Finance Revolution

Page 1

การเงินปฏิวัติ สฤณี อาชวานันทกุล

openbooks

revolfinance.indd 1

3/20/11 8:35 PM


การเงินปฏิวัติ พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก มีนาคม 2554 เขียน สฤณี อาชวานันทกุล บรรณาธิการบริหาร ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา บรรณาธิการ สินีนาถ เศรษฐพิศาล ออกแบบปกและรูปเล่ม ลักษวงษ์ ประกิตภูพิสุทธิ์ สำ�นักพิมพ์ openbooks 286 ถนนพิชัย แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 0-2669-5145 โทรสาร 0-2669-5146 www.onopen.com onopenon@yahoo.com www.facebook.com/openbooks จัดจำ�หน่าย บริษัท เคล็ดไทย จำ�กัด 117-119 ถนนเฟื่องนคร ตรงข้ามวัดราชบพิธ กรุงเทพ 10200 โทรศัพท์ 0-2225-9536-40 โทรสาร 0-2222-5188

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data สฤณี อาชวานันทกุล การเงินปฏิวัติ.-- กรุงเทพฯ : โอเพ่นบุ๊กส์, 2554. 216 หน้า. 1. การเงิน. l. ชื่อเรื่อง. 332 ISBN 978-616-7347-32-5 ราคา 180 บาท

revolfinance.indd 2

3/20/11 8:35 PM


A bank is a place where they lend you an umbrella in fair weather and ask for it back when it begins to rain. - Robert Frost -

For many men, the acquisition of wealth does not end their troubles, it only changes them. - Seneca -

ตอนนี้เราไม่ได้นำ�หลักพระพุทธศาสนามาใช้ แต่เรานำ�หลักของนโยบายมาใช้ นโยบายแบบถูกใจคนก็คือ นโยบายแบบแจกอย่างเดียว แจกวัตถุแต่ไม่แจกปัญญา แจกความต้องการแต่ไม่แจกความพอประมาณ - พระสุบิน ปณีโต -

revolfinance.indd 3

3/20/11 8:35 PM


สารบัญ

6 :: คำ�นำ�

01

การเงินกระแสหลัก

14 :: วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ – จุดกำ�เนิดการเงินปฏิวัติ 21 :: การผ่อนปรนกฎ mark-to-market: “ราคาตลาด” vs. “มูลค่าที่เป็นธรรม” 28 :: เมื่อระบบค่าตอบแทนวิบัติ: บทเรียนจากภาคการเงินอเมริกา 35 :: สู่มิติใหม่ในการกำ�กับดูแลภาคการเงินอเมริกา 42 :: เรื่องของ VaR: เมื่อทฤษฎีบดบังสามัญสำ�นึก 49 :: ฟองสบู่หนี้กับการเติบโตแบบไม่ยั่งยืน – แง่คิดจาก Irving Fisher 55 :: อิทธิพลของ ‘เศรษฐกิจกาสิโน’ และข้อเรียกร้องของอังก์ถัด 60 :: กฎหมายปฏิรูปภาคการเงินอเมริกัน: สาระสำ�คัญและข้อถกเถียง 72 :: กองทุนที่ซื้อขายตามโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (quant fund): ปัญหาและทางออก 79 :: การลงทุนแบบตัดหน้า (front-running): แบบไหนผิดกฎหมาย แบบไหนแค่ “น่าเกลียด”? 86 :: การแก้ปัญหาหนี้ที่ยั่งยืน 92 :: ซีเอสอาร์ของธนาคาร 99 :: ความแตกต่างระหว่างการกุศล ซีเอสอาร์ และกิจการเพื่อสังคม

revolfinance.indd 4

3/20/11 8:35 PM


02

การเงินที่ยั่งยืน การเงินเพื่อสังคม และการเงินชุมชน

108 :: “การธนาคารที่ยั่งยืน” แบบทรีโอดอส 114 :: ตลาดคาร์บอนเครดิต: ช่วยโลกหรือถ่วงโลก? 121 :: ตลาดหลักทรัพย์เพื่อสังคม (social stock exchange) 126 :: การเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้น (shareholder activism) ในอเมริกาและเอเชีย 137 :: ผลงานของกองทุนที่รับผิดชอบต่อสังคมในฐานะผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหว 143 :: การเติบโตของการลงทุนที่ยั่งยืน 150 :: ทุนยั่งยืน: ดัชนีความยั่งยืน และ HIP Investor 157 :: ทุนอดทน: โมเดลการลงทุนเพื่อสังคมของ Acumen Fund 163 :: รางวัล “ตลาดนวัตกรรมการเงินเพื่อการพัฒนา” 170 :: ธนาคารผ่านมือถือ – มิติใหม่ในการเข้าถึงบริการทางการเงิน 177 :: ลักษณะและบทบาทของการเงินชุมชนในประเทศไทย 184 :: ผลประกอบการด้านสังคมของการเงินชุมชนในประเทศไทย 191 :: ทุนทางสังคม การเงินชุมชนไทย และคุณูปการของเอลินอร์ ออสตรอม 197 :: ทักษะ ความรู้ และวิธจี ดั การของกลุม่ การเงินชุมชน: ข้อคิดจากการลงพืน้ ที่ 203 :: ร้านสะดวกซื้อ ไปรษณีย์ และความเสี่ยงของไมโครไฟแนนซ์ไทย

210 :: ที่มาเว็บไซต์

revolfinance.indd 5

3/20/11 8:35 PM


คำ�นำ�

6 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 6

3/20/11 8:35 PM


ในเดือนมกราคม 2010 ลอยด์แบลงค์ไฟน์ (Lloyd Blankfein) ซีอีโอและ ประธานกรรมการของ โกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) สถาบัน การเงินยักษ์ใหญ่ที่ตกเป็นเป้าสายตาและข้อครหาจากสาธารณชนว่า เป็น “ตัวการ” สำ�คัญที่ก่อให้เกิดวิกฤต ถูกเรียกตัวไปให้การต่อหน้า คณะกรรมการสืบค้นต้นตอของวิกฤตการเงินอเมริกนั (Financial Crisis Inquiry Commission, ดาวน์โหลดรายงานฉบับสมบูรณ์ได้จาก http:// www.fcic.gov/report ประเด็นหลักในคำ�ให้การของโต้โผโกลด์แมน คือความพยายาม ทีจ่ ะอธิบายว่า วิกฤตการเงินรอบล่าสุดนัน้ เป็น “เหตุบงั เอิญ” ครัง้ ใหญ่ที่ นักการเงินมืออาชีพอย่างเขาคาดเดาไม่ได้ล่วงหน้าแบลงค์ไฟน์เปรียบ เทียบระบบบริหารความเสีย่ งของธนาคารกับระบบบริหารความเสีย่ งของ บริษัทประกันที่ขายกรมธรรม์แผ่นดินไหว เขากล่าวว่า “ทุกอย่างขึ้นอยู่ กับบริบท หลังจากที่เผชิญกับสิบปีที่ราบรื่นติดต่อกัน... คุณจะประเมิน ความเสี่ยงของการเกิดพายุเฮอริเคนอย่างไรครับ? หนึ่งปีหลังจากที่ 7 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 7

3/20/11 8:35 PM


เฮอริเคนติดกันสีล่ กู ถล่มชายฝัง่ ตะวันออก ซึง่ เป็นปรากฏการณ์ทผี่ ดิ ปกติ มากเมือ่ เทียบกับปีกอ่ น ...อัตราเบีย้ ประกันภัยก็พงุ่ สูงขึน้ อย่างมหาศาล ...ความเสี่ยงของเฮอริเคนแตกต่างจากเมื่อก่อนหน้านี้หรือเปล่าครับ?” เมื่อเขาพูดถึงตรงนี้ก็ถูก ฟิล แองเจลิเดส (Phil Angelides) ประธานคณะกรรมการ ขัดจังหวะว่า “ในฐานะที่ผมเคยเป็นกรรมการใน หน่วยงานแผ่นดินไหวของรัฐแคลิฟอร์เนีย ผมขอบอกว่าภัยธรรมชาติคอื ข้อยกเว้นครับ แต่สงิ่ ทีเ่ กิดขึน้ [ในวิกฤตการเงิน]เกิดจากนํา้ มือของมนุษย์ มันเป็นการกระทำ�ที่ควบคุมได้” ถัดมาอีกหนึง่ ปี หลังจากทีส่ ภาอเมริกนั ออกกฎหมายกำ�กับดูแล ภาคการเงินที่เคร่งครัดและครอบคลุมที่สุดฉบับหนึ่งในประวัติศาสตร์ คลอส ชวาบ (Klaus Schwab) ผูก้ อ่ ตัง้ และประธานกรรมการบริหารของ ทีป่ ระชุมเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum: WEF) ก็ขนึ้ กล่าวเปิด การประชุม WEF ประจำ�ปี 2011 ที่กรุงดาวอส สวิสเซอร์แลนด์ ความ ตอนหนึ่งว่า “มนุษยชาติอยู่บนทางแพร่ง ณ จุดเริ่มต้นทศวรรษที่สองของ ศตวรรษที่ 21 เราเลือกได้ว่าจะทำ�งานต่อไปในฐานะนักล็อบบี้เพื่อ ผลประโยชน์สว่ นตัวทีถ่ กู นิยามอย่างคับแคบ ทำ�สิง่ เดิมๆ ทีน่ �ำ พาเราเข้า สู่ภาวะวิกฤตตั้งแต่ต้น หรือเราจะจับมือกัน ทำ�งานร่วมกันในฐานะผู้นำ� โลกที่แท้จริงที่จารึกประโยชน์สาธารณะของประชาคมโลกไว้ในสมอง และหัวใจ ...ภายหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจตลอดสองปีทผี่ า่ นมา เราก็ได้เข้า สูย่ คุ ใหม่ ยุคแห่งความประหยัดมัธยัสถ์ ในความเป็นจริงใหม่นี้ เราจะต้อง เสียสละร่วมกันเพื่อพิทักษ์และเสริมสร้างอนาคตของเรา ถึงแม้ว่าเราจะ หลีกเลี่ยงการล่มสลายอย่างบริบูรณ์ของระบบการเงินโลกได้ รัฐบาลทั่ว โลกก็สะสมหนี้มหาศาลในการอุ้มภาคการเงิน ในระยะสั้น นี่จะนำ�ไปสู่ ภาษีที่สูงขึ้น การลดค่าใช้จ่ายด้านสังคมและสาธารณสุข ตลอดจนการ ลดการลงทุนด้านการศึกษาและสาธารณูปโภค 8 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 8

3/20/11 8:35 PM


...เรากำ�ลังจะใช้ชวี ติ ในยุคแห่งการค่อยๆ ทยอยลดหนีใ้ นหลาย ส่วนของโลก ติดต่อกันนานหลายปี เราจะสร้างสมดุลด้านนโยบาย เศรษฐกิจอย่างไร ระหว่างการกระตุ้นการเติบโต การปรับตัวให้เข้ากับ ยุคแห่งความประหยัดมัธยัสถ์ และลดความไม่สมดุลระดับโลกลงในคราว เดียวกัน จะเป็นคำ�ถามหลักที่ดาวอส” หลายพันกิโลเมตรจากชุมนุมผู้นำ�โลกที่ดาวอส โลกของไมโคร ไฟแนนซ์ การเงินขนาดจิ๋วที่กำ�ลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ จาก ภาคการเงินกระแสหลัก ก็กำ �ลังเข้มข้นด้วยวิวาทะในงาน Clinton Global Initiative ระหว่าง วิกราม อากุลา (Vikram Akula) ชาวอินเดีย ผู้ก่อตั้งเอสเคเอส (SKS) สถาบันไมโครไฟแนนซ์ที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย และแห่งแรกที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นบอมเบย์ กับ ดร.มูฮัมหมัด ยูนุส (Muhammad Yunus) ชาวบังกลาเทศผู้ก่อตั้งธนาคารกรามีน (Grameen Bank) “ธนาคารเพื่อคนจน” รุ่นบุกเบิกที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ร่วมกับเขาในปี 2006 อากุลายืนกรานว่าการนำ� SKS เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น ป้อมปราการสำ�คัญของภาคการเงินกระแสหลัก เป็นวิธีเดียวที่สถาบัน ไมโครไฟแนนซ์จะสามารถเข้าถึงแหล่งทุนเพียงพอที่จะตอบสนองต่อ ความต้องการของคนจนกว่า 3 พันล้านคนทั่วโลกที่เข้าไม่ถึงสถาบัน การเงินในระบบ แต่ ดร.ยูนุส กังขาว่าสถาบันไมโครไฟแนนซ์แบบนั้น จะสามารถรักษา “พันธกิจทางสังคม” (ช่วยคนจน) ได้นานเพียงใด ในเมื่อจะต้องทำ�ตามความปรารถนาของนักลงทุนทั่วไปซึ่งอยากได้ กำ�ไรสูงๆ เป็นหลัก ในฐานะบริษัทจดทะเบียน อีกหลายพันกิโลเมตรถัดมา เมื่อเข้าสู่ปี 2011 ขณะที่ฝุ่นควัน จากความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่มีทีท่าว่าจะเบาบาง และความจริง ทุกด้านก็ยังไม่ปรากฏอย่างชัดแจ้ง คนไทยทั้งประเทศก็กำ�ลังเริ่มตื่นตัว กับกระแส “ปฏิรูปประเทศไทย” ครั้งใหม่ ซึ่งมีประเด็น “การลดความ เหลื่อมลํ้า” และ “สถาปนาความเป็นธรรม” เป็นหัวใจสำ�คัญ หน่วยงาน 9 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 9

3/20/11 8:35 PM


ภาครัฐที่กำ�กับดูแลภาคการเงิน ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการคลัง ธนาคาร แห่งประเทศไทย หรือสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ต่างทยอยกันออกมาประกาศว่าได้ระบุเรื่อง ทักษะการอ่านออกเขียนได้ทางการเงิน (financial literacy) ไมโคร ไฟแนนซ์ หรือการคุ้มครองผู้บริโภคบริการทางการเงิน เป็นส่วนสำ�คัญ ในทิศทางการดำ�เนินงานในอนาคตอันใกล้ ไม่ว่าปรากฏการณ์เหล่านี้ที่เกี่ยวเนื่องกับการเงินจะคลี่คลาย หรือเขม็งเกลียวยิ่งขึ้นอย่างไรในอนาคต ผู้เขียนคิดว่าประเด็นหนึ่งที่ ชัดเจนแล้วคือสัจธรรมที่ว่า เงินอย่างเดียวบันดาลสุขให้กับเจ้าของเงิน ไม่ได้ฉันใด การเงินที่มุ่ง “ทำ�เงิน” เพียงอย่างเดียวก็บันดาลความอยู่ดี มีสุขให้กับสังคมไม่ได้ฉันนั้น ในฐานะนักเขียนทีย่ งั เรียกตัวเองอย่างภาคภูมใิ จว่า “นักการเงิน” ตามสาขาอาชีพที่เคยเรียนและมีประสบการณ์ทำ�งาน ผู้เขียนหวังว่า หนังสือเล่มเล็กๆ เล่มนี้ จะช่วยฉายภาพทั้ง “วิกฤต” และ “โอกาส” ของ ภาคการเงินกระแสหลักและกระแสรอง ยุคต้นศตวรรษที่ 21 ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย ผู้เขียนเชื่อมั่นว่า ถ้าหากศตวรรษที่ 20 เป็นศตวรรษแห่งการ “แยกส่วน” ชีวิตของมนุษย์ออกเป็นส่วนเสี้ยวที่ขัดแย้งกันเอง ก่อให้เกิด ความรูส้ กึ แปลกแยกและโดดเดีย่ วทางจิตวิญญาณซึง่ การพักผ่อน บำ�บัด หรือเข้าคอร์สปฏิบัติธรรม บรรเทาได้เพียงชั่วครู่ยามเท่านั้น ศตวรรษที่ 21 ก็จะเป็นศตวรรษแห่งการ “หลอมรวม” ส่วนเสีย้ วทัง้ หลายเข้าด้วยกัน เป็นหนึ่งเดียว – อย่างน้อยถ้าไม่สำ�เร็จบริบูรณ์ เราก็จะได้ออกเดินบน เส้นทางนี้อย่างไม่ต้องสงสัย ยกตัวอย่างเช่น นักการเงินที่ชอบมองดูฝูงปลาแหวกว่ายใน ลำ�ธาร แต่ไม่เคยฉุกคิดว่าบริษัทลูกค้าที่ตัวเองเอาหุ้นเข้าตลาดมีส่วน ทำ�ลายระบบนิเวศไปมากน้อยเพียงใด หรือฉุกคิดแต่คดิ ว่าทำ�อะไรไม่ได้ เพราะ “ต้องทำ�ตามหน้าที”่ อาจพบกับคำ�ตอบใหม่ทไี่ ม่แยก “คุณค่าของ 10 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 10

3/20/11 8:35 PM


ชีวิต” ออกจาก “คุณค่าของการงาน” ในธุรกิจการธนาคารที่ยั่งยืน การ ลงทุนทีย่ งั่ ยืน และการลงทุนเพือ่ สังคม ซึง่ ล้วนกำ�ลังเติบโตอย่างรวดเร็ว นอกประเทศไทย (และควรจะมีผู้ริเริ่มในไทยเสียที) ท้ายนี้ ผู้เขียนขอขอบคุณ คุณบุญลาภ ภูสุวรรณ บรรณาธิการ บริหาร หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ กัลยาณมิตรผู้เปิดพื้นที่ให้กับ คอลัมน์ “การเงินปฏิวตั ”ิ ในหน้าหนังสือพิมพ์ และขอขอบคุณ คุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา และสมาชิกสำ�นักพิมพ์โอเพ่นบุ๊คส์ทุกท่าน สำ�หรับนํ้าใจ และมิตรภาพทีม่ อบให้เสมอมา หากเนือ้ หายังมีทผี่ ดิ ประการใด ย่อมเป็น ความผิดของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ขอให้ทกุ ท่านมีความสุขกับการอ่าน โดยเฉพาะนักการเงินทีร่ สู้ กึ ว่ากำ�ลังขาดแคลนแรงบันดาลใจ สฤณี อาชวานันทกุล http://www.fringer.org 1 กุมภาพันธ์ 2554

11 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 11

3/20/11 8:35 PM


12 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 12

3/20/11 8:35 PM


01 การเงินกระแสหลัก

13 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 13

3/20/11 8:35 PM


วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ – จุดกำ�เนิดการเงินปฏิวัติ

หลังจากทีศ่ ตวรรษที่ 21 เริม่ ต้นไม่ถงึ หนึง่ ทศวรรษ วิกฤตซับไพรม์​์ ในอเมริกาก็ปะทุเป็นวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สื่อ ไทยขนานนามว่า “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์” และระบาดเป็นวิกฤต เศรษฐกิจระดับโลกที่รุนแรงที่สุดในรอบ 80 ปี นับตั้งแต่ภาวะ เศรษฐกิจถดถอยรุนแรงที่เรียกว่า Great Depression ข้อเท็จจริงหลักๆ ที่วิกฤตครั้งนี้พิสูจน์ให้เห็นชนิดที่ผู้เขียน คิดว่า “ไร้ข้อกังขาอีกต่อไป” มีสามข้อด้วยกัน ได้แก่ ข้อเท็จจริง #1. ความเชื่อของสำ �นักคิดเสรีนิยมใหม่ (neoliberalism) ที่ว่า “ตลาดดูแลตัวเองได้” และควรดูแลตัวเองเพราะภาวะ เช่นนั้นจะทำ�ให้การจัดสรรทรัพยากร “มีประสิทธิภาพสูงสุด” รัฐไม่ควร 14 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 14

3/20/11 8:35 PM


เข้าไปจัดการหรือควบคุมภาวะฟองสบูใ่ ดๆ ทีเ่ ป็นผลลัพธ์ของตลาด (เช่น ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์) ได้รับการพิสูจน์แล้วด้วยวิกฤตในครั้งนี้ว่าเป็น ความเชื่อที่ผิดพลาดอย่างมหันต์ เพราะพฤติกรรมของผู้เล่นในตลาด ส่วนใหญ่มิได้ตั้งอยู่บนความมีเหตุมีผลเก้าสิบกว่าเปอร์เซ็นต์เหมือนกับ นักคิดเสรีนยิ มใหม่ หากถูกขับดันด้วย “ความโลภ” และ “ความกลัว” หรือ ที่จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes) นักเศรษฐศาสตร์ ผูย้ งิ่ ใหญ่สมัย Great Depression เรียกว่า “animal spirits” หรือ “สันดาน สัตว์” ของมนุษย์ ตราบใดทีโ่ ลกยังไม่ใช่ยคุ พระศรีอาริยท์ มี่ นุษย์ทกุ คนบรรลุธรรม ขั้นสูงจนสะกดความโลภและความกลัวได้อย่างสมบูรณ์แบบ เราก็อาจ ไม่มีวันกำ�จัดวิกฤตการเงินได้ แต่สองสิ่งที่ทำ�ได้คือ ออกแบบกลไกการ กำ�กับดูแลและกฎกติกาในภาคการเงินเสียใหม่ เพื่อลดระดับความ เสียหายจากวิกฤต และให้ผู้เล่นในตลาดแบกรับความเสี่ยงอย่างแท้จริง ไม่ใช่รับแต่ช่วงได้กำ�ไรของความเสี่ยง พอขาลงก็โยนให้รัฐหรือสังคม รับภาระ นั่นหมายความว่า – 1) การลดระดับความเสียหายจากวิกฤต แปลว่าภาคการเงิน จะต้องเป็นตัวช่วยให้ระบอบเศรษฐกิจมี “เสถียรภาพ” กว่าเดิม หรือที่ เรียกเป็นภาษาเศรษฐศาสตร์ว่า “countercyclical” (โต้คลื่น) ไม่ใช่ช่วย เพิม่ ความเร็วและความแรงของความโลภและความกลัว ในทางทีเ่ รียกว่า “procyclical” (ตามนํ้า) เหมือนที่ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่น สถาบันการ เงินจะต้องสามารถชะลอและป้องกันการเติบโตของฟองสบู่ไม่ให้ขยาย ใหญ่จนสุ่มเสี่ยงที่ระบอบเศรษฐกิจทั้งระบอบต้องประสบหายนะ เพราะ ยิ่งช่วง “ขาขึ้น” สูงชันเพียงใด ช่วง “ขาลง” ก็ยิ่งก่อให้เกิดความสูญเสีย มากเป็นเงาตามตัว พูดง่ายๆ คือ “ยิ่งสูงยิ่งลงกระแทก” 2) การให้ ผู้ เ ล่ น ในตลาดแบกรั บ ความเสี่ ย งอย่ า งแท้ จ ริ ง หมายความว่ากลไกและรูปแบบของผลตอบแทนในภาคการเงิน รวมถึง โครงสร้างธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน จะต้องปรับเปลี่ยนอย่าง 15 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 15

3/20/11 8:35 PM


หน้ามือเป็นหลังมือเพือ่ ให้ผลลัพธ์ของตลาด “เป็นธรรม” มากกว่าทีแ่ ล้วมา หรือที่ภาษาพระเรียกว่า “กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมสนอง” เช่น นักเก็งกำ�ไรที่ได้ประโยชน์มหาศาลในช่วง “ขาขึ้น” ในขณะที่พฤติกรรม การลงทุนช่วยสะสมความเปราะบางและเพิ่มความเสี่ยงโดยรวมของ ระบบ จะต้องเป็นผู้ ‘จ่าย’ ค่าความเสียหาย เพื่อไม่ให้สังคมต้องจ่าย เหมือนที่ผ่านมา (เช่น ในรูปของเงินภาษีซึ่งตอนนี้รัฐบาลหลายประเทศ เอาไป ‘อุม้ ’ สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ทปี่ ล่อยให้ลม้ ไม่ได้ เพราะถ้าปล่อย ให้ล้มความเสียหายทั้งระบบจะมากกว่านี้มาก) ในโลกวิชาการ ข้อเท็จจริงข้อนี้หมายความว่านักเศรษฐศาสตร์ นักการเงิน และนักการเมืองผู้ดำ�เนินนโยบาย จะต้องเรียนรู้จากงาน ค้นคว้าวิจัยล่าสุดของนักวิชาการด้านอื่นๆ ที่มุ่งศึกษาพฤติกรรมของ ปัจเจกบุคคลหรือหรือสังคมมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นนักจิตวิทยา นักวิทยาศาสตร์สมอง นักมานุษยวิทยา นักสังคมวิทยา ตลอดจนนักพัฒนาและ นักสังคมสงเคราะห์ที่ท�ำ งานกับองค์กรการเงินชุมชน เพราะนวัตกรรม ทางการเงินมากมายกำ�ลังอุบัติขึ้นในชนบท ในทางที่มอบ “เหตุผลทาง ธุรกิจ” อย่างเต็มเปี่ยมให้สถาบันการเงินกระแสหลักเข้าไปเรียนรู้ ถอด บทเรียน และช่วยเหลือเชือ่ มโยงเพือ่ ยกระดับให้การเงินชุมชนทำ�งานได้ อย่างมีประสิทธิภาพกว่าเดิม ช่วยเติมเต็มบริการด้านสวัสดิการสังคมของ ภาครัฐ และสร้างตลาดใหม่ให้กับสถาบันการเงินกระแสหลัก (ว่ากันตามจริง การใช้หลักวิทยาศาสตร์เพียวๆ ในการสร้าง ทฤษฎีและโมเดลทางเศรษฐศาสตร์และการเงินนั้นยังมีปัญหาอยู่มาก เพราะวงการวิทยาศาสตร์ข้ามพ้นมายาคติแบบที่เห็น “เหตุผลเป็น พระเจ้า” มาไกลแล้ว แต่เศรษฐศาสตร์และการเงินกระแสหลักยังตาม ไม่ทัน) ข้อเท็จจริง #2. ตลาดทุนและตลาดเงินของประเทศพัฒนาแล้วทุก ประเทศ และของประเทศกำ�ลังพัฒนาส่วนใหญ่ได้เชือ่ มโยงซึง่ กันและกัน เป็นธุรกิจที่ “โลกาภิวัตน์” ที่สุดในโลก ข้ามพรมแดนทางภูมิศาสตร์ 16 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 16

3/20/11 8:35 PM


สุดวิสัยที่รัฐบาลกลางหรือธนาคารกลางของประเทศใดประเทศหนึ่งจะ มองเห็นความเป็นไปในภาพรวม ข้อเท็จจริงข้อนี้สะท้อนให้เห็นในเหตุการณ์นับไม่ถ้วนที่ปรากฏ ในวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ อาทิเช่น วิกฤตครัง้ นีเ้ กิดทีส่ หรัฐอเมริกา แต่สง่ ผล ให้ระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศเล็กๆ ที่อยู่ข้ามทวีปออกไป ไกลลิบอย่างไอซ์แลนด์ ต้องพังพินาศย่อยยับ กลายเป็นประเทศพัฒนา แล้วประเทศแรกในรอบ 30 ปี ที่ขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) วิกฤตครั้งนี้รุนแรงกว่าที่หลายคนคาดคิดเพราะโลกมี “ระบบ การเงินเงา” ขนาดยักษ์ที่อยู่นอกรัศมีการควบคุมของธนาคารกลาง ทั้งหลายและแทบไม่มีใครมองเห็นขนาดที่แท้จริง ผู้เล่นในระบบการเงิน เงามีตงั้ แต่บริษทั วาณิชธนกิจ (ซึง่ ตอนนีส้ ญ ู พันธุไ์ ปหมดอเมริกาแล้ว ถ้า ไม่ลม้ ละลายก็แปลงเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ ยอมอยูใ่ ต้การกำ�กับ ดูแลของภาครัฐแลกกับทุนต่อชีวติ ) กองทุนเก็งกำ�ไรระยะสัน้ (ทีเ่ รียกว่า เฮดจ์ฟนั ด์ - Hedge Fund) นายหน้าขายสินเชือ่ บ้าน (ซึง่ ส่วนใหญ่สนใจ แต่คา่ คอมมิชชัน่ จากการขายสินเชือ่ ไม่สนใจและไม่มคี วามรูท้ จี่ ะประเมิน ความสามารถในการชำ�ระหนี้ของลูกหนี้) และ “องค์กรกล่อง” (special purpose vehicle) ที่ใช้ในการแปลงสินเชื่อเป็นหลักทรัพย์ (ซึ่งมักจะตั้ง อยู่ในเขตปลอดภาษีอย่างเช่นหมู่เกาะเคย์แมน เพื่อ “เซฟ” ภาษีให้กับ นักลงทุนและผู้ออกหลักทรัพย์) ยังไม่นับว่าเครื่องมือทางการเงินหลาย ประเภทที่เพิ่มความรุนแรงของวิกฤตครั้งนี้ เช่น Credit Default Swap (CDS) ไม่ได้ซื้อขายกันในตลาดเปิด (exchange) ที่ทุกคนมองเห็น ปริมาณธุรกรรมและราคาตลาด แต่เป็นการซื้อขายแบบตัวต่อตัว หรือ ที่เรียกว่า over-the-counter หรือ OTC ในเมื่อผู้เล่นจำ�นวนมากในระบบการเงินเงาเป็นบริษัทในเครือ ของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งไปตั้งบริษัทในระบบนี้เพื่อฉวยโอกาสทำ�กำ�ไร และหลบเลีย่ งการกำ�กับดูแลของทางการ และในเมือ่ โลกาภิวตั น์ภาคการ 17 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 17

3/20/11 8:35 PM


เงินสร้างตลาดระดับโลกทีอ่ ยูน่ อกเหนืออำ�นาจการควบคุมของประเทศใด ประเทศหนึง่ จึงไม่นา่ แปลกใจทีว่ กิ ฤตจะรุนแรงเหนือความคาดหมายของ ใครก็ตาม การล้มของสถาบันการเงินส่งผลให้สถาบันการเงินในประเทศ อืน่ ซึง่ อาจเป็นเจ้าหนี้ คูค่ า้ (counterparty) ของสถาบันการเงินแรก หรือ ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกันเลยแต่นักลงทุนไม่เชื่อ ล้มต่อกันไปเป็นโดมิโน ระลอกแล้วระลอกเล่า ข้อเท็จจริง #3. วิกฤตการเงินครั้งนี้ทำ�ลายความมั่งคั่งของผู้มี รายได้นอ้ ยหลายล้านคนลงอย่างราบคาบ เป็นเครือ่ งพิสจู น์วา่ กลไกตลาด แบบการเงินกระแสหลักที่ผ่านมานั้นไม่สามารถใช้กับ “ตลาดคนจน” ได้ ในอเมริกาเพียงประเทศเดียว ราคาบ้านที่กำ �ลังลดลงอย่าง ฮวบฮาบหลังจากฟองสบูแ่ ตก ประกอบกับเงือ่ นไขไม่เป็นธรรมในสัญญา สินเชือ่ ซับไพรม์ส์ ว่ นใหญ่ (เช่น ล่อหลอกให้คนมาผ่อนบ้านด้วยข้อเสนอ ทีจ่ ะตรึงดอกเบีย้ ในอัตราคงที่ 2-3 ปีแรก แต่ไม่บอกว่าอีก 27-28 ปีทเี่ หลือ ดอกเบี้ยน่าจะสูงมากจนมีโอกาสตํ่ามากที่จะชำ�ระได้) ทำ�ให้ผู้มีรายได้ น้อยไม่ตํ่ากว่า 2-3 ล้านคนกำ�ลังจะถูกยึดบ้าน บ้านซึ่งเป็นทั้งทรัพย์สิน ที่มีค่าสูงสุดและปัจจัยสี่ในชีวิตคนธรรมดา ผู้ไม่มีปัญญาจะซื้อบ้าน หลังที่สองไว้ตากอากาศหรือหากำ�ไรจากการปล่อยเช่า นักการเงินหลายคนมองว่า ผู้มีรายได้น้อยไม่มีทางผ่อนบ้าน ได้ ดังนั้นจึงไม่ควรได้รับสินเชื่อตั้งแต่แรก ไม่ว่าจะปรับเปลี่ยนเงื่อนไข ให้สอดคล้องกับฐานะทางการเงินเพียงใดก็ตาม เพราะธนาคารต้องรับ ความเสีย่ งสูงเกินไป (ในทีน่ หี้ มายถึงธนาคารทีอ่ ยากรับความเสีย่ งจริงๆ ไม่ใช่ถา่ ยโอนออกไปให้กบั นักลงทุนด้วยการแปลงสินเชือ่ เป็นหลักทรัพย์ เหมือนอย่างที่ผ่านมา) แต่ในขณะเดียวกัน นักการเงินเหล่านั้นก็ยังมองไม่เห็นข้อ เท็จจริงที่ว่า ธนาคารแนวใหม่จำ�นวนนับพันทั่วโลกที่เน้นให้บริการกับ คนจนโดยเฉพาะ ด้วยสินเชื่อขนาดจิ๋ว ประกันขนาดจิ๋ว บริการเงินโอน ขนาดจิ๋ว ฯลฯ ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า วงการไมโครไฟแนนซ์ (microfinance) 18 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 18

3/20/11 8:35 PM


ส่วนใหญ่ไม่เพียงแต่ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากวิกฤตในครั้งนี้ (นอก เหนือจากการเผชิญต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัททุกแห่ง ต้องเผชิญเหมือนกันหมดในภาวะที่ธนาคาร “กอดเงิน” ไม่ยอมปล่อยกู้) แต่ยงั ฉวยโอกาสนีข้ ยายฐานลูกค้า และโฆษณา “ความมัน่ คง” ของโมเดล ไมโครไฟแนนซ์ และข้อดีของการทำ�ธุรกิจแบบ “ทอดสมอได้เมือ่ พายุมา” กล่าวคือ ไม่ถูกกระแสโลกาภิวัตน์พัดลอยจนแตกสลายในช่วงพายุโหม กระหน่ำ� แต่ก็สามารถล่องกระแสนั้นต่อไปทันทีที่พายุสงบลง ทั้งหมดที่กล่าวไปนั้นหมายความว่าอะไร? ผู้เขียนเชื่อว่า ภาคการเงินกำ�ลังจะ “ปฏิวัติ” ในทุกระดับ ตั้งแต่ โครงสร้างใหญ่หรือที่เรียกว่า “สถาปัตยกรรม” ซึ่งหมายถึงโครงสร้าง เชิงสถาบันระดับโลกทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย กฎเกณฑ์ หรือ ปทัสถานทางสังคม (social norms) ย่อยลงมาถึงระดับที่เล็กที่สุด คือ พฤติกรรมของคนธรรมดา วิกฤตครั้งนี้เป็นโอกาสที่เราจะได้ทบทวนทุกสิ่งทุกอย่างที่เคย คิดเคยเชื่อว่าถูกต้อง ตั้งแต่ “หน้าที่” ของสถาบันการเงิน ผู้บริหารเงิน และนักการเงิน นิยามของความเสี่ยง บทบาทของเงินที่เป็นอยู่และควร จะเป็น โมเดลการบริหารความเสีย่ ง เรือ่ ยไปจนถึงโมเดลการดำ�เนินธุรกิจ ของสถาบันการเงินและผูเ้ ล่นรายอืน่ ๆ ในตลาด ความสำ�คัญของ “ความ รูเ้ รือ่ งการบริหารจัดการเงิน” (financial literacy) ตลอดจนความเชือ่ มโยง ระหว่างภาคการเงินกับสังคมส่วนรวม วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เปรียบเสมือนเสียง “ปลุก” ให้เราได้ทบทวน และรื้อสร้างสถาบันต่างๆ ระบบต่างๆ และเหนือสิ่งอื่นใดคือ วิธีคิดของ เราเกี่ยวกับเงิน การเงิน และการบริหารจัดการเงิน โฉมหน้าใหม่ของภาคการเงินจะเป็นอย่างไร การปฏิวัติครั้งนี้ จะ “ถอยหลัง” หรือ “ก้าวหน้า” เป็นไปได้หรือไม่ที่ภาคการเงินจะวิวัฒน์ เป็น “ระบบนิเวศการเงิน” ทีร่ ะบบการเงินน้อยใหญ่สามารถอยูร่ ว่ มกันได้ อย่างกลมกลืน ตลาดการเงินระดับประเทศตั้งอยู่เคียงข้างหรือซ้อนทับ 19 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 19

3/20/11 8:35 PM


ระบบการเงินระดับท้องถิ่นซึ่งอาจเล็กขนาดหมู่บ้านเพียงหมู่บ้านเดียว อาทิ ธนาคารอิสลาม สัจจะออมทรัพย์ และ “เงิน” เองจะเปลี่ยนแปลง ไปอย่างไรบ้าง ระบบเงินตราใหม่ๆ จะช่วยพัฒนาคนหรือจะฉุดรั้งชีวิต มนุษย์ให้ตกเป็นทาสมันมากกว่าเดิม ผู้เขียนขอเชิญทุกท่านมาร่วมกันค้นหาคำ�ตอบร่วมกัน นับแต่ บรรทัดนี้เป็นต้นไป.

20 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 20

3/20/11 8:35 PM


การผ่อนปรนกฎ mark-to-market: “ราคาตลาด” vs. “มูลค่าที่เป็นธรรม”

วันที่ 2 เมษายน 2552 มีข่าวใหญ่ข่าวหนึ่งในโลกการเงินที่สื่อ ส่วนใหญ่มองข้ามและคนทั่วไปไม่รับรู้ แต่ผู้เขียนมองว่าเป็นข่าว ที่มีความสำ�คัญอย่างยิ่งยวดต่ออนาคตของโลกการเงิน เพราะ นอกจากจะส่งผลมหาศาลต่อฐานะของสถาบันการเงินที่มีปัญหา ในอเมริกา และภาระการ “อุ้ม” ของรัฐบาลแล้ว ยังสะท้อนวิวาทะ เกีย่ วกับหลักการเงินในระดับฐานรากอย่างทีไ่ ม่เคยปรากฏมาก่อน วิวาทะที่ถ้าดำ�เนินต่อไปในระยะยาว อาจทำ�ให้นักการเงินต้อง เปลีย่ นวิธคี ดิ เกีย่ วกับ “มูลค่าทีเ่ ป็นธรรม” และวิธกี ารสะท้อนหรือ สกัดทิ้งอารมณ์ของมนุษย์ในตลาดการเงิน ข่าวสำ�คัญที่ว่านั้นคือ ข่าวคณะกรรมการมาตรฐานบัญชีของ 21 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 21

3/20/11 8:35 PM


สหรัฐอเมริกา (Financial Accounting Standards Board ตัวย่อ FASB เรียกชื่อเล่นว่า “ฟาสบี้”) ประกาศผ่อนปรนกฎการบันทึกบัญชีของ สถาบันการเงิน จากเดิมที่เคยกำ�หนดให้ใช้ราคาตลาดปัจจุบัน (markto-market) ในการบันทึกและรายงานมูลค่าของหลักทรัพย์ทมี่ รี าคาตลาด อ้างอิงในงบดุลรายไตรมาส เปลี่ยนเป็นการอนุญาตให้ใช้ “วิจารณญาณ อย่างยิง่ ยวด” (significant judgment) ในการประเมิน “มูลค่าทีเ่ ป็นธรรม” (fair value) ของการลงทุนบางประเภท เช่น หลักทรัพย์อ้างอิงสินเชื่อ ที่อยู่อาศัย (mortgage-backed securities) และใช้ผลการประเมิน ดังกล่าวในการบันทึกมูลค่าของหลักทรัพย์เหล่านั้น สถาบันการเงิน สามารถใช้วิธีใหม่นี้ได้ในการรายงานงบการเงินประจำ�ไตรมาสแรกของ ปี 2009 เป็นต้นไป การเปลี่ยนแปลงกฎการบันทึกบัญชีครั้งนี้สะท้อนว่า ฟาสบี้ เห็นด้วยกับนักการเมืองหลายคนและผูบ้ ริหารของสถาบันการเงินหลาย แห่ง เช่น ธนาคารซิตี้กรุ๊ป และธนาคารเวลส์ ฟาร์โก ที่เสนอให้แก้กฎนี้ มาหลายเดือนแล้วโดยอ้างเหตุผลว่า “ราคาตลาด” ของหลักทรัพย์บาง ประเภท โดยเฉพาะหลักทรัพย์อ้างอิงสินเชื่อซับไพรม์นั้น “ใช้การไม่ได้” ในสภาวะตลาดแปรปรวน ผู้เล่นแทบทุกรายตกอยู่ในภาวะตื่นตระหนก และขาดความเชื่อมั่นอย่างรุนแรงจนไม่กล้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีราคา ผูกโยงกับสินเชื่อซับไพรม์ ทำ�ให้ “ราคาตลาด” ไม่สะท้อน “มูลค่าที่ เป็นธรรม” ของหลักทรัพย์เหล่านี้ ยิ่งนักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ก็ยิ่งไม่มีใครกล้าซื้อ ราคาตลาด ก็ยิ่งทรุดตํ่าลง ทำ�ให้คนยิ่งขาดความเชื่อมั่นและ “กอดเงิน” ไว้กับตัว สถาบันการเงินก็ยิ่งไม่กล้าปล่อยกู้ วนเวียนเป็นวงจรอุบาทว์ที่จมดิ่งลง เรื่อยๆ ดังนัน้ ถ้าฟาสบีไ้ ม่ประกาศผ่อนปรนกฎการบันทึกบัญชี สถาบัน การเงินทุกแห่งที่ไปลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงซับไพรม์ก็จะต้องปรับลด มูลค่าของหลักทรัพย์เหล่านี้ในงบดุลของตัวเองทุกไตรมาสตามราคา 22 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 22

3/20/11 8:35 PM


ตลาด เท่ากับซํา้ เติมฐานะทางการเงินทีย่ �่ำ แย่อยูแ่ ล้วให้แย่ลงจนอาจต้อง เพิ่มเงินกองทุน ซึ่งก็หมายความว่าภาครัฐอาจต้องใช้เม็ดเงินมากขึ้น ในการ “อุ้ม” ภาคการเงิน นอกจากนี้ กฎ mark-to-market ยังก่อให้เกิดปัญหา “สองเด้ง” สำ�หรับสถาบันการเงินหลายแห่งและใครก็ตามที่ไม่ได้ซื้อหลักทรัพย์ เหล่านีด้ ว้ ยเงินของตัวเอง แต่กยู้ มื เงินคนอืน่ มาใช้ เพราะนอกจากจะต้อง เห็นทุนของตัวเองร่อยหรอลงไปเรือ่ ยๆ จากผลขาดทุนในหลักทรัพย์แล้ว ยังต้องดิน้ รนหาเงินสดหรือหลักทรัพย์เพิม่ เติมมาคืนเจ้าหนีห้ รือวางเป็น หลักประกันให้กบั นายหน้าค้าหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) เพือ่ ชดเชยมูลค่า หลักทรัพย์ที่หดหายไป (ในตลาดหุ้น การเรียกหลักประกันเพิ่มเติมเพื่อ ให้ถึงระดับที่โบรกเกอร์สบายใจ (maintenance margin) นั้น มีศัพท์ เทคนิคเรียกว่า “margin call”) ทั้งหมดนี้ทำ�ให้ไม่น่าแปลกใจที่ผู้บริหารสถาบันการเงินหลาย แห่งจะออกมาสนับสนุนการผ่อนปรนของฟาสบี้ในครั้งนี้ เพราะกฎใหม่ ทำ�ให้สถาบันการเงินสามารถประเมิน “มูลค่าทีเ่ ป็นธรรม” ของหลักทรัพย์ เหล่านัน้ ด้วยการใช้ “วิจารณญาณอย่างยิง่ ยวด” ของตัวเอง ไม่ตอ้ งอ้างอิง ราคาตลาด ในภาวะวิกฤตปัจจุบันที่ความเชื่อมั่นของนักลงทุนหดหาย ผลลัพธ์ของการประเมินแบบนี้ก็น่าจะออกมาสูงกว่าราคาตลาด เพราะ ในความเป็นจริง สินเชื่อบ้าน ตราสารหนี้ และตราสารทางการเงินอื่นๆ ยังมีมลู ค่าอยู่ (เช่น ลูกหนีจ้ ำ�นวนมากยังผ่อนบ้านได้) แต่สภาวะตลาดที่ “แช่แข็ง” ทำ�ให้ราคาตลาดลดลงตํ่ากว่าราคาที่ควรจะเป็นไปมาก กฎใหม่ของฟาสบีเ้ ท่ากับเป็นการยอมรับกลายๆ ว่า ราคาตลาด ในยามที่ตลาดการเงินเกิดวิกฤตความเชื่อมั่นอย่างรุนแรงนั้น “ใช้การ ไม่ได้” เพราะมันไม่สะท้อน “มูลค่าที่เป็นธรรม” ของหลักทรัพย์หลาย ประเภท นักวิเคราะห์สว่ นใหญ่พดู เป็นเสียงเดียวกันว่า ประกาศของฟาสบี้ น่าจะทำ�ให้ผลประกอบการของสถาบันการเงินโดยรวมดีขึ้น สถาบัน 23 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 23

3/20/11 8:35 PM


การเงินทีเ่ คยบันทึกยอดขาดทุนจากหลักทรัพย์ทเี่ ข้าข่ายในกฎของฟาสบี้ เพราะใช้ราคาตลาด (write-down) ก็จะสามารถบันทึกมูลค่าบางส่วนกลับ เข้ามาในบัญชี (write-up) ทำ�ให้ผลการดำ�เนินงานกระเตือ้ งขึน้ ทันตาเห็น สถาบันการเงินบางแห่งที่ใช้ “วิจารณญาณอย่างยิ่งยวด” แทนที่ราคา ตลาดไปแล้วบางส่วนก่อนหน้านี้ (เช่น ซิตี้กรุ๊ป โดยให้เหตุผลว่า “ตลาด ทีไ่ ร้สภาพคล่องไม่มตี วั แปรทีเ่ ราสามารถนำ�มาใช้ได้ในการประเมินมูลค่า หลักทรัพย์”) ก็จะได้รับประโยชน์น้อยลงจากกฎของฟาสบี้ นอกภาคการเงิน นักเศรษฐศาสตร์และผู้ดำ�เนินนโยบายภาค รัฐหลายคนบอกว่าเห็นด้วยกับการผ่อนปรนในครั้งนี้ เบน เบอร์นันเก้ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ เคยกล่าวไม่ถึงหนึ่งเดือนก่อนที่ฟาสบี้จะ ประกาศกฎใหม่ว่า กฎการบันทึกบัญชีนั้นควรจะเปลี่ยนให้มีลักษณะ “ตามวัฏจักร” (pro-cyclical) น้อยลง เพราะมูลค่าทีแ่ ท้จริงของหลักทรัพย์ ต่างๆ นั้นไม่ควรจะอ่อนไหววูบวาบขึ้นลงตามความโลภเกินเหตุของ นักลงทุนในช่วงฟองสบู่ และความกลัวเกินเหตุในช่วงวิกฤต แต่ประเด็นปัญหาหลักของการผ่อนปรนนี้มีอยู่ด้วยกันสอง ประการ ประการแรก เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า ผลลัพธ์ของโมเดลประเมิน มูลค่าที่ตั้งอยู่บน “วิจารณญาณอย่างยิ่งยวด” ของสถาบันการเงินนั้น จะสะท้อน “มูลค่าที่เป็นธรรม” ของหลักทรัพย์จริงๆ? เพราะถึงแม้ว่า บางครั้งราคาตลาดอาจไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์หรือ สินทรัพย์อะไรก็ตาม มันก็เป็นราคาที่โปร่งใสและเป็นธรรมที่สุดแล้ว สำ�หรับทุกฝ่าย เพราะสะท้อนราคาเฉลีย่ ทีต่ กลงกันในตลาด ระหว่างผูซ้ อื้ และผู้ขายที่ทำ�ธุรกรรมระหว่างกันด้วยความเต็มใจ (ไม่ใช่กรณีที่ฝ่ายใด ฝ่ายหนึง่ ทำ�อย่างไม่เต็มใจ เช่น ล้มเหลวใกล้ลม้ ละลายจนถูกเจ้าหนีบ้ งั คับ ให้ขายทอดตลาด (forced liquidation) ซึ่งกรณีแบบนั้นก็เป็นข้อยกเว้น ของกฎ mark-to-market ตามปกติอยู่แล้ว) ถ้าสถาบันการเงินบางแห่งอยากฉวยโอกาสจากกฎใหม่ของ 24 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 24

3/20/11 8:35 PM


ฟาสบี้ รายงานมูลค่าหลักทรัพย์เกิน “มูลค่าทีเ่ ป็นธรรม” ไป นักลงทุนจะ รูไ้ ด้อย่างไร เพราะไม่มที างมีขอ้ มูลเชิงลึกเท่ากับสถาบันการเงินทีอ่ า้ งว่า ได้ใช้ “วิจารณญาณอย่างยิ่งยวด” ในการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์แล้ว? ความกังวลเรือ่ งความเสีย่ งทีส่ ถาบันการเงินจะฉวยโอกาสตบตา นักลงทุนจากความโปร่งใสที่น้อยลง ทำ �ให้นักลงทุนและผู้สอบบัญชี จำ�นวนมากออกมาวิพากษ์วจิ ารณ์กฎใหม่ของฟาสบีก้ นั อย่างกว้างขวาง ผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งที่ส่งเสียงคัดค้านดังที่สุดคือ อาร์เธอร์ ลีวิตต์ อดีต ประธานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ของอเมริกา ปัจจุบนั เป็นประธานกรรมการร่วมของ Investors’ Working Group กลุ่มอิสระที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อจัดทำ�ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐในการ ปรับปรุงกฎเกณฑ์การกำ�กับดูแลภาคการเงิน ลีวิตต์ให้สัมภาษณ์ว่า หลักการบันทึกบัญชีที่ใช้ราคาตลาดนั้น “มอบความโปร่งใสที่จำ �เป็น ต่อการฟืน้ คืนความเชือ่ มัน่ ของสาธารณชนต่อตลาดอเมริกนั ” และบอกว่า เขารู้สึกเป็นกังวลอย่างมากที่ฟาสบี้ดูเหมือนจะ “ยอมก้มหัวให้กับแรง กดดันทางการเมือง” จากสถาบันการเงินและนักการเมืองที่ไม่อยากให้ รัฐใช้เงินมากไปกว่านี้ ผูเ้ ขียนคิดว่า การผ่อนปรนของฟาสบีเ้ ป็นการเปิดช่องให้สถาบัน การเงิน “ซ่อน” โมเดลธุรกิจที่ล้มเหลวจากสายตาของนักลงทุน ผู้กำ�กับ ดูแลภาครัฐ และสาธารณชน ประเด็นสำ�คัญไม่ได้อยู่ที่ว่า เราควรทำ� อย่างไรให้สถาบันการเงินดูดีหรือรอดพ้นสันดอนในปีนี้ไปได้ แต่อยู่ที่ว่า เราควรยอมให้ตลาดจัดสรรทุนในทางที่จะเอื้อประโยชน์ต่อนักลงทุน ทีส่ ดุ ถึงแม้วา่ นักลงทุนอาจกำ�ลัง “กลัวเกินเหตุ” ก็ตาม ความกลัวนัน้ ก็มี ความหมายทีส่ ถาบันการเงินควรยอมรับ เพราะการใช้ราคาตลาดเป็นกฎ กติกาพืน้ ฐานของระบบ ไม่อย่างนัน้ เรามิตอ้ งบอกว่าสถาบันการเงินต้อง ใช้ “วิจารณญาณอย่างยิง่ ยวด” ปรับลดมูลค่าหลักทรัพย์ในภาวะฟองสบู่ ด้วยหรือ เพราะพฤติกรรมทีอ่ ลัน กรีนสแปน อดีตผูว้ า่ การธนาคารกลาง เรียกว่า “irrational exuberance” (อาการลิงโลดไร้เหตุผล) นั้น ก็ทำ�ให้ 25 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 25

3/20/11 8:35 PM


ราคาตลาดสูงเกิน “มูลค่าที่เป็นธรรม” เหมือนกัน ถ้าเราใช้ตรรกะของ ฟาสบี้ สถาบันการเงินก็ต้องไม่ใช้กฎ mark-to-market ในภาวะฟองสบู่ เช่นเดียวกับทีไ่ ม่ใช้ในภาวะวิกฤต เพือ่ ความยุตธิ รรมและความสอดคล้อง ของเหตุและผล แต่เมื่อคำ�นึงว่าตลาดการเงินยุคโลกาภิวัตน์มีความผันผวนสูง ภาวะ “ปกติ” ไม่ค่อยจะมีให้เห็น มีแต่ขาขึ้นแบบฟองสบู่หรือขาลง กระแทกแบบวิกฤต การเปิดช่องให้สถาบันการเงินใช้ “วิจารณญาณอย่าง ยิ่งยวด” ในภาวะฟองสบู่และวิกฤต อาจนำ�เราไปสู่ภาวะที่ราคาตลาด ไร้ความหมายและภาคการเงินไร้ความโปร่งใส ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่พึงประสงค์ เลยแม้แต่น้อย ปัญหาประการทีส่ องทีส่ �ำ คัญกว่าข้อแรกคือ ไม่วา่ มูลค่าทีอ่ อกมา จากโมเดลของสถาบันการเงินจะเป็นเช่นไร ตัวเลขที่ได้ก็ไม่อาจเรียก ได้ว่าเป็น “มูลค่าที่เป็นธรรม” อย่างแท้จริง ตราบใดที่นักลงทุนยังไม่ เชื่อมั่นในตัวเลขนั้นๆ พูดง่ายๆ คือ เจ้าของหลักทรัพย์มสี ทิ ธิทจี่ ะบอกว่า “มูลค่าทีเ่ ป็น ธรรม” ของหลักทรัพย์ตัวเองเป็นเท่าไรก็ได้ แต่ผู้สนใจซื้อ (นักลงทุน) ไม่จำ�เป็นจะต้องคล้อยตามไปด้วย นักลงทุนที่รอบคอบย่อมพยายาม “แกะ” หรือ “แงะ” งบการเงินของบริษัทที่ตัวเองสนใจจะเข้าไปลงทุน มองให้ลึกลงไปกว่าตัวเลขในบัญชีที่ปรากฏ เพราะฐานะที่แท้จริงของ สถาบันการเงินหรือบริษทั ใดก็ตามไม่มวี นั วัดได้ดว้ ยตัวเลขในงบการเงิน เพียงอย่างเดียว การทำ�ความเข้าใจกับสมมุตฐิ าน ความเสีย่ ง และความ ไม่แน่นอนต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลังตัวเลขเหล่านั้นเป็นเรื่องที่จำ�เป็นกว่า หลายเท่า ด้วยเหตุนี้ ลำ�พังการผ่อนปรนกฎ mark-to-market อาจไม่ชว่ ย ผลักให้ตลาดการเงินกระโดดออกจากภาวะ “แช่แข็ง” ได้ ถ้านักลงทุน ยังคงขาดความเชือ่ มัน่ ในสถาบันการเงิน (และสถาบันการเงินก็ไม่เชือ่ มัน่ ซึง่ กันและกัน) และตัดสินไปแล้วว่าหลักทรัพย์เหล่านัน้ “เน่า” การผ่อนปรน 26 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 26

3/20/11 8:35 PM


กฎเกณฑ์ทางบัญชีเปลีย่ นได้อย่างมากเพียงตัวเลขทางบัญชีของสถาบัน การเงิน ไม่ได้เปลีย่ น “คุณภาพ” ของหลักทรัพย์ นักลงทุนน่าจะต้องการ หลักฐานมากกว่าประกาศของฟาสบี้ ถ้าจะให้เชื่อว่าหลักทรัพย์เหล่านั้น ไม่ “เน่า” เท่ากับที่คิด ถ้านักลงทุนมองว่าประกาศของฟาสบี้ทำ�ให้งบการเงินของ สถาบันการเงินมีความโปร่งใสน้อยลง ความเชื่อมั่นของพวกเขาซึ่งเป็น หัวใจสำ�คัญของวิกฤตการเงินในครั้งนี้ก็อาจลดลงแทนที่จะเพิ่มขึ้น และ ทำ�ให้การคลายภาวะ “แช่แข็ง” ของตลาดการเงินทำ�ได้ยากเย็นยิง่ กว่าเดิม ถึงแม้ว่าสถาบันการเงินอาจ “ดูดี” กว่าเดิมในระยะสั้นก็ตาม เพราะถึงแม้ว่านักลงทุนหลายคนอาจกำ�ลังตื่นกลัวเกินเหตุ พวกเขาก็มเี หตุมผี ลพอทีจ่ ะเข้าใจว่า ราคาตลาดเป็นเกณฑ์ทโี่ ปร่งใสและ เป็นธรรมที่สุดแล้วในการสะท้อนมูลค่าของตราสารทางการเงิน เพราะ สะท้อนราคาที่ผู้ซื้อเต็มใจจะซื้อในภาวะ “แห่กันขาย” ที่ผู้ซื้อเป็นใหญ่ ไม่วา่ สถาบันการเงินจะบันทึกบัญชีอย่างไร ถ้านักลงทุนไม่เต็มใจจะควัก เงินซื้อเต็มมูลค่าที่บันทึกเพราะไม่เชื่อมั่นว่ามันสะท้อนมูลค่าที่แท้จริง การใช้ “วิจารณญาณอันยิ่งยวด” ก็อาจเป็นได้อย่างมากเพียงแค่การ “ขายผ้าเอาหน้ารอด” เท่านั้น.

27 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 27

3/20/11 8:35 PM


เมื่อระบบค่าตอบแทนวิบัติ: บทเรียนจากภาคการเงินอเมริกา

หนึ่งในปัจจัยสำ�คัญที่ทำ�ให้วิกฤตการเงินปี 2008 รุนแรงเป็นพิเศษ เป็นปัจจัยซ่อนเร้นที่เรามองไม่เห็นในทันทีที่เกิดวิกฤต หากแต่ ค่อยๆ ปรากฏให้เห็นนานนับปีหลังจากนั้น นั่นคือ ความบกพร่อง รุนแรงของระบบค่าตอบแทนในภาคการเงิน ซึง่ บิดเบือนแรงจูงใจ ของนักการเงินหัวกะทิจำ�นวนมาก ส่งผลให้พวกเขาประพฤติตน ในทางที่หลอกลวงนักลงทุน และเข้าข่าย “การฉ้อโกง” (fraud) ไม่ใช่ “การทำ�พลาด” (mistake) หรือ “ความประมาทเลินเล่อ” (negligence) ที่ผู้บริหารบริษัทวาณิชธนกิจและธนาคารชอบกล่าวอ้าง ทีมนักข่าวของโพรพับลิกา (propublica.org) เว็บไซต์ข่าว เจาะออนไลน์ที่ดีที่สุดในโลกในแง่ของการเจาะลึกเบื้องหลังและเบื้องลึก 28 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 28

3/20/11 8:35 PM


ของวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ทยอยเรียบเรียงข้อค้นพบมาเปิดโปงในซีรีส์ บทความขนาดยาวชือ่ “The Wall Street Money Machine” (เครือ่ งทำ�เงิน ของภาคการเงินอเมริกัน)1 ซึ่งผู้เขียนคิดว่า “ต้องอ่าน” สำ�หรับทุกคนที่ อยากเข้าใจว่า บรรดามืออาชีพในภาคการเงินทีพ่ ฒ ั นาทีส่ ดุ ในโลกจะลาก เศรษฐกิจโลกลงเหวได้อย่างไร โพรพั บ ลิ ก าพบว่ า ในปี 2006 สองปี ก่ อ นเกิ ด วิ ก ฤตแฮมเบอร์เกอร์ ความต้องการซีดโี อ (CDO คือหลักทรัพย์องิ สินเชือ่ ทีอ่ ยูอ่ าศัย ของผู้มีรายได้น้อยที่เรียกว่าซับไพรม์​์) ลดตํ่าลงมากหลังจากที่นักลงทุน เริม่ วิตกว่าฟองสบูใ่ นภาคอสังหาริมทรัพย์ของอเมริกาจะแตก ซึง่ จะส่งผล กระทบต่อความมัน่ คงและมูลค่าของหลักทรัพย์ซดี โี อทีต่ นถือ ในกรณีของ เมอร์รลิ ลินช์ วาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่ของอเมริกา แม้แต่นกั ค้าหลักทรัพย์ (เทรดเดอร์) ที่เป็นพนักงานของบริษัทเองก็ไม่อยากซื้อซีดีโอที่เมอร์ริล สร้างและพยายามขายให้กับนักลงทุนนอกบริษัท แต่ แ ทนที่ เ มอร์ ริ ล จะตอบสนองต่ อ สั ญ ญาณที่ ชั ด เจนจาก นักลงทุนด้วยการเลิกสร้างซีดีโอใหม่ๆ บริษัทกลับก่อตั้งฝ่ายใหม่ขึ้น ภายในบริษทั และ “จ้าง” เทรดเดอร์ในฝ่ายใหม่ให้รบั ซือ้ ซีดโี อ ด้วยการให้ ฝ่ายที่ทำ�หน้าที่สร้างซีดีโอเจียดเงินโบนัสส่วนหนึ่งที่พวกเขาได้รับไปให้ กับเทรดเดอร์ในฝ่ายใหม่ เทรดเดอร์หลายคนเรียกการจ่ายโบนัสแบบนีว้ า่ “หนึ่งล้านเพื่อพันล้าน” – เขาจะได้เงินโบนัสจำ�นวนหนึ่งล้านเหรียญ ต่อ ซีดีโอทุกหนึ่งพันล้านเหรียญที่รับซื้อเข้าพอร์ต ช่วยให้ฝ่ายที่สร้างซีดีโอ เอาส่วนทีเ่ หลือไป(หลอก)ขายนักลงทุนได้งา่ ยกว่าเดิม พอขายเสร็จก็เอา ค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากนักลงทุนมาชดเชยเงินที่จ่ายไปให้กับฝ่ายใหม่ เทรดเดอร์ของเมอร์รลิ ทีพ่ อจะมียางอายอยูบ่ า้ งเรียกค่าตอบแทน นี้ว่า “เงินอุดหนุน” ส่วนอดีตผู้บริหารเมอร์ริลที่รู้ผิดชอบชั่วดียอมรับว่า มันคือ “เงินสินบน” ดีๆ นี่เอง เนื่องจากฝ่ายใหม่ได้รับค่าตอบแทนแลก กับปริมาณซีดีโอที่ตัวเองรับซื้อเข้าพอร์ต โดยไม่ต้องสนใจดูว่าซีดีโอนั้น เสี่ยงเพียงใด หรือแม้แต่จะทำ�กำ�ไรให้เมอร์ริลในระยะยาวได้หรือไม่ 29 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 29

3/20/11 8:35 PM


ตลอดปี 2006 ล่วงไปถึงปี 2007 ฝ่ายใหม่ในเมอร์ริลที่น้อยคน รู้จักรับซีดีโอที่บริษัทสร้างเข้าพอร์ตตัวเองเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้าน เหรียญสหรัฐ ก่อนที่ซีดีโอทั้งตลาดจะดิ่งลงเหว มูลค่าเหลือไม่กี่เซ็นต์ หรือไม่ถงึ เซ็นต์ เมอร์รลิ ลินช์ประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรงจน ถูกขายให้กบั ธนาคารแห่งอเมริกา (Bank of America) ซึง่ ต่อมารัฐบาลต้อง เข้ามาอุ้มด้วยเงินภาษีประชาชน แต่นักการเงินของเมอร์ริลที่สร้างหรือ ได้รับ “เงินสินบน” ล้วนออกจากบริษัทด้วยเงินโบนัสหลายล้านเหรียญ ปัจจุบันหลายคนยังเป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทการเงินชั้นนำ�อยู่ ส่วนการสอบสวนของสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ของอเมริกา ที่เริ่มทำ�ตั้งแต่เมอร์ริลเปิด เผยผลขาดทุนจากซีดีโอในเดือนตุลาคม 2007 สุดท้ายก็ไม่เกิดผล ทั้งที่ ก.ล.ต. น่าจะพบว่าระบบค่าตอบแทนนี้หลอกลวงนักลงทุนอย่างชัดเจน เพราะช่วยสร้าง “ความต้องการเทียม” สำ�หรับซีดีโอ ไม่นับว่าทลายกฎ “กำ�แพงเมืองจีน” (Chinese wall) ลงอย่างสิน้ เชิง (Chinese wall คือกฎ ที่กั้นกลางระหว่างฝ่ายต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ในทางที่ไม่เป็นธรรมหรือให้โทษแก่ลูกค้า เช่น พนักงานในฝ่ายวาณิช ธนกิจจะเอาข้อมูลดีลลับทีต่ วั เองทำ�อยูไ่ ปให้กบั ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ ไม่ได้) โพรพับลิกาเปิดโปงว่าเมอร์รลิ ลินช์ไม่ได้เป็นบริษทั การเงินแห่ง เดียวที่สร้างความต้องการเทียมสำ�หรับซีดีโอ บริษัทชั้นนำ�หลายแห่ง ไม่วา่ จะเป็น โกลด์แมน แซคส์, ซิตแี้ บงก์ หรือยูบเี อส ล้วนทำ�แบบนีอ้ ย่าง แพร่หลายจนกลายเป็น “เรื่องธรรมดา” ในวงการ วิธีที่ใช้คือ สร้างซีดีโอ ตัวใหม่มาซื้อส่วนเสี้ยวที่ขายยากที่สุด (คือเสี่ยงที่สุด) ของซีดีโอตัวเก่า โดยจ่ายเงินโบนัส (สินบน) ให้กบั ผูซ้ อื้ ไม่วา่ จะเป็นเทรดเดอร์ของตัวเอง หรือของบริษัทอื่น ให้ยอมรับซื้อส่วนเสี่ยงเหล่านี้ไป ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ “ห่วงโซ่ซีดีโอ” ที่ไม่ได้เกิดจากความต้องการที่แท้จริงของนักลงทุน เท่ากับความต้องการของวาณิชธนกิจที่จะปั่นกระแสซีดีโอต่อไป 30 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 30

3/20/11 8:35 PM


ผลการวิเคราะห์ของ Thetica Systems บริษทั วิจยั ทีโ่ พรพับลิกา จ้างให้ขดุ เรือ่ งนี้ พบว่าในช่วงท้ายๆ ของฟองสบู่ ซีดโี อใหม่ได้กลายเป็น “ผู้ซื้อ” ส่วนเสี้ยวของซีดีโอเก่า แทนที่นักลงทุนตัวจริงอย่างเช่นกองทุน บำ�นาญ พอถึงปี 2007 ซีดโี อใหม่ทที่ �ำ แบบนีก้ ม็ จี �ำ นวนมากถึงร้อยละ 67 ของซีดีโอเก่า และเกือบครึ่งของซีดีโอใหม่ที่ออกโดยเมอร์ริล ลินช์ ซึ่งมี ส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุด ก็ไปซื้อส่วนเสี้ยวต่างๆ ของซีดีโอเก่าที่เมอร์ริล สร้าง

31 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 31

3/20/11 8:35 PM


นอกจากนี้ โพรพับลิกายังพบว่า ระหว่างปี 2006-2007 มีมาก ถึง 85 กรณีที่ซีดีโอสองตัวซื้อส่วนเสี้ยวของกันและกัน (เข้าทำ�นอง “ดีลต่างตอบแทน”) และซีดีโอที่ทำ�แบบนี้ก็มีมูลค่าสูงถึง 107,000 ล้าน เหรียญสหรัฐ ความต้องการเทียมเหล่านีป้ กปิดสภาวะทีแ่ ท้จริงของตลาด ฟองสบู่ซีดีโอซึ่งควรจะระเบิดตั้งแต่ปี 2006 จึงพองตัวต่อไปได้ จน ในทีส่ ดุ ก็ระเบิดในปี 2008 เป็นระเบิดลูกใหญ่ทที่ ำ�ให้คนตกงานหลายล้าน คน และฉุดเศรษฐกิจโลกลงเหวลึกกว่าที่จะลึกหลายเท่า กรณีระบบค่าตอบแทนบิดเบือนในตลาดซีดีโอ ตอกยํ้าสิ่งที่ รากุราม ราจัน นักเศรษฐศาสตร์การเงินในดวงใจของผูเ้ ขียน ออกมาเตือน ตั้งแต่ปี 2005 แล้วว่า ระบบค่าตอบแทนในภาคการเงินโดยรวมนั้น บกพร่อง ไม่เชื่อมโยงกับโลกจริง และกระพือพฤติกรรมเสี่ยงที่จะสะสม จนแตกตัวเป็นวิกฤตการเงินขนาดใหญ่ในที่สุด ในหนังสือดีเรื่อง Fault Lines (เส้นเสี่ยง) ตีพิมพ์ปี 2010 ราจัน บอกว่า วิกฤตการเงินปี 2008 ให้บทเรียนกับเรา 4 เรื่องใหญ่ที่เกี่ยวกับ ผลตอบแทนของนักการเงิน บทเรียนแรกคือ นักการเงินเป็นคนพันธุ์ ที่ฉวยโอกาสทำ�กำ�ไรจากช่องโหว่และช่องว่างต่างๆ ได้เก่งที่สุด ไม่ใช่ เพราะนักการเงินโลภมากและคิดถึงแต่ตวั เอง เพราะมีนกั การเงินน้อยคน ที่จะไม่สนใจสังคมเลย แต่เป็นเพราะข้อเท็จจริงที่ว่า ภาคการเงินนั้น แข่งขันกันอย่างรุนแรงจนมีโอกาสน้อยมากที่ใครจะได้กำ�ไรเหนือคู่แข่ง และวิธีวัด “ผลงาน” ในภาคการเงินก็ยังวัดจากรายได้ที่นักการเงินสร้าง ให้กับบริษัทเป็นหลัก ไม่ได้วัดจากคำ�ถามอื่น เช่น รายได้ที่สร้างนั้น มีส่วนทำ�ให้ “เศรษฐกิจจริง” แข็งแกร่งกว่าเดิมหรือไม่ หรือเพียงแต่ กระพือฟองสบู่เท่านั้น ราจันมองว่า การแข่งขันที่รุนแรงประกอบกับ ระบบค่าตอบแทนทีไ่ ม่ถกู ต้อง ส่งผลให้เกิดความลักลัน่ อย่างมากระหว่าง พฤติกรรมของนักการเงิน กับชีวิตจริงของคนทั่วไป บทเรียนที่สองในมุมมองของราจันคือ นักการเงินย่อมฉวย โอกาสทำ�กำ�ไรจากคนที่รู้น้อยกว่าพวกเขาที่สุด หรือไม่มีแรงจูงใจมาก 32 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 32

3/20/11 8:35 PM


เท่าที่จะกอบโกยกำ�ไร เราอาจคิดว่าคนกลุ่มนี้คือประชาชนคนเดินดิน แต่ราจันยํา้ ว่าไม่ใช่ เพราะประชาชนมักจะตระหนักดีวา่ พวกเขาไม่รเู้ รือ่ ง การเงินเท่าไร และดังนั้นจึงมอบเงินให้กับตัวกลางที่ไว้ใจได้เป็นผู้ดูแล เช่น ผูจ้ ดั การกองทุนรวม (เหตุผลนีย้ งั ใช้ไม่ได้ในเมืองไทย ซึง่ กองทุนรวม ยังบริหารเงินคิดเป็นมูลค่าไม่ถึงร้อยละ 15 ของมูลค่าตลาดหุ้น) ยังไม่ นับว่าคนธรรมดามีเงินน้อยเกินกว่าที่นักการเงินจะสนใจ – “เหยื่อ” ที่ น่าสนใจกว่าสำ�หรับพวกเขาคือ เจ้าหน้าที่รัฐและผู้จัดการกองทุนขนาด ใหญ่ที่พอจะมีความรู้ อย่างเช่นกองทุนบำ�นาญ และกองทุนของรัฐบาล ต่างประเทศ ผูจ้ ดั การกองทุนเหล่านีม้ กั จะ “ไม่รวู้ า่ พวกเขาไม่รอู้ ะไรบ้าง” และดังนั้นจึงตกเป็นเหยื่อของนักการเงินอย่างง่ายดาย บทเรียนที่สามคือ พฤติกรรมของนักการเงินมักจะ “ตอกยํ้า พฤติกรรมเดิม” (self-reinforcing) ทำ�ให้เข้าใจผิดว่าตัวเองเก่ง ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อนักการเงินขายซีดีโอล็อตแรก กำ�ไรที่สูงมากของดีลนี้ย่อม ดึงดูดให้นักการเงินอื่นทำ�ตาม ซึ่งก็จะผลักให้ราคาของซีดีโอล็อตแรก สูงขึน้ ส่งสัญญาณให้นกั การเงินยิง่ แห่กนั มาทำ�มากกว่าเดิม เช่นเดียวกัน ยิง่ สินเชือ่ ซับไพรม์ล์ อ็ ตแรกๆ ดูเหมือนจะทำ�กำ�ไรได้ดี ธนาคารก็ยงิ่ แห่กนั ปล่อยกู้ ผลักให้ราคาบ้านสูงกว่าเดิม ทำ�ให้สินเชื่อที่ปล่อยไปแล้วดู ปลอดภัย (สำ�หรับธนาคาร) ยิ่งกว่าเดิม อุปมาเหมือนกับนายหน้าค้า ประกันแผ่นดินไหวที่ทำ�กำ�ไรจากเบี้ยประกันได้เรื่อยๆ ทำ�ให้เขาคิดว่า ตัวเองเก่ง ทัง้ ทีอ่ าจประเมินความเสีย่ งผิดไปมาก แต่ไม่มใี ครรูว้ า่ เขาเก่ง จริงหรือไม่จริงจนกว่าจะเกิดแผ่นดินไหว บทเรียนที่สี่และสุดท้ายคือสิ่งที่ราจันเรียกว่า “ความปลอดภัย ในฝูง” นัน่ คือ นักการเงินการธนาคารรูด้ วี า่ รัฐบาลจะปล่อยให้ภาคการเงิน ล่มสลายไปทั้งหมดไม่ได้ ไม่อย่างนั้นประชาชนจะเดือดร้อนมาก ราจัน ยํ้าว่า การที่นักการเงินตระหนักเรื่องนี้ไม่ได้แปลว่าพวกเขาจะทำ�อะไรๆ ตามอำ�เภอใจ เพราะความล้มเหลวไม่ใช่เรื่องที่ใครอยากเห็น ไม่ว่ารัฐ จะอุ้มหรือไม่อุ้ม แต่ความคาดหวังว่ารัฐจะอุ้มแปลว่านักการเงินไม่ถูก 33 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 33

3/20/11 8:35 PM


ใคร “ชะลอโอกาสในการทำ�กำ�ไร” ในกรณีที่ควรถูกชะลอ เช่น เจ้าหนี้ที่ ปล่อยกูใ้ ห้กบั ธนาคารไม่เรียกร้องผลตอบแทนทีค่ มุ้ ค่ากับความเสีย่ ง(สูง) ที่ธนาคารรับ เพราะพวกเขารู้ว่าถ้ามีปัญหาเดี๋ยวรัฐบาลก็ต้องมาช่วย ราจันบอกว่าทัศนคติแบบนี้ยิ่งหนุนเสริมพฤติกรรม “เสี่ยงเกิน ตัว” และ “แห่ตามกัน” ในภาคการเงิน และดังนั้น ยิ่งรัฐบาลแทรกแซง (อุ้ม) ถี่เพียงใด บทบาทของตลาดในการกำ�กับให้ผู้เล่นมี “วินัย” ก็ยิ่ง เสื่อมลงเพียงนั้น.

34 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 34

3/20/11 8:35 PM


สู่มิติใหม่ในการกำ�กับดูแลภาคการเงินอเมริกา

นั บ ตั้ ง แต่ วิ ก ฤตซั บ ไพรม์​์ ใ นอเมริ ก าปะทุ ขึ้ น เป็ น วิ ก ฤตแฮม เบอร์เกอร์ที่ลุกลามไปทั่วโลกตั้งแต่ปี 2007 บัดนี้ก็เป็นที่ประจักษ์ ชัดโดยทัว่ ไปแล้วว่า วิกฤตรอบนีห้ าใช่ ‘เหตุบงั เอิญ’ ทีเ่ กิดขึน้ เพียง นานๆ ครัง้ และไม่มใี ครคาดเดาได้ หากเป็นผลพวงของปัจจัยต่างๆ มากมายที่มีมนุษย์เป็นต้นเหตุและส่อเค้าหายนะมานานปี ไม่ว่า จะเป็นภาวะฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ ภาวะกู้เงินเกินตัวมาบริโภค เกิ น ตั ว ของคนอเมริ กั น และลงทุ น เกิ น ตั ว ของสถาบั น อเมริ กั น ความไม่โปร่งใสและหลอกลวงผู้บริโภคในตลาดสินเชื่อซับไพรม์​์ และการทีไ่ ม่มใี ครมองเห็นความเสีย่ งรวมของภาคการเงินทัง้ ระบบ (systemic risk) ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจากพฤติกรรมของผู้เล่นในตลาด แต่ละรายจนถึงจุดวิกฤต โดยเฉพาะในตลาดตราสารอนุพันธ์ที่ ซื้อขายกันแบบตัวต่อตัว (over-the-counter) 35 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 35

3/20/11 8:35 PM


ใครก็ ต ามที่ สื บ สาวปั ญ หาเหล่ า นี้ ลึ ก ลงไปอี ก ชั้ น หนึ่ ง จะพบ ว่า รากสาเหตุที่สำ�คัญคือความหละหลวมของการกำ�กับดูแลและการ ผ่อนปรนกฎเกณฑ์ของภาครัฐ จนถึงระดับที่ ‘ไม่มี’ การกำ�กับดูแลโดย ปริยายในการเงินหลายแขนง นับเป็น ‘รากแก้ว’ ของปัญหาทั้งมวลที่ สะสมจนระเบิดในเวลาไล่เลี่ยกัน กลายเป็นวิกฤตการเงินและวิกฤต เศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในรอบ 80 ปี นักเศรษฐศาสตร์และนักการเงินแทบทุกคนดูจะเห็นพ้องต้องกัน แล้วว่า อเมริกาจะต้อง ‘ยกเครื่อง’ ระบบการกำ�กับดูแลภาคการเงิน ขนานใหญ่เพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤตรุนแรงเช่นนี้เกิดขึ้นอีก และเพื่อไม่ให้ สังคมต้องแบกรับต้นทุนอีก ความแตกต่างระหว่างผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ อยูท่ รี่ ายละเอียดว่า ระบบการกำ�กับดูแลใหม่นนั้ ควรมีหน้าตาเป็นเช่นใด ใครควรมีอ�ำ นาจเพิม่ ใครควรมีอ�ำ นาจน้อยลง และขอบเขตของอำ�นาจนัน้ ควรจะอยู่ที่ใด คนที่ไม่เห็นด้วยว่าอเมริกาควรจะยกเครื่องระบบการกำ�กับ ดูแลภาคการเงิน เห็นจะมีแค่นักเศรษฐศาสตร์ ‘ขวาจัด’ บางคนที่หลับหู หลับตาเชียร์ทุนนิยมเสรีสุดขั้วต่อไป ด้วยความเข้าใจผิดว่า “ตลาดเสรี” ที่ดำ�รงอยู่อย่างเป็นเอกเทศและเป็นอิสระจากปัจจัยต่างๆ นั้นมีอยู่จริง ในโลก การยกเครือ่ งระบบกำ�กับดูแลภาคการเงิน เป็นหนึง่ ในนโยบาย หลักที่ บารัก โอบามา ประธานาธิบดีอเมริกาคนปัจจุบนั ใช้ในการหาเสียง เลือกตั้งประธานาธิบดี เขาบอกว่า ตลาดการเงินที่เปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว ประกอบกับการผ่อนปรนกฎเกณฑ์ภาครัฐที่ ‘ปล่อย’ มากขึ้น เรือ่ ยๆ ได้น�ำ ไปสูว่ งจรอุบาทว์ทเี่ ศรษฐกิจพองโตขึน้ เป็นฟองสบู่ เสร็จแล้ว ก็ชะงักงันอย่างเฉียบพลัน ด้วยเหตุนั้น รัฐจึงควรดูแลเสถียรภาพของ ระบบเศรษฐกิจอย่างแข็งขัน ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นไปตาม ‘กลไกตลาด’ เพราะ ความผันผวนของระบบทำ�ให้คนเดือดร้อนจริงๆ โดยเฉพาะผู้มีรายได้ น้อยและธุรกิจขนาดย่อมที่มี ‘สายป่านสั้น’ เมื่อเทียบกับผู้มีฐานะดีกว่า 36 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 36

3/20/11 8:35 PM


ตัวอย่างที่เราคุ้นเคยกันดีคือ เวลาเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ คนกลุ่ม แรกๆ ที่รายได้จะหดหายทันทีคือแรงงานค่าแรงตํ่าที่ถูกโรงงานเลิกจ้าง โอบามากล่าวระหว่างเดินสายหาเสียงในเดือนมีนาคม 2008 ตอนหนึ่งว่า “เศรษฐกิจอเมริกาไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ และกฎเกณฑ์ที่กำ �กับ มันก็ไม่ควรหยุดนิ่งเช่นกัน ...สถาบันเก่าๆ ไม่สามารถดูแลพฤติกรรม ใหม่ๆ ได้อย่างเพียงพอ ...ตลาดเสรีไม่เคยหมายความว่าคุณมีสิทธิที่จะ ตักตวงอะไรเท่าไรก็ได้ดว้ ยวิธใี ดก็ได้ นัน่ คือเหตุผลทีเ่ ราต้องมีกฎเกณฑ์ เพื่อบังคับให้การแข่งขันเป็นไปอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และซื่อสัตย์ ...ประวัติศาสตร์ของเราน่าจะทำ�ให้เราเชื่อมั่นว่า เราไม่จำ�เป็นจะต้อง เลือกระหว่างระบบเศรษฐกิจกดขี่ที่รัฐบริหารจัดการ กับระบบทุนนิยม ที่สับสนอลหม่านและโหดร้ายทารุณ” หลังจากทีเ่ ขาชนะการเลือกตัง้ ประธานาธิบดีและหมดเวลาหลาย เดือนไปกับความพยายามทีจ่ ะแก้ปญ ั หาเร่งด่วน นัน่ คือ กอบกูเ้ ศรษฐกิจ และภาคการเงินอเมริกา ในทีส่ ดุ เมือ่ เดือนมิถนุ ายน 2009 รัฐบาลโอบามา ก็ออกมาประกาศเค้าโครงข้อเสนอเชิงนโยบายของรัฐบาล อันเป็น ก้าวแรกสู่การ ‘ยกเครื่อง’ ระบบการกำ�กับดูแลภาคการเงินครั้งใหญ่ เป้าหมายของแผนการปฏิรูประบบการกำ �กับดูแลครั้งนี้ ใน คำ�พูดของ ทิม ไกธ์เนอร์ และ ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส สอง ‘สถาปนิก’ ด้าน การเงินคนสำ�คัญในรัฐบาล ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ The Washington Post วันที่ 14 มิถุนายน 2009 คือ “...การสร้างระบบกำ�กับดูแลที่มี เสถียรภาพกว่าเดิม มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิผลกว่าเดิม ระบบที่ สามารถพิทกั ษ์ผลประโยชน์จากนวัตกรรมทางการเงิน ในขณะทีป่ กป้อง คุ้มครองระบบจากความโลภของตัวเอง” ชุดข้อเสนอดังกล่าวจะต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะมีผลบังคับใช้ ในทางกฎหมาย และแน่นอนว่าหน้าตาของชุดกฎเกณฑ์ทสี่ ภาคองเกรส อนุมัติจะแตกต่างอย่างมากจากเค้าโครงข้อเสนอของรัฐบาล เนื่องจาก 37 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 37

3/20/11 8:35 PM


เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ส่งผลกระทบกว้างไกล และมีข้อถกเถียงไม่ สิน้ สุด โดยเฉพาะระหว่างนักเศรษฐศาสตร์ฝา่ ยขวาหลายคนทีม่ องว่าชุด ข้อเสนอดังกล่าวมอบอำ�นาจให้รัฐแทรกแซงภาคการเงินมากเกินไป กับนักเศรษฐศาสตร์ฝา่ ยซ้ายอีกหลายคนทีม่ องกลับกันว่า อำ�นาจของรัฐ ในข้อเสนอชุดนีย้ งั ไม่ถอนรากถอนโคนระบบเก่าเท่าทีค่ วร เป็นการ ‘ปะผุ’ ระบบเก่ามากกว่าสร้างระบบขึ้นมาใหม่ ไม่วา่ ผลของการต่อสูแ้ ละล็อบบีใ้ นสภาจะเป็นอย่างไร คงไม่มใี คร ปฏิเสธว่า ภาวะผ่อนปรนกฎเกณฑ์และปล่อยให้ ‘กลไกตลาด’ จัดการ ตัวเอง ซึง่ เป็นกระบวนทัศน์น�ำ ของโลกตัง้ แต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมานัน้ ได้ปิดฉากลงแล้วอย่างบริบูรณ์ สาระสำ�คัญ 4 ประการในเค้าโครงข้อเสนอของรัฐบาลโอบามา ได้แก่ 1. เพิ่ ม อำ � นาจการกำ � กั บ ดู แ ลสถาบั น การเงิ น ขนาดยั ก ษ์ – ธนาคารกลางของอเมริกาหรือเฟด (Fed ย่อมาจาก Federal Reserve Board) จะมีอำ�นาจมากขึ้นในการกำ�กับดูแลสถาบันการเงินขนาดยักษ์ และรัฐบาลจะเสนอกระบวนการทีจ่ ะให้รฐั มีอำ�นาจเข้าไปควบคุมสถาบัน การเงินขนาดยักษ์ที่สุ่มเสี่ยงว่าจะก่อวิกฤตการเงิน หลังจากที่กรณี ล่มสลายของสถาบันการเงินที่ ‘ใหญ่จนปล่อยให้ลม้ ไม่ได้’ อย่าง Lehman Brothers และ Bear Stearns ซึง่ เฟดไม่เคยมีอ�ำ นาจควบคุมเพราะไม่ใช่ ธนาคารพาณิชย์ มีส่วนทำ�ให้วิกฤตการเงินส่งผลกระทบรุนแรงกว่าเดิม นอกจากนี้ รัฐบาลจะทบทวนกฎการกันทุนสำ�รองและสภาพคล่องขัน้ ตํา่ สำ�หรับสถาบันการเงินขนาดยักษ์เพื่อดูว่าควรเพิ่มมากน้อยเพียงใด 2. ปิดช่องโหว่ในระบบการกำ�กับดูแล – ก่อนหน้านี้รัฐบาล โอบามาล้มเลิกแผนเดิมที่จะก่อตั้งหน่วยงานรัฐใหม่ถอดด้ามเพื่อกำ�กับ ดูแลสถาบันการเงินทุกรูปแบบ (consolidated supervision) ไปแล้ว หลังจากที่เผชิญกับแรงต้านมากมาย ตอนนี้เปลี่ยนเป็นเสนอว่ารัฐควร จัดตั้ง ‘สภากำ�กับดูแลบริการทางการเงิน’ ชื่อ Financial Services 38 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 38

3/20/11 8:35 PM


Oversight Council มีสมาชิกจากหน่วยงานกำ�กับดูแลต่างๆ เพื่อร่วม กันประเมินความเสี่ยงเชิงระบบ ค้นหาและอุดช่องโหว่ในกฎระเบียบ และสือ่ สารกับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐได้ดกี ว่าเดิม นอกจากนี้ รัฐบาลยัง เสนอให้ยกเลิกกฎหมายสถาบันออมทรัพย์ ซึ่งหมายความว่าสำ�นักงาน กำ�กับดูแลสถาบันออมทรัพย์ (Office of Thrift Supervision) ของรัฐบาล กลางจะถูกยุบเลิกไปโดยปริยาย และกำ�หนดว่าที่ปรึกษาของกองทุน เฮดจ์ฟันด์และบริษัทร่วมทุน (private equity) จะต้องขึ้นทะเบียนกับ คณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อเมริกา การยุบเลิกสำ�นักงานกำ�กับดูแลสถาบันออมทรัพย์เป็นข้อเสนอ ที่ สำ � คั ญ ยิ่ ง (อยู่ ใ นแผนการปฏิ รู ป ระบบการกำ� กั บ ดู แ ลที่ รั ฐ บาลบุ ช เคยเสนอเมือ่ ต้นปี 2008 ด้วย) เพราะปัญหาทีเ่ รียกว่า ‘การฉวยโอกาสจาก ความเหลือ่ มลํา้ ในระบบกำ�กับดูแล’ (regulatory arbitrage) นัน้ เป็นสาเหตุ หนึ่งที่ทำ�ให้วิกฤตการเงินครั้งนี้รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็น กรณีล่มสลายของ AIG (American International Group) เป็น กรณีศกึ ษาระดับคลาสสิกในประเด็นนี้ กล่าวคือ AIG ซึง่ ทำ�ธุรกิจประกัน เป็นหลัก ได้เคยซือ้ สถาบันออมทรัพย์ (savings & loan) เล็กๆ แห่งหนึง่ ในอเมริกา บริษัทแม่ขนาดยักษ์คือ AIG จึงสามารถจัดการให้ตัวเองอยู่ ภายใต้การกำ�กับดูแลของสำ�นักงานกำ�กับดูแลสถาบันออมทรัพย์ ซึง่ เป็น หน่วยงานกำ�กับดูแลขนาดย่อมทีไ่ ม่มที งั้ ความเชีย่ วชาญ กฎเกณฑ์ และ กำ�ลังคนพอที่จะควบคุมสถาบันที่ใหญ่กว่าออมทรัพย์เล็กๆ กลายเป็น สถานการณ์ทไี่ ม่ตา่ งจากให้เห็บดูแลช้างทีม่ นั เกาะอยู่ ผลทีเ่ กิดขึน้ คือฝ่าย การเงินของ AIG ในกรุงลอนดอน สามารถขาย ‘นวัตกรรมทางการเงิน’ ที่เป็นชนวนแห่งความล่มสลายของบริษัท ชื่อ Credit Default Swap (CDS) ทัว่ โลกอย่างไร้การกำ�กับดูแลใดๆ นอกจาก AIG แล้วก็มสี ถาบัน การเงินอีกจำ�นวนมาก โดยเฉพาะสถาบันการเงินทีป่ ล่อยสินเชือ่ ซับไพรม์​์ ที่ฉวยโอกาสแบบเดียวกัน (ประเด็นเรื่อง regulatory arbitrage และข้อถกเถียงที่ว่า 39 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 39

3/20/11 8:35 PM


“นวัตกรรมทางการเงิน” บางประเภทอย่าง CDS นั้นอันตรายจนไม่ควร ให้ซื้อขายกันเลยหรือไม่ ยังมีเรื่องสนุกๆ อีกมาก ผู้เขียนจะทยอยเล่า ในโอกาสต่อไป) 3. มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคบริการทางการเงิน – ในเมื่อ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินหลายประเภท โดยเฉพาะสินเชื่อซับไพรม์​์ ได้ พิสจู น์ให้เห็นแล้วว่ามีอนั ตรายไม่ตา่ งจากสินค้าชนิดอืน่ ๆ รวมทัง้ มีความ ไม่โปร่งใส เขียนด้วยภาษาคลุมเครือเข้าใจยาก และเงือ่ นไขทีห่ ลอกลวง หรือปิดบังข้อมูลที่จำ�เป็นต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค จึงไม่น่าแปลกใจ ทีร่ ฐั บาลโอบามาจะเสนอให้กอ่ ตัง้ หน่วยงานรัฐใหม่เพือ่ คุม้ ครองสิทธิของ ผู้ บ ริ โ ภคบริ ก ารทางการเงิ น (รั ฐ บาลบุ ช ก็ เ คยเสนอเรื่ อ งนี้ เ ช่ น กั น ) นอกจากจะมีหน้าที่กำ�กับดูแลผู้ให้บริการทางการเงินให้เปิดเผยข้อมูล ที่ถูกต้องและไม่บิดเบือนแล้ว หน่วยงานนี้ยังจะทำ�หน้าที่ช่วยเหลือให้ ความรู้แก่ผู้บริโภค ให้เข้าใจผลพวงจากการตัดสินใจทางการเงินของ ตัวเอง และทำ�ให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่มี ความเสี่ยงตํ่ากว่าถ้าต้องการ 4. กำ�กับดูแลตลาดแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (securitization) – ปัญหาส่วนหนึง่ ทีเ่ ป็นชนวนของวิกฤตการเงินรอบนีเ้ กิดขึน้ นอก ระบบธนาคารพาณิชย์ ในตลาดแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่มีการ กำ�กับดูแลน้อยกว่า ในแผนของรัฐบาลโอบามา รัฐจะเข้ามากำ�กับดูแล ตลาดด้วยการกำ�หนดว่าเครื่องมือทางการเงินที่ซับซ้อนอย่างเช่น CDS และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ ที่ซื้อขายกันตัวต่อตัว จะต้องซื้อขายกันใน ตลาดหลักทรัพย์เท่านัน้ (exchange) เพือ่ เสริมสร้างความโปร่งใสและเอือ้ ให้ประเมินความเสี่ยงเชิงระบบ (systemic risk) ได้ นอกจากนี้ บริษัท ผู้ออกสินเชื่อที่แปลงเป็นหลักทรัพย์จะถูกบังคับให้มีส่วนได้เสียในตลาด ด้วยการเก็บความเสี่ยงของเครดิต (credit risk สะท้อนความสามารถ ในการชำ�ระหนี้ของลูกหนี้) ไว้กับตัวเองไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 หลังจาก ที่ขายหลักทรัพย์นั้นในตลาดแล้ว เพื่อลดแรงจูงใจที่จะปล่อยปละละเลย 40 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 40

3/20/11 8:35 PM


ลูกหนีจ้ นทำ�ให้ภาคการเงินมีแต่ ‘เจ้ามือ’ ไม่มี ‘เจ้าภาพ’ เหมือนทีผ่ า่ นมา ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส ยํา้ ว่า “ข้อพิจารณาเรือ่ งเสถียรภาพ ความ ปลอดภัย และความเสีย่ งเชิงระบบจะต้องมีนาํ้ หนักในการวางแผนและวิธี คิดของสถาบันการเงินทุกแห่งมากกว่าที่แล้วมา” เวลาเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า สถาบันการเงินจะเปลี่ยน กระบวนทัศน์ในการดำ�เนินธุรกิจ จากการมุง่ ทำ�กำ�ไรสูงสุดให้กบั ผูถ้ อื หุน้ ในระยะสั้ น เพี ย งอย่ า งเดี ย ว ไปสู่ ก ระบวนทั ศ น์ ใ หม่ ที่ ใ ห้ นํ้ า หนั ก กั บ ‘เป้าหมายทางสังคม’ ระยะยาวสามประการในคำ�กล่าวของซัมเมอร์ส มากกว่าเดิม ได้จริงหรือไม่เพียงใด.

41 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 41

3/20/11 8:35 PM


เรื่องของ VaR: เมื่อทฤษฎีบดบังสามัญสำ�นึก

ถึงแม้ว่ามันจะก่อความเดือดร้อนและเสียหายมากมาย วิกฤต แฮมเบอร์ เ กอร์ ร อบนี้ ก็ เ หมื อ นกั บ วิ ก ฤตรอบอื่ น ๆ ตรงที่ มั น ช่วยขัดเกลาและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของเราเกี่ยวกับ พฤติกรรมของคน รวมทัง้ เผยให้เห็นข้อจำ�กัดและข้อบกพร่องของ ทฤษฎีการเงินที่ใช้กันในโลกจริง ด้วยเหตุนี้ นักเศรษฐศาสตร์และนักการเงินทุกคนทีเ่ ลือกอาชีพนี้ เพราะใจรัก จึงรู้สึกตื่นเต้น (แกมดีใจแต่ไม่ค่อยกล้ายอมรับ) ทุกครั้งที่ เกิดวิกฤตการเงินขนาดใหญ่ เพราะมันหมายความว่าได้เวลา ‘สังคายนา’ และ ‘รื้อสร้าง’ ทฤษฎีการเงินที่เคยรํ่าเรียนกันมาอีกครั้งหนึ่ง เป็นที่เห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า สาเหตุส�ำ คัญประการหนึ่ง ของปัญหาทั้งมวลที่สะสมจนระเบิดเป็นวิกฤตรอบนี้คือการปล่อยปละ 42 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 42

3/20/11 8:35 PM


ละเลยและผ่อนปรนกฎเกณฑ์มากเกินไปของรัฐบาลอเมริกา ที่ด�ำ เนิน อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา เราจะพบประเด็นที่น่าสนใจยิ่งกว่าถ้ามองเจตจำ�นงของรัฐบาล อเมริกันชุดก่อนๆ ในแง่ดีที่สุดว่า รัฐอาจปล่อยให้ธุรกิจการเงินดูแล ตัวเอง โดยกำ�หนดกฎเกณฑ์เพียงเล็กน้อย เพราะเชือ่ ว่าตลาดเสรีสดุ ขัว้ มีประสิทธิภาพดีทสี่ ดุ แล้ว ถึงอย่างไร ‘มือทีม่ องเห็น’ ของรัฐก็คงจะเชือ่ งช้า และล้าหลังจนก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ (ซึ่งเป็นประเด็นที่ยัง ถกเถียงกันอยู่) ลองถามให้ลึกลงไปอีกชั้นหนึ่งว่า เหตุใดธุรกิจการเงิน อเมริกาถึงล้มเหลวในการกำ�กับดูแลตัวเอง แถมยังพลอยทำ�ให้คนอื่นที่ ไม่รอู้ โี หน่อเี หน่เดือดร้อนไปทัว่ โลก ทัง้ ทีเ่ ต็มไปด้วยคนเก่งระดับหัวกะทิ จบโรงเรียนดังๆ มากมาย รํ่ารวยและมีองค์ความรู้มากพอที่จะพัฒนา ระบบบริหารจัดการความเสี่ยงที่สมบูรณ์แบบที่สุด ด้วยเทคโนโลยี สารสนเทศที่ดีที่สุดในโลก จะตอบว่า ‘ความโลภบังตา’ ก็มีส่วนถูกแต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะ คงไม่มีนักการเงินและผู้ถือหุ้นคนไหนอยากเห็นบริษัทตัวเองล่มสลาย ไม่ว่าจะโลภมากเพียงใด คำ�ถามจึงมีอยู่ว่า ระบบบริหารจัดการความ เสีย่ งของสถาบันการเงินอเมริกนั (ซึง่ ก็เป็นระบบทีใ่ ช้กนั ทัว่ โลก) มีปญ ั หา อะไร เหตุใดจึงไม่สง่ ‘สัญญาณเตือนภัย’ ในช่วงทีธ่ รุ กิจกำ�ลังบูมว่าความ เสี่ยงเพิ่มสูงจนถึงขีดอันตรายแล้ว ถ้าเปรียบสถาบันการเงินเป็นรถยนต์ เครื่องมือที่เป็นมาตรวัด ความเร็วมาตรฐานคือตัวเลขชื่อ “มูลค่าสินทรัพย์เสี่ยง” หรือ Value at Risk (ย่อว่า VaR อ่านว่า “วาร์”) ผลลัพธ์ของแบบจำ�ลองทางคณิตศาสตร์ ซึง่ ตัง้ อยูบ่ นสมมุตฐิ านว่า ตลาดการเงินมีการกระจายตัวแบบ ‘ปกติ’ เป็น รูประฆังคว่ำ� (normal distribution) และเราสามารถใช้อดีตพยากรณ์ อนาคตได้ ในมุมมองของ ปาโบล ตรีอานา (Pablo Triana) นักค้าตราสาร อนุพนั ธ์ชอื่ ดัง คอลัมนิสต์ และอาจารย์ สมมุตฐิ านทีไ่ ม่สอดคล้องกับโลก จริงทั้งสองข้อนี้เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ท�ำ ให้ VaR ฉายภาพความเสี่ยง 43 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 43

3/20/11 8:35 PM


ที่ตํ่าเกินไปมาก ทำ�ให้สถาบันการเงินเข้าใจผิด คิดว่าสถานการณ์ยัง ปลอดภัยอยู่ ข้อบกพร่องของ VaR ทำ�ให้มันเหมือนกับมาตรวัดความเร็วที่ บอกว่าเรายังวิ่งด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่เรากำ�ลัง เหยียบเกินพิกัดและเครื่องยนต์ก็ร้อนจนจะระเบิดแล้ว ในหนังสือเรื่อง Lecturing Birds on Flying (สอนนกเรือ่ งบิน) ตรีอานาเปรียบเปรยอย่าง แสบสันต์กว่านัน้ อีกว่า VaR เหมือนกับถุงลมนิรภัยในรถยนต์ทใี่ ช้การได้ ดีตลอดเวลา ยกเว้นเวลาที่คนขับประสบอุบัติเหตุ ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวที่ เราจำ�เป็นจะต้องใช้มันที่สุด ในบทความชื่อ “President Obama, Please Kill VaR” ตีพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์ออนไลน์ Huffington Post เมือ่ วันที่ 25 มิถนุ ายน 25522 ตรีอานาอธิบายเหตุผลที่ผู้กำ�กับดูแลภาครัฐและทุกฝ่ายจะต้องเลิกใช้ เครื่องมือตัวนี้ไปอย่างสิ้นเชิง อย่างรวบรัดและเข้าใจง่าย ผู้เขียนจึงแปล และเรียบเรียงบทความดังกล่าวมาเล่าสู่กันฟังดังต่อไปนี้ – “ถ้าผมบอกคุณว่าตัวการทีแ่ ท้จริงทีอ่ ยูเ่ บือ้ งหลังวิกฤตสินเชือ่ คือ เครือ่ งมือทางคณิตศาสตร์ตวั หนึง่ ทีช่ อื่ Value at Risk ล่ะครับ คุณจะคิด อย่างไร? และถ้าผมบอกว่าเครื่องมือนี้ได้รับการสนับสนุน ยอมรับ และ บังคับใช้โดยหน่วยงานกำ�กับดูแลภาคการเงินมานานกว่าหนึง่ ทศวรรษ? ถ้าผมบอกว่าผู้กำ�หนดนโยบายยังสนับสนุนให้ใช้มันอย่างกระตือรือร้น ไม่ลดความลิงโลดลงเลยแม้เพียงเสี้ยวกระผีก ทั้งๆ ที่ข้อบกพร่องเชิง โครงสร้างและศักยภาพของ VaR ในการก่อหายนะนั้นเป็นข้อเท็จจริง ที่รับรู้กันทั่วไป? คุณจะไม่รู้สึกว่าถูกคนที่มีหน้าที่พิทักษ์ความปลอดภัย ของเราโกงหรือ? หน่วยงานกำ�กับดูแลภาครัฐจะสาปแช่งให้เราตกนรก เศรษฐศาสตร์ดว้ ยการใช้สงิ่ ประดิษฐ์ทางทฤษฎีทตี่ งั้ อยูบ่ นความเข้าใจผิด และเป็นอันตรายถึงตายหรือ? เราไม่ควรเปลีย่ นแปลงสถานการณ์นเี้ ลย หรื อ อย่ า งไร? นั ก การเมื อ งผู้ มี อำ � นาจไม่ ค วรจั บ ประเด็ น นี้ เ ลย อย่างนั้นหรือ? 44 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 44

3/20/11 8:35 PM


“ขอให้ผมอธิบายว่าเจ้า VaR นีก้ อ่ ให้เกิดวิกฤตอย่างไร – ในฐานะ กลไกทีห่ น่วยงานกำ�กับดูแลให้การรับรองว่าเป็นวิธคี �ำ นวณทุนทีส่ ถาบัน การเงินต้องกันเอาไว้เพือ่ การค้าหลักทรัพย์ในตลาด (นัน่ คือ ปริมาณทุน ทีต่ อ้ งวางเป็น ‘เดิมพัน’ ก่อนทีจ่ ะเล่นเกมตลาดได้) VaR ทำ�ให้วอลล์สตรีท เขมือบหลักทรัพย์พิษร้ายแรงทั้งหลาย ที่ในที่สุดก็ดิ่งเหวและก่อความ วุน่ วาย เนือ่ งจากตัวเลข VaR มีคา่ ตํา่ มากๆ (อย่างไม่สะท้อนสถานการณ์ ที่แท้จริง) ในช่วงเวลาที่สะสมความเสี่ยงจนเกิดปัญหาราวกลางปี 2007 วอลล์สตรีทจึงต้องสำ�รองทุนน้อยนิดเดียวในการสะสมหลักทรัพย์อา้ งอิง สินเชื่อซับไพรม์​์ที่เรียกว่า CDO จำ�นวนหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ “เจ้า VaR ตัวนีบ้ อกว่าถ้าคุณอยากจะเขมือบของไร้สภาพคล่อง (ผลตอบแทนสูง) ทัง้ หลาย คุณก็ตอ้ งวางหลักประกันแค่นดิ เดียว พอบอก อย่างนี้บริษัทวาณิชธนกิจทั้งหลายก็ทำ�ตามอย่างจริงจัง ผู้เชี่ยวชาญ บางคนประเมินว่าในกรณีของสถาบันการเงินบางแห่ง (ที่ใช้ VaR) ทุน เกี่ยวกับกิจกรรมในตลาดที่ต้องกันไว้ตามกฎเกณฑ์ของทางการนั้นมี มูลค่าเพียงร้อยละ 1 (หรือน้อยกว่านัน้ อีก) ของมูลค่าพอร์ตลงทุนทัง้ หมด นั่นหมายถึงหนี้ที่สูงลิบลิ่ว (leverage หมายความว่าใช้เงินกู้มหาศาลใน การลงทุน เพราะใช้ทนุ หรือเงินของตัวเองแค่นดิ เดียว) ถ้ากูรทู งั้ หลายบ่น กันหนาหูเกี่ยวกับระดับหนี้ต่อส่วนทุน 30 ต่อ 1 ที่วอลล์สตรีทใช้ในช่วง เวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา พวกเขาจะว่าอย่างไรถ้าเห็นว่ากฎเกณฑ์ทางการ ยอมให้ใช้หนี้ต่อส่วนทุน 100 ต่อ 1 หรือแม้แต่ 500 ต่อ 1 ในกิจกรรม เก็งกำ�ไรในตลาด? “อย่าลืมว่าสิง่ ทีฆ ่ า่ เราจริงๆ คือการสะสมเดิมพันเก็งกำ�ไรทีเ่ ป็น พิษอย่างเหลือเชือ่ ด้วยเงินกูใ้ นวอลล์สตรีท ส่วนผสมของการใช้หนีเ้ ยอะๆ กับขยะพวกนั้นคือสิ่งที่ทำ�ลาย Lehman Brothers, Bear Stearns, Merrill Lynch และสถาบันการเงินอีกมากมาย นำ�ไปสูห่ ายนะทางการเงิน ที่รุนแรงที่สุดตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรง (Great Depression ในทศวรรษ 1930) แล้วอะไรกันล่ะที่สร้างความชอบธรรมให้กับส่วน 45 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 45

3/20/11 8:35 PM


ผสมที่ถึงตายอันนี้? คำ�ตอบคือ VaR – ด้วยการพ่นตัวเลขทุนที่ต้องกัน สำ�รองตามกฎทางการตํ่าสุดกู่ (ทำ�ให้การเก็งกำ�ไรแบบไม่บันยะบันยังมี ต้นทุนตํ่ามาก) “แล้วทำ�ไม VaR ถึงได้ผลิตตัวเลขที่ตํ่าขนาดนั้น? คำ�ตอบอยู่ ในวิธีคำ�นวณ อันที่จริง จุดประสงค์ของ VaR คือมันควรจะบอกผลลัพธ์ ทีแ่ ย่ทสี่ ดุ (ผลขาดทุน) ทีม่ โี อกาสเกิดจากพอร์ตลงทุน ภายใต้ระดับความ เชือ่ มัน่ ทางสถิติ (statistical confidence) ทีเ่ รากำ�หนด ปัญหาก็คอื ตัวเลข ผลขาดทุนที่มัน “พยากรณ์” นั้นมาจากการมองกระจกหลังแต่เพียง อย่างเดียว คือตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าอนาคตจะเหมือนกับอดีต แต่ใน ตลาด แน่นอนว่าอดีตไม่ใช่อารัมภบทของอนาคต และไม่มีอะไรที่จะรับ ประกันได้ว่าข้อมูลประวัติศาสตร์จะครอบคลุมความบังเอิญอันเลวร้าย ทีค่ อยดักซุม่ อยูใ่ นตรอกมืดของอาณาจักรการเงิน โดยเฉพาะถ้าคุณเชือ่ อย่างที่ VaR เชื่อว่า พฤติกรรมในตลาดกระจายตัวแบบปกติ (normal distribution) ซึง่ ไม่ยอมรับว่ามีโอกาสเกิดเหตุการณ์รนุ แรงสุดขัว้ ถ้าอดีต ที่ผ่านมาไม่นานเป็นภาวะที่สงบราบรื่น ดังที่มันเป็นจริงๆ ในช่วงเวลา ก่อนเกิดวิกฤต VaR ก็จะบอกว่าอนาคตจะสงบราบรื่นด้วย ดังนั้นจึง ไม่มีความจำ�เป็นที่จะต้องกันทุนสำ�รองสูงๆ ตลอดระยะเวลาหลายปี ก่อนกลางปี 2007 VaR ประกาศเสียงดังฟังชัดว่า “ไม่มคี วามเสีย่ ง! เชิญ เขมือบหลักทรัพย์อิงซับไพรม์​์พวกนั้นได้ตามสบาย!” อันเป็นที่มาของ อัตราส่วนหนี้ต่อทุนถึงฆาตที่ 500 ต่อ 1 “กล่าวโดยสรุปคือ ตัวเลข VaR ทีต่ าํ่ มากๆ ทำ�ให้วอลล์สตรีทรับ ความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างบ้าบิ่นมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย “ก่อนที่โลกการเงินจะใช้ VaR (ซึ่งผู้กำ�กับดูแลสถาบันการเงิน ยกขึ้นหิ้งเป็นกฎหมายราวปี 1996) ทุนสำ�รองที่ต้องกันสำ�หรับการ ซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นพิษขนาดนี้จะสูงจนทำ�ให้มันไม่คุ้มค่าสำ�หรับ นักค้าทีจ่ ะทำ� (ทุนทีต่ อ้ งกันอาจสูงถึงร้อยละ 100 ของมูลค่าสินทรัพย์เสีย่ ง แทนที่จะเป็นร้อยละ 1) ซึ่งก็จะทำ�ให้บริษัทต่างๆ ไม่สามารถเสี่ยงตาย 46 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 46

3/20/11 8:35 PM


กับเดิมพันทีเ่ สีย่ งขนาดนี้ การทีท่ างการยอมให้ใช้ VaR เท่ากับออกคำ�สัง่ ประหารชีวิตพวกเราทั้งหมด “น่าจะมีใครไปบอกนักการเมืองดังๆ ว่าเราปล่อยให้เรือ่ งนีเ้ กิดขึน้ ไม่ได้อีกแล้ว คุณจะยอมให้การคำ�นวณทุนสำ�รองเกี่ยวกับการซื้อขาย ในตลาด กิจกรรมที่ส่งผลกระทบมหาศาลต่อระบบเศรษฐกิจ ขึ้นอยู่กับ เครือ่ งมือทีป่ ระเมินความเสีย่ งตํา่ เกินไปตลอดเวลาได้อย่างไร โดยเฉพาะ ในสถานการณ์ที่มันจำ�เป็นจะต้องใช้การได้? คณะกรรมการกำ�กับหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ปล่อยให้โบรกเกอร์ในวอลล์สตรีทใช้ VaR ในการคำ�นวณต้นทุนของการผจญภัยในห้องค้าของพวกเขาตัง้ แต่ ปี 2004 ได้อย่างไร? การตัดสินใจครั้งนั้น ซึ่งบางคนเรียกว่า “กฎหมาย พิพากษาให้ Bear Stearns ล้มละลายในอนาคต” เป็นสิ่งที่ฆ่าเราพอๆ กับปัจจัยอื่น “ถึงเวลาแล้วที่ผู้มีอำ�นาจในภาคการเมืองจะชูป้าย “หยุด VaR” และสัง่ มือปราบทางการเงินให้ลม้ เลิกเครือ่ งมืออันตรายตัวนีไ้ ปตลอดกาล เป็นเรื่องดีที่ท่านจะใช้เวลาอนุมัติแผนต่างๆ ที่ช่วยกอบกู้เศรษฐกิจ แต่ ท่ า นไม่ อ าจปล่ อ ยรากอั น เลวร้ า ยของโรคนี้ ใ ห้ ดำ � รงอยู่ ต่ อ ไป ประธานาธิบดีโอบามาครับ กรุณายกเลิก VaR เพือ่ ช่วยให้เราหลีกเลีย่ ง การล่มสลายทำ�นองนี้อีกในอนาคต” ในเมื่อวิกฤตรอบนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า VaR ใช้การไม่ได้ใน โลกจริง คำ�ถามต่อไปคือ แล้วเราควรจะใช้อะไรแทน ประเด็นนีย้ งั ไม่มขี อ้ สรุปทีช่ ดั เจน เพราะยังเป็นเรือ่ ง ‘ใหม่’ มากในวงการ ตรีอานาเองเสนอว่า นักการเงินควรฟัง ‘ความรูส้ กึ ’ ของตัวเองให้มากขึน้ เชือ่ ผลลัพธ์ของแบบ จำ�ลองทางคณิตศาสตร์ให้น้อยลง เพราะพฤติกรรมของมนุษย์ในตลาด นั้นไม่มีเหตุมีผลถึงขั้นที่เราจะพึ่งพาวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ได้ทั้งหมด ในขณะเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์การเงินบางคนก็เชื่อว่าเราสามารถ ปรับปรุง VaR ให้มีประโยชน์จริงๆ ได้ เช่น ด้วยการปรับปรุงวิธีการ 47 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 47

3/20/11 8:35 PM


คำ�นวณให้สะท้อนโลกจริงมากขึ้น อนุรักษ์นิยมมากกว่าเดิม หรือแทนที่ VaR ไปเลยด้วยเครื่องมือใหม่ๆ ที่พยายามวัด ‘ความเสี่ยงเชิงระบบ’ ซึ่งสะสมจากพฤติกรรมของผู้เล่นแต่ละราย ไม่ว่าทางเลือกหรือทางออกจะเป็นเช่นไร ลำ�พัง ‘สามัญสำ�นึก’ ก็น่าจะเตือนสถาบันการเงินที่ตั้งหน้าตั้งตา ‘เขมือบ’ หลักทรัพย์อิง ซับไพรม์ก์ อ่ นเกิดวิกฤตนานแล้วว่า การก่อหนีส้ งู ลิว่ เพือ่ ‘หากิน’ กับผูม้ ี รายได้นอ้ ยทีผ่ อ่ นบ้านมูลค่ากว่า $700,000 ทัง้ ทีม่ รี ายได้เพียงสัปดาห์ละ $250-$300 เพราะเจ้าหนีบ้ อกว่ากูไ้ ด้ ไม่ตอ้ งวางเงินดาวน์และไม่ตอ้ งเช็ค ประวัตนิ นั้ เป็นเพียงการสร้าง ‘วิมานในอากาศ’ ทีว่ นั หนึง่ ย่อมล้มครืนลง มา ไม่ว่าตัวเลข VaR จะเชื้อเชิญให้อุ่นใจสักเพียงใด แบบนี้กระมังที่คนโบราณเรียกว่า ‘ฉลาด’ แต่ไม่ ‘เฉลียว’.

48 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 48

3/20/11 8:35 PM


ฟองสบู่หนี้กับการเติบโตแบบไม่ยั่งยืน – แง่คิดจาก Irving Fisher

หลังจากที่โลกเผชิญกับวิกฤตการเงินและวิกฤตเศรษฐกิจโลก ที่รุนแรงที่สุดในรอบ 80 ปี เมื่อเวลาล่วงเลยเข้าสู่ครึ่งหลังของปี 2009 นักวิเคราะห์หลายสำ�นักต่างพากันออกมาประสานเสียงว่า เศรษฐกิจโลกน่าจะผ่านพ้น ‘จุดตํ่าสุด’ ไปแล้ว จะว่าฟื้นก็ฟื้น แต่คำ�ถามที่ซับซ้อนกว่านั้นคือ เศรษฐกิจโลก จะกลับไปโตเท่าที่เคยเป็นก่อนเกิดวิกฤตรอบนี้ได้หรือไม่? พอล ครุกแมน (Paul Krugman) นักเศรษฐศาสตร์ในดวงใจ ของผู้เขียน หนึ่งในกูรูที่ออกมาบอกว่าเศรษฐกิจอเมริกาได้ผ่านพ้นจุด ตํ่าสุดมาแล้ว และเขียนเตือนหลายครั้งหลังจากนั้นว่าเราไม่ควรชะล่าใจ เพราะอัตราการว่างงานยังสูงกว่าร้อยละ 9 และมีแนวโน้มว่าจะยังไม่ 49 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 49

3/20/11 8:35 PM


ลดลงง่ายๆ ซึ่งถ้าอัตราการว่างงานยังไม่ลดลง ขณะที่ GDP เริ่มสูงขึ้น ก็จะเป็นภาวะแก้ยากทีน่ กั เศรษฐศาสตร์เรียกว่า “การฟืน้ ตัวแบบไร้งาน” หรือ jobless recovery ภาวะที่เศรษฐกิจ ‘ฟื้นแล้ว’ แต่อาการยังไม่น่าไว้ใจแบบนี้พาให้ ผู้เขียนนึกถึงบทความคลาสสิกชิ้นหนึ่งที่อาจารย์เคยให้อ่านสมัยเรียน ปริญญาตรี นานหลายปีก่อนฟองสบู่ดอทคอมบูมและแตก โดยอาจารย์ กล่าวอย่างติดตลกว่า ถึงแม้บทความชิ้นนี้จะพูดถึงภาวะเศรษฐกิจ ถดถอยรุนแรง ก็ใช่ว่าสถานการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นอีกไม่ได้ เพราะคน อเมริกันดูจะชอบเป็นหนี้เกินตัวกันเหลือเกิน บทความคลาสสิกทีว่ า่ นัน้ คือ Debt-Deflation Theory of Great Depressions เขียนในปี 1933 โดย เออร์วิง ฟิชเชอร์ (Irving Fisher) นักเศรษฐศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งมหาวิทยาลัยเยล ผู้ทำ�นายอย่างโด่งดัง ในปี 1929 ว่า “ราคาหุ้นได้ขึ้นไปอยู่ระดับสูงอย่างถาวรแล้ว” ก่อนที่ ตลาดหุ้นจะดิ่งเหวภายในไม่กี่เดือนหลังจากนั้น ความมั่งคั่งส่วนตัวกว่า 6 ล้านเหรียญ บริษัทวาณิชธนกิจที่เขาก่อตั้ง และชื่อเสียงที่หายวับไป โดยพร้อมเพรียงกัน เป็นแรงบันดาลใจให้เขาลงมือวิเคราะห์เบื้องลึก ของวิกฤตครั้งนี้อย่างจริงจัง จนค้นพบกลไกที่ทำ�ให้เขาเปลี่ยนความคิด เกีย่ วกับ ‘ธรรมชาติ’ ของเงินและตลาดการเงิน และยอมรับว่าก่อนหน้านี้ เขาคิดผิด ในบทความชิน้ นี้ ฟิชเชอร์คดั ง้างนักเศรษฐศาสตร์ส�ำ นักเสรีนยิ ม ใหม่หรือชิคาโกที่เชื่อว่าตลาดเสรีมีประสิทธิภาพสูงสุดและจะเข้ากลับสู่ ดุลยภาพได้เอง ด้วยการชี้ให้เห็นว่าตลาดในโลกจริงนั้นไร้เสถียรภาพ โดยธรรมชาติ ภาวะที่เศรษฐกิจดำ�รงอยู่ในจุดดุลยภาพทางทฤษฎีแทบ ไม่เคยเกิดขึ้นจริง เขากล่าวว่า “...ในเวลาส่วนใหญ่เราจะเห็นภาวะการผลิตมากไปหรือน้อยไป การบริโภคมากไปหรือน้อยไป การใช้จ่ายมากไปหรือน้อยไป การออม มากไปหรือน้อยไป การลงทุนมากไปหรือน้อยไป และการอะไรก็แล้วแต่ 50 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 50

3/20/11 8:35 PM


มากไปหรือน้อยไป เป็นเรือ่ งไร้สาระทีใ่ ครจะคิดว่าตัวแปรต่างๆ ในส่วนใด ก็ตามของระบอบเศรษฐกิจจะ ‘อยู่นิ่งๆ’ ในภาวะดุลยภาพ ในช่วงเวลา ที่ยาวพอสมควร ไร้สาระพอๆ กับการบอกว่ามหาสมุทรแอตแลนติกจะ มีห้วงเวลาที่สงบนิ่งไร้คลื่น” ถ้าเรามองโลกปัจจุบันของเราผ่านเลนส์ของเขา เราก็จะพบว่า ประเทศรํ่ารวยสองแห่งที่ได้รับผลกระทบสูงสุดจากวิกฤตการเงินรอบนี้ นั่นคือสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ต่างก็ใช้เวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา ไปกับการผลิตน้อยเกินไป บริโภคมากเกินไป ใช้จ่ายมากเกินไป และ ลงทุนน้อยเกินไป ประกอบกันเป็นภาวะที่เอื้อต่อการก่อหนี้มากเกินไป ทำ�ให้เศรษฐกิจเสียสมดุลและสะสมความเปราะบาง จนถึงจุดที่เมื่อเกิด ความปั่นป่วนแล้วก็ไม่อาจ ‘แก้ไขตัวเอง’ ให้หลุดรอดจากวังวนของ เงินฝืดได้ (นีค่ อื เหตุผลสำ�คัญข้อหนึง่ ทีธ่ นาคารกลางสหรัฐต้องแทรกแซง ด้วยการ ‘พิมพ์เงิน’ และอัดฉีดเข้าไปในระบบ) ฟิชเชอร์ชวี้ า่ ภาวะ ‘เงินคล่อง’ (loose money หรือ easy money) เป็นสาเหตุสำ�คัญของการก่อหนี้เกินตัว เพราะ “เมื่อใดก็ตามที่นักลงทุน คิดว่าเขาสามารถทำ�กำ�ไรได้ 100 เปอร์เซ็นต์ทกุ ปีดว้ ยการกูเ้ งินดอกเบีย้ 6 เปอร์เซ็นต์มาลงทุน เขาก็จะอยากกูแ้ ละอยากลงทุนและอยากเก็งกำ�ไร ด้วยหนี”้ และคนก็จะแห่กนั ทำ�แบบนี้ ทำ�ให้เกิดฟองสบูห่ นีอ้ ย่างง่ายดาย ฟิชเชอร์สรุปทฤษฎีของเขาเกีย่ วกับหนี้ เงินฝืด และความไร้เสถียรภาพ ในเนื้อที่เพียงหนึ่งย่อหน้า “กล่าวโดยสรุป เราพบว่า (1) การเปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกิจมีทงั้ แนวโน้มทีส่ มํา่ เสมอและความปัน่ ป่วนเป็นครัง้ คราวทีเ่ ป็นหัวเชือ้ ของการ แกว่งตัวเป็นวงจรในหลากหลายรูปแบบ, (2) ความปัน่ ป่วนเป็นครัง้ คราว นำ�มาซึ่งโอกาสใหม่ๆ ในการลงทุน โดยเฉพาะกรณีที่มีนวัตกรรมใหม่, (3) ปัจจัยนี้และสาเหตุอื่นๆ บางครั้งนำ�ไปสู่ภาวะก่อหนี้เกินตัว, (4) ซึ่ง สุดท้ายคนจะต้องพยายามปลดหนีแ้ ละขายทอดตลาด, (5) นำ�ไปสูภ่ าวะ 51 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 51

3/20/11 8:35 PM


ทีร่ าคาสินค้าลดลงและค่าเงินดอลลาร์บวมขึน้ (ยกเว้นจะมีการแทรกแซง ให้เงินเฟ้อ), (6) ค่าเงินอาจบวมเร็วกว่ายอดหนี้ที่ลดลง(จากการขาย ทอดตลาด), (7) ซึง่ ถ้าเป็นเช่นนัน้ จริง การขายทอดตลาดก็ไม่ได้ท�ำ ให้หนี้ ลดลงจริงๆ แต่ท�ำ ให้เพิม่ ขึน้ (เพราะมูลค่าหนีท้ แี่ ท้จริงเพิม่ สูงขึน้ – นีค่ อื debt deflation) และด้วยเหตุนนั้ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็จะแย่ลงแทนที่ จะดีขนึ้ (คนไม่อยากบริโภคแม้ในภาวะทีร่ าคาสินค้าลดลง เพราะยังเป็น หนีท้ ว่ มหัวอยู)่ , (8) ทางออกคือปล่อยให้ตลาดเสรีจดั การ (คนจำ�นวนมาก ล้มละลาย) หรือใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ (ทำ�เงินให้เฟ้อ)” จอห์น มิลส์ (John Mills) นักเศรษฐศาสตร์รุ่นบุกเบิกที่ศึกษา วงจรของหนี้ กล่าวอย่างน่าคิดในหนังสือเรื่อง On Credit Cycles and the Origin of Commercial Panics ตีพิมพ์ปี 1867 ว่า “ภาวะตื่นกลัว เฉียบพลันไม่ได้ทำ�ลายทุน – มันเพียงแต่เผยให้เราเห็นระดับที่ทุนถูก ทำ�ลายไปแล้วก่อนหน้านีด้ ว้ ยการนำ�ไปใช้ในกิจกรรมทีไ่ ร้ผลิตภาพอย่าง สิ้นหวัง” (เขาใช้คำ�ว่า hopelessly unproductive works) ทฤษฎีของฟิชเชอร์ไม่เพียงแต่อธิบายรากสาเหตุและผลพวงของ ภาวะหนีเ้ กินตัวได้อย่างดีเยีย่ ม แต่ยงั คงใช้การได้ดกี บั ภาวะทีเ่ ราประสบ อยู่ในปัจจุบัน ประเด็นสำ�คัญคือ ถึงที่สุดแล้วหนี้ก้อนโตในวิกฤตรอบนี้ ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นทุนที่คนกู้ไปทำ�สิ่งที่เป็นประโยชน์จริงๆ เช่น ขยาย กิจการ หรือเพิม่ ประสิทธิภาพในการผลิต หากเป็นการกูไ้ ปเก็งกำ�ไรและ บริโภคเกินตัว – สอง “กิจกรรมไร้ผลิตภาพ” อย่างแน่นอนในนิยามของ มิลส์ และในเมือ่ ทุนถูกจัดสรรไปในกิจกรรมทีไ่ ร้ผลิตภาพ ก็แปลว่าลูกหนี้ จะประสบความยากลำ�บากมากในการหาเงินมาใช้หนี้ (เพราะมีความ สามารถในการใช้หนี้น้อยมากหรือไม่มีเลยตั้งแต่แรก) ใครก็ตามที่คิดว่าปัญหาหนี้เกินตัวในวิกฤตรอบนี้ไม่รุนแรง เท่ากับสมัยภาวะเศรษฐกิจถดถอยในทศวรรษ 1930 ผูเ้ ขียนขอแนะนำ�ให้ ดูแผนภูมเิ ปรียบเทียบปริมาณหนีต้ อ่ จีดพี ใี นอเมริกา ตัง้ แต่ปี 1920 จนถึง ปลายปี 2008 รวบรวมโดยนักวิเคราะห์นาม เน็ด เดวิส (Ned Davis) แห่ง Ned Davis Research – 52 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 52

3/20/11 8:35 PM


จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าระดับหนี้ต่อจีดีพีในช่วงปี 1934-1935 พุ่งขึ้นไปถึง 2.6 เท่าของจีดีพี แต่ก็ยังน้อยกว่าหนี้ต่อจีดีพี ณ ปลายปี 2008 ซึง่ สูงถึง 3.5 เท่า เดวิสคำ�นวณว่าตอนนีอ้ เมริกาต้องใช้หนีถ้ งึ $6 ใน การผลิตจีดพี มี ลู ค่า $1 สูงกว่าหนีท้ ตี่ อ้ งใช้ในทศวรรษ 1990 เกือบสองเท่า เมื่ อ คำ � นึ ง ถึ ง บทความชิ้ น เอกของฟิ ช เชอร์ ที่ ยั ง อธิ บ ายโลก ปั จ จุ บั น ได้ ดี เ พราะความโลภของนั ก ลงทุ น ยั ง คงเดิ ม ไม่ แ ปรเปลี่ ย น ประกอบกับภาวะหนีเ้ กินตัวของอเมริกา ปลายทางอันดับหนึง่ ของสินค้า นานาชนิดที่ประเทศอื่นๆ มุ่งผลิตเพื่อปรนเปรอคนอเมริกันที่กู้หนี้มา บริโภค ประกอบกับภาวะสิง่ แวดล้อมเสือ่ มโทรมลงเรือ่ ยๆ และระบบนิเวศ เริ่มไม่สามารถรองรับการบริโภคไร้ขีดจำ�กัดของมนุษย์ คำ�ถามสำ�คัญ 53 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 53

3/20/11 8:35 PM


ตอนนี้จึงไม่ใช่ “เศรษฐกิจโลกฟื้นแล้วหรือยัง” เพราะมันไม่มีทางกลับไป อยู่จุดเดิมที่ไม่ยั่งยืนได้อีก เพราะคนอเมริกันต้องใช้เวลาอีกนานในการ ลดภาระหนี้ ระหว่างนี้ใครจะอยากบริโภคอย่างมือเติบเหมือนเก่า ถ้าเรายังไม่เปลีย่ นวิธคี ดิ ฟองสบูห่ นีแ้ ละวิกฤตการเงินรอบใหม่ อาจกำ�ลังรออยู่เบื้องหน้าในประเทศ ‘เศรษฐีใหม่’ ทั้งหลายที่กู้เงินได้ถูก แสนถูกในอเมริกา ฟองสบูท่ กุ ลูกกำ�เนิดในปัจจัยพืน้ ฐานทีน่ า่ เชือ่ ถือเสมอ ดังนัน้ คำ�ถามสำ�คัญทีเ่ ราน่าจะครุน่ คิดกันตอนนีค้ อื จะทำ�อย่างไร ให้ภาคการเงินเลิกกระพือการกูห้ นีเ้ กินตัวไปทำ�กิจกรรมไร้ผลิตภาพ และ ให้คนส่วนใหญ่ยอมเปลีย่ นพฤติกรรม บริโภคให้ ‘น้อยลง’ และ ‘ฉลาดขึน้ ’ เพื่อความยั่งยืนของโลกและมนุษยชาติ.

54 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 54

3/20/11 8:35 PM


อิทธิพลของ ‘เศรษฐกิจกาสิโน’ และข้อเรียกร้องของอังก์ถัด

องค์การการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development: อังก์ถดั ) ได้ออกรายงานการค้าและการพัฒนา (Trade and Development Report) ประจำ�ปี 2009 ในเดือนกันยายนปีเดียวกัน ผู้เขียนเก็บบางประเด็นที่กล่าวถึงในรายงานฉบับนี้มาเล่าสู่ กันฟัง เพราะคิดว่าน่าสนใจและบ่งชี้ ‘หัวใจ’ ของวิวาทะโลกเกีย่ วกับการ ยกเครื่องระบบการเงินได้เป็นอย่างดี ในบางมุม รายงานฉบับนี้ไม่ต่างจากรายงานภาวะเศรษฐกิจ ขององค์กรโลกบาลอื่นๆ เช่น เต็มไปด้วยตัวเลขคาดการณ์ต่างๆ และ บทประเมินมาตรการกระตุน้ เศรษฐกิจระยะสัน้ ของรัฐบาลหลายประเทศ 55 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 55

3/20/11 8:35 PM


แต่สิ่งที่ทำ�ให้รายงานของอังก์ถัดน่าสนใจกว่ารายงานส่วนใหญ่ คือ บท วิเคราะห์เจาะลึกรากสาเหตุของปัญหาที่ไปไกลกว่าการกล่าวโทษความ หละหลวมของระบบกำ�กับดูแลภาครัฐหรือความโลภของนักการเงิน ข้อเสนอทีอ่ งั ก์ถดั สรุปอย่างไม่ออ้ มค้อมในรายงานคือ โลกจะต้อง ‘รื้อสร้าง’ ระบบการเงินครั้งใหญ่ เพื่อให้การเงินรับใช้เศรษฐกิจจริง แทนที่จะรับใช้แต่ตัวเองจนเศรษฐกิจจริงเสียหายอย่างที่ผ่านมา และ ถ้าภาคเอกชนไม่ท�ำ การรื้อสร้างดังกล่าวเอง ก็จ�ำ เป็นที่รัฐจะต้องเข้ามา แทรกแซงด้วยการออกกฎเกณฑ์ใหม่ๆ และกำ�กับดูแลตลาดการเงิน อย่างเข้มงวดกว่าที่แล้วมา ‘ตัวการหลัก’ ที่ก่อให้เกิดวิกฤตรอบล่าสุดในสายตาของอังก์ถัด คือพฤติกรรมเก็งกำ�ไรและเสี่ยงเกินตัวมหาศาล – ‘เศรษฐกิจกาสิโน’ ทีถ่ กู หนุนเสริมอย่างไร้ขอบเขตด้วยกระแสการผ่อนปรนกฎเกณฑ์ก�ำ กับ ดูแล ประกอบกับนวัตกรรมเครื่องมือทางการเงินที่สลับซับซ้อนเกิน ความเข้าใจของคนธรรมดา และแม้แต่ผู้บริหารสถาบันการเงินที่เป็น ‘ผู้มีอำ�นาจควบคุม’ นักการเงินแต่ในทฤษฎี ในทางปฏิบัติกลับไม่เคยรู้ เท่าทันลูกน้องของตัวเองว่ากำ�ลังเอาเงินของบริษัทหรือลูกค้าไปเสี่ยง แค่ไหนอย่างไร เศรษฐกิ จ กาสิ โ นที่ ก่ อ ความเสี ย หายในสายตาของอั ง ก์ ถั ด ไม่ได้เกิดเฉพาะในตลาดสินเชื่อซับไพรม์​์กับตราสารอนุพันธ์ที่อิงกับ สินเชือ่ เหล่านัน้ แต่ยงั เกิดขึน้ อย่างแพร่หลายในตลาดอืน่ อีกหลายตลาด ที่คนนอกภาคการเงินไม่ค่อยรู้จัก โดยเฉพาะตลาดสินค้าโภคภัณฑ์และ ตลาดเงินตราระหว่างประเทศ รายงานอังก์ถดั ชีว้ า่ เศรษฐกิจกาสิโนในตลาดเหล่านีไ้ ด้ลม่ สลาย ลงแล้ว เหลือเพียงหนี้สินและหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ปริมาณมหาศาล เพราะผู้เล่นส่วนใหญ่ในตลาดเหล่านี้ไม่ได้เก็งกำ�ไรด้วยเงินของตัวเอง แต่ด้วยเงินที่กู้มาจากคนอื่น โดยเฉพาะที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศ

56 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 56

3/20/11 8:35 PM


ปัญหาคือการเก็งกำ�ไรในเศรษฐกิจกาสิโนไม่ต่างจากการพนัน ในกาสิโนปกติ คือต้องมีคนเสียและคนได้ ผลกำ�ไรสุทธิเท่ากับศูนย์ ภาษา เศรษฐศาสตร์เรียกว่า “zero-sum game” แต่นักเก็งกำ�ไรในเศรษฐกิจ กาสิโนทุกคนหวังว่าจะได้กำ�ไร การที่พวกเขาพนันกับ ‘ของจริง’ ใน เศรษฐกิจจริงอย่างเช่นที่อยู่อาศัยและโภคภัณฑ์ ไม่ใช่ชิปพลาสติกใน กาสิโนนั้น มีส่วนสร้างความเชื่อว่ากาสิโนแห่งนี้จะส่งมอบผลกำ�ไรได้ไป เรื่อยๆ แต่หลังจากที่พีระมิดแห่งการเก็งกำ�ไรพังทลายลง ข้อเท็จจริงก็ ปรากฏว่าความเชื่อดังกล่าวเป็นเพียงมายาคติ หาใช่ความจริงไม่ อังก์ถัดระบุว่า การเก็งกำ�ไรทั้งหลายนี้มีมูลค่าสูงถึงร้อยละ 89 ของมูลค่าเศรษฐกิจทั้งระบบ หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ มูลค่าที่สร้างใน ‘เศรษฐกิจจริง’ ทีผ่ ลิตสินค้าและบริการนัน้ มีเพียงร้อยละ 11 หรือน้อยกว่า มูลค่าของกิจกรรมเก็งกำ�ไรเกือบ 9 เท่า ภาวะดังกล่าวส่งผลเสียต่อ เศรษฐกิจจริงสองทางด้วยกัน คือ 1. บิดเบือนแรงจูงใจของนักลงทุน ให้อยากเก็งกำ�ไรในเศรษฐกิจกาสิโนมากกว่าที่จะลงทุนในเศรษฐกิจจริง ซึ่งเป็น ‘ของแท้’ ที่ยั่งยืนกว่าและเป็นประโยชน์ต่อสังคมมากกว่า และ 2. ทำ�ให้ราคาในเศรษฐกิจจริงที่นักลงทุนนำ�ไปเก็งกำ�ไรในเศรษฐกิจ กาสิโน โดยเฉพาะโภคภัณฑ์ทสี่ �ำ คัญต่อชีวติ ความเป็นอยูข่ องผูค้ นอย่าง นํา้ มันและธัญพืช มีความผันผวนและความไม่แน่นอนสูงมาก ทัง้ ยังเพิม่ ต้นทุนให้กบั ผูผ้ ลิตและทำ�ให้ผมู้ รี ายได้นอ้ ย อาทิ เกษตรกรรายย่อย ต้อง เดือดร้อนโดยไม่รอู้ โี หน่อเี หน่ โดยเฉพาะในประเทศกำ�ลังพัฒนาทีร่ ายได้ ส่วนใหญ่มาจากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่นักลงทุนชอบเก็งกำ�ไร ด้ ว ยเหตุ นี้ อั ง ก์ ถั ด จึ ง แนะนำ� ว่ า ประเทศกำ� ลั ง พั ฒ นาผู้ ผ ลิ ต สินค้าโภคภัณฑ์น่าจะเรียกร้องระบบการเงินใหม่ที่สามารถยับยั้งภาวะ ฟองสบู่กำ�ไรที่เกิดจากการเก็งกำ�ไรเกินควร เพราะภาวะดังกล่าวไม่ใช่ ผลลัพธ์ของกลไกตลาดดังทีค่ วรจะเป็น (จับคูร่ ะหว่างผูข้ ายและผูซ้ อื้ ทีซ่ อื้ ไปบริโภคจริงๆ ไม่ใช่เก็งกำ�ไรเฉยๆ) และก็ไม่ใช่ผลลัพธ์ที่สังคมพึง ประสงค์ด้วย ตลาดที่ส่งผลลัพธ์สุดกู่ไร้เหตุผลเช่นนี้ไม่ควรดำ�รงอยู่ 57 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 57

3/20/11 8:35 PM


และฝ่ายเดียวที่จะมีอำ�นาจจัดการได้คือรัฐบาล ซึ่งต้องอาศัยความร่วม มือระหว่างประเทศ เพราะตลาดเหล่านี้เชื่อมโยงถึงกันหมดแล้วในยุค โลกาภิวัตน์ อังก์ถดั เสนอว่า การกำ�กับดูแลตลาดโภคภัณฑ์นนั้ มีสองรูปแบบ หลักด้วยกัน คือ 1. ลดระดับการมีสว่ นร่วมของภาคการเงิน เช่น ด้วยการ เพิ่มอัตราส่วนทุนที่ต้องกันสำ�รอง และ 2. เพิ่มมาตรการแทรกแซงของ ภาครัฐ เช่น ถ้าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงผิดปกติมาก รัฐบาลก็ ควรเปิด ‘หีบสงคราม’ (war chest) ที่เต็มไปด้วยโภคภัณฑ์หลัก นำ�มา แทรกแซงตลาดเพือ่ เพิม่ ขีดความเสีย่ งของนักเก็งกำ�ไรจนล่าถอย ประเด็น ทีส่ �ำ คัญคือ เป้าหมายของมาตรการเหล่านีอ้ ยูท่ กี่ ารลดระดับผลตอบแทน จากการเก็งกำ�ไร นักเก็งกำ�ไรจะได้ไม่อยากเข้ามา ‘เล่น’ ในตลาดนี้มาก เท่ากับเมือ่ ก่อน ซึง่ ก็จะช่วยให้ตลาดมีเสถียรภาพมากขึน้ ราคาในตลาด สะท้อนปัจจัยพืน้ ฐานของเศรษฐกิจจริงดีขนึ้ บริษทั จริงและประชาชนจริง หายใจคล่องกว่าเดิม และสร้างสำ�นึกให้กับนักการเงินอย่างน้อยก็บาง ส่วนว่า การเงินมีหน้าที่รับใช้เศรษฐกิจจริง ไม่ใช่กลับข้างกัน ประเด็นสำ�คัญที่รายงานอังก์ถัดชี้ให้เห็นคือ วิกฤตการเงินและ เศรษฐกิจรอบนี้ชี้ให้เห็นว่า การปล่อยให้ตลาดการเงินทำ�งานอย่างเสรี นั้นไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น เราจะต้องมาทบทวนและปรับเปลี่ยนลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ และตลาดเสียใหม่ ด้วยเหตุนี้ มาตรการต่างๆ ทีก่ ลุม่ G20 ประกาศจนถึง ปัจจุบันยังไม่เพียงพอ และการปฏิรูประบบการกำ�กับดูแลภาคการเงิน จะต้องทำ�อย่างเป็นระบบ ทั้งในตลาดระดับประเทศและระบบการเงิน ระหว่างประเทศ ว่ากันตามจริง การเก็งกำ�ไรนั้นไม่ใช่สิ่งชั่วร้ายหากมองในแง่ หลักการ เพราะมันเป็นโอกาสให้คนธรรมดาเพิม่ รายได้และขยายฐานเงิน ออม และนักเก็งกำ�ไรหลายคนก็เก็งกำ�ไรอย่างสุจริตและมีเหตุมผี ล คำ�นึง 58 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 58

3/20/11 8:35 PM


ถึงปัจจัยพื้นฐานของสิ่งที่เข้าไปลงทุนประกอบกับจังหวะที่น่าลงทุน แต่ในยุคทีก่ ารเก็งกำ�ไรด้วยเงินของคนอืน่ นัน้ มีสดั ส่วนถึงร้อยละ 89 ของมูลค่าเศรษฐกิจโลก และสิ่งที่เก็งกำ�ไรกันนั้นหลายส่วนเป็น โภคภัณฑ์ที่จำ�เป็นต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ในโลก อาทิ อาหารและนํา้ มัน ข้อเสนอของอังก์ถดั ทีก่ ล่าวไปข้างต้นก็เป็นเรือ่ งน่าคิด ทีไ่ ม่ควรถูกมองข้าม และคงจะจุดประกายวิวาทะเรือ่ งการยกเครือ่ งระบบ การเงินไปอีกนาน บทเรียนบทหนึ่งจากอรรถาธิบายของอังก์ถัดเรื่อง ‘เศรษฐกิจ กาสิโน’ คือ หลายเรื่องที่เราคิดว่า ‘ดี’ นั้น เอาเข้าจริงก็ไม่ได้ดีอย่าง ไร้เงื่อนไขและไร้ขีดจำ�กัด แถมเมื่อพอกพูนสะสมถึงจุดหนึ่งแล้วอาจ ก่อผลเสียต่อส่วนรวมมากกว่าผลดีก็เป็นได้ เหนือสิ่งอื่นใด รายงานของอังก์ถัดตอกยํ้าให้เห็นอีกครั้งว่า ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของตลาดการเงินนั้น ไม่อาจเกิดขึ้นเองได้โดย อัตโนมัตหิ ากปราศจากกฎกติกาทีช่ ดั เจน เหมาะสม เป็นธรรม และสร้าง แรงจูงใจให้กับผู้เล่นในทางที่สอดคล้องกับประโยชน์ส่วนรวม.

59 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 59

3/20/11 8:35 PM


กฎหมายปฏิรปู ภาคการเงินอเมริกนั : สาระสำ�คัญและข้อถกเถียง

หลังจากทีผ่ า่ นการถกเถียงอย่างถึงพริกถึงขิงและก้นบึง้ ของปรัชญา ว่าด้วยทุนนิยมต่อเนื่องนานหลายเดือน ในที่สุดกฎหมายปฏิรูป ภาคการเงินอเมริกนั ทีม่ ชี อื่ ยาวเหยียดว่า Dodd-Frank Wall Street Reform and Consumer Protection Act ย่อว่า “กฎหมายดอดด์- แฟรงค์” ก็ผ่านวุฒิสภาและลงนามบังคับใช้โดยประธานาธิบดี บารัก โอบามา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2010 กฎหมายฉบับนีจ้ ะเป็นทีถ่ กเถียงไปอีกนานหลายปีวา่ จะช่วยแก้ ปัญหาทีน่ �ำ ไปสูว่ กิ ฤตแฮมเบอร์เกอร์ได้จริงหรือไม่เพียงใด โดยเฉพาะเมือ่ คำ�นึงว่ารัฐต้องออกกฎระเบียบตามมาอีกหลายร้อยฉบับ ผู้นิยมทุนเสรี สุดขั้วประณามว่ากฎหมายฉบับนี้เข้ามากำ�กับดูแลภาคการเงินมาก 60 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 60

3/20/11 8:35 PM


เกินควรและบั่นทอนแรงจูงใจที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเงิน ผู้ไม่นิยม ทุนเถลิงอำ�นาจมองว่ากฎหมายนี้ไม่จัดการกับปัญหาที่รากสาเหตุ และ ประนีประนอมกับผู้เล่นรายใหญ่ในภาคการเงินมากเกินไป ไม่วา่ ผลลัพธ์โดยรวมจะออกมาเป็นอย่างไร (และกว่าเราจะมอง ออกจริงๆ ก็ต้องรอให้บังคับใช้กฎหมายไปหลายปีก่อน) ประเด็นหนึ่งที่ ไม่มีใครปฏิเสธคือ กฎหมายดอดด์-แฟรงค์เป็นกฎหมายเกี่ยวกับภาค การเงินที่สำ�คัญที่สุดในอเมริกานับตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย รุนแรงในทศวรรษ 1930 เป็นต้นมา ถึงแม้วา่ จะยังไม่มใี ครตอบได้วา่ กฎหมายฉบับนีด้ หี รือไม่ดี การ วิเคราะห์และตัง้ ข้อสังเกต รวมทัง้ สรุปข้อถกเถียงเกีย่ วกับสาระสำ�คัญของ มันก็เป็นประโยชน์ เพราะให้บทเรียนเรามากมายเกีย่ วกับความซับซ้อน ของภาคการเงินยุคโลกาภิวัตน์ ชี้ให้เห็นความจำ�เป็นที่ภาครัฐจะต้องมี บทบาทในตลาด และสะท้อนวิธีต่างๆ ที่รัฐมีบทบาท โดยที่แต่ละวิธีก็มี ข้อดีและข้อด้อยแตกต่างกัน เนื้อหาของกฎหมายดอดด์-แฟรงค์ แบ่งได้เป็นสี่ส่วนใหญ่คือ อำ�นาจการกำ�กับดูแลและความเสี่ยงเชิงระบบ กฎเกณฑ์กำ�กับสถาบัน การเงิน กฎเกณฑ์เกี่ยวกับตลาดทุน และกลไกคุ้มครองผู้บริโภคบริการ ทางการเงิน แต่ละส่วนมีสาระสำ�คัญและข้อถกเถียงทีน่ า่ สนใจดังต่อไปนี้ – 1. อำ�นาจการกำ�กับดูแลและความเสี่ยงเชิงระบบ กฎหมายดอดด์ - แฟรงค์ มอบอำ � นาจใหม่ ห ลายชนิ ด ให้ กั บ หน่วยงานรัฐ เช่น อำ�นาจในการเข้าควบคุมกิจการและชำ�ระบัญชีของ สถาบันการเงินที่ประสบปัญหาอย่างรุนแรงจนคุกคามเสถียรภาพของ เศรษฐกิจอเมริกันทั้งระบบ โดยให้บรรษัทประกันเงินฝากของรัฐบาล กลาง (Federal Deposit Insurance Corporation: FDIC) มีอำ�นาจเป็น ผูพ้ ทิ กั ษ์ทรัพย์เด็ดขาดสำ�หรับสถาบันการเงินทีเ่ ข้าข่ายนี้ โดยไม่ตอ้ งผ่าน ขั้นตอนตามกฎหมายล้มละลายปกติ 61 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 61

3/20/11 8:35 PM


กฎหมายฉบับนี้กำ�หนด “การบรรเทาความเสี่ยงเชิงระบบ” และ “การรักษาเสถียรภาพทางการเงิน” ของประเทศ ให้อยู่ในชุด เป้าหมายเชิงนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ สถาปนาองค์กรใหม่ชื่อ “สภาดูแลเสถียรภาพทางการเงิน” (Financial Stability Oversight Council) ขึ้นมาเพื่อติดตามดูแลความ เสีย่ งเชิงระบบ (systemic risk) ของภาคการเงินและคอยนำ�เสนอนโยบาย ต่อธนาคารกลาง ประเด็นที่สำ�คัญคือ อำ�นาจของสภานี้จะครอบคลุม สถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (non-bank financial institution) ด้วย เช่น บริษัทประกัน และบริษัทวาณิชธนกิจ คำ � ถามข้ อ สำ � คั ญ คื อ บทบั ญ ญั ติ ที่ ว่ า นี้ ช่ ว ยแก้ ปั ญ หาการมี สถาบันการเงินที่ “ใหญ่เกินกว่าจะปล่อยให้ลม้ ” (too big to fail) ได้หรือไม่ ประเด็นนี้เป็นปัญหาเพราะตราบใดที่มีสถาบันการเงินที่ทุกคนเชื่อว่ารัฐ จะไม่ยอมปล่อยให้ลม้ ตลาดทุนโดยรวมก็จะมองว่าสถาบันการเงินเหล่านี้ มีความเสี่ยงตํ่า (เพราะรัฐจะอุ้มทันทีที่มีปัญหา) และดังนั้นสถาบัน การเงินเหล่านี้ก็จะสามารถกู้เงินได้ด้วยต้นทุนตํ่ากว่ารายอื่น ทำ �ให้ มี แ นวโน้ ม ที่ ธ นาคารยั ก ษ์ ใ หญ่ จ ะยิ่ ง ขยายขนาดมากกว่ า เดิ ม กู้ เ งิ น (ต้นทุนตํ่า)ไปทำ�ธุรกรรมที่เสี่ยงกว่าเดิม เพิ่มความเสี่ยงเชิงระบบและ ตอกยํ้าเหตุผลที่รัฐต้องอุ้ม กลายเป็นวงจร “จริยวิบัติ” (moral hazard) ที่ยากแก่การคลี่คลาย ผูเ้ ขียนเห็นด้วยกับนักวิเคราะห์ทมี่ องว่ากฎหมายดอดด์-แฟรงค์ ไม่ได้แก้ปัญหานี้อย่างตรงจุด วิธีแก้ปัญหาที่ตรงจุดคือบังคับให้สถาบัน การเงินมีขนาดเล็กลง ดังเช่นข้อเสนอของวุฒิสมาชิกสองคนจากพรรค เดโมแครต คือ เชอร์ร็อด บราวน์ (Sherrod Brown) กับ เท็ด คอฟแมน (Ted Kaufman) ให้รฐั กำ�หนดไม่ให้ธนาคารใดธนาคารหนึง่ มีสว่ นแบ่งเงิน ฝากเกินร้อยละ 10 ของเงินฝากทัง้ ระบบทีร่ ฐั ค้�ำ ประกัน และจำ�กัดขนาด ของหนี้สินที่ไม่ใช่เงินฝากของสถาบันการเงิน นอกจากนี้ ร่างแรกของ กฎหมายดอดด์-แฟรงค์ที่ผ่านสภาล่างก็กำ�หนดเพดานอัตราส่วนหนี้สิน 62 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 62

3/20/11 8:35 PM


ต่อทุนของสถาบันการเงินไว้อย่างชัดเจนที่ 15 ต่อ 1 ก่อนทีจ่ ะถูกตีตกไป ในสภาสูง การระบุเพดานอย่างชัดเจนนั้นเป็นการมองแบบ “กันไว้ดีกว่า แก้” และในทางปฏิบัติก็เท่ากับบังคับให้ธนาคารยักษ์ใหญ่ลดขนาดลง โดยปริยาย เพื่อป้องกันไม่ให้ความล้มเหลวของสถาบันใดสถาบันหนึ่ง สุ่มเสี่ยงที่จะลากระบบทั้งระบบลงเหวดังที่เกิดในปี 2008-2009 ไม่น่า แปลกใจที่ข้อเสนอทำ�นองนี้ถูกต่อต้านชนิดหัวชนฝาจากธนาคารยักษ์ ใหญ่จนตกไป อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ากฎหมายดอดด์-แฟรงค์ จะไม่ ยึดหลัก “กันไว้ดีกว่าแก้” ตรงๆ อำ�นาจที่เพิ่มให้กับธนาคารกลางและ บรรษัทประกันเงินฝากก็นา่ จะช่วย “ตัดไฟแต่ตน้ ลม” ไม่ให้ความเสียหาย จากสถาบันหนึ่งลุกลามเป็นไฟลามทุ่งแบบที่เคยเกิดตอนที่ เลห์แมน บราเธอร์ส ล้มละลายในปี 2008 กฎหมายดอดด์-แฟรงค์สะท้อนความโกรธแค้นของชาวอเมริกนั ทีเ่ ห็นรัฐนำ�เงินภาษีไปอุม้ สถาบันการเงินหลายแห่งอย่างชัดเจน มาตรา 212(a) ระบุว่า “รัฐจะต้องไม่ใช้เงินของผู้เสียภาษีในการป้องกันการ ชำ�ระบัญชีของสถาบันการเงินใดก็ตาม” และยํ้าอีกครั้งใน 212(c) ว่า “ผู้เสียภาษีจะต้องไม่ได้รับผลขาดทุนจากการใช้อำ�นาจใดก็ตามภายใต้ กฎหมายฉบับนี้” นอกจากนี้ กฎหมายก็ระบุอย่างชัดเจนว่าผลขาดทุน จากการชำ�ระบัญชีสถาบันการเงินที่ล้มเหลวจะต้องตกเป็นของเจ้าหนี้ และผูถ้ อื หุน้ ของสถาบันการเงินดังกล่าว (ในปี 2008-2009 รัฐบาลสหรัฐ ถูกประณามอย่างหนักเพราะไปอุ้มด้วยการซื้อหุ้นของสถาบันการเงินที่ ประสบปัญหา) แต่ก็ทำ�ให้หลายคนวิตกอยู่ดีเพราะไม่ได้ระบุชัดเจนให้ ใคร “กันเงิน” ที่อาจจำ�เป็นต้องใช้ในการชำ�ระบัญชีไว้ล่วงหน้า กล่าวโดยสรุป กฎหมายดอดด์-แฟรงค์ไม่ได้แก้ปัญหา “ใหญ่ เกินกว่าจะปล่อยให้ลม้ ” ทีร่ ากสาเหตุกจ็ ริง แต่อย่างน้อยก็มอบอำ�นาจให้ หน่วยงานรัฐสามารถตัดไฟแต่ต้นลมเมื่อเกิดปัญหา เพื่อตีกรอบป้องกัน ไม่ให้ปัญหาลุกลามและสังคมต้องแบกภาระต้นทุนอย่างที่แล้วมา อีกทั้ง 63 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 63

3/20/11 8:35 PM


การระบุเป้าหมายเชิงนโยบายเกี่ยวกับ “ความเสี่ยงเชิงระบบ” ก็น่าจะ จุดประกายให้มีการออกแบบระบบสัญญาณเตือนภัยที่เหมาะสม จากที่ ก่ อ นหน้ า นี้ แ ทบไม่ มี ใ ครมองเห็ น เค้ า ลางของวิ ก ฤตเพราะไม่ มี ใ ครมี หน้าที่วัดหรือติดตามความเสี่ยงเชิงระบบ 2. กฎเกณฑ์กำ�กับสถาบันการเงิน กฎหมายดอดด์-แฟรงค์ขยับขยายอำ�นาจของธนาคารกลาง ให้สามารถกำ�กับสถาบันที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์แต่ “ทำ�กิจกรรมด้าน การเงิน” มากพอ อาทิ บริษัทประกัน และบริษัทวาณิชธนกิจ หัวใจของ กฎหมายส่วนนีค้ อื “กฎโวลเกอร์” (Volcker Rule) – ตัง้ ตามชือ่ ของ พอล โวลเกอร์ (Paul Volcker) อดีตประธานธนาคารกลางทีเ่ สนอเป็นคนแรก กฎโวลเกอร์ที่อยู่ในกฎหมายดอดด์-แฟรงค์กำ�หนดเพดานของเงินที่ ธนาคารลงทุนในกองทุนเก็งกำ�ไรระยะสั้น (เฮดจ์ฟันด์) และกองทุนร่วม ลงทุน (private equity) ไว้ทรี่ อ้ ยละ 3 ของทุน นับว่าอ่อนลงจากข้อเสนอ ดัง้ เดิมของโวลเกอร์วา่ กฎหมายไม่ควรอนุญาตให้ธนาคารลงทุนทุกชนิด ที่มีความเสี่ยงสูงตั้งแต่แรก ทีจ่ ริงกฎหมายดอดด์-แฟรงค์เปิดช่องให้รฐั มีอ�ำ นาจสัง่ ห้ามไม่ให้ ธนาคารลงทุนในสินทรัพย์เสีย่ งด้วยเงินของตัวเอง (proprietary trading) เหมือนกัน แต่ปล่อยให้เป็นดุลยพินิจของหน่วยงานกำ�กับดูแล และให้ “สำ�นักงานความรับผิดภาครัฐ” (Government Accountability Office) ทำ�การศึกษาเรื่องนี้และส่งรายงานก่อน นับเป็นการประนีประนอมจาก ข้อเสนอของโวลเกอร์ที่นักวิเคราะห์บางคนเห็นด้วย เพราะการลงทุน เสีย่ งโดยเฉพาะในหลักทรัพย์ทแี่ ปลงมาจากสินทรัพย์ (securitized) นัน้ มีมากมายหลายรูปแบบ และหลายแบบก็เป็นประโยชน์ตอ่ ลูกค้าธนาคาร ไม่ได้เป็นแค่ช่องให้ธนาคารเก็งกำ�ไรฝ่ายเดียว แน่นอนว่าภาพในอุดมคติทที่ กุ คนอยากเห็นคือ หลักทรัพย์ความ เสี่ยงสูงต่างๆ จะอยู่ในมือของนักลงทุนอย่างเช่นเฮดจ์ฟันด์ที่รับความ 64 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 64

3/20/11 8:35 PM


เสี่ยงได้ หรือถ้าไม่ได้อย่างน้อยเวลาเจ๊งก็เจ๊งคนเดียว คนอื่นไม่เกี่ยว ไม่ใช่ไปอยู่ในงบดุลของธนาคารขนาดใหญ่ที่ต้อง “รับผิดชอบต่อสังคม” ในฐานะสถาบันที่ดูแลเงินออมของประชาชนและจัดสรรทุนในระบบ เศรษฐกิจ นักวิเคราะห์หลายคนมองว่าเพดานทีก่ ฎหมายดอดด์-แฟรงค์ กำ�หนดคือร้อยละ 3 ของทุนนั้นเป็นระดับที่ทำ�ให้ธนาคารขนาดใหญ่ “ขนหน้าแข้งไม่ร่วง” เพราะมีทุนมหาศาล แต่อย่างน้อยก็ต้องนับว่าการ มีกฎข้อนีก้ ด็ กี ว่าไม่มี เราคงต้องรอดูวา่ กฎหมายนีจ้ ะส่งผลให้พฤติกรรม ของธนาคารเปลีย่ นไปมากน้อยแค่ไหน เพราะต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปีกว่าที่ ผลการศึกษาและกฎระเบียบต่างๆ จะแล้วเสร็จ ประเด็นหนึง่ ทีน่ กั วิเคราะห์เห็นพ้องต้องกันมากกว่ากฎโวลเกอร์ ว่ากฎหมายดอดด์-แฟรงค์ ปฏิรูปในทางที่ถูกต้องคือเรื่องของตราสาร อนุพันธ์ ปัญหาใหญ่ที่เกิดในกรณีของเอไอจีคือ เอไอจีขายประกัน ตราสารอนุพนั ธ์จ�ำ นวนมากกับสถาบันการเงินอืน่ แบบเจรจากันตัวต่อตัว (over-the-counter ย่อว่า OTC) ไม่ผ่านตลาดหลักทรัพย์ (exchange) ที่มีสภาพคล่องและราคาอ้างอิง พอเอไอจีถูกสถาบันจัดอันดับความ น่ า เชื่ อ ถื อ ลดอั น ดั บ ระหว่ า งวิ ก ฤต เอไอจี ก็ ต้ อ งเพิ่ ม หลั ก ประกั น แต่ ไม่สามารถรู้ได้อย่างแน่ชัดว่าตราสารเหล่านี้มี “มูลค่าที่แท้จริง” เท่าไร (และคู่ค้าพอถึงตอนนั้นก็ไม่มั่นใจแล้ว) ทำ�ให้สถานการณ์แย่ลงถึงจุด ล้มละลายอย่างรวดเร็ว กฎหมายดอดด์-แฟรงค์ก�ำ หนดว่าตราสารอนุพนั ธ์ ที่มีมาตรฐานทุกชนิดต้องซื้อขายผ่ายสถาบันหักบัญชี (clearinghouse) และตลาดหลักทรัพย์ สั่งให้ธนาคารเลิกทำ�กิจการซื้อขายอนุพันธ์สว็อป ที่ไม่ใช่ “ธุรกรรมบริหารความเสี่ยงหรือกิจกรรมของธนาคารพาณิชย์ ดั้งเดิม” (แปลว่าห้ามเก็งกำ�ไรสว็อปที่มีความเสี่ยงสูง) ทั้งหมด และ ให้หน่วยงานรัฐมีอำ�นาจกำ�หนดเพดานมาร์จิน (margin requirement) ทั้งหมดนี้หมายความว่าการซื้อขายตราสารอนุพันธ์นับจากนี้น่าจะมี ความโปร่งใส ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพกว่าเดิม 65 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 65

3/20/11 8:35 PM


3. กฎเกณฑ์เกี่ยวกับตลาดทุน นอกจากกฎหมายดอดด์-แฟรงค์จะนำ�ตราสารอนุพนั ธ์สว่ นใหญ่ ขึน้ มา “บนดิน” ด้วยการกำ�หนดให้ซอื้ ขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ และห้าม ธนาคารพาณิชย์เก็งกำ�ไรสว็อปที่มีความเสี่ยงสูงแล้ว กฎหมายฉบับนี้ ยังบังคับให้บริษัทที่รับประกันการจัดจำ�หน่ายหลักทรัพย์อิงสินเชื่อที่อยู่ อาศัยต้องลงทุนไม่ตาํ่ กว่าร้อยละ 5 ของมูลค่าสินทรัพย์เสีย่ งทีแ่ ปลงเป็น หลักทรัพย์ไปขาย กฎข้อนี้น่าจะส่งผลดีต่อตลาดทุน เพราะการกำ�หนด ให้บริษัทหลักทรัพย์ลงเงินของตัวเองไม่ใช่น้อยๆ ในหลักทรัพย์ที่นำ�ไป เร่ขายนั้นน่าจะทำ�ให้บริษัทเหล่านั้นใช้ความระมัดระวังและรอบคอบ มากขึ้น ลดแรงจูงใจที่จะจับเสือมือเปล่าหรือย้อมแมวขายเหมือนอย่าง ในอดีต (ศัพท์แสลงในตลาดทุนฝรัง่ เรียกว่า ตอนนีม้ ี “เนือ้ หนังอยูใ่ นเกม” (skin in the game) แล้ว) ข้อกำ�หนดในกฎหมายดอดด์-แฟรงค์ทสี่ �ำ คัญอีกข้อหนึง่ คือ เพิม่ ความรับผิดทางกฎหมายของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (credit rating agency) โดยเฉพาะความรับผิดต่อนักลงทุนที่ซื้อหลักทรัพย์ที่ ตนจัดอันดับ เพราะปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งที่ผ่านมาคือ บริษัทจัดอันดับ ประเมินความเสีย่ งของหลักทรัพย์ผดิ พลาด ส่วนหนึง่ เพราะพึง่ พาข้อมูล จากวาณิชธนกิจผูจ้ ดั จำ�หน่ายมากเกินไปโดยไม่เป็นอิสระเท่าทีค่ วร ภาระ ความรับผิดทางกฎหมายทีเ่ พิม่ ขึน้ น่าจะสร้างแรงจูงใจให้บริษทั จัดอันดับ ใช้วจิ ารณญาณอย่างรอบคอบและเป็นอิสระมากกว่าเดิม แต่กม็ แี นวโน้ม เหมือนกันที่บริษัทจัดอันดับบางแห่งจะเลือกวิธี “มักง่าย” แทนที่จะ ปรับปรุงตัว คือไม่ยอมให้ผู้ออกหลักทรัพย์เปิดเผยผลการจัดอันดับ ในหนังสือชีช้ วนทีไ่ ปถึงนักลงทุน เพือ่ กำ�จัดความเสีย่ งทีต่ นจะถูกฟ้องร้อง ตั้งแต่ต้น คำ � ถามที่ ว่ า กฎเรื่ อ งนี้ จ ะทำ � ให้ ส ถานการณ์ ดี ขึ้ น หรื อ แย่ ล ง ระหว่างบริษัทจัดอันดับทำ�งานอย่างรอบคอบและน่าเชื่อถือกว่าเดิม (ดีขึ้น) หรือไม่ตีพิมพ์ผลการจัดอันดับเพื่อหลบเลี่ยงความรับผิด (แย่ลง) 66 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 66

3/20/11 8:35 PM


คงต้องรอดูไปอีก 2-3 ปีกว่าจะเห็น เพราะส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับวิธีแปร กฎหมายเป็นกฎระเบียบและขัน้ ตอนปฏิบตั ขิ อง ก.ล.ต. อเมริกาเองด้วย ด้ า นการเปิ ด เผยข้ อ มู ล และอำ � นาจในการกำ � กั บ ตลาดทุ น กฎหมายดอดด์-แฟรงค์มอบอำ�นาจให้ ก.ล.ต. ออกกฎเกี่ยวกับ “การ เปิดเผยข้อมูลที่จุดขาย” (point-of-sale disclosure rules) เพื่อช่วย นักลงทุนรายย่อยทำ�ความเข้าใจกับหลักทรัพย์ที่มักจะถูกศัพท์สวยหรู และซับซ้อนปิดบังความเสีย่ งและต้นทุนทีแ่ ท้จริง แต่เนือ่ งจากหลายฝ่าย เกรงว่า ก.ล.ต. อาจเพิ่มกฎการเปิดเผยข้อมูลในทางที่ทำ�ให้ต้นทุนของ โบรกเกอร์สูงขึ้น และโบรกเกอร์จะส่งต่อต้นทุนมาให้นักลงทุนแบกรับ กฎหมายจึงกำ�หนดให้ ก.ล.ต. สามารถจ้างผูเ้ ชีย่ วชาญทำ�การศึกษาระดับ ความอ่านออกเขียนได้ทางการเงิน (financial literacy) ของนักลงทุน รายย่อยก่อนที่จะออกกฎเรื่องนี้ในรายละเอียดต่อไป ปั ญ หาหนึ่ ง ที่ ผ่ า นมาในตลาดทุ น คื อ มหกรรมฉ้ อ โกงมั ก จะ ดำ�เนินไปนานหลายปีกอ่ นจะถูกเปิดโปงและดำ�เนินคดี กว่าจะถึงตอนนัน้ ก็มีผู้เสียหายไปแล้วหลายพันคนหรือมากกว่านั้น สาเหตุสำ�คัญข้อหนึ่ง คือความไม่ชอบมาพากลในตลาดทุนเป็นที่รู้กันในหมู่ “คนใน” ไม่กี่คน ถ้าไม่ใช่พนักงานของบริษัทที่ทำ�ดีลนั้นจริงๆ ก็ยากที่ ก.ล.ต. จะล่วงรู้ ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นจนกว่าจะมีผู้เสียหายแล้วในวงกว้าง ดังนั้นกฎหมาย ดอดด์-แฟรงค์ จึงเพิ่มแรงจูงใจให้ “คนใน” มาให้เบาะแสการทุจริตกับ ก.ล.ต. ด้วยการกำ�หนดว่าใครก็ตามที่มอบข้อมูลให้กับ ก.ล.ต. แล้วนำ� ไปสู่การสอบสวนเอาผิดได้สำ�เร็จ จะได้รับเงินรางวัลร้อยละ 10-30 ของ ค่าปรับทีส่ งู กว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ แรงจูงใจใหม่นอี้ าจสร้างบรรยากาศ “มหกรรมจับผิด” ในตลาดทุนช่วงแรก โดยคนที่แห่กันอ้างว่ามีเบาะแส การทุจริต แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้จริง ไม่นานทุกอย่างก็น่าจะกลับเข้าสู่ สถานการณ์ปกติหลังจากทีเ่ กิดความชัดเจนว่า ก.ล.ต. จะ “เอาเรือ่ ง” กับ กรณีทุจริตชนิดใดบ้าง 67 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 67

3/20/11 8:35 PM


นอกจากจะมุง่ ปรับปรุงตลาดทุนให้โปร่งใสและคุม้ ครองนักลงทุน มากขึ้น กฎหมายดอดด์-แฟรงค์ ยังมีหลายมาตราที่พยายามปรับปรุง ระดับธรรมาภิบาลและเพิ่มอำ�นาจให้ผู้ถือหุ้นมีส่วนร่วมในการกำ�หนด โครงสร้างคณะกรรมการและค่าตอบแทนผูบ้ ริหารระดับสูง เช่น กฎหมาย นี้ระบุว่า ก.ล.ต. มีอำ�นาจออกกฎเกณฑ์ที่อนุญาตให้ผู้ถือหุ้นสามารถใช้ หนังสือมอบฉันทะ (proxy solicitation) เสนอรายชื่อบุคคลให้ที่ประชุม ผู้ถือหุ้นโหวตเลือกเป็นกรรมการบริษัท นอกจากนี้ กฎหมายดอดด์ -แฟรงค์ ยังกำ�หนดให้บริษทั จดทะเบียนทุกแห่งอธิบายเหตุผลทีป่ ระธาน กรรมการกับซีอีโอเป็นคนคนเดียวกันหรือเป็นคนละคนกัน รวมทั้ง ขยายขอบเขตผลตอบแทนผู้บริหารที่บริษัทมีสิทธิเรียกคืน (clawback) ในกรณีที่ผู้บริหาร “ไม่ทำ�ตามกฎในสาระสำ�คัญ” จาก 1 ปีเป็น 3 ปี ย้ อ นหลั ง เพื่ อ พยายามสร้ า งแรงจู ง ใจให้ ผู้ บ ริ ห ารทำ� งานด้ ว ยความ รอบคอบและระมัดระวังมากขึ้น 4. กลไกคุ้มครองผู้บริโภคบริการทางการเงิน มาตราที่สำ�คัญที่สุดมาตราหนึ่งในกฎหมายดอดด์-แฟรงค์ คือ การจัดตั้งหน่วยงานราชการใหม่ ชื่อสำ�นักงานคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภคทางการเงิน (Bureau of Consumer Financial Protection) โดยให้มีอำ�นาจกำ�กับดูแลผลิตภัณฑ์ทางการเงินทั้งหมดที่ขายให้กับ ผู้บริโภครายย่อย เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อที่อยู่ อาศัย กฎหมายข้อนีท้ �ำ ตามข้อเสนอของศาสตราจารย์ อลิซาเบ็ธ วอร์เรน (Elizabeth Warren) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายการเงินส่วนบุคคลจาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ไม่ น่ า แปลกใจที่ ก ารก่ อ ตั้ ง หน่ ว ยงานรั ฐ ใหม่ ถ อดด้ า มจะถู ก ต่อต้านอย่างหนักจากภาคธุรกิจ บางกระแสข่าวบอกว่าสภาหอการค้า อเมริกนั ทุม่ เงินกว่า 3 ล้านเหรียญไปกับการต่อต้านแนวคิดนีต้ งั้ แต่กอ่ น มีรา่ งกฎหมาย รวมทัง้ จัดตัง้ เว็บไซต์ตอ่ ต้านทีม่ คี ลิปวิดโี อและความเห็น 68 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 68

3/20/11 8:35 PM


จากผู้คัดค้านมากมาย ข้อคัดค้านโดยสรุปคือ หน่วยงานใหม่นี้จะทำ�ให้ ประชาชนเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินยากกว่าเดิม เพิ่มต้นทุนของ ผลิตภัณฑ์เดิม และทำ�ให้ธุรกิจขนาดเล็กเดือดร้อนเพราะเข้าถึงสินเชื่อ ยากขึ้น อีกทั้งยังมีอำ�นาจควบคุมผลิตภัณฑ์ทางการเงินบางชนิดที่ ไม่เกีย่ วอะไรเลยกับวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ อย่างเช่นสินเชือ่ เงินสด (ภาษา ชาวบ้านไทยเรียก “เงินด่วนเสาไฟฟ้า” เพราะติดโฆษณาตามเสาไฟฟ้า ภาษาชาวบ้านอเมริกนั เรียก “payday loan” เพราะครบกำ�หนดชำ�ระหนี้ ในวันเงินเดือนออก) นักการเมืองและนักเศรษฐศาสตร์ฝา่ ยขวาบางคนถึงขัน้ ประณาม หน่วยงานนี้ว่ามันจะกลายเป็นหน่วยงานราชการที่ใช้เป้าหมายด้าน “ความยุติธรรมทางสังคม” มากำ�หนดสินเชื่อ แทนที่จะใช้หลักเกณฑ์ ด้าน “ความปลอดภัยและความเหมาะสม” ส่วนนักการเมืองและนัก เศรษฐศาสตร์ฝ่ายซ้ายส่วนใหญ่ก็เรียกร้องให้หน่วยงานนี้เป็นอิสระจาก ธนาคารกลาง เพือ่ รับประกันว่าจะมีอ�ำ นาจทีแ่ ท้จริงในการกำ�หนดเกณฑ์ คุม้ ครองผูบ้ ริโภคบริการทางการเงินทีไ่ ด้ผล เช่น กฎระเบียบเกีย่ วกับการ เปิดเผยเงื่อนไขของบัตรเครดิตให้ใช้ภาษาที่คนเข้าใจง่ายและแจกแจง ค่าธรรมเนียมอย่างชัดเจน ผลลัพธ์สุดท้ายที่ปรากฏในกฎหมายนับเป็นการประนีประนอม ระหว่างทัง้ สองฝ่าย ซึง่ ก็หมายความว่ามันทำ�ให้นอ้ ยคนพอใจ สำ�นักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินถือกำ�เนิดแล้วก็จริง แต่อยู่ ใต้ ก ารควบคุ ม ของธนาคารกลาง (แม้ จ ะมี ผู้ อำ � นวยการที่ ส รรหาใน กระบวนการอิสระและงบประมาณที่เป็นเอกเทศ) หน่วยงานนี้มีอ�ำ นาจ เขียนกฎระเบียบที่กว้างขวางก็จริง แต่มีอำ�นาจในการบังคับใช้ค่อนข้าง จำ�กัด อย่างไรก็ตาม อลิซาเบ็ธ วอร์เรน ผู้ให้กำ�เนิดหน่วยงานนี้และ เป็นตัวเต็งที่จะเป็นผู้อำ�นวยการคนแรกเชื่อมั่นว่า หน่วยงานใหม่ “มี อำ�นาจและความเป็นอิสระเพียงพอที่จะซ่อมตลาดสินเชื่อที่ใช้การไม่ได้” 69 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 69

3/20/11 8:35 PM


และยํา้ ว่ามันไม่ได้เป็นการเพิม่ อำ�นาจรัฐ เท่ากับเป็นการรวบรวมอำ�นาจ ควบคุมผลิตภัณฑ์ทางการเงินส่วนบุคคลที่เคยอยู่กระจัดกระจายตาม หน่วยงานราชการต่างๆ เข้ามาเป็นหน่วยงานเดียวให้มีเอกภาพและ ประสิทธิภาพในการทำ�งานมากกว่าเดิม รวมทั้งเพิ่มอำ�นาจและความ รับผิดชอบให้สามารถคุม้ ครองผูบ้ ริโภคได้ดขี นึ้ ศาสตราจารย์วอร์เรนไม่ คิดว่าหน่วยงานราชการใหม่นที้ �ำ ให้ธรุ กิจการเงินแย่ลง ในทางตรงกันข้าม เธอมองว่างานของหน่วยงานนีน้ า่ จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินโปร่งใส และเป็นมิตรกับผู้บริโภคมากกว่าเดิม ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นผู้บริโภคก็จะ สามารถแยกแยะระหว่ า งผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารที่ รั บ ผิ ด ชอบกั บ เจ้ า อื่ น ที่ ไ ม่ รับผิดชอบ เพิม่ ความเชือ่ มัน่ ให้กบั ผูบ้ ริโภคและผลักดันให้ธรุ กิจแข็งแกร่ง ยิ่งกว่าเดิม ผูเ้ ชีย่ วชาญบางคนเสียดายทีก่ ฎหมายฉบับนีไ้ ม่แก้ปญ ั หาสำ�คัญ บางเรือ่ ง เช่น ไม่ปฏิรปู แฟนนีเม (Fannie Mae) กับเฟรดดี แม็ค (Freddie Mac) สถาบันการเงินกึ่งรัฐที่กระพือตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยความ เสี่ยงสูงจนกลายเป็นฟองสบู่อันตรายในเวลาต่อมา และไม่แตะการใช้ โมเดลซือ้ ขายหลักทรัพย์แบบอัตโนมัติ (automated trading models) บน คอมพิวเตอร์ ซึง่ ทำ�ให้ตลาดผันผวนกว่าทีค่ วร ตีความสัญญาณผิดพลาด และไม่คำ�นึงถึงความเสี่ยงเชิงระบบ กล่าวโดยสรุป กฎหมายดอดด์-แฟรงค์ไม่ได้เปลี่ยนโครงสร้าง ของภาคการเงินอเมริกนั ชนิดถอนรากถอนโคนอย่างทีห่ ลายคนคาดหวัง แต่มันก็เป็นกฎหมายสำ�คัญที่ปฏิรูปกฎเกณฑ์ภาครัฐให้ตามทันตลาด การเงินยุคโลกาภิวัตน์มากขึ้นมาก คำ�ถามใหญ่ที่ว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่ จะออกแบบ “กฎวิเศษ” ทีส่ ามารถป้องกันวิกฤตการเงินไม่ให้เกิดขึน้ เลย คงเป็นปัญหาโลกแตกทีถ่ กเถียงกันไปอีกนาน ผูเ้ ขียนเห็นด้วยกับความ เห็นของ ดัก เอลเลียต (Doug Elliott) นักวิจัยจากสถาบันบรุกกิงส์ ที่ว่า “ผมคิดว่าภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจร้ายแรงที่เราเพิ่งประสบไปนั้นจะ รุนแรงน้อยกว่านี้มากถ้าหากเรามีกฎหมายดอดด์-แฟรงค์ก่อนหน้านั้น 70 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 70

3/20/11 8:35 PM


กฎหมายฉบับนี้จะไม่กำ�จัดวิกฤตการเงิน แต่มันจะทำ�ให้วิกฤตการเงิน เกิดขึ้นถี่น้อยลงและมีพิษสงน้อยกว่าเดิมมาก” ถึงทีส่ ดุ แล้ว กฎหมายดอดด์-แฟรงค์สะท้อนความพยายามทีจ่ ะ สร้างสมดุลระหว่างกลไกตลาดเสรีกับเป้าหมายทางสังคม สมดุลที่สร้าง ยากและรักษายากยิ่งกว่า แต่ไม่ว่าใครจะคิดอย่างไรกับกฎหมายฉบับนี้ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันช่วยปิดฉากยุคเรืองอำ�นาจของลัทธิเสรีนิยมใหม่ที่ เชื่อว่า “ตลาดเสรีดูแลตัวเองได้” ลงอย่างบริบูรณ์ในสหรัฐอเมริกา.

71 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 71

3/20/11 8:35 PM


กองทุนที่ซื้อขายตามโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (quant fund): ปัญหาและทางออก

กฎหมายปฏิรูปภาคการเงินอเมริกัน (กฎหมายดอดด์-แฟรงค์) ซึ่งผ่านการลงนามโดยประธานาธิบดี บารัก โอบามา ในเดือน กรกฎาคม 2010 จุดประกายการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์อย่าง กว้ า งขวางเกี่ ย วกั บ แนวโน้ ม ประสิ ท ธิ ภ าพและผลกระทบของ กฎหมาย ประเด็ น ใหญ่ ป ระเด็ น หนึ่ ง ที่ ก ฎหมายดอดด์ - แฟรงค์ และ นักเศรษฐศาสตร์ นักการเมือง และนักวิชาการส่วนใหญ่มองข้ามไป คือ อันตรายของกองทุนที่ซื้อขายตามโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (เรียกว่า กองทุนควอนท์ - quant fund ย่อมาจาก quantitative) ซึ่งในวิกฤตการ เงินปี 2008 เป็นปัจจัยสำ�คัญทีผ่ ลักให้สถานการณ์เลวร้ายลงอย่างรวดเร็ว จนตลาดกอบกู้ตัวเองไม่ได้ 72 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 72

3/20/11 8:35 PM


กองทุนควอนท์จะซื้อขายหลักทรัพย์ตามโมเดลคอมพิวเตอร์ที่ เขียนโปรแกรมไว้ลว่ งหน้า ไม่มผี จู้ ดั การกองทุนคอยตัดสินใจ โมเดลทีใ่ ช้ มีตั้งแต่โปรแกรมพื้นๆ เช่น ถ้าราคาหุ้นวันนี้สูงกว่าราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 60 วัน โมเดลจะขายหุน้ ให้โดยอัตโนมัติ ไปจนถึงโมเดลทีน่ ำ�ปัจจัยต่างๆ เช่น สถิตริ าคาหุน้ ผลตอบแทนของตลาด ค่าความผันผวนของหุน้ ในอดีต ปัจจัยพื้นฐานของหุ้น มาใช้เป็นสมมุติฐานในโมเดล กองทุนควอนท์ ส่วนใหญ่ใช้โมเดลที่มีความซับซ้อนเกินความเข้าใจของนักลงทุนหรือ แม้แต่ผู้บริหารสถาบันการเงินเอง ความสำ�เร็จของกองทุนควอนท์มไิ ด้ขนึ้ อยูก่ บั ประสิทธิภาพของ ระบบคอมพิวเตอร์ (ถึงแม้วา่ มันจะเป็นส่วนสำ�คัญ) เท่ากับ “ความฉลาด” ของโมเดลทีเ่ ขียนขึน้ และความฉลาดของโมเดลก็ยอ่ มมาจากความฉลาด ของคนที่เขียนมันเป็นสำ�คัญ แต่ความฉลาดไม่อาจเป็นหลักประกันแห่งความสำ�เร็จ เพราะ ตลาดการเงินหาได้เดินอย่างนาฬิกาที่เที่ยงตรง หากผันแปรไปตาม พฤติกรรมของมนุษย์ซึ่งมักจะดูเฉลียวมากกว่าฉลาด และบ่อยครั้งก็ทำ� ตามความหวั่นวิตกหรือความโลภที่บังตา มากกว่าตรรกะอันแม่นยำ� ในปี 2009 โจเซฟ ฟุลเลอร์ (Joseph Fuller) ผูร้ ว่ มก่อตัง้ Monitor หนึง่ ในบริษทั ทีป่ รึกษาทีม่ ชี อื่ เสียงทีส่ ดุ ในโลก เขียนบทความเรือ่ ง “The Terminator Comes to Wall Street” (เทอร์มิเนเตอร์บุกภาคการเงิน) ลงในวารสาร The American Scholar3 เพื่ออธิบายปัญหาของกองทุน ควอนท์ในปัจจุบนั และวิธกี ารทีภ่ าครัฐควรใช้ในการกำ�กับดูแล ถึงแม้วา่ ข้อเสนอของเขาจะไม่ได้รบั การตอบสนอง ข้อสังเกตของฟุลเลอร์กส็ มควร ได้รับการหยิบยกขึ้นมาถกในวงกว้าง เพราะปัญหาที่เขาชี้ให้เห็นนั้น ยังไม่หายไปไหน และปัจจุบันกองทุนควอนท์ก็ยังได้รับความนิยมสูงขึ้น เรื่อยๆ โดยเฉพาะจากนักลงทุนทีเ่ ชื่อมัน่ ในคอมพิวเตอร์มากกว่ามนุษย์ ในบทความของเขา ฟุลเลอร์บอกว่าการซื้อขายแบบควอนท์ ไม่ได้เป็นเหตุปจั จัยประการหนึง่ ของวิกฤตปี 2008 เท่านัน้ แต่มบี ทบาท 73 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 73

3/20/11 8:35 PM


สำ�คัญในการล้มละลายของเฮดจ์ฟนั ด์ชอื่ Long Term Capital Management (LTCM) ในปี 1997 ซึ่งธนาคารกลางของสหรัฐต้องเข้ามาจัดการ ตะล่อมแกมขู่ธนาคารให้เข้ามาอุ้ม ก่อนที่จะเกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อ ระบบการเงินทั้งประเทศ ฟุลเลอร์บอกว่า ภาคการเงินและภาครัฐไม่ได้ เรียนรู้บทเรียนที่สำ�คัญจากหายนะในครั้งนั้น และ “พวกเขามองไม่เห็น ความเปราะบางและความผันผวนของโมเดลซื้อขายแบบที่ LTCM ใช้ ...ควรมองว่ากรณี LTCM นั้นเป็นลางบอกเหตุ ไม่ใช่ข้อยกเว้น” ฟุลเลอร์บอกว่าโมเดลซื้อขายที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ ยุค LTCM จนถึงทุกวันนี้มี “ปัญหาในตัวเอง” สามข้อ ไม่ว่าผู้คิดค้นจะ เก่งกาจปานใด ปัญหาแรกคือ คนทีส่ ร้างโปรแกรมไม่เข้าใจตลาดการเงิน พวกเขาคือผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ หรือไม่ก็ฟิสิกส์ ไม่ใช่ผเู้ ชีย่ วชาญด้านหุน้ ตราสารหนี้ ตลาดการเงิน หรือจิตวิทยา ผูส้ ร้าง โมเดลเหล่ า นี้ มั ก จะคิ ด ว่ า ตลาดมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและทำ � งานตรงตาม ทฤษฎี แต่ไม่มที ฤษฎีใดจะสามารถสะท้อนพฤติกรรมของมนุษย์ได้อย่าง ครบถ้วน โดยเฉพาะพฤติกรรมทีส่ บั สนอลหม่านและไม่มเี หตุมผี ลเพราะ ทำ�ไปด้วยอารมณ์ นอกจากนี้ นักสร้างโมเดลยังใช้สถิติจากอดีตมาเป็นฐานของ โมเดล พวกเขา “ทดสอบ” โมเดลที่สร้างขึ้นด้วยการดูว่ามันจะทำ�งาน อย่างไรถ้าเหตุการณ์ในอดีตเกิดขึ้นอีก (back-testing) และเนื่องจาก โมเดลจำ�ลองอดีต นักสร้างโมเดลจึงไม่สามารถใส่สถานการณ์ใหม่ๆ ที่ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่น ความผันผวนที่เกิดขึ้นพร้อมกันในตลาด ตราสารหนี้ ตลาดหุ้น ตลาดเงินตราต่างประเทศ และตลาดโภคภัณฑ์ (ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่อเมริกาประสบระหว่างปี 2008-2009) “ปัญหาในตัวเอง” ปัญหาที่สองที่ฟุลเลอร์ชี้ให้เห็นคือ ผู้บริหาร กองทุนควอนท์บ่อยครั้งไม่เข้าใจคนเขียนโมเดล เพราะพวกเขาพูดกัน คนละภาษา (กล่าวอย่างหยาบๆ ได้ว่า ฝ่ายหนึ่งพูดภาษาคน อีกฝ่าย หนึง่ พูดภาษาเลข) ผูบ้ ริหาร (ซึง่ มักจะเป็นนักการเงินอาชีพ) ไม่สามารถ 74 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 74

3/20/11 8:35 PM


แปลงคำ�ถามของตัวเองให้พ่อมดเลขผู้เขียนโมเดลเข้าใจได้ว่าโมเดล ของเขาจะมีปฏิกิริยาต่อสถานการณ์ต่างๆ อย่างไร นอกจากนี้ ฟุลเลอร์ บอกว่าตัวโมเดลเองก็ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ จนไม่มีมนุษย์คนไหน รวมทั้ง คนเขียนโมเดลเองที่สามารถพยากรณ์ได้อย่างชัดเจนว่า ประเภทและ ปริมาณมหาศาลของตราสารอนุพนั ธ์และหลักทรัพย์ทถี่ กู “เคาะ” ซือ้ ขาย ผ่านโมเดลจะส่งผลกระทบอะไร และไม่รู้ว่าโมเดลจะมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน อย่างไรบ้าง “ปัญหาในตัวเอง” ประการสุดท้ายของกองทุนควอนท์คอื โมเดล เหล่านี้ “ไม่เข้าใจ” ซึง่ กันและกัน เพราะโมเดลแต่ละอันถูกออกแบบมาให้ ทำ�ตามกลยุทธ์ของตัวเอง โดยมีเป้าหมายที่จะทำ�กำ�ไรให้ได้มากที่สุดใน ตลาดใดตลาดหนึ่ง แต่โมเดลแต่ละอันไม่สามารถคำ�นึงถึงบทบาทของ โมเดลอื่นๆ ในตลาด สิ่งที่เกิดขึ้นคือ โมเดลแต่ละอันทำ�ปฏิกิริยาแทบ จะในเวลาจริง (real time) ต่อการกระทำ�ของโมเดลอื่นๆ ส่งผลให้ตลาด ผันผวนมากกว่าปกติมาก โดยเฉพาะในภาวะคับขันทีโ่ มเดลต่างๆ สัง่ ขาย หลั ก ทรั พ ย์ แ ทบจะพร้ อ มกั น และกอดเงิ น สดเอาไว้ แ ทนเพื่ อ หยุ ด ผล ขาดทุนของกองทุน (stop loss) ซึ่งทำ�ให้ตลาดดิ่งเหวและสภาพคล่อง แห้งเหือดอย่างรวดเร็ว ดังที่เกิดขึ้นในวิกฤตการเงินปี 2008 ฟุลเลอร์บอกว่าโมเดลควอนท์ทุกโมเดลมีปัญหาที่ว่ามานี้ทั้ง สามข้อ ต่างกันแค่จะมีมากหรือมีนอ้ ย เขาแนะนำ�ว่าวิธแี ก้ปญ ั หาทีถ่ กู ต้อง คือ หาทางลดความผันผวนที่เกิดขึ้นจากโมเดลเหล่านี้ให้ได้ ก่อนอื่น ผูบ้ ริหารสถาบันการเงินทีใ่ ช้โมเดลควอนท์จะต้องเข้าใจโมเดลของตัวเอง มากขึน้ คณะกรรมการและคณะกรรมการบริหารจะต้องทบทวนตรรกะที่ ใช้ในการสร้างโมเดล ตลอดจนระดับความเปราะบางของมันต่อเหตุการณ์ ไม่คาดคิด ไม่ใช่ไม่สนใจ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารความเสี่ยง ต่อไปตามธรรมเนียมเดิม ฟุลเลอร์แนะนำ�ว่าสถาบันการเงินทุกแห่งควรมีผู้จัดการความ เสีย่ งทีส่ ามารถอธิบายให้เข้าใจเป็นภาษาคนว่า ตรรกะของโมเดลคืออะไร 75 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 75

3/20/11 8:35 PM


และมันมีความเสี่ยงอะไรบ้าง ผู้จัดการจะต้องผลักดันให้นักเขียนโมเดล ตอบให้ได้ว่า เขาใช้ตัวแปรและเหตุการณ์ในอดีตอะไรมาสร้างโมเดล อะไรคือความแตกต่างทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ 10 ประการระหว่างเหตุการณ์ในอดีต กับสถานการณ์ในปัจจุบัน และโมเดลของเขาจะรับมือกับความแตกต่าง เหล่านั้นได้อย่างไร ในระดั บ ย่ อ ยลงมา ฟุ ล เลอร์ บ อกว่ า สถาบั น การเงิ น จะต้ อ ง รวบรวมนักค้าหลักทรัพย์หรือผู้จัดการกองทุนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมา มากในตลาดการเงิน มาจับเข่าคุยกับพ่อมดเลขที่มีหน้าที่สร้างโมเดล จะได้ปรับความเข้าใจให้ตรงกันว่าโมเดลทำ�อะไรได้และไม่ได้ และหาวิธี ปรับปรุงให้โมเดล “เผื่อพื้นที่” สำ�หรับพฤติกรรมที่ทำ�ด้วยอารมณ์ของ มนุษย์บ้าง ส่วนด้านระบบตอบแทน ฟุลเลอร์เห็นตรงกับนักการเงินจำ�นวน มากว่าคณะกรรมการสถาบันการเงินต่างๆ ควรจะยกเครื่องครั้งใหญ่ เพราะวิกฤตทีผ่ า่ นมาพิสจู น์ให้เห็นชัดเจนแล้วว่า กลยุทธ์ทสี่ ร้างผลกำ�ไร ในระยะสั้นอาจนำ�ไปสู่หายนะของทั้งบริษัทในระยะปานกลาง ดังนั้น บริษัทจึงควรเปลี่ยนวิธีจ่ายค่าตอบแทนเพื่อผลักดันให้นักสร้างโมเดล เทรดเดอร์ และผูจ้ ดั การกองทุนมองไกลกว่าเดิมและมีวนิ ยั มากขึน้ ในการ ลงทุน เช่น กันเงินโบนัสก้อนใหญ่ไว้ทยอยจ่ายเป็นเวลาหลายปี ปรับลด ตามผลประกอบการที่เกิดจริง ไม่ใช่จ่ายโบนัสทั้งก้อนในงวดเดียว แม้ว่ากองทุนควอนท์จะมี “ปัญหาในตัวเอง” สามข้อที่ควรหา ทางแก้ไขและบรรเทาดังทีก่ ล่าวไปแล้ว มันก็มปี ระโยชน์มากมายในตลาด การเงิน โดยเฉพาะเวลาที่ไม่มีวิกฤต เช่น ช่วยเสริมสร้างสภาพคล่อง ในตลาด เพิ่มผลิตภาพของสถาบันการเงินต่างๆ และช่วยลดต้นทุน ในการซื้ อ ขายของนั ก ลงทุ น ลงอย่ า งฮวบฮาบ (เพราะคอมพิ ว เตอร์ ไม่ตอ้ งมีเงินเดือน) ซึง่ หมายความว่ามันช่วยสร้างโอกาสให้ประชาชนผูม้ ี รายได้นอ้ ยสามารถเข้าถึงตลาดการเงินมากกว่าในอดีต ช่วยให้พวกเขา ได้มีโอกาสออมเงินและปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่จากผลตอบแทนที่ได้ 76 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 76

3/20/11 8:35 PM


ในตลาด นอกจากนี้ กองทุนควอนท์ก็มีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดปัญหา ที่กองทุนทั่วไปประสบเป็นครั้งคราว เช่น การเลือกปฏิบัติ ผลประโยชน์ ทับซ้อน ความสะเพร่า หรือความขีเ้ กียจ เพราะปัญหาเหล่านีล้ ว้ นแต่เป็น ปัญหาของคน ไม่ใช่ของเครื่อง ผู้ เ ขี ย นเห็ น ด้ ว ยกั บ ฟุ ล เลอร์ ว่ า ภาคการเงิ น และภาครั ฐ ควร แก้ปัญหาอย่างตรงจุด คือหาทางลดความผันผวนของโมเดลควอนท์ ดังทีไ่ ด้กล่าวไปแล้ว ไม่ใช่หา้ มใช้อย่างสิน้ เชิง ซึง่ ก็เป็นไปไม่ได้เพราะมัน ได้กลายเป็นส่วนสำ�คัญของตลาดการเงิน และนักลงทุนจำ�นวนมาก ก็ชอบซื้อขายแบบนี้จริงๆ นอกจากนี้ทางการก็ไม่ควรบัญญัติกฎเกณฑ์ ที่ไม่ได้ผล เช่น บังคับให้กองทุนควอนท์รายงานสถานะสินทรัพย์เสี่ยง อย่างละเอียด เพราะสถานะการลงทุนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การ รายงานสถานะในอดีตไม่อาจช่วยให้นักลงทุนเข้าใจระดับความเสี่ยง ที่ครบถ้วนและทันการณ์ได้ นอกเหนือจากการปรับปรุงโมเดลและระบบค่าตอบแทน ผูเ้ ขียน คิ ด ว่ า การขยายขอบเขตของตั ว แปรที่ ใ ช้ เ ป็ น สั ญ ญาณซื้ อ หรื อ ขาย ในโมเดลก็ สำ � คั ญ ไม่ แ พ้ กั น ปั ญ หาใหญ่ ที่ ผ่ า นมาคื อ โมเดลควอนท์ มักจะมีปฏิกิริยาที่รวดเร็วต่อสัญญาณผิดตัว คือนอกจากจะไม่คำ�นึงถึง “สถานการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในอดีต” แล้ว มันยังละเลยปัจจัยที่สะท้อน ความเสี่ยงเชิงระบบ และปัจจัยที่ไม่ใช่ตัวแปรทางการเงินแต่พิสูจน์ ให้เห็นแล้วว่าสำ�คัญไม่แพ้กัน อาทิ ดัชนีชี้วัดระดับความรับผิดชอบ ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัท ซึ่งหลายตัวทวีความเที่ยงตรงและ ครอบคลุมมากขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น ผลงานด้านความปลอดภัยของพนักงานและ ความรับผิดชอบต่อสิง่ แวดล้อมของบริษทั บีพี เจ้าของแท่นขุดเจาะนํา้ มัน ทีร่ ะเบิดในเดือนเมษายน 2010 และเป็นหายนะนํา้ มันรัว่ ทีร่ า้ ยแรงทีส่ ดุ ใน ประวัติศาสตร์ ตกตํ่าลงอย่างต่อเนื่องจนบีพีถูกถอดออกจากดัชนีชั้นนำ� บางตัวที่วัดระดับความรับผิดชอบของบริษัทจดทะเบียน เช่น Global 77 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 77

3/20/11 8:35 PM


Sustainability Index (GSI) และ Global Climate 100 (GC100) นาน นับปีก่อนเกิดเหตุในอ่าวเม็กซิโก ช่วยให้นักลงทุนและกองทุนที่อิงดัชนี ตัวนี้ไม่ต้องขาดทุนจากหุ้นของบีพี.

78 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 78

3/20/11 8:35 PM


การลงทุนแบบตัดหน้า: แบบไหนผิดกฎหมาย แบบไหนแค่ “น่าเกลียด”?

ข่ า วใหญ่ ข่ า วหนึ่ ง ในแวดวงการเงิ น ไทยในปี 2552 คื อ ข่ า ว รายงานผลการตรวจสอบการบริหารและการลงทุนของกองทุน บำ�เหน็จบำ�นาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งสำ�นักงานคณะกรรมการ ป้ อ งกั น และปราบปรามการทุ จ ริ ต ในภาครั ฐ (ป.ป.ท.) พบว่ า วิสฐิ ตันติสนุ ทร เลขาธิการ กบข. ซึง่ ได้ลาออกจากตำ�แหน่งแล้ว มี การซือ้ ขายหลักทรัพย์ในพอร์ตลงทุนส่วนตัวบางตัว อาทิ YNP LH และ PTT ทีไ่ ม่ได้ขออนุญาตกองทุนล่วงหน้า และมีลกั ษณะเป็นการ ลงทุนแบบดักหน้าหรือตัดหน้ากองทุน (front-running) และดักหลัง กองทุน (tailgating) ดังทีป่ รากฏเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นมา 79 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 79

3/20/11 8:35 PM


ณ วันที่ผู้เขียนเขียนบทความนี้ (11 มิถุนายน 2552) ผล การสอบสวนกรณีดังกล่าวของคณะกรรมการกำ �กับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ยังไม่สิ้นสุด แต่เนื่องจากเรื่องนี้เป็นประเด็น สำ�คัญทีไ่ ด้รบั ความสนใจในวงกว้าง และผูเ้ ขียนยังไม่เห็นผูเ้ ชีย่ วชาญหรือ นักวิชาการด้านธรรมาภิบาลในประเทศไทยออกมาวิพากษ์วิจารณ์กัน เท่าที่ควร ผู้เขียนจึงอยากอธิบายพฤติกรรมนี้ไว้พอสังเขป เพราะคิดว่า กรณีนแี้ สดงให้เห็นความสลับซับซ้อนของธุรกิจการเงินได้ดเี ป็นอย่างยิง่ ในโลกการเงิน พฤติกรรมหลายอย่างของนักการเงินโดยตัว มันเองไม่สามารถทำ�ให้ใคร ‘ฟันธง’ ได้ทนั ทีวา่ ผูก้ ระทำ�มีเจตนาทีจ่ ะทุจริต หรือเอาเปรียบนักลงทุนรายอืน่ เสมอไป จะต้องพิจารณารายละเอียด เช่น ปริมาณการซื้อขาย ระยะเวลา และบริบทแวดล้อมอื่นๆ ประกอบ กัน เพื่อจะได้แยกแยะได้ระหว่างพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย (และก็สมควรจะ ผิดกฎหมาย) กับพฤติกรรมที่ผิดจรรยาบรรณหรือ “น่าเกลียด” เฉยๆ การซื้อหรือขายหลักทรัพย์แบบตัดหน้า หรือที่เรียกว่า frontrunning นัน้ ก็เช่นเดียวกัน พฤติกรรมนีอ้ าจจะผิดหรือไม่ผดิ กฎหมายก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนทำ� และทำ�ในลักษณะใด ผู้เขียนคิดว่าบทความ สั้นๆ และตัวอย่างประกอบบนเว็บไซต์ wikinvest.com อธิบายเรื่องนี้ไว้ อย่างค่อนข้างชัดเจน จึงจะแปล ขยายความ และดัดแปลงให้เข้าใจง่าย ขึ้นในบริบทของตลาดหุ้นไทย4 ดังต่อไปนี้ การซื้อขายแบบตัดหน้า หมายถึงกลยุทธ์การลงทุนที่ตั้งอยู่บน การคาดการณ์ว่าการซื้อขายหุ้นในอนาคตจะส่งผลกระทบต่อราคาหุ้น ในทิศทางที่คาดการณ์ไว้ โดยในหลักสากล การลงทุนแบบตัดหน้าที่ กระทำ�โดยนายหน้าซือ้ ขายหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) หรือผูจ้ ดั การกองทุน ที่ใช้ข้อมูลการลงทุนของลูกค้าของตัวเองหรือโบรกเกอร์คนอื่นๆ และ ข้อมูลนั้นมีผลต่อราคาหุ้น (เช่น สั่งซื้อหรือขายคราวละมากๆ) เป็นการ กระทำ�ทีผ่ ดิ กฎหมายหลักทรัพย์ เนือ่ งจากเข้าข่ายการใช้ “ข้อมูลภายใน” (inside information) ซึ่งหมายถึง “ข้อเท็จจริงที่มีสาระสำ�คัญต่อการ 80 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 80

3/20/11 8:35 PM


เปลี่ยนแปลงราคาของหุ้นและยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชน และตนได้ ล่วงรูม้ าในตำ�แหน่งหรือฐานะเช่นนัน้ ” ตามมาตรา 241 ในพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (พ.ร.บ. หลักทรัพย์) ของไทย อย่างไรก็ตาม การซื้อขายแบบตัดหน้าไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย เสมอไป นักลงทุนทั่วไปที่ชาญฉลาดและช่างสังเกตอาจใช้กลยุทธ์นี้ ในการทำ�กำ�ไรโดยสุจริต (แต่ ‘กินแรงคนอื่น’) ในตลาดหุ้นก็ได้ คนที่ ก ระทำ � การซื้ อ ขายแบบตั ด หน้ า (ต่ อ ไปนี้ จ ะเรี ย กว่ า เทรดเดอร์) จะสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ก่อนที่บริษัทหลักทรัพย์ (หรือ กองทุนที่บริษัทหลักทรัพย์ทำ�งานให้) จะสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ตัวเดียวกัน ในทางที่ทำ�ให้ราคาหุ้นเคลื่อนไหวในทิศทางที่คาดเดาได้ ล่วงหน้า ยกตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์สั่งซื้อหุ้นก่อนที่กองทุนบำ�นาญ ขนาดใหญ่ สมมุตชิ อื่ กองทุน กปป. จะสัง่ ซือ้ หุน้ ตัวเดียวกันในปริมาณมาก ซึ่งทำ�ให้ราคาหุ้นพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เทรดเดอร์อาจ “ล่วงรู้” ล่วงหน้าอย่างสุจริตว่ากองทุน กปป. จะสั่งซื้อในปริมาณมาก ด้วยการเฝ้าสังเกตการเคลื่อนไหวของคำ �สั่ง เสนอซื้อและเสนอขาย (bid & ask) แต่ละวันในตลาด และติดตาม พฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนสถาบันอย่าง กปป. แต่ในเวลาเดียวกัน เทรดเดอร์ ค นนั้ น ก็ อ าจได้ รั บ ข้ อ มู ล นี้ ม าในทางที่ ผิ ด กฎหมาย เช่ น นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ของวาณิชธนกิจ (investment bank) ได้รบั ข้อมูล ภายในมาจากบริษทั จดทะเบียนทีต่ วั เองเขียนรายงานวิเคราะห์ แล้วส่งต่อ ให้เทรดเดอร์ที่ทำ�งานในฝ่ายนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท เดียวกัน เทรดเดอร์เอาข้อมูลนั้นไปซื้อขายหุ้นในพอร์ตลงทุนส่วนตัว ก่อนทีข่ อ้ มูลนัน้ จะปรากฏเป็นข้อมูลสาธารณะ หรืออีกตัวอย่างทีเ่ กิดขึน้ บ่อยครั้งและแพร่หลายมากในตลาดหุ้นหลายประเทศคือ เทรดเดอร์ คนนั้นเป็นผู้จัดการกองทุนที่สั่งซื้อหุ้นเข้าพอร์ตตัวเอง เสร็จแล้วก็ไป เกลี้ยกล่อมให้ลูกค้าซื้อหุ้นตัวเดียวกันในปริมาณมากๆ 81 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 81

3/20/11 8:35 PM


ตัวอย่างการลงทุนตัดหน้าที่ผิดกฎหมาย ตัวอย่าง #1: บลจ. ไทยเจริญ เพิ่งเกลี้ยกล่อมให้ลูกค้าใหม่คือ คุณสุดใจ พันล้าน ลงทุน 10 ล้านบาทในกองทุนส่วนบุคคลที่ตัวเอง บริหารจัดการ บลจ. ไทยเจริญสั่งซื้อหุ้น 10,000 หุ้นในบริษัทยานยนต์ แห่งหนึ่งคือ YNP เข้าพอร์ตลงทุนของบริษัท (proprietary trading) จากนั้นวันต่อมาก็ไปหว่านล้อมให้คุณสุดใจอนุมัตินโยบายลงทุนของ กองทุนส่วนบุคคลที่เธอเพิ่งเปิดว่า เงิน 50% ในพอร์ตลงทุนควรใช้ซื้อ หุ้นบริษัทยานยนต์ ต่อมา บลจ. ไทยเจริญก็สั่งซื้อหุ้น YNP 1,000,000 หุ้น ด้วยเงินของคุณสุดใจ เข้าพอร์ตของคุณสุดใจ ทำ�ให้ราคาหุ้น YNP ทะยานขึ้น บลจ. ไทยเจริญได้กำ�ไรจากหุ้น 10,000 หุ้นที่ซื้อไปแล้วก่อน หน้านี้ ตัวอย่าง #2: ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ของ บล. ไทยรวย บริษทั หลักทรัพย์ที่ฝ่ายวิเคราะห์มีชื่อเสียงและอิทธิพลสูง กำ�ลังจะตีพิมพ์บท วิเคราะห์หุ้น LH ล่าสุดที่จะแปะป้าย “strong buy” (สมควรซื้ออย่างยิ่ง) นักวิเคราะห์โทร.ไปบอกเพื่อนๆ ในฝ่ายโบรกเกอร์และฝ่ายวาณิชธนกิจ ของไทยรวย เพื่อนๆ เหล่านั้นละล่ำ�ละลักคำ�ขอบคุณ ไปซื้อหุ้น LH รวมกัน 100,000 หุ้น สองวันก่อนที่บทวิเคราะห์จะออก (โดยไม่ใช้ชื่อ ตัวเอง เดี๋ยวฝ่ายตรวจสอบภายในจะรู้ ใช้บัญชีชื่อคนอื่นหรือที่เรียกว่า “นอมิน”ี ปลอดภัยกว่า) ต่อมาเมือ่ ตลาดมีปฏิกริ ยิ าต่อบทวิเคราะห์ดงั กล่าว นักลงทุนแห่ไปซื้อหุ้น LH ตามคำ �แนะนำ� หุ้น LH ก็ปรับตัวสูงขึ้น ทำ�กำ�ไรให้เพื่อนๆ ของนักวิเคราะห์ในไทยรวย รํ่ารวยกันถ้วนหน้า สมชื่อบริษัท จากตั ว อย่ า งข้ า งต้ น จะเห็ น ว่ า การลงทุ น แบบตั ด หน้ า ที่ ผิ ด กฎหมายนั้น ล้วนผิดกฎหมายเพราะเป็นการใช้ “ข้อมูลภายใน” ทั้งสิ้น และการใช้ข้อมูลภายในก็เป็นเรื่องผิดกฎหมายในตลาดหุ้นทุกประเทศ ดังที่มันสมควรจะผิด เพราะเท่ากับเป็นการเอาเปรียบนักลงทุนคนอื่น อย่างไม่เป็นธรรม ถ้าการใช้ข้อมูลภายในไม่ผิดกฎหมาย ก็คงไม่มีนัก 82 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 82

3/20/11 8:35 PM


ลงทุนคนไหนอยากได้กำ�ไรในตลาดหุ้นโดยสุจริต หาวิธีไปเป็น “บุคคล ภายใน” ทีล่ ว่ งรูข้ อ้ มูลภายในตลอดเวลาโดยตำ�แหน่งหน้าที่ เช่น พนักงาน บริษัทจดทะเบียน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ผู้จัดการกองทุนขนาดใหญ่ ฯลฯ หรือไปตีสนิทกับบุคคลเหล่านี้ดีกว่า ตลาดหุ้นก็จะเป็นตลาด “เล่น พวก” ที่มีแต่บุคคลภายในเท่านั้นที่ทำ�กำ�ไรได้อย่างไร้ความเสี่ยง ทำ�ให้ ตลาดหุน้ มีสภาพไม่ตา่ งจาก “ทุนนิยมเส้นสาย” หรือ “ทุนนิยมพวกพ้อง” ซึ่งเป็นสภาพที่ไม่มีสังคมไหนปรารถนา และดังนั้นการใช้ข้อมูลภายใน จึงผิดกฎหมายหลักทรัพย์ทุกประเทศ แตกต่างกันเพียงบทลงโทษและ การพิสูจน์ “เจตนา” เท่านั้นว่าจะต้องมีองค์ประกอบใดบ้าง ใช้พยาน หลักฐานขนาดไหน ตัวอย่างการลงทุนตัดหน้าที่ไม่ผิดกฎหมาย ในแวดวงการเงิน การลงทุนตัดหน้าที่ไม่ผิดกฎหมายนั้นมัก จะถูกมองว่าเป็นการลงทุนที่ “ผิดจรรยาบรรณ” หรือไม่ก็เป็น “กาฝาก” (parasitic) ที่น่ารังเกียจ เพราะกำ�ไรจากเทรดเดอร์ไม่ได้มาจาก “ฝีมือ” ของเทรดเดอร์เอง แต่มาจากการเฝ้าศึกษาแบบแผนการซือ้ ขายหุน้ ของ เทรดเดอร์คนอื่นแล้วทำ�ตาม พูดง่ายๆ ว่า เทรดเดอร์เหล่านี้ “กินแรง” คนอื่น เพราะไม่ได้ใช้ความสามารถของตัวเองในการวิเคราะห์ปัจจัย พื้นฐานของหุ้นหรือคิดค้นกลยุทธ์การลงทุนที่ชาญฉลาด ใช้แค่ความ มุมานะอุตสาหะและความช่างสังเกตเป็นหลัก ตัวอย่าง #1: การลงทุนตัดหน้าแบบไม่ผดิ กฎหมายทีท่ ำ�กันอย่าง แพร่หลายเรียกว่า “กระโดดทีละเซ็นต์” (penny jumping) ในสำ�นวนฝรัง่ เช่น สมมุตวิ า่ เทรดเดอร์คนหนึง่ เห็น บล. เลือดนํา้ เงิน สัง่ ซือ้ หุน้ XOM (หุน้ สมมุต)ิ จำ�นวน 500,000 หุน้ ทีร่ าคาหุน้ ละ 1.50 บาท เทรดเดอร์คนแรก จึงไปสัง่ ซือ้ หุน้ XOM ทีร่ าคา 1.51 บาท ในจำ�นวนน้อยกว่านัน้ มาก ในกรณี นี้ถือว่าเทรดเดอร์ลงทุนแบบตัดหน้าเพื่อจำ�กัดความเสี่ยงของตัวเอง กล่าวคือ ถ้าราคาหุน้ ขึน้ ไปสูงกว่า 1.51 บาท เขาก็จะได้ก�ำ ไร แต่ถา้ ราคา 83 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 83

3/20/11 8:35 PM


ขึ้นไปไม่ถึง เขาก็จะยังสามารถขายหุ้น XOM ให้กับ บล. เลือดนํ้าเงิน ที่ราคา 1.50 บาทได้ เท่ากับขาดทุนเพียงหุ้นละ 1 สตางค์เท่านั้น ตัวอย่าง #2: นายสมคิด คิดเก่ง เป็นเทรดเดอร์ในบริษัทหลัก ทรัพย์แห่งหนึ่ง สังเกตเห็นว่าเพื่อนโบรกเกอร์ของเขาคือนายใจกล้า คิดเร็ว เพิ่งซื้อหุ้น PTT ให้ลูกค้าไป 50,000 หุ้น นายสมคิดรู้จาก ประสบการณ์ว่าลูกค้าของนายใจกล้าชอบซื้อหุ้นทีละมากๆ และชอบไล่ ซื้อหุ้นของบริษัททุกรายที่เป็นคู่แข่งของบริษัทจดทะเบียนที่เขาซื้อหุ้น ไม่นานหลังจากที่ซื้อหุ้นบริษัทนั้นๆ เมื่อคิดได้ดังนั้นแล้ว นายสมคิดจึง รีบไปสั่งซื้อหุ้นสองตัวที่อยู่ในอุตสาหกรรมพลังงานเหมือนกับ PTT คือ IRPC กับ ESSO ก่อนที่นายใจกล้าจะซื้อหุ้นของบริษัททั้งสอง ในกรณี นี้ ถ้ า นายสมคิ ด ซื้ อ หุ้ น ตั ด หน้ า นายใจกล้ า เพี ย ง เพราะอ่ า นนิ สั ย ของนายใจกล้ า ขาดและคาดการณ์ ถู ก ต้ อ งว่ า เขาจะ ทำ�อะไร การตัดหน้าของเขาก็ไม่ใช่เรือ่ งผิดกฎหมาย แต่ถา้ หากนายสมคิด รูม้ าว่าลูกค้าของนายใจกล้าจะสัง่ ซือ้ IRPC กับ ESSO เพราะนายใจกล้า เล่ า แผนนี้ ใ ห้ เ ขาฟั ง เองหรื อ มี ค นอื่ น ในบริ ษั ท ของนายใจกล้ า เล่ า ให้ฟัง กรณีนี้ก็จะเข้าข่ายการตัดหน้าแบบ “ใช้ข้อมูลภายใน” ซึ่งผิด กฎหมาย และนายใจกล้าหรือคนอื่นที่เล่าให้ฟังก็อาจผิดกฎหมายไป ด้วยในฐานะบุคคลที่ “ชักชวนให้บุคคลอื่นซื้อหรือขาย” หลักทรัพย์โดย ใช้ข้อมูลภายใน ตามมาตรา 241 ของ พ.ร.บ. หลักทรัพย์ ตัวอย่าง #3: บางครั้ง การสั่งซื้อหรือขายหุ้นคราวละมากๆ แบบใช้ราคาตลาด (market order หมายความว่าให้ใช้ราคาเสนอซื้อ สูงสุดหรือเสนอขายตํา่ สุดในขณะนัน้ ) เท่ากับเปิดโอกาสให้เทรดเดอร์ใน ตลาดสัง่ ซือ้ หรือขายหุน้ ตัดหน้า ยกตัวอย่างเช่น กองทุนเก็งกำ�ไรระยะสัน้ ต่างชาติชอื่ Alpha Investments มีพอร์ตลงทุน 100,000 ล้านบาท อยาก ย้ายเงิน 10% ของพอร์ตลงทุนไปซื้อหุ้น SCC แต่ไม่สามารถซื้อหุ้น SCC 10,000 ล้านบาทในคราวเดียวได้ จึงต้องค่อยๆ ทยอยส่งคำ�สั่ง ซื้อ เทรดเดอร์คนอื่นๆ ที่จับตามองพฤติกรรมของ Alpha Investments 84 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 84

3/20/11 8:35 PM


อาจคาดการณ์ถกู ต้องว่า Alpha จะซือ้ SCC ไปเรือ่ ยๆ ซึง่ จะทำ�ให้ราคา หุ้นถีบตัวสูงขึ้น และดังนั้นจึงตัดหน้าด้วยการสั่งซื้อ SCC ก่อนที่ Alpha จะส่งคำ�สั่งล็อตต่อๆ ไป (ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่จึง มักจะอำ�พรางขนาดของจำ �นวนหุ้นที่ตนต้องการซื้อขายด้วยการส่ง คำ�สัง่ ผ่านโบรกเกอร์หลายแห่ง และดังนัน้ การลงทุนตัดหน้าของผูบ้ ริหาร กองทุนขนาดใหญ่ทรี่ ลู้ ว่ งหน้าว่ากองทุนของตนต้องการซือ้ ขายหุน้ ตัวใด บ้างในจำ�นวนเท่าใด จึงเป็นพฤติกรรมที่ไม่เพียงแต่ผิดกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นการใช้ประโยชน์จากอำ�นาจหน้าที่ชนิดที่เรียกว่า ผิดจรรยาบรรณร้ายแรงอีกด้วย) ส่วนการลงทุนแบบดักหลังลูกค้า หรือที่เรียกว่า tailgating ซึ่งหมายถึงการซื้อหรือขายภายหลังจากที่ลูกค้าซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ตัวเดียวกันไม่นานนั้น มักไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมายเหมือนกันกับการ ดักหน้า แต่เป็นเรื่องที่ดู “น่าเกลียด” มากกว่า เนื่องจากเทรดเดอร์อาจ ไม่ได้กำ�ไรอย่างแน่นอนจากการดักหลัง และดังนั้นจึงไม่แน่ชัดว่าได้ใช้ ข้อมูลภายใน (เช่น ความรูท้ วี่ า่ วันนีล้ กู ค้าจะซือ้ หรือขายหุน้ ตัวนี)้ ในการ ซือ้ ขายหรือไม่ เช่น ถ้านายสมคิดซึง่ เป็นผูจ้ ดั การกองทุนรูว้ า่ กองทุนทีต่ น บริหารอยู่จะไปซื้อหุ้น PTT จำ�นวน 100,000 หุ้น ซึ่งมากพอที่จะทำ�ให้ ราคาทะยานขึ้นอย่างแน่นอน นายสมคิดก็น่าจะไปซื้อดักหน้ากองทุน เพราะได้กำ�ไรค่อนข้างชัวร์ แทนที่จะไปซื้อทีหลัง เพราะเมื่อกองทุนซื้อ หุ้นไปแล้วก็อาจมีคนเทขายเป็นจำ�นวนมาก ทำ�ให้ราคาหุ้นตกลงแทนที่ จะปรับตัวสูงขึ้น แทนที่นายสมคิดจะได้กำ�ไรกลับขาดทุน หน้าทีห่ ลักของ ก.ล.ต. ทุกประเทศคือการกำ�กับดูแลธุรกรรมใน ตลาดหลักทรัพย์ให้ด�ำ เนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรม และดั ง นั้ น จึ ง ย่ อ มมี อำ � นาจตามกฎหมายที่ จ ะเอาผิ ด กั บ ผู้ ใ ดก็ ต ามที่ เอาเปรียบนักลงทุนในตลาดอย่างไม่เป็นธรรม ด้วยการใช้ข้อมูลภายใน ในการซื้ อ ขายหลั ก ทรั พ ย์ ไม่ ว่ า ผู้ ก ระทำ � ผิ ด จะเป็ น ผู้ บ ริ ห ารบริ ษั ท จดทะเบียน ผู้จัดการกองทุน วาณิชธนกร ผู้สอบบัญชี หรือบุคคลอื่นใด 85 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 85

3/20/11 8:35 PM


การแก้ปัญหาหนี้ที่ยั่งยืน

ผูเ้ ขียนรูส้ กึ ดีใจทีเ่ ห็นรัฐบาลชุดนี้ นำ�โดย อภิสทิ ธิ์ เวชชาชีวะ นายก รัฐมนตรี และ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศแนวทางแก้ ไ ขปั ญ หาหนี้ น อกระบบที่ ชั ด เจนและเป็ น รูปธรรม โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวในงาน “ก้าวทีย่ งั่ ยืนสูช่ วี ติ ใหม่ ปลอดหนีน้ อกระบบ” ทีจ่ ดั โดยกระทรวงการคลัง วันที่ 16 สิงหาคม 2553 ตอนหนึ่งว่า “การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ และหนี้สินภาค ประชาชน ต้องมุ่งเน้นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน โดยไม่ หวังผลทางการเมืองระยะสั้น ต้องไม่ใช่การแจกเงิน ไม่ว่าจะเป็น การชำ�ระหนี้แทน หรือการคิดดอกเบี้ยที่ตํ่าเกินไป แต่ต้องมีการ กลั่นกรองอย่างรอบคอบ ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพลูกหนี้” 86 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 86

3/20/11 8:35 PM


อย่างไรก็ตาม นโยบายด้านการแก้ปัญหาหนี้สินของรัฐบาลนี้ และรัฐบาลในอดีตแทบทุกชุด รวมถึงแนวคิดเรื่องนี้ของธนาคารแห่ง ประเทศไทย ส่วนใหญ่ยังตั้งอยู่บนความเชื่อว่า ปัญหาใหญ่ของหนี้ สินภาคประชาชนอยู่ที่ 1. หนี้นอกระบบ และ 2. การเข้าไม่ถึงบริการ ทางการเงิน โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยที่อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล ในความเป็ น จริ ง ถึ ง แม้ ท างการอาจมองว่ า สองเรื่ อ งนี้ เ ป็ น “ปัญหา” มันก็ไม่ใช่ปญ ั หาทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ของลูกหนีไ้ ทย ข้อมูลจากผลสำ�รวจ ของสำ�นักงานสถิตแิ ห่งชาติในปี 2552 พบว่า ครัวเรือนกว่าร้อยละ 82.9 เป็นหนี้ในระบบ โดยมียอดหนี้เฉลี่ยสูงถึง 127,152 บาทต่อครัวเรือน ขณะที่มีครัวเรือนเพียงร้อยละ 7.4 ที่เป็นหนี้นอกระบบ มียอดหนี้เฉลี่ย ราว 6,140 บาทต่อครัวเรือน ส่วนการเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินนั้น ถ้าหมายถึงแค่บริการ ในระบบ คือธนาคารพาณิชย์ ประชาชนกว่า 18 ล้านคนก็เข้าไม่ถึงจริง แต่ไม่ได้แปลว่าเขาเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินใดๆ เลย เพราะปัจจุบัน ประเทศไทยมีองค์กรการเงินระดับชุมชนมากมาย ทั้งที่ชาวบ้านตั้งเอง และที่ตั้งโดยนโยบายรัฐ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มออมทรัพย์ สัจจะลดรายจ่าย วันละบาท สหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนหมู่บ้าน ธนาคารชุมชน ฯลฯ กลุม่ เหล่านีม้ อี ยูม่ ากมายนับแสนแห่งทัว่ ประเทศ เรียกรวมกันว่า “องค์กรการเงินฐานราก” กลุ่มส่วนใหญ่ยังไม่มีระบบคิดหรือความเป็น สถาบันมากพอที่จะเรียกได้ว่าเป็น “ไมโครไฟแนนซ์” ตามนิยามสากล แต่ ก็ มี ส่ ว นน้ อ ยที่ น่ า จะไปไกลถึ ง ขั้ น นั้ น ได้ ใ นอนาคต ถ้ า ได้ รั บ การ สนับสนุนอย่างตรงจุดจากภาครัฐ โดยเฉพาะการวางระบบบัญชีและ ความรู้ด้านการบริหารจัดการเงิน ลำ�พังการเป็นหนี้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้ในระบบหรือนอกระบบ ย่อม ไม่ใช่ปัญหาในตัวมันเองถ้าเราชำ�ระหนี้ได้ตรงเวลา “ปัญหาหนี้” จึงต้อง หมายถึงเฉพาะกรณีที่ลูกหนี้มีหนี้เกินตัว ชำ�ระหนี้คืนไม่ได้ด้วยตัวเอง ต้องค้างชำ�ระหรือไม่ก็กู้เงินจากเจ้าหนี้รายใหม่มาโปะหนี้ก้อนเก่า หรือ 87 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 87

3/20/11 8:35 PM


ที่เรียกกันว่า “ผลัดผ้าขาวม้า” ในเมื่อหนี้เป็นเรื่องส่วนตัว ลองมาดูกรณีตัวอย่างกันเล็กน้อย เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ลูกหนี้คนแรกชื่อพัชรี กู้เงินธนาคารมาเปิดร้านขายของชำ� ในหมู่บ้าน มีรายได้พอใช้หนี้ธนาคารทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยตรงเวลา ทุกงวดตลอดปีแรก แต่พอขึน้ ปีทสี่ อง สามีของเธอเกิดล้มป่วยกะทันหัน จนต้องเข้าโรงพยาบาล ทั้งครอบครัวไม่มีใครเคยทำ�ประกัน มีเงินออม ไม่มากพอทีจ่ ะจ่ายค่ารักษาส่วนทีน่ โยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคไม่จา่ ยให้ สถานการณ์บบี คัน้ ให้เธอต้องเอารายได้จากการขายของมาช่วยสามีกอ่ น แล้วไปกู้เงินจากเจ้าหนี้นอกระบบในหมู่บ้านมาจ่ายธนาคาร (กรณีนี้ เท่ากับเอาเงินกู้ในระบบออกไปนอกระบบ) ถ้าโชคช่วยและดอกเบีย้ นอกระบบไม่โหดหินเกินความสามารถ ของพัชรีในการจ่าย เธอก็จะสามารถทยอยชำ�ระหนี้ก้อนใหม่ได้จากการ ขายของชำ� เหมือนก่อนหน้านี้ที่ชำ�ระหนี้ธนาคารได้ แต่ความมั่นคงใน ชีวิตของเธอและครอบครัวอาจลดน้อยถอยลง เช่น ก่อนหน้านี้ตอนที่ จ่ายดอกเบีย้ ธนาคารร้อยละ 7 ต่อปี สามีกท็ �ำ งาน ครอบครัวของเธออาจ ออมเงินได้เดือนละ 3,000 บาท แต่ตอนนี้เมื่อผลัดผ้าขาวม้าไปเป็นหนี้ นอกระบบ สามีก็ล้มป่วยทำ�งานไม่ได้ เธอก็ออมเงินไม่ได้เลยเพราะต้อง จ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อเดือน เท่ากับร้อยละ 36 ต่อปี สูงกว่าดอกเบี้ย ธนาคารกว่า 5 เท่า พัชรีตอ้ งกัดฟันผ่อนชำ�ระหนีก้ อ้ นนีใ้ ห้หมดก่อนทีจ่ ะ ออมเงินได้ใหม่ ในบริบทเช่นนี้ การผลัดผ้าขาวม้าของพัชรีจึงเป็นการกระทำ� ที่ทั้งเข้าใจได้และน่าเห็นใจ การที่เธอชำ�ระหนี้ธนาคารไม่ได้ด้วยตัวเอง ย่อมไม่ได้แปลว่าเธอเป็นลูกหนี้ที่ไม่ดี อยากเบี้ยวหรือไม่รับผิดชอบแต่ อย่างใด แต่เผชิญกับเหตุสุดวิสัย (สามีล้มป่วย) ที่ท�ำ ให้ประสบปัญหา ทางการเงิน ที นี้ ม าดู อี ก กรณี ห นึ่ ง ลู ก หนี้ ค นนี้ ชื่ อ นายพิ ชั ย ทำ � งานเป็ น 88 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 88

3/20/11 8:35 PM


พนักงานออฟฟิศในกรุงเทพฯ ไม่มคี รอบครัว เขาใช้ชวี ติ อย่างสนุกสนาน และปราศจากการวางแผนทางการเงิ น เรื่ อ งเงิ น ออมไม่ ต้ อ งพู ด ถึ ง เงินเดือนและโบนัสของพิชยั พอจ่ายสินเชือ่ คอนโดและรถยนต์ทเี่ ขาผ่อน แต่ไม่พอสำ�หรับไลฟ์สไตล์ฟู่ฟ่าและฟุ้งเฟ้อที่เขาชอบ ทำ�ให้พิชัยมีบัตร เครดิต 4-5 ใบ ใช้เต็มวงเงินและหมุนเงินไม่ทัน ต้องหันไปพึ่งเงินด่วน เสาไฟฟ้า กลายเป็นลูกหนี้นอกระบบและถูกทวงหนี้แบบข่มขู่คุกคาม หลังจากที่ผิดนัด ลูกหนี้สมมุติรายต่อมาชื่อ นายไพศาล เกษตรกรรายย่อยจาก ชัยภูมิ มีที่นาเป็นของตัวเอง 20 ไร่ มีรายได้จากการปลูกพืชเศรษฐกิจ ขาย ส่วนใหญ่เป็นข้าวและข้าวโพด เขาเป็นหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สีแ่ สนบาทมาหลายปีแล้ว ถึงแม้วา่ อัตรา ดอกเบีย้ จะค่อนข้างถูกคือร้อยละ 5 ต่อปี เขาก็ยงั ประสบปัญหาชำ�ระหนี้ ไม่ได้หลายครัง้ ต้องผลัดผ้าขาวม้าบางส่วนจากกลุม่ ออมทรัพย์ในหมูบ่ า้ น เพราะขายข้าวและข้าวโพดไม่ได้ราคาดีพอที่จะไปชำ �ระหนี้ หลังจาก หักค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ต้องใช้ในการเพาะปลูก โดยเฉพาะค่าปุ๋ยและค่า นํ้ามันรถไถที่สูงขึ้นทุกปี นอกจากนี้ ปีหลังๆ ไพศาลต้องประสบกับ ปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงและถี่กว่าสมัยก่อนมาก ผลผลิตที่เคยคิดว่าจะได้ กลับไม่ได้ ซํ้าเติมภาระหนี้สินให้สาหัสขึ้นเรื่อยๆ สังคมไทยปัจจุบันเต็มไปด้วยคนอย่างพัชรี พิชัย กับไพศาล ที่ ซับซ้อนคือลูกหนีจ้ �ำ นวนมากเป็นส่วนผสมของคนทัง้ สามในคนคนเดียว นั่นคือ หนี้บางก้อนจ่ายไม่ได้เพราะกู้มาใช้จ่ายยามฉุกเฉินและรายได้ ยังไม่พอใช้ บางก้อนจ่ายไม่ได้เพราะอยากมีไลฟ์สไตล์ที่โก้หรูเกินฐานะ ของตัวเอง และบางก้อนก็จ่ายไม่ได้เพราะประกอบอาชีพที่ได้ก�ำ ไรน้อย หรือมีความเสี่ยงสูงมาก การแก้ปัญหาหนี้ที่ได้ผลและยั่งยืนจึงใช้วิธีการแบบเหมารวม ไม่ได้ ต้องแยกแยะให้ออกระหว่างหนี้แต่ละแบบซึ่งแตกต่างกันไปตาม สถานการณ์เฉพาะตัวของลูกหนี้แต่ละคน หลักการสำ�คัญของการแก้ 89 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 89

3/20/11 8:35 PM


ปัญหาหนีอ้ ยูท่ กี่ ารหา “ทางสายกลาง” ให้พบ ระหว่างการยกหนีใ้ ห้เฉยๆ ทั้งจำ�นวน (ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหา “จริยวิบัติ” (moral hazard) คือ ลูกหนีจ้ งใจก่อหนีเ้ กินตัวในอนาคตเพราะเชือ่ ว่าเดีย๋ วรัฐบาลก็มายกหนีใ้ ห้ บั่นทอนวินัยทางการเงินและทำ�ให้สิ้นเปลืองเงินงบประมาณไปเปล่าๆ) กับการบังคับให้ลกู หนีจ้ า่ ยหนีต้ รงตามเงือ่ นไข (ซึง่ อาจทำ�ให้ลกู หนีถ้ งึ ขัน้ สิน้ เนือ้ ประดาตัวหรือเครียดจนฆ่าตัวตาย ดังทีป่ รากฏเป็นข่าวอยูเ่ นืองๆ) “ทางสายกลาง” ทีน่ ยิ มใช้ นัน่ คือ การเจรจาประนอมหนีแ้ ละปรับโครงสร้าง หนี้ในทางที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของลูกหนี้ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ก่อ ปัญหาจริยวิบัติ หรือบั่นทอนวินัยทางการเงินจนเกิดปัญหาจ่ายหนี้อีก ในอนาคต จึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ถึงทีส่ ดุ แล้ว ปัญหาหนีท้ แี่ ท้จริง (ไม่มเี งินพอจ่าย) นัน้ เป็นเพียง อาการของโรค ไม่ใช่รากสาเหตุของโรค การรักษาอาการนัน้ ช่วยบรรเทา ความเดือดร้อนก็จริง แต่กบ็ รรเทาได้เพียงแค่ชวั่ คราวเท่านัน้ ตราบใดที่ ไม่แก้ปัญหาที่รากสาเหตุ ไม่ช้าก็เร็วคนจะกลับมามีปัญหาหนี้รอบใหม่ การแก้ปัญหาหนี้ที่ยั่งยืนจึงจะต้องแก้ที่รากสาเหตุ คนอย่างพัชรีไม่น่าวิตกมากนัก เพราะไม่มีนิสัยก่อหนี้เกินตัว ปัญหาหนีข้ องเธอเกิดจากเหตุสดุ วิสยั การปรับโครงสร้างหนีแ้ ละนโยบาย แก้ปญ ั หาหนีน้ อกระบบของรัฐบาล อย่าง “บัตรลดหนี้ วินยั ดีมวี งเงิน” น่า จะช่วยคนอย่างเธอได้ อย่างไรก็ดี รัฐบาลก็ควรไปดูแลด้วยว่า ธนาคาร ที่เข้าร่วมโครงการนี้จะเต็มใจปล่อยกู้ให้กับลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง และ ปรับปรุงศักยภาพของธนาคารในการบริหารความเสีย่ งให้มปี ระสิทธิภาพ กว่าเดิม ไม่ใช่ปล่อยให้ธนาคารไม่ปล่อยกู้เพราะอ้างว่าคนอย่างพัชรีมี ความเสีย่ งสูงเกินไป กลายเป็นว่าอยาก “หนี” ความเสีย่ ง ไม่ใช่ “บริหาร” ความเสี่ยงในระดับที่ธนาคารพึงกระทำ� คนอย่างพิชัยมีปัญหาหนี้เพราะขาดวินัยทางการเงินเป็นหลัก คือกู้เงินเกินความสามารถในการชำ �ระคืน ควรต้องตั้งข้อสังเกตกับ เจ้าหนี้ที่ปล่อยกู้ด้วยว่า มีส่วนกระตุ้นให้พิชัยใช้จ่ายเงินเกินตัวหรือไม่ 90 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 90

3/20/11 8:35 PM


เช่ น ซุ ก ซ่ อ นค่ า ธรรมเนี ย มและเงื่ อ นไขสำ � คั ญ และหละหลวมใน กระบวนการปล่อยกู้ วิธีแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนของคนอย่างพิชัยคือ บรรจุเรื่อง “การอ่านออกเขียนได้ทางการเงิน” (financial literacy) เป็น วิชาบังคับตัง้ แต่ระดับประถมถึงมัธยม เพือ่ ให้ประชาชนตระหนักในความ สำ�คัญของการวางแผนทางการเงินและการออม ส่วนในด้านเจ้าหนี้ รัฐควรส่งเสริมการแข่งขันทีเ่ สรีและเป็นธรรม ควบคูไ่ ปกับการปรับปรุงกลไกคุม้ ครองผูบ้ ริโภคทางการเงิน เช่น บังคับ ให้สถาบันการเงินเปิดเผยข้อมูลเกีย่ วกับดอกเบีย้ และค่าธรรมเนียมต่างๆ ในภาษาทีช่ าวบ้านเข้าใจง่าย ในระยะยาว รัฐอาจพิจารณาออกกฎหมาย ยืน่ ล้มละลายโดยสมัครใจ (voluntary bankruptcy) สำ�หรับลูกหนีร้ ายย่อย คนอย่างไพศาลมีปัญหาหนี้เพราะประกอบอาชีพที่ไม่ได้กำ�ไร พอจ่ายหนี้ ปัญหาของเขาแก้ยากที่สุดเพราะอาจผูกโยงกับโครงสร้าง ธุรกิจทีไ่ ม่เป็นธรรม หรือเป็นความผิดพลาดเชิงนโยบาย เช่น เกษตรกร กู้เงินมาปลูกพืชเศรษฐกิจเพราะนักการเมืองคุยโวว่าจะได้ราคาดีแน่ พอถึงเวลาจริงกลับไม่ใช่ หนีเ้ กษตรกรกลายเป็นหนีเ้ สียโดยทีน่ กั การเมือง ไม่รับผิดชอบ การแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนสำ�หรับคนอย่างไพศาล หนีไม่พ้น การแก้ปัญหาระดับโครงสร้างอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการหาทางเพิ่ม รายได้ ทลายอำ�นาจผูกขาดของพ่อค้าคนกลางถ้ามีการผูกขาดจริง ปรับปรุงผลิตภาพต่อไร่ สร้างกลไกลดความเสี่ยงสำ�หรับเกษตรกร เช่น ส่งเสริมประกันพืชผลบนดัชนีภูมิอากาศ (weather index insurance) และยกหนี้ทั้งจำ�นวนในกรณีที่ชัดเจนว่าหนี้นั้นเกิดจากความผิดพลาด หรือคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย เพราะเป็นหนี้ที่ไม่เป็นธรรม.

91 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 91

3/20/11 8:35 PM


ซีเอสอาร์ของธนาคาร

ในยุคที่ภาคธุรกิจถูกกดดันจากผู้มีส่วนได้เสียภายนอกทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภค สังคม รัฐ เอ็นจีโอ และชาวบ้านในชุมชน ให้แสดง “ความรับผิดชอบต่อสังคม” หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ซีเอสอาร์” (CSR - corporate social responsibility) ในเมืองไทย มากขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ภาคธนาคารซึง่ เป็นกลไกทีข่ าดไม่ได้ในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งระบบก็มีบทบาทที่สำ�คัญอย่างยิ่งในเรื่องนี้ ทั้งในฐานะองค์กรที่ทำ�ธุรกิจการเงิน และในฐานะ “ตัวกลาง” ที่ จัดสรรทุนให้กับธุรกิจอื่น สองฐานะนี้ทำ�ให้ธนาคารมีศักยภาพ ทีจ่ ะหนุนเสริมหรือเหนีย่ วรัง้ ระดับซีเอสอาร์โดยรวมของภาคธุรกิจ ได้อย่างทรงพลังกว่าธุรกิจอื่น 92 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 92

3/20/11 8:35 PM


แต่ธรุ กรรมของธนาคารส่วนใหญ่เป็นบริการทางการเงินทีข่ บั ดัน ด้วยตัวเลขและมันสมอง มองเห็นและประเมินมูลค่าของผลกระทบต่อผูม้ ี ส่วนได้เสียฝ่ายต่างๆ ไม่งา่ ยเหมือนกับอุตสาหกรรมผลิตสินค้าทีจ่ บั ต้อง ได้ (ลองคิดเล่นๆ ว่าเรานึกถึงผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมและผูบ้ ริโภคของ อะไรได้ชัดเจนกว่ากัน – โรงงานผลิตกระดาษ หรือบัตรเครดิต?) ทำ�ให้ เกิดคำ�ถามว่า รูปธรรมของ “ความรับผิดชอบต่อสังคม” ของธนาคารคือ อะไร? ก่อนทีจ่ ะพูดถึงรูปธรรมของซีเอสอาร์ธนาคาร ลองมาทวนความ จำ�กันเล็กน้อยว่า มาตรฐานด้านซีเอสอาร์ที่เริ่มเป็น “สากล” พอที่หลาย พันบริษัทได้นำ�ไปพยายามทำ�ตามนั้นมีอะไรบ้าง UN Global Compact5 ข้อตกลงระดับโลกชุดแรกที่บริษัท หน่วยงานรัฐ เอ็นจีโอด้านแรงงาน เอ็นจีโอด้านสิง่ แวดล้อม เอ็นจีโอด้าน สิทธิมนุษยชน และผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายอื่นร่วมกันคิดค้น โดยมีองค์การ สหประชาชาติเป็นเจ้าภาพ ปัจจุบนั มีผลู้ งนามแล้วกว่า 7,700 บริษทั จาก 130 ประเทศทั่วโลก มีหลักการ 10 ข้อ แบ่งเป็น 4 หัวข้อใหญ่ ได้แก่ – 1. ด้านสิทธิมนุษยชน – ข้อ (1) สนับสนุนและเคารพในการ ปกป้องสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากล, (2) หมั่นตรวจตราดูแลมิให้ ธุรกิจของตนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน 2. ด้านแรงงาน – ข้อ (3) พิทักษ์เสรีภาพในการรวมกลุ่มของ แรงงานและการรับรองสิทธิในการเจรจาต่อรองกับนายจ้าง, (4) ขจัดการ ใช้แรงงานเกณฑ์และแรงงานภาคบังคับทุกรูปแบบ, (5) ยกเลิกการใช้ แรงงานเด็ก, (6) ขจัดการเลือกปฏิบัติด้านการจ้างงานและการประกอบ อาชีพ 3. ด้านสิ่งแวดล้อม – ข้อ (7) สนับสนุนหลักการป้องกันไว้ก่อน ในการรับมือกับความท้าทายด้านสิง่ แวดล้อม, (8) ริเริม่ โครงการทีส่ ง่ เสริม ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม, (9) ส่งเสริมการพัฒนาและเผยแพร่ เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 93 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 93

3/20/11 8:35 PM


4. ด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่น – ข้อ (10) ดำ�เนินธุรกิจด้วยวิธีที่ ต่อต้านคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ รวมทั้งการกรรโชกและการติดสินบน ส่วนซีเอสอาร์ในมาตรฐาน ISO 26000 ซึ่งเป็นมาตรฐานโดย สมัครใจที่ ISO ประกาศใช้ในปี 2010 ขยายความข้อตกลงโลกข้างต้น ให้ชดั เจนและขยับขยายขอบเขตให้กว้างขวางยิง่ ขึน้ ครอบคลุม 7 มิตหิ ลัก ได้แก่ ธรรมาภิบาลขององค์กร (organization governance), การเคารพ สิทธิมนุษยชน (human rights), การปฏิบตั ติ อ่ ผูใ้ ช้แรงงานอย่างเป็นธรรม (labor practices), ความรับผิดชอบต่อสิง่ แวดล้อม (environment), การ ดำ�เนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม (fair operating practices) ซึ่งรวมถึงการ ไม่คอร์รัปชั่น ไม่ใช้ข้อมูลบิดเบือนหรือพฤติกรรมข่มขู่ในการล็อบบี้ และ แข่งขันอย่างเป็นธรรม, ความรับผิดชอบต่อผูบ้ ริโภค (consumer issues) และการมีสว่ นร่วมกับชุมชนและสังคม (contribution to the community and society) ถ้าเรานำ� ISO 26000 และ UN Global Compact ข้างต้นมา ประยุกต์ใช้กบั ธุรกิจธนาคาร ซีเอสอาร์ของธนาคารก็นา่ จะมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ – 1. ธนาคารจะมุ่งพิทักษ์สิทธิมนุษยชนในองค์กร และไม่ขาย ผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินให้กับบริษัทที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการ ล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนทีใ่ ดก็ตาม เพือ่ ไม่ให้ตวั เองเข้าไปพัวพันกับการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนของผูอ้ นื่ (เช่น ไม่ปล่อยสินเชือ่ ให้กบั บริษทั นํา้ มันที่ กำ�ลังละเมิดสิทธิมนุษยชนของชนกลุ่มน้อยในพม่า) 2. ธนาคารจะไม่กดี กันพนักงานไม่ให้จดั ตัง้ สหภาพแรงงาน และ เปิดโอกาสให้พนักงานได้ใช้สิทธิในการเจรจาต่อรองอย่างเต็มที่ ไม่กลั่น แกล้งผู้นำ�สหภาพเช่นหาเรื่องไล่ออกจากงาน (ส่วนเรื่องการใช้แรงงาน เด็กและแรงงานภาคบังคับคงไม่เป็นปัญหาในธุรกิจธนาคาร) 3. ธนาคารจะไม่เลือกปฏิบตั ติ อ่ พนักงาน เช่น ปล่อยให้ผบู้ ริหาร คุกคามทางเพศ จ่ายเงินเดือนผู้หญิงกับผู้ชายไม่เท่ากันในตำ�แหน่ง 94 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 94

3/20/11 8:35 PM


เดียวกัน หรือตัดสินใจจ้างหรือเลิกจ้างพนักงานเพียงเพราะมีรสนิยม ทางเพศ ศาสนา หรือการเมืองตรงหรือไม่ตรงกับผู้บริหาร (คือไม่ได้ ตัดสินจากความสามารถเป็นหลัก) 4. ธนาคารจะดำ�เนินธุรกิจในทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและ ลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ประกาศเป้าหมายและวิธีการ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใช้วัสดุรีไซเคิลในที่ทำ�งาน รวมทั้งออก ผลิตภัณฑ์และบริการทีส่ ง่ เสริมให้ลกู ค้าเป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อมด้วย เช่น สินเชื่อสำ�หรับเทคโนโลยีสะอาด บัตรเครดิตสีเขียว (ร้านค้าที่เข้าร่วม โครงการล้วนดำ�เนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) ฯลฯ 5. ธนาคารจะไม่รับสินบนหรือกรรโชกสินบนจากลูกค้า นัก การเมือง หรือบุคคลอื่นใด 6. ธนาคารจะไม่ฮั้วกับคู่แข่งเพื่อใช้อำ�นาจตลาดกดดันลูกค้า ขึ้นหรือลดดอกเบี้ยไม่ให้เป็นไปตามกลไกตลาด หรือบีบบังคับคู่แข่ง ที่รายเล็กกว่า (ละเมิดหลัก “การทำ�ธุรกิจที่เป็นธรรม” (fair operating practices) ใน ISO 26000) ทัง้ 6 ข้อทีก่ ล่าวไปนัน้ เป็นความรับผิดชอบของธนาคารในฐานะ องค์กรที่ทำ�ธุรกิจ เหมือนกับธุรกิจสาขาอื่น แต่ในฐานะที่ธนาคารเป็น “สถาบันตัวกลาง” ที่ส่งผลกระทบสูงมากต่อสังคมในฐานะผู้จัดสรรทุน ในระบอบเศรษฐกิจ ความรับผิดชอบของธนาคารจึงต้องมีมากกว่า 6 ข้อ ข้างต้นเพื่อให้ครอบคลุมภาระหน้าที่ในฐานะสถาบันตัวกลาง ในงาน “ธุรกิจเพื่อสังคม พลังขับเคลื่อนประเทศไทย” วันที่ 7 กรกฎาคม 2553 คุณประสาร ไตรรัตน์วรกุล ในฐานะประธานสมาคม ธนาคารไทย ก่อนรับตำ�แหน่งเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคน ใหม่ ได้ยกหลักทศพิธราชธรรมสองข้อ คือ อาชวะ (ความซื่อตรง) และ อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียนผู้อื่น) ว่าจำ�เป็นต่อผู้ประกอบการทางการ เงิน ผู้เขียนคิดว่าหลักธรรมสองข้อนี้สรุปหัวใจของความรับผิดชอบที่ ธนาคารพึงมีในฐานะสถาบันตัวกลางได้อย่างดียงิ่ นำ�มาขยายความเป็น 95 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 95

3/20/11 8:35 PM


ข้อ 7 และ 8 ต่อจาก 6 ข้อด้านบนได้ว่า – 7. ธนาคารจะปฏิบตั หิ น้าทีด่ ว้ ยความซือ่ ตรง รักษาผลประโยชน์ ของลูกค้าในทุกกรณีที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและกฎระเบียบของรัฐ และไม่ ทำ�ให้ตัวเองต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยงว่าจะซื่อตรงไม่ได้ เช่น มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างผลประโยชน์ของตัวเองกับของลูกค้า แสวงหาประโยชน์จากอำ�นาจหน้าที่โดยที่ลูกค้าไม่รับรู้ หรือเอาเปรียบ ลูกค้า (เช่น ขูว่ า่ จะไม่ปล่อยสินเชือ่ ถ้าลูกค้าไม่ยอมขายหุน้ บางส่วนของ บริษัทตนให้กับผู้บริหารธนาคารในราคาถูกหรือให้เปล่า) 8. ธนาคารจะไม่เบียดเบียนผู้อื่น โดยเฉพาะลูกค้าผู้มีความรู้ ด้านการเงินน้อยกว่าพนักงานธนาคารมาก เช่น ล่อหลอกให้ลูกค้ากู้เงิน เกินตัว คิดดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมอย่างไม่เป็นธรรม (เช่น คิด ดอกเบี้ยบัตรเครดิตในอัตราดอกเบี้ยผิดนัดตั้งแต่วันแรกของงวด ไม่ใช่ ตัง้ แต่วนั แรกทีล่ กู ค้าค้างจ่ายอย่างทีค่ วรเป็น ทำ�ให้ลกู ค้าทีค่ า้ งชำ�ระตัง้ แต่ วันที่ 25 ถึง 30 อาจต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 30 ทั้งที่ผิดนัดมาแค่ 5 วันเท่านั้น) ผูเ้ ขียนคิดว่าหลักการทัง้ 8 ข้อทีก่ ล่าวไปนัน้ ครอบคลุม “ซีเอสอาร์ ของธนาคาร” ในทุกมิติที่ควรจะเป็น และธนาคารที่รับผิดชอบต่อสังคม จริงก็ควรต้องมีกลไกทีส่ ร้างแรงจูงใจให้พนักงานของตนทุกระดับปฏิบตั ิ ตามหลักการเหล่านี้ ส่วนภาครัฐเองก็ควรจะแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ในประเทศเพื่อสร้างหลักประกันว่าธนาคารจะมีความรับผิดชอบใน ประเด็นที่ส่งผลกระทบสูง เช่น ออกกฎหมายบังคับให้ธนาคารเปิดเผย ค่าธรรมเนียมและอัตราดอกเบี้ยในภาษาที่ชาวบ้านเข้าใจง่าย ยิ่งสภาพแวดล้อมในประเทศไม่เอื้ออำ �นวย (เช่น ผู้บริโภค ส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักในความสำ�คัญของสิ่งแวดล้อม หรือธนาคารยัง มองไม่เห็นโอกาสทางธุรกิจ) หน่วยงานรัฐยิง่ ควรใช้กลไกเชิงสถาบัน เช่น กฎหมายป้องกันการผูกขาด และมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูล บังคับให้ สถาบันการเงินรับผิดชอบต่อสังคมในระดับ “ความรับผิดชอบขั้นตํ่า” ที่ ควรมี 96 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 96

3/20/11 8:35 PM


อย่างไรก็ดี ประเด็นทีว่ า่ ธนาคารควรมีความรับผิดชอบอะไรบ้าง ที่กฎหมายบังคับให้มี และเรื่องอะไรที่สังคมควรปล่อยให้ธนาคารทำ�เอง โดยสมัครใจ ควรเป็นผลลัพธ์ของการถกเถียงสาธารณะระหว่างผู้มีส่วน ได้เสียทุกฝ่าย เพราะความรุนแรงของปัญหาและบริบทของแต่ละประเทศ ย่อมแตกต่างกัน ในรายละเอียด ธนาคารที่รับผิดชอบต่อสังคม (มีซีเอสอาร์) ในนิยามข้างต้นแต่ละแห่งน่าจะมีระดับความรับผิดชอบในแต่ละมิติ ไม่เท่ากัน ธนาคารบางแห่งอาจเป็น “ธนาคารสีเขียว” ที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมและปล่อยสินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อมมากมาย แต่ยังฮั้วกับ ธนาคารคู่แข่งในการขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ให้เร็วและขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก ให้ช้า ธนาคารอีกแห่งหนึ่งอาจเป็นธนาคารขนาดเล็กที่ไม่ฮั้วดอกเบี้ย กับใคร (เพราะเล็กเกินกว่าจะมีอำ�นาจฮั้ว) แต่เลือกปฏิบัติด้วยการรับ แต่ลูกค้าที่มีความคิดเห็นทางการเมืองที่ตรงใจเจ้าของธนาคาร ปัญหาและความท้าทายอยูท่ วี่ า่ เราจะ “รู”้ ได้อย่างไรว่าธนาคาร แต่ละแห่งมีความรับผิดชอบในด้านใดมากน้อยเพียงใด เพราะปัจจุบัน ข้อมูลเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังไม่ใช่ข้อมูลที่ธนาคารเปิดเผยต่อสาธารณะ ไม่วา่ จะโดยบังคับหรือสมัครใจ และข้อมูลบางอย่างก็แทบจะรูอ้ ย่างแน่ชดั ไม่ได้เลยถ้าปราศจากการยืนยันของ “บุคคลวงใน” (เช่นข้อกังขาที่ว่า ส่วนต่างดอกเบีย้ ของธนาคารเวลาทีพ่ งุ่ สูงมากนัน้ เกิดจากการฮัว้ กันของ ธนาคารรายใหญ่ หรือแค่เป็นผลลัพธ์ของภาวะการแข่งขันที่ไม่สมบูรณ์ เพราะมีเจ้าใหญ่ไม่กี่รายที่ครองตลาด) ปัจจุบันมีธนาคารหลายแห่งในโลกที่ก้าวไปไกลกว่าการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยพยายามเปลี่ยนทิศทางการพัฒนาอย่าง แข็งขันไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังตัวอย่างของธนาคารทรีโอดอส ผู้บุกเบิกวงการ “การธนาคารที่มีศีลธรรม” และ “การธนาคารที่ยั่งยืน” ธนาคารแบบทรีโอดอสผนวกรวมแนวคิด “การพัฒนาอย่าง ยั่งยืน” เข้าไปในธุรกิจหลัก ผสานผลประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 97 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 97

3/20/11 8:35 PM


เข้าไปในขัน้ ตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ พันธกิจ และกลยุทธ์ในการทำ� ธุรกิจของธนาคาร เช่น นำ�หลักเกณฑ์ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมาเป็น เงือ่ นไขในการปล่อยสินเชือ่ (socially responsible lending) และกลยุทธ์ การลงทุนของธนาคารเองและของลูกค้า (socially responsible investment) ตลอดจนพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อช่วยให้ธุรกิจที่ได้รับการ ยอมรับแล้วว่ายั่งยืนจริงถ้าทำ�จริง เช่น เทคโนโลยีสะอาด อาหารปลอด สารพิษ พลังงานหมุนเวียน สินค้าแฟร์เทรด ไมโครไฟแนนซ์ และธุรกิจ เพื่อสังคม สามารถเข้าถึงทุนได้อย่างง่ายดายกว่าเวลาติดต่อธนาคาร กระแสหลัก.

98 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 98

3/20/11 8:35 PM


ความแตกต่างระหว่างการกุศล ซีเอสอาร์ และกิจการเพือ่ สังคม

“นั ก ลงทุ น เพื่ อ สั ง คม” ส่ ว นใหญ่ ม องตรงกั น แล้ ว ว่ า ถ้ า หาก อารยธรรมมนุษย์จะเข้าสูค่ วามยัง่ ยืนในศตวรรษที่ 21 ได้จริง ภาค การเงินจะต้องหาวิธีจัดสรรทุนและทรัพยากรอื่นๆ ในทางที่มอง เห็นผลกระทบและผลตอบแทนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ นอกงบการเงินของบริษัท ปัจจัยหนึง่ ทีส่ �ำ คัญคือการแยกแยะให้ออกระหว่างการกุศลภาค ธุรกิจ (corporate philanthropy) ซีเอสอาร์เชิงตัง้ รับ (responsive CSR) ซีเอสอาร์เชิงรุกหรือซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ (strategic CSR) และกิจการ เพื่อสังคม (social enterprise) เพื่อจะได้มองเห็น “ภาพรวม” ว่าตกลง กิจการนี้ทำ�อะไรกันแน่ และไม่หลงกลบริษัทที่ทำ�แค่ 1 แต่โม้ว่าทำ� 10 99 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 99

3/20/11 8:35 PM


เนื่องจากกิจการแต่ละแห่งย่อมส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ฝ่ายต่างๆ ไม่เท่ากัน แล้วแต่ลักษณะธุรกิจและระดับความรับผิดชอบที่ ยอมทำ� การจะแยกแยะระหว่างกิจกรรมและกิจการ 4 ประเภทนี้จึงต้อง ระบุให้ชัดว่าหมายถึงธุรกิจใดในบริบทอะไร ผู้เขียนจึงจะดัดแปลงโจทย์ ทีอ่ อกเป็นข้อสอบปลายภาควิชา “ธุรกิจกับสังคมและชุมชน” ทีส่ อนนิสติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาถามเอง ตอบเอง ด้ ว ยความหวั ง ว่ า จะช่ ว ยสร้ า งความกระจ่ า งในภาวะที่ ค น ส่วนใหญ่ยังสับสนได้บ้างไม่มากก็น้อย คำ�ถาม: “การกุศลภาคธุรกิจ ซีเอสอาร์เชิงรับ ซีเอสอาร์เชิงรุก และกิจการ เพือ่ สังคม ของบริษทั นํา้ มันขนาดใหญ่ในประเทศไทย น่าจะมีหน้าตาและ รูปแบบเป็นอย่างไร” คำ�ตอบ: ผู้เขียนคิดว่ากิจกรรมและกิจการเหล่านี้ของบริษัทนํ้ามันขนาด ใหญ่น่าจะมีหน้าตาดังต่อไปนี้ 1. การกุศลภาคธุรกิจ (corporate philanthropy) การกุศลภาคธุรกิจ หมายถึงการเจียดเงินของบริษัทไปทำ�การ กุศล เนือ่ งจากการกุศลโดยธรรมชาติเป็นการให้โดยไม่หวังกำ�ไร การกุศล ของบริษทั นํา้ มันหลายอย่างจึงไม่ตา่ งจากการกุศลของบริษทั ในธุรกิจอืน่ อาทิ สมทบทุนสร้างเจดีย์ ให้ทนุ การศึกษาเด็ก แจกผ้าห่มต้านภัยหนาว ฯลฯ แต่บริษัทนํ้ามันน่าจะเน้นการทำ�การกุศลในชุมชนบริเวณที่ใกล้กับ โรงกลั่นหรือโรงงานของบริษัท เพราะนอกจากจะได้บุญและได้หน้าแล้ว ยังช่วยให้คนในชุมชนยอมรับการดำ�รงอยู่ของบริษัทได้มากขึ้น (ภาษา บริหารธุรกิจปัจจุบันเรียกการได้รับความยอมรับจากชุมชนว่า “license 100 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 100

3/20/11 8:35 PM


to operate” ซึ่งสำ�คัญกว่าใบอนุญาตจากทางการเสียอีก เพราะถ้า ทางการอนุญาตให้ตงั้ โรงงาน แต่คนในชุมชนไม่ยอมรับ สุดท้ายถึงบริษทั ตั้งโรงงานได้ก็จะเผชิญกับการคัดค้านจากชาวบ้านจนทำ�งานลำ�บาก) การกุศลแบบหนึ่งที่ใช้กันค่อนข้างเกร่อในสังคมไทยปัจจุบัน คือ การอ้างว่าทำ�โครงการ “เพื่อพ่อ” หรือ “ถวายพ่อ” เช่น “ลดโลกร้อน ถวายพ่อ” ซึ่งเท่าที่ผู้เขียนติดตามสังเกตการณ์ หลายบริษัทดูจะไม่ได้ ทำ�การกุศลทำ�นองนีเ้ พราะอยากช่วยเผยแพร่แนวคิดดีๆ ของโครงการใน พระราชดำ�ริ แต่ทำ�ไปเพราะอยาก “พะยี่ห้อ” ที่คนไทยรักและศรัทธา เพื่อเอาหน้าและป้องกันไม่ให้คนมาเพ่งเล็งหรือวิพากษ์วิจารณ์มากกว่า 2. ซีเอสอาร์เชิงรับหรือซีเอสอาร์เชิงปฏิกิริยา (responsive CSR) ซีเอสอาร์เชิงตั้งรับ หมายถึงการแสดงความรับผิดชอบต่อผู้มี ส่วนได้เสียหลังจากที่บริษัทได้ก่อความเสียหายอย่างชัดเจนให้กับผู้มี ส่วนได้เสียรายนั้นๆ แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ประกาศยกเครื่องมาตรฐาน ความปลอดภัยในสถานประกอบการและสวัสดิการแรงงาน หลังจากที่ เอ็นจีโอด้านสิทธิแรงงานออกมาเปิดโปงว่าบริษัทเอาเปรียบแรงงานใน “โรงงานนรก”, ติดตั้งเครื่องกรองฝุ่นละอองหลังจากที่ชาวบ้านร้องเรียน ว่าป่วยเป็นโรคภูมิแพ้มากผิดปกติ, ประกาศนโยบายชดเชยผู้โดยสารที่ เดือดร้อนจากความล่าช้าของเที่ยวบิน หลังจากที่ผู้โดยสารแห่กันโพสต์ ระบายอารมณ์บนเฟซบุ๊ค ฯลฯ ซีเอสอาร์เชิงรับบางครั้งเป็นสิ่งที่บริษัทจำ�นวนมากแห่กันทำ� เพราะเป็นประเด็นสากลข้ามอุตสาหกรรม ถ้าไม่ทำ�ก็กลัวตกกระแส ยกตัวอย่างเช่น บริษัททุกบริษัทไม่ว่าจะประกอบธุรกิจอะไรล้วนมีส่วน ทำ�ลายสิ่งแวดล้อมและตักตวงทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ไม่มากก็น้อย ดังนัน้ ซีเอสอาร์เชิงรับทีท่ �ำ กันอย่างแพร่หลายกิจกรรมหนึง่ คือ การปลูก ป่าทดแทน เพือ่ ชดเชยต้นไม้ทถี่ กู ตัดไปใช้ในกระบวนการผลิตของบริษทั เนื่องจากธุรกิจขุดเจาะ กลั่น และขนส่งนํ้ามันส่งผลกระทบ 101 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 101

3/20/11 8:35 PM


ค่อนข้างมากต่อสิ่งแวดล้อมและคนในชุมชน โดยเฉพาะระบบนิเวศ บนบกและในทะเล รวมทั้งยังซํ้าเติมภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ซีเอสอาร์เชิงรับของบริษทั นํา้ มันส่วนใหญ่จงึ เน้นประเด็นด้านสิง่ แวดล้อม และชุมชนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการปลูกป่า ลดมลพิษ รับชาวบ้านเข้า ทำ�งานในโรงงาน ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้นอกจากจะสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ให้แก่บริษัทแล้ว ยังเป็นการลดความเสี่ยงในอนาคตที่จะถูกผู้เสียหาย ประท้วงหรือเสียชื่อเสียงอีกด้วย ในแง่ของประโยชน์ต่อบริษัท ซีเอสอาร์เชิงรับจึงนับเป็นวิธี “ซือ้ ประกันความเสีย่ ง” หรือ “สร้างภาพลักษณ์” ทีบ่ ริษทั หวังว่าจะแปลง เป็นยอดขายที่มากขึ้นได้ในอนาคต (มีลูกค้ามาใช้บริการมากขึ้นเพราะ อยากอุดหนุนบริษัทที่ “ทำ�ดี”) สองประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับซีเอสอาร์เชิงรับ (ซึ่งมอบความ เพลิดเพลินให้กบั ผูส้ งั เกตการณ์อย่างผูเ้ ขียนได้ไม่รเู้ บือ่ ) คือ หนึง่ บริษทั ที่ทำ�ซีเอสอาร์แบบนี้มักจะไม่อยากบอกว่าก่อความเสียหายอะไรก่อน มาทำ�ซีเอสอาร์เชิงรับ เพราะอยากพูดแต่เรื่องดีๆ ที่ตัวเองทำ� ไม่อยาก พูดถึงเรื่องแย่ๆ (ในแง่นี้บริษัทก็ไม่ต่างจากคนธรรมดาเท่าไรนัก) สอง บริษัทหลายแห่งชอบ “โม้” มากกว่าจะอธิบายว่าทำ�ซีเอสอาร์แล้วสังคม ได้อะไรและบริษัทได้อะไร ยกตัวอย่างเช่น เพิ่งปลูกต้นไม้ขนาดจิ๋วไป 10,000 ต้น ที่ต้องใช้เวลาอีก 20 ปีกว่าจะโตเต็มที่ ใครจะคอยดูแลก็ยัง ไม่แน่นอน แต่บริษัทเอาไปโม้ในสปอตโฆษณาแล้วว่าบริษัทช่วยชดเชย คาร์บอนไปเท่านั้นเท่านี้ตัน เสมือนว่าวันนี้ต้นไม้ทั้ง 10,000 ต้นอยู่รอด ปลอดภัยและโตเต็มที่แล้ว พูดอีกอย่างคือ บริษัทใช้ภาษาของการตลาดและการโฆษณา ประชาสัมพันธ์เป็นหลักในการกล่าวถึงซีเอสอาร์ ไม่ใช่ภาษาที่ตรงไป ตรงมาเหมือนกับภาษาของงบการเงิน อย่างไรก็ตาม การค้นคว้าคิดค้นมาตรฐานการเปิดเผยและ รายงาน “ผลประกอบการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม” ก็คืบหน้าไปมาก 102 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 102

3/20/11 8:35 PM


แล้ว อีกไม่กี่ปีเราอาจได้เห็นมาตรฐานสากลที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ได้รับ การยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายไม่แพ้มาตรฐานทางบัญชี (ผู้เขียน คิดว่าชุดมาตรฐานของโครงการ Global Reporting Initiative (GRI) ซึ่ง มีบริษทั ใช้แล้วหลายพันบริษทั น่าจะไปถึงตรงนัน้ ได้กอ่ นใครเพือ่ น) เมือ่ ถึงจุดนัน้ เราก็จะสามารถแยกแยะได้งา่ ยขึน้ ว่าบริษทั ไหนขีโ้ ม้ บริษทั ไหน ไม่โม้แต่ทำ�จริง และบริษัทไหนไม่โม้ก็จริงแต่ก็ไม่ทำ�อะไรด้วย 3. ซีเอสอาร์เชิงรุกหรือซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ (strategic CSR) ในมุมมองของ ไมเคิล พอร์เตอร์ กูรูการบริหารจัดการชื่อดัง ซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์หมายถึงการนำ�ประเด็นทีผ่ มู้ สี ว่ นได้เสียฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งหรือหลายฝ่ายสนใจหรือต้องการ มากำ�หนดเป็นกลยุทธ์ของบริษัท ทีจ่ ะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน นัน่ หมายความว่า บริษทั จะต้อง ทำ�ความเข้าใจก่อนว่าผูม้ สี ว่ นได้เสียฝ่ายต่างๆ อยากเห็นอะไรจากบริษทั ประเด็นด้านสังคมและสิง่ แวดล้อมทีจ่ �ำ เป็นต่อการดำ�เนินธุรกิจในอนาคต คืออะไร ซึ่งก็แปลว่าบริษัทจะต้องเข้าใจความหมายของ “การพัฒนา อย่างยั่งยืน” (การพัฒนาในทางที่ไม่ลิดรอนศักยภาพของคนรุ่นหลังใน การมีคุณภาพชีวิตที่ดี) และสามารถถอดรหัสแนวคิดนี้ออกมาเป็นวิถี “ธุรกิจที่ยั่งยืน” ได้ สำ�หรับบริษัทนํ้ามัน ประเด็นใหญ่ที่หลายฝ่ายให้ความสำ�คัญ หนีไม่พ้นภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งกระบวนการผลิตของ อุตสาหกรรมนํ้ามันมีส่วนซํ้าเติมปัญหา ประกอบกับแนวโน้มที่ชัดเจน แล้วว่า โลกเราเหลือนํ้ามันให้ใช้อีกเพียง 50-70 ปีเท่านั้น และการ ขุดเจาะนํา้ มันก็นา่ จะหยุดนานก่อนหน้านัน้ เพราะนํา้ มันทีเ่ หลือในโลกจะ อยู่แต่ในที่ยากๆ ที่ต้องใช้การลงทุนสูงมากในการขุดขึ้นมาจนไม่คุ้มค่า ในสถานการณ์ทภี่ าวะสภาพภูมอิ ากาศเปลีย่ นแปลงกดดันให้ทกุ ภาคส่วนปรับตัวอย่างเร่งด่วน คิดคำ�นวณและแบกรับ “ต้นทุนคาร์บอน” ให้ได้ ประกอบกับความไม่ยงั่ ยืนของแหล่งวัตถุดบิ ทำ�ให้การปรับตัวของ 103 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 103

3/20/11 8:35 PM


ธุรกิจนํ้ามันเข้าสู่ธุรกิจ “พลังงานสะอาด” อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ มี “เหตุผลทางธุรกิจ” ทีช่ ดั เจนแล้วจากทัง้ ด้านอุปสงค์และอุปทาน นัน่ คือ เป็นทัง้ สิง่ ทีล่ กู ค้าเรียกร้องต้องการ และถูกกดดันด้วยความร่อยหรอของ เชื้อเพลิงฟอสซิลใต้ผิวโลก ด้วยเหตุนี้ ซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ทมี่ เี หตุผลทางธุรกิจทีส่ ดุ สำ�หรับ บริษัทนํ้ามัน จึงน่าจะเป็นการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ใช้พลังงานสะอาด และช่วยลูกค้าประหยัดพลังงาน เพือ่ ช่วงชิงความเป็นผูน้ ำ�ใน “เศรษฐกิจ คาร์บอนตํา่ ” ทีจ่ �ำ เป็นจะต้องเกิดภายในศตวรรษนี้ ค่อยๆ ย้ายจุดยืนของ ตัวเองออกจากอุตสาหกรรมล้าหลังที่กำ�ลังอยู่ในช่วง “ขาลง” (โดยมี ราคานํ้ามันที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นสัญญาณบ่งบอกความขาดแคลน) ศตวรรษสุดท้ายก่อนถึงจุดจบ ในประเทศทีผ่ บู้ ริโภคส่วนใหญ่มกี �ำ ลังซือ้ และค่อนข้างตืน่ ตัวเรือ่ ง ปัญหาสิง่ แวดล้อม ผลิตภัณฑ์ทเี่ ป็นซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์สามารถใช้ความ เป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อมเป็นจุดขาย คิด “ราคาส่วนเพิม่ ” เหนือผลิตภัณฑ์ ทัว่ ไปจากผูบ้ ริโภคได้ แต่ในประเทศกำ�ลังพัฒนาอย่างไทยทีช่ นชัน้ กลาง ยังเป็นคนส่วนน้อยและคนทั่วไปยังไม่เข้าใจความเร่งด่วนของปัญหา สิ่งแวดล้อม (เช่น คิดว่าแค่ใช้ถุงผ้าก็แก้ปัญหาโลกร้อนได้แล้ว) บริษัทที่ ทำ�ซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์จะต้องใช้ความพยายามและความอดทนค่อนข้าง มากในการสร้างยอดขายจากประเด็นสิ่งแวดล้อม 4. กิจการเพื่อสังคม (social enterprise) กิจการเพื่อสังคม คือกิจการที่ถูกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา ด้านสังคมหรือสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก แต่ก็มีความยั่งยืนทางการเงินด้วย พูดง่ายๆ คือ ทำ�เพื่อกำ�ไรของสังคมเป็นหลัก กำ�ไรของตัวเองเป็นรอง ถ้าบริษัทนํ้ามันอยากก่อตั้งกิจการเพื่อสังคมที่ใช้จุดแข็งของบริษัทให้ เป็นประโยชน์ วิธหี นึง่ คือบริษทั อาจก่อตัง้ กิจการรับซือ้ ขยะหรือวัสดุเหลือ ใช้ทางการเกษตรจากชาวบ้าน มาแปลงเป็นพลังงานชีวมวล แล้วขาย 104 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 104

3/20/11 8:35 PM


ให้กับชุมชนในราคาถูก วิธีนี้จะช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านผู้มี รายได้นอ้ ยและประหยัดค่าใช้จา่ ยเชือ้ เพลิง (ปัญหาสังคม) อีกทัง้ ยังช่วย ลดขยะและก๊าซเรือนกระจก (ปัญหาสิ่งแวดล้อม) ไปพร้อมกัน กิจการเพื่อสังคมที่ดีจะพยายามแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ เลือก วิธีที่แก้ปัญหาในทางที่ไม่ก่อปัญหาใหม่ ยกตัวอย่างกิจการที่ก่อปัญหา เช่น ถ้าบริษัทนํ้ามันจัดตั้ง “ปั๊มชุมชน” ในหมู่บ้านต่างๆ โดยอ้างว่า เป็นกิจการเพื่อสังคมเพราะช่วยให้ชาวบ้านในชนบทห่างไกลได้ซื้อ นํา้ มันราคาถูก กรณีนกี้ น็ บั เป็นกิจการเพือ่ สังคมทีไ่ ม่คอ่ ยดีนกั เนือ่ งจาก การผลิตนํ้ามันซํ้าเติมภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง การช่วยแก้ ปัญหาสังคม (ชาวบ้านยากจน) จึงกลายเป็นว่าต้องแลกมาด้วยต้นทุน สิ่งแวดล้อมที่สูงกว่าเดิม.

105 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 105

3/20/11 8:35 PM


106 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 106

3/20/11 8:35 PM


02 การเงิ น ที ่ ย ั ่ ง ยื น การเงินเพื่อสังคม และการเงินชุมชน

107 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 107

3/20/11 8:35 PM


“การธนาคารที่ยั่งยืน” แบบทรีโอดอส

ตัง้ แต่ศตวรรษที่ 21 เปิดฉากเป็นต้นมา วิกฤตระดับโลกหลากหลาย มิตทิ รี่ มุ เร้า ประกอบกับแรงกดดันจากภาคประชาชนและผูบ้ ริโภค ที่ ส่ ง เสี ย งดั ง ขึ้ น เรื่ อ ยๆ ได้ ผ ลั ก ดั น ให้ ห น่ ว ยงานรั ฐ และบริ ษั ท น้อยใหญ่ต่างพากันชูป้าย “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” บนเว็บไซต์ ในรายงานประจำ�ปี และบทสุนทรพจน์ทกี่ ล่าวในงานสัมมนาต่างๆ นานา คำ�คำ�นี้ปัจจุบันใช้กันแพร่หลายไม่ต่างจาก “ความรับผิดชอบ ของธุรกิจต่อสังคม” (ซีเอสอาร์) แต่ประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนคือ ในบรรดา หน่วยงานรัฐและบริษัทเหล่านั้น มีกี่แห่งที่เข้าใจแก่นแท้ของแนวคิดนี้ และในจำ�นวนนัน้ มีกแี่ ห่งทีเ่ ปลีย่ นวิธคี ดิ กลยุทธ์ และกระบวนการต่างๆ 108 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 108

3/20/11 8:35 PM


ในองค์กรให้สอดคล้องกับ “การพัฒนาอย่างยัง่ ยืน” ในทางทีเ่ ป็นมากกว่า นามธรรม ผูเ้ ขียนขอแนะนำ�ให้ทกุ ท่านรูจ้ กั กับธนาคารทรีโอดอส (Triodos 6 Bank) ผู้บุกเบิกแนวคิด “การธนาคารที่มีศีลธรรม” (ethical banking) กว่า 3 ทศวรรษทีแ่ ล้ว ก่อนทีใ่ ครจะรูจ้ กั คำ�ว่าการพัฒนาอย่างยัง่ ยืนหรือ ซีเอสอาร์ ปัจจุบันเป็นธนาคารที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ที่สุดว่า “การธนาคารที่ยั่งยืน” นั้นน่าจะมีหน้าตาและวิธีทำ�งานอย่างไร และในเมือ่ ธนาคารเป็นสถาบันตัวกลางทีข่ าดไม่ได้ในระบบทุนนิยมสมัย ใหม่ ธุรกิจที่ทรีโอดอสเลือกให้บริการก็น่าจะสะท้อนให้เห็นว่า “ธุรกิจที่ ยั่งยืน” นั้นน่าจะมีลักษณะอย่างไร อย่างน้อยก็ในสายตาของธนาคารที่ ยึดมั่นในหลักการนี้ ชื่อของธนาคารแปลจาก “tri hodos” ในภาษากรีก ซึ่งแปลว่า “วิถีสามแพร่ง” สะท้อนแนวคิดของกลุ่มผู้ก่อตั้งที่ว่า อยากสนับสนุน กิจการที่ไม่ได้มุ่งหวังแต่เพียงกำ�ไร หากมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสังคม และสิ่ ง แวดล้ อ มไปพร้ อ มกั น ทรี โ อดอสมิ ใ ช่ ธ นาคารแห่ ง เดี ย วที่ ใ ช้ บรรทัดฐานทางศีลธรรมในการปล่อยกู้ ปัจจุบัน “ธนาคารที่มีศีลธรรม” หลายแห่งใช้เกณฑ์ “กรองเชิงลบ” (negative screening) ในการปล่อยกู้ เช่น ไม่ปล่อยกูใ้ ห้กบั บริษทั ทีท่ �ำ ลายสิง่ แวดล้อม ใช้สตั ว์ในการทดลอง ฯลฯ แต่ทรีโอดอสไปไกลกว่านัน้ ด้วยการใช้เกณฑ์ “กรองเชิงบวก” ด้วย คือเลือก ปล่อยกู้ให้แต่เฉพาะธุรกิจและการกุศลที่ธนาคารมองว่าสร้างประโยชน์ สุทธิให้กบั สังคมหรือสิง่ แวดล้อม เช่น กิจการแฟร์เทรด อาหารออร์แกนิก ธุรกิจเพือ่ สังคม (social enterprise) พลังงานทดแทน และสถาบันการเงิน ขนาดจิ๋ว (ไมโครไฟแนนซ์) ในประเทศกำ�ลังพัฒนา บทความเกีย่ วกับทรีโอดอสทีล่ งใน Ode Magazine เมือ่ ปี 20067 สรุปสปิรติ และประวัตศิ าสตร์ของทรีโอดอสได้อย่างดีเยีย่ ม ผูเ้ ขียนจึงแปล และเรียบเรียงบางตอนมาเล่าสู่กันฟัง – 109 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 109

3/20/11 8:35 PM


“…[อิโว วาน เดอบาร์ ศิลปินทีว่ าดภาพให้กบั ผูป้ ว่ ยโรงพยาบาล] ได้รับการอนุมัติสินเชื่อบ้านในที่สุด ต้องขอบคุณธนาคารแห่งหนึ่งที่ ครุ่นคิดถึงสถานการณ์นี้อย่างลึกซึ้ง[กว่าธนาคารทั่วไป] ธนาคารแห่งนี้ สนใจในเนื้องานของเดอบาร์ เข้าใจดีว่าศิลปินไม่ต้องการวัตถุมากมาย ไม่หวังสูงว่าจะมีเงินบำ�นาญเยอะๆ และมีไหวพริบพอที่จะเอาตัวรอด นีค่ อื ธนาคารทีไ่ ม่มองว่าศิลปินเป็นความเสีย่ งทางการเงิน แต่เป็นสมาชิก กลุ่มสำ�คัญในความพยายามที่จะสร้างสังคมที่ยั่งยืน นี่เป็นธนาคารแบบไหนกันแน่? นี่คือธนาคารทรีโอดอส ในปี 2004 ธนาคารแห่งนี้มีสินทรัพย์ กว่า 1 พันล้านยูโร กำ�ไร 3.6 ล้านยูโร และลูกค้าผู้ภักดีนับแสนรายใน เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม อังกฤษ และสเปน ทรีโอดอสไม่ได้จำ�กัดความ หวังดีทางการเงินอยู่แค่การอุ้มชูศิลปะและศิลปินเท่านั้น – ชื่อเสียง ของธนาคารส่วนใหญ่มาจากปล่อยกู้ให้กับเกษตรอินทรีย์และโครงการ พลังงานที่ยั่งยืน ธนาคารทรีโอดอสเพิ่งฉลองวันเกิดครบรอบ 25 ปี เปรียบ เสมือนสายลมสดชื่นที่พัดเข้ามาในภาคธนาคาร ไม่มีตัวอย่างที่ดีกว่านี้ อีกแล้วของธนาคารทีใ่ ช้เงินเป็นเครือ่ งมือสร้างการเปลีย่ นแปลงทางสังคม ในอดีต วิถีทางที่ผิดปกติวิสัยของทรีโอดอสในการมอบทุนให้กับการ ปฏิรปู สังคมถูกนักการเงินกระแสหลักหัวเราะเยาะ แต่ปจั จุบนั วิถนี ไี้ ด้รบั ความชื่นชมอย่างกว้างขวาง เมือ่ ไม่นานมานี้ เดวิด ปอร์เตอุส ผูเ้ ชีย่ วชาญทีใ่ ห้คำ�ปรึกษากับ ธนาคารโลกและสถาบันในเครือ เปิดเผยผลการศึกษาทีเ่ ขาทำ�ให้กบั คณะ บริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด งานวิจยั ชิน้ นีย้ นื ยันว่าทรีโอดอส เป็นผู้บุกเบิกในระดับโลก “ทัว่ โลกไม่มธี นาคารเอกชนจำ�นวนมากนักทีม่ กี ำ�ไรสุทธิสองตัว (double bottom line หมายถึงเน้นผลตอบแทนด้านการเงินควบคูไ่ ปกับ ผลตอบแทนด้านสังคม) อยู่มานาน ไม่ใช่ธนาคารขนาดเล็ก และรักษา 110 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 110

3/20/11 8:35 PM


ระดับผลกำ�ไรทีผ่ ถู้ อื หุน้ ยอมรับได้ ผมคิดว่าธนาคารทรีโอดอสกำ�ลังแสดง ให้เห็นว่าแข่งขันได้กับธนาคารกระแสหลักมากขึ้นเรื่อยๆ” สถานการณ์แตกต่างจากปัจจุบันมากเมื่อครั้งที่รากฐานของ ทรีโอดอสกำ�ลังถูกวาง นั่นคือยุคปลายทศวรรษ 1960 เมื่อสังคมได้รับ อิทธิพลอย่างสูงจากการประท้วงอย่างถึงพริกถึงขิงที่คุกคามอำ�นาจนำ� สำ�หรับคนทีม่ อี ดุ มการณ์ เงินเป็นคำ�หยาบ เงินนำ�ไปสูอ่ �ำ นาจ และอำ�นาจ ก็นำ�ไปสู่ความไม่เท่าเทียมกัน แต่ในขณะเดียวกัน เงินก็เป็นสิ่งที่จำ�เป็น ต่อการเติบโตของความคิดดีๆ นั่นคือบทสรุปของชาย 4 คน พวกเขาเป็นสมาชิกของกลุ่ม นักวิชาการที่เอาแต่พูด พูด แล้วก็พูดว่าสังคมควรเปลี่ยนแปลงอย่างไร แต่ชาย 4 คนนี้ที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงไม่ใช่หนุ่มฮิปปี้ใน เวอร์ชนั่ เนเธอร์แลนด์ พวกเขาเป็นส่วนหนึง่ ของอำ�นาจนำ� – นักเศรษฐศาสตร์ ที่ปรึกษาองค์กร นายธนาคาร และอาจารย์ด้านกฎหมายภาษี พวกเขาคือ เอเดรียน ดูรา, เล็กซ์ บอส, รูดอล์ฟ มีส, และ ดีเทอร์ บรุลล์ เชื่อว่าลูกค้าธนาคารกระแสหลักจำ�นวนมากไม่รู้ว่าธนาคารของพวกเขา เอาเงินไปทำ�อะไร และถ้ารูก้ ค็ งไม่ชอบใจนัก นัน่ คือเหตุผลทีช่ าย 4 คนนี้ ร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิทรีโอดอส สำ�หรับคนรวยที่อยากลงทุนในกิจการที่ ทำ�ประโยชน์ตอ่ สังคม คณะผูก้ อ่ ตัง้ เชือ่ ว่าคนทีจ่ ติ ใจดีจะอยากเอาเงินออม ไปลงทุนในฟาร์มออร์แกนิก ร้านขายอาหารเพือ่ สุขภาพ คลีนกิ ธรรมชาติ บำ�บัด คณะละครเร่เปี่ยมอุดมการณ์ หรือบริษัทที่ผลิตของเล่นไร้ความ รุนแรง มากกว่าจะอยากลงทุนในบริษัทขนาดใหญ่ที่ไร้ซึ่งวิสัยทัศน์ใดๆ เกี่ยวกับสังคมที่ดีกว่าเดิม ในปี 1980 ระหว่างที่ธนาคารกระแสหลักกำ �ลังควบรวมกัน เปลี่ยนชื่อ หรือล้มละลาย มูลนิธิทรีโอดอสก็ก่อตั้งธนาคารขึ้นในเมือง เล็กๆ ชื่อ ซีสต์ ด้วยทุนจดทะเบียน 540,000 ยูโร ที่เรี่ยไรจากนักลงทุน รายย่อยและนักลงทุนสถาบัน 300 ราย ธนาคารมีกำ�ไรในปีแรกเพราะ ลูกค้าเงินฝากรายแรกๆ หลายคนยินดีสละดอกเบี้ยเงินฝากให้ธนาคาร 111 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 111

3/20/11 8:35 PM


นำ�ไปปล่อยกู้ และนับจากจุดนั้นทรีโอดอสก็ไม่เคยขาดทุน – 25 ปีเต็ม แห่งการทำ�กำ�ไรที่เชื่อมโยงกับอุดมการณ์ คณะผู้ก่อตั้งธนาคารทรีโอดอสไม่กลัวที่จะปรับแก้ธรรมเนียม ปฏิบัติของการเงินการธนาคาร ยกตัวอย่างเช่น พวกเขามอบโอกาสให้ ลูกค้าเลือกกิจการที่อยากอุทิศดอกเบี้ยเงินฝากของพวกเขาส่วนหนึ่งให้ ลูกหนี้ที่รํ่ารวยที่สุดของธนาคารจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่แพงที่สุด เพราะ ถ้าคนรวยจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่ตํ่าที่สุด (ซึ่งเป็นเรื่องปกติของธนาคาร กระแสหลัก) ก็แปลว่าธนาคารกำ�ลังช่วยให้คนรวยรํ่ารวยกว่าเดิม ธุรกิจ ทีก่ �ำ ลังย่�ำ แย่อยูแ่ ล้วจะยิง่ คืบคลานเข้าใกล้จดุ ล้มละลายถ้าธนาคารไม่คดิ ดอกเบี้ยในอัตราที่ตํ่าที่สุด นอกจากนี้ ทรีโอดอสยังบุกเบิกหลักการ “หลักประกันส่วน บุคคล” (personal security) เพราะมองว่าความคิดดีๆ หลายความคิด ต้องสูญเปล่าไปเพราะธนาคารกระแสหลักขอให้ลกู หนีอ้ อกทุนของตัวเอง ด้วย ทรีโอดอสออกแบบระบบใหม่ที่ให้กลุ่มคนขนาดใหญ่ทำ�ตัวเป็น ผู้ค้ำ�ประกันโครงการ ประโยชน์ที่เป็นผลพลอยได้ของวิธีนี้คือมันช่วย กระตุ้นให้คนมีส่วนร่วมและใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพราะพวกเขามีแรง จูงใจที่จะทำ�ทุกอย่างเพื่อการันตีว่าโครงการนี้จะประสบความสำ�เร็จ ในปี 1990 ธนาคารทรีโอดอสเปิดตัว “กองทุนสีเขียว” ในตลาด หุ้นอัมสเตอร์ดัม เป็นกองทุนกองแรกในตลาดที่ลงทุนในโครงการที่เป็น มิตรกับสิง่ แวดล้อม เมือ่ 10 ปีกอ่ น กองทุนสีเขียวในเนเธอร์แลนด์มมี ลู ค่า รวมกัน 20 ล้านยูโร ปัจจุบันกองทุนสีเขียวลงทุนไปแล้วกว่า 4 พันล้าน ยูโรในโครงการสีเขียว – เงินที่ทรีโอดอสบริหารคิดเป็นร้อยละ 10 ของ เงินจำ�นวนนี้ นอกจากนี้ ธนาคารทรีโอดอสยังได้ริเริ่มแผนประกันชีวิตและ ประกันบำ�นาญแผนแรกในเนเธอร์แลนด์ที่ผนวกรวมเกณฑ์ด้านสังคม และสิง่ แวดล้อมเข้าไปในนโยบายการลงทุน และเมือ่ ปลายทศวรรษ 1980 ธนาคารนี้ก็เป็นธนาคารแห่งแรกๆ ในยุโรปที่เริ่มปล่อยสินเชื่อให้กับ 112 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 112

3/20/11 8:35 PM


สถาบันสินเชื่อขนาดจิ๋ว (ไมโครเครดิต) ในประเทศกำ�ลังพัฒนา เท่ากับ เป็นการขยับขยายพรมแดนของไมโครเครดิตออกจากการพึ่งพาเงิน บริจาคหรือเงินกู้ดอกเบี้ยตํ่าจากองค์กรโลกบาล ให้ได้รับการยอมรับ ในฐานะธุรกิจที่แข่งขันได้ในเชิงพาณิชย์ ผู้จัดการกองทุนอาวุโสของ ทรีโอดอสได้รบั การแต่งตัง้ เป็นทีป่ รึกษาองค์การสหประชาชาติในปี 2005 ทุกวันนี้ ความยัง่ ยืนมิใช่ความคิดทีอ่ ยูช่ ายขอบของโลกการเงิน อีกต่อไปแล้ว สำ�หรับลูกค้าที่อยากใช้เงินอย่างรับผิดชอบ แม้กระทั่ง ธนาคารขนาดใหญ่ก็มีกองทุนที่ยั่งยืนของตัวเอง และมีบริษัทไหนบ้างที่ อยากนำ � เสนอตั ว เองต่ อ ผู้ ถื อ หุ้ น โดยไม่ เ ปิ ด เผยรายงานที่ แ จกแจง ผลประกอบการด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มและสิ ท ธิ ม นุ ษ ชนอย่ า งละเอี ย ด? ปีเตอร์ บลอม ซีอโี อของทรีโอดอส กล่าวว่า “ความโปร่งใสกำ�ลังกลายเป็น แนวคิดหลักในโลกการเงิน เมื่อ 25 ปีที่แล้ว ธนาคารทุกแห่งขยะแขยง กับความคิดที่ว่า เราทุกคนอยากรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับเงินของเราบ้าง ซึ่งอันที่จริงเป็นหัวใจของเรื่องนี้เลย ทุกวันนี้ธุรกิจกำ�ลังคำ�นึงถึงผู้คน และธรรมชาติมากขึ้น รวมทั้งเวลาที่พวกเขาตัดสินใจด้านการเงินด้วย” ปีเตอร์ บลอม บอกว่าก้าวต่อไปของทรีโอดอสคือการเป็น “เวที” ให้กับคนธรรมดาที่อยากมีส่วนสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวก เช่น ผ่านพฤติกรรมการบริโภคของตัวเองหรือปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในชีวิต ประจำ�วัน บลอมบอกว่า “ผมคิดว่าคนเราไม่อยากแยกชีวิตงานกับชีวิต การเงินออกจากชีวติ ส่วนตัวอีกต่อไปแล้ว หรือแยกวิธที พี่ วกเขาคิดออก จากวิธที ไี่ ปช็อปปิง้ หรือเลีย้ งดูบตุ รหลาน การเปลีย่ นแปลงทีย่ งิ่ ใหญ่ครัง้ ต่อไปในยุคของเราคือเรือ่ งนี้ – การค้นหาคุณภาพและของแท้ในชีวติ จริง”

113 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 113

3/20/11 8:35 PM


ตลาดคาร์บอนเครดิต: ช่วยโลกหรือถ่วงโลก?

ตลาดใหม่ๆ ในโลกการเงินมักจะบอกอะไรๆ ได้มากมายเกีย่ วกับ บทบาทและข้ อ จำ � กั ด ของตลาดการเงิ น ที่ อ าจทำ � โทษต่ อ สั ง คม มากกว่าประโยชน์ ถ้ากลไกตลาดถูกออกแบบมาไม่ดีพอและไม่มี ระบบตรวจสอบที่ละเอียดรัดกุมเพียงพอ ไม่ว่าผู้ออกแบบระบบ จะตั้งใจดีเพียงใดก็ตาม เพราะในโลกการเงิน สุภาษิตโบราณของฝรั่งที่ว่า “พระเจ้าอยู่ ในรายละเอียด” (God is in the details) นัน้ เป็นสัจธรรมข้อสำ�คัญ ตลาด การเงินทุกตลาดอาจดูดไี ปหมดถ้าเรามองแค่พนื้ ผิวในระดับหลักการหรือ เป้าหมายทีป่ ระกาศ แต่ไม่วเิ คราะห์เจาะลึกในรายละเอียดไปถึง ‘วิธกี าร’ ที่ใช้ และ ‘ผลลัพธ์’ ที่ได้ 114 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 114

3/20/11 8:35 PM


ตลาดใหม่ตลาดหนึ่งที่ให้บทเรียนเราได้มากในแง่นี้ คือ ตลาด คาร์บอนเครดิต (carbon credit exchange) ซึง่ ได้มกี ารก่อตัง้ แล้วหลาย แห่งทั่วโลกนับตั้งแต่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกลงนามในพิธีสารเกียวโต ปี 2005 สนธิสัญญาฉบับแรกในโลกที่ผูกพันประเทศผู้ลงนามให้ลด ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้คำ�ว่า “คาร์บอน” แทนคำ�ว่า “ก๊าซเรือนกระจก” ในคำ�ประสมต่างๆ เพื่อความสะดวก เพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจกประเภทหลักที่ก่อ ภาวะโลกร้อน) ปัจจุบันทั่วโลกมีตลาดคาร์บอนเครดิตหลายแห่ง ทั้งที่ก่อตั้ง โดยรัฐ และทีก่ อ่ ตัง้ โดยบริษทั เอกชน ในปี 2007 ธนาคารโลกประเมินว่า ตลาดคาร์บอนเครดิตทัว่ โลกมีมลู ค่ากว่า $64 พันล้านและกำ�ลังเติบโตขึน้ เรื่อยๆ ตลาดแห่งแรกในโลกที่รับจดทะเบียนและค้าสิทธิการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก 6 ชนิดหลัก คือ Chicago Climate Exchange (CCX) ในกรุงชิคาโก ก่อตัง้ ในปี 2003 โดย ริชาร์ด แซนดอร์ (Richard Sandor) นักเศรษฐศาสตร์การเงินผู้ได้รับการขนานนามว่า “บิดาของตราสาร อนุพันธ์” ในอเมริกา เขาเป็นหนึ่งในหัวหอกที่ช่วยพัฒนาตลาดสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า (ฟิวเจอร์ส) ให้กับ Chicago Board of Trade ใน ทศวรรษ 1970 และมีส่วนร่วมในการพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิตตั้งแต่ ต้นทศวรรษ 1990 ทุกองค์กรที่สมัครเป็นสมาชิกของ CCX โดยสมัครใจจะต้องลง นามในสัญญาว่า จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมายที่ CCX กำ�หนด โดยกว่าจะสิน้ สุดระยะทีส่ องของโครงการ คือปี 2007-2010 สมาชิ ก ทุ ก รายจะต้ อ งลดการปล่ อ ยก๊ า ซเรื อ นกระจกลงไม่ น้ อ ยกว่ า ร้อยละ 6 จากอัตราฐาน (baseline emission ซึ่งใช้ค่าเฉลี่ยระหว่างปี 1998-2001 หรือค่าปี 2000 ปีเดียว) เท่ากับว่าต้องลดไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ 1.5 ต่อปี 115 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 115

3/20/11 8:35 PM


ปัจจุบัน CCX มีสมาชิกกว่า 175 ราย ตั้งแต่บริษัทขนาดยักษ์ อย่าง ดูปองท์ โมโตโรลา โซนี่ อินเทล ไอบีเอ็ม โรลซ์รอยซ์ ฟอร์ด โกดัก คาร์กิลล์ ฯลฯ ไปจนถึงองค์กรนอกภาคธุรกิจอย่างเทศบาลเมืองชิคาโก เทศบาลเมืองเมลเบิรน์ ในออสเตรเลีย รัฐบาลรัฐอิลลินอยส์ มหาวิทยาลัย ทัฟส์ต์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานดิเอโก และองค์กรอื่นๆ อีก มากมาย นอกจากจะเปิดรับบริษัทและองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยตรงเป็นสมาชิก CCX ยังเปิดรับ “สมาชิกร่วม” (associate member) สำ�หรับองค์กรทีป่ ล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรงน้อยมาก แต่อยากลดก๊าซ เรือนกระจกที่ปล่อยทางอ้อม เช่น ระยะทางบินที่พนักงานหรือผู้บริหาร โดยสารเครื่องบินไปดูงาน หรือไฟฟ้าที่ซื้อจากโรงไฟฟ้าพลังถ่านหินใน แต่ละปี ตัวตราสารทางการเงินที่ซื้อขายกันใน CCX มีชื่อว่า Carbon Financial Instrument ย่อว่า CFI สัญญา CFI แต่ละฉบับมีสองส่วน คือ เพดานก๊าซเรือนกระจก (Exchange Allowances) และปริมาณที่ซื้อมา ชดเชย (Exchange Offsets หรือทีม่ กั จะเรียกทับศัพท์วา่ ออฟเซ็ท) ส่วน แรกคือเพดานคาร์บอนจะถูกกำ�หนดโดย CCX ตามอัตราฐานและตาราง การลดคาร์บอนรายปีที่สัญญาไว้ ส่วนทีส่ องคือออฟเซ็ท หมายถึงคาร์บอนจากโครงการทีล่ ดการ ปล่อยคาร์บอน เช่น โครงการปลูกป่า โรงไฟฟ้าพลังลม โครงการกักเก็บ คาร์บอนในภาคเกษตร ฯลฯ ที่ผ่านการรับรองจากองค์กรตรวจสอบ ในรายชื่อของ CCX แล้วว่าลดการปล่อยคาร์บอนได้จริง สัญญา CFI หนึง่ ฉบับมีคา่ เท่ากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 100 เมตริกตัน สมาชิกของ CCX ทุกรายจะต้องวัดปริมาณการปล่อยคาร์บอน รายปีดว้ ยวิธที ี่ CCX เห็นชอบ โดยมีองค์กรอิสระทีก่ �ำ กับดูแลบริษทั หลัก ทรัพย์ทั้งหมดในอเมริกา คือ Financial Industry Regulatory Authority (FINRA) ทำ�การตรวจสอบในฐานะบุคคลภายนอก (external audit) อีก ชั้นหนึ่ง 116 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 116

3/20/11 8:35 PM


CCX ฟังเผินๆ ดูมีประโยชน์มาก เพราะน่าจะสร้างแรงจูงใจ ให้ทุกฝ่ายลดการปล่อยคาร์บอน ใครก็ตามที่ปล่อยคาร์บอนสูงก็จะต้อง จ่ายเงินซื้อ “ออฟเซ็ท” มาก ใครที่ลดคาร์บอนลงได้มากกว่าอัตราฐาน ก็สามารถทำ�เงินจากการขาย “เครดิต” ให้กับคนที่ลดไม่ได้ นอกจากนี้ การระบุมูลค่าของคาร์บอนอย่างชัดเจนยังเพิ่มต้นทุนโดยตรงให้กับวิธี ผลิตพลังงานที่ปล่อยคาร์บอนสูง เช่น โรงไฟฟ้าพลังถ่านหิน (ซึ่งทำ�ให้ พลังงานทดแทนน่าลงทุนมากขึ้นโดยเปรียบเทียบ) ตลอดจนส่งเสริม กิจกรรมที่ลดการปล่อยคาร์บอน เช่น โครงการปลูกป่า และป่าชุมชน ซึง่ ถ้าขายคาร์บอนเครดิตได้เรือ่ ยๆ ก็จะเป็นแหล่งรายได้ทยี่ งั่ ยืนสำ�หรับ ชุมชนท้องถิ่น ถึงแม้ว่าจะมีแนวโน้มที่จะทำ�ประโยชน์มากมาย หลังจากที่เปิด ตลาดมาแล้วหลายปี CCX ก็ยังมีปัญหาที่แก้ไม่ตกหลายประเด็น บาง ปัญหากำ�ลังทวีความรุนแรงจนทำ�ให้ผู้สังเกตการณ์หลายคนข้องใจว่า CCX กำ�ลังก่อผลเสียมากกว่าผลดี หรืออย่างน้อยก็ไม่ดเี ท่ากับทีเ่ คยคาด ไว้หรือไม่ ปัญหาทีร่ นุ แรงทีส่ ดุ คือ หลายโครงการที่ CCX ให้การรับรองว่า ลดคาร์บอน และดังนั้นจึงอนุมัติให้ขายเป็นออฟเซ็ทในตลาดนั้น จริงๆ แล้วไม่ได้ลดคาร์บอนในปริมาณที่ ‘เพิม่ ’ จากทีเ่ คยทำ�อยูแ่ ล้ว ยกตัวอย่าง เช่น ตอนนี้ชาวนาหลายร้อยคนในอเมริกาได้รับเช็คเงินสดจาก CCX ทุกเดือน บางครั้งในยอดสูงถึง $2,000 เพียงเพราะพวกเขาทำ�การ เกษตรแบบไถกลบ หมายความว่าหลังฤดูเพาะปลูกแต่ละครั้ง ชาวนา เหล่านี้จะไม่ไถพรวนดินเพื่อเปิดหน้าดินขึ้นมา แต่จะทิ้งเศษพืช วัชพืช ตอข้าว ฯลฯ ทีห่ ลงเหลือจากการปลูกในฤดูทแี่ ล้ว และไถกลบลงไปแทน เพื่ออนุรักษ์อินทรียวัตถุในดิน วิธีนี้เท่ากับเป็นการกักเก็บคาร์บอนไว้ ในดิน ไม่ให้ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ

117 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 117

3/20/11 8:35 PM


ปั ญ หาอยู่ ต รงที่ ช าวนาเหล่ า นี้ ห ลายคนทำ � การเกษตรแบบ ไถกลบมานานนับสิบปีแล้ว ไม่ใช่ว่าเพิ่งมาเปลี่ยนหลังจากได้ยินว่าวิธี เพาะปลูกแบบนี้จะเอาไปขึ้นเป็นเงินกับ CCX ได้ และพวกเขาก็ไม่ได้ เพิ่มปริมาณของคาร์บอนในดินให้มากกว่าระดับที่เคยทำ�มา ตามกติกาของ CCX บริษทั สมาชิกรายใดก็ตามทีป่ ล่อยคาร์บอน สูงมากแต่มเี งินพอ (และส่วนใหญ่กเ็ ป็นบริษทั ขนาดยักษ์ทมี่ เี งินเกินพอ) จะสามารถใช้เครดิตจากฟาร์มของชาวนาเหล่านี้เพื่อชดเชย (ออฟเซ็ท) ปริมาณการปล่อยคาร์บอนของพวกเขา แต่ในกรณีนี้ เงินทีจ่ า่ ยผ่าน CCX จะไม่ได้สง่ ผล สุทธิ อะไรเลยกับระดับคาร์บอน โดยรวม ในชัน้ บรรยากาศ โลก เพราะชาวนาก็ไม่ได้ลดคาร์บอนมากกว่าทีเ่ คยลด ส่วนบริษทั สมาชิก ของ CCX ก็ยังปล่อยคาร์บอนเท่ากับที่เคยปล่อยในอดีตอยู่อย่างเดิม เพราะได้ซื้อออฟเซ็ทมาแล้ว ด้วยเหตุนี้ เงินที่ไหลเวียนผ่าน CCX สุดท้ายแล้วจึงอาจไม่ สามารถลดการปล่อยคาร์บอนโดยรวมได้ตามความตั้งใจ ถ้ากิจกรรม ออฟเซ็ทบางกิจกรรมไม่ได้ลดคาร์บอนมากกว่าในอดีตก่อนที่จะถูกนับ ว่าเป็นออฟเซ็ท และบริษทั สมาชิกเงินหนาก็ตงั้ หน้าตัง้ ตาซือ้ แต่ออฟเซ็ท เพื่อจะได้ไม่ต้องลดการปล่อยคาร์บอนของตัวเองลงจริงๆ ปัญหาที่ว่าเงินอาจสะพัดอย่างเดียวโดยไม่ช่วยลดการปล่อย คาร์บอนสุทธินั้น เป็นประเด็นใหญ่ที่นักสิ่งแวดล้อมหลายคนใช้เป็น เหตุผลโจมตีตลาดคาร์บอนเครดิตโดยทัว่ ไปว่า การใช้กลไกตลาดทำ�นอง นีไ้ ม่สามารถแก้ปญ ั หาโลกร้อนได้จริง แต่แซนดอร์กโ็ ต้วา่ สิง่ ทีส่ �ำ คัญกว่า ประเด็นที่ว่าการลดคาร์บอนเกิดขึ้น “จริง” หรือไม่ คือประเด็นที่ว่าการ เข้าเป็นสมาชิกของ CCX นั้นช่วยกระตุ้นให้สมาชิกคำ�นึงถึงการปล่อย คาร์บอนในฐานะ “ต้นทุน” รายการหนึ่งในการทำ�ธุรกิจ และบริษัท สมาชิกหลายแห่งก็ประกาศแผนการลดการปล่อยคาร์บอนจริงๆ ไม่ใช่ซอื้ ออฟเซ็ทแล้ว เช่น ดูปองท์ประกาศว่าบริษัทจะลดการปล่อยคาร์บอนลง ถึงร้อยละ 65 ภายในปี 2010 118 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 118

3/20/11 8:35 PM


อี ก ปั ญ หาหนึ่ ง ที่ พ บในตลาดคาร์ บ อนเครดิ ต โดยทั่ ว ไปคื อ ผู้ขายโครงการออฟเซ็ทหลายรายขายโครงการที่ในความเป็นจริงไม่ได้ ลดคาร์บอน เช่น โครงการปลูกต้นไม้ในพื้นที่นอกเขตร้อนของโลก คนทั่วไปมักจะคิดว่าปลูกต้นไม้ที่ไหนก็น่าจะช่วยลดการปล่อย คาร์บอนทั้งนั้น แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานชิ้นเอกปี 2005 ของ เคน คาลเดรา (Ken Caldeira) นักนิเวศวิทยาจากสถาบันคาร์เนกี คือ การปลูกป่าเพือ่ บรรเทาภาวะโลกร้อนนอกเขตร้อนนัน้ เป็นเรือ่ งเสียเวลา เปล่า เพราะต้นไม้ไม่ได้ดดู ซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างเดียว แต่ยงั ดูดซับแสงอาทิตย์ด้วย ความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ต้นไม้ดูดซับไว้อาจ ‘หักล้าง’ อุณหภูมทิ ลี่ ดได้จากการดูดซับคาร์บอน ทำ�ให้อณ ุ หภูมโิ ลกโดย รวมไม่เปลี่ยนแปลง แต่ในเขตร้อน นํ้าที่ระเหยเร็วเป็นไอช่วยสร้างม่าน หมอกที่บังแสงแดด ทำ�ให้ป่าชุ่มชื้นและต้นไม้ “เย็น” ดังนั้นการปลูกป่า จึงช่วยลดภาวะโลกร้อนได้จริง นอกเหนื อ จากปั ญ หาที่ โ ครงการหลายแห่ ง ไม่ ไ ด้ กำ � ลั ง ลด คาร์บอน ‘เพิ่มเติม’ เมื่อเทียบกับก่อนมีตลาดคาร์บอนเครดิต อีกปัญหา หนึ่งคือ นักธุรกิจจำ�นวนไม่น้อยกำ�ลังฉวยโอกาสทำ�กำ�ไรสูงลิ่วในทาง ที่เอาเปรียบบริษัทผู้ซื้อ ยกตัวอย่างเช่น ในเดือนกันยายนปี 2008 หนังสือพิมพ์ Financial Times รายงานว่า โรงงานและบริษทั ค้าคาร์บอน เครดิตหลายแห่งในประเทศจีนกวาดรายได้ไปหลายร้อยล้านเหรียญจาก การขายคาร์บอนออฟเซ็ทจากโครงการทำ�ลายก๊าซอุตสาหกรรมที่เรียก ว่า HFC-23 เนือ่ งจากก๊าซ HFC-23 มีอนั ตรายกว่า CO2 ถึง 11,000 เท่า การทำ�ลายก๊าซตัวนีจ้ งึ สามารถนำ�ไปขายได้เงินมหาศาล ทัง้ ๆ ทีโ่ รงงาน เหล่านี้สามารถติดตั้งอุปกรณ์ทำ�ลาย HFC-23 เองได้ด้วยต้นทุนเพียง ไม่กี่ล้านเหรียญต่อโรงงาน รัฐบาลจีนเถียงเรื่องนี้อย่างมีเหตุมีผลว่า ถ้าปราศจากแรงจูงใจ ที่ตลาดคาร์บอนเครดิตสร้าง โรงงานเหล่านี้ก็จะไม่ทำ�ลายก๊าซตัวนี้เลย ด้วยซํ้า เพราะยังไม่เข้าข่ายเป็นมลพิษตามกฎหมายจีน แต่ผู้เชี่ยวชาญ 119 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 119

3/20/11 8:35 PM


หลายคนก็ตอบโต้ว่า ถ้าอย่างนั้นรัฐบาลจีนก็ควรจะจ่ายเงินอุดหนุนให้ โรงงานเหล่านี้ติดตั้งอุปกรณ์ทำ�ลายก๊าซตัวนี้ เพราะการทำ�แบบนั้นจะ ถูกกว่าเอาไปขายเป็นคาร์บอนเครดิตถึง 4.5 พันล้านยูโร ตามรายงาน ที่ลงนิตยสาร Nature หลังจากทีโ่ ต้ตอบกันไปมา องค์การสหประชาชาติกป็ ดิ ช่องโหว่ เรื่องนี้ด้วยการประกาศว่า โรงงานทุกแห่งที่สร้างหลังปี 2004 จะไม่ สามารถนำ�ก๊าซ HFC-23 ทีท่ �ำ ลายมาขายในตลาดคาร์บอนเครดิตได้อกี กรณีตวั อย่างเหล่านี้ ไม่วา่ จะเป็นชาวนาอเมริกนั ทีอ่ ยูเ่ ฉยๆ ก็ได้ เงินโดยไม่ได้ท�ำ อะไรเพิม่ โครงการปลูกป่าทีไ่ ม่ชว่ ยลดภาวะโลกร้อน และ โรงงานจีนทีก่ อบโกยเงินเข้ากระเป๋าด้วยการอาศัยช่องโหว่ของกฎเกณฑ์ ออฟเซ็ท ล้วนแสดงให้เห็นความซับซ้อนของประเด็นสิง่ แวดล้อม และข้อ จำ�กัดของการใช้ตลาดการเงินในการแก้ปัญหา ซึ่งถึงแม้ว่าหลายปัญหา จะบรรเทาได้ด้วยการออกแบบขั้นตอนตรวจสอบและรับรองโครงการ ออฟเซ็ทให้รัดกุมและรอบคอบกว่าเดิม ถึงที่สุดแล้วเราคงไม่สามารถ บรรเทาภาวะโลกร้อนอย่างยัง่ ยืนได้ ถ้าทุกคนมัวแต่จา่ ยเงินซือ้ ออฟเซ็ท โดยไม่ลดการปล่อยคาร์บอนของตัวเองลงอย่างแท้จริง และถ้าโครงการ ออฟเซ็ทมุ่งแต่จะ ‘หากินกับของเก่า’ เท่านั้น.

120 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 120

3/20/11 8:35 PM


ตลาดหลักทรัพย์เพื่อสังคม (social stock exchange)

ปัญหาระดับโลกที่รุมเร้าเราอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลก ร้อน ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ ระบบนิเวศเสื่อมโทรม โรค ระบาดรุนแรง วิกฤตอาหาร ผู้ยากไร้แร้นแค้นกว่าเดิม ฯลฯ ล้วน สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า ลำ�พังระบบตลาดกระแสหลัก ที่ยึดกำ�ไรสูงสุดเป็นสรณะ หรือนโยบายพัฒนาแบบ ‘บนลงล่าง’ ของภาครัฐ อย่างหนึง่ อย่างใดนัน้ ไม่อาจแก้ปญ ั หาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันการณ์ และเป็นธรรม ศตวรรษที่ 21 จึงเป็นยุคที่เราต้องมองเห็นข้อจำ�กัดและความ ล้าหลังของวิธีคิดเก่า และมองหาวิธีคิดใหม่และทำ�ใหม่ในทุกมิติอย่าง เร่งด่วน จึงไม่น่าแปลกใจที่งานของกิจการพันธุ์ใหม่ซึ่งมีชื่อเรียกใน 121 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 121

3/20/11 8:35 PM


วรรณกรรมธุรกิจแล้วว่า “กิจการเพือ่ สังคม” (social enterprise) จะกำ�ลัง ได้รับความสนใจและการสนับสนุนมากขึ้นเรื่อยๆ ผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคมทีก่ า้ วหน้าทีส่ ดุ ล้วนทำ�งานด้วย ‘สมอง’ ทีว่ างแผนเพือ่ ความอยูร่ อดทางการเงิน ‘หัวใจ’ ทีห่ ว่ งใยความอยูร่ อดของ สังคม และ ‘สายตา’ แหลมคมยาวไกลที่สร้างแนวร่วมระหว่างภาครัฐ ธุ ร กิ จ และประชาชน พั ฒ นาโมเดลเปี่ ย มนวั ต กรรมที่ ส ามารถแก้ ปัญหาสังคมหรือสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนเอง โดยเฉพาะในสาขา สุขอนามัย การศึกษา การเงินขนาดจิว๋ และเทคโนโลยีสะอาด ทีส่ ามารถ นำ�ไปขยายขนาดและทำ�ซํ้าที่อื่นได้ (อ่านรายละเอียดความหลากหลาย ของกิจการเพือ่ สังคมทีป่ ระสบความสำ�เร็จได้ในหนังสือเรือ่ ง The Power of Unreasonable People โดย John Elkington และ Pamela Hartigan ฉบั บ แปลไทยชื่ อ พลั ง ของคนหั ว รั้ น แปลโดยผู้ เ ขี ย น ตี พิ ม พ์ โ ดย สำ�นักพิมพ์มติชน) ถึงแม้ว่างานของพวกเขาจะเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่ โลกเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 กิจการเพื่อสังคมส่วนใหญ่ก็ยังประสบปัญหา ในการระดมทุน เนื่องจากนักลงทุนทั่วไปยังมองว่า ‘การลงทุน’ กับ ‘การให้’ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ต้องเลือกทำ�อย่างใดอย่างหนึ่ง คือถ้า ‘ลงทุน’ ก็อยากได้ผลตอบแทนทางการเงินสูงเท่าที่จะสูงได้ ซึ่งกิจการ เพือ่ สังคมอาจทำ�ไม่ได้เพราะลงทุนด้านสังคมเป็นหลัก แต่ในทางกลับกัน ถ้านักลงทุนอยากช่วยเหลือสังคม ก็จะอยาก ‘ให้เปล่า’ เพราะถือว่า ‘ทำ�บุญ’ และดังนั้นจึงไม่ค่อยอยากเห็นองค์กรนำ�เงินให้เปล่าไปสร้าง รายได้ ส่วนสถาบันการเงินกระแสหลักทีป่ ระกาศว่ามี “ความรับผิดชอบ ต่อสังคม” ส่วนใหญ่กย็ งั มองว่ากิจการเพือ่ สังคมเล็กเกินไปและเสีย่ งเกิน ไปที่จะลงทุน ไม่ว่าจะในรูปหนี้หรือหุ้น การระดมทุนจากตลาดการเงินกระแสหลักมีอุปสรรคเพราะ กิจการเพื่อสังคมเป็นกิจการลูกผสมระหว่างธุรกิจกระแสหลักกับองค์กร การกุศล ขณะเดียวกันนักลงทุนพันธุ์ใหม่คือ “นักลงทุนเพื่อสังคม” 122 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 122

3/20/11 8:35 PM


(impact investors) ที่อยากลงทุนในกิจการเพื่อสังคมก็หาตัวผู้ประกอบ การค่อนข้างยาก และต้องเสียเวลาและค่าใช้จา่ ยในการหาข้อมูลมายืนยัน ว่ากิจการนั้นมีแนวโน้มดีจริงหรือไม่ ในเมื่ อ สิ่ ง ที่ ร ะบบตลาดทำ � ได้ ดี ก ว่ า กลไกอื่ น ๆ คื อ ‘จั บ คู่ ’ ระหว่างอุปสงค์และอุปทาน “ตลาดหลักทรัพย์เพื่อสังคม” (social stock exchange) จึงกำ�ลังอุบัติขึ้นอย่างช้าๆ แต่มั่นคงในหลายประเทศ ด้วย ฝีมือและความทุ่มเทของนักการเงินกลุ่มน้อยที่สนใจว่ากลไกการเงินจะ ช่วยสังคมได้อย่างไร มากกว่าไปเก็งกำ�ไรทองคำ� อนุพนั ธ์องิ ราคานํา้ มัน หรือกองทุนพันธบัตรเกาหลี ตลาดหลักทรัพย์เพื่อสังคมน้องใหม่หมาดในวงการคือ Impact Investment Exchange Asia (IIX)8 ในสิงคโปร์ ได้รบั อนุมตั จิ ากทางการ เมื่อเดือนมีนาคม 2552 IIX ไม่ใช่ตลาดหลักทรัพย์เพื่อสังคมแห่งแรกในโลก แต่เป็น แห่งแรกในทวีปเอเชีย และเป็นหนึ่งในไม่กี่แห่งที่ต้องการจับคู่ระหว่าง กิ จ การเพื่ อ สั ง คมและนั ก ลงทุ น เพื่ อ สั ง คมอย่ า งแท้ จ ริ ง ไม่ ใ ช่ ต ลาด สมัครใจไร้ผู้กำ�กับดูแลที่จับคู่ระหว่างองค์กรการกุศลกับผู้ใจบุญเฉยๆ อย่าง BOVESPA ในบราซิล หรือ SASIX ในอเมริกาใต้ แต่ IIX เป็น ตลาดหลักทรัพย์เต็มรูปแบบเพื่อส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม เหมือนกับ Social Stock Exchange (SSE) ในอังกฤษ ตัวองค์กร IIX เองก็เป็นกิจการเพือ่ สังคม มีพนั ธกิจ “ช่วยกิจการ เพื่อสังคมในเอเชียให้เข้าถึงทุน ทำ �ให้พวกเขาสามารถขยายขนาด ผลลัพธ์ของกิจกรรมได้อย่างรวดเร็วกว่าเดิม” โครงสร้างโดยรวมของ IIX เหมือนกับตลาดทุนทั่วไป มีตลาด แรกและตลาดรองให้นักลงทุนซื้อขาย และเป็นตัวกลางในการชำ�ระเงิน แต่ทพี่ เิ ศษคือกลไกทุกอย่างถูกออกแบบมาสำ�หรับกิจการเพือ่ สังคมโดย เฉพาะ IIX หวังว่าจะสามารถสร้าง ‘ระบบนิเวศ’ ของตลาดการลงทุนเพือ่ สังคมในทางทีเ่ หมือนกับตลาดการเงินกระแสหลัก ซึง่ หมายความว่ามัน 123 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 123

3/20/11 8:35 PM


จะประกอบไปด้วยกิจการที่ออกหลักทรัพย์ นักลงทุนเพื่อสังคม นาย ธนาคาร บริษัทผู้สอบบัญชี โบรกเกอร์ บริษัทวิจัย ฯลฯ ‘สินค้า’ ของ IIX คือหุ้นและตราสารหนี้ กิจการเพื่อสังคมที่ แสวงหากำ�ไรออกหลักทรัพย์ได้ทงั้ สองประเภท ส่วนกิจการทีไ่ ม่แสวงหา กำ�ไรจะออกได้แต่ตราสารหนี้ นักลงทุนในหุ้นจะได้รับผลตอบแทนด้าน การเงินจากเงินปันผลและการซื้อขายหุ้นในตลาดรอง ส่วนนักลงทุนใน ตราสารหนี้ (มีสถานะเป็นเจ้าหนีข้ องกิจการ) ก็จะได้รบั ดอกเบีย้ และเงิน ต้นรายงวดเหมือนกับตราสารหนี้ทั่วไป นอกจากผลตอบแทนด้านการเงิน นักลงทุนทั้งสองประเภทก็ จะได้รับทราบว่ากิจการที่พวกเขาลงทุนนั้นสร้างผลบวกต่อสังคมเท่าไร แล้วบ้าง โดย IIX ร่วมกับทีมผู้เชี่ยวชาญจะกำ�หนดวิธีวัดและคำ�นวณ ผลตอบแทนนี้ออกมาเป็นมูลค่า ‘ปันผลสังคม’ (social dividends) IIX จะกำ�หนดเกณฑ์ขั้นตํ่าของกิจการเพื่อสังคมที่ประสงค์จะ เข้ามาระดมทุนในตลาด โดยส่วนหนึ่งจะใช้เกณฑ์ของตลาดหุ้นทั่วไป เช่น มาตรฐานธรรมาภิบาล มาตรฐานบัญชี ผลประกอบการด้านการเงิน และการดำ�เนินกิจการที่ผ่านมา เสริมด้วยข้อบังคับเพิ่มเติมเพื่อตีกรอบ กิจการในตลาดให้อยู่แค่กิจการเพื่อสังคมจริงๆ กล่าวคือ เป็นกิจการ ที่ มี พั น ธกิ จ ด้ า นสั ง คมหรื อ สิ่ ง แวดล้ อ มเป็ น หลั ก และสามารถนำ � ส่ ง ผลตอบแทนทั้งด้านการเงินและด้านสังคม คุณปู การข้อหนึง่ ของตลาดการ ‘ลงทุน’ อย่างเป็นทางการอย่าง IIX ที่สำ�คัญไม่แพ้การสร้างตลาดใหม่ที่ช่วยพัฒนาสังคม คือการที่ IIX จะสร้างและเผยแพร่มาตรฐานในการเปิดเผยและประเมินผลตอบแทน ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รายงานผลตอบแทนด้านนี้ของกิจการใน IIX ทุกแห่งจะต้องได้รับการประเมินโดยบุคคลภายนอก คล้ายกับที่งบ การเงินของบริษัททุกบริษัทจะต้องผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี อิสระ เพื่อสร้างความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือให้กับนักลงทุน และ ในเมือ่ กิจการเพือ่ สังคมต้องเปิดเผยข้อมูลให้กบั นักลงทุนอย่างสมํา่ เสมอ 124 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 124

3/20/11 8:35 PM


การได้จดทะเบียนใน IIX ก็น่าจะช่วยสร้างวินัยทางอ้อมให้กับกิจการ ตลอดจนระดมความช่วยเหลือจากผู้เล่นรายอื่นๆ ในตลาดที่ล้วนแต่ กระตือรือร้นในการแบ่งปันข้อมูลและโมเดลธุรกิจ เพราะทุกฝ่ายล้วน มีเป้าหมายด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่ประโยชน์ส่วนตน เดอร์รีน ชาห์นาซ (Durreen Shahnaz) ชาวอเมริกันเชื้อสาย บังกลาเทศผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการของ IIX มีประวัติและแนวคิด น่าสนใจไม่แพ้ตลาดที่เธอผลักดัน ตำ�แหน่งปัจจุบันอีกตำ�แหน่งของเธอ คือ หัวหน้าโครงการนวัตกรรมและการเปลีย่ นแปลงสังคม คณะนโยบาย สาธารณะ (Lee Kuan Yew School of Public Policy) แห่งมหาวิทยาลัย แห่งชาติสงิ คโปร์ เธอจบปริญญาโทบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยวาร์ตนั และปริญญาโทความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอบกินส์ในสหรัฐอเมริกา มีประสบการณ์มากมายในภาคการเงิน ภาค ธุรกิจ และธุรกิจเพื่อสังคม ตั้งแต่มอร์แกน สแตนเลย์ และ เมอร์ริล ลินช์ บริษัทวาณิชธนกิจชั้นนำ�ของอเมริกา ไปจนถึงธนาคารโลก นิตยสาร รีดเดอร์ส ไดเจสท์ และธนาคารกรามีน ก่อนหน้านี้ชาห์นาซก่อตั้งธุรกิจ เพื่อสังคมชื่อ oneNest เพื่อขายงานหัตถกรรมผ่านเว็บไซต์ เชื่อม ช่างฝีมือชาวบ้านโดยตรงเข้ากับผู้บริโภครายย่อยในอีกซีกโลกหนึ่ง ชาห์นาซมองว่า กำ�เนิดของ IIX “...นับเป็นจุดเริ่มต้นของ[การ เงิน]ยุคใหม่ และเป็นปฏิกริ ยิ าทีเ่ หมาะสมต่อความโลภในตลาดการเงินที่ ครอบงำ�ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ในโลกตลอดระยะเวลาไม่กที่ ศวรรษ ทีผ่ า่ นมา สิง่ ทีด่ ที สี่ ดุ คือ ตลาดนีม้ แี นวโน้มจะเป็นปฏิกริ ยิ าของทวีปเอเชีย ต่อความสับสนอลหม่านในโลกตะวันตก และนำ�จิตสำ�นึกทางสังคมไปยืน อยู่แถวหน้าของตลาดการเงินโลก”

125 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 125

3/20/11 8:35 PM


การเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้น (shareholder activism) ในอเมริกาและเอเชีย

ถ้าถามคนไทยว่า ‘บทบาท’ ของผู้ถือหุ้นคืออะไร คนส่วนใหญ่อาจ จะงงว่าผู้ถือหุ้นทำ�อะไรอื่นอีกหรือนอกจากซื้อขายหุ้นด้วยความ หวังว่าจะได้กำ�ไร ไม่วันนี้ก็วันหน้า ที่ผ่านมา บทบาทของผู้ถือหุ้นไทยนอกเหนือจากนี้จำ�กัดอยู่แค่ การรวมตัวกันฟ้องกรรมการบริษัทหรือผู้บริหารที่หลอกลวงหรือฉ้อโกง ผู้ถือหุ้น ซึ่งหลายครั้งก็เป็นการกระทำ�ที่สายเกินแก้ เพราะไม่ได้ตัดไฟ ตั้งแต่ต้นลม มารู้ตัวอีกทีคนโกงก็หนีไปแล้ว ถ้าโชคดีก็ต้องร้องเพลงรอ นานหลายปีกว่าตำ�รวจจะเอาตัวกลับมาขึ้นศาลได้ ถ้าโชคร้ายคนโกงก็ จะใช้ชีวิตอย่างสุขสบายในต่างแดนจนหมดอายุความ แถมบางคนยัง กลับมามีหน้ามีตาในสังคมความจำ�สั้นได้ด้วย 126 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 126

3/20/11 8:35 PM


สังคมเราคุ้นเคยกับบทบาทของผู้ถือหุ้นแต่เพียงเท่านี้ คือทวง ผลประโยชน์ทางการเงินที่ตัวเองควรจะได้แต่ไม่ได้ ทั้งที่ผู้ถือหุ้นทำ � อะไรๆ ได้มากกว่านั้นมากในฐานะ “เจ้าของ” บริษัท ทั้งเพื่อประโยชน์ ส่วนตัวและประโยชน์ส่วนรวม ถ้าผู้ถือหุ้นอยากเห็นบริษัททำ�ประโยชน์ ส่วนรวม ในสหรัฐอเมริกา การเคลือ่ นไหวของผูถ้ อื หุน้ เริม่ มีบทบาทตัง้ แต่ ประมาณทศวรรษ 1970 คึกคักขึ้นเรื่อยๆ ตามการเติบโตของตลาดหุ้น และนักลงทุนสถาบัน อาทิ กองทุนบำ�นาญ กองทุนรวม รวมถึงองค์กร ไม่แสวงกำ�ไรหลายรูปแบบทีเ่ ข้ามาลงทุนในตลาดหุน้ อาทิ มหาวิทยาลัย โบสถ์ ค ริ ส ต์ และมู ล นิ ธิ ต่ า งๆ ประกอบกั บ การแก้ ไ ขกฎหมายและ กฎระเบียบที่เพิ่มอำ�นาจให้กับผู้ถือหุ้นมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ศตวรรษที่ 21 เปิดฉากด้วยตลาดหุน้ แนสแด็กดิง่ เหวในปี 2001 ปีตอ่ มาเกิดกรณีออื้ ฉาวทีผ่ บู้ ริหารระดับสูงหรือกรรมการบริษทั ยักษ์ใหญ่ หลายแห่ง เช่น เอ็นรอน ไทโค และเวิรล์ ด์คอม ตบแต่งบัญชี ยักยอกเงิน หรือฉ้อโกงวิธีอื่น ปะทุขึ้นติดๆ กัน ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของธุรกิจ ขนาดใหญ่ในสายตาประชาชนตกตํ่าอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน นักลงทุน นักเคลื่อนไหวในอเมริกาจึงผนึกกำ�ลังกันทำ�งานอย่างเป็นระบบและ ติดตามสอดส่องการทำ�งานของกรรมการและผู้บริหารอย่างใกล้ชิดกว่า ในอดีต โดยเฉพาะประเด็นการได้โบนัสสูงลิบสวนทางกับผลขาดทุน ของบริษัท “การเคลื่อนไหว” ของผู้ถือหุ้น โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบัน ทีถ่ อื หุน้ จำ�นวนมากพอทีจ่ ะส่งผลกระทบกับราคาหุน้ ได้ถา้ ขายทิง้ (อย่าง น้อยร้อยละ 0.5) มีมากมายหลายรูปแบบ ตัง้ แต่การ “แสดงออกด้วยเงิน” (ขายหุ้นทิ้ง) นัดหารือกับกรรมการหรือผู้บริหารเป็นการส่วนตัว ทำ� แคมเปญรณรงค์ผ่านสื่อเพื่อสร้างแรงกดดันทางสังคมให้กรรมการหรือ ผู้บริหารรู้สึกอับอายจนเปลี่ยนพฤติกรรม ไปจนถึงการฉวยใช้ช่องทาง ตามกฎหมายให้เป็นประโยชน์ เช่น ผนึกกำ�ลังกับผู้ถือหุ้นรายอื่นเพื่อ 127 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 127

3/20/11 8:35 PM


เพิ่มวาระในที่ประชุมผู้ถือหุ้น (ตามมาตรฐานสากล การเพิ่มวาระต้อง ใช้หุ้นที่มีสิทธิออกเสียงรวมกันร้อยละ 1 กฎหมายไทยให้ใช้ร้อยละ 5) และรณรงค์ให้ผู้ถือหุ้นร่วมกันลงมติในประเด็นสำ�คัญๆ เช่น ถอดถอน กรรมการหรือผู้บริหารที่มีพฤติกรรมมิชอบ เสนอวิธีปรับปรุงแผนธุรกิจ สนับสนุนหรือคัดค้านแผนการซื้อกิจการ หรือคัดค้านแผนของผู้ถือหุ้น รายใหญ่ ที่ ไ ม่ ช อบมาพากล (เช่ น สุ่ ม เสี่ ย งว่ า จะเป็ น การผ่ อ งถ่ า ย ผลประโยชน์จากบริษัทไปสู่ตระกูลผู้ก่อตั้ง) ในวรรณกรรมบริหารธุรกิจ ผูเ้ ขียนยังไม่เห็นผูเ้ ชีย่ วชาญทีศ่ กึ ษา การเคลือ่ นไหวของผูถ้ อื หุน้ คนไหนมองว่าเรือ่ งนีด้ อี ย่างไร้เงือ่ นไข แต่กม็ ี ความเห็นที่เห็นพ้องต้องกันแล้วระดับหนึ่งว่า บริษัทที่ผู้ถือหุ้นคอย สอดส่องดูแลการทำ�งานของคณะกรรมการและผู้บริหารน่าจะมีโอกาส ประสบความสำ�เร็จในระยะยาวมากกว่าบริษทั ทีผ่ ถู้ อื หุน้ ปล่อยปละละเลย ไว้วางใจคณะกรรมการเกินไป หรือสนใจแต่ราคาหุ้นระยะสั้น ในภาวะปกติ บริษทั ทีม่ ผี ถู้ อื หุน้ นักเคลือ่ นไหวเปรียบเสมือนตึก ทีม่ สี ญ ั ญาณเตือนไฟไหม้ทคี่ รอบคลุมทัว่ ทัง้ บริเวณ เพราะลำ�พังการมีอยู่ ของผู้ถือหุ้นแบบนี้ก็เพียงพอที่จะทำ�ให้กรรมการและผู้บริหารตื่นตัว ไม่ลุแก่อำ�นาจหรือเคยตัวจนถลุงเงินบริษัทไปใช้อย่างสิ้นเปลืองหรือ สูญเปล่า ในภาวะทีบ่ ริษทั มีผลประกอบการย่�ำ แย่ ผูถ้ อื หุน้ นักเคลือ่ นไหว ก็เปรียบเสมือนบุรษุ ดับเพลิงทีจ่ ะวิง่ มาดับไฟไหม้และกอบกูบ้ ริษทั ให้ฟนื้ คืนชีพได้เร็วกว่าถ้าไม่มี ดังนั้น ถ้าผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวทำ�งานอย่าง แข็งขันและรู้เท่าทัน ผู้ถือหุ้นรายอื่นก็จะพลอยได้ประโยชน์ไปด้วยจาก ราคาหุ้นและเงินปันผลที่เพิ่มขึ้นจากผลกำ�ไรที่สูงขึ้นด้วยความพยายาม ของกรรมการและผู้บริหารที่ตั้งใจทำ�งาน หรืออย่างน้อยราคาหุ้นหรือ เงินปันผลก็จะไม่ลดลงมากเท่ากับกรณีทบี่ ริษทั ถูกกรรมการหรือผูบ้ ริหาร ตกแต่งบัญชีจนไม่มีใครรู้ มารู้ทีหลังก็ต่อเมื่อสายเกินแก้แล้ว อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้นอาจไม่ทำ�ให้บริษัท ดีขึ้นในระยะยาวเสมอไป บางครั้งผู้ถือหุ้นที่เคลื่อนไหวอาจเป็นคนโลภ 128 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 128

3/20/11 8:35 PM


มากสายตาสัน้ ทีอ่ ยากฉวยโอกาสถลุงเงินจากบริษทั ด้วยการกดดันคณะ กรรมการ โดยไม่ยอมเข้าใจเหตุผลของบริษัทในการไม่จ่ายเงินปันผล มากกว่าที่จ่ายจริง เช่น บริษัทต้องกันเงินไว้สำ�หรับลงทุนขยายกิจการ เตรียมซื้อกิจการของบริษัทคู่แข่ง หรือดำ�เนินโครงการอื่นๆ ที่จะเสริม สร้างความแข็งแกร่งของบริษัทในระยะยาว นอกจากนี้ ในบางประเทศ โดยเฉพาะในยุโรป บางครั้งสหภาพแรงงานที่ถือหุ้นบริษัทก็ฉวยโอกาส เคลื่อนไหวในฐานะผู้ถือหุ้นเพื่อต่อสู้เรียกร้องผลประโยชน์แทนคนงาน ในทางที่เกินเลยขอบเขตของผลประโยชน์ที่คนงานพึงได้รับ ปัจจุบันการเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้นในอเมริกาอาจแบ่งได้เป็น 2 แนวทางหลัก แนวทางแรกมุง่ “รีด” มูลค่าจากบริษทั ด้วยการเคลือ่ นไหว ให้ เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลงที่ จ ะเพิ่ ม ผลกำ� ไรหรื อ ปรั บ ปรุ ง ธรรมาภิ บ าล เช่น ถอดถอนกรรมการทัง้ ชุดเพราะมีผลงานแย่ ผูกโยงผลตอบแทนของ ผู้บริหารเข้ากับผลกำ�ไรของบริษัท ลดจำ�นวนปีของวาระกรรมการลง ตั้งคำ�ถามในที่ประชุมผู้ถือหุ้นว่ากรรมการอิสระเป็นอิสระจริงหรือไม่ เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งกรรมการบริษัทใหม่ทุกปี เรียกร้องให้บริษัท จ้างบุคคลภายนอกมาตรวจสอบกรณีที่สงสัยว่ามีการฉ้อฉลหรือทำ�ผิด จริยธรรม เสนอแนวทางลดต้นทุน เสนอแผนซื้อกิจการของคู่แข่ง ฯลฯ แนวทางที่สองของการเคลื่อนไหวมุ่งตอบสนองความต้องการ ของผู้ถือหุ้นนอกเหนือจากการดำ�เนินธุรกิจปกติของบริษัท โดยเฉพาะ ในประเด็นด้านสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่ผู้ถือหุ้นให้ความสนใจหรือเป็น นโยบายในการลงทุน เช่น เรียกร้องให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก เรียกร้องให้บริษัทขึ้นค่าแรงขั้นตํ่า คัดค้านโครงการ ขยายกิจการเพราะจะทำ�ลายสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ผู้ถือหุ้นที่เคลื่อนไหวใน แนวทางนีม้ กั เป็นนักลงทุนสถาบันทีม่ ปี ระเด็นด้านสังคมหรือสิง่ แวดล้อม เป็นสาระสำ�คัญของนโยบายลงทุน อาทิ องค์กรทางศาสนาทีค่ ดั ค้านการ ทำ�แท้งและทดลองในสัตว์ กองทุนที่ “รับผิดชอบต่อสังคม” (Socially Responsible Investment: SRI) กองทุนที่ “ลงทุนอย่างมีศลี ธรรม” (ethical) 129 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 129

3/20/11 8:35 PM


เป็นต้น กฎหมายหลักทรัพย์ของอเมริการะบุวา่ ผูถ้ อื หุน้ รายใดรายหนึง่ หรือหลายรายทีถ่ อื หุน้ รวมกันมีมลู ค่าไม่ตาํ่ กว่า 2,000 เหรียญ มีสทิ ธิรา่ ง และส่งข้อเสนอให้ผถู้ อื หุน้ รายอืน่ ๆ พิจารณา การเคลือ่ นไหวของผูถ้ อื หุน้ หลายครัง้ ประสบความสำ�เร็จเพราะจับมือกับนักลงทุนสถาบันหลายแห่ง เพื่อรวบรวมสิทธิออกเสียงให้มากพอที่จะเป็นเสียงข้างมาก ถ้าเป็น ประเด็นทางสังคมหรือสิง่ แวดล้อม ผูถ้ อื หุน้ นักเคลือ่ นไหวมักจะจับมือเป็น พันธมิตรกับองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ทีเ่ ป็นผูเ้ ชีย่ วชาญในประเด็น นัน้ ๆ และรณรงค์มายาวนาน ยกตัวอย่างเช่น ผูถ้ อื หุน้ ประสบความสำ�เร็จ ในการลงมติเสียงข้างมากให้บริษัท ไทโค อินเตอร์แนชั่นแนล ยอมตั้ง เป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และกดดันให้บริษัท เป๊บซี่ ยอมสนับสนุนงานวิจัยเรื่องผลกระทบของโรคเอดส์ในประเทศ กำ�ลังพัฒนา สถิติที่ผ่านมาบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าการเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้น สูงขึ้นและส่งผลกระทบมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง Investor Responsibility Research Center สถาบันวิจัยที่ติดตามวงการนี้ในอเมริการายงานว่า ในปี 2002 ปีทเี่ กิดกรณีออื้ ฉาวของเอ็นรอนและอีกหลายบริษทั มีผถู้ อื หุน้ เสนอเพิ่มวาระเพื่อการลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นถึง 802 เรื่อง สูงเป็น ประวัติการณ์ ในปีต่อมาคือ 2003 ตัวเลขนี้ก็พุ่งเป็น 1,082 เรื่อง และ ใน 5 เดือนแรกของปี 2004 ก็เพิ่มเป็น 1,147 เรื่อง ประเด็นที่น่าสนใจ คื อ วาระที่ ผู้ ถื อ หุ้ น เสนอนี้ ไ ม่ ไ ด้ เ พิ่ ม แต่ จำ � นวนอย่ า งเดี ย ว แต่ เ สี ย ง สนับสนุนจากผู้ถือหุ้นรายอื่นที่ไม่ได้เสนอวาระ ก็เพิ่มขึ้นด้วยเป็นเงา ตามตัว ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2003 มีข้อเสนอของผู้ถือหุ้นถึง 161 เรื่อง (ร้อยละ 15) ที่ได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากจากผู้ถือหุ้นในที่ประชุม (แปลว่าบริษัทมีหน้าที่ที่จะต้องทำ�ตามข้อเสนอดังกล่าวตามกฎหมาย) ดาเนียล โรซาน ผู้อำ�นวยการฝ่ายสาธารณสุขของเครือข่าย ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวที่โด่งดังที่สุดในอเมริกาคือ Interfaith Center 130 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 130

3/20/11 8:35 PM


on Corporate Responsibility (ICCR) กล่าวว่า ข้อเสนอของผู้ถือหุ้น นักเคลื่อนไหวนั้นมีประโยชน์และช่วยขับเคลื่อนประเด็นเสมอ แม้ว่า ส่วนใหญ่จะไม่ได้รบั เสียงสนับสนุนจากผูถ้ อื หุน้ รายอืน่ มากพอทีจ่ ะบังคับ ให้บริษทั ทำ�ตาม เนือ่ งจากลำ�พังการเสนอวาระก็เท่ากับเป็นการ “ประจาน” กรรมการและผู้บริหารบริษัทต่อหน้าสื่อและสาธารณชนแล้ว โรซานบอกว่า บริษทั มหาชนทีจ่ ดทะเบียนในตลาดหุน้ เริม่ เข้าใจ แล้วว่าความกังวลของผู้ถือหุ้นนั้นไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาควรกริ่งเกรงหรือ รังเกียจ เพราะมันเป็นปฏิกริ ยิ าทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ ตัวบริษทั เอง เนือ่ งจาก ชีใ้ ห้เห็นความเสีย่ งหรือข้อผิดพลาดทีบ่ ริษทั อาจยังมองไม่เห็นหรือคิดว่า ไม่สำ�คัญพอที่จะต้องลงมือแก้ไข เช่น ความเสี่ยงจากการปล่อยมลพิษ หรือทำ�ลายสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการเสนอเพิ่มวาระในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นมาตรการ “ทางการ” ที่ผู้ถือหุ้นจะต้องออกเสียงว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ (ถ้า เป็นประเด็นที่ต้องมีการออกเสียง) และผลการลงมติจะต้องเปิดเผยต่อ สาธารณะ ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวหลายแห่งจึงมองว่ามันเป็นมาตรการ “ไม้ตาย” ที่ควรใช้ก็ต่อเมื่อลองวิธีอื่นมาหมดแล้ว เพราะมันแบ่งแยก ผู้ถือหุ้นให้เป็นปฏิปักษ์กับคณะกรรมการ และ/หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ อย่างชัดเจน ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนสถาบันหลายแห่งจึงชอบใช้วิธีอื่น โดยเฉพาะการหารือตัวต่อตัวกับผู้บริหาร อินเทอร์เน็ตช่วยให้ผู้ถือหุ้น โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นรายย่อย ได้ ทำ�ความรูจ้ กั กันและรวมพลังกันเคลือ่ นไหวอย่างมีประสิทธิภาพและเป็น ระบบ ยกตัวอย่างเช่น บนเว็บไซต์ของเครือข่ายนักลงทุนชือ่ Advocacy and Public Policy Program9 ทุกคนสามารถค้นหาว่าผู้ถือหุ้นคนอื่นๆ รวมทัง้ นักลงทุนสถาบันรายใหญ่อย่างเช่นคาลเปอร์ส (Calpers กองทุน บำ�นาญทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในอเมริกา) มีแผนทีจ่ ะออกเสียงในวาระต่างๆ ในการ ประชุมผู้ถือหุ้นอย่างไร และใครเป็นผู้เสนอแต่ละวาระ ผู้ถือหุ้นสามารถ ลงนามออกเสียงในเว็บนี้ (ผ่านการมอบอำ�นาจ) และจองทีน่ งั่ ในการร่วม 131 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 131

3/20/11 8:35 PM


หารือกับทีมผู้บริหารของบริษัทด้วย ดูตวั อย่างการเคลือ่ นไหวของผูถ้ อื หุน้ ในอเมริกาไปแล้ว คราวนี้ ลองมาดูประสบการณ์ของประเทศเพือ่ นบ้านในเอเชียกันบ้างว่า ผูถ้ อื หุน้ นักเคลือ่ นไหวแนวธรรมาภิบาลในเอเชียเหมือนหรือแตกต่างจากอเมริกา อย่างไรบ้าง เกาหลี ใ ต้ ไต้ ห วั น และญี่ ปุ่ น คื อ สามประเทศที่ ว งการการ เคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้นคึกคักเป็นอันดับต้นๆ ในเอเชีย องค์กรชั้น แนวหน้ า ที่ ร ณรงค์ เ รื่ อ งนี้ ใ นประเทศทั้ ง สามส่ ว นใหญ่ เ ป็ น องค์ ก ร ไม่แสวงกำ�ไรเหมือนกับในอเมริกา แต่ความแตกต่างทีน่ า่ สนใจคือ องค์กร อเมริกันอย่างเช่น Corporate Library, Shareholder Action Network, และ Investor Responsibility Research Center (IRRC) ทำ�หน้าที่ เป็น “ศูนย์ข้อมูล” และช่วยประสานงานให้กับผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหว ซึ่งก็มักจะเป็นนักลงทุนสถาบันรายใหญ่ที่เป็นสมาชิก แต่องค์กรด้านนี้ ในเกาหลีใต้ ไต้หวัน และญีป่ นุ่ มีบทบาททางตรงโดยเข้าไปถือหุน้ บริษทั ต่างๆ เอง ใช้สิทธิเสนอวาระและออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น รวบรวม รายชื่อโจทก์และฟ้องกรรมการหรือผู้บริหารเมื่อเกิดกรณีทุจริต ในแง่นี้ องค์กรเหล่านี้จึงมีลักษณะเป็น “องค์กรพัฒนาเอกชน” (เอ็ น จี โ อ) ในความหมายที่ ค นไทยทั่ ว ไปเข้ า ใจ คื อ เคลื่ อ นไหวตาม เป้าหมายด้านสังคมหรือสิ่งแวดล้อม แต่เมืองไทยยังไม่มีเอ็นจีโอที่ ขับเคลื่อนประเด็นด้านธรรมาภิบาลธุรกิจแบบนี้ งานวิจัยวงการนี้หลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า ความเข้มข้นและแข็งขัน ของเอ็นจีโอในตลาดหุน้ หลายประเทศเป็นผลพวงของการทีร่ ฐั หละหลวม อ่อนแอ หรือถูกเอกชนครอบงำ� จนทำ�ให้ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมาย และกฎระเบียบได้อย่างประสิทธิภาพ ภาวะสุญญากาศของระบบกำ�กับ ดูแลทำ�ให้เอ็นจีโอก้าวเข้ามามีบทบาทแทน จนกลายเป็นผู้ใช้กฎหมาย ธุรกิจที่สำ�คัญที่สุดในเกาหลีใต้ ไต้หวัน และญี่ปุ่น ในเกาหลีใต้ เอ็นจีโอนาม Peoples’ Solidarity for Participatory 132 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 132

3/20/11 8:35 PM


Democracy (แนวร่วมประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม – PSPD) เป็นเอ็นจีโอที่มีอิทธิพลสูงสุดในประเทศ ประสบความสำ�เร็จสูง มากจนสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับภาคธุรกิจเกาหลีใต้ทั้งระบบ เติบโต ตั้งแต่ปีที่ก่อตั้งคือ 1994 สมาชิกแรกเริ่ม 200 คน จนปัจจุบันมีสมาชิก กว่า 12,000 คน รายได้ขององค์กรร้อยละ 80 มาจากค่าสมาชิก กลุม่ Participatory Economic Committee (คณะกรรมการการ มีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ) ภายใต้ PSPD ริเริ่มแคมเปญเคลื่อนไหวเพื่อ สิทธิผู้ถือหุ้นรายย่อยในปี 1997 เพื่อผลักดันการปรับปรุงธรรมาภิบาล และฟ้องตระกูลเจ้าของหรือผูบ้ ริหารแชโบล (หมายถึงบริษทั ยักษ์ใหญ่ที่ มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับนักการเมือง) โดยเข้าไปซือ้ หุน้ และใช้สทิ ธิของ ผู้ถือหุ้นอย่างเต็มที่ ลงมติผ่านนโยบายปฏิรูปธรรมาภิบาล (เช่น จำ�กัด ค่าตอบแทนผู้บริหาร เพิ่มจำ�นวนกรรมการอิสระ แก้ไขข้อบังคับในทาง ทีค่ มุ้ ครองผูถ้ อื หุน้ รายย่อยมากกว่าเดิม) ในทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ ของแชโบล หลายแห่ง รวมทั้ง เอสเคเทเลคอม ฮุนได และแดวู ผลงานของ PSPD ที่โด่งดังที่สุดคือ การเป็นตัวแทนผู้ถือหุ้น 61 ราย ฟ้องอดีตกรรมการธนาคาร โคเรีย เฟิร์สต์ ในข้อหารับสินบน แลกกับการปล่อยกูใ้ ห้กบั บริษทั ขนาดใหญ่ทกี่ �ำ ลังจะล้ม คดีนเี้ ป็นคดีแรก ในเกาหลีใต้ที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยรวมตัวกันฟ้องเรียกค่าเสียหายจากอดีต กรรมการแทนบริษัท (ในคดีที่ผู้ถือหุ้นฟ้องแทนบริษัท (derivative suit) ค่าเสียหายใดๆ ที่ศาลพิพากษาให้จำ�เลยชดใช้จะต้องกลับคืนสู่บริษัท ไม่ใช่โจทก์ผู้ฟ้อง แปลว่าผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบริษัทจะได้ประโยชน์ถ้า โจทก์ชนะคดี) ในปี 1998 ศาลตัดสินให้จำ�เลยในคดีนี้จ่ายค่าเสียหายให้ กับผู้ถือหุ้นรายย่อยรวม 40,000 ล้านวอน (ประมาณ 1,400 ล้านบาท) ความสำ�เร็จอีกกรณีหนึ่งซึ่งได้รับการกล่าวขานมากคือ ในปี 2001 PSPD เป็นตัวแทนผู้ถือหุ้น 22 ราย ฟ้องผู้ถือหุ้นรายใหญ่และ กรรมการบริษทั ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ 9 ราย ศาลตัดสินว่ากรรมการ “ไม่ ได้ใช้วิจารณญาณทางธุรกิจอย่างรัดกุมเพียงพอ” ในการเข้าซื้อกิจการ 133 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 133

3/20/11 8:35 PM


ของบริษัทคู่แข่ง ทั้งยังตัดสินลงโทษประธานกรรมการบริษัทในข้อหา ติดสินบนนักการเมืองด้วย คดีเหล่านี้ทำ�ให้กรรมการและผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนใน เกาหลีใต้ตระหนักอย่างแท้จริงว่า “หน้าที่ต่อผู้ถือหุ้น” (fiduciary duty) นัน้ หมายความว่าอะไร และได้รบั รูว้ า่ แม้แต่ผบู้ ริหารและผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ ของแชโบลทีท่ รงอิทธิพลทีส่ ดุ ก็ไม่อาจหลบพ้นความรับผิดทางกฎหมาย ต่อผูถ้ อื หุน้ ความสำ�เร็จของ PSPD เหล่านีส้ ง่ ผลให้ผบู้ ริหารและกรรมการ ปรับเปลีย่ นพฤติกรรม ทำ�งานด้วยความรับผิดชอบและยึดมัน่ ในจรรยาบรรณมากกว่าเดิม เป็นการยกระดับธรรมาภิบาลทีย่ งั่ ยืนและแท้จริงกว่า การมอบรางวัล “บริษัทธรรมาภิบาลดีเด่น” ประจำ�ปี ในไต้หวัน องค์กรชื่อ Securities and Futures Institute (SFI) ก่อตัง้ ในรูปมูลนิธโิ ดยการสนับสนุนของรัฐบาลและภาคการเงินในปี 1984 ถือหุ้น 1,000 หุ้นในบริษัทจดทะเบียนทุกแห่งในตลาดหุ้นไต้หวัน SFI มีบทบาท 2 ส่วนหลัก คือกิจกรรมบังคับใช้กฎหมาย และกิจกรรมทีไ่ ม่ใช่ การบังคับใช้กฎหมาย กิจกรรมบังคับใช้กฎหมายก็เช่นเดียวกับ PSPD คือใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้น ทำ�หน้าที่เป็นตัวแทนผู้ถือหุ้นรายอื่นได้ทันที ทีเ่ กิดคดีความ โดยเฉพาะในคดีทดี่ �ำ เนินคดีแบบรวมกลุม่ (default class action) และคดีฟ้องแทนบริษัท (derivative suit) กิจกรรมของ SFI นอกเหนือจากการบังคับใช้กฎหมายนั้นมี ความหลากหลายมาก ตั้งแต่ทำ�วิจัยเกี่ยวกับธรรมาภิบาล จัดอันดับ คุณภาพการรายงานข้อมูลและความโปร่งใสของบริษทั จดทะเบียนรายปี รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ถือหุ้น อบรมบุคลากรเกี่ยวกับธรรมาภิบาล ช่วย ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ให้คำ�ปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจและกฎหมาย หลักทรัพย์ และส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการลงทุน ตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา SFI ได้ฟ้องศาลเพื่อขอชดเชยกำ�ไรที่ บุคคลวงใน (เช่น กรรมการทีใ่ ช้ขอ้ มูลภายในซือ้ หรือขายหุน้ ) ได้ประโยชน์ ไปโดยมิชอบไปแล้วกว่า 2,000 คดี เรียกค่าเสียหายรวมกันกว่า 8,700 134 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 134

3/20/11 8:35 PM


ล้านเหรียญไต้หวัน (ประมาณ 8,700 ล้านบาท) ทัง้ ยังเป็นตัวแทนผูถ้ อื หุน้ กว่า 9,700 รายฟ้องบริษทั กว่า 24 แห่ง ในคดีฟอ้ งแบบรวมกลุม่ เรียกค่า เสียหายรวมกันกว่า 4,700 ล้านเหรียญไต้หวัน (4,700 ล้านบาท) ผลงาน ที่โดดเด่นมากของ SFI คือการไล่ฟ้องบริษัทที่นักลงทุนเรียกกันว่า “บริษัทกับระเบิด” คือบริษัทจดทะเบียนที่กลุ่มผู้ก่อตั้งใช้พรรคพวกและ นอมินีสร้างราคาหุ้นและยักย้ายถ่ายเทสินทรัพย์ของบริษัทออกไปสู่มือ ตัวเอง ในทศวรรษ 1990 ต่อเนือ่ งข้ามศตวรรษ ลดแรงจูงใจของ “เจ้ามือ” นักปั่นหุ้นในการทุจริต และช่วยปรับปรุงภาพลักษณ์ของตลาดหุ้นที่เคย ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น “สวรรค์ของนักปั่น” ตลาดหนึ่งในโลก ในญี่ปุ่น ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวที่มีบทบาทสูงที่สุดในประเทศ และโดดเด่ น ชนิ ด ที่ ไ ม่ มี ใ ครทาบติ ด คื อ กลุ่ ม ทนายและนั ก วิ ช าการ นั ก เคลื่ อ นไหวที่ เ รี ย กตั ว เองว่ า “ผู้ ถื อ หุ้ น ผู้ ต รวจการ” (Kabunushi Ombudsman) ก่อตั้งปี 1996 มีเป้าหมายที่จะ “ปฏิรูปวิถีปฏิบัติของ ผูบ้ ริหารญีป่ นุ่ ให้ค�ำ นึงถึงมุมมองของผูถ้ อื หุน้ รายย่อยและพลเมือง” โดยใช้ เครื่องมือและช่องทางตามกฎหมาย ระหว่างปี 1996-2001 กลุ่มผู้ถือหุ้นผู้ตรวจการฟ้องกรรมการ บริษทั ยักษ์ใหญ่กว่า 10 แห่ง อาทิ โนมูระ ทาคาชิมาระ ธนาคารไดอิช-ิ กังโย อายิโนะโมโต๊ะ และมิตซูบิชิ มอเตอร์ส เรียกร้องค่าเสียหายแทนบริษัท ถึงแม้วา่ ในคดีเหล่านีจ้ ะไม่มแี ม้แต่คดีเดียวทีศ่ าลตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่าย ชนะ พวกเขาก็ประสบความสำ�เร็จในการตกลงยอมความกับคูก่ รณีหลาย คดี เช่น กรรมการบริษทั ซูมโิ ตโมยอมจ่าย 430 ล้านเยน (ประมาณ 160 ล้านบาท) คืนให้กับบริษัท ในคดีทำ�บริษัทขาดทุนจากการค้าทองแดงที่ ผูถ้ อื หุน้ ไม่เคยอนุมตั ,ิ กรรมการบริษทั โกเบ สตีล ยอมจ่าย 310 ล้านเยน (115 ล้านบาท) ชดเชยเงินที่จ่ายแก๊งต้มตุ๋น และกรรมการแจแปน แอร์ไลน์ส์ก็ยอมความในข้อหาล้มเหลวในการจ้างผู้พิการเป็นพนักงาน ตามสัดส่วนขั้นตํ่าที่กฎหมายกำ�หนด ประเด็นทีน่ า่ สนใจคือ กรณีทยี่ อมความเหล่านีไ้ ม่ได้มแี ต่การจ่าย 135 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 135

3/20/11 8:35 PM


ค่าชดเชยจากกรรมการกลับคืนสูบ่ ริษทั เท่านัน้ แต่ยงั รวมถึงข้อตกลงของ บริษทั เองทีจ่ ะก่อตัง้ กลไกป้องกันไม่ให้พฤติกรรมเหล่านัน้ เกิดขึน้ ซํา้ สอง และในหลายกรณี ศาลเองก็เขียนในบันทึกการยอมความซึ่งเป็นข้อมูล สาธารณะอย่างชัดเจนว่า ศาลพบว่าจำ�เลยได้ทุจริตต่อหน้าที่ข้อไหน อย่างไรบ้าง แปลว่าผลลัพธ์ที่ได้นั้นถึงแม้จะไม่ใช่เป้าหมายสุดท้าย (คือ คำ�พิพากษาว่าผิด) แต่ก็ใกล้เคียงพอที่จะเรียกได้ว่าเป็น “ชัยชนะ” ที่น่า ภูมใิ จของกลุม่ ผูถ้ อื หุน้ ผูต้ รวจการ แถมเป็นชัยชนะทีย่ งั่ ยืนในแง่ของการ สร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับธรรมาภิบาลในญี่ปุ่นด้วย เมือ่ ย้อนกลับมาดูประเทศไทย บริษทั จดทะเบียนทีม่ แี นวโน้มดี แต่ธรรมาภิบาลแย่นั้นมีอยู่ไม่น้อยเลย อย่างเช่น บมจ. การบินไทย ที่มี ข่าวอือ้ ฉาวเกีย่ วกับความประพฤติมชิ อบของกรรมการออกมาอยูเ่ นืองๆ องค์กรแบบนี้เป็นเป้าหมายอันดีที่น่าจะส่งผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวเข้าไป จัดการ ในเมื่อองค์กรที่เป็นตัวแทนนักลงทุนรายย่อยในไทยคือสมาคม ส่งเสริมผู้ลงทุนไทยนั้น ยังมีทุนทรัพย์น้อยและไม่เคลื่อนไหวเชิงรุก อย่างในต่างประเทศ ผูเ้ ขียนคิดว่านักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่ อย่างเช่น กองทุนบำ�เหน็จบำ�นาญข้าราชการ (กบข.) หรือบริษทั หลักทรัพย์จดั การ กองทุนรวม น่าจะทบทวนนโยบายการเป็นตัวแทนผู้ถือหน่วยลงทุน ทำ�ตัวเป็นผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวดูบ้าง เพื่อปรับปรุงธรรมาภิบาลให้ “กินได้” และบุกเบิกวงการสำ�คัญที่เราควรจะมีกันเสียที.

136 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 136

3/20/11 8:35 PM


ผลงานของกองทุนที่รับผิดชอบต่อสังคม ในฐานะผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหว

ในตอนก่อนหน้านี้ ผู้เขียนแนะนำ� “การเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้น” (shareholder activism) ในอเมริกาและเอเชียไปพอหอมปากหอม คอ โดยเน้นไปที่การเคลื่อนไหว “แนวธรรมาภิบาล” คือมุ่ง “รีด” มูลค่าของบริษัทที่มีศักยภาพแต่ถูกคณะกรรมการหรือผู้บริหาร ทำ�ลายหรือถ่ายโอนสู่มือตัวเองหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ วันนี้ผู้เขียนจะแนะนำ�การเคลื่อนไหว “แนวสังคม” พอเป็น สังเขป การเคลื่อนไหวแนวนี้มุ่งผลักดันให้บริษัทจัดการแก้ปัญหาที่เกิด จากความไม่รับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียนอกเหนือจากผู้ถือหุ้น ไม่ว่า จะเป็นผู้บริโภค แรงงาน ชุมชน สิ่งแวดล้อม หรือสังคม หรือผลักดันให้ บริษัทปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และกระบวนการทำ�ธุรกิจในทางที่รับผิดชอบ 137 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 137

3/20/11 8:35 PM


และยั่งยืนกว่าเดิม ผู้ถือหุ้นที่เคลื่อนไหวแนวสังคมมักเป็นกองทุนที่ มุง่ ลงทุนในบริษทั ทีร่ บั ผิดชอบต่อสังคม (Socially Responsible Investment: SRI funds) และกองทุนที่ใช้เกณฑ์ด้านศีลธรรมในการลงทุน (ethical funds) เช่น ไม่ลงทุนในบริษทั ทีท่ ำ�การทดลองในสัตว์ ขายบุหรี่ หรืออบายมุขอื่นๆ ในเมื่อภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเป็นปัญหาเร่งด่วน ระดั บ โลกที่ ภ าคธุ ร กิ จ เป็ น ตั ว การสำ� คั ญ จึ ง ไม่ น่ า แปลกใจที่ ก องทุ น นักเคลื่อนไหวแนวสังคมจะกำ�ลังผลักดันเรื่องนี้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในอเมริกาปี 2009 ผูถ้ อื หุน้ นักเคลือ่ นไหวยืน่ ข้อเสนอเกีย่ วกับประเด็นนี้ เป็นวาระการประชุมให้ผู้ถือหุ้นลงมติ 68 เรื่อง ในจำ�นวนนี้มี 31 เรื่องที่ ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวถอนออกจากวาระการประชุมผู้ถือหุ้น เนื่องจาก คณะกรรมการบริษัทตกลงทำ�ตามข้อเสนอก่อนการประชุม ข้อเสนอเกี่ยวกับภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่กองทุน แนวสังคมส่วนใหญ่ยนื่ ให้กบั บริษทั หรือบรรจุให้ผถู้ อื หุน้ ลงมติในทีป่ ระชุม ผู้ถือหุ้นนั้น มีตั้งแต่ข้อเรียกร้องให้บริษัทเปิดเผยปริมาณการปล่อย คาร์บอนในรายงานประจำ�ปี ไปจนถึงเรียกร้องให้บริษัทตั้งเป้าหมาย ลดคาร์บอน ความสำ�เร็จทีโ่ ดดเด่นทีส่ ดุ ในปี 2009 ในอเมริกา คือการยืน่ ข้อเสนอให้ไอดาคอร์ป บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ ประกาศเป้าหมายลด คาร์บอน และให้รายงานความคืบหน้าทุกปี ข้อเสนอดังกล่าวของกองทุน แนวสังคมได้รับเสียงสนับสนุนกว่าร้อยละ 52 ของผู้ถือหุ้นทั้งหมดของ ไอดาคอร์ป กลายเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อเมริกาที่ข้อเสนอเช่นนี้ ได้รับมติเสียงข้างมากจากผู้ถือหุ้น ทำ�ให้บริษัทต้องปฏิบัติตาม หลังจากที่กองทุนแนวสังคมประสบชัยชนะในการระดมเสียง สนับสนุนจากผู้ถือหุ้นรายอื่น ไอดาคอร์ปก็ได้ประกาศเป้าหมายลด คาร์บอนตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น และนอกจากนั้นก็ยังประกาศทำ� โครงการฟาร์มกังหันผลิตพลังงานลมขนาดใหญ่ อีกทั้งยังขออนุมัติ โครงการระบบส่งไฟฟ้าอัจฉริยะ (smart grid) จากผู้กำ�กับดูแลพลังงาน ด้วย 138 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 138

3/20/11 8:35 PM


ชัยชนะครั้งสำ�คัญอีกกรณีหนึ่งคือ ในปี 2008 กลุ่มนักลงทุน สถาบันนำ�โดย Interfaith Center on Corporate Responsibility (ICCR – เครือข่ายบริษัทจัดการลงทุนกว่า 300 บริษัท ที่ใช้หลักศาสนาใน การกำ�หนดนโยบายลงทุน) และ Investor Network on Climate Risk Network (INCR – เครือข่ายนักลงทุนสถาบันทีเ่ รียกร้องให้บริษทั รับมือ กับภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง) เสนอมติเข้าสู่ที่ประชุมผู้ถือหุ้น ของบริษัทฟอร์ด จนฟอร์ดกลายเป็นบริษัทรถยนต์อเมริกันรายแรกที่ ประกาศว่าจะเปิดเผยปริมาณการปล่อยคาร์บอนประจำ�ปี ประกาศแผน ลดการปล่อยคาร์บอนจากรถยนต์ทผี่ ลิต และประกาศเป้าหมายว่าจะลด ให้ได้ร้อยละ 30 ภายในปี 2020 กองทุนแนวสังคมไม่ได้ผลักดันการเปลี่ยนแปลงแต่ในระดับ บริษัทเท่านั้น แต่ยังร่วมกันผลักดันการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบาย รัฐด้วย ในปี 2009 ชัยชนะครัง้ สำ�คัญของกลุม่ กองทุนแนวสังคม คือการ ผลักดันให้คณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ยกเลิกนโยบายสมัยรัฐบาลบุชที่จำ�กัดขอบเขตวาระที่ผู้ถือหุ้นสามารถ เสนอ เปลี่ยนเป็นอนุญาตให้ผู้ถือหุ้นสามารถเสนอข้อเรียกร้องให้บริษัท เปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และประเด็น สังคมอื่นๆ บรรจุเป็นวาระการประชุมผู้ถือหุ้น โดยไม่ให้คณะกรรมการ บริษัทมีสิทธิปฏิเสธดังเช่นในอดีต ด้านสิทธิผบู้ ริโภค กองทุนแนวสังคมชัน้ นำ�ชื่อ Green Century Funds ซึง่ ก่อตัง้ โดยเอ็นจีโอด้านสิง่ แวดล้อมหลายราย เคลือ่ นไหวร่วมกับ ผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ผลักดันให้บริษัทซูโนโค บริษัทปิโตรเลียมยักษ์ใหญ่ และ โฮลฟูดส์ บริษัทค้าปลีกอาหารขนาดใหญ่ จำ�กัดการใช้สารเคมี ไบสฟีนอล เอ (Bisphenol A) ในผลิตภัณฑ์ทวี่ างขายในร้านค้า หลังจาก ทีน่ กั วิทยาศาสตร์พบหลักฐานว่าสารเคมีดงั กล่าวทีใ่ ช้ในการฉาบกระป๋อง และขวดนํ้านั้นมีส่วนทำ�ให้เกิดโรคมะเร็ง เบาหวาน และโรคหัวใจ ถึง แม้วา่ องค์การอาหารและยาของอเมริกาจะยังคงยืนยันว่าสารเคมีดงั กล่าว 139 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 139

3/20/11 8:35 PM


ปลอดภัยก็ตาม ก่อนหน้านี้ Green Century Funds ผลักดันให้โฮลฟูดส์ ติดฉลากอาหารของร้าน (เฮาส์แบรนด์) ที่มีส่วนประกอบที่ผ่านการ ดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) จนประสบความสำ�เร็จมาแล้ว ด้านสิทธิแรงงาน ในปี 2007 เพียงปีเดียว กองทุนแนวสังคม เสนอวาระเข้าสู่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ 23 แห่ง เรียกร้อง ให้บริษัทและคู่ค้าของบริษัทกำ�หนดมาตรฐานแรงงานและวิธีติดตามผล ตามมาตรฐานแรงงานสากลที่ กำ � หนดโดยองค์ ก ารแรงงานระหว่ า ง ประเทศ (International Labor Organization: ILO) และองค์การ สหประชาชาติ ปัจจุบนั ข้อเสนอดังกล่าวได้รบั เสียงสนับสนุนจากผูถ้ อื หุน้ มากขึ้ น ทุ ก ปี เช่ น ในที่ ป ระชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น ของบริ ษั ท เอวอน, ฟอร์ ด , ลิมเิ ต็ท แบรนด์ส,์ แม็ทเทล, และทิมเบอร์แลนด์ และกองทุนแนวสังคมก็ เคลือ่ นไหวรณรงค์ในประเด็นนีอ้ ย่างต่อเนือ่ งร่วมกับเอ็นจีโอด้านแรงงาน ประเด็นใหญ่สองประเด็นทีผ่ ถู้ อื หุน้ เคลือ่ นไหวแนวสังคมทำ�งาน ร่วมกับผู้ถือหุ้นแนวธรรมาภิบาลกันอย่างคึกคัก คือการเรียกร้องให้ บริษทั เปิดเผยยอดเงินอุดหนุนพรรคการเมือง และเปลีย่ นแปลงนโยบาย จ่ า ยค่ า ตอบแทนผู้ บ ริ ห าร โดยเฉพาะการให้ ผู้ ถื อ หุ้ น มี อำ� นาจลงมติ อนุมัติหรือไม่อนุมัติค่าตอบแทน ในปี 2009 มีผู้ถือหุ้นเสนอมติทำ�นองนี้ กว่า 100 บริษัท หลายกรณีได้มติเสียงข้างมากในที่ประชุมผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษทั ใหญ่หลายแห่ง รวมทัง้ แอปเปิล และเล็กซ์มาร์ค ยอม เปิดทางให้แพ็คเกจค่าตอบแทนของผู้บริหารขึ้นอยู่กับมติของที่ประชุม ผูถ้ อื หุน้ กองทุนแนวสังคมบางกองไปได้ไกลกว่านัน้ แล้ว – บริษทั ขนาด ใหญ่บางแห่งยอมเริ่มปรึกษาหารือกับกองทุน ถึงแนวทางที่จะผูกโยง ค่าตอบแทนของผู้บริหารเข้ากับผลงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของ บริษัท ถึงแม้ว่านักวิชาการด้านบริหารธุรกิจจะยังถกเถียงกันไม่จบว่า กองทุนแนวสังคมนำ�ส่งผลตอบแทนทางการเงินให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน ได้สูงกว่ากองทุนทั่วไปหรือไม่ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ากองทุนแนวสังคมเป็น 140 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 140

3/20/11 8:35 PM


สาขาที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด คนจำ�นวนมากตัดสินใจลงทุนไม่ใช่ เพราะอยากได้ผลตอบแทนทางการเงินสูงๆ แต่เพราะอยากมีส่วนสร้าง ผลตอบแทนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือรู้สึก “ดี” ที่ได้สนับสนุน บริษทั ทีม่ องว่า “ดี” ต่อสังคมและสิง่ แวดล้อม แต่ความสำ�เร็จของกองทุน แนวสังคมที่โดดเด่นและยั่งยืนที่สุด คือการเคลื่อนไหวผลักดันให้บริษัท เปลี่ยนนโยบายหรือกลยุทธ์ในการทำ�ธุรกิจ ในทางที่มีความรับผิดชอบ ต่ อ สั ง คมและสิ่ ง แวดล้ อ มมากขึ้ น ด้ ว ยการใช้ สิ ท ธิ ใ นฐานะผู้ ถื อ หุ้ น ดังตัวอย่างที่กล่าวถึงข้างต้น ในรายงานชือ่ Working Capital Report ปี 2007 กลุม่ นักลงทุน สถาบันกว่า 200 แห่งที่ร่วมลงนามในหลักการลงทุนที่รับผิดชอบต่อ สังคมขององค์การสหประชาชาติ (United Nations’ Principles for Responsible Investment: UNPRI) ซึง่ บริหารจัดการเงินลงทุนรวมกันเกือบ 10 ล้านล้านเหรียญ นำ�เสนอหลักฐานว่าการผนวกรวมประเด็นด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (environmental, social, governance เรียกรวมว่า ESG) เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายลงทุนและ วิธีปฏิบัติของกองทุนนั้น มีส่วนช่วยผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนผนวก ประเด็นเหล่านี้เข้าเป็นเนื้อเดียวกับการกำ�หนดนโยบาย วิเคราะห์ และ รายงานผลประกอบการประจำ�ปี ในวงการกองทุนแนวสังคมและสิ่งแวดล้อมในอเมริกา Green Century Funds เป็นหนึ่งในกองทุนชั้นนำ�ที่ประสบความสำ�เร็จอย่าง รวดเร็ว ส่วนใหญ่เนื่องจากมีความสามารถสูงมากในการผนวกผสาน ความเชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม เข้ากับความรู้ความเข้าใจในหลักการ ทำ�ธุรกิจ โดยเฉพาะการเล็งเห็นว่า รูปธรรมของความรับผิดชอบต่อ สิง่ แวดล้อมนัน้ สามารถสร้าง “ความได้เปรียบในการแข่งขัน” และ “โอกาส ทางธุรกิจ” อย่างไรบ้าง ตัวอย่างความสำ�เร็จของพวกเขานอกเหนือจาก ที่กล่าวไปแล้วได้แก่ การจุดประกายให้บริษัทแอปเปิลริเริ่มโครงการ รับเครือ่ งไอพอดตกรุน่ จากลูกค้า เพือ่ แยกชิน้ ส่วนนำ�กลับมารีไซเคิลใหม่ 141 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 141

3/20/11 8:35 PM


ปัจจุบัน Green Century Funds กำ�ลังทุ่มเทพลังงานให้กับ การหว่านล้อมให้บริษัทฟอร์ดปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของ รถยนต์ และเรียกร้องให้บริษัทนํ้ามันยักษ์ใหญ่สองราย คือ เชฟรอน เท็กซาโก และเอ็กซอนโมบิล เปิดเผยนโยบายบริษทั เกีย่ วกับการขุดเจาะ นํ้ามันและก๊าซในพื้นที่ที่มีความเปราะบางทางระบบนิเวศสูง10 ผู้จัดการกองทุนแนวสังคมหลายรายมองว่า ความสำ�เร็จของ การเคลื่อนไหวในฐานะผู้ถือหุ้นที่ผ่านมานั้นเป็นผลจากความตื่นตัวที่มี มากขึ้นในประเด็นสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจัยที่ขาดไม่ได้คือ การ ทำ�งานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างนักลงทุนสถาบันที่มีอุดมการณ์ร่วม กัน ระหว่างนักลงทุนกับเอ็นจีโอผู้เชี่ยวชาญด้านประเด็นสังคมหรือ สิ่ ง แวดล้ อ ม และแบ่ ง ปั น แลกเปลี่ ย นข้ อ มู ล กั น อย่ า งสมํ่ า เสมอ ยก ตัวอย่างเช่น Sierra Club Mutual Funds (SCMF) ซึ่งเป็นกองทุนแนว สิง่ แวดล้อม เป็นสมาชิกของทัง้ กลุม่ ICCR และโครงการ Global Warming Shareholder Campaign ที่ริเริ่มโดยแนวร่วมของกลุ่มเอ็นจีโอด้าน สิ่งแวดล้อมและนักลงทุนสถาบันชื่อ Coalition for Environmentally Responsible Economies (CERES) การเคลือ่ นไหวของกองทุนแนวสังคมใช่วา่ จะได้รบั การสนับสนุน จากนักพัฒนาสังคมหรือนักสิ่งแวดล้อมทุกคน นักสิ่งแวดล้อมหลายคน ทีร่ ณรงค์การปรับเปลีย่ นกระบวนทัศน์ในการทำ�ธุรกิจแบบถอนรากถอน โคนมองว่า การเข้าไปซือ้ หุน้ ของกองทุนเหล่านีเ้ ท่ากับเป็นการ “ส่งเสริม” และ “รับรอง” ธุรกิจที่ไม่รับผิดชอบ แต่ผู้จัดการกองทุนแนวสังคม หลายคนก็โต้แย้งว่า การผลักดันการเปลี่ยนแปลงในฐานะผู้ถือหุ้นนั้น ถึงอย่างไรก็เป็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ถึงแม้ว่าจะเกิดได้ทีละน้อย ก็ตาม พวกเขามองว่า การถือหุ้นเป็น “คานงัด” ที่ทรงพลังที่สุดในการ ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากบริษัททุกบริษัทย่อมต้อง ตอบสนองความต้องการของผู้ถือหุ้น อันเป็นกฎกติกาพื้นฐานในระบบ ทุนนิยม. 142 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 142

3/20/11 8:35 PM


การเติบโตของการลงทุนที่ยั่งยืน

“การลงทุ น ที่ ยั่ง ยื น ” (sustainable investment) เป็ น ชื่ อเรี ยก ประเภทการลงทุนแนวใหม่ทกี่ ำ�ลังเติบโตอย่างรวดเร็วตามกระแส ความสนใจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (environment, social, governance เรียกรวมว่า “ประเด็น ESG”) ของ นักลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนความท้าทายระดับ โลกต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะภาวะสภาพภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลง รายงานของสมาพันธ์ตลาดหลักทรัพย์โลก (World Federation of Exchanges) ตีพิมพ์ในเดือนธันวาคม 2008 ระบุว่า ตลาดหลักทรัพย์สมาชิก 51 แห่งให้ความสำ�คัญกับการส่งเสริมการ ลงทุนที่ยั่งยืน ในสามแนวทางหลัก ได้แก่ 1. เพิ่มความตระหนัก 143 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 143

3/20/11 8:35 PM


เกี่ยวกับ ESG ในกลุ่มบริษัทจดทะเบียน 2. พัฒนาสินค้าและ บริการด้านข้อมูลสำ�หรับนักลงทุนที่สนใจจะลงทุนในด้านนี้ และ 3. พัฒนาตลาดเฉพาะด้านสำ�หรับการลงทุนทีย่ งั่ ยืนบางสาขา อาทิ ตลาดคาร์บอนเครดิต และตลาดหลักทรัพย์เพื่อสังคม ถึงแม้ว่าความสนใจของนักลงทุนต่อการลงทุนอย่างยั่งยืนจะ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทิศทางเดียวกันกับความสนใจของภาคธุรกิจ ในธุรกิจที่ยั่งยืน การลงทุนแบบนี้ก็เพิ่งได้รับความนิยมมากพอที่จะ เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของตลาดทุนกระแสหลักเพียงไม่กี่ปีหลังจากที่ ศตวรรษที่ 21 เริม่ ต้น รายงานของสมาพันธ์ตลาดหลักทรัพย์โลกระบุวา่ ประมาณร้อยละ 11 ของสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการของผูจ้ ดั การ กองทุนในสหรัฐอเมริกาอยู่ในการลงทุนอย่างยั่งยืน (วงการนี้ในอเมริกา เรียกว่า “socially responsible investment” ย่อว่า SRI) ตัวเลขนีป้ ระเมิน โดย Social Investment Forum เครือข่ายนักลงทุนด้านนี้ที่ใหญ่ที่สุด ในอเมริกา ส่วนในยุโรป สินทรัพย์ประเภทนีม้ สี ดั ส่วนประมาณร้อยละ 17 ของสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการทั้งหมด จวบจนปัจจุบนั มีบริษทั บริหารจัดการกองทุนทัว่ โลก 189 แห่ง บริหารสินทรัพย์รวมกันกว่า 18 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ที่ปวารณาว่าจะ ปฏิบตั หิ น้าทีต่ าม “หลักการลงทุนทีร่ บั ผิดชอบ” (Principles for Responsible Investment: PRI) ขององค์การสหประชาชาติ หลักการชุดนี้มี 6 ข้อ ได้แก่ 1. ผู้ ล งนามจะผนวกประเด็ น ESG เข้ า เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ กระบวนการประเมินทางเลือกในการลงทุนและการตัดสินใจ 2. ผู้ลงนามจะใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นในฐานะเจ้าของบริษัทอย่าง เต็มทีเ่ พือ่ คอยตรวจตราติดตามการดำ�เนินงานด้าน ESG ของบริษทั เช่น ใช้สทิ ธิออกเสียงในทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ แสดงความเห็นเกีย่ วกับผลงานด้าน ESG ต่อสาธารณะในมติเวียน 3. ผู้ลงนามจะเรียกร้องให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG 144 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 144

3/20/11 8:35 PM


4. ผู้ลงนามจะสนับสนุนหลักการชุดนี้ในวงการนักลงทุน 5. ผูล้ งนามจะทำ�งานร่วมกันเพือ่ ผลักดันให้หลักการชุดนีเ้ กิดผล ในทางปฏิบัติ 6. ผู้ลงนามจะรายงานกิจกรรมและความคืบหน้าในการปฏิบัติ ตามหลักการชุดนี้ ปัจจัยสำ�คัญประการหนึ่งที่ผลักดันให้วงการนี้เติบโตขึ้นอย่าง ต่อเนื่องคือ ภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นวาระเร่งด่วน ทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ประกอบกับแรงจูงใจทางธุรกิจใน การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบเศรษฐกิจคาร์บอนตํ่า เพราะยิ่งภาวะสภาพ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเป็นปัญหาเร่งด่วนเพียงใด มันก็ยิ่งส่งผลเสียต่อ ธุรกิจและลิดรอนความสามารถในการแข่งขันเพียงนั้น บริษัทที่ปรับตัว ไปให้ความสำ�คัญกับการใช้พลังงานสะอาด การประหยัดพลังงาน และ การเพิม่ ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจในการผลิต (ใช้ทรัพยากรอย่าง มีประสิทธิภาพ) ย่อมมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ยังไม่เปลี่ยนวิธีคิด นอกจากความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมจะเป็นโอกาสทางธุรกิจที่ ชัดเจนแล้ว มาตรฐานแรงงาน สิทธิมนุษยชน ความปลอดภัยของสินค้า ทุนมนุษย์ และการบรรเทาความยากจนก็ล้วนเป็นประเด็นที่นักลงทุน จำ�นวนมากขึน้ เรือ่ ยๆ มองว่าบริษทั ละเลยไม่ได้เช่นกัน เนือ่ งจากประเด็น เหล่านี้เป็นส่วนสำ�คัญในการสร้างหรือทำ�ลายมูลค่าผลตอบแทนของ ผู้ถือหุ้น จากมุมมองนี้ การพัฒนาอย่างยั่งยืนไม่ใช่ประเด็นทางศีลธรรม หากเป็นประเด็นที่ว่าบริษัทมองการณ์ไกลแค่ไหน ดำ�เนินธุรกิจอย่าง รอบคอบเพียงใด และมีวิธีบริหารจัดการความเสี่ยงทางธุรกิจที่ดีพอ หรือไม่ ผู้เล่นในตลาดการลงทุนที่ยั่งยืนปัจจุบันครอบคลุมทุกส่วนใน ตลาดทุน ตั้งแต่กองทุนบำ�นาญ นักลงทุนสถาบัน เฮดจ์ฟันด์ นักลงทุน รายย่อย มหาเศรษฐี ผูบ้ ริหารกองมรดก รวมทัง้ บริษทั ทีป่ รึกษาทางการ เงิน สถาบันการเงินตัวกลาง ผู้จัดการการลงทุน ฯลฯ กลยุทธ์การลงทุน 145 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 145

3/20/11 8:35 PM


อย่างยั่งยืนเท่าที่พบในปัจจุบันสามารถจำ�แนกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่ 1. กองทุนที่ “รับผิดชอบต่อสังคม” (SRI) หรือ “ลงทุนอย่างมี ศีลธรรม” (ethical) ที่ประเมินระดับความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility: CSR) เป็นเกณฑ์ คัดเลือกบริษทั ทีจ่ ะเข้าไปลงทุน (เกณฑ์เชิงบวก) หรือจะไม่เข้าไปลงทุน (เกณฑ์เชิงลบ) หลายกองทุนที่ใช้กลยุทธ์นี้มักจะอาศัยการเคลื่อนไหว ของผู้ ถื อ หุ้ น (shareholder activism) เป็ น กลไกขั บ เคลื่ อ นบริ ษั ท ด้วย เช่น บรรจุข้อเสนอให้บริษัทเปิดเผยผลตอบแทนด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อมในรายงานประจำ�ปี เป็นวาระให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติออก เสียง 2. กลยุทธ์การลงทุน “สีเขียว” เน้นการลงทุนในบริษัทที่ขาย สินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน อาทิ เทคโนโลยี สะอาด พลังงานทดแทน บริการด้านสิ่งแวดล้อม บริการด้านสุขภาพ เป็นต้น 3. การผนวกประเด็น ESG เข้าไปใน “เนือ้ ใน” ของกิจกรรมการ ลงทุนกระแสหลัก เช่น การวิเคราะห์ทางการเงิน การสร้างพอร์ตลงทุน และโครงสร้างผู้ถือหุ้น กลยุทธ์นี้มักดำ�เนินควบคู่ไปกับการเคลื่อนไหว ของผู้ถือหุ้นและรณรงค์ให้ผู้ถือหุ้นรายอื่นร่วมผลักดันด้วย กระแสการลงทุนทีย่ งั่ ยืนสะท้อนให้เห็นในการปรับตัวของบริษทั จดทะเบียนจำ�นวนมากต่อประเด็นความยัง่ ยืน เช่น กลยุทธ์การรับมือกับ ภาวะสภาพภูมอิ ากาศเปลีย่ นแปลง การใช้เทคโนโลยีสะอาด การทำ�ตาม มาตรฐานแรงงานสากล และมาตรการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน บริษัท เหล่านี้มักมีผู้ถือหุ้นกลุ่มใหญ่ที่มีความเห็นสอดคล้องกับผู้บริหารว่า ประเด็นเหล่านี้มักเป็นโอกาสสำ�คัญทางธุรกิจ โดยเฉพาะโอกาสในการ ใช้นวัตกรรม เพิ่มผลิตภาพ บุกตลาดใหม่ และเสริมสร้างภาพลักษณ์ องค์กร และในขณะเดียวกันก็เป็นความเสี่ยงทางธุรกิจที่จะต้องบริหาร 146 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 146

3/20/11 8:35 PM


จัดการอย่างรัดกุม ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ตลาดหลักทรัพย์หลายแห่งได้ เริ่มตอบสนองต่อกระแสนี้อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นมาตรการ ปรับปรุงประสิทธิภาพของข้อมูล สนับสนุนการพัฒนาดัชนีหลักทรัพย์ที่ ยัง่ ยืน (sustainability indices) ไปจนถึงการก่อตัง้ กระดานซือ้ ขายเฉพาะ ด้าน กิจกรรมแรกๆ ที่ตลาดหลักทรัพย์ทำ�เพื่อส่งเสริมการลงทุน ที่ยั่งยืนและธุรกิจที่ยั่งยืน คือการจัดพิมพ์และเผยแพร่หลักการทำ� CSR ยกตัวอย่างเช่น ตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียจัดพิมพ์คู่มือ CSR สำ�หรับ บริษัทจดทะเบียนในเดือนกันยายน 2006 โดยจ้าง CSR Asia บริษัท ที่ปรึกษา ให้ช่วยติดตามและประเมินคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลด้านนี้ ของบริษทั ในตลาด ต่อมาในปี 2008 ตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียก็ผลักดัน ให้องค์กรกำ�กับดูแลและรัฐบาลบรรจุการรายงาน CSR เป็นเกณฑ์บงั คับ ตามกฎหมาย โดยกำ�หนดให้บริษทั จดทะเบียนในมาเลเซียระบุค�ำ อธิบาย เกี่ยวกับกิจกรรมและการดำ�เนินงานที่เกี่ยวกับ CSR ไว้ในรายงาน ประจำ�ปี ถ้าไม่มีก็จะต้องระบุว่าไม่มี เกณฑ์บังคับดังกล่าวใช้สำ�หรับ บริษัทนอกตลาดที่ประสงค์จะเป็นบริษัทจดทะเบียนด้วย ในประเทศไต้หวัน คณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ของไต้หวันก็ออกกฎนี้ในปีเดียวกัน แต่กำ�หนดเกณฑ์ที่ ละเอียดกว่า คือให้บริษทั จดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลเกีย่ วกับวิธกี ารวัดผล CSR ด้วย ส่วนตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียใช้หลักเกณฑ์ทเี่ ข้มงวดทีส่ ดุ คือกำ�หนดให้บริษทั จดทะเบียนกำ�หนดนโยบายติดตามและบริหารความ เสี่ยงในการดำ�เนินธุรกิจ ซึ่งรวมถึง สิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน คุณภาพ สินค้าหรือบริการ และทรัพยากรบุคคลด้วย ในประเทศจีน กระทรวงสิ่งแวดล้อมจีนประกาศนโยบาย “หลัก ทรัพย์สีเขียว” (Green Securities) และ “ไอพีโอสีเขียว” (Green IPO) ร่วมกับคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในปี 2008 147 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 147

3/20/11 8:35 PM


เป็นการตอบสนองกฎหมาย “เศรษฐกิจหมุนเวียน” (circular economy) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2009 เป็นต้นมา นโยบายดังกล่าว มีเป้าหมายที่จะลงโทษบริษัทที่มีประวัติเป็นผู้ปล่อยมลพิษไม่ให้ระดม ทุนจากตลาดหลักทรัพย์ได้โดยง่าย โดยกำ�หนดให้บริษัทจดทะเบียน ทุกบริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการดำ�เนินงานด้านสิ่งแวดล้อม และกำ�หนดให้บริษัทในอุตสาหกรรมบางประเภทที่ส่งผลกระทบสูง ต่อสิง่ แวดล้อม ต้องผ่านการประเมินจากกระทรวงสิง่ แวดล้อม ก่อนทีจ่ ะ ได้รบั อนุญาตให้เสนอขายหุน้ ให้กบั ประชาชนทัว่ ไปเป็นครัง้ แรก (ไอพีโอ) หรือรับเงินกู้รอบใหม่จากธนาคาร นอกจากจะบรรจุประเด็นความยัง่ ยืนในหลักเกณฑ์การเปิดเผย ข้อมูล ไม่วา่ จะโดยสมัครใจหรือบังคับ อีกมาตรการหนึง่ ทีต่ ลาดหลักทรัพย์ จำ�นวนมากขึน้ เรือ่ ยๆ กำ�ลังดำ�เนินการเพือ่ ส่งเสริมการลงทุนทีย่ งั่ ยืน คือ การพัฒนาหรือสนับสนุนดัชนีการลงทุนทีเ่ กีย่ วข้องกับความยัง่ ยืน ซึง่ จะ มีความหมายและใช้การได้จริงก็เฉพาะแต่ในตลาดที่บริษัทจดทะเบียน เปิดเผยข้อมูลด้านนีม้ านานพอและมากพอทีน่ กั ลงทุนจะประเมิน แยกแยะ และเปรียบเทียบผลงานได้เท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นผู้บุกเบิก ในด้านนีไ้ ด้แก่ London Stock Exchange, NASDAQ, OMX และ NYSE Euronext ตามมาด้วยตลาดหลักทรัพย์ในประเทศกำ�ลังพัฒนา อาทิ แอฟริกาใต้ บราซิล เกาหลีใต้ และอินเดีย Charly Kleissner ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนที่ยั่งยืนและการ ลงทุนเพื่อสังคมจากมูลนิธิ KL Felicitas กล่าวในงาน Social Capital Markets ประจำ�ปี 2009 ว่า – “ในเมื่อคงไม่มีใครปฏิเสธว่าความยั่งยืนเป็นกุญแจสำ�คัญแห่ง ความอยูร่ อดของมนุษยชาติในระยะยาว เราก็จะต้องพยายามเคลือ่ นย้าย กระแสต่างๆ ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ให้สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ดี ภาวะทรัพยากรหายากในปัจจุบนั เปิดโอกาสให้นกั ฉวยโอกาส ทั้งหลายทำ�กำ�ไรสูงสุดแต่ทำ�ให้ความยั่งยืนระยะยาวหดหาย ธรรมชาติ 148 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 148

3/20/11 8:35 PM


ของเงินจะวิง่ เร็วเท่าทีม่ นั จะวิง่ ได้เสมอ – ตอนนีโ้ ลกมี “ทุนช้า” น้อยมาก เราจะต้องร่วมกันทัดทานกระแสที่ยากลำ �บากนี้ด้วยการผลักดันการ ลงทุนเพื่อสังคมให้เติบโตกว่าเดิมอีก” การเติบโตของวงการการลงทุนที่ยั่งยืน อาจขึ้นอยู่กับอัตราเร่ง ของการตระหนักรู้ว่า การลงทุนที่ยั่งยืนนั้นอาจไม่ใช่ “ทางเลือก” ในการ ลงทุนอีกแล้ว หากเป็น “ทางออก” ของปัญหาระดับโลกทีเ่ รากำ�ลังเผชิญ และการตระหนักข้อนี้ก็ตั้งอยู่บนการตระหนักในเรื่องที่เป็นรากฐาน กว่านัน้ ว่า ตลาดการเงินทุกประเภทมีสว่ นคล้ายกับวงการอืน่ ทีม่ อี ทิ ธิพล ต่อพฤติกรรมมนุษย์ อย่างเช่นสื่อและการศึกษา ตรงที่ไม่จำ�เป็นจะต้อง เป็น “กระจก” สะท้อนความปรารถนาของคนส่วนใหญ่เพียงอย่างเดียว หากยังสามารถเป็น “ตะเกียง” ส่องทางที่ควรจะเดิน ใครจะปฏิเสธได้เล่า ว่าเราไม่ได้ก�ำ ลังอยูใ่ นยุคทีต่ อ้ งการตะเกียง มากกว่ากระจก?

หมายเหตุ: บทความข้างต้นส่วนใหญ่ปรับปรุงจากตอน “Sustainable Investment” ใน หนังสือเรื่อง Macrotrends: ภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลกใหม่และการปรับตัวของไทย ผู้เขียน เขียนร่วมกับ ปกป้อง จันวิทย์ และ เอือ้ มพร พิชยั สนิธ จัดพิมพ์โดยสำ�นักพิมพ์ openbooks และสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, 2552 149 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 149

3/20/11 8:35 PM


ทุนยั่งยืน: ดัชนีความยั่งยืน และ HIP Investor

ในยุคทีท่ น ุ ไหลข้ามพรมแดนชัว่ พริบตา ปัญหาใหญ่ปญ ั หาหนึง่ คือ ภาวะที่ทุนหมุนเร็วเกินไปจนไหลไปสู่กิจกรรมเก็งกำ�ไรไร้ฐานราก (ที่อังก์ถัดเรียกว่า “เศรษฐกิจกาสิโน”) มากเกินไป และคำ�นึงถึง ผลกระทบของธุรกิจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อยเกินไป แต่ถา้ หัวไม่สา่ ย ก็ยากทีห่ างจะกระดิก – ถ้าผูถ้ อื หุน้ ซึง่ ผูบ้ ริหาร บริษัทมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องปกป้องผลประโยชน์ไม่สนับสนุน ให้บริษัททำ�ธุรกิจที่รับผิดชอบและยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงที่จำ �เป็น ก็จะเกิดขึน้ ยากมาก ด้วยเหตุนี้ ความพยายามของนักลงทุนและนักการ เงินจำ�นวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่จะทัดทานกระแสมักง่ายและสายตาสั้นของ บริษทั จดทะเบียนส่วนใหญ่ จึงเป็นการปฏิวตั คิ รัง้ สำ�คัญในโลกการเงินที่ 150 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 150

3/20/11 8:35 PM


ไม่หวือหวา แต่น่าติดตามและสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง นักการเงินเหล่านีท้ �ำ งานในวงการทีเ่ รียกกว้างๆ ว่า “การลงทุน ที่รับผิดชอบต่อสังคม” (Socially Responsible Investing: เอสอาร์ไอ) บางกองก็เรียกว่า “การลงทุนทีย่ งั่ ยืน” (Sustainable Investing) ถ้าคำ�นึง ถึงด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก และบางกองก็เรียกว่า “การลงทุนที่มีศีล ธรรม” (Ethical Investing) ถ้าใช้เกณฑ์ด้านศีลธรรม (เช่น หลักศาสนา) เป็นหลัก กองทุนเอสอาร์ไอเป็นรูปแบบการลงทุนที่โตเร็วที่สุดในตลาด หุ้นประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลก โดยเฉพาะอเมริกากับยุโรป ปัจจุบัน มี สิ น ทรั พ ย์ ภ ายใต้ ก ารบริ ห ารจั ด การประมาณร้ อ ยละ 10-15 ของ สินทรัพย์กองทุนทั่วโลก กองทุนเหล่านี้มีวิธีการลงทุนที่หลากหลาย วิธีที่ง่ายที่สุดคือลงทุนตามดัชนีความยั่งยืนที่คิดค้นโดยบริษัทวิจัยหรือ ตลาดหลักทรัพย์ เช่น ดัชนี Dow Jones Sustainability Index ระดับ ตลาดหุ้นอเมริกัน FTSE4Good ระดับตลาดหุ้นอังกฤษ หรือ Global Climate 100 (GC100) ระดับโลก ดัชนีความยั่งยืนเหล่านี้แตกต่างกันมาก ตั้งแต่นิยาม หลัก เกณฑ์ และตัววัดที่ใช้ ความแตกต่างหลายเรื่องสะท้อนถึงระดับปรัชญา และทัศนคติทแี่ ตกต่างกันระหว่างวัฒนธรรม ยกตัวอย่างเช่น ดัชนี Dow Jones Sustainability ของอเมริกา ให้นาํ้ หนักกับ “ผลงานด้านเศรษฐกิจ” ของบริษทั จดทะเบียนค่อนข้างมาก คือร้อยละ 25-30 โดยมีองค์ประกอบ ย่อยเช่น คุณภาพการให้บริการลูกค้า และการบริหารจัดการความเสี่ยง ในขณะที่ดัชนี FTSE4Good ในอังกฤษไม่มองผลงานด้านเศรษฐกิจเลย ไปให้นํ้าหนักกับประเด็นสิ่งแวดล้อมและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน มากกว่า ซึ่งก็สะท้อนวัฒนธรรมของอังกฤษที่มองผลประโยชน์ส่วนรวม ว่าเป็น “พันธะทางสังคม” ของทุกภาคส่วน ไม่วา่ จะเป็นภาครัฐ ภาคธุรกิจ หรือภาคประชาชน ในขณะที่วัฒนธรรมของอเมริกาจะให้นํ้าหนักกับ เสรีภาพส่วนบุคคลของปัจเจกและธุรกิจมากกว่าอังกฤษ 151 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 151

3/20/11 8:35 PM


วิ ธี ป ระเมิ น ผลงานและสร้ า งดั ช นี ก็ แ ตกต่ า งกั น มากเช่ น กั น ยกตัวอย่างเช่น ดัชนีของบริษัท KLD อาทิ GC100 ซึ่งเป็นผู้บุกเบิก วงการการลงทุนทีย่ งั่ ยืน อาศัยการตัดสินใจเชิงคุณภาพของนักวิเคราะห์ ในบริษทั KLD เอง มากกว่าผลการตอบแบบสำ�รวจอย่างที่ Dow Jones Sustainability และ FTSE4Good ใช้ เพราะ KLD มองว่ามีบริษัทเพียง ร้อยละ 20-25 เท่านั้นที่ตอบแบบสำ�รวจ และปัจจุบันก็ยังมีชุดเครื่องมือ น้อยมากที่จะใช้ตรวจสอบได้ว่าบริษัทพูดจริงหรือไม่อย่างไร โดยเฉพาะ การประเมินจากผู้เชี่ยวชาญภายนอก ความแตกต่างหลากหลายระหว่างดัชนีตา่ งๆ นัน้ ไม่ใช่เรือ่ งแปลก เพราะการประเมินผลงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทเป็นเรื่อง ค่อนข้างใหม่ ไม่มีมาตรฐานสากลในการวัดและรายงานแบบเดียวกับ ผลงานด้านการเงิน (ซึ่งวัดด้วยมาตรฐานทางบัญชี) นอกจากนี้ เราก็ ยังต้องถกเถียงกันอีกมากว่า ข้อมูลใดทีส่ ามารถสะท้อนความรับผิดชอบ ต่อผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่างๆ หรือความยั่งยืนได้จริงจนสมควรใช้เป็น “ตัวชี้วัด” หรือองค์ประกอบในดัชนี ยกตัวอย่างเช่น Dow Jones Sustainability Index ใช้ “ขนาด ของคณะกรรมการบริษัท” เป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งของ “ระดับธรรมาภิบาล” ทั้งที่ขนาดของคณะกรรมการบริษัทแทบไม่มีความเกี่ยวโยงใดๆ เลย กับระดับธรรมาภิบาล สมมุติว่าบริษัทหนึ่งมีกรรมการบริษัท 15 คน ในจำ�นวนนี้เป็นกรรมการอิสระ 8 คน ที่ล้วนไม่เป็นอิสระจริงเพราะสนิท สนมกับผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัทที่สองมีกรรมการ 10 คน ในจำ�นวนนี้มี กรรมการอิสระเพียง 3 คน แต่ทุกคนเป็นอิสระจริงๆ และทำ�งานถ่วงดุล กับกรรมการของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีนี้บริษัทแรก อาจมีธรรมาภิบาลแย่กว่าบริษทั หลังก็ได้ ทัง้ ทีม่ ขี นาดของคณะกรรมการ ใหญ่กว่า บริษัทจัดการกองทุนเอสอาร์ไอจำ�นวนไม่น้อยหลีกเลี่ยงดัชนี ความยั่งยืนที่คนอื่นคิดค้น หากแต่สร้างดัชนีหรือหลักเกณฑ์การลงทุน 152 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 152

3/20/11 8:35 PM


ขึ้นมาเอง บริษัทแห่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ ฮิป อินเวสเตอร์ (HIP Investor) ก่อตั้งและบริหารโดย อาร์. พอล เฮอร์แมน (R. Paul Herman) นักการ เงินผู้จบปริญญาบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยวาร์ตัน อดีตที่ปรึกษา ธุรกิจของบริษทั แม็คคินซีย์ มูลนิธอิ โชก้า และโอมิดยาร์ เน็ตเวิรค์ บริษทั ลงทุนเพื่อสังคมที่ก่อตั้งโดย ปิเอร์ โอมิดยาร์ (Pierra Omidyar) ผู้ก่อตั้ง อีเบย์ เว็บไซต์ประมูลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งแต่ตอนที่เขาทำ�งานให้กับแม็คคินซีย์ เฮอร์แมนก็ตั้งคำ�ถาม กับความเชื่อที่ มิลตัน ฟรีดแมน (Milton Friedman) นักเศรษฐศาสตร์ สำ�นักเสรีนิยมใหม่ ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ฝังลง ในวิธีคิดของนักธุรกิจกระแสหลักอย่างแนบแน่นว่า บริษัททุกแห่งควรมี วัตถุประสงค์เพียงหนึง่ เดียวเท่านัน้ คือการนำ�ส่งผลตอบแทนต่อผูถ้ อื หุน้ ให้ได้มากทีส่ ดุ เขาบอกว่าความคิดแบบนี้ “บีบให้บริษทั ส่วนใหญ่มโี ฟกัส ที่คับแคบและสายตาสั้นมาก” เมื่อความตะหงิดใจเพิ่มพูน เฮอร์แมนจึงเริ่มศึกษาว่าบริษัท ที่มีจุดประสงค์ที่ “สูงส่ง” กว่าแค่การทำ�กำ�ไรสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้นนั้น มีผลประกอบการดีกว่าบริษัทที่มีวิสัยทัศน์คับแคบกว่าหรือไม่เพียงใด เป็นไปได้หรือไม่ทคี่ ณ ุ จะ “ได้ดที างการเงิน ด้วยการทำ�ดี?” สิง่ ทีเ่ ขาค้นพบ คือ บริษทั ทีม่ องการณ์ไกลทีส่ ดุ และกำ�ลัง “ทำ�ดี” นัน้ สร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขันที่ตลาดทุนโดยรวมยังใช้เวลานานกว่าจะมองเห็นและ “ให้รางวัล” ในรูปของราคาหุ้นที่สูงขึ้น เฮอร์แมนฉวยโอกาสนี้คิดค้นวิธีประเมินและจัดอันดับบริษัท ตามระดับความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งในนิยามของเขาหมายถึงความ สามารถของบริษทั ในการตอบสนองต่อความต้องการพืน้ ฐาน 4 ด้านของ มนุษย์ ได้แก่ สุขภาพ (Health) ความมั่งคั่ง (Wealth) ความเท่าเทียม ในที่ทำ�งาน (Equality) และสิ่งแวดล้อมที่ดี (Earth) เขานำ�หลักเกณฑ์ ทั้งหมดนี้มาสรุปเป็นแนวทางการลงทุนสั้นๆ ว่า “Human Impact plus Profit” (ผลกระทบต่อผู้คนบวกกำ�ไร) ย่อว่า HIP และนำ�ชื่อย่อนี้มาตั้ง 153 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 153

3/20/11 8:35 PM


เป็นชื่อบริษัทจัดการลงทุนในปี 2004 บริษัทจัดการลงทุนแบบเอสอาร์ไอหลายแห่งใช้วิธีไม่ซื้อหุ้น ของบริษัทที่ไม่ผ่านเกณฑ์ (เช่น บริษัทที่ทำ�ลายสิ่งแวดล้อม) ตั้งแต่แรก หรือไม่ก็ขายหุ้นทิ้งทันทีที่บริษัทนั้นตกอันดับไป แต่ฮิป อินเวสเตอร์ จะยังรวมบริษัทเหล่านี้ไว้ในดัชนีฮิป เพียงแต่ลดคะแนนลง (แปลว่า หุ้นของบริษัทเหล่านี้จะมีสัดส่วนน้อยในพอร์ตลงทุน) เฮอร์แมนเชื่อว่า องค์ประกอบของดัชนีฮิปที่เขาสร้างนั้นบ่งชี้ระดับความรับผิดชอบของ บริษทั จดทะเบียนในด้านต่างๆ ได้คอ่ นข้างดี เช่น วอลล์มาร์ท (Walmart) ยักษ์ใหญ่คา้ ปลีก ได้คะแนนค่อนข้างตํา่ ด้านการดูแลพนักงาน เพราะให้ สวัสดิการน้อยกว่าคู่แข่งมาก แต่ได้คะแนนค่อนข้างดีด้านการดูแล สิง่ แวดล้อม เพราะกำ�ลังปรับกระบวนการทำ�ธุรกิจไปสูเ่ ป้าหมาย “ไร้ของ เสีย” (zero waste) และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับบริษัทเอง และในระดับคู่ค้ากว่า 60,000 รายของบริษัท ในปี 2009 เฮอร์แมนสร้างดัชนี “ฮิป 100”11 จากการนำ�บริษัท ยักษ์ใหญ่ทอี่ ยูใ่ นดัชนี S&P 100 (Standard & Poor’s 100) ของอเมริกา มาให้นํ้าหนักใหม่ตามคะแนนความฮิป บริษัทไหนทำ�ตัวดีจะได้เม็ดเงิน ลงทุนมากขึ้น บริษัทไหนทำ�ตัวแย่จะได้เงินลงทุนน้อยลง ฮิป 100 สร้าง ผลตอบแทนได้สูงกว่า S&P 100 กว่า 4% โดยทำ�ผลตอบแทน (หักค่า ธรรมเนียมบริหารจัดการแล้ว) เพิ่มขึ้น 13.41% ในระยะเวลา 12 เดือน สิน้ สุด 31 กรกฎาคม 2010 เทียบกับผลตอบแทน 9.37% ของ S&P 100 ในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ ถ้าพยากรณ์ย้อนหลังไป 5 ปี ฮิป 100 ก็สร้างผลตอบแทนสูงกว่า S&P 100 ได้ถึงปีละ 4% เป็นอย่างตํ่าเลย ทีเดียว ในหนังสือเรื่อง The HIP Investor เฮอร์แมนบอกว่านักลงทุน ทุกคนสามารถสร้างพอร์ตการลงทุนของตัวเองที่ประเมินความฮิปของ บริษัทต่างๆ ด้วยการพยายามประเมินปัจจัยสำ�คัญ 20 ประการ และหา คำ�ตอบรายบริษัท ตัวอย่างคำ�ถามได้แก่ – 154 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 154

3/20/11 8:35 PM


1. บริษัทนี้ผลิตสินค้าหรือบริการที่ช่วยตอบโจทย์ความจำ�เป็น ของมนุษย์หรือไม่ มีรายได้กี่เปอร์เซ็นต์จากสินค้าหรือบริการที่สร้าง ผลกระทบเชิงบวก เช่น ร้อยละ 10 ของรายได้บริษทั จีอมี าจากผลิตภัณฑ์ ยี่ห้อ “Ecomagination” ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมให้ลูกค้า เปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย 2. บริษัทนี้สร้างผลกระทบต่อมนุษย์อย่างไร ในด้านสุขภาพ ความมัง่ คัง่ สิง่ แวดล้อม ความเท่าเทียมกัน บริษทั สร้างความไว้เนือ้ เชือ่ ใจ กับผูม้ สี ว่ นได้เสียฝ่ายต่างๆ หรือไม่ มีความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูล เหล่ า นี้ ห รื อ ไม่ เ พี ย งใด เฮอร์ แ มนแนะนำ� ว่ า นั ก ลงทุ น ควรขวนขวาย หาข้อมูลจากแหล่งอื่นนอกเหนือจากรายงานประจำ�ปีของบริษัท เช่น โครงการ Carbon Disclosure Project12 ฐานข้อมูลภาวะสภาพภูมอิ ากาศ เปลี่ยนแปลงรายบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก รายงานของมหาวิทยาลัย มิ ชิ แ กนเกี่ ย วกั บ ความพึ ง พอใจของลู ก ค้ า และข้ อ มู ล รายบริ ษั ท ที่ สำ�นักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency: EPA) และสำ�นักงานสุขภาพและความปลอดภัยในการทำ�งาน (Occupational Safety and Health Administration: OSHA) เปิดเผยต่อสาธารณะ (ข้อมูลทำ�นองนี้พอจะหาได้ในประเทศพัฒนาแล้ว แต่ยังหาได้ ยากยิ่งในประเทศกำ�ลังพัฒนาที่ระบบราชการยังไม่โปร่งใสเท่าที่ควร ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ การนิคมอุตสาหกรรมไทยยังไม่เคยเปิดเผยว่า โรงงานทีเ่ ป็น “ตัวการ” ปล่อยมลภาวะจนชาวบ้านในนิคมมาบตาพุดป่วย เรื้อรังนั้นมีบริษัทใดบ้าง ทั้งที่มีข้อมูลนี้อยู่ในมือ) 3. ผู้บริหารของบริษัทนี้พูดถึงประเด็นความยั่งยืนและความ รั บ ผิ ด ชอบเรื่ อ งนี้ ห รื อ ไม่ ลงมื อ ทำ � จริ ง มากน้ อ ยเพี ย งใด เฮอร์ แ มน ยกตัวอย่างว่า บริษัท ยูไนเต็ด เทคโนโลยี ได้คะแนนด้านนี้ค่อนข้างดี ในดัชนีฮิป เพราะลงทุนด้านความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง เช่น ปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของฝ่ายผลิตเครือ่ งยนต์เจ็ต ขณะทีบ่ ริษทั แอปเปิลได้คะแนนค่อนข้างตํา่ ในด้านนี้ เพราะผูบ้ ริหารของ 155 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 155

3/20/11 8:35 PM


บริษัทแทบไม่ค่อยออกมาสื่อสารประเด็นเหล่านี้ต่อสาธารณะ เฮอร์แมนเชื่อว่าวิธีคิดแบบเขานั้นไม่ใช่แค่วิธีลงทุนทางเลือกที่ น่าเลือก แต่เป็น “พื้นฐานที่แท้จริงของการลงทุน” เขาบอกว่าถึงเวลา แล้วที่เราจะเข้าใจว่าบริษัทแต่ละบริษัททำ�กำ�ไรจากอะไร และจะ “ทำ�ดี” ในโลกนี้ได้อย่างไร การกุศลเป็นการบริจาคเงินทางเดียว ธุรกิจเป็นการ แลกเปลี่ยนสองทาง วันนี้นักลงทุนที่ก้าวหน้าที่สุดลงทุนเพราะหวัง ผลกำ�ไรและอยากมีส่วนสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมด้วยในเวลา เดียวกัน.

156 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 156

3/20/11 8:35 PM


ทุนอดทน: โมเดลการลงทุนเพื่อสังคมของ Acumen Fund

เม็ ด เงิ น ลงทุ น ที่ มี อั ต ราการเติ บ โตสู ง ที่ สุ ด ในตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ทัว่ โลกติดต่อกันมานับทศวรรษแล้ว คือ “ทุนยัง่ ยืน” ของนักลงทุน ทีพ่ ยายามแยกแยะระหว่างบริษทั ที่ “ยัง่ ยืน” กับบริษทั ที่ “ไม่ยงั่ ยืน” ไม่ว่าจะเพราะหวังผลกำ�ไรเป็นหลัก (เชื่อว่าบริษัทที่พยายามทำ� ธุรกิจอย่างยัง่ ยืนจะได้ก�ำ ไรมากกว่าคูแ่ ข่งในระยะยาว) หรือเพราะ มีสำ�นึกทางศีลธรรมเป็นหลัก (รู้สึกดีที่ได้สนับสนุนบริษัทที่เชื่อว่า ยั่งยืน) ก็ตาม เลสเตอร์ บราวน์ (Lester Brown) นักสิ่งแวดล้อมรุ่นบุกเบิก เป็นผูใ้ ห้ค�ำ จำ�กัดความ “ความยัง่ ยืน” เป็นคนแรกๆ ในหนังสือเรือ่ ง สร้าง สังคมทีย่ งั่ ยืน (Building A Sustainable Society) ในปี 1981 หกปีกอ่ นที่ 157 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 157

3/20/11 8:35 PM


คำ�ว่า “การพัฒนาทีย่ งั่ ยืน” จะถูกนิยามเป็นครัง้ แรกโดยคณะกรรมาธิการ สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ ในรายงาน The Brundtland Report บราวน์นยิ าม “สังคมทีย่ งั่ ยืน” ว่า “สังคมทีต่ อบสนองความต้องการ ของตนเองได้โดยไม่ลิดรอนโอกาสของคนรุ่นหลัง” และในเมื่อธุรกิจ ทุกประเภทล้วนมีสว่ นทำ�ลายสิง่ แวดล้อมและตักตวงทรัพยากรธรรมชาติ ไม่มากก็นอ้ ย “ธุรกิจทีย่ งั่ ยืน” 100 เปอร์เซ็นต์จงึ ยังไม่มอี ยูจ่ ริง แต่หลาย บริษัทก็กำ�ลังพยายามอย่างน่าลุ้นที่จะไปให้ถึงจุดนั้นได้ในศตวรรษนี้ โดยเฉพาะผู้นำ�ขบวน “ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” อย่างบริษัท Interface และ Patagonia ในสหรัฐอเมริกา ถึ ง แม้ ว่ า เราจะยั ง ไม่ มี ม าตรฐานสากลของการประเมิ น และ รายงานผลกระทบของธุรกิจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันก็เป็นที่ เห็นพ้องต้องกันแล้วว่า “ธุรกิจทีย่ งั่ ยืน” ควรมี “ความรับผิดชอบต่อสังคม” (ซีเอสอาร์) อย่างรอบด้าน และให้ความสำ�คัญกับ “ไตรกำ�ไรสุทธิ” (triple bottom line หมายถึงผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ ด้านพนักงานและชุมชน และด้านสิ่งแวดล้อม) นอกตลาดหลักทรัพย์ วงการ “กิจการเพือ่ สังคม” (social enterprise) ซึง่ หมายถึงกิจการทีม่ พี นั ธกิจด้านสังคมหรือสิง่ แวดล้อมเป็นหลัก แต่กม็ คี วามยัง่ ยืนทางการเงินด้วย กำ�ลังดึงดูดเม็ดเงินจากนักลงทุนและ เศรษฐีใจบุญจำ�นวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในยุคที่คนเริ่มเข้าใจแล้วว่า การแก้ ปัญหาด้านสังคมและสิง่ แวดล้อมทีย่ งั่ ยืนจริงนัน้ จะต้องอาศัยความร่วมมือ จากทุกฝ่าย จะปล่อยให้ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคองค์กรไม่แสวงกำ�ไร หรือ ภาคประชาชนแก้ปัญหาโดยลำ�พังไม่ได้ เพราะมองปัญหาจากคนละมุม เหมือนตาบอดคลำ�ช้าง อีกทัง้ ยังเชีย่ วชาญกันคนละด้าน รูก้ นั คนละอย่าง อยากเดินกันคนละทาง ฯลฯ กิจการเพื่อสังคมที่ประสบความสำ�เร็จสูงมากทุกแห่ง ไม่ได้คิด แต่วา่ จะหารายได้ไปพร้อมกับการแก้ปญ ั หาสังคมหรือสิง่ แวดล้อมอย่างไร 158 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 158

3/20/11 8:35 PM


หากแต่เปิดตัวเองเป็น “เวที” ให้ฝ่ายต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการ แก้ปัญหาอย่างยั่งยืน แต่ในเมื่อนักลงทุนกระแสหลักยังสนใจแต่ผลตอบแทนทาง การเงิน ส่วนองค์กรการกุศลและเศรษฐีใจบุญกระแสหลักก็ยังอยาก “ให้เปล่า” เพื่อ “ทำ�บุญ” มากกว่าอยาก “ลงทุน” ในกิจการเพื่อสังคม ที่สร้างรายได้ กิจการเพื่อสังคมจึงยังต้องอาศัยนักลงทุนเฉพาะทางที่ เข้าใจในวิธคี ดิ และพันธกิจของกิจการเพือ่ สังคม และรับความเสีย่ งสูงกว่า ปกติได้ ในบรรดา “นักลงทุนเพื่อสังคม” ที่ให้ทุนสนับสนุนกิจการเพื่อ สังคม ไม่ว่าจะเป็นมูลนิธิและบริษัทจัดการการลงทุน กองทุนหนึ่งที่น่า จับตามองและนำ�โมเดลไปขยายผลอย่างยิง่ คือ อาคิวเม็น ฟันด์ (Acumen Fund) กองทุนเพื่อสังคมชั้นนำ�ของโลก ปัจจุบันอาคิวเม็นบริหารเงินลงทุนกว่า 40 ล้านเหรียญสหรัฐ ลงทุนในกิจการเพือ่ สังคมระยะเริม่ แรกในเอเชียใต้และแอฟริกาตะวันออก ทีน่ �ำ ส่งสินค้าและบริการขัน้ พืน้ ฐาน (อาหาร นํา้ ยารักษาโรค ฯลฯ) ให้กบั คนจน แน่นอนว่าในราคาที่คนจนมีกำ�ลังซื้อ ถึงแม้วา่ อาคิวเม็นจะยังมีอายุนอ้ ยมาก (ก่อตัง้ 2001) และบริหาร เงิ น ลงทุ น เพี ย งเศษเสี้ ย วของกองทุ น รวมขนาดใหญ่ ใ นภาคการเงิ น กระแสหลัก อาคิวเม็นก็สร้างผลกระทบเชิงบวกเกินตัวไปแล้วมากมาย ด้วยการลงทุนในกิจการเพือ่ สังคมชัน้ นำ�ทีพ่ สิ จู น์ให้เห็นแล้วว่ายัง่ ยืนจริง อาทิ WaterHealth International (WHI)13 บริษทั ทีส่ ร้างระบบนํา้ สะอาดใน ชนบทโดยให้ชมุ ชนร่วมบริหารจัดการ อาคิวเม็นลงทุน 600,000 เหรียญ ใน WHI ตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2004 ร่วมพัฒนาระบบผลิตและกระจายนํ้า สะอาดของบริษัทในพื้นที่ชนบทกันดารของอินเดีย ต่อมาในเวลาไม่ถึง 5 ปี WHI ก็ประสบความสำ�เร็จจนสามารถระดมทุนเพิม่ กว่า 30 ล้านเหรียญ จากกองทุนเพื่อสังคมและธนาคารกระแสหลัก สร้างระบบนํ้าสะอาดไป แล้ว 275 แห่งที่ช่วยผู้ยากไร้ในอินเดียกว่า 350,000 คน ปัจจุบันบริษัท 159 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 159

3/20/11 8:35 PM


ได้ขยายกิจการไปยังฟิลิปปินส์ กานา และประเทศอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง กรณีความสำ�เร็จของอาคิวเม็นที่ชัดเจนอีกกรณีหนึ่งคือบริษัท A to Z Textile Mills ผู้ผลิตมุ้งฉาบยากันมาเลเรีย ขยายขนาดในระยะ เวลาเพียงไม่กี่ปีจนกลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในแทนซาเนีย มีพนักงานกว่า 7,000 คน ขายมุ้งได้กว่า 20 ล้านมุ้งในแต่ละปีในทวีป แอฟริกา ช่วยปกป้องคนกว่า 40 ล้านคนจากโรคมาเลเรีย ผลการดำ�เนินงานของอาคิวเม็นเป็นรูปธรรมของแนวการลงทุน ใหม่ที่ แจ็กเกอลีน โนโวกราทซ์ (Jacqueline Novogratz) อดีตเจ้าหน้าที่ ธนาคารเชสแมนฮัตตัน ผูบ้ ริหารมูลนิธริ อ็ กกีเฟลเลอร์ ผูก้ อ่ ตัง้ อาคิวเม็น ขนานนามว่า “ทุนอดทน” ซึ่งเธอเชื่อว่าเป็นเครื่องมือที่สามารถปิดช่อง ว่างระหว่างประสิทธิภาพและขนาดของวิธที ใี่ ช้กลไกตลาด กับผลกระทบ ทางสังคมของกิจกรรมการกุศล “ทุนอดทน” ของอาคิวเม็นหมายถึงการลงทุนในรูปของสินเชื่อ หนังสือค้ำ�ประกัน หุ้น สัญญาโอนค่าใช้สิทธิ (ในทรัพย์สินทางปัญญา) หรือส่วนผสมของเครื่องมือเหล่านี้ ในกิจการระยะเริ่มแรกที่ช่วยให้ ผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการขั้นพื้นฐาน เช่น บริการ สาธารณสุข นํ้าดื่มที่สะอาด ที่อยู่อาศัย พลังงานทดแทน หรือปัจจัย การเกษตร ปกติอาคิวเม็นจะลงทุนขนาด 300,000 ถึง 2.5 ล้านเหรียญ ในแต่ละกิจการที่ผ่านการประเมิน โดยตั้งเป้าว่าจะ “ถอนทุน” พร้อม ผลกำ�ไรพอประมาณใน 5-7 ปี (ด้วยการรับชำ�ระคืนสินเชื่อ หรือขายหุ้น ให้กับนักลงทุนรายอื่นหรือคืนให้กับผู้ประกอบการ) คุ ณู ป การสำ � คั ญ ที่ อ าคิ ว เม็ น มอบให้ กั บ ผู้ ป ระกอบการเพื่ อ สังคมคือ นอกจากผู้ประกอบการจะได้รับเงินทุนแล้ว ยังจะได้รับบริการ สนับสนุนที่จำ�เป็นต่อการขยายขนาดกิจการให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน ไม่ต่าง จากบริการที่นักลงทุนระยะแรกเริ่ม (venture capital) ในภาคการเงิน กระแสหลักมอบให้กบั ธุรกิจทัว่ ไปทีพ่ วกเขาเข้าไปลงทุน อาทิเช่น ความรู้ และความเชีย่ วชาญด้านการบริหารจัดการองค์กร การทำ�ระบบบัญชี และ 160 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 160

3/20/11 8:35 PM


การวางแผนธุรกิจ แต่สงิ่ หนึง่ ทีท่ �ำ ให้อาคิวเม็นแตกต่างจากกองทุนระยะ แรกเริม่ กระแสหลัก คือเครือข่ายระดับโลกทีอ่ าคิวเม็นมีกบั รัฐบาล มูลนิธิ องค์กรโลกบาล องค์กรพัฒนาเอกชน และบริษทั ชัน้ นำ�ทัว่ โลก เครือข่ายนี้ ทำ�ให้อาคิวเม็นสามารถระดมทรัพยากรและความถนัดของแต่ละฝ่าย มาใช้เป็น “คานงัด” (leverage) ช่วยกิจการเพื่อสังคมให้สามารถขยาย ขนาดหรือนำ�โมเดลของตนไปทำ�ซํ้าในประเทศอื่นได้ ยกตัวอย่างเช่น โครงการ Ripple Effect14 เป็นความร่วมมือ ระหว่างกองทุนอาคิวเม็นกับ IDEO บริษทั ออกแบบชัน้ แนวหน้าของโลก มูลนิธิ Bill & Melinda Gates และกิจการเพื่อสังคมและเอ็นจีโอระดับ ท้องถิน่ ในอินเดียและเคนยา 20 แห่ง มีเป้าหมายทีก่ ารเพิม่ อัตราการเข้าถึง นํ้าดื่มที่สะอาดในพื้นที่ชนบทกันดารในสองประเทศดังกล่าว ลักษณะของ “ทุนอดทน” ที่อาคิวเม็นใช้คือ มีระยะเวลาในการ ลงทุนค่อนข้างยาว (ไม่ใช่มุ่งถอนทุนภายใน 1-2 ปี) รับความเสี่ยงได้สูง มีเป้าหมายที่จะสร้างผลตอบแทนทางสังคมสูงสุด (ไม่ใช่ผลตอบแทน ทางการเงินสูงสุด) ให้การสนับสนุนด้านบริหารจัดการเพื่อสร้างความ ยั่งยืนให้กับโมเดลธุรกิจ และความยืดหยุ่นในการค้นหาและผนึกกำ�ลัง กับภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน ด้วยกลไกเงินอุดหนุน (subsidy) และ การร่วมลงทุน (co-investment) เมื่อใดก็ตามที่อาคิวเม็นเชื่อว่าการ ผนึกกำ�ลังดังกล่าวจะเป็นประโยชน์แก่ผู้มีรายได้น้อย ในบทสัมภาษณ์โนโวกราทซ์ที่ตีพิมพ์ใน McKinsey Quarterly วารสารรายไตรมาสของบริษทั ทีป่ รึกษาธุรกิจชือ่ ดัง15 เดือนมีนาคม 2009 โนโวกราทซ์สรุปแนวคิดเรื่อง “ทุนอดทน” ตอนหนึ่งว่า “ฉันพบว่าโครงการใหญ่ๆ ของรัฐบาลและองค์กรการกุศลที่ท�ำ แบบบนลงล่างนั้นมีแนวโน้มที่จะริบเอาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไปจาก ผู้คน และผลิตสร้างคอร์รัปชั่นให้เฟื่องฟูต่อไป เพราะพวกเขาตัดสินใจ บนพื้นฐานของอำ�นาจ ไม่ใช่ผลกำ�ไร แต่มันก็ก่อให้เกิดปัญหาเหมือน กัน ฉันก็เลยคิดว่าวิธีแก้ปัญหาที่สมบูรณ์แบบนั้นไม่มีจริงหรอก อำ�นาจ 161 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 161

3/20/11 8:35 PM


ไม่ใช่เครือ่ งช่วยฟังทีด่ เี พราะมันมาจากว่าคุณเป็นใคร แต่ตลาดเป็นเครือ่ ง ช่วยฟังทีด่ ี ถ้าฉันเอารองเท้าสีฟา้ คูห่ นึง่ มาให้คณ ุ คุณจะบอกว่า “ขอบคุณ มาก มันสวยมากเลย” แต่ลับหลังคุณจะโยนมันลงถังขยะ ถ้าฉันถามว่า คุณอยากจะจ่ายเงินซื้อรองเท้าคู่นี้หรือเปล่า คุณจะตอบว่า “ซื้อ ไม่ซื้อ ทีจ่ ริงฉันจะซือ้ ถ้ามันสีนาํ้ ตาลหรือสีชมพู” ทีนเี้ ราก็สนทนากันแล้ว ดังนัน้ ฉันจึงเห็นว่าภาคเอกชนมีพลังมากๆ ในการเป็นกลไกช่วยฟัง มันเป็น กลไกที่สร้างประสิทธิภาพ “…ที่กองทุนอาคิวเม็น เราเจอขีดจำ�กัดจริงๆ เรารู้ว่าเราต้อง มีบทสนทนาทางศีลธรรมในโลกเกี่ยวกับประเด็นที่ว่า ถึงที่สุดแล้วเรา พยายามจะทำ�อะไร มีบริการจำ�นวนมากทีเ่ ราต้องให้เปล่า และอีกหลาย อย่างทีต่ อ้ งส่งมอบในราคาทีไ่ ด้รบั การอุดหนุน บางทีเราต้องนำ�ส่งทุกคน บางทีกบ็ างคน ...แต่อย่างเรือ่ งนํา้ สะอาดนีไ่ ม่คอ่ ยคลุมเครือเท่าไร เพราะ มันเป็นทรัพยากรมีค่าที่หายาก งานสัมมนาจำ�นวนมากที่ฉันได้รับเชิญ ไปพูดจะมีการแบ่งขัว้ ทำ�นองว่า “นํา้ สะอาดเป็นสิทธิมนุษยชนขัน้ พืน้ ฐาน หรือเปล่า และดังนัน้ เราควรจะแจกจ่ายมันฟรีๆ ให้กบั ทุกคน หรือแปรรูป มั น ให้ เ ป็ น ของเอกชน?” ฉั น รู้ สึ ก หงุ ด หงิ ด มากกั บ บทสนทนาที่ เ ป็ น นามธรรมและเป็นแค่ทฤษฎีแบบนี้ “...สิ่ ง ที่ เ ราทำ � คื อ เราเจอผู้ ป ระกอบการที่ น่ า ทึ่ ง มากนาม ทราแลนซ์ แอดดี้ เขาเป็นชาวกานาทีอ่ าศัยอยูใ่ นลอสแองเจลิส อยากก่อตัง้ บริษทั ในอินเดียเพือ่ ทดสอบดูวา่ เป็นไปได้หรือเปล่าทีจ่ ะขายนํา้ สะอาดให้ กับผูม้ รี ายได้นอ้ ยในชนบทของอินเดีย ในรัฐอันตระประเทศ นักการเมือง หลายคนในรัฐนัน้ บอกเราว่า “นโยบายของเราคือประชาชนทุกคนต้องได้ เข้าถึงนํ้าฟรี” คำ�ตอบของฉันคือ “ตอนนี้คุณมีประชากร 200 ล้านคนใน ประเทศที่ไม่มีนํ้าสะอาด อีก 400 ล้านคนเข้าถึงได้น้อยมาก ดังนั้นการ ทดลองเล็กๆ จึงน่าจะไม่ใช่เรื่องแย่เลย”

162 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 162

3/20/11 8:35 PM


รางวัล “ตลาดนวัตกรรมการเงินเพื่อการพัฒนา”

ในบรรดาผลกระทบทั้งหมดจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ที่ลุกลาม เป็นวิกฤตการเงินโลกในปี 2008-2009 ผลกระทบทีห่ ลายคนยังมอง ไม่เห็นแต่เป็นอันตรายในระยะยาวยิ่งกว่าราคาบ้านลดฮวบและ อัตราการว่างงานพุง่ กระฉูด คือทัศนคติของคนจำ�นวนไม่นอ้ ยทีว่ า่ การที่นวัตกรรมการเงินในรูปของหลักทรัพย์อิงสินเชื่อความเสี่ยง สูง (ซับไพรม์​์) เป็นชนวนสำ�คัญของวิกฤตรอบนี้นั้น “พิสูจน์” ให้ เห็นว่านวัตกรรมการเงินโดยรวมนั้น “ได้ไม่คุ้มเสีย” เพราะก่อ ความเสียหายมากกว่าประโยชน์ที่สังคมโดยรวมได้รับ คนทีม่ ที ศั นคติแบบนีม้ กั จะเชือ่ ว่า วิกฤตซับไพรม์ช์ ใี้ ห้เห็นว่าผูม้ ี รายได้นอ้ ยนัน้ มีความเสีย่ งสูงเกินกว่าจะใช้นวัตกรรมการเงินได้ หรือพูด อีกนัยหนึง่ คือ นวัตกรรมการเงินนัน้ เป็นของ “สูง” เกินไปสำ�หรับพวกเขา หาวิธีปรับปรุงเครื่องมือพื้นๆ ให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิมก็พอแล้ว ทัศนคติแบบนีน้ อกจากจะเป็นอันตรายแล้วยังผิดมหันต์ เพราะ ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงทีป่ รากฏให้เห็นชัดเจนขึน้ เรือ่ ยๆ สามประการ ประการแรก ลำ�พังการใช้เครือ่ งมือทางการเงินที่ “พืน้ ๆ” นัน้ ไม่อาจคุม้ กัน ผู้มีรายได้น้อยไม่ให้เผชิญกับวิกฤตรุนแรงได้ วิกฤตหนี้หลายครั้งหลาย 163 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 163

3/20/11 8:35 PM


ประเทศที่เกิดจากการใช้เครื่องมือพื้นๆ อย่างสินเชื่อเป็นกรณีตัวอย่าง ที่ชัดเจน ประการที่สอง วิวาทะว่าด้วยประสิทธิผลของเงินช่วยเหลือชี้ให้ เห็นว่าลำ�พังเงินให้เปล่าและสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่านั้นไม่อาจแก้ปัญหาของ ประเทศกำ�ลังพัฒนาได้ ประการที่สาม คำ�ว่า “ชุดนวัตกรรมการเงินเพื่อการพัฒนา” นั้นไม่จำ�เป็นจะต้องหมายถึงเครื่องมือทางการเงินที่ซับซ้อนและเข้าใจ ยากอย่างหลักทรัพย์อิงสินเชื่อซับไพรม์​์เสมอไป นวัตกรรมการเงินอาจ เป็นนวัตกรรมที่เข้าใจง่าย ใช้การได้จริง และสอดคล้องกับแนวคิดของ อี. เอฟ. ชูมัคเกอร์ (E. F. Schumacher) เรื่อง “เทคโนโลยีที่เหมาะสม” กับบริบทในท้องถิ่น ปัจจุบัน นวัตกรรมการเงินที่น่าตื่นเต้น น่าติดตาม และน่าลุ้น ทีส่ ดุ หาใช่นวัตกรรมใดๆ ในโลกการเงินกระแสหลัก หากเป็นนวัตกรรม ทีถ่ กู ออกแบบมาตัง้ แต่ตน้ ให้ใช้การได้ในพืน้ ทีท่ กี่ นั ดารทีส่ ดุ ยากไร้ทสี่ ดุ และปราศจากสาธารณูปโภคพื้นฐานรองรับที่สุด และดังนั้น ใครก็ตามที่ พัฒนานวัตกรรมเหล่านี้ได้สำ�เร็จจึงต้องนับว่า ‘เจ๋ง’ และน่านับถือกว่า สถาบันการเงินจำ�นวนมากที่ยังใช้คำ�ว่า “นวัตกรรม” กับโปรโมชั่นพื้นๆ หรือการออกบัตรเครดิตใบใหม่ที่แตกต่างจากใบเดิมแค่ชื่อและรายนาม ร้านค้าเท่านั้น เวทีที่ชักนำ�นวัตกรรมการเงินที่ ‘เจ๋ง’ ระดับโลกมาอยู่ด้วยกัน มากที่สุด คงต้องยกให้เวทีประกวดชิงรางวัล “ตลาดนวัตกรรมการเงิน เพื่อการพัฒนา” (Marketplace on Innovative Financial Solutions for Development (MIF)16 ซึ่งจัดงานสัมมนาและประกาศผลผู้ชนะ 5 ราย ในเดือนมีนาคม 2010 ในกรุงปารีส งานนี้ ห น่ ว ยงานพั ฒ นาของรั ฐ บาลฝรั่ ง เศส (The Agence Française de Développement: AFD) มูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ และธนาคารโลกร่วมกันเป็นเจ้าภาพ เป้าหมายหลักของผู้จัดงานอยู่ 164 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 164

3/20/11 8:35 PM


ที่การรวบรวมและยกย่องความคิดใหม่ๆ ด้านการเงินเพื่อการพัฒนา โดยเฉพาะนวัตกรรมที่ช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถระดมทุน ถ่ายโอน ทุน และใช้ทุนได้ดีกว่าเดิม อันที่จริงตอนนี้นวัตกรรมการทางการเงินที่ น่าทึง่ กำ�ลังผุดขึน้ ทัว่ โลก แต่ทผี่ า่ นมามันถูกจัดประเภทใน “แนวดิง่ ” ตาม สาขามากเกินไป เช่น นวัตกรรมการเงินที่เป็นองค์ประกอบของชุดวิธี แก้ ปั ญ หาในภาคสาธารณสุ ข ในแอฟริ ก าอาจถู ก มองว่ า เป็ น แค่ อ งค์ ประกอบที่ใช้นอกภาคสาธารณสุขไม่ได้ ทั้งที่ถ้าเรามองส่วนต่างๆ ใน “แนวนอน” ตามฟังก์ชั่นของมัน เราอาจดึงเอานวัตกรรมการเงินไป ประยุกต์ใช้กับสาขาอื่นๆ ได้ด้วย เป้าหมายหนึ่งที่สำ�คัญไม่แพ้กันของงานนี้คือการแนะนำ�ให้ ผูเ้ ชีย่ วชาญหลายร้อยคนจากหลากสาขาได้ทำ�ความรูจ้ กั และแลกเปลีย่ น กัน ไม่วา่ จะเป็นนักพัฒนา ผูด้ �ำ เนินนโยบาย ผูบ้ ริหารมูลนิธิ เศรษฐีใจบุญ ผู้ประกอบการเพื่อสังคม นักวิชาการ ตัวแทนจากสถาบันการเงิน และ ตัวแทนจากภาคประชาสังคม องค์กรผู้จัดหวังว่าผู้มาร่วมงานเหล่านี้จะ ได้ตระหนักถึงความสำ�คัญของการเงินเพื่อการพัฒนา (ซึ่งบางคนเรียก ว่า “วิศวกรรมทางการเงินแบบละเมียด”) ซึ่งที่ผ่านมาถูกละเลยอยู่นอก วิวาทะกระแสหลักเรื่องการพัฒนาและเงินช่วยเหลือมาโดยตลอด และ เมือ่ ตระหนักแล้วก็จะได้รว่ มกันคิดหาวิธวี ดั ผลทีเ่ ป็นมาตรฐานสากลและ เปลี่ยน “กระบวนทัศน์” กระแสหลักเกี่ยวการใช้เงินเพื่อการพัฒนา ผูช้ นะเลิศรางวัล MIF ทัง้ 5 โครงการได้รบั เงินให้เปล่าโครงการ ละ 100,000 เหรียญสหรัฐ ได้รับการคัดเลือกจากผู้เข้ารอบสุดท้าย 20 โครงการ จากผูส้ ง่ เข้าประกวดทัง้ หมด 800 โครงการ มีความหลากหลาย มากตั้งแต่ตัวนวัตกรรมเอง ประเภทขององค์กรผู้ดำ�เนินโครงการ (มี ตั้งแต่เอ็นจีโอระดับท้องถิ่น ไปจนถึงบริษัทข้ามชาติ และหน่วยงาน พัฒนาระดับโลก) พื้นที่ดำ�เนินโครงการรวมกันครอบคลุมประเทศกำ�ลัง พัฒนา 15 ประเทศใน 5 ทวีป – 165 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 165

3/20/11 8:35 PM


1. โครงการ Affinity Microfinance: ประกันตราสารหนี้ ผู้ดำ�เนินโครงการนี้คือ Results for Development Institute (R4D)17 ร่วมกับ Corporación Andina de Fomento (CAF) โครงการ Affinity Microfinance (AM) จะมอบหลักประกันระดับ AAA (อันดับ ความน่าเชือ่ ถือขัน้ สูงสุด) ให้กบั ผูซ้ อื้ ตราสารหนีใ้ นตลาดทุนของประเทศ กำ�ลังพัฒนา 80 ประเทศทั่วโลก โดยผู้ออกตราสารหนี้ต้องมีจุดประสงค์ จะระดมทุนเพื่อใช้ในโครงการด้านสุขภาพ การศึกษา สินเชื่อขนาดจิ๋ว ประกัน สาธารณูปโภค ผูป้ ระกอบการขนาดกลางและย่อม และกิจกรรม อื่นๆ เพื่อการพัฒนา นอกจากนี้ โครงการ AM จะช่วยเหลือประเทศ ยากจนทีย่ งั ไม่มตี ลาดตราสารหนีใ้ นประเทศ ด้วยการจัดโครงสร้างระดม ทุนจากต่างประเทศที่มีหลักประกันให้ ผู้เป็น “เจ้าของ” โครงการ AM ร่วมกันคือกลุ่มสถาบันการเงิน เพื่อการพัฒนา มูลนิธิ และหน่วยงานพัฒนาระดับประเทศในประเทศ ต่างๆ โครงการนี้ตั้งเป้าว่าจะเข้าถึงเงินที่บริหารจัดการโดยกองทุน บำ�นาญในประเทศกำ�ลังพัฒนา ทีม่ มี ลู ค่ารวมกันเกือบ 1 ล้านล้านเหรียญ นำ�มาใช้เป็นเงินกูด้ อกเบีย้ ตํา่ ทีม่ รี ะยะยาว อัตราดอกเบีย้ คงที่ และในสกุล เงินท้องถิน่ ในทางทีช่ ว่ ยสร้างความมัน่ คงทางการเงินให้กบั ประเทศกำ�ลัง พัฒนาที่ยังต้องดำ�เนินโครงการพัฒนาอีกมาก 2. โครงการ Ch@ng€: “กล่องเงิน” สำ�หรับปล่อยสินเชื่อขนาดจิ๋ว ผูด้ �ำ เนินโครงการนีค้ อื Babyloan18 จะเริม่ ในประเทศ เบนิน โตโก นิคารากัว เอควาดอร์ ฟิลปิ ปินส์ เวียดนาม กัมพูชา และทาจิกสิ ถาน เป็น ประเทศนำ�ร่อง ขยายผลไปยังระดับโลกในโอกาสต่อไป เว็บไซต์ Babyloan.org เปิดให้คนธรรมดาปล่อยสินเชื่อขนาด จิ๋ว (ไมโครเครดิต) ให้กับลูกหนี้ในประเทศกำ�ลังพัฒนา (คล้ายกับ Kiva. org แต่แสวงกำ�ไร) มาพักใหญ่แล้ว โครงการ Ch@ng€ คือ “กล่องเงิน” (l’A Peu Prêt) ที่ Babyloan จะพัฒนาสำ�หรับธุรกรรมซื้อขายออนไลน์ 166 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 166

3/20/11 8:35 PM


(อีคอมเมิร์ซ) กล่องเงินนี้จะช่วยผู้บริโภครวบรวมการจ่ายเงินออนไลน์ ของตัวเองที่อยู่กระจัดกระจาย นำ�ทุนนั้นมาปล่อยกู้ต่อให้กับผู้ประกอบ การขนาดจิ๋วในประเทศกำ�ลังพัฒนา ผ่านเว็บไซต์ Babyloan.org 3. โครงการ EcoTRA: ทรัสต์และบัญชีกันเงินสำ�หรับบ้านสีเขียว ผู้ดำ�เนินโครงการนี้คือสถาบันอนุรักษ์พลังงานนานาชาติ (International Institute for Energy Conservation (IIEC)19 กำ�ลังจะเริ่ม โครงการนำ�ร่องในเมืองเธน (ประชากร 1.2 ล้านคน) ประเทศอินเดีย โครงการ EcoTRA คิดวิธีออกทุนให้กับการดัดแปลง (retrofits) อาคาร ทีอ่ ยูอ่ าศัยของผูม้ รี ายได้นอ้ ยให้มปี ระสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ด้วยการ จัดตั้งทรัสต์และบัญชีกันเงิน (escrow account) สำ�หรับปรับปรุงพื้นที่ ส่วนกลางในสหกรณ์ที่อยู่อาศัย กลไกกันเงินนี้จะช่วยลดความเสี่ยงใน การปล่อยกูส้ �ำ หรับธนาคาร ช่วยให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเข้าถึงลูกค้า รายใหม่จำ�นวนมาก สหกรณ์ที่อยู่อาศัยก็จะเข้าถึงทุนและประหยัดค่า ใช้จ่ายด้านพลังงานจากการดัดแปลงอาคาร ส่วนผู้ให้บริการด้านการ ปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้พลังงานก็จะได้ธุรกิจเพิ่มขึ้น และถ้า โครงการนีป้ ระสบความสำ�เร็จในวงกว้าง อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของเมืองก็จะลดลงด้วย 4. โครงการ “การเงินมือถือ” สำ�หรับการเงินขนาดจิ๋ว ผู้ดำ�เนินโครงการนี้คือมูลนิธิกรามีน20 ผู้บุกเบิกวงการการเงิน ขนาดจิ๋ว (ไมโครไฟแนนซ์) ร่วมกับ KEEF สถาบันการเงินขนาดจิ๋ว ในเคนยา มูลนิธกิ รามีนกับ KEEF กำ�ลังคิดค้นวิธที จี่ ะผนวกผสานระบบ และกระบวนการทางเทคโนโลยีเพื่อสร้างโมเดลที่จะช่วยให้สถาบันการ เงินขนาดจิ๋วทุกแห่งสามารถใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีการ สือ่ สาร เป็น ‘คานงัด’ ในการทำ�งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และขยายฐานลูกค้าและผลิตภัณฑ์ โครงการนีม้ อี งค์ประกอบสามส่วนคือ 167 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 167

3/20/11 8:35 PM


ระบบบริหารจัดการพอร์ต (back-end) สำ�หรับสถาบันการเงินขนาดจิ๋ว, ระบบการเงินบนมือถือ (front-end) สำ�หรับลูกค้า และกระบวนการสร้าง ประสิทธิภาพสูงสุดทางธุรกิจ (process optimization) เพื่อให้มั่นใจว่า สถาบันการเงินขนาดจิ๋วทุกขนาดและทุกพื้นที่จะสามารถใช้ประโยชน์ จากโมเดลครบวงจรนี้ได้ 5. โครงการหลักทรัพย์สภาพภูมิอากาศเพื่อลดความเสี่ยงของ เกษตรกร ผู้ดำ�เนินโครงการนี้คือสถาบันวิจัยนโยบายอาหารนานาชาติ (International Food Policy Research Institute (IFPRI)21 ร่วมกับ Nyala Insurance22 บริษัทประกันจากเอธิโอเปีย โครงการนี้มุ่งต่อยอด ประกันพืชผลบนดัชนีสภาพภูมิอากาศ (weather index insurance) ที่ ธนาคารโลกและนักพัฒนาการเงินหลายคนพัฒนามานานนับทศวรรษ แล้ว (ผู้เขียนเคยเขียนถึงเรื่องนี้เมื่อปี พ.ศ.2550 ในบทความเรื่อง “ประกันพืชผลบนดัชนีอากาศ: ระบบการเงินโลกกับเกษตรกรรายย่อย” อ่านย้อนหลังได้ที่โอเพ่นออนไลน์23 ถึงแม้ว่าประกันพืชผลบนดัชนีสภาพภูมิอากาศจะได้รับการ พิ สู จ น์ แ ล้ ว ว่ า ได้ ผ ลดี ความต้ อ งการผลิ ต ภั ณ ฑ์ นี้ ก็ ยั ง อยู่ ใ นวงจำ � กั ด นวัตกรรมในโครงการของ IFPRI กับ Nyala อยู่ที่การเลิกใช้ดัชนี ตัวเดียว เปลี่ยนมาเป็นระบบหลักทรัพย์หลายชิ้นที่ตั้งอยู่บนประกัน แต่ ล ะชิ้ น จ่ า ยดอกเบี้ ย คงที่ หลั ก ทรั พ ย์ ถู ก ออกแบบมาให้ เ ข้ า ใจง่ า ย ยืดหยุ่น และครอบคลุม เพื่อจูงใจให้เกษตรกรรายย่อยเข้าร่วมมากกว่า นโยบายประกันปัจจุบันที่เข้าใจยาก ไม่ยืดหยุ่น และไม่ครอบคลุมพืช หลายชนิด ถึงแม้ว่าจะดูแตกต่างกันมาก ผู้เขียนคิดว่านวัตกรรมการเงิน ที่ชนะเลิศและอีก 15 ชิ้นที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย24 ล้วนแต่มีสิ่งหนึ่งที่ เหมือนกัน นั่นคือ ใช้วิธีคิดแบบ “จากล่างขึ้นบน” (bottom-up) ไม่ใช่ 168 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 168

3/20/11 8:35 PM


“จากบนลงล่าง” (top-down) อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในโลกการเงิน และเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก มาผสานกับความรู้และความเชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยี ธุรกิจ และการเงิน เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ช่วยเหลือคน ส่วนใหญ่ได้อย่างแท้จริงและสอดคล้องกับกลไกตลาด ในสังคมไทยที่นักพัฒนาและเอ็นจีโอผู้ถนัดคิดแบบ “จากล่าง ขึ้นบน” แต่ไม่ถนัดด้านเทคโนโลยี ธุรกิจ และการเงิน ดูจะยังอยู่กัน คนละโลกกับนักการเงิน นักธุรกิจ และนักเทคโนโลยี ทีเ่ ชีย่ วชาญในสาขา ตัวเองแต่สว่ นใหญ่ยงั คิดแบบ “จากบนลงล่าง” น่าจะมีใครหาทางเชือ่ มโลก สองใบนีเ้ ข้าด้วยกัน ปรับโลกทัศน์เข้าหากัน เราจะได้มวี นั เห็นนวัตกรรม ที่เป็นมากกว่าโปรโมชั่น และ ‘เจ๋งจริง’ เสียที.

169 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 169

3/20/11 8:35 PM


ธนาคารผ่านมือถือ – มิติใหม่ในการเข้าถึงบริการทางการเงิน

ราคาที่ถูกลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเทคโนโลยีโทรคมนาคม และการสื่อสารที่ก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ทำ�ให้โทรศัพท์มือถือ กลายเป็น “ปัจจัยที่ห้า” สำ�หรับคนนับพันล้านคนทั่วโลกไปแล้ว รวมทั้งในประเทศไทย ศักยภาพของมือถือและเครือข่ายโทรคมนาคมนั้นกว้างไกล กว่าการเป็นแค่เครื่องมือทุ่นเวลา หากยังสามารถกำ�จัดหรืออย่างน้อย ก็บรรเทาปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินของชาวบ้านในชนบท ได้เป็นอย่างดี เพราะชนบทโดยเฉพาะในประเทศกำ�ลังพัฒนามักจะ ขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน และที่สำ�คัญกว่านั้นคือหมู่บ้านแต่ละแห่ง อยู่ห่างไกลจากเขตอำ�เภอ ชาวบ้านมีเงินออมและความต้องการสินเชื่อ 170 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 170

3/20/11 8:35 PM


น้อยเกินกว่าทีธ่ นาคารพาณิชย์จะสามารถทำ�กำ�ไรได้อย่างคุม้ ค่าถ้าต้อง ถ่อไปเปิดสาขาอำ�นวยความสะดวกถึงใจกลางหมูบ่ า้ น แค่คา่ เดินทางของ พนักงานที่ไปเยี่ยมเยือนอย่างเดียวก็ไม่คุ้มแล้ว ยังไม่ต้องพูดถึงค่าเงิน เดือนพนักงาน ค่าอาคารสถานที่ ค่านํ้าค่าไฟ และค่าโสหุ้ยอื่นๆ สถาบันการเงินขนาดจิ๋วหรือไมโครไฟแนนซ์ที่ประสบความ สำ�เร็จทุกแห่งจึงต้องฉลาดพอทีจ่ ะใช้นวัตกรรมในการลดต้นทุน ทัง้ ต้นทุน การให้บริการและต้นทุนบริหารความเสีย่ ง ไม่วา่ จะเป็นนวัตกรรมปลอด เทคโนโลยีที่นายธนาคารกระแสหลักไม่ค่อยนึกถึง อย่างเช่นการจ้างคน ในพืน้ ทีเ่ ป็นพนักงานประเมินสินเชือ่ หรือใช้ระบบการค้�ำ ประกันแบบกลุม่ แทนที่หลักประกัน ไปจนถึงนวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยเฉพาะ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นคานงัดสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับชีวิต ของผู้มีรายได้น้อย การทำ�ธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือที่เรียกว่า โมบายแบงกิง้ (mobile banking) นัน่ ไม่ใช่เรือ่ งใหม่หรือน่าตืน่ เต้นสำ�หรับ ลูกค้าชนชั้นกลางที่มีสตางค์ซื้อสมาร์ทโฟนอย่างเช่นแบล็กเบอรีหรือ ไอโฟน เพราะโทรศัพท์เหล่านี้เข้าอินเทอร์เน็ตได้และมีหน้าจอสวยงาม ธนาคารกระแสหลักสามารถให้บริการปกติได้โดยไม่ต้องคิดอะไรใหม่ หรือคิดอะไรมาก แก้โปรโตคอลธนาคารออนไลน์เพียงนิดหน่อยก็ออก แคมเปญโมบายแบงกิ้งได้แล้ว สิ่งที่น่าตื่นเต้นและใหม่จริงยิ่งกว่านั้น คือบริการธนาคารผ่าน มือถือที่มุ่งให้บริการกับผู้มีรายได้น้อยในชนบทห่างไกล ให้สามารถทำ� ธุรกรรมทางการเงินทีส่ �ำ คัญสำ�หรับพวกเขาได้โดยไม่ตอ้ งถ่อไปถึงสาขา ธนาคารในเขตอำ�เภอ ปัจจุบนั ทัว่ โลกมีโมเดลธุรกิจธนาคารผ่านมือถือที่ ประสบความสำ�เร็จหลายแห่ง ผู้เล่นชั้นนำ�ในตลาดนี้ไม่ได้มีแต่ธนาคาร พาณิชย์เท่านั้น หากยังมีบริษัทโทรคมนาคมที่เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจ ด้วย 171 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 171

3/20/11 8:35 PM


เนื่องจากกระบวนการยืนยันตัวตน ตรวจสอบคุณสมบัติของ ลูกค้า คุณภาพของการให้บริการ และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ เงิน ล้วนเป็นหัวใจสำ�คัญของธุรกิจการเงินทุกระดับ ธนาคารผ่านมือถือ ที่ เ ข้ า ถึ ง ผู้ มี ร ายได้ น้ อ ยในชนบทจึ ง มั ก จะอาศั ย คนนอกที่ เ ข้ า ถึ ง และ ติดต่อกับลูกค้าเหล่านี้อยู่แล้วเป็นประจำ� เช่น บุรุษไปรษณีย์ หรือ เชนร้านขายยา เป็น “ตัวแทน” (เอเย่นต์) ทำ�ธุรกรรมทางการเงินแทน ธนาคารหรือบริษัทมือถือ วิกพิ เี ดียสรุปภาพรวมได้ดวี า่ โมเดลธุรกิจธนาคารแบบไร้สาขา ทุกแห่งทัว่ โลกสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ โมเดลธนาคาร ทำ� (bank-focused model) โมเดลธนาคารนำ� (bank-led model) และ โมเดลนอกธนาคาร (non-bank-led model) ในโมเดลธนาคารทำ� ธนาคารกระแสหลักใช้ช่องทางต้นทุนตํ่า (แต่นวัตกรรมสูง) ในการส่งมอบบริการทางการเงินบางอย่างให้กบั ลูกค้า เช่น ธนาคารออนไลน์หรือธนาคารผ่านมือถือ โมเดลนีส้ ว่ นใหญ่เป็นการ ขยายธุรกิจดั้งเดิมของธนาคารพาณิชย์ให้กับลูกค้ารายเดิม (หรือลูกค้า รายใหม่ในตลาดเดิม) เช่น อำ�นวยความสะดวกให้กับกลุ่มลูกค้าชนชั้น กลาง มากกว่าที่จะเจาะตลาดผู้มีรายได้น้อย ในโมเดลธนาคารนำ� ลูกค้าทำ�ธุรกรรมทางการเงินผ่านตัวแทน ทีไ่ ม่ได้อยูใ่ นสาขาธนาคารและไม่ได้เป็นพนักงานธนาคาร เช่น พนักงาน ร้านสะดวกซือ้ หรือบุรษุ ไปรษณีย์ หรือผ่านมือถือหรืออินเทอร์เน็ต โมเดล นี้สามารถเข้าถึงคนจำ�นวนมากกว่าโมเดลแรกมหาศาล ด้วยส่วนผสม ของช่องทางการให้บริการ (มือถือ ร้านค้าปลีก) และคู่ค้าหรือพันธมิตร ที่หลากหลาย (บริษัทโทรคมนาคม บริษัทค้าปลีก) ด้วยต้นทุนที่ตํ่ากว่า ถ้าธนาคารจะทำ�ทุกอย่างเอง ในโมเดลสุดท้ายคือโมเดลนอกธนาคาร ธนาคารพาณิชย์ไม่อยู่ ในธุรกิจนี้เลย (ยกเว้นบทบาทที่จ�ำ กัด เช่น เป็นที่เก็บเงินสดส่วนเกิน) ผูป้ ระกอบการคือคนนอกวงการ เช่น บริษทั โทรคมนาคม ทีท่ �ำ ทุกอย่างเอง 172 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 172

3/20/11 8:35 PM


ตัวอย่างของบริการธนาคารผ่านมือถือที่ประสบความสำ�เร็จ อย่างดีเยี่ยมและเป็นบทพิสูจน์อีกหนึ่งบทว่าผู้มีรายได้น้อยเป็นตลาดที่ ธุรกิจทำ�กำ�ไรได้ คือ เอ็ม-เปซา (M-PESA – M แทนคำ�ว่าโมบายหรือ มือถือ pesa แปลว่า “เงิน” ในภาษาสวาฮิลี) บริการโอนเงินผ่านมือถือ ในเคนยาที่บริษัท ซาเจ็นเตีย (Sagentia) พัฒนาให้กับโวดาโฟน (Vodafone) ยักษ์ใหญ่ในวงการโทรคมนาคม ก่อนที่จะโอนต่อไปให้กับ ไอบีเอ็มในเดือนกันยายน 2009 การพัฒนาเอ็ม-เปซาในช่วงแรกได้รบั ทุน สนับสนุนจากกรมพัฒนาระหว่างประเทศ (Department for International Development: DFID) ของอังกฤษระหว่างปี 2003–2007 เริ่มแรก เอ็ม-เปซาคือบริการที่ถูกออกแบบมาให้ลูกหนี้ของ สถาบันไมโครไฟแนนซ์สามารถรับและชำ�ระเงินกู้ผ่านเครือข่ายของ ซาฟารีคอม (Safaricom)25 บริษัทโทรคมนาคมชั้นนำ�ในเคนยา ถ้าทำ� แบบนี้ได้ สถาบันไมโครไฟแนนซ์ก็จะสามารถลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ที่ปล่อยให้กับลูกหนี้ และลูกหนี้ก็จะสามารถตรวจสอบและติดตามฐานะ ทางการเงินของพวกเขาได้อย่างง่ายดาย แต่เมื่อเริ่มโครงการทดลอง ซาฟารีคอมก็พบว่าลูกค้าใช้บริการทำ�เรื่องอื่นมากกว่าชำ�ระหนี้ โดย เฉพาะการโอนเงิน ต่อมาเมือ่ เกิดปัญหากับฟาอูลู (Faulu)26 สถาบันไมโคร ไฟแนนซ์ที่เป็นพันธมิตรของโครงการนี้ เจ้าของบริการคือโวดาโฟน จึงตัดสินใจนับหนึง่ ใหม่ เปลีย่ นจุดขายของเอ็ม-เปซาเป็นการโอนเงินและ ชำ�ระค่าสินค้าและบริการทั่วทั้งเคนยา เอ็ม-เปซาประสบความสำ�เร็จอย่างสูง ปัจจุบนั มีลกู ค้า 9.5 ล้าน คน มีเงินโอนกว่า 10 ล้านเหรียญต่อวันที่ไหลเวียนผ่านระบบ ส่วนใหญ่ เป็นเงินโอนขนาดย่อย คือเฉลี่ยเพียง 24 เหรียญต่อครั้ง จนถึงปลายปี 2009 รองรับเงินโอนไปแล้วกว่า 4,900 ล้านเหรียญ ลูกค้าของเอ็ม-เปซา สามารถเติมเงินค่าโทรมือถือ ชำ�ระค่าสินค้าและบริการต่างๆ และโอนเงิน ให้กบั ครอบครัวและคนอืน่ ประเด็นหนึง่ ทีน่ า่ สนใจคือ งานวิจยั เมือ่ ไม่นาน มานี้พบว่าลูกค้าเอ็ม-เปซา กว่า 1 ใน 5 ใช้มันเป็นรูปแบบหนึ่งของเงิน 173 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 173

3/20/11 8:35 PM


ออมด้วย เช่น ผู้ที่อาศัยอยู่ในคิเบรา สลัมที่ใหญ่ที่สุดในกรุงไนโรบี เมือง หลวงของเคนยา เกือบ 1 ใน 3 กันเงินที่ต้องใช้จ่ายประจำ�วันไว้ในบัญชี เอ็ม-เปซา หรือฝากเงินทีละน้อยเพื่อเก็บหอมรอมริบให้ได้จำ�นวนที่มาก ขึ้น พฤติกรรมเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าคนจนต้องการบริการเงินออมที่เข้าถึง ง่าย มีต้นทุนตํ่า และปลอดภัย หลังจากทีค่ น้ พบว่าคนจนมีความต้องการทีย่ งั ไม่มใี ครตอบสนอง อย่างตรงจุด ธนาคารอีควิตี้ (Equity Bank)27 สถาบันไมโครไฟแนนซ์ที่ ใหญ่ที่สุดในแอฟริกาตะวันออก จึงจับมือกับซาฟารีคอมเจ้าเก่า พัฒนา เอ็ม-เคโช (M-KESHO – kesho แปลว่า “พรุง่ นี”้ ในภาษาสวาฮิล)ี บริการ ทางการเงินครบวงจรบนมือถือ เปิดให้บริการในเดือนพฤษภาคม 2010 เอ็ม-เคโชทำ�ให้ลูกค้าธนาคารอควิตี้ทุกคนในเคนยาที่มีมือถือ สามารถฝากและถอนเงินในบัญชีเงินฝาก อีกทั้งยังสามารถใช้บริการ ไมโครเครดิต (สินเชือ่ ขนาดจิว๋ ) และไมโครอินชัวแรนซ์ (ประกันขนาดจิว๋ ) ของธนาคารผ่านโทรศัพท์มือถือธรรมดาที่ไม่ต้องเป็นสมาร์ทโฟนได้ ในอนาคตถ้าหากชาวบ้านในชนบททีย่ งั ไม่มบี ญ ั ชีเงินฝากทุกคนตัดสินใจ ใช้เอ็ม-เคโช เปิดบัญชีกบั ธนาคาร เพิม่ จำ�นวนบัญชีเงินฝากเป็น 20 ล้าน บัญชี เคนยาก็จะกลายเป็นประเทศกำ�ลังพัฒนาทีป่ ระชากรเข้าถึงบริการ ของธนาคารในระบบสูงที่สุดในโลก นอกจากเอ็ ม -เคโชจะช่ ว ยขยายฐานลู ก ค้ า และกำ � ไรให้ กั บ ธนาคารอควิตี้ ซาฟารีคอม และโวดาโฟนแล้ว มันยังมีแนวโน้มทีจ่ ะสร้าง ผลตอบแทนทางสังคมทีส่ งู มาก โดยเฉพาะการช่วยเสริมสร้างวินยั ในการ ออมให้กับชาวเคนยา ซึ่งส่งผลอย่างมากต่อความรู้สึกเชื่อมั่นในตัวเอง ของชาวบ้าน รวมทั้งช่วยสร้างหลักประกันว่าครอบครัวยากจนจะมีเงิน พอส่งลูกเรียนหนังสือและเป็นทุนประเดิมในการประกอบกิจการขนาด ย่อม ส่วนในระดับประเทศ การสร้างแรงจูงใจให้ชาวบ้านนำ�เงินออมที่ ไม่เคยอยู่ในระบบธนาคาร เช่น ซุกไว้ใต้หมอน มาฝากในบัญชีธนาคาร ที่มีความปลอดภัย ก็แปลว่าเงินจำ�นวนรวมกันหลายพันล้านเหรียญจะ 174 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 174

3/20/11 8:35 PM


สามารถถูกนำ�มาใช้ในการลงทุนและพัฒนาชนบท กุญแจแห่งความสำ�เร็จดอกสำ�คัญของเอ็ม-เปซา กับเอ็ม-เคโช คือค่าธรรมเนียมที่ผู้มีรายได้น้อยมีกำ�ลังจ่าย และสาเหตุหนึ่งที่ทำ�ให้ โวดาโฟน ซาเจ็นเตีย กับไอบีเอ็ม สามารถลดต้นทุนในการพัฒนาลงได้ อย่างมาก ก็คอื ได้รบั เงินอุดหนุนจากรัฐบาลอังกฤษ และต่อมาในปี 2009 ก็ได้รับจากมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุน ด้านเทคโนโลยีจากไมโครซอฟท์ ในฐานะธุรกิจเพือ่ สังคมทีช่ ว่ ยเหลือผูม้ ี รายได้นอ้ ย ปัจจุบนั ไอบีเอ็มเป็นผูบ้ ริหารจัดการเอ็ม-เปซาให้กบั โวดาโฟน ในหลายประเทศ โดยที่ตลาด 3 ประเทศแรกคือ เคนยา แทนซาเนีย และอัฟกานิสถาน ใช้โฮสของบริษัทแร็คสเปซ (Rackspace)28 ผู้นำ�ด้าน บริการคลาวด์คอมพิวติง้ (cloud computing ระบบไอทีทงั้ ฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ทรัพยากรร่วมกัน) ทำ�ให้สามารถลดต้นทุนลงไปได้อีก พร้อมทัง้ ยืดหยุน่ กว่าเดิมและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวของ ลูกค้าเอาไว้ได้ ความสำ�เร็จของเอ็ม-เปซา กับเอ็ม-เคโช ชีใ้ ห้เห็นศักยภาพของ เทคโนโลยีมือถือและสารสนเทศในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มี รายได้น้อยในทางที่คุ้มค่าทางธุรกิจ เป็น “ธุรกิจเพื่อสังคม” ที่ยั่งยืนและ สร้างผลกระทบเชิงบวกได้อย่างมหาศาล เพราะเชื่อมโยงชาวบ้านใน พื้นที่ห่างไกลเข้ากับบริการทางการเงินโดยไม่ต้องสนใจข้อจำ�กัดทาง ภูมิศาสตร์หรือสาธารณูปโภคพื้นฐาน ถึงแม้ว่าจะยังมีคำ�ถามอีกมากที่ต้องการคำ�ตอบ เช่น รัฐควร ดำ�เนินนโยบายอะไรเพื่อหนุนเสริมและรักษาบริการนี้ ความเสี่ยงด้าน ความปลอดภัยของธุรกรรมและข้อมูลส่วนตัวของลูกค้ามีการจัดการ อย่างรัดกุมแล้วหรือไม่ และโมเดลนีจ้ ะสามารถนำ�ไปทำ�ซํา้ ในประเทศอืน่ ได้อย่างไร อย่างน้อยธนาคารผ่านมือถืออย่าง เอ็ม-เปซา กับเอ็ม-เคโช ก็แสดงให้เห็นว่าการส่งเสริมให้ชาวบ้านเข้าถึงบริการทางการเงินนั้น ไม่ได้มีเพียงวิธีเดียว รัฐไม่ควรคิดแค่หาวิธีออกใบอนุญาตให้ตั้งสถาบัน 175 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 175

3/20/11 8:35 PM


การเงินไมโครไฟแนนซ์ หรือคะยั้นคะยอขอร้องให้ธนาคารพาณิชย์ยอม ไปเปิดสาขา (ซึ่งธนาคารก็น่าจะไม่ยอมเพราะไม่คุ้ม) แต่ควรหันมามอง ทางเลือกอืน่ ๆ ทีน่ า่ สนใจและมีแนวโน้มสูงกว่าว่าจะเกิดได้จริง – เริม่ จาก การเปลี่ยนทัศนคติ จากการส่งเสริม “สถาบันการเงิน” เป็นการส่งเสริม “บริการทางการเงิน” แทน.

176 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 176

3/20/11 8:35 PM


ลักษณะและบทบาทของการเงินชุมชนในประเทศไทย

การเงินแนวใหม่ที่กำ�ลังได้รับความสนใจในวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ คื อ การเงิ น ที่ ตั้ ง ใจจะบรรลุ “เป้ า หมายทางสั ง คม” ที่ อ ยู่ เ หนื อ “เป้าหมายทางธุรกิจ” ของผู้เล่นในตลาดแต่ละราย ตลาดคาร์บอนเครดิตเป็นตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่ง ตลาดนี้ไม่ เหมือนกับตลาดทั่วไปที่มีหน้าที่เพียงจัดสรรทรัพยากรระหว่างผู้ซื้อกับ ผู้ขาย หรือระหว่างผู้ลงทุนกับผู้ต้องการทุน แต่ตลาดคาร์บอนเครดิตมี “การลดการปล่อยคาร์บอน” เป็นเป้าหมายทางสังคมทีอ่ ยูเ่ หนือเป้าหมาย ของตลาดปกติขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ถ้าเงื่อนไขของตลาดสร้างแรงจูงใจของผู้เล่นในทางที่ทำ�ให้ เราถอยห่างจากเป้าหมายทางสังคมหรือบั่นทอนประโยชน์ของสังคม 177 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 177

3/20/11 8:35 PM


ส่วนรวม ก็คงไม่มีใครพูดได้เต็มปากว่าตลาดนั้นเป็นตลาดที่ “ดี” ในบรรดาแวดวงการเงินทีก่ �ำ ลังอุบตั ขิ นึ้ เพือ่ ตอบโจทย์ทางสังคม เป็นหลัก วงการหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งและกำ�ลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทัว่ โลกรวมทั้งในประเทศไทย คือการเงินเพื่อคนจน หรือทีห่ ลายคนรูจ้ กั ในชื่อ การเงินขนาดจิ๋ว หรือไมโครไฟแนนซ์ (microfinance) การเงิน ฐานราก การเงินรากหญ้า หรือการเงินชุมชน หลายท่านอาจสงสัยว่า “การเงินชุมชน” แตกต่างอย่างไรจาก สถาบันการเงินในระบบที่ให้บริการกับชุมชนอยู่แล้ว เช่น สาขาของ ธนาคารเพือ่ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในอำ�เภอต่างๆ ตรงนี้ผู้เขียนขออธิบายก่อนว่า คำ�ว่า “องค์กรการเงินชุมชน” ที่ปรากฏ ในที่นี้ จะใช้ในความหมายเดียวกันกับที่ใช้ในโครงการวิจัยที่ผู้เขียนมี ส่วนร่วม ชือ่ “โครงการศึกษาแนวทางจัดทำ�เครือ่ งมือเพือ่ ประเมินตนเอง ขององค์กรการเงินฐานราก” กล่าวคือ องค์กรใดก็ตามทีใ่ ห้บริการทางการ เงินกับชาวบ้านในหมู่บ้าน โดยให้ชาวบ้านบริหารจัดการกันเอง มีคณะ กรรมการองค์กรและระเบียบปฏิบัติชัดเจน ภายใต้นยิ ามดังกล่าว ธนาคารพาณิชย์ เช่น ธ.ก.ส. หรือธนาคาร ออมสินที่ไปตั้งสาขาอยู่ตามตำ�บลต่างๆ จึงไม่นับเป็นองค์กรการเงิน ชุมชน เพราะชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ เราพุ่งเป้าการ วิจยั ไปทีอ่ งค์กรทีช่ าวบ้านมีสว่ นร่วมจริงๆ ซึง่ ก็มคี วามหลากหลายอย่าง น่าทึ่ง ตั้งแต่องค์กรกึ่งรัฐ คือเป็นนิติบุคคลหรือมีกฎหมายรองรับ เช่น กองทุนหมู่บ้าน สถาบันการเงินชุมชน (ยกระดับจากกองทุนหมู่บ้าน) สหกรณ์ อ อมทรั พ ย์ เ พื่ อ การผลิ ต เรื่ อ ยไปจนถึ ง องค์ ก รนอกระบบที่ ชาวบ้านจัดตัง้ กันเอง เช่น สัจจะลดรายจ่ายวันละบาท และกลุม่ ออมทรัพย์ ต่างๆ ก่อนที่จะเล่าต่อ ผู้เขียนขอจารึกคำ�ขอบคุณคณาจารย์ผู้ร่วม โครงการวิจัยนี้ก่อน เพราะลำ�พังผู้เขียนคงไม่มีปัญญาพอที่จะถ่ายทอด เรื่องราวและข้อค้นพบที่น่าสนใจต่างๆ เกี่ยวกับการเงินชุมชนได้ หาก 178 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 178

3/20/11 8:35 PM


ไร้ซึ่งผู้ร่วมทีมวิจัยที่เปี่ยมความรู้ความเชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ได้แก่ รศ.ดร.ปัทมาวดี ซูซกู ิ ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล และ ผศ.ดร.อภิชาติ สถิตนิรามัย จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อ.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล และ อ.สร้อยมาศ รุ่งมณี จากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ผศ.ดร.สุกานดา ลูวสิ จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อ.ภีม ภคเมธาวี จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ประสานงานหน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน รวมทั้งขอ ขอบคุณผู้ช่วยวิจัยทั้งสี่ท่าน ได้แก่ คุณรัชนี สุขศรีวรรณ และคุณหทัย เหมทานนท์ จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คุณพลวิชญ์ ทรัพย์ศรีสัญจัย และคุณวรุตม์ วรดิถี จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไว้ ณ ที่นี้ด้วย การเงิ น ชุ ม ชนไทยเป็ น แวดวงการเงิ น ที่ ส ลั บ ซั บ ซ้ อ นและ มี พ ลวั ต ไม่ ห ยุ ด นิ่ ง ถึ ง นั ก วิ จั ย หลายคนจะมี ค วามรู้ ค วามเชี่ ย วชาญ ด้านเศรษฐศาสตร์หรือการเงินกระแสหลักก็ใช่ว่าจะเข้าใจและตามทัน ความคิดของ “นักการเงินชาวบ้าน” ผู้ปราดเปรื่องหลายท่านได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะถ้ามัวแต่ยึดติดกับทฤษฎีที่ตนเองได้รํ่าเรียนมาจนลืมนึกถึง บริบทของชาวบ้าน มองโลกจากแว่นของชาวบ้านไม่เป็นเพราะไม่ยอม ถอดแว่นของตัวเองออกก่อน ปัจจุบันยังไม่มีใครทำ�การสำ�รวจวงการนี้อย่างเป็นทางการ แต่ผู้เขียนคิดว่าทั้งประเทศไทยน่าจะมีองค์กรการเงินชุมชนในนิยาม ของโครงการวิจัยนี้ไม่ตํ่ากว่า 200,000 แห่ง บริหารจัดการเงินรวมกัน ไม่นอ้ ยกว่า 150,000 ล้านบาท เฉพาะกองทุนหมูบ่ า้ นทีช่ าวบ้านเรียกว่า “กองทุนเงินล้าน” อย่างเดียวก็มมี ากกว่า 79,000 ล้านบาทแล้ว (หมูบ่ า้ น 79,000 แห่งทั่วประเทศ ได้เงินหมู่บ้านละล้านบาท) หลายคนอาจ ไม่ทราบว่าก่อนหน้าทีร่ ฐั บาลทักษิณจะประกาศนโยบายนี้ ประเทศไทยก็ มีกลุม่ ออมทรัพย์ สหกรณ์ออมทรัพย์ ฯลฯ มานานกว่าสองทศวรรษแล้ว สาเหตุหลักที่ทำ �ให้องค์กรการเงินชุมชนเป็นที่ต้องการของ ชาวบ้านและเติบโตขึ้นอย่างมากคือ องค์กรแบบนี้ทำ�ให้ชาวบ้านที่เข้า 179 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 179

3/20/11 8:35 PM


ไม่ถึงสถาบันการเงินในระบบสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ ถ้า เรามองให้ลึกลงไปอีกชั้นหนึ่งก็พบว่า สาเหตุที่ท�ำ ให้ชาวบ้านเข้าไม่ถึง สถาบันการเงินในระบบนั้นมีอยู่ด้วยกันสองประการหลัก คือ 1. ไม่มี ทรัพย์สินเพียงพอที่จะใช้เป็นหลักประกัน และ 2. อาศัยอยู่ไกลจากตัว ตำ�บลหรืออำ�เภอที่มีสาขาของธนาคาร ยกตัวอย่างเช่น เกษตรกรทีอ่ ยากกูเ้ งินจาก ธ.ก.ส. จะต้องมีทดี่ นิ หรือเงินออมในธนาคารเพือ่ ใช้เป็นหลักประกันเงินกู้ ดังนัน้ ถ้าปราศจาก องค์กรการเงินชุมชน ชาวบ้านทีไ่ ม่มที งั้ ทีด่ นิ และเงินออมแต่ตอ้ งการกูเ้ งิน ก็มีทางออกเดียวเท่านั้นคือ กู้เงินจากนายทุนนอกระบบ ซึ่งคิดดอกเบี้ย สูงลิบลิว่ เป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือน สูงถึง 40-60% ต่อปีหรือมากกว่า นอกเหนือจากการให้บริการทางการเงินด้วยเงื่อนไขที่ทำ�ให้ชาวบ้าน เข้าถึงได้แล้ว องค์กรการเงินชุมชนยังช่วยอำ�นวยความสะดวกในแง่พนื้ ที่ โดยเฉพาะสำ�หรับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ห่างไกลจากตัวตำ�บล ซึ่งเป็นระดับ “ชุมชน” ที่เล็กที่สุดที่ธนาคารของรัฐจะไปเปิดสาขา ส่วน ธนาคารเอกชนไม่ต้องพูดถึง แค่เปิดสาขาในตัวอำ�เภอก็อาจทำ�กำ�ไร ไม่คุ้มค่าจ้างผู้จัดการสาขาแล้ว เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีกำ�ลังจะกู้ หรือฝากเป็นหลักล้านหรือสิบล้าน การสำ�รวจของธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่า ชาวบ้านในชนบท ฝากเงินที่สาขาของธนาคารพาณิชย์เพียงประมาณหนึ่งในสามเท่านั้น ทีเ่ หลือร้อยละ 36 ฝากทีส่ ถาบันการเงินเฉพาะกิจ (เช่น ธ.ก.ส.) ร้อยละ 3 ฝากสหกรณ์ ร้อยละ 7 ฝากกลุ่มออมทรัพย์ และที่เหลืออีกร้อยละ 21 ไม่มีบัญชีเงินฝาก ลองนึกภาพว่าถ้าคุณเป็นชาวบ้านธรรมดาๆ คนหนึ่ง อาศัยอยู่ ในหมู่บ้านที่อยู่ห่างจากสาขา ธ.ก.ส. ที่อยู่ใกล้ที่สุดหลายสิบกิโล อยาก ฝากเงินทุกเดือนแต่เก็บเงินได้เพียงเดือนละ 50 บาท คุณคงไม่อยาก เสียเวลาถ่อไปถึงสาขาทุกเดือน ไหนจะค่านํ้ามันรถมอเตอร์ไซค์หรือ ค่ารถสองแถว 180 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 180

3/20/11 8:35 PM


ด้วยเหตุนี้ องค์กรการเงินชุมชนที่ “ตั้งโต๊ะ” ทำ�ธุรกรรมกับชาว บ้านโดยตรงในหมู่บ้านจึงไม่ยากที่จะได้รับความนิยม ถ้าคณะกรรมการ ขององค์กรนั้นเป็นผู้นำ�ชุมชนที่ชาวบ้านเชื่อถือและไว้ใจ ทำ�บัญชีเป็น ชาวบ้านก็จะยิ่งเกิดความอุ่นใจว่า เงินฝากที่ส่งทุกเดือน (มักเรียกว่า “สัจจะ” คือรักษาคำ�พูดว่าจะฝากทุกเดือน) นัน้ จะไม่ถกู กรรมการเชิดหาย เข้ากลีบเมฆ ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ ทีมวิจัยของเราพบว่าหลาย พื้นที่ไม่ได้มีองค์กรการเงินชุมชนแค่แห่งเดียวหรือสองแห่ง แต่มีหลาย แห่งที่แข่งขันกัน ทั้งที่เป็นองค์กร ปัจเจก (เช่น นายทุนนอกระบบ) และ รูปแบบหลวมๆ (เช่น วงแชร์) มากมาย ดังตัวอย่าง “ถนนสายการเงิน ท้องถิ่น” แห่งหนึ่งซึ่งอาจเรียกให้ดูโก้เก๋วา่ “วอลล์สตรีทตำ�บล” ที่เราพบ ในตำ�บลหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช วาดเป็นแผนที่ได้ดังภาพต่อ ไปนี้

181 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 181

3/20/11 8:35 PM


จากภาพนีจ้ ะเห็นว่า ชาวบ้านในตำ�บลนีม้ ที างเลือกค่อนข้างมาก ในการเลือกใช้บริการทางการเงิน และจากการสัมภาษณ์ชาวบ้านหลาย สิบคน ทั้งที่เป็นสมาชิกและไม่ได้เป็น ทีมวิจัยของเราพบว่าพฤติกรรม การใช้บริการของชาวบ้านมีความหลากหลายมาก แต่ส่วนใหญ่ล้วน ตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลตามหลักเศรษฐศาสตร์ทุกประการ เช่น ชาว บ้านที่ต้องดูแลผู้สูงอายุที่บ้านจะส่งสัจจะเพราะหวังสวัสดิการ อาทิ เงิน ค่าฌาปนกิจ และเงินค่ารักษาพยาบาล ถ้ามีลกู วัยเรียนก็จะส่งสัจจะเป็น เงินออมเพือ่ ลูกในระยะยาว และถ้ามีกำ�ลังส่งสัจจะมากกว่าหนึง่ กลุม่ ออม ทรัพย์ หลายคนก็จะพยายามส่งสัจจะให้กับหลายกลุ่ม เพื่อขยายวงเงิน สวัสดิการที่ตนมีสิทธิที่จะได้ ก่อนที่จะเข้าใจบทบาทและวิธีวัดผลการดำ�เนินงานขององค์กร การเงิ น ชุ ม ชน เราจะต้ อ งมาทำ � ความเข้ า ใจกั บ ลั ก ษณะขององค์ ก ร การเงินแต่ละประเภทกันก่อน เราสามารถแบ่งองค์กรการเงินชุมชนทั้งหมดในประเทศไทย ออกเป็นสองประเภทกว้างๆ คือ องค์กรที่เน้นการออมเพื่อสวัสดิการ ซึ่งอาจเรียกอย่างเป็นวิชาการเล็กน้อยว่า “welfare-based model” กับ องค์กรที่เน้นการปล่อยกู้ ซึ่งอาจเรียกว่า “lending-based model” ถึ ง แม้ ว่ า องค์ ก รการเงิ น ชุ ม ชนหลายแห่ ง จะพยายามทำ � ทั้ ง สองอย่าง คือจัดสวัสดิการกับปล่อยสินเชื่อ “นํ้าหนัก” ที่องค์กรแต่ละ ประเภทให้กับกิจกรรมสองชนิดนี้อย่างไม่เท่าเทียมกัน ก็ทำ�ให้องค์กร สองประเภทนี้มีความแตกต่างกันมาก องค์กรที่มุ่งทำ�อย่างใดอย่างหนึ่ง เท่ า นั้ น จะแตกต่ า งกั น ในระดั บ วิ ธี คิ ด และเป้ า หมายหลั ก เลยที เ ดี ย ว กล่าวคือ องค์กรที่มุ่งระดมเงินออมเพื่อจัดสวัสดิการให้กับชาวบ้าน เช่น สัจจะลดรายจ่ายวันละบาท ตั้งเป้าที่การจัดสวัสดิการขั้นพื้นฐาน หรือ “social safety net” ของภาคประชาชน ในขณะที่องค์กรที่มุ่งปล่อย สินเชื่อ เช่น กองทุนหมู่บ้าน ตั้งเป้าที่การปล่อยสินเชื่อให้ชาวบ้าน ไปใช้เพิ่มผลิตภาพการเพาะปลูกหรือริเริ่มธุรกิจขนาดย่อมเพื่อยกระดับ 182 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 182

3/20/11 8:35 PM


คุณภาพชีวิตของครอบครัว อาจจะทำ�เป็นอาชีพเสริมก็ได้ ดังนัน้ ในเชิงทฤษฎี องค์กรแบบ welfare-based model กับแบบ lending-based model จึงไม่น่าจะเป็นคู่แข่งกันแต่ดูจะหนุนเสริมซึ่งกัน และกัน เพราะแบบแรกสร้างเงินออมและจัดสวัสดิการ แบบทีส่ องปล่อย กู้ให้ชาวบ้านไปทำ�ธุรกิจ แต่โลกจริงมักจะซับซ้อนกว่าโลกในตำ�ราเสมอ การเงินชุมชน ไทยก็เช่นกัน.

183 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 183

3/20/11 8:35 PM


ผลประกอบการด้านสังคมของการเงินชุมชนในประเทศไทย

ในบรรดากลุ่มการเงินชุมชนในประเทศไทยทั้งหมด เราสามารถ แบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ คือองค์กรทีม่ งุ่ จัดสวัสดิการเป็นหลัก กับองค์กรที่มุ่งปล่อยกู้เป็นหลัก (ต่อไปนี้จะใช้คำ�ว่า ‘กลุ่ม’ แทน ‘องค์กร’ เพราะส่วนใหญ่ยังมีขนาดเล็กระดับหมู่บ้าน ใหญ่ที่สุด คือระดับตำ�บล) กลุม่ การเงินชุมชนทัง้ สองแบบเหมือนกันตรงทีม่ ี “เป้าหมายทาง สังคม” เป็นเป้าหมายสูงสุด มิใช่การทำ�กำ�ไรสูงสุดเหมือนกับสถาบันการ เงินกระแสหลัก เป้าหมายดังกล่าวคือ การจัดสวัสดิการภาคประชาชน ด้วยเงินออม และยกฐานะความเป็นอยู่ด้วยเงินกู้ จากการลงพื้นที่ทำ�วิจัยเบื้องต้นในจังหวัดชัยนาทและนคร184 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 184

3/20/11 8:35 PM


ศรีธรรมราช ผู้เขียนและคณะวิจัยพบว่ากลุ่มที่มุ่งจัดสวัสดิการมักทำ� ประโยชน์สงู กว่า และดังนัน้ จึงมีความสำ�คัญต่อชีวติ ของชาวบ้านมากกว่า กลุม่ ทีม่ งุ่ ปล่อยกู้ สาเหตุหลักไม่ใช่องค์กรทีป่ ล่อยกูบ้ ริหารจัดการไม่ดี (ถึง แม้ว่าหลายกลุ่มก็บริหารจัดการไม่ดีและเป็น ‘ทุนนิยมพวกพ้อง’ ระดับ ท้องถิ่นจริงๆ) แต่อยู่ที่ว่า ปัญหาของชาวบ้านที่ต้องการเงินกู้ส่วนใหญ่ คือ ‘ปัญหาเชิงโครงสร้าง’ ที่ลำ�พังเงินกู้ 2,000-20,000 บาทแก้ให้อย่าง ยั่งยืนไม่ได้ ทำ�ได้เพียง ‘ผ่อนหนักเป็นเบา’ เป็นครั้งคราวเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ตราบใดที่เกษตรกรยังขาดทุนจากการทำ�นา หรืออย่างมากก็เท่าทุน ก็ยากที่จะใช้คืนเงินกู้ที่กู้มาลงทุน เช่น ซื้อปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ฯลฯ ได้ ไม่ว่ากลุ่มจะพยายามคิดดอกเบี้ยตํ่าเพียงใด ซึ่ง ในความเป็นจริงก็คิดตํ่ามากไม่ได้ เพราะมีความเสี่ยงสูง ในภาษาการเงิน ตราบใดที่ลูกหนี้ยังมี ‘ความสามารถในการ ชำ�ระหนี้’ ตํ่ามากหรือติดลบ ไม่ว่าเจ้าหนี้จะพยายามตั้งเงื่อนไขเงินกู้ ให้ ‘เข้าข้าง’ เพียงใด ลูกหนี้ก็จะมีปัญหาอยู่รํ่าไป เผลอๆ อาจต้องใช้วิธี ‘ผลัดผ้าขาวม้า’ คือกู้เงินจากแหล่งอื่น เช่น เจ้าหนี้นอกระบบ มาใช้หนี้ ก่อน ภาระหนีส้ นิ โดยรวมแทนทีจ่ ะลดลงกลับเพิม่ ขึน้ (จากอัตราดอกเบีย้ ที่สูงขึ้น) เพียงแต่เลื่อนเวลาชำ�ระคืนเงินต้นออกไปเท่านั้น ตราบใดที่ยังจ่ายได้แต่ดอกเบี้ย หมุนเงินต้นไปเรื่อยๆ ลูกหนี้ ก็ไม่อาจหวังว่าจะลืมหน้าอ้าปากได้ ด้วยเหตุนี้ การแก้ปญ ั หาหนีส้ นิ เกษตรกรอย่างยัง่ ยืนจึงหมายถึง การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความไม่เป็นธรรมใน สนามแข่งขัน (เช่น เกษตรกรรายย่อยขาดแคลนข้อมูลที่ถูกต้องและถูก พ่อค้าคนกลางเอารัดเอาเปรียบ) และปัญหาผลผลิตต่อไร่ตาํ่ (ซึง่ เกีย่ วพัน กับปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย เช่น โครงการรับจำ�นำ�ของรัฐบิดเบือนแรง จูงใจให้คนไม่ต้องสนใจประสิทธิภาพการเพาะปลูก เงื่อนไขธนาคารไม่ เอื้ออำ�นวย ‘สายตาสั้น’ ของข้าราชการ คอร์รัปชั่นในระบบชลประทาน ฯลฯ) 185 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 185

3/20/11 8:35 PM


จึ ง ไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งบั ง เอิ ญ ที่ ส ถาบั น การเงิ น ขนาดจิ๋ ว หรื อ ไมโครไฟแนนซ์ทุกแห่งในโลกที่ประสบความสำ�เร็จ เช่น ธนาคารกรามีนใน บังกลาเทศ ธนาคารอคลีดาในกัมพูชา หรือ CARD ในฟิลปิ ปินส์ จะไม่ได้ ทำ�แค่ปล่อยกูเ้ พียงอย่างเดียว แต่ยงั ให้การสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและ ผู้ประกอบการรายจิ๋ว บางครั้งด้วยการจัดหาตลาด ให้คำ�แนะนำ�ด้าน การผลิต และจัดซื้อปัจจัยการผลิตให้ในราคาถูก ปัจจุบันกลุ่มการเงินชุมชนไทยยังปล่อยสินเชื่อให้กับสมาชิก รายละไม่มาก เช่น กองทุนหมูบ่ า้ นจำ�กัดเงินกูไ้ ว้เพียงรายละ 20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 10 หรือตํ่ากว่าของหนี้ ธ.ก.ส. ที่มีกันคนละ 150,000200,000 บาท สินเชื่อจากกลุ่มการเงินชุมชนจึงช่วยบรรเทาความ เดือดร้อนชั่วคราว เป็นทุนหมุนเวียนหรือเงินกู้กรณีฉุกเฉิน ไม่ใช่กลไก ที่จะช่วยปลดหนี้ทั้งหมด ส่วนกลุ่มการเงินชุมชนที่มุ่งจัดสวัสดิการเป็นหลัก เช่น กลุ่ม ออมทรัพย์และสัจจะสะสมทรัพย์ต่างๆ ที่จัดสวัสดิการแบบ ‘เกิด แก่ เจ็บ ตาย’ (คือสมาชิกจะได้รบั เงินเมือ่ มีบตุ ร ล้มป่วยจนนอนโรงพยาบาล เบี้ยเลี้ยงยามชราภาพ และค่าฌาปนกิจศพ) ก็เป็นหัวใจที่ขาดไม่ได้ ในชุมชนที่ยังไม่มี ‘ตาข่ายสังคม’ รองรับอย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะ สวัสดิการค่าฌาปนกิจ ซึ่งครอบครัวสมาชิกจะได้รับเป็นหลักหมื่นหรือ หลักแสน สิง่ ทีค่ ณะวิจยั พบจากการลงพืน้ ทีค่ อื ความคิดพืน้ ฐานของกลุม่ ส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับ “มีเงิน รักษาเงินได้” คือมุ่งรักษาเงินทุนของ องค์กร โดยเฉพาะเงินสัจจะที่สมาชิกสมทบรายเดือน ยังไม่มุ่งแสวงหา กำ�ไรหรือคำ�นึงถึงประสิทธิภาพในการใช้เงิน มิพักต้องพูดถึงการนำ�เงิน ไปปรับปรุงคุณภาพชีวิตของสมาชิก บางกลุม่ ทีพ่ ฒ ั นาถึงระดับหนึง่ และมีเงินกองทุนมาก จะเริม่ คำ�นึง ถึงการใช้เงินให้เกิดประสิทธิภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิก แต่ยังขาดองค์ความรู้และเครื่องมือบริหารจัดการเงินที่จะทำ �ให้บรรลุ 186 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 186

3/20/11 8:35 PM


วัตถุประสงค์ดังกล่าว ถึงแม้วา่ การบริหารจัดการกลุม่ การเงินระดับหมูบ่ า้ นหรือตำ�บล ทีย่ งั ไม่มงุ่ แสวงหากำ�ไรอาจฟังดูงา่ ย ในความเป็นจริงแค่ระดับนีก้ ม็ คี วาม ท้าทายไม่น้อย เช่น จะสร้าง ‘สมดุล’ อย่างไรระหว่างอัตราเงินปันผล ที่จ่ายรายปี กับรายจ่ายสวัสดิการ (ยิ่งจ่ายเงินปันผลในอัตราสูง ก็จะมี เงินไปจัดสวัสดิการน้อยลง) เพราะสมาชิกที่ยังหนุ่มสาวมักจะต้องการ เงินปันผลรายปีสงู ๆ เป็นหลัก ในขณะทีส่ มาชิกผูส้ งู อายุหรือมีโรคประจำ� ตัวมักจะให้ความสำ�คัญกับเงินจ่ายค่าสวัสดิการ อาทิ ค่านอนโรงพยาบาล และค่าฌาปนกิจ มากกว่าเงินปันผล ข้อกังวลที่เราได้รับฟังจากกลุ่มการเงินชุมชนส่วนใหญ่คือด้าน การบริหารสินเชื่อ แต่กลุ่มส่วนใหญ่ก็อาศัย ‘ทุนทางสังคม’ ของความ เป็นชุมชน (เช่น ความรูจ้ กั มักคุน้ กันเป็นส่วนตัว) ในการสร้างวิธกี ารทีจ่ ะ ป้องกันการเกิดหนีเ้ สียได้คอ่ นข้างดี เช่น ใช้วธิ ปี รับลดขนาดเงินกูส้ �ำ หรับ คนที่มีประวัติผิดนัดชำ�ระหนี้ การใช้คนรู้จักค้ำ�ประกัน การโอนลอย หลักทรัพย์ การใช้แรงกดดันของสมาชิกคนอื่นในกลุ่ม การประจาน เป็นต้น กรรมการสถาบันการเงินชุมชน (ยกระดับจากกองทุนหมู่บ้าน) แห่งหนึ่งเล่าให้ฟังว่า จะประจานชื่อสมาชิกที่ผิดนัดบนกระดานก่อน ถ้าผิดนัดชำ�ระนาน 3 เดือน ถ้าผิดนัดเกินไปอีก 3 เดือนก็จะประจานชื่อ คู่สมรส ถ้านานกว่านั้นก็จะประจานชื่อบิดามารดาด้วย จุดอ่อนหรือข้อจำ�กัดสำ�คัญที่เราพบในกลุ่มการเงินชุมชนจาก การลงพืน้ ที่ คือความสามารถในการบริหารจัดการบัญชี พบแม้แต่ในกลุม่ องค์กรการเงินซึง่ เป็นทีย่ อมรับโดยทัว่ ไปว่า ‘เข้มแข็ง’ เช่น ทำ�บัญชีของ ‘กองทุนสวัสดิการ’ กับ ‘กลุ่มออมทรัพย์’ ที่บริหารจัดการกองทุนนั้น แยกกันเป็นสองบัญชี ทำ�ให้มองไม่เห็นภาระทางการเงินและต้นทุน ที่ แ ท้ จ ริ ง ของกลุ่ ม เกิ ด ความเข้ า ใจผิ ด ว่ า กลุ่ ม มี กำ� ไรเกิ น จริ ง ทำ� ให้ จ่ายเงินปันผลมากกว่าที่ควรจะจ่าย (ถ้าจ่ายปันผลสูงเกินกว่ารายจ่าย 187 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 187

3/20/11 8:35 PM


สวัสดิการ เงินกองทุนสวัสดิการก็จะร่อยหรอ) อีกปัญหาหนึ่งที่เราได้ยินกรรมการกลุ่มบ่นให้ฟังค่อนข้างมาก คื อ ปั ญ หาการขาดแคลนกรรมการและคนรุ่ น ใหม่ ที่ จ ะเข้ า มารั บ ช่ ว ง ต่อจากกรรมการชุดแรก ซึ่งก็เป็นปัญหาโลกแตกที่เข้าใจได้ เพราะ เนื่องจากกลุ่มมีขนาดค่อนข้างเล็กและกำ�ไรน้อยหรือไม่มีเลย กรรมการ กลุ่มจึงได้ค่าตอบแทนตํ่ามาก อย่างมากเพียงคนละไม่กี่พันบาทต่อปี แต่ตอ้ งรับภาระหนีแ้ ทนสมาชิกที่ ‘ชักดาบ’ ตรวจบัญชี กลัน่ กรองสินเชือ่ เรียกประชุม พิจารณาแก้เงื่อนไขสวัสดิการ ฯลฯ ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ ลักษณะการบริหารจัดการองค์กร การเงินชุมชนทีเ่ ข้มแข็งบางกลุม่ ใช้กลไกการจัดการในระดับหมูบ่ า้ น แต่ มีเครือข่ายระดับตำ�บล บทบาทสำ�คัญของเครือข่ายระดับตำ�บลคือกลไก สนับสนุนต่างๆ อาทิเช่น จัดการความรู้ ตรวจสอบบัญชีซึ่งกันและกัน ขยายวงเงินกู้ผ่านการกู้ยืมระหว่างกลุ่ม และรวมกองทุนสวัสดิการและ ฌาปนกิจเข้าด้วยกัน ประโยชน์ขององค์กรการเงินชุมชนไทยที่สำ�คัญได้แก่ เป็นการ เพิ่มช่องทางการออม เพิ่มความคล่องตัวในการใช้เงินหมุนเวียนให้แก่ สมาชิก ลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้ (แต่มักเพิ่มภาระหนี้สิน) และได้เงิน สวัสดิการ ถ้านำ�กลุม่ การเงินมาพล็อตเป็นแผนภูมิ ตามระดับ “ความมัน่ คง ด้านการเงิน” (ผลตอบแทนด้านการเงิน) และ “คุณภาพชีวติ ” ของสมาชิก (ผลตอบแทนด้านสังคม) โดยคร่าวของแต่ละกลุ่ม เราก็น่าจะได้แผนภูมิ ดังต่อไปนี้ –

188 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 188

3/20/11 8:35 PM


ในแผนภูมินี้ กลุ่มการเงินชุมชนตัวอย่าง 5 กลุ่ม มีตั้งแต่กลุ่ม ที่มีความมั่นคงทางการเงินสูงแต่นำ�ส่งประโยชน์ด้านคุณภาพชีวิตตํ่า (เช่น ตัง้ อัตราดอกเบีย้ สินเชือ่ สูงๆ จนได้กำ�ไรเยอะแต่สมาชิกมีปญ ั หาใน การผ่อนจ่าย ละเลยการจ่ายเงินสวัสดิการ) ไปจนถึงกลุม่ ทีช่ ว่ ยยกระดับ คุณภาพชีวิตของสมาชิกได้สูงมากแต่มีความมั่นคงทางการเงินตํ่า (เช่น จ่ายเงินค่าสวัสดิการสูง ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในชุมชน แต่มีปัญหาใน การติดตามหนี้และเรียกเงินสัจจะรายเดือน เงินกองทุนร่อยหรอลงไป เรื่อยๆ) การลงพื้นที่วิจัยของเรายังไม่พบกลุ่มการเงินชุมชนที่มีผลงาน ‘เป็นเลิศ’ คือมีทงั้ ความมัน่ คงทางการเงินสูงและช่วยให้สมาชิกมีคณ ุ ภาพ ชีวิตที่ดีกว่าเดิมมาก แต่อย่างไรก็ตาม เราพบว่ากลุ่มที่เข้มแข็งบางกลุ่ม มีศักยภาพที่จะขยายขนาดและพัฒนาไปสู่จุดนั้นได้ หากต้องได้รับการ 189 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 189

3/20/11 8:35 PM


สนับสนุนจากภาครัฐ ภาควิชาการ หรือแม้แต่ภาคการเงินกระแสหลัก ที่สนใจจะช่วยพัฒนา โดยเฉพาะในด้านองค์ความรู้ทางบัญชี เครื่องมือ บริหารจัดการเงิน ระบบการกลั่นกรองสินเชื่อที่ไปไกลกว่าการอาศัยคน รู้จัก และการส่งเสริมให้กลุ่มการเงินต่างๆ สามารถกู้ยืมเงินระหว่างกัน ได้ ผู้เขียนเชื่อว่าวงการ ‘การเงินขนาดจิ๋ว’ หรือ ‘ไมโครไฟแนนซ์’ ซึ่งกำ�ลังเป็นที่สนใจมากขึ้นเรื่อยๆ มีโอกาสที่จะหยั่งรากและเติบโต ในชนบทไทยได้ดไี ม่แพ้ทอี่ นื่ ใดในโลก สถาบันการเงินกระแสหลักทีส่ นใจ จะทำ�ธุรกิจด้านนีน้ า่ จะลองศึกษาแนวโน้มการเป็นพันธมิตรหรือแหล่งทุน ของกลุม่ การเงินชุมชนไทย เพือ่ ต่อยอดและขยับขยายจากสิง่ ทีช่ าวบ้าน ทำ�กันเองได้ดแี ล้วระดับหนึง่ โดยเฉพาะเครือ่ งมือทางการเงินสองชนิดที่ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำ�หรับชาวบ้าน – ประกันขนาดจิ๋ว (microinsurance) และการโอนเงินขนาดจิ๋ว (micropayment).

190 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 190

3/20/11 8:35 PM


ทุนทางสังคม การเงินชุมชนไทย และคุณูปการของเอลินอร์ ออสตรอม

ในรอบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา สถาบันการเงินขนาดจิ๋วหรือไมโครไฟแนนซ์ได้รับการศึกษาและกล่าวขานมากขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะ โมเดล “ธุรกิจเพือ่ สังคม” ทีช่ ว่ ยผูม้ รี ายได้นอ้ ย โดยเฉพาะในชนบท ห่างไกล ให้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่สถาบันการเงิน กระแสหลักไม่ยอมให้บริการ นำ�เงินกู้ขนาดจิ๋วไปทำ�กิจการขนาด จิ๋วเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิต รวมทั้งช่วยสร้างวินัยในการออม เพื่อเลี้ยงตัวเองและครอบครัว โดยเฉพาะในวัยชราที่จะมีรายได้ น้อยมากหรือไม่มีเลย และมีแนวโน้มว่าจะต้องพึ่งตนเองมากขึ้น เรื่อยๆ ในยุคที่พึ่งพาลูกเต้าไม่ค่อยได้เพราะลูกเต้ายังเอาตัวเอง แทบไม่ค่อยรอด 191 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 191

3/20/11 8:35 PM


สถาบันไมโครไฟแนนซ์หลายแห่งทีป่ ระสบความสำ�เร็จในระดับ ชาติไม่ทำ�ธุรกิจบนฐานทุนของลูกค้า เพราะลูกค้าที่เป็นผู้มีรายได้น้อย ย่อมไม่มสี นิ ทรัพย์เพียงพอทีจ่ ะใช้เป็นหลักประกันเงินกู้ ดังนัน้ จึงต้องใช้ ทุนอย่างอื่นให้เป็นประโยชน์ โดยธรรมชาติและประวัติศาสตร์ในหลายประเทศ ทุนที่ชนบท มีอย่างเหลือเฟือมักไม่ใช่เงิน แต่เป็นทุนชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็นทุนทาง ปัญญา (ภูมิปัญญาท้องถิ่น) ทุนธรรมชาติ (สิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์) หรือทุนวัฒนธรรม แต่ทนุ ทีอ่ าจสำ�คัญทีส่ ดุ ต่อการพัฒนาชุมชน และเป็น หัวใจแห่งความสำ�เร็จของสถาบันไมโครไฟแนนซ์แทบทุกแห่งทีไ่ ด้รบั การ ยอมรับ คือสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ขนานนามว่า “ทุนทางสังคม” ผูเ้ ขียนสรุปในหนังสือเรือ่ ง Macrotrends* ไว้วา่ “นักวิจยั บางคน นิยาม “ทุนทางสังคม” ...ว่า “ทรัพยากรอะไรก็ตามทีเ่ กิดจากความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ความคิด โอกาส กำ�ลังใจ ความ ปรารถนาดี ความไว้วางใจ หรือความร่วมมือกัน” แต่ผเู้ ขียนคิดว่านิยาม ที่กระชับและเข้าใจง่ายที่สุดคือ “คุณค่าของเครือข่าย” ทุนทางสังคมมีสว่ นคล้ายกับทุนชนิดอืน่ อาทิ เงินตรา ทรัพย์สนิ ทางปัญญา และทรัพยากรธรรมชาติ ตรงที่มีส่วนสร้างความมั่งคั่งและ ความผาสุก ปัจเจกชนหรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งสามารถสะสมทุนทาง สังคมได้ดว้ ยการสร้างและถนอมความสัมพันธ์ระยะยาวกับผูอ้ นื่ ‘ลงทุน’ โดยหวังผลตอบแทนในอนาคต และดูแลรักษาถ้าไม่ต้องการให้ร่อยหรอ แต่ลักษณะสำ�คัญของทุนทางสังคมที่ทำ�ให้มันแตกต่างจากทุนชนิดอื่น ที่สุดคือ ทุนทางสังคมเป็น ‘ทรัพยากรร่วม’ (commons) ของคนในกลุ่ม ที่ไม่อาจโอนย้ายข้ามกลุ่ม และดังนั้นจึงไม่อาจมีใครคนใดคนหนึ่งครอบ ครองเป็นเจ้าของหรือนำ�ไปแลกเปลี่ยนในตลาด” เนื่องจากทุนทางสังคมยังมีค่อนข้างมากในชุมชนที่สมาชิกยัง ไปมาหาสู่กัน สถาบันไมโครไฟแนนซ์หลายแห่งจึงสร้างกฎกติกาที่ใช้ ทุนชนิดนีเ้ ป็นเครือ่ งมือบริหารจัดการความเสีย่ งและชดเชยหลักประกัน 192 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 192

3/20/11 8:35 PM


เช่น ผูป้ ระสงค์จะขอสินเชือ่ จะต้องขอเป็นกลุม่ มีสมาชิกไม่ตาํ่ กว่า 5 คน ถ้ามีสมาชิกคนใดคนหนึง่ ผิดนัดชำ�ระหนี้ สมาชิกทีเ่ หลือก็จะไม่ได้รบั การ อนุมตั สิ นิ เชือ่ ก้อนใหม่จนกว่าสมาชิกทีผ่ ดิ นัดจะชำ�ระคืน เท่ากับสร้างแรง จูงใจให้สมาชิกกวดขันกันเองภายในกลุ่ม เนือ่ งจากทุนทางสังคมเป็นทัง้ เป้าหมาย (สร้างความสามัคคีและ ความรักใคร่กลมเกลียวในชุมชน) และกลไกการบริหารจัดการ (ให้คน รู้จักช่วยติดตามหนี้) ของสถาบันไมโครไฟแนนซ์ เป้าหมายของสถาบัน หลายแห่งจึงครอบคลุมการส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยเพิ่มพูนทุน ทางสังคม เช่น จัดสรรกำ�ไรส่วนหนึง่ ไปสนับสนุนพิธกี รรมทางศาสนาใน ชุมชน และลงทุนในกิจการหรือโครงการทีช่ าวบ้านบริหารจัดการร่วมกัน เช่น วิสาหกิจชุมชน ป่าชุมชน ฯลฯ ประเทศไทยถึงแม้ว่าจะยังไม่ปรากฏสถาบันไมโครไฟแนนซ์ ที่ขยายกิจการจนครอบคลุมทั่วประเทศ กลุ่มการเงินชุมชนที่ประสบ ความสำ�เร็จเป็นที่ยอมรับจนมีคนมาดูงานและนำ�แนวคิดไปขยายผล ในจังหวัดอืน่ ก็มจี �ำ นวนไม่นอ้ ย ทีน่ า่ สนใจคือความสำ�เร็จของกลุม่ เหล่านี้ ส่วนหนึ่งตั้งอยู่บนความสามารถในการขับเคลื่อนและเสริมสร้างทุนทาง สังคม งานวิจยั เรือ่ ง “โครงการศึกษาแนวทางการจัดทำ�เครือ่ งมือประเมิน ตนเองขององค์กรการเงินชุมชนฐานรากเพื่อเพิ่มขีดความสามารถใน การจัดการเศรษฐกิจชุมชน” โดย รศ.ดร. ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ จาก คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะ ซึง่ ผูเ้ ขียนได้รบั เกียรติรว่ มเป็นหนึง่ ในสมาชิก29 สรุปบทบาทของทุนทางสังคมในการเงิน ชุมชนไทยไว้ว่า – “[นักการเงินชุมชนชั้นนำ� อาทิ] ครูชบ ยอดแก้ว พระอาจารย์ สุบนิ ปณีโต ลุงอัมพร ด้วงปาน ...สามารถสร้าง “สถาบัน” บนฐานสังคม ไทยทีน่ กั วิชาการก็ท�ำ ไม่ได้เพราะไม่รจู้ กั และไม่เข้าใจวิธคี ดิ ของชาวบ้าน และวิถีชีวิตของคนจนดีพอ ...“สถาบัน” หมายถึงกติกา กติกานี้คือการ ใช้สัจจะ การออม และหลักการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข รวมถึงการพึ่งตนเอง 193 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 193

3/20/11 8:35 PM


การทำ�ดี เป็นกติกาในการจัดการทางการเงินเพื่อดูแลทุกข์สุขของคนใน ชุมชน โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำ�ประกัน แนวคิดกลุ่มการเงินชุมชน ของไทยจึงมีฐานคิดทางศาสนาและวัฒนธรรม อาศัยการรู้จัก มีข้อมูล เท่าเทียมกันระหว่างผูข้ อกูก้ บั ผูใ้ ห้กู้ ระบบความสัมพันธ์แบบช่วยเหลือ เกื้อกูลระหว่างกันของผู้คนในชุมชนอย่างของไทยทำ�ให้การแก้ปัญหามี ความยืดหยุ่น และมีการพัฒนาของระบบอย่างต่อเนื่องหลากหลายมา ตลอดระยะเวลาประมาณ 30 ปี ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งของสถานการณ์การเงินชุมชนไทย คือความหลากหลายของอุดมการณ์ รูปแบบการบริหารจัดการ และความ เป็นเจ้าของ แกนนำ�กลุ่มธนาคารประชาชนห้วยนํ้าขาว จังหวัดตราด แบ่งกลุม่ องค์กรการเงินชุมชนออกเป็นสามสาย คือ “องค์กรการเงินสาย ประชาชน” หมายถึงประชาชนเป็นผู้ก่อตั้ง “องค์การการเงินสายพระ” หมายถึงเครือข่ายกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ที่ริเริ่มโดยพระอาจารย์สุบิน ปณีโต จังหวัดตราดเมื่อกว่า 20 ปีก่อน และกองทุนหมู่บ้านหรือกองทุน เงินล้านเป็น “องค์กรการเงินสายรัฐ” สิง่ ทีน่ า่ สนใจคือ สามแนวทางนีม้ พี นื้ ฐานการคิดทีต่ า่ งกัน สายรัฐ ใช้การออมเป็นเงือ่ นไขของการเข้ามาเป็นสมาชิกเพือ่ มีสทิ ธิในการกูแ้ ละ วัดความสำ�เร็จทีก่ ารคืนเงินกู้ สายพระใช้เงินเป็นเครือ่ งมือของการพัฒนา คน การออมสมํ่าเสมอเป็นสัจจะ ใช้ความดีของตัวเองเป็นหลักประกัน และเป็นเงื่อนไขในการได้กู้ สอดแทรกคุณธรรมไว้ในกระบวนการกลุ่ม ส่วนสายประชาชนมีหลากหลายตั้งแต่ใกล้สายวัดไปจนถึงใกล้สายรัฐ แล้วแต่ว่ากลุ่มจะมีอุดมการณ์และการทำ�งานเข้มข้นทางความคิดมาก น้อยอย่างไร การมีกองทุนหมู่บ้านซ้อนขึ้นมาในพื้นที่ที่มีกลุ่มสายพระหรือ สายประชาชนที่ มี ก ติ ก าเคร่ ง ครั ด จะประสบปั ญ หาเพราะจะทำ � ให้ มี มาตรฐานทีเ่ ป็นเงือ่ นไขในการกูย้ มื สองระดับ เช่น สมาชิกทีเ่ คยต้องรักษา คุณธรรมหรือรักษาสิง่ แวดล้อมไม่จบั ปลาในฤดูวางไข่เพือ่ ให้มสี ทิ ธิในการ 194 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 194

3/20/11 8:35 PM


กู้ก็สามารถหันไปกู้ยืมจากกองทุนหมู่บ้านได้โดยไม่จำ �เป็นที่จะรักษา กติกาชุมชนอีกต่อไป” พระอาจารย์สบุ นิ ปณีโต “พระนักการเงินชุมชน” ผูร้ เิ ริม่ เครือข่าย กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ที่จังหวัดตราดจนประสบความสำ�เร็จ อธิบาย แนวคิดการใช้การเงินชุมชนเป็น “เครือ่ งมือ” ในการพัฒนา ไว้อย่างน่าคิด ในวงเสวนาเรื่องการเงินชุมชนว่า – “จริงๆ ถามว่าถ้าเราจะทำ�ให้ชุมชนอยู่รอด เพียงเงินที่มีอยู่ใน ชุมชน อาตมาเชื่อว่ามันไม่พอหรอก เพราะตอนนี้ไปดูแลแต่ละชุมชน มี หนี้สถาบันการเงิน 20 ล้านบ้าง 40 ล้านบ้าง กับเงินนอกระบบอีกที่ยัง ไม่ได้คดิ เงินทีเ่ ราออมขณะนีม้ นั ยังไม่พอ เพียงแต่ตอนนีข้ าดการจัดการ การจัดการทีด่ ตี อ้ งมองปัญหาในชุมชนแล้วเสนอปัญหาของชุมชนออกมา ให้ลกุ ขึน้ มาจัดการเอง ด้วยทุนของตัวเอง พยายามให้ไปลองฝึกทำ�ธุรกิจ ด้วยการซื้อผลผลิตของตัวเขาเอง ด้วยทุนของเขาเอง หรือไปไถ่ถอน ที่จากธนาคารที่ยึดไปจากชุมชน ธนาคารยึด ธ.ก.ส.ยึด สหกรณ์ยึด ให้กลุม่ ไปไถ่ออกมา เสร็จแล้วก็ไปจัดสรรให้แก่ชมุ ชน คนไหนทีไ่ ม่มที อี่ ยู่ ก็ไปผ่อนเอา ...ต้องใช้ทุนของพวกเขา ให้เขารู้ เกิดความรักชุมชนให้ได้ อาตมาก็ใช้วิธีสวัสดิการเป็นเครื่องมือ” ความสำ � คั ญ ของทุ น ทางสั ง คมในสถาบั น ไมโครไฟแนนซ์ ต่างประเทศและการเงินชุมชนไทยที่ประสบความสำ�เร็จ เป็นสิ่งที่นัก เศรษฐศาสตร์กระแสหลักไม่เหลียวแลเท่าที่ควรแต่นักเศรษฐศาสตร์ พัฒนาและนักเศรษฐศาสตร์สถาบันศึกษามานานแล้ว คุณูปการของ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลคนล่าสุดคือ เอลินอร์ ออสตรอม (Elinor Ostrom) คือการพิสูจน์ให้เห็นจากการวิจัยชุมชนทั่วโลกว่า การบริหาร จัดการสาธารณสมบัติ (common property หมายถึงทรัพยากรที่คนใช้ ร่วมกัน อาทิ บ่อนํ้า ป่าไม้) ในทางที่ยั่งยืนนั้น ไม่จำ�เป็นจะต้องใช้กลไก ตลาด (ให้กรรมสิทธิเ์ อกชนเพือ่ สร้างแรงจูงใจให้ดแู ล) หรือกลไกรัฐ (ออก กฎหมายคุ้มครองหรือให้รัฐบริหารจัดการเอง) หรือส่วนผสมของตลาด 195 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 195

3/20/11 8:35 PM


และรัฐ แต่ยังสามารถใช้กลไกชุมชน คือให้ชุมชนบริหารจัดการร่วมกัน โดยไม่ตอ้ งให้รฐั ออกกฎเกณฑ์หรือยกกรรมสิทธิใ์ ห้ใครคนใดคนหนึง่ เป็น เจ้าของ ออสตรอมชี้ให้เห็นว่า ความสำ�เร็จของการให้ชุมชนร่วมกัน บริหารจัดการทรัพยากรด้วยตัวเองนั้น ขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของ “สถาบัน” ในชุมชน ซึ่งหมายรวมทั้งความเหมาะสมของกฎกติกา และ ระดับทุนทางสังคมด้วย เพราะถ้าชุมชนมีทนุ ทางสังคมตํา่ แปลว่าสมาชิก ไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน ไม่สามัคคีกัน คนส่วนใหญ่ก็จะไม่เคารพกฎกติกา ทีต่ กลงกันไว้ ทำ�ให้กฎกติกาถึงแม้จะมีและสอดคล้องกับสภาพทรัพยากร แต่กอ็ าจใช้การไม่ได้จริง มีคนละเมิดมากกว่าคนคอยดูแลรักษา ทรัพยากร ร่อยหรอลงไปเรื่อยๆ จนหมดสิ้น กลายเป็นภาวะที่นักเศรษฐศาสตร์ ขนานนามว่า “โศกนาฏกรรมสาธารณสมบัต”ิ (tragedy of the commons) ในชนบททุกประเทศและทุกวัฒนธรรมทีส่ ถาบันไมโครไฟแนนซ์ และกลุ่มการเงินชุมชนทำ�งาน ทุนทางสังคมมีบทบาทและความสำ�คัญ มากกว่าทุนเงินตรา เพราะยิ่งสมาชิกในชุมชนมีเงินน้อยเท่าไร ก็ยิ่งต้อง สมัครสมานสามัคคีและช่วยเหลือเจือจานกัน โดยเฉพาะในเมือ่ ทรัพยากร ทีจ่ �ำ เป็นต่อการดำ�รงชีวติ ในชนบทมักเป็นสาธารณสมบัตทิ ไี่ ม่ได้เป็นของ ใครคนใดคนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ คูคลอง ฯลฯ สถาบันไมโครไฟแนนซ์และกลุ่มการเงินชุมชนไทยที่ประสบ ความสำ�เร็จ ล้วนเล็งเห็นความสำ�คัญของการใช้เงินเป็น “เครื่องมือ” ในการขับเคลื่อนและเสริมสร้างทุนทางสังคม เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้าน พัฒนาตนเองและอนุรกั ษ์ทรัพยากรให้ถงึ มือลูกหลาน ไม่ใช่คดิ แต่จะหาวิธี หมุนเงิน มองเห็นแต่ทุนเงินตราจนปล่อยให้ทุนชนิดอื่นร่อยหรอลงจน หมดสิ้น. *สำ�นักพิมพ์โอเพ่นบุ๊คส์และสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ จัดพิมพ์ 196 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 196

3/20/11 8:35 PM


ทักษะ ความรู้ และวิธีจัดการของกลุ่มการเงินชุมชน: ข้อคิดจากการลงพื้นที่

หลังจากที่ทำ�ให้คนไทยทั้งประเทศหายใจไม่ทั่วท้องนานกว่าสอง เดือน ในทีส่ ดุ การชุมนุมปี 2553 ของกลุม่ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อ ต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ก็ได้จบลงอย่างเศร้าสลดในวันที่ 19 พฤษภาคม ด้วยความตายของผูช้ มุ นุมรวมแปดสิบกว่าชีวติ ตลอด ระยะเวลาการชุมนุม รวม 6 ชีวิตที่ตายในเขตอภัยทานของวัด ปทุมวนารามในวันสุดท้าย ตลอดจนอาคารร้านค้าที่วอดวาย ในเปลวเพลิงอันเกิดจากส่วนผสมระหว่างความแค้นของผู้ชุมนุม ความเยือกเย็นของนักก่อวินาศกรรมมืออาชีพ ประกอบกับอาการ “เกียร์ว่าง” อย่างน่าเกลียดของเจ้าหน้าที่ต�ำ รวจจำ�นวนมากที่ยืน มองความวินาศเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา 197 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 197

3/20/11 8:35 PM


การชุมนุมจบลงไปแล้ว แต่ความขัดแย้งในสังคมไทยยังไม่มี ที ท่ า ว่ า จะสิ้ น สุ ด ลง และสาเหตุ ใ หญ่ ที่ มั น จะยั ง ไม่ สิ้ น สุ ด ไปอี ก นาน นอกเหนือจากประเด็นการแย่งชิงอำ�นาจทางการเมือง ก็คือข้อเท็จจริง ทีว่ า่ ความเหลือ่ มลํา้ และความไม่เป็นธรรมในสังคมไทยนัน้ มีจริงและมีมา นานแล้ว และถึงเวลาที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ปัญหาความเหลื่อมลํ้าและไม่เป็นธรรมก็เหมือนกับปัญหาใหญ่ ปัญหาอืน่ ในปัจจุบนั ตรงที่ “วิธแี ก้” เป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งใช้เวลา ความรู้ ความ สามารถ และการมีสว่ นร่วม แต่ตราบใดทีเ่ รายังไม่ถกกันเรือ่ งวิธแี ก้อย่าง จริงจัง เราก็ไม่มีวันแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน เพราะวิธีแก้เดิมๆ หลายวิธี ใช้การไม่ได้แล้ว แต่คนส่วนใหญ่ยงั ไม่รู้ หรือรูแ้ ต่ยงั ใช้ตอ่ ไปเพราะนึกว่า ไม่มีวิธีอื่นที่ดีกว่า “วิธีแก้เดิมๆ” วิธีหนึ่งที่ใช้การไม่ได้อีกต่อไปแล้ว คือความ พยายามที่จะแก้ปัญหาระดับชุมชนแบบ “จากบนลงล่าง” คือเอารัฐบาล กลางเป็นศูนย์กลาง แต่งตัง้ คณะกรรมการอะไรสักอย่างขึน้ มาเขียนแผน กลยุทธ์ทฟี่ งั ดูสวยหรู แต่มปี ระสิทธิผลตํา่ มากในทางปฏิบตั ิ เพราะมักจะ เขียนจากหอคอยงาช้างโดยปราศจากความเข้าใจในบริบทของท้องถิ่น เต็มไปด้วยเป้าหมายลอยๆ ที่ไร้กลไกการตรวจสอบติดตามผลและ ตัวชีว้ ดั ทีเ่ ป็นรูปธรรม และมีความเสีย่ งทีจ่ ะถูกนักการเมืองและข้าราชการ แต่ละระดับ “ชักหัวคิว” ระหว่างทางจนแทบไม่มีอะไรตกถึงมือชาวบ้าน หรือไม่เช่นนั้นก็ท�ำ ให้ชาวบ้านต้องพึ่งพานักการเมืองหรือข้าราชการไป เรื่อยๆ เพราะนโยบายรัฐให้ความสำ�คัญกับเม็ดเงินที่ตอกลิ่มการพึ่งพา มากกว่าศักยภาพในการพึ่งพาตนเองของชาวบ้าน วิ ก ฤตทางการเมื อ งรอบนี้ จึ ง ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ความสำ � คั ญ ของการ “ปลดแอก” ชาวบ้านออกจากอำ�นาจของนักการเมืองระดับชาติและระบบ ราชการส่วนกลาง และเผยความสำ�คัญของ “การพัฒนาอย่างยัง่ ยืน” ซึง่ มีแนวคิดการพัฒนาจากฐานรากเป็นหัวใจสำ�คัญ ผู้ เ ขี ย นหวั ง ว่ า วิ ก ฤตครั้ ง นี้ จ ะช่ ว ยให้ ป ราชญ์ ช าวบ้ า นและผู้ เชี่ยวชาญหลายท่านที่อุทิศตนให้กับการพัฒนาจากฐานรากมายาวนาน 198 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 198

3/20/11 8:35 PM


ได้รับความสนใจจากสังคมในวงกว้างเสียที ผู้เขียนมีความรู้เรื่องนี้เพียง แค่หางอึง่ แต่อยากแลกเปลีย่ นข้อสังเกตและข้อคิดบางประการจากภาค สนาม หลังจากที่ได้ทำ�วิจัยในโครงการชื่อ “โครงการศึกษาและจัดทำ� เครื่องมือประเมินตนเองขององค์กรการเงินฐานรากเพื่อเพิ่มขีดความ สามารถในการจัดการการเงินและสวัสดิการชุมชน” ร่วมกับอาจารย์หลาย ท่านมานานกว่า 1 ปีแล้ว (ปัจจุบันโครงการดังกล่าวอยู่ในระยะที่สอง) 1. ชาวบ้านสมัยนีไ้ ม่ได้ “โง่” เพียงแต่ไม่พดู ภาษาที่ “ผูม้ กี ารศึกษา” คุ้นเคย และขาดทักษะการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ ผู้เขียนคิดว่านักวิชาการและคนทั่วไปจำ�นวนมากที่ภูมิใจว่า ตน “มีการศึกษา” (ในความหมายทีต่ นื้ เขินคือจบปริญญาตรีเป็นอย่างตํา่ ) ยังไปไม่พน้ มายาคติทวี่ า่ ชาวบ้านจนเพราะโง่ และดังนัน้ จึงเจ็บตัวซํา้ ซาก (เรียกสั้นๆ ว่าวงจรอุบาทว์ “โง่-จน-เจ็บ”) ผูเ้ ขียนเคยเชือ่ อย่างนัน้ เหมือนกัน จนกระทัง่ ได้คอ่ ยๆ เรียนรูว้ า่ ความเชื่อนี้เป็นมายาคติที่ไม่สอดคล้องกับความจริง นอกจากจะผิดแล้ว ยังเป็นอันตรายด้วย เพราะอาจทำ�ให้นักวิชาการ เจ้าหน้าที่รัฐ หรือใคร ก็ตามที่ถือตัวว่า “ฉลาด” กว่าชาวบ้าน แนะนำ�วิธีแก้ปัญหาที่ใช้ไม่ได้ เพราะไม่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นและไม่ต่อยอดจากฐานความรู้ ของชุมชน ยกตัวอย่างเช่น ตอนทีล่ งพืน้ ทีไ่ ปศึกษากลุม่ การเงินชุมชนแห่ง หนึ่งในนครศรีธรรมราช ผู้เขียนรู้สึกอึดอัดปนรำ�คาญที่เห็นชาวบ้านลง บัญชีไม่ถกู ต้องตามหลักบัญชีสากล และหลายรายการก็ดจู ะยุง่ ยากหรือ เยิน่ เย้อเกินความจำ�เป็น เช่น แยกบัญชีกองทุนสวัสดิการออกมาต่างหาก จากบัญชีกลุ่มออมทรัพย์ ต่อเมื่อผู้เขียนตั้งใจฟังเขาอธิบายหลายรอบ ถึงได้เข้าใจว่า ที่เขาลงบัญชีแบบนั้นมีเหตุผล คือตั้งใจจะ “กัน” ผลกำ�ไร ส่วนใหญ่ไปเข้ากองทุนสวัสดิการ เพราะกลุม่ นีเ้ น้นการจัดสวัสดิการให้กบั สมาชิกมากกว่าปล่อยสินเชื่อ ถ้าเขาไม่ลงบัญชีแยกกันแบบนี้ ชาวบ้าน ทีเ่ ป็นสมาชิกอาจเรียกร้องให้จา่ ยเงินปันผลมากกว่าทีเ่ ขาจ่ายจริง เพราะ 199 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 199

3/20/11 8:35 PM


จะมองเห็นกำ�ไรก้อนโตทุกปี ถ้าผู้เขียนยึดติดกับความเชื่อผิดๆ ที่ว่าชาวบ้านโง่ และไม่ พยายามเข้าใจเหตุผลของเขาก่อน ผูเ้ ขียนในฐานะ “ผูเ้ ชีย่ วชาญทางการ เงิน” (ในสายตาของชาวบ้าน) ก็คงแนะนำ�ให้กลุ่มนี้เปลี่ยนวิธีลงบัญชี เสียใหม่ให้ถกู ต้องตามหลักสากล และถ้าคณะกรรมการกลุม่ ทำ�ตาม กลุม่ นี้ ก็จะมีบญ ั ชีทนี่ กั บัญชีอา่ นรูเ้ รือ่ งและสบายใจ แต่อาจประสบปัญหาจ่ายเงิน ปันผลมากเกินไปเพราะสมาชิกมองเห็นกำ�ไรที่ชัดเจน กลายเป็นว่า ได้อย่างเสียอย่าง การอดทนทำ � ความเข้ า ใจกั บ กลุ่ ม และไม่ ทึ ก ทั ก เอาเองว่ า ชาวบ้านโง่ ทำ�ให้เรามองเห็นประโยชน์ของ “เทคนิค” การทำ�บัญชีแบบ ชาวบ้านในแง่ของการบริหารจัดการความต้องการของสมาชิก เมื่อมอง เห็นแล้วก็สามารถช่วยชาวบ้านคิดหาวิธปี รับปรุงรูปแบบของการลงบัญชี ให้อา่ นง่ายและตรวจสอบง่ายกว่าเดิม แทนทีจ่ ะแนะให้เขาเปลีย่ นวิธกี าร ลงบัญชีใหม่หมด ตัวอย่างนี้สอนให้รู้ว่า ทั้งชาวบ้านและผู้เชี่ยวชาญต่างมีสิ่งที่รู้ และไม่รู้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ผู้เชี่ยวชาญมักจะรู้หลักการ แต่ไม่รู้บริบท ของท้องถิน่ เช่น ลักษณะความสัมพันธ์ในชุมชน ส่วนชาวบ้านมักจะไม่รู้ หลักการใดๆ แต่รู้และเข้าใจบริบทของท้องถิ่นตัวเองเป็นอย่างดี ในเมื่อ ทัง้ สองฝ่ายต่างมีสงิ่ ทีต่ วั เอง “โง่” ก็จะต้องปรับความเข้าใจกัน ผูเ้ ชีย่ วชาญ จะแนะนำ�อะไรก็ควรจะเข้าใจภาษาของชาวบ้านก่อน จะได้ช่วยต่อยอด จากฐานความรู้ของชาวบ้านที่ใช้การได้ดีแล้วระดับหนึ่ง ไม่ใช่บอกให้ โยนทิ้งไปทั้งหมดเพราะไม่ตรงกับองค์ความรู้ในหอคอยงาช้าง 2. “เงิน” ไม่ใช่ทรัพยากรที่กลุ่มต้องการที่สุด ตัวอย่างข้างต้นนอกจากจะชีใ้ ห้เห็นลักษณะความ “ฉลาด” ของ ภูมิปัญญาชาวบ้านแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นว่าเงินมักจะไม่ใช่ทรัพยากรที่ สำ�คัญที่สุดในการจัดการกลุ่มการเงินชุมชน โดยเฉพาะในการยกระดับ การจัดการให้เป็นระบบและมีความเป็น “สถาบัน” มากกว่าเดิม แทนที่ 200 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 200

3/20/11 8:35 PM


การพึ่งพาตัวบุคคล เช่น ผู้ใหญ่บ้านที่ริเริ่มแนวคิด ทั้งนี้ เนื่องจาก “นักการเงินชาวบ้าน” หลายท่านเข้าใจหลักการบริหารจัดการเงินกู้ เงินฝาก และสวัสดิการได้โดยสัญชาตญาณและสามัญสำ�นึก อาศัยการ ลองผิดลองถูกเพียงเล็กน้อย คือมี “แวว” ด้านนี้อยู่แล้ว ทีช่ ยั นาท เหรัญญิกกลุม่ การเงินชุมชนท่านหนึง่ ทีจ่ บ ป.4 สาธิต วิธีคำ�นวณเงินปันผลตามเดือนที่รับฝากเงินให้ผู้เขียนดู อธิบายว่าคิดว่า ต้ อ งใช้ สั ด ส่ ว นทำ � นองนี้ เ พราะรู้ สึ ก ว่ า คนที่ นำ � เงิ น มาฝากในเดื อ น พฤศจิกายนปีที่แล้วไม่ควรจะได้รับเงินปันผลเท่ากับอีกคนที่นำ�เงิน จำ�นวนเดียวกันมาฝากตั้งแต่เดือนเมษายนปีที่แล้ว (กลุ่มเพิ่งจ่ายเงิน ปันผลในเดือนมกราคมปีนี้) แน่นอนว่าสิ่งที่เหรัญญิกท่านนี้พยายาม อธิบายคือ หลักการคำ�นวณตามส่วน (pro rata) สิง่ ทีน่ า่ ทึง่ คือท่านสามารถ ค้นพบหลักการนี้ได้เองจากความรู้สึกตะหงิดใจที่ว่าสมาชิกที่ฝากเงิน ไม่พร้อมกันไม่ควรได้รับเงินปันผลเท่ากัน ตัวอย่างเล็กๆ นี้สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มการเงินชุมชนไทยที่ ประสบความสำ�เร็จค่อนข้างดีในแง่ของการบริหารจัดการเงินกู้ เงินฝาก และสวัสดิการ เป็นเวลาเกิน 1 ทศวรรษมาแล้วนัน้ ส่วนใหญ่มี “นักการเงิน ชาวบ้าน” ที่มีสัญชาตญาณของนักการเงิน บริหารจัดการเงินของกลุ่ม ได้ดแี ล้วระดับหนึง่ และมีกฎเกณฑ์กติกาทีต่ อบสนองความต้องการของ สมาชิกได้ สิง่ ทีพ่ วกเขาต้องการเพือ่ ยกระดับตัวเองจึงไม่ใช่เงิน หากเป็น ทรัพยากรอื่นๆ ที่หายากในระดับท้องถิ่น เช่น ระบบบัญชีที่รัดกุมและ ตรวจสอบได้ ความรูแ้ ละเครือ่ งมือทีจ่ ะช่วยวางแผนทางการเงิน (หมายถึง การวางแผนเพื่ออนาคตของกลุ่ม) ตลอดจนวิธีคิดเกี่ยวกับการวัดผล ตอบแทนทางสังคม เช่น คุณภาพชีวติ ของสมาชิก ความมัน่ คงของชุมชน สุขภาพแข็งแรง ซึ่งเป็นเป้าหมายสำ �คัญขององค์กรการเงินฐานราก จำ�นวนมาก แต่ส่วนใหญ่ยังขาดแนวทางในการวัดและติดตามผล 3. การมีสว่ นร่วมของสมาชิก เป็นหัวใจสำ�คัญขององค์กรการเงิน ชุมชน 201 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 201

3/20/11 8:35 PM


ข้อค้นพบเบือ้ งต้นของทีมวิจยั เราสอดคล้องกับงานวิจยั สถาบัน ไมโครไฟแนนซ์ทวั่ โลกหลายชิน้ ทีร่ ะบุวา่ การมีสว่ นร่วมของคนในชุมชน เป็นปัจจัยแห่งความสำ�เร็จทีส่ �ำ คัญของกลุม่ การเงินชุมชน กลุม่ ทีไ่ ปได้ดี มักจะเป็นกลุม่ ทีส่ มาชิก (ชาวบ้านในหมูบ่ า้ น) มีสว่ นร่วมในการตัดสินใจ ของกลุ่มอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการนำ�กำ�ไรจากกลุ่มการเงินชุมชนไป ลงทุนในสินทรัพย์ของชุมชนเอง หรือนำ�ไปช่วยเหลือผูย้ ากไร้ในหมูบ่ า้ น เพราะถ้าชาวบ้านไม่รู้สึกว่าพวกเขาเป็น “เจ้าของ” กลุ่มการเงินร่วมกัน พวกเขาก็จะไม่มีแรงจูงใจที่จะเลือกตั้งและคอยติดตามการทำ�งานของ คณะกรรมการกลุ่ม และติดตามดูแลลูกหนี้ ทำ�ให้คณะกรรมการอาจ เชิดเงินของชาวบ้านหายไปดื้อๆ หรือปล่อยกู้ให้กับพวกพ้องของตัวเอง เท่านั้น (นี่เป็นปัญหาใหญ่ของกองทุนหมู่บ้านในระยะแรก) 4. “ขนาด” ของสถาบันไม่สำ�คัญเท่ากับการ “ทำ�ซํ้า” องค์กรการเงินชุมชนของไทยที่บริหารจัดการเงินได้ค่อนข้างดี ส่ ว นใหญ่ มี ข นาดเล็ ก คื อ ระดั บ หมู่ บ้ า น มี ส มาชิ ก ไม่ ถึ ง หนึ่ ง พั น คน อย่างมากก็เชื่อมกันหลายกลุ่มเป็นเครือข่ายระดับตำ�บล แลกเปลี่ยน เรียนรูแ้ ละตรวจสอบบัญชีให้แก่กนั และกัน นักการเงินชาวบ้านหลายท่าน บอกพวกเราว่า ไม่ต้องการขยายกิจการ เพราะอยากช่วยคนในหมู่บ้าน ของตัวเองเป็นหลัก ดังนั้นถ้าเราอยากพัฒนาวงการนี้ “ขนาด” อาจไม่ สำ�คัญเท่ากับการสังเคราะห์และ “ถอด” องค์ความรู้ กติกา และกลไกของ กลุ่มที่ประสบความสำ�เร็จออกมาเป็น “โมเดล” ที่กลุ่มอื่นสามารถนำ�ไป “ทำ�ซํ้า” โดยประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทในท้องถิ่นของตัวเอง ถ้านักพัฒนา นักวิชาการ หรือผู้มีอำ�นาจภาครัฐส่วนใหญ่ยัง มัวแต่คิดแบบ “บนลงล่าง” เชื่อว่าตัวเอง “รู้ดี” กว่าชาวบ้าน และเชื่อว่า ทุกโครงการจะต้อง “ใหญ่โต” ชนิดอลังการงานสร้าง ผู้เขียนก็ค่อนข้าง มั่นใจว่าการส่งเสริมการพัฒนาจากฐานรากที่เป็นระบบและยั่งยืนจะยัง อยู่อีกไกลสำ�หรับสังคมไทย. 202 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 202

3/20/11 8:35 PM


ร้านสะดวกซือ้ ไปรษณีย์ และความเสีย่ งของไมโครไฟแนนซ์ไทย

ในเดื อ นพฤศจิ ก ายน 2553 ธนาคารแห่ ง ประเทศไทย (ธปท.) ออกประกาศปรับปรุงหลักเกณฑ์อนุญาตเพิ่มเติม เพิ่มขอบเขต ให้ตัวแทนในการให้บริการทางการเงิน (Banking Agent) ของ ธนาคารพาณิชย์ อาทิ ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น และธนาคารเฉพาะกิจ ของรัฐ สามารถรับฝาก ถอน โอน และชำ�ระเงินได้ไม่ตา่ งจากสาขา ย่อยของธนาคาร ประกาศดังกล่าวของ ธปท. น่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผูม้ รี ายได้นอ้ ยทีอ่ าศัยอยูน่ อกเขตเทศบาล เนือ่ งจาก สาขาของธนาคารพาณิ ช ย์ ล้ ว นอยู่ แ ต่ ใ นเขตเมื อ งหรื อ อำ � เภอใหญ่ ๆ เนื่ อ งจากอยากเน้ น ให้ บ ริ ก ารกั บ ลู ก ค้ า ในเขตเมื อ งที่ ม าทำ � ธุ ร กรรม 203 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 203

3/20/11 8:35 PM


คราวละจำ�นวนมากพอให้ธนาคารพาณิชย์คมุ้ ค่าแก่การลงทุน แต่ธนาคาร เฉพาะกิจของรัฐและร้านสะดวกซื้อมีสาขาจำ�นวนมากที่ครอบคลุมกว่า เพราะเน้นให้บริการผู้มีรายได้น้อยเป็นหลักอยู่แล้ว ช่วยเพิม่ ช่องทางการให้บริการของธนาคาร ให้ประชาชนเข้าถึง ได้มากขึน้ อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะผ่านเครือข่ายร้านเซเว่นฯ ซึง่ มีสาขา กว่า 5,300 แห่งทัว่ ประเทศ ส่วนธนาคารพาณิชย์เองก็นา่ จะมีแรงจูงใจที่ จะแต่งตัง้ ตัวแทน เนือ่ งจากมีตน้ ทุนตํา่ กว่าการเปิดสาขาเองมาก ใช้ระบบ ไอทีของธนาคารได้ อีกทัง้ การทำ�ธุรกรรมทางการเงินง่ายๆ ก็ไม่ตอ้ งอาศัย ความรู้ระดับปริญญาด้านการเงินหรือบัญชี ฝึกพนักงานร้านสะดวกซื้อ เพียงเล็กน้อยก็ทำ�ได้แล้ว อย่างไรก็ดี เงื่อนไขที่จำ�เป็นต่อความสำ�เร็จของนโยบายนี้คือ ธปท. จะต้องกำ�กับดูแลธุรกรรมตัวแทนอย่างรอบคอบ เพื่อกระตุ้นให้ เกิดการแข่งขันที่ “เสรี” และ “เป็นธรรม” ไม่เลือกปฏิบตั ริ ะหว่างธนาคาร ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่ หรือระหว่างธนาคารสัญชาติไทยกับสัญชาติ ต่างด้าว ถ้าหากปล่อยให้ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่นตกลงรับเป็นตัวแทนของ ธนาคารขนาดใหญ่เพียงแห่งเดียว ไม่ยอมเป็นตัวแทนของธนาคารอื่น แม้จะถูกยืน่ เงือ่ นไขเดียวกัน ธนาคารทีจ่ า้ งร้านเซเว่นฯ เป็นตัวแทนก็จะ มีอำ�นาจครองตลาดมหาศาลกว่าธนาคารอื่น (เพราะเท่ากับมีสาขาย่อย เพิม่ อีกกว่า 5,300 สาขา ขณะทีธ่ นาคารไทยพาณิชย์ซงึ่ เป็นธนาคารทีม่ ี สาขาเต็มรูปแบบและสาขาย่อยมากที่สุดยังมีสาขาไม่ถึง 1,000 แห่ง) อำ�นาจครองตลาดที่สูงขึ้นมากของธนาคารแห่งเดียวอาจทำ�ให้ ธนาคารอืน่ แข่งยากขึน้ จนต้องค่อยๆ ทยอยลดขนาด ปิด หรือขายกิจการ ในระยะยาว ซึง่ ถ้าเป็นอย่างนัน้ การแข่งขันระหว่างธนาคารก็จะลดน้อย ถอยลง จนถึงจุดที่ผลประโยชน์สุทธิของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นในระยะแรก (จากการได้เข้าถึงบริการทางการเงินมากกว่าเดิม) แปรเปลีย่ นเป็นผลเสีย สุทธิในระยะยาว (จากการแข่งขันทีล่ ดลงระหว่างธนาคาร ส่งผลให้ “ราคา ตลาด” สูงขึ้นเพราะเหลือธนาคารอยู่ไม่กี่แห่ง) 204 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 204

3/20/11 8:35 PM


การแข่งขันทีเ่ สรีและเป็นธรรมจึงเป็น “รากฐาน” ทีข่ าดไม่ได้ของ ธุรกิจธนาคารที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐและร้านสะดวกซื้อก็ ยังเข้าไม่ถึงประชาชนผู้มีรายได้น้อยในชนบทห่างไกล บุรุษไปรษณีย์ ได้เปรียบกว่ามากเพราะต้องดัน้ ด้นไปส่งจดหมายและพัสดุทกุ วัน ฉะนัน้ ในแง่นี้ แนวคิดของกระทรวงการคลังที่จะก่อตั้ง “ธนาคารไปรษณีย์” เป็นบริษัทลูกของบริษัทไปรษณีย์ไทย ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรีแล้วในเดือนธันวาคม 2553 ก็ฟังดูเป็นแนวคิดที่ดีไม่น้อย ทีจ่ ริงธนาคารไปรษณียไ์ ม่ใช่เรือ่ งใหม่ในโลก ปัจจุบนั มีใน อังกฤษ เยอรมนี ฝรัง่ เศส แอฟริกาใต้ ญีป่ นุ่ เกาหลีใต้ จีน อินเดีย ฟิลปิ ปินส์ บราซิล และอีกหลายประเทศแทบทุกทวีป ประสบการณ์ของต่างประเทศชี้ ให้เห็นว่า กระทรวงการคลังและผูเ้ กีย่ วข้องจะต้องรับมือกับความท้าทาย หลายประการ ก่อนที่ธนาคารไปรษณีย์จะสามารถช่วยเหลือผู้มีรายได้ น้อยได้จริงตามเจตนารมณ์ และความท้าทายเหล่านัน้ ก็เป็น “เงือ่ นไขแห่ง ความสำ�เร็จ” ของธนาคารไปรษณีย์ด้วย เงื่อนไขเหล่านี้ได้แก่ 1) การวางระบบธรรมาภิบาลที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อ ป้องกันการผลาญเงินงบประมาณและป้องกันไม่ให้นกั การเมืองแทรกแซง ปล่อยกู้ทำ�โครงการ “ประชานิยม” ที่มีโอกาสสูงมากว่าจะเป็นหนี้เสีย ทีจ่ ริงรัฐบาลควรกำ�หนดให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐทุกแห่งใช้มาตรฐาน การบัญชีแบบเดียวกันกับธนาคารพาณิชย์ทอี่ ยูใ่ ต้กำ�กับของ ธปท. เพราะ เป็นมาตรฐานทีม่ คี วามโปร่งใสและรัดกุม เช่น บังคับให้ประเมินหนีส้ งสัย จะสูญและกันสำ�รองตามมาตรฐานสากล 2) การวางกระบวนการปล่ อ ยสิ น เชื่ อ และรั บ เงิ น ฝากที่ ไ ด้ มาตรฐาน ซึง่ ต้องอาศัยความร่วมมือจากธนาคารอืน่ ของรัฐ อาทิ ธ.ก.ส. หรือธนาคารออมสิน ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญด้านไมโครไฟแนนซ์ในไทย เนื่องจากไปรษณีย์ไทยไม่มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญด้านการจัดการ สถาบันการเงิน 205 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 205

3/20/11 8:35 PM


มาตรฐานของไมโครไฟแนนซ์นนั้ แตกต่างจากมาตรฐานสถาบัน การเงินกระแสหลักอยูห่ ลายข้อ เนือ่ งจากไมโครไฟแนนซ์เป็น “ธุรกิจเพือ่ สังคม” ทีม่ เี ป้าหมายทางสังคม (ช่วยคนจนให้หายจน) เป็นตัวตัง้ ไม่ใช่เอา กำ�ไรเป็นตัวตั้ง ในเมื่อปัญหา “จริยวิบัติ” (moral hazard เช่น ลูกหนี้ ไม่พยายามชำ�ระคืนหนี้ เพราะมองว่าเดี๋ยวรัฐบาลก็ต้องมายกหนี้ให้) เป็นอุปสรรคสำ�คัญต่อการยกฐานะของลูกหนี้ ธนาคารไปรษณียท์ จี่ ะช่วย ลูกหนี้ได้จริงจึงต้องปล่อยกู้อย่างรอบคอบ และต้องเน้นการจูงใจหรือ บังคับให้ลกู หนีอ้ อม (ฝากเงิน) ไปพร้อมกันด้วย ไม่ใช่ปล่อยกูอ้ ย่างเดียว เพือ่ สร้าง “วินยั ทางการเงิน” ซึง่ เป็นหัวใจสำ�คัญของการช่วยให้ผมู้ รี ายได้ น้อยมองเห็นความสำ�คัญของการออมเพือ่ อนาคต และการบริหารจัดการ เงิน 3) การบริหารให้ธนาคารไปรษณีย์มีความคุ้มทุนและยั่งยืน ไม่ตอ้ งรอรับเงินอุดหนุนจากรัฐอยูร่ าํ่ ไป ซึง่ หมายความว่าธนาคารจะต้อง สามารถคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ ทัว่ ไป (กลุม่ การเงินชุมชนส่วนใหญ่ปจั จุบนั คิดดอกเบีย้ 1-2% ต่อเดือน) ซึง่ ยังตํา่ กว่าหนีน้ อกระบบมาก นอกจากนีย้ งั ต้องหาทางลดต้นทุนในการ ให้บริการให้ตาํ่ กว่าต้นทุนของธนาคารทัว่ ไปหลายเท่า เพือ่ จะได้คมุ้ ทีจ่ ะ ให้บริการแก่ผู้มีรายได้น้อยที่มียอดเงินฝากและเงินกู้ไม่สูงมาก วิธีลดต้นทุนของไมโครไฟแนนซ์ทำ�ได้สองวิธีหลัก วิธีแรกคือ ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะเทคโนโลยีการสื่อสารและ สารสนเทศ เช่น การให้บริการทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ วิธีที่ สองคือใช้ “ทุนทางสังคม” ของชุมชน (อาทิ ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ความสามัคคี ฯลฯ) ในการจัดการความเสีย่ ง แทนทีจ่ ะเรียกหลักประกัน เหมือนธนาคารทั่วไป เพราะผู้มีรายได้น้อยไม่มีสินทรัพย์พอที่จะใช้เป็น หลักประกัน วิธที ไี่ มโครไฟแนนซ์ใช้กนั มากเช่น ขอให้ญาติหรือเพือ่ นของ ลูกหนี้ 2-3 รายมาค้ำ�หนี้หรือค้ำ�ประกันไขว้ (คือผู้ค้ำ�ประกันก็กู้ด้วย) 206 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 206

3/20/11 8:35 PM


ประโยชน์ของการใช้ “ทุนทางสังคม” ของชุมชนช่วยจัดการความ เสีย่ งของธนาคารไปรษณีย์ หมายความว่าธนาคารน่าจะไปทำ�งานร่วมกับ องค์กรการเงินฐานราก (การเงินชุมชน) ทีม่ อี ยูแ่ ล้วนับแสนแห่งทัว่ ประเทศ เนือ่ งจากธนาคารไปรษณียเ์ ป็น “คนนอก” จึงยากทีจ่ ะสะสมทุนทางสังคม ในชุมชน แต่องค์กรการเงินฐานรากที่อยู่มานานนับสิบปีส่วนใหญ่ก่อตั้ง โดยชาวบ้านเพื่อนำ�เงินออมของคนกันเองมาปล่อยกู้และจัดสวัสดิการ คนในชุมชนก็รู้จักกันดีอยู่แล้ว ดังนั้นจึงสามารถสะสมทุนทางสังคมและ ใช้ทุนประเภทนี้ในการจัดการความเสี่ยงได้อย่างคล่องตัวกว่าสถาบัน การเงินจากภายนอก องค์กรการเงินฐานรากในไทยนัน้ มีมากมายหลายรูปแบบ ตัง้ แต่ องค์กรที่ตั้งตามนโยบายรัฐอย่างเช่นกองทุนหมู่บ้าน ไปจนถึงองค์กรที่ ชาวบ้านจัดตั้งกันเองอย่างเช่นสัจจะออมทรัพย์ ธนาคารไปรษณีย์อาจ ปล่อยกูใ้ ห้องค์กรเหล่านีน้ ำ�ไปปล่อยสมาชิกต่อ แทนทีจ่ ะปล่อยกูโ้ ดยตรง ให้กับชาวบ้าน วิธีนี้จะช่วยลดต้นทุนของธนาคารไปรษณีย์ และช่วยให้ องค์กรการเงินฐานรากขยายฐานเงินทุนได้ถ้าต้องการ อย่างไรก็ตาม การทำ�งานวิจัยเรื่องการเงินชุมชนต่อเนื่องกว่า 2 ปี ร่ ว มกั บ อาจารย์ ห ลายท่ า นจากมหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ แ ละ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำ�ให้ผู้เขียนพบว่า เงินทุนมิใช่ปัจจัยสำ�คัญ เพียงปัจจัยเดียวทีอ่ งค์กรการเงินฐานรากของไทยต้องการ และแท้ทจี่ ริง ก็มิใช่ปัจจัยที่สำ�คัญที่สุดด้วย ปัจจัยสำ�คัญทีส่ ดุ ทีอ่ งค์กรการเงินฐานราก หรือ “ไมโครไฟแนนซ์ แบบไทยๆ” ต้องการ คือ การเพิ่มสมรรถภาพ (capacity building) โดยเฉพาะด้านการวางแผนทางการเงินและบริหารจัดการความเสี่ยง และโครงสร้างเชิงสถาบัน โดยเฉพาะระบบบัญชีและระบบการติดตามหนี้ เพือ่ ลดความจำ�เป็นทีจ่ ะต้องพึง่ พิงความสามารถส่วนบุคคล ซึง่ มักจะเป็น ผู้ใหญ่บ้านหรือปราชญ์ชาวบ้านผู้ก่อตั้งกลุ่มการเงินชุมชน แต่ปัจจุบัน ชราภาพเกินกว่าที่จะมาขับเคลื่อนกลุ่มต่อไป 207 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 207

3/20/11 8:35 PM


ปัญหาสำ�คัญที่ทีมวิจัยของเราพบคือ ศักยภาพของหน่วยงาน กำ�กับดูแลยังไม่เพียงพอต่อการดูแลกลุม่ การเงินฐานรากทีม่ จี �ำ นวนมาก ทัง้ การขาดกำ�ลังคนและความเข้าใจด้านการเงินของเจ้าหน้าทีส่ ำ�นักงาน กองทุนหมู่บ้าน (ปัจจุบันเจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องดูแลกองทุนหมู่บ้าน หลายร้อยแห่ง) หรือการที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ซึ่งเป็น พี่เลี้ยงโดยพฤตินัยของกลุ่มที่ทำ�สวัสดิการชุมชน ปัจจุบันมีภาระงาน นอกเหนือจากอำ�นาจหน้าที่มากเกินไป ดังนั้นสิ่งที่รัฐควรจะให้ความ สำ�คัญ คือการเพิ่มศักยภาพให้แก่กลุ่มพี่เลี้ยงในหน่วยงานกำ�กับดูแล ต่างๆ นอกจากปัญหาด้านศักยภาพของพี่เลี้ยง ทีมวิจัยของเรายัง พบว่าองค์กรการเงินฐานรากจำ�นวนมากกำ�ลังเผชิญกับความเสี่ยงที่ สำ�คัญสองประการ ประการแรก กลุ่มที่เน้นการระดมเงินออมเพื่อมาจัด สวัสดิการหลายกลุ่มสุ่มเสี่ยงที่จะประสบปัญหาขาดแคลนเงินในอนาคต จนอาจถึงขั้นล้มละลาย เนื่องจากสมาชิกจำ�นวนมากกำ�ลังเข้าสู่วัยชรา และเงินสวัสดิการที่กลุ่มจ่ายมากที่สุดคือค่าฌาปนกิจ ศพละ 8,00010,000 บาทหรือมากกว่านัน้ ในขณะทีเ่ งินฝากเพิม่ ขึน้ น้อยมากในแต่ละ ปี (ผู้มีรายได้น้อยย่อมมีความสามารถในการออมไม่มาก) และกลุ่มก็ ไม่มรี ายได้จากดอกเบีย้ เงินกูห้ รือการลงทุนมากพอทีจ่ ะชดเชยค่าใช้จา่ ย สวัสดิการ ความเสี่ยงประการที่สองคือ ชาวบ้านที่เป็นกรรมการของกลุ่ม การเงินชุมชนจำ�นวนมากอายุมากแล้ว อยากวางมือแต่ประสบปัญหา ในการดึงดูดหนุม่ สาวผูเ้ ป็นลูกหลานให้มารับช่วงเป็นกรรมการรุน่ ต่อไป เนื่องจากที่ผ่านมาใช้ระบบ “จิตอาสา” มากกว่าการจ่าย “ค่าตอบแทน” ทีท่ ดั เทียมกับค่าจ้างทีห่ นุม่ สาวเหล่านีจ้ ะได้รบั ถ้าไปทำ�งานอย่างอืน่ นอก ชุมชน ปั ญ หาด้ า นศั ก ยภาพและความเสี่ ย งหลั ก ทั้ ง สองประการที่ กล่าวถึงข้างต้นนั้น เป็นประเด็นที่ “เงินอัดฉีด” จากภาครัฐไม่สามารถ 208 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 208

3/20/11 8:35 PM


แก้ไขได้ และผู้เขียนคิดว่าโครงการ “หมอหนี้” ที่กระทรวงการคลัง ประกาศก็จะช่วยได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากใช้อาสาสมัครจาก ชุมชนเป็นหลัก ทำ�ให้เสี่ยงที่จะเกิดภาวะ “เตี้ยอุ้มค่อม” คือหมอหนี้ ไม่ได้รู้ดีไปกว่าคนไข้เท่าไรนัก วิธแี ก้ปญ ั หาและบรรเทาความเสีย่ งในวงการไมโครไฟแนนซ์ไทย ที่ภาครัฐควรมีบทบาทนำ� ได้แก่ การปรับปรุงศักยภาพของหน่วยงาน กำ�กับดูแลต่างๆ, การเพิ่มสมรรถภาพ (capacity building) ขององค์กร การเงินฐานราก โดยเฉพาะทักษะการวางแผนทางการเงิน ตลอดจน การวาง “โครงสร้างเชิงสถาบัน” ต่างๆ ทีจ่ ำ�เป็น โดยเฉพาะระบบบัญชีที่ ถูกต้องและใช้การได้.

209 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 209

3/20/11 8:35 PM


ที่มาเว็บไซต์

210 การเงินปฏิวัติ

revolfinance.indd 210

3/20/11 8:35 PM


http://www.propublica.org/series/the-wall-street-money-machine http://www.huffingtonpost.com/pablo-triana/president-obama-please-ki_b_220723.html 3 อ่านฉบับเต็มได้จาก http://www.theamericanscholar.org/ 4 จากหน้า http://www.wikinvest.com/wiki/Front-running 5 http://www.unglobalcompact.org/ 6 http://www.triodos.com/ 7 http://www.odemagazine.com/doc/30/banking_on_change/ 8 http://www.asiaiix.com/ 9 www.shareholderaction.org 10 ติดตามความคืบหน้าได้จากเว็บไซต์ http://greencenturyfund.org/ 11 http://www.hipinvestor.com/for-investors/hip100portfolio/ 12 https://www.cdproject.net/ 13 http://www.waterhealth.com/ 14 http://www.rippleeffectglobal.com/ 15 อ่านออนไลน์ได้ที่ http://www.mckinseyquarterly.com 16 http://en.fininnov.org/ 17 http://www.resultsfordevelopment.org 18 http://www.babyloan.org 19 http://www.iiec.org/ 20 http://www.grameenfoundation.org/ 21 http://www.ifpri.org/) 22 http://www.nyalainsurance.com/ 23 http://www.onopen.com/2007/01/2021 24 ดูรายละเอียดได้ที่ http://en.fininnov.org/main.php?page=laureat 25 http://www.safaricom.co.ke/ 26 http://www.faulukenya.com/ 27 http://www.equitybank.co.ke/ 28 http://www.rackspace.com/ 29 ดาวน์โหลดรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ได้ที่บล็อกส่วนตัวของผู้เขียน – http://www.fringer.org/ 1 2

211 สฤณี อาชวานันทกุล

revolfinance.indd 211

3/20/11 8:35 PM


revolfinance.indd 212

3/20/11 8:35 PM


revolfinance.indd 213

3/20/11 8:35 PM


revolfinance.indd 214

3/20/11 8:35 PM


revolfinance.indd 215

3/20/11 8:35 PM


revolfinance.indd 216

3/20/11 8:35 PM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.