คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ แปลและเรียบเรียงจากหนังสือ
Guide to Corporate Ecosystem Valuation และ The Corporate Ecosystem Services Review ผู้เรียบเรียงและปรับปรุง
รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ สฤณี อาชวานันทกุล ปราโมทย์ อินสว่าง สุปราณี จงดีไพศาล ศิริธัญญ์ ไพโรจน์บริบูรณ์ ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ จัดทำ�โดย
สารบัญ คำ�นำ�
3
บทนำ�
4
ทำ�ไมธุรกิจต้องสนใจระบบนิเวศ
7
การขจัดความเสียหาย ลดค่าใช้จ่าย และสร้างความมั่นคงทางธุรกิจ เหตุใดลำ�พัง “ทำ�ตามกฎหมาย” จึงไม่เพียงพอ การประเมินคุณค่าระบบนิเวศสำ�หรับภาคธุรกิจคืออะไร นิเวศบริการคืออะไร ผลกระทบภายนอกด้านสิ่งแวดล้อมกับนิเวศบริการ ประโยชน์ของการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ วิธีการประเมินคุณค่าระบบนิเวศในการบริหารธุรกิจ
7 10 13 14 22 26 29
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
39
เกณฑ์ ในการตัดสินใจว่าควรประเมินคุณค่าระบบนิเวศหรือไม่ ขั้นตอนในการประเมินคุณค่าของนิเวศบริการ ขั้นตอนที่ 1: กำ�หนดขอบเขต ขั้นตอนที่ 2: วางแผน ขั้นตอนที่ 3: การประเมินคุณค่าของระบบนิเวศ
42 44 45 54 63
การนำ�ไปใช้
81
ขั้นตอนที่ 4: การประยุกต์ ใช้ ขั้นตอนที่ 5: การผนวกไว้ ในการบริหารบริษัท
81 87
บทส่งท้าย
88
นิยามศัพท์เฉพาะ
90
ภาคผนวก: ขั้นตอนการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ
92
2
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
คำ�นำ� ในบรรดาปัญหาเร่งด่วนทั้งมวลที่คุกคาม มนุษยชาติตอนต้นศตวรรษที่ 21 ปฏิเสธ ไม่ได้ว่าสาเหตุของปัญหาจำ�นวนมากเกิดจาก การตักตวงทรัพยากรธรรมชาติและทำ�ลาย ระบบนิเวศโดยภาคธุรกิจ จนเกินระดับที่ ธรรมชาติจะสามารถฟื้นฟูได้ด้วยตัวเอง ความรุนแรงของการทำ�ลายระบบนิเวศ ส่วนหนึ่งดำ�เนินต่อไปเพราะภาคธุรกิจยัง มองไม่เห็นความเชื่อมโยงระหว่างผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมกับผลกระทบต่อธุรกิจที่จะ เกิดขึ้นตามมาไม่ช้าก็เร็ว ไม่ว่าจะในรูปของ ความเสี่ยงหรือต้นทุนที่สูงขึ้นก็ตาม ในขณะเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม ก็ได้ปรับปรุงกระบวนการและระเบียบวิธีวิจัย จนสามารถแสดงผลกระทบจากความเสือ่ มโทรม ของระบบนิเวศต่อธุรกิจและผลประกอบการ ของบริษัทออกมาเป็นตัวเลขได้อย่างชัดเจน มากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ ข้อค้นพบทาง วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับบริการของระบบนิเวศ อันมีคุณต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมวล หรือที่เรียกย่อๆ ว่า “นิเวศบริการ” ก็ได้บ่งชี้โอกาสใหม่ๆ ทาง ธุรกิจจากการประเมินคุณค่าของระบบนิเวศและ นิเวศบริการ ที่สามารถนำ�ไปใช้เป็นส่วนหนึ่ง ในกระบวนการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจ บริษัท ป่าสาละ จำ�กัด ได้รับมอบหมายจาก องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (Deutsche Gesellschaft fuer Internationale Zusammenarbeit : GIZ) ให้ด�ำ เนินการปรับปรุง ต่อยอด และเรียบเรียงหนังสือคูม่ อื คุณค่าของ
ระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ เล่มนี้ ซึ่งต้นฉบับดั้งเดิมองค์กรธุรกิจเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development : TBCSD) ได้เรียบเรียงและถอดความมาจาก หนังสือ Guide to Corporate Ecosystem Valuation โดย World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) และรายงาน The Corporate Ecosystem Services Review ซึ่งจัดทำ�โดย WBCSD, Meridian Institute และ World Resources Institute (WRI) ประกอบกับเอกสารที่ เกีย่ วข้อง ซึง่ เอกสารเหล่านีล้ ว้ นแต่น�ำ หลักการ และกลยุทธ์ของแนวทางทีว่ างไว้ในโครงการวิจยั The Economics of Ecosystem and Biodiversity (TEEB) มาปรับใช้ ให้เหมาะสม กับบริบทและมุมมองของภาคธุรกิจ ผู้เรียบเรียงหวังว่าหนังสือ คุณค่าของระบบ นิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ เล่มนี้ จะเป็นส่วนเล็กๆ ที่จะกระตุ้นให้ภาคธุรกิจ ไทยเกิดความตระหนักถึงความสำ�คัญของการ ประเมินคุณค่าระบบนิเวศ และสามารถนำ�ไป ประยุกต์ ใช้ ในการบริหารจัดการความเสี่ยง และแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ ขอขอบคุณ GIZ ผู้ ให้การสนับสนุนด้านทุน ในการแปลและเรียบเรียงคู่มือฉบับนี้ รวมถึง ผู้เชี่ยวชาญทุกท่านที่ช่วยให้ข้อเสนอแนะ อันมีค่าในการจัดทำ�คู่มือเล่มนี้ สฤณี อาชวานันทกุล กรรมการผู้จัดการ ด้านการพัฒนาความรู้ บริษัท ป่าสาละ จำ�กัด
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
3
บทนำ� ทุกวันนีค้ งไม่มใี ครปฏิเสธว่าปัญหาสิง่ แวดล้อม จำ�นวนมากได้ลุกลามกลายเป็นปัญหาระดับ ชาติไปจนถึงระดับโลกในแทบทุกภูมิภาค ใน บรรดาภาคส่วนทั้งหมดของสังคม ภาคธุรกิจ ถูกคาดหวังให้เป็นผู้นำ�การเปลี่ยนผ่านจาก วิถกี ารผลิตแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมซึง่ ทำ�ลาย ธรรมชาติ ไปสู่ทุนนิยมธรรมชาติหรือทุนนิยม ยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม เนือ่ งจากภาคธุรกิจเป็นตัวการหลักทีก่ อ่ ปัญหา แต่ในขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจก็มีความพร้อม และศักยภาพสูงสุดในการแก้ปัญหา “การสร้างแรงจูงใจ” ให้ภาคธุรกิจเปลีย่ นแปลง วิถีการดำ�เนินธุรกิจ เป็นปัจจัยที่สำ�คัญที่สุด ปัจจัยหนึ่งในการผลักดันการเปลี่ยนแปลง และจุดเริ่มต้นที่ดีของการสร้างแรงจูงใจ ดังกล่าว ก็คือการระบุขอบเขตและขนาด ของปัญหาอันเกิดจากความเสื่อมโทรมของ ระบบนิเวศอย่างชัดเจน รวมถึงลักษณะและ ขนาดของผลกระทบในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้น จากสาเหตุดังกล่าว โครงการเศรษฐศาสตร์ของระบบนิเวศและ ความหลากหลายทางชีวภาพ (The Economics of Ecosystems and Biodiversity : TEEB) อันเกิดจากการประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม ของสมาชิกกลุม่ ประเทศ G8+5 (2007-2010) ได้ ให้ข้อมูลความเสียหายที่เกิดจากความ เสื่อมโทรมของระบบนิเวศไว้อย่างชัดเจนว่า มีมูลค่ามหาศาล จากสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิม่ ขึน้ ของจำ�นวนประชากรโลกอย่าง รวดเร็ว การเปลีย่ นแปลงการใช้ประโยชน์ทด่ี นิ และทรัพยากรธรรมชาติ การรุกรานของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฯลฯ ส่งผล 4
ให้โลกกำ�ลังสูญเสียบริการของระบบนิเวศ มูลค่าความเสียหายถึง 2-5 ล้านล้านเหรียญ สหรัฐต่อปี เนื่องจากการตัดไม้ทำ�ลายป่า และเกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกจาก สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลงคิดเป็นมูลค่าถึง 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี นอกจากนี้ รายงาน TEEB ยังระบุว่าความ เสื่อมโทรมของระบบนิเวศเพิ่มความเสี่ยง ในการประกอบธุรกิจ เพราะการสูญเสีย ระบบนิเวศมิได้ส่งผลกระทบทางชีววิทยา หรือนิเวศวิทยาเท่านั้น แต่มีผลทั้งทางตรง และทางอ้อมต่อการเติบโตและความมั่นคง ทางเศรษฐกิจด้วย การนำ�ทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นวัตถุดิบ ในการดำ�เนินธุรกิจ ทำ�ให้ภาคธุรกิจจำ�ต้อง พึ่งพิงระบบนิเวศทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างของการพึ่งพิงทางตรง ได้แก่ การใช้ น้ำ�เป็นวัตถุดิบหลักในภาคการผลิต การ ประกอบการ และธุรกิจบริการทุกประเภท ขณะที่ภาคการเกษตรและการแปรรูปต้อง พึ่งพาการผสมเกสรของแมลงตามธรรมชาติ อุตสาหกรรมยาได้ประโยชน์จากความ หลากหลายทางชีวภาพของทั้งพืชและสัตว์ เนื่องจากต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตในการค้นคว้า ทดลองเพื่อสรรหาตัวยาใหม่ๆ ส่วนอุตสาห กรรมกระดาษและการผลิตบรรจุภัณฑ์ก็ต้อง พึ่งพิงป่าและเส้นใยไม้ เป็นต้น การพึ่งพิงทางอ้อมที่ภาคธุรกิจได้รับจาก ระบบนิเวศ เช่น ป่าไม้ช่วยป้องกันภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ และช่วยชะลอความเร็วของ กระแสน้ำ� ทำ�ให้น้ำ�ซึมลงในดินได้และ
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
Photo by Elizabeth Lies
“
ไม่ มี ธุ ร กิ จ ใดเลยที่ จ ะไม่ ไ ด้ รั บ ประโยชน์ และ/หรือได้รบั ผลกระทบจากบริการต่าง ๆ ของ ระบบนิเวศ ซึง่ อาจเรียกย่อ ๆ ว่า “นิเวศบริการ” (Ecosystem Services)
”
ช่วยรักษาความชุ่มชื้น ซึ่งเป็นส่วนสำ�คัญของ การลดความรุนแรงของอุทกภัย ต้นไม้และ รากไม้ยังช่วยป้องกันการชะล้างหน้าดินและ การพังทลายของดิน ช่วยลดโอกาสการเกิด ภัยธรรมชาติ เป็นต้น
ลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ รวมถึงจ่าย ชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ยังไม่ต้องกล่าวถึง ผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจ จากความเสียหาย ต่อระบบนิเวศ
ดังนั้นจะเห็นว่า ไม่มีธุรกิจใดเลยที่จะไม่ได้รับ ประโยชน์และ/หรือได้รับผลกระทบจาก บริการต่างๆ ของระบบนิเวศ ซึ่งอาจเรียก ย่อๆ ว่า “นิเวศบริการ” (Ecosystem Services) ปัจจุบัน ผู้บริโภคจำ�นวนมากมีความตื่นตัว และตระหนักมากขึ้นว่า การเปลี่ยนแปลงของ ระบบนิเวศและความเสือ่ มโทรมของสิง่ แวดล้อม มีความสัมพันธ์กับการประกอบธุรกิจ และ ได้ออกมาเรียกร้องให้ผู้ประกอบการคำ�นึงถึง ประเด็นเหล่านี้มากขึ้น ในขณะเดียวกัน ประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็ได้ออกระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือกฎหมายควบคุมให้ภาคธุรกิจ
การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศและความ เสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมจึงเป็นประเด็นที่ เพิ่มความท้าทายให้กับการประกอบธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีรูปแบบหรือ แนวทางที่ชัดเจนในการประเมินความเสี่ยง และโอกาสจากการประเมินคุณค่าของระบบ นิเวศอย่างเป็นรูปธรรม คู่มือ คุณค่าระบบ นิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ เล่มนี้ จึงเสนอแนวทางในการประเมินคุณค่า ความเสี่ยงและ/หรือความสูญเสียที่เกิดขึ้น ต่อระบบนิเวศจากการประกอบธุรกิจ รวมถึง แนวทางในการนำ�ผลการประเมินดังกล่าวไป ใช้กำ�หนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ ทั้งในแง่ของการ บริหารจัดการความเสี่ยง และในแง่ของการ แสวงโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
5
���������������������������
6
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
ทำ�ไมธุรกิจ ต้องสนใจระบบนิเวศ
การขจัดความเสียหาย ลดค่าใช้จ่าย และสร้างความมั่นคงทางธุรกิจ การให้คุณค่ากับระบบนิเวศช่วยลดความเสียหายทางธุรกิจ เราต่างทราบดีว่าการทำ�ประมงเกินขนาด ก่อความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม แต่หลายคน อาจยังไม่สามารถเชื่อมโยงได้ว่า ปัญหานี้อาจ สร้างความเสียหายมหาศาลต่อธุรกิจด้วย ในปี พ.ศ. 2535 ปลาค็อดถูกจับจนสูญพันธุ์ ไปจากน่านน้ำ�ด้านตะวันออกของประเทศ แคนาดา ส่งผลให้ธุรกิจประมงซบเซาอย่าง รวดเร็ว และเกิดการพิพาทระหว่างชาวประมง จากหลายประเทศเพื่อแย่งชิงทรัพยากรที่ เหลืออยู่
ปัญหานี้กระทบต่อกลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ (Unilever) โดยตรง เนื่องจากขณะนั้นกลุ่ม บริษัทรับซื้อปลาค็อดกว่าร้อยละ 5 ของ ปริมาณปลาค็อดที่จับได้ทั่วโลก จัดเป็น ผู้ซื้อปลาทะเลรายใหญ่ที่สุดของโลก การลด จำ�นวนลงอย่างกะทันหันของประชากรปลา ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ปลาค็อดเป็นวัตถุดิบ มีราคาสูงขึ้น และทำ�ให้กลุ่มบริษัทมีอัตรา กำ�ไรจากผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากปลาค็อดลดลง กว่าร้อยละ 30
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
7
���������������������������
ด้วยเหตุนี้ กลุ่มยูนิลีเวอร์จึงจับมือกับกองทุน สัตว์ปา่ โลก (World Wide Fund for Nature: WWF) ก่อตั้งองค์กรไม่แสวงกำ�ไรชื่อ สภา พิทักษ์ทะเล (Marine Stewardship Council: MSC) ขึ้นในปี พ.ศ. 2539 เพื่อกำ�หนด มาตรฐานการทำ�ประมงอย่างยั่งยืน โดยตั้ง เป้าหมายให้ปลาทุกประเภททีก่ ลุม่ บริษทั รับซือ้ ต้องได้รบั การรับรองโดยมาตรฐาน MSC ว่ามี แหล่งที่มาที่ยั่งยืน เพื่อรักษาสมดุลและความ อุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศใต้ทะเลซึง่ นอกจาก จะมีความสำ�คัญทางตรงต่อกลุ่มบริษัทในแง่ ของการเป็นแหล่งผลิตแล้ว ยังสร้างผลลัพธ์ เชิงบวกทางอ้อมต่อภาพลักษณ์ของบริษัทใน การรับรูข้ องสังคมอีกด้วย นอกจากนี้ ยูนลิ เี วอร์ ยังได้ดำ�เนินโครงการ Fish Sustainability Initiative เพื่อส่งเสริมให้ผู้ทำ�ประมงที่ขาย วัตถุดิบให้กับบริษัทสามารถพัฒนาแนวทาง การทำ�ประมงของตนเพื่อให้นำ�ไปสู่การทำ� ประมงอย่างรับผิดชอบและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
และท้ายที่สุดเพื่อให้ ได้รับการรับรองตาม มาตรฐานของ MSC และเอื้อให้ระบบนิเวศ สามารถฟื้นฟูและรักษาสมดุลเอาไว้ ได้ ถึงแม้ว่าท้ายที่สุดกลุ่มยูนิลีเวอร์จะไม่สามารถ บรรลุเป้าหมายของการรับซื้อปลาทั้งหมดจาก แหล่งผลิตที่ยั่งยืนตามที่ตั้งเอาไว้ ได้ แต่การ ดำ�เนินงานของกลุ่มบริษัทในการก่อตั้งและ ผลักดัน MSC ร่วมกับ WWF ได้สร้าง มาตรฐานใหม่ในการทำ�ประมงที่ให้ความ สำ�คัญกับระบบนิเวศ และมีส่วนช่วยในการ ฟื้นฟูประชากรปลา นำ�ไปสู่การทำ�ธุรกิจ เกี่ยวกับการประมงอย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน MSC ได้ชื่อว่าเป็นมาตรฐานอาหาร ทะเลจากการประมงที่ยั่งยืนอันดับต้นๆ ของ โลก ณ สิ้นปี พ.ศ. 2556 มีผลิตภัณฑ์เกือบ 20,000 รายการที่ได้ตรารับรอง MSC และ ร้านอาหาร 21,730 แห่งทั่วโลกที่เสิร์ฟ เฉพาะอาหารทะเลที่ได้ตรารับรอง MSC
การให้คุณค่ากับระบบนิเวศช่วยลดค่าใช้จ่ายของบริษัท บริษัท ฮิตาชิ เคมิคอล (Hitachi Chemical) เล็งเห็นว่าการศึกษามูลค่าของผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อมสามารถส่งผลดีทั้งทางตรงและ ทางอ้อมต่อบริษัท ผลทางตรงคือ บริษัท สามารถลดค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียไปใน กระบวนการผลิต ผ่านการคัดเลือกวิธกี ารผลิต ที่คุ้มค่าต่อการลงทุนและมีประสิทธิภาพใน การใช้วัตถุดิบและพลังงานมากที่สุด ส่วนผล ทางอ้อมคือ ทำ�ให้บริษัทได้รับการยอมรับจาก กลุ่มธุรกิจและผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก วิธีการผลิตที่คัดเลือกนั้นต้องส่งผลกระทบ ต่อสิง่ แวดล้อมน้อยที่สุดด้วย ประโยชน์ของการศึกษามูลค่าของผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมนั้นสามารถสะท้อนออกมา เป็นตัวเงินผ่านการทำ�บัญชีสิ่งแวดล้อม 8
(Environmental Accounting) ซึ่งทางบริษัท ได้เริ่มจัดทำ�ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยยึดตาม หลักเกณฑ์ที่กำ�หนดโดยกระทรวงสิ่งแวดล้อม (Ministry of Environment) ของประเทศ ญี่ปุ่น โดยการทำ�บัญชีสิ่งแวดล้อมนั้นช่วยให้ บริษัทสามารถจัดแจงทรัพยากรสำ�หรับพัฒนา กิจกรรมต่างๆ ของบริษัทได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผลประโยชน์ทางธุรกิจที่บริษัทได้รับจากการ ลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมดมีมูลค่ากว่า 1,101.5 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2554 และ 741.8 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2555 ผลประโยชน์ หลักได้แก่การลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการ ใช้พลังงาน ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพในการ ใช้พลังงานและการนำ�พลังงานกลับมาใช้ ใหม่
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
รวมถึงการประหยัดค่าใช้จา่ ยผ่านการนำ�ของเสีย มารีไซเคิล นอกจากนี้ บริษัทยังสามารถเพิ่ม
รายได้จากการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
การให้คุณค่ากับระบบนิเวศช่วยสร้างความมั่นคงทางธุรกิจ สตาร์บัคส์ (Starbucks) บริษัทเชนร้านกาแฟ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เริ่มหันมาสนใจหลักการ ห่วงโซ่อปุ ทานทีย่ ง่ั ยืนในปี พ.ศ. 2538 หลังจาก ถูกต่อต้านจากองค์กรภาคประชาสังคมในปี พ.ศ. 2537 เรื่องคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานละเมิด สิทธิแรงงาน ด้วยการออกแนวปฏิบัติสำ�หรับ คู่ค้าเรื่องการกำ�หนดค่าจ้าง สวัสดิการ ที่พัก อาศัย และมาตรฐานสุขอนามัยของคู่ค้า
(Conservation International) เอ็นจีโอระหว่าง ประเทศ ซึ่งทำ�โครงการนี้ ในรัฐ Chiapas ทาง ตอนใต้ของประเทศเม็กซิโก โดยสนับสนุน ให้เกษตรกรรายย่อยปลูกกาแฟใต้ร่มไม้ ใหญ่ (Shade-Srown-Coffee) อันเป็นแนวคิดที่ เชือ่ มการอนุรกั ษ์ระบบนิเวศและการปลูกกาแฟ ไว้ด้วยกัน โดยสตาร์บัคส์ตกลงที่จะรับซื้อ ผลิตภัณฑ์จากโครงการนี้
อย่างไรก็ตาม แรงกดดันก็ยังเกิดขึ้นอย่าง ต่อเนือ่ ง โดยเฉพาะในช่วง พ.ศ. 2541-2545 ทีเ่ กิดวิกฤตการณ์ดา้ นอุปทานของกาแฟทีส่ ง่ ผล ให้ราคากาแฟโลกลดลงอย่างรุนแรง และเป็น สาเหตุให้เกิดการทำ�ลายป่าไม้มากขึน้ เนือ่ งจาก เมื่อเมล็ดกาแฟราคาตก เกษตรกรรายย่อย ก็เลิกปลูกกาแฟแล้วหันไปประกอบอาชีพอื่น แต่บางส่วนก็บุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อนำ�มาปลูกพืช ชนิดอื่นแทน และจะไม่กลับมาปลูกกาแฟอีก แม้ว่าจะราคาดี เพราะการปลูกกาแฟต้อง ใช้เวลานานกว่าจะเก็บเกี่ยวได้ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ยังทำ�ให้ผลผลิตของกาแฟสำ�คัญๆ อย่างสายพันธุ์อราบิกาและโรบัสตาในพื้นที่ ต่างๆ เกิดความผันผวนอย่างหนัก สาเหตุ เหล่านี้ล้วนทำ�ให้สตาร์บัคส์ต้องเผชิญกับ ความเสี่ยงด้านอุปทานกาแฟ ซึ่งเป็นความ เสี่ยงสำ�คัญทางธุรกิจ เพราะกาแฟคิดเป็น ยอดขาย 70% ของทั้งบริษัท
หลังจากนั้น สตาร์บัคส์ ได้นำ�หลักการ The Conservation Principles for Coffee Production ที่ตัวเองสนับสนุนให้ CI และ เอ็นจีโออื่นๆ จัดทำ� มาพัฒนาเป็นหลักปฏิบัติ ในการเลือกซื้อเม็ดกาแฟ โดยทดลองทำ�เป็น โครงการกับคู่ค้า ต่อมาแก้ ไขและปรับเป็น มาตรฐาน C.A.F.E (the Coffee and Farmer Equity Practices) ซึง่ จะประเมินคูค่ า้ 4 ด้าน ได้แก่ 1. คุณภาพสินค้า 2. ความรับผิดชอบ ทางเศรษฐกิจ เช่น การจ่ายค่าตอบแทนที่ เป็นธรรมกับเกษตรกร 3. ความรับผิดชอบ ต่อสังคม เช่น การจ้างงานและสภาพในการ ทำ�งาน 4. ความเป็นผู้นำ�สิ่งแวดล้อม โดย เฉพาะพฤติกรรมการใช้น้ำ� ดิน พลังงาน การจัดการของเสีย และความหลากหลาย ทางชีวภาพ โดยคู่ค้าพันธมิตรที่ได้คะแนน อย่างน้อยร้อยละ 80 จะได้รับสิทธิพิเศษ คือ สตาร์บัคส์จะรับซื้อเมล็ดกาแฟที่ยังไม่ผ่านการ คัว่ ในราคาทีส่ งู กว่าปกติ และจะให้ราคาเพิม่ ขึน้ หากสามารถพัฒนาคะแนนเพิม่ เป็นร้อยละ 90 ในปีถัดไป
เมื่อมองเห็นความเสี่ยงดังกล่าว สตาร์บัคส์ จึงเริ่มสร้างมาตรฐานห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน ด้วยการเข้าร่วมโครงการอนุรักษ์กาแฟหรือ Coffee Conservation Project กับ CI
ความสำ�เร็จของมาตรฐาน C.A.F.E นอกจาก จะทำ�ให้ผลผลิต 93% ของกาแฟสตาร์บัคส์
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
9
���������������������������
ผ่านมาตรฐานนี้ ในปี พ.ศ. 2555 จากเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ 100% ภายในปี พ.ศ. 2558 ยังทำ�ให้ เกษตรกรจำ�นวนมากมีงานทำ�เพิ่มขึ้น ส่วน
สตาร์บัคส์เองก็ได้นำ�วิธีปฏิบัติที่เรียนรู้นี้ ไปใช้ กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต่อไป
เหตุใดลำ�พัง “ทำ�ตามกฎหมาย” จึงไม่เพียงพอ เมื่อหันมามองประเทศไทย พบว่าบริษัท จำ�นวนมากนอกจากจะยังไม่ตระหนักใน ผลกระทบต่อธุรกิจของปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ยังเชื่อว่ากฎหมายและกฎระเบียบด้าน สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยนั้น “ดีเพียงพอ” แล้ว และการที่บริษัทปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎระเบียบเหล่านี้อย่างครบถ้วน บริษัท ก็จะไม่เผชิญกับความเสี่ยงทางธุรกิจใดๆ ความเชื่อดังกล่าวเป็นความเข้าใจผิด เนื่องจากโครงสร้างกฎหมายและกฎระเบียบ ด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยยังมีช่องว่าง และข้อบกพร่องค่อนข้างมาก แม้ว่าภายหลัง จากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มีผลบังคับใช้ ประชาชนเริ่มตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อมค่อนข้าง มาก โดยมีการจัดตั้งชมรมและองค์กรต่างๆ มากมาย เช่นเดียวกับข้อพิพาทที่ปรากฏ ให้เห็นมากขึ้นทุกขณะ นำ�ไปสู่ความขัดแย้ง ในรูปแบบคดีสิ่งแวดล้อมที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปัญหาและอุปสรรคในการแก้ ไขปัญหา สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับช่องว่างหรือข้อบกพร่อง 10
ของกฎหมายหรือการบังคับใช้กฎหมาย สามารถ สรุปได้เป็นประเด็นหลักๆ ดังต่อไปนี้ ข้อกฎหมายหลักไม่ตอบสนองต่อความ เป็นจริงในพื้นที่ เช่น ในการกำ�หนดค่า มาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมของหน่วยงาน ต่างๆ ยังไม่มีความเป็นเอกภาพ กฎหมาย กำ�หนดข้อจำ�กัดการปล่อยมลพิษของแต่ละ แหล่งไว้ แต่ไม่ได้กำ�หนดปริมาณมลภาวะ โดยรวมที่แต่ละพื้นที่สามารถรองรับได้ (Carrying) ทำ�ให้มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหา สิง่ แวดล้อมทัง้ ทีถ่ กู กฎหมาย และเจ้าหน้าทีร่ ฐั ก็ไม่สามารถดำ�เนินการแก้ ไขได้ w การบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ไม่มีความ ชัดเจน แม้ว่ากฎหมายจะระบุแนวทางหรือ มาตรการในการดำ�เนินการด้านสิ่งแวดล้อม เอาไว้ก็ตาม e ข้อจำ�กัดด้านโครงสร้างของกฎหมายที่ ซ้�ำ ซ้อนและคลุมเครือ กฎหมายสิง่ แวดล้อมนัน้ มีอยู่หลายฉบับ และหน่วยงานหลายแห่งถือ กฎหมายฉบับเดียวกัน กฎหมายสิ่งแวดล้อม
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
บางฉบับมีโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญา ผู้ ได้รับผลกระทบจึงอาจนำ�คดีมาสู่ศาลแพ่ง หรือศาลอาญา หากผู้เสียหายไม่พอใจคำ�สั่ง ของเจ้าพนักงานของรัฐซึง่ เป็นคำ�สัง่ ทางปกครอง ผู้เสียหายก็อาจนำ�คดีขึ้นสู่การพิจารณาของ ศาลปกครองได้ และถ้ามีเนื้อหาเกี่ยวกับคดี แรงงานก็อาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงานได้ ทำ�ให้ คดีสิ่งแวดล้อมกระจัดกระจายอยู่ในหลายศาล สิง่ นีก้ อ่ ให้เกิดความสับสน เนือ่ งจากระบบการ พิจารณาคดีและวิธีการดำ�เนินคดีในแต่ละศาล มีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ เนื้อหาของ กฎหมายยังไม่สามารถปรับให้เท่าทันความ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการเมืองเรื่อง สิง่ แวดล้อม ถ้อยคำ�กำ�กวมทางกฎหมายอีกมาก ยังต้องได้รับการตีความ เช่น นิยามของสิทธิ สิทธิชมุ ชน สิทธิชมุ ชนดัง้ เดิม ฯลฯ เพราะกรอบ ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ สิ่งแวดล้อมเป็นฐาน ที่สำ�คัญสำ�หรับการจัดทำ�กฎหมายสิ่งแวดล้อม ลำ�ดับพระราชบัญญัติและกฎหมายลำ�ดับรอง ของประเทศทั้งหมด r ข้อจำ�กัดของมาตรการตามกฎหมายไทย ต่อหลักการป้องกันความเสียหายไว้ล่วงหน้า แม้กฎหมายไทยจะระบุให้มีมาตรการตาม หลักการป้องกันความเสียหายไว้ล่วงหน้า แต่ไม่มกี ารบังคับตามมาตรการเมื่อโครงการ ผ่านการพิจารณาอนุมัติ และธรรมชาติมักถูก ทำ�ลายไปก่อนที่ผู้คนในท้องที่จะได้รับความ เดือดร้อนจนนำ�มาสู่การฟ้องร้องในชั้นศาล t ข้อจำ�กัดของมาตรการตามกฎหมายไทย ต่อหลัก “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” (Polluter Pays Principle) ที่ผ่านมาการฟ้องคดียังเน้น ที่ค่าเยียวยารักษาประชาชนผู้ ได้รับผลกระทบ ในการกำ�หนดค่าเสียหายหรือค่าสินไหม ทดแทนนั้น ศาลจะพิจารณาใช้หลักละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และ ไม่มคี า่ เสียหายเชิงลงโทษ (Punitive Damage) นอกจากนี้ การใช้ดุลพินิจในการพิพากษา
ค่าเสียหายมักคลาดเคลื่อนไปจากความจริง เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นยังไม่อาจคิด คำ�นวณเป็นจำ�นวนเงินที่แน่นอนได้ เช่น ในกรณีที่ความเสียหายไม่ได้เกิดขึ้นในทันที แต่ผู้เสียหายจะได้รับความเสียหายในลักษณะ สะสมเข้าสู่ร่างกายทีละเล็กละน้อย เมื่อต้องมี การรักษาเยียวยาจึงมักไม่ได้สัดส่วนกับความ เสียหายที่เกิดขึ้นกับเหยื่อ และในกรณีที่มีการ ฟ้องรัฐว่าเป็นผูก้ อ่ มลพิษ แม้วา่ อำ�นาจฟ้องจะ กว้างพอให้ผู้เสียหายสามารถฟ้องหน่วยงาน ของรัฐให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่การฟ้องให้ รับผิดแทนยังเป็นเรื่องที่ต้องตั้งคำ�ถาม เพราะ สุดท้ายแล้วเงินที่รัฐต้องจ่ายชดเชยค่าเสียหาย ก็คือภาษีของประชาชนเอง แม้ว่าจะสามารถ ให้ผู้ก่อมลพิษจ่ายในภายหลังก็ตาม y ข้อจำ�กัดด้านการดำ�เนินคดีอาญา สิ่งแวดล้อม ปัจจุบันคดีอาญาสิ่งแวดล้อมยัง ไม่มีการแยกประเภทคดีที่ชัดเจน คำ�ฟ้องและ รูปแบบกระบวนพิจารณาเป็นไปในทำ�นอง เดียวกับคดีอาญาทั่วไป ทั้งที่การกระทำ�ผิดต่อ สิ่งแวดล้อมมีลักษณะแตกต่างจากการกระทำ� ผิดทางอาญา เพราะเหตุจงู ใจไม่ได้มาจากความ ประสงค์ต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ หรือสินทรัพย์ของผู้อื่น แต่เป็นการทำ�ลาย ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันเป็นความผิดทาง อาญาที่กระทบต่อสาธารณชนหรือประโยชน์ ส่วนรวม การใช้ดุลยพินิจลงโทษผู้กระทำ� ความผิดเป็นไปตามบัญชีอัตราโทษ และมัก เป็นโทษสถานเบาในกรณีผู้ก่อมลพิษกระทำ� การโดยไม่ได้กอ่ ให้เกิดความเสียหายในปริมาณ มาก ทำ�ให้ผู้กระทำ�ผิดกระทำ�ซ้ำ� อีกทั้งไม่มี การนำ�มาตรการทางอาญาในเรื่องการดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาใช้ควบคู่กับการลงโทษผู้กระทำ�ผิด u ปัญหาการกระจายอำ�นาจและความพร้อม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กฎหมายส่วนใหญ่มอบอำ�นาจให้ อปท.
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
11
���������������������������
คุม้ ครองดูแลและบำ�รุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ แต่ไม่ให้อำ�นาจในการอนุญาตการใช้ประโยชน์ การกระจายอำ�นาจที่ผ่านมาเป็นแค่การมอบ อำ�นาจขั้นต่ำ�ให้ อปท. ทำ�ตามนโยบายส่วน กลางโดยไม่เปิดโอกาสให้ อปท. นำ�แนวคิด รูปแบบใหม่มาปรับใช้ อีกทัง้ เจ้าหน้าทีส่ ว่ นใหญ่ ยังไม่มีความเชี่ยวชาญกับการจัดการปัญหา สิ่งแวดล้อมในเชิงเทคนิคและกฎหมาย i การขาดกฎหมายรองรับด้านการมีสว่ นร่วม ของประชาชน แม้วา่ ปัจจุบนั รัฐได้ออกระเบียบ สำ�นักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความ คิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 เพื่อให้ หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติ และเป็นวิธีการ ตามกฎหมายเพียงฉบับเดียวที่เปิดโอกาสให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความ คิดเห็น ตามที่มีการรับรองไว้ ในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 และรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 แล้วก็ตาม แต่ระเบียบดังกล่าวก็ยงั ไม่มกี ฎหมาย รับรองโดยตรง เมื่อพิจารณาถึงลำ�ดับชั้นของ กฎหมายก็เป็นทีน่ า่ สังเกตว่า สิทธิทร่ี ฐั ธรรมนูญ รับรองนัน้ ต้องตราเป็นกฎหมายระดับพระราช บัญญัตเิ ป็นหลัก แต่การรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชนกลับอยู่ในชั้นของระเบียบสำ�นัก นายกรัฐมนตรีเท่านัน้ การกำ�หนดเป็นระเบียบ สำ�นักนายกรัฐมนตรีเป็นเพียงระเบียบปฏิบัติ ของฝ่ายบริหารที่ใช้บังคับกับส่วนราชการฝ่าย บริหารให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันเท่านั้น ไม่มลี กั ษณะเป็นกฎหมายทีม่ ผี ลบังคับเป็นการ ทั่วไปและต้องปฏิบัติตามโดยตรง
ปัญหาที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายและกฎระเบียบ ข้างต้นเป็นคำ�อธิบายส่วนหนึ่งของคำ�ถามที่ว่า เหตุใดบริษัทที่ดำ�เนินธุรกิจซึ่งก่อให้เกิดผล กระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมจึงมักจะต้อง เผชิญกับความกังวลและความไม่ไว้วางใจของ ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะมุมมองของ ชาวบ้านทีแ่ พร่หลายว่ารัฐมักอ้าง “ความจำ�เป็น” 12
ของโครงการพัฒนาต่างๆ เพื่อสร้างความ ชอบธรรมในการลิดรอนสิทธิของประชาชน ชาวบ้านมักสงสัยว่าจะได้รับการเยียวยา ชดใช้ชดเชยจริงหรือไม่ รวมถึงมองว่าการ ต่อสู้ระหว่างการปกครองท้องถิ่นกับภาค อุตสาหกรรมไม่ได้มีเป้าหมายที่สิ่งแวดล้อม แต่เป็นการแย่งชิงเสียงสนับสนุนเสียมากกว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมรวมถึงความไม่ไว้วางใจ ของชาวบ้านดังที่กล่าวถึงข้างต้นส่งผลให้ ธุรกิจเผชิญกับความเสี่ยง แต่ที่ผ่านมา ความ อุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศกับผลประกอบการ ทางธุรกิจมักไม่ได้รับการประเมินร่วมกันหรือ เชือ่ มโยงกัน เพราะภาคธุรกิจมักจะมองเฉพาะ ปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และภาวะ มลพิษที่เกิดขึ้นเท่านั้น โดยให้ความสำ�คัญกับ การวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น มากกว่าการ พึ่งพาระบบนิเวศในการดำ�เนินธุรกิจ กล่าวคือ ผูป้ ระกอบการให้ความสำ�คัญกับการ วิเคราะห์ ความเสี่ยง มากกว่า โอกาส ที่จะได้ รับจากระบบนิเวศ ทำ�ให้ภาคธุรกิจตกอยู่ใน สภาวะขาดการเตรียมพร้อม และพลาดโอกาส ของการพัฒนาและสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ๆ ที่ เกิดจากการบริการและการเปลี่ยนแปลงของ ระบบนิเวศ ซึง่ ในความเป็นจริงแล้ว ระบบนิเวศ และการบริการของระบบนิเวศนั้น มีคุณค่า และประโยชน์ต่อภาคธุรกิจในทุกสาขา ทั้งใน อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติโดยตรง เช่น การเกษตร การป่าไม้ การผลิตไฟฟ้า พลังน้ำ� น้ำ�มัน ก๊าซธรรมชาติ เหมืองแร่ เหมืองหิน น้ำ�ดื่ม บริการทางน้ำ� และการ ท่องเที่ยว ตลอดจนธุรกิจอื่นๆ ซึ่งมิได้พึ่งพิง หรือมีผลกระทบต่อระบบนิเวศโดยตรง แต่ เป็นการพึ่งพิงทางอ้อม เช่น การคมนาคม การขนส่ง การสื่อสาร การค้าปลีก การให้ บริการด้านสุขภาพ การบริการของที่ปรึกษา ทางวิชาการต่างๆ การบริการด้านการเงิน การบริการรักษาความปลอดภัย ฯลฯ
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
ยกตัวอย่างเช่น ผูค้ า้ ปลีกรายหนึง่ ต้องเผชิญกับ ความเสีย่ งทีจ่ ะเสียหายทางธุรกิจ เมือ่ ประชาชน ที่เป็นลูกค้าในบริเวณนั้นอพยพย้ายที่ทำ�กินไป เพราะไม่สามารถทำ�การประมงได้อีกแล้ว ธุรกิจของเขาย่อมเสี่ยงต่อการขาดทุนและ อาจต้องย้ายจากที่ตั้งนั้นด้วย หรือกรณี
การปลูกข้าวโพดในพื้นที่ชัน เป็นเหตุให้เกิด ดินถล่ม ถนนขาด เสาสัญญาณโทรศัพท์อาจ ได้รับความเสียหาย ประชาชนผู้ ใช้บริการ ได้รับผลกระทบ จึงต่อว่าผู้ปลูกและผู้ส่งเสริม การปลูกข้าวโพด นำ�มาซึ่งภาพลักษณ์ทางลบ ต่อบริษัทนั้นๆ เป็นต้น
การประเมินคุณค่าระบบนิเวศสำ�หรับภาคธุรกิจคืออะไร การประเมินคุณค่าระบบนิเวศสำ�หรับภาคธุรกิจ หมายถึง การประเมินความเปลี่ยนแปลงของ ระบบนิเวศและบริการของระบบนิเวศทีเ่ กีย่ วข้อง กับการดำ�เนินธุรกิจ เพื่อใช้ประกอบการ ตัดสินใจในการบริหารจัดการความเสี่ยงและ พัฒนาโอกาสทางธุรกิจ การประเมินคุณค่านี้ จะช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถประเมิน ผลประกอบการที่ได้รับประโยชน์ ได้รับ ผลกระทบ หรือส่งผลกระทบต่อทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม ทำ�ให้ผู้ประกอบการวัดมูลค่า ของธุรกิจตนได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
สามารถจัดการกับความเสี่ยงทางธุรกิจจาก ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ก่อนหน้านี้อาจไม่ได้ ให้ ความสำ�คัญ ทำ�ตามกฎหมายและกฎระเบียบ ข้อบังคับของรัฐ ปรับปรุงความสามารถในการ ผลิตสินค้าและบริการ รวมถึงตอบสนองต่อ ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ได้ดีขึ้น ทำ�ให้เกิดการปรับปรุงวิธีปฏิบัติทาง ธุรกิจ เพิ่มผลกำ�ไรและลดภาระค่าใช้จ่าย อย่างยั่งยืน รวมถึงเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ของ ธุรกิจตนเองด้วย
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
13
���������������������������
นิเวศบริการคืออะไร บริการของระบบนิเวศหรือนิเวศบริการ หมายถึง บริการที่มนุษย์ ได้รับจากระบบนิเวศ ยกตัวอย่างเช่น ป่าไม้ ช่วยลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและป้องกัน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น การป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ช่วย ดูดซับมลพิษและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ แนวปะการัง เป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยวสำ�คัญ และแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ� นานาชนิด แนวปะการังยังช่วยลดความเร็วและความแรงของกระแสน้ำ�ที่ ปะทะชายฝั่ง จึงช่วยปกป้องสิ่งก่อสร้าง บ้านเรือน และที่ทำ�กินของชุมชน ตามแนวชายฝั่งจากการกัดเซาะของคลื่น พื้นที่ชุ่มน้ำ� มีบทบาทสำ�คัญในการควบคุมสมดุลของน้ำ�ในระบบนิเวศ โดยเฉพาะการควบคุมกระแสน้ำ�หลาก จึงมีส่วนช่วยบรรเทาอุทกภัย พื้นที่ ชุ่มน้ำ�ยังมีประสิทธิภาพในการกรองและบำ�บัดน้ำ�เสีย เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ของพืชและสัตว์หลายชนิด และเป็นพื้นที่นันทนาการของประชาชนอีกด้วย
14
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
ตารางที่ 1: ความหมายของนิเวศบริการ
บริการด้านการเป็นแหล่งผลิต ประเภทของ บริการ อาหาร
ชนิด
ค�ำจ�ำกัดความ
ตัวอย่าง
พืชผล
พืชเพาะปลูกหรือผลิตภัณฑ์ ทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวเพื่อ การบริโภคของมนุษย์ หรือเป็น อาหารสัตว์
• ธัญพืช • ผัก • ผลไม้
ปศุสัตว์
สัตว์ที่ถูกเลี้ยงเพื่อการบริโภค ใช้ ในครัวเรือน หรือเพื่อการค้า
• ไก่ • สุกร • โค/กระบือ
สัตว์น้ำ� (จากการ ประมง)
ปลาในแหล่งน้ำ�ธรรมชาติที่ • ปลาทู จับโดยใช้เครื่องมือประมงหรือ • ปู วิธกี ารอืน่ แต่ไม่ใช่การเพาะเลีย้ ง
สัตว์น้ำ� ปลา สัตว์น้ำ�มีเปลือก และ/หรือ • กุ้ง (จากการ พืช ที่เพาะเลี้ยงในบ่อ และ • ปู เพาะเลีย้ ง) สถานทีเ่ พาะเลีย้ งอืน่ ๆ ทัง้ น้�ำ จืด • ปลากะพง และน้ำ�เค็ม อาหาร จากป่า เส้นใย
พืชที่บริโภคได้และสัตว์ที่ดักจับ ได้ ในป่า
ไม้ซงุ หรือ ผลิตภัณฑ์ของต้นไม้ที่เก็บจาก เส้นใย ป่าธรรมชาติ แปลงเพาะปลูก จากไม้ หรือพื้นที่ที่ไม่ใช่ป่า
• ผลไม้และถั่ว • เห็ด • เนื้อสัตว์ป่า • ไม้ท่อนกลมเพื่อใช้ ใน อุตสาหกรรม • เยื่อไม้ • กระดาษ
เส้นใยอืน่ ๆ เส้นใยทีไ่ ม่ใช่เส้นใยจากไม้หรือพืช • ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ (ผ้า ลินิน (เช่น ฝ้าย และอื่นๆ) ปอ ไหม) • กลุ่มเชือก (สายป่าน สายเชือก)
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
15
���������������������������
ประเภทของ บริการ
ชนิด
ค�ำจ�ำกัดความ
ตัวอย่าง
เชื้อเพลิงชีวมวล
ชีววัตถุที่ได้จากสิ่งมีชีวิตขนาด • ฟืนและถ่าน เล็กที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือตายได้ ไม่ • ธญ ั พืชเพือ่ การผลิตเอทานอล นาน ทั้งพืชและสัตว์ สามารถใช้ • มูลสัตว์ ผลิตพลังงาน
น้ำ�จืด
ทะเลสาบ น้ำ�บาดาล น้ำ�ฝน และน้ำ�ผิวดินที่ใช้ ในครัวเรือน อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม
แหล่งพันธุกรรม
ยีน หรือลักษณะทางพันธุกรรม • ยีนที่ใช้เพิ่มความต้านทาน ที่ใช้เพาะพันธุ์สัตว์ ปรับปรุง โรคของพืช พันธุ์พืชและพัฒนาเทคโนโลยี ชีวภาพ
ชีวเคมี สารสกัด จากธรรมชาติ และเภสัชกรรม
ยา ยาฆ่าเชื้อ สารเติมแต่ง อาหาร และชีววัตถุที่ได้จาก ระบบนิเวศ เพื่อใช้ ในการค้า หรือครัวเรือน
• น้ำ�จืดเพื่อการบริโภค การชะล้าง การทำ�ความเย็น ในกระบวนการทาง อุตสาหกรรม การผลิต ไฟฟ้า หรือการคมนาคม
• ดอกอิชิเนเซีย (สมุนไพร กระตุ้นภูมิคุ้มกัน) โสม กระเทียม • แพคลิแทกเซล ใช้ทำ�ยา รักษาโรคมะเร็ง • สารสกัดจากต้นไม้สำ�หรับ ควบคุมแมลงศัตรูพืช
บริการด้านการควบคุม ประเภทของ บริการ การควบคุม คุณภาพอากาศ
16
ชนิด
ค�ำจ�ำกัดความ
ตัวอย่าง
ระบบนิเวศมีอิทธิพลต่อคุณภาพ • ทะเลสาบทำ�หน้าที่เป็น อากาศ โดยการปล่อยสารเคมี แหล่งดูดซับกำ�มะถันจาก ออกสู่ชั้นบรรยากาศ (ทำ�หน้าที่ อุตสาหกรรม “แหล่งกำ�เนิด”) หรือโดยการ • การเผาพืชหญ้าจะปลดปล่อย สกัดสารเคมีจากชั้นบรรยากาศ ฝุ่นผง โอโซนระดับพื้นดิน (ทำ�หน้าที่ “แหล่งดูดซับ”) และสารประกอบอินทรีย์ ระเหยง่าย
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
ประเภทของ บริการ การควบคุม สภาพภูมอ ิ ากาศ
ชนิด
ค�ำจ�ำกัดความ
ระดับโลก ระบบนิเวศมีอิทธิพลต่อสภาพ ภูมิอากาศ โดยการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกหรือละอองลอยสู่ ชั้นบรรยากาศ หรือโดยการ ดูดซับก๊าซเรือนกระจกหรือ ละอองลอยจากชั้นบรรยากาศ
ตัวอย่าง • ป่าไม้ช่วยดักจับหรือกักเก็บ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ • ปศุสัตว์และนาข้าวปล่อย ก๊าซมีเทน
ระดับ ระบบนิเวศมีอิทธิพลต่ออุณหภูมิ • ป่าไม้ส่งผลกระทบต่อ ภูมิภาค ปริมาณน้�ำ ฝน และปัจจัยทาง ปริมาณฝน และระดับ ภูมิอากาศอืน่ ๆ ท้องถิ่น การควบคุม สมดุลน้ำ�
ระบบนิเวศมีอทิ ธิพลต่อช่วงเวลา • คุณสมบัติการซึมซับน้ำ� และปริมาณของกระแสน้ำ�หลาก ของดินจะเอื้ออำ�นวยต่อ การเกิดอุทกภัย และการเพิ่ม กระบวนการเพิ่มปริมาณ ปริมาณน้ำ�ในชั้นหินหรือชั้นดิน น้�ำ ใต้ดิน อุ้มน้ำ� โดยเฉพาะด้านศักยภาพ • ท่ลี ุ่มน้ำ�ท่วมถึงและพื้นที่ การเก็บกักน้ำ�ของระบบนิเวศ ชุ่มน้ำ�จะกักเก็บน้ำ�ไว้ ช่วย หรือภูมิประเทศ บรรเทาการเกิดอุทกภัย ในช่วงที่มีน้ำ�ท่าสูงสุด และ ช่วยลดความจำ�เป็นในการ สร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทางวิศวกรรมที่ใช้ควบคุม อุทกภัย
การควบคุม การพังทลาย ของดิน
การปลูกพืชคลุมดินมีบทบาท • พืช เช่น หญ้าและต้นไม้ ช่วยป้องกันการชะล้างพังทลาย ช่วยป้องกันดินจากการ ของดิน กัดเซาะของกระแสลมและ ฝน อีกทั้งช่วยป้องกันการ ทับถมของดินตะกอนบริเวณ ทางน้ำ� • ป่าไม้ตรงที่ลาดเชิงเขาช่วย ยึดเกาะดิน และป้องกัน ดินถล่ม
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
17
���������������������������
ประเภทของ บริการ
ชนิด
ค�ำจ�ำกัดความ
ตัวอย่าง
การกรองน้ำ� และการบำ�บัด ของเสีย
ระบบนิเวศมีบทบาทในการ • พื้นที่ชุ่มน้ำ�ช่วยกำ�จัดมลพิษ กรองมลพิษในน้ำ� และการ จากน้ำ� ด้วยการช่วยดักจับ ย่อยสลายขยะอินทรีย์ อีกทั้งมี โลหะและอินทรียสาร บทบาทในกระบวนการย่อย • จลุ นิ ทรีย์ในดินช่วยย่อยสลาย ดูดซึม และขับสารพิษด้วยดิน และลดอันตรายของขยะ ทั้งในระดับพื้นผิวและใต้พื้นดิน อินทรีย์
การควบคุมโรค
ระบบนิเวศมีอิทธิพลต่ออัตรา การเกิดและการเพิ่มปริมาณ ของเชื้อก่อโรคในมนุษย์
การควบคุม แมลงศัตรูพืช
ระบบนิเวศมีอิทธิพลต่อการ • ผลู้ า่ จากป่าไม้ในแถบใกล้เคียง แพร่กระจายของแมลงศัตรูพืช เช่น ค้างคาว คางคก และงู และเชื้อโรคที่เกิดในพืชและสัตว์ ช่วยกำ�จัดแมลงศัตรูพืช
การถ่ายละออง เรณู
ระบบนิเวศมีบทบาทในการถ่าย • ฝูงผึ้งจากป่าไม้ ในแถบ เกสรตัวผู้ ไปสู่เกสรตัวเมีย ใกล้เคียงช่วยถ่ายละออง เรณูของพืชผล
การควบคุม ภัยธรรมชาติ
ระบบนิเวศมีความสามารถในการ • ป่าโกงกางและแนวปะการัง บรรเทาความเสียหายที่เกิดจาก ช่วยป้องกันพื้นที่แนวชายฝั่ง ภัยธรรมชาติต่างๆ เช่น พายุ จากน้�ำ ทะเลยกสูง เฮอร์ริเคน และช่วยควบคุม • กระบวนการย่อยสลายทาง ความถี่ในการเกิดและความ ชีวภาพช่วยลดปริมาณเชือ้ ไฟ รุนแรงของไฟป่า ที่เป็นต้นเหตุของไฟป่า
• ป่าไม้ที่สมบูรณ์บางแห่ง ช่วยลดการเกิดน้ำ�ขัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง จึงช่วยลดการระบาดของ โรคมาลาเรีย
บริการด้านวัฒนธรรม ประเภทของ บริการ นันทนาการ และ การท่องเที่ยว เชิงนิเวศ
18
ชนิด
ค�ำจ�ำกัดความ
ตัวอย่าง
ความพึงพอใจในการพักผ่อน • การปีนเขา เดินป่า หย่อนใจที่ได้รับจากระบบนิเวศ • การตั้งแคมป์ และการดูนก ธรรมชาติ หรือระบบนิเวศที่ • การส่องสัตว์ปา่ มนุษย์พัฒนาขึ้น
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
ประเภทของ บริการ
ชนิด
ค�ำจ�ำกัดความ
ตัวอย่าง
คุณค่าทางจิตใจ ศาสนา • การเติมเต็มทางจิตวิญญาณ ความงดงาม แก่นแท้ การคงอยู่ ทีเ่ กิดจากพื้นดินและแม่น้ำ� หรือคุณค่าอื่นๆ ที่มนุษย์ ได้จาก ทีค่ นนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ ระบบนิเวศ ภูมิประเทศ และ • ความเชื่อในการอนุรักษ์ ชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ ชนิดพันธุพ ์ ืชและสัตว์ โดย ไม่คำ�นึงถึงประโยชน์ที่มีต่อ มนุษย์ หรือมีทัศนคติในการ “อนุรักษ์ความหลากหลาย ทางชีวภาพเพื่อการธำ�รงอยู่ ของความหลากหลายทาง ชีวภาพ”
คุณธรรม จริยธรรม
บริการด้านการสนับสนุน ประเภทของ บริการ
ชนิด
ค�ำจ�ำกัดความ
ตัวอย่าง
วัฏจักรสาร อาหาร
ระบบนิเวศมีบทบาทในการไหล • การย่อยสลายอินทรียสาร และหมุนเวียนสารอาหาร (เช่น ช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ ไนโตรเจน กำ�มะถัน ฟอสฟอรัส แก่ดิน และคาร์บอน) ผ่านกระบวนการ ย่อยสลายและ/หรือการดูดซึม ตามธรรมชาติ
การผลิตขั้น ปฐมภูมิ
การก่อตัวของชีววัตถุโดยการ • สาหร่ายช่วยเปลี่ยนแสง สังเคราะห์แสงและการย่อยหรือ อาทิตย์และสารอาหารให้ ดูดซึมสารอาหารของพืช เป็นชีวมวล และก่อให้เกิด รากฐานของห่วงโซ่อาหาร ของระบบนิเวศในน้ำ�
วัฏจักรน้ำ�
การไหลเวียนของน้ำ�ในระบบ นิเวศผ่านรูปแบบของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ
• การถ่ายเทน้ำ�จากดินสู่พืช จากพืชสู่อากาศ และจาก อากาศสู่ผืนดินในรูปของฝน
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
19
���������������������������
นิเวศบริการใดบริการหนึ่งอาจเป็นประโยชน์ หลายด้าน เช่น พื้นที่ป่าไม้แห่งหนึ่งเป็นทั้ง แหล่งอาหาร แหล่งไม้ ใช้สอย และเชื้อเพลิง สำ�หรับคนในท้องถิ่น ในขณะเดียวกันก็ช่วย ป้องกันดินถล่ม ช่วยเก็บและดักตะกอนในน้ำ� รวมถึงเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและฟอกอากาศ แก่ประชาชนในเมืองและพื้นที่ใกล้เคียง อีกทั้ง ช่วยดึงและเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนหรือการเปลีย่ นแปลง
สภาพภูมิอากาศ เป็นแหล่งกำ�เนิดและ ที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ซึ่งอาจมี ประโยชน์ทางเภสัชกรรมต่อประชากรโลก อาจกล่าวได้วา่ บริการของระบบนิเวศทำ�หน้าที่ นานัปการ เป็นทั้งวัตถุดิบในการผลิต ช่วย เกื้อหนุน ส่งเสริม และส่งอิทธิพลต่อสภาพ ของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่จำ�เป็นต่อการ ดำ�เนินธุรกิจ
การประเมินระบบนิเวศแห่งสหัสวรรษ (Millennium Ecosystem Assessment : MA) ซึ่งติดตามประเมินสภาวะและแนวโน้มของระบบนิเวศและนิเวศบริการ ได้แบ่งนิเวศ บริการออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
บริการด้านการ เป็นแหล่งผลิต (Provisioning Services)
บริการด้านการ ควบคุม (Regulating Services)
การควบคุม การให้บริการวัตถุดิบ ปรากฏการณ์และ ในการผลิต เช่น น้ำ� กระบวนการทาง อาหาร ทรัพยากรป่าไม้ ธรรมชาติของระบบ แร่ธาตุ พืชพันธุ์และ นิเวศ เช่น การควบคุม สัตว์ต่างๆ ฯลฯ สภาพภูมิอากาศ การ ป้องกันการกัดเซาะ ชายฝั่ง การป้องกัน น้ำ�ท่วม และการ ป้องกันการชะล้าง พังทลายของดิน ฯลฯ
บริการด้านวัฒนธรรม บริการด้าน (Cultural Services) การสนับสนุน ประโยชน์ทางนามธรรม (Supporting ที่ดำ�รงคุณค่าทางสังคม Services)
และวัฒนธรรม เช่น ประเพณี การพักผ่อน หย่อนใจ คุณค่าทาง จิตใจ ความเพลิดเพลิน จากความงดงามของ ธรรมชาติ สุนทรียภาพ และนันทนาการ ฯลฯ
กระบวนการทาง ธรรมชาติที่สนับสนุน การดำ�รงอยู่ของบริการ อื่นๆ เช่น เป็นแหล่ง ธาตุอาหารของระบบ การผลิตขั้นต้น เป็น จุดเริ่มต้นของห่วงโซ่ อาหาร และเป็นแหล่ง ที่อยู่ของสัตว์วัยอ่อน ฯลฯ
แผนภาพที่ 1: ประเภทของนิเวศบริการ
20
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
ภาคธุรกิจควรวิเคราะห์ว่า ธุรกิจจะได้รับความเสี่ยงและโอกาสจากนิเวศบริการใน 5 ประเด็นสำ�คัญ คือ 1) การดำ�เนินธุรกิจ 2) กฎระเบียบและกฎหมาย 3) ภาพลักษณ์ 4) การตลาดและสินค้า และ 5) การเงิน ตามที่ระบุไว้เป็นแนวทางการวิเคราะห์แต่ละด้านดังที่แสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2: การวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสจากนิเวศบริการ
ประเด็นพิจารณา
ความเสี่ยง (Risks)
โอกาส (Opportunities)
การดำ�เนินธุรกิจ (Operational)
การวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง กับกิจกรรมทางธุรกิจจากการ เปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ ทำ�ให้ สามารถประเมินค่าใช้จ่ายที่อาจ เกิดขึ้นได้ เช่น ต้นทุนของราคาน้ำ� ที่สูงขึ้นเนื่องจากภาวะขาดแคลนน้ำ� หรือคุณภาพน้�ำ แย่ลง ธุรกิจท่องเทีย่ ว หยุดชะงักเนื่องจากอุทกภัย ฯลฯ
ค้นหาโอกาสในการลดต้นทุน หรือเพิ่มรายได้จากการปรับปรุง ประสิทธิภาพการดำ�เนินงานของ องค์กร เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้น้ำ� การสร้างแหล่งเก็บกัก น้ำ�ดิบของตนเอง และการปรับปรุง คุณภาพน้ำ�ในแหล่งน้ำ� เพื่อลด ปริมาณน้ำ�ที่ใช้ ในกระบวนการผลิต ฯลฯ
กฎระเบียบและ กฎหมาย (Regulatory and legal)
มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ สิ่งแวดล้อม อาจกลายเป็นค่าใช้จ่าย จากการเปรียบเทียบปรับตาม กฎระเบียบหรือกฎหมาย (อย่างไรก็ดี ประเด็นนี้ ในประเทศไทยยังมีขอ้ จำ�กัด อยู่มากดังที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว)
รายได้ส่วนเพิ่มจากการปรับปรุง นโยบายและระเบียบขององค์กร ในการบริหารจัดการระบบนิเวศ ซึ่งจะช่วยสร้างแรงจูงใจสำ�หรับ ภาคธุรกิจในการปกป้องหรือฟื้นฟู ระบบนิเวศ
ภาพลักษณ์ (Reputation)
ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศอาจ สร้างความเสี่ยงด้านภาพลักษณ์หรือ ชื่อเสียงขององค์กร เช่น ธนาคาร แห่งหนึ่งถูกประท้วงเนื่องจากอนุมัติ สินเชื่อให้กับโครงการที่ส่งผลกระทบ ต่อระบบนิเวศ
สร้างภาพลักษณ์ขององค์กรในการ รักษาระบบนิเวศ เช่น การประกาศ ตัวเป็นองค์กรที่มีการจัดซื้อที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือบริหาร จัดการให้ ไม่เกิดของเสียจากระบบ การผลิตเลย
การตลาดและสินค้า (Market and product)
การเปิดเผยระดับการพึ่งพิงและ ผลกระทบต่อระบบนิเวศของสินค้า หรือบริการแต่ละชนิด ส่งผลให้ ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าที่พึ่งพิงและ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยกว่า
โอกาสและแหล่งรายได้ ใหม่ๆ ในตลาดที่ให้ความสำ�คัญกับการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการพัฒนา สินค้าและบริการเพื่อสิ่งแวดล้อม
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
21
���������������������������
ประเด็นพิจารณา การเงิน (Financing)
ความเสี่ยง (Risks) การประเมินความคุ้มทุนด้าน สิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนา ขนาดใหญ่ตามนโยบายการปกป้อง ระบบนิเวศของธนาคาร สามารถ ลดความเสี่ยงของบริษัทที่ขอกู้เงิน เพื่อนำ�ไปลงทุน
โอกาส (Opportunities) องค์กรมีโอกาสได้รับข้อเสนอหรือ เงื่อนไขการกู้เงินที่ดี หรือได้รับ การสนับสนุนเงินทุนในการพัฒนา กระบวนการผลิต เพื่อลดความ เสี่ยงที่จะสร้างผลกระทบต่อการ บริการของระบบนิเวศ
ผลกระทบภายนอกด้านสิ่งแวดล้อมกับนิเวศบริการ ผลกระทบภายนอกด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Externalities) หมายถึง ผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบที่เกิดขึ้น ต่อระบบนิเวศ การบริการของระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อองค์กรหรือบุคคล อื่นซึ่งมิได้เป็นผู้ก่อผลกระทบดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น การลงทุนสร้างเขื่อนเพื่อผลิต กระแสไฟฟ้าจะส่งผลกระทบต่อผูท้ อ่ี ยูป่ ลายน้� ำ ลงมา และส่งผลด้านลบกับสภาวะแวดล้อม คือ ทำ�ให้ที่อยู่อาศัยของสัตว์และพืชบก ซึ่งเป็นระบบนิเวศเดิมกลายเป็นระบบนิเวศน้ำ� สิ่งมีชีวิตและผู้ที่อาศัยอยู่ปลายน้ำ�ต้อง ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากเดิม และในฤดูแล้ง อาจเกิดปัญหาการแย่งน้�ำ ระหว่างการผลิตไฟฟ้า และการอุปโภคบริโภค แต่ในขณะเดียวกัน 22
ก็อาจส่งผลกระทบภายนอกด้านสิ่งแวดล้อม เชิงบวก ในแง่ของการเพิ่มแหล่งอาศัยของ สัตว์น้ำ�ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ� สร้างโอกาสให้ ชุมชนสามารถประกอบอาชีพประมงได้ อีกทั้ง เอื้อประโยชน์ต่อการป้องกันน้ำ�ท่วมในพื้นที่ ลุม่ น้�ำ ตอนล่าง และเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ของประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม ผลกระทบทางลบต่อสิ่งมีชีวิต ต่างๆ และประชาชนที่เกิดจากการเก็บกักน้ำ� ไม่ได้เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อองค์กรโดยตรง แต่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นนอกเหนือ ความรับผิดชอบขององค์กร องค์กรส่วนใหญ่ จึงมักไม่ได้นำ�ประเด็นเหล่านี้มาประเมิน มูลค่าขององค์กร แต่ในการประเมินคุณค่า ระบบนิเวศของภาคธุรกิจจะนำ�ผลกระทบ
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
ภายนอกด้านสิง่ แวดล้อมเหล่านีม้ าพิจารณาด้วย ดังนั้น การนำ�ผลกระทบภายนอกด้าน สิ่งแวดล้อมด้านบวกและด้านลบ ทั้งที่เป็น ผลกระทบภายนอกด้านสิ่งแวดล้อมที่มีตลาด (Market Environmental Externalities) เช่น รายได้ทเ่ี พิม่ ขึน้ จากการประมง และผลกระทบ ทางสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีตลาด (Non-market Environmental Externalities) เช่น ความ เสียหายที่ลดลงจากการป้องกันน้ำ�ท่วมมาร่วม พิจารณาอยู่ในการประเมินมูลค่าระบบนิเวศ ขององค์กร จึงทำ�ให้เห็นถึงภาพรวมของ ผลกระทบจากกิจกรรมขององค์กรได้อย่าง
ครบถ้วน ซึ่งจำ�เป็นต่อการกำ�หนดกลยุทธ์การ เปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ผลกระทบภายนอกด้านสิง่ แวดล้อม อื่นๆ (Other Environmental Externalities: OEEs) ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริการ ของระบบนิเวศ แต่เกี่ยวข้องกับการดำ�เนิน ธุรกิจ เช่น การลดและควบคุมการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกทั้งในรูปของสารประกอบ คาร์บอน (COX) ไนโตรเจน (NOX) หรือ ซัลเฟอร์ (SOX) ก็สามารถนำ�มารวมในการ ประเมินคุณค่าของนิเวศบริการได้เช่นกัน
ความสัมพันธ์ระหว่างการบริการของระบบนิเวศกับผลกระทบภายนอก ด้านสิ่งแวดล้อมต่อองค์กร สามารถแสดงดังแผนภาพที่ 2 การบริการของระบบนิเวศ
การบริการของระบบนิเวศที่มีตลาด
ผลกระทบที่อยู่ใน ขอบเขตความ รับผิดชอบ ขององค์กร
ผลกระทบที่อยู่ นอกขอบเขตความ รับผิดชอบ ขององค์กร
ผลกระทบด้านบวกและลบ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เช่น ป่าไม้ และน้ำ�
ผลกระทบด้านบวกและลบ ที่เกิดขึ้นนอกพื้นที่ เช่น การจับปลา
การบริการของ ระบบนิเวศ ที่ไม่มีตลาด การป้องกันน้ำ�ท่วม สุนทรียภาพ ความสุขทางจิตใจ
ผลกระทบทาง สิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่ไม่มีตลาด การปล่อย CO2 การปล่อย NOX
ผลกระทบภายนอกทางด้านสิ่งแวดล้อม แผนภาพที่ 2: ความสัมพันธ์ระหว่างการให้บริการของระบบนิเวศและผลกระทบภายนอกด้านสิ่งแวดล้อม คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
23
���������������������������
การประเมินคุณค่าระบบนิเวศจึงมีความสำ�คัญ อย่างยิ่งต่อองค์กรที่พึ่งพิงหรือมีผลกระทบ โดยตรงต่อบริการของระบบนิเวศ เช่น บริษัท ที่พึ่งพิงความหลากหลายทางชีวภาพ บริษัท ทีม่ รี อยเท้านิเวศขนาดใหญ่ (Large Footprint) หรือมีกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศสูง บริษทั ทีป่ ระกอบธุรกิจในเชิงอนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อม หรือธุรกิจเพือ่ สิง่ แวดล้อม (Green Business) เนื่องจากองค์กรเหล่านี้ต้องเผชิญกับความ เสี่ยง และ/หรือได้รับโอกาสจากบริการของ ระบบนิเวศ
อย่างไรก็ตาม องค์กรอื่นๆ ที่ไม่ได้พึ่งพิงหรือ มีผลกระทบโดยตรงต่อนิเวศบริการ ก็สามารถ ประยุกต์ ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น องค์กรที่ให้บริการ ด้านการเงินจำ�เป็นต้องประเมินผลกระทบที่ อาจเกิดขึ้นกับการประกอบกิจการของธุรกิจ ที่รับบริการด้านการเงิน ซึ่งอาจมีกิจกรรมที่ เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ เพื่อพิจารณาการปล่อยสินเชื่อแก่องค์กร ที่มีความเสี่ยงและโอกาสจากบริการของ ระบบนิเวศ
ตารางที่ 3 นำ�เสนอระดับการพึ่งพิงและการส่งผลกระทบต่อบริการของระบบนิเวศของการประกอบ ธุรกิจในแต่ละประเภท แสดงให้เห็นว่าธุรกิจทุกประเภทล้วนแต่ต้องพึ่งพิงและส่งผลกระทบต่อบริการ ของระบบนิเวศในระดับที่แตกต่างกัน
ตารางที่ 3: ระดับการพึ่งพิงนิเวศบริการ และการส่งผลกระทบของภาคธุรกิจต่อนิเวศบริการ
กระทบ
พึ่งพิง
กระทบ
พึ่งพิง
กระทบ
พึ่งพิง
กระทบ
พึ่งพิง
พึ่งพิง
บริการของ ระบบนิเวศ
กระทบ
อุตสาหกรรม ธุรกิจสีเขียว บริการการเงิน อุตสาหกรรม อุตสาหกรรม ที่พึ่งพิงความ เกษตรกรรมและ บริการอื่น ๆ ที่มีรอยเท้านิเวศ การผลิตและ หลากหลาย การท่องเที่ยว และพ่อค้า ขนาดใหญ่ แปรรูป ทางชีวภาพ เชิงนิเวศ คนกลาง
บริการด้านการเป็นแหล่งผลิต อาหาร ป่าไม้/ใยไม้ น้ำ� แหล่งพันธุกรรม
24
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
พึ่งพิง
กระทบ
พึ่งพิง
กระทบ
พึ่งพิง
กระทบ
กระทบ
การควบคุม คุณภาพน้ำ�
การผสมเกสร
พึ่งพิง
การควบคุมภูมิ อากาศและ คุณภาพอากาศ
พึ่งพิง
กระทบ
บริการของ ระบบนิเวศ
อุตสาหกรรม ธุรกิจสีเขียว บริการการเงิน อุตสาหกรรม อุตสาหกรรม ที่พึ่งพิงความ เกษตรกรรมและ บริการอื่น ๆ ที่มีรอยเท้านิเวศ การผลิตและ หลากหลาย การท่องเที่ยว และพ่อค้า ขนาดใหญ่ แปรรูป ทางชีวภาพ เชิงนิเวศ คนกลาง
บริการด้านการควบคุม
การป้องกัน ภัยธรรมชาติ
บริการด้านวัฒนธรรม การพักผ่อน/ ท่องเที่ยว
ความสวยงาม/ คุณค่าที่ไม่ได้ เกิดจากการใช้
คุณค่าทาง จิตวิญญาณ
มีการพึ่งพิงหรือส่งผลกระทบปานกลาง-มาก มีการพึ่งพิงหรือส่งผลกระทบน้อย ไม่มีการพึ่งพิงหรือส่งผลกระทบ
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
25
���������������������������
ประโยชน์ของการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ ถ้าเรามองและเข้าใจสิ่งแวดล้อมว่าเป็น “สินทรัพย์” ที่ทุกธุรกิจต้องพึ่งพิง การดูแล และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็จะเป็น “การลงทุน” ที่จำ�เป็น ไม่ใช่ “ค่าใช้จ่าย” ที่จ่ายไปแล้วไม่ได้ อะไรกลับคืนมา เพราะการประกอบกิจการ ทุกประเภทจำ�ต้องพึ่งพิงและมีผลกระทบ ต่อบริการของระบบนิเวศไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การเข้าใจถึงผลกระทบและความต้องการ
พึ่งพิงระบบนิเวศจึงเป็นกุญแจที่สำ�คัญ อย่างยิ่งต่อความยั่งยืนของธุรกิจทุกประเภท ประโยชน์สำ�คัญของการประเมินคุณค่าระบบ นิเวศของภาคธุรกิจคือ การสร้างความชัดเจน ให้ผู้ประกอบการมองเห็นมูลค่าที่ครอบคลุม ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และ การเงิน รวมถึงสามารถเปรียบเทียบผลได้ ผลเสียระหว่างมูลค่าเหล่านี้ แม้ว่าบางครั้ง
ความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจในเชิงระบบนิเวศ • กิจกรรมทางธุรกิจ • ด้านกฏระเบียบและ กฏหมาย • ด้านชื่อเสียง • ด้านการตลาดและ สินค้า
ช่วยให้การตัดสิน ใจดียิ่งขึ้น (คุณค่า ในด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและ สังคม)
• ด้านการเงิน
26
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
บอกถึงกรอบ ความคิด พฤติกรรมและ การปฏิบัติ
ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ลูกจ้าง พนักงาน
จะไม่สามารถประเมินผลกระทบหรือโอกาสที่ เกิดขึ้นเป็นมูลค่าที่เป็นตัวเงินได้ แต่ผลการ ประเมินคุณค่าระบบนิเวศช่วยให้องค์กร
สามารถตอบคำ�ถามและตัดสินใจในเรือ่ งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ประโยชน์หลักของการประเมินคุณค่าระบบนิเวศแบ่งออกเป็น 9 ข้อได้แก่ q ช่วยให้การตัดสินใจเรื่องการใช้ ทรัพยากรเพื่อเพิ่มรายได้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การประเมินฯ จะช่วยจัดลำ�ดับ ความสำ�คัญและความเร่งด่วน ของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างความไว้วางใจ และความมั่นใจให้กับผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียและหน่วยงาน รัฐที่มีหน้าที่ในการกำ�กับดูแล และควบคุม
w ช่วยกำ�หนดกรอบแนวคิด พฤติกรรม และหลักปฏิบัติ ขององค์กร การประเมินฯ จะช่วยสร้างความตระหนักและ เพิ่มความเข้าใจต่อพนักงาน บริษัท ผู้ถือหุ้น และผู้บริโภค ถึงการพึ่งพิงสิ่งแวดล้อมของ ธุรกิจ นอกจากนีอ้ งค์กรสามารถ ใช้เป็นข้อมูลในการเจรจาต่อรอง เพื่อกำ�หนดราคาขายและรับซื้อ สินค้า
e ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และ รักษาชื่อเสียงขององค์กร การประเมินฯ จะส่งผลดีต่อ การรักษารายได้ ในปัจจุบัน และเพิ่มพูนรายได้ ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นปัจจัยในการ กำ�หนดราคาของสินค้าและ บริการที่เหมาะสมโดยสะท้อน คุณค่าของนิเวศบริการ และ/ หรือลดผลกระทบต่อผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่ อุปทาน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยง จากผลกระทบภายนอกด้าน สิ่งแวดล้อมในเชิงลบ
ประโยชน์ของการประเมินระบบนิเวศ การรักษาและเพิ่มรายได้ การลดต้นทุนและภาษี การเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์
ภายในองค์กร: การเพิ่มประสิทธิภาพ ผลงานและผลประกอบการ
การประเมิินความรับผิดชอบและการชดเชย การประเมินมูลค่าบริษัท รายงานผลการด�ำเนินงาน ประโยชน์ทางสังคมที่เหมาะสม
ภายนอกองค์กร: การปฏิบัติตามและการ บอกถึงความต้องการ ข้อเรียกร้องและการกระท�ำ จากภายนอก
แผนภาพที่ 3: ประโยชน์ที่องค์กรธุรกิจได้รับจากการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
27
���������������������������
r ช่วยลดต้นทุนจากบริการของ ระบบนิเวศที่ดี ระบบการผลิต ทีล่ ดการพึง่ พิงและลดผลกระทบ ต่อระบบนิเวศช่วยประหยัด ต้นทุนในการดูแลรักษาและ ฟื้นฟูระบบนิเวศ และสามารถ ระบุวิธีการลดมลพิษ รวมถึง การปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อลดต้นทุน และอาจมีรายได้ เสริมจากการซื้อขายคาร์บอน เครดิต เป็นต้น
t ช่วยเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ เมื่อ มองเห็นคุณค่าของระบบนิเวศ บริษัทก็จะเข้าใจและมองเห็น มูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ ทางธรรมชาติ มองเห็นช่องทาง ทางธุรกิจและมูลค่าของต้นทุน ทางธรรมชาติที่ครอบครองอยู่ นอกจากนี้ ยังได้รับสิทธิ์ ในการ เพิ่มมูลค่าหากสามารถรักษา มูลค่าสินทรัพย์ทางธรรมชาติ นั้นๆ เอาไว้ ได้
y ช่วยประเมินระดับความรับผิด ชอบและการชดเชย ทำ�ให้ ทราบถึงมูลค่าความเสียหาย ต่อระบบนิเวศจากการพัฒนา โครงการ นำ�ไปสูก่ ารการปรับปรุง การดำ�เนินธุรกิจเพื่อลดความ เสียหายให้เหลือน้อยที่สุด โดยเฉพาะอุตสาหกรรมบาง ประเภท เช่น บริษทั ทีใ่ ห้บริการ สาธารณูปโภคด้านน้ำ� ไฟฟ้า และน้ำ�มัน ที่สังคมมักคาดหวัง ให้บริษัทแสดงความรับผิดชอบ ในระดับสูงต่อการใช้ทรัพยากร การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ จะช่วยแสดงข้อมูลของการ รับผิดชอบ การชดเชย และ ทำ�ให้ภาคธุรกิจวิเคราะห์ต้นทุน และบริการของระบบนิเวศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
u ใช้ประกอบการประเมินมูลค่า บริษัท คุณค่าของระบบนิเวศ และนิเวศบริการสามารถใช้ ประกอบการประเมินมูลค่า องค์กรและมูลค่าหุ้นขององค์กร ตามหลักเศรษฐศาสตร์ โดยจะ สะท้อนต้นทุนจริงที่ครอบคลุม ผลกระทบภายนอกด้าน สิง่ แวดล้อมได้อย่างครบถ้วน
i ช่วยในการรายงานผลการ ดำ�เนินงาน การประเมินฯ จะทำ�ให้การจัดเตรียมชุดข้อมูล ในเรื่องต้นทุนและกำ�ไรของ ระบบนิเวศมีความสมบูรณ์แบบ มากยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยวัดผล การดำ�เนินงานด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป็น ตัวชี้วัดมูลค่าของผลกระทบ ภายนอก และใช้เป็นแนวทาง ในการพิจารณาผลกระทบ ด้านสิง่ แวดล้อมและสังคม ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
o ช่วยเลือกวิธกี ารตอบแทนสังคม ที่เหมาะสม การประเมินฯ จะช่วยให้กระบวนการตัดสินใจ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ กับผูม้ ีส่วนได้ส่วนเสียมากขึ้น และยังสามารถช่วยในการ คัดเลือกวิธีการที่ตอบแทนหรือ ให้ประโยชน์ต่อสังคมอย่าง เหมาะสม
28
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
วิธีการประเมินคุณค่าระบบนิเวศในการบริหารธุรกิจ การประเมินคุณค่าระบบนิเวศเปรียบเสมือนเลนส์ที่สามารถทำ�ให้มองเห็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และการเงิน โดยแสดงคุณค่าของระบบนิเวศในเชิงปริมาณ ทำ�ให้สามารถ เปรียบเทียบผลได้ผลเสียที่มีความซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การประเมินคุณค่า ระบบนิเวศโดยภาคธุรกิจแบ่งออกเป็น 4 แนวทาง ดังนี้ q วิเคราะห์การได้มาและเสียไปที่คุ้มทุน (Trade-off Analysis) เป็นการเปรียบเทียบ รายจ่ายในการลงทุนและ/หรือมูลค่าต้นทุน กับ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดจากระบบนิเวศ เพื่อใช้ ในการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ และ พิจารณาทางเลือกในการตั้งราคาสินค้า และ การตัดสินใจอื่นๆ
w ประเมินมูลค่าโดยรวม (Total Valuation) เป็นการประเมินคุณค่าในทุกๆ ด้านที่เกี่ยวข้อง กับระบบนิเวศ เพื่อให้ ได้มูลค่าโดยรวมที่ระบบ นิเวศเกื้อกูลแก่ธุรกิจและสังคม ด้วยการประเมิน บริการของระบบนิเวศแล้วแปลงให้เป็นมูลค่า รวมที่เป็นตัวเงิน ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการ ประเมินราคาทรัพย์สิน เช่น การประเมินมูลค่า โดยรวมที่แท้จริงของการถือครองที่ดินแปลง หนึ่งๆ เป็นต้น
e วิเคราะห์การแบ่งสันปันส่วน (Distributional Analysis) เป็นการนำ�การประเมินคุณค่า ระบบนิเวศมาใช้จำ�แนกผู้ ได้และผู้เสียประโยชน์ โดยระบุเป็นสัดส่วนของประโยชน์ที่ได้และเสียไป การวิเคราะห์ลักษณะนี้สามารถนำ�ไปใช้ออกแบบ และกำ�หนดกิจกรรมเฉพาะขององค์กร หรือ นำ�ไปใช้วางแผนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และ/หรือกิจกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ ที่สามารถระบุขอบเขตที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้อง พึง่ พิงและส่งผลกระทบต่อบริการของระบบนิเวศ
r วิเคราะห์การเงินและการชดเชยที่ยั่งยืน (Sustainable Financing and Compensation Analysis) เป็นการนำ�การประเมินคุณค่าระบบ นิเวศมาใช้ ในการจำ�แนกแหล่งที่มาของรายได้ ของผู้ที่ได้ประโยชน์ หรือเพื่อกำ�หนดเงินชดเชย ที่เสนอให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการ เปลี่ยนแปลงบริการของระบบนิเวศ และเป็น ข้อมูลเพื่อกำ�หนดวิธีการพัฒนาความเป็นอยู่หรือ เพิ่มรายได้เพื่อชดเชยแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
29
���������������������������
Akzo Nobel
EDP (Energias de Portugal)
ประเภทธุรกิจ ผลิตภัณฑ์เคมี
ประเภทธุรกิจ พลังงาน
ที่ตั้ง ทั่วโลก/บริษัทแม่ตั้งอยู่ในยุโรป
ที่ตั้ง โปรตุเกส
การประยุกต์ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายทางสังคมของการปล่อย สารเคมีทางเลือก 3 ชนิด ที่ใช้ ในผลิตภัณฑ์ กระดาษออกสู่ชั้นบรรยากาศ โดยนำ�ผล การศึกษามาประเมินผลกระทบภายนอกจาก ก๊าซเรือนกระจก, SO2, NOX, VOC, ฝุ่นและ แอมโมเนียที่ปล่อยออกมาจากกระบวนการผลิต ตั้งแต่การขนส่งจากแหล่งวัตถุดิบไปยังโรงงาน ผลิตกระดาษ
การประยุกต์ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ ประเมินค่าใช้จา่ ยและประโยชน์ทอ่ี งค์กรและสังคม ได้รับจากการดูแลรักษาระดับน้ำ�ในลำ�คลองและ ในอ่างเก็บน้ำ�หลายแห่ง เพื่อผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ� ให้กับพื้นที่ลุ่มน้ำ�ที่มีเนื้อที่ 45,000 ไร่ และได้ ประเมินผลการป้องกันดินและการใช้น้ำ�สำ�หรับ การบริโภค, การชลประทาน และอื่นๆ
ผลการประเมิน • การพัฒนาและการเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน ผลการประเมิน สามารถเพิ่มลูกค้าและคิดค่าบริการที่เหมาะสม • การเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน สำ�หรับการใช้พลังงานโดยใช้การตลาดในการ การประเมินผลการกำ�กับดูแลการใช้จ่ายที่จะ เพิ่มคุณค่าของการให้บริการของระบบนิเวศที่ได้ เกิดขึน้ ในอนาคต และการกำ�หนดรอบระยะเวลา จัดสร้างขึ้นผ่านระบบเครือข่ายน้ำ�ที่บริษัทบริหาร ในการจัดหาวัตถุดิบ สามารถช่วยในการบริหาร จัดการอยู่ จัดการความเสี่ยงทางด้านชื่อเสียงและโอกาส • การประเมินความรับผิดชอบและการชดเชย เพื่อให้บริษัทสามารถรักษาและเพิ่มฐานลูกค้า เป็นประโยชน์ต่อการเจรจาด้านหนี้สินกับ EU ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนแสดงให้เห็นถึง Environmental Liability Directive ในอนาคต คุณค่าของบริษัทในการทำ�ธุรกิจในระยะยาว
ตารางที่ 4: ตัวอย่างการประเมินคุณค่าระบบนิเวศในภาคธุรกิจ
30
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
Eni
Eskom (Eskom Holdings Limited)
ประเภทธุรกิจ น้ำ�มันและแก๊ส
ประเภทธุรกิจ พลังงาน
ที่ตั้ง อิตาลี
ที่ตั้ง แอฟริกาใต้
การประยุกต์ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ ประเมินผลกระทบต่อระบบนิเวศจากการบริการ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจน้ำ�มันที่มีอยู่ และการพัฒนา ธุรกิจขึ้นใหม่ในพื้นที่ใกล้อุทยานแห่งชาติ
การประยุกต์ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ ประเมินผลการให้บริการด้านวัฒนธรรมที่ เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการดูนก ในพื้นที่กักเก็บน้ำ�ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์
ผลการประเมิน • การเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน สามารถรักษาไว้ซึ่งใบอนุญาตประกอบธุรกิจจาก สังคม และเกิดแหล่งรายได้ศักยภาพแห่งใหม่ คือ การกักเก็บคาร์บอนและการท่องเทีย่ วเชิงนิเวศ • ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับความ ล่าช้าของโครงการด้วยการพัฒนาความสัมพันธ์ ที่ดีกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ผลการประเมิน • การเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน สร้างงานและเพิ่มรายได้ ให้ประชาชนท้องถิ่น จากการจัดการพื้นที่อนุรักษ์ • ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ ที่มีขนาดใหญ่
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
31
���������������������������
GHD/SA water (GHD and South Australia Water Corporation)
Hitachi Chemical
ประเภทธุรกิจ น้ำ�
ประเภทธุรกิจ การผลิต
ที่ตั้ง ออสเตรเลีย
ที่ตั้ง ญี่ปุ่น
การประยุกต์ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ ประเมินมูลค่าบริการของระบบนิเวศจากการ จัดการพื้นที่กักเก็บน้ำ� โดยใช้ตัวเลือกหลาย ตัวเลือก รวมไปถึงคุณค่าของความสวยงาม และการนันทนาการ, การลดการกัดเซาะ, การกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์, และน้ำ�สะอาด
การประยุกต์ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ ประเมินค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในการคัดเลือก กระบวนการผลิต multi–layer CCL ที่ใช้ ในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
ผลการประเมิน ผลการประเมิน • ประหยัดค่าใช้จ่าย • การประหยัดค่าใช้จ่าย หลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายในการจัดการก๊าซคาร์บอน ช่วยลดภาระงานในการดูแลคุณภาพก่อนจ่ายน้ำ� ไดออกไซด์ ในอนาคต และทำ�ให้บริษัทตระหนัก ให้แก่ลูกค้าและผู้บริโภค ถึงความสำ�คัญในเรื่องการจัดการก๊าซคาร์บอน • การเพิ่มประสิทธิภาพของผลประโยชน์ ไดออกไซด์ ทางสังคม ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในเรื่องการบริหาร จัดการน้ำ� ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน เป็นจำ�นวนมาก และกระตุน้ ให้เห็นคุณค่าของน้�ำ มากกว่าในอดีตที่ผ่านมา
32
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
Lafarge [Lafarge North America Inc. (LNA)]
Holcim
ประเภทธุรกิจ เหมืองแร่
ประเภทธุรกิจ เหมืองแร่
ที่ตั้ง สหรัฐอเมริกา
ที่ตั้ง สหราชอาณาจักร
การประยุกต์ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศในการวางแผน จัดการทีด่ นิ เพือ่ ปรับปรุงเหมืองใน Presque Isle, มลรัฐมิชิแกน บริการที่ได้รับการประเมินรวมถึง การป้องกันกัดเซาะพังทลาย, การปรับปรุง คุณภาพน้ำ� นันทนาการและการท่องเที่ยว เชิงนิเวศ
การประยุกต์ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศช่วยในการ วางแผนฟื้นฟูการขยายหลุมกลบและหลุมทราย เพือ่ ใช้ประกอบการขอต่อใบอนุญาตประกอบการ ในสหราชอาณาจักร การศึกษานีท้ �ำ การพิจารณา มูลค่าบริการของระบบนิเวศ ซึ่งรวมถึงแหล่ง ที่อยูอ่ าศัยของสัตว์ป่า การป้องกันน้ำ�ท่วม นันทนาการ การกักเก็บคาร์บอน รวมถึงการฟืน้ ฟู ที่ดินเพื่อการเกษตรและการจัดสร้างแหล่งน้ำ�
ผลการประเมิน • การประหยัดค่าใช้จ่ายและการเพิ่ม ประสิทธิภาพของผลประโยชน์ทางสังคม ผลการประเมิน ทราบถึงวิธีการจัดการที่ดีที่สุดในการฟื้นฟูสภาพ • รายได้ที่ยั่งยืน เหมืองแร่ สามารถวางแผนงานที่ตอบสนองความต้องการ ของประเทศและช่วยอนุรักษ์ความหลากหลาย ทางชีวภาพ ตลอดจนยกระดับความสัมพันธ์กับ หน่วยงานและชุมชน และช่วยพัฒนาแบบแผน องค์รวมสำ�หรับโครงการใหม่ • การเพิ่มประสิทธิภาพของผลประโยชน์ ทางสังคม เพิ่มการยอมรับและลดข้อขัดแย้งของผู้ที่มีส่วน ได้ส่วนเสียต่อการชดเชยค่าเสียหาย และการ ฟื้นฟูสภาพเหมือง
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
33
���������������������������
Mondi
Rio Tinto
ประเภทธุรกิจ กระดาษ
ประเภทธุรกิจ เหมืองแร่
ที่ตั้ง แอฟริกาใต้
ที่ตั้ง มาดากัสการ์
การประยุกต์ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ วิเคราะห์การใช้ประโยชน์ของพื้นที่ และการ พึ่งพิงแหล่งน้ำ�ของผู้ ใช้น้ำ�รายสำ�คัญๆ บริเวณ พืน้ ทีก่ กั เก็บน้�ำ ในแอฟริกาใต้ ผลของการประเมิน สามารถใช้เป็นฐานในการประเมินการใช้น้ำ�และ ข้อจำ�กัดในการใช้น้ำ� รวมถึงวิเคราะห์โอกาสใน การปลูกป่าและสร้างโรงเลื่อยของบริษัท
การประยุกต์ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ ใช้การประเมินค่าใช้จ่ายทางการเงิน ทางสังคม และผลประโยชน์ของการอนุรักษ์พื้นที่ป่า ซึ่งได้ รวมการประเมินคุณค่าระบบนิเวศไว้เป็นส่วนหนึง่ ของนโยบายระดับปฏิบัติการของบริษัทในส่วน ของผลกระทบเชิงบวกต่อความหลากหลายทาง ชีวภาพ ด้วยการประเมินการกักเก็บก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การอนุรักษ์ ถิ่นอาศัย และการควบคุมทางอุทกวิทยา
ผลการประเมิน • ใช้แหล่งทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถจัดการผลกระทบและโอกาสต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากแหล่งทรัพยากรที่มีจำ�กัด • รายได้ที่ยั่งยืน ลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ�ที่อาจเกิดขึ้น ในอนาคต • การเพิ่มประสิทธิภาพของผลประโยชน์ ทางสังคม เกิดการประสานงานทีด่ ขี น้ึ ในการวางแผนร่วมกับ ผู้ ใช้ทรัพย ากร (เทศบาล, เกษตรกร, อื่นๆ) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร ที่มีอยูอ่ ย่างจำ�กัด นำ�ไปสู่การปรับปรุงการ ตัดสินใจทีด่ ขี น้ึ ทัง้ ในระดับพืน้ ทีแ่ ละระดับท้องถิน่
34
ผลการประเมิน • การเพิ่มประสิทธิภาพผลประโยชน์ทางสังคม และการชดเชยความเสียหาย ชุมชนท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์จากกิจกรรมการ อนุรักษ์พื้นที่ป่า • ความยั่งยืนทางธุรกิจ นโยบายที่ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ ทำ�ให้เกิดความยั่งยืนทางธุรกิจ • เพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน ช่วยลดต้นทุนขององค์กร และสร้างรายได้ที่ ยั่งยืนแก่ชุมชนท้องถิ่น • บัญชีค่าใช้จ่ายมีความสมบูรณ์ บริษัทมีบัญชีที่โปร่งใสและสมบูรณ์แบบมากขึ้น
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
Syngenta
US BCSD/BPS (US BCSD–Houston By–Product Synergy)
ประเภทธุรกิจ เกษตรกรรม
ประเภทธุรกิจ การผลิต
ที่ตั้ง สหรัฐอเมริกา
ที่ตั้ง สหรัฐอเมริกา
การประยุกต์ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ ประเมินคุณค่าของการบริการผสมเกสรของ ผึ้งป่าในฟาร์มบลูเบอร์รี่ในมลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา และความคุ้มค่าของการกำ�หนด พื้นที่เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของผึ้งพื้นเมือง
การประยุกต์ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ เพื่อจับคู่วัสดุ เหลือใช้จากบริษัทหนึ่งกับความต้องการของ อีกบริษัท โดยได้ทำ�การประเมินวัฏจักรของ ระบบนิเวศและผลประโยชน์เชิงปริมาณทาง กายภาพของระบบนิเวศ ของวัสดุเช่นยาง รถยนต์ ยางมะตอย และวัสดุอื่นๆ
ผลการประเมิน • รายได้ที่ยั่งยืน รักษาผลประโยชน์ทางเกษตรกรรมของเกษตรกร ผลการประเมิน ที่เพาะปลูกใกล้กับบริเวณที่ผึ้งพื้นเมืองอาศัยอยู่ • รายได้ที่ยั่งยืน เพิ่มคุณค่าของบริการของระบบนิเวศที่ให้บริการ แก่ลกู ค้า และช่วยนำ�เสนอข้อมูลทีส่ มบูรณ์มากขึน้ เพื่อประโยชน์ ในการทำ�แผนการบริหารธุรกิจของ ผู้บริหาร
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
35
���������������������������
US BCSD/CCP (US BCSD–Cook Composites and Polymers)
Veolia Environment
ประเภทธุรกิจ การผลิต
ประเภทธุรกิจ น้ำ�
ที่ตั้ง สหรัฐอเมริกา
ที่ตั้ง เยอรมัน
การประยุกต์ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ การประเมินผลประโยชน์ทางการเงินและระบบ นิเวศที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนระบบจัดการ น้ำ�ฝนกับพื้นที่ชุ่มน้ำ�ที่สร้างขึ้นของโรงงานใน มลรัฐ ฮูสตัน เพื่อควบคุมปริมาณน้ำ�หลาก และบำ�บัดน้ำ�จากโรงงาน
การประยุกต์ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศช่วยในการ จัดลำ�ดับความสำ�คัญในการใช้น้ำ�และทางเลือก สำ�หรับการจัดการที่ดิน ในการผลิตเชื้อเพลิง ชีวภาพ ด้วยการประเมินคุณค่าของการพักผ่อน หย่อนใจและคุณค่าจากการไม่ได้ ใช้ประโยชน์ (non-use value) ตลอดจนผลิตผลจากเชื้อเพลิง ชีวภาพและผลผลิตจากพืช
ผลการประเมิน • รายได้ที่ยั่งยืน สามารถรักษาใบอนุญาตในการดำ�เนินการทาง สังคม รักษาชื่อเสียงของบริษัท และภาพลักษณ์ เชิงบวกต่อผู้บริโภคและหน่วยงานกำ�กับดูแล • ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงและ บำ�รุงรักษาระบบการจัดการน้ำ�ท่วมที่เกิดขึ้น และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
36
ผลการประเมิน • ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดการใช้พลังงาน ลดค่าใช้จ่ายในการบำ�รุง รักษาและลดภาษีการใช้น้ำ� • การพัฒนาอย่างยั่งยืนและการเพิ่มรายได้ รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการประกอบการ และสร้าง รายได้จากผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมพื้นที่
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
Weyerhaeuser ประเภทธุรกิจ ป่าไม้ ที่ตั้ง สหรัฐอเมริกา การประยุกต์ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ การประเมินผลมูลค่าทางเศรษฐกิจของระบบ นิเวศภายใต้สถานการณ์การจัดการที่ดินป่าไม้ ที่แตกต่างกันของบริษัท รวมถึงการผสมผสาน ความแตกต่างของชนิดพันธุ์พืชที่ใช้สำ�หรับผลิต เชื้อเพลิงชีวภาพ และการใช้ที่ดินด้านอื่นๆ ผลการประเมิน • การพัฒนาและการเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน รายได้เพิ่มขึ้นจากการสร้างความได้เปรียบ ทางการตลาดจากบริการของระบบนิเวศ
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
37
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
28
27
26
25
24
23
22
21
20
19
18
17
16
15
14
13
12
11
10
29
38
9
30
0 CM 1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่า ของนิเวศบริการต่อธุรกิจ วัตถุประสงค์ เพื่อสามารถตัดสินใจว่าควรประเมินคุณค่าของนิเวศบริการหรือไม่ ควรวางขอบเขตในการประเมินอย่างไร และมีขั้นตอนใดบ้างในการประเมิน การทบทวนบริการของระบบนิเวศที่มีต่อ ภาคธุรกิจ (Ecosystem Services Review : ESR) เป็นวิธีการที่มีศักยภาพสำ�หรับองค์กร ในการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือ กับวิกฤตการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ แวดล้อมโลกที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก ทำ�ให้องค์กรเรียนรู้อย่างครอบคลุมมากขึ้นว่า องค์กรต้องพึ่งพิงหรือส่งผลกระทบต่อบริการ ของระบบนิเวศอย่างไรบ้าง ซึ่งจะทำ�ให้ ผู้บริหารสามารถวางแผนรับมือกับความเสี่ยง และโอกาสทางธุรกิจได้ดีขึ้น q สามารถเล็งเห็นหรือ คาดการณ์ความเสี่ยงและ โอกาสทางธุรกิจที่เกิดจาก การพึ่งพิงและส่งผลกระทบ ต่อระบบนิเวศ
นอกจากนี้ การทบทวนบริการของระบบนิเวศ ยังช่วยกระตุน้ ให้เกิดการดำ�เนินธุรกิจในลักษณะ ที่ส่งเสริมความยั่งยืนของระบบนิเวศมากขึ้น ตลอดจนสนับสนุนนโยบายของภาครัฐในการ คุ้มครองและฟื้นฟูระบบนิเวศ เพื่อให้การ ดำ�เนินธุรกิจในแบบเดิมๆ ไม่ใช่ทางเลือกเดียว ของการประกอบธุรกิจอีกต่อไป กล่าวโดยสรุป การทบทวนบริการของ ระบบนิเวศที่มีต่อภาคธุรกิจ มีประโยชน์ ต่อภาคธุรกิจหลายประการดังนี้
e สามารถเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อรับมือกับความ เสื่อมโทรมของระบบนิเวศ เช่น ตลาดคาร์บอนเครดิต และการ พัฒนาระบบฉลากที่แสดงความ เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม (Eco-labeling Systems)
t ลดปัญหาความขัดแย้งทาง ด้านทรัพยากรของผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียและภาคีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนช่วยกำ�หนดและ ตัดสินใจในการวิเคราะห์การ ได้มาและเสียไปที่คุ้มทุน (Trade-offs) ได้ดีขึ้น
w กำ�หนดขอบเขตความเสี่ยง r เสริมสร้างความเข้มแข็ง และโอกาสจากระบบนิเวศ ให้กบั การบริหารจัดทรัพยากร ที่คาดการณ์ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และสิง่ แวดล้อมทีม่ อี ยูข่ ององค์กร และช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูล ในด้านสิ่งแวดล้อมมีความ สมบูรณ์มากขึ้น
y เป็นการแสดงออกถึงความ เป็นผู้นำ�ในแก้ปัญหาความ เสื่อมโทรมของนิเวศบริการ ซึ่งนำ�ไปสู่การพัฒนาธุรกิจ อย่างยั่งยืน
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
39
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
“
การทบทวนบริการของระบบนิเวศทีม่ ตี อ่ ภาคธุรกิจ ช่วยให้ภาคธุรกิจ เข้าใจถึงการเปลีย่ นแปลงของระบบนิเวศทีเ่ กิดขึน้ มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบ ต่ อ ธุ ร กิ จ และช่ ว ยให้ บ ริ ษั ท สามารถเตรี ย มตั ว เพื่ อ รั บ มื อ กั บ ความ เปลี่ยนแปลงดังกล่าว
”
— Mr. Steve Hunt รองประธานอาวุโส Asia-Pacific EKA CHEMICALS
หลักการในการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ ในการดำ�เนินการประเมินคุณค่าระบบนิเวศหรือทรัพยากรธรรมชาติประเภทใด ไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กก็ตาม จำ�เป็นต้องคำ�นึงถึงหลักในการประกอบธุรกิจ 12 ประการ ดังต่อไปนี้
หลัก 12 ประการในการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ q ค วามสัมพันธ์กัน (Relevance) ใช้ข้อมูล วิธีการ เงื่อนไข และสมมติฐาน ทีส่ อดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการประเมิน รวมถึงความคาดหวังและเงื่อนไขของผู้ที่ จะนำ�ผลการประเมินไปปรับใช้ w ค วามครอบคลุม (Completeness) พิจารณาครอบคลุมทุกด้านของนิเวศ บริการที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการพึ่งพิงและ การก่อผลกระทบ ทั้งนี้ การประเมิน ควรจะมุ่งเน้นไปยังนิเวศบริการที่มีนัย สำ�คัญมากที่สุดและง่ายต่อการตีมูลค่า เป็นตัวเงิน โดยต้องเน้นว่าการประเมินยัง ไม่รวมถึงบริการของระบบนิเวศในด้านอืน่ ๆ e ค วามคงเส้นคงวา (Consistency) ใช้ข้อมูล วิธีการ เงื่อนไข และสมมติฐาน ที่สามารถนำ�มาเปรียบเทียบกันได้อย่าง เป็นเหตุเป็นผลและมีความหมาย หากมี การนำ�ค่าแทนทางการเงินจากงานวิจัย
40
ในอดีต ควรนำ�ตัวเลขดังกล่าวมาปรับให้ เป็นมูลค่าปัจจุบนั ด้วยเครือ่ งมือทีเ่ หมาะสม r ค วามโปร่งใส (Transparency) ให้ข้อมูลที่ชัดเจนและเพียงพอสำ�หรับการ ประเมินความน่าเชื่อถือของการประเมิน คุณค่าระบบนิเวศ โดยเฉพาะส่วนทีส่ มั พันธ์ กับคุณค่าและสมมติฐานที่นำ�มาใช้ t ค วามแม่นยำ� (Accuracy) ระบุอคติของการประเมิน และลดอคตินั้น เท่าที่จะสามารถทำ�ได้ ไม่กล่าวอ้างความ แม่นยำ�ของการประเมินเกินจริง เช่น การ กล่าวถึงคุณค่าของนิเวศบริการที่ยังขาด ความน่าเชื่อถือ ใช้การวิเคราะห์ความ อ่อนไหวเพื่อแสดงความไม่แน่นอนที่ยัง หลงเหลืออยู่ในคุณค่าที่ประเมินได้ และ ทำ�ให้มน่ั ใจว่าข้อมูลและบทสรุป (โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในความสัมพันธ์เชิงชีวกายภาพ) นั้น “เหมาะสมกับวัตถุประสงค์”
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
“
การทบทวนบริ ก ารของระบบนิ เ วศ ช่ ว ยให้ อ งค์ ก รสามารถหา โอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจในตลาดปัจจุบันที่กำ�ลังเติบโต
”
— Mr. Madalena Albuquerque ฝ่ายกลยุทธ์และวางแผนธุรกิจ SYNGENTA
y ค วามเป็นอนุรักษนิยม (Conservativeness) ใช้สมมติฐาน คุณค่า และวิธกี ารทีร่ อบคอบ ในกรณีที่มีความไม่แน่นอนสูง และต้นทุน ที่ใช้ ไปกับผลประโยชน์ที่ได้รับจากการลด ความไม่แน่นอนนั้นขาดความเหมาะสม
ประเมินการแบ่งสันปันส่วน (Assess Distributional Aspects) ศึกษาว่าใครคือผู้ที่ได้และใครคือผู้ที่เสีย ในหมู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะคุณค่าที่เพิ่มขึ้นบนฐานของ เวลาและสถานที่
u ค วามร่วมมือ (Compliance) ปฏิบัติตามกฎหมายหรือแนวทางทั้งระดับ ชาติและระดับสากลอย่างเคร่งครัด
s การประเมินระดับภูมิทัศน์ (Landscape - level Assessment) การประเมินคุณค่าของนิเวศบริการควร ทำ�ขึ้นใน “ระดับภูมิทัศน์” หมายถึงการ พิจารณาประเด็นเรื่อง “การเชื่อมต่อ” (เช่น การมีปฏิสัมพันธ์) ระหว่าง ระบบนิเวศโดยรอบที่อยู่อาศัยกับ สายพันธุ์ ตลอดจนผลกระทบในระดับ ภูมิทัศน์
i ก ารตรวจพิสูจน์ (Verification) ใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมในการ ค้นหาคุณค่าและความไม่เป็นกลางของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเมื่อเป็นไปได้ หากจะมี การนำ�ผลลัพธ์ ไปใช้ ในเชิงสาธารณะ แนะนำ�ให้มีการตรวจพิสูจน์กระบวนการ และคุณค่าโดยองค์กรภายนอกอย่างเป็น ทางการ o เ ลี่ยงการนับซ้ำ� (Avoid Double-counting) ไม่นำ�ผลการประเมินคุณค่าใดมารวม ในผลลัพธ์มากกว่าหนึ่งครั้ง เช่น ในกรณี ที่ระบบนิเวศหนึ่งๆ สามารถใช้เทคนิค การประเมินมูลค่ามากกว่าหนึ่งวิธี
d ม ีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Engage with Stakeholders) ในกระบวนการประเมินคุณค่าของ นิเวศบริการ การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียในระดับหนึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำ�คัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการยอมรับจาก สาธารณะมีความสำ�คัญต่อผลลัพธ์ของ การประเมิน
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
41
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
เกณฑ์ในการตัดสินใจว่า ควรประเมินคุณค่าระบบนิเวศหรือไม่
สำ�หรับภาคธุรกิจ การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ สามารถทำ�ได้ทั้งการคำ�นวณอย่างคร่าวๆ ไปจนถึงการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่มีความ ซับซ้อน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ในการนำ� ผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ ซึ่งควรให้ ความสำ�คัญกับความน่าเชื่อถือและความ ถูกต้องของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจะ นำ�ผลการประเมินคุณค่าระบบนิเวศไปใช้เพื่อ วิเคราะห์การลงทุน การประเมินค่าชดเชย หรือการรายงานต่อสาธารณชน ความน่าเชื่อถือของการประเมินคุณค่าระบบ นิเวศจะขึ้นอยู่กับตัวแปรและสมมติฐานที่ใช้ ใน การวิเคราะห์ รวมทั้งความสมบูรณ์ของข้อมูล ที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และทางเทคนิค สนับสนุน เช่น การประเมินผลกระทบของ การปลูกป่าต้องอยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่แสดง ความสัมพันธ์ระหว่างการป้องกันการชะล้าง พังทลายของดินกับข้อมูลทางอุทกวิทยา หรือ แสดงตัวเลขในเชิงเศรษฐศาสตร์ถึงผลกระทบ ที่เกิดจากดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่ง อาจมีข้อมูลสนับสนุนด้านผลกระทบที่เกิดขึ้น ต่อสุขภาพของมนุษย์ด้วย
42
ก่อนที่องค์กรจะทำ�การประเมินคุณค่าระบบ นิเวศ ควรทำ�การทบทวนหรือคัดกรองว่า องค์กรมีความจำ�เป็นเพียงใดที่จะการทำ�การ ประเมิน ซึง่ การทบทวนบริการของระบบนิเวศ ที่มีต่อภาคธุรกิจจะเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วย ภาคธุรกิจในการตัดสินใจ เนื่องจากจะทำ�ให้ ทราบถึงบริการของระบบนิเวศที่สำ�คัญซึ่ง ส่งผลต่อความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจของ องค์กร นอกจากนี้ควรมีการทบทวนกรณี ศึกษาที่มีอยู่ เพื่อประยุกต์ ใช้ ในการประเมิน และทำ�ให้การตัดสินใจขององค์กรดีขึ้น รวมทั้งควรชี้แจงให้ผู้นำ�องค์กรได้รับทราบและ ให้ความเห็นชอบเพื่อความสะดวกในการ รวบรวมข้อมูลและการจัดตั้งคณะทำ�งาน พร้อมกับจัดหาที่ปรึกษาจากภายนอกที่มี ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น ด้าน อุทกวิทยา คุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ� ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และผู้ที่มีความ เข้าใจในเรื่องธุรกิจ รวมถึงควรจัดตั้งทีมงาน หลักที่จะเข้ามารับผิดชอบกระบวนการ ประเมินโดยกำ�หนดบทบาทอย่างชัดเจนว่า ใครมีส่วนร่วมในขั้นตอนใด วิธีทบทวนหรือคัดกรองสามารถสรุปได้ ดังแผนภาพที่ 4
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
q องค์กรกำ�หนดให้มีการประเมิน
ผลกระทบและการพึ่งพิงระบบนิเวศ หรือผลกระทบภายนอกทางด้าน สิ่งแวดล้อมหรือไม่ ประเมินคุณค่า ระบบนิเวศ
w องค์กรพึ่งพิงหรือส่งผลกระทบ
ต่อการบริการของระบบนิเวศ หรือทำ�ให้เกิดผลกระทบภายนอก ทางด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่
ทบทวนบริการของ ระบบนิเวศ (ESR) ในขั้นที่ 2
ไม่ต้องประเมิน คุณค่าระบบนิเวศ
e การพึ่งพิงบริการของระบบนิเวศ
ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงหรือโอกาส ทางธุรกิจหรือไม่
ทบทวนบริการของ ระบบนิเวศ (ESR) ในขั้นที่ 4
ไม่ต้องประเมิน คุณค่าระบบนิเวศ
r การรับรู้มูลค่าของการพึ่งพิง
และผลกระทบต่อการบริการของ ระบบนิเวศ และผลกระทบภายนอก ช่วยในการตัดในการตัดสินใจของ องค์กรหรือไม่ ไม่ต้องประเมิน คุณค่าระบบนิเวศ
ประเมินคุณค่าระบบนิเวศ
แผนภาพที่ 4: วิธีการในการทบทวนหรือคัดกรองก่อนเริ่มการประเมินคุณค่าของระบบนิเวศ คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
43
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
ขั้นตอนในการประเมินคุณค่า ของนิเวศบริการ การประเมินมูลค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ ประกอบด้วยการดำ�เนินงาน 5 ขัน้ ตอน ดังแผนภาพที ่ 5 ดูรายละเอียดขั้นตอนใด้ ในภาคผนวก
q กำ�หนดขอบเขต ช่วยกำ�หนดขอบเขตสำ�หรับการประเมิน ทั้งในเชิงบริบทและเชิงการวิเคราะห์ โดยการ ตอบคำ�ถามสั้นๆ และช่วยในการระบุประเด็น ในการประเมินที่ชัดเจน
การเตรียมการ
w วางแผน การกำ�หนดแผนงาน กรอบเวลา และกำ�หนด ทรัพยากรทั้งจากภายในและภายนอกที่ต้องใช้ ในการประเมิน
e ประเมินมูลค่า การประเมิน
ประกอบด้วยการประเมินเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ เพื่อแปลงมูลค่าเป็นตัวเงิน
r ประยุกต์ใช้ การใช้และเผยแพร่ผลการประเมินเพื่อนำ�ไปสู่ การตัดสินใจทั้งภายในและภายนอกองค์กร
หลังการประเมิน
t ผนวกไว้ในการบริหาร แนวทางในการนำ�การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการดำ�เนินงาน ที่มีอยู่ขององค์กร
แผนภาพที่ 5: ขั้นตอนการประเมินคุณค่าของนิเวศบริการ
44
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
ขั้นตอนที่ q กำ�หนดขอบเขต ในขั้นแรกองค์กรควรกำ�หนดขอบเขตการวิเคราะห์ ให้ชัดเจน เพื่อให้กระบวนการประเมินบริการ ของระบบนิเวศเกิดผลในเชิงปฏิบัติมากที่สุด สำ�หรับธุรกิจที่มีเพียงหนึ่งผลิตภัณฑ์หลัก บริการหลัก หรือตลาดหลัก ขอบเขตของการพิจารณาสามารถครอบคลุมทั้งองค์กร แต่สำ�หรับธุรกิจที่มีหลาย ผลิตภัณฑ์ หลายบริการ หรือหลายตลาด การกำ�หนดขอบเขตของการพิจารณาที่เฉพาะเจาะจง จะช่วยให้ ได้ผลที่ชัดเจนกว่า และลดความยุ่งยากซับซ้อนในการวิเคราะห์
ก่อนเริ่มกำ�หนดขอบเขต การตอบคำ�ถามต่อไปนี้จะช่วยกำ�หนดขอบเขตของการทบทวนบริการของระบบนิเวศได้ตรงกับ ภารกิจหลักขององค์กรมากขึ้น
ผู้จัดส่งวัตถุดิบ
องค์กร
ลูกค้า
• ส่วนใดขององค์กร • หน่วยธุรกิจ ––สายการผลิต ––โครงสร้างพื้นฐาน ––โครงการ ––พื้นที่ตั้ง
• ลูกค้ารายใด • ตลาดในพืน ้ ทีใ่ ด
q จะพิจารณาห่วงโซ่ คุณค่าในระดับใด
• ผู้จัดส่ง วัตถุดิบรายใด • ในตลาดใด
w จะพิจารณาธุรกิจ ส่วนใด และที่ไหน
e ขอบเขตที่เลือกจะ ตอบสนองยุทธศาสตร์ ขององค์กรหรือไม่
แผนภาพที่ 6: คำ�ถามที่ใช้ ในการกำ�หนดขอบเขตการทบทวนบริการของระบบนิเวศ คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
45
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
q ประเมิ น บริ ก ารของระบบนิ เ วศ ในห่ ว งโซ่ คุ ณ ค่ า (Value Chain)* ในระดั บ ใด
w พิ จ ารณาธุ ร กิ จ ส่ ว นใด และที่ ไ หน
โดยควรเลือกห่วงโซ่คุณค่าในระดับที่มีความ เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศอย่างเด่นชัด เพราะ มีแนวโน้มที่จะเกิดความเสี่ยงและโอกาสทาง ธุรกิจจากบริการของระบบนิเวศมากที่สุด โดยองค์กรอาจเลือกพิจารณาห่วงโซ่คุณค่า ในระดับต้นน้ำ� ซึ่งจะสร้างความเข้าใจเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างบริการของระบบนิเวศ และกลุ่มผู้จัดส่งวัตถุดิบที่อาจส่งผลต่อ ความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจขององค์กร หรือเลือกพิจารณาห่วงโซ่คณ ุ ค่าระดับปลายน้�ำ ที่จะสร้างองค์ความรู้เชื่อมโยงระหว่างบริการ ของระบบนิเวศและกลุ่มลูกค้าที่อาจส่งผลต่อ ความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจขององค์กร
ในการทบทวนบริการของระบบนิเวศควร เลือกเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของธุรกิจเท่านั้น เช่น หน่วยธุรกิจเฉพาะหน่วยใดหน่วยหนึ่ง สายการผลิตสายใดสายหนึ่ง โรงงานใด โรงงานหนึ่ง โครงการใดโครงการหนึ่ง พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เช่น เหมืองแร่ ระบบท่อ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยอาจจำ�กัด ขอบเขตด้วยการเลือกตลาดในพืน้ ทีภ่ มู ศิ าสตร์ พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
ห ว่ งโซ่คณ ุ ค่า (Value Chain) หมายถึง กิจกรรม ที่มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน เพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับปัจจัยการผลิต โดยเริ่มตั้งแต่ กระบวนการซื้อวัตถุดิบจากผู้ขายวัตถุดิบ เข้าสู่ กระบวนการผลิต การจัดจำ�หน่าย จนถึงการ จัดส่งสินค้าไปสู่ผู้บริโภคคนสุดท้าย และบริการ หลังการขาย
ควรพิจารณาว่าขอบเขตที่เลือกสอดคล้องกับ สถานการณ์และสนับสนุนการพัฒนาองค์กร หรือไม่ นอกจากนี้ ขอบเขตที่เลือกควรมี ความสำ�คัญต่อยุทธศาสตร์ขององค์กร เช่น เป็นตลาดที่เติบโตรวดเร็วที่สุด เป็นสายการ ผลิตที่กำ�ลังจะเปิดใหม่ หรือเป็นหน่วยธุรกิจ ที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด ฯลฯ
*
46
e ขอบเขตที่ เ ลื อ กจะตอบสนอง ยุ ท ธศาสตร์ ข ององค์ ก รหรื อ ไม่
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
วิธีกำ�หนดขอบเขต (Scoping) การกำ�หนดวัตถุประสงค์และขอบเขตของการ ประเมินคุณค่าระบบนิเวศ เกิดจากการประชุม ระดมสมองระหว่างกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องและ มีประสบการณ์ โดยแบ่งคำ�ถามเป็น 2 ระดับ
คือ 1) คำ�ถามขั้นปฐมภูมิ และ 2) คำ�ถาม ขั้นทุติยภูมิ เพื่อช่วยกำ�หนดวัตถุประสงค์ของ การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ รวมทั้งสิ้น 10 คำ�ถาม ดังปรากฏในตารางที่ 5
ตารางที่ 5: ค�ำถามขั้นปฐมภูมิและขั้นทุติยภูมิ
ค�ำถามขั้นปฐมภูมิ และค�ำถามขั้นทุติยภูมิ q องค์กรมีการพึ่งพิงหรือ ส่งผลกระทบต่อการบริการ ของระบบนิเวศใด
w ความเสี่ยงและโอกาสทาง ธุรกิจที่เกิดขึ้นมีผลต่อองค์กร อย่างไร
• อะไรที่น่าจะเป็นการพึ่งพิงหรือผลกระทบหลักต่อการ บริการของระบบนิเวศ • อะไรคือปัจจัยภายนอกด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และเราควรให้ความสำ�คัญกับสิ่งเหล่านี้หรือไม่ • อะไรคือโอกาสและความเสี่ยงด้านธุรกิจที่อาจเกิดขึ้น • อะไรคือผลประโยชน์ด้านธุรกิจที่จะได้จากการประเมิน คุณค่าระบบนิเวศ • ผลประโยชน์นี้มีความสำ�คัญมากน้อยเพียงใด • อะไรคือผลประโยชน์ด้านอื่นๆ ที่จะได้จากการประเมิน คุณค่าระบบนิเวศ
e องค์กรจะทำ�การประเมินคุณค่า • ส่วนใดของธุรกิจที่จะถูกประเมิน ระบบนิเวศในการดำ�เนินธุรกิจ • มีตัวเลือกอื่นๆ ให้พิจารณาหรือไม่ ส่วนใด • อะไรคือภาพ “การดำ�เนินธุรกิจตามปกติ” ที่จะเกิด ภายหลังจากการประเมิน • ส่วนธุรกิจนี้อยู่ในระดับใดของห่วงโซ่คุณค่า r วัตถุประสงค์ในการประเมิน คุณค่าระบบนิเวศคืออะไร
• คำ�ตอบจากคำ�ถาม 3 ข้อแรกจะสามารถช่วยในการ กำ�หนดวัตถุประสงค์ของการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ
t กำ�หนดขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์ • บริการระบบนิเวศที่เกี่ยวเนื่องกันตั้งอยู่ที่ใด อย่างไร และใช้ระยะเวลาในการ • สถานที่หรือประเทศใดที่เกี่ยวข้อง ประเมินเท่าไร • อะไรคือกรอบเวลาที่เหมาะสมสำ�หรับการประเมิน
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
47
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
ค�ำถามขั้นปฐมภูมิ และค�ำถามขั้นทุติยภูมิ y การประเมินการบริการของ ระบบนิเวศควรจะสอดคล้องกับ มาตรฐานหรือกระบวนการใด
u ข้อมูลสำ�คัญที่ต้องใช้ในการ ประเมินคุณค่าระบบนิเวศ คืออะไร
i ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือใครและ เข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างไร
o ควรใช้เทคนิคใดในการประเมิน คุณค่าระบบนิเวศ
• การประเมินควรจะเชื่อมโยงกับแนวทางการวิเคราะห์ ขององค์กรที่มีอยู่แล้วหรือไม่ • การประเมินคุณค่าการบริการของระบบนิเวศควร จะสอดคล้องกับนโยบายหรือขั้นตอนภายนอกใดบ้าง • ควรจะดำ�เนินการตามหลักเกณฑ์หรือแนวทางที่กำ�หนด โดยอุตสาหกรรม รัฐ หรือนานาชาติใดบ้าง • ข้อมูลใดบ้างที่หาได้จากภายในองค์กร • ข้อมูลใดบ้างที่หาได้จากภายนอกองค์กร • ข้อมูลใดบ้างที่อาจจำ�เป็นต้องหาเพิ่มเติม • มีอุปสรรคทางภาษาหรือไม่ • ใครคือกลุ่มเป้าหมายของการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ • ใครคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำ�คัญทั้งภายในและ ภายนอกองค์กร • มีประเด็นใดที่จำ�เป็นต้องขอคำ�ปรึกษา และควรขอ คำ�ปรึกษาจากใคร • ควรใช้วิธีการประเมินแบบใด: การวิเคราะห์การได้มา และเสียไป (Trade-off Analysis) ประเมินมูลค่าโดยรวม (Total Economic Valuation) วิเคราะห์แบบแบ่งสัน ปันส่วน (Distributional Snalysis) หรือวิเคราะห์การเงิน และการชดเชยที่ยั่งยืน (Sustainable Financing and Compensation analysis) • จำ�เป็นต้องมีการประเมินคุณค่าระดับใด • คุณค่าที่ประเมินจำ�เป็นต้องแม่นยำ�เพียงใด • ควรมีการใช้เครื่องมือการประเมินใดที่เฉพาะเจาะจง หรือไม่
อะไรคือข้อจำ�กัดในการประเมิน • มีงบประมาณเท่าไร คุณค่าระบบนิเวศ • ใครควรจะมีส่วนเกี่ยวข้องในการวิจัย • การประเมินนี้ควรจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อใด
48
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
คำ�ถามขั้นปฐมภูมิ ประกอบด้วยคำ�ถาม 4 ข้อ ดังนี้ คำ�ถามข้อที่ q องค์กรมีการพึ่งพิงหรือส่งผลกระทบต่อการบริการของระบบนิเวศใด
โดยระบุการพึ่งพิงและการส่งผลกระทบต่อบริการของระบบนิเวศในภาพรวม แล้วจึงจำ�กัดขอบเขต ตามลักษณะของธุรกิจ ซึ่งอาจใช้การพิจารณาทบทวนขั้นตอนที่ 2 ของการประเมินคุณค่า นิเวศบริการ ร่วมกับการพิจารณาผลกระทบภายนอกทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การปล่อยมลภาวะ ทางน้ำ�หรืออากาศ เพื่อช่วยในการตอบคำ�ถาม ตัวอย่างในการตอบคำ�ถาม
บริษัท Mondi ระบุว่า “น้ำ�” เป็นบริการของระบบนิเวศที่สำ�คัญ เนื่องจากส่งผลโดยตรงต่อการ ปลูกต้นไม้ซึ่งเป็นวัตถุดิบของบริษัทฯ นอกจากนี้น้ำ�ยังเป็นทรัพยากรที่สำ�คัญของผู้ ใช้น้ำ�รายอื่น ในพื้นที่เช่นกัน หากการจัดการน้ำ�ไม่มีประสิทธิภาพอาจทำ�ให้เกิดการขาดแคลนน้ำ� ซึ่งจะส่งผลให้ บริษัทต้องขึ้นราคาสินค้าเพราะต้องลงทุนเพิ่มขึ้น ทำ�ให้ต้นทุนสูงขึ้น
คำ�ถามข้อที่ w ความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจที่เกิดขึ้นมีผลต่อองค์กรอย่างไร
โดยพิจารณาว่า อะไรคือความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับบริการของระบบนิเวศตามข้อที่ 1 ความเสี่ยงและโอกาสดังกล่าวส่งผลต่อองค์กรทั้งในด้านบวกและด้านลบอย่างไร และหากเป็นไปได้ ให้กำ�หนดระดับความมีนัยสำ�คัญเชิงเปรียบเทียบของผลประโยชน์ (ด้านวัตถุ) ว่ามีมูลค่าเท่าไร รวมถึงพิจารณาว่าผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นสร้างศักยภาพต่อทั้งภายในและภายนอกองค์กรอย่างไร ตัวอย่างในการตอบคำ�ถาม
บริษัท GHD/SA Water ระบุว่าการจัดการที่ดินส่งผลต่อคุณภาพน้ำ�ที่เก็บกักไว้สำ�หรับผลิตน้ำ�ดื่ม โดยการลงทุนเพื่อฟื้นฟูพื้นที่โดยรอบแหล่งกักเก็บน้ำ�จะช่วยรักษาคุณภาพของน้ำ� ทำ�ให้ประหยัด ต้นทุนในการจัดการน้ำ�และลดความเสี่ยงด้านสุขภาพของลูกค้า อีกทั้งจะเกิดประโยชน์กับระบบ นิเวศและผู้ ใช้น้ำ�อื่นๆ ด้วย รวมถึงเป็นการสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีระหว่าง ผู้ ใช้น้ำ�ในลุ่มน้ำ�
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
49
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
คำ�ถามข้อที่ e องค์กรจะทำ�การประเมินคุณค่าระบบนิเวศในการดำ�เนินธุรกิจส่วนใด
ควรระบุขอบเขตของการประเมินว่า จะพิจารณาการประกอบธุรกิจในส่วนใด เช่น สินค้า บริการ การพัฒนาโครงการ กระบวนการผลิต ทรัพย์สิน ฯลฯ หรือการประเมินเฉพาะเหตุการณ์ ใด เหตุการณ์หนึ่ง เช่น อุบัติเหตุน้ำ�มันรั่วไหล โดยตอบคำ�ถามย่อยดังนี้ • รูปแบบของธุรกิจอยู่ในส่วนต้นน้ำ� (การจัดหาวัตถุดิบ) ส่วนกลางน้ำ� (การผลิตและการขนส่ง) หรือส่วนปลายน้ำ� (การจำ�หน่ายและ/หรือกำ�จัดผลิตภัณฑ์) หรือเป็นลักษณะผสม • ส่วนของธุรกิจใดที่จะนำ�มาประเมิน • องค์กรมีแผนงานหรือทางเลือกในการจัดการกับความเสี่ยงและโอกาสของธุรกิจที่เกิดจากการ พึ่งพิงและส่งผลกระทบต่อบริการของระบบนิเวศอย่างไร ตัวอย่างในการตอบคำ�ถาม
บริษัท Syngenta ประเมินกระบวนการผลิตบลูเบอร์รี่ในรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา เพื่อระบุ ผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนจากการลงทุนสร้างรังให้แก่ผึ้งป่าในพื้นที่ฟาร์ม โดยเปรียบเทียบสองแผนงาน คือ การดำ�เนินธุรกิจตามปกติ และเพิ่มการลงทุนเพื่อฟื้นฟู แหล่งที่อยู่อาศัยและการจัดการพื้นที่เพื่ออนุรักษ์ผึ้งตามธรรมชาติ
คำ�ถามข้อที่ r วัตถุประสงค์ในการประเมินคุณค่าระบบนิเวศคืออะไร
การตอบคำ�ถามข้อ 1 ถึง 3 ช่วยทำ�ให้เป้าหมายของการประเมินคุณค่าระบบนิเวศมีความชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ควรคำ�นึงถึงแนวทาง SMART คือ Specific (เฉพาะเจาะจง) Measurable (สามารถวัดได้) Attainable (เข้าถึงได้) Relevant (ตรงประเด็น) และ Time-bound (มีก�ำ หนดเวลา) เพือ่ ให้สามารถ กำ�หนดวัตถุประสงค์ ในการประเมินคุณค่าระบบนิเวศได้อย่างครอบคลุม ตัวอย่างในการตอบคำ�ถาม
บริษทั US BCSD/CCP กำ�หนดให้วตั ถุประสงค์ในการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ คือ การตรวจสอบ ผลประโยชน์ทางการเงินและผลประโยชน์ต่อระบบนิเวศที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 20 ปี เกี่ยวกับการ จัดการน้ำ�ฝนและพื้นที่ชุ่มน้ำ� จากการสร้างพื้นที่กักเก็บน้ำ�เพื่อป้องกันน้ำ�ท่วมและปรับปรุงการ บำ�บัดน้ำ�ของโรงงานในฮูสตัน รวมถึงปรับปรุงระบบจัดการน้ำ�ที่มีอยู่
50
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
คำ�ถามขั้นทุติยภูมิ ประกอบด้วยคำ�ถาม 6 ข้อ ที่จะช่วยกำ�หนดขอบเขตของการประเมินคุณค่า บริการของระบบนิเวศ คำ�ถามข้อที่ t กำ�หนดขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์อย่างไร และใช้ระยะเวลาในการประเมินเท่าไร
ควรจำ�กัดขอบเขตของพื้นที่สำ�หรับการประเมินคุณค่าบริการของระบบนิเวศโดยคำ�นึงถึงนัยสำ�คัญ ต่อทรัพยากรและข้อมูลที่จำ�เป็นต่อการประเมิน โดยพิจารณาจากแหล่งที่มาของวัตถุดิบ ลูกค้า สถานที่ตั้ง รวมถึงผลกระทบและการพึ่งพิงระบบนิเวศทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ ควร กำ�หนดกรอบเวลาการทำ�งานให้เหมาะสม โดยพิจารณาร่วมกับข้อมูลที่มีอยู่ ความรู้ความชำ�นาญ และความซับซ้อนของปัญหา ตัวอย่างในการตอบคำ�ถาม
บริษัท GHD/SA Water ประเมินมูลค่าต้นทุนที่ลดลงจากการลดขั้นตอนในการบำ�บัดน้ำ� เพื่อผลิต น้ำ�สะอาดแก่ลูกค้าและผู้บริโภค โดยได้กำ�หนดให้ลุ่มน้ำ� Mount Lofty Ranges เป็นขอบเขต การศึกษาทางภูมิศาสตร์ แล้วจึงจำ�กัดพื้นที่ให้เหลือเฉพาะอ่างเก็บน้ำ�เพื่อศึกษาผลทางตรงจากการ จัดการที่ดินต่อปริมาณสารอาหารในตะกอนปลายน้ำ�
คำ�ถามข้อที่ y การประเมินการบริการของระบบนิเวศควรจะสอดคล้องกับมาตรฐานหรือกระบวนการใด
การกำ�หนดกรอบเวลา และผลการประเมินคุณค่านิเวศบริการ นอกจากจำ�เป็นต้องดำ�เนินการ ตามนโยบาย หรือกระบวนการรายงานของบริษัทแล้ว ยังต้องคำ�นึงถึงแนวทางการประเมินคุณค่า ระบบนิเวศในระดับชาติ หรือกฎเกณฑ์ที่เฉพาะเจาะจง โดยบริษัทมีทางเลือกที่จะทำ�การประเมิน คุณค่าระบบนิเวศตามมาตรฐานระดับสากล เช่น ตามมาตรฐานด้านการวัดประสิทธิภาพด้าน สิ่งแวดล้อมและสังคมที่กำ�หนดโดย International Finance Corporation (IFC) ตัวอย่างในการตอบคำ�ถาม
บริษัท GHD/SA Water มีกระบวนการแจกแจงเงินทุนและการจัดสรรเงินลงทุนที่ชัดเจนซึ่งกำ�หนด ไว้ ในนโยบายบริษัท นอกจากนี้ SA Water ยังยึดแนวทางการประเมินโครงการภาคเอกชนโดย South Australia Department of Treasury and Finance อย่างไรก็ดี แนวทางดังกล่าวไม่มีการ อ้างอิงถึงการประเมินคุณค่านิเวศบริการ แต่ให้กรอบการทำ�งานที่เหมาะสมสำ�หรับบูรณาการ เข้ากับการประเมินโครงการในแต่ละทางเลือก
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
51
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
คำ�ถามข้อที่ u ข้อมูลสำ�คัญที่ต้องใช้ในการประเมินคุณค่าระบบนิเวศคืออะไร
ระบุว่าข้อมูลใดบ้างที่จำ�เป็นต้องใช้ ในการประเมิน เช่น ข้อกำ�หนดพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงต่อนิเวศบริการ และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูลว่าเป็นข้อมูล ภายในหรือภายนอกองค์กร ทั้งนี้ หากไม่สามารถหาข้อมูลที่จำ�เป็นได้ทั้งหมด อาจต้องอาศัยข้อมูล จากผู้เชี่ยวชาญหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างในการตอบคำ�ถาม
บริษัท Veolia Environment ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศเพื่อช่วยจัดลำ�ดับความสำ�คัญของทาง เลือกในการจัดการที่ดินเพื่อแบ่งส่วนที่ดินในครอบครองของบริษัทในสาขา Berlin Wasserbetriebe (BWB) ข้อมูลที่ต้องใช้ ในการศึกษารวบรวมมาจากหลายแหล่ง เช่น ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนจาก พืชพลังงาน รายละเอียดเงินทุนและค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการน้ำ�ของ BWB และข้อมูลด้าน สิ่งแวดล้อมอื่นๆ
คำ�ถามข้อที่ i ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือใครและเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างไร
ควรระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการดำ�เนินธุรกิจขององค์กร และรูปแบบของผลประโยชน์และ ผลกระทบที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านั้นได้รับ โดยนำ�ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารองค์กร ฝ่ายการเงิน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการให้คำ�ปรึกษาตั้งแต่ช่วง เริ่มต้นของการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ เพื่อช่วยปรับปรุงแนวทางและผลการประเมินให้มีความ สมบูรณ์ขึ้น ตัวอย่างในการตอบคำ�ถาม
บริษัท EDP ได้ประเมินค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ของการรักษาระดับน้ำ�ที่สูงขึ้นในคลองและ อ่างเก็บน้ำ�สำ�หรับใช้ ในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ� ซึ่งการประเมินคุณค่าระบบนิเวศจะช่วยอธิบายถึง ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำ�ของ EDP ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ และ ยังเป็นประโยชน์ตอ่ การขอรับรองจาก European Renewable Energy Certificate System (RECS)
52
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
คำ�ถามข้อที่ o ควรใช้เทคนิคใดในการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ
การประมวลความคิดเพื่อหาวิธีการและกำ�หนดขอบเขตในการประเมินคุณค่าระบบนิเวศมีความ จำ�เป็นมาก ก่อนอื่นควรกำ�หนดว่าองค์กรจะประยุกต์ ใช้การประเมินในรูปแบบใด เช่น วิเคราะห์ การได้มาและเสียไป (Trade-off Analysis) ประเมินมูลค่าโดยรวม (Total Economic Valuation) วิเคราะห์แบบแบ่งสันปันส่วน (Distributional Analysis) หรือวิเคราะห์การเงินและการชดเชยทีย่ ง่ั ยืน (Sustainable Financing and Compensation Analysis) ขึ้นอยู่กับลักษณะทางธุรกิจและ วัตถุประสงค์ที่ได้กำ�หนดจากการตอบคำ�ถามข้อที่ 2 และ 4 แล้วจึงเลือกเทคนิคที่ต้องใช้ ในการ ประเมินหรือรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสม ซึ่งอาจต้องนำ�เครื่องมืออื่นๆ เช่น แบบจำ�ลองกระดาษ หรือซอฟต์แวร์สำ�เร็จรูปมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของการประเมิน ตัวอย่างในการตอบคำ�ถาม
บริษัท Lafarge ทำ�การประเมินคุณค่าระบบนิเวศที่ได้รับผลกระทบจากแผนงานการฟื้นฟูเหมืองหิน ในเมือง Presque Isle รัฐมิชิแกน ซึ่งผลที่ได้จะถูกนำ�มาใช้เพื่อจัดทำ�กลยุทธ์ ในการบริหารจัดการ ที่ดิน การศึกษานี้ ใช้วิธีการการถ่ายโอนมูลค่า (Value or Benefit Transfer) เพื่อประเมินคุณค่า ทางด้านนันทนาการและการศึกษา และประเมินมูลค่าของต้นทุนทีล่ ดลงจากการปรับปรุงคุณภาพน้�ำ ด้วยการป้องกันการกัดเซาะ โดยใช้ InVEST (Integrated Valuation of Environmental Services and Tradeoffs) และ GIS (Geographic Information System) เป็นเครื่องมือในการประเมิน
คำ�ถามข้อที่ อะไรคือข้อจำ�กัดในการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ
คำ�ถามนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงข้อจำ�กัดที่ส่งผลต่อขอบเขตของการประเมินคุณค่าของระบบนิเวศ เช่น เงินทุน ทรัพยากร ความชำ�นาญ และเวลาที่จำ�กัด การพิจารณาข้อจำ�กัดตั้งแต่ขั้นตอนนี้จะช่วยให้ สามารถรับมือกับประเด็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นนอกเหนือขอบเขตที่กำ�หนดไว้ ในขั้นวางแผน
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
53
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
ขั้นตอนที่ วางแผน
w
2.1 จัดลำ�ดับความสำ�คัญของนิเวศบริการ ในขั้นตอนนี้ องค์กรต้องเข้าใจก่อนว่ามีการ พึ่งพิงหรือส่งผลกระทบต่อบริการของระบบ นิเวศในแต่ละบริการมากน้อยเพียงใด เพราะ ถ้าองค์กรต้องพึ่งพิงบริการของระบบนิเวศ รายการหนึ่งในระดับสูงและบริการของระบบ นิเวศนั้นเกิดลดลง องค์กรอาจเผชิญความ เสี่ยงทางธุรกิจจากต้นทุนของวัตถุดิบที่สูงขึ้น หรือการดำ�เนินธุรกิจที่ต้องหยุดชะงัก ส่วน กรณีที่องค์กรส่งผลกระทบทางลบต่อบริการ ของระบบนิเวศด้านหนึ่งและทำ�ให้บริการของ
ระบบนิเวศโดยรวมเสื่อมโทรมลง องค์กรอาจ เผชิญความเสี่ยงทางธุรกิจในรูปของการฝ่าฝืน กฎระเบียบของภาครัฐหรือเสื่อมเสียชื่อเสียง ในทางกลับกัน หากองค์กรส่งผลกระทบทาง บวกต่อบริการของระบบนิเวศ องค์กรก็อาจมี โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ หรือได้รับภาพลักษณ์ เชิงบวก การจัดลำ�ดับความสำ�คัญของนิเวศบริการแบ่ง ออกเป็นสองขั้นตอน ดังนี้
q การประเมินระดับการพึ่งพิงบริการของระบบนิเวศ (Evaluating Dependence) การประเมินว่าองค์กรต้องพึ่งพิงบริการของ ระบบนิเวศด้านใดและในระดับใด สามารถ ทำ�ได้โดยตอบคำ�ถาม 2 ข้อต่อไปนี้ 1) บริการของระบบนิเวศรายการนั้นๆ เป็น วัตถุดิบหรือเป็นปัจจัยช่วยให้องค์กรประสบ ความสำ�เร็จในการดำ�เนินธุรกิจหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ไม้ซุงเป็นวัตถุดิบของผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์ ไม้ น้ำ�จืดเป็นวัตถุดิบของบริษัท ผู้ผลิตน้ำ�ดื่ม หรือหนอง บึง และทะเลสาบ ช่วยกักเก็บน้ำ�ป้องกันการเกิดน้ำ�ท่วมทำ�ให้ องค์กรหลายแห่งในพื้นที่ราบลุ่มสามารถ ประกอบธุรกิจได้
54
2) บริการของระบบนิเวศรายการนั้นๆ มีสิ่งทดแทนที่คุ้มทุนหรือไม่ ควรพิจารณาว่ามีสง่ิ ทดแทนทีค่ มุ้ ทุนของบริการ ของระบบนิเวศรายการนั้นๆ หรือไม่ ถ้าไม่มี สิ่งทดแทน หมายความว่าองค์กรต้องพึ่งพิง บริการนั้นในระดับสูง เช่น ผู้ผลิตเครื่องดื่ม และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ�ต้องพึ่งพิงคุณภาพและ ความต่อเนื่องของทรัพยากรน้ำ�ในระดับสูง เนื่องจากไม่มีสิ่งทดแทนน้ำ�ได้ หรือหากใช้ เทคโนโลยีในการสร้างน้ำ�จะมีต้นทุนที่สูงมาก จากการตอบคำ�ถามทัง้ 2 ข้อ ระดับการพึง่ พิง บริการของระบบนิเวศขององค์กรนั้น สามารถ สรุปได้ดังแผนภาพที่ 7
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
q บริการของระบบนิเวศรายการนั้น เป็นวัตถุดิบหรือเป็นปัจจัยช่วยให้ องค์กรประสบความสำ�เร็จในการ ประกอบการหรือไม่
การพึ่งพิงบริการของ ระบบนิเวศในระดับต่ำ�
w บริการของระบบนิเวศรายการนั้น มีสิ่งทดแทนที่คุ้มทุนหรือไม่
การพึ่งพิงบริการของ ระบบนิเวศในระดับปานกลาง
การพึ่งพิงบริการของ ระบบนิเวศในระดับสูง
แผนภาพที่ 7: การประเมินระดับการพึ่งพิงนิเวศบริการขององค์กร
w การประเมินผลกระทบต่อบริการของระบบนิเวศ (Evaluating Impact) คือการประเมินว่าองค์กรหรือกิจกรรมของ องค์กรส่งผลกระทบต่อบริการของระบบนิเวศ รายการใดรายการหนึ่งหรือไม่ และในระดับ มากน้อยเพียงใด สามารถทำ�โดยการตอบ คำ�ถาม 3 ข้อต่อไปนี้ 1) องค์กรหรือกิจกรรมขององค์กรส่งผลกระทบ ต่อบริการของระบบนิเวศรายการใด ทั้งในเชิง ปริมาณและเชิงคุณภาพ ในกรณีนจ้ี ะต้องพิจารณาถึงผลกระทบทางอ้อม ต่อระบบนิเวศด้วย เช่น การก่อสร้างถนนหรือ ท่อส่งน้ำ�มันผ่านไปในระบบนิเวศป่าแห่งหนึ่ง
ถึงแม้จะมีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงพื้นที่ หรือพลังงานของผู้ ได้รับประโยชน์บางราย แต่จะส่งผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพ ของนิเวศบริการจากป่าแห่งนั้นด้วย เช่น พืช และสัตว์ป่าชนิดพันธุ์ ใดบ้างที่จะสูญเสียถิ่น ที่อยูไ่ ป ศักยภาพการชะลอและควบคุมการ ไหลของน้ำ�จืดจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ความสามารถในการเป็นแหล่งอาหารให้ ชุมชนท้องถิ่นดีขึ้นหรือแย่ลงไปอย่างไรและ เท่าไร การกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ของพื้นที่จะเพิ่มหรือลดลงไปเท่าไร ความ สามารถในการป้องกันการชะล้างพังทลาย
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
55
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
ของดินในพื้นที่นี้จะดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร รวมถึงศักยภาพของการเป็นแหล่งท่องเที่ยว จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดบ้าง 2) องค์กรหรือกิจกรรมขององค์กรส่งผลกระทบ ทางบวกหรือทางลบต่อระบบนิเวศ ตัวอย่างของผลกระทบทางบวก เช่น การ บริหารการจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม ของบริษัทแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ซึ่งปลูก ในพื้นที่ของตัวเอง ช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าไม้และ ช่วยเพิ่มคุณภาพการบริการของระบบนิเวศ ในด้านการบำ�บัดมลภาวะ การป้องกันลมพายุ การสะสมคาร์บอน และการพักผ่อนหย่อนใจ ส่วนตัวอย่างของผลกระทบทางลบ เช่น ฝุ่นละอองและมลพิษจากการทำ�เหมืองแร่ ทองคำ� การสูญเสียอินทรียสารที่อุดมสมบูรณ์ อย่างดินตะกอนและเส้นทางอพยพของปลา จากการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ฯลฯ 3) ผลกระทบที่เกิดขึ้น ลดหรือเพิ่มความ สามารถของผู้ ได้รับประโยชน์อื่นๆ หรือไม่ การตอบคำ�ถามต่อไปนี้จะช่วยในการตอบ คำ�ถามข้อ 5
• อุปทานของบริการของระบบนิเวศมีน้อย กว่าอุปสงค์หรือไม่ ถ้าอุปทานของนิเวศบริการมีค่อนข้างจำ�กัด ผลกระทบต่อบริการของระบบนิเวศรายการใด รายการหนึ่งก็มีแนวโน้มจะไปจำ�กัดปริมาณ อุปทานนั้นๆ ด้วย • ผลกระทบต่อบริการของระบบนิเวศ รายการนั้นส่งผลกระทบต่อเนื่องทาง กายภาพให้เกิดการลดลงของบริการของ ระบบนิเวศนั้นๆ หรือในด้านอื่นๆ พื้นที่ อื่นๆ หรือกระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง จากภาครัฐหรือฝ่ายปกครองด้วยการ ออกกฎระเบียบใหม่หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น รีสอร์ตหรือโรงงานที่ตั้งขึ้น ใหม่ในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งซึ่งแหล่งน้ำ�จืดมี จำ�กัด อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจอื่น หรือ ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงที่ต้องอาศัย ประโยชน์จากแหล่งน้ำ�เดียวกัน จากการตอบคำ�ถามทั้ง 3 ข้อ ระดับการ ส่งผลกระทบต่อนิเวศบริการขององค์กร สามารถสรุปได้ดังแผนภาพที่ 8
• การประกอบการขององค์กรหรือกิจกรรม ขององค์กรเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลกระทบ ต่อบริการของระบบนิเวศรายการนั้นๆ ในท้องถิ่นหรือในภูมิภาคหรือไม่ การประเมินในข้อนี้ ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตรงตัว ในการจำ�กัดความ โดยผู้บริหารจำ�เป็นต้องใช้ ดุลยพินิจของตนหรือผู้เชี่ยวชาญในการ พิจารณาสัดส่วนที่ธุรกิจส่งผลกระทบต่อ บริการของระบบนิเวศนั้นๆ
56
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
q องค์กรส่งผลกระทบต่อบริการ
ของระบบนิเวศรายการนั้นทั้งใน เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพหรือไม่ การส่งผลกระทบต่อบริการ ของระบบนิเวศในระดับต่ำ�
w องค์กรส่งผลกระทบทางบวกหรือ ทางลบต่อระบบนิเวศ
e ผลกระทบที่เกิดขึ้นลดหรือ
เพิ่มความสามารถของ ผู้ได้รับประโยชน์อื่น ๆ หรือไม่ การส่งผลกระทบต่อบริการของ ระบบนิเวศในระดับปานกลาง
การส่งผลกระทบต่อบริการ ของระบบนิเวศในระดับสูง
แผนภาพที่ 8: การประเมินระดับผลกระทบต่อบริการของระบบนิเวศขององค์กร
เมื่อองค์กรได้ทำ�การประเมินการพึ่งพิงและ ผลกระทบต่อบริการของระบบนิเวศรายการ ต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การจัดลำ�ดับ ความสำ�คัญของนิเวศบริการที่จะเป็นต้นเหตุ ของความเสีย่ งและ/หรือโอกาสทางธุรกิจ เพือ่ เลือกบริการของระบบนิเวศจำ�นวน 5-7 รายการ สำ�หรับใช้ ในการวิเคราะห์ ในขั้นตอนต่อไป โดยมีแนวทางดังนี้
• บริการของระบบนิเวศในอันดับ 1 คือ กลุ่มบริการของระบบนิเวศที่องค์กรต้อง พึ่งพิงและส่งผลกระทบในระดับสูง • บริการของระบบนิเวศในอันดับ 2 คือ กลุ่มบริการของระบบนิเวศที่องค์กรต้อง พึ่งพิงในระดับสูง แต่ส่งผลกระทบในระดับ ปานกลาง หรือมีการพึง่ พิงระดับปานกลาง แต่ส่งผลกระทบในระดับสูง
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
57
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
• บริการของระบบนิเวศในอันดับ 3 คือ กลุ่มบริการของระบบนิเวศที่องค์กร ต้องพึ่งพิงในระดับสูง แต่ส่งผลกระทบ ในระดับต่ำ� หรือมีการพึ่งพิงในระดับต่ำ� แต่ส่งผลกระทบในระดับสูง • ถ้าบริการของระบบนิเวศหลายรายการ ถูกประเมินว่าได้รับผลกระทบจากองค์กร ในระดับสูง ให้ลำ�ดับความสำ�คัญโดยเน้นที่ ผลกระทบทางลบ
• ไม่ต้องจัดลำ�ดับบริการของระบบนิเวศ ทีถ่ กู ประเมินว่ามีการพึง่ พิงและส่งผลกระทบ ในระดับต่ำ� อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเพิ่มเติมที่ค้นพบจากการ วิเคราะห์บริการของระบบนิเวศอาจส่งผลให้ ต้องทำ�การจัดลำ�ดับความสำ�คัญของบริการ ของระบบนิเวศใหม่
2.2 วิเคราะห์บริการของระบบนิเวศ ในขัน้ ตอนนี้ องค์กรจะทำ�การวิเคราะห์สถานะ และแนวโน้มของกลุ่มบริการของระบบนิเวศ ที่มคี วามสำ�คัญ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการวิเคราะห์สามารถทำ�โดยการตอบ คำ�ถาม 5 ข้อ ดังนี้ 1. สถานะและแนวโน้มของบริการของ ระบบนิเวศทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน เป็นอย่างไร ให้ระบุอุปสงค์และอุปทานในปัจจุบันและ แนวโน้มในอนาคตของนิเวศบริการ และ ประเมินว่าอุปสงค์และอุปทานนัน้ ๆ มีแนวโน้ม ทีจ่ ะเกีย่ วข้องกับองค์กรหรือไม่ ทัง้ ในเชิงปริมาณ และคุณภาพ โดยคัดเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะสม 2. อะไรเป็นปัจจัยขับเคลื่อนทางตรง (Direct Drivers) ที่สำ�คัญ ปัจจัยขับเคลื่อนทางตรงหมายถึง ปัจจัยทาง ธรรมชาติหรือปัจจัยจากมนุษย์ ที่อาจทำ�ให้ เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อระบบนิเวศ หรือ ความสามารถในการให้นิเวศบริการ เช่น • การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน เช่น การ ตัดไม้ทำ�ลายป่าเพื่อการเกษตร การถม พื้นที่ชุ่มน้ำ�เพื่อเพื่อขยายเมือง 58
• การบริโภคหรือการใช้ประโยชน์มากเกินไป เช่น การประมง อาหาร และน้ำ� • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ ควรประเมินผลกระทบจากปัจจัย ขับเคลื่อนทางตรงที่มีต่อการบริการของ ระบบนิเวศ ทั้งในแง่ระดับของผลกระทบ ที่ตั้ง และช่วงเวลา 3. องค์กรมีส่วนทำ�ให้เกิดหรือส่งผลต่อปัจจัย ขับเคลื่อนทางตรงอะไรบ้าง ระบุวา่ องค์กรส่งผลต่อปัจจัยขับเคลือ่ นทางตรง ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ อย่างไร ที่ใด และในระดับใด ถ้ากลยุทธ์การ ดำ�เนินงานหรือกิจกรรมขององค์กรส่งผลกระทบ ต่อปัจจัยขับเคลื่อนทางตรง ก็มีแนวโน้มว่า องค์กรนั้นจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและ บริการของระบบนิเวศ 4. ใครบ้างที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยการขับเคลื่อน โดยตรง ระบุว่าใครอีกบ้างที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยการ ขับเคลื่อนทางตรงที่ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของระบบนิเวศ เช่น ชุมชนในท้องถิน่ เกษตรกร ธุรกิจอื่นหรืออุตสาหกรรมสาขาอื่นๆ รวมถึง ระบุวา่ ผลกระทบทีเ่ กิดกับปัจจัยการขับเคลือ่ น
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
ทางตรงทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ ระบบนิเวศอย่างไร ทีใ่ ด และในระดับใด และ ผลกระทบจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไรในอนาคต 5. อะไรเป็นปัจจัยขับเคลื่อนทางอ้อม (Indirect Drivers) ระบุและประเมินปัจจัยขับเคลือ่ นทีส่ ง่ ผลกระทบ ทางอ้อมต่อบริการของระบบนิเวศที่มีความ
สำ�คัญ ทั้งนี้ “ปัจจัยขับเคลื่อนทางอ้อม” หมายถึง สิ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ ปัจจัยขับเคลื่อนทางตรง ต่อองค์กร หรือ ผู้ ใช้ประโยชน์ของบริการของระบบนิเวศ เช่น นโยบายด้านภาษี เงินอุดหนุน การเพิ่มของ จำ�นวนประชากร เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และ ศาสนา ฯลฯ
ถานะและแนวโน้มของบริการของระบบนิเวศทั้ง qส ในด้านอุปสงค์และอุปทานประกอบด้วยอะไรบ้าง • อุปสงค์และอุปทาน • ปริมาณและคุณภาพ • ปัจจุบันและอนาคต
งค์กรมีส่วน eอ ส่งผลต่อปัจจัย ขับเคลื่อนทางตรง อะไรบ้าง • อย่างไร • ที่ไหน • ในระดับเท่าใด
ะไรเป็นปัจจัย wอ ขับเคลื่อนทางตรง • การเปลี่ยนแปลงการ ใช้ที่ดิน • การบริโภคมากเกินไป • การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ
ีฝ่ายใดหรือใคร rม บ้างที่มีผลต่อ ปัจจัยขับเคลื่อน ทางตรง • ใคร • อย่างไร • ที่ไหน • ในระดับเท่าใด
t อะไรเป็นปัจจัยขับเคลื่นทางอ้อม • นโยบายภาครัฐ • การเพิ่มของประชากร • เศรษฐกิจ • วัฒนธรรมและศาสนา
แผนภาพที่ 9: กรอบแนวทางการวิเคราะห์บริการของระบบนิเวศที่มีความสำ�คัญ คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
59
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
การรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบคำ�ถามทั้ง 5 ข้อนี้ ทำ�ได้โดยการสัมภาษณ์และทบทวนงานวิจัย ที่มีอยู่ ตลอดจนค้นหาข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ โดยควรมีข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อสนับสนุน คำ�ตอบของคำ�ถามเหล่านี้ โดยเฉพาะบริการ ของระบบนิเวศทีม่ ตี ลาด เช่น พืชพรรณ ปศุสตั ว์ สัตว์น้ำ� ต้นไม้ และบริการของระบบนิเวศที่ มักได้รับความสนใจ เช่น น้ำ�
สถานะและแนวโน้มของนิเวศบริการนั้นๆ ส่วนการสรุปแนวโน้มและระบุปัจจัยขับเคลื่อน อาจทำ�โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ หรือการ จัดการประชุมระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญ จำ�นวนมากเพื่อแบ่งปันข้อมูล มุมมอง พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็น ในการทบทวนหรือพิจารณาบริการของ ระบบนิเวศควรใช้ข้อมูลจากหลายแหล่ง เพราะการใช้ข้อมูลเพียงแหล่งเดียวอาจทำ�ให้ เกิดการวิเคราะห์ผิดพลาดได้ ดังนั้น บริษัท จึงควรเลือกทั้งแหล่งข้อมูลภายในและแหล่ง ข้อมูลภายนอกในการอ้างอิงเพื่อทบทวน บริการของระบบนิเวศไปพร้อมๆ กัน
สำ�หรับบางข้อมูลบริการของระบบนิเวศ ที่ไม่สามารถหาข้อมูลเชิงปริมาณได้ เช่น กฎระเบียบและวัฒนธรรม ก็สามารถใช้ข้อมูล เชิงคุณภาพทดแทน หากข้อมูลเกี่ยวกับ บริการระบบนิเวศบริการใดบริการหนึ่งมีน้อย ก็อาจพิจารณาทำ�การศึกษาวิจยั เพือ่ หาตัวชีว้ ดั
ตารางที่ 6: แสดงแหล่งข้อมูลที่ใช้ ในการประเมินคุณค่าของนิเวศบริการ
แหล่งข้อมูล
ขั้นตอน 2
3
4
5
ผู้บริหาร ในองค์กรและ นักวิเคราะห์
ผู้บริหารและนักวิเคราะห์อาจจะมีมุมมอง ในทุกขั้นตอนของการประเมินคุณค่านิเวศ บริการที่แตกต่างกัน การจัดการประชุม ระดมสมองเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ที่จะรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้บริหารและ นักวิเคราะห์
การวิเคราะห์ ที่ดำ�เนินการอยู่ และการวิเคราะห์ ภายในองค์กร
60
1
ข้อเสนอแนะ
การวิเคราะห์ภายในองค์กรเกี่ยวกับประเด็น ที่องค์กรส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และ การประเมินเกี่ยวกับบริการระบบนิเวศที่ได้ จัดลำ�ดับความสำ�คัญ เป็นจุดเริ่มต้นของการ ประเมินคุณค่าของนิเวศบริการ ซึ่งจำ�เป็น ต้องใช้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้การวิเคราะห์ ถูกต้องมากขึ้น
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
แหล่งข้อมูล ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย
ขั้นตอน 1
2
3
4
5
ข้อเสนอแนะ ควรให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมในการ ประเมินคุณค่าของนิเวศบริการ นอกจากนี้ การสัมภาษณ์หรือการประชุมร่วมกับกลุ่ม ผู้มสี ่วนได้ส่วนเสียจะทำ�ให้ทราบว่ากลุ่ม ผู้มสี ่วนได้ส่วนเสียให้คุณค่าแก่บริการของ ระบบนิเวศอย่างไร
ผู้เชี่ยวชาญจาก มหาวิทยาลัยและ สถาบันวิจัย
นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบ นิเวศและบริการของระบบนิเวศ มีทักษะ ความรู้ความชำ�นาญที่เป็นประโยชน์ต่อ องค์กรธุรกิจ
เอกสารและ ผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการ ประเมินแห่ง สหัสวรรษ
รายงานเกี่ยวกับการประเมินแห่งสหัสวรรษ นำ�เสนอรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับสภาพ และแนวโน้มของระบบนิเวศและบริการ ระบบนิเวศตลอดจนการวิเคราะห์เกี่ยวกับ ปัจจัยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของระบบ นิเวศ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านนี้สามารถถ่ายทอด และเชื่อมโยงให้ ได้
องค์กรภาค ประชาสังคม (non-governmental organization - NGO)
โดยทั่วไปแล้ว NGO จะมีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ภายในองค์กรและมีงานวิจัยในเรื่องที่ เกี่ยวข้อง
สมาคมหรือสภา อุตสาหกรรม
สมาคมหรือสภาอุตสาหกรรมอาจจะมีกลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญภายในองค์กรและมีการทำ�วิจัย ที่เกี่ยวข้อง
เอกสารงานวิจัย
เอกสารและผลงานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง อาจจะมีการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตหรือ ในห้องสมุด
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
61
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
การประเมินคุณค่านิเวศบริการจะช่วยสร้าง มูลค่ามากทีส่ ดุ ก็ตอ่ เมือ่ ผูบ้ ริหารและผูป้ ฏิบตั งิ าน มีส่วนรับผิดชอบในการประเมิน ซึ่งขั้นตอน
และรูปแบบในการมีส่วนร่วมของการประเมิน คุณค่านิเวศบริการแสดงในตารางที่ 7
ตารางที่ 7: ผู้มีส่วนร่วมในการประเมินคุณค่าของนิเวศบริการ
ใคร
ขั้นตอนที่มีส่วนร่วม 1
ผู้บริหาร
ผู้บริหารที่ เกี่ยวข้อง
2
3
4
5
ข้อเสนอแนะ
ผู้บริหารที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการจัดทำ� กลยุทธ์ทางธุรกิจ มีส่วนร่วมในการกำ�หนด ขอบเขต และอนุมัติกลยุทธ์
ผู้บริหารในส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยธุรกิจ สายการผลิต ตลาดในภูมิภาค หรือโครงการที่กำ�หนด ควรมีส่วนร่วมใน เกือบทุกขั้นตอน เนื่องจากมีส่วนรับผิดชอบ ต่อการดำ�เนินกลยุทธ์ ที่ได้จากการประเมิน คุณค่าของนิเวศบริการ
นักวิเคราะห์
นักวิเคราะห์ขององค์กรจะเป็นผู้มีส่วนร่วม ในการประเมินคุณค่าของนิเวศบริการ มากที่สุด ทั้งการทำ�วิจัย การสัมภาษณ์ การเตรียมข้อมูล และกิจกรรมอื่นๆ โดย ไม่จำ�เป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศ
คณะที่ปรึกษา (ถ้ามี)
คณะที่ปรึกษาสามารถเป็นผู้ประเมินคุณค่า ของนิเวศบริการหรือสามารถเข้าไปมีสว่ นร่วม ในการให้ข้อมูล หรือข้อชี้แนะเกี่ยวกับ แนวโน้ม และวิธีการวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณค่าของ นิเวศบริการ
62
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
ขั้นตอนที่ e การประเมินคุณค่าของ ระบบนิเวศ (Valuation) ขั้นตอนที่ 3.1 การวางแผนงานประเมิน รายละเอียดของแผนงานในการประเมิน คุณค่าระบบนิเวศควรประกอบด้วยวิธีการ ประเมิน ผลที่คาดว่าจะได้รับ ระยะเวลา หน้าที่ความรับผิดชอบ และงบประมาณ ซึ่งควรรับฟังข้อเสนอแนะจากที่ปรึกษา นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรพัฒนา
เอกชน เพื่อให้ ได้แผนงานที่มีประสิทธิภาพ มากขึ้น และหากขอบเขตในการทำ�การ ประเมินยังไม่ชัดเจน แผนงานควรมีความ ยืดหยุน่ สูงเพือ่ สามารถปรับเปลีย่ นให้เหมาะสม ระหว่างการดำ�เนินงาน ซึ่งขอบเขตเนื้อหาของ แผนงานแสดงในตารางที่ 8
ตารางที่ 8: รายละเอียดของแผนงาน
หัวข้อ
ขอบเขตเนื้อหา
บทนำ�
วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ ลักษณะของธุรกิจ สถานที่ ทำ�การศึกษา และกระบวนการหรือนโยบายทั้งภายนอกและภายในที่มี ผลกระทบต่อระบบนิเวศ โดยอ้างอิงจากการกำ�หนดขอบเขตในขั้นตอนที่ 1
วิธีการ
ให้รายละเอียดของวิธีที่ใช้ ในการประเมิน ระยะเวลาที่ใช้ ขั้นตอนในการ ดำ�เนินงาน แนวทางในการวิเคราะห์ผล และผู้รับผิดชอบ ตลอดจนควรมี การนำ�เสนอรายละเอียดเพิ่มเติมที่จำ�เป็น เช่น กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มตัวอย่าง ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ผู้สัมภาษณ์ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลที่คาดว่า จะได้รับ
บ่งบอกถึงสิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการประเมินและแนวทางการนำ�ไปใช้
รายละเอียดของ คณะทำ�งาน
ระบุคณะทำ�งานพร้อมหน้าที่รับผิดชอบ ซึ่งควรประกอบด้วยสมาชิกจาก ส่วนงานและระดับงานที่แตกต่างกัน เพื่อช่วยในการพัฒนาความชำ�นาญและ ความรู้ภายในองค์กรให้เพิ่มมากขึ้น
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
63
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
หัวข้อ
ขอบเขตเนื้อหา
ตารางเวลา
กำ�หนดระยะเวลาในแต่ละงาน วันที่ส่งมอบงาน โดยอาจใช้แผนภูมิ Gantt ในการช่วยกำ�หนดเวลางานที่ชัดเจน
งบประมาณ
ประมาณการต้นทุนในการดำ�เนินงาน เช่น ค่าแรงงาน ค่าตอบแทนที่ปรึกษา ภายนอก การจัดประชุม การเดินทาง การโฆษณาและอื่นๆ
ขั้นตอนที่ 3.2 การประเมิน (Valuation) การประเมินคุณค่าระบบนิเวศในภาคธุรกิจ ควรครอบคลุมทัง้ คุณค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ การซื้อที่ดิน ค่าน้ำ� วัตถุดิบ การ แลกเปลีย่ นหรือการซือ้ ขายคาร์บอนเครดิต และ คุณค่าทางสังคม ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถ ประเมินมูลค่าทางการตลาดและคุณค่าที่อยู่ นอกเหนือมูลค่าทางการตลาดจากการพึ่งพิง บริการของระบบนิเวศ เช่น การสูญเสียระบบ นิเวศป่าไม้เมื่อมีการตัดไม้ หรือการปรับปรุง คุณภาพของแหล่งน้ำ�โดยกระบวนการผลิต ที่สะอาด ในทางปฏิบัติอาจเป็นไปได้ที่จะประเมินระบบ นิเวศทั้งในเชิงคุณภาพ และ/หรือเชิงปริมาณ และ/หรือมูลค่าทีเ่ ป็นตัวเงิน การประเมินมูลค่า ที่เป็นตัวเงินจะช่วยได้มากในการเปรียบเทียบ และสื่อสารข้อมูลคุณค่าของบริการของระบบ
64
นิเวศในแต่ละประเภท อย่างไรก็ตาม การประเมินคุณค่าระบบนิเวศด้วยตัวชี้วัด ทางการเงินเพียงอย่างเดียวอาจทำ�ให้เกิดการ ละเว้นผลประโยชน์และต้นทุนทางระบบนิเวศ ที่สำ�คัญไปได้ เนื่องจากต้นทุนและประโยชน์ ทางระบบนิเวศที่สำ�คัญบางชนิดแสดงเป็น ตัวเลขหรือเป็นตัวเงินไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องใช้ การวิเคราะห์เชิงคุณภาพในบางกรณี ทั้งนี้ ในการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ ควรเริ่มต้นด้วยการประเมินเชิงคุณภาพเพื่อ กำ�หนดลำ�ดับความสำ�คัญของบริการของ ระบบนิเวศ ตามด้วยการประเมินเชิงปริมาณ และการประเมินมูลค่าที่เป็นตัวเงินเพื่อแสดง ให้เห็นถึงต้นทุนและประโยชน์ทางระบบนิเวศ บางส่วนหรือทั้งหมด อย่างไรก็ดี ในบางกรณี การประเมินเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ก็เพียงพอที่จะให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ทางธุรกิจ
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
การประเมิ น เชิ ง คุ ณ ภาพ
การประเมิ น เชิ ง ปริ ม าณ
การประเมิ น มู ล ค่ า ที่ เ ป็ น ตั ว เงิ น
การอธิบายมูลค่าและ กำ�หนดขนาดของมูลค่า ในเชิงเปรียบเทียบ คือ สูง กลาง ต่ำ� ซึ่งจะต้อง สามารถเทียบเคียงได้กับ บริการของระบบนิเวศที่จะ ประเมินทั้งหมดในขอบเขต ทางภูมิศาสตร์ที่กำ�หนดไว้ เช่น ผลกระทบจากธุรกิจ อาจทำ�ให้ทรัพยากรใน ทะเลสาบลดน้อยลง ส่งผล ให้รายได้จากการประมงของ ชาวบ้านหลายหมู่บ้านลดลง พิจารณาเป็นผลกระทบ “ระดับกลาง”
การประเมินมูลค่าโดยใช้ ข้อมูลเชิงปริมาณ ตัวอย่าง เช่น ผลกระทบที่เกิดกับการ ทำ�ประมง อาจส่งผลให้ ชาวประมงสามารถจับปลา ได้ลดลง 25% จากเดิมที่ ชาวประมง 40 คน จาก 4 หมู่บ้าน สามารถจับปลาได้ โดยเฉลีย่ 2 ตันต่อปี เป็นต้น
การกำ�หนดมูลค่าที่เป็น “ตัวเงิน” ให้กับผลกระทบ และการพึ่งพิงจากระบบ นิเวศ เพื่อประโยชน์ ในการ รวมค่าและเปรียบเทียบค่า เช่น ผลกระทบต่อระบบ นิเวศอาจส่งผลให้สูญเสีย กำ�ไรสุทธิ 5,000,000 บาท ต่อปี และยังทำ�ให้สองหมูบ่ า้ น รายได้ลดลงหมู่บ้านละ 200,000 บาท ในขณะที่ อีกสองหมู่บ้านรายได้ลดลง หมู่บ้านละ 50,000 บาท
ตัวเงิน
เช่น ลดต้นทุนในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ�, มูลค่าของการกักเก็บคาร์บอน
การประเมิน มูลค่าที่เป็นตัวเงิน
เชิงปริมาณ การประเมินเชิงปริมาณ
การตรวจสอบเชิงคุณภาพ การบริการของระบบนิเวศเต็มขอบเขตที่ได้รับ การสนับสนุนจากความหลากหลายทางชีวภาพ
เช่น ลูกบาศก์เมตรของน้ำ�สะอาด, ตันของคาร์บอนที่กักเก็บ
เชิงคุณภาพ
เช่น ขอบเขตความสำ�คัญของ ระบบนิเวศ, ประโยชน์เชิงความ หลากหลายทางชีวภาพ
ที่มา: P. ten Brink ตามที่อ้างอิงใน TEEB - รายงานฉบับกลาง (2008) แผนภาพที่ 10: ลำ�ดับขั้นของการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
65
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
ในการประเมินมูลค่าที่เป็นตัวเงินของระบบนิเวศ จะใช้เทคนิคการประเมินชุดมาตรฐาน (Standard Suite of Valuation Techniques) เพื่อแสดงมูลค่าตัวเงินของบริการของระบบนิเวศที่มากกว่าราคา ตลาด รวมถึงประเมินผลประโยชน์และต้นทุนที่ไม่มีมูลค่าทางตลาด (Non-market Benefits and Costs) ซึ่งเป็นวิธีที่นักเศรษฐศาสตร์นิยมใช้วัดมูลค่าของสินค้าและบริการที่ได้รับการยอมรับและ ถูกนำ�ไปใช้อย่างกว้างขวางในด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม การตัดสินใจเลือกเทคนิควิธีที่จะใช้ ใน การประเมินจะขึ้นอยู่กับประเภทของนิเวศบริการ ข้อมูล และเวลา โดยมีเทคนิควิธีที่นิยมใช้กันมาก ดังนี้
เทคนิคความพึงพอใจ (Revealed Preference Techniques)
โดยวัดมูลค่าจากพฤติกรรมที่แสดงถึงความ พึงพอใจ ประกอบกับราคาตลาด และการ ประมาณการเปลี่ยนแปลงของของระบบนิเวศ หรือการเปลี่ยนแปลงของผลผลิต ตัวอย่าง เช่น วิธีคิดต้นทุนการเดินทาง (Travel Cost Method) และการประเมินราคาความสุข สบาย (Hedonic Pricing) เช่น บ้านที่สร้าง ใกล้แม่น้ำ�ที่สะอาดมีราคาสูงขึ้น 10%
วิธีประเมินสภาพความพึงพอใจ (Stated Preference Approaches)
การประเมินมูลค่าจากการสำ�รวจความคิดเห็น และความพึงพอใจของบุคคล เช่น การ สอบถามความเต็มใจจ่าย (Willingness to Pay) ในการรักษาสิ่งแวดล้อมที่เขาเหล่านั้น พึงพอใจ วิธีนี้เหมาะสำ�หรับการประเมิน มูลค่าบริการของระบบนิเวศทีม่ กี ารใช้ประโยชน์ โดยไม่ใช้ทรัพยากร เช่น การท่องเที่ยวเพื่อ การพักผ่อนหย่อนใจ
66
วิธียึดต้นทุนเป็นหลัก (Cost-based Approaches)
วิธีนี้เหมาะสมกับการประเมินมูลค่าของ บริการของระบบนิเวศด้านการควบคุมระบบ (Regulating Service) โดยใช้ต้นทุนทางการ ตลาดแทนมูลค่าที่แท้จริง เช่น ระบุมูลค่าของ พื้นที่ชุ่มน้ำ�ในการป้องกันน้ำ�ท่วมจากการ ประเมินต้นทุนที่ลดลงจากการไม่สร้าง สิ่งก่อสร้างเพื่อป้องกันน้ำ�ท่วม หรือการ ประเมินมูลค่าความเสียหายที่สามารถ หลีกเลี่ยงได้เนื่องจากมีกลไกป้องกันน้ำ�ท่วม วิธีถ่ายโอนมูลค่า (Value or Benefit Transfer)
คือ การประยุกต์ ใช้มูลค่าที่ประเมินไว้แล้ว จากการศึกษาอื่นมาปรับใช้ ให้เหมาะสม วิธีนี้ ใช้งบประมาณน้อยและรวดเร็วในการนำ�ไป ปฏิบตั ิ อีกทัง้ ฐานข้อมูลของมูลค่าการประเมิน ก็สามารถใช้ประโยชน์ ได้อย่างอิสระ ซึ่งการ ถ่ายโอนมูลค่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ในการพิจารณาเปรียบเทียบทางเลือกต่างๆ
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
การบริการ ด้านการเป็น แหล่งผลิต
ตัวอย่าง ผลประโยชน์ ปลา ไม้ น้ำ�
ตัวอย่างเทคนิคการประเมิน
ราคาตลาด การเปลี่ยนแปลงการผลิต ราคาทดแทน
การบริการ ด้านการป้องกัน และควบคุม การป้องกันน้ำ�ท่วม การกักเก็บคาร์บอน การกรองน้ำ� การดูดซับของเสีย
การหลีกเลี่ยงต้นทุนจากความเสียหาย ต้นทุนทดแทน การเปลี่ยนแปลงการผลิต การประเมินมูลค่าผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การพักผ่อนหย่อนใจ สุนทรียภาพ มูลค่าภูมิทัศน์ มูลค่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
การสำ�รวจความพึงพอใจ การประเมินค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว
การบริการด้าน วัฒนธรรม
การถ่ายโอนมูลค่า (Value or Benefit Transfer)
แผนภาพที่ 11: ตัวอย่างเทคนิควิธีที่ใช้ ในการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
67
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
การประเมินคุณค่าระบบนิเวศในขั้นตอนที่ 3 นี้มีการดำ�เนินงาน 9 ขั้น ซึ่งมีความสอดคล้องกับการ ประเมินผลกระทบสิง่ แวดล้อมและสังคม (Environmental and Social Impact Assessment: ESIA) ประกอบด้วยขั้นตอนตามตารางที่ 9 ตารางที่ 9: ขั้นตอนการประเมิน
ขั้นตอนในการประเมิน q ระบุประเด็นธุรกิจที่จะทำ�การ ประเมิน (Define the Business Aspect)
w จัดทำ�เกณฑ์ฐานด้าน สิ่งแวดล้อม (Establish the Environmental Baseline)
e ระบุรูปแบบการเปลี่ยนแปลง ทางเคมีกายภาพ (Determine the Physic-chemical Changes)
r ระบุรูปแบบการเปลี่ยนแปลง ด้านสิ่งแวดล้อม (Determine the Environmental Changes)
ค�ำอธิบายโดยย่อ อธิบายถึงคุณลักษณะเด่นของประเด็นธุรกิจที่จะทำ�การ ประเมิน การแสดงให้เห็นความแตกต่างของสถานการณ์ ในปัจจุบันที่กำ�ลังจะทำ�การประเมินกับภาพอนาคตของ สถานการณ์ที่เป็นทางเลือกด้วย จะทำ�ให้การเลือกประเด็น ธุรกิจเพื่อประเมินมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กำ�หนดสถานการณ์และเงื่อนไขสิ่งแวดล้อมพื้นฐานใน สถานการณ์ “ไม่มี” กับ “ไม่ทำ�อะไร” ระบุระบบนิเวศ ที่เกี่ยวข้องและสถานะของถิ่นที่อยู่อาศัย ชนิดพันธุ์ที่พบ บริการของระบบนิเวศ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง สำ�หรับคาร์บอนและผลกระทบภายนอกด้านสิง่ แวดล้อมอืน่ ๆ (OEEs) ให้ระบุเกณฑ์ฐานการปลดปล่อยมลภาวะ ระบุและหาตัวเลขความเปลี่ยนแปลงเชิงเคมีกายภาพที่เป็น ผลมาจากส่วนขององค์กร เช่น การปล่อยพลังงาน ของเสีย การใช้ที่ดิน สำ�หรับคาร์บอนและผลกระทบภายนอกด้าน สิ่งแวดล้อมอื่นๆ (OEEs) ให้ระบุระดับการปลดปล่อย มลภาวะในแต่ละทางเลือก ระบุการเปลี่ยนแปลงของสภาวะในแง่ของปริมาณและ คุณภาพของระบบนิเวศที่เกี่ยวข้อง (แหล่งที่อยู่อาศัยและ สายพันธุ์)
t ประเมินผลกระทบที่มีนัยสำ�คัญ ทำ�การประเมินคุณค่าความเปลี่ยนแปลงของบริการระบบ จากการเปลี่ยนแปลงของ นิเวศเพื่อระบุว่าสิ่งใดมีแนวโน้มที่จะมีความสำ�คัญในระดับ บริการของระบบนิเวศ สูง กลาง หรือต่ำ� ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณมาสนับสนุนผลการ (Assess the Relative ประเมิน ขั้นตอนนี้จะช่วยตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงใน Significance of Ecosystem บริการระบบนิเวศขั้นปฐมภูมิที่จะนำ�ไปวัดคุณค่าในขั้นตอน Services Affected) ที่ 6 68
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
ขั้นตอนในการประเมิน y ประเมินมูลค่าเป็นตัวเงิน ของการเปลี่ยนแปลงบริการ ระบบนิเวศทีเ่ ลือกไว้ (Monetize Selected Changes to Ecosystem Services)
u ค้นหาผลประโยชน์และต้นทุนที่ เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก (Identify Internal and External Benefits and Costs)
i เปรียบเทียบผลประโยชน์และ/ หรือต้นทุน (Compare Benefits and/or Costs)
o ดำ�เนินการวิเคราะห์ ความอ่อนไหว (Apply Sensitivity Analysis)
ค�ำอธิบายโดยย่อ ระบุความเปลี่ยนแปลงของบริการระบบนิเวศที่อาจประเมิน มูลค่าเป็นตัวเงินได้ เช่น คุณค่าของบริการระบบนิเวศ ในระดับกลางและสูงที่ได้จากข้อ 5 เลือกใช้เทคนิคการ ประเมินที่เหมาะสมที่สุด และกำ�หนดมูลค่าเป็นตัวเงิน ระบุผลประโยชน์ภายในและภายนอกองค์กร และหาว่า ผลประโยชน์ภายนอกใดบ้างที่อาจเปลี่ยนเป็นผลประโยชน์ ภายในได้ ไม่ว่าจะผ่านองค์กรหรือการดำ�เนินการภายนอก
รวบรวมผลประโยชน์และ/หรือต้นทุนความเสียหาย เปลี่ยนให้เป็น “มูลค่า ณ ปัจจุบัน” โดยใช้อัตราคิดลด (Discount Rate) ที่เหมาะสม ระบุระดับความอ่อนไหวของผลลัพธ์จากตัวแปรสำ�คัญที่มี มูลค่าไม่แน่นอน
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
69
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
ตัวอย่างการประเมินคุณค่าของระบบนิเวศ การดำ�เนินการทั้ง 9 ขั้นตอนจะถูกอธิบายโดยละเอียดผ่านกรณีศึกษา 2 บริษัท คือ วีโอเลีย เอนไวรอนเมนต์ (Veolia Environment) ซึ่งประเมินบริการของระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพ ของน้ำ�และการใช้ประโยชน์ที่ดิน และฮิตาชิ เคมิคอล (Hitachi Chemical) ประเมินมูลค่าการ ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิต อย่างไรก็ดี บางองค์กรอาจไม่จำ�เป็นต้องทำ�การ ประเมินครบทั้ง 9 ขั้นตอน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และขอบเขตของการประเมิน รวมถึงรูปแบบ การนำ�ผลการประเมินไปประยุกต์ ใช้ Veolia Environment เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่มีบริษัท Berliner Wasserbetriebe (BWB) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการน้ำ�และบำ�บัดน้ำ�เสียแก่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เป็นเจ้าของและบริหาร จัดการพื้นที่ Karolinenhohe ขนาดราว 1,800 ไร่ ทางตะวันตกของกรุงเบอร์ลิน โดยใช้พื้นที่ ดังกล่าวเพื่อรักษาสภาพธรรมชาติดั้งเดิม ทำ�การเกษตร และเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ บริษัทได้หยุดให้บริการบำ�บัดน้ำ�เสียในปี 2010 เนื่องจากพบการปนเปื้อนของน้ำ�บาดาลที่อาจมี ผลต่อการผลิตน้ำ�ดื่ม บริษัทจึงทำ�การประเมินคุณค่าระบบนิเวศด้วยการวิเคราะห์การได้มาและ เสียไป (Trade-off Analysis) จากการใช้ที่ดินที่แตกต่างกันประเมินผลกระทบต่อนิเวศบริการ จากการเกษตร การรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ และการพักผ่อนหย่อนใจ ประกอบกับ การพิจารณาทางเลือกหลากหลายด้านในการแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนของน้ำ�บาดาล โดยให้ ความสำ�คัญกับมาตรการปลูกพืชระยะสัน ้ ทีใ่ ช้ในการผลิตพลังงานชีวมวล (Biofuels) เนือ ่ งจาก รัฐบาลมีโครงการส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานอายุสั้น
Hitachi Chemical เป็นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนสำ�หรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายรูปดิจิทัล และโทรศัพท์มือถือ การประเมินคุณค่าระบบนิเวศของ Hitachi Chemical มีวัตถุประสงค์เพื่อ รวบรวมข้อมูลการลดต้นทุนจากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการผลิต แผ่นเคลือบทองแดงหลายชัน ้ (Copper-clad Laminates) ซึง ่ ผลลัพธ์ทไ่ี ดจ ้ ะช่วยระบุชนิดสินคา้ ที่มีความยั่งยืนมากขึ้น และแสดงความคุ้มค่าของการลงทุนในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ โดยเชื่อมโยงกับการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) บริษัทคาดว่าการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะช่วยลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และ สร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ
70
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
ขั้นที่ q ระบุประเด็นธุรกิจที่จะทำ�การประเมิน (Define the Business Aspect) เริ่มจากการแจกแจงรายละเอียดของลักษณะธุรกิจขององค์กร เช่น ประเภท ขอบเขตธุรกิจ องค์ประกอบ สถานที่ตั้ง และอายุของธุรกิจ เพื่อเปรียบเทียบการดำ�เนินงานในภาวะปกติกับการ ดำ�เนินโครงการหรือแผนงานเพิ่มเติม ถ้าองค์กรมีหลายส่วนงาน เช่น ตั้งอยู่หลายแห่ง หรือมี ผลิตภัณฑ์หลายแบบ สามารถนำ�มาแจกแจงในขั้นตอนนี้ เพื่อระบุให้ ได้อย่างชัดเจนว่าพื้นที่หรือ ส่วนงานใดที่จะทำ�การประเมิน บริษัท Veolia Environment ระบุให้ประเมินคุณค่าของระบบนิเวศเปรียบเทียบทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนของ น้ำ�บาดาล จำ�นวน 4 โครงการ คือ
q ปล่อยน้ำ�ที่บำ�บัดแล้วลงแม่น้ำ�ใกล้เคียง
e ปลูกพืชพลังงาน 2 ชนิด บนเนื้อที่
ซึ่งใช้ต้นทุนต่ำ�สุด w ปลูกพืชพลังงาน 1 ชนิด บนเนื้อที่ 625 ไร่ และวางระบบชลประทาน (น้ำ�บาดาล)
625 ไร่ และวางระบบชลประทาน (น้ำ�บาดาล) ป r ลูกพืชพลังงาน 2 ชนิด โดยใช้น้ำ�ที่ ผ่านการบำ�บัดร่วมกับน้ำ�จากโครงสร้าง ชลประทานที่มีอยู่
บริษัท Hitachi Chemical ระบุให้ประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตแผ่นเคลือบทองแดง หุ้มลามิเนตสำ�หรับแผงวงจรเครื่องปริ้นเตอร์ในแต่ละปี ซึ่งมีฐานการผลิตอยู่ในประเทศญี่ปุ่น เป็นประเด็นธุรกิจที่จะทำ�การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ
ขั้นที่ w จัดทำ�เกณฑ์ฐานด้านสิ่งแวดล้อม (Establish the Environmental Baseline) กำ�หนดและการแจกแจงเกณฑ์ฐานด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้สถานะด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบันหรือแบบที่ดำ�เนินธุรกิจตามปกติ เพื่อใช้เปรียบเทียบกับสถานะภายหลังการดำ�เนินโครงการ หรือแผนงาน รวมทัง้ คาดการณ์ผลกระทบจากปัจจัยอืน่ ๆ เช่น การเพิม่ จำ�นวนประชากร การลดลง ของอุปทานน้ำ� การเติบโตทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ในการประเมินโครงการขนาดใหญ่ซึ่งประกอบด้วยระบบนิเวศหลายระบบ ควรแจกแจงรายละเอียด เฉพาะระบบนิเวศและบริการของระบบนิเวศที่มีแนวโน้มจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และในกรณีที่จะ ประเมินมูลค่ารวมของระบบนิเวศและบริการของระบบนิเวศที่มีความเชื่อมโยงกับการสร้างถิ่นที่อยู่ ใหม่ให้แก่พืชและสัตว์ เช่น พื้นที่ชุ่มน้ำ� จะต้องพิจารณาถึงลักษณะของสิ่งแวดล้อมปัจจุบันว่าเป็น อย่างไร เช่น เป็นพื้นที่การเกษตร หรือพื้นที่ป่าละเมาะที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา สำ�หรับการประเมิน คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
71
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ควรกำ�หนดเส้นฐานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในเชิงปริมาณ ก่อนการดำ�เนินโครงการ บริษัท Veolia Environment ทำ�การแจกแจงสภาพปัจจุบันและสถานะการคุ้มครองของระบบนิเวศที่แตกต่างกัน เช่น พื้นที่ เกษตร พื้นที่ที่ปกคลุมด้วยหญ้า พื้นที่ชุ่มน้ำ� หนองบึง และป่าละเมาะ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ ชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ในท้องทุ่ง รวมทั้งระบุผู้ได้รับประโยชน์ที่สำ�คัญที่สุด คือ เกษตรกรใน ท้องถิ่น และผู้เข้าเยี่ยมชมและพักผ่อนหย่อนใจ ในกรณีนี้คุณค่าทางด้านความหลากหลาย ทางชีวภาพและทัศนียภาพจะถูกประเมินในระดับสูง
บริษัท Hitachi Chemical ระบุให้อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปริมาณการผลิตปัจจุบัน เป็นเกณฑ์พื้นฐาน ในการเปรียบเทียบกับโครงการทางเลือก โดยพิจารณาจากประเภทวัสดุและวงจรชีวิตของ แผ่นเคลือบทองแดงหุ้มลามิเนตที่ผลิตอยู่ในปัจจุบัน
ขั้นที่ e ประเมินการเปลี่ยนแปลงทางเคมีกายภาพ (Determine the Physic-chemical Changes) ระบุการเปลี่ยนแปลงทางเคมีกายภาพ ซึ่งเกิดจากการประกอบการขององค์กรในแต่ละโครงการหรือ แผนงานที่แตกต่างกัน เช่น การถือครองที่ดินที่สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปล่อยสารเคมีและกากของเสีย ทั้งนี้ ในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบ ภายนอกทางด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ให้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการดำ�เนินโครงการแต่ละ โครงการ บริษัท Veolia Environment ประเมินการเปลี่ยนแปลงทางเคมีกายภาพของ 4 โครงการทางเลือกที่กำ�หนดในขั้นตอนที่ 1 โดยระบุจำ�นวนพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงเพื่อใช้ในการเพาะปลูกพืชพลังงานและพืชอาหารสัตว์
บริษัท Hitachi Chemical ประเมินการเปลี่ยนแปลงของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตแผ่นเคลือบ ทองแดงหุ้มลามิเนตสองทางเลือก เปรียบเทียบกับการผลิตแบบปัจจุบัน พบว่ามีการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ลดลงร้อยละ 5 และร้อยละ 7.5 ตามลำ�ดับ
72
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
ขั้นที่ r ประเมินการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม (Determine the Environmental Changes) เป็นการระบุ อรรถาธิบาย และแสดงการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ เช่น ถิ่นที่อยู่ของพืชและสัตว์ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาโครงการ สำ�หรับกรณีที่ข้อมูลมีความซับซ้อน เช่น ความแตกต่างของการคาดการณ์ว่าใครคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีผลต่อโครงการ หรือแผนงานเป็น อย่างไร และจะส่งผลต่อระบบนิเวศอย่างไร ควรประเมินปัจจัยหรือประเด็นดังกล่าวให้ครอบคลุม มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยใช้มูลค่าที่คาดหวัง (Expected Values) ซึ่งเป็นการประเมิน ความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์ ในแต่ละทางเลือกจะเกิดขึ้นภายใต้สมมติฐานที่ชัดเจน อันเป็นขั้นตอน ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนและต้องอ้างอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ อีกทั้งจำ�เป็นต้องอาศัย ความรู้ ทักษะ และความชำ�นาญเฉพาะด้านสำ�หรับกรณีการประเมินเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว นอกจากนี้ ยังจำ�เป็นต้องมีการกำ�หนดเกณฑ์ฐานด้านสิ่งแวดล้อมก่อนเกิดเหตุการณ์ หรืออาจ อ้างอิงข้อมูลจากพื้นที่ใกล้เคียงที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันก็ได้ การประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และผลกระทบภายนอกทางด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น ไนโตรเจนออกไซด์ และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย โดยแจกแจงความแตกต่างสุทธิของ ตัวแปรหรือปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในหลายๆ ประเด็น โดยไม่จำ�เป็นต้องระบุหรือเปรียบเทียบ ผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม หรืออาจใช้การอ้างอิงข้อมูลเกี่ยวกับค่ามาตรฐานที่มีอยู่ในระดับ ประเทศหรือระดับภูมิภาค บริษัท Veolia Environment ระบุการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมที่ใช้ในการพิจารณาของแต่ละโครงการให้ครอบคลุมถึง การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของผลผลิตพืชพลังงาน การเปลี่ยนแปลงคุณภาพและระดับความชื้น ของน้ำ�ระดับพื้นผิว ความหลากหลายทางชีวภาพของพืช แมลง และนก รวมถึงทัศนียภาพ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากการปลูกพืชพลังงาน
บริษัท Hitachi Chemical บริษัทจะประเมินคุณค่าจากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้น บริษัทจึงควร คำ�นึงถึงราคาในปัจจุบันของตลาดคาร์บอน มากกว่าการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
73
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
ขั้นที่ t ประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในบริการของระบบนิเวศ (Assess the Relative Significance of Ecosystem Services Affected) เป็นการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของนิเวศบริการที่เกิดจากแผนงานหรือโครงการว่าเกิดผลกระทบ ต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไร กลุ่มใดบ้าง และมากน้อยเพียงใด บริษัท Veolia Environment ทำ�การประเมินผลกระทบเชิงคุณภาพของบริการของระบบนิเวศใน 4 ระบบนิเวศหลัก คือ พื้นที่ เกษตรที่ยังไม่ได้เปลี่ยนเป็นพืชพลังงาน พื้นที่ป่าไม้ ทุ่งหญ้า และพื้นที่ชุ่มน้ำ� รวมทั้งคุณภาพ น้ำ�ใต้ดิน โดยเปรียบเทียบระหว่างเกณฑ์ฐานด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันกับสถานะสิ่งแวดล้อม ที่คาดการณ์จากทั้ง 4 ทางเลือก โดยคำ�นึงถึงบริการของระบบนิเวศที่ได้รับผลกระทบเป็น พิเศษ คือ ผลผลิตทางการเกษตร ผลผลิตพืชพลังงาน การลดปริมาณการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คุณภาพน้ำ�ดื่ม การพักผ่อนหย่อนใจ และคุณค่าต่างๆ จากการที่ ไม่ได้ใช้ประโยชน์ (Non-use Value) เช่น ภูมิทัศน์ และความหลากหลายทางชีวภาพ ฯลฯ ผลการประเมินสามารถสรุปได้ในตารางที่ 10
พื้นที่เกษตร ที่ยังไม่ได้ เปลี่ยนเป็น พืชพลังงาน
P พืชอาหารสัตว์
พื้นที่ป่าไม้
P ผลไม้
74
P พืชพลังงาน
n/a
n/a
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
ทางเลือก r พืชพลังงาน ที่พึ่งระบบชลประทาน
ทางเลือก e พืชพลังงาน แบบผสมผสาน
ทางเลือก w พืชพลังงาน ชนิดเดียว
ทางเลือก q ปล่อยน้ำ� ที่บำ�บัดแล้วลงแม่น้ำ�
ระบบนิเวศ
บริการของ ระบบนิเวศ
เกณฑ์ฐาน ด้านสิ่งแวดล้อม
ตารางที่ 10: การประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง บริการของระบบนิเวศของบริษัท Veolia Environment
น้ำ�ใต้ดิน
R การควบคุม สภาพอากาศ ในท้องถิ่น
R การจัดการ ของเสีย
C การพักผ่อน หย่อนใจ
C คุณค่าที่ไม่ได้ ใช้ประโยชน์ (ภูมิทัศน์)
P คุณภาพน้ำ�ดื่ม
ทางเลือก r พืชพลังงาน ที่พึ่งระบบชลประทาน
ทางเลือก e พืชพลังงาน แบบผสมผสาน
R ลดการปล่อย ก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์
ทางเลือก w พืชพลังงาน ชนิดเดียว
ทางเลือก q ปล่อยน้ำ� ที่บำ�บัดแล้วลงแม่น้ำ�
ทุ่งหญ้าและ พื้นที่ชุ่มน้ำ�
เกณฑ์ฐาน ด้านสิ่งแวดล้อม
ระบบนิเวศ
บริการของ ระบบนิเวศ
หมายเหตุ: P = บริการด้านการเป็นแหล่งผลิต R = บริการด้านการควบคุม C = บริการด้านวัฒนธรรม เครื่องหมาย และ หมายถึง ระดับบริการของระบบนิเวศภายใต้แต่ละทางเลือกในช่วงเวลา 25 ปี () = คุณค่าทางลบเล็กน้อย; () = คุณค่าทางลบระดับปานกลาง; () = คุณค่าทางลบอย่างมาก () = คุณค่าทางบวกเล็กน้อย; () = คุณค่าทางบวกระดับปานกลาง; () = คุณค่าทางบวกอย่างมาก
บริษัท Hitachi Chemical เลือกที่จะประเมินการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงไม่ได้ทำ�การประเมินผลกระทบ ของการเปลี่ยนแปลงบริการของระบบนิเวศ
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
75
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
ขั้นที่ y ประเมินมูลค่าที่เป็นตัวเงินจากการเปลี่ยนแปลงในบริการของระบบนิเวศ (Monetize Selected Changes to Ecosystem Services) เป็นการระบุมูลค่าที่เป็นตัวเงินจากการเปลี่ยนแปลงบริการของระบบนิเวศ ซึ่งโดยปกติจะประเมิน มูลค่าในการสร้างรายได้จากบริการของระบบนิเวศที่มีความสำ�คัญที่สุด (ในขั้นตอนที่ 5) โดยต้อง เลือกหรือประยุกต์ ใช้เทคนิคการประเมินมูลค่าที่เหมาะสม บริษัท Veolia Environment เลือกใช้การเปลี่ยนแปลงในผลผลิต (Change in Production) เพื่อประเมินค่าเป็นตัวเงินจาก รายได้ของผลผลิตทางการเกษตรและพืชพลังงาน และประยุกต์ใช้เทคนิคการถ่ายโอนมูลค่า เพื่อประมาณการผลประโยชน์และต้นทุนของการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการ เปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงชีวมวลแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงการเพิ่มต้นทุนในการลดการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการปั๊มน้ำ�เพื่อการชลประทาน โดยเลือกใช้มูลค่าอ้างอิงจากการ ประเมินของรัฐบาลฝรั่งเศสที่ราคา 32 ปอนด์ต่อหนึ่งตัน สำ�หรับการประมาณการมูลค่าของการพักผ่อนหย่อนใจและมูลค่าบริการของระบบนิเวศที่ไม่ได้ ถูกใช้ประโยชน์ ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์นก ั ท่องเทีย ่ วและประชาชนทัว่ ไปจำ�นวน 124 และ 83 ราย ตามลำ�ดับ ซึง ่ ผลการสำ�รวจพบว่า นักท่องเทีย ่ วยินดีจา่ ยเงินเพือ ่ บริการของระบบนิเวศทางเลือก ที่ 3 ในราคาระหว่าง 1.9-7.8 ปอนด์ต่อคนต่อปี และประชาชนทั่วไปยินดีจ่ายเพื่อบริการของ ระบบนิเวศที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ในราคาระหว่าง 0.05-7.2 ปอนด์ต่อคนต่อปี
บริษัท Hitachi Chemical เลือกใช้ราคาตลาดของการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ 20 เหรียญสหรัฐ ต่อหนึ่งตัน ซึ่งอ้างอิงราคากลางของระบบซื้อขายสิทธิ์ในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของยุโรป (EU Emission Trading Scheme: EUETS)
ขั้นที่ u ระบุผลประโยชน์และต้นทุนทั้งภายในและภายนอก (Identify Internal and External Benefits and Costs) การประเมินต้องแยกความแตกต่างระหว่างต้นทุนและผลประโยชน์ภายในของบริษัท กับต้นทุน และผลประโยชน์ภายนอกของบริษัท ซึ่งเป็นต้นทุนหรือผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับสังคมและไม่ส่งผล ต่อสถานะทางการเงินของบริษัท ในบางกรณีบริษัทสามารถแปลงต้นทุนและผลประโยชน์ภายนอก บางประการมาเป็นต้นทุนและผลประโยชน์ภายในได้ เช่น การเก็บค่าธรรมเนียมการเข้าใช้ที่ดินของ บริษัท ฯลฯ
76
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
บริษัท Veolia Environment วิเคราะห์ความอยู่รอดทางการเงิน (Financial Viability) ของทางเลือกเกี่ยวกับพืชพลังงาน ซึ่งครอบคลุมถึงค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ภาษี ต้นทุนของการจัดหาทุน และต้นทุนใน การดำ�เนินงาน ตลอดจนราคาตลาดของพืชพลังงาน โดยแยกวิเคราะห์ในด้านเศรษฐกิจเพื่อ ประมาณการผลประโยชน์สุทธิทางการเกษตรที่เกษตรกรท้องถิ่นได้รับเพิ่มขึ้น ผลประโยชน์จาก การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากรโลก รวมทั้งคุณค่าของ การพักผ่อนหย่อนใจของนักท่องเที่ยว และคุณค่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ที่จะเกิดกับคนทั่วไปใน กรุงเบอร์ลิน ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวสามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อกำ�หนดค่าบริการของการใช้น้ำ� ในอนาคต และอาจใช้เป็นข้อมูลเพื่อกำ�หนดค่าบริการด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
บริษัท Hitachi Chemical พิจารณาต้นทุนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นต้นทุนภายนอกของบริษัท เนื่องจาก ญี่ปุ่นในขณะนั้นยังไม่ได้เข้าร่วมในตลาดคาร์บอน และยังไม่มีการเรียกเก็บภาษีการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตบริษัทอาจจะได้รับประโยชน์ทางด้านชื่อเสียง จากการปรับปรุงนโยบายการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและการลดปริมาณการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ขั้นที่ i เปรียบเทียบผลประโยชน์และ/หรือต้นทุน (Compare the Benefits and/or Costs) เป็นการเปรียบเทียบผลประโยชน์และต้นทุนจากโครงการหรือแผนงานที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศ ได้แก่ ต้นทุนในการจัดหาเงินทุน ต้นทุนการดำ�เนินงาน ต้นทุนค่าเสียโอกาสจากการยุติการใช้ ทรัพยากรอย่างใดอย่างหนึ่ง และต้นทุนภายนอก และควรระบุผลประโยชน์ที่สำ�คัญๆ ทั้งหมด แม้ว่าผลประโยชน์และต้นทุนนั้นๆ อาจไม่สามารถประเมินราคาเป็นตัวเงินได้ก็ตาม นอกจากนี้ ควรคำ�นึงถึงปัจจัยด้านเวลาด้วย เนื่องจากผลประโยชน์และ/หรือต้นทุนจะเพิ่มพูนสะสมขึ้นตาม เวลา และยิ่งมีผลประโยชน์และต้นทุนในอนาคตไกลออกไปเท่าใดก็จะมีคุณค่าหรือมูลค่าในปัจจุบัน น้อยลงเท่านั้น ในการประเมินจึงจำ�เป็นต้องใช้อัตราคิดลด (Discount Rate) เพื่อแปลงมูลค่า ในอนาคตเป็นมูลค่าในปัจจุบัน โดยมีวิธีที่ใช้ ในการเปรียบเทียบส่วนลดและมูลค่าปัจจุบัน 2 วิธี คือ (1) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) และ (2) อัตราส่วนผลประโยชน์ ต่อต้นทุน (Benefit Cost Ratio: BCR)
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
77
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
บริษัท Veolia Environment เปรียบเทียบผลประโยชน์และ/หรือต้นทุนในกรอบระยะเวลา 25 ปีของแต่ละทางเลือก โดยใช้ อัตราคิดลดทางการเงิน (Financial Discount Rate) ที่ร้อยละ 5.5 และอัตราคิดลดทาง เศรษฐกิจ (Economic Discount Rate) ที่ร้อยละ 3.5 ซึ่งผลการวิเคราะห์ทางการเงินพบว่า ทางเลือกที่ 2 หรือการปลูกพืชพลังงานชนิดเดียวเป็นโครงการที่คุ้มค่าทางการเงิน คือ มีอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนเท่ากับ 1.03 แต่เมื่อพิจารณาครอบคลุมถึงต้นทุนและ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมพบว่า ทางเลือกที่ 3 หรือการปลูกพืชพลังงาน 2 ชนิด เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด คือ มีอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนเท่ากับ 17.4 เนื่องจากมีคุณค่า ด้านการพักผ่อนหย่อนใจและความหลากหลายทางชีวภาพสูงกว่า
บริษัท Hitachi Chemical เปรียบเทียบต้นทุนที่เพิ่มขึ้นต่อปีจากกระบวนการผลิตแผ่นเคลือบทองแดงหุ้มลามิเนตในแต่ละ ทางเลือก โดยสันนิษฐานว่ากระบวนการผลิตที่แตกต่างทำ�ให้ต้นทุนจากการลดการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่แตกต่างกันด้วย ทั้งนี้ บริษัทฯ พิจารณาแนวโน้มที่จะได้รับ ผลประโยชน์เพิ่มขึ้นหากมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ต้นทุนต่ำ�ลงในอนาคต
ขั้นที่ o วิเคราะห์ความอ่อนไหว (Apply Sensitivity Analysis) เป็นการตรวจสอบว่าผลการประเมินที่ได้มาในขั้นตอนก่อนหน้านี้จะตอบสนองอย่างไรต่อการ เปลี่ยนแปลงสมมติฐานสำ�คัญเมื่อมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น โดยสมมติฐานต้นแบบที่ใช้ทดสอบ ความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ จำ�นวนผู้ ได้รับผลกระทบ ระดับการเปลี่ยนแปลงบริการ ของระบบนิเวศด้านใดด้านหนึ่ง และการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาที่แท้จริง เช่น จำ�นวนคนที่ ยินดีจ่ายเงินเพื่อสินค้าและบริการ ราคาพลังงานในแต่ละช่วงเวลา และต้นทุนของการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบเหล่านี้มีความจำ�เป็นอย่างยิ่งเมื่อเลือกใช้เทคนิคการถ่ายโอน มูลค่า (Benefit Transfer) ในการประเมินมูลค่าของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ เพื่อลดโอกาสการเกิดความคลาดเคลื่อนในการประมาณคุณค่า โดยอาจเลือกใช้เทคนิคการประเมิน ความเสีย่ ง (Risk Assessments) เทคนิคการคำ�นวณระดับความมีนยั สำ�คัญทางสถิติ (Calculations of Statistical Levels of Significance) หรือเทคนิคการกำ�หนดมูลค่าการเปลี่ยนไป (Switching Values) ซึ่งหมายถึง มูลค่าของตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งที่จะทำ�ให้สองทางเลือกไม่แตกต่างกัน หรือ ผู้ตัดสินใจเปลี่ยนไปดำ�เนินการทางเลือกอื่น เทคนิคเหล่านี้ช่วยวิเคราะห์ปัจจัยความอ่อนไหว ที่นำ�ไปสู่การปรับเปลี่ยนทางเลือกที่จะดำ�เนินการ
78
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
บริษัท Veolia Environment พบว่าทางเลือก 3 และทางเลือก 2 เป็นทางเลือกที่คุ้มค่าทางการเงิน อย่างไรก็ตาม เมื่อแยก คุณค่าที่ไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์ เช่น ภูมิทัศน์ และความหลากหลายทางชีวภาพ ออกจากการ วิเคราะห์จะพบว่า อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนของทั้ง 3 ทางเลือก ต่ำ�กว่า 0.5 โดย ทางเลือกที่ 2 มีอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนสูงสุดที่ 0.43 ซึ่งบ่งชี้ถึงความสำ�คัญของ คุณค่าที่ยังไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์ แต่เมื่อเพิ่มจำ�นวนนักท่องเที่ยวเป็น 2 เท่า และเพิ่มความยินดี จ่ายในการเยี่ยมชมในระดับสูง พบว่ามีอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อย เท่านั้น สะท้อนให้เห็นว่า ปัจจัยคุณค่าด้านภูมิทัศน์ไม่มีความสำ�คัญ
บริษัท Hitachi Chemical การวิเคราะห์ความอ่อนไหวถือเป็นส่วนสำ�คัญในกระบวนการประเมินคุณค่าโดยรวม ซึ่งบริษัท ตั้งสมมติฐานว่า เมื่อต้นทุนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แตกต่างกันในช่วง 0.5 ถึง 2 เท่าของราคากลาง เป็นผลให้ปัจจัยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แตกต่างกัน ในช่วงร้อยละ 5 ถึงร้อยละ 7.5 แสดงให้เห็นว่า การประเมินคุณค่าและปัจจัยการ ลงทุนเพื่อลดการปล่อยก๊าซฯ มีความอ่อนไหวต่อแนวโน้มความผันผวนของราคาตลาด ก๊าซคาร์บอนฯ มาก
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
79
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
80
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
การนำ�ไปใช้ วัตถุประสงค์ เพื่อสามารถประยุกต์ ใช้ผลการประเมินคุณค่าของนิเวศบริการ รวมถึงวิธีผนวกผลการประเมินเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนธุรกิจ
ขั้นตอนที่ r การประยุกต์ใช้ (Application) การประยุกต์ใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1) การประยุกต์ใช้ภายใน องค์กร 2) การประยุกต์ใช้ภายนอกองค์กร 3) การสื่อสารประชาสัมพันธ์ 4) การรับมือกับประเด็น ที่เป็นความลับ และ 5) การรับรองผลการประเมิน
q การประยุกต์ ใช้ภายในองค์กร การนำ� ผลการประเมินคุณค่าระบบนิเวศเชื่อมโยงกับ แนวทางและวิธวี เิ คราะห์ทางธุรกิจ เช่น นำ�การ วิเคราะห์ชอ่ งทางการค้าและการประเมินมูลค่า โดยรวมมาประยุกต์ ใช้ ในการประเมินทางเลือก เพื่อประหยัดต้นทุน ซึ่งจะได้ข้อมูลในการ กำ�หนดราคาสินค้าเพื่อเพิ่มรายได้ รวมถึง ทำ�ให้ทราบข้อมูลความเสีย่ งทีจ่ ะช่วยลดต้นทุน
การดำ�เนินงาน สำ�หรับการวิเคราะห์แบบ แจกแจงสามารถใช้ ในการสร้างรายได้ ใหม่ๆ เช่น การขายคาร์บอนเครดิต และเครดิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การเชื่อมโยง ระหว่างการประเมินคุณค่าระบบนิเวศกับการ วิเคราะห์เชิงธุรกิจของบริษัท สามารถแสดง ดังตารางที่ 11
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
81
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
ตารางที่ 11: การประเมินคุณค่าระบบนิเวศกับการประยุกต์ใช้ภายในองค์กร
แนวทาง/วิธีการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ การเชื่อมโยงกับการประเมินคุณค่าของนิเวศบริการ ในรูปตัว เงิน
ด้านการบัญชีบริหาร
การทำ�บัญชีต้นทุนรวม (ผนวกด้านสิ่งแวดล้อม แล้ว) ไม่ใช่รูป ตัวเงิน
การบริหารจัดการด้าน สิ่งแวดล้อม
การพิจารณาบริการของ ระบบนิเวศ (Ecosystem Service Reveiw) การวิเคราะห์ด้วยเงื่อนไขที่ หลากหลาย (Multi-criteria Analysis: MCA) การประเมินความเสี่ยง
การประเมินวงจรชีวิต ผลิตภัณฑ์ (LCA) การบริหารจัดการที่ดิน
82
ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำ�หนดราคาสินค้า กำ�หนดแหล่งรายได้ ใหม่ๆ และการลดต้นทุน หรือ ประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจด้านงบประมาณ และการกำ�หนดราคาสินค้าของบริษัท ช่วยในการทำ�บัญชีต้นทุนรวมที่ครอบคลุมด้าน สิง่ แวดล้อมไว้อย่างสมบูรณ์ โดยการกำ�หนดค่าของ ตัวแปรด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยค่าที่เป็นตัวเงิน ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์โอกาสและความเสี่ยงด้าน สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นแนวทางในการลดต้นทุน เพิ่ม รายได้ ตลอดจนกำ�หนดความสำ�คัญของมาตรการ เกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ช่วยประเมินและจัดอันดับความสำ�คัญของยุทธศาสตร์ ในการบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสจากบริการ ของระบบนิเวศด้านใดด้านหนึ่ง และช่วยกำ�หนด ขอบเขตของผลประโยชน์ทางธุรกิจ ช่วยประเมินทางเลือกของโครงการหรือแผนงานของ บริษัท ทั้งในรูปตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินควบคู่กัน สามารถนำ�ไปใช้ร่วมกับการประเมินความเสี่ยง ในกรณี ที่คาดว่าจะเกิดความเสี่ยงนั้น เพื่อบริหารจัดการความ เสี่ยงของบริษัท ใช้ผลจากการประเมินคุณค่าของนิเวศบริการควบคู่กับ ผลเชิงปริมาณของ LCA ในการลดความเสี่ยงและ ต้นทุน ช่วยกำ�หนดขอบเขตที่สมบูรณ์ของมูลค่าที่เป็นจริง ซึ่งเชื่อมโยงกับแผนการใช้ที่ดินที่แตกต่างกัน และ ช่วยสำ�รวจต้นทุนและผลประโยชน์ ของการบริหาร จัดการในทางเลือกต่างๆ
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
w การประยุกต์ ใช้ภายนอกองค์กร นอกจากจะใช้การประเมินคุณค่าระบบนิเวศ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะได้รับผลประโยชน์ ทางธุรกิจภายในองค์กรแล้ว การประเมินคุณค่า ระบบนิเวศยังช่วยสร้างความมั่นใจว่าองค์กร จะได้รบั ผลประโยชน์จากภายนอกองค์กรมากขึน้ ด้วย เช่น ได้ขอ้ มูลเพือ่ ประเมินหนีส้ นิ และการ จ่ายเงินชดเชย ประเมินมูลค่าหุ้น ประเมินผล การดำ�เนินงานของบริษัท ปรับผลประโยชน์ที่ บริษทั สร้างให้สงั คมอย่างเหมาะสม และทำ�ให้ ทราบถึงทัศนคติและพฤติกรรมของผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย
นอกจากนี้ บริษัทยังสามารถระบุวิธีการที่ เหมาะสมในการสร้างประโยชน์แก่สังคมโดย เปรียบเทียบทางเลือกที่หลากหลาย ส่วนการ ประเมินมูลค่าโดยรวมของการถือครองที่ดิน และสินทรัพย์ทางธรรมชาติจะช่วยให้การ ประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทมีความถูกต้อง มากขึ้น การวิเคราะห์แบบแจกแจงและการ วิเคราะห์การเงินและการชดเชยทีย่ ง่ั ยืน จะช่วย ประเมินว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียควรจะได้รับการ ชดเชยเท่าใด การเชือ่ มโยงระหว่างการประเมิน คุณค่าระบบนิเวศกับการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ ของบริษัท สามารถสรุปได้ ในตารางที่ 12
ตารางที่ 12: การประเมินคุณค่าระบบนิเวศกับการประยุกต์ใช้ภายนอกองค์กร
แนวทาง/วิธีการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ การเชื่อมโยงกับการประเมินคุณค่าของนิเวศบริการ ในรูป ตัวเงิน
ด้านบัญชีการเงิน
การวิเคราะห์ ต้นทุน-ผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ การประเมินผลกระทบ ทางเศรษฐกิจและสังคม การประเมินความเสียหาย ต่อทรัพยากรธรรมชาติ
การประเมินราคาหุ้น
สามารถใช้ข้อมูลจากการประเมินมูลค่าในการระบุค่า ชดเชย ภาระหนี้สิน กระแสรายได้จากแหล่งใหม่ ตลอดจนมูลค่าของที่ดินที่ถือครอง ซึ่งสามารถนำ�ไป แสดงในงบกำ�ไรขาดทุน และงบดุลขององค์กรสำ�หรับ รายงานภายนอกองค์กร สามารถประเมินและปรับผลประโยชน์โดยรวมสุทธิ ที่เป็นไปได้ที่องค์กรจะให้แก่สังคมอย่างเหมาะสม อีกทั้งช่วยกำ�หนดกลุ่มผู้ ได้รับประโยชน์และกลุ่ม ผู้สูญเสียประโยชน์ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นข้อมูลเสริมเพื่อประกอบการประเมินข้อมูลทาง เศรษฐกิจและสังคม ทำ�ให้ทราบถึงมูลค่าของผลกระทบขององค์กรที่มีต่อ ทรัพยากรธรรมชาติ โดยสามารถใช้ประโยชน์ ในการ วางแผนรับมือต่อการเรียกร้องเงินชดเชยหลังจาก เกิดปัญหา เช่น น้ำ�มันรั่วไหลลงแหล่งน้ำ� หรือความ เสียหายต่อแนวปะการัง เป็นต้น เป็นข้อมูลประกอบการประเมินราคาหุ้นในทางทฤษฎี จากแหล่งรายได้ ใหม่ การประหยัดต้นทุน การจัดการ หนี้สิน รวมถึงการบริหารจัดการชื่อเสียงขององค์กร คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
83
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
แนวทาง/วิธีการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ การเชื่อมโยงกับการประเมินคุณค่าของนิเวศบริการ ไม่ใช่ตัว เงิน
การรายงานเกี่ยวกับบริษัท
การประเมินผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อมและสังคม
การประเมินความยั่งยืน การพิจารณาบริการของ ระบบนิเวศ (ESR)
สามารถนำ�เสนอไว้ ในรายงานประจำ�ปีของบริษัท หรือ อาจแปลงเป็นมูลค่าทางการเงินที่จะใช้นำ�เสนอใน รายงานของบริษัทในอนาคต เป็นข้อมูลเพื่อประกอบการประเมินเกณฑ์ฐาน (Baseline) ผลกระทบ และมาตรการบรรเทาและ ส่งเสริม ตลอดจนการประเมินแผนการชดเชย นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ ในการประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ ของบริษัทผ่านการเปรียบเทียบทางเลือกต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งของตัวแปรที่ใช้ประเมินระดับความยั่งยืน ของทรัพยากรธรรมชาติและบริการของระบบนิเวศ ช่วยประเมินและจัดอันดับความสำ�คัญของผลลัพธ์ทาง ยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาส จากบริการของระบบนิเวศด้านใดด้านหนึ่ง และช่วย กำ�หนดขอบเขตของผลประโยชน์ทางธุรกิจที่อาจนำ�ไป ประยุกต์ ใช้กับโครงการภายนอกองค์กร
e การสือ่ สารประชาสัมพันธ์ สิง่ ทีค่ วรคำ�นึง ในการสือ่ สารข้อมูลทีไ่ ด้จากการประเมินคุณค่า ระบบนิเวศ คือ การทำ�ให้ผลของการประเมิน คุณค่าระบบนิเวศมีความชัดเจน เข้าใจง่าย โปร่งใส และตรงประเด็นที่สุดสำ�หรับผู้มี ส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนสามารถเชื่อมโยง ไปถึงประเด็นและเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์
84
กันได้ โดยข้อมูลสำ�คัญที่ควรใช้ ในการสื่อสาร ได้แก่ ความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิธีการ หลักการ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วน เสีย ผลลัพธ์ ข้อพิสูจน์ และการประยุกต์ ใช้ ซึ่งเครื่องมือที่เหมาะสมในการสื่อสารข้อมูล ต่อกลุม่ เป้าหมายต่างๆ ดังแสดงในตารางที ่ 13
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
r การรับมือกับประเด็นที่เป็นความลับ ในการสื่อสารข้อมูลจากการประเมินคุณค่า ระบบนิเวศควรพิจารณาจุดสมดุลระหว่าง ผลประโยชน์และนโยบายของบริษัทเกี่ยวกับ การเก็บรักษาความลับทางการค้ากับความ โปร่งใสของการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณชน และข้อบังคับทางกฎหมาย แนวทางหนึ่งที่จะ ช่วยรักษาความลับได้ระดับหนึ่ง คือ การใช้ ดัชนีและร้อยละแทนการเปิดเผยมูลค่าอย่าง ชัดเจน
ตัวอย่างเช่น การรับมือกับประเด็นที่เป็น ความลับของบริษัท Weyerhaeuser ซึ่ง บริษัทได้พัฒนาวิธีการกำ�หนดค่ามาตรฐาน
ผู้ควบคุมและกำ�หนด นโยบาย
ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
ชุมชน เจ้าของที่ดิน และประชาชน
ผู้ป้อนสินค้าและวัตถุดิบ และลูกค้า
ภาคธุรกิจ
รายงานภายใน รายงานทางเทคนิค รายงานประจำ�ปี การประชุม บทความ เว็บไซต์ ข่าว/สือ ่ และโฆษณา
พนักงานในบริษัท
ตารางที่ 13: เครื่องมือที่ใช้ ในการสื่อสารข้อมูลการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ
เพื่อเปรียบเทียบทางเลือกต่างๆ ในการบริหาร จัดการป่าไม้ โดยนำ�ผลของการประเมิน คุณค่าระบบนิเวศไปประยุกต์และอ้างอิงกับ วิธีการเปลี่ยนแปลงในประสิทธิภาพการผลิต (Change in Productivity) ที่มีผลเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับปริมาณสินค้า ราคาตลาด และ ต้นทุนของบริษัท โดยสร้างดัชนีกระแสเงินสด (cash flow index) ที่มีค่าฐานเท่ากับ 100 และแสดงค่าอื่นเปรียบเทียบในเชิงสัมพัทธ์ ทำ�ให้บริษัทสามารถเปรียบเทียบทางเลือก ต่างๆ และนำ�ข้อมูลที่ได้เสนอต่อผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียโดยไม่ต้องกังวลกับข้อมูลที่มีความ อ่อนไหวหรือเป็นความลับแต่อย่างใด
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
85
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของนิเวศบริการต่อธุรกิจ
ตารางที่ 14: ตัวอย่างการแสดงผลประเมินโดยใช้ดัชนีกระแสเงินสดของบริษัท Weyerhaeuser
โครงการ/แผนงานบริหารจัดการ
ดัชนีกระแสเงินสด
กลุ่มเจ้าของป่าไม้เอกชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท
• ส่วนการผลิตไม้เนื้อแข็ง
100
มาตรฐานอุตสาหกรรม
• ส่วนผลิตไม้เนื้อแข็ง + ชีวมวล + การล่าสัตว์
170
Weyerhaeuser-USA
• ส่วนผลิตไม้เนื้อแข็ง + ชีวมวล + การล่าสัตว์
226
• ไม้เนื้อแข็ง + การเก็บเกี่ยวผลข้ามพื้นที่ + ชีวมวล + การล่าสัตว์
274
• ไม้เนื้อแข็ง + การจำ�กัดการปล่อยคาร์บอน + ชีวมวล + การล่าสัตว์ (ราคาการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 5 เหรียญ สหรัฐต่อเมตริกตัน)
219
• ไม้เนื้อแข็ง + การจำ�กัดการปล่อยคาร์บอน + ชีวมวล + การล่าสัตว์ (ราคาการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 20 เหรียญ สหรัฐต่อเมตริกตัน)
237
t การรับรองผลของการประเมิน การ ทดสอบความถูกต้องของผลการประเมิน คุณค่าระบบนิเวศควรทำ�ในระดับใด ขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์และการ นำ�ไปเผยแพร่ ถ้าจำ�เป็นต้องเผยแพร่ผลการ ประเมินคุณค่าระบบนิเวศสู่ภายนอก องค์กร ควรกำ�หนดรูปแบบในการรับรองผล ซึ่งควร ดำ�เนินการโดยบุคคลหรือองค์กรที่มีคุณสมบัติ เหมาะสม ในกรณีที่ไม่มีกระบวนการรับรอง
86
ผลอย่างเป็นทางการ อาจเพิ่มความน่าเชื่อถือ ของการประเมินคุณค่าระบบนิเวศโดยการ เปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วม ในขั้นตอนการกำ�หนดขอบเขต การประเมิน คุณค่าของนิเวศบริการและการประยุกต์ ใช้ หรือการอ้างอิงคำ�ปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ และ/หรือองค์กรอิสระในด้านเศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
ขั้นตอนที่ t การผนวกไว้ ในการบริหารบริษัท ขั้นตอนสุดท้ายคือ การนำ�การประเมินคุณค่าระบบนิเวศเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหาร จัดการและระบบที่บริษัทมีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งควรดำ�เนินการอย่างตรงไปตรงมา เช่น นำ�การประเมิน คุณค่าระบบนิเวศบรรจุไว้รายงานของบริษัททั้งรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESIA) และรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability Development Report: SD Report) ซึง ่ ควรดำ�เนินการ ดังนี้
5.1 จัดตั้งคณะทำ�งาน ผู้รับผิดชอบในการ ประเมินคุณค่าระบบนิเวศควรประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงที่มีอำ�นาจในการตัดสินใจ นโยบายและการดำ�เนินงานของบริษัท ไปจนถึงเจ้าหน้าทีท่ ร่ี บั ผิดชอบเฉพาะด้าน เช่น ฝ่ายเทคนิค ฝ่ายวิจัย และฝ่ายปฏิบัติการ เพื่อเป็นผู้นำ�และสนับสนุนส่งเสริมการ ใช้ประโยชน์จากการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ 5.2 สร้างความตระหนักรู้ภายในองค์กร การระดมพลังสนับสนุน สร้างความตื่นตัว และตระหนักรู้ของบุคลากรทั้งองค์กรเกี่ยวกับ การผนวกการประเมินคุณค่าของนิเวศบริการ ไว้ ในกระบวนการทำ�งานหรือแผนธุรกิจของ บริษทั นัน้ มีความจำ�เป็นอย่างยิง่ ดังนัน้ บริษทั ต้องสือ่ สารทำ�ความเข้าใจถึงประโยชน์ของการ ประเมินคุณค่าระบบนิเวศ และกรณีศึกษาใน การประยุกต์ ใช้ ให้กับพนักงานภายในองค์กร ได้รับทราบโดยทั่วกัน ซึ่งอาจใช้วิธีการสื่อสาร ผ่านเว็บไซต์ บทความ จดหมายข่าว หรือ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 5.3 พัฒนาบุคลากร การให้ความรู้แก่ พนักงานและคณะทำ�งานในบริษัท เพื่อให้
เกิดความมัน่ ใจว่า การประยุกต์ ใช้การประเมิน คุณค่าระบบนิเวศเป็นกระบวนการหนึ่งของ องค์กรทีจ่ ะสามารถพัฒนาต่อเนือ่ งควบคูไ่ ปกับ การเติบโตขององค์กร อีกทั้งอาจจำ�เป็นต้อง จัดการอบรมเชิงปฏิบัติเป็นการเฉพาะสำ�หรับ กลุม่ พนักงานทีม่ แี นวโน้มว่าจะมีสว่ นเกีย่ วข้อง อย่างใกล้ชิดในการจัดทำ� หรือควบคุมการ ประยุกต์ ใช้ผลการประเมินคุณค่าของนิเวศ บริการ 5.4 กำ�หนดขอบเขต คือการกำ�หนดพื้นที่ หรือหน่วยงานภายในองค์กรที่จะนำ�แนวทาง และผลลัพธ์จากการประเมินคุณค่าระบบ นิเวศไปประยุกต์ ใช้ ซึ่งจะทำ�ให้การประเมิน คุณค่าระบบนิเวศถูกผสานรวมเข้าเป็นเนื้อ เดียวกับการทำ�งานของบริษัทต่อไป ในทางปฏิบัตินั้น แน่นอนว่าการประยุกต์ ใช้ ของบริษัทอาจจะคล้ายหรือไม่คล้ายกับกรณี ศึกษาก็ได้ ทั้งในด้านขอบเขต แนวทาง วิธีประยุกต์ ใช้ ประเด็นทางเทคนิค พื้นที่ทาง ภูมิศาสตร์ หน่วยงานที่นำ�ไปประยุกต์ ใช้ และ ประเด็นอื่นๆ
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
87
บทส่งท้าย
บทส่งท้าย คุณค่าของระบบนิเวศ การดำ�เนินธุรกิจ และการ ดำ�รงชีวิตของมนุษย์ ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ กันไม่มากก็นอ้ ย ผู้ใดมองเห็นความเชือ่ มโยงเหล่านี้ ได้ครบทุกมิติก็จะมีความได้เปรียบทางการค้า เพิ่ม ผลกำ�ไรจากการประกอบการ ลดความเสี่ยงจาก ความผันผวนของปริมาณวัตถุดบิ และสภาพแวดล้อม ขณะที่ชุมชนและสังคมก็จะรับรู้ภาพลักษณ์การ รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของบริษัท การประเมิน คุณค่าของนิเวศบริการของบริษัทเปรียบเสมือนการ ได้นง่ั ลงทบทวน ตรวจตราการดำ�เนินธุรกิจทีผ่ า่ นมา ทำ�ให้ทุกฝ่ายในบริษัทเห็นภาพในกระจกที่สะท้อน ความเป็นตัวตนของบริษัทได้ดี การหาแนวทาง ทำ�งานร่วมกันกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นคู่ค้า และผู้บริโภค จะเปิดวิสัยทัศน์ สร้างความคิด และ ได้ข้อสรุปที่ธุรกิจสามารถนำ�ไปใช้งานได้จริง ในทาง ที่ทำ�ให้ธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ได้เดินหน้า บนถนนสู่ความยั่งยืนไปพร้อมกัน สำ�หรับกรณีศึกษาบริษัทต่างประเทศเพิ่มเติมจาก ในคู่มือเล่มนี้ และกรณีศึกษาบริษัทไทยที่ได้เริ่ม คำ�นึงถึงความสำ�คัญของระบบนิเวศต่อธุรกิจ เชิญติดตามและดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ บริษัทป่าสาละ -- www.salforest.com
88
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
Photo by Charles Yeager
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
89
นิยามศัพท์เฉพาะ
ระบบนิเวศ (Ecosystem)
หมายถึง กิจกรรมที่สัมพันธ์กันและมีการ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของพืช สัตว์ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก (micro-organism) และ สภาพแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต ในฐานะที่เชื่อมร้อย เป็นระบบเดียวกัน ตัวอย่างของระบบนิเวศ ได้แก่ ทะเลทราย แนวปะการัง พื้นที่ชุ่มน้ำ� ป่าดิบชื้น ป่าพรุ ทุ่งหญ้า รวมถึงระบบนิเวศ ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น ฟาร์ม และพื้นที่เกษตร ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)
หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตหลายชนิดพันธุ์ ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก นิเวศบริการ หรือ บริการของ ระบบนิเวศ (Ecosystem Services)
บางครั้งเรียกว่า “บริการทางด้านสิ่งแวดล้อม” หรือ “บริการทางด้านระบบนิเวศ” หมายถึง ผลประโยชน์ที่มนุษย์ ได้จากระบบนิเวศ ทั้งจากสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทาง ชีวภาพ เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของคนและสังคม เช่น น้ำ� ไม้ซุง
90
ความสามารถในการควบคุมสภาพภูมิอากาศ การลดความเสี่ยงทางภัยธรรมชาติ การควบคุมการชะล้างพังทลายของดิน การพักผ่อนหย่อนใจ และการดูดซับ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ฯลฯ การประเมินคุณค่าระบบนิเวศของ ภาคธุรกิจ (Corporate Ecosystem Valuation : CEV)
หมายถึง การประเมินมูลค่าความสูญเสียของ ระบบนิเวศจากภาคธุรกิจ และคุณค่าบริการ ของระบบนิเวศทีภ่ าคธุรกิจได้รบั เพือ่ ปรับปรุง การตัดสินใจของภาคธุรกิจในการบริหาร จัดการความเสี่ยงและพัฒนาโอกาสทางธุรกิจ ที่จะเกิดขึ้นจากบริการของระบบนิเวศ บริการของระบบนิเวศที่สำ�คัญ (Priority Ecosystem Services)
หมายถึง บริการของระบบนิเวศที่บริษัทต้อง พึ่งพิง และ/หรือส่งผลกระทบในระดับสูง และกลายเป็นแหล่งความเสี่ยงหรือโอกาสทาง ธุรกิจที่มีแนวโน้มเป็นไปได้มากที่สุด
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
ผลกระทบภายนอกทางด้าน สิ่งแวดล้อม (Environmental Externalities)
ผลกระทบภายนอกทางด้าน สิ่งแวดล้อมอืน ่ ๆ (Other Environmental Externalities : OEEs)
หมายถึง ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบนิเวศ การบริการของระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งไม่ได้เป็น ผู้กระทำ� แต่ได้รับผลจากการกระทำ�ของผู้อื่น ทั้งที่เป็นผลทางบวกและผลทางลบ เช่น โรงงานเหล็กและรีสอร์ต ทัง้ สองตัง้ อยูร่ มิ แม่น� ำ้ การผลิตของโรงงานจะระบายของเสียลงแม่น� ำ้ แต่ธุรกิจรีสอร์ตต้องการความสะอาดและ ทัศนียภาพของแม่น้ำ� เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ดังนั้น การผลิตของโรงงานเหล็กทำ�ให้เกิด ผลกระทบทางลบต่อธุรกิจรีสอร์ต หรือกรณี การลงทุนของเจ้าของที่ดินรายหนึ่งที่อยู่ต้นน้ำ� ในการพัฒนาแหล่งน้ำ�ส่งผลประโยชน์ต่อ ผู้ที่อยู่ใต้แหล่งน้ำ�ลงมา หรือการกักเก็บน้ำ�ใน พื้นที่ต้นน้ำ� ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตและผู้ที่อาศัยอยู่ ใต้แหล่งน้ำ�เกิดภาวะขาดแคลนน้ำ� เป็นต้น
หมายถึง ผลกระทบที่มีผลต่อผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียอื่นซึ่งไม่ได้เป็นผู้กระทำ� เช่น การ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมลพิษทางอากาศ ซึ่งจะรวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพด้วย ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
หมายถึง การใช้ระบบของหน่วยงาน คน เทคโนโลยี กิจกรรม ข้อมูลข่าวสาร และ ทรัพยากร มาประยุกต์เข้าด้วยกัน เพื่อการ เคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการ จากผู้จัดหา ไปยังลูกค้า ซึ่งรวมถึงกิจกรรมการผลิตสินค้า หรือบริการ การจัดเก็บ และการกระจายสินค้า ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
หมายถึง กิจกรรมที่มีความสัมพันธ์และ เชือ่ มโยงกันเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับปัจจัย การผลิต โดยเริม่ ตัง้ แต่กระบวนการนำ�วัตถุดบิ จากผู้ขายวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต การจัดจำ�หน่าย จนถึงการจัดส่งสินค้าไปสู่ ผู้บริโภคคนสุดท้าย และบริการหลังการขาย
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
91
ภาคผนวก: ขั้นตอนการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ
ขั้นตอน
1. ก�ำหนดขอบเขต
2. การวางแผน
กิจกรรม
ตอบคำ�ถาม 10 ข้อเพื่อ นำ�ไปสู่การกำ�หนดขอบเขต
วางแผนการประเมิน
องค์ประกอบที่สำ�คัญ
บริการของระบบนิเวศ
เนื้อหาและขอบเขต การประเมิน
ประเด็นธุรกิจ
วิธีการ
ลักษณะของธุรกิจ
รายงานการให้ข้อมูล
วัตถุประสงค์
รายละเอียดคณะทำ�งาน
ขอบเขตการศึกษา
แผนผังเวลาอย่างละเอียด
โครงการ
งบประมาณอย่างละเอียด
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เทคนิคการประเมิน ข้อจำ�กัดการนำ�ไปปฏิบัติ
92
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
3. การประเมินมูลค่า
4. การประยุกต์ ใช้
5. การผนวกไว้ใน การบริหาร
ทำ�การประเมินใน 9 ขัน้ ตอน
นำ�ผลการประเมิน ไปประยุกต์ ใช้
นำ�การประเมินระบบนิเวศ ไปใช้ ในบริษัท
ลักษณะของธุรกิจ
การใช้ภายในองค์กร
ความเห็นชอบของบริษัท
Baseline ด้านสิ่งแวดล้อม
การใช้ภายนอกองค์กร
เชื่อมโยงกับการปฏิบัติ
การเปลี่ยนแปลงทางเคมี กายภาพ
การประยุกต์ ใช้ผลการ ประเมิน
การพัฒนาความสามารถ
การเปลี่ยนแปลงด้าน สิ่งแวดล้อม
การรักษาความลับ
การประเมินเชิงคุณภาพ
การตรวจสอบ
การเปลี่ยนมูลค่าบริการของ ระบบนิเวศให้เป็นตัวเงิน ระบุผลประโยชน์และต้นทุน เปรียบเทียบผลประโยชน์ และต้นทุน การวิเคราะห์ความอ่อนไหว
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
93
ภาคผนวก
ขั้นตอน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
แหล่งข้อมูล
1. ก�ำหนดขอบเขต
ผู้จัดการฝ่ายสิ่งแวดล้อม
ผู้จัดการฝ่ายบริหาร
เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ
เจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อม
นักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม
แผนกการเงิน
()
ผู้ถือประโยชน์ร่วม
()
ผู้จัดการทุกฝ่ายภายในองค์กร
การวิเคราะห์ภายในองค์กรที่มีอยู่
ผู้ถือประโยชน์ร่วมส่วนท้องถิ่น
()
เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ
ผู้ถือประโยชน์ร่วมที่มีความ เชี่ยวชาญ
()
การวิจัยที่เผยแพร่ แหล่งอื่นๆ และเครื่องมือ ผลจากการดำ�เนินงาน
การวิเคราะห์ ขอบเขตการ ประเมินคุณค่า ระบบนิเวศ อย่างละเอียด
ระยะเวลาที่ใช้
1 ถึง 4+ สัปดาห์
94
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
2. การวางแผน
3. การประเมินมูลค่า 4. การประยุกต์ ใช้
5. การผนวกไว้ใน การบริหาร
()
แผนการดำ�เนินการ ประเมินคุณค่า ระบบนิเวศ อย่างละเอียด
การเปรียบเทียบ ผลประโยชน์และ ต้นทุน
รายงานและ ผลงานต่างๆ
วิธีดำ�เนินการ แบบผสมผสาน
1 ถึง 4+ สัปดาห์
2 ถึง 20+ สัปดาห์
1 ถึง 10+ สัปดาห์
5 ถึง 100+ สัปดาห์
คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำ�หรับภาคธุรกิจ
95