คู่มือค่ายบางจากปีที่ 7 ตามรอยศาสตร์พระราชา

Page 1

โครงการ “บางจากสร้างนักเขียนเยาวชน” ปี 7 ค่ายสอนการเขียนและถ่ายภาพหลักสูตรเร่งรัดกับนักเขียนและช่างภาพมืออาชีพ

มือ

ฟ้า

เปิดป

ลอย

ระ ส

์ นวัตกรรมปั๊มน้นำมัน

าร ณ

จ่ า ย

>  สู่ดินแดนหนาวสุดกลางสยาม    บ้านแก่นมะกรูด อ. บ้านไร่ จ. อุทัยธานี >  สัมผัสวิถีชีวิตชนเผ่าปกาเกอะญอริมป่าห้วยขาแข้ง >  ตามรอยบาทศาสตร์พระราชาในสวน “อุ๊ยกื๋อ” >  ชม ชิม ชิลล์ ไร่สตรอว์เบอร์รีชายป่าตะวันตก >  พร้อมโชว์ผลงานสุดสร้างสรรค์ผ่านสื่อออนไลน์

เล่าเรื่องด้วยภาพ

ตามรอย

รับสมัครถึง  31 มกราคม 2562

อบรมฟรี

14-17 กุมภาพันธ์ 2562 1 วัน กับภาคทฤษฎีแบบเข้มข้น  ณ ตึกเอ็มทาวเวอร์  บางจาก 3 วัน 2 คืน กับการเรียนรู้ภาคสนาม ณ บ้านแก่นมะกรูด อ. บ้านไร่ จ. อุทัยธานี

ชุมชนปกาเกอะญอ ริมป่าห้วยขาแข้ง

บริหารโครงการโดย ทีมงานนิตยสาร สารคดี รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสมัคร Facebook :  sarakadee activity  สแกนเพื่อกรอกใบสมัคร

ต า ม ร อ ย ศ า ส ต ร์ พ ร ะ ร า ช า

1


เดินตามรอยเท้าพ่อ ฉันเดินตามรอยเท้าอันรวดเร็วของพ่อโดยไม่หยุด ผ่านเข้าไปในป่าใหญ่ น่ากลัว ทึบ แผ่ไปโดยไม่มีที่สิ้นสุด มืดและกว้าง มีต้นไม้ใหญ่ใหญ่เหมือนหอคอยที่เข้มแข็ง พ่อจ๋า...ลูกหิวจะตายอยู่แล้ว และเหนื่อยด้วย ดูซิจ๊ะ...เลือดไหลออกมาจากเท้าทั้งสองที่บาดเจ็บของลูก ลูกกลัวงู เสือ และหมาป่า พ่อจ๋า...เราจะถึงจุดหมายปลายทางไหม? ลูกเอ๋ย...ในโลกนี้ไม่มีที่ไหนดอกที่มีแต่ความรื่นรมย์ และความสบายส�ำหรับเจ้า ทางของเรามิได้ปูด้วยดอกไม้สวยสวย จงไปเถิด แม้ว่ามันจะเป็นสิ่งที่บีบคั้นหัวใจเจ้า พ่อเห็นแล้วว่า หนามต�ำเนื้ออ่อนอ่อนของเจ้า เลือดของเจ้าเปรียบดั่งทับทิมบนใบหญ้าใกล้น�้ำ น�้ำตาของเจ้าที่ไหลต้องพุ่มไม้สีเขียว เปรียบดั่งเพชรบนมรกตที่แสดงความงามเต็มที่ เพื่อมนุษยชาติ จงอย่าละความกล้า เมื่อเผชิญกับความทุกข์ ให้อดทนและสุขุม และจงมีความสุขที่ได้ยึดอุดมการณ์ที่มีค่า ไปเถิด...ถ้าเจ้าต้องการเดินตามรอยเท้าพ่อ สมเด็จพระเทพฯ ทรงพระราชนิพนธ์บทกวี “เดินตามรอยเท้าพ่อ” เป็นภาษาฝรั่งเศสไว้เมื่อปี พ.ศ. 2519  และทรงแปลเป็นภาษาไทย

2

โ ค ร ง ก า ร “ บ า ง จ า ก ส ร้ า ง นั ก เ ขี ย น เ ย า ว ช น ” ปี 7


“...การถ่ายภาพเป็นงานศิลปะเป็นของดีมีประโยชน์   ขออย่าให้ ถ่ า ยภาพกั น เพื่ อ ความสนุ ก หรื อ ความสวยงามเท่ า นั้ น จงใช้ ภ าพให้ เกิดคุณค่าแก่สังคม ให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม งานศิลปะจะได้ช่วย พัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้อีกแรงหนึ่ง...” พระราชด�ำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ต า ม ร อ ย ศ า ส ต ร์ พ ร ะ ร า ช า

3


กำ�หนดการกิจกรรมโครงการบางจากสร้างนักเขียนเยาวชน ปี  7 เล่าเรื่องด้วยภาพ “ตามรอยศาสตร์พระราชา” ณ บ้านแก่นมะกรูด อ. บ้านไร่  จ. อุทัยธานี  ระหว่างวันที่  14-17 กุมภาพันธ์  2562 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 พิธีเปิดอบรมทฤษฎีพื้นฐาน สถานที่ : อาคาร M Tower 08.00 น. ลงทะเบียน 08.30 น. พิธีเปิด 09.15 น. ชวนคุย หัวข้อ “Green Innovation Experience” 10.00 น. สันทนาการ 10.45 น. อบรมพื้นฐานการเขียน 11.45 น. รับประทานอาหารกลางวัน 12.45 น. สันทนาการ 13.45 น. อบรมพื้นฐานการถ่ายภาพ 14.45 น. workshop การถ่ายภาพ 15.30 น.  มอบหมาย mission 15.45 น. ตั้งวงแลกเปลี่ยน เรื่อง “โพสต์ออนไลน์” 16.15 น. นำ�เสนอผลงาน 16.45 น. จบการอบรม วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 06.00 น. ลงทะเบียน สำ�นักงานนิตยสารสารคดี (สนามบินน้ำ�) 07.00 น. ออกเดินทาง 11.00 น. เดินทางถึงแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนบ้านสะนำ� อ. บ้านไร่ จ. อุทัยธานี 12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. รวมกลุ่มฟังเรื่องเล่าจากคนในชุมชน แยกกลุ่มศึกษา เก็บข้อมูล และถ่ายภาพ 1. สวนป่าหมาก ปีนหมาก 2. ต้นไม้ยักษ์ ตลาดชุมชน 3. ย้อมผ้าจากผลหมาก การละเล่นพื้นบ้าน 15.30 น. ออกจากพื้นที่เรียนรู้ เดินทางกลับที่พัก ห้วยป่าปกรีสอร์ท 16.00 น. ถึงห้วยป่าปกรีสอร์ท พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้สึก ประสบการณ์ 16.30 น. ทำ�งาน คัดภาพและเขียนเรื่อง 17.15 น. ส่งงาน 18.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย

4

โ ค ร ง ก า ร “ บ า ง จ า ก ส ร้ า ง นั ก เ ขี ย น เ ย า ว ช น ” ปี 7


18.30 น. 19.30 น. 21.00 น. 22.00 น.

รับประทานอาหารเย็น พรีเซนต์และวิจารณ์งาน สันทนาการ พักผ่อนตามอัธยาศัย

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562 06.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. รับประทานอาหารเช้า 08.00 น. มอบโจทย์งาน 08.30 น. ถ่ายรูปหมู่ร่วมกัน ออกเดินทางไปยังบ้านแก่นมะกรูด  09.30 น. แยกกลุ่มศึกษา เก็บข้อมูล และถ่ายภาพ 1. ตลาดชุมชน ร้านกาแฟ และไร่อุ๊ยกื๋อ (ศาสตร์พระราชา) 2. ไร่สีฟ้า (นวัตกรรมการเกษตร) 12.30 น. รับประทานอาหารกลางวันในชุมชน 13.30 น. เดินทางกลับที่พัก ห้วยป่าปกรีสอร์ท 14.30 น. พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้สึก ประสบการณ์ 15.00 น. ทำ�งาน คัดภาพและเขียนเรื่อง 16.30 น. ส่งงาน พักผ่อนตามอัธยาศัย 17.00 น. คัดเลือกตัวแทนกลุ่มส่งผลงาน 17.30 น. รับประทานอาหารเย็น 18.30 น. วิทยากรบันดาลใจ พี่ก้อง-บารมี เต็มบุญเกียรติ 19.30 น. ถาม-ตอบ  20.00 น. สันทนาการ 22.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2562 06.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. รับประทานอาหารเช้า 08.00 น. พรีเซนต์และวิจารณ์งาน  11.00 น. แจกใบประกาศนียบัตร ถ่ายรูปหมู่ร่วมกัน 12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. เดินทางกลับกรุงเทพฯ 16.00 น.  ถึงสำ�นักงานนิตยสารสารคดีโดยสวัสดิภาพ ต า ม ร อ ย ศ า ส ต ร์ พ ร ะ ร า ช า

5


ตามรอยพ่อ : เศรษฐกิจพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชด�ำริเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงมานาน  แล้ว ดังพระราชด�ำรัสในปี พ.ศ. 2517 ว่า “คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่  สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน...ไม่ใช่จะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ  เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” ต่อมาใน พ.ศ. 2537 มีพระราชด�ำรัสเรื่อง “ทฤษฎีใหม่” ซึ่งก็คือรูปธรรมหนึ่งของปรัชญา  เศรษฐกิจพอเพียงที่ช่วยให้เกษตรกรพึ่งพาตัวเองได้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยเกิด  วิกฤตเศรษฐกิจครัง้ ใหญ่ พระองค์มพี ระราชด�ำรัสซึง่ ทรงใช้คำ� ว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นครัง้ แรก “...การจะเป็นเสือนั้นไม่ส�ำคัญ ส�ำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน  นั้นหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง...ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุก  ครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้าน  หรือในอ�ำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างผลิตได้มากกว่าความต้องการก็  ขายได้...” ในปีต่อมา พ.ศ. 2541 พระองค์มีพระราชด�ำรัสเพื่อขยายความหมายของปรัชญาเศรษฐกิจ  พอเพียงว่า “...หมายความว่า พอประมาณ ไม่สดุ โต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยูเ่ ป็นสุข พอเพียงนีอ้ าจ  จะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่วา่ ต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอืน่  ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ  พูดจาก็พอเพียง ท�ำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง...” ต่อมาส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้สรุปหลักการของ  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไว้ว่า ประกอบด้วยหลักคุณสมบัติสามข้อและเงื่อนไขสองประการ

6

โ ค ร ง ก า ร “ บ า ง จ า ก ส ร้ า ง นั ก เ ขี ย น เ ย า ว ช น ” ปี 7


ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ทางสายกลาง) พอประมาณ

มีเหตุผล

ภูมิคุ้มกัน ความรู้ (รอบรู้, รอบคอบ, ระมัดระวัง)

คุณธรรม (ซื่อสัตย์สุจริต, ขยันอดทน,  สติปัญญา, แบ่งปัน)

น�ำไปสู่ *เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม/วัฒนธรรม *สมดุล/พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง หลักคุณสมบัติของความพอเพียง มีสามข้อ คือ  - ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีไม่น้อยไม่มากเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและ  ผู้อื่น การพัฒนาอย่างมีขั้นตอน ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ก้าวกระโดดอย่างเสี่ยง ไม่ละโมบ - ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้เหตุผลพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ และผลลัพธ์ของการปฏิบัติ  อย่างรอบคอบ ให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพของแต่ละคน - การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง ความไม่ประมาท การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ  จากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในอนาคต มีการออม การกระจายความเสี่ยง และการร่วมมือช่วย  เหลือแบ่งปันกัน เงื่อนไขของการตัดสินใจและการด�ำเนินกิจกรรมให้อยู่ในความพอเพียงมีสองประการ คือ  - ความรู ้ หมายถึง การแสวงหาความรูแ้ ละน�ำความรูใ้ นวิชาการต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องอย่างรอบ  ด้านมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อวางแผนการปฏิบัติอย่างรอบคอบ ให้มีประสิทธิภาพและเกิด  ประสิทธิผล - คุณธรรม หมายถึง การสร้างความตระหนักในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน  ความเพียร และใช้สติปัญญาในการด�ำเนินชีวิต การใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบ่งเป็นสองระดับ - เศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน คือความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว - เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า คือความพอเพียงในระดับชุมชน องค์กร และประเทศ อ้างอิงจากหนังสือ ตามรอยพ่อ ก-ฮ  ส�ำนักพิมพ์สารคดี ต า ม ร อ ย ศ า ส ต ร์ พ ร ะ ร า ช า

7


ปราชญ์ดิน  ผู้ไม่หยุดเรียนรู้และส่งต่อ “ศาสตร์พระราชา”

ชาวบ้านน้ำ�ครั่ง อำ�เภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ก็เหมือนกับเกษตรกรเกือบทั่วประเทศที่ทำ�  การเกษตรด้วยเคมีและปลูกพืชเชิงเดี่ยว แต่เริ่มมีบางส่วนที่เปิดใจเรียนรู้เกษตรอินทรีย์และปลูก  พืชผสมผสานมากขึ้น โดยเฉพาะชายวัยเกษียณคนหนึ่ง ผู้สะสม “ศาสตร์พระราชา” จากการ  ศึกษาปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” มาค่อนชีวิตเพราะเชื่อว่าคือรากฐานแห่งการพึ่งพาตนเอง  โดยแท้ และจะนำ�มาซึ่งความสุขยั่งยืน จนสามารถพลิกฟื้นผืนดิน 3 ไร่ของตัวเองได้สำ�เร็จ “ผมเกิดที่จังหวัดร้อยเอ็ด เติบโตในครอบครัวเกษตรกร หลังแต่งงานผมย้ายมาอยู่กับ  ภรรยาที่เพชรบูรณ์ บ้านเขาก็ทำ�เกษตร ปลูกข้าว ปลูกถั่วเขียว ปลูกข้าวโพด เป็นพืชเชิงเดี่ยว  ทั้งหมด” วิชัย ใต้ระหัน เล่าย้อนเหตุการณ์ว่า เมื่อปี 2523 เขาตัดสินใจไกลลูกและภรรยาไปเป็น  แรงงานอยู่ที่ซาอุดีอาระเบียเพื่อหารายได้จุนเจือครอบครัว ทุกครั้งที่ลาพักร้อนกลับบ้านก็ยังเห็น  ชาวชุมชนปลูกพืชเชิงเดี่ยวและพ่นยาเคมี “ตอนลาพักร้อนกลับบ้าน ผมพบหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9  หลังอ่านจบผมประทับใจมากจึงเริ่มศึกษาเรื่อยมา กระทั่งปี 2543 กลับมาอยู่เมืองไทย จึงเริ่ม  ทำ�เกษตรตามแนวพระราชดำ�ริบนที่ดินมรดกจากแม่ยาย” วิชัยเริ่มปรับสภาพผืนดินทั้ง 3 ไร่ จากการใช้ปุ๋ยเคมีผสมกับซากพืชมูลสัตว์ แล้วค่อยๆ  ลดปริมาณปุ๋ยเคมีลง จนเปลี่ยนเป็นปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมด  เขาแบ่งพื้นที่ทำ�นาอินทรีย์ 2 ไร่ อีก 1 ไร่  จัดสรรเป็นโรงสีข้าว โรงเลี้ยงหมู และแปลงปลูกผักสวนครัวที่ชอบกิน เหลือจึงขาย นำ�เงินที่ได้  ส่งลูกเรียนจนจบและมีงานทำ�ทุกคน เมื่อปี 2553 วิชัยจึงขายโรงสีข้าวและเลิกเลี้ยงหมู แต่ยัง  ทำ�นาอินทรีย์อยู่ สลับกับปลูกผัก และเริ่มออกเรียนรู้ดูงานเกษตรอินทรีย์ เพื่อนำ�ความรู้ใหม่ๆ  กลับมาทดลองทำ� เมื่อเห็นผลสำ�เร็จจึงเปิดพื้นที่เกษตรของครอบครัวเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน  แบ่งปันประสบการณ์ด้านเกษตรที่ตนสั่งสมมา กระทั่งได้รับรางวัลปราชญ์ชาวบ้าน สาขาเกษตร  อินทรีย์ชีวภาพ ผู้เชี่ยวชาญด้าน “ดินและปุ๋ยชีวภาพ” โดยได้รับคัดเลือกจากทางจังหวัดเพชรบูรณ์  ถึง 3 ปีซ้อน ทำ�ให้วิชัยได้รับการคัดเลือกให้เข้าอบรมทฤษฎีเพิ่มจากอาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำ�ธร  หรืออาจารย์ยักษ์ ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี เป็นเวลา 5 วัน เพื่อเรียนรู้

8

โ ค ร ง ก า ร “ บ า ง จ า ก ส ร้ า ง นั ก เ ขี ย น เ ย า ว ช น ” ปี 7


“ศาสตร์พระราชา” อย่างเต็มรูปแบบ และที่นั่นเองทำ�ให้เขาได้เปิดโลกทัศน์ใหม่ “แต่ก่อนผมใช้ปุ๋ยชีวภาพบำ�รุงดินตามแนวทางของในหลวงก็จริง แต่ทำ�จากความเข้าใจ  ของตนเอง เอาแกลบเอาฟางมาคลุม เอาขี้หมูขี้ควายมาหมักกับหัวเชื้อจุลินทรีย์เป็นปุ๋ยแล้วคลุม  ปิ ด ทั้ ง โคนต้ น คิ ด ว่ า เดี๋ ย วก็ เ กิ ด ระบบนิ เ วศใต้ ดิ น เอง แต่ อ าจารย์ ยั ก ษ์ ช่ ว ยให้ ผ มเข้ า ใจว่ า การ  ‘ห่มดิน บ่มดิน’ ไม่ใช่แค่ให้อาหารดิน ต้องมีที่ให้ดินปลดปล่อยธาตุอาหารเลี้ยงพืชด้วย ไม่ว่า  จะเป็นพืชต้นเล็กหรือต้นใหญ่ ให้คลุมขี้หมูขี้ควายแค่ความหนาระดับฝ่ามือ อย่าห่มมิดชิดปิด  รอบโคนต้น ให้เว้นระยะไปอีกฝ่ามือค่อยห่มดินใหม่ไม่อย่างนั้นแก๊สที่เกิดจากกระบวนการย่อย  สลายของจุลินทรีย์จะไม่มีช่องระบายออก เกิดความร้อนขึ้นใต้ดิน ใบพืชก็จะเหลือง ผลิใบใหม่  ต า ม ร อ ย ศ า ส ต ร์ พ ร ะ ร า ช า

9


ขึ้นมาก็เปื่อยอีก” เรื่องการปรับปรุงบำ�รุงดินต้องรักษาความชุ่มชื้นของผืนดินไว้ อย่าไปลอกหน้าดินทิ้ง  “อาจารย์ยักษ์สอนให้ไถกลบหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต อย่าไปเผา ให้ซากพืชซากแมลงเป็น  อาหารดิน พอฝนตกหญ้าจะเริ่มขึ้น รากหญ้าช่วยให้เกิดช่องว่างในดิน สัตว์ในดินอย่างไส้เดือน  กิ้งกือ มด แมลง ก็จะหาอาหารได้ง่าย เกิดระบบนิเวศเกื้อกูลกัน  พอหน้าแล้งเวียนมาอีกก็ไถกลบ  รอบ 2  มันใช้เวลาหน่อย แต่ส่งผลดีระยะยาว” เมื่ อ ศึ ก ษาจากผู้ รู้ จ นเข้ า ใจถ่ อ งแท้   วิ ชั ย จึ ง กลั บ มาพั ฒ นาทุ ก ตารางเมตรอย่ า งมี คุ ณ ค่ า  คราวนี้ยึดหลัก “ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทางพระราชดำ�ริร่วมด้วย โดย  ปลูกพืชผัก 40 กว่าชนิด สร้างความหลากหลายในพื้นที่ เช่น ตะแบก มะม่วง ดาวเรือง มะนาว  ถั่วฝักยาว พริก โหระพา แมงลัก ข่า มัน ฯลฯ แล้วจัดระยะการปลูกให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดปี “ผมว่าที่เกษตรกรใช้ชีวิต ‘พอเพียง’ ไม่สำ�เร็จ เพราะยึดติดกับพืชเชิงเดี่ยวและสารเคมี  ถ้าอยากลดต้นทุนต้องกล้าที่จะเปลี่ยน นำ�ศาสตร์พระราชามาปรับใช้ ‘พึ่งตน’ ให้มาก พึ่งปัจจัย  ภายนอกให้น้อย” เมื่อพึ่งตนเองได้แล้ว วิชัยไม่รอช้าที่จะเผื่อแผ่สังคม เริ่มต้นจากอ๋า-พนมเทียน ทองสิทธิ์  ผู้เป็นหลานชาย  “แต่ก่อนเขาเป็นนักธรณีวิทยา บริษัทส่งไปทำ�งานที่เมืองนอก 17 ปี นานๆ หลายเดือนได้  กลับบ้า นสักที ลูกวัย กำ�ลังเรียนก็โตขึ้นทุกวันโดยที่เขาไม่มีโอกาสใกล้ชิดเลย  วันหนึ่งเขาจึง  ตัดสินใจลาออก มาเริ่มชีวิตเกษตรกรที่บ้านกับครอบครัว” แล้ ว หลานชายผู้ ย อมทิ้ ง เงิ น เดื อ นเรื อ นแสนและเริ่ ม จากไม่ มี ค วามรู้ ด้ า นเกษตรใดๆ  ก็ขอให้ลุงช่วยเป็นพี่เลี้ยง จนเมื่อเรียนรู้งานได้ระดับหนึ่งจึงนำ�วิถีพอเพียงจากศาสตร์พระราชา  มาประยุ ก ต์ ทำ�เกษตรปลอดสารพิ ษ ในพื้ น ที่ เ กษตร 30 ไร่   ที่ ตำ�บลหิ น ฮาวในอำ�เภอหล่ ม เก่ า  ซึ่ ง เหมาะจะเป็ น พื้ น ที่ ต้ น แบบ “โคก หนอง นา โมเดล” เพราะอยู่ บ นเนิ น เขาเป็ น โคกตาม  ธรรมชาติ น้ำ�ไม่ท่วม และห่างจากแม่น้ำ�ป่าสักไม่ถึง 10 กิโลเมตร เลี้ยงปลาก็ได้ ทำ�เกษตรหน้า  แล้งก็ดี “เขามองการณ์ ไ กล เน้ น ปลู ก พื ช ที่ เ ติ บ โตระยะยาวอย่ า งข้ า วไรซ์ เ บอร์ รี   ไผ่ กิ ม ซุ ง  มะลิ   ดาวเรื อ ง มะนาว ถั่ ว ดาวอิ น คา ที่ ไ ม่ ต้ อ งคอยดู แ ลใกล้ ชิ ด เหมื อ นผั ก  บางชนิ ด ยั ง ปลู ก แบบ  ออร์แกนิกด้วย สิ่งที่เขาทำ�เป็นแบบอย่างแก่คนรุ่นใหม่ที่รู้จักเปลี่ยนคุณค่าเป็นมูลค่า ปรับตัว  ตามกระแสโลกโดยต่อยอดจากองค์ความรู้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” เกษตรกรลุง-หลานกลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างมีคนนอกพื้นที่เข้ามาขอศึกษาดูงานเกษตร  มากขึ้น รวมถึงได้รับเชิญเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องศาสตร์พระราชาตามสถานที่ต่างๆ พลอยให้  ชาวชุมชนในละแวกเริ่มหันมาสนใจเกษตรอินทรีย์และปลูกพืชผสมผสานตามแบบอย่าง อนาคตของลุ่ ม น้ำ� ป่ า สั ก คงไม่ ย ากเกิ น ฟื้ น ฟู   เพราะวั น นี้ ค นต้ น น้ำ� กำ�ลั ง เรี ย นรู้ ศ าสตร์   พระราชาอย่างจริงจังและช่วยกันบอกต่อ นิตยสาร สารคดี ฉบับ 356  ตุลาคม 2557

10

โ ค ร ง ก า ร “ บ า ง จ า ก ส ร้ า ง นั ก เ ขี ย น เ ย า ว ช น ” ปี 7


เทคนิคการใช้กล้องถ่ายภาพเบื้องต้น* ●

F-Stop หรือ F-number : ระยะชัดลึก การตั้งค่า F-Stop คือการควบคุมปริมาณแสง  ผ่านรูรับแสง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อระยะชัดลึก  หรือความคมชัดของภาพบริเวณด้านหน้าและ  ด้านหลังจุดที่เราเลือกปรับโฟกัส  ถ้าต้องการ  ครอบคลุมช่วงระยะชัดยาว ๆ ต้องใช้  F-Stop  ค่ามาก ๆ  ถ้าต้องการครอบคลุมช่วงระยะชัด  สั้น ๆ ต้องใช้  F-Stop ค่าน้อย ๆ

Shutter Speed ความเร็วชัตเตอร์  การตัง้ ค่าความเร็วชัตเตอร์ คือการควบคุมระยะ  เวลาที่แสงผ่านม่านชัตเตอร์ (หน่วยเป็นวินาที)  ซึง่ ส่งผลโดยตรงต่อการหยุดสิง่ เคลือ่ นไหว  ความ  เร็วชัตเตอร์สูงจะจับภาพสิ่งเคลื่อนไหวให้หยุด  นิ่งคมชัดกว่าความเร็วชัตเตอร์ต�่ำ  ส่วนความ  เร็วชัตเตอร์ต�่ำช่วยการถ่ายภาพในสภาพแสง  น้อย หรือเมือ่ ต้องการให้สงิ่ เคลือ่ นไหวมีลกั ษณะ  เบลอ

*อ้างอิง : เทคนิคการถ่ายภาพฉบับสมบูรณ์ เขียนโดยประสิทธิ์ จันเสรีกร ต า ม ร อ ย ศ า ส ต ร์ พ ร ะ ร า ช า

11


ISO  ค่าความไวแสง การตั้งค่า ISO สูง ๆ จะช่วยการถ่ายภาพใน  สภาพที่ มี แ สงน้ อ ย หรื อ น้ อ ยมากจนวั ด แสง  ไม่ ไ ด้ แ ม้ จ ะเปิ ด  F-Stop กว้ า งสุ ด และความ  เร็วชัตเตอร์ต�่ำสุด เช่น การถ่ายภาพกลางคืน  แต่คุณภาพของภาพจะลดลงตามล�ำดับ

ความสัมพันธ์ความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสง ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งความเร็ ว ชั ต เตอร์ แ ละ  รูรับแสง เพื่อให้กล้องได้รับปริมาณแสงเท่ากัน  ที่สามารถบันทึกภาพได้สดใส  โดยเมื่อเปลี่ยน  ขนาดรูรบั แสงหรือค่า F-Stop ความเร็วชัตเตอร์  ก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย  แต่ภาพที่บันทึกได้จะ  แตกต่ า งกั น จากผลของระยะชั ด ลึ ก และการ  หยุ ด การเคลื่ อ นไหวของวั ต ถุ   เช่ น  ถ่ า ยภาพ  น�้ ำ ตกที่   1/500 F2.8  ภาพจะหยุ ด สายน�้ ำ ที่  เคลื่อนไหวให้เห็นเป็นเม็ดน�้ำ และคมชัดเฉพาะ  บริเวณน�ำ้ ตกทีป่ รับโฟกัส  แต่ถา้ ถ่ายที ่ ¼  F32  สายน�ำ้ จะพร่าเบลอดูนมุ่ นวล ภาพคมชัดทัง้ ด้าน  หน้าและด้านหลังน�้ำตก

12

โ ค ร ง ก า ร “ บ า ง จ า ก ส ร้ า ง นั ก เ ขี ย น เ ย า ว ช น ” ปี 7


เลนส์และองศาการรับภาพ

มุมรับภาพของเลนส์จะแสดงจ�ำนวนและขนาด  ของวัตถุที่ปรากฏในภาพ  ภาพที่ใช้เลนส์ 50  มม. มีมมุ รับภาพใกล้เคียงกับสายตามนุษย์มาก  ที่สุด  ภาพเลนส์ทางยาวโฟกัสต�่ำกว่า 50 มม.  จะได้ภาพกว้างขึ้นตามล�ำดับ ส่วนภาพที่มีทาง  ยาวโฟกัสสูงกว่า 50 มม. จะมีมุมรับภาพแคบ  สามารถถ่ายภาพวัตถุในระยะไกล ๆ ให้เหมือน  กับอยู่ในระยะใกล้

เลนส์ทางยาวโฟกัสต�่ำ จะใช้กับวัตถุใน  ระยะใกล้เพือ่ ให้ความรูส้ กึ ในด้านลึกดีกว่า วัตถุที่  อยู่ในฉากหลังจะเล็กลง เส้นต่าง ๆ บนภาพจะ  ลู่เข้าหากันเพิ่มความลึกให้กับภาพ และให้ระยะ  ชัดลึกเพิ่มขึ้นที่ F-Stop เดียวกัน เลนส์ทางยาวโฟกัสสูงจะให้ผลในทางตรง  กันข้าม ช่วยเน้นรายละเอียดเฉพาะจุดสนใจที่  ต้องการ

ต า ม ร อ ย ศ า ส ต ร์ พ ร ะ ร า ช า

13


9 ขั้นบันได สู่หัวใจงานสารคดี 1 >> ในโลกการอ่าน-การเขียน เรื่องจริง (Non Fiction) ข่าว เรียงความ ความเรียง บทความ ตำ�รา งานวิจัย สารคดี (feature) ฯลฯ

เรื่องแต่ง (Fiction) เรื่องสั้น นิยาย บทกวี บทละคร บทภาพยนตร์ ตำ�นาน นิทาน  วรรณคดี ฯลฯ

2 >> องค์ประกอบของสารคดี ข้อมูล - ค้นคว้า - สัมผัส - สัมภาษณ์

วิธีการนำ�เสนอ - เขียนแบบบันทึก - ลงลึกในประเด็น - เลือกเฟ้นวิธีการนำ�เสนอ - เจอเส้นทางของตัวเอง

โดย : วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง

3 >> ข้อมูล ข้อมูลค้นคว้าหรือข้อมูลทุติยภูมิ = ข้อมูลที่มีการจัดทำ� รวบรวมไว้แล้ว ทั้งในรูปของเอกสาร  หนังสือ สื่อออนไลน์ เทป วีดิทัศน์ บทเพลง ภาพยนตร์ ฯลฯ ข้อมูลสัมผัสหรือสังเกตการณ์ = ได้จากการเข้าไปมีส่วนร่วม รู้เห็นในการงาน กิจกรรม  โดยการสัมผัสจริงทั้งด้วยตา ใจ ความรู้สึก  รวมทั้งการพาตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการงาน หรือกิจกรรมนั้นด้วย ข้อมูลสัมภาษณ์ = ได้จากการสอบถาม พูดคุยแบบเจาะลึกจากผู้รู้ แหล่งข้อมูล  ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ

14

โ ค ร ง ก า ร “ บ า ง จ า ก ส ร้ า ง นั ก เ ขี ย น เ ย า ว ช น ” ปี 7


4 >> วิธีการนำ�เสนอ เขียนแบบบันทึก = เขียนเหมือนเขียนบันทึก เพียงแต่เป็นบันทึกที่เจาะจงใน หัวเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ลงลึกในประเด็น = แตกประเด็นย่อยจากหัวเรื่องใหญ่ แล้วเขียนไล่เรียงไปทีละ ประเด็นแต่ต้นจนจบ  จะง่ายทั้งกับคนเขียนและผู้อ่าน เลือกเฟ้นวิธีการนำ�เสนอ = ใส่ใจและมีความพยายามในการสรรหารูปแบบวิธีการนำ�เสนอ  เช่น การเล่าเรื่องไม่จำ�เป็นต้องเรียงตามลำ�ดับประเด็น  หรือเล่าตามลำ�ดับเวลาอย่างจดหมายเหตุ งานสารคดี สามารถตัดต่อสลับฉาก-เหตุการณ์ ขยักข้อมูล ค่อยๆ บอก เล่าเพื่อให้ชวนติดตาม เจอเส้นทางของตัวเอง = พบแนวการเขียนในแบบของตัวเองที่เรียกกันว่า “มีลายมือ ของตัวเอง” 5 >> ลำ�ดับขั้นการทำ�งาน - คิดประเด็น  - การเก็บข้อมูล - การเขียน นำ�เสนอ 6 >> โครงสร้างงานสารคดี 1. ชื่อเรื่อง – กลุ่มคำ�หรือวลีที่อ่านรื่น จำ�ง่าย สละสลวย บอกเนื้อหา 2. เปิดเรื่อง – จับใจ ชวนให้ต้องอ่านต่อเนื้อเรื่อง 3. ตัวเรื่อง – ครบรส รอบด้าน ลงตัวสมบูรณ์แบบ 4. ปิดเรื่อง – ทิ้งท้ายให้คนอ่านรู้สึกเต็มอิ่ม ประทับใจ 7 >> ประเภทของงานสารคดี - สารคดีชีวิต - สารคดีท่องเที่ยว - สารคดีสิ่งแวดล้อม - สารคดีประวัติศาสตร์ - สารคดีวิทยาศาสตร์ - สารคดีศิลปวัฒนธรรม ต า ม ร อ ย ศ า ส ต ร์ พ ร ะ ร า ช า

15


8 >> การประเมินค่าในงานสารคดี 1. ประเด็น เนื้อหา 2. การสร้างสรรค์ ตั้งแต่การเก็บข้อมูล จนถึงการสร้างสรรค์กลวิธีการเล่าเรื่อง 3. เป็นงานเขียนที่มีเสน่ห์ มีรสวรรณศิลป์ 4. มีคุณค่าในการจรรโลงสังคม มีพลัง สะเทือนอารมณ์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 9 >> วิธีสร้างเสน่ห์ในงานเขียน 1. ผู้เล่าเรื่อง เล่าผ่านมุมมองของใคร ฉัน เรา เขา ตัวละคร หลายผู้เล่าเรื่อง  2. ฉาก เรื่องราวเหตุการณ์ในเรื่องเกิดที่แห่งหนไหน สภาพเป็นอย่างไร  3. ตัวละคร คือแหล่งข้อมูลที่มีตัวตนจริง  4. บทสนทนา การให้ขอ้ มูล ค�ำพูด การโต้ตอบกันของผูค้ นในเรือ่ ง แทนการเล่าโดยน�ำ้ เสียงผูเ้ ขียน  ไปทั้งเรื่อง  5. สรรพนาม ใช้สรรพนามอย่างหลากหลายแทนการกล่าวชื่อบุคคลซ�้ำๆ  6. ย่อหน้า วรรคตอน ในการแบ่งประโยคและประเด็น  7. วรรคทอง มีแทรกไว้บ้างจะเป็นหมัดเด็ดพิชิตใจผู้อ่าน  8. ส�ำนวน เปรียบเปรย เทียบอ้างอย่างเหมาะสมจะสร้างพลังให้งานเขียน  9. ความสมจริง เพื่อเล่าเรื่องจริงให้คนอ่านรู้สึกร่วมและเชื่อด้วยว่าจริง ฯลฯ

16

โ ค ร ง ก า ร “ บ า ง จ า ก ส ร้ า ง นั ก เ ขี ย น เ ย า ว ช น ” ปี 7


สารคดี 101 วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง วรรคเล็ก-ใหญ่ และย่อหน้า 1 ในประโยคภาษาไทยไม่มี , และ . เราแทนด้วยการใช้วรรคเล็กและวรรคใหญ่ หากพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์หรือพิมพ์ดีด วรรคเล็กคือ 1 เคาะ วรรคใหญ่ก็เคาะ 2 ครั้ง ไม่ใช่แค่นักศึกษาชั้นมหาวิทยาลัยเท่านั้น นักอ่านนักเขียนฝึกหัดวัยผู้ใหญ่เท่าที่มีโอกาส  ได้คุยด้วยในเรื่องนี้ จำ�นวนหนึ่งก็บอกว่าไม่เคยรู้ว่าการเขียนมีวรรคเล็ก วรรคใหญ่  รู้แค่ว่าต้อง  เว้นวรรคเท่านั้น 2 ในระดับพื้นฐาน การเขียนเว้นวรรคที่ถูกต้องจะทำ�ให้สื่อสารได้ตรงความหมายที่จะสื่อได้  ดียิ่งขึ้น ผู้ใหญ่คนหนึ่งเขียนถึงเด็กสาวชั้นหลานที่เพิ่งได้พบกันอีกครั้ง หลังจากห่างกันไปนานว่า ไม่ได้เจอกันตั้งนานนม โตขึ้นเยอะ หากเว้นวรรคผิดเป็นว่า ไม่ได้เจอกันตั้งนาน นมโตขึ้นเยอะ ก็อาจถูกด่าว่าเป็นคนเฒ่าหัวงูไปได้ หรืออย่างประโยคคำ�พิพากษาว่า ยกโทษให้ไม่ได้ประหารชีวิต เว้นวรรคใหม่ว่า 1. ยกโทษให้ไม่ได้  ประหารชีวิต 2. ยกโทษให้  ไม่ได้ประหารชีวิต อยู่ที่คนเขียนต้องการจะสื่อสารในความหมายใด ในกรณีนี้นับได้ว่าหากเว้นวรรคผิด  ชีวิตเปลี่ยนเลยทีเดียว 3 การเว้นวรรค ตระหนักรู้และฝึกได้ไม่ยาก  แต่ในชั้นที่ประณีตขึ้น คือการฝึกเชื่อมและจบประโยคด้วยวรรคเล็ก วรรคใหญ่  ซึ่งหาก  ข้ามไปหรือไม่ให้ความใส่ใจต่อรายละเอียดปลีกย่อยเหล่านี้ก็ไม่ถึงกับเสียความ แต่งานเขียนจะ  งามและอ่านง่ายขึ้น ได้รสมากยิ่งขึ้น หากผู้เขียนได้เสริมความประณีตในเรื่องนี้ ยากที่จะชี้ว่าตรงไหนควรเป็นวรรคเล็ก วรรคใหญ่ อาจบอกเพียงกว้างๆ ได้ว่า วรรค  ต า ม ร อ ย ศ า ส ต ร์ พ ร ะ ร า ช า

17


เล็กเมื่อเว้นคำ�หรือจบประโยค วรรคใหญ่เมื่อขึ้นใจความใหม่  แต่ดังที่กล่าวแล้วว่าเรื่องนี้ไม่ถึงกับ  เป็นที่เด็ดขาดตายตัว ขึ้นกับวิจารณญาณของผู้เขียน เพียงแต่ให้คำ�นึงถึงจังหวะการอ่าน ได้พัก  หายใจ ได้ใจความ รู้สึกปลอดโปร่งสบายในการอ่าน หากทำ�ได้ลงตัว วรรคเล็กและวรรคใหญ่จะช่วยขับเน้นความหมายของสารได้แจ่มชัดขึ้น  ช่วยเน้นความหนักเบาของถ้อยคำ�   การตัดคำ�และเชื่อมประโยคยังทำ�ให้เกิดลีลาภาษาและรูปประโยคใหม่ๆ ซึ่งเกิดขึ้นได้  จากการรู้จักใช้วรรคตอน 4 ย่อหน้า อาจไม่ใช่เรื่องสำ�คัญนักสำ�หรับงานเขียนทั่วไป  ในหนังสือต่างๆ เราจึงมักเห็น  ย่อหน้าใหญ่ๆ  ในแต่ละหน้ามักจะมีไม่กี่ย่อหน้า แต่ในงานวรรณศิลป์ร้อยแก้วมักขึ้นย่อหน้าใหม่บ่อยๆ ลองหยิบหนังสือวรรณกรรมขึ้น  มาสักเล่ม ไม่ว่าเรื่องสั้น นิยาย บทกวี จะเห็นการย่อหน้าถี่ๆ เหมือนเส้นกราฟแนวตั้ง แต่ละหน้า  มีมากย่อหน้า ทั้งนี้เพราะย่อหน้าก็มีผลต่อรสในการอ่านและใจความของเรื่องด้วย นักเขียนใหม่มักโอดว่าขึ้นย่อหน้าไม่ถูก ไม่รู้ว่าเมื่อไรควรจะเริ่มย่อหน้าใหม่ อาจลองฝึกจากหลักเบื้องต้นดังนี้ 1. ย่อหน้าเมื่อขึ้นประเด็นใหม่ บางทีย่อหน้ายาวๆ เกิดจากการเขียนใจความต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ก็ลองปรับใหม่ว่าเมื่อ  กล่าวถึงเรื่องใหม่ก็ขึ้นย่อหน้าใหม่ทันที อีกอย่างคือลองตัดคำ�เชื่อม จำ�พวก ที่ ซึ่ง อัน และ ก็ แล้ว กับ ฯลฯ แล้วขึ้นย่อหน้า  ใหม่ตรงนั้น ลองทำ�แล้วจะเห็นรูปธรรม   นอกจากได้ย่อหน้าที่กระชับกะทัดรัดขึ้นแล้ว ย่อหน้าที่แยกย่อยจะช่วยทำ�ให้ประเด็นชัด  ขึ้นด้วย จากที่เคยซุกซ้อนแออัดรวมกันอยู่ในย่อหน้าเดียว การจัดย่อหน้าใหม่จะแยกประเด็นเรียง  ไล่กันไปเป็นลำ�ดับ อ่านเข้าใจง่ายชวนติดตาม 1. ย่อหน้าแสดงบทสนทนา เป็นวิธีการง่ายๆ คือแทนที่จะเขียนประโยคสนทนาระหว่างใครต่อใคร ต่อเนื่องอยู่ใน  ย่อหน้าเดียวกันไปแบบยาวๆ ก็เพียงแต่ให้ขึ้นย่อหน้าใหม่เมื่ออีกคนพูด  ในย่อหน้าหนึ่งให้เป็น  เสียงของคนเดียว รวมทั้งเมื่อผู้เขียนบรรยายความ หรือมีอย่างอื่นแทรกเข้ามาก็ต้องขึ้นย่อหน้า  ใหม่ด้วย โดยวิธีการนี้ นอกจากช่วยให้อ่านง่ายสบายตา เข้าใจความได้ง่ายขึ้น ย่อหน้ายังมีส่วน  เสริมส่งการดำ�เนินไปของเรื่องด้วย  คนอ่านจะเห็นการโต้ตอบกันของตัวละคร (แหล่งข้อมูล,  ผู้เขียน) ท่าที อารมณ์ บรรยากาศที่แปรเปลี่ยน สิ่งที่โผล่แทรกเข้ามา ซึ่งจะเห็นและรู้สึกได้ชัดเจน

18

โ ค ร ง ก า ร “ บ า ง จ า ก ส ร้ า ง นั ก เ ขี ย น เ ย า ว ช น ” ปี 7


ขึ้นตามจังหวะไล่หลั่นของย่อหน้า 3. ย่อหน้าเพื่อเน้นความ คำ� หรือประโยคดีๆ หากอยู่ไม่ถูกที่อาจหลงตาเลือนหาย ข้อความสำ�คัญที่ต้องการเน้น  จึงต้องวางไว้ให้เด่น-ด้วยการย่อหน้า  ในงานวรรณศิลป์จึงมักเห็นและเป็นไปได้ที่บางย่อหน้ามีเพียงคำ�เดียว หรือประโยค  เดียว ในหนึ่งย่อหน้านั้น การสร้างเสริมวรรณศิลป์ด้วยวรรคและย่อหน้า ไม่ถึงกับจะนับเป็นกฎเกณฑ์ และยากที่  จะชี้แนะความถูกผิดแบบตายตัว  แต่หากอ่านงานเขียนดีๆ อย่างจับสังเกต และลองฝึกทำ�ซํ้าๆ  จะค่อยคล่องจนรู้จังหวะว่าจะจัดวรรคตอนอย่างไรและควรขึ้นย่อหน้าใหม่ตอนไหน

ต า ม ร อ ย ศ า ส ต ร์ พ ร ะ ร า ช า

19


ผลงานจากโครงการ “บางจากสร้างนักเขียนเยาวชน” ปี 6

คำ�สอนของพ่อ พญาซอของครู เรื่องและภาพ กลุ่มกะลา “...ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของข้าพเจ้า จะเป็นแจ๊ซหรือไม่ใช่แจ๊ซก็ตาม ดนตรีล้วนอยู่ในตัวทุก  คน เป็นส่วนที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตคนเรา สำ�หรับข้าพเจ้า ดนตรีคือสิ่งประณีตงดงาม และทุกคนควร  นิยมในคุณค่าของดนตรีทุกประเภท เพราะว่าดนตรีแต่ละประเภทต่างก็มีความเหมาะสมตาม  แต่โอกาสและอารมณ์ที่ต่างๆ กันไป...” พระราชดำ�รัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล  อดุลยเดช เรื อ นไม้ ร่ ม เย็ น กลางลานแห่ ง อำ�เภอบางคนที   จั ง หวั ด สมุ ท รสงคราม สถานที่ ที่ ไ ม่ เ คย  เงียบเหงาจากเสียงซอ โดยเฉพาะการบรรเลงเสียงอู้อันเป็นเอกลักษณ์ของพญาซอ สถานที่นี้  มีชายยอดฝีมือผู้มากประสบการณ์ทางเสียงดนตรีและเวทีชีวิต “ครูสมพร เกตุแก้ว” เมื่ อ วั ย เยาว์ ข องครู ส มพร เขาเคยเป็ น เด็ ก เกเรจนเกื อ บโดนไล่ อ อกจากโรงเรี ย น แต่   มีอาจารย์ท่านหนึ่งเป็นผู้ให้โอกาสเขาและชักชวนให้เล่นดนตรีไทย นับเป็นจุดเปลี่ยน ซึ่งเครื่อง  ดนตรีไทยชิ้นแรกที่เขาได้เล่นคือฉิ่ง เขาได้เล่นเครื่องดนตรีไทยชนิดอื่น ๆ เรื่อยมา จนวันหนึ่ง สมาชิกผู้เล่นของวงได้ลาออก เป็นจังหวะให้ครูสมพรได้เข้าวง และเมื่อปี พ.ศ. 2525 ครูสมพร  ได้ มี โ อกาสเห็ น การทำ�ซออู้ จ ากครู ป ระสิ ท ธิ์   งามสิ น  ผู้ ซึ่ ง ทำ�ซอจากกะลามะพร้ า วพั น ธุ์ ซ อ  จึงเกิดความคิดที่อยากจะลองทำ� เขาลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้ง แม้ในการทำ�จะพบอุปสรรคหรือ  ปัญหา แต่ก็ยังมีคนในครอบครัวให้กำ�ลังใจเขาอยู่เสมอ  กะลาพญาซอเป็นกะลาพันธุ์หายาก พบเพียงพื้นที่อำ�เภอบางคนที มีรูปลักษณ์โดดเด่น  กว่ากะลามะพร้าวอื่นๆ คือ มีรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วในทุกด้าน ลูกใหญ่มวลแน่น หนา และเหนียว  ทำ�ให้แกะสลักได้ลึก จากนั้นนำ�ไปบ่มไว้ 3-4 เดือน  “ผิวกะลาเปรียบเสมือนผิวหนังคนที่อยู่ในอากาศหนาวมาก่อน เมื่อลอกออกแล้วจึงต้องมี  การบ่มไว้เพื่อรักษาผิวที่เรียบให้คงทน” ครูสมพรเล่าให้เราฟังถึงกรรมวิธี ในขั้นตอนการขึงหนังด้วยหนังลูกวัวส่วนสะโพก ขึงบนกะลา ปรับให้ตึงเพื่อเสียงที่สมบูรณ์  แล้วนำ�ไปเก็บไว้ในที่ร่ม จากนั้นนำ�ไปแกะสลักเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มมูลค่าของตัวซอ  ด้วยลวดลายที่วิจิตรบรรจง

20

โ ค ร ง ก า ร “ บ า ง จ า ก ส ร้ า ง นั ก เ ขี ย น เ ย า ว ช น ” ปี 7


ต า ม ร อ ย ศ า ส ต ร์ พ ร ะ ร า ช า

21


แม้ว่าพญาซอมีมูลค่าสูงมากเพียงใด แต่ครูสมพรกลับเลือกใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายตามแนว  พระราชดำ�รัสเศรษฐกิจพอเพียง แบ่งพื้นที่ตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ ประกอบไปด้วยที่อยู่อาศัย  ขนาดพอตั ว  พื้ น ที่ ทำ�กิ น และเลี้ ย งชี พ  เช่ น  ปลู ก ต้ น กล้ ว ย ต้ น มั ล เบอร์ รี   ต้ น มะพร้ า ว เขาเล็ ง  เห็นคุณค่าของสิ่งใกล้ตัวที่คนอื่นมักมองข้าม แต่เขาได้นำ�กะลามะพร้าวมารังสรรค์เป็นพญาซอ  จากประสบการณ์สู่ความสำ�เร็จ

22

โ ค ร ง ก า ร “ บ า ง จ า ก ส ร้ า ง นั ก เ ขี ย น เ ย า ว ช น ” ปี 7


น�้ำตาลหวานใจ เรื่องและภาพ วัสภรัตน์ ชไนศวรรย์ ถึงน�้ำตาลเพื่อนรัก  เพื่อนได้มีโอกาสมาที่สถานที่แห่งหนึ่ง คิดว่าเพื่อนตาลคงจะตื่นเต้นเหมือนกันแน่ถ้าได้เห็น  สิ่งเดียวกับที่เพื่อนเห็น  ที่โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์เขามีโชว์ท�ำน�้ำตาลมะพร้าวให้ดูกันสดๆ  ด้วยแหละเพือ่ นตาลเอ๋ย เธอคงจะไม่รลู้ ะสิวา่ น�้ำตาลมะพร้าวนัน้ ต่างกับน�้ำตาลปีบ๊ ทีใ่ ส่ในส้มต�ำของ  โปรดเธอนั้นเช่นไร จ้างให้ก็ไม่บอกหรอก google เอาสิเดี๋ยวเธอก็จะรู้เอง วันนี้แสงแดดช่างร้อนแรงและแผดเผาผิวของฉันเสียหายเหลือเกิน  ฉันเดินเลาะเลียบท้อง  ร่องเข้าไปในสวนมะพร้าวของโครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์  มีพี่คนหนึ่งท่าทางปราดเปรียว  คล่องแคล่ว ตัวเบาคล้ายกับลิงลม ก�ำลังปีนขึ้นต้นมะพร้าวต้นหนึ่ง สองมือกอดรัดล�ำต้นสูงนั้นไว้  สองเท้าคล้องกันไว้ด้วยสายรัดเท้าท�ำจากเส้นป่านซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีสีขาวมาก่อน คุณสมบัติ  เด่นของมันคงเห็นเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากความเหนียวและทนทานของตัวมัน นอกจากนี้  ยังมีมีดยาวสีสนิมเสียบอยู่ที่กระเป๋าหลังของกางเกงด้วยนะ ดูท่าทางเหมือนจะทื่อ แต่... “ฉับๆ”  เสียงมีดทีส่ บั เข้ากับทะลายมะพร้าวก่อนร่วงตุบลงมา ช่างคมซะเหลือเกินเธอจ๋า บุญเยี่ยม น้อยเกษม คือชื่อของชายที่ฉันกล่าวถึง ฉันเรียกเขาด้วยชื่อเล่นว่าพี่เยี่ยม พี่ เ ยี่ ย มเล่ า ให้ ฉั น ฟั ง ว่ า  ปี น ต้ น มะพร้ า วตั้ ง แต่ อ ายุ   13 ปี   จนตอนนี้ เ ขาอายุ   46 ปี แ ล้ ว  ร่ ว ม 33 ปี ไ ด้ ที่ พี่ เ ยี่ ย มปี น ขึ้ น ลง  ต้ น มะพร้ า วมาด้ ว ยจ� ำ นวนที่ นั บ  ไม่ถ้วน แต่แกไม่เคยตกจากต้น  มะพร้าวเลยซักครั้งเดียว “ไม่ เ คยตกเลย คนที่ ต ก  ส่วนใหญ่ก็ไม่อยู่” พี่เยี่ยมหัวเราะ  ร่วนหลังจากพูดจบ  ฉั น ถามพี่ เ ยี่ ย มไปว่ า รู ้ สึ ก  อย่างไรกับอาชีพที่ก�ำลังท�ำอยู่ แก  บอกว่า “อาชีพนี้ดี มีแต่สูงขึ้นๆ  ไม่มีวันตกต�่ำ” พี่เยี่ยมยังคงพูด  ติดตลกส่งท้ายก่อนที่ฉันจะปลีก  ตัวออกมา ไม่ไกลกันเท่าไหร่ กลิน่ ไหม้จางๆ โชยมาตามสายลม น�ำฉันไปพบ จ�ำลอง จันทร์สะอาด ก�ำลัง  เติมเชื้อเพลิงเข้าไปในเตาปล่อง ด้านบนของเตามีกระทะตั้งอยู่สามใบ ใบแรกและใบที่ 2 มี  น�้ำใสๆ ถูกเคี่ยวอยู่ในกระทะ  ด้วยความสงสัย ฉันถาม ธนัญชัย สังขพูล หญิงวัยกลางคนที่ยืนอยู่ใกล้ๆ กันได้ความว่า  ต า ม ร อ ย ศ า ส ต ร์ พ ร ะ ร า ช า

23


24

โ ค ร ง ก า ร “ บ า ง จ า ก ส ร้ า ง นั ก เ ขี ย น เ ย า ว ช น ” ปี 7


น�้ำใสข้นที่ดูหนืดๆ ในกระทะนั้นเรียกว่าน�้ำตาลมะพร้าว ได้มาจากการปีนขึ้นไปถึงยอดต้นมะพร้าว  เพือ่ เอามีดปาดทีป่ ลายงวงมะพร้าว เอากระบอกครอบไว้ทงี่ วงทิง้ ไว้เป็นวันกว่าน�ำ้ ตาลจะเต็มกระบอก  ใช้เวลาเคีย่ วน�ำ้ ตาลราวชัว่ โมงครึง่ ถึง 2 ชัว่ โมง จากนัน้ เอากระทะลงจากเตา ใช้ลวดกระทุง้ ตีนำ�้ ตาล  เพื่อเพิ่มอากาศเข้าไปในน�้ำตาล เมื่อเสร็จแล้วขั้นตอนสุดท้ายก็คือเอาน�้ำตาลที่ได้ไปใส่ในภาชนะ เมื่อเธออ่านถึงตรงนี้แล้วที่ฉันบอกให้เธอไป google ดูนั้น เกรงว่าคงจะไม่ต้องแล้ว ฉันจะ  เป็นคนบอกเธอเอง  ถ้าใส่นำ�้ ตาลลงในปีบ๊ ก็เรียกว่าน�ำ้ ตาลปีบ๊  แต่ทนี่ เี่ ขาไม่ได้ใส่ในปีบ๊ ยังไงเล่าหล่อน อ้อ อีกอย่าง  น�้ำตาลมะพร้าวที่นี่เขาไม่ได้ใส่แบะแซนะ เป็นน�้ำตาลมะพร้าวล้วนๆ ไร้สิ่งใดเจือปน  ฉันนั่งพูดคุยกับคุณป้าธนัญชัยถึงการมาท�ำงานที่โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ ป้าเล่าว่า  ก่อนหน้านี้แกขายส้มต�ำมาก่อน หนี้สินเยอะแยะ แต่หลังจากได้มาท�ำงานที่โครงการนี้ ถึงแม้ว่าจะ  ได้เงินเดือนเพียง 9,000 บาท แต่หนี้สินไม่เพิ่มพูน “อยู่ที่นี่ก็ค้าขาย เราท�ำงานอยู่กับสตางค์ เราต้องซื่อ – ซื่อสัตย์และพอเพียง” เธอกล่าว  พร้อมกับใบหน้าที่เปื้อนยิ้ม ตอนนี้เป็นเวลาเย็นมากแล้ว ในสวนที่โครงการฯ ร่มรื่นขึ้น ไร้ซึ่งไอแดดที่แผดเผาฉันไปเมื่อ ยามบ่าย ถึงเวลาแล้วทีฉ่ นั คงจะต้องเดินทางกลับ ฉันได้ความรูม้ ากมายจากทีน่  ี่ พร้อมกับรูปสวยๆ  ที่ฉันอยากให้เธอได้ดู  จริงๆ แล้วฉันมีเรื่องที่อยากเล่าให้เธอฟังเต็มไปหมด แต่การจะให้เขียนเล่าส่งให้เธออ่าน คงจะไม่ได้อรรถรสเท่ากับเล่าให้เธอฟังด้วยตัวฉันเอง หวังว่าเราทั้งคู่จะหาเวลาว่างที่เราต่างมีน้อย เหลือเกินมาพบกันให้หายคิดถึงเสียหน่อย  รักและคิดถึงเธอเสมอ ภารัตน์ ต า ม ร อ ย ศ า ส ต ร์ พ ร ะ ร า ช า

25


หมวกไม้ไผ่จากใจจงรัก เรื่องและภาพ สรณ์ศิริ ปฐมสุริยะพร “มาเร็ ว  มาดู เ ขาสานหมวก หมวกสวย  ด้วย” เสียงนักท่องเทีย่ วทีร่ อ้ งเรียกกันพร้อมสาว  เท้ากระชับวงล้อมรอบแคร่ไม้ไผ่ตวั นัน้  เบือ้ งหน้า  คือหญิงชราที่ก�ำลังง่วนอยู่กับการสานอะไรสัก  อย่าง ดูจากโครงร่างทีว่ างอยูเ่ บือ้ งหน้าก็พอบอก  ได้ว่าสิ่งที่แกก�ำลังสานอยู่คือหมวกไม้ไผ่ หรือ  ที่เรารู้จักกันว่าหมวกกะโล่ “ฉันสานเป็นตัง้ แต่อายุ 8 ขวบ” ยายบุบผา  อั้นจินดา หญิงชราวัย 68 ปี เริ่มเล่าพร้อมพา  เราย้อนเวลากลับไปในวัยเด็กอีกครั้ง การสาน  หมวกกะโล่ หรือทีค่ นจีนเรียกว่าหมวกไหหน�ำโล้ย  มีต้นก�ำเนิดมาจากชาวจีน มีคนจีนน�ำมาสอนให้  แม่คุณ หรือยายของยายบุบผาอีกที แกเล่ า ว่ า ตอนเด็ ก ๆ เห็ น พี่ ส าวก่ อ เป็ น  สานเป็น แกก็อยากสานเป็นบ้าง แอบไปเก็บตอก  ไม้ไผ่ที่เขาทิ้งมาลองก่อหมวก ก่อเสร็จก็รื้อทิ้ง  แล้วก่อใหม่อยู่ห้าเที่ยวจนจ�ำได้แม่นแล้วแกก็  เอาไปอวดแม่คณ ุ  แต่แม่คณ ุ ก็โยนทิง้  หาว่าแกไป  เอาของคนอืน่ มา “หนูไม่โกหก หนูกอ่ เอง เอามา  นี่ หนูแก้ออก ก่อให้ดู” ยายบุบผาในวัย 8 ขวบบอกกับแม่คุณ วันรุ่งขึ้นแม่คุณก็ท� ำแป้นก่อให้  ให้ยายได้สานเป็นของตัวเอง และหลังจากนั้นแกก็คงการสานหมวกกะโล่นี้เรื่อยมา จนกระทั่งหลายปีที่แล้วมีเจ้าหน้าที่มาตามตัวยายให้มาท�ำงานที่โครงการอัมพวาชัยพัฒนา-  นุรักษ์แห่งนี้  “เขาให้วันละ 1,000 บาท ฉันไม่ไป ให้ 3,000 ชั้นก็ไม่ไป” “ฉันต้องนั่งเหยียบทุกขั้นตอน ฉันไม่ไปหรอก กระด้างเขา เพราะเขาเอาหมวกมาใส่หัว มัน  ต�่ำสุดกับสูงสุด ก็เลยไม่อยากให้ใครเห็น” แต่สิ่งหนึ่งที่ท�ำให้ยายเปลี่ยนใจเพราะ “เขาบอกว่าเป็นโครงการของในหลวง ยายก็เลยมา”  ยายบุบผาบอกถึงเหตุผลที่มีค่ามากกว่าเงินทอง หมวกกะโล่ ใ บหนึ่ ง จะมี ส ามชั้ น  ชั้ น นอกจะกรุ ด ้ ว ยตอกไม้ ไ ผ่ ส าน ชั้ น กลางจะรองด้ ว ย  ใบตองแห้ง ส่วนชั้นในสุดจะประกบด้วยไม้ไผ่สานอีกที ในการท� ำหมวกแต่ละขั้นตอนต้องใช้  ความประณีตและความละเอียดอ่อนสูงมาก หมวกหนึี่งใบใช้เวลาท�ำนานกว่า 1 สัปดาห์ แต่สิ่ง

26

โ ค ร ง ก า ร “ บ า ง จ า ก ส ร้ า ง นั ก เ ขี ย น เ ย า ว ช น ” ปี 7


ที่ได้มาคือความสวยงามซึ่งหาดูได้ยากในปัจจุบัน  อี ก สิ่ ง ที่ พิ เ ศษของหมวกกะโล่ ก็ คื อ  มั น ไม่ ต ้ อ งมี  คล้องเชือก ไม่ปลิวลม ถึงรถวิ่งหมวกก็ไม่ปลิว “ยายจ๊ ะ  ท� ำ หมวกสวยๆ ให้ ผ มใบนะ เอา  สวยๆ  เขาสั่งมา ฉันก็ท�ำ เขาไม่บอกว่าจะเอาไป ถวายพระเทพฯ เขาก็ พ าฉันไปรอถวายนะ แต่ว่า  ท่านไม่ได้มา  “มี ค นถามเรานะว่ า ไม่ ไ ด้ ถ วายเองกั บ มื อ  เสียใจไหม ฉันก็บอกเขาว่าไม่เสียใจหรอก ถ้ามีใครถวายก็ได้หมดแหละ ฉันก็ดีใจแย่แล้ว” สิ่งที่ยายอยากเห็นคือส่งต่อภูมิปัญญาการสานหมวกนี้ไปสู่คนรุ่นต่อไป “จะไม่ให้สูญ เอาลูกคนเล็กกลับมาหัด” ยายหมายถึงลูกชายคนสุดท้อง  “ไม่อยากให้สญ ู  เพราะมันเป็นโครงการของในหลวง” คุณยายบุบผากล่าวด้วยความสุขทีเ่ ปีย่ ม  ล้นในหัวใจ

ต า ม ร อ ย ศ า ส ต ร์ พ ร ะ ร า ช า

27


รายชื่อเยาวชนเข้าร่วมโครงการบางจาก สร้างนักเขียนเยาวชน ปี 7 เล่าเรื่องด้วยภาพ “ตามรอยศาสตร์พระราชา” กชกร จิระพันธุ์ (กู๊ด)

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 08-1000-3198 good.jiraphan@gmail.com Kotchakorn Jiraphan

กชพร สมวงศ์ (กช)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 06-1709-8777 kochaporn.1996@gmail.com กชพร สมวงศ์

กรดนัย เด๊าท์เซนเบอร์ก (มาร์ค)

โรงเรียนรุ่งอรุณ 08-1629-3839 marcdautz@gmail.com Marc Dautzenberg

กฤติญา กวินอัฑฒ์ (ป่าน)

มหาวิทยาลัยศิลปากร 06-2465-9390 shkrittiya@gmail.com Krittiya Kavin-ak

กฤษฏ์ นงนิ่ม (แบงค์)

มหาวิทยาลัยศิลปากร 08-3427-9715 kridnongnim@gmail.com Bankkie Ryder

กันต์กนิษฐ์ ผลพอตน (แสตมป์)

โรงเรียนสาธิต "พิบูลบำ�เพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา 09-6464-7560 kaaanit.s@gmail.com Kankanit Pholporton

28

โ ค ร ง ก า ร “ บ า ง จ า ก ส ร้ า ง นั ก เ ขี ย น เ ย า ว ช น ” ปี 7


กานต์ชนก จันทร์ศิริ (กานต์)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 09-5914-8636 ganchanokj@gmail.com Ganchanok Junsiri

กุลชนาฎ เสือม่วง (ครีม)

โรงเรียนสิงห์บุรี 08-0422-9790 cream296755@gmail.com Cozy Creamx

ขวัญชนก ฉัตรสีรุ้ง (วุ้น)

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 09-9254-3030 alngobareno_2000@hotmail.com Woonn Khwanchanok

คณิน เตชะศรินทร์ (นิน)

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 08-0885-3860 kaninsrp2@gmail.com Nin Kanin

ฉัตรชนก โชติสิริสถาพร (ไพร์ซ)

โรงเรียนสายน้ำ�ผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ 09-1041-2683 prizechar@gmail.com Prize Chatchanok

ชนาธิป บุญเกิด (กาย)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 08-6359-4445 guyguy03550@gmail.com Guy Chanatip

ไชยวุฒิ ศรีรักษา (แทน)

มหาวิทยาลัยศิลปากร 06-1209-0719 chaiyawut2356@gmail.com chaiyawut sriraksa ต า ม ร อ ย ศ า ส ต ร์ พ ร ะ ร า ช า

29


ณฐมน รัตนสุภา (โมเน่ต์)

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 09-4580-8504 nathamon.rat@gmail.com Natha Monet

ณฐาภพ สังเกตุ (พจน์)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 08-0263-3291 nathaphob01@gmail.com Pod Nathaphob

ณภัทรสร สุขสิน (จีน)

โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ 06-2625-4224 jeennarak30@gmail.com Napatrsorn suksin

ณิชกานต์ ชิดเชี่ยว (ออม)

มหาวิทยาลัยศิลปากร 09-5797-3610 pioggia_k@hotmail.com Pioggia Nc

ณิชวิทย์ อิศราพฤกษ์ (แทน)

โรงเรียนรุ่งอรุณ 08-9120-6000 nichawit.iss@gmail.com Tan Nichawit

ถิรายุ อมฤตนทีธร (เนม)

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 09-5169-0415 thirayu48@gmail.com ถิรายุ อมฤตนทีธร

ธนาธิป นิ่มโอ่ (เพียว)

มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง 09-3810-6998 thanathip136@gmail.com zetokid1412

30

โ ค ร ง ก า ร “ บ า ง จ า ก ส ร้ า ง นั ก เ ขี ย น เ ย า ว ช น ” ปี 7


ธีระวุฒิ วิเชียรแก้ว (แจ๊ค)

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 08-8750-7058 jackloyphoto@gmail.com แจ๊ค' ลอย

นภัสรา อัศวเลิศศักดิ์ (ใบตอง)

โรงเรียนดรุณสิกขาลัย (โครงการ วมว.) 06-4659-2111 tongnapasara@gmail.com Napasara Asawalertsak

นฤพาน รุ่งรัตน์มณีมาศ (เต้นท์)

วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ 06-2709-0042 tent1944@gmail.com Naruepan Rungratmaneemas

สันติ ใจแสน (กีต้าร์)

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 09-0626-8353 santijaisaen@hotmail.com Santi jaisaen

ปภาวี ประชาโชติ (ขิม)

มหาวิทยาลัยศิลปากร  วังท่าพระ 06-2451-6436 -khim-.2541@hotmail.co.th ปภาวี  ประชาโชติ

ปรเมทร์ ท้าวบุปผา (น่อน)

มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง 09-7340-0144 thawbooppha@gmail.com poramet thawbooppha

ปราโมทย์ เถาว์ชาลี (โมทย์)

มหาวิทยาลัยขอนแก่น 08-0195-7407 pramote_thaochalee@kkumail.com Pramote Thaochalee ต า ม ร อ ย ศ า ส ต ร์ พ ร ะ ร า ช า

31


ปวิชญา วินทะไชย (ป๊อบปี้)

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 06-1329-8451 poppypawitchaya@gmail.com Poppy Pawitchaya

ปิยะพร ธนารักษ์ (ตาล)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 08-2739-3225 tanlyy1996@gmail.com Tan Thanarak

ปุณยวีร์ ณรงค์ฤทธิ์ (ไอซ์)

โรงเรียนด่านมะขามเตี้ยวิทยาคม 09-7036-2216 punyavi2216@gmail.com ปุณยวีร์ ณรงค์ฤทธิ์

พชรธรณ์ ศรีสุวรรณ (ตูน)

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี 08-1642-6923 koetoon19971@gmail.com Toon boon

พรรษา จงไพบูลย์กิจ (ปั้น)

โรงเรียนรุ่งอรุณ 09-2343-2934 punzajong@gmail.com Punn Punza

พัสกร แนบสนิท (หมี)

มหาวิทยาลัยบูรพา 08-2477-7599 patsakon14@gmail.com Patsakon Mee

พิมพ์ชนก ศิริสรรพ (ไอติม)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 08-0645-2797 itim_pimchanok@hotmail.com itim pimchanok

32

โ ค ร ง ก า ร “ บ า ง จ า ก ส ร้ า ง นั ก เ ขี ย น เ ย า ว ช น ” ปี 7


เพชราภรณ์ โพธิ์พงษ์ (ปุ้มปุ้ย)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 08-5968-8947 pumpui2542@gmail.com petcharaporn

ภานุพงศ์ ศานติวัตร (โฟล์ค) เยาวลักษณ์  นาพิณ (หมวย)

มหาวิทยาลัยศิลปากร 08-3055-2475 panupong101040@gmail.com Panupong Sarntiwat

รัตนา พวงจันทร์ (เลย์)

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 09-0176-6166 rattana-lay-lay@hotmail.com Layzy Crezy

รุ่งธิวา ทรงสุข (สตางค์)

มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง 09-2954-7075 satang180@gmail.com Satang Rungthiwa

วนันต์ญา ดวงตานน (มายด์)

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 08-2244-2814 wananmild96@gmail.com Mild Wananya

วรากร เจนสมุทร (บอย)

มหาวิทยาลัยรังสิต 09-4484-0880 varakornjansamut@gmail.com Varakorn Jansamut

มหาวิทยาลัยศรีปทุม 09-0962-9767 muayitoo@gmail.com เยาวลักษณ์ นาพิณ

ต า ม ร อ ย ศ า ส ต ร์ พ ร ะ ร า ช า

33


วิราพร คงนวล (ปาน) ศศิภักดิ์ ศิริกระจ่าง (มุก)

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 09-8069-3601 parnwiraporn@gmail.com wiraporn khongnual

ศุภิสรา ชูภักดี (แนน)

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 08-4997-1962 supisara45nan@hotmail.com Nan Supisara

สโรชา เอิบโชคชัย (เมย์)

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี 08-4324-0944 may_maee@hotmail.com Srch srch

สุภาวดี กุมทอง (โม)

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 08-3059-5071 moo07052541@gmail.com Suphawadee Kumthong

สุวิดา ยอดทอง (ภีม)

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี 06-3417-6728 balllunkup@gmail.com Suwida yogthog

อกาลิโก นาคทองคง (เบ๊บ)

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 09-9059-7700 babe-beb@hotmail.com Akaliko Nakthongkong

34

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 09-5104-4958 mooksasipak1912@gmail.com Mook Sasipak

โ ค ร ง ก า ร “ บ า ง จ า ก ส ร้ า ง นั ก เ ขี ย น เ ย า ว ช น ” ปี 7


อุษา แก้วธิวัง (สา)

มหาวิทยาลัยบูรพา 09-6278-6307 sazaza0033@gmail.com Sa Kaewtiwang

เอกภาพ อย่างดี (นัส)

มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง 09-7357-7770 eakapap_works@hotmail.com Eakapap Yangdee

รายชื่อครูเขียนและทีมงาน “สารคดี” สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ (ครูด�ำ) สกล เกษมพันธ์ (ครูสกล) วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง (ครูวี) วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์ (ครูแดง) สุชาดา ลิมปนาทไพศาล (ครูจี๊ด) ณัฐชานันท์ กล้าหาญ (ครูมายด์) อรอุมา ศิลป์วัฒนานุกูล (ครูแอน) บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช (ครูบัน) วิจิตต์ แซ่เฮ้ง (ครูปัง) ประเวช ตันตราภิรมย์ (ครูเวช) จิตรทิวัส พรประเสริฐ (ครูว่าน) สุรศักดิ์ เทศขจร (พี่ต้น) ชมพจน์พงศ์ ฤทธิ์รณศักดิ์ (พี่ชม) สวรรยา พรรัตนะสกุล (พี่จ๋า) กรดล แย้มสัตย์ธรรม (พี่ิดิว) สุนันทา จันทร์หอม (พี่เปรียว)

suwatasa@gmail.com sakolk@gmail.com we_sarakadee@yahoo.com wiwat.pandha@gmail.com sj_slimp@hotmail.com natchaklahan@gmail.com on-uma-30@hotmail.com bansit98@hotmail.com wichit_pang@yahoo.com krapomvate@yahoo.com  chittiwatvan@gmail.com msura110@yahoo.com chompoj@gmail.com sawanya3107@hotmail.com y.korradol@gmail.com porpeawchanhom@gmail.com

ต า ม ร อ ย ศ า ส ต ร์ พ ร ะ ร า ช า

35


36

โ ค ร ง ก า ร “ บ า ง จ า ก ส ร้ า ง นั ก เ ขี ย น เ ย า ว ช น ” ปี 7


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.