผู้แทนบริษัทฯ ส่วนใหญ่ ระบุว่าคู่ค้ารายใหญ่จะมีความรู้ความเข้าใจในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนอยู่ระดับหนึ่ง ขณะที่คู่ค้ารายเล็ก ยังจำเป็นต้องมีการสร้างความรู้ความเข้าใจในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อให้คู่ค้า รายเล็กเกิดความตระหนักและยังคงดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนให้เป็นไปตามนโยบายของบริษัทอย่าง ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม บริษัทส่วนใหญ่ยังไม่มีการกำหนดนโยบายหรือบังคับให้คู่ค้าต้องเคารพและปฏิบัติตาม หลักการด้านสิทธิมนุษยชนสากลที่ชัดเจน แต่จะมุ่งเน้นที่การจัดทำจรรยาบรรณ มาตรฐาน หรือแนวปฏิบัติ ด้านแรงงาน ที่สอดคล้องกับกฎหมายและหลักการด้านสิทธิมนุษยชนสากล เพื่อกำหนดให้คู่ค้าต้องมีแนวทาง ในการดำเนินงานที่เป็นไปตามหลักการด้านสิทธิมนุษยชนสากลในการทำธุรกิจระหว่างกัน เช่น การไม่ใ ช้ แรงงานเด็ก การไม่ใช้แรงงานบังคับ การไม่เลือกปฏิบัติ เป็นต้น ซึ่ง บริษัทส่วนใหญ่จะมีการระบุข้อกำหนด ดังกล่าวภายในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างหรือข้อตกลงที่ทำร่วมกันกับบริษัทคู่ค้า

4-5


นอกจากนี้ ผู้แทนบริษัทฯ ส่วนใหญ่จะนำประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ตัดสินใจทำธุรกิจกับคู่ค้าทุกราย โดยจะมีการประเมินการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทคู่ค้าเป็นประจำ ทุกปี ว่ามีความสอดคล้องตามจรรยาบรรณ มาตรฐาน หรือแนวปฏิบัติด้านแรงงานของบริษัทหรือไม่ ซึ่งบริษัท ส่วนใหญ่จะเลือกไม่ดำเนินธุรกิจร่วมกับคู่ค้า ตั้งแต่ต้น หากพบว่าคู่ค้าไม่สามารถดำเนินการตามจรรยาบรรณ มาตรฐาน หรือแนวปฏิบัติด้านแรงงานของบริษัทได้ เพื่อเป็นการป้องกันคู่ค้าที่อาจมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท อย่างไรก็ตาม หากบริษัทพบว่าคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานมีการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น บริษัทส่วนใหญ่จะมีการดำเนินการเป็น ลำดับตั้งแต่การตักเตือนจนถึงการยุติการทำ ธุรกิจระหว่างกัน โดยผู้แทนบริษัทฯ บางรายระบุว่า หากพบว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นจริง บริษัทจะยัง ไม่มีการยุติการทำธุรกิจระหว่างกันในทันที แต่บริษัทจะเข้าไปช่วยเหลือและเสนอแนะแนวทางกับคู่ค้า ก่อน เพื่อให้คู่ค้าได้มีโอกาสในการปรับปรุงแนวทางดำเนินการให้สอดคล้องกับจรรยาบรรณ มาตรฐาน หรือแนวปฏิบัติ ด้านแรงงานของบริษัท ให้คู่ค้ายังสามารถดำเนินธุรกิจกับบริษัทต่อไปได้ แต่หากบริษัทคู่ค้าเลือกที่จะไม่ปรับปรุง ก็จำเป็นต้องยกเลิกการดำเนินธุรกิจระหว่างกัน ซึง่ คูค่ ้าที่ไม่สามารถดำเนินการตามนโยบายหรือแนวปฏิบัติของ บริษัทได้ส่วนใหญ่จะเป็นคู่ค้ารายเล็ก 4.1.3 การดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน คณะวิจัยสัมภาษณ์ผู้แทนบริษัทขนาดใหญ่ ทั้งบริษัทที่มีและไม่มีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้ บริษัทที่เคยมีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน บริ ษั ท เคยดำเนิน การตรวจสอบด้ านสิ ทธิม นุษ ยชนอย่ างรอบด้า น มี ส าเหตุ ในการดำเนิน การที่ แตกต่างกัน โดยผู้แทนบริษัทฯ บางรายระบุว่ามีความจำเป็นต้องดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง รอบด้าน เนื่องจากเคยเกิดประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในห่วงโซ่อุปทาน อาทิ การใช้แรงงานเด็ก การ ใช้แรงงานบังคับ ตลอดจนการค้า มนุษย์ภายในห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้าน มีส่วนช่วยให้บริษัทเห็นประเด็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจนจัดหาแนวทางใน การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ขณะที่ผู้แทนบริษัทฯ บางรายมีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบ ด้าน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบประเด็นเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท และป้องกันความเสี่ยง ด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของคู่ค้าและ/หรือลูกค้า ในห่วงโซ่อุปทานที่ส่งผลกระทบต่อ ชุมชน บริษัทส่วนใหญ่มีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเป็นประจำทุกปี โดยมีการ กำหนดคณะทำงานเพื่อดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน และมีการจ้างผู้เชี่ยวชาญหรือ บุคคลภายนอกเพื่อให้คำปรึกษาและร่วมดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านด้วย โดยผู้แทน บริษัทฯ แต่ละแห่งจะมีการจัดทำแผนผังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder mapping) ซึ่งประกอบด้วย

4-6


บริษัท บริษัทในเครือ คู่ค้า กิจการร่วมค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของ บริษัท ผู้แทนบริษัทฯ บางรายมองว่า การดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนค่อนข้างสอดคล้องกับการ สร้างการมีส่วนร่วมและประเมินประเด็นความเสี่ยงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในห่วงโซ่อุปทาน (stakeholder engagement and materiality analysis) ซึ ่ ง จะมี ท ั ้ ง การรั บ ฟั ง ประเด็ น ปั ญ หา ข้ อ ร้ อ งเรี ย น ตลอดจน ตรวจสอบการดำเนินการด้านแรงงานของคู่ค้าที่จะต้องสอดคล้องตามข้อกำหนดและแนวปฏิบัติของบริษัท ซึ่งผู้แทนบริษัทฯ ที่มีการสร้างการมีส่วนร่วมและประเมินประเด็นความเสี่ยงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่ อุปทานมาก่อน จะมีการปรับปรุงและเพิ่มขั้นตอนการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เข้าไปในกระบวนการประเมินดังกล่าวเพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินงานของบริษัท สำหรับประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทขนาดใหญ่ บริษัทส่วนใหญ่จะมีประเด็นเสี่ยง ที่เกี่ยวข้องกับด้านแรงงาน เช่น การใช้แรงงานบังคับ แรงงานเด็ก การเลือกปฏิบัติ ค่าแรงที่เป็นธรรม สุขภาพ และความปลอดภัยในที่ทำงาน เป็นต้น ซึ่งผู้แทนบริษัทฯ บางรายมองว่าประเด็นความเสี่ยงแต่ละประเด็น ยังไม่สามารถลดระดับการให้ความสำคัญได้ และจำเป็นต้องให้ความสำคัญ สูงสุด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อ การดำเนิ น ธุร กิ จ และสามารถดำเนิ น ธุ ร กิจ ได้ อย่า งยั่ งยื น อย่างไรก็ต าม ผู้แทนบริษั ทฯ บางรายมองว่ า การดำเนิน การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านไม่สามารถป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อาจ เกิดขึ้นกับบริษัทได้ทั้งหมด บริษัทที่ไม่เคยมีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน บริษัทที่ไม่เคยมีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ส่วนใหญ่กำหนดเป้าหมาย ว่าจะดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านภายใน 2 – 3 ปีข้างหน้า แต่ยังไม่มี การกำหนด แผนการดำเนินการที่ชัดเจน เนื่องจากยังไม่สามารถกำหนดฝ่ายงานรับผิดชอบที่ชัดเจนได้ ผู้แทนบริษัทฯ บาง รายมองว่าการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเป็นเรื่องที่มีความอ่อนไหวสำหรับ คู่ค้า กล่าวคือ คู่ค้าหลายรายยังไม่ พร้อมที่จะถูกตรวจสอบ เนื่องจากมองว่าตนเองยังไม่มีความรู้ความเข้าใจใน ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเพียงพอ หรือหากมีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านขึ้น ก็ จะเป็นการเพิ่มภาระรับผิดชอบให้กับคู่ค้าที่มากขึ้น ผู้แทนบริษัทฯ บางรายระบุว่า บริษัทมีการจัดทำโครงการร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม ในการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนกับคู่ค้าที่ มีความยินดีให้มีการดำเนินการดังกล่าว เพื่อเป็นการสื่อสารและสร้าง ความรู้ความเข้าใจให้กับคู่ค้าในเรื่องสิทธิมนุษยชน ทั้งในเรื่องของการไม่ใช้แรงงานเด็ก การดูแลแรงงานข้ามชาติ การดูแลแรงงานสตรี ซึ่งผู้แทนบริษัทฯ คาดหวังว่าการจัดทำโครงการดังกล่าว จะมีส่วนช่วยให้บริษัทเห็น แนวทางในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านที่ชัดเจนมากขึ้นในอนาคต ผู้แทนบริษัทฯ บางรายระบุว่า แม้บริษัทไม่ได้มีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน แต่บริษัทก็มีการจัดกิจกรรมเสวนากับพนักงาน เพื่อสำรวจว่าพนักงานได้รับความไม่เท่าเทียมในการทำงาน 4-7


หรือไม่ หรือคิดว่าเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวพนักงานมากน้อยเพียงใด รวมถึงมีการสำรวจ ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานเป็นประจำทุกปี 4.1.4 ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดของกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน บริษัทที่เคยมีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน บริษัทที่เคยมีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน มีอุปสรรคและข้อจำกัดของ กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) คู่ค้าที่เป็นธุรกิจขนาดเล็กยังไม่มีความพร้อม: ผู้แทนบริษัทฯ ส่วนใหญ่ระบุว่าคู่ค้าเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ยังไม่มีความพร้อมที่จะปรับปรุงหรือแก้ไขแนวทางในการดำเนินงานให้ส อดคล้องกับมาตรการลดความเสี่ยง ภายหลังการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัท โดยบริษัทจำเป็นจะต้องให้ ระยะเวลาในการปรับตัวกับคู่ค้า รวมถึงมีการวางแผนงานการดำเนินการปรับปรุงให้กับคู่ค้า เพื่อให้เป็นไปตาม มาตรการที่บริษัทกำหนด 2) การนำหลักการด้านสิทธิมนุษยชนมาปรับใช้จริงกับการดำเนินธุรกิจยังค่อนข้างยากในบางกรณี: ผู้แทนบริษัทฯ บางรายมองว่าการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนมีความครอบคลุมที่กว้างและมีรายละเอียดมาก ทำให้ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ต้องใช้เวลานาน ในการศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียดต่าง ๆ ประกอบกับการนำหลักการด้านสิทธิมนุษยชนมาปรับใช้จริง กับการดำเนินธุรกิจยังค่อนข้างยากในบางกรณี อาทิ การนำประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมาปรับใช้กับ การ ตัดสินใจในการสนับสนุนทางการเงินให้กับลูกค้าของบริษัท ทีผ่ ู้แทนบริษัทฯ ไม่ทราบว่าจะต้องมีการตรวจสอบ การดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนในประเด็นใดบ้าง เนื่องจากลูกค้าแต่ละรายมีการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน หรือการร่วมธุรกิจกับคู่ค้าที่อาจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็น เสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน เช่น คู่ค้าที่ทำธุรกิจ เกี่ยวกับการทำโฆษณาหรือการทำแอปพลิเคชัน ยังจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบการดำเนินการด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้านหรือไม่ 3) ข้อจำกัดในการสื่อสารและสร้างความเข้าใจในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทาน: ผู้แทนบริษัทฯ ส่วนใหญ่เป็น บริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในห่วงโซ่ อุปทานจำนวนมากและซับซ้อน การสื่อสารและทำความเข้าใจในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในห่วงโซ่อุปทานจึงเป็นความท้าทายที่บริษัทขนาดใหญ่ต้องเผชิญ โดยผู้แทนบริษัทฯ ส่วนใหญ่มองว่ายัง จำเป็นต้องเสริมสร้างองค์ความรู้ ด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท ทั้ง บุคลากรภายใน องค์กร บริษัทในเครือ และคู่ค้า ให้มีองค์ความรู้ ที่ใกล้เคียงกัน รวมถึง จำเป็นต้องมีการขยายการเสริมสร้าง องค์ ค วามรู้ กับ ผู้มีส ่วนได้ส ่ว นเสียในห่วงโซ่ อุปทานที่ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อให้เข้าใจว่าการดำเนินการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างไร ตลอดจนการเสริมสร้างให้ การดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น

4-8


บริษัทที่ไม่เคยมีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน บริษัทที่ไม่เคยมีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน มีอุปสรรคและข้อจำกัด ของกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) บริษัทและคู่ค้าขาดองค์ความรู้ด้านการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน: การดำเนินการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนยังถือเป็นเรื่องใหญ่และใหม่สำหรับประเทศไทย โดยผู้แทนบริษัทฯ บางรายระบุว่ า องค์ความรู้หรือข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนที่หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ จัดทำขึ้นมักเป็นองค์ความรู้พื้นฐาน เพื ่ อ ให้ บ ริ ษ ั ท ทราบว่ า ประเด็ น ด้ า นสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนสำคั ญ อย่ า งไร และการดำเนิ น ก ารตรวจสอบด้ า น สิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านคืออะไร แต่ยังไม่ มีองค์ความรู้ห รือ ข้อ มูล ที่ทำให้บริษั ทเห็นว่าจะสามารถ ดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้อย่างไร ผู้แทนบริษัทฯ บางรายมีความเข้าใจว่าการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เป็น เรื่องเดียวกันกับการดำเนินการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder engagement) โดย บริษัทมีการดำเนินการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในกลุ่มพนักงาน ลูกค้า ชุมชนและสังคม ผู้บริโภค คู่ค้า ผู้จัดหา พันธมิตรทางธุรกิจ ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน สื่อมวลชน และหน่วยงานราชการ ซึ่งมีการ ดำเนินการตามแนวทางทีต่ ลาดหลักทรัพย์กำหนด หากบริษัทต้องดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับ การส่งเสริมองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เพื่อให้เห็นถึง ความสำคัญและความจำเป็น ในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนแนวทางที่ทำให้บริษัทสามารถ ดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนได้จริง ทั้งนี้ ผู้แทนบริษัทฯ บางรายมองว่าการดำเนินการตรวจสอบ ดังกล่าว อาจเริ่มจากการตรวจสอบภายในองค์กรและคู่ค้าที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชนและการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านก่อน เพื่อให้เห็นแนวทางในการดำเนินงานที่ชัดเจนมากขึ้น 2) บริษัทขาดการจัดตั้ง คณะทำงานในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน: จากการ สัมภาษณ์ผู้แทนบริษัทฯ ที่ยังไม่เคยมีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน พบว่า ส่วนใหญ่ ยังไม่มีการกำหนดฝ่ายงานรับผิดชอบในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจน เนื่องจากมองว่าประเด็น ด้านสิทธิมนุษยชนครอบคลุมการดำเนินงานหลายฝ่ายของบริษัท (ฝ่ายกำกับดูแลกิจการที่ดี ฝ่ายทรัพยากร บุคคล และฝ่ายความยั่งยืน) ทำให้ไม่ทราบว่าควรจะกำหนดให้ฝ่ายใดเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินงาน ด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งส่งผลให้บริษัทไม่ทราบว่าควรเริ่มดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน อย่างไร 4.1.5 การส่งเสริมและสนับสนุนในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน จากการสัมภาษณ์ผู้แทนบริษัทฯ ทั้งบริษัทที่เคยและไม่เคยดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้านจะมีข้อเสนอแนะที่คล้ายกัน คือ มีความคาดหวังให้หน่วยงานรัฐมีส่วนช่วยสร้างองค์ความรู้ดา้ น การดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านให้กับบริษัทไทยผ่านการจัดงานสัมมนาหรือการ 4-9


อบรม เพื่อให้บริษัทเห็นถึงความสำคัญและเข้าใจว่าประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการดำเนินการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านมีความสำคัญต่อการดำเนินงานของบริษัทอย่างไร รวมถึงมีการ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และปัญหาของบริษัทในแต่ละอุตสาหกรรม เพื่อให้หน่วยงานรัฐประเมินได้ว่าควรจะมี แผนงานในการผลักดันให้บริษัทสามารถดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้อย่างไร นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐจำเป็นต้องมีการสื่อสารและผลักดันเรื่องการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้านไปยังภาคส่วนอุตสาหกรรมที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้เห็นภาพรวมของแต่ละอุตสาหกรรมว่ามี สถานการณ์และความเสี่ยงในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างไร 4.1.6 ความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของสหภาพยุโรปเพื่อยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของ บริษัทไทย บริษัทส่วนใหญ่ยังไม่รับรู้ถึงการเตรียมออกกฎหมายการตรวจสอบด้านความยั่งยืนอย่างรอบด้านของ สหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม ผู้แทนบริษัทฯ ที่มีการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ระบุว่ามีความ พร้อมที่จะดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าวของสหภาพยุโรป โดยมองว่ากฎหมายดังกล่าวน่าจะใกล้เคียงกับ การแนวทางการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนที่บริษัททำอยู่ 4.2 กลุ่มบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก 4.2.1 ความเข้าใจและความสำคัญของสิทธิมนุษยชนต่อการดำเนินงานของบริษัทไทย จากการสัมภาษณ์ผู้แทนบริษัท ขนาดกลางและขนาดเล็ก (ผู้แทนบริษัท ฯ) ได้ให้นิยามของคำว่าสิทธิ มนุษยชน คือ สิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนควรได้รับ อย่างเท่าเทียมกัน ภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนด โดยผู้ แ ทนบริษัทฯ ส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่า สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของการดูแลสิทธิและสวัสดิภาพของ พนักงานและแรงงาน เช่น การไม่เลือกปฏิบัติระหว่างแรงงานไทยกับแรงงานข้ามชาติ การไม่เอาเปรียบซึ่งกัน และกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เป็นต้น ดังนั้น ผู้แทนบริษัทฯ ส่วนใหญ่จึงมองว่าบริษัทที่ให้ความสำคัญกับ ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน จะต้องให้ความเสมอภาค เสรีภาพ และความเท่าเทียมกันทางสังคมในการดูแล พนักงานและแรงงานในที่ทำงาน ทั้งในแง่ของเพศ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ รวมถึงต้องเปิดโอกาสให้ พนักงานและ แรงงานทุกระดับขององค์กรสามารถแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนต่าง ๆ ตลอดจนไม่ลิดรอน สิทธิขั้นพื้นฐานที่พนักงานและแรงงานที่พึงจะได้รับในที่ทำงาน เช่น การไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัว การรักษา ความลับของข้อมูลในการทำงาน เป็นต้น บริษัทบางแห่ง มี ก ารกำหนดนโยบายสวัส ดิ การแรงงานมากกว่า ที ่ กฎหมายกำหนด เช่น การมี สวัสดิการให้พนักงานสามารถลาคลอดได้ 4-5 เดือน โดยยังได้รับค่าจ้างตามปกติ (กฎหมายกำหนดให้สามารถ ลาคลอดได้ 98 วัน หรือประมาณ 3 เดือน) การมีสวัสดิการมอบทุนการศึกษาแก่บุตรของพนักงานและ ทุนการศึกษาให้กับพนักงานที่มีความตั้งใจ การมีวันหยุดมากกว่าวันหยุดประจำปีที่กำหนดในกฎหมาย การมี 4-10


สวัสดิการอาหารว่างให้แก่พนักงาน (เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กาแฟ) การมีสวัสดิการชุดทำงานแก่พนักงาน และ การมีอุปกรณ์ความปลอดภัยในการทำงานนอกสถานที่ (รองเท้า หมวกนิรภัย) เป็นต้น ทั้งนี้ สาเหตุทบี่ ริษัทส่วนใหญ่เริ่มให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน เนื่องจากมีเป้าหมายใน การเตรียมตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงปัจจุบันบริษัทลูกค้าเริ่มมีการตรวจสอบ (audit) ทั้งในด้านคุณภาพ และการดำเนินงานที่จะต้องเป็นไปตามหลักการด้านสิทธิมนุษยชนที่มากขึ้น โดยเฉพาะบริษัทที่มีการส่งออก สินค้าไปยังต่างประเทศจะถูกลูกค้าตรวจสอบการดำเนินงานอย่างเข้มข้น ว่ามีการดำเนินงานที่เป็นไปตามที่ กฎหมายของประเทศและหลักการด้านสิทธิมนุษยชนหรือไม่ 4.2.2 การดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทไทยในปัจจุบัน นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน จากการสัมภาษณ์ผู้แทนบริษัทฯ พบว่าบริษัทส่วนใหญ่ไม่มีการจัดทำนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน แต่มี แนวปฏิบัติด้านแรงงานตามที่กฎหมายกำหนด เช่น มีการจ่ายค่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนด มีการขึ้นค่าแรง ให้กับแรงงานมีฝีมือและประสบการณ์ มีการดำเนินการต่ออายุบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่ใช่สัญชาติไทย ให้กับ แรงงานข้ามชาติ ซึ่งบริษัทจะออกค่าใช้จ่ายในการจัดทำบัตรทั้งหมด เป็นต้น ผู้แทนบริษัทฯ บางส่วนมีการจัดทำนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน แต่ไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ หรือหาก มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ ก็อาจยังไม่มีการสื่อสารโดยตรงไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง เป็นเพียงการ เปิดเผยเนื้อหาบนเว็บไซต์เท่านั้น ทั้งนี้ ผู้แทนบริษัทฯ ได้มีการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน 3 รูปแบบหลัก ได้แก่ 1) มีการอ้างอิงหรือดำเนินการตามหลักมาตรฐานสากล เช่น การอ้างอิงการดำเนินด้านสิทธิมนุษยชน ตามหลักสิทธิมนุษยชนและมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ รวมถึงปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและ หลักการชี้แนะ UNGPs ซึ่งนโยบายดังกล่าวครอบคลุมถึงการต่อต้านการค้ามนุษย์ แรงงานบังคับ แรงงานเด็ก การไม่เลือกปฏิบัติ การต่อต้านการคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศทุกรูปแบบ การให้สิทธิในการรวมกลุ่ม สิทธิ ในการเจรจาต่อรองร่วมกัน และความเท่าเทียมด้านค่าตอบแทน หรือบางบริษัทที่มีการส่งออกสินค้ าไปยังสหภาพยุโรป จะมีการเข้าร่วมแพลตฟอร์ม The Supplier Ethical Data Exchange (SEDEX) แพลตฟอร์มข้อมูลเกี่ยวกับจริยธรรมในห่วงโซ่อุปทาน สำหรับการส่งออก สินค้าไปยังยุโรปของบริษัทที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน (supply chain)2 โดยบริษัทที่เข้าร่วมแพลตฟอร์ม SEDEX จะสามารถร่วมประเมินจริยธรรมในห่วงโซ่อุปทาน ผ่าน 2 เครื่องมือหลัก ได้แก่ การทำแบบประเมินตนเอง (Self-Assessment Questionnaire หรือ SAQ) ซึ่งให้ความสำคัญกับ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ มาตรฐานด้านแรงงาน มาตรฐานด้านความปลอดภัยและสุขภาพ ระบบการจัด การ

2 https://www.sedex.com/about-us/

4-11


สิ่งแวดล้อม และจรรยาบรรณทางธุรกิจ 3 โดยแบบประเมินดังกล่าวมีการอ้างอิง มาตรฐานสากลด้านสิทธิ มนุษยชน เช่น หลักการชี้แนะ UNGPs และ Corporate Human Rights Benchmark (CHRB) เป็นต้น บริษัทที่เข้าร่ว มสามารถเข้ารับ การตรวจสอบบริษัทในห่วงโซ่อุปทานตามกระบวนการ SEDEX Members Ethical Trade Audit (SMETA) ซึ ่ ง เป็ น ระเบี ย บที ่ บ ริ ษ ั ท สมาชิ ก SEDEX ใช้ ใ นการประเมิ น จริยธรรมและความรับผิดต่อสังคมตลอดห่วงโซ่อุปทานของบริษัท รวมไปถึงการตรวจสอบการใช้แรงงาน ภายในบริษัทว่าไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การใช้แรงงานเด็ก หรือการบังคับใช้แรงงาน เป็นต้น4 2) การอ้างอิงตามหลักเกณฑ์ของบริษัทขนาดใหญ่ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โดยบริษัทได้ศึกษาข้อมูล/ นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเป็นแนวทางใน การดำเนินงานในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนและความยั่งยืน 3) การอ้างอิงตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากบางบริษัทมีเป้าหมายในการเตรียมตัวเข้า ตลาดหลักทรัพย์ จึงได้น ำประเด็น ต่าง ๆ มาพิจารณาว่าสามารถพัฒ นาการดำเนินธุรกิจอย่างไรได้บ้าง มีองค์ประกอบอะไรที่จำเป็นต่อการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ และพบว่าต้องมีการจัดทำจรรยาบรรณธุรกิจ (code of conduct) ซึ่งมีการประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชนรวมอยู่ด้วย นอกจากนี้ จากการสัมภาษณ์ผู้แทนบริษัทฯ ส่วนใหญ่ ไม่มีการจัดตั้งคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชน ขึ้นมาโดยเฉพาะ แต่จะอยู่ภายใต้ ฝ่ายงานอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนและการดูแล แรงงาน เช่น ฝ่ายงานทรัพยากรบุคคล ฝ่ายงานด้านความยั่งยืน เป็นต้น กลไกการรับเรื่องร้องเรียนและการเยียวยา จากการสัมภาษณ์ผู้แทนบริษัทฯ พบว่า บริษัทส่วนใหญ่มี แนวทางในการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียใน 2 ช่องทางหลัก ประกอบด้วย 1) ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนจากพนักงาน: บริษัทฯ บางแห่งมีการจัดทำช่องทางการรับร้องเรียน สำหรับพนักงาน โดยจะมีการจัดทำ QR code ให้พนักงานสามารถสแกนเพื่อแจ้งเรื่องร้องเรียนในแบบฟอร์ม ของบริษัท นอกจากนี้ ยังสามารถร้องเรียนผ่านช่องทาง Intranet เว็บไซต์ และแอปพลิเคชันไลน์ ของบริษัท หรือพนักงานสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนกับหัวหน้างานโดยตรงหากแรงงานพบปัญหาในการทำงาน 2) ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนจากบุคคลภายนอก: จากการสัมภาษณ์พบว่า บริษัทบางแห่งมีการ จัดทำช่องทางรับเรื่องร้องเรียนสำหรับบุคคลภายนอก ซึ่งจะรับร้องเรียนผ่านช่องทางโทรศัพท์มือถือหรือ แอปพลิ เ คชั น ไลน์ ท ี ่ บ ริ ษ ั ท จั ด ทำขึ ้ น อย่ า งไรก็ ต าม บริ ษ ั ท ส่ ว นใหญ่ ไ ม่ ม ี ช ่ อ งทางการรั บ ร้ อ งเรี ย นจาก บุคคลภายนอกที่ชัดเจน บางบริษัทระบุว่าได้รับเรื่องร้องเรียนจากหน่วยงานท้ องถิ่น โดยหากบุคคลภายนอก หรือชุมชนในพื้นที่ของบริษัทมีเรื่องร้องเรียนต่อบริษัท จะสามารถไปร้องเรียนผ่านหน่วยงานท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในพื้นที่ได้ ทั้งนี้ ผู้แทนบริษัทฯ บางราย 3 https://www.sedex.com/wp-content/uploads/2020/02/Self-Assessment-Questionnaire-SAQ-Briefing-Note-ENG.pdf 4 https://www.sedex.com/our-services/smeta-audit/

4-12


จะมีการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นกับชุมชนจากการดำเนินงานของบริษัท โดยบริษัทจะมี การจัดกิจ กรรม open house (กิจกรรมให้ผ ู้คนในชุมชนเข้า เยี่ยมชมโรงงาน) และมี การ สนับสนุนซื้อสินค้าจากชุมชนมาทำเป็นของที่ระลึกของบริษัท (สร้างงานให้แก่ชุมชนโดยรอบ) เพื่อเป็นการ สร้างความไว้วางใจระหว่างบริษัทกับชุมชน จากการสัมภาษณ์ พบว่า บริษัทแต่ละแห่งมีประเด็นเรื่องร้องเรียนและแนวทางในการจัด การที่ แตกต่างกัน เช่น บริษัทที่อยู่ในภาคประมง ได้รับร้องเรียนจากพนักงานและแรงงานเกี่ยวกับเรื่องอุบัติเหตุในที่ ทำงาน โดยบริษัทจะมีการจัดทำประกันสังคมให้กับ พนักงานและแรงงานเป็นพื้นฐาน เพื่อให้พนักงานใช้สิทธิ ดังกล่าวได้ บริษัทที่อยู่ในภาคพลังงาน จะได้รับเรื่องร้องเรียนจากชุมชนที่อยู่โดยรอบโรงงาน เช่น ความกังวล ด้านมลพิษทางอากาศ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น ขณะที่บริษัทที่อยู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ จะได้รับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้าที่อาศัยอยู่ในโครงการ อสังหาริมทรัพย์ของบริษัท เช่น มีคนจอดรถขวางหน้าบ้าน ปัญหาเรื่องสัตว์เลี้ยงระหว่างบ้าน เป็นต้น ซึ่งบริษัท จะมีการเข้าไปไกล่เกลี่ยให้แก่ลูกบ้าน บริษัทที่อยู่ในภาคการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค จะได้รับเรื่องร้องเรียน จากพนักงานและแรงงานเกี่ยวกับเรื่องความขัดแย้งในที่ทำงาน ซึ่งบริษัทก็ได้มีการไกล่เกลี่ยปัญหาระหว่าง พนักงานเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันต่อไปได้ รวมถึงยังได้รับเรื่องร้องเรียนจากชุมชนโดยรอบโรงงานเกี่ยวกับ กลิ่นที่เกิดจากการผลิต ซึ่งบริษัทก็ได้มีการแก้ไขระบบระบายอากาศเพื่อไม่ให้เกิดกลิ่นไปรบกวนกับชุมชน เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่า บริษัทแต่ละแห่งได้รับประเด็นเรื่องร้องเรียนแตกต่างกันไปตามลักษณะของการทำ ธุรกิจ อย่างไรก็ตาม บริษัทส่วนใหญ่ไม่มีการจัดทำแนวทางการเยียวยาเป็นลายลักษณ์อักษร แต่จะพิจารณา การเยียวยาเป็นรายกรณี และใช้แนวทางการเยียวยาตามธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละบริษัท โดยจะมีการ กำหนดผู้รับผิดชอบในการจัดการเรื่องร้องเรียนและระยะเวลาในการจัดการเรื่องร้องเรียนดังกล่าว การกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติต่อคู่ค้า จากการสั ม ภาษณ์ ผู้ แ ทนบริ ษั ท ฯ พบว่ า บริ ษั ท ที่ มี น โยบายและแนวปฏิ บั ติ ด้ า นสิ ท ธิม นุ ษยชน สำหรับคู่ค้า จะมีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าทีเ่ น้นเรื่องการดูแลพนักงานและแรงงาน เช่น การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมาย การจ่ายค่าล่วงเวลา การไม่ใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี และแรงงาน ที่มีฝีมือต้องได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น เป็นต้น โดยคู่ค้าของบริษัทต้องดำเนินการตามนโยบายที่กำหนด นอกจากนี้ บริษัท บางแห่ง มี ร ะบบประเมิน คู่ค้าตามมาตรฐาน ISO 9001:2008 ซึ่ง จะมีการประเมิน คุณภาพสิ น ค้ า สิ่งแวดล้อม และอาชีวอนามัย (มีประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนอยู่ในการตรวจสอบคุณภาพ) เป็นประจำทุกไตรมาส อย่างไรก็ตาม บริษัทบางแห่งจะมีการกำหนดแนวปฏิบัติ เรื่องการดูแลพนักงานและแรงงานในข้อตกลงหรือ สัญญาซื้อขายระหว่างกัน ขณะที่บางรายจะไม่มีการกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจน แต่จะมีการพูดคุยและหารือ เกี่ยวกับแนวทางในการดูแลพนักงานและแรงงานที่บริษัทคาดหวังต่อคู่ค้า สำหรับกระบวนการตรวจสอบการดำเนินงานของคู่ค้า บริษัทส่วนใหญ่จะเดินทางไปเยี่ยมชมและ ตรวจสอบพื้นที่ดำเนินงานจริงของคู่ค้าเป็นหลัก หากพบว่าคู่ค้าไม่ดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่ บริษัทกำหนด 4-13


บริษัทจะแจ้งเตือนให้มีการปรับปรุง และแก้ไขการดำเนินการให้ทราบก่อน แต่หากพบว่า คู่ค้าไม่สามารถ ปรับปรุงและแก้ไขได้บริษัทจะมีการยกเลิกสัญญาซื้อขายระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม ผู้แทนบริษัทฯ บางแห่ง ระบุว่า คู่ค้าของบริษัทส่วนใหญ่จะได้รับการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย จึงทำให้ยังไม่เคยมีการยกเลิกสัญญา การค้าจากประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน กรณีที่บริษัทยกเลิกสัญญาการค้าจะเกิดจากประเด็นการผลิตที่ไม่เป็นไป ตามคุณภาพและมาตรฐานที่บริษัทกำหนด 4.2.3 การดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ผู้แทนบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก ทั้งหมดที่คณะวิจัยสัมภาษณ์ไม่เคยมีการดำเนินการตรวจสอบ ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยคณะวิจัยพบว่า บริษัทส่วนใหญ่ยังไม่มีความเข้าใจกระบวนการตรวจสอบ ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน รวมถึงไม่ทราบว่าจะต้องมีการดำเนินการตรวจสอบอย่างไร อย่างไรก็ตาม ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น บริษัทบางแห่งที่มีการส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรป และ เข้ า ร่ ว มแพลตฟอร์ม SEDEX ก็จะมีการประเมินตนเองซึ่ งให้ความสำคัญกับ มาตรฐานด้านแรงงาน ความ ปลอดภัยและสุขภาพ ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และจรรยาบรรณทางธุรกิจ ซึง่ มีการอ้างอิงมาตรฐานสากล ด้านสิทธิมนุษยชน เช่น หลักชี้แนะ UNGPs อยู่แล้ว รวมทั้งบริษัทสามารถเข้ารับการตรวจสอบบริษัทในห่วงโซ่ อุป ทาน เพื่อ ประเมิน จริย ธรรมและความรับผิดต่อสังคมตลอดห่ว งโซ่อุปทานของบริษัท รวมไปถึงการ ตรวจสอบการใช้แรงงานภายในบริษัทว่าไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย นอกจากนี้ บริษัทบางแห่งยังได้รับการตรวจสอบและประเมินเกี่ยวกับการดูแลแรงงานจากหน่วยงาน ภายนอก ซึ่งจะมีพนักงานตรวจแรงงานจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเข้ามาตรวจสอบและสัมภาษณ์ แรงงานเป็นประจำทุกปี ขณะทีบ่ ริษัทบางแห่งจะได้รับการตรวจสอบจากลูกค้าโดยตรง โดยผู้แทนบริษัทฯ ระบุว่า บริษัทมีการ ส่งออกสินค้าให้กับลูกค้าในสหรัฐอเมริกาและในสหภาพยุโรป ซึ่งลูกค้าจากทั้ง 2 แห่ง จะมีการประเมินและ ตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท จึงทำให้บริษัทจำเป็นต้องมีนโยบายและแนวปฏิบัติใน การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างไรก็ตาม แนวทางในการประเมินและ ตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของลูกค้าทั้ง 2 แห่ง จะมีความแตกต่างกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) การประเมิน และตรวจสอบของลู กค้า ในสหรัฐ อเมริ กา: บริษัทจะได้ รับ การตรวจสอบจากผู้ ตรวจสอบ (auditor) ของลูกค้าปีละ 1 ครั้ง โดยจะมีการตรวจสอบโดยอ้างอิงตามมาตรฐานแรงงานไทยเป็น หลัก และจะมีการตรวจสอบด้านความปลอดภัยของพื้นที่ดำเนินงานว่าเป็นไปตามข้อกำหนดอื่น ๆ ที่อยู่ นอกเหนือมาตรฐานแรงงานไทยหรือไม่ เช่น การมีทางหนีไฟที่เพียงพอ การมีสปริงเกอร์ดับเพลิง การมีจุดวาง ถังดับเพลิงที่เพียงพอและพร้อมใช้งาน เป็นต้น 2) การประเมินและการตรวจสอบของลูกค้าในสหภาพยุโรป: บริษัทจะได้รับการตรวจสอบผ่านการ ตอบแบบประเมินปีละ 1 ครั้ง ซึ่งจะมีข้อคำถามเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานใน การประเมิ น โดยเฉพาะลู ก ค้ า ในสหภาพยุ โ รปที ่ เ ป็ น สมาชิ ก องค์ ก รแฟร์ เ ทรดโลก (World Fair Trade 4-14


Organization - WFTO) จะมีความคาดหวังให้บริษัทต้องมีการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงาน เพื่อให้เป็นไปตามหลักการ 10 ประการของการค้าที่เป็นธรรมที่ครอบคลุมไปถึงประเด็นสิทธิมนุษยชน ซึ่ง ผู้แทนบริษัทฯ ระบุว่า บริษัทเลือกที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิก WFTO เพื่อให้ได้รับการยอมรับจาก ลูกค้าในสหภาพยุโรป รวมถึงเป็นการลดขั้นตอนในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนจากลูกค้า จากการที่บริษัทแต่ละแห่งได้รับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน และได้รับการ ประเมินและตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนจากหน่วยงานภายนอกและลูกค้าในต่างประเทศ จึง สะท้อนให้เห็นว่าในทางปฏิบัติแล้ว บริษัทเหล่านี้อาจมีการดำเนินการในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว และสามารถยกระดับเพื่อดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนต่อไปได้ 4.2.4 ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดของกระบวนการตรวจด้านสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน จากการสัมภาษณ์ผู้แทนบริษัทฯ พบว่า ความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนของผู้ประกอบการ พนักงาน และแรงงาน ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยในส่วนของพนักงานและแรงงาน บริษัทส่วนใหญ่มองว่าพนักงานและแรงงานยังไม่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับ ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะบริษัทที่มีการใช้แรงงานข้ามชาติมักจะมีอุปสรรคด้านภาษา ที่ส่งผลให้ บริษัทที่ได้รับการตรวจสอบและประเมินการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนจากคู่ค้าและลูกค้า อาจได้รับการ ประเมินที่ผิดพลาดเนื่องจากแรงงานข้ามชาติมักตอบไม่ตรงคำถามหรือไม่เข้าใจคำถาม เช่น บริษัทมีการจัดหา ที่พักอาศัยให้แต่แรงงานตอบว่าไม่มี หรือบริษัทมีการจ่ายค่าแรงตามที่กฎหมายกำหนดแต่แรงงานอาจจะตอบ ว่าได้รับเงินตรงเวลา เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้ผลการประเมินของบริษัทคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ผู้แทนบริษัทฯ บางรายมองว่าอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ประเด็นด้านสิทธิมนุษ ยชนยังไม่เป็นประเด็นที่ ภาคธุรกิจในประเทศไทยให้ความสำคัญ เนื่องจากผู้ ประกอบการยังไม่มีทัศนคติที่คำนึงถึงประเด็นทางสังคม ทั้งในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงยังไม่เห็นประโยชน์ของการดำเนินการ ด้านสิทธิมนุษยชนว่ามีส่วนช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างไร ซึ่งแง่หนึ่งผู้แทนบริษัทฯ มองว่าอาจเป็นเพราะ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ในภาพรวมจากการระบาดของโรคโควิด -19 ที่ทำให้ภ าคธุร กิ จ ไทยในปั จ จุ บั น จำเป็นต้องฟื้นฟูกิจการของตนเองก่อน เมื่อกิจการดีขึ้นจึงจะเริ่มหันมาสนใจและให้ความสำคัญกับประเด็นด้าน สิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนมากขึ้น บริษัทบางแห่งมองว่า ไม่จ ำเป็น ต้ องมีก ระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิม นุษ ยชนอย่ างรอบด้ า น เนื่องจากการดำเนินงานของบริษัทไม่ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ และส่วนใหญ่ยังไม่พบประเด็น การร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่น ๆ นอกเหนือจากแรงงาน จึงส่งผลให้บริษัทส่วนใหญ่ยังไม่เห็นถึง ความสำคัญของการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน อย่างไรก็ตาม ผู้แทนบริษัทฯ มองว่าหากต้องการสร้างความตระหนัก ด้านสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจ ให้มากขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้ผู้บริโภคตระหนักและเห็นความสำคัญของประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน มากขึ้น เพื่อสร้างแรงกดดันให้ภาคธุรกิจไทยจำเป็นต้องมีการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน โดยผู้แทนบริษัทฯ 4-15


ยกตัว อย่างกลุ่มลูกค้าในสหภาพยุโรปที่จะเลือกไม่ บริโภคสินค้าที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือสร้าง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การไม่เลือกซื้อสินค้าที่มีส่วนผสมของน้ำมันปาล์ม ที่มาจากแหล่งที่มีการบุกรุก เขตป่าร้อนชื้น ซึ่งกระทบต่อชีวิตสัตว์ป่าและกลุ่มชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในป่าแห่งนั้น เป็นต้น นอกจากนี้ การที่ ผู้บริโภคยังไม่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ส่งผลให้บริษัทที่มีการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ไม่สามารถขายสินค้าได้ เนื่องจากราคาสินค้าสูงขึ้นจากต้นทุนการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน กล่าวคือ ผู้บริโภคยังคงให้ความสำคัญกับสินค้าที่ราคาถูกเป็นหลัก มากกว่าการพิจารณาการทำธุรกิจที่ไม่มีการละเมิด สิทธิมนุษยชน 4.2.5 การส่งเสริมและสนับสนุนในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน จากการสัมภาษณ์ผู้แทนบริษัทฯ พบข้อเสนอเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนในการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน ดังนี้ 1) เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการจัดอบรมการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เพื่อให้ เกิดความรู้ความเข้าใจและเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับ อีกทั้งบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก มีความเห็นว่า หากกระบวนการตรวจสอบดังกล่าว มีความสอดคล้องกับนโยบายหรือแนวปฏิบัติของบริษัทอยู่แล้ว ก็สามารถ ดำเนินการตรวจสอบได้ง่ายขึ้น โดยการอบรมอาจทำเป็นคอร์ส เรียนระยะสั้นสำหรับธุรกิจที่กำลัง จะจด ทะเบียนก่อตั้งธุรกิจใหม่ และมีเนื้อหาการอบรม เช่น สิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจ ระบบภาษีในการ ดำเนินธุรกิจ เป็นต้น เพื่อสร้างรากฐานเรื่องสิทธิมนุษยชนให้แก่บริษัท 2) เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำระบบหรือมีเครื่องมือในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง รอบด้าน เพื่อใช้ตรวจสอบบริษัทในจำนวนมาก (กรณีมีการออกกฎหมายให้บริษัทดำเนินการตรวจสอบ ด้าน สิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน) เพราะถ้าหากใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ถึงแม้จะได้ข้อมูลที่ละเอียด แต่ไม่ เหมาะสมกับการตรวจสอบบริษัทในจำนวนมาก 3) เสนอให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เป็นเจ้าภาพในการผลักดันประเด็น ด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีข้อมูลแรงงานและข้อมูล ผู้ประกอบการจำนวนมาก นอกจากนี้ ผู้แทนบริษัทฯ เห็นว่า การให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็น เจ้าภาพในการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น จะเป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันประเด็นด้าน สิทธิมนุษยชนให้กับภาคเอกชนไทยได้ โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานอาจจะจัดหลักสูตรให้ความรู้ที่ สอดแทรกเนื้อหาอื่น ๆ เข้าไปด้วย เช่น มาตรฐานแรงงาน วินัยทางการเงิน การเสียภาษี เป็นต้น 4) เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมุ่งเน้นไปที่การออกมาตรการให้บริษัทใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ มีการ ดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (ผู้แทนบริษัทฯ มองว่าบริษัทเหล่านี้สามารถสร้างแรง กระตุ้นให้กับบริษัทขนาดกลาง-เล็กในห่วงโซ่อุปทานได้) และจะส่งผลให้บริษัทขนาดกลาง-เล็ก มีการตื่นตัวใน ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน เนื่องจากต้องทำธุรกิจกับบริษัทขนาดใหญ่ อีกทั้ง ผู้แทนบริษัทฯ ยังเสนอให้บริษัท 4-16


ขนาดเล็กดำเนินการตามมาตรฐานแรงงานตามกฎหมายให้ได้ในเบื้องต้นก่อน จากนั้นจึงค่อยยกระดับมาเป็น การดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านในอนาคต นอกจากนี้ภาครัฐควรดำเนินการออก กฎหมายในลักษณะของกฎหมายส่งเสริม เพื่อดึงให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าว หาก ออกกฎหมายมุ่งเน้นไปที่การจับ ปรับ เอกชนจะให้ความร่วมมือน้อย 4.3 กลุ่มหน่วยงานรัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้อง 4.3.1 ความสำคัญของประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทไทย จากการสัมภาษณ์ ผู้แทนหน่วยงานรัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้อง พบว่า ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมี ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทไทยมากขึ้น ทั้งจากข้อมูลสถิติข้อร้องเรียนด้านการละเมิดสิทธิ มนุษยชนจากการดำเนิน กิจ การของบริ ษัท ไทยที่ เพิ่ม ขึ้น ซึ่ง สะท้อนให้เห็นว่าประเด็นสิ ทธิมนุษ ยชนมี ความสัมพันธ์กับภาคธุรกิจ และเป็นประเด็นที่ภาคธุรกิจต้องให้ความสำคัญมากขึ้น รวมถึงกระแสโลกที่ให้ ความสำคัญกับประเด็นสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ดังเห็นได้จาก • หลักการชี้แนะ UNGPs ซึ่งเริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2554 และปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาเป็น กฎหมายระหว่างประเทศ • ในระดับภูมิภาค สหภาพยุโรปอยู่ระหว่างการจัดทำร่างกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทาน ด้านความยั่งยืน (EU Directive on Corporate Sustainability Due Diligence) ซึ่งมีความสำคัญมาก เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ภาคธุรกิจต้องดำเนินการตรวจสอบผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน บริษัทไทยที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทในสหภาพยุโรปจึงต้องระมัดระวัง การดำเนินการในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้น • ในระดับประเทศ ปัจจุบันหลายประเทศได้ ออกกฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะ แล้ว ซึ่งสะท้อนให้เห็นแนวโน้มในกระแสโลก และเป็นประเด็นที่ภาคธุรกิจไทยต้องให้ความสำคัญ นอกจากนี้ ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ปรับ เกณฑ์รวมแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปี (แบบ 56-2) ให้เป็นแบบรายงาน เดียว (แบบ 56-1 One Report) เพื่อลดภาระการจัดทำและจัดส่งรายงานประจำปีของบริษัทจดทะเบียน อีกทั้ง ยังเป็นการยกระดับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน (ESG) ของบริษัท เพื่อสะท้อนการดำเนินธุรกิจสู่ความ ยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญให้กับบริษัทในประเทศไทยตื่นตัวกับประเด็นด้านสิทธิ มนุษยชน รวมถึงการที่ประเทศไทยกำลังจะสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ การพัฒนา (OECD) ทำให้ต้องปฏิบัติตามแนวทางการประเมินสำหรับการทำธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ (OECD due diligence guidance for responsible business conduct) ซึ่งครอบคลุมประเด็นสิทธิมนุษยชนด้วย

4-17


4.3.2 ปัญหา ข้อกังวล อุปสรรคของการดำเนินธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย จากการสัมภาษณ์ พบว่า บริษัทไทยยังไม่เข้าใจประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมากนัก ไม่ทราบนิยามที่ ชัดเจนว่าสิทธิมนุษยชนคืออะไร แม้ว่าในทางปฏิบัติสิ่งที่บริษัทดำเนินการอยู่แล้ว เช่น ประเด็นเรื่องแรงงาน สิ่งแวดล้อม หรือปัจจุบันที่ภาคธุรกิจนิยมทำเรื่องเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) หรือการจัดการคาร์บอน เป็นต้น ล้วนเป็นประเด็นที่ เกี่ยวข้ องกับสิ ทธิ มนุษยชนในมิติต่าง ๆ อยู่แล้ว ในภาพรวมบริษัทที่มีความเข้าใจประเด็นสิทธิมนุษยชนส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ของสหภาพยุโรป แต่ถ้าเป็นบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในห่วงโซ่อุปทานดังกล่าว หรือไม่ได้มีธุรกรรมกับต่างประเทศเลย ก็อาจจะยังไม่ได้มีความเข้าใจมากนัก โดยบริษัทกลุ่มนี้มักเข้าใจว่ าการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบ ด้าน คือ การที่จะมีคนเข้าไปตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัท หรือเป็นสิ่งที่เพิ่มต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินธุรกิจ เมื่อพิจารณาความเข้าใจประเด็นสิทธิมนุษยชนของบริษัทขนาดใหญ่ รวมถึงบริษัทที่จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ พบว่า แต่ละบริษัทยังมีความเข้าใจประเด็นสิทธิมนุษยชนที่แตกต่างกัน รวมไปถึง บุคลากร ระดับบริหารและระดับปฏิบัติงานภายในบริษัทเองก็ยังคงมีความเข้าใจที่แตกต่างกัน เช่น พนักงานไม่ทราบว่า บริษัทตนเองมีการประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชนแล้ว หรือหลายบริษัทกำหนดให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลเป็น ผู้รับผิดชอบในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นประเด็นด้านแรงงานเป็นหลักและยังไม่ครอบคลุม ประเด็นอื่น ๆ เป็นต้น ขณะที่บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กนั้น พบว่า ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจประเด็นสิทธิมนุษยชนมากนัก โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็ก ที่ยังคงให้ความสำคัญกั บการดำเนินธุรกิจ รายได้ หรือผลตอบแทน มากกว่า ประเด็นสิทธิมนุษยชน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง บริษัทขนาดเล็กให้ความสำคัญกับเรื่องธุรกิจเป็นหลัก เช่น คำนึงถึงรายได้ก่อน ถ้ารายได้เพียงพอแล้ว จึงค่อยให้ความสำคัญ กับเรื่องสิทธิมนุษยชน ขณะที่บริษัทขนาด กลาง แม้ว่าจะเริ่มคำนึงถึงประเด็นสิทธิมนุษยชนขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง เช่น สิทธิแรงงานที่ส่งผลกระทบต่อการ ดำเนินธุรกิจ ซึ่งทำให้นายจ้างจำเป็นต้องให้ความสำคัญในระดับหนึ่ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ ขนาดกลางก็ยังให้ความสำคัญกับประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจเป็นหลัก โดยยัง ไม่ได้คำนึงถึงประเด็นสิทธิมนุษยชนโดยรวม สำหรับการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 ใน ภาพรวมพบว่าผลตอบรับของบริษัทไทยยังคงกระจุกตัวอยู่กับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำแผน NAP ขณะที่บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีส่วนร่วมยังมีสัดส่วนไม่ถึงครึ่งหนึ่งของ SMEs ทั้งหมด ทั้งนี้ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม พยายามขยายความร่วมมือไปยังกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ให้ ม ากขึ ้ น ผ่ า นการสร้ างความร่ ว มมื อ กั บหน่ว ยงานต่า ง ๆ เช่ น สภาหอการค้ า แห่ง ประเทศไทย สภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เป็นต้น รวมถึงการร่วมมือกับโครงการพัฒนาแห่ง สหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ในการเข้าไปอบรมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนให้กับ 4-18


กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ด้วย อย่างไรก็ตาม ผลตอบรับของผู้ประกอบการ SMEs ในแต่ละจังหวัด ขึ้นอยู่กับ ความเข้มแข็งของสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยในแต่ละจังหวัดด้วย (สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดที่มีความเข้มแข็ง จะสามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ประกอบการได้จำนวนมาก) นอกจากนี้ ภายใต้แผน NAP ได้กำหนดแนวทางในการติดตาม และประเมินผล โดยพิจารณาคัดเลือก ประเด็นสำคัญ (Key Priority Area) ใน 4 ประเด็น ได้แก่ (1) แรงงาน (2) ชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (3) นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และ (4) การลงทุนระหว่างประเทศ และบรรษัทข้ามชาติ โดยที่ ผ่านมาพบว่าภาคธุรกิจจะให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นแรงงาน และประเด็น ชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (มีการรายงานข้อมูลอย่างละเอียด) ขณะที่ในประเด็นนัก ปกป้องสิทธิมนุษยชน และประเด็นการลงทุนระหว่างประเทศ และบรรษัทข้ามชาติ ซึ่งเป็นประเด็นที่ภาค ประชาสังคมให้ความสำคัญค่อนข้างมาก กลับพบว่าภาคธุรกิจส่วนใหญ่ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลมากนัก (ภาค ธุรกิจยังไม่เห็นว่าตนเองมีความเกี่ยวข้องอย่างไร) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างที่ยังคงมีอยู่ ในประเด็นการลงทุนระหว่างประเทศ และบรรษัทข้ามชาติ พบว่า ในกรณีที่บริษัทต่างชาติเข้ามา ลงทุนในไทย มีกระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment: BOI) เป็นผู้กำกับดูแลบริษัทต่างชาติที่ เข้ามาลงทุนในประเทศไทย แต่ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นด้าน สิทธิมนุษยชนมากนัก (มีการจัดอบรมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนให้กับบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศ ไทยบ้าง แต่ไม่ได้จัดขึ้นบ่อยนัก) ในกรณีบริษัทไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ พบว่ามีการดำเนินการที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น กรณี บริษัทน้ำตาลแห่งหนึ่งที่มีการเผาไร่อ้อยในประเทศเพื่อนบ้าน กรณีน้ำมันรั่วในประเทศเพื่อนบ้าน กรณีการ สร้างเขื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานรัฐที่เป็นเจ้าภาพในการกำกับ ดูแลกรณีที่บริษัทไทยไปลงทุนในต่ างประเทศ ยังไม่มีกลไกในการกำกับดูแล หรือการเยียวยา ทั้งนี้ หน่วยงาน ภาครัฐได้มีการหารือในประเด็นนี้แล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยปัจจุบันกำหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการที่ กำหนดแนวทาง จัดทำ ติดตาม และประเมินผลตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ใน การจัดทำข้อเสนอแนะ 4.3.3 ความคิดเห็นต่อการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทไทย แม้ว่าปัจจุบันผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน อย่างไรก็ตาม ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่าในอนาคตบริษัทเหล่ านี้ จำเป็น ต้องดำเนิน การตรวจสอบดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ บริษัทขนาดใหญ่ บางส่ว นได้ ดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านแล้ว อย่างไรก็ตาม หลายบริษัทมีการดำเนินการตาม ความเข้าใจของตัวเอง และบางบริษัทอาจจ้างบุคคลภายนอกให้เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบดังกล่าว ซึ่งทำให้มี แนวปฏิบัติที่ยังไม่เป็นแนวทางเดียวกัน

4-19


ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่า ประเด็นสิทธิมนุษยชนมีความเกี่ยวข้องและครอบคลุมประเด็นอื่น ๆ หลายประเด็น เช่น ประเด็นสิทธิแรงงาน ที่ทำให้มีหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องหลายแห่ง เช่น กระทรวงแรงงาน กรมคุ้มครอง สิทธิและเสรีภาพ เป็นต้น แต่ที่ผ่านมาพบว่าแต่ละหน่วยงานมีการสื่อสารแนวปฏิบัติที่มีความแตกต่างกัน และมีแนวปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน ซึง่ ทำให้ผู้ประกอบการเกิดความสับสน กระบวนการในการจัดทำกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนก็มีความท้าทายเช่นกัน โดยปัจจุบันหน่วยงานที่ จัดทำร่างกฎหมายต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็นของการจัดทำร่างกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้คณะกรรมการ กฤษฎีกาพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิร่วมพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาพบว่าร่างกฎหมายหลายฉบับไม่ผ่านความเห็นชอบจากกระบวนการพิจารณาดังกล่าว จึงเป็นความ ท้าทายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่างกฎหมายด้วย เพื่อยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่า การสร้างองค์ความรู้ รวมถึงการ สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ประกอบการ และการมีเวทีต่าง ๆ ที่ให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมมากขึ้น เป็นเรื่องที่ควร เร่งดำเนินการเป็นลำดับแรก เพื่อให้สามารถยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทไทยได้มาก ยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์มีข้อสังเกตว่า คำว่า “สิทธิมนุษยชน” เป็นคำที่กว้าง และเข้าใจยากสำหรับ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก แต่หากมีการสื่อสารหรือใช้คำที่ใกล้ตัว หรือเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น สิทธิแรงงาน สิทธิผู้บริโภค เป็นต้น หรือสื่อสารในลั กษณะประเด็นความยั่งยืนแทน ก็จะช่วยสร้างความเข้าใจ ให้กับผู้ประกอบการกลุ่มนี้ได้มากขึ้น ทั้งนี้ จากการสัมภาษณ์ พบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เริ่มสื่อสารและสร้างความเข้าใจประเด็นการ ดำเนินธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนให้กับผู้ประกอบการแล้ว ตัวอย่างเช่น สมาพันธ์เอสเอ็ มอีไทยได้สอดแทรก ประเด็นสิทธิมนุษยชนเข้าไปในการดำเนินงานร่วมกับผู้ประกอบการ SME มีการเชิญวิทยากรมาอบรม มีการ หารือกับประธานจังหวัดทั่วประเทศ มีการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือทางกฎหมาย (สอดแทรกประเด็นสิทธิมนุษยชน เข้าไปในกิจกรรมต่าง ๆ) พยายามสื่อสารให้ผู้ประกอบการเข้าใจว่าประเด็นสิทธิมนุษยชนจะส่งผลกระทบกับ การทำธุรกิจอย่างไร หรือกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนงานสิทธิ มนุษยชนในระดับจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวจะอยู่ภายใต้กระทรวงยุติธรรม โดยมีผู้ว่าราชการ จังหวัดเป็นประธาน และมีผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาพันธ์ เอสเอ็มอีในแต่ละจังหวัดเข้ามาอยู่ในองค์ประกอบของคณะทำงาน เพื่อขับเคลื่อนประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนใน ระดับ จังหวัด (ปัจ จุบั น ได้มีการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชนระดับจังหวัดและ กรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายและแผนงานด้านสิทธิมนุษยชนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ด้านสิทธิมนุษยชนระดับจังหวัดและกรุงเทพมหานคร (กระทรวงยุติธรรม, 2566)) เป็นต้น นอกจากนี้ การสร้างแรงจูงใจให้กับบริษัทเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้บริษัทไทยตื่นตัวในประเด็นด้าน สิทธิมนุษยชน เช่น การมอบรางวัลมาตรฐานธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน เป็นต้น แรงจูงใจเหล่านี้ส่งผลให้บริษัทหัน มาสนใจเรื่ อ งสิท ธิ ม นุ ษ ยชนมากขึ ้น อย่ า งไรก็ ต าม หน่ ว ยงานภาครั ฐ ก็จ ำเป็น ต้ อ งเพิ ่ม การสื่ อ สาร และ ประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงผู้ประกอบการมากขึ้นด้วย 4-20


ผู้ให้สัมภาษณ์เสนอแนวทางการพัฒนาและยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทขนาด กลางและขนาดเล็ก ดังนี้ ระยะสั้น ควรเน้นเรื่องการสร้างองค์ความรู้ เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจว่าสิทธิมนุษยชนคืออะไร และ ต้องสื่อสารประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจ โดยใช้คำที่เข้าใจง่าย หลีกเลี่ยงการใช้คำเฉพาะทาง หรือคำใหญ่ทเี่ ข้าใจยาก เช่น ถ้าพูดถึงประเด็นธรรมาภิบาล ผู้ประกอบการจะไม่เข้าใจ แต่ถ้าสื่อสารว่าเป็นเรื่อง ความยั่งยืน ก็จะทำให้ผู้ประกอบการเข้าใจมากขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการขนาดกลางน่าจะเข้าใจและ เข้าถึงประเด็นสิทธิมนุษยชนพื้นฐานได้ เช่น สิทธิแรงงาน สิ่งแวดล้อม สิทธิผู้บริโภค ซึ่งเป็นประเด็นที่มีการ กำหนดเป็นข้อกฎหมายอยู่แล้ว ดังนั้น การที่ผู้ประกอบการสามารถทำตามกฎหมายต่าง ๆ ได้ ก็ถือว่ายกระดับ การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในระดับหนึ่งแล้ว ระยะกลาง ควรกำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติ ด้านสิทธิมนุษยชนให้ผู้ประกอบการดำเนินการ ตัวอย่างเช่น การกำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติด้านสิทธิผู้บริโภค (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน) สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าออนไลน์ โดยจะต้องมีการกำหนดให้ผู้ประกอบการเปิดเผยอย่างชัดเจนว่า ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะรับรู้ข้อมูลหรือต้องการอะไรบ้าง ผู้ประกอบการจะมีการจัดการกับข้อมูลของผู้บริโภค อย่างไร โดยหากผู้ประกอบการยังไม่สามารถดำเนินการตามมาตรฐานหรือแนวปฏิบัติดังกล่าวได้ ก็ต้องมี กระบวนการพัฒนาให้กับผู้ประกอบการ โดยหน่วยงานรัฐมีการกำหนดรางวัลสำหรับองค์กรที่มีพัฒนาการด้าน สิทธิมนุษยชนที่ดี เพื่อเป็น สิ่งจูงใจให้ผู้ประกอบการเห็นภาพว่าการทำตามมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนจะ ก่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างไร เช่น การได้รับรางวัลรับรองคุณภาพ หรือการทำให้การส่งออกง่ายขึ้น เป็นต้น ซึ่งหากสามารถยกระดับได้ต ามนี้ ก็จะมีส่วนช่วยให้บริษัทสามารถเตรียมความพร้อมเพื่อดำเนินการตาม กฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้ง่ายขึ้น ผู้ให้สัมภาษณ์เสนอว่าหน่วยงานภาครัฐควรบู รณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้มี แนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนเดียวกันที่ผู้ประกอบการเข้าใจตรงกัน ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินการด้านสิทธิ มนุษยชนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งควรกำหนดให้ประเด็นสิทธิ มนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติ และกำหนดเรื่อง/หัวข้อ/ประเด็น (Theme) ที่ชัดเจนและจับต้องได้ เช่น สิทธิ แรงงาน เป็นต้น การกำหนดกังกล่าวจะช่วยให้สามารถหาหน่วยงานเจ้าภาพเพื่อดำเนินการในประเด็นนี้ได้ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น สำหรับการจัดทำร่างกฎหมายการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนนั้น ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่า จำเป็นต้อง สร้างความรู้ความเข้าใจให้ภาคธุรกิจก่อ น รวมทั้งควรพิจารณาจัดทำเป็นกฎหมายในลักษณะของการส่งเสริม เพื่อให้ภาคธุรกิจเห็นประโยชน์จากการดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งจะช่วยลดแรงต่อต้าน และสร้างแรงจูงใจให้ ภาคธุรกิจในการปฏิบัติตามกฎหมายมากขึ้น

4-21


4.3.4 ความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของสหภาพยุโรปเพื่อยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของ บริษัทไทย จากการสัมภาษณ์ พบว่า ที่ผ่านมากรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพยังไม่เคยพบประเด็นข้อร้องเรียนการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนของบริษัทไทยที่เกี่ยวข้องกับสหภาพยุโรป ผู้ให้สัมภาษณ์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมามี ประเด็นข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศ 2 กรณี คือ 1) กรณีสมาชิกสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นลูกจ้างบริษัท บริล เลียนท์ อัลไลแอนซ์ ไทย โกลบอล จำกัด (เดิมชื่อโรงงานไทรอัมพ์) ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม 5 จากการที่ เจ้าของ (ชาวฮ่องกง) ปิดบริษัท ส่งผลให้มีพนักงานถูกเลิกจ้างโดยไม่ทราบล่วงหน้า และไม่ได้รับเงินชดเชย ทั้งนี้ สมาชิกสหภาพฯ ได้ร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมแรงงาน เป็นต้น ซึ่งมีการดำเนินการในส่วนที่หน่วยงานมีหน้าที่รับผิดชอบ สำหรับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้มี การทำหนังสือไปถึงบริษัทแม่ที่ฮ่องกง เพื่อเรียกร้องให้มีการเยียวยาพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง นอกจากนี้ บริษัท วิคตอเรียซีเครท ซึ่งเป็นผู้จ้างผลิต (คู่ค้า) ได้เข้ามาช่วยเหลือเยียวยาพนักงานที่ถูกเลิกจ้างด้วย 2) กรณีบริษัทลูกของ ปตท. ในออสเตรเลีย ทำน้ำมันรั่ว ซึ่งส่งผลกระทบไปถึงอินโดนีเซี ย ก็มีการ เรียกร้องให้บริษัทและรัฐบาลไทยรับผิดชอบผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่ง ปตท. ได้มีการช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟูแล้ว สำหรับการยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทไทย ผู้ให้สัมภาษณ์ว่าบริษัทใน สหภาพยุโรปควรมีมาตรการหรือแนวทางในการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน ให้บริษัทไทยที่เป็นพันธมิตรทาง ธุรกิจ สามารถดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านให้ดีขึ้นได้ ดังนี้ - บริษัทแม่ ควรจัด ทำ guideline เพื่อให้บริ ษ ัทลู ก /บริ ษั ทในห่ว งโซ่ อุ ปทาน ทราบว่าจะต้ อ ง ดำเนินการอย่างไร มีการสร้างความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนเป็น “พี่ เลี้ยง” ให้บริษัทในห่วงโซ่ อุปทานมีแนวปฏิบัติที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน ได้ตามที่กำหนด - รัฐบาลของแต่ละประเทศต้องศึกษากฎหมายหรือแนวปฏิบัติตาม EU due diligence laws และ สื่อสาร สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบริษัทในประเทศของตนควบคู่กันไปด้วย สำหรับการจัดทำร่างกฎหมาย EU due diligence laws นั้น ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่าการเขียนแนว ปฏิบัติด้านการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ควรจะเป็นแนวปฏิบัติที่บริษัททุกขนาดต้องสามารถ ปฏิบัติได้ การเขียนเนื้อหาในกฎหมายควรเขียนเป็นกลาง (ไม่จำเป็นต้องจัดทำแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันสำหรับ บริษัทที่มีขนาดแตกต่างกัน) เช่น กำหนดให้บริษัทมีการทบทวนการดำเนินงาน กำหนดให้มีการระบุความเสี่ยง ด้านสิทธิมนุษยชน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ บริษัทแต่ ละขนาดก็อาจจะมีการดำเนินการที่มีความ เข้มข้นแตกต่างกันก็ได้

5 https://prachatai.com/journal/2021/10/95363

4-22


4.4 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและภาคประชาสังคม 4.4.1 ความสำคัญของประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทไทย จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน ให้ความเห็นว่าประชาคมโลกตื่นตัวในประเด็นสิทธิ มนุษยชนมากขึ้น บริษัทไทยที่มีมุมมองสอดคล้องหรือให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนอยู่แล้ว ก็จ ะนำหลักการที่เกี่ยวข้องมาปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมบริษัทไทยส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจหรือไม่ได้ให้ ความสำคัญในประเด็นสิทธิมนุษยชนกับการดำเนินธุรกิจมากนัก โดยเฉพาะบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งยังให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจเป็นหลัก กล่าวคือ ธุรกิจต้องอยู่ได้ หรือต้องมีรายได้หรือกำไรที่เพียงพอ ในระดับหนึ่งก่อนแล้วจึงค่อยให้ความสำคัญกับประเด็นสิทธิมนุษยชนหรือประเด็นอื่น ๆ เป็นลำดับรอง นอกจากนี้ บริษัทส่วนใหญ่ยังมองประเด็นสิทธิมนุษ ยชนในบริบทที่แยกส่วนกับประเด็นอื่น ๆ เช่น ประเด็น ด้านสิ่งแวดล้อม หรือประเด็นด้านสิทธิในที่ดินทำกิน เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้บริษัทยังไม่เข้าใจว่าการดำเนิน ธุรกิจควรให้ความสำคัญหรือระมัดระวังไม่ให้เกิดผลกระทบในประเด็นใดบ้าง ที่ผ่านมา พบว่า บริษัทไทยหลายแห่งเข้าร่ วมสมาคมหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน และ บริษัทหลายแห่งก็ได้รับรางวัลด้านสิทธิมนุษยชนจากหน่วยงานรัฐ ซึ่งในมุมหนึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้บริษัท สนใจประเด็นสิทธิมนุษยชนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทเหล่านี้บางส่วนก็มีการดำเนินธุรกิจที่มีการละเมิดสิทธิ มนุษยชนเช่นกัน และมีความเป็นไปได้ที่ในอนาคตจะเจอสถานการณ์ของบริษัทที่อาจจะมีการส่งเสริมภาค ประชาสังคมหรือสิ่งแวดล้อม แต่ขณะเดียวกันก็อาจจะมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย 4.4.2 ปัญหา ข้อกังวล อุปสรรคของการดำเนินธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า ในบริบทของประเทศไทย แม้ว่าภาครัฐจะประกาศหรือลงนามในประเด็นด้านสิทธิ มนุษยชนต่าง ๆ ในเวทีระดับสากลอย่างไร หากแต่กระบวนการภายในไม่ได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับ มาตรฐานสากล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ดำเนินการในเชิงรุก ก็อาจไม่สามารถขับเคลื่อนให้ภาคธุ รกิจ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญได้ยกตัวอย่างประเด็นการจัดทำกฎหมายการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อย และเคลื่อนย้ายสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม (Pollutant Release and Transfer Register: PRTR) ซึ่งภาคประชา สังคมพยายามผลักดัน และมีการทำประชาพิจารณ์แล้ว พบว่า ภาคธุรกิจ ประชาชน และหน่วยงานรัฐเห็นชอบ กับร่างกฎหมายดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การจะประกาศใช้กฎหมาย PRTR จำเป็นต้องมีกลไกและกระบวนการ ในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้อาจไม่สามารถผลักดันให้ กฎหมาย PRTR มีผลบังคับใช้ได้ ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับ สิทธิในการเข้าถึงอากาศสะอาด เช่น การปรับค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 โดยที่ ผ่านมารัฐบาลไทยไม่ได้ปรับค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ภาครัฐไม่ได้คำนึงถึงสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงอากาศสะอาดเท่าที่ควร ต่อ มาภาคประชาสัง คมได้ ดำเนินการฟ้องร้องหน่วยงานรัฐในประเด็นดังกล่าว ซึ่งนำไปสู่การปรับค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ให้สอดคล้อง 4-23


กับมาตรฐานสากล ประเด็นนี้สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนและภาคประชาสังคมเป็นฝ่ายที่ต้องกระตุ้นให้ภาครัฐ ดำเนินการ ทั้งที่ควรเป็นหน้าที่ของภาครัฐในการดำเนินการให้เกิดขึ้น เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ากฎหมายของไทยยังมีช่องว่างหรือมีการลดทอนมาตรการ ซึ่งนำไปสู่การละเมิดสิทธิ มนุษยชน ตัวอย่างเช่น กฎหมายผังเมือง ซึ่งกำหนดโซนพื้นที่ตั้งของโรงงานและชุมชน อย่างไรก็ตาม ตามคำสั่ง คสช. ที่ 4/2559 ซึ่งเปิดช่องให้ธุรกิจบางประเภท เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับขยะ ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงด้าน สิ่งแวดล้อม ไม่ต้องพิจารณาผังเมือง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ สามารถตั้งโรงงานขยะที่พื้นที่ใดก็ได้ นอกจากนี้ มีการประกาศแก้กฎกระทรวง ซึ่งเอื้อให้การก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะ ไม่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) เป็นต้น ช่องว่างทางกฎหมายดังกล่าวส่งผลให้การ ดำเนินธุรกิจของบริษัทมีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน ถึงแม้บริษัทจะอ้างว่าได้ดำเนินการตาม กฎหมายแล้วก็ตาม ตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากช่องว่างทางกฎหมาย คือ ในพื้นที่โครงการเขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) มีการออกกฎหมายเฉพาะ6 (กฎหมาย EEC) ซึ่ง เอื้อให้มีการประกอบกิจการที่มีความเสี่ยงในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ เอื้อให้เกิดธุรกิจขนาดใหญ่ที่ไม่ได้ คำนึงถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การประกอบธุรกิจการกลบฝังขยะในพื้นที่ EEC ซึ่งได้รับ ใบอนุญาตจากรัฐอย่างถูกต้อง แต่ที่ผ่านมาพบว่าชุมชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการทำธุรกิจดังกล่าว อีกทั้ง พระราชบัญญัติโรงงานที่มีอยู่ ไม่สามารถกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการ เอาผิดหรือหาผู้รับผิดชอบในการเยียวยาได้ นอกจากนี้ ประเด็นนี้ยังเกี่ยวพันกับผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ซึ่งส่งผลให้ มีการคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในพื้นที่อีกด้วย (ถูกข่มขู่คุกคามถึงชีวิต) ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ากฎหมาย EEC ยังไม่มีเนื้อหาที่กล่าวถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงในทางปฏิบัติก็ไม่มีแนวทางการสร้างการมีส่วน ร่วมหรือการคุ้มครองประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้เชี่ยวชาญให้ความกังวล เนื่องจากภาครัฐมีแนวคิด ที่ จะใช้พื้นที่ EEC เป็นต้นแบบในการสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่อื่น ๆ ด้วย จะเห็นว่าผู้เชี่ยวชาญค่อนข้างให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นประเด็น ที่ เชื่อมโยงเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะเรื่องอากาศสะอาดและมลพิษจากภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ถือเป็น ประเด็นที่ส่งผลกระทบในด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ของผู้คนจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบัน ประเด็นด้าน สิ่งแวดล้อมถือเป็นประเด็นที่ได้รับการยอมรับจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UN General Assembly: UNGA) ว่ามีความเชื่อมโยงกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนอย่างแยกขาดจากกันไม่ได้ เพราะคนทุกคนมีสิทธิที่ จะมีความเป็นอยู่ในสิ่งแวดล้อมทีส่ ะอาด ถูกสุขอนามัย และยั่งยืน (ILO, 2022)

6

พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 4-24


4.4.3 ความคิดเห็นต่อการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทไทย ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า การจัดทำกฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเป็นกลไกหนึ่งที่ สามารถผลักดันให้เกิดการยกระดับด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศได้ โดยกฎหมายดังกล่าวควรครอบคลุมภาค ธุ ร กิ จ ทุ ก ขนาด ทุ ก ประเภท และอาจพิ จ ารณาขอบเขตในการดำเนิ น การ (scope) ที ่ แ ตกต่ า งกั น โดย ผู้เชี่ยวชาญได้ยกตัวอย่างกรณีของโรงไฟฟ้าขยะทุกขนาดจะต้องมีการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) แต่ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าควรมีการปรับการทำรายงาน ให้เหมาะสมกับขนาดโรงไฟฟ้ามากขึ้น โดยอาจกำหนดให้โรงไฟฟ้าขยะขนาดเล็ก จัดทำรายงานที่มีเนื้อหา ครอบคลุมขอบเขตน้อยกว่าโรงไฟฟ้าขยะขนาดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งอาจพิจารณานำหลักการนี้มาปรับใช้กับร่าง กฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนด้วยเช่นกัน ในทางปฏิบัติ บริษัทไทย โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ มีศักยภาพที่จะดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้านได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจในประเด็นสิทธิมนุษยชน และไม่ เห็นประโยชน์ในการทำเรื่องดังกล่าว เช่น บริษัทยังมองไม่เห็นว่าการให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนจะทำให้ สามารถทำโครงการและอยู่ร ่วมกับชุมชนได้โดยไม่เกิดความขัดแย้ง ซึ่งทำให้ที่ผ่านมาบริษัทมักไม่ไ ด้ ให้ ความสำคัญกับสิทธิชุมชนเพียงพอ เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ากระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกั บผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกลไกการ จัดการเรื่องร้องเรียนยังไม่มีประสิทธิภาพมากเพียงพอ ตัวอย่างเช่น การทำโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งต้องมี กระบวนการรับฟังความคิดเห็นหรือการทำประชาพิจารณ์กับชุมชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ กระบวนการรับฟังความคิดเห็นควรเริ่มจากการที่บริษัทจัดหาหรือให้ข้อมูลรายละเอียดโครงการที่เพียงพอ แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียดโครงการก่อนที่จะจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น หรือจัดทำประชาพิจารณ์ อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติพบว่า บริษัทส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ข้อมูลดังกล่า ว และจัด ประชุมโดยเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมกระบวนการเลย จึงทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่มีข้อมูล ที่เพียงพอ หรือไม่สามารถตัดสินใจได้ เนื่องจากขาดความรู้ ความเข้าใจ ขณะทีบ่ างกรณีบริษัทจัดการประชุมทางออนไลน์ ซึง่ ทำให้ขาดการมีส่วนร่วมจากชุมชนในพื้นที่ หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทไทยมักมีการกล่าวอ้างว่าได้จัดทำกลไกหรือช่องทางรับเรื่องร้องเรียนอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนโดยเฉพาะการร้องเรียนในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน มัก เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและเป็นการแก้ไขปัญหาชั่วคราว ซึ่งผู้เ ชี่ยวชาญเห็นว่าภาคธุรกิจ จำเป็นต้อง ยกระดับและพัฒนากลไกการจัดการเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ และต้องนำไปสู่การแก้ ไขปัญหาการ ร้องเรียนได้อย่างยั่งยืน กล่าวโดยสรุป ในภาพรวมผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าหน่วยงานภาครัฐจำเป็นต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้บริษัทเห็นถึงประโยชน์ที่เกิดจากการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะบริษัท ขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นสิทธิมนุษยชนมากนัก รวมถึงควรมีมาตรการ แรงจูงใจเพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านด้วย ทั้งนี้ หน่วยงาน 4-25


ภาครัฐที่ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการผลักดันหรือดำเนินการในประเด็นนี้ ได้แก่ กรมคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพ และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ทั้งนี้ สำนักงาน กสม. เป็นหน่วยงาน ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่แล้ว 4.4.4 ความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของสหภาพยุโรปเพื่อยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของ บริษัทไทย ผู้เชี่ยวชาญเห็น ว่าบริษัทแม่ในยุโรปต้องเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทลูกในไทย ให้เข้าใจประเด็นสิทธิ มนุษยชน สามารถดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

4-26


บทที่ 5 กรณีศึกษาการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทในประเทศไทย คณะวิ จั ย สั ม ภาษณ์ ผู้แ ทนจากบริษั ท ขนาดใหญ่ บริษัทขนาดกลาง และบริษัทขนาดเล็ก และได้ คัดเลือกตัวแทนบริษัทแต่ละขนาดในการจัดทำกรณีศึกษาทั้งหมด 3 แห่ง เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความพร้อมใน การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทแต่ละขนาด โดยมีรายละเอียด ดังนี้ กรณีศึกษาบริษัทขนาดใหญ่: บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ข้อมูลทั่วไป บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (“ไทยยูเนี่ยน” หรือ “บริษัท”) เป็นบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเป็นหนึ่งใน 50 บริษัทในดัชนี SET 501 ของตลาดหลักทรัพย์แห่ ง ประเทศไทย ไทยยู เ นี่ ย นดำเนิน ธุร กิจ ด้า นการผลิต และส่ ง ออกสิ นค้ าอาหารสำเร็ จรูป แช่ แ ข็ งและบรรจุ กระป๋องตั้งแต่ปีพ.ศ. 2520 และจากนั้นขยายไปทำธุรกิจ อาหารสำเร็จรูปและอาหารว่างเพื่อดำเนินธุรกิจด้าน อาหารอย่างครบวงจร โดยไทยยูเนี่ย นมีส ำนักงานทั้ งในทวีป อเมริ ก าเหนื อ ยุโ รป ตะวันออกกลาง และ เอเชีย เพื่อการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั่วโลก บริษัทมีโรงงานผลิตสินค้า 14 แห่ง ในทวีป อเมริกาเหนือ ยุโรป แอฟริกา และเอเชีย ปัจจุบันแรงงานของไทยยูเนี่ยนในประเทศไทย เป็นชาวต่างชาติ สัดส่วน ร้อยละ 66 ของแรงงานทั้ ง หมด ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ชาวเมี ย นมา และมี แ รงงานไทยสั ด ส่ ว น 34 ของแรงงาน ทั้งหมด ผลิตภัณฑ์หลักของไทยยูเนี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเลเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศ มีการ จัดหาวัตถุดิบจากคู่ค้าที่ทำการประมงและคู่ค้าที่ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์ของไทยยูเนี่ยนสามารถแบ่ง ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์อาหาร สัตว์และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ โดยในปี พ.ศ. 2564 ไทยยูเนี่ยนมีรายได้จากผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป 58,955 ล้าน บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42 ของรายได้ทั้งหมด มีรายได้จากผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็ง 58,417 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 41 ของรายได้ทั้งหมด สำหรับผลิตภัณฑ์จากอาหารสัตว์และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ สร้างรายได้ให้ บริษัทจำนวน 23,675 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17 ของรายได้ทั้งหมด รวมรายได้ทั้งหมดของปี พ.ศ. 2564 อยู่ที่ประมาณ 141,000 ล้านบาท ปี พ.ศ. 2564 ผลิตภัณฑ์ของไทยยูเนี่ยนที่ถูกส่งออกไปยังแต่ละประเทศทั่วโลก สัดส่วนยอดขายสูงสุดมา จากการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 44 รองลงมาคือตลาดยุโรปซึ่งมีสัดส่วนยอดขายร้อยละ 28

1 ดัชนีราคาหุ้นที่ใช้แสดงระดับและความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญ 50 ตัวทีม ่ ีมูลค่าตามราคาตลาดสูง การซื้อขายมีสภาพคล่องสูงอย่าง

สม่ำเสมอ และมีสัดส่วนผู้ถอื หุ้นรายย่อยผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2565) 5-1


ตามด้วยตลาดในประเทศไทยซึ่งมีสัดส่วนยอดขายร้อยละ 10 ประเทศญี่ปุ่นมีสั ดส่วนรายได้ร้อยละ 5 และ ประเทศอื่น ๆ รวมกันคิดเป็นร้อยละ 13 จากการประเมินความเสี่ยงประเด็นที่มีนัยสำคัญสำหรับไทยยูเนี่ยนประจำปี พ.ศ. 2564 กับผู้มีส่วนได้ส่วน เสียของไทยยูเนี่ยน ซึ่งบริษัทจำแนกเป็น ผู้ลงทุน พนักงาน คู่ค้า ลูกค้า หน่วยงานรัฐ องค์กรภาคประชาสังคม และชุมชน บริษัท พบว่า ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนยังคงเป็นประเด็นเสี่ยงที่มีความสำคัญสำหรับผู้มีส่ว น ได้ ส่ ว นเสี ย และการดำเนิ น ธุ ร กิ จ ของไทยยู เ นี่ ย น การกำหนดกรอบปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจสอบด้าน สิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Framework) การกำหนดนโยบายด้านสิทธิ มนุษยชน (Human Rights Policy) และการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของไทยยูเนี่ยน (Human Rights Risk Assessment) มีส่วนช่วยให้ไทยยูเนี่ยนสามารถออกแบบกรอบการดำเนินงานเพื่อป้องกันและ ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจนแนวทางเยียวยาหากเกิด กรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทในภาพรวม ไทยยูเนี่ยนได้รับรางวัลและเกียรติประวัติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนมากมายในระดับประเทศและระดับสากล อาทิ ได้รับ รางวัล องค์กรต้น แบบด้านสิทธิมนุ ษยชนจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภ าพ 3 ปี ได้รับรางวัล อันดับ 1 ในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารของโลก จากดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI) เป็นการแสดงถึง การได้รับการรับ รองความก้าวหน้าจากการดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์ SeaChange ซึ่งเป็นกลยุทธ์ความ ยั่งยืนของบริษัท โดยได้รับคะแนนความยั่งยืนในมิติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยรวมที่ 100 เปอร์เซ็นต์ ไทล์ ใน 18 หัว ข้อ ได้ แ ก่ 1. การสรุ ป ประเด็ น ที่ มี นั ย สำคั ญ 2. การบริ ห ารจั ด การความเสี่ ย งและภาวะ วิ ก ฤต 3. การโน้ ม น้ า วด้ า นนโยบาย 4. การบริ ห ารจั ด การห่ ว งโซ่ อุ ป ทาน 5. การบริ ห ารจั ด การด้ า น นวั ต กรรม 6. การรายงานด้ า นสิ ่ ง แวดล้ อ ม 7. นโยบายและระบบการจั ด การด้ า นสิ ่ ง แวดล้ อ ม 8. ประสิทธิภาพการดำเนินงานเชิงนิเวศเศรษฐกิจ 9. ความหลากหลายทางชีวภาพ 10. การบริหารตามหลัก เกษตรกรรมยั่งยืน 11. ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในเรื่องน้ำ 12. การรายงานด้านสังคม 13. สิทธิมนุษยชน 14. ค่าจ้างที่เพียงพอแก่การดำรงชีวิต 15. การดูแลและรักษาพนักงาน 16. ความรับผิดชอบต่อสังคมและการ บริจาคเพื่อการกุศล 17. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และ 18. สุขภาพและโภชนาการ ในขณะที่มิติ ด้านธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ ได้คะแนนที่ 97 เปอร์เซ็นต์ไทล์ นอกจากนี้ ไทยยูเนี่ยนออกแถลงการณ์สนับสนุนกฎหมายการค้าแรงงานทาสของประเทศอังกฤษ ฉบับใหม่ (Modern Slavery Act 2015) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการยุติการใช้แรงงานทาสและการค้ามนุษย์ ในห่วงโซ่อุปทานของการดำเนินธุรกิจของไทยยูเนี่ยน โดยบริษัทตีพิมพ์เผยแพร่รายงานความโปร่งใสของบริษัท ตามกฎหมายดังกล่าวเป็นประจำทุกปี

5-2


ไทยยูเนี่ยนได้รับการรับรองมาตรฐานอื่น ๆ ของประเทศไทยและระดับสากล มาตรฐาน Sedex2 ซึ่งเป็น มาตรฐานด้านจริยธรรมสำหรับการส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรป มาตรฐานแรงงานไทย (มรท.8001-2553) มาตรฐานอุ ต สาหกรรมสี เ ขี ย ว (ISO 14001) มาตรฐาน BRC3 (British Retail Consortium Global Standards) ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหารสากลโดยสมาคมผู้ค้าปลีกแห่งสหราชอาณาจักร และมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) สำหรับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ไทยยูเนี่ยนมีการประกาศและเปิดเผยนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน อย่างเป็น ลายลักษณ์อักษร โดยนโยบายดังกล่าวสอดคล้องกับข้อแนะนำในหลัก การชี้แนะขององค์การ สหประชาชาติ ว ่ า ด้ ว ยธุ ร กิ จ กั บ สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) และครอบคลุมการดำเนินงานผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่อุปทานของไทยยูเนี่ยน ปัจจุบันบริษัทมีคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทำหน้าที่ กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืน ของไทยยูเนี่ยนให้ส อดคล้องและตอบโจทย์เป้าหมาย ให้คำแนะนำและทิศทางการทำงานในเชิงกลยุ ทธ์ นโยบาย และโครงการด้านความยั่งยืน รวมถึงทบทวนความคืบหน้าของการดำเนินงานตามพันธกิจด้านความ ยั่งยืนที่สำคัญ การกำกั บ ดู แ ลการดำเนิ น การด้ า นสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนของบริ ษั ท และคู่ ค้ า ขององค์ ก ร ไทยยู เ นี่ ย นมี การประกาศจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจและหลักปฏิบัติด้านแรงงาน (Business Ethics and Labor Code of Conduct) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 เพื่อกำกับดูแลให้การปฏิบัติงานของบริษัท บริษั ทในเครือ และคู่ค้า เป็นไปตาม นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท ปัจจุบันไทยยูเนี่ยนมีการประกาศจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจและ หลักปฏิบัติด้านแรงงานทั้งหมด 12 ฉบับ สอดคล้องตามกฎหมายของประเทศไทยและมาตรฐานสากลที่ เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน จรรยาบรรณเหล่านี้ครอบคลุมประเด็น การไม่เลือกปฏิบัติ การไม่ใช้แรงงานเด็ก และแรงงานบังคับ ค่าตอบแทนที่เป็น ธรรม สุขภาพและความปลอดภัยในที่ทำงาน ชั่ว โมงการทำงานที่ เหมาะสม ตลอดจนเสรีภาพในการสมาคม (freedom of association) โดยไทยยูเนี่ยนนำหลักจรรยาบรรณมา ปรับใช้ในการดำเนินงานกับทุกฝ่ายปฏิบัติงานขององค์กร นอกจากนี้ ไทยยูเนี่ยนมีการกำหนดนโยบายสิทธิมนุษยชนฉบับย่อยเพิ่มเติม เพื่อใช้เป็นกรอบสำหรับ การดำเนิ น งานด้ า นสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนในมิ ต ิ อ ื ่ น ๆ อาทิ นโยบายการป้ อ งกั น การเลื อ กปฏิ บ ั ต ิ (antidiscrimination) นโยบายการต่อต้านการล่วงละเมิดหรือการคุกคาม (anti-harassment) นโยบายการไม่ตอบ โต้4 (Non Reprisal Policy) และนโยบายสรรหาแรงงานข้ามชาติอย่างมีจริยธรรม5 เป็นต้น ในด้านการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ไทยยูเนี่ยนจัดให้มีคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับการ ดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน และดำเนินการสื่อสารและให้ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน กับพนักงานและคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานเป็นประจำทุกปี โดยในด้านการกำกับดูแลด้านการจัดหาแรงงงานของ 2

https://www.sedex.com/ https://www.brcgs.com/ 4 https://www.thaiunion.com/files/download/sustainability/policy/20210129-tu-non-reprisal-policy-th.pdf 5 https://www.thaiunion.com/files/download/sustainability/20211223-ethical-migrant-recruitment-policy.pdf 3

5-3


คู่ค้า ไทยยูเนี่ย นจะมีก ารดำเนิน การตรวจสอบตั้งแต่แ นวทางในการจัดหาแรงงานที่ จะต้ องเป็ นไปตาม กฎหมาย และมีการอบรมด้านจรรยาบรรณของไทยยูเนี่ยนกับนายหน้าผู้จัดหาแรงงานและแรงงาน ซึ่งจะต้อง ลงนามรับทราบถึงหลักปฏิบัติและแนวทางในการสรรหาแรงงานที่เป็นไปตามหลักจรรยาบรรณของไทยยูเนี่ยน กลไกการรับเรื่องร้องเรียนและการเยียวยา สำหรับกลไกรับเรื่องร้องเรียนและการเยียวยา ไทยยูเนี่ยนมีการจัดทำช่องทางการรับร้องเรียนและ แจ้งเบาะแสการละเมิดหลักปฏิบัติด้านแรงงานที่หลากหลาย โดยพนักงาน แรงงาน ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในห่วงโซ่อุปทานของไทยยูเนี่ยนสามารถร้องเรียนได้ ซึ่งช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนมีหลายช่องทาง อาทิ ฝ่าย ทรัพยากรบุคคล ตู้รับข้อร้องเรียนที่ติดตั้งอยู่ในบริเวณโรงงาน เว็บไซต์ อีเมล โทรศัพท์ สถาบันอิสรา เครือข่าย สิทธิแรงงานข้ามชาติ ("MWRN") และแอปพลิเคชันต่าง ๆ โดยมีกระบวนการจัดการข้อร้องเรียนอย่างเป็น ระบบ มีการกำหนดผู้รับผิดชอบ และกรอบระยะเวลาในการดำเนินการอย่างชัดเจน ด้านแนวทางเยียวยา ไทยยูเนี่ยนมีการจัดทำแนวทางในการเยียวยาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรและ เปิดเผยต่อสาธารณะ ปัจจุบันไทยยูเนี่ยนมีการกำหนดแนวทางในการเยียวยาประเด็นที่เกี่ยวข้องกั บการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจน ทั้งนี้แนวทางการดำเนินการจะขึ้นอยู่กับลักษณะของการละเมิดในแต่ละ ประเภท เพื่อป้องกันผลกระทบจากความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ไทยยูเนี่ยนมีระบบการเฝ้าระวังติดตาม ซึ่งจะมี การประเมินความเสี่ยงและเฝ้าระวังความเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยจะมีการนำผลจากการ ตรวจสอบมาดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการ พัฒนาการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัท บริษัทในเครือ และคู่ค้าในห่วงโซ่ อุปทาน การกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้า ไทยยูเนี่ยนมีการประกาศและสื่ อสารจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจและหลั กปฏิบัติด้านแรงงาน (Business Ethics and Labor Code of Conduct) กับคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง โดยคู่ค้าของไทยยูเนี่ยน ต้องมีการเซ็น รับทราบนโยบายฉบับนี้ก่อนดำเนินธุรกิจ และไทยยูเนี่ยนจัดให้มีการอบรมและสื่อสารให้คู่ค้ารับรู้และปฏิบัติตาม แนวทางของบริษัทเป็นประจำทุกปี มีทีมงานในการให้คำปรึกษาเพื่อสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง รวมถึงมี ระบบการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ และเป็นระบบ ความท้าทายในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ไทยยูเนี่ยนก็ได้มีการยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนมาเป็นลำดับ โดยมีกลยุทธ์ความยั่งยืน ชื่อ SeaChange ซึ่งมีการยกระดับการดูแลแรงงานเป็นองค์ประกอบสำคัญ และออกมาตรการตรวจสอบ ย้อนกลับ (traceability) เพื่อให้บริษัทสามารถพิสูจน์ได้ว่าวัตถุดิบทั้งหมดมาจากแหล่งและกระบวนการที่ 5-4


ปลอดภัยและไม่ผิดกฎหมาย ผลลัพธ์จากมาตรการเหล่านี้ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามนโยบายของบริษัทได้ คือ บริษัทหยุดซื้อวัตถุดิบจากเรือประมงหลายร้อยลำ รวมทั้งหยุดซื้อจากผู้ประกอบการล้ง พร้อมทั้ง มี มาตรการเยียวยารับแรงงานมากกว่า 1,200 คนของล้งเข้ามาเป็นพนักงานปอกกุ้งของบริษัทหลังจากที่พบว่าคู่ ค้าไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานของบริษัทได้ อีกทั้งไทยยูเนี่ยนยังเป็นบริษัทไทยแห่งแรก ๆ ที่ ประกาศนโยบาย “การสรรหาแรงงานข้ามชาติอย่างมีจริยธรรม” (Ethical Migrant Recruitment policy) เพื่อช่วยให้แรงงานสามารถเริ่มทำงานได้อย่างปลอดภัยและปลอดภาระหนี้สิน ไทยยูเนี่ยนมีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 โดย มีการพัฒ นาการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันกรอบการดำเนินการตรวจสอบด้าน สิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของไทยยูเนี่ยนประกอบด้วยหลัก 6 ประการ ได้แก่ 1) คำแถลงและนโยบาย พื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชน 2) การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน 3) การป้องกันหรือลดความเสี่ยง ด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน 4) การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน 5) การเยียวยาผู้ที่ไ ด้รับผลกระทบ 6) การตรวจสอบและการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง โดยไทยยูเนี่ยนมีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้านเป็นประจำทุกปี รวมถึงในปีที่ พ.ศ. 2564 ไทยยูเนี่ยนมีการตรวจสอบด้านแรงงานใน กับพื้นที่ปฏิบัติงานของบริษัทในเครือของไทยยูเนี่ยนเพื่อให้มั่ นใจว่ามีการปฏิบัติสอดคล้องตามนโยบายบริษัท และกฎหมาย นอกจากนี้ ไทยยูเนี่ยนได้มีการปรับปรุงผลการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยผล จากการประเมินพบว่าไทยยูเนี่ยนมีประเด็นเสี่ยงในกระบวนการดำเนินงานขององค์กรและห่วงโซ่อุปทาน ทั้งหมด 8 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การบังคับใช้แรงงานหรือการเป็นทาสสมัยใหม่ 2) หนี้หรือค่าธรรมเนียม ในการจัดหาแรงงานที่สูงเกินไป 3) การขาดเสรีภาพในการสมาคมหรือไม่รับฟังเสียงของแรงงาน 4) แรงงาน เด็ก 5) การทำงานล่วงเวลามากเกินไป 6) สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยและไม่ดีต่อสุขภาพ 7) สุขภาพและ ความปลอดภัยของชุมชนในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจากโรงงาน 8) สุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค บริษัทประเมินว่าสำหรับการดำเนินงานในประเทศไทย ประเด็นเสี่ยงทั้ง 8 ประเด็นดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่ ต้องให้ความสำคัญสูง และไม่สามารถลดระดับการให้ความสำคัญลงได้ รวมถึง จำเป็นต้องดำเนินการปรับปรุง และพัฒนากระบวนการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของประเด็นความเสี่ยง ด้านสิทธิมนุษยชนของไทยยูเนี่ยน ไทยยูเนี่ยนระบุว่าบริษัทเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง รอบด้านใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การเสริมสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วง โซ่อุปทานของไทยยูเนี่ยน เนื่องจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่อุปทานของบริษัทมีจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องเสริมสร้างความรู้ และความเข้าใจในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนให้ครอบคลุม ผู้มีสว่ น ได้ส่วนเสียทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทาน

5-5


2) การกำกับดูแลการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน เนื่องจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่อุปทานของ ไทยยูเนี่ยนมีจำนวนมากและยังมีความรู้ความเข้าใจในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่แตกต่างกัน ดังนั้น ไทยยูเนี่ยนจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนให้ครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วน เสียทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทานอย่างทั่วถึง 3) ด้ า นกฏหมายที ่ ซ ั บ ซ้ อ นของแต่ ล ะประเทศ ในการดำเนิ น การด้ า นสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน เช่ น ในช่ ว ง สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ Covid -19 มีการประกาศกฎหมายที่ใช้ในการบริหารจัดการ และ กำกับดูแลแรงงานต่างด้าวในประเทศหลายฉบับตามประเภทของแรงงานต่างด้าว รวมถึงประเทศต้น ทางมีการประกาศกฎหมาย และหลักเกณฑ์ใหม่สำหรับการจ้างงาน MOU หลังจากสถานการณ์การ แพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 เช่นกัน ทำให้ต้องศึกษาข้อมูลโดยละเอียด สื่อสารให้ทีมงาน ผู้อยู่ใน ห่วงโซ่อุปทาน และพนักงานรับทราบและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง 4) การเข้าใจและการทำงานร่วมกันทุกภาคส่วนทั้งภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาครัฐ ไทยยูเนี่ยนกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบช่องว่างในการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน โดยปรึกษาหารือ และร่วมงานกับพันธมิตรที่หลากหลายทั้งภาคธุรกิจ องค์กรนอกภาครัฐ นักวิชาการ และรัฐบาล เพื่อให้การ ดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของไทยยูเนี่ยนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อเสนอแนะในประเด็นการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน การดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนมีส่วนช่วยให้การดำเนินธุรกิจของไทยยูเนี่ยนเป็นไปอย่างยั่งยืน มากขึ้น อย่างไรก็ตามในการขับเคลื่อนภาพรวมของภาคธุรกิจ ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ ความร่วมมือ การสนับสนุน จากผู้ที่มีส่วนมีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ผู้ลงทุน พนักงาน คู่ค้า ลูกค้า องค์กรภาคประชาสังคม ชุมชน และหน่วยงานรัฐ จึงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก และเกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง

5-6


สรุปประเด็นสำคัญของกรณีศึกษาบริษัทขนาดใหญ่ คณะวิจัยได้สกัดประเด็นที่น่าสนใจของกรณีศึกษาบริษัทขนาดใหญ่ ดังนี้ • ไทยยูเนี่ยนมีการประกาศและเปิดเผยนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งสอดคล้องกับข้อแนะนำใน หลักการชี้แนะขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) • ไทยยู เ นี่ ย น บริ ษั ท ในเครื อ และคู่ ค้ า ของไทยยูเ นี่ย นดำเนินงานภายใต้ จรร ยาบรรณในการ ดำเนิ น ธุร กิจ และหลัก ปฏิ บัติด้านแรงงาน (code of conduct) ซึ่ ง ครอบคลุม ประเด็นเรื่อง การไม่เลือกปฏิบัติ การไม่ใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมสุขภาพ และความปลอดภัยในที่ทำงาน ชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสม ตลอดจนเสรีภาพในการสมาคม • ไทยยูเนี่ย นจัดให้มีคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน และดำเนินการสื่อสารและให้ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนกับพนักงานและคู่ ค้าในห่วงโซ่อุปทานเป็นประจำทุกปี • ไทยยู เ นี่ ย นการจั ด การข้ อ ร้ อ งเรี ย นอย่ า งเป็ น ระบบ มี ก ารกำหนดผู้ รั บ ผิ ด ชอบ และกรอบ ระยะเวลาในการดำเนินการอย่างชัดเจน โดยไทยยูเนี่ยนจัดทำช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ในช่องทางต่อไปนี้ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ตู้รับข้อร้องเรียนที่ติด ตั้งอยู่ในบริเวณโรงงาน เว็บไซต์ อีเมล โทรศัพท์ สถาบันอิสรา เครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติ ("MWRN") และแอปพลิเคชันต่าง ๆ

5-7


กรณีศึกษาบริษัทขนาดกลาง: บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ไม่เปิดเผยตัวตน) ข้อมูลทั่วไป คณะวิจัยเลือกบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่ง เป็นตัวแทนบริษัทขนาดกลาง โดยบริษัทดำเนิน ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นหลัก บริษัทมีการกำหนดวิสัยทัศน์ที่ให้ความสำคัญ กับคุณภาพของการอยู่อาศัย เพื่อตอบสนองลูกค้า ควบคู่กับการเป็นองค์กรที่มีจริยธรรม ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และ ชุมชน รวมถึงการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ ทั้งนี้ บริษัทมีการจัดตั้งมูลนิธิเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาสังคมให้น่าอยู่ เช่น การส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาให้แก่เด็กที่มีพื้นฐานครอบครัวยากจน หรือการอนุรักษ์และพัฒนา สิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยอาศัยความร่วมมือจากพนักงาน ลูกบ้าน และพันธมิตรทางธุรกิจของบริษัท บริษัทให้ความสำคัญกับการยึดหลักธรรมาภิบาลเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ โดยบริษัทเคยได้รับ รางวัล “ธรรมาภิบาลธุรกิจยอดเยี่ยม” จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และ “รางวัลองค์กร ต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน” จากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท บริษัทให้ความสนใจในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน เนื่องจากบริษัทมีเป้าหมายในการเข้าจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ และได้ศึกษาประเด็นที่บริษัทต้องปรับปรุงและพัฒนาเพื่อเตรียมตัวเป็นบริษัทจดทะเบียน โดยพบว่าองค์ประกอบหนึ่งที่ส ำคัญ คือ บริษัทต้องจัดทำจรรยาบรรณธุรกิจ (code of conduct) ซึ่งมีการ ประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชนรวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ บริษัทศึกษาข้อมูลนโยบายของบริษัท อสังหาริมทรัพย์ขนาด ใหญ่ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เป็นแนวทางในการจัดทำนโยบายสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม นโยบายสิทธิ มนุษยชนของบริษัทยังเป็นนโยบายภายในองค์กรเท่านั้น และการจัดทำนโยบายยังเป็นการอ้างอิงตามกฎหมาย ในประเทศ และจารีตประเพณีที่ควรปฏิบัติของสังคมไทย โดยยังไม่ได้มีการอ้างอิงหลักการสิทธิมนุษยชนใน ระดับสากล บริษัทมีการจัดตั้งคณะทำงานด้านความยั่งยืน แต่ยังไม่มีการกำหนดผู้ รับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชน เป็นการเฉพาะ อย่างไรก็ตาม บริษัทมีแผนที่ จะยกระดับนโยบายสิทธิมนุษยชนให้ครอบคลุมคู่ค้า รวมทั้งอยู่ ระหว่างจัดทำแผนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ซึ่งบริษัทจะนำหลักสิทธิมนุษ ยชนและประเด็น ESG มาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา คัดเลือกคู่ค้าในอนาคต ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการพิจารณาคัดเลือกคู่ค้าจะใช้เกณฑ์การคัดเลือกทั่วไป เช่น ข้อมูลการ จดทะเบียนบริษัท ความครบถ้วนของเอกสาร และประสบการณ์ในการทำธุรกิจ เป็นต้น บริษัทมีการสื่อสารและเผยแพร่จรรยาบรรณธุรกิจบนเว็บไซต์เท่านั้น (เป็นการสื่อสารทั่วไป) ยังไม่มี การสื่อสารที่เฉพาะเจาะจงไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่ม ในประเด็นการรับเรื่องร้องเรียน บริษัทมีศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า (call center) สำหรับรับเรื่อง ร้องเรียนจากลูกค้าและบุคคลภายนอก นอกจากนี้ ยังมีช่องทางอื่น ๆ ได้แก่ line official และเว็บไซต์ โดยข้อ 5-8


ร้องเรียนที่พบส่วนใหญ่เป็นข้อร้องเรียนของลูกบ้านโครงการ เช่น มีคนจอดรถขวางหน้าบ้าน หรือปัญหาเรื่อง สัตว์เลี้ยง ซึ่งอยากให้โครงการจัดการหรือไกล่เกลี่ยให้ เป็นต้น สำหรับช่องทางร้องเรียนสำหรับพนักงาน บริษัท จัดทำ QR code ที่พนักงานสามารถสแกนเพื่อเข้าถึงแบบฟอร์มรับเรื่องร้องเรียน (google form) ซึ่งมีฝ่าย ทรัพยากรบุคคลเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาบริษัทยังไม่เคยมีข้อร้องเรียนในประเด็นสิทธิมนุษยชน สำหรับกรณีร้องเรียนเรื่องทุจริต บริษัท จะมีคณะกรรมการตรวจสอบภายในเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ เพื่อ ดำเนินการตรวจสอบหาข้อเท็จจริง โดยพิจารณาเป็นรายกรณี ความท้าทายในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน บริษัทยังไม่เคยดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เนื่องจากบริษัทยังไม่เข้าใจว่า กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านคืออะไร ไม่ทราบขั้นตอนหรือประเด็นที่ต้องตรวจสอบ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุด คือ ภาคธุรกิจต้องได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ก่อน จึงจะสามารถยกระดับการดำเนินงานต่อไปได้ ข้อเสนอแนะในประเด็นการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน บริษัทเสนอว่าควรมีการจัดอบรมความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงจัดทำและเผยแพร่องค์ความรู้ใน ช่องทางที่เข้าถึงได้ง่ายและหลากหลาย สรุปประเด็นที่สำคัญของกรณีศึกษาบริษัทขนาดกลาง คณะวิจัยได้สกัดประเด็นที่น่าสนใจของกรณีศึกษาบริษัทขนาดกลาง ดังนี้ • บริษัทกำลังจัดทำนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยอ้างอิง นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เป็น แนวทาง • บริษัทจะนำหลักสิทธิมนุษยชนและประเด็น ESG มาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกคู่ค้าใน อนาคต • บริ ษ ั ท มี ศ ู น ย์ บ ริ ก ารข้ อ มู ล ลู ก ค้ า (call center) line official และเว็ บ ไซต์ สำหรั บ รั บ เรื ่อง ร้องเรียนจากลูกค้าและบุคคลภายนอก นอกจากนี้ บริษัทยังไม่เคยมีข้อร้องเรียนในประเด็นสิทธิ มนุษยชน • บริษัทยังไม่เข้าใจว่ากระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านคืออะไร จึงยังไม่เคย ดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

5-9


กรณีศึกษาบริษัทขนาดเล็ก: ห้างหุ้นส่วนจำกัด โชคอุดมรัชฏ์118 ข้อมูลทั่วไป ห้างหุ้นส่วนจำกัด โชคอุดมรัชฏ์ 118 (“ห้างหุ้นส่วน” หรือ “แพปูโชคอุดมรัชฏ์”) เป็นห้างหุ้นส่วนขนาด เล็ก (ในปี 2564 บริษัทมีรายได้รวม 10.7 ล้านบาท สินทรัพย์รวม 2.3 ล้านบาท) ประกอบกิจการแพปูใน จังหวัดปัตตานี และทำธุรกิจจำหน่ายอาหารทะเลที่ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (one stop service) ตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ กล่าวคือ เป็นทั้งเจ้าของท่าเรือ มีเรือประมงและโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง รวมถึงมีบริการ ขนส่งและจำหน่ายสินค้าอาหารทะเลทั่วประเทศ โดยแรงงานของแพปูโชคอุดมรัชฏ์ราวร้อยละ 80 เป็นชาว เมียนมา แพปูโชคอุดมรัชฏ์เป็นผู้ส่งสินค้าให้กับบริษัท วิยะเครป โปรดักส์ จำกัด ซึ่งเป็นคู่ค้าที่ดำเนินธุรกิจผลิต และส่งออกเนื้อปูม้าแช่แข็งและเนื้อปูม้ากระป๋อง โดยมีตลาดส่งออกหลักคือประเทศสหรัฐฯ ดังนั้น แพปูโชค อุดมรัชฏ์ ในฐานะที่เป็นบริษัทในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท วิยะเครป โปรดักส์ จำกัด จะต้องจัดทำ หนังสือ กำกับ การซื้อขายสั ต ว์ น ้ ำ 6 (Marine Catch Purchasing Document : MCPD) ซึ่ ง เป็ น เอกสารสำหรั บ ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อใช้อ้างอิงในการออกหนังสือรับรองการจับสัตว์น้ำสำหรับการส่งออกตามพระราช กำหนดการประมง พ.ศ. 2558 การทำ MCPD ถือเป็นการตรวจสอบความถูกต้องในการดำเนินงานต่าง ๆ ของแพปูโชคอุดมรัชฏ์ เช่น การตรวจสอบความถูกต้องของน้ำหนักของสินค้าที่ส่งให้กับโรงงาน การขึ้นทะเบียนเรือและการขอใบอาชญา บัตรเรือหรือใบอนุญาตทำการประมงที่ถูกต้องตามกฎหมาย ตลอดจนมีการตรวจสอบจำนวนแรงงานบนเรือ ทั้งขาไปและขากลับ เป็นต้น ซึ่งทุกจุดจะต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทในภาพรวม แพปูโชคอุดมรัชฏ์ยังไม่เคยประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชนเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างไรก็ตาม ห้าง หุ้นส่วนให้ความสำคัญกับการเคารพสิทธิขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะสิทธิแรงงาน เช่น การไม่เลือกปฏิบัติระหว่าง แรงงานไทยกับแรงงานข้ามชาติ และที่ผ่านมาบริษัทดูแลแรงงานเป็นอย่างดี ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากข้อเท็จจริง ที่ว่าแรงงานส่วนใหญ่ทำงานกับแพปูโชคอุดมรัชฏ์เป็นเวลานาน รวมถึงมีการชักชวนเพื่อนให้มาทำงานด้วยกัน ด้วย ในประเด็นการจัดการข้อร้องเรียนของแรงงาน แพปูจะมีหัวหน้างานบนเรือคอยดูแลการทำงานของ แรงงาน หากแรงงานมีปัญหาในการทำงาน ก็สามารถแจ้งกับหัวหน้างานในประเด็นดังกล่าวได้ โดยหัวหน้างานจะ ช่วยพิจารณาเพื่อแก้ปัญหาในเบื้องต้น แต่หากไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ก็จะประสานกับผู้จัดการแพเพื่อให้ช่วย พิจารณาแก้ปัญหาต่อไป

6 http://www.fishmarket.co.th/intranet/images/upload/km/km2_trace.pdf

5-10


ทั้งนี้ ปัญหาในการทำงานที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากการทำงาน เช่น หอยเม่นตำ มือ ลื่นล้ม เคล็ดขัดยอก เป็นต้น โดยแรงงานที่ได้รับบาดเจ็บจะมีสิทธิเข้ารับการรักษาทุกคน ซึ่งแรงงานทุกคน จะมีสิทธิประกันสังคมเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว นอกจากนี้ ห้างหุ้นส่วนจะพาแรงงานที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน ไปรักษาที่คลินิกหรือโรงพยาบาลเอกชน รวมถึงรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาทั้งหมดด้วย ในด้านการจัดการข้อร้องเรียนจากชุมชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก ปัจจุบันห้างหุ้นส่วนยังไม่มี กระบวนการจัดการข้อร้องเรียนจากชุมชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อาจได้รับผลกระทบทางลบจากการดำเนิน ธุรกิจที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม หากชุมชนมีประเด็นที่ต้องการร้องเรียน ก็สามารถร้องเรียนกับองค์กรบริหารส่วน ตำบล (อบต.) ได้ และที่ผ่านมายังไม่เคยได้รับเรื่องร้องเรียนจากชุมชน ทั้งนี้ หากเกิดกรณีที่มีการร้องเรียน จากชุมชน ห้างหุ้นส่วนจะพิจารณาเพื่อแก้ไขปัญหาและเยียวยาเป็นกรณีไป ความท้าทายในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ถึงแม้แพปูโชคอุดมรัชฏ์จะยังไม่มีกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ห้างหุ้นส่วนมอง ว่าตนถูกตรวจสอบและประเมินเกี่ยวกับการดูแลแรงงานจากหน่วยงานภายนอก เช่น กรมสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงาน เป็นประจำทุกปี ซึ่งที่ผ่านมายังไม่พบประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการตรวจสอบของ พนักงานตรวจแรงงาน สำหรับประเด็นที่ห้างหุ้นส่วนมีความกังวลส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการสื่อสารของแรงงานที่ ต้องให้สัมภาษณ์กับพนักงานตรวจแรงงาน ซึ่งมักจะมีการสื่อสารที่ผิดพลาด หรือสื่อสารไม่ชัดเจนจนทำให้เกิด ความคลาดเคลื่อน ห้างหุ้นส่วนเห็นว่าการดำเนินธุรกิจของแพปูโชคอุดมรัชฏ์น่าจะไม่มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการละเมิด สิทธิมนุษยชนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก เนื่องจากแพปูเป็นแพปิด การดำเนินการส่วนใหญ่ เช่น การนำ สิน ค้าทะเลขึ้น แพ จึงอยู่ในพื้น ที่ของตัว เอง การมีข้อขั ดแย้งหรือการกระทบกระทั่งระหว่างห้างหุ้นส่ว น หรือชุมชน จึงเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ตาม ในประเด็นปัญหาการหาปลาที่ทับซ้อนกันกับเรือประมงอื่น เป็นประเด็นที่เกิดขึ้นเป็น ปกติ แต่ห้างหุ้นส่วนแต่ละรายจะมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันก่อนเพื่อไม่ให้เกิดข้อขัดแย้ง หรือหากมีกรณีที่ เกิดความเสียหาย เช่น เรือประมงของห้างหุ้นส่วนรายอื่นใช้อวนลากแล้วส่งผลให้เกิดความเสียหายกับลอบที่ แพปูวางเอาไว้ หัวหน้างานก็จะมีการติดต่อสื่อสารกับเรือประมง และหารือร่วมกันเพื่อชดเชยค่าเสียหายที่ เกิดขึ้น ในด้านการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติให้คู่ค้าเคารพหรือดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน ห้าง หุ้นส่วนให้ความสำคัญกับการกำหนดให้คู่ค้าจ้างแรงงานอย่างถูกกฎหมาย ไม่มีการใช้แรงงานบังคับ การจ่าย ค่าแรงอย่างน้อยต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และแรงงานที่มีทักษะต้องได้รับค่าแรงที่สูงขึ้น อย่างไรก็ ตาม ข้อกำหนดดังกล่าวยังไม่ ได้จัดทำเป็น ลายลักษณ์อักษร เป็นการตกลงกันด้ว ยวาจาเท่านั้น และห้าง หุ้นส่วนจะมีการตรวจเยี่ยมคู่ค้าเป็นระยะ ทั้งนี้ คู่ค้าส่วนใหญ่มีการส่งออกสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ด้วย จึงทำให้มั่นใจในระดับหนึ่งว่าคู่ค้ามีการดูแลแรงงานได้ดีในระดับหนึ่ง 5-11


ข้อเสนอแนะในประเด็นการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน สำหรับการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ห้างหุ้นส่วนเห็นว่าจำเป็นที่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็กจะได้รับการส่งเสริมจากหน่ว ยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ คำแนะนำและให้ความรู้ การดำเนินการส่ งเสริมในด้านนี้ควรจะสอดคล้องกับนโยบายหรือแนวปฏิบัติในการ ดำเนินธุรกิจที่มีอยู่แล้วของผู้ประกอบการ รวมทั้งควรสื่อสารเพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจและเห็นประโยชน์ใน การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านด้วย นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐควรทำความเข้าใจบริบทของผู้ประกอบการให้มากขึ้น มีการตรวจสอบที่ ชั ดเจนก่ อ นที ่ จ ะประกาศนโยบายหรื อ ดำเนิ น การใด ๆ ซึ ่ ง อาจส่ ง ผลกระทบต่ อ การดำเนิ น ธุ ร กิ จ ของ ผู้ประกอบการได้ ตัวอย่างเช่น กรณีที่เรือประมงไทยถูกกล่าวหาในประเด็นการใช้แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย หรือมีส่วนร่วมกับการค้ามนุษย์ หน่วยงานภาครัฐควรตรวจสอบอย่างละเอียดว่าในประเด็นดังกล่าวเกิดขึ้นใน ภาพรวมของทั้งอุตสาหกรรม หรือเกิดขึ้นเฉพาะผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการ ประกาศนโยบายหรือการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เป็นประเด็นที่มีความสำคัญจริง ๆ สรุปประเด็นที่สำคัญของกรณีศึกษาบริษัทขนาดเล็ก คณะวิจัยได้สกัดประเด็นที่น่าสนใจของกรณีศึกษาบริษัทขนาดเล็ก ดังนี้ • ห้างหุ้นส่วนยังไม่เคยประกาศนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างไรก็ตาม ห้ า งหุ้ น ส่ ว นให้ความสำคัญกับการเคารพสิทธิขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะสิ ทธิแรงงาน เช่น การ กำหนดให้คู่ค้าจ้างแรงงานอย่างถูกกฎหมาย ไม่มีการใช้แรงงานบังคับ การจ่ายค่าแรงอย่างน้อย ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด สิทธิในการรักษาพยาบาล และแรงงานที่มีทักษะต้องได้รับ ค่าแรงที่สูงขึ้น • ปัจจุบันห้างหุ้นส่วนยังไม่มีกระบวนการจัดการข้อร้องเรียนจากชุมชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อาจ ได้รับผลกระทบทางลบจากการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจน • ห้างหุ้นส่วนมองว่าหน่วยงานภาครัฐควรส่งเสริมและให้คำแนะนำในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนแก่ ผู้ประกอบการขนาดเล็ก รวมถึงสื่อสารให้ผู้ประกอบการเข้าใจและเห็นประโยชน์ในการตรวจสอบ ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านด้วย

5-12


บทที่ 6 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คณะวิจัยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อค้นพบจากการทบทวนวรรณกรรม การสำรวจความพร้อมในการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทในประเทศไทย การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการจัดทำกรณีศึกษา เพื่อ จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เพื่อ ยกระดับความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทในประเทศไทย ดังแสดงใน ตารางที่ 6-1

6-1


ตารางที่ 6 - 1 สรุปข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เพื่อยกระดับความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ของบริษัทในประเทศไทย แนวทางการยกระดับการดำเนินงาน ด้านสิทธิมนุษยชน การจัดทำกฎหมายการตรวจสอบด้าน สิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (ใหม่) การเสริมสร้างศักยภาพของบริษัทใน การดำเนินงานด้านธุรกิจกับสิทธิ มนุษยชน

บริษัทขนาดใหญ่ ควรปฏิบัตติ ามกฎหมายใหม่

บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ในห่วงโซ่ อุปทานของบริษัทขนาดใหญ่หรือต้องทำตาม ข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชนจากผู้ซื้อ ไม่ต้องปฏิบตั ิตามกฎหมายใหม่

บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมอื่น ๆ ไม่ต้องปฏิบตั ิตามกฎหมายใหม่

การขยายผลจากคู ่ ม ื อ การประเมิ น ความพร้ อ ม/ การขยายผลจากคู ่ ม ื อ การประเมิ น ความพร้ อ ม/ การจัดทำคู่มือ/แนวปฏิบัติในการดำเนินการตาม ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน กฎหมายที ่ เ กี ่ ย วข้ อ งกั บ ประเด็ น ด้ า นสิ ท ธิ มนุษยชน หลั ก สู ต รการอบรมและคู ่ ม ื อ ที ่ เ กี ่ ย วข้ อ งสำหรั บ การจัดทำและเผยแพร่คู่มือและเอกสารแนวนโยบาย การจั ด ทำและเผยแพร่ ค ู ่ ม ื อ และเอกสาร บริ ษ ั ท ขนาดใหญ่ ค วรเพิ ่ ม เติ ม เนื ้ อ หาเกี ่ ย วกั บ ที่ครอบคลุมประเด็นเสี่ยงระดับอุตสาหกรรม รวมถึง แนวนโยบายที ่ ค รอบคลุม ประเด็ น เสี่ ยงระดับ ประเด็นต่อไปนี้ คู ่ ม ื อ และแนวนโยบายของภาคธุ ร กิ จ ในประเด็ น อุตสาหกรรม รวมถึงคู่มือและแนวนโยบายของ - หลักการและกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม ต่อไปนี้ ซึ่งยังมีช่องว่างอยู่มากระหว่างมาตรฐานสากล ภาคธุรกิจในประเด็นต่อไปนี้ ซึ่งยังมีช่องว่างอยู่มาก อย่างมีความหมาย (meaningful engagement) กับการปฏิบัติในไทย ระหว่างมาตรฐานสากลกับการปฏิบัติในไทย - หลักการและกระบวนการคุ้มครองการให้ความ - นโยบายปกป้ อ งคุ ้ ม ครองนั ก สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน - นโยบายปกป้องคุ้มครองนักสิทธิมนุษยชน ยินยอมโดยสมัครใจที่เป็นอิสระและได้รับข้อมูล รวมถึ ง นโยบายไม่ ต อบโต้ (non-retaliation รวมถึงนโยบายไม่ตอบโต้ (non-retaliation ล่วงหน้า (free, prior, and informed consent: policy) policy) FPIC) - นโยบายปกป้องผู้ใช้สิทธิในการชุมนุมสาธารณะ - นโยบายปกป้ อ งผู ้ ใ ช้ ส ิ ท ธิ ใ นการชุ ม นุ ม - กลไกการจัดการเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิผล - นโยบายการปรึ ก ษาหารื อ กั บ กลุ ่ ม ชาติ พ ั น ธุ์ / สาธารณะ และกลไกการเยียวยาที่โปร่งใส ชุมชนท้องถิ่น - นโยบายการปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ ชุมชนท้องถิ่น 6-2


แนวทางการยกระดับการดำเนินงาน ด้านสิทธิมนุษยชน

บริษัทขนาดใหญ่

บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ในห่วงโซ่ อุปทานของบริษัทขนาดใหญ่หรือต้องทำตาม ข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชนจากผู้ซื้อ

การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ชนิดเข้มข้น (heightened human rights due diligence) ในพื้นที่ความเสี่ยงสูง การจัดทำและเผยแพร่คู่มือและเอกสารแนวนโยบาย ที ่ ค รอบคลุ ม ประเด็ น เสี ่ ย งระดั บ อุ ต สาหกรรม รวมถึ ง คู ่ ม ื อ และแนวนโยบายของภาคธุ ร กิ จ ใน ประเด็ น ต่ อไปนี ้ ซึ ่ งยั งมี ช ่ องว่ างอยู ่ มากระหว่ าง มาตรฐานสากลกับการปฏิบัติในไทย - นโยบายปกป้ อ งคุ ้ ม ครองนั ก สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน รวมถึ ง นโยบายไม่ ต อบโต้ (non-retaliation policy) - นโยบายปกป้องผู้ใช้สิทธิในการชุมนุมสาธารณะ - นโยบายการปรึกษาหารื อกับกลุ่ม ชาติ พ ั น ธุ์ / ชุมชนท้องถิ่น การยกระดับไปสู่การเป็น “พี่เลีย้ ง” การดำเนินงาน การเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ด้านสิทธิมนุษยชน (สำหรับบริษัทขนาดกลางและ ขนาดย่อมที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของตนเอง)

บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมอื่น ๆ

-

6-3

การเสริ ม สร้ า งองค์ ค วามรู ้ ด ้ า นธุ ร กิ จ กั บ สิ ทธิ มนุ ษ ยชน (เน้ น การสื ่ อ สารที ่ เ ข้ า ใจได้ ง ่ า ย เชื่อมโยงกับประเด็นที่ใกล้ตัว เช่น สิทธิแรงงาน สิทธิผู้บริโภค)


แนวทางการยกระดับการดำเนินงาน ด้านสิทธิมนุษยชน การบูรณาการแนวปฏิบัติให้เป็น มาตรฐานเดียว และการเพิ่มระดับ ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ

บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ในห่วงโซ่ บริษัทขนาดใหญ่ อุปทานของบริษัทขนาดใหญ่หรือต้องทำตาม ข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชนจากผู้ซื้อ การเพิ่มระดับความร่วมมือกับ ก.ล.ต. เพื่อเสริมสร้าง การเพิ ่ ม ระดั บ ความร่ ว มมื อ กั บ หน่ ว ยงานภาครั ฐ องค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนให้บริษัทจดทะเบียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเร่งขยายผลการสร้าง ในตลาดหลักทรัพย์ องค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนให้ครอบคลุมบริษัททุก ขนาด ทุกอุตสาหกรรม และครอบคลุมทุกจังหวัด

บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมอื่น ๆ

การเพิ่มระดับความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเร่งขยายผลการ สร้างองค์ความรูด้ ้านสิทธิมนุษยชนให้ครอบคลุม บริษัททุกขนาด ทุกอุตสาหกรรม และครอบคลุม ทุกจังหวัด การจั ด ทำฐานข้ อ มู ล ที ่ เ กี ่ ย วข้ อ ง บู รณาการ การจัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง บูรณาการฐานข้อมูล การจั ด ทำฐานข้ อ มู ล ที ่ เ กี ่ ย วข้ อ ง บู ร ณาการ ฐานข้ อ มู ล เพื ่ อ ใช้ ป ระโยชน์ ร ่ ว มกั น และเปิ ด เผย เพื ่ อ ใช้ ป ระโยชน์ ร ่ ว มกั น และเปิ ด เผยฐานข้ อ มู ล ฐานข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน และเปิดเผย ฐานข้อมูลข้อร้องเรียนที่ผ่านการสอบสวนแล้ว เป็น ข้ อ ร้ อ งเรี ย นที ่ ผ ่ า นการสอบสวนแล้ ว เป็ น ข้ อ มู ล ฐานข้อมูลข้อร้องเรียนที่ผ่านการสอบสวนแล้ว ข้อมูลสาธารณะ สาธารณะ เป็นข้อมูลสาธารณะ

6-4


รายละเอียดของข้อเสนอแนะเชิงนโยบายข้างต้น สามารถสรุปได้ ดังนี้ 6.1 การจัดทำกฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน คณะวิจัยเห็นว่าการจัดทำกฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านสำหรับกิจการ ขนาดใหญ่ น่าจะเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องดำเนินการไม่ช้าก็เร็ว ตามแนวโน้มการออกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน ในระดับ สากล และข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทต่างชาติที่รับซื้อสินค้าและบริการจากบริษัทไทย เนื่องจากบริษัทไทยจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ มีแนวโน้มที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายใน ต่างประเทศหรือข้อกำหนดของลูกค้ามากขึ้น การพิจารณาออกกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นกลไกสำคัญที่ จะ ยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทในประเทศไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังเป็นการ สร้างความเท่าเทียมของธรรมเนียมปฏิบัติระหว่างบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อกำหนด ด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศ กับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันที่ยังไม่ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรื อ ข้อกำหนดดังกล่าว อย่างไรก็ดี เนื่องจากระดับความพร้อมและความจำเป็นในการปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวมี ความ แตกต่างกันระหว่างบริษัทที่มีขนาดหรือความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่แตกต่างกัน คณะวิจัย จึงมีข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการใช้กฎหมายแบ่งตามบริษัท 3 กลุ่ม ดังนี้ 6.1.1 กลุม่ บริษัทขนาดใหญ่ ประเทศไทยควรออกกฎหมายที่ก ำหนดให้บริ ษัท ขนาดใหญ่ ต้อ งดำเนิน การตรวจสอบด้ า นสิ ท ธิ มนุษยชนอย่างรอบด้านและเปิดเผยความคืบหน้าเป็นประจำทุกปีตามหลักการชี้แนะ UNGPs ทั้งนี้ เนื่องจาก ผลการวิจัยพบว่า บริษัทขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะบริษัทที่มีคู่ค้าอยู่ในประเทศที่มีกฎหมายเกี่ยวกับ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน หรือกฎหมายเกี่ยวกับ การเปิดเผยข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชน มีความคุ้นเคยกับกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน และมีการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน อย่างต่อเนื่องแล้ว ในระดับหนึ่ง ส่วนบริษัทขนาดใหญ่ที่ยังไม่มีกระบวนการดังกล่าวก็มีทรัพยากรเพียงพอ ทั้งด้านงบประมาณและบุคลากรที่สามารถยกระดับไปสู่การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้ นอกจากนี้ ปัจจุบันทุกบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต้องเปิดเผยข้อมูลด้าน สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนในแบบแสดงรายการข้ อ มู ล ประจำปี (56-1 One Report) ตามข้ อ กำหนดของสำนัก งาน คณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อยู่แล้ว ซึ่งการเปิดเผยข้อมูลให้ตรงตาม ข้อกำหนดดังกล่าวแปลว่าบริษัทจดทะเบียนมีความตื่นตัว และมีแรงจูงใจที่จะดำเนิน การประเมินความเสี่ยง ด้านสิทธิมนุษยชนอยู่แล้วในบางระดับ คณะวิจัยเห็นว่า กฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนดังกล่าวควรตั้งอยู่บนเกณฑ์ที่ชัดเจน สำหรับคัดกรองบริษัทที่ต้องดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านตามกฎหมาย โดยอาจใช้ จำนวนพนักงานหรือรายได้ของบริษัทต่อปีเป็นเกณฑ์การพิจารณา เช่น ต้องมีรายได้มากกว่า 1,000 ล้านบาท 6-5


ต่อปี (สองเท่าของเกณฑ์ตัด “วิสาหกิจขนาดกลาง” ตามกฎกระทรวง กำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม พ.ศ. 2562) นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวควรกำหนดมาตรการจูงใจให้บริษัทขนาดใหญ่ที่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตาม กฎหมายฉบับนี้มีมาตรการเสริมสร้างศักยภาพของบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมในห่วงโซ่อุปท านของ ตนเอง เพื่อสามารถ “ส่งต่อ” ความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทานตามหลักการชี้แนะ UNGPs เช่น การเป็น “พี่เลี้ยง” ที่สามารถให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่ า ง รอบด้ า นให้ แ ก่ บ ริ ษั ท ขนาดกลาง ขนาดย่ อ ม และบริ ษั ท ทุ ก ขนาดที่ อ ยู่ ใ นห่ ว งโซ่ อุ ป ทานของตนได้ (รายละเอียดกล่าวถึงในข้อเสนอที่ 2.) 6.1.2 กลุ่มบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทขนาดใหญ่ และต้อง ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชนจากผู้ซื้อ บริษัทในกลุ่มนี้มีความคุ้นเคยกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในระดับหนึ่ง แล้ว เนื่องจากต้องมี การดำเนินการและรายงานด้านสิทธิมนุษยชนตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานด้านความยั่งยืน ที่ผู้ซื้อเรียกร้อง หรืออาจถูกตรวจสอบโดยผู้ซื้อหรือองค์กรตรวจสอบภายนอกในกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้านของผู้ซื้อ นอกจากนี้ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่าบริษัทขนาดกลางบางแห่งมีเป้าหมายใน การเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จึงมีการเตรียมความพร้อ มใน การจัดทำนโยบายด้านความยั่งยืน รวมถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน เพือ่ เตรียมเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนด ของ ก.ล.ต. คณะวิจัยเห็นว่าการยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทกลุ่มนี้ ยังไม่ควรเน้นกลไก เชิงบังคับของกฎหมายการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเฉกเช่นบริษัทขนาดใหญ่ เนื่องจาก บริษัทกลุ่มนี้มีทรัพยากรและบุคลากรน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม บริษัทกลุ่มนี้มีความคุ้นเคยกับการดำเนินงาน ด้านสิทธิมนุษยชนอยู่แล้วในบางระดับ เนื่องจากต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของผู้ซื้อ บริษัทกลุ่มนี้จึงสามารถให้ ข้อมูลได้เป็นอย่างดีถึงมาตรการเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินการด้านสิท ธิมนุษยชนที่น่าจะมีประสิทธิผล สำหรับบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (ดูรายละเอียดในข้อเสนอที่ 2.) 6.1.3 กลุม่ บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมอื่น ๆ ผลการวิจัย พบว่า บริษัทกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจเป็นอันดับแรก และโดยรวมยังขาด ความรู้ความเข้าใจในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน และยังไม่สามารถเชื่อมโยงได้ว่าประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจอย่างไร คณะวิจัยเห็นว่าการยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท กลุ่มนี้ ในระยะแรกควรเน้น การสร้างความรู้ และความเข้าใจให้บริษัทเห็นประโยชน์ ที่จะได้รับจากการ ดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนเป็นลำดับแรก (รายละเอียดกล่าวถึงในข้อเสนอที่ 2.) และเมื่อบริษัทมีความรู้ความ เข้าใจแล้ว จึงส่งเสริมให้มีการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านต่อไป 6-6


6.2 การเสริมสร้างศักยภาพของบริษัทในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน จากผลสำรวจความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านในการจัดทำรายงานฉบับนี้ พบว่า บริษัทส่วนใหญ่ยังไม่เคยดำเนินการประเมินความเสี่ยงและ/หรือผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ดังนั้น คณะวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการเสริมสร้างองค์ความรู้และยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของ บริษัท (รายละเอียดกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป) ควบคู่ไปกับการจัดทำร่างกฎหมายสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ ดังกล่าวถึงในข้อเสนอที่ 1. ข้างต้น จากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายรายเสนอให้มีการจัดทำคู่มือการประเมิน ความเสี่ ย งด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อให้บริษัทมีแนวปฏิบัติที่สามารถดำเนินการได้เอง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาพบว่า หน่วยงานภาครัฐและองค์กรระหว่างประเทศเริ่มมีการจัดทำคู่มือลักษณะดังกล่าวแล้ว อาทิ คู่มือประเมิน ความเสี่ ย งด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) และรายการ ตรวจสอบ (Checklist) ของภาคธุรกิจ โดยสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คู่มือสิทธิมนุษยชน สำหรับผู้บริหาร (CEO Guide to Human Rights) โดย World Business Council for Sustainable Development: WBCSD) และคู่มือประกอบการฝึกอบรมว่าด้วยการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยโครงการ พัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) เป็นต้น อย่างไรก็ดี เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากคู่มืออย่างกว้างขวางมากขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเพิ่ม การสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อให้บริษัทเข้าถึงคู่มือดังกล่าวอย่างทั่วถึง มีการสื่อสารที่ช่วยสร้างความเข้าใจ ได้ว่าการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนตามคู่มือดังกล่าวสอดคล้องกับแนวปฏิบัติหรือมาตรฐานด้านความยั่งยืน ที่บริษัทดำเนินการอยู่แล้วอย่างไร นอกจากนี้ คณะวิจัยเห็นว่า ควรมีการจัดทำและเผยแพร่คู่มือและเอกสารแนวนโยบายที่ครอบคลุม ประเด็นเสี่ยงระดับอุตสาหกรรม รวมถึงคู่มือและแนวนโยบายของภาคธุรกิจในประเด็นต่อไปนี้ ซึ่งเป็นประเด็น ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนเห็นว่ายังมีช่องว่างอยู่มากระหว่างมาตรฐานสากลกับการปฏิบัติในไทย - นโยบายปกป้องคุ้มครองนักสิทธิมนุษยชน รวมถึงนโยบายไม่ตอบโต้ (non-retaliation policy) - นโยบายปกป้องผู้ใช้สิทธิในการชุมนุมสาธารณะ - นโยบายการปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชุมชนท้องถิ่น นอกเหนือจากข้อเสนอทั่วไปเกี่ยวกับคู่มือและแนวนโยบายข้างต้น ข้อเสนอของคณะวิจัยในประเด็น อื่ น ๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การเสริ ม สร้ า งศั ก ยภาพของบริ ษั ท ในการดำเนิ น งานด้ า นธุ ร กิ จ กั บ สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน มี ร ายละเอี ย ดแบ่งตามประเภทบริษัทดังต่อไปนี้

6-7


6.2.1 กลุม่ บริษัทขนาดใหญ่ สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านแล้ว หรือมีห่วงโซ่อุปทาน ที่เกี่ยวข้องกับคู่ค้าจำนวนมาก คณะวิจัยเห็นว่าควรมีการจัดทำหลักสูตรอบรมอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาและ ยกระดับให้บริษัทกลุ่มนี้สามารถเป็น “พี่เลี้ยง” ที่สามารถให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่ างรอบด้านให้แก่บริษัท ขนาดกลางและขนาดย่อ มและบริษัท ทุก ขนาดที่อยู่ในห่ว งโซ่อุป ทาน ของตน โดยกระทรวงยุติธรรมควรพิจารณาให้สถิติการเป็น “พี่เลี้ยง” ดังกล่าว เป็นเกณฑ์ส่วนหนึ่ง ในการ พิจารณามอบรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อช่วยสร้างแรงจูงใจเพิ่มเติมให้กับบริษัทที่มีความพร้อม คณะวิจัยเห็นด้วยกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนว่ า ควรมีกระบวนการอบรมและ สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบริษัทขนาดใหญ่มากขึ้น ในหัวข้อกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย และกลไกการจัดการเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิผล ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า กลไกดังกล่าวในปัจจุบัน ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยเฉพาะในกรณีโครงการขนาดใหญ่ ที่มีผลกระทบกับชุมชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วน เสียจำนวนมาก ทั้งนี้ หลักสูตรการอบรมและคู่มือที่เกี่ยวข้องสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ ควรเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับ ประเด็นต่อไปนี้ - หลักการและกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (meaningful engagement) - หลักการและกระบวนการคุ้มครองการให้ความยินยอมโดยสมัครใจที่เป็นอิสระและได้รับข้อมูล ล่วงหน้า (free, prior, and informed consent: FPIC) - กลไกการจัดการเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิผล และกลไกการเยียวยาที่โปร่งใส - การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านชนิดเข้มข้น (heightened human rights due diligence) ในพื้นที่ความเสี่ยงสูง โดยชี้ให้เห็นประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับหากดำเนินการตามกลไกเหล่านี้ และความเสี่ยงหรือผลกระทบ ที่บริษัทจะได้รับหากขาดกลไกดังกล่าว รวมทั้งควรมีตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดี (best practice) และจัดทำ แนวปฏิบัติ ที่ชัดเจน เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดใหญ่มีความเข้าใจมากขึ้น โดยอาจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม จากเอกสารดังต่อไปนี้ - Doing business with respect for human rights: A guidance tool for companies (2016) โดย Shift, Oxfam and Global Compact Network Netherland - Cross-cutting: Stakeholder engagement (2020) โดย The Danish Institute for Human Rights - Guidelines on indigenous peoples’ issues (2009) โดย United Nations Development Group

6-8


- Free Prior and Informed Consent: An indigenous peoples’ right and a good practice for local communities (2016) โดย Food and Agriculture Organization of the United Nations - Heightened Human Rights Due Diligence for Business in Conflict-Affected Contexts: A Guide (2022) โดย United Nations Development Programme - Human Rights Due Diligence in High Risk Circumstances: Practical Strategies for Businesses (2015) โดย Shift 6.2.2 กลุ่มบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทขนาดใหญ่ และต้อง ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชนจากผู้ซื้อ ดังที่ได้กล่าวในข้อเสนอที่ 1. ข้างต้นว่า บริษัทกลุ่มนี้มีความคุ้นเคยกับการดำเนินงานด้านสิ ทธิ มนุษยชนในระดับหนึ่ งจากการที่ต้องรายงานหรือเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ดังนั้น การเสริมสร้าง ศักยภาพของบริษัทกลุ่มนี้ จึงควรมุ่งเน้นการสื่อสาร พัฒนาองค์ความรู้ หรือจัดทำหลักสูตรด้านสิทธิมนุษยชน ที่มีเนื้อหาเชื่อมโยงกับแนวปฏิบัติหรือมาตรฐานด้านความยั่งยืน ที่บริษัทต้องดำเนินการอยู่แล้ว นอกจากนี้ ควรเพิ่มการสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อให้บริษัทเข้าถึงคู่มือการประเมินความพร้อม/ความเสี่ยงด้านสิทธิ มนุ ษ ยชนอย่ า งทั ่ ว ถึ ง มากขึ ้ น (เช่ น เดี ย วกั บ บริ ษ ั ท ขนาดใหญ่ ) และควรมี ก ารจั ด ทำคู ่ ม ื อ ที ่ ค รอบคลุ ม ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้มากขึ้น ในระยะต่อไป หากสามารถพัฒนาบริษัทขนาดใหญ่ให้เป็น “พี่เลี้ยง” ในการดำเนินงานด้านสิทธิ มนุษยชน ตามข้อเสนอที่ 2.1 ก็ควรมีการใช้ประโยชน์จากพี่เลี้ยงเพื่อขยายผลการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้านให้ครอบคลุมบริษัทในกลุ่มนี้ต่อไป 6.2.3 กลุม่ บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมอื่น ๆ บริษัทกลุ่มนี้ ให้ความสำคัญกับ การดำเนินธุรกิจให้ได้กำไรหรืออยู่รอดได้เป็นอันดับแรก และจะ พิจารณาให้ความสำคัญกับประเด็นอื่น ๆ เป็นอันดับรอง นอกจากนี้ บริษัทขนาดย่อมอาจยังไม่สามารถปฏิบัติ ตามกฎหมายต่าง ๆ อาทิ กฎหมายแรงงาน ได้อย่างครบถ้วน ดังนั้น ในการเสริมสร้างศักยภาพของบริษัทกลุ่มนี้ จึงควรมุ่งเน้นการสื่อสาร พัฒนาองค์ความรู้ หรือจัดทำหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎหมายที่เชื่อมโยง กับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน โดยรูปแบบการสื่อสารควรใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย หรือเป็น ประเด็นที่ใกล้ตัว เช่น สิทธิแรงงาน สิทธิผู้บริโภค รวมถึงการจัดทำคู่มือหรือแนวปฏิบัติในการดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อให้บริษัทมีความพร้อมที่จะพัฒนาไปสู่การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ที่อยู่สูงกว่าระดับการปฏิบัติตามกฎหมายต่อไป

6-9


6.3 การบูรณาการแนวปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียว และการเพิ่มระดับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หลายฝ่ายให้ความเห็นตรงกัน คือ หน่วยงานภาครัฐ ยังขาดการบูรณาการการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างกัน ดังเห็นได้จากการมีแนวปฏิบัติที่แตกต่าง หลากหลาย ซึง่ ส่งผลให้ผู้ประกอบการเกิดความสับสน และไม่ทราบว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร อีกทั้งการทำ ตามแนวปฏิบัติที่แตกต่างหรือซ้ำซ้อนกัน ทั้งที่ประเด็นสิทธิมนุษยชนควรอ้างอิงหลักการสากล ยังมีแนวโน้มที่จะ ทำให้ภาคธุรกิจมีต้นทุนสูงเกินจำเป็นในการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งก็อาจลิดรอนความสามารถในการ แข่งขันและ/หรือบั่นทอนความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ คณะวิจัยเห็นว่าประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นที่หน่วยงานภาครัฐจำเป็นต้องมีการประสานความร่วมมือกัน โดยควรพิจารณาแนวทางดังต่อไปนี้ 6.3.1 การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นในการขยายผลการเสริมสร้างศักยภาพของบริษัทใน การดำเนินงานด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ปัจจุบันกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผ่านการดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชนของ ประเทศไทย (2566) เช่น การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำมาตรฐานธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนและตรา สัญลักษณ์ ซึ่งมีอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเป็นประธานอนุกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณา จัดทำหลักเกณฑ์ กระบวนการ และวิธีการประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนและตรา สัญลักษณ์ เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบและคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน การแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชนระดับจังหวัด และกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ในการ จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนระดับจังหวัด แผนปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนระดับจังหวัด การ ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชนในจังหวัด และผลักดันไปสู่ภาคปฏิบัติ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คณะวิจัยเห็นว่าแนวทางการขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชนข้างต้นเป็นการขับเคลื่อน การดำเนินงานในระดับนโยบาย และอาจยังไม่สามารถยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนได้เท่าที่ควร โดยเฉพาะประเด็น การจัดทำมาตรฐานธุร กิจกับสิทธิมนุษยชนและตราสัญลักษณ์ ทั้งนี้ คณะวิจัยเห็นว่า ปัจจุบันมีมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจที่ครอบคลุมและเพียงพอแล้ว เช่น - หลักการชี้แนะ UNGPs - แนวปฏิบัติสำหรับบรรษัทข้ามชาติขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD Guidelines for Multinational Enterprises) - มาตรฐานด้ า นสิ ่ ง แวดล้ อ มและสั งคมที ่ ยั ่ ง ยื น (Standards on Environmental and Social Sustainability) ของบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation: IFC)

6-10


- มาตรฐาน Global Reporting Initiative (GRI) ของ Coalition for Environmentally Responsible Economies (CERES) และสถาบัน Tellus ด้วยความสนับสนุนของโครงการสิ่งแวดล้อ มแห่ ง สหประชาชาติ (United Nations Environment Programme – UNEP) - มาตรฐานความรั บ ผิ ด ชอบของผู ้ ป ระกอบการอุ ต สาหกรรมต่ อ สั ง คม (Corporate Social Responsibility, Department of Industrial Works: CSR-DIW) ของกรมโรงงาน กระทรวง อุตสาหกรรม มาตรฐานเหล่านี้เป็นมาตรฐานโดยสมัครใจ ที่กำหนดให้ภาคธุรกิจรายงานหรือเปิดเผยข้อมูล การ ดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง และที่ผ่านมาบริษัทไทย โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ ให้ความสนใจ เข้าร่วมมาตรฐานเหล่านี้อยู่แล้ว ดังนั้น ปัญหาอุปสรรคในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจที่ผ่ านมาจึง มิใช่การขาดความตระหนักต่อมาตรฐานเหล่านี้ แต่เป็นการขาดความรู้ความเข้าใจในภาคปฏิบัติของการ คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่มีประสิทธิภาพ (คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, 2559) เพื่อยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนให้มากยิ่งขึ้น คณะวิจัยเห็นว่ า กรมคุ้มครองสิทธิและ เสรีภาพควรเพิ่มระดับความร่วมมือในระดับปฏิบัติการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อาจพิจารณาขยายความ ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ ด้านสิทธิมนุษยชนให้บ ริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยเพิ่มการอบรมในกลุ่มเป้าหมายและหัวข้อ ต่อไปนี้ - บริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ : บทบาท “พี่เลี้ยง” สำหรับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของ บริษัทในห่วงโซ่อุปทานตนเอง (ดังข้อเสนอที่ 2.1 ข้างต้น) - บริษัทจดทะเบียนขนาดกลางและขนาดย่อม: ประโยชน์ทางธุรกิจของการดำเนินการด้านสิทธิ มนุษยชน (อาทิ การจัดการความเสี่ยง) และมาตรฐานด้านความยั่งยืนที่ส่งผลต่อบริษัท นอกจากนี้ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพควรเพิ่มระดับความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กั บ ผู้ ป ระกอบการโดยตรง เช่ น กรมสวั ส ดิ ก ารและคุ้มครองแรงงาน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงาน พาณิชย์จังหวัด รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเร่งผลักดันและขยายผลการสร้างองค์ความรู้ด้านสิทธิ มนุษยชนให้ครอบคลุมบริษัททุกขนาด ทุกอุตสาหกรรม และครอบคลุมทุกจังหวัด ทั้งนี้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็น ว่ากรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานควรเป็นหน่วยงานหลักในการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้ อง เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่มีข้อมูล แรงงาน และข้อมูลผู้ประกอบการมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ในประเด็นนี้ คณะวิจัยมีข้อเสนอแนะว่ากรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพควรมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ข้างต้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาแนวทางการยกระดับความร่วมมือการดำเนินงานด้านธุรกิจกับ สิทธิมนุษยชนต่อไป

6-11


6.3.2 การพัฒนาและเปิดเผยฐานข้อมูลด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพควรขยายความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุ ษยชน แห่งชาติ (กสม.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีข้อมูลข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนมากที่สุด เพื่อเชื่อมโยงและเปิดเผย ฐานข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนให้เป็นฐานข้อมูลเดียวกัน และสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ เช่น ฐานข้อมูล ข้อร้องเรียนเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจ ของ กสม. ที่ผ่านการสอบสวนแล้ว ซึ่งควรมีการ เปิดเผยต่อสาธารณะในลักษณะที่เข้าถึงและประมวลผลได้ง่าย (open data) เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ภาคธุรกิจ ยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงเปิดโอกาสให้นักวิชาการ บริษัท และหน่วยงานของรัฐ สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อ ประเมินแนวโน้มประเด็นเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากการดำเนิน กิจกรรมทางธุรกิจซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กร นอกจากนี้ จากการที่ กสม. รวมถึงหน่วยงานระหว่างประเทศหลายหน่วยงานได้เคยจัดทำคู ่มื อ ประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านและรายการตรวจสอบของภาคธุรกิจอยู่แล้ว คณะวิจัยมี ข้อเสนอแนะว่า กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และ กสม. ควรหาช่องทางขยายผลการใช้ประโยชน์จากคู่มือ ดังกล่าว โดยอาจจัดทำระบบออนไลน์ให้บริษัทสามารถเข้ามาทดลองประเมินความพร้อมของตนเองในการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ตามรายการตรวจสอบ (checklist) ในคู่มือ เป็นต้น

6-12


บรรณานุกรม BBC. (19 ธันวาคม 2563). อุยกูร์ : ฝ้าย “ที่แปดเปื้อน” ของซินเจียง หลักฐานใหม่ชี้มีการบังคับใช้แรงงานใน ใจกลางอุตสาหกรรมแฟชั่นโลก. เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/international55329600 BBC. (25 พฤษภาคม 2565). อุยกูร์ : แฟ้มลับตำรวจซินเจียงเผยตัวตนและเรื่องราวชาวอุยกูร์ที่ถูกคุมขังในซิน เจียง. เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/international-61570553 BRCGS. (n.d.). Contact us MyBRCGS 0items. Retrieved from https://www.brcgs.com/ Business & Human Rights Resource Centre. (2020, October 29). Bill 216, an Act to enact the Modern Slavery Act and to amend the Customs Tariff, introduced into the Canadian Senate. Retrieved from https://www.business-humanrights.org/en/latest-news/bill216-an-act-to-enact-the-modern-slavery-act-and-to-amend-the-customs-tariffintroduced-into-the-canadian-senate/ Business & Human Rights Resource Centre. (2020, November 28). Switzerland: Responsible Business Initiative rejected at ballot box despite gaining 50.7% of popular vote. Retrieved from https://www.business-humanrights.org/en/latest-news/swiss-duediligence-initiative-set-for-public-referendum-as-parliament-only-opts-for-reportingcentred-proposal/ Business & Human Rights Resource Centre. (2022, February 17). Are US Businesses Falling Behind On Human Rights Due Diligence? Retrieved from https://www.businesshumanrights.org/en/blog/are-us-businesses-falling-behind-on-human-rights-duediligence/ Business & Human Rights Resource Centre. (2022, February 8). More than 100 companies and investors call for effective EU corporate accountability legislation. Retrieved from https://www.business-humanrights.org/en/latest-news/eu-mandatory-duediligence-2022/ European Commission. (2022). Corporate sustainability due diligence: Fostering sustainability in corporate governance and management systems. Retrieved from https://ec.europa.eu/info/business-economy-euro/doing-business-eu/corporatesustainability-due-diligence_en#what-are-the-benefits-of-these-new-rules FAO. (2016). Free Prior and Informed Consent: An indigenous peoples’ right and a good practice for local communities. Retrieved from https://www.fao.org/3/i6190e/i6190e.pdf บรรณานุกรม - 1


IFLR. (2022, March 30). Complying with ESG reporting and due diligence requirements in Switzerland. Retrieved from https://www.iflr.com/article/2a647zxame68p5ejks9og/complying-with-esg-reportingand-due-diligence-requirements-in-switzerland ILO. (2022, September 29). UN General Assembly recognizes human right to a clean, healthy, and sustainable environment. Retrieved from International Labour Organization: https://www.ilo.org/global/about-theilo/newsroom/news/WCMS_857164/lang--en/index.htm International Labour Organization. (n.d.). Responsible Business: Key Messages from International Instruments. Retrieved from https://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---asia/---robangkok/documents/publication/wcms_724747.pdf International Organisation of Employers. (2021, September). Key developments in mandatory human rights due diligence and supply chain law; Considerations for employers. Retrieved from https://www.ioeemp.org/index.php?eID=dumpFile&t=f&f=156042&token=ee1bad43bfa8dbf975624578 0a572ff4877a86d5 Matthew, M., Daniel, P., Teresa, S., Emily, K., & Thomas, T. (2019, April). Human Rights Disclosure in ASEAN. Retrieved from https://static1.squarespace.com/static/602c19fa95b65244e2fd70f5/t/613911a4b35f70 654a08414d/1631130031031/Human+Rights+Disclosure+in+ASEAN++Full+Report+%281%29.pdf OECD. (2018, May 30). Countries commit to step up efforts to drive more responsible business conduct through new OECD instrument. Retrieved from https://www.oecd.org/investment/mne/countries-commit-to-step-up-efforts-to-drivemore-responsible-business-conduct-through-new-oecd-instrument.htm OECD Watch. (2018, June 20). Launch of the OECD Due Diligence Guidance on Responsible Business Conduct. Retrieved from https://mneguidelines.oecd.org/OECDWatch-DueDiligence-Guidance-Contribution-2018.pdf Pinsent Masons. (2022, February 4). Swiss usher in corporate reporting and due diligence mandates. Retrieved from https://www.pinsentmasons.com/out-law/news/swissusher-in-corporate-reporting-and-due-diligence-mandates บรรณานุกรม - 2


SEDEX. (n.d.a). About us. Retrieved from https://www.sedex.com/about/ SEDEX. (n.d.b). Self Assessment Questionnaire. Retrieved from https://www.sedex.com/wpcontent/uploads/2020/02/Self-Assessment-Questionnaire-SAQ-Briefing-Note-ENG.pdf SEDEX. (n.d.c). SMETA, the world’s leading audit. Retrieved from https://www.sedex.com/solutions/smeta-audit/ Shift . (2015). Human Rights Due Diligence in High Risk Circumstances: Practical Strategies for Businesses. Retrieved from http://shiftproject.org/wpcontent/uploads/2015/03/Shift_HRDDinhighriskcircumstances_Mar2015.pdf Shift. (2016). Doing business with respect for human rights: A guidance tool for companies. Retrieved from https://www.businessrespecthumanrights.org/image/2016/10/24/business_respect_hu man_rights_full.pdf Shift. (n.d.). UN Guiding Principles 101. Retrieved from Shift: https://shiftproject.org/resources/ungps101/ Sustainable Stock Exchange. (2021, June). wp-content. Retrieved from sse initiative: https://sseinitiative.org/wp-content/uploads/2021/06/Policy-brief-Stock-exchangeguidance-on-human-rights-disclosure.pdf Thaiunion. (2022, January 1). Ethical Migrant Recruitment Policy. Retrieved from https://www.thaiunion.com/files/download/sustainability/20211223-ethical-migrantrecruitment-policy.pdf The Danish Institute for Human Rights. (2020). Cross-cutting: Stakeholder engagement. Retrieved from https://www.humanrights.dk/sites/humanrights.dk/files/media/document/HRIA%20To olbox_Stakeholder%20Engagement_ENG_2020.pdf The Remedy Project. (2021). Mandatory human rights due dilligence legislation guidance for suppliers operating in Asia. Retrieved from https://static1.squarespace.com/static/5f846df102b20606387c6274/t/61b304ca3ce7e7 3bdbc0459b/1639122123118/21_1756_Mandatory+Human+Rights_1209.pdf UNDG. (2009). Guidelines on indigenous peoples’ issues. Retrieved from https://www.un.org/esa/socdev/unpfii/documents/UNDG_guidelines_EN.pdf UNDP. (2021, January 31). Heightened Human Rights Due Diligence for Business in Conflict Affected Contexts. Retrieved from บรรณานุกรม - 3


https://www.undp.org/sites/g/files/zskgke326/files/202206/UNDP_Heightened_Human_Rights_Due_Diligence_for_Business_in_ConflictAffected_Context.pdf UN Working Group on Business and Human Rights. (2021, June). Guiding Principles on Business and Human Rights at 10: Taking stock of the first decade. Retrieved from https://www.ohchr.org/sites/default/files/Documents/Issues/Business/UNGPs10/Stockt aking-reader-friendly.pdf World Benchmarking Alliance. (2020). Corporate Human Rights Benchmark: 2020 Key Findings. Retrieved from https://assets.worldbenchmarkingalliance.org/app/uploads/2020/11/WBA-2020-CHRBKey-Findings-Report.pdf World Benchmarking Alliance. (2022). Social Transformation Baseline Assessment 2022. Retrieved from https://assets.worldbenchmarkingalliance.org/app/uploads/2022/01/2022_Social_Tran sformation_Baseline_Assessment.pdf World Federation of Exchanges. (2022, April 14). world-exchanges. Retrieved from our work: https://www.worldexchanges.org/storage/app/media/WFE_Human%20Rights%20Briefing.pdf กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม. (2562). แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิ มนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2565). เข้าถึงได้จาก https://globalnaps.org/wpcontent/uploads/2017/11/nap-thailand-th.pdf กระทรวงยุติธรรม. (2566, กุมภาพันธ์ 9). ฉบับที่ 377/2566 คุ้มครองสิทธิฯ เข้าพบ อนุกรรมการและ เลขานุการร่วมกรุงเทพมหานคร ประสานความร่วมมือขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชน ขานรับแผนสิทธิ มนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566-2570). เข้าถึงได้จาก ข่าวกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ: https://www.moj.go.th/view/80808 คณะกรรมการขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย. (2566). แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนงาน สิทธิมนุษยชนระดับจังหวัด และกรุงเทพมหานคร. เข้าถึงได้จาก https://ww2api.rlpd.go.th/File/Documentcontent/6fe5a47b-3cd4-41f6-a67708daf512cf0b/20230113100732.pdf

บรรณานุกรม - 4


คณะกรรมการขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย. (2566). แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำมาตรฐาน ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน และตราสัญลักษณ์. เข้าถึงได้จาก https://ww2api.rlpd.go.th/File/Documentcontent/9ce46d5b-85c9-40da-a67608daf512cf0b/20230113100355.pdf คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2559). มาตรฐานสากลในการดำเนินธุรกิจเพื่อการเคารพสิทธิ มนุษยชน. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2561). คู่มือประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) และรายการตรวจสอบ (Checklist) ของภาคธุรกิจ. ปทุมธานี: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (1 ธันวาคม 2564). ข้อมูลดัชนีกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ. เข้าถึงได้ จาก https://www.set.or.th/th/market/index/set/industry-sector-profile ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2565). ดัชนีราคา SET50 Index. เข้าถึงได้จาก https://www.set.or.th/th/market/index/set50/profile ไทยยูเนี่ยน. (28 กันยายน 2563). นโยบายการไม่ตอบโต้ (Non Reprisal Policy). เข้าถึงได้จาก https://www.thaiunion.com/files/download/sustainability/policy/20210129-tu-nonreprisal-policy-th.pdf ประมวล รักษ์ใจ. (ม.ป.ป.). ระบบตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำในการพัฒนาการประมงที่ยั่งยืน. เข้าถึงได้จาก http://www.fishmarket.co.th/intranet/images/upload/km/km2_trace.pdf พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561. (2561, พฤษภาคม 14). ราชกิจจานุเบกสา. เล่ม 135 ตอนที่ 34 ก. เข้าถึงได้จาก: https://www.eeco.or.th/th/eec-act สำนักข่าวอินโฟเควสท์. (21 กุมภาพันธ์ 2565). ก.ล.ต.: ปี 65 พบ 56-1 One Report พร้อมกันอย่างเป็น ทางการ. เข้าถึงได้จาก https://www.infoquest.co.th/2022/175687 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2564). คู่มือการแสดงข้อมูลด้านการจัดการ ความยั่งยืน. กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.). สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (29 พฤศจิกายน 2562). นิยาม SME. เข้าถึงได้จาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.): https://www.sme.go.th/th/cmsdetail.php?modulekey=332&id=1334 องค์การแรงงานระหว่างประเทศ. (2562). ปฏิญญาไตรภาคีว่าด้วยหลักการเกี่ยวกับบรรษัทข้ามชาติและ นโยบายทางสังคม. เข้าถึงได้จาก https://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---asia/---robangkok/documents/publication/wcms_684935.pdf

บรรณานุกรม - 5


ภาคผนวก

ภาคผนวก-1


ภาคผนวก 1 แบบสำรวจความพร้อมของบริษัทในการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เจ้าของโครงการวิจัย: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ร่วมกับ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ผู้ดำเนินการวิจัย: บริษัท ป่าสาละ จำกัด ระยะเวลาวิจัย: กรกฎาคม 2565 - เมษายน 2566 วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความพร้อมของบริษัทในประเทศไทย ในการดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ข้อแนะนำ: (1) การตอบแบบสำรวจใช้ระยะเวลาประมาณ 20 นาที ในการตอบคำถาม (2) คำตอบทั้งหมดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการวิจัยนี้เท่านั้น ข้อมูลเบื้องต้น: หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ได้ระบุหลักการ ตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) ว่าเป็นกรอบการดำเนินการเพื่อให้ภาค ธุรกิจสามารถดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ โดยยึดหลักสิทธิมนุษยชนในการป้องกัน ลดความสูญเสีย มีการประเมินผลกระทบ ต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจริงและอาจเกิดขึ้นได้ มีการติดตามผลกระทบนั้นอย่างใกล้ชิด รวมทั้งมีการสื่อสารต่อ สาธารณะเพื่อให้แน่ใจได้ว่าผู้ได้รับผลกระทบจะได้รับการดูแลและเยียวยาอย่างใส่ใจ ผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้จาก คู่มือประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) และรายการ ตรวจสอบ (Checklist) ของภาคธุรกิจ (สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) เข้าถึงได้จาก คู่มือประเมินความ เสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ส่วนที่ 1: ข้อมูลตอบแบบสำรวจ คำถามหลัก • ชื่อผู้ตอบแบบสำรวจ • ชื่อหน่วยงาน/องค์กรของท่าน • ตำแหน่งของท่าน • ประเภทการประกอบธุรกิจ

รายละเอียด

 ภาคการผลิต  ภาคการค้า  ภาคบริการ ภาคผนวก1-1


คำถามหลัก

รายละเอียด

• บริษัทของท่านประกอบกิจการอยู่ในอุตสาหกรรมใด

 ธุรกิจการเกษตร  อาหารและเครื่องดื่ม  แฟชั่น  ของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน  ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์  ธนาคาร  เงินทุนและหลักทรัพย์  ประกันภัยและประกันชีวิต  ยานยนต์  วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร  บรรจุภัณฑ์  กระดาษและวัสดุการพิมพ์  ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์  เหล็ก และ ผลิตภัณฑ์โลหะ  วัสดุก่อสร้าง  บริการรับเหมาก่อสร้าง  พัฒนาอสังหาริมทรัพย์  กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทรัสต์เพื่อการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์  พลังงานและสาธารณูปโภค  เหมืองแร่  พาณิชย์ (ค้าปลีก/ค้าส่ง)  การแพทย์  สื่อและสิ่งพิมพ์  บริการเฉพาะกิจ เช่น การศึกษา ที่ปรึกษาทางธุรกิจ ผู้ ให้บริการบำบัดของเสีย รวมถึงบริการเฉพาะกิจให้กับภาค ธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ได้ถูกจัดไว้ในหมวดธุรกิจใด  การท่องเที่ยวและสันทนาการ  ขนส่งและโลจิสติกส์  ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  อื่นๆ (โปรดระบุในข้อต่อไป) ภาคผนวก1-2


คำถามหลัก

รายละเอียด

• หากตอบอื่น ๆ โปรดระบุภาคอุตสาหกรรมของท่าน • บริษัทของท่านจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย (ตลท.) หรือไม่

 ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  ไม่เป็นบริษัทในเครือ/ไม่เป็นบริษัทลูกของบริษัทข้าม ชาติ  เป็นบริษัทในเครือ/บริษัทลูกของบริษัทข้ามชาติ (โปรด ระบุในข้อต่อไป)

• บริษัทของท่านเป็นบริษัทในเครือของบริษัทข้ามชาติ หรือไม่

• โปรดระบุสัญชาติของบริษัทแม่ของท่าน หากท่านตอบว่า บริษัทของท่านเป็นบริษัทในเครือ/บริษัทลูกของบริษัท ข้ามชาติ • ท่านคิดว่าบริษัทของท่านมีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ในประเด็นใด (โปรดระบุประเด็นที่ท่านเห็นว่าสำคัญ 1 2 ประเด็น) • รายได้ต่อปีของบริษัท

• จำนวนแรงงาน

• บริษัทของท่านมีรายได้จากการส่งออก คิดเป็นกี่ % ของ รายได้ทั้งหมด (โดยประมาณ)

ภาคการผลิต ภาคบริการ/ค้าส่ง/ค้าปลีก  น้อยกว่า 100 ล้านบาท  น้อยกว่า 50 ล้านบาท ต่อปี (S) ต่อปี (S)  100-500 ล้านบาทต่อปี  50-300 ล้านบาทต่อปี (M) (M)  มากกว่า 500 ล้านบาท  มากกว่า 300 ล้านบาท ต่อปี (L) ต่อปี (L) ภาคการผลิต ภาคบริการ/ค้าส่ง/ค้าปลีก  น้อยกว่า 50 คน (S)  น้อยกว่า 30 คน (S)  50-200 คน (M)  30-100 คน (M)  มากกว่า 200 คน (L)  มากกว่า 100 คน (L)  ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล  ไม่มีรายได้จากการส่งออก  1-10%  11-20%  21-30%  31-40%  41-50%

ภาคผนวก1-3


คำถามหลัก

รายละเอียด

• บริษัทของท่านมีสัดส่วนแรงงานหญิง คิดเป็นกี่ % ของ แรงงานทั้งหมด (โดยประมาณ)

• บริษัทของท่านมีสัดส่วนผู้บริหารระดับสูงเพศหญิง คิด เป็นกี่ % ของผู้บริหารทั้งหมด (โดยประมาณ)

• บริษัทของท่านมีสัดส่วนแรงงานข้ามชาติ คิดเป็นกี่ % ของแรงงานทั้งหมด (โดยประมาณ)

 51-60%  61-70%  71-80%  81-90%  91-100%  ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล  ไม่มีแรงงานหญิง  1-10%  11-20%  21-30%  31-40%  41-50%  51-60%  61-70%  71-80%  81-90%  91-100%  ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล  ไม่มีผู้บริหารระดับสูงเพศหญิง  1-10%  11-20%  21-30%  31-40%  41-50%  51-60%  61-70%  71-80%  81-90%  91-100%  ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล  ไม่มีแรงงานข้ามชาติ

ภาคผนวก1-4


คำถามหลัก

รายละเอียด

• บริษัทของท่านมีสัดส่วนแรงงานที่ไม่ใช่พนักงานประจำ คิดเป็นกี่ % ของแรงงานทั้งหมด (โดยประมาณ)

• บริษัทของท่านมีสัดส่วนแรงงานที่เป็นผู้พิการ คิดเป็นกี่ % ของแรงงานทั้งหมด (โดยประมาณ)

 1-10%  11-20%  21-30%  31-40%  41-50%  51-60%  61-70%  71-80%  81-90%  91-100%  ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล  ไม่มีแรงงานที่ไม่ใช่พนักงานประจำ  1-10%  11-20%  21-30%  31-40%  41-50%  51-60%  61-70%  71-80%  81-90%  91-100%  ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล  ไม่มีแรงงานที่เป็นผู้พิการ  1-10%  11-20%  21-30%  31-40%  41-50%  51-60%  61-70%  71-80%

ภาคผนวก1-5


คำถามหลัก

รายละเอียด

 81-90%  91-100%  ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล • บริษัทของท่านมีสัดส่วนแรงงานที่เป็นสมาชิกสหภาพ แรงงาน คิดเป็นกี่ % ของแรงงานทั้งหมด (โดยประมาณ)  ไม่มีแรงงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน  1-10%  11-20%  21-30%  31-40%  41-50%  51-60%  61-70%  71-80%  81-90%  91-100%  ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล • บริษัทของท่านมีคณะกรรมการสวัสดิการในสถาน  ไม่มีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ ประกอบการหรือไม่  มีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ  ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล • บริษัทของท่านสมัครหรือเคยสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิก  ไม่เคยเข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับ หรือโครงการที่เกี่ยวข้องสิทธิมนุษยชนหรือไม่ สิทธิมนุษยชน  เป็นสมาชิกของ United Nations Global Compact (UNGC)  เป็นสมาชิกของ World Business Council for Sustainable Development (WBCSD)  เป็นสมาชิกของสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่ง ประเทศไทย (Global Compact Network Thailand: GCNT)  เคยสมัครเข้าร่วมโครงการองค์กรต้นแบบด้านสิทธิ มนุษยชน ของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวง ยุติธรรม  อื่น ๆ โปรดระบุ…….. ส่วนที่ 2: สถานะปัจจุบันของบริษัทในดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน ภาคผนวก1-6


ประเด็น นโยบาย 1. บริษัทของท่านประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชน และ/หรือคำมั่นต่อสาธารณะว่าจะเคารพหลักการมาตรฐานเกี่ยวกับสิทธิ มนุษยชนใดบ้าง  ไม่มีการประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชน (human rights policy) ต่อสาธารณะ [0 คะแนน]  ประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชน (human rights policy) ต่อสาธารณะ (โปรดระบุในข้อที่ 1.1) [1คะแนน] 1.1 บริษัทของท่านประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชน และ/หรือคำมั่นต่อสาธารณะว่าจะเคารพหลักการมาตรฐานเกี่ยวกับสิทธิ มนุษยชนใดบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)  อ้างอิงปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) [1 คะแนน]  อ้างอิงปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง (The United Nations Declaration on the Rights of indigenous Peoples) [1 คะแนน]  อ้างอิงหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) [1 คะแนน]  อ้างอิงแนวปฏิบัติของ OECD สำหรับบรรษัทข้ามชาติ (The OECD Guidelines for Multinational Enterprises) [1 คะแนน]  อ้างอิงมาตรฐานแรงงานตามอนุสัญญาหลัก 8 ฉบับขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) [1 คะแนน]  มาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน โปรดระบุ……. [1 คะแนนหากเป็นเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง] 2. บริษัทของท่านกำหนดชั่วโมงการทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รวมการทำงานล่วงเวลา)  ไม่มีการกำหนดเพดานชั่วโมงการทำงาน [-1 คะแนน]  กำหนดเพดานชั่วโมงการทำงาน แต่มากกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และ/หรือ มากกว่า 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รวมการ ทำงานล่วงเวลา) [-1 คะแนน]  กำหนดเพดานชั่วโมงการทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รวมการทำงานล่วงเวลา) [1 คะแนน]  อื่น ๆ……. [พิจารณาเป็นกรณี] 3. บริษัทของท่านกำหนดนโยบายการทำงานล่วงเวลาว่าต้องได้รับความยินยอมจากแรงงานและจ่ายค่าตอบแทนในอัตรา พิเศษ  ไม่มีเงื่อนไขว่าต้องได้รับความยินยอมจากแรงงาน [-2 คะแนน]  มีเงื่อนไขว่าต้องได้รับความยินยอมจาก แรงงาน แต่ไม่จ่ายค่าตอบแทนในอัตราพิเศษ [-1 คะแนน]  มีเงื่อนไขว่าต้องได้รับความยินยอมจาก แรงงาน และจ่ายค่าตอบแทนในอัตราพิเศษ [1 คะแนน]  ไม่มีนโยบายให้แรงงานทำงานล่วงเวลา [2 คะแนน] 4. บริษัทของท่านมีการจัดตั้งคณะทำงาน หรือมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบในการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน  ไม่มีการจัดตั้งคณะทำงาน หรือมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบในการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท [0 คะแนน] ภาคผนวก1-7


ประเด็น  มีการจัดตั้งคณะทำงาน หรือมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบในการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท [1 คะแนน]  มีการจัดตั้งคณะทำงาน หรือมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบในการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท โดยกำหนด ผู้รับผิดชอบระดับผู้จัดการอาวุโสขึ้นไป [2 คะแนน] 5. บริษัทของท่านมีนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชนพื้นเมือง/ชุมชนท้องถิ่น อย่างสม่ำเสมอ ทั้งก่อนและระหว่าง การก่อสร้างหรือการดำเนินโครงการ  ไม่มีนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชุมชนท้องถิ่น [-1 คะแนน]  มีนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ท้องถิ่น แต่ไม่เปิดเผยนโยบายดังกล่าวต่อสาธารณะ [0 คะแนน]  มีนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ท้องถิ่น ท้องถิ่น และเปิดเผยนโยบายดังกล่าวต่อสาธารณะ [1 คะแนน] 6. บริษัทของท่านเปิดเผยกระบวนการเยียวยาต่อสาธารณะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาหรือให้ความร่วมมือในการ เยียวยา ต่อบุคคล แรงงาน และชุมชนที่ได้รับผลกระทบทางลบซึ่งเกิดจากการดำเนินการของบริษัท หรือบริษัทมีส่วนทำให้ เกิดขึ้น  ไม่มีกระบวนการเยียวยา [-1 คะแนน]  มีกระบวนการเยียวยา แต่ไม่ได้เปิดเผยกระบวนการต่อสาธารณะ [0 คะแนน]  มีการเปิดเผยกระบวนการเยียวยาต่อสาธารณะ [1 คะแนน] 7. บริษัทของท่านประกาศคำมั่นต่อสาธารณะว่า บริษัทจะไม่ยอมรับการคุกคาม การข่มขู่ ความรุนแรง การลงโทษ การ สอดส่อง หรือการโจมตีทางกายภาพหรือทางกฎหมายต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน รวมถึงผู้ใช้สิทธิในเสรีภาพในการ แสดงออก การรวมกลุ่ม การชุมนุม และการประท้วงโดยสงบ (นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหมายถึง นักกิจกรรมที่ทำงานด้าน การปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน)  ไม่มีการประกาศคำมั่นต่อสาธารณะ [0 คะแนน]  มีการประกาศคำมั่นต่อสาธารณะ [1 คะแนน] 8. บริษัทของท่านมีมาตรการหรือโครงการที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ในระดับท้องถิ่น และ/หรือระดับชาติ (นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหมายถึง นักกิจกรรมที่ทำงานด้านการปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)  ไม่มีมาตรการหรือโครงการที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน [0 คะแนน]  มีมาตรการหรือโครงการที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ในระดับชุมชน [1 คะแนน]  มีมาตรการหรือโครงการที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ในระดับชาติ [2 คะแนน] กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) 9. (หากประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชนในข้อ 1.) บริษัทของท่านมีการสื่อสารนโยบายสิทธิมนุษยชนอย่างเฉพาะเจาะจงให้กับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มใดบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)  ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล [0 คะแนน]  ไม่มีการสื่อสารนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนต่อสาธารณะ [0 คะแนน]  สื่อสารโดยการประกาศนโยบายสู่สาธารณะเท่านั้น (ไม่ได้เจาะจงกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) [1 คะแนน] ภาคผนวก1-8


ประเด็น  ผู้บริหารบริษัท [1 คะแนน]  พนักงาน/แรงงานบริษัท [1 คะแนน]  คู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน [1 คะแนน]  พนักงาน/แรงงานของคู่ค้า [1 คะแนน]  ผู้รับเหมา [1 คะแนน]  ลูกค้า [1 คะแนน]  ชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบ [1 คะแนน]  อื่นๆ …….. [พิจารณาเป็นกรณี] 10. ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา บริษัทของท่านจัดการอบรมในประเด็นสิทธิมนุษยชนโดยตรง ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วน เสียกลุ่มใดบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)  ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล [0 คะแนน]  ไม่เคยจัดการอบรมในประเด็นสิทธิมนุษยชนตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา [0 คะแนน]  ผู้บริหารบริษัท [1 คะแนน]  พนักงาน/แรงงานบริษัท [1 คะแนน]  คู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน [1 คะแนน]  พนักงาน/แรงงานของคู่ค้า [1 คะแนน]  ชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบ [1 คะแนน]  อื่นๆ …….. [พิจารณาเป็นกรณี] 11. ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2562 บริษัทของท่านดำเนินกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนในระดับใด  ไม่เคยตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา [0 คะแนน]  1 ครั้ง - ตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ระดับโรงงาน/สถานประกอบการหลัก [1 คะแนน]  1 ครั้ง - ตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ระดับบริษัท (ไม่รวมห่วงโซ่อุปทาน) [2 คะแนน]  1 ครั้ง - ตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ระดับบริษัทและคู่ค้าห่วงโซ่อุปทานอย่างน้อย Tier 1 (คู่ ค้าที่มีความสำคัญสูงสุด) [3 คะแนน]  มากกว่า 1 ครั้ง - ตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ระดับโรงงาน/สถานประกอบการหลัก [4 คะแนน]  มากกว่า 1 ครั้ง - ตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ระดับบริษัท (ไม่รวมห่วงโซ่อุปทาน) [5 คะแนน]  มากกว่า 1 ครั้ง - ตรวจสอบความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ระดับบริษัทและคู่ค้าห่วงโซ่อุปทานอย่างน้อย Tier 1 (คู่ค้าที่มีความสำคัญสูงสุด) [6 คะแนน] 12. บริษัทของท่านบูรณาการข้อค้นพบจากกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนในระดับใด

ภาคผนวก1-9


ประเด็น  มีการบูรณาการข้อค้นพบจากการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน โดยนำผลมากำหนดมาตรการ ป้องกันหรือบรรเทาความเสี่ยงหรือผลกระทบที่พบในกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชน แต่ไม่มีการกำหนดแผนปฏิบัติการ (action plan) ที่ระบุเป้าหมาย (targets) [1 คะแนน]  มีการบูรณาการข้อค้นพบจากการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน โดยนำผลมากำหนดมาตรการ ป้องกันหรือบรรเทาความเสี่ยงหรือผลกระทบที่พบในกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชน และกำหนดแผนปฏิบัติการ (action plan) ที่ระบุเป้าหมาย (targets) แต่ไม่เปิดเผยแผนและเป้าหมายดังกล่าวต่อสาธารณะ [2 คะแนน]  มีการบูรณาการข้อค้นพบจากการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน โดยนำผลมากำหนดมาตรการ ป้องกันหรือบรรเทาความเสี่ยงหรือผลกระทบที่พบในกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชน และกำหนดแผนปฏิบัติการ (action plan) ที่ระบุเป้าหมาย (targets) และมีการเปิดเผยแผนและเป้าหมายดังกล่าวต่อสาธารณะ [3 คะแนน] 13. บริษัทของท่านมีการประเมินประสิทธิผลของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน และปรับปรุงการดำเนินงานดังกล่าว อย่างไร  ไม่มีการประเมินประสิทธิผลของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท [0 คะแนน]  มีการประเมินประสิทธิผลของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท แต่ไม่มีส่วนร่วมจากเอ็นจีโอ/ผู้เชี่ยวชาญ ด้านสิทธิมนุษยชน [1 คะแนน]  มีการประเมินประสิทธิผลของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท โดยมีส่วนร่วมจากเอ็นจีโอ/ผู้เชี่ยวชาญด้าน สิทธิมนุษยชน [2 คะแนน] 14. บริษัทของท่านเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนต่อสาธารณะหรือไม่  ไม่มีการรายงานการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนต่อสาธารณะ [0 คะแนน]  เปิดเผยรายงานสิทธิมนุษยชน / รายงานการตรวจสอบสิทธิมนุษยชน เป็นครั้งคราว (ไม่ใช่รายปี) [1 คะแนน]  เปิดเผยผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน / รายงานการตรวจสอบสิทธิมนุษยชน รายปี [2 คะแนน] กลไกการรับเรื่องร้องเรียน/การเยียวยา 15. บริษัทของท่านมีช่องทางในการรับข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือไม่  ไม่มีช่องทางรับข้อร้องเรียน [-1 คะแนน]  มีช่องทางรับข้อร้องเรียน [1 คะแนน] 15.1 บริษัทของท่านมีช่องทางต่อไปนี้ในการรับข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)  ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน/Call Center [1 คะแนน]  เว็บไซต์ [1 คะแนน]  อีเมล [1 คะแนน]  ระบบรับเรื่องร้องเรียนภายในองค์กร เช่น ผ่าน Intranet [1 คะแนน]  จดหมาย [1 คะแนน]  อื่น ๆ ระบุ…… [พิจารณาเป็นกรณี] ภาคผนวก1-10


ประเด็น 16. ช่องทางรับเรื่องร้องเรียนของบริษัทในข้อ 15.1 เปิดรับข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มใดบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) (กรณีไม่มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียน ไม่ต้องตอบข้อนี้)  ประชาชนทั่วไป [1 คะแนน]  พนักงาน/แรงงาน [1 คะแนน]  คู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน [1 คะแนน]  พนักงาน/แรงงานของคู่ค้า [1 คะแนน]  ชุมชนของคู่ค้า [1 คะแนน]  ลูกค้า [1 คะแนน]  ชุมชนของคู่ค้า [1 คะแนน]  ชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบ [1 คะแนน] 17. บริษัทของท่านมีช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนในภาษาที่เหมาะสมแก่การเข้าถึงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม (ตอบได้ มากกว่า 1 ข้อ) (กรณีไม่มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียน ไม่ต้องตอบข้อนี้)  ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน ในภาษาไทย [1 คะแนน]  ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน ในภาษาอังกฤษ [1 คะแนน]  ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน เป็นภาษาอื่น ๆ โปรดระบุ ……. [1 คะแนน/ภาษา] 18. บริษัทของท่านมีกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย ในการร่วมออกแบบและพัฒนาประสิทธิภาพของกลไก/ ช่องทางรับเรื่องร้องเรียนหรือไม่ (กรณีไม่มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียน ไม่ต้องตอบข้อนี้)  ไม่มีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ใช้กลไก/ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน [0 คะแนน]  มีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย (โปรดระบุในข้อ 18.1) [1 คะแนน] 18.1 โปรดระบุกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียของท่าน ในการร่วมออกแบบและพัฒนาประสิทธิภาพของกลไก/ ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน 19. บริษัทของท่านสนับสนุนทรัพยากร งบประมาณ หรือการให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด สามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมในกระบวนการร้องทุกข์ได้อย่างเท่าเทียมกัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)  ไม่มีการดำเนินการใด ๆ เพิ่มเติม (จัดให้มีกลไกรับเรื่องร้องเรียนเท่านั้น) [0 คะแนน]  มีการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเข้าสู่กระบวนการร้องเรียน [1 คะแนน]  มีการสนับสนุนทรัพยากรเพิ่มเติม (เช่น จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ) เพื่อให้มั่นใจว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถเข้าถึงกลไกการร้องเรียนได้ [1 คะแนน] 20. บริษัทของท่านเปิดเผยกระบวนการใดบ้างในการจัดการกับข้อร้องเรียน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)  ไม่มีการเปิดเผยกระบวนการใด ๆ ในการรับเรื่องร้องเรียน [0 คะแนน]  มีการเปิดเผยกระบวนการจัดการข้อร้องเรียน [1 คะแนน]  มีการเปิดเผยกระบวนการเพิกถอนข้อร้องเรียน [1 คะแนน] ภาคผนวก1-11


ประเด็น  มีการเปิดเผยนโยบายการรายงานความคืบหน้าแก่ผู้ร้องเรียนภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น 3 วัน 7 วัน หรือ 15 วัน เป็นต้น [1 คะแนน] 21. บริษัทของท่านมีนโยบายห้ามตอบโต้การร้องเรียนหรือแจ้งข้อกังวลต่อผู้ร้องเรียนหรือไม่  ไม่มีนโยบายห้ามตอบโต้การร้องเรียนหรือแจ้งข้อกังวล [0 คะแนน]  มีนโยบายห้ามตอบโต้การร้องเรียนหรือแจ้งข้อกังวล [1 คะแนน] 22. บริษัทของท่านมีนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้ร้องเรียนระดับใด  ไม่มีนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้ร้องเรียน [0 คะแนน]  มีนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้ร้องเรียน แต่ไม่มีกลไกรับเรื่องร้องเรียนผ่านเอ็นจีโอ หรือองค์กรอื่นที่เป็น ตัวแทนผู้ร้องเรียน [1 คะแนน]  มีนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้ร้องเรียน และมีกลไกรับเรื่องร้องเรียนผ่านเอ็นจีโอ หรือองค์กรอื่นที่เป็น ตัวแทนผู้ร้องเรียน [1 คะแนน] 23. บริษัทของท่านมีนโยบายเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ในกรณีที่บริษัทก่อให้เกิดหรือมีส่วนทำให้เกิดผลกระทบด้าน สิทธิมนุษยชนในทางลบ  ไม่มีนโยบายเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน [-1 คะแนน]  มีนโยบายเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ไม่เปิดเผยนโยบายดังกล่าวต่อสาธารณะ (โปรดระบุในข้อ 23.1) [0 คะแนน]  มีนโยบายเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และเปิดเผยนโยบายดังกล่าวต่อสาธารณะ (โปรดระบุในข้อ 23.1) [1 คะแนน] 23.1 โปรดยกตัวอย่างรูปแบบการเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ในกรณีที่บริษัทก่อให้เกิดหรือมีส่วนทำให้เกิดผล กระทบด้านสิทธิมนุษยชนในทางลบ คำตอบ:………………………………………………………………………………………………………………………………… 24. บริษัทของท่านเปิดเผยข้อมูลใดบ้างเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)  ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับข้อร้องเรียนเป็นรายปี [0 คะแนน]  เปิดเผยรายปี ข้อมูลเกี่ยวกับข้อร้องเรียนที่มีการจัดการ [1 คะแนน]  เปิดเผยรายปี ข้อมูลเกี่ยวกับข้อร้องเรียนที่บริษัทปฏิเสธที่จะจัดการ [1 คะแนน]  เปิดเผยรายปี ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุผลในกรณีที่บริษัทปฏิเสธที่จะจัดการกับข้อร้องเรียน [1 คะแนน]  เปิดเผยรายปี ข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์และการติดตามผลสำหรับข้อร้องเรียนซึ่งเป็นที่สิ้นสุดแล้ว [1 คะแนน] 25. บริษัทของท่านมีกระบวนการถอดบทเรียนจากเรื่องร้องเรียนรายปี เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน  ไม่มีกระบวนการถอดบทเรียนจากเรื่องร้องเรียนรายปี [0 คะแนน]  มีกระบวนการถอดบทเรียนจากเรื่องร้องเรียนรายปี และนำไปปรับปรุงการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน [1 คะแนน] ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน ภาคผนวก1-12


ประเด็น 26. บริษัทของท่านกำหนดให้ คู่ค้า ประกาศคำมั่นต่อสาธารณะในการเคารพหลักการเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนใดบ้าง (ตอบได้ มากกว่า 1 ข้อ)  ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล [0 คะแนน]  ไม่กำหนด [0 คะแนน]  ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) [1 คะแนน]  หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) [1 คะแนน]  แนวปฏิบัติของ OECD สำหรับบรรษัทข้ามชาติ (The OECD Guidelines for Multinational Enterprises) [1 คะแนน]  มาตรฐานแรงงานตามอนุสัญญาหลัก 8 ฉบับขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) [1 คะแนน]  อื่น ๆ ระบุ……. [พิจารณาเป็นกรณี] 27. บริษัทของท่านกำหนดให้ คู่ค้า กำหนดชั่วโมงการทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (รวม การทำงานล่วงเวลา)  ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล [0 คะแนน]  ไม่กำหนด [0 คะแนน]  กำหนด [1 คะแนน] 28. บริษัทของท่านกำหนดให้ คู่ค้า ระบุเงื่อนไขการทำงานล่วงเวลาว่าต้องได้รับความยินยอมจากแรงงาน และต้องจ่าย ค่าตอบแทนในอัตราพิเศษ  ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล [0 คะแนน]  ไม่กำหนด [0 คะแนน]  กำหนด [1 คะแนน] 29. บริษัทของท่านกำหนดให้ คู่ค้า มีนโยบายปรึกษาหารือกับกลุ่มชาติพันธุ์/ชนพื้นเมือง/ชุมชนท้องถิ่น อย่างสม่ำเสมอ ทั้ง ก่อนและระหว่างการก่อสร้างหรือการดำเนินโครงการ  ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล [0 คะแนน]  ไม่กำหนด [0 คะแนน]  กำหนด [1 คะแนน] 30. บริษัทของท่านกำหนดให้ คู่ค้า มีช่องทางอย่างน้อยหนึ่งช่องทาง เพื่อรับข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม  ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล [0 คะแนน]  ไม่กำหนด [0 คะแนน]  กำหนด [1 คะแนน] 31. บริษัทของท่านกำหนดให้ คู่ค้า เปิดเผยกระบวนการจัดการกับข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้เสีย ต่อสาธารณะ  ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล [0 คะแนน] ภาคผนวก1-13


ประเด็น  ไม่กำหนด [0 คะแนน]  กำหนด [1 คะแนน] 32. บริษัทของท่านกำหนดให้ คู่ค้า มีนโยบายเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนในทางลบ ในกรณีที่คู่ค้า ก่อให้เกิดหรือมีส่วนก่อให้เกิดผลกระทบ  ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล [0 คะแนน]  ไม่กำหนด [0 คะแนน]  กำหนด [1 คะแนน] 33. บริษัทของท่านกำหนดให้คู่ค้าประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนหรือไม่  ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล [0 คะแนน]  ไม่กำหนด [0 คะแนน]  กำหนด [1 คะแนน] 34. บริษัทของท่านมีกระบวนการติดตามหรือตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของคู่ค้า รายปี  ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล [0 คะแนน]  ไม่มีกระบวนการติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของคู่ค้า [0 คะแนน]  มีกระบวนการจัดทำแผนการติดตาม ตรวจสอบคู่ค้า และดำเนินการตามแผนที่จัดทำขึ้นทุกปี [1 คะแนน] 35. บริษัทของท่านนำผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของคู่ค้า หรือผลการตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิ มนุษยชนของคู่ค้า มาพิจารณาประกอบการตัดสินใจร่วมทำธุรกิจหรือยุติการทำธุรกิจกับคู่ค้า  ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูล [0 คะแนน]  ไม่มีการนำผลการประเมิน/ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจร่วมทำธุรกิจ หรือยุติการทำ ธุรกิจ [0 คะแนน]  มีการนำผลการประเมิน/ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจร่วมทำธุรกิจ หรือยุติการทำธุรกิจ [1 คะแนน]

ภาคผนวก1-14


ส่วนที่ 3: กรณีทบี่ ริษัทของท่านเคยดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา 3.1 ท่านคิดว่าปัจจัยต่อไปนี้ มีส่วนผลักดันหรือส่งผลต่อการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กรมากน้อยเพียงใด (เลือกข้อ เดียวในตัวเลือก 1 = ไม่สำคัญเลย ถึง 5 = สำคัญอย่างยิ่ง) ไม่สำคัญ สำคัญบ้าง สำคัญปานกลาง สำคัญมาก สำคัญอย่างยิ่ง นโยบาย/กฎหมายในประเทศ      นโยบาย/กฎหมายต่างประเทศ      ความสนใจของผู้บริหาร      ความสนใจของนักลงทุน      ความต้องการของลูกค้าในประเทศ      ความต้องการของลูกค้าต่างประเทศ      เงินทุน/งบประมาณองค์กร      การขับเคลื่อน/ข้อเรียกร้อง ของเอ็นจีโอและภาคประชาสังคม      ข้อกำหนดของมาตรฐานความยั่งยืน      3.1.1 ปัจจัยอื่น ๆ ที่ท่านเห็นว่ามีความสำคัญในการผลักดันหรือส่งผลต่อการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท (โปรด ระบุ) ………………………………………………………………………………………………………………………………................................................… 3.2 ที่ผ่านมาท่านพบอุปสรรคหรือข้อจำกัดใดบ้าง ในกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โปรดยกตัวอย่างที่ท่าน เคยพบ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 3.3 ข้อเสนอแนะอื่น ๆ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ภาคผนวก1-15


ส่วนที่ 4: กรณีทบี่ ริษัทของท่านยังไม่มีกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2562 4.1 ท่านเห็นว่าบริษัทน่าจะต้องดำเนินกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ภายใน 2-3 ปีข้างหน้าหรือไม่  ไม่จำเป็น  จำเป็น 4.1.1 จากคำตอบในข้อ 4.1 โปรดระบุเหตุผลที่ท่านคิดว่าจำเป็น/ไม่จำเป็น …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………

4.2 (หากตอบว่า “จำเป็น” ในข้อ 4.1) ท่านเล็งเห็นว่าบริษัทจะเผชิญกับอุปสรรคหรือข้อจำกัดใดบ้าง หากจะต้องดำเนินการ ตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า (เลือกข้อเดียวในตัวเลือก 1 = ไม่ใช่อุปสรรค ถึง 5 = อุปสรรค สำคัญอย่างยิ่ง) ไม่ใช่อุปสรรค อุปสรรคสำคัญบ้าง อุปสรรคสำคัญปานกลาง อุปสรรคสำคัญมาก อุปสรรคสำคัญอย่างยิ่ง

นโยบาย/กฎหมายในประเทศ  นโยบาย/กฎหมายต่างประเทศ  การสนับสนุนจากภาครัฐ  การสนับสนุนจากผู้บริหาร  เงินทุน/งบประมาณองค์กร  องค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน 

     

     

     

     

4.2.1 ปัจจัยอื่น ๆ ที่ท่านเห็นว่าอาจเป็นอุปสรรคหรือข้อจำกัดที่สำคัญต่อการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของ บริษัท ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า (โปรดระบุ) ………………………………………………………………………………………………………………………………................................................… 4.3 หากบริษัทของท่านจะดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ท่านคิดว่าบริษัทของท่านต้องได้รับการส่งเสริม สนับสนุน ในประเด็นใดบ้าง ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ภาคผนวก1-16


4.4 ข้อเสนอแนะอื่น ๆ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ภาคผนวก1-17


ภาคผนวก 2 แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แนวอภิปราย การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: กลุม่ บริษัท คำถามวิจัย: การสำรวจความพร้อมของบริษัทในการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) สวัสดีค่ะ/ครับ • ขอบท่านทุกท่านที่สละเวลามาในวันนี้ค่ะ/ครับ • เรามาจากบริษัท ป่าสาละ จำกัด เป็นคณะวิจยั เพื่อสำรวจและประเมินความพร้อมของบริษัท/องค์กรในประเทศไทยในการตรวจสอบ สิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน • ขออนุญาตทุกท่านอัดเสียงการพูดคุยกันในวันนี้ เพื่อประโยชน์ในการวิจัยเราจะปกปิดชื่อ/กลุม่ ผู้ให้สัมภาษณ์เป็นความลับ โดยท่าน สามารถให้ข้อมูลกับเราอย่างอิสระ วัตถุประสงค์ของการสำรวจ: เพื่อประเมินความพร้อมของบริษัทในประเทศไทย ในการดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ข้อแนะนำ: 1. ท่านสามารถตอบคำถามได้ในรูปแบบที่ “เปิดกว้าง” ที่สุด สามารถนำเสนอความคิดเห็น ความต้องการ ข้อกังวลและข้อเสนอแนะ ของท่าน ได้อย่างตรงไปตรงมา ทั้งนี้ ข้อมูลของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับ และใช้เพื่อการวิจัยนี้เท่านั้น 2. หากไม่เข้าใจคำถามหรือความหมายของคำบางคำ กรุณาสอบถามได้จากนักวิจัยผู้ถามคำถามให้อธิบายเพิ่มเติมได้ 3. หากท่านไม่สะดวกใจที่จะตอบคำถามบางข้อ ท่านสามารถแจ้งนักวิจัยได้โดยตรง หมายเหตุ: นักวิจัยควรทราบนโยบายเบื้องต้นของบริษัทที่จะไปสัมภาษณ์ โดยมีรายละเอียดดังนี้ • บริษัทมีการประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชนหรือไม่ • หากบริษัทไม่มีการประกาศต่อสาธารณะทีเ่ กี่ยวข้องกับประเด็นสิทธิมนุษยชน แล้วบริษัทมีนโยบายอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกับประเด็นด้าน สิทธิมนุษยชนหรือไม่ (เช่น ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน ช่องทางการรับแจ้งเบาะแสการทุจริต เป็นต้น) • มีการจัดทำรายงานความยั่งยืนหรือไม่ ส่วนที่ 1: ข้อมูลตอบผู้ให้สัมภาษณ์ คำถามหลัก • ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ • หน่วยงาน/องค์กร • ตำแหน่ง • บริษัทของท่านสมัครหรือเคยสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิก หรือโครงการที่เกี่ยวข้องสิทธิมนุษยชนหรือไม่

รายละเอียด

 เป็นสมาชิกของ United Nations Global Compact (UNGC)  เป็นสมาชิกของ World Business Council for Sustainable Development (WBCSD)  เป็นสมาชิกของสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (Global Compact Network Thailand: GCNT)  เคยสมัครเข้าร่วมโครงการองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ของกรม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม  อื่น ๆ โปรดระบุ …………………………………………………………

ภาคผนวก2-1


คำถามหลัก

รายละเอียด

• บริษัทของท่านมีความเกี่ยวข้องกับสหภาพยุโรป (EU) หรือไม่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 มีสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป และ/หรือมีลูกค้ารายสำคัญอยู่ใน สหภาพยุโรป  เป็นคู่ค้าของบริษัทในสหภาพยุโรป  เป็นบริษัทลูก บริษัทในเครือ ของบริษัทในสหภาพยุโรป  เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (Joint Venture: JV) ของบริษัทในสหภาพยุโรป

ส่วนที่ 2: สถานะปัจจุบนั ของบริษัทในดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน คำถามหลัก • ท่านคิดว่าคำว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึงอะไร

• นโยบายและแนวปฏิบตั ิด้านสิทธิมนุษยชน

• กลไกการรับเรื่องร้องเรียนและการเยียวยา

คำถามเจาะลึก What, when, why, who, where, how • ท่านคิดว่า “การทำตามกฎหมาย” กับ “การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน” เป็นเรื่อง เดียวกันหรือไม่ • เหตุใดบริษัทของท่านจึงสนใจในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน • ท่านคิดว่าประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของท่านหรือไม่ อย่างไร • บริษัทของท่านมีการประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชน และ/หรือคำมัน่ ต่อ สาธารณะว่าจะเคารพหลักการมาตรฐานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหรือไม่ อย่างไร • บริษัทของท่านมีการจัดตั้งคณะทำงาน หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินการด้าน สิทธิมนุษยชนหรือไม่ อย่างไร • แนวทางการสื่อสารนโยบายสิทธิมนุษยชนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุม่ ต่าง ๆ • บริษัทของท่านเปิดรับข้อร้องเรียนจากผู้มสี ่วนได้ส่วนเสียกลุ่มใดบ้าง / ช่องทาง ใดบ้าง / ในภาษาใด • กระบวนการจัดการข้อร้องเรียนเป็นอย่างไร / มีการเปิดเผยกระบวนการ ดังกล่าวต่อสาธารณะหรือไม่ 1) บริษัทแยกประเภทหรือจำแนกข้อร้องเรียนหรือไม่ / ผู้ ร้องเรียนมีอสิ ระในการร้องเรียนมากน้อยเพียงใด 2) กระบวนการมี commitment ต่อผู้ร้องแค่ไหน - มีการกำหนดระยะเวลาในการจัดการเรื่องร้องเรียนหรือไม่ - มีการแจ้งเรื่องการดำเนินต่อผู้รอ้ งเรียนอย่างต่อเนื่องหรือไม่ 3) มีการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้ร้องมากน้อยเพียงใด • มีนโยบายเยียวยาเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ / นโยบายดังกล่าวมี การเปิดเผยต่อสาธารณะหรือไม่ อย่างไร • แนวทางการแก้ไขและเยียวยาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบริษัทเป็นอย่างไร

ภาคผนวก2-2


คำถามหลัก

• กรณีที่บริษัทของท่านเคยทำ HRDD

• กรณีที่บริษัทของท่านไม่เคยทำ HRDD

คำถามเจาะลึก What, when, why, who, where, how • บริษัทมีการทบทวนบทเรียนจากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างไร / มีการนำข้อมูลที่ได้รับจากการร้องเรียนมายกระดับการจัดการประเด็นด้าน สิทธิมนุษยชนหรือไม่ อย่างไร • สาเหตุที่ทำให้บริษัทของท่านดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (เช่น เป็นนโยบายของบริษัทแม่ หรือเป็นนโยบายของบริษัทคู่ค้าในต่างประเทศ หรือเคยมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงจนก่อให้เกิดผลกระทบทาง ธุรกิจ ฯลฯ) • บริษัทของท่านกำหนดขอบเขตของกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่าง รอบด้านที่ระดับใด เพราะเหตุใด (เช่น ระดับโรงงาน / กิจการในประเทศ ไม่ รวมคู่ค้า / กิจการรวมคู่ค้า / กิจการรวมคูค่ ้า และการประกอบธุรกิจใน ต่างประเทศด้วย) • กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัท ดำเนินการโดย บุคลากรภายในองค์กรทั้งหมดหรือไม่ / มีการจ้างที่ปรึกษาภายนอกหรือไม่ / ผู้เชี่ยวชาญหรือภาคประชาสังคม (NGO) ได้มสี ่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าว หรือไม่ อย่างไร • ท่านคิดว่ากระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านมีข้อเสียหรือไม่ อย่างไร • ในอนาคต ท่านคิดว่าบริษัทของท่านควรมีกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้านอย่างต่อเนื่องหรือไม่ ความถี่เท่าใด (ทุกปี ทุก 3 ปี ฯลฯ) • ที่ผ่านมาท่านพบอุปสรรคหรือข้อจำกัดใดบ้าง ในกระบวนการตรวจสอบสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน • โปรดระบุตัวอย่างความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่ท่านพบจากการตรวจสอบ สิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (2-3 ประเด็น) และแนวทางการจัดการ • ท่านคิดว่าบริษัทของท่านควรได้รบั การส่งเสริม สนับสนุน ในประเด็นใดเพิ่มเติม เพื่อให้การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทของท่านมี ประสิทธิภาพมากขึ้น (เช่น ปรับปรุงโครงสร้างองค์กร การกำหนดตัวชี้วัด การ เพิ่มองค์ความรู้) • สาเหตุที่ทำให้บริษัทของท่านยังไม่มีกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่าง รอบด้าน • ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า ท่านเห็นว่าบริษัทจำเป็นต้องดำเนินกระบวนการ ตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน หรือไม่ เพราะเหตุใด • ท่านเห็นว่ามีอุปสรรคหรือข้อจำกัดสำคัญต่อการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่าง รอบด้านของบริษัท ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า หรือไม่ อย่างไร

ภาคผนวก2-3


คำถามหลัก

กรณีบริษัทอ้างเรื่องการตรวจสอบ นักวิจัยควรอธิบายได้ ว่าการดำเนินการตรวจสอบดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมการ

คำถามเจาะลึก What, when, why, who, where, how • หากบริษัทของท่านจะดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ท่าน คิดว่าบริษัทของท่านต้องได้รบั การส่งเสริม สนับสนุน ในประเด็นใดบ้าง เพราะ เหตุใด

ทำ HRDD เนื่องจากการทำ HRDD จำเป็นต้องมีการ ประเมินผลผ่านแว่นตานักสิทธิมนุษยชน มีการประเมิน ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต่อบริษัท มีการจัดลำดับประเด็น ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนมีการ สร้างการมี ส่วนร่วมกับผู้มีสว่ นได้ส่วนเสียเพื่อแก้ไขปัญหา

• บริษัทของท่านกำหนดให้ คู่ค้า มีการปรับปรุงหรือ การดำเนินการที่สอดคล้องกับประเด็นด้านสิทธิ มนุษยชนหรือไม่ อย่างไร

• บริษัทของท่านกำหนดนโยบายหรือแนวทางปฏิบัติให้คู่ค้าเคารพหรือ ดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนหรือไม่ อย่างไร • บริษัทของท่านมีกระบวนการติดตามหรือตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิ มนุษยชนของ คูค่ ้า หรือไม่ อย่างไร o ความถี่ในการติดตามตรวจสอบเป็นอย่างไร o หากพบกรณีการละเมิดแล้วมีวิธีการจัดการอย่างไร o มีการละเมิดถึงระดับใดถึงจะเลิกทำธุรกิจระหว่างกัน • บริษัทของท่านนำหลักสิทธิมนุษยชนมาใช้ในการพิจารณาประกอบ เกณฑ์ที่ใช้ ในการตัดสินใจร่วมทำธุรกิจหรือยุติการทำธุรกิจกับ คู่คา้ หรือไม่ อย่างไร

ส่วนที่ 3: คำถามเพิ่มเติมสำหรับสัมภาษณ์บริษัทที่มีการส่งออกสินค้า/คู่ค้า/บริษัทลูก/บริษัทในเครือ/พันธมิตร ทีส่ หภาพยุโรป (EU) คำถามหลัก • ลูกค้า/บริษัทแม่/พันธมิตรทางธุรกิจของท่านในสหภาพยุโรป (แล้วแต่ว่าเข้าข่ายไหน) เคยแจ้งท่านหรือไม่ว่า สหภาพยุโรปกำลังเตรียมออก กฎหมาย corporate sustainability due diligence และเคยแจ้งท่านหรือไม่ว่าบริษัทของท่านจะต้องทำอะไรเพิ่มเติม เมื่อกฎหมายออก แล้ว (กฎหมายนีจ้ ะบังคับใช้กับบริษัทขนาดใหญ่ใน EU และบริษัทขนาดใหญ่สญ ั ชาติอื่นที่ active ใน EU ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://ec.europa.eu/info/business-economy-euro/doing-business-eu/corporate-sustainability-due-diligence_en) • ลูกค้า/บริษัทแม่/พันธมิตรทางธุรกิจในสหภาพยุโรป กำหนดหรือคาดหวังให้บริษัทของท่านเคารพสิทธิมนุษยชนหรือไม่ ความคาดหวังนั้น อยู่ในรูปแบบใด (เช่น ระบุอยู่ในสัญญาซื้อขาย / อยู่ใน Supplier Code of Conduct ที่ต้องทำตาม / อยู่ในนโยบายบริษัทแม่ / ได้รับแจ้ง อย่างไม่เป็นทางการ ฯลฯ) • อุปสรรคหรือความยากของการทำตามความคาดหวังหรือข้อกำหนดเรื่องสิทธิมนุษยชนที่ท่านเผชิญมีอะไรบ้าง (หมายถึงความคาดหวัง/ ข้อกำหนดจาก ลูกค้า/บริษัทแม่/พันธมิตรทางธุรกิจในสหภาพยุโรป) • ลูกค้า/บริษัทแม่/พันธมิตรทางธุรกิจในสหภาพยุโรป มีมาตรการช่วยเหลือหรือสนับสนุนท่านอย่างไรบ้าง ให้ทำตามความคาดหวัง/ ข้อกำหนดเรื่องสิทธิมนุษยชนได้ • เมื่อเกิดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่บริษัทของท่านมีส่วนเกี่ยวข้อง ท่านแจ้งลูกค้า/บริษัทแม่/พันธมิตรทางธุรกิจในสหภาพยุโรปให้ทราบ หรือไม่ การแจ้งกรณีแบบนี้ส่งผลต่อการเยียวยาหรือชดเชยผูไ้ ด้รบั ผลกระทบหรือไม่ ภาคผนวก2-4


คำถามหลัก • ท่านคิดว่าสหภาพยุโรปควรมีมาตรการช่วยเหลือหรือสนับสนุนภาคธุรกิจนอกยุโรป เช่น ธุรกิจในประเทศไทยอย่างไร ในการยกระดับการ ดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งในการเขียนกฎหมาย corporate sustainability due diligence และหลังจากที่กฎหมายออกแล้ว ส่วนที่ 3: ข้อเสนอแนะอื่น ๆ

ภาคผนวก2-5


แนวอภิปราย การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ คำถามวิจัย: การสำรวจความพร้อมของบริษัทในการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) สวัสดีค่ะ/ครับ • ขอบคุณทุกท่านที่สละเวลามาในวันนี้ค่ะ/ครับ • เรามาจากบริษัท ป่าสาละ จำกัด เป็นคณะวิจยั เพื่อสำรวจและประเมินความพร้อมของบริษัท/องค์กรในประเทศไทยในการตรวจสอบ สิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน • ขออนุญาตทุกท่านอัดเสียงการพูดคุยกันในวันนี้ เพื่อประโยชน์ในการวิจัยเราจะปกปิดชือ่ /กลุม่ ผู้ให้สัมภาษณ์เป็นความลับ โดยท่าน สามารถให้ข้อมูลกับเราอย่างอิสระ วัตถุประสงค์ของการสำรวจ: เพื่อประเมินความพร้อมของบริษัทในประเทศไทย ในการดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ข้อแนะนำ: 1. ท่านสามารถตอบคำถามได้ในรูปแบบที่ “เปิดกว้าง” ที่สุด สามารถนำเสนอความคิดเห็น ความต้องการ ข้อกังวลและข้อเสนอแนะ ของท่าน ได้อย่างตรงไปตรงมา ทั้งนี้ ข้อมูลของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับ และใช้เพื่อการวิจัยนี้เท่านั้น 2. หากไม่เข้าใจคำถามหรือความหมายของคำบางคำ กรุณาสอบถามได้จากนักวิจัยผู้ถามคำถามให้อธิบายเพิ่มเติมได้ 3. หากท่านไม่สะดวกใจที่จะตอบคำถามบางข้อ ท่านสามารถแจ้งนักวิจัยได้โดยตรง ส่วนที่ 1: ข้อมูลผู้ให้สัมภาษณ์ คำถามหลัก • ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ • หน่วยงาน/องค์กร • ตำแหน่ง

รายละเอียด คุณนรีลักษณ์ แพไชยภูมิ ผอ. กสป. กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

ส่วนที่ 2: สถานะปัจจุบนั ของบริษัทในดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน คำถามหลัก

คำถามเจาะลึก What, when, why, who, where, how

เกริ่นนำ ท่านเห็นว่าประเด็นสิทธิมนุษยชนสำคัญต่อ บริษัทไทยอย่างไร ภารกิจหรือบทบาทของหน่วยงานต่อประเด็น ด้านสิทธิมนุษยชน

• ปัจจุบันหน่วยงานของท่านมีบทบาท ภารกิจ หรือดำเนินโครงการส่งเสริมประเด็นด้าน สิทธิมนุษยชนอย่างไรบ้าง • ในมุมมองของท่าน บริษัทไทยยังคงมีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ และ ประเด็นที่ท่านเห็นว่าน่ากังวลทีส่ ุด • ในมุมมองของท่านคิดว่าบริษัทในไทยมีความรู้และความเข้าใจ ในประเด็นสิทธิมนุษยชน มากน้อยเพียงใด ภาคผนวก2-6


คำถามหลัก

ความคิดเห็นต่อการดำเนินการตรวจสอบสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทไทย

คำถามเจาะลึก What, when, why, who, where, how • ผลตอบรับของบริษัทไทยต่อแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (National Action Plan on Business and Human Rights: NAP) โดยภาพรวมเป็น อย่างไร • มีปัจจัยสำคัญใดบ้างที่ท่านเห็นว่ามีส่วนที่ทำให้บริษัทไทยตืน่ ตัวในประเด็นด้านสิทธิ มนุษยชน • ความคาดหวังของท่านเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทไทย • ความท้าทาย ข้อกังวล ปัญหา อุปสรรค ในปัจจุบันที่ท่านคิดว่าส่งผลให้บริษัทไทยไม่ สามารถดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้ • ความท้าทายของภาครัฐต่อการจัดทำร่างกฎหมายการดำเนินการตรวจสอบสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้านคืออะไร

ส่วนที่ 3: คำถามเพิ่มเติมสำหรับโครงการวิจัย การสำรวจความคิดเห็นของบริษัทไทยต่อการออกกฎหมาย corporate sustainability due diligence ของสหภาพยุโรป คำถามหลัก • ท่านเคยทราบข้อมูลเกี่ยวกับกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบริษทั ไทย (ที่เกี่ยวข้องกับสหภาพยุโรป เช่น เป็นลูกค้า เป็นบริษัทลูก หรือ เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ) หรือไม่ บริษัทในสหภาพยุโรปมีการจัดการกับบริษัทไทยอย่างไร มีการเยียวยาหรือชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ หรือไม่ (โปรดยกตัวอย่างกรณีที่ท่านเคยทราบข้อมูล) • ท่านคิดว่าบริษัทในสหภาพยุโรปควรมีมาตรการหรือแนวทางในการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน ให้บริษัทไทยที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ สามารถดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ให้ดีขึ้นได้อย่างไร ส่วนที่ 4: ข้อเสนอแนะอื่น ๆ

ภาคผนวก2-7


แนวอภิปราย การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) คำถามวิจัย: การสำรวจความพร้อมของบริษัทในการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) สวัสดีค่ะ/ครับ • ขอบคุณทุกท่านที่สละเวลามาในวันนี้ค่ะ/ครับ • เรามาจากบริษัท ป่าสาละ จำกัด เป็นคณะวิจยั เพื่อสำรวจและประเมินความพร้อมของบริษัท/องค์กรในประเทศไทยในการตรวจสอบ สิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน • ขออนุญาตทุกท่านอัดเสียงการพูดคุยกันในวันนี้ เพื่อประโยชน์ในการวิจัยเราจะปกปิดชื่อ/กลุม่ ผู้ให้สัมภาษณ์เป็นความลับ โดยท่าน สามารถให้ข้อมูลกับเราอย่างอิสระ วัตถุประสงค์ของการสำรวจ: เพื่อประเมินความพร้อมของบริษัทในประเทศไทย ในการดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ข้อแนะนำ: 1. ท่านสามารถตอบคำถามได้ในรูปแบบที่ “เปิดกว้าง” ที่สุด สามารถนำเสนอความคิดเห็น ความต้องการ ข้อกังวลและข้อเสนอแนะ ของท่าน ได้อย่างตรงไปตรงมา ทั้งนี้ ข้อมูลของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับ และใช้เพื่อการวิจัยนี้เท่านั้น 2. หากไม่เข้าใจคำถามหรือความหมายของคำบางคำ กรุณาสอบถามได้จากนักวิจัยผู้ถามคำถามให้อธิบายเพิ่มเติมได้ 3. หากท่านไม่สะดวกใจที่จะตอบคำถามบางข้อ ท่านสามารถแจ้งนักวิจัยได้โดยตรง ส่วนที่ 1: ข้อมูลผู้ให้สัมภาษณ์ คำถามหลัก

รายละเอียด

• ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ • หน่วยงาน/องค์กร • ตำแหน่ง ส่วนที่ 2: สถานะปัจจุบนั ของบริษัทในดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน คำถามหลัก

คำถามเจาะลึก What, when, why, who, where, how

เกริ่นนำ ท่านคิดว่าคำว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึงอะไร

ภารกิจหรือบทบาทของหน่วยงานต่อประเด็น ด้านสิทธิมนุษยชน

• ท่านคิดว่า “การทำตามกฎหมาย” กับ “การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน” เป็นเรื่องเดียวกัน หรือไม่ • ท่านเห็นว่าประเด็นสิทธิมนุษยชนสำคัญต่อบริษัทจดทะเบียนหรือไม่ อย่างไร • หน่วยงานของท่านมีภารกิจ/บทบาท ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน อย่างไร • ในมุมมองของท่านคิดว่าบริษัทจดทะเบียนมีความรับรู้และความเข้าใจ ในประเด็นสิทธิ มนุษยชนมากน้อยเพียงใด • ผลตอบรับของบริษัทจดทะเบียนต่อเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชน ตาม One Report ซึ่งใช้สำหรับผลประกอบการปี 2564 เป็นปีแรก โดยรวมเป็นอย่างไร ภาคผนวก2-8


คำถามเจาะลึก What, when, why, who, where, how • มีปัจจัยสำคัญใดบ้างทีท่ ่านเห็นว่ามีส่วนทำให้บริษัทจดทะเบียนตื่นตัวในประเด็นด้าน สิทธิมนุษยชน • ที่ผ่านมาบริษัทจดทะเบียนมีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนบ้างหรือไม่ • ก.ล.ต. เคยได้รับข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนจากผูม้ ีส่วนได้เสียของบริษัทจดทะเบียน บ้างหรือไม่ อย่างไร • ความคาดหวังของท่านเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทจดทะเบียน • ในมุมมองของท่าน คิดว่านักลงทุนไทยมีความรับรู้ เข้าใจ หรือตื่นตัว ในประเด็นสิทธิ มนุษยชนมากน้อยเพียงใด • หน่วยงานของท่านมีส่วนในการผลักดันประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับนักลงทุนสถาบัน หรือไม่ อย่างไร • ท่านเห็นว่า ก.ล.ต. ควรมีบทบาทอย่างไรในการผลักดันประเด็นธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ในแผนปฏิบัติการระดับชาติ (National Action Plan) ระยะที่ 2 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่าง การรับฟังความคิดเห็น ความคิดเห็นต่อการดำเนินการตรวจสอบสิทธิ • ท่านคิดว่าบริษัทจดทะเบียนจำเป็นต้องมีการดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่าง รอบด้านหรือไม่ อย่างไร มนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทจดทะเบียน • ความท้าทาย ข้อกังวล ปัญหา อุปสรรค ในปัจจุบันที่ท่านคิดว่าส่งผลให้บริษัทจด ทะเบียนไม่สามารถดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้ • ใน 2 – 3 ปีข้างหน้า หากมีข้อกำหนด/กฎหมายให้บริษัทจดทะเบียนต้องดำเนินการ ตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ท่านคิดว่าหน่วยงานของท่านจะมีบทบาทในการ กำกับบริษัทจดทะเบียนในประเด็นนี้อย่างไร ส่วนที่ 3: คำถามเพิ่มเติมสำหรับโครงการวิจัย การสำรวจความคิดเห็นของบริษัทไทยต่อการออกกฎหมาย corporate sustainability due diligence ของสหภาพยุโรป คำถามหลัก

คำถามหลัก • ท่านเคยทราบข้อมูลเกี่ยวกับกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบริษทั ไทย (ที่เกี่ยวข้องกับสหภาพยุโรป เช่น เป็นลูกค้า เป็นบริษัทลูก หรือ เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ) หรือไม่ บริษัทในสหภาพยุโรปมีการจัดการกับบริษัทไทยอย่างไร มีการเยียวยาหรือชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ หรือไม่ (โปรดยกตัวอย่างกรณีที่ท่านเคยทราบข้อมูล) • ท่านคิดว่าบริษัทในสหภาพยุโรปควรมีมาตรการหรือแนวทางในการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน ให้บริษัทไทยที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ สามารถดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ให้ดีขึ้นได้อย่างไร ส่วนที่ 4: ข้อเสนอแนะอื่น ๆ

ภาคผนวก2-9


แนวอภิปราย การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย คำถามวิจัย: การสำรวจความพร้อมของบริษัทในการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) สวัสดีค่ะ/ครับ • ขอบคุณทุกท่านที่สละเวลามาในวันนี้ค่ะ/ครับ • เรามาจากบริษัท ป่าสาละ จำกัด เป็นคณะวิจยั เพื่อสำรวจและประเมินความพร้อมของบริษัท/องค์กรในประเทศไทยในการตรวจสอบ สิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน • ขออนุญาตทุกท่านอัดเสียงการพูดคุยกันในวันนี้ เพื่อประโยชน์ในการวิจัยเราจะปกปิดชือ่ /กลุม่ ผู้ให้สัมภาษณ์เป็นความลับ โดยท่าน สามารถให้ข้อมูลกับเราอย่างอิสระ วัตถุประสงค์ของการสำรวจ: เพื่อประเมินความพร้อมของบริษัทในประเทศไทย ในการดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ข้อแนะนำ: 1. ท่านสามารถตอบคำถามได้ในรูปแบบที่ “เปิดกว้าง” ที่สุด สามารถนำเสนอความคิดเห็น ความต้องการ ข้อกังวลและข้อเสนอแนะ ของท่าน ได้อย่างตรงไปตรงมา ทั้งนี้ ข้อมูลของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับ และใช้เพื่อการวิจัยนี้เท่านั้น 2. หากไม่เข้าใจคำถามหรือความหมายของคำบางคำ กรุณาสอบถามได้จากนักวิจัยผู้ถามคำถามให้อธิบายเพิ่มเติมได้ 3. หากท่านไม่สะดวกใจที่จะตอบคำถามบางข้อ ท่านสามารถแจ้งนักวิจัยได้โดยตรง ส่วนที่ 1: ข้อมูลผู้ให้สัมภาษณ์ คำถามหลัก

รายละเอียด

• ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ • หน่วยงาน/องค์กร • ตำแหน่ง ส่วนที่ 2: สถานะปัจจุบนั ของบริษัทในดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน คำถามหลัก

คำถามเจาะลึก What, when, why, who, where, how

เกริ่นนำ ท่านคิดว่าคำว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึงอะไร

ภารกิจหรือบทบาทของหน่วยงานต่อประเด็น ด้านสิทธิมนุษยชน

• ท่านคิดว่า “การทำตามกฎหมาย” กับ “การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน” เป็นเรื่องเดียวกัน หรือไม่ • ท่านเห็นว่าประเด็นสิทธิมนุษยชนสำคัญต่อ SME หรือไม่ อย่างไร • ในมุมมองของท่านคิดว่า SME มีความรู้และความเข้าใจ ในประเด็นสิทธิมนุษยชนมาก น้อยเพียงใด • มีปัจจัยสำคัญใดบ้างที่ท่านเห็นว่ามีส่วนทำให้ SME ตื่นตัวในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน • ที่ผ่านมา SME มีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนบ้างหรือไม่ • ท่านเคยได้รับข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนบ้างหรือไม่ อย่างไร (โปรดยกตัวอย่าง ประเด็นที่ท่านเคยพบ) ภาคผนวก2-10


คำถามหลัก

ความคิดเห็นต่อการดำเนินการตรวจสอบสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้านของ SME ไทย

คำถามเจาะลึก What, when, why, who, where, how • หน่วยงานของท่านมีส่วนในการผลักดันประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับ SME หรือไม่ อย่างไร • ความคาดหวังของท่านเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของ SME • ท่านคิดว่า SME จำเป็นต้องมีการดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน หรือไม่ อย่างไร • ความท้าทาย ข้อกังวล ปัญหา อุปสรรค ในปัจจุบันที่ท่านคิดว่าส่งผลให้ SME ไม่สามารถ ดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้ • ใน 2 – 3 ปีข้างหน้า หากมีข้อกำหนด/กฎหมายให้บริษัทไทยต้องทำกระบวนการ ตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ท่านคิดว่าหน่วยงานของท่านสามารถส่งเสริม หรือมีส่วนในการสนับสนุนให้บริษทั ไทยสามารถทำกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้านได้อย่างไร

ส่วนที่ 3: ข้อเสนอแนะอื่น ๆ

ภาคผนวก2-11


แนวอภิปราย การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: EarthRights International คำถามวิจัย: การสำรวจความพร้อมของบริษัทในการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) สวัสดีค่ะ/ครับ • ขอบคุณทุกท่านที่สละเวลามาในวันนี้ค่ะ/ครับ • เรามาจากบริษัท ป่าสาละ จำกัด เป็นคณะวิจยั เพื่อสำรวจและประเมินความพร้อมของบริษัท/องค์กรในประเทศไทยในการตรวจสอบ สิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน • ขออนุญาตทุกท่านอัดเสียงการพูดคุยกันในวันนี้ เพื่อประโยชน์ในการวิจัยเราจะปกปิดชือ่ /กลุม่ ผู้ให้สัมภาษณ์เป็นความลับ โดยท่าน สามารถให้ข้อมูลกับเราอย่างอิสระ วัตถุประสงค์ของการสำรวจ: เพื่อประเมินความพร้อมของบริษัทในประเทศไทย ในการดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ข้อแนะนำ: 1. ท่านสามารถตอบคำถามได้ในรูปแบบที่ “เปิดกว้าง” ที่สุด สามารถนำเสนอความคิดเห็น ความต้องการ ข้อกังวลและข้อเสนอแนะ ของท่าน ได้อย่างตรงไปตรงมา ทั้งนี้ ข้อมูลของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับ และใช้เพื่อการวิจัยนี้เท่านั้น 2. หากไม่เข้าใจคำถามหรือความหมายของคำบางคำ กรุณาสอบถามได้จากนักวิจัยผู้ถามคำถามให้อธิบายเพิ่มเติมได้ 3. หากท่านไม่สะดวกใจที่จะตอบคำถามบางข้อ ท่านสามารถแจ้งนักวิจัยได้โดยตรง ส่วนที่ 1: ข้อมูลผู้ให้สัมภาษณ์ คำถามหลัก

รายละเอียด

• ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ • หน่วยงาน/องค์กร • ตำแหน่ง ส่วนที่ 2: สถานะปัจจุบนั ของบริษัทในดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน คำถามหลัก

คำถามเจาะลึก What, when, why, who, where, how

เกริ่นนำ ท่านคิดว่าคำว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึงอะไร

ภารกิจหรือบทบาทของหน่วยงานต่อประเด็น ด้านสิทธิมนุษยชน

• ท่านคิดว่า “การทำตามกฎหมาย” กับ “การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน” เป็นเรื่องเดียวกัน หรือไม่ • ท่านเห็นว่าประเด็นสิทธิมนุษยชนสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทไทยหรือไม่ อย่างไร • องค์กรของท่านมีภารกิจ/บทบาท ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน อย่างไร • ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินธุรกิจที่สร้างผลกระทบทางลบต่อ สิ่งแวดล้อม ที่ท่านเห็นว่าเป็นปัญหาเร่งด่วน และจำเป็นต้องเร่งแก้ไข

ภาคผนวก2-12


คำถามหลัก

ความคิดเห็นต่อการดำเนินการตรวจสอบสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทไทย

คำถามเจาะลึก What, when, why, who, where, how • ในมุมมองของท่าน คิดว่าบริษัทไทยรับรู้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างสิทธิมนุษยชนและ สิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด • บริษัทไทยมีความตื่นตัวต่อประเด็นการปกป้องสิทธิชนพื้นเมืองและสิทธิชุมชนที่ได้รับ ผลกระทบทางลบจากการดำเนินธุรกิจมากน้อยเพียงใด • ท่านคิดว่าปัจจัยสำคัญใดบ้างที่จะมีส่วนช่วยให้บริษัทไทยตื่นตัวในประเด็นด้านสิทธิ มนุษยชนมากขึ้น • ความคาดหวังของท่านเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทไทย • ท่านคิดว่าการดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านมีส่วนช่วยลดปัญหาการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนของบริษัทไทยได้หรือไม่ อย่างไร • ความท้าทาย ข้อกังวล ปัญหา อุปสรรค ในปัจจุบันที่ท่านคิดว่าส่งผลให้บริษัทไทยไม่ สามารถดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้ • ใน 2 – 3 ปีข้างหน้า หากมีข้อกำหนด/กฎหมายให้บริษัทไทยต้องมีการดำเนินการ ตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ท่านคิดว่าบริษัทควรได้รับการส่งเสริมหรือ สนับสนุนในด้านใด เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้ มุมมองต่อบริษัทที่มีการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังสหภาพยุโรป (EU) • ท่านคิดว่าสหภาพยุโรปควรมีมาตรการช่วยเหลือหรือสนับสนุนบริษทั ไทยที่มีลูกค้า/ บริษัทแม่/พันธมิตรทางธุรกิจในสหภาพยุโรปอย่างไร ให้สามารถทำตามความคาดหวัง/ ข้อกำหนดเรื่องสิทธิมนุษยชนได้ • ท่านคิดว่าสหภาพยุโรปควรมีมาตรการช่วยเหลือหรือสนับสนุนภาคธุรกิจนอกยุโรป เช่น ธุรกิจในประเทศไทยอย่างไร ในการยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งในการ เขียนกฎหมาย corporate sustainability due diligence และหลังจากที่กฎหมาย ออกแล้ว

ส่วนที่ 3: คำถามเพิ่มเติมสำหรับโครงการวิจัย การสำรวจความคิดเห็นของบริษัทไทยต่อการออกกฎหมาย corporate sustainability due diligence ของสหภาพยุโรป คำถามหลัก • ท่านเคยทราบข้อมูลเกี่ยวกับกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบริษทั ไทย (ที่เกี่ยวข้องกับสหภาพยุโรป เช่น เป็นลูกค้า เป็นบริษัทลูก หรือ เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ) หรือไม่ บริษัทในสหภาพยุโรปมีการจัดการกับบริษัทไทยอย่างไร มีการเยียวยาหรือชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ หรือไม่ (โปรดยกตัวอย่างกรณีที่ท่านเคยทราบข้อมูล) • ท่านคิดว่าบริษัทในสหภาพยุโรปควรมีมาตรการหรือแนวทางในการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน ให้บริษัทไทยที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ สามารถดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ให้ดีขึ้นได้อย่างไร

ภาคผนวก2-13


ส่วนที่ 4: ข้อเสนอแนะอื่น ๆ

ภาคผนวก2-14


แนวอภิปราย การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) คำถามวิจัย: การสำรวจความพร้อมของบริษัทในการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) สวัสดีค่ะ/ครับ • ขอบคุณทุกท่านที่สละเวลามาในวันนี้ค่ะ/ครับ • เรามาจากบริษัท ป่าสาละ จำกัด เป็นคณะวิจยั เพื่อสำรวจและประเมินความพร้อมของบริษัท/องค์กรในประเทศไทยในการตรวจสอบ สิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน • ขออนุญาตทุกท่านอัดเสียงการพูดคุยกันในวันนี้ เพื่อประโยชน์ในการวิจัยเราจะปกปิดชือ่ /กลุม่ ผู้ให้สัมภาษณ์เป็นความลับ โดยท่าน สามารถให้ข้อมูลกับเราอย่างอิสระ วัตถุประสงค์ของการสำรวจ: เพื่อประเมินความพร้อมของบริษัทในประเทศไทย ในการดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ข้อแนะนำ: 1. ท่านสามารถตอบคำถามได้ในรูปแบบที่ “เปิดกว้าง” ที่สุด สามารถนำเสนอความคิดเห็น ความต้องการ ข้อกังวลและข้อเสนอแนะ ของท่าน ได้อย่างตรงไปตรงมา ทั้งนี้ ข้อมูลของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับ และใช้เพื่อการวิจัยนี้เท่านั้น 2. หากไม่เข้าใจคำถามหรือความหมายของคำบางคำ กรุณาสอบถามได้จากนักวิจัยผู้ถามคำถามให้อธิบายเพิ่มเติมได้ 3. หากท่านไม่สะดวกใจที่จะตอบคำถามบางข้อ ท่านสามารถแจ้งนักวิจัยได้โดยตรง ส่วนที่ 1: ข้อมูลผู้ให้สัมภาษณ์ คำถามหลัก

รายละเอียด

• ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ • หน่วยงาน/องค์กร • ตำแหน่ง ส่วนที่ 2: สถานะปัจจุบนั ของบริษัทในดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน คำถามหลัก

คำถามเจาะลึก What, when, why, who, where, how

เกริ่นนำ ท่านคิดว่าคำว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึงอะไร

ภารกิจหรือบทบาทของหน่วยงานต่อประเด็น ด้านสิทธิมนุษยชน

• ท่านคิดว่า “การทำตามกฎหมาย” กับ “การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน” เป็นเรื่องเดียวกัน หรือไม่ • ท่านเห็นว่าประเด็นสิทธิมนุษยชนสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทไทยหรือไม่ อย่างไร • องค์กรของท่านมีภารกิจ/บทบาท ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน อย่างไร • ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินธุรกิจ ที่ท่านเห็นว่าเป็นปัญหาเร่งด่วน และจำเป็นต้องเร่งแก้ไข

ภาคผนวก2-15


คำถามหลัก

ความคิดเห็นต่อการดำเนินการตรวจสอบสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทไทย

คำถามเจาะลึก What, when, why, who, where, how • ในมุมมองของท่าน คิดว่าบริษัทไทยมีความรับรู้ เข้าใจ หรือตื่นตัว ในประเด็นสิทธิ มนุษยชนมากน้อยเพียงใด • บริษัทไทยให้ความสำคัญกับสิทธิของแรงงานต่างชาติมากน้อยเพียงใด / ปัจจุบันบริษัทมี ความตื่นตัวในการป้องกันค้ามนุษย์หรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนในแรงงานต่างชาติมาก น้อยเพียงใด • ท่านคิดว่าปัจจัยสำคัญใดบ้างที่จะมีส่วนช่วยให้บริษัทไทยตื่นตัวในประเด็นด้านสิทธิ มนุษยชนมากขึ้น • ความคาดหวังของท่านเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทไทย • ท่านคิดว่าการดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านมีส่วนช่วยลดปัญหาการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนของบริษัทไทยได้หรือไม่ อย่างไร • ความท้าทาย ข้อกังวล ปัญหา อุปสรรค ในปัจจุบันที่ท่านคิดว่าส่งผลให้บริษัทไทยไม่ สามารถดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้ • ใน 2 – 3 ปีข้างหน้า หากมีข้อกำหนด/กฎหมายให้บริษัทไทยต้องมีการดำเนินการ ตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ท่านคิดว่าบริษัทควรได้รับการส่งเสริมหรือ สนับสนุนในด้านใด เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้

ส่วนที่ 3: คำถามเพิ่มเติมสำหรับโครงการวิจัย การสำรวจความคิดเห็นของบริษัทไทยต่อการออกกฎหมาย corporate sustainability due diligence ของสหภาพยุโรป คำถามหลัก • ท่านเคยทราบข้อมูลเกี่ยวกับกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบริษทั ไทย (ที่เกี่ยวข้องกับสหภาพยุโรป เช่น เป็นลูกค้า เป็นบริษัทลูก หรือ เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ) หรือไม่ บริษัทในสหภาพยุโรปมีการจัดการกับบริษัทไทยอย่างไร มีการเยียวยาหรือชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ หรือไม่ (โปรดยกตัวอย่างกรณีที่ท่านเคยทราบข้อมูล) • ท่านคิดว่าบริษัทในสหภาพยุโรปควรมีมาตรการหรือแนวทางในการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน ให้บริษัทไทยที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ สามารถดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ให้ดีขึ้นได้อย่างไร

ส่วนที่ 4: ข้อเสนอแนะอื่น ๆ

ภาคผนวก2-16


แนวอภิปราย การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: ส.รัตนมณี พลกล้า มูลู นิธิศนู ย์ข้อมูลชุมชน คำถามวิจัย: การสำรวจความพร้อมของบริษัทในการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) สวัสดีค่ะ/ครับ • ขอบคุณทุกท่านที่สละเวลามาในวันนี้ค่ะ/ครับ • เรามาจากบริษัท ป่าสาละ จำกัด เป็นคณะวิจยั เพื่อสำรวจและประเมินความพร้อมของบริษัท/องค์กรในประเทศไทยในการตรวจสอบ สิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน • ขออนุญาตทุกท่านอัดเสียงการพูดคุยกันในวันนี้ เพื่อประโยชน์ในการวิจัยเราจะปกปิดชือ่ /กลุม่ ผู้ให้สัมภาษณ์เป็นความลับ โดยท่าน สามารถให้ข้อมูลกับเราอย่างอิสระ วัตถุประสงค์ของการสำรวจ: เพื่อประเมินความพร้อมของบริษัทในประเทศไทย ในการดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ข้อแนะนำ: 1. ท่านสามารถตอบคำถามได้ในรูปแบบที่ “เปิดกว้าง” ที่สุด สามารถนำเสนอความคิดเห็น ความต้องการ ข้อกังวลและข้อเสนอแนะ ของท่าน ได้อย่างตรงไปตรงมา ทั้งนี้ ข้อมูลของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับ และใช้เพื่อการวิจัยนี้เท่านั้น 2. หากไม่เข้าใจคำถามหรือความหมายของคำบางคำ กรุณาสอบถามได้จากนักวิจัยผู้ถามคำถามให้อธิบายเพิ่มเติมได้ 3. หากท่านไม่สะดวกใจที่จะตอบคำถามบางข้อ ท่านสามารถแจ้งนักวิจัยได้โดยตรง ส่วนที่ 1: ข้อมูลผู้ให้สัมภาษณ์ คำถามหลัก

รายละเอียด

• ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ • หน่วยงาน/องค์กร • ตำแหน่ง ส่วนที่ 2: สถานะปัจจุบนั ของบริษัทในดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน คำถามหลัก

คำถามเจาะลึก What, when, why, who, where, how

เกริ่นนำ ท่านคิดว่าคำว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึงอะไร

ภารกิจหรือบทบาทของหน่วยงานต่อประเด็น ด้านสิทธิมนุษยชน

• ท่านคิดว่า “การทำตามกฎหมาย” กับ “การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน” เป็นเรื่องเดียวกัน หรือไม่ • ท่านเห็นว่าประเด็นสิทธิมนุษยชนสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทไทยหรือไม่ อย่างไร • องค์กรของท่านมีภารกิจ/บทบาท ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน อย่างไร • ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินธุรกิจ ที่ท่านเห็นว่าเป็นปัญหาเร่งด่วน และจำเป็นต้องเร่งแก้ไข

ภาคผนวก2-17


คำถามหลัก

ความคิดเห็นต่อการดำเนินการตรวจสอบสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทไทย

คำถามเจาะลึก What, when, why, who, where, how • ในมุมมองของท่าน คิดว่าบริษัทไทยมีความรับรู้ เข้าใจ หรือตื่นตัว ในประเด็นสิทธิ มนุษยชนมากน้อยเพียงใด • ปัจจุบันบริษัทไทยมีความตื่นตัวต่อประเด็นการปกป้องสิทธิชนพื้นเมืองและสิทธิชุมชนที่ ได้รับผลกระทบทางลบจากการดำเนินธุรกิจมากน้อยเพียงใด • ท่านคิดว่าปัจจัยสำคัญใดบ้างที่จะมีส่วนช่วยให้บริษัทไทยตื่นตัวในประเด็นด้านสิทธิ มนุษยชนมากขึ้น • ความคาดหวังของท่านเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทไทย • ท่านคิดว่าการดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านมีส่วนช่วยลดปัญหาการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนของบริษัทไทยได้หรือไม่ อย่างไร • ความท้าทาย ข้อกังวล ปัญหา อุปสรรค ในปัจจุบันที่ท่านคิดว่าส่งผลให้บริษัทไทยไม่ สามารถดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้ • ใน 2 – 3 ปีข้างหน้า หากมีข้อกำหนด/กฎหมายให้บริษัทไทยต้องมีการดำเนินการ ตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ท่านคิดว่าบริษัทควรได้รับการส่งเสริมหรือ สนับสนุนในด้านใด เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้

ส่วนที่ 3: คำถามเพิ่มเติมสำหรับโครงการวิจัย การสำรวจความคิดเห็นของบริษัทไทยต่อการออกกฎหมาย corporate sustainability due diligence ของสหภาพยุโรป คำถามหลัก • ท่านเคยทราบข้อมูลเกี่ยวกับกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบริษทั ไทย (ที่เกี่ยวข้องกับสหภาพยุโรป เช่น เป็นลูกค้า เป็นบริษัทลูก หรือ เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ) หรือไม่ บริษัทในสหภาพยุโรปมีการจัดการกับบริษัทไทยอย่างไร มีการเยียวยาหรือชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ หรือไม่ (โปรดยกตัวอย่างกรณีที่ท่านเคยทราบข้อมูล) • ท่านคิดว่าบริษัทในสหภาพยุโรปควรมีมาตรการหรือแนวทางในการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน ให้บริษัทไทยที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ สามารถดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ให้ดีขึ้นได้อย่างไร

ส่วนที่ 4: ข้อเสนอแนะอื่น ๆ

ภาคผนวก2-18


ภาคผนวก 3 การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 เรื่อง การนำเสนอร่างผลสำรวจความพร้อมของบริษัทในประเทศไทยใน การดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน และการระดมความคิดเห็นจากภาคเอกชน คณะวิจัยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 เรื่อง การนำเสนอร่างผลสำรวจความพร้อมของบริษัทใน ประเทศไทยในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน และการระดมความคิดเห็นจาก ภาคเอกชน เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 โดยมีบริษัทและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมทั้งในรูปแบบออฟไลน์ และออนไลน์ทั้งหมด 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มบริษัทธนาคาร หลักทรัพย์ และบัญชี จำนวน 11 ราย (27.50%) กลุ่มบริษัทธุรกิจเกษตรและอาหาร จำนวน 11 ราย (27.50%) กลุ่มบริษัทพลังงานและสาธารณูปโภค จำนวน 8 ราย (20.00%) กลุ่มบริษัทแฟชั่น เหล็ก และผลิตภัณฑ์ โลหะ จำนวน 4 ราย (10.00%) และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องและภาคประชาสังคม จำนวน 6 ราย (15.00%) ดังแสดงในแผนภาพที่ 1 แผนภาพที่ 1 สัดส่วนผู้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม ธนาคาร หลักทรัพย์ และบัญชี

15% 27%

ธุรกิจเกษตรและอาหาร

10% พลังงานและสาธารณูปโภค แฟชั่น เหล็ก และผลิตภัณฑ์โลหะ 20%

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคประชาสังคม

28%

คณะวิจัยรวบรวมความคิดเห็น ตลอดจนข้อเสนอแนะในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้านของบริษัทไทย จากการระดมความคิดเห็นของบริษัทและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้เข้าร่วมการ ประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็น ข้อจำกัดและความท้าทายของ บริษัทไทยต่อการดำเนิน การตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่า งรอบด้าน และประเด็นข้อเสนอแนะต่ อ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ภาคผนวก3-1


1) ข้อจำกัดและความท้าทายของบริษัทไทยต่อการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน บริษัทและหน่วยงานที่เข้าร่วมงานแสดงความคิดเห็นว่า ปัจจุบันภาคธุรกิจในประเทศไทยมองว่า ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องไกลตัว โดยเฉพาะในกลุ่ม บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่ยังไม่ให้ ความสำคัญกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมากนัก เพราะจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความอยู่รอดของกิจการ ก่อน อีกทั้งยังไม่สามารถเชื่อมโยงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับการดำเนินธุรกิจของตนเองได้ เนื่องจากยังไม่มี ความรู้ความเข้าใจในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น กลุ่มบริษัทขนาดกลางและขนาด เล็ก จึงเป็นกลุ่มทีจ่ ำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนที่มากขึ้น จากทั้งหน่วยงานรัฐและ บริษัทขนาดใหญ่ เพื่อให้บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก เห็นถึงความสำคัญในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนใน การดำเนินธุรกิจ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับการดำเนินกิจการของตนเองได้ ขณะที่บริษัทขนาดใหญ่ จะมีอุปสรรคเรื่องความรู้ความเข้าใจในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับการ ดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกันของบุคลากรแต่ละระดับในองค์กร โดยเฉพาะหากผู้บริหารยังไม่มีความเข้าใจและ ขาดเจตนารมณ์ (Tone from the Top) ในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ก็จะส่งผลให้ ผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กรไม่สามารถขับ เคลื่ อนการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กรได้ ตลอดจน ไม่ส ามารถสร้างความตระหนักในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนให้เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทาน ขององค์กร บริษัทและหน่วยงานที่เข้าร่วมงานเห็นว่าภาพรวมบริษัทในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถกำหนด ผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจนได้ เนื่องจากไม่มีแหล่งอ้างอิงจากคู่มือ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อ งที่ช่วยแนะนำให้ทราบได้ว่า การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนควรเป็นหน้าที่ของ ฝ่ า ยงานใดในองค์กร ปัจ จุบ ัน บริษัทที่มี การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนจะเลือกกำหนดขึ้นเองว่าควร มอบหมายหน้าที่ดังกล่าวให้กับฝ่ายงานใด ซึ่งบริษัทแต่ละแห่งก็จะมีฝ่ายงานที่ดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนที่ แตกต่างกัน อาทิ ฝ่ายงานด้านความยั่งยืน ฝ่ายงานกำกับดูแลกิจการ ฝ่ายงานทรัพยากรบุคคล หรือฝ่ายงาน เลขานุการ ซึ่งบริษัทและหน่วยงานที่เข้าร่วมงานเห็นว่าการไม่มีข้อแนะนำว่าควรมอบหมายงานด้านสิทธิ มนุษยชนให้กับฝ่ายงานใด ส่งผลให้บริษัทแต่ละแห่งไม่กล้าที่จะเริ่มต้นดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะ บริษัทขนาดเล็กที่มีฝ่ายงานน้อย บริษัทและหน่วยงานที่เข้าร่วมงานเห็นว่า การไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าประเด็นใดถือเป็นการ ละเมิดสิทธิมนุษยชน อาจส่งผลให้แต่ละบริษัท ไม่สามารถจัดการกับเรื่องร้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน อาจทำให้บริษัทไม่สามารถแยก ออกได้ว่าประเด็นใดถือเป็นการร้องเรียนจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือ ประเด็นใดถือเป็นการร้องเรียน จากการใช้สินค้าและบริการตามปกติ โดยปัจจุบันบริษัทแต่ละแห่งจะอาศัยดุลยพินิจของตนเองในการตัดสินใจ ว่าประเด็นใดถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือประเด็นใดถือเป็นการร้องเรียนตามปกติ ซึ่ง บริษัทและ หน่วยงานที่เข้าร่วมงานเห็นว่า การตัดสินใจโดยใช้ดุลยพินิจ มีความเสี่ยงอย่างยิ่งที่ อาจทำให้บริษัทไม่สามารถ

ภาคผนวก3-2


แก้ไขและเยียวยาเรื่องร้องเรียนได้อย่างตรงจุด และอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบริษัทกับผู้ร้องเรียน ต่อไปได้ในอนาคต สำหรับการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน บริษัทและหน่วยงานที่เข้าร่วมงาน เห็นว่าหน่วยงานรัฐยังขาดการกำหนดแนวปฏิบัติและเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนในการดำเนินการตรวจสอบ ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ส่งผลให้ปัจจุบันบริษัทที่มีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง รอบด้านมีการอ้างอิงแนวปฏิบัติและเกณฑ์การประเมินจากแหล่งข้อมูลในต่างประเทศที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ดุลยพินิจของแต่ละบริษัทว่าต้องการอ้างอิงแหล่งข้อมูลจากแหล่งใด ทำให้การดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนในภาพรวมของบริษัทในประเทศไทยยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน การดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านยังจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจใน การตรวจสอบอย่างมาก ซึ่งแม้ว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่สามารถให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่ธุรกิจได้ แต่ ใน การทำงานจริงผู้ปฏิบัติงานก็จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เข้มข้น เพื่อให้ สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและไม่ส่งผลกระทบให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ในอนาคต โดยเฉพาะ กลุ่มธุรกิจธนาคาร หลักทรัพย์ และบัญชี ที่มีห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อมโยงไปยังกลุ่มลูกค้าเป็นหลัก ผู้ปฏิบัติงาน จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างยิ่ง ประกอบกับมี ความสามารถในการ ตรวจสอบการดำเนินงานของลูกค้าว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ ก่อนที่จะมีการสนับสนุนทางการเงิน หรือให้บริการแก่ลูกค้าแต่ละราย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากลูกค้าที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ของตนเอง บริษัทขนาดใหญ่ที่มีผู้มีส่วนได้ส่ว นเสียในห่ว งโซ่อุปทานจำนวนมาก ยังพบอุปสรรคจากความรู้ ความเข้าใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานที่มีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะคู่ค้าที่ยังคงให้ความสำคัญ เพียงการดูแลแรงงานให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และยังไม่มีการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจน ส่งผลให้บริษัทยังคงมีความเสี่ยงต่อการเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ การดำเนิน การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านให้ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทานก็เป็นอุปสรรค อย่างยิ่งสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ เนื่องจากบริษัทไม่ทราบว่าจะเริ่มดำเนินการที่จุดใดก่อน ทำให้หลายบริษัทยัง ไม่มีการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน รวมถึงยิ่งมีการขยายขอบเขตในการประเมินมากขึ้น บริษัท ก็คาดว่าประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนก็จะมีความซับซ้อนมากขึ้นเช่นกัน สรุปประเด็นข้อจำกัดและความท้าทายของบริษัทไทย • ปัจจุบันภาคธุรกิจไทยยังไม่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมากนัก โดยเฉพาะบริษัท ขนาดกลางและขนาดเล็ก เนื่องจากจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการอยู่รอดของธุรกิจเป็นอันดับแรก ตลอดจนยังไม่สามารถเชื่อมโยงได้ว่าประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของ ตนเองอย่างไร

ภาคผนวก3-3


• ผู้บริหารยังไม่มีความเข้าใจและขาดเจตนารมณ์ (Tone from the Top) ในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึง ประเด็น ด้านสิทธิมนุษยชน ส่งผลให้ผ ู้ปฏิบัติงานไม่ส ามารถขับเคลื่อนการดำเนินการด้านสิทธิ มนุษยชนในองค์กรได้ • ขาดคู่มือหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ช่วยแนะนำการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ทำให้บริษัทต่าง ๆ ไม่ทราบว่าควรมอบหมายการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนให้กับฝ่ายงานใด • ขาดการกำหนดแนวปฏิ บัติและเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน ทำให้บริษัทต่าง ๆ ไม่ทราบว่าควรเริ่มดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชน อย่างไร • การดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในการ ตรวจสอบอย่างมาก โดยเฉพาะในการทำงานจริงผู้ปฏิบัติงานก็จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจใน ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เข้มข้น • คู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานยังคงให้ความสำคัญเพียงการดูแลแรงงานให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เท่านั้น และยังไม่มีนโยบายหรือแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจน 2) ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบ ด้าน บริษัทและหน่วยงานที่เข้าร่ว มงานเห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีบทบาทในการสร้างความ ตระหนักในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับภาคธุรกิจ ผ่านการสื่อสารและเชื่อมโยงให้ภาคธุรกิจมีโอกาสในการ สื่อสารและแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจระหว่างกัน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถจัดการประชุมเชิง ปฏิบัติการ (workshop) ที่กระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อดึงดูดให้กลุ่มบริษัทขนาดกลาง และขนาดเล็กเข้าร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทและหน่วยงาน ที่เข้าร่วมงานยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่าควรกำหนดให้หน่วยงานใดเป็นผู้ดำเนินการสร้างความ ตระหนักที่ชัดเจน กล่าวคือ หากเป็นหน่วยงานรัฐก็อาจทำให้กระบวนการดำเนินการล่าช้า หรือหากเป็นภาค ธุรกิจก็จะสร้างการมีส่วนร่วมเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานของตนเอง หรือหากเป็นองค์กรภาค ประชาสังคมก็อาจจะมีความกังวลสำหรับภาคธุรกิจว่าควรเข้าร่วมดีหรือไม่ บริษัทและหน่วยงานที่เข้าร่วมงานเห็นว่า ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นสำคัญที่ควรมีการ ปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ดังนั้น จึงคาดหวังให้มีการกำหนดการเรียนการสอนเรื่องสิทธิมนุษยชนลงไปในหลักสูตรการ เรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการปลูกฝังตั้งแต่เด็กว่า สิทธิมนุษยชนคืออะไร การละเมิดเป็นอย่างไร สิ่งไหนที่เราไม่ควรกระทำกับเพื่อนเพราะถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน จนในระดับ มหาวิทยาลัยก็ควรมีการสอนเรื่องความสำคัญของประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ นักศึกษาทราบว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนในที่ทำงานเป็นอย่างไรหรือจะต้องมีการบริหารธุรกิจอย่างไรที่ไม่ไป ภาคผนวก3-4


ละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือในการศึกษาสายอาชีพก็ควรมีการสอนประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเช่นกัน เพื่อให้ ทราบว่าการกำกับดูแลแรงงานที่เหมาะสมและไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างไร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการจัดทำแนวทาง (guideline) ให้แก่ภาคธุรกิจที่ชัดเจนว่า บริษัทแต่ละ ประเภทควรมีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านอย่างไร จำเป็นต้องมีการตรวจสอบถึง ระดับใด และมีข้อกำหนดหรือเกณฑ์ในการประเมินอย่างไร เพื่อให้บริษัทแต่ละประเภทสามารถเชื่อมโยงและ นำแนวทางดังกล่าวไปปรับใช้กับการดำเนินงานขององค์กรได้ โดยการจัดทำแนวทางดังกล่าวควรจัดทำขึ้นจาก หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง เพื่ อป้องกัน ไม่ให้เกิดความขัดแย้งจากแนวทางในการประเมิน ที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ไม่ควรมีการจัดทำแนวทางเป็นมาตรฐานเดียว เพราะถือเป็นการสร้างภาระที่มากขึ้นให้กับบริษัท ขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมถึงอาจไม่สอดคล้องตามบริบทของธุรกิจแต่ละประเภท ดังนั้น จึงควรจัดทำ แนวทางในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านที่เหมาะสมกับขนาดและประเภทของธุรกิจ และควร เป็นแนวปฏิบัติทภี่ าคธุรกิจสามารถนำไปปรับใช้ได้ โดยอาจกำหนดเป็นระยะในการดำเนินงานที่เริ่มต้นจากการ ดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านตั้งแต่ระดับองค์กร จากนั้นจึงเริ่มขยายไปยังผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียรายสำคัญขององค์กร อาทิ คู่ค้ารายสำคัญ หรือลูกค้ารายใหญ่ และนำไปสู่การดำเนินการตรวจสอบผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเกิดขึ้นได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกับบริษัทขนาดใหญ่ในการดำเนินการตรวจสอบ ด้านสิทธิมนุษยชนบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเป็นพี่ เลี้ยงและลงไปจับมือทำ (on hand) กับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อช่วยให้บริษัทแต่ละแห่งสามารถ ดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนได้เอง นอกจากนี้ เพื่อให้บ ริษัทแต่ล ะแห่งสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนได้จริง จำเป็นต้องอาศัยเจตนารมณ์จากผู้บริหารระดับสูง (Tone from the Top) ที่ชัดเจน ซึ่งบริษัทและหน่วยงานที่ เข้าร่วมงานเห็นว่า Tone from the Top มีส่วนช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนได้ นอกจากนี้ เพื่อดึงดูดให้บริษัทต่าง ๆ มีการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ควรมีการมอบสิทธิประโยชน์ ทางภาษีให้กับบริษัทมีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เพื่อดึงดูดให้บริษัทต่าง ๆ หัน มาสนใจและอยากเริ่มต้นดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านมากยิ่งขึ้น ตลอดจนการมอบ ตรารางวัลให้กับบริษัทที่มีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทและหน่วยงานที่เข้าร่วมงานคาดหวังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำสายด่วน (hotline) สำหรับ ให้คำปรึกษาแก่บริษัทและองค์กรต่าง ๆ เมื่อเกิดกรณีข้อพิพาทด้านสิทธิมนุษยชนขึ้น โดยผู้ให้คำแนะนำ ควรเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมและได้รับการรับรองว่า มีความรู้ที่สามารถให้คำปรึกษาแก่บริษัทได้ เป็น อย่างดี รวมถึงควรมีการจัดอบรมให้บริษัทและองค์กรที่สนใจส่งพนักงานมาฝึกอบรมและให้การรับรอง ความสามารถในการพิจารณาประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนทีเ่ กิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทได้

ภาคผนวก3-5


สรุปประเด็นข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง • ควรมีจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ที่กระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ โดยเฉพาะกับบริษัท ขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ทีม่ ากขึ้น • ควรมีการกำหนดการเรียนการสอนเรื่องสิทธิมนุษยชนลงไปในหลักสูตรการเรียนตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาลจนถึงระดับมหาวิทยาลัย • ควรมีการจัดทำแนวทางในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านที่ช ัดเจน เหมาะสมกับบริบทของธุรกิจแต่ละประเภท และมีการชี้แนะแนวทางอย่างเป็นขั้นเป็นตอน • ควรเป็นพี่เลี้ยงและลงไปจับมือทำ (on hand) กับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อช่วยให้แต่ละ บริษัทสามารถดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนได้เอง • ผู้บริหารระดับสูงควรมีเจตนารมณ์ ในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจน (Tone from the Top) • ควรมอบสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับบริษัทมีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เพื่อดึงดูดให้บริษัทต่าง ๆ หันมาดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านมากยิ่งขึ้น • ควรมีการจัดทำสายด่วน (hotline) สำหรับให้คำปรึกษาแก่บริษัทและองค์กรต่าง ๆ เมื่อเกิดกรณีข้อ พิพาทด้านสิทธิมนุษยชน

ภาคผนวก3-6


ภาคผนวก 4 การประชุม เรื่อง การนำเสนอผลสำรวจความพร้อมของบริษัทในประเทศไทย ในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน คณะวิจ ัย จั ดประชุ ม นำเสนอผลสำรวจความพร้ อ มของบริ ษั ทในประเทศไทยในการดำเนิ น การ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 โดยมีบริษัทและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ทั้งหมด 76 ราย แบ่งเป็นภาคธุรกิจ จำนวน 33 ราย (43.42%) องค์กรระหว่างภูมิภาค และองค์กรระหว่างประเทศ จำนวน 16 ราย (21.05%) หน่วยงานภาคประชาสังคม จำนวน 13 ราย (17.11%) องค์กรรัฐ หน่วยงานราชการ และสถานศึกษา จำนวน 9 ราย (11.84%) และสื่อ และประชาชนผู้ที่สนใจ จำนวน 5 ราย (6.58%) ดังแสดงในแผนภาพที่ 1 แผนภาพที่ 1 สัดส่วนผู้เข้าร่วมการประชุมฯ จำแนกตามประเภทหน่วยงาน 3.95%

ธนาคาร การเงิน และธุรกิจให้คาปรึกษา

5.26% 6.58%

6.58%

ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและยานยนต์ ธุรกิจเกษตรและอาหาร

21.05%

พลังงานและสาธารณูปโภค

21.05% 11.84%

แฟชั่นและผลิตภัณฑ์สุขภาพ หน่วยงานภาคประชาสังคม องค์กรรัฐ หน่วยงานราชการ และสถานศึกษา

17.11% 1.32%

5.26%

องค์กรระหว่างภูมิภาค และองค์กรระหว่างประเทศ สื่อและประชาชนผู้ทีสนใจ

คณะวิจัยได้รวบรวมความคิดเห็น ของผู้เข้าร่วมประชุมต่อผลการวิจัย ตลอดจนข้อเสนอแนะในการ ดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทไทย โดยแบ่งเป็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นข้อคิดเห็นต่อผลสำรวจความพร้อมของบริษัทในประเทศไทยในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน ประเด็นจากการเสวนาในหัวข้อ “Way forward on HRDD in Thailand and Reflections on the Key Findings of the Study” และประเด็นข้อเสนอแนะต่อการยกระดับความพร้อม ของบริษัทในประเทศไทยในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ภาคผนวก4-1


1) ข้อคิดเห็นต่อผลสำรวจความพร้อมของบริษัทในประเทศไทยในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน ผู้เข้าร่วมประชุม สอบถามปัจจัยที่ส่งผลให้จำนวนกลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสำรวจออนไลน์มี จำนวนไม่มาก (57 ราย) ในประเด็นนี้ แม้ว่ากรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จะช่วย กระจายแบบสำรวจออนไลน์เพื่อให้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าถึงแบบสำรวจได้ทั่วถึง แต่เนื่องจากแบบสำรวจมีข้อ คำถามจำนวนมาก ประกอบกับ ผู้ตอบแบบสำรวจต้องมีความรู้ ความเข้าใจ หรือมีความคุ้นเคยกับการ ดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในระดับหนึ่ง จึงอาจส่งผลให้มีผู้ตอบแบบสำรวจมีจำนวนน้อย ผู้เข้าร่วมประชุมสอบถามสาเหตุที่บริษัทขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุ ษยชน อย่างรอบด้านในระดับมาก แต่ยังไม่เคยดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน ในประเด็นนี้คณะวิจัยเห็นว่า บริษัทขนาดใหญ่ที่มีผลสำรวจความพร้อมในระดับมาก เป็นบริษัทที่มี กลไก นโยบาย และกระบวนการต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอยู่แล้ว เช่น มีนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน มีกลไกรับเรื่องร้องเรียนและ การเยีย วยา หรือมี ข้อกำหนดต่ อคู่ค้าที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน เป็นต้น แต่ บริษัทกลุ่มนี้ ยังไม่มีการ ดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เนื่องจากบริษัทอาจยังไม่เข้าใจว่าการตรวจสอบด้าน สิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านคืออะไร มีกระบวนการอย่างไร รวมถึงต้องดำเนินการตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งมี ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก และยังไม่มีความพร้อมเพียงพอ 2) ประเด็นจากการเสวนาในหัวข้อ “Way forward on HRDD in Thailand and Reflections on the Key Findings of the Study” หลังจากที่ได้มีการนำเสนอผลการศึกษา และตอบประเด็นข้อ คิดเห็นเกี่ยวกับผลการศึกษาเป็นที่ เรี ย บร้ อ ยแล้ว ภายในงานได้ ม ี ก ารจั ด เสวนาในหั ว ข้ อ “Way forward on HRDD in Thailand and Reflections on the Key Findings of the Study” โดยมีวิทยากรในวงเสวนาทั้งหมด 5 ท่าน ได้แก่ 1) คุณศิริลักษณ์ ยังเลิศ ผู้จัดการอาวุโสฝ่าย ทรัพยากรบุคคล - สนับสนุนและบริหาร ด้านบริหารพัฒนา แรงงานและสังคม บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จากัด (มหาชน) 2) คุณอุไร สุขสวัสดิ์ เจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด โชคอุดมรัชฏ์ 118 (แพปูโชคอุดมรัชฏ์) 3) คุณรุ่งโรจน์ อาชาเทวัญ ประธานคณะกรรมการสิทธิประโยชน์และช่องทางการตลาด สมาพันธ์เอส เอ็มอีไทย 4) คุณนรีลักษณ์ แพไชยภูมิ ผู้อำนวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กรมคุ้มครองสิทธิและ เสรีภาพ 5) Ms. Alexandra Kuxova, Policy Officer, Directorate-General for Internal Market, Industry, Entrepreneurship and SMEs (DG-GROW), European Union Commission ดำเนินการเสวนาโดย คุณกรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ดำเนินรายการ เช้าทันโลก FM 96.5 ทั้งนี้ วิทยากร แต่ละท่านได้แลกเปลี่ยนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ดังนี้

ภาคผนวก4-2


คุณศิริลักษณ์ ยังเลิศ ผู้จัดการอาวุโสฝ่าย ทรัพยากรบุคคล - สนับสนุนและบริหาร ด้านบริหาร พัฒนาแรงงานและสังคม บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) (ไทยยูเนี่ยน) นำเสนอนโยบายที่ เกี่ยวข้องกับหลักการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของไทยยูเนี่ยน เช่น จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ หลัก ปฏิบัติด้านแรงงาน นโยบายไม่เลือกปฏิบัติ นโยบายไม่ตอบโต้ (Non-Reprisal Policy) เป็นต้น ไทยยูเนี่ยนยัง มีการจัดตั้งคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจนสำหรับการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง รอบด้าน รวมถึงมีการจัดอบรมในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่พนักงานและกลุ่มซัพพลายเออร์ของบริษัท ซึ ่ ง จะมี ก ระบวนการติด ตาม การตรวจสอบภายในและภายนอก เพื ่ อ นำผลมาปรั บ ปรุง และพั ฒ นาการ ดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ไทยยูเนี่ยนยังคงมีประเด็นท้าทายในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง รอบด้านอยู่มาก ทั้งการได้รับ ความคาดหวังจากภาคประชาสังคมในการพัฒนาการดำเนินการด้านสิ ทธิ มนุษยชนที่มากกว่าประเด็นแรงงานเด็กหรือแรงงานบังคับ เช่น การประกาศนโยบายรับผิดชอบค่าใช้จ่ายใน การจ้างงานทั้งหมดแก่แรงงานต่างด้าว เป็นต้น ความท้าทายจากข้อกำหนดและกฎหมายในประเด็นด้านสิทธิ มนุษยชนที่มีความเข้มข้นมากขึ้น ตลอดจนการรักษาระดับความรู้ ความเข้าใจ ในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ให้แก่ซัพพรายเออร์ในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทที่มีจำนวนมาก คุณอุไร สุขสวัสดิ์ เจ้าของห้างหุ้นส่ วนจำกัด โชคอุดมรัชฏ์ 118 (แพปูโชคอุดมรัชฏ์) นำเสนอ นโยบายการดูแลแรงงานของแพปูฯ ที่ให้ความสำคัญกับสวัสดิการของแรงงาน เช่น ที่พักอาศัย ประกันสังคม ค่ารักษาพยาบาล ประกันทางทะเล เป็นต้น และเห็นว่าการดูแลพนักงานเป็นอย่างดีจะส่งผลให้บริษัทสามารถ ดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในปัจจุบันแพปูฯ ยังไม่มีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน แต่ก็ยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการยกระดับการดำเนินการด้าน สิทธิมนุษยชน เนื่องจากประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนถือเป็นประเด็นที่แพปูฯ ให้ความสำคัญอย่างมาก สะท้อน จากการดำเนินงานของแพปูฯ ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทั้งหมด ทั้งด้านแรงงานและการทำประมง คุณรุ่งโรจน์ อาชาเทวัญ ประธานคณะกรรมการสิทธิประโยชน์และช่องทางการตลาด สมาพันธ์ เอสเอ็มอีไทย นำเสนอประเด็นข้อกังวลของบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) หากต้องมีการดำเนินการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยคุณรุ่งโรจน์เห็นว่า SMEs ยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ใน ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมากพอ เนื่องจากประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนครอบคลุมกิจกรรมค่อนข้างกว้าง รวมถึง SMEs ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าการกระทำใดถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ประกอบกับสถานการณ์ใน ปัจจุบัน SMEs ยังจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการฟื้นตัวของธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 ก่อนเป็นลำดับแรก ส่งผลประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนถูกให้ความสำคัญในลำดับรองลงมา นอกจากนี้ คุณรุ่งโรจน์เห็นว่าหากจะมีการจัดทำกฎหมายเพื่อให้ SMEs ดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน ควรจะมีการจัดทำกฎหมายที่มุ่งส่งเสริมให้ SMEs ดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน มากกว่ากฎหมายที่เป็นการเอาผิด เนื่องจากที่ผ่านมา SMEs ได้รับผลกระทบจากการ

ภาคผนวก4-3


บังคับใช้กฎหมายและมีการตีความกฎหมายไม่เหมือนกันในแต่ละหน่วยงาน ส่งผลให้เกิดการใช้ประโยชน์จาก ช่องว่างทางกฎหมายในการเอาเปรียบกลุ่ม SMEs คุณนรีลักษณ์ แพไชยภูมิ ผู้อำนวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กรมคุ้มครองสิทธิและ เสรีภาพ นำเสนอผลสำเร็จจากการขับเคลื่อนหลักการทำธุรกิจที่มีความรับผิดชอบและเคารพสิทธิมนุษยชน ผ่านแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (National Action Plan on Business and Human Rights: NAP) ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 – 2565) ที่ผสมผสานระหว่างมาตรการบังคับสำหรับหน่วยงาน รัฐ และมาตรการสมัครใจสำหรับภาคธุรกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชน 4 ด้านหลัก ได้แก่ (1) ด้านแรงงาน (2) ด้านชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (3) ด้านนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และ (4) ด้านการ ลงทุนระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติ คุณนรีลักษณ์ ยกตัวอย่างผลสำเร็จของหน่วยงานรัฐ ที่มีส่ว นต่อ การขับเคลื่อนประเด็นด้านสิ ทธิ มนุษยชนในภาคธุร กิจ จากการดำเนิน การตามแผน NAP ระยะที่ 1 อาทิ สำนักงานคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดให้บริษัททุกแห่งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต้องมีการ รายงานผลการดำเนิ น งานด้ า นสิ ่ ง แวดล้ อ ม สั ง คม และธรรมาภิ บ าล (Environmental Social and Governance: ESG) สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) เพิ่มเงื่อนไขในการตรวจประเมินด้านสิทธิมนุษยชนก่อนการให้เงินกู้แก่ธุรกิจหรือโครงการที่จะมีการดำเนินการ ในประเทศเพื่อนบ้าน โดย คุณนรีลักษณ์ เห็นว่าตัวอย่างผลสำเร็จข้างต้นมีส่วนต่อการยกระดับภาคธุรกิจให้มี การดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านต่อไปได้ในอนาคต ขณะที่พัฒนาการของภาคธุรกิจในช่วงที่มีการดำเนินการตามแผน NAP ระยะที่ 1 พบว่า ภาคธุรกิจ เริ่มมีการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ทั้งการเปิดเผยนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน การกำหนดแนว ปฏิบัติเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตลอดจนมีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบ ด้าน อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวยังกระจุกอยู่เฉพาะบริษัทขนาดใหญ่เป็นส่วนใหญ่ จึงถือเป็นความ ท้าทายสำหรับ กรมคุ้ มครองสิ ทธิและเสรีภ าพในการขยายผลการขับ เคลื ่อนหลัก การทำธุร กิจ ที่ มี ค วาม รับผิดชอบและเคารพสิทธิมนุษยชนในกลุ่ม SMEs สำหรับ แผนการดำเนิน งานของกรมคุ้ มครองสิ ทธิ และเสรีภ าพ เพื่อผลักดัน ภาคธุร กิจให้ม ี ก าร ดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านในอนาคต จะมุ่งเน้นการขยายความรู้ ความเข้าใจ ใน ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนแก่กลุ่ม SMEs โดยจะมีการจัดทำคู่มือการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชน อย่างรอบด้านสำหรับ SMEs รวมถึงมีการขยายผลผ่านการฝึกอบรมให้แก่ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ทั่ว ประเทศ ตลอดจนศึกษาแนวทางการพัฒนากฎหมายเพื่อผลักดันให้ภ าคธุรกิจ ดำเนินธุรกิจอย่างมี ความ รับผิดชอบและเคารพสิทธิมนุษยชน Ms. Alexandra Kuxova Policy Officer, Directorate-General for Internal Market, Industry, Entrepreneurship and SMEs (DG-GROW), European Union Commission นำเสนอ สาระสำคัญของร่างกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานด้านความยั่งยืนของสหภาพยุโรป (EU

ภาคผนวก4-4


Directive on Corporate Sustainability Due Diligence) โดยกฎหมายดังกล่าวมีข้อกำหนดให้บริษัท ใน สหภาพยุโรปต้องมีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบริษัทใน ประเทศไทยที่มีการขายสินค้าหรืออยู่ในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทในสหภาพยุโรป จำเป็นต้องมีการดำเนินการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเช่นกัน ทั้งนี้ การดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบ ด้านของบริษัทในสหภาพยุโรปไม่ได้เน้นเฉพาะประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเพียงอย่างเดียว แต่จะให้ความสำคัญ กับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมด้วย อย่างไรก็ตาม สหภาพยุโรปได้มีการริเริ่มโครงการต่าง ๆ ระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้บริษัทที่มี การขายสินค้าหรืออยู่ในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทในสหภาพยุโรป สามารถดำเนินงานได้ตามกฎหมายดังกล่าว ได้ เช่น สหภาพยุโรปได้มีการจัดทำแพลตฟอร์มที่รวบรวมมาตรการและเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อให้บริษัทที่อยู่ทั้ง ในและนอกสหภาพยุโรปนำไปใช้ดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านได้ เป็นต้น 3) ข้อเสนอแนะต่อการยกระดับความพร้อมของบริษัทในประเทศไทยในการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน ผู้เข้าร่วมประชุมมีข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับ ความพร้อมของบริษัทในประเทศไทยในการดำเนินการ ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ดังนี้ • ควรมีการจัดทำแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนแยกตามประเภทอุตสาหกรรม เนื่องจากอุตสาหกรรมแต่ ละกลุ่มมีประเด็นความเสี่ยง และได้รับแรงกดดันในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนที่แตกต่างกัน เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นอุตสาหกรรมที่มีการดำเนินการภายในประเทศ และไม่ได้เกี่ยวข้องกับ การส่งออกหรือนำเข้าสินค้า ทำให้ไม่ได้รับแรงกดดันจากต่างประเทศให้ต้องดำเนินการด้านสิทธิ มนุษยชน ซึ่ง อาจส่งผลให้ผู้ป ระกอบการไม่ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษ ยชน เท่าที่ควร • ควรให้ผู้ประกอบการในแต่ละอุตสาหกรรมร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นความเสี่ยง และข้อคิดเห็นในการ ดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในระหว่างจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 2 เพื่อให้ได้มาตรการหรือแนวทางที่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดในแต่ละประเภทอุตสาหกรรม • ภาคธุรกิจควรมีการดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ เช่น ปัญหาเรื่องสิทธิในการรวมตัว สิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง และนัก ปกป้องสิทธิมนุษยชน เป็นต้น

ภาคผนวก4-5


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.