สไลด์นำเสนอผลการศึกษา “โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม"

Page 1

โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการเพื่อสังคม และจัดทากรณีศึกษานาร่อง SOCIAL IMPACT ASSESSMENT RESEARCH DEVELOPMENT SYSTEM AND PILOT CASES

สรุปข้อค้นพบจากงานวิจัย โดย สฤณี อาชวานันทกุล 19 ธันวาคม 2560


ป่าสาละคือใคร?

“Sustainable Business Accelerator” ป่าสาละเป็นบริษัท “ปลูกธุรกิจที่ยั่งยืน” แห่งแรกในประเทศไทย เป้าหมายของเราคือ จุดประกายและดาเนินวาทกรรมสาธารณะเกี่ยวกับธุรกิจที่ยั่งยืน ผ่านการจัดสัมมนา อบรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และออนไลน์ รวมทั้งผลิตงานวิจัยใน ประเด็นความยั่งยืนในประเทศไทย และส่งเสริมการวัดผลลัพธ์ทางสังคม 2


บริการของป่าสาละ อบรม

การเผยแพร่ ความรู้เกี่ยวกับ ธุรกิจที่ยั่งยืน

หนังสือ

Study Tour

วิจัย

การสร้างความรู้ เกี่ยวกับธุรกิจที่ ยั่งยืน

การสร้าง เครือข่าย เกี่ยวกับธุรกิจที่ ยั่งยืน

วางระบบ ประเมิน ผลลัพธ์

สัมมนา 3


วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย 1. ศึกษาหลักการ เครื่องมือ และบทบาทของการประเมินผลลัพธ์ทาง สังคมในต่างประเทศสาหรับกิจการเพื่อสังคม 2. พัฒนาชุดความรู้เกี่ยวกับการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมในบริบทของ ประเทศไทยสาหรับกิจการเพื่อสังคม 3. พัฒนาบุคลากรและเครือข่ายนักวิจัยด้านการประเมินผลลัพธ์ทาง สังคมสาหรับกิจการเพื่อสังคม

4


คณะวิจยั บริษัท ป่าสาละ จากัด วรรณกรรมปริทัศน์

ทดลองประเมิน: กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วัดไผ่ล้อม

อ.ชัญญา ปัญญากาพล

อ.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล

อ.รัชฎาพร วิสุทธากร

รศ. ดร. ธนัญญา วสุศรี อ. ดร. นันทนา อุดมกิจ

วิทยาลัยโลกคดีศึกษาและ การประกอบการสังคม (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี สาขาวิชา เทคโนโลยีการจัดการ

บัณฑิตวิทยาลัยการ จัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี

Learn Education

Local Alike

ร้านคนจับปลา (Fisher Folk)

มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อ คนพิการ

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

GreenNet

5


ขั้นตอนการดาเนินโครงการ การศึกษาทบทวนวรรณกรรม หลักการ เครื่องมือ และ บทบาทของการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมในต่างประเทศ สาหรับกิจการเพื่อสังคม การสังเคราะห์กรณีศึกษา การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม สาหรับกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย 6 แห่ง ร่วมกับ ทีมอาจารย์จาก 5 สถาบัน การปรับปรุงคู่มือ “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและ ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน”

6


สรุปวรรณกรรมปริทัศน์


นิยาม “ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ” (CSR) • นโยบาย “กระแสหลัก” หรือ “มาตรฐานสากล” ของซีเอสอาร์ยังไม่มีอยู่จริง ถึงแม้จะมีความพยายามจากหลายฝ่ายทีจ่ ะพัฒนาและส่งเสริมมาตรฐานซี เอสอาร์ เนื่องจากฐานคิดตั้งอยู่บน ความสมัครใจ คาอธิบายความหมายจาก นักวิชาการหรือองค์กรต่างๆ CSR จึงแตกต่างกันออกไป • สังคมอาจมองด้วยความหวาดระแวงว่าซีเอสอาร์เป็นเพียงกิจกรรม ประชาสัมพันธ์หรือการเบี่ยงเบนความสนใจออกจากผลกระทบเชิงลบที่บริษัท สร้าง แต่ถ้าหากบริษัทกาหนดนโยบายซีเอสอาร์และดาเนินตามนโยบายดังกล่าว อย่างจริงจัง ซีเอสอาร์ก็ช่วยเพิ่มมูลค่าของกิจการได้ (Broomhill, 2007) • ซีเอสอาร์ หมายถึง “ความทุ่มเทอย่างต่อเนื่องของธุรกิจทีจ่ ะมีส่วนสร้างการ พัฒนาเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันก็ปรับปรุงคุณภาพชีวติ ของบุคลากรและครอบครัว ตลอดจนคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคมส่วนรวม” (WBCSD, 1998) 9


“ปิระมิดซีเอสอาร์” (Carroll, 1991)

ความรับผิดชอบเชิงการกุศล (เป็นพลเมืองดีของสังคม)

ความรับผิดชอบด้านศีลธรรม (มีจริยธรรมในการดาเนินธุรกิจ) มีความรับผิดชอบด้านกฎหมาย (ทาตามกฎหมาย) ความรับผิดชอบด้านเศรษฐกิจ (ทากาไร)

10


นิยาม “ผู้ประกอบการทางสังคม” (social entrepreneur) • จาเป็นต้องแยกคานิยามระหว่าง – 1) “การประกอบการสังคม” เน้น “กระบวนการ” หรือลักษณะพฤติกรรม – 2) “กิจการเพื่อสังคม” เน้นที่ตัว “สถาบัน” ที่มุ่งสร้างผลลัพธ์ทางสังคมอย่างต่อเนื่อง และ – 3) “ผู้ประกอบการทางสังคม” ซึ่งเน้นที่ตัวบุคคลผู้ริเริ่มสร้างผลลัพธ์

• ผลการทบทวนวรรณกรรมปริทัศน์เกีย่ วกับนิยามของผู้ประกอบการทางสังคมพบว่า ความหมายของคาว่า “ผู้ประกอบการทางสังคม” ยังหลากหลาย และไม่มีการกาหนด หลักเกณฑ์เป็นสากลในการระบุว่าใครคือผูป้ ระกอบการทางสังคม ตลอด 30 ปีที่ผ่านมามี การนิยาม “ผู้ประกอบการทางสังคม” ที่แตกต่างกันไปหลายชุด • อย่างไรก็ดี การเน้นสร้าง “คุณค่าทางสังคม” (social value) คือสิ่งที่ทาให้ผปู้ ระกอบการ ทางสังคมแตกต่างจากผู้ประกอบการทัว่ ไป • ในทัศนะขององค์กรสนับสนุนชั้นนา ผู้ประกอบการทางสังคมควรมี “นวัตกรรม” ในการ ทางาน 11


นิยาม “กิจการเพื่อสังคม” (social enterprise) • ความหมายของ “ผู้ประกอบการทางสังคม” มุ่งเน้นไปที่ บุคคล ผู้ริเริ่มสร้างนวัตกรรม ของธุรกิจเพื่อสังคม “กิจการเพื่อสังคม” ให้ความสาคัญกับโครงสร้างของ องค์กร เป็น หลัก (Nicholls และ Cho, 2006 อ้างใน Hackett, 2010) • นิยามของกิจการเพื่อสังคมยังเป็นที่ถกเถียงกันทั้งในแวดวงวิชาการ ภาครัฐ และภาค ธุรกิจ แตกต่างกันตามการพัฒนาและบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยไม่มีนิยามเพียงหนึ่ง เดียวที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก (Hackett, 2010; OECD, n.d.; Maretich & Bolton, 2010; Kerlin, 2013; Jeong, 2015) • อย่างไรก็ดี นิยามของกิจการเพื่อสังคมที่ใช้โดยองค์กรต่างๆ มีความใกล้เคียงกันในแง่ ของการเป็น “กิจการที่ดาเนินการเพื่อเป้าหมายทางสังคมเป็นหลัก” • ตัวอย่างนิยาม: “องค์กรหรือโครงการที่เป็นจุดร่วมระหว่างการมีพันธกิจทางสังคม แบบองค์กรไม่แสวงหากาไรหรือภาครัฐ และมีการขับเคลื่อนด้วยกลไกตลาดแบบ ธุรกิจ” (Social Enterprise Alliance, USA) 12


ขอบเขตการทางานของการประกอบการทางสังคม

ที่มา: Abu-Saifan, 2012 13


ประวัติศาสตร์วงการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม • เว็บไซต์ Tools and Resources for Assessing Social Impact: TRASI ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมวิธีการประเมินผลลัพธ์ของโครงการและการ ลงทุนเพื่อสังคมจากทั่วโลก ได้แสดงวิธีการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม มากกว่า 150 วิธี • วิธีการประเมินเหล่านี้มีทั้งที่พัฒนาขึ้นโดยองค์กรตัวกลาง แหล่งทุนและ นักลงทุนเพื่อสังคม (impact investing) เอง • วิธีการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมแรกๆ เกิดขึ้นในทศวรรษ 1990 โดย อาศัยหลักการทางบัญชีเข้ามาใช้ เช่น แนวคิดผลตอบแทนทางสังคมจาก การลงทุน (social return on investment: SROI) เกิดขึ้นในปี 1997 โดยมีรากฐานมาจากหลัก cost-benefit analysis (Greico, 2015) 14


ประวัติศาสตร์วงการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (ต่อ) • วิธีการประเมินอีกหลายวิธีมีจุดกาเนิดในช่วงปลายศตวรรษ 90 โดยเฉพาะวิธีการที่มี ลักษณะเป็น “แนวปฏิบัติ” (guidelines) ชุดดัชนีชี้วัดและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูล เช่น Global Reporting Initiative: GRI รวมทั้ง B Labs, IRIS และ GIIRS

สัดส่วนของเครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงปีที่มีการเริ่มใช้ ที่มา: Florman et. al., 2016 15


วิธีการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม • โอลเซนและกาลิมิดิ (Olsen และ Galimidi, 2008) ได้ทาการวิเคราะห์และ แจกแจงวิธีประเมินผลลัพธ์จานวน 25 ประเภท แบ่งทั้งหมดออกเป็น 3 หมวดจากมุมมองของนักลงทุนเพื่อสังคม (impact investing) ได้แก่ ระบบการจัดอันดับ (rating systems)

ระบบการประเมินผล (assessment systems)

ระบบการจัดการ (management systems)

• ประเมินเพื่อจัดอันดับหรือ สร้างมาตรฐานตั้งแต่ในช่วง การสอบทานกิจการ (due diligence) ตัวอย่างเช่น B Rating, Dalberg Approach และการรับรอง มาตรฐานการค้าที่เป็นธรรม (Fair Trade Certification)

• ใช้เพื่อสรุปผลทางสังคมที่ เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา รายงานของกิจการ เช่น SIA, SROI Analysis, และ Progress out of Poverty Index: PPI

• ใช้เพื่อติดตามผลอย่าง ต่อเนื่องเมื่อกิจการได้รับเงิน ลงทุนไปแล้ว จากมุมมอง ของผู้สนับสนุนเงินทุน เช่น SROI Framework, Trucost และ Balance Scorecard ที่รวมผลลัพธ์ ทางสังคม 16


วิธีประเมินผลลัพธ์ทางสังคม เทียบกับระยะการเกิดผลลัพธ์ • การจับคู่วิธีการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม 7 ประเภทกับเทียบกับกรอบคิดแบบ Logic Model เพื่อแสดงว่าวิธีการประเมินแต่ละประเภทเริ่มวัดผลตั้งแต่ระดับใด ไปสิ้นสุดถึง ระดับใด

ที่มา: ดัดแปลงจาก MaRS Center for Impact Investing 17


แนวโน้มการใช้เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคม • การถอยออกจากวิธีการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมแบบตีมูลค่าผลลัพธ์ทาง สังคมออกเป็นมูลค่าเงิน (monetization) (Flynn, Young และ Barnett (2015) : การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมจะก้าวเข้าหาการประเมินผลที่มีลักษณะ เป็น “มาตรฐาน” มากขึ้น เช่น ชุดตัวชี้วัด IRIS ที่มีนักลงทุนทางสังคม (impact investors) ถึงร้อยละ 60 ใช้ (JP Morgan & GIIN, 2015) • วิธีการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมเริ่มมีจุดร่วมมากขึ้น (consensus) : มีความ นิยมในการใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (theory of change) เพราะช่วยให้ผู้ ประเมินเห็นภาพกว้างของเหตุและผลของการเปลี่ยนแปลง ทดสอบความเป็นเหตุ เป็นผล (logical) และสมมติฐาน (Flynn, Young, และ Barnett, 2015) 18


แนวโน้มการใช้เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคม • การรวมความคิดเห็นและความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholders) เข้ามาในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมมากขึ้น : ผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ เพื่อสังคมมีหลายฝ่าย ต่างมีวัตถุประสงค์ ความต้องการ ความคาดหวังต่อ ความสาเร็จของกิจการเพือ่ สังคมแตกต่างกัน การใช้ดัชนีชี้วัดหลายตัวจึงเป็น ทางเลือกหนึ่งที่จะตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่าย • การใช้วิธีการหรือเครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมประกอบกันมากกว่า 1 วิธี :วรรณกรรมเห็นพ้องต้องกันว่า ควรใช้ตัวชี้วัดที่สะท้อนความแตกต่างของ กิจการเพื่อสังคมแต่ละแห่ง มากกว่าเลือกใช้เครื่องมือเพียงประเภทเดียวทีเ่ ชื่อ ว่าใช้ได้กับกิจการเพื่อสังคมทุกประเภท (one-size-fits-all) 19


แนวโน้มการใช้เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคม • การเข้าถึงวิธีการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมได้ง่ายขึ้นและการมีวิธีการ ประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ครอบคลุมมากขึ้น : เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ ทางสังคมหลายประเภทใช้งานง่ายขึ้น และเปิดให้คนทั่วไปเข้าถึงได้ทาง ออนไลน์ ในขณะที่วิธีประเมินหลายประเภทมีความครอบคลุม (inclusiveness) เพราะรวบรวมผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่ายเข้ามาในการสร้าง เครื่องมือการประเมิน หรือบูรณาการเครื่องมือหลายชนิดเข้าด้วยกัน เช่น การจัดอันดับ B Rating (Olsen & Galimidi, 2008) และตัวชี้วัด IRIS

20


ปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม 1.การเติบโตของการลงทุนเพื่อสังคม (impact investing)

2. การเติบโตของกิจการเพื่อสังคม (social enterprises) 21


1.การเติบโตของการลงทุนเพื่อสังคม (impact investing) • ในค.ศ. 2014 รายงานของ JP Morgan และ GIIN พบว่า – มูลค่าของตลาดการลงทุนเพื่อสังคมอยู่ที่ 46 พันล้านเหรียญสหรัฐ และโตขึ้น 20% จากปีก่อน หน้า (Hower, 2015) – 94% ของนักลงทุนทางสังคมมองว่าการทาความเข้าใจผลลัพธ์ทางสังคมของการลงทุนมี ความสาคัญและเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจ – มีนักลงทุนเพื่อสังคมเพียง 1% ที่ไม่มีการวัดผลลัพธ์ทางสังคม

• การวัดผลลัพธ์ทางสังคมถือเป็นหัวใจของการลงทุนเพื่อสังคม ซึ่งจะช่วยพิสูจน์ว่าการลงทุน ลักษณะนี้สร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงสังคมได้จริง หากไม่มีการวัดผล การลงทุนเพือ่ สังคม คงเกิดไม่ได้ (Social Impact Investment Taskforce, 2014) • การวัดผลลัพธ์ทางสังคมทีม่ ีประสิทธิภาพจะสร้างคุณค่าให้ผู้มสี ว่ นได้ส่วนเสียทั้งหมดที่ เกี่ยวข้องกับการลงทุนเพื่อสังคมโดยช่วยขับเคลื่อนเงินทุนที่มากขึ้น สร้างความโปร่งใสต่อ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นและแสดงความรับผิด (accountability) ขององค์กร (Jackson, 2013) 22


2. การเติบโตของกิจการเพื่อสังคม (social enterprises) • กิจการเพื่อสังคมกาลังเกิดขึ้นอย่างดาษดื่น (Greico, 2015) และกาลังกลายเป็นส่วน สาคัญของระบบเศรษฐกิจโลก (OECD/EU, 2013) • ด้วยโครงสร้างกิจการที่มีความซับซ้อนมากกว่าธุรกิจทั่วไป การสร้างความเข้าใจและ การรายงานผลลัพธ์ทางสังคมให้ผู้มีส่วนเสียทุกฝ่าย เช่น รัฐ นักลงทุน ลูกค้า จึงเป็น สิ่งจาเป็น (OECD/EU, 2015) ผลลัพธ์ทางสังคมเป็นปัจจัยสาคัญในการแยกแยะ ระหว่างกิจการทั่วไป กับกิจการเพื่อสังคม • ในหลายประเทศ รัฐเป็นผู้ให้ทุนหลักของกิจการเพื่อสังคม ประสบปัญหางบประมาณ และต้องระมัดระวังการใช้ทรัพยากร ผลลัพธ์ทางสังคมจึงเป็นปัจจัยสาคัญในการ พิจารณาทุนสนับสนุน • การวัดผลลัพธ์ทางสังคมช่วยกิจการเพื่อสังคมในการตั้งเป้าหมาย ทาให้เกิดการติดตาม ผลงาน ปรับปรุงงาน เข้าถึงตลาดทุนอย่างมีโอกาสแข่งขันได้มากขึ้น (Nicholls, 2007) และช่วยแสดงความโปร่งใสและแสดงความรับผิด (accountability)

23


ความท้าทายในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม • ความหมายของผลลัพธ์ทางสังคมที่หลากหลาย และยังไม่มีมาตรฐานสากล การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว ทั้งในระดับชาติและ ระดับนานาชาติ แต่ยังขาด “จุดร่วม” ตั้งแต่เรื่อง “ความหมาย” ของผลลัพธ์ ทางสังคม และ “วิธีการ” วัดผลลัพธ์ทางสังคมทีด่ ีทสี่ ุด ทาให้การนาวิธี ประเมินผลลัพธ์ทางสังคมไปใช้งานจริงสะดุด (Maas & Liket, 2011) การระบุว่า “ผลลัพธ์ทางสังคม” คืออะไร และควรจะลงลึกไปถึงระดับไหน เช่น เพียงพิสูจน์แบบจาลองหรือแนวคิดของกิจการเพื่อสังคม ระดับผลผลิต หรือไปถึงระดับผลกระทบระยะยาว (Trelstad, 2008) นับเป็นความท้าทาย ประการแรกที่ต้องเจอ

24


ความท้าทายในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม • การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมต้องใช้ทรัพยากรต่างๆ สูง การวัดผลต้องการทั้งเวลา งบประมาณ ความทุ่มเท ทักษะ ความเชี่ยวชาญ และการรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ หลายองค์กรใช้เวลากับ การรายงานผลมากกว่าที่จะใช้เวลาคิดหากลยุทธ์ในการเพิม่ ผลลัพธ์ทางสังคม (Florman, Klingler-Vidra, และ Facada, 2016) ฝั่งผู้ให้ทุนมองว่า “ต้นทุน” เป็นอุปสรรคที่สาคัญของการประเมิน ส่วนนักลงทุนทางสังคมร้อยละ 88 มอง ว่า ความสามารถในการวัดผลลัพธ์ทางสังคม ของกิจการที่ได้รับเงินลงทุน เป็น อุปสรรคสาคัญ (Saltuk, Idrissi, Bouri, Mudaliar, & Schiff, 2015) 25


ความท้าทายในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม • กิจการเพื่อสังคมโดยรวมยังไม่เห็นความสาคัญหรือประโยชน์ของการ ประเมินผลลัพธ์ทางสังคม กิจการเพื่อสังคมจะใช้เวลากับการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมก็ต่อเมื่อ กลายเป็นประเด็นที่นักลงทุนให้ความสาคัญ หรือเมื่อผู้ให้ทุนหรือนักลงทุน บอกให้ทา (Lingane & Olsen, 2004) โดยมักเห็นว่าเป็นภาระ มากกว่า จะมีประโยชน์ในการเป็นแหล่งให้ข้อมูลเพื่อ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน หรือเป็น เครื่องมือที่ช่วยด้านการจัดการ (Social Enterprise Partnership UK, 2003) 26


ความท้าทายในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม • การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมบางประเภทมีความเป็นอัตวิสัย (subjective) การประเมินแบบการให้คะแนนหรือจัดอันดับหรือค่าแทน (proxy) อาจลดทอน ความน่าเชื่อถือของผลลัพธ์ทางสังคม องค์กรอาจปรับพฤติกรรมตัวเองเพื่อเพิม่ คะแนนหรือให้ค่าแทนมากขึ้น มากกว่าที่จะสนใจผลลัพธ์ทางสังคมทีเ่ กิดขึ้นจริง • ความโปร่งใสของกระบวนการ เนื่องจาก “คุณค่า” หลายด้านทางสังคมไม่สามารถวัดออกมาได้ ทาให้การ วัดผลทางสังคมให้มีคุณภาพเป็นเรื่องยากและขาดความน่าเชื่อถือ (Bielefeld, 2009) การแบ่งปันและการเปิดเผยข้อมูลจากการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมจะ ช่วยให้เห็นความโปร่งใสของเครือ่ งมือแต่ละประเภท 27


สรุปแนวโน้มของการใช้การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม

ที่มา: Social Impact Investment Taskforce, 2014 28


กรอบทฤษฎี (theoretical framework) ที่พบบ่อย Logic model หรือ “แบบจาลองตรรกะ” 2. Theory of Change หรือ “ทฤษฎีการ เปลี่ยนแปลง” 3. Outcome Linkage หรือ “การคานวณ ความเชื่อมโยงผลลัพธ์” 29


1. Logic model หรือ “แบบจาลองตรรกะ” หมายถึง การใช้คาศัพท์และกราฟฟิกในการอธิบายลาดับของกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งผลต่อ การเปลี่ยนแปลง และอธิบายว่ากิจกรรมเหล่านั้นเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ที่โครงการหรือ กิจการคาดหวังว่าจะบรรลุอย่างไร โดยให้ความสาคัญกับการแยกแยะระหว่างผลลัพธ์ ระยะสั้น ระยะปานกลาง ระยะยาว และระหว่างผลลัพธ์ทางตรงกับผลลัพธ์ทางอ้อม แบบจาลองนี้ถูกพัฒนาขึ้นในทศวรรษ 1970 โดย Carol Weiss (1972) และ นักวิเคราะห์อีกจานวนมาก ดาเนินการ

activity output

กิจกรรม

ผลผลิต

ปัจจัย

social output

social outcome

social impact

ผลลัพธ์

ผลลัพธ์

ผลลัพธ์

ระยะสั้น

ระยะกลาง

ระยะยาว เป้าประสงค์

30


2. Theory of Change หรือ “ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง” เริ่มได้รับความนิยมในทศวรรษ 1990 ในฐานะ “ระเบียบวิธ”ี (methodology) สาหรับ การวางแผน การระดมการมีส่วนร่วม และการประเมินโครงการ เริ่มใช้ในภาคการกุศล • เริ่มต้นจากการให้ระบุ “เป้าหมายระยะยาว” ที่ผู้ดาเนินโครงการปรารถนา มุ่งเน้น การอธิบาย “กระบวนการสร้างความเปลี่ยนแปลง” ด้วยการระบุความเชื่อมโยงที่ เป็นเหตุปัจจัย (causal linkages) และเป็นขั้นๆ ตามเวลา (chronological flow) • นวัตกรรมของทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงอยู่ที่การชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่าง “ผลลัพธ์ที่มุ่งหวัง” และ “ผลลัพธ์ที่เกิดจริง” และการเรียกร้องให้ผู้ดาเนินโครงการ ระดมความคิดจากผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มาร่วมกันสร้างแบบจาลอง • ปัจจุบันคาว่า “ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง” กับคาว่า “แบบจาลองตรรกะ” มักถูกใช้ แทนกัน (synonym) เนื่องจากมีความคล้ายคลึงในแง่ของการเรียกร้อง “ความเป็น เหตุเป็นผล” ในอรรถาธิบายกระบวนการสร้างผลลัพธ์ 31


3. Outcome Linkage หรือ “การคานวณความเชื่อมโยงผลลัพธ์” • พัฒนามาจากแวดวงเศรษฐศาสตร์นโยบายสาธารณะ เชื่อมโยงองค์ความรู้ ด้านการประเมินผลลัพธ์โครงการ (program evaluation) และงานวิจัยที่ สารวจความเชื่อมโยง (linkage) ของผลลัพธ์สองผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน • เน้นการคานวณหาประโยชน์เมื่อเทียบกับต้นทุน (benefit-cost estimate) จากโครงการต่างๆ โดยมีตรรกะด้านความเชื่อมโยงดังนี้ ถ้า Program → Outcome1 และถ้า Outcome1 → Outcome2 แปลว่า Program → Outcome2

32


ประเภทของวิธีประเมินผลลัพธ์ทางสังคม – แบ่งตามการสารวจของคณะวิจัย

1. Impact Value Chain 2. Cost – Benefit และ SROI

3. Indicators 4. Experimental Study 5. Proprietary 33


1. Impact Value Chain หรือ “ห่วงโซ่คุณค่า” แจกแจงส่วนต่างๆ ของ Logic Model และ Theory or Change เน้นแสดง ความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างส่วนประกอบต่างๆ Inputs

Activities

Output

Outcome

ปัจจัยนาเข้า

กิจกรรม

ผลผลิต

ผลลัพธ์

สิ่งที่ต้องใช้ใน โครงการเพื่อ สร้างผลลัพธ์ เช่น ทรัพยากรต่างๆ

กิจกรรมหลักที ทาในโครงการ เพื่อให้เกิดผลที่ คาดหวัง

ผลผลิตจากการ ทากิจกรรมที่ สามารถวัด ออกมาได้

Leading Indicator

ผลลัพธ์ที่จะ เปลี่ยนแปลง สังคม สิ่งที่จะเกิดขึ้น แน่นอน แม้ไม่มี โครงการ

= ผลกระทบ

34


2. Cost-benefit และ Social Return on Investment: SROI Cost-benefit Analysis การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ทางสังคมที่คิดออกมาเป็นตัวเงิน โดยรวมประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม SROI พัฒนามาจากเครื่องมือ Cost-benefit Analysis เป็นเครื่องมือที่พัฒนาโดย The Roberts Enterprise Development Fund: REDF ในทศวรรษ 90 ก่อนที่จะ แพร่หลายในอังกฤษและออสเตรเลีย • เน้นการแปลงค่าผลลัพธ์ทางสังคมเป็นมูลค่าทางการเงิน (Monetization of Social Impact) เพื่อตอบคาถามว่า “เงินที่ลงทุนไป สร้างผลตอบแทน (มูลค่าทางสังคม) เท่าไร” 35


3. Indicators • “ตัวชี้วัด” หมายถึง ปัจจัยสะท้อนได้เกิดผลลัพธ์ทางสังคมที่มุ่งหวัง เป็น การแสดงข้อมูลเชิงปริมาณ โดยทั่วไปจะอยู่ในระดับ “ผลผลิต” (output) เป็นตัวเชื่อมโยงไปสู่ “ผลลัพธ์” (outcome) ทางสังคมที่กิจการต้องการ • เริ่มมีมาตรฐานร่วมกันในการใช้งาน เช่น – Impact Reporting & Investment Standards (IRIS) เป็นฐานข้อมูลตัวชี้วัด ทางสังคม รวมถึงตัวชี้วัดอื่นๆ ที่องค์กรสนับสนุนทางสังคมใช้ในการประเมินหรือ ติดตามผลการดาเนินงานของผู้ให้ทุน มีลักษณะคล้ายกับพจนานุกรม แสดง ตัวชี้วัดที่เหมาะกับกิจการเพื่อสังคมประเภทต่าง เช่น การเกษตร สุขภาพ การเงิน การศึกษา ฯลฯ พร้อมรายละเอียด พัฒนาโดย Global Impact Investing Network (GIIN) 36


การแบ่งประเภทตัวชี้วัดของ IRIS ประเด็นทางสังคม (sector) • • • • •

การเกษตร การศึกษา พลังงาน สิ่งแวดล้อม บริการทางการเงิน

• • • • • •

รายงานทางการเงิน

บริการทางการเงิน: ไมโครไฟแนนซ์ บริการทางการเงิน: ไมโครอินชัวรัน สุขภาพ ที่อยู่อาศัย/การพัฒนาชุมชน การอนุรักษ์ที่ดิน น้า • อื่นๆ

• • • •

งบดุล กระแสเงินสด งบกาไรขาดทุน อัตราส่วน (ratio) และการคานวณอื่นๆ

ผู้ได้รับประโยชน์ (beneficiaries)

การรายงานแบบ IRIS

• ลูกค้า • คูค่ ้า • พนักงาน

• ข้อมูลขององค์กร • สิง่ ที่รายงาน

• สิ่งแวดล้อม • ผูจ้ ัดจาหน่าย/ กระจายสินค้า

ผลลัพธ์ที่เกิดจากการดาเนินงาน (operational impact) • นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและผลงาน (performance) • ธรรมมาภิบาลและความเป็นเจ้าของ (ownership) • นโยบายด้านสังคมและผลงาน (performance)

มุมมองในการลงทุน (investment lens) • • • • •

เพศ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ชนกลุ่มน้อยและผู้พิการ ระดับความยากจน ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

37


4. Experimental Study • การศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ เน้นการวัดระดับการ เปลี่ยนแปลงภายใต้เงื่อนไขหรือสถานการณ์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมอย่าง รัดกุม เพื่อศึกษาว่าเงื่อนไขหรือสถานการณ์ที่จัดขึ้นนั้น เป็นสาเหตุที่ แท้จริงของผลการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ • มักมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 2 ประเภท คือ – กลุ่มทดลอง (experimental / treatment group) คือ กลุ่มตัวอย่างจาก กลุ่มเป้าหมายของกิจการเพื่อสังคม – กลุ่มควบคุม (control group) มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มทดลอง แต่ไม่ได้เข้า ร่วมกิจกรรมของกิจการเพื่อสังคม เป็นกลุ่มที่ใช้เปรียบเทียบ 38


5. Proprietary • เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่แต่ละองค์กรคิดค้นหรือประดิษฐ์ขึ้นเอง เพื่อ สื่อสาร “ขนาด” ผลลัพธ์ทางสังคมที่เป็นเป้าหมายขององค์กร • มีทั้งที่เปิดเผยสู่สาธารณะและเป็นความลับภายในองค์กร ตัวอย่าง • Progress out of Poverty Index – PPI ของธนาคารกรามีน

• Best Available Charity Options – BACO ของ Acumen Fund

• Balance Scorecard – ของแต่ละกองทุนเพื่อสังคม ที่มา: Bridges IMPACT Report 2014

39


ข้อดี-ข้อเสียของวิธีประเมินผลลัพธ์ทางสังคมแต่ละประเภท วิธีการประเมินผลลัพธ์ทาง สังคม ห่วงโซ่คุณค่า Impact Value Chain

ข้อดี • เห็นความสัมพันธ์และ • “ตรรกะ” ตั้งแต่ปัจจัยนาเข้า (inputs) ไปจนถึงผลผลิต (outcome) • เป็นเครื่องมือที่กิจการเพื่อ สังคมสามารถเขียนเองได้ • • กิจการสามารถใช้เป็นเครื่องมือ พื้นฐาน ในการวัดผลลัพธ์ด้วย ตนเอง หรือประกอบการใช้ เครื่องมืออื่นๆ ที่วัดผลในเชิงลึก มากขึ้น • ต้นทุนต่าและใช้เวลาไม่มาก

ข้อเสีย การเขียนผลผลิต (outputs) ที่อาจไม่สะท้อนผลลัพธ์ (outcome) แต่เป็นเพียง “ผล” ที่เกิดขึ้นจากการทา กิจกรรม ตัวเครื่องมืออาจไม่ได้แสดง “ความเปลี่ยนแปลง” จาก จุดเริ่มต้นจนถึงจุดที่ต้องการ ประเมินผล

40


ข้อดี-ข้อเสียของวิธีประเมินผลลัพธ์ทางสังคมแต่ละประเภท วิธีการประเมินผลลัพธ์ ทางสังคม Cost – Benefit Analysis

ข้อดี

ข้อเสีย

• ผู้ให้ทุนสามารถเปรียบเทียบ • ต้องใช้เวลามากและมีต้นทุนสูง กิจการเพื่อสังคมในด้านผลลัพธ์ เนื่องจากต้องเก็บข้อมูลจานวน ที่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและ มาก ทางอ้อมในรูปแบบภาษา • ค่อนข้างมีความซับซ้อน การเงิน ผู้ใช้เครือ่ งมือต้องอาศัยความรู้ • บอกถึงความคุ้มค่าและ ในเชิงเศรษฐศาสตร์และ ประสิทธิผลของเงินทุนที่ใช้ไป การเงิน กับกิจการและบอกความ • การตีความมูลค่าผลลัพธ์ต่างๆ เปลี่ยนแปลงที่เกิดกับเป้าหมาย ที่จับต้องไม่ได้ให้เป็นมูลค่าทาง ทางสังคมได้ การเงินยังมีความเป็นอัตวิสัย • ยังมีอคติของผู้ประเมินเข้ามา เกี่ยวข้อง 41


ข้อดี-ข้อเสียของวิธีประเมินผลลัพธ์ทางสังคมแต่ละประเภท วิธีการประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคม

ข้อดี

Social Return on • แสดงผลลัพธ์ทางสังคมที่ครอบคลุม ความสัมพันธ์ตั้งแต่ปัจจัยนาเข้า Investment (SROI)

ข้อเสีย

• เป็นเครื่องมือที่มีความ เฉพาะเจาะจง (specific) สูงต่อแต่ (inputs) ไปจนถึงผลลัพธ์ (outcome) ละกิจการ ไม่เหมาะที่จะใช้ หรือผลกระทบ (impact) ที่แสดงออกใน เปรียบเทียบผลงานข้ามกิจการ เชิงปริมาณและมูลค่าทางการเงิน • มีราคาสูงเนื่องจากต้องการข้อมูล • ได้รับเสียงสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงที่ ตั้งต้นโดยละเอียด เกิดกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริง • มีความซับซ้อนในการประเมินและ เนื่องจากต้องดึงผู้มีส่วนได้เสียเข้ามาใน การหาค่าแทนทางการเงิน (proxy) การประเมิน • มีความซื่อสัตย์ของการแสดงผลกระทบ (impact) • แสดงให้เห็นผลลัพธ์ทางสังคมทั้ง ทางบวกและทางลบ ทั้งที่เกิดจากกิจการ และปัจจัยภายนอก 42


ข้อดี-ข้อเสียของวิธีประเมินผลลัพธ์ทางสังคมแต่ละประเภท วิธีการประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคม Indicators

ข้อดี

ข้อเสีย

• ไม่ซับซ้อน กิจการสามารถกาหนด • เป็นเพียงการบอกจานวนของสิ่งที่ ตัวชี้วัด วัดผล และรายงานผลได้เอง เกิดขึ้นจากการทากิจกรรมเท่านั้นหรือ • ต้นทุนไม่สูงเนื่องจากการเก็บข้อมูลไม่ บอกผลผลิต (outcome) แต่ไม่ได้ ต้องลงลึก บอกผลลัพธ์ (outcome) • ช่วยชี้ให้กิจการเห็นความแตกต่าง • ตัวชี้วัดบางตัวบอกแต่เพียงข้อมูลจุดใด ระหว่างจุดเริ่มต้น (Baseline) กับ จุดนึงของช่วงเวลาที่รายงาน พัฒนาการหลังจากที่ทากิจกรรม • สร้างภาษาเดียวกันในการสื่อสาร ระหว่างกิจการ

Experimental Study • ผลการประเมินมีความน่าเชื่อถือได้ สูงสุดเมื่อเทียบกับเครื่องมือประเภท อื่น

• กระบวนการออกแบบวิธีวิจัยมีความ ซับซ้อนสูง และการประเมินทาได้ยาก ที่สุดเมื่อเทียบกับการวัดผลแบบอื่นๆ • ราคาสูง 43


ข้อดี-ข้อเสียของวิธีประเมินผลลัพธ์ทางสังคมแต่ละประเภท วิธีการประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคม Proprietary

ข้อดี • ช่วยให้การประเมินให้ข้อมูล ตรงกับความต้องการลักษณะ การทางานขององค์กร • กิจการเพื่อสังคมหรือผู้ให้ทุนที่ ทางานในประเด็นที่ใกล้เคียง กันสามารถนาเครื่องมือ เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้งานต่อ ได้

ข้อเสีย • • • •

การยอมรับผลการประเมินจาก บุคคลภายนอก การเปรียบเทียบข้อมูลระหว่าง องค์กรทาได้ยาก ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญร่วมพัฒนา และพิสูจน์เครื่องมือ ใช้เวลาและงบประมาณสูง

44


ประเภทแหล่งทุนและสถาบันสนับสนุน 69 แห่ง ที่คณะวิจัยทาการสารวจ

ที่มา: การสารวจของคณะวิจัย

45


แหล่งทุนเพือ่ สังคมระดับโลก Rockefeller Foundation, Acumen Fund, TRASI database ของ Foundation Center, Bill & Melinda Gates Foundation, REDF, Root Capital, Omidyar Network, LGT Venture Philantrophy, European Venture Philantrophy Association (EVPN)

แหล่งทุนเพือ่ สังคมในเอเชีย • Impact Investment Exchange Asia (IIX) • Asian Venture Philanthropy Network (AVPN) • Aavishkaar

แหล่งทุนเพือ่ สังคมภาครัฐ • อเมริกา: Office of Social Innovation • อังกฤษ: Office of Civil Society Advisory Body • อินเดีย: DASRA • มาเลเซีย: Malaysian Global Innovation and Creativity Centre (MaGIC) • ฮ่องกง: Social Ventures Hong Kong • ออสเตรเลีย: Social Ventures Australia

องค์กรผู้พัฒนาเครื่องมือ Impact Reporting & Investment Standards (IRIS), Global Impact Investing Network (GIIN), Social Value UK, B-Analytics (GIIRS), Toniic Institute, PRISM (by Intellecap), SVT Group

กิจการเพื่อสังคมระดับโลก d.Light Design, BRAC Microfinance, Digital Divide Data, Proximity Design, Divine Chocolate, HCT Group 46


กรอบทฤษฎีที่แหล่งทุนและสถาบันสนับสนุนทั่วโลกกาหนด

ที่มา: วรรณกรรมปริทัศน์ และการสารวจของคณะวิจัย 47


เครื่องมือที่แหล่งทุนและสถาบันสนับสนุนทั่วโลกกาหนด 16 องค์กร (25%) ใช้ IRIS

ที่มา: วรรณกรรมปริทัศน์ และการสารวจของคณะวิจัย

48


อายุของกิจการ ระยะเวลาให้ทุน และเครื่องมือวัดผลลัพธ์ ระยะเวลาการให้ทุน Experimental Study

Proprietary

Indicators

ที่มา: วรรณกรรมปริทัศน์ และการสารวจของคณะวิจัย

CostBenefit / SROI

อายุของกิจการ 49


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเครื่องมือวัดผลลัพธ์ทางสังคม • ความต้องการ ความคาดหวัง และข้อกาหนดของแหล่งทุน - ทั้งแหล่งทุน ปัจจุบัน และแหล่งทุนที่กิจการเพื่อสังคมสนใจจะเข้าถึงในอนาคต • ระดับองค์ความรู้และหลักฐานเชิงประจักษ์ของทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) ของกิจการ – มีผลการศึกษาผลลัพธ์และ อรรถาธิบายกระบวนการสร้างผลลัพธ์ที่เชื่อถือได้ทางวิชาการแล้วหรือไม่ • ระดับความรุนแรงของปัญหาสังคม/สิ่งแวดล้อมที่กิจการนั้นๆ มุ่งแก้ไข แนวโน้มจานวนกิจการเพื่อสังคมที่ทางานในประเด็นนี้ในอนาคต • แนวโน้มการขยายขนาด (scale up) หรือทาซ้า (replicate) โมเดลของ กิจการนั้นๆ ในพื้นที่อื่น 50


การจัดทากรณีศึกษา - การประเมินผลลัพธ์ ทางสังคม กิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย 6 แห่ง


เกณฑ์การคัดเลือก 6 กรณีศึกษา 1. เลือกจากประเด็นปัญหาสังคมที่สาคัญของประเทศไทย 3 ด้าน ซึ่งมี แนวโน้มจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต ได้แก่ – ด้านการเกษตร – ด้านการพัฒนาชุมชน – ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาส

2. ในแต่ละด้าน เลือกกิจการเพื่อสังคม 2 แห่งที่ทางานแก้ไขปัญหาในด้าน นั้นๆ เป็นพันธกิจหลัก กิจการแรกกาลังอยู่ในระยะเริ่มต้น (start-up) หรือ พยายามขยายกิจการ (scale up) กิจการที่สองดาเนินการมาอย่างน้อย 10 ปี

52


กิจการที่เป็นกรณีศึกษานาร่อง การเกษตร

พัฒนาชุมชน

ยกระดับคุณภาพ ชีวิตผู้ด้อยโอกาส

ร้านคนจับปลา

Local Alike

Learn Education

Start up/ Scale up

มากกว่า 10 ปี

สหกรณ์กรีนเนท (มะพร้าวอินทรีย์)

กลุ่มสัจจะสะสม ทรัพย์วัดไผ่ล้อม โดยพระสุบิน ปณีโต

ศูนย์บริการข้อมูล (Outsourcing Contact Center)

มูลนิธิพระมหาไถ่ฯ 53


สรุปบทเรียนจากการจัดทากรณีศึกษานาร่อง


1. ความเหมาะสมของเครื่องมือที่ใช้ • การสร้าง “ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง” “ห่วงโซ่ผลลัพธ์” และการ เลือก “ชุดตัวชี้วัดผลลัพธ์” ตลอดจนการประเมินโดยคานึงถึง “กรณีฐาน” เป็นแนวคิดและเครื่องมือที่เหมาะสมกับการ ประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของกิจการเพื่อสังคมนาร่อง 6 กิจการ • ผู้ประกอบการของกิจการ 6 แห่ง มองว่าผลการประเมินเป็น ประโยชน์ต่อกิจการ ในแง่ของการให้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงที่ ชัดเจนกว่าในอดีต

66


2. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดและไม่เกิด และอุปสรรคในการประเมิน • กิจการเพื่อสังคมในกรณีศึกษานาร่องทั้ง 6 แห่ง ล้วนแต่สามารถสร้างผลลัพธ์ทาง สังคมอย่างน้อยบางส่วนที่ตรงกับเป้าหมายหลักของกิจการ สะท้อนถึงการศึกษา ความต้องการและปัญหาของกลุ่มเป้าหมายก่อนเริ่มกิจการ • แต่ “ขนาด” ของผลลัพธ์ทางสังคมยังเกิดน้อยกว่าที่ผู้ประกอบการคาดหวัง และการ เปลี่ยนแปลงบางรายการเป็นสิ่งที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความสาคัญ แต่ไม่ได้เป็น เป้าหมายหลักของกิจการ เช่น ผลลัพธ์ด้านการรวมกลุ่มของสมาชิกของโครงการ มะพร้าวอินทรีย์ สหกรณ์กรีนเนท หรือผลลัพธ์ที่สมาชิกได้รับสินเชื่อมากขึ้น ของ กิจการสัจจะสะสมทรัพย์ วัดไผ่ล้อม • การเปลี่ยนแปลงบางอย่างกิจการมองว่าเกิดขึ้นแต่กลุ่มเป้าหมายเองไม่รู้สึกอย่างนั้น เช่น ผลลัพธ์ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ ของกิจการ OOC มูลนิธิพระมหาไถ่ฯ 67


2. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดและไม่เกิด และอุปสรรคในการประเมิน (ต่อ) • ตัวชี้วัดผลลัพธ์ทางสังคม เช่น ความสามัคคีในชุมชน จาเป็นต้องมีการวางแผนและ พัฒนาวิธีการวัดผลที่เป็นระบบต่อไป เพื่อจะได้สามารถติดตามตรวจสอบถึงความ เปลี่ยนแปลงว่าเกิดขึ้นจริงหรือไม่ • ผลลัพธ์บางประการที่กิจการตั้งไว้ยังไม่สามารถสรุปได้ เนื่องจากต้องใช้เวลากว่าการ เปลี่ยนแปลงนั้นจะเกิดขึ้น เช่น โอกาสในการเรียนต่อที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มนักเรียนที่ใช้ ระบบ Learn Education คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชุมชน ความมั่นคงทางอาชีพ ของผู้พิการ เป็นต้น • หลายกิจการยังมีข้อจากัดด้านข้อมูลที่จะนามาประเมิน ทั้งด้านการขาดข้อมูลฐาน และข้อมูลเชิงปริมาณ การเก็บข้อมูลของกิจการเอง การยินยอมเปิดเผยข้อมูลเพื่อ การประเมิน 68


3. หลักเกณฑ์การเขียนทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง และการเลือกตัวชี้วัด 1) นิยาม “การเปลี่ยนแปลงทางสังคม” ที่กิจการต้องการมีส่วนสร้างอย่าง รัดกุม และชัดเจนว่าเป็นผลมาจากกิจกรรมหลัก ตัวอย่าง นิยาม “คุณภาพชีวิตด้านการศึกษา” - เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น

ในแง่ขอบเขตของคุณภาพชีวิตด้าน การศึกษา คณะผู้วิจัยจะพิจารณาจากปัจจัยเชิง คุณภาพ 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) เจตคติต่อการเรียนที่ ดีขึ้น 2) การลดความเสี่ยงในชีวิตด้านการไม่ได้ เรียนต่อ 3) แรงจูงใจในด้านการยกระดับ คุณภาพชีวิตตัวเอง

มิติหลักของคุณภาพชีวิต 1) คุณภาพชีวิตด้านสภาพที่อยู่อาศัย (Material Living Condition) 2) คุณภาพชีวิตด้านความอุดมสมบูรณ์ (Productive) 3) คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ (Health) 4) คุณภาพชีวิตด้านการศึกษา (Education) 5) คุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและการหย่อนใจ (Social Relations and Leisure) 6) คุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจและความปลอดภัยทางกายภาพ (Economic and Physical Safety) 7) คุณภาพชีวิตด้านการปกครองและสิทธิขั้นพื้นฐาน (Governance and Basic Rights) 8) คุณภาพชีวิตด้านสภาพแวดล้อมในการดารงชีวิต (Natural and Living Environment) ที่มา: เมอร์ซี่และคณะ อ้างอิงจากดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิตของคณะกรรมการระบบการสถิติแห่งสหภาพยุโรป (European Statistical System Committee : ESSE)

69


3. หลักเกณฑ์การเขียนทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง และการเลือกตัวชี้วัด 2) กิจการเพื่อสังคมประเภท “ตัวกลาง” (intermediary) ควรกาหนดตัวชี้วดั ผลลัพธ์ขั้นกลาง (intermediate outcomes) นอกเหนือจากผลลัพธ์ทางสังคม ขั้นสุดท้าย

แบบจาลองตรรกะ (Logic Model) การเปลี่ยนแปลงทางสังคม - โลเคิล อไลค์

70


3. หลักเกณฑ์การเขียนทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง และการเลือกตัวชี้วัด 3) ทัศนะของผู้มีส่วนได้เสียช่วยประเมินความเหมาะสมของตัวชี้วัด และจัดลาดับ ความสาคัญของผลลัพธ์ – ตัวอย่าง OCC ผู้พิการ 14% รายได้ลดลง แต่ยังเลือก ทางานกับ OCC ต่อไป หน่วย คน ร้อยละ

จานวนผู้พิการที่มีรายได้จาก OCC เปรียบเทียบกับรายได้ในอดีต เคยทางานมาก่อน ไม่เคยทางานมาก่อน รายได้เพิ่มขึ้น รายได้เท่าเดิม รายได้ลดลง 18 25 6 8 31.6 43.9 10.5 14.0 ตาราง จานวนผู้พิการที่มีรายได้จาก OCC เทียบกับรายได้ในอดีต

• ผู้ประกอบการหลายรายมีแนวโน้มที่จะเลือกตัวชี้วัดที่ “วัดง่าย” ทั้งในแง่ของเวลาและค่าใช้จ่าย มากกว่าตัวชี้วัดที่อาจ “วัดยาก” แต่สามารถสะท้อนผลลัพธ์ทางสังคมได้ใกล้เคียงมากกว่า • ควรให้ผู้มีส่วนได้เสียโดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายหลักของกิจการ ได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่เนิ่นๆ ใน กระบวนการประเมิน เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างตัวชี้วัดที่เหมาะสม 71


3. หลักเกณฑ์การเขียนทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง และการเลือกตัวชี้วัด 4) กิจการที่ประสงค์จะขยายขนาดออกไปนอกพื้นที่โครงการ และทางานในประเด็นที่ มีความเป็นสากล ควรเตรียมความพร้อมและศึกษาตัวชี้วัดระดับสากล นอกเหนือไปจากตัวชี้วัดระดับท้องถิ่น เช่น ศึกษาตัวชี้วัดตามมาตรฐาน IFOAM สาหรับกิจการเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น ตัวชี้วัดที่ “ดี” ควรมีลักษณะ “SMART” ดังต่อไปนี้ • จาเพาะเจาะจง (Specific) ไม่เหวี่ยงแหตีขลุม มีความเฉพาะเจาะจงในระดับพื้นที่หรือ กลุ่มเป้าหมาย • วัดได้ (Measurable) รวมถึงมีความน่าเชื่อถือ ถูกต้องตามหลักวิชาการ ใช้เปรียบเทียบข้ามองค์กร ได้ • บรรลุได้ (Achievable) สามารถบรรลุได้ในความเป็นจริง มิใช่เลื่อนลอยหรือเป็นไปไม่ได้ • เกี่ยวข้องกับประเด็น (Relevant) ตรงตามประเด็นที่ต้องการจะศึกษา และเป้าหมายของโครงการ • มีเงื่อนเวลา (Time-bound) สามารถใช้ติดตามความคืบหน้าเมื่อเวลาผ่านไป และแยกย่อยการวัด ตามหน่วยเวลาแต่ละช่วงได้ (เช่น รายปี รายเดือน รายไตรมาส ฯลฯ) 72


3. หลักเกณฑ์การเขียนทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง และการเลือกตัวชี้วัด 5) เครื่องมือประเมินที่เหมาะสมสาหรับแต่ละช่วงอายุของกิจการ ระยะเวลาการให้ทุน Experimental Study

Proprietary

Indicators

ที่มา: วรรณกรรมปริทัศน์ และการสารวจของคณะวิจัย

CostBenefit / SROI

อายุของกิจการ

73


แนวทางปรับปรุงการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสาหรับ กิจการเพื่อสังคมกรณีศึกษานาร่อง 1. วางแนวทางการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งหวังว่าจะสามารถนาผล การประเมินไปเปรียบเทียบกับแหล่งข้อมูลอื่น และเปรียบเทียบปีต่อปีได้ 2. พยายามเก็บข้อมูลย้อนหลัง โดยเฉพาะข้อมูลฐาน (ก่อนเริ่มกิจการ) 3. เก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดอย่างต่อเนื่องทุกปี 4. ควรเปรียบเทียบผลลัพธ์กับกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ สามารถประเมิน “กรณีฐาน” หรือความแตกต่างระหว่างผู้ที่เข้าร่วม กับผู้ ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น โดยอาจขอรับทุนสนับสนุน การวิจัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอนาคต หลังจากที่กิจการดาเนินไปได้ ระยะหนึ่งแล้ว (ไม่ต่ากว่า 5 ปี เป็นต้น) 74


Q&A


1. คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน 2. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ 3. รายงานการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม กิจการเพื่อสังคม 6 แห่ง ดาวน์โหลดได้จาก www.salforest.com 76


www.salforest.com http://www.facebook.com/SalforestCo ติดต่อ info@salforest.com 02 258 7383 บริษัท ป่าสาละ จากัด 2 สุขุมวิท 43, คลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.