ไขข้อข้องใจ “กิจการเพื่อสังคม” สฤณี อาชวานันทกุล ภัทราพร แย้มลออ บริษัท ป่าสาละ จากัด 22 มิถุนายน 2559
ป่าสาละคือใคร?
“Sustainable Business Accelerator” ป่าสาละเป็นบริษัท “ปลูกธุรกิจที่ยั่งยืน” แห่งแรกในประเทศไทย เป้าหมายของเราคือ จุดประกายและดาเนินวาทกรรมสาธารณะเกี่ยวกับธุรกิจที่ยั่งยืน ผ่านการจัดสัมมนา อบรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และออนไลน์ รวมทั้งผลิตงานวิจัยใน ประเด็นความยั่งยืนในประเทศไทย และส่งเสริมการวัดผลตอบแทนทางสังคม 3
บริการของป่าสาละ อบรม
การเผยแพร่ ความรู้เกี่ยวกับ ธุรกิจที่ยั่งยืน
หนังสือ Study Tour
วิจัย
การสร้างความรู้ เกี่ยวกับธุรกิจที่ ยั่งยืน
การสร้าง เครือข่าย เกี่ยวกับธุรกิจที่ ยั่งยืน
วางระบบ ประเมิน ผลลัพธ์
สัมมนา 4
ผู้ให้ทุนวิจัยและลูกค้าด้านงานวิจัยและการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (บางส่วน)
5
ลูกค้าคอร์สอบรมระยะสั้นและงานอีเวนท์ (บางส่วน)
6
1. กิจการเพื่อสังคมแตกต่างจาก CSR อย่างไร? “กิจการเพื่อสังคม” (Social Enterprise) • วางเป้าหมายที่การแก้ปัญหาสังคมหรือสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนโดยใช้ หลักการบริหารจัดการจากภาคธุรกิจ กล่าวคือ พยายามบรรลุความ ยั่งยืนทางการเงิน ถึงแม้การสร้างกาไรสูงสุดจะไม่ใช่เป้าหมาย • การวัด “ความสาเร็จ” ขององค์กรต้องประเมินจาก“ผลลัพธ์ทางสังคม” ที่ ตกถึงกลุ่มเป้าหมายจริงๆ ว่าเกิดขึ้นหรือไม่ เพียงใด “ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม” (CSR) • แนวคิดที่ว่า บริษัททั่วไป (แสวงกาไรสูงสุด) ควรรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ เสียกลุ่มต่างๆ อย่างไรบ้าง 8
“ประเภท” กว้างๆ ของกิจการเพื่อสังคม 1. กิจการที่ลูกค้าคือกลุ่มเป้าหมายทางสังคม เช่น Grameen Bank, d.light design
10
“ประเภท” กว้างๆ ของกิจการเพื่อสังคม 2. กิจการที่ลูกค้าที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายทางสังคม แต่ช่วยกลุ่มเป้าหมาย จากกระบวนการทาธุรกิจ เช่น Rags to Riches, มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อ การพัฒนาคนพิการ, โครงการพัฒนาดอยตุง
11
“ประเภท” กว้างๆ ของกิจการเพื่อสังคม 3. กิจการแสวงกาไรที่คนจนหรือผู้ด้อยโอกาสกลุ่มอื่นในสังคมเป็นเจ้าของ (“Type II social business” ในนิยามของ Muhammad Yunus) เช่น ธนาคารหมู่บ้าน, Try Arm
12
“ประเภท” กว้างๆ ของกิจการเพื่อสังคม 4. กิจการที่สนับสนุนกิจการเพื่อสังคมอื่น (enabler) ในฐานะนักลงทุน ที่ ปรึกษา ผู้ตรวจสอบ โปรโมเตอร์ นักพัฒนาไอที ศูนย์บ่มเพาะ ฯลฯ
13
2. กิจการเพื่อสังคมแตกต่างจาก NGO อย่างไร? • อาจไม่ต่างในพันธกิจหรือเป้าหมายองค์กร แต่อาจต่างในวิธีดาเนินการ • กิจการเพือ่ สังคมจดเป็นนิติบุคคลได้มากมายหลายรูปแบบ เช่น บริษัท องค์กรพัฒนาเอกชนไม่แสวงกาไร (NGO) วิสาหกิจชุมชน ฯลฯ • กิจการเพื่อสังคมบางแห่งเลือกจดทะเบียนเป็น NGO เพื่อสิทธิประโยชน์ ทางภาษี เพื่อสื่อสารความชัดเจนของพันธกิจทางสังคม และ/หรือเพราะ กาลังทางานกับปัญหาที(่ ยัง)ไม่มีโอกาสสร้างรายได้จากการขายสินค้าหรือ บริการ (เช่น การดูแลผู้พิการที่สูงอายุ, การศึกษาสาหรับเด็กยากจน) • ยิ่งทางานในภาคส่วนที่มี “ตลาด” แล้ว (เช่น พลังงานหมุนเวียน เกษตร อินทรีย)์ ยิ่งมีโอกาสเติบโตในฐานะ “ธุรกิจเพื่อสังคม” (social business) 15
หนังสือ “Power of Unreasonable People” (พลังของคนหัวรั้น) แบ่ง กิจการเพื่อสังคมออกเป็น 3 ประเภท: leveraged nonprofit, hybrid nonprofit, social business ตัวอย่าง hybrid nonprofit: Hot Bread Kitchen • รายได้ 67% มาจากการขายขนมปัง – ฝั่ง “ธุรกิจ” • รายได้ 33% มาจากการได้ทุนสนับสนุนโครงการฝึกอาชีพ 6 เดือน ให้กับ คนทาขนมปัง คือแรงงานข้ามชาติผู้มีรายได้น้อย – ฝั่ง “สังคม”
16
3. กิจการเพื่อสังคมย่อมดีกว่า CSR กับ NGO เพราะยั่งยืน กว่า? • ไม่ใช่! • การนากิจการเพื่อสังคมไปเทียบกับซีเอสอาร์หรือเอ็นจีโอ เป็นการเทียบ ของสามอย่างที่ไม่เหมือนกัน เหมือนกับถามว่า ระหว่าง “สีฟ้า” “สีส้ม” กับ “สีเหลือง” สีไหน “ดี” กว่ากัน • ไม่ว่าจะเป็นกิจการเพื่อสังคม ซีเอสอาร์ หรือเอ็นจีโอ ถ้าบริหารจัดการดีๆ ก็ยั่งยืนได้ทั้งนั้น • กิจการเพื่อสังคมที่เป้าหมายไม่ชัดเจน แผนธุรกิจไม่มี อาจไม่ยั่งยืนเลย • ต้องดูเป็นกรณีๆ ไป วัด “ความสาเร็จ” จาก “ผลลัพธ์ทางสังคม” ที่สร้าง 17
4. บริษัททั่วไปก็นับเป็นกิจการเพื่อสังคมได้ เพราะสร้าง ประโยชน์ต่อสังคม เช่น สร้างงาน อยู่แล้ว? • ไม่ใช่! • บริษัททั่วไปสร้างทั้ง “ผลกระทบเชิงลบ” และ “ผลกระทบเชิงบวก” ต่อ สังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นธรรมชาติของการดาเนินธุรกิจ • ถ้าจะอ้างว่าประโยชน์ต่อสังคม (ผลกระทบเชิงบวก) บางประการที่บริษัท สร้าง คือการ “การบรรลุเป้าหมายทางสังคม” ของ “กิจการเพื่อสังคม” ก็ จะต้องพิสูจน์ก่อนว่า ประโยชน์ทางสังคมนั้นเป็นการ “แก้ปัญหาสังคม” อะไร ปัญหานั้นแก้ไม่ได้ด้วยกลไกตลาด (การแข่งขันของธุรกิจ) หรือไม่ • ถ้าบริษัทไม่จ้าง คนที่ได้งานทากับบริษัทจะตกงาน? ไม่มีที่ไป? 18
5. กิจการเพื่อสังคมสามารถเติบโตเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนและ แข่งขันได้จริงหรือไม่ ?
19
ตลาดบางตลาดดึงดูดทั้งกิจการเพื่อสังคมและธุรกิจกระแสหลัก
20
21
ตัวอย่างธุรกิจเพื่อสังคมด้านการเงิน – Grameen Bank
ปัญหาสังคม • บังคลาเทศเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก ประชาชนมีรายได้ต่อหัวประมาณ 30,000 บาทต่อคนต่อปี • คนจนเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินจากธนาคาร ขาดแหล่งเงินทุนเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว กู้เงินไม่ได้ เพราะขาดหลักทรัพย์ค้าประกัน ต้องใช้แหล่งเงินกู้นอกระบบที่ดอกเบี้ยสูง และไม่ปลอดภัย 22
ผลิตภัณฑ์
• บริการทางการเงินขนาดจิ๋ว (Microfinance) สาหรับคนจน ยอดสินเชื่อเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 5,152 บาท • ไม่ใช้หลักทรัพย์เป็นหลักประกัน แต่ใช้ความไว้เนื้อเชื่อใจทางสังคม • 96% ของลูกค้าเป็นผู้หญิง เพราะพบว่าผู้หญิงบริหารจัดการเงินเพื่อครอบครัวได้ดีกว่า และ ส่งเสริมความเท่าเทียมในสังคมที่ยังกีดกันทางเพศ 23
ความยั่งยืนทางการเงิน • ในปี ค.ศ. 2013 มีพนักงาน 21,851 คน ลูกค้า 8.54 ล้านคน เข้าถึง ประชากร 81,379 หมู่บ้าน สินทรัพย์รวม 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ • อัตรากาไรสุทธิ 6.1% (ตัวเลขปี 2010) • อัตราการชาระคืนสินเชื่ออยู่ที่ 96.67% (ตัวเลขปี 2011)
Source: http://www.grameen.com/index.php?option=com_content&task=view&id=632&Itemid=664
24
ผลลัพธ์ทางสังคม • คนยากจนได้เข้าถึงบริการทางการเงินกว่า 8.5 ล้านคน • เปลี่ยนแนวความคิดที่ว่าคนจนใช้หนี้ไม่ได้ ออมไม่เป็น ผู้หญิงดูแลเงินไม่ได้ และการ ธนาคารประสบความสาเร็จไม่ได้เมื่อต้องทางานบนโครงสร้างพื้นฐานแบบชนบท และทาให้แนวคิด Microfinance ขยายไปทั่วโลก • ในหมู่บ้านเดียวกัน เมื่อเทียบรายได้ต่อครอบครัวของลูกค้าธนาคารกรามีน รายได้จะ สูงกว่าสมาชิกหมู่บ้านที่ไม่ได้เป็นลูกค้าธนาคารประมาณ 50% • มีลูกค้าของธนาคารกรามีนเพียงประมาณ 20% ที่มีรายได้ต่ากว่าเส้นความยากจน เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ใช่ลูกค้าธนาคาร ซึ่งอยู่ที่ 56% • รายได้หลักของลูกค้าธนาคารเปลี่ยนจากการเป็นแรงงานรับจ้างในภาคเกษตรเป็น การสร้างธุรกิจเล็กๆ ของตนเอง 25
ตัวอย่างธุรกิจเพื่อสังคมด้านพลังงาน – d.light design
ปัญหาสังคม: • 1 ใน 3 ของคนบนโลกไม่มีไฟฟ้าใช้ • แหล่งพลังงานสาคัญ คือ ตะเกียงน้ามันก๊าดและเทียนไขที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายสูงของ ครอบครัวยากจน ปล่อยควันพิษ เสี่ยงต่อเหตุไฟไหม้และให้แสงที่ทาลายสายตา 27
ผลิตภัณฑ์
• ตะเกียงพลังงานแสงอาทิตย์ มีหลายรูปแบบใช้เพื่อการอ่านหนังสือ ให้แสงสว่างในครัวเรือนและ ชาร์จโทรศัพท์มือถือ หรือเป็น power grid ในครัวเรือน • สว่างกว่าตะเกียงน้ามันก๊าด 3-10 เท่า แสงไม่ทาลายสายตา • ออกแบบให้ทนทานกับทุกสภาพภูมิประเทศและอากาศ • จาหน่ายผ่านร้านค้าตัวแทนจาหน่าย ที่มีตัวแทนขายตรงเข้าสู่หมู่บ้านต่างๆ
28
ความยั่งยืนทางการเงิน
• ขายได้กว่า 9 ล้านดวง ใน 62 ประเทศทั่วโลกในระยะเวลา 7 ปี • ระดมทุนจากนักลงทุนได้มากกว่า 40 ล้านเหรียญสหรัฐ จากนักลงทุน 8 สถาบัน • รายได้ในปี 2013 ประมาณ 6 ล้านเหรียญสหรัฐ 29
ผลลัพธ์ทางสังคม
Source: dlightdesign.org. 30
ตัวอย่างธุรกิจเพื่อสังคมด้านแฟชั่น – Rags to Riches
ปัญหาสังคม: • Payatas สลัมย่านกองขยะที่ใหญ่ที่สุด หนึ่งในพื้นที่ชุมชนยากจนที่สุดในฟิลิปปินส์ • แม่บ้านมีรายได้เพียงประมาณ 8-12 บาท ต่อวันจากการถักพรมเช็ดเท้าขายจากเศษผ้าที่เหลือทิ้งจาก โรงงานเสื้อยืด พ่อค้าคนกลางเริ่มเข้ามา ทาให้เกิดการซื้อขายเศษผ้าหลายๆ ทอด ท้ายสุดแม่บ้านจึง ต้องซื้อเศษผ้าในราคาแพง แต่ขายพรมได้ในราคาถูก เพราะไม่สามารถเข้าถึงตลาด
31
ผลิตภัณฑ์
• จากพรมเช็ดเท้ากลายเป็นกระเป๋าถือสตรีและของแต่งบ้านที่ออกแบบโดยดีไซเนอร์ ชั้นนาของประเทศ และผลิตโดยแม่บ้านในสลัม • ในฟิลิปปินส์ จาหน่ายผ่านห้างสรรพสินค้าชั้นนา ซุ้มขายสินค้า ออนไลน์ และลูกค้า ธุรกิจ เช่น ธนาคาร สายการบิน • ในต่างประเทศจาหน่ายผ่านร้านแฟชั่น เช่น Anthropology และ Country Road 32
ความยั่งยืนทางการเงิน • จากปีแรกที่เริ่มกิจการโดยมีเงินทุนที่ได้รับจากการบริจาคก้อนแรกเพียง 200 เหรียญสหรัฐ ยอดขายปี 2014 ของ RIIR เติบโตกว่า 3 เท่าจากปีแรก • ในปี ค.ศ. 2010 บริษัทการลงทุนเพื่อสังคม คือ LGT Venture Philanthropy ได้ร่วมเป็นพันธมิตรและลงทุนใน RIIR โดยเข้าซื้อหุ้นมูลค่า 78,000 เหรียญสหรัฐ ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่า (soft loan) อีก 78,000 เหรียญสหรัฐเพื่อใช้ในการขยายกิจการ
33
ตัวอย่างธุรกิจเพื่อสังคมด้านอาหาร – Revolution Foods
ปัญหาสังคม • 3 ทศวรรษที่ผ่านมา สัดส่วนของเด็กที่เป็นโรคอ้วนในสหรัฐอเมริกาเพิ่มสูงขึ้นถึง 3 เท่า และปัจจุบัน 1 ใน 3 ของเด็กทั่วประเทศประสบปัญหา ‘น้าหนักเกิน’ มีส่วนทาให้เกิดโรคหัวใจ เบาหวาน ปัญหา ทางเดินหายใจ ทาให้สูญเสียความมั่นใจในตัวเอง • งานวิจัยพบว่านักเรียนที่กินอาหารกลางวันที่โรงเรียนมีโอกาสที่จะอ้วนมากกว่านักเรียนที่นาอาหาร กลางวันมาจากบ้านถึงร้อยละ 29 เพราะอาหารที่โรงเรียนจัดให้ไม่ถูกหลักโภชนาการ และหลาย โรงเรียนก็มีงบประมาณไม่เพียงพอที่จะจัดซื้ออาหารกลางวันคุณภาพสูง 34
ผลิตภัณฑ์
• ชุดอาหารกลางวันในโรงเรียน และอาหารพร้อมทานที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ดีต่อสุขภาพ อร่อย หน้าตาน่ากิน และราคาอยู่ในงบประมาณที่โรงเรียนพอจ่ายได้ • ชุดอาหารกลางวันทาอาหารสดใหม่ทุกวัน มีส่วนประกอบของผักและผลไม้สด ไม่มีส่วนผสมของ เนื้อและนมที่ใช้ฮอร์โมนเร่งการเติบโตหรือยาปฏิชีวนะ อาหารที่แต่งสี แต่งกลิ่น แต่งรส ใส่สารกัน บูด มีส่วนผสมของไขมันทรานส์สังเคราะห์ หรือน้าตาลข้าวโพด ซึ่งมีฟรักโตสสูง 35
ความยั่งยืนทางการเงิน • ระดมเงินลงทุนได้ 62.8 ล้านเหรียญสหรัฐ จากนักลงทุน 4 สถาบัน • รายได้เติบโตจาก 8 ล้านเหรียญสหรัฐในปี ค.ศ. 2009 เป็น 100 ล้าน เหรียญสหรัฐ ในปี ค.ศ. 2014
36
ตัวอย่างธุรกิจเพื่อสังคมด้านเกษตร – เลมอนฟาร์ม ปัญหาสังคม • ชุมชนมีผลิตภัณฑ์และสินค้าเกษตรแปรรูป แต่ยังขาดตัวกลางในการกระจายสินค้าไปยัง ผู้บริโภค • พ.ศ. 2552 คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อ (Non-Communicable Diseases หรือ NCDs) เช่น มะเร็ง หลอดเลือดสมอง หัวใจ ขาดเลือด เบาหวาน และความดันโลหิตสูงกว่า 300,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 73 ของ ผู้เสียชีวิตทั้งหมด สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ ผู้คนเสียชีวิตด้วยโรค NCDs 63% ในช่วงเวลา เดียวกัน
37
ผลิตภัณฑ์
• สินค้าเกษตรอินทรีย์คุณภาพสูงโดยเลมอนฟาร์มจะรับซื้อโดยตรงจากเกษตรกรต้นทางในราคาที่ตกลง ร่วมกันระหว่างร้านเลมอนฟาร์มและเกษตรกร • ร้านสะดวกซื้อที่ไม่จาหน่ายสินค้าที่ไม่เป็นมิตรต่อสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ และน้าอัดลม 38
ความยั่งยืนทางการเงิน รายได้รวม เลมอนฟาร์ม (ล้านบาท) 500.00 400.00 300.00 200.00 100.00 0.00 2554
2555
2556
2557
2558
ปีงบการเงิน
• ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา รายได้ของเลมอนฟาร์มเติบโตอย่างต่อเนื่องปีละ มากกว่าร้อยละ 10 • พ.ศ. 2558 เลมอนฟาร์มมีอัตรากาไรสุทธิร้อยละ 3.6 39
6. กิจการเพื่อสังคมต้องไม่จ่ายเงินปันผล? • ไม่จาเป็น แนวคิด “ธุรกิจเพื่อสังคม” (social business) Type I ของ Mohammad Yunus ระบุว่านักลงทุนสามารถทยอยรับเงินต้นคืนได้ แต่ จะไม่ได้รับเงินปันผล เนื่องจากเป้าหมายของการลงทุนในธุรกิจเพื่อสังคม เป็นไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางสังคมผ่านการปฏิบัติงานของบริษัท ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของนักลงทุน • ในอังกฤษ กิจการเพื่อสังคมแบบ Community Interest Company (CIC) ให้ปันผลได้ไม่เกิน 35% (เพิ่มขึ้นจาก 20% เมื่อปี 2014) • กิจการเพื่อสังคมจานวนมากใน สหรัฐอเมริกา อินเดีย และบังคลาเทศไม่ อยู่ภายใต้ข้อจากัดทากฎหมายเรื่องเงินปันผล 40
7. กิจการเพื่อสังคมต้องนากาไรไปหมุนเวียนคืนสู่ชุมชน? • ไม่จาเป็น กิจการเพื่อสังคมในแบบอังกฤษหรือธุรกิจเพื่อสังคมในแบบดร. ยูนุสมีการคานึงถึงเรื่องนี้ (ธุรกิจเพื่อสังคม Type II มีชุมชน คนยากจน หรือผู้ด้อยโอกาสเป็นเจ้าของกิจการ กาไรที่ได้มาจึงควรคืนสู่สมาชิก กิจการหรือชุมชน) • มีรายงานในอังกฤษว่าทาได้จริงยาก เพราะแค่ทาธุรกิจและสร้างผลลัพธ์ ทางสังคมก็ยากแล้ว • หลายกิจการเพื่อสังคมทางานในระดับโลก ไม่ใช่เฉพาะในชุมชนท้องถิ่น • ควรดู “ผลลัพธ์ทางสังคม” แท้จริงว่าพยายามแก้ไขปัญหาสังคมอะไร มากกว่าประโยชน์ที่กลับคืนสู่ชุมชน 41
8. ลูกค้าซื้อของจากกิจการเพื่อสังคมเพราะต้องการช่วยสังคม? • ไม่จาเป็น คนเราจ่ายเงินเพื่อแลกกับคุณค่า (value) ของสินค้าหรือบริการ จึงย่อมมีการเปรียบเทียบเงินที่พวกเขาต้องจ่ายให้กับสิ่งที่ได้รับ • ความสงสารและ “ความดี” ไม่ใช่สิ่งที่จะทาให้คนจ่ายเงินในระยะยาว และคุณค่าทางสังคมไม่ใช่คุณค่าหลักของสินค้าหรือบริการที่คนจะจ่ายเงิน ให้ • ขายเรื่องทางสังคมได้ แต่ต้องอธิบาย “ผลลัพธ์ทางสังคม” ได้ชัดเจน • ซื้อสินค้าและบริการ VS บริจาค
42
9. กิจการเพื่อสังคมต้องขายราคาถูก? • ใช่ ถ้าพยายามแก้ปัญหาเรื่องการเข้าถึง (access) ของผู้รายได้น้อย เช่น พลังงาน ยารักษาโรค เครื่องมือการเกษตรและบริการทางการเงิน (ลูกค้า คือคนจน) • ไม่ใช่ หากต้องการขายของเน้น “คุณค่า” เพื่อเอากาไรไปสร้างคุณค่าทาง สังคม • ไม่จาเป็น หากเป็นกิจการเพื่อสังคมที่ต้องการสร้างความเป็นธรรมในห่วง โซ่อุปทาน
44
ขายในราคาที่ลูกค้าซื้อได้
ขายในราคาที่สะท้อน “คุณค่า” ของสินค้า
กิจการเพื่อสังคม เป้าหมายหลัก:
• การแก้ปัญหาสังคมหรือสิ่งแวดล้อม
โครงสร้าง:
• นิติบุคคลหลากหลายรูปแบบตั้งแต่บริษัทจากัดจนถึง องค์กรไม่แสวงกาไร
“ความสาเร็จ” ของ องค์กร
• วัดจากความสามารถในสร้าง “ผลลัพธ์ทางสังคม” ที่ ตกถึงกลุ่มเป้าหมายจริงๆ
“ความยั่งยืนทาง การเงิน”ขององค์กร
• เกิดจากการมี “โมเดลธุรกิจ”ที่ใช้การได้และแข่งขันได้ ไม่ต้องพึ่งพาเงินสนับสนุนจากภายนอกตลอดไป 47
48
3 – 4 กันยายน 2559
49
ทาความรู้จักเราที่ www.salforest.com http://www.facebook.com/SalforestCo สนใจติดต่อ info@salforest.com โทร 02 258 7383, 081 806 8555 บริษัท ป่าสาละ จากัด 2 ซอย สุขุมวิท 43 คลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
50