อโศกไม่ใช่ยูโธเปีย

Page 1

1

สารบัญ บทน�ำ........................................................................................๒ วิถชี วี ติ ชาวอโศก.........................................................................๖ เศรษฐศาสตร์ชาวอโศก..............................................................๑๓ - บุญนิยม.....................................................................๑๖ - เศรษฐศาสตร์บุญนิยม...............................................๑๗ - พาณิชย์บญ ุ นิยม........................................................๒๗ - สาธารณโภคี.............................................................๒๙ นักบวชชาวอโศก.....................................................................๓๖ ประวัตสิ มณะโพธิรกั ษ์..............................................................๔๔ ชาวอโศกกับการปฏิบตั ธิ รรม....................................................๕๑ - มรรคองค์ ๘...............................................................๕๔ - จรณะ ๑๕ วิชชา ๘...................................................๕๗ - สมาธิพุทธ.................................................................๖๓ - เวทนาคือกรรมฐาน....................................................๖๕ - ไตรลักษณ์.................................................................๖๗ อโศกกับยูโทเปีย......................................................................๗๐


2

บทน�ำ ในบรรดาประเทศต่ า งๆที่ มี พ ลเมื อ งนั บ ถื อ ศาสนาพุ ท ธ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพลเมืองนับถือศาสนาพุทธมากที่สุด (ประมาณ ๙๕% ของประชากรทั้งหมด) ศาสนาพุทธอยู่คู่กับ ประเทศไทยมาไม่น้อยกว่า ๗๐๐ ปี นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งอาณาจักร สุโขทัย ซึ่งเป็นอาณาจักรแห่งแรกของชนชาวไทย ตลอดหลาย ศตวรรษทีผ่ า่ นมา ประเพณีปฏิบตั ติ า่ งๆ ทางศาสนาได้เปลีย่ นแปลง ไปตามความเชื่ อ สภาพของสั ง คม เศรษฐกิ จ และการเมื อ งใน แต่ละยุคแต่ละสมัย ชาวอโศกเป็นเพียงชาวพุทธกลุ่มเล็กๆ ซึ่งปฏิบัติตนโดย มีความเชื่อที่แตกต่างไปจากชาวพุทธกระแสหลักในประเทศไทย สมณะโพธิรกั ษ์ซงึ่ เป็นผูก้ อ่ ตัง้ ชุมชนชาวอโศกเห็นว่า ชาวอโศกมีศลี และทิฏฐิที่แตกต่างกับชาวพุทธกระแสหลัก จึงได้ประกาศแยกตัว ออกมาจากคณะสงฆ์ไทย เมือ่ ปี พ.ศ.๒๕๑๘ และก่อตัง้ หมูก่ ลุม่ ของ ตนเองขึ้นมา โดยอาศัยหลักนานาสังวาส (คือสงฆ์ที่ไม่ร่วมอุโบสถ ด้วยกัน ไม่ร่วมสังฆกรรมด้วยกัน) ในพระธรรมวินัย การปฏิบัติในช่วงแรกของชาวอโศกไม่ได้รับการยอมรับ


3

จากสังคม เนื่องจากสิ่งที่ปฏิบัตินั้นแตกต่างไปจากความเชื่อและ ประเพณีที่ชาวพุทธกระแสหลักในประเทศไทยได้ยึดถือและปฏิบัติ สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน หลายคนมองว่าชาวอโศกปฏิบตั นิ อกรีต ซึง่ อาจเป็นเพราะนักบวชของชาวอโศกไม่ได้จดุ ธูปเทียนบูชา หรือ รดน�้ำมนต์ในพิธีกรรมต่างๆ รวมทั้งไม่ได้รับเงินหรือใช้เงินเพื่อ ประโยชน์ส่วนตัว เนื่องจากชาวอโศกเห็นว่าพิธีกรรมและข้อ ปฏิบัติเหล่านั้น เป็นการกระท�ำที่ผิดวินัย ตามที่มีถ้อยค�ำปรากฏ ห้ามไว้ในพระไตรปิฎก ด้วยความเชื่ออย่างจริงใจว่า สิ่งที่ปฏิบัตินั้นควรถูกต้อง ตามค�ำสอนของพระบรมศาสดาอย่างแท้จริง ชาวอโศกจึงยืนหยัด ยืนยันและปฏิบัติพิสูจน์ตนเองเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นเวลา มากกว่า ๔๐ ปี ขณะนี้ก็เริ่มมีผู้ที่เข้าใจและยอมรับแนวทางการ ปฏิบัติตน ตลอดจนอุดมการณ์ของชาวอโศกมากขึ้น สมณะโพธิรักษ์กล่าวว่า “ศาสนาคือพลังรวมของสังคม” ศาสนาพุทธมีลักษณะที่เป็นพลวัต (Dynamic) มีความเกี่ยวข้อง กับมนุษย์และสังคม การปฏิบัติธรรมของศาสนาพุทธจึงต้องไม่ แยกตัวออกไปจากสังคม ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีมรรคองค์ ๘ ที่ ก�ำหนดให้ปฏิบัติ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ อันเป็นเรื่องชีวิตปกติสามัญของมนุษย์นั่นเอง ส่วนการปลีกวิเวก เพื่อไปนั่งหลับตา (ท�ำสมาธิ) เพียงอย่างเดียวนั้น ย่อมแสดงให้ เห็นอยู่ในตัวว่า ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อมรรคในเรื่องสัมมาวาจา (ค�ำพูด) สัมมากัมมันตะ (การกระท�ำ) และสัมมาอาชีวะ (อาชีพ) ตามที่กล่าวมาได้เลย การนั่งหลับตาจึงไม่ใช่การปฏิบัติที่ถูกต้อง ตามค�ำสอนที่ระบุไว้ในหลักอปัณณกปฏิปทา ๓ ไม่สามารถน�ำไป


4

สู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง ปัจจุบันชาวอโศกมีชุมชนขนาดใหญ่รวม ๗ แห่ง และมี ชุมชนเล็กๆ อีกหลายแห่งกระจายกันอยู่ทั่วประเทศไทย ใน บรรดาชุ ม ชนขนาดใหญ่ นั้ น ชุ ม ชนราชธานี อ โศกซึ่ ง ตั้ ง อยู ่ หมู่ที่ ๑๐ ต�ำบลบุ่งไหม อ�ำเภอวารินช�ำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ถือเป็นเสมือนเมืองหลวงของชาวอโศก เนื่องจากมีลักษณะและ องค์ประกอบต่างๆ ตามอุดมการณ์ของชาวอโศกอย่างครบถ้วน ชุมชนขนาดใหญ่ทุกแห่ง (บางครั้งเรียกว่า “พุทธสถาน”) จะประกอบไปด้วย บ้าน-วัด-โรงเรียน ซึ่งเรียกย่อๆ ว่า “บวร” ชุมชนทีไ่ ม่มโี รงเรียนเป็นองค์ประกอบร่วมด้วยจะไม่เรียกว่า “บวร” “บวร” คือ สภาพแวดล้อมที่มีการอยู่รวมกัน โดยมี บ้านวัด-โรงเรียน เชื่อมประสานกันเป็นหนึ่งเดียว กิจกรรมต่างๆ ของชุมชนจะถูกก�ำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียน การสอน และถือเป็นการเรียนรู้ที่ส�ำคัญ การศึกษาของชาวอโศก ไม่ได้จ�ำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น สามารถจัดขึ้นที่ไหนก็ได้ ทั้งในและนอกบริเวณชุมชน นักบวชและชาวชุมชนจะช่วยกันท�ำ หน้าทีเ่ ป็นครูโดยไม่มคี ่าตอบแทน นักเรียนจะได้เรียนรูแ้ ละฝึกหัด ท�ำงานเคียงข้างผู้ใหญ่ในสถานประกอบการต่างๆ ของชุมชน ชุมชนชาวอโศกเป็นชุมชนของคนยากจนที่สามารถพึ่ง ตนเองได้อย่างพอเพียง จัดเป็นชุมชนประเภท Intentional Community (ชุมชนที่สมาชิกใช้ชีวิตร่วมกันโดยมีจุดมุ่งหมาย อย่างหนึ่งอย่างใดร่วมกัน ซึ่งอาจเป็นด้านสังคม สิ่งแวดล้อม หรือเศรษฐกิจ ฯลฯ) ชาวอโศกมีระบบเศรษฐกิจของตนเองเรียกว่า “เศรษฐกิจบุญนิยม” มีการบริโภคร่วมกันจากส่วนกลางที่เรียกว่า


5

“สาธารณโภคี” ชุมชนทุกแห่งพึ่งตนเองด้วยการท�ำกสิกรรมไร้ สารพิษ (ไม่ใช้สารเคมีในทุกขัน้ ตอน) ผลิตปุย๋ หมักใช้เองและมีระบบ จัดการขยะที่เหมาะสมของตนเอง ทุกคนในชุมชนท�ำงานฟรี (ไม่มี ค่าตอบแทน) ผลผลิตหรือรายได้ทงั้ หมดทีเ่ กิดจากการท�ำงานของ ทุกคนในชุมชน จะถูกน�ำเข้าไปรวมไว้ในกองกลาง (สาธารณโภคี) เพื่อประโยชน์ของสมาชิกทุกคนในชุมชน สังคมชาวอโศกเป็นรูปแบบของการใช้ชีวิตร่วมกัน โดย อาศัยศาสนาพุทธเป็นแนวทางในการด�ำเนินชีวิต ซึ่งมีเป้าหมาย สูงสุดเพือ่ การหลุดพ้นจากความทุกข์โดยสิน้ เชิง อันเป็นความใฝ่ฝนั ของพุทธศาสนิกชนทุกคน แต่ส�ำหรับผู้ที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชน ยูโทเปีย (Utopia) น่าจะเป็นสังคมในอุดมคติที่ทุกคนใฝ่ฝันถึง เพราะเป็นสังคมที่มีแต่ความดีงาม ผู้คนมีน�้ำใจ เป็นมิตรและตั้งมั่น ในคุณธรรม บ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อย น่าอยู่ มีความยุตธิ รรม และมีการจัดระเบียบทางสังคมอย่างสมบูรณ์แบบ เท่านีก้ น็ า่ จะเพียง พอส�ำหรับผู้ที่แสวงหาความสุขในชีวิต หนังสือเล่มนี้จะแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ ของชาวอโศก ซึ่งอาจมีความคล้ายคลึงและแตกต่างจากสังคม ยูโทเปียอยู่หลายส่วน ผู้อ่านสามารถเทียบเคียงและเลือกสรร เอาส่วนที่ดีมาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมต่อไป


6


7


8


9


10

วิถีชีวิตชาวอโศก พระพุทธเจ้าก�ำหนดหลักปฏิบตั ทิ ไี่ ม่ผดิ (อปัณณกปฏิปทา) ของศาสนาพุทธไว้ ๓ ประการ คือ ส�ำรวมอินทรีย ์ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคะ ถ้าไม่มกี ารปฏิบตั ิ ๓ อย่างนี้ก็ไม่ใช่การปฏิบัติ ของศาสนาพุทธ สมณะโพธิรักษ์จึงเน้นเสมอว่า การนั่งหลับตา สมาธิไม่ใช่การปฏิบัติของพุทธ ไม่ใช่การปฏิบัติที่จะพาให้บรรลุ นิพพานได้ เพราะไม่มีการส�ำรวมอินทรีย์ ๖ ไม่มีการสัมผัสกับ เครื่องอุปโภคบริโภค และไม่มีสติรับรู้ที่ตื่นเต็ม การตื่นอยู่ภายใน (ขณะนั่งหลับตาสมาธิ) ไม่ใช่ชาคริยานุโยคะ จะต้องตื่นเต็มออกมารับรู้ภายนอก โดยมีสติที่สมบูรณ์ รูเ้ ท่าทันกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม และมีสติสมั ปชัญญะ ปัญญา รับรู้อย่างเต็มที่กับสิ่งที่ก�ำลังสัมผัสสัมพันธ์อยู่ในขณะนั้น ในชีวิตประจ�ำวันของคนเราจะต้องเกี่ยวข้องกับของกิน ของใช้ เมือ่ สัมผัสกับของทีจ่ ำ� เป็นต้องกินต้องใช้ เราต้องอ่านเวทนา ที่เกิดขึ้นให้ได้ เพราะการเรียนรู้ธรรมะของพระพุทธเจ้าต้องเรียนรู้ จากเวทนาเป็นส�ำคัญ


11

การปฏิบัติธรรมของชาวอโศกในเบื้องต้น จึงเน้นเรื่องการ กิน-อยู-่ หลับนอน และถือว่าการท�ำงานคือการปฏิบตั ธิ รรม เพราะ การท�ำงานท�ำให้เกิดผัสสะซึ่งก่อให้เกิดเวทนา ท�ำให้เรามีโอกาส อ่านเวทนาทีเ่ กิดขึน้ และตรวจสอบว่ามีกเิ ลสหรือไม่ แล้วจัดการกับ กิเลสนั้นให้หมดไป ทุกคนในชุมชนของชาวอโศกถือศีล ๕ (เป็นอย่างต�่ำ) รับ ประทานอาหารมังสวิรัติ และเว้นขาดจากอบายมุขทั้ง ๖ คือ การ เสพของมึนเมาให้โทษ การเที่ยวกลางคืน การเที่ยวดูมหรสพการ ละเล่น การเล่นการพนัน การคบคนชัว่ เป็นมิตร และการเกียจคร้าน ท�ำการงาน ชี วิ ต ความเป็ น อยู ่ ข องชาวอโศกเน้ น เรื่ อ งความมั ก น้ อ ย สันโดษ ซึ่งจะเห็นได้จากการสวมใส่เสื้อผ้าที่เรียบง่าย ไม่สวม รองเท้า ผู้หญิงนิยมสวมใส่ผ้าถุง โดยไม่มีเครื่องประดับตกแต่ง ส่วนผู้ชายนิยมสวมใส่กางเกงไทยใหญ่ ชาวอโศกสนับสนุนให้ผู้คนใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายสมถะ เพราะความหรูหราฟุ่มเฟือยและความใหญ่โตไม่ใช่ลักษณะของนัก ปฏิบัติธรรม แม้พระพุทธเจ้าเองก็ทรงด�ำรงพระชนม์ชีพอยู่ด้วย ปัจจัยสี่เท่านั้น กิจวัตรประจ�ำวันของชาวอโศกเรียบง่าย โดยจะตื่นนอน กันแต่เช้า รับประทานอาหารเพียงวันละหนึ่งหรือสองมื้อ (ไม่รับ ประทานอาหารและเครื่องดื่มนอกมื้ออีก) และท�ำงานตลอดทั้งวัน การรับประทานอาหารเพียงวันละหนึ่งมื้อเป็นความพอดีในการ บริโภคและเป็นการลดละกิเลสไปพร้อมกันด้วย


12

กิจวัตรประจ�ำวันของชาวชุมชน (ทัง้ นักบวชและฆราวาส) มีดังต่อไปนี้ (อาจมีข้อที่แตกต่างกันบ้างเล็กน้อยในแต่ละชุมชน) ๓:๓๐ ๔:๐๐ ๖:๐๐ ๙:๐๐ ๑๐:๐๐

ตื่นนอน ท�ำวัตรเช้า (สวดมนต์และฟังธรรม) สมณะและสิกขมาตุออกบิณฑบาต ฟังธรรมก่อนฉัน สมณะ สิกขมาตุ และชาวชุมชนรับประทาน อาหารร่วมกัน ๑๒:๐๐ ท�ำงาน ๑๘:๐๐ ฟังธรรมภาคค�่ำ ๒๑:๐๐ เข้านอน


13


14


15


16

เศรษฐศาสตร์ชาวอโศก บุญนิยม “บุญนิยม” เป็นค�ำทีบ่ ญ ั ญัตขิ นึ้ ใหม่โดยสมณะโพธิรกั ษ์ ซึง่ เจตนาก�ำหนดหมายให้เป็นค�ำที่ใกล้เคียงกับค�ำว่า “ทุนนิยม” เพื่อ จะได้ใช้เปรียบเทียบกันระหว่างทุนนิยมกับบุญนิยม ค�ำว่า “บุญ” มาจากภาษาบาลีว่า “ปุญญ” แปลว่า ช�ำระ สันดาน (นิสยั ไม่ดที มี่ มี ายาวนาน) ให้หมดจดหรือช�ำระกิเลสสันดาน ให้หมดจด บุญทีไ่ ด้ถงึ ขัน้ สูงสุด ก็คอื ได้ชำ� ระกิเลสในใจออกจนหมด “บุญนิยม” จึงเป็นระบบที่บุญเจริญเข้าขั้นปรมัตถสัจจะเป็นโลกุตตระ ซึ่งแตกต่างไปจาก “บุญ” ตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกัน ผู้ที่จะปฏิบัติตามระบบบุญนิยมได้จะต้องมีปัญญา โดย เฉพาะจะต้องมีความยินดี (ฉันทะ) เป็นสิ่งแรกที่ส�ำคัญก่อนอื่นใด ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในมูลสูตร ๑๐ หากไม่มีความยินดีในจิต เป็นเบื้องต้นก่อน การปฏิบัติที่จะเกิดผลหรือ “เป็นบุญ” สูงสุด ก็ เป็นไปไม่ได้ ระบบบุญนิยม เริ่มต้นจากชาวอโศกกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่งมา


17

อาศัยอยูร่ ว่ มกัน โดยปฏิบตั ติ ามหลักมรรคองค์ ๘ ซึง่ สมณะโพธิรกั ษ์ กล่าวว่า “ถ้าปฏิบัติมรรคองค์ ๘ ได้อย่างถูกต้อง เราจะสามารถ ลดละความโลภ-โกรธ-หลง ลงได้เรื่อยๆ จนกระทั่งสามารถก�ำจัด กิเลสให้หมดสิ้นเกลี้ยงได้ในที่สุด” ชาวพุทธที่แท้จริงจะเป็นคนที่ มีความเห็นแก่ตวั น้อยลง ขยันขันแข็งมากขึน้ มีความเมตตากรุณา มากขึ้น และยินดีที่จะท�ำงานรับใช้ผู้อื่น เพราะโดยส่วนตนนั้นไม่มี ความจ�ำเป็นที่จะต้องบ�ำเรอตัวเองอีกต่อไปแล้ว “บุญนิยม” เป็นระบบที่ถือเอาการช�ำระกิเลสเป็นส�ำคัญ ซึ่งตรงข้ามกับระบบ “ทุนนิยม” ที่เน้นการแสวงหาหรือกอบโกย เอามาให้แก่ตนมากๆ “บุญนิยม” คือ ระบบเศรษฐกิจที่เป็นไป ตามแนวทางค�ำสอนของศาสนาพุทธ เป็นเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธที่ เกิดจากการตีความและการปฏิบัติตามแนวทางของชาวอโศก ซึ่ง ได้ผ่านการพิสูจน์มาเป็นเวลามากกว่า ๔๐ ปี ว่าเป็นอีกทางเลือก หนึ่งที่ยั่งยืนและเป็นไปได้จริง นอกเหนือไปจากระบบทุนนิยมที่มี อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนัน้ “บุญนิยม” ยังเป็นหลักการพืน้ ฐานในกิจกรรม ทุกด้านของชาวอโศก เช่น พาณิชย์บุญนิยม การศึกษาบุญนิยม สื่อสารบุญนิยม สุขภาพบุญนิยม บริโภคบุญนิยม กสิกรรมบุญ นิยม ฯลฯ

เศรษฐศาสตร์บุญนิยม สมณะโพธิรักษ์มีความคิดเห็นและมีความเข้าใจในเรื่อง เศรษฐศาสตร์แตกต่างไปจากที่นักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปศึกษาและ


18

เข้าใจกัน ท่านเห็นว่าเศรษฐศาสตร์ที่แท้จริงไม่ได้มีความหมาย เพียงแค่เรื่องของการผลิต การบริโภค การจ�ำหน่ายสินค้า การให้ บริการ การกระจายรายได้ หรือเรือ่ งอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องทางกายภาพ ของมนุษย์เท่านัน้ เศรษฐศาสตร์ทสี่ มบูรณ์จะต้องเกีย่ วข้องและเป็น ไปเพือ่ ประโยชน์ทางด้านจิตวิญญาณของทุกฝ่ายไปพร้อมๆ กันด้วย ในความเป็นจริงแล้ว ทุกการกระท�ำของมนุษย์จะมีเรื่อง ของจิตวิญญาณเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ดังนั้น ทุกกิจกรรมทาง เศรษฐศาสตร์ ควรต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางด้านจิตวิญญาณ ของฝ่ายผู้ผลิต ผู้จ�ำหน่ายสินค้า หรือผู้ให้บริการ ในขณะเดียวกัน ก็ควรต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของฝ่ายผู้บริโภค ผู้รับบริการ หรือประโยชน์ของสังคมไปพร้อมกันด้วย จึงจะเป็นเศรษฐศาสตร์ ที่ดี มีความครบถ้วน สมดุลและสมบูรณ์สูงสุด เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์บุญนิยม คือ การท�ำให้คนใน สังคมสามารถด�ำรงชีวติ ได้อย่างพอเพียงและมัน่ คง โดยการปฏิบตั ิ ตามค�ำสอนของศาสนาพุทธ ซึง่ มีทศิ ทางทีเ่ ป็นไปเพือ่ ความหลุดพ้น เพื่อลดการเอามาเสพให้แก่ตน (บ�ำเรอตัวเองน้อยลง) โดยสอนให้ เป็นคนมีประสิทธิภาพ มีความเมตตา รู้จักการให้ การเสียสละ จนน�ำไปสู่การแบ่งปันผลผลิต หรือกระจายความมั่งคั่ง อันเป็นไป เพื่อประโยชน์ทางด้านจิตวิญญาณของผู้ให้ และประโยชน์สูงสุด ของผู้รับหรือของสังคมเป็นส�ำคัญ สมณะโพธิรกั ษ์เห็นว่า สมรรถนะกับความขยันเป็น “ทรัพย์ แท้” ของมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุด ทรัพย์แท้เหล่านี้คือกุญแจส�ำคัญ ที่จะน�ำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ไม่ใช่เรื่องของ ทรัพย์สินเงินทองและวัตถุสิ่งของต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้


19

และมีปริมาณจ�ำกัด สมณะโพธิรักษ์เน้นว่า เศรษฐกิจจะดีต้องเริ่มต้นด้วยการ เปลี่ยนแปลงที่ตัวของปัจเจกบุคคลเสียก่อน ถ้าแต่ละคนมีความ ยินดีกับชีวิตที่เรียบง่ายและมีความพอเพียง อีกทั้งพากเพียรที่จะ ท�ำตนให้เป็นคนมีสมรรถภาพ ขยันขันแข็ง และเสียสละ บุคคลนั้น ก็จะสร้างผลผลิตได้มาก โดยใช้ต้นทุน (ปัจจัยการผลิต) ที่ต�่ำ ซึ่ง ก็คือมีประสิทธิภาพสูงสุด (Optimal Efficiency) และเมื่อมีบุคคล ที่มีลักษณะดังกล่าวมาอาศัยอยู่รวมกันในลักษณะของชุมชนหรือ หมู่บ้าน โดยแต่ละคนสามารถสร้างประสิทธิภาพสูงสุดเช่นว่านี้ได้ ผลลัพธ์ก็คือ ชุมชนนั้นจะมีผลผลิตเกิดขึ้นเป็นจ�ำนวนมาก และมี ส่วนเหลือที่จะสามารถเผื่อแผ่แบ่งปันให้ผู้อื่นหรือสังคมต่อไปได้ หากสังคมใดต้องการท�ำให้เศรษฐกิจดี ก็ตอ้ งน�ำพาให้คนใน สังคมนัน้ มาเป็นคนทีม่ วี รรณะ ๙ ให้ได้ ตามทีพ่ ระพุทธเจ้าทรงสอน ได้แก่ • เป็นคนที่เลี้ยงง่าย • บ�ำรุงง่าย (ท�ำให้เจริญขึ้นได้ง่าย) • มักน้อย (กล้าจน) • สันโดษ (ใจพอ) • มีการขัดเกลาตนเองด้วยศีลอยู่ตลอดเวลา • มีศีลเคร่งครัด • มีอาการน่าเลื่อมใส • ไม่สะสม • เป็นคนยอดขยัน ปรารภความเพียรอยู่เสมอ หากทุกคนเป็นอย่างนี้ได้ ผลผลิตที่เกิดขึ้นก็ย่อมจะมีเป็น


20

จ�ำนวนมาก และเมื่อแต่ละคนกินน้อยใช้น้อย ก็จะท�ำให้มีผลผลิต ส่วนเกินที่สามารถสะพัดออกสู่สังคมภายนอกได้ ยิ่งสะพัดผลผลิต ส่วนเกินออกไปให้แก่สังคมได้มากเท่าไร เศรษฐกิจก็จะยิ่งดีมาก ขึ้นเท่านั้น นี้คือความหมายของค�ำว่า “เศรษฐกิจดี” ของชุมชน แบบบุญนิยม สุดท้าย เศรษฐกิจจะดีเยีย่ มทีส่ ดุ ได้ คนในสังคมนัน้ จะต้อง ด�ำเนินชีวิตโดยมีหลักสาราณียธรรม ๖ ซึ่งประกอบด้วย • เมตตากายกรรม • เมตตาวจีกรรม • เมตตามโนกรรม • มีการแบ่งเฉลี่ยลาภที่ได้มาโดยธรรมให้แก่กัน • มีศีลที่เสมอสมานกัน • มีทิฏฐิหรือความเห็นที่เสมอสมานกัน และร่วมกันลง กันได้ สาราณียธรรม ๖ จะเกิดขึน้ ได้กจ็ ะต้องปฏิบตั จิ รณะ ๑๕ วิชชา ๘ อย่างมีสัมมาทิฏฐิ หลักการส�ำคัญของเศรษฐศาสตร์บุญนิยม คือ • ไม่เป็นหนี้ • พึ่งตนเองได้อย่างพอเพียง (ท�ำได้มากจนกระทั่งพอ กินพอใช้) • มีประสิทธิภาพสูงสุด (ท�ำได้มากกว่าที่ตนเองกินและ ใช้)


21

• ไม่สะสมกักตุน (เก็บไว้เพียงเท่าที่ตนเองจ�ำเป็นต้อง กินและใช้) • แจกจ่ายหรือสะพัดส่วนเกินให้แก่ผู้อื่น ไม่เป็นหนี้ สมณะโพธิรักษ์ได้ก�ำหนดเป็นนโยบายว่า ชาวอโศกจะต้องไม่เป็นหนี้ ไม่ว่าในรูปแบบหรือลักษณะใดๆ วัตถุประสงค์ของหลักการนี้คือ ต้องการให้คนเป็นอิสระจากระบบ ของการเงินกระแสหลัก และสอนให้เห็นคุณค่าของการท�ำอะไรแบบ พอเพียง (ไม่หลงติดความใหญ่) สนับสนุนให้เริ่มต้นท�ำธุรกิจขนาด เล็ก โดยใช้ทรัพยากรเท่าที่ตนมีอยู่ ชาวอโศกไม่มนี โยบายกูย้ มื เงินจากธนาคาร สถาบันการเงิน หรือจากบุคคลภายนอก ชาวอโศกมีเงินส่วนกลางซึง่ รวบรวมมาได้ จากหลายส่วนงานของชาวอโศก ชุมชนใดที่ยังมีความจ�ำเป็นต้อง ใช้เงินก็สามารถขอยืมเงินส่วนกลางนี้ได้ เงินที่ให้ยืมนี้เรียกว่า “เงินเกื้อ” ไม่ใช่ “เงินกู้” เพราะไม่มีดอกเบี้ย และเงินที่ขอยืมนี้ ไม่เรียกว่า “เงินหนี้” แต่เรียกว่า “เงินหนุน” พึ่งตนเองได้อย่างพอเพียง หมายถึง ผลิตได้มากจน กระทั่งตนเองพอกินพอใช้ การพึ่งตนเองได้อย่างพอเพียงเป็นหลัก การส�ำคัญประการหนึ่งของเศรษฐศาสตร์บุญนิยม หลักการนี้เน้น ให้คนอยู่อย่างพอเพียงและมักน้อย (กล้าจน) สันโดษ (ใจพอ) แต่เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ มีสมรรถนะ ขยันขันแข็งและมี ประสิทธิภาพ สมณะโพธิรักษ์ยังได้ก�ำหนดเป็นนโยบายว่า ชุมชน ของชาวอโศกทุกแห่งจะต้องท�ำสามอาชีพเพื่อมนุษยชาติ ซึ่งท่าน เห็นว่าเป็นงานส�ำคัญที่ช่วยกอบกู้มนุษยชาติได้ และท�ำให้แต่ละ


22

ชุมชนสามารถพึง่ ตนเองได้อย่างแท้จริง อันได้แก่ การท�ำกสิกรรม ไร้สารพิษ (ไม่ใช้สารเคมี) การท�ำปุ๋ยหมัก (ปุ๋ยสะอาด) ไว้ใช้เอง และการมีระบบจัดการขยะที่เหมาะสมภายในชุมชนของตน นอกจากนัน้ สมณะโพธิรกั ษ์ยงั ย�ำ้ ว่า อาหารมีความส�ำคัญ อย่างยิ่งต่อชีวิตของมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับค�ำตรัสของพระพุทธ องค์ที่ว่า “อาหารเป็นหนึ่งในโลก” จึงก�ำหนดให้การท�ำกสิกรรม เป็นงานหลักของชาวอโศก (ชาวอโศกต้องเป็นกสิกร) ชุมชนของ ชาวอโศกทุกแห่งจึงต้องปลูกข้าว ปลูกผัก ผลไม้ไว้กินเองในชุมชน (ยกเว้นชุมชนสันติอโศกในกรุงเทพมหานครซึ่งมีพื้นที่ไม่มากพอ ส�ำหรับการท�ำกสิกรรมเพื่อเลี้ยงตน) การพึ่งตนเองในด้านการรักษาพยาบาล ชุมชนทุกแห่งจะมี ห้องพยาบาลส�ำหรับการปฐมพยาบาลเบือ้ งต้น โดยมีให้เลือกทัง้ ยา แผนปัจจุบันและยาสมุนไพร แต่จะเน้นการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ตามแนวทางของแพทย์แผนไทยก่อน ส�ำหรับการดูแลสุขภาพของ ตนเองแบบองค์รวมจะใช้หลักสุขภาพ ๘ อ. คือ อิทธิบาท อารมณ์ อาหาร อากาศ ออกก�ำลังกาย เอนกาย เอาพิษออก และอาชีพ ประสิทธิภาพสูงสุด หมายถึง การสร้างผลผลิตได้มาก โดยใช้ต้นทุนหรือปัจจัยการผลิตที่ต�่ำ และสร้างผลผลิตได้มากกว่า ที่ตนกินตนใช้ จนกระทั่งมีเหลือเผื่อแผ่ให้คนอื่นต่อไปได้ ซึ่งเป็น ผลมาจากการปฏิบัติสัมมาอาชีวะ (องค์มรรคข้อที่ ๕) สมณะโพธิรักษ์กล่าวว่า “นักปฏิบัติธรรมจะต้องท�ำงานไป พร้อมกับการปฏิบตั ธิ รรม ไม่ใช่นงั่ หลับตาท�ำสมาธิเพียงอย่างเดียว” การท�ำงานจึงเป็นหัวใจส�ำคัญของการปฏิบัติธรรมของชาวอโศก


23

ชาวอโศกไม่ได้ท�ำงานโดยเน้นเรื่องผลผลิตหรือก�ำไร แต่อาศัยการ ท�ำงานเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติธรรม เพราะการท�ำงานร่วมกับ ผู้อื่นท�ำให้เกิดผัสสะ ซึ่งเป็นโอกาสให้เราได้ฝึกฝนและปฏิบัติธรรม ผู้ที่สามารถปฏิบัติธรรมตามหลักมรรคองค์ ๘ ได้อย่างครบถ้วน และถูกต้อง ผู้นั้นจะเป็นคนที่มีความเห็นแก่ตัวน้อยลง มีสมรรถนะ และความขยันหมั่นเพียรเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สามารถสร้างผลผลิตได้ มากกว่าที่ตนกินตนใช้ และมีเหลือเผื่อแผ่ให้คนอื่นต่อไปได้ ซึ่งก็ คือเป็นคนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง ไม่สะสมกักตุน สมณะโพธิรักษ์กล่าวว่า “ผู้ที่เจริญอย่าง แท้จริงจะไม่สะสมกักตุน (ข้ออปจยะ ตามหลักวรรณะ ๙) เพราะ เข้าใจอย่างแท้จริงว่า ยิ่งเราสะสมมากเท่าใด คนอื่นก็จะยิ่งมีน้อย ลงเท่านั้น เนื่องจากทรัพยากรของโลกมีจ�ำนวนจ�ำกัด เราจึงควร เก็บไว้เพียงเท่าที่จ�ำเป็น ส่วนที่เหลือก็สะพัดออกไปให้แก่ผู้อื่น” นอกจากนัน้ ท่านยังกล่าวว่า “สมรรถนะกับความขยันเป็นทรัพย์แท้ ทีม่ คี า่ มากทีส่ ดุ ผูใ้ ดมีทรัพย์แท้เหล่านีต้ ดิ ตัวจะสามารถด�ำรงชีวติ ได้ อย่างพอเพียงและยัง่ ยืน โดยไม่ตอ้ งสะสมเงินทองหรือทรัพย์สนิ ใดๆ ในโลกอีก” แจกจ่ายหรือสะพัดส่วนเกินให้แก่ผู้อื่น การกระจาย ความมัง่ คัง่ เป็นหลักการส�ำคัญอีกประการหนึง่ ของเศรษฐศาสตร์บญ ุ นิยม สมณะโพธิรักษ์ได้ก�ำหนดเป็นนโยบายว่า ชุมชนชาวอโศก จะต้องไม่สะสมทรัพย์สินเงินทอง และความมั่งคั่งร�่ำรวยให้แก่ตน ให้เก็บไว้ได้เพียงเท่าทีจ่ ำ� เป็นต้องกินต้องใช้ แล้วแบ่งปันหรือสะพัด ส่วนที่เกินให้แก่ผู้อ่ืนต่อไป เนื่องจากชาวอโศกเน้นการปฏิบัติตาม


24

ทฤษฎีมรรคองค์ ๘ จึงเป็นคนทีม่ สี มรรถนะและความขยัน สามารถ ผลิตได้มากกว่าที่ตนกินตนใช้ และมีส่วนเกินที่สามารถเผื่อแผ่หรือ สะพัดให้สังคมต่อไปได้ นอกจากแบ่งปันผลผลิตส่วนเกินโดยตรง แล้ว ชาวอโศกยังให้ความช่วยเหลือสังคมในรูปแบบอืน่ ๆ ผ่านช่อง ทางธุรกิจของชุมชน ซึ่งประกอบธุรกิจตามหลักการของพาณิชย์ บุญนิยม ๔ ระดับ ประเทศต่างๆทั่วโลกนิยมใช้ Gross Domestic Products (GDP) เป็นดัชนีชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ซึ่งหมายความว่า ประเทศที่มีตัวเลข GDP สูง แสดงว่าประเทศนั้นมีความเจริญทาง เศรษฐกิจมาก มีข้อน่าสังเกตเกี่ยวกับศัพท์ค�ำว่า “Domestic Products” ที่ใช้ ในที่นี้ควรจะต้องหมายถึงสิ่งที่ผลิตขึ้นภายในประเทศเท่านั้น ดังนัน้ GDP จึงควรต้องหมายถึงมวลรวมของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ ทีเ่ กิดขึน้ จากการผลิตภายในประเทศเท่านัน้ แต่ในทางปฏิบตั กิ ลับ ปรากฏว่ามีการนับรวมผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ ทีเ่ กิดขึน้ จากการผลิต และการลงทุนในต่างประเทศด้วย การนับรวมเช่นนีจ้ งึ น่าจะเกินกว่า ความหมายที่แท้จริงของค�ำว่า “Domestic” และการนับรวมเช่นนี้ ส่งผลให้ตัวเลขมวลรวม (Gross) ของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้ สูงกว่าตัวเลขของศักยภาพการผลิตทีเ่ กิดขึน้ จริงในประเทศ และไม่ สอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะในประเทศที่มีค่าตัวเลข GDP สูงก็พบว่ายังมีคนยากจนอยู่เป็นจ�ำนวนมาก ยังมีความเหลื่อมล�้ำ ในเรือ่ งความเป็นอยูข่ องคนในประเทศ ช่องว่างของรายได้ระหว่าง คนรวยกับคนจนในประเทศนัน้ ก็แตกต่างกันหลายเท่าตัว สิง่ เหล่า


25

นี้แสดงให้เห็นว่า ตัวเลขของ GDP และวิธีการค�ำนวณที่ใช้กันอยู่ ทุกวันนี้ ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงทางเศรษฐกิจและชีวิตความ เป็นอยู่ที่แท้จริงของคนในประเทศเลย นอกจากนีก้ ารหาตัวเลขมวลรวม (Gross) โดยวิธนี ำ� ตัวเลข ของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ทเี่ กิดขึน้ ทัง้ ในและนอกประเทศมารวมกัน แล้วน�ำมาหารด้วยจ�ำนวนประชากรเพื่อหารายได้เฉลี่ยของคนทั้ง ประเทศนั้น จะพบว่าตัวเลขค่าเฉลี่ยรายได้ที่เกิดขึ้นนี้สูงกว่าความ เป็นจริง เพราะคนจนมีรายได้ที่แท้จริงต�่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ค�ำนวณได้ ค่าเฉลี่ยรายได้ที่ค�ำนวณโดยวิธีนี้จึงไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงสถานะ ทางเศรษฐกิจที่แท้จริง ตัวชี้วัดความเจริญที่ถูกต้องแท้จริงและเหมาะสม ควรเริ่ม ต้นจากการผลิตขึ้นมาเองภายในประเทศก่อน โดยเป็นการผลิต แบบไร้สารพิษและมีคุณภาพดี รวมทั้งมีปริมาณที่มากเพียงพอแก่ การบริโภคภายในประเทศด้วย เมือ่ ผลิตและบริโภคภายในประเทศ จนเพียงพอแล้ว ก็เผื่อแผ่แบ่งปันผลผลิตส่วนเกินหรือส่วนที่เหลือ ให้แก่ผู้อื่นต่อไป ยิ่งเสียสละหรือเผื่อแผ่ได้มากเท่าไร จิตใจก็จะ ยิ่งเจริญมากเท่านั้น GDP จะมีค่าสูงที่สุดเท่าที่เราสามารถจะเสีย สละได้สูงสุด นี้คือเครื่องชี้วัดความเจริญ หรือการคิด GDP ตาม แนวทางเศรษฐศาสตร์บุญนิยมของชาวอโศก แม้วา่ เศรษฐศาสตร์บญ ุ นิยมจะไม่มวี ธิ กี ารหาค่าและค�ำนวณ GDP เป็นตัวเลข ตามหลักวิชาการเช่นที่ปฏิบัติและยอมรับกัน โดยทั่วไป แต่เศรษฐศาสตร์บุญนิยมมีดัชนีชี้วัดที่เป็นรูปธรรม และสามารถจับต้องได้ ซึ่งมีความชัดเจนยิ่งกว่า GDP โดย


26

เศรษฐศาสตร์บุญนิยมใช้วรรณะ ๙ เป็นดัชนีชี้วัด หากชุมชนใดมี คนที่มีวรรณะ ๙ มาอยู่รวมกันเป็นจ�ำนวนมาก คนในชุมชนนั้นจะ อยูก่ นั อย่างผาสุก เพราะทุกคนต่างก็มศี ลี ๕ เป็นพืน้ ฐานในการด�ำรง ชีวติ และชุมชนนัน้ จะมีความเจริญทางเศรษฐกิจมาก เพราะคนทีม่ ี วรรณะ ๙ เหล่านี้เป็นคนที่มีสมรรถนะและมีความขยัน จึงสามารถ สร้างผลผลิตให้เกิดขึ้นอย่างอุดมสมบูรณ์ แม้ว่าจะบริโภคภายใน ชุมชนของตนจนเพียงพอแล้ว ก็ยังมีผลผลิตส่วนเกินที่สามารถ แบ่งปันให้แก่สังคมได้ นี้คือดัชนีชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจของ เศรษฐศาสตร์บุญนิยม ซึ่งแตกต่างจากเศรษฐศาสตร์ที่ใช้ตัวเลข GDP เป็นตัวชี้วัด หากจะย่อส่วนความเจริญทางเศรษฐกิจระดับประเทศ ให้ เล็กลงมาเหลือเพียงระดับหมู่บ้านอาจท�ำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจน ยิ่งขึ้น หมู่บ้านชุมชนราชธานีอโศกเป็นตัวอย่างของชุมชนที่ สามารถพึ่งตนเองได้ เพราะชาวชุมชนต่างร่วมมือกันสร้างผลผลิต ให้เกิดขึ้นอย่างอุดมสมบูรณ์ แม้จะได้บริโภคภายในหมู่บ้านของ ตนเองจนเพียงพอแล้ว ก็ยังมีผลผลิตส่วนเกินที่สามารถแบ่งปัน ให้แก่ผู้อื่นต่อไปได้อีก เป็นตัวอย่างของชุมชนที่มีความเจริญทาง เศรษฐกิจอย่างแท้จริงตามแนวทางของเศรษฐศาสตร์บุญนิยม เศรษฐศาสตร์บุญนิยมได้ผ่านการพิสูจน์มาครั้งแล้วครั้ง เล่าว่า เป็นระบบเศรษฐกิจที่มั่นคง และยั่งยืนอย่างแท้จริง แม้ใน ยามที่เกิดภัยธรรมชาติ เกิดโรคระบาด หรือมีวิกฤตทางเศรษฐกิจ ปัจจุบัน (ขณะที่ก�ำลังเขียนหนังสือเล่มนี้) ทั่วโลกต้องเผชิญกับ โรคระบาดที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ รัฐบาลไทยได้ขอร้อง


27

ให้ประชาชนอยู่กับบ้านเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค ชาวอโศก ได้สนองนโยบายของรัฐบาลด้วยการปิดชุมชนของตนเองทุกแห่ง และไม่อนุญาตให้บุคคลเข้าหรือออกจากชุมชน (เว้นแต่กรณีมีเหตุ จ�ำเป็นเร่งด่วน) ซึ่งนับจากวันที่ปิดชุมชนเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงขณะนี้ (เมษายน พ.ศ.๒๕๖๕) เป็นเวลา ๑ ปี ๕ เดือน แล้ว ชาวอโศกก็ยงั ด�ำเนินชีวติ อยูไ่ ด้ตามปกติ เสมือนหนึง่ ไม่มอี ะไร เกิดขึ้น โดยไม่ขาดแคลนอาหารหรือปัจจัยส�ำคัญในการด�ำรงชีวิต วิกฤตทางเศรษฐกิจที่ทั้งโลกต้องเผชิญ อันเป็นผลสืบเนื่องจากโรค ระบาดที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ก็ไม่มีผลกระทบต่อชีวิต และความเป็นอยูข่ องชาวอโศกเพราะชาวอโศกเป็นชุมชนทีส่ ามารถ พึ่งตนได้อย่างแท้จริง

พาณิชย์บุญนิยม สมณะโพธิรักษ์กล่าวว่า “หน่วยงานการค้าของชาวอโศกที่ จัดตัง้ ขึน้ มาในรูปแบบต่างๆนัน้ เป็นเพียงเครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการปฏิบตั ิ ธรรม ไม่ใช่เพือ่ การแสวงหาก�ำไร” และได้ให้นโยบายว่าการท�ำการ ค้าของชาวอโศกจะต้องไม่เป็นไปเพื่อการแสวงหาก�ำไร อาจมีก�ำไร ได้บา้ งแต่ก็จะต้องมีให้น้อยที่สุดเพียงเท่าที่จะท�ำให้การค้าสามารถ ด�ำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องเท่านั้น และการค้าของชาวอโศกจะต้อง เป็นไปเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ให้มีโอกาสได้ซื้อสินค้าที่มี คุณภาพดีและราคาถูก เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการครองชีพ ของประชาชนอีกทางหนึ่ง


28

ในด้านพาณิชย์บุญนิยมของชาวอโศก สมณะโพธิรักษ์ได้ วางนโยบายเรือ่ งการก�ำหนดราคาสินค้า โดยแบ่งออกเป็น ๔ ระดับ ดังนี้ ระดับที่ ๑ คือการขายสินค้าในราคาต�่ำกว่าท้องตลาด ระดับที่ ๒ คือการขายสินค้าในราคาเท่าทุน ระดับที่ ๓ คือการขายสินค้าในราคาต�่ำกว่าทุน ระดับที่ ๔ คือการแจกฟรี สมณะโพธิรักษ์ได้ให้นโยบายว่า ร้านค้าทุกแห่งของชาว อโศก อย่างน้อยจะต้องค้าขายให้อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ต่�ำกว่าบุญนิยม ระดับที่ ๑ (ขายสินค้าในราคาต�่ำกว่าท้องตลาด) ส�ำหรับร้านพิสูจน์ จิตอาสา ซึ่งตั้งอยู่ที่ชุมชนราชธานีอโศก หมู่ที่ ๑๐ ต�ำบลบุ่งไหม อ�ำเภอวารินช�ำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีนโยบายขายสินค้าใน ราคาเท่าทุน (บุญนิยมระดับที่ ๒) ซึ่งถือได้ว่ามีความเจริญทางจิต วิญญาณมากขึ้น ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ชาวอโศกทั่วประเทศ จะมารวมตัวกันเพื่อจัดงานตลาดอาริยะที่ชุมชนราชธานีอโศก ซึ่ง นโยบายของตลาดนี้ถูกก�ำหนดไว้ว่าผู้ท่ีจะมาร่วมเปิดร้านในตลาด แห่งนี้ได้นั้น จะต้องเป็นญาติธรรมและต้องขายสินค้าในราคาที่ต�่ำ กว่าทุน (บุญนิยมระดับที่ ๓) เท่านั้น นอกจากนี้ ร้านอาหารมังสวิรัติของชาวอโศกหลายแห่ง ก็ ยังมีนโยบายแจกอาหารฟรี (บุญนิยมระดับที่ ๔) ให้แก่ลูกค้าที่ สั่งอาหารประเภทข้าวราดกับข้าวเพียงอย่างเดียว ในโอกาสวัน คล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระ


29

ราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งวันส�ำคัญทางพระพุทธศาสนา งานเทศกาล งานฉลองหรือในโอกาสพิเศษต่างๆ ชาวอโศกก็มัก จะจัดโรงบุญเพื่อแจกอาหารฟรีให้แก่บุคคลทั่วไป จนกลายเป็น ธรรมเนียมปฏิบัติของชาวอโศกไปแล้ว ร้านค้าแห่งใดจะสามารถท�ำการค้าให้เป็นบุญนิยมได้ใน ระดับใด ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมและองค์ประกอบอื่นๆ ของร้านค้า แห่งนั้นด้วย บุญนิยมระดับที่สูงขึ้นแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาของ จิตวิญญาณที่สูงขึ้นตามไปด้วย ค� ำ ถามยอดฮิ ต ที่ มั ก จะมี ผู ้ ถ ามอยู ่ เ สมอคื อ ชาวอโศก ท�ำอย่างไรจึงสามารถท�ำการค้าแบบบุญนิยมได้ และยังคงมีเงิน ทุนหมุนเวียนเพียงพอที่จะด�ำเนินการค้าต่อไปได้ ค�ำตอบที่เป็น หัวใจส�ำคัญก็คือ ทุกคนในชุมชนต่างก็ท�ำงานฟรี ท�ำให้ไม่มีต้นทุน เรื่องค่าแรงงานที่จะต้องจ่ายให้แก่ผู้ท�ำงานแต่ละคน ต้นทุนของ สินค้าจึงต�่ำลงและท�ำให้ชาวอโศกสามารถขายสินค้าในราคาถูกได้ โดยยังคงมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอที่จะท�ำธุรกิจตามหลักการ พาณิชย์บุญนิยมต่อไปได้

สาธารณโภคี สาธารณโภคี เป็นนวัตกรรมทัง้ ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึง่ ไม่เคยเกิดขึน้ มาก่อนในโลก ถือเป็นสิง่ มหัศจรรย์เพราะเกีย่ วข้อง กับเรื่องของจิตวิญญาณ ไม่ใช่เรื่องวัตถุเหมือนกับสิ่งมหัศจรรย์ ต่างๆ ของโลกที่เราเคยเห็นและรู้จักมาก่อน สาธารณโภคีเป็นเศรษฐกิจชนิดใหม่ทมี่ เี อกลักษณ์เฉพาะตัว


30

(Unique) เพราะมีทงั้ จุดเด่นของสังคมนิยมและของประชาธิปไตย เข้ า ไว้ ด ้ ว ยกั น มี ก ารรวมทรั พ ย์ สิ น หรื อ ผลผลิ ต ที่ เ กิ ด ขึ้ น ไว้ ที่ ส่วนกลางเหมือนในระบอบสังคมนิยม (คอมมิวนิสต์) แต่ขณะ เดียวกันทุกคนมีอสิ ระและเสรีภาพในการตัดสินใจเหมือนในระบอบ ประชาธิปไตย ทุกคนที่เข้ามาร่วมในระบบสาธารณโภคีนี้ ต่างก็ มาด้วยความสมัครใจและด้วยสติปัญญาของตนโดยไม่มีใครบังคับ สาธารณโภคี แปลว่ า “บริ โ ภคอย่ า งเป็ น สาธารณะ” หมายความว่า เมื่อสมาชิกแต่ละคนมีลาภที่ได้มาโดยธรรม ต่างก็ น�ำมารวมกันไว้เป็นส่วนกลาง ไม่สะสมเป็นของส่วนตัว แล้วจึง บริโภคหรือใช้สอยร่วมกัน ทุกคนในสังคมสาธารณโภคีนี้ ไม่ว่า จะท�ำสัมมาชีพใดๆ อยู่ก็ตาม เมื่อเกิดผลได้หรือผลผลิตขึ้นมา จะ เป็นวัตถุขา้ วของหรือทรัพย์สนิ เงินทอง ทีส่ ดุ แม้แต่ลาภทีไ่ ด้มาจาก การบิณฑบาตก็ต้องน�ำมารวมเป็นส่วนกลาง แล้วบริโภคร่วมกัน ในหมู่สมาชิกของสังคมนั้น สังคมสาธารณโภคีจะเกิดขึ้นได้ เฉพาะในกลุ่มคนที่ปฏิบัติ ธรรมตามแนวทางของศาสนาพุทธอย่างสัมมาทิฏฐิเท่านั้น โดย ต้องปฏิบัติตามหลักมรรคองค์ ๘ หรือจรณะ ๑๕ วิชชา ๘ อย่างถูก ต้องจนสามารถลดละกิเลสได้จริง เกิดคุณธรรมเป็นคุณสมบัติขึ้น ในตน ชนิดที่ชื่อว่า “อาริยธรรม” กันจริงๆ ซึ่งผู้บรรลุธรรมนี้จะมี คุณสมบัติที่น่ายกย่องสรรเสริญตามหลักวรรณะ ๙ ในสั ง คมสาธารณโภคี สมาชิ ก จะใช้ ชี วิ ต ร่ ว มกั น เป็ น ครอบครัวใหญ่อย่างเป็นหมู่กลุ่มที่มีเมตตาเกื้อกูลกันจริงๆ และ มีอย่างเพียงพอ


31

“เมตตา” เป็นคุณสมบัตขิ องจิตวิญญาณทีเ่ ป็นประธานให้ กายกรรมและวจีกรรมของคนก็เป็นเมตตาด้วย เมื่อทุกคนต่างก็มี เมตตากัน ทั้งทางกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม อย่างเป็นสัจจะ ทีอ่ อกมาจาก “ใจ” ลาภทีไ่ ด้มาโดยธรรมทุกคนจึงเต็มใจทีจ่ ะน�ำมา รวมกันไว้เป็นส่วนกลาง (ลดละการเป็นส่วนตัว) แล้วกินใช้ร่วมกัน ท�ำให้เกิดสาธารณโภคีที่เป็นปึกแผ่นและยั่งยืน “เมตตา” เป็นเหตุก่อให้เกิดคุณธรรม ๗ ประการอย่าง แท้จริง ได้แก่ มีความระลึกถึงกัน (สาราณียะ) มีความรักกัน (ปิยกรณะ) มีความเคารพกัน (ครุกรณะ) มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (สังคหะ) ไม่วิวาทกัน (อวิวาทะ) มีความสามัคคีกัน (สามัคคียะ) มีเอกภาพเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน (เอกีภาวะ) เพราะความมีคุณธรรมทั้ง ๗ ประการนี้ มีคุณภาพสูงและ มีคุณค่าเพียงพอ จึงเกิด “สาธารณโภคี” ขึน้ ได้ในชุมชนนัน้ อย่าง แท้จริงตามสัจจะ หากคุณธรรมทั้ง ๗ ประการนี้ยังไม่เกิด“ความ เป็น” อย่างแท้จริงและเพียงพอ สาธารณโภคีก็จะยังไม่เกิดจริง เป็นจริง หรือแม้จะเกิดได้บา้ งเพียงเพราะการกดข่ม แต่หากผลไม่ เกิดขึ้นภายในถึงขั้นจิตวิญญาณ สาธารณโภคีนั้นก็ไม่จริง จะไม่ ยั่งยืนถาวรเด็ดขาด หรือเป็นไปไม่ได้เลย l

l

l

l

l

l

l


32

ชุมชนที่จะมีคุณภาพถึงขั้นสาธารณโภคีตามความหมาย ที่กล่าวมานั้นได้ ก็เพราะสมาชิกของชุมชนนั้นเป็นคนที่มีกิเลส น้อยหรือไม่มีกิเลสได้จริง และต้องเป็นผู้ที่มีความเจริญตามหลัก วรรณะ ๙ สาธารณโภคีจึงจะเกิดขึ้นได้ จะสังเกตว่าคนในชุมชนที่ มีสาธารณโภคีนั้น พฤติกรรมของความโลภหรือราคะ ความโกรธ หรือโทสะ และความหลงต่างๆ จะไม่แสดงหรือปรากฏออกมา อย่างจัดจ้านวุ่นวาย เหมือนอย่างที่สังคมโลกีย์ภายนอกเขามี เขาเป็นกัน สิ่งที่ถือได้ว่าเป็นเรื่องพิเศษของสมาชิกในชุมชนสาธารณ โภคี คือ ทุกคนไม่มีอบายมุข ไม่มีใครดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่แม้แต่ คนเดียว ไม่มีคนเล่นการพนันหรือเที่ยวกลางคืน เป็นสังคมที่ทุก คนมีศีล ๕ เป็นอย่างต�่ำ ไม่มีการฆ่าสัตว์กันทั้งชุมชน ต่างก็บริสุทธิ์ ในศีลข้อที่ ๑ เพราะกินมังสวิรัติกันทั้งชุมชน ไม่มีการลักทรัพย์ ไม่มีการผิดผัวเขาเมียใคร ไม่พูดโกหก ไม่มีการเสพสิ่งเสพติดใดๆ นี้คือสังคมที่มีเศรษฐกิจชนิดใหม่อันเป็น “สาธารณโภคี” ความจริงทีส่ ำ� คัญอีกอย่างหนึง่ ทีเ่ ป็นไปได้อย่างวิเศษจริงๆ ก็คือ “ศีลสามัญญตา” โดยสมาชิกในชุมชนสาธารณโภคีนี้ต่างก็มี ศีลกันทุกคน โดยมีศีล ๕ เป็นอย่างต�่ำ บ้างก็มีศีล ๘ หรือมีศีล ๑๐ ที่ส�ำคัญคือมี จุลศีล-มัชฌิมศีล-มหาศีล อันเป็น “ธรรมนูญของ ศานาพุทธ” อย่างเป็นปกติสามัญกันทุกคน ทั้งนี้เพราะทุกคนมี “ทิฏฐิสามัญญตา” จริง โดยทุกคนในชุมชนต่างก็มีทิฏฐิ (ความ เห็น) ที่ตรงกันว่า ชีวิตที่ดีหรือประเสริฐแท้นั้นจะต้องมีทิศทางที่ เป็นการประพฤติตนไปสูโ่ ลกุตรภูม ิ และบรรลุธรรมเป็นอาริยบุคคล สูงขึ้นไปตามล�ำดับ


33

สาธารณโภคีนั้นมีเนื้อหาทางเศรษฐศาสตร์ที่ลึกซึ้งพิเศษ เพราะมีคณ ุ วิเศษสุดยอดของพุทธทีเ่ ป็นอาริยธรรมเป็นโลกุตรธรรม ที่ท�ำให้เกิดขึ้นได้ เป็นได้ในคนหรือกลุ่มคนที่อยู่รวมกันเป็นชุมชน เป็นหมูบ่ า้ น จนกลายเป็นวิถกี ารด�ำเนินชีวติ หรือวัฒนธรรมให้คนใน สังคมนั้นอาศัยได้จริง ที่ส�ำคัญ เนื้อหาที่เป็นอาริยธรรมของพุทธนี้ ผู้ที่บรรลุจริงแล้วจะไม่เสื่อมคลายจะยั่งยืนถาวร ซึ่งพระพุทธเจ้า ถึงกับทรงรับรองอาริยธรรมของพระองค์ว่า มีคุณสมบัติเป็นนิจจัง (เที่ยงแท้) ธุวัง (มั่นคงยั่งยืน) สัสตัง (ตลอดกาล) อวิปริณามธัมมัง (ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอื่น) อสังหิรัง (ไม่มีอะไรมาหักล้างได้) อสังกุปปัง (ไม่กลับก�ำเริบ) ดังนัน้ สังคมหรือชุมชนทีม่ อี าริยธรรม ของพุทธจึงมั่นใจได้ว่า จะมีความยั่งยืน เพราะต้นเหตุคือกิเลสที่ มันพาให้ “ไม่เที่ยง” นั้น ได้ถูกก�ำจัดลงไปอย่างถูกตัวตนจริง สาธารณโภคียังมีความเป็นเศรษฐศาสตร์ที่ซับซ้อนลึกซึ้ง เพราะมีลกั ษณะทีเ่ ป็นสัจจะย้อนสภาพ (ปฏินสิ สัคคะ) ต่างจากสังคม สามัญ เช่น คนทัง้ หลายในโลกต่างก็แสวงหาความร�ำ่ รวย แต่คนใน สังคมสาธารณโภคีกลับยินดีในความมักน้อย (กล้าจน) และสันโดษ (ใจพอ) คนทั้งหลายในโลกล้วนแสวงหาและบ�ำเรอความอยากใน กามทั้งหลาย แต่คนในสังคมสาธารณโภคีกลับพยายามลดละใน เรื่องของกามคุณ ๕ หรือแม้แต่การที่คนในโลกสุขใจเพราะได้ก�ำไร (เอามาให้ตน) แต่คนในสังคมสาธารณโภคีกลับสุขใจที่ได้ขาดทุน ด้วยการเสียออกหรือสละออก เพราะรู้ว่าเป็นประโยชน์เป็นคุณค่า ต่อผู้อื่น ลักษณะส�ำคัญทีเ่ ด่นชัดอีกประการหนึง่ ของสมาชิกในชุมชน


34

สาธารณโภคี คือความเป็นคนมักน้อย สันโดษ แต่มีสมรรถนะและ ขยันขันแข็ง รวมทั้งเป็นคนที่มีประสิทธิภาพ สามารถสร้างสรร ได้มากกว่าที่ตนเองกินและใช้ เมื่อคนที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้มา อยูร่ วมกันเป็นจ�ำนวนมากในลักษณะทีเ่ ป็นชุมชนหรือหมูบ่ า้ น ผลก็ จะท�ำให้ชมุ ชนหรือหมูบ่ า้ นนัน้ มีผลผลิตเกิดขึน้ เป็นจ�ำนวนมาก และ เมื่อสมาชิกแต่ละคนต่างก็เป็นคนกินน้อยใช้น้อย ก็ย่อมมีผลผลิต ส่วนที่เหลือจากการบริโภค นอกจากนี้ ระบบสาธารณโภคีก็ไม่ส่ง เสริมเรื่องการสะสมทรัพย์สินไว้เป็นก้อนโต ดังนั้น เมื่อมีผลผลิต ส่วนเกินที่เหลือจากการบริโภคแล้ว ส่วนกลางของชุมชนก็มีหน้า ที่ต้องสะพัดออกสู่สังคมภายนอกให้เร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถท�ำได้ นี้คือความหมายที่แท้ จริงของค�ำว่า “อุดมสมบูรณ์” ในชุมชน สาธารณโภคี ในต่างประเทศก็มผี ทู้ พี่ ยายามจะจัดตัง้ ชุมชนทีม่ กี ารกินการ ใช้ร่วมกันจากส่วนกลางคล้ายคลึงกับชุมชนสาธารณโภคีของชาว อโศก เช่น ชุมชนคิบบุทซ์ (Kibbutz) ของอิสราเอล, ชุมชนโคโน ฮานะของญี่ปุ่น ซึ่งจัดเป็นชุมชนประเภท Intentional Community และเกิดขึน้ จากการทีส่ มาชิกมีวตั ถุประสงค์อย่างหนึง่ อย่างใด ร่วมกัน โดยบางแห่งก�ำหนดให้ผู้ที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกต้องโอน ทรัพย์สินส่วนตัวทั้งหมดให้เป็นทรัพย์สินของส่วนกลาง สมาชิก จึงจะมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในทรัพย์สินที่เป็นของส่วนกลางนั้น กล่าวโดยสรุป สังคมหรือชุมชนที่จะมีเศรษฐกิจถึงขั้น สาธารณโภคีได้นั้น สมาชิกของสังคมนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีศีล มี คุณธรรม คุณสมบัติที่สอดคล้องตามธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า


35

ตลอดจนสามารถลดละกิเลสได้จริง สังคมสาธารณโภคีนี้จึงจะมี ทิศทางที่น�ำไปสู่ความสุข สงบ สันติ และเรียบง่ายในชีวิตอย่าง แท้จริง สาธารณโภคีซึ่งเป็นเศรษฐกิจชนิดใหม่นี้จึงเป็นทางออก ของมนุษยชาติ ที่จะช่วยให้สังคมเกิดความเจริญ เป็นสุข สงบ สันติ ได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน


36


37


38


39


40

นักบวชชาวอโศก ศีลเป็นข้อปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นระเบียบ แบบแผนที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของความเป็นศาสนาพุทธ ส่วน ใครจะถือศีลหรือสมาทานศีลกีข่ อ้ หรือถือศีลในระดับใดก็ให้สมาทาน ตามก�ำลังหรืออินทรีย์พละของแต่ละคน เมื่อสมาทานแล้วก็จะต้อง ปฏิบัติให้เคร่งครัด ให้เจริญสู่ อธิศีล-อธิจิต-อธิปัญญา เพราะศีล เป็นเครื่องน�ำพาไปสู่นิพพานโดยแท้ พระพุทธเจ้าสร้างศาสนาด้วย ศีล-สมาธิ-ปัญญา ศีลที่ กล่าวนั้น คือ จุลศีล-มัชฌิมศีล-มหาศีล อันถือเป็นพระธรรมนูญ ของศาสนาพุทธ ส่วนวินัยเป็นหลักปฏิบัติที่เกิดขึ้นภายหลังด้วย ความจ�ำเป็น มีลักษณะเป็นกฎที่ต้องบังคับและมีโทษทัณฑ์ก�ำกับ ส�ำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน ศีลอันเป็นพระธรรมนูญของศาสนาพุทธ แบ่งออกได้ดังนี้ • จุลศีล (๒๖ ข้อ) เป็นศีลขั้นพื้นฐานที่ภิกษุทุกรูปจะ ต้องถือปฏิบัติเป็นเบื้องต้นก่อน • มัชฌิมศีล (๑๐ ข้อ) เป็นศีลข้อปฏิบตั ทิ มี่ คี วามละเอียด


41

ลึกซึ้งเพิ่มขึ้นมากกว่าจุลศีล และเป็นข้อที่ต้องละเว้น เนื่องจากเป็นการประพฤติที่ไม่เหมาะสมกับสมณเพศ ได้แก่ การบริโภคของที่สะสมไว้ การขวนขวายดูการ ละเล่น เช่น ฟ้อนร�ำ ขับร้อง การประกอบทูตกรรมและ การรับใช้ ฯลฯ • มหาศี ล (๗ ข้ อ ) เป็ น ศี ล ข้ อ ปฏิ บั ติ ที่ ต ้ อ งเว้ น ขาด เนือ่ งจากถือว่าเป็นการเลีย้ งชีพโดยทางผิดด้วยเดรัจฉาน วิชา ได้แก่ การรดน�ำ้ มนต์ การจุดธูปเทียนบูชา ดูฤกษ์ ยาม การให้ ฤ กษ์ แ ต่ ง งาน การดู ด วง (โชคดี ห รื อ เคราะห์ ร ้ า ย) การท� ำ พิ ธี ป ลุ ก เสกลงเลขยั น ต์ คุ ้ ม กั น บ้านเรือน และการท�ำพิธีไสยศาสตร์ต่างๆ เหล่านี้ เป็ น ข้ อ ปฏิ บั ติ ที่ ไ ม่ ใช่ ข องศาสนาพุ ท ธ หากภิ ก ษุ ใดกระท� ำ สิ่ ง เหล่ า นี้ ถื อ ว่ า ภิ ก ษุ นั้ น กระท� ำ เดรั จ ฉาน วิชา ซึ่งผิดไปจากค�ำสอนของพระบรมศาสดา สมณะของชาวอโศกจะต้องถือศีลทัง้ ๔๓ ข้อ (จุลศีล-มัชฌิม ศีล-มหาศีล) รวมทั้งวินัยอีก ๒๒๗ ข้อ ส่วนสิกขมาตุของชาว อโศกถือศีล ๑๐ ข้อ (เท่ากับสามเณร) สมณะและสิกขมาตุปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด โดยต้องละเว้นและเว้นขาดจาก การท�ำพิธีกรรมที่ผิดไปจากค�ำสอนดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ต้อง ปฏิบัติตนอย่างเข้มงวด ไม่ใช้เงิน พักอาศัยในกุฏิขนาดเล็ก (กว้าง ๘ ฟุต ยาว ๑๒ ฟุต) ฉันอาหารเพียงวันละ ๑ มื้อ นอนประมาณ วันละ ๕-๖ ชั่วโมง (ไม่นอนกลางวัน) และท�ำงานอย่างขยันขันแข็ง ตลอดทั้งวัน


42

ปัจจุบันชาวอโศกมีสมณะ (นักบวชชาย) ๘๗ รูป และ สิกขมาตุ (นักบวชหญิง) ๒๑ รูป สัดส่วนของสมณะต่อสิกขมาตุ คือ ๓ ต่อ ๑ การบวชในหมู่ของชาวอโศกเป็นเรื่องที่มีความส�ำคัญอย่าง มาก ผู้ที่จะบวชได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีศรัทธาในการประพฤติ พรหมจรรย์อย่างแท้จริง เนื่องจากเป็นการบวชตลอดชีวิต ผู้ที่จะ บวชจะต้องสละทรัพย์สินทั้งหมดที่มีในปัจจุบัน รวมทั้งทรัพย์สิน หรือสิทธิทจี่ ะเกิดมีขนึ้ ในอนาคตด้วย ไม่วา่ จะเป็นบ�ำเหน็จ บ�ำนาญ มรดก ฯลฯ โดยจะต้องโอนหรือสละออกจากความเป็นเจ้าของสิทธิ หรือกรรมสิทธิ์ทั้งหมด ทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย เพื่อมาใช้ชีวิต อย่างอนาคาริกะ (ผู้ไม่มีเรือน) นอกจากนี้ ยังต้องเป็นผู้ละเครือ ญาตินอ้ ยใหญ่ทงั้ ปวง หากผูจ้ ะบวชผูใ้ ดเคยแต่งงานและจดทะเบียน สมรสแล้ว ก็ตอ้ งได้รบั ความยินยอมจากคูส่ มรสให้บวชได้ โดยต้อง จดทะเบียนหย่าขาดจากกันตามกฎหมายอย่างถูกต้องด้วย การปฏิบตั ติ นของผูท้ ตี่ งั้ ใจจะบวชนัน้ จะต้องเริม่ ต้นด้วยการ เข้ามาพักอาศัยในพุทธสถานในฐานะอาคันตุกะประจ�ำ เป็นเวลา อย่างน้อย ๑ ปี และต้องถือศีล ๘ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่ จะปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง จากนั้นก็จะต้องฝึกตนเป็นคนวัด (ฝ่าย ชายเรียกว่า “อารามิก” ฝ่ายหญิงเรียกว่า “อารามิกา”) เป็นเวลา ๑ ปี การขอเลื่อนฐานะในขั้นต่อไป จะแบ่งแยกกันระหว่างฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง ดังนี้ ฝ่ายชาย สมัครเป็นผู้ปฏิบัติธรรม (เรียกสั้นๆ ว่า “ปะ”) เป็นเวลา ๔ เดือน ขอเลือ่ นฐานะขึน้ เป็น“นาค”


43

อีก ๔ เดือน แล้วจึงขอเลื่อนฐานะขึ้นเป็น “สามเณร” โดยต้องสมาทานศีล ๑๐ และต้อง เป็นสามเณรอีกอย่างน้อย ๔ เดือน จึงจะขอบวช เป็นสมณะได้ ฝ่ายหญิง สมัครเป็นผูป้ ฏิบตั ธิ รรม (ปะ) เป็นเวลา ๖ เดือน ขอเลื่อนฐานะขึ้นเป็น “กรัก” และต้องเป็นกรัก อีกอย่างน้อย ๑ ปี ๖ เดือนจึงจะขอบวชเป็น สิกขมาตุได้ โดยต้องสมาทานศีล ๑๐ (จ�ำนวน ของสิกขมาตุที่จะเพิ่มขึ้นได้ ต้องเป็นไปตาม สัดส่วนที่ก�ำหนดไว้ข้างต้น) การขอเลื่อนฐานะในแต่ละขั้นตอน (ทั้งฝ่ายชายและฝ่าย หญิง) จะต้องผ่านการสอบซักถามเอาความจริงและผ่านการลงมติ ตามเงื่อนไขและรายละเอียดที่ก�ำหนดอย่างเคร่งครัด


44


45


46

ประวัติสมณะโพธิรักษ์ สมณะโพธิรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๗ ที่ จังหวัดศรีสะเกษ ชื่อเดิมคือ “มงคล รักพงษ์” ต่อมาได้เปลี่ยน ชื่อเป็น “รัก” ซึ่งหมายความว่า “ความรัก” สมณะโพธิรักษ์เกิดใน ครอบครัวของคนชั้นกลางที่มีฐานะดี คุณแม่ของท่านเป็นคนขยัน ขันแข็งและประกอบอาชีพหลายอย่าง ท่านน่าจะได้นิสัยเหล่านี้ มาจากคุณแม่ เพราะแม้แต่ตอนที่ยังเป็นเด็ก ท่านก็เริ่มมีความคิด สร้างสรร หมั่นคิดค้นหาเรื่องค้าขายอยู่เสมอ ท่านเคยวิ่งขายเมล็ด มะขามคั่วและไอศกรีม รวมทั้งเป็นกรรมกรรับจ้างแบกของ (กุลี) ที่สถานีรถไฟด้วย แม้ว่าครอบครัวของท่านจะมีฐานะดี แต่คุณแม่ก็ส่งท่าน ไปอยู่กับครอบครัวของคนรู้จัก ซึ่งใช้ให้ท่านท�ำงานสารพัด นับ เป็นช่วงที่ท่านต้องเผชิญกับศึกหนักที่สุดในชีวิต ท่านมักจะเล่าให้ ฟังถึงตอนที่ช่วยครอบครัวนั้นท�ำขนมขาย แต่เมื่อต้องการจะทาน ขนมทีท่ ำ� ท่านกลับต้องซือ้ ท�ำให้ทนต่อไปไม่ไหวถึงกับร้องไห้และ หนีกลับบ้าน แต่คณ ุ แม่ของท่านก็ยงั ยืนยันว่านัน่ เป็นประสบการณ์ ที่ดีและส่งให้กลับไปอยู่บ้านนั้นต่อไป


47

ขณะเรียนอยู่เพาะช่างปีที่ ๓ คุณแม่ของท่านก็เสียชีวิต ลง ทั้งๆ ที่มีอายุเพียง ๔๐ ปีต้นๆ ท่านจึงต้องท�ำงานสารพัดเพื่อ เลี้ยงดูน้องๆ ทั้ง ๖ คน และส่งเสียตัวเองเรียนหนังสือไปพร้อมกัน จนกระทั่งเรียนจบจากโรงเรียนเพาะช่าง ท่านเคยเป็นครูรับจ้าง สอนหนังสือ นักเขียน นักแต่งเพลง และท�ำละครทางวิทยุ ตอนอายุ ๒๐ ปี ท่านได้แต่งเพลง “ผู้แพ้” ซึ่งต่อมากลาย เป็นเพลงที่โด่งดังไปทั่วเมืองไทย ครั้งหนึ่งในขณะที่ท่านรับจ้างส่ง หนังสือพิมพ์ตามบ้าน เจ้าของบ้านออกมารับหนังสือพิมพ์พร้อมกับ ร้องเพลง “ผูแ้ พ้” ท�ำให้ทา่ นอดน้อยใจชะตาชีวติ ไม่ได้ ทีเ่ พลงผูแ้ พ้ โด่งดังไปทั่วเมืองไทย แต่ผู้แต่งกลับเป็นแค่เด็กส่งหนังสือพิมพ์ เมื่อเรียนจบจากโรงเรียนเพาะช่าง ท่านได้เข้าท�ำงานที่ สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย (ทีวีช่อง ๔) ซึ่งตั้งอยู่ที่ แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และเริ่มมีชื่อ เสียงในฐานะเป็นพิธีกรและนักแต่งเพลง ในขณะที่ท่านก�ำลังมีชื่อ เสียงโด่งดังในวงการบันเทิง ท่านเริ่มสนใจเรื่องของพลังจิตและ การสะกดจิต แต่ไม่นานท่านก็รู้ว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ และเริ่มหันมาสนใจค�ำสอนของศาสนาพุทธ ท่านเริ่มปฏิบัติธรรม อย่างจริงจัง เมื่ออายุ ๓๓ ปี โดยถือศีล ๕ อย่างเคร่งครัด ลดละรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทั้งหลาย และรับประทานอาหารเพียงวันละ ๑ มื้อ ไปท�ำงานก็ใส่เสื้อผ้าฝ้าย (คอกลม) นุ่งกางเกงขาสั้น ไม่ ใส่รองเท้า และโกนศีรษะ ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดขณะที่มีอายุ ๓๖ ปี จากการ แต่งเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง “โทน” ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ ท�ำรายได้สูงสุดในขณะนั้น ในขณะที่ภาพยนตร์ก�ำลังท�ำรายได้


48

นับล้านบาท ท่านกลับละทิ้งสิ่งเหล่านั้นอย่างไม่ไยดี ตัดสินใจ ลาออกจากงาน ทิ้งทรัพย์สมบัติทั้งหมดที่มีอยู่ แล้วหันไปใช้ชีวิต อย่างเรียบง่ายในดงป่าแสม ที่วัดอโศการาม อ�ำเภอเมือง จังหวัด สมุทรปราการ วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๓ ท่านได้ขออุปสมบทที่วัด อโศการาม ซึ่งเป็นวัดของพระฝ่ายธรรมยุต โดยมีพระราชวรคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า “พระรัก โพธิรกฺขิโต” ซึ่ง แปลว่า ผู้รักษาไว้ซึ่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า หรือผู้สืบสาน ศาสนาพุทธ สามปีหลังการบวช ท่านได้ออกจากวัดอโศการาม เพราะ เจ้าอาวาสไม่ยอมให้ทา่ นจัดตัง้ สถานทีใ่ หม่ ส�ำหรับการปฏิบตั ธิ รรม ร่วมกันของลูกศิษย์และผูต้ ดิ ตาม ซึง่ มีทงั้ พระจากฝ่ายธรรมยุตและ มหานิกาย เมื่อท่านแจ้งให้เจ้าอาวาสทราบถึงเหตุผลของการหาสถาน ที่ใหม่ ท่านเจ้าอาวาสบอกให้ทราบว่า “ไม่มีธรรมเนียมปฏิบัติใน ประเทศไทยทีพ่ ระจากทัง้ สองฝ่าย (ฝ่ายธรรมยุตและมหานิกาย) จะ ปฏิบัติธรรมร่วมกัน” เมื่อท่านยังยืนยันตามเจตนาเดิมที่จะขอจัด ตัง้ สถานทีใ่ หม่ จึงได้สอบถามเจ้าอาวาสว่า “ถ้าอย่างนัน้ จะให้ผมท�ำ อย่างไร?” ท่านเจ้าอาวาสจึงบอกกับท่านว่า “ถ้าจะท�ำ ท่านก็จะ ต้องคืนหนังสือสุทธิ” ซึ่งท่านสมณะโพธิรักษ์เห็นว่าการคืนหนังสือ สุทธิไม่น่าจะมีปัญหา เพราะไม่ได้หมายถึงการลาสิกขาและตกลง ที่จะคืนหนังสือสุทธิให้ โดยรับปากว่าจะน�ำมาคืนให้ภายหลัง และ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๖ ท่านก็ได้น�ำหนังสือสุทธิ (ฝ่ายธรรมยุต)ไปคืนท่านเจ้าอาวาส


49

วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๖ ท่านได้พาลูกศิษย์เกือบ ๒๐ ชีวิต ออกเดินจาริกไปยังสถานที่แห่งใหม่ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า “แดนอโศก” และก่อนที่จะคืนหนังสือสุทธิ (ฝ่ายธรรมยุต) ของวัด อโศการาม ท่านได้เข้าพิธสี วดญัตติอกี ครัง้ หนึง่ เพือ่ ไม่ให้สถานภาพ ของความเป็นพระต้องสิ้นสุดลง การสวดญัตตินี้ได้กระท�ำขึ้นที่วัด หนองกระทุ่ม ต�ำบลทุ่งลูกนก อ�ำเภอก�ำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นวัดของพระฝ่ายมหานิกาย และท่านได้รับหนังสือสุทธิของ พระฝ่ายมหานิกายอีก ๑ ใบ เท่ากับว่าในขณะนั้นท่านมีหนังสือ สุทธิถงึ ๒ ใบ (ทัง้ ฝ่ายธรรมยุตและฝ่ายมหานิกาย) ในเวลาเดียวกัน ที่แดนอโศก พระและสิกขมาตุได้เปลี่ยนสีของเครื่องแต่ง กายมาเป็นสีน�้ำตาลเข้ม (สีกรัก) และปฏิบัติตามธรรมวินัยอย่าง เคร่งครัด แต่เนื่องจากข้อวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัด ท�ำให้พระเถระ บางรูปของมหาเถรสมาคมและพระอีกจ�ำนวนหนึ่งเริ่มไม่ชอบหมู่ กลุ่มชาวอโศก พยายามกลั่นแกล้งและกีดกันไม่ให้ชาวอโศกได้ สิทธิหลายประการ เช่น ไม่ยอมให้พระชาวอโศกเข้าสอบนักธรรม ตรี-โท-เอก และสั่งอุปัชฌาย์ไม่ให้ท�ำพิธีบวชแก่ผู้ขอบวชที่เป็น ชาวอโศก ทั้งๆ ที่คนเหล่านั้นมีความตั้งใจที่จะบวชตลอดชีวิต ฟางเส้นสุดท้ายคือ การที่พระเถระรูปนั้นพยายามกีดกัน ไม่ให้ชาวอโศกเผยแพร่ธรรมะ โดยกดดันพระอุปัชฌาย์ซึ่งก�ำลัง เจ็บป่วยอยู่ในขณะนั้น ด้วยการสั่งให้พระอุปัชฌาย์บังคับให้พระ ชาวอโศกเปลีย่ นสีของจีวรมาเป็นสีเหลือง และให้รอื้ ถอนกุฏทิ แี่ ดน อโศกออกทั้งหมด มิฉะนั้นจะปลดจากการเป็นอุปัชฌาย์ เมื่อเริ่มชัดเจนว่าจะต้องตัดความเกี่ยวพันกับพระอุปัชฌาย์ เพื่อช่วยไม่ให้พระอุปัชฌาย์ต้องถูกเบียดเบียนอีกต่อไป ท่านจึง


50

ตัดสินใจว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องลาออกและแยกตัวออกไปตั้งหมู่ กลุ่มใหม่ตามหลักนานาสังวาสในพระธรรมวินัย พระพุทธองค์ทรงห้ามมิให้มกี ารแบ่งแยกคณะสงฆ์ แต่ทรง อนุญาตให้แยกกันปฏิบัติแบบนานาสังวาสได้ ถ้าสงฆ์มีความเห็น ต่างกันในเรื่องการปฏิบัติธรรม และไม่สามารถตกลงกันได้ วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๘ ท่านได้ยื่นหนังสือต่อที่ ประชุมพระสังฆาธิการและพระใหม่ รวม ๑๘๐ รูป ที่วัดหนองกระทุ่ม ประกาศแยกตัวออกไปตั้งหมู่กลุ่มใหม่ตามหลักนานาสังวาส โดยกล่าวต่อที่ประชุมเป็นท�ำนองเปรียบเทียบว่า กลุ่มชาวอโศก เป็นเหมือนร้านเล็กๆ ข้างถนน เราต้องการทอดปาท่องโก๋ตามสูตร ของพระพุทธเจ้า ส่วนเถรสมาคมเป็นบริษัทใหญ่ที่ทอดปาท่องโก๋ ตามสูตรของท่าน ซึ่งเราเห็นว่าเป็นสูตรที่ผิดไปจากสูตรของ พระพุทธเจ้า คนกินไม่ได้สาระเต็มที่ ซึ่งเราก็ได้เตือนท่านแล้ว แต่ท่านไม่ฟัง ซ�้ำยังบีบคั้นเราจนสุดจะทน ที่ส�ำคัญคือเราท�ำงาน ไม่ได้ พาประชาชนปฏิบัติให้ก้าวหน้าไม่ได้ จึงจ�ำเป็นต้องขอแยก กันเรียนรูป้ ฏิบตั ิ ต่างฝ่ายต่างท�ำ เราก็ทำ� ตามทีเ่ รามัน่ ใจ หากของ เราไม่ดีจริง คนก็จะไม่สนับสนุน


51


52


53


54

ชาวอโศกกับการปฏิบัติธรรม มรรคองค์ ๘ ความจริงอันยิ่งใหญ่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ “อริยสัจ ๔” ท่านได้เข้าถึงความจริงว่า มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับ ไปอยู่ตลอดเวลา และเมื่อได้ค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของความทุกข์ ท่านก็พบว่าความทุกข์นั้นเกิดจากตัณหา หากเราสามารถดับต้น เหตุของความทุกข์ได้ ความทุกข์ก็จะหมดไป นอกจากนี้ ท่านยัง ได้คน้ พบมรรคหรือทางปฏิบตั ซิ งึ่ เป็นไปเพือ่ ความพ้นทุกข์ คือมรรค องค์ ๘ สมณะโพธิรักษ์ย�้ำว่า ผู้ที่น�ำมรรคองค์ ๘ มาปฏิบัติในชีวิต ประจ�ำวันได้อย่างครบถ้วนและถูกต้องจะสามารถเข้าถึงความพ้น ทุกข์ได้ โดยสามารถก�ำจัดกิเลสโลภ-โกรธ-หลง ได้อย่างสิ้นเชิง มรรคองค์ ๘ ประกอบด้วย • สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกตรง) • สัมมาสังกัปปะ (ความด�ำริที่ถูกตรง) • สัมมาวาจา (การกล่าววาจาที่ถูกตรง)


55

• • • • •

สัมมากัมมันตะ (การงานที่ถูกตรง) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพที่ถูกตรง) สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกตรง) สัมมาสติ (การระลึกรู้ที่ถูกตรง) สัมมาสมาธิ (การมีจิตตั้งมั่นที่ถูกตรง)

สัมมาทิฏฐิ ในบรรดามรรคทัง้ ๘ องค์ สัมมาทิฏฐิเป็นข้อที่ ส�ำคัญที่สุดและเป็นประธานของมรรคทั้ง ๘ องค์ ถ้าไม่มีสัมมาทิฏฐิ ก็เปรียบเสมือนเรือทีไ่ ม่มหี างเสือ เราจะไม่สามารถปฏิบตั ติ ามมรรค องค์ ๘ ได้อย่างถูกต้อง สามารถอธิบายอย่างสั้นๆ ได้ว่า สัมมา ทิฏฐิ เป็นความเห็นความเข้าใจอย่างถูกต้องในอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ (โลภ-โกรธ-หลง) สมุทัย (เหตุที่ท�ำให้เกิดทุกข์) นิโรธ (ความดับ ไม่เหลือของทุกข์) และมรรค (ทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือ ของทุกข์) แม้ในสัมมาทิฏฐิเองก็ยังแบ่งออกเป็นอีก ๑๐ หัวข้อย่อย ซึง่ หากไม่เข้าใจในแต่ละหัวข้อย่อยได้อย่างถูกต้องแท้จริงตัง้ แต่เริม่ แรก การปฏิบัติก็จะผิดทางไปตลอด และจะไม่สามารถบรรลุธรรม ได้เลย สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ เป็นการ ปฏิบตั เิ กีย่ วกับความคิด ค�ำพูด และการกระท�ำ สมณะโพธิรกั ษ์เน้น ว่า ศีลเป็นสิง่ ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ เพราะเป็นรากฐานของการปฏิบตั ธิ รรมทัง้ ปวงและศีลสามารถพาไปสู่นิพพานได้ หากสังวรศีลได้ในทุกขณะ จิตก็จะเว้นขาดจากความคิด การพูดและการกระท�ำที่เป็นอกุศลได้ อย่างรวดเร็ว สัมมาอาชีวะ การปฏิบัติสัมมาอาชีวะ หมายถึง การเว้น


56

ขาดจากมิจฉาชีพ ๕ ทั้งหมด คือ เว้นขาดจากการโกง การล่อลวง การตลบตะแลง การยอมมอบตนในทางผิด และการเอาลาภแลก ลาภ ถ้อยค�ำทั้งหมดนี้แสดงความหมายอยู่ในตัวว่า ในการปฏิบัติ ธรรมนั้นจะต้องมีการท�ำงาน ไม่ใช่การไปนั่งหลับตาเพื่อท�ำสมาธิ แต่อย่างใด สมณะโพธิรักษ์กล่าวว่า “เราสามารถปฏิบัติธรรมไป พร้อมๆกับการมีสัมมาอาชีพในชีวิตประจ�ำวันได้” สัมมาวายามะและสัมมาสติ สัมมาสติ คือ การมีสติรู้ เท่าทันในทุกขณะจิตทีเ่ กิดผัสสะ นักปฏิบตั ธิ รรมจะต้องสังวรศีลแม้ ในขณะท�ำการงาน โดยมีสติรู้เท่าทันเวทนาที่เกิดขึ้น และสามารถ แยกแยะได้ว่าเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ แล้วหาสาเหตุ แห่งทุกข์นั้นให้เจอ ตลอดจนหาอุบายหรือวิธีที่จะดับทุกข์นั้น จาก นั้นก็ใช้สัมมาวายามะหรือความเพียรในการดับเหตุแห่งทุกข์นั้น มรรคทั้ง ๒ องค์นี้จะต้องมีอยู่ตลอดเวลาที่ปฏิบัติมรรคองค์ ๘ สัมมาสมาธิ ไม่ใช่การนั่งหลับตาท�ำสมาธิอย่างที่หลาย คนเข้าใจผิด แต่เป็นมรรคองค์ที่ ๘ ซึ่งเป็นผลจากการปฏิบัติมรรค ครบทั้ง ๗ องค์มาก่อน การปลีกวิเวกและฝึกนั่งหลับตาท�ำสมาธิ เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถปฏิบัติสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะและองค์แห่งมรรคข้ออืน่ ๆได้เลย ถ้าเราปฏิบตั มิ รรคทัง้ ๗ องค์ได้อย่างถูกต้อง จิตจะเจริญเป็นอธิจิตและเกิดสภาพที่เรียก ว่า “อุเบกขา” (อารมณ์เป็นกลางที่ว่างจากกิเลส) เมื่อท�ำอุเบกขา ได้บ่อยๆ สภาพจิตนั้นก็จะค่อยๆตกผลึกและสั่งสมลงเป็นสมาธิ (ความตั้งมั่น) ซึ่งเป็นสัมมาสมาธิตามที่พระพุทธเจ้าสอน เรียกว่า “สมาหิตะ”


57

จรณะ ๑๕ วิชชา ๘ การศึกษาของศาสนาพุทธ คือการศึกษาเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา (ไตรสิกขา) ซึ่งต้องมีเบื้องต้น ท่ามกลาง และบั้นปลาย หากศึกษาพระไตรปิฎกเล่ม ๙ จะพบว่าทั้ง ๑๓ พระสูตรนั้น ล้วน แล้วแต่คือหลักปฏิบัติไตรสิกขา ที่มีจรณะ ๑๕ วิชชา ๘ ซึ่งท�ำให้ เกิด “ฌาน” เกิด “สมาธิ” และเกิด “ปัญญา” ตามล�ำดับ จรณะ ๑๕ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมในพุทธศาสนา ประกอบด้วย หมวดศีล ๑. สังวรศีล หมวดอปัณณกปฏิปทา ๓ ๒. ส�ำรวมอินทรีย์ ๓. โภชเนมัตตัญญุตา ๔. ชาคริยานุโยคะ หมวดสัทธรรม ๗ ๕. ศรัทธา ๖. หิริ ๗. โอตตัปปะ ๘. พหูสูต ๙. วิริยะ ๑๐. สติ ๑๑. ปัญญา


58

หมวดฌาน ๔ ๑๒. ฌาน ๑ (มีวิตกวิจาร ปีติ สุข เกิดจากวิเวก) ๑๓. ฌาน ๒ (ลดวิตกวิจาร มีปีติ สุข เกิดจากสมาธิ) ๑๔. ฌาน ๓ (ลดปีติ จิตจะเกิดสุข มีสติ มีอุเบกขา) ๑๕. ฌาน ๔ (ละสุข ละทุกข์ ดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่)

สังวรศีล การปฏิบัติจรณะ ๑๕ วิชชา ๘ เริ่มต้นจากการสมาทานศีล ตามฐานะของตน ศีลมาจากรากศัพท์ “ศิลา” ซึ่งแปลว่าหินผา ศีลเป็นหลัก คงมั่นดั่งศิลาให้คนยึดถือปฏิบัติ ผู้ที่ต้องการเลิกหรือหลุดพ้นจาก สิ่งที่ตนหลงติด ก็ต้องตั้งศีลหรือตั้งข้อสมาทานให้แก่ตน (ดุจหิน ผา) เมื่อตั้งศีลแล้วก็ต้องสังวร “สังวร” แปลว่า ระมัดระวัง ต้องตั้งใจระวังตน ท�ำให้ได้ ตามทีก่ ำ� หนดกฎเกณฑ์ให้แก่ตนเอง ต้องอดทนข่มฝืน เอาจริงเอา จัง ตั้งให้จริง ให้เป็นสัจจะ ให้หนักแน่นเหมือนหินผา จึงจะเรียก ว่าสังวรศีล

อปัณณกปฏิปทา ในอปัณณกปฏิปทาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ ข้อ ๔๕๕ พระพุทธเจ้าได้ก�ำหนดข้อปฏิบัติที่ไม่ผิดไว้ ๓ ประการ คือ ๑. ส�ำรวมอินทรีย์ ๖ (อินทรีย์สังวร) โดยให้ส�ำรวม ตา หู จมูก ลิน้ กาย ใจ ตามศีลทีต่ นสมาทานเหมาะสมกับตน


59

๒. รู้จักประมาณในการบริโภค (ของกิน) และการใช้สอย เครื่องอุปโภค (ของใช้) ต่างๆ อย่างพอประมาณ (โภชเนมัตตัญญุตา) โดยให้ปฏิบัติทุกขณะที่มีการกิน การใช้ในชีวิตปกติสามัญ ๓. ประกอบความเพียรให้เป็นผู้ต่ืนอยู่เสมอ (ชาคริยานุโยคะ) ซึ่งความเป็นผู้ “ตื่น” นี้ หมายถึงการมีสติ รู้เท่าทันกายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม ของตนใน ทุก ขณะจิ ต และปฏิ บั ติ จ นมี ผ ลบรรลุ ค วามจริ ง ของ จิต เจตสิก รูป กระทัง่ นิพพาน จึงจะชือ่ ว่าเป็นผู้ “ตืน่ ” ได้อย่างสัมบูรณ์ จะเห็นได้ว่า การปฏิบัติที่ถูกต้องของศาสนาพุทธนั้นหมาย เอาการปฏิบัติแบบลืมตา เป็นผู้ตื่นด้วยการเปิดทวารทั้ง ๖ ขึ้นรับ วิถี (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๔-๑๕) และมีสติรับรู้ผัสสะที่เกิด ขึ้นตลอดเวลา การเอาแต่นั่งหลับตาท�ำสมาธิโดยปิดการรับรู้โลก ภายนอก เป็นการปฏิบตั ทิ ผี่ ดิ ไปจากหลักอปัณณกปฏิปทาดังกล่าว ถือว่าเป็นการปฏิบตั ทิ ผี่ ดิ ไปจากค�ำสอนของศาสนาพุทธอย่างสิน้ เชิง การนั่งหลับตาท�ำสมาธิอาจมีประโยชน์อยู่บ้าง แต่ก็เป็นเพียง อุปการะ ไม่ใช่ทางปฏิบัติอันเอกที่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

สัทธรรม ๗ เมื่อปฏิบัติจรณะ ๔ ข้อแรกได้แล้ว จะท�ำให้เกิดศรัทธา หิริ (ความละอายต่อบาป) โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อบาป) พหูสูต (ความเข้าใจในสัจธรรมที่เป็นผลของการปฏิบัติ) เมื่อเกิด


60

มรรคเกิดผลเราก็จะยิ่งวิริยะ (พากเพียร) ท�ำให้เกิดสติและปัญญา เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นปัญญาที่เกิดจาก จิต “เกิด” จิต “เป็น” และ เราก็รู้ในสิ่งที่เรามีจริง เป็นจริง ถ้าไม่มีอปัณณกปฏิปทาก็ไม่อาจเกิดศรัทธาได้ เพราะไม่มี ผลของการปฏิบัติให้เราได้เห็นและเกิดความรู้สึกเชื่อมั่น ศรัทธา ไม่ใช่แค่การเชื่อมั่นในค�ำสอนของครูบาอาจารย์ หรือเชื่อตรรกะ ภาษา แต่เป็นความเชื่อมั่นที่เกิดจากสิ่งที่เราปฏิบัติได้จริง

ฌาน ๔ การปฏิบัติจรณะข้อ ๑-๑๑ จนเป็นอธิศีล จะส่งผลให้เกิด “ฌาน” (จรณะข้อ ๑๒-๑๓-๑๔-๑๕ คือ ฌาน ๑-ฌาน ๒-ฌาน ๓ฌาน ๔) ซึ่งก็คืออธิจิต ที่เรียกว่า “สมาธิ” นั่นเอง ฌาน ๑ (มีวติ กวิจาร ปีต ิ สุข เกิดจากวิเวก) ในการปฏิบตั ิ เพื่อลดละกิเลสไม่ว่าเรื่องใด เราจะต้องเริ่มต้นด้วยการควบคุมจิต อย่างเข้มงวดตลอดเวลาในเรื่องนั้น ฌาน ๒ (วิตกวิจารลดลง มีปีติ สุข เกิดจากสมาธิ) เมื่อ ฝึกควบคุมจิตได้เสมอๆ เราจะเริ่มมีความช�ำนาญและจิตจะค่อยๆ แข็งแรงขึ้น ไม่ต้องควบคุมอย่างเข้มงวดเหมือนในช่วงแรก เราจะ รู้สึกยินดี (ปีติ) กับจิตที่แข็งแรงขึ้น ฌาน ๓ (ปีติสิ้นไป ได้สุขด้วยนามกาย มีสติ และมี อุเบกขา) เมื่อคลายความยินดีลงได้ จิตจะเริ่มสัมผัสความสงบสุข ในภายใน ฌาน ๔ (ละสุข ละทุกข์ ดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆได้ มี


61

อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์) เมื่อสัมผัสความสงบสุขในภายใน จนเป็นปกติวิสัย กลายเป็นความธรรมดาของจิตที่จะไม่มีสุข ไม่มี ทุกข์ จิตจะเกิดอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดังที่กล่าวมาแล้ว การศึกษาของศาสนาพุทธ คือการศึกษา เรื่องของ ศีล สมาธิ ปัญญา (ไตรสิกขา) ซึ่งอยู่ในการปฏิบัติจรณะ ๑๕ วิชชา ๘ นั่นเอง โดยการปฏิบัติจะเริ่มต้นภายใต้กรอบของศีลที่ แต่ละคนสมาทานตามฐานะของตน เจริญพัฒนาเป็นอธิจิต แข็งแรง ขึน้ ตามล�ำดับ แล้วสัง่ สมลงเป็นสัมมาสมาธิ เมือ่ ปฏิบตั จิ รณะ ๑๕ จะ เกิด “ฌาน” ซึ่งเป็นพลังงานอุณหธาตุ (พลังงานไฟ) ท�ำหน้าที่เผา กิเลส ราคะ โทสะ โมหะ ให้หมดไป ฌานของพุทธเป็นฌานโลกุตระ ปฏิบัติในขณะลืมตาและ มีการสัมผัสทางทวาร ๖ เมื่อปฏิบัติฌาน ๔ จะมีอุเบกขา (จิตว่าง จากกิเลส) จิตทีส่ ะอาดจากกิเลสนีจ้ ะสะสมตกผลึกลงเป็นจิตตัง้ มั่น เป็นอธิจิต เรียกว่า “สมาธิ” การปฏิบตั ทิ กุ ขัน้ ตอนจะมีปญ ั ญาเป็นธาตุรเู้ ข้าร่วมประกอบ อยู่ด้วยเสมอ ที่สุดแม้อาสวักขยญาน (ญานที่รู้การหมดสิ้นอาสวะ ของตน) ซึ่งเป็นวิชชาข้อที่ ๘ ส�ำหรับใช้ตัดสินว่าตนเองหมดสิ้น อาสวะแล้วหรือไม่ ก็ต้องมีปัญญาเข้าไปตัดสิน โดยมีภาวะจริง รองรับว่าอาสวะของตนสิ้นไปแล้ว ตนจบกิจแล้ว เป็นผู้มีนิพพาน สมบูรณ์ ฌานต้องมีปัญญา ฌานกับปัญญาเปรียบเสมือนเหรียญ สองด้าน ดังค�ำตรัสของพระพุทธองค์ที่ว่า “ฌานย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มี ปัญญา ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด


62

ผู้นั้นแลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน” (พระไตรปิฏกเล่ม ๒๕ ข้อ ๓๕)

วิชชา ๘ ผู ้ ป ฏิ บั ติ ธ รรมอย่ า งเป็ น ขั้ น เป็ น ตอน ตั้ ง แต่ เ บื้ อ งต้ น ท่ามกลาง และบั้นปลาย จิตจะเกิดฌาน “ฌาน” หมายถึงการเพ่งเผากิเลส จิตจะเบาว่างเพราะ ลดละกิเลสได้จริง ฌานที่มีปัญญาญาณจะรู้เห็นจิตของตน รู้ความ จริงในเหตุที่มีความจริงเกิด รู้กิเลสตายจริง อกุศลดับจริง ดังนี้ เรียกว่า วิปัสสนาญาณ ซึ่งเป็นวิชชาประการที่ ๑ คือ รู้แจ้งกิเลส ด้วยปัญญาพิจารณา วิชชาประการที่ ๒ คือ มโนมยิทธิญาณ เมื่อปัญญารู้ ยิ่งขึ้นและจิตมีความสามารถยิ่งขึ้น ท�ำให้มีฤทธิ์ทางใจสามารถ ท�ำลายกิเลส และท�ำให้จิตที่ไม่ดีเจริญขึ้นได้ วิชชาประการที่ ๓ คือ อิทธิวิธญาณ จิตมีอานุภาพ มีวิธี ที่หลากหลายในการฆ่ากิเลส หรือมีมโนมยิทธิมากขึ้นนั่นเอง วิชชาประการที่ ๔ คือ ทิพพโสตญาณ มีโสตประสาทอัน เป็นทิพย์ (รู้อย่างแยบคาย สุขุม ละเอียด) สามารถแยกแยะความ แตกต่างของกิเลสได้ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย หยาบหรือละเอียด เข้าใจความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันได้ นี้เป็นวิชชาประการที่ ๔ วิชชาประการที่ ๕ คือ เจโตปริยญาณ สามารถก�ำหนด รู้ความแตกต่างในจิตขั้นอื่นๆ ของตนได้รอบถ้วน (ตามหลัก ๑๖ อย่าง) มีญาณหยัง่ รูจ้ ติ ของตนว่ามีกเิ ลสเกิดขึน้ หรือไม่ รูว้ า่ จิตของ ตนมีประสิทธิภาพ มีความเก่ง ดีขึ้นหรือไม่ ท�ำได้หรือยังท�ำไม่ได้


63

เมือ่ พากเพียรเพิม่ ขึน้ ก็จะยิง่ มีสติ (รูย้ งิ่ ) มีปญ ั ญา (ยิง่ รู)้ เกิดญาณ ที่รอบรู้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น วิชชาประการที่ ๖ คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นการ ใช้สญ ั ญาในการตรวจสอบ ระลึกย้อนอดีตหรือสิง่ ทีผ่ า่ นมาแล้วเกีย่ ว กับการเกิดกิเลสของตน วิชชาประการที่ ๗ คือ จุตูปปาตญาณ มีญาณรู้เห็นการ เกิด การตายของกิเลสตนได้ (การดับของจิตที่ได้ดับเชื้อกิเลส) แล้วเกิดเป็นสัตว์เทวดาหรืออาริยสัตว์ วิชชาประการที่ ๘ คือ อาสวักขยญาณ ญาณที่รู้แจ้งว่า ตนดับกิเลสอาสวะได้หมดสิ้นแล้ว โดยมีสภาวะจริงรองรับ ผู้ใดปฏิบัติจรณะ ๑๕ วิชชา ๘ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เท่ากับปฏิบัติวิชชาจรณะสัมปันโนซึ่งเป็นพุทธคุณอันยิ่งใหญ่ของ พระพุทธเจ้า เป็นเนื้อแท้ของศาสนาพุทธ ครบถ้วนทั้งศีล สมาธิ ปัญญา จะสามารถถอนรากเหง้าของกิเลสอาสวะและอนุสยั ได้หมด สิ้นเกลี้ยง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความเป็นพระอรหันต์อย่างแท้จริง

สมาธิพุทธ สมาธิมี ๒ แบบ คือ สมาธิโลกียะและสมาธิโลกุตระ สัมมา สมาธิของศาสนาพุทธเป็นสมาธิโลกุตระ มีสภาวะทางจิตวิญญาณ ที่สูงส่งกว่าสมาธิโลกียะมากมายนัก เป็นจิตสงบที่มีลักษณะเป็น อุเบกขา และปราศจากกิเลสอย่างตั้งมั่นไม่หวั่นไหว แม้ในขณะ ที่มีสิ่งภายนอกมายั่วยุหรือมีการกระทบผัสสะทางทวารต่างๆ อยู่ ก็ตาม


64

ส่วนสมาธิโลกียะเป็นการสะกดจิตไว้ไม่ให้รับรู้สิ่งใดๆ โดย ให้ก�ำหนดรู้เฉพาะที่จิต และท�ำจิตให้นิ่งอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียง อย่างเดียว จิตก็จะเกิดความช�ำนาญและสามารถสั่งสมความ ตัง้ มัน่ ได้เช่นกัน แต่เป็นความตัง้ มัน่ ทีท่ ำ� ให้จติ คงอยูใ่ นสภาพเดียว เป็นสภาพจิตทีน่ งิ่ ไม่รบั รูอ้ นื่ ใดอีก จิตจะมีลกั ษณะแข็งขืน ไม่แวว ไว (ไม่มีมุทุธาตุ) หลายคนเข้าใจผิดว่าจิตที่มีลักษณะดังกล่าวคือ จิตที่เป็นสมาธิ แท้จริงแล้ว จิตลักษณะนั้นถือเป็นมิจฉาสมาธิ เป็น สมาธิของพวกฤาษีเดียรถีย์ ไม่ใช่สัมมาสมาธิของพุทธแต่อย่างใด สมณะโพธิรักษ์สอนว่า ศีลเป็นตัวก�ำหนดสมาธิ (ก่อให้เกิด สมาธิ) หากสามารถสังวรศีลในเรื่องใดได้ จนจิตแข็งแรง ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว (อเนญชา) เท่ากับจิตเกิดสมาธิในเรื่องนั้นแล้ว เช่น สังวรศีลว่าจะไม่ท�ำร้ายสัตว์ใดๆ แม้สัตว์นั้นจะมาท�ำร้ายเรา เมื่อ เห็นยุงก�ำลังจะมากัด ก็ต้องมีสติและสังวรศีลว่าจะไม่ตบยุง หาก ท�ำได้ทกุ ครัง้ ทีเ่ ห็นยุงจะมากัด และอ่านจิตได้วา่ ไม่หวัน่ ไหว มีความ แข็งแรงตัง้ มัน่ เท่ากับจิตเกิดสมาธิเรือ่ งการไม่ทำ� ร้ายสัตว์ (ยุง) แล้ว เมื่อกระทบผัสสะแล้ว หากสามารถปฏิบัติมรรคทั้ง ๗ องค์ ได้อย่างถูกต้อง จิตจะเกิดสภาพอุเบกขา (อารมณ์เป็นกลางที่ว่าง จากกิเลส) หากสามารถท�ำอุเบกขาให้เกิดขึน้ ได้เสมอๆ ในทุกผัสสะ ที่มากระทบ สภาพจิตนั้นก็จะค่อยๆ ตกผลึก และมีความแข็งแรง ตั้งมั่นขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันจิตก็จะคล่องแคล่วว่องไว มีไหว พริบ รู้ทันกิเลสได้เร็วขึ้นๆ และท�ำลายกิเลสได้ง่ายขึ้นด้วย การ ท�ำจิตสะอาดให้แข็งแรงตั้งมั่นได้อย่างต่อเนื่องนี้แหละ คือสมาธิที่ พระพุทธเจ้าทรงพาท�ำ เป็นสัมมาสมาธิอย่างแท้จริง


65

กล่าวโดยสรุป สมาธิแบบพุทธหรือสัมมาสมาธินั้น คือ สภาพจิตที่แข็งแรงตั้งมั่นปราศจากกิเลส สมาธิแบบพุทธไม่ใช่การ นั่งหลับตา แล้วท�ำจิตให้นิ่งอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่เป็นผลที่เกิดขึ้น จากการปฏิบัติมรรคทั้ง ๗ องค์ อย่างถูกต้องมาตามขั้นตอน เมื่อ ผู้ใดสามารถปฏิบัติมรรคองค์ ๘ ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน จิต จะเจริญขึ้นเป็นอธิจิต และเกิดสภาพที่เรียกว่า “อุเบกขา” เมื่อท�ำ อุเบกขาให้เกิดขึ้นได้เสมอๆ จิตก็จะค่อยๆ ตกผลึก มีความแข็ง แรงตัง้ มัน่ แล้วสัง่ สมลงเป็นสมาธิ เรียกว่า “สมาหิตะ” ซึง่ เป็นสัมมา สมาธิของพุทธอย่างแท้จริง จิตจะมีสภาพที่คล่องแคล่ว ว่องไวเป็น พลวัต (Dynamic) ไม่หยุดนิ่ง (Static) เหมือนอย่างสมาธิที่เกิด ขึ้นจากการนั่งหลับตา เช่นที่เราพบเห็นและมีการปฏิบัติกันอยู่โดย ทั่วไป l

เวทนาคือกรรมฐาน พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เว้นจากผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้” ซึ่งหมายความว่า ถ้าไม่มีผัสสะ (การกระทบ สัมผัส) เป็นปัจจัย ย่อมไม่มเี วทนา (การรับรูค้ วามรูส้ กึ ) ให้เราเรียน รู้ได้ สมณะโพธิรักษ์จึงเน้นเสมอว่า เวทนาคือกรรมฐาน ถ้าไม่มี เวทนาก็ไม่มีฐานอันเป็นที่ตั้งแห่งการปฏิบัติธรรม การปฏิบตั ธิ รรมต้องเป็นไปตามล�ำดับ โดยเรียนรูภ้ พ (แดน เกิด) ทั้ง ๓ ก่อน ตั้งแต่กามภพ (ภพของกามภายนอก) รูปภพ (ภพของรูปในจิต) ไปจนถึงอรูปภพ (ภพทีไ่ ม่มรี ปู ในจิต) และต้องมี ผัสสะจากภายนอกทีเ่ กีย่ วข้องกับปัจจุบนั ให้เราได้เรียนรู ้ ถ้าเอาแต่


66

นั่งหลับตาสมาธิเข้าไปอยู่ในจิตอย่างเดียว ก็เท่ากับไม่มีผัสสะหรือ เวทนาให้เราได้เรียนรูป้ ฏิบตั ิ เราก็จะมีแต่สมมุตวิ า่ งๆ ทีเ่ ราสร้างขึน้ ซึ่งไม่ใช่ของจริง กามภพ คือภพทีเ่ กิดขึน้ เมือ่ มีการกระทบสัมผัสกับภายนอก เท่านั้น ถ้าไม่มีการกระทบผัสสะภายนอกไม่เรียกว่า “กามภพ” สิง่ ทีย่ ดึ หรือปรุงสังขารขึน้ ในใจเรียกว่า “ภวภพ” ซึง่ ก็มที งั้ รูปภพและ อรูปภพ โดย “รูปภพ” หมายถึง กิเลสหรืออาการที่อยู่ภายในจิต ทีไ่ ม่หยาบถึงขัน้ ต้องแสดงออกมาภายนอก ส่วน “อรูปภพ” หมาย ถึง กิเลสหรืออาการที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งไม่มีรูปและรู้ เท่าทันได้ยากกว่ารูปภพ การตัดกิเลสต้องเริม่ ต้นทีก่ ามภพก่อน ต้องเข้าใจกามภพที่ เกิดในชีวิตจริงๆ ของเรานี่แหละ กิเลสในกามภพก็คือ กามคุณ ๕ ที่เกิดขึ้นทาง ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย ถ้าไม่รู้เท่าทันเวทนาและไม่ ได้ล้างกิเลส หรือยังก�ำจัดมันไม่ได้ กิเลสนั้นก็จะติดยึด สั่งสม ตก ตะกอนเป็นภพเป็นชาติอยู่ในใจของเรา การล้างรูปภพ (กิเลสในจิต) ก็ตอ้ งอาศัยการกระทบผัสสะ ภายนอกอีกเช่นกัน แม้กิเลสนั้นจะไม่หยาบถึงขั้นแสดงออกมา ให้เห็นภายนอก เราก็ต้องจับอาการที่เกิดขึ้นในจิตนั้นให้ได้ แล้ว ท�ำการล้างหรือประหารกิเลสนัน้ จะโดยวิธสี มถะหรือวิปสั สนาก็ตาม เราต้องอบรมตนให้ถึงจิตจริงๆ เมื่อฝึกแบบนี้ทุกครั้งที่เกิดผัสสะ กิเลสก็จะถูกช�ำระล้างลึกลงไปเรื่อยๆ จนถึงขั้นอรูปสุดท้าย จะเห็นได้ว่า ผัสสะท�ำให้เกิดกิเลสได้ทั้ง ๓ ภพ ถ้าไม่ล้าง กิเลสขั้นกามภพให้สะอาดก่อน ก็ไม่มีทางที่จะล้างกิเลสขั้นรูปภพ


67

และอรูปภพได้ ฉะนั้น ถ้าขาดเสียซึ่งพฤติกรรมจริงหรือผัสสะจริง เราจะไม่สามารถล้างถึงตัวกิเลสได้เลย เพราะมีแต่ความคิด ซึง่ เรา จะคิดอย่างไรก็ได้ แต่ความคิดไม่ใช่ตัวตัดกิเลส ไม่สามารถท�ำให้ กิเลสหมดไปได้ การตัดกิเลสต้องกระท�ำในขณะผัสสะกับของจริง ที่ปรากฏซึ่งหน้าในปัจจุบันเท่านั้น

ไตรลักษณ์ พระพุทธเจ้าตรัสว่าไตรลักษณ์เป็นสามัญลักษณะของทุก สรรพสิ่งในโลก ซึ่งประกอบด้วย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หลายคน เข้าใจความหมายเพียงทั่วๆ ไปว่า อนิจจังหมายถึงความไม่เที่ยง ทุกขังหมายถึงความทุกข์ และอนัตตาหมายถึงความไม่มีตัวตน คงมีน้อยคนที่จะเข้าใจความหมายและเข้าถึงสภาวะที่แท้จริงของ ค�ำเหล่านี้ สมณะโพธิรักษ์สอนว่า การจะเข้าถึงไตรลักษณ์ได้ ต้อง เรียนรู้ให้เห็นไตรลักษณ์ในขณะปัจจุบันหรือทุกขณะที่เกิดผัสสะ โดยก�ำหนดรู้อารมณ์สุขหรือทุกข์ที่เกิดขึ้นจากผัสสะนั้นให้ชัดเจน แล้วตามดูความไม่เที่ยงของสภาวะจิตดังกล่าว จะเห็นความ เปลีย่ นแปลงเกิดขึน้ ไม่คงที่ ไม่คงอยูอ่ ย่างนัน้ ตลอดไป ทัง้ สุขและ ทุกข์จึงเป็นภาวะที่ไม่เที่ยง ไม่สามารถยึดเป็นอัตตาตัวตนได้ อนิจจัง การจะเข้าใจและเห็นถึงความไม่เที่ยงได้ ต้องเริ่ม ต้นจากการมีสติในขณะที่มีการกระทบผัสสะทางทวารทั้ง ๖ โดย สัมผัสกับอาการจริงที่เกิดขึ้นในตนแล้วอ่านเวทนาให้ออกว่า เรามี อารมณ์หรือความรู้สึกในขณะนั้นอย่างไร เมื่อตามอ่านอารมณ์นั้น


68

ไปเรื่อยๆ จะเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลง ในลักษณะที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ตาม นี้คือความไม่เที่ยง ทุกขัง สมณะโพธิรักษ์สอนเรื่องทุกข์ โดยให้เรียนรู้และ พิจารณาเรื่องสุขก่อน เนื่องจากเข้าใจได้ง่ายกว่า ท่านสอนว่า ความสุขเป็นมายา เป็นสุขจอมปลอม (สุขัลลิกะ) เป็นเหตุแห่ง ทุกข์ (ทุกข์อริยสัจ) อย่างแท้จริง สุขและทุกข์เป็นเสมือนเหรียญ สองด้าน เมื่อมีสุขก็มีทุกข์ติดมาด้วย เพราะสุขและทุกข์ แท้จริง แล้วคือตัวเดียวกัน การทีเ่ ราติดยึดในความสุข อยากให้อาการสุขนัน้ อยูก่ บั เรา นานๆ แต่ทำ� ไม่ได้เพราะมันไม่เทีย่ ง ใจของเราก็เกิดทุกข์ ความไม่ เทีย่ งจึงเป็นเหตุแห่งทุกข์ทแี่ ท้จริง เราต้องรูว้ า่ ทุกข์เกิดจาก “กิเลส” ของเราเองทีห่ ลงยึดมัน่ สิง่ นัน้ ๆ ไว้ นอกจากนีค้ วามสุขทีเ่ ราแสวงหา นั้นก็ไม่มีตัวตนจริง เป็นเพียงอุปาทาน เป็นมายาหลอกเรา เป็น อารมณ์หรือความรู้สึกที่เราสามารถล้างให้หมดไปจากใจของเราได้ อนัตตา หมายถึง หมดความยึดอัตตา (กิเลส) ของตน ซึง่ เป็นเรื่องที่อธิบายให้เข้าใจได้ยาก ชาวพุทธหลายคนยังเข้าใจผิด และมักพูดกันว่า “อะไรๆ ก็ไม่มีตัวตน” ซึ่งเป็นเรื่องสามัญที่ใครๆ ก็สามารถเข้าใจได้ เพราะทุกอย่างในโลกหรือจักรวาลนี้ล้วนต้อง สูญสลายไปในที่สุด ไม่มีอะไรที่มีแก่นสารสาระหรือตัวตนอยู่จริง แต่สิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านต้องการให้เราเรียนรู้ในบริบทนี้คือ ความ ไม่มีตัวตนอยู่จริงของกิเลสต่างหาก ความโลภ-โกรธ-หลง ที่เรา ติดยึดกันอยู่นั้น ความจริงแล้วมันไม่มีตัวตน ไม่มีอยู่จริง หรือไม่ เป็นจริง อย่างที่เราหลงยึดเป็นอุปาทาน


69

หากยกตัวอย่างเรือ่ งเวทนาอาจท�ำให้เข้าใจได้งา่ ยขึน้ กล่าว คือ เมือ่ กระทบกับผัสสะใดๆ มักจะมีเวทนา ๒ อย่างเกิดขึน้ เสมอ คือ เวทนาแท้และเวทนาเท็จ เวทนาแท้ คือการมองเห็นหรือรับรู้ความ จริงตามความเป็นจริงของสิ่งนั้น ส่วนเวทนาเท็จคือเวทนาที่เจือปน ไปด้วยกิเลส ตัณหาหรืออุปาทาน เช่น ความรูส้ กึ เผ็ดร้อนทีเ่ กิดขึน้ เมื่อรับประทานพริก ความรู้สึกเผ็ดร้อนนี้คือเวทนาแท้ แต่ความ อร่อยหรือความพึงพอใจทีเ่ กิดขึน้ จากการได้รบั ประทานพริกนัน้ คือ เวทนาเท็จ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า เวทนาเท็จนั้นเป็นความรู้สึกส่วน ตัวที่เราสร้างขึ้นมาเอง และไม่มีจริง แต่เหตุที่มันมีตัวตนขึ้นมาก็ เพราะความหลง (โมหะ) หรือความไม่รู้ (อวิชชา) ของเราเอง เมื่อ เรารู้สึกยินดีหรือพึงพอใจกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเกิดความติดยึดเป็น อุปาทาน (กิเลส) ขึ้นมาในใจ เราก็จะรู้สึกว่าสิ่งนั้นมีอยู่จริง หรือ มีตัวตนจริง นี้คือตัวตนที่พระพุทธเจ้าต้องการให้เราเรียนรู้ และ ล้างให้หมดไปจากใจของเรา จะเห็นได้วา ่ การเข้าถึงไตรลักษณ์ตอ้ งเรียนรูใ้ นทุกปัจจุบนั ขณะที่เกิดผัสสะ อ่านเวทนาที่เกิดขึ้นให้ชัดเจน แล้วท�ำการปฏิบัติ ลดละจนเกิดผล เห็นสภาวะของไตรลักษณ์ที่เกิดขึ้นจริงในตน ซึ่ง ไม่ใช่เรื่องง่าย แม้พระพุทธองค์ยังทรงยืนยันว่าธรรมของท่านนั้น ลึกซึ้ง (คัมภีรา) เห็นตามได้ยาก (ทุทัสสา) รู้ตามได้ยาก (ทุรนุโพทา) สงบ (สันตา) ประณีต (ปณีตา) คาดคะเนด้นเดาไม่ได้ (อตักกาวจรา) ละเอียด (นิปุณา) รู้ได้เฉพาะบัณฑิต (บัณฑิตเวทนียา)


70


71


72


73


74

อโศกกับยูโทเปีย คนส่ ว นใหญ่ ใ นโลกนี้ ต ่ า งก็ แ สวงหาความสุ ข ให้ แ ก่ ชี วิ ต ของตน เราท�ำงานหนักก็ด้วยความคาดหวังว่า สักวันหนึ่งเราจะมี ครอบครัวที่อบอุ่น มีทรัพย์สินเงินทอง มีต�ำแหน่งหน้าที่การงาน ที่ดีและมีรายได้ที่มั่นคง เพื่อจะได้เสพในสิ่งที่เราเข้าใจว่า จะท�ำให้ ชีวติ มีความสุข ซึง่ ในการแสวงหาสิง่ ต่างๆดังกล่าวนัน้ เราอาจต้อง เสียเวลาทัง้ ชีวติ ในการแก่งแย่งแข่งขันเพือ่ ให้ได้สงิ่ เหล่านัน้ มา และ เมือ่ ได้สงิ่ ทีต่ อ้ งการนัน้ มาแล้ว เราก็มคี วามสุขกับมันได้เพียงชัว่ ระยะ เวลาหนึ่งเท่านั้นเอง สุดท้ายเราทุกคนก็จะต้องจากสิ่งเหล่านั้นไป ในเวลาเดียวกันนี้เอง ก็มีกลุ่มคนที่มองเห็นปัญหาของ ชีวิตและความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในสังคม แล้วแยกตัวออกมาตั้ง หมู่กลุ่มหรือสังคมในอุดมคติของตนขึ้นมา มีลักษณะเป็นชุมชน ประเภท Intentional Community ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่สมาชิกมี ความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่งเหมือนกัน ได้แก่ มูลนิธิฟินฮอร์น (Findhorn Foundation) ในประเทศสก็อตแลนด์, กลุ่มออโรวิลล์ (Auroville)ในประเทศอินเดีย, ครอบครัวโคโนฮานะ(Konohana Family)ในประเทศญี่ปุ่น, ชุมชนคิบบุทซ์ (Kibbutz) ในประเทศ


75

อิสราเอล และกลุ่มอื่นๆอีกในหลายประเทศ ซึ่งเมื่อพิจารณาใน รายละเอียดแล้วจะพบว่า ทุกกลุ่มล้วนมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน คือต้องการความสงบสุขในชีวิต ท�ำนองเดียวกับสังคมยูโทเปีย (....สังคมที่มีแต่ความดีงาม ผู้คนมีน�้ำใจ เป็นมิตรและตั้งมั่นใน คุณธรรม บ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อย น่าอยู่ มีความยุติธรรม และมีการจัดระเบียบทางสังคมอย่างสมบูรณ์แบบ....) ซึง่ เป็นสังคม ในอุดมคติที่ทุกคนใฝ่ฝันถึง เซอร์โทมัส มอร์ (Sir Thomas More) นักปรัชญาชาว อังกฤษ ได้เขียนหนังสือยูโทเปีย (Utopia) ขึ้นในปี ค.ศ. ๑๕๑๖ เนื่องจากเขาเห็นความไม่เท่าเทียมกันระหว่างชนชั้นสูง (ขุนนาง) กับชาวนา และลัทธิทุนนิยมที่ขูดรีดเอารัดเอาเปรียบประชาชน และผูใ้ ช้แรงงาน ท�ำให้เกิดความยากจนและทุกข์เข็ญอยูใ่ นเวลานัน้ เมื่อนึกถึงหนังสือ Republic ของเพลโต ที่ว่าด้วยวิถีแห่งการ ปกครองที่ดี เขาจึงมองหาวิธีสร้างสังคมที่ดีงาม ขจัดความขัดแย้ง ระหว่างชนชั้น และได้เขียนถึงสังคมในอุดมคติอันเป็นที่มาของ “ยูโทเปีย” โดยวิธเี ขียนจะเป็นการเล่าเรือ่ งจากปากค�ำของผูท้ ก่ี ล่าว ว่าเคยได้ไปเยือนยูโทเปียมาแล้ว ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับวิถีชีวิตและ ความเป็นอยู่ของผู้คน การศึกษา ศาสนา ความเชื่อ ลักษณะทาง สังคมและการปกครองบนเกาะแห่งนั้น เป้าหมายของสังคมยูโทเปีย คือ การสร้างสังคมและสิ่ง แวดล้อมที่ดีในชีวิต เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่าง มีความสุข ปลอดภัย เสมอภาค และมีศักดิ์ศรี ในสังคมยูโทเปีย ไม่มีสมบัติส่วนบุคคล (รัฐเป็นเจ้าของทั้งหมด) ผลผลิตทั้งหมดจะ


76

ถูกเก็บรวบรวมไว้ในโกดังส่วนกลางซึ่งสามารถไปขอรับได้ ทุก คนจะรับประทานอาหารร่วมกันที่ห้องโถงของชุมชน ไม่มีการ ล็อคประตูบ้าน และบ้านจะหมุนเวียนกันใช้ระหว่างประชาชนทุกๆ ๑๐ ปี เกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักที่ส�ำคัญที่สุดบนเกาะ ทุกคน ต้องพักอาศัยในชนบทเพื่อท�ำการเกษตรเป็นเวลาคราวละ ๒ ปี ผู้ หญิงท�ำงานเช่นเดียวกันกับผู้ชาย ทุกคนสวมใส่เสื้อผ้าเรียบง่าย เหมือนกัน ชาวเมืองในวัยท�ำงานทุกคนต้องท�ำงาน ในยูโทเปีย ไม่มีแหล่งอบายมุข บนเกาะมีหลายศาสนา ชาวยูโทเปียไม่ ชอบการท�ำสงคราม การศึกษาของที่นั่นจะเน้นเรื่องคุณธรรมและ วิชาการ ยูโทเปียยังเป็นรัฐสวัสดิการ มีการรักษาพยาบาลฟรี ส่วนด้านการปกครองจะมีการเลือกตัวแทนขึ้นมาตามล�ำดับจนถึง ต�ำแหน่งนายกเทศมนตรี ซึ่งผู้ที่เป็นนายกเทศมนตรีจะด�ำรง ต�ำแหน่งตลอดชีวิต จนถึงทุกวันนีค้ นส่วนใหญ่กย็ งั คงเชือ่ ว่า ยูโทเปียเป็นสังคม ที่สามารถเกิดขึ้นได้แต่ในจินตนาการเท่านั้น แม้จะมีคนหลายกลุ่ม พยายามจัดตั้งชุมชนในอุดมคติของตนขึ้นมา แต่ก็ยังไม่ปรากฏว่า คนกลุ่มใดสามารถสร้างสังคมอย่างยูโทเปียได้สักที ทั้งๆ ที่คนใน ยุคนี้ต่างก็มีอิสรเสรีภาพ เข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างดี รวมทั้งมีเทคโนโลยีและสิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ ที่พร้อมจะ เอื้อให้เกิดการสร้างสังคมขึ้นได้ไม่ยาก แล้วอะไรล่ะ? ท�ำให้คนที่ มีความคิดอย่างเดียวกันและต้องการสร้างสังคมอย่างเดียวกัน แม้ มาอยู่รวมกันแล้ว ก็ยังไม่สามารถท�ำให้เกิดสังคมที่ตัวเองต้องการ ขึ้นมาได้


77

สมณะโพธิรักษ์ได้ให้ค�ำตอบเรื่องนี้ว่า เพราะคนเหล่านั้น ยังไม่เข้าใจเรื่องจิตวิญญาณของมนุษย์อย่างดีพอ ไม่เข้าใจว่าจิต วิญญาณเป็นประธานของสิ่งทั้งปวง (มโนปุพพัง คมา ธัมมา มโน เสฏฐา มโน มยา) จึงไม่เข้าใจความจริงว่า ตราบใดที่คนยังมีกิเลส หรือยังลดกิเลสไม่ได้จริงแล้ว คนจะไม่เกิด “เมตตา” อันเป็น คุณสมบัติสำ� คัญของจิตวิญญาณที่เป็นเหตุให้เกิดความระลึกถึงกัน มีความรักกัน เคารพกัน มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่ทะเลาะ วิวาทกัน สามัคคีกัน และมีความเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งเป็น คุณธรรมที่ท�ำให้คนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุก ดังนั้น แม้ จะมีคนมาอยู่รวมกัน แต่หากคนเหล่านั้นไม่มีเมตตาอย่างเป็น สัจจะที่ออกมาจาก “ใจ” แล้ว คุณธรรมซึ่งจ�ำเป็นในการอยู่ร่วม กันได้อย่างผาสุกก็ไม่เกิดขึ้น สังคมยูโทเปียที่เราอยากเห็นจึงไม่ เกิดขึ้นสักที สมณะโพธิรัก ษ์ไ ด้กล่าวต่อไปว่า สังคมแบบยูโทเปีย สามารถเกิดขึ้นได้ แม้ในยุคปัจจุบันที่โลกมีแต่ความเดือดร้อน เช่นทุกวันนี ้ แต่สงั คมนีจ้ ะเกิดขึน้ ได้ มีเงือ่ นไขประการทีส่ ำ� คัญและ จ�ำเป็นต้องมีกอ่ นสิง่ อืน่ ใด คือ สมาชิกของสังคมนัน้ จะต้องเป็นผูท้ มี่ ี ศีลและสามารถลดละกิเลสได้จริง เพราะเป้าหมายชีวิตสูงสุดของ คนที่เข้าถึงศีลอย่างแท้จริง คือการลดละกิเลสของตนจนหมดสิ้น และบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในโลก ลักษณะภายนอก ของคนเหล่านีท้ เี่ ราสามารถมองเห็นได้งา่ ย คือ การมีชวี ติ และความ เป็นอยูท่ เี่ รียบง่าย สุภาพอ่อนโยน มักน้อยสันโดษ มีเมตตา เป็นคน เสียสละ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน เป็นคนขยันขันแข็ง หากชุมชนใดมีคน


78

ที่ไม่มีกิเลสหรือมีกิเลสน้อยมาอยู่รวมกัน ก็ย่อมเป็นหลักประกัน ได้ในเบื้องต้นว่า สังคมนั้นจะเป็นสังคมที่อบอุ่น อยู่ร่วมกันได้อย่าง มีความสุข สงบ และสันติอย่างแท้จริง สังคมในอุดมคติของ เซอร์โทมัส มอร์ เกิดขึ้นจากการ ที่เขาได้เห็นถึงความทุกข์ยากและสภาพของสังคมที่เกิดขึ้นใน ขณะนั้น แล้วจินตนาการถึงลักษณะของสังคมดีงามที่ควรจะเกิด ขึ้นตามความคิดของตน แต่สังคมสาธารณโภคีของชาวอโศกเกิด ขึ้น โดยอาศัยค�ำสอนอันเกิดจากปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ได้สั่งสมมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน สิ่งที่พระองค์ได้ศึกษา มาตลอดทุกภพทุกชาตินนั้ คือเรือ่ งของมนุษย์และสังคม พระองค์ จึงเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า สังคมที่ดีที่สุดของมนุษย์นั้นควรมีลักษณะ อย่างไร นักวิชาการบางคนมองว่า “สังคมสาธารณโภคี” ของชาว อโศกก็คือ “สังคมยูโทเปีย” ของ เซอร์โทมัส มอร์ นั่นเอง เพียง แต่คนทั่วไปยังไม่รู้จักสังคมสาธารณโภคี โดยเฉพาะอย่างยิ่งยัง ไม่เข้าใจธรรมชาติของกิเลส เนื่องจากไม่เคยศึกษาเรื่องของกิเลส มาก่อน จึงจินตนาการไปเพียงมุมเดียวตามความคิดของตน ว่า ยูโทเปียนั้นจะต้องเป็นสังคมที่สมบูรณ์แบบ มีแต่ความดีงาม สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย ยุติธรรม ฯลฯ โดยมองข้ามความ เป็นจริงว่าคนในสังคมส่วนใหญ่นั้นยังมีกิเลส ซึ่งอาจจะมีมากบ้าง น้อยบ้างแตกต่างกันไป กิเลสทีแ่ ต่ละคนยังมีอยูน่ ตี้ า่ งหากทีเ่ ป็นเหตุ ให้สังคมเกิดความไม่สงบ ขาดความสวยงาม เกิดความอยุติธรรม บ้านเมืองไม่น่าอยู่ ฯลฯ สังคมยูโทเปียจึงเกิดขึ้นได้แต่เพียงใน


79

จินตนาการเท่านั้น โดยเนื้อหาที่แท้จริงแล้ว สังคมสาธารณโภคีของชาวอโศก ไม่ใช่สังคมยูโทเปีย แม้จะมีลักษณะหลายอย่างที่คล้ายคลึงกัน เพราะเป้าหมายสูงสุดของชาวอโศก คือชีวิตที่ไม่ต้องมีทั้งสุขและ ทุกข์ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ มีนิพพานเป็นเป้าหมายสูงสุด ของชีวิตนั่นเอง สมณะโพธิรักษ์มีความเข้าใจเรื่องจิตวิญญาณและกิเลส อย่างลึกซึ้ง ท่านได้ศึกษาเรื่องของมนุษย์และสังคมจนเข้าใจเป็น อย่างดีว่า สังคมที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดส�ำหรับการอยู่ร่วมกัน และเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณของมนุษย์นั้น จะต้องมีลักษณะอย่าง สังคมสาธารณโภคีของชาวอโศก สังคมหรือชุมชนของชาวอโศก เป็นชุมชนของนักปฏิบัติ ธรรม ซึ่งปฏิบัติตนตามหลักมรรคองค์ ๘ ในชีวิตประจ�ำวัน โดย ปฏิบัติจรณะ ๑๕ วิชชา ๘ ชาวอโศกอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ทุกคนถือศีล ๕ (เป็นอย่างต�่ำ) รับประทานอาหารมังสวิรัติ และ เว้นขาดจากอบายมุขทุกชนิด มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย มัก น้อย สันโดษ เป็นผู้เสียสละและท�ำงานด้วยความขยันขันแข็ง ชาวอโศกใช้ชวี ติ ร่วมกันเป็นหมูก่ ลุม่ ด้วยความเมตตาเกือ้ กูล กันจริงๆ ทุกคนท�ำงานฟรี ไม่มีรายได้ส่วนตน ผลผลิตหรือ รายได้ที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นของส่วนกลาง ลาภที่แต่ละคนได้มา โดยธรรมจะน�ำมารวมกันไว้เป็นกองกลางและกินใช้ร่วมกัน เป็น ระบบที่เรียกว่า “สาธารณโภคี” ส่วนกลางมีหน้าที่คอยช่วยเหลือ และดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนในชุมชน เพื่อให้ทุกคนเกิด


80

ความมั่นใจว่า ชุมชนที่เป็นสาธารณโภคีสามารถพึ่งเกิด พึ่งแก่ พึ่ง เจ็บและพึ่งตายกันได้อย่างแท้จริง นอกจากนี ้ ชุมชนชาวอโศกยังเป็นชุมชนพึง่ ตนเอง สมณะ โพธิรกั ษ์เน้นเสมอว่า “ชาวอโศกต้องเป็นกสิกร” และต้องพึง่ ตนเอง ให้ได้ ชุมชนต่างๆ ของชาวอโศกจึงต้องสร้างอาหาร โดยปลูกข้าว พืชผักและผลไม้ต่างๆ ไว้บริโภคเองในชุมชนให้เพียงพอ หากมี ผลผลิตส่วนเกิน หรือส่วนทีเ่ หลือจากการบริโภคภายในชุมชนก็ตอ้ ง สะพัดออกให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นหรือสังคมต่อไป สังคมสาธารณโภคีของชาวอโศก ไม่ได้มีเป้าหมายเพียง การเป็นสังคมที่สมาชิกสามารถอยู่ร่วมกันอย่างอบอุ่น มีความสุข ความสงบ เสมอภาค และมีศักดิ์ศรี เหมือนอย่างสังคมยูโทเปีย เท่านั้น แต่มีเป้าหมายสูงสุดเพื่อประโยชน์ทางด้านจิตวิญญาณ ของสมาชิกทุกคน เพื่อให้สมาชิกได้อยู่ร่วมกันในสถานที่ที่เอื้อต่อ การประพฤติพรหมจรรย์ เป็นสถานที่สัปปายะ มีองค์ประกอบที่ เกือ้ กูลในการช�ำระกิเลสให้หมดไปจากจิต จนกระทัง่ บรรลุนพิ พาน อันเป็นที่หมายสูงสุดของชีวิต แม้สงั คมสาธารณโภคีจะให้ความส�ำคัญกับ “ประโยชน์ตน” ของสมาชิกเป็นเบือ้ งต้น แต่ในขณะเดียวกันก็จะค�ำนึงถึงประโยชน์ ของผู้อื่น อันเป็น “ประโยชน์ท่าน” ไปพร้อมกันด้วย สังคมสาธารณโภคีจึงเป็นสังคมที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุด ส�ำหรับความเป็นมนุษย์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.