ฮาร์โมนี ไลฟ์ - กรณีศึกษา การบริหารทรัพยากรบุคคลของ SME ที่มีวิธีปฏิบัติด้านความยั่งยืน

Page 1

กรณีศึกษา การบริหารทรัพยากรบุคคล ของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบาย และวิถีปฏิบัติด้านความยัง ่ ยืน

จัดท�ำโดย บริษัท ป่าสาละ จ�ำกัด สิงหาคม 2562 ด�ำเนินการภายใต้ทุนสนับสนุนของ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

บริษัท ฮาร์โมนี ไลฟ ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด


หัวหน้าโครงการวิจัย: ภัทราพร ยาร์บะระ นักวิจัย: กนกพร กลิ่นเกลา, จินต์ หวังตระกูลดี, ธัญธิดา สาสุนทร บรรณาธิการ: เดือนเพ็ญ ลิ้มศรีตระกูล ผู้ประสานงาน: กุลณัฐ จิระวงศ์อร่าม ที่ปรึกษาโครงการวิจัย: นายแพทย์ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล: กัญญ์ทิพา เครือแก้ว ณ ล�ำพูน

จัดท�ำโดยทุนสนับสนุนงานวิจัยจากส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99/8 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2343-1500 โทรสาร 0-2343-1551 อีเมล info@thaihealth.or.th www.thaihealth.or.th บริษัท ป่าสาละ จ�ำกัด เลขที่ 2 ซอยสุขุมวิท 43 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2258-7383 อีเมล info@salforest.com www.salforest.com


3

บทน�ำ กรณีศึกษาการบริหารทรัพยากรบุคคลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบาย และวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “รางวัลองค์กรที่น่าท�ำงานด้วยที่สุด ภายใต้ แนวคิดการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างยั่งยืน” โดยบริษัท ป่าสาละ จ�ำกัด ด�ำเนินการภายใต้ทุนสนับสนุนของส�ำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คณะวิจัยได้ตั้งค�ำถามที่ต้องการศึกษาไว้ข้อหนึ่งว่า บริษัทที่มีความยั่งยืน (sustainability) นั้น มีการดูแลและบริหาร คนภายในองค์กรอย่างไร บริษัทจึงจะมีความ “ยั่งยืน” ได้ และพุ่งเป้าของค�ำถามนี้ไปที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือที่เรียกโดยย่อว่า SMEs ที่คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 99 ของวิสาหกิจทั้งหมดของประเทศไทย (วะสี, 2018) และมี บทบาทส�ำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ “ความยัง่ ยืน” เป็นค�ำทีถ่ กู ใช้อย่างหลากหลาย อย่างไรก็ดี ความยัง่ ยืนในหนังสือเล่มนีห้ มายถึงการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน (sustainable development) หรือ “วิถีการพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการปัจจุบัน โดยไม่ลิดรอนความสามารถ ของคนรุน่ หลังในการตอบสนองความต้องการของพวกเขา” (The World Commission on Environment and Development., 1987) ซึ่งเป็นความหมายที่ถูกอ้างอิงในงานวิชาการมากที่สุดความหมายหนึ่ง เมื่อพูดถึงธุรกิจที่ยั่งยืน (sustainable business) หลายคนมักจะนึกถึงหลัก “ไตรก�ำไรสุทธิ (Triple Bottom Line)” (Elkington, 1998) ทีห่ ากอธิบายด้วยภาพ จะมีวงกลม 3 วงทีแ่ ทนผลก�ำไร 3 ด้านของธุรกิจมาสอดประสานกัน คือ วงของ เศรษฐกิจ วงของสังคม และวงของสิง่ แวดล้อม เพือ่ แสดงความหมายว่าองค์กรสามารถสร้างผลลัพธ์ในระยะยาวทัง้ ด้านการ เงิน สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งผลลัพธ์ทั้ง 3 ด้านไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบล้วนมีความสัมพันธ์กัน และ เชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วงกลมทั้งสามแสดงให้เราเห็นว่าการวัดผลลัพธ์ของธุรกิจ เพียงแค่ตัวเลขก�ำไร-ขาดทุนไม่สามารถสะท้อนผลลัพธ์ทั้งหมดที่ธุรกิจสร้างขึ้น


4

ธุรกิจที่ยั่งยืนที่กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้หมายถึงธุรกิจที่ใช้หลักคิดด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ไม่ได้หมายถึงธุรกิจที่ อยู่รอดมาได้ยาวนาน และน่าจะอยู่ต่อไปได้ในอนาคต) แต่มุ่งศึกษาไปที่ธุรกิจที่รับผิดชอบกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย มีมมุ มองระยะยาวในการลดผลกระทบเชิงลบต่อสังคมและสิง่ แวดล้อม ในขณะทีห่ ลายแห่งก็มงุ่ เพิม่ คุณค่าเชิงบวกให้สงั คม และสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วย บ่อยครั้งที่ความยั่งยืนถูกมองว่าเป็นเรื่องของบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น เพราะมีทุนหนาและมีทรัพยากรครบครัน นอกจากนี้การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะที่เหมาะสม การเลือกใช้วัสดุและกระบวนการผลิตที่ดี ต่อสิง่ แวดล้อม รวมถึงด้านสังคม เช่น การสร้างความเป็นธรรมในห่วงโซ่อปุ ทาน การรักษาสิทธิของแรงงาน ทัง้ หมดมักถูก มองว่าเป็นค่าใช้จา่ ยที่ไม่ชว่ ยให้เกิดรายได้ หรือเป็นกิจกรรมทีห่ รูหรา คือต้องมีกำ� ไรจ�ำนวนมากและทรัพยากรทีเ่ หลือเฟือ ก่อนค่อยลงมือท�ำ แต่ด้วยสถานการณ์ที่เปลีย่ นไปทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น ทรัพยากรธรรมชาติที่ร่อยหรอ วิกฤตสภาพอากาศ เปลี่ยนแปลง (climate change) ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ลูกค้า ชุมชน ผู้ถือหุ้น ที่เพิ่มทวีขึ้น ปัจจัยเหล่า นีไ้ ด้กลายเป็นความท้าทายทีผ่ ลักดันให้ธรุ กิจหลายแห่งต้องปรับและขยับเข้าสูค่ วามยัง่ ยืน เพือ่ ลดความเสีย่ งและเพิม่ โอกาส ในการอยู่รอด นอกจากนีย้ งั มีบริษทั จ�ำนวนหนึง่ ทีเ่ ริม่ สร้างผลิตภัณฑ์และบริการทีส่ ร้างคุณค่าเชิงบวกให้สงั คมหรือรักษาสิง่ แวดล้อม เช่น สินค้าออร์แกนิก สินค้าส�ำหรับตลาดฐานราก และสินค้ากลุ่ม “กรีน” ฯลฯ สินค้าเหล่านี้อยู่ในตลาดที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และอาจช่วยต่อความสามารถในการแข่งขันให้บริษัทในระยะยาวได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเพื่อความอยู่รอดหรือเพื่อการเติบโต ความยั่งยืนจึงไม่ได้เป็นเรื่องที่จ�ำกัดว่าต้องรวยแล้วค่อยท�ำ หรือ ท�ำเพื่อความ “ดูดี” อีกต่อไป อย่างไรก็ตาม ส�ำหรับธุรกิจ SMEs กับความยั่งยืน หากดูผิวเผินอาจจะดูเป็นเรื่องไกลตัว เพราะ SMEs มีข้อจ�ำกัดที่ มากกว่าบริษทั ขนาดใหญ่ เช่น ไม่มงี บประมาณ ขาดคน ขาดความรู้ หรือขาดทรัพยากร รวมทัง้ เสียเปรียบในด้านประโยชน์ จากการประหยัดต่อขนาด (economies of scale) นอกจากนี้ SMEs หลายแห่งมองว่าการท�ำให้กิจการอยู่รอดได้ทางการ เงินเป็นภารกิจที่ส�ำคัญที่สุด แต่หากความยั่งยืนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างความอยู่รอด และช่วยส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจใน ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ กลางหรือเล็ก ความยั่งยืนก็อาจเป็นเรื่องไม่ไกลตัวของ SMEs อีกต่อไป โดยเฉพาะ แรงกดดันทัง้ เรือ่ งสังคมและปัญหาด้านสิง่ แวดล้อมจะไม่เพียงจ�ำกัดอยูใ่ นธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ละอยูใ่ นทุกส่วนทีไ่ ล่เรียงตาม กันมาในสายห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) กรณีศกึ ษาฉบับนีจ้ งึ มุง่ แสดงตัวอย่างว่า SMEs ก็กา้ วสูก่ ารเป็นธุรกิจทีย่ งั่ ยืนได้ ผ่านเรือ่ งราวของบริษทั ทัง้ 10 แห่ง ซึง่ ผ่านการพิจารณาเพื่อเชิญให้เข้าร่วมเป็นกรณีศึกษา (ดูคุณสมบัติ SMEs ที่มีวิธีคิด นโยบาย และวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน ในหน้าสุดท้าย) กรอบคิดด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ใช้ในกรณีศึกษา

เพือ่ ท�ำความเข้าใจว่าบริษทั SMEs ทัง้ 10 แห่งว่ามีการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างไร ถึงส่งผลให้บริษทั มีความยัง่ ยืน คณะวิจัยใช้กรอบคิดการจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อความยั่งยืนตามช่วงวงจรชีวิตของพนักงาน (employee life-cycle) (Savitz & Weber, 2013) ที่แบ่งได้เป็น 5 ช่วงของการท�ำงานในองค์กร ดังนี้ • การคัดเลือกพนักงาน เช่น การสรรหาพนักงาน การสัมภาษณ์และทดสอบเพื่อเข้าท�ำงาน การเตรียมความพร้อมเมื่อ เริ่มงานในต�ำแหน่งใหม่ • การบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ เช่น การฝึกอบรม การเลือ่ นต�ำแหน่ง การวางแผนความก้าวหน้าในอาชีพ (career path) • การให้ผลตอบแทนและการรักษาพนักงาน เช่น ค่าตอบแทน สวัสดิการทั้งในรูปตัวเงินและไม่ใช่เงิน การให้รางวัลและ การลงโทษ


5

• การบริหารการปฏิบัติงานและการวางแผนก�ำลังคน เช่น การประเมินผลงาน โครงสร้างองค์กร • การพ้นจากการท�ำงาน เช่น การลาออก การให้ออกและการเกษียณอายุ รวมไปถึงการวิเคราะห์ปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งเสริมความยั่งยืนขององค์กร เช่น วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรมองค์กร แรง จูงใจของผู้บริหาร ฯลฯ อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากบริษัทที่เป็นกรณีศึกษาในเอกสารฉบับนี้ ในโครงการเดียวกันยังมีกรณีศึกษาของ SMEs อีก 9 แห่ง ที่มีขนาด ประเภทธุรกิจ วิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลและวิธีด�ำเนินธุรกิจบนแนวคิดด้านความยั่งยืนที่แตก ต่างกัน ได้แก่ 1. บริษัท แดรี่โฮม จ�ำกัด 2. บริษัท โลเคิล อไลค์ จ�ำกัด 3. บริษัท โอเพ่นดรีม จ�ำกัด 4. บริษัท สวนเงินมีมา จ�ำกัด 5. บริษัท กาแฟอาข่า อ่ามา จ�ำกัด 6. บริษัท ฮาร์โมนี ไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด 7. บริษัท นิธิฟู้ดส์ จ�ำกัด 8. ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด สมุยอักษร 9. บริษัท พีซรีสอร์ท จ�ำกัด 10. บริษัท ซาเรี่ยน จ�ำกัด ท่านสามารถดาวน์โหลดกรณีศึกษาของแต่ละบริษัทได้จากเว็บไซต์ www.salforest.com > knowledge > publication หรือติดต่อขอรับหนังสือ “SMEs หัวใจใหญ่ – ดูแลคนอย่างไรให้ธุรกิจยั่งยืน” ที่เป็นบทสรุปย่อของกรณีศึกษาบริษัททั้ง 10 แห่งได้จากเว็บไซต์ www.salforest.com เช่นกัน


6


บริษัท ฮาร์โมนี ไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด รู้จักฮาร์โมนี ไลฟ ์ฯ บริษัท ฮาร์โมนี ไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด (Harmony Life International Co., Ltd) เป็นผู้ผลิตและจ�ำหน่าย ผลผลิตจากฟาร์มเกษตรอินทรีย์ ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2542 หรือ 9/09/1999 ด้วยทุนจดทะเบียน 2 ล้าน บาท โดย โช โอกะ ประธานบริษัท นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นที่หลงรักเมืองไทย แต่ในฐานะที่เป็นชาวต่างชาติ โอกะ จึงถือหุ้นใน ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ 49% อีก 51% ที่เหลือเป็นผู้ถือหุ้นชาวไทย ซึ่งมีอุดมการณ์เดียวกัน ก่อนก่อตัง้ ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ โอกะท�ำงานทีโ่ รงพยาบาลในออสเตรเลีย 3 ปี และท�ำงานกับบริษทั เครือ่ งมือแพทย์ของญีป่ นุ่ อยู่ 15 ปี โดยใน พ.ศ. 2537 เขาถูกส่งมาประจ�ำประเทศไทยในฐานะประธานบริษัทสาขา ก่อนที่จะลาออกใน พ.ศ. 2541 หลังจากทีบ่ ริษทั อเมริกนั เข้ามาซือ้ กิจการบริษทั แม่ 1 ปี เนือ่ งจากไม่เห็นด้วยกับรูปแบบการท�ำธุรกิจทีเ่ ปลีย่ นไป เพราะเดิม ผูบ้ ริหารชาวญีป่ นุ่ มีนโยบายว่า อุปกรณ์การแพทย์มไี ว้ชว่ ยเหลือคน แต่การท�ำธุรกิจแบบตะวันตกมีกำ� ไรเป็นเป้าหมายหลัก ก่อนลาออก โอกะได้ซื้อที่ดินขนาด 50 ไร่ไว้ผืนหนึ่ง ใกล้ๆ กับเขาใหญ่ ในต�ำบลกลางดง อ�ำเภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา ซึ่งมองเห็นพระพุทธรูปสีขาวองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่กลางภูเขา เพราะทุกเดือนที่นั่งรถผ่านบริเวณนี้ เขา รูส้ กึ ว่าพระพุทธรูปเป็นแรงบันดาลใจให้เขาอยากท�ำเกษตร โชคดีทเี่ ขาพบทีด่ นิ ในขนาดทีต่ อ้ งการ และเมือ่ ตัดสินใจลาออก ก็ใช้ที่ดินผืนนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการท�ำเกษตร โอกะเลือกท�ำเกษตรอินทรียต์ งั้ แต่เริม่ ต้น แม้เขาจะไม่เคยมีประสบการณ์ดา้ นนีม้ าก่อน เพราะคิดมานานว่าอยากท�ำงาน ทีไ่ ด้อทุ ศิ ตนเพือ่ สิง่ แวดล้อม จากพืน้ ฐานเดิมทีเ่ รียนมาทางด้านประมง จึงรับรูถ้ งึ ทรัพยากรธรรมชาติทรี่ อ่ ยหรอ และปัญหา สิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรง นอกจากนี้ประสบการณ์การท�ำงานในโรงพยาบาลและธุรกิจเครื่องมือแพทย์ประมาณ 19 ปี ท�ำให้เขาทราบว่าแม้อุปกรณ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีในการรักษาโรคต่างๆ จะพัฒนารุดหน้าไปแค่ไหน แต่การเจ็บ ป่วยของผู้คนกลับไม่เคยลดลง “อย่างที่ทุกคนทราบ คนป่วยเป็นมะเร็งแล้วหายแทบไม่มี ที่ญี่ปุ่น ผู้เสียชีวิต 1 ใน 2 คนมีสาเหตุมาจากมะเร็ง ในเมือง ไทยก็น่าจะอัตราเดียวกัน นอกเหนือจากมะเร็งก็ยังมีโรคอื่นๆ เกิดขึ้นเยอะมาก หากต้องย้อนไปดูว่าเกิดจากอะไร ผมคิด

Ha r mo ny Li fe

7


8

ว่าสาเหตุใหญ่นา่ จะมาจากอาหารทีเ่ รารับประทาน ซึง่ มักจะมีสารเคมีปนเปือ้ น แล้วสารเคมีเหล่านีก้ เ็ ข้าไปสะสมในร่างกาย และยิง่ ใช้ยาฆ่าแมลงกับปุย๋ เคมีมากเท่าไร ธรรมชาติกถ็ กู ท�ำลายมากเท่านัน้ ” โอกะเล่าถึงแรงจูงใจในการท�ำเกษตรอินทรีย์ เพราะตอบโจทย์ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อมและอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยในประเด็นเรื่องอาหารที่ดีต่อสุขภาพนั้น นอกจากสารเคมีจากการท�ำเกษตรแล้ว โอกะยังมองว่าการผลิตอาหาร ตามระบบเศรษฐกิจแบบ mass production ซึง่ เริม่ มา 60 กว่าปีแล้ว เป็นอีกสาเหตุหนึง่ ทีท่ ำ� ให้อาหารไม่เป็นมิตรกับสุขภาพ “จริงๆ แล้วอาหารจะเน่าง่าย แต่ถ้าเน่าง่าย เสียง่าย ก็ขายไม่ได้เยอะ เลยต้องหาวิธีท�ำให้อาหารอยู่ได้นานๆ ด้วย การเอาสารเคมี สารกันบูดต่างๆ เข้ามาเป็นตัวช่วย และเพื่อให้ขายได้เยอะๆ สีจึงต้องสดต้องสวย จึงต้องใส่สี กลิ่นก็ต้อง หอมๆ ก็ใส่กลิ่นเคมีลงไป ในอาหารจึงมีสารปรุงแต่งต่างๆ มากมาย ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้ขายได้มากๆ ผลิตได้เยอะๆ ทั้งที่จริงๆ อาหารควรช่วยให้สุขภาพแข็งแรง แต่อาหารตอนนี้ท�ำเพื่อให้ขายได้ ก็เลยใส่สิ่งที่มันไม่ดีต่อสุขภาพร่างกายลง ไปเยอะ นี่คือสิ่งที่มนุษย์ท�ำมา 50-60 ปี ซึ่งนอกจากท�ำลายธรรมชาติแล้วก็ไปท�ำลายอาหารด้วย” ฉะนั้นนอกจากการท�ำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นต้นทางของอาหารที่ดีต่อสุขภาพและการดูแลสิ่งแวดล้อมแล้ว การผลิต อาหารหรือสินค้าอื่นๆ ที่ไม่มีส่วนผสมของสารเคมีต่างๆ ก็เป็นความตั้งใจอีกอย่างของโอกะ และเป็นที่มาของชื่อฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ อันเป็นปณิธานในการท�ำธุรกิจของบริษัท โอกะเริ่มท�ำเกษตรอินทรีย์ด้วยการศึกษาหาความรู้จากการอ่านหนังสือ และขอความรู้จากผู้รู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพราะขณะนั้นประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และยังไม่มีเกษตรกร รายใดท�ำเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง จนกระทั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส�ำรวจพบว่า เกษตรกรไทยใช้ยาฆ่าแมลงและ ปุ๋ยเคมีมากถึง 99.8% ของพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศ จึงเริ่มส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ใน พ.ศ. 2544 โอกะใช้เวลา 1 ปีแรกไปกับการปรับพื้นที่ให้เหมาะแก่การท�ำเกษตร เริ่มจากการก�ำจัดรากไม้ ตอไม้ใหญ่ๆ ที่ฝังอยู่ใน ทีด่ นิ การปรับปรุงดินภายในฟาร์ม ซึง่ เป็นดินเหนียวสีแดงทีอ่ มุ้ น�ำ้ ได้ดี แต่ระบายน�ำ้ ไม่ดที ำ� ให้รากพืชเน่า ให้เป็นดินทีเ่ หมาะ กับการเพาะปลูก ด้วยการปลูกพืชหมุนเวียน โดยหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะปล่อยให้ดนิ ได้พกั ช่วงหนึ่ง แล้วพรวนวัชพืช ผสมไปกับหน้าดิน เพือ่ ให้วชั พืชย่อยสลายกลายเป็นปุย๋ ธรรมชาติ รวมถึงปล่อยให้มวี ชั พืชเติบโตแทรกปนอยูก่ บั ผัก เพือ่ ใช้ เป็นเกราะป้องกันไม่ให้โคลนกระเด็นไปถูกผักในหน้าฝน ท�ำให้ใบผักไม่เป็นจุดหรือมีรอยซีดเหลือง รวมถึงยังช่วยดูดซับน�ำ้ ฝน ท�ำให้รากผักไม่เน่า ส่วนในฤดูทมี่ แี มลงระบาด แมลงจะกัดกินวัชพืชก่อนทีจ่ ะกินผัก นอกจากนีย้ งั มีการขุดน�ำ้ บาดาลและ สร้างอ่างเก็บน�ำ้ ไว้พกั น�ำ้ เพือ่ ใช้รดพืชผักในหน้าแล้ง เพราะเกรงว่าน�ำ้ จากล�ำธารทีไ่ หลมาจากเขาใหญ่จะมีสารเคมีปนเปือ้ น 4 ปีแรกของการท�ำเกษตรอินทรียเ์ ป็นช่วงเวลาทีย่ ากล�ำบากส�ำหรับโอกะ เพราะผลผลิตจากแปลงเกษตรมีปริมาณไม่ แน่นอน ท�ำให้บางครั้งพื้นที่ในซูเปอร์มาร์เกตที่เขาจับจองไว้เพื่อส่งผลผลิตไปขายว่างเปล่า หรือมีผักเพียงเล็กน้อย ท�ำให้ ถูกลดพื้นที่การขาย และมีพนักงานหลายคนลาออก เพราะมองว่าบริษัทขาดความน่าเชื่อถือ


ถึงกระนั้นโอกะก็ไม่เคยเปลี่ยนความคิดจากการท�ำเกษตรอินทรีย์ เขาขายรถ ขายบ้านที่ญี่ปุ่น เพื่อหาเงินมาต่อ ลมหายใจของบริษัทให้ด�ำเนินต่อไปในช่วงที่รายได้น้อยกว่ารายจ่าย รวมถึงพยายามหาวิธีแก้ปัญหาต่างๆ ที่จะท�ำให้การ เพาะปลูกได้ผลดีขึ้น ทั้งการเปลี่ยนมาท�ำเกษตรที่เหมาะกับอากาศและผืนดินของฟาร์ม การให้ปุ๋ยอย่างเพียงพอ รวมทั้ง หมักปุ๋ยจากมูลของสัตว์ที่เลี้ยงเองด้วยผลผลิตในฟาร์ม โดยลงมือเลี้ยงไก่ 500 ตัวและวัว 20 ตัว จากเดิมที่ซื้อมูลสัตว์จาก ภายนอกมาใช้ในการหมักปุ๋ย ซึ่งปรากฏว่าพืชผักที่ได้รับปุ๋ยจากมูลสัตว์ที่เลี้ยงในฟาร์มมีความแข็งแรง มีแมลงกัดกินลด ลงและเกิดโรคน้อย ผลผลิตที่ส่งไปขายตามห้างและซูเปอร์มาร์เกตจึงมีปริมาณสม�่ำเสมอมากขึ้น แต่ฟาร์มก็ยังมีโรคและ แมลงรบกวนอยู่ โอกะจึงไปเรียนรู้วิธีการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์อีเอ็ม (Effective Microorganism: EM) จาก ศ. ดร. เทะรุโอะ ฮิงะ ซึง่ เป็นอาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ ทีม่ หาวิทยาลัยริวกิว แล้วน�ำเอาจุลนิ ทรียอ์ เี อ็มทีเ่ พาะเลีย้ งมาใช้ในการหมักปุย๋ และ ใช้ปรับสภาพดินภายในฟาร์ม โดยใช้ร่วมกับสมุนไพร การเกิดโรคและแมลงถึงลดลง ผลผลิตจากแปลงเกษตรของฟาร์ม ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ จึงได้ผลและมีปริมาณสม�่ำเสมอมากขึ้น รวมถึงมีความหลากหลายมากขึ้น จากช่วงเริ่มต้นที่ปลูกเพียงผัก โมโรเฮยะ ผักกาดหอม กะหล�่ำปลี ปวยเล้ง มะเขือเทศ ปัจจุบันฟาร์มฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ปลูกพืชต่างๆ หมุนเวียนกันได้มาก ถึง 70 ชนิด แบ่งเป็นผัก 40 ชนิด สมุนไพร 15 ชนิด ผลไม้ 15 ชนิด และได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จาก ภายในประเทศและต่างประเทศ ทั้งมาตรฐาน Organic Thailand, IFOAM, USDA, Canada Organic Regime และ JAS1 (ดูรายละเอียดของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และพัฒนาการของบริษัทได้ในภาคผนวก) “ทีเ่ ราต้องขอมาตรฐานเกษตรอินทรียจ์ ากหลายประเทศ เพราะตอนนีย้ งั ไม่มมี าตรฐานเกษตรอินทรียท์ สี่ ามารถส่งออก ไปทุกทีไ่ ด้ หากมีประเทศใดจะท�ำข้อตกลงว่าสามารถใช้มาตรฐานเกษตรอินทรียร์ ว่ มกันได้ ผมจะดีใจมากๆ เลย เพราะการ ขอมาตรฐานแต่ละตัวใช้เงินเยอะมาก” โอกะเล่าถึงที่มาของการขอมาตรฐานเกษตรอินทรีย์มากมาย และหลายตัวที่บริษัท มีถือเป็นมาตรฐานที่ “สูง” ในวงการเกษตรอินทรีย์

โรงงานผลิตและแปรรูป เติมเต็มธุรกิจเกษตรอินทรีย์ ไม่เพียงแค่เกษตรอินทรียห์ รืออาหารทีด่ กี บั สุขภาพเท่านัน้ “น�ำ้ ” ก็เป็นทรัพยากรทีโ่ อกะสนใจ เนือ่ งจากเขาทราบว่าใน บรรดาน�ำ้ เสียทัง้ หมดทีถ่ กู ปล่อยลงสูแ่ หล่งน�ำ้ ธรรมชาตินนั้ 70% เป็นน�ำ้ เสียจากครัวเรือน อันเนือ่ งมาจากการใช้ชวี ติ ประจ�ำ วันของทุกคนอย่างการอาบน�ำ้ ซักผ้า ล้างจานด้วยผลิตภัณฑ์ทำ� ความสะอาดทีม่ สี ว่ นผสมจากปิโตรเคมีทมี่ วี างขายทัว่ ไปใน ท้องตลาด เนื่องจากส่วนผสมจากปิโตรเคมีเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ส่วนน�้ำเสียอีก 30% มาจาก การใช้สารเคมีในพื้นที่การเกษตรและโรงงานอุตสาหกรรมอย่างละครึ่ง โอกะจึงตั้งใจที่จะผลิตน�้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก และสบู่ที่ใช้น�้ำมันจากพืชเป็นส่วนผสมออกมาจ�ำหน่ายตั้งแต่ต้น ด้วยหวังว่าจะมีส่วนในการลดน�้ำเสียจากครัวเรือน เพราะ ผลิตภัณฑ์ท�ำความสะอาดที่ท�ำจากน�้ำมันจากพืชนี้จะกลายเป็นอาหารของจุลินทรีย์และย่อยสลายได้เองภายใน 24 ชั่วโมง โอกะท�ำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ท�ำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายในห้องขนาด 50 เมตรที่เขาสร้าง ขึ้นเพื่อเป็นโรงงานภายในฟาร์ม หลังจากเวลาผ่านไป 3 ปี น�้ำยาล้างจานและน�้ำยาซักผ้าสูตรธรรมชาติของฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ก็ออกวางจ�ำหน่ายใน พ.ศ. 2545 และไม่ได้หยุดอยูเ่ พียงแค่นนั้ เพราะต่อมาได้ขยับขยายไปสูผ่ ลิตภัณฑ์ดแู ลผิวกายอืน่ ๆ ที่ เป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อมชนิดต่างๆ โดยนอกจากจะวางจ�ำหน่ายตามร้านค้าแล้ว ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ เป็นผูผ้ ลิตผลิตภัณฑ์สำ� หรับ ใช้ในสปาที่มีชื่อเสียงอย่าง Asia Herb Association อีกด้วย 1

IFOAM คือมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements: IFOAM) USDA คือมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภายใต้การก�ำกับดูแลของกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา Canada Organic Regime คือข้อก�ำหนดของกฎระเบียบเกษตรอินทรีย์ของแคนาดา JAS คือมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภายใต้การก�ำกับดูแลของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของญี่ปุ่น

Ha r mo ny Li fe

9


10

การผลิตสินค้าภายในฟาร์มฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ไม่ได้มีเพียงผลิตภัณฑ์ท�ำความสะอาดเท่านั้น และอันที่จริงจุดเริ่มต้นที่ ท�ำให้โอกะสร้างโรงงานเล็กๆ ขนาด 50 เมตร จ�ำนวน 2 ห้อง ขึ้นในฟาร์มตั้งแต่เริ่มต้นก็เพราะต้องการแปรรูปผลผลิต ทางการเกษตร ด้วยโอกะรู้ดีว่าผลผลิตส่วนใหญ่ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ฉะนั้นหากช่วงใดที่มีผลผลิตออกเยอะ แต่ไม่ สามารถแปรรูปได้ก็ต้องรีบขายในราคาถูก ดีกว่าปล่อยให้เน่าเสีย วัตถุประสงค์ของการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของ โอกะอีกอย่างหนึ่งก็คือ เขาอยากส่งผลผลิตไปขายได้ไกลๆ ทั้งในญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ นอกจากนี้โรงงานแปรรูปยังท�ำให้ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ สามารถใช้ประโยชน์จากผักหรือผลไม้อินทรีย์ที่ผลิตขึ้นมาได้อย่าง เต็มที่ เพราะสามารถน�ำเอาผลผลิตทีอ่ าจจะมีขนาดเล็ก หรือมีรปู ร่างไม่สวย ไม่เหมาะทีจ่ ะจ�ำหน่ายเป็นผักหรือผลไม้สด มา แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นชาสมุนไพร แยม น�้ำหมักเอนไซม์ ผักดอง รวมไปถึงลูกประคบ โดยไม่ต้องทิ้ง ผลผลิตที่ไม่สวยแต่ยังมีคุณค่าทางโภชนาการไปโดยเปล่าประโยชน์ หรือแค่น�ำไปหมักเป็นปุ๋ย “ท่านประธานฯ (โอกะ) เน้นมากว่าต้องใช้ทุกอย่างให้ได้ประโยชน์สูงสุดและน�ำกลับมาใช้ เพื่อไม่ให้มีขยะ อย่างหญ้า หรือผักที่ตัดออก ท่านก็ให้น�ำไปท�ำปุ๋ยหมัก ไม่ให้ทิ้งเลยแม้แต่อย่างเดียว” โสภนภรณ์ ถือสูงเนิน ผู้จัดการทั่วไปฟาร์ม ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ทีป่ ากช่อง ยืนยันแนวคิดของโอกะ โสภนภรณ์ถอื เป็นพนักงานในฟาร์มรุน่ แรกของฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ โดยเข้ามา ท�ำงานตัง้ แต่ 18 ปีกอ่ น และไต่เต้าจากพนักงานทัว่ ไปในแปลงผักขึน้ มาเป็นผูจ้ ดั การทัว่ ไป ซึง่ มีหน้าทีด่ แู ลทุกอย่างในฟาร์ม ปัจจุบนั ผลิตภัณฑ์จากฟาร์มฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ จึงประกอบไปด้วย 3 หมวดใหญ่ คือ หมวดผักและผลไม้สด ซึง่ มีประมาณ 70 ชนิดดังกล่าวไปแล้ว หมวดอาหารแปรรูป ซึง่ ประกอบไปด้วยบะหมีผ่ กั โมโรเฮยะ แยมจากผลไม้ออร์แกนิกตามฤดูกาล ชาสมุนไพร 14 ชนิด อาทิ ชาขิง ชาตะไคร้ ชาผักโมโรเฮยะ ชาใบแคร์รอต ชาขมิ้น ชาใบหม่อน ชาถั่วดาวอินคา ชามะรุม ผักดอง เต้าหู้ น�้ำสลัด น�้ำเอนไซม์เพื่อสุขภาพจากผักผลไม้ และหมวดผลิตภัณฑ์ทำ� ความสะอาดและดูแลผิวพรรณ ซึ่ง ประกอบไปด้วยน�้ำยาซักผ้า น�้ำยาล้างจาน สบู่ก้อน สบู่เหลว แชมพู ครีมนวดผม น�้ำมันบ�ำรุงผิว น�้ำมันนวดอโรมา และ ลูกประคบจากสมุนไพร ซึ่งทุกตัวผลิตจากวัตถุดิบอินทรีย์ ไม่มีส่วนผสมของสารเคมี สารกันบูด สารลดการตึงผิว ซึ่งส่ง ผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

บะหมี่ผักโมโรเฮยะ พระเอกทั้งในและต่างประเทศ ในบรรดาผลิตภัณฑ์อนิ ทรียท์ ฮี่ าร์โมนี ไลฟ์ฯ ทยอยผลิตออกมาอย่างต่อเนือ่ งนัน้ บะหมีผ่ กั โมโรเฮยะ ซึง่ เป็นผลิตภัณฑ์ แปรรูปตัวแรก ถือว่าเป็นสินค้าเรือธงของบริษัท เพราะประสบความ ส�ำเร็จทัง้ ในประเทศไทยและต่างประเทศ ความส�ำเร็จนีเ้ ป็นผลผลิตจาก วิสยั ทัศน์ของโอกะที่อยากจะมอบอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้กับผู้บริโภค ด้วยผักที่แทบไม่เคยมีใครเคยได้ยินชื่อมาก่อน โอกะเล่าว่ารู้จักผักโมโรเฮยะขณะที่ท�ำงานอยู่กับบริษัทผลิต อุปกรณ์การแพทย์ในญี่ปุ่น และรู้สึกสนใจผักตัวนี้ เมื่อได้ทราบว่ามี สารอาหารมากมาย ทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และเส้นใย จนมีคนตั้งสมญา นามให้วา่ เป็น “ราชาแห่งผัก” แต่ปรากฏว่าคนกลับไม่คอ่ ยน�ำไปบริโภค บริษทั บางแห่งในญีป่ นุ่ เลยน�ำไปผลิตออกมาเป็นอาหารเสริม แต่โอกะ อยากน�ำเอาผักโมโรเฮยะมาผลิตเป็นอาหารสักอย่างทีเ่ ด็กกินได้ ผู้ใหญ่ ก็กินดี ซึ่งในที่สุดคิดว่าน่าจะเอามาท�ำเป็นบะหมี่ เพราะสามารถรับ ประทานได้หลากหลายรูปแบบ ไม่วา่ จะเป็นบะหมีน่ ำ�้ บะหมีเ่ ย็น บะหมี่ ผัด และใช้ทำ� เส้นราเมน เส้นสปาเก็ตตี หรือใส่ในสลัดก็ได้ เพราะบะหมี่ เป็นอาหารที่คนทั่วโลกชื่นชอบ2 2

ข้อมูลจาก www.greenoodle.com เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2561


ไม่น่าแปลกใจที่ผักที่โอกะปลูกเป็นชนิดแรกในฟาร์มฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ คือโมโรเฮยะ ซึ่งเขาน�ำเมล็ดพันธุ์มาจากประเทศ อียิปต์ เมื่อได้ผลผลิต โอกะก็น�ำมาบดและอบแห้งกลายเป็นผงผักโมโรเฮยะ แล้วน�ำมาทดลองท�ำเป็นบะหมี่ จนได้บะหมี่ แบบทีถ่ กู ใจ คือ เป็นบะหมีแ่ บบอบแห้งแทนการทอดด้วยน�ำ้ มันแบบบะหมีก่ งึ่ ส�ำเร็จรูปทัว่ ไป ไม่ผสมสี กลิน่ สารกันบูด ไม่มี ผงชูรสและใช้เครื่องปรุงรสจากวัตถุดิบธรรมชาติ เพื่อให้ตรงกับคอนเซ็ปต์การเป็นผู้ผลิตอาหารที่ไม่ท�ำลายสุขภาพและ สิง่ แวดล้อมของฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ทุกประการ หลังจากพัฒนาสูตรจนลงตัวก็วา่ จ้างให้บริษทั เพรสซิเดนท์ฟดู้ ส์ จ�ำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตให้ แล้วเริ่มท�ำตลาดใน พ.ศ. 2543 “ช่วงเริม่ ต้นเราสัง่ ผลิตเดือนละแค่ 300 หีบ 1 หีบมี 24 ห่อ ตอนนัน้ เวลาไปไหน คุณโอกะกับคุณณี (ดรุณี นวพงศ์เลิศ) ก็จะหนีบสินค้าตัวนีต้ ดิ ไปด้วย เพือ่ เสนอขาย แต่บางทีหา้ งใหญ่ๆ เขาก็ให้พบบ้าง ไม่ให้พบบ้าง” สัญญา พลามาตร์ ผูจ้ ดั การ ซึ่งดูแลฝ่ายสโตร์ ส่งออก โลจิสติกส์ และดูแลในส่วนระบบอาหารปลอดภัย GMP & HACCP อายุงาน 15 ปี เล่าถึงช่วงเริ่ม ท�ำตลาดบะหมี่ผักโมโรเฮยะซึ่งยังไม่มีใครรู้จัก ดรุณี นวพงศ์เลิศ ที่สัญญาพูดถึง เป็นหนึ่งในพนักงานประมาณ 5 คน ซึ่งติดตามโอกะมาจากบริษัทอุปกรณ์ทางการ แพทย์ และเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นของฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ โดยโอกะแบ่งหุ้นให้ ต�ำแหน่งเริ่มต้นของดรุณีที่ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ เหมือน กับที่บริษัทเก่าคือล่ามและเลขานุการ ปัจจุบันดรุณีเป็น Executive Sales Manager ซึ่งดูแลทั้งฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด และ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และยังคงท�ำหน้าที่เป็นล่ามให้กับโอกะอยู่ ดรุณีเล่าถึงช่วงที่เริ่มท�ำตลาดบะหมี่ผักโมโรเฮยะว่า นาย (โอกะ) จะสอนตลอดว่าเวลาน�ำสินค้าไปแนะน�ำ หรือเสนอ ขายกับลูกค้าหรือร้านค้าต้องไม่ “ขาย” โดยค�ำว่า “ดีนะ ซื้อเถอะ” ถือว่าเป็นค�ำที่ห้ามพูดเด็ดขาด โดยโอกะจะพูดเสมอว่า จริงๆ เขาไม่ได้ขายของ แค่บอกว่าของชิ้นนี้มันดีอย่างไร ถ้าคนฟังเข้าใจก็จะซื้อไปเอง “ตอนน�ำสินค้าไปเสนอกับเอ็มเค เราก็แค่อธิบายให้เขาฟังว่า บะหมีผ่ กั โมโรเฮยะมีคณ ุ ค่าทางอาหารยังไง แตกต่างจาก บะหมี่กึ่งส�ำเร็จรูปที่มีในท้องตลาดยังไง เช่นเดียวกับการไปเสนอขายที่อื่น” ดรุณีเล่าถึงก้าวส�ำคัญที่ท�ำให้บะหมี่ผักโมโร เฮยะเข้าไปอยู่ในร้านเอ็มเคสุกี้ เมื่อ พ.ศ. 2544 นอกเหนือจากการวางขายในห้างสรรพสินค้าชั้นน�ำในยุคนั้น เช่น อิเซตัน จัสโก้ ฟูจิซูเปอร์มาร์เกต วิลล่ามาร์เกต (ดูรายละเอียดการเติบโตของตลาดบะหมี่ผักโมโรเฮยะเพิ่มเติมได้ที่ Harmony Life’s Timeline ในภาคผนวก) “ผมเห็นความตั้งใจจริงของเขา และอยากช่วย SME รายนี้ด้วยใจจริง ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นก�ำลังใจ อีกส่วนหนึ่งเพื่อ ให้เขามีทุนทรัพย์ในการด�ำเนินกิจการต่อไป” ฤทธิ์ ธีระโกเมน ประธานกรรมการ บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จ�ำกัด (มหาชน) เจ้าของร้านเอ็มเคสุกี้ เล่าถึงสาเหตุที่เขาตัดสินใจซื้อบะหมี่ผักโมโรเฮยะจากฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ไว้ในค�ำน�ำหนังสือ “Organic Farm สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นที่ไร่” ซึ่งโช โอกะเขียน และมีการแปลเพื่อจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2557 โดยส�ำนักพิมพ์อินสปายร์3 ช่วงเริ่มต้น เอ็มเคสุกี้น�ำบะหมี่ผักโมโรเฮยะมาเสนอขายให้กับลูกค้าภายในร้านจ�ำนวน 120 สาขา ภายใต้ชื่อสั้นๆ ว่า “บะหมี่ผัก” เมื่อได้รับการตอบรับดีจนกลายเป็นหนึ่งในเมนูขายดีของร้านเอ็มเคสุกี้ ก็เพิ่มจ�ำนวนสาขาที่จ�ำหน่ายมากขึ้น เรื่อยๆ เช่นเดียวกับช่องทางการขายบะหมี่ผักโมโรเฮยะในห้างสรรพสินค้า หรือซูเปอร์สโตร์ต่างๆ อย่างบิ๊กซี หรือเทสโก้ โลตัส ก็มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงเท่านั้นบะหมี่ผักโมโรเฮยะยังได้เข้าไปช่องทางการขายตรงของแอมเวย์ และ ขายผ่านร้านอาหารอื่นๆ อย่าง Hotpot, โคคา และเอสแอนด์พีด้วย จนกลายเป็นสินค้าที่ท�ำรายได้หลักของฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะนอกจากจ�ำหน่ายในประเทศไทยแล้ว ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ยังบุกตลาดต่างประเทศด้วยบะหมี่ ผักโมโรเฮยะ โอกะเริม่ เปิดตลาดต่างประเทศใน พ.ศ. 2551 โดยการไปร่วมงานฟูด้ เอกซ์โปทีฮ่ อ่ งกงเป็นประเทศแรก เนือ่ งจากมีลกู ค้า คือ ฮ่องกง ซิตี ซูเปอร์ ซึ่งเป็นซูเปอร์มาร์เกตรายใหญ่ของฮ่องกง สั่งซื้อผักออร์แกนิก บะหมี่ผักโมโรเฮยะ และชาสมุนไพร ของฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ไปจ�ำหน่าย ก่อนจะได้ผแู้ ทนจ�ำหน่ายบะหมีผ่ กั โมโรเฮยะในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก ภายใต้ แบรนด์ GreeNoodle ในปีต่อมา หลังจากนั้นบะหมี่ผักโมโรเฮยะก็เข้าไปเปิดตลาดในประเทศอื่นๆ อย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และประเทศต่างๆ ในตะวันออกกลาง 3

Sho Oga, Organic Farm สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นที่ไร่, (2557) ค�ำนิยม

Ha r mo ny Li fe

11


12

ปัจจุบันการส่งออกคิดเป็นสัดส่วน 30% ของรายได้รวมของฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ โดยมีบะหมี่ผักโมโรเฮยะเป็นสินค้าหลัก จึงไม่น่าแปลกใจที่ฟาร์มฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ใช้พื้นที่ในการปลูกผักโมโรเฮยะถึง 50% และการส่งออกนี้เองที่ท�ำให้ธุรกิจของ ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ อยู่รอดมาได้ “เพราะช่วง 7 ปีแรกที่คนไทยยังไม่รู้จักสินค้าออร์แกนิก เราล�ำบากมาก เกือบต้องปิดบริษัท เพราะขาดทุนทุกเดือน ผมต้องไปหาเงินมาจากข้างนอกเพื่อจ่ายเงินเดือน และโชคดีที่ผู้ถือหุ้นเข้าใจด้วยมีเจตนารมณ์เดียวกัน แต่หลังจากนั้น คนไทยเริ่มเข้าใจผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก เริ่มอยากได้ ห้างต่างๆ ก็เริ่มท�ำมุมสินค้าออร์แกนิกและเริ่มวิ่งมาหาเรามากขึ้น นีค่ อื ตลาดในไทย แต่อกี จุดหนึง่ คือการทีเ่ ราน�ำสินค้าออร์แกนิกของเราไปน�ำเสนอในประเทศทีพ่ ฒ ั นาแล้ว เมือ่ บวกกับตลาด ในประเทศที่เริ่มโต บริษัทเราจึงเริ่มอยู่ได้” โอกะกล่าว

ซัสเทน่า ร้านขายอาหารและผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก ด้านการจ�ำหน่ายสินค้าภายในประเทศ ตลาดหลักของฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ จะอยู่ที่กรุงเทพฯ โดยในส่วนของผักและผลไม้ ช่วงเริ่มต้นจะวางจ�ำหน่ายในซูเปอร์มาร์เกตและห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง แต่ปัจจุบันเหลือเพียงที่กูร์เม่ต์มาร์เกต ในห้าง สรรพสินค้าดิเอ็มโพเรียม และดิเอ็มควอเทียร์เพียง 2 แห่งเท่านั้น เพื่อให้แต่ละแห่งมีผักผลไม้วางจ�ำหน่ายมากเพียงพอที่ จะตอบสนองความต้องการของลูกค้า ในส่วนของผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรียแ์ ปรรูป และผลิตภัณฑ์ทำ� ความสะอาดและดูแลผิวต่างๆ จะวางจ�ำหน่ายผ่านร้านค้า อื่นๆ โดยเฉพาะร้านจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอย่างร้านเอเดน ร้านรักธรรมชาติ ร้านพลังบุญ ร้านเลมอนฟาร์ม โดย สินค้าบางอย่างจะเป็นลักษณะของการฝากขาย บางอย่างเป็นการขายขาด นอกจากช่องทางการขายในซูเปอร์มาร์เกตและร้านเพือ่ สุขภาพแล้ว ใน พ.ศ. 2553 ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ยังเปิดร้านจ�ำหน่าย สินค้าจากฟาร์มให้กับผู้บริโภคในกรุงเทพฯ โดยตรงในซอยสุขุมวิท 39 ภายใต้ชื่อร้านซัสเทน่า (Sustaina ย่อมาจากค�ำว่า Sustainability = ความยัง่ ยืน) โดยภายในร้านจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชัน้ ล่างจะเป็นส่วนของร้านซัสเทน่าออร์แกนิกชอป


ซึ่งจ�ำหน่ายสินค้าออร์แกนิกจากฟาร์มฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ และผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกอื่นๆ ที่คัดสรรมาจากผู้ผลิตที่ใส่ใจในเรื่อง สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นน�้ำผึ้ง เมล็ดกาแฟ ไอศกรีม นม เป็นต้น โดยโอกะเป็นผู้คัดสรรผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วยตัวเองจาก การพูดคุยกับผู้ผลิตสินค้าที่เขาคิดว่าน่าสนใจ “เราจะเลือกซัพพลายเออร์ทมี่ เี ป้าหมายเดียวกัน คือไม่ใช่วา่ เห็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกขายได้กท็ ำ� ขายบ้าง เพราะอยาก ได้กำ� ไร เพราะหากเริม่ ต้นด้วยแนวคิดแบบนีแ้ ล้วสินค้าทีผ่ ลิตออกมาขายไม่ได้ เขาก็จะเลิก แต่เราจะเลือกซัพพลายเออร์ที่ มีความคิดว่า ท�ำผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกเพราะอยากช่วยเปลีย่ นแปลงโลกนีใ้ ห้ดขี นึ้ ในแบบของตัวเอง ซึง่ หากเป็นแบบนีเ้ ขาจะ ไม่ล้มเลิกง่ายๆ” โอกะอธิบายวิธีการเลือกซัพพลายเออร์ โดยมองมากไปกว่าความเป็นสินค้าออร์แกนิก ส่วนชัน้ 2 เปิดเป็นร้านซัสเทน่าออร์แกนิกเรสเตอรองต์ ร้านอาหารทีม่ เี มนูออร์แกนิกให้เลือกหลากหลายเท่าทีว่ ตั ถุดบิ จะเอือ้ อ�ำนวย และผลิตเบเกอรีเพือ่ สุขภาพลงไปวางจ�ำหน่ายทีร่ า้ นค้าชัน้ ล่างด้วย อาหารทุกจานในร้านอาหารแห่งนีป้ รุงจาก วัตถุดิบที่คัดสรรแล้วว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผักต่างๆ ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากฟาร์มฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ส่วนอาหาร ทะเลก็สั่งจากแหล่งผลิตหรือผู้น�ำเข้าที่ไม่ใช้สารเคมีในการรักษาความสด และท�ำเครื่องปรุงรสเองทั้งหมด เพื่อให้มั่นใจว่า ไม่มีส่วนผสมของสารเคมีสังเคราะห์ รวมถึงใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อมด้วยการดักไขมัน แยกขยะ และใช้นำ้� ยาล้างจานที่ดีต่อ สิ่งแวดล้อมที่โอกะพัฒนาสูตรขึ้นมาเอง “บางทีผักของเราขาด เราก็ต้องวิ่งไปซื้อผักออร์แกนิกจากดิเอ็มโพเรียม หรือเลมอนฟาร์มซึ่งอยู่ใกล้ๆ มาใช้ แม้ว่า ราคาจะแพงก็ต้องยอม” มงคล ค�ำริกาบุตร เชฟและผู้จัดการร้านอาหาร อายุงาน 7 ปี ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ช่วงแรกลูกค้าเกือบทั้งหมดของร้านซัสเทน่าคือแม่บ้านญี่ปุ่นที่ติดตามสามีมาอยู่เมืองไทย ซึ่งส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่ ในย่านสุขุมวิท แต่ปัจจุบันกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติอื่นๆ ค่อยๆ มีจ�ำนวนเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับกลุ่มลูกค้าคนไทยที่ใส่ใจ สุขภาพ ซึ่งปัจจุบันลูกค้าของร้านเป็นชาวต่างชาติ 93% และที่เหลือเป็นคนไทย นอกจากจ�ำหน่ายสินค้าที่ร้านแล้ว ซัสเทน่ายังมีบริการส่งสินค้าถึงบ้านให้กับลูกค้าบริเวณใกล้เคียง รวมถึงมีระบบ สมาชิก โดยคิดค่าสมาชิกปีละ 100 บาท เพื่อมอบส่วนลดให้ 5% เมื่อซื้อสินค้าและรับประทานอาหาร ซึ่งมีสมาชิกอยู่ ประมาณ 1,000 กว่าราย ปัจจุบันฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านร้านซัสเทน่าเป็นสัดส่วนประมาณ 30-40% แต่ในอนาคตตัวเลขนี้น่า จะเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากมีการเปิดร้านซัสเทน่าสาขา 2 ในลักษณะคีออส ทีห่ า้ งสรรพสินค้า Takashimaya ในโครงการ IconSiam เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 โดยสินค้าที่จ�ำหน่ายจะเป็นเบเกอรี ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป และของใช้เท่านั้น ส�ำหรับ การหาลูกค้าใหม่ๆ นั้น จะใช้วิธีการไปออกงานแสดงสินค้าเป็นหลัก ทั้งต่างประเทศและในประเทศ เช่น งาน ThaiFex (งานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มนานาชาติ) และงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อินทรีย์ต่างๆ โดยบางครั้งโอกะจะไปสาธิต ท�ำอาหารจากบะหมี่ผักโมโรเฮยะโชว์ที่บูทเอง ประกอบกับความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ บูทของฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ จึงมักได้ รับความสนใจจากผู้ร่วมงาน

ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์หลากหลายวิธี นอกจากการผลิตและจ�ำหน่ายผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เป็นมิตรกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โอกะยังส่งเสริมการ ท�ำเกษตรอินทรีย์ในลักษณะอื่นๆ อีกด้วย อาทิ เปิดฟาร์มฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ให้หน่วยงานหรือผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมเพื่อเรียนรู้ วิธีการท�ำเกษตรอินทรีย์ การออกไปให้ความรู้เกี่ยวกับการท�ำเกษตรอินทรีย์ในต่างประเทศเมื่อมีการร้องขอ และการจัด อบรมการท�ำเกษตรอินทรีย์ให้กับบุคคลทั่วไปที่ฟาร์ม ซึ่งจะจัดปีละ 2-3 ครั้งในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน ส่วนฤดูฝน ถนน เข้าฟาร์มมักเฉอะแฉะไม่เอื้อต่อการสัญจร การอบรมนี้จะจัดเป็นคอร์ส 2 วัน รับผู้เรียน 30 คน เก็บค่าลงทะเบียน 2,000 บาท ส�ำหรับเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์และอาหารกลางวัน โดยโอกะจะเป็นผู้อบรมเอง เริ่มจากการสอนให้เพาะเมล็ด ปลูก เก็บ และท�ำปุ๋ยอินทรีย์

Ha r mo ny Li fe

13


14

“กลุ่มคนที่มาอบรมก็มีตั้งแต่นักศึกษา คนที่เคยท�ำเกษตรเคมีแล้วอยากจะเปลี่ยนให้มาท�ำเกษตรอินทรีย์ และกลุ่มที่ เกษียณอายุจากงานประจ�ำแล้ว แต่มที ดี่ นิ มีเงินทุน และมีความสนใจทีจ่ ะท�ำเกษตรอินทรีย์ บางทีคนทีม่ าอบรมก็ขอกลับมา ดูผลงานทีม่ าปลูกไว้ดว้ ย ซึง่ ถ้าวันไหนมีอบรม พวกเราจะช่วยกันท�ำกับข้าวส�ำหรับเป็นอาหารกลางวัน โดยใช้ผกั ออร์แกนิก ในฟาร์มเป็นวัตถุดิบ คนจะชอบใบแคร์รอตทอดมาก เพราะไม่เคยเห็นและไม่เคยทานมาก่อน” โสภนภรณ์ ผู้จัดการทั่วไป ฟาร์มฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ เล่าถึงการมีส่วนร่วมกับการอบรมเกษตรอินทรีย์ของพนักงานที่ฟาร์ม โอกะยังเผยแพร่ความรู้ในการท�ำเกษตรอินทรีย์ผ่านหนังสือชื่อ Organic Farm สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นที่ไร่ ซึ่งเขียนเป็น ภาษาญี่ปุ่น แล้วมีการแปลเป็นภาษาไทย และพิมพ์ออกมาจ�ำหน่ายโดยส�ำนักพิมพ์อินสปายร์ในเครือนานมีบุ๊คส์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2557 โดยเมื่อมิถุนายน พ.ศ. 2561 ก็มีการเปิดตัวฉบับภาษาจีนที่ไต้หวันและสิงคโปร์ด้วย “ผมเขียนหนังสือเพราะอยากเผยแพร่เรื่องการท�ำเกษตรอินทรีย์ มากกว่าที่จะสนใจเรื่องค่าลิขสิทธิ์ ฉะนั้นถ้าจะมีคน เอาไปพิมพ์แจกฟรีก็ยินดี เพราะอยากให้แนวคิดนี้เผยแพร่ออกไปมากๆ” โอกะเล่าถึงวัตถุประสงค์ของหนังสือเล่มนี้ นอกจากนีฮ้ าร์โมนี ไลฟ์ฯ ยังส่งเสริมเกษตรอินทรียด์ ว้ ยการรับซือ้ สมุนไพร และผักอินทรียจ์ ากเกษตรกรรายอืน่ ๆ โดย สมุนไพรที่ซื้อมาจะน�ำมาแปรรูปในโรงงานเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ชาสมุนไพร ลูกประคบสมุนไพร น�้ำมันนวดผิว ส่วน ผักจะน�ำมาขายผ่านช่องทางขายสินค้าของฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ในส่วนของผักนั้น เนื่องจากอากาศแถวเขาใหญ่ไม่หนาวเย็นตลอดปีแบบบนดอยสูงในเชียงใหม่และเชียงราย บาง ฤดูกาลจึงไม่สามารถปลูกผักบางชนิดได้ เช่น หัวไชเท้า ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ จึงต้องรับผักจากแหล่งอื่นมาจ�ำหน่าย เพื่อให้มี สินค้าขายตลอดปี โดยสมัยก่อนฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ รับซื้อผักจากเกษตรกรหลายเจ้า แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 2 เจ้า เจ้าแรกคือ โครงการหลวง ซึ่งเป็นผักปลอดภัย (คือใช้สารเคมีแต่เก็บเกี่ยวในระยะที่ปลอดภัย) ไม่ใช่ผักอินทรีย์ ซึ่งมีการแจ้งไว้บน บรรจุภณ ั ฑ์ชดั เจน ต่างจากผักจากฟาร์มฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ซึง่ บนบรรจุภณ ั ฑ์จะมีตรารับรองเกษตรอินทรียจ์ ากหลายประเทศ เกษตรกรอีกเจ้าที่ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ รับซื้อผักก็คือฟาร์มของขวัญชัย อักษรอริยานนท์ ซึ่งปลูกผักโดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง และสารเคมี (แต่ทางฟาร์มยังไม่ได้ขอใบรับรองเกษตรอินทรีย์) บนพื้นที่ 10 ไร่ ที่อ�ำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ขวัญชัยเล่าว่ารู้จักกับฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ จากการแนะน�ำของเพือ่ นชาวญี่ปุ่นเมือ่ 6 ปีก่อน ช่วงนัน้ เขาเพิง่ เรียนจบปริญญา โทด้านปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว (post harvest) มาจากประเทศไต้หวัน และสนใจปลูกผักอินทรีย์ เพราะมองว่าเป็น ตลาดที่มีอนาคต จึงตกลงปลูกผักอินทรีย์ส่งจ�ำหน่ายให้ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ตั้งแต่เริ่มต้น โดยสัญญาว่าจะปลูกโดยไม่ใช้ยาฆ่า แมลงและสารเคมี “ซึง่ เราเอาผักของเขามาตรวจก็ไม่พบสารเคมีตกค้างจริงๆ ด้วย” ดรุณเี ล่าถึงการตรวจสอบผักจากฟาร์มของขวัญชัย ขวัญชัยจะปลูกผักส่งให้ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ตามที่มีการตกลงกัน เพื่อไม่ให้ซ�้ำซ้อนกับผักที่ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ปลูกในฟาร์ม ของบริษัท โดยส่วนใหญ่เป็นผักเมืองหนาว อาทิ ผักกาดแก้ว กะหล�่ำปลี ผักกาดขาว บร็อกโคลี หัวไชเท้าญี่ปุ่น ต้นหอม ญี่ปุ่น เซเลอรี มะเขือม่วงญี่ปุ่น กวางตุ้ง คะน้า กะหล�่ำดอก โดยส่งผักให้สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 100 กิโลกรัม ส�ำหรับราคาซื้อขายนั้น ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ จะรับซื้อผลผลิตในราคาประกันเพียงราคาเดียวทั้งปี คือราคาไม่ขึ้นลงตามฤดูกาล และไม่มีการแบ่งเกรดผักเป็นเกรด 1, 2, 3 เนื่องจากมีความเข้าใจดีว่าผักอินทรีย์ควบคุมขนาดได้ยาก และเข้าใจข้อจ�ำกัด ของการปลูกแบบออร์แกนิกดี “ผมชอบความยืดหยุ่นในการรับผลผลิตทางการเกษตรของฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ เพราะถ้าเป็นบางเจ้าเขาจะมีการก�ำหนด ว่าจะรับซื้อกะหล�่ำปลีที่มีน�้ำหนักไม่เกินหัวละ 700 กรัม ซึ่งยุ่งยากมาก เพราะผักผลไม้อินทรีย์ล็อกสเป็กล�ำบาก บางทีใน หน้าหนาว กะหล�่ำปลีของผมลูกหนึ่งนี่ทะลุไป 3 กิโลกรัมก็มี แต่คุณโอกะก็รับ แล้วเอาไปผ่าแบ่งขาย จุดนี้ท�ำให้เราท�ำงาน ได้โดยไม่เครียด” ขวัญชัยเล่าถึงความสบายใจในการปลูกผักขายให้กับฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ นอกจากนี้ขวัญชัยยังได้รับค�ำแนะน�ำดีๆ เกี่ยวกับเรื่องปุ๋ยอินทรีย์จากโอกะ ในตอนที่ไปอบรมที่ฟาร์มฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ “คุณโอกะบอกว่า สิง่ ส�ำคัญทีจ่ ะท�ำให้การปลูกผักอินทรียป์ ระสบความส�ำเร็จคือต้องมีปยุ๋ อินทรียเ์ ก็บไว้ในสต็อกเยอะๆ เพราะถ้าใส่ปุ๋ยในผักไม่ถึง ผักจะไม่โต เราจึงต้องวางแผนการหมักปุ๋ยคอกเพื่อใช้ใน 1 เดือน 3 เดือนข้างหน้า” อีกเรื่องหนึ่งที่ขวัญชัยได้แบบอย่างจากฟาร์มฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ คือ การลดการใช้พลาสติกในฟาร์ม จากแต่ก่อนที่เขาจะ ใช้พลาสติกคลุมดิน แต่โอกะแนะน�ำว่าไม่ควรใช้ เพราะสุดท้ายพลาสติกจะกลายเป็นขยะ ค�ำแนะน�ำนีน้ อกจากจะท�ำให้ขวัญ ชัยเลิกใช้พลาสติกแล้ว ยังพยายามน�ำเอาวัสดุที่ใช้ซ�้ำได้กลับมาใช้ซ�้ำมากที่สุด ซึ่งช่วยลดขยะในฟาร์มได้มาก


อยากให้ไทยเป็นเบอร์หนึ่งในโลกด้านเกษตรอินทรีย์ โอกะกล่าวถึงเป้าหมายทางธุรกิจของฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ในอนาคตว่า ยังคงเหมือนกับช่วงเริ่มต้นคือ การท�ำเกษตร อินทรีย์และการส่งเสริมให้การท�ำเกษตรอินทรีย์ในเมืองไทยขยายวงกว้างยิ่งขึ้น แม้ว่าปัจจุบันพื้นที่การท�ำเกษตรอินทรีย์ ในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ 18 ปีที่แล้ว “ตอนนี้ประเทศไทยถือว่าเป็นอันดับ 1 ในเรื่องการท�ำเกษตรอินทรีย์ในอาเซียน (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ทั้งในแง่ ของพื้นที่ปลูกและยอดขาย ด้วยเหตุนี้เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ประเทศไทยจึงได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน BIOFACH Southeast Asia 2018 ซึ่งเป็นงานแสดงและจ�ำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์และธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน แต่เราไม่ ต้องการหยุดอยู่เพียงเท่านี้ เพราะเป้าหมายต่อไปเราอยากให้ไทยเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย และในโลกด้านเกษตรอินทรีย์” โอกะกล่าวถึงเป้าหมายที่อยากไปถึง ซึ่งเขาคิดว่ามีความเป็นไปได้ เพราะปัจจุบันผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะใน ส่วนของผักและผลไม้นั้นมีไม่เพียงพอต่อการจ�ำหน่าย เพราะผู้บริโภคชาวไทยเริ่มเข้าใจผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกและมีความ ต้องการเพิม่ ขึ้น ขณะที่ห้างสรรพสินค้าต่างๆ ก็เริ่มท�ำมุมสินค้าออร์แกนิกและเริ่มวิง่ หาผู้ผลิต ซึ่งปรากฏการณ์นเี้ กิดขึ้นทั้ง ในประเทศไทยและในต่างประเทศ ขณะที่การแข่งขันในตลาดเกษตรอินทรีย์ยังมีน้อย จึงเป็นโอกาสดีของผู้ที่สนใจธุรกิจนี้

วัฒนธรรมองค์กรเน้นการส่งต่อความสุข นอกจากมุ่งมั่นกับการท�ำเกษตรอินทรีย์โดยคิดหาวิธีการปลูก การแปรรูป และการจ�ำหน่ายที่เหมาะสมแล้ว โอกะยัง มุ่งมั่นสร้างบุคลากรให้สอดคล้องกับการท�ำเกษตรอินทรีย์ด้วย ภายใต้ความเชื่อที่ว่า ความสุขของพนักงานสามารถส่งต่อ ถึงพืช ผัก และผลผลิตทางการเกษตรได้ ด้วยเหตุนี้ทุกๆ เช้าโอกะจึงมักจะสังเกตสีหน้าของพนักงานว่าเป็นอย่างไร ดูมี ความสุขดีไหม และหากเห็นบางคนหน้าตาไม่สดชื่น ก็จะคิดว่าจะช่วยอย่างไรดี เนื่องจากเขาเชื่อว่าทุกคนมีพลังในตัวเอง ดังนั้นหากพนักงานท�ำงานด้วยความรู้สึกดีๆ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นย่อมดีกว่าการท�ำงานด้วยความรู้สึกไม่ดี เพราะทุกอย่างมี คลื่นความสอดคล้องกัน “ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ อย่างเช่นคุณแม่ของผมอยู่ญี่ปุ่น ห่างจากเมืองไทยเกือบ 6,000 กิโล ดังนั้นเวลามีอะไร กะทันหัน เช่น คุณแม่ไม่สบาย ผมก็ต้องรอ เพราะยังกลับไม่ได้ทันที ระหว่างรอก็สวดมนต์ขอพรให้คุณแม่ ส่งใจไปถึงคน ที่เราเป็นห่วงก่อน คุณคิดว่าสิ่งที่ใจเราส่งไปมันไปถึงไหม ถึงนะ ท�ำไมถึง เพราะสิ่งที่ส่งไปมันเป็นคลื่น เหมือนทีวีก็มีคลื่น ไฟฟ้า แล้วก็ออกมาเป็นรูปร่างในจอ คลืน่ พวกนีไ้ ม่เกีย่ วกับระยะทาง ไม่เกีย่ วกับเวลาด้วย เหมือนโทรศัพท์กเ็ ป็นคลืน่ ส่งไป ได้ทั่วโลก ความคิดก็คือคลื่นที่เราส่งไป ดังนั้นหากเราท�ำงานด้วยความรู้สึกห่อเหี่ยว ขี้เกียจ โดนบังคับ ท�ำไปบ่นไปกับพืช เหลืออีกตัง้ 2 ชัว่ โมงถึงจะเลิกงาน ผลลัพธ์จะต่างกันเลยกับการทีเ่ ราดูแลพืชด้วยความรูส้ กึ ดีๆ สิง่ ทีบ่ ริษทั ต้องท�ำคือ ท�ำให้ ทุกคนมีความรูส้ กึ ดีกบั การท�ำงาน การอยูร่ ว่ มกัน ท�ำงานแบบกระตือรือร้นและรับผิดชอบ ถ้าบริษทั ไหนท�ำได้กจ็ ะเติบโต” ความเชื่อในคลื่นแห่งความสอดคล้องนี้ท�ำให้โอกะขับเคลื่อนองค์กรและดูแลพนักงานโดยให้ความส�ำคัญกับ 3 เรื่อง จนสามารถเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมของบริษัท คือ 1. อยากเห็นพนักงานมีความสุข ไม่ท�ำงานไปวันๆ 2. ทุกคนต้องมี เป้าหมายของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายในชีวิต ในครอบครัว และการท�ำงาน 3. ต้องสานสัมพันธไมตรี มีมนุษยสัมพันธ์ ที่ดีในการอยู่ร่วมกัน “แม้ว่าคุณจะอยู่กันคนละแผนก แต่คุณต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสิ่งส�ำคัญในการอยู่ร่วมกันคือเรื่องค�ำพูด ต้อง พูดกันดีๆ อย่าทะเลาะกัน ห้ามใช้ค�ำพูดที่ท�ำร้ายคนอื่น ต้องเป็นค�ำพูดที่ให้ก�ำลังใจ คนฟังฟังแล้วรู้สึกสดชื่น นี่คือสิ่งที่คุณ โอกะพูด และสอนทุกครั้งที่มีการประชุมร่วมกับพนักงาน และไม่ได้พูดอย่างเดียว แต่จะคอยสังเกตว่าพนักงานยังดูสดชื่น มีไฟอยู่ไหม และหากมีช่วงไหนที่พนักงานอ่อนล้า เหนื่อย คุณโอกะก็จะพาไปทานข้าวเป็นกรณีพิเศษ” ดรุณี ผู้จัดการฝ่าย ขายและผู้ช่วยโอกะ ขยายความเพิ่มเติม

Ha r mo ny Li fe

15


16

“เวลา (ท่านประธาน) โทรศัพท์มาหาจะพูดก่อนว่า สบายดีไหม หรือจะถามเราก่อนเรื่องสุขภาพ อย่างโรงงานอื่นเขา จะไม่มาถามเราว่า วันนีค้ ณ ุ สบายดีไหม คุณเป็นอะไรหรือเปล่า คุณทานอาหารอะไร คุณต้องการอะไรไหมแบบนี้ คือถ้าเรา ไปปุ๊บเราก็ต้องท�ำงานให้เขาเต็มที่” วันวิสาข์ ธาตุจันทร์ หัวหน้าแผนกน�้ำหมักเอนไซม์ อายุงาน 8 ปี เล่าถึงความใส่ใจที่ โอกะมีต่อพนักงาน

แบ่งแผนกชัดเจน แต่ทุกคนช่วยกันท�ำงาน ปัจจุบนั ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ มีพนักงานประมาณ 110 คน กระจายกันท�ำงาน 3 แห่ง 2 แห่งอยูใ่ นกรุงเทพฯ คือส�ำนักงานใหญ่ และร้านซัสเทน่า ส่วนฟาร์มและโรงงานอยู่ที่อ�ำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยพนักงานที่ส�ำนักงานใหญ่และร้าน ซัสเทน่าจะเป็นพนักงานรายเดือนทั้งหมด ส่วนที่ฟาร์มและโรงงานจะเป็นพนักงานรายเดือนในส่วนของผู้จัดการ หัวหน้า และพนักงานที่อยู่ในโรงงาน ซึ่งรวมกันแล้วจะมีพนักงานรายเดือนประมาณ 50 คน ส่วนพนักงานที่ท�ำงานในแปลงผลิตจะ เป็นพนักงานรายสัปดาห์ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 50-60 คน “สาเหตุที่เรามีพนักงานรายวันเยอะ เพราะพนักงานในฟาร์มส่วนใหญ่เลือกที่จะรับเงินเป็นรายวัน เนื่องจากอยากได้ รับเงินเร็วกว่าการเป็นพนักงานรายเดือน ซึ่งได้รับเดือนละครั้ง แต่พนักงานรายวันของเราก็ไม่ได้รับเงินทุกวันนะคะ เรา จะจ่ายเป็นรายวีก” โสภนภรณ์ ผู้จัดการทั่วไปฟาร์มฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ เล่าที่มา ที่ฟาร์ม พนักงานส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง แม้ว่าจะเป็นงานที่ใช้แรงงานและต้องท�ำงานกลางแจ้ง แต่เนื่องจากในพื้นที่ที่ ฟาร์มตัง้ อยู่ ผู้หญิงมีความรับผิดชอบและอดทนในการท�ำงานมากกว่าผู้ชาย แรงงานผู้หญิงจึงมีอายุงานนาน และมีจ�ำนวน มากกว่า ส่วนในกรุงเทพฯ (ส�ำนักงานใหญ่และร้านซัสเทน่า) สัดส่วนของพนักงานชายจะมากกว่า และเกือบทั้งหมดเป็นชาว ไทย มีเพียง 2 คนที่เป็นชาวญี่ปุ่น คือ โอกะ และผู้จัดการร้านซัสเทน่า “ที่มีคนไทยเยอะ เพราะคนญี่ปุ่นอยู่ได้ไม่นาน เดี๋ยวก็ต้องกลับ เลยพยายามฝึกคนไทยให้เป็นหัวหน้า จะได้ไม่ต้อง เปลี่ยนหัวหน้าบ่อย ซึ่งคนท�ำงานน่าจะชอบมากกว่า ส่วนที่ฟาร์ม จริงๆ เราขาดแรงงานผู้ชายมากๆ แล้วงานอย่างการยก ร่อง ท�ำปุ๋ยพวกนี้ต้องใช้แรงงานผู้ชาย ตอนแรกว่าจะรับแรงงานต่างด้าว แต่กลัวจะมีปัญหาก็เลยไม่ได้รับ” ดรุณีอธิบาย ส�ำหรับอายุเฉลี่ยของพนักงานทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 24-30 ปี ส่วนระดับผู้จัดการหรือหัวหน้าจะประมาณ 40-50 ปี ขณะที่พนักงานในฟาร์มจะมีอายุค่อนข้างมาก หลายๆ คนอายุ 50 กว่าปี โดยส่วนใหญ่เป็นพนักงานที่อยู่มานาน พนักงานที่ส�ำนักงานใหญ่จะท�ำงานสัปดาห์ละ 6 วัน หยุดวันอาทิตย์ เนื่องจากเป็นงานบริการและเกี่ยวกับห้าง สรรพสินค้าจึงต้องท�ำงานจนในช่วงเช้าถึงบ่ายวันเสาร์ ส่วนร้านซัสเทน่าจะเปิดบริการทุกวัน ระหว่าง 10.30-21.00 น. (ปิดช่วงปีใหม่และสงกรานต์) พนักงานจึงต้องสลับ กันหยุด โดยทุกคนจะมีวันหยุดสัปดาห์ละ 1 วัน และได้พักกลางวันวันละ 2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เหนื่อยเกินไป รวมถึงมีการ จ่ายค่าล่วงเวลา เพราะท�ำงานเกิน 8 ชั่วโมง ที่ฟาร์มจะท�ำงานสัปดาห์ละ 6 วัน หยุดวันอาทิตย์ 1 วัน ส�ำหรับวันลาจะเป็นไปตามที่กฎหมายก�ำหนด โดยขึ้นอยู่กับอายุงาน ถ้าอายุงาน 1 ปีจะได้วันลา 6 วัน ทั้งลาพักร้อน และลากิจ “แต่สว่ นใหญ่ไม่คอ่ ยมีการลากันจนครบ จะลากันประมาณ 3-4 วัน แม้วา่ จะสะสมวันลาไม่ได้ เพราะพนักงานทีน่ ี่ ไม่คอ่ ยไปไหน ส่วนใหญ่กจ็ ะลากลับต่างจังหวัดช่วงเทศกาล เวลาส่วนใหญ่เขาก็จะอยูอ่ อฟฟิศกันมากกว่าที่บา้ น” ดรุณเี ล่า ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ จะแบ่งโครงสร้างองค์กรเป็นแผนกต่างๆ ชัดเจน โดยในส่วนของส�ำนักงานใหญ่จะมีแผนกการตลาด ซึง่ รวมจัดซือ้ ด้วย มีหน้าทีไ่ ปพบลูกค้าเพือ่ หาตลาด แผนกบัญชี ดูแลเรือ่ งการเงิน แผนกสต็อกและจัดส่งสินค้า แผนกเแพ็กกิง ดูแลเรื่องการแบ่งบรรจุผักที่ส่งมาจากโรงงาน ซึ่งแต่ละแผนกจะมีผู้จัดการเป็นหัวหน้า ในส่วนของฟาร์มจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของไร่และส่วนของโรงงาน โดยในส่วนของไร่จะแบ่งเป็นแผนกแปลงผัก ประกอบด้วยกลุ่มผักลูก ผักใบ แผนกโมโรเฮยะส�ำหรับท�ำบะหมี่ แผนกท�ำปุ๋ย แผนกยกร่อง ซึ่งแต่ละแผนกจะมีหัวหน้า


ควบคุม แต่ทั้งหมดจะขึ้นกับหัวหน้าแปลงผลิต ส่วนของโรงงานจะมีแผนกสบู่ แผนกแชมพู แผนกเครื่องดื่มน�้ำเอนไซม์ แผนกแยม แผนกชาสมุนไพร แผนกลูกประคบ ซึ่งแต่ละแผนกจะมีหัวหน้าควบคุม แล้วมีหัวหน้าโรงงานคุมอีกต่อหนึ่ง แต่ ทั้งสองส่วนจะอยู่ภายใต้การดูแลของผู้จัดการทั่วไป “หลักๆ ก็ดแู ลแปลงผลิตทัง้ หมด วางแผนการปลูก การเก็บ และชีแ้ จงงานแต่ละฝ่าย ซึง่ จะแบ่งเป็นทีมย่อยๆ ประมาณ 4 ทีม คือแผนกยกร่องซึ่งเป็นผู้ชาย แล้วก็ผักลูกผักใบ โรงเรือน และโมโรเฮยะค่ะ ทุกเช้าเราจะแบ่งงานให้แต่ละทีมว่าต้อง ท�ำอะไร เสร็จแล้วจะท�ำอะไรต่อ แล้วก็ตามเช็กงาน แล้วมีงานเอกสารด้วย ทีมอ้อมมี 20 กว่าคน” กมลวรรณ จะนต หรือ อ้อม หัวหน้าแปลงผลิต อายุงาน 2 ปี ยกตัวอย่างงานที่ท�ำในแต่ละวัน ส่วนของร้านซัสเทน่าจะแบ่งเป็นแผนกร้านอาหาร แผนกร้านค้า และแผนกบริการ ซึง่ แต่ละแผนกจะมีหวั หน้าคอยดูแล โดยทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูแลของผู้จัดการร้าน แม้วา่ จะมีการแบ่งเป็นแผนกเหมือนแยกกันรับผิดชอบ แต่ในการท�ำงานจริง ทุกคนจะช่วยกันท�ำงาน โดยเฉพาะในส่วน ของร้านซัสเทน่าและที่ฟาร์ม ซึ่งบางช่วงบางแผนกอาจจะมีงานยุ่ง ขณะที่บางแผนกอาจจะว่าง “บางทีถ้าพนักงานบริการว่างก็จะขึ้นมาช่วยข้างบนแพ็กของเพื่อที่จะเอาลงไปขายข้างล่าง หรือพนักงานเบเกอรีกับ ที่ชอปก็ช่วยกันเอาของมาเติม ทุกคนช่วยกันท�ำงาน เพียงแต่มันแยกเป็นแผนกเท่านั้นเอง” ยุวดี เบิกบาน ผู้ช่วยผู้จัดการ แผนกบริการ ร้านซัสเทน่า อายุงาน 10 ปีเล่า “พนักงานข้างบน (พนักงานในส่วนของโรงงาน) ไม่จ�ำเป็นว่าต้องท�ำงานได้เฉพาะแผนกตัวเอง ต้องท�ำได้ทุกแผนก บางทีก็เรียก QC ไปช่วยท�ำมั่ง เพราะ QC ต้องเข้าทุกแผนกอยู่แล้ว ก็ต้องเป็นงานทุกอย่าง ทั้งท�ำแยมเป็น ท�ำชาได้ หรือ หากแผนกนีป้ ดิ ไลน์แล้วก็ตอ้ งมาช่วยอีกแผนกทีม่ งี านเร่ง คือทุกคนต้องช่วยกัน” โสภนภรณ์ ผูจ้ ดั การทัว่ ไปทีด่ แู ลทัง้ ฟาร์ม และโรงงาน ยกตัวอย่างการท�ำงานเป็นทีม

Ha r mo ny Li fe

17


18

ค่าตอบแทนดี พนักงานจะได้มีความสุข ในหนังสือ Organic Farm สิง่ มหัศจรรย์เกิดขึน้ ทีไ่ ร่ หน้า 47 โอกะกล่าวถึงแนวคิดในการจ่ายค่าแรงแก่พนักงานภายใน ฟาร์มว่า ถ้าให้ค่าจ้างสูงกว่าค่าแรงขั้นต�่ำที่รัฐบาลก�ำหนดสักหน่อย ทุกคนก็จะท�ำงานอย่างมีความสุข ใบหน้าเปื้อนด้วย รอยยิ้ม และถ้าบรรยากาศภายในที่ท�ำงานดี ก็เท่ากับบริหารจัดการธุรกิจเกษตรให้ด�ำเนินไปด้วยดี... นายจ้างกับลูกจ้างก็ จะมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ด้วยแนวคิดเช่นนี้ ดรุณีซึ่งดูแลเรื่องการบริหารทรัพยากรบุคคลของฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ยืนยันว่า โดยพื้นฐานแล้วบริษัท จะจ่ายค่าแรงให้พนักงานทุกคนอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ดี ส�ำหรับพนักงานทัว่ ไปทีฟ่ าร์ม เมือ่ แรกเข้ามาท�ำงานจะได้รบั ค่าแรง เท่ากับค่าแรงขัน้ ต�ำ่ ในช่วงทดลองงาน (ระยะเวลา 1 เดือน) แต่เมือ่ ผ่านทดลองงานแล้วจะมีการปรับค่าแรงเพิม่ ขึน้ ทุกปีแม้วา่ จะเป็นพนักงานรายวัน และหากได้เลื่อนต�ำแหน่งก็จะได้รับเงินค่าต�ำแหน่ง นอกจากนี้ยังมีการจ่ายค่าท�ำงานล่วงเวลาด้วย “ส่วนมากจะเป็นออร์เดอร์เร่งด่วนทีเ่ ราไม่สามารถขยายเวลาส่งได้ เช่น สัง่ วันนีจ้ ะเอาพรุง่ นี้ ซึง่ ถ้าท�ำตามเวลางานปกติ อาจจะต้องใช้เวลา 3 วัน แบบนี้เราก็ต้องขอเปิดโอที” โสภนภรณ์ ผู้จัดการทั่วไปฟาร์มฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ เล่าถึงการท�ำงาน ล่วงเวลาของพนักงานที่โรงงาน ส�ำหรับอัตราเงินเดือนของพนักงานประจ�ำนัน้ ก็สามารถแข่งขันในตลาดได้ และมีคา่ ต�ำแหน่งให้ดว้ ยเช่นกัน นอกจากนี้ ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ยังมีการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานโดยให้คอมมิชชันรายเดือน ซึ่งจะบรรจุอยู่ในซองแดง หากแผนกไหน ท�ำผลงานได้ตามเป้า โดยการให้ซองแดงนี้เริ่มที่ส�ำนักงานใหญ่ก่อน แล้วจึงขยายไปที่ร้านซัสเทน่าและที่ฟาร์มตามล�ำดับ “ฉะนัน้ พนักงานทีน่ จี่ ะไม่เกีย่ ง ไม่บน่ เวลามีออร์เดอร์เข้าเยอะๆ แล้วก็จะช่วยกันท�ำงาน ช่วยกันส่งของ เพราะทุกคนรูด้ ี ว่าหากท�ำงานได้ถึงเป้าเขาจะได้รับซองแดง โดยแต่ละแห่งจะมีเป้าแตกต่างกัน เช่น ที่ส�ำนักงานใหญ่ เงื่อนไขก็คือยอดขาย เดือนนีต้ อ้ งมากกว่าเดือนก่อน 5% ส่วนทีร่ า้ นซัสเทน่าก็จะมียอดของแต่ละแผนก หากท�ำยอดถึง คุณโอกะก็จะแจกซองแดง ให้ทุกคนในแผนก แต่เราดูยอดสูญเสียด้วยนะ ก็ต้องควบคุมเรื่องการสูญเสียด้วย ไม่ใช่ว่าเร่งผลิตออกมาเยอะๆ แล้วจะได้ ยอดดี ดังนั้นตอนประชุมพนักงานทุกเดือนจะมีการประกาศตัวเลขให้พนักงานฟังว่า เดือนนี้บริษัทมียอดขายเท่าไร เดือน ที่แล้วยอดขายเท่าไร ทุกคนก็จะพยายามกันมาก เพราะอยากได้ซองแดงทุกเดือน มีของก็รีบส่งๆ มีออร์เดอร์เข้ามาก็ยินดี ยิ้มแย้ม ออร์เดอร์ยิ่งเยอะยิ่งชอบ เพราะรู้ว่าจะได้ซองแดงตามมาด้วย” ดรุณีเล่าถึงวิธีการสร้างแรงจูงใจ ส่วนพนักงานรายวันที่ฟาร์มจะได้รับซองแดงในโอกาสปีใหม่และตรุษจีน เป็นของขวัญพิเศษด้วยเช่นกัน ส�ำหรับสวัสดิการที่ไม่ใช่ตัวเงิน นอกจากประกันสังคมตามกฎหมายก�ำหนด ก็ยังมีประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ และกองทุนทดแทน รวมถึงมีเครือ่ งแบบพนักงานให้ และพนักงานสามารถซือ้ ผลิตภัณฑ์ของบริษทั โดยได้รบั ส่วนลด 30% และให้เครดิตในการซื้อ คือเอาสินค้าไปก่อนแล้วจ่ายเงินตอนสิ้นเดือน “ทีบ่ า้ นผมจะใช้ของออร์แกนิกอยูแ่ ล้ว แต่มนั หาซือ้ ยาก พอมาอยูท่ น่ี เี่ ขาก็เลยให้ซอื้ ให้ตลอด” ธนสาร นันทบรม ผูช้ ว่ ย ผู้จัดการแผนกสโตร์ อายุงาน 4 ปี เล่าถึงสวัสดิการที่ตรงใจคนในครอบครัวเป็นพิเศษ ส่วนทีฟ่ าร์มจะมีสวัสดิการเพิม่ เติมคือ มีรถรับ-ส่งฟรีสำ� หรับพนักงานทีไ่ ม่มรี ถมอเตอร์ไซค์ หรือขีร่ ถไม่เป็น รวมถึงมี หอพักให้พนักงานทีบ่ า้ นอยูไ่ กลจากฟาร์มได้อยู่ โดยเสียค่าใช้จา่ ยเป็นค่าน�ำ้ ค่าไฟเดือนละ 500 บาท หอพักนีม้ มี าตัง้ แต่เริม่ ต้น โดยช่วงแรกมี 8 ห้อง แต่ปัจจุบันขยายเพิ่มขึ้นเป็น 20 ห้อง ทุกห้องมีห้องน�้ำในตัว และมีขนาดใหญ่พอให้ทั้งครอบครัว อาศัยอยูไ่ ด้ นอกจากเพือ่ อ�ำนวยความสะดวกให้กบั พนักงานทีม่ บี า้ นไกลแล้ว อีกเหตุผลหนึง่ ทีโ่ อกะสร้างห้องพักให้พนักงาน ในฟาร์มก็คือ หากมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน ผู้ที่พักอยู่ในฟาร์มจะได้รีบไปดูพืชผักให้ทันที ส่วนของส�ำนักงานใหญ่จะมีห้องออกก�ำลังกายให้พนักงานมาออกก�ำลังกายร่วมกันหลังเลิกงาน โดยวันจันทร์จะเป็น คลาสโยคะ วันพุธเป็นคลาสเต้นซุมบ้า ซึ่งบริษัทจ้างครูจากภายนอกมาสอนตามเสียงโหวตของพนักงาน ส่วนวันที่เหลือก็ สามารถมาใช้ห้องส�ำหรับเล่นปิงปองกันได้ ส�ำหรับวันเสาร์จะยกโขยงกันไปเล่นแบดมินตันที่คอร์ตใกล้ๆ โดยทั้งค่าจ้างครู ผู้สอน ค่าคอร์ตแบดฯ ค่าโต๊ะปิงปอง บริษัทจัดหาและออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด “กิจกรรมออกก�ำลังกายเพิง่ เริม่ เมือ่ ปลายปี พ.ศ. 2560 คุณโอกะอยากให้ทกุ คนมีสขุ ภาพดี เพราะพนักงานเริม่ อายุมาก ขึน้ ตัวท่านเองก็อายุมากขึน้ และเคยป่วยเพราะไม่ได้ออกก�ำลังกาย ตอนนีก้ เ็ ลยน�ำพนักงานให้มาออกก�ำลังกาย” ดรุณเี ล่าทีม่ า


คนสมัครไม่เยอะ แต่มักเจอคนที่ใช่ แต่ละปีฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ มีการรับสมัครพนักงานใหม่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นการรับสมัครเพื่อทดแทนพนักงานเดิม ที่ลาออก หรือมีการขยายงาน ถ้าเป็นต�ำแหน่งที่ต้องการวุฒิทางการศึกษา หรือความรู้ความช�ำนาญเฉพาะด้าน ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ จะประกาศรับสมัคร งานผ่านทางเว็บไซต์หางาน แต่หากเป็นต�ำแหน่งพนักงานทัว่ ไปจะใช้วธิ ตี ดิ ประกาศ เช่น หากร้านอาหารซัสเทน่าต้องการรับ พนักงานก็ตดิ ประกาศทีห่ น้าร้านและบริเวณใกล้เคียง หรือหากส�ำนักงานใหญ่ตอ้ งการรับสมัครพนักงานขับรถก็ตดิ ประกาศ ที่หน้าปากซอย เช่นเดียวกับที่ฟาร์ม เนื่องจากอยากได้คนที่อยู่บ้านใกล้ หรือคนในพื้นที่มาร่วมงานด้วย โดยเฉพาะในส่วน ของฟาร์ม โอกะเน้นมาตัง้ แต่เริม่ ต้นว่าจะจ้างแรงงานท้องถิน่ ทัง้ หมด เพราะว่ามีความรูเ้ รือ่ งสภาพภูมอิ ากาศ วัฒนธรรมและ ผืนดินเป็นอย่างดี พนักงานทั่วไปในแปลงผักหรือโรงงาน จึงเป็นคนที่มีบ้านอยู่ไม่ไกลจากฟาร์มเกือบทั้งหมด นอกจากเน้นรับคนในพืน้ ทีแ่ ล้ว การรับพนักงานทัว่ ไปทีฟ่ าร์มยังมีความพิเศษคือ ไม่ได้ระบุวา่ จะรับมาท�ำต�ำแหน่งอะไร จะแจ้งเพียงรับสมัครพนักงานทั่วไป และเมื่อรับเข้ามาแล้วก็จะส่งเข้าไปทดลองงานในแปลงผัก 1 เดือน เมื่อผ่านทดลอง งานจึงจะพิจารณาว่าจะให้ไปอยู่แผนกไหน โดยหากหน่วยก้านดีก็จะดึงขึ้นมาท�ำงานในโรงงาน ซึ่งเป็นงานที่ซับซ้อนกว่า โดยมักเริ่มต้นที่แผนกลูกประคบ เพราะมีรายละเอียดน้อยที่สุด ขณะที่แผนกชา แยม น�้ำหมักเอนไซม์ จะมีความซับซ้อน มากขึ้นตามล�ำดับ “อย่างของหนูก็ทดลองงานข้างล่างคือช่วยปลูกผักอยู่ 1 เดือนค่ะ แล้วก็ได้ขึ้นมาอยู่แผนกลูกประคบ 1 ปี แล้วก็ขึ้นไป แผนกชา เพราะมีคนลาออก ซึง่ พอเปลีย่ นแผนกก็ได้เงินเดือนขึน้ ค่ะ” กาญจนา สินธุมาลา พนักงานแผนกชา อายุงาน 3 ปีเล่า ส�ำหรับวิธีการคัดสรรพนักงานจะใช้วิธีการสัมภาษณ์ โดยในส่วนของส�ำนักงานใหญ่ ดรุณีกับหัวหน้าแผนกจะเป็น ผู้สัมภาษณ์ผู้สมัครที่น่าสนใจร่วมกันในรอบแรก “ณีก็จะให้เกียรติหัวหน้าแผนกก่อนว่าคุณชอบคนไหน ให้เขาเลือก พอสรุปออกมาแล้วว่าเอาคนนี้ ก็จะโทร.ไปเรียก เขามาคุยกับคุณโอกะอีกครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่คุณโอกะจะไม่ปฏิเสธคนที่เราเลือก แค่มาสัมภาษณ์แล้วก็บอกเล่าถึงเจตนารมณ์ ของบริษัทว่าคืออะไร ท�ำเพื่ออะไร แล้วก็เริ่มท�ำงานได้เลย” ดรุณีอธิบายเพิ่มเติม ส�ำหรับการคัดสรรพนักงานทั่วไปที่ฟาร์ม แผนกธุรการจะเป็นผู้คัดกรองใบสมัคร แล้วเรียกมาให้ผู้จัดการฟาร์มหรือ หัวหน้างานโดยตรงเป็นผูส้ มั ภาษณ์ แต่ถา้ เป็นต�ำแหน่งระดับหัวหน้า ทางส�ำนักงานใหญ่จะเป็นผูป้ ระกาศรับสมัคร และโอกะ หรือดุรณีจะเป็นคนไปสัมภาษณ์ด้วยตัวเอง แม้ว่าฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ จะให้ความส�ำคัญกับเรื่องเกษตรอินทรีย์ เรื่องสิ่งแวดล้อม หรืออาหารปลอดภัย แต่ในการ คัดสรรพนักงานเข้าร่วมงานนั้น ดรุณีกล่าวว่า บริษัทไม่ได้ใช้เรื่องเหล่านี้เป็นประเด็นในการคัดเลือกพนักงาน เนื่องจากใน การเปิดรับสมัครพนักงานแต่ละต�ำแหน่ง บริษทั ไม่ได้มตี วั เลือกมากนัก จึงมักพิจารณาแค่วา่ ผูส้ มัครมีความรูค้ วามสามารถ ตรงกับต�ำแหน่งที่สมัครหรือไม่ อย่างไรก็ดี ในจ�ำนวนผู้สมัครไม่กี่คนนั้นฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ก็มักจะเจอคนที่มีความเหมาะสม เพราะผู้สมัครส่วนใหญ่มักจะเข้าไปดูข้อมูลของบริษัทในเว็บไซต์ ท�ำให้พอทราบว่าฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ มีปณิธานอย่างไร และ รู้สึกว่าบริษัทมีความน่าสนใจ จึงส่งใบสมัครเข้ามาให้พิจารณา แต่ก็มีพนักงานบางส่วนที่มาร่วมงานกับฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ เพราะคิดถึงเรื่องสุขภาพ โดยเฉพาะในส่วนของพนักงานใน ฟาร์ม ซึ่งเคยได้รับผลกระทบจากสารเคมี “เพราะค�ำนึงถึงว่าบริษัทนี้ท�ำเกี่ยวกับออร์แกนิก คือสวนองุ่น (งานเดิม) จะมีเคมีเยอะ อยู่ไม่ไหว ก็เลยเอาตัวเองออก มา (หัวเราะ) เพราะแม้ว่างานที่ท�ำจะอยู่ข้างในตึก ไม่ได้รับโดยตรงแต่สารเคมีก็ปลิว ถ้ามีการฉีดยาองุ่นบางทีป่วย 7 วัน เลยนะ มันแรงมาก” วันวิสาข์ หัวหน้าแผนกเอนไซม์ เล่าถึงที่มาของการมาสมัครงานที่ฟาร์มฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ เช่นเดียวกับน�้ำฝน บริบูรณ์ หัวหน้าแผนก อายุงาน 11 ปี กันยา จงจอหอ หัวหน้าแผนกแยม อายุงาน 4 ปี และ โสภนภรณ์ ถือสูงเนิน ผูจ้ ดั การทัว่ ไปของฟาร์มฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ทีบ่ อกว่ามาสมัครงานเพราะทีน่ เี่ ป็นฟาร์มออร์แกนิก นอกจาก เหตุผลว่าอยู่ใกล้บ้าน ส่วนมงคล เชฟและผู้จัดการร้านอาหารซัสเทน่าก็เล่าถึงสาเหตุที่มาท�ำงานที่นี่ว่า “เพราะแม่ป่วย ก็เลยรู้ว่าการใช้ สารเคมี ผงชูรส หรือว่าสารปรุงแต่ง สร้างผลกระทบต่อร่างกายของเรา โดยมันจะท�ำลายทีละนิดๆ ไปเรื่อยๆ ก็เลยคิดว่า

Ha r mo ny Li fe

19


20

ท�ำไมเราไม่หันมาท�ำอาหารที่มันดีต่อสุขภาพจริงๆ โดยไม่ใช้ผงชูรส ไม่ใช้สารปรุงแต่ง เพราะว่าอย่างไรเราก็เป็นเชฟอยู่ แล้ว ท�ำไมเราไม่ท�ำให้แตกต่างจากคนอื่นที่เขาท�ำมา” นอกจากนี้การมีผู้บริหารเป็นชาวญี่ปุ่นก็ดึงดูดพนักงานบางคนให้เข้ามาสมัครงานกับฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ เหมือนกัน “อย่างผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การแผนกสโตร์ เขาก็เลือกเข้ามาท�ำงานกับเราเพราะเจ้านายเป็นคนญีป่ นุ่ คือก็มบี างคนทีช่ อบความ เป็นระเบียบ ความเข้มงวด ความตรงไปตรงมา หรือการพิจารณาโดยดูผลงาน คนพวกนี้จะมองว่าบริษัทญี่ปุ่นตอบสนอง นิสัยเขาได้ในส่วนนี้ แต่ถ้าเป็นคนเหลาะแหละจะไม่เลือก” ดรุณีให้ข้อมูลเพิ่มเติม ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ไม่มีการปฐมนิเทศพนักงานใหม่อย่างเป็นทางการ แต่มีการจัดท�ำคู่มือเกี่ยวกับกฎระเบียบของบริษัท โดยเนือ้ หาจะเป็นเรือ่ งเกีย่ วกับสิทธิ สวัสดิการต่างๆ ซึง่ ดรุณบี อกว่าคล้ายๆ กับกฎหมายทัว่ ไป จึงคาดว่าน่าจะไม่คอ่ ยมีคน อ่าน ดังนั้นเมื่อพนักงานใหม่เข้ามาเริ่มงาน หัวหน้าหรือผู้เกี่ยวข้องจะอธิบายข้อก�ำหนดต่างๆ ในการท�ำงานให้ทราบด้วย วาจา รวมทั้งมีการสอนงานให้ในช่วงทดลองงาน

สื่อสารเจตนารมณ์ของบริษัทผ่านการประชุม นอกจากจะสื่อสารกันผ่านโทรศัพท์ อีเมล และไลน์แล้ว การสื่อสารส�ำคัญภายในฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ คือการประชุมประจ�ำ เดือน ซึ่งโอกะจะร่วมประชุมกับพนักงานแต่ละแห่งเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามหรือช่วยวางแผนการท�ำงาน รับฟังปัญหา ที่เกิดขึ้น รวมถึงยังเป็นช่วงเวลาที่จะได้สังเกตว่าพนักงานมีความสุขกับการท�ำงานหรือไม่ เพราะบางคนอาจจะไม่กล้าพูด นอกจากนี้ยังเป็นช่วงเวลาที่โอกะจะบอก สอน ตอกย�้ำถึงเจตนารมณ์ หรือปณิธานในการท�ำธุรกิจของบริษัทว่า ให้ความ ส�ำคัญกับเรื่องเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทุกคนมีเป้าหมายและเข้าใจเป้าหมายเดียวกัน “เป็นบริษัทที่ประชุมบ่อยที่สุด ประชุมทุกเดือน แล้วถ้ามีเคสหนักๆ ก็จะเรียกประชุมทันที ฉะนั้นปีหนึ่งจะประชุม มากกว่า 12 ครั้ง เวลาประชุมคุณโอกะก็จะสอนเรื่องต่างๆ ด้วย เหมือนพ่อคุยกับลูก หรือหากเราท�ำอะไรผิด ท่านก็ไม่เคย ว่า แต่จะพยายามสือ่ สารว่ามันเกิดอะไรขึน้ แล้วเราสามารถแก้ไขปัญหาทีต่ น้ เหตุได้ไหม ท�ำให้ฝนมองว่าการพูดคุยสือ่ สาร เป็นสิ่งส�ำคัญในการท�ำงาน และท�ำให้เราเข้าใจกันและกันมากขึ้น” ฝน ค�ำเสียง ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาด อายุงาน 1 ปี ครึ่ง เล่าถึงการประชุมที่ส�ำนักงานใหญ่ “คุณโอกะก็จะพูดเรื่องสังคม เรื่อง UN4 เรื่องโลกร้อนด้วย แล้วมันก็เป็น logic มันเป็นสิ่งที่เห็นกับตา” ธนสาร ผู้ช่วย ผู้จัดการฝ่ายสโตร์ อายุงาน 4 ปี เล่าถึงประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งโอกะจะพูดกับพนักงานอยู่เสมอ ส่วนการประชุมพนักงานทีร่ า้ นซัสเทน่าจะเน้นหนักในเรือ่ งการบริการลูกค้า ทัง้ การดูแลและการต้อนรับลูกค้า การจัด หน้าร้าน การปิดร้าน การแต่งตัว และอัธยาศัยในการให้บริการ “สินค้าหายไหม ขาดไหม จัดร้านยังไง วางสินค้ายังไง เรียบร้อยไหม ท่านก็มาสอนให้ปรับเปลีย่ น ปรับปรุงพฤติกรรม ใหม่ ท่านสอนดีค่ะ สอนให้เราเติบโต” พัชริน กลมเกลียว Chief แผนกบริการร้านอาหารซัสเทน่า อายุงาน 7 ปีเล่า ขณะที่การประชุมที่ฟาร์มจะเน้นหนักไปที่การวางแผนการผลิต และองค์ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ “จะประชุมเกี่ยวกับการท�ำงานว่าท�ำยังไงให้งานออกมามีคุณภาพที่ดี หรือเราต้องปรับแผนการปลูกยังไง เพราะการ ท�ำเกษตรไม่มีอะไรตายตัว” โสภนภรณ์ ผู้จัดการทั่วไปฟาร์มฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ กล่าว อย่างไรก็ดี หากมีเรื่องเร่งด่วนที่ต้องการสื่อสารกับพนักงานโดยตรง โอกะอาจจะเรียกประชุมทันทีโดยไม่รอประชุม ประจ�ำเดือน เพราะปกติโอกะจะเวียนไปดูการท�ำงานของทีต่ า่ งๆ ทุกๆ สัปดาห์อยูแ่ ล้ว การประชุมฉุกเฉินทีร่ า้ นหรือทีฟ่ าร์ม นี้ โอกะจะสื่อสารกับพนักงานเป็นภาษาไทย แม้ว่าบางครั้งอาจจะไม่ถูกหลักไวยากรณ์นัก แต่พนักงานส่วนใหญ่ก็เข้าใจ เพราะท�ำงานด้วยกันมานาน หรือบางครั้งก็ใช้ภาษาอังกฤษหากภาษาไทยเข้าใจยาก ต่างจากการประชุมประจ�ำเดือน ซึ่ง ดรุณีจะท�ำหน้าที่เป็นล่าม 4

United Nations องค์การสหประชาติ


“คือนาย (โอกะ) อยู่เมืองไทยมา 20 กว่าปีแล้ว ค่อนข้างเข้าใจภาษาไทย ดังนั้นหากเราพูดอะไรออกไปแล้วไม่ใช่ ท่านก็จะบอกเลยว่าไม่ใช่ แต่บางทีภาษาไทยของท่านก็จะเพี้ยนๆ บ้าง แต่เนื่องจากท�ำงานกับท่านมานาน พวกเราก็เข้าใจ ความรู้สึกของท่าน บางทีเห็นสายตาก็เข้าใจแล้วว่าท่านประธานต้องการอะไร หรือสั่งให้เราท�ำงานแบบไหน” โสภนภรณ์ ผู้จัดการทั่วไปฟาร์มฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ เล่าด้วยเสียงหัวเราะ นอกจากการประชุมกับประธาน ซึง่ ทุกคนในองค์กรต้องเข้าร่วมแล้ว แต่ละทีห่ รือแต่ละแผนกก็ยงั มีการประชุมกันเอง อย่างที่ร้านซัสเทน่า พนักงานจะมีการประชุมกันเดือนละ 2 ครั้ง เพื่อดูการท�ำงานโดยภาพรวมภายในร้าน เช่น การบริการ ปัญหาที่ลูกค้าประสบ ยอดขาย ส�ำหรับฟาร์มจะมีการประชุมพนักงานทัง้ หมดทุกวันเสาร์ ซึง่ นอกจากพูดคุยกันเรือ่ งงานแล้ว บางครัง้ จะมีการเล่นเกม หากผู้จัดการฟาร์มเห็นว่าพนักงานเริ่มมีความขัดแย้งกัน หรือมีความเครียด เกมที่เล่นส่วนใหญ่จะเป็นเกมกระซิบรักบอก ความในใจ เช่น ให้พนักงานกระซิบข้อความต่างๆ ต่อกันทีละคน เช่น วันนี้มีออร์เดอร์ลูกประคบ 500 ลูก เป็นตัวนั้นตัวนี้ หรือบางทีก็เป็นชื่อนก 10 ชนิด หรือเป็นสูตรในการผลิตสินค้าตัวใดตัวหนึ่ง นอกจากเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกันแล้ว การ เล่นเกมยังเป็นการฝึกทักษะการรับออร์เดอร์ การฟัง หรือเป็นการทบทวนขั้นตอนการท�ำงาน ส่วนการสือ่ สารจากพนักงานไปถึงโอกะนัน้ ดรุณบี อกว่าส่วนใหญ่พนักงานจะแจ้งผ่านผูจ้ ดั การ แล้วผูจ้ ดั การจะมาบอก โอกะ แต่หากพนักงานคุยกับผู้จัดการไม่ได้ก็สามารถมาบอกเธอได้โดยตรง แล้วเธอจะแจ้งให้โอกะทราบ “เช่น หากคนขับรถต้องการอุปกรณ์อะไรเพิ่ม เขาจะแจ้งมา เราก็ดูแลกัน คือส่งเรื่องขึ้นข้างบน ข้างบนก็จะสนับสนุน จัดซือ้ จัดจ้างให้ หรือหากเกิดปัญหาในกลุม่ ถ้าคุยกันเองไม่ได้กจ็ ะส่งขึน้ ไปข้างบนด้วย” สัญญา ผูจ้ ดั การฝ่ายสโตร์ ส่งออก และโลจิสติกส์ ยกตัวอย่างการสื่อสารแบบล่างขึ้นบนภายในบริษัท นอกจากนี้บางครั้งโอกะก็ให้ดรุณีส�ำรวจความคิดเห็นของพนักงาน เพื่อสอบถามสารทุกข์สุกดิบ “ก็มแี อบๆ ท�ำอยูบ่ า้ ง เช่น มีใบให้เขียนว่าหัวหน้างานของคุณเป็นยังไง เพราะบางทีทา่ นได้ยนิ มาว่าหัวหน้ากดขีข่ ม่ เหง พนักงานมาก แต่สุดท้ายก็เคลียร์กันได้ ไม่มีอะไรรุนแรงมาก” ดรุณียกตัวอย่าง

ทั้งพัฒนาพนักงานเองและส่งไปอบรมข้างนอก ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาพนักงานอย่างยิง่ โดยในส่วนของการพัฒนาพนักงานภายในนัน้ นอกจาก การจัดอบรมโดยโอกะ และการสอนงานในลักษณะ on-the-job training โดยหัวหน้าแผนกแล้ว ยังมีการส่งพนักงานไป เรียนรู้งานข้ามแผนก เพื่อให้เข้าใจที่มาของสินค้าและเข้าใจการท�ำงานของแผนกอื่นด้วย “หลักๆ ผมจะสอนงานด้านบัญชี ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียด เช่น ถ้ามีแผนกอื่นมาเคลียร์บัญชี เราต้องดูว่าเขา ท�ำเอกสารมาถูกต้องไหม นอกจากนี้ยังสอนเรื่องการท�ำงานร่วมกับคนอื่น โดยจะเริ่มตั้งแต่การติดต่อ การพูดจา และให้ น้องๆ รวมถึงตัวผมเองเข้าไปคลุกคลีกับแผนกอื่นว่าเขาท�ำอะไรกัน สินค้าตัวนี้เรียกว่าอะไร ซึ่งเป็นข้อมูลที่พนักงานบัญชี ต้องรู้ เพราะว่าเขาจะต้องท�ำเรื่องต้นทุนและต้องรู้สต็อก” กมล จิรวงศาโรจน์ ผู้จัดการฝ่ายบัญชี อายุงาน 15 ปี เล่าราย ละเอียดการสอนงานพนักงานใหม่ “เขาก็จะให้เราไปดูวา่ ผักแต่ละตัวนีป่ ลูกยากล�ำบากขนาดไหนกว่าจะได้มา และได้เห็นว่าคนทีน่ นู่ (คนท�ำงานในฟาร์ม) ท�ำงานล�ำบากกว่าเราทีอ่ ยูใ่ นห้องแอร์ขนาดไหน เหมือนเขาจะสอนให้เราเห็นคุณค่าของผักทีร่ บั มาจากฟาร์ม ซึง่ เราต้องมา ตัดแต่ง และส่งผักที่ตัดทิ้งกลับไปท�ำปุ๋ยที่ฟาร์มอีกทีหนึ่ง” เกศรินทร์ ป้อมด�ำ หัวหน้าแผนกแพ็กกิง อายุงาน 10 ปี เล่าถึง สิ่งที่ได้สัมผัสจากการไปเรียนรู้งานที่ฟาร์ม “ของบางอย่างเราสั่งไปเดือนหนึ่งแล้วยังไม่ได้ เราก็ไปดู อย่างสบู่นี่ ที่อื่นใช้วิธีเคมีใช่ไหม มันก็เร็ว แต่สบู่ที่นี่ท�ำแบบ กรีกเลย รอให้มันแห้งเอง เซ็ตตัวเอง ประมาณเดือนครึ่งถึงจะได้สบู่ พอไปเห็นเราก็เข้าใจคนผลิต” ธนสาร ผู้ช่วยผู้จัดการ แผนกสโตร์ อายุงาน 4 ปีเล่า

Ha r mo ny Li fe

21


22

“ก็ไปดูเขาเก็บผักแล้วก็ดูพวกสมุนไพรที่เขาท�ำค่ะ คือเรารับของจากตรงนั้นมาท�ำเบเกอรี เราจะได้รู้ว่าเขาท�ำงานกัน ยังไง หรือของมาจากไหน” กรรณิการ์ อินทร์สุ่ม Chief แผนกเบเกอรี เล่าประสบการณ์ที่ได้ไปเห็นแหล่งผลิตของวัตถุดิบ ส�ำหรับการอบรมพนักงานของโอกะนัน้ มีทงั้ การจัดคอร์สอบรมโดยเฉพาะ และการอบรมในช่วงประชุมพนักงานประจ�ำ เดือน โดยสิ่งที่โอกะเน้นเป็นพิเศษคือ การท�ำให้พนักงานเข้าใจในเจตนารมณ์ของบริษัท เพื่อให้ทุกคนเข้าใจเป้าหมายและ วัตถุประสงค์ในการท�ำธุรกิจของบริษัท ที่ค�ำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภคและไม่ท�ำลายสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังพยายาม ปลูกฝังทัศนคติคิดบวก สอนให้พนักงานตั้งเป้าหมาย ซึ่งเป็นจุดเด่นของการท�ำงานแบบญี่ปุ่น ที่โอกะพยายามน�ำมาปลูก ฝังให้พนักงาน และหัวข้อส�ำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คือเรื่องเกษตรอินทรีย์ “คุณโอกะจะเน้นตลอดว่า ไม่ว่าบริษัทจะท�ำอะไรต้องคิดถึงสิ่งแวดล้อม หรือการคิดสินค้าใหม่สักตัวก็ต้องดีต่อผู้ บริโภคจริงๆ และทุกครั้งเวลาอบรม คุณโอกะจะสอนให้พนักงานตั้งเป้าหมายทั้งของตัวเองและบริษัท รวมถึงทุกสิ้นปีก็ จะให้พนักงานทุกคนเขียนว่าที่ผ่านมาใน 1 ปี คุณบรรลุเป้าหมายอะไรบ้าง และปีหน้าคุณมีเป้าหมายอะไร” ดรุณีเสริม “เวลาคุณโอกะอบรมจะเหมือนพ่อแม่อบรมลูกว่าเราต้องคิดอะไร ต้องท�ำอะไร อยูใ่ นสังคมต้องท�ำตัวยังไง รวมถึงต้อง มีทัศนคติที่ดี ต้องคิดบวก อยู่ที่นี่มา 15 ปี เขาจะพูดเรื่องนี้ตลอด ไม่เคยเน้นว่าปีนี้เดือนนี้ต้องได้ยอดขายเท่าไร หรือต้องมี ก�ำไรเท่านั้น เขาไม่เคยเน้นตรงนี้” สัญญา ผู้จัดการแผนกสโตร์ ส่งออก และโลจิสติกส์เล่าถึงสิ่งที่โอกะเน้นย�้ำ ส�ำหรับการอบรมพนักงานในฟาร์มจะเน้นเรื่องเกษตรอินทรีย์เป็นพิเศษ แม้จะเป็นพนักงานเก่าก็ต้องเข้าอบรมปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย เพื่อไม่ให้ลืม แต่ถ้าเป็นระดับผู้จัดการ หัวหน้าแผนก ปีหนึ่งอาจจะต้องเข้าอบรมหลายคอร์ส กมลวรรณ หัวหน้าแปลงผลิต อายุงาน 2 ปีเล่าว่า ได้เข้าอบรมคอร์สเกษตรอินทรีย์กับโอกะแล้ว 1 คอร์ส ต่อจากนั้น ก็จะเป็นการเข้าอบรมด้วยเมื่อมีนักศึกษาปริญญาโทมาใช้ฟาร์มฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ เป็นกรณีศึกษา เช่นเดียวกับพนักงานในร้านซัสเทน่าก็จะเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมเช่นกัน “เจ้านายจะสอนเรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก เน้นว่าถ้าเราใช้น�้ำยาล้างจานที่มีสารเคมีมันจะไหลลง ทะเล แล้วท�ำให้น�้ำเสีย ปลาตาย เขาก็จะสอนวิธีต่างๆ ในการรักษาสิ่งแวดล้อมก่อน แล้วจะให้ไปดูการปลูกผักที่ฟาร์มด้วย ว่าเป็นแบบไหน” พัชริน Chief ฝ่ายบริการร้านอาหารซัสเทน่า


ส่วนการจัดคอร์สอบรมอย่างเป็นทางการนัน้ จะจัดให้กบั หัวหน้าแผนกหรือผูจ้ ดั การทัง้ หมดทีก่ รุงเทพฯ ปีละ 2-3 ครัง้ และบางครั้งจะพาไปอบรมนอกสถานที่ โดยอาจจะจัดเป็นคอร์ส 3 วัน “ในการอบรมระดับ leader นอกสถานที่ คุณโอกะจะมีการอบรมปลูกฝังแนวความคิดในการด�ำรงชีวติ ว่าต้องไม่ทำ� ลาย สิ่งแวดล้อม ไม่เอาเปรียบกัน ไม่คิดลบ โดยจะมีกิจกรรมให้ท�ำ ที่ผ่านมาก็จะมีไปท�ำที่กระบี่ หัวหิน ระยอง ตามสถานที่ ท่องเที่ยว คือไปพักผ่อนหย่อนใจแล้วก็มีอบรมด้วย ถือว่าเป็นทริปอีกทริปหนึ่ง” สัญญา ผู้จัดการแผนกสโตร์ ส่งออก โลจิสติกส์ เล่ารายละเอียดการอบรมนอกสถานที่ ส่วนการส่งพนักงานไปอบรมข้างนอก ซึ่งในแต่ละปีจะมีการจัดเตรียมงบประมาณไว้ให้นั้น ก็จะเลือกคอร์สที่ตรงกับ สายงานที่ท�ำอยู่ โดยดรุณีจะเป็นคนคอยช่วยพิจารณาว่ามีคอร์สอะไรที่น่าสนใจ และแต่ละแผนกสามารถเสนอมาได้เองว่า ต้องไปอบรมอะไร “ของผมจะไปอบรมหลากหลาย ทัง้ เรือ่ งการส่งออก สโตร์ สินค้าคงคลัง ระบบต่างๆ ทีเ่ ราท�ำอยู่ ทัง้ ระบบออร์แกนิก และระบบ GMP & HACCP บริษัทจะส่งเราไปเพิ่มพูนความรู้ แล้วเราก็เอามาพัฒนาองค์กรของเรา” สัญญา ผู้จัดการแผนก สโตร์ ส่งออก โลจิสติกส์ และดูแลระบบ GMP & HACCP ส�ำหรับในส่วนของร้านซัสเทน่าก็จะเป็นการอบรมเรื่องงานบริการและอาหาร ขณะที่โรงงานและฟาร์มจะเป็นเรื่อง มาตรฐานต่างๆ และเรื่องระบบการผลิต “เวลาส่งไปเรียนอะไร ท่านก็จะให้น�ำกลับมาใช้ประโยชน์ เอามาถ่ายทอดต่อให้น้อง อย่างครั้งหลังสุดท่านให้เรากลับ มาลองท�ำโครงการกันว่า เช่น สมมติให้พี่น�้ำฝน (น�้ำฝน บริบูรณ์ หัวหน้าแผนก อายุงาน 11 ปี) เป็นผู้จัดการโรงงาน แล้ว วางแผนการผลิตชาตัวหนึง่ เพือ่ ส่งให้ลกู ค้า เพือ่ ทดลองดูวา่ คุณจะมีการวางแผนยังไง เพือ่ ให้ผลงานออกมาดีและลดต้นทุน ในการผลิตได้มากที่สุด เพราะบางทีเวลาท�ำงาน เราอาจจะไม่ได้ระวังในเรื่องการใช้วัตถุดิบมากนัก เพราะท่านประธาน เป็นคนออกตังค์ คราวนี้เลยลองให้เล่นบทบาทสมมติดู” โสภนภรณ์ ผู้จัดการทั่วไปฟาร์มมฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ เล่าถึงการบ้าน ที่ต้องท�ำหลังจากไปอบรม

ปณิธานของบริษัทส่งผลถึงชีวิตประจ�ำวันของพนักงาน นอกจากจะท�ำให้พนักงานเข้าใจเป้าหมายของบริษทั สามารถสือ่ สารกับลูกค้าได้ถกู ต้อง และกลายเป็นสิง่ ทีย่ ดึ ถือในการ ท�ำงานแล้ว สิ่งที่โอกะเน้นย�้ำในการอบรมพนักงานโดยเฉพาะในเรื่องของเกษตรอินทรีย์ หรืออาหารปลอดภัย ยังส่งผลต่อ การใช้ชวี ติ ของพนักงานด้วย คือนอกจากจะน�ำสิง่ ทีไ่ ด้เรียนรู้ไปใช้ในชีวติ ประจ�ำวันแล้ว ยังน�ำไปบอกต่อกับคนทีอ่ ยูร่ อบตัว “(หน้าที่) ของผมคือการควบคุมผลิตภัณฑ์ทุกอย่างให้มีคุณภาพดี ให้ลูกค้าพึงพอใจทุกครั้งที่ซื้อไป เพื่อเขาจะได้ ยอมรับในสินค้าออร์แกนิกว่ามันดี ไม่ทำ� ให้เขารูส้ กึ ว่าสินค้าออร์แกนิกมันไม่ได้เรือ่ ง งัน้ ฉันกลับไปใช้ของไม่ออร์แกนิกดีกว่า เพราะถ้าคนหันมาใช้ของออร์แกนิกเยอะๆ เราก็ช่วยลดการท�ำร้ายธรรมชาติ และผู้ผลิตผลิตของไม่ออร์แกนิกก็จะมีน้อย ลง เพราะดีมานด์กับซัพพลายมันไม่สอดคล้องกัน ส่วนผู้ผลิตสินค้าออร์แกนิกจะมากขึ้น” ธนสาร ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสโตร์ เล่าถึงสิ่งที่เขายึดถือในการท�ำงาน อันเป็นผลมาจากการเน้นย�้ำของโอกะ “ก็จะบอกแฟนอยู่เรื่อยๆ ว่าสุขภาพของเรามันไม่ใช่อยู่แค่วันนี้ อยู่อีกหลายวัน ซึ่งเขาก็จะไปดูตามแหล่งผักอินทรีย์ ผักปลอดสาร ซื้อมาเถอะ แพงหน่อย แต่ก็สุขภาพเรา หรือถ้าซื้อมาเป็นลักษณะของผักไม่ปลอดสารก็จะให้เขาล้างน�้ำยา ล้างผัก แล้วค่อยเอามาท�ำ” กมล ผูจ้ ดั การฝ่ายบัญชี อายุงาน 15 ปี เล่าถึงความใส่ใจในเรือ่ งอาหารการกินภายในครอบครัว “ปุ๊กกี้ก็ไม่ทานหวาน ทานของที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เป็นของจากธรรมชาติ” กรรณิการ์ Chief แผนกเบเกอรี ร้านอาหาร ซัสเทน่า เล่าถึงพฤติกรรมการรับประทานที่เปลี่ยนไป “เวลาไปซื้อของก็จะดูว่าสินค้าตัวนี้มีสารเคมี มีสารเจือปน มีผงชูรสไหม” พัชริน Chief แผนกบริการ ร้านอาหาร ซัสเทน่า เล่าถึงวิธีการเลือกซื้อสินค้าในชีวิตประจ�ำวัน

Ha r mo ny Li fe

23


24

“ท�ำงานที่นี่ช่วยเปิดโลกทัศน์ของเรา เพราะเราเรียนมาอีกแบบหนึ่ง (การท�ำเกษตรแบบใช้สารเคมี) ตอนแรกก็สงสัย ว่าจะท�ำได้หรือ พอได้ลองก็เออมันท�ำได้นะ ซึ่งในอนาคตเราอาจจะน�ำเอาประสบการณ์ตรงนี้ไปใช้ได้ หากจะท�ำเป็นธุรกิจ ของเราเอง” กมลวรรณ หัวหน้าแปลงผลิต ฟาร์มฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ เล่าถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้

ท่องเที่ยว กีฬาสี งานเลี้ยงปีใหม่ เพื่อสร้างสัมพันธ์ ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ให้ความส�ำคัญกับการท�ำกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์มาตั้งแต่เริ่มต้น แม้ว่าธุรกิจของบริษัทจะยัง ไม่คอ่ ยมัน่ คง เพราะโอกะคิดว่า หากพนักงานมีความสดชืน่ แข็งแรง มีขวัญและก�ำลังใจ พวกเขาจะท�ำงานได้เต็มที่ ปัจจุบนั กิจกรรมเหล่านี้จะประกอบไปด้วยการท่องเที่ยวประจ�ำปี กีฬาสี และงานเลี้ยงปีใหม่ โดยในส่วนของกิจกรรมท่องเที่ยวประจ�ำปีจะจัดให้ทั้งในส่วนของพนักงานประจ�ำและพนักงานรายวัน ซึ่งท�ำงานมา เกิน 1 ปี โดยแต่ละทริปจัดด้วยความใส่ใจ เริ่มจากการถามความเห็นพนักงานว่าอยากจะไปที่ไหน เมื่อได้ค�ำตอบแล้วก็จะ คัดสรรที่พักดีๆ เพื่อให้พนักงานประทับใจ “ปีนี้ (2561) คุณโอกะพาพนักงานออฟฟิศไปเชียงใหม่ ก็ให้ขนึ้ เครือ่ งการบินไทยไปเลย และนอกจากเทีย่ วแล้ว ปีนคี้ ณ ุ โอกะยังพาไปดูงานด้วย โดยพาไปโครงการหลวง ไปดูโรงปลูกผักกับเแพ็กกิง แล้วไปดูโรงงานน�ำ้ ผึง้ ของเชียงใหม่เฮลท์ตที้ ี่ มีวางขายทีร่ า้ นซัสเทน่า เพือ่ เป็นการเปิดโลกทัศน์ของพนักงาน และน่าจะท�ำแบบนีท้ กุ ปีคอื ไปเทีย่ วกับดูงานด้วย” ดรุณเี ล่า อย่างไรก็ดี พนักงานที่ร้านซัสเทน่าจะต้องสลับกันไปเที่ยว เพราะร้านเปิดให้บริการทุกวัน และหากใครไม่ได้ไปเที่ยว ก็จะได้วันหยุดพิเศษ 1 วัน เพื่อเป็นก�ำลังใจ ส่วนทริปส�ำหรับพนักงานรายวันที่ฟาร์มมักจะเป็นทริปใกล้ๆ ออกเดินทางเช้าวันเสาร์ ค้าง 1 คืน แล้วเดินทางกลับวัน อาทิตย์ เนื่องจากการดูแลพืชผักไม่สามารถทิ้งไปนานได้ ส�ำหรับงานเลี้ยงปีใหม่ แต่ละปีโอกะจะมีการก�ำหนด theme ของงาน แล้วให้พนักงานทุกคนในแต่ละแผนกจัดเตรียม การแสดงตาม theme มาประกวดกัน เพื่อชิงเงินรางวัล “มีอยู่ปีหนึ่ง คุณโอกะพาพนักงานไปเที่ยวพัทยา แล้วพาไปดูโชว์อัลคาซาซึ่งสวยงามอลังการมาก พอดูเสร็จคุณโอกะ ก็บอกว่าสิ้นปีให้ทุกคนท�ำโชว์แบบนี้ ทุกคนก็จัดกันเต็มที่ สวยแบบอลังการเลย คือคุณโอกะคิดว่า แม้จะเป็นพนักงานปลูก ผักก็ไม่ใช่ว่าต้องปลูกผักตลอด ทุกคนน่าจะลองท�ำอย่างอื่นด้วย ฉะนั้นก่อนวันจัดงาน 2-3 เดือนนี่ ทุกคนก็จะฝึกซ้อม ฝึก เต้น มีกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ เขาจะได้มีชีวิตที่มีความสุขมากกว่าที่จะท�ำงานอย่างเดียว” ดรุณีเล่า นอกจากนี้ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ยังมีการเลี้ยงข้าวพนักงานเป็นประจ�ำ ทั้งเลี้ยงภายในบริษัทในโอกาสพิเศษ และพาไปทาน ข้างนอก หากเห็นว่าพนักงานท�ำงานกันจนเหนื่อย เพื่อให้พนักงานได้ผ่อนคลาย หรือหากเป็นวันเกิดพนักงานก็มีการเป่า เค้ก ซึ่งโอกะจะจ�ำวันเกิดพนักงานได้ทุกคน

ขึ้นเงินเดือน เลื่อนต�ำแหน่ง จ่ายโบนัสตามผลงาน ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ มีการประเมินผลงานพนักงานปีละ 2 ครั้ง คือช่วงปลายปี ซึ่งเป็นการประเมินผลงานเพื่อให้โบนัส และ เดือนเมษายนเป็นการประเมินผลงานเพื่อปรับเงินเดือน และเลื่อนต�ำแหน่งในเดือนพฤษภาคม โดยในส่วนของพนักงาน ประจ�ำ การประเมินผลงานเพื่อปรับเงินเดือนและเลื่อนต�ำแหน่ง หัวหน้าแผนกและหัวหน้าฝ่ายจะเป็นคนประเมินความ สามารถของพนักงานตามแบบฟอร์มที่บริษัทจัดท�ำขึ้น ซึ่งมีทั้งหมด 10 ข้อ ข้อละ 10 คะแนน นอกจากจะดูเรื่องผลงาน ประสิทธิภาพการท�ำงาน ความคิดสร้างสรรค์ การตรงต่อเวลา และมนุษยสัมพันธ์แล้ว ในการประเมินยังดูพฤติกรรมอื่นๆ


ด้วย เช่น การทักทาย การให้ความเคารพต่อผู้อาวุโสและเพื่อนร่วมงาน หรือทัศนคติต่อบริษัทและประธานบริษัทด้วย (ดู รายละเอียดในภาคผนวก) “คุณโอกะจะอ่านใบประเมินพนักงานทุกคน แล้วก็เอามาวิเคราะห์ มีอะไรที่ต้องปรับปรุงในปีต่อไป แล้วก็เรียกมาคุย ทีละคน” ดรุณีเล่า ขณะทีก่ ารพิจารณาเรือ่ งโบนัส นอกจากหัวหน้าจะเป็นคนประเมินตามแบบประเมินแล้ว พนักงานแต่ละคนยังมีสว่ นใน การประเมิน ผ่านการท�ำข้อสอบ ซึ่งจะถามเรื่องเกี่ยวกับบริษัท “เช่น ชื่อบริษัทหมายความว่ายังไง ตั้งมากี่ปีแล้ว เพื่อดูว่าเราสังเกตอะไรบ้างไหมในการท�ำงานแต่ละวัน” ชมพูเนตร สารกุล ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกสโตร์ อายุงาน 4 ปี ยกตัวอย่างข้อสอบ ซึ่งจะมี ก. ข. ค. ง. ให้เลือกตอบ “บางทีก็ถามเกี่ยวกับสินค้าแต่ละตัว หรือมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเรารู้หมดแหละ แต่บางทีอ่านโจทย์ไม่ดี หรือ บางทีก็เห็นอยู่หลัดๆ แต่ตอบผิด คือแกท�ำทุกอย่างให้เราสนใจงานและสินค้าแต่ละตัว ที่นี่เขาจะให้เราคิด แต่พี่ชอบลืม” เกศรินทร์ ป้อมด�ำ หัวหน้าแผนกเแพ็กกิง อายุงาน 10 ปี เล่าด้วยเสียงหัวเราะ เพราะเคยจ�ำการสะกดมาตรฐานเกษตร อินทรีย์ JAS ไม่ได้เลยตอบผิด “เหมือนเขาจะกระตุ้นพนักงานให้พัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ และท�ำให้พนักงานรู้ว่าสิ่งที่บริษัทท�ำอยู่มันยากและแตกต่างนะ เช่น ถามถึงกรรมวิธกี ารผลิตบะหมี่ (ผักโมโรเฮยะ) ว่าใส่อะไรบ้าง ใช้วธิ กี ารอบหรือทอด” เกศรินทร์เล่าถึงตัวอย่างข้อสอบ เมือ่ ตรวจข้อสอบเสร็จ จะมีการประกาศผลคะแนนบนบอร์ดขนาดใหญ่ให้ทกุ คนทราบอย่างเปิดเผย และพนักงานทีจ่ ะ ได้โบนัสจะต้องได้คะแนนรวมเกิน 80% ซึ่งส่วนใหญ่พนักงานจะท�ำได้ เพราะตั้งใจท�ำงาน “หากใครได้คะแนนต�่ำกว่า 80 คุณโอกะก็จะคิดแล้วว่าจะท�ำยังไงกับคนคนนี้ ท�ำไมคะแนนน้อยจัง” ดรุณีกล่าว อย่างไรก็ดี ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ให้โบนัสกับพนักงานประจ�ำเท่านั้น ส่วนพนักงานรายวันที่ฟาร์มจะไม่มีโบนัส แต่จะให้เงิน พิเศษหรือซองแดง นอกจากการขึน้ เงินเดือนแล้ว ผลการประเมินเพือ่ ปรับฐานเงินเดือนประจ�ำปีของหัวหน้าหรือผูจ้ ดั การ ยังอาจจะมีผลต่อ การเลือ่ นต�ำแหน่งของพนักงานด้วย โดยหากหัวหน้าเห็นว่าเหมาะสมก็สามารถเสนอเลือ่ นต�ำแหน่งได้ หรือหากโอกะเห็นว่ามี ความเหมาะสมก็จะถามความเห็นของหัวหน้า การเลือ่ นต�ำแหน่งนอกจากจะได้เงินเดือนเพิม่ ขึน้ แล้ว ยังได้คา่ ต�ำแหน่งอีกด้วย “อย่างหมุยเข้ามาเสิร์ฟอยู่ 4 ปี แล้วก็ขยับขึ้นมาเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ เพราะเจ้านายเห็นว่าอยู่มานาน มีประสบการณ์ ดูเป็นผู้ใหญ่ น่าจะดูแลน้องๆ ได้” ยุวดี ผู้ช่วยผู้จัดการร้านซัสเทน่าเล่า ส่วนการลงโทษนั้น ส่วนใหญ่จะท�ำเมื่อพนักงานท�ำผิดกฎระเบียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด จะถูกลงโทษขั้นเด็ดขาดด้วยการไล่ออก นอกจากนี้จะมีการท�ำโทษเล็กๆ น้อยๆ ตามที่มีการตกลงกัน อย่างเช่นที่ฟาร์ม จะมีกฎเกณฑ์เฉพาะที่หัวหน้าแผนกช่วยกันคิดขึ้นเพื่อให้พนักงานอยู่ในระเบียบวินัย เช่น ในกรณีที่มาสาย ทิ้งขยะ ลาโดย ไม่ส่งใบลา จะถูกลงโทษด้วยการปรับเงิน เช่น หากทิ้งขยะจะต้องเสียค่าปรับชิ้นละ 100 บาท โดยจะมีรางวัลให้กับผู้แจ้ง เบาะแสด้วย ส่วนมาสายเกิน 5 นาทีจะถูกปรับ 10 บาท และเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งเงินค่าปรับเหล่านี้จะน�ำไปใช้ในการจัด งานเลี้ยงช่วงปีใหม่

การลาออก ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ไม่เคยมีการปลดพนักงานเพราะเศรษฐกิจไม่ดี หรือบริษัทขาดทุน “เพราะเราเศรษฐกิจไม่ดีตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว” ดรุณีเล่าด้วยเสียงหัวเราะ ส�ำหรับการเกษียณอายุของพนักงานจะอยูท่ ี่ 60 ปี ซึง่ ทีฟ่ าร์มก็มพี นักงานรายวันบางคนทีอ่ ายุเกิน 60 ปี แต่เมือ่ สุขภาพ ยังดี ร่างกายยังท�ำงานไหว โอกะก็ยังจ้างต่อ พนักงานออฟฟิศส่วนใหญ่จะท�ำงานอยู่กับฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ค่อนข้างนาน เช่นเดียวกับพนักงานที่ฟาร์ม ซึ่งในช่วงแรก อาจจะมีคนลาออกเยอะ แต่หลังจากคัดกรองมาพักใหญ่ พนักงานในฟาร์มชุดหลังๆ ส่วนใหญ่จะท�ำงานกับฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ นานหลายปี

Ha r mo ny Li fe

25


26

อย่างไรก็ดี ที่ร้านอาหารซัสเทน่า ทั้งในส่วนของอาหารและเบเกอรี ยังมีพนักงานลาออกค่อนข้างบ่อย “เพราะเขาไม่เข้าใจอาหารที่เราท�ำ ก็จะมีค�ำถามว่าท�ำไมไม่ใส่ตัวนั้นตัวนี้ ลูกค้าจะอร่อยหรือ ร้านจะไปได้ดีหรือ เพราะบางวันลูกค้าก็จะเงียบ” มงคล เชฟและผูจ้ ดั การร้านอาหารซัสเทน่า เล่าถึงสาเหตุทมี่ กั ท�ำให้พนักงานในส่วนนีล้ าออก “คือบางคนก็คิดว่าไม่ใช่แนวของเขานะ เพราะคนที่มาสมัครงานร้านอาหารญี่ปุ่น ส่วนใหญ่คิดว่าต้องมีซูชิ มีปลา แต่ของเราจะเป็นพวกผัก พวกอาหารต้มๆ ซึ่งตอนที่เขามาสมัครเราก็คุยแล้วว่ามันเป็นอาหารแนวนี้ แต่พอไปสัมผัสจริงๆ มันคงไม่ใช่แบบที่เขาอยากท�ำ 2-3 เดือนเขาก็ไป” ยุวดี ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกบริการร้านซัสเทน่าเสริม

ร่วมงานกันได้นาน เพราะอยู่แบบครอบครัว ส่วนสาเหตุทที่ ำ� ให้พนักงานท�ำงานกับฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ได้นาน โอกะคิดว่าน่าจะมาจากพนักงานมีความสุขในการท�ำงาน ได้รับค่าแรงที่เหมาะสม ขณะที่พนักงานเล่าถึงความโดดเด่นในการดูแลพนักงานของฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ซึ่งท�ำให้พวกเขาท�ำงานได้นานว่า “เขาให้อสิ ระในด้านความคิด ในการท�ำงาน ท�ำให้เราได้ใช้ความคิด ความสามารถของเราได้เต็มที่ เวลาครีเอทอะไร หรือสร้างโครงงานออกมาแล้วน�ำเสนอ คุณโอกะก็ช่วยดู ช่วยเสริม ที่นี่เหมือนบ้าน บ้านพังบ้านรั่วเราก็ซ่อมแซมบ�ำรุง แบ่ง กลุ่มกันทาสี เราอยู่ที่นี่เยอะกว่าอยู่กับคนในครอบครัวด้วยซ�้ำ” สัญญา ผู้จัดการแผนกสโตร์ ส่งออก โลจิสติกส์เล่า อีกเหตุผลหนึ่งที่ท�ำให้สัญญาท�ำงานอยู่กับฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ นานก็คือตัวของโอกะเอง “การที่เราจะเป็นผู้ตาม เราก็ต้องดูผู้น�ำด้วยว่าเขามีแนวคิดยังไง เขาเดินยังไง ด้วยอุดมการณ์ ความยึดมั่น (ในการ ท�ำเกษตรอินทรีย์และเพื่อสิ่งแวดล้อม) เขาเป็นคนที่มีความดีในตัว มีอะไรเขาก็จะอบรม เผยแพร่ แนะน�ำ สั่งสอน เขาหวัง ดีกับเรา เขาเจตนาดีกับเรา เราก็เลยอยูด่ ้วยกันมายืดยาว ไม่ใช่เรือ่ งผลประโยชน์ ถ้าทนอยู่เพือ่ เงินเดือนอยู่กันไม่ยดื หรอก ถ้าเขาไม่ดี เราก็คงไปแล้ว” “ที่นี่เขาให้สิทธิเราตัดสินใจเอง ให้ลงมือท�ำ คือที่อื่นถ้าเราจะท�ำอะไรเราต้องแจ้งเขาก่อนว่าเราท�ำได้ไหม” มงคล เชฟ และผู้จัดการร้านอาหารซัสเทน่าเล่า “ที่นี่อยู่กันเป็นครอบครัว ท่านประธานก็เป็นกันเอง สอนให้เราเข้าใจธรรมชาติ” น�้ำฝน หัวหน้าแผนกเล่า “ชอบการท�ำงานเป็นครอบครัว ท่านประธานจะรับฟังทุกปัญหาไม่ว่าระดับบน ระดับล่าง แล้วก็ร่วมแก้ไขปัญหากับ ลูกน้อง และสอนทุกอย่างที่แกเรียนรู้ให้เราได้เรียนรู้และน�ำไปเผยแพร่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพ การท�ำงานกับคนหมู่ มาก เรื่องการพูดการจาให้คนเข้าใจเรา พูดยังไงให้เขาอยากท�ำงานกับเรา พูดยังไงให้เขารู้สึกว่าท�ำงานกับเราแล้วมีความ สุข ชอบแกมากเวลาที่แกสอน เคารพแกด้วยค่ะ” กันยา หัวหน้าแผนกแยมเล่า

การบริหารทรัพยากรบุคคลกับการท�ำธุรกิจที่ยั่งยืน โอกะกล่าวว่า การท�ำธุรกิจอย่างยัง่ ยืนมีแง่มมุ ทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ การบริหารทรัพยากรบุคคลของฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ เพราะ ท�ำให้พนักงานเกิดความภูมใิ จทีง่ านของพวกเขาเป็นประโยชน์ตอ่ สิง่ แวดล้อม ช่วยโลก และมีประโยชน์ตอ่ สังคม โดยฟาร์ม อินทรีย์ของฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมาก เนื่องจากมีคนจากทั่วโลกมาดูงานที่นี่ “ผมจะบอกคนงานตลอดว่าสิ่งที่คุณท�ำทุกวันๆ นี่สุดยอดมากนะ มันเป็นการท�ำเพื่อสังคมด้วย และคนที่เขาอยาก เรียนรู้ เขาก็มาดูสิ่งที่คุณท�ำ บางคนมาจากต่างประเทศไกลมาก นั่งเครื่องบินมาดูว่าคุณท�ำอะไร ผมว่าพนักงานเองก็ภูมิใจ ด้วยที่สิ่งที่เขาท�ำมันมีคุณค่า มีประโยชน์แก่คนอื่น”


เช่นเดียวกับการผลิตอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ทั้งอาหารแปรรูปอย่างบะหมี่ผักโมโรเฮยะและอื่นๆ หรือร้านอาหาร ออร์แกนิกซัสเทน่า ก็ท�ำให้พนักงานรู้สึกภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองท�ำเช่นกัน “ผมว่าที่นี่มีความหมายส�ำหรับคนที่ท�ำ แต่ว่าคนที่เขาไม่รู้จักเขาอาจจะมองว่าท�ำไมไม่ท�ำอาหารเหมือนคนอื่น เขาไม่ เข้าใจว่าออร์แกนิกมันดียงั ไง มันรักษาทีด่ นิ แม่นำ�้ ล�ำคลองทีเ่ ป็นของส่วนรวม และเราสามารถพูดกับคนรอบข้างหรือคนรูจ้ กั ได้อย่างเต็มปากว่า เราท�ำอาหารนีม่ คี วามหมาย และการดูแลสุขภาพก็เหมือนยืมเงินอนาคตมาใช้ คือเราอาจจะต้องซือ้ แพง กว่าเพื่อน 20-30 บาท แต่ในอนาคตเราอาจจะไม่ต้องนอนเปลเหมือนคนอื่น ถ้าคนป่วยไปหาหมอ ผมคิดว่ายารักษาได้แค่ 30% ก�ำลังใจและอาหารที่มีพลังชีวิตที่เรากินเข้าไปมันจะช่วยเราได้เยอะ เราแค่ต้องกินอาหารที่ดีต่อร่างกาย” มงคล เชฟ และผู้จัดการร้านอาหารซัสเทน่าเล่า โอกะกล่าวอย่างมั่นใจว่า ธุรกิจเพื่อสุขภาพหรือดูแลสิ่งแวดล้อมจะยังคงอยู่ตลอดไป ไม่เสื่อมสลายไปไหน ฉะนั้นจึง ยังไม่สายหากธุรกิจที่มองหาแต่ผลก�ำไรโดยไม่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพของผู้บริโภคจะหันกลับมาท�ำสิ่งเหล่านี้ เพราะถ้ายังเน้นแต่ผลก�ำไร อย่างเดียวต่อไป สุดท้ายโลกก็จะอยูไ่ ม่ได้ เพราะวัตถุดบิ ทรัพยากร ไม่ได้มใี ห้ใช้อย่างเหลือเฟือ นอกจากนี้ภาครัฐก็ต้องช่วยกันส่งเสริมธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะขณะนี้โลกก�ำลังเผชิญกับวิกฤต สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง และการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ กว่า 50,000 ชนิด “โลกเข้าสู่ยุคที่ทุกคนต้องช่วยกันคิดแล้วว่าเราจะอยู่กันอย่างไรในอนาคต”

Ha r mo ny Li fe

27


28

ส�ำหรับภาพความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรบุคคลกับการท�ำธุรกิจ โดยค�ำนึงถึงความยั่งยืนหรือการสร้างคุณค่าด้าน สังคมของฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ สามารถจับประเด็นตามวงจรชีวิตพนักงานได้ดังนี้ การคัดเลือกพนักงาน (selection) • แบรนด์ขององค์กรในฐานะนายจ้าง (employer branding)

บริษทั ฮาร์โมนี ไลฟ์ อินเตอร์เนชัน่ แนล จ�ำกัด ถือว่าเป็นผูป้ ระกอบการทีท่ ำ� ธุรกิจด้านเกษตรอินทรียอ์ ย่างจริงจังรายแรกๆ ของประเทศไทย โดยครอบคลุมทั้งในแง่ของการผลิต การแปรรูป การจ�ำหน่าย และการส่งออก ส�ำหรับคนที่สนใจธุรกิจที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมและอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แบรนด์ของฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ถือว่าเป็นทางเลือกต้นๆ ที่ดึงดูดให้คนมาร่วมงานได้ โดย เฉพาะในส่วนงานทีฟ่ าร์มเกษตรอินทรียท์ จี่ ะมีชอื่ เสียงเป็นทีร่ กู้ นั ของเกษตรกรในย่านนัน้ ดังนัน้ เกษตรกรทีม่ องหาพืน้ ทีก่ ารท�ำงาน ที่ปลอดภัยจากสารเคมี และอยากมีสุขภาพที่ดีขึ้น เพราะกระบวนการเพาะปลูกแบบออร์แกนิก ก็จะพิจารณามาร่วมงานกับบริษัท • การก�ำหนดและสรรหาพนักงาน (targeting and recruitment)

บริษัทไม่ได้มองหาพนักงานที่มีความสนใจเรื่องเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากจ�ำนวนคนที่ส่ง ใบสมัครเข้ามาให้พิจารณาแต่ละต�ำแหน่งมีไม่มากพอที่จะคัดสรรคนที่มีความสนใจในเรื่องที่บริษัทให้ความส�ำคัญ และก็มีความรู้ ความสามารถที่เหมาะสมกับต�ำแหน่งที่รับสมัครในคนเดียวกัน ยกเว้นพนักงานรายวันที่ฟาร์ม ซึ่งบางส่วนมาท�ำงานที่ฟาร์ม ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ เพราะอยากท�ำเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากเคยได้รับผลกระทบจากการใช้ยาฆ่าแมลงในฟาร์มอื่นมาก่อน การบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ (career development) • การฝึกอบรม (training)

ฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ให้ความส�ำคัญกับการฝึกอบรมพนักงาน ทัง้ การจัดฝึกอบรมเองโดยประธานบริษทั และการส่งพนักงานไป อบรมข้างนอก โดยในส่วนของการอบรมภายในนัน้ จะให้ความส�ำคัญกับการท�ำให้พนักงานเข้าใจเป้าหมายในการท�ำธุรกิจของบริษทั ซึ่งมุ่งเน้นไปที่อาหารที่ดีกับสุขภาพ และผลิตภัณฑ์ที่ไม่ท�ำลายสิ่งแวดล้อม การคิดบวก และเรื่องเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์โดยตรง นอกจากนี้ประธานบริษัทยังมีการสื่อสารเรื่องความยั่งยืนอย่างสม�่ำเสมอ เช่น การเล่าถึงวิกฤตสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ความไม่ ยัง่ ยืนในระบบอุตสาหกรรมอาหาร รวมไปถึงการใช้ชวี ติ แบบออร์แกนิกทีด่ ตี อ่ ทัง้ ตัวพนักงานเอง ครอบครัว สังคม และสิง่ แวดล้อม ในขณะเดียวกันยังเผยแพร่ความรูเ้ รือ่ งความยัง่ ยืนให้กบั ซัพพลายเออร์ โดยแนะน�ำการลดผลกระทบด้านสิง่ แวดล้อมในด้าน ต่างๆ และการตัง้ เกณฑ์ทชี่ ว่ ยให้ซพั พลายเออร์สามารถปลูกพืชผักตามวิถเี กษตรอินทรีย์ได้ เช่น การไม่กำ� หนดขนาดของผักทีร่ บั ซือ้ นอกจากนี้บริษัทยังเปิดอบรม และเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้าไปเรียนรู้วิธีการท�ำเกษตรอินทรีย์ที่ฟาร์มเสมอ ท�ำให้ พนักงานเห็นคุณค่าและรู้สึกภาคภูมิใจในงานที่ท�ำ • การสนับสนุนพนักงาน (employee support)

นอกจากสวัสดิการด้านประกันกลุ่มและประกันสุขภาพ บริษัทยังมีการจัดสรรสวัสดิการที่ท�ำให้พนักงานได้ออกก�ำลังและ คลายเครียดจากการท�ำงาน เช่น การท�ำห้องออกก�ำลังกายและจ้างครูมาสอนวิธีการออกก�ำลังกายในรูปแบบต่างๆ ที่พนักงานเป็น คนเลือก • กฎข้อบังคับและระเบียบวินัย (compliance and discipline)

บริษัทมีข้อบังคับและบทลงโทษบางเรื่องในด้านสิ่งแวดล้อม เช่น หากทิ้งขยะจะต้องเสียค่าปรับชิ้นละ 100 บาท โดยจะมี รางวัลให้กับผู้แจ้งเบาะแสด้วย ซึ่งเงินค่าปรับเหล่านี้จะน�ำไปใช้ในการจัดงานเลี้ยงช่วงปีใหม่ การบริหารการปฏิบัติงานและการวางแผนก�ำลังคน (performance management and workforce planning)

การประเมินผลการปฏิบัติงาน (performance appraisal) จะท�ำปีละ 2 ครั้ง คือในเดือนธันวาคมเพื่อพิจารณาโบนัส และ ในเดือนเมษายนเพื่อพิจารณาขึ้นเงินเดือนและเลื่อนต�ำแหน่ง ในแบบประเมินนอกจากจะดูเรื่องคุณภาพ ผลงาน ความรับผิดชอบ ต่อหน้าที่ และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท�ำงานแล้ว ข้อสอบบางข้อจะเชื่อมโยงถึงปณิธานของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน เช่น มาตรฐานออร์แกนิกต่างๆ คุณสมบัติของสินค้าที่ดีต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ซึ่งคะแนนจากการท�ำข้อสอบเชื่อมโยง ไปถึงการให้โบนัสด้วย


ภาคผนวก

Harmony Life’s Timeline วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2542 (9.09.1999)

• บริษัท ฮาร์โมนี ไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด ก่อตั้งด้วยงบลงทุน 2,000,000 บาท และก่อตั้งฟาร์มและโรงงาน ด้วยเงินลงทุน 46,000,000 บาท บนพื้นที่ประมาณ 80,000 ตารางเมตร โดยเริ่มปลูกผักออร์แกนิกคือผักกาดหอม กะหล�่ำปลี ปวยเล้ง มะเขือเทศ และผักโมโรเฮยะ รวมถึงท�ำน�้ำยาท�ำความสะอาดสูตรธรรมชาติ • บะหมีผ่ กั โมโรเฮยะได้เริม่ จ�ำหน่ายในร้าน MK 120 สาขา และห้างสรรพสินค้าชัน้ น�ำ เช่น อิเซตัน จัสโก้ ฟูจซิ เู ปอร์มาร์เกต วิลล่ามาร์เกต คิดเป็นยอดการผลิต 80,000 จานต่อเดือน วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545

• เพิ่มงบลงทุนเป็น 25,000,000 บาท วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2546

• เพิ่มงบลงทุนเป็น 27,000,000 บาท • ร้าน MK ได้เพิ่มสาขาในการจ�ำหน่ายบะหมี่ผักโมโรเฮยะเป็น 180 สาขา และได้รับการตอบรับดีจากลูกค้าในซูเปอร์ มาร์เกตและห้างสรรพสินค้า ท�ำให้ยอดการผลิตเพิ่มเป็น 120,000 จานต่อเดือน เมษายน พ.ศ. 2547

• ได้รับการรับรองจากส�ำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย • ได้ท�ำสัญญากับฮ่องกง ซิตี ซูเปอร์ ในการส่งผักออร์แกนิกไปยังประเทศฮ่องกงโดยเครื่องบิน 1 ครั้งต่อสัปดาห์ รวม ถึงส่งออกบะหมี่ผักโมโรเฮยะและชาสมุนไพรออร์แกนิกด้วย พ.ศ. 2548

• ร้าน MK เพิ่มสาขาในการจ�ำหน่ายบะหมี่ผักโมโรเฮยะเป็น 200 สาขา และได้เริ่มวางจ�ำหน่ายใน Hotpot และ Coca Restaurant • เริ่มส่งออกน�้ำยาล้างจานสูตรธรรมชาติและน�้ำยาซักผ้าสูตรธรรมชาติไปประเทศญี่ปุ่นและฮ่องกง พ.ศ. 2549

• 13 มกราคม เพิ่มงบลงทุนเป็น 30,000,000 บาท • บะหมี่ผักโมโรเฮยะได้เริ่มจ�ำหน่ายใน Amway แห่งประเทศไทย และซูเปอร์มาร์เกตต่างๆ มากขึ้น ท�ำให้ยอดการผลิต เป็น 150,000 จานต่อเดือน • ฮาร์โมนี ไลฟ์ ออร์แกนิก ฟาร์มได้รับการยอมรับจากส�ำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ให้เป็นฟาร์มตัวอย่างแห่ง ประเทศไทย • เปิดอบรมการท�ำฟาร์มออร์แกนิกแก่ผู้สนใจ • เปิดให้ผู้สนใจทั้งในและต่างประเทศเข้ามาเยี่ยมเฉลี่ย 400 คนต่อปี

Ha r mo ny Li fe

29


30

พ.ศ. 2550

• เพิ่มงบลงทุนเป็น 35,000,000 บาท • เริ่มผลิตสบู่ก้อน สบู่เหลว น�้ำมันนวดตัว ลูกประคบสมุนไพรส�ำหรับแช่ในอ่างอาบน�้ำ และชาสมุนไพร ให้กับสปา Asia Herb Association ในลักษณะรับจ้างผลิต • เริ่มให้บริการเดลิเวอรี พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

• การก่อสร้างส�ำนักงานใหญ่ทซี่ อยอ่อนนุชเสร็จสิน้ ด้วยงบประมาณ 10,000,000 บาท เป็นอาคาร 3 ชัน้ มีพนื้ ทีท่ งั้ หมด 540 ตารางเมตร • ขยายพื้นที่ฟาร์มเป็น 120,000 ตารางเมตร เพื่อเพิ่มระบบการผลิตบะหมี่ผักโมโรเฮยะและผักออร์แกนิก พ.ศ. 2552

• เริ่มก่อสร้างตึกซัสเทน่าในซอยสุขุมวิท 39 โดยใช้งบประมาณ 35,000,000 บาท มีทั้งหมด 5 ชั้น พื้นที่ทั้งหมด 450 ตารางเมตร • ฮาร์โมนี ไลฟ์ ออร์แกนิก ฟาร์ม ได้รับการรับรองจาก IFOAM ของประเทศเยอรมนี • บะหมี่ผักโมโรเฮยะได้วางจ�ำหน่ายในสหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก ภายใต้แบรนด์ GreeNoodle • ส่งเสริมการใช้อีเอ็มส�ำหรับการบ�ำบัดน�้ำเสียในโรงงานโตโยต้าบ้านโพ และโรงงานเดนโซ่ พ.ศ. 2553

• เดือนพฤษภาคม ร้านซัสเทน่าออร์แกนิกชอปและร้านอาหารออร์แกนิกซัสเทน่าเริ่มเปิดให้บริการ เพื่อจ�ำหน่ายสินค้า ออร์แกนิก ผักออร์แกนิก และอาหารที่ใช้วัตถุดิบออร์แกนิก • เดือนมิถุนายน ส่งออกบะหมี่ผักโมโรเฮยะไปยังสิงค์โปร์ • เดือนกรกฎาคม ร้าน MK เพิ่มสาขาในการจ�ำหน่ายบะหมี่ผักโมโรเฮยะเป็น 300 สาขา และเริ่มจ�ำหน่ายที่ร้านอาหาร เอสแอนด์พี ท�ำให้ยอดขายบะหมี่ผักโมโรเฮยะเพิ่มขึ้นเป็น 300,000 ซองต่อเดือน • ส่วนในสหรัฐอเมริกา บะหมี่ผักโมโรเฮยะได้วางจ�ำหน่ายในห้าง Whole Foods Market • สมาชิกเดลิเวอรีเพิ่มขึ้นเป็น 900 คน • โรงงานฮาร์โมนี ไลฟ์ฯ ได้รับใบรับรองเครื่องหมายฮาลาล และเริ่มวางจ�ำหน่ายบะหมี่ผักในประเทศมุสลิม พ.ศ. 2554

• เริ่มส่งออกน�้ำหมักเอนไซม์ สบู่โอลีฟออยล์ แชมพูอโรมา สบู่เหลวอโรมา น�้ำยาท�ำความสะอาด ฯลฯ ให้แก่บริษัท Natural Organics Co., Ltd. ในประเทศญี่ปุ่น • ส่งออกบะหมี่ผักโมโรเฮยะไปยัง 4 ประเทศในแถบอาหรับ • ส่งออกน�้ำหมักเอนไซม์ บะหมี่ผักโมโรเฮยะ แชมพูอโรมา สบู่เหลวอโรมา ฯลฯ ให้แก่ Asian mades Co. ในไต้หวัน • ฮาร์โมนี ไลฟ์ ออร์แกนิก ฟาร์ม ได้รับใบรับรองออร์แกนิก USDA ของสหรัฐอเมริกา และใบรับรองออร์แกนิกของ ประเทศแคนาดา พ.ศ. 2555

• โช โอกะ เปิดการอบรมเกี่ยวกับการท�ำไร่ออร์แกนิกภายใต้นโยบายชื่อ “การสอดคล้องระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ” ที่โตเกียว โกเบ และฟูกูโอกะ ในประเทศญี่ปุ่น • น�้ำหมักเอนไซม์วางจ�ำหน่ายในจีนและฮ่องกง


พ.ศ. 2556

• ผ่านการทดสอบจาก Organic Certification Organization IFOAM และได้รับการอนุมัติให้เป็นตัวแทนของบริษัท ออร์แกนิกแห่งประเทศไทย เข้าร่วมแสดงสินค้าออร์แกนิกระดับโลกในงาน BioFach Nurnberg ประเทศเยอรมนี • รัฐบาลกัมพูชาส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร 8 คน มาเรียนรู้และฝึกท�ำเกษตรอินทรีย์ที่ฮาร์โมนี ไลฟ์ ออร์แกนิก ฟาร์ม เป็นเวลา 40 วัน พ.ศ. 2557

• ในเดือนมกราคม เข้าร่วมโครงการกับธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ในการช่วยสนับสนุนการท�ำเกษตรอินทรีย์ สอนและอบรมการท�ำเกษตรอินทรีย์กับสมาชิกของกลุ่ม ADB • เข้าร่วมจัดแสดงสินค้าระดับโลก สินค้าด้านเกษตรอินทรีย์ สินค้ารักษาสิง่ แวดล้อมของโลก Green Week International ที่เมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี • โช โอกะ เปิดตัวหนังสือ “Organic Farm สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นที่ไร่” ซึ่งจัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์ในเครือนานมีบุ๊คส์ • เดือนกุมภาพันธ์ เปิดโรงงานแห่งที่ 2 ของฮาร์โมนี ไลฟ์ ออร์แกนิก ฟาร์ม ส�ำหรับผลิตเครื่องดื่มน�้ำหมักเอนไซม์ พ.ศ. 2558

• เดือนมกราคม จัดคอนเสิร์ตการกุศลเพื่อขอบคุณสมาชิกและกลุ่มผู้ช่วยเหลือของบริษัทฯ ในโอกาสครบรอบ 16 ปี ของบริษัท และร่วมบริจาคเงินให้แก่บ้านเด็กก�ำพร้าต่างๆ • เดือนพฤษภาคม เริ่มจัดอบรมและสอนการท�ำเกษตรอินทรีย์กับกลุ่ม ADB ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ • เดือนกันยายน โรงงาน 1 และโรงงาน 2 ได้รับใบรับรอง GMP & HACCP • เริ่มส่งออกบะหมี่ผักเจโมโรเฮยะไปยังประเทศแถบยุโรป เช่น สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี ฝรั่งเศส • เริ่มผลิต Organic Moroheiya Brown Rice Pasta พ.ศ. 2559

• เปิดตัว “เครื่องดื่มน�้ำหมักเอนไซม์” สูตรใหม่ ผลิตจากวัตถุดิบจากไร่ฮาร์โมนี ไลฟ์ ออร์แกนิก ฟาร์ม • รัฐบาลประเทศกัมพูชาได้จัดส่งชาวกัมพูชามาฝึกและเรียนรู้การท�ำเกษตรอินทรีย์เป็นครั้งที่ 2 จ�ำนวน 8 ท่าน

Ha r mo ny Li fe

31


32


Ha r mo ny Li fe

33


34


Ha r mo ny Li fe

35


36

คุณสมบัติของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบาย และวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน ซึ่งใช้พิจารณาบริษัท ทีเ่ ข้าร่วมเป็ นกรณีศึกษา

1. มีคุณสมบัติตรงตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 (กองบริหารภาษีธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดเล็ก กรมสรรพากร, 2561) ดังตารางต่อไปนี้

ลักษณะวิสาหกิจ

จ�ำนวนการจ้างงาน (คน)

ขนาดย่อม

ขนาดกลาง

จ�ำนวนสินทรัพย์ถาวร (ล้านบาท)

กิจการผลิตสินค้า

ไม่เกิน 50 คน

51-200 คน

ขนาดย่อม ขนาดกลาง ไม่เกิน 50 ล้านบาท 51-200 ล้านบาท

กิจการค้าส่ง

ไม่เกิน 25 คน

26-50 คน

ไม่เกิน 50 ล้านบาท 51-100 ล้านบาท

กิจการค้าปลีก

ไม่เกิน 15 คน

16-30 คน

ไม่เกิน 50 ล้านบาท 31-60 ล้านบาท

กิจการให้บริการ

ไม่เกิน 50 คน

51-200 คน

ไม่เกิน 50 ล้านบาท 51-200 ล้านบาท

2. เป็นบริษัทที่จดทะเบียนมาไม่ต�่ำกว่า 3 ปี และจากการพิจารณางบการเงินย้อนหลัง 3 ปี (พ.ศ. 2558-2560) พบว่า มีสุขภาพการเงินที่ดี และมีทิศทางที่จะด�ำเนินกิจการในอนาคตได้อย่างต่อเนื่อง 3. มีกระบวนการด�ำเนินธุรกิจส่วนใดส่วนหนึ่งที่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือหลักไตรก�ำไรสุทธิ และผ่าน มาตรฐานความยัง่ ยืนทีเ่ กีย่ วข้อง หรือได้รบั รางวัลจากหน่วยงานต่างๆ ในด้านความยัง่ ยืน การสร้างผลลัพธ์ทางสังคม และ/หรือสิง่ แวดล้อม รวมถึงการเป็นธุรกิจเพือ่ สังคม หรือเป็นกรณีศกึ ษาด้านธุรกิจทีย่ งั่ ยืนหรือด้านความยัง่ ยืนมาก่อน (ไม่นับรวมกิจกรรมของบริษัทด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ corporate social responsibility: CSR) 4. ไม่มีข่าวหรือข้อมูลสาธารณะด้านลบจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือการกระท�ำที่ผิดกฎหมาย 5. ยินดีที่จะเปิดเผยข้อมูลที่จ�ำเป็น และยินดีเข้าร่วมเป็นกรณีศึกษา


37

บรรณานุกรม

Elkington, J. (1998). Cannibals with forks: The triple bottom line of 21st century business. Gabriola Island, BC: New Society Publishers. Savitz, A. W., & Weber, K. (2013). Talent, Transformation, and the Triple Bottom Line: How Companies Can Leverage Human Resources to Achieve Sustainable Growth. Jossey-Bass. The World Commission on Environment and Development. (1987). Our Common Future. New York: Oxford University Press. กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก กรมสรรพากร. (2561, พฤษภาคม 26). ลักษณะของ SMEs. Retrieved from กรมสรรพากร: https://www.rd.go.th/publish/ 38056.0.html วะสี, น. (2018). มุมมองสินเชื่อธุรกิจไทยจากข้อมูลรายสัญญาตอนที่ 1. สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วย อึ๊งภากรณ์.


เกี่ยวกับป่าสาละ ป่าสาละ บริษัท “ปลูกธุรกิจที่ยั่งยืน” แห่งแรกในประเทศไทย มุ่ง จุดประกายและด�ำเนินวาทกรรมสาธารณะว่าด้วยธุรกิจทีย่ งั่ ยืน (sustain­ able business) ในประเทศไทย ผ่านการจัดสัมมนา อบรม ประชุม เชิงปฏิบัติการ การผลิตสื่อ สิ่งพิมพ์และออนไลน์ การจัดท�ำงานวิจัยเรื่อง ประเด็นความยั่งยืนที่ส�ำคัญในประเทศไทย ตลอดจนการวัดผลลัพธ์ทาง สังคมและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน ป่าสาละก่อตั้งใน พ.ศ. 2556 โดยสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการ อิสระ นักเขียนและนักแปลอิสระ ร่วมกับภัทราพร ยาร์บะระ นักการตลาด และนักธุรกิจเพื่อสังคม พร้อมด้วยนักวิจัยร่วมอุดมการณ์อีก 4 คน เพื่อเปลี่ยนผ่านสังคมธุรกิจไทยไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ป่าสาละได้ด�ำเนินโครงการวิจัย แล้วเสร็จ มีรายงานวิจยั และกรณีศกึ ษาตีพมิ พ์ตอ่ สาธารณะจ�ำนวนมากกว่า 20 ชิน้ ในประเด็นความยัง่ ยืนทีเ่ กีย่ วข้องกับภาคธุรกิจ เช่น ห่วงโซ่อปุ ทาน อาหาร การธนาคารที่ยั่งยืน ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน การประเมินผลลัพธ์ ทางสังคม และหัวข้ออื่นๆ รวมทั้งการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างยั่งยืน (sustainable human resource management) ติดตามผลงานวิจัย บทความ หนังสือ และงานอืน่ ๆ ของป่าสาละได้ที่ www.salforest.com และ www.facebook.com/salforestco


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.