การันต์(ชาวชอง)

Page 1

ปีที่ 2 ฉบับที่ 6 ประจ�ำวันที่ 28 เมษายน 2558 นิตยสารท่องเที่ยว เพื่อการเรียนรู้ ราคา 80 บาท

1

ก า รั น ต ์ ท่องป่า ท่องนภา ท่องฟ้า ท่องทะเล

กับ“พิราบน้อย”

ชาวชอง วิถีคนบูรพา จันทบุรี


2 บททักทาย : นายสัชฌุกร เขียวขัน บรรณาธิการ

สารบัญ

เวลา 4วัน 3คืน เมื่อปลายๆเดือนมีนาคมที่ผ่าน มา กระผมนั่งรถกว่า 5ชั่วโมง เพื่อไปเดินขึ้นเขาชันกว่า 1กิโลเมตร ที่อุทยานแห่งชาติน�้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี ครั้งนี้เรามาไกลถึงฉบับที่ 6 แล้ว การเดินทาง ครั้งนี้ก็เช่นกัน เพื่อไปรู้จักจังหวัด “จันทบุรี” ที่มีความ หลากหลายทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน มากกว่าร้อยปี โดยเชื่อว่าก่อตั้งโดย “ชาวชอง” ชาติพันธุ์ ของจันทบุรี แม้มีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้นมาแล้ว “ต�ำนาน จันทบุรี” ที่ถูกกล่าวขานก็เปรียบได้เสมือนเครื่องมือที่ ช่วยถ่ายทอดประวัติศาสตร์ เรื่องราวเหล่าจะนี้สะท้อน ให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ รวมถึงประเพณี ต่างๆ เช่นเดียวกับ “การพัฒนา” ให้มาถึงยุคปัจจุบัน ที่จะช่วยให้รู้จักจันทบุรีมากขึ้น เราจึงต้องไป “ท่องป่า ท่องนภา ท่องฟ้า ท่องทะเล” ที่จันทบุรี วิถีคนบูรพา... “สุดแดน” ชายฝั่งทะเลภาคตะวัน ออกของไทยความหลากหลายที่เห็นและเป็นอยู่ของที่นี้ จะเป็นอย่างไร เรามาท�ำความรู้จักไปพร้อมกันเลยดีกว่า

แบกเป้เที่ยว​เมือง“จันทบุรี” 3 4-7 “ชาวชอง” ชาติพันธุ์จันทบุรี ภาษาและวัณฒนธรรมที่ก�ำลังสาบสูญ “ต�ำนานรัก” น�้ำตกพลิ้ว 8 “SCENIC ROUTE” แห่งแรกของไทย 9 10-11 ถนนเฉลิมบูรพาฯ เลนจักรยาน เส้นไฮไลต์ความสุข 12-13 ตลาดเก่าบอกเล่าแบบ ชิโน-โปตุกีส 14 ไอศครีมโบราณ “ตราจรวด” ผลิตด้วยเครื่องจักรแห่งแรกของจันทบุรี 15 “พระนางกาไว” จอมอุบายแห่งเมืองเพนียด 16-17 “คุ้งกระเบน” บ้านหลังสุดท้ายของ “พะยูน” 18 พระนางเจ้าร�ำไพพรรณี ได้รับการถวายพระนามว่า “ราชณีแห่งกอล์ฟ” 19 เบื้องหลัง

กองบรรณาธิการ: นายสัชฌุกร เขียวขัน ฝ่ายศิลป์: นายสัชฌุกร เขียวขัน : นายพงษ์นริน ศิริ 58/699 หมู่ 13 อ.คลองหนึ่ง ต.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120โทรศัพท์ 0895334603


ลุยเดี่ยว[ 3

แบกเป้เที่ยว​ เมือง“จันทบุรี” เมื่ อ ท่ า นมี เ วลาในช่ ว งหยุ ด อั น แสน ยาวนาน ครั้งนี้เราอยากจะแนะน�ำที่เที่ยวอีก หนึ่งแห่ง “แบกเป้” เที่ยวจันทบุรี ซึ่งจะได้รับ อรรถรสการเที่ยวอย่างแท้จริง ออกแดด ลุยน�้ำ ลุยไฟ อาศัยดวง เป็นการหนีเที่ยวแบบชิวๆ ในราคาถูกๆกัน ที่มีทั้งทะเล น�้ำตก ของกิน และผลไม้ เริ่มต้นจากกรุงเทพ นั่งรถตู้ 200 บาท จากหมอชิตลงหน้าโลตัสจันทบุรี สถานีต่อไป ของเราคือหาที่พักแล้วออกท่องเมืองจันทบุรี ซึ่ ง มี โ รงแรมในตั ว เมื อ งราคาถู ก ๆให้ เ ลื อ ก มากมายตั้งแต่ 450 บาทขึ้นไป เมื่อได้แล้วก็ ถึงเวลาที่เราต้องใช้ “ท่าไม้ตาย” เพื่อให้ได้ อรรถรส “การแบกเป้เที่ยว” อย่างถูกต้อง คือ “การโบกรถครับ”(ฮ่าๆ)เคยเห็นแต่ในละคร ท�ำกัน ถึงเวลาต้องใช้จริงตอนนี้แล้ว เพราะ ศักดิ์ศรีในการเที่ยวครั้งนี้มันค�้ำคบเราอยู่(ฮ่า) วิชาที่ต้องใช้อีกคือ​ “การยืม” จักรยานหรือ จักรยานยนต์เพื่อที่จะ ได้มีพาหนะในการเดิน ทางอีกด้วย

เราแนะน�ำ สถานีแรกคือ “ตลาดริมน�้ำจันทบูร” สถานีต่อไป “น�้ำตกพริ้ว” สถานีสุดท้าย “ทะเล”

ค่าใช้จ่ายใน 1 วันโดยประมาณ ค่ารถตู้หมอชิต-จันทบุรี 200บาท ค่ารถประจ�ำทางไปสถานทีเที่ยว 200บาท ค่าที่พัก 450บาท ค่าอาหาร 200บาท ค่าอื่นๆ 50บาท รวม 1000บาท สิ่งส�ำคัญ “การแบกเป้เที่ยว” เราจะไม่ทราบว่าใน ระหว่างทางจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทั้งหมดต้องพึ่งตัวเองในการ เดินทาง เราจะได้รู้สึกถึงอิสระและอรรถรสในการท่องเที่ยว จริงๆอย่างเต็มเปี่ยม ซึ่งอาจจะโชคดีมีรถไปส่งให้ “ฟรี” หรือ ได้มิตรภาพระหว่างเดินทางที่จะค่อยช่วยเหลือ แต่ถ้าโชคไม่ ดีหนัก “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ควรระวังและช่วยตัวเอง นั้น เป็นสิ่งที่เราจะได้รับจาก “การแบกเป้เที่ยว” ถ้าพร้อมอย่า ลืมชวนเพื่อนๆ ไปด้วย เตรียมตัว หัวใจ เก็บกระเป๋า แล้ว ออกทางกันได้เลย


4

“ชาวชอง”

ชาติพันธุ์จันทบุรี ภาษาและวัณฒนธรรมที่ก�ำลังสาบสูญ

“ชอง” แปลว่า “คน” ชาวชองเป็นกลุ่มคนดั้งเดิม

ในดินแดนเอเชียอาคเนย์ สมัยอาณาจักรเขมร เป็นกลุ่มชน ที่มีชื่อเสียงในการท�ำกระวาน และเครื่องเทศต่างๆ กระจาย ตัวอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัด จันทบุรี ตราด ระยอง และฉะเชิงเทรา โดยเฉพาะบริเวณ ติดกับประเทศกัมพูชา ในบางพื้นที่จะเรียกคนชองว่า “ชึ่มช์ อง” ปัจจุบันพบชาวชองอาศัยอยู่หนาแน่น

ภาพวาดจ�ำลองการแต่งกาย “ชาวชอง” แต่ดังเดิม โดย พงษ์นริน ศิริ


5

ชาวชองที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมีประมาณ 4,000 คน โดยอาศัยอยู่ใกล้ชายแดนกัมพูชาบริเวณอ�ำเภอเขาคิชฌ กูฏและอ�ำเภอโป่งน�้ำร้อน ทางด้านตะวันออกของจังหวัด จันทบุรี มีหลักฐานบ่งชี้ว่าชาวชองอาศัยอยู่ที่นี่มาตั้งแต่สมัย อาณาจักรขอม ภาษาชองเป็นภาษาของชาวชอง และอยู่ใน สาขาย่อยเพียร์ ในสาขามอญ เขมร ซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาออ สโตรเอเชียติก เขามีภาษาพูดของตนเอง แต่ไม่มีภาษาเขียน ปัจจุบันเหลือคนภาคตะวันออกที่พูดภาษาชองได้อยู่ราว 500 คนเท่านั้น ชาวชองนับถือศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรมประเพณี เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่า จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ราวพันปีก่อนชี้ว่า ชาวพื้นเมืองจันทบุรีดั้งเดิมคือ ชาวชอง ซึ่งเคยมีอาณาจักร และมีเจ้าเมืองปกครอง รุ่งเรืองเป็นเมืองท่าส�ำคัญในสมัย ไล่เลี่ยกับเมืองพิมาย เมืองเพชรบูรณ์ และลพบุรี อาณาจักร ชองในอดีตนั้นเคยเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมขอม ก่อนเผย แพร่ไปสู่อาณาจักรทวาราวดี ชื่อเดิมของอาณาจักรชองคือ : ซากที่ยังหลงเหลืออยู่ของ “เมืองเพนียด” “ควนคราบุรี” ตั้งอยู่ที่หน้าเขาสระบาป ปัจจุบันยังเหลือซาก ที่สันนิฐานว่าเป็นอาณาจักรชอง ตัวเมือง และก�ำแพงพอให้เห็น ชาวบ้านเรียกกันว่า “เมือง อันเป็นต้นก�ำเนิดเมือง “จันทบุรี” นางกาไว” ที่ก่อตั้งด้วย “ชาวชอง” ครั้งเมื่อขอมเสื่อมอ�ำนาจ อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรือง อาณาจักรชองจึงไปขึ้นกับสุโขทัย โดยเผ่าพันธ์ชาวชอง มี ถิ่นก�ำเนิดอยู่แถบเชิงเขารอยต่อไทย-กัมพูชา มาจนถึงวันนี้ พวกเขาอยู่กันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ ในบริเวณเขาสอยดาว เหนือ บ้านคลองพลู บ้านกะทิง บ้านตะเคียนทอง บ้านคลอง พลู บ้านคลองน�้ำเย็นในใกล้น�้ำตกกะทิง อ�ำเภอเขาคิชฌกูฏ บ้านวังแซม บ้านปิด อ�ำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี รวมไป ถึงชาวชองที่บ้านคลองแสง บ้านด่านชุมพล และบ้านปะเดา อ�ำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราดด้วย ชาวชองเดิมด�ำรงชีพด้วยการล่าสัตว์และเก็บของ ป่า ในปัจจุบันส่วนมากปลูกทุเรียน เงาะ มังคุด และผลไม้ อื่นๆ ส่งขายและมีรายได้ที่มั่นคง ชาวชองเลิกการล่าสัตว์ และหาของป่าแล้วเหลือเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้น ผู้สูงอายุ ชาวชองมีความรู้เรื่องยาสมุนไพร และผลิตผลอื่นๆ จากป่าที่ ไม่ใช่เนื้อไม้ พวกเขาจะปลูกสมุนไพร และต้นไม้รอบๆ บ้าน เพื่อเป็นอาหารและยา ตามค�ำกล่าวของผู้อาวุโสชาวชองที่ มีอายุระหว่าง 60 ถึง 70 ปี ตอนนั้นพวกเขาไม่ได้พบปะคน ภายนอก นอกจากชาวชองด้วยกันเองในช่วงเวลาที่เติบโต มาด้วยกัน พูดกันแต่ภาษาชอง ต่อมาพ่อค้าชาวจีนและแรงงานชาวเขมรเริ่มอพยพ เข้าตั้งถิ่นฐาน หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองรัฐบาลไทย เริ่มส่งเสริมให้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ และเริ่มส่งครู มาสอนภาษาไทยในโรงเรียน การพูดภาษาชองเป็นสิ่งต้อง ห้ามในบางโรงเรียน และแม้แต่พ่อแม่ก็เริ่มที่จะเชื่อว่าการ พูดภาษาชองกับลูกที่บ้านเป็นการขัดขวางการเรียนรู้ของ เด็กๆ ดังนั้น ภาษาชองจึงได้หายไปจากสถาบันครอบครัว และไม่มีการส่งต่อมายังคนรุ่นถัดมา


6

ภาษาชองที่เราคุ้นเคยกัน ก็เช่น จันทบุรี มาจากค�ำว่า จันกะบูย (จันทบูร) ระยอง มาจาก ราย็อง แปลว่าเขตแดน หรือ ต้นประดู่ น�้ำตกพลิ้ว พลิ้ว แปลว่า ทราย หรือหาดทราย แกลง (อ�ำเภอหนึ่งในจ.ระยอง) แปลว่า วงแหวน และชาวชองในอ�ำเภอแกลงนี่เอง ที่มีชื่อเสียง ในฐานะกวีเอกของไทยที่ดังก้องโลกคือ “สุนทรภู่” ก็สืบ เชื้อสายชาวชองมาเช่นกัน ดังค�ำกลอนที่ท่านสุนทรภู่เคย รจนาไว้.... “ล้วนวงศ์วานว่านเครือเป็นเชื้อชอง ไม่เห็นน้องนึกน่า น�้ำตากระเด็น” นิราศเมืองแกลง “การสื่อสารที่มีพลังไร้พรมแดน ท�ำให้ภาษาพื้น บ้านของชนกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยทั่วโลกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อ การสูญสลาย สภาวการณ์นี้ก�ำลังเป็นภัยคุกคามความ หลากหลายทางภาษา และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ต่างๆ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน” ศ.ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ ประธานศูนย์ศึกษาฟื้นฟูภาษา-วัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท กล่าว ไว้ ทั้งนี้นักภาษาศาสตร์เองมองไว้อีกว่า “การท�ำลาย ความหลากหลายทางภาษา คือการท�ำลายรากฐานทาง วัฒนธรรม”

:หลั ง จากมี ศู น ย์ การเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูภาษา – วัฒนธรรมชองขั้น จึงมีการ สร้างสื่อการเรียนรู้ เพื่อใช่ใน โรงเรียนที่สอน “ภาษาชอง”ด้วย


7 มีความจ�ำเป็นและมีสิทธิในการเรียนภาษาประจ�ำชาติและ ภาษาราชการ แต่ครูหรือพ่อแม่เองพยายามจ�ำกัดการ ใช้ภาษากลุ่มชาติพันธุ์ทั้งโดยตรงและทางอ้อม รวมไปถึง ภาษาหลักยังขยายตัวผ่านทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ และการ สื่อสารอื่นๆ เช่นเดียวกับวัฒนธรรมป๊อบในหนังและดนตรี อีกทั้งการเปิดประชาคมอาเซียน AEC ในปี 2558 ของ กลุ่มประเทศอาเซียนได้ตกลงที่จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นช่อง ทางการสื่อสาร ท�ำให้ยากที่จะให้ความสนใจความส�ำคัญใน คุณค่าของภาษากลุ่มชาติพันธุ์ ศ.ดร.สุวิไล กล่าวไว้อีกว่า “ไทยตั้งอยู่ใจกลาง แผ่นดินเอเชียอาคเนย์ ที่รวมความหลากหลายของภาษา ชาติพันธุ์ ประชากรของเรา 60 ล้านคน มีภาษาพูดมากกว่า 70 กลุ่มภาษา แต่ภาษาไทยก็ไม่พ้นกระแสโลก ปัจจุบันมี ภาษากลุ่มชาติพันธุ์อย่างน้อย 14 กลุ่มภาษาของไทย ที่ ก�ำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตใกล้สูญอย่างรุนแรง ” ปัจจุบันการใช้ภาษาชอง ตลอดจนวัฒนธรรมของ ชาวชองอยู่ในภาวะลดน้อยลงเป็นอย่างมาก คนชองส่วน มากใช้ภาษาไทยในการสื่อสารในชีวิตประจ�ำวันแม้แต่ผู้สูง อายุ เยาวชนชาวชองไม่สามารถพูดภาษาชองได้ และใช้ ภาษาไทยเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาชองจึงจัดเป็นภาษาที่อยู่ ในภาวะวิกฤต ขั้นรุนแรงใกล้สูญ ซึ่งมีผลต่อการสูญเสีย ภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้ในด้านต่างๆเช่น เรื่อง เกี่ยวกับป่า พรรณพืช อาหารพื้นบ้าน และสมุนไพร พิธีกรรม ความเชื่อและประเพณี ปัจจัยใหญ่ที่สุดที่คุกคามภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง หลายคือการแพร่กระจายของภาษาหลัก เช่น ภาษาประจ�ำ ชาติและภาษาราชการ โดยเฉพาะการศึกษาภาคบังคับที่ สนับสนุนหรือบังคับใช้ภาษาหลัก ขณะที่เด็กกลุ่มชาติพันธุ์

14 ภาษาไทยใกล้สูญได้แก่ 1.ภาษากลุ่มชอง 2.กะ ซอง 3.ซัมเร 4.ชะโอจ 5.มลาบรี 6.ซาไก 7.ณัฮกุร 8.โซ่ (ทะวืง) 9.ละว้า (ก๋อง) 10.อึมปี 11.บิซู 12.ลัวะ (ละเวือะ) 13.มอเกล็น และ14.อุรักละโวย ปั จ จุ บั น ชาวชองได้ ป รั บ ตั ว เข้ า กั บ วั ฒ นธรรมใหม่ เหมือนกับคนทั่วไป ส่วนชาวชองที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัด ฉะเชิงเทรา จะเรียกกันว่า ชาวไทยซอง เพราะออกเสียง ช.ช้าง ไม่ถนัด และมีภาษาใกล้เคียงกับภาษาชองคือ ภาษา ป่า และยังมีชาวชองอยู่ในจังหวัดโพธิสัตว์ของกัมพูชาราว 5 พันคน ส่วนที่ฝั่งไทยมีอยู่ในบริเวณดังกล่าว ราว 6 พันคน กระจายอยู่ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และ ตราด อย่างไรก็ตามชาวชองได้มีความพยายามฟื้นฟูภาษาและ วัฒนธรรมของตนเอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยได้มีการสร้าง ระบบตัวเขียนภาษาชองด้วยตัวอักษรไทย และการสร้าง วรรณกรรมหนังสืออ่านภาษาชองระดับต่างๆ มีการสอน ภาษาชองเป็นหลักสูตรท้องถิ่นในโรงเรียน และมีการพัฒนา ศูนย์การเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูภาษา – วัฒนธรรมชองส�ำหรับเป็น แหล่งข้อมูล จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและอื่นๆ เช่นจังหวัด จันทบุรี มีศูนย์การเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูภาษา – วัฒนธรรมชอง โดยคนชองเอง “ก็เพราะภาษาชองไม่มีตัวเขียน ท�ำให้เด็กชองไม่รู้ ภาษาชอง จึงเกิดความมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์ภาษาชองไว้ให้ลูก หลาน แม้บางครั้งก�ำลังเก็บเงาะอยู่ ก็ต้องทิ้งไว้ก่อน ต้อง เดินทางโหนรถเมล์ในกรุงเทพฯ เพื่อไปท�ำระบบเขียนภาษา ชองที่มหิดล” ผู้ใหญ่เฉิน ผันผาย ได้กล่าวไว้


8 ]เล่ากันว่า

: ชาวบ้านชางช่อง

“ต�ำนานรัก” น�้ำตกพลิ้ว

“ที่ระลึกถึงความรัก แห่ง สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีอรรคมเหสี ซึ่ง เสด็จทิวงคตแล้ว ด้วยเธอได้มาถึงที่นี่ เมื่อจุลศักราช 1236 โดยความยินดีชอบใจ อนุสาวรีย์นี้ สร้างขึ้นโดย จุฬาลงกรณ์บรมราช ผู้เป็นพระสวามี อันมีความทุกข์ เพราะเธอเป็นอย่างยิ่ง ในจุลศักราช 1243” นั่นคือ ข้อความที่สลักไว้ ณ “สถูปพระนางเรือล่ม” อนุสรณ์สถานแห่งความรักที่อยู่คู่กับ “น�้ำตกพลิ้ว” เมืองจันทบุรี มาร้อยกว่าปี อนุ ส รณ์ แ ห่ ง ความรั ก ที่ ยิ่ ง ใหญ่ ที่ สุ ด ใน โลกคือ “ทัชมาฮาล” เป็นสุสานแห่งความรักที่ เจ้าชายชาห์ จะฮาน สร้างขึ้นเพื่อเก็บพระศพของ พระนางมุมตัส มาฮาล พระชายา ในประเทศไทยเองก็มีอนุสรณ์แห่งความ รักระหว่างพระมหากษัตริย์และพระมเหสีเช่น กัน โดยเป็นความรักของพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 ที่มีต่อสมเด็จ พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี นั้นคือต�ำนานรัก “น�้ำตกพลิ้ว” “สถูปพระนางเรือล่ม” นีต้ งั้ อยูท่ นี่ ำ�้ ตก พลิว้ ในอุทยานแห่งชาตินำ�้ ตกพลิว้ อ�ำเภอแหลม สิงห์ จ.จันทบุรี ซึง่ เป็นสถานทีท่ สี่ มเด็จพระนางเจ้า สุนนั ทากุมารีรตั น์ทรงโปรด หลังจากที่เคยเสด็จ ประพาสน�้ำตกพลิ้วเมื่อปี พุทธศักราช 2417 สถูป พระนางเรือล่มนีพ้ ระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยูห่ วั รัชกาลที5่ โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2424 เพื่อร�ำลึกถึงความรักที่มีต่อพระนางเจ้า สุนันทากุมารีรัตน์ อัครมเหสีองค์แรก ซึ่งอีก พระนามหนึ่งคือ “พระนางเรือล่ม” ด้วยเหตุที่

เสด็จทิวงคตเนื่องจากเรือพระประเทียบล่มขณะ เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชวังบาง ประอิน ณ บริเวณ ต�ำบลบางพูด จังหวัดปทุมธานี ท�ำให้ถูกกล่าวขานเป็น “ต�ำนานรัก” ที่ยิ่งใหญ่ของ พระเจ้าอยู่หัวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ลักษณะสถาปัตยกรรมของสถูปพระนาง เรื อ ล่ ม นั้ น แปลกตากว่ า ที่ ไ หนๆในเมื อ งไทย เนื่องจากรูปทรงเป็นสามเหลี่ยมพีระมิด ซึ่งก็มา จากพระราชด�ำริของรัชกาลที่ 5 ที่ว่า “ท�ำเป็นรูปอื่นอาจไม่คงทนถาวร เพราะตั้งอยู่กลางป่าเขา ล�ำเนาไพร อันไม่มีผู้ดูแล ฉะนั้น เมื่อปิรามิดของอียิปต์ยืนยง คงทนอยู่ได้ฉันใด ปิรามิดน้อยนี้ก็จะยืนยงคงทนอยู่เช่นกัน ณ ท่ามกลางป่าเขาและเสียงไหลรินของธารพลิ้ว” ส่ ว นทางด้ า นข้ า งของพี ร ะมิ ด ก็ มี “อลงกรณ์เจดีย์” ซึ่งรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าให้ สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2419 เพื่อเป็นที่ระลึกในการ เสด็จประพาสน�้ำตกพลิ้วพร้อมกับพระนางเจ้าสุ นันทากุมารีรัตน์


รู้หรือไม่?[ 9

“SCENIC ROUTE”

แห่งแรกของไทย

“ถนน” แต่ไม่ใช่ถนนธรรมดา ถนนเส้นนี้เป็น “SCENIC ROUTE” นั้นก็คือ “ขณะขับรถ เราก็สามารถ ชมวิวสองข้างทางที่สวยงามไปพร้อมๆกันได้” ถนนเฉลิมบูรพาชลทิต เป็นถนนเลียบชายหาด ทะเลเมืองจันท์ ที่ถูกขนานนามว่า “SCENIC ROUTE” หรือ “เส้นทางชมวิวที่สวยงาม” ระยะทางประมาณ 111 กิโลเมตรเป็นถนนที่จัดสร้างโดยกรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม เชื่อมต่อระหว่างแหล่งท่องเที่ยว ชายทะเลที่ส�ำคัญตั้งแต่ตอนเหนือจรดตอนใต้ของจังหวัด จันทบุรี มีทัศนียภาพและวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม บรรยากาศ ร่มรื่น มีเส้นทางเฉพาะส�ำหรับผู้ที่ชื่นชอบการปั่นจักรยาน ตลอดเส้นทางจะมีแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่ที่น่าสนใจ สลับสับเปลี่ยนกันไป สร้างสีสันแห่งความสุขให้คุณได้ตลอด เส้นทาง คุณจะได้สัมผัสกับธรรมชาติของท้องทะเล วิถีชีวิต ชุมชน สวนผลไม้ และธรรมชาติอันร่มรื่น

“ ขับรถ 111 กิโลเมตร บนเส้นทางกินลมชม ทะเล เลียบชายฝั่งทะเลตะวันออก ที่สวยที่สุด” ไม่ น่าแปลกใจที่ถูกขนานนามว่า “Scenic Route”

เริ่มตั้งแต่อ่าวคุ้งวิมาน เส้นทางคดเคี้ยวเลียบเลาะ ภูเขาและทะเลรูปตัวเอส ถือเป็นการเริ่มต้นเส้นทาง “SCENIC ROUTE” เส้นทางชมวิวที่สวยงามอย่างเป็นทางการ จุดเด่นของถนนบริเวณนี้คือ เส้นทางคดเคี้ยวเลียบเลาะ ภูเขาและทะเล เมื่อขับตรงไปเรื่อยๆจะพบกับ จุดชมวิวเนิน นางพญา เป็นเนินเขาเล็กๆ สามารถขึ้นไปชมความยิ่งใหญ่ สวยงาม ของท้องทะเลอ่าวคุ้งวิมานได้ ตรงไปอีกจะพบกับ จุดชมวิวเนินนางพญา เนินเขาเล็กๆ ที่สามารถขึ้นไปชม ความอลังการของเสน่ห์ท้องทะเลอ่าวคุ้งวิมานได้ จากนั้นขับ ออกมาทางเดิมจะผ่าน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน ซึ่งเหมาะส�ำหรับผู้หลงใหลในสิ่งแวดล้อมกับเส้นทางเดิน ศึกษาธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และสวยงามอีกด้วย


10]สองล้อ

: เจ้าถนน

ถนนเฉลิมบูรพาฯ

เลนจักรยาน เส้นไฮไลต์ความสุข

“จักรยาน” พาหนะคู่กาย ในครั้งอดีต เมื่อเราลองมองย้อนกลับ ไปแล้ว แม้แต่ในวันเด็กของเราต่างได้ ใช้มันอยู่บ่อยๆ จักรยานก็เหมือนเพื่อน คู่กาย มีเราที่ไหน มีเพื่อนที่นั่น ซึ่งนั่น ต่างจากการใช้ชีวิตในปัจจุบันมากนัก ปั จ จุ บั น เราต่ า งก็ วิ่ ง เข้ า หา เมืองใหญ่ ที่เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่อง ถนนหลากหลายสาย ทั้งเวลาที่เร่งรีบ รถก็เริ่มติด จักรยานอาจเป็นอีกทาง เลือกที่ช่วยได้บ้าง อาจจะไม่มากเท่าที่ ควร แต่ปัจจุบันผู้คนก็เริ่มหันมาสนใจ กันมากขึ้น

ปัจจุบันจะมีการสร้างเลนจักรยานทั้งในเมืองนอกเมือง และสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วขึน้ มากมาย เพือ่ เป็นทางเลือกของการใช่ ชีวติ ในปัจจุบนั รวมไปถึง ความสนุกสนาน มาพบปะพูดคุยกัน เป็นกลุม่ คณะ และส�ำหรับคนทีส่ นใจในการปันจักรยานจริงๆ แม้ จะไม่มีหน่อยงานไหนรับผิดชอบอย่างจริงจัง แต่ปัจจุบันก็ได้ เห็นวัยรุ่นหัดมาสนใจ “จักรยาน” กันมากขึ้น ทั้งวัยท�ำงานด้วย ก็เช่นกัน ตัวกระผมมักนิยามเลนจักรยานนี้ว่า “เส้นไฮไลต์ความ สุข”เพราะความสุขจะเกิดขึ้นได้เมื่อใช้จักรยาน บนเส้นทางที่ ถูกต้อง และเราเมื่อต้องการความสุขอย่างเต็มเปี่ยมในการปัน จักรยานพร้อม ดูวิวทะเล ท้องฟ้า ภูเขา กระผมแนะน�ำส�ำหรับ นักปันจักรยานแล้ว “กาลครั้งหนึ่ง...ต้องไป” เฉลิมบูรพาชลทิต ถนนสาย DREAM DESTINATION เส้นทางแห่งความสุขถนน เลียบชายหาดทะเลเมืองจันทบุรี “เส้นทางชมวิวที่สวยงาม”


ต ล อ ด เ ส ้ น ท า ง จ ะ มี เ ล น จั ก รยานยาวเป็ น ระยะทางประมาณ 111 กม. นับจาก อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ไปจนถึงบ้านแหลมสิงห์ จ.จันทบุรี เหนื่อยก็พักก่อนได้ เพราะระหว่างทาง มีจุดพักรถพร้อมวิวสวยๆไว้ให้ ส�ำหรับ นั ก ปั ่ น ตั ว ยงที่ อ ยากมาทดสอบฝี เ ท้ า มากกว่าร้อยกิโลเมตร

อีกไฮไลท์คือ การน�ำแม่กุญแจ 2 ลูก ไปล็อคคู่กันบนนั้น ส�ำหรับคู่รักหนุ่ม สาว ด้วยความเชื่อที่ว่าจะรักกันยืนยาว ตลอดไป จากนั้นให้ขับออกมาทางเดิม จะผ่าน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้ง กระเบนอั น เนื่ อ งมาจากพระราชด� ำ ริ เหมาะส�ำหรับนักเรียนนักศึกษา เพราะ เป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติที่อุดม สมบูรณ์และสวยงาม เราจะได้พบกับ จุดเด่นของถนนเฉลิมบูรพาชล พันธุ์ไม้ป่าชายเลนและสัตว์น�้ำนานา ทิตคือ เส้นทางคดเคี้ยวเลียบเลาะภูเขา ชนิด ที่อาศัยอยู่รวมกันในบริเวณนี้ และทะเล เมื่อปันตรงไปเรื่อยจะพบ กับ จุดชมวิวเนินนางพญา เป็นเนินเขา :ด้วยความเชื่อที่ว่าจะรักกัน เล็กๆ สามารถขึ้นไปชมความยิ่งใหญ่ ยืนยาวตลอดไป นักท่องเที่ยวมักซื้อ สวยงาม ของท้องทะเลอ่าวคุ้งวิมานได้ “กุญแจ” มาคล้องบริเวณจุดชมวิว

11

เส้ น ทางของการปั ่ น นั้ น ค่ อ น ข้างสะดวก เพราะมีเลนจักรยานจ�ำ เพราะอยู่แล้ว แต่บางช่วงจังหวะอาจ ยากหน่อยส�ำหรับรถเล็กๆ เพราะช่วง ก้าวที่สั้น อาจจะกินก�ำลังขาไปมากกว่า รถขันใหญ่ๆ ระหว่างการปั่นบนถนน สายนี้ มีเพียงอารมณ์และความรู้สึก ของความอิสระ ได้ปลดปล่อยทุกอย่าง ไปพร้ อ มๆกั บ สายลมที่ เ ข้ า มาปะทะ ใบหน้า พร้อมกับได้ชมวิวทะเลไป เรื่อยๆ ก็ยิ่งท�ำให้เรื่องรอบตัวนั้นไร้ ความส�ำคัญ มีเพียงแค่สายลม ท้อง ทะเล ท้องฟ้า “ความสุขที่เกิดขึ้นจาก ตัวเราและรอบตัวเรา” นอกจากปั น จั ก รยานแล้ ว นั้ น ยังมีกิจกรรมต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวจาก ต่างถิ่นได้ท�ำมากมาย พายเรือคยัค ชมธรรมชาติป่าชายเลน เดินศึกษา ธรรมชาติและระบบนิเวศน์ป่าชายเลน ชมวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้านชายฝั่ง ออกเรือตกปลาปลา ไดหมึก กิจกรรม ชายหาด พักผ่อนกับครอบครัว ฯลฯ ส�ำหรับท่านที่ชื่นชอบการถ่าย ภาพธรรมชาติและวิถีชีวิตพื้นบ้านของ คนท้องถิ่น มีสถานที่ที่เหมาะแก่การ ถ่ายภาพธรรมชาติที่สวยงามตั้งแต่เช้า จรดเย็น อีกทั้งยังมีวิถีชีวิตของชาวบ้าน ที่น่าสนใจอีกมากมายให้บันทึกภาพได้ อย่างเต็มอิ่ม หรือหากท่านผู้อ่านจะน�ำ รถส่วนตัวมาพักผ่อน เที่ยวเล่น ก็ได้ เช่นกัน ควรขับด้วยความระมัดระวังไม่ ประมาทและระวังจักรยานบนถนนด้วย

จุดชมวิวเนินนางพญา สถานพักผ่อนที่มีร้านอาหารให้บริการนักท่องเที่ยว พร้อมชมความสวยงามและยิ่งใหญ่ของ “อ่าวคุ้งวิมาน”


12 ]เก็บเก่าเล่าใหม่

: จอห์น ชาวไร่

ตลาดเก่า“จันทบูร”บอกเล่าแบบ

ชิโน-โปตุกีส

เสน่ห์ของ “ชุมชนริมน�้ำจันทบูร” ภายใน ชุมชนทีเ่ ก่าแก่มปี ระวัตศิ าสตร์ ศลิ ปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และวิถีชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ ยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุง ศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ติดแม่น�้ำจันทบุรี ในอดีตเคยเป็นศูนย์การค้า ที่รุ่งเรื่อง ปัจจุบันคือสถานที่ท่องเที่ยว ชุมชนแห่งนี้เป็น เครื่องหมายการันตรี “ความสวยงามที่ ผ สมผสานกั น อย่ า งลงตั ว ของ ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ศิลปกรรม และผู้คนที่อาศัยอยู่ ร่วมกันอย่างกลมกลืน” “ชุมชนริมน�้ำจันทบูร” นั้นก็คือ ย่านท่าหลวงตลาดล่าง ซึ่งมีความส�ำคัญต่อบทบาทการค้ากับต่างประเทศ ของจันทบุรีในยุคนั้น เป็นจุดที่เรือบรรทุกสินค้าของป่าที่ รวบรวมมาได้จากป่าแถบตะเคียนทอง น�้ำขุ่น คลองพลู วัง แซ้มในบริเวณ เขาคิชฌกูฎและ เขาสอยดาว จะล่องลงมา ตามล�ำน�้ำจันทบุรีและมาเทียบท่าที่ตลาดท่าหลวงเพื่อน�ำมา จ�ำหน่ายในตัวเมืองจันทบุรี ภายใน พ.ศ.2436-2447 กองทหารฝรั่งเศสเข้ามายึด ครองจันทบุรี การค้าขายในย่านนี้เป็นไปอย่างคึกคักนอกจาก สินค้าป่าแล้วยังมีการลักลอบจ�ำหน่ายสินค้าประเภทสุรา ฝิ่น กาแฟ ชา การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของย่านท่าหลวงตลาดล่าง ส่งผลให้ทางรัฐบาลให้ความส�ำคัญกับการพัฒนา ระบบสาธารณูปโภค ต่างๆ ในบริเวณนี้


13

“ผังบ้าน” รูปแบบชิโน-โปตุกีส ที่ได้รับการบูรณะปรับปรุงใหม่ให้เจ้าของบ้านภายใน”ชุมชนริมน�้ำจันทบรู”

ไม่เพียงแค่เป็นย่านการค้าหรือตลาดเก่าที่มีอดีต อันยาวนาน 100 กว่าปีเท่านั้น หากได้ไปสัมผัสจะรู้ได้ว่าที่ ชุมชนแห่งนี้มีประวัติที่น่าสนใจ และความกลมกลืนของ สถาปัตยกรรมสิ่งปลูกสร้าง อาคารบ้านเรือน ซึ่งจะแตกต่าง กัน แต่เป็นความแตกต่างที่ลงตัว และงดงามทั้ง ไทย จีน ฝรั่งเศส และแบบผสมผสานทั้งสองฝากฝั่งถนนสุขาภิบาล ซึ่งเป็นถนนสายแรกของจังหวัดจันทบุรี ที่ขนานไปพร้อมๆ กับแม่น�้ำจันทบุรี “สถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปตุกีส” (สถาปัตยกรรม ตะวันออกผสมผสานกับตะวันตก)สามารถพบสถาปัตยกรรม แบบนี้ได้ในหลายๆจังหวัดของประเทศไทย ทั้งภูเก็ต ระนอง จันทบุรี กระบี่ ตะกั่วป่า พังงาหรือตรัง ซึ่งในชุมชนจันทบู รนั้น มีบ้านไม้ทรงปั้นหยา เรือนขนมปังขิง ตึกฝรั่งแบบ ปีนังและสิงคโปร์ หรือตึกแบบยุโรป ที่ล้วนแล้วแต่มีความ คลาสสิคแตกต่างกันไป ความงดงามของบ้านไม้โบราณที่นี่ ยังจะดูได้จากลายฉลุที่ช่องลมที่มีความหลากหลาย เช่น ฉลุ ลวดลายขนมปังขิง ลายเถาดอกไม้ และบางบ้านเขียนตัว อักษรจีน นอกจากนี้ยังมีลูกกรงเหล็กแกะสลัก ส�ำหรับ “ชิโน-โปตุกีส” เกิดจากการน�ำค�ำว่า “ชิโน” หมายถึง คนจีน “โปตุกิส” หมายถึง ชาวโปรตุเกส เพราะ สถาปัตยกรรมแบบชิโนโปตุกีส เกิดจากการผสมผสาน ระหว่างสถาปัตยกรรมของยุโรป โคโลเนียล กับการตกแต่ง แบบจีนลวดลายสัญลักษณ์รวมถึงลักษณะรูปแบบบางส่วน

ของตัวอาคารตามคติความเชื่อของจีน เกิดการผสมผสาน กันระหว่างสถาปัตยกรรมโปรตุเกสและจีน เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัวขึ้นท่ามกลางสังคมต่างเชื้อชาติ โดยจุดเด่นที่เห็น ได้ชัดก็คือก็ ตัวอาคารจะมีเสาคล้ายแบบกรีกโรมัน ไม่เพียงบ้านเก่าแก่เท่านั้นที่น่าสนใจ แต่มีตึกหลายๆ แห่งที่เปิดเป็นร้านอาหารน่านั่งสไตล์คลาสสิคกลมกลืนกับ บรรยากกาศเก่าๆ นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารทะเล และชื่อที่ แปลกหูแปลกตา ร้านขายของที่ระลึกจ�ำพวกโปสการ์ด หรือ แม้กระทั่งร้านอินเตอร์เน็ตก็มีให้ใช้บริการ สิ่ ง ที่ น ่ า ชื่ น ชมคื อ แต่ ล ะร้ า นไม่ ท� ำ ร้ า นให้ โ ดดเด่ น หรือขัดแย้งกับสถานที่แต่ว่าจะกลมกลืน ไปกับบรรยากาศ เก่าๆซึ่งยังคงไว้ตามเดิมของ “ชุมชนริมน�้ำจันทบูร” หาก ใครที่ชอบการเที่ยวตลาดเก่าชุมชนโบราณ ไม่ควรพลาดที่ นี่ เพราะถือว่ายังคงความเป็นชุมชนโบราณแบบดั่งเดิมไว้ ได้อย่างกลมกลืนกับความเป็นปัจจุบัน ไม่ได้สร้างสรรค์ขึ้น มา ให้เป็นชุมชนโบราณเพื่อการท่องเที่ยวเพียงเท่านั้น แต่ เป็นการเข้าไปเที่ยวในสถานที่ที่เป็นวิถีชีวิตของ “คนจัน ทบูร”อยู่แล้ว ใครที่ ต ้ อ งการเรี ย นรู ้ ป ระวั ติ ศ าสตร์ ค วามเป็ น มา ของชุมชนริมน�้ำจันทบูรกันแบบเต็มๆ ก็ต้องไปที่บ้านเลข ที่ 69 ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ประจ�ำชุมชนริมน�้ำจันทบูร ที่นี่เป็น สถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ เป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่ ความรู้ประจ�ำชุมชน


14 ]ที่ระลึก

ไอศครีมโบราณ

“ตราจรวด” “ร้านไอศครีมตราจรวด” โรงงานไอศครี ม ด้ ว ยเครื่ อ งจั ก รแห่ ง แรกของเมืองจันทบุรี เริ่มต้นด�ำเนิน กิจการตั้ง พ.ศ 2503 โดยพ่อกับของ ของลุงแช หรือคุณปัตตโชติ กตัญญกุล ณ บ้านเช่าของหลวงราชไมตรี 1ห้อง หลังจากลุงแชจบการศึกษาที่กรุงเทพฯ ก็ได้กลับมาช่วยกิจการโรงงานไอศครีม ตราจรวดและสร้างสรรค์ไอศครีมให้มี หลากหลายแบบ ทั้งไอศครีมแท่ง ไอศ ครีมตัด ไอศครีมกระทิสด ขนาดต่างๆ บรรจุลงไปในกระติกแก้วกลมหลากสี ราคาแท่งละหนึ่งสลึง

ผลิตด้วยเครื่องจักร แห่งแรกของจันทบุรี

นอกจากนัน้ ลุงแชมีความรูเ้ รือ่ งเครือ่ งจักร ยังท�ำตูไ้ อศครีม หรือตูเ้ ย็น เพือ่ ใส่ไอศครีมน�ำไปวางจ�ำหน่ายตามทีอ่ นื่ ๆอีกด้วย พร้อม วางจ�ำหน่ายที่หน้าบ้านและส่งตามร้านทั่วไปด้วยจักรยานยนต์ ดัดแปลงท้ายรถให้บรรทุกไอศครีมได้จ�ำนวนมากๆ รวมทั้งมีลูกค้า มารับเพื่อน�ำไปจ�ำหน่ายต่อ ท�ำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายใน จังหวัด ขณะนั้นกิจการเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันร้านไอศกรีมตราจรวดเดินหน้ามาถึงทายาทรุ่น ที่ 3 แล้ว ได้ขยายสาขาไปยังจังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย ทั้งยังเป็นที่ สนใจต่อนักท่องเที่ยวที่แวะมาชม “ชุมชนริมน�้ำจันทบูร” ซึ่งยังคง ความเป็น “โรงงานผลิตตราจรวด” แบบดั่งเดิมอยู่เช่นเคย ที่มีรูป แบบและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์รวมสมัยได้ ที่ท�ำขายมานานกว่า 55 ปี

“ตอนนี้มาถึงรุ่นที่3 นั้นคือตน หลังจากปู กับพ่อได้ก่อตั้งโรงงานไอศครีมตราจรวจ เริ่มจาก น�ำส่วนผสมทั้งหมดมาใส่บล็อกที่เตรียมไว้ เพื่อ ให้เกินเป็นรูปทรงต่างๆ ซึ่งปัจจุบันก็ยังใช่วิธีนี้อยู่ แต่เพิ่มรสกับรูปทรงอื่นๆมากกว่า ตั้งชื่อว่าจรวด คงเพราะเราสามารถท�ำออกขายได้อย่างรวดเร็ว แห่งแรกของจันทรบุรี”

กาลัญญู กตัญญูกุล เจ้าของกิจการไอศครีมตราจรวจรุ่นที่ 3


“พระนางกาไว”

“จันทบุรี”

เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติความเป็น มายาวนานนับพันปี ตั้งแต่ก่อนจะรู้จักกันในนามเมืองจัน ทบูร สันนิษฐานว่าจันทบุรีเคยเป็น”เมืองเพนียด”มาก่อน หรืออีกชื่อ “เมืองกาไว” ซึ่งมีต�ำนานคู่กับ “พระนางกาไว” ต�ำนานเล่าไว้ว่า..นานมาแล้วยังมีกษัตรย์ผู้ครอง นครโบราณพระองค์หนึ่งเข้าใจว่านครนั้น คือ เมืองจันทบุรี ทรงพระนามว่าพระเจ้าพรหมทัต พระองค์มีเอกอัครมเหสี และมีราชโอรสด้วยกันสองพระองค์ องค์โตทรงพระนามว่า เจ้าบริพงษ์ องค์น้องทรงพระนามว่าเจ้าวงษ์สุริยมาศ ต่อ มามเหสีสิ้นพระชนม์ พระเจ้าพรหมทัตได้ทรงอภิเษกมเหสี องค์ใหม่ขึ้นอีก ทรงพระนามว่าพระนางกาไว ซึ่งมีพระศิริ โฉมงามมาก เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าพรหมทัตยิ่งนัก และมีพระโอรสด้วยกัน 1 พระองค์ ทรงพระนามว่าพระไวย ทัต พระนางกาไวเป็นผู้มีจิตใจอิจฉาริษยาในราชโอรส ที่ประสูตจากพระมเหสีองค์เดิมและมักใหญ่ใฝ่สูงหวังจะ ให้พระไวยทัตราช โอรสครองนคร ตนจะได้มีอ�ำนาจต่อไป หากว่าพระเจ้าพรหมทัตเสด็จสวรรคตแล้ว จึงทรงวางแผน ก�ำจัดเจ้าบริพงษ์ และเจ้าวงษ์สุริยมาศ ซึ่งตามกฏมณเฑียร บาลย่อมมีสิทธิในราชสมบัติมากกว่า เพื่อมิให้เป็นที่กีดขวาง แผนงานของตน ความคิดนี้คงจะทรงคิดมาตั้งแต่แรกที่ได้ ทรงเสกสมรส ครั้นเมื่อตนมีพระราชโอรสก็ทรงด�ำเนินการ เพื่อให้ พระเจ้าพรหมทัตซึ่งลุ่มหลงตนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ลุ่มหลงตนยิ่งขึ้นถึงกับมีการลอบท�ำเสน่ห์ยาแฝด ให้ทรง เสวยเพื่อให้หลงรัก แต่เพียงองค์เดียว และเมื่อได้โอกาส คราวใด ก็พยายามเท็จทูลให้พระเจ้าพรหมทัตก�ำจัดเจ้าบริ พงษ์และเจ้าวงษ์สุริยมาศเสีย โดยหาเรื่องยุยงว่าลูกเลี้ยงทั้ง สองไม่ดีประการใดประการหนึ่งอยู่เสมอ พระเจ้าพรหมทัต แม้จะทรงเสน่หาในพระนางกาไวเพียงใดก็ยังทรงมีพระสติ อยู่ไม่ท�ำอะไรรุนแรงแก่ราชโอรส แต่ในที่สุดเพื่อตัดความร�ำคาญ จึงทรงเรียกพระ ราชโอรสทั้งสองมาชี้แจงเหตุผลให้พาไพร่พลไปสร้างเมือง เองใหม่ทั้งๆ ที่ทรงอาลัยในราชโอรสอยู่ ฝ่ายเจ้าบริพงษ์และ เจ้าวงษ์สุริยมาศแม้จะทรงทราบเบื้องหลังอยู่ แต่ด้วยความ เกรงพระทัยในราชบิดา ก็เสด็จพาไพร่พลไปหาท�ำเลสร้าง เมืองใหม่อยู่ทางเหนือ คือในเขตท้องที่อ�ำเภอโป่งน�้ำร้อน จังหวัดจันทบุรีในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ใกล้แดนขอม(เขมร ) เรียก กันว่า เมืองสามสิบ ต่อมาเมื่อพระเจ้าพรหมทัตสวรรคต (ต�ำนานอีกบท กล่าวไว้ว่า พระนางกาไวทรงหลอกให้พระองค์ดื่มยาพิษชื่อ ว่า ยามหาไวย) พระนางกาไวจึงสถาปนาพระราชบุตรของ พระนางขึ้นเป็นกษัตริย์ครองนครต่อไป และพระนางเป็นผู้ ส�ำเร็จราชการแทนเพราะพระราชบุตรยังเยาว์พระชนม์อยู่ ดังนั้นนครนี้จึงเรียกกันติดปากว่า “เมืองกาไว”

ต�ำนาน[15 จอมอุบายแห่งเมืองเพนียด พระไวยทัตและพระเกตุทัต รู้เรื่องพระบิดาสวรรคต และพระนางกาไวครองเมือง จึงยกทัพมาเพื่อจะชิงเมืองคืน เมื่อมาถึงเมืองก็สร้างค่ายคู ประตู หอรบ และตั้งพลับพลา ประทับเตรียมไว้ต่อสู้ทัพในเมือง (ต�ำบลที่พักพลนี้เรียกว่า “ต�ำบลพลับพลา” ซึ่งยังเรียกมาจนถึงปัจจุบันนี้) แม้ฝ่ายเจ้า บริพงษ์และเจ้าวงษ์สุริยมาศจะส่งทูตมาเจรจาขอตกลงโดยดี ก็หาได้ตกลงด้วยแต่อย่างใดไม่ ราชโอรสทั้งสองจึงได้ยกทัพเข้าโจมตี ฝ่ายในเมือง ออกมาต่อสู้แต่ก็พ่ายแพ้ข้าศึกเข้าเมืองได้ พระนางกาไวเห็น ว่าสู้ไม่ได้ จึงขนพระราชทรัพย์ขึ้นหลังช้างที่เพนียด (ปัจจุบัน ยังมีหลักฐานหลงเหลืออยู่) เปิดประตูเมืองด้านทิศใต้หนีไป พอกองทัพพระไวยทัตเข้าเมืองได้ก็ให้ทหารออกติดตามไป พระนางกาไวเห็นว่าจะจวนตัวก็เอาทองและเพชรพลอยออก หว่านเพื่อให้ทหารข้าศึกมัวพะวงเก็บทอง และรีบลงเรือหนี ไป (เมื่อพระนางกาไวทราบข่าวพระไวยทัตสิ้นพระชนม์ แต่ จะหนีก็เห็นว่าไม่มีทางรอด จึงดื่มยาพิษชื่อว่า ยามหาไวย สิ้นพระชนม์) ต�ำนานอาจจะเป็นเพียงเรื่องเล่ากล่าวขานในอดีต ที่สื่บต่อกันมา แต่สิ่งที่ยังเห็นอยู่ในทุกยุคทุกสมัย ไม่เพียง แค่เรื่องเล่าหรือต�ำนานเท่านั้น คือใช้ “กลอุบาย” หลอกล่อ เพื่อให้ได้สิ่งที่ตนต้องการ “พระนางกาไว จอมอุบายแห่ง เมืองเพนียด” ก็เช่นกัน ดังค�ำที่กล่าวไว้ว่า “มารยาหญิง ร้อยเล่มเกวียน” 4 ครั้งใหญ่ ที่นางใช้กลอุบายในการเข้าถือ อ�ำนาจเมืองเพนียด

1.พระนางกาไวลอบท�ำเสน่ห์ยาแฝด ใส่พระเจ้าพรหมทัต 2.พระนางกาไวพยายามเท็จทูลให้ พระเจ้าพรหมทัตก�ำจัดเจ้าบริพงษ์ และเจ้าวงษ์สุริยมาศเสีย 3.พระนางกาไวหลอกพระเจ้าพรหม ทัตสวรรคตดื่มยาพิษ “ยามหาไวย” 4.พระนางกาไวเห็ น ว่ า จะจวนตั ว ที่หนีก็เลยเอาทองและเพชรพลอย ออกหว่ า นเพื่ อ ให้ ท หารข้ า ศึ ก มั ว พะวงเก็บทอง เพื่อตนจะหนีได้


16 ]เรียนรู้คู่ธรรมชาติ

: ควายเผือก

“คุ้งกระเบน”

บ้านหลังสุดท้ายของ “พะยูน”

“ทางศูนย์ฯ ได้ทำ� การ อนุรักษ์หญ้าทะเลขึ้นมาใหม่ ประมาณ 617ไร่ ในอ่าวคุง้ กระเบน ท�ำให้พวกเขา(พะยูน) เริม่ กลับคืนถิน่ แต่ตอนนีก้ ็ ตอบไม่ได้วา่ พวกเขานัน้ ยังอยู่ จริงๆ หรือเปล่า เพราะโอกาส ที่จะเจอพวกเขามันยากมาก” วิทยากรศูนย์ศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนได้กล่าวไว้ ปัจจุบันเราแทบไม่พบเห็น “พะยูน” อีกเลยใน หน้าน�้ำของประเทศไทย แม้จะภารกิจที่ยิ่งใหญ่ในอนุรักษ์ “พะยูน” แต่ก็ได้เพียงหวังว่า สภาพนิเวศป่าชายเลนที่อุดม สมบูรณ์ หญ้าทะเลที่ขึ้นมากมายที่อ่าวคุ้งกระเบนนั้นสักวัน หนึ่ง “พะยูนคืนถิ่นคุ้งกระเบน” “อ่าวคุ้งกระเบน” เป็นอ่าวเล็กๆรูปร่างคล้ายปลาก ระเบน มีพื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณ ต�ำบล คลองขุด อ�ำเภอท่าใหม่ และต�ำบลสนามไชย อ�ำเภอนายาย อาม จังหวัดจันทบุรี เป็นบ้านหลังสุดท้ายที่ยังพอจะเหลือ ให้ “พะยูน” หรือ “หมูดุด” ซึ่งได้มีการจัดการทรัพยากร ชายฝั่งตามพระราชด�ำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่ออนุรักษ์และจัดการหญ้าทะเลที่มีอยู่ในอ่าวคุ้งกระเบน จ�ำนวน 617 ไร่ ให้อุดมสมบูรณ์ตลอดไป ทั้งยังเป็นแหล่ง อนุบาลสัตว์ทะเลวัยอ่อนและวัยรุ่น เป็นแหล่งใช้ธาตุอาหาร ต่างๆที่เกิดจากกิจกรรมการเลี้ยงกุ้งทะเลของโครงการฯและ เป็นแหล่งอาหารที่ส�ำคัญของพะยูน ธรรมชาตแล้วพะยูฯกิน “หญ้าทะเล” เป็นหลัก โดยลักษณะการกินอาหารคล้ายเครื่องดูดฝุ่นจึงถูกเรียกอีก ชื่อว่า “หมูดุด” ขณะกินหญ้าทะเลกินทั้งใบและราก อาจมี

สัตว์เล็กๆ ติดตามส่วนต่างๆ ของหญ้าทะเลขึ้นมาอีกด้วย พะยูนตัวเต็มวัยกินหญ้าทะเลมากถึงวันละ30 กิโลกรัม หรือ ประมาณ 8-10% ของน�้ำหนักตัว การอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเลและฟื้นฟูแหล่งหญ้า ทะเลที่เสื่อมโทรม หญ้าทะเลเป็นแหล่งอาหารหลักของ พะยูน หากมีแหล่งหญ้าทะเลที่อุดมสมบูรณ์ พะยูนมีอาหาร อย่างเพียงพอก็จะสามารถด�ำรงชีวิตอยู่ได้ ดังนั้นหากแหล่ง หญ้าใดที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่แล้วก็รักษาให้คงอยู่ แต่หาก แหล่งใดมีความเสื่อมโทรมก็ฟื้นฟูให้กลับคืนมาอยู่ในสภาพที่ สมบูรณ์อีกครั้งนั้นคือปัจจัยในการ “อนุรักษ์หญ้าทะเล” เมื่อปี พ.ศ. 2524 เนื่องจากพื้นที่บริเวณชายฝั่งมี การท�ำลายทรัพยากรทั้งบนบกและทะเลอย่างมาก แม้แต่ พะยูนซึ่งเคยพบในอ่าวคุ้งกระเบนก็ยังหมดไป หลังจากได้มี การจัดตั้งศูนย์ศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนแห่งนี้ขึ้น ได้มีการ ด�ำเนินการจัดการทรัพยากรชายฝั่งเพื่อสนองพระราชด�ำริมี การฟื้นฟูและจัดการทรัพยากรในอ่าวอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะ หญ้าทะเลที่เป็นแหล่งอาหารของพะยูน ท�ำให้พะยูนหวนคืน สู่อ่าวคุ้งกระเบนตั้งแต่ปี พ.ศ.2549


17 ป่าชายเลนรอบๆ “อ่าวคุ้งกระเบน” เป็นศูนย์อนุรักษ์อนุบาลสัตว์น�้ำรวม ถึงหญ้าทะเล ส�ำหรับ​“พะยูน”

ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549 ชาวประมงอ่าว คุ้งกระเบน ได้พบพะยูนขนาดความยาว 2 เมตร น�้ำหนัก ประมาณ 200 กิโลกรัม เข้ามาอาศัยและหาอาหารกินใน อ่าวคุ้งกระเบน ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดีที่พะยูนได้กลับคืนสู่ อ่าวคุ้งกระเบน หลังจากพะยูนได้หายไปจากอ่าวคุ้งกระเบน เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 34 ปี พะยูนตัวสุดท้ายได้ตายไป จากการจับของชาวประมงเมื่อปี พ.ศ.2515 การพบพะยูนในอ่าวคุ้งกระเบน ครั้งนี้เป็นท�ำให้สามารถ คิดว่า “พะยูนคืนถิ่นคุ้งกระเบน” “พะยูน” ได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบั ญ ญั ติ ส งวนและคุ ้ ม ครองสั ต ว์ ป ่ า ในปี พ .ศ. 2535 ต่อมาด้วยสถานการณ์ใกล้สูญพันธุ์ของพะยูนท�ำให้ พะยู น ได้ รั บ การประกาศให้ เ ป็ น สั ต ว์ ป ่ า สงวนของไทย ปั จ จุ บั น มี ก ารติ ด ตามพฤติ ก รรมต่ า งๆของพะยู น รวมถึ ง นิเวศวิทยาของหญ้าทะเล และออกพระราชบัญญัติอนุรักษ์ แหล่งหญ้าทะเล ซึ่งเปรียบเสมือนบ้านและแหล่งอาหารของ พะยูนเพื่อเป็นแนวทางการจัดการและอนุรักษ์พะยูนอย่าง ยั่งยืน

แม้จะมีมาตรการทางกฎหมายอยู่แล้วก็ตาม สิ่งนี้ก็ ยังไม่พอที่จะท�ำให้เกิดผลส�ำเร็จในการอนุรักษ์พะยูนได้ สิ่ง ส�ำคัญที่ควรท�ำควบคู่ไปกับกฎหมายคือ การสร้างให้เกิดการ เรียนรู้ ความเข้าใจ เรื่องพะยูนและหญ้าทะเลแก่ประชาชน ทั่วไป สิ่งส�ำคัญที่ควรค�ำนึงถึงคือ การสร้างให้เกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจ และเห็นความส�ำคัญของพะยูนและหญ้าทะเล ซึ่งจะเป็นแนวทางที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์ อย่างเต็มใจ ก่อให้เกิด “บ้านหลังใหญ่ของพะยูน”

อนุสรณ์ “หมูดุด” เจ้าแห่งอ่าวคุ้งกระเบน


18]จดหมายเหตุ

พระนางเจ้าร�ำไพพรรณี ได้รับการถวาย พระนามว่า “ราชณีแห่งกอล์ฟ”

ราชินี

สมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี พระบรม

เป็นพระอัครมเหสีเพียงพระองค์เดียวในพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์ จักรี พระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจเคียงคู่พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะพระบรมราชินี ภายหลั ง การกลั บ ประเทศไทยหลั ง การสวรรคต ของพระราชสวามีแล้ว พระองค์ได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจ แทนพระองค์หลายครั้ง เมื่อเสด็จย้ายไปประทับ ณ จังหวัด จันทบุรี ทรงด�ำเนินกิจการในด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และทรงพัฒนาการทอเสื่อ เพื่อเป็นโครงการตัวอย่างและน�ำ ความรู้นั้นออกเผยแพร่แก่ประชาชนซึ่งนั้นคือ “วังสวนบ้าน แก้ว” รวมถึงได้โปรดให้สร้าง “สนามกอล์ฟ” ขึ้นในบริเวณ สวนบ้านแก้ว ซึ่งอยู่ในเขตวิทยาลัยครูจ�ำนวน 9 หลุม สมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงเป็นนักกอล์ฟที่โด่งดังใน สมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์ได้ทรงศึกษาในอังกฤษ เมื่อเสด็จ กลับพระนครในวัยหนุ่ม พระองค์ทรงเป็นนักกีฬาเต็มตัว พร้อมส่งเสริมให้กีฬาได้แพร่หลายอีกด้วย พระองค์ได้ทรง กอล์ฟที่ราชกรีฑาเป็นประจ�ำ และสมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพ พรรณีก็ได้ทรงนิยมในกีฬานี้ด้วย แต่เพราะทรงมีภารกิจ ประจ�ำ สมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณีจึงได้ทรงกอล์ฟไม่ได้ มากดังพระประสงค์ กอล์ ฟ ได้ ก ลายเป็ น กี ฬ า ที่ โ ปรดปรานในราชส� ำ นั ก และแม้ในระหว่างงานเลี้ยง ก็ ไ ด้ เ ป็ น เรื่ อ งที่ อ ยู ่ ใ นวง สนทนาอยู่เป็นประจ�ำ เลย ท� ำ ให้ ค นที่ ไ ม่ ไ ด้ เ ล่ น กอล์ ฟ รู้สึกร�ำคาญไปด้วย สมเด็จ พระปกเกล้าฯ นอกจาก จะทรงเป็ น นั ก กอล์ ฟ แล้ ว พระองค์ยังทรงเป็นนักการ ทู ต ด้ ว ยเพื่ อ ไม่ ใ ห้ นั ก กอล์ ฟ ได้พูดกันพร�่ำเพรื่อ มีเรื่อง เล่าว่า : ตู้โชว์ชุดกอล์ฟ ของพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี ภายในพระต�ำหนักเทา

พระฉายของพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี ขณะทรงกอล์ฟ

“พระองค์ได้จัดให้มีหีบเงินสีเขียวไว้ใน ราชส�ำนักหากใครพูดถึงกอล์ฟก็จะต้องถูกปรับ 1 บาท ซึ่งมีค่าพอสมควรในสมัยนั้น และเก็บ ไว้ในหีบเงินนั้น และปรากฏว่าได้ผล เพราะหีบ เงินเต็มไปด้วยเหรียญ และซ�้ำร้ายมีธนบัตรใน ละ 10 อีกด้วยเป็นค่าปรับส�ำหรับผู้ออกท่าทาง กอล์ฟ” เป็นยุคสมัยที่บ่งบอกความรุ่งเรืองของ กีฬากอล์ฟในประเทศไทยได้ดี จากการที่รัชกาลที่ 7 ทรงให้ความสนพระราช หฤทัยในวงการกอล์ฟไทยเป็นอย่างมาก วงการกีฬากอล์ฟ ประเทศไทยจึงพร้อมใจกันยกย่องพระองค์ท่านว่าเป็น “พระ ราชบิดาวงการกอล์ฟไทย” คนที่ปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เคียงคู่ท่านตลอดเวลาคือ สมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี “ราชนีแห่งกาล์ฟไทย” ก็ได้รับยกย่องเช่นกัน สมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี ทรงเป็นนักกอล์ฟ สตรีของไทยพระองค์แรกที่ทรงโปรดกีฬากอล์ฟมาก และ ทรงเล่นกอล์ฟทุกอาทิตย์ ทรงเป็นจุดเริ่มต้นของนักกอล์ฟ สตรีไทย พร้อมพระราชทานถ้วยรางวัลส�ำหรับการแข่งขัน รายการกอล์ฟโอเพ่นสตรีสมัครเล่นแห่งประเทศไทยแก่สา มาคมกอล์ฟสตรีสมัครเล่น ซึ่งเริ่มจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ 2521 ที่สนามกอล์ฟสามพราน โดยมี ม.ร.ว.นภาศรี บุรณศิริ ซึ่งเป็นพระสุนิสาของพระองค์ เป็นผู้ ชนะเลิศในปีแรกนั้นด้วย


เบื้องหลัง[ 19

พิราบน้อยสู่ไพรกว้าง

“พิราบน้อย” ที่มีรหัสติดตัว 55 ครั้งนี้บินมา

ไกลถึง“จันทบุรี”เมืองที่เต็มไปด้วยสถานที่ประวัติศาสตร์ ต�ำนานและสถานที่ท่องเที่ยวที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น อ่าง คุ้งกระเบน อุทยานน�้ำตกพลิ้ว เป็นต้น เบื้ อ งหลั ง ความส� ำ เร็ จ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในค่ า ยเขี ย น สร้างสรรค์ของแม่นก (อาจารย์แม่) “อาจารย์โป้ง” หัวหน้า ฝูงที่พร้อมให้ค�ำแนะน�ำและความรู้ในระหว่างการเดินทาง สู่ไพรกว้าง 4วัน3คืนที่เหล่าพิราบน้อยเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยความพยายาม ความสงสัย ความใส่ใจ เพื่อน�ำมาใช้ใน นิตยสารครั้งนี้อีกด้วย


20

อย่าปิดแผ่นฟ้า ด้วยฝ่ามือ การันต์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.