กาแฟอาข่า อ่ามา - กรณีศึกษา การบริหารทรัพยากรบุคคลของ SME ที่มีวิธีปฏิบัติด้านความยั่งยืน

Page 1

กรณีศึกษา การบริหารทรัพยากรบุคคล ของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบาย และวิถีปฏิบัติด้านความยัง ่ ยืน

บริษัท กาแฟอาข่า อ่ามา จ�ำกัด

จัดท�ำโดย บริษัท ป่าสาละ จ�ำกัด สิงหาคม 2562 ด�ำเนินการภายใต้ทุนสนับสนุนของ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


หัวหน้าโครงการวิจัย: ภัทราพร ยาร์บะระ นักวิจัย: กนกพร กลิ่นเกลา, จินต์ หวังตระกูลดี, ธัญธิดา สาสุนทร บรรณาธิการ: เดือนเพ็ญ ลิ้มศรีตระกูล ผู้ประสานงาน: กุลณัฐ จิระวงศ์อร่าม ที่ปรึกษาโครงการวิจัย: นายแพทย์ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล: กัญญ์ทิพา เครือแก้ว ณ ล�ำพูน

จัดท�ำโดยทุนสนับสนุนงานวิจัยจากส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99/8 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2343-1500 โทรสาร 0-2343-1551 อีเมล info@thaihealth.or.th www.thaihealth.or.th บริษัท ป่าสาละ จ�ำกัด เลขที่ 2 ซอยสุขุมวิท 43 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2258-7383 อีเมล info@salforest.com www.salforest.com


3

บทน�ำ กรณีศึกษาการบริหารทรัพยากรบุคคลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบาย และวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “รางวัลองค์กรที่น่าท�ำงานด้วยที่สุด ภายใต้ แนวคิดการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างยั่งยืน” โดยบริษัท ป่าสาละ จ�ำกัด ด�ำเนินการภายใต้ทุนสนับสนุนของส�ำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คณะวิจัยได้ตั้งค�ำถามที่ต้องการศึกษาไว้ข้อหนึ่งว่า บริษัทที่มีความยั่งยืน (sustainability) นั้น มีการดูแลและบริหาร คนภายในองค์กรอย่างไร บริษัทจึงจะมีความ “ยั่งยืน” ได้ และพุ่งเป้าของค�ำถามนี้ไปที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือที่เรียกโดยย่อว่า SMEs ที่คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 99 ของวิสาหกิจทั้งหมดของประเทศไทย (วะสี, 2018) และมี บทบาทส�ำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ “ความยัง่ ยืน” เป็นค�ำทีถ่ กู ใช้อย่างหลากหลาย อย่างไรก็ดี ความยัง่ ยืนในหนังสือเล่มนีห้ มายถึงการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน (sustainable development) หรือ “วิถีการพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการปัจจุบัน โดยไม่ลิดรอนความสามารถ ของคนรุน่ หลังในการตอบสนองความต้องการของพวกเขา” (The World Commission on Environment and Development., 1987) ซึ่งเป็นความหมายที่ถูกอ้างอิงในงานวิชาการมากที่สุดความหมายหนึ่ง เมื่อพูดถึงธุรกิจที่ยั่งยืน (sustainable business) หลายคนมักจะนึกถึงหลัก “ไตรก�ำไรสุทธิ (Triple Bottom Line)” (Elkington, 1998) ทีห่ ากอธิบายด้วยภาพ จะมีวงกลม 3 วงทีแ่ ทนผลก�ำไร 3 ด้านของธุรกิจมาสอดประสานกัน คือ วงของ เศรษฐกิจ วงของสังคม และวงของสิง่ แวดล้อม เพือ่ แสดงความหมายว่าองค์กรสามารถสร้างผลลัพธ์ในระยะยาวทัง้ ด้านการ เงิน สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งผลลัพธ์ทั้ง 3 ด้านไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบล้วนมีความสัมพันธ์กัน และ เชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วงกลมทั้งสามแสดงให้เราเห็นว่าการวัดผลลัพธ์ของธุรกิจ เพียงแค่ตัวเลขก�ำไร-ขาดทุนไม่สามารถสะท้อนผลลัพธ์ทั้งหมดที่ธุรกิจสร้างขึ้น


4

ธุรกิจที่ยั่งยืนที่กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้หมายถึงธุรกิจที่ใช้หลักคิดด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ไม่ได้หมายถึงธุรกิจที่ อยู่รอดมาได้ยาวนาน และน่าจะอยู่ต่อไปได้ในอนาคต) แต่มุ่งศึกษาไปที่ธุรกิจที่รับผิดชอบกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย มีมมุ มองระยะยาวในการลดผลกระทบเชิงลบต่อสังคมและสิง่ แวดล้อม ในขณะทีห่ ลายแห่งก็มงุ่ เพิม่ คุณค่าเชิงบวกให้สงั คม และสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วย บ่อยครั้งที่ความยั่งยืนถูกมองว่าเป็นเรื่องของบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น เพราะมีทุนหนาและมีทรัพยากรครบครัน นอกจากนี้การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะที่เหมาะสม การเลือกใช้วัสดุและกระบวนการผลิตที่ดี ต่อสิง่ แวดล้อม รวมถึงด้านสังคม เช่น การสร้างความเป็นธรรมในห่วงโซ่อปุ ทาน การรักษาสิทธิของแรงงาน ทัง้ หมดมักถูก มองว่าเป็นค่าใช้จา่ ยที่ไม่ชว่ ยให้เกิดรายได้ หรือเป็นกิจกรรมทีห่ รูหรา คือต้องมีกำ� ไรจ�ำนวนมากและทรัพยากรทีเ่ หลือเฟือ ก่อนค่อยลงมือท�ำ แต่ด้วยสถานการณ์ที่เปลีย่ นไปทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น ทรัพยากรธรรมชาติที่ร่อยหรอ วิกฤตสภาพอากาศ เปลี่ยนแปลง (climate change) ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ลูกค้า ชุมชน ผู้ถือหุ้น ที่เพิ่มทวีขึ้น ปัจจัยเหล่า นีไ้ ด้กลายเป็นความท้าทายทีผ่ ลักดันให้ธรุ กิจหลายแห่งต้องปรับและขยับเข้าสูค่ วามยัง่ ยืน เพือ่ ลดความเสีย่ งและเพิม่ โอกาส ในการอยู่รอด นอกจากนีย้ งั มีบริษทั จ�ำนวนหนึง่ ทีเ่ ริม่ สร้างผลิตภัณฑ์และบริการทีส่ ร้างคุณค่าเชิงบวกให้สงั คมหรือรักษาสิง่ แวดล้อม เช่น สินค้าออร์แกนิก สินค้าส�ำหรับตลาดฐานราก และสินค้ากลุ่ม “กรีน” ฯลฯ สินค้าเหล่านี้อยู่ในตลาดที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และอาจช่วยต่อความสามารถในการแข่งขันให้บริษัทในระยะยาวได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเพื่อความอยู่รอดหรือเพื่อการเติบโต ความยั่งยืนจึงไม่ได้เป็นเรื่องที่จ�ำกัดว่าต้องรวยแล้วค่อยท�ำ หรือ ท�ำเพื่อความ “ดูดี” อีกต่อไป อย่างไรก็ตาม ส�ำหรับธุรกิจ SMEs กับความยั่งยืน หากดูผิวเผินอาจจะดูเป็นเรื่องไกลตัว เพราะ SMEs มีข้อจ�ำกัดที่ มากกว่าบริษทั ขนาดใหญ่ เช่น ไม่มงี บประมาณ ขาดคน ขาดความรู้ หรือขาดทรัพยากร รวมทัง้ เสียเปรียบในด้านประโยชน์ จากการประหยัดต่อขนาด (economies of scale) นอกจากนี้ SMEs หลายแห่งมองว่าการท�ำให้กิจการอยู่รอดได้ทางการ เงินเป็นภารกิจที่ส�ำคัญที่สุด แต่หากความยั่งยืนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างความอยู่รอด และช่วยส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจใน ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ กลางหรือเล็ก ความยั่งยืนก็อาจเป็นเรื่องไม่ไกลตัวของ SMEs อีกต่อไป โดยเฉพาะ แรงกดดันทัง้ เรือ่ งสังคมและปัญหาด้านสิง่ แวดล้อมจะไม่เพียงจ�ำกัดอยูใ่ นธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ละอยูใ่ นทุกส่วนทีไ่ ล่เรียงตาม กันมาในสายห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) กรณีศกึ ษาฉบับนีจ้ งึ มุง่ แสดงตัวอย่างว่า SMEs ก็กา้ วสูก่ ารเป็นธุรกิจทีย่ งั่ ยืนได้ ผ่านเรือ่ งราวของบริษทั ทัง้ 10 แห่ง ซึง่ ผ่านการพิจารณาเพื่อเชิญให้เข้าร่วมเป็นกรณีศึกษา (ดูคุณสมบัติ SMEs ที่มีวิธีคิด นโยบาย และวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน ในหน้าสุดท้าย) กรอบคิดด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ใช้ในกรณีศึกษา

เพือ่ ท�ำความเข้าใจว่าบริษทั SMEs ทัง้ 10 แห่งว่ามีการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างไร ถึงส่งผลให้บริษทั มีความยัง่ ยืน คณะวิจัยใช้กรอบคิดการจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อความยั่งยืนตามช่วงวงจรชีวิตของพนักงาน (employee life-cycle) (Savitz & Weber, 2013) ที่แบ่งได้เป็น 5 ช่วงของการท�ำงานในองค์กร ดังนี้ • การคัดเลือกพนักงาน เช่น การสรรหาพนักงาน การสัมภาษณ์และทดสอบเพื่อเข้าท�ำงาน การเตรียมความพร้อมเมื่อ เริ่มงานในต�ำแหน่งใหม่ • การบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ เช่น การฝึกอบรม การเลือ่ นต�ำแหน่ง การวางแผนความก้าวหน้าในอาชีพ (career path) • การให้ผลตอบแทนและการรักษาพนักงาน เช่น ค่าตอบแทน สวัสดิการทั้งในรูปตัวเงินและไม่ใช่เงิน การให้รางวัลและ การลงโทษ


5

• การบริหารการปฏิบัติงานและการวางแผนก�ำลังคน เช่น การประเมินผลงาน โครงสร้างองค์กร • การพ้นจากการท�ำงาน เช่น การลาออก การให้ออกและการเกษียณอายุ รวมไปถึงการวิเคราะห์ปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งเสริมความยั่งยืนขององค์กร เช่น วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรมองค์กร แรง จูงใจของผู้บริหาร ฯลฯ อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากบริษัทที่เป็นกรณีศึกษาในเอกสารฉบับนี้ ในโครงการเดียวกันยังมีกรณีศึกษาของ SMEs อีก 9 แห่ง ที่มีขนาด ประเภทธุรกิจ วิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลและวิธีด�ำเนินธุรกิจบนแนวคิดด้านความยั่งยืนที่แตก ต่างกัน ได้แก่ 1. บริษัท แดรี่โฮม จ�ำกัด 2. บริษัท โลเคิล อไลค์ จ�ำกัด 3. บริษัท โอเพ่นดรีม จ�ำกัด 4. บริษัท สวนเงินมีมา จ�ำกัด 5. บริษัท กาแฟอาข่า อ่ามา จ�ำกัด 6. บริษัท ฮาร์โมนี ไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด 7. บริษัท นิธิฟู้ดส์ จ�ำกัด 8. ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด สมุยอักษร 9. บริษัท พีซรีสอร์ท จ�ำกัด 10. บริษัท ซาเรี่ยน จ�ำกัด ท่านสามารถดาวน์โหลดกรณีศึกษาของแต่ละบริษัทได้จากเว็บไซต์ www.salforest.com > knowledge > publication หรือติดต่อขอรับหนังสือ “SMEs หัวใจใหญ่ – ดูแลคนอย่างไรให้ธุรกิจยั่งยืน” ที่เป็นบทสรุปย่อของกรณีศึกษาบริษัททั้ง 10 แห่งได้จากเว็บไซต์ www.salforest.com เช่นกัน


6


บริษัท กาแฟอาข่า อ่ามา จ�ำกัด รู้จักอาข่า อ่ามา บริษัท กาแฟอาข่า อ่ามา จ�ำกัด เป็นกิจการเพื่อสังคมที่ท�ำธุรกิจกาแฟครบวงจร เริ่ม ด�ำเนินการเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553 โดยอายุ จือปา แต่คนส่วนมากเรียกเขาด้วยชื่อ เล่นว่า “ลี” พ่อแม่ของเขาเป็นชาวอาข่า ที่หนีภัยสงครามคอมมิวนิสต์จากประเทศจีน มา อาศัยอยู่ที่บ้านแม่จันใต้ ต�ำบลท่าก๊อ อ�ำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย หมู่บ้านห่างไกลที่ ถนนลาดยาง ไฟฟ้า น�ำ้ ประปา และอินเทอร์เน็ตยังเข้าไม่ถงึ อายุเกิดและเติบโตทีน่ ี่ และโชคดี ที่พ่อแม่ของเขาเห็นความส�ำคัญของการศึกษา จึงส่งเขาเข้าโรงเรียนและสนับสนุนให้เรียน ต่อในระดับมหาวิทยาลัย จนอายุส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะมนุษยศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ วิชาเอกภาษาอังกฤษ (เกียรตินยิ มอันดับ 2) มหาวิทยาลัยราชภัฏจังหวัด เชียงราย ภายในระยะเวลา 2 ปี 8 เดือน และภาษาอังกฤษนี้เองที่กลายเป็นพาสปอร์ตส�ำคัญ ในชีวิตการท�ำงานของเขา หลังจากจบการศึกษา อายุเริ่มงานด้วยการเป็นเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิเกื้อฝันเด็ก องค์กร ไม่แสวงหาก�ำไรที่ให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาแก่เด็กยากไร้ ในพื้นที่ห่างไกลทางภาค เหนือ ซึง่ ก่อตัง้ และได้รบั ทุนสนับสนุนจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เขาท�ำงานทีน่ ี่ 4 ปี จนได้ เป็นผู้จัดการโครงการก็ลาออก เพราะอยากท�ำกิจการเพื่อสังคม เพื่อช่วยเหลือครอบครัว และคนในชุมชนบ้านเกิดที่ท�ำไร่กาแฟ เนื่องจากพบว่าแม้ครอบครัวและคนในชุมชนจะปลูก กาแฟเยอะ แต่มีปัญหาในเรื่องการกระจายสินค้า เพราะอยู่ในพื้นที่ห่างไกล จึงต้องพึ่งพ่อค้า คนกลางที่เข้าไปรับซื้อ แม้ว่าจะได้ราคาที่ไม่เป็นธรรม นอกจากนี้คนในชุมชนยังอยากได้รับ ความช่วยเหลือในด้านการผลิตเมล็ดกาแฟให้มีคุณภาพด้วย ท�ำให้อายุตัดสินใจก่อตั้งธุรกิจ จ�ำหน่ายเมล็ดกาแฟภายใต้ชื่ออาข่า อ่ามา เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมา

A k h a A ma Cof fe e

7


8

อย่างไรก็ดี เงินเก็บจากการท�ำงาน 80,000 บาทของเขา ไม่เพียงพอที่จะเริ่มต้นกิจการ อายุจึงน�ำแผนธุรกิจที่เขียน ไว้ตงั้ แต่ พ.ศ. 2552 ช่วงทีย่ งั ท�ำงานอยูท่ มี่ ลู นิธฯิ และได้รบั การชีแ้ นะให้ปรับแก้ในเรือ่ งแผนธุรกิจจากผูก้ อ่ ตัง้ มูลนิธเิ กือ้ ฝัน เด็ก เจ้านายของเขาซึง่ เป็นนายธนาคารเก่า อายุนำ� แผนธุรกิจนีไ้ ปยืน่ ให้ธนาคารพิจารณาเพือ่ ขอเงินกู้ แต่เนือ่ งจากเขาไม่มี หลักทรัพย์ค�้ำประกัน ไม่มีเครดิตทางการเงิน ไม่มีประสบการณ์ทางธุรกิจ แถมอายุยังไม่ถึง 25 ปี แผนธุรกิจของเขาจึง ไม่มีธนาคารใดปล่อยกู้ โชคดีที่อายุทราบข่าวว่าครอบครัวชาวสวิส ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้อุปถัมภ์ของมูลนิธิเกื้อฝันเด็ก อยากจะน�ำเอาดอกผลจาก เงินฝากในธนาคารมาตั้งเป็นกองทุน เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่หนุ่มสาวที่เพิ่งส�ำเร็จการศึกษา และต้องการท�ำกิจการเพื่อ สังคม เพราะเริ่มมองเห็นว่าการให้ความช่วยเหลือแบบบริจาคอาจเป็นการช่วยเหลือที่ไม่ยั่งยืน เนื่องจากผู้รับความช่วย เหลือไม่สามารถช่วยตัวเองได้ในระยะยาว พวกเขาสนใจแผนธุรกิจที่อายุส่งไปให้พิจารณา เพื่อขอความสนับสนุนทางการ เงิน อายุพาพวกเขาไปดูไร่กาแฟของครอบครัวและคนอืน่ ๆ ในชุมชนแม่จนั ใต้ สุดท้ายอายุกเ็ ป็นผูป้ ระกอบกิจการเพือ่ สังคม รายแรกที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนนี้ โดยได้รับเงินสนับสนุนกว่า 300,000 บาท ตามที่ประมาณการไว้ อายุจึงได้เริ่ม ต้นธุรกิจกาแฟเพื่อสังคมเมื่อปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 โดยใช้ชื่อแบรนด์ว่า Akha Ama (อาข่า อ่ามา) เพื่อบ่งบอก ถึงชาติพันธุ์ของคนปลูกกาแฟแบรนด์นี้ (อาข่า) และความรักที่เขามีต่อแม่ (อ่ามา) โดยใช้ภาพแม่ของเขาเองในชุดชนเผ่า อาข่าเป็นโลโก้ของสินค้าด้วย ตามแผนธุรกิจที่วางไว้ อายุจะจ�ำหน่ายเมล็ดกาแฟจากชุมชนแม่จันใต้แบบคั่วส�ำเร็จ บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม ไม่ขายเป็นผลกาแฟเชอร์รี (ผลกาแฟสดสีแดงที่เพิ่งเก็บจากต้น)1 แบบที่เคยท�ำในอดีต ส�ำหรับเมล็ดกาแฟที่น�ำมาคั่ว จ�ำหน่ายจะเป็นเมล็ดกาแฟของเกษตรกรในชุมชนแม่จันใต้ที่มาร่วมเป็นสมาชิก โดยน�ำผลผลิตกาแฟมาขายให้จ�ำนวน เท่าไรก็ได้ตามความสมัครใจ อุปสรรคแรกทีพ่ บคือ แม้ชาวบ้านแม่จนั ใต้จะเห็นด้วยกับโมเดลของอาข่า อ่ามา แต่ไม่มใี ครกล้าเข้ามาเป็นสมาชิกและ น�ำกาแฟมาให้ขาย ทุกคนบอกว่าให้อายุลงมือท�ำไปก่อน ถ้าไปได้ดีจึงจะเข้าร่วมด้วย อายุรู้สึกท้อ แต่เมื่อได้ฟังแม่อธิบาย ว่า เนื่องจากชาวบ้านเจอกับความผิดหวังมามากจนไม่ยอมเชื่อใจใคร เขาก็รู้สึกว่ายุติธรรมดี และเริ่มต้นกิจการจากการใช้ เมล็ดกาแฟของครอบครัวในการท�ำกาแฟอาข่า อ่ามา “ตอนอายุ 23 ไปคุยกับชาวบ้าน ชาวบ้านมองเราเป็นเด็กวัยรุ่นไฟแรง เขาบอกให้ลี (อายุ) ท�ำก่อนเลย อันนั้นคือ เหตุผลที่ว่าท�ำไมเริ่มจากครอบครัวตัวเอง แต่มันก็แฟร์ตรงที่ว่าเราเห็นแล้วว่าถ้าเกิดเราเอาชีวิตของหลายๆ คนมาเสี่ยง มันจะไม่คุ้ม เพราะเราไม่มีประสบการณ์ คือพื้นฐานผมช่วงนั้นมีแต่งานฝั่งสังคม แต่ยังไม่เคยท�ำกิจการมาก่อนเลย” อายุ อธิบายถึงจุดเริ่มต้นของกิจการ อุปสรรคที่ 2 ที่อายุพบคือ เจ้าของร้านกาแฟ ร้านอาหาร หรือเจ้าของโรงแรมในเชียงใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ เขาน�ำเมล็ดกาแฟไปขาย ไม่เชื่อว่ากาแฟไทยจากแม่จันใต้จะมีคุณภาพดี ดังนั้นในช่วงแรกอายุจึงต้องพยายามแจกกาแฟ เพื่อให้คนได้ลองชิม แต่การขายกาแฟก็ยังต�่ำกว่าเป้าที่วางไว้ว่าควรจะขายได้เดือนละ 25,000 บาท เพราะ 3 เดือนผ่าน ไป เขาก็ขายกาแฟได้ไม่ถึง 20,000 บาท เมื่อแผนการขายส่งกาแฟให้กับผู้ประกอบการไม่ได้ผล อายุจึงเริ่มคิดว่าเขาควรเพิ่มการขายปลีก โดยเปิดร้านขาย กาแฟ เพื่อเปิดตลาดลูกค้าผู้บริโภคอีกทางหนึ่ง “ถ้าไม่ถึงเวลา เราจะไม่รู้เลยว่าต้องท�ำอะไร เพราะตอนแรกเรามองแค่เรื่องขายส่ง แต่พอไม่เวิร์กแล้วคิดว่าจะขยาย ไปยังผู้บริโภคโดยตรง จึงทราบว่าตอนนัน้ คนยังไม่พร้อมทีจ่ ะซื้อเมล็ดกาแฟไปบดและชงดื่มเอง เพราะที่บ้านไม่มอี ุปกรณ์ ประกอบกับเพื่อนๆ มักบ่นว่า ท�ำไมไม่เคยได้กินกาแฟของลีเลยเวลามาที่ออฟฟิศ เลยแบ่งเงินทุนไปซื้อเครื่องท�ำกาแฟ แบบที่ใช้ตามบ้านมา 1 เครื่อง ใครมาแล้วอยากชิมกาแฟเราก็ชงให้เขากิน แล้วเขาก็จ่ายเงิน ถ้าเขาชอบก็ซื้อเมล็ดกาแฟ 1

กาแฟเชอร์รีคือผลกาแฟสดสีแดงจากต้นกาแฟ หากเกษตรกรขายกาแฟเชอร์รีจะได้ราคาน้อยกว่าการขายกาแฟกะลา (parchment coffee) หรือเมล็ด กาแฟดิบ กาแฟกะลาคือผลกาแฟเชอร์รที ถี่ กู น�ำไปแปรรูปโดยขัดสีสว่ นทีเ่ ป็นเปลือก (pericarb) ออก โดยกระบวนการแปรรูปกาแฟแบบแห้งหรือแบบ เปียก กาแฟกะลาจะถูกน�ำไปแปรรูปเป็นกาแฟสาร (green bean) แล้วค่อยน�ำกาแฟสารไปคั่วเพื่อจ�ำหน่ายไปยังร้านค้าส่งและปลีก รวมถึงร้านกาแฟ และผู้บริโภค การคั่วถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนในการสร้างมูลค่าเพื่อให้เมล็ดกาแฟมากกว่าการขายเมล็ดกาแฟดิบ


กลับไปด้วย” อายุเล่าถึงจุดเริ่มต้นของร้านกาแฟอาข่า อ่ามา สาขาแรก ซึ่งอยู่ในท�ำเลที่ค่อนข้างหลบๆ ซ่อนๆ เพราะเขา แบ่งมุมหนึ่งของพื้นที่ชั้นล่างด้านหลังของอพาร์ตเมนต์ในถนนหัสดิเสวี ซอย 3 ในจังหวัดเชียงใหม่ ส�ำหรับขายกาแฟด้วย จากเดิมที่คิดว่าจะเช่าไว้เพื่อท�ำเป็นออฟฟิศและคั่วกาแฟเท่านั้น โดยช่วงเริ่มต้นอายุอาศัยเรียนรู้วิธีการชงกาแฟจากยูทูบ ก่อนที่เพื่อนๆ จะลงขันให้เขาไปเข้าคอร์สกาแฟที่สถาบันเลอ กอร์ดอง เบลอ ในกรุงเทพฯ ซึ่งท�ำให้เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เรื่องกาแฟอย่างจริงจัง นอกจากเปิดร้านกาแฟแล้ว อายุยงั มองหาช่องทางทีจ่ ะพิสจู น์ให้ทกุ คนเห็นว่าเมล็ดกาแฟอาข่า อ่ามาไม่ธรรมดา กลยุทธ์ ทีอ่ ายุใช้กค็ อื การส่งเมล็ดกาแฟไปให้สมาคมเมล็ดกาแฟพิเศษแห่งยุโรป (Specialty Coffee Association of Europe: SCAE) พิจารณาคัดเลือกเพื่อน�ำไปใช้บนเวทีการเฟ้นหาคนที่เก่งที่สุดในการชง ชิม และคั่วกาแฟในงาน SCAE พ.ศ. 2553 ซึ่งจัด ขึ้นที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งปรากฏว่าเมล็ดกาแฟอาข่า อ่ามาเป็น 1 ใน 21 แบรนด์จากทั่วโลก ที่ได้รับเลือกให้ ใช้บนเวทีนี้ “ปีนนั้ หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีตเจอร์นลั เขียนถึงกาแฟอาข่า อ่ามาเป็นมุมเล็กๆ ว่า มีการใช้เมล็ดกาแฟจากประเทศไทย บนเวทีนี้ด้วย” อายุเล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ แต่การรับรู้ของคนไทยยังอยู่ในวงแคบ จนกระทัง่ เมล็ดกาแฟอาข่า อ่ามาได้รบั เลือกจาก SCAE อีกใน พ.ศ. 2554 และ 2555 ซึง่ งานจัดขึน้ ทีเ่ นเธอร์แลนด์และ ออสเตรีย ตามล�ำดับ คนไทยที่ตามมาชิมกาแฟที่ร้านอาข่า อ่ามาที่ซ่อนตัวอยู่ในถนนหัสดิเสวี ซอย 3 ของเมืองเชียงใหม่ ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะได้ทราบข่าวจากสื่อต่างประเทศที่เขียนถึงอายุ และกาแฟอาข่า อ่ามามากขึ้นๆ “เนเธอร์แลนด์เป็นเวทีที่คนยุโรปฮือฮามาก เมื่อเมล็ดกาแฟของเราได้รับคัดเลือกเป็นปีที่ 2 Discovery Channel ก็มา สัมภาษณ์ว่าลีท�ำอะไรอยู่ ท�ำยังไง ท�ำให้ลีเป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่ที่เจ๋งที่สุดคือ พ.ศ. 2555 ซึ่งกาแฟของอาข่า อ่ามาได้รับ เลือกไปใช้เป็นปีที่ 3 ที่เวียนนา ออสเตรีย เพราะในวันสุดท้ายมีครอบครัวไทยครอบครัวหนึง่ ที่อยู่ในออสเตรียจัดงานปาร์ตี้ หลังจากจบงาน โดยใช้ธีมว่า “One Night in Bangkok” ซึ่งมีทั้งอาหารไทยและกาแฟไทย (กาแฟอาข่า อ่ามา) ให้ลิ้มลอง คราวนี้ทั้ง BBC ทั้ง Lonely Planet ก็มาสัมภาษณ์ลี” หลังจากร้านกาแฟอาข่า อ่ามา สาขาแรกได้รับการตอบรับมากขึ้นๆ อายุก็ตัดสินใจเปิดร้านกาแฟอาข่า อ่ามา สาขาที่ 2 ใน พ.ศ. 2556 คราวนี้เขาเลือกท�ำเลริมถนนราชด�ำเนิน ซึ่งใกล้วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวส�ำคัญ ของเชียงใหม่ และเป็นย่านถนนคนเดินในบ่ายวันอาทิตย์ และเมื่อต้นปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา อาข่า อ่ามาก็เปิดสาขาแห่งที่ 3 ที่ Akha Ama Living Factory ภายในตัวอาคารที่ได้รับการออกแบบให้กลมกลืนกับธรรมชาติ วัฒนธรรม และชุมชน ซึ่ง ตั้งอยู่บนพื้นที่ 5 ไร่ ในอ�ำเภอแม่ริม นอกจากจะมีพื้นที่ส�ำหรับการขายกาแฟแล้ว ที่นี่ยังเป็นโรงคั่วกาแฟแห่งใหม่ของอาข่า อ่ามา ด้วย และในอนาคตจะมีพนื้ ทีส่ ำ� หรับการจัดเวิรก์ ชอป หรือท�ำกิจกรรมต่างๆ ทัง้ ในด้านการชิมกาแฟ การท�ำอาหาร สโลว์ฟู้ด นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ส�ำหรับการปลูกพืชผักต่างๆ เพื่อสะท้อนภาพการท�ำเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นแนวคิด ส�ำคัญที่อาข่า อ่ามาน�ำไปใช้กับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในเครือข่าย ไม่เพียงแต่ร้านกาแฟเท่านั้นที่ได้รับการตอบรับดีขึ้น การขายเมล็ดกาแฟแบบขายส่งให้กับผู้บริโภค ร้านกาแฟ ร้าน อาหาร และโรงแรม ก็เติบโตตามไปด้วย อายุบอกว่าปัจจุบันสัดส่วนระหว่างการขายปลีก (ขายที่ร้านกาแฟอาข่า อ่ามา) กับการขายส่งอยู่ที่ 40 : 60 โดยเมื่อ พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา อาข่า อ่ามารับซื้อเมล็ดกาแฟที่ผ่านการ process แล้วจากชาว บ้าน 25 ตัน และ พ.ศ. 2561 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 30 ตัน

การพัฒนาเกษตรกรและชุมชนแบบองค์รวม แม้ว่ากาแฟจะเป็นรายได้หลักของอาข่า อ่ามา แต่ในฐานะที่เป็นกิจการเพื่อสังคม อายุแค่เลือกใช้กาแฟเป็นพระเอกที่ จะท�ำให้เกิดการเปลีย่ นแปลงทัง้ เชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิง่ แวดล้อม เพราะนอกจากการสร้างรายได้จากกาแฟแล้ว แนวคิด ในการพัฒนาเกษตรกรผูป้ ลูกกาแฟในเครือข่ายของอายุ ยังมุง่ ไปทีก่ ารพัฒนาแบบองค์รวม คือไม่ได้มองแต่กาแฟจนละเลย

A k h a A ma Cof fe e

9


10

พืชชนิดอื่น ตรงกันข้าม เขาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่นร่วมกับการปลูกกาแฟในลักษณะการท�ำเกษตรแบบผสม ผสาน เพือ่ ให้เกษตรกรมีรายได้จากหลายทางนอกจากกาแฟ และสามารถพึง่ พาตัวเองได้ในเรือ่ งอาหาร ไม่กอ่ ให้เกิดมลพิษ ด้านสิ่งแวดล้อมและเกษตรกรมีสุขภาพที่ดี “ถ้าปลูกแต่กาแฟ หากกาแฟมีปัญหาแล้วจะท�ำยังไง เพราะว่ากาแฟนี่ ตัวเองก็กินไม่ได้ คนอื่นเขากิน ตัวเองต้องกิน ข้าว กินผัก” อายุอธิบายถึงแนวคิดที่ไม่ให้เกษตรกรพึ่งพาแค่กาแฟ อายุเริ่มใช้วิธีการท�ำไร่กาแฟแบบเกษตรผสมผสานกับไร่ของครอบครัวตัวเอง จากเดิมที่พ่อกับแม่ของเขาจะปลูกแต่ พืชล้มลุก นอกจากการปลูกกาแฟ อายุก็ขอให้ปลูกพืชชนิดอื่นด้วย ทั้งผลไม้เมืองหนาว ชา และพืชผักสวนครัวอื่นๆ เพื่อ ให้มีผลผลิตที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ในทุกฤดูกาล และน�ำเอาโมเดลนี้ไปใช้กับเกษตรกรในชุมชนแม่จันใต้ หรือชุมชนอื่นๆ ที่ ต้องการเข้ามาเป็นเกษตรกรในเครือข่าย ในลักษณะของการปรึกษาหารือกัน “เราต้องเข้าไปใส่ว่าปลูกกาแฟเสร็จแล้วคุณอยากเก็บอะไร และมีพืชอะไรที่เหมาะกับพื้นที่ของคุณบ้าง เช่น ปลูก ผลไม้เมืองหนาวไหม ชาไหม ปลูกผักได้หรือเปล่า เพราะว่าปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ในชุมชนส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากการไม่มงี านท�ำ แต่เกิดขึ้นจากการจัดการรายได้และจัดการสวน” นอกจากนีอ้ าข่า อ่ามายังส่งเสริมให้เกษตรกรไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าหรือยาฆ่าแมลง ซึง่ นอกจากดีตอ่ สุขภาพผูป้ ลูกและพืน้ ที่ การเกษตรแล้ว ยังท�ำให้ผึ้งมาท�ำรังในไร่ กลายเป็นน�้ำผึ้งดอกกาแฟที่อาข่า อ่ามารับซื้อ เพื่อน�ำมาใช้กับ signature drink ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์ตวั นีโ้ ดยเฉพาะ นัน่ คือเมนู “มานีมานะ” ซึ่งใช้กาแฟเอสเพรสโซ่ปรุงรสด้วยน�ำ้ ผึง้ เขย่า ให้เข้ากัน เสิร์ฟในแก้วไวน์ซึ่งรองด้วยเปลือกส้ม จัดเป็นเมนูยอดนิยมที่ได้รับการตอบรับอย่างดีจากขาประจ�ำ จนบางครั้ง ต้องงดจ�ำหน่ายเพราะน�้ำผึ้งดอกกาแฟจากชุมชนมีไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังรับซื้อชาดอกกาแฟจากเกษตรกรอีกด้วย ซึ่ง เป็นอีกหนึ่งเมนูที่ได้รับความนิยมเช่นกัน เมื่อเกษตรกรในเครือข่ายเปลี่ยนแปลงวิธีการท�ำเกษตร ผลลัพธ์ที่ตามมาอีกอย่างหนึ่งก็คือคนรุ่นใหม่อยากกลับมา ท�ำงานที่บ้าน เพราะมีงานให้ท�ำ เนื่องจากการท�ำไร่กาแฟเป็นงานที่ต้องใช้แรงงาน และการส่งเสริมให้เกษตรกรท�ำเกษตร แบบผสมผสานยิง่ มีงานให้ทำ� ตลอด เพราะนอกจากการเก็บกาแฟแล้ว ยังต้องเก็บชา เก็บผัก เก็บผลไม้ จากเมือ่ ก่อนทีป่ ลูก พืชเชิงเดี่ยว ซึ่งหลังเก็บเกี่ยวเสร็จก็จะไม่มีงานท�ำ ต่างจากปัจจุบันที่เกษตรกรต้องจัดการแรงงานให้ดี “สาเหตุที่คนรุ่นใหม่กลับบ้านทั้งๆ ที่แต่ก่อนไม่กลับ แม้ว่าที่บ้านก็ปลูกกาแฟ เพราะเมื่อก่อนเขาไม่มีการแปรรูปเพื่อ เพิ่มมูลค่า แล้วสมัยนี้พอเปลี่ยนมาท�ำไร่กาแฟแบบผสมผสาน แค่เก็บชา 1 วัน เขาก็ได้เงินเกิน 500 บาทแล้ว ท�ำงานใน เมืองบางทีค่าแรง 300 บาท ยังยากนะ แล้วอยู่ในเมืองใหญ่ค่าที่พักอาศัยก็แพง” อายุอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชนคนปลูก กาแฟที่อยู่ในเครือข่ายของอาข่า อ่ามา ด้วยแนวทางการส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟแบบผสมผสาน พร้อมกับการแปรรูปเมล็ดกาแฟเอง ปัจจุบันอาข่า อ่ามา มีเกษตรกรผูป้ ลูกกาแฟในเครือข่ายประมาณ 20 ครอบครัว จาก 4 ชุมชน โดยในจังหวัดเชียงรายได้ขยายจากชุมชน แม่จันใต้ไปสู่ดอยงาม ดอยช้าง และชุมชนแม่ลายบน ในอ�ำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยทุกครอบครัวสามารถ แปรรูปเมล็ดกาแฟของตัวเองได้ เมื่อเทียบกับวันแรกที่มีเพียงครอบครัวของอายุเพียงครอบครัวเดียว ส�ำหรับขั้นตอนการเข้ามาเป็นเกษตรกรในเครือข่ายของอาข่า อ่ามา ไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อน สิ่งที่ต้องท�ำก็แค่เข้ามา คุยกับอายุว่าต้องท�ำอย่างไรบ้าง และอาข่า อ่ามาสามารถรับกาแฟได้ในปริมาณเท่าไร แต่การจะตัดสินใจรับเป็นเกษตรกร ในเครือข่ายหรือไม่นั้น อายุจะใช้วิธีลงพื้นที่ไปดูขั้นตอนการท�ำงานของเกษตรกรรายนั้นว่าต้องปรับ ต้องเพิ่มอย่างไร เพื่อ ให้มีแนวทางเดียวกับที่อาข่า อ่ามาท�ำ “บางคนที่มีไร่กาแฟ ไม่ได้แปรรูป เราก็อาจจะหาคนที่แปรรูปได้ให้เขา ถ้าเขาแปรรูปแล้ว เราก็ดูว่าเขาแปรรูปได้ ดีไหม ถ้าเกิดแปรรูปได้ดี เราก็บอกว่าเราสามารถช่วยเหลือเขาได้ในปริมาณเท่าไร แต่ถ้าเกิดเขายังผลิตได้ไม่ดี และไม่รู้ ว่าต้องท�ำยังไง เราก็ช่วยให้ความรู้ หรืออาจให้เขาศึกษาจากเอกสารที่เราท�ำขึ้นจากการท�ำโครงการลอง (Long Project) ที่พาคนไปศึกษาดูงาน และทดลองวิธีการท�ำกาแฟให้ได้คุณภาพดีที่สวนกาแฟของคุณแม่” แต่บางทีการขยายตัวของเกษตรกรในเครือข่ายของอาข่า อ่ามา ก็เกิดจากการเข้าไปช่วยหยุดยัง้ ปัญหาด้านสิง่ แวดล้อม ไม่ให้ขยายวงกว้าง อย่างเช่นกรณีของชุมชนใหม่ลา่ สุดในอ�ำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮอ่ งสอน ทีม่ พี นื้ ทีต่ ดิ กับอ�ำเภอแม่แจ่ม


จังหวัดเชียงใหม่ อาข่า อ่ามาเข้าไปในพื้นที่นี้โดยการร้องขอของผู้น�ำชุมชน ซึ่งเกรงว่าปัญหาการท�ำเกษตรเชิงเดี่ยวที่เกิด ขึ้นในแม่แจ่มจะลุกลามไปที่แม่สะเรียง “เพราะฉะนั้นเวลาเข้าไปท�ำงานกับแต่ละพื้นที่ เราจึงต้องวิเคราะห์ตลอดเวลาว่า ถ้าเราแก้ปัญหาจากเครื่องมือตรงนี้ เช่น เรื่องกาแฟที่เราท�ำ มันช่วยบรรเทาและตอบโจทย์ปัญหาของชุมชนนั้นๆ ได้แค่ไหน อันนี้คือสิ่งที่เรามองตลอด” อายุ อธิบายถึงแนวคิดของเขาในการท�ำงานกับชุมชน

กิจการเพื่อสังคมจะยั่งยืน สินค้าต้องขายได้ด้วยตัวเอง ในฐานะกิจการเพื่อสังคมที่ท�ำธุรกิจกาแฟครบวงจร สิ่งที่อาข่า อ่ามาให้ความส�ำคัญไม่แพ้การพัฒนาเกษตรกรและ ชุมชนอย่างครบวงจร จนเกษตรกรมีรายได้และมีสุขภาพดีแล้วก็คือ กาแฟต้องมีคุณภาพ เพื่อให้กาแฟสามารถขายตัวเอง ได้ โดยไม่ต้องขายความเป็นกิจการเพื่อสังคม หรือขายความน่าสงสารของชุมชนที่ปลูกกาแฟ ซึ่งจะท�ำให้เกิดความยั่งยืน ทางธุรกิจมากกว่า โดยอาข่า อ่ามาจะรับซื้อเมล็ดกาแฟดิบหรือกาแฟกะลาที่ผ่านกระบวนการล้าง หมัก และตากแห้งแล้ว ไม่รบั ซือ้ ผลกาแฟสุกหรือกาแฟเชอร์รี เพือ่ ให้เกษตรกรในเครือข่ายมีความรู้ในการแปรรูปเมล็ดกาแฟ และมีรายได้เพิม่ ขึน้ เพราะราคาเมล็ดกาแฟดิบจะจ�ำหน่ายได้ราคาสูงกว่ากาแฟเชอร์รี “ก็มคี นถามว่าท�ำไมลีไม่ควบคุมคุณภาพโดยการเอากาแฟเชอร์รมี าโพรเซสเอง เราก็บอกไปว่าวิธแี บบนัน้ ท�ำได้งา่ ยมาก เมือ่ เทียบกับวิธที เี่ ราท�ำซึง่ ยากกว่า เพราะไม่รวู้ า่ นาย ก. จะท�ำได้ดเี ท่านาย ข. ไหม แต่สงิ่ ทีเ่ รามองคืออยากให้เขาได้พฒ ั นา ตัวเอง เพราะหากเราพบว่าเขาท�ำได้ไม่ถูกต้อง เราสามารถแนะน�ำเขาได้ว่าควรปรับปรุงตรงไหน และสิ่งที่เกษตรกรได้รับ คือความภูมใิ จ” อายุกล่าวถึงสาเหตุทเี่ ขาเลือกวิธที สี่ ง่ เสริมให้เกษตรกรพัฒนาตัวเอง ด้วยการลงมือแปรรูปกาแฟด้วยตัวเอง ส�ำหรับวิธกี ารรับซือ้ เมล็ดกาแฟจากชุมชนในเครือข่ายนัน้ อายุอธิบายว่า อาข่า อ่ามาจะรับซือ้ เมล็ดกาแฟดิบในลักษณะ ของการประกันราคา โดยราคาประกันจะเกิดจากการประชุมร่วมกัน ก่อนทีจ่ ะประกาศราคาประกันในเดือนกุมภาพันธ์ของ ทุกปี ส่วนใหญ่ราคาประกันของอาข่า อ่ามาในแต่ละปีจะอยู่ที่ประมาณ 120-125 บาท/กิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าราคากาแฟใน ท้องตลาด (เช่น พ.ศ. 2561 ราคากาแฟดิบในตลาดอยู่ที่ 100-110 บาท ซึ่งถือว่าราคาดี ราคาประกันของอาข่า อ่ามาอยู่ ที่ 125 บาท ขณะที่บางปีราคาอาจจะเหลือแค่ 85-90 บาท แต่ราคารับซื้อของอาข่า อ่ามาไม่ต�่ำกว่า 120 บาท) อย่างไรก็ดี อาข่า อ่ามาไม่ได้จา่ ยเงินค่าเมล็ดกาแฟให้กบั เกษตรกรทันทีทเี่ ขาน�ำเมล็ดกาแฟมาส่งให้ทโี่ กดัง แต่จะแบ่ง จ่ายเงินเป็น 6 งวด คือเริ่มจ่ายงวดแรกในเดือนตุลาคมจนถึงเดือนมีนาคม รวมถึงมีการจ่ายเงินปันผลให้อีกกิโลกรัมละ 75 สตางค์ เพื่อตอบแทนที่เกษตรกรเสียสละน�ำกาแฟมาส่งให้ก่อนและรอรับเงินทีหลัง “วิธีการรับซื้อในลักษณะนี้ท�ำให้เราไม่จ�ำเป็นต้องเอาเงินจ�ำนวนมากไปจมกับการสต็อกวัตถุดิบ ขณะที่เกษตรกรก็ สามารถจ�ำหน่ายกาแฟได้ในราคาสูงกว่าตลาด แม้ว่าเราจะแบ่งจ่ายเงินเป็น 6 งวดก็ตาม เพราะถ้าเทียบกันระหว่างการ ขายและได้รับเงินเลยตามราคากาแฟในตลาด แล้วเกษตรกรน�ำเงินที่ขายได้ไปฝากธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ย ก็ยังน้อยกว่า การขายกาแฟให้เรา ซึ่งจะได้รับเงิน 6 งวด นอกจากนี้เกษตรกรยังบอกว่า การได้รับเงิน 6 งวดท�ำให้เขามีวินัยในการใช้ เงิน เพราะถ้าได้รับเงินทีเดียวอาจจะใช้จ่ายจนหมดในเวลาอันรวดเร็ว” อายุเล่าถึงวิธีการรับซื้อกาแฟของอาข่า อ่ามา ซึ่ง เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย นอกจากการรับซื้อกาแฟในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดแล้ว อายุบอกว่าอาข่า อ่ามาน�ำเงินประมาณ 80% ที่เกิดจากการ ขายเมล็ดกาแฟแบบขายส่ง (ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 60% ของเมล็ดกาแฟทั้งหมดที่อาข่า อ่ามาขาย) กลับไปสู่ชุมชนทั้งหมด ทั้งในเรื่องของการซื้อวัตถุดิบ การฝึกอบรมให้เกษตรกรมีความรู้มากขึ้นกว่าเรื่องการปลูกกาแฟ เช่น เกษตรกรสามารถ ประเมินกาแฟของตัวเองได้ในระดับต้น แล้วมีการดึงผู้เชี่ยวชาญทั้งจากสมาคมกาแฟ หรือจากเครือข่ายที่รู้จักกันในต่าง ประเทศให้เข้ามาชิมกาแฟ พร้อมกับให้ค�ำแนะน�ำแก่เกษตรกรว่าควรปรับปรุงการผลิตอย่างไร เช่น กาแฟตัวนี้หมักเยอะ เกินไป หรือกาแฟยังไม่สุกงอม หรือน�้ำที่ใช้หมักกาแฟยังไม่สะอาดพอ

A k h a A ma Cof fe e

11


12

“อันนี้เป็นการ re-invest เพราะเราคิดว่าการขายกาแฟแบบขายส่งเป็นการขายเมล็ดกาแฟของชาวบ้าน ฉะนั้นเงิน ที่ได้มาก็คืนกลับไปสู่ชุมชน ส่วนต่างที่เราได้ (เข้าบริษัท) คือไม่เกิน 18%” แต่ไม่ใช่ว่าเป็นเกษตรกรในเครือข่ายแล้ว อาข่า อ่ามาจะรับซื้อเมล็ดกาแฟแน่นอน เพราะกาแฟที่รับซื้อจะต้องผ่าน การตรวจสอบว่าเป็นเมล็ดกาแฟดิบที่เก็บมาจากเมล็ดกาแฟสุก ล้างและหมักด้วยน�้ำที่สะอาด และมีปริมาณความชื้นที่ เหมาะสม ซึ่งหากไม่ผ่านเกณฑ์ก็จะปฏิเสธการรับซื้อ (ในปีน้ัน) เพื่อให้เกษตรกรตระหนักว่าต้องใส่ใจกับการผลิตกาแฟ ให้ได้คุณภาพ แต่อาจจะช่วยหาผู้รับซื้อรายอื่นที่ต้องการใช้เมล็ดกาแฟที่รับได้ให้ และหากปีหน้าสามารถท�ำกาแฟได้ดี อาข่า อ่ามาก็รับซื้อเช่นเดิม “หากเกิดกรณีอย่างนี้เราจะปวดใจแล้วเสียใจมาก เพราะว่าเป็นชาวบ้านที่เราท�ำด้วยกันมา แต่สิ่งที่เราต้องท�ำคือบอก ตรงๆ หรือทะเลาะด้วย แม้ว่าเราจะเป็นพี่น้อง เป็นคนสนิท” อายุเล่าถึงความไม่ราบรื่นในการท�ำงานกับเกษตรกรในเครือ ข่าย ซึง่ สามารถเกิดขึน้ ได้ พร้อมกับเสริมว่าเกษตรกรในเครือข่ายจึงต้องมีความซือ่ สัตย์ ยึดมัน่ ในสิง่ ทีค่ วรท�ำ ซึง่ ถือว่าเป็น ความท้าทายในเรื่องการรักษาคุณภาพของกาแฟเอาไว้ให้ได้

ยินดีหากเกษตรกรอยู่ได้ด้วยตัวเอง หากมีเกษตรกรในเครือข่ายรายใดอยากน�ำผลผลิตไปขายให้กับผู้รับซื้อกาแฟรายอื่นก็สามารถท�ำได้ เพราะไม่มี เงื่อนไขผูกมัด “หากเกษตรกรสามารถดูแลตัวเองได้ สามารถหาตลาดเองได้ อาจจะไม่จำ� เป็นต้องขายเมล็ดกาแฟให้เราแล้ว ซึง่ เราก็ ยินดี และที่ผ่านมาน่าจะมีประมาณ 10 ครอบครัวที่เคยอยู่ในเครือข่ายเรา แต่ตอนนี้ take off ไปแล้ว ส่วนอีก 20 ครอบครัว ที่อยู่กับเราตอนนี้ อีกไม่กี่ปีข้างหน้าก็อาจจะ take off ไปเหมือนกัน แต่แม้ว่าจะ take off ไป เราก็ยังเป็นพี่เลี้ยงให้ เพื่อให้ เขาสามารถผลิตกาแฟแบบยั่งยืนอยู่ได้” อายุเล่าถึงพัฒนาการของเกษตรกรที่เคยอยู่ในเครือข่าย ส่วนเกษตรกรในเครือข่ายที่มีผลผลิตมากเกินกว่าที่อาข่า อ่ามาจะรับซื้อได้หมด อายุก็จะช่วย matching คือหาคนใน วงการกาแฟในเครือข่าย ซึ่งอาจเป็นโรงคั่วหรือร้านกาแฟที่เขารู้จักมาช่วยรับซื้อ แต่หากว่าเกษตรกรคนไหนที่พัฒนาการ ผลิตกาแฟได้ดี อาข่า อ่ามาก็นำ� กาแฟจากไร่ของเขาเพียงไร่เดียวมาคัว่ ให้ได้คาแร็กเตอร์ทดี่ ี แล้วน�ำออกวางจ�ำหน่ายในฐานะ กาแฟ Single Origin (เมล็ดกาแฟจากไร่เดียว) โดยชือ่ และภาพเกษตรกรผูป้ ลูกจะปรากฏอยูบ่ นถุงกาแฟตัวนัน้ พร้อมด้วย ข้อมูลเกี่ยวกับสายพันธุ์กาแฟ พื้นที่ปลูก ระดับความสูง วิธีการโพรเซส และคาแร็กเตอร์ของกาแฟ ซึ่งปัจจุบันมีเจ้าของไร่ กาแฟ 11-12 คนที่อาข่า อ่ามาท�ำกาแฟ Single Origin ออกมาจ�ำหน่ายให้ ซึ่งท�ำให้ลูกค้ารู้ถึงที่มาของกาแฟว่าใครเป็นคน ปลูก มีที่มาที่ไปอย่างไร และสร้างความสัมพันธ์จากเกษตรกรสู่ลูกค้า “บางทีถ้าลูกค้ามาดื่มที่ร้านแล้วชอบ ก็อาจจะขอคอนแท็คจากเรา แล้วไปติดต่อพูดคุยกับเจ้าของกาแฟแต่ละคนเอง เลย ซึ่งอาจจะช่วยเพิม่ โอกาสทางธุรกิจให้กับเขาได้” จันทร์จิรา หยกรุจิ หรือเจนนี่ ผู้จัดการบริษัท กาแฟอาข่า อ่ามา จ�ำกัด หนึ่งในผู้ถือหุ้น ซึ่งดูแลเรื่องงานขายและการบริหารทรัพยากรบุคคลด้วยเสริม

พัฒนาวงการกาแฟไทย นอกจากการส่งเสริมเกษตรกรให้ผลิตกาแฟคุณภาพและปลอดภัยแล้ว อาข่า อ่ามายังให้ความส�ำคัญกับการให้ ความรู้กับผู้บริโภคคนไทยในการดื่มกาแฟอีกด้วย โดยอาข่า อ่ามาเป็นรายแรกๆ ในตลาดที่ใช้เมล็ดกาแฟคั่วอ่อนมาเสิร์ฟ ลูกค้าตั้งแต่เริ่มกิจการ


“ช่วง พ.ศ. 2553 ซึ่งอาข่า อ่ามาเริ่มต้น คนจะบ่นมากว่ากาแฟของเราไม่ดี เปรี้ยว ไม่อร่อย เพราะตอนนั้นคนไทยยัง เคยชินกับกาแฟคั่วเข้ม ซึ่งจะมีแต่รสขม ไหม้ จนคิดว่านั่นเป็นรสชาติที่แท้จริงของกาแฟ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วกาแฟคั่วอ่อน แบบของเราสามารถดึงรสชาติที่ดีของกาแฟออกมาได้ดีกว่า ซึ่งตอนนั้นเราต้องอธิบายเรื่องนี้กับลูกค้าแทบทุกคนที่เข้า มาดื่มกาแฟในร้านเรา” จันทร์จิรา ซึ่งเป็นบาริสต้าหรือคนชงกาแฟยุคเริ่มต้นของอาข่า อ่ามา อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ไม่เพียงแต่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรสชาติของกาแฟที่หน้าร้าน อาข่า อ่ามายังจัดกิจกรรม Coffee Journey ปีละ 1 ครั้ง เพื่อ ให้ผู้สนใจเรื่องกาแฟ (ที่จ่ายเงินร่วมเดินทาง) ได้ใช้เวลา 3 วัน 2 คืน ไปกับการเรียนรู้เรื่องราวของกาแฟที่บ้านแม่จันใต้ จังหวัดเชียงราย ทัง้ การเก็บกาแฟด้วยการเลือกกาแฟทีส่ กุ ได้ทแี่ ละเด็ดจากกิง่ ทีละผล การ “สี” กาแฟหรือการก�ำจัดเปลือก และเนื้อเพื่อให้เหลือแต่เมล็ด การโพรเซสกาแฟด้วยวิธีแบบ “แห้ง” และแบบ “เปียก” การได้ลองชิมรสกาแฟซึ่งมีความ แตกต่างไปตามพืน้ ทีแ่ ละกระบวนการผลิต รวมถึงได้สมั ผัสวิถชี วี ติ ของชาวอาข่า ทัง้ การกินและการอยูด่ ว้ ยในเวลาเดียวกัน Coffee Journey เป็นกิจกรรมที่คนหลงรักกาแฟรอคอย และมักจะมีผู้สมัครเต็มภายในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้อาข่า อ่ามายังท�ำโครงการลอง (Long Project) เพื่อค้นหาวิธีการผลิตกาแฟที่ดีที่สุด เพราะเชื่อว่าการจะ ผลิตกาแฟให้ได้คณ ุ ภาพดีทสี่ ดุ ต้องมีการพัฒนาตลอดเวลา โครงการนีเ้ ป็นการน�ำเอาอาสาสมัครในวงการกาแฟ ทัง้ บาริสต้า นักคั่วกาแฟ เจ้าของร้าน เจ้าของไร่กาแฟ นักวิจัยด้านกาแฟ และคนที่ชอบดื่มกาแฟ มาร่วมกิจกรรมการผลิตกาแฟเป็น เวลา 2 สัปดาห์ที่หมู่บ้านแม่จันใต้ โดยเริ่มจากการเก็บเมล็ดกาแฟเชอร์รี และให้แต่ละคนคิดค้นกระบวนการโพรเซสกาแฟ เพื่อหากรรมวิธีที่จะพัฒนาคุณภาพกาแฟให้ดีขึ้น จะได้เผยแพร่ให้เกษตรกรน�ำไปพัฒนากาแฟของพวกเขาต่อไป ผลจากการส่งเสริมคุณภาพในการผลิตกาแฟ ท�ำให้กาแฟไทยสามารถจ�ำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้น “ตอนนี้กาแฟไทยสามารถขายได้ในราคากิโลกรัมละ 600-800 บาท หรือ 1,000 กว่าบาทก็มี ต่างจากเมื่อก่อนตอน ที่เริ่มท�ำอาข่า อ่ามา ตอนนั้นราคากาแฟไทยถ้าขายเกินกิโลละ 400 บาท จะถูกมองว่าแพงเกินไป แต่เราก็ขาย 450 บาท ซึ่งคนมักถามกลับมาว่ากาแฟไทยท�ำไมแพงจัง คือเขามองว่ากาแฟไทยแพงไม่ได้” จันทร์จิราเล่าถึงผลลัพธ์ที่เปลี่ยนไป

สร้างธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากผลลัพธ์ทางสังคมแล้ว อาข่า อ่ามายังท�ำธุรกิจกาแฟโดยค�ำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการดักไขมัน ก่อนการปล่อยน�้ำเสียสู่ระบบรับน�้ำเสียสาธารณะ การแยกขยะ ทั้งขยะพลาสติกและกากกาแฟ โดยในส่วนของกากกาแฟ จะมีคนมารับไปท�ำถ่านหรือท�ำสบู่ หรือมิฉะนั้นก็น�ำไปเป็นส่วนผสมของดินเพื่อใช้ ในการปลูกผัก ส่วนขยะพลาสติกนั้น นอกจากการคัดแยกเพื่อน�ำไปสู่กระบวนการรีไซเคิลแล้ว ยังพยายามลดการใช้พลาสติก โดยดูแลไม่ให้บาริสต้าใช้แก้ว พลาสติกส�ำหรับลูกค้าที่ดื่มเครื่องดื่มภายในร้าน อนุญาตให้ใช้เมื่อลูกค้าซื้อเครื่องดื่มกลับเท่านั้น ในส่วนของโรงคัว่ กาแฟ ซึง่ ปัจจุบนั อยูท่ ี่ Akha Ama Living Factory ทีแ่ ม่รมิ นัน้ ก็ได้รบั การออกแบบให้ใช้พลังงานน้อย ที่สุด โดยออกแบบให้ลมสามารถพัดผ่านได้ดีที่สุด นอกจากนี้ยังใช้วัสดุในท้องถิ่นในการก่อสร้าง ซึ่งช่วยประหยัดพลังงาน ในการขนส่ง และเพื่อสะท้อนวัฒนธรรมท้องถิ่น แต่มีความเป็นสากล โดยการออกแบบของกลุ่มสถาปนิกที่ชื่อ “ใจบ้าน” “กับสถาปนิก เราต้องบอกเขาว่าท้องถิ่นยังไม่พอ มันต้องมีเรื่องของชนเผ่าเข้ามา เขาก็ต้องไปศึกษา แต่สิ่งที่เราตั้งใจ มากที่สุดคือ ใช้วัสดุท้องถิ่น ใช้วัฒนธรรมท้องถิ่น แต่ท�ำให้เป็นสากล โดยที่คนไปแล้วรู้สึกว่ามันคือ material บ้านๆ แต่ดู ดีไซน์แล้วมันเป็นสากล อันทีส่ องก็คอื ใช้พลังงานให้นอ้ ยทีส่ ดุ เพือ่ ให้องิ กับธรรมชาติมากทีส่ ดุ พอสองอย่างนีเ้ ข้ามาก็กลาย เป็นพลังงานที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม วัสดุที่ใช้ก็มาจากท้องถิ่นที่เขารื้อจากบ้านเก่าๆ มาท�ำ ดีไซน์ที่ท�ำให้ลม flow ที่สุด ต่อ ด้วยเราจะใช้พลังงานอะไรให้ยั่งยืนมากที่สุด” อายุอธิบายถึงเบื้องหลังแนวคิดในการออกแบบโรงคั่วแห่งนี้ นอกจากนี้อายุยังตั้งใจให้ที่นี่เป็นพื้นที่ที่มีชีวิต ไม่ใช่โรงงาน อันเป็นที่มาของชื่อ Living Factory เพื่อลดภาพความเป็น โรงงานที่มักถูกมองในแง่ลบเมื่อต้องอยู่ร่วมกับชุมชน

A k h a A ma Cof fe e

13


14

“พอเข้าไปทุกคนจะบอกว่าไม่เหมือนโรงงาน นัน่ คือเป้าหมายทีเ่ ราอยากให้มองว่า working place ทีเ่ อือ้ ต่อการท�ำงาน รู้สึกจรรโลงใจ รู้สึกอยากกลับไปท�ำงานที่นั่น แล้วในระยะยาวเราอยากใช้โมเดลที่เราท�ำกับชุมชน แต่ลด scale ลงมา มา ไว้ตรงนี้ เช่น เลี้ยงผึ้ง มีแปลงผัก แปลงผลไม้ สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้น” นอกจากเรื่องการออกแบบแล้ว โรงคั่วกาแฟที่นี่ยังน�ำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เพื่อลดปัญหามลภาวะด้านฝุ่นและควัน โดยน�ำระบบตรวจจับฝุน่ ควันด้วยไฟฟ้าสถิต (electrostatic) ซึง่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลช่วยพัฒนาให้มาใช้ เพือ่ เปลี่ยนคาร์บอนให้กลายเป็นโอโซน ก่อนที่จะเปลี่ยนไปเป็นออกซิเจนเมื่อเจอกับออกซิเจน จากเดิมที่ใช้ระบบ after burner ซึง่ สิน้ เปลืองพลังงาน เพราะใช้แก๊สเยอะมาก รวมถึงในอนาคตจะมีการติดตัง้ แผงพลังงานแสงอาทิตย์ เพือ่ ผลิตกระแสไฟฟ้า จากพลังงานทดแทนใช้ที่นี่ด้วย

มาตรฐานความยั่งยืนไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด แม้ว่าจะให้ความส�ำคัญกับเรื่องของการท�ำเกษตรโดยค�ำนึงถึงสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของ เกษตรกร แต่อาข่า อ่ามายังไม่ได้ให้ความส�ำคัญกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ “ถ้าเทียบกับเรื่องการฟื้นฟูสภาพดินจาก monoculture (การปลูกพืชเชิงเดี่ยว) ให้มาเป็น permaculture2 แบบที่เรา พยายามท�ำแล้ว เรื่องการท�ำเกษตรอินทรีย์เป็นเรื่องรองมากๆ เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าหลายชุมชนที่เราท�ำอยู่ด้วย เขาแทบ จะไม่มีเงินซื้อปุ๋ยอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เขาขาดก็คือจะจัดการสวนกาแฟของเขายังไงให้มันดี ถ้าเกิดเขาปลูกข้าวโพดอยู่แล้ว แล้ว เปลี่ยนไปปลูกกาแฟ มันต้องใช้เวลา 5 ปีกว่าจะได้เก็บเกี่ยว แล้วระหว่าง 4 ปีนั้นเขาจะกินอะไร นี่คือวิธีที่ส�ำคัญกว่าการ ที่จะไปบอกว่าเราเป็นกาแฟอินทรีย์ เนื่องจากว่าเราไม่ได้ท�ำจากเกษตรกรที่ยั่งยืนอยู่แล้ว เราเริ่มจากการที่เขาเจอปัญหา เจอความท้าทาย เจออุปสรรค เจอทุกรูปแบบ ทั้งดินเป็นกรด แย่มากเลยแล้วจะท�ำยังไง ต้องปลูกกล้วยป่าก่อนไหมให้ดิน มันดี ปลูกปอเทืองได้ไหม เพื่อให้เกิดไนโตรเจนเข้าไปก่อน เยอะแยะมากมาย จนชาวบ้านบางคนบอกพี่ไม่เอาแล้ว แต่สิ่ง ที่เราท�ำคือไม่ได้ยอมแพ้ตรงนั้น” ส่วนมาตรฐานแฟร์เทรดหรือมาตรฐานการค้าที่เป็นธรรมนั้น หากดูราคาที่อาข่า อ่ามาจ่ายให้เกษตรกรในเครือข่าย ก็น่าจะเกินมาตรฐานที่แฟร์เทรดก�ำหนดไว้แล้ว “ของเรามันเลยขอบเขตของแฟร์เทรดไปแล้ว เพื่อนลีที่ท�ำงานแฟร์เทรด เขาก็บอกว่า ตราบใดที่ยังขายกาแฟได้ ไม่มี เหตุผลใดที่อาข่า อ่ามาต้องมาขอการรับรอง ถ้าขายกาแฟไม่ได้ค่อยว่ากัน เพราะการขอการรับรองมันต้องจ่ายค่าโน่นนี่ นั่น ซึ่งชาวบ้านเขาไม่มี” 2

Permaculture หมายถึงการท�ำเกษตรแบบยัง่ ยืน โดยการเน้นการท�ำงานร่วมกับธรรมชาติ โดยพิจารณาถึงหน้าทีแ่ ละผลกระทบโดยรวมของฝ่ายต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นพืช สัตว์ ดิว น�ำ้ ไปจนถึงผูเ้ พาะปลูกทีม่ กี ลไกการอาศัยเกือ้ กูล ปฏิสมั พันธ์กนั อย่างเป็นระบบ และเน้นรักษาสมดุล ซึง่ จะตรงข้ามกับแนวคิด การปลูกพืชเชิงเดี่ยว ในปัจจุบันแนวคิด permaculture ได้ขยายไปยังวิถีชีวิตแบบยั่งยืน การออกแบบ ระบบเศรษฐกิจ ฯลฯ


อย่างไรก็ดี อายุได้รับรางวัลชนะเลิศ Young Smart Farmer ใน พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นรางวัลที่ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ร่วมกับมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันส�ำนึกรักบ้านเกิด และกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เฟ้นหาเกษตรกรที่มีส�ำนึกรักบ้านเกิด ก่อให้เกิดการพัฒนา และเชิดชูเกษตรกรต้นแบบที่มีความภาคภูมิใจใน อาชีพ รวมทั้งเป็นกรณีศึกษาเรื่องธุรกิจยั่งยืน (sustainable business) ประเภท SMEs ในหนังสือ Thailand Sustainable Development Sourcebook, 2nd Edition โดยมูลนิธิมั่นพัฒนา และส�ำนักพิมพ์เอดิซิยองส์ดิดิเยร์มิลเยต์ (EDM) (2017)

โอกาส & ความยั่งยืนในอนาคต หลังจากประสบความส�ำเร็จในเมืองไทย อาข่า อ่ามาก็เริม่ มองหาโอกาสการเติบโตในตลาดต่างประเทศ เช่น เพิง่ มีการ เซ็นสัญญากับบริษัทในฝรั่งเศสให้กระจายกาแฟอาข่า อ่ามาในตลาดยุโรป นอกจากนี้ยังมีเพื่อนๆ ที่ญี่ปุ่นก็สนใจกาแฟของ เขาในตลาดญี่ปุ่นด้วย รวมถึงมีการพูดคุยเพื่อร่วมมือกันมากขึ้นกับ David Thompson เชฟมิชลินสตาร์ชื่อดังระดับโลก รวมถึงเครือข่ายร้านอาหารอืน่ ๆ เพือ่ ขยายธุรกิจไปด้วยกัน แม้วา่ จะไม่ได้มองเรือ่ งการเติบโตอย่างก้าวกระโดด เพราะอยาก เน้นเรื่องคุณภาพในการผลิตกาแฟ ซึ่งเป็นสิ่งส�ำคัญที่สุด และเป็นจุดที่ท�ำให้กาแฟอาข่า อ่ามามีที่ยืนทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นอกจากนี้การขยายธุรกิจก็เป็นความท้าทายส�ำคัญของอาข่า อ่ามา หากเทียบกับธุรกิจกาแฟอื่นๆ แล้ว ระยะเวลาที่ อาข่า อ่ามาด�ำเนินธุรกิจมา 8 ปี (2553-2561) กับการมีสาขาเพียง 3 แห่ง แต่นี่เป็นสิ่งที่อายุตั้งใจเลือกให้เป็นเช่นนั้น สาเหตุเนื่องมาจากเขาอยากใส่ใจและให้เวลาในการพัฒนาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย มากกว่าเร่งรีบท�ำตลาดกาแฟ “จริงๆ แล้วถ้าเราแค่ช่วยเรื่องด้านราคาและไปดูด้านตลาดมันง่ายมาก เราเคยคิดถึงขนาดที่ว่าจะท�ำแฟรนไชส์ขยาย ไปทัว่ ประเทศเลย แต่พอมาพิจารณาดูแล้วก็คดิ ว่า เราน่าจะใช้เวลาในการพัฒนาบุคลากรให้เยอะก่อนจะดีกว่า เพราะอย่าง เกษตรกร เขาปลูกกาแฟได้ เก็บเกี่ยวได้ แต่ว่าเขายังไม่รู้ว่ากาแฟที่อร่อยต้องถูกผลิตแบบไหน ซึ่งตรงนี้ต้องใช้เวลาอย่าง น้อย 2-3 ปีกว่าจะรู้ กว่าจะปรับเปลี่ยนได้ เราก็เลยยอมโตช้า” นอกจากความท้าทายในเรื่องธุรกิจแล้ว อายุมองว่าตัวเขาเองยังมีความท้าทายส่วนตัว นั่นคือต้องพยายามหาความรู้ ต่างๆ อยู่เสมอ อาทิ ความรู้ที่เกี่ยวกับกาแฟ ทั้งการจัดการไร่กาแฟ การประเมินคุณภาพ การประเมินรสชาติ ไปจนถึง ความรูด้ า้ นความยัง่ ยืนอย่างการจัดการพืน้ ทีเ่ กษตรแนว permaculture และการเคลือ่ นไหวด้าน Slow Food3 ซึง่ เป็นสาเหตุ ที่เขาต้องเดินทางไปดูงาน หรือไปหาความรู้ในต่างประเทศเป็นประจ�ำ “ผมก�ำลังจะไปเรียนเรือ่ งการจัดการสวนกาแฟทีจ่ าวา (อินโดนีเซีย) โดยจะเน้นเรือ่ งของการปลูกต้นไม้พนื้ ถิน่ กีช่ นิดกับ ปลูกกาแฟ 1 ไร่ เพราะอย่างที่บอกว่าเราเน้นเรื่องของ biodiversity (ความหลากหลายทางชีวภาพ) มาก” อายุยกตัวอย่าง

Change Agent แนวคิดการบริหารคนของอาข่า อ่ามา ส�ำหรับในแง่ของการบริหารทรัพยากรบุคคลนั้น อายุมองว่ากิจการเพื่อสังคมสามารถท�ำเรื่องอื่นๆ ได้มากมาย (ไม่ จ�ำเป็นต้องเป็นเรื่องกาแฟ) ทั้งในเรื่องสังคม สิ่งแวดล้อม หรือคน ด้วยเหตุนี้เขาจึงตัดสินใจตั้งแต่วันแรกที่เริ่มกิจการว่าจะ ใช้บุคลากรที่เป็นวัยรุ่นหรือคนรุ่นใหม่ ทั้งจากในเมืองและจากชุมชนบนดอยทุกที่ โดยไม่จ�ำเป็นต้องเป็นชาวอาข่าเท่านั้น เพราะอยากจะเป็น change agent ของคนรุ่นใหม่ผ่านกิจการของอาข่า อ่ามา 3

Slow Food เป็นแนวคิดความยั่งยืนทางอาหารที่ส่งเสริมการเข้าถึงอาหารแก่ทุกคนด้วยหลักคิด ดี (good) คืออาหารที่มีคุณภาพดี รสชาติดี และดีต่อ สุขภาพ สะอาด (clean) คือมาจากกระบวนการผลิตที่ไม่ท�ำลายสิ่งแวดล้อม และเป็นธรรม (fair) คือมีราคาที่ผู้บริโภคเข้าถึงได้และเป็นธรรมต่อ เกษตรกร แนวคิดนี้ครอบคลุมไปถึงการอนุรักษ์แหล่งอาหารต่างๆ ที่ใกล้สูญพันธุ์ การสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดการขยะอาหาร สิทธิทดี่ นิ ในการเพาะปลูก สิทธิสตั ว์ ไปจนถึงวิกฤตสภาพอากาศเปลีย่ นแปลง (climate change) ทีส่ ง่ ผลกระทบต่ออาหาร อาข่า อาม่าเป็นหนึง่ ในสมาชิก ของเครือข่าย Slow Food Youth Nwtwork (SFYN) ที่มีสมาชิกทั่วโลก

A k h a A ma Cof fe e

15


16

อย่างไรก็ดี ในช่วงแรกอายุค่อนข้างเน้นรับชาวอาข่าจากชุมชนที่ปลูกกาแฟมาร่วมงาน เพราะคิดว่าน่าจะช่วยในเรื่อง การสือ่ สารกับเกษตรกรในเครือข่ายของอาข่า อ่ามาได้เข้าใจกันมากกว่า เพราะมีความเข้าใจเกีย่ วกับพืน้ ฐานของเกษตรกร “แต่ว่าพอเราท�ำงานไป องค์กรเราใหญ่ขึ้น และเราไม่ได้ท�ำแค่ต้นน�้ำคือเรื่องส่งเสริมการปลูกกาแฟ แต่เราท�ำงาน กลางน�้ำและปลายน�้ำ ทั้งขายเมล็ดกาแฟและเปิดร้านขายกาแฟด้วย เราใช้ค�ำว่า diversify มากกว่า ก็เลยไม่จ�ำกัดว่าต้อง เป็นชาวอาข่าเท่านั้น” เพราะจริงๆ แล้วงานบางอย่างที่อาจจะไม่เหมาะกับน้องๆ ที่มาจากชุมชนปลูกกาแฟ “น้องๆ ทีม่ าจากชุมชนทีป่ ลูกกาแฟเอง เขาจะเป็นคนทีข่ อี้ ายนิดหนึง่ อาจจะเพราะความกลัว และเรือ่ งพืน้ ฐานทางการ ศึกษา ด้วยความทีเ่ ขาอาจจะเคยอยูแ่ บบเงียบๆ ไม่เคยอยูแ่ บบคนเยอะๆ เราก็ตอ้ งเลือกงานให้เหมาะกับเขาเหมือนกัน เช่น ถ้าเขาขี้อายมากๆ ก็ไม่เหมาะที่จะไปอยู่หน้าร้าน อาจจะต้องอยู่ backstage ไหม หรือบางคนจะมีสมาธิเวลาที่มีคนน้อยๆ ก็ ให้คั่วกาแฟดีไหม จะได้โฟกัส ท�ำงานได้ดี ส่วนบางคนที่เฮฮาปาร์ตี้ก็ให้อยู่หน้าร้านไหม คือก็ต้องคุยกัน ไม่ใช่ว่าเราอยาก ให้เขาอยู่ที่ไหนก็ให้ไปอยู่ แต่ว่าต้องดูว่าเขาเหมาะไหม และบางทีถ้าคน nature เดียวกัน อยู่ด้วยกัน ก็มีอุปสรรคเหมือน กัน เพราะว่ามันก็จะเป็น way เดียวกันหมด ไม่มีใครคอย challenge ครับ” ในฐานะที่วางบทบาทตัวเองว่าเป็น change agent อายุจึงยินดี หากวันหนึ่งพนักงานของอาข่า อ่ามา ลาออกเพื่อไป เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม หรือลาออกไปเป็นผู้ประกอบกิจการ ซึ่งปัจจุบันพนักงานของอาข่า อ่ามาถือว่าเป็นรุ่นที่ 3 โดยรุ่นแรกส่วนใหญ่ลาออกไปท�ำร้านกาแฟ หรือโรงคั่วกาแฟ รุ่นที่ 2 ออกไปเป็น young farmer (ยุวเกษตรกร) กลับไปท�ำกาแฟที่บ้าน แล้วเข้ามาอยู่ในแวดวงการขับเคลื่อนกาแฟ “นี่คือสิ่งที่เราอยากให้เป็นไดนามิกขององค์กร เราไม่ได้สร้างองค์กรแห่งนี้เพื่อท�ำกิจการเท่านั้น แต่เป็นการสร้างคน ซึ่งถามว่าถ้าวันหนึ่งเขาอยากออกไปท�ำโรงคั่ว ท�ำร้านกาแฟ ท�ำไร่กาแฟ เรายินดีไหม เรายินดีมาก เพราะไม่ได้อยากให้มี แค่ลีคนเดียว แต่อยากให้มีคนที่ 2, 3, 4 ซึ่งเขาอาจจะเจ๋งกว่าเราก็ได้” ปัจจุบันอาข่า อ่ามามีพนักงานประจ�ำ 18 คน แบ่งเป็นหญิงและชายอย่างละครึ่ง (ไม่รวมอายุ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง) และมี บาริสต้าที่ท�ำงานพาร์ตไทม์ 2 คน (แต่จะมาท�ำงานเต็มวัน ในวันที่บาริสต้าประจ�ำหยุดงาน เพราะเป็นวันหยุดหรือลา) โดย โครงสร้างการบริหารงานจะแบ่งเป็นผู้จัดการ 1 คน คือ เจนนี่-จันทร์จิรา หยกรุจิ ซึ่งเข้ามาร่วมงานกับอาข่า อ่ามาตั้งแต่ เริ่มต้น ถือเป็นผู้บริหารคู่กับอายุ โดยดูแลทั้งการบริหารงานทั่วไป การขาย และทรัพยากรบุคคล ผู้ช่วยผู้จัดการ 1 คน หัวหน้าบาริสต้า 3 คน ประจ�ำอยู่ 3 สาขา บาริสต้า 6 คน ประจ�ำอยู่ที่สาขาแรก ถนนหัสดิเสวี ซอย 3 และสาขาวัดพระสิงห์ สาขาละ 3 คน ส่วนอีก 1 คนประจ�ำที่ Akha Ama Living Factory เนื่องจากเป็นสาขาที่อยู่ห่างจากเมืองเชียงใหม่ แต่ละวัน จึงมีลกู ค้าไม่มากนัก อีก 5 คนเป็นหัวหน้าแผนกคัว่ กาแฟ พนักงานคัว่ กาแฟ หัวหน้าฝ่ายบรรจุและตรวจสอบคุณภาพ และ พนักงานฝ่ายบรรจุและตรวจสอบคุณภาพ ต�ำแหน่งละ 1 คน อายุของพนักงานอยู่ระหว่าง 20-33 ปี อายุเฉลี่ยจึงอยู่ที่ 25 ปี พนักงานประจ�ำทั้งหมดเป็นคนไทยเชื้อสายอาข่า 5 คน ปกาเกอะญอ 1 คน (ซึ่งส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่ปลูกกาแฟ) “อนาคตเราอยากสร้างทีม SE (Social Enterprise: กิจการเพื่อสังคม) ที่มีความเข้าใจจริงๆ ว่า SE คืออะไร เพราะ ฝันว่าเราอยากจัดฝึกอบรมนอกเหนือจากแค่เรื่องบาริสต้าหรือการคั่วกาแฟ โดยมีน้องๆ ที่เข้าใจเรื่อง SE จริงๆ มาช่วย


ถ่ายทอดให้กบั คนอืน่ ได้วา่ อาข่า อ่ามาก�ำลังท�ำอะไรอยูใ่ นประเด็นเกีย่ วกับกิจการเพือ่ สังคม นอกจากตอนนีท้ มี่ พี ลี่ กี บั เจนนี่ สองคนที่ต้องพูดเรื่องนี้” จันทร์จิรา เล่าถึงต�ำแหน่งงานใหม่ที่อาจจะเพิ่มขึ้นในองค์กร พนักงานอาข่า อ่ามาท�ำงานกะเดียว โดยในส่วนของบาริสต้าจะเริ่มงานประมาณ 07.30 น. เพื่อเตรียมงานต่างๆ ให้ ทันเปิดร้านบริการลูกค้าในเวลา 08.00 น. และเลิกงานเวลา 18.00 น. (รับออร์เดอร์สุดท้ายตอน 17.30 น.) และมีวันหยุด สัปดาห์ละ 1 วัน โดยให้สลับกันหยุด เพราะปัจจุบันร้านอาข่า อ่ามา สาขาถนนหัสดิ เสวี ซอย 3 และสาขาวัดพระสิงห์เปิด ให้บริการทุกวัน ส่วนสาขา Living Factory ปิดวันพุธ และเปิดบริการ 09.00-17.00 น. ส�ำหรับแนวคิดเรือ่ งการจ่ายค่าตอบแทนทีเ่ ป็นตัวเงินนัน้ พนักงานเข้าใหม่จะได้เงินเดือนช่วงทดลองงาน 10,000 บาท (ทดลองงาน 3 เดือน) แม้ว่า (บาริสต้า) บางคนอาจจะเคยมีประสบการณ์จากร้านกาแฟอื่นมาก่อนก็ตาม “เพราะลักษณะการท�ำงานของเราจะแตกต่างจากร้านทีเ่ ขาเคยอยู่ เขาจึงต้องมาเริม่ เรียนรู้ใหม่ในแบบของเรา เมือ่ ผ่าน ทดลองงาน เงินเดือนจะปรับขึ้นเป็น 13,000 บาท พร้อมกับมอบสวัสดิการให้” จันทร์จิราให้ข้อมูล “ถ้าเทียบอัตราเงินเดือนกับค่าครองชีพในเชียงใหม่ บอกได้เลยว่าอาข่า อ่ามาให้ไม่น้อยกว่าบริษัทต่างๆ เพราะบาง แห่งจ่ายเงินเดือนให้คนจบปริญญาตรีเพียง 9,000 บาทก็มี” พชร วุฒิเพียรเลิศ บาริสต้าสาขาหน้าวัดพระสิงห์ อายุงาน 7 เดือน ซึ่งเลือกท�ำงานกับอาข่า อ่ามาหลังจากจบการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปรียบเทียบให้ฟัง ส�ำหรับสวัสดิการก็จะมีประกันสังคม ซึ่งอาข่า อ่ามาจะจ่ายให้พนักงานทั้งหมด (พนักงานไม่ต้องสมทบในส่วนของ พนักงาน) นอกจากนี้ยังมีเงินช่วยเหลือส�ำหรับพนักงานที่เป็นเสาหลักในการหารายได้ของครอบครัว หากเกิดเหตุฉุกเฉิน ที่ครอบครัวมีความจ�ำเป็นต้องใช้เงิน เช่น พ่อแม่หรือคนในครอบครัวเจ็บป่วย โดยบริษัทจะให้เบิกเงินล่วงหน้า แล้วค่อยๆ หักคืนจากเงินเดือนในวงเงินที่พนักงานสมัครใจ และไม่เดือดร้อนต่อการด�ำเนินชีวิตของเขา “เราไม่ได้ให้ทุกคน แต่จะประเมินถึงความจ�ำเป็น และดูเครดิตหลายๆ อย่างที่เขาท�ำให้องค์กร” จันทร์จิรา ซึ่งดูแล งานบริหารงานบุคคลเล่าถึงเงื่อนไขในการพิจารณา ส�ำหรับพนักงานที่มาจากชุมชนบนดอยก็มีที่พักให้ คือที่ชั้นบนของร้านสาขาวัดพระสิงห์ โดยไม่คิดค่าเช่า พร้อมน�้ำ ไฟฟรี “ผมพักอยู่ชั้น 4 ที่สาขาวัดพระสิงห์ครับโดย ไม่ต้องเสียเงินเลย” อภิชาติ เชอมือ หัวหน้าแผนกคั่วกาแฟ อายุงาน เกือบ 5 ปี ซึ่งบ้านเกิดอยู่ที่ดอยงาม จังหวัดเชียงราย เล่าให้ฟัง นอกจากนี้อาข่า อ่ามายังมีการจ่ายโบนัสให้พนักงาน โดยเมื่อ 2-3 ปีที่แล้วได้เปลี่ยนระบบจากเดิมที่จะจ่ายเหมือน เป็นเงินเดือนเดือนที่ 13 มาเป็นการน�ำเอาผลก�ำไรต่อปีมาหารด้วยจ�ำนวนพนักงาน เพื่อให้ทุกคนที่ท�ำงานหนักเท่ากัน ได้รับโบนัสเท่าเทียมกัน ต่างจากการจ่ายโบนัสแบบเดิม ซึ่งคนที่ได้เงินเดือนสูงจะได้โบนัสมากกว่าคนที่ได้เงินเดือนน้อย ส่วนเงินทิปจากลูกค้านั้นยกให้บาริสต้าแต่ละสาขาไปจัดสรรกันเอง พนักงานอาข่า อ่ามามีวันลาปีละ 15 วัน ลาป่วยได้ตามความจ�ำเป็น นอกจากนี้ยังให้อิสระกับพนักงานในการท�ำงาน เสริมอื่นๆ ถ้าไม่มีผลกระทบกับการท�ำงาน เช่น บาริสต้าคนหนึ่งท�ำร้านกาแฟกับเพื่อนๆ ในย่านนิมมานเหมินทร์ “สมัยก่อนเราเคยใช้บาริสต้าทีเ่ ป็นพาร์ตไทม์ ท�ำงานเป็นกะ แต่มปี ญ ั หามาก เช่น น�ำ้ ตาลหมด นมหมดไม่แจ้ง การวาง อุปกรณ์การชงไม่ตรงใจคนที่มารับช่วง ท�ำให้พนักงานมีความขัดแย้งกัน ก็เลยคุยกันว่าจะแก้ปัญหายังไง ทุกคนก็เลือก แบบพนักงานประจ�ำ แล้วท�ำงานยาวทัง้ วันตัง้ แต่เปิดจนปิดร้านแบบกะเดียว (07.30-18.00 น.) เพราะน้องๆ บอกว่าเลิกเร็ว ก็ไม่รู้จะไปไหน เพียงแต่ว่าถ้าวันไหนเขามีธุระหรือจ�ำเป็นต้องเข้างานช้า ก็ให้คุยกันภายในทีมว่าจะจัดการยังไง เพื่อไม่ ให้มีปัญหากับการเปิดร้านให้ทันตอน 8 โมงเช้า” จันทร์จิราพูดถึงการรับฟังความคิดเห็นภายในทีม เพื่อท�ำให้พนักงานมี ชีวิตการท�ำงานและชีวิตส่วนตัวที่สมดุลกัน

A k h a A ma Cof fe e

17


18

ชวนคนรู้จักมาท�ำงานด้วย ในแต่ละปี อาข่า อ่ามารับพนักงานใหม่ปีละ 1-2 คน อย่าง พ.ศ. 2561 รับเพิ่ม 2 คน เพราะเปิดสาขาใหม่ (Akha Ama Living Factory) โดยวิธกี ารสรรหาพนักงานก็ยงั ใช้วธิ กี ารเดิมๆ ทีอ่ ายุเคยใช้สมัยเขาเริม่ กิจการใหม่ๆ นัน่ คือการชักชวนคน รู้จักมาร่วมงานด้วย เพราะเป็นวิธีการที่ได้ผลกว่าการโฆษณารับสมัครงานรูปแบบอื่นๆ “อย่างเจนนี่รู้จักกับพี่ลีตั้งแต่ตอนเรียนชั้นมัธยมอยู่ที่เชียงราย เพราะพี่ลีท�ำงานกับมูลนิธิ (เกื้อฝันเด็ก) แล้วมาให้ ความช่วยเหลือหอพักของมูลนิธิคนอาข่าที่เจนนี่พักอยู่ เลยได้รู้จักกัน พอตอนเรียนปี 3 ที่มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ใน เชียงใหม่ ก็เลยมาเป็นบาริสต้าพาร์ตไทม์ ตอนนั้น พ.ศ. 2553 ยังมีแค่พี่ลีท�ำอยู่คนเดียว พอเรียนจบก็เป็นบาริสต้าประจ�ำ โดยท�ำงานคู่กับนักศึกษาฝึกงาน ซึ่งเป็นรุ่นน้องของพี่ลีที่ ม.ราชภัฏฯ พอน้องเรียนจบก็ขอท�ำงานต่อ หลังจากนั้นก็เริ่มรับ คนเพิ่มเรื่อยๆ โดยเฉพาะตอนที่เปิดสาขา 2 ที่หน้าวัดพระสิงห์ ซึ่งเจนนี่เริ่มเขยิบมาท�ำงานบริหารด้วย” จันทร์จิราเล่าถึง จุดเริ่มต้นที่กลายมาเป็นพนักงานคนแรกของอาข่า อ่ามา จากการชักชวนของอายุ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันการหาพนักงานใหม่ได้ขยายวงจากคนที่อายุรู้จัก หรือคนที่เครือข่ายของอายุแนะน�ำมา ไปสู่คน ที่พนักงานในอาข่า อ่ามารู้จักและแนะน�ำให้มาสมัคร รวมถึงผู้สนใจบางคนที่เดินเข้ามาถามว่ารับสมัครพนักงานไหมด้วย “ถ้ามีคนออก ส่วนใหญ่พเี่ ขาจะไม่ประกาศ แต่จะให้หาจากเพือ่ นๆ ของพนักงาน ถ้าเรามีเพือ่ นทีน่ า่ สนใจก็ให้บอกต่อ” ฐิติกา โตวัฒน์นิมิตร หัวหน้าบาริสต้า สาขาหัสดิเสวี ซอย 3 ซึ่งท�ำงานที่อาข่า อ่ามามา 4 ปีเล่า โดยในส่วนของตัวเธอเอง นั้นมาร่วมงานกับอาข่า อ่ามาได้ เพราะเดินเข้ามาถามและสมัคร หลังจากได้รู้จักเรื่องราวของอาข่า อ่ามาในฐานะกิจการ เพื่อสังคมผ่านนิตยสารเกี่ยวกับกาแฟ และเกิดความสนใจอยากจะร่วมงานกับกิจการที่ท�ำประโยชน์ให้กับสังคมและชุมชน อายุและจันทร์จิราให้เหตุผลที่อาข่า อ่ามาเลือกใช้วิธีการให้คนแนะน�ำผู้สมัครว่า เพราะคนที่ได้รับการแนะน�ำจะผ่าน การคัดกรองจากผู้แนะน�ำมาแล้วชั้นหนึ่งว่ามีความสนใจในธุรกิจกาแฟ การสมัครงานที่อาข่า อ่ามามีขั้นตอนง่ายๆ และสั้นๆ คือมานั่งคุยกัน โดยยังไม่ต้องเขียนใบสมัคร เพราะอาข่า อ่ามา ไม่ได้สนใจเรื่องระดับการศึกษา หรือประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้สมัคร สิ่งที่อยากทราบจะเป็นเรื่องทัศนคติในการท�ำงาน และค�ำถามแรกที่ผู้สมัครต้องตอบก็คือ “น้องกินกาแฟหรือเปล่า” “เพราะหัวใจของธุรกิจเราคือกาแฟ ถ้าเป็นบาริสต้า ทุกเช้าก่อนเปิดร้านคุณต้องเทสต์รสชาติกาแฟก่อน เพือ่ ดูวา่ ดีแล้ว หรือต้องปรับอะไรตรงไหน ดังนั้นถ้าไม่กินกาแฟก็คือจบ” จันทร์จิราให้เหตุผลถึงที่มาของค�ำถามแรก หากมีการทดสอบจะเป็นการให้ท�ำ cupping คือชิมกาแฟแล้วอธิบายคาแร็กเตอร์และรสชาติของกาแฟตัวที่ชิม และ ส�ำหรับอายุแล้ว เขามักจะสอบถามประเด็นเรื่องเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคมกับผู้สมัคร เพื่อตรวจสอบว่าผู้สมัครรู้จักอาข่า อ่ามามากน้อยเพียงใด “เพราะบางทีเขาก็ต้องเป็นตัวแทนของอาข่า อ่ามา ในการอธิบายให้ลูกค้าฟังว่ากาแฟเรามีที่มาที่ไปยังไง เพราะเรามี กลุ่มลูกค้าที่สนใจเรือ่ งความเป็นมาของสินค้าเยอะพอสมควร หรือบางทีเขาอาจจะไปลงพืน้ ที่ เข้าไปในชุมชน” อายุอธิบาย ถึงสาเหตุที่เขามักถามผู้สมัครในประเด็นนี้ ส�ำหรับประสบการณ์ ในการท�ำงานกับร้านกาแฟมาก่อนของผู้สมัครไม่เป็นข้อได้เปรียบนัก เพราะแม้ว่าจะมี ประสบการณ์มาแล้ว แต่ทุกคนก็ต้องเข้ามาเรียนรู้วิธีการท�ำงานในสไตล์ของอาข่า อ่ามาใหม่ทั้งหมด ดังได้กล่าวมาแล้ว หรือบางทีผู้สมัครที่มีความรอบรู้ด้านกาแฟมากกว่าอาจจะไม่ได้รับการคัดเลือก หากคู่แข่งของเขาเป็นคนที่มาจาก ครอบครัวคนท�ำไร่กาแฟบนดอยสูง และมีแผนว่าอนาคตจะน�ำความรู้เรื่องกาแฟไปต่อยอด ช่วยพัฒนาคุณภาพกาแฟที่ ครอบครัวผลิต “อย่างน้องใหม่ 2 คนทีโ่ รงคัว่ ทีเ่ รารับมาเมือ่ ปีทแี่ ล้ว เขามาจากชุมชนปกาเกอะญอ ไม่มคี วามรูเ้ รือ่ งกาแฟเลย เคสนี้ เราต้องชั่งใจระหว่างคนที่มีความรู้ คือเข้ามาแล้วคั่วกาแฟได้เลย กับน้องที่มีแผนว่าต้องการมาอยู่กับเรา เพราะอยากเอา ความรู้กลับไปช่วยเหลือครอบครัวและชุมชน ซึ่งสุดท้ายเราก็เลือกน้องจากชุมชน แม้เขาจะอยู่กับเราแค่ 1 ปี แล้วกลับไป ช่วยพัฒนาการท�ำกาแฟในชุมชนของเขา” จันทร์จริ าอธิบายแนวคิดการเลือกพนักงานของอาข่า อ่ามา จากมุมมองการเป็น กิจการเพื่อสังคมและการเป็น change agent ซึ่งพันธกิจส�ำคัญอย่างหนึ่งคือ การสร้างคนจากชุมชนที่ปลูกกาแฟให้กลับไป


ช่วยงานที่บ้านได้ หรือออกไปท�ำร้านกาแฟในลักษณะคล้ายๆ กับอาข่า อ่ามา คือใช้เมล็ดกาแฟจากแหล่งผลิต ซึ่งท�ำให้ ชุมชนผู้ผลิตได้รับประโยชน์มากกว่าการขายให้พ่อค้าคนกลาง ส�ำหรับผู้สมัครที่ผู้บริหารสัมภาษณ์จนพอใจ ซึ่งส่วนใหญ่เกณฑ์ตัดสินจะอยู่ที่ทัศนคติในการท�ำงาน และการท�ำงาน ร่วมกับผู้อื่น ก็จะถูกขอให้ลองมาทดลองท�ำงาน อาจจะเป็นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ เพื่อให้ทั้งผู้สมัครและบริษัทมีโอกาส เลือก เพราะเป็นโอกาสที่จะได้ดูกันและกันผ่านการท�ำงานจริงๆ “เราหรือพนักงานคนอื่นๆ ที่ต้องท�ำงานร่วมกับเขาจะได้ดูด้วยว่าจะท�ำงานเข้ากันได้หรือเปล่า ส่วนผู้สมัครก็ได้ลอง มาท�ำว่าชอบงานลักษณะนี้จริงๆ หรือเปล่า คือไม่ใช่แค่ทีมเราแฮปปี้นะ เพราะถ้าเขาไม่แฮปปี้ก็อยู่ไม่ได้ เราให้แต่ละฝ่าย ประเมินกันแบบนี้เลย” อายุเล่าถึงคนที่จะผ่านเข้ามาทดลองงานของจริง ส�ำหรับสาเหตุทวี่ ยั รุน่ หรือคนรุน่ ใหม่สนใจอยากร่วมงานกับอาข่า อ่ามานัน้ อายุบอกว่าน่าจะมาจากคนรุน่ ใหม่ปจั จุบนั อยากท�ำอาชีพอิสระ ท�ำแล้วสนุก มีความสุขที่ได้เจอผู้คน มากกว่าการรับราชการหรือท�ำงานในโรงงาน “จากสถิติคนจบใหม่ทั้งประเทศ พบว่าเกิน 60% อยากท�ำงานในร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม ซึ่งจุดเด่นของ เราก็คือเราท�ำธุรกิจกาแฟอย่างครบวงจร ตั้งแต่ส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูก จนถึงการคั่วกาแฟ เปิดร้านกาแฟ และขายเมล็ด กาแฟ ดังนัน้ หากมาท�ำงานทีน่ ี่ เขามีโอกาสทีจ่ ะได้เรียนรูห้ รือเห็นทุกอย่าง” อายุเล่าถึงสาเหตุทอี่ าข่า อ่ามาดึงดูดให้บณ ั ฑิต จากรั้วมหาวิทยาลัยเข้ามาท�ำงานด้วย โดยปัจจุบันพนักงานครึ่งหนึ่งของอาข่า อ่ามา จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก หลากหลายสาขา “ตอนก่อนเรียนจบ ผมท�ำงานวิจัยเรื่องนโยบายภาครัฐกับการส่งเสริมกาแฟ ก็ได้มาสัมภาษณ์พี่ลี และรู้สึกถูกชะตา กับวิธีการท�ำธุรกิจของที่นี่ พอเรียนจบจึงโทร.มาถามพี่ลีว่ารับคนไหม พี่ลีก็เรียกให้เข้ามาคุย แล้วได้มาทดลองงาน” พชร บาริสต้าประจ�ำสาขาวัดพระสิงห์ เล่าถึงความเป็นมาที่ท�ำให้สนใจอยากมาร่วมงานกับอาข่า อ่ามา แม้ว่าจะต้องเข้ามานับ หนึ่งใหม่ เพราะจริงๆ แล้ว พชรท�ำงานเป็นบาริสต้าตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา และฝีมืออยู่ในระดับรับสอนการชงกาแฟให้กับ ผู้สนใจเป็นส่วนตัว

สอนงานจากงานจริง จันทร์จิราบอกว่าในอดีต ช่วงที่รับพนักงานใหม่เข้ามาเยอะ อาข่า อ่ามาเคยท�ำในลักษณะคล้ายๆ การฝึกอบรม เพื่อ ให้พนักงานใหม่มีความเข้าใจในพันธกิจขององค์กรในฐานะที่เป็นกิจการเพื่อสังคม แต่ปัจจุบันเนื่องจากพนักงานที่เข้ามา ใหม่มักได้รับรู้เรื่องราวของอาข่า อ่ามาผ่านสื่อมาแล้ว จึงไม่ได้มีการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ในวันแรกที่มาเริ่มงาน แต่ให้ เรียนรู้งานจากการลงมือท�ำงานจริงตลอดเวลา 3 เดือน ซึ่งเป็นช่วงทดลองงาน “วันแรกที่มาเริ่มงาน ผมล้างแก้วทั้งวันเลยครับ เพราะเป็นช่วงไฮซีซั่น ลูกค้าเยอะมาก” มนัสวี บางเพลิง บาริสต้า สาขาวัดพระสิงห์ ซึ่งเริ่มงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 จากการชักชวนของพชร เล่าให้ฟังด้วยเสียงหัวเราะ เพื่อ ตอบค�ำถามว่าอาข่า อ่ามาปฐมนิเทศและสอนงานพนักงานใหม่ยังไง แต่หลังจากนั้นเขาก็เริ่มฝึกรับออร์เดอร์ เสิร์ฟกาแฟ ให้ลูกค้า ก่อนที่จะได้จับเครื่องเพื่อฝึกท�ำช็อตกาแฟเย็น หลังจากเวลาผ่านไป 2 สัปดาห์ โดยหัวหน้าบาริสต้าและเพื่อนๆ ที่ท�ำงานมาก่อนช่วยบอกช่วยสอน ขณะทีฐ่ ติ กิ า หัวหน้าบาริสต้าสาขาหัสดิเสวี 3 เล่าว่า แม้จะเคยท�ำงานในร้านกาแฟมาก่อน แต่มคี วามรูแ้ ค่การท�ำกาแฟ พื้นฐาน เมื่อมาเริ่มงานกับอาข่า อ่ามาก็ได้รับการปูพื้นใหม่จากจันทร์จิรา ซึ่งตอนนั้นเป็นหัวหน้าบาริสต้า “เมื่อก่อนกินเอสเพรสโซ่ไม่ได้ คือเคยกินที่ร้านเก่าแล้วเข็ดมาก มันทั้งขม ทั้งไหม้ ทั้งเหม็น พอมาเริ่มงานพี่เจนนี่จะ ให้ชิมก็บอกว่าไม่เอา ไม่กิน มันไม่อร่อย พี่เจนนี่ก็บอกว่า ได้ไง ท�ำงานร้านกาแฟก็ต้องกินสิ ก็เลยชิม แล้วพบว่ามันเป็น เอสเพรสโซ่ที่หวานมาก ฉ�่ำ ไม่มีรสขมเลย ตอนนั้นตกใจมากว่านี่กาแฟหรือ” ฐิติกาเล่าถึงบทเรียนบทแรกที่ได้เรียนรู้เรื่อง รสชาติกาแฟ ก่อนทีจ่ ะได้การเรียนรูเ้ รือ่ งกาแฟในแง่มมุ อืน่ ต่อไป ซึง่ หลังจากท�ำงานมา 4 ปี ฐิตกิ าบอกว่ายังมีเรือ่ งให้เรียนรูไ้ ม่จบ

A k h a A ma Cof fe e

19


20

สาเหตุทเี่ รียนรู้ไม่จบ เพราะอาข่า อ่ามา ท�ำกาแฟตั้งแต่ต้นน�้ำ กลางน�้ำ และปลายน�้ำ และเจนนี่ก็พยายามที่จะท�ำให้พนักงานของ อาข่า อ่ามาได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ ให้สมกับที่ พวกเขามีโอกาสเข้ามาท�ำงานกับองค์กรที่ ท�ำธุรกิจกาแฟครบวงจรและให้คุณค่าอย่าง ยิ่งกับที่มาของกาแฟ “เพราะตอนทีเ่ จนนีท่ ำ� ต�ำแหน่งบาริสต้า เคยไปแข่ง ซึ่งท�ำให้ ได้รู้ว่าบาริสต้าเกือบ ทั้งหมดไม่รู้ว่าต้นกาแฟเป็นยังไง รู้สึกว่าเราต่างกันมากๆ เลยค่ะ แล้วก็เลยรู้สึกว่า ไม่ได้ ถ้าน้องๆ ที่ร้านเราเป็นแบบนี้ ตายแน่ๆ เราจึงสร้างกิจกรรมอะไรบางอย่างเพื่อให้น้องๆ รู้ว่ากาแฟมันมาจากอะไร” จันทร์จิราเล่าถึงที่มาที่พนักงานของ อาข่า อ่ามาจะได้ผลัดเปลี่ยนกันไปเข้าร่วมกิจกรรม Coffee Journey หรือโครงการเกี่ยวกับเรื่องกาแฟอื่นๆ ที่อาข่า อ่ามา จัดขึ้นให้กับบุคคลภายนอก นอกจากนีเ้ รือ่ งสิง่ แวดล้อมก็เป็นประเด็นทีจ่ นั ทร์จริ าพยายามเน้นย�ำ้ กับบาริสต้าให้ปฏิบตั ติ าม โดยเฉพาะอย่างยิง่ เรือ่ ง ของการลดใช้แก้วพลาสติก โดยให้บาริสต้าถามลูกค้าว่าจะดื่มเครื่องดื่มที่ร้าน หรือซื้อไปกินข้างนอก เพื่อเลือกใช้แก้วได้ อย่างถูกต้อง “แต่เราก็ตอ้ งคอยเช็กว่าแก้วพลาสติกหมดไวไปหรือเปล่า ถ้าหากหมดไวเราต้องลงไปถามว่าเพราะอะไร ซึง่ บางทีนอ้ ง บอกว่าแก้วแตก แก้วไม่พอ เราก็ต้องรีบไปซื้อแก้วให้ใหม่ และพยายามย�้ำกับน้องๆ ว่าให้ลดการใช้แก้วพลาสติก เพื่อลด ขยะ เพราะบางทีถ้าเราไม่ลงไปดูบ่อยๆ น้องๆ ก็แกล้งลืม ส่วนหลอดพลาสติกเราไม่ใช้แล้ว แต่ซื้อหลอดสเตนเลสมาให้ใช้ แทนส�ำหรับลูกค้าที่สั่งเครื่องดื่มเย็นที่ร้าน” จันทร์จิราเล่าถึงการเน้นย�้ำเรื่องสิ่งแวดล้อมต่อพนักงาน ขณะที่อายุย�้ำว่า อาข่า อ่ามาเน้นสอนให้พนักงานเป็นผู้ประกอบการ “บาริสต้าของเราไม่ได้มหี น้าทีแ่ ค่ชงกาแฟหรือท�ำเครือ่ งดืม่ แต่เขาต้องรูเ้ รือ่ งสต็อก คาดการณ์ได้วา่ ควรสัง่ กาแฟหรือ วัตถุดิบตัวไหนในปริมาณเท่าไร หากเป็นหัวหน้าบาริสต้าก็ต้องคุยกับคนคั่วกาแฟได้ว่าอยากให้คั่วกาแฟแบบไหน เพื่อ กาแฟที่ท�ำออกมาจะได้อร่อย ดูแลหน้าบาร์และหน้าร้านได้ รวมถึงต้องท�ำบัญชีเล็กๆ น้อยๆ ภายในร้าน และดูแลเรื่อง ความสะอาด รวมแล้วคือต้องท�ำเป็นทุกอย่าง” อายุยกตัวอย่าง ส�ำหรับการประเมินผลการทดลองงานนั้น หากเป็นบาริสต้า ส่วนใหญ่อายุและจันทร์จิราจะให้บาริสต้าที่อยู่ในสาขา เดียวกันเป็นคนประเมิน เนื่องจากเห็นการท�ำงานและพัฒนาการของเขาอย่างใกล้ชิดมากกว่า แต่หากเป็นแผนกคั่วกาแฟ อภิชาติ หัวหน้าแผนกบอกว่า อายุจะเป็นคนประเมิน ส่วนเขาจะสอนงานในเรื่องการคั่ว การตรวจสอบเมล็ดกาแฟ เรื่องการท�ำสต็อก การแพ็กกาแฟ การส่งกาแฟไปที่ร้านหรือส่งทางไปรษณีย์ต่างๆ


ส�ำหรับความท้าทายในการรับพนักงานใหม่นั้น อายุบอกว่า เนื่องจากอาข่า อ่ามาตั้งใจที่จะเป็น change agent ของ วัยรุ่น คนรุ่นใหม่ ซึ่งปัจจุบันคนกลุ่มนี้มีสิ่งยั่วยวนเยอะ จนบางครั้งส่งผลต่อสมาธิในการท�ำงาน แต่ข้อดีก็คือ เนื่องจากมีวัย ใกล้กนั จึงสามารถพูดจาภาษาเดียวกันได้ และคนรุน่ ใหม่กเ็ ป็นคนทีม่ พี ลังสูง เวลาตัง้ ใจท�ำอะไรจะทุม่ เทเกินร้อย ดังนัน้ หาก สามารถส่งเสริมจนเขาปรับตัวกับการท�ำงานได้และท�ำได้ดี คนเหล่านี้ก็สามารถเติบโตในสายงานนี้ได้ดี “แต่ถ้าปฏิเสธคนกลุ่มนี้ เราจะต้องไปหาคนแบบไหน คนแบบที่เขาจะท�ำแค่เราสั่งหรือ อันนั้นไม่ใช่ธรรมชาติของเรา เพราะมันจะกลายเป็นคอขวดในการท�ำงาน” อายุกล่าวถึงสาเหตุที่เขายังยืนหยัดที่จะท�ำงานกับวัยรุ่นและคนรุ่นใหม่ แม้ว่า จะต้องเผชิญกับความท้าทายบางอย่าง

สื่อสารผ่านไลน์และวันครอบครัว แม้ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก แต่เนื่องจากว่ามีสาขาที่อยู่ห่างกัน 3 แห่งในเมืองเชียงใหม่ พนักงานของอาข่า อ่ามาจึง ไม่ได้อยู่รวมกันในที่เดียว ดังนั้นวิธีการสื่อสารกันระหว่างผู้บริหารกับพนักงานแต่ละสาขา จึงต้องพึ่งพาแอปพลิเคชันไลน์ (Line) เป็นหลัก “แต่ละร้านก็จะมีไลน์กลุ่ม ซึ่งเขาต้องดึงฝ่ายบริหาร คือเจนนีก่ ับพีล่ ีเข้าไปด้วย เพือ่ ให้เราได้รับรู้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น จะได้ชว่ ยกันแก้ปญ ั หาทัน โดยเฉพาะเรือ่ งทีม่ ลี กู ค้าร้องเรียน เราต้องรู้ให้เร็วทีส่ ดุ โดยทุกๆ เช้า แต่ละสาขาจะมีการอัปเดต ข้อมูลของที่ร้านว่าเป็นยังไง มีปัญหาอะไรหรือไม่” จันทร์จิราอธิบายกระบวนการสื่อสารประจ�ำวัน นอกจากนี้ทุกวันอังคารที่ 2 ของเดือนจะเป็น Family Day หรือวันครอบครัวที่ชาวอาข่า อ่ามาทุกคนได้หยุดงาน (ทุก สาขาหยุดให้บริการ) แต่ไม่ให้พนักงานหยุดอยู่กับบ้านหรือไปท�ำสิ่งใด เพราะทุกคนต้องมารวมตัวเพื่อท�ำกิจกรรมต่างๆ ด้วยกัน โดยถือว่าเป็นวันท�ำงาน เพียงแต่ไม่ต้องมาท�ำงานเช้าแบบวันท�ำงานปกติ เพราะการรวมตัวกันมักจะเกิดขึ้นหลัง 09.00 น. ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ซึ่งได้มีการตกลงนัดหมายกันมาก่อนล่วงหน้า เช่น อาจจะเริ่มจากร้านกาแฟที่เพื่อนๆ ของอายุเป็นเจ้าของ หรือร้านกาแฟทีอ่ ยูใ่ นเครือข่ายสมาคมกาแฟพิเศษด้วยกัน แล้วก็ตอ่ ด้วยกิจกรรมอืน่ ๆ ตามเสียงเรียก ร้องของพนักงาน “ที่เราจัดให้มีวันครอบครัวทุกเดือนก็เพราะพอองค์กรใหญ่ขึ้น บางทีการเจอะเจอหน้ากันก็น้อยลง เราจึงใช้วิธีแบบนี้ เพื่อให้ทุกคนได้มาเจอ รู้จัก และพูดคุยกัน เพราะถ้าไม่มวี นั แบบนี้ คนที่ท�ำงานคนละสาขาก็แทบไม่มีโอกาสรู้จักหรือได้เจอ กันเลย นอกจากนีห้ ากมีสงิ่ ทีก่ ำ� ลังจะเกิดขึน้ ในบริษทั หรือมีอปุ สรรค ปัญหาทีเ่ ราเจอ ก็จะมาอัปเดตให้ทกุ คนได้รกู้ นั ในวันนี้ แต่ถ้าเดือนไหนไม่มีอะไรให้อัปเดตมาก น้องๆ ก็อาจจะบอกไปตกปลาไหม หรือไปดูหนังไหม X-Men เข้าแล้วนะ ก็ไป ครับ คือเหมือนไป hang out ด้วยกัน เป็นวิธีที่ท�ำให้พวกเราสนิทสนมกัน และมีอะไรก็พูดคุยกันได้ทุกเรื่อง” อายุเล่าถึง วันครอบครัวที่เริ่มท�ำมาได้ปีกว่าๆ โดยบริษัทรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด “หรือบางทีเราก็พาน้องไปชุมชน เพื่อให้น้องๆ ได้เรียนรู้ เพราะตอนนี้น้องๆ ส่วนมากไม่ได้มาจากชุมชน หรือหากมี ใครที่ยังไม่เข้าใจว่าท�ำไมเราจึงท�ำกิจการเพื่อสังคม เราก็เอาเรื่องนี้มาคุยมาซักถามกัน” จันทร์จิราเสริมถึงกิจกรรมในวัน ครอบครัว ซึ่งเป็นช่องทางในการสร้างความสัมพันธ์ภายในองค์กร

พัฒนาพนักงานตามความขวนขวาย อย่างทีบ่ อกว่า อาข่า อ่ามาฝึกให้พนักงานเป็นผูป้ ระกอบการมากกว่าเป็นแค่คนชงกาแฟหรือคนคัว่ กาแฟ โดยพยายาม ส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้ ความสามารถเพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งหมดต้องเกิดจากความขวนขวายของพนักงานเอง ไม่ใช่ให้ บริษัทคอยป้อน

A k h a A ma Cof fe e

21


22

“หรือให้ฝ่ายบริหารเป็นคนบอกว่าคุณขาดอันนั้น อันนี้ ต้องไปเรียนเพิ่มนะ แต่เขาต้องรับผิดชอบ ต้องบอกได้ว่าเขา ขาดอะไร หรืออยากรู้เรื่องอะไร เช่น ท�ำยังไงจะดริปกาแฟให้ได้อร่อย หรือจะท�ำกาแฟตัวนี้ให้ออกมาอร่อยต้องท�ำยังไง โดยเขาอาจจะขอให้ลี หรือเพือ่ นร่วมงาน หรือหัวหน้าช่วยสอนให้ชว่ งที่ไม่มลี กู ค้า หรืออาจจะไปหาที่เรียนข้างนอก ซึง่ หาก มีค่าใช้จ่ายเราก็ยินดีสนับสนุนค่าเรียน แม้แต่คนอยากอบรมใบขับขี่เราก็ยังให้เลย หรือใครอยากไปแข่งบาริสต้า เราก็ส่ง เสริม” อายุเล่าถึงนโยบายการพัฒนาพนักงานของอาข่า อ่ามา ซึ่งไม่มีหลักสูตรตายตัว แต่เป็นลักษณะของการมีส่วนร่วม ของทั้งฝ่ายพนักงานและผู้บริหาร โดยเขาไม่กลัวว่า เมื่อพัฒนาแล้วพนักงานจะไปจากบริษัท ทั้งไปท�ำเอง หรือไปท�ำกับ คนอื่น เพราะได้วางตัวเองว่าจะเป็น change agent ไว้ตั้งแต่ต้น อย่างกรณีของพชร บาริสต้าสาขาวัดพระสิงห์ ที่สนใจสมัครเข้าร่วมแข่งขันในรายการ Thailand Creative Barista ซึ่งจัดขึ้นที่เชียงใหม่เมื่อต้นปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา ก็ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเป็นอย่างดี โดยเปิดร้านให้ใช้เครื่อง ส�ำหรับซ้อมในตอนกลางคืน “ผมซ้อมถึง 5 ทุม่ เทีย่ งคืน ซึง่ บางคืนพีล่ กี ม็ าดูดว้ ย นอกจากนีย้ งั สนับสนุนเรือ่ งค่าทีพ่ กั ค่าเดินทางไปแข่งด้วย” สุดท้าย พชรได้รางวัลชนะเลิศ จึงได้เป็น 1 ใน 3 ของตัวแทนบาริสต้าภาคเหนือไปแข่งชิงแชมป์ระดับประเทศต่อไป นอกจากนี้อาข่า อ่ามายังออกค่าใช้จ่ายให้พชรไปเข้าคอร์สการท�ำกาแฟดริป โดยที่เขาไม่ได้ร้องขอ “ผมสนใจเลยไปสมัครเรียน คืออยากเรียนเองอยู่แล้ว แต่ว่าต้องลางานเลยต้องบอกกับพี่เจนนี่ พี่เขาก็ให้ลาและออก ค่าเรียนให้ด้วย เพราะอยากให้เอาความรู้ที่ได้มากระจายให้กับคนอื่นๆ ต่อ ซึ่งเมื่อวันครอบครัวเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่าน มา ผมก็จัดอบรมการดริปกาแฟเป็นการภายในให้กับทุกคน” พชรเล่า ส�ำหรับการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องชุมชนที่อาข่า อ่ามาเข้าไปส่งเสริมเรื่องการปลูกกาแฟนั้น พนักงานจะได้หมุนเวียนกัน ไปเยี่ยมเยียน หรือร่วมกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชนอย่าง Coffee Journey หากช่วงไหนมีเพื่อนร่วมวงการกาแฟจากต่างประเทศ ที่มีฝีมือดีในการคั่วกาแฟหรือการชงกาแฟมาเยี่ยมเยียนเมือง ไทย อายุก็มักจะขอให้พวกเขามาแบ่งปันความรู้กับพนักงานของอาข่า อ่ามา ตามวาระและโอกาส บางทีกม็ รี ายการอบรมดูงานพิเศษ เช่น การจัดทริปพาพนักงานไปเทีย่ วและดูงานทีญ ่ ปี่ นุ่ เมือ่ ช่วงสงกรานต์ พ.ศ. 2561 โดยหากพนักงานที่มีอายุงานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป บริษัทจะออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งค่าเดินทางและค่าที่พัก แต่หากอายุงานน้อย กว่านั้นก็ต้องออกค่าเดินทางเอง โดยไฮไลต์ของทริปนี้ก็คือการได้ไปเยี่ยมโรงคั่วใหญ่ของร้านกาแฟ Blue Bottle ที่โด่งดัง “ตอนนั้นนั่งกินข้าวอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม แล้วพี่เจนนี่ก็เปิดหนังสือเกี่ยวกับญี่ปุ่นดู ผมก็โพล่งขึ้นมาว่าน่าไป ก็เลยไป บอกพี่ลี สุดท้ายก็ได้ไปกัน” พชรเล่าถึงที่มาของทริปต่างประเทศทริปแรก ที่อาข่า อ่ามาพาพนักงานไปเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ผ่านการเดินทาง

การประเมินผลงานและการให้รางวัล อาข่า อ่ามามีการประเมินผลการท�ำงานของพนักงานปีละครั้ง โดยจะให้พนักงานประเมินตัวเอง นอกจากนี้อายุหรือ จันทร์จริ าก็ยงั สอบถามจากเพือ่ นร่วมงานเกีย่ วกับประสิทธิภาพในการท�ำงานของแต่ละคน เพือ่ น�ำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบ การประเมิน ส�ำหรับผลการประเมินนีจ้ ะมีผลต่อการขึน้ เงินเดือน และบางครัง้ ก็ทำ� ให้เห็นว่าควรช่วยพนักงานพัฒนาตัวเอง ในจุดไหน “บางคนเขาก็มีการตั้งเป้าที่จะพัฒนาตัวเอง เช่น อยากเทลาเต้อาร์ตให้ได้ใน 3 เดือน ซึ่งหากเขายังท�ำไม่ได้ เราก็คุย กับเขาเพือ่ ช่วยหาทางแก้ไข ซึง่ น้องเขาอาจจะบอกว่าต้องฝึกเยอะขึน้ แต่กงั วลเรือ่ งวัตถุดบิ ทีใ่ ช้ในการฝึกซ้อม ไม่วา่ จะเป็น นมหรือกาแฟ ซึ่งหากเราเห็นความตั้งใจก็อาจจะจัดนมให้น้องเขาได้ใช้ในการซ้อมเทลาเต้อาร์ต เช่น ให้นมสัปดาห์ละ 5 ลิตรส�ำหรับใช้ในการฝึกฝน” จันทร์จิราอธิบาย


ส�ำหรับการปรับเงินเดือนจะอยู่ที่ปีละประมาณ 10% แต่หากว่าใครที่มีผลงานโดดเด่น มีพัฒนาการเร็ว ก็อาจจะปรับ เงินเดือนให้ภายใน 6 เดือน นอกจากการขึน้ เงินเดือนตามปกติแล้ว อายุบอกว่าเขายังใช้วธิ กี ารให้หนุ้ แก่พนักงานของบริษทั เพือ่ ให้พนักงานมีสว่ น ในการเป็นเจ้าของและช่วยบริหารงาน แต่ตอนนี้ก็ยังมีเพียงจันทร์จิรา พนักงานคนแรกของอาข่า อ่ามาที่ได้รับการแบ่ง หุ้นให้ โดยอายุใช้วิธีนี้ตอนเปิดร้านอาข่า อ่ามาสาขาหน้าวัดพระสิงห์ เมื่อ พ.ศ. 2556 เพื่อให้จันทร์จิราเข้ามาช่วยท�ำงาน บริหาร โดยจันทร์จิราจะได้เงินปันผลตามสัดส่วนการถือหุ้น 22.58% ตามที่อายุมอบให้ อย่างไรก็ดี อายุบอกว่ามีการท�ำ สัญญากันภายในว่า หากจันทร์จิราลาออกจากบริษัท สิทธิในการถือหุ้นก็จะสิ้นสุดลง “อันนี้ยังอยู่ในระหว่างการทดลอง แต่ถ้าเป็นวิธีที่ได้ผล ในอนาคตเราก็อาจจะใช้วิธีนี้ในการ scale business ของเรา ก็ได้ แทนทีเ่ ราจะขยายด้วยการขายแฟรนไชส์ เพราะน่าจะควบคุมเรือ่ งคุณภาพได้มากกว่า” อายุกล่าวถึงความเป็นไปได้ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ส�ำหรับการลงโทษนั้น จันทร์จิราบอกว่าที่อาข่า อ่ามาไม่มีการก�ำหนดบทลงโทษพนักงาน ส่วนใหญ่หากมีปัญหาจะใช้ วิธีการเรียกมาพูดคุยสอบถามถึงสาเหตุว่าเกิดจากอะไร และจะแก้ไขปัญหาอย่างไร “จริงๆ เราแทบไม่ค่อยมีปัญหาเลย หรือถ้ามีก็เล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่นมีน้องคนหนึ่งมาสาย เราก็เข้าไปคุยกับทีมว่า โอเคไหมที่เขามาสาย เอาเปรียบคนอื่นหรือเปล่า ซึ่งหากทีมเขาไม่ว่าอะไรก็ไม่เป็นไร ส่วนน้องคนที่มาสายเขาก็แก้ปัญหา ด้วยการเลิกงานช้ากว่าคนอื่น” จันทร์จิรายกตัวอย่างการแก้ปัญหาในองค์กร

องค์กรเล็กแต่พนักงานก้าวหน้า แม้ว่าจะเป็นบริษัทเล็กๆ แต่ความก้าวหน้าของพนักงานมีให้เห็นอย่างชัดเจน นอกจากจันทร์จิราที่ไต่เต้าจากบาริสต้า ขึ้นมาเป็นผู้จัดการแล้ว พนักงานหลายคนที่ท�ำงานกับอาข่า อ่ามามาระยะหนึ่ง ก็ได้รับการเลื่อนต�ำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็น อภิชาติ ปัจจุบันอายุงานเกือบ 5 ปี ซึ่งเข้ามาท�ำงานกับอาข่า อ่ามาตั้งแต่อายุยังไม่เต็ม 18 หลังจากส�ำเร็จการศึกษาระดับ ม.3 ก็มคี วามก้าวหน้าในการท�ำงานทีน่ ตี่ ลอดช่วงเวลากว่า 4 ปี อภิชาติเริม่ จากการเป็นพนักงานแพ็กและส่งกาแฟในปีแรก ก่อนที่จะขยับขึ้นมาเป็นบาริสต้าในปีที่ 2 แล้วเปลี่ยนมาเป็นคนคั่วกาแฟเมื่อคนคั่วกาแฟคนเก่าลาออก ก่อนจะขึ้นมาเป็น หัวหน้าแผนกคั่วกาแฟในวัย 22 ปี เมื่อหัวหน้าคนเก่าลาออกไปเมื่อ พ.ศ. 2560 โดยมีพนักงานในแผนกที่เขาดูแล 3 คน “ตอนแรกผมช่วยแม่อยู่ที่หมู่บ้านดอยงาม เพื่อรอให้อายุครบ 18 ก่อนแล้วจะไปท�ำงานที่กรุงเทพฯ กับเพื่อน แต่เหลือ เวลาอีก 3 วัน แม่ของพี่ลีก็มาชวนว่าอยากมาท�ำงานที่นี่ (อาข่า อ่ามา) ไหม ผมก็เลยตัดสินใจมาท�ำ ตอนที่มาท�ำใหม่ๆ ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับกาแฟเลยครับ ที่บ้านปลูกชามากกว่า มาเรียนรู้จากที่นี่ใหม่หมด ทั้งการคั่ว การชง การชิมกาแฟ” อภิชาติเล่าประวัติความเป็นมา ขณะที่ฐิติกาก็ได้รับการเลื่อนต�ำแหน่งจากบาริสต้า ให้ขึ้นมาเป็นหัวหน้าบาริสต้าเช่นกัน “เหตุผลส�ำคัญที่เลือกมาท�ำกับอาข่า อ่ามา เพราะเรื่องความก้าวหน้าในการท�ำงานนี่แหละ เพราะอาข่า อ่ามาไม่ได้ ท�ำเฉพาะเมล็ดกาแฟอย่างเดียว เขามีร้านกาแฟ มีโรงคั่ว และมีการท�ำงานร่วมกับชุมชนคนปลูกกาแฟ ฉะนั้นเราก็มีโอกาส เติบโตขึ้นไปได้เรื่อยๆ” พชร บาริสต้าสาขาวัดพระสิงห์ เล่าถึงโอกาสในการเติบโตของเขาที่อาข่า อ่ามา

A k h a A ma Cof fe e

23


24

การลาออก อาข่า อ่ามาให้พนักงานเข้าใหม่ท�ำสัญญาว่าจะต้องอยู่ท�ำงานครบ 1 ปี แต่จริงๆ ก็เป็นแค่สัญญากระดาษ เพราะหาก พนักงานประสงค์จะลาออกจริงๆ แม้วา่ จะท�ำงานยังไม่ครบปีกต็ อ้ งให้ลาออก เพราะหากยือ้ ไว้อาจจะมีผลเสียต่อการท�ำงาน และเพื่อนร่วมงาน เนื่องจากเขาไม่มีใจที่จะท�ำงานแล้ว อย่างไรก็ดี จันทร์จิราบอกว่าพนักงานส่วนใหญ่อยู่เกิน 1 ปี และมีหลายๆ คนที่อยู่กันหลายๆ ปี ไม่ว่าจะเป็นตัวเธอ เอง (8 ปี เท่าๆ อายุบริษัท) หรืออภิชาติ หัวหน้าแผนกคั่วกาแฟ (เกือบ 5 ปี) ฐิติกา หัวหน้าบาริสต้าสาขาถนนหัสดิเสวี ซอย 3 (4 ปี) ส�ำหรับสาเหตุที่พนักงานลาออก บางส่วนก็เพื่อกลับไปช่วยครอบครัวหรือชุมชนให้พัฒนาการผลิตกาแฟ บางส่วนไป เปิดร้านกาแฟของตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่อาข่า อ่ามาสนับสนุน ในฐานะที่วางตัวเป็น change agent ตั้งแต่ต้น “อย่างปลายปี พ.ศ. 2560 มีน้อง 2 คนลาออก เพราะต้องกลับไปช่วยท�ำกาแฟที่บ้าน” จันทร์จิราเล่า ส่วนสาเหตุที่ท�ำให้คนท�ำงานกับอาข่า อ่ามานานก็คือเรื่องของกาแฟและเรื่องกิจการเพื่อสังคม อาทิ “อย่างเจนนี่ที่ท�ำงานที่นี่นานก็เพราะ 1. ครอบครัวเราเองท�ำกาแฟ ตั้งแต่เกิดมาเจนนี่ก็รู้แล้วว่าที่บ้านท�ำกาแฟ 2. เมื่อมาอยู่กับที่นี่ เราได้เห็นการท�ำธุรกิจที่ไม่เหมือนทั่วไป เพราะพี่ลีท�ำเรื่องความยั่งยืนของชีวิตเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ด้วย ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนในครอบครัวตัวเองด้วย ดังนั้นเมื่อมาท�ำงานที่นี่จึงอยากช่วยให้กิจการอยู่รอด จนกลาย เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และท�ำโดยไม่มีอะไรมากดดันเราเลย รู้สึกว่าเราอยากท�ำไปเรื่อยๆ” “ผมชอบพี่ลีครับ พี่ลีใจกว้าง รู้จักให้อภัยผู้คน อยู่มา 5 ปี ไม่เคยเห็นดุหรือว่าใครเลย เป็นไอดอลของผมเลย ที่ส�ำคัญ คือท�ำงานที่นี่เหมือนท�ำงานให้ตัวเอง ท�ำอะไรผิดก็จัดการตัวเอง” อภิชาติ หัวหน้าแผนกคั่วกาแฟ อายุงาน 5 ปี “ความโดดเด่นของอาข่า อ่ามาคือรูส้ กึ ถึงความเป็นครอบครัว พวกพีๆ่ เขาไม่ได้มองว่าเราเป็นแค่พนักงาน แต่เหมือน เป็นพี่เป็นน้อง คอยดูแลกันและกัน จึงไม่มีความรู้สึกเบื่อที่ต้องมาเจอกัน ทุกวันนี้มาท�ำงานแบบไม่เหมือนกับมาท�ำงาน” ฐิติกา หัวหน้าบาริสต้าสาขาหัสดิเสวี 3


อย่างไรก็ดี แม้พนักงานส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าอาข่า อ่ามาดูแลพนักงานได้ดี ท�ำให้พวกเขามีความสุขกับการท�ำงาน แต่ก็ มีสิ่งหนึ่งที่เขาอยากให้บริษัทปรับปรุง หากสามารถท�ำได้ นั่นคืออยากให้มีกฎระเบียบมากขึ้น “ส่วนตัวผมคิดว่าควรมีกฎที่เคร่งครัดนิดหนึ่ง เช่น เรื่องการเข้างานออกงาน เรื่องความรับผิดชอบ บางคนกินเหล้า ตื่นสายก็มี” อภิชาติเสนอแนะ “การทีเ่ ราอยูก่ นั แบบครอบครัว ท�ำให้เราเกรงใจกันจนบางเรือ่ งเราก็เลือกทีจ่ ะไม่พดู ถ้าคิดว่าจะท�ำให้เกิดความแตกแยก ก็เลยคิดว่าเราอาจจะต้องมีกฎเพิม่ ขึน้ จากเดิมทีเ่ ราอยูก่ นั แบบไม่มกี ฎเลย ซึง่ เท่าทีด่ นู า่ จะก�ำลังมีการปรับเปลีย่ น แต่อาจจะ ยากนิดหนึ่ง เพราะอาจมีคนโวยวายว่าท�ำไมแต่ก่อนท�ำได้” ฐิติกาตั้งข้อสังเกต “อยากให้ยืดหยุ่นน้อยกว่านี้นิดหนึ่ง เพราะถ้าถึงวันหนึ่งที่ธุรกิจเติบโตมากกว่านี้ มีสาขามากกว่า 3 แห่ง การดูแล กันแบบครอบครัวอาจจะท�ำได้ยาก เพราะพี่เจนนี่คนเดียวอาจจะดูแลได้ไม่ทั่วถึง ต้องใช้ระบบเข้ามาช่วยครับ” พชรเสนอ เพิ่มเติม

การบริหารทรัพยากรบุคคลกับการท�ำธุรกิจที่ยั่งยืน หากให้มองถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจการเพื่อสังคมกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของอาข่า อ่ามา อายุบอกว่าการ ท�ำกิจการเพื่อสังคมโดยใส่ใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟและพนักงาน เป็น เหตุผลส�ำคัญทีท่ ำ� ให้อาข่า อ่ามาเลือกทีจ่ ะขยายธุรกิจแบบช้าๆ เพือ่ การส่งมอบผลิตภัณฑ์ทมี่ คี ณ ุ ภาพ แทนการขยายธุรกิจ แบบแฟรนไชส์ ซึ่งแม้จะท�ำให้โตไว แต่อาจมีปัญหาเรื่องคุณภาพ โดยในส่วนของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟนั้น อายุบอกว่าปัจจุบันพวกเขาสามารถปลูกและเก็บเกี่ยวเมล็ดกาแฟได้ดี แต่ ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในการผลิตกาแฟให้ได้รสชาติดี ยังต้องใช้เวลาในการศึกษาเรื่องการโพรเซส การประเมินคุณภาพ และการคั่วกาแฟให้สามารถดึงรสชาติที่ดีที่สุดของกาแฟตัวนั้นออกมา ซึ่งเป็นเรื่องที่อาข่า อ่ามาต้องให้การส่งเสริมต่อไป อีกประเด็นที่น่าสนใจส�ำหรับธุรกิจกาแฟคือ หากมีการเปิดตลาดการค้าเสรีกาแฟ ท�ำให้กาแฟจากต่างประเทศทะลัก เข้ามาในประเทศไทย เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในประเทศไทยจะอยู่ได้หรือไม่ “เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อาข่า อ่ามาต้องวิเคราะห์อยู่ทุกวัน และนี่คืองานหลักที่อาข่า อ่ามาต้องท�ำต่อ ถามว่าทุกวันนี้อยู่ได้ ไหม อยู่ได้ แต่ถามว่าร�่ำรวยมากไหม ก็ไม่ใช่ แต่สิ่งที่เจ๋งที่สุดคือ ทุกๆ วันเราสามารถเช็กสุขภาพของคนที่ท�ำงานกับเรา ได้ อันนี้ผมว่าส�ำคัญกว่า” อายุพูดถึงเป้าหมายที่มาควบคู่กับความท้าทาย ส�ำหรับพนักงานก็เช่นกัน อายุบอกว่าต้องส่งเสริมให้พวกเขามีพนื้ ทีใ่ นการดึงเอาความรูค้ วามสามารถของตัวเองออกมา ได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ตอ้ งกลัวว่าหากพนักงานมีความรูค้ วามสามารถสูงๆ แล้ว จะหนีไปทีอ่ นื่ เพราะหากคิดเช่นนัน้ จะท�ำให้ พนักงานไม่มโี อกาสในการพัฒนา และปัจจุบนั การให้โอกาสพนักงานพัฒนาตัวเองเป็นสาเหตุสำ� คัญทีท่ ำ� ให้พวกเขาอยูก่ บั อา ข่า อ่ามานาน และการใช้เวลาในการพัฒนาบุคลากรมากนีเ้ อง ที่ท�ำให้อาข่า อ่ามาขยายสาขาได้ชา้ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ส�ำหรับกิจการเพือ่ สังคม อายุมองว่าการดูแลฝ่ายต่างๆ แบบองค์รวมเป็นสิง่ ส�ำคัญ คือต้องค�ำนึงถึงสมาชิกในครอบครัว ของพนักงานซึ่งเขาต้องรับผิดชอบ ค�ำนึงถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อม ซึ่งบริษัทพยายามให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด ทั้งในเรื่อง ของการปลูกกาแฟ รวมถึงการใช้เครือ่ งมือในการผลิตกาแฟทีไ่ ม่สง่ ผลเสียกับสิง่ แวดล้อม ส่วนพนักงานก็ตอ้ งท�ำให้พวกเขา มีพนื้ ที่ในการเอาความรู้ออกมาได้เต็มที่ ไม่ใช่บังคับหรือแช่ให้พวกเขานิ่งอยู่กับที่ เขาไม่ใช้การบริหารแบบบนลงล่างเสมอ ไป แต่ต้องมีลักษณะล่างขึ้นบนบ้าง “สิ่งส�ำคัญคือการดูแลองค์กรแบบองค์รวม คือทั้งในด้านของผลลัพธ์ทางสังคม (social impact) และผลลัพธ์ทางการ เงิน (financial impact) ให้ด�ำเนินไปคู่กัน” ลี-อายุ จือปา ผู้ก่อตั้งอาข่า อ่ามา กล่าว

A k h a A ma Cof fe e

25


26

หากจับประเด็นตามวงจรชีวิตพนักงาน ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรบุคคลและการท�ำธุรกิจแบบกิจการ เพื่อสังคมของอาข่า อ่ามา จะเป็นภาพดังนี้ การคัดเลือกพนักงาน (selection) • แบรนด์ขององค์กรในฐานะนายจ้าง (employer branding)

ด้วยความที่อาข่า อ่ามาวางบทบาทของตัวเองชัดเจนว่าเป็นกิจการเพื่อสังคม ที่ท�ำธุรกิจกาแฟอย่างครบวงจร ตั้งแต่การส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟให้ทำ� ไร่กาแฟแบบเกษตรผสมผสาน คือไม่ได้ปลูกแต่กาแฟอย่างเดียว แต่ปลูก พืชอย่างอื่นที่เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้จากหลายทาง พึ่งพาตัวเองได้ในเรื่องอาหาร รวมถึงสนับสนุน ให้เกษตรกรแปรรูปกาแฟเอง เพือ่ เพิม่ มูลค่าและพัฒนาความรู้ นอกจากนีอ้ าข่า อ่ามายังมีโรงคัว่ กาแฟ และขายกาแฟทีค่ วั่ แล้วทั้งในรูปของการขายส่ง ดังนั้นส�ำหรับผู้ที่สนใจธุรกิจกาแฟแบบยั่งยืนอยู่แล้ว หรือคาดหวังว่าจะน�ำความรู้เรื่องกาแฟ กลับไปพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง แบรนด์อาข่า อ่ามามีความโดดเด่นมากที่จะดึงให้พวกเขามาร่วมงานด้วย เพราะมีองค์ ความรู้ด้านธุรกิจกาแฟอย่างครบถ้วน นอกจากนีแ้ บรนด์ของผูก้ อ่ ตัง้ อย่างลี-อายุ จือปา ยังถือเป็นไอดอลของคนรุน่ ใหม่ในฐานะผูป้ ระกอบการกาแฟ ซึง่ นับเป็นจุดดึงดูดให้คนสนใจเข้ามาร่วมงานด้วยเช่นกัน • การก�ำหนดและสรรหาพนักงาน (targeting and recruitment) และการว่าจ้าง (hiring)

การวางบทบาทของตัวเองว่าเป็น change agent ท�ำให้อาข่า อ่ามาเน้นรับวัยรุ่นหรือคนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมงาน เพราะต้องการสร้างคนที่จะมาร่วมเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านกิจการที่ทำ� แล้วสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ทั้งในรูปการกลับ ไปช่วยครอบครัว ซึ่งเป็นเกษตรกรท�ำไร่กาแฟ หรือการเปิดร้านกาแฟหรือโรงคั่ว โดยส่งเสริมเกษตรกรที่ปลูกกาแฟ ซึ่ง พนักงาน 2 รุ่นแรกที่ลาออกไปส่วนใหญ่ก็เข้าสู่ธุรกิจกาแฟในรูปแบบต่างๆ ดังกล่าว และด้วยเหตุนี้บางครั้งอาข่า อ่ามา จึงตัดสินใจเลือกรับพนักงานที่มาจากครอบครัวหรือชุมชนที่มีการปลูกกาแฟ แม้เขาจะไม่มีประสบการณ์ในการท�ำงาน มาก่อน เมื่อเทียบกับผู้สมัครอีกคนที่มีประสบการณ์ตรงกับต�ำแหน่งที่เปิดรับสมัคร แต่ไม่ได้มาจากชุมชน เพราะมองถึง โอกาสของคนที่มาจากชุมชนจะน�ำเอาความรู้ที่ได้รับกลับไปช่วยพัฒนาชุมชนมากกว่า การบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ (career development) • การฝึกอบรม (training)

อาข่า อ่ามาสนับสนุนให้พนักงานและเกษตรกรในเครือข่ายขวนขวายหาความรูต้ ลอดเวลา โดยในส่วนของพนักงาน อาข่า อ่ามาเน้นให้พวกเขาใฝ่หาความรูต้ า่ งๆ ด้วยตัวเอง โดยบริษทั เป็นฝ่ายสนับสนุนทัง้ เรือ่ งของก�ำลังเงิน การหาบุคลากร ทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาช่วยสอน รวมถึงพยายามดูแลให้พนักงานใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยการท�ำแคมเปญ งดใช้หลอดพลาสติก แต่เปลี่ยนมาใช้หลอดสเตนเลสภายในร้านแทน และคอยเน้นย�้ำไม่ให้พนักงานใช้แก้วพลาสติกโดย ไม่จ�ำเป็น โดยหากช่วงไหนที่สังเกตเห็นว่ามีการใช้แก้วพลาสติกมากผิดปกติจะสอบถามถึงสาเหตุ และหากช่วยแก้ได้ก็ จะรีบช่วยแก้ เช่น ซื้อแก้วใหม่มาให้ใช้แทนแก้วที่พนักงานท�ำแตก ฯลฯ นอกจากนี้ยงั ส่งเสริมให้พนักงานได้ไปเรียนรู้เรื่องการปลูกและแปรรูปกาแฟกับโครงการ Coffee Journey ซึ่งเป็น กิจกรรมที่อาข่า อ่ามาจัดให้ผู้สนใจกาแฟทั่วไป เพื่อให้พนักงานเข้าใจกระบวนการท�ำงานทั้งหมดของบริษัท และสามารถ สื่อสารกับลูกค้าได้อย่างถูกต้อง ส่วนของเกษตรกรในเครือข่าย อาข่า อ่ามาจะรับซื้อเฉพาะเมล็ดกาแฟที่แปรรูปแล้วเท่านั้น ท�ำให้เกษตรกรที่เข้า มาอยู่ในเครือข่ายต้องเรียนรู้วิธีการแปรรูปกาแฟเพิ่มขึ้น จากแต่ที่เคยขายผลผลิตตั้งแต่เป็นกาแฟเชอร์รี นอกจากนี้หาก เกษตรกรคนไหนพัฒนาทักษะการแปรรูปกาแฟได้ดี จนได้เมล็ดกาแฟดิบที่มีคุณภาพ อาข่า อ่ามาก็น�ำกาแฟจากไร่นั้น เพียงไร่เดียวไปคัว่ จ�ำหน่ายในฐานะทีเ่ ป็นกาแฟ Single Origin โดยให้รายละเอียดว่าใครเป็นผูป้ ลูก ปลูกทีไ่ หน ระดับความ สูงเท่าไร รสชาติของกาแฟเป็นอย่างไร และให้ขอ้ มูลในการติดต่อกับผูป้ ลูก หากว่าลูกค้าทีไ่ ด้ดมื่ ชืน่ ชอบรสชาติและอยาก ติดต่อในเชิงการค้า หัวใจหลักที่อาข่า อ่ามาพยายามเน้นในเรื่องคุณภาพของกาแฟ ก็เพื่อให้สินค้าสามารถขายตัวเองได้ ซึ่งจะมีความยั่งยืนในเชิงธุรกิจมากกว่าการขายความเป็นกิจการเพื่อสังคม หรือขายความน่าสงสารของเกษตรกรผู้ปลูก


• การเลือ ่ นต�ำแหน่งและการวางแผนก�ำลังคนใหม่ (promotion and redeployment)

อาข่า อ่ามาส่งเสริมการเติบโตของพนักงาน ด้วยการเลือ่ นต�ำแหน่งภายในองค์กรเมือ่ มีตำ� แหน่งว่าง นอกจากนีย้ งั ไม่กังวลใจหากมีพนักงานลาออก เพื่อไปท�ำร้านกาแฟ หรือโรงคั่ว หรือลาออกไปช่วยครอบครัวที่มีไร่กาแฟ เพราะถือว่า เป็นการขยายผลในสิ่งที่อาข่า อ่ามาท�ำ ดังที่ลี-อายุบอกว่า อยากให้มีลีคนที่ 2, 3 ในธุรกิจกาแฟ

A k h a A ma Cof fe e

27


28

คุณสมบัติของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบาย และวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน ซึ่งใช้พิจารณาบริษัท ทีเ่ ข้าร่วมเป็ นกรณีศึกษา

1. มีคุณสมบัติตรงตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 (กองบริหารภาษีธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดเล็ก กรมสรรพากร, 2561) ดังตารางต่อไปนี้

ลักษณะวิสาหกิจ

จ�ำนวนการจ้างงาน (คน)

ขนาดย่อม

ขนาดกลาง

จ�ำนวนสินทรัพย์ถาวร (ล้านบาท)

กิจการผลิตสินค้า

ไม่เกิน 50 คน

51-200 คน

ขนาดย่อม ขนาดกลาง ไม่เกิน 50 ล้านบาท 51-200 ล้านบาท

กิจการค้าส่ง

ไม่เกิน 25 คน

26-50 คน

ไม่เกิน 50 ล้านบาท 51-100 ล้านบาท

กิจการค้าปลีก

ไม่เกิน 15 คน

16-30 คน

ไม่เกิน 50 ล้านบาท 31-60 ล้านบาท

กิจการให้บริการ

ไม่เกิน 50 คน

51-200 คน

ไม่เกิน 50 ล้านบาท 51-200 ล้านบาท

2. เป็นบริษัทที่จดทะเบียนมาไม่ต�่ำกว่า 3 ปี และจากการพิจารณางบการเงินย้อนหลัง 3 ปี (พ.ศ. 2558-2560) พบว่า มีสุขภาพการเงินที่ดี และมีทิศทางที่จะด�ำเนินกิจการในอนาคตได้อย่างต่อเนื่อง 3. มีกระบวนการด�ำเนินธุรกิจส่วนใดส่วนหนึ่งที่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือหลักไตรก�ำไรสุทธิ และผ่าน มาตรฐานความยัง่ ยืนทีเ่ กีย่ วข้อง หรือได้รบั รางวัลจากหน่วยงานต่างๆ ในด้านความยัง่ ยืน การสร้างผลลัพธ์ทางสังคม และ/หรือสิง่ แวดล้อม รวมถึงการเป็นธุรกิจเพือ่ สังคม หรือเป็นกรณีศกึ ษาด้านธุรกิจทีย่ งั่ ยืนหรือด้านความยัง่ ยืนมาก่อน (ไม่นับรวมกิจกรรมของบริษัทด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ corporate social responsibility: CSR) 4. ไม่มีข่าวหรือข้อมูลสาธารณะด้านลบจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือการกระท�ำที่ผิดกฎหมาย 5. ยินดีที่จะเปิดเผยข้อมูลที่จ�ำเป็น และยินดีเข้าร่วมเป็นกรณีศึกษา


29

บรรณานุกรม

Elkington, J. (1998). Cannibals with forks: The triple bottom line of 21st century business. Gabriola Island, BC: New Society Publishers. Savitz, A. W., & Weber, K. (2013). Talent, Transformation, and the Triple Bottom Line: How Companies Can Leverage Human Resources to Achieve Sustainable Growth. Jossey-Bass. The World Commission on Environment and Development. (1987). Our Common Future. New York: Oxford University Press. กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก กรมสรรพากร. (2561, พฤษภาคม 26). ลักษณะของ SMEs. Retrieved from กรมสรรพากร: https://www.rd.go.th/publish/ 38056.0.html วะสี, น. (2018). มุมมองสินเชื่อธุรกิจไทยจากข้อมูลรายสัญญาตอนที่ 1. สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วย อึ๊งภากรณ์.


เกี่ยวกับป่าสาละ ป่าสาละ บริษัท “ปลูกธุรกิจที่ยั่งยืน” แห่งแรกในประเทศไทย มุ่ง จุดประกายและด�ำเนินวาทกรรมสาธารณะว่าด้วยธุรกิจทีย่ งั่ ยืน (sustain­ able business) ในประเทศไทย ผ่านการจัดสัมมนา อบรม ประชุม เชิงปฏิบัติการ การผลิตสื่อ สิ่งพิมพ์และออนไลน์ การจัดท�ำงานวิจัยเรื่อง ประเด็นความยั่งยืนที่ส�ำคัญในประเทศไทย ตลอดจนการวัดผลลัพธ์ทาง สังคมและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน ป่าสาละก่อตั้งใน พ.ศ. 2556 โดยสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการ อิสระ นักเขียนและนักแปลอิสระ ร่วมกับภัทราพร ยาร์บะระ นักการตลาด และนักธุรกิจเพื่อสังคม พร้อมด้วยนักวิจัยร่วมอุดมการณ์อีก 4 คน เพื่อเปลี่ยนผ่านสังคมธุรกิจไทยไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ป่าสาละได้ด�ำเนินโครงการวิจัย แล้วเสร็จ มีรายงานวิจยั และกรณีศกึ ษาตีพมิ พ์ตอ่ สาธารณะจ�ำนวนมากกว่า 20 ชิน้ ในประเด็นความยัง่ ยืนทีเ่ กีย่ วข้องกับภาคธุรกิจ เช่น ห่วงโซ่อปุ ทาน อาหาร การธนาคารที่ยั่งยืน ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน การประเมินผลลัพธ์ ทางสังคม และหัวข้ออื่นๆ รวมทั้งการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างยั่งยืน (sustainable human resource management) ติดตามผลงานวิจัย บทความ หนังสือ และงานอืน่ ๆ ของป่าสาละได้ที่ www.salforest.com และ www.facebook.com/salforestco


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.