พีชรีสอร์ท - กรณีศึกษา การบริหารทรัพยากรบุคคลของ SME ที่มีวิธีปฏิบัติด้านความยั่งยืน

Page 1

กรณีศึกษา การบริหารทรัพยากรบุคคล ของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบาย และวิถีปฏิบัติด้านความยัง ่ ยืน

จัดท�ำโดย บริษัท ป่าสาละ จ�ำกัด สิงหาคม 2562 ด�ำเนินการภายใต้ทุนสนับสนุนของ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

บริษัท พีซรีสอร์ท จ�ำกัด


หัวหน้าโครงการวิจัย: ภัทราพร ยาร์บะระ นักวิจัย: กนกพร กลิ่นเกลา, จินต์ หวังตระกูลดี, ธัญธิดา สาสุนทร บรรณาธิการ: เดือนเพ็ญ ลิ้มศรีตระกูล ผู้ประสานงาน: กุลณัฐ จิระวงศ์อร่าม ที่ปรึกษาโครงการวิจัย: นายแพทย์ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล: กัญญ์ทิพา เครือแก้ว ณ ล�ำพูน

จัดท�ำโดยทุนสนับสนุนงานวิจัยจากส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99/8 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2343-1500 โทรสาร 0-2343-1551 อีเมล info@thaihealth.or.th www.thaihealth.or.th บริษัท ป่าสาละ จ�ำกัด เลขที่ 2 ซอยสุขุมวิท 43 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2258-7383 อีเมล info@salforest.com www.salforest.com


3

บทน�ำ กรณีศึกษาการบริหารทรัพยากรบุคคลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบาย และวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “รางวัลองค์กรที่น่าท�ำงานด้วยที่สุด ภายใต้ แนวคิดการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างยั่งยืน” โดยบริษัท ป่าสาละ จ�ำกัด ด�ำเนินการภายใต้ทุนสนับสนุนของส�ำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คณะวิจัยได้ตั้งค�ำถามที่ต้องการศึกษาไว้ข้อหนึ่งว่า บริษัทที่มีความยั่งยืน (sustainability) นั้น มีการดูแลและบริหาร คนภายในองค์กรอย่างไร บริษัทจึงจะมีความ “ยั่งยืน” ได้ และพุ่งเป้าของค�ำถามนี้ไปที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือที่เรียกโดยย่อว่า SMEs ที่คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 99 ของวิสาหกิจทั้งหมดของประเทศไทย (วะสี, 2018) และมี บทบาทส�ำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ “ความยัง่ ยืน” เป็นค�ำทีถ่ กู ใช้อย่างหลากหลาย อย่างไรก็ดี ความยัง่ ยืนในหนังสือเล่มนีห้ มายถึงการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน (sustainable development) หรือ “วิถีการพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการปัจจุบัน โดยไม่ลิดรอนความสามารถ ของคนรุน่ หลังในการตอบสนองความต้องการของพวกเขา” (The World Commission on Environment and Development., 1987) ซึ่งเป็นความหมายที่ถูกอ้างอิงในงานวิชาการมากที่สุดความหมายหนึ่ง เมื่อพูดถึงธุรกิจที่ยั่งยืน (sustainable business) หลายคนมักจะนึกถึงหลัก “ไตรก�ำไรสุทธิ (Triple Bottom Line)” (Elkington, 1998) ทีห่ ากอธิบายด้วยภาพ จะมีวงกลม 3 วงทีแ่ ทนผลก�ำไร 3 ด้านของธุรกิจมาสอดประสานกัน คือ วงของ เศรษฐกิจ วงของสังคม และวงของสิง่ แวดล้อม เพือ่ แสดงความหมายว่าองค์กรสามารถสร้างผลลัพธ์ในระยะยาวทัง้ ด้านการ เงิน สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งผลลัพธ์ทั้ง 3 ด้านไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบล้วนมีความสัมพันธ์กัน และ เชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วงกลมทั้งสามแสดงให้เราเห็นว่าการวัดผลลัพธ์ของธุรกิจ เพียงแค่ตัวเลขก�ำไร-ขาดทุนไม่สามารถสะท้อนผลลัพธ์ทั้งหมดที่ธุรกิจสร้างขึ้น


4

ธุรกิจที่ยั่งยืนที่กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้หมายถึงธุรกิจที่ใช้หลักคิดด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ไม่ได้หมายถึงธุรกิจที่ อยู่รอดมาได้ยาวนาน และน่าจะอยู่ต่อไปได้ในอนาคต) แต่มุ่งศึกษาไปที่ธุรกิจที่รับผิดชอบกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย มีมมุ มองระยะยาวในการลดผลกระทบเชิงลบต่อสังคมและสิง่ แวดล้อม ในขณะทีห่ ลายแห่งก็มงุ่ เพิม่ คุณค่าเชิงบวกให้สงั คม และสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วย บ่อยครั้งที่ความยั่งยืนถูกมองว่าเป็นเรื่องของบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น เพราะมีทุนหนาและมีทรัพยากรครบครัน นอกจากนี้การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะที่เหมาะสม การเลือกใช้วัสดุและกระบวนการผลิตที่ดี ต่อสิง่ แวดล้อม รวมถึงด้านสังคม เช่น การสร้างความเป็นธรรมในห่วงโซ่อปุ ทาน การรักษาสิทธิของแรงงาน ทัง้ หมดมักถูก มองว่าเป็นค่าใช้จา่ ยที่ไม่ชว่ ยให้เกิดรายได้ หรือเป็นกิจกรรมทีห่ รูหรา คือต้องมีกำ� ไรจ�ำนวนมากและทรัพยากรทีเ่ หลือเฟือ ก่อนค่อยลงมือท�ำ แต่ด้วยสถานการณ์ที่เปลีย่ นไปทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น ทรัพยากรธรรมชาติที่ร่อยหรอ วิกฤตสภาพอากาศ เปลี่ยนแปลง (climate change) ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ลูกค้า ชุมชน ผู้ถือหุ้น ที่เพิ่มทวีขึ้น ปัจจัยเหล่า นีไ้ ด้กลายเป็นความท้าทายทีผ่ ลักดันให้ธรุ กิจหลายแห่งต้องปรับและขยับเข้าสูค่ วามยัง่ ยืน เพือ่ ลดความเสีย่ งและเพิม่ โอกาส ในการอยู่รอด นอกจากนีย้ งั มีบริษทั จ�ำนวนหนึง่ ทีเ่ ริม่ สร้างผลิตภัณฑ์และบริการทีส่ ร้างคุณค่าเชิงบวกให้สงั คมหรือรักษาสิง่ แวดล้อม เช่น สินค้าออร์แกนิก สินค้าส�ำหรับตลาดฐานราก และสินค้ากลุ่ม “กรีน” ฯลฯ สินค้าเหล่านี้อยู่ในตลาดที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และอาจช่วยต่อความสามารถในการแข่งขันให้บริษัทในระยะยาวได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเพื่อความอยู่รอดหรือเพื่อการเติบโต ความยั่งยืนจึงไม่ได้เป็นเรื่องที่จ�ำกัดว่าต้องรวยแล้วค่อยท�ำ หรือ ท�ำเพื่อความ “ดูดี” อีกต่อไป อย่างไรก็ตาม ส�ำหรับธุรกิจ SMEs กับความยั่งยืน หากดูผิวเผินอาจจะดูเป็นเรื่องไกลตัว เพราะ SMEs มีข้อจ�ำกัดที่ มากกว่าบริษทั ขนาดใหญ่ เช่น ไม่มงี บประมาณ ขาดคน ขาดความรู้ หรือขาดทรัพยากร รวมทัง้ เสียเปรียบในด้านประโยชน์ จากการประหยัดต่อขนาด (economies of scale) นอกจากนี้ SMEs หลายแห่งมองว่าการท�ำให้กิจการอยู่รอดได้ทางการ เงินเป็นภารกิจที่ส�ำคัญที่สุด แต่หากความยั่งยืนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างความอยู่รอด และช่วยส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจใน ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ กลางหรือเล็ก ความยั่งยืนก็อาจเป็นเรื่องไม่ไกลตัวของ SMEs อีกต่อไป โดยเฉพาะ แรงกดดันทัง้ เรือ่ งสังคมและปัญหาด้านสิง่ แวดล้อมจะไม่เพียงจ�ำกัดอยูใ่ นธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ละอยูใ่ นทุกส่วนทีไ่ ล่เรียงตาม กันมาในสายห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) กรณีศกึ ษาฉบับนีจ้ งึ มุง่ แสดงตัวอย่างว่า SMEs ก็กา้ วสูก่ ารเป็นธุรกิจทีย่ งั่ ยืนได้ ผ่านเรือ่ งราวของบริษทั ทัง้ 10 แห่ง ซึง่ ผ่านการพิจารณาเพื่อเชิญให้เข้าร่วมเป็นกรณีศึกษา (ดูคุณสมบัติ SMEs ที่มีวิธีคิด นโยบาย และวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน ในหน้าสุดท้าย) กรอบคิดด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ใช้ในกรณีศึกษา

เพือ่ ท�ำความเข้าใจว่าบริษทั SMEs ทัง้ 10 แห่งว่ามีการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างไร ถึงส่งผลให้บริษทั มีความยัง่ ยืน คณะวิจัยใช้กรอบคิดการจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อความยั่งยืนตามช่วงวงจรชีวิตของพนักงาน (employee life-cycle) (Savitz & Weber, 2013) ที่แบ่งได้เป็น 5 ช่วงของการท�ำงานในองค์กร ดังนี้ • การคัดเลือกพนักงาน เช่น การสรรหาพนักงาน การสัมภาษณ์และทดสอบเพื่อเข้าท�ำงาน การเตรียมความพร้อมเมื่อ เริ่มงานในต�ำแหน่งใหม่ • การบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ เช่น การฝึกอบรม การเลือ่ นต�ำแหน่ง การวางแผนความก้าวหน้าในอาชีพ (career path) • การให้ผลตอบแทนและการรักษาพนักงาน เช่น ค่าตอบแทน สวัสดิการทั้งในรูปตัวเงินและไม่ใช่เงิน การให้รางวัลและ การลงโทษ


5

• การบริหารการปฏิบัติงานและการวางแผนก�ำลังคน เช่น การประเมินผลงาน โครงสร้างองค์กร • การพ้นจากการท�ำงาน เช่น การลาออก การให้ออกและการเกษียณอายุ รวมไปถึงการวิเคราะห์ปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งเสริมความยั่งยืนขององค์กร เช่น วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรมองค์กร แรง จูงใจของผู้บริหาร ฯลฯ อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากบริษัทที่เป็นกรณีศึกษาในเอกสารฉบับนี้ ในโครงการเดียวกันยังมีกรณีศึกษาของ SMEs อีก 9 แห่ง ที่มีขนาด ประเภทธุรกิจ วิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลและวิธีด�ำเนินธุรกิจบนแนวคิดด้านความยั่งยืนที่แตก ต่างกัน ได้แก่ 1. บริษัท แดรี่โฮม จ�ำกัด 2. บริษัท โลเคิล อไลค์ จ�ำกัด 3. บริษัท โอเพ่นดรีม จ�ำกัด 4. บริษัท สวนเงินมีมา จ�ำกัด 5. บริษัท กาแฟอาข่า อ่ามา จ�ำกัด 6. บริษัท ฮาร์โมนี ไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด 7. บริษัท นิธิฟู้ดส์ จ�ำกัด 8. ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด สมุยอักษร 9. บริษัท พีซรีสอร์ท จ�ำกัด 10. บริษัท ซาเรี่ยน จ�ำกัด ท่านสามารถดาวน์โหลดกรณีศึกษาของแต่ละบริษัทได้จากเว็บไซต์ www.salforest.com > knowledge > publication หรือติดต่อขอรับหนังสือ “SMEs หัวใจใหญ่ – ดูแลคนอย่างไรให้ธุรกิจยั่งยืน” ที่เป็นบทสรุปย่อของกรณีศึกษาบริษัททั้ง 10 แห่งได้จากเว็บไซต์ www.salforest.com เช่นกัน


6


บริษัท พีซรีสอร์ท จ�ำกัด รู้จักพีซรีสอร์ท พีซรีสอร์ท (Peace Resort) ตั้งอยู่ริมหาดบ่อผุด เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็น ธุรกิจของครอบครัวภูไ่ พบูลย์ ซึง่ เป็นชาวเกาะสมุย ก่อตัง้ เมือ่ พ.ศ. 2520 โดยจดทะเบียนภาย ใต้ชอื่ บริษทั พีซ รีสอร์ท จ�ำกัด ในช่วงเริม่ ต้นพีซรีสอร์ทเป็นบังกะโลธรรมดาๆ ไม่กหี่ ลัง เพือ่ ให้ฝรัง่ ทีเ่ ดินทางมากับเรือประมงข้ามฟากเช่า (เนือ่ งจากยุคนัน้ ยังไม่มสี นามบินในเกาะสมุย) ต่อมาเมื่อการท่องเที่ยวในเกาะได้รับความนิยมและการเดินทางสะดวกมากขึ้น พีซรีสอร์ท ก็ปรับปรุงห้องพักให้ทันสมัยและสะดวกสบายยิ่งขึ้น จนกลายเป็นรีสอร์ตระดับ 4 ดาว เช่น ในปัจจุบัน โดยมีห้องพักให้บริการ 122 ห้อง แบ่งเป็นห้องพักแบบบังกะโล 86 ห้อง ห้องพัก แบบวิลลาริมสระน�้ำ 16 ห้อง และห้องแบบดีลักซ์ ซึ่งเป็นตึก 2 ชั้น 20 ห้อง ราคาห้องพัก เฉลี่ยเริ่มต้นอยู่ที่คืนละ 3,200-15,000 บาท ขึ้นอยู่กับฤดูกาลท่องเที่ยว ส�ำหรับรูปแบบการบริหารของพีซรีสอร์ทยังเป็นแบบครอบครัว คือมีคนในตระกูล ภู่ไพบูลย์นั่งเป็นกรรมการผู้จัดการ 2 คน ส่วนการบริหารงานประจ�ำวัน มีผู้จัดการทั่วไป ซึ่ง เป็นนักบริหารมืออาชีพคอยดูแล โดยผู้จัดการทั่วไปคนปัจจุบันคือ มยุรี อ่องเจริญ ซึ่งเข้ามา ร่วมงานกับพีซรีสอร์ทเมื่อต้นปี พ.ศ. 2557 ในต�ำแหน่งผู้จัดการโรงแรม (Hotel Manager) ก่อนจะเลือ่ นขึน้ มาเป็นผูจ้ ดั การทัว่ ไปเมือ่ ต้นปี พ.ศ. 2559 อย่างไรก็ดี มยุรรี ว่ มงานกับโรงแรม ที่ครอบครัวภู่ไพบูลย์เป็นเจ้าของมาแล้วรวม 8 ปี โดยใน พ.ศ. 2553 เป็น Front Office Manager ที่ Anantara Lawana หาดเฉวง ซึ่งครอบครัวภู่ไพบูลย์ให้เครือ Anantara บริหาร ใน พ.ศ. 2555 มยุรีย้ายมาเป็น Executive Assistant Manager ที่ The Scent โรงแรมเล็กๆ ขนาด 15 ห้อง ที่หาดบางรักษ์ ซึ่งเป็นของตระกูลภู่ไพบูลย์เช่นกัน หากเปรียบเทียบกับโรงแรมที่บริหารงานโดยเครือโรงแรม (chain) มยุรียอมรับว่า พีซรีสอร์ทอาจจะเสียเปรียบในแง่การตลาดบางด้าน โดยเฉพาะในเรือ่ งของแบรนด์ เพราะเมือ่ เทียบกับ chain ทั้งหลาย แบรนด์ของพีซรีสอร์ทเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปน้อยกว่า

Pe a ce Re sor t

7


8

“แล้วมีลูกค้าบางส่วนที่อาจจะดูแบรนด์ก่อนเวลาเลือกซื้อสินค้า แต่ในขณะเดียวกันถ้าอยู่ใน chain คุณต้องท�ำตาม ขั้นตอนที่เขาวางเอาไว้ให้ ต้องท�ำทุกอย่างเป็นแพตเทิร์นเดียวกัน ฉีกไม่ได้ แต่ที่นี่เราสามารถท�ำอะไรได้อย่างอิสระ เวลา มีไอเดียอะไรที่คิดว่าดี น่าท�ำ ก็ปรึกษากับทางเจ้าของ ถ้าเห็นดีด้วยกันก็ลงมือท�ำได้เลย” ด้วยเหตุนี้นอกจากการขายห้องพักให้กับลูกค้าที่มาพักแล้ว พีซรีสอร์ทจึงใช้ข้อได้เปรียบที่เป็นโรงแรมอิสระ ไม่สงั กัด กับเครือโรงแรม พลิกแพลงท�ำการตลาดในรูปแบบอื่นๆ เพื่อให้โรงแรมมีรายได้เพิ่มขึ้น เช่น การท�ำ day-pass กับบริษัท เรือส�ำราญต่างๆ บริษัทเรือส�ำราญพาลูกค้ามาแวะเพื่อรับประทานอาหารกลางวัน และนอนเล่นที่เตียงผ้าใบหน้าชายหาด ของโรงแรมประมาณ 3-4 ชัว่ โมง ซึง่ ปัจจุบนั มีเรือส�ำราญหลายบริษทั ใช้บริการนี้ นอกจากนีย้ งั มีการเปิดตลาดงานแต่งงาน เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เพราะมองว่านอกจากค่าจัดงานแล้ว โรงแรมยังมีรายได้จากค่าอาหาร เครื่องดื่ม และห้องพักอีกด้วย “ของเราจะไม่มรี ปู แบบงานแต่งงานให้ลกู ค้าเลือกแบบ wedding studio อืน่ ๆ ทีอ่ าจจะมีรปู แบบให้ลกู ค้าเลือก 10 แบบ แต่เรามี wedding designer ออกแบบงานแต่งงานให้ตามแบบทีล่ กู ค้าต้องการ เพือ่ ให้เป็นงานส�ำหรับเขาโดยเฉพาะ รวมถึงมี แพ็กเกจ Just the Two of Us ให้กับลูกค้าที่อาจจะแต่งงานแล้ว แต่อยากมา rewind ที่ชายหาด อยากถ่ายรูปสวยๆ คืออะไร ทีเ่ ป็นรายได้ เราท�ำหมด ซึง่ แพ็กเกจอันนีข้ ายดี” มยุรี ผูจ้ ดั การทัว่ ไป เล่าถึงจุดเด่นในการท�ำตลาดคูแ่ ต่งงานของพีซรีสอร์ท

จุดเด่นของพีซรีสอร์ท ส�ำหรับในส่วนของตลาดห้องพักนั้น มยุรี ผู้จัดการทั่วไปกล่าวว่า พีซรีสอร์ทมีจุดเด่นในหลายๆ ด้าน เริ่มตั้งแต่ท�ำเล ที่ตั้งที่อยู่ริมทะเลช่วงหาดบ่อผุด และพื้นที่ภายในโรงแรมเป็นที่ราบ ผู้สูงอายุหรือเด็กๆ สามารถเดินได้สะดวก โดยไม่ต้อง ใช้รถกอล์ฟคอยรับ-ส่ง จึงเหมาะกับกลุ่มลูกค้าทั้งแบบครอบครัว ผู้สูงอายุ และคนวัยหนุ่มสาว ขณะที่ห้องพักมีความเป็นส่วนตัว เพราะส่วนใหญ่จะเป็นบ้านในลักษณะบังกะโลแยกเป็นหลังๆ ซึ่งเหลืออยู่น้อยแห่ง มากในเกาะสมุย นอกจากนี้ยังมีห้องพักหลากหลายประเภทให้เลือกถึง 11 แบบ ทั้งแบบ 1 ห้องนอน 2 ห้องนอนที่สามารถ เปิดประตูหากันได้ส�ำหรับครอบครัว หรือ 2 ห้องนอนที่แยกกัน แต่อยู่ในหลังเดียวกัน ห้องพักแบบมีสระว่ายน�้ำ ฯลฯ นอกจากนี้ภายในโรงแรมยังมีความร่มรื่น เพราะมีพื้นที่สีเขียวอยู่ถึง 65% ในพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ โดยนอกจากต้นไม้ ทีโ่ รงแรมปลูกและดูแลรักษาแล้ว ยังเปิดโอกาสให้แขกทีม่ าเข้าพักได้เป็นส่วนหนึง่ ของการสร้างพืน้ ทีส่ เี ขียวภายในโรงแรม ด้วย โดยปัจจุบันพีซรีสอร์ทโปรโมตกิจกรรมนี้ภายใต้ชื่อ The Little Green Activity “เวลาลูกค้ามาพัก หรือมาจัดงานแต่งงานที่โรงแรม แล้วเขาอยากปลูกต้นไม้เป็นสัญลักษณ์เอาไว้ เราจะจัดต้นไม้และ เตรียมพื้นที่ให้ โดยเมื่อก่อนเรามักจะให้ปลูกต้นมะพร้าว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเกาะสมุย แต่มะพร้าวเป็นภาระในการจ้าง คนมาตัดต้นละ 250 บาท เนือ่ งจากเราปล่อยให้มลี กู ไม่ได้ เพราะอาจจะไม่ปลอดภัยกับลูกค้า ตอนนีก้ เ็ ลยเปลีย่ นมาให้ปลูก ต้นขนุน มะม่วง มะยม หรือต้นไม้อื่นที่มีผลให้กระรอกในสวนได้ทาน เพราะเรามีกระรอกเยอะมาก และเขาสามารถกลับ มาดูต้นไม้ที่เขาปลูกไว้ว่ามันโตแค่ไหนแล้ว” มยุรี ผู้จัดการทั่วไป เล่าถึงการให้แขกมีส่วนสร้างพื้นที่สีเขียวในโรงแรม ซึ่ง เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า นอกจากต้นไม้นานาชนิด พืน้ ทีส่ เี ขียวภายในรีสอร์ตยังมีตะไคร้ ใบเตย มะละกอ ทีน่ ำ� มาใช้เป็นวัตถุดบิ ของห้องอาหาร และพืชผักสวนครัวอื่นๆ รวมถึงยังมีโรงเรือนเพาะต้นอ่อนทานตะวัน ซึ่งเริ่มท�ำเมื่อ 3 ปีก่อน โดยผลผลิตที่เกิดขึ้นจะน�ำ มาบริการลูกค้าในไลน์อาหารเช้า และเป็นส่วนผสมของอาหารบางเมนู หากมีผลผลิตเหลือก็จะส่งให้กับ The Scent ซึ่งเป็น โรงแรมในเครือ หรือจ�ำหน่ายให้กับผู้สนใจด้วย เพราะต้นอ่อนทานตะวันที่พซี รีสอร์ทปลูกได้รบั มาตรฐานรับรองระบบการ จัดการคุณภาพการปฏิบตั ทิ างการเกษตรทีด่ สี ำ� หรับพืช (GAP พืช1) จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงสามารถจ�ำหน่ายได้ ปัจจุบันพีซรีสอร์ทมีรายได้จากการจ�ำหน่ายต้นอ่อนทานตะวันประมาณเดือนละ 2,000 บาท ซึ่ง รายได้ในส่วนนี้ได้น�ำเข้าเป็นกองทุนส�ำหรับท�ำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไป 1

GAP ย่อมาจากภาษาอังกฤษว่า Good Agricultural Practice หรือการปฏิบตั กิ ารทางการเกษตรทีด่ ี กรมวิชาการเกษตรระบุไว้วา่ GAP พืช คือการปฏิบตั ิ ในการผลิตพืชเพื่อให้ผลผลิตได้มาตรฐานปลอดภัย ปลอดศัตรูพืช และคุณภาพที่ถูกใจ


พีซรีสอร์ทยังมีสิ่งอ�ำนวยความสะดวกอื่นๆ ให้กับแขกที่มาพักครบครัน ทั้งห้องอาหาร ลานบาร์บีคิว บาร์เครื่องดื่ม กระโจมส�ำหรับดินเนอร์ริมทะเลแบบเป็นส่วนตัว รวมไปถึงกิจกรรมต่างๆ ที่หมุนเวียนกันในแต่ละวัน เช่น มวยไทย การสอนแกะสลักผักผลไม้ สอนท�ำอาหารไทย ท�ำผ้ามัดย้อมด้วยคราม ฯลฯ

อัตราการเข้าพักเฉลี่ย 70% ส�ำหรับในแง่ของผลการประกอบการนั้น มยุรี ผู้จัดการทั่วไป กล่าวว่าปัจจุบัน occupancy rate หรืออัตราการเข้าพัก เฉลี่ยทั้งปีของพีซรีสอร์ทจะอยู่ที่ 70% “ในช่วง high season (ฤดูกาลท่องเที่ยว) occupancy rate ของเราจะอยู่ที่ 90% ส่วนช่วง low season (นอกฤดูกาล ท่องเที่ยว) ก็ไม่ได้ตกมาก อย่างช่วงนี้ (กรกฎาคม 2561) ซึ่งก�ำลังเข้าช่วง high season บางโรงแรมอาจจะยังเงียบ แต่ ของเราอัตราการเข้าพักอยู่ที่ 90% ถึงสิ้นเดือนเลย” มยุรีให้ข้อมูล อนึ่ง เกาะสมุยมีฤดูกาลท่องเที่ยว 2 ช่วงต่อปี คือ กรกฎาคม-สิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงโรงเรียนปิดเทอมในต่างประเทศ เช่น ยุโรป และช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม สาเหตุส�ำคัญที่ท�ำให้อัตราการเข้าพักของพีซรีสอร์ททั้งปีอยู่ที่ 70% ก็คือ การมีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นชาวต่างชาติถึง 95% โดยส่วนใหญ่จะเป็นชาวยุโรป อันดับ 1 คือชาวอังกฤษ อันดับ 2 เป็นชาวเยอรมัน ตามด้วยสวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ฝรั่งเศส และชาวออสเตรเลีย ส่วนลูกค้าชาวเอเชียหลักๆ จะเป็นชาวเกาหลี ตามมาด้วยชาวจีนและมาเลเซีย “ข้อดีของลูกค้าชาวยุโรปคือพวกเขาจะเดินทางท่องเที่ยวตลอดทั้งปี และส่วนใหญ่จะมาพักนานคือ 2-3 สัปดาห์ หรือ อย่างต�ำ่ ก็ 7 วัน ต่างจากนักท่องเทีย่ วชาวเอเชียทีจ่ ะพักอยูช่ ว่ งสัน้ ๆ คือประมาณ 3 วัน นอกจากจะพักนานแล้ว ชาวยุโรปจะมี loyalty คือหากเขาประทับใจก็จะกลับมาพักซ�ำ้ ๆ อย่างของเราช่วงเดือนกุมภาพันธ์จะมีลกู ค้าเก่ากลับมาพักมากกว่า 10 ห้อง”

Pe a ce Re sor t

9


10

Green Hotel เมื่อสีเขียวเกี่ยวข้องกับทุกอย่าง ไม่เพียงจุดขายด้านต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว พีซรีสอร์ทยังชูจุดขายเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของให้ความส�ำคัญ มาตั้งแต่เริ่มต้น เริ่มจากการแยกขยะและการรักษาพื้นที่สีเขียวภายในโรงแรม มีแผนกสวนดูแลเรื่องการปลูกต้นไม้ โดย หากจะตัดแต่งต้นไม้ต้องแจ้งให้เจ้าของทราบเสียก่อน “ที่นี่คือเขา (เจ้าของ) จะรักธรรมชาติอยู่แล้ว จัดเป็นโรงแรมสีเขียว เวลาจะตัดต้นไม้แม้แต่สักนิดหนึ่งก็ต้องแจ้งให้ ทาง owner ทราบว่าตัดแค่นี้นะ พื้นที่ข้างในจึงเหมือนป่า มีกระรอกเต็มไปหมด ตามต้นไม้ก็จะมีพวกไลเคน2 อยู่” สิทธิพร เรืองศรี Chief แผนกสวน อายุงาน 8 ปี อธิบายให้ฟังถึงการดูแลต้นไม้ในรีสอร์ต “เจ้าของโรงแรมจะเดินดูตน้ ไม้ทกุ วัน เขารักสิง่ แวดล้อมก็เลยอยากจะรักษาให้มนั ดี บางโรงแรมเวลาท�ำตึกหรือท�ำห้อง เพิม่ เขาจะตัดต้นไม้ แต่ทนี่ ถี่ งึ จะสร้างตึกใหม่กย็ งั อนุรกั ษ์ (ต้นไม้) พืน้ ทีส่ เี ขียวเลยมากกว่าพืน้ ทีก่ อ่ สร้าง” ยุทธนา สังข์วงศ์ Beach Boy แผนกอาหารและเครื่องดื่ม อายุงาน 1 ปี ตั้งข้อสังเกต อย่างไรก็ดี พีซรีสอร์ทหันมาท�ำเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและครบวงจร เมื่อเข้าร่วมโครงการ “การบริการที่เป็น มิตรกับสิง่ แวดล้อม ประเภทโรงแรม” หรือ Green Hotel ที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้เข้ามาชักชวนโรงแรมในเกาะสมุยให้เข้าร่วมเมื่อต้นปี พ.ศ. 2557 ภายใต้การขับเคลื่อนของเทศบาล นครเกาะสมุย ที่ต้องการท�ำให้เกาะสมุยเป็น Green Island คือมีสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีความยั่งยืนตลอดไป เพราะที่ผ่านมา เกาะสมุยมีปัญหาเรื่องขยะล้น อันเนื่องมาจากการเติบโตด้านการท่องเที่ยว ซึ่งท�ำให้เมืองขยายตัว เกิดปริมาณขยะถึง 150-160 ตันต่อวัน ประกอบกับเตาเผาขยะเสีย การจัดการขยะที่ปลายทางจึงไม่มีประสิทธิภาพ ท�ำให้เกิดปัญหาขยะ ตกค้างอยู่บนเกาะประมาณ 2 แสนตัน3 “เมือ่ ต้องการท�ำให้เกาะสมุยเป็น Green Island เราก็มาจับย่อยว่าจะต้องท�ำยังไงบ้าง ก็เลยมองว่าเราเป็นเมืองท่องเทีย่ ว มีชายหาดส�ำหรับการท่องเที่ยวอยู่ จึงแตกเป็น green beach แล้วจาก green beach ก็กลายมาเป็นองค์ประกอบในหาด คือ green hotel, green community, green shop, green restaurant แล้วพยายามท�ำจากข้างล่างขึ้นไป เพราะเมื่อหลายๆ โรงแรม หลายๆ สถานประกอบการ หลายๆ ชุมชน green เกาะก็จะ green ได้ แต่เราเลือกท�ำกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาก ทีส่ ดุ ก่อนนัน่ คือโรงแรม เพราะเมืองท่องเทีย่ ว โรงแรมมีสว่ นได้สว่ นเสียเยอะ และเป็นผูท้ สี่ ร้างมลภาวะเยอะด้วยหากจัดการ ไม่ดี ขณะเดียวกันเขาก็มีความพร้อมหลายด้าน ทั้งบุคลากร งบประมาณ นโยบายองค์กร เราเลยเริ่มที่โจทย์ง่ายก่อนคือ โรงแรม แล้วเราค่อยๆ ขยายจากโรงแรมไปสู่ผู้ประกอบการคนอื่นๆ” สุภิญญา ศรีทองกุล ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีนคร เกาะสมุย เล่าถึงมูลเหตุที่ชักชวนให้กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเข้ามาท�ำโครงการ Green Hotel ที่เกาะสมุยใน พ.ศ. 2557 ซึ่งขณะนั้นเธอเป็นรองนายกเทศมนตรีนครเกาะสมุย พีซรีสอร์ทได้รับการรับรอง Green Hotel เหรียญทองแดง ใน พ.ศ. 2557 จากการเข้าร่วมโครงการครั้งแรก ก่อนที่ จะได้ Green Hotel เหรียญทอง ใน พ.ศ. 2558 และ 25614 เกณฑ์การพิจารณา Green Hotel ประกอบไปด้วยปัจจัยการดูแลสิง่ แวดล้อมในหลายๆ ด้าน ได้แก่ การมีนโยบายด้าน สิง่ แวดล้อมทีช่ ดั เจน การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ การจัดซือ้ จัดจ้างทีเ่ ป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม การ จัดการสิ่งแวดล้อม ของเสียและพลังงาน การมีส่วนร่วมกับท้องถิ่นและชุมชน รวมไปถึงการลดรอยเท้าคาร์บอน (ดูเกณฑ์ การพิจารณาเพื่อมอบรางวัล Green Hotel ได้ในภาคผนวก) 2

ไลเคนเป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกันของเห็ดราและสาหร่าย ใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพอากาศได้ จาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-253227 เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2561 4 จาก http://www.deqp.go.th/media/879449/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A-%E0%B8%AD-E0%B9%82%E0 %B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97-%E0%B9%84%E0%B8%94-%E0%B8%A3-%E0% B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A3-%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8% B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B8%A1-%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81-%E0%B8%9A%E0%B8%AA-%E0%B8%87%E0%B9%81% E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5-%E0%B8%AD%E0%B8%A1-green-hotel-%E0%B8%9B-2561.pdf เข้าถึงเมือ่ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2561 3


“ปีแรกทีเ่ ข้าร่วมโครงการ แม้วา่ โรงแรมจะมีนโยบายด้านสิง่ แวดล้อมอยูแ่ ล้ว แต่กย็ งั ไม่ครอบคลุม 100% เราแค่เข้าใจ ว่าการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องการแยกขยะ หรือการประหยัดพลังงาน แต่จริงๆ แล้วมันมีขั้นตอนมากกว่านั้น และต้อง ท�ำเป็นวงกลมค่ะ เริ่มตั้งแต่เรื่องจัดการขยะภายใน คือเอาขยะหรือของที่ไม่ใช้แล้วมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ท�ำ ยังไงให้ขยะออกไปน้อยที่สุด ท�ำยังไงให้อยู่ร่วมกับสังคม โดยการช่วยท�ำกิจกรรมและร่วมส่งเสริมวัฒนธรรมไปด้วย และ ต้องปลูกจิตส�ำนึกให้บุคลากรรักษาสิ่งแวดล้อม มันมีขั้นตอนของมันที่เราต้อง follow” มยุรี ผู้จัดการทั่วไป เล่าถึงสิ่งที่ได้ เรียนรู้จากการเข้าร่วมโครงการ Green Hotel ในปีแรก อันน�ำไปสู่การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร ทั้งส่วนที่ท�ำ กันภายในโรงแรม ทัง้ ทีโ่ รงแรมท�ำเองและขอความร่วมมือจากลูกค้าทีม่ าใช้บริการ รวมถึงการขยายไปสูช่ มุ ชนภายนอกดังนี้ • ท�ำงานสิ่งแวดล้อมผ่าน Green Team เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคน

เนื่องจากการจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมให้ได้ผลต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรทุกภาคส่วนภายในองค์กร ขณะที่ การท�ำโครงการ Green Hotel ก็ตอ้ งมีการเก็บข้อมูลต่างๆ อย่างต่อเนือ่ ง ทัง้ ในส่วนของการส่งพนักงานไปอบรม การจัดการ ขยะ การจัดการพลังงาน การจัดการเรื่องน�้ำ ดังนั้นพีซรีสอร์ทจึงมีการจัดตั้ง Green Team ขึ้นเมื่อ 4 ปีก่อน ตอนเข้าร่วม Green Hotel เพื่อเป็นคณะท�ำงานที่ขับเคลื่อนให้นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรเป็นไปตามเป้าหมาย สมาชิกใน Green Team มีทั้งหมด 20 คน มาจากทุกแผนก แผนกละ 2 คน โดยสมาชิกส่วนใหญ่จะเป็นระดับหัวหน้า และรองหัวหน้าที่คัดเลือกมาด้วยความสมัครใจ ทั้งนี้เพื่อให้การน�ำนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมไปบอกต่อ หรือขอให้คนใน แผนกให้ความร่วมมือมีผลในทางปฏิบัติ ปัจจุบันชัยวัฒน์ สะชาโต ผู้จัดการแผนกต้อนรับ อายุงาน 3 ปีเศษ เป็นประธาน Green Team โดยมีที่ปรึกษา 2 คน คือ มยุรี ผู้จัดการทั่วไป ซึ่งเป็นผู้ดูแลด้านนโยบาย และชารีญา ยะเดหวา ผู้ช่วย ผู้จัดการแผนกบุคคล อายุงาน 9 ปี เพราะแผนกบุคคลจะช่วยเสริมให้การขอความร่วมมือจากแผนกต่างๆ ในการดูแลเรื่อง สิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างราบรื่น “เวลาประชุมทีม Green เราจะพยายามพูดซ�้ำๆ กับหัวหน้าแผนกที่อยู่ในทีม Green ทุกครั้ง เพื่อท�ำความเข้าใจว่า เราก�ำลังเดินไปทางไหน จะได้มีเป้าหมายเดียวกัน แต่ถ้าคุณคิดว่าจะให้ฝ่ายบุคคลไปคุยกับคนในแผนก เกี่ยวกับนโยบาย กฎระเบียบ อะไรก็ตามแต่ที่พวกเขายังไม่เข้าใจ ทางฝ่ายบุคคลก็ยินดี ให้คุณจัดตารางมาเลย” ชารีญา ผู้ช่วยผู้จัดการ แผนกบุคคล อธิบายถึงบทบาทของแผนกบุคคลในการขับเคลื่อนให้พนักงานทุกๆ แผนกเข้าใจในนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ของโรงแรม Green Team จะมีการประชุมกันสัปดาห์ละครัง้ ในวันพฤหัสบดี มีเสือ้ ทีมสีเทาและโลโก้ของทีมบนเสือ้ เพือ่ ประชาสัมพันธ์ ให้ลูกค้าทราบว่า พีซรีสอร์ทมี Green Team ที่จริงจังในการท�ำงานด้านสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้เพื่อนพนักงานทราบว่าใคร เป็นสมาชิก Green Team บ้าง “Green Team จะเป็นตัวแทนของแต่ละแผนกในการดูแลโครงการสิง่ แวดล้อมภายในโรงแรมทุกๆ ส่วน รวมถึงโครงการ Green Hotel ซึ่งเราก�ำลังรอกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมมาประเมินรอบใหม่ เพราะ Green Hotel เหรียญทองที่เราได้ รับมา หมดวาระในปีนี้ และเราต้องการท�ำต่อเนื่อง ซึ่งในการประเมินครั้งนี้มีหัวข้อการประเมินเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีอยู่ 6 ข้อ นัน่ คือจะมีการประเมินเรือ่ งการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ดว้ ย เราจึงต้องท�ำข้อมูลเปรียบเทียบกัน 3 ปี นอกจากนี้ Green Team ยังเป็นตัวแทนของพีซรีสอร์ทในการประชุม หรือท�ำกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานภายนอกด้วย” ชัยวัฒน์ ประธาน Green Team ให้รายละเอียดถึงบทบาทของ Green Team5

5

สัมภาษณ์ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 ก่อนประกาศผลการรับรอง

Pe a ce Re sor t

11


12

• จัดการขยะอย่างครบวงจร

ปัจจุบนั พีซรีสอร์ทมีการจัดการขยะอย่างครบวงจร โดยขยะทัง้ หมดจะถูกคัดแยกจากต้นทาง เช่น แม่บา้ นทีด่ แู ลความ สะอาดห้องพักก็จะคัดแยกขยะของแขกที่เกิดขึ้นในห้องพัก แผนกครัวจะแยกขยะที่เกิดขึ้นในครัว พนักงานที่ท�ำงานใน ส�ำนักงานก็จะแยกขยะที่เกิดขึ้นในส�ำนักงาน แผนกสวนก็คัดแยกขยะที่เกิดขึ้นจากการท�ำสวน ซึ่งตามปกติ Green Team จะมีการส่งทีมตรวจสอบออกไปสุ่มตรวจการแยกขยะของแผนกต่างๆ ด้วย ว่าสามารถแยกได้ถูกต้องหรือไม่ โดยขยะที่ แยกแล้วจะน�ำมารวมกันที่โรงแยกขยะถาวร ซึ่งอยู่ด้านหลังโรงแรม ส�ำหรับการจัดการขยะของพีซรีสอร์ทอย่างเช่น ขยะอาหารจากห้องครัวจะน�ำไปบริจาคให้มูลนิธิช่วยสัตว์เกาะสมุย (Dog and Cat Rescue Samui Foundation) ซึ่งดูแลสุนัขและแมวจรจัดภายในเกาะสมุย เปลือกผักและผลไม้ที่ใช้ไม่ได้ จากห้องครัวน�ำไปหมักเป็นน�้ำหมักอีเอ็ม ที่น�ำมาใช้ในการเติมถังดักไขมันและเพิ่มจุลินทรีย์ในห้องน�้ำ ดอกไม้จากงานแต่ง ของลูกค้าน�ำมาใช้ตกแต่งร้านอาหารก่อนจะน�ำไปท�ำปุ๋ยหมักเมื่อหมดสภาพ เช่นเดียวกับเศษใบไม้ในสวน แต่ส�ำหรับกิ่ง ไม้ที่เหลือจากการตัดแต่งต้นไม้ภายในโรงแรมจะน�ำมาท�ำของใช้ต่างๆ เช่น ที่รองภาชนะในไลน์อาหารบุฟเฟต์ หรือน�ำมา เลเซอร์เพือ่ ท�ำพวงกุญแจส�ำหรับห้องพัก ป้ายเลขที่หอ้ งพัก ที่วางป้ายชือ่ อาหาร และป้ายของใช้ตา่ งๆ รวมถึงเอามาต่อเป็น รูปสัตว์ต่างๆ เพื่อตกแต่งโรงแรมในช่วงคริสต์มาส “หลังจากทีเ่ ราปรับปรุงโรงแรมเมือ่ ปีทแี่ ล้ว เราก็ซอื้ เครือ่ งเลเซอร์มาใช้เพือ่ ท�ำป้ายเลขทีห่ อ้ งพัก พวงกุญแจ หรืออย่าง ป้ายชือ่ พนักงานก็ทำ� เองจากกิง่ ไม้ทตี่ ดั แต่ง และเมือ่ มีโรงแรมอืน่ สนใจเราก็ทำ� ขายด้วยเหมือนกัน ชิน้ ละประมาณ 100 บาท เป็นการสร้างรายได้อีกทาง” ชัยวัฒน์ ประธาน Green Team เล่า ส่วนขยะที่สามารถน�ำไปจ�ำหน่ายได้ อย่างขวดแก้ว ขวดพลาสติก กระดาษต่างๆ และน�้ำมันใช้แล้ว มีผู้มารับซื้อที่ โรงแรมสัปดาห์ละ 1 ครัง้ โดยรายได้จากการขายขยะเหล่านีจ้ ะน�ำไปใช้ในการท�ำกิจกรรมด้านสิง่ แวดล้อมต่างๆ ของ Green Team ซึ่งแต่ละปียอดขายขยะจะอยู่ที่ 50,000-70,000 บาท ส�ำหรับขยะอันตรายอย่างถ่านไฟฉาย จะส่งไปก�ำจัดอย่างถูกต้อง ขณะทีข่ ยะจ�ำพวกอะลูมเิ นียม เช่น ห่วงเปิดกระป๋อง และถ้วยเทียนที่จุดในห้องพัก จะรวบรวมไว้แล้วส่งไปให้มูลนิธิขาเทียมที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป นอกจากการจัดการขยะแล้ว พีซรีสอร์ทยังพยายามลดการสร้างขยะในรูปแบบต่างๆ เช่น การใช้กล่องผ้าใส่ผา้ ส�ำหรับ ส่งซักแทนการใช้ถงุ พลาสติก ใช้ตะกร้าหมุนเวียนในการรับสินค้าจากภายนอก และน�ำตะกร้าทีใ่ ช้ไม่ได้แล้วไปเป็นภาชนะใน การปลูกผัก ใช้ผา้ เช็ดมือในห้องน�ำ้ ส�ำหรับลูกค้าแทนการใช้กระดาษ ใช้ผา้ เช็ดปากแทนกระดาษทิชชูในร้านอาหาร บริการ น�้ำดื่มในคูลเลอร์พร้อมแก้วเปล่าภายในห้องจัดประชุมแทนการใช้น�้ำบรรจุขวดพลาสติก ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์เก่าให้ ลูกค้าใส่ผ้าอนามัยแทนถุงพลาสติก รวมถึงมีแผนที่จะเปลี่ยนมาใช้น�้ำบรรจุขวดแก้ว เพื่อบริการแขกภายในห้องพัก แทน น�้ำบรรจุขวดพลาสติกภายในปีนี้ “ล่าสุดคือเราลดการใช้หลอดพลาสติกทีห่ อ้ งอาหาร โดยไม่เสิรฟ์ หลอด ยกเว้นกรณีลกู ค้าขอ และก�ำลังทดลองใช้กา้ น ไม้ไผ่แทนหลอดพลาสติก รวมถึงก�ำลังดูเรือ่ งจุดคุม้ ทุนในการน�ำหลอดกระดาษมาใช้แทน เพราะต้นทุนอยูท่ บี่ าทกว่าๆ ต่อ หลอด ซึ่งค่อนข้างสูง” ชัยวัฒน์ ประธาน Green Team เล่าถึงโครงการลดขยะล่าสุด • ลดการใช้ไฟฟ ้า ใช้พลังงานทดแทน และเน้นผลิตภัณฑ์สีเขียว

พีซรีสอร์ทมีการออกแบบพืน้ ทีบ่ างส่วนให้เป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อมทีล่ ดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อยูแ่ ล้ว เช่น ล็อบบี ห้อง อาหาร ศาลานวด ซึ่งเป็นอาคารที่มีลักษณะเปิดโล่ง อากาศถ่ายเทได้ตามธรรมชาติ จึงไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ รวมถึง ยังมีการน�ำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาห้องพักในส่วนที่เป็นตึก 2 ชั้น รวม 20 ห้อง เพื่อใช้ท�ำน�้ำร้อนในห้องพักแขก นอกจากนี้ยังใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้พัดลม ตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องปรับ อากาศ ที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 หรือที่มีมาตรฐานประหยัดพลังงานอื่นๆ เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED ซึ่งตั้งเป้าว่าจะ เปลี่ยนให้ครบทั้งหมดภายใน พ.ศ. 2562 ปลูกต้นไม้รอบห้องพักเพื่อลดความร้อน และลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับ อากาศ รวมถึงมีการขอความร่วมมือจากลูกค้าให้เปิดเครื่องปรับอากาศ 25 องศาเซลเซียส ใช้ม่านโปร่งและม่านทึบแสง


ภายในห้องพัก ตรวจสอบและท�ำความสะอาดเครือ่ งปรับอากาศและตูแ้ ช่อย่างสม�ำ่ เสมอ มีการติดตัง้ ไทม์เมอร์เพือ่ เปิด-ปิด ไฟอัตโนมัติตามทางเดินที่ไม่มีใครใช้ในเวลากลางคืน สนาม สระว่ายน�้ำ ไม่เพียงเท่านั้น พีซรีสอร์ทยังซื้อวัตถุดิบอาหาร ทั้งข้าว ผัก ผลไม้ จากร้านค้าที่อยู่ภายในเกาะสมุย เพื่อประหยัด พลังงานในการขนส่ง รวมไปถึงการซื้อเครื่องใช้สำ� นักงานและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาจาก มาตรฐานรับรองของหน่วยงานต่างๆ เช่น ปากกาเคมี น�้ำยาล้างจาน ที่ผ่านมาตรฐานสิ่งแวดล้อม • จัดการน�้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

พีซรีสอร์ทไม่ได้ใช้น�้ำประปาของเทศบาล แต่ใช้น�้ำบาดาลที่ขุดเจาะเอง ซึ่งแม้จะประหยัดค่าน�้ำรายเดือน แต่ก็ต้อง มีการติดตั้งมาตรวัดน�้ำ เพื่อให้สามารถตรวจวัดปริมาณการใช้น้�ำได้ว่าแต่ละวันทางโรงแรมมีการสูบน�้ำจากบ่อน�้ำบาดาล ขึ้นมาใช้วันละเท่าไร เพราะการใช้ทรัพยากรน�้ำอย่างยั่งยืนถือว่าเป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งของ Green Hotel นอกจากนี้ยังต้อง มีการตรวจปริมาณแบคทีเรียในน�้ำ ซึ่งเป็นมาตรฐานโรงแรมปลอดภัยที่เอเยนต์ในต่างประเทศให้ความส�ำคัญ “ความปลอดภัยของน�้ำถือเป็นหนึ่งในเกณฑ์มาตรฐานที่เอเยนต์จากต่างประเทศใช้พิจารณาโรงแรม รวมถึงเรื่องของ การบริหารจัดการน�้ำด้วย เช่น การตรวจค่าปริมาณแบคทีเรียในน�้ำ ซึ่งก็สอดคล้องกับเรื่อง Green ด้วย” มยุรี ผู้จัดการ ทั่วไป เล่าถึงมาตรฐานน�้ำที่โรงแรมต้องใส่ใจ ในส่วนของการลดการใช้นำ�้ พีซรีสอร์ทติดป้ายรณรงค์ลดการเปลี่ยนผ้าปูที่นอนและผ้าเช็ดตัวในห้องพัก ซึ่งส่วนใหญ่ ได้รับความร่วมมือ เพราะลูกค้าชาวยุโรป ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักให้ความส�ำคัญกับเรื่องสิง่ แวดล้อม มีป้ายรณรงค์ให้ปิดน�ำ้ ทุกครัง้ หลังใช้ และขอให้ลกู ค้าใช้ผา้ เช็ดตัวทีส่ ระน�ำ้ วันละ 1 ผืน/คน รดน�ำ้ สนามหญ้าและต้นไม้ในช่วงเวลาทีเ่ หมาะสม โดย ใช้สปริงเกอร์แบบหัวผีเสือ้ ซึง่ ปล่อยน�ำ้ เป็นฟองฟูจ่ งึ ช่วยลดการใช้นำ�้ การเปลีย่ นมาใช้อปุ กรณ์ประหยัดน�ำ้ เช่น ใช้สขุ ภัณฑ์ ที่มีระบบการใช้น�้ำ 2 แบบ ใช้หัวก๊อกน�้ำแบบมีแรงดันอากาศ และมีการเก็บกักน�้ำฝนไว้ใช้ในหน้าแล้ง “เมื่อก่อนที่ยังไม่มีป้ายขอความร่วมมือให้แขกใช้ผ้าเช็ดตัวที่สระน�ำ้ วันละผืน เราจะเบิกผ้าเช็ดตัวกันวันละ 250 ผืน ขณะทีแ่ ขกในโรงแรมมีประมาณ 200 คน ส่วนแขกทีม่ าใช้สระน�ำ้ มีไม่ถงึ แต่ผา้ ก็หมด ตอนนีจ้ ำ� นวนผ้าทีเ่ ราเบิกลดลงเหลือ วันละ 150 ผืนเท่านั้น” ยุทธนา Beach Boy แผนกอาหารและเครื่องดื่ม เล่าถึงความร่วมมือที่ได้รับจากลูกค้าที่มาใช้บริการ ในส่วนของการจัดการน�้ำเสียจากห้องอาหารนั้น มีการใช้ตะแกรงดักเศษอาหารในชั้นแรก แล้วมีบ่อดักไขมันที่เหมาะ สม รวมถึงมีการตักเศษอาหารและท�ำความสะอาดบ่อดักไขมันอย่างสม�ำ่ เสมอ เพือ่ น�ำเศษอาหาร น�ำ้ มัน และไขมันจากห้อง อาหารไปขาย หรือก�ำจัดอย่างถูกวิธี เช่น ขายเศษอาหารให้กบั ผูเ้ ลีย้ งหมู กากไขมันซึง่ ย่อยสลายยากน�ำไปท�ำปุย๋ หมัก ส่วน น�้ำเสียจะน�ำเข้าสู่ระบบบ�ำบัดน�ำ้ เสียชนิดถังส�ำเร็จ ก่อนจะปล่อยสู่ระบบน�้ำทิ้งสาธารณะ โดยมีการตรวจสอบคุณภาพน�้ำทิ้ง ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อย่างไรก็ดี พีซรีสอร์ทมีแผนว่าจะด�ำเนินการติดตั้งเครื่องบ�ำบัดน�้ำเสีย เพื่อน�ำน�้ำกลับมาใช้ใหม่ภายใน พ.ศ. 2565 • รีโนเวตห้องพักให้รักษ์โลก

เมื่อต้นปี พ.ศ. 2560 พีซรีสอร์ทมีการปรับปรุงห้องพักไป 53 ห้อง โดยจุดส�ำคัญคือการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ภายใน ห้องพักให้ประหยัดพลังงานและน�้ำมากขึ้น ทั้งหลอดไฟ เครื่องปรับอากาศ ระบบสุขภัณฑ์ และระบบน�้ำต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าคาดเตียง ผ้าปูโต๊ะ ผ้าเช็ดปากบนโต๊ะอาหาร รวมถึงเครื่องแบบของพนักงาน ไปใช้ผ้าย้อมครามที่มาจากธรรมชาติ “พอกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 เราก็เลยจัดกิจกรรม Indigo Dye เพื่อสอนการย้อม ผ้าด้วยผงครามให้กับลูกค้าที่สนใจทุกๆ วันพฤหัสบดีด้วย” มยุรี ผู้จัดการทั่วไป เล่าถึงกิจกรรมที่ท�ำเพื่อสื่อถึงนโยบาย สีเขียวของพีซรีสอร์ทให้ลูกค้าได้รับทราบ พีซรีสอร์ทได้น�ำสุขภัณฑ์เก่าที่ถอดออกมาจากห้องพักแขกไปบริจาค โดยน�ำไปเปลี่ยนให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลน ที่ยังใช้สุขภัณฑ์แบบเก่า หรือน�ำไปสร้างห้องสุขาให้กับวัด

Pe a ce Re sor t

13


14

• ทุกอย่างต้องมีข้อมูลและสถิติรองรับ

ในการท�ำโครงการเพื่อลดการใช้น้�ำ พลังงาน และจัดการขยะอย่างครบวงจรดังกล่าวมาแล้ว แต่ละแผนกต้องมีการ เก็บข้อมูล หรือสถิตติ ลอดเวลา เพื่อจะได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ส�ำหรับน�ำไปพัฒนารายงานความคุ้มค่าให้กับ ผู้บริหาร และถือเป็นข้อมูลเพื่อขอรับการรับรอง Green Hotel “อย่างในส่วนของช่างทีผ่ มรับผิดชอบ เราจะมีเป้าหมายอยูว่ า่ ต้องลดการใช้พลังงานให้ได้กเี่ ปอร์เซ็นต์ เราต้องมีหน้าที่ เก็บสถิติการใช้พลังงาน แล้วเอามาหารเฉลี่ยกับจ�ำนวนแขกที่เข้าพัก เช่น เดือนหนึ่งมีแขกเข้าพัก 3,000 ห้อง เราจ่ายค่า พลังงานไฟฟ้าไป 300,000 กว่าบาท ก็จะรู้ว่าต่อห้องเราใช้พลังงานเท่าไร และเสนอให้เจ้านายดูได้ว่าหลังจากเราเปลี่ยน หลอดไฟแล้วค่าไฟลดลง” ทรงศักดิ์ เจริญศักดิ์ ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกช่าง และรองประธาน Green Team อายุงาน 1 ปี เล่า ถึงความจริงจังในการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมของพีซรีสอร์ท ขณะที่ชัยวัฒน์ ประธาน Green Team เสริมว่านอกจากสถิติการใช้ไฟฟ้าประจ�ำเดือนในส่วนของโรงแรมแล้ว แผนก ช่างยังมีการเก็บสถิติการใช้ไฟฟ้าและน�้ำประปาในส่วนของหอพักพนักงานด้วย “(คนรับซื้อขยะ) เขาจะเข้ามาทุกอาทิตย์ เราก็จะมีการจดบันทึกเป็นสถิติทุกอาทิตย์ว่าขยะที่ขายแต่ละครั้งมีน�้ำหนัก เท่าไร แยกเป็นขยะรีไซเคิลกี่กิโล ขยะอินทรีย์เท่าไร ขยะอันตรายเท่าไร ขยะทั่วไปเท่าไร น�้ำหนักรวมเท่าไร จดบันทึกเป็น สถิติแล้วมาเปรียบเทียบกับจ�ำนวนลูกค้าในแต่ละเดือน ซึ่งการประเมินครั้งนี้ (การขอมาตรฐาน Green Hotel พ.ศ. 2561) เขา (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม) ขอตัวเลขการจัดการขยะของเรา 3 ปีย้อนหลัง” ชัยวัฒน์ ประธาน Green Team เล่าถึงที่มาของการที่โรงแรมมีตัวเลขย้อนหลัง ขณะที่สิทธิพร Chief แผนกสวน ก็ต้องมีการจดบันทึกข้อมูลเช่นกัน ทั้งเรื่องของกิ่งไม้ที่น�ำมาใช้ใหม่ การท�ำน�้ำหมัก อีเอ็มซึ่งน�ำไปใช้กับสุขภัณฑ์ในห้องพัก การปลูกผักปลอดสารพิษภายในโรงแรม • ร่วมสร้าง Green Community

นอกจากการดูแลรักษาสิง่ แวดล้อมภายในโรงแรม ทัง้ ในส่วนทีโ่ รงแรมท�ำเอง และขอความร่วมมือจากลูกค้าทีม่ าพักดัง ได้กล่าวมาแล้ว พีซรีสอร์ทยังเผยแพร่แนวคิดเรือ่ งสิง่ แวดล้อม และเข้าร่วมกิจกรรมด้านสิง่ แวดล้อมกับองค์กรอืน่ ๆ ในชุมชน เพือ่ สร้างชุมชนสีเขียวในรูปแบบต่างๆ อีกด้วย อาทิ การจัดกิจกรรมตลาดสีเขียวขึน้ ทีบ่ ริเวณสนามหญ้าภายในโรงแรม โดย เชิญโรงแรมต่างๆ ที่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประมาณ 50 รายมาออกร้าน ทั้งในลักษณะของการจัดนิทรรศการ และน�ำสินค้ามาจ�ำหน่าย โดยใน พ.ศ. 2561 เป็นปีแรกมีการจัดตลาดสีเขียวทุกๆ 3 เดือน แต่ใน พ.ศ. 2562 จะลดเหลือ เพียงปีละ 2 ครัง้ เนือ่ งจากต้องใช้บคุ ลากรค่อนข้างมากในการจัดเตรียมงานแต่ละครัง้ ท�ำให้ไม่คอ่ ยสะดวกในช่วงทีโ่ รงแรม มีลูกค้ามาก แม้ว่าตลาดสีเขียวจะได้รับความนิยมจากลูกค้าในโรงแรม และนักท่องเที่ยวข้างนอกก็ตาม “ลักษณะงานที่จัดจะเป็นแบบตลาดชาวสวน แต่จะมีอาหารที่ไม่มีขายข้างนอก เป็นเมนูแปลกๆ อย่างโรงแรมบ้าน ท้องทรายจะมีย�ำหัวปลีสูตรพิเศษเพื่อสุขภาพมาขาย รวมถึงน�ำเสื้อยืดตุ๊กแก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่เวลามาเกาะหรือว่าอยู่ใน ป่าก็จะมีตุ๊กแก ฝรั่งเห็นก็จะตื่นเต้น เขาก็เอามาขาย แล้วเราก็ขอบริจาครายได้ส่วนหนึ่งจากคนที่มาออกร้านและคนที่มา เดินตลาด เพื่อน�ำไปบริจาคให้มูลนิธิต่างๆ เช่น Soi Dog กับ Dog Rescue เพราะเกาะสมุยมีปัญหาเรื่องหมาจรจัดค่อนข้าง เยอะ แล้วมันก็รบกวนลูกค้า และอันตรายเพราะมันกัดด้วย มูลนิธิเหล่านี้ก็มาช่วยจับหมาท�ำหมัน เราก็เลยช่วยเขา” มยุรี ผู้จัดการทั่วไป เล่าถึงผลพลอยได้ นอกจากนี้พีซรีสอร์ทยังเข้าร่วมกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับชมรมหาดบ่อผุด ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาประมาณ 1 ปีเศษ จาก แนวคิดของเทศบาลนครเกาะสมุยที่ต้องการขับเคลื่อนให้เกาะสมุยเป็น Green Island โดยใช้การท�ำงานเชิงพื้นที่ “เราเลือกหาดบ่อผุดเป็นพืน้ ทีแ่ รกในการท�ำงานเชิงพืน้ ทีเ่ พือ่ สร้างเครือข่ายสีเขียว เพราะเป็นหาดท่องเทีย่ วทีม่ ชี อื่ เสียง ยาวแค่ 2 กิโลเมตร ขนาดของชุมชนไม่ใหญ่เกินไป และมีองค์ประกอบค่อนข้างครบ คือมีโรงแรม 10 กว่าโรง มีร้านอาหาร เยอะมากที่อยู่ใน Fisherman’s Village ซึ่งเป็นถนนคนเดิน รวมทั้งมีตลาดสด โรงเรียน วัด และเป็นพื้นที่ที่มีขยะเยอะ” สุภิญญา ศรีทองกุล ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีนครเกาะสมุย เล่าถึงที่มาของชมรมกรีนบ่อผุด


ชมรมกรีนบ่อผุดจะมีการประชุมร่วมกันทุกเดือน ส่วนการท�ำกิจกรรมสิ่งแวดล้อมร่วมกันอย่างเช่น การท�ำความ สะอาดหาดบ่อผุดเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 โดยชมรมได้มอบหมายให้พีซรีสอร์ทเป็นแม่งาน ประสานให้ทุกโรงแรม มาท�ำกิจกรรมร่วมกัน “และที่ประชุมยังมอบภารกิจให้พีซรีสอร์ทเป็นเลขาธิการของกลุ่มกรีนบ่อผุด ด้วยความที่เขามีความพร้อมในการ ท�ำงาน มี Green Team ซึ่งสะท้อนว่าเขาเข้าใจการท�ำงานด้านสิ่งแวดล้อมว่าทุกฝ่ายต้องท�ำร่วมกัน ซึ่งเขาก็ยินดี และยัง ตกลงกันว่าต่อไปเราจะเปลี่ยนไปพัฒนาด้านถนนบ้าง โดยมีแผนว่าจะท�ำสลับกับชายหาด” สุภิญญาเล่าถึงบทบาทการมี ส่วนร่วมของพีซรีสอร์ทในการสร้าง Green Beach นอกจากนีก้ ม็ กี จิ กรรมด้านสิง่ แวดล้อมทีพ่ ซี รีสอร์ทร่วมท�ำกับชุมชนหรือหน่วยงานอืน่ ๆ เช่น การร่วมโครงการชายหาด ปลอดบุหรี่ ซึ่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งร่วมกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเทศบาลนครเกาะสมุยจัดขึ้นเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ท�ำให้หาดบ่อผุดเป็นหาดเดียวบนเกาะสมุยทีไ่ ม่อนุญาตให้สบู บุหรี่ และเมือ่ เดือนมิถนุ ายน พ.ศ. 2561 มีการท�ำกิจกรรมเก็บขยะทะเลที่ตกค้างในระบบนิเวศที่ส�ำคัญแบบมีส่วนร่วม และการเป็นแม่งานท�ำความสะอาดหาดบาง รักษ์ ซึ่งอยู่ถัดไปจากหาดบ่อผุด และเป็นที่ตั้งของ The Scent โรงแรมในเครือ โดยท�ำร่วมกับโรงแรมอื่นๆ อีก 10 กว่าแห่ง

Pe a ce Re sor t

15


16

“ลูกค้าจะชอบเลย เพราะอย่าลืมว่าปัจจุบันคนสูบบุหรี่ค่อนข้างมีน้อย อย่างชายหาดบ่อผุดเป็นกลุ่มลูกค้าชาวยุโรป เยอะ และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มครอบครัว เพราะฉะนั้นพอเขาเห็นแคมเปญชายหาดปลอดบุหรี่ก็เกิดผลลัพธ์ชัดเจนเลยว่า ตัวเลขในกลุ่มของเพื่อนบ้านเรามีกลุ่มลูกค้าเพิ่มมากขึ้นตลอดทั้งปี” ชัยวัฒน์ ประธาน Green Team กล่าวถึงผลดีของการ เป็นชายหาดปลอดบุหรี่ ส�ำหรับพนักงานทีจ่ ะไปร่วมท�ำกิจกรรมด้านสิง่ แวดล้อมทีพ่ ซี รีสอร์ทเข้าไปมีสว่ นร่วมนัน้ ชารีญา ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การแผนก บุคคลเล่าว่า จะเป็นไปตามความสมัครใจ โดยปกติฝ่ายบุคคลจะส่งอีเมลเพื่อขอความร่วมมือไปยังแผนกต่างๆ เพื่อขอให้ ส่งตัวแทนเข้าร่วม ซึ่งก็แล้วแต่ว่าหัวหน้าแผนกจะเลือกใคร หรือใครขอไป เพราะงานเหล่านี้ถือว่าเป็นงานจิตอาสา นอกจากกิจกรรมด้านสิง่ แวดล้อมแล้ว พีซรีสอร์ทยังท�ำกิจกรรม CSR6 เพือ่ ตอบแทนสังคมและชุมชนด้วย โดยกิจกรรม ในส่วนนี้จะมีกลุ่ม Committee หรือคณะกรรมการของโรงแรม ซึ่งมาจากแผนกต่างๆ เป็นผู้รับผิดชอบ (คณะกรรมการ มีอายุ 1 ปี) เช่น การสร้างสนามเด็กเล่นใหม่ให้กับโรงพยาบาลเกาะสมุย เพราะเจ้าของพีซรีสอร์ทให้เงินสนับสนุนในการ ซื้ออุปกรณ์ท�ำสนามเด็กเล่นประมาณ 500,000 บาท และมีการเข้าไปดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพดีทุกๆ 3 เดือน โดยได้รับ การสนับสนุนจากร้านค้าต่างๆ ในเรื่องวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ และมีโรงแรมหลายแห่งส่งพนักงานมาเข้าร่วม รวมถึง Green Team ก็เข้าร่วมด้วยเนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้คนเยอะ นอกจากนี้ก็มีกิจกรรมย่อยๆ เช่น เข้าร่วมกิจกรรมวิ่งการกุศล เพื่อน�ำเงินไปบริจาคให้กับโรงเรียนเด็กพิเศษ สมาคมโรคมะเร็ง ฯลฯ

ความยั่งยืนเกื้อหนุนการท�ำธุรกิจ พีซรีสอร์ทมั่นใจว่าการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลดีต่อการท�ำธุรกิจของพีซรีสอร์ท เพราะ ชาวยุโรป ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักใส่ใจและได้รับการปลูกฝังเรื่องสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยินดีปฏิบัติตามเมื่อทราบว่าโรงแรม มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้ผ้าปูที่นอนและผ้าเช็ดตัวซ�้ำประมาณ 3 วัน ให้ความร่วมมือใช้ผ้าเช็ดตัวที่สระน�้ำวันละ 1 ผืน และสูบบุหรี่ในพื้นที่ที่โรงแรมจัดไว้ “หรืออย่างเมื่อก่อนนี้ เราใช้ดอกไม้เยอะมากในการจัดงานแต่งงาน หรือตกแต่งห้องพัก แต่ตอนนี้เราเปลี่ยนมาใช้ ใบไม้ในสวนในการตกแต่ง ซึ่งลูกค้าก็ไม่ได้มีข้อกังขาว่าท�ำไมวันฮันนีมูน หรืองานแต่งงานของฉันถึงไม่มีดอกกุหลาบ คือ เขาเข้าใจ เพราะเราได้ชี้แจงไว้ในนโยบายสิ่งแวดล้อมของโรงแรม ทั้งในเว็บไซต์ ในห้องพัก และบอร์ดภายในโรงแรมแล้ว และเขาก็รู้สึกประทับใจที่เห็นว่าใบไม้ก็ท�ำให้สวยได้เหมือนกัน” มยุรี ผู้จัดการทั่วไป ยกตัวอย่าง นอกจากลูกค้าแล้ว นโยบายสิง่ แวดล้อมของพีซรีสอร์ท และใบรับรอง Green Hotel รางวัลเหรียญทอง ก็ทำ� ให้การขาย ห้องพักผ่านเอเยนต์ในต่างประเทศได้อย่างไม่มีอุปสรรค เพราะมีเอเยนต์จ�ำนวนไม่น้อยที่ถามหามาตรฐานสีเขียวเหล่านี้ “ถ้าเซลส์ของเราไปแนะน�ำว่าพีซรีสอร์ทมีประกาศนียบัตร มีกิจกรรมที่เกี่ยวกับ Green ให้กับลูกค้าเวลาไปพบลูกค้า ที่เมืองนอก การท�ำสัญญาซื้อขายห้องพักระหว่างกันจะท�ำได้ง่ายมาก” ชัยวัฒน์ ประธาน Green Team และหัวหน้าแผนก ต้อนรับอธิบาย “โรงแรม Green ก็มปี ระโยชน์อย่างหนึง่ ในเรือ่ งของลูกค้า เดีย๋ วนีเ้ ขาอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม มันเป็นเทรนด์ใหม่ ถ้าโรงแรม เราเป็นโรงแรมสีเขียว ลูกค้าที่เขาชอบอนุรักษ์พลังงานอะไรแบบนี้เขาก็จะมาพัก เราก็สามารถชูตรงนี้เข้าไปได้” ทรงศักดิ์ ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกช่างเสริม

6

CSR ย่อมาจาก Corporate Social Responsibility หรือการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมจากภาคธุรกิจ


แผนธุรกิจในอนาคต ส�ำหรับการขยายธุรกิจในอนาคต พีซรีสอร์ทมีแผนที่จะสร้างห้องพักเพิ่มขึ้นเป็น 170 ห้องภายใน 5 ปี จากปัจจุบันที่ มี 122 ห้อง นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะสร้างร้านอาหารเพิ่มอีก 1 ห้อง เพื่อให้เพียงพอที่จะรองรับลูกค้าที่จะเพิ่มขึ้นจากการ ขยายห้องพัก รวมถึงท�ำห้องท�ำเล็บและห้องนวดหน้าใหม่อีกด้วย เพราะเป็นบริการที่ลูกค้าต้องการ นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะปรับปรุงห้องพักเดิมที่เหลืออยู่อีก 69 ห้อง โดยช่วงปลายปี พ.ศ. 2561 จะปรับปรุง 16 ห้อง ส่วนอีก 53 ห้องที่เหลือจะปรับปรุงใน พ.ศ. 2562 เพื่อให้ห้องพักทั้งหมดสอดรับกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม คือประหยัด พลังงานและประหยัดน�้ำ โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณ 100 ล้านบาท อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะปรับปรุงห้องพักทั้งหมดให้ประหยัดพลังงานและน�้ำ แต่มยุรี ผู้จัดการทั่วไป บอกว่ายังมีอีกระบบ หนึ่งที่เป็นความท้าทายในการท�ำ นั่นคือระบบของเสียจากสุขภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันยังเป็นระบบเก่า คือเป็นบ่อเกรอะส�ำหรับ ห้องพักแต่ละหลัง เมื่อเต็มก็เรียกเทศบาลมาน�ำไปก�ำจัด ขณะที่น�้ำจะไม่ผ่านการบ�ำบัด “แต่ในอนาคตข้างหน้าคิดว่าเราต้องมีการบริหารจัดการตรงนี้ แม้ว่าจะค่อนข้างยากและต้องมีการลงทุนสูงมาก เนื่องจากห้องพักของเราไม่ได้เป็นตึก แต่ส่วนใหญ่เป็นบ้านหลังๆ”

การบริหารทรัพยากรบุคคล ปัจจุบันพีซรีสอร์ทมีพนักงานประมาณ 150 คน ซึ่งมยุรี ผู้จัดการทั่วไป บอกว่ายังไม่เต็มอัตราจ้าง ซึ่งก�ำหนดไว้ที่ 160 คน พนักงานทั้งหมดเป็นพนักงานประจ�ำ แบ่งเป็นพนักงานชายและหญิงใกล้เคียงกันคือ 49% และ 51% ตามล�ำดับ มีพนักงานชาวต่างชาติไม่ถงึ 1% คือประมาณ 8 คน โดยเป็นชาวพม่า 5 คน ชาวเยอรมัน สวิส และฟิลปิ ปินส์อย่างละ 1 คน มีการจ้างงานพนักงานพิการทางการได้ยิน 1 คน อายุเฉลี่ยของพนักงานอยู่ที่ 34 ปี ส่วนอายุการท�ำงานเฉลี่ยคือ 3.4 ปี (โดยกลุม่ ทีม่ มี ากทีส่ ดุ มีอายุระหว่าง 2-7 ปี ซึง่ หากเทียบกับโรงแรมทีอ่ นื่ แล้วถือว่าอายุการท�ำงานเฉลีย่ อยูใ่ นระดับกลางๆ) โครงสร้างองค์กรของพีซรีสอร์ทจะมีลักษณะเป็นล�ำดับขั้น โดยนอกจากกรรมการผู้จัดการ (ซึ่งเป็นเจ้าของ) 2 คน แล้ว จะเป็นพนักงานประจ�ำตั้งแต่ผู้จัดการทั่วไป 1 คน ผู้จัดการโรงแรม 1 คน รองลงมาจะเป็นระดับผู้จัดการ (Manager) หรือหัวหน้า (Chief) ดูแลแผนกต่างๆ อาทิ แผนกบุคคล (ซึ่งต�ำแหน่งผู้จัดการแผนกยังว่างอยู่) แผนกอาหารและเครื่อง ดื่ม แผนกต้อนรับ แผนกไอที แผนกขาย แผนกแม่บ้าน แผนกซักรีด แผนกช่าง แผนกสวน ซึ่งสองแผนกหลังนี้หัวหน้าจะ เป็นต�ำแหน่ง Chief ขณะที่แผนกครัวหัวหน้าจะเป็น Executive Chef ส่วนระดับรองลงมาจะเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ช่วย หัวหน้า ตามด้วยต�ำแหน่งซูเปอร์ไวเซอร์ หรือกัปตัน และพนักงานระดับปฏิบัติการ (Staff) ตามล�ำดับ ส�ำหรับหลักการจ่ายค่าแรง หากเป็นพนักงานระดับเริ่มต้นที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการท�ำงานมาก่อน จะได้รับ ค่าตอบแทนตามทีก่ รมแรงงานก�ำหนด ซึง่ ค่าแรงทีเ่ กาะสมุยจะอยูท่ ี่ 9,600 บาท/เดือน แต่หากมีประสบการณ์และต�ำแหน่ง จะเป็นลักษณะของการเจรจาต่อรองกัน “เราเคยส�ำรวจการจ่ายค่าแรงของโรงแรมอื่นๆ ที่อยู่ในระดับเดียวกัน พบว่าฐานเงินเดือนแต่ละต�ำแหน่งของเราอยู่ใน ระดับเดียวกับโรงแรมอื่นๆ ค่ะ” ชารีญา ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกบุคคลกล่าว นอกจากเงินเดือนแล้ว พนักงานทุกคนจะได้รบั ค่าเซอร์วสิ ชาร์จ (service charge) ซึง่ โรงแรมเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ อีก 10% จากค่าบริการปกติ และน�ำมาหารแบ่งให้พนักงานทุกคน โดยพีซรีสอร์ทมีการรับประกันการจ่ายเซอร์วิสชาร์จ ไว้ที่ 3,500 บาท/เดือน ในกรณีที่รายได้จากเซอร์วิสชาร์จในเดือนนั้นต�่ำกว่า 3,500 บาท เช่นช่วงที่โรงแรมปิดปรับปรุง ห้องพัก แต่หากว่ายอดเซอร์วิสชาร์จเฉลี่ยเกิน 3,500 บาทก็จะจ่ายตามจ�ำนวนจริง อย่างไรก็ดี หากเฉลี่ยทั้งปี รายได้จาก เซอร์วิสชาร์จของพนักงานพีซรีสอร์ทจะอยู่ที่เดือนละ 7,500-8,000 บาท โดยเซอร์วิสชาร์จจะจ่ายทุกวันที่ 20 ส่วนเงิน เดือนจะจ่ายตอนสิ้นเดือน

Pe a ce Re sor t

17


18

ส�ำหรับทิปจากแขกที่มอบให้พนักงานโดยตรง เช่น พนักงานเสิร์ฟ แม่บ้าน พนักงานยกกระเป๋า หรือรีเซปชัน จะถือ เป็นรายได้พิเศษของพนักงานคนนั้นหรือแผนกนั้น เช่น ร้านอาหารจะเป็นทิปรวม ซึ่งจะน�ำมาแบ่งกันทุกสิ้นเดือน แต่ว่าถ้า เป็นส่วนของพนักงานต้อนรับ พนักงานยกกระเป๋า พนักงานขับรถ หรือแม่บ้าน จะเป็นทิปแยกของแต่ละคน ส่วนโบนัสจะเป็นการพิจารณาของกรรมการผู้จัดการเป็นหลัก โดยจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการ “โบนัสไม่ได้ทุกปี แต่ว่าจะได้เป็นเงินขวัญถุงในช่วงตรุษจีนมากกว่า เพราะช่วง 3 ปีมานี้เราปิดโรงแรมเพื่อปรับปรุง จึงไม่ได้เปิด 100% ทั้งหมด รายได้จึงไม่ได้เท่ากับเป้าที่เราตั้งไว้” มยุรี ผู้จัดการทั่วไป ให้ข้อมูล ส�ำหรับพนักงานที่มีการท�ำงานล่วงเวลาจะไม่ได้รับค่าแรงเป็นตัวเงิน แต่จะได้เป็นชั่วโมงสะสมเพื่อน�ำไปรวมกับวัน ลา หรือน�ำมาใช้ลางานระหว่างวัน เช่น หากมีการท�ำงานล่วงเวลาสะสมไว้ 2 ชั่วโมง อาจจะขอแลกเป็นการเข้างานช้า หรือ กลับบ้านเร็ว 2 ชั่วโมงได้ พีซรีสอร์ทท�ำงานเป็นกะ (ในส่วนที่ไม่ใช่งานออฟฟิศ) กะละ 9 ชั่วโมง (เวลาพัก 1 ชั่วโมง) โดยกะเช้าจะเริ่ม 06.0015.00 น. ส่วนกะบ่ายอาจจะเริ่มเวลา 11.00-20.00 น. หรือ 14.00-23.00 น. แล้วแต่แผนก ในส่วนของวันหยุดนั้น เนื่องจากโรงแรมเปิดให้บริการทุกวัน พนักงานจึงต้องสลับกันหยุด โดยแต่ละเดือนพนักงานจะมีวันหยุดรวม 6 วัน มีวัน หยุดนักขัตฤกษ์อีกปีละ 15 วัน ซึ่งสามารถเก็บรวบรวมไว้ใช้ทีเดียวหรือทยอยใช้ได้ นอกจากนี้ยังมีข้อก�ำหนดการลาหยุด ในกรณีพิเศษ เช่น แต่งงานหรือญาติเสียชีวิตสามารถลางานได้ 5 วัน บวชให้ลาได้ 14 วัน โดยนับรวมในวันหยุด แต่ผู้ลา จะไม่ได้รับเซอร์วิสชาร์จในวันลาที่เกินจากวันหยุด ส่วนวันลาคลอดและลาป่วยเป็นไปตามที่กฎหมายก�ำหนด ส�ำหรับวัน พักร้อนขึ้นอยู่กับต�ำแหน่งและระยะเวลาในการท�ำงาน โดยเริ่มจาก 6 วัน เมื่อท�ำงานครบปี ส�ำหรับสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลนั้น นอกจากประกันสังคมแล้ว พีซรีสอร์ทมีการท�ำประกันสุขภาพกลุ่มให้ กับพนักงานทุกคนที่ผ่านการทดลองงาน เนื่องจากเกาะสมุยมีโรงพยาบาลรัฐเพียงแห่งเดียวคือโรงพยาบาลเกาะสมุย ซึ่ง อาจจะแออัด จึงมีการท�ำประกันสุขภาพกลุ่มเพื่อให้พนักงานสามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน ซึ่งมีค่าใช้จ่าย สูงได้ (ภายใต้วงเงินประกัน) โดยไม่เป็นภาระของพนักงานเกินไปในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือต้องการ ได้รับการรักษาพยาบาลที่ดีกว่าโรงพยาบาลของประกันสังคม และมีเงินตอบแทน นอกจากนี้ยังมีชุดเครื่องแบบพนักงาน พร้อมบริการซักรีดฟรี มีอาหารให้รับประทาน 3 มื้อ โดยไม่คิดมูลค่า และ พนักงานสามารถรับประทานได้ไม่จ�ำกัด โดยมีอาหารส�ำหรับชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมแยกเป็นสัดส่วน รวมถึงมี หอพักส�ำหรับพนักงาน ซึ่งอยู่ห่างจากโรงแรมเพียง 300 เมตร จึงสะดวกในการเดินทาง โดยห้องพักส�ำหรับระดับผู้บริหาร ซึง่ มีเครือ่ งปรับอากาศและโทรทัศน์ นอกเหนือจากตูแ้ ละเตียง จะเก็บค่าใช้จา่ ยเดือนละ 1,000 บาท ส่วนห้องระดับพนักงาน ซึ่งมีตู้ เตียง พัดลม จะเก็บค่าใช้จ่ายเดือนละ 350 บาท (1 ห้องให้พัก 2 คน) โดยหอพักจะมี 2 ตึก ส�ำหรับผู้ชายและ ผู้หญิงแยกกัน รวม 48 ห้อง “นโยบายของเราก็คอื เราจะให้เฉพาะพนักงานของพีซรีสอร์ทเท่านัน้ เข้าพัก ดังนัน้ หากเขามีครอบครัวก็ไม่สามารถน�ำ ครอบครัวมาอยู่ด้วยได้ ต้องไปเช่าบ้านอยู่ ซึ่งเราไม่มีค่าเช่าบ้านให้ แต่ถ้าเป็นระดับผู้บริหารอาจจะอยู่ที่ข้อตกลงกันว่าจะ ให้ค่าเช่าบ้านหรือไม่ เพราะมาตรฐานของเกาะสมุยก็คือ หากโรงแรมไหนไม่มีหอพักให้พนักงาน ทางโรงแรมจะมีการช่วย เรื่องค่าเช่าบ้าน เพราะอย่างที่ทราบว่าค่าครองชีพบนเกาะจะสูง แต่หากโรงแรมไหนมีค่าเช่าบ้านให้ก็จะไม่มีหอพักให้อยู่” ชารีญา ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกบุคคล ให้ข้อมูลเพิ่มเติม พีซรีสอร์ทยังมีสวัสดิการช่วยเหลือการศึกษาให้แก่บุตรของพนักงานที่มีอายุงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยบุตรต้องมีอายุ ระหว่าง 7-18 ปี หากศึกษาอยู่ชั้น ป.1-ม.3 จะได้รับเงินช่วยเหลือปีละ 2,000 บาท ตั้งแต่ ม.4 ขึ้นไป (จนกว่าจะอายุครบ 18 ปี) จะได้รับเงินช่วยเหลือปีละ 3,000 บาท โดยพนักงาน 1 คนจะมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือด้านการศึกษาแก่บุตร 1 คนเท่านั้น หรือหากเป็นคู่สามีภรรยาก็จะได้รับแค่สิทธิเดียว


ให้โอกาสพนักงานภายในได้เติบโต เนื่องจากโครงสร้างขององค์กรมีลักษณะเป็นล�ำดับขั้น พนักงานของพีซรีสอร์ทจึงมี career path หรือโอกาสในการ เติบโตทางหน้าที่การงานที่เห็นได้ชัด หากพิสูจน์ตัวเองได้ว่ามีความรู้ความสามารถ “อย่างน้องแพง ตอนแรกเข้ามาในต�ำแหน่งเด็กเสิร์ฟ แต่ตอนนี้กลายมาเป็นเลขาฯ ส่วนตัวของเมย์ ก็ได้มาเรียนรู้งาน ด้านธุรการและได้ศกึ ษาการท�ำกราฟิกดีไซน์ จนได้มอบหมายให้รบั ผิดชอบการท�ำโปสเตอร์และเมนูอาหาร นอกเหนือจาก การท�ำงานเอกสารต่างๆ คือที่พีซฯ จะเน้นให้ทุกคนสามารถท�ำงานได้มากกว่าหนึ่งอย่าง และหากเขามีความสามารถที่จะ ท�ำได้ เราก็สนับสนุนให้เขาเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน” มยุรี ผู้จัดการทั่วไป ยกตัวอย่างของสุวารินี เมฆินทรสมบัติ ซึ่งเข้ามาร่วมงานกับพีซรีสอร์ทเมื่อ 4 ปีก่อน หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขณะที่ชารีญา ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกบุคคล ก็เริ่มงานที่พีซรีสอร์ทในต�ำแหน่งพนักงานทั่วไป ก่อนจะได้รับการเลื่อน ต�ำแหน่งให้เป็นซูเปอร์ไวเซอร์และผู้ช่วยผู้จัดการ ส่วนสิทธิพรก็เริ่มจากต�ำแหน่งคนสวน ก่อนที่จะขึ้นมาเป็นซูเปอร์ ไวเซอร์และหัวหน้า หรือ Chief แผนกสวนเช่นในปัจจุบัน จึงไม่น่าแปลกใจที่มยุรีจะบอกว่า โดยรวมแล้วพีซรีสอร์ทมีการ เลื่อนต�ำแหน่งพนักงานจากภายในสูงถึง 80% “ถ้าวันใดที่ต�ำแหน่งข้างบนว่าง คนที่เราจะเลือกก่อนก็คือพนักงานภายใน ถ้าไม่มีเราถึงจะจ้างบุคคลภายนอกเข้ามา” มยุรีกล่าว

วัฒนธรรมองค์กรแบบครอบครัว พีซรีสอร์ทไม่เพียงแต่เป็นธุรกิจครอบครัวเท่านั้น แต่ยังพยายามสร้างวัฒนธรรมภายในองค์กรให้เป็นแบบครอบครัว ด้วย แม้ว่าจะไม่ได้มีการก�ำหนด หรือประกาศออกมาเป็นวัฒนธรรมองค์กรอย่างเป็นทางการ “เราจะอยู่กันเหมือนครอบครัว เหมือนเพื่อน มากกว่าหัวหน้าและลูกน้อง” มยุรี ผู้จัดการทั่วไป กล่าวถึงวัฒนธรรม ภายในองค์กรในมุมมองของผูบ้ ริหาร พร้อมกับยกตัวอย่างการท�ำกิจกรรม In Her Shoes ทีจ่ ดั ขึน้ ปีละครัง้ เพือ่ ส่งเสริมความ เป็นเพื่อน ความเป็นครอบครัวในองค์กรระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง รวมถึงเปิดโอกาสให้ระดับบริหารหรือหัวหน้าได้ลงไป เรียนรู้ และท�ำความเข้าใจการท�ำงานของพนักงานด้วย โดยรูปแบบของกิจกรรมนีค้ อื จะให้หวั หน้าแผนกต่างๆ จับฉลากว่า จะต้องไปท�ำงานเป็นพนักงานระดับปฏิบตั กิ ารในแผนกใดเป็นเวลา 1 วัน อาจจะเป็นคนสวน พนักงานในครัว พนักงานเสิรฟ์ พนักงานยกกระเป๋า พนักงานขายเครือ่ งดืม่ ทีบ่ าร์ พนักงานซักรีด โดยมีพนักงานในแผนกนัน้ เป็นคนสอนงานและเป็นพีเ่ ลีย้ ง “ปีที่แล้ว ผู้จัดการโรงแรมมาเป็นพนักงานเสิร์ฟ ส่วนคุณเมย์ (ผู้จัดการทั่วไป) ไปเป็นพนักงานซักรีด ก็ต้องรีดผ้า รุนรถใส่ผ้า ท�ำเหมือนพนักงานทุกอย่าง ใส่ชุดยูนิฟอร์มของพนักงานแผนกนั้นด้วย เป็นกิจกรรมที่ดีและสนุกมากๆ เลย” กัญญารัตน์ ค�ำทอง พนักงานเสิรฟ์ อายุงาน 3 ปี และยุทธนา Beach Boy แผนกอาหารและเครือ่ งดืม่ ช่วยกันเล่าด้วยเสียงหัวเราะ ขณะที่ชารีญา ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกบุคคล กล่าวถึงจุดเด่นของวัฒนธรรมองค์กรของพีซรีสอร์ทว่า จะเน้นเรื่องการมี ส่วนร่วมของพนักงานทุกคนในองค์กร โดยทีพ่ ซี รีสอร์ทจะมีคณะกรรมการอยู่ 2 กลุม่ คือ กลุม่ Committee และกลุม่ Green Team ซึ่งแม้ทั้งสองกลุ่มจะเป็นแกนน�ำในการท�ำกิจกรรมต่างกันทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดย Green Team เน้นหนัก ไปในเรื่องกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนกลุ่ม Committee จะเป็นการท�ำงานจิตอาสาอื่นๆ แต่หากเป็นโครงการใหญ่ เช่น การดูแลสนามเด็กเล่นที่โรงพยาบาลเกาะสมุย ทั้งสองทีมจะท�ำกิจกรรมร่วมกัน นอกจากนี้บรรยากาศการท�ำงานของที่พีซรีสอร์ทยังเป็นกันเอง ท�ำงานเหมือนเป็นพี่เป็นน้องมากกว่าจะเป็นแบบ เจ้านายกับลูกน้อง “พนักงานที่นี่จะเรียกกันว่าพี่ว่าน้องทุกคน เหมือนเราเป็นญาติกัน เป็นความอบอุ่น หรืออย่าง owner (เจ้าของ) ก็คอ่ นข้างใจดี และเข้ากับทุกคนง่าย ด้วยพืน้ เพเป็นคนเกาะอยูแ่ ล้ว ก็จะรูจ้ กั พนักงานเกือบทุกคน เพราะกรรมการผูจ้ ดั การ

Pe a ce Re sor t

19


20

คนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้หญิงก็จะพักอยู่ในโรงแรม จะเห็นพนักงานบ่อย จึงรู้จักพนักงานที่ท�ำงานมาระยะหนึ่ง และให้ความสนิท สนมกับพนักงานด้วยการเรียกชื่อ ทักทาย บางทีก็ซื้อขนมมาฝากพนักงาน แม้กระทั่งแม่ของเจ้าของ ซึ่งอยู่บ้านตรงกัน ข้ามกับโรงแรมก็มาเลี้ยงอาหาร หรือซื้ออะไรมาให้พนักงานกินบ่อยๆ เป็นวัฒนธรรมของครอบครัวนี้ไปเสียแล้ว” ชารีญา ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกบุคคลเล่า “เขาดูแลพนักงานแบบครอบครัว อย่าง GM แกแทบจะรู้จักพนักงานทุกคนเลย เราจึงอยู่กันแบบพี่น้อง เดินเข้าไป หาแล้วคุยกันเลย เหมือนเป็นครอบครัวใหญ่ๆ ที่มีความสุข” ทรงศักดิ์ ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกช่าง และรองประธาน Green Team เสริม

การสรรหาพนักงาน ตัง้ แต่ตน้ ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา พีซรีสอร์ทมีการรับพนักงานใหม่ประมาณ 20 กว่าคน มีทงั้ รับเข้ามาทดแทนต�ำแหน่ง เดิมที่พนักงานลาออก และรับเข้ามาในต�ำแหน่งที่เปิดใหม่ โดยช่องทางหลักที่พซี รีสอร์ทใช้ในการประกาศรับสมัครงานคือ สื่อออนไลน์ อาทิ www.phuketall.com และเพจเฟซบุ๊ก HR Samui Club นอกเหนือจากการติดประกาศที่หน้าโรงแรม และ บอร์ดประชาสัมพันธ์ของแผนกบุคคล เพือ่ ให้พนักงานซึง่ ต้องมาตอกบัตรเข้างานทุกวันเห็น และน�ำไปบอกต่อกับเพือ่ น หรือ พี่น้องที่คิดว่ามีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับต�ำแหน่งที่ประกาศรับ แต่จากสถิติของฝ่ายบุคคลพบว่า แม้ผู้สมัครส่วนใหญ่ทราบข่าวการรับสมัครงานจากทางเว็บไซต์หรือเฟซบุ๊ก แต่ก็มี บางคนที่มาจากการแนะน�ำของพี่น้อง หรือคนรู้จักที่ท�ำงานที่พีซรีสอร์ท ส่วนคนที่เห็นประกาศที่หน้าโรงแรมมีน้อย “อย่างแพงก็มาสมัครเพราะว่าพี่สาวที่ท�ำงานอยู่โรงแรมใกล้ๆ แนะน�ำว่าที่นี่ได้เซอร์วิสชาร์จดี” สุวารินี เลขาส่วนตัว ผู้จัดการทั่วไปเล่า “ผมก็มาสมัครเพราะมีคนแนะน�ำเหมือนกัน แล้วแฟนก็ท�ำงานอยู่ที่นี่ด้วย” เจริญ ทองสองแก้ว ซูเปอร์ไวเซอร์แผนก สวน อายุงาน 8 ปี ให้ข้อมูล ปัจจุบันพีซรีสอร์ทรับสมัครพนักงานที่จบการศึกษาตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไป โดยบางต�ำแหน่งต้องมีใบประกาศ รับรองความรู้ความสามารถ เช่น ต�ำแหน่งช่างต้องมีใบประกาศรับรองจากกรมฝีมือแรงงานมาแสดงว่าผ่านการฝึกอบรม และมีความสามารถทีจ่ ะท�ำงานช่างได้ จากแต่กอ่ นทีแ่ ค่มปี ระสบการณ์ในการท�ำงานก็สามารถสมัครได้แล้ว ทัง้ นีเ้ พือ่ ความ ปลอดภัยในการท�ำงาน และป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นจากการท�ำงานของช่างที่ไม่มีความสามารถอย่างเหมาะสม ส�ำหรับการคัดเลือก แผนกบุคคลจะคัดเลือกผูส้ มัครทีม่ คี วามเหมาะสมมาสัมภาษณ์ในรอบแรก และหากเห็นว่ามีความ รู้ความสามารถตรงกับต�ำแหน่งที่รับสมัคร จะส่งให้หัวหน้าแผนกสัมภาษณ์ในรอบที่ 2 หากหัวหน้าแผนกตกลงรับ แผนก บุคคลก็จะเช็กประวัตอิ าชญากรรมหรือการทุจริต เช็กสาเหตุของการลาออกจากทีท่ ำ� งานเดิม และหากไม่พบความผิดปกติ ก็จะนัดให้ผู้จัดการทั่วไป หรือผู้จัดการโรงแรมเป็นผู้สัมภาษณ์ในรอบสุดท้าย “GM จะเป็นคนสัมภาษณ์เกือบทุกต�ำแหน่ง พอ GM อนุมัติรับก็จะให้พนักงานไปตรวจสุขภาพ ตรวจสารเสพติด พิมพ์ ลายนิ้วมือที่สถานีต�ำรวจ เปิดบัญชีธนาคาร และก็นัดวันมาเริ่มงานเพื่อทดลองงาน 90 วัน” ชารีญา ผู้ช่วยผู้จัดการแผนก บุคคล เล่าขั้นตอนการสัมภาษณ์ช่วงสุดท้าย ส�ำหรับลักษณะของผูส้ มัครทีพ่ ซี รีสอร์ทมองหาคือ ต้องมีความรู้ มีคณ ุ สมบัติ หรือมีประสบการณ์ตรงกับต�ำแหน่ง แม้วา่ โรงแรมจะมีนโยบายด้านสิง่ แวดล้อมทีช่ ดั เจน ความสนใจในประเด็นเกีย่ วกับสิง่ แวดล้อมของผูส้ มัครกลับไม่เป็นคุณสมบัติ ส�ำคัญที่บริษัทมองหา เพียงแต่ว่าในช่วงสัมภาษณ์อาจจะมีค�ำถามที่เกี่ยวโยงกับความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมบ้าง หาก ผู้ถูกสัมภาษณ์เคยท�ำงานกับโรงแรมที่ให้ความส�ำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม


“เช่น หากผู้สมัครมาจากโรงแรมบ้านท้องทราย เราก็จะมีสอบถามว่าเขาได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับโครงการดูแล สิ่งแวดล้อมบ้างหรือไม่ แต่ความรู้ความสามารถที่เหมาะสมกับต�ำแหน่งยังเป็นตัวชี้ขาดมากกว่า เพราะว่าแรงงานของ เกาะสมุยหายากอยู่แล้ว ทุกโรงแรมเป็นเหมือนกัน ต�ำแหน่งเดียวกันเลย อย่างเช่น พวก Food & Beverage เนี่ย turnover (อัตราการออกของพนักงาน) สูงมาก ต�ำแหน่งพวกนี้จะขาดกันบ่อยมาก” ชารีญาให้เหตุผลที่ประเด็นความใส่ใจด้าน สิ่งแวดล้อมยังเป็นประเด็นรองในการคัดสรรพนักงาน ส�ำหรับเหตุผลที่ผู้สมัครสนใจอยากมาท�ำงานกับพีซรีสอร์ท คือเรื่องค่าตอบแทน สวัสดิการ วันหยุด วันลา รวมถึง ภาพลักษณ์การออกไปมีส่วนร่วมท�ำกิจกรรมภายนอกโรงแรม ก็เป็นจุดที่ท�ำให้พีซรีสอร์ทเป็นที่รู้จัก และท�ำให้มีคนสนใจ มาร่วมงานด้วย พีซรีสอร์ทมีคู่มือพนักงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสิทธิในการหยุด การลา โดยไม่มีข้อก�ำหนดเรื่องของการรักษา สิง่ แวดล้อม แต่พนักงานใหม่จะได้เรียนรูเ้ รือ่ งเหล่านีใ้ นช่วงของการปฐมนิเทศ ซึง่ จัดขึน้ ทุก 1 หรือ 2 เดือน ขึน้ อยูก่ บั จ�ำนวน พนักงานใหม่ที่รับเข้ามา “วันเริ่มงานของพนักงานใหม่จะเป็นแค่การปฐมนิเทศย่อย เป็นการท�ำความเข้าใจกับพนักงานคร่าวๆ ถึงระเบียบ กฎเกณฑ์การท�ำงานที่นี่ แต่ทุก 1-2 เดือน เราจะมีการปฐมนิเทศใหญ่ คือน�ำพนักงานที่เข้าใหม่ในช่วงนั้นทุกคนมาท�ำ กิจกรรมร่วมกันในห้องประชุม 1 วัน เพื่อให้ทุกคนได้รู้จักกัน แล้วก็จะมี Green Team เข้ามาชี้แจงนโยบายเรื่องสิ่งแวดล้อม และให้ความรู้ รวมถึงท�ำความเข้าใจกับพนักงานว่าท�ำไมโรงแรมจึงท�ำเรือ่ งสิง่ แวดล้อม รวมถึงแนะน�ำสมาชิก Green Team ในแต่ละแผนกอย่างเป็นทางการด้วย” ชารีญาอธิบาย “ที่นี่จะใส่ความเป็น Green ให้พนักงานใหม่ตั้งแต่ตอนปฐมนิเทศเลย คือนอกจากแผนกบุคคลแล้ว ประธาน Green Team ก็จะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และ Green Hotel ด้วย” สุวารินี ซึง่ ปัจจุบนั เป็นหนึง่ ใน Green Team ด้วย เนือ่ งจากเป็นเลขาฯ ผูจ้ ดั การทัว่ ไป เล่าถึงการปลูกฝังเรือ่ งสิง่ แวดล้อม ให้พนักงานตั้งแต่เริ่มต้น เพราะพนักงานทุกคนต้องร่วมมือกันท�ำ นอกจากแรงงานที่หายากในเกาะสมุยแล้ว ความท้าทายในการสรรหาบุคลากรอีกอย่างหนึ่งของพีซรีสอร์ทก็คือ ท�ำอย่างไรจึงจะท�ำให้พนักงานที่รับเข้ามาอยู่กับองค์กรได้นานที่สุด “ปัญหาที่กลุ่ม HR บนเกาะสมุยเจอกันบ่อยก็คือ บางคนสมัครงานไว้หลายๆ ที่เผื่อเลือก พอเรารับปุ๊บ อีกที่ก็เรียกตัว เขาก็ไปที่ใหม่” ชารีญา ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกบุคคล เล่าถึงความท้าทายซึ่งโรงแรมอื่นๆ ก็ประสบเช่นกัน ซึ่งการลาออก ด้วยสาเหตุนี้แก้ไขได้ค่อนข้างยาก

การสื่อสารแบบเป็นล�ำดับขั้น การสือ่ สารภายในพีซรีสอร์ทจะเป็นล�ำดับขัน้ ทัง้ การสือ่ สารจากผูบ้ ริหารลงไปยังพนักงาน และการสือ่ สารจากพนักงาน ขึ้นไปถึงผู้บริหาร โดยในส่วนของการสื่อสารจากผู้บริหารไปยังพนักงานนั้น จะมาจากการประชุมร่วมกันของผู้บริหารกับ หัวหน้า หรือรองหัวหน้าทุกวัน (ยกเว้นวันเสาร์-อาทิตย์) ในช่วง 10.30-11.30 น. แต่หากมีงานเร่งด่วนจะมีการสั่งงาน กันทางไลน์หรือทางวิทยุสื่อสาร “ปกติพอหัวหน้าแผนกออกมาจากห้องประชุม ก็มกั จะมาบรีฟงานทีห่ น้างาน เพือ่ กระจายข้อมูลว่าวันนีม้ งี านอะไรบ้าง หรือมีกิจกรรมอะไรให้เข้าร่วมบ้าง” กัญญารัตน์ พนักงานเสิร์ฟ เล่าถึงการสื่อสารจากบนลงล่าง ส่วนการสื่อสารจากระดับพนักงานขึ้นไปสู่ระดับผู้บริหารนั้นจะท�ำเป็นล�ำดับขั้น คือพนักงานแจ้งซูเปอร์ไวเซอร์หรือ หัวหน้า ก่อนที่จะไปถึงฝ่ายบริหาร

Pe a ce Re sor t

21


22

“ตามปกติจะสื่อสารกันตามสายงาน เพราะเราจะให้เกียรติหัวหน้างานก่อน แต่ก็มีบางครั้งที่พนักงานบางคน เวลามี ปัญหาเกิดขึน้ จะเข้ามาหาฝ่ายบุคคลเลยก็มี หรือว่าตรงไปหาผูจ้ ดั การทัว่ ไป เพราะไม่กล้าบอกหัวหน้าโดยตรง ซึง่ หากเป็น เช่นนีเ้ ราจะเรียกหัวหน้าแผนกมาแจ้งให้ทราบก่อนอยูด่ ”ี ชารีญา ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การแผนกบุคคล กล่าวถึงสิง่ ทีอ่ าจจะเกิดขึน้ ได้ ส�ำหรับช่องทางการสื่อสารอีกช่องทางหนึ่งก็คือ บอร์ดข่าวสารของพนักงานที่แคนทีน ซึ่งเป็นจุดที่พนักงานจะเข้าไป ใช้พื้นที่ทุกวัน ส่วนการสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมนั้นจะเป็นบทบาทของทาง Green Team ซึ่งนอกจากการปฐมนิเทศพนักงาน ใหม่แล้ว บางครั้งก็อาจจะมีการจัดประชุมต่างหาก เพื่อท�ำความเข้าใจกับพนักงานในประเด็นต่างๆ เช่น “Green Hotel มี ความส�ำคัญอย่างไร” รวมถึงมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมผ่านบอร์ดกิจกรรม พีซรีสอร์ทมีการส�ำรวจความคิดเห็นของพนักงานปีละ 1 ครั้ง โดยจะสอบถามเรื่องความพึงพอใจเกี่ยวกับสวัสดิการ ความเป็นอยู่ในการท�ำงาน หรือเรื่องหัวหน้างาน “แม้กระทั่งเรื่องอาหารพนักงาน เราก็เคยท�ำส�ำรวจว่าพนักงานพึงพอใจหรือเปล่า แม้เรื่องอาหารจะเป็นเรื่องเฉพาะ บุคคล คนนี้ว่าอร่อย อีกคนอาจจะไม่อร่อย แต่เราอยากดูภาพรวม เช่น การบริการของพนักงานครัว เพราะบางทีแม่ครัว หน้าบึ้ง เขาก็อาจจะไม่กล้าตักอาหาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ท�ำให้ไม่มีความสุขในการท�ำงาน” ชารีญา ผู้ช่วยผู้จัดการแผนก บุคคล ยกตัวอย่าง แผนกบุคคลจะสรุปข้อมูลจากการส�ำรวจความคิดเห็นของพนักงานให้ผู้จัดการทั่วไปทราบ เพื่อน�ำไปสู่การแก้ไขปรับ เปลี่ยน เพื่อท�ำให้พนักงานมีความสุขในการท�ำงานมากขึ้น

ทัศนศึกษา กีฬาสี เพิ่มความสัมพันธ์ ส�ำหรับกิจกรรมพิเศษที่พีซรีสอร์ทจัดให้กับพนักงาน เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ภายในองค์กร จะมีงานวันเกิด ซึ่งจะจัด เดือนละ 1 ครั้งที่ครัวพนักงาน เพื่อฉลองวันเกิดให้กับพนักงานทุกคนที่เกิดในเดือนนั้นๆ โดยจะสั่งอาหารและเค้กมา รับประทานร่วมกัน รวมถึงมีการเล่นเกมแจกของรางวัล นอกจากนี้ยังมีการจัดงานกีฬาสี ซึ่งจะจัดสลับกับการไปเที่ยวนอกสถานที่ และงาน staff party เช่น ปีที่แล้วมีการ พาไป outing ที่เกาะแตน เกาะมัดสุม ที่อยู่ไม่ไกลจากเกาะสมุยแบบไปเช้าเย็นกลับ โดยจัดเป็น 2 วัน เพื่อให้พนักงานสลับ กันไปทีละครึ่ง เพราะไม่สามารถไปพร้อมกันทั้งหมดได้ ซึ่งเวลาไป outing ก็จะมีกิจกรรมละลายพฤติกรรม และแบ่งกลุ่ม เล่นเกมเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ “ส่วนกีฬาสีจะแบ่งพนักงานเป็น 4-5 สี คละแผนกกันไป เพือ่ มาแข่งกีฬากระชับมิตร ซึง่ จะเป็นกีฬาพืน้ บ้านแบบชักเย่อ วิ่งเปี้ยว มากกว่าจะเป็นกีฬาจริงจัง แล้วก็จบด้วย staff party” ชารีญา ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกบุคคลให้ข้อมูล

การพัฒนาบุคลากร พีซรีสอร์ทให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาบุคลากร ทั้งการจัดอบรมภายในองค์กร และการส่งพนักงานไปอบรมกับ หน่วยงานข้างนอก โดยมีการจัดสรรงบประมาณส�ำหรับการนี้ไว้ในแต่ละปี ส�ำหรับการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร จะมีทั้งในลักษณะของ on-the-job training คือการสอนงานพนักงานโดย หัวหน้า รวมถึงการให้แต่ละแผนกจัดหัวข้อในการอบรมในช่วง low season ซึ่งมีลูกค้าน้อยลง พนักงานจึงพอมีเวลาว่าง


ขณะที่แผนกบุคคลจะมีการเชิญหน่วยงานภายนอกมาจัดคอร์สอบรมภายในองค์กร เช่น เรื่องการบริการ การท�ำงานเป็น ทีม อบรมภาษาอังกฤษ ฯลฯ “หัวหน้าจะค่อยๆ แนะน�ำเรื่องการเข้าไปดูแลแขกที่มาใช้บริการที่ร้านอาหาร ซึ่งมีจ�ำนวนค่อนข้างมากในช่วงเช้าว่า เราต้องยิม้ แย้มแจ่มใสหรือว่าทักทายแขก สอบถามสารทุกข์สกุ ดิบบ้าง และพาแขกไปนัง่ โต๊ะแบบเป็นธรรมชาติ ไม่ตอ้ งเร่ง รีบ” กัญญารัตน์ พนักงานเสิร์ฟ เล่าถึงการสอนงานของผู้ช่วยผู้จัดการร้านอาหารซึ่งเป็นหัวหน้า “ช่วงทีผ่ า่ นมามีครูภาษาอังกฤษของโรงเรียนปัญญาดี (โรงเรียนนานาชาติบริตชิ ปัญญาดี) มาสอนพวกเราสัปดาห์ละ 1 วัน” ยุทธนา Beach Boy แผนกอาหารและเครื่องดื่ม เล่าถึงการอบรมที่ท�ำให้เขาได้พัฒนาภาษาอังกฤษ จนสามารถฟัง และพอสนทนากับลูกค้าได้ ส่วนการส่งพนักงานไปอบรมภายนอกก็อย่างเช่น อบรมการดับเพลิงของหน่วยรักษาความปลอดภัย การปฐมพยาบาล เบือ้ งต้นหรือ first aid ของ Beach Boy เพือ่ ให้สามารถช่วยดูแลลูกค้าได้ในกรณีเกิดอุบตั เิ หตุ การส่งพนักงานเสิรฟ์ พนักงาน ครัว แม่บ้าน ไปอบรมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ส่ง Green Team ไปอบรมเรื่องสิ่งแวดล้อมเมื่อเทศบาลนครเกาะสมุยจัด “หรือหากเป็นหัวข้อเกี่ยวกับงานช่าง งานสวน งานบัญชี งานบุคคล เราก็ส่งพนักงานไปอบรมทุกครั้ง” ชารีญา ผู้ช่วย ผู้จัดการแผนกบุคคล ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ในส่วนของ Green Team จะมีการออกไปหาความรู้ใหม่ๆ จากภายนอก หรือจากองค์กรที่เป็นเครือข่ายด้วย อย่างเช่น การเข้าร่วมอบรมพัฒนาปุย๋ ปรับปรุงดินทีแ่ ปรรูปจากกากไขมัน ซึง่ เป็นโครงการทีไ่ ด้รบั การสนับสนุนจากสถาบันวิจยั สภาวะ แวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ดูรายละเอียดการให้ความรู้พนักงานและ Green Team ได้ในภาคผนวก)

Pe a ce Re sor t

23


24

การประเมินผลงาน ในส่วนของพนักงานใหม่ จะมีการประเมินว่าผ่านทดลองงานหรือไม่ในช่วง 45-90 วัน โดยหัวหน้าแผนกจะประเมิน เรื่องประสิทธิภาพในการท�ำงาน ซึ่งครอบคลุมทุกด้าน ทั้งเรื่องความสามารถ เรื่องพัฒนาการ ความสนใจใฝ่รู้ ทัศนคติใน การท�ำงาน และมนุษยสัมพันธ์ ส่วนแผนกบุคคลจะประเมินเรื่องการขาด ลา มาสาย ส�ำหรับพนักงานที่มีอายุงานเกิน 1 ปีขึ้นไป จะมีการประเมินผลงานทุกปี เพื่อพิจารณาปรับเงินเดือนในแต่ละปี โดย รูปแบบการประเมินก็เหมือนกันคือ หัวหน้าแผนกประเมินเรื่องการท�ำงาน แผนกบุคคลดูเรื่องการขาด ลา มาสาย แต่ที่ เพิ่มเติมคือมีการพิจารณาเรื่องการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่โรงแรมท�ำ หรือเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย ทั้งงานจิตอาสาและงาน ด้านสิ่งแวดล้อม “คือเราจะเก็บข้อมูลไว้ว่าคนนี้ไปเก็บขยะ คนนี้ไปท�ำสนามเด็กเล่น คือถ้ามีงานอะไรก็ไปตลอดเลย เขาจะได้คะแนน พิเศษ ซึ่งมีผลกับการขึ้นเงินเดือน เช่นเดียวกับคนที่ไม่เคยให้ความร่วมมือเลยก็มีผลเหมือนกัน” ชารีญา ผู้ช่วยผู้จัดการ แผนกบุคคล ให้ข้อมูล ผูจ้ ดั การทัว่ ไปจะเป็นคนดูภาพรวมผลการประเมินของพนักงานแต่ละคนในแผนกต่างๆ ที่หวั หน้าแผนกส่งมา รวมถึง การประเมินหัวหน้าแผนกด้วย “ตอนนีเ้ รายังไม่ได้รวมเรือ่ งสิง่ แวดล้อมลงไปในนโยบายของการประเมิน แต่กะว่าสิน้ ปีนจี้ ะท�ำค่ะ เพราะต้องการปลูก จิตส�ำนึกของพนักงาน ท�ำให้เขาไม่ละเลยที่จะท�ำสิ่งเหล่านี้ เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลงานเพื่อขึ้นเงินเดือน ของพวกเขา” มยุรี ผู้จัดการทั่วไป เล่าถึงสิ่งที่จะเพิ่มขึ้นในการประเมินพนักงาน นอกจากขึน้ เงินเดือนแล้ว ผลการประเมินยังมีสว่ นในการเลือ่ นต�ำแหน่งของพนักงานเมือ่ มีตำ� แหน่งว่างด้วย ดังได้กล่าว มาแล้วว่า พีซรีสอร์ทมีการเลื่อนต�ำแหน่งจากพนักงานภายในสูงถึง 80% โดยชารีญา ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกบุคคล เล่าถึงขั้นตอนการเลื่อนต�ำแหน่งของพนักงานว่า ถ้าหัวหน้าแผนกเล็งเห็นว่า พนักงานคนไหนมีศกั ยภาพพอทีจ่ ะโปรโมตขึน้ ไปในต�ำแหน่งทีส่ งู ขึน้ ได้ เมือ่ มีตำ� แหน่งว่างก็สามารถเข้ามาคุยกับฝ่ายบุคคล และผูบ้ ริหารคือผูจ้ ดั การทัว่ ไปได้ ซึง่ หากได้รบั การอนุมตั ิ พนักงานคนนัน้ ต้องทดลองปฏิบตั งิ านในต�ำแหน่งใหม่กอ่ นอย่าง น้อย 2-3 เดือน หากผ่านจึงจะได้รับต�ำแหน่งใหม่ ได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น “อย่างหนูตอนนี้ก็ก�ำลังทดลองปฏิบัติงานในต�ำแหน่ง Hostess อยู่ ซึ่งความรับผิดชอบจะเพิ่มขึ้นจากพนักงานเสิร์ฟ นิดหนึ่ง โดยงานหลักจะเป็นเรื่องการรับแขก ดูแล เทกแคร์ เอาใจใส่ แล้วก็เดินเอกสารให้หัวหน้าด้วย เพราะว่าช่วงนี้แกไม่ มีเลขาฯ” กัญญารัตน์ พนักงานเสิร์ฟ ให้ข้อมูล นอกจากนีพ้ ซี รีสอร์ทยังมีการให้รางวัลพนักงานดีเด่นประจ�ำเดือน (Employee of the Month) โดยแต่ละเดือนผูจ้ ดั การ หรือหัวหน้าแผนกจะคัดเลือกพนักงานทีม่ ผี ลงานดีในแผนกมาให้แผนกบุคคล 1 คน แล้วแผนกบุคคลจะน�ำรายชือ่ พนักงาน ที่แต่ละแผนกเลือกมาให้ที่ประชุมผู้จัดการโหวต เพื่อหาพนักงานดีเด่นประจ�ำเดือน ซึ่งจะได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท “แล้วพอถึงสิ้นปีก็จะให้พนักงานทุกคนโหวตว่า พนักงานดีเด่นประจ�ำเดือนคนไหนควรจะเป็นพนักงานดีเด่นประจ�ำปี (Employee of the Year)” สุวารินี เลขาฯ ส่วนตัวของผู้จัดการทั่วไป เจ้าของรางวัลพนักงานดีเด่นประจ�ำปี 2 ปีติดต่อกัน เล่าด้วยรอยยิ้ม โดยผู้ได้รับโหวตจะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท นอกจากนีย้ งั มีการให้รางวัลพนักงานในวาระโอกาสต่างๆ ตามทีก่ รรมการผูจ้ ดั การ ซึง่ เป็นเจ้าของพิจารณาเห็นสมควร “อย่างเมื่อ 2 ปีก่อน นายพาพนักงานที่ท�ำงานนาน 10 ปีขึ้นไปไปเที่ยวเกาหลีเป็นเวลา 5 วัน โดยออกค่าใช้จ่ายให้ ทั้งหมด ซึ่งมีประมาณ 10 กว่าคน แต่ตอนนี้มีบางคนลาออกไปบ้างแล้ว ซึ่งตอนที่ลาออกนายก็มอบเงินให้หนึ่งก้อน เพราะ ว่าเราไม่มีกองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ นายก็เลยอยากมีอะไรให้” ชารีญา ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกบุคคลเล่า เช่นเดียวกับการให้โบนัส ซึ่งจะเป็นการให้เงินพิเศษในช่วงตรุษจีน ก็เป็นดุลพินิจของกรรมการผู้จัดการเช่นกัน พีซรีสอร์ทจะมีการลงโทษพนักงานด้วยการหักเซอร์วิสชาร์จ ในกรณีที่ท�ำผิดกฎเกณฑ์ตา่ งๆ ของแผนกบุคคลซ�้ำแล้ว ซ�้ำอีก เช่น การมาสาย หากใน 1 เดือนใครมาสายเกิน 3 ครั้ง นานเกินกว่า 45 นาทีรวมกัน จะถูกหักเซอร์วิสชาร์จ 10% ฯลฯ หรือหากแผนกใดแยกขยะผิดซ�้ำแล้วซ�้ำอีก ก็อาจจะถูกหักเซอร์วิสชาร์จ 10% ทั้งแผนกเช่นกัน


นอกจากนี้ยังมีกฎเรื่องการจอดรถในที่ที่จัดไว้ ให้ ห้ามสูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบ และการสวมหมวกกันน็อกเมื่อขี่รถ จักรยานยนต์ภายในโรงแรม “ถ้าท�ำผิดกฎ อันดับแรกคือหัวหน้าแผนกจะเตือนด้วยวาจาเป็นการภายในก่อน หากเตือนด้วยวาจาหลายครั้งแล้วยัง ท�ำผิดซ�้ำ ก็จะขอให้แผนกบุคคลออกใบเตือน สุดท้ายถึงจะมีการหักเซอร์วสิ ชาร์จ แต่หวั หน้าแผนกส่วนใหญ่จะใจดี ไม่คอ่ ย ลงโทษในลักษณะนี้” ชารีญา ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกบุคคล เล่าด้วยเสียงหัวเราะ

จะอยู่นานหรือไปไว วัดกันที่ 2 ปีแรก เนือ่ งจากบนเกาะสมุยมีโรงแรมมากกว่า 400 แห่ง ท�ำให้คนท�ำงานค่อนข้างมีทางเลือกมาก การเปลีย่ นงานจากโรงแรม นั้นไปโรงแรมนี้จึงมีให้เห็นตลอดเวลา การรักษาพนักงานจึงเป็นความท้าทายของโรงแรมทุกแห่งบนเกาะสมุย รวมถึงพีซ รีสอร์ทด้วย มยุรี ผู้จัดการทั่วไป เล่าว่าตามปกติหากพนักงานคนไหนมีคุณสมบัติพร้อม โรงแรมจึงมักจะเลื่อนต�ำแหน่ง ให้เมื่อท�ำงานไปประมาณ 2 ปี นี่จึงเป็นความคาดหวังของพนักงานส่วนใหญ่ ดังนั้นหากว่าท�ำงานมาเกิน 2 ปีแล้วยังอยู่ ต�ำแหน่งเดิม แถมไม่มีความสุขกับการท�ำงาน พนักงานก็จะมองหางานใหม่ “ฉะนั้นถ้าท�ำงานที่ไหนเกิน 2 ปีแล้ว ก็คือเขามีความสุขกับงานที่ท�ำในองค์กรนั้น” ด้วยเหตุนี้พีซรีสอร์ทจึงเน้นการเลื่อนต�ำแหน่งให้กับพนักงานภายในองค์กร เมื่อมีต�ำแหน่งระดับสูงว่างดังได้กล่าวมา แล้ว รวมถึงให้ความส�ำคัญกับเรื่องการจ่ายค่าตอบแทน สวัสดิการ การฝึกอบรม การสร้างสัมพันธ์อันดีของพนักงานผ่าน การท�ำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจ่ายค่าแรงตามราคาตลาด การมีบ้านพักพนักงาน การส่งเสริมให้พนักงานได้ เพิ่มพูนความรู้ และกิจกรรมจิตอาสาต่างๆ รวมถึงการจัดงานวันเกิด การพาไปเที่ยวประจ�ำปี การแข่งกีฬาสี และ staff party เพื่อท�ำให้พนักงานมีความสุขและมีความภักดีกับองค์กร จากสถิติพนักงานพบว่า ปัจจุบันพีซรีสอร์ทมีพนักงานที่มีอายุงานตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปประมาณ 50% โดยในจ�ำนวนนี้ เกือบ 40% อยู่มานานกว่า 5 ปี ขณะที่ชารีญา ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกบุคคลให้ข้อมูลว่า โดยเฉลี่ยอายุงานของพนักงาน พีซรีสอร์ทจะอยู่ที่ 2-7 ปี ซึ่งหากเทียบกับอุตสาหกรรมโรงแรมในสมุยก็ถือว่าอยู่ในระดับกลางๆ ส่วนอัตราการลาออกจะ อยู่ที่ไม่เกิน 4% ต่อเดือน อย่างเดือนนี้ (กรกฎาคม 2561) ก็อยู่ที่ 1.8% “แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว หากพนักงานรู้ว่าโรงแรมจะมีการปรับปรุง เขาก็จะหาที่ใหม่ เพราะคิดว่ารายได้ผลตอบแทน (เซอร์วิสชาร์จ) จะน้อยลง” ขั้นตอนการลาออกของพนักงานพีซรีสอร์ทคือ ต้องเขียนใบลาออก และแจ้งให้ทราบล่วงหน้า 1 เดือน โดยสามารถ ใช้สิทธิวันลาที่ยังเหลืออยู่ได้ โดยแผนกบุคคลจะมีการท�ำ exit interview เพื่อสอบถามถึงเหตุผลในการลาออก การท�ำงาน ภายในแผนก หัวหน้างาน และภาพลักษณ์ขององค์กร “เราพยายามถามเหตุผลก่อนว่าเกิดอะไรขึ้น ถ้าพบว่าเขามีปัญหาเกี่ยวกับการท�ำงานในแผนก และคิดว่าเป็นเคสที่ สมควรคุย เราก็จะเรียกหัวหน้าแผนกมาคุยด้วย เพื่อให้รับทราบปัญหาและหาวิธีการแก้ไข ซึ่งบางครั้งก็สามารถเปลี่ยนใจ พนักงานได้ หรือบางครัง้ เราอาจจะลองดูวา่ อายุงาน หรือคุณสมบัตขิ องเขา เหมาะกับต�ำแหน่งอืน่ ทีส่ งู ขึน้ ไปทีว่ า่ งอยูห่ รือไม่ หรือแม้กระทั่งการจูงใจด้วยตัวเลข (เงินเดือน) ที่เพิ่มขึ้น” ชารีญา ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกบุคคล เล่าถึงวิธีการจูงใจให้พนักงานที่ต้องการลาออกเปลี่ยนใจ “มีหัวหน้า Beach Boy คนหนึ่ง เขาจะมาลาออกเพราะคิดว่าตัวเองอายุเยอะแล้ว เมย์ก็เลยดูงานอะไรที่เหมาะสมกับ บุคลิกและความสามารถของเขา สุดท้ายเปลี่ยนให้ไปเป็นพนักงานขับรถที่แผนกต้อนรับ ซึ่งเขาก็ท�ำได้ดีและไม่ลาออก ยัง อยู่กับองค์กรของเราต่อไป” มยุรี ผู้จัดการทั่วไป ยกตัวอย่างที่เกิดขึ้น ส�ำหรับสวัสดิการเพิม่ เติมทีพ่ นักงานบางคนมองว่าหากองค์กรสามารถให้เพิม่ ขึน้ ได้ ก็นา่ จะช่วยเรือ่ งการรักษาพนักงาน เอาไว้ได้คือ เรื่องของกองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund เพื่อให้พนักงานมีเงินออมไว้ใช้จ่ายยามเกษียณอายุ

Pe a ce Re sor t

25


26

หรือลาออกจากงาน ซึ่งขณะนี้แผนกบุคคลก�ำลังอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูล เพื่อน�ำเสนอกรรมการผู้จัดการในการจัดตั้ง กองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ รวมไปถึงอยากให้มีนโยบายการจ่ายโบนัสที่ชัดเจน ซึ่งปัจจุบันจะขึ้นอยู่กับกรรมการผู้จัดการซึ่ง เป็นเจ้าของเป็นหลัก นอกจากนี้ประเด็นเรื่องการเพิ่มวันหยุดจากเดือนละ 6 วันเป็น 8 วัน ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีเสียง เรียกร้องจากพนักงาน ปัจจุบนั พีซรีสอร์ทยังไม่มนี โยบายเรือ่ งการเกษียณอายุ แม้จะมีพนักงานทีอ่ ายุเกิน 55 ปี แต่ยงั อยากท�ำงานอยู่ อย่างไร ก็ดี คงต้องมีนโยบายเร็วๆ นี้

การบริหารทรัพยากรบุคคลกับการท�ำธุรกิจที่ยั่งยืน ส�ำหรับพีซรีสอร์ท การบริหารบุคคลกับการท�ำธุรกิจอย่างยัง่ ยืนค่อนข้างเป็นเนือ้ เดียวกัน เพราะโครงการ Green Hotel ที่พีซรีสอร์ทเข้าร่วม เพื่อใช้เป็นจุดขายด้านการท�ำธุรกิจอย่างยั่งยืน และสร้างภาพลักษณ์ด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่าง รอบด้านนั้น ขับเคลื่อนโดยผู้บริหารและแผนกบุคคลเพื่อให้พนักงานทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม โดยมีกลุ่ม Green Team ซึ่ง สมาชิกส่วนใหญ่เป็นหัวหน้าหรือรองหัวหน้าของแต่ละแผนกเป็นแกนน�ำในการให้ความรู้ ขอความร่วมมือ และตรวจสอบ “เมย์จะปลูกฝังให้พนักงานรักองค์กร และรักษาสิ่งแวดล้อมก่อน พอเราปรับโครงสร้างในองค์กรเราได้แล้ว เราก็ มีนโยบายไปท�ำประโยชน์เพือ่ สร้างความยัง่ ยืนให้สงั คมด้วย ซึง่ ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ให้โรงแรมเป็นทีร่ จู้ กั ท�ำให้คน ภายนอกเห็นว่าเรามีศักยภาพที่จะไปท�ำงานนอกองค์กร และได้ช่วยเหลือ ได้บ�ำเพ็ญประโยชน์ในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ทั้ง ในโรงเรียน วัด ถ้ามีโรงแรมไหนทีเ่ ชิญพีซรีสอร์ทเข้าร่วมกิจกรรมพวกนี้ เราไม่เคยปฏิเสธเลย รวมถึงเวลามีบคุ คลภายนอก มาดูงานที่โรงแรม เราก็มีทีมงานที่ยินดีช่วยเหลือ” มยุรี ผู้จัดการทั่วไป อธิบายถึงการบริหารทรัพยากรบุคคลที่สอดคล้อง กับการท�ำธุรกิจอย่างยั่งยืน ส่วนค�ำแนะน�ำส�ำหรับโรงแรมหรือองค์กรทีอ่ ยากท�ำธุรกิจอย่างยัง่ ยืนง่ายๆ คือ เริม่ ลงมือท�ำด้วยตัวเอง โดยอาจจะเริม่ จากเรื่องง่ายๆ อย่างการแยกขยะก่อน และที่ส�ำคัญคือการให้ความรู้กับพนักงาน “การจะท�ำให้เรือ่ งสิง่ แวดล้อมและการบริหารจัดการคนสัมพันธ์กนั เราต้องให้ความรูก้ บั พนักงานเยอะๆ เพราะทุกคน มีบทบาทและมีส่วนร่วมที่จะท�ำให้เรื่องนี้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม แต่บางคนอาจจะไม่มีความรู้หรือวิสัยทัศน์ในเรื่องของ สิ่งแวดล้อมมาก่อน ขณะที่บางคนอาจจะเข้าใจ เพราะปัจจุบันหลายๆ หน่วยงาน หลายๆ องค์กรให้ความส�ำคัญกับเรื่อง Green ค่อนข้างเยอะ” ชัยวัฒน์ ประธาน Green Team อธิบาย


Pe a ce Re sor t

27


28

หากจับประเด็นตามวงจรชีวิตพนักงานจะได้ภาพความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรบุคคลกับการท�ำธุรกิจ โดย ค�ำนึงถึงความยั่งยืนหรือการสร้างคุณค่าด้านสังคมของพีซรีสอร์ทดังนี้ การคัดเลือกพนักงาน (selection) • การก�ำหนดและสรรหาพนักงาน (targeting and recruitment)

เนื่องจากตลาดแรงงานของธุรกิจโรงแรมในเกาะสมุยมีการแข่งขันสูงมาก การคัดสรรพนักงานจึงเน้นไปที่ความ รู้ความสามารถและประสบการณ์ของผู้สมัคร ว่าตรงกับต�ำแหน่งที่ต้องการรับหรือไม่ อย่างไรก็ดี พีซรีสอร์ทพยายาม มองหาพนักงานที่มีความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้ามาร่วมงานหากมีโอกาส โดยหากผู้สมัครมาจากโรงแรมที่มีความ ใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมเช่นกัน แผนกบุคคลซึ่งเป็นผู้คัดกรองผู้สมัครในรอบแรกก็จะสอบถามผู้สมัครว่าเคยมีส่วนร่วม กับกิจกรรมเหล่านี้หรือไม่ การบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ (career development) • การเป็ นผู้เข้าร่วมงาน (onboarding)

พีซรีสอร์ทให้ความส�ำคัญกับการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ โดยนอกเหนือจากการให้ข้อมูลเรื่ององค์กร วัฒนธรรม และกฎเกณฑ์ต่างๆ แล้ว องค์ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม การเป็น Green Hotel และการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Green Team ก็เป็นข้อมูลที่ถูกสื่อสารไปยังพนักงานใหม่ตั้งแต่วันแรก • การฝึกอบรม (training)

พีซรีสอร์ทให้ความส�ำคัญกับการฝึกอบรมพนักงานอย่างมาก โดยนอกจากจะฝึกอบรมภายในองค์กรแล้ว ยังส่ง พนักงานไปอบรมกับหน่วยงานภายนอกเสมอ รวมถึงหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ขณะที่กลุ่ม Green Team ก็จะไปฝึกอบรมและศึกษาดูงานจากภายนอก เพื่อน�ำมาต่อยอดการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงแรมให้ครอบคลุม มากขึ้น • การบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ (career development)

บริษทั จัดตัง้ ทีมดูแลด้านสิง่ แวดล้อมหรือ Green Team ขึน้ มาโดยเฉพาะ การคัดบุคลากรเข้าสู่ Green Team คัดเลือก จากพื้นฐานความสมัครใจ แต่มีการกระจายอาสาสมัครให้อยู่ในทุกแผนก โดยพยายามดึงระดับหัวหน้าเข้ามาเป็นคณะ กรรมการ รวมทั้งแผนก HR เพื่อให้การขับเคลื่อนกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะถือ เป็นนโยบายส�ำคัญของโรงแรม รวมไปถึงการมีเครื่องแบบเฉพาะของ Green Team เพื่อสื่อสารกับลูกค้าและพนักงาน ในขณะเดียวกันก็มีทีม Committee ที่ดูแลงานด้านจิตอาสาควบคู่กันไป ผลตอบแทนและการรักษาพนักงาน (rewards and retention) • กฎข้อบังคับและระเบียบวินัย (compliance and discipline)

พีซรีสอร์ทมีข้อบังคับต่างๆ ที่มีบทลงโทษชัดเจนในด้านความปลอดภัย คือการไม่ใส่หมวกกันน็อกขณะขับขี่รถ จักรยานยนต์ และในด้านสิ่งแวดล้อม คือการแยกขยะที่ทุกแผนกต้องท�ำให้ถูกต้อง ซึ่งแม้ว่าจะไม่มีบทลงโทษที่ชัดเจน แต่หากมีการสุ่มตรวจเจอก็อาจมีผลให้เกิดการลงโทษด้วยการหักค่าเซอร์วิสชาร์จเช่นกัน การบริหารการปฏิบัติงานและวางแผนก�ำลังคน (performance management and workforce planning) • การประเมินผลการปฏิบัติงาน (performance appraisal)

การประเมินพนักงานรายปีเน้นในเรื่องประสิทธิภาพในการท�ำงาน ขณะที่ฝ่ายบุคคลจะดูในเรื่องของการขาด ลา มาสาย และการเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาต่างๆ ที่โรงแรมจัดหรือมีส่วนร่วม รวมถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่ เกีย่ วข้องกับเรือ่ งสิง่ แวดล้อม ซึง่ จะเริม่ เป็นหนึง่ ในเกณฑ์การประเมินในอนาคต ผลการประเมินนีม้ ผี ลต่อการขึน้ เงินเดือน และการพิจารณาเลื่อนต�ำแหน่ง ส่วนโบนัสเป็นดุลพินิจของกรรมการผู้จัดการ ซึ่งเป็นเจ้าของ


ภาคผนวก เกณฑ์การบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของโรงแรม (Green Hotel) ที่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมพิจารณาเพื่อมอบมาตรฐาน Green Hotel ครอบคลุม 6 ประเด็นดังนี้

1. นโยบายด้านการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการด�ำเนินงานด้านการบริการที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม โดยผู้บริหารและพนักงานร่วมด�ำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ 2. การพัฒนาบุคลากร เพื่อเพิ่มพูนให้บุคลากรในสถานประกอบการ เกิดความรู้ ความสามารถ และทักษะในการท�ำงาน ด้านบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3. การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เพือ่ สือ่ สารข้อมูลและข่าวสารด้านการบริการทีเ่ ป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม เพือ่ เสริมสร้างความ เข้าใจ ความร่วมมือ และสนับสนุนจากกลุ่มเป้าหมาย 4. การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดซื้อผลิตภัณฑ์ ซึ่งค�ำนึงถึงความเหมาะสมด้านคุณภาพ ราคา ระยะ ทาง การส่งมอบสินค้า หรือบริการตามที่ก�ำหนด และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการผลิต 5. การจัดการสิง่ แวดล้อมและพลังงาน เน้นการด�ำเนินงานใดๆ ทีส่ ามารถใช้ทรัพยากรได้แบบยัง่ ยืน หรือมีการก�ำจัดของ เสียและมลพิษให้หมดไป หรือเสื่อมสภาพไป หรือไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ 6. การมีส่วนร่วมกับท้องถิ่นและชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการกับท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่ที่สถาน ประกอบการตั้งอยู่ ทั้งการร่วมรับรู้ ร่วมคิด ร่วมด�ำเนินการในกิจกรรมด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม นโยบายและเป้าหมายด้านการอนุรักษ์พลังงาน

1. เปลี่ยนหลอดไฟภายในโรงแรมเป็นหลอด LED ให้ได้ 100% ใน พ.ศ. 2562 2. จัดให้มีการด�ำเนินการติดตั้งเครื่องบ�ำบัดน�้ำเสีย เพื่อน�ำกลับมาใช้ใหม่ภายใน พ.ศ. 2565 3. ส่งเสริมให้พนักงานเลิกสูบบุหรี่ให้ได้ 25% ของพนักงานทั้งหมด 4. เปลี่ยนขวดน�้ำพลาสติกเป็นขวดแก้วใน พ.ศ. 2561 5. โครงการปลูกผักสวนครัวอินทรีย์ที่หอพักพนักงานใน พ.ศ. 2561 6. จัดท�ำบ่อก�ำจัดไขมันจากต้นเตยหอมที่หอพัก 7. การเปลี่ยนระบบรดน�้ำต้นไม้ โดยการใช้สปริงเกอร์แบบหัวผีเสื้อประหยัดน�้ำภายใน พ.ศ. 2561 8. การเปลี่ยนไฟสนามทางเดินรอบๆ โรงแรมให้เป็น 24 โวลต์ จาก 220 โวลต์ ให้ได้ 100% ภายใน พ.ศ. 2562 9. ใช้ปุ๋ยหมัก 100% ในการปลูกต้นไม้บริเวณโรงแรม 10. จัดท�ำถังเก็บน�้ำฝนเพื่อกักเก็บน�้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง

Pe a ce Re sor t

29


30

ตารางรายการฝึกอบรมของพนักงานภายนอกโรงแรม วัน เดือน ปี

9 ธันวาคม 2560 4 พฤษภาคม 2561

14 มิถุนายน 2561

หลักสูตร

อบรมอพยพและ ดับเพลิงประจ�ำปี 2560 การพัฒนาปุ๋ยปรับปรุง บ�ำรุงดินที่แปรรูปจาก กากไขมันจากโรงแรม ขนาดกลางและ ขนาดย่อม Social Security Fund

หน่วยงานที่จัดอบรม

จ�ำนวนผู้เข้าร่วม ร้อยละเมื่อเทียบกับ (คน) พนักงานทั้งหมด

เทศบาลวัดประดู่

51

31%

สถาบันวิจัยสภาวะ แวดล้อม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

3

2%

ส�ำนักงานประกัน สังคม

50

30%

ตารางรายการฝึกอบรมของพนักงานภายในโรงแรม วัน เดือน ปี

หลักสูตร

7-9 พฤศจิกายน 2560 Team Work การท�ำงานเป็นทีม 14-15 พฤศจิกายน 2560 Outlook ขั้นพื้นฐาน 20-21 มิถุนายน 2561 Service Mind การบริการด้วยใจ

หน่วยงานที่จัดอบรม

จ�ำนวนผู้เข้าร่วม ร้อยละเมื่อเทียบกับ (คน) พนักงานทั้งหมด

นายองอาจ รุ่งสมัย

131

79%

นายนัยมาศ ผันผ่อน นายองอาจ รุ่งสมัย

36 96

22% 58%


ตารางรายการศึกษาดูงานของคณะท�ำงาน Green Team วัน เดือน ปี

11 ตุลาคม 2560

จ�ำนวนผู้เข้าร่วม (คน)

ร้อยละเมื่อเทียบกับ พนักงานทั้งหมด

ชมรมกรีนหาดบ่อผุด เกาะสมุย

10

45%

กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม

3

14%

สถาบันวิจัยสภาวะ แวดล้อม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณ ทหารลาดกระบัง และ กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อม ส�ำนักงาน ในโรงแรม ณ ราชภัฏ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เกาะสมุย จ. สุราษฎร์ธานี สถาบันวิจัยสภาวะ อบรมการพัฒนาปุ๋ย ปรับปรุงดินที่แปรรูปจาก แวดล้อม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ร่วมกับ กากไขมัน คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณ ทหารลาดกระบัง และ กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม การแก้ไขปัญหาน�้ำเสีย กรมควบคุมมลพิษ กรุงเทพฯ ในพื้นที่ชายหาด ท่องเที่ยว (เกาะสมุย)

2

9%

2

9%

2

9%

2

9%

หลักสูตร

โครงการดูงานโรงแรม กรีนตัวอย่างและการสาธิต การแปรรูปกากมะพร้าว 24 มกราคม 2561 ประชุมชี้แจงโครงการ โรงแรมที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม Green Hotel 2-3 กุมภาพันธ์ 2561 อบรมการพัฒนาปุ๋ย ปรับปรุงดินที่แปรรูปจาก กากไขมัน

23 มีนาคม 2561

4 พฤษภาคม 2561

14 มิถุนายน 2561

หน่วยงานที่จัดอบรม

Pe a ce Re sor t

31


32

คุณสมบัติของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบาย และวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน ซึ่งใช้พิจารณาบริษัท ทีเ่ ข้าร่วมเป็ นกรณีศึกษา

1. มีคุณสมบัติตรงตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 (กองบริหารภาษีธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดเล็ก กรมสรรพากร, 2561) ดังตารางต่อไปนี้

ลักษณะวิสาหกิจ

จ�ำนวนการจ้างงาน (คน)

ขนาดย่อม

ขนาดกลาง

จ�ำนวนสินทรัพย์ถาวร (ล้านบาท)

กิจการผลิตสินค้า

ไม่เกิน 50 คน

51-200 คน

ขนาดย่อม ขนาดกลาง ไม่เกิน 50 ล้านบาท 51-200 ล้านบาท

กิจการค้าส่ง

ไม่เกิน 25 คน

26-50 คน

ไม่เกิน 50 ล้านบาท 51-100 ล้านบาท

กิจการค้าปลีก

ไม่เกิน 15 คน

16-30 คน

ไม่เกิน 50 ล้านบาท 31-60 ล้านบาท

กิจการให้บริการ

ไม่เกิน 50 คน

51-200 คน

ไม่เกิน 50 ล้านบาท 51-200 ล้านบาท

2. เป็นบริษัทที่จดทะเบียนมาไม่ต�่ำกว่า 3 ปี และจากการพิจารณางบการเงินย้อนหลัง 3 ปี (พ.ศ. 2558-2560) พบว่า มีสุขภาพการเงินที่ดี และมีทิศทางที่จะด�ำเนินกิจการในอนาคตได้อย่างต่อเนื่อง 3. มีกระบวนการด�ำเนินธุรกิจส่วนใดส่วนหนึ่งที่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือหลักไตรก�ำไรสุทธิ และผ่าน มาตรฐานความยัง่ ยืนทีเ่ กีย่ วข้อง หรือได้รบั รางวัลจากหน่วยงานต่างๆ ในด้านความยัง่ ยืน การสร้างผลลัพธ์ทางสังคม และ/หรือสิง่ แวดล้อม รวมถึงการเป็นธุรกิจเพือ่ สังคม หรือเป็นกรณีศกึ ษาด้านธุรกิจทีย่ งั่ ยืนหรือด้านความยัง่ ยืนมาก่อน (ไม่นับรวมกิจกรรมของบริษัทด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ corporate social responsibility: CSR) 4. ไม่มีข่าวหรือข้อมูลสาธารณะด้านลบจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือการกระท�ำที่ผิดกฎหมาย 5. ยินดีที่จะเปิดเผยข้อมูลที่จ�ำเป็น และยินดีเข้าร่วมเป็นกรณีศึกษา


33

บรรณานุกรม

Elkington, J. (1998). Cannibals with forks: The triple bottom line of 21st century business. Gabriola Island, BC: New Society Publishers. Savitz, A. W., & Weber, K. (2013). Talent, Transformation, and the Triple Bottom Line: How Companies Can Leverage Human Resources to Achieve Sustainable Growth. Jossey-Bass. The World Commission on Environment and Development. (1987). Our Common Future. New York: Oxford University Press. กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก กรมสรรพากร. (2561, พฤษภาคม 26). ลักษณะของ SMEs. Retrieved from กรมสรรพากร: https://www.rd.go.th/publish/ 38056.0.html วะสี, น. (2018). มุมมองสินเชื่อธุรกิจไทยจากข้อมูลรายสัญญาตอนที่ 1. สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วย อึ๊งภากรณ์.


เกี่ยวกับป่าสาละ ป่าสาละ บริษัท “ปลูกธุรกิจที่ยั่งยืน” แห่งแรกในประเทศไทย มุ่ง จุดประกายและด�ำเนินวาทกรรมสาธารณะว่าด้วยธุรกิจทีย่ งั่ ยืน (sustain­ able business) ในประเทศไทย ผ่านการจัดสัมมนา อบรม ประชุม เชิงปฏิบัติการ การผลิตสื่อ สิ่งพิมพ์และออนไลน์ การจัดท�ำงานวิจัยเรื่อง ประเด็นความยั่งยืนที่ส�ำคัญในประเทศไทย ตลอดจนการวัดผลลัพธ์ทาง สังคมและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน ป่าสาละก่อตั้งใน พ.ศ. 2556 โดยสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการ อิสระ นักเขียนและนักแปลอิสระ ร่วมกับภัทราพร ยาร์บะระ นักการตลาด และนักธุรกิจเพื่อสังคม พร้อมด้วยนักวิจัยร่วมอุดมการณ์อีก 4 คน เพื่อเปลี่ยนผ่านสังคมธุรกิจไทยไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ป่าสาละได้ด�ำเนินโครงการวิจัย แล้วเสร็จ มีรายงานวิจยั และกรณีศกึ ษาตีพมิ พ์ตอ่ สาธารณะจ�ำนวนมากกว่า 20 ชิน้ ในประเด็นความยัง่ ยืนทีเ่ กีย่ วข้องกับภาคธุรกิจ เช่น ห่วงโซ่อปุ ทาน อาหาร การธนาคารที่ยั่งยืน ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน การประเมินผลลัพธ์ ทางสังคม และหัวข้ออื่นๆ รวมทั้งการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างยั่งยืน (sustainable human resource management) ติดตามผลงานวิจัย บทความ หนังสือ และงานอืน่ ๆ ของป่าสาละได้ที่ www.salforest.com และ www.facebook.com/salforestco


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.