สมุยอักษร - กรณีศึกษา การบริหารทรัพยากรบุคคลของ SME ที่มีวิธีปฏิบัติด้านความยั่งยืน

Page 1

กรณีศึกษา การบริหารทรัพยากรบุคคล ของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบาย และวิถีปฏิบัติด้านความยัง ่ ยืน

จัดท�ำโดย บริษัท ป่าสาละ จ�ำกัด สิงหาคม 2562 ด�ำเนินการภายใต้ทุนสนับสนุนของ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด สมุยอักษร


หัวหน้าโครงการวิจัย: ภัทราพร ยาร์บะระ นักวิจัย: กนกพร กลิ่นเกลา, จินต์ หวังตระกูลดี, ธัญธิดา สาสุนทร บรรณาธิการ: เดือนเพ็ญ ลิ้มศรีตระกูล ผู้ประสานงาน: กุลณัฐ จิระวงศ์อร่าม ที่ปรึกษาโครงการวิจัย: นายแพทย์ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล: กัญญ์ทิพา เครือแก้ว ณ ล�ำพูน

จัดท�ำโดยทุนสนับสนุนงานวิจัยจากส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99/8 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2343-1500 โทรสาร 0-2343-1551 อีเมล info@thaihealth.or.th www.thaihealth.or.th บริษัท ป่าสาละ จ�ำกัด เลขที่ 2 ซอยสุขุมวิท 43 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2258-7383 อีเมล info@salforest.com www.salforest.com


3

บทน�ำ กรณีศึกษาการบริหารทรัพยากรบุคคลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบาย และวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “รางวัลองค์กรที่น่าท�ำงานด้วยที่สุด ภายใต้ แนวคิดการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างยั่งยืน” โดยบริษัท ป่าสาละ จ�ำกัด ด�ำเนินการภายใต้ทุนสนับสนุนของส�ำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คณะวิจัยได้ตั้งค�ำถามที่ต้องการศึกษาไว้ข้อหนึ่งว่า บริษัทที่มีความยั่งยืน (sustainability) นั้น มีการดูแลและบริหาร คนภายในองค์กรอย่างไร บริษัทจึงจะมีความ “ยั่งยืน” ได้ และพุ่งเป้าของค�ำถามนี้ไปที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือที่เรียกโดยย่อว่า SMEs ที่คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 99 ของวิสาหกิจทั้งหมดของประเทศไทย (วะสี, 2018) และมี บทบาทส�ำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ “ความยัง่ ยืน” เป็นค�ำทีถ่ กู ใช้อย่างหลากหลาย อย่างไรก็ดี ความยัง่ ยืนในหนังสือเล่มนีห้ มายถึงการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน (sustainable development) หรือ “วิถีการพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการปัจจุบัน โดยไม่ลิดรอนความสามารถ ของคนรุน่ หลังในการตอบสนองความต้องการของพวกเขา” (The World Commission on Environment and Development., 1987) ซึ่งเป็นความหมายที่ถูกอ้างอิงในงานวิชาการมากที่สุดความหมายหนึ่ง เมื่อพูดถึงธุรกิจที่ยั่งยืน (sustainable business) หลายคนมักจะนึกถึงหลัก “ไตรก�ำไรสุทธิ (Triple Bottom Line)” (Elkington, 1998) ทีห่ ากอธิบายด้วยภาพ จะมีวงกลม 3 วงทีแ่ ทนผลก�ำไร 3 ด้านของธุรกิจมาสอดประสานกัน คือ วงของ เศรษฐกิจ วงของสังคม และวงของสิง่ แวดล้อม เพือ่ แสดงความหมายว่าองค์กรสามารถสร้างผลลัพธ์ในระยะยาวทัง้ ด้านการ เงิน สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งผลลัพธ์ทั้ง 3 ด้านไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบล้วนมีความสัมพันธ์กัน และ เชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วงกลมทั้งสามแสดงให้เราเห็นว่าการวัดผลลัพธ์ของธุรกิจ เพียงแค่ตัวเลขก�ำไร-ขาดทุนไม่สามารถสะท้อนผลลัพธ์ทั้งหมดที่ธุรกิจสร้างขึ้น


4

ธุรกิจที่ยั่งยืนที่กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้หมายถึงธุรกิจที่ใช้หลักคิดด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ไม่ได้หมายถึงธุรกิจที่ อยู่รอดมาได้ยาวนาน และน่าจะอยู่ต่อไปได้ในอนาคต) แต่มุ่งศึกษาไปที่ธุรกิจที่รับผิดชอบกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย มีมมุ มองระยะยาวในการลดผลกระทบเชิงลบต่อสังคมและสิง่ แวดล้อม ในขณะทีห่ ลายแห่งก็มงุ่ เพิม่ คุณค่าเชิงบวกให้สงั คม และสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วย บ่อยครั้งที่ความยั่งยืนถูกมองว่าเป็นเรื่องของบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น เพราะมีทุนหนาและมีทรัพยากรครบครัน นอกจากนี้การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะที่เหมาะสม การเลือกใช้วัสดุและกระบวนการผลิตที่ดี ต่อสิง่ แวดล้อม รวมถึงด้านสังคม เช่น การสร้างความเป็นธรรมในห่วงโซ่อปุ ทาน การรักษาสิทธิของแรงงาน ทัง้ หมดมักถูก มองว่าเป็นค่าใช้จา่ ยที่ไม่ชว่ ยให้เกิดรายได้ หรือเป็นกิจกรรมทีห่ รูหรา คือต้องมีกำ� ไรจ�ำนวนมากและทรัพยากรทีเ่ หลือเฟือ ก่อนค่อยลงมือท�ำ แต่ด้วยสถานการณ์ที่เปลีย่ นไปทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น ทรัพยากรธรรมชาติที่ร่อยหรอ วิกฤตสภาพอากาศ เปลี่ยนแปลง (climate change) ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ลูกค้า ชุมชน ผู้ถือหุ้น ที่เพิ่มทวีขึ้น ปัจจัยเหล่า นีไ้ ด้กลายเป็นความท้าทายทีผ่ ลักดันให้ธรุ กิจหลายแห่งต้องปรับและขยับเข้าสูค่ วามยัง่ ยืน เพือ่ ลดความเสีย่ งและเพิม่ โอกาส ในการอยู่รอด นอกจากนีย้ งั มีบริษทั จ�ำนวนหนึง่ ทีเ่ ริม่ สร้างผลิตภัณฑ์และบริการทีส่ ร้างคุณค่าเชิงบวกให้สงั คมหรือรักษาสิง่ แวดล้อม เช่น สินค้าออร์แกนิก สินค้าส�ำหรับตลาดฐานราก และสินค้ากลุ่ม “กรีน” ฯลฯ สินค้าเหล่านี้อยู่ในตลาดที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และอาจช่วยต่อความสามารถในการแข่งขันให้บริษัทในระยะยาวได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเพื่อความอยู่รอดหรือเพื่อการเติบโต ความยั่งยืนจึงไม่ได้เป็นเรื่องที่จ�ำกัดว่าต้องรวยแล้วค่อยท�ำ หรือ ท�ำเพื่อความ “ดูดี” อีกต่อไป อย่างไรก็ตาม ส�ำหรับธุรกิจ SMEs กับความยั่งยืน หากดูผิวเผินอาจจะดูเป็นเรื่องไกลตัว เพราะ SMEs มีข้อจ�ำกัดที่ มากกว่าบริษทั ขนาดใหญ่ เช่น ไม่มงี บประมาณ ขาดคน ขาดความรู้ หรือขาดทรัพยากร รวมทัง้ เสียเปรียบในด้านประโยชน์ จากการประหยัดต่อขนาด (economies of scale) นอกจากนี้ SMEs หลายแห่งมองว่าการท�ำให้กิจการอยู่รอดได้ทางการ เงินเป็นภารกิจที่ส�ำคัญที่สุด แต่หากความยั่งยืนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างความอยู่รอด และช่วยส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจใน ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ กลางหรือเล็ก ความยั่งยืนก็อาจเป็นเรื่องไม่ไกลตัวของ SMEs อีกต่อไป โดยเฉพาะ แรงกดดันทัง้ เรือ่ งสังคมและปัญหาด้านสิง่ แวดล้อมจะไม่เพียงจ�ำกัดอยูใ่ นธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ละอยูใ่ นทุกส่วนทีไ่ ล่เรียงตาม กันมาในสายห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) กรณีศกึ ษาฉบับนีจ้ งึ มุง่ แสดงตัวอย่างว่า SMEs ก็กา้ วสูก่ ารเป็นธุรกิจทีย่ งั่ ยืนได้ ผ่านเรือ่ งราวของบริษทั ทัง้ 10 แห่ง ซึง่ ผ่านการพิจารณาเพื่อเชิญให้เข้าร่วมเป็นกรณีศึกษา (ดูคุณสมบัติ SMEs ที่มีวิธีคิด นโยบาย และวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน ในหน้าสุดท้าย) กรอบคิดด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ใช้ในกรณีศึกษา

เพือ่ ท�ำความเข้าใจว่าบริษทั SMEs ทัง้ 10 แห่งว่ามีการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างไร ถึงส่งผลให้บริษทั มีความยัง่ ยืน คณะวิจัยใช้กรอบคิดการจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อความยั่งยืนตามช่วงวงจรชีวิตของพนักงาน (employee life-cycle) (Savitz & Weber, 2013) ที่แบ่งได้เป็น 5 ช่วงของการท�ำงานในองค์กร ดังนี้ • การคัดเลือกพนักงาน เช่น การสรรหาพนักงาน การสัมภาษณ์และทดสอบเพื่อเข้าท�ำงาน การเตรียมความพร้อมเมื่อ เริ่มงานในต�ำแหน่งใหม่ • การบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ เช่น การฝึกอบรม การเลือ่ นต�ำแหน่ง การวางแผนความก้าวหน้าในอาชีพ (career path) • การให้ผลตอบแทนและการรักษาพนักงาน เช่น ค่าตอบแทน สวัสดิการทั้งในรูปตัวเงินและไม่ใช่เงิน การให้รางวัลและ การลงโทษ


5

• การบริหารการปฏิบัติงานและการวางแผนก�ำลังคน เช่น การประเมินผลงาน โครงสร้างองค์กร • การพ้นจากการท�ำงาน เช่น การลาออก การให้ออกและการเกษียณอายุ รวมไปถึงการวิเคราะห์ปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งเสริมความยั่งยืนขององค์กร เช่น วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรมองค์กร แรง จูงใจของผู้บริหาร ฯลฯ อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากบริษัทที่เป็นกรณีศึกษาในเอกสารฉบับนี้ ในโครงการเดียวกันยังมีกรณีศึกษาของ SMEs อีก 9 แห่ง ที่มีขนาด ประเภทธุรกิจ วิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลและวิธีด�ำเนินธุรกิจบนแนวคิดด้านความยั่งยืนที่แตก ต่างกัน ได้แก่ 1. บริษัท แดรี่โฮม จ�ำกัด 2. บริษัท โลเคิล อไลค์ จ�ำกัด 3. บริษัท โอเพ่นดรีม จ�ำกัด 4. บริษัท สวนเงินมีมา จ�ำกัด 5. บริษัท กาแฟอาข่า อ่ามา จ�ำกัด 6. บริษัท ฮาร์โมนี ไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด 7. บริษัท นิธิฟู้ดส์ จ�ำกัด 8. ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด สมุยอักษร 9. บริษัท พีซรีสอร์ท จ�ำกัด 10. บริษัท ซาเรี่ยน จ�ำกัด ท่านสามารถดาวน์โหลดกรณีศึกษาของแต่ละบริษัทได้จากเว็บไซต์ www.salforest.com > knowledge > publication หรือติดต่อขอรับหนังสือ “SMEs หัวใจใหญ่ – ดูแลคนอย่างไรให้ธุรกิจยั่งยืน” ที่เป็นบทสรุปย่อของกรณีศึกษาบริษัททั้ง 10 แห่งได้จากเว็บไซต์ www.salforest.com เช่นกัน


6


ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด สมุยอักษร รู้จักสมุยอักษร เมื่อคู่ชีวิต อานนท์ และชุลีพร (บุญเลี้ยง) วาทยานนท์ อดีตข้าราชการในสังกัดกรม วิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตัดสินใจยุติชีวิตการรับราชการ เพื่อเริ่มต้น ท�ำธุรกิจที่เกาะสมุย ซึ่งเป็นบ้านเกิดของชุลีพร ทั้งสองจึงร่วมลงทุนกับธนิต คงเพชร ญาติ ของชุลีพร ก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด สมุยอักษร ขึ้นใน พ.ศ. 2534 เพื่อท�ำธุรกิจโรงพิมพ์ โดย ถือว่าเป็นโรงพิมพ์แห่งแรกของเกาะสมุย “หลังจากเรียนจบพืชไร่ เราก็รับราชการทั้งคู่ ผมรับราชการตั้งแต่ พ.ศ. 2520 โดย ไปอยู่ที่ศูนย์วิจัยพืชจังหวัดเชียงราย ก่อนจะย้ายมาอยู่ที่ขอนแก่น ชุลีพรเป็นรุ่นหลังผม ท�ำงานอยู่กรมวิชาการเกษตรเหมือนกัน แต่เขาอยู่สถาบันวิจัยพืชไร่ที่บางเขน (กรุงเทพฯ) พอแต่งงานมีลกู คนแรกก็ตดั สินใจว่าต้องอยูด่ ว้ ยกัน ชุลพี รจึงลาออก ส่วนผมก็มาช่วยราชการ อยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี พอท�ำงานครบ 15 ปี จึงตัดสินใจลาออกจากราชการเพื่อหาธุรกิจ ท�ำ” อานนท์ วาทยานนท์ ผู้จัดการใหญ่และผู้ก่อตั้ง เล่าความเป็นมา ถึงแม้ว่าจะไม่เคยมีความรู้ในเรื่องการพิมพ์มาก่อน แต่ก็มีปัจจัย 2-3 อย่างที่ท�ำให้ทั้งคู่ ตัดสินใจเลือกท�ำธุรกิจโรงพิมพ์ เริ่มจากเห็นว่าขณะนั้นเกาะสมุยยังไม่มีโรงพิมพ์ที่พิมพ์งาน บนเกาะสมุย มีเพียงโรงพิมพ์จากแผ่นดินใหญ่คือสุราษฎร์ธานี (โรงพิมพ์อุดมลาภ) มาเปิด ออฟฟิศเพื่อรับงานจากลูกค้าในเกาะ แล้วส่งไปพิมพ์ที่สุราษฎร์ธานี ประกอบกับชุลีพรเคย ไปอบรมการใช้คอมพิวเตอร์ จึงสามารถออกแบบงานด้วยคอมพิวเตอร์ได้ นอกจากนีย้ งั มอง เห็นโอกาสทางธุรกิจอีกอย่างหนึง่ คือ การท่องเทีย่ วในเกาะสมุยเริม่ ได้รบั ความนิยม โรงแรม และธุรกิจบริการอื่นๆ มีการขยายตัว จึงน่าจะหาลูกค้าได้ไม่ยาก

Sa mu i A k sor n Pr i nt i n g

7


8

“เราพยายามมองหาธุรกิจที่ไม่มีคู่แข่ง เพราะคิดว่าน่าจะดีกว่าการเปิดร้านขายของ ซึ่งเดี๋ยวคนอื่นก็เปิดได้เหมือนกัน เลยมีความรู้สึกว่าน่าจะท�ำโรงพิมพ์ พอดีมีรุ่นน้องที่รู้จักท�ำโรงพิมพ์ เขาก็ช่วยให้ค�ำแนะน�ำต่างๆ และพาไปศึกษาดูงานที่ โรงพิมพ์ต่างๆ อาทิ โรงพิมพ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมถึงได้ไปหาความรู้เรื่องการพิมพ์เพิ่มเติมจากโรงเรียน ดอนบอสโก” ชุลพี ร วาทยานนท์ กรรมการผูจ้ ดั การโรงพิมพ์สมุยอักษร เล่าถึงจุดทีท่ ำ� ให้ตดั สินใจท�ำโรงพิมพ์เมือ่ 27 ปีกอ่ น โดยการเช่าห้องแถว 1 คูหาที่ตลาดหน้าทอน และมีเครื่องพิมพ์ขนาดตัด 11 ซึ่งเป็นเครื่องพิมพ์ขนาดเล็ก ส�ำหรับพิมพ์บิล และใบปลิว และเครื่องถ่ายเอกสารอย่างละ 1 เครื่อง ให้บริการในช่วงเริ่มต้น ช่วง 2-3 ปีแรก โรงพิมพ์สมุยอักษรด�ำเนินธุรกิจไปแบบล้มลุกคลุกคลาน เนื่องจากเป็นมือใหม่จึงต้องใช้เวลาลองผิด ลองถูกและแก้ปัญหา “บางทีพิมพ์บิลไม่ตรงก็ต้องทิ้ง บางช่วงไม่มีลูกค้า แต่เราก็มุ่งมั่นท�ำไปเรื่อยๆ และคิดว่าต้องท�ำให้ได้” ชุลีพรเล่า ประสบการณ์ในช่วงเริ่มต้น เช่นเดียวกับอานนท์ ซึ่งเชื่อว่าการที่กิจการของพวกเขาอยู่รอดมาได้ เพราะความมีเลือดนักสู้ ของคนที่เคยผ่านเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในช่วงที่เป็นนักศึกษา รวมถึงการท�ำงานอย่างซื่อสัตย์และตั้งใจ ความมุ่งมั่นในการท�ำธุรกิจ ควบคู่กับการให้ความส�ำคัญกับเรื่องคุณภาพและการบริการ ประกอบกับการขยายตัว ของธุรกิจการท่องเที่ยว และอสังหาริมทรัพย์บนเกาะสมุย ท�ำให้โรงพิมพ์อักษรสมุยได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า และมี ฐานลูกค้าประจ�ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนห้องแถว 1 คูหาเริ่มคับแคบ พ.ศ. 2538 พวกเขาจึงตัดสินใจย้ายโรงพิมพ์จาก ตลาดหน้าทอนไปอยูบ่ นทีด่ นิ ขนาด 1 ไร่เศษของธนิต คงเพชร ผูเ้ ป็นหุน้ ส่วน ซึง่ ท�ำให้มพี นื้ ทีใ่ นการขยับขยายธุรกิจมากขึน้ พ.ศ. 2539-2550 ถือว่าเป็นช่วงทีธ่ รุ กิจของสมุยอักษรมีการเติบโตและขยายตัวอย่างต่อเนือ่ ง นอกจากการเพิม่ จ�ำนวน เครื่องพิมพ์ โดยเน้นการลงทุนกับเครื่องจักรน�ำเข้ามือสอง เพื่อลดภาระการผ่อนช�ำระแล้ว สมุยอักษรยังได้ขยายกิจการ ไปสู่ธุรกิจอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกับโรงพิมพ์ด้วย เพื่อให้สามารถบริการลูกค้าได้อย่างครบวงจร และเป็นการลดความเสี่ยงของ ธุรกิจหลัก ส�ำหรับธุรกิจใหม่ๆ ที่ขยายไปอย่างเช่น บริการถ่ายแบบแปลน โรเนียว ถ่ายเอกสาร พรินต์ไวนิล ตัดสติกเกอร์ รวมถึงการเป็นตัวแทนจ�ำหน่ายกระดาษและหมึก ท�ำให้โรงพิมพ์สมุยอักษรเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของธุรกิจเกือบทุก ประเภท เพราะเป็นโรงพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุด และมีความพร้อมในการให้บริการที่สุดในเกาะสมุยถึงปัจจุบัน นอกจากการขยายธุรกิจแล้ว ในช่วงนี้สมุยอักษรยังให้ความสนใจและตระหนักถึงผลกระทบที่ธุรกิจมีต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม จึงมีการด�ำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีการบริหารจัดการบุคลากรให้ไม่เป็นภาระต่อสังคมใน รูปแบบต่างๆ ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป โดยได้ประกาศวิสัยทัศน์ขององค์กรว่า “มุ่งที่จะด�ำเนินธุรกิจเพื่อสร้างองค์กรให้เห็น องค์กรหนึ่งที่อยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม และมีคุณค่า” และได้ก�ำหนดพันธกิจขององค์กรเป็น 3 ข้อ คือ 1. ยึดมั่นในการด�ำเนินธุรกิจอย่างมีคุณภาพและมีคุณธรรม 2. พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถใน การให้การบริการทีด่ ยี งิ่ ขึน้ 3. การมีสว่ นร่วมรับผิดชอบสิง่ แวดล้อมและพัฒนาสังคม โดยไม่ลมื ตัวตนทีแ่ ท้จริงของเกาะสมุย เป็นพันธกิจที่ชาวสมุยต้องสืบสานต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี นับจาก พ.ศ. 2551 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เศรษฐกิจโลกมีความผันผวนสูง ส่งผลให้เศรษฐกิจของยุโรป และอเมริกาชะลอตัว ประกอบกับปัญหาทางการเมืองภายในประเทศ ซึ่งท�ำให้มีเหตุการณ์รุนแรงขึ้นหลายครั้ง ส่งผลให้ ภาคธุรกิจท่องเที่ยว ทั้งโรงแรม ร้านอาหาร บริษัททัวร์ และสถานบันเทิงต่างๆ ในเกาะสมุยมีการชะลอตัว ธุรกิจสิ่งพิมพ์ ของอักษรสมุยจึงชะลอตัวตามไปด้วย เพราะกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวเป็นลูกค้าหลักถึง 80% ของธุรกิจสิ่งพิมพ์ในเกาะสมุย ผลกระทบต่อธุรกิจสิ่งพิมพ์อีกอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือการเติบโตของสื่อออนไลน์ ทั้งเว็บไซต์ อีเมล และเครือข่ายสังคม ออนไลน์ตา่ งๆ ท�ำให้ลกู ค้าหันไปใช้สอื่ เหล่านีใ้ นการโฆษณาประชาสัมพันธ์มากขึน้ ส่งผลให้งานบางอย่าง เช่น โบรชัวร์ของ โรงแรมหายไปจากแท่นพิมพ์เกือบทัง้ หมด ส่วนงานพิมพ์ทยี่ งั เหลืออยูจ่ ะเป็นเอกสารของโรงแรมทีต่ อ้ งใส่ไว้ในห้องพัก รวม ถึงซองจดหมาย กระดาษโน้ต นอกจากนี้ยังเป็นเอกสารการบัญชีอย่างใบเสร็จ ซึ่งต้องเก็บไว้เป็นหลักฐาน “จริงๆ จ�ำนวนลูกค้าไม่ได้ลด แต่ปริมาณการสั่งพิมพ์ลดลง เพราะเขาหันไปใช้สื่อออนไลน์กันมากขึ้น” อานนท์เล่า ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ปัจจุบันบนเกาะสมุยมีโรงพิมพ์ 3 โรง นอกจากสมุยอักษร ซึ่งเป็นโรงพิมพ์ที่ใหญ่ท่ีสุด มีเครื่องจักรและเครื่องมือ พร้อมส�ำหรับให้บริการด้านสิ่งพิมพ์อย่างครบวงจรแล้ว ยังมีโรงพิมพ์เล็กๆ อีก 2 โรง อย่างไรก็ดี คู่แข่งทางธุรกิจของ


สมุยอักษรก็ไม่ได้จ�ำกัดอยู่แค่โรงพิมพ์บนเกาะสมุย เพราะมีเซลส์ของโรงพิมพ์อื่นๆ ที่อยู่นอกเกาะมาวิ่งรับงานแล้วส่ง ออกไปพิมพ์ข้างนอก ซึ่งนอกจากที่สุราษฎร์ธานีแล้ว มีการส่งไปพิมพ์ที่ภูเก็ต สงขลา (หาดใหญ่) นครศรีธรรมราช และ กรุงเทพฯ เนื่องจากเทคโนโลยีออนไลน์ที่ก้าวหน้าในปัจจุบัน ท�ำให้การส่งงาน ปรู๊ฟงาน ระหว่างลูกค้ากับโรงพิมพ์ที่อยู่ต่าง ที่กันไม่มีอุปสรรคแต่อย่างใด เช่นเดียวกัน เทคโนโลยีออนไลน์กท็ ำ� ให้กลุม่ ลูกค้าของสมุยอักษรไม่ได้จำ� กัดอยูเ่ ฉพาะบนเกาะสมุย เพราะการท�ำธุรกิจ มายาวนานกว่า 20 ปี ท�ำให้สมุยอักษรเป็นที่รู้จักของลูกค้า และลูกค้าก็ช่วยแนะน�ำให้กับเพื่อนๆ ของพวกเขาที่ท�ำธุรกิจอยู่ เกาะใกล้เคียง อย่างเกาะพะงัน เกาะเต่า หรือแม้แต่พื้นที่ไกลๆ “คือเวลาเขาเปิดธุรกิจใหม่ เขาก็จะถามเพือ่ นๆ ว่ามีโรงพิมพ์ทไี่ หนแนะน�ำบ้าง ลูกค้าบางรายของเราจึงอยูถ่ งึ เชียงใหม่ เพราะเขามีเพือ่ นอยูท่ เี่ กาะสมุย เพือ่ นเขาก็มาช่วยติดต่อให้ เราก็สง่ ของไปให้ทางเครือ่ งบิน” ชุลพี รเล่าถึงความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยี ซึ่งเป็นทั้งข้อเสียเปรียบและข้อได้เปรียบ อย่างไรก็ดี แม้ว่าปริมาณงานพิมพ์จะลดลง แต่สมุยอักษรก็ยังคงครองความเป็นผู้นำ� ในตลาดสิง่ พิมพ์บนเกาะสมุยอยู่ โดยคาดว่ามีส่วนแบ่งไม่ต�่ำกว่า 30% ของตลาดสิ่งพิมพ์รวมในเกาะสมุย

การปรับตัวของกิจการเพื่ออนาคต เพื่อรับมือกับความซบเซาของตลาดสิ่งพิมพ์ สมุยอักษรมีการปรับตัวหลายๆ อย่าง อาทิ การเพิ่มเครื่องพิมพ์ดิจิทัล เพื่อให้สามารถรับพิมพ์งานในปริมาณน้อยๆ ได้มากขึ้น ส่วนเครื่องพิมพ์แบบแท่นพิมพ์มีไว้ส�ำหรับพิมพ์ใบเสร็จ ซึ่งต้องมี การปรุและใส่ running number เป็นหลัก ซึ่งยังมีตลาดอยู่ “เดี๋ยวนี้ลูกค้าสั่งท�ำเมนูทีละ 10-20 เล่มก็ได้ ขณะที่สมัยก่อนต้องสั่งทีเป็นร้อยเล่ม แต่ตอนหลังเป็นงาน print-ondemand (พิมพ์ตามจ�ำนวนที่ต้องการใช้จริง) หมด” ชุลีพรเล่าถึงประโยชน์ของเครื่องพิมพ์ดิจิทัล นอกจากนี้ยังพยายามปรับการบริการให้รวดเร็ว เพื่อให้สามารถรองรับลูกค้าบางกลุ่มได้ เช่น กลุ่มสนามมวย ที่มี อยู่ 2-3 แห่งในเกาะสมุย ซึ่งจะมาพิมพ์โปรแกรมชกสัปดาห์ละ 2 รอบ แม้ว่าจะต้องยอมลดราคาลงมาเพื่อรับมือกับการ แข่งขัน และเพื่อให้มีงานป้อนพนักงาน “เขาก็มาบอกว่าเคยสั่งงานที่กรุงเทพฯ แต่ถ้าพี่ให้ราคาเหมือนที่นู่นได้ก็จะมาสั่งกับพี่ทุกอาทิตย์ ซึ่งบางที (ก�ำไร) เหลืออยู่นิดเดียว แต่เราถือว่าพนักงานจะได้มีงาน และสร้างความแอ็กทีฟให้พนักงาน เพราะว่ามักเป็นงานเร่ง เช่น ส่งไฟล์ งานมาให้ตอนเย็น บ่ายวันรุ่งขึ้นต้องพิมพ์เสร็จ เราก็ต้องคุยกับเด็ก (พนักงาน) ว่าการแข่งขันมันเพิ่มขึ้นนะ ถ้าไม่ปรับตัว เดี๋ยวเราอยู่ไม่ได้ ซึ่งคนที่เดือดร้อนก็คือพวกคุณ” ชุลีพรเล่าถึงการปรับตัว รวมถึงการที่สมุยอักษรสามารถให้บริการด้านการพิมพ์ได้อย่างครบวงจร ก็ช่วยให้ธุรกิจยังด�ำเนินต่อไปได้ เพราะ แม้ว่างานสิ่งพิมพ์จะตกลง แต่งานประเภทอื่น เช่น สติกเกอร์ติดรถและงานไวนิลกลับมีลูกค้าเพิ่มขึ้น “ที่เราอยู่ได้เพราะเราท�ำหลายๆ อย่าง ทั้งคัตเอาต์ ป้ายไวนิล ท�ำสติกเกอร์ ขายหมึก ขายกระดาษ ลูกค้ามาตรงนี้ก็ได้ รับบริการค่อนข้างครบ และบางอย่างทีเ่ ราท�ำไม่ได้ เช่น ถุง เราก็มี contact กับทางกรุงเทพฯ เราช่วยออกแบบ คุยกับลูกค้า แล้วส่งไปท�ำที่กรุงเทพฯ โดยเราได้ส่วนต่างบ้าง” ชุลีพรอธิบายเพิ่มเติม ขณะเดียวกันก็มีการปรับตัวเพื่อรองรับลูกค้าชาวต่างประเทศ ทั้งชาวตะวันตกและชาวจีนที่เข้ามาท�ำธุรกิจใน เกาะสมุยมากขึ้น ทั้งในเรื่องของภาษา การสื่อสาร และการท�ำความเข้าใจอุปนิสัยใจคอของลูกค้ากลุ่มนี้ รวมถึงการหันมา ประชาสัมพันธ์โรงพิมพ์ทางสื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก (เพจ Samui Aksorn Printing) และ Line (@samuiaksorn) ซึง่ อานนท์คดิ ว่าการปรับตัวหลายๆ อย่างดังทีก่ ล่าวมา น่าจะมีสว่ นช่วยให้ยอดขายของสมุยอักษรเติบโตขึน้ เล็กน้อยในปีนี้ (2561) หลังจากที่ยอดขายลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา

Sa mu i A k sor n Pr i nt i n g

9


10

“ที่ปีนี้เริ่มดีอาจจะเพราะว่าลูกสาว (หยาดฝน วาทยานนท์) มาช่วยด้านประชาสัมพันธ์ เขาชอบท�ำกราฟิก ถ่ายรูป พอมีงานอะไรเขาก็ถ่ายรูปไปลงในเพจ คนก็เห็นและติดต่อเข้ามาทางไลน์และเฟซบุ๊ก ผมคิดว่าน่าจะมีแนวโน้มดีขึ้น แล้วก็ท�ำให้เรามีก�ำลังใจมากขึ้นด้วย” อานนท์เล่าถึงผลลัพธ์จากการเข้ามาช่วยงานของบุตรสาวคนที่ 2 โดยมองว่าสือ่ ด้าน ดิจทิ ลั น่าจะเป็นทิศทางทางธุรกิจของสมุยอักษรในอนาคต นอกเหนือจากการให้ความส�ำคัญกับเรือ่ งคุณภาพและการบริการ

ธุรกิจอาจจะชะลอ แต่การดูแลสิ่งแวดล้อมไม่เคยหยุด สมุยอักษรเริม่ ให้ความส�ำคัญกับเรือ่ งการดูแลสิง่ แวดล้อม นับตัง้ แต่ตอนทีย่ า้ ยโรงพิมพ์จากหาดหน้าทอนมายังทีต่ งั้ ใหม่ ใน พ.ศ. 2538 และไม่ว่าธุรกิจจะชะลอตัวจากสภาพเศรษฐกิจ วิกฤตด้านการเมือง หรือได้รับผลกระทบจากสื่อออนไลน์ ขนาดไหน การดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ยังคงเป็นพันธกิจที่สมุยอักษรให้ความส�ำคัญ เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ขององค์กรที่ ยึดถือหลักบรรษัทภิบาลในการท�ำธุรกิจ คือไม่ได้คิดแต่เรื่องการแสวงหาผลก�ำไร แต่ต้องการแบ่งปันสิ่งที่ได้รับกลับคืนสู่ สังคมที่องค์กรตั้งอยู่ อีกสาเหตุที่ท�ำให้สมุยอักษรให้ความส�ำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อมมาจากความตระหนักว่า สภาพเศรษฐกิจและชีวิต ความเป็นอยู่ของคนเกาะสมุยขึ้นอยู่กับธุรกิจท่องเที่ยว ดังนั้นหากดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมไม่ดี นักท่องเที่ยวจะไม่มาเที่ยว ซึ่งจะส่งผลกระทบกับธุรกิจของสมุยอักษรในที่สุด โดยปัจจุบันหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมส�ำคัญที่สุดของเกาะสมุยที่รอการ แก้ไขก็คือ ปัญหาเรื่องขยะประมาณ 2 แสนตัน1 ที่ยังตกค้างอยู่บนเกาะ อันเนื่องมาจากเตาเผาขยะเสีย และยังหาวิธีการ จัดการขยะตกค้างอย่างเป็นธรรม คือไม่ผลักให้กลายเป็นภาระของผู้อื่นไม่ได้ การจัดการเรื่องขยะจึงเป็นหนึ่งในประเด็น การดูแลสิ่งแวดล้อมที่สมุยอักษรท�ำอย่างต่อเนื่อง ทั้งภายในและภายนอกองค์กรดังจะกล่าวถึงต่อไป นอกเหนือจากการเป็นเจ้าของธุรกิจที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากสิ่งแวดล้อมภายในเกาะสมุยแล้ว การมีจิตสาธารณะ ของอานนท์และชุลพี ร ก็เป็นแรงบันดาลใจส�ำคัญทีท่ ำ� ให้ทงั้ คูใ่ ห้ความส�ำคัญกับการดูแลสิง่ แวดล้อม ทัง้ ภายในและภายนอกองค์กร “ความทีเ่ ราเคยเป็นนักวิชาการเกษตร เคยไปท�ำแปลงทดลอง ลงไร่ลงแปลงทดสอบอยูก่ บั เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา อยู่ กับคนทุกข์คนยากมาตลอด อันนัน้ อาจจะเป็นพืน้ ฐานอันหนึง่ ทีท่ ำ� ให้เรารูส้ กึ ว่าเรา serve ให้กบั ชาวบ้าน” ชุลพี รเล่าถึงจุดเริม่ ต้นทีท่ ำ� ให้ทงั้ เธอและสามีใส่ใจปัญหาสิง่ แวดล้อมและสังคมรอบตัว โดยมักเข้าไปร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหาสิง่ แวดล้อมต่างๆ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของภาคประชาสังคมมากกว่าที่จะเข้าไปท�ำในชื่อของสมุยอักษร เพราะปัจจุบันอานนท์มีบทบาทใน ภาคประชาสังคมหลากหลายต�ำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นรองประธานมูลนิธิเกาะสีเขียว กรรมการหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ปรึกษาสภาที่ปรึกษาภาคใต้ ที่ปรึกษาเครือข่ายชุมชนบางมะขาม สมาชิกเครือข่ายพลเมืองสมุย เป็นต้น “อย่างการจัดการขยะในระดับชุมชนที่เข้าไปท�ำ จริงๆ ไม่ได้เอาตัวชื่อบริษัทไปท�ำ แต่ไปท�ำในนามภาคประชาสังคม มากกว่า” อานนท์เล่าถึงความระมัดระวังในการเข้าไปท�ำงานด้านสิ่งแวดล้อม ส�ำหรับโครงการสิ่งแวดล้อมที่สมุยอักษรท�ำมีรายละเอียดดังนี้ • การบ�ำบัดน�้ำเสีย

การดูแลสิ่งแวดล้อมของสมุยอักษรเริ่มต้นด้วยการบ�ำบัดน�้ำเสีย เนื่องจากที่ตั้งของโรงพิมพ์แห่งใหม่มีคลองบางกลั้ง ไหลผ่าน และอยู่ใกล้ทะเลคือชายหาดบางมะขาม “ตอนที่เริ่มท�ำธุรกิจ เราก็คิดแค่ให้อยู่รอดก่อน ประกอบกับตอนแรกโรงพิมพ์ยังมีขนาดเล็ก เป็นเพียงห้องแถวคูหา เดียว และก็มีระบบล�ำรางสาธารณะของเทศบาลรองรับน�้ำเสีย แต่พอธุรกิจเริ่มตั้งตัวได้ จึงเห็นว่าต้องรับผิดชอบ ประกอบ กับย้ายมาที่นี่ เรามีทั้งคลองบางกลั้งอยู่ในพื้นที่และอยู่ใกล้ทะเล ท�ำอะไรมันก็ลงไปในทะเล นอกจากปลูกต้นไม้เพื่อสร้าง พื้นที่สีเขียวและสร้างความร่มรื่นแล้ว เราก็เริ่มบ�ำบัดน�้ำเสีย” อานนท์เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการท�ำธุรกิจโดยค�ำนึงถึงเรื่อง สิ่งแวดล้อมของสมุยอักษร 1

จาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-253227 เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2561


ในช่วงเริ่มต้น สมุยอักษรบ�ำบัดน�้ำเสียด้วยการท�ำบ่อพักน�้ำ ก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้ระบบกรอง แต่ก็พบว่าไม่ค่อยมี ประสิทธิภาพ เพราะระบบกรองมักจะเกิดการอุดตัน จึงพัฒนามาเรื่อยๆ จนกลายเป็นระบบบ�ำบัดน�้ำเสียแบบผสมผสานที่ ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเลียนแบบระบบบ�ำบัดน�้ำเสียที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 มีพระราชด�ำริใช้ในโครงการแหลมผักเบี้ย2 “แต่ของเราไม่ได้มีพื้นที่เยอะ จึงใช้วิธีท�ำให้โลหะหนักตกตะกอน แล้วแยกตะกอนออกมา ส่วนน�้ำข้างบนที่ใสแต่ยังไม่ สะอาดก็นำ� ไปผ่านระบบกรองด้วยพืชน�ำ้ เติมน�ำ้ หมักอีเอ็ม (Effective Microorganism: EM) และเติมอากาศ กรองจนใสแล้ว จึงปล่อยลงสูค่ ลองธรรมชาติ” อานนท์อธิบายระบบการบ�ำบัดน�ำ้ เสียทีใ่ ช้อยูใ่ นปัจจุบนั (ดูรายละเอียดเพิม่ เติมในภาคผนวก) นอกจากการบ�ำบัดน�ำ้ แล้ว สมุยอักษรยังพยายามหาวิธใี ช้ประโยชน์จากตะกอนทีแ่ ยกออกมาจากน�ำ้ เสีย โดยเมือ่ พ.ศ. 2556 นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้นำ� ตะกอนนี้ (ซึง่ โรงพิมพ์ได้ตากแห้งและทุบเป็นชิน้ เล็กๆ) ไปท�ำ วิจัยว่าสามารถน�ำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ผลการวิจัยพบว่าสามารถน�ำไปใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอิฐบล็อกได้ ด้วย สัดส่วนดินต่อทราย ต่อปูน ต่อตะกอน ที่สัดส่วน 3 : 1 : 1 : 5 โดยอิฐบล็อกที่ได้สามารถน�ำไปใช้ตกแต่งสวนในอาคารได้ และก�ำลังมีการพัฒนาเรื่ององค์ประกอบของอิฐบล็อกให้มีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้น รวมถึงยังมีการน�ำตะกอนไปท�ำวิจัย เพื่อ ท�ำตัวดูดซับแก๊สชีวภาพด้วย ปัจจุบนั ระบบบ�ำบัดน�ำ้ เสียจากกระบวนการพิมพ์ของโรงพิมพ์สมุยอักษรกลายเป็นต้นแบบทีบ่ ริษทั ถาวร เลเบิล แอนด์ ริบบอน จ�ำกัด ผู้ผลิตฉลากและสติกเกอร์รายใหญ่ในจังหวัดสมุทรสาคร น�ำไปพัฒนาต่อยอดระบบบ�ำบัดน�้ำเสียของบริษัท จนสามารถบ�ำบัดน�้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น “ตอน พ.ศ. 2559 เจ้าของบริษัทถาวรฯ กับหลานและพนักงานอีก 4 คน มาดูงานระบบบ�ำบัดน�้ำเสียของเรา แล้วก็ น�ำเอาไปท�ำ เมื่อปีที่แล้ว (2560) เขาก็เชิญเราไปดู ซึ่งเขาท�ำได้ดี และยังบอกว่าจะพยายามชวนคนที่รู้จักมาดูระบบ เพื่อ จะได้น�ำไปท�ำต่อด้วย” ชุลีพรและอานนท์เล่าถึงผลลัพธ์ที่ไม่เคยนึกถึงมาก่อน ระบบบ�ำบัดน�้ำเสียยังท�ำให้สมุยอักษรได้รับรางวัลสิ่งพิมพ์ยอดเยี่ยม “Green Print Concept” ใน พ.ศ. 2555 และ รางวัลสิ่งพิมพ์ยอดเยี่ยม “Green Print Award” ใน พ.ศ. 2556 จากสมาคมการพิมพ์ไทย 2 ปีซ้อนด้วย “ตอนนั้นกระแส green ก�ำลังมา สมาคมการพิมพ์ก็เลยจัดการประกวดเกี่ยวกับเรื่องนี้ เราก็ส่ง แล้วได้รางวัลจาก บ่อบ�ำบัดน�้ำเสียจากหมึกพิมพ์ 2 ปีซ้อน ปีที่ 3 เขาเลยไม่มีการประกวดอันนี้ เพราะถ้าจัดเราก็คงได้อีก แต่เราก็พยายาม กระทุง้ ทางสมาคมเรือ่ งนี้ เขาก็เอาเรือ่ งของเราไปลงในวารสารการพิมพ์ แต่ไม่มกี ารต่อยอด” อานนท์เล่าถึงความพยายาม ที่จะส่งต่อเรื่องสิ่งแวดล้อมออกสู่ธุรกิจสิ่งพิมพ์อื่นๆ

2

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ จังหวัดเพชรบุรี

Sa mu i A k sor n Pr i nt i n g

11


12

• ดูแลคลองบางกลั้ง

ตามปกติสภาพของคลองบางกลั้งจะเป็นสายน�้ำไหลในช่วงฤดูฝนเท่านั้น ส่วนในช่วงที่มีฝนน้อย ปากคลองจะถูกดิน ทรายปิดโดยธรรมชาติ ท�ำให้คณ ุ ภาพน�ำ้ ในคลองช่วงทีไ่ หลผ่านโรงพิมพ์สมุยอักษรเน่าเสียและมีกลิน่ เหม็น เนือ่ งจากคลอง กลายเป็นที่รองรับน�้ำเสียจากครัวเรือนที่อาศัยอยู่ตามล�ำคลอง ดังนั้นนอกจากการบ�ำบัดน�้ำเสียจากกระบวนการพิมพ์ก่อน ปล่อยน�้ำลงคลองดังกล่าวแล้ว สมุยอักษรยังดูแลน�้ำในคลองบางกลั้งด้วยการใช้น�้ำหมักอีเอ็มที่ผลิตขึ้น ราดลงไปในคลอง เฉลี่ยอาทิตย์ละ 40-80 ลิตร และน�ำน�้ำหมักอีเอ็มไปแจกให้กับบ้านเรือนที่อยู่ริมคลอง เพื่อช่วยกันบ�ำบัดน�้ำในคลอง รวม ถึงมีการเก็บขยะในคลอง ทั้งช่วงที่ไหลผ่านโรงพิมพ์ และชุลีพรยังพาพนักงานเดินขึ้นไปเก็บขยะในล�ำคลองด้านบน พร้อม กับพูดคุยขอร้องชาวบ้านทีอ่ ยูร่ มิ คลองไม่ให้ทงิ้ ขยะด้วย นอกจากนีย้ งั มีการใช้เครือ่ งตีนำ�้ เพิม่ ออกซิเจน ซึง่ ท�ำให้นำ�้ ในคลอง มีคุณภาพดีขึ้น ปลานิลและปลาทับทิมสามารถเติบโตได้ • น�้ำหมักอีเอ็มแก้ปัญหาสุขภาวะชุมชน

ส�ำหรับน�้ำหมักอีเอ็มที่ใช้ในระบบบ�ำบัดน�้ำเสียและบ�ำบัดน�้ำในคลองนั้น สมุยอักษรผลิตขึ้นใช้เองในช่วง พ.ศ. 2550 โดยอานนท์ได้ศกึ ษาหาข้อมูลจากเอกสารและสือ่ ต่างๆ แล้วมาทดลองท�ำ ปัจจุบนั นอกจากจะผลิตใช้เองแล้ว สมุยอักษรยังมี การน�ำเอาน�ำ้ หมักอีเอ็มทีพ่ นักงานช่วยกันผลิตออกไปแจกจ่ายให้คนในเกาะสมุยได้ใช้ดว้ ย โดยมีการแจกทัง้ ทีว่ ดั ตลาดสด หน้าทอน และที่โรงพิมพ์ “ตอนเอาไปแจกทีต่ ลาดใหม่ๆ ต้องไปคุยกับคนเก็บขยะและท�ำความสะอาดตลาดว่า ต้องเอาน�ำ้ หมักอีเอ็มราดด้วยนะ และให้เด็ก (พนักงาน) ที่รู้จักไปคุยกับแม่ค้าเป็นปีค่ะว่าต้องใช้ยังไง เพราะเมื่อก่อนคนจะไม่รู้จัก แถมตอนนั้นน�้ำหมักจะมี กลิ่นออกเหม็นๆ คนก็ไม่กล้าใช้ แต่ตอนหลังเขาใช้จนชิน ตอนนี้ตลาดไม่เหม็นเน่า ไม่เหม็นปลาแล้วค่ะ” ชุลีพรเล่าถึงวิธี การท�ำให้น�้ำหมักอีเอ็มได้รับการยอมรับ ซึ่งปัจจุบันสมุยอักษรน�ำเอาน�้ำหมักอีเอ็มไปวางตามจุดแจกในตลาดสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เพื่อให้ชาวบ้านรับกลับไปใช้ที่บ้าน ทั้งราดห้องน�้ำ รดต้นไม้ ส่วนวัตถุดบิ ทีน่ ำ� มาใช้ผลิตน�ำ้ หมักอีเอ็มนัน้ ปัจจุบนั สมุยอักษรรับเปลือกผลไม้จากโรงงานผลิตน�ำ้ ผลไม้ในเกาะสมุยมา เป็นวัตถุดบิ โดยเทศบาลนครเกาะสมุยช่วยอ�ำนวยความสะดวกในการขนเปลือกผลไม้จากโรงงานมาให้ทโี่ รงพิมพ์โดยตรง


สัปดาห์ละ 2 ครัง้ ท�ำให้สมุยอักษรมีวตั ถุดบิ ในการท�ำน�ำ้ หมักอีเอ็มส�ำหรับแจกจ่ายได้จำ� นวนมาก น�ำ้ หมักอีเอ็มทีไ่ ด้กม็ กี ลิน่ หอมใช้ได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นการน�ำขยะเปียกมาใช้ประโยชน์อีกรูปแบบหนึ่งด้วย • จัดการขยะหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่โรงพิมพ์และที่บ้านของพนักงาน

ในส่วนการจัดการขยะ เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา สมุยอักษรเริ่มให้พนักงานแยกขยะที่เกิดขึ้นในโรงพิมพ์ออกเป็น 6 ประเภท คือ ขยะสกปรก ภาชนะกระดาษ ถุงพลาสติก แก้วและขวดพลาสติก กระป๋องเครื่องดื่ม กระป๋องโลหะ ผลลัพธ์ก็คือปริมาณ ขยะที่สมุยอักษรเคยส่งให้เทศบาลรับไปจัดการวันละเกิน 6 ถุงด�ำ ลดเหลือเพียงขยะสกปรกสัปดาห์ละประมาณ 6 ถุง ส่วน ขยะทีส่ ามารถรีไซเคิลได้ รวมถึงกระดาษ เพลตแท่นพิมพ์ ซึง่ ท�ำจากอะลูมเิ นียม และบรรจุภณ ั ฑ์ตา่ งๆ จากกระบวนการพิมพ์ ได้น�ำไปขายให้คนรับซื้อของเก่า แล้วน�ำเงินที่ได้มาสมทบในกองทุน ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อให้พนักงานกู้ยืม ส่วนเศษกระดาษที่ เหลือจากการตัดตามขนาดสิง่ พิมพ์จะน�ำไปใช้ประโยชน์ เช่น ท�ำเป็นสมุดโน้ตเพือ่ มอบให้ลกู ค้าเป็นของขวัญในช่วงเทศกาล ไม่เพียงเท่านั้น ในช่วงหลังสมุยอักษรยังหันมาจัดการกับขยะเปียกหรือขยะจ�ำพวกเศษอาหาร เพราะมองว่าการน�ำ ขยะเหล่านี้ใส่ถุงด�ำแล้วให้รถเก็บขยะของเทศบาลรับไปจัดการ มักก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น มีน�้ำขยะ (จากรถ เก็บขยะ) ไหลลงพื้นถนนท�ำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือการน�ำขยะไปเทกองรวมกันท�ำให้เกิดการเน่าเหม็น ก่อให้เกิดเชื้อโรค หากน�้ำขยะไหลลงแหล่งน�้ำก็ท�ำให้เกิดน�้ำเน่าเสีย “และตั้งแต่เรามีกรณีโต้แย้งกับทางเทศบาลฯ ว่า เราไม่เห็นด้วยที่จะขนขยะ (ที่ตกค้างในเกาะสมุย) ออกไปข้างนอก เพราะว่าเป็นความรับผิดชอบของคนสมุยเอง จึงควรบริหารจัดการในสมุย การขนขยะออกไปจัดการข้างนอกเป็นแค่การ ย้ายขยะไปทีอ่ นื่ และถึงแม้จะเอาไปเผา ถ้าบริหารจัดการไม่ดกี จ็ ะเกิดปัญหาสิง่ แวดล้อมทางอากาศ และมีปญ ั หาสิง่ ตกค้าง ในดิน ยากขึ้นไปอีกหลายเท่าเลย” อานนท์เล่าถึงแรงจูงใจที่ท�ำให้เริ่มหันมาจัดการขยะเปียก โดยให้พนักงานน�ำขยะเปียก ของตัวเองที่บ้านมารวมกันที่โรงพิมพ์ แต่เนื่องจากปริมาณยังน้อย จึงไปรับเศษอาหารจากร้านอาหารใกล้ๆ โรงพิมพ์มา เพิ่ม แล้วน�ำเอาอาหารเปียกเหล่านี้มาหมักเป็นปุ๋ย โดยการเทเศษอาหารลงไปกลบด้วยขี้เลื่อย ราดด้วยน�้ำหมักอีเอ็มซ้อน กันไปเรื่อยๆ แล้วกลับกองขยะ รวมถึงมีการใช้ “หนอนแม่โจ้”3 มาเป็นตัวช่วยให้การย่อยขยะเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากการท�ำปุ๋ยหมักแล้ว ยังมีการน�ำเอาเศษอาหารมาหมักเพื่อท�ำแก๊สชีวภาพด้วย แล้วน�ำแก๊สชีวภาพที่เกิดขึ้น มาใช้ท�ำอาหาร ขนม ให้พนักงาน (และแขกที่มาเยี่ยมชมโรงพิมพ์) รับประทานเป็นสวัสดิการเสริม รวมถึงมีการต่อท่อส่ง แก๊สให้ครัวเรือนที่อยู่ใกล้โรงพิมพ์ได้ใช้ประโยชน์ด้วย แต่ได้หยุดไปเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 เนื่องจากระบบส่งแก๊ส ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น�้ำท่วม

3

หนอนแม่โจ้เป็นตัวอ่อนของแมลงคล้ายแมลงวัน มีชื่อสามัญว่า Black Soldier Fly กินขยะอินทรีย์ต่างๆ เป็นอาหาร โดยมีอัตราการกินเร็วกว่าไส้เดือน ดินถึง 5 เท่า หนอนแม่โจ้จึงจัดการขยะอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ตัวมันเองยังเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์คุณภาพสูง เพราะมีปริมาณโปรตีน สูงถึง 42 กรัม (เปรียบเทียบกับโปรตีนในแมลงน�้ำหนัก 100 กรัม)

Sa mu i A k sor n Pr i nt i n g

13


14

• กระบวนการพิมพ์สีเขียว

นอกจากการบ�ำบัดน�้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการพิมพ์แล้ว สมุยอักษรยังพยายามสร้างกระบวนการพิมพ์สีเขียวใน ส่วนอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย เช่น การเปลี่ยนมาใช้หมึกพิมพ์ถั่วเหลือง หรือ soy ink ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะใช้น�้ำมัน ถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบแทนน�้ำมันปิโตรเลียม รวมถึงการเลือกใช้น�้ำยาฟาวน์เทน (น�้ำยาส�ำหรับงานพิมพ์ โดยเฉพาะ งานพิมพ์ภาพ) ที่ไม่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม ซึ่งปลอดภัยต่อสุขภาพของพนักงาน นอกจากนี้ยังมีการน�ำเสนอกระดาษ รีไซเคิลให้ลูกค้าเลือกใช้ในการพิมพ์งาน “พี่นนท์ (อานนท์ วาทยานนท์) เป็นคนหาข้อมูลว่าต้องท�ำยังไง ต้นทุนจะเพิ่มขึ้นเท่าไร เพราะราคาขายของเราก็เท่า เดิม แต่สิ่งที่ได้คือมันไม่เป็นพิษเป็นภัยกับพนักงานที่ใช้และดีต่อสิ่งแวดล้อม” ไตรศลี พูลผล ช่างพิมพ์เครื่อง MO อายุงาน 15 ปี เล่าถึงตอนที่สมุยอักษรเริ่มเปลี่ยนมาใช้หมึก soy ink อย่างไรก็ดี กระบวนการพิมพ์สีเขียวจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนก็คงขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า บางครั้ง ลูกค้าอาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการใช้กระดาษรีไซเคิล ซึ่ง มีราคาสูงกว่ากระดาษทั่วไป หรืออาจจะต้องยอมรับว่าหมึก soy ink อาจจะท�ำให้งานไม่คมชัดเท่าหมึกที่มีส่วนผสมของ น�้ำมันปิโตรเลียม “ตอนแรกเราเปลีย่ นไปใช้ soy ink หมดเลย แต่ตัว soy ink ก็มีปัญหาเรื่องคุณภาพงานพิมพ์ ตอนหลังเลยอาจจะไม่ได้ ใช้ soy ink ทั้งหมด ก็ต้องกลับมาหามาตรฐานกลางๆ แต่เท่าที่ทางมหาวิทยาลัยทักษิณเอาน�้ำเสียของเราไปตรวจ เขาไม่ เจอสารโลหะหนัก ซึง่ ตรงนีอ้ าจจะสะท้อนว่า สารตัง้ ต้นในวงการพิมพ์ทงั้ หมดถูก control มาเป็นล�ำดับ โดยทุกทีถ่ กู ก�ำหนด ให้หาสารตั้งต้นที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง” อานนท์เล่าถึงผลกระทบจากกระบวนการพิมพ์ต่อสิ่งแวดล้อมที่ลด น้อยลง แม้ว่าบางครั้งโรงพิมพ์จะไม่สามารถใช้ soy ink ได้ทั้งหมดก็ตาม อย่างไรก็ดี เตชิน พันธุเดช Chain Supervisor โรงแรม Beach Republic ซึง่ รูจ้ กั และคุน้ เคยกับโรงพิมพ์สมุยอักษร โดย เป็นลูกค้าทีส่ ง่ งานพิมพ์ทสี่ มุยอักษรตัง้ แต่เริม่ เข้ามาท�ำงานในเกาะสมุยทีโ่ รงแรมบัญดาราเมือ่ 6 ปีกอ่ นเล่าว่า จุดเด่นข้อหนึง่ ของสมุยอักษรคือจะเข้ามาคุยเกีย่ วกับเรือ่ งกระดาษค่อนข้างมาก เพราะอยากให้ลกู ค้าเปลีย่ นกระดาษมาใช้กระดาษรีไซเคิล “ตอนนี้เราก็ยังไม่ค่อยได้เปลี่ยน เจ้านายกลัวจะมีปัญหาเกี่ยวกับเอกสาร เพราะกระดาษ (รีไซเคิล) ย่อยสลายง่าย เขากลัวเอกสารจะเสื่อมเร็ว แต่เราต้องเก็บไว้เป็น 10 ปี” เตชินเล่า โดยส่วนใหญ่งานของ Beach Republic ที่พิมพ์กับ สมุยอักษรจะเป็นโบรชัวร์โรงแรม แผ่นโปรโมชันมินิบาร์ และใบเสร็จ เป็นต้น • การใช้พลังงานทางเลือก

สมุยอักษรยังมีการน�ำพลังงานทางเลือกมาใช้ภายในโรงพิมพ์ ด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จ�ำนวน 36 แผง เพื่อใช้ ในการพิมพ์งานไวนิล ซึง่ ท�ำให้คา่ ไฟฟ้าในส่วนนีล้ ดลงถึงครึง่ หนึง่ จึงมีแผนทีจ่ ะน�ำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้มากขึน้ แต่ตอ้ ง ศึกษากฎระเบียบของกระทรวงพลังงานเกีย่ วกับการเปิดเสรี solar rooftop4 เพราะปัจจุบนั ยังไม่มกี ารออกกฎหมายลูกรองรับ “ตอนนี้เราแค่ท�ำเพื่อ observe ดูว่าหากท�ำแล้วจะเป็นยังไง ซึ่งตอนนี้เราป้อนไฟให้กับการไฟฟ้าฯ นะครับ โดยเฉพาะ วันเสาร์-อาทิตย์ หรือช่วงที่เราไม่ได้ใช้ไฟมากอย่างช่วงพักเที่ยง ไฟของเราจะฟีดเข้าระบบการไฟฟ้า ท�ำให้ไฟของเขา มีความเสถียรมากขึ้น” อานนท์เล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้น นอกจากที่ช่วยให้โรงพิมพ์ประหยัดค่าไฟลงได้ครึ่งหนึ่ง (ในส่วนที่ใช้)

4

การรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาเข้าระบบ


ผลลัพธ์ทางธุรกิจไม่ชัดเท่ารางวัลด้านสิ่งแวดล้อม ส�ำหรับแรงจูงใจที่ท�ำให้สมุยอักษรท�ำเรื่องสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น เป็นเรื่องสุขภาพที่ดีของพนักงาน การได้ปลูกฝังให้ พนักงานดูแลสิง่ แวดล้อม ท�ำให้โรงพิมพ์ไม่ตอ้ งประสบกับปัญหาน�ำ้ เน่าเสียจากคลองบางกลัง้ ทีไ่ หลผ่านโรงพิมพ์ มากกว่า ที่จะมองในเรื่องของการเป็นจุดขายทางธุรกิจ “จริงๆ ลูกค้าทั่วไปที่สั่งงานกับเราเขาไม่ได้มารู้เรื่องด้วย แล้วถ้าไปบอกว่าฉันบ�ำบัดน�้ำเสีย 100% มีค่าใช้จ่ายเดือน ละ 10,000-20,000 บาท แล้วเอาไปใส่ในต้นทุน เขาไม่สนใจหรอก มีแต่ว่าบิลร้านคุณแพงกว่าคนอื่นบาทหนึ่ง ฉันไม่ท�ำ แล้วนะ ฉันจะไปท�ำที่สุราษฎร์ฯ จะเป็นแนวๆ นั้นในแง่ลูกค้ารายเล็กๆ ถ้าเป็นลูกค้ารายใหญ่ อย่างโรงแรมที่มีนโยบายเรื่อง สิ่งแวดล้อมเยอะ บางแห่งขนาดเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงแพะ ปลูกพืช เราก็มีโอกาสที่จะได้งานพิมพ์จากเขาสูงกว่า แต่บางทีเขาก็มี กลไกภายในทีค่ มุ จัดซือ้ ไม่ได้ แม้วา่ GM (ผูจ้ ดั การทัว่ ไป) จะมีนโยบายก�ำหนดลงมาเรือ่ งการจัดซือ้ กับธุรกิจสีเขียวก็ตาม” อานนท์และชุลีพรอธิบายถึงสาเหตุท่ีบางครั้งการดูแลสิ่งแวดล้อมไม่เอื้อกับธุรกิจเท่าที่ควรจะเป็น อันเนื่องมาจากช่องโหว่ ภายในองค์กรของกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมาย อย่างไรก็ดี โดยรวมแล้วสมุยอักษรได้รับผลดีในแง่ของธุรกิจจากการดูแลสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร “บางโรงแรมเดี๋ยวนี้จะมี green project เช่น เป็นประกาศนียบัตรให้ว่าโรงแรมนี้ใช้สิ่งพิมพ์ที่เป็น soy ink ท�ำเกี่ยวกับ ขยะ ส่วนใหญ่เป็นโรงแรม 5 ดาวขึ้นไป พวกนี้เขาจะมาท�ำ (พิมพ์งาน) กับเรา เพราะเขารู้ว่าเราใช้กระดาษรีไซเคิล ใช้หมึก ธรรมชาติ ซึ่งมีผลกับยอดขายเหมือนกัน” ต้องตา กองทอง พนักงานแผนกประสานงานกับลูกค้า อายุงาน 9 ปี ยกตัวอย่าง ผลดีที่เกิดขึ้นจากการดูแลสิ่งแวดล้อมของสมุยอักษร อย่างไรก็ดี สมุยอักษรมักจะได้รับรางวัลจากองค์กรต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม และการบริหารงานโดย มีบรรษัทภิบาล โดยนอกจากรางวัลสิ่งพิมพ์สีเขียวจากสมาคมการพิมพ์ไทย 2 ปีซ้อน ดังที่กล่าวถึงมาแล้ว ยังได้รับรางวัล จากสถาบันอันทรงเกียรติอื่นๆ อีก อาทิ รางวัลธรรมาภิบาลด้านการปฏิบัติต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น พ.ศ. 2556 จาก สถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม และรางวัล SVN Awards ภาคธุรกิจดีเด่นขนาดกลางและขนาดย่อม ประจ�ำปี พ.ศ. 2557 รวมถึงยังเป็นสถานที่ ดูงานขององค์กรต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นการแบ่งปันให้แก่สังคมอีกรูปแบบหนึ่ง ที่สร้างความภูมิใจให้กับองค์กร

ขยายผลสู่ชุมชน ต้นแบบบางมะขามโมเดล การประกาศตนเป็นองค์กรที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมของสมุยอักษรไม่ได้จ�ำกัดอยู่แค่ภายในองค์กร ดังจะเห็นได้จาก การผลิตน�้ำหมักอีเอ็มเพื่อให้สาธารณชนได้น�ำไปใช้ประโยชน์โดยไม่คิดมูลค่า การดูแลน�้ำในคลองบางกลั้ง นอกจากนี้ การจัดการขยะของสมุยอักษร ทัง้ การคัดแยกขยะและการน�ำขยะเปียกมาท�ำปุย๋ หมัก ยังกลายเป็นต้นแบบให้กบั ศูนย์เรียนรู้ การจัดการขยะต้นทางของชุมชนบางมะขาม ซึ่งเป็นชุมชนน�ำร่องในการจัดการขยะต้นทางและการแปรรูปขยะอินทรีย์ ภายใต้ชื่อ บางมะขามโมเดล “สมุยขับเคลือ่ นเรือ่ งขยะมาประมาณ 2 ปี โดยไทยพีบเี อสได้มาจัดกระบวนการ หลังจากมีกรณีทจี่ ะต้องเอาขยะตกค้าง (ในเกาะสมุย) ออกนอกเกาะ ตอนนั้นทั้งทางภาคธุรกิจ เทศบาล หมายถึงหน่วยราชการ ธุรกิจขนาดใหญ่ และภาคโรงแรม กลุ่มเชิงมน กลุ่มเฉวง กลุ่มบ่อผุด เขาจัดเป็นกลุ่มๆ เพื่อที่จะบริหารขยะภายในโรงแรมของตัวเอง เทศบาลก็จะมาท�ำกับ พวกชุมชน บางมะขามโมเดลก็มาท�ำกับเรา โดยเราไปเป็นตัวอย่างให้บางมะขามโมเดล คือเราท�ำเรื่องอีเอ็มกับท�ำเรื่อง หมักปุ๋ยโดยใช้หนอนแม่โจ้เป็นตัวมากินขยะ เราก็เอาองค์ความรู้ตัวนี้ไปถ่ายทอดให้กับบางมะขามโมเดล” อานนท์เล่าถึง จุดที่เข้าไปร่วมท�ำงานกับบางมะขามโมเดลเมื่อ พ.ศ. 2560 เพื่อแก้ปัญหาขยะเปียก ซึ่งก่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมหลายๆ อย่าง ทั้งอุบัติเหตุบนท้องถนนและปัญหาน�้ำเน่าเสียหากน�้ำขยะไหลลงสู่แหล่งน�้ำ โดยตัวเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษา เครือข่ายชุมชนบางมะขามด้วย

Sa mu i A k sor n Pr i nt i n g

15


16

ขณะทีไ่ พชนม์ แย้มบาน ที่ปรึกษาคณะกรรมการชุมชนบางมะขาม เล่าถึงที่มาของบางมะขามโมเดลว่า “ก่อนท�ำเรามี การเก็บข้อมูลว่าขยะในแต่ละครัวเรือนมีอะไร ประมาณเท่าไร ตัวไหนทีม่ ปี ญ ั หา ตัวไหนทีไ่ ม่มปี ญ ั หา ก็ปรากฏว่าขยะเปียก เป็นเป้าหมายที่เราต้องจัดการอย่างแรก เพราะตอนที่ขนส่งมันจะเกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อมมาก เช่น ถ้ามันหกเรี่ยราดไป ตามถนน รถราอาจจะเกิดอุบัติเหตุ แล้วในพื้นที่เรามีสถานประกอบการ โรงแรม ร้านอาหาร ห้องแถวต่างๆ ที่ไม่มีพื้นที่ จัดการเรื่องพวกนี้ ซึ่งเขายินดีจ่ายค่าใช้จ่ายบางส่วนเพื่อน�ำขยะของพวกเขาไปไว้ที่สถานีขยะ” โดยพื้นที่ในการจัดตั้งสถานีขยะ ซึ่งบางมะขามโมเดลมีสถานีขยะ 2 แห่ง คือที่ชุมชนบางมะขามและชุมชนวัดใหม่ ซึ่ง ธนิต คงเพชร ผู้ถือหุ้นและผู้บริหารของ หจก.สมุยอักษร ได้อนุญาตให้ใช้ที่ดินของเขาท�ำสถานีขยะของชุมชนทั้ง 2 แห่ง ในช่วงเริ่มต้น สมุยอักษรได้ส่งพนักงานมาถ่ายทอดความรู้ ในการน�ำขยะเปียกมาแปรรูปท�ำเป็นปุ๋ยหมักอินทรีย์ การผลิตน�้ำหมักอีเอ็ม การท�ำแก๊สชีวภาพ รวมถึงการเลี้ยงหนอนแม่โจ้ให้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ทางคณะกรรมการชุมชนจ้าง มาดูแลสถานีขยะสามารถด�ำเนินการเองได้ ซึ่งปัจจุบันสถานีขยะของชุมชนบางมะขามน�ำขยะเปียกมาท�ำน�้ำหมักอีเอ็ม ปุ๋ยหมัก และเลี้ยงหนอนแม่โจ้ โดยการหมักปุ๋ยในบ่อซีเมนต์ แล้วใช้หนอนแม่โจ้ช่วยย่อยขยะ ซึ่งหลังจากใช้เวลาหมัก ประมาณ 4 เดือน ก็ได้ผลผลิตล็อตแรกเป็นปุย๋ อินทรียป์ ระมาณ 4-5 ตัน และหนอนแม่โจ้ออกมาจ�ำหน่ายให้กบั เกษตรกรและ ผูส้ นใจ ซึง่ ได้รบั การตอบรับอย่างดี เพราะนอกจากจะคุณภาพดีแล้ว ราคาจ�ำหน่ายยังถูกกว่าปุย๋ อินทรีย์ในท้องตลาด ขณะที่ ศูนย์เรียนรูก้ ารจัดการขยะต้นทางของชุมชนบางมะขามก็กลายเป็นทีด่ งู านของชุมชนและสือ่ ต่างๆ ทัง้ ในและนอกเกาะสมุย “เป้าหมายของเราคือการจัดการขยะ ส่วนรายได้ที่เกิดขึ้นจากการจ�ำหน่ายปุ๋ยเป็นผลพลอยได้ ซึ่งถ้าสมุยอักษรไม่น�ำ เรือ่ งนีอ้ อกมาสูช่ มุ ชน ไม่มาช่วยให้ความรู้ในช่วงเริม่ ต้น รวมถึงส่งพนักงานมาช่วยท�ำปุย๋ หมักด้วยตอนทีม่ ขี ยะเปียกเข้ามา มาก บางมะขามโมเดลก็คงเกิดขึ้นไม่ได้” ไพชนม์ แย้มบาน ที่ปรึกษากรรมการชุมชนบางมะขามกล่าว

แบ่งแผนก แต่ต้องท�ำงานเป็นหนึ่งเดียว ปัจจุบันสมุยอักษรมีพนักงานประจ�ำทั้งหมดประมาณ 50 คน ลดลงจากช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเคยมีถึง 70 คน อันเนื่องมาจากการชะลอตัวของตลาดสิ่งพิมพ์ เมื่อมีพนักงานลาออก ทางโรงพิมพ์จึงไม่ได้รับพนักงานใหม่เข้ามาทดแทน โดยเฉพาะในส่วนของช่างพิมพ์และช่างเรียง แต่ใช้วธิ ใี ห้ชา่ งพิมพ์ทยี่ งั เหลืออยูเ่ รียนรูว้ ธิ กี ารคุมเครือ่ งพิมพ์ให้ได้หลายๆ ประเภท “เพราะพองานน้อย เครื่องพิมพ์บางเครื่องก็ว่าง เราก็โยกช่างพิมพ์ที่มีอยู่ไปคุมเครื่องพิมพ์ที่มีงานเยอะ รวมถึงบางที ช่างพิมพ์อาจจะต้องช่วยงานไดคัตหรืองานเคลือบได้ด้วย” อานนท์เล่า ภายในสมุยอักษรจะแบ่งการท�ำงานออกเป็นแผนก เพื่อให้พนักงานมีกรอบภาระหน้าที่ที่ชัดเจน โดยหลักจะแบ่งเป็น แผนกประสานงาน ซึ่งดูแลติดต่อกับลูกค้า แผนกการเงินและบัญชี แผนกกราฟิกดีไซน์ แผนกสโตร์กระดาษ แผนกพิมพ์ แผนกหลังพิมพ์ ซึ่งเป็นเรื่องการเรียง ตัด ห่อ แผนกห้องถ่ายเอกสาร ซึ่งจะถ่ายเอกสาร โรเนียว เข้าเล่ม แผนกไวนิลและ สติกเกอร์ โดยแต่ละแผนกจะมีหัวหน้า ซึ่งมักเป็นคนที่มีอาวุโสคือท�ำงานมานานช่วยดูแล “ทีน่ จี่ ะเป็นระบบอาวุโส ไม่ได้เป็นสายการบังคับบัญชาโดยตรง หัวหน้าจะเป็นคนทีอ่ ยูม่ านาน และความเป็นหัวหน้าก็ จะให้เขารับผิดชอบมากกว่าคนอืน่ เช่น ดีลราคาได้ รับงานได้ จบงานกับลูกค้าได้ ซึ่งใครที่รบั ผิดชอบได้เยอะก็ได้เงินเดือน เยอะอยู่แล้ว” ชุลีพรอธิบายลักษณะของต�ำแหน่งหัวหน้า แม้ว่าจะแบ่งพนักงานเป็นแผนก แต่หากช่วงไหนที่แผนกตัวเองงานว่าง พนักงานก็ต้องเข้าไปช่วยงานแผนกอื่นๆ ที่ ก�ำลังมีงานยุ่ง ทั้งนี้เพื่อปลูกฝังให้พนักงานมีความเอื้อเฟื้อต่อกันแบบคนในครอบครัว ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้บริหารสมุยอักษร ใช้ในการดูแลพนักงาน “เช่นคนนีม้ หี น้าทีต่ ดั กระดาษก็จริง แต่พอไม่มกี ระดาษตัดก็ตอ้ งไปช่วยคนอืน่ ได้ เพราะเราท�ำงานเป็นทีม จะพยายาม ให้เขาวนเวียนท�ำงาน คือถ้างานของตัวเองมีก็ท�ำ แต่บางทีวันนี้งานไม่มีก็ต้องไปช่วยแผนกอื่น ไม่ใช่ว่าวันนี้ฉันไม่มีงาน ฉันก็นั่ง ไม่ต้องท�ำอะไร คนอื่นก็ท�ำไปสิ เราพยายามพูดให้เข้าใจว่าเราอยู่ด้วยกันแบบครอบครัว ซึ่งพนักงานก็โอเคนะคะ” ชุลีพรอธิบายถึงการฝึกให้พนักงานมีน�้ำใจกับเพื่อนร่วมงาน


เงินเดือนอาจไม่โดดเด่น แต่สวัสดิการเร้าใจ ส�ำหรับหลักการจ่ายค่าตอบแทนนั้น หากเป็นผู้จบใหม่ในระดับปริญญาตรี ปวส. หรือ ปวช. อัตราเงินเดือนจะเป็นไป ตามวุฒิการศึกษา แต่หากเป็นพนักงานที่จบการศึกษาระดับ ม.3 หรือ ม.6 จะจ่ายค่าจ้างตามค่าแรงขั้นต�่ำ (คือ 320 บาท/ วัน ส�ำหรับจังหวัดสุราษฎร์ธานี) รวมถึงมีการจ่ายค่าล่วงเวลา หากต้องท�ำงานหลังเวลาเลิกงาน ส่วนการจ่ายโบนัสนั้นจะ ขึ้นอยู่กับผลก�ำไร “เมื่อก่อนเราให้โบนัส 1 เดือน แต่ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาให้คนละครึ่งเดือน เพราะรายรับน้อยและเงินเดือนของพนักงาน ขึ้นไปเยอะ ตอนนี้เงินเดือนพนักงานคือ 1 ใน 3 ของรายได้เลย” ชุลีพรให้เหตุผล แต่ละสัปดาห์พนักงานจะมีวันหยุด 1.5 วัน เพราะสมุยอักษรท�ำงานวันจันทร์-วันเสาร์ (ครึ่งวัน) ส่วนสิทธิในเรื่อง วันลาเป็นไปตามที่กฎหมายก�ำหนด คือมีวันหยุดนักขัตฤกษ์ปีละ 13 วัน ท�ำงานครบปีมีสิทธิลาพักร้อนปีละ 6 วัน ลาป่วย ได้ปีละ 30 วัน แต่ก็มีความยืดหยุ่นให้พนักงานลางานหรือหยุดงานได้มากกว่าที่ก�ำหนด โดยดูตามความจ�ำเป็น เช่น หาก เป็นพนักงานที่ต้องการศึกษาต่อจะอนุญาตให้หยุดงานวันเสาร์ ซึ่งเป็นวันท�ำงานครึ่งวัน เพื่อไปเรียนได้ เพราะถือว่าเรื่อง การศึกษาเป็นเรื่องส�ำคัญ จึงอยากให้การสนับสนุนเต็มที่และไม่กังวลว่าเมื่อพนักงานเรียนจบแล้วอาจจะลาออกไปท�ำงาน ที่อื่น ดังกรณีของนลินญา ทองรักษ์ พนักงานแผนกกราฟิกดีไซน์ อายุงาน 5 ปี ที่เพิ่งส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี “ถ้าเป็นทีอ่ นื่ เขาอาจจะหักเงินเดือนบ้าง แล้วเสาร์-อาทิตย์ไหนทีส่ ลับงานกับเพือ่ นไม่ได้ เราก็อาจจะไม่ได้ไปเรียน แต่ ที่นี่สนับสนุนทุกอย่างที่เป็นการศึกษา เพราะนอกจากจะให้หยุดงานไปเรียนวันเสาร์แล้ว ถ้าไม่มีเงินจ่ายค่าเทอมก็สามารถ กู้ได้ เขาไม่คิดดอกเบี้ย” นลินญาให้ข้อมูล ส่วนสวัสดิการการรักษาพยาบาลเป็นไปตามสิทธิประกันสังคม แต่ทุกปีสมุยอักษรจะให้โรงพยาบาลมาตรวจสุขภาพ ให้พนักงานที่โรงพิมพ์ปีละ 1 ครั้ง โดยมีการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ รวมถึงการตรวจพิเศษอื่นๆ เพื่อป้องกัน ความผิดปกติตา่ งๆ อันอาจจะเกิดขึน้ ได้จากการปฏิบตั งิ านในหน้าที่ เช่น พนักงานทีท่ ำ� งานกับเครือ่ งพิมพ์ จะได้รบั การตรวจ การได้ยินเพิ่มเติม พนักงานแผนกถ่ายเอกสารจะได้รับการตรวจตาและตรวจปอด โดยโรงพิมพ์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการ ตรวจสุขภาพทีโ่ รงพิมพ์นที้ งั้ หมด รวมถึงมีการจัดหาอุปกรณ์เสริมทีจ่ ะช่วยให้พนักงานท�ำงานได้อย่างปลอดภัย เช่น จัดหา เครื่องป้องกันเสียงให้กับพนักงานที่ท�ำงานกับเครื่องจักร เสื้อพยุงส�ำหรับพนักงานที่ต้องยกของหนักๆ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสวัสดิการอื่นๆ เช่น เครื่องแบบพนักงาน และมีกองทุนที่พนักงานสามารถมากู้ยืมเงินไปใช้ได้ โดย ไม่ตอ้ งไปกูเ้ งินนอกระบบ ซึง่ หากพนักงานกูย้ มื ไปใช้ในเรือ่ งจ�ำเป็น เช่น กูย้ มื ไปจ่ายค่าเทอม รักษาพยาบาลพ่อแม่หรือคนใน ครอบครัวที่เจ็บป่วย หรือซ่อมแซมบ้าน ก็จะให้กู้โดยไม่คิดดอกเบี้ย หรือหากต้องการกู้เพื่อไปใช้จ่ายต่างๆ จะคิดดอกเบี้ย ร้อยละ 1 บาทต่อปี โดยผู้มีสิทธิกู้ต้องท�ำงานครบ 1 ปี วงเงินให้กู้จะดูตามความจ�ำเป็น แต่ไม่เกิน 3 เท่าของเงินเดือน และ ให้ผ่อนช�ำระภายใน 1 ปี ส่วนเกณฑ์การอนุมัติให้กู้จะพิจารณาจากความจ�ำเป็นเช่นกัน “มีอยูช่ ว่ งหนึง่ เครือ่ งซักผ้าทีบ่ า้ นเสีย ผมก็เลยไปขอใบรับรองเงินเดือนเพือ่ จะไปท�ำบัตรเงินผ่อน ถ้าเป็นทีอ่ นื่ เขาก็คง เซ็นให้ แต่ที่นี่ไม่เซ็น ถามว่าจะกู้เท่าไร ให้กู้โรงพิมพ์ ดีกว่าเป็นหนี้ข้างนอก” ไพโรจน์ พูลทวี พนักงานแผนกสโตร์กระดาษ อายุงาน 10 ปี เล่าด้วยความประทับใจ ชุลีพรเล่าถึงที่มาของกองทุนที่ให้พนักงานได้กู้ยืมว่า มาจากการน�ำเอาเงิน 300,000 บาทไปเปิดบัญชีไว้เพื่อบริหาร จัดการ โดยนอกจากดอกเบีย้ ร้อยละ 1 ทีไ่ ด้รบั จากการกูเ้ งินของพนักงานทีเ่ ห็นควรว่าต้องคิดดอกเบีย้ แล้ว เงินจากการขาย เศษกระดาษก็น�ำเอามาสมทบในกองทุนนี้ด้วย โดยหากปีไหนเงินกองทุนมีเยอะก็จะพาพนักงานไปเที่ยว ในอดีตช่วงที่เศรษฐกิจยังดี สมุยอักษรมีสวัสดิการอาหารกลางวัน แต่ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว เหลือแต่การหุงข้าว ส่วน กับข้าวพนักงานน�ำมาเอง “ที่เลิกก็เพราะตอนหลังพนักงานเบื่อ กินกันน้อยลง กลับไปกินข้าวบ้านบ้าง” ชุลีพรเล่าถึงเหตุผลที่ยกเลิกสวัสดิการ อาหารกลางวัน

Sa mu i A k sor n Pr i nt i n g

17


18

นอกจากนี้สมุยอักษรยังมีสวัสดิการที่เอื้อเฟื้อไปถึงลูกๆ ของพนักงานด้วย โดยมีการให้ค่านม ให้เงินช่วยเหลือการ ศึกษา และมีเงินรางวัลเรียนดีด้วย โดยหากลูกอายุไม่ถึง 1 ปี จะได้รับเงินค่านมเดือนละ 500 บาท อายุ 1-2 ปี เดือนละ 300 บาท อายุ 2-3 ปี เดือนละ 200 บาท ส่วนเงินช่วยเหลือการศึกษาต่อปี ชั้นอนุบาล 1-3 จะได้รับคนละ 1,500 บาท ป.1-3 คนละ 1,700 บาท ป.4-6 คนละ 2,000 บาท ม.1-3 คนละ 3,000 บาท ม.4-6/ปวช. คนละ 3,500 บาท ปวส. คนละ 5,000 บาท และมหาวิทยาลัยคนละ 10,000 บาท โดยเงินส่วนนี้จะมอบให้ก่อนเปิดภาคเรียนในช่วงต้นเดือน พฤษภาคม ส่วนรางวัลเรียนดี ระดับประถมที่มผี ลการเรียนทั้งปี 75% หรือเกรดเฉลีย่ 3 จะได้รบั รางวัล 1,500 บาท ระดับ มัธยม เกรดเฉลี่ย 3 ได้ 2,000 บาท เกรดเฉลี่ย 3.5 มอบให้ 3,000 บาท “คือเราอยูก่ นั เหมือนครอบครัว พนักงานก็เหมือนญาติ เหมือนลูกหลาน ก็หว่ งใยไปถึงลูกเขาด้วย เราจึงดูแลเท่าทีเ่ รา ดูแลได้” ชุลีพรกล่าวถึงที่มาของสวัสดิการต่างๆ

ไม่ดื่ม ไม่สูบ มีใบขับขี่ สวมหมวกกันน็อก ในแต่ละปีสมุยอักษรมีพนักงานเข้าใหม่ค่อนข้างน้อย โดยใน พ.ศ. 2560 รับพนักงานในต�ำแหน่งแม่บ้านเพียง 1 คน ส่วน พ.ศ. 2561 มีการรับพนักงานใหม่ 2 คน คือพนักงานห้องเรียง ซึ่งรับมาแทนพนักงานเดิมที่ถูกโยกให้ไปอยู่ห้องอาร์ต หลังจากเรียนจบปริญญาตรี อีกต�ำแหน่งหนึ่งเป็นพนักงานที่อยู่ในแผนกไวนิล ส่วนการประกาศรับสมัครงานมีหลายช่องทาง โดยหากเป็นต�ำแหน่งที่ต้องการความรู้ความสามารถเฉพาะทางก็จะ เลือกใช้ www.jobsdb.com สื่อวิทยุ หรือไปที่ส�ำนักงานจัดหางานสุราษฎร์ธานี แต่หากเป็นต�ำแหน่งทั่วๆ ไปจะติดประกาศ ที่หน้าโรงพิมพ์ หรือให้พนักงานภายในชักชวนญาติพี่น้องหรือคนรู้จักให้มาสมัครงาน ด้วยเหตุนี้พนักงานของสมุยอักษร จ�ำนวนไม่น้อยจึงเป็นพี่น้อง สามีภรรยา และแม่ลูกกัน “ผมเคยท�ำรับเหมาก่อสร้างกับพ่อ แล้วพ่อเสีย แฟน (ปนัดดา ซาภักดี หัวหน้าแผนกอิงค์เจ็ตและสติกเกอร์ อายุงาน 15 ปี) เลยบอกให้ลองมาท�ำที่นี่ ก็มาคุยกับคุณอานนท์ ซึ่งก็บอกให้มาลองท�ำดู ก็เลยลองเพราะไม่ได้มีงานท�ำที่ไหน” ชัยพร ขุนทวี ช่างพิมพ์ GTO 4 สี แผนกพิมพ์ อายุงาน 10 ปีเล่า หรือบางทีอานนท์กช็ กั ชวนคนทีไ่ ด้พบมาร่วมงานด้วย อย่างกรณีของธีระพงศ์ รักษ์เจริญ หัวหน้าแผนกพิมพ์ อายุงาน 23 ปี ซึ่งเล่าถึงสาเหตุที่มาท�ำงานที่สมุยอักษรว่า “เดิมทีผมท�ำงานก่อสร้าง แล้วมาท�ำฝ้าเพดานให้ที่นี่ (โรงพิมพ์) พี่นนท์ (อานนท์) เห็นก็เลยชวนให้มาท�ำที่โรงพิมพ์” “ก่อนหน้านี้ผมรับราชการเป็นนายช่างโยธาที่ อบต.เกาะเต่า แล้วก็ลาออกกลับมาอยู่ที่บ้าน พอดีพี่นนท์ฝากบอก ภรรยาผม (จรรยา พูลผล พนักงานแผนกประสานงาน อายุงาน 18 ปี) ซึ่งท�ำงานอยู่ที่นี่ ว่าให้ลองมาคุยกับพี่นนท์หน่อย พอมาถึงพี่นนท์ก็ชวนว่าลองมาช่วยพี่ดูไหม ก็ดูน่าลอง เพราะมันเป็นอะไรที่ใหม่ส�ำหรับผม พอท�ำไปได้สักพักก็รู้สึกว่า ที่นี่อบอุ่น เป็นกันเอง งานก็เหมือนงานศิลปะ ท�ำแล้วเพลิดเพลิน” ไกรศรี พูลผล ช่างพิมพ์ เล่าถึงสาเหตุที่มาร่วมงานกับ สมุยอักษรเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ในการรับสมัครพนักงานต�ำแหน่งทั่วไป อย่างต�ำแหน่งช่างหรืองานเรียงบิล สมุยอักษรจะไม่เน้นเรื่องวุฒิการศึกษา โดยจะรับพนักงานที่เรียนจบตั้งแต่ชั้น ม.3 ขึ้นไป ที่มีความตั้งใจและมีความพยายามในการเรียนรู้ เพราะเป็นต�ำแหน่งงาน ที่สามารถน�ำมาฝึกสอนได้ มีเพียงบางต�ำแหน่งที่ต้องการความรู้ความสามารถ ส่วนงานบางต�ำแหน่งอย่างบัญชี กราฟิก ดีไซน์ ประสานงาน จะรับผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือ ปวส. เพราะต้องการผู้ที่มีความรู้ความสามารถตาม ต�ำแหน่งนั้นๆ โดยชุลีพรบอกว่า บางต�ำแหน่งจะหาผู้สมัครค่อนข้างยาก อย่างเช่น ต�ำแหน่งกราฟิกดีไซน์ เพราะคนที่มี ความรู้ด้านนี้มักเลือกท�ำงานในกรุงเทพฯ มากกว่า “แต่เราก็หาจนได้นะ แม้ว่าอาจจะยากหน่อย และจะเอาคนเก่งมากก็ไม่ได้ ต้องเลือกแบบท�ำได้ระดับหนึ่งแล้วมาฝึก เอง” ชุลีพรเล่าถึงอุปสรรคที่เจอในการรับสมัครพนักงานบางต�ำแหน่ง


แต่ไม่ว่าจะสมัครงานต�ำแหน่งใด คุณสมบัติของผู้สมัครที่สมุยอักษรให้ความสนใจมาก และไม่มีการอนุโลมให้เลยคือ ผูส้ มัครต้องไม่ดมื่ เหล้าและไม่สบู บุหรี่ นอกจากนีผ้ ทู้ มี่ าสมัครงานกับสมุยอักษรทุกคนต้องมีใบขับขี่ (รถจักรยานยนต์) หาก ใช้จักรยานยนต์เป็นพาหนะ รวมถึงต้องมีหมวกกันน็อกและสวมหมวกกันน็อกขณะขับขี่ด้วย สมุยอักษรเริ่มให้ความส�ำคัญกับเรื่องใบขับขี่และการสวมหมวกกันน็อกของพนักงานเมื่อปลายปี พ.ศ. 2557 เพราะ ต้องการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนภายในองค์กร โดยการบังคับให้พนักงานที่ยังไม่มีใบขับขี่ทุกคนไปท�ำ ใบขับขี่ (การส�ำรวจพบว่าขณะนั้นมีพนักงาน 63 คนที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ แต่มีเพียง 23.8% เท่านั้นที่มีใบขับขี่) รวมถึง ซื้อหมวกกันน็อก 55 ใบ แจกให้กับพนักงานทุกคนที่ขี่จักรยานยนต์ แต่ยังไม่มีหมวกกันน็อกด้วย “ตอนนัน้ เราให้พนักงานทุกคนลางานไปท�ำใบขับขีเ่ ลย ไปวันแรกสอบไม่ผา่ น วันที่ 2 ก็ให้ลาไปสอบอีก จนกว่าจะผ่าน ส่วนเรื่องหมวกกันน็อก พนักงานบางคนบอกว่าไม่มีเงินซื้อ เราก็ซื้อให้ทุกคน แล้วก็คอยนั่งดูว่าใส่กันหรือเปล่า พอนานๆ ไปก็เหมือนเคยชิน ตอนนี้ถ้าใส่ไม่ครบร้อยก็น่าจะใส่สัก 90%” ชุลีพรเล่าถึงวิธีการแก้ไขปัญหาที่พนักงานไม่มีใบขับขี่และ หมวกกันน็อก ก่อนทีจ่ ะก�ำหนดให้เป็นเงือ่ นไขทีผ่ ทู้ จี่ ะมาท�ำงานกับสมุยอักษรต้องมี เพราะมองว่าการขับขีร่ ถจักรยานยนต์ โดยไม่มีใบขับขี่ และไม่สวมหมวกกันน็อกเป็นกระท�ำที่ผิดกฎหมาย ส่วนคุณสมบัติของผู้สมัครที่ต้องไม่ดื่มเหล้าและไม่สูบบุหรี่นั้น มีที่มาสืบเนื่องมาจากเมื่อ พ.ศ. 2553 ที่สมุยอักษรมี นโยบายสนับสนุนให้พนักงานทุกระดับห่างไกลจากอบายมุข โดยเฉพาะเหล้า บุหรี่ การพนัน และยาเสพติด เพราะมอง ว่าการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสังคม ปัญหาครอบครัว และปัญหาในการท�ำงาน “การติดเหล้า ติดบุหรี่ ท�ำให้เกิดการใช้เงินในทางที่ไม่เป็นประโยชน์ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อครอบครัว และเมื่อ ชีวติ ครอบครัวมีปญ ั หาก็ยอ่ มส่งผลกระทบกับการท�ำงาน” อานนท์อธิบายวงจรทีจ่ ะเกิดขึน้ ด้วยเหตุนจี้ งึ มีการออกกฎห้าม พนักงานสูบบุหรี่ในเวลาท�ำงาน และตั้งเป้าหมายที่จะเป็นองค์กรปลอดบุหรี่ให้ได้ใน พ.ศ. 2554 โดยใช้มาตรการเรื่องค่า ตอบแทนให้จูงใจพนักงานที่สูบบุหรี่เลิกบุหรี่ เช่น หากเลิกบุหรี่ได้จะได้เงินตอบแทนดีกว่าคนที่เลิกไม่ได้ นอกจากนี้ยังส่ง พนักงานบางคนไปบ�ำบัดทีโ่ รงพยาบาล แต่สดุ ท้ายก็มพี นักงาน 3-4 คนเต็มใจลาออกจากงาน เมือ่ ไม่สามารถเลิกบุหรีต่ าม เส้นตายที่โรงพิมพ์ก�ำหนดไว้ แม้ว่าจะให้เวลาพนักงานถึง 3-4 ปีก็ตาม “เป็นนโยบายทีค่ ณ ุ อานนท์ซเี รียส คือห้ามสูบบุหรีใ่ นทีท่ ำ� งาน กินเหล้านีท่ ำ� ไม่ได้อยูแ่ ล้ว ซึง่ ตอนรับพนักงานก็จะสกรีน กันตั้งแต่ตอนนั้นเลย จะได้ไม่มีปัญหาตามมา” นริศรา อินทวงศ์ ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายบุคคล อายุงาน 7 ปี ย�้ำถึงด่านแรกใน การคัดเลือกพนักงานของสมุยอักษร หลังจากนัน้ ก็จะคัดเลือกด้วยการสัมภาษณ์ โดยบางครัง้ อาจจะให้หวั หน้างานและฝ่าย บุคคลเป็นผู้สัมภาษณ์ในเบื้องต้น ก่อนที่ผู้บริหารคืออานนท์และชุลีพรจะเป็นคนสัมภาษณ์ ส่วนประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเรื่องที่สมุยอักษรให้ความส�ำคัญนั้น ไม่มีส่วนดึงดูดให้คนอยากมาร่วมงานกับ สมุยอักษร และทีผ่ า่ นมาสมุยอักษรก็ไม่ได้ใช้ประเด็นนีเ้ ป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกพนักงาน แต่ปจั จุบนั มีการสอบถามผูส้ มัคร ว่าสามารถเข้ามาช่วยกันท�ำกิจกรรมเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างน�้ำหมักอีเอ็มและการแยกขยะได้หรือไม่ เพราะงานสิ่งแวดล้อม กลายเป็นส่วนหนึ่งของการท�ำงานที่สมุยอักษรของพนักงานทุกคน

สอนงานในหน้าที่ สมุยอักษรไม่มีการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ แต่มีคู่มือพนักงาน ซึ่งมีประวัติโรงพิมพ์ สวัสดิการ และสิทธิเรื่องวันลา ต่างๆ ซึ่งอานนท์บอกว่า ปัจจุบันเนื้อหาในคู่มือพนักงานไม่ค่อยทันสมัยแล้ว ดังนั้นเมื่อพนักงานใหม่เข้ามาเริ่มงาน ฝ่าย บุคคลจะเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องกฎระเบียบและการลาต่างๆ รวมถึงอาจจะมีการพาเดินชมโรงพิมพ์ และแนะน�ำให้ รู้จักพนักงาน จากนั้นก็ส่งไปยังแผนกซึ่งพนักงานคนนั้นสังกัด เพื่อเข้าสู่การเรียนรู้งานจากหัวหน้า และผู้ร่วมงานที่อยู่มา ก่อนในลักษณะ on-the-job training ธนิต คงเพชร ผู้บริหารและหุ้นส่วน หัวหน้าฝ่ายผลิตสิ่งพิมพ์ ซึ่งเป็นช่างพิมพ์คนแรกของโรงพิมพ์สมุยอักษร เล่าถึง กระบวนการสอนงานพนักงานว่าจะเน้นเรื่องความเป็นกันเอง และเน้นให้ท�ำงานเป็นระบบ

Sa mu i A k sor n Pr i nt i n g

19


20

ขณะที่ไตรศลี ช่างพิมพ์เครื่อง MO เล่าถึงการสอนงานแผนกช่างว่า จะมีช่างรุ่นแรกๆ ช่วยประกบพนักงานใหม่ เพื่อ สอนงานตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย แล้วค่อยปล่อยให้พนักงานท�ำงานด้วยตัวเอง โดยมีรุ่นพี่คอยช่วยดูแล “ส่วนมากช่างพิมพ์จะเริ่มจากช่างฝึกหัดก่อน เพราะว่ามักไม่ได้ตรงสายกับที่เรียนมา ก็เริ่มจากการเป็นช่างฝึกหัด ประมาณ 3-6 เดือน ก่อนที่จะได้เป็นช่างประจ�ำเครื่อง” ไตรศลีเพิ่มเติม “บางคนยังไม่ค่อยรู้เรื่องก็ต้องเรียกมาคุย ที่นี่เราไม่ได้วิ่ง 1,000 เมตร ไม่ได้ท�ำคนเดียว เราต้องวิ่ง 5 X 80 เมตร หรือว่า 4 X 100 เมตร งานของเราต้องส่งต่อๆ กันไป” ธนิตเสริม กันยาวีร์ ใจดี ผู้ประสานงานแผนกประสานงาน อายุงาน 25 ปี เล่าถึงการสอนงานในแผนกว่าจะเป็นลักษณะรุ่นพี่คอย สอน คอยดูแลรุ่นน้อง หลังจากนั้นก็จะมอบหมายงานให้ และคอยดูแลอยู่ห่างๆ ว่าพนักงานใหม่สามารถท�ำงานเสร็จตาม เป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ “จะไม่ขึ้นไปควบคุม แต่หากเขามีปัญหาอะไรสามารถมาปรึกษาเราได้ตลอด ก็จะให้ใจเขา ไว้ใจเขา เพือ่ ให้เขาท�ำงาน อย่างแฮปปี้ ไม่กดดัน” ปนัดดา หัวหน้าแผนกอิงค์เจ็ตและสติกเกอร์ สอนงานคนในแผนกแบบเพื่อนร่วมงานเช่นกัน โดยจะคอยให้ค�ำแนะน�ำ และให้ค�ำปรึกษา “เราจะประชุมขอความเห็นกันทุกครั้งก่อนท�ำงาน บางทีเรามีงานใหญ่ต้องไปติดตัง้ ก็ต้องวางแผนกันว่าจะท�ำยังไงให้ ขั้นตอนสั้น เสร็จเร็ว ไม่เสียหาย เราจะไม่ตัดสินใจเอง แต่จะถามความคิดเห็นเพื่อนร่วมงานทุกครั้ง เพื่อที่ต่อไปเขาจะได้ ดูแลเองได้ เพราะเราก็คงจะไม่อยู่ตลอดไป”

สอนให้มีจิตสาธารณะและปลูกฝังเรื่องสิ่งแวดล้อม นอกจากการท�ำงานในหน้าที่แล้ว สมุยอักษรยังพยายามท�ำให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการท�ำเรื่องสิ่งแวดล้อม ทั้งแบบการท�ำงานเชิงจิตอาสา จัดเวรให้ท�ำ หรือแบบกึ่งบังคับ ซึ่งชาวสมุยอักษรเรียกงานในส่วนนี้ด้วยภาษาเฉพาะที่ รู้กันภายในโรงพิมพ์ว่า “ลงสิ่งแวดล้อม” โดยการลงสิ่งแวดล้อมนี้จะมีทั้งภายในโรงพิมพ์ และการออกไปร่วมท�ำกิจกรรม สาธารณประโยชน์ข้างนอก เพื่อปลูกฝังให้พนักงานมีจิตสาธารณะ และเข้าใจในพันธกิจขององค์กรที่เน้นเรื่องการแบ่งปัน กับสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อม ส�ำหรับงานเกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อมในองค์กร แม้ว่าจะมี “ทีมสิ่งแวดล้อม” ประมาณ 4-5 คนที่เป็นตัวหลักในการ ดูแลงานสิ่งแวดล้อมแต่ละอย่าง คือการปลูกและดูแลต้นไม้ ในโรงพิมพ์ การท�ำน�้ำหมักอีเอ็ม ปุ๋ยหมัก และแก๊สชีวภาพ รวมถึงการบ�ำบัดน�้ำเสียจากกระบวนการพิมพ์อยู่แล้วก็ตาม แต่เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้พันธกิจด้านการมีส่วนร่วมพัฒนา สิ่งแวดล้อม จึงมอบหมายให้พนักงานทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการท�ำน�้ำหมักอีเอ็ม ซึ่งต้องท�ำทุกวัน และท�ำเป็นจ�ำนวน มาก เพื่อน�ำไปแจกจ่ายให้กับชุมชนภายนอก โดยมีการจัดพนักงานวันละ 2 คนมา “ลงอีเอ็ม” คือช่วยแม่บ้าน (ประคุง กลางเมือง แม่บ้าน อายุงาน 12 ปี) ท�ำน�้ำหมักอีเอ็ม ในช่วง 15.30-16.30 น. ท�ำให้พนักงานทุกคนได้หมุนเวียนกันมา ท�ำงานในส่วนนี้เดือนละ 1 ครั้ง ในส่วนของการดูแลต้นไม้ที่ปลูกไว้เพื่อให้ความร่มรื่นภายในโรงพิมพ์ ไม่ใช่หน้าที่ของคนสวน (ซึ่งสมุยอักษรไม่มี พนักงานต�ำแหน่งนี้) แต่จะให้พนักงานช่วยกันดูแล โดยในส่วนของการรดน�้ำนั้น มอบหมายให้แผนกที่อยู่ใกล้กับต้นไม้จัด พนักงานผลัดเวรกันมารดน�้ำทุกวัน ในฐานะที่ได้เสพความงามและความสดชื่นจากต้นไม้มากที่สุด ส่วนเรื่องการปลูกมอบ หมายให้นรินทร์ แดงสวัสดิ์ พนักงานแผนกไดคัต อายุงาน 22 ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมสิ่งแวดล้อมเป็นผู้รับผิดชอบ “นรินทร์เขาชอบต้นไม้มากก็เลยให้เขาปลูกและดูแล รวมถึงให้เป็นหัวหน้าทีมสิง่ แวดล้อม ดูแลพืน้ ทีท่ งั้ หมดในโรงพิมพ์ ด้วย พอว่างจากงานเขาก็จะมาท�ำต้นไม้ มาปลูกต้นไม้” ชุลีพรอธิบายเพิ่มเติมถึงการคัดเลือกพนักงานให้มาอยู่ในทีม สิ่งแวดล้อมโดยดูที่ความชอบ


แต่บางคนก็เข้ามาเป็นทีมสิง่ แวดล้อม เพราะอยูใ่ นส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อดิศร ทับหมาด พนักงานแผนกพิมพ์ อายุ งาน 8 ปี ซึง่ ได้รบั มอบหมายให้ดแู ลระบบบ�ำบัดน�ำ้ เสียเป็นหลัก โดยในแต่ละวันเขาจะใช้เวลาประมาณ 1 ชัว่ โมง ในการดูแล ระบบบ�ำบัดน�้ำเสีย ด้วยการดูดน�้ำทิ้ง ซึ่งโดยเฉลี่ย 4 วันจะมีประมาณ 1,000 ลิตร มาใส่บ่อบ�ำบัด เพื่อน�ำเข้ากระบวนการ บ�ำบัดต่อไป ซึ่งบางครั้งอาจจะมีเพื่อนในแผนกที่ว่างเข้ามาช่วยท�ำด้วย แต่ไม่ได้รับผิดชอบประจ�ำแบบเขา “แต่กอ่ นเราให้ชา่ งในแผนกพิมพ์หมุนเวียนกันมาดูแลเรือ่ งระบบบ�ำบัดน�ำ้ เสีย แต่สดุ ท้ายก็พบว่าความช�ำนาญของแต่ละ คนไม่เท่ากัน ก็เลยเลือกคนที่มีความช�ำนาญที่สุดมาดูแล เพราะมันต้องใช้เทคนิคเฉพาะเหมือนกันในการสังเกต” อานนท์ อธิบายที่ต้องมอบหมายให้อดิศรเข้ามาดูแลระบบบ�ำบัดน�้ำเสีย ขณะที่นลินญา พนักงานแผนกกราฟิกดีไซน์ ได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องการผลิตแก๊สชีวภาพจากเศษอาหารที่เกิด ขึ้นในโรงพิมพ์ และที่ขอให้พนักงานน�ำมาจากที่บ้าน รวมถึงที่ไปขอจากร้านอาหารในพื้นที่ใกล้เคียง นอกจากจะเป็นตัวหลักในการดูแลงานด้านสิง่ แวดล้อมทีไ่ ด้รบั มอบหมายแล้ว ทีมสิง่ แวดล้อมจะท�ำหน้าทีเ่ ป็นวิทยากร อธิบาย ให้ความรู้แก่ผ้ทู ี่เข้ามาเยีย่ มชม หรือดูงานด้านสิง่ แวดล้อมที่โรงพิมพ์ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นองค์การปกครองส่วน ท้องถิ่น อย่าง อบจ.หรือ อบต. รวมถึงโรงแรมและโรงเรียนในสมุยที่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมที่แวะเวียนมาเป็นประจ�ำ “แรกๆ เลยมันจะมีการต่อต้าน (งานด้านสิ่งแวดล้อม) บ้าง แต่มันอยู่ที่กระบวนการคิดของผู้บริหารด้วยในการสร้าง แรงจูงใจให้พนักงานทุกคนมาอยูร่ ว่ มกัน ยกตัวอย่างการให้พนักงานเอาเศษอาหารมาทีโ่ รงพิมพ์ ท�ำไมต้องเอามา ทิง้ ทีบ่ า้ น ก็ได้ แต่ทนี่ เ่ี อาเศษอาหารมาใช้ทำ� แก๊สชีวภาพ ท�ำแล้วไปไหน ก็เอาไปต้มข้าวโพด เอาไปท�ำขนมหวาน ท�ำให้ใคร ก็ทำ� มาให้ พวกเรากิน อันนี้ก็จะเป็นแรงจูงใจแล้วหนึ่ง สองชวนให้แยกขยะ ขยะแห้ง 1 2 3 4 5 ถัง ขยะเปียกก็แยกออกไป แยกแล้ว ได้อะไร โรงพิมพ์ก็เอาไปขาย แล้วก็เอาเงินเข้ากองกลาง เพื่อจะเอาไปซื้อกาแฟ โอวัลติน ให้ใครก็ให้พนักงาน เอาพนักงาน ไปลงอีเอ็มไปหมักอีเอ็ม หมักมาเพื่อแจกหรือ ขอไปใช้ในบ้านได้ไหม ได้ นี้คือแรงจูงใจ ท�ำปุ๋ย พอเป็นปุ๋ยแล้วบ้านใครปลูก ต้นไม้ก็เอาไปใส่ที่บ้าน มันเป็นผลลัพธ์ที่พอมีแรงจูงใจแล้ว พนักงานเห็นแล้วว่าเขามีส่วนท�ำ เขามีส่วนที่เอาไปใช้ มีส่วนที่ ได้ เขาก็เต็มใจท�ำ ทุกวันนี้มันเป็นความเต็มใจแล้ว เมื่อก่อนพอดูเวลา 3 โมงครึ่ง ต้องไปลงสิ่งแวดล้อมอีกแล้ว น่าเบื่อ แต่ เดี๋ยวนี้ 3 โมงก็ไปแล้ว ประมาณนั้น” ไพโรจน์ พนักงานสโตร์แผนกกระดาษ ที่เป็นหนึ่งในทีมสิ่งแวดล้อมโดยดูแลทั่วไป ให้ข้อสรุปที่ท�ำให้การก�ำหนดให้พนักงานช่วยกันท�ำเรื่องสิ่งแวดล้อมในสมุยอักษรเป็นไปได้ด้วยดี แม้ชุลีพรจะบอกว่าช่วง แรกๆ จะมีเสียงบ่นจากพนักงานบ้างว่าท�ำไมต้องลงอีเอ็ม ท�ำไมต้องให้เอาเศษอาหารมาจากบ้าน แต่เดี๋ยวนี้เสียงบ่นของ พนักงานเปลีย่ นไปเป็น “อ้วนจะแย่” จากการรับประทานถัว่ เขียวต้ม ข้าวโพดต้ม และขนมต่างๆ ทีใ่ ช้แก๊สชีวภาพในการท�ำ นอกจากนี้สมุยอักษรยังสนับสนุนให้พนักงานออกไปท�ำงานจิตอาสานอกองค์กรตามความสนใจของแต่ละคนด้วย อย่างเช่นสนับสนุนให้ไพโรจน์ไปเป็นอาสาสมัครของศูนย์กชู้ พี -กูภ้ ยั ของสมุย โดยการอนุญาตให้หยุดงานเพือ่ ไปเรียนด�ำน�ำ้ 5 วัน หรือหากมีหน่วยงานต่างๆ จัดอบรมเกีย่ วกับเรือ่ งนีก้ อ็ นุญาตให้ไปร่วม โดยอานนท์กล่าวถึงไพโรจน์วา่ “เป็นบุคลากร ที่มีคุณค่ากับสังคม” บางกิจกรรมก็ท�ำเป็นประจ�ำอย่างต่อเนื่อง บางกิจกรรมก็ท�ำเป็นครั้งคราว ส�ำหรับกิจกรรมที่ท�ำกันมาต่อเนื่องเกือบ 10 ปีแล้ว คือกิจกรรมปลูกและดูแลรักษารัว้ ต้นไม้รมิ ถนน และท�ำความสะอาดภายในบริเวณวัดศรีทวีป ซึง่ อยูใ่ กล้โรงพิมพ์ กิจกรรมนี้จัดขึ้นเดือนละครั้งในวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือน เป็นเวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง และถือเป็นกิจกรรมกึ่งจิตอาสา และกึง่ บังคับ เพราะหากพนักงานคนใดมาร่วมกิจกรรมไม่ครบ 5 ครัง้ /ปี จะมีผลกับการพิจารณาจ่ายโบนัส เพราะต้องการ ให้พนักงานตระหนักถึงความส�ำคัญของงานจิตอาสา “แต่กอ็ าจจะมีการปรับเปลีย่ น เพราะแม้วา่ จะบังคับ แต่กม็ พี นักงานบางคนทีไ่ ม่ยอมมา ไปคุยกับลูกสาว ลูกสาวก็บอก ว่าเราไปลิดรอนสิทธิเขา เพราะวันอาทิตย์เป็นวันหยุดของเขา เขาก็เลยไม่ยอมมา ซึง่ เราก็ตอ้ งกลับมาทบทวนวิธคี ดิ ของเรา เหมือนกัน เมื่อเดือนมิถุนายน (2561) ก็เลยบอกแฟน (ชุลีพร) ไปว่าให้งดกิจกรรมนี้ไปก่อน” อานนท์เล่า ส�ำหรับการพาพนักงานออกไปท�ำกิจกรรมจิตอาสาเป็นครั้งคราว เช่น การเก็บขยะริมหาดบางมะขาม การไปเป็น พีเ่ ลีย้ งให้โครงการบางมะขามโมเดล หรือในอดีตก็มกี ารพาพนักงานไปร่วมคัดค้านการให้สมั ปทานขุดเจาะส�ำรวจปิโตรเลียม ในพืน้ ทีท่ ะเลรอบเกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และหมูเ่ กาะอ่างทอง และรณรงค์ให้เกิดการปฏิรปู ระบบพลังงาน โดยถือว่า เป็นการปลูกฝังให้พนักงานมีความสนใจในปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมต่างๆ นอกเหนือจากการปลูกฝังด้วยการพูด

Sa mu i A k sor n Pr i nt i n g

21


22

ขณะทีพ่ นักงานส่วนใหญ่ยอมรับว่า นอกจากการสือ่ สารด้วยค�ำพูด การได้ลงมือท�ำถือเป็นการสือ่ สารทีท่ ำ� ให้พนักงาน เข้าใจ และซึมซับเรื่องเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม และการท�ำเพื่อสังคมขององค์กร “เมื่อก่อนจะไม่อยากลงสิ่งแวดล้อม เพราะว่ามันเหนื่อย กลัวเหม็นก็เลยไม่อยากลงกัน แต่ตอนนี้ทุกคนเต็มใจที่จะ มาท�ำ” นลินญากล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงจากการได้ลงมือท�ำ “ตอนนี้จะแยกขยะจนติดเป็นนิสัย หรือเวลามีขยะก็เก็บไว้ ไม่ทิ้ง ถือมาโรงพิมพ์เลย มาแยกที่นี่” ต้องตา พนักงาน แผนกประสานงานกล่าว

สื่อสารผ่านการประชุม เนื่องจากเป็นองค์กรขนาดเล็ก และพนักงานส่วนใหญ่ท�ำงานกับองค์กรมานาน ประกอบกับผู้บริหารให้ความคุ้นเคย กับพนักงาน ดังนั้นหากพนักงานมีปัญหาส่วนตัวที่ต้องการค�ำปรึกษา หรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถเดินเข้าไป พูดคุยหรือขอค�ำปรึกษากับอานนท์หรือชุลีพรได้เลย แต่หากเป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางแผนท�ำงานจะสื่อสารกันในที่ประชุม ซึ่งที่สมุยอักษรจะมีการประชุมพนักงาน ทุกวัน โดยสมัยก่อนจะประชุมในช่วงเช้า แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาประชุมช่วงเย็นก่อนเลิกงาน เพราะนอกจากจะทบทวนงาน ที่ท�ำในวันนั้นแล้ว ยังวางแผนงานที่จะท�ำในวันรุ่งขึ้นด้วย ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมประชุมไม่ได้จ�ำกัดเฉพาะหัวหน้าแผนก แต่จะมี การหมุนเวียนให้พนักงานคนอื่นๆ ในแผนกได้เข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อให้พนักงานทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการสิ่งต่างๆ ภายในองค์กร “สมมติว่ามี (คนสั่งให้ท�ำ) หนังสือร้อยเล่มก็จะมาวางแผนกันว่า แผนกไหนต้องท�ำอะไรกี่วัน เพื่อให้เสร็จทันตาม ก�ำหนดที่ลูกค้าต้องการ” ธีระพงศ์ หัวหน้าแผนกพิมพ์ เล่าถึงเนื้อหาในการประชุม ถ้าเป็นกรณีที่ต้องการสื่อสารแบบเร่งด่วนจะใช้ไลน์กลุ่ม ซึ่งพนักงานทุกคนที่ผ่านการทดลองงานแล้วจะถูกดึงเข้าไป อยู่ในกลุ่มนี้ “เราจึงไม่คอ่ ยมีการส�ำรวจความคิดเห็นของพนักงาน เพราะส่วนใหญ่พดู คุยกันในทีป่ ระชุมอยูแ่ ล้ว ทัง้ เรือ่ งงานและอืน่ ๆ เช่น เครื่องแบบพนักงานปีนี้อยากได้สีอะไร งานเลี้ยงอยากกินอะไรก็ให้เสนอมา” นริศรา ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายบุคคลเพิ่มเติม

พัฒนาพนักงานโดยส่งไปเทรนข้างนอก นอกจากการสอนงานโดยหัวหน้าหรือรุ่นพี่ที่ท�ำงานมาก่อนแล้ว สมุยอักษรยังให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาพนักงาน โดยการส่งไปอบรมเรื่องต่างๆ ภายนอกองค์กร โดยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชถือเป็นสถาบันหลักที่สมุยอักษรส่ง พนักงานไปเพิ่มเติมความรู้ เพราะที่นี่มีหลักสูตรเกี่ยวกับเรื่องการพิมพ์หลากหลาย เช่น ธีระพงศ์ หัวหน้าแผนกพิมพ์ และ กันยาวีร์ ซึ่งเคยเป็นช่างพิมพ์อยู่ 10 ปี ก่อนที่จะเปลี่ยนมาอยู่แผนกประสานงาน เคยมาอบรมหลักสูตรการพิมพ์ เนาวรัตน์ เล่าซี้ พนักงานแผนกออกแบบ อายุงาน 18 ปี ได้ไปอบรมโปรแกรมเกี่ยวกับการออกแบบ จรรยา แผนกประสานงาน ได้ ไปอบรมเกี่ยวกับการประเมินราคาสิ่งพิมพ์ ไตรศลี แผนกการพิมพ์ เคยไปอบรมเกี่ยวกับการผสมสีและการบ�ำรุงรักษา เครื่องพิมพ์ ฯลฯ “แต่ 2 ปีทผี่ า่ นมาไม่ได้สง่ ไปแล้ว เพราะพนักงานไม่ไป เนือ่ งจากไปมากันแล้ว รูแ้ ล้ว ตอนนีส้ ว่ นใหญ่จะพาไปดูงานการ พิมพ์ทศี่ นู ย์ประชุมไบเทค (งานแสดงเทคโนโลยีดา้ นการบรรจุภณ ั ฑ์และการพิมพ์แห่งเอเชีย หรือ Pack Print International) ซึ่งเขาจะจัดปีละ 2 หน แต่ละครั้งก็จะพาไปประมาณ 10 คน เพื่อไปดูเทคโนโลยีใหม่ๆ ของเครื่องพิมพ์ หรือดูว่าเขาพิมพ์ งานสติกเกอร์ยังไง” อานนท์เล่าถึงรูปแบบการพัฒนาพนักงานที่เปลี่ยนไป


“ไม่เคยไปอบรม แต่ถ้ามีงาน Pack Print พี่นนท์ (อานนท์) จะพาทีมทุกคนไปดู แกอยากให้พนักงานทุกคนไปดูว่า มีนวัตกรรมอะไรบ้าง ซึ่งส่วนพี่ก็จะไปดูพวกเครื่องอิงค์เจ็ตว่ามีวัสดุอะไรใหม่ๆ หรือเปล่า แล้วจะติดต่อกับซัพพลายเออร์ ตลอดว่ามีอะไรบ้าง มีการศึกษาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตด้วย หาข้อมูลว่าร้านป้ายอื่นๆ มีอะไร เพราะงานป้ายไปเร็ว ถ้าเรา ยังช้าอยู่เราก็ไม่ทันคนอื่น” ปนัดดา หัวหน้าแผนกอิงค์เจ็ตและสติกเกอร์เล่า แต่ละปีสมุยอักษรไม่ได้มกี ารตัง้ งบประมาณในการอบรมพนักงานไว้ลว่ งหน้า แต่หากพบว่ามีงานอบรมทีน่ า่ สนใจ และ มีพนักงานอยากไปก็จัดงบประมาณให้เลย

กีฬาสี งานปีใหม่ พาไปเที่ยวเชื่อมสัมพันธ์ นอกจากการช่วยกันท�ำงาน ช่วยกันท�ำเรื่องสิ่งแวดล้อม และไปท�ำกิจกรรมจิตอาสาข้างนอกแล้ว สมุยอักษรยังมีการ จัดกิจกรรมพิเศษให้พนักงานตามวาระโอกาส เช่น การจัดงานเลี้ยงในช่วงปีใหม่ ซึ่งจะรับประทานอาหารร่วมกันและมีการ แจกของขวัญ ส่วนกิจกรรมวันเกิดของพนักงาน ซึ่งจัดขึ้นเดือนละครั้ง จะให้พนักงานที่เกิดเดือนนั้นไปเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุ ในชุมชน ซึ่งสร้างความสุขใจให้ทั้งสองฝ่าย และการพาพนักงานไปท่องเที่ยวประจ�ำปี เช่น ไปเที่ยวเขื่อนเชี่ยวหลาน หรือ บางปีที่ผลประกอบการดีก็พาไปเที่ยวไกลๆ อย่างกาญจนบุรี แต่บางปีที่ผลประกอบการไม่ค่อยดีก็มีเว้นไปบ้าง

ย้ายแผนก ได้รับผิดชอบงานมากขึ้น = ก้าวหน้า การประเมินพนักงานใหม่วา่ ผ่านทดลองงานหรือไม่ และการประเมินผลการท�ำงานประจ�ำปีของพนักงานทีส่ มุยอักษร จะเริ่มจากการให้หัวหน้าหรือคนที่มีอาวุโสในแผนกเป็นผู้ประเมินเบื้องต้น โดยประเมินตามแบบฟอร์ม ซึ่งจะมีหัวข้อเกี่ยว กับความประพฤติ ความรับผิดชอบ และประสิทธิภาพในการท�ำงาน หลังจากนั้นผู้บริหารจะเป็นผู้พิจารณาอีกรอบ โดย นอกจากเรือ่ งงานแล้ว ยังดูการมีสว่ นร่วมในการท�ำประโยชน์ให้กบั สังคมส่วนรวมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในเรือ่ งของโบนัส ซึ่งมีกฎว่าหากใครไปร่วมกิจกรรมท�ำความสะอาดวัดศรีประทีป ซึ่งจัดขึ้นเดือนละครั้งในวันอาทิตย์ที่ 2 ไม่ครบ 5 ครั้ง/ปี จะมีผลกับโบนัสดังที่กล่าวไปแล้ว “องค์กรเราเล็ก เราก็เจอและเห็นพนักงานอยู่ทุกวัน รู้หมดว่าเขาอยู่กันยังไง ท�ำงานกันยังไง สนใจงานส่วนรวมบ้าง ไหม ซึ่งตรงนี้เราก็เอามาประเมินด้วย” ชุลีพรเล่าถึงเกณฑ์การประเมินพนักงานคร่าวๆ ผลการประเมินนี้ นอกจากจะมีผลต่อการปรับเงินเดือนและโบนัสแล้ว ยังมีผลต่อความก้าวหน้าของพนักงานด้วย ถึง แม้วา่ ทีส่ มุยอักษรจะไม่ได้มตี ำ� แหน่งเป็นล�ำดับขัน้ ทีท่ ำ� ให้พนักงานมองเห็นความก้าวหน้าชัดเจนนัก แต่ความก้าวหน้าในการ ท�ำงานทีส่ มุยอักษรจะเป็นลักษณะของการให้ยา้ ยไปท�ำงานในต�ำแหน่งหรือแผนกอืน่ ทีง่ านมีความซับซ้อน หรือต้องการความรู้ ความสามารถมากขึน้ และพนักงานส่วนใหญ่ของสมุยอักษรก็กา้ วหน้าในการท�ำงานในลักษณะนี้ ดังตัวอย่างของพนักงานเหล่านี้ นภาพร กุลบุตร อายุงาน 21 ปี เข้ามาเริ่มท�ำงานที่สมุยอักษรในต�ำแหน่งแม่บ้านใน พ.ศ. 2540 ด้วยวุฒิการศึกษา ม.3 โครงการการศึกษานอกโรงเรียน ปัจจุบันเป็นหัวหน้าแผนกเรียง “ช่วง พ.ศ. 2541-2542 งานจะเยอะมาก พี่นนท์ (อานนท์) ก็เลยให้มาช่วยงานที่ห้องเรียงบิลด้วย ช่วยอยู่สัก 5 ปี เขาก็ให้ยา้ ยมาอยูห่ อ้ งเรียงบิลเต็มตัว แล้วรับแม่บา้ นคนใหม่มาแทน” นภาพรเล่าถึงความก้าวหน้าในการท�ำงานทีส่ มุยอักษร โดยไม่เคยวางแผนมาก่อน ขณะที่ปนัดดา หัวหน้าแผนกอิงค์เจ็ตและสติกเกอร์ ก็เริ่มจากการเป็นพนักงานแผนกห้องเรียงอยู่ 1 ปี แล้วย้ายไปอยู่ แผนกถ่ายเอกสาร ก่อนที่จะเขยิบขึ้นมาท�ำงานถ่ายแบบแปลน แล้วย้ายไปเป็นผู้ประสานงานแผนกอิงค์เจ็ต ปัจจุบันได้รับ มอบหมายให้ดูแลงานอิงค์เจ็ตทั้งหมด

Sa mu i A k sor n Pr i nt i n g

23


24

อยู่นานมีรางวัลใหญ่ อยู่ครบ 20 ปีได้เป็นผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ทุกๆ ปีสมุยอักษรจะมีการมอบรางวัลพนักงานดีเด่นให้กับพนักงานที่ตั้งใจท�ำงาน เพื่อเป็นการสร้างแรง จูงใจในการท�ำงานด้วย “ช่วงที่เข้ามาท�ำงานแรกๆ ผมเคยได้รับรางวัลพนักงานดีเด่น ตอนนั้นได้รางวัลเป็นแหวนทองหนัก 2 สลึง” ธีระพงศ์ หัวหน้าแผนกพิมพ์เล่า ส�ำหรับพนักงานที่ท�ำงานมานานจะมีการมอบรางวัลให้ตามระยะเวลาที่ก�ำหนด โดยหากท�ำงานครบ 10 ปี จะได้รับ ทองค�ำหนัก 1 บาท ครบ 15 ปี ได้ทองค�ำหนัก 2 บาท ส่วนคนที่ท�ำงานครบ 20 ปีนั้นจะได้รับรางวัลเป็นหุ้นของบริษัท โดยปีแรกจะให้หุ้นมูลค่า 50,000 บาท แล้วก็เพิ่มขึ้นในปีต่อๆ ไป จนถึงสูงสุด 100,000 บาท ซึ่งพนักงานที่ได้หุ้นจะได้ รับเงินปันผลจากการด�ำเนินกิจการ “เพราะเขามีใจให้บริษัท จึงท�ำงานอยู่กับเรานาน ก็เลยให้หุ้นบริษัท เหมือนกับเธอเป็นเจ้าของที่นี่แล้วนะ ก็ต้องช่วย กันดูแล” ชุลีพรให้เหตุผลที่มอบหุ้นให้พนักงานที่ท�ำงานมาครบ 20 ปี ซึ่งปัจจุบันมี 4 คน และปัจจุบันพนักงานเกือบครึ่ง หนึ่งท�ำงานกับสมุยอักษรนานเกิน 10 ปี “พวกคนที่อยู่นานๆ เขาจะบอกว่า ถ้าอยู่ที่นี่ไม่ได้ก็ไม่ต้องไปอยู่ที่อื่นแล้ว เจ้านายไม่เคยดุด่าว่ากล่าวเลย ไม่เคย ตะคอก ใครมีปัญหาก็เรียกมาคุย ไม่ค่อยว่าเด็ก เราดูแลช่วยเหลือลูกเขาด้วย ซึ่งที่อื่นไม่เคยมี” ชุลีพรกล่าวถึงสาเหตุที่ ท�ำให้พนักงานท�ำงานด้วยนาน ขณะที่พนักงานให้เหตุผลที่ท�ำงานกับสมุยอักษรนานว่า “ที่นี่ให้ทุกอย่าง เราท�ำงานที่ไหนแล้วมีความสุขก็ไม่อยากเปลี่ยน” กันยาวีร์ แผนกประสานงาน ให้เหตุผล “ส�ำหรับผมที่นี่เป็นทั้งโรงเรียน เป็นทั้งที่ท�ำงาน ผมนับหนึ่งจากที่นี่ พี่ธนิต (ธนิต คงเพชร ผู้บริหาร หุ้นส่วน และ หัวหน้าฝ่ายผลิตสิ่งพิมพ์) เป็นเหมือนอาจารย์และเป็นเจ้านายด้วย” ธีระพงศ์ หัวหน้าแผนกพิมพ์ “พอจบ ม.6 ก็มาอยูท่ นี่ ี่ ตอนแรกก็ทำ� งานเพือ่ แลกเงิน คิดเท่านัน้ แต่พอเรายิง่ ท�ำ ยิง่ ศึกษา เรายิง่ มีความรูม้ ากขึน้ เพราะ เขาให้ความรู้ ป้อนทุกอย่างให้เรา มีปัญหาอะไรเขาก็ให้เราลองแก้ ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง จนตอนนี้กลายเป็นอาชีพที่เราต้อง รัก ต้องดูแลรักษาแล้ว เพราะอายุเยอะแล้วจะออกไปท�ำงานอย่างอื่นก็ยาก” ปนัดดา หัวหน้าแผนกอิงค์เจ็ตและสติกเกอร์ “มีความสุขในการท�ำงาน พี่นนท์ไม่เคยมาจี้ว่าต้องท�ำให้ได้เท่านี้ๆ ถ้าเหนื่อยก็พักก่อนได้ เขาไม่ได้ซีเรียสว่าเราต้อง สร้างยอดให้ได้เท่านีน้ ะ ไม่เหมือนกับพนักงานขายในบริษัทอื่น เขาไม่ได้ท�ำให้เรากลัว เราสามารถคุยกันได้ทุกปัญหา และ ทีน่ เี่ ขาฟังเหตุผล พนักงานทีน่ เี่ ปิดเพลงฟังทุกห้อง และเอาใจใส่พนักงานเหมือนคนในครอบครัว” ต้องตา แผนกประสานงาน “ดูแลดีทุกอย่าง ห่วงใยพนักงานทุกเรื่องเลย ที่พิเศษก็เรื่องสุขภาพของพนักงานที่จะติดต่อให้โรงพยาบาลมาตรวจ สุขภาพประจ�ำปีให้ที่นี่ เวลาเจอใครที่คิดจะลาออก เราก็มักบอกว่าคิดให้ดีนะ ถ้าอยู่ที่นี่ไม่ได้ก็ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหนแล้ว” จรรยา แผนกประสานงาน “ที่นี่สวัสดิการดีกว่าที่อ่ืน ให้โอกาสแต่ละคนในการเพิ่มศักยภาพ พัฒนาฝีมือ ดูแลชีวิตข้างนอกของเราด้วยในเรื่อง สุขภาพ การออกก�ำลังกาย เคยมีโครงการให้ผ่อนจักรยานด้วย” ชัยพร ช่างพิมพ์ GTO 4 สี แผนกพิมพ์

ท�ำงานผิดหักเงินทุกคนทั้งบริษัท นอกจากการให้รางวัลพนักงานที่ท�ำงานดี หรือพนักงานที่อยู่มานานแล้ว สมุยอักษรก็มีมาตรการลงโทษพนักงานที่ ท�ำงานผิดพลาด หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกติกาด้วย ทั้งการเรียกมาคุยและการให้ใบเตือนหากว่าท�ำผิดซ�้ำเป็นครั้งที่ 3 รวม ถึงเริ่มมีการใช้มาตรการหักเงิน


“อย่างถ้าท�ำงานเสีย ไม่วา่ พนักงานคนไหนจะเป็นคนทีท่ ำ� ให้งานผิดก็ตาม ทีน่ เี่ ราจะมีนโยบายตัดเงินเดือนทุกคน สมมติ ว่างานที่ท�ำผิดมูลค่าเท่านี้ ก็หารด้วยจ�ำนวนคนทั้งหมดทีม่ ี 50 คน รวมผมด้วย” อานนท์อธิบายบทลงโทษที่ผ้บู ริหารระดับ สูงก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย ชุลีพรเล่าถึงที่มาของการหักเงินทุกคนในโรงพิมพ์เมื่อมีการท�ำงานให้ลูกค้าผิด ซึ่งเพิ่งเริ่มประกาศใช้ (2561) ว่า เนื่องจากอยากให้พนักงานช่วยกันท�ำงานด้วยความระมัดระวังมากขึ้น เพราะปัจจุบันการแข่งขันในตลาดสิ่งพิมพ์ท�ำให้ บริษัทไม่สามารถบวกก�ำไรได้มาก เมื่อเทียบกับสมัยก่อน “สมัยก่อนเราไม่เคยหักเงินพนักงานเลย สงสาร หักเงินแล้วจะเอาอะไรกิน แต่ตอนหลังงานผิดเรื่อยๆ เพราะประมาท แล้วเมื่อก่อนเราอาจจะได้ก�ำไร 25% แต่ตอนหลังเหลือ 10% เอง หามาได้ 100 เราเหลือแค่ 10 เพราะเราให้พวกคุณ (สวัสดิการพนักงาน) ไปเท่าไร ให้ลูกๆ อีก แล้วเราก็เอาส่วนหนึ่งแบ่งปันให้กับสังคมด้วย งานของเราก็น้อยลงทุกวัน จึงอยากให้ช่วยกันระวังมากขึ้น” นอกจากนี้หากใน 1 เดือน พนักงานมาท�ำงานสายรวมกันเกิน 3 ชั่วโมง จะมีการลงโทษโดยการหักเงิน เช่นเดียวกับ การไม่สวมหมวกกันน็อกในขณะขี่รถจักรยานยนต์ หากผู้บริหารเห็นจะมีการปรับเงินด้วย

การบริหารทรัพยากรบุคคลกับการท�ำธุรกิจที่ยั่งยืน ชุลีพรบอกว่าการท�ำธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยการดูแลสิ่งแวดล้อมทั้งภายในองค์กร รวมถึงการแบ่งปันกับชุมชนและ สังคมในรูปแบบต่างๆ ถือว่าเป็นส่วนส�ำคัญที่ท�ำให้สมุยอักษรรักษาทรัพยากรบุคคลไว้ได้นาน ซึ่งเป็นผลดีกับการท�ำธุรกิจ โรงพิมพ์ เพราะงานโรงพิมพ์ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน กว่าจะท�ำงานได้อย่างช�ำนาญและไม่ผิดพลาด ดังนั้นหาก พนักงานอยูไ่ ม่นาน ลาออกบ่อยๆ โรงพิมพ์ตอ้ งเสียเวลาในการฝึกคนใหม่ ขณะเดียวกันถ้าบริษทั สร้างคนดีกจ็ ะท�ำให้สงั คม และสิ่งแวดล้อมดีตามไปด้วย “ค่าตอบแทน ความสุขในการท�ำงาน อยู่แล้วสบายใจก็เป็นส่วนหนึ่งที่ท�ำให้คนท�ำงานกับองค์กรนาน แต่การที่องค์กร ของเรามีแต่คนพูดถึงในทางทีด่ ี เวลาใครมาทีโ่ รงพิมพ์กม็ กั บอกว่าทีน่ ดี่ นี ะ เจ้านายก็ดี เป็นคนช่วยเหลือสังคม ท�ำให้พนักงาน ของเราเกิดความภูมิใจที่ได้ท�ำงานที่นี่ ซึ่งเป็นองค์กรที่มีแต่คนยอมรับ” อานนท์มองว่าการปฏิบัติต่อพนักงานของสมุยอักษรมาจากทัศนคติต่อความยั่งยืน “ทัศนคติต่อความยั่งยืนกับทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม จริงๆ มันแยกกัน ถ้ามองให้ชัดเจน ความยั่งยืนจริงๆ มันมองลึก ไปกว่าเรื่องสิ่งแวดล้อม”

Sa mu i A k sor n Pr i nt i n g

25


26

หากจับประเด็นตามวงจรชีวติ พนักงาน ภาพความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรบุคคลกับการท�ำธุรกิจ โดยค�ำนึง ถึงความยั่งยืนหรือการสร้างคุณค่าด้านสังคมของสมุยอักษรจะเป็นดังนี้ การคัดเลือกพนักงาน (selection) • การก�ำหนดและสรรหาพนักงาน (targeting and recruitment)

ไม่ว่าจะเป็นการรับสมัครพนักงานในต�ำแหน่งใด ความสนใจด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในตัวผู้สมัครไม่ใช่สิ่งที่ บริษัทมองหา เงื่อนไขส�ำคัญที่สมุยอักษรใช้ในการคัดเลือกคือ ต้องไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา เพราะมองว่าเป็นต้นเหตุของ ปัญหาหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะปัญหาครอบครัว ซึ่งมีโอกาสที่จะส่งผลกระทบกับการท�ำงานของพนักงาน นอกจากนี้ ผูส้ มัครทีข่ บั ขีร่ ถจักรยานยนต์ ต้องมีใบขับขีแ่ ละสวมหมวกกันน็อกด้วย เพราะไม่ตอ้ งการให้พนักงานท�ำผิดกฎหมายและ ส่งเสริมความปลอดภัย การบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ (career development) • การฝึกอบรม (training)

สมุยอักษรให้ความส�ำคัญกับการฝึกอบรมพนักงานในหน้าที่หลัก โดยในส่วนของพนักงานใหม่ หัวหน้าหรือคน ที่ท�ำงานมาก่อนจะสอนงานให้ในลักษณะ on-the-job training นอกจากนี้ยังมีการส่งพนักงานที่มีประสบการณ์ในการ ท�ำงานไปเพิ่มพูนความรู้ข้างนอก นอกจากงานในต�ำแหน่งหน้าที่ที่รับผิดชอบแล้ว สมุยอักษรยังมอบหมายให้พนักงาน ทุกคนท�ำงานด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอกองค์กรด้วย เพราะต้องการให้พนักงานมีจิตส�ำนึกสาธารณะ รวมทั้ง อนุญาตให้พนักงานไปเรียนรู้หลักสูตรภายนอกด้านงานจิตอาสา เช่น การเรียนด�ำน�้ำเพื่อการกู้ภัย • การบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ (career development)

นอกเหนือจากหน้าที่ที่พนักงานแต่ละคนมีตามต�ำแหน่งแล้ว งานด้านความยั่งยืนของบริษัทก็ถือเป็นส่วนเพิ่มใน การท�ำงานทีส่ มุยอักษรเช่นกัน คือการ “ลงสิง่ แวดล้อม” ทีเ่ น้นการท�ำงานเพือ่ ชุมชน การแยกขยะ การขนขยะมาจากบ้าน เพือ่ มาหมักรวมกันทีบ่ ริษทั และการท�ำน�ำ้ หมักอีเอ็ม ล้วนเป็นส่วนหนึง่ ของความรับผิดชอบของพนักงานทุกคน แม้วา่ งาน เหล่านี้จะไม่เชื่อมโยงกับธุรกิจโรงพิมพ์มากก็ตาม ในขณะเดียวกันบริษัทก็มี “ทีมสิ่งแวดล้อม” โดยเฉพาะ ที่ประกอบไปด้วยพนักงานประมาณ 4-5 คน เป็นตัว หลักในการดูแลงานสิ่งแวดล้อมแต่ละเรื่อง คือการปลูกและดูแลต้นไม้ในโรงพิมพ์ การท�ำน�้ำหมักอีเอ็ม ปุ๋ยหมัก และแก๊ส ชีวภาพ รวมถึงการบ�ำบัดน�้ำเสียจากกระบวนการพิมพ์ • การสนับสนุนพนักงาน (employment support)

สมุยอักษรมีความโดดเด่นอย่างยิ่งในเรื่องของสวัสดิการต่างๆ ที่มอบให้กับพนักงาน และค�ำนึงไปถึงครอบครัว ของพนักงานด้วย ไม่ว่าจะเป็นในรูปของเงินกู้ ทั้งแบบไม่มีดอกเบี้ย หากกู้ไปใช้เพราะความจ�ำเป็น และแบบดอกเบี้ย ต�่ำ บริการตรวจสุขภาพฟรี นอกจากนี้ยังมีการให้ความช่วยเหลือพนักงานที่มีบุตร ตั้งแต่แรกเกิดจนจบการศึกษาระดับ ปริญญาตรี ทั้งทุนและเงินกู้เพื่อการศึกษา และมีการมอบเงินรางวัลและมอบหุ้นของบริษัทให้พนักงานที่ท�ำงานครบตาม ระยะเวลาที่ก�ำหนด ผลตอบแทนและการรักษาพนักงาน (rewards and retention) • กฎข้อบังคับและระเบียบวินัย (compliance and discipline)

สมุยอักษรมีการลงโทษพนักงานอย่างชัดเจน เช่น กรณีที่ท�ำงานให้ลูกค้าผิด จะมีการหักเงินพนักงานทุกคน รวม ถึงผูบ้ ริหารด้วย ตามมูลค่าความเสียหาย รวมทัง้ ในด้านความปลอดภัยคือ หากพบเห็นพนักงานขับขีจ่ กั รยานยนต์โดยไม่ สวมหมวกกันน็อกจะมีการปรับเงินเช่นกัน


การบริหารการปฏิบัติงานและวางแผนก�ำลังคน (performance management and workforce planning) • การประเมินผลการปฏิบัติงาน (performance appraisal)

การประเมินประจ�ำปีจะพิจารณาในเรื่องความประพฤติ ความรับผิดชอบ ประสิทธิภาพในการท�ำงาน และการ มีส่วนร่วมในการท�ำประโยชน์ให้กับสังคมส่วนรวม ล้วนมีผลต่อการปรับขึ้นเงินเดือน และการปรับเปลี่ยนต�ำแหน่ง เช่น เดียวกับการพิจารณาโบนัส จะพิจารณาการเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาและงานด้านสิ่งแวดล้อมที่โรงพิมพ์จัดขึ้นด้วย โดย หากพนักงานมาร่วมกิจกรรมไม่ครบ 5 ครั้ง จะถูกลดโบนัส

Sa mu i A k sor n Pr i nt i n g

27


28

ภาคผนวก พัฒนาการของระบบบ�ำบัดน�้ำเสียโรงพิมพ์ (ออฟเซ็ต) ของห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด สมุยอักษร อ�ำเภอเกาะสมุย

ระบบแรก พ.ศ. 2539-2545

บ่อรวมนํ้าเสีย

บ่อรวมนํ้าเสีย

ระดับผิวดิน

ปล่อยออกสู่สิง ่ แวดล้อม

ระดับผิวดิน

ปล่อยออกสู่สิง ่ แวดล้อม

บ่อรวมนํ้าเสีย

ระบบที่ 2 พ.ศ. 2546-2548

บ่อรวมนํ้าเสีย

ระดับผิวดิน

นํ้าเสีย ทราย ถ่าน ทราย ถ่าน

ปล่อยออกสู่สิง ่ แวดล้อม

ระดับผิวดิน

นํ้าเสีย ทราย ถ่าน ทราย ถ่าน

บ่อรวมนํ้าเสีย

มอเตอร์ปั่นนํ้าเสีย + ปล่อยออกสู่สิง ่ แวดล้อม สารช่วยเร่งการตกตะกอน นํ้าใส


บ่อรวมนํ้าเสีย

ระดับผิวดิน

Sa mu i A k sor n Pr i nt i n g

29

นํ้าเสีย ทราย ถ่าน ทราย ถ่าน

ปล่อยออกสู่สิง ่ แวดล้อม

ระบบปัจจุบัน พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน

บ่อรวมนํ้าเสีย

มอเตอร์ปั่นนํ้าเสีย + สารช่วยเร่งการตกตะกอน นํ้าใส

นํ้าใส

เติมอากาศ

บ่อกรองถ่าน ถ่านไม้

เติม EM

ปั๊ มหมุนเวียน และปั๊ มเติมอากาศ

ผักตบชวา + พืชนํ้า

ตะกอน ถังตกตะกอน

บ่อพืชนํ้า

นํ้าดีสู่ธรรมชาติ หมุนเวียนนํ้าโดยปั๊ ม 3-4 วัน ก่อนปล่อย

ลานตากตะกอน ถังเก็บตะกอนแห้ง


30

คุณสมบัติของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบาย และวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน ซึ่งใช้พิจารณาบริษัท ทีเ่ ข้าร่วมเป็ นกรณีศึกษา

1. มีคุณสมบัติตรงตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 (กองบริหารภาษีธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดเล็ก กรมสรรพากร, 2561) ดังตารางต่อไปนี้

ลักษณะวิสาหกิจ

จ�ำนวนการจ้างงาน (คน)

ขนาดย่อม

ขนาดกลาง

จ�ำนวนสินทรัพย์ถาวร (ล้านบาท)

กิจการผลิตสินค้า

ไม่เกิน 50 คน

51-200 คน

ขนาดย่อม ขนาดกลาง ไม่เกิน 50 ล้านบาท 51-200 ล้านบาท

กิจการค้าส่ง

ไม่เกิน 25 คน

26-50 คน

ไม่เกิน 50 ล้านบาท 51-100 ล้านบาท

กิจการค้าปลีก

ไม่เกิน 15 คน

16-30 คน

ไม่เกิน 50 ล้านบาท 31-60 ล้านบาท

กิจการให้บริการ

ไม่เกิน 50 คน

51-200 คน

ไม่เกิน 50 ล้านบาท 51-200 ล้านบาท

2. เป็นบริษัทที่จดทะเบียนมาไม่ต�่ำกว่า 3 ปี และจากการพิจารณางบการเงินย้อนหลัง 3 ปี (พ.ศ. 2558-2560) พบว่า มีสุขภาพการเงินที่ดี และมีทิศทางที่จะด�ำเนินกิจการในอนาคตได้อย่างต่อเนื่อง 3. มีกระบวนการด�ำเนินธุรกิจส่วนใดส่วนหนึ่งที่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือหลักไตรก�ำไรสุทธิ และผ่าน มาตรฐานความยัง่ ยืนทีเ่ กีย่ วข้อง หรือได้รบั รางวัลจากหน่วยงานต่างๆ ในด้านความยัง่ ยืน การสร้างผลลัพธ์ทางสังคม และ/หรือสิง่ แวดล้อม รวมถึงการเป็นธุรกิจเพือ่ สังคม หรือเป็นกรณีศกึ ษาด้านธุรกิจทีย่ งั่ ยืนหรือด้านความยัง่ ยืนมาก่อน (ไม่นับรวมกิจกรรมของบริษัทด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ corporate social responsibility: CSR) 4. ไม่มีข่าวหรือข้อมูลสาธารณะด้านลบจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือการกระท�ำที่ผิดกฎหมาย 5. ยินดีที่จะเปิดเผยข้อมูลที่จ�ำเป็น และยินดีเข้าร่วมเป็นกรณีศึกษา


31

บรรณานุกรม

Elkington, J. (1998). Cannibals with forks: The triple bottom line of 21st century business. Gabriola Island, BC: New Society Publishers. Savitz, A. W., & Weber, K. (2013). Talent, Transformation, and the Triple Bottom Line: How Companies Can Leverage Human Resources to Achieve Sustainable Growth. Jossey-Bass. The World Commission on Environment and Development. (1987). Our Common Future. New York: Oxford University Press. กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก กรมสรรพากร. (2561, พฤษภาคม 26). ลักษณะของ SMEs. Retrieved from กรมสรรพากร: https://www.rd.go.th/publish/ 38056.0.html วะสี, น. (2018). มุมมองสินเชื่อธุรกิจไทยจากข้อมูลรายสัญญาตอนที่ 1. สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วย อึ๊งภากรณ์.


เกี่ยวกับป่าสาละ ป่าสาละ บริษัท “ปลูกธุรกิจที่ยั่งยืน” แห่งแรกในประเทศไทย มุ่ง จุดประกายและด�ำเนินวาทกรรมสาธารณะว่าด้วยธุรกิจทีย่ งั่ ยืน (sustain­ able business) ในประเทศไทย ผ่านการจัดสัมมนา อบรม ประชุม เชิงปฏิบัติการ การผลิตสื่อ สิ่งพิมพ์และออนไลน์ การจัดท�ำงานวิจัยเรื่อง ประเด็นความยั่งยืนที่ส�ำคัญในประเทศไทย ตลอดจนการวัดผลลัพธ์ทาง สังคมและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน ป่าสาละก่อตั้งใน พ.ศ. 2556 โดยสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการ อิสระ นักเขียนและนักแปลอิสระ ร่วมกับภัทราพร ยาร์บะระ นักการตลาด และนักธุรกิจเพื่อสังคม พร้อมด้วยนักวิจัยร่วมอุดมการณ์อีก 4 คน เพื่อเปลี่ยนผ่านสังคมธุรกิจไทยไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ป่าสาละได้ด�ำเนินโครงการวิจัย แล้วเสร็จ มีรายงานวิจยั และกรณีศกึ ษาตีพมิ พ์ตอ่ สาธารณะจ�ำนวนมากกว่า 20 ชิน้ ในประเด็นความยัง่ ยืนทีเ่ กีย่ วข้องกับภาคธุรกิจ เช่น ห่วงโซ่อปุ ทาน อาหาร การธนาคารที่ยั่งยืน ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน การประเมินผลลัพธ์ ทางสังคม และหัวข้ออื่นๆ รวมทั้งการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างยั่งยืน (sustainable human resource management) ติดตามผลงานวิจัย บทความ หนังสือ และงานอืน่ ๆ ของป่าสาละได้ที่ www.salforest.com และ www.facebook.com/salforestco


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.